จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา

Page 1

ยูหัวภูมิพลอดุลยเดช

• ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์ ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภิเศก ปั้นสุวรรณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

• ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาสื่อสารมวลชนที่ มีต่อรูปแบบการรายงานข่าวช่วงเช้าระหว่าง สถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลและเอกชนและข่าวสาร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ ถาวรเวช

• มะรุมพืชที่เป็นทั้งอาหารและยา • ข่าวสารความเคลื่อนไหว

ปณิธาน “ส่งเสริมการสร้าง และเผยแพร่องค์ความรู้” ทุกท่านสามารถแสดงความคิดเห็นในการให้บริการของสถาบันวิจัยและพัฒนาได้ 4 ช่องทาง คือ 1. โทรศัพท์ 034-255-808 2. โทรสาร 034-219-013 3. e-mail : research_inst@su.ac.th 4. กล่องรับความคิดเห็นหน้าห้องระเบียงวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนา


บทบรรณาธิการ

ทีป่ รึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา

สวั ส ดี ปีใ หม่ ไ ทย 2554 ค่ ะ วัน มหาสงกรานต์ นี้ ขอให้ ท่านผู้อ่านมีความสุข มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง คิดหวังสิ่งใดขอให้ สมปรารถนาทุกอย่าง และสนุกสนานในวันสงกรานต์นะค่ะ ฉบั บ นี้ มี ข อเริ่ ม ต้ น ด้ ว ยคอลั ม น์ เ ปิ ด โลกกว้ า งเรื่ อ ง “ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อภิเศก ปั้นสุวรรณ จากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และจาก...ชุมชน ขอนําเสนอเรื่อง “มะรุมพืชที่เป็นทั้งอาหารและ ยา” โดย นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นักวิจัยเชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัย และพัฒนา ส่วนงานวิจัยขอแนะนําผลงานวิจัยเรื่อง “ความพึงพอใจ ของนักศึกษาสาขาสื่อสารมวลชนที่มีต่อรูปแบบการรายงานข่าวช่วง เช้าระหว่างสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลและเอกชนและข่าวสาร” ของ ผศ.ชัยชาญ ถาวรเวช และคณะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อ สาร มหาวิ ท ยาลั ยศิ ล ปากร และข่า วสารความเคลื่ อ นไหวของ สถาบันวิจัยและพัฒนา ขอเชิญท่านติดตามอ่านในเล่มนะค่ะ

บรรณาธิการ นางอารีย์วรรณ นวมนาคะ

กองบรรณาธิการ นายสุพรชัย มั่งมีสิทธิ์ นางสาววัชรี น้อยพิทักษ์ นางสาวตปนีย์ พรหมภัทร

เผยแพรโดย สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 0-3425-5808, 0-3421-9013 โทรสาร 0-3421-9013 E-mail : research_inst@su.ac.th Website : http://www.surdi.su.ac.th

สารบัญ เปดโลกกวาง 3 ประสบการณ์การทําวิจัยและสร้างสรรค์

ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อภิเศก ปั้นสุวรรณ

จาก...ชุมชน 10 มะรุมพืชที่เป็นทั้งอาหารและยา ผลงานวิจัย 13 ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาสื่อสารมวลชนที่มีต่อ

วัตถุประสงค จุล สารสถาบันวิจัยและพัฒ นา เป็นจุล สารอิเล็กทรอนิก ส์ (e-journal) ราย 3 เดือน/ฉบับ จัดทําขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เผยแพร่ ข่ า วสารกิ จ กรรมต่ า งๆ ของสถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา ตลอดจนความรู้ จ ากบทความวิ ช าการ และผลงานวิ จั ย ของ บุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันวิจัยและพัฒนายินดี เป็น สื่อกลางในการเผยแพร่ผ ลงานวิจัย บทความทางวิช าการ และเกร็ดความรู้ต่างๆ ของชาวศิลปากรทุกท่าน

รูปแบบการรายงานข่าวช่วงเช้าระหว่างสถานีโทรทัศน์ ของรัฐบาลและเอกชน

ขาวสารความเคลื่อนไหว 17 อบรมเรื่อง เกณฑ์ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษา 18 19 20 21 22 23 23

ใหม่ 2553 งานแสดงนิทรรศการผลงานศิลปกรรม การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัย การแสดงนิทรรศการ All about Glass สถาบันวิจัยฯ ม.ราม ดูงาน สถาบันวิจัยฯ มศก. งานเฉลิมฉลองสองบดินทร์ปราชญ์ศิลปินแห่งสยาม เชิญเสนอผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เพื่อจัดพิมพ์ฯ รับสมัครโอน/ย้ายข้าราชการ -2-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


เปดโลกกวาง

ของ ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์อภิเศก ปั้นสุวรรณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร สัมภาษณ์โดย อารีย์วรรณ นวมนาคะ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

จริง กับคนที่มีส่วนในแง่ของการตั้งโจทย์ให้เราอยู่ในพื้นที่ บางทีเราไม่มีโอกาสได้เจอบ่อยนัก พอเรามีโอกาสได้ไป สัมภาษณ์ชุมชนต่างๆในท้องถิ่นงานวิจัยชิ้นนั้นก็ทําให้เขา รู้ความต้องการที่แท้จริงของเขามากขึ้น งานชิ้นต่อไปที่ ตามมาหลังๆ คือ จะตอบโจทย์ของพื้นที่ได้แ ล้ว อันนี้ เป็นลักษณะของการเริ่มในแง่ของการทํางาน หลังจากนั้น งานลักษณะแบบเดียวกันก็จะนํามาสู่การพัฒนาเกี่ยวกับ โครงสร้างงานที่เป็นลักษณะของการตอบถึงนโยบาย ซึ่ง ช่วงหลังๆผมสังเกตว่าตัวของ Proposal หรือ TOR ทางด้า นงบประมาณแผ่ นดิน เอง หรือ ของสถาบันวิ จั ย และพัฒนาเอง พยายามจะให้ตอบเรื่องเกี่ยวกับนโยบาย เป็นหลัก และพยายามให้เปลี่ยนแผนเชิงปฏิบัติงานได้ เพราะฉะนั้น ตัวของโจทย์งานวิจัยในช่วงหลังๆ จึงไม่เป็น การสํารวจแต่จะกึ่งลักษณะการตอบโจทย์เฉพาะเรื่องที่ เขากํ า หนดนโยบายไว้ เ พื่ อ ให้ ล้ อ ไปตามแผนพั ฒ นา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหลัก นี่คือโจทย์ที่เราได้ ที่นี่ในแง่ของโอกาสที่ได้รับทุนบ่อยๆ มันทําให้เราสามารถ ทํางานให้มีความชัดเจนมากขึ้น

ประสบการณ์ ก ารทํ า วิ จั ย และสร้ า งสรรค์ ที่ ป ระสบ ความสําเร็จ ประสบการณ์วิจัยที่ทํามาตั้งแต่บรรจุมาที่นี่ เริ่ม จากได้ทุนที่สถาบันวิจัยและพัฒนาก่อนเป็นก้าวแรกที่ดี มาก มีรายได้ก้อนแรกที่ได้ทําเป็นรายได้โครงการวิจัย เรื่องเกี่ยวกับการประเมินทางด้านภาษีบํารุงท้องที่โดยใช้ ระบบสารสนเทศทางภู มิ ศ าสตร์ ม าทํ า อั น นั้ น เป็ น เงิ น รายได้ น อกงบประมาณประจํ า ปี พ.ศ.2541-2542 เพราะฉะนั้น เป็นก้าวแรกของลําดับนักวิจัยรุ่นใหม่ที่ยังไม่ มี ป ระสบการณ์ ม ากนั ก ในแง่ ข องการเขี ย นโครงร่ า ง Proposal ดี ๆ ที่จะไปเสนองบประมาณแผ่ นดิน ผมว่า เป็นก้าวแรกที่ค่อนข้างดี หลังจากนั้นก็เริ่มมีความมั่นใจ มากขึ้ น ว่ า เราสามารถทํ า งานวิ จั ย ได้ ได้ ล งพื้ น ที่ จ าก ประสบการณ์ ตรงนั้ น (ส่ ว นใหญ่ ล งพื้ น ที่ จัง หวั ดในเขต ภู มิ ภ าคตะวั น ตก) ผมจะลงพื้ น ที่ ง านชิ้ น ที่ ส องที่ ไ ด้ งบประมาณสนั บ สนุ น จากงบประมาณแผ่ น ดิ น ผ่ า น สถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นงบประมาณปี 2544 มีโอกาส ได้ลงพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดสุพรรณบุรีจนถึงประจวบคีรีขันธ์ ทั้งหมด 6-7 จังหวัด ที่ได้ไปมา เป็นก้าวแรกของการวิจัย ที่มีโอกาสได้ลงไปสํารวจ สัมผัสพื้นที่จริง สัมภาษณ์กับ ผู้ ป ระกอบการในพื้ น ที่ ท้ อ งถิ่ น ได้ ข้ อ มู ล เยอะมาก นอกจากมาทํ า งานวิ จั ย ในชิ้ น นั้ น ได้ ข้ อ มู ล พื้ น ฐานแล้ ว นํามาต่อยอดด้วย เป็นสิ่งที่ได้กลับมาในแง่ของการต่อ ยอดและทําให้รู้ว่ามหาวิทยาลัยเราอยู่ในพื้นที่ให้บริการ แต่ว่าโอกาสในแง่ของการได้เจอหรือว่าพบปะกับข้อมูล -3-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


บางส่วน อีกโจทย์หนึ่งคือเราต้องตอบด้วยตัวเองคือตั้ง ตัวของงานวิจัยขึ้นมาเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงแล้วนําข้อมูล ตรงนั้นมาใช้สอนจะง่ายสําหรับการเตรียมตัว

ถ้ า พู ด ในแง่ ข องความสํ า เร็ จ ตั ว ผมเองคิ ด ว่ า ผมยั ง ไม่ ประสบความสํ า เร็ จ มากในแง่ ข องการได้ ร างวั ล แต่ ประสบความสําเร็จมากก็คือ หลังๆจะรู้แนวในแง่ของ การเขียน Proposal ที่ดี อันนั้นคือข้อคิดที่เราได้และก็ สามารถพัฒนาตัวของ Proposal ที่สามารถตอบโจทย์ ได้โดยตรงกับตัวของชิ้นงานและกรรมการรวมถึงตัวของ ทุนที่เขาตั้งโจทย์ไว้ นั่นคือประสบการณ์ที่ได้

ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข ปัญหาจริงๆ ของงานวิจัยที่เราเคยเจอจะมีอยู่ สองสามเรื่อง หนึ่งก็คือเรื่องเกี่ยวกับตัวของทุนลักษณะ ปัจจุบัน เหมือนเขาตั้งโจทย์ไว้เรียบร้อยแล้วว่าเขาอยาก ได้งานประเภทไหน ซึ่งงานประเภทนั้นหลายครั้งจะไม่ เ ป็ น ง า น เ พื่ อ ก า ร ศึ ก ษ า คื อ ไ ม่ เ ป็ น Academic หมายความว่า บางครั้งงานของสถาบันวิจัยและพัฒนา เองก็ตามหรืองบประมาณแผ่นดินเองก็ตาม จะไปล้อเข้า กับนโยบายกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในขณะที่ ใ นแง่ข องการศึ ก ษาต้ อ งการตอบโจทย์ที่ เป็ น ลักษณะของการใช้เพื่อการสอน ซึ่งสองอย่างนี้บางทีไม่ไป ด้วยกัน เพราะฉะนั้น อยากได้งบประมาณแผ่นดินก็ต้อง เขียนเพื่อไปขอทุนงบประมาณแผ่นดินมันก็เอาใช้สอนได้ บางส่วน หรืออาจจะแฝงทําได้บางส่วนเท่านั้นเอง แต่ว่า ถ้าเกิดสมมติต้องการที่จะเป็นลักษณะที่มาใช้ในการเรียน การสอนโดยตรงหรือทฤษฎีโดยตรง ต้องเขียนขอไปยัง สกว. ซึ่ ง เงื่ อ นไขของทุ น ก็ จ ะยากกว่ า หรื อ ว่ า ความ แตกต่างค่อนข้างจะเยอะในแง่ของการตั้ง Proposal อันที่สองที่เจอก็คือเรื่องเกี่ยวกับตัวของเวลา และในเรื่อง เกี่ยวกับทั้งการสอนและการวิจัยด้วย ผมคิดว่าตรงนี้เป็น โจทย์ที่ยากสําหรับนักวิจัยหลายท่านไม่เฉพาะผม คือ ภาระเรื่องการสอน ตอนนี้เรามีการประเมินการปฏิบัติ ราชการแบบใหม่ยิ่งลําบากมากขึ้น หมายความว่าเดิมเรา ถูกมอบภาระเรื่องการสอน 6 หน่วยกิจหรือ 2 วิชาต่อ ภาค ทําให้เราสามารถแบ่งเวลาไปลงพื้นที่ทําวิจัยได้ แต่ ในขณะปัจจุบันผมถูกมอบภาระกิจ 4 ด้าน มีโครงการ บริการวิชาการ มีทํานุบํารุงศิลปะวัฒนธรรม และวิจัย เป็ น แค่ 1 ใน 4 ผลปรากฏว่ า ช่ ว งเวลาปฏิ บั ติ ง าน ตามปกติที่มีโอกาสได้ไปลงพื้นที่ในช่วงเวลาการเรียนการ สอนได้ใน 4 เดือน ที่เปิดเทอมไปแทบไม่ได้แล้ว ตอนนี้ คือทํางานได้เฉพาะตอนปิดเทอม ซึ่งมันผิดธรรมชาติของ การทําวิจัย คือ โจทย์ของเราอาจไม่ได้อยู่ในช่วงที่ต้องปิด เทอม ผมยกตัวอย่างกรณีตอนนี้ผมทํางานที่พัทยาอยู่ ผมไม่สามารถทิ้งพื้นที่ได้เกิน 2-3 เดือน แล้วอยู่ดีๆกลับ

เทคนิ ค แนวทางการทํ า งานวิ จั ย และสร้ า งสรรค์ แ ก่ นักวิจัยรุ่นใหม่ เทคนิคแนวทางการทํางานวิจัยและสร้างสรรค์ แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ สําหรับนักวิจัยรุ่นใหม่เริ่มต้นง่ายสุดใน แง่ของการตั้งโจทย์ ต้องตั้งโจทย์ให้เกี่ยวข้องกับการเรียน การสอนก่อน คือโจทย์น่าจะง่ายสุดคือว่าเรามีโอกาสได้ เตรียมสอน พอเตรียมสอนเราก็จะทราบเนื้อหาขอบข่าย วิชาที่เราสอนอยู่ว่า มีเนื้อหาหรือมีโจทย์อะไรบ้างที่ยังไม่ ตอบ อย่างตัวผมเองผมสอนวิชาภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม ชนบทในระดั บ บั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา หลายคํ า ถามที่ ยั ง ตั้ ง ไว้ สําหรับนักวิจัยรุ่นก่อน โดยเฉพาะอย่างสถาบันวิจัยเพื่อ การพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เขาตั้งโจทย์ไว้ดีมาก เขา จะตั้งโจทย์ว่างานอะไรบ้างที่ยังไม่ได้ศึกษา เขาให้ข้อคิด หรือข้อค้นพบที่สําคัญว่า ถ้าสมมติว่าเราสามารถวิจัย เรื่ อ งนี้ ไ ด้ ห ลายๆ อย่ า ง จะถู ก นํ า เผยแพร่ แ ละปรั บ นโยบายที่ ดี ไ ด้ จากโจทย์ ต รงนั่ น ที่ ไ ด้ ม าก็ เ ลยนํ า มาสู่ กระบวนการการพัฒนาตัวของ Proposal ตัวงานที่ต้อง ไปตอบโจทย์ เขา นี่คื อข้อคิดของการเริ่ม ต้ นนักวิ จัยรุ่น ใหม่ว่า จะเริ่มง่ายที่สุดคือเริ่มจากวิชาเรียนก่อน ต่อมา คื อ พ ย า ย า ม พั ฒ นาตั ว ของ ง า น วิ จั ย ที่ มี ข อ บ ข่ า ย ข อ ง งานวิ ช าการที่ ตั ว เองสอน ว่ า เ ข า ตั้ ง โ จ ท ย์ อะไรค้ า งไว้ บ้ า ง แล้ ว เรายั ง สอน โดยการเตรี ย ม เนื้ อ หาจากเขา -4-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


แผ่นดินขอทําไม่ได้แน่ แต่อาจารย์เขาก็แก้ไขปัญหาว่า ทําไมถึงเกิดปรากฏการณ์แบบนี้ได้ เกิดปรากฎการณ์ แบบมีมอเตอร์ไซต์ได้ในพื้นที่ ความจําเป็นเนื่องจากอะไร แล้ ว ลั ก ษณะมอเตอร์ ไ ซต์ รั บ จ้ า งในกรุ ง เทพมหานคร มั น มี แ ล้ ว มั น เป็ น ธรรมชาติ ยั ง ไงที่ จ ะใช้ ใ นแง่ ข องการ แก้ปัญหา รวมถึงนโยบายที่จะต้องมา support นี่คือ แรงบันดาลใจ ผมเคยได้รับโอกาสจากอาจารย์ท่านชวน ไปช่ ว ยทํ า งานที่ TDRI แต่ ต อนนั้ น เนื่ อ งจากภาระกิ จ อื่ น ๆ แ ล ะ ม ห า วิ ท ย า ลั ย ศิ ล ป า ก ร กั บ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ห่างกันมาก ค่อนข้างไกล ก็ เลยไม่มีโอกาสไปร่วมงานกับอาจารย์ แต่ว่าเคยได้รับ โอกาสขอรับการปรึกษาเรื่อง Proposal บางครั้ง และ อาจารย์ ก็ แ นะนํา เรื่ องใกล้ ๆ ตั ว เรา ซึ่ง บางที เ ราก็ไ ม่ไ ด้ สังเกต อย่างเช่นเรื่องของหม้อแกงที่เพชรบุรี อาจารย์ ตั้งข้อสังเกตว่าจริงๆ หม้อแกงมันเยอะมากที่เพชรบุรี มี ทั้ง แม่ละเมียด แม่กิมไล้ ชิดชนก พ่อเข่ง คําถามของ อาจารย์ก็คือว่า จริงๆ ทุกร้านอยู่ได้จริงไหม ทําไมเขาถึง เปิ ด แข่ ง ขั น กั น เยอะ นี่ คื อ โจทย์ แ บบง่ า ยที่ ผ มคิ ด ว่ า อาจารย์เขามองประเด็นออก ทั้งๆ ที่พวกเรานั่งรถ ไปหลายๆ ครั้ง หลายคนอาจคิดเพียงว่าจะแวะซื้อกลับ บ้านร้านไหนดี ร้านไหนอร่อย แต่ว่าพออาจารย์ตั้งโจทย์ ว่า ในแง่ของความคุ้มทุนมันมีไหม ในแง่ของความคุ้มค่า ในแง่ของการจัดตั้งร้านขึ้นมา มันมีความคุ้มทุนทางด้าน เศรษฐศาสตร์ ไ หม ผลปรากฏว่ า ไม่ มี ง านวิ จั ย แบบนี้ รองรั บ เลย เรื่อ งมัน ใกล้ ตัวเรามากแต่ว่าเราไม่ เคยตั้ ง ข้อสังเกต อันนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ผมคิดว่าอาจารย์เป็นตัว แบบที่ดีที่เป็นแรงบันดาลใจให้ผมคิดว่า เราจะไม่ทํางาน ลักษณะแบบเดียว แต่เดิมผมจะทํางานเพื่อตอบโจทย์ หลายๆ อย่ า งที่ เ ราไปพบใหม่ ๆ ในพื้ น ที่ ตั ว อย่ า ง เช่ น โครงการวิจัยอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภาคตะวันตกก็คือ เป็ น การหาข้ อ เท็ จ จริ ง พอต่ อ มาผมก็ เ จาะบางเรื่ อ ง อย่างเช่นการถ่ายทอดเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมกับ ชุม ชน แต่ต อนนี้ผ มทํ า การศึ กษาหาบเร่ แ ละแผงลอย เพราะคิดว่าเราสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ โดยใช้ แม่แบบในแง่ของวิธีการศึกษาเดิม เปลี่ยนรูปแบบของ ประเด็นได้ อันนี้คือแรงบันดาลใจที่ได้จากท่าน

อีกรอบหนึ่งเราก็ปะติดปะต่อเรื่องกับเขาไม่ได้ กับพื้นที่ ตรงนี้เป็นปัญหาที่เจออยู่ มันทําให้เรารู้สึกว่าการทํางาน ของเราที่ไม่ต่อเนื่องกับเขา และในขณะเดียวกันพอเรา ทิ้ ง เขานานๆ ในแง่ ข องการประสานงาน มั น เหมื อ น เริ่มต้นใหม่ มันค่อนข้างจะยาก นี่เป็นปัญหาที่เราเจออยู่ ตอนนี้ แนวทางแก้ไขที่ทํ าอยู่ก็คือ ผมคิดว่ าจะต้ องใช้ การศึกษาเป็นทีมงาน คือ ตอนนี้ถ้าทําเป็นวิจัยเดี่ยวการ แก้ปัญหาเรื่องเวลานั้นเราไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัว เราเอง อย่างกรณีเรื่องแหล่งทุนเราต้องเป็นลักษณะการ ใช้ ที ม งาน บางส่ ว นของงานอาจจะไปตอบโจทย์ งบประมาณแผ่นดินได้บางส่วนเราสามารถที่จะทําด้าน การเรียนการสอน คือ เป็น Academic เหมือนเดิมได้ ส่ ว นของทางด้ า นเรื่ อ งเวลาก็ เ ลยใช้ วิ ธี ทํ า งานเป็ น ที ม เพื่อที่ว่าบางครั้งผมไปเองไม่ได้ ทีมงานผมจะต้องไปได้ใน พื้นที่ต้องทํางานต่อเนื่องกับเขา หมายความว่าถ้าสมมติ หัวหน้าโครงการไปไม่ได้ผู้ร่วมวิจัยอาจจะต้องมีบางส่วน ลงพื้นที่เพื่อให้มีการต่อเนื่องกับเขาอยู่ตลอดเวลา นั้นคือ ส่วนวิธีแก้ไขที่ทําอยู่ ก็ได้ผลระดับหนึ่ง คือรู้สึกว่าพื้นที่ กับเรายังทํางานต่ อกั นได้ต่อเนื่อง อันนั้นเป็ นวิ ธีแ ก้ไข สองปัญหาหลักที่เจออยู่ตอนนี้ แ ร ง บั น ด า ล ใ จ ใ น ก า ร ทํ า วิ จั ย แ ล ะ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ ตัวของแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งผมคิดว่าตัวเองได้ แบบอย่างที่ตัวเองคิดไว้ในใจเป็นต้นแบบของตัวเอง คือ รองศาสตราจารย์ ดร.นิพน พัวพงศกร ตอนนี้อาจารย์ เป็นผู้อํานวยการสถาบัน TDRI ผมมีโอกาสได้ไปเข้าคลาส กั บ อ า จ า ร ย์ ค รั้ ง ห นึ่ ง ที่ ค ณ ะ เ ศ ร ษ ฐ ศ า ส ต ร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ผลปรากฏว่ า อาจารย์ เ ป็ น นักวิจัยที่เก่งมาก ที่ใช้คําว่าเก่งมากก็เพราะว่าอาจารย์ เองมี อ งค์ ค วามรู้ ที่ ไ ปทํ า วิ จั ย มาสอน และเป็ น การ อินทิเกรดข้ามสาขาวิชาเยอะมากเลย ผมเข้าไปนั่งเรียน ในคลาสอาจารย์มาเทอมหนึ่งก็รู้สึกว่าการเป็นนักวิจัยมัน สามารถตอบโจทย์ ไ ด้ ห ลายๆโจทย์ ซึ่ ง บางโจทย์ เ ป็ น โจทย์ใ นพื้นที่ เมื่อวั นก่อนมี โอกาสได้อ่านหนั งสือรวม 60 ปี ของอาจารย์บทความของเค้าที่นักศึกษาช่ วยคั ด และอาจารย์เขาก็คัดให้อีกที มีบทความบทหนึ่งง่ายๆ อย่างเช่นเรื่องเกี่ยวกับงานวิจัยเรื่องมอเตอร์ไซต์รับจ้างใน กรุงเทพมหานคร ซึ่งปกติงานลักษณะแบบนี้งบประมาณ -5-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


หน่วยงานภายนอก เมื่อเช้าทราบจากรองคณบดีฝ่าย วิจัยและประกันคุณภาพ ท่านบอกว่าจะมีโครงการความ ร่วมมือกับทั้ง มศว. กับทั้งทางด้านมหาวิทยาลัยราชภัฏ นครปฐม และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสร์ จัดเป็นองค์กร ความร่วมมือ 4 สถาบันก็คือร่วมกับคณะอักษรศาสตร์ ของเรา จัดเวทีวิชาการในช่วงพฤษภาคมนี้ ผมคิดว่า เป็นเวทีใ หญ่ที่สามารถทําให้อาจารย์ในคณะรวมถึงใน มหาวิทยาลัยศิลปากรด้วยกันเอง สามารถใช้เป็นเวทีใน แง่ ข องการนํ า เสนอผลงานได้ ซึ่ ง ผมคิ ด ว่ า ก็ เ ป็ น เวที ที่ สามารถเหมือนกับเป็นบันไดก้าวแรกๆก่อนที่อาจจะขยับ ไปสู่เวทีของ วช. ในอนาคต อันนี้เป็นนโยบายที่ทําอยู่

ความคาดหวังต่อการทําวิจัยและสร้างสรรค์ในอนาคต

ความตั้ งใจในอนาคตในส่ วนของงานวิ จั ยก็คื อ การพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นนักวิจัยที่ได้รับการยอมรับ ในวงการวิชาการ โดยงานที่สร้างสรรค์ขึ้นนั้นได้รับการ ยอมรั บ การใช้ ป ระโยชน์ ทั้ ง ในระดั บ ประเทศ และ ต่ า งประเทศ รวมทั้ ง คาดหวั ง ว่ า จะมี โ อกาสได้ ทํ า วิ จั ย ร่วมกับต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่ อเพิ่ มโอกาสในการพั ฒนา ตนเองให้เชี่ยวชาญยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะในการทํางานวิจัยสําหรับนักวิจัยรุ่นใหม่

นโยบายของคณะอักษรศาสตร์ต่อการส่งเสริมงานวิจัย นโยบายของคณะอักษรศาสตร์ต่อการส่งเสริม งานวิ จั ย คื อ ตอนนี้ ที่ ค ณะเราก็ มี ก ารจั ด ตั้ ง กองทุ น สนับสนุนการวิจัยระดับคณะ โดยให้อาจารย์ที่ประจํา คณะสามารถขอทุนได้ปีละ 30,000 บาท/คน/ทุน และก็ จะเป็ น โครงการวิ จั ย ต่ อ เนื่ อ งจะได้ 50,000 บาท ต่อเนื่องก็คือสองปี/ทุน ซึ่งตรงนี้ทําให้อาจารย์ภายใน คณะมีโอกาสมากขึ้นในแง่ของการทําวิจัย โดยเฉพาะ อาจารย์รุ่นใหม่ๆ ที่ยังไม่สามารถที่จะเขียน Proposal ไป แข่งกับที่อื่นได้โดยตรงก็จะได้ประสบการณ์เบื้องต้นจาก การทําวิจัยภายในคณะก่อน ตอนนี้ก็คือคณะมีนโยบาย support เรื่องทุน ตอนนี้ทราบว่าจะเปิดเรื่องเวทีด้วย คือ หลังจากที่ทําเรียบร้อยแล้วก็พยายามที่จะให้มีเวทีตัว ของการนําเสนอผลงานวิจัยในระดับคณะเอง เพื่อที่ว่า เป็นโอกาสให้อาจารย์ที่ทํางานวิจัยชิ้นแรกในชีวิตเสร็จ ออกมาแล้ ว มี เ วที นํ า เสนอสู่ เ วที ส าธารณะด้ ว ย เป็ น ลักษณะของนโยบายของท่านคณบดีที่ต่อเนื่องมา ตอนนี้ ลักษณะของสิ่ งที่ ค ณะกําลั ง ดําเนิน อยู่ก็คื อพยายามจะ สร้ า งองค์ ค วามรู้ โ ดยการประสานความร่ ว มมื อ กั บ

สําหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ในส่วนของคําแนะนําของ รุ่นพี่ สิ่งที่น่าจะทําก็คือ เริ่มแบ่งงานบางส่วนที่เป็นการ เรียนการสอนมาตั้งโจทย์ของตัวเองง่ายๆ อย่าเพิ่งขยับไป ทําโครงการอย่างโครงการงบประมาณแผ่นดิน หรือว่า ขยับไปทําโครงการที่เป็นของ สกว. โดยตรงเพราะว่า ประสบการณ์ที่ทํามาผมพบว่า ถ้าสมมติเราเริ่มจากก้าว แรกๆ ที่ง่ายก่อน เราจะสร้างความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น เราจะรู้ปัญหาในแง่ของการวางแผนกระบวนการวิจัยเรา ได้ดีขึ้น มันจะต่างกับตอนเราทําวิทยานิพนธ์ ปริญญาโท หรือปริญญาเอก คือตรงนั้นไม่มีกรอบเรื่องเวลา ไม่มี กรอบเรื่ อ งงบประมาณเข้ า มาเกี่ ย วข้ อ ง แต่ พ อเรา บริหารงานทั้งเรื่องเกี่ยวกับตัวของงบประมาณด้วยเวลา ด้วย เราจะพบว่ามีปัญหาเข้ามาเยอะแยะเลย โดยเฉพาะ เรื่องเกี่ยวกับงบประมาณแล้ว ก็เวลาที่เราอาจจะไม่ได้ทํา คนเดียวแต่ทําเป็นรูปของทีมงาน เพราะฉะนั้นถ้าเราทํา -6-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


ทางด้ า นพลั ง งานหรื อ เศรษฐกิ จ มาก สิ่ ง สํ า คั ญ ก็ คื อ พยายามเปิดตัวเองไปข้างนอกมากขึ้น เราก็จะได้ไอเดีย ใหม่ๆ มากขึ้ น และได้ อยู่ ใ นช่ ว งเวลาเดี ย วกั บ ที่ อยู่ ใ น กระแสหลัก เป็น hot issue ของช่วงนั้นจริงๆไม่ใช่ว่าเรา คิ ด เองทั้ งหมดว่ า จะใช่ บางครั้ งมั นก็ ไม่ ต อบโจทย์ ใน ขณะเดียวกันเราก็จะได้รู้ว่าเขาทําไปถึงไหนแล้วเพราะว่า กว่าจะรอการเผยแพร่ บางงานเราไปรออ่านบทความวิจัย กว่าจะออกมาเป็นชิ้นงาน บางชิ้นใช้เวลา 6 เดือน หรือ 1 ปี คือข้อมูลมันล้าสมัยไป 1 ปี แต่ว่าถ้าเราไปฟังงาน ประชุมวิชาการหรือสัมมนาวันนี้เขาก็พูดแต่สิ่งใหม่ๆที่เขา เพิ่งทําเสร็จข้อมูลอาจจะอัพเดทประมาณ 2-3 เดือนเท่า นั้นเอง เพราะฉะนั้น งานที่เราพัฒนาต่อยอดเป็นงานที่ เราตอบโจทย์ ณ ปัจจุบันจริงๆ นั้นคือไอเดียที่เริ่มจาก ง่ายสําหรับนักวิจัยรุ่นใหม่

โครงการเล็กๆอาจจะได้ทุนวิจัยที่สถาบันวิจัยและพัฒนา จัดสรรให้ประมาณ 100,000 บาท ตั้งโจทย์ไม่ยากและก็ สามารถที่จะทํางานสร้างความเข้าใจให้กับตนเองก่อนว่า ในงบประมาณตัวนี้ กรอบเวลาแบบนี้ เราบริหารทุนได้ สามารถค้นคว้าหาข้อมูล หาประเด็นใหม่ๆ ชัดเจนขึ้น โอกาสในแง่ของการขยับไปทํางานชิ้นใหญ่ในตัวของทุน ของบประมาณแผ่นดิน หรือทุน สกว. หรือทุนหน่วยงาน วช. ภายนอกจะง่ายขึ้น อีกอันหนึ่งที่สําคัญก็คือ ผมคิด ว่าการสั มมนาหรื อการออกไปร่วมประชุมวิ ชาการข้ าง นอกนี่ สํ า คั ญ ถ้ า สมมติ มี จั ง หวะคื อ ถ้ า เราอยู่ ใ น มหาวิทยาลัยหรือเตรียมสอนอยู่คนเดียวประเด็นก็จะเป็น ประเด็นที่เราคุ้นเคยอย่างเดียว แต่ถ้าเราเปิดตัวเองเข้า ไปนั่งฟังบางประเด็นจากนักวิจัยภายนอก จากผู้มีความรู้ ภายนอก โดยเฉพาะการประชุมวิชาการครั้งสําคัญๆ ผม จะได้โจทย์ใหม่ๆ มาคิดเสมอจากประเด็นวิธีนี้ อย่างเช่น มีโอกาสไปร่วมประชุมของ สวทช. เราก็จะได้ไอเดียจาก ตั ว ของวิ ท ยากรที่ นํ า เสนอเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ ทางด้ า น วิทยาศาสตร์มาก ได้ตัวไอเดียในเรื่องที่เกี่ยวกับตัวของ

-7-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


ประวัติและผลงาน ชื่อ – สกุล : อภิเศก ปั้นสุวรรณ ตําแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เบอร์ภายใน : 034-253840 ต่อ 2546 อีเมล์ : apisekpan@yahoo.com หน่วยงานทีส่ งั กัด : ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระดับการศึกษา ปริญญาตรี : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์สุขภาพ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2537) ปริญญาโท : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร (2540) ปริญญาเอก : Rural and Regional Development Planning, Asian Institute of Technology (AIT) (อยู่ระหว่างดําเนินการเขียนวิทยานิพนธ์) สาขาวิชาที่เชีย่ วชาญ : - ภูมิศาสตร์ (ภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม, ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม) - การวางแผนการพัฒนาภูมิภาคและชนบท - วิทยาศาสตร์สุขภาพ (อนามัยสิ่งแวดล้อม) งานวิจัย 1. การวิเคราะห์การจัดแบ่งเขตความเจริญในการจัดประเมินการจัดเก็บภาษีบํารุง ท้องที่โดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาอําเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม (2546) 2. อุตสาหกรรมขนาดย่อมในภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย (2547) 3. อุตสาหกรรมขนาดย่อมกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรณีศกึ ษาภาคตะวันตก (2547) 4. โครงการวิจัยเพื่อประเมินโครงการดนตรีในสวนของกรุงเทพมหานคร (2547) 5. การพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคของประเทศไทย (2553) 6. รูปแบบที่ตั้งและการลงทุนจากต่างประเทศของอุตสาหกรรมในประเทศไทยภายหลัง การเปิดการค้าเสรี (กําลังดําเนินการ) 7. การวิเคราะห์ที่ตั้งและรูปแบบการพัฒนาสุขาภิบาล หาบเร่ แผงลอย กรณีศึกษาเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี (กําลังดําเนินการ)

-8-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


บทความวิชาการ 1.อภิเศก ปัน้ สุวรรณ. “การวิเคราะห์ทตี่ ั้งอุตสาหกรรมการผลิตในภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศไทย” วารสารร่มพฤกษ์ 17, 3 (2542) : 90-104. 2.อภิเศก ปั้นสุวรรณ. “การกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค” วารสารภูมิศาสตร์ 24, 1 (2542) : 45-54. 3.อภิเศก ปั้นสุวรรณ. “นโยบายและมาตรการในการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาค” วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 21-22, 2(2544-2545) : 161-198. 4.อภิเศก ปั้นสุวรรณ. “อุตสาหกรรมชนบท” วารสารอักษรศาสตร์ 24, 1-2(2544-2545) : 210-244. 5.อภิเศก ปั้นสุวรรณ. "รูปแบบที่ตั้งของอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภูมิภาคตะวันตก" วารสารภูมิศาสตร์ 29, 2(สิงหาคม 2547) : 19-34. 6.อภิเศก ปั้นสุวรรณ. "อุตสาหกรรมขนาดย่อมกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในชนบท กรณีศึกษาอุตสาหกรรมขนม หวานและไม้ตาลในอําเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุร.ี " วารสารวิชาการราชภัฏตะวันตก 3, 1 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2551) : 37-51. 7.อภิเศก ปั้นสุวรรณ และกัลยา เทียนวงศ์. “การพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคของประเทศไทย” วารสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร, 28, 3(2551) : 187– 218.

8.Pansuwan, A. and Jirakajohnkool, S.. “Technology Transfer in Rural Industries of Thailand :The Case of Dessert and Palm Tree Industries.” Indonesia Journal of Geography 38 (2006): 41-52. 9.Pansuwan, A. “Regional Specialization and Industrial Concentration in Thailand, 19962005.” Indonesia Journal of Geography 41 (2009) : 1-17. 10. Pansuwan, A. and Kityuttachai, K. “How is Thai Industrial Location Policy Get Beneficiary under GMSECs?,” GMSARN INTERNATIONAL JOURNAL 3, 4 (2009) :165-170. 11. Pansuwan, A. “Industrial Decentralization Policies and Industrialization in Thailand” Silpakorn University International Journal 9-10 (2009-2010) : 117-148. 12. Pansuwan, A. and Routray, J.K. “Policies and pattern of industrial development in Thailand” GeoJournal (2011) 76:25–46.

-9-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


จาก...ชุมชน

นายสุพรชัย มั ่งมีสทิ ธิ์ นักวิจยั เชีย่ วชาญ สถาบันวิจยั และพัฒนา

ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านหลายท่านคงจะเคยรับประทาน มะรุมมาแล้วหลายหนในชีวิต เนื่องจากว่าพืชดังกล่าวเกิดขึ้น และคงอยู่ กั บสัง คมไทยมานานหลายชั่ ว คนแล้ ว โดยเฉพาะ ท้องถิ่นชนบทอาจกล่าวได้ว่ามีกันอยู่แทบทุกบ้าน ในช่วงวัยเด็ก ของผมคุ้นชินกั บต้นไม้ดังกล่าวเป็นอย่างดี เพราะในสวนหลั ง บ้านมีอยู่หลายต้นและได้อาศัยทั้งยอด ดอก ฟักอ่อน และแก่ ประกอบเป็นอาหารทั้งต้ม แกง เป็นผักจิ้มน้ําพริก ก็อร่อยดี แต่ ไม่ เ คยทราบว่ า มะรุ ม มี คุ ณ ค่ า ทางยา เกลื อ แร่ วิ ต ามิ น ต่ า งๆ มากมายรู้แต่เพียงว่าใช้เป็นผักในการประกอบอาหารต่างๆเท่า นั้นเอง จนกระทั่งผมได้ศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับคุณค่า และประโยชน์ของมะรุม เมื่อผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายในการอบรมพี่น้องเกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรีเกี่ยวกับการอยู่อย่าง พอเพียงในรูปแบบการผลิตแบบธรรมชาติ ในหัวข้อพืชผักสมุนไพรใกล้ตัว ผมจึงนําเอาข้อมูลที่ได้ศึกษาจากเอกสารและจาก ทางเว็บไซด์ต่างไปแลกเปลี่ยนในเวทีดังกล่าว และได้ทดลองใช้ส่วนต่างๆ ของมะรุมในระหว่างการบรรยายหลายคนก็ดีขึ้น โดยเฉพาะการไอ เมื่อลองกินเมล็ดแก่ของมะรุมสามารถหยุดอาการไอและขับเสมหะได้เป็นอย่างดี ลักษณะทั่วไปของมะรุม มะรุมนั้นถ้าดูแบบผิวเผินก็คงจะเป็นเพียงผักพื้นบ้านที่มีปลูกกันอยู่ทุกภาคของประเทศ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ตามภาษาถิ่น เช่น ทางภาคอีสานก็จะเรียกว่า ผักอีฮุม ชาวเหนือเรียกว่ามะค้อนก้อม เป็นต้น มาทําความรู้จักของพืชมะรุมใน แง่มุมของวิทยาศาสตร์กันนิดนึง มะรุมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera lamk ชื่อทางพฤกษศาสตร์ M pterygosperma Gaertn อยู่ในวง Moringaceae ชื่อสามัญ House Radish Tree แหล่งที่พบ พบทั่วไปทุกภาค พบมากใน ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มะรุม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางเรือนยอดกลมและโปร่ง เจริญเติบโตเร็ว อาจจะเติบโตมีความสูงถึง 4 เมตรและออกดอก ภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบ ย่อย 3 ชั้น ยาว 20-40 ซม. ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 – 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมี ขนเล็ ก น้ อ ยขณะที่ ใ บยั ง อ่ อ น ใบมี ร สหวานมั น ออกดอกในฤดู -10-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


หนาว บางพั น ธุ์ อ อกดอกหลายครั้ ง ในรอบปี ดอกเป็ น ดอกช่ อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขม หวาน มันเล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วน มน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝัก ฝักยาว 20-50 ซม. ฝักมีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของ เมล็ดประมาณ 1 ซม. การปลู ก : มะรุ ม เป็ น ไม้ ที่ มี ถิ่ น กํ า เนิ ด อยู่ ใ นประเทศแถบ เอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา เป็นต้น และยังมีในเขตเอเชียไมเนอร์ และแอฟริกา เป็นไม้ปลูกง่าย เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ํา และความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและ การปักชํากิ่ง งอกเร็ว ใช้เวลา 2 สัปดาห์ต้นกล้าสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร การนําส่วนต่างของมะรุมมาใช้ นอกจากใช้เป็นผักสําหรับปรุงเป็นอาหารได้หลายประเภทแล้วยังมีสรรพคุณเป็นยาที่ให้การรักษา ป้องกันโรคได้อีก ด้วย สามารถนําส่วนต่างๆ ของมะรุมมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ดังนี้ ใบ ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความ ดันโลหิต ยอดอ่อน ใช้ถอนพิษไข้ ดอก ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบํารุง ขับปัสสาวะ ขับน้ําตาล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง ฝัก แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต เมล็ด เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง ราก รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บํารุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ (rheumatism) เปลือกลําต้น รสร้อน สรรพคุณขับลมในลําไส้ ทําให้ผายหรือเรอ คุมธาตุ อ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกําเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร ยาง (gum) ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน earache, asthma คุณค่าทางโภชนาการของมะรุม ใบสด ใช้กินเป็นอาหาร ใบแห้งที่ทําเป็นผงเก็บไว้ได้นานโดยยังมีคุณค่าทางอาหารสูง ใบมะรุมมีวิตามิน เอ สูงกว่า แครอท 4 เท่า มีแคลเซียมสูงกว่านม 4 เท่า มีเหล็กสูงกว่าผักขม มีวิตามินซี สูงกว่าส้ม 7 เท่า และมีโปแตสเซียมสูงกว่ากล้วย 3 เท่า ดอก ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แก้หวัด Helminths ป้องกันมะเร็ง ฝัก ฝักมะรุม 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามิน ซี 262 มิลลิกรัม ประโยชน์ของมะรุม 1. 2. 3. 4.

ใช้รักษาโรคขาดอาหารในเด็กแรกเกิดถึง 10 ขวบ และลดสถิติการเสียชีวิต พิการ และตาบอดได้เป็นอย่างดี ใช้รักษาผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ รักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มและเสริมสร้างภูมิคมุ้ กันให้แก่ร่างกาย ทานผลิตผลจากมะรุมในระหว่างตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจะไม่ติดเชื้อ HIV -11-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


นอกจากนี้ ถ้ารับประทานอย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ครั้ง ยังช่วยให้คนทั่วๆ ไป สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กบั ตัวเอง 5. ช่วยรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ให้อยู่ในภาวะควบคุมได้ การรักษาโรคเอดส์ที่ ประสบผลสําเร็จในกลุม่ ประเทศแอฟริกา 6. ถ้ารับประทานสม่ําเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคมะเร็ง แต่ถ้าหาก เป็นก็จะช่วยให้การรักษาพยาบาลง่ายขึ้น ในบางกรณีสามารถหยุดการ เจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ถ้าใช้ควบคู่ไปกับยาแพทย์แผนปัจจุบัน หากผู้ปว่ ยด้วยโรคมะเร็งได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้าํ มะรุมจะช่วยให้การแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้นและมีร่างกายที่แข็งแรง 7. ช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบโรคเก๊าท์โรคกระดูกอักเสบโรคมะเร็งในกระดูกโรครูมาติซั่ม 8. รักษาโรคตาเกือบทุกชนิด เช่น โรคตามืดตามัวเพราะขาดสารอาหารที่จําเป็น โรคตาต้อ เป็นต้น หากรับประทาน สม่ําเสมอจะทําให้ตามีสุขภาพที่สมบูรณ์ 9. รักษาโรคลําไส้อักเสบโรคเกี่ยวกับท้องเสียท้องผูกโรคพยาธิในลําไส้ 10.รักษาปอดให้แข็งแรงรักษาโรคทางเดินของลมหายใจและโรคปอดอักเสบ 11.เป็นยาปฏิชีวนะ วิธีรับประทานใบมะรุม ใบมะรุมมีรสหวานมัน เผื่อนเล็กน้อย สามารถนํามารับประทานทั้งในรูปของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร รับประทานได้ทั้งใบสด ใบแห้ง น้ําชาจากใบแห้งผง และผงที่บรรจุแคปซูล ในใบมะรุมสดน้ําหนัก 100 กรัมให้วิตามินซี มากกว่าส้ม 7 เท่า วิตามินเอมากกว่าแครอท 4 เท่า แคลเซียมมากกว่านม 4 เท่า โพแทสเซียมมากกว่ากล้วย 3 เท่า โปรตีน มากว่าโยเกิร์ต 2 เท่า วิตามินซีช่วยป้องกันโรคหวัด เสริมสร้างภูมิต้านทาน วิตามินเอบํารุงสายตาและผิวหนัง แคลเซียม เสริมสร้างกระดูกและฟัน โพแทสเซียมบํารุงสมองและระบบประสาท โปรตีนเสริมสร้างเซลล์ การรับประทานใบมะรุมจะรับประทานสด หรือนําไปประกอบอาหารก็ได้ ควรเลือกใบที่ไม่อ่อนไม่แก่จนเกินไป เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่ มีวิธีและขนาดรับประทานดังนี้ 1. เด็กแรกเกิดถึง 1 ปี ให้คั้นน้ําจากใบเพียง 1 หยด ผสมกับนมให้ดื่มต่อ 1-2 วัน เนื่องจากในใบมะรุมมีธาตุเหล็กสูง มาก ฉะนั้นทารกในวัยเจริญเติบโตถึง 2 ขวบจึงไม่ควรทานมาก 2. เด็กที่เริ่มรับประทานอาหารได้ถึง 4 ขวบ ควรรับประทานไม่เกิน 2 ใบ และสามารถเพิ่มจํานวนขึ้นทีละใบตามอายุ จนถึง 10 ขวบ 3. เด็กวัยรุ่นรับประทานวันละ 1 กิ่ง สดหรือใช้ประกอบอาหารก็ได้ถ้าจะให้ได้ผลเร็วควรคั้นน้ําดื่ม 1 ช้อนชาสําหรับเด็ก 4. ผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้วันละ 3 กิ่ง ถ้าจะให้ได้ผลเร็วควรคั้นน้ําดื่มวันละ 1 ช้อนโต๊ะ การรับประทานสุกควรลวกแต่พอควร เพราะการถูกความร้อนนานเกินไปจะทําให้สารอาหารเสื่อมคุณภาพ ถ้า รับประทานสดได้จะดีมาก เด็กอายุ 3-4 ขวบไม่ควรรับประทานมาก เนื่องจากใบมะรุมมีธาตุเหล็กสูง สําหรับบางคน รับประทานใบมะรุมสดอาจมีอาการข้างเคียง เช่น ท้องเสีย หรือวิงเวียนศีรษะ ก็ให้หยุดไปชั่วคราว แล้วค่อยเริ่มใหม่อาการก็ จะดีขึ้น ในฉบับนี้คงจะนําเรียนเสนอต่อท่านผู้อ่านเกี่ยวกับประโยชน์ของมะรุมพืชมหัศจรรย์เพียงเท่านี้ก่อน ในฉบับหน้าจะ ได้นําประสบการณ์ที่ชุมชนได้นํามาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้มะรุมจากส่วนอื่นของพืชมหัศจรรย์ตัวนี้มาเสนอต่อท่านผู้อ่าน ต่อไป เอกสารอ้างอิง กองบรรณาธิการ. (ม.ป.พ.). มะรุม5 ธาตุเสริมภูมิคุ้นกันมะเร็ง.สุภัชนิญค์ พริ้นติ้งจํากัด.กรุงเทพมหานคร. นิตยสารหมอชาวบ้านปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550 -12-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


ผลงานวิจัย

ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาสื่อสารมวลชนที่มตี ่อรูปแบบการ รายงานข่าวช่วงเช้าระหว่างสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลและเอกชน Mass communication students’ satisfaction towards pattern of morning news between public television stations and private television stations นายชัยชาญ ถาวรเวช, นางสาวนฤชร สังขจันทร์ และนางสาวอรวรรณ ประพฤติดี Mr. Chaicharn Thavaravej Miss. Ngruechorn Sangkachant and Miss Orawan Praprukdee คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

ทั้ง 3 องค์ประกอบ ในสถานีของรั ฐบาลและเอกชน ใน ระดับมากเหมือนกัน และมีแนวคิดในการพัฒนารูปแบบ การรายงานข่าวช่วงเช้า โดยให้สถานีโทรทัศน์ของเอกชน ให้ความสําคัญของข่าวเชิงสร้างสรรค์มากกว่าข่าวบันเทิง และให้ทั้ง 2 สถานี พัฒนาผู้สื่อข่าวให้รายงานข่าวอย่างมี คุณภาพ สําหรับการออกแบบฉากประกอบการรายงาน ข่ า วนั้ น ควรพั ฒ นาให้ ส อดคล้ อ งกั บ ประเภทของข่ า ว มากกว่านี้ คําสําคัญ รูปแบบรายงานข่าว, สถานีโทรทัศน์ของ รัฐบาลและเอกชน

บทคัดย่อ การวิ จั ย เรื่ อ ง “ความพึ ง พอใจของนั ก ศึ ก ษา สื่ อ สารมวลชนที่ มี ต่ อ รู ป แบบการรายงานข่ า วช่ ว งเช้ า ระหว่างสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลและเอกชน” เป็นการ วิจัยแบบสํารวจ ด้วยวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ • ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการ รายงานข่าวช่วงเช้า ซึ่งแบ่งเป็น 3 องค์ประกอบ คือการรายงานข่าว ผู้สื่อข่าว และการออกแบบฉาก ประกอบการรายงานข่าว • ข้อเสนอแนะและแนวคิดในการพัฒนารูปแบบ การรายงานข่าวช่วงเช้า ประชากรในการศึกษา เลือกแบบเจาะจงจาก นักศึกษาสื่อสารมวลชน ทั้งที่กําลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2552 จากมหาวิทยาลัยของรัฐ 2 แห่ง และ เอกชน 2 แห่ง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จํานวนทั้งหมด 3,460 คน และเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง 400 คน จากมหาวิทยาลัย ละ 100 คน รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ด้วยการสุ่ม ตัวอย่างแบบบังเอิญ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (SD)

Abstract This paper was survey research on the title of “mass communication students’ satisfaction towards pattern of morning news between public television stations and private television stations” with research objectives as 1. To study on mass communication students’ satisfaction towards pattern of morning news which devided into 3 elements as news reporting, mass media’s characteristics as well as scene designing for news transmission in both television stations. 2. To develop concepts for pattern of morning news on the whole elements.

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ชมข่าว จากสถานีโทรทัศน์ของเอกชนมากกว่าของรัฐบาล คิดเป็น ร้อยละ 65.3 และ 13.2 ตามลําดับ ซึ่งมากกว่ากันร้อยละ 52.1 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการรายงานข่าวช่วงเช้า -13-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


Research population were 3406 mass communication students whom studying in the academic year 2009 from two public universities and two private universities in Bangkok Metropolitan and Vicinities.Sample size were 400 students and selecting by disproportional stratified random sampling with 100 samples from each university. Using accidental sampling to collect data from questionnaires and analized with SPSS for Windows program by means of percentage, mean and standard deviation. Research results revealed that most of them were watching morning news program from private television stations more than public television stations as 52.1% (65.3% and 13.2% respectively), satisfied with the whole element on high level in both television stations. Adding the suggestions on developing concepts for pattern of morning news that the private television stations should develop more efficiency on creative news than entertainment news, and both television stations should develop more efficiency on the other elements than usual. The followings are the recommendations for future research. • Extending research period from 6 to 8 months and starts on the early of second semester. • Developing pattern of opened-ended research question to stimulate more answers. • Adding research hypothesis for testing significance of satisfaction differences. • Extending the target populations to the other upcountry universities. Keyword pattern of morning news, public television stations and private television stations

ปัจจุบันการรายงานข่าวภาคเช้าของสถานีโทรทัศน์ มี ก ารนํ า เสนอในรู ป แบบของการเล่ า ข่ า วเป็ น ส่ วนใหญ่ เนื่องจากได้รับความนิยมอย่างสูงจากกลุ่มเป้าหมายทุกเพศ ทุ กวั ย กล่ าวคื อสมาชิ กในครอบครั ว ซึ่ ง กํ า ลั ง ทํ า กิ จ วั ต ร ประจําวันก็สามารถชมหรือฟั งการเล่าข่าวในลักษณะผ่อน คลายคล้ายกับการสนทนาพูดคุยกันยามเช้าได้ด้วย จึงเป็นที่ นิ ยมและมี การติ ดตามมากขึ้ นจนเกิ ด การแข่ ง ขั น เพื่ อ แย่ ง กลุ่ ม เป้ า หมายระหว่ า งสถานี โทรทั ศน์ โดยมี การพั ฒนา รูปแบบการเล่าข่าวอย่างหลากหลายในลักษณะต่าง ๆ กัน ดั งนั้ นกลยุ ทธ์ ใหม่ ทางการตลาดในการรายงานข่ าวจึ งถู ก นํามาใช้เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อมุ่งหวัง การเพิ่ มระดับความนิยมส่งผลกําไรของบริษัทให้สูงขึ้นจาก รายได้ที่รับจากบริษัทผู้อุปถัมภ์รายการ ทําให้ผู้จัดรายการข่าว ไม่ ได้ คํ านึ งถึ งหั วใจสํ าคั ญของรายการ ซึ่ งควรจะเป็ นการ รายงานข่าวที่สมบูรณ์ด้วยเนื้อหาสาระที่ผู้ชมควรจะทราบ แต่ กลับกลายเป็นการนําเสนอข่าวที่ได้จากการอ่านหนังสือพิมพ์ ผสมกับการนําเสนอความคิดเห็นของผู้อ่านข่าว ที่บางครั้ง ปราศจากการวิเคราะห์ด้วยหลักการและเหตุผลที่ถูกต้อง ผู้วิจัยมีความเชื่อว่ารายการข่าวช่วงเช้าสามารถพัฒนา ให้ มี คุ ณภาพมากกว่ านี้ ได้ อี ก หากผู้ จั ดรายการและ สถานี โทรทั ศน์ นั้ นให้ ความสํ าคั ญกั บเรื่ องเนื้ อหาสาระของ รายการข่าวที่แท้จริง มากกว่าผลกําไรเชิงธุรกิจ ผู้วิจัยเห็นว่า สถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลซึ่งตั้งขึ้นมาด้วยเงินภาษีอากรของ ประชาชน ควรจะมีบทบาทและความรับผิดชอบในการนําเสนอ ข่าวที่มีเนื้อหาสาระถูกต้องได้ดีกว่าสถานีโทรทัศน์ของเอกชน ด้วยเหตุ ผลนี้ ผู้ วิ จั ยจึ งเห็ นสมควรสํ ารวจความพึ ง พอใจจากนั กศึกษาสื่ อสารมวลชนโดยตรง ซึ่งต่อไปจะต้อง ประกอบอาชีพในด้านนี้ เพื่อทราบถึงแนวคิดและข้อเสนอแนะ ทางวิชาการและนํามาปรับปรุงคุณภาพรูปแบบรายการต่อไป

คํานํา

วิธีดําเนินการวิจัย

วัตถุประสงค์ 1. ศึ กษาความพึ งพอใจของนั กศึ กษาด้ าน สื่ อสารมวลชน ที่ มี ต่ อรู ปแบบการรายงานข่ าวช่ วงเช้ า คุณลักษณะของผู้สื่อข่าว และการออกแบบฉากประกอบการ รายงานข่าวในสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลและเอกชน 2. ศึกษาแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการรายงานข่าว ช่วงเช้า แนวคิดและการพัฒนาผู้สื่อข่าว รวมทั้งการออกแบบ ฉากประกอบการรายงานข่าว -14-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


4. การวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูล รวบรวมข้ อมู ลจากแบบสอบถาม ที่ แจกให้ กลุ่ ม ตั ว อย่ า งด้ ว ยวิ ธี ก ารเลื อ กกลุ่ ม ตั ว อย่ า ง แบบบั ง เอิ ญ (accidental sampling) ซึ่งเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ ใช้หลักความน่าจะเป็น (nonprobability sampling) และ วิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ 1. ใช้โปรแกรม SPSS for windows ในการ วิเคราะห์ข้อมูล 2. วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( SD ) 3. เปรียบเทียบความพึงพอใจด้วยค่าเฉลี่ย และค่า ( SD ) 4. จัดระดับความพึงพอใจเป็น 3 ระดับ โดยมี ช่วงคะแนนความพึงพอใจดังนี้ ระดับความพึงพอใจ ช่วงระดับคะแนน น้อย 1 - 1.66 ปานกลาง 1.67 - 3.33 มาก 3.34 - 5.00

การวิ จั ยครั้ งนี้ เป็ นการวิ จั ยเชิ งสํ ารวจ (survey research) ประกอบด้วยหัวข้อที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ประกอบการศึกษาครั้งนี้คือนักศึกษา สาขาสื่อสารมวลชน หรือนิเทศศาสตร์ ที่กําลังศึกษาอยู่ในปี การศึกษา 2552 จากมหาวิทยาลัยของรัฐบาล 2 แห่ง และ มหาวิ ทยาลั ยเอกชน 2 แห่ ง ในกรุ งเทพมหานครและ ปริ ม ณฑล คื อ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย (640 คน) มหาวิ ทยาลั ยกรุ งเทพ (1,800 คน) มหาวิ ทยาลั ยธุ รกิ จ บัณฑิ ตย์ (400 คน) และมหาวิทยาลั ยศิ ลปากร (566 คน) รวมทั้งหมด 3,406 คน 2. การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้การกําหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วย วิธีการของ Taro Yamane (อัจฉรีย์ จันทลักขณา, 2551 : 140) ซึ่งกําหนดระดับความคลาดเคลื่อน (error : e) ที่ 5% ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 358 คน และปัดเพิ่มเป็น 400 คน จากนั้นใช้วิธีการกําหนดขนาดตัวอย่างแบบเท่า ๆ กันทุก มหาวิทยาลัย (disproportional stratified sampling : Butler, C.S. 1985: p 7-8) 3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่สร้างขึ้น ให้ครอบคลุมแนวคิดทางการวิจัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ดังนี้ ส่ วนที่ 1 ข้ อมู ลทั่ วไป เกี่ ยวกั บปั จจั ยส่ วนบุ คคล อาทิ เพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา สาขาวิชาเอก และพฤติกรรม การชมข่าวจากสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น ส่วนที่ 2 ความรู้ด้านการข่าว ด้านคุณลักษณะของ นักสื่อสารมวลชน การแต่งกายของผู้สื่อข่าว การแต่งกายของ ผู้ดําเนินรายการ และการออกแบบฉากประกอบการรายงาน ข่าว โดยวัดความรู้จากคําตอบที่แบ่งเป็น 2 ระดับ คือคําตอบ ที่ถูกต้อง และคําตอบที่ไม่ถูกต้อง จํานวน 38 ข้อ ส่วนที่ 3-5 วัดความพึงพอใจต่อรูปแบบการรายงาน ข่าวช่วงเช้า ด้านผู้สื่อข่าวและการออกแบบฉากประกอบการ รายงานข่าว จํานวน 12 ข้อ 10 ข้อ และ 6 ข้อ ตามลําดับ โดยวัดความพึงพอใจ 5 ระดับ ตามมาตรวัดของ Likert คือ มากที่ สุด ( 5 คะแนน) มาก (4 คะแนน) ปานกลาง (3 คะแนน) น้อย ( 2 คะแนน) น้อยที่สุด (1 คะแนน) ส่วนที่ 6 คําถามปลายเปิดด้านข้อเสนอแนะเพื่อ นําไปปรับปรุงด้านการเสนอข่าวของสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล และเอกชน

สรุปผลการวิจัย คําถามข้อที่ 1 นักศึกษามีความรู้ด้านการข่าว คุณลักษณะของนักสื่อสารมวลชน การแต่งกายของ ผู้สื่อข่าว การแต่งกายของผู้ดําเนินรายการ และการ ออกแบบฉากประกอบการรายงานข่าวหรือไม่? พิจารณาจากข้อมูลในตารางที่ 2 ในค่าเฉลี่ยรวม ของคําตอบที่ถูกต้อง ในรายละเอียดทั้ง 5 ด้าน ที่ระบุไว้ใน คําถาม ปรากฎว่านักศึกษาสามารถตอบคําถามได้อย่าง ถูกต้องถึง ร้อยละ 75.4, 91.4, 80.7, 94.4 และ 88.3 ตามลําดับ โดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมด ร้อยละ 86.04 ซึ่งแสดงให้เห็นว่านักศึกษามีความรู้ทั้ง 5 ด้าน ในระดับที่ดี มาก คําถามที่ 2-4 นักศึกษามีความพึงพอใจต่อ รูปแบบการายงานข่าวช่วงเช้า ผู้สื่อข่าว และการออกแบบ ฉากประกอบการรายงานข่ า วของสถานี โ ทรทั ศ น์ ข อง รัฐบาล และเอกชน มากน้อยกว่ากันเท่าใด? พิจารณาจากข้อมูลในตารางที่ 3-5 จากค่าเฉลี่ย ของความพึงพอใจในภาพรวม นักศึกษามีความพึงพอใจใน ทุกด้านจากสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล และเอกชน ใน ระดับมากเหมือนกัน ซึ่งการสรุปผลคําถามในการวิจัย ข้อ 2-4 เป็น -15-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


ปรมะ สตะเวทิน. การสื่อสารมวลชน : กระบวนการและทฤษฎี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจํากัดภาพ พิมพ์, 2542. อั จ ฉรี ย์ จั น ทลั ก ขณา. สถิ ติ : เครื่ อ งมื อ เพื่ อ การวิ จั ย ทาง สั ง คมศาสตร์ . พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่ 1. นครปฐม : โรงพิ ม พ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2550. มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช.ความรู้ เ บื้ อ งต้ น เกี่ ย วกั บ สื่อมวลชน. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551. มหาวิ ท ยาลั ย สุ โ ขทั ย ธรรมาธิ ร าช. การข่ า วเบื้ อ งต้ น . กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 2551. Butler, C.S. Statistics in Linguistics, 1st ed. Oxford : Basil Blachwell Ltd.,1985.

คําตอบในวัตถุประสงค์ข้อที่หนึ่ง ส่วนวัตถุประสงค์ข้อที่ สองนั้น ผู้วิจัยคาดหมายว่า จะได้รับคําตอบจากคําถาม แบบปลายเปิด แต่มีผู้ให้ความร่วมมือน้อยมาก ซึ่งสรุปเป็น สาระสําคัญได้ว่า ต้องการให้สถานีโทรทัศน์ของเอกชนให้ ความสําคัญของข่าวเชิงสร้างสรรค์มากกว่าข่าวบันเทิง และ ต้องการให้ทั้ง 2 สถานี พัฒนาผู้สื่อข่าวให้รายงานข่าวอย่าง มีคุณภาพ สําหรับการออกแบบฉากประกอบการรายงาน ข่าวนั้น ควรพัฒนาให้สอดคล้องกับประเภทของข่าว มากกว่านี้ ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป คือ • ควรขยายเวลาการวิจัยออกไปเป็น 6-8 เดือน กําหนดเวลาเริ่มต้น ในต้นของภาคการศึกษา ที่ 2 • พัฒนารูปแบบคําถามแบบปลายเปิด ให้จงู ใจ ผู้ตอบแบบสอบถาม • ควรมีการวิจัยต่อยอดจากการวิจัยครั้งนี้ ด้วย การหาคําตอบที่ชี้ชัดให้เห็นถึงความแตกต่าง ของความพึงพอใจด้วยการกําหนดเป็น สมมุติฐานการวิจัย • กําหนดประชากรเป้าหมายจากมหาวิทยาลัย อื่นที่อยู่ในภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ

คําขอบคุณ การศึกษาเรื่อง “ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขา สื่ อ สารมวลชนที่ มี ต่ อ รู ป แบบการรายงานข่ า วช่ ว งเช้ า ระหว่างสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลและเอกชน” สามารถ สําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีก็เพราะได้รับความอนุเคราะห์จาก รองศาสตราจารย์ อั จ ฉรี ย์ จั น ทลั ก ขณา ที่ ก รุ ณ าให้ คํ า แนะนํ า ในการศึ ก ษา วิ ธี วิ จั ย และให้ ข้ อ เสนอที่ เ ป็ น ประโยชน์อย่างยิ่งแก่คณะผู้วิจัย และขอขอบคุณนักศึกษา สาขาสื่ อ สารมวลชนจาก จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร ที่ ใ ห้ ค วามอนุ เ คราะห์ ต อบ แบบสอบถามที่ ใ ช้ ใ นการวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล ในครั้ ง นี้ และ ขอขอบคุณสถาบันวิจัยและพัฒนาที่ช่วยประสานงานใน เรื่องเอกสารให้คณะผู้วิจัยจนแล้วเสร็จ

บรรณานุกรม จรัญ จันทลักขณา และกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ. คัมภีร์การวิจัย และการเผยแพร่สู่นานาชาติ.พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : นิติธรรมการพิมพ์, 2551. จิรพร สิงควะนิช. ความคิดเห็นที่มีต่อภาพนางแบบหน้าหนึ่งของ ห นั ง สื อ พิ ม พ์ ร า ย วั น ศึ ก ษ า เ ฉ พ า ะ พ ร ะ นิ สิ ต ในมหาวิ ท ยาลั ย จุ ฬ าลงกรณ์ ร าชวิ ท ยาลั ย . กรุ ง เทพ มหนคร : วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาโท มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์, 2545. นรินทร์ นําเจริญ. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการรายงานข่าว พิมพ์ครั้ง ที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. นันทไฃย ปัญญาสุรฤทธิ์. ความพึงพอใจของผู้ประกันตนที่มีต่อ บริการการแพทย์ โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา . ก รุ ง เ ท พ ม ห า น ค ร : วิ ท ย า นิ พ น ธ์ ป ริ ญ ญ า โ ท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2541.

-16-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


ขาวสารความเคลื่อนไหว โครงการอบรมบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา เรื่อง "เกณฑตวั บงชี้การประกันคุณภาพการศึกษาใหม 2553" เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2554 ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ดําเนินการจัดโครงการอบรมบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา เรื่อง "เกณฑ์ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาใหม่ 2553" วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2554 เวลา 09.00-16.30 น. ณ สถาบันวิจัยและพัฒนา โดยมีผู้บริหารและ บุคลากรรวม 16 คน

-17-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


งานแสดงนิทรรศการผลงานศิลปกรรม โครงการปฏิบตั ิการไทยเขมแข็ง : ศิลปกรรมจากภูมปิ ญญาไทย "วิจติ รศิลป-สินไทย" วันที่ 22 กุมภาพันธ 2554 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแหงกรุงเทพฯ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นประธานในพิธีการแสดง นิทรรศการผลงานศิลปกรรมโครงการปฏิบตั ิการไทยเข้มแข็ง : ศิลปกรรมจากภูมิปัญญาไทย "วิจิตรศิลป์-สินไทย" โดย รองศาสตราจารย์ปริญญา ตันติสุข คณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศร์ เทียนประเสริฐ เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานและเป็นผู้มอบสูจิบัตรแก่ผู้อาํ นวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ เมื่อ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 18.00 น. ณ ห้องแสดงงานชั้น 2 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ -18-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


โครงการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจยั /สรางสรรค "ศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสรางสรรค" วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ณ ศูนยมานุษยวิทยาสิรนิ ธร กรุงเทพฯ

สถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้ดําเนินการจัดโครงการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัย/ สร้างสรรค์ "ศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์" เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กรุงเทพฯ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย คณาจารย์ นิสิต/นักศึกษา และผูส้ นใจทั่วไป รวมประมาณ 190 คน

-19-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


งานแสดงนิทรรศการ "All about Glass : ศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสรางสรรค" ระหวางวันที่ 29 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2554

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ดําเนินการจัดงานแสดงนิทรรศการ "All about Glass : ศิลปากร พัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์" ระหว่างวันที่ 29 เมษายน-6 พฤษภาคม 2554 ณ หอศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและ ภาพพิมพ์ โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงานดังกล่าว ผู้เข้าร่วมงาน ประกอบด้วย คณาจารย์ นักวิจัย นิสิต/นักศึกษา และผู้สนใจประมาณ 80 คน All About Glass คือนิทรรศการที่แสดงผลงานของศิลปินจากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งสร้างสรรค์งานจากแก้ว และศิลปินจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งสร้างสรรค์งาน จากวัสดุที่คล้ายแก้ว ซึ่งวัสดุดังกล่าวได้จากผลงานวิจัยของคณาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ ได้นําวัสดุเหลือใช้จากธรรมชาติ มาผ่านขบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทําให้ได้วัสดุที่มีลักษณะคล้ายแก้วและมีสีต่างๆกัน ผลงานทั้งหมดนี้อยู่ในโครงการ ศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 และเป็นการแสดงถึงความ พร้ อ มของมหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรในการเป็ น มหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง การสร้ า งสรรค์ โ ดยการบู ร ณาการองค์ ค วามรู้ ร ะหว่ า ง วิทยาศาสตร์และศิลปะ จนเกิดผลงานที่สามารถเป็นต้นแบบและนํามาให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ -20-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคําแหงศึกษาดูงาน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2554

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยรามคําแหงได้เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับด้านการบริหารและการจัดการของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องประชุม อธ.1302 สํานักงานอธิการบดี วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ และพาเข้าชมงาน "เฉลิมฉลองสองบดินทร์ ปราชญ์ ศิลปิน แห่งสยาม" เนื่องในสัปดาห์อนุรักษ์มรดกไทย ประจําปี 2554 ผู้เข้าศึกษาดูงานประกอบด้วย คณาจารย์ และบุคลากร รวม ประมาณ 25 คน -21-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


งาน "เฉลิมฉลองสองบดินทร ปราชญ ศิลปนแหงสยาม" เนื่องในสัปดาหอนุรักษมรดกไทย ประจําป 2554

สถาบันวัฒนธรรมภูมิภาคตะวันตก ร่วมกับ โครงการ “ศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์” สถาบันวิจัยและ พัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ดําเนินการจัดงาน “เฉลิมฉลองสองบดินทร์ ปราชญ์ ศิลปินแห่งสยาม” เนื่องในสัปดาห์อนุรักษ์ มรดกไทย ประจําปี 2554 ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2554 เวลา 9.00 - 19.00 น. ณ สถาบันวัฒนธรรมภูมิภาค ตะวันตก (ทับเจริญ) มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมเป็นประธานใน พิธีเปิด ในวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2554 เวลา 14.00 น. ณ สถาบันวัฒนธรรมภูมิภาคตะวันตก (ทับเจริญ) ผู้เข้าร่วมงาน ประมาณ 100 คน -22-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


ขอเชิญชวน...เสนอผลงานวิจยั ฉบับสมบูรณเพือ่ จัดพิมพเผยแพร ประจําป 2554 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากรขอเชิญชวนคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และผู้สนใจของมหาวิทยาลัย ศิลปากรเสนอผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่ ประจําปี 2554 เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัยของบุคลากร ในมหาวิทยาลัยให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ผู้ประสงค์จะเสนอผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สามารถขอและส่งผลงานวิจัยตามแบบ (สว.ว.13) ได้ที่ สถาบันวิจัยและพัฒนา ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2554 หรือสอบถามได้ที่ คุณหรรษา นิลาพันธ์ โทรศัพท์ 034 259 686, 034 255 808 โทรสาร 034 219 013 เบอร์ภายใน 21421, 21405 หรือ Download แบบฟอร์มได้ที่ http://www.surdi.su.ac.th

ขยายเวลารับสมัครสอบคัดเลือกขาราชการเพือ่ รับโอน/ยายมาดํารง ตําแหนงเจาหนาทีบ่ ริหารงานทั่วไป และตําแหนงนักวิชาการพัสดุ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดรับสมัครสอบคัดเลือกข้าราชการเพื่อรับโอน/ย้ายมาดํารงตําแหน่ง เจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห ารงานทั่ ว ไป จํ า นวน 1 อั ต รา และตํ า แหน่ ง นั ก วิ ช าการพั ส ดุ จํ า นวน 1 อั ต รา สั ง กั ด สถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม คุณสมบัติ 1. ผู้สมัครต้องเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 2. ต้องมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรี หรือเทียบเท่าไม่ต่ํากว่านี้ 3. ตําแหน่งนักวิชาการพัสดุต้องมีประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านพัสดุไม่น้อยกว่า 1 ปี ผู้ประสงค์จะสมัครสอบคัดเลือกให้ขอและยื่นใบสมัครด้วยตนเองได้ที่งานการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวัง สนามจันทร์ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2554 พร้อมหลักฐานการสมัคร ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.surdi.su.ac.th โทร.034 255 808

-23-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร นครปฐม 73000 e-mail: research.inst54@gmail.com , http://www.surdi.su.ac.th โทรศัพท 0-3425-5808 โทรสาร 0-3421-9013

-24-

จุลสารสถาบันวิจัยและพัฒนา ปที่ 20 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน-มิถุนายน 2554


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.