1
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 ชื่อสถาบันอุดมศึกษา วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ / ภาควิชาสังคมศาสตร์ หมวดที่ 1. ข้อมูลทั่วไป
1. รหัสและชื่อหลักสูตร ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Hotel and Lodging Business Management 2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต (การจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก) ชื่อย่อ : ศศ.บ. (การจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก) ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Arts (Hotel and Lodging Business Management) ชื่อย่อ : B.A. (Hotel and Lodging Business Management) 3. วิชาเอก (ถ้ามี) การจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก 4. จานวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร เรียนไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิต 5. รูปแบบของหลักสูตร 5.1 รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรีตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 5.2 ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
2 5.3 การรับเข้าศึกษา รับเฉพาะนักศึกษาไทยหรือนักศึกษาแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้ หรือนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้ 5.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 5.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สาเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว 6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร 6.1 เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 ปรับปรุงจากหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการโรงแรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549 6.2 เริ่มใช้ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป 6.3 คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตร พิจารณาหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ 5/2553 เมื่อวันที่ 20 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 6.4 คณะกรรมการสภาวิชาการ พิจารณาหลักสูตรในการประชุม รอบที่ 1 ครั้งที่ 5/2554 เมื่อวันที่ 5 เดือนเมษายน พ.ศ. 2554 รอบที่ 2 ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 11 เดือนมกราคม พ.ศ. 2555 6.5 สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุม รอบที่ 1 ครั้งที่ 4/2554 เมื่อวันที่ 27 เดือนเมษายน พ.ศ. 2554 รอบที่ 2 ครั้งที่ 3/2555 เมื่อวันที่ 28 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พัก ปี พ.ศ. 2556 8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสาเร็จการศึกษา 8.1 ผู้ประกอบการและพนักงานในธุรกิจที่พักและธุรกิจบริการอาหารประเภทต่าง ๆ 8.2 ผู้ประกอบการและพนักงานในธุรกิจประชุมสัมมนาและนิทรรศการ 8.3 ผู้ประกอบการและพนักงานในธุรกิจสปาและสุขภาพ 8.4 พนักงานในธุรกิจการบิน
3 9. ชื่อ นามสกุล เลขประจาตัวบัตรประชาชน ตาแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ชื่อ-นามสกุล เลขประจาตัว ประชาชน 1.นางสาวอลิสา ฤทธิชัยฤกษ์
2.นายสุวรรณฤทธิ์ วงศ์ชะอุ่ม
วุฒิการศึกษา/สถาบัน
ปีที่สาเร็จ การศึกษา
M.Sc. (Tourism and Hospitality Management) Bournemouth University, England ศศ.บ. (ภาษาไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร
2002
ตาแหน่ง ทาง วิชาการ อาจารย์
2539
ปร.ด. (การจัดการมรดกทาง 2554 สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว) มหาวิทยาลัยศิลปากร M.A. (Tourism Management) 2545 Assumption University B.B.A. (Hotel Management) 2540 Assumption University
อาจารย์
ผลงานทางวิชาการ/การ วิจัย/การแต่งตารา - ผู้วิจัยร่วมโครงการวิจัย “ การศึกษาผลกระทบของ โครงการ Unseen in Thailand 1” (ได้รับทุน สนับสนุนจากวุฒิสภา) - โครงการวิจัยวิถีชีวิต ชุมชนเขตดุสิต “กรุงเทพมหานครใต้ร่มพระ โพธิ์สมภาร” ชุมชนซอยสี คามและชุมชนเสริมสุข - การวิจัย “ปัจจัยส่วน บุคคลของนักท่องเที่ยวมี อิทธิพลต่อการเข้าชมพระที่ นั่งวิมานเมฆ” - บทความทางวิชาการ “โรงแรมที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะในฐานะที่พักและ แหล่งท่องเที่ยวทาง วัฒนธรรม” - บทความวิจัย “ทุนทาง วัฒนธรรมเพื่อการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ ชุมชนท่าคา อาเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
4 10. สถานที่จัดการเรียนการสอน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร 11. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จาเป็นต้องนามาพิจารณาในการวางแผน หลักสูตร 11.1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 11.1.1 ความสาคัญของรายได้ของประเทศที่เกิดจากอุตสาหกรรมบริการ โดยเฉพาะในส่วนของที่พักธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม มีบทบาทสูงมากทั้งในปัจจุบันและ แนวโน้มในอนาคต 11.1.2 การกระจายรายได้ที่เกิดจากธุรกิจที่พักและอาหารมีอัตราการขยายสู่ ท้องถิ่นในเชิงลึกและกว้าง 11.1.3 การจ้างแรงงานที่เกิดจากธุรกิจที่พักและร้านอาหารมีอัตราสูงมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจบริการที่ต้องอาศัยฝีมือและแรงงานคนในการให้บริการ 11.1.4 การแข่งขันทั้งในประเทศและระหว่างประเทศของภาคบริการในธุรกิจที่พัก และร้านอาหารต้องการแรงงานที่มีความรู้ ทักษะวิชาชีพ และคุณภาพ 11.1.5 นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และแนวคิดการ ท่องเที่ยวสร้างสรรค์ (Creative Tourism) ส่งผลให้มีความจาเป็นในการจัดการรูปแบบการ บริการด้านที่พักและอาหารให้สอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว 11.1.6 การเปิดเสรีทางการค้าของกลุ่มประเทศอาเซียน ในปี 2015 (ASEAN Vision 2015) ที่สามารถมีการแลกเปลี่ยนฝีมือแรงงานโดยเสรี จึงมีความจาเป็นต้องเร่งผลิต แรงงานในภาคบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานนานาชาติ 11.2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม 11.2.1 การแลกเปลี่ยนและเคลื่อนย้ายทางวัฒนธรรมผ่านทางการท่องเที่ยวและ การบริการด้านที่พักและธุรกิจอาหารที่เติบโตขึ้น จาเป็นต้องมีการส่งเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างมวลชนในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 11.2.2 การใช้การพัฒนาทางการท่องเที่ยวและการบริการด้านที่พักและอาหาร เป็นปัจจัยในการดารงรักษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของไทย 11.2.3 แนวคิดใหม่สาหรับการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวที่ไร้ความเร่งรีบ (Slow Tourism) การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomic Tourism) และอื่น ๆ ที่เป็นตัว กาหนดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการให้บริการด้านที่พักและอาหารเครื่องดื่มให้ตอบรับกับ แนวความคิดการท่องเที่ยวในปัจจุบัน
5 11.2.4 สถานการณ์การทิ้งถิ่นฐานจากชนบทสู่เมือง การพัฒนาด้านธุรกิจที่พัก และร้านอาหารทาให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว 11.2.5 การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยวและ ธุรกิจบริการในท้องถิ่นของตนเอง 11.2.6 ความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อสร้างแนวทางในการแลกเปลี่ยนแรงงานที่ มีมาตรฐานด้านการบริการ 12. ผลกระทบจาก ข้อ 11.1 และ 11.2 ต่อการพัฒนาหลักสูตรและความเกี่ยวข้องกับพันธ กิจของสถาบัน 12.1 การพัฒนาหลักสูตร 12.1.1 หลักสูตรต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 12.1.2 ต้องสร้างหลักสูตรให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศ 12.1.3 หลักสูตรต้องมีแนวทางในการที่จะให้ผู้จบการศึกษาเป็นที่ต้องการของ ธุรกิจโรงแรม ที่พักและการท่องเที่ยว 12.1.4 หลักสูตรต้องพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการค้นคว้า ทาวิจัยเพื่อ พัฒนาประเทศและสังคม 12.1.5 หลักสูตรต้องได้รับการพิจารณาให้มีลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น 12.1.6 หลักสูตรต้องพัฒนาให้ผู้เรียนมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความรู้ที่เป็น มาตรฐาน มีภูมิปัญญาท้องถิ่น แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ และดารงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ 12.2
ความเกี่ยวข้องกับพันธกิจของสถาบัน 12.2.1 มหาวิทยาลัยต้องผลิตบัณฑิตที่มีบุคลิกภาพและมาตรฐานเป็นที่ต้องการ ของสังคมในประเทศและความต้องการระดับนานาชาติ 12.2.2 มหาวิทยาลัยต้องรับผิดชอบในการระดมสรรพกาลังเชิงวิชาการเพื่อ สนับสนุนให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนทุกด้าน 12.2.3 มหาวิทยาลัยต้องเป็นหน่วยงานที่เป็นผู้นาเชิงวิชาการและการวิจัยเพื่อ การพัฒนาสังคมโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมหรือชุมชน
6 12.2.4 มหาวิทยาลัยต้องพัฒนาให้มีการแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการในระหว่าง คณาจารย์และผู้เรียนกับในระหว่างสถาบันในต่างประเทศและนานาชาติ เพื่อปรับระดับมาตรฐาน การศึกษาให้เป็นสากลและแลกเปลี่ยนแรงงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 13. ความสัมพันธ์ (ถ้ามี) กับหลักสูตรอื่นที่เปิดสอนในคณะ/ภาควิชาอื่นของสถาบัน 13.1 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชา/หลักสูตรอื่น - กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป ได้แก่ กลุ่มวิชาภาษา กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - กลุ่มวิชาเฉพาะ ได้แก่ วิชาพื้นฐานวิชาชีพ วิชาเฉพาะบังคับและวิชาเฉพาะเลือก 13.2 กลุ่มวิชา/รายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนให้ภาควิชา/หลักสูตรอื่นต้องมาเรียน ทุกรายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะด้าน นักศึกษาหลักสูตรอื่นสามารถเรียนเป็นวิชา เลือกเสรี ยกเว้นรายวิชาที่มีวิชาที่บังคับก่อน นักศึกษาจาเป็นต้องลงทะเบียนในรายวิชาบังคับ ก่อนหน้า 13.3 การบริหารจัดการ 13.3.1 ให้มีการปรึกษาหารือระหว่างผู้สอนรายวิชาที่สอนโดยคณะ /ภาควิชา / หลักสูตรอื่น เพื่อให้ได้เนื้อหา ความรู้และทักษะทางการจัดการโรงแรมและธุรกิจที่พักตามความ ต้องการของหลักสูตร 13.3.2 สารวจความต้องการเชิงวิชาชีพจากผู้ประกอบการโรงแรมและที่พัก ธุรกิจ ให้บริการอาหารและเครื่องดื่มร่วมกันกับผู้สอนรายวิชาที่สอนโดยคณะ/ภาควิชา/หลักสูตรอื่น 13.3.3 จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทบทวนความต้องการหรือเงื่อนไขการเรียนรู้และ ทักษะวิชาชีพเป็นระยะ เพื่อแสวงหาลู่ทางในการปรับปรุงรายวิชาร่วม