วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร

Page 1


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ปที่ 32 ฉบับที่ 1 (มกราคม​-มิถุนายน พ.ศ. 2555) SILPAKORN UNIVERSITY JOURNAL Volume 32 Number 1 (January-June 2012) ISSN 0857-5428 หนวยงานที่รับผิดชอบ

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร อ.เมือง จ.นครปฐม 73000

วัตถุประสงค์ 1. เพือ่ เผยแพรผลงานทางวิชาการสาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ของนักวิชาการทัง้

ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย 2. เปนสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเรียนรูทางวิชาการในสาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ 3. สงเสริมใหนักวิชาการและผูสนใจไดนำ�เสนอผลงานวิชาการในรูปบทความวารสาร

ที่ปรึกษา

ศาสตราจารยเกียรติคุณ ดร. เจตนา นาควัชระ ศูนยมานุษยวิทยาสิรินธร ศาสตราจารย ดร. สันติ เล็กสุขุม ภาควิชาประวัติศาสตรศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ศาสตราจารย ดร. กุสุมา รักษมณี ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผูชวยศาสตราจารย ดร. อริศร เทียนประเสริฐ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

บรรณาธิการ รองศาสตราจารยระเบียบ สุภวิรี

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ทุกบทความ​ไดรับการตรวจความถูกตองทางวิชาการโดยผูทรงคุณวุฒิ​

วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ผ่านการรับรองคุณภาพของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI)


กองบรรณาธิการ

ศาสตราจารยปรีชา เถาทอง ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศาสตราจารย ดร. สุวิไล เปรมศรีรัตน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซีย มหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารยพิษณุ ศุภนิมิตร ภาควิชาภาพพิมพ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ มหาวิทยาลัยศิลปากร รองศาสตราจารย สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ผูชวยศาสตราจารย ดร. มาเรียม นิลพันธุ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีการสอน คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร ผูชวยศาสตราจารย ดร. บูลยจีรา ชิรเวทย ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

บรรณาธิการบริหารวารสาร

นางปรานี วิชานศวกุล

กำ�หนดออก ปละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม) จำ�นวนพิมพ 300 เลม ราคาจำ�หนาย เลมละ 120 บาท สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่

พิมพที่

รศ.ระเบียบ สุภวิรี บรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 E-mail: dawgrabiab107@gmail.com หรือ คุณปรานี วิชานศวกุล บรรณาธิการบริหารวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 44/114 หมูบานเลิศอุบล ซอยพหลโยธิน 52 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 E-mail: pranee_aon1@hotmail.com Web site: http://www.journal.su.ac.th หรือ http://www.surdi.su.ac.th โรงพิมพมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท 034 – 255814


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ปที่ 32 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน พ.ศ. 2555)

สารบัญ บทบรรณาธิการ​

5

บทความประจำาฉบับ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษยภาครัฐโดยใชแนวคิดเรื่องสมรรถนะ​​ ​​​​​​​​​7 วนิดา เขียวงามดี การเลือกใชโปรแกรมสำาเร็จรูปทางการบัญชีใหเหมาะสมสำาหรับธุรกิจ​SMEs​ ​ จารุณี อภิวัฒนไพศาล สมรรถนะที่จำาเปนของฝายผลิตรายการโทรทัศน​ สมานใจ ขันทีทาว

23 ​

39

การประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม​นำาชีวิตพอเพียง​ป​2550​-​2553​ ​ ธีรศักดิ์ อุนอารมยเลิศ, นรินทร สังขรักษา, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม และจุรีวรรณ จันพลา

53

คำาสรรพนาม​man​ในภาษาเยอรมันกับคำาเทียบเคียงในภาษาไทย​ กรกช อัตตวิริยะนุภาพ

73

กาวสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน​2015​:​ขอทาทายหลักสูตรการทองเที่ยว​ และการผลิตบุคลากรของประเทศเวียดนาม ​ อารีย ถิรสัตยาพิทักษ์

89

การจำาลองวัตถุทางพิพิธภัณฑสำาหรับคนตาบอด​ ​ ​ ​ ธีรอาภา บุญจันทร, เสาวภา พรสิริพงษ และขวัญจิต ศศิวงศาโรจน

107


ปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด​ ​ ธัชฤทธิ์ ปนารักษ

​ ​

115

ภาคผนวก รายชื่อผูทรงคุณวุฒิอานบทความ​วารสาร​มหาวิทยาลัย​ศิลปากร​

137


บทบรรณาธิการ นับวาเปนเรื่องที่นาภาคภูมิใจที่วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ไดผานการรับรองคุณภาพจากศูนยดัชนีวารสารไทย (TCI หรือ Thai Citation Index) และจัดเขาอยูในฐานขอมูล TCI เรียบรอยแลว และจะถูกคัดเลือกเขาสูฐานขอมูล ACI (ASEAN Citation Index) ในโอกาสตอไป บทความสวนใหญที่ตีพิมพในฉบับนี้ เปนบทความวิจัยที่มาจากหลากหลายสาขา เรื่องแรก​ วนิดา​​ เขียวงามดี​ ไดเขียนบทความเรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษยภาครัฐ โดย ใชแนวคิดเรื่องหลักสมรรถนะ เพื่อมุงใหความรูความเขาใจเกี่ยวกับการนำาหลักสมรรถนะมาใชในการบริหาร ทรัพยากรมนุษยในองคกรภาครัฐใหมีประสิทธิภาพ ซึ่งกลาวถึงสมรรถนะวาเปนลักษณะเฉพาะของแตละบุคคล และองคประกอบของสมรรถนะที่สำาคัญคือ แรงจูงใจ อุปนิสัย อัตมโนทัศน บทบาททางสังคม ความรูและทักษะ โดยสำานักงาน กพ. ไดกำาหนดสมรรถนะเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำางานใหทุกภาคสวนราชการนำาหลัก สมรรถนะมาใชในการพัฒนาศักยภาพของบุคคลในภาครัฐ โดยกำาหนดใหขา ราชการพลเรือนตองมีสมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะดวยกัน คือ การมุงผลสัมฤทธิ์ บริการที่ดี การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ การยึดมั่นในความ ถูกตองชอบธรรมและจริยธรรม และการทำางานเปนทีม สวนผูบ ริหารก็ตอ งมีสมรรถนะทางการบริหาร 6 สมรรถนะ คือ สภาวะผูนำา วิสัยทัศน การวางกลยุทธภาครัฐ ศักยภาพเพื่อนำาการเปลี่ยนแปลง การควบคุมตนเอง และการ สอนงานและการมอบหมายงาน บทความวิจัยที่ศึกษาเรื่องสมรรถนะอีกเรื่องหนึ่งคือ สมรรถนะที่จำาเปนของฝาย ผลิตรายการโทรทัศน ของ สมานใจ​ขันทีทาว​ไดศึกษาองคประกอบสมรรถนะที่จำาเปนของบุคลากรฝายผลิต รายการโทรทัศน และพบวาสมรรถนะของบุคคลทีม่ หี นาทีผ่ ลิตรายการโทรทัศนทสี่ าำ คัญตามลำาดับคือ องคประกอบ ดานทักษะ การจัดการ ดานการผลิต และดานกระบวนการ นอกจากนี้ก็มีเรื่อง การศึกษาปจจัยที่มีอิทธิพลตอ ประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ที่ ธัชฤทธิ์​ ​​ปนารักษ​ ​ศึกษาวิจัยเพื่อคนหา ปจจัยทีส่ ง ผลตอประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด และพบวา ปจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลรวม ตอประสิทธิภาพในการบริหารงานของพัฒนาการจังหวัด อยางมีนยั สำาคัญทางสถิตใิ นสามลำาดับแรกคือ การจัดการ ความรู การมีทัศนคติที่ดี และการมีสวนรวมในการบริหารงาน ซึ่งสอดคลองกับปจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง ดานธุรกิจ SMEs จารุณ​ี อภิวฒ ั นไพศาล ไดศกึ ษาการเลือกใชโปรแกรมสำาเร็จรูปทางการบัญชีใหเหมาะสม สำาหรับธุรกิจ SMEs โดยรวบรวมรายชื่อโปรแกรมสำาเร็จรูปทางการบัญชีของไทยและแหลงสืบคนไว 32 แหง ซึ่งโปรแกรมเหลานี้ไดมาจากการพัฒนาโปรแกรมขึ้นใชเอง การซื้อโปรแกรมสำาเร็จรูป และการวาจางหนวยงาน ภายนอกพัฒนาโปรแกรม แตจากการสำารวจก็พบวาการซื้อโปรแกรมสำาเร็จรูปทางการบัญชีที่มีจำาหนายใน ทองตลาดเปนที่นิยมใชกันมาก นอกจากนี้ก็พบปญหาและอุปสรรคของการนำาโปรแกรมสำาเร็จรูปมาใช ไดแก เกิดความยุงยากในการประยุกตใชโปรแกรมใหเขากับลักษณะของธุรกิจ การเชื่อมตอกันระหวางระบบยอย ความ ยุงยากในการใชงานและการออกรายงาน ผูใชขาดความรูความเชี่ยวชาญ ตลอดจนไมมีบริการหลังการขาย แต การเลือกใชโปรแกรมบัญชีที่เหมาะสมกับธุรกิจจะมีประโยชนและชวยเพิ่มประสิทธิภาพการทำางาน ประหยัดเวลา ลดทรัพยากรมนุษย ลดตนทุนการดำาเนินงาน และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการทำางาน จากการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวของระบบทุนนิยมในปจจุบนั นัน้ ทำาใหไทยไดรบั ผลกระทบในการพัฒนา ประเทศ ไมวาจะเปนดานประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ประกอบกับ ประเทศไทยจำาเปนตองพัฒนาทรัพยากรมนุษยใหมีประสิทธิภาพและใหเหมาะสมกับสภาวการณในปจจุบัน กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จึงไดจัดทำาโครงการหมูบานเศรษฐกิจพอเพียงขึ้น ในป พ.ศ. 2552 จำานวน 160 หมูบาน เพื่อเสริมความเขมแข็งใหชุมชนและเปนการนำารองเพื่อขยายโครงการไปยังหมูบานอื่นๆ รวมถึง จัดใหมีศูนยการเรียนรูชุมชนที่ใชเปนแหลงถายทอดความรูในทองถิ่น การดำาเนินงานเหลานี้จำาเปนตองมีการ


ประเมินผลโครงการวาบรรลุวัตถุประสงคตามที่ไดกำ�หนดไวหรือไม ดังนั้น ธีรศักดิ์ อุนอารมยเลิศ และคณะ จึงไดทำ�การศึกษาการประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียงป 2550 - 2553 ดวยการสอบถาม ผูม สี ว นรวมโครงการ 3 กลุม คือ ผูบ ริหารสถาบันอุดมศึกษา อาจารยทปี่ รึกษาโครงการ และนิสติ นักศึกษาทีเ่ ขารวม โครงการ และพบวาโดยภาพรวมโครงการดังกลาวมีความเหมาะสมในระดับมาก และบรรลุตามวัตถุประสงคที่ ตั้งไว อีกทั้งนิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการก็ไดรับความรูความเขาใจและไดประสบการณตรง ตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียงอีกดวย ซึ่งนับไดวา งานวิจัยเรื่องนี้สามารถใชเปนขอมูลเพื่อการขยายโครงการดังกลาวไปได ทั่วทุกหมูบาน สำ�หรับดานภาษาศาสตร กรกช อัตตวิรยิ ะนุภาพ ไดศกึ ษาเปรียบเทียบคำ�สรรพนาม “man” ทีม่ ใี ชในภาษา เยอรมันกับคำ�เทียบเคียงของสรรพนามในภาษาไทย โดยใชขอมูลจากคลังขอมูลสองภาษาเทียบเคียงสองทิศทาง ทีป่ ระกอบดวยเรือ่ งสัน้ รวมสมัยของ 2 ภาษาดังกลาว สำ�หรับคำ�วา “man” ในภาษาเยอรมันนัน้ มีความหมายดัง้ เดิม คือ “ผูช าย” หรือ “มนุษย” และมักแปลเปนภาษาไทยแบบตรงตัววา “คนเรา” แตไมสามารถใชในบริบทเดียวกันกับ “man” ไดทุกครั้ง จึงเปนคำ�สรรพนามที่มีปญหาและไมมีเอกภาพ จากการศึกษาสรุปไดวา ภาษาไทยมีรูปของ คำ�เทียบเคียงคำ�สรรพนาม “man” ในภาษาเยอรมันได 14 รูป ซึง่ ภาษาไทยทีเ่ ทียบเคียงไดกบั ประโยคทีใ่ ช “man” ในภาษาเยอรมันนั้นสวนใหญเปนประโยคที่ไมมีประธาน ฉบับนี้มีบทความวิจัยที่หาอานไดยากเรื่องหนึ่งคือ การจำ�ลองวัตถุทางพิพิธภัณฑสำ�หรับคนตาบอด ของ ธีรอาภา บุญจันทร โดยศึกษาจากการทดลองกับคนตาบอดที่โรงเรียนคนตาบอดธรรมสากล จังหวัดสงขลา ดวยการสรางวัตถุจ�ำ ลองทีถ่ กู ตองเหมาะสม เพือ่ ใหคนตาบอดสามารถสรางภาพเสมือนของวัตถุจริงขึน้ ในสมองได อันทำ�ใหคนตาบอดสามารถใชชวี ติ อยูใ นสังคมไดเชนเดียวกับคนทัว่ ไป จากการศึกษาไดขอ สรุปวา วัตถุจ�ำ ลองทีด่ ี ตอการสัมผัสเพื่อการรับรูของคนตาบอด ควรมีรูปทรงหรือลักษณะเฉพาะของวัตถุ มีขนาดที่เหมาะสม มีลักษณะ เสมือนจริง มีความปลอดภัย และตองคงทน และอีกเรื่องหนึ่งที่นาสนใจคือเรื่อง กาวสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015 : ขอทาทายหลักสูตรการ ทองเที่ยวและการผลิตบุคลากรของประเทศเวียดนาม ของ อารีย ถิรสัตยาพิทักษ เปนการวิเคราะหสถานการณ หลักสูตร จุดออนและจุดแข็งของหลักสูตรดังกลาว เพื่อเตรียมความพรอมเรื่องการบริการและการทองเที่ยว เพื่อการเขาสูสังคมอาเซียนของประเทศเวียตนามในป ค.ศ. 2015 ผลการศึกษาพบวามหาวิทยาลัยในเวียตนาม ไดจัดการเรียนการสอนหลักสูตรดังกลาวมาตั้งแตหลังป ค.ศ. 2000 และปจจุบันมีทั้งหมด 40 แหง แตสามารถ ผลิตบัณฑิตไดเพียงรอยละ 50 ของความตองการแรงงานดานการทองเที่ยว หลักสูตรดังกลาวมีทั้งจุดออนและ จุดแข็ง สำ�หรับจุดออนที่พบก็คือ การขาดงบประมาณสนับสนุนการบริหารจัดการหลักสูตร คุณภาพการเรียน การสอน และคุณภาพบุคลากรที่สอน เมื่อไดวิเคราะหถึงสาเหตุที่ทำ�ใหเกิดจุดออนก็พบวาการศึกษาในระดับอุดม ศึกษาของเวียตนามไมสอดคลองกับกระแสความเคลือ่ นไหวและการเปลีย่ นแปลงของการศึกษาโลก ซึง่ ขอมูลทีไ่ ด จากการศึกษาเรื่องนี้นาจะเปนประโยชนตอสถาบันอุดมศึกษาของไทยที่จัดการเรียนการสอนหลักสูตรการ ทองเที่ยว เพื่อเตรียมความพรอมเขาสูสังคมอาเซียนของไทยในอนาคต กองบรรณาธิการขอขอบคุณนักวิชาการทุกทานทีก่ รุณาสงบทความมาลงตีพมิ พ และหวังวาบทความตางๆ ที่นำ�เสนอเหลานี้จะใหความรูแกนักวิชาการและผูอานทั่วไปไดเปนอยางดี สุดทายนี้ใครขอเรียนเชิญนักวิชาการ ทุกทานไดสง บทความทีน่ า สนใจมาลงตีพมิ พในวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากรฉบับถัดไป เพือ่ เผยแพรขอ มูลความรู ทางวิชาการไปสูสังคมแหงการเรียนรูใหกวางขวางมากยิ่งขึ้น

รองศาสตราจารยระเบียบ สุภวิรี บรรณาธิการ


การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษยภาครัฐ โดยใชแนวคิดเรื่องสมรรถนะ The Enhancement of Efficient Human Resource Management in the Public Sector​ Using Core Competencies Concept วนิดา เขียวงามดี 1 Wanida Khiawngamdee บทคัดยอ บทความฉบับนี้มุงใหความรูความเขาใจเกี่ยวกับการนำ�หลักสมรรถนะมาใชในการบริหารทรัพยากรบุคคลใน ภาครัฐ เพื่อเสริมสรางใหการทำ�งานของขาราชการและสวนราชการตางๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น โดย ใชสมรรถนะหลักที่เปนคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมเปนคุณลักษณะรวมของขาราชการพลเรือนทั้งระบบ เพื่อเปนการ หลอหลอมคานิยมและพฤติกรรมทีพ่ งึ ประสงครว มกัน จำ�นวน 5 สมรรถนะ ไดแก (1.) การมุง ผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation -ACH) เปนความมุงมั่นจะปฏิบัติราชการใหดีหรือใหเกินมาตรฐานที่มีอยู (2.) บริการที่ดี (Service Mind SERV) เปนความตั้งใจและความพยายามของขาราชการในการใหบริการตอประชาชน ขาราชการ หรือหนวยงาน อื่นๆ ที่เกี่ยวของ (3.) การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise – EXP) เปนความสนใจใฝรู สั่งสม ความรู ความสามารถของตนในการปฏิบัติราชการ (4.) การยึดมั่นในความถูกตองชอบธรรม และจริยธรรม (Integrity- ING) เปนการดำ�รงตำ�แหนงและประพฤติปฏิบัติอยางถูกตองเหมาะสมทั้งตามกฏหมาย คุณธรรม จรรยาบรรณแหงวิชาชีพ และจรรยาขาราชการเพือ่ ศักดิศ์ รีแหงความเปนขาราชการ (5.) การทำ�งานเปนทีม (Teamwork - TW) เปนความตัง้ ใจ ที่จะทำ�งานรวมกับผูอื่น เปนสวนหนึ่งของทีม หนวยงาน หรือสวนราชการ คำ�สำ�คัญ: 1. สมรรถนะ. 2. สมรรถนะหลัก. 3. การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ.

__________________

1

นักศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

Abstract This paper aims to provide knowledge and understanding of the principles of performance-based human resource management for the public sector to enhance the efficiency and effectiveness of the work of government officials and government offices, using the core competencies that are behavioral characteristics as the common characteristics of the entire civil service system. The five competencies comprise: (1.) achievement motivation - the dedication to offer civil services that meet or exceed the existing standards, (2.) service mind - the intention and effort of the government officials in providing services to people or other related government agencies, (3.) the accumulation of expertise in the profession - the interest in learning and accumulating knowledge for government work, (4.) adhering to integrity and ethics - maintaining the government position and acting according to legal and good moral practices, professional and governmental official ethics and dignity, and (5.) teamwork - the commitment to work with others as part of a team, department or government agency. Keywords: 1. Competencies. 2. Core competencies. 3. Human resource management for publicsector.

8


​การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษยภาครัฐ วนิดา เขียวงามดี

บทนำ� ภายใตกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก อยางไรพรมแดน หนวยงานภาครัฐจำ�เปนตองแสวงหา แนวทางในการพั ฒ นาประเทศเพื่ อ สร า งเสถี ย รภาพ และความมั่นคงใหเกิดขึ้นในทุกๆ ดาน รวมทั้งตอง พั ฒ นารู ป แบบการให บ ริ ก ารที่ ต อบสนองกั บ ความ ต อ งการของประชาชนเพื่ อ ก อ ให เ กิ ด ความพึ ง พอใจ ในการรั บ บริการ ดังนั้น การที่หนวยงานภาครั ฐ จะ สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตรการพัฒนาประเทศใหมี ประสิทธิภาพและบรรลุเปาหมายไดนั้น กลไกที่สำ�คัญ อยางหนึ่งคือ บุคลากรภาครัฐที่เปนกำ�ลังสำ�คัญในการ แปลงนโยบายจากรัฐบาลไปสูการปฏิบัติใหเปนไปตาม เจตนารมณ ข องรั ฐ ธรรมนู ญ แห ง ราชอาณาจั ก รไทย พุทธศักราช 2550 ที่ไดบัญญัติแนวนโยบายดานการ บริหารราชการแผนดินไวในมาตรา 78 วา “ใหรัฐตอง พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุงเนนการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของเจาหนาที่ของรัฐควบคูไป กับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำ �งานเพื่อใหการ บริหารราชการแผนดินเปนไปอยางมีประสิทธิภาพและ สงเสริมใหหนวยงานของรัฐใชหลักการบริหารกิจการ บานเมืองทีด่ เี ปนแนวทางในการปฏิบตั ริ าชการ” รวมทัง้ การปฏิบัติราชการจะตองเปนไปตามพระราชกฤษฎีกา วาดวยหลักเกณฑและวิธีการบริหารกิจการบานเมือง ที่ ดี พ.ศ. 2546 ซึ่ ง มี เ จตนารมณ ใ ห ส  ว นราชการ ปฏิบัติงานโดยวิธีการบริหารกิจการบานเมืองที่ดีเพื่อ ประโยชนสุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ตอภารกิจ ของรัฐ มีประสิทธิภาพเกิดความคุมคาในเชิงภารกิจ ของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำ�เปน ประชาชนไดรับการอำ�นวยความสะดวกและไดรับการ ตอบสนองความตองการ ดังนั้น หนวยงานภาครัฐจึง จำ�เปนตองมีการพัฒนาคุณภาพบุคลากรในภาครัฐให มี ค วามรู  ความสามารถ เสริ ม สร า งทั ก ษะที่ ทั น ต อ สภาพแวดลอมที่เปลี่ยนแปลงอยูตลอดเวลา เพื่อให การปฏิ บั ติ ง านของภาครั ฐ สามารถตอบสนองความ ตองการของประชาชนผูรับบริการ และเปนการสราง ศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันกับ นานาประเทศ บุคลากรถือไดวาเปนปจจัยหลักและ กำ � ลั ง สำ � คั ญในการดำ � เนินงานและนำ � ความสำ � เร็ จ มา

สูองคการ โดยเฉพาะอยางยิ่งบุคลากรในภาครัฐ ซึ่ง เปนตัวแปรสำ�คัญของความสำ�เร็จในการแปลงนโยบาย จากภาครั ฐ ไป สู  ก ารปฏิ บั ติ ใ ห เ กิ ด ผลสั ม ฤทธิ์ การ พั ฒ นาศั ก ยภาพของบุ ค ลากรในภาครั ฐ ให มี ค วามรู  ความสามารถและมีทักษะที่จำ�เปนตองใชในการปฏิบัติ งาน จึงจำ�เปนตองดำ�เนินการอยางตอเนื่อง เพื่อให สอดคลองกับแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม ทีม่ กี ารปรับเปลีย่ นวัฒนธรรมและวิธกี ารทำ�งานทีเ่ ปลีย่ น ไปจากเดิม เชน ปรับระบบวิธีการทำ�งานจากเดิมที่ ใชคนเปนหลักมาเปนการใชเทคโนโลยีระบบเครือขาย คอมพิวเตอร มีการใหบริการทางอิเลคทรอนิคสมาก ขึ้น พัฒนาระบบการใหบริการแบบเบ็ดเสร็จ (One stop service) เพื่ออำ�นวยความสะดวกสบายใหกบั ประชาชน ผู  รั บ บริ ก าร มี ก ารปรั บ ระบบวิ ธี ก ารบริ ห ารงานจาก เดิมที่ตางคนตางทำ �มาเปนแบบบูรณาการเชื่อมโยง ทำ�งานเปนทีมมีการแลกเปลี่ยนขอมูลขาวสารกันมาก ขึ้นทำ�ใหการทำ�งานไมซ้ำ�ซอน มีการประสานงานที่ งายและไมสิ้นเปลืองงบประมาณ การปรับเปลี่ยนการ ติ ดต อ สื่ อ สารสั่ ง การเป น วงจรเครื อ ข า ยและประสาน งานในแนวราบมากขึ้ น สร า งวั ฒ นธรรมการทำ � งาน แบบมีสวนรวมเปลี่ยนการทำ�งานเพื่อระบบและตาม ระเบียบมาเปนการทำ�งานเพื่อผูรับบริการโดยมุงผล สัมฤทธิ์เพื่อสวนรวม เคารพสิทธิหนาที่ของประชาชน จัดขนาดองคกรใหเหมาะสม เปดโอกาสใหเอกชนมี บทบาทมากขึ้น เนนผลสำ�เร็จของงานเปนเกณฑ มีการ วัดผลงานที่มีประสิทธิภาพชัดเจน จากหลักการบริหาร จั ด การภาครั ฐ แนวใหม ทำ � ให บุ ค ลากรในภาครั ฐ ถู ก คาดหวังวาจะตองเปนบุคลากรทีม่ คี ณ ุ ภาพ เปนมืออาชีพ มีความสามารถในการเรียนรูและปรับตัวใหทันตอการ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เปนบุคลากรที่มีมาตรฐาน ทางคุณธรรมสูง ซือ่ สัตยสจุ ริตยุตธิ รรมมีความเปนกลาง ปฏิบตั หิ นาทีด่ ว ยหลักการและเหตุผลทีน่ า เชือ่ ถือทำ�งาน มุงผลสัมฤทธิ์คือมีศีลธรรมและจริยธรรมเปนที่วางใจ ของประชาชนเปนบุคคลที่มีทักษะดานมนุษยสัมพันธ ยอมรับฟงความคิดเห็นของผูอ นื่ เปดโอกาสใหประชาชน มีสวนรวมในการตัดสินใจ การประกาศใช พ ระราชบั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บ ขาราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ถือเปนอีกกาวหนึ่งใน

9


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

การพัฒนาระบบราชการไทยใหมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากเปนกฏหมายฉบับแรก ที่มีความมุงหวังที่ จะสรางบุคลากรในภาครัฐใหมีความเปนมืออาชีพ โดย การสรางสายงานตางๆ ใหมีความชัดเจน รวมถึงมีการ ปรับปรุงระบบเงินเดือนใหมีความสอดคลองกับความ ยากงายของลักษณะงาน นอกจากนีส้ งิ่ ทีเ่ ปนหัวใจสำ�คัญ ของกฎหมายดังกลาวคือการนำ�หลักสมรรถนะมาใชใน การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐเพือ่ เสริมสรางใหการ ทำ�งานของบุคลากรในภาครัฐและสวนราชการตางๆ มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

ความหมายของสมรรถนะ สำ�นักงาน ก.พ. ไดกำ�หนดนิยามของสมรรถนะ วาเปน “คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมทีเ่ ปนผลมาจากความรู ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอืน่ ๆ ทีท่ �ำ ใหบคุ คล สามารถสรางผลงานไดโดดเดนกวาเพื่อนรวมงานอื่นๆ ในองคการ” (คณะกรรมการขาราชการพลเรือน 2548 : 4) ซึ่งอาจกลาวไดวาความรู ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ของบุคคลจะสงผลใหบุคคลมี สมรรถนะหรือพฤติกรรมในการทำ�งานในรูปแบบตางๆ ดังแผนภาพที่ 1.

แผนภาพที่ 1. แสดงความสัมพันธระหวางคุณลักษณะของบุคคล สมรรถนะ และผลงาน คุณลักษณะของบุคคล

สมรรถนะ 1

องค ความรูและ ทักษะตางๆ บทบาทที่แสดงออกตอ สังคม ภาพลักษณภายใน อุปนิสัย แรงผลักดันเบื้องลึก

สมรรถนะ 2

พฤติกรรม

สมรรถนะ 3

ผลงาน​

สมรรถนะ 4

สมรรถนะ 5

ที่มา : คณะกรรมการขาราชการพลเรือนไทย 2548 : 5 จากแผนภาพสามารถอธิบายไดวา คุณลักษณะ ของบุคคลนั้นเปรียบเหมือนภูเขาน้ำ �แข็งที่ลอยอยูใน น้ำ � โดยมี ส  ว นหนึ่ ง ที่ เ ป น ส ว นน อ ยลอยอยู  เ หนื อ น้ำ � ไดแก ความรูที่บุคคลมีในสาขาตางๆ ที่เรียนรูมา และ สวนของทักษะ ไดแก ความเชี่ยวชาญ ชำ�นาญพิเศษ ในดานตางๆ สวนทีล่ อยอยูเ หนือน้�ำ นีเ้ ปนสวนทีส่ งั เกต และวัดไดงา ย สำ�หรับสวนของภูเขาน้�ำ แข็งทีอ่ ยูใ ตน�้ำ นัน้ เปนสวนที่มีปริมาณมากกวาสังเกตและวัดไดยากกวา และเปนสวนทีม่ อี ทิ ธิพลตอพฤติกรรมของบุคคลมากกวา

10

สวนตางๆ นีไ้ ดแก บทบาททีแ่ สดงออกตอสังคม (Social Role) ภาพลักษณของบุคคลทีม่ ตี อ ตนเอง (Self-Image) คุณลักษณะสวนบุคคล (Traits) และแรงจูงใจ (Motives) สวนทีอ่ ยูเ หนือน้�ำ นัน้ เปนสวนทีส่ มั พันธกบั เชาวนปญ  ญา ของบุคคล ซึง่ การทีบ่ คุ คลมีเพียงความฉลาดทีท่ ำ�ใหเขา สามารถเรียนรูองคความรู และทักษะไดเทานั้น ซึ่งยัง ไมเพียงพอที่จะทำ�ใหเขาเปนผูที่มีผลการปฏิบัติงาน ที่ โ ดดเด น บุ ค คลจำ � เป น ต อ งมี แ รงผลั ก ดั น เบื้ อ งลึ ก คุณลักษณะสวนบุคคล ภาพลักษณของบุคคลที่มีตอ


​การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษยภาครัฐ วนิดา เขียวงามดี

ตนเองและบทบาททีแ่ สดงออกตอสังคมทีเ่ หมาะสมดวย จึงจะทำ�ใหเขาสามารถเปนผูท มี่ ผี ลงานทีโ่ ดดเดนได จาก คำ�นิยามของสำ�นักงาน ก.พ. ดังกลาวมีความสอดคลอง กับทัศนะของสเปนเซอร และสเปนเซอร (Spencer & Spencer 1993 : 9-11) ที่วาสมรรถนะเปนลักษณะ เฉพาะของแตละบุคคล (Underlying Characteristic) ที่ มีความสัมพันธเชิงเหตุและผล (Causal Relationship) จากความมี ป ระสิ ท ธิ ผ ลของเกณฑ ที่ ใ ช (CriterionReference) และ/หรือ การปฏิบัติงานที่ไดผลสูงสุด (Superior Performance) และไดมองวา สมรรถนะมี องคประกอบที่สำ�คัญ ดังนี้ (1.) แรงจูงใจ (Motive) เปนสิง่ ทีบ่ คุ คลคิดถึงหรือ มีความตองการ ซึง่ แรงจูงใจจะเปนตัวผลักดันหรือแรงขับ ใหบุคคลกระทำ�พฤติกรรม หรือตัวกำ�หนดทิศทางหรือ ทางเลื อ กในการกระทำ� พฤติกรรมเพื่อตอบสนองต อ เป า หมาย หรื อหลี กหนี จ ากสิ่ง ใดสิ่ ง หนึ่ง ที่ ต นไม พึ ง ปรารถนา เชน เมื่อบุคคลตั้งเปาหมายที่ทาทายจะ ทำ�ใหเขามีความรับผิดชอบ มีความกระตือรือรน และ มุงมั่นที่จะทำ�งานใหประสบความสำ�เร็จ และจะใชเปน ขอมูลยอนกลับเพื่อทำ�งานใหดียิ่งๆ ขึ้นไป (2.) อุปนิสยั (Trait) เปนคุณลักษณะทางกายภาพ ของบุคคล ซึ่งจะแสดงออกมาเพื่อตอบสนองตอขอมูล หรือสถานการณตางๆ อยางสม่ำ�เสมอ อุปนิสัยเปนสิ่งที่ เกิดจากการศึกษา การอบรมเลี้ยงดู ประสบการณ และ การเรียนรูของบุคคล สมรรถนะดานอุปนิสัยเชน การ ควบคุมอารมณภายใตสภาวะความกดดัน ความคิดริเริม่ เปนตน (3.) อัตมโนทัศน (Self-Concept) หรือความคิด เห็นเกี่ยวกับตนเอง อาจรวมถึงทัศนคติ (Attitude) คา นิยม (Value) จินตภาพสวนบุคคล (Self-Image) เปนตน (4.) บทบาททางสังคม (Social Role) หมายถึง สิ่งที่บุคคลตองการสื่อใหผูอื่นในสังคมเห็นวาตัวเขามี บทบาทตอสังคมอยางไรบาง เชน การเปนผูนำ�ทีมงาน ความมีจริยธรรม เปนตน (5.) ความรู (Knowledge) หมายถึง ขอมูล ความรู ความเขาใจในหลักการแนวคิดตางๆ ทีบ่ คุ คลจำ�เปนตอง มีในสาขาวิชาชีพนัน้ ๆ หรือกลาวอยางสัน้ ๆ ก็คอื “บุคคล ตองมีความรูอะไรบาง”

(6.) ทักษะ (Skill) หมายถึง ความสามารถ ความชำ�นาญหรือความคลองแคลวในการปฏิบัติงาน ทั้งดานใชอวัยวะสวนใดสวนหนึ่งของรางกาย หรือ การใชสมองเพื่อคิดสิ่งตางๆ หรือกลาวอยางสั้นๆ ก็ คือ “บุคคลตองทำ�อะไรไดบาง” นิยามของสำ�นักงาน ก.พ.ดังกลาวมีลักษณะ สอดคลองกับแนวคิดของแมคคลีแลนด ซึ่งจัดวาเปน นักวิชาการที่มีชื่อเสียงในเรื่องนี้ ที่ไดใหคำ�จำ�กัดความ ของสมรรถนะ (Competency) ไววาเปนบุคลิกลักษณะ ที่ ซ  อ นอยู  ภ ายในป จ เจกบุ ค คล ซึ่ ง สามารถผลั ก ดั น ใหปจเจกบุคคลนั้นสรางผลการปฏิบัติงานที่ดี หรือตาม เกณฑที่กำ�หนดในงานที่ตนรับผิดชอบ โดยสมรรถนะ (Competency) ประกอบไปดวยองคประกอบ 5 สวน กลาวคือ สวนที่เปนความรู (Knowledge) และทักษะ (Skills) นั้น ถือวาเปนสวนที่คนแตละคนสามารถพัฒนา ใหมีขึ้นไดไมยากนัก ดวยการศึกษาคนควาทำ�ใหเกิด ความรูแ ละการฝกฝนปฏิบตั ทิ �ำ ใหเกิดทักษะ ซึง่ ในสวนนี้ นักวิชาการบางทานเรียกวา “Hard Skills” ในขณะที่ องคประกอบสวนที่เหลือ คือ self-concept คือ ทัศนคติ คานิยมและความเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณของตนเอง รวมทั้ง Trait คือบุคลิกลักษณะประจำ�ของแตละบุคคล และ Motive คือ แรงจูงใจหรือแรงขับภายในของแตละ บุคคล ซึ่งเปนสิ่งที่พัฒนายาก เพราะเปนสิ่งที่ซอนอยู ภายในตัวบุคคลและสวนนี้นักวิชาการบางทานเรียกวา “soft skills” นอกจากนี้แลวแมคคลีแลนด ยังไดอธิบาย ความหมายขององค ป ระกอบสมรรถนะทั้ ง 5 ส ว น ประกอบดวย (1.) ทักษะ (Skills) คือ สิ่งที่บุคคลกระทำ� ได ดี และฝ ก ปฏิ บั ติ เ ป น ประจำ � จนเกิ ด ความชำ � นาญ (2.) ความรู (Knowledge) คือ ความรูเฉพาะดานของ บุคคล (3.) ทัศนคติ คานิยม และความเห็นเกี่ยวกับ ภาพลักษณของตน หรือสิ่งที่บุคคลเชื่อวาตนเองเปน (Self-concept) เชน self-confidence คนทีม่ คี วามเชือ่ มัน่ ในตนเองสู ง จะเชื่ อ ว า ตนเองสามารถแก ไ ขป ญ หา ตางๆ ได เปนตน (4.) บุคลิกลักษณะประจำ�ของแตละ บุคคล (Trait) เปนสิ่งที่อธิบายถึงบุคคลนั้น เชน เขาเปน คนที่นาเชื่อถือและไววางใจได หรือเขามีลักษณะเปน ผูนำ� เปนตน และ (5.) แรงจูงใจหรือแรงขับภายใน (Motive) ซึ่ ง ทำ � ให บุ ค คลแสดงพฤติ ก รรมที่ มุ  ง ไปสู 

11


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

สิ่งที่เปนเปาหมายของเขา เชน บุคคลที่มุงผลสำ�เร็จ (Achievement orientation) มักชอบตั้งเปาหมายที่ ทาทาย และพยายามทำ�งานใหสำ�เร็จตามเปาที่ตั้งไว ตลอดจนพยายามปรับปรุงวิธีการทำ�งานของตนเอง ตลอดเวลา (McClelland 1993 อางใน สุกัญญา รัศมี ธรรมโชติ 2548) ในการที่จะนำ �สมรรถนะมากำ�หนดเปน ระดับ สมรรถนะเพื่ อ ใช วั ด ความสามารถในการปฏิ บั ติ ง าน ของบุคคลนั้น สเปนเซอร และ สเปนเซอร (Spencer & Spencer 1993) ไดเสนอแนวคิดไววา 1.) กลุมของสมรรถนะ (Competency Cluster) เป น กลุ  ม สมรรถนะที่ จั ด ตามความต อ งการ เพื่ อ วิเคราะหจำ�แนกระดับพฤติกรรมระหวางผูที่เขาใจงาน อยางลึกซึ้งกับผูที่เขาใจงานเพียงผิวเผิน โดยกลุมหนึ่ง จะประกอบด ว ยหนึ่ ง สมรรถนะ หรื อ มากกว า ก็ ไ ด ตัวอยางเชน กลุม การชวยเหลือ และการบริการ (Helping and Human Service) ประกอบดวยสมรรถนะหลัก 2 ดาน คือ ความเขาใจในดานปฏิสัมพันธ (Interpersonal Understanding) และการใหบริการลูกคา (Customer Service Orientation) เปนตน 2.) มิติ (Dimensions) เปนมิติของสมรรถนะ โดยจะพิ จ ารณาครอบคลุ ม ถึ ง ความรู  สึ ก ที่ ต  อ งการ อยางแทจริง และความสำ�เร็จทีต่ อ งการใหเกิดขึน้ ขนาด ของผลกระทบตอคนและโครงการ ความซับซอนของ พฤติกรรม ความพยายามและความเปนเอกลักษณของ งาน แลวนำ�มากำ�หนดจำ�นวนมิติในแตละสมรรถนะ ซึ่งสวนมากสมรรถนะหนึ่งจะประกอบดวย 2-3 มิติ ตัวอยางเชน การใหบริการลูกคา (Customer Service Orientation) ประกอบดวย 2 มิติ คือ มิตทิ เี่ กีย่ วกับความ ตองการของลูกคา (Focus on Client’s Needs) และมิติ ที่เกี่ยวกับการชวยเหลือหรือบริการ (Initiative to Help or Serve Others) 3.) ระดับของสมรรถนะ (Competency Level) เปนการอธิบายระดับพฤติกรรมของสมรรถนะ โดยทัว่ ไป มักจะแบงออกเปน 3 ระดับ คือ พฤติกรรมทางบวก พฤติ ก รรมเป น กลางและพฤติ ก รรมทางลบ แต ล ะ พฤติ ก รรมจะอยู  ใ นทุ ก มิ ติ ซึ่ ง มิ ติ ข องสมรรถนะจะ พิจารณารวมถึงความตองการจากที่กลาวในขางตน

12

จากที่ ก ล า วมาข า งต น จะเห็ น ได ว  า สมรรถนะเป น สิ่ ง ที่ ส ะท อ นให เ ห็ น ถึ ง ลั ก ษณะการปฏิ บั ติ ง านและ เป น ป จ จั ย แห ง ความสำ � เร็ จ หรื อ เป น ป จ จั ย ที่ นำ � ไป สูผ ลลัพธในการปฏิบตั งิ านใหบรรลุผลสำ�เร็จได องคการ สามารถตรวจสอบไดวาบุคคลากรในแตละตำ�แหนงควร มีสมรรถนะอะไรบางและยังขาดสมรรถนะในดานใด เพือ่ แกไขและพัฒนาไดอยางถูกวิธีเพื่อใหบุคลากรไดรับ โอกาสในการพั ฒ นาตนเองให มี ค วามพร อ มที่ จ ะ รับผิดชอบในหนาที่การงานที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกัน องคการก็จะไดรับผลดีในแงของการมีประสิทธิภาพ มากขึ้ น เนื่ อ งจากมี บุ ค ลากรที่ มี ค วามสามารถในการ ปฏิบัติงานอยางแทจริง การใช ส มรรถนะเป น เครื่ อ งมื อ ในการบริ ห าร จัดการทรัพยากรบุคคลไดรับความนิยมและทวีความ สำ�คัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในวงการบริหารทรัพยากรบุคคล ขององค ก ารชั้ น นำ � ต า งๆ ได นำ � เอาระบบสมรรถนะ มาเป น พื้ น ฐานในการพั ฒ นาทรั พ ยากรบุ ค คลอย า ง เปนระบบตอเนื่อง สามารถใชทรัพยากรไดอยางถูก ทิศทาง และคุมคากับการลงทุน นอกจากนี้ยังเปนการ สรางมูลคาเพิ่มใหแกบุคลากรในองคการอีกแนวทาง หนึ่ ง ด ว ย ดั ง นั้ น สมรรถนะจึ ง มี ค วามสำ � คั ญ ต อ การ บริหารทรัพยากรบุคคลขององคการ ดังนี้ (อุกฤษณ กาญจนเกตุ 2543 : 15) 1.) เปนเครื่องมือในการแปลงวิสัยทัศน พันธกิจ เปาประสงค วัฒนธรรมองคการ และยุทธศาสตรตางๆ ขององคการ มาสูกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล 2.) เปนเครือ่ งมือในการพัฒนาความสามารถของ บุคลากรในองคกรอยางมีระบบตอเนื่อง และสอดคลอง กับวิสยั ทัศน พันธกิจ เปาประสงค วัฒนธรรมองคกร และ ยุทธศาตรขององคการ 3.) เปนมาตรฐานการแสดงพฤติกรรมทีด่ ใี นการ ทำ�งานของบุคลากร ซึ่งสามารถนำ�ไปใชในการวัดและ ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรไดอยางชัดเจน และมีประสิทธิภาพ 4.) เป น พื้ น ฐานสำ � คั ญ ของระบบการบริ ห าร ทรัพยากรบุคคลในดานตางๆ ขององคกร เชน การ สรรหาและคัดเลือกบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การ ประเมินผลการปฏิบตั งิ าน การพัฒนาความกาวหนาทาง


​การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษยภาครัฐ วนิดา เขียวงามดี

อาชีพ การวางแผนการสืบทอดตำ�แหนงและการจาย ผลตอบแทน เปนตน การนำ�แนวคิดเรือ่ งสมรรถนะมาใชในการบริหาร จัดการทรัพยากรบุคคล จึงเชื่อวาจะทำ�ใหการบริหาร จัดการทรัพยากรบุคคลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไมวา จะเปนเรือ่ งการคัดเลือก การพัฒนา และการบริหารผลงาน กลาวคือในการคัดเลือกทีเ่ ดิมเนนเพียงการวัดความถนัด และความรูเฉพาะในงานซึ่งแมจะเปนสิ่งที่สำ�คัญในการ ทำ�งานแตวายังไมเพียงพอยังตองเนนสวนที่อยูใตน้ำ� ของบุคคลซึ่งไดแกคานิยม ทัศนคติ บุคลิกภาพ เพิ่มขึ้น ดวยเพราะสิ่งเหลานี้จะสงผลใหพฤติกรรมการทำ�งาน ของบุ ค คลเป น ไปในลั ก ษณะที่ อ งค ก ารต อ งการหรื อ ไมตองการ ในดานการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเดิมอาจ เนนเพียงเรื่องความรูและทักษะ จึงตองหันมาใหความ สำ�คัญกับพฤติกรรมในการทำ�งานเพิ่มขึ้น ตลอดจนตอง หาแนวทางในการฝกอบรมใหขา ราชการมีพฤติกรรมใน การทำ�งานทีอ่ งคการตองการ สวนการบริหารผลงานซึง่ เกี่ยวของโดยตรงกับการประเมินผลการปฏิบัติงานและ การจายคาตอบแทนเดิมอาจเนนเพียงผลงานที่บุคคล สามารถผลิตได การใหความสำ�คัญกับพฤติกรรมการ ทำ�งานโดยมีการประเมินพฤติกรรมในการทำ�งานและ จายคาตอบแทนใหสัมพันธกับพฤติกรรมในการทำ�งาน แทนที่จะเนนที่ผลงานเพียงอยางเดียวจะทำ�ใหบุคคล มี พ ฤติ ก รรมที่ พึ ง ประสงค เ พิ่ ม ขึ้ น อี ก ประการหนึ่ ง ใน หนวยงานที่ผลผลิตสุดทายเห็นไดไมชัดเจน การเพิ่ม การวั ด พฤติ ก รรมในการทำ � งานจะทำ � ให ส ามารถวั ด ผลงานได อ ย า งครอบคลุ ม มากยิ่ ง ขึ้ น (เกริ ก เกี ย รติ ศรีเสริมโภค 2546 : 13) การดำ�เนินการของ สำ�นักงาน ก.พ. การนำ � หลั ก สมรรถนะมาใช ใ นการบริ ห าร ทรัพยากรบุคคลในภาคราชการพลเรือนไดมีการขยาย ขอบเขตคุณสมบัตขิ องผูด �ำ รงตำ�แหนงตางๆ จากเดิมทีม่ ี การใหความสำ�คัญเฉพาะเรือ่ งของความรูค วามสามารถ โดยใหเพิ่มคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เปนผลมาจาก ความรู ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ที่ ทำ�ใหบุคคลสามารถสรางผลงานที่โดดเดนในองคการ หรือที่เรียกวา “สมรรถนะ” ไวในมาตรฐานกำ�หนดดวย จึงเปนผลใหทุกสวนราชการจำ�เปนตองมีการกำ�หนด

มาตรฐานดานสมรรถนะที่จำ�เปนสำ�หรับการปฏิบัติงาน ในตำ�แหนงตางๆ โดยสำ�นักงาน ก.พ.ไดก�ำ หนดประเภท ของสมรรถนะออกเปน 3 ประเภท ไดแก สมรรถนะหลัก สมรรถนะทางการบริหาร และสมรรถนะเฉพาะตาม ลักษณะงานที่ปฏิบัติ โดยสำ�นักงาน ก.พ. ไดกำ�หนด ใหขาราชการพลเรือนตองมีสมรรถนะหลักจำ �นวน 5 สมรรถนะ ดังนี้ 1.) การมุ  ง ผลสั ม ฤทธิ์ (Achievement Motivation - ACH) คำ�จำ�กัดความ : ความมุงมั่นจะปฏิบัติราชการ ให ดี ห รื อ ให เ กิ น มาตรฐานที่ มี อ ยู  โดยมาตรฐานนี้ อาจเปนผลการปฏิบัติงานที่ผานมาของตนเอง หรือ เกณฑวัดผลสัมฤทธิ์ที่สวนราชการกำ�หนดขึ้น อีกทั้ง ยั ง หมายรวมถึ ง การสร า งสรรค พั ฒ นาผลงานหรื อ กระบวนการปฏิบตั งิ านตามเปาหมายทีย่ ากหรือทาทาย ชนิดที่อาจไมเคยมีผูใดสามารถกระทำ�ไดมากอน จากคำ � จำ � กั ด ความของการมุ  ง ผลสั ม ฤทธิ์ อนุ ม านได ถึ ง คุ ณ ลั ก ษณะหลายอย า งที่ สั ม พั น ธ กั น ทีแ่ สดงถึงการมุง ผลสัมฤทธิ์ ไดแก การพยายามปรับปรุง งาน (Striving for Improvement) การทำ�งานไดตาม เปาหมาย (Results Orientation) การทำ�งานไดดกี วาคน อื่นๆ (Competitiveness) และการทำ�งานที่ยากทาทาย ซึ่งอาจไมเคยมีใครทำ�มากอน (Innovation) ดังนั้น ในการพิจารณาสมรรถนะนี้สิ่งที่ควรพิจารณารวมกัน คื อ (1.) ความสมบู ร ณ ข องการทำ � กิ จ กรรมในงาน (2.) ผลกระทบของผลสำ�เร็จในงานวาเกี่ยวกับระดับ บุคคล ระดับกลุม หรือระดับหนวยงาน (3.) ระดับของ นวั ต กรรมที่ ส ร า ง เช น เป น สิ่ ง ใหม ต  อ หน ว ยงาน สวนราชการ หรือตอวิชาชีพ สำ � หรั บ สมรรถนะการมุ  ง ผลสั ม ฤทธิ์ นี้ มี ค วาม คาบเกีย่ วกับสมรรถนะอืน่ ๆ เชน การคิดริเริม่ สรางสรรค (Initiative) การสืบเสาะหาขอมูล (Information Seeking) การคิดวิเคราะห (Analytical Thinking) การมองภาพ องครวม (Conceptual Thinking) และความยืดหยุน ผอนปรน (Flexibility) การเกี่ยวของดังกลาวเปนการ เกี่ ย วข อ งในแง ที่ ว  า การที่ บุ ค คลจะแสดงพฤติ ก รรม การมุง ผลสัมฤทธิไ์ ดกม็ กั จะมีความคิดริเริม่ การสืบเสาะ หาขอมูล การวิเคราะหขอ มูล การมองภาพองครวม และ

13


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

ความยืดหยุนผอนปรน อยางใดอยางหนึ่งหรือหลาย อยางรวมดวย พฤติกรรมบงชี้ ระดับ 0 = ไมแสดงสมรรถนะดานนีห้ รือแสดง อยางไมชัดเจน ระดับ 1 = แสดงความพยายามในการปฏิบัติ หนาที่ราชการใหดี ระดับ 2 = แสดงสมรรถนะระดั บ 1 และ สามารถทำ � งานได ผ ลงานตาม เปาหมายที่วางไว ระดับ 3 = แสดงสมรรถนะระดั บ 2 และ สามารถปรับปรุงวิธกี ารทำ�งานเพือ่ ใหไดผลงานที่มีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น ระดับ 4 = แสดงสมรรถนะระดั บ 3 และ สามารถกำ�หนดเปาหมาย รวมทั้ง พั ฒ นางานเพื่ อ ให ไ ด ผ ลงานที่ โดดเดน หรือแตกตางอยางมีนัย สำ�คัญ ระดับ 5 = แสดงสมรรถนะระดับ 4 และกลา ตัดสินใจแมวาการตัดสินใจนั้นจะ มีความเสีย่ งเพือ่ ใหบรรลุเปาหมาย ของหนวยงาน หรือสวนราชการ ผูเขียนเห็นดวยอยางยิ่งที่มีการกำ�หนดการมุง ผลสัมฤทธิ์เปนสมรรถนะหลักของขาราชการ เนื่องจาก เปนความทาทายใหขาราชการไดมีการพัฒนาตัวเอง ไดมีการพัฒนากระบวนงาน และพัฒนาเทคนิค วิธีการ ทำ�งานอยางตอเนื่องสม่ำ�เสมอ ซึ่งผลลัพธที่ไดจากการ มุง ผลสัมฤทธิน์ ี้ จะกอใหเกิดประโยชนแกประชาชนผูร บั บริการไดอยางแทจริง การมุง เนนทีผ่ ลลัพธ การมุง เนนที่ ประสิทธิผล การมุง เนนทีม่ าตรฐานและการมุง เนนทีก่ าร ปรับปรุงกระบวนงาน ยอมเปนการเพิม่ ประสิทธิภาพของ ขาราชการอยางแทจริงและสามารถประจักษไดอยาง ชัดแจง และผูเขียนเห็นวาการติดตามและประเมินผล ในสมรรถนะนี้จะสามารถทำ�ไดอยางชัดเจนเนื่องจาก ผลลัพธที่ไดจากสมรรถนะคอนขางที่จะเปนรูปธรรม

14

2.) บริการที่ดี (Service Mind - SERV) คำ�จำ�กัดความ : ความตั้งใจและความพยายาม ของขาราชการในการใหบริการตอประชาชน ขาราชการ หรือหนวยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวของ บริการที่ดีเปนสมรรถนะที่มักกำ�หนดไวสำ�หรับ ลักษณะของงานทีต่ องใหบริการ หรือใหความชวยเหลือ ผูอ นื่ ซึง่ การบริหารจัดการภาครัฐนัน้ มีเปาหมายหลักคือ การใหบริการประชาชน ดังนัน้ การบริการทีด่ จี งึ กำ�หนด ไวเปนหนึ่งในสมรรถนะหลักของขาราชการพลเรือน ดังนั้น ในการพิจารณาสมรรถนะบริการที่ดีคือ (1.) ความสมบูรณของกิจกรรมที่ตอบสนองความตองการ ของผูรับบริการ และ (2.) ระดับความพยายามในการ ให บ ริ ก าร ทั้ ง นี้ เ นื่ อ งจากว า การบริ ก ารที่ ดี อ ธิ บ าย ไดวาเปนความปรารถนา (Desire) ที่จะชวยเหลือหรือ ใหบริการผูอื่นเพื่อตอบสนองตอความตองการโดยเนน ที่ ค วามพยายามในการค น หาความต อ งการ และ ตอบสนองตอความตองการนั้นๆ ของลูกคา ซึง่ ก็จะไปมี ความเชื่อมโยงกับสมรรถนะอื่นๆ เชน การสืบเสาะ หาขอมูล(Information Seeking) การคิดวิ เคราะห (Analytical Thinking) การมองภาพองครวม (Conceptual Thinking) ความเขาใจผูอ นื่ (Understanding) การสัง่ สม ความเชีย่ วชาญในงานอาชีพ (Technical Expertise) และ การสรางความสัมพันธ (Relationship Building) พฤติกรรมบงชี้ ระดับ 0 = ไมแสดงสมรรถนะดานนีห้ รือแสดง อยางไมชัดเจน ระดับ 1 = สามารถให บ ริ ก ารที่ ผู  รั บ บริ ก าร ตองการไดดวยความเต็มใจ ระดับ 2 = แสดงสมรรถนะระดับ 1 และชวย แกปญหาใหแกผูรับบริการ ระดับ 3 = แสดงสมรรถนะระดับ 2 และให บริการที่เกินความคาดหวัง แม ต อ งใช เ วลาหรื อ ความพยายาม อยางมาก ระดับ 4 = แสดงสมรรถนะระดับ 3 และเขาใจ และให บ ริ ก ารที่ ต รงตามความ ตองการที่แทจริงของผูรับบริการ


​การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษยภาครัฐ วนิดา เขียวงามดี

ระดับ 5 = แสดงสมรรถนะระดับ 4 และให บริการทีเ่ ปนประโยชนอยางแทจริง ใหแกผูรับบริการ อาจเปนไปไดวาในอดีตที่ผานมาการใหบริการ ของหนวยงานภาครัฐแกประชาชน มีลักษณะเปนแบบ เจาขุนมูลนาย ทีข่ า ราชการทำ�ตัวเหนือประชาชน ดังนัน้ การนำ�สมรรถนะดานการบริการที่ดีมาเปนสมรรถนะ หลักของขาราชการ ผูเขียนจึงมองวาเปนอีกแนวทาง หนึ่งที่จะทำ�ใหระบบการใหบริการของขาราชการตอ ประชาชนจะดียิ่งขึ้น ถึงแมวาจะไมสามารถปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของการใหบริการไดภายในระยะเวลาอันสั้น แตก็เปน การเริ่มตนที่ดีที่ไดมีการตระหนักถึ งเรื่องนี้ เพื่อจะเปนการปรับเปลี่ยนแนวคิด ปรับเปลี่ยนรูปแบบ การให บ ริ ก ารอั น จะส ง ผลให ป ระชาชนผู  รั บ บริ ก ารมี ความพึงพอใจ ซึง่ สวนราชการก็ไดประโยชนในเรือ่ งของ ภาพลักษณ และความรวมมือที่ดีจากภาคประชาชน 3.) การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ (Expertise – EXP) คำ�จำ�กัดความ : ความสนใจใฝรู สั่งสม ความ รูความสามารถของตนในการปฏิบัติราชการดวยการ ศึกษา คนควา และพัฒนาตนเองอยางตอเนื่อง จน สามารถประยุกตใชความรูเชิงวิชาการและเทคโนโลยี ตางๆ เขากับการปฏิบัติราชการใหเกิดผลสัมฤทธิ์ เป น สมรรถนะในกลุ  ม ของกระบวนการคิ ด (Cognitive) หรือความฉลาด แตไมใชการวัดความฉลาด (IQ) โดยตรง แตเปนการวัดแนวโนมของการที่ผูดำ�รง ตำ�แหนงจะใชความฉลาดของตนใหมีประโยชนตอการ ทำ�งานใหประสบความสำ�เร็จ ซึง่ อาจกลาวไดวา เปนการ วัดทั้งความสามารถและแรงจูงใจ ดังนั้นในการพิจารณา สมรรถนะนี้จะตองพิจารณา (1.) ระดับวุฒิการศึกษา (2.) ระดับของการบริหารจัดการความรู เชน ระดับบุคคล กลุมงาน หรือหนวยงาน เปนตน (3.) ความพยายาม ที่จะคงไวและไดมาซึ่งความรูความเชี่ยวชาญในงาน และ (4.) ขอบเขตการเผยแพรใหความรูกับผูอื่น เชน ตอบคำ�ถาม การใหคำ�ปรึกษา เสนอแนะความรูใหกับ หนวยงานหรือตีพิมพผลงานทางวิชาการ เปนตน การ สั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพยังเกี่ยวของกับการ

คิดวิเคราะหที่เกี่ยวของกับปญหาทางดานเทคนิค การ คิดคนนวัตกรรมใหมๆ เปนตน พฤติกรรมบงชี้ ระดับ 0 = ไมแสดงสมรรถนะดานนีห้ รือแสดง อยางไมชัดเจน ระดับ 1 = แสดงความสนใจและติ ด ตาม ความรูใ หมๆ ในสาขาอาชีพของตน หรือที่เกี่ยวของ ระดับ 2 = แสดงสมรรถนะระดับ 1 และมีความรู ในวิชาการ และเทคโนโลยีใหมๆ ในสาขาอาชีพของตน ระดับ 3 = แสดงสมรรถนะระดั บ 2 และ สามารถนำ�ความรูวิทยาการหรือ เทคโนโลยีใหมๆ มาปรับใชกบั การ ปฏิบัติหนาที่ราชการ ระดับ 4 = แสดงสมรรถนะระดับ 3 และศึกษา พัฒนาตนเองใหมคี วามรู และความ เชี่ ย วชาญในงานมากขึ้ น ทั้ ง ใน เชิงลึกและเชิงกวางอยางตอเนื่อง ระดับ 5 = แสดงสมรรถนะระดั บ 4 และ สนับสนุนการทำ�งานของคนในสวน ราชการที่เนนความเชี่ยวชาญใน วิทยาการดานตางๆ การสั่งสมความเชี่ยวชาญ องคความรู หรือการ พัฒนาตนเองผูเ ขียนเห็นวาไมเพียงแตขา ราชการเทานัน้ ที่มีความจำ�เปนที่จะตองใหความสำ�คัญกับสมรรถนะนี้ ทุกองคการยอมตองใหความสำ�คัญ เพราะวาองคความรู และการพัฒนาตนเอง เปนสิ่งสำ�คัญที่จะทำ�ใหกระบวน การต า งๆ ประสบผลสำ � เร็ จ ได สิ่ ง ที่ น  า เป น ห ว งใน สมรรถนะนีค้ อื การประเมินผลของสมรรถนะวาผูป ระเมิน จะตองพิจารณาจากผลลัพธที่เกิดขึ้นเปนสำ�คัญวาเมื่อ มีองคความรู หรือการสัง่ สมความเชีย่ วชาญแลวสามารถ ทีจ่ ะนำ�เอาองคความรูเ หลานัน้ มาใชใหเกิดประโยชนกบั หนวยงานไดหรือไม ซึ่งจะตองไมใหความสำ�คัญกับ ประกาศนี ย บั ต ร หรื อ การผ า นการฝ ก อบรมเพี ย ง อย า งเดี ย วเพราะอาจไม ส ะท อ นถึ ง สมรรถนะนี้ ไ ด อยางแทจริง

15


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

4.) การยึดมัน่ ในความถูกตองชอบธรรม และ จริยธรรม (Integrity - ING) คำ�จำ�กัดความ : การดำ�รงตำ�แหนงและประพฤติ ปฏิบตั อิ ยางถูกตองเหมาะสมทัง้ ตามกฏหมาย คุณธรรม จรรยาบรรณแหงวิชาชีพ และจรรยาขาราชการเพื่อ ศักดิ์ศรีแหงความเปนขาราชการ การยึ ด มั่ น ในความถู ก ต อ งชอบธรรมและ จริยธรรม มาจากคำ�วา Integrity ที่มีนัยของการแสดง พฤติ ก รรมที่ เ น น ค า นิ ย มที่ แ สดงแล ว หน ว ยงานจะ เสริมแรงเพื่อใหพฤติกรรมนั้นๆ คงอยู สมรรถนะนี้ แตกตางจากสมรรถนะอื่นๆ ที่เนนผลการปฏิบัติงานที่ดี พฤติกรรมบงชี้ ระดับ 0 = ไมแสดงสมรรถนะดานนีห้ รือแสดง อยางไมชัดเจน ระดับ 1 = มีความสุจริต ระดับ 2 = แสดงสมรรถนะระดับ 1 และมีสจั จะ เชื่อถือได ระดับ 3 = แสดงสมรรถนะระดับ 2 และยึดมัน่ ในหลักการ ระดับ 4 = แสดงสมรรถนะระดับ 3 และยืนหยัด เพื่อความถูกตอง ระดับ 5 = แสดงสมรรถนะระดับ 4 และอุทศิ ตน เพื่อความยุติธรรม ผู  เ ขี ย นมองว า สมรรถนะนี้ จำ � เป น สำ � หรั บ ขาราชการเปนอยางยิง่ เพราะวาความซือ่ สัตย สุจริต การ ดำ�เนินการตามกฏหมายเปนเรื่องสำ�คัญของขาราชการ เพราะวาถาขาราชการใชอำ�นาจที่มีอยูไปในทางที่ไม ชอบธรรมยอมกอใหเกิดความเสียหายตอชาติบา นเมือง และประชาชนผูร บั บริการ ดังนัน้ ขาราชการทุกคนควรที่ จะตองมีการระลึกอยูเสมอถึงความถูกตอง ดีงาม 5.) การทำ�งานเปนทีม (Teamwork - TW) คำ�จำ�กัดความ : ความตั้งใจที่จะทำ�งานรวมกับ ผูอื่น เปนสวนหนึ่งของทีม หนวยงาน หรือสวนราชการ โดยผูปฏิบัติมีฐานะเปนสมาชิกไมจำ�เปนตองมีฐานะ หัวหนาทีม รวมทั้งความสามารถในการสรางและรักษา สัมพันธภาพกับสมาชิกในทีม เปนความตัง้ ใจอยางแทจริง (Genuine Intention) ที่จะรวมมือทำ�งานกับผูอื่น เปนสวนหนึ่งของทีมและ

16

ทำ�งานรวมกัน ซึ่งบทบาทของการทำ�งานเปนทีมไม จำ�เปนตองเปนหัวหนาทีม หรือผูที่มีอำ�นาจหนาที่อยาง เปนทางการ แมแตคนที่มีอำ�นาจอยางเปนทางการ แตรว มมือทำ�งานหรือทำ�หนาทีเ่ ปนผูป ระสานทีม (Group Facilitator) ก็แสดงสมรรถนะการทำ�งานเปนทีม ดังนั้น ในการพิจารณาจะพิจารณาจาก (1.) ระดับของความ พยายามที่จะชวยเหลือสนับสนุนทีม (2.) ขนาดของทีม ที่เกี่ยวของ (3.) ระดับของความพยายามที่จะชวย สนั บ สนุ น ที ม ซึ่ ง การทำ� งานเป น ที ม จะเกี่ ย วข อ งกั บ สมรรถนะอื่นๆเชน ความเขาใจผูอื่น ศิลปะการสื่อสาร จูงใจ ความมั่นใจในตนเอง การพัฒนาผูอื่น เปนตน พฤติกรรมบงชี้ ระดับ 0 = ไมแสดงสมรรถนะดานนีห้ รือแสดง อยางไมชัดเจน ระดับ 1 = ทำ�หนาที่ของตนในทีมใหสำ�เร็จ ระดับ 2 = แสดงสมรรถนะระดับ 1 และให ความร ว มมื อ ในการทำ � งานกั บ เพื่อนรวมงาน ระดับ 3 = แสดงสมรรถนะระดับ 2 และประสาน ความรวมมือของสมาชิกในทีม ระดับ 4 = แสดงสมรรถนะระดั บ 3 และ สนับสนุนชวยเหลือเพื่อนรวมทีม เพื่อใหงานประสบความสำ�เร็จ ระดับ 5 = แสดงสมรรถนะระดั บ 4 และ สามารถนำ � ที ม ให ป ฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ใหไดผลสำ�เร็จ ในสถานการณปจ จุบนั ภายใตกระแสโลกาภิวฒ ั น มี เ ทคโนโลยี ส ารสนเทศ และการโทรคมนาคมที่ ทันสมัย สะดวกรวดเร็ว ผูเขียนมองวาจำ�เปนอยางยิ่ง ที่ จ ะต อ งให ค วามสำ � คั ญ กั บ การทำ � งานเป น ที ม เพื่ อ ที่ จะไดแบงหนาที่กันทำ� ชวยกันทำ�งานโดยเฉพาะสวน ราชการควรที่จะรวมกันทำ�งาน โดยการประสานและ บูรณาการทำ�งาน โดยยึดหลักประโยชนสาธารณะเปน สำ�คัญ นอกจากสมรรถนะหลักแลวผูบริหารยังตองมี การประเมินสมรรถนะทางการบริหาร อีกจำ�นวน 6 สมรรถนะ ไดแก


​การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษยภาครัฐ วนิดา เขียวงามดี

1.) สภาวะผูนำ� (Leadership) คำ�จำ�กัดความ : ความสามารถหรือความตั้งใจ ที่จะรับบทในการเปนผูนำ�ของกลุม กำ�หนดทิศทาง เปาหมาย วิธกี ารทำ�งาน ใหทมี ปฏิบตั งิ านไดอยางราบรืน่ เต็มประสิทธิภาพและบรรลุวตั ถุประสงคของสวนราชการ พฤติกรรมบงชี้ ระดับ 0 = ไมแสดงสมรรถนะดานนีห้ รือแสดง อยางไมชัดเจน ระดับ 1 = ดำ�เนินการประชุมไดดแี ละคอยแจง ขาวสารความเปนไปโดยตลอด ระดับ 2 = แสดงสมรรถนะระดับ 1 และเปน ผู  นำ � ในการทำ � งานของกลุ  ม และ ใชอำ�นาจอยางยุติธรรม ระดับ 3 = แสดงสมรรถนะระดับ 2 และใหการ ดูแลและชวยเหลือทีมงาน ระดับ 4 = แสดงสมรรถนะระดั บ 3 และ ประพฤติตนสมกับเปนผูนำ� ระดับ 5 = แสดงสมรรถนะระดับ 4 และนำ� ที ม งานให ก  า วหน า ไปสู  พั น ธกิ จ ระยะยาวขององคกร 2.) วิสัยทัศน (Visioning) คำ�จำ�กัดความ : ความสามารถในการกำ�หนด ทิศทาง ภารกิจ และเปาหมายการทำ�งานที่ชัดเจนและ ความสามารถในการสร า งความร ว มแรงร ว มใจเพื่ อ ใหภารกิจบรรลุวัตถุประสงค พฤติกรรมบงชี้ ระดับ 0 = ไมแสดงสมรรถนะดานนีห้ รือแสดง อยางไมชัดเจน ระดับ 1 = รูและเขาใจวิสัยทัศนขององคกร ระดับ 2 = แสดงสมรรถนะระดับ 1 และชวย ทำ�ใหผอู นื่ รูแ ละเขาใจวิสยั ทัศนของ องคกร ระดับ 3 = แสดงสมรรถนะระดับ 2 และสราง แรงจูงใจใหผูอื่นเต็มใจที่จะปฏิบัติ ตามวิสัยทัศน ระดับ 4 = แสดงสมรรถนะระดับ 3 และกำ�หนด นโยบายใหสอดคลองกับวิสยั ทัศน ของสวนราชการ

ระดับ 5 = แสดงสมรรถนะระดั บ 4 และ กำ�หนดวิสัยทัศนของสวนราชการ ให ส อดคล อ งกั บ วิ สั ย ทั ศ น ร ะดั บ ประเทศ 3.) การวางกลยุ ท ธ ภ าครั ฐ (Strategic Orientation) คำ � จำ � กั ด ความ : ความเข า ใจวิ สั ย ทั ศ น แ ละ นโยบายภาครัฐและสามารถนำ�มาประยุกตใชในการ กำ�หนดกลยุทธของสวนราชการได พฤติกรรมบงชี้ ระดับ 0 = ไมแสดงสมรรถนะดานนีห้ รือแสดง อยางไมชัดเจน ระดับ 1 = รูแ ละเขาใจนโยบายรวมทัง้ ภารกิจ ภาครั ฐ ว า มี ค วามเกี่ ย วโยงกั บ หนาที่ความรับผิดชอบของหนวย งานอยางไร ระดับ 2 = แสดงสมรรถนะระดับ 1 และนำ� ประสบการณมาประยุกตใชในการ กำ�หนดกลยุทธได ระดับ 3 = แสดงสมรรถนะระดับ 2 และนำ� ทฤษฎีหรือแนวคิดซับซอนมาใชใน การกำ�หนดกลยุทธ ระดับ 4 = แสดงสมรรถนะระดั บ 3 และ กำ � หนดกลยุ ท ธ ที่ ส อดคล อ งกั บ สถานการณตางๆ ที่เกิดขึ้น ระดับ 5 = แสดงสมรรถนะระดับ 4 และบูรณา การองคความรูใหมมาใชในการ กำ�หนดกลยุทธภาครัฐ 4.) ศักยภาพเพือ่ นำ�การปรับเปลีย่ น (Change Leadership) คำ�จำ�กัดความ : ความสามารถในการกระตุน หรื อ ผลั ก ดั น หน ว ยงานไปสู  ก ารปรั บ เปลี่ ย นที่ เ ป น ประโยชน รวมถึงการสื่อสารใหผูอื่นรับรู เขาใจ และ ดำ�เนินการใหการปรับเปลี่ยนนั้นเกิดขึ้นจริง พฤติกรรมบงชี้ ระดับ 0 = ไมแสดงสมรรถนะดานนีห้ รือแสดง อยางไมชัดเจน

17


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

ระดับ 1 = เ ห็ น ค ว า ม จำ � เ ป  น ข อ ง ก า ร เปลี่ยนแปลง ระดับ 2 = แสดงสมรรถนะระดับ 1 และสามารถ ทำ�ใหผูอื่นเขาใจการปรับเปลี่ยนที่ จะเกิดขึ้น ระดับ 3 = แสดงสมรรถนะระดับ 2 และกระตุน และสรางแรงจูงใจใหผอู นื่ เห็นความ สำ�คัญของการปรับเปลี่ยน ระดับ 4 = แสดงสมรรถนะระดับ 3 และวาง แผนงานทีด่ เี พือ่ รับการปรับเปลีย่ น ในองคการ ระดับ 5 = แสดงสมรรถนะระดับ 4 และผลักดัน ให เ กิ ด การปรั บ เปลี่ ย นอย า งมี ประสิทธิภาพ 5.) การควบคุมตนเอง (Self Control) คำ�จำ�กัดความ : ความสามารถในการควบคุม อารมณและพฤติกรรมในสถานการณที่อาจจะถูกยั่วยุ หรือเผชิญหนากับความไมเปนมิตร หรือตองทำ�งาน ภายใตสภาวะกดดัน รวมถึงความอดทนอดกลั้นเมื่อ อยูในสถานการณที่กอความเครียดอยางตอเนื่อง พฤติกรรมบงชี้ ระดับ 0 = ไมแสดงสมรรถนะดานนีห้ รือแสดง อยางไมชัดเจน ระดับ 1 = ไมแสดงพฤติกรรมที่ไมเหมาะสม ระดับ 2 = แสดงสมรรถนะระดับ 1 และควบคุม อารมณ ใ นแต ล ะสถานการณ ไ ด เปนอยางดี ระดับ 3 = แสดงสมรรถนะระดับ 2 และสามารถ ใชถอ ยทีวาจาหรือปฏิบตั งิ านตอไป ไดอยางสงบแมจะอยูใ นภาวะทีถ่ กู ยั่วยุ ระดับ 4 = แสดงสมรรถนะระดับ 3 และจัดการ ค ว า ม เ ค รี ย ด ไ ด  อ ย  า ง มี ประสิทธิภาพ ระดับ 5 = แสดงสมรรถนะระดับ 4 และเอา ชนะอารมณดวยความเขาใจ

18

6.) การสอนงานและการมอบหมายงาน (Coaching and Empowering Others) คำ�จำ�กัดความ : ความตั้งใจที่จะสงเสริมการ เรียนรูหรือการพัฒนาผูอื่นในระยะยาวจนถึงระดับที่ เชื่อมั่นวาจะสามารถมอบหมายหนาที่ความรับผิดชอบ ใหผูนั้นมีอิสระที่จะตัดสินใจในการปฏิบัติหนาที่ราชการ ของตนได พฤติกรรมบงชี้ ระดับ 0 = ไมแสดงสมรรถนะดานนีห้ รือแสดง อยางไมชัดเจน ระดับ 1 = สอนงานหรือใหค�ำ แนะนำ�เกีย่ วกับ วิธีปฏิบัติงาน ระดับ 2 = แสดงสมรรถนะระดับ 1 และตั้งใจ พั ฒ นาผู  ใ ต บั ง คั บ บั ญ ชาให มี ศักยภาพ ระดับ 3 = แสดงสมรรถนะระดับ 2 และวางแผน เพื่ อ ให โ อกาสผู  ใ ต บั ง คั บ บั ญ ชา แสดงความสามารถในการทำ�งาน ระดับ 4 = แสดงสมรรถนะระดับ 3 และสามารถ ชวยแกไขปญหาที่เปนอุปสรรค ตอการพัฒนาศักยภาพของผูใต บังคับบัญชา ระดับ 5 = แสดงสมรรถนะระดับ 4 และทำ�ให สวนราชการมีระบบการสอนงาน และการมอบหมายหน า ที่ ค วาม รับผิดชอบ สมรรถนะดังกลาวขางตนนับไดวาเปนการเพิ่ม ประสิทธิภาพการทำ �งานของผูบริหารใหสามารถนำ � องคกรใหบรรลุวัตถุประสงคที่ตั้งไว ซึ่งในระบบราชการ จะเห็นไดวา ผูบ ริหารจะมีอทิ ธิพลอยางมากกับผูใ ตบงั คับ บัญชา ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากระบบราชการไทยไดมี การสั่งสมในเรื่องการเคารพนับถือผูอาวุโสโดยเฉพาะ เจานาย ดังนั้น การที่สำ�นักงาน ก.พ. ไดมีการกำ�หนด สมรรถนะสำ�หรับผูบริหาร ผูเขียนจึงเห็นดวยอยางยิ่ง ที่ผูบริหารจะตองมีสมรรถนะพิเศษกวาตำ�แหนงอื่นๆ เพราะวาผูบริหารในสวนราชการจะเปนกลไกสำ�คัญใน การขับเคลื่อนองคกรและการขับเคลื่อนระบบราชการ ให ไ ปในทิ ศ ทางที่ ถู ก ต อ งเหมาะสมและอาจกล า วได


​การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษยภาครัฐ วนิดา เขียวงามดี

วาถาผูบ ริหารมีสมรรถนะทัง้ 6 ขอ อยูใ นระดับดีแลวยอม จะสงผลใหระบบราชการมีการบริหารที่ดี สามารถบรรลุ วัตถุประสงคขององคกรที่ตั้งไวไดอยางมีประสิทธิภาพ อย า งไรก็ ดี การวั ด และประเมิ น ผลสมรรถนะของ ผูบริหารควรที่พิจารณาในภาพรวมที่มีการเชื่อมโยง สมรรถนะตางๆเขาดวยกันซึ่งหากแยกประเมินเปน รายตัวสมรรถนะอาจไมสอดคลองกับความเปนจริง ทัง้ นี้ เนื่องจากสมรรถนะของผูบริหารมีความเกี่ยวของเชื่อม โยงกันในหลายๆ มิติ หลายๆ สมรรถนะ จึงไมสามารถ แยกออกมาประเมินไดเปนรายตัวไดอยางโดดเดีย่ ว ควร ตองมีการวัดแบบเชื่อมโยงกับสมรรถนะตางๆ และสำ�หรับขาราชการที่ไมใชผูบริหาร นอกจาก สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะแลว จะตองมีการประเมิน สมรรถนะเฉพาะตามลั ก ษณะงานที่ ป ฏิ บั ติ ซึ่ ง ขึ้ น อยู  กั บ แต ล ะหน ว ยงานว า จะกำ � หนดสมรรถนะในแต ล ะ ตำ�แหนงอยางไรบาง ซึ่งสมรรถนะดานนี้ ไดแก การคิด วิเคราะห การมองภาพองครวม การใสใจและพัฒนาผูอ นื่ การสัง่ การตามอำ�นาจหนาที่ การสืบเสาะหาขอมูล ความ เขาใจขอแตกตางทางวัฒนธรรม ความเขาใจผูอ นื่ ความ เขาใจองคกรและระบบราชการ การดำ�เนินการเชิงรุก การตรวจสอบความถูกตองตามกระบวนงาน ความมัน่ ใจ ในตนเอง ความยืดหยุน ผอนปรน ศิลปะการสือ่ สารจูงใจ สุนทรียภาพทางศิลปะ ความผูกพันที่มีตอสวนราชการ การสรางสัมพันธภาพ บทวิเคราะห จากการที่สำ�นักงาน ก.พ. ไดกำ�หนดใหทุกสวน ราชการนำ�หลักสมรรถนะมาใชในการพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรในภาครัฐนัน้ นับไดวา เปนหลักการทีส่ ำ�คัญ ที่จะทำ�ใหสวนราชการมีทิศทางในการพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรของหนวยงาน ดังนั้น จึงจำ�เปนอยางยิ่ง ที่จะตองมีการถายทอดใหบุคลากรภายในสวนราชการ ไดรับทราบและทำ�ความเขาใจเกี่ยวกับหลักสมรรถนะ ที่สวนราชการจะนำ�มาใช ทั้งนี้ จะตองมีการทำ�ความ เขาใจดวยกันทั้งผูปฏิบัติและผูประเมินผล เพื่อใหเกิด ความเขาใจที่ตรงกัน โดยเฉพาะอยางยิ่งเรื่องความ ไม ชั ด เจนระหว า งสมรรถนะของงานกั บ สมรรถนะ ของคนซึ่ ง อาจทำ� ใหเกิดความสับสนในการทำ� ความ

เขาใจ กลาวคือสมรรถนะของงานหมายถึงสิ่งที่บุคคล ตองทำ�ในการทำ�งาน ในขณะที่สมรรถนะของบุคคล หมายถึ ง คุ ณ ลั ก ษณะที่ ทำ � ให บุ ค คลสามารถทำ � งาน ไดดี ตัวอยางเชน วิสัยทัศนนาจะเปนสมรรถนะของงาน เพราะเปนสิ่งที่ผูครองตำ�แหนงตองแสดงวิสัยทัศนที่ดี แตถา มองในแงของบุคคลแลวจะมองวาคนตองมีลกั ษณะ อยางไรจึงจะมีวิสัยทัศนที่ดี เชนอาจเปนคนที่มีความ เชื่อมั่นในตัวเอง เปนคนมีความคิดวิเคราะหที่ดี เปนตน ดั ง นั้ น ส ว นราชการเองต อ งกำ � หนดให ชั ด เจนและ ทำ � ความเข า ใจให ต รงกั น นอกจากนี้ ใ นการพั ฒ นา ศั ก ยภาพของบุ ค ลากรนั้ น ไม เ พี ย งแต ก ารคำ � นึ ง ถึ ง แตหลักการของสมรรถนะเพียงอยางเดียว ความรู ทักษะ และความสามารถยังถือวาเปนสวนพื้นฐานที่บุคลากร ตองมีอยูก อ นแลว ซึง่ ในความเปนจริงหากพบวาบุคลากร ยังขาดความรู ขาดทักษะ ความสามารถที่จำ�เปนในการ ปฏิบัติงานสวนราชการจำ�เปนตองเรงการพัฒนาเพื่อ ใหทุกคนมีสวนนี้กอน สมรรถนะแมจะจำ�เปนและสำ�คัญ ก็จริงแตหนวยงานไมควรละเลยสวนของความรู ทักษะ และความสามารถของบุคลากรดวย ในการกำ�หนดสมรรถนะของบุคลากรของสวน ราชการนั้น ผูเขียนมองวาไมจำ�เปนตองกำ�หนดมาก เกินไปอาจกำ�หนดตามสมรรถนะหลักตามที่สำ�นักงาน ก.พ.กำ � หนดประกอบกั บ สมรรถนะตามตำ � แหน ง ที่ จำ�เปนตองใชในการปฏิบัติงาน เนื่องจากหากมีการ กำ�หนดสมรรถนะทีม่ ากเกินความจำ�เปนผลทีอ่ าจตามมา คื อ บุ ค ลากรในภาครั ฐ อาจมี ค วามเข า ใจสมรรถนะ ไม ห มดทุ ก ตั ว และอาจจำ � ไม ไ ด เ พราะมี ม ากเกิ น ไป ประกอบกั บ จะทำ � ให ก ารประเมิ น สมรรถนะมี ค วาม ซับซอนและยุงยากมากขึ้น ประเด็นที่สำ�คัญอีกประการ คื อ การประเมิ น สมรรถนะของบุ ค ลากรในภาครั ฐ ที่ สรางความไมมั่นใจวาระบบการประเมินผลสมรรถนะ จะสามารถทำ�ไดโดยยุติธรรมยิ่งในปจจุบันไดมีการนำ� ผลการประเมินสมรรถนะของขาราชการไปผูกติดกับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน ยิ่งทำ�ใหระบบการประเมินผล สมรรถนะต อ งมี แ นวทางที่ ชั ด เจนและสร า งความ เชื่ อ มั่ น ให กั บ ข า ราชการได ว  า การประเมิ น ผล นั้ น สอดคล อ งกั บ ความเป น จริ ง ผู  เ ขี ย นมองว า ในหลั ก การจั ด ทำ � สมรรถนะของส ว นราชการนั้ น

19


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

ควรเริ่ ม ต น ตั้ ง แต ก ารมี ส  ว นร ว มในการกำ � หนด สมรรถนะเพื่ อ ให ไ ด แ นวทางที่ ชั ด เจนและเป น ที่ยอมรับของคนในองคการไดและตองมีการทำ�ความ เขาใจในระบบการประเมินผลดวย แตสิ่งที่นากังวล ประการหนึ่ ง คื อ การนำ � ผลการประเมิ น สมรรถนะไป ประกอบการเลื่ อ นขั้ น เงิ น เดื อ นซึ่ ง จะเป น ที่ ท ราบกั น ดีวาระบบการเลื่อนขั้นเงินเดือนของขาราชการนั้นจะ จำ � กั ด ด ว ยงบประมาณที่ มี จำ � นวนจำ � กั ด และมี ก าร กำ � หนดเม็ ด เงิ น ในการใช เ ลื่ อ นเงิ น เดื อ นจึ ง อาจ ทำ � ให ร ะบบการประเมิ น สมรรถนะไม เ ป น ไปตาม ข อ เท็ จ จริ ง แต อ าจเป น ไปตามจำ � นวนโควต า ที่ ไ ด รั บ การจั ด สรรว า ให มี ร ะบบคะแนนที่ แ ตกต า งกั น จึ ง จะ เลื่ อ นเงิ น เดื อ นได ภ ายในวงเงิ น งบประมาณที่ มี อ ยู  อย า งจำ � กั ด ดั ง นั้ น สิ่ ง ที่ ส  ว นราชการควรคำ� นึ ง ถึ ง ใน หลักการประเมินสมรรถนะ คือผูป ระเมินทีอ่ าจมีแนวโนม ของการประเมินที่แตกตางกันบางคนมักประเมิ น สู ง บางคนมั ก จะประเมิ น ต่ำ � จึ ง จำ � เป น ต อ งมี ม าตรฐาน กลางที่ ทุ ก คนเข า ใจตรงกั น ว า พฤติ ก รรมอย า งไร จะใหคะแนนการประเมินอยางไรถาไมตกลงทำ�ความ เขาใจกันกอนจะทำ�ใหเกิดความผิดพลาดได อีกประการ คื อ การประเมิ น ผลจะต อ งไม อิ ง กั บ ความประทั บ ใจที่ คำ�นึงถึงลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือความประทับใจ โดยรวม ประเมินจากความรูสึก เชน คนนี้เห็นแกตัว คนนี้ใจดี เปนตน ไมควรคำ�นึงถึงพฤติกรรมที่สังเกตได เทานั้นวาตรงกับมาตรฐานหรือไม โดยไมควรประเมิน ผลแบบเปรียบเทียบผูถ กู ประเมินควรทำ�เปรียบเทียบกับ เกณฑการประเมินเปนหลักและเมื่อสรางเกณฑในการ ประเมินแลวก็จะตองมีการอบรมผูประเมินใหรูจักวิธี การประเมินและเก็บขอมูลอยางสม่ำ�เสมอ ขอเสนอแนะ 1. ปจจุบันไดมีการนำ�เอาระบบสมรรถนะมาผูก กับระบบการประเมินผลงานและการเลื่อนขั้นเงินเดือน ซึง่ ไดด�ำ เนินการมาตัง้ แตการประเมินผลรอบ 1 เมษายน พ.ศ. 2553 เปนตนมาการประเมินผลการเลื่อนขั้นเงิน เดือน ไดมีการแบงการประเมินออกเปนสองสวน คือ สวนแรกเปนการประเมินผลการปฏิบัติงาน และสวน ที่สองเปนการประเมินสมรรถนะ ซึ่งจะเห็นไดวาระบบ

20

ราชการไดมกี ารพัฒนาทิศทางเพือ่ ใชเปนกรอบแนวทาง ในการพัฒนาประสิทธิภาพของขาราชการใหมกี ารตืน่ ตัว และพัฒนาตัวเองอยางตอเนื่องโดยใชหลักสมรรถนะ เป น เครื่ อ งมื อ หนึ่ ง ในการดำ � เนิ น การ ซึ่ ง ในรอบการ ประเมินสองรอบทีผ่ า นมาคือ รอบ 1 เมษายน 2553 และ รอบ 1 ตุลาคม 2553 อาจมีเสียงสะทอนจากขาราชการ หลายทานวาไมเขาใจระบบการประเมิน ไมรูเรื่องระบบ สมรรถนะ ไมพอใจระบบการประเมิน ซึ่งสิ่งเหลานี้ จะหายไปเมื่อทุกคนเขาใจวาตอไประบบการประเมิน ผลจะตองมีการประเมินสมรรถนะควบคูไปดวยตลอด ดังนั้น ตั้งแตนี้ตอไปขาราชการตองหันกลับมาศึกษา ทบทวนวาตัวเองจำ�เปนตองมีสมรรถนะหลักในระดับใด และตองประเมินสมรรถนะใดบาง เพือ่ ทีจ่ ะไดมกี ารพัฒนา ตัวเองสำ�หรับรอรับการประเมิน สำ�หรับการประเมิน สมรรถนะเพือ่ ใชในการเลือ่ นเงินเดือนนัน้ อาจมีขอ จำ�กัด ในเรื่องของงบประมาณจึงอาจทำ�ใหระบบการประเมิน ไปอิงกับระบบโควตาการจัดสรรวงเงิน อาจทำ�ใหระบบ การประเมินสมรรถนะไมเปนไปตามขอเท็จจริง ดังนั้น เพือ่ ใหสว นราชการมีการพัฒนาระบบสมรรถนะทีแ่ ทจริง ควรมีการประเมินสมรรถนะเพือ่ ใชในการพัฒนาองคการ ควบคูไปดวยก็จะเปนผลดี โดยการใหบุคลากรภาครัฐ ทำ�การประเมินตัวเองแลวใหผูบังคับบัญชาประเมินอีก ครั้ ง แล ว นำ � ผลการประเมิ น มาพิ จ ารณาปรั บ ปรุ ง การ พัฒนาสมรรถนะของบุคลากรตอไป 2. สวนราชการจะตองมีการจัดทำ�ระบบมาตรฐาน ของสมรรถนะรายตำ � แหน ง ให เ รี ย บร อ ยและแจ ง ประชาสั ม พั น ธ ใ ห ข  า ราชการในสั ง กั ด ได รั บ ทราบถึ ง สมรรถนะของตั ว เอง ซึ่ ง แนวทางการดำ � เนิ น การใน เรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล โดยใชหลักสมรรถนะนี้ ถาหากทุกคนไดรวมมือกัน อยางจริงจัง โดยเฉพาะผูประเมินจะตองมีการทำ�ความ เขาใจหลักการประเมินใหละเอียด และผูปฏิบัติก็ตอง เขาใจหลักการอยางละเอียดเพื่อที่จะไดใชเปนแนวทาง ในการปฏิบัติอันจะสงผลใหระบบราชการมีการพัฒนา อยางตอเนือ่ งรองรับกับสถานการณทมี่ กี ารเปลีย่ นแปลง อยูตลอดเวลาไดอยางมีประสิทธิภาพ 3. ในการกำ�หนดความสามารถหลักตองหาให ไดกอ นวาอะไรเปนจุดแข็งทีเ่ ปนเสมือนปจจัยนำ�เขาทีจ่ ะ


​การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษยภาครัฐ วนิดา เขียวงามดี

ผลักดันใหวิสัยทัศน ภารกิจ และเปาหมายขององคกร บรรลุผลสำ�เร็จ ซึ่งการจะกำ�หนด Core Competency ในสวนราชการแตละสวนจะตองนำ�ขอมูลของวิสัยทัศน ภารกิจ เปาหมาย และกลยุทธขององคกร มาพิจารณา ประกอบการหาสมรรถนะหลักเพราะขอมูลเหลานีจ้ ะเปน เข็มทิศชี้นำ�ทางวา ควรจะกำ�หนดความสามารถของ องคกรเปนอยางไรบาง 

4. เนื่องจากการกำ�หนดความสามารถหลักเปน เรื่องเชิงนโยบายที่ถูกกำ�หนดขึ้น และจะถูกนำ�มาใชกับ ขาราชการทุกคนทุกระดับ ดังนั้น บุคคลที่มีสวนรวมใน การกำ�หนดความสามารถหลัก ควรจะประกอบดวย 3 กลุมหลัก ไดแก ผูบริหารระดับสูง ผูอำ�นวยการสำ�นัก/ กอง และตัวแทนขาราชการผูปฏิบัติงาน





21


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

บรรณานุกรม ภ​ าษาไทย เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค. (2546). การพัฒนาความสามารถเชิงสมรรถนะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพนาโกตา. คณะกรรมการขาราชการพลเรือน. (2552ก). คูมือมือสมรรถนะหลัก. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ ลิฟวิ่ง จำ�กัด. _________________________. (2552ข). มาตรฐานและแนวทางการกำ�หนดความรู ความสามารถทักษะ และสมรรถนะทีจ่ �ำ เปนสำ�หรับตำ�แหนงขาราชการพลเรือนสามัญ. กรุงเทพฯ: บริษทั พี. เอ. ลิฟวิง่ จำ�กัด. _________________________. (2548). คูมือมือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พี. เอ. ลิฟวิ่ง จำ�กัด. สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษยดวย Competency. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนา อินเตอรพริ้นท จำ�กัด. อุกฤษณ กาญจนเกตุ. (2543). การใช Competency ในการบริหารงานบุคคล. วารสารการบริหารฅน 21, 4 : 19-22. ภาษาอังกฤษ Spencer, L.M. & Spencer, S.M. (1993). Competence at work: models for superior performance. New York: John Wiley & Sons.

22


การเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีใหเหมาะสมสำ�หรับธุรกิจ SMEs The Selection of an Accounting Software Package for SMEs

จารุณี อภิวัฒนไพศาล 1 Jarunee Aphiwatpisan

บทคัดยอ โปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีชวยใหธุรกิจ SMEs ดำ�เนินธุรกิจไดอยางมีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากจะ ชวยลดความผิดพลาดในการทำ�งาน ลดปริมาณการใชกระดาษแลวยังทำ�ใหรายงานทางการเงินสามารถนำ�เสนอ ไดอยางถูกตองและนำ�ไปใชไดทันเวลาโดยผลลัพธที่ไดอยูภายใตหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งการจัดหาโปรแกรม ทางการบัญชีมาใชกบั ธุรกิจ SMEs นัน้ สามารถทำ�ได 3 รูปแบบ ไดแก การพัฒนาโปรแกรมขึน้ ใชเองภายในธุรกิจ การ ซือ้ โปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีทวี่ างจำ�หนายในทองตลาด และการวาจางหนวยงานภายนอกพัฒนาโปรแกรม ซึง่ การใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปนั้นทำ�ใหธุรกิจ SMEs ไดรับประโยชนดานความถูกตองและความนาเชื่อถือของสารสนเทศ อีกทั้งยังชวยอำ�นวยความสะดวกทางภาษี เชน การจัดเก็บสำ�เนาอยางเปนระบบทำ�ใหการสืบคนขอมูลยอนหลังเกิด ความสะดวกและรวดเร็ว สำ�หรับการเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีนั้นมีหลักคิด 5 ประการ ไดแก บุคลากร เครื่องมือที่ใชในการพัฒนาโปรแกรม ความคุมคาตอการลงทุน การเลือกผูพัฒนาโปรแกรมที่นาเชื่อถือ และคุณภาพ ของโปรแกรม ซึง่ ขอควรระวังในการเลือกใชคอื ไมควรคำ�นึงถึงราคาเปนหลักและไมควรเลือกโปรแกรมทีท่ �ำ งานไดเกิน ความจำ�เปนของธุรกิจมากเกินไป การเลือกโปรแกรมทีร่ องรับอนาคตมากเกินไปอาจทำ�ใหระบบงานปจจุบนั เกิดความ ลมเหลวถึงแมวาโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีในปจจุบันเริ่มปรับเปลี่ยนเปนระบบอิงเว็บมากขึ้นแลวก็ตาม คำ�สำ�คัญ: 1. โปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชี. 2. ธุรกิจขนาดกลางและขนาดยอม. 3. บัญชี.

__________________

1

อาจารยประจำ�คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

Abstract An accounting software package can support the efficiency of SME, because this application can reduce errors and paper usage. In addition, the results of using this application, which are based on Generally Accepted Accounting Principles, also correctly produces accounts on time. There are three ways to get accounting software for SMEs which are: in-house development, purchasing a software package and outsourcing. Depending on the use of the application software, SMEs can obtain accuracy and reliability of information. Furthermore, SMEs can earn more tax benefits. For example, a good document system using this tool makes backward retrieving fast and convenient. To select an accounting software package, SMEs should focus on five items, which are; people, system development tools, value on investment, reliable developers, and software quality. Although most of the state-of-the-art application software uses a web based system, SMEs should avoid selecting a process is which is far beyond the company’s capabilities which could lead to business failure. Keywords : 1. Accounting Software Package. 2. SMEs. 3. Accounting.

24


บทนำ� การสงเสริมใหธรุ กิจ SMEs ใชโปรแกรมสำ�เร็จรูป ทางการบัญชีนับวาเปนประเด็นที่สำ�คัญ ทั้งนี้เพราะ มีขอดีคือ การประมวลผลขอมูลทางการบัญชีมีความ รวดเร็ว มีความสามารถในการสืบคนขอมูลที่ซับซอน ไดอยางเปนระบบ ชวยจัดเก็บขอมูลอยางเปนระเบียบ เรียบรอยและสามารถตอบสนองตอความตองการใชงาน ไดทนั ที สำ�หรับในปจจุบนั จากการรวมตัวเปนประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) เพือ่ สงเสริมใหอาเซียนเปนตลาดและฐานการผลิต เดียว ไดสง ผลใหอาเซียนทีม่ ปี ระชากรกวา 500 ลานคน กลายเปนตลาดทีม่ คี วามสำ�คัญและนาจับตามอง ซึง่ กลุม ประเทศทีม่ สี งั คม วัฒนธรรมและปจจัยแวดลอมใกลเคียง กับประเทศไทย ซึ่งก็คือกลุมประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พมาและเวียดนาม) ซึ่งมีแนวโนมการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจดี เปนแหลงทรัพยากรธรรมชาติที่อุดม สมบูรณ จึงเปนโอกาสในการขยายตลาดการคาและการ ลงทุนของธุรกิจ SMEs ไทย (สำ�นักงานสงเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดยอม 2552) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม (SMEs) มี ค วามสำ � คั ญ ต อ การเจริ ญ เติ บ โตทางเศรษฐกิ จ ของ ประเทศ ซึ่งจำ�เปนตองจัดทำ�รายงานทางการเงินและ ยื่นเสียภาษีใหแกรัฐบาลซึ่งเปนขอบังคับของกฎหมาย รายงานดังกลาวเปนสวนหนึ่งของสารสนเทศทางการ บัญชีที่ชวยวางแผนทางการเงินของธุรกิจและควบคุม การเงินใหมีประสิทธิภาพซึ่งมาจากการมีระบบบัญชี ที่ดี ดังนั้นการมีระบบบัญชีที่ดีจะชวยวางแผนทางการ เงิ น ของธุ ร กิ จ และควบคุ ม การเงิ น ให มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ วิสาหกิจทัง้ ขนาดใหญ ขนาดกลางและขนาดยอมจำ�เปน จำ � เป น ต อ งมี สารสนเทศใหเ พี ย งพอต อการตั ด สิ น ใจ สารสนเทศทางการบัญชีเปนสวนหนึ่งของความอยูรอด และการเจริญเติบโตของธุรกิจ การขาดระบบบัญชีหรือ มีระบบบัญชีที่ไมดีเปนสาเหตุหนึ่งของความลมเหลวใน การดำ�เนินธุรกิจ สาเหตุบางประการทีท่ �ำ ใหธรุ กิจ SMEs เกิดความ ลมเหลว เชน การกำ�หนดราคาสูค แู ขงไมได เกิดจากขาด หลักเกณฑในการพิจารณาหรือการวิเคราะหตนทุนที่ แทจริงทางบัญชี การมองขามความสำ�คัญของการจัดซือ้

​การเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีใหเหมาะสมสำ�หรับธุรกิจ SMEs จารุณี อภิวัฒนไพศาล

ทำ�ใหตอ งแบกรับภาระตนทุนสงผลตอเงินทุนหมุนเวียน การขาดการบริหารสินคาคงคลัง ทำ�ใหมีสินคาคงเหลือ มากเกินไป เกิดความเสี่ยงที่ไมสามารถระบายสินคา ออกจำ�หนายได การขาดทีป่ รึกษาหรือนักบัญชีมอื อาชีพ ทำ�ใหเกิดปญหาเกี่ยวกับการจายภาษีเกินความจำ�เปน ขาดสภาพคล อ งในการดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ และไม ส ามารถ ควบคุมการเงินในธุรกิจได การไมรูจักตนทุนที่แทจริง ของสิ น ค า เนื่ อ งจากไม ส ามารถควบคุ ม ต น ทุ น การ ผลิตไดเพราะขาดระบบบัญชีที่ดี การไมเรียนรูตัวเลข ทางการเงิน ซึ่งเปนเครื่องชี้วัดสภาพของธุรกิจที่สำ�คัญ ทำ�ใหไมทราบแนวโนมและความผิดปกติที่จะเกิดขึ้น การขาดความรูค วามเขาใจเรือ่ งภาษี ทำ�ใหตอ งเสียภาษี เพิ่มขึ้นอยางคาดไมถึง การบันทึกรายการที่ไมสมบูรณ จะทำ�ใหสรรพากรสนใจตรวจสอบมากขึน้ ดังนัน้ ควรจาง นักบัญชีมอื อาชีพมาชวยวางระบบบัญชี และการขาดการ ควบคุมเงินทุนหมุนเวียน เชน การนำ�คาใชจายสวนตัว รวมถึงคาใชจา ยของครอบครัวมาปะปนกับเงินของธุรกิจ จึงเกิดปญหาทำ�ใหเงินสดไมเพียงพอในการหมุนเวียน (ไกรวิทย เศรษฐวนิช 2548) การบัญชีทเี่ กีย่ วของกับธุรกิจ SMEs ทีผ่ ปู ระกอบ การควรรูไดแก 1.) หลักเกณฑการรับรูรายการซึ่งจะมี ผลผูกพันกับภาษีอากรทั้งภาษีหัก ณ ที่จายและภาษี มูลคาเพิ่ม 2.) หลักการบันทึกบัญชีโดยเฉพาะหลัก บัญชีคู (Double Entry System) ที่ตองบันทึกในสมุด รายวันทั่วไป สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันขาย สมุดราย วันรับเงิน สมุดรายวันจายเงิน 3.) การผานรายการจาก สมุดรายวันซึง่ เปนสมุดขัน้ ตนไปยังบัญชีแยกประเภทซึง่ เปนสมุดขั้นปลาย 4.) การปรับปรุงรายการและการปด บัญชี 5.) การจัดทำ�งบการเงิน กิจการตองจัดทำ�งบการ เงินตามเกณฑคงคาง (Accrual Basis Accounting) ซึ่ง เปนขอบังคับตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (สภา วิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ 2553) 6.) หลัก การควบคุมภายในและ 7.) การจัดเก็บเอกสารทั้งหมด อยางเปนระบบ เพื่อใหเจาของกิจการไดรับขอมูลทาง บัญชีที่ดี ดังนั้นหากผูประกอบการธุรกิจ SMEs มี ความรูทางการบัญชีรวมถึงการมีขอมูลทางการบัญชีที่ ดีนั้นจะทำ�ใหไดรับสารสนเทศที่ดีและชวยในการตัดสิน ใจเหตุการณที่จะเกิดขึ้นไดอยางถูกตอง ซึ่ง (ภาพร

25


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

เอกอรรถพร 2546) ไดอธิบายวาคุณลักษณะของขอมูล ทางบัญชีที่ดีวามีคุณลักษณะ 2 ประการคือ ขอมูล สมบูรณเพียงพอ และขอมูลเกิดความงายตอการเขาใจ อันจะทำ�ใหเจาของสามารถมองกิจการออกและรูไดใน ทันทีถึงความเปนไปไดของกิจการ การประยุกตใชคอมพิวเตอรเพื่อชวยทำ � งาน บัญชีมีความจำ�เปนมากในยุคปจจุบันซึ่งเปนยุคแหง เทคโนโลยีสารสนเทศเนื่องจากความตองการในการ จัดการธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ความตองการขอมูลที่ละเอียด ซับซอนมีมากขึน้ เชน ความตองการในแตละวันไมเพียง แตตองการทราบวารายไดเทาใด แตตองการทราบวา สินคาที่ขายไปในแตละวันเปนจำ�นวนเทาใด สินคาใด ขายดีที่สุด สินคาใดขายไมไดเลย เมื่อจัดโปรโมชั่น ทำ�ใหกำ�ไรสุทธิเพิ่มขึ้นหรือไม เพียงใด จะเห็นไดวา ความตองการเหลานี้หากปราศจากคอมพิวเตอรแลวก็ ยากที่จะไดสารสนเทศตามความตองการ ดังนั้น การนำ� คอมพิวเตอรเขามาชวยทำ�งานทางบัญชีมีความสำ�คัญ อย า งมากและการจะประสบความสำ � เร็ จ นั้ น จะต อ ง มีโปรแกรมทางบัญชีที่มีประสิทธิภาพและสามารถตอบ สนองตอความตองการใชงานได ซึง่ การจัดหาโปรแกรม เพื่อนำ�มาใชในงานทางบัญชีมี 3 วิธี ไดแก การพัฒนา โปรแกรมขึ้ น ใช เ องภายในธุ ร กิ จ การซื้ อ โปรแกรม สำ�เร็จรูปทางการบัญชีที่วางจำ�หนายในทองตลาด และ การวาจางหนวยงานภายนอกพัฒนาโปรแกรม ครรชิต มาลัยวงศ (2547 : 14) กลาวถึงบริษทั ทีพ่ ฒ ั นาโปรแกรม ขึ้น ใชเองโดยใชบุคลากรคอมพิวเตอรของตนเองวา มักจะประสบปญหาเมือ่ เทคโนโลยีเปลีย่ นแปลงกาวหนา มากขึ้น เพราะบุคลากรไมสามารถแกไขปรับปรุงระบบ ไดทันตอความกาวหนา และนอกจากนี้ยังพบวาบริษัท มักเปลี่ยนไปใชซอฟตแวรสำ�เร็จรูป เพราะผูพัฒนาและ จำ�หนายซอฟตแวรส�ำ เร็จรูปสวนมากมีทมี งานทีเ่ ขมแข็ง และคอยปรับปรุงซอฟตแวรใหทันตอความกาวหนา ทางเทคโนโลยีตลอดเวลาและมีวิธีการปฏิบัติงานที่เปน มาตรฐาน ดังนั้นการเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการ บัญชีจงึ เหมาะสมกับธุรกิจ SMEs ทีม่ เี งินลงทุนนอยและ ตองการระบบบัญชีตามรูปแบบปกติทวั่ ไป สารสนเทศที่ ไดจากการประมวลผลดวยโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการ บัญชีจะเปนปจจัยสำ�คัญอยางหนึ่งที่ชวยวางแผนและ

26

ตัดสินใจซึ่งจะทำ�ใหธุรกิจ SMEs อยูรอดและเจริญ เติบโต ดังนั้นผูเกี่ยวของจำ�เปนตองตระหนักถึงการ เลื อ กใช โ ปรแกรมสำ � เร็ จ รู ป ทางการบั ญ ชี เ พื่ อ ให เ กิ ด ความเหมาะสมกับธุรกิจ SMEs ความหมายของ SMEs สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ยอม (2551) ใหคำ�นิยาม SMEs (Small and Medium Enterprises) ตรงกับภาษาไทยวา “วิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย อ ม” ซึ่ ง ครอบคลุ ม กิ จ การ 3 กลุมใหญๆ ไดแก 1.) กิจการการผลิต (Production Sector) ครอบคลุ ม การผลิ ต ในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Processing) ภาคอุ ต สาหกรรม (Manufacturing) และเหมืองแร (Mining) 2.) กิจการ การค า (Trading Sector) ครอบคลุ ม การค า ส ง (Wholesale) และการคาปลีก (Retail) และ 3.) กิจการ บริการ (Service Sector) โดยขนาดของวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดยอม สามารถกำ�หนดจากมูลคาชั้นสูง ของสินทรัพยถาวรสำ�หรับกิจการแตละประเภท และ กำ�หนดจากจำ�นวนการจางงาน สำ�หรับการกำ�หนด SMEs จากมูลคาชั้นสูงของ สินทรัพยถาวรนัน้ กิจการผลิตกำ�หนดให วิสาหกิจขนาด กลางไมเกิน 200 ลานบาท วิสาหกิจขนาดยอมไมเกิน 50 ลานบาท สำ�หรับกิจการบริการกำ�หนดให วิสาหกิจ ขนาดกลางไมเกิน 200 ลานบาท วิสาหกิจขนาดยอม ไมเกิน 50 ลานบาท และในสวนของกิจการการคา (คาสง) กำ�หนดให วิสาหกิจขนาดกลางไมเกิน 100 ลาน บาท วิสาหกิจขนาดยอมไมเกิน 50 ลานบาท และหาก เปนกิจการการคา (คาปลีก) กำ�หนดให วิสาหกิจขนาด กลางไมเกิน 60 ลานบาท และวิสาหกิจขนาดยอมไมเกิน 30 ลานบาท ในสวนของการกำ�หนด SMEs จากจำ�นวนการ จางงานนั้น กิจการการผลิตกำ�หนดให วิสาหกิจขนาด กลางไมเกิน 200 คน วิสาหกิจขนาดยอมไมเกิน 50 คน สำ�หรับกิจการบริการกำ�หนดใหวิสาหกิจขนาดกลาง ไมเกิน 200 คน วิสาหกิจขนาดยอมไมเกิน 50 คน และ ในสวนของกิจการการคา (คาสง) กำ�หนดใหวิสาหกิจ ขนาดกลางไมเกิน 50 คน วิสาหกิจขนาดยอมไมเกิน


25 คน และหากเปนกิจการการคา (คาปลีก) กำ�หนดให วิสาหกิจขนาดกลางไมเกิน 30 คน และวิสาหกิจขนาด ยอมไมเกิน 15 คน (สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง

​การเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีใหเหมาะสมสำ�หรับธุรกิจ SMEs จารุณี อภิวัฒนไพศาล

และขนาดยอม 2551) ผูเ ขียนขอสรุปการกำ�หนดลักษณะ ของ SMEs ตามตารางตอไปนี้

ตารางที่ 1. การกำ�หนด SMEs จากมูลคาชั้นสูงของสินทรัพยถาวร และจำ�นวนการจางงาน ประเภทกิจการ

กำ�หนดจากมูลคาชั้นสูงของสินทรัพยถาวร

กำ�หนดจากจำ�นวนการจางงาน

วิสาหกิจ ขนาดกลาง

วิสาหกิจ ขนาดยอม

วิสาหกิจ ขนาดกลาง

วิสาหกิจขนาด ยอม

กิจการการผลิต

ไมเกิน 200 ลานบาท

ไมเกิน 50 ลานบาท

ไมเกิน 200 คน

ไมเกิน 50 คน

กิจการบริการ

ไมเกิน 200 ลานบาท

ไมเกิน 50 ลานบาท

ไมเกิน 200 คน

ไมเกิน 50 คน

- คาสง

ไมเกิน 100 ลานบาท

ไมเกิน 50 ลานบาท

ไมเกิน 50 คน

ไมเกิน 25 คน

- คาปลีก

ไมเกิน 60 ลานบาท

ไมเกิน 30 ลานบาท

ไมเกิน 30 คน

ไมเกิน 15 คน

กิจการการคา

ความสำ�คัญของธุรกิจ SMEs ตอเศรษฐกิจของ ประเทศ จำ�นวนวิสาหกิจรวมทัง้ ประเทศ ณ สิน้ ป 2553 มี จำ�นวนทัง้ สิน้ 2,924,912 ราย จำ�แนกเปนวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดยอม จำ�นวน 2,913,167 ราย จำ�แนก เปนวิสาหกิจขนาดยอม จำ�นวน 2,894,780 ราย วิสาหกิจ ขนาดกลางจำ�นวน 18,387 ราย และเปนวิสาหกิจขนาด ใหญ จำ�นวน 9,140 ราย โดยวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดยอม มีสัดสวนรอยละ 99.6 ของวิสาหกิจทั้งหมด หากพิ จ ารณามู ล ค า ผลิ ต ภั ณ ฑ ม วลรวมใน ประเทศ (GDP) ในป 2553 มีการขยายตัวรอยละ 7.8 ขยายตั ว สู ง มากเมื่ อ เที ย บกั บ อั ต ราการหดตั ว รอยละ 2.2 ในปกอนหนา โดยมูลคา GDP ในป 2553 เทากับ 10,102,986.0 ลานบาท เพิ่มขึ้นจากปกอน หนา 1,052,271 ลานบาท สำ�หรับ GDP ของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดยอม (SMEs) ในป 2553 มีมูลคา 3,746,967.0 ลานบาท คิดเปนสัดสวนรอยละ 37.1 ของ GDP รวมทั้งประเทศ โดยมูลคา GDP ของธุรกิจ SMEs ขยายตัวรอยละ 7.9 ตอป เพิ่มขึ้นจากหดตัวรอยละ 2.4 ในปกอนหนา (สำ�นักงานสงเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง

และขนาดยอม 2553) ดังนัน้ จะเห็นไดวา วิสาหกิจขนาด กลางและขนาดยอม (SMEs) มีความสำ�คัญตอการเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ การเขาสูธุรกิจ SMEs ทำ�ไดงายเพราะใชเงิน ลงทุนนอย การดำ�เนินงานมีความคลองตัว ผูประกอบ การสามารถควบคุมดูแลไดทั่วถึง สามารถตัดสินใจได รวดเร็ ว ทำ � ให ต อบสนองความต อ งการของลู ก ค า ได ทันเวลา แตการดำ�เนินธุรกิจ SMEs จะมีปญ  หาเกีย่ วกับ เงินทุน เมื่อขาดแคลนเงินทุนมักจะขอกูจากสถาบันการ เงินเพือ่ ขยายการลงทุนหรือเปนเงินทุนหมุนเวียน แตจะ ประสบปญหาในการขอกูยืมเนื่องจากไมมีการทำ�บัญชี อยางเปนระบบและขาดหลักทรัพยในการค้ำ�ประกัน เงินกู อีกทั้งพนักงานที่มีก็ขาดความรูในการทำ�บัญชี การบันทึกบัญชีดวยมือทำ�ใหเกิดความผิดพลาดในการ ทำ�งานและเกิดความลาชาในการประมวลผลซึ่งเปน ปญหาของธุรกิจ SMEs วิธีการจัดหาโปรแกรมทางการบัญชีมาใชกับธุรกิจ โปรแกรมทางการบัญชี (Accounting Software) เปนโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใชกับงานบัญชีโดย

27


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

เฉพาะ สามารถบันทึก ประมวลผล และนำ�เสนอรายงาน ทางการเงิน โดยเริม่ ตัง้ แตการบันทึกบัญชีในสมุดรายวัน การผานรายการไปยังสมุดบัญชีแยกประเภท และการ สรุปผลในรูปของรายงานทางการเงิน (Romney and Steinbart 2006) กลาวถึงวิธีการจัดหาโปรแกรมทาง บัญชีสามารถทำ�ได 3 วิธีดังนี้ วิธที ี่ 1. การพัฒนาโปรแกรมขึน้ ใชเองภายใน ธุรกิจ (In-house Development) ธุ ร กิ จ ที่ มี ค วามต อ งการระบบบั ญ ชี ที่ ส ลั บ ซับซอนแตกตางจากธุรกิจทั่วไป มักจะพัฒนาโปรแกรม ทางบัญชีขึ้นมาเพื่อใชงานใหตรงตามความตองการ ของธุรกิจ ทำ�ใหเกิดผลดีคือ โปรแกรมที่ไดตรงตาม ความตองการของผูใชงานภายในธุรกิจ และการทำ�งาน มี ค วามยื ด หยุ  น สู ง กล า วคื อ การปรั บ เปลี่ ย นส ว น ประกอบตางๆ ภายในโปรแกรมสามารถทำ�ไดตามความ ตองการเพื่อใหเหมาะสมกับการใชงาน แตมีผลเสีย ซึ่งก็คือ ตองใชเวลาในพัฒนาอันยาวนาน มีโอกาสที่ จะไมเสร็จตามกำ�หนดเวลาหรือมีโอกาสที่โปรแกรมนั้น จะพัฒนาไมส�ำ เร็จมี นอกจากนีย้ งั พบวาการลงทุนพัฒนา โปรแกรมเองคอนขางสูง ยากตอการประมาณตนทุนลวง หนา งบประมาณอาจจะบานปลาย และการหาผูพัฒนา ต อ ทำ � ได ย าก กล า วคื อ หากที ม งานในการพั ฒ นา โปรแกรมลาออก จะทำ�ใหไมมีผูรับผิดชอบตอ ขอควร คำ�นึงถึงสำ�หรับธุรกิจที่จะพัฒนาโปรแกรมบัญชีเอง มี ดังนี้ 1. ตองระมัดระวังในการเลือกผูพัฒนาโปรแกรม ควรเปนผูมีประสบการณในธุรกิจ มีความเขาใจลักษณะ ทางธุรกิจเปนอยางดี และตองมีความเขาใจอยางลึกซึ้ง วาควรปฏิบัติอยางไรเมื่อเกิดปญหา 2. ตองทำ�สัญญาระหวางผูพัฒนาโปรแกรมกับ ธุรกิจ สัญญาจะเปนตัวแทนของความรับผิดชอบที่นัก พัฒนาโปรแกรมมีตอธุรกิจและเพื่อใหเกิดความเขาใจที่ ชัดเจน ตรงกันทั้งสองฝาย 3. วางแผนและติดตามผลเปนระยะ ในระหวาง การเขียนโปรแกรมอาจตองออกแบบในรายละเอียด จึง ตองติดตามผลงานเปนระยะ 4. รักษาความสัมพันธอันดีในการติดตอสื่อสาร ระหวางธุรกิจกับนักพัฒนาโปรแกรม เปนสิ่งสำ�คัญที่

28

ไมควรละเลยเปนอยางยิ่ง 5. ควบคุ ม ต น ทุ น อย า งเข ม งวด ธุ ร กิ จ ต อ ง พยายามควบคุมตนทุนทีจ่ ะเกิดขึน้ ใหมนี อ ยทีส่ ดุ จนกวา โปรแกรมจะสำ�เร็จและเปนที่ยอมรับของธุรกิจ วิธีที่ 2. การซื้อโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการ บั ญ ชี ที่ ว างจำ � หน า ยในท อ งตลาด (Software Package) ธุรกิจที่มีความตองการระบบบัญชีตามรูปแบบ ปกติทั่วไป มักจะเริ่มตนการจัดหาโปรแกรมทางบัญชี ดวยการซื้อโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชี เนื่องจาก สามารถหาซื้อไดงาย ตนทุนต่ำ�และเริ่มตนการใชงาน ไดเร็ว ทำ�ใหเกิดผลดีคือ ตนทุนต่ำ�กวาเมื่อเทียบกับ การพัฒนาโปรแกรมบัญชีขนึ้ ใชเอง และสามารถประมาณ ตนทุนไดลวงหนา นอกจากนี้ยังไดรับการบำ�รุงรักษา และบริการหลังการขายจากบริษัทผูขายอีกดวย แตมี ผลเสียซึง่ ก็คอื ขาดความยืดหยุน ในการใชงาน กลาวคือ โอกาสทีจ่ ะปรับเปลีย่ นสวนประกอบตางๆ ของโปรแกรม ทำ�ไดยาก และอาจในบางครั้งพบวาความสามารถใน การทำ�งานของโปรแกรมอาจไมตรงตามความตองการ ของผูใชงานทั้งหมด ขอควรคำ�นึงถึงสำ�หรับธุรกิจที่ ซื้อโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีที่วางจำ�หนายใน ทองตลาด มีดังนี้ 1. การตระหนั ก ถึ ง ความสำ � คั ญ ในการเลื อ ก ผูขายโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชี หากไมรูจักหรือ ไมมีความรูในโปรแกรม ผูซื้อสามารถคนหาบริษัทที่ จำ�หนายโปรแกรมผานทางสมุดโทรศัพท Internet การ สอบถามผูท เี่ คยใชมากอน วารสารทางบัญชีหรือวารสาร ทีเ่ กีย่ วของกับการบัญชี เชน วารสารธรรมนิติ นอกจากนี้ ผูซ อื้ สามารถศึกษาขอมูลไดจากการเขารวมสัมมนา หรือ คนหาธุรกิจที่ใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีนั้นๆ ในปจจุบัน 2. ใหความสำ�คัญกับบริการหลังการขาย ซึ่ง ปจจุบันพบวาทุกบริษัทจะตองมีบริการหลังการขาย อยูแลว แตสิ่งที่ธุรกิจพึงระวังคือ ประสบการณและเงิน ลงทุนของบริษัทผูผลิตซอฟตแวร เนื่องจากบริษัทที่มี ประสบการณและเงินลงทุนนอย อาจไมสามารถดำ�เนิน ธุรกิจตอไปไดหากไดรับผลกระทบจากปจจัยภายใน เชน เงินทุนนอยจึงไมสามารถขยายกิจการหรือพัฒนา



บริษัทใหตอสูกับคูแขงขันได หรือจากปจจัยภายนอก เชน สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สภาพแวดลอมที่ จะทำ�ใหบริษัทอาจตองเลิกกิจการ ดังนั้น ประสบการณ และความมั่นคงของบริษัทจึงเปนอีกหนึ่งปจจัยที่ตอง คำ�นึงถึง 3. ความตองการฮารดแวร (Hardware) และ ซอฟต แ วร (Software) เพื่อรองรับการทำ� งานของ โปรแกรมสำ�เร็จรูปที่ซื้อมา โดยพิจารณาจากเทคโนโลยี และอุปกรณที่โปรแกรมรองรับ ซึ่งเปนสิ่งสำ�คัญที่ตอง พิจารณาเพราะจะชวยประหยัดเวลา ชวยใหตัดสินใจ ไดงายขึ้น ลดความผิดพลาดในการตัดสินใจ หลีกเลี่ยง ความขัดแยงที่อาจเกิดขึ้นระหวางผูซื้อกับผูขายเพราะ ความเขาใจที่ไมตรงกัน วิธที ี่ 3. การวาจางหนวยงานภายนอกพัฒนา โปรแกรม (Outsourcing) ธุรกิจอาจตองการลดความเสี่ยงในการประมวล ผลรายการค า ที่ มี จำ � นวนมาก หรื อ มี ค วามสำ � คั ญ สู ง โดยวาจางบุคคลภายนอกที่มีความชำ�นาญสูง สามารถ เลื อ กใช เ ทคโนโลยี ที่ ก  า วหน า มาควบคุ ม ดู แ ลการ ประมวลผลข อ มู ล ทั้ ง หมดหรื อ บางส ว นของธุ ร กิ จ ทำ�ใหเกิดผลดีคือ ประหยัดเวลาเมื่อเทียบกับการพัฒนา โปรแกรมขึน้ ใชงานเอง สามารถควบคุมตนทุนได เพราะ การวาจางบุคคลภายนอกจะตองมีสญ ั ญาวาจางระหวาง กัน นอกจากนี้โปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นจะเสร็จตาม กำ�หนดเวลาทีต่ กลงกันไวตามสัญญา แตหากเสร็จไมทนั เวลา ธุรกิจจะไดรับเงินคาปรับตามที่ไดระบุไวในสัญญา แตมีผลเสียซึ่งก็คือ การพัฒนาหรือแกไขปญหาของ โปรแกรมเป น ไปได ช  า หรื อ อาจไม มี เ มื่ อ เที ย บกั บ โปรแกรมสำ � เร็ จ รู ป ทางบั ญ ชี ที่ ว างจะหน า ยตาม ทองตลาดจะพัฒนาเวอรชนั (version) ใหมๆ อยางตอเนือ่ ง เพื่อแกปญหาเวอรชัน (version) เดิม และพัฒนาให ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่การวาจาง หนวยงานภายนอกพัฒนาโปรแกรมนัน้ จะหยุดพัฒนาตอ เมือ่ สงมอบงานใหแกลกู คาเรียบรอยแลว และนอกจากนี้ โปรแกรมทีไ่ ดอาจไมตรงตามความตองการของผูใ ชงาน ทั้งหมด ขอควรคำ�นึงถึงสำ�หรับธุรกิจที่วาจางหนวยงาน ภายนอกพัฒนาโปรแกรม มีดังนี้

​การเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีใหเหมาะสมสำ�หรับธุรกิจ SMEs จารุณี อภิวัฒนไพศาล

1. ความเชื่อถือไดของบริษัทที่พัฒนาโปรแกรม ให สิ่งสำ�คัญของโปรแกรมนั้นไมไดอยูเพียงแคสามารถ ใชงานไดตรงตามความตองการ แตหากเกิดปญหาใหมๆ จะตองมีผูแกไขปญหาเพื่อใหการทำ�งานเปนไปอยาง ตอเนื่อง ดังนั้น การความรับผิดชอบและการบริการ หลังการขายเปนสิ่งสำ�คัญที่ตองคำ�นึงถึง 2. ความคลองตัวในการปรับเปลี่ยนการใชงาน ธุรกิจตองคำ�นึงถึงดวยวาหากโครงสรางของกิจการ เกิดการเปลี่ยนแปลง เชน การควบรวมกิจการ การ ขยายกิจการ โปรแกรมที่ใชอยูจะสามารถปรับเปลี่ยน องคประกอบไดตามความตองการเพียงใด 3. การสูญเสียการควบคุม เนื่องการขอมูลที่เปน ความลับและระบบงานทั้งหมดหรือบางสวน ถูกแบง ใหบคุ คลภายนอกมีสว นรวมในการทำ�งาน ดังนัน้ ผูบ ริหาร กิจการตองเปรียบเทียบความคุมคาที่เกิดขึ้นดวย 4. การบริการหลังการขายหลังสงมอบงานไปแลว จะเชื่อมั่นไดอยางไรวาหากเกิดปญหาในการใชงาน จะ ติดตอผูพัฒนาโปรแกรมเพื่อใหแกไขปญหาใหแกธุรกิจ ไดทันเวลา วิธีนี้อาจทำ�ใหเกิดคาใชจายที่สูงขึ้นมากใน ระยะยาว วิธีการจัดหาโปรแกรมทางการบัญชีทั้ง 3 วิธี นั้น แตละวิธีมีขอคำ�นึงถึงที่มีความโดดเดนแตกตางกัน ดังนี้ วิธีที่ 1 การพัฒนาโปรแกรมขึ้นใชเองภายในธุรกิจ จะตองคำ�นึงถึงการควบคุมตนทุนและระยะเวลาที่ใชใน การพัฒนาโปรแกรมอาจจะบานปลาย ทำ�ใหระบบงานที่ ตองการเสร็จไมทันเวลาที่กำ�หนด สำ�หรับวิธีที่ 2 การ ซื้อโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีที่วางจำ�หนายใน ท อ งตลาดนั้ น จะต อ งคำ � นึ ง ถึ ง การคั ด เลื อ กบริ ษั ท ผู  จำ � หน า ยที่ มี ค วามน า เชื่ อ ถื อ และคุ ณ ภาพของการ ใหบริการหลังการขาย สวนวิธีที่ 3 การวาจางหนวยงาน ภายนอกพัฒนาโปรแกรม จะตองคำ�นึงถึงขอมูลของ ธุรกิจที่จะตองเปดเผยแกบุคคลภายนอกและการชวย แกไขปญหาของระบบงานที่จะไดรับจากบริษัทผูพัฒนา โปรแกรมหลังสงมอบงาน สำ�หรับวิธีการจัดหาโปรแกรมทางการบัญชีมา ใชกับธุรกิจทั่วๆ ไปและธุรกิจ SMEs นั้นไมแตกตางกัน แตส�ำ หรับธุรกิจ SMEs นัน้ ทางเลือกทีน่ ยิ มใชในปจจุบนั

29


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

คือ การซือ้ โปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีทวี่ างจำ�หนาย ในทองตลาด ดังนัน้ ผูเ ขียนจึงไดรวบรวมรายชือ่ โปรแกรม สำ�เร็จรูปทางการบัญชีของไทยและแหลงสืบคนจาก ฐานขอมูลทีม่ ีอยูในปจจุบันเพื่อใหผูสนใจสามารถศึกษา เพิ่มเติมในรายละเอียด ดังจะกลาวถึงในหัวขอถัดไป

โปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีส�ำ หรับธุรกิจ SMEs โปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีของไทยสำ�หรับ ธุรกิจ SMEs ที่ใชในปจจุบันที่รวบรวมมาจากวารสาร ธรรมนิติ (2548-2553) และ website (www.accountworld.com/ 2554) รวมถึงประสบการณการใชงาน ของผูเขียน มีรายชื่อโปรแกรมและแหลงสืบคน ดัง รายละเอียดตอไปนี้

ตารางที่ 2. รายชื่อโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีของไทยและแหลงสืบคน ชื่อโปรแกรม ACCPAC

ACCSTAR Amanda Autoflight BCAccount for windows Business Controller Business Plus Account CD ORGANIZER DACCOUNT Easy-ACC EasyWin Express Formula iMoneys Account Impress Professional JANE SOFT Kingdee K/3 ERP MAC-4 Professional MyAccount Nanosoft Mini Account

30

URL www.fmsconsult.com, www.psa.co.th www.actran.co.th www.rachada.net www.AmandaAccounting.com www.autoflight.co.th www.bcaccount.com www.hmi.co.th www.businessplus.co.th www.cd-organizer.com www.trianglesoft.co.th www.businesssoft.com www.easywin.co.th www.esg.co.th www.crystalsoftwaregroup.com www.imoneys.co.th www.apacsoftware.co.th www.janecomp.com www.synergistics.co.th www.doublepine.co.th www.prosoft.co.th www.nanosoftonline.com

เบอรติดตอ 02-274-4070 02-662-4174 02-654-0090 02-910-7268 02-933-0667 02-860-6600 02-964-9731-2 02-259-7745-6 02-880-8800 02-370-1955 02-215-0858 02-971-4444 02-732-1900 02-216-5955 02-732-1800 02-675-5515 02-7315558 02-731-5558 02-719-5430 02-719-3808 02-739-5900 053-444-111


​การเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีใหเหมาะสมสำ�หรับธุรกิจ SMEs จารุณี อภิวัฒนไพศาล

ตารางที่ 2. (ตอ) ชื่อโปรแกรม PDP QUICK BOOKS Quick Office SAP Business One Seniorsoft Smart Biz SME ACCOUNT Smile Account SML SOFT SOFTIMO STRACCOUNT WINSpeed

URL www.apacsoftware.co.th www.thaiaccounting.com www.qkoffice.com www.humanica.biz www.seniorsoft.co.th www.vrness.com www.sme-account.com www.csmiledev.com www.smlsoft.com www.softimo.com www.straccount.com www.dsoft.co.th

ความจำ�เปนที่ธุรกิจ SMEs ตองใชโปรแกรมทาง​ การบัญชี การจัดทำ�บัญชีของธุรกิจ SMEs นั้นตองจัดทำ� ตามหลักบัญชีที่รับรองทั่วไป (Generally Accepted Accounting Principle) การบันทึกรายการตามหลักบัญชี คูและการบันทึกรายการตามมาตรฐานการบัญชีจึงเปน สิง่ สำ�คัญในการถือปฏิบตั ิ อยางไรก็ตามการนำ�โปรแกรม ทางการบัญชีมาใชจะทำ�ใหเหตุการณทางเศรษฐกิจที่ เกิ ด ขึ้ น ถู ก นำ � เข า และจั ด เก็ บ ในแฟ ม รายการค า (Transaction File) ซึ่งเปรียบเสมือนการบันทึกบัญชี ในสมุดรายวันทั่วไปของการทำ�บัญชีดวยมือ (Manual System) ดังสมัยในอดีต จากนั้นแฟมรายการคาจะถูก สงไปประมวลผลโดยปรับปรุงขอมูลใหมยี อดคงเหลือถูก ตองในแฟมขอมูลหลัก (Master File) เชนเดียวกับการ ผานรายการคาไปยังบัญชีแยกประเภทในระบบการทำ� บัญชีดวยมือ ในอดี ต การทำ � บั ญ ชี ด  ว ยมื อ จะใช เ อกสาร แบบฟอรมตางๆ จำ�นวนมากและปฏิบตั งิ านตามขัน้ ตอน รวมถึงการตรวจทาน การอนุมัติรายการ นอกจากนี้

เบอรติดตอ 02-675-0110 02-513-7151 02-953-0800 02-636-6999 02-692-5899 02-451-6397 02-370-1955-6 02-248-8088 089-922-3131 02-748-6765-7 02-628-6566 02-803-6180

กระบวนการทางบั ญ ชี จำ � เป น ต อ งสร า งร อ งรอยการ ตรวจสอบ (Audit Trial) หรือรองรอยทางการบัญชี ซึ่งหมายถึงการอางอิงการผานบัญชีเพื่อคนหารายการ ที่ บั น ทึ ก ไว ซึ่ ง การจั ด ทำ � บั ญ ชี ด  ว ยมื อ นั้ น การสร า ง รองรอยในการตรวจสอบตองใชเอกสารและแฟมจัด เก็บเอกสารเปนจำ�นวนมาก (สุภาพร เชิงเอี่ยม 2553) ดังนั้นการใชโปรแกรมทางการบัญชีเขามาชวยทำ�งาน โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศตางๆ ยังคงเปนไป ตามลำ�ดับขั้นตอนของการประมวลผลดวยมือ ซึ่งบาง ขั้ น ตอนถูกกำ�หนดไวใ นเงื่ อนไขของโปรแกรมทำ�ให นักบัญชีไมตองดำ�เนินการแตโปรแกรมจะชวยทำ�งาน ให ดังนั้นการนำ�โปรแกรมทางการบัญชีมาใชในธุรกิจ SMEs จะชวยลดขอผิดพลาดในการทำ�งาน ลดปริมาณ การใชกระดาษ เพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล และสามารถการนำ�เสนอรายงานทางการเงินไดอยาง ถูกตอง ทันเวลา ทำ�ใหผูใชรายงานทางการเงินสามารถ นำ�ไปใชในการตัดสินใจไดอยางถูกตอง สำ�หรับโปรแกรมทางบัญชีในปจจุบนั โดยเฉพาะ โปรแกรมสำ � เร็ จ รู ป ทางการบั ญ ชี ที่ ว างจำ � หน า ยใน

31


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

ทองตลาดถูกพัฒนาขึน้ ใหครอบคลุมระบบงานทางบัญชี ทั้งหมด ไดแก ระบบงานขาย ระบบควบคุมลูกหนี้และ รายไดอื่นๆ ระบบงานจัดซื้อ ระบบควบคุมเจาหนี้และ คาใชจา ยอืน่ ๆ ระบบควบคุมสินคา ระบบสินทรัพยถาวร ระบบควบคุมเช็คและเงินฝากธนาคาร ระบบภาษี ระบบ บัญชีแยกประเภท อีกทัง้ ยังมีระบบรักษาความปลอดภัย ที่สามารถกำ�หนดสิทธิในการเขาถึงขอมูลของผูใชงาน แตละคนเพื่อปองกันผูที่ไมเกี่ยวของเขาไปละเมิดสิทธิ ของผูอื่น รวมถึงการชวยสำ�รองขอมูลใหปลอดภัยจาก ภัยพิบัติตางๆ ที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น การใชโปรแกรม สำ � เร็ จ รู ป ทางการบั ญ ชี ที่ ว างจำ � หน า ยในท อ งตลาด จะทำ�ใหธุรกิจ SMEs ลดความยุงยากในการทำ�งาน เนื่องจากโปรแกรมทางบัญชีจะออกแบบมาเพื่อลดการ ทำ�งานทีซ่ �้ำ ซอน ระบบงานยอยตางๆ สามารถเชือ่ มโยง ขอมูลกันได และชวยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ�งาน เกิดความรวดเร็วและความถูกตองในเวลาที่นอยกวา เดิม และนอกจากนี้ยังพบวา กอใหเกิดความประหยัด มากกวาการลงทุนดวยการจัดหาโปรแกรมทางบัญชี วิธอี นื่ โดยสามารถตอบสนองความตองการของเจาของ กิจการไดเปนอยางดี โดยเฉพาะรายงานในเชิงบริหาร ที่มีความหลากหลายและมีความยืดหยุน สามารถปรับ เปลีย่ นไดตามความตองการ มีความสามารถรองรับการ ขยายตัวทางธุรกิจในอนาคต ซึ่งแมวาอาจจะพบปญหา และอุปสรรคจากการใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชี อยูบาง ซึ่งจะกลาวในหัวขอถัดไป แตผูซื้อสามารถ ปรึกษาทีมงานขายที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อชวยจัดการ ปญหาตางๆ ที่เกิดขึ้นได ปญหาและอุปสรรคจากการใชโปรแกรมสำ�เร็จรูป ทางการบัญชี ผลของการวิจัยพบวาการนำ�โปรแกรมสำ�เร็จรูป ทางการบัญชีมาใชกอใหเกิดปญหาสำ�หรับกิจการ เชน เกิดความยากในการประยุกตโปรแกรมใหเขากับลักษณะ ของธุรกิจ มีปญ  หาเกีย่ วกับการเชือ่ มตอกันระหวางระบบ ยอย เกิดความยุง ยากในการใชงานและการออกรายงาน ผูใ ชขาดความรูค วามเขาใจ ขาดความเชีย่ วชาญ รายงาน ทีไ่ ดไมตรงกับความตองการของกิจการ และไมมบี ริการ หลังการขายทีด่ ี (มานพ สีเหลือง 2549 ; ประจิต หาวัตร

32

และ ศรัณย ชูเกียรติ 2548 ; สุตราวดี บัวเทศ 2547 ; นันทพร ลิขติ ไพบูลยศลิ ป จุฑาทิพย สองเมือง และ ปรีชา เจริญสุข 2545) ฉะนัน้ ในการเลือกซือ้ โปรแกรมสำ�เร็จรูป ทางการบั ญ ชี นั้ น ผู  ซื้ อ จะต อ งพิ จ ารณาให ร ะเอี ย ด รอบคอบอยางรอบดานเพื่อใหโปรแกรมสำ�เร็จรูปทาง การบัญชีที่เลือกใชนั้นมีความเหมาะสมกับธุรกิจ อันจะ กอใหเกิดประโยชนแทนที่จะเกิดปญหาในระยะยาว ดังนั้น สามารถสรุปเปน รายขอโดยชี้ใ หเห็น ปญหาและอุปสรรค ดังตอไปนี้ 1. ความยากในการประยุกตโปรแกรมใหเขากับ ลักษณะของธุรกิจ การเชื่อมตอระหวางระบบงานยอยๆ เกิดปญหา 2. ความยุงยากในการใชงาน เกิดปญหาในการ ออกรายงานไมตรงตามความตองการ 3. ผู  ใ ช ง านไม มี ค วามรู  ใ นการใช โ ปรแกรม ทางการบัญชี 4. ไมมีบริการหลังการขายที่ดี จากปญหาและอุปสรรคทีก่ ลาวมานัน้ ทำ�ใหธรุ กิจ ตองตระหนักในการตัดสินใจเลือกซือ้ โปรแกรมสำ�เร็จรูป ทางการบัญชี ซึ่งจากการศึกษาจากบทความวิจัยและ งานวิจัยบางสวนที่พบในประเทศไทย ผูเขียนพบวา ป จ จั ย ที่ มี ผ ลต อ การตั ด สิ น ใจเลื อ กซื้ อ โปรแกรม สำ�เร็จรูปทางการบัญชีที่เกิดขึ้นในอดีต มีรายละเอียด ซึ่งจะกลาวถึงในหัวขอถัดไป ป จ จั ย ที่ มี ผ ลต อ การตั ด สิ น ใจเลื อ กซื้ อ โปรแกรม สำ�เร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจ จากการศึกษาบทความวิจัย และงานวิจัยที่พบ ในรอบ 9 ปที่ผานมาในประเด็นที่เกี่ยวของกับการเลือก ซื้อและการเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชี พบวา ปจจัยทีม่ ผี ลตอการเลือกซือ้ และเลือกใชโปรแกรม สำ�เร็จรูปทางการบัญชี ไดแก ราคาของผลิตภัณฑ ตนทุน ในการบำ�รุงรักรักษา ความสามารถของโปรแกรม ความ ยืดหยุนในการใชงาน (เชน การแกไขหนาจอ รายงาน แบบฟอรม หรือรหัสตนฉบับ) ความยืดหยุนในการนำ� เสนองบการเงิน (เชน แสดงรายงานออกทางหนาจอ คอมพิวเตอร การเจาะลึกรายงาน การนำ�เสนอขอมูล ในรูปกราฟ แผนภูมิ ตลอดจนการเชื่อมโยงขอมูลกับ


โปรแกรมอื่นๆ เชน Microsoft Excel) ความนาเชื่อถือ ของโปรแกรมและผูผลิตหรือผูจัดจำ�หนาย คุณสมบัติ เสริมของโปรแกรม การควบคุมภายใน เทคโนโลยีที่ โปรแกรมนั้นตองการใช (ไดแก ความตองการระบบ ปฏิบัติการพื้นฐาน เชน DOS, Windows, Unix) ระบบ การจัดการฐานขอมูล ขอบเขตการใชงาน รายไดรวม ขนาดของกิจการ ลักษณะของธุรกิจ โปรแกรมงายตอการ เขาใจ การสนับสนุนการฝกอบรมและใหบริการหลัง การขาย ลักษณะการทำ�งานของโปรแกรม ระบบรักษา ความปลอดภัย คุณสมบัติหลักของโปรแกรม (ไดแก

​การเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีใหเหมาะสมสำ�หรับธุรกิจ SMEs จารุณี อภิวัฒนไพศาล

การมีระบบสำ�รองขอมูล มีรายงานตรงกับความตองการ ของกิจการ) คุณสมบัติของผูผลิตและผูจำ�หนาย (ไดแก การมีคูมือการใชงานของโปรแกรมที่สมบูรณ) ขอจำ�กัด ของซอฟตแวร ระบบการตัดสินใจของผูบ ริหาร (นันทพร ลิขติ ไพบูลยศลิ ป จุฑาทิพย สองเมือง และ ปรีชา เจริญสุข 2545 ; สุตราวดี บัวเทศ 2547 ; มานพ สีเหลือง 2549 ; นงนิภา ตุลยานนท ศิริเดช คำ�สุพรหม และ ธีระเดช อังธีระปญญา 2549 ; พลพธู ปยวรรณ และสุภาพร เชิงเอี่ยม 2550 ; รุงทิพย อนันตจรุงสุข 2553) อนึ่ง สามารถสรุปประเด็นขางตนไดตามตารางที่ 3. ดังตอไปนี้

ตารางที่ 3. ปจจัยที่มีผลตอการเลือกซื้อโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจ

รายการ 1. ราคาของผลิตภัณฑ 2. ตนทุนในการบำ�รุงรักรักษา 3. ความสามารถของโปรแกรม 4. ความยืดหยุน 5. ความนาเชื่อถือของโปรแกรม และผูผลิตหรือผูจัดจำ�หนาย 6. คุณสมบัติของผูผลิตและ ผูจำ�หนาย 7. คุณสมบัติหลักของโปรแกรม 8. คุณสมบัติเสริมของโปรแกรม 9. ลักษณะการทำ�งานของ โปรแกรม 10. ขอจำ�กัดของซอฟตแวร 11. การควบคุมภายใน 12. เทคโนโลยีที่โปรแกรมนั้น ตองการใช 13. ขอบเขตการใชงาน 14. รายไดรวมของกิจการ 15. ขนาดของกิจการ

นันทพร, จุฑาทิพย และ ปรีชา (2545) P

สุตราวดี (2547)

P

มานพ นงนิภา, พลพธู และ รุงทิพย (2549) ศิริเดช และ สุภาพร (2553) ธีระเดช (2550) (2549) P P P P P P P P P P

P P P

P

P

P

P P

P P P P P

33


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

ตารางที่ 3. (ตอ)

รายการ 16. ลักษณะของธุรกิจ 17. โปรแกรมงายตอการเขาใจ 18. การสนับสนุนการฝกอบรม และใหบริการหลังการขาย 19. ระบบรักษาความปลอดภัย 20. ประโยชนที่ไดรับจาก โปรแกรม 21. ระบบการตัดสินใจของ ผูบริหาร

นันทพร, จุฑาทิพย และ ปรีชา (2545)

สุตราวดี (2547)

นงนิภา, ศิริเดช และ ธีระเดช (2549)

พลพธู และ สุภาพร (2550)

รุงทิพย (2553)

P P P P P P

จากตารางพบวาปจจัยที่มีผลตอการเลือกซื้อ โปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจ ไดแก ราคา ของผลิตภัณฑ ตนทุนในการบำ�รุงรักษา ความสามารถ ของโปรแกรมทั้ ง คุ ณ สมบั ติ ห ลั ก และคุ ณ สมบั ติ เ สริ ม ความยืดหยุน ความนาเชื่อถือของโปรแกรมและผูผลิต หรือผูจ ดั จำ�หนาย และขอจำ�กัดของซอฟตแวร โดยราคา ของผลิตภัณฑเปนปจจัยที่มีผลตอการเลือกโปรแกรม สำ�เร็จรูปทางการบัญชีมากกวาปจจัยอื่นๆ นอกจากนี้ งานวิจัยที่พบปลาสุดของรุงทิพย อนันตจรุงสุข (2553) ที่ศึกษาการวิเคราะหปจจัยในการเลือกใชโปรแกรม สำ � เร็ จ รู ป ทางการบั ญ ชี ข องสำ � นั ก งานบั ญ ชี ใ นเขต กรุงเทพมหานคร พบวาสำ�นักงานบัญชีในกรุงเทพมหา นครจะใหความสำ�คัญในประเด็นอื่นๆ ดวยที่นอกเหนือ จากทีก่ ลาวมาแลวขางตน ไดแก ลักษณะการทำ�งานของ โปรแกรม การสนับสนุนการฝกอบรมและใหบริการหลัง การขาย และระบบรักษาความปลอดภัย

34

มานพ (2549)

ขอควรพิจารณาในการเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูป ทางการบัญชีใหเหมาะสมกับธุรกิจ SMEs จากการศึกษาเอกสาร ตำ�รา และงานวิจัยที่ เกี่ ย วข อ งนั้ น ตามทั ศ นะของผู  เ ขี ย นมี ค วามคิ ด เห็ น วา การตัดสินใจเลือกใชโปรแกรมสำ �เร็จรูปทางการ บัญชีใหเหมาะสมกับธุรกิจ SMEs นั้น จำ�เปนตอง พิจารณาใหรอบคอบเพือ่ จะไดไมตอ งหาโปรแกรมอืน่ มา ทดแทนโปรแกรมที่ไมสามารถตอบสนองความตองการ ไดอยางแทจริง ดังนัน้ ผูเ ขียนขอเสนอขอควรพิจารณาใน การเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีใหเหมาะสม กับธุรกิจ SMEs ใน 5 ดาน ดังนี้ 1. ดานบุคลากร ในการเลือกโปรแกรมสำ�เร็จรูป ทางการบัญชีนั้นผูบริหารระดับสูงของธุรกิจ SMEs จะต อ งให ก ารสนั บ สนุ น ทั้ ง การกำ � หนดเป น นโยบาย ใหมีการใชโปรแกรมสำ�เร็จรูป และการสนับสนุนดาน การเงิน สำ�หรับการตัดสินใจเลือกโปรแกรมใดนั้นควร ใหผเู กีย่ วของรวมพิจารณา ไดแก ฝายบัญชี ฝายการเงิน ฝายจัดซื้อ ฝายคลังสินคา และควรมีสวนรวมในการ


ทดสอบระบบเพือ่ ใหโปรแกรมทีเ่ ลือกใชนนั้ สามารถตอบ สนองตอความตองการใชงานไดอยางแทจริง ไมเกิดการ ตอตาน และควรสงเสริมใหฝกอบรมการใชโปรแกรมจน เพื่อใหผูใชเกิดความชำ�นาญ 2. ดานคุณภาพของโปรแกรม โดยพิจารณาใน ประเด็นดังตอไปนี้ 2.1 ความถูกตองในการบันทึกบัญชี การประมวล ผลและการออกรายงานมีความถูกตอง ครบถวน โดยให ทดสอบจากการใช ข  อ มู ล จริ ง แล ว ดู ผ ลลั พ ธ ที่ ไ ด จ าก รายงานทางการเงิ น นอกจากนี้ ค วรพิ จ ารณาความ สมบู ร ณ ข องโปรแกรม เสถี ย รภาพการใช ง านของ โปรแกรม ความงายในการใชงานโปรแกรมทีม่ คี ณ ุ สมบัติ ครบถวนแตใชงานยาก ก็ไมควรซื้อ 2.2 ใหทดลองใชกอนตัดสินใจซื้อ โดยเลือก บริษทั ทีม่ ชี ดุ ทดลอง (Demo) ไวใหทดลองใช อยาหลงเชือ่ คำ�โฆษณาหรือคำ�กลาวอางของผูขาย โดยการทดลอง ใชใหนำ�ขอมูลจำ�นวนมากมาทดสอบวาผลลัพธที่ได เปนไปตามความตองการเพียงใด เชน ความเร็วของการ ประมวลผล ความสามารถในการออกรายงานพรอมกัน จากคอมพิวเตอรหลายเครื่อง 2.3 เลือกระบบบัญชีที่พัฒนาบน Windows ดีกวาระบบบัญชีที่พัฒนาบน DOS เพราะ การพัฒนา บน Windows มีอยางตอเนือ่ งและมีประสิทธิภาพในการ ใชงานมากกวา การนำ�ขอมูลออก (Export) เพื่อเขาสู Windows สามารถทำ�ได การใชงานทำ�ไดงาย มีความ สวยงามนาใช อีกทัง้ ยังทำ�งานไดหลายงานพรอมกันบน เครื่องคอมพิวเตอรเดียว (Multitasking) 2.4 เลือกโปรแกรมทีม่ เี ครือ่ งมือชวยกูข อ มูลจาก เหตุการณที่ไมคาดคิด เชน ไฟดับแลวขอมูลสูญหายไป หรือชวยซอมแซมฐานขอมูลเมื่อเกิดความบกพรอง 2.5 พิจารณาการจัดเก็บขอมูลทางบัญชี ซึ่ง สามารถจัดเก็บขอมูลได 2 แบบคือ ระบบแฟมขอมูล (Filebase) และระบบฐานขอมูล (Database) ซึง่ การเก็บ ขอมูลในระบบฐานขอมูลจะทำ�ใหเกิดความปลอดภัยมาก กวาซึ่งจะตองมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดีพอ 2.6 อยาคำ�นึงถึงสีสนั ทีส่ วยงาม เพราะจะเปนปญ หาแกสายตาในระยะยาว

​การเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีใหเหมาะสมสำ�หรับธุรกิจ SMEs จารุณี อภิวัฒนไพศาล

3. ด า นการเลื อ กผู  พั ฒ นาโปรแกรมที่ ​ น า เชื่ อ ถื อ โดยรายชื่ อ ผู  ป ระกอบการที่ จำ � หน า ย ซอฟตแวรตามมาตรฐานซอฟตแวรของกรมสรรพากร สามารถหาขอมูลไดจาก website ของกรมสรรพากรคือ www.rd.go.th > > บริการขอมูล > > ซอฟตแวรมาตรฐาน กรมสรรพากร (www.rd.go.th, 4 สิงหาคม 2554) ขอควร พิจารณามีดังนี้ 3.1 เลือกบริษทั ทีม่ คี วามมัง่ คงและประสบการณ มาก อยาซือ้ โปรแกรมกับบริษทั ทีไ่ มนา เชือ่ ถือเพราะหาก บริษัทผูขายเลิกกิจการ จะทำ�ใหระบบงานของธุรกิจ SMEs ตองหยุดชะงัก 3.2 เลือกบริษัทที่มีการพัฒนาซอฟตแวรอยาง ตอเนื่องโดยพิจารณาวาผูผลิตพัฒนาโปรแกรมอยาง ตอเนื่องเพียงใด มีรุน (Version) ใหมๆ ออกมาอยาง ตอเนื่องหรือไม เนื่องจากโปรแกรมที่พัฒนาในชวงแรก อาจมีหลุมดำ� (Bug) ซึ่งจะทำ�ใหเกิดการหยุดชะงักใน การทำ�งานหรือที่เรียกวา error โปรแกรมจึงตองมีการ พัฒนาอยางตอเนื่อง 3.3 สอบถามจากผูใชงานจริง โดยถามผูขายวา โปรแกรมดังกลาวมีผูใชงานมากนอยเพียงใด และขอ ตั ว อย า งรายชื่ อ ลู ก ค า เพื่ อ สอบถามจากผู  ใ ช ง านจริ ง ประมาณ 4-5 ราย เกี่ยวกับความพอใจในการใชงาน บริการหลังการขายและปญหาที่เกิดขึ้น 3.4 ควรพิจารณาการบริการหลังการขาย โดย พิจารณาจากความเชีย่ วชาญ ประสบการณของพนักงาน ดูแลลูกคาหลังการขาย (Customer support) จะตองเปน ทีมงานที่มีความรูและประสบการณ มีความชำ�นาญ ด า นบั ญ ชี แ ละมี ค วามสามารถแก ไ ขป ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น หลังการขายได 4. ดานเครือ่ งมือทีใ่ ชในการพัฒนาโปรแกรม การเลื อ กใช เ ครื่ อ งมื อ ในการพั ฒ นาโปรแกรมที่ ดี จ ะ รองรับการปรับเปลี่ยนรูปแบบ (Feature) ตางๆ ที่จะ เกิ ด ขึ้ น ในอนาคตเมื่ อ เทคโนโลยี เ ปลี่ ย นแปลง หาก ทีมงานผูเขียนโปรแกรมใชเครื่องมือที่ไมเหมาะสมจะ ทำ�ใหขอ มูลเสียหายบอย จะตองจัดเรียงขอมูล (Reindex) อยู  เ ป น ประจำ� นอกจากนี้ ค วรคำ� นึ ง ถึ ง เทคโนโลยี ที่ โปรแกรมนั้ น ต อ งการใช ธุ ร กิ จ ควรประมาณการงบ

35


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

ประมาณทั้งในสวนของฮารดแวร (Hardware) และ ซอฟตแวร (Software) ที่สามารถรองรับการทำ�งาน ของโปรแกรม ควรเลือกโปรแกรมที่งายในการใชงาน (User Friendly) เชน ใชเมาส (Mouse) แทนคียบอรด (Keyboard) ไดทกุ หนาจอ การคนหาขอมูลทำ�ไดสะดวก หนาจอบันทึกขอมูลชัดเจน เขาใจไดงาย และขอมูล สามารถเชื่อมโยงไปยังหนาจออื่นๆ ที่เกี่ยวของกันได และสิ่งสำ�คัญอีกประการหนึ่งคือ มีระบบรักษาความ ปลอดภัยที่นาเชื่อถือ 5. ดานความคุมคาตอการลงทุน ในการเลือก ซื้ อ ควรเปรี ย บเที ย บระหว า งประโยชน ที่ จ ะได รั บ กั บ ตนทุนที่คาดวาที่เสียไป ในดานกำ�ลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น ระยะเวลาในการตอบสนองความตองการของผูใชงาน ความผิดพลาดทีล่ ดลง ระยะเวลาในการคืนทุน การเลือก โปรแกรมที่ไมมีคุณภาพจะเพิ่มคาใชจายในระยะยาว แตไมควรซื้อโปรแกรมโดยตัดสินใจที่ราคาเปนสำ�คัญ เพราะโปรแกรมราคาถูกอาจไมคุมคากับเงินที่ลงทุนไป และสำ�หรับโปรแกรมที่ราคาแพงก็ไมไดหมายความวา จะดีเสมอไป ดังนั้น ผูซื้อควรคำ�นึงถึงคุณภาพของ โปรแกรม และความสามารถในการตอบสนองความ ตองการใชงาน ดังนั้น ธุรกิจ SMEs ที่ตองการเลือกใชโปรแกรม สำ�เร็จรูปทางการบัญชี จะตองพิจารณาใน 5 ดาน ได แ ก ด า นบุ ค ลากร ด า นคุ ณ ภาพของโปรแกรม ด า นการเลื อ กผู  พั ฒ นาโปรแกรมที่ น  า เชื่ อ ถื อ ด า น เครื่องมือที่ใชในการพัฒนาโปรแกรม และดานความ คุมคาตอการลงทุน เพื่อใหโปรแกรมที่เลือกมานั้นชวย อำ�นวยความสะดวกในการทำ�งาน เกิดความรวดเร็ว ในการตอบสนองตอความตองการของลูกคา ชวยทำ� ภาระงานประจำ�ที่ตองทำ�ซ้ำ�ๆ ทำ�ใหมีเวลาสรางสรรค ผลงานอื่นๆ และแกปญหาระบบงานปจจุบันได สิ่งที่ ตองพึงระวังคือ ไมควรเลือกโปรแกรมที่รองรับอนาคต มากเกิ น ไป สำ � หรั บ ธุ ร กิ จ ที่ ทำ � บั ญ ชี ด  ว ยระบบมื อ (Manual system) แลวตั้งเปาวาจะนำ�โปรแกรมสำ�เร็จ รูปมาใชแลวตองเปนระบบบัญชีที่เชื่อมโยงกับ Internet ได (Web based accounting) อาจจะทำ�ใหเกิดความ ลมเหลว ดังนั้นควรทำ�ทีละขั้นตอน แบบคอยเปนคอย ไป การเลือกโปรแกรมที่เผื่ออนาคตไวมากเกินไปจะ 

36

ทำ�ใหสญ ู เสียตนทุนโดยเปลาประโยชน ถึงแมวา ปจจุบนั เริ่มเปลี่ยนเปนระบบอิงเว็บ (Web based system) มาก ขึ้นนั่นคือ สามารถจัดเก็บ คนคืน ประมวลผล และแสดง รายงานตางๆ ผานเว็บมากขึ้นก็ตาม บทสรุป การเลื อกใชโ ปรแกรมสำ �เร็จรูปทางการบั ญชี สำ�หรับธุรกิจ SMEs ผูเลือกใชตองคำ�นึงความตองการ ของธุรกิจเปนหลัก ผูบริหารตองสนใจและผลักดันแลว เลือกโปรแกรมที่สามารถตอบสนองตอความตองการ ใชงาน การเลือกโปรแกรมบัญชีที่เหมาะสมกับธุรกิจ จะชวยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ�งาน ทำ�ใหประหยัด เวลา ลดทรัพยากรมนุษย ชวยลดตนทุนการดำ�เนินงาน ทำ � ให ป ระหยั ด กระดาษและลดความผิ ด พลาดที่ อ าจ เกิ ด ขึ้ น จากการทำ � งาน ซึ่ ง การตั ด สิ น ใจเลื อ กใช นั้ น ตองใหผูมีสวนเกี่ยวของทั้งหมดรวมพิจารณาในการ สรรหา เพื่อลดการตอตาน ไมใหความรวมมือซึ่งจะนำ� ไปสู  ค วามล ม เหลวในที่ สุ ด นอกจากนี้ สิ่ ง สำ � คั ญ อี ก ประการหนึ่งคือผูบริหารตองพิถีพิถันในการสรรหานัก บัญชีมอื อาชีพมาปฏิบตั งิ านเพือ่ ธุรกิจประสบความสำ�เร็จ ตามความมุงหวัง สำ�หรับความเสียหายของการเลือกใชโปรแกรม บัญชีที่ไมมีคุณภาพคือ การทำ�งานไมมีประสิทธิภาพ เกิดความลาชา ขาดขอมูลชวยในการตัดสินใจ สราง ป ญ หาให กั บ การทำ� งาน เพิ่ ม ค า ใช จ  า ยในระยะยาว ขาดความสามารถในการแขงขันทางธุรกิจเพราะขาด เทคโนโลยีที่มีคุณภาพ รวมถึงการเลือกโปรแกรมที่มี ประสิ ท ธิ ภ าพสู ง เกิ น ความจำ � เป น ทำ � ให เ พิ่ ม ต น ทุ น ซึ่งไมคุมคาตอการใชประโยชน การเลือกโปรแกรม บั ญ ชี ที่ ไ ม มี คุ ณ ภาพจะเพิ่ ม ค า ใช จ  า ยในระยะยาว นอกจากนี้ ข  อ ควรระวั ง ในการใช โ ปรแกรมสำ � เร็ จ รู ป ทางการบัญชีคือ ความเสี่ยงจากการหยุดชะงัดของ ระบบ อั น เกิ ด จากไวรั ส คอมพิ ว เตอร ความเสี่ ย งที่ อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณที่ไมคาดคิด เชน ไฟไหม แผนดินไหว ดังนั้น ผูใชตองใหความสำ�คัญกับการ สำ�รองขอมูลเพือ่ ใหสามารถนำ�กลับมาใชไดอยางรวดเร็ว ที่สุดเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจ 




​การเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีใหเหมาะสมสำ�หรับธุรกิจ SMEs จารุณี อภิวัฒนไพศาล

บรรณานุกรม ภาษา​ไทย กรมสรรพากร. (2554). ซอฟตแวรมาตรฐานกรมสรรพากร. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 4 สิงหาคม 2554. จาก www.rd.go.th ไกรวิทย เศรษฐวนิช. (2548). 40 ความลมเหลวที่ SMEs ตองแกไข. กรุงเทพมหานคร: เอช. เอ็น. กรุป. ครรชิต มาลัยวงศ. (2547). บทบาทของไอทีตอเอสเอ็มอี. กรุงเทพมหานคร: เวลาดี. ธรรมนิติ. (2548-2553). โปรแกรมบัญชี. วารสารธรรมนิติ 25-29, 317-348 : หนาโฆษณา. นงนิภา ตุลยานนท, ศิรเิ ดช คำ�สุพรหม และ ธีระเดช อังธีระปญญา. (2549). ปจ จัยทีม่ ผี ลกระทบตอการใชซอฟตแวรใน งานบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม (SMEs). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย. นันทพร ลิขิตไพบูลยศิลป, จุฑาทิพย สองเมือง และ ปรีชา เจริญสุข. (2545). ปจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือก ซื้อโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดยอม. กรุงเทพฯ: โครงการธุรกิจสำ�หรับนักศึกษาปริญญาโทประเภทงานวิจัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. ประจิต หาวัตร และ ศรัณย ชูเกียรติ. (2548). รายงานผลการวิจัยความสัมพันธระหวางปจจัยทางดานองคกร และความมีประสิทธิผลของการใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. พลพธู ปยวรรณ และสุภาพร เชิงเอีย่ ม. (2550). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. พิมพครัง้ ที่ 2. นนทบุร:ี วิทยพัฒน. ภาพร เอกอรรถพร. (2546). บัญชีชวยได. กรุงเทพมหานคร: เอ็ม เอ เอช พริ้นติ้ง. มานพ สีเหลือง. (2549). การเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางบัญชี และคุณลักษณะนักบัญชีพึงประสงคของ สถานประกอบการ. วิทยานิพนธบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยบูรพา. รุง ทิพย อนันตจรุงสุข. (2553). การวิเคราะหปจ จัยในการเลือกใชโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีของสำ�นักงาน บัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช. สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม. (2551). นิยาม SMEs. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 21 สิงหาคม 2554. จาก www.ismed.or.th. สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ. (2553). มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง การนำ� เสนองบการเงิน. กรุงเทพมหานคร. สำ�นักงานสงเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดยอม (สสว.). (2553). รายงานสถานการณวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดยอม (SMEs) ป 2553 และแนวโนม ป 2554. กรุงเทพมหานคร: สำ�นักงานฯ. ___________________________________________. (2552). สรุปผลการดำ�เนินงาน 2552. กรุงเทพ มหานคร: สำ�นักงานฯ. สุตราวดี บัวเทศ. (2547). ปจจัยที่มีผลตอการเลือกซื้อโปรแกรมสำ�เร็จรูปทางการบัญชีในธุรกิจขนาดกลาง และขนาดยอม. วิทยานิพนธบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. สุภาพร เชิงเอี่ยม. (2553). เอกสารการสอน ชุดวิชาการใชเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชีและการสอบ บัญชี หนวยที่ 2. พิมพครั้งที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ภาษา​อังกฤษ Account-world.com. (2554). โปรแกรมบัญชี. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 20 สิงหาคม 2554. จาก www.accountworld.com/index.html Romney, M. and Steinbart, P. (2006). Accounting Information System. 10thed. N.J.: Prentice Hall. 37



สมรรถนะที่จำ�เปนของฝายผลิตรายการโทรทัศน The Essential Competencies of Television Program Production Staff สมานใจ ขันทีทาว 1 Samarnjia Khantheethao บทคัดยอ อุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศนไทยมีการแขงขันสูงและการพัฒนารายการโทรทัศนใหมคี ณ ุ ภาพสูงนัน้ สวนหนึง่ เกิด จากสมรรถนะของบุคลากรในฝายผลิตรายการเปนสำ�คัญ การพัฒนาบุคลากรที่มีความคิดสรางสรรคใหมีคุณภาพจึง เปนสาระสำ�คัญที่จะบงชี้ไดถึงคุณภาพของรายการที่เผยแพรใหผูชมทั่วประเทศ ดังนั้น การคนหาสมรรถนะที่จ�ำ เปน ของบุคลากรที่ผลิตรายการโทรทัศนจะเปนสวนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพรายการโทรทัศนในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค เพื่อศึกษาองคประกอบของสมรรถนะของฝายผลิตรายการโทรทัศนเครื่องมือ ที่ใชในการวิจัยเปนแบบสอบถามซึ่งพัฒนามาจากแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัย เครื่องมือที่ใชในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ชุด คือ แบบสัมภาษณแบบมีโครงสรางสำ�หรับสัมภาษณเชิงลึกซึ่งใชสัมภาษณผูเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวของ และแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะที่จำ�เปนซึ่งเปนแบบมาตราสวน 5 ระดับ โดยกลุมตัวอยางเปนฝายผลิตรายการ โทรทัศนประกอบดวย โปรดิวเซอร โครโปรดิวเซอร ครีเอทีฟ จำ�นวน 121 คน การสุมตัวอยางใชวิธีสุมแบบสัดสวน การวิเคราะหขอ มูลใชคา เฉลีย่ คารอยละ วิเคราะหปจ จัย และวิเคราะหความสอดคลองของรูปแบบและขอมูลเชิงประจักษ ผลการศึกษาพบวา องคประกอบสมรรถนะทีจ่ �ำ เปนของฝายผลิตรายการโทรทัศนเรียงลำ�ดับความสำ�คัญ ไดแก องคประกอบที่ 1 องคประกอบทักษะการจัดการ ประกอบดวยการวางแผน การสื่อสารและนำ�เสนอ ความรับผิดชอบ การทำ�งานเปนทีม องคประกอบที่ 2 ดานความคิด ประกอบดวยความคิดรวบยอด ความคิดวิเคราะห ความคิดสรางสรรค และองคประกอบที่ 3 ดานกระบวนการผลิต การตรวจสอบความสอดคลองของโมเดลโครงสรางองคประกอบสมรรถนะ ที่จำ�เปนของฝายผลิตรายการโทรทัศนกับขอมูลเชิงประจักษ พบวา คาดัชนีวัดระดับความกลมกลืน คือไค-สแควร เทากับ 113.151 องศาอิสระ (df) เทากับ 85 คา Probability level เทากับ .019 คา X2/ df (CMIN/DF) เทากับ1.347 คา RMR เทากับ .020 คา GFI เทากับ .928 และคา AGFI เทากับ .898 คา RMSEA เทากับ .041 และคา CFI เทากับ .979 แสดงวา รูปแบบโมเดลการวิเคราะหองคประกอบเชิงยืนยันลำ�ดับที่สองสอดคลองกับขอมูลเชิงประจักษ คำ�สำ�คัญ: 1. สมรรถนะ. 2. ทักษะการจัดการ. 3. กระบวนการผลิตรายการโทรทัศน.

__________________

1

นักศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

Abstract Competition is high in the Thai broadcasting television industry. The development of quality television programmers depends on the competencies of professional producers. The competency development of production personnel is essential to the quality of a broadcasted program. It is therefore necessary that, research in required qualifications for producers be part of Thai television program development. This research aimed to study the competency factors of staff in the production division. Two research instruments were used and developed from relevant concepts, theories, and research. An in-depth interview was used to interview experts in related fields, while a 5-point rating scale questionnaire collected data about the essential competencies. The samples were 121 production staff selected by stratified random sampling. The data was analyzed by mean, percentage, factor analysis and the analysis of consistency between the model and the empirical data. The research findings indicated that the essential competency factors for production staff, given in order of importance, were management skills, thinking and production process. The sub-factors of management skills were planning, communication and presentation, responsibility and team work, and the sub-factors of thinking were conceptualization, analytical thinking and creative thinking. Regarding the test of consistency between the competency model and the empirical data, it was found that the second-order confirmatory factor analysis model was consistent with the empirical data with Chi-square = 113.151, df = 85, p = .019, X2/ df CMIN/DF = 1.347, RMR = .020, GFI = .928, AGFI = .898, RMSEA = .041 and CFI = .979. Keywords: 1. Competency. 2. Management skills. 3. Production process for television program.

24


สมรรถนะที่จำ�เปนของฝายผลิตรายการโทรทัศน สมานใจ ขันทีทาว

บทนำ� ความสำ�คัญของปญหา องคกรธุรกิจในปจจุบันและในยุคโลกาภิวัฒน ต อ งเผชิ ญ ความท า ทายในการพยายามที่ จ ะพั ฒ นา องคกรใหเปนองคกรที่มีผลการปฏิบัติงานสูง (High Performance Organization) อันนำ�ไปสูระดับความ สามารถในการแขงขันใหสงู กวาคูแ ขงทัง้ ในประเทศและ ตางประเทศประกอบกับมีการแขงขันดานเทคโนโลยีสาร สนเทศอยางมาก จึงเปนเหตุใหองคกรธุรกิจตางๆ ตอง พยายามเรงปรับตัวเองเพื่อความอยูรอด ปจจุบันการ ดำ�เนินธุรกิจสือ่ บันเทิงไดพฒ ั นาไปหลายรูปแบบ เชน ทีวี ดิจิตอลในโทรศัพทมือถือ, เคเบิลทีวีระบบดิจิตอลแบบ pay-per-view (PPV), วีดีโอตามความตองการ (video on demand) (สุพงษ โสธนเสถียร และอิทธิศักดิ์ พลอย ศิรชิ ล 2551 : 3) นอกจากนี้ สือ่ ดาวเทียมโดยเฉพาะดาน โทรทั ศ น มี ภ าวการณ แ ข ง ขั น ที่ รุ น แรงและป จ จั ย ที่ มี ผลกระทบอยางมากคือ เรื่องเทคโนโลยีทางการสื่อสาร ในอนาคต เชน ดิจิตอล เอนเตอรแอ็ดทีฟ ทีวี (Digital Interactive TV) ซึ่งเปดโอกาสใหผูชมมีทางเลือกและ แสวงหาเนื้อหาของรายการที่ตรงกับความตองการของ ตนเอง (Program on demand) ซึ่งสงผลกระทบตอ อุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศนไทยในอนาคตได (ชัยพร ตั้ง พูลสินธนา 2545 : 6) ผูผลิตรายการฟรีทีวี (Free TV) ที่ผลิตรายการที่สงทางชองฟรีทีวี ยังตองแขงขันกันเอง ของผูผ ลิตรายการทีผ่ ลิตรายการแนวเดียวกันกับรายการ ที่นำ�เขาจากตางประเทศ รวมถึงการพัฒนารูปแบบ รายการเพื่อใหตรงกับความตองการของผูชมเปนปจจัย สำ�คัญในการทำ�ใหอตุ สาหกรรมวิทยุโทรทัศนไทยอยูร อด ในภาวะทีม่ กี ารแขงขันสูงดังกลาวนัน้ ผูผ ลิตราย การจึงตองมีฝายผลิตรายการที่มีทีมงานคิดสรางสรรค รายการที่สามารถเขาถึงความตองการของผูชม และ ในปจจุบันมีบริษัทที่ผลิตรายการไมต่ำ�กวา 200 บริษัท (เตชิษฐ ยุวดี 2547 : 2) ซึ่งตองผลิตรายการใหไดรับ ความนิยมเพราะถารายการใดที่ไมไดรับความนิยมจะ ถูกทางสถานีถอดออกจากผังรายการดังนั้น ผูผลิตตอง ปรั บ ตั ว ให มี ค วามพร อ มในการผลิ ต และสร า งสรรค รายการที่ มี คุ ณ ภาพเพื่ อ สนองตอบกั บ ผู  ช มรายการ บริ ษั ท ผู  ผ ลิ ต รายการโทรทั ศ น จำ� เป น ต อ งมี บุ ค ลากร

มืออาชีพที่ทำ�งานในฝายผลิตรายการจำ�นวนมาก เพื่อ รองรับการผลิตรายการใหมีคุณภาพ (อกนิษฐ มาโนษย วงศ 2548 : 5) การขาดแคลนบุคลากรมืออาชีพดาน ความคิ ด สร า งสรรค ร ายการให ไ ด รั บ ความนิ ย มและ มีคุณภาพสูงเปนปญหาสำ�คัญของอุตสาหกรรมวิทยุ โทรทัศนไทย และในงานวิจัยของ ทิมอรธิ ลิกเกต (Timothy Leggat, 1996 อางใน ชัยพร ตั้งพูลสินธนา 2545 : 20) ไดศึกษาองคประกอบและคุณลักษณะของ รายการโทรทัศนที่มีคุณภาพสูงโดยการตั้งสมมุติฐาน ของรายการโทรทัศนที่มีคุณภาพเกิดจากความสามารถ ของนักผลิตรายการที่เปนมืออาชีพ ดังนั้น สมรรถนะ ของบุคลากรในฝายผลิตรายการที่มีความคิดสรางสรรค จึงเปนสาระสำ�คัญที่จะบงชี้ไดถึงคุณภาพของรายการ ที่เผยแพรใหผูชมทั่วประเทศ ผลการศึ ก ษางานทรั พ ยากรมนุ ษ ย ข องฝ า ย ผลิตรายการโทรทัศนในประเทศไทย พบวาปญหาดาน การบริ ห ารบุ ค คล โดยเฉพาะอย า งยิ่ ง บุ ค ลากรใน กลุมงานครีเอทีฟนั้น ดวยธรรมชาติการทำ�งานดาน สร า งสรรค บุ ค ลากรกลุ  ม นี้ เ ป น ผู  มี ค วามเชื่ อ มั่ น ใน ความคิดตัวเองเปนอยางสูง ซึ่งในการตัดสินใจในการ ทำ�งานจะไมเปดรับความคิดเห็นหรือคำ�ชี้แนะจากผูอื่น และในหมูบุคลากรเองก็ยังมีความแตกตางหลากหลาย ทั้ ง ในด า นความคิ ด และแนวทางการทำ � งานอี ก ด ว ย ป ญ หาของการผลิ ต รายการโทรทั ศ น ใ นด า นความ สามารถในการทำ�งานเปนทีมจึงเปนสิ่งจำ�เปน การ บริหารงานจึงตองสรางแนวคิดเรื่องการทำ�งานเปนทีม และต อ งใช บุ ค ลากรที่ ทำ � งานซึ่ ง อุ ทิ ศ ตนให กั บ การ ทำ�งานเพื่อบรรลุตามเปาหมายขององคกร (กมลา สินธุ สุวรรณ 2544 : 5) เมื่อมองในระดับองคกรพบวายัง มีความไมลงรอยระหวางนโยบายขององคกรกับการ สรางสรรครายการของบุคลากรอยูบอยๆ เชน องคการ ตองการลดตนทุนในการผลิตรายการ แตบุคลากรฝาย ผลิตรายการตองการออกแบบรายการที่ตองใชตนทุน สูงเพื่อใหไดผลงานที่ดีมาออกอากาศซึ่งเปนปจจัยที่ สงผลกระทบตอผลกำ�ไรของบริษัทเปนตน การบริหาร บุคลากรกลุม นีจ้ งึ เปนเรือ่ งทีต่ อ งอาศัยทักษะการบริหาร จัดการเปนสิ่งสำ�คัญยิ่ง (อกนิษฐ มาโนษยวงศ 2548 : 137) ดังนั้น จึงเปนปญหาของฝายบริหารที่ตองจัดการ

25


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

บริหารบุคลากรใหเหมาะสมกับงาน ผูบริหารมีหนาที่ ในกำ � หนดเป า หมาย การวางแผน ทำ � ความเข า ใจ และวิเคราะหปญหา สื่อสาร ภาวะทางอารมณ ความ สามารถในการกระตุนและดึงทักษะ ความรูของทีมงาน มาใชใหเกิดประโยชน แมแตสถานีของภาครัฐ ปญหา การผลิ ต รายการคื อ บุ ค ลากรขาดทั ก ษะในการผลิ ต รายการ ความไมเขาใจตรงกันในกระบวนการทำ�งาน เปนทีม ขาดกำ�ลังใจในการทำ�งาน มีขอจำ�กัดเรื่องเวลา เพราะตองใชความรวดเร็วในการผลิต เพื่อใหสอดคลอง กับสถานการณและทันตอเวลา (สุทิติ ขัตติยะ 2545 : 2) การผลิตรายการโทรทัศนที่ประสบความสำ�เร็จตอง มีทรัพยากรที่มีคุณภาพ เชน วัตถุดิบ เครื่องมือ เงินทุน ขอมูลสารสนเทศ อำ�นาจสั่งการ เวลา และบุคลากรซึ่ง เปนทรัพยากรหลักที่สำ�คัญตอกระบวนการผลิต ดังนั้น ทรัพยากรบุคคลถือไดวา เปนหลักและมีคณ ุ คาอันจำ�เปน ทีส่ ดุ ของทีมงานผลิตรายการ และดวยบุคลากรแตละคน ตางมีประสบการณ แรงจูงใจ ทักษะ ความชำ�นาญ คานิยมเฉพาะบุคคลที่แตกตางกันไป (ชัยพร ตั้งพูลสิน ธนา 2545 : 971) ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรในฝาย ผลิตรายการดานสรางสรรครายการเปนสิ่งสำ �คัญซึ่ง สอดคลองกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสรางสรรคใน แผนฯ 11 ใหความสำ�คัญตอการใชนวัตกรรม ความคิด สรางสรรคใหน�ำ ไปสูเ ศรษฐกิจสรางสรรค รวมทัง้ ตอยอด องคความรู ในการสรางมูลคา ตลอดหวงโซอุปทานเปน พลั ง ขั บ เคลื่ อ นหลั ก สู  เ ศรษฐกิ จ สมดุ ล และยั่ ง ยื น ใน ระยะยาว (ชูวิทย มิตรชอบ 2553 : 20) ปญหาดานบุคลากรที่ไดกลาวมาแลวนั้น เปน ปญหาสำ�คัญที่สุดดังนั้นการตระหนักถึงความสำ �คัญ ของคนหรือทรัพยากรมนุษยนี้เปนสิ่งที่ละเลยไมได มี นักเศรษฐศาสตรหลายทานไดกลาวไว เชน ไพฑูรย วิบูลชุติกุล (2540 : 2/2) ไดสนับสนุนใหมีการลงทุนใน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย โดยกลาวถึงเหุตผลไววา ทรัพยากรมนุษยสง ผลโดยตรงตอการเพิม่ ประสิทธิภาพ การผลิตหรือผลิตภาพที่เรียกรวมกันวาเปาหมายการ ผลิต (Productivity growth) อันเปนปจจัยกำ�หนด มาตรฐานการครองชีพและขีดความสามารถการแขงขัน ในตลาดโลก อรุณี เกียระสาร และคณะ (2540 : 3/2-3/3) ชี้ใหเห็นวา ประเทศไทยกำ�ลังกาวไปสูการพัฒนาการ

26

ผลิตที่ใชความรูความเขาใจที่เขมขนขึ้น (Knowledge Intensive) ระดับการพัฒนานี้เกิดจากการผสมผสาน ระหวางเทคโนโลยี แรงงานที่มีฝมือ และการพัฒนา คุ ณ ภาพผู  ป ระกอบการและพนั ก งานควรสอดคล อ ง กับความตองการของตลาดแรงงานและความสามารถ ในการแขงขันใหความสำ �คัญตอสมรรถนะทางอาชีพ (Competency Based) แบบบูรณาการความรูทั้งใน ภาคทฤษฎี แ ละปฏิ บั ติ ผสมผสานองค ค วามรู  ส ากล และความรู  เ ดิ ม ให กั บ ผู  บ ริ ห ารของบริ ษั ท (วุ ฒิ พ ล สกลเกียรติ 2546 : 7) ปญหาเกีย่ วกับพนักงานทีพ่ บจาก การศึกษาและปญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีฝมือนั้น ปญหาที่สำ�คัญที่สุดคือปญหาในเรื่องการทำ�งาน โดย เฉพาะการขาดทักษะในการทำ�งาน สงผลตอคุณภาพ ของงานซึ่งสอดคลองกับงานวิจัยของ สุปราณี แกว สีนวล (2547) ที่ศึกษาทัศนะในการประเมินคุณภาพ ของกลุมผูผลิตรายการโทรทัศนกลาวสรุปไววา ปญหา เรื่องคุณภาพคือ ประการแรก การมีเนื้อหาที่มีสาระ ประโยชนและบันเทิง ประการทีส่ อง ความคิดสรางสรรค แปลกใหม ประการที่สาม การไดรับการยอมรับจาก ผูชม ซึ่งบริษัทที่ผลิตรายการโทรทัศนควรตระหนักและ ไมควรมองขามปญหาเหลานี้ โดยมีงานวิจัยจำ�นวน มากที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการฝกอบรมทั้งสมรรถนะ และทักษะทั่วไป เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำ�งาน เชน การออกแบบรายการขีดความความสามารถใน งานของบริษัท บางจากปโตรเลียม จำ�กัด ของ ปริญญ พิชญจิตร (2544) โดยทำ�แบบสำ�รวจเพื่อการศึกษา ขีดความสามารถ (Job Competency Lists) และทำ�แบบ สัมภาษณเพื่อหาคุณลักษณะที่ทำ�ใหเกิดการปฏิบัติงาน ที่สูงกวามาตรฐาน ไดสรุปขีดความสามารถในงานไว 7 ดาน คือ ความมุงมั่นสูความสำ�เร็จ การจัดการงาน ความสามัคคีและการทำ�งานเปนทีม การคิดวิเคราะห การสื่อสาร สำ�นึกรับผิดชอบและความนาเชื่อถือ ภาวะ ผูนำ� งานวิจัยของ วุฒิพล สกลเกียรติ (2546) ไดสราง รูปแบบของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรูเพื่อ พั ฒ นาทั ก ษะสำ � หรั บ ผู  ใ ช แ รงงานในสถานประกอบ การภาคอุ ต สาหกรรมโดยใช แ นวคิ ด ด า นทั ก ษะของ ฟลด (Field) รูปแบบการฝกอบรมดานอาชีพและเพิ่ม ประสิทธิภาพของ แบงค (Blank) และ โรทเวล (Rothwell)


สมรรถนะที่จำ�เปนของฝายผลิตรายการโทรทัศน สมานใจ ขันทีทาว

ซึง่ ผลการวิจยั ได 3 องคประกอบคือ ปจจัยในการจัดการ การเรียนรู ทักษะที่จำ�เปน และขั้นตอนการจัดการ ฝกอบรมทักษะ การที่เขาใจถึงพฤติกรรม ทักษะ ความ สามารถและสมรรถนะที่พิเศษของตำ�แหนงงานยอม นำ�ไปสูผลลัพธที่ดีที่สุด จากขอเท็จจริงดังกลาว ทำ�ใหผูวิจัยเกิดแนวคิด ทีจ่ ะศึกษาสมรรถนะในฝายผลิตรายการโทรทัศนเพือ่ นำ� ผลการคนพบมาพัฒนาบุคลากรดานนีใ้ หมปี ระสิทธิภาพ มากขึ้น การเขาใจถึงสมรรถนะที่จำ�เปนของฝายผลิต รายการโทรทัศนจะเปนประโยชนตอวิชาชีพนี้ ซึ่งใน ปจจุบนั องคกรตางไดนำ�แนวคิดเรือ่ งสมรรถนะประยุกต ใชในองคกร เพราะเชื่อวา สมรรถนะที่แฝงอยูในตัว บุคลากรขององคกรนั้นเองที่จะเปนตัวชี้ใหเห็นถึงความ สำ�เร็จขององคกร (นิสดารก เวชยานนท 2549 : 10) ซึ่ง แนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะจากบทความของ แมคแคล แลนด (McClelland) ในป ค.ศ.1973 เรื่อง “Testing of Competence rather than Intelligence” ไดเสนอให คนหาความสามารถของบุคคลมากกวาคนหาแตเฉพาะ ความเฉลียวฉลาด โดยทำ�การวิจัยแยกบุคลากรที่มี ผลการปฏิบัติงานดีออกจากบุคลากรที่มีผลการปฏิบัติ พอใช แลวทำ�การศึกษาบุคลากรทั้งสองกลุม มีการ ทำ�งานที่แตกตางกันอยางไร ผลสรุปไดวา บุคลากรที่มี ผลการปฏิ บั ติ ง านที่ ดี มี สิ่ ง หนึ่ ง ที่ เ รี ย กว า สมรรถนะ (Competency) ซึ่งแนวคิดนี้ไดเผยแพรอยางรวดเร็วจน มีงานวิจัยที่ใชแนวคิดหลายงาน ไดแก เมสรแคนแลน (McLagan) ในป ค.ศ.1983 โบยาตซิส (Boyatzis) ใน ป ค.ศ.1982, สเปนเซอร และ สเปนเซอร (Spencer and Spencer) ในป ค.ศ.1993 ยูริช (Ulrich) ในป ค.ศ.1996 และวิลเลี่ยม เจ. โรทเวล (William. J. Rothwell) ใน ป ค.ศ. 1996 ดังนั้น ในการวิจัยครั้งนี้ ผูวิจัยมีจุดมุงหมาย สำ � คั ญ ในการศึ ก ษาสมรรถนะที่ จำ � เป น ของฝ า ยผลิ ต รายการโทรทัศนเปนพืน้ ฐานในการพัฒนาศักยภาพและ การปฏิบตั งิ านตลอดจนพัฒนามาตรฐานของบุคลากรใน บริบทของไทยของวิชาชีพสื่อโทรทัศนอันจะตอบสนอง

และสรางการยอมรับของประชาชนในสังคมไทยทั้งใน ปจจุบันและอนาคต วัตถุประสงคของงานวิจัย เพื่อศึกษาและคนหาองคประกอบสมรรถนะที่ จำ�เปนของบุคลากรฝายผลิตรายการโทรทัศน วิธีการดำ�เนินการวิจัย เครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช ใ นการวิ จั ย ครั้ ง นี้ มี 2 ชุ ด คื อ แบบสั ม ภาษณ แ บบมี โ ครงสร า งสำ � หรั บ สั ม ภาษณ เชิงลึก สัมภาษณผเู ชีย่ วชาญในสาขาทีเ่ กีย่ วของจำ�นวน 9 ทาน และแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะที่จำ�เปน ซึ่งเปนแบบมาตราสวน 5 ระดับ โดยกลุมตัวอยางเปน ฝายผลิตรายการโทรทัศนประกอบดวย โปรดิวเซอร โครโปรดิวเซอร ครีเอทีฟ จำ�นวน 121 คน การสุม ตัวอยางใชวิธีสุมแบบสัดสวน การวิเคราะหขอมูลใช คาเฉลี่ย คารอยละ วิเคราะหปจจัย และวิเคราะหความ สอดคลองของรูปแบบและขอมูลเชิงประจักษ เครื่องมือที่ใชในการวิจัย แบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่ อ ศึ กษา ประเด็นเกี่ยวกับสมรรถนะของผูผลิตรายการโทรทัศน โดยแบบสอบถามแบงออกเปน 2 สวนจำ�นวน 6 หนา และใชเวลาในการตอบแบบสอบถามประมาณ 20 นาที คือ สวนที่ 1 แบบสอบถามขอมูลทั่วไปซึ่งเกี่ยวกับ สวนบุคคลของผูต อบแบบสอบถาม ไดแก เพศ ระดับการ ศึกษา ประสบการณ และตำ�แหนง ซึง่ เปนแบบสอบถาม เพื่อตรวจสอบรายการ (Check list) สวนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นสมรรถนะที่ จำ�เปนของบุคลากรฝายผลิตรายการโทรทัศน ซึ่งผูวิจัย พัฒนาขึ้นเอง โดยมีแนวคำ�ถามประเด็นสำ�คัญเชน ดาน ความคิดสรางสรรค ความคิดวิเคราะห ทักษะการจัดการ เปนตน

27


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

การวิเคราะหขอมูล

แผนภูมิที่ 1

จากแผนภูมิที่ 1 ผลการวิเคราะหขอมูลสามารถ เรียงตามน้ำ�หนักสัมประสิทธิ์เสนทางไดดังนี้ จากผลการวิ เ คราะห อ งค ป ระกอบเชิ ง ยื น ยั น ลำ � ดั บ ที่ 2 ดั ง กล า วข า งต น สามารถสรุ ป ผลการ วิเคราะหขอมูลจากจำ�นวนกลุมตัวอยางที่เปนบริษัท ที่ผลิตรายการโทรทัศนจำ�นวน 15 บริษัท ไดผลการ วิเคราะหองคประกอบ 3 องคประกอบ โดยองคประกอบ ดานความคิดจะประกอบดวย 3 องคประกอบยอย องค ป ระกอบด า นทั ก ษะการจั ด การประกอบด ว ย 4 องคประกอบยอย และองคประกอบดานกระบวนการ ผลิต โดยเรียงตามน้ำ�หนักสัมประสิทธิ์เสนทาง ดังนี้ 1. ทักษะการจัดการ มีคาสัมประสิทธิ์เสนทาง เทากับ .99 ประกอบดวย องคประกอบยอยการวางแผน (.82) องคประกอบยอยการสื่อสารและนำ�เสนอ (.80) องคประกอบยอยความรับผิดชอบ (.76) องคประกอบ ยอยการทำ�งานเปนทีม (.72) 2. ด า นความคิ ด มี ค  า สั ม ประสิ ท ธิ์ เ ส น ทาง

28

เทากับ .86 ประกอบดวย องคประกอบยอยความคิด รวบยอด (.82) องคประกอบยอยความคิดวิเคราะห (.79) องคประกอบยอยความคิดสรางสรรค (.66) 3. กระบวนการผลิต มีคาสัมประสิทธิ์เสนทาง เทากับ .82 ประกอบดวย ติดตามการเปลี่ยนแปลงและ ความกาวหนาทางเทคโนโลยีอยูเสมอ (.81) มีความรู ดานอื่นๆที่นอกเหนืองานดานครีเอทีฟ เชน การตลาด กฎระเบียบ เปนตน (.73) นำ�ความรูที่หลากหลายมา ประยุกตใชในการผลิตรายการโทรทัศน (.72) มีความรู ในกระบวนการผลิตรายการ เชน สัมภาษณ ติดตอ ประสานงาน ถายทำ� ตัดตอ (.63) มีการใฝหาความรูแ ละ แสวงหาขาวสารอยูเสมอ (.55) เปนคนชางสังเกตสิ่งที่ เกิดขึ้นรอบตัวและสามารถนำ�เรื่องราวเหลานั้นมาเปน แนวคิดผลิตรายการโทรทัศนได (.59) มีความสามารถ ในการใชเทคโนโลยีในการสืบคนขอมูล เชน internet e-mail Google (.57) มีความเขาใจในรูปแบบของ รายการที่ตนเองผลิต (.48)


สมรรถนะที่จำ�เปนของฝายผลิตรายการโทรทัศน สมานใจ ขันทีทาว

ผลการวิจัย จากผลการวิจัยพบวา 1. องคประกอบสมรรถนะที่จำ�เปนของฝาย ผลิตรายการโทรทัศน องคประกอบสมรรถนะที่จำ�เปนของฝายผลิต รายการโทรทัศน ประกอบดวย 3 องคประกอบหลัก สามารถเรียงตามน้ำ�หนักสัมประสิทธิ์เสนทางไดคือ - องคประกอบดานทักษะการจัดการ มีคาสัมประสิทธิ์เสนทางเทากับ .99 ประกอบ ดวย 4 องคประกอบยอย ไดแก การวางแผน การสือ่ สาร การทำ�งานเปนทีม และความรับผิดชอบความสามารถ ในการวางแผนอยางรัดกุมและมีขั้นตอนปฏิบัติชัดเจน จะชวยลดคาใชจายในการดำ�เนินการไดขณะที่ทักษะ ดานการสื่อสารนับเปนหัวใจของธุรกิจดานสื่อโทรทัศน ที่ไมเพียงแตจะตองสื่อสารกับผูชมเทานั้นแตยังตอง สือ่ สารภายในทีมงานและตองประสานงานกับผูเ กีย่ วของ อื่นๆ ในกระบวนการผลิตรายการ และเนื่องจากธุรกิจ ดั ง กล า วส ง ผลกระทบทางสั ง คมในวงกว า งความ รั บ ผิ ด ชอบจึ ง เป น สิ่ ง สำ � คั ญ และผลกระทบที่ เ กิ ด ขึ้ น ในที่สุดแลวจะยอนกลับมาสูบริษัท องคกร และตัว ผู  ทำ � งานเองผู  ผ ลิ ต รายการควรตระหนั ก ถึ ง ความ รั บ ผิ ด ชอบดั ง กล า วสรุ ป ได ว  า ในอั น ที่ จ ะให ก ารผลิ ต รายการโทรทัศนเปนไปดวยดีควรสงเสริมใหวงการสื่อ โทรทัศนตระหนักถึงความสำ�คัญของทักษะการจัดการ เหลานี้ - องคประกอบดานความคิด มีคาสัมประสิทธิ์เสนทางเทากับ .86 ประกอบ ดวย 3 องคประกอบยอย ไดแก ความสามารถในการ ความคิ ด รวบยอด การคิ ด วิ เ คราะห และความคิ ด สรางสรรค คุณสมบัตเิ หลานี้มีความสำ�คัญในการพัฒนา หรือสรางสรรครายการโทรทัศนความสามารถในการ คิดรวบยอดและความคิดสรางสรรคจะชวยใหสามารถ จัดการกับขอมูลและประสบการณที่หลากหลายทั้งของ ตนเองและทีมงานเพือ่ นำ�มาใชเปนพืน้ ฐานการจิตนาการ และสรางเปนรูปแบบรายการใหมๆ ไดขณะที่ความ สามารถในการคิดวิเคราะหจะชวยตัดสินความเปนไป ไดและแนวทางการนำ �ผลของการคิดจินตนาการนั้น ไปปฏิบัติอยางเปนรูปธรรมโดยเฉพาะอยางยิ่ง การ

วิ เ คราะห เ กี่ ย วกั บ การตอบสนองต อ ผู  ช มที่ เ ป น กลุ  ม เปาหมายเห็นไดวาการคิดรวบยอดมีความสำ�คัญมาก เนื่องจากเปนจุดเริ่มตนในการทำ�งานกอนที่จะตองคิด สรางสรรคและคิดวิเคราะหแนวคิดคูข นานของ เอ็ดเวิคด เดอโบโน แสดงใหเห็นวาการคิดรวบยอดตองอาศัย กระบวนการที่ชวยใหบุคคลที่มีแนวความคิดแตกตาง หลากหลายสามารถคิดในแนวทางเดียวกันไดในแบบ หมวกสีเดียวกันกระบวนการแบบหนึ่งเรียกวา “การ ระดมความคิ ด ” (brainstorming) ตามที่ เ สนอโดย ออสบอร ดังนั้น ถาตองการตอบสนองยุทธศาสตร ที่ สำ � คั ญ ต อ การพั ฒ นาการผลิ ต รายการโทรทั ศ น ใ น ประเทศไทย อันไดแก การผลิตรูปแบบรายการใหมๆ ที่มีความโดดเดนกระบวนการที่ควรนำ�มาพิจารณาก็คือ การระดมความคิดนี้ - องคประกอบ ดานกระบวนการผลิต มีคาสัมประสิทธิ์เสนทางเทากับ .82 เรียงลำ�ดับ ความสำ�คัญ ดังนี้ ติดตามการเปลี่ยนแปลงและความ กาวหนาทางเทคโนโลยีอยูเ สมอ นำ�ความรูท หี่ ลากหลาย มาประยุกตใชในการผลิตรายการโทรทัศน มีความรู ดานอื่นๆ ที่นอกเหนืองานดานครีเอทีฟ เชน การตลาด กฎระเบียบ เปนตน เปนคนชางสังเกตสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ รอบตัว และสามารถนำ�เรื่องราวเหลานั้นมาเปนแนวคิดผลิต รายการโทรทัศนได มีความสามารถในการใชเทคโนโลยี ในการสืบคนขอมูล เชน internet e-mail Google มีการ ใฝหาความรูและแสวงหาขาวสารอยูเสมอ มีความรูใน กระบวนการผลิตรายการเชน สัมภาษณ ติดตอประสาน งาน ถายทำ� ตัดตอ มีความเขาใจในรูปแบบของรายการ ที่ตนเองผลิต แตในกระบวนการคิดดานความคิดสรางสรรค จะถูกทาทายในการนำ�ไปสูการสรางนวัตกรรมเพราะ ความคิ ด สร า งสรรค เ ป น การนำ � เสนอแนวทางใหม ๆ ดังเชน เอ็ดเวิรด เดอโบโนกลาวถึงเกมทางวิชาการไว นาสนใจวามหาวิทยาลัยในอนาคตนาจะมุงสอนทักษะ ตางๆ ไดแก ทักษะดานขอมูล คือ วิธีคนหาขอมูลที่ตอง การจากสารพัดแหลง รวมทั้งจากแหลงขอมูลดิจิทัล หนังสือ และบุคลากรในมหาวิทยาลัย ทักษะการคิด คือ วิธีคิดในเชิงวิเคราะห คิดสรางสรรค คิดในเชิงปฏิบัติ และคิดในเชิงออกแบบ ทักษะเรื่องคน คือ วิธีตกลงกับ

29


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

คนอื่น รับมือกับคน เขาใจคน ทักษะทางวิชาชีพ คือ ทักษะซึ่งเกี่ยวกับอาชีพที่เลือกทำ� การที่ตองการเปนคนที่สรางสรรคนั้นสิ่งสำ�คัญ ที่สามารถเพิ่มศักยภาพการคิดสรางสรรคไดคือ การ พัฒนาทัศนคติและนิสัยนักคิดสรางสรรค ในงานวิจัย พบวา คุณลักษณะของครีเอทีฟไดกลาวถึงการเปน คนชางสังเกต ชางจดจำ� การชอบตั้งคำ�ถามในสิ่งตางๆ ชอบใฝรู การคนควาหาขอมูล เกรียงศักดิ เจริญวงศศกั ดิ์ (2546) ไดกลาวถึงองคประกอบสำ�คัญของการพัฒนา ทางการคิดสรางสรรค โดยการสรางทัศนคติที่เอื้อตอ การที่เอื้อตอการสรางสรรค โดยใชแนว “ขอหาม” และ “ขอปฏิบัติ” เปนหลักใหปรับใชในชีวิตประจำ�วันโดยมี 9 ตอง ที่จำ�เปนตองพัฒนาใหเกิดขึ้น และ 9 อยา หรือ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ไดแก ตองที่ 1 ตองคิดแงบวก อยาที่ 1 อยาคิดแงลบ ตองที่ 2 ตองลองหัวเดียวกระเทียมลีบ อยาที่ 2 อยาชอบพวกมากลากไป ตองที่ 3 ตองเปดรับ ประสบการณใหม อยาที่ 3 อยาปดตนเองในวงแคบ ตองที่ 4 ตองลงแรง บากบั่น มุงความสำ�เร็จ อยาที่ 4 อยารักสบาย ทำ�ไปเรื่อยๆ ตองที่ 5 ตองกลาเสี่ยง อยาที่ 5 อยากลัว ตองที่ 6 ตองอดทนตอความคลุมเครือ อยาที่ 6 อยาหมดกำ�ลังใจเมื่อไมพบคำ�ตอบ ตองที่ 7 ตองเรียนรูจากความลมเหลว อยาที่ 7 อยาทอใจกับ ความผิดพลาดตองที่ 8 ตองชะลอการตัดสินใจ อยาที่ 8 อยาละทิง้ ความคิดใดๆ จนกวาจะพิสจู นไดวา ไรประโยชน ตองที่ 9 ตองกลาเผยแพรผลงานแหวกวงอยาที่ 9 อยากลัวการเผยแพรผลงาน สมรรถนะดานความคิดจะเปนพื้นฐานสำ�คัญใน การพัฒนาบุคลากรที่ผลิตรายการโทรทัศน ทั้งความคิด รวบยอด ความคิดวิเคราะห และความคิดสรางสรรค เราตองเรียนรูวิธีคิดและกลาที่ใชประโยชนจากความคิด เหลานี้ สมรรถนะดานความคิดจะนำ�ไปสูการสรางสรรค งานใหมๆ ทีด่ กี วา หรือชวยใหเราคนพบสิง่ แปลกใหม ซึง่ เมื่อนำ�มาประกอบกับการคิดวิเคราะห การคิดรวบยอด และการคิดในมิติอื่นๆ เพื่อกลั่นกรองความเปนไปได ความคิดเหลานั้นจึงถูกนำ�มาใชไดอยางเหมาะสมและ สามารถแกไขปญหาไดตรงประเด็น สมรรถนะดาน ความคิดจะนำ�ไปสูการพัฒนา ทั้งทางพัฒนาสติปญญา ของตนเอง การพัฒนางานดานการผลิตรายการโทรทัศน

30

และการพัฒนางานทางโทรทัศนที่รับผิดชอบตอสังคม 2. รูปแบบโครงสรางองคประกอบสมรรถนะ ที่จำ�เปน จากผลการวิเคราะหองคประกอบลำ�ดับที่สอง (Second Order Factors Analysis) โดยมีเปาหมาย เพื่อนำ�ไปสูการยืนยันวา สมรรถนะที่จำ�เปนทั้งสาม องคประกอบหลัก แปดองคประกอบยอย ซึง่ ประกอบดวย องคประกอบดานความคิด (ความคิดสรางสรรค ความคิด รวบยอด ความคิดวิเคราะห) องคประกอบดานทักษะ การจัดการ (การวางแผน การสื่อสารและนำ�เสนอ ความ รั บ ผิ ด ชอบ การทำ � งานเป น ที ม ) องค ป ระกอบด า น กระบวนการผลิต ซึ่งเปนกระบวนการของความรอบรู ผลจากการวิ เ คราะห อ งค ป ระกอบเชิ ง ยื น ยั น ลำ�ดับที่สองพบวา สมการโครงสรางของการวิเคราะห องค ป ระกอบเชิ ง ยื น ยั น อั น ดั บ สองหลั ง ปรั บ ปรุ ง ตั ว แบบมีความสอดคลองกับขอมูลเชิงประจักษ คือ ไดคา ไค-สแควร เทากับ 113.151 องศาอิสระ (df) เทากับ 84 คา Probability level เทากับ .019 คา RMR เทากับ .020 ซึ่งเขาใกล 0 คา X2/df (CMIN/DF) เทากับ 1.347 คา GFI เทากับ 0.928 และ คา AGFI เทากับ 0.898 ซึ่ง เปนคาที่สูงกวา 0.8 และเขาใกล 1.00 และคา RMSEA เทากับ 0.041 และคา CFI เทากับ .979 สอดคลองกับ วิตันและคณะ (Wheaton et al., 1977) ไดเสนอวา คา X2/ df (CMIN/DF) ควรมีคาไมเกิน 5 สอดคลองกับ โลเล็น (Bollen 1989 : 257-258) ไดเสนอวา คา RMR ควร มีคา ต่�ำ กวา .08 สอดคลองกับ แม็คแคลลัม (MacCallum, Browne and Sugawara 1996) ไดเสนอวา คา RMR ควรมีคา ต่�ำ กวา .08 และสอดคลองกับ ฮู และเบ็นทเลอร (Hu & Bentler 1999) ไดเสนอวา คา CFI ควรมีคา มากกวา .90 แสดงวา รูปแบบโมเดลมีความสอดคลอง เชิงประจักษ และเปนการยืนยันไดวาองคประกอบดาน ความคิด องคประกอบดานทักษะการจัดการ องคประกอบ ดานกระบวนการผลิตเปนองคประกอบสำ�คัญในการ อธิบายสมรรถนะที่จำ�เปนไดอยางแทจริง อภิปรายผลและขอเสนอแนะ จากการวิ จั ย ครั้ ง นี้ ผู  วิ จั ย พบว า สมรรถนะที่ จำ�เปนของฝายผลิตรายการโทรทัศนจากการคนควา


สมรรถนะที่จำ�เปนของฝายผลิตรายการโทรทัศน สมานใจ ขันทีทาว

การสัมภาษณ และแบบสอบถาม สามารถแบงสมรรถนะ ได 3 องคประกอบไดแก ดานความคิด ดานทักษะการ จัดการ และดานกระบวนการผลิต โดยกลุมตัวอยางที่ ตอบแบบสอบถามไดใหคะแนนของ องคประกอบทักษะ การจัดการมีน้ำ�หนักมากที่สุด รองลงมาไดแก องค ประกอบดานความคิด และสุดทายเปนองคประกอบดาน กระบวนการผลิต เนื่องจากคนสวนใหญมีความเห็นวา ครีเอทีฟ ตองมีความคิดเปนปจจัยสำ�คัญในการสรางสรรคงานการ ผลิตรายการ ในการออกแบบสอบถามผูวิจัยจึงใหความ สำ�คัญกับสมรรถนะดานความคิดมากที่สุด โดยพัฒนา คำ�ถามในสวนความคิดวิเคราะหและความคิดรวบยอด โดยอาศัยพืน้ ฐานจากแนวคิดของโรทเวลและโบยาตซสิ รวมถึงอาศัยพืน้ ฐานจากขอมูลการสัมภาษณผเู ชีย่ วชาญ ซึ่งใหความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อพัฒนาแบบ สอบถามเสร็จสิ้น จึงไดน�ำ ไปสอบถามฝายผลิตรายการ โทรทัศน และไดรับแบบสอบถามกลับมาจำ�นวน 212 ฉบับ เมือ่ นำ�มาคำ�นวณทางสถิตกิ ลับพบวาองคประกอบ สมรรถนะด า นความคิ ด มิ ไ ด มี น้ำ � หนั ก มากที่ สุ ด องค ป ระกอบที่ มี น้ำ � หนั ก มากที่ สุ ด เป น องค ป ระกอบ สมรรถนะทักษะดานการจัดการ การสัมภาษณของผูเชี่ยวชาญชวยใหคำ�อธิบาย วาเหตุที่องคประกอบดานความคิดมิไดมีน้ำ�หนักมาก เทาที่คาดหวัง เนื่องจากความคิดสรางสรรคอยางเดียว มิใชองคประกอบที่เพียงพอ มีหลายคนที่มีความคิด สร า งสรรค ดี แ ต มิ อ าจนำ � มาปฏิ บั ติ จ ริ ง ได ความคิ ด สรางสรรคที่สามารถพัฒนาเปนนวัตกรรมหรือการผลิต รายการไดตองมาจากประสบการณ และประสบการณ นี้ไดมาจากกระบวนการทำ�งาน ซึ่งตองอาศัยทักษะ การจัดการ การวางแผน การสื่อสารและนำ�เสนอ ความ รับผิดชอบ การทำ�งานเปนทีม การคิดวิเคราะห ความ คิดรวบยอด ความรูต า งๆ ในกระบวนการผลิต และความ รอบรูรอบตัว ประสบการณจะชวยเสริมกระบวนการ คิด ทำ�ใหความคิดสรางสรรคเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบ รายการที่สามารถตอบสนองตอกลุมผูชม กลุมลูกคา รวมถึงกระบวนการผลิตรายการ ความคิดสรางสรรคนี้ จึงสามารถนำ�ไปสูการปฏิบัติไดจริงและเปนที่ยอมรับ จึงสามารถพัฒนาใหบรรลุผลสำ�เร็จได

ผลการวิจยั เรือ่ ง สมรรถนะทีจ่ �ำ เปนของฝายผลิต รายการโทรทัศน สามารถสรุปขอเสนอแนะ ดังนี้ 1. ขอเสนอแนะดานวิชาการ สมรรถนะทีจ่ �ำ เปน ของฝายผลิตรายการพอจำ�แนกได ดังนี้ ดานทักษะการ จัดการ ความคิด ความรูในกระบวนการผลิต สามารถ วางรากฐานใหกบั นักศึกษาในมหาวิทยาลัยทีจ่ ะบมเพาะ ดานเหลานี้ โดยเอ็ดเวิรด เดอโบโน ไดบรรยายในการ ประชุ ม ใหญ ข องอธิ ก ารบดี ม หาวิ ท ยาลั ย ทั่ ว โลกที่ ซึ่ ง จัดที่กรุงเทพฯ กลาววา ในยุคดิจิตอล มหาวิทยาลัย ลาสมัยแลว เพราะความมุงหมายดั้งเดิมมหาวิทยาลัย คื อ การถ า ยทอดความรู  แ ละข อ มู ล จากอดี ต ให แ ก นักศึกษาในปจจุบัน มาถึงยุคดิจิตอล ใครๆ ก็หาขอมูล ทุกอยางทีต่ อ งการโดยไมจ�ำ เปนเขามหาวิทยาลัย อาชีพ ใหมคอื “แหลงบริการขอมูล” อยากไดขอ มูลอะไร แคตดิ ตอ วาจางเขาคนใหก็เรียบรอย มหาวิทยาลัยทุกวันนี้จึง ควรมุงสอนทักษะในดานความคิด ทักษะการออกแบบ ทักษะเรื่องคน และทักษะจำ�เปนดานอื่นๆ ดังนั้น ควรมี หลักสูตรการพัฒนาดานความคิด วิธีคิดในเชิงวิเคราะห คิดสรางสรรค ความคิดรวบยอดทีเ่ ปนการสรุปจากขอมูล ที่หลากหลาย คิดในเชิงปฏิบัติ และคิดในเชิงออกแบบ ในการพั ฒ นาด า นความคิ ด โดยมี พื้ น ฐานการ เรียนรูกระบวนการผลิต การฝกนักศึกษาใหมีนิสัยเปน คนชางสังเกต จดจำ�สิ่งรอบขางเพื่อใชเปนขอมูลในการ ผลิตงานดานโทรทัศน การเปนผูสนใจในเทคโนโลยี ใหมๆ เสมอ เปนคนใฝรู มีความรอบรูเรื่องตางๆ เพื่อ เปนขอมูลในการตอยอดของความคิดสรางสรรค 2. ขอเสนอแนะดานวิชาชีพ เปนเครื่องมือชี้วัด สมรรถนะเพือ่ นำ�ไปสูก ารเสริมสรางสมรรถนะดานทักษะ การจัดการและดานความคิด การสรรหาบุคลากร 3. ดานพัฒนาทรัพยากรมนุษยในการฝกอบ รม โดยการวางแผนการอบรมโดยใช แ นวทางของ แบงค พัฒนาในดานทักษะการจัดการและดานความคิด โดยสามารถแบงออกเปน 2 ระยะกำ�หนดขั้นตอน 12 ขั้นตอน ดังนี้ ระยะที่ 1 เปนการอธิบายคุณลักษณะเฉพาะ ของบุคลากรที่ทำ�งานดานครีเอทีฟในการผลิตรายการ โทรทัศน ในดานทักษะการจัดการและดานความคิด โดย จัดเปนขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้

31


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

ขั้นที่ 1 ตำ�แหนงครีเอทีฟ เปนตำ�แหนงที่ผลิต รายการโทรทัศน ขั้นที่ 2 ควรมีประสบการณในฝายผลิตไมนอย กวา 1 ป มีความรูดานคอมพิวเตอร ขั้นที่ 3 งานในตำ�แหนงครีเอทีฟ การวางแผน การทำ�งานเปนทีม การสื่อสารนำ�เสนอ ขั้นที่ 4 ขั้นวิเคราะหงานและเพิ่มเติมความรูใน งานที่จำ�เปนไดแก สมรรถนะดานความคิดรวบยอด การคิดวิเคราะห ความคิดสรางสรรค ระยะทีส่ อง เปนระยะการพัฒนาโปรแกรมการฝก อบรม เพื่อชวยใหพนักงานเปนพนักงานที่มีสมรรถนะ ที่ตองการ โดยมี 8 ขั้นตอน ไดแก ขั้นที่ 5 เขียนวัตถุประสงคของผลการปฏิบัติ งานที่ตองการ ไดแก ความคิดวิเคราะห พนักงานคิด ไดเปนขั้นเปนตอน จัดเรียงลำ�ดับงานไดชัดเจน ขั้นที่ 6 จัดลำ�ดับงาน โดยเริ่มจาก ความรูใน กระบวนการผลิตวา มีความรอบรูขอมูลตางๆ มากนอย เพียงใด นำ�ขอมูลที่หลากหลายเหลานั้นสามารถมาสรุป เปนกรอบความคิดไดหรือไม เมือ่ มาสรุปไดแลวสามารถ จัดเรียงเปนขัน้ เปนตอนโดยจะวางแผนการผลิตอยางไร ถ า ต อ งการให ง านมี ค วามแปลกใหม ไ ม ซ้ำ� ใครจะคิ ด สรางสรรคงานนั้นไดอยางไร ขั้นที่ 7 พัฒนาแบบสอบผลการปฏิบัติงาน โดย ใหคิดหนังตัวอยางไมเกิน 5 นาทีโดยมีหัวขอกำ�หนดไว เชน ตนไมใหญใหอะไรกับเรา ขั้นที่ 8 พัฒนาขอสอบโดยใชวิธีใหเขียนเปน ภาพวาดแตละขั้นตอน ขัน้ ที่ 9 พัฒนาแนวทางการเรียนรู โดยใหต�ำ แหนง โปรดิวเซอร บอกวิธีคิดและใหทำ�ตามโจทยที่ใหไว ขั้ น ที่ 10 ให ร วมการตั ด สิ น ทั้ ง โปรดิ ว เซอร ครีเอทีฟ ผูร วมอบรมวา งานชิน้ ใดไดรบั การยอมรับมาก โดยใชดานความคิดสรางสรรคเปนเกณฑชี้วัด ขั้นที่ 11 นำ�สูการพัฒนาระบบการเรียนรู ขั้นที่ 12 นำ�วิธีการนี้ไปฝกอบรมกลมุครีเอทีฟที่ ทำ�งานนอยกวา 1 ป และประเมิผล 4. ข อ เสนอแนะด า นการพั ฒ นาองค ก รโดย การนำ � กรอบสมรรถนะมาเป น เครื่ อ งมื อ เพื่ อ ให เ กิ ด

32

ประโยชนแกองคกร โดยฝายทรัพยากรมนุษยสามารถ นำ�ประเด็นองคประกอบสมรรถนะดานความคิด ดาน ทักษะการจัดการ ดานความรูกระบวการผลิตมาพัฒนา เพือ่ สรางสภาพแวดลอมทีเ่ อือ้ ตอการความคิดสรางสรรค ของบุคลากรในองคกรเพราะเปาหมายของสมรรถนะที่ นำ�มาใชในองคกรนั้นมีจุดมุงหมายเพื่อใหไดบุคลากร ที่มีความรู ทักษะ ความคิดสรางสรรคที่จะชวยนำ�พา องคกรใหเปนองคกรทีม่ สี มรรถนะสูง (High Performance Organization) 5. ขอเสนอแนะดานการวางแผนการบริหาร ทรัพยกรมนุษยใน 5 สวน ไดแก 5.1 สรางเกณฑในการจายคาตอบแทนโดย ใชแนวทางดานสมรรถนะดานทักษะดานการจัดการโดย เรียงความสำ�คัญการวางแผนการทำ�งาน การสือ่ สารและ นำ�เสนอ ความรับผิดชอบ และการทำ�งานเปนทีม 5.2 การนำ�องคประกอบสมรรถนะมาใชใน องคกรจะชวยพัฒนาศักยภาพบุคลากรในประเด็นของ ทักษะการจัดการ โดยองคประกอบยอยไดแก การ วางแผนการทำ�งาน การสื่อสารและนำ�เสนอ ความ รับผิดชอบ และการทำ�งานเปนทีม องคประกอบเหลานี้ จะเปนตัวชี้วัดวา พนักงานสามารถพัฒนาตนเองใหได มาตรฐานเหลานี้หรือไม สามารถปฏิบัติงานไดตาม กรอบองค ป ระกอบเหล า นี้ ห รื อ ไม ถ า ส ว นไหนที่ ยั ง ไมไดมาตรฐาน ฝายทรัพยากรบุคคลจะไดสรางกรอบ การอบรมเพื่อพัฒนาไดถูกตอง 5.3 ความรู  เ กี่ ย วกั บ สมรรถนะที่ จำ � เป น เหลานี้มีประโยชนในการบริหารงานบุคคล เนื่องจาก สามารถใช กำ � หนดคุ ณ ลั ก ษณะที่ พึ ง ประสงค ข อง ครีเอทีฟใหชัดเจน นอกจากนี้ ยังชวยใหเขาใจเกี่ยวกับ ปจจัยตางๆ ที่สงเสริมการปฏิบัติงานตามสมรรถนะ เหล า นั้ น เพื่ อ นำ � สมรรถนะที่ จำ � เป น เหล า นี้ ม าใช ประโยชนมากยิ่งขึ้น ขอเสนอแนะในการทำ�การวิจัยครั้งตอไป 1. ศึกษาเพื่อคนหาปจจัยที่สงผลตอสมรรถนะ ป จ จั ย ที่ น  า สนใจที่ พ บจากการวิ จั ย ได แ ก ผู  นำ � แรงบันดาลใจจากบุคคลในองคกร วัฒนธรรมองคกร


สมรรถนะที่จำ�เปนของฝายผลิตรายการโทรทัศน สมานใจ ขันทีทาว

คิดที่สรางเปนภาพ ซึ่งความคิดในแบบตางๆ เหลานี้ จะพัฒนาเปนสมรรถนะดานความคิดอันจะเปนกลไก สำ�คัญ ในการสรางมูลคาเพิม่ ทางเศรษฐกิจ ซึง่ สอดคลอง กับนโยบายของภาครัฐที่ตองการใหความคิดสรางสรรค เป น ตั ว จั ก รสำ � คั ญ ในการขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จ ของ ประเทศไทย

ความผูกพันกับองคกร สภาวะแวดลอมในองคกร เปนตน 2. ศึกษาสมรรถนะที่เปนปจจัยสงผลตอการ ทำ�งานที่มีประสิทธิภาพสูง (High Preferment) 3. ศึกษาสมรรถนะดานความคิดสรางสรรคทนี่ �ำ ไปสูก ารสรางนวัตกรรม การคิดนอกกรอบ ความคิดดาน บวก ความคิดแบบหมวกหกใบ ความคิดกลยุทธ ความ 





33


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

บรรณานุกรม ภาษาไทย กมลา สินธุสุวรรณ. (2544). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรผูผลิตละครโทรทัศนของ บริษัท กันตนา วิดิโอ โปรดักชันส จำ�กัดและบริษัทเอ็กแซ็กท จำ�กัด. วิทยานิพนธปริญญา นิเทศศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศศักดิ์. (2546). การคิดเชิงวิเคราะห. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย. ชัยพร ตั้งพูลสินธนา. (2545). การสรางมาตรฐานสถานีโทรทัศนและรายการโทรทัศนในประเทศไทย. วิทยานิพนธปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ชูวิทย มิตรชอบ. (2553). การจัดการบัณฑิตศึกษาในยุคเศรษฐกิจสรางสรรค. เอกสารประกอบการสัมมาทาง วิชาการบัณฑิตศึกษา ณ. คอนเวนชั่นฮอลล ชั้น 5 โรงแรมท็อปแลนด พิษณุโลก. เดอ โบโน, เอ็ดเวิรด. (2553). คิด ทลายกรอบคิดเดิม เพิ่มพลังคิดสรางสรรค. แปลโดย นุชนาฏ เนตรประเสริฐ ศรี. สมุทรปราการ: เกียวโดเนชั่นพริ้นติ้ง เซอรวิส. เตชิษฐ ยุวดี. (2547). การบริหารงานบริษัทรายการโทรทัศนประเภทเกมโชว. รายงานโครงการเฉพาะบุคคล วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวารสารศาสตรและสือ่ สารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. ทากาฮาชิ มาโกโตะ. (2551). เทคนิคการแกไขปญหาอยางสรางสรรค. แปลโดย รังสรรค เลิศในสัตย. กรุงเทพฯ: ส.ส.ท. ฮอรสัน, ทิม. (2551). คิดอยางอัจฉริยะ. แปลโดย พรศักดิ์ อุรัทฉัทชัยรัตน. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล. นิสดารก เวชยานนท. (2549). Competency-based approach. กรุงเทพ: กราฟโก ซิสเต็มส. ปริญญ พิชญวิจิตร. (2544). การออกแบบรายการขีดความสามารถในงานของบริษัท บางจากปโตรเลียม จำ�กัด (มหาชน). วิทยานิพนธวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. ไพฑูรย วิบูลชุติกุล. (2540). นโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแขงขันกับตางประเทศ. ใน จารุมา อัชกุล, บรรณาธิการ. เอกสารประกอบการสัมมนาเรือ่ ง การเพิม่ ขีดความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมไทย ในเศรษฐกิจโลก. 5 มิถุนายน 2540 ณ. โรมแรมอมาวอเตอรเกต กรุงเทพ, หนา 2/1-2/26. กรุงเทพ: บุณศิริการพิมพ. วุฒิพล สกลเกียรติ. (2546). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรูเพื่อพัฒนาทักษะสำ�หรับผูใชแรงงานใน สถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนตและชิ้นสวน. วิทยานิพนธ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบณ ั ฑิต สาขาการศึกษานอกระบบโรงเรียน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. สุทติ ิ ขัตติยะ. (2545). ตัวแปรทีส่ ง ผลตอประสิทธิผลในกลุม งานของเจาหนาที่ ผลิตรายการโทรทัศนในสถานี วิทยุโทรทัศนแหงประเทศไทย ชอง 11 กรมประชาสัมพันธ ทั่วราชอาณาจักร. วิทยานิพนธปริญญา วิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สุปราณี แกวสีนวล. (2547). ศึกษาทัศนะในการประเมินคุณภาพของกลุม ผูผ ลิตรายการโทรทัศน : ศึกษาเฉพาะ กรณีรายการฮาไฮไทยแลนด. วิทยานิพนธปริญญาวารสารศาตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร. สุรพงษ โสธนะเสถียร และอิทธิศักดิ์ พลอยศิริชล. (2551). การบริหารงานวิทยุโทรทัศน. กรงุเทพฯ: โรงพิมพ ประสิทธิ์ภัณฑแอนดพรินติ้ง. อกนิษฐ มาโนษยวงศ. (2548). การบริหารเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษยในวิชาชีพผลิตรายการโทรทัศน.

34


สมรรถนะที่จำ�เปนของฝายผลิตรายการโทรทัศน สมานใจ ขันทีทาว

วิทยานิพนธปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวารสารศาสตรและสื่อสารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. อรุณี เกียระสาร และคณะ. (2540). บทบาทของสถาบันในภาครัฐบาลและภาคเอกชนที่มีตอการเพิ่มขีดความ สามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมไทย. ใน จารุมา อัชกุล, บรรณาธิการ. เอกสารประกอบการ สัมมนาเรือ่ ง การเพิม่ ขีดความสามารถในการแขงขันของอุตสาหกรรมไทยใน เศรษฐกิจ โลก 5 มิถนุ ายน 2540 โรมแรมอมารีวอเตอรเกต กรุงเทพ, หนา 3/1-3/31. กรุงเทพ: บุณศิริการพิมพ

ภาษาอังกฤษ Blank, William E. (1982). Handbook for developing competency-based training programs. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall. Bollen, K.A. (1989). Structure equations with latent variables. New York: John Wiley & Sons. Boyatzis, R. (1982). The Competent manager : a model for effective performance. New York: John Wiley & Sons. BoNo, Edward D. (1970). Lateral thinking: creativity step by step. New York: Harper & Row. . (2007). How to have creative ideas. UK: CPI Mackays. Field, Laurie. (1991). Skilling Australia. Melborne: Longman Cheshire. Heam, G., Close, A., Smith, B., & Suothey, G. (1997). Defining generic professional competencies in Australia : Toward a framework for professional development. Asia Pacific Journal of Human Resources 34, 1 : 96-105. Hu, L. & Bentler, P.M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternative. Structural Equation Modeling 6,1 : 1-55. MacCallum, R.C., Browne, M.W., and Sugawara, H., M. (1996). Power analysis and determination of sample size for covariance structure modeling. Psychological Methods 1, 2 : 130-49. McClelland, C. David. (1973). Testing of Competence rather than Intelligence. Available from : http:// www.lichaoping.com/wp-content/ap7301001.pdf. McLagan, P. (1983). Competencies : the Next Generation. Trainging and Development 51 (May) : 40-47. Rothwell, William. J. (1996). Beyond training and development : state-of-the-art strategies for enhancing human performance. New York: American Management Association. Spencer, L. M. & Spencer, S. M. (1993). Competence at work : models for superior performance. New York: John Wiley & Sons. Ulrich, D. (1996). Human resource champions : the next agenda for adding value and delivering results. Boston: Harvard Business School Press. Wheaton, B., Muthen, B., Alwin, D. F. and Summers, G. (1977). Assessing reliability and stability in Panel Models. Sociological Methodology 8, 1 : 84-136.

35



การประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2550 - 2553 Evaluation of the Project of Student Camps for Learning Morals and Sufficiency Economy 2007 - 2010 ธีรศักดิ์ อุนอารมยเลิศ1, นรินทร สังขรักษา1, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม1, จุรีวรรณ จันพลา2 Thirasak Unaromlert, Narin Sungrugsa, Chaiyos Paiwithayasiritham, Jureewan Janpla บทคัดยอ การประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2550 - 2553 มีวัตถุประสงคเพื่อ 1.) ประเมิน ผลสัมฤทธิ์ในการดำ�เนินงานโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553 ทั้งในแงการบริหารจัดการและผล การดำ�เนินงานโครงการ 2.) ประเมินอภิมานงานวิจยั รายงานการดำ�เนินโครงการคายเรียนรูค ณ ุ ธรรม นำ�ชีวติ พอเพียง ที่พิมพเผยแพรในระหวางป พ.ศ. 2551 - 2552 3.) สังเคราะหรายงานการดำ�เนินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียงในระหวางป พ.ศ. 2550 - 2553 และ 4.) เพื่อนำ�เสนอขอเสนอแนะในการดำ�เนินงานโครงการตอ หนวยงานที่เกี่ยวของ เพื่อใชประกอบการพิจารณาชุมชนใหเปนชุมชนเขมแข็งตอไป การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำ�เนินงานโครงการ มีกลุมตัวอยางและผูใหขอมูลสำ�คัญเปนผูที่มีสวนเกี่ยวของ กับโครงการจำ�นวน 3 กลุม คือ 1.) ผูบ ริหารสถาบันอุดมศึกษา 2.) อาจารยทปี่ รึกษาโครงการภาคสนาม และ 3.) นิสติ นักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาทีเ่ ขารวมโครงการ เก็บรวบรวมขอมูลโดยใชแบบสอบถาม และวิเคราะหขอ มูลโดยการ หาคาความถี่ คารอยละ คาเฉลี่ย ( X ) และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) จำ�แนกตามกลุมของผูตอบแบบสอบถาม การประเมินอภิมานงานวิจัย ทำ�การประเมิน 2 เรื่อง ไดแก 1.) รายงานการวิจัยเชิงสำ�รวจโครงการสำ�รวจคาย เรียนรูค ณ ุ ธรรม นำ�ชีวติ พอเพียง ป 2551 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสติ และ 2.) รายงานการวิจยั เรือ่ งการประเมิน โครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2552 ของมหาวิทยาลัยบูรพา การสังเคราะหรายงานการดำ�เนินโครงการในระหวางป พ.ศ. 2550 ถึง 2553 ดวยการวิเคราะหขอ มูลทีร่ วบรวม ไดจากแบบประเมินรายงานการดำ�เนินโครงการคายเรียนรูค ณ ุ ธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง นำ�มาวิเคราะหเพือ่ สรุปประเด็น สำ�คัญเสนอในลักษณะของความเรียง ผลการประเมินพบวา 1. การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำ�เนินงานโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553 ตามความ คิดเห็นของผูที่มีสวนเกี่ยวของกับโครงการ 3 กลุม คือ ผูบริหารสถาบันอุดมศึกษา อาจารยที่ปรึกษาโครงการ และ นิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการ ผลการประเมินโครงการในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ทั้งในดานของ ขั้นตอนการดำ�เนินการ รายละเอียดของคูมือการดำ�เนินการ การกำ�หนดชุมชนภาคสนาม อาจารยที่ปรึกษาโครงการ ฯลฯ และหากพิจารณาในดานการบรรลุวตั ถุประสงคของโครงการ พบวาสามารถบรรลุวตั ถุประสงคของโครงการ เพราะ นิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการไดรับความรูความเขาใจและประสบการณตรงตามแนวทางเศรษฐกิจ สามารถเรียนรู

__________________

1

2

ผูชวยศาสตราจารย ดร. ประจำ�ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย ประจำ�โครงการจัดตั้งสายวิชาบริหารธุรกิจฯ คณะศิลปศาสตรและวิทยาศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

และอยูรวมกับชุมชนไดเหมาะสม นิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการไดรับความรูความเขาใจและประสบการณตรงตาม แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สามารถเรียนรูแ ละอยูร ว มกับชุมชนไดเหมาะสม โดยนิสติ นักศึกษาทีเ่ ขารวมโครงการ จำ�นวน รอยละ 99.07 มีความคิดเห็นวาโครงการนี้มีประโยชนตอชุมชนในสังคมไทย เพราะโครงการนี้เปนกระบวนการเรียน รูความเปนอยูของชุมชน ความรวมมือ เห็นจุดดอยของชุมชนเพื่อที่จะนำ�ไปพัฒนาตอไป สามารถนำ�ไปประยุกตใชใน ชีวิตประจำ�วันได เปนรากฐานในการดำ�รงชีวิตตอไปในอนาคต และเมื่อพิจารณาการนำ�ความรูและประสบการณที่ ไดไปถายทอดใหบุคคลอื่นพบวานิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการ จำ�นวนรอยละ 98.84 มีความคิดเห็นวาจะนำ�ความ รูและประสบการณที่ไดไปถายทอดใหกับบุคคลอื่น เนื่องจากเปนสิ่งที่ดี มีประโยชน ปฏิบัติไดจริง สามารถนำ�ไปเปน แบบอยางในการดำ�เนินชีวิต ดังนั้น ผูที่มีสวนเกี่ยวของกับโครงการทั้ง 3 กลุมจึงเห็นวาสำ�นักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาควรสนับสนุนใหมีการดำ�เนินการโครงการนี้ตอไป 2. การประเมินอภิมานรายงานการดำ�เนินโครงการคายเรียนรูคุณธรรมนำ�ชีวิตพอเพียงที่พิมพเผยแพรใน ระหวางป พ.ศ. 2550 ถึง 2552 ผลการประเมินพบวาในดานรวมทุกมาตรฐานงานประเมินโครงการคายเรียนรูค ณ ุ ธรรม นำ�ชีวติ พอเพียง มีคา เฉลีย่ เทากับ 2.63 สวนเบีย่ งเบนมาตรฐานเทากับ .14 อยูใ นระดับดีมาก เมือ่ พิจารณามาตรฐานดาน การใชประโยชนพบวา มีคา เฉลีย่ เทากับ 2.71 สวนเบีย่ งเบนมาตรฐานเทากับ .20 มีคณ ุ ภาพอยูใ นระดับดีมาก มาตรฐาน ดานความเปนไปไดมีคาเฉลี่ยเทากับ 2.17 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ .24 มีคุณภาพอยูในระดับดี มาตรฐานดาน ความเหมาะสม มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.88 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ .35 มีคุณภาพอยูในระดับดีมาก และมาตรฐาน ดานความถูกตอง มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.54 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ .06 มีคุณภาพอยูในระดับดีมาก 3. ผลการสังเคราะหรายงานการดำ�เนินโครงการ พบวาชุมชนตัวอยางที่นิสิตนักศึกษาเขาไปศึกษาไดนำ� หลักการเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกตใช ไดแก (1.) รูจักวางแผนการใชชีวิต (2.) ปฏิบัติตามหนาที่ของตนไดอยาง ถูกตอง (3.) นำ�หลักคุณธรรมและจริยธรรมมาใชในกระบวนการคิด (4.) ดำ�เนินชีวิตดวยความไมประมาท มีสติและ ความรอบคอบ และไมทำ�อะไรเกินตัว (5.) ไมฟุมเฟอย (6.) การจัดสรรเวลา (7.) การใหกำ�ลังใจตนเองยามมีปญหา เพื่อใหมีพลังในการทำ�ประโยชนตอสังคม (8.) ความสามัคคีในหมูคณะ (9.) การวางตัวในสังคมและเคารพผูอาวุโส (10.) การใหความสำ�คัญกับการศึกษา 4. ขอเสนอแนะในการดำ�เนินโครงการตอหนวยงานที่เกี่ยวของ มีดังนี้ 1. การบริหารงานโครงการ ไดแก - ควรมีการวางแผนโครงการใหเปนภาระงานประจำ�เพื่อที่สถาบันการศึกษาจะไดมีระยะเวลาในการ เตรียมการใหมากขึ้น - ควรมีการประชาสัมพันธโครงการกับชุมชนภาคสนามเพื่อใหชาวบานเขาใจวัตถุประสงคของการลง ภาคสนาม - ควรมีการสัมมนาอาจารยที่ปรึกษาโครงการกอนการปฏิบัติจริง - ควรเปดโอกาสใหผูเขารวมโครงการจากสถาบันการศึกษาตางๆ ไดมีโอกาสพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยน แนวทางในการจัดกิจกรรมรวมกัน - ควรมีการจัดสงเอกสารคูมือการดำ�เนินการใหผูเกี่ยวของใหเร็วขึ้น - ควรมีการประสานกับหนวยงานในพื้นที่ในการตรวจเยี่ยมใหกำ�ลังใจ - ควรมีการเผยแพรรายงานผลของโครงการโดยทั่วกัน 2. บุคลากร ไดแก - ควรเพิ่มจำ�นวนอาจารยที่ปรึกษาโครงการใหเพียงพอ - ควรเพิ่มบทบาทของอาจารยที่ปรึกษาใหมากกวาที่เปนอยู - ควรเพิ่มจำ�นวนนิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการใหมากขึ้น

24


​การประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2550 - 2553 ธีรศักดิ์ อุนอารมยเลิศ, นรินทร สังขรักษา, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, จุรีวรรณ จันพลา

3. งบประมาณ ไดแก ควรมีการเพิ่มงบประมาณในสวนตางๆ ใหเหมาะสมสอดคลองกับระยะเวลาการ ดำ�เนินงานของโครงการ และระยะทางของชุมชนภาคสนามกับสถาบันการศึกษา เชน คาอาหาร คาเบี้ยเลี้ยงนิสิต นักศึกษา คาเบี้ยเลี้ยงอาจารยที่ปรึกษา คาวัสดุสำ�นักงาน และคาใชจายในการเดินทาง เปนตน 4. ระยะเวลา ไดแก ควรใหอสิ ระแกสถาบันการศึกษาในการกำ�หนดระยะเวลาของโครงการไดเพือ่ ใหเหมาะสม กับบริบทของสถานบัน สอดคลองกับชวงเวลาที่นิสิตนักศึกษาสามารถเขารวมโครงการไดเต็มที่ และสอดคลองกับ ลักษณะของชุมชนภาคสนามที่แตกตางจากบริบทของสถาบันการศึกษา 5. อื่นๆ ไดแก การจัดสิ่งอำ�นวยความสะดวก เชน ควรจัดที่พักอาศัยโดยใชชาวมุสลิมพักอาศัยกับชาว มุสลิมดวยกันเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจ คำ�สำ�คัญ: 1. การประเมินโครงการ. 2. โครงการคายเรียนรูคุณธรรมนำ�ชีวิตพอเพียง. 3. เศรษฐกิจพอเพียง. Abstract Evaluation of the Project of Student Camps for Learning Morals and Sufficiency Economy 2007 - 2010 aimed to: 1.) Evaluate the accomplishment in running the Project of Student Camps for Learning Morals and Sufficiency Economy 2010 both in management and the results of the project. 2.) Meta evaluation of the research, reporting of running the Project of Student Camps for Learning Morals and Sufficiency Economy 2008 - 2009. 3.) Synthesize the report of running the Project of Student Camps for Learning Morals and Sufficiency Economy 2007 - 2010, and 4.) Offer suggestions in running the project as a consideration to further strengthen the community. In the evaluation of the accomplishment of running the project, there were 3 sample groups, and the major contributors who provided the relevant data for the project were: 1.) students of higher education institutions who participated in the project. 2.) field advisors for the project and 3.) higher education executives involved with the project. Data was collected using questionnaires, and the data was analyzed by determination of frequency, percentage, mean ( X ), and standard deviation (SD). For Meta Evaluation of the research 2008 - 2009, the population of the Meta Evaluation were: 1.) The survey research report of the Project of Student Camps for Learning Morals and Sufficiency Economy 2010 of Suan Dusit Rajabhat University and 2.) The research report on Evaluation of Project of Student Camps for Learning Morals and Sufficiency Economy 2009 of Burapha University. For synthesizing the report of running the project from 2007 to 2010, it was analyzed from the collected information from evaluation forms of the Project of Student Camps for Learning Morals and Sufficiency Economy 2010. The key points were then summarized, and presented in composition form. From the results it was found that: 1. The accomplishment evaluation of running the Project of Student Camps for Learning Morals and Sufficiency Economy 2010 from the point of view of the 3 concerned parties, which were the higher education executives, the advisors and the students who participated in the project, found that the running of the project overall had a high level of propriety in terms of running process, manual details, field community setting, project advisors, etc. When considering the accomplishment of project objective, it was found that it was able to meet the goals because students participating in the project gained knowledge, understanding, and experience

25


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

following the guidelines of Sufficiency Economy. They could learn to integrate with the community. 99.07% of students participating in the project thought that this project was useful to Thai society, because it was a learning process of being in a community, cooperation, and seeing its weakness for further development. It could be applied to daily life, and be a foundation for living in the future. Considering passing on knowledge and experience to others, it was found that 98.84% of participating students had opinions to pass on knowledge gained and experience to others, since it was good, useful, practical, and could be a role model for living. Thus the 3 parties agreed that the Office of the Higher Education Commission should support this project further. 2. For Meta Evaluation of the report of running the Project of Student Camps for Learning Morals and Sufficiency Economy 2007-2009, it found that in all aspects of standards of evaluation of the Camps the average was 2.63. The standard deviation was equal 1.4 which was a very fine level. When considering utility standards, it was found that the average was 2.71. The standard deviation was 0.20, regarded as a high level of quality. The feasibility standards had an average of 2.17. The standard deviation was 0.24, regarded as a in high level of quality. The propriety standards had an average of 2.88. The standard deviation was 0.35, regarded as a very high level of quality. And the accuracy standards had an average of 2.54. The standard deviation was 0.06, regarded as a very high level of quality. 3. The results of the primary synthesis of the communities where students went to study and apply; (1.) Plan their lives. (2.) Perform their duties properly. (3.) Apply morality and ethics to their thinking process. (4.) Lead their lives dutifully, have consciousness and prudence. (5.) Not be extravagant (6.) Time management (7.) When they had any problems, they encouraged themselves to be useful for society. (8.) Have unity. (9.) Their positions in society and respect to the adults. (10.) Pay attention to the education. 4. The subjects indicated problems, obstacles, and solutions as below: (1.) The project management: - The project should be planned as a routine task so that the academic institutions could have more time for preparation. - The project should be publicized to the community so that people there can understand its objectives in the field. - A seminar should be held for the field advisors before the start of the project. - An opportunity should be opened for participants from other academic institutions to discuss and exchange ideas of doing activities together. - The operation manuals should be sent out earlier. - There should be the coordination with the local agencies for site visits and encouragement. - The results of the project should be published. (2.) The personnel: - The quantity of the project advisors should be increased sufficiently. - The role of the advisors should be expanded. - The quantity of students participating in the project should be increased.

26


​การประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2550 - 2553 ธีรศักดิ์ อุนอารมยเลิศ, นรินทร สังขรักษา, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, จุรีวรรณ จันพลา

(3.) Budget: The budgets of various parts should be increased in accordance with the period of running the project and the distance from the field community to the academic institutions such as board, daily allowances for students and advisors, office supplies, travel expenses, etc. (4.) Period of running the project: The academic institutions should be free to set the period of the project so that students can fully participate in it. Also the project should be run according to the context of the communities, which might be different from the context of the educational institutions (5.) Others: accommodation for Muslims to live together for their convenience in Religious practices. Keywords: 1. Evaluation of the project. 2. Project of student camps for learning moral and sufficiency economy. 3. Sufficiency economy.

27


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

บทนำ� ปญหาในการพัฒนาประเทศทีเ่ นนไปในดานของ การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ ตามแนวของระบบทุ น นิ ย มซึ่ ง ยึดทฤษฎีความทันสมัย (Modernization Theory) ที่ ได ก  อ ให เ กิ ด ผลกระทบต อ สถาบั น ต า งๆ ประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตของคนไทยเปนจำ�นวน มาก ประกอบกับความจำ�เปนในการพัฒนาทรัพยากร มนุษยของประเทศ หนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของ ไดแก กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จึงไดจัดทำ� โครงการหมู  บ  า นเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ในปี 2552 จำ�นวน 160 หมูบาน (สำ�นักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา 2553 : 92-97) เพื่อสรางความเขมแข็งของ ชุมชน และนำ�รอง สานขาย ขยายผลการดำ�เนินการ ไปยั ง หมู  บ  า นอื่ น ๆ ต อ ไป รวมถึ ง การจั ด ให มี ศู น ย การเรียนรูชุมชน เปนแหลงถายทอดความรูในทองถิ่น ผานการเรียนรูส สู งั คม โดยการเรียนรูผ า นศูนยการเรียนรู ชุมชน ซึ่งเปนการหลอหลอมและปลูกฝงใหคนทุกคน ทั้งในสวนของชาวบาน นักเรียน นิสิตนักศึกษาตางๆ ไดซึมซับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและนำ�องคความรู นี้ ที่ ไ ด ไ ปเป น แนวทางในการดำ � เนิ น ชี วิ ต ตลอดจน ถายทอดใหกับสังคม เพื่อใหเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ผลิตภัณฑชุมชน รวมถึงการสรางภูมิคุมกันทางความรู ใหกับผลิตภัณฑชุมชน เพื่ อ ให บ รรลุ พั น ธะกิ จ การพั ฒ นาประเทศดั ง กล า วขา งต น ของนิสิตนักศึกษาและประชาชน ตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 10 สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงจัดใหมีการ ดำ�เนินงานโครงการกิจกรรมสำ�หรับนิสิตนักศึกษาใน ลักษณะ “คายเรียนรูคุณธรรม” เพื่อใหนิสิตนักศึกษา ไดรับประสบการณตรงและเรียนรูจากการไปสัมผัสหรือ ปฏิบัติงานจริง (Activity Based Learning) ในชุมชน เขมแข็ง โดยเฉพาะการปลูกฝงคุณธรรม จริยธรรม ที่เกิดขึ้นในชุมชนนำ�ไปสูสังคมอยูเย็นเปนสุขรวมกัน ตลอดจนเปนการเชื่อมโยงความรวมมือระหวางสถาบัน การศึกษา ชุมชน ศาสนาและปราชญชาวบาน ไดรว มกัน ศึกษาถึงแกนแทของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คุณธรรม พื้นฐานที่จะนำ�ไปสูการเปนสังคมอยูเย็นเปนสุข และ การนำ�ไปประยุกตใชในแตละบุคคลและทองถิ่น ซึ่ง

28

เปนสวนหนึ่งที่จะชวยสงเสริมใหสังคมไทยเปนสังคม “อยูเย็นเปนสุข” (Green and Happiness Society) โดย กิจกรรมจะประกอบไปดวยการเรียนรูแ ละปฏิบตั เิ กีย่ วกับ คุ ณ ธรรมที่ เ ป น พื้ น ฐานสำ � คั ญ ของแต ล ะชุ ม ชนและ องคความรูหรือศาสตรเฉพาะในแตละสาขาที่นำ �ไปสู ความสุข ความเขมแข็งของชุมน โดยใชชื่อวา “คาย เรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553” ซึ่งเปน กิจกรรมตอเนื่องดำ�เนินการเปนปที่ 4 การดำ�เนินโครงการนัน้ จำ�เปนตองมีการประเมิน โครงการ เพราะการประเมินโครงการเปนกลไกสำ�คัญ ในการที่ จ ะได ม าซึ่ ง สารสนเทศในการตั ด สิ น ใจหรื อ ตัดสินคุณคาของการดำ�เนินงานโครงการตางๆ ในสวน ของโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553 ก็เชนเดียวกัน ซึง่ การประเมินโครงการคายเรียนรู คุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553 จะทำ�ใหสำ�นักงาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาได ท ราบว า โครงการนี้ สามารถบรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค ต ามที่ กำ � หนดไว ห รื อ ไม มากนอยเพียงใด มีความเหมาะสม และครอบคลุม ตามบทบาทหนาที่ของกลุมเปาหมายหรือไม ตลอดจน ศึ ก ษาถึ ง ป ญ หาอุ ป สรรคที่ เ กิ ด ขึ้ น และข อ เสนอแนะ ที่ มี ต  อ โครงการจากผู  ที่ มี ส  ว นเกี่ ย วข อ งกั บ โครงการ หลายกลุ  ม เพื่ อ จะได นำ � ผลการประเมิ น ไปปรั บ ปรุ ง เนื้อหาสาระ กิจกรรม ตลอดจนการดำ�เนินการเกี่ยวกับ โครงการ เพื่อจะไดปรับปรุงโครงการใหมีความทันสมัย เหมาะสมกับสภาพการณปจ จุบนั ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปอยาง รวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถแกไขและปองกันปญหา อุ ป สรรคที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ในการจั ด โครงการนี้ ใ นอนาคต ไดดวย วัตถุประสงค 1. เพื่ อ ประเมิ น ผลสั ม ฤทธิ์ ใ นการดำ � เนิ น งาน โครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553 ในดานการบริหารจัดการและผลการดำ�เนินงานโครงการ 2. เพื่ อ ประเมิ น อภิ ม านงานวิ จั ย รายงานการ ดำ�เนินโครงการคายเรียนรูคุณธรรมนำ�ชีวิตพอเพียงที่ พิมพเผยแพรในระหวางป พ.ศ. 2551 ถึง 2552 3. เพื่อสังเคราะหรายงานการดำ�เนินโครงการ คายเรียนรูคุณธรรมนำ�ชีวิตพอเพียงที่พิมพเผยแพรใน


​การประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2550 - 2553 ธีรศักดิ์ อุนอารมยเลิศ, นรินทร สังขรักษา, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, จุรีวรรณ จันพลา

ระหวางป พ.ศ. 2550 ถึง 2553 4. เพื่อนำ�เสนอขอเสนอแนะในการดำ�เนินงาน โครงการตอหนวยราชการที่เกี่ยวของ ไดแก สำ�นักงาน คณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษา องค ก รปกครองส ว น ท อ งถิ่ น และอื่ น ๆ เพื่ อ ใช ป ระกอบการพิ จ ารณา ชุมชนใหเปนชุมชนเขมแข็งตอไป ขอบเขตของการประเมินโครงการ ขอบเขตดานเนื้อหา การวิจัยในครั้งนี้ผูวิจัยมุงประเมินผลสัมฤทธิ์ ในการดำ�เนินงานโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิต พอเพียง ป 2553 ในดานการบริหารจัดการและผลการ ดำ�เนินงานโครงการ และผลสัมฤทธิ์รวมทั้ง 4 ป ตั้งแต ป พ.ศ.2550 ถึง 2553 อันประกอบดวย 1. การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำ �เนินงาน โครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553 ในดานการบริหารจัดการโครงการ ประกอบดวย - การประเมินการดำ�เนินงานกอนเริม่ โครงการ - การประเมินการจัดอาจารยทปี่ รึกษาโครงการ ภาคสนาม - การประเมิ น การจั ด การเรี ย นรู  ใ นระหว า ง โครงการ - การประเมินการรายงานผลการศึกษาหลัง ภาคสนาม - การประเมิ น ปญหาอุป สรรคในการดำ � เนิ น โครงการในดานตางๆ 2. การประเมิ น ผลสั ม ฤทธิ์ ใ นการดำ � เนิ น งาน โครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553 ในด า นผลการดำ � เนิ น งานโครงการ และผลสั ม ฤทธิ์ รวมทั้ง 4 ป พ.ศ.2550 ถึง 2553 ประกอบดวย - การประเมิ น ผลการเรี ย นรู  ที่ เ กิ ด กั บ นิ สิ ต นักศึกษาที่เขารวมโครงการคุณธรรมนำ�ชีวิต พอเพียง - การประเมินการนำ�องคความรูที่ไดรับจาก โครงการคุณธรรมนำ�ชีวิตพอเพียงไปใชใน การดำ�เนินชีวิต - การประเมินองคความรูและประสบการณที่ คนพบในการเขารวมโครงการ

- การประเมินอภิมาน (Meta Evaluation) งาน วิจยั เกีย่ วกับการประเมินโครงการคายเรียนรู คุณธรรมนำ�ชีวิตพอเพียงที่พิมพเผยแพรใน ระหวางป พ.ศ. 2551 ถึง 2552 - การประเมิ น จากรายงานผลการดำ � เนิ น โครงการคายเรียนรูค ณ ุ ธรรมนำ�ชีวติ พอเพียง ป พ.ศ.2550 โดยการวิ เ คราะห เ นื้ อ หา (Content Analysis) ขอบเขตประชากรและกลุมตัวอยาง 1. การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการดำ�เนินงาน โครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553 ประชากรและผูใหขอมูลสำ�คัญในการวิจัยเปนผูที่ มีสว นเกีย่ วของกับโครงการคายเรียนรูค ณ ุ ธรรม นำ�ชีวติ พอเพียง ป 2553 จำ�นวน 3 กลุมดังตอไปนี้ 1.1 ผูบริหารสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวของ หรือผูรับผิดชอบโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิต พอเพียง ป 2553 ของสถาบันอุดมศึกษาที่เขารวม โครงการ และถูกเลือกเปนกลุม ตัวอยางในขอที่ 1 จำ�นวน 43 คน โดยใชวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สามารถเก็บขอมูลไดจำ�นวน 34 คน คิดเปน รอยละ 79.07 1.2 อาจารยที่ปรึกษาโครงการภาคสนาม โครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553 จากสถาบันที่เขารวมโครงการและถูกเลือกเปนกลุม ตัวอยางในขอที่ 1 จำ�นวน 43 คน โดยใชวิธีการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) สามารถเก็บขอมูล ไดจำ�นวน 34 คน คิดเปนรอยละ 79.07 1.3 นิสิตนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ที่เขารวมโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553 จำ�นวน 85 สถาบัน การเลือกกลุมตัวอยางโดย ใชวิธีการ Multi – Stage Area Sampling โดยแบง กลุมสถาบันอุดมศึกษาที่เขารวมโครงการเปน 2 กลุม คือ สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และ สถาบันอุดมศึกษาในสวนภูมิภาค แลวสุมเลือกสถาบัน อุดมศึกษาที่เปนกลุมตัวอยางมา 50% ของจำ�นวน สถาบันในแตละกลุม โดยวิธีการสุมตัวอยางแบบยก กลุม (Cluster Random Sampling) ไดจำ�นวนสถาบัน ทั้งหมด 43 สถาบัน แลวเก็บขอมูลจากนิสิตนักศึกษาที่

29


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

เขารวมโครงการในแตละสถาบันๆ ละประมาณ 30 คน ไดจำ�นวนตัวอยางทั้งหมด 1,290 คน ดังนี้ 1.3.1 สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพและ ปริมณฑล จำ�นวน 27 สถาบัน สุมมาเปนกลุมตัวอยาง จำ�นวน 14 สถาบันๆ ละประมาณ 30 คน จำ�นวนกลุม ตัวอยางทั้งสิ้น 420 คน สามารถเก็บขอมูลไดจำ�นวน 8 สถาบัน คิดเปนรอยละ 57.14 จำ�นวนกลุมตัวอยาง 220 คน คิดเปนรอยละ 52.38 ทั้งนี้เนื่องจากในบางสถาบัน มีจำ�นวนผูเขารวมโครงการนอยกวา 30 คน 1.3.2 สถาบั น อุ ด มศึ ก ษาในส ว นภู มิ ภ าค จำ�นวน 58 สถาบัน สุมมาเปนกลุมตัวอยางจำ�นวน 29 สถาบัน ๆ ละประมาณ 30 คน จำ�นวนกลุมตัวอยาง ทัง้ สิน้ 870 คน สามารถเก็บขอมูลไดจำ�นวน 26 สถาบัน คิดเปนรอยละ 89.66 จำ�นวนกลุมตัวอยาง 850 คน คิดเปนรอยละ 97.70 ทั้งนี้เนื่องจากในบางสถาบันมี จำ�นวนผูเขารวมโครงการมากกวา 30 คน 2. ก า ร ป ร ะ เ มิ น อ ภิ ม า น ง า น วิ จั ย แ ล ะ สังเคราะหรายงานการดำ�เนินโครงการคายเรียนรู​ คุ ณ ธรรมนำ � ชี วิ ต พอเพี ย งที่ พิ ม พ เ ผยแพร ใ น ระหวางป พ.ศ. 2550 ถึง 2552 ประชากรในการประเมิน อภิมานงานวิจัย ไดแก 2.1 รายงานการวิ จั ย เชิ ง สำ � รวจโครงการ สำ�รวจคายเรียนรูค ณ ุ ธรรมนำ�ชีวติ พอเพียง ป 2551 ของ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต 2.2 รายงานการวิ จั ย เรื่ อ งการประเมิ น โครงการคายเรียนรูคุณธรรมนำ�ชีวิตพอเพียง ป 2552 ของมหาวิทยาลัยบูรพา 3. การประเมินผลการดำ�เนินโครงการจาก รายงานการดำ�เนินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียงที่พิมพเผยแพรในระหวางป พ.ศ. 2550 ถึง 2553 ประชากรในการประเมินคือ รายงาน การดำ�เนินโครงการคายเรียนรูค ณ ุ ธรรมนำ�ชีวติ พอเพียง ที่พิมพเผยแพรในระหวางป พ.ศ. 2550 ถึง 2553 เครื่องมือที่ใชในการวิจัย ประเภทของเครื่องมือการวิจัยครั้งนี้ มี 3 ชนิด คือ

30

1. แบบสอบถามความคิ ด เห็ น ของผู  ที่ มี ส  ว น เกี่ ย วข อ งกั บ โครงการค า ยเรี ย นรู  คุ ณ ธรรม นำ � ชี วิ ต พอเพียง ป 2553 จำ�นวน 3 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามสำ�หรับผูบริหารสถาบัน อุดมศึกษาที่เขารวมโครงการ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามสำ�หรับอาจารยทปี่ รึกษา ภาคสนามที่เขารวมโครงการ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามสำ�หรับนิสิตนักศึกษาที่ เขารวมโครงการ 2. เครือ่ งมือทีใ่ ชในการประเมินอภิมานงานวิจยั ที่เกี่ยวกับการประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรมนำ� ชีวิตพอเพียง ป 2553 มี 2 ฉบับ ดังนี้ ฉบั บ ที่ 1 แบบบั น ทึ ก คุ ณ ลั ก ษณะงานวิ จั ย ที่ เกี่ยวกับการประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ� ชีวิตพอเพียง ป 2553 ฉบับที่ 2 แบบประเมินอภิมานงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วกับ การประเมินโครงการ 3. เครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช ใ นการประเมิ น รายงานการ ดำ�เนินโครงการคายเรียนรูคุณธรรมนำ�ชีวิตพอเพียง ป 2550 - 2553 มี 2 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบบันทึกสาระโครงการคายเรียน รูคุณธรรมนำ�ชีวิตพอเพียง ฉบับที่ 2 แบบประเมินคุณภาพรายงานผลการ ดำ�เนินโครงการ การวิเคราะหขอมูล การประเมินโครงการคายเรียนรูค ณ ุ ธรรม นำ�ชีวติ พอเพียง ป 2553 มีวิธีการวิเคราะหขอมูล ดังนี้ 1. การวิเคราะหขอมูลจากแบบสอบถามความ คิดเห็นของผูที่มีสวนเกี่ยวของกับโครงการคายเรียน รูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553 โดยการหาคา ความถี่ คารอยละ คาเฉลี่ย ( X ) และคาสวนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) จำ�แนกตามกลุม ของผูต อบแบบสอบถาม 2. การวิเคราะหผลการประเมินอภิมาน โดย ผูวิจัยประเมินคุณภาพงานวิจัยที่เกี่ยวกับการประเมิน โครงการ ซึ่งประกอบดวย 4 มาตรฐาน 30 เกณฑ


​การประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2550 - 2553 ธีรศักดิ์ อุนอารมยเลิศ, นรินทร สังขรักษา, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, จุรีวรรณ จันพลา

3. การวิ เ คราะห ผ ลการประเมิ น รายงานการ ดำ�เนินโครงการ ดวยการวิเคราะหเชิงเนื้อหา โดยการ วิเคราะหและสรุปประเด็นสำ�คัญ และเสนอในลักษณะ ของความเรียง ผลการวิจัย ตอนที่ 1 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการ ดำ�เนินงานโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิต​ พอเพียง ป 2553 ผลการประเมิ น โครงการในภาพรวมมี ค วาม เหมาะสมในระดับมาก ทัง้ ในดานของขัน้ ตอนการดำ�เนิน การ รายละเอียดของคูมือการดำ�เนินการ การกำ�หนด ชุมชนภาคสนาม อาจารยที่ปรึกษาโครงการ ฯลฯ และ หากพิจารณาในดานการบรรลุวตั ถุประสงคของโครงการ พบวาสามารถบรรลุวัตถุประสงคของโครงการ เพราะ นิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการ ไดรับความรูความ เข า ใจและประสบการณ ต รงตามแนวทางเศรษฐกิ จ สามารถเรียนรูและอยูรวมกับชุมชนไดเหมาะสม นิสิต นักศึกษาที่เขารวมโครงการไดรับความรูความเขาใจ และประสบการณตรงตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สามารถเรียนรูและอยูรวมกับชุมชนไดเหมาะสม โดย นิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการ จำ�นวนรอยละ 99.07 มีความคิดเห็นวาโครงการนี้มีประโยชนตอชุมชนใน สังคมไทย เพราะโครงการนี้เปนกระบวนการเรียนรู ความเปนอยูของชุมชน ความรวมมือ เห็นจุดดอยของ ชุมชนเพือ่ ทีจ่ ะนำ�ไปพัฒนาตอไป สามารถนำ�ไปประยุกต ใชในชีวิตประจำ�วันได เปนรากฐานในการดำ�รงชีวิตตอ ไปในอนาคต และเมื่ อ พิ จ ารณาการนำ � ความรู  แ ละ ประสบการณที่ไดไปถายทอดใหบุคคลอื่นพบวานิสิต นักศึกษาที่เขารวมโครงการ จำ�นวนรอยละ 98.84 มี ค วามคิ ด เห็ น ว า จะนำ � ความรู  แ ละประสบการณ ที่ ไดไปถายทอดใหกับบุคคลอื่น เนื่องจากเปนสิ่งที่ดี มี ประโยชน ปฏิบตั ไิ ดจริง สามารถนำ�ไปเปนแบบอยางใน การดำ�เนินชีวิต ดังนั้นผูที่มีสวนเกี่ยวของกับโครงการ ทั้ ง 3 กลุ  ม จึ ง เห็ น ว า สำ � นั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาควรสนับสนุนใหมีการดำ�เนินการโครงการ นี้ตอไป โดยมีผลการประเมินจำ�แนกตามความคิดเห็น ของผูที่มีสวนเกี่ยวของกับโครงการ 3 กลุม ดังนี้

1.1 ผลการประเมินผลสัมฤทธิใ์ นการดำ�เนิน งานโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553 ตามความคิดเห็นของผูบริหารสถาบัน อุดมศึกษา ผูบ ริหารสถาบันอุดมศึกษามีความคิดเห็นวาการ ดำ�เนินการของโครงการในภาพรวมมีความเหมาะสม อยูใ นระดับมาก มีความเหมาะสมของวิธกี ารประเมินผล โครงการและดานความเหมาะสมของคูมือการดำ�เนิน การสูงที่สุด นอกจากนี้ผูบริหารสถาบันการศึกษายัง เห็นวาสถาบันการศึกษาของตนมีความพรอมในการ จัดโครงการ มีการดำ�เนินการในดานตางๆ เพื่อเตรียม ความพรอมสำ�หรับการดำ�เนินการ และหากพิจารณา ในดานการบรรลุวัตถุประสงคของโครงการ พบวาบรรลุ วัตถุประสงคของโครงการ เพราะนิสติ นักศึกษาทีเ่ ขารวม โครงการไดรับความรูความเขาใจและประสบการณตรง ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สามารถวางตัวและ อยูรวมกับชุมชนไดเหมาะสม ดังนั้นผูบริหารสถาบัน อุ ด มศึ ก ษาจึ ง เห็ น ว า สำ � นั ก งานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาควรสนับสนุนใหมีการดำ�เนินการโครงการ นี้ตอไป แตทั้งนี้ผูบริหารสถาบันอุดมศึกษาไดระบุถึง ปญหาและอุปสรรคที่พบในโครงการที่สำ�คัญดังนี้ 1. การประชาสัมพันธโครงการยังไมทวั่ ถึง ควรมี การประชาสัมพันธโครงการใหมีการแพรหลาย 2. ระยะเวลาในการเตรี ย มการค อ นข า งน อ ย ควรมีการวางแผนใหเปนภาระงานประจำ�เพื่อที่สถาบัน จะไดมีระยะเวลาในการเตรียมการใหมากขึ้น และระยะ เวลาในการดำ�เนินการโครงการนอยเกินไป ควรมีการ เพิ่มระยะเวลาเพื่อใหนิสิตนักศึกษาไดทำ�ความเขาใจ แลกเปลี่ยนเรียนรูกับเพื่อนตางสถาบัน 3. ขาดการประสานงานระหวางผูบ ริหารสถาบัน อุดมศึกษา ทำ�ใหนักศึกษาขาดโอกาสในการเขารวม กิจกรรม เชน ระยะเวลาในการลงภาคสนามอยูในชวง ระยะเวลาการสอบ 4. การบริหารจัดการดานการขนสง เนื่องจาก ระยะทางระหว า งชุ ม ชนเป า หมายและบ า นพั ก ของ นิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการอยูหางไกล และทาง สถาบันจัดใหบริการรถรับสงเฉพาะไปและกลับเทานั้น ระหวางลงภาคสนามในชุมชนนักศึกษาไมมยี านพาหนะ

31


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

ทำ�ใหเกิดความยากลำ�บาก 5. จำ�นวนนิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการมาก เกินไป ควรมีการจัดลงภาคสนามมากกวา 1 ครั้ง เพื่อ ใหนิสิตนักศึกษาไดหมุนเวียนไปทำ�กิจกรรม 6. การประสานงานระหวางสถาบันกับชุมชน ควรมีหนังสือนำ�จากสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดม ศึกษาเพื่อใหการประสานงานเกิดความรวดเร็ว 7. งบประมาณคาใชจายในสวนของอาจารยที่ ปรึกษามีจำ�นวนไมเพียงพอ เนื่องจากตองดูแลนิสิต นักศึกษาที่เขารวมโครงการเปนจำ�นวนมาก 8. ความล า ช า ของคู  มื อ จากสำ � นั ก งานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา ทำ�ใหนิสิตนักศึกษาขาดการ บันทึกสาระสำ�คัญในชวงแรก โดยผูบริหารสถาบันไดใหขอเสนอแนะในการ ปรับปรุงแกไขการดำ�เนินโครงการในประเด็นตางๆ ดังนี้ 1. การบริหารงานโครงการ ไดแก ควรมีการ กำ�หนดระยะเวลาของโครงการ ไดแก โครงการ 7 วัน โครงการ 15 วัน และควรมีการสัมมนาอาจารยทปี่ รึกษา โครงการกอนการปฏิบัติจริง 2. บุคลากร ไดแก มีผูดูแลโครงการจำ�นวนนอย สืบเนื่องจากขาดคาตอบแทน 3. งบประมาณ ไดแก ควรมีการเพิ่มในสวนของ งบประมาณคาเบีย้ เลีย้ งของนิสติ นักศึกษา และควรมีการ เพิ่มงบประมาณในการเดินทางสำ�หรับสถาบันที่เลือก พื้นที่ที่หางไกล 4. ระยะเวลา ไดแก ควรมีการใหอิสระในการ เลือกระยะเวลาของโครงการได และระยะเวลาของ โครงการประมาณ 10 วัน 1.2 ผลการประเมิ น ผลสั ม ฤทธิ์ ใ นการ ดำ�เนินงานโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิต พอเพียง ป 2553 ตามความคิดเห็นของอาจารยที่ ปรึกษาโครงการ อาจารยที่ปรึกษาโครงการมีความคิดเห็นวาการ ดำ �เนิ น การโครงการในภาพรวมมีความเหมาะสมใน ระดับมาก โดยมีความเหมาะสมของชุมชนภาคสนาม ที่เขาคายเรียนรูในโครงการสูงที่สุด ในสวนของผลการ เรียนรูที่เกิดขึ้นกับนิสิตนักศึกษานั้นอาจารยที่ปรึกษา โครงการมีความคิดเห็นวาในภาพรวมอยูในระดับมาก

32

โดยนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษามี ก ารเรี ย นรู  ด  า นขนบธรรมเนี ย ม ประเพณีและวัฒนธรรมทองถิน่ ของชุมชนสูงทีส่ ดุ รองลง มาคือ การเรียนรูเกี่ยวกับวิธีการอยูรวมกันของชุมชน อยางมีความสุข และดานการเรียนรูว ถิ เี ศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชน หากพิจารณาในดานการบรรลุวัตถุประสงคของ โครงการ พบวาบรรลุวัตถุประสงคของโครงการ เพราะ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาที่ เ ข า ร ว มโครงการได รั บ ความรู  ค วาม เข า ใจและประสบการณ ต รงตามแนวทางเศรษฐกิ จ พอเพียง สามารถเรียนรูแ ละอยูร ว มกับชุมชนไดเหมาะสม เกิดความกระตือรือรน อยากรูอยากเห็น และเสียสละ (อยางมีความสุข) นอกจากนั้นยังสามารถนำ�มาปรับ ประยุกตใชในวิถชี วี ติ ประจำ�วันได และสามารถปฏิบตั ติ น เพื่อสวนรวมมากขึ้น ดังนั้นอาจารยที่ปรึกษาโครงการ จึงเห็นวาสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาควร สนับสนุนใหมีการดำ�เนินการโครงการนี้ตอไป แตทั้งนี้ อาจารยที่ปรึกษาไดระบุถึงปญหาและอุปสรรคที่พบใน โครงการ ดังนี้ 1. สาธารณู ป โภค ได แ ก การมี น้ำ � ดื่ ม น้ำ � ใชไมเพียงพอ ทีพ่ กั อาศัยและหองสุขาไมเพียงพอ ทีพ่ กั อาศัยไมสะดวก อาหารไมเพียงพอ 2. การติดตอประสานงาน เกี่ยวกับการเขาถึง บุคคลทองถิ่นเพื่อใหเกิดความรวมมือ 3. งบประมาณในการดำ�เนินการมีจำ�นวนนอย ไมเพียงพอ 4. การประชาสัมพันธโครงการยังไมทั่วถึง ควร มี ก ารประชาสั ม พั น ธ ใ ห ม ากกว า เดิ ม และควรมี ก าร ประชาสัมพันธโครงการกับชุมชนที่ลงภาคสนามเพื่อ ใหชาวบานเขาใจวัตถุประสงคของการลงภาคสนาม 5. สภาพบริบทของชุมชนภาคสนามมีความ แตกตางจากชุมชนเมืองอยางมาก ทำ�ใหตองใชระยะ เวลาในการเรียนรู ประกอบกับวัฒนธรรมที่แตกตางกัน เปนอุปสรรคในการดำ�เนินการ 6. ระยะเวลาในการดำ�เนินการนอยเกินไป ควร ปรับขยายเปน 1 เดือน และระยะเวลาในการรายงาน ผลนอยเกินไป นิสติ นักศึกษาจะตองมีการจัดทำ�รายงาน ในเวลาจำ�กัด อาจทำ�ใหขาดการวิเคราะหขอผิดพลาด จากรายงาน อาจสงผลเสียตอชุมชนได


​การประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2550 - 2553 ธีรศักดิ์ อุนอารมยเลิศ, นรินทร สังขรักษา, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, จุรีวรรณ จันพลา

7. มีความลาชาในการจัดสงคูมือจากสำ�นักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาไปยังผูที่เกี่ยวของ 8. สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาควร ใหความสำ�คัญกับการเยี่ยมคายเพื่อรับฟงปญหาและ อุปสรรค 9. ชวงเวลาในการจัดคายเรียนรู ควรอยูในชวง เวลาที่ไมรอนจนเกินไป 10. การจัดคายเรียนรูในชวงปดภาคการศึกษา ทำ�ใหนิสิตนักศึกษาสวนใหญไมไดรวมโครงการอยาง เต็มที่เพราะตองกลับบาน 11. จำ�นวนอาจารยที่ปรึกษานอยเกินไป ทำ�ให ดูแลนิสิตนักศึกษาไมทั่วถึง 12. ปญหาดานความปลอดภัยของชุมชนที่ลง ภาคสนาม มีการกอกวนของวัยรุน มีโจรขโมยทรัพยสิน แตก็ไดรับความรวมมือกับผูนำ�ชุมชนและตำ�รวจทองที่ ในการจัดการปญหา 13. ชวงกอนการดำ�เนินการโครงการ ควรมีการ ปฐมนิเทศเพื่อสรางความเขาใจของนักศึกษาเกี่ยวกับ วัตถุประสงคของโครงการ 14. จำ�นวนชุมชนตัวอยางมีใหเลือกไมหลาก หลาย (จำ�นวนนอย) ทำ�ใหเกิดความซ้ำ�ของชุมชนที่ลง ภาคสนาม เปนผลทำ�ใหชุมชนเบื่อหนาย ดังนั้น อาจารยที่ปรึกษาโครงการไดใหขอเสนอ แนะในการปรับปรุงแกไขการดำ�เนินโครงการในประเด็น ตางๆ ดังนี้ 1. การบริ ห ารงานโครงการ ได แ ก ควรให นักศึกษาบริหารจัดการโครงการดวยตนเอง การกำ�หนด ประธานค า ยฯ ควรให นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาเป น ผู  กำ � หนด เอง สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาควรมีการ ประสานกั บ หน ว ยงานในพื้ น ที่ ใ นการตรวจเยี่ ย มให กำ�ลังใจ ควรมีการเผยแพรรายงานผลของโครงการโดย ทั่วกัน ควรเปดโอกาสใหสถาบันการศึกษาตางๆ ได มี โ อกาสพบปะพู ด คุ ย แลกเปลี่ ย นแนวทางในการจั ด กิจกรรมรวมกัน 2. บุคลากร ไดแก เพิ่มจำ�นวนอาจารยที่ปรึกษา โครงการให ค วรเพิ่ ม บทบาทของอาจารย ที่ ป รึ ก ษา ใหมากกวาทีเ่ ปนอยู เพิม่ จำ�นวนนิสติ นักศึกษาทีเ่ ขารวม โครงการใหมากขึ้น

3. งบประมาณ ไดแก ควรมีการเพิ่มในสวนของ งบประมาณเกี่ยวกับคาอาหาร โดยกำ�หนดเปนมื้อ/คน ควรมีการเพิ่มงบประมาณในสวนของคาวัสดุสำ�นักงาน เชน กระดาษ หมึกพิมพ 4. ระยะเวลา ไดแก ควรกำ�หนดระยะเวลาของ โครงการประมาณ 10 วัน 5. อื่นๆ ไดแก ควรมีการจัดที่พักอาศัยโดยใช ชาวมุ ส ลิ ม พั ก อาศั ย กั บ ชาวมุ ส ลิ ม ด ว ยกั น เพื่ อ ความ สะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจ 1.3 ผลการประเมิ น ผลสั ม ฤทธิ์ ใ นการ ดำ�เนินงานโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิต​ พอเพี ย ง ป 2553 ตามความคิ ด เห็ น ของนิ สิ ต นักศึกษาที่เขารวมโครงการ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษามี ค วามคิ ด เห็ น ต อ การดำ � เนิ น โครงการในภาพรวมอยู  ใ นระดั บ มาก โดยเห็ น ว า มี ความเหมาะสมของการเรียนรูในระหวางโครงการสูง ที่สุด รองลงมาคือ ดานอาจารยที่ปรึกษาโครงการ ดาน การรายงานผลการศึกษาหลังภาคสนาม และดานการ ดำ�เนินการในโครงการ ตามลำ�ดับ เมื่อพิจารณาในดาน การเรียนรูในระหวางโครงการนั้นพบวานิสิตนักศึกษามี การพัฒนาตนเองเกี่ยวกับความเปนผูนำ�ในการพัฒนา สูงที่สุด รองลงมาคือการแลกเปลี่ยนเรียนรูกับบุคคลใน ทองถิ่น และการไดเรียนรูวิถีชีวิตในชุมชนภาคสนาม ตามลำ�ดับ ในสวนของดานอาจารยที่ปรึกษาโครงการ พบว า นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษามี ค วามคิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ ความ เหมาะสมของบทบาทของอาจารยที่ปรึกษาโครงการ ภาคสนามสูงที่สุด รองลงคือ ความเหมาะสมของวิธีการ ติดตามนิเทศของอาจารยที่ปรึกษาโครงการ และความ เหมาะสมของคำ�แนะนำ�/คำ�ปรึกษาของอาจารยทปี่ รึกษา โครงการภาคสนาม ตามลำ�ดับ เมื่อพิจารณาถึงดาน การรายงานผลการศึกษาหลังภาคสนาม พบวานิสิต นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของ ระยะเวลาในการเขี ย นสรุ ป รายงานสู ง ที่ สุ ด รองลง คื อ ความเหมาะสมของรู ป แบบกิ จ กรรมค า ยศึ ก ษา เรียนรู และการกำ�หนดใหมีการประชาสัมพันธเผยแพร ผลการดำ � เนิ น โครงการสู  ส ถาบั น อุ ด มศึ ก ษาอื่ น ที่ ไมไดรวมโครงการ ตามลำ�ดับ และเมื่อพิจารณาถึงดาน การดำ�เนินการในโครงการพบวานิสิตนักศึกษามีความ

33


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

คิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของการปฐมนิเทศใน โครงการสูงทีส่ ดุ รองลงคือ ความเหมาะสมของชุมชนภาค สนามที่เขาคายเรียนรูในโครงการ และความเหมาะสม ของระยะเวลาในการดำ�เนินโครงการภาคสนาม ตาม ลำ�ดับ ทั้งนี้นิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการ มีความ คิดเห็นเกี่ยวกับการนำ�องคความรูและประสบการณไป ประยุ ก ต ใ ช ใ นชี วิ ต ประจำ � วั น พบว า นั ก ศึ ก ษาส ว น ใหญระบุวาสามารถนำ�องคความรูและประสบการณไป ประยุกตใชในชีวิตประจำ�วันในดานตางๆ เชน การ วางแผนรูปแบบการใชชีวิต นำ�หลักเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช การยอมรับในความคิดเห็นของผูอื่น รูถึง ความเทาเทียมกันและเปนธรรม ซือ่ สัตย กลาแสดงออก กระบวนการสรางความเขาใจซึ่งกันและกัน เปนตน ในสวนของประโยชนของโครงการคายเรียนรู คุณธรรมนำ�ชีวิตพอเพียงไปใชประโยชนตอชุมชนอื่น นั้น พบวานิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการคายเรียนรู คุณธรรมนำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553 จำ�นวนรอยละ 99.07 มีความคิดเห็นวาโครงการนี้มีประโยชนตอชุมชนอื่น ในสังคมไทย และเมื่อพิจารณาถึงการนำ�ความรูและ ประสบการณทไี่ ดไปถายทอดใหบคุ คลอืน่ นัน้ พบวานิสติ นักศึกษาที่เขารวมโครงการคายเรียนรูคุณธรรมนำ�ชีวิต พอเพียง ป 2553จำ�นวนรอยละ 98.84 มีความคิดเห็น วาจะนำ�ความรูและประสบการณที่ไดไปถายทอดใหกับ บุคคลอื่นเนื่องจากเปนสิ่งที่ดี มีประโยชน ปฏิบัติไดจริง สามารถนำ�ไปเปนแบบอยางในการดำ�เนินชีวิต ตอนที่ 2 ผลการประเมินอภิมานรายงาน การดำ�เนินโครงการคายเรียนรูคุณธรรมนำ �ชีวิต​ พอเพียงที่พิมพเผยแพรในระหวางป พ.ศ. 2550 ถึง 2552 ผลการประเมิ น อภิ ม านรายงานการดำ � เนิ น โครงการคายเรียนรูคุณธรรมนำ�ชีวิตพอเพียงที่พิมพ เผยแพรในระหวางป พ.ศ. 2550 ถึง 2552 ผูวิจัย ดำ�เนินการประเมินคุณภาพงานประเมินโครงการคาย เรี ย นรู  คุ ณ ธรรมนำ � ชี วิ ต พอเพี ย งซึ่ ง ประกอบด ว ย 4 มาตรฐาน 30 เกณฑ ไดแก มาตรฐานดานการใชประโยชน จำ�นวน 7 เกณฑ มาตรฐานดานความเปนไปได จำ�นวน 3 เกณฑ มาตรฐานดานความเหมาะสม จำ�นวน 8 เกณฑ

34

และมาตรฐานดานความถูกตอง จำ�นวน 12 เกณฑ พบวาในดานรวมทุกมาตรฐานงานประเมินโครงการคาย เรียนรูคุณธรรมนำ�ชีวิตพอเพียง มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.63 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ .14 อยูในระดับดีมาก เมื่อพิจารณามาตรฐานดานการใชประโยชนพบวา มี คาเฉลีย่ เทากับ 2.71 สวนเบีย่ งเบนมาตรฐานเทากับ .20 มีคุณภาพอยูในระดับดีมาก มาตรฐานดานความเปน ไปไดมีคาเฉลี่ยเทากับ 2.17 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เทากับ .24 มีคุณภาพอยูในระดับดี มาตรฐานดาน ความเหมาะสม มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.88 สวนเบี่ยงเบน มาตรฐานเทากับ .35 มีคุณภาพอยูในระดับดีมาก และ มาตรฐานดานความถูกตอง มีคา เฉลีย่ เทากับ 2.54 สวน เบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ .06 มีคุณภาพอยูในระดับ ดีมาก ตอนที่ 3 ผลการสั ง เคราะห ชุ ม ชนขั้ น พื้ น ฐานที่นักศึกษาคนพบจากการเขาไปศึกษาชุมชน ตัวอยางและการนำ�ไปประยุกตใช 3.1 องคประกอบทีน่ �ำ ไปสูค วามเขมแข็งและ การพัฒนาอยางยั่งยืน ประกอบดวย 1. การเมือง/การปกครอง โดยชุมชนสวนใหญจะ อยูภายใตการปกครองในรูปแบบขององคการบริหาร สวนตำ�บล (อบต.) และมีชุมชนบางสวนที่อยูภายใตการ ปกครองในรูปแบบของเทศบาล สวนการบริหารจัดการ ภายในชุมชนหรือภายในหมูบ า นมีการปกครองในรูปของ คณะกรรมการหมูบาน 2. วั ฒ นธรรม/ประเพณี / ความเชื่ อ ที่ ชุ ม ชน สวนใหญยดึ ถือปฏิบตั ติ ดิ ตอกันมาจากอดีตจนถึงปจจุบนั โดยสวนใหญในการจัดกิจกรรมประเพณีหรือวันสำ�คัญ ตางๆ คนในชุมชนจะมีสวนรวมในการกำ�หนดวันหรือ ขอตกลงรวมกัน เพือ่ ความเปนหนึง่ เดียวกัน และสงเสริม ใหรูจักวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนแลวนำ�มาปฏิบัติ และรักษาใหคงไวตอไป 3. ภูมิปญญาทองถิ่น โดยชุมชนแตละชุมชนมี การสรางองคความรูเพื่อการพัฒนาวิถีการดำ�เนินชีวิต อยางตอเนื่อง จนเกิดเปนภูมิปญญาดานตางๆ สั่งสม สื บ ทอดต อ กั น มา เช น ภู มิ ป  ญ ญาด า นการแพทย ภู มิ ป  ญ ญาด า นศิ ล ปะและการแสดง และภู มิ ป  ญ ญา ดานหัตถกรรม เปนตน


​การประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2550 - 2553 ธีรศักดิ์ อุนอารมยเลิศ, นรินทร สังขรักษา, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, จุรีวรรณ จันพลา

4. แบบแผนการใชชวี ติ โดยแนวทางการแสดงถึง แบบแผนการใชชวี ติ นัน้ อาจมาจากบุคคลหรือคณะบุคคล ทำ�เปนตัวแบบ แลวตอมาคนสวนใหญก็ปฏิบัติสืบตอๆ กั น มา แบบแผนการใชชีวิตยอมมีการเปลี่ ย นแปลง ไปตามกาลเวลาและเงื่อนไขตางๆ ดังนั้นการรักษาไว ซึ่ ง แบบแผนการใช ชี วิ ต เดิ ม จึ ง ต อ งมี ก ารปรั บ ปรุ ง เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาใหเหมาะสมมีประสิทธิภาพ กาวทันตามยุคสมัย 5. ทุนทรัพยากร โดยทรัพยากรธรรมชาติที่มี อยูในชุมชนทุกแหงที่สำ�คัญ คือ ทรัพยากรดิน และ ทรัพยากรน้ำ� ซึ่งแตละแหงจะมีลักษณะของคุณภาพดิน และน้ำ�ที่แตกตางกันออกไป นอกจากทรัพยากรดินและ น้ำ�แลว ยังมีทรัพยากรปาไม ซึ่งจะแตกตางกันออกไป ตามลักษณะภูมิประเทศ และภูมิอากาศ โดยทรัพยากร ปาไมเปนสวนหนึง่ ของพืน้ ทีข่ องชุมชนและนับไดวา เปน แหลงสรางรายไดใหแกครัวเรือนภายในชุมชน 6. ทุนทรัพยากรบุคคล โดยในแตละชุมชนจะมี ทรัพยากรบุคคลทั้ง 1) ระดับปจเจกบุคคลอยางปราชญ ชาวบานที่สั่งสมความรูและภูมิปญญาดานตางๆ และ 2) ระดับกลุม คน ซึง่ ชุมชนสวนใหญมกี ารรวมตัวกันของ คนในชุมชนจัดตั้งเปนกลุมตางๆ 3.2 แนวทางการนำ�หลักเศรษฐกิจพอเพียง มาใชในชีวิตประจำ�วัน ประกอบดวย 1. รูจักวางแผนการใชชีวิต เชน วางแผนการ ใชเงินใหเหมาะสมกับรายรับ-จาย มีการทำ�บัญชีรายรับจาย แบงสรรเงินในการออมเงินไวใชในยามจำ �เปน พิจารณาการซื้อของตามความจำ�เปนโดยจดรายการ การซือ้ ของลวงหนา และมีเปาหมายในชีวติ เกีย่ วกับการ ใชจายอยางเหมาะสม 2. วางแผนในการใชสาธารณูปโภค เชน การ รี ด ผ า แต ล ะครั้ ง มี จำ � นวนผ า มากพอควร ถอดปลั๊ ก เครือ่ งใชไฟฟาทีไ่ มไดใชทกุ ครัง้ (หลังการใช) ไมควรทิง้ น้�ำ ที่ ใ ช ห ลั ง จากการซั ก ผ า ควรนำ � ไปรดน้ำ � ต น ไม แ ทน เปนตน 3. ปฏิบตั ติ ามหนาทีข่ องตนไดอยางถูกตองดาน การเรียนหนังสือและหนาทีก่ ารงาน รูจ กั และปฏิบตั หิ นาที่ ใหดีที่สุด

4. มีหลักการนำ�คุณธรรมและจริยธรรมมาใชใน กระบวนการคิด ไดแก ความประหยัด ความซื่อสัตย ความอดทน และความขยัน พอใจในสิ่งที่ตนมีและเห็น คุณคาของสิ่งๆ นั้น 5. ดำ�เนินชีวิตดวยความไมประมาท มีสติและ ความรอบคอบ และไมทำ�อะไรเกินตัว ตอนที่ 4 ขอเสนอแนะในการดำ�เนินงาน​ โครงการตอหนวยงานที่เกี่ยวของ 4.1 ข อ เสนอแนะสำ � หรั บ สำ � นั ก งานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา 1. ควรมีการประชาสัมพันธชี้แจงใหสถาบันการ ศึกษาตางๆ ทราบรายละเอียดของโครงการลวงหนา และมีการจัดทำ�ปฏิทินการปฏิบัติงานโครงการ ในภาพ รวมทั้งหมดใหสถาบันการศึกษาทุกแหงทราบ 2. ควรกำ�หนดชวงเวลาในการดำ�เนินโครงการที่ ยืดหยุนตามลักษณะบริบทของแตละมหาวิทยาลัย เพื่อ ความสะดวกและความมีประสิทธิภาพของการบริหาร โครงการมากยิ่งขึ้น 3. ควรมีการประสานงานกับสถาบันการศึกษา และชุ ม ชนภาคสนามก อ นเริ่ ม ดำ � เนิ น โครงการเพื่ อ สถาบันการศึกษาจะไดมรี ะยะเวลาในการเตรียมตัวมาก ยิ่งขึ้น 4. ควรมี ก ารประสานงานกั บ พื้ น ที่ เ ป า หมาย อย า งเป น ทางการในการเตรี ย มความพร อ มและสิ่ ง อำ�นวยความสะดวกสำ�หรับการลงภาคสนามของนิสิต นักศึกษาที่เขารวมโครงการ 5. ควรมีการจัดสัมมนาอาจารยที่ปรึกษาเพื่อ สรางความเขาใจรวมกันเกี่ยวกับแนวทางการดำ�เนิน โครงการ เพื่อจะไดมีทิศทางเดียวกัน และนักศึกษาก็จะ ไดรับประโยชนจากโครงการอยางเต็มที่ 6. ควรจัดหาแนวทางจัดสรรงบประมาณและ เบี้ยเลี้ยงใหมีความเหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ 7. ในระหวางดำ�เนินโครงการหรือสิน้ สุดโครงการ ควรจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรูเพื่อใหไดรับความรู และประสบการณ จ ากชุ ม ชนภาคสนามอื่ น ที่ มี ค วาม หลากหลาย

35


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

4.2 ขอเสนอแนะสำ�หรับสถาบันการศึกษาที่ เขารวมโครงการ 1. ควรมี ก ารจั ด ปฐมนิ เ ทศเพื่ อ สร า งความรู  ความเขาใจ แกอาจารยที่ปรึกษา ผูนำ�ชุมชน และนิสิต นักศึกษาที่เขารวมโครงการ 2. ควรมีการประชาสัมพันธเพื่อรับสมัครและ คั ด เลื อ กนั ก ศึ ก ษาที่ มี ค วามเหมาะสมในการเข า ร ว ม โครงการ เพื่อจะไดเพิ่มจำ�นวนนิสิตนักศึกษาที่เขารวม โครงการมากขึ้น 3. ควรสร า งความร ว มมื อ กั บ หน ว ยงานที่ เกี่ยวของในพื้นที่ในการกำ�กับดูแลนิสิตนักศึกษาเพื่อจะ ไดเกิดการเรียนรู ตลอดจนการอำ�นวยความสะดวก และ การรักษาความปลอดภัย 4. ควรมี ก ารประสานงานกั บ สำ � นั ก งานคณะ กรรมการอุดมศึกษา เพื่อกำ�หนดเวลาจัดโครงการใน ชวงเวลาที่เหมาะสมกับบริบทของแตละสถาบัน 5. ควรจั ด สรรงบประมาณเพื่ อ จั ด อาจารย ที่ ปรึกษาใหเพียงพอกับจำ�นวนนิสิตนักศึกษาที่เขารวม โครงการ และเพิ่มบทบาทการนิเทศ ติดตามการลงภาค สนามของนิสิตนักศึกษาใหมากยิ่งขึ้น 4.3 ขอเสนอแนะสำ�หรับชุมชนที่เขารวม โครงการ 1. ควรจัดหาที่พักกับชาวบานที่มีความพรอม และความเหมาะสม ตลอดจนการประสานงานกั บ หนวยงานราชการในทองถิ่นเพื่ออำ�นวยความสะดวก และการรักษาความปลอดภัย 2. ควรมีการจัดประชุมหรือจัดเวทีจัดประชาคม ในชุ ม ชนที่ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาลงฝ ก ภาคสนามเพื่ อ ที่ จ ะ ไดสรางความรูความเขาใจกับคนในพื้นที่ และเกิดความ รวมมือระหวางชุมชนพื้นที่กับสถาบันการศึกษา ในการ จั ด กิ จ กรรมให นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาที่ เ ข า ร ว มโครงการเกิ ด กระบวนการเรียนรู ทำ�ใหโครงการบรรลุประสิทธิผล มากยิ่งขึ้น อภิปรายผลการวิจัย 1. การประเมิ น ผลสั ม ฤทธิ์ ใ นการดำ � เนิ น งาน โครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2553 ตามความคิดเห็นของผูที่มีสวนเกี่ยวของกับโครงการ 3

36

กลุม คือ ผูบริหารสถาบันอุดมศึกษา อาจารยที่ปรึกษา โครงการ และนิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการ ผล การประเมินพบวาการดำ �เนินโครงการในภาพรวมมี ความเหมาะสมในระดับมาก ทั้งในดานของขั้นตอนการ ดำ�เนินการ รายละเอียดของคูมือการดำ�เนินการ การ กำ�หนดชุมชนภาคสนาม อาจารยทปี่ รึกษาโครงการ ฯลฯ ทั้งนี้เนื่องจากสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ไดมีการกำ�หนดแนวทางการดำ�เนินโครงการไวในคูมือ การปฏิบัติงานโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิต พอเพียง ป 2553 อยางชัดเจน ทำ�ใหผูที่เกี่ยวของกับ โครงการมีแนวทางในการดำ�เนินโครงการอยางชัดเจน ทั้งนี้จึงเปนผลใหโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค ที่กำ�หนดไว 2. การประเมิ น อภิ ม านรายงานการดำ � เนิ น โครงการคายเรียนรูคุณธรรมนำ�ชีวิตพอเพียงที่พิมพ เผยแพรในระหวางป พ.ศ. 2550 ถึง 2552 ผลการ ประเมิ น พบว า ในด า นรวมทุ ก มาตรฐานงานประเมิ น โครงการคายเรียนรูค ณ ุ ธรรมนำ�ชีวติ พอเพียง มีคา เฉลีย่ เท า กั บ 2.63 ส ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐานเท า กั บ .14 อยูในระดับดีมาก เมื่อพิจารณามาตรฐานดานการใช ประโยชนพบวา มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.71 สวนเบี่ยงเบน มาตรฐานเท า กั บ .20 มี คุ ณ ภาพอยู  ใ นระดั บ ดี ม าก มาตรฐานดานความเปนไปไดมีคาเฉลี่ยเทากับ 2.17 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ .24 มีคุณภาพอยูใน ระดับดี มาตรฐานดานความเหมาะสม มีคาเฉลี่ยเทากับ 2.88 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ .35 มีคุณภาพอยู ในระดับดีมาก และมาตรฐานดานความถูกตอง มีคา เฉลีย่ เทากับ 2.54 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานเทากับ .06 มี คุณภาพอยูในระดับดีมาก อยางไรก็ตามจากผลการ ประเมิ น อภิ ม านมี ข  อ เสนอแนะในการปรั บ ปรุง แก ไ ข เพื่ อ ให ผ ลการประเมิ น โครงการสามารถนำ � ไปใช ประโยชนไดตามวัตถุประสงคที่กำ�หนดไวดังนี้ (1.) จากการจัดทำ�รายงานการประเมินที่มีการระบุถึงผูมี สวนไดสวนเสีย (Stakeholder) กับโครงการโดยตรง ไดแก ผูบ ริหารมหาวิทยาลัย อาจารยทปี่ รึกษา และนิสติ นักศึกษาทีเ่ ขารวมโครงการนัน้ ทัง้ นีก้ ย็ งั ขาดการระบุถงึ ผูมีสวนไดเสียที่สำ�คัญบางกลุม เชน ชาวบานที่อยูใน ชุมชน ที่มีความสำ�คัญตอการบรรลุวัตถุประสงคของ


​การประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2550 - 2553 ธีรศักดิ์ อุนอารมยเลิศ, นรินทร สังขรักษา, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, จุรีวรรณ จันพลา

โครงการอยางมาก (2.) การไมมีประเด็นในการรายงาน เกี่ยวกับงบประมาณ แตอยางไรก็ตามในการประเมิน โครงการนั้น สถาบันที่ดำ�เนินการประเมินโครงการ ก็ไดดำ�เนินการจัดทำ�รายงานงบประมาณการเงินของ โครงการตอสำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาใน ฐานะผูว า จางอยูแ ลว (3.) กระบวนการประเมินโครงการ ทีด่ �ำ เนินการเสร็จสิน้ นัน้ ไมไดมกี ารประเมินอภิมาน เพือ่ ตรวจสอบรายงานการประเมินซ้ำ�อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งขอ เสนอแนะดังกลาวนั้นสถาบันที่ดำ�เนินการประเมินผล โครงการจะต อ งนำ � ไปพิ จ ารณาเพื่ อ ให ก ารประเมิ น โครงการสามารถนำ�ไปใชประโยชนไดตามวัตถุประสงค ที่กำ�หนดไว 3. ผลการสังเคราะหชมุ ชนขัน้ พืน้ ฐานทีน่ กั ศึกษา เขาไปศึกษา พบวามีการนำ�หลักเศรษฐกิจพอเพียงไป ประยุกตใช ดังนี้ (1.) รูจ กั วางแผนการใชชวี ติ (2.) ปฏิบตั ิ ตามหนาทีข่ องตนไดอยางถูกตอง (3.) นำ�หลักคุณธรรม และจริยธรรมมาใชในกระบวนการคิด (4.) ดำ�เนินชีวิต ดวยความไมประมาท มีสติและความรอบคอบ และไม ทำ�อะไรเกินตัว (5.) ไมฟุมเฟอย (6.) การจัดสรรเวลา (7.) การใหกำ�ลังใจตนเองยามมีปญหาเพื่อใหมีพลังใน การทำ�ประโยชนตอสังคม (8.) ความสามัคคีในหมูคณะ (9.) การวางตัวในสังคมและเคารพผูอ าวุโส (10.) การให ความสำ�คัญกับการศึกษา (11.) มีความคิดสรางสรรค (12.) นำ�ทรัพยากรใกลตัวมาใชใหเกิดประโยชน (13.) รวมกลุมเพื่อการปองกันและแกปญหาเพื่อการพัฒนา ความมั่นคง (14.) อนุรักษสืบสาน สืบทอดประเพณี เผยแพร เพื่อความคงอยูของประเพณี และ (15.) สราง ความสัมพันธที่ดีในสังคม โดยการมีน้ำ�ใจ เชื่อใจและ ชวยเหลือ ซึง่ สอดคลองกับงานวิจยั ของ สุนนั ท ดีพลงาม (2549) ที่ทำ�การวิจัยเรื่อง “การประเมินโครงการเกษตร แบบเศรษฐกิ จ พอเพี ย งตามแนวพระราชดำ � ริ ท ฤษฎี ใหมในโรงเรียนแกนนำ�สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่การ ศึกษารอยเอ็ด เขต 2” ซึ่งพบวานักเรียนมีความสนใจ ในการเขารวมกิจกรรมมีความสุข และความกระตือรือรน ในการทำ�งาน ครูผูรับผิดชอบโครงการมีความตั้งใจและ พยายามผลักดันการดำ�เนินงานใหบรรลุตามเปาหมาย โรงเรียน มีการบูรณาการวิชาการตางๆ กับวิชาเกษตร ซึง่ จากการประเมินของผูบ ริหารโรงเรียน ครูผรู บั ผิดชอบ

โครงการมี ค วามพึ ง พอใจมี ค วามพอใจในระดั บ มาก โดยสรุ ป แล ว โครงการนี้ ดำ � เนิ น การบรรลุ ต าม วั ต ถุ ป ระสงค ข องโครงการอย า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ จึงสมควรดำ�เนินการอยางตอเนื่องตอไป 4. ผูที่มีสวนเกี่ยวของกับโครงการเห็นวาควรมี การปรับปรุงการบริหารงานโครงการในประเด็นตางๆ เชน การวางแผนโครงการ การประชาสัมพันธโครงการ การประสานกับหนวยงานในพื้นที่ในการตรวจเยี่ยม ใหกำ�ลังใจ และการเผยแพรรายงานผลของโครงการ โดยทัว่ กันนัน้ นอกจากนีผ้ ทู มี่ สี ว นเกีย่ วของกับโครงการ เห็นวาควรเพิ่มระยะเวลา บุคลากร และงบประมาณให เหมาะสมกั บ สภาพบริ บ ทของชุ ม ชนภาคสนาม ซึ่ ง สอดคลองกับ สมศักดิ์ ลาดี (2543) ทีไ่ ดทำ�การวิจยั เรือ่ ง การศึกษาการดำ�เนินงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียงใน โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำ�นักงานการประถมศึกษา จังหวัดอุดรธานี ผลการวิจัยพบวาโรงเรียนตองการใหมี การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู ครูมีความเขาใจ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การไดรับงบประมาณสนับสนุน อย า งพอเพี ย ง และผู  ป กครองเห็ น ความสำ � คั ญ และ สนับสนุนใหนักเรียนเขารวมกิจกรรม และสอดคลอง กับ ทวีศักดิ์ เรือนมณี (2551) ที่ไดทำ�การวิจัยเรื่อง “การประเมินผลโครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ตำ�บล อมกอย อำ�เภออมกอย จังหวัดเชียงใหม” พบวาปญหา อุปสรรคในการดำ�เนินงานตามโครงการ ไดแก การ จัดสรรงบประมาณมีความลาชา งบประมาณมีจำ�กัด เจาหนาที่ปฏิบัติงานโครงการมีจำ�นวนนอยไมเพียงพอ ตอการภาระงาน การศึกษาครั้งนี้มีขอเสนอแนะในการ ปรับปรุงกระบวนการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร เครือ่ ง มือเครื่องใชในการปฏิบัติงานอยางเพียงพอ ควรให ความรูความเขาใจแกประชาชนที่เขารวมโครงการให เกิดความตระหนักตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขอเสนอแนะในการนำ�ผลการวิจัยไปใช 1. ข อ เสนอแนะสำ � หรั บ สำ � นั ก งานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา 1.1 จากผลการวิจัยพบวา การประชาสัมพันธ โครงการยั ง ไม ทั่ ว ถึ ง และค อ นข า งกระชั้ น ชิ ด ทำ � ให สถาบันการศึกษามีระยะเวลาในการวางแผนโครงการ

37


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

นอย จึงกอใหเกิดปญหาอุปสรรคในขณะดำ�เนินงาน ดังนั้น สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาควรมี การประชาสั ม พั น ธ ชี้ แ จงให ส ถาบั น การศึ ก ษาที่ เ ข า ร ว มโครงการทราบล ว งหน า เป น ระยะเวลาที่ น าน พอสมควร และมี ก ารจั ด ทำ � ปฏิ ทิ น การปฏิ บั ติ ง าน โครงการในภาพรวมทั้ ง หมดให ส ถาบั น การศึ ก ษา ทุกแหงทราบ 1.2 จากผลการวิจยั พบวาระยะเวลาการดำ�เนิน โครงการมีการเตรียมการคอนขางนอย และระยะเวลาใน การลงภาคสนามไมเหมาะสม บางแหงมีความคิดเห็น วานอยเกินไป จึงทำ�ใหนักศึกษาไมไดรับประโยชนเทา ทีค่ วร แตบางแหงก็มองวามากเกินไปโดยเฉพาะวิทยาลัย ชุมชน ซึ่งมีนักศึกษาเปนผูที่ท�ำ งานแลวจึงไมสะดวกใน การลงภาคสนามเปนระยะเวลายาวนาน และบางแหง มีระบบการจัดการเรียนการสอนที่ไมเหมือนกัน ทาง สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงควรกำ�หนด ชวงเวลา และระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อใหนักศึกษา ไดรับประโยชนจากโครงการมากขึ้น โดยอาจกำ�หนด ทางเลือกใหมีความสอดคลองกับสภาพบริบทของแตละ สถาบันการศึกษา 1.3 จากผลการวิจัยพบวาสถาบันการศึกษา มี เ วลาในการจั ด เตรี ย มโครงการน อ ย จึ ง ทำ � ให ก าร ประสานงานกั บ นั ก ศึ ก ษาและชุ ม ชนภาคสนามขาด ความคลองตัว และเกิดปญหาในการจัดสงนักศึกษา ในการลงภาคสนาม เพราะฉะนั้นทางสำ�นักงานคณะ กรรมการการอุ ด มศึ ก ษาควรมี ก ารประสานงานกั บ สถาบันการศึกษาและชุมชนภาคสนามกอนเริ่มดำ�เนิน โครงการนานพอสมควรเพื่อสถาบันการศึกษาจะไดมี ระยะเวลาในการเตรียมตัวมากยิ่งขึ้น 1.4 จากผลการวิ จั ย พบว า นั ก ศึ ก ษาที่ เ ข า โครงการจะพบป ญ หาการเดิ น ทาง เนื่ อ งจากไม มี ยานพาหนะเมื่ออยูในภาคสนาม จึงเกิดความลำ�บาก สำ�หรับนักศึกษาทีเ่ ขารวมโครงการ เพราะฉะนัน้ สถาบัน การศึกษามีการประสานงานกับพื้นที่เปาหมายในการ เตรียมความพรอมและสิ่งอำ�นวยความสะดวกสำ�หรับ การลงภาคสนามของนักศึกษาที่เขารวมโครงการ และ ทัง้ นีค้ วรมีการประสานงานจากสำ�นักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษากับพืน้ ทีเ่ ปาหมายในรูปของการมีหนังสือ

38

หรือการติดตอสื่อสารกับผูนำ�ชุมชนอยางเปนทางการ 1.5 จากผลการวิจัยพบวาเกิดความลาชาในการ สงคูมือการปฏิบัติงานในภาคสนามกับสถาบันตนสังกัด จึงทำ�ใหการดำ�เนินการไมมีแนวทางที่ชัดเจน เพราะ นั้นอาจจะตองมีการจัดสัมมนาอาจารยที่ปรึกษาเพื่อ สรางความเขาใจรวมกันเกี่ยวกับแนวทางการดำ�เนิน โครงการ เพื่อจะไดมีทิศทางเดียวกัน และนักศึกษาก็จะ ไดรับประโยชนจากโครงการอยางเต็มที่ 1.6 จากผลการวิ จั ย พบว า งบประมาณไม สอดคลองกับการดำ�เนินโครงการบางพื้นที่เพราะบาง พื้นที่ที่อยูไกล จะตองมีคาใชจายในการดำ�เนินการสูง เพราะฉะนั้น ทางสำ�นักคณะกรรมการการอุดมศึกษา ควรจัดหาแนวทางจัดสรรงบประมาณและเบี้ยเลี้ยงให มีความเหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ตอไป 1.7 เมื่ อ ระหว า งดำ � เนิ น โครงการหรื อ สิ้ น สุ ด โครงการ สำ�นักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ควรจัด เวทีใหมีการแลกเปลี่ยนเรียนรูเพื่อไดรับความรูและ ประสบการณจากสถาบัน หรือชุมชนพื้นที่ที่มีความ หลากหลาย และยังเปนการประชาสัมพันธโครงการไป ยังบุคคลอื่นๆ อีกดวย 2. ขอเสนอแนะสำ�หรับสถาบันการศึกษาที่ เขารวมโครงการ 2.1 จากผลการวิ จั ย พบว า นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาที่ เขารวมโครงการยังขาดความรูความเขาใจเกี่ยวกับ เปาหมาย วัตถุประสงค ตลอดจนแนวทางการฝกปฏิบตั ิ ในภาคสนาม เพราะฉะนั้นสถาบันการศึกษาควรมีการ จัดปฐมนิเทศเพื่อสรางความรู ความเขาใจ แกอาจารยที่ ปรึกษา ผูน �ำ ชุมชน และนิสติ นักศึกษาทีเ่ ขารวมโครงการ 2.2 จากผลการวิ จั ย พบว า นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษายั ง ขาดการรับรูขอมูลขาวสารเกี่ยวกับโครงการ ทำ�ใหนิสิต นักศึกษาที่เขารวมโครงการมีจ�ำ นวนนอย เพราะนั้นจึง ควรมีการประชาสัมพันธเพือ่ สมัครและคัดเลือกนักศึกษา ทีม่ คี วามเหมาะสมในการเขารวมโครงการ เพือ่ จะไดเพิม่ จำ�นวนนิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการมากขึ้น 2.3 จากผลการวิจัยพบวาสถาบันการศึกษา ยังขาดการประสานงานกับหนวยงานที่เกี่ยวของ ดังนั้น สถาบันการศึกษาควรจะสรางความรวมมือในการกำ�กับ ดู แ ลนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาที่ อ ยู  ใ นระหว า งภาคสนามเพื่ อ จะ


​การประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2550 - 2553 ธีรศักดิ์ อุนอารมยเลิศ, นรินทร สังขรักษา, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, จุรีวรรณ จันพลา

ได เ กิ ด การเรี ย นรู  และบรรลุ วั ต ถุ ป ระสงค โ ครงการ ตลอดจนการอำ�นวยความสะดวก และการรักษาความ ปลอดภัยใหกับนิสิตนักศึกษาที่เขารวมโครงการ 2.4 จากผลการวิ จั ย พบว า ช ว งเวลาการจั ด โครงการ หรือการลงภาคสนามยังขาดความเหมาะสม เพราะบางครั้งสงผลกระทบตอการเรียน เนื่องจากตอง ขาดเรียน หรือชวงเวลาสอบ หรือจัดในชวงปดเทอม ทำ � ให นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาขาดความสนใจในการเข า ร ว ม โครงการ ดังนัน้ สถาบันการศึกษาควรมีการประสานงาน กับสำ�นักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา เพื่อขอกำ�หนด เวลาจัดโครงการในชวงเวลาที่เหมาะสม 2.5 จากผลการวิ จั ย พบว า จำ � นวนอาจารย ที่ ปรึกษาและบทบาทอาจารยมีนอยเกินไปเพราะฉะนั้น สถาบันการศึกษาควรจัดสรรงบประมาณเพือ่ จัดอาจารย ที่ ป รึ ก ษาให เ พี ย งพอกั บ จำ � นวนนั ก ศึ ก ษาที่ เ ข า ร ว ม โครงการ และเพิ่มบทบาทการนิเทศ ติดตามการลงภาค สนามของนิสิตนักศึกษาใหมากยิ่งขึ้น 

3. ข อ เสนอแนะสำ � หรั บ ชุ ม ชนที่ เ ข า ร ว ม โครงการ 3.1 จากผลการวิจัยพบวาการดำ�เนินโครงการ พบปญหา ความไมสะดวก และความไมปลอดภัยกับ นิสติ นักศึกษาทีเ่ ขารวมโครงการ เพราะฉะนัน้ ชุมชนควร จัดหาที่พักกับชาวบานที่มีความพรอมและความเหมาะ สม ตลอดจนการประสานงานกับหนวยงานราชการ ในทองถิ่นเพื่ออำ�นวยความสะดวก และการรักษาความ ปลอดภัย 3.2 ควรมีการจัดประชุมหรือจัดเวทีประชาคม ในชุ ม ชนที่ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาลงฝ ก ภาคสนามเพื่ อ ที่ จ ะ ไดสรางความรูความเขาใจกับคนในพื้นที่ ทำ�ใหเกิด ความพรอมและความรวมมือระหวางพื้นที่ กับสถาบัน การศึกษา ในการจัดกิจกรรมใหนิสิตนักศึกษาที่เขารวม เกิดกระบวนการเรียนรู ทำ�ใหโครงการบรรลุประสิทธิผล มากยิ่งขึ้น





39


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

เอกสารอางอิง ภาษาไทย กรุณา ตติยวัฒนนาภรณ. (2542). การประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: กรมการศึกษานอกโรงเรียน. ณรงค โชควัฒนา. (2542). เศรษฐกิจชุมชน: ทางเลือกเพือ่ ทางรอดสังคมไทย. พิมพครัง้ ที่ 1. กรุงเทพฯ: อมรินทร พริ้นติ้งแอนดพับลิชซิ่ง. ณรงคฤทธิ์ ดอนศรี. (2543). สภาพปญหาปจจุบัน และความตองการในการบริหารจัดการกิจกรรมการ เรียนรูตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนสังกัดสำ�นักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแกน. ทวีศักดิ์ เรือนมณี. (2551). การประเมินผลโครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียง ตำ�บลอมกอย อำ�เภออมกอย จังหวัดเชียงใหม. วิทยานิพนธรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม. ปุระชัย เปยมสมบูรณ. (2544). การวิจัยประเมินผล หลักการและกระบวนการ. พิมพครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: คณะ รัฐประศาสนศาสตร สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร. ไพศาล หวังพานิช. (2544). การจัดทำ�โครงการฯ ในหลักสูตรการวางแผนระดับหัวหนากลุมงาน. กรุงเทพฯ: สำ�นักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำ�นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (เอกสารประกอบ การอบรมบุคลากร ของสำ�นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ประจำ�ปงบประมาณ พ.ศ. 2544) รัตนะ บัวสนธ. (2540). การประเมินผลโครงการการวิจยั เชิงประเมิน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ บริษทั คอมแพคทพริน้ จำ�กัด. วัฒนา วงศเกียรติ และสุริยา วีรวงศ. (2545). คูมือการประเมินผลโครงการ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. สมศักดิ์ ลาดี. (2543). การศึกษาการดำ�เนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำ�นักงานการประถมศึกษา จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการ ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแกน. สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). คูม อื การปฏิบตั งิ านโครงการคายเรียนรูค ณ ุ ธรรม นำ�ชีวติ พอเพียง ป 2553. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ. สุนันท ดีพลงาม. (2549). การประเมินโครงการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำ�ริทฤษฎี ใหมในโรงเรียนแกนนำ�สังกัดสำ�นักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษารอยเอ็ด เขต 2. การศึกษามหาบัณฑิต สาขา วิชาการวัดผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สุวิมล ติรกานันท. (2543). การประเมินโครงการ: แนวทางสูการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. สุวิมล วองวาณิช. (2549). ประเภท ขั้นตอนของการประเมินอภิมาน และคุณสมบัติของนักประเมินอภิมาน. ใน การประเมินอภิมาน วิธีวิทยาและการประยุกตใช. สุวิมล วองวาณิช (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. อนุพงศ ถาวรวงศ. (2542). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึง่ ตนเองแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำ�ริในจังหวัด จันทบุรี. วิทยานิพนธการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา อำ�พล เสนาณรงค. (2542). ทิศทางการพัฒนาชนบทตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. เอกสารประกอบการประชุม สัมมนาวิชาการ สถาบันวิจยั และพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแกน ชมรมศิษยเกา ยูทแี อลบีแหงประเทศไทย และ กรมสงเสริมการเกษตร กระทรวงการเกษตรและสหกรณ.

40


​การประเมินโครงการคายเรียนรูคุณธรรม นำ�ชีวิตพอเพียง ป 2550 - 2553 ธีรศักดิ์ อุนอารมยเลิศ, นรินทร สังขรักษา, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, จุรีวรรณ จันพลา

ภาษาอังกฤษ Bhola, H. S. (1979). Evaluation functional : Tchran. N.p.: Hulton Educational Publications. Conbach, Lee J. (1974). Evaluations : theory and practice. Ohio: Chalca A. Joamcs. Knox, Alan B. (1972). “Continous program evaluation.” In Readings in curriculum evaluation Dubuque. Lowa: Wm. C. Brown. Madaus, G. F. ; Scriven, M. S. ; and Stufflebeam, D. L. (1984). Evaluation models viewpoint on educational and human services evaluation. Hingham: Kluwer Academic. Stufflebeam, D. L. (2000). The methodology of meta-evaluation as reflected in meta-evaluations by the Western Michigan University Evaluation Center. Journal of Personnel Evaluation in Education 14, 1 : 95 - 125. Suchman, Edward. (1987). A Evaluation reseach : and principle and practice in public service and social action program. New York: Pusel Sage Foundation.

41



คำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมันกับคำ�เทียบเคียงในภาษาไทย 1 The German Pronoun man and Its Equivalents in Thai กรกช อัตตวิริยะนุภาพ 2 Korakoch Attaviriyanupap บทคัดยอ งานวิจยั นีเ้ ปนการศึกษาเปรียบตางคำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมันกับคำ�เทียบเคียงของคำ�สรรพนามนีใ้ น ภาษาไทย โดยอาศัยขอมูลจากคลังขอมูลสองภาษาสองทิศทางซึ่งประกอบดวยเรื่องสั้นรวมสมัยภาษาเยอรมัน และภาษาไทยพรอมบทแปลเปนอีกภาษาหนึ่ง ผลการวิจัยพบวาภาษาไทยมีรูปของคำ�เทียบเคียงคำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมัน 14 รูป ทัง้ นี้ ประโยคภาษาไทยทีเ่ ทียบเคียงไดกบั ประโยคทีใ่ ช man ในภาษาเยอรมันสวนใหญเปนประโยค ทีไ่ มมปี ระธาน การใชประธานไรรูปจึงถือเปนคำ�เทียบเคียงที่ใชบอยที่สุดสำ�หรับโครงสรางภาษาเยอรมันที่ใชคำ� สรรพนาม man สวนคำ�เทียบเคียงรูปอืน่ ๆ สามารถแบงประเภทออกไดเปน 3 กลุม ไดแก กลุม ทีม่ คี วามหมายเปนบุรษุ สรรพนามบุรษุ ที่ 1 กลุมที่มีความหมายเปนบุรุษสรรพนามบุรุษที่ 3 และกลุมที่เปนอนิยมสรรพนาม (“ใคร”) ในขณะที่ ภาษาเยอรมันแสดงรูปของประธานทีเ่ ปนมนุษยดว ยการใชคำ�สรรพนามทีไ่ มเฉพาะเจาะจงอยาง man ภาษาไทยเลือก ใชกลวิธีที่ในประโยคไมปรากฏรูปประธาน ซึ่งเปนการทำ�ใหบุคคลที่ไมชี้เฉพาะเจาะจงนี้ ไมตองมีรูปปรากฏ คำ�สำ�คัญ: 1. คำ�สรรพนาม man. 2. คำ�เทียบเคียง. 3. ภาษาเยอรมัน. 4. ภาษาไทย. Abstract This paper presents a contrastive analysis of the German generic pronoun man (Engl. one) and its equivalents in Thai. For the analysis, a bidirectional parallel corpus consisting of contemporary German and Thai short stories and their translation into the other language was used. In the corpus, there are 14 forms of Thai equivalents to man. Generally, the equivalent sentences do not have any subject at all. The subjectless construction is therefore the most frequent equivalent structure of man-sentences in German. The other forms emerging as counterparts to the German man can be categorized into 3 groups with the meaning scope of 1st person, 3rd person, and different variants of the indefinite pronoun khraj (‘who’). Whereas the German language marks the unspecification of the human subject with the grammaticalized generic pronoun man, Thai chooses to make human referents which should not be further specified “invisible”. Keywords: 1. Pronoun man. 2. Equivalent. 3. German Language. 4. Thai Language.

__________________ 1 เปนโครงการที่ไดรับทุนจากมหาวิทยาลัยซีเกิน (Universität Siegen) ใหไปปฏิบัติการวิจัยที่เมืองซีเกินเยอรมนี ในชวงเดือน เมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 2554. 2 ผูช ว ยศาสตราจารย ดร. ประจำ�ภาควิชาภาษาเยอรมัน คณะอักษรศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

1. บทนำ� ในภาษาเยอรมันคำ�สรรพนาม man จัดวา เป น คำ � ที่ มี ป  ญ หาในการจั ด แบ ง ประเภท โดยมั ก มี ขอโตแยงกันในหมูนักวิชาการวาควรจัดใหเปนอนิยม สรรพนาม (Indefinite pronoun) หรือเปนบุรษุ สรรพนาม (Personal pronoun) เมื่อเปรียบเทียบหลายภาษาดวย กันแลว จะพบวาคำ�สรรพนามคำ�นี้นาสนใจเปนอยางยิ่ง เนื่องจากมีคุณสมบัติเปนคำ�สรรพนามที่บงบอกความ ไมเฉพาะเจาะจง เปนสรรพนามที่ใชเมื่อกลาวถึงคน โดยทั่วไปซึ่งมีพบไมบอยนักในภาษาตางๆ ที่ใชกัน ทั่วโลก (Haspelmath 1997 : 12) แมวาจะปรากฏคำ� เทียบเคียง (equivalent) ในหลายภาษาดวยกัน โดยเฉพาะ ภาษาในตระกูลอินโด-ยูโรเปยน (เชน one ในภาษา อังกฤษ หรือ on ในภาษาฝรั่งเศส เปนตน) แตคำ� สรรพนามเหลานี้ก็มีหนาที่และคุณสมบัติไมเหมือนกัน เสียทีเดียว (Zifonun 2000 : 251) ในขณะที่หลายภาษา ในยุโรปกลับไมมีคำ�สรรพนามที่ทำ�หนาที่แบบเดียวกัน นี้ และมีผูไดเคยศึกษาเปรียบตางคำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมั น กั บ ภาษาของตนไว ไ ม น  อ ย เช น Dimova (1981) ศึกษาคำ�เทียบเคียงของสรรพนามนี้ ในภาษาบัลแกเรีย Žeimantienė (2005) ศึกษาคำ� เทียบเคียงในภาษาลิทวั เนีย และ Reichel (2007) ศึกษา คำ�เทียบเคียงในภาษารัสเซีย การศึกษาเปรียบตางคำ�สรรพนาม man กับ คำ�เทียบเคียงในภาษาไทย ซึง่ เปนภาษาทีม่ แี บบลักษณ ภาษาแตกตางกันเปนอันมากจึงเปนประเด็นที่นาสนใจ เพราะอันทีจ่ ริง เวลาทีแ่ ปลคำ�สรรพนาม man เปนภาษา ไทยแบบตรงตัว มักแปลไดวา “คนเรา” แตทวาคำ�นีก้ ลับ ไมสามารถใชในบริบทเดียวกันกับ man ไดทุกครั้ง เรา อาจตองแปลคำ�วา man เปนคำ�อื่นๆ แตกตางกันไป ในแตละบริบท การศึกษาครัง้ นีม้ ุงหวังที่จะตอบคำ�ถาม หลักสองประเด็น คือ คำ�สรรพนาม man ในภาษา เยอรมันมีความหมายและหนาที่อยางไรบาง และคำ� เทียบเคียงของ man ในภาษาไทยมีอะไรบาง เราจะสามารถ นำ�คำ�เทียบเคียงตางๆ เหลานี้มาจัดประเภทไดอยางไร ทั้ ง นี้ เพื่อ ให เ ห็ น แนวทางในการใช คำ� สรรพนามนี้ แบบตางๆ ในภาษาเยอรมัน กับการถายทอดมโนทัศน ดังกลาวในภาษาไทย

44

2. ความหมายของคำ�สรรพนาม man ในภาษา เยอรมัน คำ�วา man มีความหมายดั้งเดิมเปน “ผูชาย” หรือ “มนุษย” (Kluge und Seebold 2002 : 594) ใน ตำ�ราไวยากรณหรือสารานุกรมตางๆ มักจัดประเภท คำ�นี้ใหเปนอนิยมสรรพนาม (indefinite pronoun) (ตัวอยางเชน Glück 2010 : 282 ; Bußmann 2008 : 282 ; Helbig und Buscha (2001 : 232) และ Duden 2005 : 327) อยางไรก็ตามการบรรยายความหมายและหนาที่ คำ�สรรพนามนีย้ ังคงมีปญหาอยูในแวดวงภาษาศาสตร ภาษาเยอรมัน (Attaviriyanupap und Perrig 2009 : 321) ทั้ ง นี้ ปรากฏว า มี คำ � นิ ย ามและคำ � บรรยาย คำ � สรรพนามนี้ แ ตกต า งกั น ออกไป ไม มี เ อกภาพ ดังตัวอยางคำ�นิยามที่พบตอไปนี้ - อนิยมสรรพนามที่อางอิงถึง “บุคคลที่ไมระบุ ใหแนนอนชัดเจนไปกวานี้” (Duden 2005 : 327) - คำ�สรรพนามทีก่ ลาวถึงคนจำ�นวนหนึง่ ซึง่ มีทงั้ สองเพศ แตไมระบุจำ�นวนแนนอน (Engel 2004 : 371) - การกลาวถึงคนที่ไมชี้เฉพาะเจาะจง (Helbig und Buscha 2001 : 232) - บุรุษสรรพนามที่ไมชี้เฉพาะและใชกลาวโดย ทั่วไป (Hentschel und Weydt 2003 : 252) - ผูกระทำ�ที่เปนคนที่ไมชี้เฉพาะเจาะจง หรือ บุรุษสรรพนามบุรุษที่ 4 (Sasse 1993 : 670) - บุ รุ ษ สรรพนามแบบไม ชี้ เ ฉพาะ (Graefen 2007 : 685) - บุรุษสรรพนามทั่วไป (Zifonun 2001 : 119) เมื่อวิเคราะหในภาพรวมแลวจะเห็นไดวาการจัด ประเภทหรือใหคำ�นิยามคำ�สรรพนามนีใ้ นภาษาเยอรมัน มี 2 แนวคิดดวยกัน กลาวคือ จัดเปนอนิยมสรรพนาม หรือจัดเปนบุรุษสรรพนาม อันที่จริง ไมวาจะพิจารณา ดวยเกณฑดานรูปคำ � หรือเกณฑทางวากยสัมพันธ คำ�สรรพนาม man นั้นมีสถานะพิเศษตรงที่มีคุณสมบัติ ของคำ�สรรพนามทั้ง 2 ประเภทนี้ อยางไรก็ตาม ความ หมายหลักของคำ�สรรพนาม man คือ “เปนมนุษย” สอดคลองกับที่ Marschall (1996 : 96) ไดใหคำ�จำ�กัด ความไววา man อาจหมายถึงคนหนึ่งคน หรือมากกวา หรือครอบคลุมไปถึงจำ�นวนทีน่ บั ไมถว นก็ได ทัง้ นี้ คำ�วา


คำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมันกับคำ�เทียบเคียงในภาษาไทย กรกช อัตตวิริยะนุภาพ

man อาจมีไดหลายความหมาย ขึ้นกับบริบทที่ปรากฏ ในทางหนึ่งอาจหมายถึงการทำ�ใหตัวผูกระทำ�ไมชัดเจน วาเปนใคร แตในทิศทางตรงกันขาม บางครั้ง man กลับ มีความหมายเฉพาะเจาะจงถึงขนาดมีความหมายเทากับ ich (I) หรือ du (you) ซึง่ ถือเปนการใชชเี้ ฉพาะบุคคลเลย ก็ได แตการใชในกรณีนจี้ ะมีผลในทางวัจนปฏิบตั ศิ าสตร โดยทำ�ใหรูสึกเหินหาง การที่ man มีความหมายหลากหลาย ทำ�ใหสามารถ แจกแจงคำ�สรรพนามนีไ้ ดเปนหลายแบบ งานวิจยั ที่มีการ แบงไวละเอียดมากที่สุดคืองานของ Dimova (1981 : 38-39) ซึง่ ศึกษาคำ�สรรพนาม man โดยเปรียบเทียบกับ ภาษาบัลแกเรียไดแยกความหมายของคำ�วา man ไวถงึ 9 ความหมายดวยกัน อยางไรก็ตาม ใน 6 ความหมาย นั้ น เป น การแยกตามรู ป ของบุ รุ ษ สรรพนามในภาษา เยอรมัน จึงทำ�ใหสามารถสรุปประเภทของ man แยก ตามความหมายไดเหมือนกันกับที่ Helbig und Buscha (2001 : 232) แบงไว ดังนี้ คือ - man ที่ มี ลั ก ษณะเป น การกล า วถึ ง คนโดย ทั่วไปหรือหมายถึงทุกคน เรียกวา generelles man (generic man) เชน Was man gern tut, das fällt einem nicht schwer (อะไรที่คนเราชอบทำ� (คนเรา) ก็ยอมทำ�ไดไมลำ�บาก) - man ที่ ใ ช เ มื่ อ ผู  ก ระทำ � กริ ย าดั ง กล า วไม มี ความสำ�คัญหรือไมรูวาใครเปนผูกระทำ�กริยานั้น เรียก วา anonymes man (anonym man) เชน Man hat ihm sein Fahrrad gestohlen (มีคนขโมยจักรยานของ เขาไป) - man ที่ใชเพื่อสื่อถึงการมีสวนรวมของมนุษย โดยทำ�ใหเปนการกลาวลอยๆ ถึงเหตุการณหนึ่งที่มี มนุษยเปนผูรับรู โดยการใชคำ�กริยาที่บงชี้ใหเห็นถึง การรั บ รู  ข องมนุ ษ ย แต ไ ม เ น น ว า ใครเป น ผู  ที่ รั บ รู 

เหตุการณนั้น เปนการนำ�เสนอโดยมุมมองแบบสวน บุคคล (subjectivization) man ในหนาที่นี้เรียกวา abstrahierendes man (abstracting man) Auf der

(บนถนนไมเห็น ใครสักคน) แทนทีจ่ ะใชประโยคซึง่ เปนการนำ�เสนอมุมมอง แบบเปนกลาง (objectivization) ไมกลาวถึงมนุษย ดังเชน ในประโยค Es gab auf der Straße keinen Menschen (บนถนนไมมใี ครสักคน) - man ที่ทำ�หนาที่เปนคำ�สรรพนามแทนบุรุษ สรรพนามแตละตัว เรียกวา pronominales man (pronominal man) การใชในลักษณะนีจ้ ะแสดงวาผูพ  ดู ตองแสดงความหางเหินกับผูฟ ง ตัวอยางเชน ในประโยค Straße sah man keinen Menschen

Still, ihr müsst auf mich hören, ich besitze nämlich gewisse Anrechte, dass man mich hört

(นิง่ เสีย พวกเธอตองเชือ่ ฟงฉัน ฉันอยูใ นฐานะทีต่ อ งเชือ่ ฟง) man หรือผูที่ตองฟงผูกลาวประโยคนี้ก็คือ ihr หรือ “พวกเธอ” นั่นเอง ไมไดหมายถึงใครอื่น 3. ขอมูลและวิธีวิเคราะห การศึกษาครั้งนี้ใชคลังขอมูลที่เปนบทแปลจาก ภาษาทั้ง สองภาษาและสองทิ ศ ทาง (Bidirectional parallel corpus) ทั้งนี้ ตัวบทที่ใชเปนวรรณกรรม รวมสมัย อันประกอบดวยเรือ่ งสัน้ ภาษาเยอรมันจำ�นวน 13 เรือ่ ง พรอมบทแปลจากภาษาเยอรมันเปนภาษาไทย และเรื่องสั้นภาษาไทยจำ�นวน 15 เรื่อง พรอมบทแปล จากภาษาไทยเปนภาษาเยอรมัน เรื่องสั้นเหลานี้เปน ผลงานของนั ก เขี ย นและนั ก แปลหลายคนที่ เ ขี ย นขึ้ น ในชวงปพ.ศ. 2523–2550 และแปลเมื่อป พ.ศ. 2535, 2549 และ 2550 3 ในการศึกษาผูว จิ ยั เริม่ ตนดวยการหาคำ�วา man ทั้งหมดในตัวบทภาษาเยอรมัน รวมทั้งที่ปรากฏในรูป

__________________

3

ดูรายชื่อเรื่องสั้นที่นำ�มาวิเคราะหไดที่ภาคผนวกทายบทความ

45


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

การกกรรมตรง (einen) และการกกรรมรอง (einem) พรอมจัดแยกประเภทเปน 4 ประเภทตามเกณฑของ Helbig und Buscha (2001) ดังทีไ่ ดอธิบายไวในบทที่ 2 คือ man1 = generisches man, man2 = anonymes man, man3 = abstrahierendes man, man4 = pronominales man และเรียงหมายเลขกำ�กับไวทุกคำ� จากนั้นจึงหา คำ�เทียบเคียงที่ปรากฏในตัวบทภาษาไทย โดยกำ�หนด หมายเลขใหตรงกัน 4 อยางไรก็ตาม ภาษาไทยเปนภาษา ทีม่ กี ารใชประธานไรรปู (zero subject) มาก และเปนไป ไดที่ไมสามารถหารูปของคำ�เทียบเคียงในตัวบทภาษา ไทยได ในกรณีเชนนีจ้ ะกำ�หนดคาของรูปดังกลาวเปน Ø

4. ผลการศึกษา 4.1 จำ�นวนและลักษณะที่ปรากฏของ man จากการศึกษาตัวบทภาษาเยอรมันทั้ง 28 เรื่อง พบวามีคำ�วา man (และรูปอื่นๆ ของสรรพนามนี้) เปน จำ�นวนรวมทั้งสิ้น 213 คำ� ทั้งนี้ เกือบทัง้ หมดอยูใ นรูป man หรือทำ�หนาทีเ่ ปนประธานของประโยค สวนกรณีท่ี ใชเปนกรรมตรง (einen) และกรรมรอง (einem) นั้น มีเพียงอยางละ 2 คำ�เทานัน้ ในตัวบททีต่ น ฉบับเปนภาษา เยอรมันมีอตั ราสวนการใชค�ำ วา man มากกวาในตัวบทที่ เปนภาษาเยอรมันทีแ่ ปลมาจากภาษาไทย (66.67% และ 33.33% ตามลำ�ดับ) เมื่อแยกประเภทตามความหมาย ของ man ทั้ง 4 แบบ ไดผลดังตารางตอไปนี้

ตารางที่ 1. คำ�วา man ที่ปรากฏในคลังขอมูล man 1

man 2

man 3

man 4

ตัวบทภาษาเยอรมันที่เปนตนฉบับ

91

18

9

24

142

ตัวบทภาษาเยอรมันที่เปนงานแปล

37

6

13

21

71

ตัวบทภาษาเยอรมันทั้งหมด

128

24

16

45

213

อัตราสวนรอยละ

60.09

11.27

7.50

21.17

100.00

4.2 จำ�นวนและรูปคำ�เทียบเคียงภาษาไทย ในคลังขอมูลภาษาไทยพบวามีรูปของคำ�เทียบ เคียงของ man รวมทัง้ สิน้ 14 รูป เรียงตามลำ�ดับความถี่ ที่ ป รากฏจากมากไปน อ ย ดั ง รายละเอี ย ดในตาราง ตอไปนี้

__________________ 4 คำ�สรรพนาม man และคำ�เทียบเคียงภาษาไทยที่พบในคลังขอมูลทั้งหมด จะกำ�กับอักษรยอของตัวงาน และลำ�ดับที่ในการ ปรากฏ นอกจากนีย้ งั จะระบุไวดว ยวาขอมูลทีพ่ บมาจากตัวบททีเ่ ปนตนฉบับหรือเปนบทแปล ตัวอยางเชน [JH-1_O] หมายความวาเปน คำ�ลำ�ดับที่ 1 ที่พบในผลงานของนักเขียนชื่อ J. H. ซึ่งเปนภาษาตนฉบับ ในขณะที่ [JH-1_Ü] เปนการใหขอมูลวาเปนคำ�ลำ�ดับที่ 1 ที่พบ ในผลงานของนักเขียนชื่อเดียวกัน แตเปนตัวบทที่เปนงานแปล

46


คำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมันกับคำ�เทียบเคียงในภาษาไทย กรกช อัตตวิริยะนุภาพ

ตารางที่ 2. คำ�เทียบเคียงของ man ในคลังขอมูลภาษาไทย

man1

man2

man3

man4

Ø

74 21 11 10 2 1 3 2 1 0 1 1 1 0 128

9 6 0 2 4 1 1 0 0 0 0 0 0 1 24

12 3 0 0 0 1 0 0 0 0 0 0 0 0 16

35 5 1 0 0 2 1 0 0 1 0 0 0 0 45

เรา คน, คนเรา ใคร ผูคน เขา ผูที่..., ใครที่... ใครๆ ทุกคน เธอ พวกเรา พวกเขา มัน หลายคน

จากขอมูลขางตนอาจสรุปไดวาคำ�เทียบเคียง ภาษาไทยทีท่ �ำ หนาทีใ่ กลเคียงกับ man ในภาษาเยอรมัน มากที่สุดคือการละรูปประธานในประโยคนั่นเอง เพราะ โดยรวมแลวพบวาในขณะที่มีการใชค�ำ สรรพนาม man ในตัวบทภาษาเยอรมัน ในตัวบทภาษาไทยกลับพบวา ส ว นใหญ แ ล ว ไม มีรูป คำ � ใดๆ ที่ป รากฏในฐานะคำ � เทียบเคียงของ man โดยมีอัตราสวนถึง 61.03% สวน คำ�เทียบเคียงทีป่ รากฏในรูปตางๆ รวม 13 รูปนัน้ สามารถ จัดแบงกลุมไดเปน 3 กลุม คือ กลุมที่มีความหมาย ตรงกับสรรพนามบุรุษที่ 1 กลุมที่มีความหมายตรงกัน กับสรรพนามบุรุษที่ 3 และกลุมที่มีความหมายเปน อนิยมสรรพนาม ลำ�ดับตอไปนี้จะกลาวถึงคำ�เทียบเคียง ในแตละกลุม

130 35 12 12 6 5 5 2 1 1 1 1 1 1 213

4.2.1 สรรพนามบุรุษที่ 1 ทีเ่ ปนคำ�เทียบเคียง ของ man คำ�เทียบเคียงหลักในกลุม นี้ คือ คำ�สรรพนาม “เรา” ซึง่ ตรงกับภาษาเยอรมันวา wir (we) เดิมคำ�นีเ้ คยใชเปน คำ�สรรพนามบุรษุ ที่ 1 พหูพจน แตในปจจุบนั พบวามีการ ใชคำ�สรรพนามนี้ในความหมายเอกพจนเชนกัน โดยใช ในกรณีทผ่ี ฟู ง มีฐานะเทากันหรือต่�ำ กวาผูพ ดู (เชน พูดกับ เพื่อนในความหมายเดียวกับ “ฉัน”) ในการใชเพื่อสื่อ ความหมายทัว่ ไป (generic meaning) ซึง่ พบในคลังขอมูล จะเห็นไดวามีความหมายเปนพหูพจนเสมอ เนื่องจาก “เรา” ในทีน่ อ้ี าจหมายถึงกลุม ของผูพ ดู หรือรวมไปถึง “เรา ทุกคน” หรือ “มนุษยทกุ คน” เลยก็ได อยางไรก็ตาม การใช คำ�นีเ้ ปนการเนนวาเปนมุมมองทีม่ ตี วั ผูพ ดู เปนศูนยกลาง หรือเปนสวนหนึ่งของคนที่กลาวถึงโดยทั่วไปเสมอ ดัง ตัวอยางตอไปนี้

47


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

(1) เมื่อเราตายเราเอามันไปไมได [VN 6, 7_O] 'Wenn man stirbt, kann man es sowieso nicht mitnehmen’ [VN-6, 7_Ü]

นอกเหนือจากการใชคำ�สรรพนาม “เรา” เพียง ลำ�พังแลว คำ�ภาษาไทยทีเ่ ปนคำ�เทียบเคียงของ man ยัง อาจใชบุรุษสรรพนามนี้รวมกับคำ�วา “คน” เปน “คนเรา” อีกดวย หรือในบางครั้งก็อาจใชเพียงคำ�วา “คน” เพียง ลำ�พัง อยางไรก็ตาม การใชในลักษณะนี้ปรากฏไมบอย นัก ดวยเหตุนี้ จึงอาจสรุปในขั้นตนไดวาคำ�สรรพนาม ในภาษาไทยรูปที่ถือวามีความหมายตรงกันกับ man ในภาษาเยอรมันมากทีส่ ดุ คือคำ�วา “เรา” นัน่ เอง อันทีจ่ ริง ปรากฏการณนไ้ ี มแปลกแตอยางใด เนือ่ งจากคำ�สรรพนาม บุรษุ ที่ 1 พหูพจนในหลายๆ ภาษา รวมทัง้ ภาษาเยอรมัน (คือ คำ�วา wir) ก็มักมีหนาที่หลายประการ และสามารถ ใชเพื่อกลาวถึงคนโดยทั่วๆ ไป (รวมตัวผูพูดซึ่งเปน บุรุษที่ 1) ไดดวยเชนกัน ในขณะที่คำ�วา “พวกเรา” ซึ่ง ปรากฏในคลังขอมูลเพียงครั้งเดียวเทานั้น เปนคำ�ที่ใช บอกถึงบุรษุ ที่ 1 พหูพจนเทานัน้ 4.2.2 สรรพนามบุรุษที่ 3 ทีเ่ ปนคำ�เทียบเคียง ของ man ในขณะทีค่ �ำ เทียบเคียงในกลุม แรกนัน้ มีความถีใ่ น การปรากฏคอนขางสูง (รองจากการใชประธานไรรปู ) กลุม ของคำ�เทียบเคียงกลุม ที่ 2 ซึง่ มีความหมายเปนสรรพนาม บุรษุ ที่ 3 นัน้ กลับปรากฏไมบอ ยนัก โดยคำ�ทีป่ รากฏใน คลังขอมูลคือ “เขา” คำ�สรรพนามนีใ้ นภาษาไทยอาจมีความ หมายเปนเอกพจนหรือพหูพจนกไ็ ด แตหากปรากฏคูก บั คำ�วา “พวก” กลายเปน “พวกเขา” จะมีความหมายเปน พหูพจนอยางชัดเจนโดยทันที ในการใชเพือ่ สือ่ ความถึง คนโดยทัว่ ไป มักเปนมุมมองทีเ่ นน “ผูอ น่ื ” เปนศูนยกลาง หรืออาจกลาวไดวาเปนการกลาวถึงคนโดยทั่วไปแตไม หมายรวมถึงผูพ ดู นัน่ เอง ดังตัวอยางตอไปนี้ (2) »Was ist Wahalla?«, und Irene sagt »Ich weiß es nicht genau, aber ich glaube, Walhalla ist das Jenseits der Wikinger. Ihr Paradies, eine große Halle mit einem langen Tisch, an dem man sitzt mit denen, die man

48

liebt, und an dem man trinkt und trinkt bis ans Ende aller Tage. » [JH-23, 24_O]

‘วัลฮัลลาเปนดินแดนหลังความตายของพวก ไวกิง้ สรวงสวรรคของพวกเขา หองโถงใหญกบั โตะตัวยาว ที่พวกเขาจะใชนั่งรวมกับคนที่เขารัก และที่นั่นทุกคน จะดื่มและดื่มจนวันทั้งหมดสิ้นสุดลง’ [JH-23, 24_Ü] อยางไรก็ตาม จะเห็นไดวาในตัวบทแปลภาษา ไทย ความหมายของบุรุษที่ 3 ในที่นี้ ไมคอยชัดเจน นักในการที่จะกลาวถึงคนโดยทั่วไป แตเปนการกลาว ถึง “คนอืน่ ” อยางชัดเจนมากกวา ในทางตรงกันขาม ในตัว บทภาษาเยอรมัน แมวาผูอานสามารถตีความ man ในที่น้ไี ดวาหมายถึงพวกไวกิ้ง แตคำ�ที่ใชทำ�ใหกลาวถึง กลุม คนนีโ้ ดยไมชเ้ี ฉพาะเจาะจงเทากับการใช sie ทีเ่ ปน บุรษุ สรรพนามบุรษุ ที่ 3 พหูพจน ดวยเหตุน้ี จึงอาจสรุป ไดวา คำ�เทียบเคียงทีเ่ ปนสรรพนามบุรษุ ที่ 3 อาจไมตรงกับ คำ�วา man ในภาษาเยอรมันเทาใดนัก ยกเวนกรณีที่ สามารถตีความไดวาเปนกลุมบุคคลที่กำ�ลังถูกพูดถึง อยางเชนกรณีของประโยคตัวอยางขางตนนี้ แมวาในตัวอยางขางตน การใชสรรพนามบุรุษ ที่ 3 อาจไมสามารถสื่อความไดตรงกับ man เทาใดนัก แตจากผลการศึกษาในงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วของพบวาสรรพนาม บุรุษที่ 3 เอกพจนน้นั มีความเหมือนกับ man ในภาษา เยอรมันเชนกัน (Zifonun 2001 : 122) โดยเฉพาะในภาษา เยอรมันนัน้ พบวาในภาษาพูดมักมีการใชค�ำ วา sie (they) เพือ่ สือ่ ความถึงคนโดยทัว่ ไปเชนกัน เชน Sie haben schon wieder die Buspreise erhöht (เขาขึน ้ คารถเมลอกี แลว) คำ�วา “เขา” ในที่น้สี ่อื ความถึงผูคนกลุมหนึ่งที่มีสิทธิ ในการทำ�เชนนัน้ โดยไมไดระบุชดั เจนวาเปนใครนัน้ เอง ดังที่ Vahl-Seyfarth (1987 : 141) เรียกลักษณะการใช คำ�สรรพนามบุรษุ ที่ 3 พหูพจนเชนนีว้ า เปนการกลาวถึงคน ที่มีอำ�นาจที่จะกระทำ�การบางอยางได คำ�เทียบเคียง ภาษาไทยทีพ่ บในคลังขอมูลก็มคี วามหมายเชนนีอ้ ยูด ว ย ดังตัวอยางตอไปนี้ (3) Man verzinst die Steuern auf Genussmittel nicht richtig [JF-1_O]

‘เขาขึ้นภาษีของกินของใชฟุมเฟอย’ [JF-1_Ü]


คำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมันกับคำ�เทียบเคียงในภาษาไทย กรกช อัตตวิริยะนุภาพ

ส ว นกรณี ข องคำ � เที ย บเคี ย ง “ผู  ค น” หรื อ “หลายคน” นั้ น จะเห็ น ได ว  า เป น คำ � ที่ จั ด อยู  ใ นกลุ  ม ที่มีความหมายเหมือนกับสรรพนามบุรุษที่ 3 เชนกัน ขอแตกตางระหวางการใชคำ�วา “คน” เปนสวนหนึ่งของ รูปคำ�ที่ใชเพื่อสื่อความถึงคนทั่วๆ ไปในที่นี้กับคำ�เทียบ เคียงกลุมแรกซึ่งมีความหมายเปนบุรุษที่ 1 นั้นคือ การ ที่คำ�เทียบเคียงที่สื่อความตรงกับสรรพนามบุรุษที่ 3 จะไมเนนหรือไมจำ�เปนตองรวมตัวผูพูดไวดวยนั่นเอง 4.2.3 อนิยมสรรพนามที่เปนคำ�เทียบเคียง ของ man คำ�เทียบเคียงกลุมที่สามนี้มีคำ�สรรพนาม “ใคร” เป น ความหมายหลั ก คำ � นี้ มี ค วามหมายและหน า ที่ ตรงกันกับคำ�วา wer (who) ในภาษาเยอรมัน ซึ่งทั้ง ในภาษาไทยและในภาษาเยอรมันเปนคำ�ที่เปนไดทั้ง อนิ ย มสรรพนามและปุ จ ฉาสรรพนาม โดยเมื่อเปน อนิยมสรรพนามจะมีความหมายวา “ใครบางคน” ในขณะที่ หากมีการซ้ำ�คำ�กลายเปน “ใครๆ” จะมีความหมาย เปลี่ยนไปเปน “ทุกคน” ในทันที อีกประการหนึ่งที่ พบวามีความคลายคลึงกันระหวางภาษาเยอรมันกับภาษา ไทย คือ การใชค�ำ สรรพนาม “ใคร” หรือ wer แลวมีบทขยาย ทีเ่ ปนคุณานุประโยคมาประกอบ ซึง่ จะทำ�ใหมคี วามหมาย เฉพาะเจาะจงขึ้น คือ หมายถึงเฉพาะผูที่มีคุณสมบัติ ดังกลาวนั้น ดังตัวอยางตอไปนี้ (4) ใครที่จะเขางาน... [An1_O] ‘wenn man den Job annimmt, ...’ [An1_Ü] อันที่จริงประโยคขางตนไมจำ�เปนตองใชคำ�วา man แตใชคำ�วา wer ที่มีความหมายตรงกับ “ใคร” ไดเชนกัน (wer den Job annimmt,...) ปรากฏการณที่ คำ�วา “ใคร” ซึง่ เปนอนิยมสรรพนามในภาษาไทยเปนคำ� เทียบเคียงของ man ในภาษาเยอรมัน จึงสอดคลองกับ การใชในภาษาเยอรมันเชนกัน 4.3 ประธานไร รู ป ในภาษาไทยที่ เ ป น โครงสรางเทียบเคียงกับ man การละประธานเนือ่ งจากไมรตู วั ผูก ระทำ�ทีช่ ดั เจน ถือเปนยุทธวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะถายทอดความหมาย ของคำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมันออกมาเปนภาษา ไทย ในขณะที่คำ�เทียบเคียงกลุมอื่นๆ ทั้ง 3 กลุมที่

ไดอธิบายไวขา งตนนัน้ มีค�ำ เทียบเคียงภาษาเยอรมันรูป อื่นๆ นอกเหนือไปจาก man เชน wir (เรา) sie (พวก เขา) jemand (บางคน) เปนตน อยางไรก็ตาม โครงสราง ที่ไมมีประธานในประโยคในภาษาไทยนั้นก็มิไดมีความ หมายตรงกันกับ man ในลักษณะความสัมพันธแบบ 1 : 1 เพราะจากผลการศึกษาเรื่องสรรพนามไรรูปใน ภาษาไทยที่มีผูวิจัยกอนหนานี้ ก็ชี้ใหเห็นวาประธาน ไรรูปนั้นอาจมีความหมายไดหลายอยาง ตัวอยางเชน ในผลงานของจรัสดาว อินทรทัศน (Intratat 2005: 21-24 อางถึงใน กิติมา อินทรัมพรรย 2553) พบการ ใชสรรพนามไรรูป 4 ประเภท คือ สรรพนามบุรุษที่ 1 สรรพนามบุรุษที่ 2 สรรพนามบุรุษที่ 3 และบุรุษที่ 1, 2, 3 หรือใครก็ได โครงสรางทีค่ �ำ เทียบเคียงของ man ในภาษาไทย ไมมีรูปปรากฏ ซึ่งในคลังขอมูลปรากฏถึง 130 ครั้งนั้น ยังสามารถวิเคราะหในรายละเอียดเพิ่มเติมไดอีก ทั้งนี้ ในขั้นแรกจะตองแยกระหวางประโยคประธานไรรูปที่ มีการระบุคำ�อางอิงกับที่ไมมีการระบุคำ�อางอิง ตาม แนวทางการแบงประเภทประโยคที่มีประธานไรรูปใน งานวิจยั ของ กิตมิ า อินทรัมพรรย (2553 : 87) กรณีแรก เปนการละประธานของประโยค แตสามารถหาประธาน ไดพบจากคำ�อางอิงทีป่ รากฏกอนหนานั้น ซึ่งภาษาไทย ไมนิยมกลาวซ้ำ� แตจะละไวในฐานที่เขาใจ ซึ่งเมื่อตัด กรณีของประธานไรรูปที่เปนกรณีเชนนี้ออกไปแลว จะ ปรากฏวาเหลือกรณีทค่ี �ำ เทียบเคียงของ man ในตัวบท ภาษาไทยเปนกรณีที่ไรรูปและไมรูวาอางอิงถึงประธาน ตัวใดนั้นอยูเพียง 96 คำ� เมื่อนำ�รูปของคำ�ที่ถูกละไว ในฐานทีเ่ ขาใจเหลานีม้ าจัดเขากลุม ตามทีไ่ ดแบงไวกอ น หนานี้ คือ กลุมบุรุษที่ 1 กลุมบุรุษที่ 3 และกลุมอนิยม สรรพนาม พบวาแนวโนมในการกระจายของรูปตางๆ ยังคงเหมือนเดิม มิไดทำ�ใหภาพรวมเปลี่ยนแปลงไป แตอยางใด จากขอมูลทัง้ หมดทีป่ รากฏ จึงสามารถสรุปไดวา ในภาษาไทยนัน้ ไมมคี ำ�เทียบเคียงกับคำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมันในลักษณะที่เปนคำ�แปลตรงตัว และ ไมพบวามีการใชสรรพนามบุรุษที่ 2 ในการสื่อความ หมายเดียวกับ man ที่เปนการกลาวถึงคนโดยทั่วไป รวมไปถึงคนที่ไมสามารถระบุไดวาเปนผูใด และหากจะ

49


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

กลาวถึงคำ�เทียบเคียงภาษาไทยสำ�หรับคำ�สรรพนามรูป พิเศษรูปนีใ้ นภาษาเยอรมัน โดยพิจารณาจากความถีใ่ น การใช ก็จะเขียนลำ�ดับชั้นของรูปคำ�เทียบเคียงในภาษา ไทยออกมาไดดังนี้ Ø > บุรุษที่ 1 > อนิยมสรรพนาม > บุรุษที่ 3 4.4 โครงสรางที่พบในประโยคประธานไรรูปที่ เปนคำ�เทียบเคียงของ man การที่ คำ � เที ย บเคี ย งของ man ไร รู ป นั้ น เป น ปรากฏการณ ที่ ส อดคล อ งกั บ โครงสร า งประโยค ไรประธาน (subjectless sentences) ในภาษาอื่นๆ (ตัวอยางเชนที่พบในงานวิจัยของ Dimova 1981 ; Žeimantienė 2005 และ Reichel 2007) ในลำ�ดับ ตอไปนีจ้ งึ เปนวิเคราะหวา คำ�เทียบเคียงของ man ทีไ่ รรปู ในภาษาไทยนัน้ สามารถจัดแบงประเภทตามโครงสรางที่ ปรากฏไดอยางไร และมีความเหมือนหรือตางจากทีพ่ บใน

คำ�เทียบเคียงของ man ในภาษาอืน่ ๆ หรือไม เนื่องจากในบทแปลนั้น บางครั้งมีโครงสราง ที่ แ ตกต า งไปจากตั ว บทที่ เ ป น ต น ฉบั บ โดยสิ้ น เชิ ง จนไมสามารถนำ�โครงสรางมาเปรียบเทียบกันได ซึ่ง โดยมากมั ก เป น ประโยคที่ เ ป น สำ � นวนที่ เ ที ย บเคี ย ง กันไดในแตละภาษา ดังนั้น ในการวิเคราะหโครงสราง ของประโยคประธานไรรูปจึงตัดประโยคเหลานี้ออกไป ทำ�ใหเหลือ man สวนที่นำ�มาวิเคราะหรวมทั้งสิ้น 91 คำ� ซึ่งสามารถแยกประเภทตามโครงสรางที่ปรากฏไดเปน 6 รูปแบบ เรียงตามลำ�ดับจากความถี่สูงสุดไปถึงนอย ทีส่ ดุ คือ ประโยคประธานไรรปู (Subjectless sentences) วลี (Phrases) ประธานของประโยคเปนสิ่งไมมีชีวิต (Inanimate subjects) การนำ�เสนอเหตุการณอยางเปน กลาง ไมมีผูกระทำ� (Objectivization) โครงสราง “กัน และกัน” (Reciprocal construction) และโครงสราง กรรมวาจก (Passive construction) ดั ง แสดงใน แผนภูมิตอไปนี้

subjectless sentences phrases inanimate subjects objectivization reciprocal constructions passive constructions

ภาพที่ 1. ประเภทของประโยคในภาษาไทยที่คำ�เทียบเคียงของ man ไรรูป

ผลการศึกษาปรากฏวากวาครึง่ หนึง่ คือ 56.04% ของโครงสรางที่นำ�มาวิเคราะหเปนประโยคไรประธาน หรื อ เป น โครงสร า งประธานไร รู ป (Subjectless sentences) ซึ่งการใชประโยคลักษณะนี้สามารถสื่อ ความถึงผูคนโดยทั่วไปได โดยไมตองเอยขึ้นมาวาใคร เปนผูกระทำ�กริยาในประโยค ดังตัวอยางตอไปนี้

50

(5)

In Berlin braucht man kein Auto [RR-

5_O]

‘อยูเมืองเบอรลินไมจำ�เปนตองมีรถหรอก’ [RR5_Ü]


คำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมันกับคำ�เทียบเคียงในภาษาไทย กรกช อัตตวิริยะนุภาพ

เราสามารถตี ค วามกรณี ที่ ไ ม เ ห็ น รู ป ประธาน ของประโยคในแตล ะประโยคไดว าหมายถึ ง กลุ  ม คน ทั่วไปที่ไมชัดเจน หรือไมสามารถระบุจำ�นวนแนนอน หรื อ เป น กลุ  ม บุ ค คลที่เ ฉพาะเจาะจงหรื อ มี คุณ สมบั ติ อย า งใดอย า งหนึ่ง ก็ ไ ด อาจกล า วได ว  า การตี ค วาม ความหมายอาจเปนไดตง้ั แต “ทุกคน” ไปจนถึง “บางคน” หรือ “คนที”่ + บทขยาย (Modifier) ก็เปนได แมวาทั้ง ในประโยคนี้ หรือประโยคกอนหนานี้ จะไมมีการแสดง รูปประธานของประโยคที่ชัดเจนใหเห็น แตผูอานก็ สามารถทราบวาใครเปนผูกระทำ�กริยานั้นไดจากบริบท ปรากฏการณที่ประโยคไรประธานสามารถเปน คำ � เที ย บเคียงของ man พบในภาษาอื่นๆ เช น กัน แตมขี อ นาสังเกตคือ ในภาษาอืน่ ๆ ทีม่ กี ารศึกษาเปรียบ ตางกับภาษาเยอรมันไวนั้นมักเปนภาษาที่มีวิภัติปจจัย ซึ่งตองกระจายรูปคำ�กริยาใหสอดคลองกับประธานของ ประโยค ดังนั้น ประโยคที่มีความหมายตรงกับ man ใน ภาษาเยอรมันจึงมักมีลักษณะพิเศษตรงที่ผันคำ�กริยา แทตามรูปใดรูปหนึ่ง (เชน เปนบุรุษที่ 1 พหูพจน หรือ บุรุษที่ 3 เอกพจน ฯลฯ) แตกลับไมมีประธานปรากฏ ใหเห็น ลักษณะทีป่ รากฏเชนนีแ้ ตกตางจากภาษาไทยที่ ไมมตี วั บงชีอ้ นื่ ใดทีท่ �ำ ใหโครงสรางประโยคทีไ่ รประธาน นั้นแตกตางไปจากประโยคธรรมดาที่อาจละประธาน ไวในฐานที่เขาใจ เนือ่ งจากไดกลาวถึงไปแลวทีใ่ ดทีห่ นึง่ กอนหนาประโยคนัน้ ดังนัน้ การที่จะรูวาประธานที่ไรรูป นั้นมีความหมายตรงกับ man ในกรณีที่ใชเพื่อกลาวถึง คนโดยทั่วไป (Generic) หรือไมนั้น จึงตองอาศัยการ ตีความตามบริบท ไมไดพิจารณาจากคุณลักษณะทาง ไวยากรณ

คำ�เทียบเคียงที่ไรรูปกลุมที่มีจำ�นวนมากเปนอัน ดับสอง (14.29%) คือ คำ�เทียบเคียงทีม่ โี ครงสรางเปนวลี (Phrases) กลาวคือ ในขณะทีภ่ าษาเยอรมันเปนประโยค ที่มี man เปนประธาน ในตัวบทภาษาไทยกลับใชเปน วลี ไมวา จะเปนนามวลี บุพบทวลี หรือวิเศษณวลี (เรียง ตามลำ�ดับความถี่ท่ปี รากฏ) ดวยเหตุน้ี จึงไมพบรูปคำ� เทียบเคียงทีแ่ สดงใหเห็นวาเปนประธานของประโยคตาม โครงสรางภาษาเยอรมัน การแปลงประโยคใหเปนวลีมี ผลทำ�ใหประธานของประโยคหายไป กลวิธเี ชนนีป้ รากฏ อยูภายในระบบภาษาทุกภาษาอยูแลว เชน ใชวลี die Vorstellung,... (การนึกภาพวา...) แทนประโยค wenn man sich vorstellt,... (หากเรานึกภาพวา...) นอกจากนี้ ยังอาจเกิดขึน้ ไดในกระบวนการแปลซึง่ ไมจ�ำ เปนตองยึด โครงสร า งประโยคตามภาษาต น ฉบั บ ทุ ก ประการ แตสามารถแปลงรูปทางไวยากรณโดยที่ยังคงรักษา ความหมายเดิมไว 14.29% ของคำ�เทียบเคียงไรรูปที่พบในคลัง ขอมูลนัน้ เปนประโยคทีม่ ปี ระธาน เพียงแตประธานกลับ ไมใชคนตามความหมายของคำ�วา man แตกลายเปน สิง่ ไมมชี วี ติ (Inanimate subject) แทน อันทีจ่ ริงโครงสราง นีม้ ลี กั ษณะคลายกับประโยคกรรมวาจก 5 แตในที่นี้แยก ออกเปนสองกลุม โดยกลุม ทีม่ โี ครงสรางเปนกรรมวาจก (Passive constructions) นัน้ มีจ�ำ นวนนอยทีส่ ดุ (3.30%) แมวากลุมที่เปนกรรมวาจกจะมีจำ�นวนนอยมากก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากประโยคกรรมวาจกนั้นไมจำ�เปนตองมี ประธานของประโยคเป น สิ่ ง มี ชี วิ ต และในที่ นี้ จ ะนับ เฉพาะประโยคที่ประธานของประโยคไมใชสิ่งไมมีชีวิต เทานั้นใหอยูในกลุมที่มีโครงสรางเปนกรรมวาจก

__________________ 5 แมภาษาไทยจะมีตัวบงชี้กรรมวาจกที่กลายเปนคำ�ทางไวยากรณแลว คือ คำ�วา “ถูก” แตในภาษาไทยการใชตัวบงชี้นี้ยังไมถือ วาเปนเกณฑบังคับ เพราะหากประธานของประโยคเปนสิ่งไมมีชีวิต และความหมายของคำ�กริยาไมไดมีความหมายเชิงลบ จะพบวา สามารถละตัวบงชี้กรรมวาจกได (เชน บานนี้ถูกสรางขึ้นเมื่อ 50 ปกอน หรือ บานนี้สรางขึ้นเมื่อ 50 ปกอน) ดังนั้น โครงสรางที่มีสิ่งมีชีวิต เปนประธานจึงสามารถเปนโครงสรางที่กำ�กวมได กลาวคือ อาจเปนกรรมวาจกก็ได หรือเปนประโยคไรประธานที่เนนกรรมของประโยค โดยนำ�มาวางไวตำ�แหนงตนประโยคก็ได

51


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

โครงสรางประโยคที่ประธานของประโยคเปนสิ่ง ไม มีชีวิต พบบ อ ยเป น อั น ดั บ สองรองจากประโยคไร ประธานและ “ความไมมีชีวิต” (Inanimateness) หรือ Unbelebtheit ในภาษาเยอรมันนั้น ถือวาเปนลักษณะ สำ�คัญ เพราะเปนความหมายที่อยูในขั้วตรงขามกับ คำ�วา man ในภาษาเยอรมัน ซึง่ ตองมีความหมายเปนคน [+ human] เสมอ การใชส่งิ ไมมีชีวิตเปนประธานของ ประโยค ไมวาจะมีความหมายเปนผูถูกกระทำ� (ตีความ วาเปนประโยคกรรมวาจก) หรือการใชกรรมเปนหัว เรือ่ ง (ตีความวาเปนกรรมของประธานไรรปู ) จะเปนการ เปลี่ยนมุมมองในการนำ�เสนอภาพเหตุการณหรือการ กระทำ�หนึ่งๆ วาอันที่จริงมีคนเกี่ยวของอยู แตในที่นี้คน หรือผูก ระทำ�ไมไดมคี วามสำ�คัญ หรือไมจำ�เปนตองชีช้ ดั ใหเห็นวาเปนใครนั่นเอง ดังตัวอยางตอไปนี้ (6) เมล็ดมันตองตมกอนกินถึงจะกินดี [WL4_O] ‘Kocht man die Samen vorher, schmecken sie noch besser’ [WL-4_Ü]

(7) Pool, in den man heißes Quellwasser

laufen lassen kann [JH-6_O]

'สระวายน้ำ�ที่สามารถเก็บน้ำ�รอนซึ่งไหลมาจาก บอแรเอาไวได’ [JH-6_Ü] โครงสรางของคำ�เทียบเคียงทีป่ รากฏในกลุม ถัดไป มีจ�ำ นวน 8.79% คำ�เทียบเคียงกลุม นีน้ �ำ เสนอภาพแบบเปน กลาง (objectivization) ไมกลาวถึงผูกระทำ� ในการกระทำ� หรือเหตุการณท่เี กิดขึ้นโดยผูกระทำ�ที่เปนมนุษยจะถูก นำ�เสนอในรูปของ “สภาพ” (state) แทนโดยไมตองเอย ถึงการรับรูของมนุษย ซึ่งเปนคุณสมบัติสำ�คัญประการ หนึ่งของการใช man ในภาษาเยอรมันที่นำ�เสนอภาพ เหตุการณในฐานะเปนการรับรูของคน (abstracting man) ดวยเหตุนี้ ประโยคในภาษาไทยที่มีความหมาย ตรงกับประโยคทีใ่ ชคำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมัน จึ ง ไม ป รากฏว า มี รู ป คำ � ใดที่ ถื อ เป น คำ � เที ย บเคี ย งได โครงสรางที่ปรากฏในภาษาไทยในกรณีนี้เทียบไดกับ การใชกริยาเชื่อมความ (copula) หรือบงบอกความเปน อยู  คื อ กริ ย า sein (to be) ในภาษาเยอรมั น

52

ดังตัวอยางตอไปนี้ (8) แทนที่ จ ะเป น หาดทรายกลั บ กลายเป น กระทอมไมสับปะรังเคหลังหนึ่ง [KS-2_O] '...sah man anstelle eines unbewohnten Strandes eine baufällige Holzhütte’ [KS-2_Ü]

การนำ�เสนอดวยมุมมองดังตัวอยางขางตนนี้ถือ ไดวา มีความสัมพันธกบั โครงสรางของกลุม ทีม่ ี “สิง่ ไมมชี วี ติ ” เปนประธานของประโยคเชนกัน เนื่องจากเมื่อนำ�เสนอ ภาพการกระทำ�หรือเหตุการณหนึ่งโดยการตัดการรับรู ของมนุษยออกไป ประธานของประโยคก็มักกลายเปน สิ่งไมมีชีวิตโดยอัตโนมัติ อยางไรก็ตาม ลักษณะสำ�คัญ ของโครงสรางในกลุม นีค้ อื การทำ�ใหกลายเปนการนำ�เสนอ “สภาพ” ไมใชการกระทำ�และเปนการตัดผูก ระทำ�ออกไป โดยสิ้นเชิง ในขณะที่กลุมที่ประธานเปนสิ่งไมมีชีวิตนั้น ยังสามารถมองเห็นภาพการมีสว นรวมของมนุษยในฐานะ ผูก ระทำ�ไดอยู โครงสรางกลุม สุดทายมีจ�ำ นวนเพียงเล็กนอยเชนกัน (4.40 %) เปนโครงสรางทีเ่ รียกวา “กันและกัน” (reciprocal constructions) เนื่ องจากในประโยคภาษาไทยที่เ ปน ประโยคเที ย บเคี ย งกั บ ประโยคที่ ใ ช man ในภาษา เยอรมัน ทุกกรณีมีคำ�วา “กัน” อยูดวย คำ�นี้ตรงกับคำ� ภาษาเยอรมันวา einander (each other / one another) ในภาษาไทย “กัน” ถือเปนคำ�วิเศษณซ่งึ ใชประกอบ ทายคำ�กริยาของผูกระทำ�ตั้งแตสองคนขึ้นไป แสดงการ กระทำ�รวมกันหรือตอกัน (ราชบัณฑิตสถาน 2546 : 104) หรือตรงกับที่ Iwasaki and Ingkaphirom (2005 : 305) ใหคำ�อธิบายไววามีความหมายทั้ ง ที่ เ ป น การกระจาย (กระทำ�ตอกัน - distribution) และความหมายเปน องครวม (รวมกัน - collective) เมื่อใดก็ตามที่ใชคำ�นี้ จึง ถือวาตองนึกภาพผูกระทำ�เปนพหูพจนเสมอ แมจะไมมี ประธานปรากฏรูปใหเห็นในประโยคก็ตาม กรณีของคำ� เทียบเคียงของ man ทีพ่ บในคลังขอมูลนัน้ จะเห็นไดวา ถอย คำ�ทีพ่ บบอยมากทีส่ ดุ คือ “วากันวา” ซึง่ มีความหมายตรงกับ ภาษาเยอรมันวา man sagt ซึ่งจะเห็นไดวาโครงสราง ดั ง กล า วนี้ ค ล า ยคลึ ง กั บ โครงสร า งกรรมวาจกที่ ไ ม มี ประธานอยาง es wird gesagt ในภาษาเยอรมันหรือ it is said ในภาษาอังกฤษนั่นเอง


คำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมันกับคำ�เทียบเคียงในภาษาไทย กรกช อัตตวิริยะนุภาพ

เมื่อยอนกลับมาพิจารณาผลการศึกษาที่ไดใน ภาพรวมจะเห็นไดชดั วาคุณสมบัตทิ างความหมายของคำ� สรรพนาม man ในภาษาเยอรมันนั้นมีความสัมพันธ อย า งสู ง กั บโครงสรางของประโยคที่ไมมีประธานใน ภาษาตางๆ ที่นำ�มาเปนคูเทียบ กลาวคือ โดยทั่วไป ไมพบวามีคำ�สรรพนามใดที่ทำ�หนาที่เปนคำ�เทียบเคียง สมบู ร ณ เ พี ย งคำ � เดี ย วกั บ คำ � สรรพนามรู ป นี้ ใ นภาษา เยอรมั น แตประโยคที่ไมมีประธานถือเปนรูปแบบที่ พบวาบอยที่สุดในฐานะโครงสรางที่ส่อื ความเดียวกัน กับการใชค�ำ สรรพนาม man ทั้งนี้ โครงสรางประโยคที่ ไมมีประธาน (Subjectless sentence) อาจแสดงดวย การแสดงรูปประธาน แตประธานและกริยาแทไมผันรูป สอดคลองกัน อยางที่โดยปกติตองเปนในภาษานั้นๆ ก็ได เชน กรณีของภาษาลิทวั เนีย (Žeimantienė 2005) ดวยเหตุน้ี จึงอาจถือไดวา ในภาษาเยอรมันนัน้ คำ�สรรพนาม man ทำ�หนาที่เปนประธานโดยรูป (Formal subject) ดวยเชนกัน ซึง่ นอกจากความหมายทีเ่ ปนการกำ�หนดวา ตองเกีย่ วของกับ “คน” [+ human] แลวความหมายทีช่ ดั เจน กวานี้ ซึง่ มีดว ยกันหลายความหมายนัน้ จะตองพิจารณา จากบริบทเทานัน้ 5. บทสรุป คำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมันถือไดวามี พัฒนาการคลายกับบุรษุ สรรพนาม (Personal pronoun) และอนิยมสรรพนาม (Indefinite pronoun) โดยเฉพาะ อยางยิ่งในกลุมหลังมีความพองกันในเรื่องการแบงแยก ระหวางคำ�ที่ใชกลาวถึงคน กับกรณีของสิ่งที่ไมมีชีวิต ตัวอยางเชนการแบงระหวาง jemand, jeder (บางคน, ทุกคน) กับ etwas, alles (บางสิง่ , ทุกสิง่ ) เปนตน อยางไร ก็ตาม คำ�สรรพนาม man มีลักษณะแตกตางออกไป จากคำ�สรรพนามทั้งสองประเภทนี้ กลาวคือ เมื่อเทียบ กับบุรุษสรรพนาม คำ�สรรพนาม man มีการผันรูป ได ไ ม ค รบทุ ก การก กล า วคื อ ไม มี รู ป ในการกอื่ น นอกจากการกประธาน (Nominative) แตสามารถแสดง การกกรรมตรง (Accusative) และการกกรรมรอง (Dative) ไดโดยยืมรูปของคำ � นำ� หนานามแบบไม ชี้ เฉพาะมาใชกลายเปน einen และ einem ตามลำ�ดับ ส ว นการกแสดงความเป น เจ า ของ (Genitive) นั้น

ไมมใี ชเลย ลักษณะของ man ที่แตกตางไปจากอนิยม สรรพนามนั้นคือ โดยทั่วไปอนิยมสรรพนามจะไมมี การผันรูปคำ�ไปตามประเภททางไวยากรณหากเปนคำ� สรรพนามที่อางอิงถึงสิ่งไมมีชีวิต เชน etwas (บางสิง่ ) alles (ทุกสิง่ ) แตจะผันรูปกรณีทใ่ี ชกบั บุคคล เชน jemand (ใครบางคน – nominative) jemanden (ใครบางคน – accusative) เปนตน จึงเห็นไดวา man มีลักษณะของ การผันรูปคำ�ไมเขาพวกกับกลุมใดกลุมหนึ่งโดยชัดเจน อยางไรก็ตาม เกณฑดงั กลาวนีก้ ค็ งยังไมสามารถใชเพือ่ ชี้ชัดลงไปวาคำ�สรรพนาม man ควรจั ด อยู  ใ นกลุ  ม คำ�สรรพนามประเภทใด จากข อ ค น พบที่ไ ด จ ากการศึ ก ษาเปรี ย บต า ง คำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมันกับคำ�เทียบเคียงใน ภาษาไทยในครัง้ นี้ ผูว จิ ยั สนับสนุนแนวทางของ Zifonun (2000 ; 2001) ที่วิเคราะหคุณสมบัติทางรูปคำ�และ วากยสัมพันธต ลอดจนความหมายของคำ � สรรพนาม man แลวจัดประเภทวาคำ�สรรพนามนีม้ คี ณ ุ สมบัตใิ กลเคียง กับบุรุษสรรพนามมากกวาอนิยมสรรพนาม ทั้งนี้ หาก พิ จ ารณาจากมุ ม มองของภาษาไทยจะเห็ น ได ว  า คำ � เทียบเคียงทีม่ คี วามหมายและหนาทีข่ อง man มากที่สุด คื อ การละคำ�สรรพนามเปนลักษณะที่ในภาษาไทย พบในกรณี ข องการใช บุรุษ สรรพนามเป น ส ว นใหญ เนื่อ งจากสามารถคาดเดาประธานของประโยคได จากบริบทแวดลอม ในขณะที่การละคำ�สรรพนามที่ เปนอนิยมสรรพนามนัน้ จะทำ�ไดยากกวา แม จ ากการศึ ก ษาครั้ง นี้อ าจทำ � ให ส ามารถตั้ง สมมติฐานไดวารูปคำ�ที่เปนคำ�สรรพนามและทำ�หนาที่ สื่อความหมายที่ ห ลากหลายได แ บบเดี ย วกั บ man นั้นนาจะเปนคำ�วา “เรา” ซึ่งเปนบุรุษสรรพนามบุรุษ ที่ 1 และมักใชในความหมายพหูพจน เนื่องจากเปน คำ�ที่มีความหมายหลากหลาย แตก็ยังไมสามารถสรุป ไดชัดเจนวาคำ�สรรพนามนี้จะพัฒนาไปสูคำ�ที่ทำ�หนาที่ เหมือนกับ man ไดสมบูรณ โดยเฉพาะอยางยิ่ง คำ� สรรพนาม “เรา” ไมสามารถสื่อความหมายในกรณีที่ ไมรวู า ใครเปนผูก ระทำ� (Anonym man) ไดอยางแนนอน ระบบคำ�สรรพนามในภาษาไทยเองนั้นมีความซับซอน และมักใชคำ�รูปเดียวกันสำ�หรับหลายหนาที่อยูแลว จึง เปนการยากที่จะเกิดปรากฏการณท่ีคำ�นี้จะกลายเปน

53


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

คำ�ทีท่ �ำ หนาทีเ่ หมือน man ในภาษาเยอรมันได นอกจาก จะเกิดปรากฏการณที่เหมือนกับคำ�วา wir (we) ใน ภาษาเยอรมัน ซึ่งสามารถใชเพื่อสื่อความถึงคนทั่วไป โดยไมไดเนนตัวผูพ ดู และมีความหมายพองกันกับ man ไดเชนกัน จึงเห็นไดวาการใชประโยคที่ไมมีประธาน นาจะเปนแนวโนมที่จะยังคงอยูในภาษาไทยมากกวา การที่จะเกิดคำ�ทางไวยากรณใหมที่ทำ�หนาที่ไดเหมือน กับ man ในภาษาเยอรมัน ผูว จิ ยั ขอตัง้ ขอสังเกตไววา คำ�สรรพนาม man นัน้ เกิดขึน้ เนือ่ งจากในระบบภาษาเยอรมันตองการสรางความ คลุมเครือในการสือ่ ความโดยตองการใหขอ มูลเพียงแควา เกี่ยวของกับคน แตไมตองการชี้ชัดลงไปวาคนนั้น หรือ คนกลุ  ม นั้ น เป น ใคร จึงใชรูปคำ�สรรพนามกลางมาทำ� หนาทีน่ ้ี แตภาษาไทยซึง่ เปนภาษาทีม่ โี ครงสรางประโยค คลุมเครือ สามารถละสวนตางๆ ของประโยค รวมถึง ประธานของประโยคไดโดยงาย ซึง่ เปนสิง่ ทีภ่ าษาเยอรมัน ทำ�ไดยาก เพราะตองอาศัยประธานเปนตัวอางอิงในการ กระจายรูปคำ�กริยาแท ระบบภาษาไทยจึงเอื้อตอการ 

54

สือ่ ความหมายของ man ได โ ดยการทำ � ให ไ ม เ ห็ น รู ป ของประธาน แทนที่จะสรางรูปคำ�พิเศษมาทำ�หนาที่ อันหลากหลายนี้ การศึกษาเปรียบตางการใชคำ�สรรพนาม man กับคำ�เทียบเคียงในภาษาไทยมีความสำ�คัญและสามารถ นำ�ผลการศึกษาไปใชในการบรรยายไวยากรณเยอรมัน ใหแกผูเรียนชาวไทยได อยางไรก็ตาม การวิเคราะห ขอมูลในครั้งนี้ยังถือเปนเพียงโครงการนำ�รอง เนื่องจาก ยังใชคลังขอมูลที่ไมใหญนัก จึ ง อาจต อ งมี ก ารศึ ก ษา ตอไปอีกโดยใชขอมูลที่หลากหลายขึ้น ตลอดจนศึกษา ในแง มุ ม ของป ญ หาที่ ป ระสบทั้ ง ในด า นการแปลและ การเรียนการสอนภาษา นอกจากนี้ ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวของและนาศึกษาตอ เชน ศึกษาเปรียบเทียบ การรั บ รู  ข องผู  รั บ สารที่ เ กิ ด จากการใช คำ � สรรพนาม man ในปริมาณที่แตกตางกันในตัวบทแบบตางๆ หรือ การวิเคราะหบทบาทของการใช man ในเชิงสังคมหรือ วัจนปฏิบัติศาสตร ดังนี้เปนตน






คำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมันกับคำ�เทียบเคียงในภาษาไทย กรกช อัตตวิริยะนุภาพ

บรรณานุกรม ภาษาไทย กิตมิ า อินทรัมพรรย. (2553). ประธานไรรปู ในภาษาไทย. ใน รวมบทความเสนอในการประชุมวิชาการ โครงการ ไวยากรณไทย ฉบับครอบคลุมภาษายอย เรื่อง ความหลายหลายของภาษาในสังคมไทย ภาษาไทย มาตรฐาน ภาษาไทยถิ่น และภาษายอยในสังคมไทย : ประเด็นปญหาและขอคนพบใหม, อมรา ประสิทธิร์ ฐั สินธุ, สรบุศย รุง โรจนสวุ รรณ และศรวนีย สรรคบุรานุรกั ษ, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย : 78-102. ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบคุ สพบั ลิเคชัน่ ส. ภาษาตางประเทศ

Attaviriyanupap, K. und Perrig, G. (2009). Person und Pronomen. In Deutsche Morphologie. Edited by E. Hentschel / P. M. Vogel. Berlin ; New York: de Gruyter : 312-326. Bußmann, H., ed. (2008). Lexikon der Sprachwissenschaft. 4. durchgesehene u. bibliographisch ergänzte Auflage. Stuttgart: Kröner. Dimova, A. (1981). Die Polysemie des Pronomens man unter Berücksichtigung seiner Äquivalente im Bulgarischen. Deutsch als Fremdsprache 1 : 38-44. Duden. (2005). Grammatik der deutschen Gegenwartssprache. 7., völlig neu erarb. u. erw. Aufl. Mannheim etc. : Dudenverlag. Engel, U. (2004). Deutsche Grammatik. Neubearbeitung. München: Iudicium. Glück, H., ed. (2010). Metzler Lexikon Sprache. 4. akutalisierte u. überarbeite Auflage. Stuttgart / Weimar: Metzler. Graefen, G. (2007). Pronomen. In Deutsche Wortarten. Edited by L. Hoffmann. Berlin ; New York: de Gruyter : 657-705. Haspelmath, M. (1997). Indefinite Pronouns. Oxford: Oxford University Press. Helbig, G. und Buscha, J. (2001). Deutsche Grammatik. Ein Handbuch für den Ausländerunterricht. Berlin etc.: Langenscheidt. Hentschel, E. und Weydt, H. (2003). Handbuch der deutschen Grammatik. 3., überarb. Auflage. Berlin ; New York: de Gruyter. Iwasaki, S. and Ingkaphirom, P. (2005). A Reference Grammar of Thai. Cambridge: Cambridge University Press. Kluge, F. und Seebold, E. (2002). Etymologisches Wörterbuch der deutschen Sprache. Berlin ; New York: de Gruyter. Marschall, G. R. (1996). Was bezeichnet man? Das indefiniteste “Indefinitpronomen” und seine Verwandten. In Pro-Formen des Deutschen. Edited by M. Pérennec. Tübingen: Stauffenburg Verlag. Reichel, A. (2007). Das Pronomen man im Deutschen und seine Entsprechungen im Russischen. Hausarbeit: Humboldt Universität zu Berlin.

55


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

Sasse, H. (1993). Syntactic Categories and Subcategories. In Syntax. An International Handbook of Contemporary Research. Vol. 1. Edited by J. Jacob et al. Berlin ; New York: Walter de Gruyter : 646–686. Vahl-Seyfarth, E. (1987). Das unbestimmte Subjekt in gesprochener Sprache. Vorkommen, Funktionen und Gebrauchsbedingungen untersucht an Tonbandaufnahmen aus BadenWürttemberg, Bayrischen-Schwaben und Voralberg. Tübingen: Niemeyer. Žeimantienė, V. (2005). Einzelsprachliche Realisierungen des Subjekt-Impersonals : das Beispiel deutsche man-Sätze und ihrer Entsprechungen im Litauischen. Kalbotyra 55, 3 : 81-80. [Online]. Retrieved April 22, 2011. from http://www.minfolit.lt/arch/2501/2516.pdf Zifonun, G. (2000). “Man lebt nur einmal.” Morphosyntax und Semantik des Pronomens man. Deutsche Sprache 28 : 232–253. _________. (2001). Grammatik des Deutschen im europäischen Vergleich: “Das Pronomen” Teil I : Überblick und Personalpronomen. Mannheim: Institut für deutsche Sprache.

56


คำ�สรรพนาม man ในภาษาเยอรมันกับคำ�เทียบเคียงในภาษาไทย กรกช อัตตวิริยะนุภาพ

ภาคผนวก รายชื่องานวรรณกรรมและบทแปลในคลังขอมูลที่วิเคราะห ชื่อเรื่องตนฉบับ

ผูเขียน

ผูแปล

ปที่ตีพิมพตน ฉบับ

ปที่ตีพิมพบท แปล

Neues vom Norbert

Helmut Krauser

ผุสดี ศรีเขียว

2533

2551

Am See

Felicitas Hoppe

อำ�ภา โอตระกูล

2539

2551

Töten

Daniel Kehlmann

อรัญญา โรเซ็น-เบิรก พรหมนอก

2543

2551

Zugfahrt

Julia Franck

วรางคณา ศิริวานนท

2543

2551

Erleuchtung durch Fußball

Ralf Rothmann

นฤมล งาวสุวรรณ

2544

2551

Gestalten

Marcel Beyer

อาจณา เซาเรอร

2544

2551

Die Freundin meines Freunds

Nadja Einzmann

สุทธิชล โพธิรังษี

2544

2551

Unter Zeiten

Kevin Vennemann

บุศรินทร อิสรชัย

2545

2551

Kaltblau

Judith Hermann

เฉิดฉวี แสงจันทร

2546

2551

Sibirien

Jenny Erpenbeck

พรสรรค วัฒนางกูร

2544

2551

Die Umgebung von Blitzen

Silke Scheuermann

เจนจิรา เสรีโยธิน

2548

2551

Sony Center

Ulrich Pelzer

กรกช อัตตวิริยะนุภาพ

2548

2551

Abschied von Berlin

Arno Geiger

อัญชลี โตพึ่งพงศ

2550

2551

ครอบครัวกลางถนน

ศิลา โคมฉาย

Kirsten Ritscher & Heike Werner

2536

2549

คนบนสะพาน

ไพฑูรย ธัญญา

Kirsten Ritscher & Heike Werner

2530

2549

กระถางชะเนียงริมหนาตาง

วินทร เลียววาริณ

Kirsten Ritscher & Heike Werner

2539

2549

โลกใบเล็กของซัลมาน

กนกพงศ สงสมพันธุ

Kirsten Ritscher & Heike Werner

2534

2549

หมอที่ขูดไมออก

อัญชัน

Kirsten Ritscher & Heike Werner

2533

2549

พลเมืองดี

เสกสรร ประเสริฐกุล

Kirsten Ritscher & Heike Werner

2523

2549

มัทรี

ศรีดาวเรือง

Kirsten Ritscher & Heike Werner

2528

2549

ซิ้มใบ

ประภัสสร เสวิกุล

Kirsten Ritscher & Heike Werner

2527

2549

ผาติกรรม

วาณิช จรุงกิจอนันติ์

Kirsten Ritscher & Heike Werner

2527

2549

ขอทาน

อัญชัน

Kirsten Ritscher & Heike Werner

2533

2549

บนทองน้ำ�เมื่อยามค่ำ�

อัศศิริ ธรรมโชติ

Kirsten Ritscher & Heike Werner

2524

2549

ธุลีประดับดิน

ปรีชาพล บุญชวย

Kirsten Ritscher & Heike Werner

2523

2549

นางรำ�

อัศศิริ ธรรมโชติ

Klaus Rosenberg

2523

2535

พอรองไหครั้งแรก

วิสรรชนีย นาคร

Klaus Rosenberg

2526

2535

ชีวิตสีดำ�ของแพร

นิรมล พฤฒาธร

Klaus Rosenberg

2526

2535

57



กาวสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015 : ขอทาทายหลักสูตรการทองเที่ยวและการผลิตบุคลากรของประเทศเวียดนาม

Step Forwards the ASEAN Economic Community 2015: Challenges to Vietnam Tourism Education and Capacity Builders1 อารีย ถิรสัตยาพิทักษ 2 Aree Tirasatayapitak บทคัดยอ การศึกษานีว้ เิ คราะหสถานการณการจัดการหลักสูตร จุดออนและจุดแข็งของการจัดการหลักสูตรการบริการ และการทองเที่ยวของมหาวิทยาลัยในประเทศเวียดนามและแนวทางการสรางความรวมมือของสถาบันการศึกษาใน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อสรางความเขาใจอันดีและการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ โดยใชการวิจัยเอกสาร การ สำ�รวจตัวอยางโดยใชแบบสอบถามเก็บขอมูลจากอาจารยหัวหนาสาขาการบริการและ/หรือการทองเที่ยวเฉพาะ ในมหาวิทยาลัยที่มีคณะที่เปดสอนหลักสูตรนี้ทั้งหมด 40 แหง รวมจำ�นวนหนวยตัวอยางทั้งสิ้น 40 คนและการจัด ประชุมเฉพาะกลุมรวม 2 ครั้งที่ Hanoi University และที่ Thai Nguyen University of Economics and Business Administration (TUEBA) ซึ่งใชเทคนิคเดลฟาย และวิธีการสุมแบบเจาะจงในการเลือกกลุมผูใหขอมูล รวม 14 คน ปจจุบนั มหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตไดเพียงรอยละ 50 ของความตองการแรงงานของอุตสาหกรรมการทองเทีย่ ว หลักสูตร มีจุดแข็งดานการจัดการ เชน หลักสูตรมีความทันสมัย การจัดประสบการณการเรียนรูนอกสถานที่ การเสริมสราง ประสบการณดานการปฎิบัติแกนักศึกษาและมีอาจารยผูสอนที่มีความเชี่ยวชาญ สวนจุดออนคือ การสนับสนุน งบประมาณจากรัฐบาล นอกจากนีร้ ฐั บาลของประเทศสมาชิกอาเซียนควรสงเสริมความรวมมือระหวางมหาวิทยาลัยใน อาเซียนในทุกดานรวมถึงการสนับสนุนงบประมาณในการสรางเครือขายและพันธมิตรทางวิชาการ และการแลกเปลีย่ น ดานวิชาการและมหาวิทยาลัยในอาเซียนควรเพิ่มความรวมมือในการแลกเปลี่ยนดานวิชาการ การจัดประชุมวิชาการ สัมมนาและการทำ�วิจยั รวมกันระหวางผูท รงคุณวุฒดิ า นการทองเทีย่ ว อาจารยและนักศึกษาระหวางสถาบันในอาเซียน คำ�สำ�คัญ: 1. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. 2. หลักสูตรการทองเทีย่ ว. 3. การผลิตบุคลากรของประเทศเวียดนาม.

__________________ 1 บทความวิจัยนี้พัฒนามาจากผลการศึกษาเรื่อง ASEAN การบูรณาการการเรียนรูขามวัฒนธรรมผานหลักสูตรการทองเที่ยว ในกลุมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษาประเทศเวียดนามและประเทศกัมพูชา 2 ผูชวยศาสตราจารย ดร. ประจำ�สาขาการจัดการการทองเที่ยว คณะการบริการและการทองเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

Abstract The paper analyzed the situation of curricula management, weaknesses and strengths of the hospitality and tourism management programs at undergraduate level in Vietnam and guidelines to establish academic collaboration among universities in ASEAN to strengthen the good understanding and academic exchange. Data was collected using documentary research, a questionnaire survey of the chairs of hospitality and/or tourism programs in 40 universities, with a total sample groups of 40 persons, and two focus group meetings at Hanoi University and Thai Nguyen University of Economics and Business Administration (TUEBA), employing Delphi Technique and purposive sampling methods to select the key informants with total of 14 persons. At present, the universities could supply only 50 % of the graduates needed for tourism industry. The management of the hospitality and tourism programs strengths were in terms of the updated curricula, the provision of exposure in learning activities, the strengthening of practical experience for the students and the qualified teaching staff. The common weakness is inadequate financial support from the government. Furthermore, the governments of ASEAN member countries should promote and adequately subsidize the cooperative networks among universities for academic exchanges. The universities should enhance the collaboration in terms of academic exchanges, academic conferences and seminars and research among the scholars in the tourism industry, instructors and students among the ASEAN institutions. Keywords: 1. The ASEAN Economic Community. 2. Tourism education. 3. Capacity builders of Vietnam.

44


​กาวสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015: ขอทาทายหลักสูตรการทองเที่ยวและการผลิตบุคลากรของประเทศเวียดนาม อารีย ถิรสัตยาพิทักษ

บทนำ� ประเทศเวียดนามลงนามเขารวมกลุมสมาคม ประชาชาติแหงเอเชียตะวันออกเฉียงใต (อาเซียน) ใน ป ค.ศ.1995 เปนสมาชิกขององคการคาโลก (WTO) เปนลำ�ดับที่ 110 ในป ค.ศ. 2007 และเปนกลุมประเทศ สมาชิกใหมในการเขารวมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในป ค.ศ. 2015 เชนเดียวกับประเทศกัมพูชา ลาว และพมา (นุศจี ทวีวงศ 2552) ตั้งแตป ค.ศ. 2006 เปนตนมา ประเทศเวียดนามมีอัตราการเติบโตของ ผลผลิตมวลรวม (GDP) ในระดับสูงหากเปรียบเทียบกับ อัตราการเติบโตผลผลิตมวลรวมของประเทศเพื่อนบาน ในกลุมอาเซียน กลาวคือ ผลผลิตมวลรวมของประเทศ เติบโตรอยละ 8.5 ในป ค.ศ. 2006 และเติบโตในอัตรา เดียวกันรอยละ 8.5 ในป ค.ศ.2009 และลดลงเหลือ รอยละ 6.5 ในป ค.ศ. 2010 (Runckel 2009) รัฐบาล เวี ย ดนามได กำ � หนดเป า หมายในการพั ฒ นาการ ทองเที่ยวจากแผนปฎิบัติการการทองเที่ยวแหงชาติ ป 2006 - 2010 (The National Tourism Action Plans 2006 - 2010) ดังนี้ การเพิ่มจำ�นวนนักทองเที่ยวชาว ตางชาติใหสูงขึ้นรอยละ 10 - 20 ตอปและนักทองเที่ยว ภายในประเทศรอยละ 15 - 20 ตอป รวมถึงรายไดจาก การทองเที่ยว 4 - 5 ลานลานดอลลารในป ค.ศ. 2010 การพัฒนาคุณภาพการบริการและเพิม่ ความหลากหลาย ของสินคาและบริการการทองเที่ยวเพื่อ สงเสริมให ประเทศเวียดนามเปนจุดหมายปลายทางการทองเที่ยว ทีม่ ชี อื่ เสียงในระดับนานาชาติ รวมถึงสงเสริมการพัฒนา การทองเที่ยวอยางยั่งยืน (VNAT 2006) ดังนั้น การ บรรลุเปาหมายดังกลาวและการเพิม่ อัตราการเติบโตของ ผลผลิตมวลรวม (GDP) ของประเทศขึน้ อยูก บั ทรัพยากร มนุษยที่มีคุณภาพและไดรับการฝกอบรมทักษะตางๆ และทักษะดานภาษาจากระบบการศึกษาที่ทันสมัย แมประเทศเวียดนามใหการสนับสนุนการพัฒนา ระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการทองเที่ยวในเชิง รุกก็ตาม การกำ�หนดนโยบาย การบริหารจัดการระบบ เศรษฐกิจในองครวมรวมถึงการบริหารจัดการระบบ การศึกษาจะถูกควบคุมโดยภาครัฐเปนสวนใหญ ดังนั้น การกาวสูการรวมกลุมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่

เปดเสรีทางการแขงขันทางดานการผลิต การทองเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษยในป ค.ศ. 2015 ควบคูไ ป กับการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝมือบุคลากร ทางการทองเที่ยวเพื่อเพิ่มอัตราการเติบโตของผลผลิต มวลรวม (GDP) ของประเทศจึงเปนสมการที่สำ�คัญ สำ�หรับประเทศเวียดนาม บทความวิจัยนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาเรื่อง ASEAN : การบูรณาการการเรียนรูขามวัฒนธรรมผาน หลั ก สู ต รการท อ งเที่ ย วในกลุ  ม ประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น กรณี ศึ ก ษาประเทศเวี ย ดนามและประเทศ กัมพูชาที่มุงเสนอผลการวิเคราะหจุดออนและจุดแข็ง ในการจัดการหลักสูตรการบริการและการทองเที่ยว ของมหาวิทยาลัยในประเทศเวียดนามและแนวทางการ สรางความรวมมือของสถาบันการศึกษาในประชาคม เศรษฐกิ จ อาเซี ย นเพื่ อ การแลกเปลี่ ย นทางวิ ช าการ และสรางความเขาใจอันดีในภูมิภาค ระเบียบวิธีการวิจัย การวิจัยนี้เปนการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิง ปริมาณ มีวตั ถุประสงคเพือ่ ศึกษาสถานการณการจัดการ หลักสูตร จุดออนและจุดแข็งของการจัดการหลักสูตร การบริ ก ารและการท อ งเที่ ย วในมหาวิ ท ยาลั ย ของ ประเทศเวียดนามและเพือ่ ศึกษาแนวทางการสรางความ รวมมือของสถาบันการศึกษาในประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนเพื่อสรางความเขาใจอันดีและการแลกเปลี่ยน ทางวิชาการ โดยมีขอบเขตการวิจัยที่ศึกษาเฉพาะการ จัดการการศึกษาระดับอุดมศึกษาดานการบริการและ การทองเที่ยวในมหาวิทยาลัยของประเทศเวียดนาม และความคิ ด เห็ น ต อ ข อ ตกลงยอมรั บ ร ว มคุ ณ สมบั ติ นักวิชาชีพแหงอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement: MRA) ในการจั ด การหลั ก สู ต รและ ระดั บ สมรรถนะในการแข ง ขั น และประกอบอาชี พ ในตางประเทศของบัณฑิต กอนที่จะนำ�ผลการศึกษา ที่ไดไปใชในการเสนอแนะแนวทางทางการสรางความ รวมมือของสถาบันการศึกษาในประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนตอไป จำ�แนกการศึกษาและการเก็บขอมูล ออกเปน 2 สวน ดังนี้

45


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

1. แนวทางคุณภาพ ใชการศึกษาขอมูลจากเอกสาร (Documentary research) ที่เกี่ยวของกับแนวคิดสมาคมประชาชาติ แหงเอเชียตะวันออกเฉียงใต (อาเซียน) การรวมกลุม เศรษฐกิจประชาคมอาเซียนและการจัดการหลักสูตร การบริ ก ารและการท อ งเที่ ย วของประเทศเวี ย ดนาม และการศึกษาวิจัยภาคสนาม (Field research) โดย การจัดประชุมเฉพาะกลุม (focus-group discussion) ที่ ประเทศเวียดนามรวม 2 ครั้ง ซึ่งครั้งที่ 1 จัดที่ Hanoi University ในวันที่ 5 ตุลาคม 2553 และครั้งที่ 2 จัดที่ Thai Nguyen University of Economics and Business Administration (TUEBA) ในวันที่ 6 ตุลาคม 2553 นักวิจัยใชเทคนิคเดลฟาย (Delphi Techniques) โดย กำ�หนดคุณสมบัติของผูทรงคุณวุฒิไวเปนเกณฑในการ คัดเลือกดังนี้ จบการศึกษาอยางนอยระดับปริญญาตรี และมีประสบการณการสอนในหลักสูตรการบริการและ การทองเที่ยวในระดับปริญญาตรีอยางนอย 1 ป หรือ มีประสบการณในการบริหารหลักสูตรการบริการและ การทองเที่ยวหรือรวมพัฒนาหลักสูตร และใชวิธีการ สุมแบบเจาะจง (Purposive sampling) ในการเลือก กลุมผูใหขอมูล มีผูทรงคุณวุฒิเขารวมประชุมจำ�นวน 7 คนตอครัง้ รวม 14 คน โดยใชแนวคำ�ถามกึง่ มีโครงสราง (Semi-structured questions) เปนเครื่องมือการวิจัย ในการเก็บขอมูล นอกจากนี้การวิเคราะหขอมูลใชการ วิเคราะหเชิงเนื้อหา (Content analysis) นำ�เสนอเปน คำ�บรรยาย 2. แนวทางปริมาณ ใชการศึกษาวิจัยภาคสนาม (Field research) โดยใชแบบสอบถามเปนเครื่องมือการวิจัยในการเก็บ ขอมูล การวิจัยนี้ใชระยะเวลาเก็บขอมูลเพียงครั้งเดียว (Cross-sectional approach)ในชวงเดือนสิงหาคมพฤศจิกายน 2553 และศึกษากลุมตัวอยางทั้งหมด (Census study) โดยเก็บขอมูลจากอาจารยหวั หนาสาขา การบริการและ/หรือการทองเทีย่ วเฉพาะในมหาวิทยาลัย ที่มีคณะที่เปดสอนหลักสูตรการบริการและ/หรือการ ทองเที่ยวซึ่งมีจำ�นวนทั้งสิ้น 40 แหง รวมจำ�นวนหนวย ตัวอยางทีใ่ ชในการวิจยั ทัง้ สิน้ 40 คน และวิเคราะหขอ มูล โดยใชโปรแกรมสถิติทางคอมพิวเตอร เพื่อหาคาเฉลี่ย

46

ของคำ�ตอบ อัตราสวนรอยละ (Percentage) และความถี่ (Frequency) และนำ�เสนอผลการวิจัยโดยใชสถิติเชิง พรรณนา ผลการวิจัย ผลการวิจัยไดจากการวิเคราะหขอมูลทุติยภูมิ จากการศึกษาเอกสาร และขอมูลปฐมภูมจิ ากการสำ�รวจ ตัวอยางโดยใชแบบสอบถามทั้งหมด 40 ชุดและได รับการตอบแบบสอบถามกลับคืนมา 27 ชุดคิดเปน สัดสวนรอยละ 67.5 และการจัดประชุมเฉพาะกลุม ได ผลการศึกษาที่มีขอมูลสอดคลองไปในทิศทางเดียวกัน และแตกตางกันบางในแตละประเด็นศึกษา โดยแบง ผลการวิเคราะหออกเปน 3 สวน ดังนี้ 1. สถานการณการจัดการหลักสูตร จุดออน และจุดแข็งในการจัดการหลักสูตรการบริการและการ ทองเที่ยวในมหาวิทยาลัยของประเทศเวียดนาม 2. ความคิดเห็นตอขอตกลงยอมรับรวมคุณสมบัติ นักวิชาชีพแหงอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement: MRA) และระดับสมรรถนะในการแขงขัน และประกอบอาชีพในตางประเทศของบัณฑิต 3. แนวทางการสรางความรวมมือของสถาบัน การศึกษาในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพือ่ สรางความ เขาใจอันดีและการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ สถานการณการจัดการหลักสูตร จุดออนและจุดแข็ง​ ของการจั ด การหลั ก สู ต รการบริ ก ารและการ​ ทองเที่ยวในมหาวิทยาลัยของประเทศเวียดนาม 1. ผลการวิ เ คราะห ข  อ มู ล จากการศึ ก ษา เอกสาร การศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศเวียดนาม มี ก ารพั ฒ นาอย า งเห็ น ได ชั ด ในช ว งปลายป ค.ศ. 1993 เปนตนมาภายใตการกำ�กับดูแลของกระทรวง ศึกษาธิการและการฝกอบรม (Ministry of Education and Training: MOET) ซึ่ ง มี ห น า ที่ ใ นการกำ � หนด หลักสูตรหลัก (Core curriculum) สำ�หรับการศึกษา ทั่วไป พิจารณาสาขาวิชาใหม กำ�หนดกฎระเบียบใน การสอบและการกำ � หนดปริ ญ ญา ควบคุ ม คุ ณ ภาพ การเรียนการสอน รวมถึงควบคุมการดำ�เนินงานของ


​กาวสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015: ขอทาทายหลักสูตรการทองเที่ยวและการผลิตบุคลากรของประเทศเวียดนาม อารีย ถิรสัตยาพิทักษ

มหาวิทยาลัย (UNESCO 2006 ; Runckel 2009) วาระ การปฏิรูปการอุดมศึกษาป 2006 - 2020 (The Higher Education Reform Agenda 2006-2020) กอใหเกิดการ เปลี่ยนแปลงในดานการศึกษาอยางเห็นไดชัด ซึ่งเห็น ไดจากการเพิ่มขึ้นจำ�นวนสถาบันการศึกษาที่เปดสอน ในระดับอุดมศึกษาทีม่ จี �ำ นวนเพิม่ มากขึน้ และการจัดตัง้ มหาวิทยาลัยเอกชนมีจำ�นวนมากกวา 40 แหง คิดเปน รอยละ 25 ของจำ�นวนมหาวิทยาลัยทั้งหมด (Runckel 2009) การเรี ย นการสอนด า นการบริ ก ารและการ ทองเที่ยวในประเทศเวียดนามแบงเปน 3 ระดับคือ ระดับประกาศนียบัตร (Diploma program) ระดับ ปริญญาตรี (Undergraduate program) และระดับ บัณฑิตศึกษา (Postgraduate program) ประกอบดวย ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ปจจุบันมหาวิทยาลัย ไดเปดสอนสาขาวิชาที่เกี่ยวของกับการบริการและการ ทองเที่ยวรวมทั้งสิ้น 40 แหง โดยโปรแกรมที่เปดสอน ประกอบดวยโปรแกรมภาษาเวียดนาม (Vietnamese program) โปรแกรมภาษาอังกฤษ (English program) และโปรแกรมนานาชาติ (International program) หลักสูตรดานการบริการและการทองเที่ยวที่เปดสอน ในประเทศเวียดนามมีทั้งสิ้น 103 โปรแกรมดวยแตละ สถาบันเปดสอนมากกวาหนึ่งโปรแกรมโดยใหปริญญา ที่แตกตางกัน (Nguyen Thi My Hanh and Chaisawat 2008) ผลจากการศึ ก ษาเอกสารพบว า จุ ด แข็ ง ของ การจัดการหลักสูตรการบริการและการทองเที่ยวของ มหาวิทยาลัยในประเทศเวียดนามคือ รัฐบาลใหการ สนับสนุนการพัฒนาการทองเที่ยวสงผลใหหลักสูตร การบริการและการทองเที่ยวไดรับการสนับสนุนใหเปด สอนไดอยางเสรีในมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยพยายามที่จะปรับปรุงคุณภาพการศึกษา เชน คุณภาพอาจารย มีการปรับปรุงใชเทคโนโลยีและ อุปกรณทที่ นั สมัยในการเรียนการสอน รวมถึงการพัฒนา หลักสูตรและนักศึกษาทีจ่ บการศึกษามีโอกาสไดรบั การ จางงานสูง ในภาพรวมการจัดการหลักสูตรฯ ยังคงมีจดุ ออน หลายขอ เชน หลักสูตรที่ใชสอนในระดับการอุดมศึกษา ในป จ จุ บั น เป น หลั ก สู ต รมาตรฐานสำ � หรั บ สาขาการ

บริหารธุรกิจหรือเวียดนามศึกษา (Vietnamese Studies) ที่สรางขึ้นโดยกระทรวงศึกษาธิการและการฝกอบรม และสาขาการบริ ก ารและการท อ งเที่ ย วจะรวมอยู  ใ น สาขาการบริ ห ารธุ ร กิ จ หรื อ เวี ย ดนามศึ ก ษา ดั ง นั้ น การเรี ย นการสอนจึ ง จั ด ตามมาตรฐานหลั ก สู ต รซึ่ ง นักศึกษาจะเรียนรายวิชาทีเ่ กีย่ วของกับการบริหารธุรกิจ หรือเวียดนามศึกษาเปนสวนใหญ หลายรายวิชาจะ ไมเกี่ยวของกับการบริการและการทองเที่ยว การเรียน การสอนจะใชหลักสูตรและตำ�ราที่พัฒนาขึ้นจากตำ�รา ตางประเทศและพัฒนาขึ้นเองโดยอาจารยผูสอน ซึ่งทั้ง หลักสูตรและตำ�ราจะมีความแตกตางกันคอนขางมาก ในแตละมหาวิทยาลัยทำ�ใหขาดซึง่ ความเปนเอกภาพใน การจัดการ (VNAT 2006 อางใน Nguyen Thi My Hanh and Chaisawat 2008) กระบวนการจัดการในระดับ อุดมศึกษาขาดความคลองตัว ดวยรัฐบาลไมอนุญาต ให ม หาวิ ท ยาลั ย ปรั บ เปลี่ ย นโปรแกรมการสอนและ ฝกอบรม (Training programs) ไดเอง และปจจุบัน การท อ งเที่ ย วในประเทศเวี ย ดนามมี อั ต ราเติ บ โต อยางตอเนื่องสงผลใหภาคอุตสาหกรรมการทองเที่ยว มีความตองการบุคลากรสูงถึงปละ 10,000 คนโดย ประมาณ และสถานการณการจัดการหลักสูตรการบริการ และการทองเทีย่ วในมหาวิทยาลัยของประเทศเวียดนาม ยังไมสามารถผลิตบุคลากรไดอยางเพียงพอตอความ ตองการของภาคอุตสาหกรรม กลาวคือสถาบันการศึกษา ผลิตบัณฑิตไดเพียงรอยละ 40 - 60 จากความตองการ ในเชิงปริมาณทั้งหมด 2. ผลการวิเคราะหขอมูลจากการจัดประชุม เฉพาะกลุม เปนที่นาสนใจวาการวิเคราะหขอมูลจากการ ประชุมเฉพาะกลุมพบวาผลการศึกษามีขอมูลเกี่ยวกับ จุดแข็งและจุดออนในการจัดการหลักสูตรที่แตกตาง กั น บ า งดั ง นี้ ผู  เ ข า ร ว มประชุ ม เฉพาะกลุ  ม ที่ Hanoi University เห็นวาการจัดการหลักสูตรฯ ของมหาวิทยาลัย ในปจจุบันมีจุดแข็งมากกวาจุดออนดังนี้ หลักสูตรมี ความทันสมัย เหมาะสมและมีเอกลักษณ หลักสูตร มี ม าตรฐานและความคล า ยคลึ ง กั บ หลั ก สู ต รของ มหาวิทยาลัยอื่นๆ คณะหรือภาควิชาจัดหาตำ�ราและ อุ ป กรณ ที่ ทั น สมั ย มาใช ใ นการเรี ย นการสอนและ

47


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

มหาวิทยาลัยมีกลไกที่ยืดหยุนในการพัฒนาหลักสูตร อย า งไรก็ ต ามมหาวิ ท ยาลั ย ก็ ยั ง คงมี อุ ป สรรคในการ บริหารจัดการ เชน จำ�นวนอาจารยผูสอนที่มีความ เชี่ยวชาญและมีประสบการณสูงจากภาคอุตสาหกรรม มี ไ ม เ พี ย งพอ มหาวิ ท ยาลั ย ไม ไ ด รั บ การสนั บ สนุ น งบประมาณอย า งเพี ย งพอจากรั ฐ บาลและคณะหรื อ ภาควิชาไมมีการเสริมสรางความเขมแข็งประสบการณ ดานการปฎิบัติแกนักศึกษา ในทางตรงกันขามผูเขา รวมประชุมเฉพาะกลุมที่ Thai Nguyen University of Economics and Business Administration (TUEBA) เห็นวาการจัดการหลักสูตรในปจจุบันมีจุดออนมากกวา จุ ด แข็ ง นอกจากนี้ มหาวิ ทยาลัย ก็ยั ง คงมีจุดอ อ นใน การบริหารจัดการเชนเดียวกับขอคิดเห็นขางตนของ ผูเขารวมประชุมกลุมที่ Hanoi University นอกจากนี้ บั ณ ฑิ ต ที่ จ บการศึ ก ษาจากหลั ก สู ต รการบริ ก ารและ การทองเทีย่ วมีจดุ ออนหลายดาน เชน ทักษะการบริการ ทักษะการจัดการ ปจจัยในการจัดการเรียนการสอนที่ ส ง ผลต อ จุ ด อ อ นดั ง กล า วของบั ณ ฑิ ต คื อ นั ก ศึ ก ษาที่ เขาเรียนในหลักสูตรโดยเฉพาะในมหาวิทยาลัยเอกชน มีคุณภาพต่ำ� อาจารยผูสอนขาดประสบการณและไมมี คุณวุฒติ รงสาขาทีส่ อน การเรียนการสอนเปนการเรียนรู แบบทางเดียว (One-way teaching) นักศึกษาขาด ความเขาใจถึงความสำ�คัญของงานบริการและทักษะ การบริการเพราะการเรียนในชั้นเรียนและบรรยากาศ การเรียนจะมุงเนนการเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีและกรณี ศึกษา หลักสูตรไมไดเนนการปฎิบัติและมหาวิทยาลัย หลายแหงขาดความพรอมดานอาคารสถานที่เรียนและ อุปกรณที่ทันสมัยในการเรียนการสอนในหลักสูตรการ บริการและการทองเที่ยว จากมุมมองของตัวแทนจากมหาวิทยาลัยที่เขา รวมการประชุมเฉพาะกลุม ผูขารวมประชุมกลาวอยาง น า สนใจว า ภาคอุ ต สาหกรรมการท อ งเที่ ย วมี ค วาม ตองการบุคลากรสูงถึงปละ 10,000 คนโดยประมาณ และสถาบันการศึกษายังไมสามารถผลิตบุคลากรได อยางเพียงพอตอความตองการของภาคอุตสาหกรรม กล า วคื อ สามารถผลิ ต บั ณ ฑิ ต ได เ พี ย งป ล ะประมาณ

48

5000 คนเทานั้นหรือรอยละ 50 จากความตองการใน เชิงปริมาณทั้งหมด อยางไรก็ตามจำ�นวนบัณฑิตที่จบ การศึกษาจากหลักสูตรการบริการและการทองเที่ยว ไม ใ ช ก ลุ  ม บุ ค ลากรที่ จ ะทำ � งานในตำ � แหน ง ผู  บ ริ ห าร ระดับกลางหรือระดับสูงดังที่ปรัชญาหลักสูตรกำ�หนด เป า หมายเอาไว ด  ว ยบั ณ ฑิ ต ขาดประสบการณ แ ละ ทักษะดานการปฎิบัติ ซึ่งในประเทศเวียดนามนักศึกษา ที่ จ บจากสายอาชี ว ศึ ก ษาจะได พั ฒ นาเป น ผู  บ ริ ห าร มากกวา นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาที่จบจากศาสตรดาน อื่นๆ เชน ภาษาศาสตรมาทำ�งานในอุตสาหกรรมการ ทองเที่ยวดวยเชนกัน ดังนั้นจากความไมสมดุลดาน การผลิ ต บุ ค ลากรดั ง กล า วข า งต น ประเทศเวี ย ดนาม จึ ง แก ป  ญ หาการขาดแคลนแรงงานที่ มี ทั ก ษะใน อุ ต สาหกรรมการท อ งเที่ ย วด ว ยการจ า งบุ ค ลากร ที่มีประสบการณสูงดานการบริการและการทองเที่ยว จากตางประเทศใหทำ�งานในภาคการทองเที่ยว 3. ผลการวิเคราะหขอมูลจากแบบสอบถาม ผลการวิเคราะหขอมูลจากแบบสอบถาม (ดัง ตารางที่ 1) พบวาคณะหรือสาขาวิชาสวนใหญเห็นวา หลั ก สู ต รของตนมี จุ ด แข็ ง ในการจั ด การหลั ก สู ต รคื อ หลักสูตรมีการจัดประสบการณการเรียนรูนอกสถานที่ แกนักศึกษาและอาจารยและหลักสูตรมีการเสริมสราง ประสบการณดา นการปฎิบตั แิ กนกั ศึกษา (รอยละ 70.4) รองลงมาคณะหรือสาขาวิชามีจำ�นวนอาจารยผูสอน ประจำ�หลักสูตรที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ สู ง จากภาคอุ ต สาหกรรมที่ เ พี ย งพอและหลั ก สู ต รมี ความทันสมัย เหมาะสมและมีเอกลักษณ (รอยละ 63.0) นอกจากนี้คณะหรือสาขาวิชามีจุดออนในการจัดการ หลักสูตรคือ คณะหรือภาควิชาไมไดรับการสนับสนุน งบประมาณอย า งเพี ย งพอจากรั ฐ บาลในการบริ ห าร จัดการหลักสูตร คณะหรือภาควิชาไมใหการสนับสนุน คาใชจายแกอาจารยผูสอนในการเขารวมงานประชุม วิ ช าการและการสั ม มนาในด า นการบริ ก ารและการ ทองเที่ยวที่จัดขึ้นในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใตและ อื่นๆ (รอยละ 88.9)


​กาวสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015: ขอทาทายหลักสูตรการทองเที่ยวและการผลิตบุคลากรของประเทศเวียดนาม อารีย ถิรสัตยาพิทักษ

ตารางที่ 1. จุดออนและจุดแข็งในการจัดการหลักสูตรการจัดการการบริการและการทองเที่ยว ปจจัยการจัดการหลักสูตรจัดการการบริการ และการทองเที่ยว

จุดออน (รอยละ)

จุดแข็ง (รอยละ)

1. จำ�นวนอาจารยผูสอนที่มีความเชี่ยวชาญและมี ประสบการณสูงจากภาคอุตสาหกรรมที่เพียงพอ

9 (33.3)

2. หลักสูตรที่ทันสมัย เหมาะสมและมีเอกลักษณ 3. หลักสูตรมีมาตรฐานความคลายคลึงกับหลักสูตร ของมหาวิทยาลัยอื่นๆ 4. ไดรับการสนับสนุนงบประมาณอยางเพียงพอจาก รัฐบาล 5. คณะหรือภาควิชามีการสนับสนุนคาใชจายแก อาจารยผูสอนในการเขารวมงานประชุมวิชาการ และการสัมมนาในดานการบริการและการทอง เที่ยวที่จัดขึ้นในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใตและ อื่นๆ 6. มีอุปกรณที่ทันสมัยในการเรียนการสอนใน หลักสูตรการบริการและการทองเที่ยว 7. ความสะดวกในการขอความรวมมือจากภาค อุตสาหกรรม เชน การสนับสนุนดานการเงินหรือ การถายทอดองคความรู 8. มีตำ�รา วารสารและเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวของกับ การบริการและการทองเที่ยวอยางเพียงพอ 9. มีการจัดประสบการณการเรียนรูนอกสถานที่ แกนักศึกษาและอาจารย 10. มีการเสริมสรางความเขมแข็งประสบการณดาน การปฎิบัติแกนักศึกษา 11. มีกลไกที่ยืดหยุนในการพัฒนาหลักสูตร

รวม (รอยละ)

17 (63.0)

ไมตอบแบบ สอบถาม (รอยละ) 1 (3.7)

9 (33.3) 9 (33.3) 24 (88.9) 24 (88.9)

17 (63.0) 16 (59.3) 2 (7.4) 1 (3.7)

1 (3.7) 2 (7.4) 2 (7.4) 2 (7.4)

27 (100.0) 27 (100.0) 27 (100.0) 27 (100.0)

12 (44.4) 12 (44.4)

14 (51.9) 14 (51.9)

1 (3.7) 1 (3.7)

27 (100.0) 27 (100.0)

11 (40.7) 7 (25.9) 7 (25.9) 15 (55.6)

12 (44.4) 19 (70.4) 19 (70.4) 10 (37.0)

3 (11.1) 1 (3.7) 1 (3.7) 2 (7.4)

27 (100.0) 27 (100.0) 27 (100.0) 27 (100.0)

27 (100.0)

49


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

ความคิ ด เห็ น ต อ ข อ ตกลงยอมรั บ ร ว ม คุณสมบัตินักวิชาชีพแหงอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement: MRA) และระดั บ สมรรถนะในการแขงขันและประกอบอาชีพในตาง ประเทศของบัณฑิต จากการประชุ ม สุ ด ยอดอาเซี ย น (ASEAN SUMMIT) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ประเทศสมาชิกอาเซียนไดเห็นชอบใหอาเซียนกำ�หนด ทิศทางการดำ�เนินงานเพื่อมุงไปสูการเปนประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมีลักษณะคลายคลึงกับประชาคม เศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC) การรวมกลุ  ม ประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย นจะ กอใหเกิดการเคลื่อนยายอยางเสรีใน 5 ภาคซึ่งรวม ภาคการบริการไวดวย การเปดเสรีดานการเคลื่อนยาย แรงงานจะเกิดขึ้นเต็มรูปแบบในป พ.ศ. 2558 นับวา เป น การขั บ เคลื่ อ นทางเศรษฐกิ จ ที่ สำ � คั ญ ในภู มิ ภ าค อาเซีย น โดยกลุมประเทศสมาชิกอาเซียนไดจัดทำ � ขอตกลงยอมรับรวมกันในเรื่องคุณสมบัตินักวิชาชีพ แห ง อาเซี ย น (ASEAN Mutual Recognition Arrangement: MRA) ซึ่งเปนคุณสมบัติขั้นตนของ แรงงานฝมือในสาขาตางๆ เพื่ออำ�นวยความสะดวก ในการเคลื่ อ นย า ยนั ก วิ ช าชี พ หรื อ แรงงานเชี่ ย วชาญ ไดอยางเสรี (ไมตรี สุนทรวรรณ และวิเชศ คำ�บุญรัตน ม.ป.ป.) สวนขอตกลงรวมวาดวยการยอมรับคุณสมบัติ บุคลากรวิชาชีพดานการทองเที่ยวอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangements on Tourism Professional) อันประกอบดวย 2 สาขาหลักคือ สาขา ที่พักและสาขาการเดินทาง เปนอีกหนึ่งสาขาที่อาเซียน ใหความสำ�คัญและประเทศสมาชิก 9 ประเทศในอาเซียน

50

ไดลงนามในขอตกลงยอมรับรวมฯ ถึงแมประเทศไทย จะไม ไ ด ล งนามแต ก็ มิ อ าจหลี ก เลี่ ย งการเป ด เสรี อาเซียนได และปจจุบันประเทศไทยไดจัดทำ�มาตรฐาน สมรรถนะ (Competency standard) และหลักสูตร อบรมเพื่ อ รองรั บ สมรรถนะขั้ น พื้ น ฐานของบุ ค ลากร ที่ ป ระกอบวิ ช าชี พ ท อ งเที่ ย วใน 32 ตำ � แหน ง เสร็ จ เรียบรอยแลว (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2554) ประเทศเวียดนามเปนประเทศสมาชิกของ The Southeast Asian Ministers of Education Organization Regional Centre for Vocational and Technical Education and Training (SEAMEO VOCTECH) ซึ่ ง เป น กลไกหลั ก ของภู มิ ภ าคในการผลั ก ดั น และให ความชวยเหลือแกประเทศสมาชิกในการพัฒนากำ�หนด มาตรฐานดานทักษะตางๆ รวมถึงการยอมรับคุณสมบัติ บุคลากรวิชาชีพในระดับชาติและภูมิภาค จากวาระ ดังกลาวประเทศเวียดนามไดมีนโยบายในการกำ�หนด กรอบทักษะและคุณสมบัตินักวิชาชีพแหงชาติในแตละ วิ ช าชี พ จั ด ทำ � มาตรฐานสมรรถนะ (Competency standard) และหลั กสู ต รอบรม โดยแบ ง กลุ  ม ระดั บ คุณสมบัติพื้นฐานดานทักษะเปน 7 ระดับ (ดังตาราง ที่ 2) และกำ�หนดวิธีการทดสอบทักษะและสมรรถนะ วิชาชีพไวกวางๆ ดังนี้ ความปลอดภัยในการปฎิบตั งิ าน ความรูและประประสบการณการทำ�งาน การใชเครื่อง มือและอุปกรณ การใชเครื่องจักรและอุปกรณอยาง ถูกตองและมีประสิทธิภาพ ความสำ�เร็จของงานตาม เวลาทีก่ �ำ หนด และผลสัมฤทธิข์ องงานตรงตามขอบังคับ คุณภาพ (Corporate HRD and Skills Development for Employment: Scope and Strategies 2008)


​กาวสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015: ขอทาทายหลักสูตรการทองเที่ยวและการผลิตบุคลากรของประเทศเวียดนาม อารีย ถิรสัตยาพิทักษ

ตารางที่ 2. ระดับคุณสมบัติสมรรถนะวิชาชีพของประเทศเวียดนาม ประเภทคุณสมบัติ/ ระดับ Level 7 Level 6 Level 5 Level 4 Level 3 Level 2 Level 1 ผลการวิเคราะหขอ มูลจากการประชุมเฉพาะ กลุม จากการสะทอนมุมมองของผูเขารวมประชุม เฉพาะกลุ  ม จากมหาวิ ท ยาลั ย ของประเทศเวี ย ดนาม ตอการรับรูเกี่ยวกับการรวมกลุมประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในป ค.ศ. 2015 ผูเขารวมประชุมเฉพาะกลุมมีความคิดเห็น ที่แตกตางกันเกี่ยวกับการรวมกลุมประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน คือผูเขารวมประชุมกลุมสวนใหญไมใหความ สำ � คั ญ ต อ การรวมกลุ  ม ประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น การปฎิ บั ติ ต ามข อ ตกลงยอมรั บ ร ว มคุ ณ สมบั ติ นักวิชาชีพแหงอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement: MRA) และขอตกลงรวมวาดวยการ ยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพดานการทองเที่ยว อาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangements on Tourism Professional) ในขณะที่ผูรวมประชุม กลุมจำ�นวน 3 คนเทานั้นเห็นวาคณะหรือภาควิชา ของตนให ค วามสำ � คั ญ ในประเด็ น ดั ง กล า วในระดั บ ปานกลาง โดยคณะหรือภาควิชาไดใหขอมูลเกี่ยวกับ ความคืบหนาการปฎิบัติตามขอตกลงรวมวาดวยการ ยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพดานการทองเที่ยว อาเซี ย น แก นั ก ศึ ก ษาและอาจารย อ ย า งสม่ำ � เสมอ สงเสริมใหอาจารยเขารวมประชุมงานประชุมวิชาการ และการสัมมนาเกีย่ วกับขอตกลงรวมวาดวยการยอมรับ

ระดับการศึกษา/ การอบรมที่จำ�เป็น Highly skilled worker 3 Highly skilled worker 2 Highly skilled worker 1 Skilled worker 2 Skilled worker 1 Semi-skilled workers Non-skilled workers (untrained) คุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพดานการทองเที่ยวอาเซียน เพื่อรับรูขอมูลที่เปนปจจุบันและมีแผนที่จะปรับปรุง หลักสูตรใหครอบคลุมสาขาหลัก 6 สาขาตามขอตกลง ยอมรับรวมคุณสมบัตนิ กั วิชาชีพแหงอาเซียน เชน hotel front-office, house- keeping, tour operation, travel agency, food production and food and beverage นอกจากนี้คณะหรือภาควิชาพยายามเพิ่มสมรรถนะ ของนักศึกษาในดานทักษะการบริการ การจัดการและ การสื่อสารเพื่อใหนักศึกษาสามารถแขงขันไดในตลาด อาเซี ย น นอกจากนี้ ผ ลการศึ ก ษาพบว า ผู  ใ ห ข  อ มู ล บางสวนเชือ่ มัน่ วาหลักสูตรการบริการและการทองเทีย่ ว ของคณะหรื อ ภาควิ ช าที่ สั ง กั ด อยู  มี เ อกลั ก ษณ แ ละ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพในการบรรลุ เ ป า หมายของข อ ตกลง ยอมรับรวมคุณสมบัตินักวิชาชีพแหงอาเซียน เพราะ หลักสูตรมีการพัฒนาปรับปรุงตามมาตรฐานนานาชาติ มีการใชภาษาอังกฤษเปนสือ่ ในการเรียนการสอน มีการ จัดประสบการณการฝกงานใหแกนักศึกษา มีการเชิญ ผู ทรงคุณ วุ ฒิ จากภาคอุต สาหกรรมมาใหความรู และ รวมสัมมนากับนักศึกษาและมีการเพิ่มสมรรถนะทักษะ ตางๆและการใชภาษาตางประเทศแกนักศึกษา จาก การประชุมมีผูใหขอมูลทานหนึ่งกลาวอยางนาสนใจวา “แมวาเรื่องขอตกลงรวมวาดวยการยอมรับคุณสมบัติ บุคลากรวิชาชีพดานการทองเที่ยวอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangements on Tourism

51


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

Professional) และการรวมกลุมประชาคมเศรษฐกิจ อาเซี ย นจะเป น เรื่ อ งที่ ใ หม สำ � หรั บ คณะของตน การ ใหความสำ�คัญหรือปฎิบัติตามขอตกลงยอมรับรวมฯ ดังกลาวเปนสิ่งที่จะนำ�ประโยชนมาสูประเทศเวียดนาม เพราะจะชวยเสริมสรางความเขาใจ การเรียนรูแ ละความ รวมมือระหวางประเทศเวียดนามกับประเทศสมาชิก อื่นๆ ของอาเซียน เพราะอุตสาหกรรมการบริการและ การทองเที่ยวของประเทศเวียดนามยังคงมีขอจำ�กัด ในการใหบริการในระดับมาตรฐานสากลและมีความ จำ�เปนตองเรียนรูจากประเทศเพื่อนบาน รัฐบาลไมได พัฒนาและสนับสนุนอุตสาหกรรมการบริการและการ ทองเที่ยวของประเทศอยางจริงจัง หากมีขอตกลงรวมฯ จะชวยใหเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรูซึ่งกันและกัน ใน การตอบรับนโยบายการรวมกลุมดังกลาว” ผลการศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ ความคิ ด เห็ น ต อ การ กำ�หนดมาตรฐานนานาชาติอาเซียนสำ�หรับหลักสูตร การบริการและการทองเที่ยวพบวาผูเขาประชุมเฉพาะ กลุมมากกวารอยละ 90 เห็นวามีความจำ�เปนในการ กำ�หนดมาตรฐานนานาชาติอาเซียนสำ�หรับหลักสูตร โดยเกณฑมาตรฐานควรกำ�หนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของ อาจารยผูสอนและผูฝกอบรม เอกสารเกี่ยวกับการจัด การเรียนการสอน เชน หลักสูตร รายละเอียดรายวิชา คำ�อธิบายรายวิชา คูมือการสอน ตำ�รา การวัดผลและ การประเมิ น คุ ณภาพ อุปกรณเครื่องใชในการเรี ย น การสอนและฝกอบรม การใชภาษาอังกฤษเปนสื่อกลาง ในการเรียนการสอน และการเรียนการสอนตองมุงเนน มาตรฐานวิชาชีพ การคิดวิเคราะห ความรูเกี่ยวกับ วัฒนธรรมอาเซียนและทักษะการจัดการ นอกจากนี้ ผู  เ ข า ประชุ ม เฉพาะกลุ  ม ได ก ล า วอย า งน า สนใจว า บุคลากรวิชาชีพดานการทองเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Professional) ควรมีคณ ุ สมบัตริ ว มดังนี้ มีความรู ความเขาใจวัฒนธรรมและการสื่อสารขามวัฒนธรรม

52

อาเซียน มีความสามารถในการใชภาษาตางประเทศ เชน ภาษาอังกฤษ มีความคิดสรางสรรค มีความรูด า นวิชาชีพ ในสาขาที่ตนปฎิบัติงานเปนอยางดี เชน front- office, house-keeping, tour operation, travel agency และ food and beverage มีทกั ษะดานการบริการและมีทกั ษะ ดานการสื่อสาร นอกจากนี้ ก ลุ  ม ผู  ใ ห ข  อ มู ล มี ค วามเห็ น ว า แนวโน ม การเคลื่ อ นย า ยแรงงานฝ มื อ โดยเสรี จ าก ประเทศเวี ย ดนามจะถ า ยเทไปที่ ป ระเทศสิ ง คโปร ประเทศไทยและประเทศมาเลเซียมากที่สุด หากมีการ ถ า ยเทแรงงานจากประเทศสมาชิ ก ในอาเซี ย นมายั ง ประเทศเวียดนาม บัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตร การบริการและการทองเที่ยวมีจุดออนหลายดานเมื่อ เปรียบเทียบกับกลุมแรงงานเหลานั้น เชน ความคิด สรางสรรค ทักษะการแกปญ  หา ทักษะการจัดการ ทักษะ การบริการ ทักษะการสือ่ สารและความสามารถในการใช ภาษาตางประเทศ ผลการวิเคราะหขอมูลจากแบบสอบถาม ผลการวิเคราะหขอมูลจากแบบสอบถาม (ดัง ตารางที่ 3) พบวามหาวิทยาลัยสวนใหญแสดงความ เห็นวาบัณฑิตที่จบการศึกษามีสมรรถนะและคุณสมบัติ ในการแข ง ขั น และประกอบอาชี พ ในต า งประเทศใน ระดับปานกลาง รอยละ 55.6 หากมีการเคลื่อนยาย แรงงานฝมือโดยเสรีจากกลุมประเทศสมาชิกอาเซียน ไปยั ง ประเทศเวี ย ดนาม จุ ด อ อ นของบั ณ ฑิ ต ที่ จ บ การศึกษาจากหลักสูตรฯเมื่อปรียบเทียบกับแรงงาน เหลานั้นคือทักษะการแกปญหา รอยละ 20.5 รองลง มาคือความคิดสรางสรรค รอยละ 16.9 และทักษะ การสือ่ สาร รอยละ 13.3 ตามลำ�ดับ ซึง่ สอดคลองกับขอมูล ที่ไดจากการประชุมเฉพาะกลุม


​กาวสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015: ขอทาทายหลักสูตรการทองเที่ยวและการผลิตบุคลากรของประเทศเวียดนาม อารีย ถิรสัตยาพิทักษ

ตารางที่ 3. ระดับสมรรถนะคุณสมบัติและทักษะของบัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรการจัดการการบริการและ การทองเที่ยวในการแขงขันและประกอบอาชีพในตางประเทศ ขอคำ�ถาม

จำ�นวน มหาวิทยาลัย

บัณฑิตที่จบการศึกษามีสมรรถนะและคุณสมบัติในการแขงขันและประกอบอาชีพ ในตางประเทศในระดับใด - ระดับยอดเยี่ยม - ระดับดี - ระดับปานกลาง - ระดับต่ำ�และจำ�เปนตองไดรับการปรับปรุง ไมตอบแบบสอบถาม รวม หากมีการเคลื่อนยายแรงงานฝมือโดยเสรีจากกลุมประเทศอาเซียนไปยังประเทศ เวียดนาม ขอใดคือจุดออนของบัณฑิตเมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานเหลานั้น (สามารถเลือกคำ�ตอบไดมากกวาหนึ่งขอ) - ทักษะการแกปญหา - ความคิดสรางสรรค - ทักษะการสื่อสาร - ทักษะการบริการ - จิตบริการ - ความสามารถดานภาษา - ทักษะการวิเคราะห - ทักษะการจัดการ - ทักษะดานคอมพิวเตอร - บุคลิกภาพ รวม อยางไรก็ตามผลการศึกษาที่ไดจากการประชุม เฉพาะกลุมมีความแตกตางจากผลการวิเคราะหขอมูล จากแบบสอบถามในบางประเด็นดังนี้ ผลการวิจัยเกี่ยว กับการรับรูเกี่ยวกับการรวมกลุมประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนในป ค.ศ. 2015 ของอาจารยหัวหนาสาขาการ บริการและ/หรือการทองเทีย่ วในมหาวิทยาลัยทัง้ หมด 27 แหงของประเทศเวียดนาม (ดังตารางที่ 4) พบวาคณะ หรือภาควิชาสวนใหญรอยละ 63.0 ตระหนักถึงการทำ�

รอยละ

1 10 15 0

3.7 37.0 55.6 0.0

1 27

3.7 100.0

17 14 11 9 9 7 7 5 2 2

20.5 16.9 13.3 10.8 10.8 8.4 8.4 6.0 2.4 2.4

83

100.0

ขอตกลงยอมรับรวมคุณสมบัตินักวิชาชีพแหงอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement: MRA) และขอตกลงรวมวาดวยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากร วิชาชีพดานการทองเที่ยวอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangements on Tourism Professional) ในการรวมกลุม ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยใหความ สำ�คัญตอแนวคิดดังกลาวในระดับปานกลาง รอยละ 74.1 คณะหรือภาควิชาสวนใหญตอบรับนโยบายการรวมกลุม

53


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยมีแนวคิดสงเสริมให อาจารยเขารวมงานประชุมวิชาการและการสัมมนาเกีย่ ว กับขอตกลงรวมวาดวยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากร วิ ช าชี พ ด า นการท อ งเที่ ย วอาเซี ย น เพื่ อ รั บ รู  ข  อ มู ล ที่ เ ป น ป จ จุ บั น และมี แ ผนที่ จ ะปรั บ ปรุ ง หลั ก สู ต รให ครอบคลุมสาขาหลัก 6 สาขาตามขอตกลงยอมรับรวม คุณสมบัตนิ กั วิชาชีพแหงอาเซียน เชน hotel front-office, house-keeping, tour operation, travel agency, food production และ food and beverage รอยละ 14.9 รองลงมา พยายามเพิ่มสมรรถนะของนักศึกษาในดานทักษะการ สือ่ สารและความสามารถในการใชภาษาอังกฤษ รอยละ 14.2 และไดปรับปรุงหลักสูตรใหครอบคลุมสาขาหลัก 6 สาขาตามขอตกลงยอมรับรวมคุณสมบัตินักวิชาชีพ แห ง อาเซี ย นและให ค วามรู  แ ก นั ก ศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ

วัฒนธรรมอาเซียนและการสือ่ สารขามวัฒนธรรม รอยละ 12.8 ตามลำ�ดับ นอกจากนีผ้ ลการศึกษาพบวาคณะหรือภาควิชา ส ว นใหญ คิ ด ว า หลั ก สู ต รของตนมี เ อกลั ก ษณ แ ละมี ประสิทธิภาพในการบรรลุเปาหมายของขอตกลงยอมรับ รวมคุณสมบัตินักวิชาชีพแหงอาเซียนเพราะหลักสูตรมี การใชภาษาอังกฤษเปนสื่อในการเรียนการสอน รอยละ 28.99 รองลงมาคือหลักสูตรมีความทันสมัยและหลักสูตร เนนการปฎิบัติ รอยละ 24.44 กลุมตัวอยางสวนใหญ รอยละ 70.4 เห็นวามีความจำ�เปนในการกำ�หนดมาตรฐาน นานาชาติอาเซียนสำ�หรับหลักสูตรการบริการและการ ทองเทีย่ ว รองลงมารอยละ 18.5 เห็นวาไมมคี วามจำ�เปน ในการกำ�หนดมาตรฐานหลักสูตร

ตารางที่ 4. การรับรูและการตอบรับนโยบายการรวมกลุมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในป ค.ศ. 2015 ของมหาวิทยาลัยของประเทศเวียดนาม ขอคำ�ถาม คณะ หรือภาควิชาตระหนักถึงการทำ�ขอตกลงยอมรับรวมคุณสมบัตินักวิชาชีพแหง อาเซียน ขอตกลงรวมวาดวยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพดานการทองเที่ยว อาเซียน และการรวมกลุมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในป ค.ศ. 2015 หรือไม - ตระหนัก - ไมตระหนัก ไมตอบแบบสอบถาม รวม คณะ หรือภาควิชาใหความสำ�คัญตอการปฎิบัติตามขอตกลงยอมรับรวมคุณสมบัติ นักวิชาชีพแหงอาเซียน ขอตกลงรวมวาดวยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพ ดานการทองเที่ยวอาเซียน และการรวมกลุมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในป ค.ศ. 2015 หรือไม และในระดับใด - ใหความสำ�คัญมากที่สุด - ใหความสำ�คัญปานกลาง - ใหความสำ�คัญต่ำ� ไมตอบแบบสอบถาม รวม

54

จำ�นวน

รอยละ

17 7 3 27

63.0 25.9 11.1 100.0

3 20 0 4 27

11.1 74.1 0.0 14.8 100.0


​กาวสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015: ขอทาทายหลักสูตรการทองเที่ยวและการผลิตบุคลากรของประเทศเวียดนาม อารีย ถิรสัตยาพิทักษ

ตารางที่ 4. (ตอ) ขอคำ�ถาม คณะหรือภาควิชามีการตอบรับตอการรวมกลุมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในป ค.ศ. 2015 อยางไร (สามารถเลือกคำ�ตอบไดมากกวาหนึ่งขอ) - ใหขอมูลแกนักศึกษาและอาจารยเกี่ยวกับการปฎิบัติตามขอตกลงยอมรับรวม คุณสมบัตินักวิชาชีพแหงอาเซียน และขอตกลงรวมวาดวยการยอมรับคุณสมบัติ บุคลากรวิชาชีพดานการทองเที่ยวอาเซียน - เขารวมงานประชุมวิชาการและการสัมมนาเกี่ยวกับขอตกลงยอมรับรวมคุณสมบัติ นักวิชาชีพแหงอาเซียน และ/หรือขอตกลงรวมวาดวยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากร วิชาชีพดานการทองเที่ยวอาเซียนเพื่อรับรูขอมูลที่เปนปจจุบัน - ปรับปรุงหลักสูตรใหครอบคลุมสาขาหลัก 6 สาขาตามขอตกลงยอมรับรวมคุณสมบัติ นักวิชาชีพแหงอาเซียน เชน hotel front- office, house- keeping, tour operation, travel agency, food production และ food and beverage - มีแผนที่จะปรับปรุงหลักสูตรใหครอบคลุมสาขาหลัก 6 สาขาตามขอตกลงยอมรับรวม คุณสมบัตินักวิชาชีพแหงอาเซียน เชน hotel front- office, house- keeping, tour operation, travel agency, food production และ food and beverage - เพิ่มสมรรถนะของนักศึกษาในดานทักษะการบริการเชน bartending, front office operation, etc - เพิ่มสมรรถนะของนักศึกษาในดานทักษะการจัดการ - เพิ่มสมรรถนะของนักศึกษาในดานทักษะการสื่อสารและความสามารถในการใช ภาษาอังกฤษ - ใหความรูแกนักศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาเซียน - ใหความรูแกนักศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารขามวัฒนธรรม รวม คณะ หรือภาควิชาคิดวาจำ�เปนหรือไมในการกำ�หนดมาตรฐานนานาชาติอาเซียน สำ�หรับหลักสูตรการบริการและการทองเที่ยว - คิดวาจำ�เปน - คิดวาไมจำ�เปน ไมตอบแบบสอบถาม รวม

จำ�นวน

รอยละ

8

5.4

22

14.9

19

12.8

22

14.9

10

6.8

8 21

5.4 14.2

19 19

12.8 12.8

148

100.0

19 5 3 27

70.4 18.5 11.1 100.0

55


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

ตารางที่ 4. (ตอ) ขอคำ�ถาม ขอใดทำ�ใหหลักสูตรของคณะหรือภาควิชามีเอกลักษณและมีประสิทธิภาพในการบรร ลุเปาหมายของขอตกลงยอมรับรวมคุณสมบัตินักวิชาชีพแหงอาเซียน (สามารถเลือก คำ�ตอบไดมากกวาหนึ่งขอ) - เปนหลักสูตรขั้นสูง - หลักสูตรมีความทันสมัย - มีการใชภาษาอังกฤษเปนสื่อในการเรียนการสอน - หลักสูตรเนนการปฎิบัติ - อางอิงหลักสูตรจากประเทศที่พัฒนาแลว รวม แนวทางที่เหมาะสมในการสรางความรวมมือของ สถาบันการศึกษาในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อสรางความเขาใจอันดีและการแลกเปลี่ยนทาง วิชาการรวมกัน ผลการวิเคราะหขอมูลจากแบบสอบถามเกี่ยว กับแนวทางที่เหมาะสมในการสรางความรวมมือของ สถาบันการศึกษาในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อ สรางความเขาใจอันดีและการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ

จำ�นวน

รอยละ

5 11 13 11 5 45

11.11 24.44 28.89 24.44 9.11 97.99

รวมกัน (ดังตารางที่ 5) พบวามหาวิทยาลัยสวนใหญ เห็นวาการสรางความรวมมือของสถาบันการศึกษาใน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนัน้ ควรเพิม่ ความรวมมือใน การจัดประชุมวิชาการและสัมมนารวมกัน รอยละ18.18 รองลงมาควรมีการแลกเปลี่ยนอาจารยระหวางสถาบัน ในอาเซียน รอยละ16.36 และควรมีการแลกเปลี่ยน นักศึกษาระหวางสถาบันและใชภาษาอังกฤษเปนภาษา กลางในการสื่อสาร รอยละ 14.55 ตามลำ�ดับ

ตารางที่ 5. แนวทางที่เหมาะสมในการสรางความรวมมือของสถาบันการศึกษาในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อ สรางความเขาใจอันดีและการแลกเปลี่ยนทางวิชาการรวมกัน แนวทางที่เหมาะสม สถาบันควรมีการพัฒนาภาษาอังกฤษของอาจารยและนักศึกษา เพิ่มความรวมมือในการจัดประชุมวิชาการและสัมมนารวมกัน ใชภาษาอังกฤษเปนภาษากลางในการสื่อสาร สถาบันใชหลักสูตรรวมกัน มีการแลกเปลี่ยนอาจารยระหวางสถาบัน มีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหวางสถาบัน ภาครัฐและหนวยงานที่เกี่ยวของใหการสนับสนุนอยางจริงจัง มีการกำ�หนดพันธกิจและวัตถุประสงคระหวางสถาบันรวมกัน สงเสริมความรวมมือและการแลกเปลี่ยน รวม หมายเหตุ สามารถเลือกคำ�ตอบไดมากกวาหนึ่งขอ

56

จำ�นวนความคิดเห็น 5 10 8 5 9 8 3 2 5 55

รอยละ 9.09 18.18 14.55 9.09 16.36 14.55 5.45 3.64 9.09 100.0


​กาวสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015: ขอทาทายหลักสูตรการทองเที่ยวและการผลิตบุคลากรของประเทศเวียดนาม อารีย ถิรสัตยาพิทักษ

อภิปรายผลการศึกษา 1. สถานการณการจัดการหลักสูตร จุดออน และจุดแข็งของการจัดการหลักสูตรการบริการและ การทองเทีย่ วในมหาวิทยาลัยของประเทศเวียดนาม จากผลการศึกษาขางตน อภิปรายผลการศึกษา ไดวาหลักสูตรการบริการและการทองเที่ยวคอนขาง จะเปนศาสตรใหมส�ำ หรับประเทศเวียดนาม มหาวิทยาลัย ส ว นใหญ เ ป ด สอนกลุ  ม สาขาวิ ช าดั ง กล า วหลั ง จาก ป ค.ศ. 2000 เปนตนมา ปรัชญาหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ในภาพรวมจะมุงเนนการเรียนการสอนดานการจัดการ เพื่อผลิตบัณฑิตเปนผูบริหารซึ่งเปนการจัดหลักสูตร ที่ เ น น ความต อ งการของตลาดเป น หลั ก เพราะการ ทองเที่ยวในประเทศเวียดนามเพิ่งจะพัฒนาและเติบโต อยางเห็นไดชัดในทศวรรษที่ผานมาจึงมีความตองการ เรงดวนในการผลิตผูบริหารมาตอบสนองการพัฒนา การทองเที่ยวดังกลาว ประกอบกับทัศนคติของผูเรียน ที่ตองการพัฒนาเปนผูบริหารมากกวาเปนผูปฎิบัติการ ในระดับลาง ป จ จุ บั น การจั ด การหลั ก สู ต รการบริ ก ารและ การทองเที่ยวในมหาวิทยาลัยของประเทศเวียดนาม ประสบกับอุปสรรคในเรื่องงบประมาณในการบริหาร จัดการหลักสูตร คุณภาพการจัดการเรียนการสอนและ คุณภาพบุคลากรสาเหตุหลักทีก่ อ ใหเกิดจุดออนดังกลาว ในการจัดการหลักสูตรคือ จุดยืนของการศึกษาในระดับ อุดมศึกษาของเวียดนามไมคอยสอดคลองกับกระแส เคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดลอมการ ศึกษาโลก (Pham Thi Thu Huyen 200?) หลักสูตรขาด ความทันสมัย การเรียนการสอนจะมุงเนนทฤษฎี ขาด การสอนความรูเฉพาะสาขา ขาดเครื่องอำ�นวยความ สะดวกในการฝ ก อบรมและขาดกระบวนการที่ จ ะ ตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรมการศึกษาและสถาบัน ที่เปดสอนเพิ่มขึ้นอยางรวดเร็วเพื่อตอบรับความตอง การการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่เพิ่มสูงขึ้นอยางมาก และขาดอาจารยผูสอนที่มีความรูความสามารถ โดย อาจารยผสู อนสวนใหญมกั ขาดประสบการณดา นวิชาชีพ ในระดับสูง รวมถึงประสบการณในการถายทอด การ สอนและการฝกปฎิบัติแกนักศึกษา (Pham Thi Thu Huyen 200? ; Runckel 2009 ; Nguyen Thi My Hanh

and Chaisawat 2008) นอกจากนีม้ อี าจารยจ�ำ นวนนอย ที่จบการศึกษาดานการทองเที่ยวมาโดยตรง บุคลากร สายวิชาการจำ�นวนหนึ่งที่สอนอยูในหลักสูตรฯจะเปน อาจารยที่รับผิดชอบรายวิชาในศาสตรอื่นๆ เชน การ บริ ห ารและจั ด การธุ ร กิ จ รวมถึ ง ภาษาศาสตร ซึ่ ง ได พัฒนาตนเองเพิ่มเติมเพื่อรับผิดชอบการเรียนการสอน ในดานการบริการและการทองเทีย่ ว ประกอบกับอาจารย ขาดทักษะดานวิชาชีพ จึงสงผลใหการเรียนการสอน มุงเนนทฤษฎีมากกวาการฝกปฎิบัติทักษะควบคูไป ดวยกัน งบประมาณสนับสนุนในการสงเสริมพัฒนา ทักษะดานวิชาชีพและองคความรูดานการบริการและ การทองเที่ยวที่ไมเพียงพอยังคงเปนอุปสรรคที่ทำ�ให อาจารยขาดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง ซึ่งสอดคลอง กับผลการศึกษาของ Dinh Van Dang (2007) หัวขอ Rising the role of tourism training institutions in Vietnam tourism human resource development ที่ พบวาการเรียนการสอนดานการทองเที่ยวในระดับอุดม ศีกษาหรือแมแตระดับอาชีวศึกษาของเวียดนามเพิ่งมี การพัฒนาในชวงระยะเวลาไมถึง 20 ป ดังนั้น อาจารย ที่ รั บ ผิ ด ชอบการเรี ย นการสอนด า นการท อ งเที่ ย ว สวนใหญเปนอาจารยที่โอนยายมาจากสาขาวิชาอื่นๆ นอกจากนี้การวิจัยดานการทองเที่ยว การรวบรวมผลิต ตำ � ราและเอกสารการสอน รวมถึ ง การพั ฒ นาความ สามารถของอาจารยไมไดมกี ารควบคุมและใหคำ�แนะนำ� อยางจริงจัง ปจจุบนั สถาบันการศึกษาดานการทองเทีย่ ว มีการเปดหลักสูตรการสอนและอบรมจำ�นวนมาก รวมถึง มีการผลิตเอกสารประกอบการเรียนการสอนขึ้นมาใช แตยังขาดซึ่งมาตรฐานทั้งในดานเนื้อหาของรายวิชา รวมถึงระดับความลึกซึ้งของเนื้อหา ทำ�ใหเปนการยาก ที่ จ ะประเมิ น ระดั บ ความสามารถทั ก ษะด า นวิ ช าชี พ หรือความสามารถในการจัดการของบัณฑิตที่จบจาก หลักสูตร จะเห็นวาขอจำ�กัดของหลักสูตรที่สงผลตอ จุดออนประกอบดวยชองวางระหวางโปรแกรมการเรียน การสอนและสถานการณทเี่ ปนปจจุบนั ของอุตสาหกรรม อุปกรณการฝกอบรมและสิ่งอำ�นวยความสะดวกตางๆ มีไมเพียงพอ และการคนควาวิจัยดานทรัพยากรมนุษย ทางการทองเที่ย วยั ง ไมต อบสนองตอความตองการ อยางแทจริง

57


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

เป น ที่ น  า สนใจว า มหาวิ ท ยาลั ย แต ล ะแห ง จะ พยายามออกแบบหลั ก สู ต รให มี ค วามคล า ยคลึ ง กั บ หลักสูตรของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ตอบสนองตอความ ตองการของตลาดและสรางเอกลักษณใหหลักสูตรของ ตน อธิบายไดวาการที่หลักสูตรมีความคลายคลึงกับ หลักสูตรของมหาวิทยาลัยอืน่ ๆ จะทำ�ใหภาพลักษณของ การจัดการหลักสูตรของมหาวิทยาลัยดูมีความทันสมัย และจะสามารถชวยใหมหาวิทยาลัยไดสวนแบงดาน การตลาดเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ในแงการผลิตบัณฑิตของหลักสูตร จะเห็ น ว า ถึ ง แม ห ลั ก สู ต รฯ จะได รั บ ความนิ ย มจาก นักศึกษาเปนอยางมากแตจ�ำ นวนบัณฑิตทีจ่ บการศึกษา ตอปยังมีจำ�นวนไมเพียงพอหรืออยูในภาวะวิกฤตตอ การตอบสนองอุ ป สงค ด  า นแรงงานในอุ ต สาหกรรม การทองเที่ยวของประเทศ ดังนั้น หากมีเคลื่อนยาย แรงงานฝมอื โดยเสรีในกลุม ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในป ค.ศ. 2015 อาจจะทำ�ใหเกิดภาวะการขาดแคลน แรงงานฝ มื อ ภายในประเทศและอาจส ง ผลให ภ าค อุตสาหกรรมจางแรงงานฝมือจากประเทศสมาชิกอื่นๆ ในอาเซียนมาทดแทนมากขึน้ ซึง่ สงผลตอการรัว่ ไหลของ เงินตราตางประเทศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว 2. ความคิ ด เห็ น ต อ ข อ ตกลงยอมรั บ ร ว ม คุณสมบัตินักวิชาชีพแหงอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement: MRA) และระดั บ สมรรถนะในการแขงขันและประกอบอาชีพในตาง ประเทศของบัณฑิต ถึ ง แม ม หาวิ ท ยาลั ย ในประเทศเวี ย ดนามจะมี ความสนใจและให ค วามสำ � คั ญ ต อ กำ � หนดมาตรฐาน นานาชาติอาเซียนสำ�หรับหลักสูตรการบริการและการ ทองเที่ยวเพื่อผลิตบุคลากรวิชาชีพดานการทองเที่ยว อาเซียนที่มีคุณภาพก็ตาม แนวคิดนี้ก็ยากที่จะผลักดัน ใหเกิดเปนรูปธรรมดวยการศึกษาของประเทศเวียดนาม อยูภายใตการกำ�กับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการและ การฝกอบรมซึ่งมีหนาที่ในการกำ�หนดหลักสูตรหลัก (Core curriculum) สำ�หรับการศึกษาทั่วไป พิจารณา สาขาวิ ช าใหม กำ � หนดกฎระเบี ย บในการสอบและ การกำ � หนดปริ ญ ญา การควบคุ ม คุ ณ ภาพการเรี ย น การสอน รวมถึงควบคุมการดำ�เนินงานของมหาวิทยาลัย

58

(UNESCO 2006 ; Runckel 2009) และการผลักดัน ใหเกิดหลักสูตรมาตรฐานของอาเซียนนาจะมีความยาก ลำ�บากในการปฎิบัติเชนกันเพราะประเทศเวียดนาม มี จุ ด ยื น ที่ ต  า งกั น กั บ ประเทศอื่ น ในอาเซี ย นทั้ ง ใน เรื่องปรัชญาการศึกษา การบริหารจัดการ การเมือง เศรษฐกิ จ และวั ฒ นธรรม ซึ่ ง ถ า อาเซี ย นจะผลั ก ดั น ใหมหาวิทยาลัยในกลุมประเทศสมาชิกรวมถึงประเทศ เวียดนามปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรใหสอดคลองกับ มาตรฐานนานาชาติอาเซียนนั้นควรจะกำ�หนดการจัด การเปน 2 แบบคือ 1) การถือปฎิบัติโดยวิธีบังคับ ควรมี การแตงตั้งคณะกรรมการทำ�งานโดยเลือกกรรมการ จากมหาวิทยาลัยที่เขารวมโครงการ 10 อันดับแรก ของอาเซียน โดยใหกรรมการชุดนี้คิดกรอบมาตรฐาน นานาชาติอาเซียนและหลักสูตรมาตรฐานของอาเซียน และใหแตละประเทศสมาชิกอาเซียนนำ�เสนอแนวคิด ดั ง กล า วต อ กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารของประเทศตน พิ จ ารณาและดำ � เนิ น การผลั ก ดั น ให มี ก ารถื อ ปฎิ บั ติ ตอไป และ 2) การถือปฎิบัติโดยความสมัครใจ คือ อาเซี ย นพยายามชี้ ช วนให ม หาวิ ท ยาลั ย เล็ ง เห็ น ถึ ง ความสำ � คั ญ ของการปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาหลั ก สู ต ร ให ส อดคล อ งกั บ มาตรฐานนานาชาติ อ าเซี ย นและมี หลั ก สู ต รมาตรฐานอาเซี ย นและบรรจุ ร ายวิ ช าบาง รายวิชาจากหลักสูตรมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยสนใจ ลงในหลักสูตรของตนและเพิ่มบริบทเนื้อหาของแตละ ประเทศในการสอน เชน บริบทของประเทศเวียดนาม หรือบริบทของประเทศไทย รวมถึงรายวิชาการเรียนรู ขามวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Culture) สำ � หรั บ แนวโน ม การเคลื่ อ นย า ยแรงงานฝ มื อ โดยเสรีจากประเทศเวียดนามที่จะถายเทไปที่ประเทศ สิงคโปร ประเทศไทยและประเทศมาเลเซียมากที่สุด นั้ น เป น เพราะประเทศเหล า นี้ มี น โยบายส ง เสริ ม การ ท อ งเที่ ย วที่ ดี รั ฐ บาลให ก ารส ง เสริ ม การพั ฒ นาการ ทองเทีย่ วอยางจริงจัง อุตสาหกรรมการทองเทีย่ วมีอตั รา การเติบโตสูงและการจางงานใหคา ตอบแทนสูง อยางไร ก็ตามแรงงานฝมือจากประเทศเวียดนามที่จะถายเท ไปยั ง ประเทศสมาชิ ก อาเซี ย นน า จะมี อั ต ราที่ ต่ำ� ด ว ย การทองเที่ยวในประเทศเวียดนามมีการเติบโตอยาง ตอเนื่องสงผลตอความตองการแรงงานจำ�นวนมากของ


​กาวสูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015: ขอทาทายหลักสูตรการทองเที่ยวและการผลิตบุคลากรของประเทศเวียดนาม อารีย ถิรสัตยาพิทักษ

ภาคอุตสาหกรรมการทองเที่ยว ประกอบกับการเรียน การสอนของประเทศเวี ย ดนามด า นการจั ด การการ บริการและการทองเที่ยวยังตองปรับปรุงและนักศึกษา ไมมีความรูและทักษะตางๆ เพียงพอตอการไปทำ�งาน ในตางประเทศ นอกจากนี้การเรียนการสอนสวนใหญ มุง เนนการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและหลักสูตรมุง เนน ผลิตบัณฑิตไปเปนผูบริหารไมไดเนนทักษะการปฎิบัติ จึ ง ส ง ผลให ก ารผลิ ต บั ณ ฑิ ต ของประเทศเวี ย ดนามมี ขอจำ�กัดดานระดับสมรรถนะในการแขงขันและประกอบ อาชีพ (Professional Competency) ในการแขงขัน ระดับนานาชาติ 3. แนวทางทีเ่ หมาะสมในการสรางความรวม มือของสถาบันการศึกษาในประชาคมเศรษฐกิจ​ อาเซี ยนเพื่อสรางความเขาใจอันดีและการแลก เปลี่ยนทางวิชาการรวมกัน การสรางความรวมมือของสถาบันการศึกษาใน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเพื่อสรางความเขาใจอันดี และการแลกเปลี่ยนทางวิชาการควรไดรับความรวมมือ ช ว ยเหลื อ จากภาคี ที่ มี ส  ว นร ว มในการจั ด การศึ ก ษา ทั้งทางตรงและทางออม เชน มหาวิทยาลัย กระทรวง ศึ ก ษาธิ ก ารและการฝ ก อบรม ภาครั ฐ บาลและภาค ธุรกิจการบริการและการทองเที่ยวของประเทศสมาชิก อาเซียนโดยมีแนวทางดังนี้ 1. รัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนควรสงเสริม ความรวมมือระหวางมหาวิทยาลัยในอาเซียนในทุกดาน รวมถึงการสนับสนุนงบประมาณในการสรางเครือขาย และพั น ธมิ ต รทางวิ ช าการและการแลกเปลี่ ย นด า น วิชาการอยางจริงจัง 2. กระทรวงศึกษาธิการของประเทศสมาชิก อาเซียนควรรวมมือกันผลักดันใหมีการสรางเครือขาย และพันธมิตรทางวิชาการระหวางมหาวิทยาลัยในระดับ ภูมิภาคอาเซียนอยางจริงจัง 3. มหาวิทยาลัยในอาเซียนควรสรางศูนยขอมูล และเว็บไซตที่สามารถเชื่อมโยงเครือขายและพันธมิตร ทางวิชาการรวมกัน 4. มหาวิทยาลัยในอาเซียนควรเพิม่ ความรวมมือ 



ในการแลกเปลี่ยนดานวิชาการ การจัดประชุมวิชาการ สั ม มนาและการทำ� วิ จั ย ร ว มกั น ระหว า งผู  ท รงคุ ณ วุ ฒิ ดานการทองเทีย่ ว อาจารยและนักศึกษาระหวางสถาบัน ในอาเซียน 5. อาเซียนควรมีการกำ�หนดเกณฑมาตรฐาน หลักสูตรการจัดการการบริการและการทองเที่ยวเพื่อ สนับสนุนใหการแลกเปลี่ยนดานวิชาการเปนไปอยางมี คุณภาพและมีบรรทัดฐานเดียวกัน สรุป ความสำ�เร็จของกลุม ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นั้นขึ้นอยูกับการลดชองวางของระดับการพัฒนา และ การชวยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อใหประเทศสมาชิกใน สมาคมประชาชาติแหงเอเชียตะวันออกเฉียงใตไดมี โอกาสเข า ร ว มในกระบวนการรวมตั ว ทางเศรษฐกิ จ มหภาคของอาเซี ย น แม ว  า ความแตกต า งระหว า ง ประเทศสมาชิกทั้งในระดับประชาชน ภาคการศึกษา และภาคธุ ร กิ จ ยั ง คงเป น อุ ป สรรคในการสร า งความ เทาเทียมใหเกิดขึ้นไดก็ตาม การใหการสนับสนุนและ แลกเปลี่ ย นบนพื้ น ฐานของความจริ ง ใจและจริ ง จั ง ดานการเงิน การลงทุนและการศึกษายอมเสริมสราง ขี ด ความสามารถในการแข ง ขั น ให กั บ อาเซี ย นและ สร า งให อ าเซี ย นเป น ศู น ย ก ลางภายในภู มิ ภ าคที่ มี แตความเขาใจอันดีตอกัน กิตติกรรมประกาศ ผู  เ ขี ย นขอขอบคุ ณ ดร.เทิ ด ชาย ช ว ยบำ � รุ ง ผูอำ�นวยการสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการทองเที่ยวไทย และสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ที่ไดกรุณา สนับสนุนทุนในการศึกษาวิจัยซึ่งเปนที่มาของบทความ นี้และสงเสริมใหผูวิจัยไดศึกษามีความรูเพิ่มเติมและ ตระหนักตอความรับผิดชอบตอสังคมและ Ms. Nguyen Thi My Hanh มหาวิทยาลัย Thai Nguyen University of Economics and Business Administration ประเทศ เวียดนามที่อนุคราะหขอมูลและความสะดวกในการเก็บ ขอมูลตลอดโครงการ 

59


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

บรรณานุกรม ภาษาไทย นุศจี ทวีวงศ. (2552). กฎบัตรอาเซียน? รัฐธรรมนูญทีใ่ ชปกครองกลุม ประเทศสมาชิกอาเซียนจะตองใหความ สำ�คัญกับการมีสวนรวมของภาคประชาชน. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2553. จาก http:// www.thaingo.org/writer/view.php?id=1101. ไมตรี สุนทรวรรณ และวิเชศ คำ�บุญรัตน. (ม.ป.ป). คนไทยไปอยางไรในอาเซียน. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 6 กุมภาพันธ 2555. จาก http://www.km.ra.ac.th/hrd/article/asean/aec2.pdf. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2554,18 กรกฎาคม). Road Map วิชาชีพทองเที่ยวไทย เตรียมพรอม สูเสรีแรงงานอาเซียน. [ออนไลน]. สืบคนเมื่อ 6 กุมภาพันธ 2555. จาก http://www.prachachat.net/ news_detail.php? newsid=1310979761&grpid&catid=02&subcatid=0200. ภาษาอังกฤษ​ Dinh Van Dang. (2007). Rising the role of tourism training institutions in Vietnam tourism human resource development. [Online]. Retrieved April 27, 2012. from http://www.hah.hu/opendoc.php?/ fn=Nguyen_Monh_Ty… Nguyen Thi My Hanh and Chaisawat, M. (2008). The Current situation and future development of hospitality and tourism higher education in Vietnam. วิทยานิพนธปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบริการและการทองเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร. (ไมไดรับการตีพิมพ) Pham Thi Thu Huyen. (200?). Higher education in Vietnam: A look from labour market angle. [Online]. Retrieved November 13, 2010. from http://www.vdf.org.vn. Runckel, C. (2009). The education system in Vietnam. [Online]. Retrieved March 16, 2010. from http:// www.business-in-asia.com/vietnam/education_system_in_vietnam.html. UNESCO. (2006). Higher education in South-East Asia. [Online]. Retrieved August 3, 2010. from http:// www.unesdoc.unesco.org UNEVOC. (2008). Corporate HRD and skills development for employment: scope and strategies. [Online]. Retrieved April 27, 2012. from http://www.unevoc.unesco.org/fileadmin/user_upload/pubs/ Corporate_HRD_and_Skills_Development_for_Employment_Scope_and_Strategies.pdf Vietnam National Administration of Tourism: VNAT. (2006). Vietnam Human Resources Development in Tourism Program by 2015. Vietnam: Department of Personnel and Organization.

60


การจำ�ลองวัตถุทางพิพิธภัณฑสำ�หรับคนตาบอด Replica Reproductions of Museum Objects for the Blind ธีรอาภา บุญจันทร 1​, เสาวภา พรสิริพงษ 2, ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน 3 Teeraapa Bunjan, Saowapa Pornsiripongse, Kwanchit Sasiwongsaroj

บทคัดยอ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อสรางวัตถุจำ�ลองทางพิพิธภัณฑที่เหมาะสมตอคนตาบอด เนื่องจาก ความพิการทางสายตาทำ�ใหคนตาบอดขาดโอกาสทางการรับรูจากแหลงเรียนรูตางๆ การสรางวัตถุจำ�ลองทาง พิพิธภัณฑที่สามารถถายทอดความรูสูคนตาบอดไดอยางมีประสิทธิภาพ จึงเปนอีกชองทางหนึ่งที่สามารถทำ�ให เด็กตาบอดไดรบั การเรียนรูจ ากการสัมผัสดวยตนเอง กลุม ตัวอยางทีศ่ กึ ษาประกอบดวย 3 กลุม คือ นักเรียนทีต่ าบอดสนิท ของโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดธรรมสากลหาดใหญ จ.สงขลา จำ�นวน 12 คน ผูปกครองจำ�นวน 12 คน และ ครูประจำ�ชั้น จำ�นวน 3 คน เครื่องมือที่ใชประกอบดวยแบบสัมภาษณผูปกครองและครูประจำ�ชั้น แบบทดสอบกอน และหลังการสรางวัตถุจำ�ลองสำ�หรับเด็กตาบอด ในสวนของเด็กไดทำ�การศึกษาการสัมผัสรับรูตอวัตถุที่คนตาบอดใช ในชีวิตประจำ�วัน นำ�มาเปนพื้นฐานในการทดสอบ การสัมผัสรับรูจากวัตถุที่มีพื้นผิว ขนาด รูปทรง และลักษณะตางๆ ทีส่ ง ผลตอการรับรูท างการสัมผัสของคนตาบอด อันนำ�ไปสูก ารคนหาลักษณะทีเ่ หมาะสมตอการสรางวัตถุจำ�ลองทาง พิพธิ ภัณฑของคนตาบอด ผลการศึกษาพบวา วัตถุจ�ำ ลองทีด่ ตี อ การสัมผัสรับรูข องคนตาบอด ควรมีรปู ทรงหรือลักษณะ เฉพาะของวัตถุ ขนาดทีเ่ หมาะสม มีลกั ษณะเสมือนจริง มีความปลอดภัย และคงทน นอกจากนีค้ วรมีองคประกอบอืน่ ๆ ที่สามารถเปนสื่อในการชวยเสริมความเขาใจใหแกคนตาบอดได เชน อักษรเบรลลและการบอกเลาเรื่องราวประกอบ การสัมผัสรับรู สามารถชวยในเด็กตาบอดคาดเดาตอสิง่ ทีส่ มั ผัส ซึง่ เปนการเพิม่ ศักยภาพการรับรูไ ดชดั เจนมากยิง่ ขึน้ คำ�สำ�คัญ: 1. คนตาบอด. 2. การจำ�ลองวัตถุทางพิพิธภัณฑ. 3. โรงเรียนคนตาบอดธรรมสากล สงขลา.

__________________ มหิดล

1

นักศึกษาปริญญาโท สาขาวัฒนธรรมศึกษา แขนงวิชาพิพิธภัณฑศึกษา สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัย

2

รองศาสตราจารย ดร. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล (ที่ปรึกษาวิทยานิพนธหลัก) ผูชวยศาสตราจารย ดร. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล (ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ)

3


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

Abstract The objective of this research is to create replicas of museum objects that are suitable for the blind. Because the blind often have few opportunities to learn at conventional learning centers, using replicas of museum objects to enable blind students to learn by touch is a way to enhance their learning potential. The samples consisted of 3 groups; 12 blind students from Dhamma Sakon School in Hadyai, Songkla Province, guardians and class instructors. The instruments used were an interview guideline for the guardians and class instructors, and pre and post tests for the blind students. The reactions of the students to replicas of objects of daily life were observed and data from these observations were used to develop a test to determine suitable characteristics for the production of the museum replicas. The results indicate that good replicas to facilitate learning for the blind should possess the following features: are of a suitable size, resemble the real object, are safe to handle and durable. Furthermore, besides the use of touch, other learning methods are desirable such as descriptions in Braille, and explanation by using a story telling technique which can enable the student to guess the object more easily and accurately. Keywords: 1. The blind. 2. Replica museum objects. 3. Dhamma Sakon School at Songkla Province.

44


การจำ�ลองวัตถุทางพิพิธภัณฑสำ�หรับคนตาบอด ธีรอาภา บุญจันทร, เสาวภา พรสิริพงษ และขวัญจิต ศศิวงศาโรจน

บทนำ� โดยปกติแลวมนุษยนั้นอาศัยสายตาเปนชอง ทางการรั บ รู  ส ภาพความเป น ไปต า งๆ กว า 80% (มณเฑียร บุญตัน 2539) ตาจึงเปนชองทางการรับรู ที่ดีที่สุดในการมองเห็นภาพ แสง สี สำ�หรับในโลกของ ความมืด หรือในโลกของความเลือนราง ความพิการ ทางการมองเห็น ถือเปนประเภทของความพิ ก ารที่ สามารถรับรูทุกสิ่งรอบตัวไดนอยกวาคนพิการประเภท อื่นๆ ทำ�ใหสภาพแวดลอมรอบตัวของคนตาบอดเปน สิง่ ทีไ่ มชดั เจนและไมมรี ปู ลักษณอนั ถูกตองแมนยำ� ทุกสิง่ ถูกมองดวยประสาทสัมผัสของหู จมูก ลิ้น ผิวหนัง แทน การรับรูทางสายตา ซึ่งในการรับรูของแตละบุคคล จะมี ความสามารถทีแ่ ตกตางกันไปตามประสบการณเดิมและ สภาพอวัยวะสัมผัสที่มีความสมบูรณแตกตางกัน การเรี ย นรู  เ ป น ส ว นสำ � คั ญ ยิ่ ง ในการส ง เสริ ม ศักยภาพการรับรูที่ดีสำ�หรับคนตาบอด ทั้งการศึกษา จากแหลงเรียนรูตามธรรมชาติ สถานศึกษา พิพิธภัณฑ สถานทีท่ อ งเทีย่ ว เทคโนโลยีและประสบการณรอบๆ ตัว ปจจุบันแหลงเรียนรูตางๆ มักมุงเนนเฉพาะเอื้ออำ�นวย ตอบุคคลปกติทวั่ ไปเปนหลัก อันสงผลใหผพู กิ ารจำ�นวน มาก ขาดโอกาสทีเ่ ทาเทียมกับบุคคลอืน่ ในสังคมเดียวกัน การสรางโอกาสใหผูพิการไดมีสื่อและแหลงการเรียนรู ที่มีคุณภาพ จึงเปนชองทางที่จะพัฒนาคุณภาพของ ผูพิการใหดีขึ้นได (ณภัทร เฉลิมชุติปภา 2553) ซึ่ง ทุ ก วั น นี้ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ ห ลายแห ง ได มี ก ารพั ฒ นาการ ออกแบบอาคารและนิ ท รรศการ เพื่ อ อำ � นวยความ สะดวกใหแกผูพิการ ซึ่งผูพิการในแตละประเภท จะมี ความสามารถในการศึกษารับรูไ ดแตกตางกัน โดยเฉพาะ อยางยิง่ คนตาบอด ซึง่ ไมสามารถรับรูไ ดจากการมองเห็น จึ ง เป น อุ ป สรรคที่ สำ � คั ญ ต อ การเข า ชมพิ พิ ธ ภั ณ ฑ คนตาบอด มักขาดโอกาสในการไดศึกษาความรูจาก พิพธิ ภัณฑ อันเปนคลังความรู คลังสมบัติ ทีร่ วบรวมวัตถุ และเรือ่ งราวทางประวัตศิ าสตร คุณคาของศิลปวัฒนธรรม ไวอยางครบถวน แตดวยความที่วัตถุในพิพิธภัณฑ เปนวัตถุที่มีคุณคาทางจิตใจ และประเมินคาเปนราคา มิได วัตถุในพิพิธภัณฑจึงถูกปดกั้นการสัมผัสเพราะ การสัมผัสอาจทำ�ใหวัตถุเกิดการชำ�รุด เสียหายได การ รั บ รู  แ ละการเรี ย นรู  สำ � หรั บ คนตาบอด จึ ง ต อ งจำ � กั ด

ไวเพียงการรับรูทางการฟง การดมกลิ่น ซึ่งทำ�ใหการ เขาชมพิพิธภัณฑสำ�หรับคนตาบอด ไมไดรับความรูที่ ชัดเจน ดั ง นั้ น การให ค วามสำ � คั ญ ในการศึ ก ษาวิ จั ย เกี่ยวกับการรับรูสัมผัสวัตถุ จะเปนประโยชนอยางมาก สำ�หรับคนตาบอด เพราะการสัมผัสนั้น ไมวาจะเปนการ ลู บ คลำ � พื้ น ผิ ว ของวั ต ถุ การดมกลิ่ น การฟ ง เสี ย ง บรรยากาศ หรือการรับรูเกี่ยวกับรสชาติ ลวนสามารถ สรางประสบการณใหมๆ ซึง่ ในการรับรูท ถี่ กู ตอง สามารถ เป น ส ว นที่ ชี้ นำ � ให ค นตาบอดนำ � ไปใช ใ นการดำ � เนิ น ชี วิ ต ได ผู  ที่ ส ร า งความเข า ใจให แ ก ค นตาบอดหรื อ ผู  ส ร า งสื่ อ เพื่ อ ผู  พิ ก าร จำ � ต อ งมี ค วามรู  พื้ น ฐานของ ความพิการนั้นๆ และมีการศึกษาการสรางวัตถุจำ�ลองที่ ถู ก ต อ งเหมาะสม เพื่ อ ให ค นตาบอดสามารถสร า ง ภาพเสมือนของวัตถุจริงขึ้นไดในสมอง อันสงผลให คนตาบอดสามารถใชชีวิตทามกลางสิ่งแวดลอมรอบตัว ไดอยางมีศักยภาพเพียงพอ เชนเดียวกับบุคคลทั่วไป ในสังคม แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวของ แนวคิดจิตวิทยาการสัมผัสและรับรู มนุษย เราเกิดความรูสึกจากการสัมผัส (Sensation) โดยอาศัย อวัยวะสัมผัสทั้ง 5 คือ ตา หู ลิ้น จมูก ผิวหนัง เนื่องจาก คนตาบอดขาดประสาททางสายตา การฝกใหใชประสาท สัมผัสสวนที่เหลือจึงเปนประโยชนตอคนตาบอดมาก ยิง่ ขึน้ ซึง่ สุวมิ ล อุดมพิรยิ ะศักย (2537 : 16-31) กลาวถึง ประสาทสัมผัสสวนที่เหลือ เชน หู เปนประสาทสัมผัสที่ คนตาบอดใชรบั รูไ ดไกลมาก การฟงจะทำ�ใหคนตาบอด มองเห็น กำ�หนดทิศทาง ระยะทางและรูถึงสภาพที่ตั้ง ของบริเวณนั้นๆ ได จมูกใชในการไดกลิ่น ซึ่งชวยให คนตาบอดเกิดความจำ� และรูจักของนั้นที่เกี่ยวของใน ชีวิตประจำ�วัน ลิ้นใชในการชิมรส ควรฝกในเรื่องของ ความแตกตางของรสชาติ อาหารแบบใดกินได หรือ แบบใด เนาเสีย หามกิน กายคือการสัมผัสดวยผิวหนัง หรือการสัมผัสแตะตอง ทำ�ใหคนตาบอดไดความรูทาง รูปธรรม ดังนั้น การสัมผัสจึงเปนชองทางหนึ่งของ การเรียนรูของคนบอด

45


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

แนวคิ ดการรับรูและความคิดรวบยอดในการ ศึ ก ษารู ป แบบความคิ ด รวบยอดของเด็ ก ตาบอดและ เด็กที่ตาปกติพบวา เด็กตาบอดมีรูปแบบการคิดซึ่ง เรียกวา Global cognitive style คือการคิดรวมๆ ไมสามารถรับรูในสวนที่ละเอียดได สวนเด็กที่มีการ เห็นปกตินั้น รูปแบบการคิดจะเปนแบบ Articulated cognitive style ซึ่งเปนการคิดอยางละเอียด ในขณะ เดียวกัน ไดมีการทดลองการแยกแยะสิ่งของ พบวาถา เด็กตาบอดไดรับการฝกฝนเพิ่มมากขึ้น ความสามารถ ในการแยกแยะสิง่ ของจะไมแตกตางจากเด็กทีม่ กี ารเห็น ปกติ การรับรูแตละประเภทมีผลตอพัฒนาการของเด็ก เปนอยางมากโดยเฉพาะการสัมผัสดวยมือ การสังเกต จะตองเคลื่อนมือไปตามรูปรางของวัตถุในทุกๆ สวน ของวัตถุเปนการนำ�สวนตางๆ ของวัตถุที่สังเกตได มาประกอบขึ้นภายในใจ (ชูชีพ ออนโคกสูง 2527 : 115-116) เยาวนาถ นรินทรสรศักดิ์ (2548) ไดทำ�การวิจัย ที่เกี่ยวของการผลิตหุนจำ�ลองตนแบบเพื่อฝกทักษะ การรับสัมผัสสำ�หรับเด็กตาบอด โดยใหเด็กตาบอดได สัมผัสกับวัสดุที่มีพื้นผิวตางๆ ตามที่ผูวิจัยไดออกแบบ ไว เชน นำ�ลูกปดเปลือกหอยมาใสลงในกลองไมเล็กๆ แทนลักษณะที่ขรุขระใชโฟมนูนและสติ๊กเกอรนูนแทน ลักษณะผิวนูน ลักษณะงานวิจัยของเยาวนาถ นรินทร สรศักดิ์ เปนทดสอบการจำ�แนกและการเปรียบเทียบ คุณลักษณะของพื้นผิวสัมผัส ในขณะที่งานวิจัยของ ผูวิจัยศึกษาในเรื่องพื้นผิวของวัตถุเชนกัน แตแตกตาง กั น เพราะผู  วิ จั ย เน น การศึ ก ษาถึ ง จิ น ตภาพที่ เ กิ ด ขึ้ น ภายหลังจากการไดสัมผัสกับวัตถุที่มีพื้นผิวตางๆ ของ เด็กตาบอด ซึ่งพบวา พื้นผิวเปนสวนประกอบหนึ่งที่ สำ�คัญในลักษณะของวัตถุจำ�ลองซึ่งสามารถประมวล ผลจากการสัมผัสเปนภาพภายในความคิดได Urosevic and Cross (2003 : 47-48) ไดกลาวถึง การสรางสรรคของเลนเพือ่ การศึกษาและกิจกรรมตางๆ ของเด็กตาบอดระดับปฐมวัยวา ในการเรียนรูและฝก ทักษะรับสัมผัสควรมีพื้นผิว 6-10 ชนิด ที่เหมาะสม เชนเดียวกับผูวิจัยที่ไดพิจารณาเลือกพื้นผิวสัมผัสที่ คิดวามีความเหมาะสมสำ�หรับใชในการสรางวัตถุจำ�ลอง

46

เพื่อฝกทักษะการรับรูสัมผัสพบวา เด็กตาบอดสามารถ รับสัมผัสไดดีตอวัตถุที่มีพื้นผิว นูน ต่ำ� หยาบ ขรุขระ เรียบ ละเอียด ความแข็ง นุม ลักษณะที่มีความแตกตาง กันจะทำ�ใหเด็กตาบอดไดฝกการแยกสัมผัสไดอยาง มีประสิทธิภาพ วิธีวิทยา ในการศึกษาครั้งนี้ไดแบงกลุมเปาหมายในการ ศึกษาออกเปน 3 กลุมไดแก 1.) กลุม นักเรียน คัดเลือกจากเด็กนักเรียนระดับ ประถมศึกษาตอนตนจำ�นวน 12 คน ที่ตาบอดสนิท มาตั้งแตแรกเกิด โดยเลือกนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปที่ 1-3 2.) กลุมผูปกครอง ซึ่งเปนผูดูแลหลักของเด็ก ตาบอดทั้ง 12 คน มีทั้งที่มีฐานะเปนพอ แม ลุง ปา นา พี่ หรือบางคนก็มผี อู ปุ ถัมภเปนผูป กครอง โดยเก็บขอมูล ใน 2 ประเด็น คือ พฤติกรรมกอนและหลังเขาโรงเรียน 3.) ครูประจำ�ชัน้ เปนบุคคลทีค่ ลุกคลีและใกลชดิ กับเด็กมากทีส่ ดุ จึงเลือกสัมภาษณครูประจำ�ชัน้ ของเด็ก ตาบอดทีเ่ ปนกลุม เปาหมาย จำ�นวน 4 คน เกีย่ วกับหนาที่ ของครูในการดูแลเด็กตาบอด และการฝกการเรียนรู ของเด็ก เครือ่ งมือทีใ่ ชในการวิจยั แบงออกเปน 2 ประเภท คือ แบบสัมภาษณ และแบบทดสอบ โดยแบบสัมภาษณ แบงออกเปนแบบสัมภาษณครูผูสอน ผูปกครอง ซึ่งมี เนื้อหาเกี่ยวกับ ประวัติการศึกษาการ เรียนรูของเด็ก การทำ�กิจวัตรประจำ�วัน และพฤติกรรมของเด็กตาบอด และแบบสั ม ภาษณ เ ด็ ก ตาบอดซึ่ ง มี เ นื้ อ หาเกี่ ย วกั บ ประวัติสวนตัว การฝกใชประสาทสัมผัสในการรับรู สวนแบบทดสอบจะเปนแบบทดสอบกอน และหลังการ สรางวัตถุจำ�ลอง ซึ่งทดสอบเกี่ยวกับลักษณะ ขนาด รู ป ร า ง รู ป ทรง และลวดลายของวั ต ถุ ที่ เ ด็ ก ตาบอด สามารถสัมผัสรับรูไดดีที่สุด จากนั้นนำ�ขอมูลที่ไดมา สร า งวั ต ถุ จำ � ลอง วิ เ คราะห ถึ ง ป ญ หา อุ ป สรรคและ ขอเสนอแนะในการสรางวัตถุจำ�ลองทางพิพิธภัณฑที่ เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำ�หรับคนตาบอด


การจำ�ลองวัตถุทางพิพิธภัณฑสำ�หรับคนตาบอด ธีรอาภา บุญจันทร, เสาวภา พรสิริพงษ และขวัญจิต ศศิวงศาโรจน

การทดสอบครั้งที่ 1 ใหเด็กสัมผัสวัตถุ 3 ชิ้น ที่มีลักษณะและขนาดตางกัน

การทดสอบครั้งที่ 2 ใหเด็กตาบอดสัมผัสรูปหลอ ปูนปลาสเตอร รูปชางไทยที่มีรายละเอียดแตกตางกัน

แบบทดสอบหลังการสรางวัตถุจำ�ลอง ทดสอบ โดยใหเด็กตาบอดสัมผัสกับวัตถุจำ�ลองจำ�นวน 2 ชุด ชุดแรก วัตถุจ�ำ ลองภาพนูนต่�ำ ทีบ่ อกเลาเรือ่ งราวเกีย่ วกับ วิถีชีวิตของคนเลี้ยงวัวและวัวชน ชุดที่สอง วัตถุจำ�ลอง ที่มีลักษณะลอยตัว ใชวัสดุที่ใหผิวสัมผัสเสมือนวัวชน จริง ซึ่งแบงการทดสอบออกเปน 3 ครั้ง คือ การทดสอบ ครั้งที่ 1 ทดสอบกับเด็กตาบอดโดยใหสัมผัสกับวัตถุ จำ�ลองเพือ่ ทราบถึงสัมผัสรับรูข องเด็กตาบอดวามีความ เขาใจตอวัตถุจำ�ลองที่ไดสัมผัสอยางไร การทดสอบ ครัง้ ที่ 2 บอกเลาเรือ่ งราวและลักษณะของวัตถุจ�ำ ลองโดย ใชเสียงพูดบรรยายกอนทีจ่ ะใหเด็กตาบอดสัมผัสอีกครัง้ เพื่อใหทราบวาการรับรูสัมผัสดานอื่นๆ เชน การไดยิน

จะสามารถชวยเสริมสรางจินตภาพและเรื่องราวของ วัวชนใหเกิดขึ้นในความคิดของเด็กตาบอดไดมากนอย เพียงใด การทดสอบครั้งที่ 3 ใหเด็กตาบอดอานอักษร เบรลล ประกอบการสัมผัสวัตถุจำ�ลอง เพื่อใหทราบวา สื่อตางๆ จะสามารถชวยใหเด็กตาบอดเกิดความเขาใจ เพิ่มเติมจากสิ่งที่ไดสัมผัสรับรูจากการสัมผัสดวยมือ การสัมผัสทางการฟงเสียง ไดมากนอยเพียงใด จากนั้น ได นำ � ผลการทดสอบทั้ ง หมดมาวิ เ คราะห ถึ ง ป ญ หา อุปสรรคและขอเสนอแนะในการสรางวัตถุจำ�ลองทาง พิพิธภัณฑที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำ �หรับคน ตาบอดตอไป ผลการวิจัย ในการทดสอบผูวิจัยไดใชเกณฑการใหคะแนน ตามความเขาใจในการรับรูตอวัตถุชิ้นตางๆ ออกเปน 3 เกณฑ ไดแก ดีมาก = 3 คะแนน ปานกลาง = 2 คะแนน นอย = 1 คะแนน ผลการทดสอบกอนการ สรางวัตถุจำ�ลองครั้งที่ 1 พบวาเด็กตาบอด ทั้ง 12 คน ไดคะแนนความเขาใจและการรับรูตอวัตถุที่ไดสัมผัส ตุกตามากที่สุด รวม 17 คะแนน เพราะมีลักษณะเดนที่ ชัดเจน ไมซับซอน และเปนวัตถุที่มีลักษณะเฉพาะของ ความเปนตุก ตา ขนาด และรายละเอียดของวัตถุไมใหญ หรือเล็กจนเกินไป ขนาดพอดีกบั ขนาดมือของเด็ก อีกทัง้ ยังเปนวัตถุที่เด็กสวนใหญเคยไดสัมผัสมากอน ผลการ ทดสอบกอนการสรางวัตถุจ�ำ ลองครัง้ ที่ 2 พบวา นักเรียน ตาบอดใหคะแนนรูปหลอปูนปน ชางไทยตัวที่ 1 มากกวา ตัวที่ 2 เพราะมีลักษณะเดนเฉพาะตัวของชาง ที่ชัดเจน เชน งาชาง ลำ�ตัวที่อวน ใบหูที่ใหญ ทำ�ใหเด็กตาบอด สามารถบอกไดทันทีวาสิ่งที่ไดสัมผัสนั้นคืออะไร แต รูปทรงทีป่ ระกอบดวยลวดลายมากเกินไปอาจทำ�ใหเกิด ความสับสนในความคิดและจินตภาพของเด็กตาบอด การทดสอบการสัมผัสรับรูจากวัตถุจำ�ลองที่ สรางขึน้ ทดสอบโดยใหเด็กตาบอดสัมผัสกับวัตถุจ�ำ ลอง จำ�นวน 2 ชุด ซึ่งแบงการทดสอบออกเปน 3 ครั้ง ไดผล การทดสอบดังนี้ การทดสอบครั้งที่ 1 ทดสอบการสัมผัสรับรูกับ เด็กตาบอดโดยใชวัตถุจำ�ลองชุดเดียวกัน พบวาเด็ก ตาบอดสามารถอธิบายถึงลักษณะของวัตถุจำ�ลองชุด

47


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

ที่ 1 ไดนอ ย เพราะลักษณะของภาพ มีความซับซอน ถึง แมภาพจะถูกลดทอนจากความเปนจริงไปบางสวนแลว ก็ตาม ลักษณะผิวสัมผัสไมไดแยกลักษณะเอกลักษณ ทีช่ ดั เจนของสิง่ ทีป่ รากฏในภาพ จึงทำ�ใหเด็กไมสามารถ จินตภาพถึงสิง่ ทีผ่ วู จิ ยั นำ�เสนอไดดเี ทาทีค่ วร แบบจำ�ลอง ชุดที ่ 2 เด็กตาบอดทัง้ 12 คน สามารถอธิบายและเขาใจ ในลักษณะของวัวชนไดอยางถูกตองชัดเจน คนที่เคย สัมผัสวัวหรือวัวชนมากอนจะจินตภาพถึงสิ่งที่ไดสัมผัส ไดอยางรวดเร็ว วองไว ในขณะที่เด็กซึ่งไมเคยไดสัมผัส วัวหรือวัวชนมากอนจะใชเวลาในการศึกษาลักษณะ ของวัวชนนานกวาคนที่เคยมีประสบการณมากอน การ ทดสอบครั้งที่ 2 ผูวิจัยชวยเลาเรื่องราวประกอบ พบวา การใชเสียงชวยสื่อใหเด็กตาบอดเขาใจมากขึ้น เด็ก ตาบอดทัง้ 12 คน สามารถรับรูส มั ผัส ไดดกี วา การใชมอื สัมผัสวัตถุจำ�ลองดวยตนเอง การชวยประคองมือของ เด็กในขณะทีอ่ ธิบายภาพใหเด็กฟงไปดวย จะชวยใหเด็ก สามารถจับวัตถุตา งๆ ไดถกู ทิศทางมากขึน้ การทดสอบ ครั้งที่ 3 ใหเด็กตาบอดทั้ง 12 คน ไดอานอักษรเบรลล ประกอบการสัมผัสวัตถุจำ�ลอง พบวา เด็กตาบอด 5 คน ใน 12 คน สามารถอานอักษรเบรลลได ซึ่งการอาน อักษรเบรลลชวยใหเด็กตาบอดสามารถคาดเดาไดวา ในสวนที่ไดสัมผัสจับตองนั้นเปนภาพของอะไร อักษร เบรลลจะชวยใหภาพในจินตนาการของเด็กชัดเจนขึ้น

แบบจำ�ลองที่ 1

48

แบบจำ�ลองที่ 2

อภิปรายผล ลั ก ษณะวั ต ถุ จำ � ลองที่ เ หมาะสมต อ การสั ม ผั ส รับรูของเด็กตาบอด ควรมีลักษณะดังนี้ 1. ขนาดที่เหมาะสม งายตอการจับตองสัมผัส วัตถุของเด็ก ขนาดของวัตถุตองไมใหญหรือเล็กจน เกินไป ขนาดที่เล็กเกินไปทำ�ใหสัมผัสถึงลวดลายบน วั ต ถุ ไ ด ม าก จนอาจก อ ให เ กิ ด ความสั บ สนในการ ประมวลผลวาสิ่งนั้นคืออะไร แตถาวัตถุมีขนาดใหญ จนเกินไป พื้นที่ในการสัมผัสมาก ก็จะทำ�ใหยากแกการ สัมผัสสวนตางๆ ของวัตถุไดครบถวน 2. รู ป ทรงต า งๆ ที่ ส ร า งขึ้ น ควรลดทอน รายละเอียดลงจากความเปนจริง แตตองมีความชัดเจน ในสวนของลักษณะเฉพาะของวัตถุ เพื่อไมกอใหเกิด การสับสนในกระบวนการสรางจินตภาพของเด็กตาบอด เชน ตนไม ควรประกอบไปดวย พุมไม กิ่งไม และ รากไม ใบไมที่มีมากทับซอนกัน อาจไมจำ�เปนเพราะ รายละเอียดที่มีมากหรือนอยจนเกินไป อาจทำ�ใหการ รับรูสัมผัสของเด็กคาดเคลื่อนได 3. คำ�อธิบายประกอบวัตถุจำ�ลอง วัตถุจำ�ลองที่ สรางขึ้นควรมีอักษรเบรลล หรือมีเสียงในการอธิบาย ประกอบ เพื่อทำ�ใหเด็กตาบอดไดรับรูอยางชัดเจนมาก ยิ่งขึ้น 4. วัตถุที่เปนสิ่งเดียวกัน การสรางวัตถุจำ�ลอง ที่เปนภาพเรื่องราว โดยมีวัตถุสิ่งเดียวกันซ้ำ�ในภาพ ควรสรางใหมีลักษณะเหมือนกัน เชน วัว 1 ตัว ใน เรื่อง เดียวกัน ควรมีลักษณะที่เหมือนกันตลอดทั้งเรื่อง เพื่อ


การจำ�ลองวัตถุทางพิพิธภัณฑสำ�หรับคนตาบอด ธีรอาภา บุญจันทร, เสาวภา พรสิริพงษ และขวัญจิต ศศิวงศาโรจน

ปองกันการเกิดความสับสนตอตัวละครในเรื่องราวนั้นๆ 5. การใชวัสดุที่มีลักษณะเสมือนจริง ในการ สรางวัตถุจำ�ลองควรเลือกใชวัสดุที่มีลักษณะเสมือนจริง เพราะลักษณะความนุม แข็ง เย็น แหลม ความถูกตอง ของรูปทรง ลักษณะเดนตางๆ ของความเปนวัตถุชิ้น นั้นๆ ควรสรางใหชัดเจน เพราะจะชวยใหการคาดเดา หรือการวิเคราะหวัตถุที่ไดจับตองสัมผัสนั้นเปนไปได งายขึ้น 6. การใชวัสดุที่มีความปลอดภัย ในการสราง วั ต ถุ จำ � ลองควรที่ เ ลื อ กวั ส ดุ ที่ มี ค วามปลอดภั ย และ มีความคงทน เพราะเด็กตาบอดจะใชวิธีการสัมผัสโดย การหยิบจับ เคาะ ยกขึ้นฟง ดมกลิ่น เพื่อชวยประมวล ผลในการหาคำ�ตอบ ดังนัน้ วัตถุทนี่ �ำ มาสรางวัตถุจ�ำ ลอง จึงตองแตกหักยาก แข็งแรง และปราศจากสารพิษ ไมมีมุม เหลี่ยม คม หรือวัตถุที่ยื่นออกมาอันกอใหเกิด อันตรายตอเด็ก ขอเสนอแนะในการวิจัย 1. ในการจั ด ทำ � วั ต ถุ จำ � ลองหรื อ นิ ท รรศการ สำ�หรับคนตาบอด ผูจัดทำ�ตองเขาใจธรรมชาติของ ผูพ กิ ารอยางลึกซึง้ ผูว จิ ยั ตองแบงแยกประสบการณเดิม ออกจากประสบการณใหม ตองทำ�ความคิดใหเปนดั่ง แกวเปลา โดยนึกไปวา เราไมเคยเห็นหรือสัมผัสสิ่งนั้น มากอน เราจะรับรูอะไรไดบางจากสิ่งที่เราสัมผัสนั้น สิ่งเหลานี้จะทำ�ใหผูวิจัยสามารถเขาถึงความพิการทาง สายตา อันสงผลใหผูวิจัยสามารถนำ�ไปประยุกตใชกับ การสรางสื่อจำ�ลองเพื่อสรางจินตภาพในกับคนตาบอด ไดอยางมีประสิทธิภาพ 2. วัตถุที่นำ�มาจัดแสดงควรเปนวัตถุจำ�ลองที่ ผูเขาชมสามารถสัมผัสจับตองได อาจมีเสียงหรืออักษร เบรลลอธิบายประกอบขณะสัมผัสวัตถุชิ้นนั้นๆ และ ควรจัดเตรียมสื่อ อุปกรณไวสำ�รองแกผูพิการ เชน การ สื่อความหมายจากภาพ หรือ สื่อเรื่องเลาตางๆ มีเลนส 

ขยายไว ร องรั บ สำ � หรั บ ผู  ที่ มี อ าการตาบอดเลื อ นลาง มีเสียงบรรยายภาพสำ�หรับคนตาบอดสนิท 3. พิ พิ ธ ภั ณ ฑ ค วรมี สิ่ ง อำ � นวยความสะดวก ใหแกผูพิการประเภทตางๆ เชน ภายในอาคาร ควรมี ทางลาดชันสำ�หรับรถเข็นผูพิการ พิพิธภัณฑควรจัด ทำ�แผนที่การเขาชมพิพิธภัณฑ ไวรองรับความพิการ ตางๆ เชน แผนทีส่ �ำ หรับคนตาบอด ควรมีภาพนูนแสดง แผนผังการเดินชมนิทรรศการ อาจมีเทปเสียง อธิบาย เสนทางการเดินชมนิทรรศการ และภายในหองนั้นๆ เปนนิทรรศการที่เกี่ยวกับอะไร เปนตน สิ่งเหลานี้จะ ทำ�ใหคนพิการสามารถเขาชมนิทรรศการและไดเรียนรู สิ่งตางๆไดดวยตนเอง 4. พิพิธภัณฑควรทำ�แบบสอบถามไวรองรับ ความคิดเห็นจากผูพิการประเภทตางๆ ใหมีสิทธิในการ เสนอแนะ เชนเดียวกับคนสายตาปกติ เพื่อพิพิธภัณฑ สามารถนำ � ข อ แนะนำ � ต า งๆ ไปพั ฒ นาในการจั ด นิทรรศการเพื่อตอบสนองความตองการใหกับผูเขาชม ทุกกลุมตอไป ขอเสนอแนะในการทำ�วิจัยครั้งตอไป 1. ในขัน้ ตอนการทดสอบการรับสัมผัสจากวัตถุ จำ�ลองที่สรางขึ้น ควรทดสอบการสัมผัสการรับรูจาก กลุ  ม ผู  เ ข า ชมทั้ ง คนที่ ต าบอดและคนที่ มี ส ายตาปกติ เพื่ อ จะได ท ราบผลการวิ จั ย ที่ ส ามารถตอบสนองและ รับฟงปญหาจากผูเขาชมไดอยางชัดเจน 2. ในการสรางวัตถุจำ�ลองทางพิพิธภัณฑ ควร นำ�เทคโนยีที่ทันสมัยมาประยุกตใช เชนการสรางสื่อ มัลติมเี ดีย หรือสือ่ ผสม ใหเปนภาพ 3 มติ ิ อาจเปนภาพนิง่ หรือเคลื่อนไหวก็ได เพื่อใหสามารถชมภาพวัตถุได ทุกทาง อาจมีเสียงคำ�บรรยายประกอบหรือเปนวีดทิ ศั น สั้นๆ เพื่อใหผูชมที่ไมสามารถมองเห็น ไดใชสัมผัสอื่น แทนการใชตามอง





49


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

บรรณานุกรม ภาษาไทย ชูชีพ ออนโคกสูง. (2527). จิตวิทยาเด็กอปกติ. เอกสารการนิเทศการศึกษา หนวยศึกษานิเทศก กรมการฝกหัด ครู. กรุงเทพฯ : โรงพิมพการศาสนา. ณภัทร เฉลิมชุติปภา. (สิงหาคม 2553) กาวไปกับเทคโนโลยีเพื่อผูพิการ. Update 25 (275) : 43-50. มณเฑียร บุญตัน. (2539). “เทคโนโลยีสารสนเทศกับคนตาบอดหรือคนพิการทางการมองเห็น : จากความเชื่อ พื้นฐานที่ไมปฏิเสธการเขาถึงองคความรูโดยปราศจากการมองเห็น” ใน เอกสารประกอบการสัมมนาและ นิทรรศการ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการ ครั้งที่ 1 : หนา 47-49. นครปฐม: วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล. เยาวนาถ นรินทรสรศักดิ์. (2548). การผลิตหุนจำ�ลองตนแบบ เพื่อฝกทักษะการับสัมผัสสำ�หรับเด็กพิการ ทางการมองเห็นระดับปฐมวัย. เชียงใหม: มหาวิทยาลัยเชียงใหม. สุวิมล อุดมพิรยิ ะศักย. (2537). ทักษะความคุน เคยกับสภาพแวดลอมและการเคลือ่ นไหวสำ�หรับเด็กทีม่ คี วาม บกพรองทางการเห็นวัยกอนเขาเรียน. กรุงเทพฯ: โปรแกรมวิชาการศึกษาพิเศษ คณะคุรุศาสตร สถาบัน ราชภัฎสวนดุสิต. ภ​ าษาอังกฤษ Urosevic, Jennifer and Cross, Lee-Anne. (2003). Creating educational toys and activities for children who are blind or visually impaired. [Online]. Retrieved October 15, 2003. from http://www.tsbri. edu/education/activities.htm

50


ปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชน ของพัฒนาการจังหวัด The Factor Effect of Efficiency of Administration Management for Chief Community Development Provincial Officers ธัชฤทธิ์ ปนารักษ 1 Touchrich Panaluck บทคัดยอ การวิจัยเรื่อง ปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด มี วัตถุประสงคสปี่ ระการคือ เพือ่ (1.) เพือ่ ศึกษาถึงอิทธิพลของปจจัยทางดานสถานการณ ซึง่ ประกอบดวยการมีสว นรวม ในการบริหารงาน การจัดการความรู วัฒนธรรมองคการ หลักธรรม ซึง่ เปนคุณลักษณะของคนเกงทีม่ ตี อ ประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด (2.) เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของปจจัยทางดานจิตลักษณะ ซึ่งประกอบดวย การมุงอนาคต แรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ เหตุผลเชิงจริยธรรม ทัศนคติทางบวก ความเชื่ออำ�นาจในตน และสุขภาพจิตที่เขมแข็ง ซึ่งเปนคุณลักษณะของคนดีที่มีผลตอประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนของ พัฒนาการจังหวัด (3.) เพื่อศึกษาความสอดคลองของตัวแบบประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนของ พัฒนาการจังหวัด ทีไ่ ดจากการวิเคราะหขอ มูลทางสถิตกิ บั ความคิดเห็นของผูท รงคุณวุฒ ิ และ (4.) เพือ่ สรางขอเสนอแนะ เชิงนโยบายที่เกิดจากตัวแบบการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด เพื่อพัฒนาใหพัฒนาการจังหวัด เปนคนเกง และคนดี สามารถบริหารงานไดอยางมีประสิทธิภาพ ผูว ิจยั ใชเทคนิคการวิจยั แบบผสม ในสวนการวิจยั เชิงปริมาณ ประชากรทีใ่ ชในการศึกษาครัง้ นี้ คือ พัฒนาการ จังหวัดทัว่ ประเทศ รวมทัง้ สิน้ 75 คน ซึง่ ผูศ กึ ษาไดศกึ ษาจากประชากรทัง้ หมดในสวนการวิจยั เชิงคุณภาพ กลุม ตัวอยาง ไดแก พัฒนาการจังหวัดจำ�นวน 6 คน โดยใชเกณฑการเลือกตัวอยางแบบเจาะจง โดยตั้งเกณฑวาตองเปนพัฒนา การจังหวัดที่มีประสบการณทำ�งานไมต่ำ�กวา 15 ป รวมถึงตองยินดีที่จะใหขอมูลและเปดเผยขอมูลอยางเต็มที่ การ วิเคราะหใชเทคนิคการวิเคราะหเชิงปริมาณเปนหลัก อาศัยการวิเคราะหเสนทาง และการวิจัยเชิงคุณภาพสนับสนุน โดยอาศัยเทคนิคการสัมภาษณแบบเจาะลึก ผลการวิเคราะหปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพในการบริหารงานของพัฒนาการจังหวัด พบวาปจจัยที่มี อิทธิพลรวมตอประสิทธิภาพในการบริหารงานของพัฒนาการจังหวัด อยางมีนัยสำ�คัญทางสถิติในสามลำ�ดับแรก ไดแก การจัดการความรู การมีทัศนคติที่ดี และการมีสวนรวมในการบริหารงานซึ่งผลดังกลาว สอดคลองกับปจจัย ที่มีอิทธิพลทางตรง คำ�สำ�คัญ : 1. ประสิทธิภาพ. 2. การบริหารงานพัฒนาชุมชนจังหวัด. __________________ 1 นักศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยสยาม และพัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำ�นักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

Abstract A research on factor effect of efficiency administration management in chief community development provincial officers was aimed at: 1. an investigation into the influence of situational factors including administrative participation, knowledge management, organizational culture and governance in good staff, 2. an investigation into the influence of psychological factors which includes future orientation, achievement motivation, ethical reasons, positive attitudes, self-confidence and mental strength that represent good officers, 3. an exploration into coherences of the model efficiency of administration management in chief community development provincial officers analyzed using statistical data and academics’ suggestions, and 4. the establishment of comments on a proposal of administrative suggestions made by the model efficiency of administration management in chief community development provincial officers to train those officers to become good staff who can work efficiently. The research was conducted through quasi-experimental study based upon 75 chief community development provincial officers from all over Thailand, whilst the qualitative study was selected through a specific sampling of 6 chief community development provincial officers who have at least 15 years working experience and who agreed to provide all the information. Quantitative calculation was applied in the analysis based upon path analysis, qualitative research and deep interviews. The factor effect of efficiency of administration management for chief community development provincial officers analysis found the following factors significantly affect the efficiency of administration: knowledge management, good attitude and administrative participation. These factors were found to directly influence the efficiency of administration management. Keywords : 1. Efficiency. 2. Administration management community development provincial officers.

44


ปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ธัชฤทธิ์ ปนารักษ ​

บทนำ� กรมการพั ฒ นาชุ ม ชน มี ห น า ที่ สำ � คั ญ ในการ พัฒนาชนบท โดยอาศัยหลักการพัฒนาชุมชน โดย ได กำ � หนดบทบาทหน า ที่ ใ นการดำ � เนิ น งานตามกฎ กระทรวง ไดแก การกำ�หนดนโยบาย แนวทาง แผน และ มาตรการในการพัฒนาชุมชน เพื่อเสริมสรางศักยภาพ และความเขมแข็งของชุมชน การสงเสริมศักยภาพของ ประชาชน ผูนำ�ชุมชน องคการชุมชน และเครือขาย องคการชุมชน เพื่อใหมีสวนรวมและเกิดการรวมกลุม ใหสามารถพึ่งตนเองได การสงเสริมกระบวนการเรียนรู ของประชาชน ผูนำ�ชุมชน องคการชุมชนและเครือขาย องคการชุมชน เพื่อพัฒนาและแกไขปญหาของชุมชน การสงเสริมวิสาหกิจชุมชน เพื่อเสริมสรางเศรษฐกิจ ชุมชน โดยมีเปาหมายที่สำ�คัญ 3 ประการ ไดแก การเสริมสรางความเขมแข็งของชุมชน ประชาชนพึ่ง ตนเองได และครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความสุข การดำ�เนินงานเพือ่ ใหบรรลุเปาหมายดังกลาวนัน้ บุคลากรของกรมการพัฒนาชุมชนทุกคนมีสวนสำ�คัญ เปนอยางยิง่ ในการชวยขับเคลือ่ น ผลักดัน ใหการดำ�เนิน งานบรรลุเปาหมาย แตอยางไรก็ตาม พื้นที่แตกหัก ซึ่งถือวาเปนเปาหมายสำ�คัญ คือ พื้นที่ในชนบท ซึ่งเปน พื้นที่ในการดำ�เนินงานของกรมการพัฒนาชุมชน และ ผูที่มีอำ�นาจสูงสุดในการขับเคลื่อนการดำ�เนินงานใน ระดับจังหวัด ก็คือ พัฒนาการจังหวัด ซึ่งมีหนาที่สำ�คัญ เปรียบเสมือนแมทัพที่คอยบัญชาการรบในพื้นที่ ซึ่ง ตองมีการกำ�หนดเปาหมาย วางยุทธศาสตร และการ บริหารงานตางๆ เพื่อใหการดำ�เนินงานบรรลุผลตาม ทีก่ รมการพัฒนาชุมชนกำ�หนดเปาหมายไวทงั้ 3 ประการ ตามที่กลาวมาแลว ตำ�แหนงของพัฒนาการจังหวัด จึงถือไดวาเปนตำ�แหนงที่มีความสำ�คัญอยางยิ่ง เพราะ เปนตัวจักรสำ�คัญในการขับเคลื่อนองคการ เปนผูรับ นโยบายแปลงสู  ก ารปฏิ บั ติ ใ ห เ กิ ด ผลตามนโยบาย วิสัยทัศนขององคการ เปนผูกรองงานและใหขอมูล ในการตั ด สิ น ใจของผู  บ ริ ห ารระดั บ สู ง เป น ตั ว เชื่ อ ม ผู  บ ริ ห ารระดั บ ต น กั บ ระดั บ สู ง เป น ผู  ป ฏิ บั ติ ภ ารกิ จ สรางผลงาน สรางบริการ เปนผูสนับสนุนใหผูบริหาร ระดั บ สู ง บริ ห ารงานคล อ งตั ว มี ผ ลงานมากขึ้ น เป น ผู  ทำ � ให ห น ว ยงานมี โ อกาสประสานงานกั น มากขึ้ น

เป น ผู  ทำ � ให ผู  ใ ต บั ง คั บ บั ญ ชามี ค วามสามารถสู ง ขึ้ น ทำ � งานเป น ที ม มากขึ้ น เป น กลไกสำ � คั ญ ในการเพิ่ ม ผลงาน รักษาคุณภาพมาตรฐานของงาน และการปฏิบตั ิ งานตามคำ�รับรองการปฏิบัติราชการใหบรรลุเปาหมาย โดยเฉพาะอยางยิ่งเปนทรัพยากรบุคคลที่มีผลตออนาค ตของหนวยงาน ขององคการ เปนจุดเชื่อมประสาน วางรากฐานการพัฒนาบุคคล การบริหารงานบุคคล รวมถึงการเลื่อนตำ�แหนงสูงขึ้น แตการประเมินประสิทธิภาพการบริหารงานของ พัฒนาการจังหวัด จากผลการปฏิบัติราชการตามคำ� รับรองพบวา ประสิทธิภาพของสำ�นักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดทัง้ 75 จังหวัด ยังมีความแตกตางหลากหลาย โดย พบวา มีส�ำ นักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ในระดับต่ำ�ถึงคอนขางต่ำ� รอยละ 20 ระดับปานกลาง รอยละ 30.7 ระดับคอนขางสูง ถึงสูง รอยละ 49.3 ซึ่ง แสดงใหเห็นวา สำ�นักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดที่ยังตอง มีการปรับปรุงระดับประสิทธิภาพในการทำ�งาน มีอยูถึง 38 แหง คิดเปนรอยละ 50.7 (กรมการพัฒนาชุมชน 2552) ป ญ หาด า นประสิ ท ธิ ภ าพการบริ ห ารงานของ พัฒนาการจังหวัดนั้น ถือไดวาเปนปญหาเชิงซอนกับ การบริ ห ารจั ด การที่ ม าจากหลายสาเหตุ และหลาย เงื่อนไข ดังนั้น ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการซึ่ง ตองอาศัยตัวแปรหลายตัวชีว้ ดั เพือ่ อธิบายประสิทธิภาพ ของการบริหารจัดการไดครบทุกมิติ ปญหาประสิทธิภาพ ของการบริหารจัดการปรากฏอยูอยางตอเนื่องมาตลอด ระยะเวลา 20 ป ที่ผานมา ภาพรวมของการบริหาร จัดการแตละจังหวัดดูเสมือนหนึ่งวาไดรับการพัฒนา ปรั บ ปรุ ง จนแทบไม ป รากฏป ญ หาเกิ ด ขึ้ น แต เ มื่ อ พิจารณาขอมูลจากฝายวินัย กองการเจาหนาที่ของ กรมการพัฒนาชุมชน ซึง่ ไดรบั หนังสือรองเรียนเกีย่ วกับ พฤติกรรมและประสิทธิภาพการบริหารของพัฒนาการ จังหวัดสูงมากถึงปละ 30 เรื่อง เฉลี่ยเดือนละ 2 เรื่อง (กรมการพัฒนาชุมชน 2553) ซึ่งแสดงวาปญหาในเชิง บริหารงานยังคงมีอยู การแก ไ ขป ญ หาประสิ ท ธิ ภ าพในการบริ ห าร งานโดยการฝกอบรม/จัดสัมมนา ก็เปนความตั้งใจของ กรมที่จะชวยชี้แนะแนวทางแกไขปญหาภาพพจนของ

45


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

การบริหารและการยกระดับคุณธรรม จริยธรรมของ ผูบริหารไดในระดับหนึ่งแตก็ไมสามารถเปนคำ�ตอบใน การแกไขปญหาประสิทธิภาพของการบริหารจัดการของ พัฒนาการจังหวัดได เพราะแตละจังหวัดก็มีบุคคลากร ที่ แ ตกต า งกั น มาก มี ส าเหตุ / เงื่ อ นไขของป ญ หาที่ หลากหลายในแตละพื้นที่ การสรางภาพเพื่อปกปดขอ บกพร อ งหรื อ จุ ด อ อ นหรื อ ป ญ หาอุ ป สรรคของตั ว พัฒนาการจังหวัดเองก็ดูเหมือนตองทำ�ซ้ำ�ซาก และ ไมอาจแกไขไดดวยวิธีการเพียงแคการจัดฝกอบรม สัมมนาโดยทั่วๆ ไป งานวิจัยฉบับนี้จึงเปนงานวิจัย ที่ ชี้ เ ป า ในกระบวนการจั ด การแก ไ ขป ญ หา ด า น ประสิ ท ธิ ภ าพการบริ ห ารงานพั ฒ นาชุ ม ชนของ พัฒนาการจังหวัดโดยมีกลุมเปาหมายที่ชัดเจนมีการ ลงไปตรวจสอบข อ เท็ จ จริ ง ในบางพื้ น ที่ เ พื่ อ พบปะ แลกเปลี่ ย นกั บ ตั ว ผู  บ ริ ห าร คื อ พั ฒ นาการจั ง หวั ด เพื่อนำ�มาวิเคราะหและออกแบบสอบถามอันจะนำ�ไป สู  ก ารแก ไ ขป ญ หา/สาเหตุ และเงื่ อ นไขต า งๆ ของ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการไดตอไป ดังนั้น เพื่อเปนการสงเสริมใหพัฒนาการจังหวัด สามารถบริหารงานพัฒนาชุมชนไดอยางมีประสิทธิภาพ บรรลุเปาหมายตามวิสัยทัศน และพันธะกิจของกรม การพั ฒ นาชุ ม ชน จึ ง สมควรที่ จ ะได มี ก ารวิ จั ย เพื่ อ คนหาปจจัยที่สงผลตอประสิทธิภาพการบริหารงาน พัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ซึ่งเปนปจจัยทาง ดานสถานการณ และปจจัยทางดานจิตลักษณะเพื่อ นำ�ไปใชในการสงเสริม สนับสนุน ปรับปรุง และพัฒนา ประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการ จังหวัดใหมีประสิทธิภาพตอไป วัตถุประสงคของการศึกษา 1. เพื่ อ ศึ ก ษาถึ ง อิ ท ธิ พ ลของป จ จั ย ทางด า น สถานการณ ที่มีตอประสิทธิภาพการบริหารจัดการงาน พัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด 2. เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของปจจัยทางดานจิต ลักษณะ ที่มีผลตอประสิทธิภาพการบริหารจัดการงาน พัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด 3. เพื่ อ ศึ ก ษาความสอดคล อ งของตั ว แบบ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนของ

46

พัฒนาการจังหวัด ที่ไดจากการวิเคราะหขอมูลทางสถิติ กับความคิดเห็นของผูทรงคุณวุฒิ 4. เพื่ อ สร า งข อ เสนอแนะเชิ ง นโยบายที่ เ กิ ด จากตัวแบบการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการ จังหวัด เพื่อพัฒนาใหพัฒนาการจังหวัดเปนคนเกง และ คนดี สามารถบริหารงานไดอยางมีประสิทธิภาพ ปจจัยเชิงเหตุของประสิทธิภาพการบริหาร งานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ป ญ หาด า นประสิ ท ธิ ภ าพการบริ ห ารงานของ พัฒนาการจังหวัดนั้น ถือไดวาเปนปญหาเชิงซอนกับ การบริ ห ารจั ด การที่ ม าจากหลายสาเหตุ และหลาย เงือ่ นไข ดังนัน้ ผูว จิ ยั จึงไดศกึ ษาประสิทธิภาพการบริหาร งานของพัฒนาการจังหวัดฯ ในฐานะที่เปนพฤติกรรม รูปแบบหนึ่ง คือ พฤติกรรรมการบริหารงาน ซึ่งจาก การศึกษาแนวคิดทฤษฎี เพื่อนำ�มาใชเปนกรอบในการ วิจัย พบวา ทฤษฎีปฏิสัมพันธนิยม (Interactionism Model) ซึ่ ง เป น ทฤษฎี ที่ มี ลั ก ษณะที่ ก ล า วถึ ง สาเหตุ ของพฤติกรรมตางๆ ของมนุษยไดอยางกวางขวาง และครอบคลุม และตอบปญหาเชิงซอนไดเปนอยางดี โดยทฤษฎีปฏิสัมพันธนิยม เปนการศึกษาสาเหตุของ พฤติกรรม และความสัมพันธระหวางจิตลักษณะตางๆ ของมนุษย โดยนักจิตวิทยาสังคมกลุม หนึง่ (Magnusson and Endler 1977 : 18-21 อางใน ดวงเดือน พันธุม นาวิน 2543 ก) ไดประมวลทฤษฎีและงานวิจัยตางๆ ที่ใชรูปแบบปฏิสัมพันธนิยม แลวสรุปวา พฤติกรรม ของมนุษยมีสาเหตุไดถึง 4 ประเภท คือ 1.) ลักษณะ ของสถานการณ ป  จ จุ บั น 2.) จิ ต ลั ก ษณะเดิ ม ของ ผูกระทำ� 3.) จิตลักษณะรวมกับสถานการณ ที่เรียกวา ปฏิสัมพันธแบบกลไก (Mechanical interaction) และ สาเหตุประเภทที่สี่ คือ 4.) จิตลักษณะตามสถานการณ หรือที่เรียกวา ปฏิสัมพันธแบบในตน (Organismic interaction) เปนลักษณะทางจิตของบุคคลผูกระทำ�ที่ เปนผลของปฏิสัมพันธระหวางสถานการณปจจุบันของ บุคคลกับจิตลักษณะเดิมของเขา ทำ�ใหเกิดจิตลักษณะ ตามสถานการณในบุคคลนั้นขึ้น เชน ทัศนคติทางบวก ต อ สถานการณ นั้ น หรื อ ต อ พฤติ ก รรมที่ จ ะทำ � ความ วิตกกังวลตามสถานการณ และความเชื่ออำ �นาจใน ตนในเรื่องนั้น เปนตน นอกจากการศึกษาในรูปแบบ


ปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ธัชฤทธิ์ ปนารักษ ​

ปฏิสัมพันธนิยม (Interactionism Model) แลว การ วิจัยในครั้งนี้จะไดนำ�ทฤษฎีตนไมจริยธรรม (ดวงเดือน พันธุมนาวิน 2543 ข) ซึ่งเปนทฤษฎีที่ตั้งอยูบนพื้นฐาน ทางวิชาการที่ทันสมัยและเขามาตรฐานใน 2 ดาน คือ การวิจัยที่เปนการวิเคราะหสาเหตุทางดานจิตใจของ พฤติกรรมตางๆ ของคนไทยนั้น จะใชการวิจัยที่เปนรูป แบบปฏิสัมพันธนิยม (Interactionism Model) ซึ่งจะ ดำ�เนินการวิเคราะหสาเหตุของพฤติกรรม โดยพิจารณา จากสาเหตุภายนอกหรือสาเหตุทางดานสถานการณ เขามาประกอบกับสาเหตุภายในคือ จิตลักษณะตางๆ โดยไดวิจัยเปรียบเทียบจิตลักษณะบางประการของผูที่ อยูในสถานการณเดียวกัน หรือสถานการณที่คลายกัน แต ยั ง มี พ ฤติ ก รรมที่ แ ตกต า งกั น นั่ น แสดงว า ย อ มมี สาเหตุทสี่ �ำ คัญจากจิตใจ จึงไดมวี ธิ กี ารวิจยั โดยการเลือก ผูถูกศึกษาในกลุมเปรียบเทียบตางๆ ซึ่งมีพฤติกรรม ในปริมาณตางกัน โดยใหกลุมที่วิจัยมีความเทาเทียม กันทางดานสถานการณ และลักษณะทางชีวสังคมของ ผูถูกศึกษา ทั้งนี้เพื่อขจัดอิทธิพลของสถานการณออก จากปรากฏการณที่ศึกษาอยูเสียกอน นอกจากนี้แลว การวิจยั ในรูปแบบปฏิสมั พันธนยิ มนี้ จะตองมีการศึกษา อิทธิพลรวมระหวางลักษณะทางจิตใจของผูกระทำ�กับ ลักษณะของสถานการณที่พฤติกรรมนั้นปรากฏ โดย จะศึ ก ษาได ใ น 2 วิ ธี คื อ วิ ธี ก ารศึ ก ษาปฏิ สั ม พั น ธ เชิ ง สถิ ติ และวิ ธี ก ารศึ ก ษาปฏิ สั ม พั น ธ ใ นรู ป ของจิ ต ลักษณะบางประการ ทีเ่ กีย่ วกับสถานการณของผูก ระทำ� นั้น เชน ทัศนคติทางบวกตอสถานการณนั้น การรับรู หรือการเห็น ความสำ �คัญของสถานการณนั้ น การ ใหความหมายแกสถานการณนั้น ซึ่งเปนจิตลักษณะที่ แตกตางกันไปไดมากในแตละบุคคลที่ถูกศึกษา ทั้งๆ ที่ อยูใ นสถานการณเดียวกัน หรือคลายคลึงกัน ทัง้ นีเ้ พราะ ประสบการณเดิมทำ�ใหการเรียนรู และการรับรูใ นปจจุบนั แตกตางกัน จิตลักษณะในทฤษฎีตนไมจริยธรรม ซึ่งพบวา เปนสาเหตุส�ำ คัญดานตัวผูก ระทำ�ทีม่ อี ยู 8 ประการ ซึง่ ถา พิจารณาตามแนวของรูปแบบปฏิสมั พันธนยิ ม อาจกลาว ไดวา เปนจิตลักษณะเดิมของผูกระทำ� คือ (1.) เหตุผล เชิงจริยธรรม (2.) การมุง อนาคต (3.) แรงจูงใจใฝสมั ฤทธิ์ (4.) สติปญญา (5.) ลักษณะประสบการณทางสังคม

(6.) คุณธรรมของผูกระทำ� (7.) ความเชื่ออำ�นาจในตน โดยทั่วไป และ (8.) สุขภาพจิตที่เขมแข็งโดยรวมหรือ โดยทั่วไป สวนจิตลักษณะตามสถานการณในทฤษฎี ตนไมจริยธรรม มีดงั นี้ (1.) ทัศนคติทางบวกและคานิยม ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมนั้น (2.) ความเชื่ออำ�นาจในตน เฉพาะพฤติกรรมหรือสถานการณ เชน ความเชือ่ อำ�นาจ ในตนในการปลูกฝงอบรมเด็ก ความเชื่ออำ�นาจในตน ดานรักษาสุขภาพ เปนตน และ (3.) สุขภาพจิตที่ เขมแข็งตามสถานการณ เชน สุขภาพจิตที่เขมแข็งใน การทำ�งาน โดยสรุปแลว การวิจัยในครั้งนี้จะไดนำ�ทฤษฎี ปฏิสัมพันธนิยม (Interactionism Model) เปนกรอบ ในการวิ จั ย โดยทำ � การศึ ก ษาทั้ ง ทางด า นลั ก ษณะ สถานการณ ควบคูกับจิตลักษณะเดิมและจิตลักษณะ ตามสถานการณ ดังตอไปนี้ ปจจัยทางดานสถานการณกับประสิทธิภาพ การบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด การประมวลเอกสารในสวนนี้ จะเปนการประมวล เอกสารเกีย่ วกับ ลักษณะทางดานสถานการณ 3 ดาน ที่ มีความเกีย่ วของกับประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนา ชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ในดานการอยูใ นองคการที่ มีการเรียนรู การใชหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงาน และการจัดการความรู โดยมีรายละเอียดดังนี้ การมี ส  ว นร ว มในการบริ ห ารงาน กั บ ประสิ ท ธิ ภ าพการบริ ห ารงานพั ฒ นาชุ ม ชนของ พัฒนาการจังหวัด การมี ส  ว นร ว มในการบริ ห ารงาน ถื อ ได ว  า เป น ป จ จั ย ด า นสถานการณ ป  จ จั ย หนึ่ ง ตามทฤษฎี ปฏิสัมพันธนิยมที่สงผลตอประสิทธิภาพการบริหารของ พัฒนาการจังหวัด เพราะการมีสวนรวมของประชาชน จะทำ�ใหพฒ ั นาการจังหวัดรูส ถานการณ รูค วามตองการ และปญหาของประชาชน จะสามารถแกปญ  หาประชาชน ไดตรงประเด็น ตรงจุดของปญหา ซึง่ การบริหารองคการ ในปจจุบันเปนที่ยอมรับแลววา การบริหารงานแบบ ประชาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะที่ใหประชาชนไดมีสวนรวม ในการแสดงความคิดเห็นตางๆ เปนการบริหารงานที่มี ประสิทธิภาพสูงสุด เพราะนอกจากจะทำ�ใหการทำ�งาน ไดบรรลุเปาหมายอยางมีประสิทธิภาพแลว การสงเสริม

47


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

การมีสวนรวมในการบริหารงานจะชวยทำ�ใหรับทราบ ความคิดเห็น ไดแนวทางปฏิบัติงานที่มีความละเอียด รอบคอบในทุกดาน จะสงเสริมใหเกิดการสรางระบบ การเรียนรูใหกับบุคลากร ซึ่งจะเปนการสรางศักยภาพ และคุณคาใหเกิดขึ้นกับบุคลากรในระยะยาว นิรันดร จงวุฒิเวศย (2527) ใหความหมายของ การมีสว นรวม (Participation) หมายถึง การทำ�งานรวมกัน กับกลุม เพื่อใหบรรลุวัตถุประสงคดวยความรวมมือ รวมใจโดยการกระทำ�ดังกลาวในหวงเวลาและลำ�ดับ การณที่ทรงประสิทธิภาพ คือถูกจังหวะและเหมาะสม กั บ ทั้ ง กระทำ � การงานดั ง กล า วด ว ยความรู  สึ ก ผู ก พั น ใหประจักษวาเชื่อถือไดแสดงวา การมีสวนรวมเปนผล ของความรวมมือรวมใจ การประสานงานและความ รับผิดชอบ การมีสว นรวมในการบริหารงานนี้ มีลกั ษณะ คลายการปกครองในแบบประชาธิปไตย ซึ่งตองมีการ ใชเหตุผล แสดงการสนับสนุนและหวังดีอยางจริงใจ กับ ผูที่อยูใตการปกครองหรือประชาชน ที่จะไปทำ�งานดวย ซึ่งการปกครองกลุมแบบนี้ตรงกับลักษณะ การศึกษา ทางดานระบบพฤติกรรมไทยในตัวแปรที่เกี่ยวกับการ อบรมเลีย้ งดูแบบรักสนับสนุนและใชเหตุผล ซึง่ ผูป กครอง ตองแสดงความมีเหตุผลตางๆ ตลอดจนแสดงความรัก และหวังดีอยางจริงใจ ใหการสนับสนุนทั้งทางดานจิตใจ วัสดุอุปกรณในการปฏิบัติงานตางๆ ตลอดจนเปนที่ ปรึกษาในการทำ�งาน การจั ด การความรู  กั บ ประสิ ท ธิ ภ าพการ บริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด การจั ด การความรู  ถื อ ได ว  า เป น ป จ จั ย ด า น สถานการณปจจัยหนึ่ง ตามทฤษฎีปฏิสัมพันธนิยม ที่ ส ง ผลต อ ประสิ ท ธิ ภ าพการบริ ห ารพั ฒ นาชุ ม ชนของ พั ฒ นาการจั ง หวั ด เพราะการจั ด การความรู  ภ ายใน องคการ จะทำ�ใหพัฒนาการจังหวัด บุคลากร และ ประชาชน มีความรูมากขึ้น เกิดการเรียนรู และสามารถ ตอยอดความคิดเพื่อทำ�ใหเกิดการพัฒนางานไดอยาง มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้แลวการจัดความรูยังชวย ให บุ ค ลากรเกิ ดความภาคภูมิใจในตนเอง สงผลต อ ความพึ ง พอใจในการทำ � งานและทำ � ให ก ารทำ � งานมี ประสิทธิภาพ วนิดา ชูวงษ (2542) ไดใหความหมายวา

48

องค ก ารแห ง การเรี ย นรู  หมายถึ ง องค ก ารที่ มี ก าร ดำ�เนินการใหบุคคล ทีม หรือกลุม ในองคการไดมี โอกาสเพิ่มพูนความรูความสามารถในการเรียนรูใน การปรับเปลีย่ นตนเอง ทัง้ นี้ เพือ่ นำ�องคการไปสูเ ปาหมาย ที่ กำ � หนดไว การเรี ย นรู  ต  อ งเป น ไปอย า งเป น ระบบ ตอเนือ่ งและเปนไปอยางพรอมเพรียงทัว่ ทัง้ องคการ โดย มีลักษณะองคการแหงการเรียนรู ไดแก 1.) โครงสราง หนวยงานที่ไมมีสายการบังคับบัญชามาก ยืดหยุน จัด ทีมงานไดและใช Competencies แทน Job Description 2.) มีวัฒนธรรมการเรียนรู เจาหนาที่ใฝรู ศึกษา และ เผยแพร 3.) เพิ่มอำ�นาจการปฏิบัติแกเจาหนาที่ให สามารถตัดสินใจแกไขปญหาและเรียนรูไปดวย 4.) ทัน กับการเปลี่ยนแปลง 5.) ทุกคนมีสวนสรางและถายโอน ความรู มีระบบการเรียนรูรวมกันและใชประโยชนจาก การเรี ย นรู  6.) ใช เ ทคโนโลยี ส นั บ สนุ น การเรี ย นรู  7.) มุงเนนคุณภาพของผลิตภัณฑตามความพึงพอใจ ของลูกคา 8.) มีบรรยากาศที่เกื้อหนุน เชน บรรยากาศ ประชาธิปไตย บรรยากาศของการมีสวนรวม 9.) มีการ ทำ�งานเปนทีม ใชคณะทำ�งานจากหลายสวน 10.) มี วิสัยทัศนรวมกัน 11.) ผูบริหารเปนพี่เลี้ยงที่ปรึกษา ผูชี้แนะ ผูเกื้อหนุนการเรียนรู 12.) มีมุมมองในภาพรวม และเปนระบบ 13.) ใหมีการเรียนรูจากประสบการณ ในเรื่องการบริหารจัดการความรูนั้น เมื่อป ค.ศ. 1990 ศาสตราจารยทางวิชาการบริหารของสถาบัน MIT คือ Peter M. Senge (1990) ผูเขียนหนังสือ The Fifth Discipline : The Art and Science of the Learning Organization ไดใหวิสัยทัศนตอองคการแหงการเรียนรู เสมื อ นกั บ กลุ  ม คนที่ มี ก ารสร า งสรรค ศั ก ยภาพอย า ง ตอเนื่อง ซึ่งเขาไดใหแนวทางการพัฒนาองคการแหง การเรียนรูไว 5 ประการ ซึ่งเขาไดมองเห็นศูนยกลาง ของการเรียนรูสูองคการแหงการเรียนรู โดยไดนำ�เสนอ ประเด็นคำ�ถามจากทฤษฎีและการปฏิบตั ไิ ปสูก ารพัฒนา เปนองคการแหงการเรียนรู โดยที่ Senge (1990) ไดใหความหมายพื้นฐานขององคการแหงการเรียนรูคือ องคการ ซึ่งเพิ่มขีดความสามารถในการสรางอนาคต อยางตอเนื่อง การสนับสนุนใหคนเรียนรูมากๆ นั้นยัง ไมเพียงพอ คนเรียนรูแลวตองสามารถเชื่อมตอความรู ของบุคลากรไปเปนความรูขององคการโดยรวมไดดวย


ปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ธัชฤทธิ์ ปนารักษ ​

แตสำ�หรับองคการแหงการเรียนรูนั้น การเรียนรูเพื่อ ความอยูรอดจะตองเชื่อมโยงกับการเรียนรูเพื่อเพิ่มพูน ความสามารถขององคการในการสรางสรรค ซึง่ หัวใจของ องคการแหงการเรียนรูค อื การปรับเปลีย่ นกระบวนทัศน (A Shift of Mind) ถ า เปรี ย บเที ย บองค ก ารแห ง การเรี ย นรู  เ ป น นวั ต กรรมทางวิ ศ วกรรม เช น เครื่ อ งบิ น เครื่ อ ง คอมพิวเตอร ซึ่งอาศัยองคประกอบทางเทคโนโลยีแลว นวัตกรรมทางพฤติกรรมมนุษยจะอาศัย Discipline ซึ่ง ไมไดหมายความถึง วินัย แตเปนทฤษฎีและเทคนิค หรือแนวทางพัฒนา ซึ่งจะเรียนรูเพื่อใหเกิดทักษะหรือ Competency แมไมมีพรสวรรคก็สามารถฝกฝนได วัฒนธรรมองคการ กับประสิทธิภาพการ บริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด วั ฒ นธรรมองค ก าร ถื อ ได ว  า เป น ป จ จั ย ด า น สถานการณปจจัยหนึ่ง ตามทฤษฎีปฏิสัมพันธนิยมที่ สงผลตอประสิทธิภาพการบริหารของพัฒนาการจังหวัด เพราะการสรางวัฒนธรรมองคการเปนเครื่องมือที่มี ประสิทธิภาพอยางหนึ่งในการบริหารงาน เชน การ สงเสริมใหประชาชน ยึดคานิยมทางวัฒนธรรม ซึ่ง แสดงใหเห็นถึงความสำ �คัญของประสิทธิภาพในการ บริหารงาน โดยเฉพาะการที่มีบุคคลเห็นความสำ�คัญ ในเรื่องตางๆ รวมกัน เชนคานิยมที่สงเสริมคติในวิถี ปฏิ บั ติ ซึ่ ง สนั บ สนุ น ให อ งค ก ารเจริ ญ ก า วหน า ก็ จ ะ ใหบุคคลในองคการมีพฤติกรรมเพื่อไปสูเปาหมายของ องคการ ไดอยางมีประสิทธิภาพ จึงคาดไดวา พัฒนาการ จังหวัดที่มีการสงเสริมวัฒนธรรมองคการที่สรางสรรค มากเปนผูมีประสิทธิภาพในการบริหารงานมากกวา พัฒนาการจังหวัดที่มีการสงเสริมวัฒนธรรมองคการ ที่สรางสรรคที่นอย จากการศึกษางานวิจัยหลายฉบับ ดาน อาทิ Gutknecht (1982) ; Hellrigel (1995) ; วรนุช เนตรพิศาล วนิช (2538) และ สุนทร วงศไวศยวรรณ (2540) พบวา วัฒนธรรมองคการเปนเครือ่ งมือทีช่ ว ยเพิม่ ประสิทธิภาพ การดำ�เนินงานขององคการและทำ�ใหบคุ ลากรในองคการ เปนอันหนึ่งอันเดียวกันที่จะมุงมั่นปฏิบัติงานใหบรรลุ วัตถุประสงคอยางเปนระบบและทำ�งานรวมกันอยาง มีความสุข นอกจากนี้ยังชวยพัฒนาองคการในการ

ปรับตัวเขาการเปลี่ยนแปลงที่มีอยูตลอดเวลาดวย สัญญา สัญญาวิวัฒน (2549) ไดนำ�เสนอ เกี่ยวกับ ความรูเรื่องวัฒนธรรมองคการ (Organization culture) เปนเรื่องที่ไดรับความสนใจอยางกวางขวาง ในหมู  นั ก วิ ช าการของสหรั ฐ และยุ โ รปหลายสาขา เชน นักทฤษฏีองคการ นักพฤติกรรมองคการ นัก รัฐประศาสนศาสตร นักบริหารการศึกษา เพราะความ รูเ รือ่ งนีท้ �ำ ใหมององคการในมุมทีแ่ ตกตางจากเดิมทีม่ อง องคการในแงโครงสราง การเมืองในองคการ ขั้นตอน หรือกระบวนการทำ�งานแบบตางๆ เชน กระบวนการ ตัดสินใจ กระบวนการสื่อสาร ไปเปนการมององคการ ในฐานะที่เปนสังคมหนึ่งที่มีวัฒนธรรมเปนวิถีชีวิตหรือ กระบวนการปฏิบัติตัวของสมาชิกในองคการ โดยที่ วัฒนธรรมมีองคประกอบ เชน ความรู ความเชือ่ คานิยม อุ ด มการณ คุ ณ ธรรม บรรทั ด ฐานทางสั ง คมและ สัญลักษณ เชนเดียวกับวัฒนธรรมของสังคมนั้นเอง มุมมองวัฒนธรรมองคการชวยใหพฤติกรรมในหนวยงาน หลายแงหลายมุมทีถ่ กู มองขามจากแนวความคิดองคการ ในอดีต อาทิ เรื่องเลา พิธีกรรม วามีความสำ�คัญตอการ เรียนรูและการถายทอดวัฒนธรรมในองคการอยางไร นอกจากนั้น มุมมองนี้ยังชวยใหตระหนักวา พฤติกรรม หลายอยางในองคการ เชน การออกแบบโครงสราง ความเปนผูนำ� ซึ่งนอกจากจะเปนเรื่องทางเทคนิคแลว ยังมีความหมายทางวัฒนธรรมรวมอยูดวย ดังนั้น ใน ทัศนะหนึง่ วัฒนธรรมองคการจึงเปนเรือ่ งนาสนใจมากเพ ราะจะชวยเสริมมุมมององคการแบบเดิมใหหลากหลาย ยิ่งขึ้น มององคการอยางกระจางแจงยิ่งขึ้น และทาย ทีส่ ดุ ความรูน กี้ ช็ ว ยเสริมสรางประสิทธิภาพขององคการ ใหเพิ่มมากขึ้นอีกดวย คานิยมสรางสรรคของกรมการพัฒนาชุมชน การดำ�เนินงานเพื่อการสรางวัฒนธรรมองคการ เพื่อทำ�ใหองคการสามารถเรียนรู และพัฒนาไดอยาง ยั่งยืนนั้น กรมการพัฒนาชุมชน (2550) ไดดำ�เนินการ กำ�หนดคานิยมนักพัฒนาที่ พึงประสงค เพือ่ ใหสอดคลอง กับแผนยุทธศาสตรการพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546 - 2550 ซึ่งมุงหมายใหเปนกระบวนการที่จะ ขับเคลื่อนใหเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการ สร า งการเรี ย นรู  ใ ห ข  า ราชการสามารถปรั บ เปลี่ ย น

49


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

กระบวนทัศนดวยตนเอง เพื่อใหเกิดการปรับเปลี่ยน วิ ธี ก ารทำ � งาน โดยค า นิ ย มสำ � หรั บ นั ก พั ฒ นานั้ น ไดกำ�หนดมาจาก หลักการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีทั้งหมด จำ�นวน 6 ดาน หรือคานิยม A-B-C-D-E-F ไดแก การชืน่ ชม (Appreciate) ความกลาหาญ (Bravery) การคิดริเริ่ม สรางสรรค (Creative) การศึกษาคนควา (Discovery) ความสามารถในการเขาใจผูอื่น (Empathy) และการ เอื้ออำ�นวย (Facilitation) โดยมีรายละเอียดดังนี้ การชื่นชม (Appreciate) หมายถึง การยกยอง ยินดี ยิม้ แยม ยอมรับโดยนักพัฒนาตองเรียนรูว า จะตอง ชื่นชมผูอื่นไดอยางไร ในการทำ�งานพัฒนาชุมชน ถา เราไมสามารถชื่นชมบุคคลอื่นได ลักษณะการทำ�งาน แบบ Work With จะไมเกิดขึ้น ความกลาหาญ (Bravery) หมายถึง อยาใหความ กลัว อยูเ หนือความจริง โดยนักพัฒนาตองมีความกลาที่ จะตัดสินใจ ในการทำ�งาน กลาที่จะเสนอความคิดเห็นที่ เปนประโยชนตอ การทำ�งานทัง้ ในเชิงสรางสรรคและเชิง คัดคาน การคิดริเริม่ สรางสรรค (Creative) หมายถึง การ ปลอยความคิด ควบคูไปกับจินตนาการ โดยนักพัฒนา ตองมีความกลาทีจ่ ะคิดริเริม่ สรางสรรค กระตุน ผลักดัน ใหความคิดริเริ่มสรางสรรค ปรากฏผลเปนรูปธรรม การศึกษาคนควา (Discovery) หมายถึง ไมมี คำ�วาสุดทายสำ�หรับการเรียนรู โดยนักพัฒนาตองมี ความกระตือรือรนในการใฝหาความรูกอน แลวจึงจะ ค น พบสิ่ ง ที่ เ ป น ประโยชน ต  อ การทำ � งานจากการนำ � ความรูนั้นมาเปนพื้นฐาน ความสามารถในการเขาใจผูอื่น (Empathy) หมายถึง ยอมรับในสิ่งที่เขาเปน เขาใจในสิ่งที่เขาทำ� โดยนักพัฒนา ตองมี ความสามารถในการเขาใจผูอื่น การรูจ กั เอาใจเขามาใสใจเราโดยพยายามเขาใจวาทำ�ไม เขาเปนอยางนั้น การเอื้ออำ�นวย (Facilitation) หมายถึง ความ สำ�เร็จของทาน คือความปรารถนาของเรา โดยนักพัฒนา จะตองมีวธิ กี ารไปเอือ้ อำ�นวยใหชาวบานสามารถดำ�เนิน กิจกรรมใหบรรลุผลได โดยสรุ ป การศึ ก ษาวั ฒ นธรรมองค ก ารกั บ ประสิทธิภาพในการบริหารงานของพัฒนาการจังหวัด

50

ในครั้งนี้ เปนการศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับการสงเสริม และสนั บ สนุ น ให เ จ า หน า ที่ พั ฒ นาชุ ม ชน ซึ่ ง เป น นั ก พัฒนา เห็นความสำ�คัญ ตลอดจนมีพฤติกรรมตามคา นิยม และวัฒนธรรมองคการทั้ง 6 ดานไดแก การชื่นชม (Appreciate) ความกลาหาญ (Bravery) การคิดริเริ่ม สรางสรรค (Creative) การศึกษาคนควา (Discovery) ความสามารถในการเขาใจผูอื่น (Empathy) และการ เอื้ออำ�นวย (Facilitation) หลักธรรมกับประสิทธิภาพการบริหารงาน พัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด หลักธรรม ถือไดวาเปนปจจัยดานสถานการณ ป จ จั ย หนึ่ ง ตามทฤษฎี ป ฏิ สั ม พั น ธ นิ ย มที่ ส  ง ผลต อ ประสิทธิภาพการบริหารของพัฒนาการจังหวัด สำ�หรับแนวคิด ทีเ่ กีย่ วกับการสงเสริมหลักธรรม นั้ น ได มี ท  า นผู  รู  ไ ด ใ ห แ นวความคิ ด เกี่ ย วกั บ การใช พุทโธโลยี เพือ่ การสำ�รวจและแกปญ  หาโดยธรรม เพือ่ การ บริหารงานทีม่ ปี ระสิทธิภาพ โดยพระธรรมสิงหบุราจารย (2541) ไดกลาวถึงพุทโธโลยีวา ทุกวันนีค้ นมักเจริญทาง ดานวัตถุ มักจะเสาะแสวงหาวิชาความรูตางๆ นอกตัว เพื่อนำ�เอามาทำ�มาหาเลี้ยงกาย ตางแขงขันกันในดาน การศึกษา มีปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก กระทั่ ง ถึ ง ศาสตร ใ นด า นต า งๆ ที่ เ รี ย กกั น โก ห รู ว  า “เทคโนโลยี” ความรู  ต  า งๆ เหล า นี้ เ ป น ป ญ ญานอกกาย เสาะแสวงหาเอาไดทุกหนทุกแหง นาอนาถเปนที่สุด เทคโนโลยีเจริญถึงขีดสุดแตจิตใจต่ำ�ทรามและเลวลง จนถึงขีดสุดเชนกัน ทั้งนี้ เพราะละเลยปญญาภายใน คือ การรูถูก รูผิด รูเมตตา รูจักรักใครเพื่อนมนุษย รวมโลก รูจักละอายตอบาปและรูจักประมาณ สิ่งที่ เรียกวาปญญาภายใน เรียกใหทันสมัยก็คือ “พุทโธโลยี” ซึ่งจะกำ�กับ “เทคโนโลยี” ใหเปนไปอยางถูกตองและ เปนไปเพื่อใหสังคมโดยรวมดีขึ้น ไมแกงแยงกัน ไม เบียดเบียนทำ�ลายกันจนเกิดกลียุค ปญญาภายใน หรือ “พุทโธโลยี” ใชสำ�รวจความถูกตองของตนพิสูจนความ ถู ก ต อ งของตนเองได ว  า ตนเองได ป ระพฤติ ป ฏิ บั ติ ตนเปนอยางไร ชาย สัญญาวิวัฒน และสัญญา สัญญาวิวัฒน (2551) ไดนำ�เสนอวัฒนธรรมองคการแนวพุทธ ซึ่งมี


ปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ธัชฤทธิ์ ปนารักษ ​

สาระสำ�คัญ ไดแก (1.) คานิยม สิ่งที่องคการแนวพุทธ จะต อ งให ค วามสำ � คั ญ มี ไ ด ห ลายอย า ง อาทิ สั น ติ ธรรม เมตตาธรรม ความเอื้ออาทร สมาธิ สติ ปญญา ความเพียร ความสุจริต กุศลธรรม และกัลยาณธรรม (2.) ประเพณี หรือแนวปฏิบัติ เทียบกับประเพณีทาง ศาสนา เชน การบวชเรียน การทอดผาปา การทอดกฐิน งานศพ แตในองคการของฆราวาส เชน บริษัท โรงงาน กระทรวง ควรมีประเพณีการทำ�บุญสำ�นักงาน การ อนุญาตใหพนักงานบวชเรียน การสนับสนุนการศึกษา หาความรูทางศาสนา และทางโลก การสงเสริมการ ปฏิบัติธรรม การนิมนตพระมาเทศน การสงเสริมการ สนทนาธรรม (3.) บุคลากร บุคลากรในวัฒนธรรม องค ก ารแนวพุ ท ธ ได แ ก ส มาชิ ก องค ก ารโดยทั่ ว ไป แตเปนบุคคลที่มีความรูทั้งทางโลกและทางธรรม นำ� ธรรมมาเปนแนวปฏิบตั งิ าน เชน คิดดี พูดดี ทำ�ดี มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มีอิทธิบาท 4 เปนกัลยาณธรรม ประกอบบุญกิรยิ า 10 การถือ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 เพิม่ เติม จากการปฏิบัติธรรม (4.) พุทโธโลยี ในสวนวัฒนธรรม ทางวั ต ถุ ข องวั ฒ นธรรมองค ก ารแนวพุ ท ธ เรี ย กว า พุทโธโลยี (พุทธ+เทคโนโลยี) ตามปกติเทคโนโลยี สามารถแบงหยาบๆ ออกเปน 1.) เทคโนโลยีทางวัตถุ (Material technology) เชน เครือ่ งจักรเครือ่ งกลทัง้ หลาย 2.) เทคโนโลยีทไี่ มใชวตั ถุ (Non - material technology) ซึ่งอาจแบงยอยออกเปน 2.1) เทคโนโลยีทางสังคม (Social technology) เชน การวางแผนยุทธศาสตร การ จัดการเชิงกลยุทธ การวางนโยบาย 2.2) เทคโนโลยีทาง จิตวิทยา (Psychological technology) อาทิ มนุษย สัมพันธ การประชาสัมพันธ ภาวะผูนำ� 2.3) เทคโนโลยี ทางจิตวิญญาณ (Spiritual technology) ซึง่ ก็คอื พุทโธโล ยี ไดแก ธรรมะ และหมวดตางๆ ที่ชวยใหการทำ�งาน บรรลุเปาหมาย ขององคการ เชน สติ ปญญา ฉันทะ วิ ริ ย ะ จิ ต ตะ วิ มั ง สา ศรั ท ธา เวสารั ช ชกรณธรรม (ธรรมทำ�ใหกลา) นาถกรณธรรม (ธรรมทำ�ใหพึ่งตนเอง ได) อปริหานิยชายะ (ธรรมทำ�ใหมั่นคงยั่งยืน) (5.) สภาพแวดลอม ซึ่งแบงเปน 2 ดาน ไดแก สภาพแวด ลอมภายในและสภาพแวดลอมภายนอก สภาพแวดลอม ภายใน เชน ความสงบรมเย็น บรรยากาศแหงความ เปนมิตรไมตรี การกระทำ�ที่เปนบุญกิริยา 10 เชน การ

ใหทานแบงปน การใหธรรม การใหอภัย การชวยเหลือ เกื้อกูลกันของคนในองคการ สภาพแวดลอมภายนอก ไดแก การทำ�รายคนอื่น สิ่งแวดลอม การชวยกันรักษา สมดุลของระบบนิเวศ (Ecological system) กลาวโดยสรุป การบริหารจัดการแนวพุทธ เปน เรื่องของจิตใจ มีความกวางขวางและสามารถเสริมการ บริหารจัดการองคการกระแสหลักไดอีกทางหนึ่ง โดย การทำ�งานประกอบไปดวย สติรูตัว ปญญารูคิด และ พลังวิริยะ ซึ่งจะทำ�ใหทำ�งานไดมาก ผลงานใชการ ได (Outcome) และดวยสันโดษ รูจักพอใจในผลงาน ที่ทำ�ไดทุกวัน การทำ�งานก็จะมีประสิทธิภาพและเกิด ความพึงพอใจระยะยาว เราพูดอยูเสมอถึงคำ�วา “สติ” “ปญญา” เราใชปญญาอยูเสมอก็จริง แตสตินั้นแทจริง แลวเรานำ�ออกมาใชนอ ยนักทัง้ ทีส่ ติมคี ณ ุ คาแกชวี ติ และ จำ�เปนแกชีวิต มีคุณคาอยางเหลือที่จะประมาณได ปจจัยทางดานจิตลักษณะกับประสิทธิภาพ การบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด การวิ จั ย เรื่ อ ง ประสิ ท ธิ ภ าพในการบริ ห ารงานของ พั ฒ นาการจั ง หวั ด นั้ น ถื อ ได ว  า เป น พฤติ ก รรมของ คนเกง ซึ่งทฤษฎีตนไมจริยธรรมไดแสดงถึงสาเหตุของ พฤติกรรม ของคนดี และคนเกง (ดวงเดือน พันธุม นาวิน 2543 ข) โดยไดทำ�การศึกษาวิจัยจากคนไทย อายุ 6 ถึง 60 ป จำ�นวนรวมหลายพันคน โดยที่ทฤษฎี ต น ไม จ ริ ย ธรรมนี้ ส ามารถแบ ง ออกได เ ป น 3 ส ว น ในสวนแรก คือ ดอกและผล ซึง่ เปรียบเสมือนพฤติกรรม ของคนดี และพฤติกรรมของคนเกง การทำ�งานอยาง ขยั น ขั น แข็ ง เพื่ อ ส ว นรวม ซึ่ ง เป น พฤติ ก รรมที่ พึ ง ปรารถนา มีสาเหตุจาก 2 กลุม แรก เปนสาเหตุทางจิตใจ ซึ่งเปนสวนของตนไม อันประกอบดวย จิตลักษณะ 5 ดาน คือ 1.) เหตุผลเชิงจริยธรรม 2.) การมุงอนาคต 3.) ความเชื่ออำ�นาจในตน 4.) แรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ 5.) ทัศนคติทางบวก คานิยม และคุณธรรม (ที่เกี่ยวของ กั บ พฤติ ก รรมหรื อ สถานการณ นั้ น ) ส ว นที่ ส องของ ตนไมจริยธรรม ประกอบดวย รากของตนไม ซึ่งเปน จิตลักษณะกลุมที่สองมี 3 ดาน คือ 1.) สติปญญา 2.) ประสบการณทางสังคม และ 3.) สุขภาพจิตที่เขมแข็ง โดยที่จิตลักษณะทั้ง 3 ประการ เปนพื้นฐานหรือสาเหตุ ของจิตลักษณะทั้ง 5 ประการ บริเวณลำ�ตนก็ได กลาว

51


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

คือ ถาบุคคลมีความพรอมทั้งดานจิตใจ ทั้ง 3 ประการ และอยูในสภาพแวดลอมทางบาน โรงเรียน และสังคม ทีเ่ หมาะสมทีจ่ ะสามารถพัฒนาจิตลักษณะ ทัง้ 5 ประการ ไดโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ จิตลักษณะที่อยูในสวน รากของตนไม ทั้ง 3 ประการ และจิตลักษณะที่บริเวณ ลำ�ตนทั้ง 5 ประการนี้ ก็จะสามารถรวมกันทำ�นาย พฤติกรรมของคนดีและคนเกง ตลอดจนใชเปนเครือ่ งมือ พัฒนาบุคคลไปดวยในตัว การวิจัยลักษณะทางจิตและ สถานการณที่เกี่ยวของกับประสิทธิภาพในการบริหาร งานของพั ฒ นาการจั ง หวั ด ในครั้ ง นี้ จ ะได นำ � ทฤษฎี ต น ไม จ ริ ย ธรรมมาเป น กรอบความคิ ด ในการศึ ก ษา รวมกับ ตัวแปรทางดานลักษณะสถานการณอื่นๆ เพื่อ ทีจ่ ะศึกษาถึงสาเหตุของประสิทธิภาพในการบริหารงาน ของพัฒนาการจังหวัดตอไป การมุงอนาคตกับประสิทธิภาพการบริหาร งานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด การมุง อนาคต (Future orientation) หมายความถึง ความสามารถในการควบคุมตนเองของบุ คคล และ แสดงใหเห็นถึงความสามารถในการอดทนได รอไดใน สถานการณตางๆ หรือความพยายามในปจจุบัน เพื่อ จุดมุงหมายที่สำ�คัญในอนาคต การมุงอนาคต ตรงกัน ขามกับลักษณะมุงปจจุบัน และถือไดวาเปนบุคลิกภาพ ของบุคคลได ความสามารถในการควบคุมตนของบุคคล จะประกอบไปดวย ลักษณะทางจิตหลายประการคือ การมองเห็นความสำ�คัญของประโยชนในอนาคตที่จะ มีมากกวาในปจจุบัน และความสามารถในการควบคุม ตนนี้ ยังเกี่ยวกับการไมหวังผลประโยชนจากภายนอก แตบุคคลสามารถใหรางวัลแกตนเอง และลงโทษตนเอง ได ซึ่งรางวัลนั้นอาจหมายถึง ความภาคภูมิใจในตนเอง สวนการลงโทษตนเอง ก็คือ ความไมสบายใจวิตกกังวล และละอายใจ (Mitchel 1974) แรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ กับประสิทธิภาพการ บริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด แรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ เปนจิตลักษณะที่จะชวย เสริมสรางความมุมานะ บากบั่นฝาฟนอุปสรรคในการ ทำ � งาน หรื อ แก ป  ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น จนประสบผลสำ� เร็ จ ไดอยางถาวร เนื่องจากผูที่มีแรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์สูง เป น ผู  ที่ ตั้ ง ใจทำ � งานเพื่ อ ให ไ ด ผ ลงานที่ มี คุ ณ ภาพสู ง

52

โดยผลงานจะมีลักษณะหลายประการ คือ เปนงานที่ ทำ�สำ�เร็จอยางรวดเร็ว มีประโยชนมาก มีคุณสมบัติ พิ เ ศษ และสามารถนำ � ไปใช ไ ด ใ นระยะยาว ผู  ที่ มี แรงจู ง ใจใฝ สั ม ฤทธิ์ สู ง จะเห็ น ว า รางวั ล ที่ ต นได จ าก การทำ�งานนัน้ คือ ความชืน่ ใจในความสำ�เร็จอยางดีของ ผลงานของตนมากกวาที่จะเห็นความสำ�คัญของรางวัล ทีเ่ ปนเงินทอง ลาภยศ หรือคำ�ชมเชยจากบุคคลอืน่ เปน ผูที่ทำ�งานเพื่องานเปนหลัก และเพื่อผลประโยชนอื่นๆ เปนรอง (McClelland and Winter 1971) ผู  ที่ มี แ รงจู ง ใจใฝ สั ม ฤทธิ์ สู ง จึ ง มี ลั ก ษณะที่ มี ความพรอมที่จะพึ่งตนเองไดมาก คือ 1.) เปนผูที่รับรู เหตุการณตางๆ ทางดานที่เกี่ยวกับการทำ�งานเพื่อให เกิดความสำ�เร็จมากกวาทีจ่ ะรับรูเ หตุการณนนั้ ในแงอนื่ ๆ 2.) เปนผูท ยี่ อมรับปญหาและดำ�เนินการแกปญ  หาตางๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะมองสถานการณที่เปนปญหา ในแงมุม ที่ตนจะเขาไปดำ�เนินการแกไขไดดวยความเขาใจใน สถานการณ เขาใจทางเลือก มองเห็นทางออกในรูปแบบ ตางๆ 3.) เปนผูที่เพียรพยายามสรางสภาพแวดลอม ใหสามารถทำ�งานเปนผลสำ�เร็จอยางงดงาม เชน ตั้ง เปาหมายในการทำ�งานใหเหมาะสมกับขีดความสามารถ ของตนและเหมาะกับสถานการณดวย 4.) ดำ�เนินงาน หรือแกปญหาอยางมีระเบียบขั้นตอน มีความบากบั่น อดทนทำ�งานอยางวองไวและมีประสิทธิภาพสูง และ 5.) มีความพึงพอใจในผลงานของตน ในขณะเดียวกัน ก็ พ ร อ มที่ จ ะรั บ การประเมิ น ผลที่ จ ะชี้ ข  อ ดี ข  อ เสี ย ของผลงานของตน เพื่อนำ�ไปปรับปรุงแกไขอีกดวย (McClelland and Winter 1971) เหตุผลเชิงจริยธรรมกับประสิทธิภาพการ บริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด จริยธรรมหมายถึง ระบบของการกระทำ�ดีและ ละเวนชั่ว ซึ่งการกระทำ�ดีและละเวนชั่วของบุคคลนั้น จากการศึกษาวิจัยแลวพบวาการที่บุคคลจะมีจริยธรรม ไดนนั้ คือความสามารถในการใชเหตุผลเชิงจริยธรรม โดย เหตุผลเชิงจริยธรรม หมายถึงการที่บุคคลใชเหตุผลใน การทีจ่ ะเลือกกระทำ� หรือเลือกทีจ่ ะไมกระทำ�พฤติกรรม อยางใดอยางหนึ่ง ซึ่งแสดงใหเห็นถึงแรงจูงใจที่อยู เบื้องหลังการกระทำ�ของบุคคล โดยบุคคลที่มีจริยธรรม ในระดับแตกตางกัน มีเหตุผลเบื้องหลังการกระทำ�ที่


ปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ธัชฤทธิ์ ปนารักษ ​

แตกตางกันไดมาก Kohlberg (1976) ไดแบงเหตุผลเชิง จริยธรรมออกเปน 6 ขั้น โดยวิเคราะหลักษณะคำ�ตอบ ของเยาวชนอเมริกันอายุ 10 ถึง 16 ป ในเหตุผลของ การเลือกกระทำ�พฤติกรรมในสถานการณความขัดแยง ระหวางความตองการสวนบุคคล และกฎระเบียบของ กลุม หรือสังคม แลวพิจารณาถึงเหตุผลทีต่ อบไปตามอายุ แลวเรียงเหตุผลประเภททีผ่ ตู อบอายุ 10 ป ตอบมากทีส่ ดุ ไปจนถึงเหตุผลทีผ่ ตู อบอายุ 16 ปใชตอบมากกวาผูต อบ ที่อายุต่ำ�กวาทั้งหมด โดยมีขั้นการพัฒนาจริยธรรมทั้ง 6 ขั้น และ Kohlberg ไดแบงขั้นทางจริยธรรมทั้ง 6 ขั้น เปน 3 ระดับ คือ ระดับที่ 1 คือ ระดับกอนกฎเกณฑ หมายถึง การเลือกกระทำ�ในสิง่ ทีเ่ ปนประโยชนแกตนเอง และมิไดคิดถึงผลที่จะเกิดกับผูอื่น สำ�หรับขั้นที่สอง เปนการเลือกกระทำ�ที่จะนำ�ความพอใจมาสูตน ระดับ ที่ 2 คือ ระดับตามกฎเกณฑ หมายถึง การกระทำ�ตาม กฎระเบียบของกลุมยอยของตน หรือตามหลักการทาง ศาสนา โดยในขั้นที่ 3 บุคคลยังไมเปนตัวของตัวเอง ชอบคลอยตามผูอื่น สวนในขั้นที่ 4 เปนขั้นที่บุคคลมี ความรูถึงบทบาทหนาที่ของตนในฐานะ เปนหนวยหนึ่ง ของสังคม จึงมีพฤติกรรมตามกฎเกณฑที่สังคมกำ�หนด สวนระดับที่ 3 คือ ระดับ เหนือเกณฑ ขั้นที่ 5 คือการ กระทำ�ในสิ่งที่ตนเอง เห็นวาถูกและสมควร หรือเปน การกระทำ � เพื่ อ ส ว นรวม มี ค วามเป น ตั ว ของตั ว เอง ละอายใจเมื่อตนเองทำ�ชั่ว และภูมิใจในตนเองเมื่อทำ�ดี สวนขั้นที่ 6 คือ การมีเจตนาที่จะยึดหลักอุดมคติสากล (Piaget 1932 , Kohlberg 1976) ทัศนคติทางบวกกับประสิทธิภาพการบริหาร งานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2544) ไดกลาวถึง การศึกษาทัศนคติทางบวกที่ใชทำ�นายพฤติกรรมนั้น เปนเรื่องที่มีการศึกษาคนควาและวิจัยกันมากในวิชา จิตวิทยาสังคม ไดมีผูเสนอทฤษฎีหลายทฤษฎีวาดวย การชักจูงและเปลี่ยนแปลงทัศนคติทางบวก และในชวง หลัง (ค.ศ.1970-1985) เปนการสรางทฤษฎีและการวิจยั ความสัมพันธระหวางทัศนคติทางบวกกับพฤติกรรม ใหไดแมนยำ�มากที่สุด การให ค วามหมายของทั ศ นคติ ท างบวกนั้ น ไดมีผูสรุปจากผูที่เคยใหความหมายของทัศนคติทาง

บวกไวมากมาย โดยแบงเปนองคประกอบของทัศนคติ ทางบวก 3 ดานนั้นตองมุงเนนการใชชีวิตที่เติมเต็ม ในแตละวันใหมีคุณคาเปนไปตามเปาหมายที่มีกำ�หนด ระยะเวลาแนนอน สอดคลองกับจริยธรรม คือ องคประกอบ ทางดานทัศนคติ ความรูส กึ องคประกอบของพฤติกรรม และองคประกอบของผลลัพธที่ตามออกมา ความเชื่ออำ�นาจในตนกับประสิทธิภาพการ บริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ความเชื่ออำ�นาจในตน หมายถึง ความเชื่อและ การคาดหวังของบุคคลวา ผลดีและผลเสียที่เกิดกับตน นั้น มีตนเองเปนสาเหตุมากกวา ที่จะเปนเพราะคนอื่น โชคเคราะห ความบังเอิญ (ดวงเดือน พันธุมนาวิน และ คณะ 2540) ลักษณะความเชื่ออำ�นาจภายในตนนี้มีผูเชื่อวา เกิดจากการเรียนรูท างสังคมตัง้ แตเด็ก เมือ่ บุคคลกระทำ� พฤติกรรมใดแลวไดรบั ผลตอบแทน ตอมาบุคคลนัน้ ก็จะ คาดหวังที่จะไดรับผลตอบแทนประเภทเดียวกันถาเขา ทำ�พฤติกรรมนั้นซ้ำ�อีก หรือกระทำ�พฤติกรรมใหมที่จัด อยูใ นประเภทเดียวกันกับพฤติกรรมเดิมนัน้ ถาเขาไดรบั รางวัลตอบแทนอีกเขาก็จะมีความเชื่อมั่นในการแสดง พฤติกรรม เรียกวา มีความเชือ่ อำ�นาจในการกระทำ�จาก ภายในตนวากระทำ�ความดีแลวไดผลดีตอบแทน แตถา บุคคลกระทำ�พฤติกรรมแลวมักไมไดรับผลตอบแทน หรือไดรบั ผลตางๆ กัน หรือมีบอ ยครัง้ ทีไ่ ดรบั ผลตอบแทน โดยไมทำ�อะไรเลย ก็จะทำ�ใหบุคคลเรียนรูวาตนอยู ภายใตการควบคุมจากภายนอก ทำ�ใหเกิดความรูสึก หมดกำ�ลังใจที่จะพยายามกระทำ�สิ่งใด กลายเปนผูมี ความเฉื่อยชา ทอแทหมดหวังไปในที่สุด (ดวงเดือน พันธุมนาวิน, อรพินทร ชูชม และงามตา วนินทานนท 2528) สุขภาพจิตที่เขมแข็งกับประสิทธิภาพการ บริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด สุ ข ภาพจิ ต ที่ เ ข ม แข็ ง หมายถึ ง สภาวะทาง อารมณ ที่เกี่ยวของกับความรูสึกทุกขใจ ซึ่งมีสาเหตุมา จากความวิตกกังวล ความเครียด หรือความไมสบายใจที่ มีตอ สถานการณตา งๆ (ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ 2540) นอกจากนี้ สุภา มาลากุล ณ อยุธยา (2521 อางถึง ใน นวลละออ สุภาผล 2534) ไดกลาวถึง สุขภาพจิตที่

53


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

เขมแข็งวา ไมใชการปราศจากโรคจิตหรือโรคประสาท แตเพียงอยางเดียว แตตองรูจักปรับสภาพจิตใจของ ตนเองและรู  จั ก ตอบสนองความต อ งการของตนเอง รวมทั้ ง รู  จั ก ปรั บ ตั ว เข า กั บ บุ ค คลอื่ น และสิ่ ง แวดล อ ม ตางๆ ไดดวย ดังนั้น ผูที่มีสุขภาพจิตที่เขมแข็งดี จะมี ความรูส กึ และการกระทำ�ทีแ่ สดงถึงความมัน่ คงทางจิตใจ ปรับตัวเขากับครอบครัว เพือ่ นรวมเรียน เพือ่ นรวมงาน ไดเปนอยางดี สามารถที่จะเปนผูให ผูรับ รูจักตัดสินใจ และรับผิดชอบ เผชิญปญหา ความสำ�เร็จ และความ ลมเหลวไดอยางสงบ มีความวิตกกังวลแตนอยหรือ มีอยูในปริมาณที่เหมาะสมกับเหตุการณ วิธีการวิจัย การวิจยั เรือ่ ง “ปจจัยทีม่ อี ทิ ธิพลตอประสิทธิภาพ การบริ ห ารงานพั ฒ นาชุ ม ชนของพั ฒ นาการจั ง หวั ด ” เป น การวิ จั ย แบบผสม โดยเริ่ ม ต น จากการวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ โดยอาศั ย การวิ เ คราะห เ นื้ อ หาจากการ ทบทวนวรรณกรรม ควบคูไปกับการสัมภาษณเจาะลึก ผูทรงคุณวุฒิเพื่อสรางเครื่องมือในการเก็บขอมูล หลัง จากนัน้ ใชการวิจยั เชิงปริมาณ ดวยเหตุทวี่ า เปนการวิจยั ทางสังคมศาสตร เพือ่ ทราบความเบีย่ งเบน เปลีย่ นแปลง ทางพฤติกรรมของคน และการมีปฏิสมั พันธกบั บุคคลอืน่ ตลอดจนสิ่งแวดลอมที่มีอิทธิพลตอมนุษย สามารถนำ� ผลที่ไดจากการวิจัย ไปใชประโยชนไดอยางถูกตอง ตรงตามความเปนจริงมากที่สุด ลักษณะของการวิจัย เปนการศึกษาความสัมพันธเปรียบเทียบ (Correlation Study) ระหวางตัวแปรทางดานสถานการณ และปจจัย ทางดานจิตลักษณะกับประสิทธิภาพในการบริหารงาน โดยการศึกษานั้น ไดมีการสรางแบบวัดใหมีคุณภาพสูง เพื่อใหไดขอมูลที่นาเชื่อถือ แลวนำ�ขอมูลที่ไดมาทำ�การ วิเคราะหผลทางสถิติโดยใชการวิเคราะหเสนทาง (Path Analysis) ตามตัวแบบที่ผานการสังเคราะหรวมกันจาก การวิจัยเชิงคุณภาพ หลังจากที่ไดผลการวิเคราะหแลว นำ � ผลที่ ใ นแต ล ะเส น ทาง สอบยั น ด ว ยการวิ จั ย เชิ ง คุณภาพ โดยอาศัยเทคนิคการสัมภาษณเจาะลึกจาก กลุมพัฒนาการจังหวัดที่มีความเชี่ยวชาญ จำ�นวน 6 ทาน

54

ประชากร ที่ใชในการศึกษา ประชากรที่ใชในการศึกษาครั้งนี้ คือ พัฒนาการ จังหวัดทัว่ ประเทศ รวมทัง้ สิน้ 75 คน ซึง่ ผูศ กึ ษาไดศกึ ษา จากประชากรทั้งหมด ในสวนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุม ตัวอยางไดแก พัฒนาการจังหวัดจำ�นวน 6 คน โดย ใชเกณฑการเลือกตัวอยางแบบเจาะจง (Purposive selection) โดยตั้งเกณฑวาตองเปนพัฒนาการจังหวัด ที่มีประสบการณทำ�งานไมต่ำ�กวา 15 ป รวมถึงตอง ยินดีที่จะใหขอมูลและเปดเผยขอมูลอยางเต็มที่ โดย ผูเชี่ยวชาญดังกลาวไดแก (1.) นายสมเดช ไพจิตรกุญชร พัฒนาการจังหวัดแมฮองสอน (2.) นางเพ็ญสุภา ศิริวัฒน พัฒนาการจังหวัดขอนแกน (3.) นางปราณี รัตนประยูร พัฒนาการจังหวัด นราธิวาส (4.) นางศิริ กำ�ปนทอง พัฒนาการจังหวัดสมุทรสงคราม (5.) นางอารี คีรีวรรณ พัฒนาการจังหวัด สระบุรี (6.) นายสุทิน มณีพรหม พัฒนาการจังหวัดปตตานี เครื่องมือที่ใชในการวิจัย เครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยนี้ เปนแบบวัด ที่ถามเกี่ยวกับลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลังของ พั ฒ นาการจั ง หวั ด โดยการวั ด ตั ว แปรตาม ได แ ก ประสิทธิภาพการบริหารงาน ในสวนตัวแปรทางดาน สถานการณ มีแบบวัด 4 แบบวัด สำ�หรับตัวแปรทางดาน จิตลักษณะ มีแบบวัด 6 แบบวัด โดยแบบวัดแตละฉบับ มีรายละเอียดดังนี้ แบบวัดลักษณะทางชีวสังคมและภูมิหลัง เปนแบบสอบถามที่สรางขึ้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ลักษณะของพัฒนาการจังหวัด คือ เพศ อายุ สถานภาพ การสมรส และประสบการณในการทำ�งาน โดยมีค�ำ ตอบ ใหเลือกตอบและเติมคำ�ลงในชองวางที่กำ�หนดให


ปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ธัชฤทธิ์ ปนารักษ ​

แบบวัดประสิทธิภาพในการบริหารงาน การวั ด ประสิ ท ธิ ภ าพในการบริ ห ารงานของ พัฒนาการจังหวัด ในครั้งนี้ วัดจากการแสดงบทบาท ความพร อ ม ความสามารถที่ แ สดงออกในรู ป ของ พฤติกรรมในการบริหารงานพัฒนาชุมชนให ป ระสบ ความสำ�เร็จ ไดแก งานบริหารยุทธศาสตร 3 ประการ ได แ ก (1.) การกำ � หนดทิ ศ ทาง และกำ � กั บ ดู แ ล ยุทธศาสตรการบริหารงานพัฒนาชุมชน ระดับจังหวัด ในภาพรวม (2.) การบริหารการพัฒนาในสวนทีเ่ กีย่ วของ กับสำ�นักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และ (3.) บริหาร ผลการปฏิ บั ติ ง านของหน ว ยงาน นอกจากนี้ แ ล ว พัฒนาการจังหวัดยังมีบทบาท ในการบริหารงานวิชาการ อีก 4 ประการ ไดแก (1.) กำ�หนดกรอบแนวทาง ทิศทาง ในการ ศึกษา วิเคราะห วิจัย คนควาทางวิชาการ ตลอด จนกำ�กับดูแล และบริหารจัดการความรูในหนวยงาน (2.) กำ�หนดเปาหมาย กรอบแนวทาง ตลอดจนกำ�กับ ดูแล และพัฒนาผลการปฏิบัติงานของผูใตบังคับบัญชา (3.) คิดคน ริเริ่ม สงเสริมและสนับสนุนนวัตกรรม ที่ เกี่ยวของในงานพัฒนาชุมชน และ (4.) กำ�กับดูแลการ บริหารจัดเก็บขอมูล เพื่อการพัฒนาชุมชน และสงเสริม การใชประโยชนจากขอมูลสารสนเทศชุมชน โดยแบบวัด ชุดนี้มีจำ�นวน 14 ขอ แตละขอมีมาตรประเมิน 6 หนวย ประกอบ ตัง้ แต “จริงทีส่ ดุ ” ถึง “ไมจริงเลย” มีคา ความเชือ่ มั่นของแบบสอบถาม (Reliability Coefficients) = 0.81 เกณฑการใหคะแนน มีการใหคะแนน 2 กรณีคือ กรณี ขอความทางบวก การใหคะแนนจาก 6 5 4 3 2 1 ตาม ลำ�ดับ จากจริงที่สุดถึงไมจริงเลย สำ�หรับขอความทาง ลบจะใหคะแนนในทิศทางกลับกัน พิสัยของคาคะแนน อยูระหวาง 14 – 84 คะแนน แบบวัดการมีสวนรวมในการบริหารงาน มีเนื้อหาเกี่ยวกับ สภาพขององคการที่มีการ ใช ห ลั ก ความมี ส  ว นร ว มในการบริ ห าร ซึ่ ง เป น การ มีสวนรวมในเชิงกระบวนการ ไดแก การมีสวนรวมใน การคิด ตัดสินใจ การวางแผนดำ�เนินงาน การดำ�เนินงาน และรวมติดตามประเมินผลการดำ �เนินโครงการหรือ กิ จ กรรมต า งๆ ภายในองค ก าร ซึ่ ง เป น แบบวั ด ที่ สรางขึ้นเองโดยมีขอคำ�ถามจำ�นวน 10 ขอ แตละขอมี มาตรประเมิน 6 หนวยประกอบ ตั้งแต “จริงที่สุด”

ถึง “ไมจริงเลย” มีคาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability Coefficients) = 0.87 มีคาอำ�นาจจำ�แนก รายขอ (t-test) ระหวาง 3.18 – 7.49 เกณฑการใหคะแนน ขอความในแบบวัดการ มีสวนรวมในการบริหารงาน พิสัยคาคะแนนอยูระหวาง 10 – 60 คะแนน แบบวัดการจัดการความรู มี เ นื้ อ หาเกี่ ย วกั บ การที่ อ งค ก ารได มี ก ารจั ด กระบวนการจัดการความรู (Knowledge Management Process) ขององคการ 7 ประการ ไดแก (1) การบงชี้ ความรู (2) การสรางและแสวงหาความรู (3) การจัด ความรูใ หเปนระบบ (4) การประมวลและกลัน่ กรองความ รู (5) การเขาถึงความรู (6) การแบงปนแลกเปลี่ยน ความรู และ (7) การเรียนรู เปนแบบวัดที่สรางขึ้นเอง มีจำ�นวน 18 ขอ แตละขอมีมาตรประเมิน 6 หนวย ประกอบ ตั้งแต “จริงที่สุด” ถึง “ไมจริงเลย” มีคาความ เชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability Coefficients) = 0.96 มีคาอำ�นาจจำ�แนกรายขอ (t-test) ระหวาง 3.65 - 7.99 เกณฑการใหคะแนน ขอความในแบบวัด การ จัดการความรูในองคการ มีการใหคะแนน จาก 6 5 4 3 2 1 ตามลำ�ดับ จาก จริงที่สุด ถึง ไมจริงเลย พิสัยคา คะแนนอยูระหวาง 18 - 108 คะแนน แบบวัดวัฒนธรรมองคการ มี เ นื้ อ หาที่ เ กี่ ย วกั บ การส ง เสริ ม ให เ จ า หน า ที่ พัฒนาชุมชนมีพฤติกรรมตามคานิยมเพื่อใหเกิดพัฒนา องค ก าร ในด า นการยึ ด หลั ก ปรั ช ญาในการทำ � งาน พั ฒ นาชุ ม ชน การพั ฒ นากระบวนการทำ � งาน การ พัฒนาคุณภาพของบุคลากร และการสรางกระบวนการ เรียนรูและพัฒนาอยางตอเนื่อง เปนแบบวัดที่สรางขึ้น เองมีจำ�นวน 10 ขอ แตละขอมีมาตรประเมิน 6 หนวย ประกอบ ตัง้ แต “จริงทีส่ ดุ ” ถึง “ไมจริงเลย” มีคา ความเชือ่ มั่นของแบบสอบถาม (Reliability Coefficients) = 0.90 มีคาอำ�นาจจำ�แนกรายขอ (t-test) ระหวาง 4.15 – 9.00 เกณฑ ก ารให ค ะแนน ข อ ความในแบบวั ด การสร า ง วัฒนธรรมองคการ มี 2 ลักษณะคือขอความทางบวก และขอความทางลบ การใหคะแนน มี 2 กรณีคือ กรณี ขอความทางบวก การใหคะแนนจาก 6 5 4 3 2 1 ตาม ลำ�ดับ จากจริงที่สุดถึงไมจริงเลย สำ�หรับขอความทาง

55


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

ลบจะให ค ะแนนในทิ ศ ทางกลั บ กั น พิ สั ย ค า คะแนน อยูระหวาง 10 - 60 คะแนน แบบวัดหลักธรรม มี เ นื้ อ หาเกี่ ย วกั บ การส ง เสริ ม ให อ งค ก ารใช ธรรมะตางๆ ที่เกี่ยวของใหการทำ�งานบรรลุเปาหมาย ขององคการ ไดแก พรหมวิหารธรรมและเวสารัชชกรณ ธรรม (ธรรมทำ�ใหกลา) เปนหลักการสำ�คัญในการปฏิบตั ิ งานในองคการ เปนแบบวัดที่สรางขึ้นเองมีจำ�นวน 10 ขอ แตละขอมีมาตรประเมิน 6 หนวยประกอบ ตั้งแต “จริ ง ที่ สุ ด ” ถึ ง “ไมจริงเลย” มีคาความเชื่อมั่ น ของ แบบสอบถาม (Reliability Coefficients) = 0.79 มีคา อำ�นาจจำ�แนกรายขอ (t-test) ระหวาง 3.10 - 13.17 เกณฑการใหคะแนน ขอความในแบบวัดกา รสงเสริมหลักธรรม มีการใหคะแนน จาก 6 5 4 3 2 1 ตามลำ�ดับ จากจริงที่สุดถึงไมจริงเลย พิสัยคาคะแนน อยูระหวาง 10 - 60 คะแนน แบบวัดการมุงอนาคต มี เ นื้ อ หาที่ เ กี่ ย วกั บ ความสามารถในการคาด การณไกลของบุคคล เห็นความสำ�คัญของสิ่งที่จะเกิด ขึ้นในอนาคตนั้น และมีความสามารถในการควบคุม ตนใหดำ�เนินไปในแนวทางที่ถูกตองเหมาะสม มีความ รั บ ผิ ด ชอบ อดทนได รอได เพื่ อ ผลที่ ยิ่ ง ใหญ ก ว า ในอนาคต โดยใชแบบวัดของ ดวงเดือน พันธุมนาวิน, งามตา วนินทานนท และคณะ (2536) ซึ่งประกอบดวย ประโยคตางๆ 10 ขอ แตละขอประกอบดวยมาตร ประเมิน 6 หนวยประกอบ จาก “จริงที่สุด” ถึง “ไมจริง เลย” มีคาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability Coefficients) = 0.67 มีคาอำ�นาจจำ�แนกรายขอ (t-test) ระหวาง 2.03 - 8.82 เกณฑการใหคะแนน ขอความในแบบวัดลักษณะ มุง อนาคต มี 2 ลักษณะคือขอความทางบวกและขอความ ทางลบ การใหคะแนน มี 2 กรณีคือ กรณีขอความทาง บวก การใหคะแนนจาก 6 5 4 3 2 1 ตามลำ�ดับ จากจริง ที่สุดถึงไมจริงเลย สำ�หรับขอความทางลบจะใหคะแนน ในทิศทางกลับกัน พิสัยคาคะแนนอยูระหวาง 10 - 60 คะแนน

56

แบบวัดแรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับปริมาณความเพียรพยายาม ของพัฒนาการจังหวัดที่จะพัฒนาตนเองและงานของ ตนใหประสบความสำ�เร็จ โดยไมยอทอตออุปสรรคและ ความลมเหลว รูจักกำ�หนดเปาหมายใหเหมาะสมกับ ความสามารถของตน อดทนทำ�งานที่ยากลำ�บากได เปนเวลานาน และมุงแสวงหาความรูสิ่งใหมๆ ในการ แกปญหาในการทำ�งานอยูเสมอ เปนคุณสมบัติคนดี ตลอดจนชอบเลื อ กคบเพื่ อ นที่ มี ค วามสามารถเป น อันดับแรก โดยใชแบบวัดของสภาวิจยั แหงชาติ มีจ�ำ นวน 20 ขอ แตละขอประกอบดวยมาตรประเมิน 6 หนวย ประกอบ จาก “จริงที่สุด” ถึง “ไมจริงเลย” มีคาความ เชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability Coefficients) = 0.88 มีคาอำ�นาจจำ�แนกรายขอ (t-test) ระหวาง 1.79 - 7.49 เกณฑการใหคะแนน ขอความในแบบวัดแรง จูงใจใฝสัมฤทธิ์ มี 2 ลักษณะคือขอความทางบวกและ ขอความทางลบ การใหคะแนน มี 2 กรณีคือ กรณีขอ ความทางบวก การใหคะแนนจาก 6 5 4 3 2 1 ตาม ลำ�ดับ จากจริงที่สุดถึงไมจริงเลย สำ�หรับขอความทาง ลบจะให ค ะแนนในทิ ศ ทางกลั บ กั น พิ สั ย ค า คะแนน อยูระหวาง 20 - 120 คะแนน แบบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม เปนแบบวัดที่ผูวิจัยนำ �มาจากแบบวัดเหตุผล เชิงจริยธรรมของ โกศล มีคุณ และณรงค เทียมเมฆ (2543) ลักษณะของแบบวัดเปนแบบวัดชนิดใหผูตอบ เลือกตอบจากเรื่องจำ�นวน 7 เรื่อง เรื่องละ 2 ขอ ซึ่ง มีลักษณะเสนอเปนเรื่องหรือสถานการณขัดแยงทาง จริยธรรม แตละเรื่องมีเหตุผลใหประเมิน 2 เหตุผล เปน เหตุผลที่ตรงกับเหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นที่ 5 และขั้นที่ 6 ในทฤษฎีของโคลเบอรก ผูตอบจะตองประเมินทั้ง สองเหตุผลจากมาตรประเมิน 6 ระดับ ตั้งแต “เห็นดวย อยางยิ่ง” ถึง “ไมเห็นดวยอยางยิ่ง” มีคาความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม (Reliability Coefficients) = 0.90 มีคาอำ�นาจจำ�แนกรายขอ (t-test) ระหวาง 1.81 - 7.39 เกณฑการใหคะแนน ขอความในแบบวัดเหตุผล


ปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ธัชฤทธิ์ ปนารักษ ​

เชิงจริยธรรม จะใหคะแนนจาก 6 5 4 3 2 1 ตามลำ�ดับ จาก เห็นดวยอยางยิง่ ถึง ไมเห็นดวยอยางยิง่ โดยมีชว ง คะแนนตั้งแต 14 - 84 แบบวัดทัศนคติทางบวก มีเนือ้ หาทีเ่ กีย่ วของกับจิตลักษณะของพัฒนาการ จังหวัด ที่อยูในรูปความรูสึกพอใจหรือไมพอใจ การ ตระหนักและมองเห็นประโยชนของการบริหารงาน และ การมองเห็นโทษของการละเลยการปฏิบัติหนาที่ และ ความพรอมในการบริหารงาน เปนแบบวัดทีส่ รางขึน้ เอง มีจ�ำ นวน 10 ขอ แตละขอมีลกั ษณะเปนประโยคประกอบ มาตรประเมิน 6 หนวยประกอบ ตั้งแต “จริงที่สุด” ถึง “ไมจริงเลย” มีคาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability Coefficients) = 0.94 มีคาอำ�นาจจำ�แนก รายขอ (t-test) ระหวาง 4.85 - 11.30 เกณฑการใหคะแนน ขอความในแบบวัดทัศนคติ ทางบวกที่ดีตอประสิทธิภาพในการบริหารงาน มี 2 ลักษณะคือขอความทางบวกและขอความทางลบ การ ใหคะแนน มี 2 กรณีคือ กรณีขอความทางบวก การ ใหคะแนนจาก 6 5 4 3 2 1 ตามลำ�ดับ จากจริงที่สุด ถึงไมจริงเลย สำ�หรับขอความทางลบจะใหคะแนนใน ทิศทางกลับกัน พิสัยคาคะแนนอยูระหวาง 10 - 60 คะแนน แบบวัดความเชื่ออำ�นาจในตน มีเนือ้ หาเกีย่ วกับ ความรูส กึ นึกคิดของพัฒนาการ จังหวัดเกี่ยวกับผลสำ�เร็จของการบริหารงาน วาผล เหลานั้นเกิดจากความรู ความสามารถของตนเอง หรือ เกิดจากปจจัยอื่นๆ ที่นอกเหนือจากความสามารถของ ตนเองมากนอยเพียงใด เปนแบบวัดที่สรางขึ้นเองมี จำ�นวน 9 ขอ แตละขอมีลักษณะเปนประโยคประกอบ มาตรประเมิน 6 หนวยประกอบ ตั้งแต “จริงที่สุด” ถึง “ไมจริงเลย” มีคาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม (Reliability Coefficients) = 0.73 มีคาอำ�นาจจำ�แนก รายขอ (t-test) ระหวาง 0.49 - 11.09 เกณฑการใหคะแนน ขอความในแบบความ เชื่ออำ�นาจในตนมี 2 ลักษณะคือขอความทางบวกและ ขอความทางลบ การใหคะแนน มี 2 กรณีคือ กรณีขอ ความทางบวก การใหคะแนนจาก 6 5 4 3 2 1 ตาม ลำ�ดับ จากจริงทีส่ ดุ ถึงไมจริงเลย สำ�หรับขอความทางลบ

จะให ค ะแนนในทิ ศ ทางกลั บ กั น พิ สั ย ค า คะแนนอยู  ระหวาง 9 - 54 คะแนนโดยผูที่ไดคะแนนนอยกวาคา เฉลี่ยจัดเปนผูที่มีความเชื่ออำ�นาจในตนต่ำ� สวนผูที่ ไดคะแนนมากกวาคาเฉลีย่ จัดเปนผูท มี่ คี วามเชือ่ อำ�นาจ ในตนสูง แบบวัดสุขภาพจิตที่เขมแข็ง มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ความรูสึกในการทำ�งานใน อาชีพพัฒนาการจังหวัด ที่มีลักษณะการตอบสนองตอ สิ่งเราในทำ�นองที่เบี่ยงเบนจากปกติ เชน ตื่นเตนงาย โกรธงาย ตกใจงาย อารมณรุนแรงเกินกวาเหตุ วิตก กังวลในเรื่องตางๆ คิดมาก รูสึกอึดอัด เปนตน สุขภาพ จิตที่เขมแข็งในความหมายของความรูสึกทางลบของ บุคคลนี้ แสดงใหเห็นถึงอาการของความมีสุขภาพจิต ที่เสื่อม ประกอบดวยประโยคบอกเลา จำ�นวน 10 ขอ แตละขอมีมาตรประเมิน 6 หนวย จาก “จริงที่สุด” ถึง “ไมจริงเลย” ในขั้นที่ 1 และมาตรประเมิน 3 หนวยจาก “เกิดนอย” ถึง “เกิดมาก” ในขั้นที่ 2 มีคาความเชื่อมั่น ของแบบสอบถาม (Reliability Coefficients) = 0.93 มีคา อำ�นาจจำ�แนกรายขอ (t-test) ระหวาง 4.12 – 6.96 เกณฑการใหคะแนน ขอความในแบบวัดสุขภาพ จิตที่เขมแข็งในการทำ�งานมีการใหคะแนน จาก 1 2 3 4 5 6 ตามลำ�ดับ จากจริงทีส่ ดุ ถึงไมจริงเลย และตองมีการ ประเมินในขั้นที่สอง โดยมีมาตรประเมิน 3 หนวยจาก “เกิดนอย” ถึง “เกิดมาก” จะใหคะแนน 3 - 1 คะแนน ตามลำ�ดับ ตอจากนัน้ จึงนำ�คะแนนในสวนที่ 1 มาคูณกับ สวนที่ 2 พิสัยคาคะแนนอยูระหวาง 10 - 180 คะแนน สถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูล สำ�หรับการวิเคราะหขอมูลในการวิจัยในครั้งนี้ จะใชเครื่องคอมพิวเตอร และใชโปรแกรมการวิเคราะห ขอมูลทางสถิติสำ�หรับการวิจัยทางสังคมศาสตร SPSS โดยใชสถิติดังนี้ 1. สถิตเิ ชิงพรรณา (Descriptive Statistics) เพือ่ จัดขอมูลเปนหมวดหมูแ ละเพือ่ ใหทราบลักษณะพื้นฐาน ทั่วไปของกลุมเปาหมาย และสรุปลักษณะตัวแปรอิสระ กับตัวแปรตาม โดยใชคารอยละ คาเฉลี่ย (Mean) และ คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. - Standard Deviation) 2. สถิติที่ใชในการทดสอบสมมติฐาน จะใชการ

57


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

วิเคราะหเสนทาง(Path analysis) เพือ่ ทดสอบคาอิทธิพล ทั้ ง ทางตรงและทางอ อ มที่ มี ผ ลต อ ประสิ ท ธิ ภ าพการ บริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด มีการ ทดสอบคุณสมบัติของตัวแปรเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ ตางๆ วา ขอมูลเหมาะสมกับเทคนิคการวิเคราะหความ สั ม พั น ธ โ ครงสร า งเชิ ง เส น หรื อ ไม ด ว ยการทดสอบ คาสหสัมพันธแบบเพียรสัน (Pearson’s Coefficient Correlation) ระหวางกลุมตัวแปรแฝง การหาเมตริก ความสั ม พั น ธ ระหว า งตั ว แปรแฝงแต ล ะคู  ก็ เ พื่ อ หลี ก เลี่ ย งป ญ หาความสั ม พั น ธ ร ะหว า งตั ว แปรที่ สู ง จนเกิดปญหาการรวมเสนตรงพหุ (Multicollinearity) โดยพิจารณาประกอบ การทดสอบคาความทนทาน (tolerance) และคา VIF (variance inflation factors) ของตัวแปรแฝงแตละตัว เพราะปญหาการรวมเสน ตรงพหุจะไมเกิดขึ้น ถาคาความทนทานมากกวา 0.1 (Hair, ... et al. 1995 : 127) และคา VIF ไมเกิน 10 (Belsley 1991) ผลการวิจัยและการอภิปรายผล จากการวิเคราะหขอมูล ไดพบผลการวิจัยที่ สำ�คัญดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห ตัวแปรอิสระและตัวแปร ตาม พบผลดังนี้ (รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 1.1) (1.1) การมีสว นรวมในการบริหารงาน มีคา คะแนนเฉลีย่ (Mean) = 49.12 คะแนน และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 6.70 คะแนน ซึ่งแสดงวามีการมีสวนรวมในการ บริหารงานในระดับมาก (1.2) การจัดการความรู มี คาเฉลีย่ (Mean) = 92.65 คะแนน คาเบีย่ งเบนมาตรฐาน = 11.43 ซึ่งแสดงวามีการจัดการความรูอยูในระดับมาก (1.3) วัฒนธรรมองคการ มีคาเฉลี่ย (Mean) = 52.71

58

คะแนน และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 4.50 ซึ่งแสดงวา มีการสงเสริมวัฒนธรรมองคการอยูในระดับ มาก (1.4) หลักธรรม มีคาเฉลี่ย (Mean) = 53.48 คะแนน และคา เบี่ยงเบนมาตรฐาน = 4.82 ซึ่งแสดงวามีการสงเสริม การใชหลักธรรมในการบริหารองคการอยูในระดับ มาก (1.5) การมุง อนาคต มีคา เฉลีย่ (Mean) = 51.35 คะแนน และคาเบีย่ งเบนมาตรฐาน = 5.09 ซึง่ แสดงวาพัฒนาการ จังหวัดโดยรวมมีลักษณะมุงอนาคตควบคุมตน อยูใน ระดับสูง (1.6) แรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ มีคาเฉลี่ย (Mean) = 101.92 คะแนน และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 8.62 ซึ่ง แสดงวาพัฒนาการจังหวัดโดยรวมมีแรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ อยูในระดับสูง (1.7) เหตุผลเชิงจริยธรรม มีคาเฉลี่ย (Mean) = 66.07 คะแนน และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 8.47 ซึ่งแสดงวาพัฒนาการจังหวัดโดยรวมมีเหตุผล เชิงจริยธรรม อยูในระดับสูง (1.8) ทัศนคติทางบวก มีคาเฉลี่ย (Mean) = 53.85 คะแนน และคาเบี่ยงเบน มาตรฐาน = 4.83 ซึง่ แสดงวาพัฒนาการจังหวัดโดยรวม มีทัศนคติที่ดีในการบริหารงาน อยูในระดับมาก (1.9) ความเชื่ออำ�นาจในตน มีคาเฉลี่ย (Mean) = 40.70 คะแนน และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 4.66 ซึ่งแสดงวา พัฒนาการจังหวัดโดยรวมมีความเชื่ออำ�นาจในตนใน การทำ�งาน อยูในระดับสูง (1.10) สุขภาพจิตที่เขมแข็ง มีคาเฉลี่ย (Mean) = 45.78 คะแนน และคาเบี่ยงเบน มาตรฐาน = 19.75 ซึ่งแสดงวาพัฒนาการจังหวัดโดย รวมมีสขุ ภาพจิตทีด่ ใี นการทำ�งาน อยูใ นระดับมาก (1.11) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนของ พัฒนาการจังหวัด มีคาเฉลี่ย (Mean) = 70.72 คะแนน และคาเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 7.33 คะแนน ซึ่งแสดงวา พัฒนาการจังหวัดโดยรวม มีประสิทธิภาพการบริหาร จัดการงานพัฒนาชุมชนอยูในระดับมาก


ปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ธัชฤทธิ์ ปนารักษ ​

ตารางที่ 1. ลักษณะขอมูลของตัวแปรที่ใชในงานวิจัย ตัวแปรอิสระ

Min

Max

Mean

S.D.

ระดับ

1. การมีสวนรวมในการบริหารงาน

32

60

49.12

6.70

มาก

2. การจัดการความรู

48

108

92.65

11.3

มาก

3. วัฒนธรรมองคการ

42

60

52.71

4.50

มาก

4. หลักธรรม

39

60

53.48

4.82

มาก

5. การมุงอนาคต

38

60

51.35

5.09

สูง

6. แรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์

78

120

101.92

8.62

สูง

7. เหตุผลเชิงจริยธรรม

50

84

66.07

8.47

สูง

8. ทัศนคติทางบวก

35

60

53.85

4.83

มาก

9. ความเชื่ออำ�นาจในตน

28

54

40.70

4.66

สูง

10. สุขภาพจิตที่เขมแข็ง

22

97

45.78

19.5

มาก

51

84

70.72

7.33

มาก

ตัวแปรอิสระดานสถานการณ

ตัวแปรอิสระดานจิตลักษณะ

ตัวแปรตาม ประสิทธิภาพการบริหาร จัดการงานพัฒนาชุมชน

2. ผลการวิ เ คราะห ตั ว แบบประสิ ท ธิ ภ าพใน การบริหารงานของพัฒนาการจังหวัด พบวาปจจัยที่ มีอิทธิพลรวม อยางมีนัยสำ�คัญทางสถิติในสามลำ�ดับ แรกไดแก การจัดการความรู ทัศนคติทางบวก และกา รมีสวนรวมในการบริหารงานตามลำ�ดับ สอดคลองกับ ปจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง ผลที่นาสนใจประการหนึ่งก็ คือ ปจจัยดานวัฒนธรรมองคการ จะสงผลทางออมมายัง ประสิทธิภาพในการบริหารงานของพัฒนาการจังหวัด ผานกลุมปจจัยดานจิตลักษณะในเชิงผกผัน (แตยังไมมี นัยสำ�คัญทางสถิติ) สรุปไดวาปจจัยดานสถานการณสง ผลตอประสิทธิภาพในการบริหารงานของพัฒนาการจัง หวัดสองปจจัย และปจจัยดานจิตลักษณะสงผลตอปร ะสิ ท ธิ ภ าพในการบริ ห ารงานของพั ฒ นาการจั ง หวั ด หนึ่งปจจัย ผลการวิเคราะหอิทธิพลในกลุมปจจัยดาน สถานการณทมี่ ตี อ ปจจัยดานจิตลักษณะแยกตามตัวแปร แลวพบวา ตัวแปรที่สงผลตอตัวแปรกลุมอื่นมากที่สุด ไดแกตวั แปรวัฒนธรรมองคการซึง่ สงอิทธิพลทางตรงตอ

การมุง อนาคต (b = 0.64) แรงจูงใจใฝสมั ฤทธิ์ (b= 0.68) เหตุผลเชิงจริยธรรม (b = 0.46) และ การมีทศั นคติทที่ าง บวก (b = 0.75) ในขณะที่ปจจัยดานการจัดการความ รูจ ะสงผลตอ เหตุผลเชิงจริยธรรม (b = 0.34) ตามลำ�ดับ (รายละเอียดตามภาพที่ 1) 3. ผลการสัมภาษณผูเชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบ ความเที่ยงตรงของ Model ที่ไดจากการวิเคราะห จาก การสัมภาษณ ผูเชี่ยวชาญทั้ง 6 ทานซึ่ง มีความเห็น สอดคลองกันวา ปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการ บริหารจัดการงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด มี จำ�นวน 3 ปจจัย คือ การมีสวนรวมในการบริหารงาน การจัดการความรู และทัศนคติทางบวก สวนปจจัย ที่ไมมีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการบริหารจัดการงาน พัฒนาชุมชน ของพัฒนาการจังหวัด มีจำ�นวน 7 ปจจัย คือ วัฒนธรรมองคการ หลักธรรม การมุงอนาคต แรง จูงใจใฝสัมฤทธิ์ เหตุผลเชิงจริยธรรม ความเชื่ออำ�นาจ ในตนและสุขภาพจิตที่เขมแข็ง ซึ่งสามารถสรุปไดวา

59


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

ภาพที่ 1. อิทธิพลรวมและความสัมพันธระหวางปจจัยดานสถานการณ และปจจัยดานจิตลักษณะ กับประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานพัฒนาชุมชน

ผลจากการสัมภาษณผูเชี่ยวชาญทั้ง 6 ทานมีความ สอดคลองกับ Model ที่ไดจากการวิเคราะหขอมูลทาง สถิติ (Path Analysis) ซึง่ ผูว จิ ยั จะไดน� ำ Model ทีไ่ ดจาก การวิเคราะหขอ มูลทางสถิติ และผานการสัมภาษณจาก ผูเชี่ยวชาญเพื่อนำ�ไปสูการสรางขอเสนอแนะตอไป การอภิปรายผลตามทฤษฎีปฏิสัมพันธนิยม ผลการวิเคราะหขอมูล พบวาปจจัยทางดาน สถานการณ ไดแก การสงเสริมการมีสวนรวมในการ บริหารงาน การจัดการความรูเปนปจจัยที่มีความสัม พันธกับการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพของพัฒนาการ จังหวัด ซึ่งมีความสอดคลองกับทฤษฎีปฏิสัมพันธนิยม ซึ่ ง ทฤษฎี ป ฏิ สั ม พั น ธ นิ ย มกล า วว า พฤติ ก รรมของ มนุษยมีสาเหตุไดถึง 4 ประเภท คือ 1.) ลักษณะ ของสถานการณ ป  จ จุ บั น 2.) จิ ต ลั ก ษณะเดิ ม ของ ผูกระทำ� 3.) จิตลักษณะรวมกับสถานการณ ที่เรียกวา ปฏิสัมพันธแบบกลไก (Mechanical interaction) และ สาเหตุประเภทที่สี่ คือ 4.) จิตลักษณะตามสถานการณ หรื อ ที่ เ รี ย กว า ปฏิ สั ม พั น ธ แ บบในตน (Organism interaction) เปนลักษณะทางจิตของบุคคลผูก ระทำ�ทีเ่ ปน ผลของปฏิสมั พันธระหวางสถานการณปจ จุบนั ของบุคคล กั บ จิ ต ลั ก ษณะเดิมของเขาทำ � ใหเกิดจิตลักษณะตาม

60

สถานการณ ในบุคคลนั้นขึ้น เชน ทัศนคติทางบวกตอ สถานการณนนั้ หรือตอพฤติกรรมทีจ่ ะทำ� ซึง่ จากผลการ วิจัยในครั้งนี้ ก็พบวา ปจจัยทางดานสถานการณไดแก การสงเสริมการมีสว นรวมในการบริหารงาน การจัดการ ความรู  เ ป น ป จ จั ย ที่ มี อิ ท ธิ พ ลต อ การบริ ห ารงานที่ มี ประสิทธิภาพของพัฒนาการจังหวัด การอภิปรายผลตามทฤษฎีตนไมจริยธรรม การอภิปรายผลในสวนนี้ จะเปนการอภิปราย ผลตามทฤษฎีตน ไมจริยธรรม ซึง่ ทฤษฎีตน ไมจริยธรรม กลาววา ทฤษฎีตน ไมจริยธรรมนีส้ ามารถแบงออกไดเปน 3 สวน ในสวนแรก คือ ดอกและผล ซึ่งเปรียบเสมือน พฤติกรรมของคนดี และพฤติกรรมของคนเกง ซึง่ เปนพ ฤติกรรมที่นาปรารถนา มีสาเหตุจากลักษณะทางจิต 2 กลุม กลุมแรกเปนสวนของลำ�ตนไม อันประกอบดวย จิตลักษณะ 5 ดาน คือ (1.) เหตุผลเชิงจริยธรรม (2.) ลักษณะมุงอนาคตควบคุมตน (3.) ความเชื่ออำ�นาจใน ตน (4.) แรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ (5.) ทัศนคติตอพฤติกรรม คานิยม และคุณธรรม (ที่เกี่ยวของกับพฤติกรรม หรือ สถานการณ นั้ น ) ส ว นสาเหตุ ท างจิ ต กลุ  ม ที่ ส องของ ตนไมจริยธรรม ประกอบดวย รากของตนไม มี 3 ดาน คือ (1.) สติปญญา (2.) ประสบการณทางสังคม และ


ปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ธัชฤทธิ์ ปนารักษ ​

(3.) สุขภาพจิต ซึง่ จากผลการวิจยั ในครัง้ นีไ้ ดใช ตัวแปร ทางจิตลักษณะที่มาจากทฤษฎีตนไมจริยธรรม จำ�นวน 6 ปจจัย โดยจำ�แนกเปนจิตลักษณะในสวนลำ�ตนของ ทฤษฎีตนไมจริยธรรม จำ�นวน 5 ดาน ไดแก ลักษณะ มุงอนาคตควบคุมตน แรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ เหตุผลเชิง จริยธรรม ทัศนคติทางบวก และความเชื่ออำ�นาจในตน สวนจิตลักษณะ ในสวนรากของทฤษฎีตนไมจริยธรรม จำ�นวน 1 ปจจัย ไดแก ปจจัยทางดานสุขภาพจิตที่เขม แข็ง ซึง่ ผลการวิเคราะหขอ มูล ในการวิจยั นี้ พบวา ปจจัย ในสวนลำ�ตนของทฤษฎีตนไมจริยธรรม จำ�นวน 1 ดาน ไดแก ทัศนคติทางบวก เปนปจจัยที่มีอิทธิพลตอการบริ หารงานที่มีประสิทธิภาพของพัฒนาการจังหวัด ขอเสนอแนะ ขอเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. นโยบายทางด า นการปรั บ ปรุ ง สภาพ​ แวดลอมในการบริหารงานของพัฒนาการจังหวัด ประกอบดวย 1.1 การสงเสริมใหสำ�นักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดทุกแหง ดำ�เนินการสงเสริมการมีสวนรวมในการ บริหารงานใหมาก ไดแก การมีสวนรวมของบุคลากร ทุกระดับ การมีสวนรวมของผูนำ�ชุมชน องคกรชุมชน และเครือขาย ในการดำ�เนินกิจกรรมพัฒนาชุมชนตางๆ จนเปนเปนวัฒนธรรมขององคการ 1.2 การสงเสริมใหสำ�นักงานพัฒนาชุมชน จั ง หวั ด ทุ ก แห ง เป น องค ก ารแห ง การเรี ย นรู  จั ด การ ความรู โดยอาจจัดใหมีการประกวด องคความรูของ สำ�นักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดทุกแหง เพือ่ เปนการสราง แรงจูงใจ ในการจัดองคความรู เพื่อใหเกิดกระบวนการ จัดการความรูที่ตอเนื่องและยั่งยืน 2. นโยบายดานการพัฒนาคุณลักษณะที่พึง ประสงคของพัฒนาการจังหวัด ประกอบดวย 2.1 ดำ�เนินการพัฒนาจิตลักษณะ ไดแก ทัศนคติทางบวก โดยอาจใชวธิ กี ารฝกอบรมแบบเขมขน เพื่อพัฒนาแสวงหาแรงขับเคลื่อนจากภายในตัวตนเอง โดยสามารถขอชุดการฝกและบทเรียนทางไกลไดจาก สภาวิจัยแหงชาติ ระบบพฤติกรรมไทย

2.2 ดำ�เนินการฝกอบรม พัฒนาการจังหวัด ให มีทักษะ ในดานการจัดการความรูในองคการ ตลอด จนวิธีการนำ�หลักธรรมทางศาสนามาประยุกตใชในการ บริหารงานพัฒนาชุมชน ขอเสนอแนะในการวิจัยครั้งตอไป เพื่อใหการศึกษา ปจจัยที่มีความเกี่ยวของกับ ประสิ ท ธิ ภ าพในการบริ ห ารงานระดั บ สู ง ทั้ ง ในภาค ราชการและเอกชน มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นผูศึกษา มีขอเสนอแนะดังนี้ 1. ควรไดมีการศึกษา ปจจัยตางๆ ที่เกี่ยวของ กับประสิทธิภาพในการบริหารงานของผูบ ริหารระดับสูง เพิ่ ม เติ ม เพื่ อ ค น หาตั ว แปรที่ มี ค วามเกี่ ย วข อ งกั บ ประสิทธิภาพในการบริหารงานของผูบริหารระดับสูง ใหเกิดความหลากหลาย 2. ควรไดมกี ารวิจยั เชิงทดลอง เพือ่ ศึกษาสาเหตุ ตางๆ เชน การชักจูงใหเปลี่ยนทัศนคติทางบวกตอ การบริหารงาน และศึกษาผลที่เกิดจากสาเหตุเหลานี้ ใหเจาะจงและละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น 3. ควรไดมีการศึกษา จากกลุมผูบริหารที่มี ลักษณะของประชากรที่มีจำ�นวนมาก เพื่อสามารถเก็บ ขอมูลจากกลุมตัวอยางที่มากขึ้น ซึ่งจะสามารถทำ�ให ใชสถิติวิเคราะหขอมูลที่ครอบคลุมและใหคำ�ตอบทาง วิชาการไดลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ขอเสนอแนะดานการนำ�ไปประยุกตใช 1. ขอคนพบจากรายงานการวิจยั ฉบับนี้ สามารถ นำ�ไปใชประโยชนเปนแบบวัดประสิทธิภาพการบริหาร จัดการของผูบริหารในระดับภูมิภาค และทองถิ่น ภาค เอกชน ภาคสถาบันการศึกษา เพื่อคนหาปจจัยเสี่ยง ในการบริหารงานของผูบริหารตอไป 2. ประเด็นสำ�คัญที่คนพบใหมในงานวิจัยนี้ คือ การนำ�เอา Knowledge Assets มาสกัดเปนแกนความรู (Core competency) ไดแก การสรางระบบควบคุม ปจจัยดานสถานการณภายนอก ซึ่งเรียกวาประสิทธิผล ไดแก นโยบาย กฎ ระเบียบคำ�สัง่ แนวคิด ทฤษฎี นำ�มา วางแผน (Plan) สูก ลยุทธเพือ่ นำ�ไปสูก ารปฏิบตั ิ (Do) คือ การนำ�มาแปลงสูการปฏิบัติ ก็จะไดผลงานเพียงแค

61


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

แคประสิทธิผล เปนปจจัยพลังสรางสรรค ไดแก ความรู ความชำ�นาญ เปนเทคโนโลยี สวนคนดี เปนประสิทธิภาพ (Efficiency) เปน ปจจัยประคับประคอง หนุนนำ�ความเกงไปในทางที่ อำ�นวยประโยชนอันพึงประสงค เปนการทำ�ใหสำ�เร็จ (Do the Right Things) เปนความพึงพอใจระยะยาว (Long run Impact) เชน แรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์ เหตุผลเชิง จริยธรรม คุณธรรม จริยธรรม ทั้งคนเกง (ประสิทธิผล) คนดี (ประสิทธิภาพ) จึงตองทำ�ใหเกิดขึ้น อยูในคนๆ เดียวกัน สรุปขอคนพบจากงานวิจยั ดังกลาวนี้ จึงเปนงาน วิจัยที่เนนประสิทธิภาพ เพื่อนำ�ไปตรวจสอบและแกไข ประสิทธิผล เพราะพัฒนาการจังหวัด โดยสวนใหญแลว จะเปนคนเกง คือทำ�งานแลวไดประสิทธิผล แตยัง ขาดการเป น คนดี คื อ ยั ง ขาดประสิ ท ธิ ภ าพ ดั ง นั้ น สำ�นักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตางๆ จึงควรพิจารณา นำ�แนวคิดดังกลาวนี้วางเปน กลยุทธในการขับเคลื่อน ยุทธศาสตรของกรมทัง้ 5 ดาน ดังนัน้ การสรางผูบ ริหาร ทุ ก ระดั บ เป น คนเก ง คนดี ให อ ยู  ใ นตั ว บุ ค คลคนๆ เดียวกันนั้น จึงตองเปนนโยบายสำ�คัญ เรงดวนและ เป น วิ ถี ข องนั ก บริ ห ารงานพั ฒ นาชุ ม ชน ทุ ก คนต อ ง ประพฤติปฏิบัติ

Out put สวนการสรางระบบการควบคุมภายใน ไดแก อารมณ จิตใจ หรือที่เราเรียกวา ประสิทธิภาพ คือ การมีสติ รูตัว มีปญญา รูคิด มีจิตสำ�นึกรับผิดชอบ โดยเฉพาะอยางยิ่งการตรวจสอบ (check) แกไข (Act) ดวยความเปนตัวตนทีแ่ ทจริงของตนเอง นัน่ คือ จริยธรรม ซึ่งเปนการใชวัฒนธรรมทางปญญาแกไขปญหา ก็จะ สามารถนำ�ไปประยุกตคือ การออกแบบ (Redesign) ทำ � ให ค นของกรมการพั ฒ นาชุ ม ชน เป น คนเก ง (ประสิทธิผล) และเปนคนดี (มีประสิทธิภาพ) ในคนๆ เดียวกัน เพือ่ บริหารราชการใหบรรลุผลตามภารกิจหลัก ในการพัฒนาชนบท 3 ประการ คือ 1. เสริมสรางความ เขมแข็งของชุมชน ดวยความสามารถ คิดได ทำ�เปน 2. การใชวัฒนธรรมทางปญญา แกไขปญหาดวยตนเอง มุงอนาคต ควบคุมตนเองได 3. เพื่อใหครอบครัวมี คุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข สรุปวา ประสิทธิผล (Effectiveness) คือ การ ลงมือทำ�ตามสิ่งที่คิดวาถูกตอง ทำ�ตามที่ไดรับคำ�สั่ง ใหบรรลุผลตามที่กำ�หนดไว แตไมตรงเปา ไมคำ�นึงถึง ผลสัมฤทธิ์ (Do the Things Right) คือวางแผน (Plan) แลวทำ�ทันที (Do) จึงเกิดผลที่เรียกวา ทำ�ใหเสร็จๆ ไป สุกเอา เผากิน (Immediately Results) เปนคุณสมบัติ ของคนเกง เชน ชางไมลงมือ ตอกตะปู แตไมรูเรื่อง การออกแบบเป น สถาปนิ ก ดั ง นั้ น คนเก ง จึ ง เป น 

62






ปจจัยที่มีอิทธิพลตอประสิทธิภาพการบริหารงานพัฒนาชุมชนของพัฒนาการจังหวัด ธัชฤทธิ์ ปนารักษ ​

เอกสารอางอิง ภาษาไทย กรมการพัฒนาชุมชน. (2550). คำ�บรรยายลักษณะงานเชิงยุทธศาสตร. (เอกสารโรเนียวเย็บเลม). . (2552). การประเมินผลตามคำ�รับรองปฏิบัติราชการภายใน (Internal Performance Agreement : IPA) ป 2552. (เอกสารโรเนียวเย็บเลม). . (พฤศจิกายน 2553). การขับเคลื่อนคานิยมองคการ. วารสารพัฒนาชุมชน 49 (10). โกศล มีคุณ และณรงค เทียมเมฆ. (2543). “ประสิทธิผลของการฝกใชเหตุผลเชิงจริยธรรมในครู” ใน เอกสาร ประกอบการประชุมปฏิบัติการ (รุนที่ 3 ครั้งที่ 2) เรื่อง “การพัฒนาโครงการวิจัยและระเบียบการวิจัย ระบบพฤติกรรมไทยในระยะฟนฟูชาติ.” กรุงเทพฯ: สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแหงชาติ. ชาย สัญญาวิวัฒน และสัญญา สัญญาวิวัฒน. (2551). การบริหารจัดการแนวพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพแหง จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. ดวงเดือน พันธุมนาวิน และคณะ. (2540). รายงานการวิจยั ความเชือ่ และการปฏิบตั ทิ างพุทธศาสนาของคนไทย : การปลูกฝงอบรมและคุณภาพชีวิต. กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2543 ข). ทฤษฎีตนไมจริยธรรม การวิจัยและพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพแหง จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. _____________ . (2543 ก). ระเบียบวิธวี จิ ยั ทางสังคมศาสตร 2 : เอกสารประกอบการบรรยายวิชา พค. 605. กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. _____________ . (2544). ทัศนคติ คานิยม และพฤติกรรมทางสังคม. กรุงเทพฯ: คณะพัฒนาสังคม สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. ดวงเดือน พันธุมนาวิน, งามตา วนินทานนท และคณะ. (2536). ลักษณะทางจิตและพฤติกรรมของนักเรียนวัย รุนที่อยูในสภาวะเสี่ยงในครอบครัวและทางปองกัน. กรุงเทพฯ: สำ�นักงานคณะกรรมการสงเสริมและ ประสานงานเยาวชนแหงชาติ. ดวงเดือน พันธุมนาวิน, อรพินทร ชูชม และงามตา วนินทานนท. (2528). ปจจัยทางจิตวิทยานิเวศที่เกี่ยวกับการ อบรมเลี้ยงดูเด็กของมารดาไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. นวลละออ สุภาผล. (2534). ผลการ​ฝก​ทักษะ​ในการ​รับ​วัฒนธรรม​ที่มี​ตอคุณลักษณะ​ของนักเรียน​นาย​รอย​ ตำ�รวจ. ปริญญานิพนธการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. นิรนั ดร จงวุฒเิ วศย. (2527). กลวิธี แนวทาง วิธกี ารสงเสริมการมีสว นรวมของประชาชนในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพศักดิ์โสภา. พระธรรมสิงหบุราจารย (หลวงพอจรัญ ฐิตธัมโม วัดอัมพวัน จ.สิงหบรุ )ี . (2541). พุทโธโลยี. กรุงเทพฯ: ธุรกิจกาวหนา. วนิดา ชูวงษ. (2542). คูมือพัฒนาตนเองในการพัฒนาผูบริหาร : โดยวิธีการ Mentoring. กรุงเทพฯ: สถาบัน พัฒนาขาราชการพลเรือน สำ�นักงาน ก.พ. วรนุช เนตรพิศาลวนิช. (2538). การศึกษาวัฒนธรรมองคการของฝายการพยาบาล โรงพยาบาลรัฐบาล กรุ ง เทพมหานคร. วิ ท ยานิ พ นธ ป ริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต สาขา​วิ ช าการ​บ ริ ห าร​ก ารพยาบาล (พย.ม.) จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

63


วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2555

สัญญา สัญญาวิวัฒน. (2549). สังคมวิทยาองคการ. พิมพครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. สุนทร วงศไวศยวรรณ. (2540). วัฒนธรรมองคการ : แนวคิด งานวิจัยและประสบการณ. กรุงเทพฯ: สำ�นัก พิมพโฟรเพซ. ภาษาอังกฤษ Belsley, David A. (1991). Conditioning diagnostics : collinearity and weak data in regression. New York: John Wiley. Gutknecht, D. (1982). Conceptualization culture in organizational theory. California: Sociologist. Hair, Joseph F., Jr. ... [et al.]. (1995). Multivariate data analysis with readings. 4th ed. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice Hall. Hellrigel, J. H. (1995). Organization behavior. 7th ed. Minneapolis: West Publishing. Kohlberg, L. (1976). “Moral stages and moralization.” In Lickona, T., ed. Moral development and behavior. New York, N.Y.: Holt Rinehart & Winsto. McClelland, D. C. and Winter, D. G. (1971). Motivating economic achievement : Accelerating economic development through psychological training. New York: The Free Press. Mischel, W. (1974). “Process in delay of gratification.” In L. Berkowitz, ed. Advances in experimental social psychology vol. 7. New York: Academic Press. Piaget, Jean. (1932). The moral judgment of the child. London: K. Paul, Trench, Trubner & Co. ltd. Senge, P. (1990). The fifth discipline fieldbook : strategies and tools for building a learning organization. London: Century Business.

64


​ราย​ชื่อผูทรง​คุณวุฒิอานบทความวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร​ ปที่​32​ฉบับที่​1​(มกราคม​-​มิถุนายน​พ.​ศ.​255​5) กิ่งพร​ทองใบ,​รองศาสตราจารย​ดร.​ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เกยูร​วงศกอม,​ผูชวยศาสตราจารย​ดร. หลักสูตรการศึกษาพิเศษ คณะครุศาสตร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ดวงเงิน​​ซื่อภักดี,​ผูชวยศาสตราจารย​ดร. สาขา วชิ า การจัดการ การ ทอ งเทีย่ ว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขต สารสนเทศ เพชร บรุ ี บัวพันธ​​พรหมพักพิง,​รองศาสตราจารย​ดร. สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน ปกรณ​​สิงหสุริยา,​ผูชวยศาสตราจารย​ดร.​​ ภาควิชามนุษยศาสตร คณะสังคมศาสตรและมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล ประภาวดี​​กุศลรอด,​ผูชวยศาสตราจารย​ดร.​ ​ ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยรามคำาแหง ปรียานุช​​อภิบุณโยภาส,​รองศาสตราจารย​ดร.​ ​ ภาควิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร พวา​พันธุเมฆา,​รองศาสตราจารย ภาควิชาบรรณารักษศาสตรและสารสนเทศศาสตร คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิริยะ​ผลพิรุฬห,​รองศาสตราจารย​ดร. ​ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร ภูพายัพ​ยอดมิ่ง,​รองศาสตราจารย​ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม มาลี​​กาบมาลา,​รองศาสตราจารย​ดร. สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน วรรณา​แสงอรามเรือง,​รองศาสตราจารย​ดร.​ ​ ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย วศิน​เหลี่ยมปรีชา,​ผูชวยศาสตราจารย​ดร. ​ สาขาวิชาคอมพิวเตอรธุรกิจ ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร วารีรัตน​แกวอุไร,​รองศาสตราจารย​ดร.​ ​ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร วิชญานัน​รัตนวิบูลยสม,​ผูชวยศาสตราจารย​ดร. ​ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร

23


ศรัณย ชูเกียรติ, รองศาสตราจารย ภาควิชาการบัญชี คณะพาณิชยศาสตรและการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ศิริพันธ ศรีวันยงค, ผูชวยศาสตราจารย ดร. ภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สมพงษ อำ�นวยเงินตรา, ผูชวยศาสตราจารย ดร. ภาควิชาการบริหารอุตสาหกรรมการทองเที่ยว วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล สมสุข หินวิมาน, รองศาสตราจารย ดร. สาขาวิทยุและโทรทัศน คณะวารสารศาสตรและสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร สิริกร กาญจนสุนทร, รองศาสตราจารย สาขาพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร สุภัควดี อมาตยกุล, ผูชวยศาสตราจารย ดร. ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สุวิชัย โกศัยยะวัฒน, รองศาสตราจารย ดร. ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยบูรพา 

24






รายละเอียดการเตรียมบทความเพื่อสงตีพิมพ วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ 1. วัตถุประสงคการจัดพิมพ

เพื่อเผยแพรผลงานทางวิชาการสาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ของนักวิชาการทั้งภายในและ ภายนอกมหาวิทยาลัย เปนสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเรียนรูทางวิชาการในสาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และ ศิลปะ และสงเสริมใหนักวิชาการและผูสนใจไดนำ�เสนอผลงานวิชาการในรูปบทความวารสาร

2. กำ�หนดออก

ปละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)

3. บทความที่รับตีพิมพ

1. บทความที่รับตีพิมพ ไดแก 1. บทความวิชาการ 2. วิทยานิพนธปริทัศน 3. บทความวิจัยจากงานวิจัย หรือวิทยานิพนธตนฉบับ 4. บทความปริทัศน 5. บทความพิเศษ 2. เปนผลงานใหมที่ยังไมเคยพิมพเผยแพรในสื่อใดๆ มากอน 3. ความยาวไมเกิน 15 หนา 4. สงตนฉบับ 3 ชุด พรอมไฟลขอมูลที่บันทึกลงแผน CD-ROM 1 แผน

4. การสงบทความ

1. สงเอกสารตนฉบับ 3 ชุด และ CD-ROM พรอมแบบฟอรมขอสงบทความเพื่อตีพิมพ ทางไปรษณีย มาที่ คุณปรานี วิชานศวกุล (บรรณาธิการบริหารวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร) 44/114 หมูบานเลิศอุบล ซอยพหลโยธิน 52 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 2. เมื่อไดรับบทความแลว บรรณาธิการจะแจงกลับไปยังผูเขียนบทความใหทราบทางใดทางหนึ่ง 3. ทุ ก บทความที่ ตี พิ ม พ จะได รั บ การกลั่ น กรองจากกองบรรณาธิ ก าร และผ า นการพิ จ ารณาจาก ผูทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้น ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอยางนอย 2 คน

5. ขอกำ�หนดการเตรียมตนฉบับ

1. ขนาดกระดาษ A4 พิมพดวย Microsoft Word for Window 2. ระยะหางจากขอบบนและซายของกระดาษ 1.25 นิ้ว จากขอบลางและขวาของกระดาษ 1 นิ้ว 3. ตัวอักษร ใชอักษรโบรวาลเลีย นิว (Browallia New) • ชื่อเรื่อง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 16 พอยท กลางหนา ตัวหนา • ชื่อผูเขียน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาด 14 พอยท ชิดขวา ตัวหนา • บทคัดยอภาษาไทยและภาษาอังกฤษ - ชื่อ “บทคัดยอ” และ “Abstract” ขนาด 14 พอยท ชิดซาย ตัวหนา - รายละเอียดบทคัดยอ ขนาด 14 พอยท ชิดขอบซาย-ขวา ตัวธรรมดา - คำ�สำ�คัญ (Keyword) ขึ้นบรรทัดใหม ขนาด 14 พอยท ชิดซาย ตัวหนา สวนขอความของ คำ�สำ�คัญเปนตัวธรรมดา


• บทความ - หัวขอใหญ เวน 1 บรรทัด ชิดซาย ขนาด 14 พอยท ตัวหนา - หัวขอรอง ยอหนา 0.5 นิ้ว ขนาด 14 พอยท ตัวหนา - ขอความ ยอหนา 0.5 นิ้ว ชิดขอบซาย-ขวา ตัวธรรมดา - ใชตัวเลขอารบิคเทานั้น • รายละเอียดผูเขียนบทความ ประกอบดวย - ที่อยู ตำ�แหนงทางวิชาการ หนวยงานที่สังกัด อีเมลและโทรศัพทที่ติดตอไดสะดวก

6. การอางอิง 1. การอางอิงในเนื้อหาใชระบบนาม-ป (Name-year Reference) 1.1 การอางอิงในเนื้อหาจากสื่อทุกประเภท ลงในรูปแบบ “ชื่อผูเขียน ปพิมพ : เลขหนาที่ปรากฏ” อยูใน เครื่องหมายวงเล็บเล็ก 1.2 ผูเขียนคนไทยลงชื่อ-สกุล สวนผูเขียนชาวตางชาติลงเฉพาะนามสกุล ดังตัวอยาง - โสเกรติสย้ำ�วาการอานสามารถจุดประกายไดจากสิ่งที่นักอานรูอยูแลวเทานั้นและความรูที่ไดรับ มาไมไดมาจากตัวหนังสือ (แมนเกล 2546 : 127) - สุมาลี วีระวงศ (2552 : 37) กลาววา การที่ผูหญิงจะไปสื่อชักผูชายมาบานเรือนของตัวเองทั้งๆ ที่เขายัง ไมไดมาสูขอนั้น เปนเรื่องผิดขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี หมายเหตุ: ทุกรายการที่อางอิงในเนื้อหา ตองปรากฏในรายการบรรณานุกรมเสมอ 2. บรรณานุกรม (Bibliography) - การเขียนบรรณานุกรมใชรูปแบบของ APA (American Psychology Association) ดังตัวอยางตามชนิด ของเอกสารดังนี้ 2.1 หนังสือ ชื่อ-สกุลผูแตง. \\ (ปพิมพ). \\ ชื่อหนังสือ. \\ ครั้งที่พิมพ. \\ เมืองที่พิมพ: \ สำ�นักพิมพ. ตัวอยาง แมนเกล, อัลแบรโต. \\ (2546). \\ โลกในมือนักอาน. \\ พิมพครั้งที่ 4. \\ กรุงเทพฯ: \ พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร. สุมาลี วีระวงศ. \\ (2552). \\ วิถีชีวิตไทยในลิลิตพระลอ. \\ พิมพครั้งที่ 3. \\ กรุงเทพฯ: \ สถาพรบุคส. Greenthal, Kathryn, Kozal, Paula M., and Ramirez, Jan Seidler. \\ (1986). \\ American figurative sculpture in the Museum of Fine Arts, Boston. \\ 2nd ed. \\ Boston: \ Museum of Fine Arts. Tidd, J., Bessant, J. and Pavitt, K. \\ (2001). \\ Managing innovation. \\ 2nd ed. \\ Chichester: \ John Wiley and Sons. 2.2 บทความวารสาร ชื่อ-สกุลผูเขียน. \\ (ป) \\ ชื่อบทความ. \\ ชื่อวารสาร \ ปที่, \ (ฉบับที่) \ : \ หนาที่ปรากฏบทความ. ตัวอยาง ผอง เซงกิ่ง. \\ (2528). \\ ศิลปกรรมอันเนื่องกับไตรภูมิ. \\ ปาจารยสาร 12 (2) \ : \ 113-122. Shani, A., Sena, J. and Olin, T. \\ (2003). \\ Knowledge management and new product development: a study of two companies. \\ European Journal of Innovation Management 6 (3) \ : \ 137-149.


2.3 วิทยานิพนธ ชื่อผูเขียนวิทยานิพนธ. \\ (ปการศึกษา). \\ ชื่อวิทยานิพนธ. \\ ระดับปริญญา \ สาขาวิชาหรือภาควิชา \ คณะ \ มหาวิทยาลัย. ตัวอยาง ปณิธิ อมาตยกุล. \\ (2547). \\ การยายถิ่นของชาวไทใหญเขามาในจังหวัดเชียงใหม. \\ วิทยานิพนธปริญญา ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม. วันดี สนติวฒ ุ เิ มธี. \\ (2545). \\ กระบวนการสรางอัตลักษณทางชาติพนั ธุข องชาวไทใหญชายแดนไทย-พมา กรณีศกึ ษาหมูบ า นเปยงหลวง อำ�เภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม. \\ วิทยานิพนธปริญญาสังคมวิทยา และมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร. 2.4 สื่ออิเล็กทรอนิกสตางๆ 2.4.1 หนังสือออนไลน (online / e-Book) ชือ่ ผูเ ขียน. \\ (ปทพี่ มิ พ) \\ ชือ่ เรือ่ ง. \\ [ประเภทของสือ่ ทีเ่ ขาถึง]. \\ สืบคนเมือ่ \\ วัน \ เดือน \ ป. \\ จาก \ แหลงขอมูล หรือ URL สรรัชต หอไพศาล. \\ (2552). \\ นวัตกรรมและการประยุกตใชเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในสหัสวรรษใหม : กรณีการจัดการเรียนการสอนผานเว็บ (Web-Based Instruction : WBI). \\ [ออนไลน]. \\ สืบคน เมื่อ 1 พฤษภาคม 2553. \\ จาก http://ftp.spu.ac.th/hum111/main1_files. De Huff, E. W. \\ (2009). \\ Taytay’s tales: traditional Pueblo Indian tales. \\ [Online]. \\ Retrieved January 8, 2010. \\ from http://digital.library.upenn.edu/women/dehuff/taytay/taytay.html. 2.4.2 บทความจากวารสารออนไลน (online / e-journal) Author, A. A., & Author, B. B. \\ (Date of publication). \\ Title of article. \\ Title of Journal \\ volume (number) : pages. \\ [Online]. \\ Retrieved …month date, year. \\ from….source or URL…. ตัวอยาง Kenneth, I. A. \\ (2000). \\ A Buddhist response to the nature of human rights. \\ Journal of Buddhist Ethics 8 (3) : 13-15. \\ [Online]. \\ Retrieved March 2, 2009. \\ from http://www.cac.psu.edu/jbe/ twocont.html. Webb, S. L. \\ (1998). \\ Dealing with sexual harassment. \\ Small Business Reports 17 (5) : 11-14. \\ [Online]. \\ Retrieved January 15, 2005. \\ from BRS, File: ABI/INFORM Item: 00591201. 2.4.3 ฐานขอมูล ธนาคารแหงประเทศไทย. \\ (2550). \\ แรงงานตางดาวในภาคเหนือ. \\ [ออนไลน]. \\ สืบคนเมื่อ 2 กันยายน 2550. \\ จาก http://www.Bot.or.th/BotHomepage/databank /RegionEcon/ northern /public/Econ/ch 7/42BOX04. HTM. Beckenbach, F. and Daskalakis, M. \\ (2009). \\ Invention and innovation as creative problem solving activities: A contribution to evolutionary microeconomics. \\ [Online]. \\ Retrieved September 12, 2009. \\ from http:www.wiwi.uni-augsburg.de/vwl/hanusch/emaee/papers/Beckenbach_neu.pdf.


สงบทความไดที่ :

คุณปรานี วิชานศวกุล (บรรณาธิการบริหารวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร) 44/114 หมูบานเลิศอุบล ซอยพหลโยธิน 52 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 โทร. 080-5996680

ติดตอสอบถามไดที่ :

รศ.ระเบียบ สุภวิรี คุณปรานี วิชานศวกุล

E-mail: dawgrabiab107@gmail.com E-mail: pranee_aon1@hotmail.com

ผูเขียนบทความสามารถดาวนโหลดแบบฟอรมขอสงบทความเพื่อตีพิมพ ไดที่ http: //www.surdi.su.ac.th หรือ http://www.journal.su.ac.th


แบบฟอรมขอสงบทความเพื่อตีพิมพ วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร์ และศิลปะ เรียน กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร มนุษยศาสตร และศิลปะ ขาพเจา ​ นาย ​ นาง ​ นางสาว ชื่อ-สกุล ภาษาไทย ....................................................................................................................... ภาษาอังกฤษ................................................................................................................. ตำ�แหนงทางวิชาการ ​  ศาสตราจารย  รองศาสตราจารย  ผูชวยศาสตราจารย  อาจารย ​  อืน่ ๆ (โปรดระบุ)......................................................................................................................... สถานที่ทำ�งาน .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................. โทรศัพทที่ทำ�งาน.......................................................โทรศัพทมือถือ.................................................... โทรสาร......................................................................อีเมล................................................................... มีความประสงคขอสงบทความ เรื่อง ภาษาไทย............................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ภาษาอังกฤษ.......................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... กองบรรณาธิการสามารถติดตอขาพเจาไดที่  สถานที่ทำ�งาน ตามที่ระบุไวขางตน  สถานที่อยูที่ติดตอไดสะดวกรวดเร็ว ดังนี้ ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. โทรศัพทที่ทำ�งาน.......................................................โทรศัพทมือถือ.................................................... โทรสาร......................................................................อีเมล................................................................... ลงชื่อ.................................................................... (...........................................................) วัน-เดือน-ป........................................................... สงใบสมัคร พรอมตนฉบับ 3 ชุด และไฟลขอมูลที่บันทึกลงแผน CD-ROM 1 แผน มาที่ คุณปรานี วิชานศวกุล (บรรณาธิการบริหารวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร) 44/114 หมูบานเลิศอุบล ซอยพหลโยธิน 52 ถนนพหลโยธิน แขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220 เฉพาะเจาหนาที่ วันทีร่ บั เอกสาร............................................................ลงชือ่ ผูร บั เอกสาร.............................................................


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.