นิตยสารธรรมะ : มุม : Vol.2 No.4 : ISSN 1906-2613 เดือนเมษายน 2554 : 3D Issue : สุวชิ านนท์ รัตนภิมล โลกใบที่หมุนช้า : ลักขณา ปันวิชัยVs.สมณะจันทเสฏโฐ พระกับสื่อไปด้วยกันไม่ได้จริงหรือ : Made in Chiang Mai : แจกฟรี !!
บ้างสืบสานก้าวหน้ามีอนาคต บ้างรับบทยโสโก้ผยอง ทำ�อะไรที่ไหนใจลำ�พอง ลงท้ายต้องอาสัญขั้นมอดม้วย วิมล เจือสันติกุลชัย
เจ้าของ มูลนิธิหยดธรรม ประธานมูลนิธิ พระถนอมสิงห์ สุโกสโล รองประธานมูลนิธิ พระมหาไกรวรรณ ชินทตฺติโย ที่ปรึกษามูลนิธิ ประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข กรรมการ พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชญญู กรรมการ พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป กรรมการ วิชัย ชาติแดง กรรมการ ศิริพรรณ เรียบร้อยเจริญ กรรมการ ศิริพร ดุรงค์พิสิษฐุ์กุล พระถนอมสิงห์ สุโกสโล บรรณธิการผู้พิมพ์โฆษณา บรรณธิการที่ปรึกษา อลิชา ตรีโรจนานนท์ บรรณาธิการ พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป กองบรรณาธิการ วรวรรณ กิติศักดิ์ ปิยตา เผ่าต๊ะใจ ที่อยู่มูลนิธิ ตู้ป.ณ. 54 ปณ.แม่ริม เชียงใหม่ 50180 โทร : 053-044-220 www.dhammadrops.org บรรณาธิการศิลปะ Rabbithood Studio (www.rabbithood.net) ฝ่ายศิลป์ พัชราภา อินทร์ช่าง ช่างภาพ ศิริโชค เลิศยะโส ภานุวัฒน์ จิตติวุฒิการ สมคิด ใจศรี พิสูจน์อักษร พระมหาวิเชียร วชิรเมธี ร่วมบุญจัดส่ง บริษัท เคล็ดไทย จำ�กัด117-119 ถ.เฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพนะนคร กรุงเทพฯ 10200 http://www.kledthaishopping.com ร่วมบุญจัดส่ง บริษัท ดอคคิวเมนนท์ พาเซล เอ็กซ์เพรส จำ�กัด (DPEX) ต่างประเทศ 60 ซอยอารีย์ 5 เหนือ ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 http://www.dpex.com Special thanks พระพรหมคุณากรณ์ ป.อ.ปยุตโต/ พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร/ พระมาโนช ธมฺมครุโก/ สุลักษณ์ ศิวรักษ์/ สุรสีห์ โกศลนาวิน/ ถนอมวรรณ โกศลนาวิน/ อุดม แต้พานิช/ ชาลี ประจงกิจกุล ออกแบบปก รบฮ. นางแบบ ปณิตา ตุวานนท์ ถ่ายภาพปก ชยพัทธ แก้วกมล ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด กู๊ด-พริ้นท์ พริ้นติ้ง พิมพ์ท่ี 4/6 ซอย 5 ถ. ช้างเผือก ต.ศรีภูมิ อ.เมือง เชียงใหม่ 50200 โทร : 053-412556 แฟกซ์ : 053-217264
3D Issue สถานการณ์ของสังคมถูกสื่อสารออกมาผ่านสื่อ มวลชนในรูปแบบต่างๆ ด้วยข้ออ้างว่า “เพื่อตีแผ่ความจริง ของสังคม” เป็น การสะท้อนปัญหาให้ทุกคนได้ตระหนัก แต่ผลของมันดูเหมือนจะสะเทือนใจ จนตระหนกวิตกกังวล เสียมากกว่า เพราะว่ามีปัญหามากล้นแต่ไร้คนแก้ไข หลายคนอ่านข่าวแล้วก็ปวดร้าวใจ บางคนใส่อารมณ์โกรธ เกลี ย ดเคียดแค้น ทั้งๆ ที่ไม่มีส่วนได้เสีย อะไรแค่ได้ยินข่าว เทคโนโลยีทำ�ให้ เ ราได้รับข่าวทันที แต่ปัญญานี่สิไม่ทัน อารมณ์สักที ทำ�ให้มีปัญหาตลอด เมื่อถึงตอนนี้ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า เรากำ�ลัง ปลูกฝังอะไรให้กับสังคมผ่านสื่อมวลชน เพราะเคยมีการ วิจัยทางจิตวิทยาทดลองให้เด็กดูภาพยนตร์ กลุ่มหนึ่งดูหนัง ที่มีเนื้อหารุนแรง อีกกลุ่มดูหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก หลังจากหนังจบพบว่า เด็กทั้งสองกลุ่มต่างก็มีพฤติก รรม เลียนแบบตามภาพยนตร์ที่ตนเองดู ทำ�ให้นึกถึงสมัยเรา เด็กๆ ได้ดูหนังกลางแปลงเรื่องคนตัดคนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การพนัน เราก็พากันหาไพ่มาเล่น นึกย้อนมาดูพื้นที่สื่อจาก ทุกหน้าจอและก็หน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ เกือ บจะทั้งหมด ถ้าไม่รุนแรงก็กระตุ้นความอยาก จึงเป็นคำ�ถามที่เราทุกคน คงจะต้องร่วมกันหาคำ�ตอบว่า “เรากำ�ลังเสี้ยมสอนอะไร ให้สังคม” มุม ก็เป็นพื้นที่หนึ่งของสื่อที่สะท้อนสังคมแม้ จะบอกตนเองว่าเราเป็นสื่อสร้างสรรค์ แต่ตามหลักแห่ง พุ ท ธศาสนาในกาลามสูตร ได้สอนเราว่า ไม่ว่ารับสื่อสิ่งใด จากที่ใดหรือใครก็ขอให้พิจารณาด้วยสติปัญญา ก่อนที่จะ ตัดสินใจเชื่อ เป็นการแปลงข้อมูลเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และใช้ ความรู้นั้นให้เกิดประโยชน์ สร้างสันติต่อตนเองสู่ผู้อื่นต่อไป
พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป บรรณาธิการ
9
4 6 8 6
9 16 22
16
32 34 36 38 40
Buddhist’s Mystery : การตั้งโต๊ะหมู่บูชา Art Code : ศรัณ สุวรรณโชติ นำ�ศิลปะ ล้านนามาสู่สากล คน-ทำ�-มะ-ดา : ป้าจันทร์ป้าดี:หัวใจที่ยอม พลีเพื่อสุนัขจรจัด มุมส่วนตัว : โลกใบที่หมุนช้าของ สุวิชานนท์ รัตนภิมล มุมพิเศษ : 3D โลกเสมือนจริงกับสิ่งที่จะ ต้องยอมรับ VS. : ลักขณา ปันวิชัย Vs. สมณะจันทเสฏโฐ พระกับสื่อไปด้วยกันไม่ได้จริงหรือ ธรรมไมล์ : ผลิ Hidden tips : สอนอย่างไร.....ให้เป็นธรรม ผ้าเหลืองเปื้อนยิ้ม : ว่าง่าย Time for ทำ� ธรรมะ(อีก)บท : เลือกคบเพื่อจบดี
22
M Mental O Optimum O Orientation M Magazine
สารบัญ
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
เนปาลเปิดวัดประหยัดพลังงาน โครงการพระมหาเจดีย์ อุทยานลุมพินี ศูนย์สากลเพื่อ ความเป็นเอกภาพและสันติ (Lumbini Udyana Maha chaitya World Center for Peace and Unity) ได้เริ่ม ก่อสร้างตั้งแต่ปี 2006 และได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 4 เมษายน 2554 โดยมีเป้าหมายในการประหยัด พลังงาน ใช้แผงโซล่าร์แปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์เป็น พลังงานไฟฟ้าเพื่อให้ความสว่าง รวมทั้งการออกแบบ อาคารเพื่อให้แสงธรรมชาติส่องเข้าถึง และกำ�แพงได้ถูก ออกแบบให้เป็นฉนวนกันความร้อ น นอกจากจะเป็นวัด ประหยัดพลังงานแล้ว วัดแห่งนี้ยังสามารถทนแรง สั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้สูง ถึง 7.7 ริกเตอร์ อีกด้วย งานประเพณีแห่นมสดรดถวาย ต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัด พระธาตุ ด อยสะเก็ด อำ�เภอ ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัด ประจำ�อำ�เภอ เป็นที่ประดิษฐาน พระเกศาธาตุ ข องพระพุทธเจ้า และมีต้นศรีมหาโพธิ์ที่อัญเชิญมา จากประเทศอินเดีย ต้นศรีมหาโพธิ์ ถือเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ซึ่งในอดีต กาลพระเจ้า อโศกมหาราชทรงยกย่องบูชา เป็นอย่างยิ่ง เฝ้าสักการะบูชา ตลอดเวลา ไม่ได้สนใจใยดีพระ อัครมเหสี นางจึงเกิดความอิจฉา ทำ�ร้ายต้นโพธิ์ กระทั่งพระเจ้าอโศกเศร้าโศกพระทัยจน ประชวรหนัก นางจึงหาวิธีที่จะให้ต้นศรีมหาโพธิ์ฟื้นคืน โดยเร็ว จึงให้ขุดรอบต้นศรีมหาโพธิ์แล้วนำ�นมสดมารด ถวายวันละ 1,000 ถัง จากนั้นต้นโพธิ์ก็กลับฟื้นขึ้นดังเดิม พระเจ้าอโศกก็ทรงหายจากประชวร ด้วยเหตุนี้ทุกเดือน พฤษภาคม ทางวัดพระธาตุด อยสะเก็ดจึงได้จัดงาน ประเพณีนี้ขึ้นเป็นประจำ�ทุกปี สนใจสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่วัดพระธาตุดอยสะเก็ด โทร. 053-865709
มุมใหม่
บูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปรูปหินแกะสลักบามิยัน ทีมนักวิทยาศาสตร์เยอรมันเตรียมบูรณปฏิสังขรณ์ พระพุทธรูปหินแกะสลักบนหน้าผาบามิยันที่สูงที่สุด ในโลก ซึ่งอยู่ทางตอนกลางของประเทศอัฟกานิสถาน ที่ถูกกลุ่มตาลีบันระเบิดทำ�ลายลงเมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดย ศาสตราจารย์เออร์วิน เอมเมอร์ลิง แห่งมหาวิทยาลัย เทคนิค เมืองมิวนิค เยอรมนี ซึ่งเชี่ยวชาญด้าน โบราณสถาน ได้นำ�เสนอการศึกษาต่อที่ประชุมยูเนสโก ณ กรุงปารีส เมือ่ เดือนมีนาคมทีผ่ า่ นมา สรุปว่าอาจมีการ ศึกษาถึงความเป็นไปได้ใ นอนาคต ว่าควรจะบูรณะปฏิสงั ขรณ์พระพูทธรูปขึ้นมาใหม่ด้วยเศษชิ้นส่วนที่ หลงเหลืออยู่หรือไม่ อนึ่งหุบเขา บามิยันในอดีตเคยเป็นส่วนหนึ่ง ของเส้นทางสายไหม ซึง่ ใช้เผยแพร่ พุทธศาสนาจากอินเดียไปยัง ภูมิภาคเอเชียกลาง
วัดสระเกศฯ อัญเชิญพระบรมสารีริ ก ธาตุอายุ 2 , 5 5 4 ปี ประดิษฐานบนยอดภูเขาทอง ในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมพรรษา ครบ 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธั น วาคม 2554 และ เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชา วัน สำ�คัญของโลก อีกทัง้ ในปีนจ้ี ะเป็น ปีที่พระพุทธศาสนามีอายุครบ 2600 ปี ทางวัดสระเกศฯ จึง จะประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ สมเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้า อายุ 2,554 ปี ขึ้น ประดิษฐานบนยอดภูเขาทอง โดยพระบรมสารีริกธาตุ ดังกล่าว ทางทายาทของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ได้นำ�มาถวายสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อปี 2551 เป็น พระบรมสารีริกธาตุที่มีการขุดค้นพบที่เมืองกบิลพัสดุ์ ประเทศอินเดีย
5
6
Buddhist’s Mystery
เรื่อง : กองบรรณาธิการ I ภาพประกอบ : รบฮ.
การตั้งโต๊ะหมู่บูชา
การบูชา เป็นวัฒนธรรมของมนุษย์ที่ใช้เป็นเครื่อง แสดงออกถึงความเคารพเทิดทูน ระลึกถึงบุญคุณ หรือการสยบ ยอมนบน้อม ในประเทศไทยการบูชาพระรัตนตรัยมี องค์ประกอบ หนึ่งซึ่งเรามักจะพบเห็นตลอดนั่นก็คือ การตั้งโต๊ะหมู่บูชา โดยความเป็นมาไม่ปรากฏว่ามีการใช้ครั้งแรกเมื่อไหร่ แต่ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2391 ในการฉลอง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) มีการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา กระทั่งในรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้มีการประกวดการจัด โต๊ะหมู่บูชาในพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) มากถึง 100 โต๊ะ และรูปแบบการจัดก็สืบทอด มาถึงปัจจุบัน ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม มีการดำ�เนินนโยบาย ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย จึงให้มีการจัดโต๊ะหมู่บูชาในสถานที่ ราชการและหน่วยงานต่างๆ พร้อมทั้งนำ�พระบรมฉายาลักษณ์ และธงชาติ เข้ามาอยู่ในส่วนประกอบด้วย จากเดิมที่มีไว้บูชา พระรัตนตรัยเพียงอย่างเดียว โดยพลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้นเห็นว่าเมื่อบูชา พระรัตนตรัยแล้วจะได้เคารพธงชาติและพระมหากษัตริย์ด้วย
การจัดโต๊ะบูชาพระนั้นส่วนสำ�คัญคือพระพุทธรูปซึ่ง จะอยู่บนสุด มีกระถางธูปสำ�หรับจุดธูป การจุดธูป ๓ ดอก เป็นการบูชาพระคุณของพระพุทธเจ้า ๓ ประการคือ ๑. บูชาพระ ปัญญาคุณ ๒. บูชาพระวิสุทธิคุณ ๓. บูชาพระมหากรุณาธิคุณ จุดเทียน ๒ เล่ม เป็นการบูชาพระธรรมและพระวินัย และดอกไม้ เป็นการบูชาพระอริยสงฆ์ โดยเปรียบพระสงฆ์ที่เป็นบุคคลมา จากต่างตระกูลหลากเผ่าพันธุ์แต่มาอยู่ในพระธรรมวินัยเดียวกัน ดุจดั่งดอกไม้จากหลายต้นมาอยู่ในแจกันเดียวกัน นอกจากนั้นการจัดโต๊ะหมู่บูชาในแบบต่างๆ ยังแฝง ไปด้วยคติธรรมที่ลึกซึ้ง แต่หัวใจสำ�คัญของการบูชานั้นใน มงคลสูตรกล่าวไว้ว่า การบูชาบุคคลที่ควรบูชา จึงจะเป็นมงคล แก่ชีวิต และการบูชาที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าดีที่สุดก็คือ การปฏิบัติบูชา เป็นการบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำ�สอนของ พระพุทธเจ้า ประพฤติตนตามครรลองแห่งความดีงามเชื่อฟัง พ่อแม่ ครูอาจารย์ ชาวพุทธทุกคนจึงควรมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติบูชา ให้มากๆ ศึกษาเรียนรู้หลักธรรมให้เข้าใจแล้วนำ�ไปปฏิบัติ จึงจะเกิดประโยชน์ที่แท้จริง
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
Book Corner
7
มงคลทั่วไทย ไหว้ ๙๙ พระธาตุ-เจดีย์ ผู้แต่ง : กองบรรณาธิการข่าวสด สำ�นักพิมพ์: มติชน คนไทยกับการกราบไหว้บชู า เวียนเทียน เป็นส่วนหนึง่ ในวิถีชีวิตมานานนับศตวรรษ กองบรรณาธิการ ข่าวสดจึงได้รวบรวมข้อมูลเจดีย์ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองทั่วทุก ภาคของประเทศไทย ไว้ทั้งหมด 99 องค์ ไม่ว่าจะเป็น พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, พระสถูปเจดีย์ วัดปทุมวนาราม, เจดีย์ศรีสุริโยทัย จ.พระนครศรีอยุธยา, เจดีย์พุทธคยา จ.กาญจนบุรี, เจดีย์ กลางน้ำ� จ.ระยอง, พระธาตุพนม จ.นครพนม, พระธาตุขามแก่น จ.ขอนแก่น, พระธาตุนาดูน จ.มหาสารคาม, เจดีย์เจ็ดยอด จ.เชียงใหม่, พระธาตุลำ�ปางหลวง จ.ลำ�ปาง, พระธาตุช่อแฮ จ.แพร่ เป็นต้น รับรองว่าหนังสือเล่มนี้คงถูกอกถูกใจคนชอบเข้าวัดเข้าวากันอย่างแน่นอน Peace Is Every Breath: A Practice for Our Busy Lives ผู้แต่ง: ติช นัท ฮันห์ สำ�นักพิมพ์: HarperOne ในการเดินทางไปทั่วโลกของ ท่าน ติช นัท ฮันห์ นั้นได้พบปะผู้คนมากมายหลากหลายเชื้อชาติ หลากหลายเผ่าพันธุ์ ทำ�ให้รับรู้ถึงความทุกข์และสัมผัสได้ถึงความวุ่นวายของมนุษย์ในทุ ก ขณะ ลมหายใจ หนังสือเล่มนี้ไม่ได้แนะนำ�ให้เราหนีจากความเป็นจริง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบลวกๆ หากแต่ให้เราทำ�ความเข้าใจเพื่อรับมือกับมัน ด้วยการฝึกการใช้สติในทุกลมหายใจตั้งแต่ตื่นนอน ตอนเช้าจนกระทั่งวินาทีสุดท้ายก่อนหลับตานอน และไม่ว่าสังคมรอบตัวของเราจะกำ�ลังยุ่งเหยิง ไร้ซึ่งสติสัมชัญญะเพียงใด ความทุกข์ทรมานที่รายล้อมเราอยู่ก็จะถูกกั้นไว้ ด้วยกำ�แพงและ ป้อมปราการแห่ง “สติ” นั่นเอง Advice On Dying And Living A Better Life ผู้แต่ง: ดาไล ลามะ สำ�นักพิมพ์: Rider Books หากคุณรู้ตัวว่าวันพรุ่งนี้โลกกำ�ลังจะแตกสลาย มวลมนุษยชาติและสรรพสิ่งบนโลกใบนี้กำ�ลังจะ ล้มหายตายจากไปในอีก 24 ชม. หรือคุณเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย คนใกล้ตัวกำ�ลังป่วยหนักใกล้ตาย สิ่งแรกที่คุณจะทำ�คืออะไร? อย่างแรกที่ ดาไล ลามะ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้บอกเรา คือขั้นตอนการ ตายและสภาวะหลังความตายจากมุม มองของพุทธศาสนาแบบวัชรยาน นั่นคือการฝึกฝนจิตใจ เพื่อที่จะรับมือกับความตาย วิธีการเยียวยาจิตใจแก่ผู้ใกล้ตาย การใคร่ครวญความตาย และทำ�ใจ ให้เป็นอิสระจากความกลัว การพิจารณาชั่วขณะแห่งความตาย ตลอดจนการ เตรียมตัวไปเกิดใหม่ ในภพภูมิที่ดี หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งกับคนที่กำ�ลังจะตาย และคนข้างหลังที่ต้องยอมรับ กับความสูญเสีย เพื่อให้มนุษย์ในทั้งสองสถานะได้รับมือกับธรรมชาติของความตายที่กำ�ลังจะ เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุด
8
Art Code
เรื่อง : ปิยตา เผ่าต๊ะใจ I ภาพ : สมคิด ใจศรี
ศรัณ สุวรรณโชติ นำ�ศิลปะล้านนามาสู่สากล
หากภาพวาดสักภาพ คือสิ่งที่บ่งบอกให้เราเข้าใจถึงสิ่ง ที่อยู่ภายในตัวตนของศิลปินผู้ถ่ายทอด เพื่อที่จะสะท้อนถึงสิ่งที่ อยู่ล้อมรอบตัวเขา ภาพเขียนของ ศรัณ สุวรรณโชติ ศิลปิน ล้านนา วัย 31 ปีผนู้ ้ี ก็สามารถบอกกล่าวสิง่ ทีพ่ ดู มาได้อย่างหมดจด แม้ผลงานก่อนเก่าของเขาจะเน้นภาพแนววิถีชีวิตล้าน นาอย่างเต็มรูปแบบ ในวันนี้รูปแบบของงานเปลี่ยนแปลงไปเป็น แนวสากลที่จับต้องได้ แต่ก็ยังไม่ละทิ้งแนวคิดอันเป็นวิถีทุนเดิม ของรากเหง้าตนลงไป ศรัณเริ่มเปลี่ยนรูปแบบจากการวาดเพียงอย่างเดียว เป็นการถ่ายทอดจากภาพถ่ายครั้งหนึ่งก่อนจะแปรรูปให้เป็นภาพ เขียน เพื่อการนำ�เสนอที่แปลกใหม่ และเก็บรายละเอียดบางสิ่ง ที่การวาดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถรักษาไว้ได้หมด ภาพที่สื่อถึงความเชื่อก็มีความขัดแย้งถึงความศรัทธา กับความงมงาย การเข้าหาศาสนาเพื่อจุดประสงค์ที่ต่างไปจาก เมื่อวันวาน บ้างก็เผลองมงายไปกับสิ่งเหนือธรรมชาติ บ้างก็ หลงลืมตัวเข้าไปทำ�ลายวัฒนธรรมอันดีงามจนเกินเลย
สิ่งที่ถ่ายทอดออกมาสะท้อนให้เห็นว่าบางครั้งมนุษย์ ก็คล้อยตามโลกปัจจุบันแบบฉาบฉวย มักพูดจาปั้นแต่งสรรหา เหตุผลสวยหรู แต่ในการกระทำ�แล้วเรายังอยู่ในวังวนชีวิตที่มีทั้ง กิเลส ตัณหา อย่างไม่สามารถจะหลุดพ้นไปได้ การสร้างงานที่ให้เพียงเทคนิคเรียบง่าย แต่ทว่าแฝง ด้วยความหมายอันลึกซึ้ง ที่เราอาจมองข้าม แต่กลับปฏิเสธไม่ได้ ว่าสิ่งเหล่านี้ มีอยู่ในสังคมใกล้ตัวและบางทีอาจจะเป็นตัวเราเอง ที่ได้กระทำ�ลงไปโดยไม่รู้ตัว ความศรัทธา เป็นอีกสิ่งที่มีอยู่ในทุกภาพของเขา ทั้ง ศรัทธาอันมีความย้อนแย้งในการกระทำ� และทั้งความศรัทธา ที่เปล่งประกายออกมาจากตัวบุคคลที่ไม่มีข้อแม้ในการตาม หาความฝัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มันก็คือสิ่งเดียวที่จะเป็นแสงสว่าง นำ�ทางให้มนุษย์หลุดพ้นจากหนทางแห่งความมืดมนมิใช่หรือ สุดท้ายไม่ว่างานของเขาจะถ่ายทอดออกมาแนว ใด แต่ความหมายที่แฝงอยู่ภายในนั้นก็ทำ�ให้เราได้ฉุกคิดถึง ตัวตนที่อยู่ภายในได้อยู่ร่ำ�ไป
www.WANGDEX.co.th
10
คน-ทำ�-มะ-ดา
เรื่อง I ภาพ : ปิยตา เผ่าต๊ะใจ
ป้าจันทร์ป้าดี : หัวใจที่ยอมพลีเพื่อสุนัขจรจัด
หากใครได้ไปปิดถนนคนเดินวันอาทิตย์ และผ่าน บริเวณหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ คงเคยพบกับป้าจันทร์ และ ป้าดีพี่น้องฝาแฝดที่มาขายของและรับบริจาคเงินเพื่อสุนัขจรจัด กันบ้าง ภาพหญิงชราฝาแฝดสองคนถือโทรโข่งตัวจิ๋วเรียกให้ คนเข้ามาช่วยเหลือสุนัขอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ป้าทั้ง สองและกิจกรรมที่ให้การดูแล สุนัขจนเต็มพื้นที่ อาจมีคนสงสัย บ้างว่าอะไรที่ทำ�ให้ผู้หญิงสูงวัยตัวเล็กๆ สองคนมีน้ำ�ใจจะทำ�เพื่อ เพื่อนร่วมโลกได้ขนาดนี้? ป้าทั้งสองเล่าว่าเริ่มเลี้ยงสุนัขจรจัดอย่างจริงจังก็ตอน อายุ 20 กว่าๆ ในตอนนั้นตนทำ�งานเป็นแม่บ้านที่บริษัทแห่งหนึ่ง ตรงข้ามวัดพระสิงห์ ในครั้งแรกก็เลี้ยงเพียงตัวเดียวแต่หลังจาก นั้นก็มีตัวอื่นเข้ามาขออาหารกินอีก จึงเลี้ยงมาเรื่อยๆ จากที่เริ่มเลี้ยงที่วัดพระสิงห์เป็นแห่งแรก วันนี้สุนัขที่ ป้าดูแลนั้นมีร่วม 300 ตัวเกือบทั่วทุกวัดในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ เมื่อถามถึงเหตุผลที่ผู้หญิงสูงวัยตัวเล็กๆ สองคนที่ต้องยอมรับ ภาระอันหนักหน่วงเช่นนี้ ป้าก็ตอบด้วยรอยยิ้มว่า ตนเป็นคนรัก สุนัข ถ้าเห็นที่ไหนก็เกิดความสงสารและทนไม่ได้ที่จะปล่อยให้
มันอดอยาก ต้องให้อาหารแก่พวกมันเสมอ แม้สุนัขตัวนั้นจะมี เจ้าของหรือไม่ก็ตาม กิจวัตรประจำ�วันของป้าคือต้องตื่นตั้งแต่ตีห้าของทุกวัน และกลับเข้าบ้านตอนเที่ยงคืน เพื่อที่จะเอาข้าวให้สุนัขที่ดูแล อยู่จนทั่วถึง ทุกวันนี้ทั้งสองเลี้ยงสุนัขกันเต็มเวลา เพราะหลังจาก บริษัทที่ป้าทำ�งานเป็นแม่บ้านปิดตัวลง ป้าก็ทุ่มเททุกสิ่งในชีวิต เพื่อพวกมันอย่างไร้เงื่อนไข บางครั้งมีเสียงติฉินนินทาว่าป้าหากินกับสุนัข แม้จะ เป็นคำ�พูดที่เสียดแทงหัวใจเหลือเกิน แต่ต้องก็อดทนเพราะรู้ว่า หากตนไม่ทำ� สุนัขอีกนับร้อยชีวิตจะต้องเดือดร้อนอย่างแน่นอน ในทุกวันนี้กฎเหล็กที่หญิงชราทั้งสองต้องทำ�ให้ได้ก็คือ ต้องไม่ ป่วยไม่เจ็บ เพราะไม่เช่นนั้นหลายชีวิตที่รอคอยจะต้องอดอยาก เป็นแน่ ดังนัน้ ไม่ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้องอย่างไร ป้าก็ต้องฝ่าหยาดน้ำ� และสายฝนไป ด้วยเหตุผลที่ว่า พวกป้ารักหมาพวกนี้เหมือนลูก มันเป็นความรักที่ไม่มีข้อแม้ ซึ่งใครก็ไม่อาจเข้าใจ ได้จริงๆ
เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ I ภาพ : สมคิด ใจศรี
มุมส่วนตัว
โลกใบที่หมุนช้า ของ สุวิชานนท์ รัตนภิมล
11
12
สุวิชานนท์ รัตนภิมล หรือที่คุ้นเคยกันในนามปากกา ว่า“คำ�พอวา” เขาเป็นนักเขียนผู้รังสรรค์ผลงานหลายรูปแบบ ทั้งบทกวี สารคดี และบทเพลงแห่งขุนเขา ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของธรรมชาติได้อย่างเรียบง่ายแต่ลุ่มลึก โดยมีรางวัล “ลูกโลก สีเขียว” เป็นสิ่งการันตีถึงคุณภาพของทุกผลงานที่เขาสร้างมาด้วยใจ ในวันนี้สุวิชานนท์เป็นนักเขียนคนหนึ่งที่มีงาน อย่าง ต่อเนื่อง ทั้งเนชั่นสุดสัปดาห์ ในคอลัมน์ที่ชื่อว่า “ดวงตาคนมองดอยหลวงเชียงดาว” นอกจากนี้ยังมีคอลัมภ์ในสยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ และหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯธุรกิจ ซึ่งล้วนแล้วแต่ถ่ายทอดมาจากประสบการณ์ตรงที่เขาลงทุนหาข้อมูลด้วย ตัวเองในขุนเขาและป่าลึก วันนี้เราลองมาเปิดมุมมองของเขาที่มีต่อโลกและชีวิต รวมทั้งผลงานที่เขาบอกว่าทำ�ทุกชิ้นด้วย ความรักและความตั้งใจอย่างที่สุดกันดู เผื่อว่าเราจะมองโลกใบเดียวกันนี้ได้ละเมียดละไมเช่นที่เขามองเห็นบ้าง มุม: ขอเริ่มจากที่ผลงานก่อน อะไรคือแรงบันดาลใจให้คุณสร้างผลงานชิ้นแรกขึ้นมา แรงบันดาลใจจากงานเขียนชิ้นแรกของผมเริ่มจากการอ่านก่อน ตอนนั้นไปพบผลงานของนักเขียนเยอรมัน ชื่อเฮอร์มาน เอสเส ชื่อ เรื่องคนุน มันทำ�ให้ผมเห็นพลังของตัวหนังสือ เห็นทางเลือกของคนหนึ่ง ในการดำ�รงชีวิตในการอยู่ แล้วด้วยความตอนนั้นที่ผมเป็น เด็กเรียน พอเรามาเจอเรื่องนี้เราก็รู้สึกว่ามีเรื่องแบบนี้ด้วยเหรอ ทำ�ให้เรารู้สึกว่าอยากเขียนหนังสือจัง พออ่านหนังสือเล่มนั้นจบก็เริ่ม เขียนบันทึกประจำ�วันมาเรื่อยๆ การเขียนไดอารี่ของผมจะเริ่มจากการบรรยายฉากเขียนไปเรื่อยๆ ตรงนั้นน่าจะเป็นจุดตั้งต้น แต่งาน เขียนที่ได้เริ่มตีพิมพ์จริงๆ น่าจะหลังจากนั้นอีกหลายปี งานชิ้นแรกที่ตีพิมพ์ในแม็กกาซีน จะเป็นบทวิจารณ์หนังสือ ด้วยซ้ำ� พอดีมันมี พื้นที่เปิดด้วยในหนังสือสยามรัฐ ก็เลยลองเขียนส่ง จากนั้นก็เขียนบันทึกเรื่อยมาไม่ได้ส่งที่ไหน แต่จะเน้นการเขียนฉาก จนถูกเพื่อน แซวว่าเป็นนักเขียนฉาก บางทีไม่มีตัวละครหรอก บางทีไปทุ่งนา บรรยายฉากที่เราเห็น แต่ว่ามันมีคุณูปการมากๆ กับผลงานใน เวลาต่อมา แต่ตอนนั้นเอาไปส่งสำ�นักพิมพ์ไหนเขาก็ไม่รับ เพราะมันมีแค่ฉากอย่างเดียว เขาก็ว่าคุณกำ�ลังพูดถึงอะไร แต่ว่าฉาก เหล่านี้มันส่งผลต่อกลอนเปล่ามากเลยในช่วงหลัง จำ�ได้ว่ากลอนเปล่าชิ้นแรกของผมก็เอางานบรรยายฉากมาจัดบรรทัดใหม่ ส่งไป หนังสือพิมพ์ข่าวพิเศษได้ตีพิมพ์ชิ้นแรก บ.ก.ก็ให้ดาวมาห้าดาว หลังจากนั้นก็เป็นแรงบันดาลใจให้เขียนกลอนเปล่ามาเรื่อยๆ มุม:ถือว่าเป็นนักเขียนที่มีงานต่อเนื่องคนหนึ่งเลย มีวิธีการอย่างไรถึงทำ�งานได้แบบนี้ กว่าผมจะมีก็เขียนงานต่อเนื่องก็ใช้เวลานานเลยทีเดียว เพราะมันต้องใช้เวลาเก็บข้อมูลแล้วก็วางแผนการทำ�งาน แต่พอวางแผนเสร็จ ก็มาสู่รายละเอียด ไม่ใช่ว่านึกจะนั่งโต๊ะก็ทำ�ได้ทันที เช่นหากจะเขียนเรื่องดอยหลวงเชียงดาว ก็ต้องวางแผนแล้วเก็บข้อมูลก่อนเป็น สัปดาห์เลย ต้องคิดต้องเตรียมการก่อนจะเขียน ถ้าเราเตรียมอย่างนี้แล้วเรานั่งโต๊ะเมื่อไหร่มันจะพร้อมแล้ว มันจะไหลออกมาเอง ไม่มีคำ�ว่าติดขัดไม่มีคำ�ว่ายากจัง แต่ถึงยากก็ต้องไป มุม: คิดว่าคนที่จะเป็นนักเขียนได้ควรมีคุณสมบัติอย่างไร อย่างแรกเขาต้องเป็นคนหมั่นสังเกต สังเกตทุกอย่าง คือถ้าเราผ่านอะไรง่ายๆ โดยไม่ได้เฝ้ามองด้วยความรู้สึกเรามันยาก ที่จะซึมซับ กับมัน คือวิธีของคนเขียนหนังสือเขาเรียกว่าเป็นมุมอ่อนไหวก็ว่าได้ คือผมถามทุกคนในแวดวงการเขียนหนังสือ มันจะมีอารมณ์ คล้ายๆ กัน เหมือนเป็นพวกพันธุ์หนึ่งที่ถูกคัดสรร ว่าถ้าคุณเดินทางไปในสายนี้คุณต้องรู้สึกอย่างนี้ เพราะถ้าคนไม่รู้สึกอย่างนี้ก็คงต้อง ไปในทางอื่น แต่ว่าคนรู้สึกอย่างนี้แล้วไม่ทำ�ก็มี คุณต้องรักในตัวหนังสือด้วยคุณถึงจะเป็นนักเขียนได้
13 มุม:ดูจากผลงานคุณเป็นคนใช้ชีวิตกับธรรมชาติเป็นส่วนมาก แต่ยังไม่ค่อยเห็นผลงานที่เกี่ยวกับศาสนาโดยตรง นั่นหมายความว่า คุณไม่สนใจศาสนามากนักหรือไม่ ผมสนใจธรรมะ แต่ก็ไม่ถึงขั้นไปตามอ่าน แล้วก็นำ�มาสู่การปฏิบัติอย่างเคร่งครัดหรือเอาชีวิตเข้าไปอยู่ในการปฏิบัติการในทางธรรม เช่นออกไปอยู่วัดในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อปฏิบัติธรรมเพื่อจิตสงบแบบนี้ผมไม่ทำ� แต่ถึงที่สุดผมก็ยังถือว่าสนใจในมุมนี้ ในแง่ของการเอา มาร้อยกับธรรมชาติของเรา ผมจะสนใจงานของท่านติส นัท ฮันห์ มาก ต้องอ่านงานเขาเหมือนกับเป็นพื้น จะมีแทบทุกเล่ม เวลา อ่านแล้วมันมีความสุข จนกระทั่งตกตะกอนอยู่ในใจ ท่านจะบอกให้เราเคลื่อนไหวทุกย่างก้าวคือธรรมะ กิจกรรมที่เราทำ�ตั้งแต่ตื่น ขึ้นมาจนนอนคือการปฏิบัติธรรม มันจะกลายเป็นธรรมชาติของเราไป อย่างเช่นกวาดขยะผมจะไม่มองว่ามันรกรุงรังเห็นแล้วรู้สึก หงุดหงิด แต่จะค่อยๆ กวาด ให้มันช้าๆ ทีละนิด ให้สัมผัสลมหายใจของเรา หรือแม้แต่ล้างถ้วยล้างจาน ก็ให้มีความรู้สึกว่าล้างจานคือ ล้างจาน ให้รู้สึกสัมผัสถึงน้ำ� รู้สึกสัมผัสถึงถ้วยจาน จนมันกลายเป็นพื้นอารมณ์ของเราไปแล้ว มุม:เหมือนคุณจะเป็นแนวปรัชญามากกว่าการเข้าวัดทำ�สมาธิ ถ้าถึงขั้นเข้าวัด ผมว่า ผมยังไม่ไปรับเอาตรงนั้นได้ อย่างช่วงที่ผมต้องเผชิญชีวิตหนักตอนที่เสียลูกสาว เวลานั้นถึงใครบอกให้ไปวัด แต่ผมก็รู้สึกอยู่ดีว่ามันไม่ใช่ทางของผม ทางผมคือโน่นไปเดินป่า ปีนดอย ไปตามหาผู้เฒ่ากะเหรี่ยงสักคนให้แกนำ�ทางเข้าป่า ไปฟัง เสียงป่าให้รู้ถึงความสงบสงัดจริงๆ ให้เห็นถึงความลำ�บาก ผมจะไปในมุมนี้มากกว่า ส่วนเรื่องของการทำ�สมาธิในความเห็นของผม เป็นเรื่องที่ใกล้เคียงกัน ฉะนั้นธรรมะในมุมผมคือการใช้ชีวิตอย่างละเมียด ไม่รู้ว่าแบบนี้จัดว่าเป็นธรรมะหรือไม่ ถ้าเขาว่าจัดก็จัดแต่ ถ้าไม่จัดก็ไม่เป็นไร มุม:ธรรมะของคุณหมายถึงว่าต้องผสานกับชีวิตเราไม่ต้องไปฝืนทำ�อะไร ใช่ มันก็คือแนวหนึ่ง ผมก็มีเงื่อนไขอยู่นะ และผมก็ไม่แบกดีด้วย จะไม่รู้สึกว่าฉันต้องทำ�ดีตลอดเวลา อะไรที่พลาดได้ก็พลาดไป บางทีการแบกดีมันเหนื่อยมากนะ ฉันต้องเป็นคนดีต้องแนวนี้ตลอด พลาดไม่ได้ แต่บางอย่างเราพลาดด้วยอะไรไม่รู้โดยสันดานตัวเอง บางทีมันเลี่ยงไม่ได้ มุม:คำ�ว่าแบกดี ต่างกับการถือศีลห้าหรือไม่ เรามันแล้วแต่เราจะยึดในข้อไหน อาจจะอยู่ในห้าข้อหรือไม่เกี่ยวเลยก็ได้ แต่ถ้าทำ�ดีในแง่ของการเป็นกุศลกับตัวเองหรือเป็นประโยชน์ กับคนอื่น มันจะไม่เบียดเบียนคนอื่นด้วย แต่เรื่องบางเรื่องที่อยู่เหนือความคิดหรืออะไรก็ตามโดยมุมมืดบ้างในบางเรื่อง แล้วสิ่งที่ผม จัดการกับมันคือการกลับมาทำ�ความเข้าใจ คือมันอาจจะพลาดได้ในแง่ความดีหรือมาตรฐานสังคม คือถ้าเราพลาดแต่เรารู้เรา เข้าใจมัน แต่อย่าให้มันเติบโต ถึงมันจะเติบโตให้ได้เราก็ต้องเข้าใจมัน แล้วสลัดกร่อนมันให้น้อยลง ในการใช้ชีวิตของคนเดี๋ยวนี้มันก็ พลาดได้ แต่ถ้าไม่พลาดก็ดี ก็ไม่ต้องแบกทุกข์ไม่ต้องห่วง ทีนี้ในแง่ของศีลห้าสมมุติผมกวาดขยะวันนี้ กวาดเสร็จมดตายห้าตัว เราฆ่าสัตว์ทันทีโดยศีลใช่มั๊ย แต่ถ้าเราเสียใจร้องห่มร้องไห้ทำ�มดตาย เรารู้สึกแบกการกระทำ� บางทีผมทิ้งเลยนะให้รู้สึกว่าวันนี้เราทำ� เขาตาย วันหลังต้องระวัง
14 มุม:ในเรื่องของการเข้าถึงศาสนา จุดสูงสุดที่เรารู้กันคือการนิพพาน คุณมองเรื่องนี้ว่าอย่างไรบ้าง คำ�ว่านิพพานในความเห็นผม เราสามารถนิพพานกันได้หมดเลยนะ เพียงแต่คนที่อยู่ทางโลกอย่างผมนิพพานของเราก็อาจจะเลวมาก เลวมากหมายความว่า ยังมีการหมุนเวียนว่ายเกิดดับอยู่อย่างรวดเร็วกระทันหัน นิพพานหมายถึงการไม่เกิดอีกแล้ว ไม่เกิดความทุกข์ ความโศก ไม่ให้เราต้องทุกข์ให้เราต้องบาดเจ็บ ภาวะแบบนี้พี่ว่าการใช้ชีวิตของคนปกติมันยังไม่ถึงขั้นนั้น บางคนเข้าใจว่าตัวเองสุข เหลือเกิน น่าจะไปถึงนิพพานแล้ว แต่ที่จริงไม่หรอก เดี๋ยวมันก็กลับมาทุกข์อีก หรือตอนนี้เป็นทุกข์มากแต่พอภาวะนั้นหายไป มันก็จะ เกิดความรู้สึกอีกรูปแบบหนึ่งเข้ามาแล้วก็ถ้าการเข้าถึงนิพพานหมายถึงการไม่ทุกข์ไม่สุขการไม่เวียนว่ายความเจ็บปวดความไม่ขมขื่น อะไรทั้งปวง มุม: เหมือนคุณจะใช้ธรรมในชีวิตประจำ�วันอยู่แล้ว คือเราต้องเยียวยาตัวเองก่อน พอเราดูแลตัวเองได้ มันก็ส่งผลถึงคนอื่นด้วย บางทีเราทำ�อะไรไป รู้สึกว่าทำ�ลงไปได้ยังไงเห็นแก่ตัวมาก ทำ�อย่างนี้วันหลังอย่าทำ�อีกนะ เช่นวันนี้เราขับรถไปเด็กคนหนึ่งส่งพวกมาลัยให้ เราใจแข็งเลยไม่ซื้อ เอาเหตุผลมากมายมาอธิบายไม่ ซื้อ แต่เรากลับมาถามตัวเองว่าทำ�ไม เราก็เกิดความรู้สึกว่าเราไปส่งเสริมหรือเปล่า แต่ก็มีหลายทีเลยที่ผมเปิดประตูรับเอามาเลย มุม: ถ้าเราไม่มีแต่เราไปให้ก็เหมือนการเบียดเบียนตัวเองอยู่เหมือนกัน ใช่เมื่อก่อนผมก็เคยผ่านมุมแบบนี้มา เคยผ่านการช่วยคนในมุมแปลกๆ มีเหตุการณ์หนึ่งตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว ตอนนั้นผมอยู่สงขลา แล้วนั่งอ่านหนังสืออยู่ริมทะเล อยู่ดีๆ ก็มีคนนุ่งกางเกงขาก๊วย เดินเข้ามาไหว้ บอกว่าเป็นคนเชียงใหม่ ไม่มีตังค์กลับบ้านเลย ผมก็คิด ว่าโห อยู่เชียงใหม่จะกลับบ้าน แต่ผมมีเงินอยู่แค่นี้เอง แต่ผมมีอีกนะที่บ้าน คอยอยู่นี่นะ แล้วผมก็ไปรวบรวมมาได้ 200 บาท แล้วก็ ปั่นจักรยานของไปส่งถึงสถานีรถไฟ โบกรถให้เขาไปแล้วให้เงินเค้า พอมานึกดูมันเยอะมาก เพราะตอนนั้นคิดว่าใครที่เข้ามาทำ�นองนี้ เราต้องพุ่งไปช่วยเหลือ แต่พอช่วงหลังเมื่อเราเผชิญโลกมากขึ้น ก็รู้สึกว่าการช่วยเหลือมันมีการชั่งน้ำ�หนักกันขึ้น เมื่อก่อนผมจะ สุดโต่งมาก แต่ประสบการณ์เหล่านัน้ ก็สอนให้รวู้ า่ เราควรจะใช้เหตุผลกับมันบ้าง หลังๆ เรือ่ งแบบนัน้ ก็เกิดขึน้ น้อยลงไปมากแล้วเหมือนกัน มุม: แล้วตอนที่คุณเสียลูกสาว(พอวา) ได้ใช้วิธีทำ�ใจอย่างไรบ้าง ตอนนั้นมันก็เขวไปเลยเหมือนกัน รู้สึกว่าฉันทำ�ดีแล้ว มันยังไม่พอใช่มั๊ย ตอนนั้นมันเหวี่ยงไปเลยด้วยซ้ำ� กลายเป็นอยากทำ�เรื่องแย่ๆ เลย แทนที่จะติดว่าจะทำ�ให้มันดีกว่าเดิม สิ่งที่ทำ�มาสิ่งที่เป็นประโยชน์กับตัวเองและคนอื่นเราคิดว่าเราทำ�ดีแล้ว แต่เรายังได้รับผล แบบนี้ ผมคิดว่าที่ผมทำ�มามันไม่ดีแล้ว ตอนนั้นคิดเลยว่าถ้าคนไหนเลวๆ นักการเมืองเลวๆ ชวนผมไปยิงผมจะไป ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เรา ไม่เคยคิดจะทำ�มาก่อน ทำ�ให้รู้สึกสึกว่าสันดานข้างในมันโผล่ชนิดที่ว่าปรากฏชัดเจนมาก ด้วยความเชื่อมั่นว่าเราทำ�แต่เรื่องที่ดี เรา แบกดี เราทำ�อะไรที่สมบูรณ์แบบ พอหลังจากเขาไป ผมก็ชั่งบทเรียนอย่างเจ็บปวดทุกข์ทรมานอยู่หลายปี คือมันไม่มีที่อยู่แล้ว แต่ก็ใช้ งานของตัวเองในการเยียวยา เขียนหนังสือ เขียนเพลง เล่นเพลง มุมเหล่านี้มากกว่า ที่เข้ามาเยียวยาผม มุมของการนั่งลงแล้วก็เขียน มุมของการซ้อมเพลง เล่นดนตรีแต่งเพลงวันๆ ก็อยู่แบบนี้ ไม่ได้อยู่ในมุมของการอ่านธรรมะข้อนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ชีวิตเป็นทุกข์ อะไรแบบนั้น
16
ธรรมะในมุมผมคือการใช้ชีวิตอย่างละเมียด ไม่รู้ว่าแบบนี้จัดว่าเป็นธรรมะหรือไม่ ถ้าเขาว่าจัดก็จัด แต่ถ้าไม่จัดก็ไม่เป็นไร
แต่หารู้ไม่ว่าสิ่งที่เราทำ�นี่แหล่ะมันใช่เลย เราเล่นดนตรี เราเขียนหนังสือเพื่อจะรำ�พึงว่ามันไม่มีอยู่จริง เรายังตัดพ้อกับชีวิตว่ามันเป็น ดอกไม้ที่มาแย้มให้เราเห็น แล้วแค่แสงส่องมามันก็ร่วงแล้ว มันไม่มีอยู่แล้ว บทธรรมกับตัวหนังสือของเรามันเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ว่า บทธรรมที่มาสอนเราตรงๆมันไม่รับเลย ผมไม่ถึงกับมาทางธรรมะเข้าปฏิบัติธรรม เพื่อหาความสงบในใจ แต่จะพลุ่งก็พลุ่งเลย ปล่อย ให้มันเดือด แต่ก็จะทำ�ความเข้าใจกับมันแทน จากงานศิลปะที่เราทำ� ซึ่งเราไม่รู้หรอกว่าบทธรรมบทไหนที่แทรกอยู่ในงานของเรา แต่ เรารู้เลยว่านี่คือธรรมชาติในการค้นหา ถ้าพระพุทธเจ้าค้นหาผมรู้เลยว่านี่คือเส้นทางของท่าน มุม: เห็นว่าคุณแต่งเพลงให้ลูกสาวชื่อว่าเพลงนางฟ้า คำ�ว่านางฟ้ามันสะท้อนความเชื่อในเรื่องอะไรในใจคุณบ้าง เราโตมาแล้วได้ยินผู้ใหญ่เขาเล่า ว่ามีนางฟ้าอยู่บนสวรรค์และสะอาดบริสุทธิ์ นึกจะกินอะไรก็ได้กิน เขาจะยังสาวอยู่เสมอ เราก็รับรู้ มาแบบนี้ แต่ก็จะมีนางฟ้าบางองค์ที่ทำ�ผิดกฎของสวรรค์แล้วลงมาเกิดเป็นมนุษย์ เราก็เลยคิดว่า หรือว่าเขาเป็นนางฟ้าแน่ๆ ที่ทำ�ให้ เราเบิกบานได้ขนาดนี้ได้ สวยงามในสายตาเราได้ขนาดนี้ ทำ�ให้เราได้อิ่มเอิบและเจ็บปวดได้ขนาดนี้ ต้องมีนางฟ้าเท่านั้น ที่ทำ�ให้เรา ได้รู้สึกถึงขนาดนี้ ถ้าเขาเป็นคนร้ายเป็นนางยักษ์มาเกิด เราคงไม่ต้องเจ็บปวดขนาดนี้ เราอาจจะตัดใจได้ดีขึ้น แต่นี่เราหาจุดที่ทำ�ให้ เราต่ำ�ลงนี่ไม่มีเลย สมบูรณ์มาก เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราในทุกเรื่องราว ก็เลยคิดว่าในความรู้สึกแบบนี้เขาต้องเป็นนางฟ้าแน่ เลย ตอนนั้นเราก็ไม่รู้ว่าเขาจะไปเร็วแบบนี้ ก็ยังกังวลอยู่เลยว่าถ้าลูกโตขึ้นมาจะเป็นยังไงเพราะลูกดีเกินไป แต่พอเขาไม่อยู่แล้วก็มา ฉุกคิดว่าเขาเหมือนนางฟ้าเลย เขาสะอาดหมดจด แล้วช่วงวัยของเขาทำ�ให้คนชื่นใจได้
18
มุมพิเศษ
เรื่อง : กองบรรณาธิการ I ภาพประกอบ : รบฮ.
20 เทคโนโลยี 3 มิติได้เข้ามามีบทบาทสำ�คัญต่อวงการต่างๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชน หรือการนำ�สื่อ 3 มิติ มาใช้ เพื่อความบันเทิงเช่น ภาพยนตร์ เกมส์ วิทยาการทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและรักษาโรค ธุรกิจและการตลาด ความเสมือนจริงของ 3D ได้สร้างโลกใบใหม่ที่ไม่เพียงคล้ายของจริง แต่ยังสามารถใช้ดำ�เนินกิจกรรมบางอย่างได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สื่อดิจิตอลจึงมีบทบาทสำ�คัญต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ในสมัยนี้ และประเมินได้ว่าคงจะกลายเป็นปัจจัย จำ�เป็น ในชีวิตประจำ�วันสำ�หรับอนาคตข้างหน้า ทั้งในอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และโทรทัศน์ กระแส 3D มาแรงถึงขนาดกระทรวงศึกษาธิการได้นำ�มาล้อคำ�ทำ�เป็นนโยบายสถานศึกษา 3D โดยมุ่งเน้นภารกิจ 3 ด้าน คือ 1. ด้านประชาธิปไตย (Democracy) มีความตระหนักเห็นความสำ�คัญของการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข รักเกียรติมีศักดิ์ศรีเคารพสิทธิของผู้อื่น มีส่วนร่วมเพื่อกำ�หนดแนวทางของสังคมร่วมกัน 2. ด้านคุณธรรมจริยธรรม และความเป็นไทย (Decency) มีความรับผิดชอบ มีค่านิยมที่ดีงามสามารถแยกแยะดีชั่ว ไม่ทำ�ตัวผิด ศีลธรรม ต่อต้านความทุจริตมิชอบ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และ 3. ด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug - Free) รู้จักหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติดให้โทษ และร่วมเป็นพลังประชาชนเพื่อเอาชนะปัญหา ยาเสพติด เกือบจะทุกโรงเรียนได้ขึ้นป้ายชูนโยบายของกระทรวงให้เห็น ราวกับว่ามันเป็นหนึ่งในแนวทางของการดำ�เนินตามนโยบาย หรืออาจเป็นเพราะเริ่มต้นด้วยการสร้างการกระทำ�เสมือนจริงไปก่อน ถึงอย่างไรเมื่อท่านรัฐมนตรีถามถึงผลดำ�เนินการ งานที่จะทำ� ต่อไปก็คือนำ�ภาพเสมือนจริงเสนอท่านให้สมจริง ประจักษ์ชัดในภาพแล้วส่วนจะทราบความจริงแค่ไหนก็ไม่ทราบท่านเหมือนกัน หลังปฏิรูปการศึกษาคงจะได้เห็นภาพความจริงของการศึกษาไทย วันหนึ่งได้ฟังพระอาจารย์อำ�นาจ ปริปุณฺโณ เจ้าคณะตำ�บลหนองช้าง อำ�เภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ พูดถึง 3D เหมือนกัน แม้บรรยากาศจะอยู่ชายทุ่งแต่เมื่อมุ่งไปที่เยาวชนครั้นจะพูดอะไรเก่าๆ บาลีๆ ก็กลัวว่าเด็กจะหนีไปหมด ท่านจึงกระตุ้นด้วยศัพท์แสง ทันสมัยว่า คนเรานั้นจะประสบความสำ�เร็จได้ต้องมี 3D คือ Dream ความฝันที่มุ่งหวังอย่างตั้งใจ พร้อมทั้งวาดภาพวางแผนไว้ให้ ชัดเจน เพื่อที่จะ Do ลงมือทำ� เพราะถ้ามีแต่ Dream ไม่ยอม Do ความสำ�เร็จมันก็จะอยู่แค่ในฝัน ถ้าจะให้ดีก็ต้องมี D สุดท้ายนั่นก็คือ Development พัฒนาด้วยสติปัญญา ไตร่ตรองให้ดีแล้วนำ�สิ่งที่ดีมาพัฒนาและแก้ปัญหาในส่วนที่ยังต้องปรับปรุง ท่านเล่าจนเกือบ จะจบแล้วสรุปว่า 3D ที่ทุกวันนี้เขาพัฒนามาเป็น 4D แล้วนั้นเพื่อให้ทันธรรมะดีๆ ของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า อิทธิบาท 4 หมวดธรรม อันจะนำ�มาซึ่งความสำ�เร็จ คือ ฉันทะ ความพอใจรักในสิ่งที่จะทำ�วางแผนให้ดี วิริยะ ลงมือทำ�อย่างพากเพียร จิตตะ จดจ่อ มุ่งมั่น และวิมังสา พิจารณาไตร่ตรองแล้วนำ�ไปพัฒนาปรับปรุง นั่นคืออีกมุมของ 3D เทคโนโลยีนี้มีเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดให้เสมือนจริง เพิ่มมุมมองของคนได้เห็นชัดเจนจนเกิดความเข้าใจในสิ่งนั้นๆ ตาม วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร ซึ่งง่ายแก่การตีความหรือทำ�ความเข้าใจ ทำ�ให้นึกถึงในสมัยเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ มีภิกษุณีรูปหนึ่งชื่อว่า รูปนันทา บวชเพราะเป็นญาติกับพระพุทธเจ้าไม่ใช่เพราะศรัทธา และเป็นผู้ที่หลงใหลในรูปลักษณ์ เมื่อบวช มาแล้วก็ไม่กล้าเข้าใกล้พระพุทธเจ้าด้วยเกรงว่า พระพุทธเจ้าจะตรัสกล่าวถึงโทษของรูปว่ามีความไม่งาม ไม่เที่ยง เป็นรังรวมของ สิ่งปฏิกูล ซึ่งเป็นปกติอยู่แล้ว แม้เพื่อนภิกษุณีจะชวนสักกี่ครั้งก็ไม่ยอมไป แต่พอเห็นผู้คนต่างก็เดินทางมาฟังธรรมพร้อมถือเครื่อง สักการะบูชามามากมาย ต่างก็กล่าวสรรเสริญเอ่ยถึงด้วยความชื่นชมในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อได้ฟังจึงทำ�ให้นางอยาก จะลองเข้าไปฟังบ้าง จึงแอบเข้าไปโดยคิดว่าจะไม่ให้พระพุทธเจ้าทรงรู้ แต่ก็ไม่รอดพ้นพระพุทธทิพยจักษุไปได้ พระศาสดาดำ�ริ เกื้อกูลแก่นางจึงพิจารณาหาวิธีแสดงธรรมแก่นางให้เหมาะสม จึงได้นิมิตหญิงนางหนึ่ง อายุประมาณ 16 ปี นุ่งผ้าแดงพร้อมเครื่อง
21
ประดับอันงดงาม ถวายงานพัดอยู่ข้าง ๆ พระองค์ ซึ่งมีเพียงรูปนันทาภิกษุณีเท่านั้นที่มองเห็น เมื่อเธอมองเห็นก็ชื่นชมในความงาม ของหญิงสาวนางนั้น จนเปรียบตนเองว่าเป็นกา ส่วนหญิงสาวนั้นเป็นหงษ์ทอง เกิดความสิเนหาอย่างรุนแรง เพ่งพิศไปตรงไหนก็ เห็นว่างาม “โอ ผมก็งาม หน้าผากก็งาม” ขณะที่นางเธอหลงใหลในรูปอยู่นั้น พระศาสดาแสดงความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นเป็นลำ�ดับ จากอายุ 16 เป็น 20 และ ค่อย ๆ ขยับเพิ่มเป็นหญิงเคยมีลูก หญิงกลางคนจนแก่ชรา ผิวพรรณร่างกายค่อยแปรเปลี่ยนไปจน นางเธอรูปนันทาเกิดความเบื่อ หน่ายว่า “รูปลักษณ์นี้ไม่เหมือนเดิม” ยิ่งเมื่อเห็นร่างกายที่แห้งเหี่ยว ผมหงอกฟันหัก หลังโกง สั่นงันงกลุกเดินด้วยไม้เท้า ล้มป่วย ร่ำ�ร้องครวญคราง นอนกลิ้งเกลือกปัสสาวะอุจจาระตนเอง กระทั่งสิ้นชีพนอนนิ่งอืดพอง มีหนอนซอนไช หมา กา ไก่แย่งชิงจิกกิน แล้วไฟก็เผาผลาญกลายเป็นเถ้าธุลี ไม่มีสาระอะไรให้เหลืออีกแล้ว ภิกษุณีรูปนันทาพิจารณาไปตามความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสังขาร นำ�จิตมุ่งสู่กรรมฐาน เมื่อพระศาสดาเห็นว่าเป็นเวลา อันสมควรจึงตรัสกับนางเธอว่า “นันทา เธอจงดูกายอันกรรมยกขึ้น อันอาดูร ไม่สะอาด เปื่อยเน่า ไหลออกอยู่ข้างบน ไหลออก อยู่ข้างล่าง ที่พาลชนทั้งหลายปรารถนากันนัก; สรีระของเธอนี้ ฉันใด สรีระของหญิงนั่น ก็ฉันนั้น, สรีระของหญิงนั่น ฉันใด สรีระของเธอนี้ ก็ฉันนั้น: เธอจงเห็นธาตุทั้งหลายโดยความเป็นของสูญ อย่า กลับมาสู่โลกนี้อีก เธอคลี่คลายความพอใจในภพ เสียแล้ว จักเป็นบุคคลผู้สงบเที่ยวไป.”
22
เทคโนโลยีก็คล้ายกับคำ�ว่า ธรรมะ เป็นกลางๆ อยู่ที่ว่าเราจะเอาอะไรไปเติม ใส่อะไรดีๆ ก็เป็น “ธรรมะ” แต่ถ้าใส่อะไรชั่วๆ ก็น่ากลัว รูปนันทาภิกษุณี ส่งจิตไปตามกระแสแห่งพุทธพจน์ จนเข้าสู่ความอริยบุคคลบรรลุโสดาปัตติผลและได้บรรลุอรหันต์ ในเวลาต่อมา จากเรื่องนี้จะเห็นว่าพระพุทธองค์ทรงใช้สื่อ 3 มิติ หรือ 3 D ภาพเสมือนจริงให้เป็นอุปกรณ์สื่อเรียนรู้ธรรมะ เพื่อให้รูป นันทาภิกษุณีได้เกิดอีกมุมมองของความจริง โดยนำ�มาพิจารณาเปรียบเทียบกับร่างกายของตนเอง จนเกิดปัญญาหยั่งรู้ถึงความจริง ของสรรพสิ่ง ว่าที่จริงแล้วนั้นมันไม่ยั่งยืนแน่นอน มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสูญไปในที่สุด ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า เข้าใจในกฎไตรลักษณ์ ความจริงของสรรพสิ่ง มีอยู่ 3 ประการคือ 1. อนิจจัง ความไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนไปไม่คงทรงเดิม ไม่จีรังยั่งยืน เป็นกฎของธรรมชาติทั้งมนุษย์ สัตว์ พืชและวัตถุสิ่งทั้ง ปวงไม่อาจเลี่ยงหลีกพ้น มันเกิดขึ้นตลอดเวลาและทุกอย่างก็จะเปลี่ยนแปลงไปตาม 2. ทุกขัง ความเป็นทุกข์ อยู่ในสภาพที่ทนได้ยาก ความเสื่อมโทรม ล่มสลาย เป็นธรรมดาของทุกสิ่งเช่นกัน ซึ่งย่อมมีตาย ผุพัง เปื่อยเน่า ไปตามเหตุแห่งเวลาและความเจ็บป่วยโดยที่ไม่อาจจะทัดทานได้เลย 3. อนัตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน เป็นแต่เพียงเหตุปัจจัยต่างๆ มารวมกัน ผสมผสานองค์ประกอบอย่างลงตัว จนเป็นสิ่ง ใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา มันจะเป็นไปตามลักษณะของอนิจจัง ทุกขัง อย่างที่เราไม่อาจจะมีอำ�นาจห้ามยับยั้งได้เลย เมื่อถึงกาลเวลามันก็จะ กลับคืนสู่สภาวะเดิมของมัน ลักษณะทั้ง 3 เป็นสิ่งที่ควรทำ�ความเข้าใจให้ลึกซึ้งเพื่อยอมรับและปรับใจให้มั่นคง เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามกฎ ไตรลักษณ์ ก็ยังสามารถรักษาสมดุลไม่หวั่นไหวเป็นทุกข์ไปกับความเป็นจริงที่ต้องเกิด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เรารับได้หรือไม่ก็ตาม มันก็ จะเป็นของมันอยู่อย่างนั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงแนวทางให้เห็นถึงการนำ�เทคโนโลยีมาใช้เพื่อประโยชน์แก่การยกระดับจิตใจ สร้างปัญญาให้กับผู้คน ซึ่งแม้จะสวนทางกับกระแสบริโภคนิยมที่ถาถมสนองความต้องการด้านลบของคน แต่ก็ควรอย่างยิ่งที่เราจะต้องจรรโลงโลกใบนี้ไว้ ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ในมิติที่งดงาม ความเลวร้ายให้อยู่ในโลกเสมือนจริงเท่านั้นก็พอ ให้โลกแห่งความจริงเป็นสิ่งที่น่าอยู่ เทคโนโลยีก็คล้ายกับคำ�ว่า ธรรมะ เป็นกลางๆ อยู่ที่ว่าเราจะเอาอะไรไปเติม ใส่อะไรดีๆ ก็เป็น “ธรรมะ” แต่ถ้าใส่อะไรชั่วๆ ก็น่ากลัว เพราะมันจะกลายเป็น “อธรรม” จาก 3 ดี กลายเป็น 3 ชั่ว มุ่งมัวเมาให้มนุษย์โง่เขลาลุ่มหลง คงได้แต่ถามทุกคนว่า “เราจะใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์หรือสร้างเสีย?”
VS.
พื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างพระกับโยมในศตวรรษที่ 21
ลักขณา ปันวิชัย
VS.
สมณะจันทเสฏโฐ
เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ I ภาพประกอบ : รบฮ.
พระกับสื่อ ไปด้วยกันไม่ได้ จริงหรือ
25
26
ปัจจุบันในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารที่ท่วมทับเข้ามาอย่างรวดเร็ว ข้อมูลที่ต้องมีความฉับไวทันต่อ เหตุการณ์นั้น ไม่ใช่ความเร็วแบบวันต่อวันเสียแล้วหากแต่เป็นวินาทีและคงจะพัฒนาไปเป็นเสี้ยววินาทีต่อไป ทำ�ให้เราได้มีโอกาสเห็นภาพพระทั้งหลายออกสื่อหลายๆอย่าง อาทิเช่น เขียนหนังสือ Hi5 Facebook Twitter รวม ไปจนถึงการมีช่องวิทยุ เว็บไซต์ และช่องทีวี เป็นของตนเองต่างๆ นานา ซึ่งหลายคนก็มองว่ามันไม่เหมาะสม แต่ ในขณะเดียวกันหลายคนก็ยังสนับสนุนให้มีการทำ�อย่างนี้ต่อไป “มุม” ฉบับนี้ จึงเชิญท่านสมณะเพาะพุทธ จันท เสฏฺโฐ หรือที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยในชื่อของ “ท่านจันทร์” นักเทศน์แห่งสันติอโศก มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิด เห็นกับนักวิจารณ์สุดเผ็ด คุณลักขณา ปันวิชัย หรือที่ใครๆ รู้จักกันในนาม “คำ� ผกา” ว่าพระควรมีเสรีภาพในการ ใช้สื่อหรือไม่ ไปติดตามกันต่อเลยจ้า คำ� ผกา: คือคนมาเข้าใจว่าแขกเป็นพวกไปทะเลาะกับพระด่าแม่ชีอะไรอย่างนี้ แล้วทีนี้อาจจะไปเข้าใจว่าแขกไปตั้งป้อมว่าพระไม่ควรมายุ่ง กับการเมือง หรือว่าพระอย่ามาใช้สื่อไม่เหมาะ พระควรจะไปอยู่ในวัดไปปฏิบัติธรรมอะไรอย่างนี้ ประเด็นของแขกไม่ได้ไปอยู่ตรงนั้น แขก ไม่ได้มองว่าพระไม่ควรเล่นทวิตเตอร์ไม่ใช่เลย ถ้าคนที่ติดตามงานแขกมาโดยตลอด จะเห็นว่าโดยส่วนใหญ่แล้วแขกมุ่งที่จะเห็นพระเป็น คนมากกว่า เราอย่าไปยกพระให้สูงเกินเหตุหรือมองให้ต่ำ�เกินเหตุ เพราะพระก็เหมือนคนอาชีพอื่นๆ ในหลายๆ สาขาอาชีพ แขกประทับใจ หนังสือของคุณเสฐียรพงษ์ วรรณปก เรื่องสองทศวรรษในดงขมิ้น ซึ่งอันนี้ทำ�ให้เห็นถึงชีวิตเณร เด็กที่มาบวช และเห็นชีวิตของพระแบบชาว บ้านๆ หน่อย แขกมักจะวิจารณ์ทัศนะของคนชนชั้นกลางที่มีต่อพุทธศาสนา ที่มุ่งจะไปแบ่งพุทธเป็นพุทธดี พุทธไม่ดี พระดี พระไม่ดี ท่านจันทร์: ประเด็นชนชั้นกลางนี่เป็นประเด็นที่น่าพิจารณา เพราะว่าคนชนชั้นกลาง เป็นคนที่จะมุ่งไปสู่การสร้างภาพลักษณ์ แม้กระทั่ง การนำ�พุทธศาสนาไปกล่าวถึงก็ตามหรือการนำ�พุทธศาสนาไปปรับใช้ในรูปแบบต่างๆ นานาก็ตาม คนชั้นกลางมักใช้พุทธศาสนาในรูป แบบของเฟอร์นิเจอร์มากกว่าการนำ�ไปปฏิบัติจริงให้เกิดผล แล้วเดี๋ยวนี้หลายคนที่มีฐานะหน่อย ก็มักจะนำ�พุทธศาสนาไปสู่การรับรองความ ประพฤติของตัวเอง หรือการสร้างกู้ด วิว ให้กับตนเอง จนกลายเป็นว่ามีส่วนในการทำ�ลายพุทธศาสนาโดยที่ไม่รู้ตัว แต่ในส่วนที่คุณแยก ระหว่างความเป็นพระกับการเป็นบุคคลสาธารณะออกจากกันเลย อันนี้อาตมาไม่สู้จะเห็นด้วยนัก อาตมามองว่าการแยกความเป็นพระและ การเป็นบุคคลสาธารณะ จริงๆ แยกออกจากกันโดยสิ้นเชิงไม่ได้ เพราะถึงยังไงท่านก็เป็นพระ คำ� ผกา: ในกรณีแม่ชีทศพรแขกไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาที่แม่ชีพูด ก็ต้องออกมาโต้แย้งกับแม่ชี โต้แย้งในจุดยืนของในฐานะนักสตรีนิยมว่าแขก ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาแบบนี้ และก็มีเพื่อนของแขกอีกคนออกมาบอกว่า จากจุดยืนของคนที่ศึกษาแนวทางซับเอาท์เทิร์น ชนชั้นกลางไม่มี สิทธิ์จะมาดูถูกทัศนคติแบบนี้ของแม่ชี เพราะเป็นที่พึ่งพิงของคนที่เป็นชาวบ้าน ซึ่งเขาไม่ต้องการจะเข้าใจปรัชญาพุทธศาสนา แขกคิดว่า การถกเถียงแบบนี้มันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม ไม่ควรจะมาใช้อำ�นาจว่า แม่ชีห้ามพูดแบบนั้น ต้องพูดแบบนี้เท่านั้นถึงจะถูก แต่ว่าการที่ แขกออกมาวิจารณ์แม่ชีทศพร เพราะอยากให้สังคมออกมามีปฏิสัมพันธ์มีบทสนทนากันอีกเยอะๆ โดยไม่มีการผูกขาดว่าอะไรผิดอะไรชอบ โดยที่ไม่มีใครมาชี้หน้าแล้วบอกว่า ถ้าเธอไม่คิดเหมือนฉัน เธอโง่ เธอผิด ท่านจันทร์: จริงๆ อาตมาเห็นด้วยในรายละเอียดนี้ แต่อาตมาเห็นเพิ่มเติม อยู่ตรงที่ว่ากรณีของแม่ชีทศพร มันไม่ใช่เรื่องเห็นต่างนะ แต่มันเป็น เรื่องการอาศัยองค์กรพุทธศาสนา ทีนี้ก็ไปแสดงความเห็นในเรื่องทางเพศ ทางกาม ถ้าแม่ชีเป็นบุคคลธรรมดาอย่างเช่นเป็น คำ� ผกา หรือเป็น ใครก็ตาม แสดงทัศนะอะไรบางอย่าง โดยไม่อ้างอิงต่อพุทธศาสนากระแสหลัก ขนบธรรมเนียมประเพณี เธอต้องเข้าใจว่าการอยู่ในรูปแบบ แม่ชี ก็คือการอาศัยภาพลักษณ์ของความเป็นพระพุทธศาสนา ไปเพิ่มน้ำ�หนักของคำ�พูดคำ�จา หรือไปเพิ่มความน่าเชื่อถือ ถ้าเธอจะบอกว่านี่ เป็นความเห็นต่าง เป็นความคิดที่แตกต่าง กรณีเช่นนี้ต้องเป็นคนไม่ได้อยู่ในเครื่องแบบของพระพุทธศาสนา
โดยสถานะพระเป็นปัญญาชนของสังคม แต่ความเป็นจริงพระจำ�นวนไม่น้อยกลายเป็นคนด้อยโอกาสในสังคม
28 คำ� ผกา: แขกไม่ได้บอกแค่ว่า เราต้องยอมรับว่าแม่ชีคิดต่าง แต่มองว่าคนที่รู้เรื่องพุทธศาสนา แล้วคนที่ศึกษาพุทธศาสนาในเชิง มานุษยวิทยา หรือในเชิงสังคมวิทยา สามารถมาใช้อันนี้มาเขียนบทความมาคุย แล้วมันจะทำ�ให้ปัญญาสังคมไทยงอกงามมากกว่านี้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่แม่ชีทำ�เมื่อมองจากสายตากรอบปรัชญาพุทธศาสนามันอาจจะเป็นขยะ แต่ถ้ามองจากมุมมองนักมานุษยวิทยา มันอาจ ทำ�ให้เข้าใจสังคมไทยมากขึ้นว่า สังคมเรามันเกิดอะไรขึ้น ทำ�ไมคนไทยถึงต้องการฟังอะไรแบบนี้ ต้องการการเยียวยาแบบนี้ แทนที่เราจะ ใช้อำ�นาจรัฐกดทับความรู้แม่ชี เรามาใช้แว่นตาหลายๆ แว่นมาส่องดู นำ�ไปสู่การพัฒนาให้เป็นองค์ความรู้ในสังคม เพราะสังคมไทยมันมี ปัญหา เช่นเรื่องเศรษฐกิจ สังคม ความเท่าเทียมกันทางการศึกษา เลยทำ�ให้ความรู้อย่างแม่ชีเป็นที่ต้องการในตลาดของสังคมไทย เหมือน ทำ�ไมคนไทยถึงอยากดูละครน้ำ�เน่า เป็นความผิดของละครน้ำ�เน่าหรือเป็นความผิดที่โครงสร้างของสังคมที่ทำ�ให้คนเสพแบบนี้ ท่านจันทร์: กรณีแม่ชีทศพรที่มันเป็นเรื่องขึ้นมา น่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการแนะนำ�ทางเพศมากกว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่ปากว่าตา ขยิบ โดยรวมไม่ว่าคนชั้นล่าง คนชั้นกลาง โดยเฉพาะคนชั้นกลางนี่หนักมาก โดยเกือบส่วนใหญ่มีปัญหาความเสื่อมศีลธรรมทางเพศ แต่ไม่ ยอมรับที่จะพูดเรื่องนี้อย่างเปิดเผย อย่างตรงไปตรงมา การแม่ชีทศพรพูดในเรื่องแก้กรรม ถ้าไม่ได้พูดในเรื่องทางเพศ ต่อให้ผิดไปกว่านั้น ต่อให้แย่ยิ่งไปกว่านั้น สังคมก็จะไม่ตื่นตระหนกแต่ประการใด แต่อาตมาเห็นว่าการที่กระทรวงวัฒนธรรมออกมาเล่นเรื่องนี้มันน่าจะเป็นไป ตามกระแสการเมืองมากกว่า คำ� ผกา: เรื่องนี้แขกเห็นด้วยเลยค่ะ ขออนุญาตเห็นด้วย (หัวเราะ) ท่านจันทร์: ถ้าแม่ชีทศพรไม่ใช่คนที่มีชื่อเสียง ไม่เป็นข่าว เป็นแม่ชีกระจอกๆ คนหนึ่งไปแนะนำ�แบบนี้ กระทรวงก็จะไม่ขยับเพราะทำ�แล้วมัน ก็จะไม่เป็นข่าว ทำ�แล้วมันก็จะไม่เป็นกู้ดวิว ถือว่าเป็นมุมของสังคมไทยที่เกี่ยวกับการลูบหน้าปะจมูก เกี่ยวกับการสร้างภาพ ก็แล้วแต่มัน เป็นปัญหา แต่อย่างในกรณีแม่ชีทศพรนี่ยังมีข้อดีอยู่นะ เพราะแม่ชีได้ให้สัมภาษณ์ว่า ถ้าเห็นว่าเป็นความผิด ท่านก็พร้อมจะขอโทษ ซึ่งอันนี้ อาตมาก็ถือว่าเป็นความงดงามนะ พระจำ�นวนไม่น้อยเลยที่ทั้งที่รู้ว่าผิด แต่ก็ไม่เคยออกมาขอโทษ ทีนี้ที่ตั้งประเด็นว่า พระกับสื่อไปด้วยกัน ได้หรือ อันนี้คุณคิดยังไง คำ� ผกา: ไปได้ค่ะ ไม่มีปัญหาอะไรเลยพระใช้ ทวิตเตอร์ เฟสบุ๊คอะไรได้หมด จัดรายการทีวียังได้ไม่มีปัญหาเลย แขกคิดว่าพระเป็นปัญญา ชนของสังคม เป็นปัญญาชนสาธารณะ ท่านจันทร์: อาตมามองเห็นว่าโดยสถานะของพระเป็นปัญญาชนของสังคมจริงๆ แต่พระจำ�นวนไม่น้อยกลายเป็นคนด้อยโอกาสในสังคม ปัจจุบันนี้เวลามีปัญหาอะไรแทนที่จะเข้าหาพระหรือถามพระ ก็กลับไปถามผู้รู้ในสาขาวิชาต่างๆ เมื่อเกี่ยวข้องกับศาสนา แต่ปรากฎว่าพระ ไม่มีส่วนในการตัดสินใจ นอกจากเรื่องที่เกี่ยวกับแวดวงวัดโดยตรง อย่างเช่นเรื่องการแก้กรรมเป็นต้น ค่อยไปสัมภาษณ์พระ เพราะฉะนั้น อาตมามองว่าสถานะของพระเป็นผู้นำ�ทางปัญญาก็จริง แต่พระไม่ได้เป็นผู้นำ�ทางปัญญา การที่พระผ่านสื่ออาตมาเองก็เป็นหนึ่งในจำ�นวน นักบวชที่ทำ�งานด้านสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ หรือสื่อหนังสือพิมพ์ต่างๆ ก็พบว่า การทำ�งานด้านสื่อของพระ ถ้าเป็นสื่อโดยตรง ต้องอาศัยองค์ประกอบร่วม ต้องอาศัยข้อมูลข่าวสาร ต้องอาศัยกับจิตวิญญาณของความเป็นสื่อ แต่อาตมามองว่าสื่อกับพระมันมีเส้นแบ่ง กันอยู่พอสมควรนะ เพราะว่าหลายครั้งการเป็นสื่อมันต้องอาศัยความฉับไว ต้องอาศัยการนำ�เสนอที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ถ้าลำ�พังมาเทศน์ ให้ฟังปาวๆ ให้คนฟัง โดยไม่ได้ยึดโยงกับเหตุการณ์ วิถีความรับรู้ปกติของคน ก็เหมือนกับพระทั้งหลายที่เช่าสถานีวิทยุหลับตาเทศน์ แล้วก็ เรี่ยรายเงินบริจาค คุณเคยได้ยินได้ฟังไหม คำ� ผกา: แขกรู้สึกว่าเรื่องแบบนี้ใครอยากจะทำ�อะไรก็ทำ� แต่สุดท้ายภูมิปัญญาของสังคมเขาก็จะคัดเลือกว่าเขาจะอยากฟังพระรูปไหน พระก็มีสิทธิ์ที่จะอยากเป็นสื่อไม่อยากเป็นสื่อ อยากจะไปทำ�งานพัฒนาด้านอื่น ด้านห้องสมุด เรื่องการศึกษา ใครอยากทำ�อะไรก็ทำ�
พระปัญญาชนจะต้องกล้าที่ใช้สื่อมากกว่านี้ แต่โดยทั่วไป แขกก็เห็นว่าพระที่ออกมามีหน้ามีตาอยู่ในวงสังคม ก็เป็นพระที่ยอมศิโรราบต่ออำ�นาจซะมากกว่า
30 ใครอยากฟังอะไรก็ฟัง แล้วก็สื่อมวลชนทั่วไปอยากจะไปสัมภาษณ์พระหรือไม่ อันนั้นก็เป็นวิจารณญาณของเขา แล้วแขกก็ไม่ได้มองว่า พระด้อยโอกาสหรืออะไร เพราะแขกคิดว่ามันไม่ควรมีอาชีพที่ผูกขาดการให้ความรู้ หรือการมีบทสนทนากันสังคม ยิ่งในสังคมสมัยนี้เรามี อินเตอร์เน็ต การปะทะกันทางภูมิปัญญา การปะทะกันทางบทสนทนา การวิพากษ์วิจารณ์ เราไม่ต้องไปมองหรอกว่าเป็นพระหรือเป็นคน เราควรมองว่าพระก็เป็นคนเพียงแต่อยู่ในฟอร์มของนักบวชที่ถือวินัยในแบบหนึ่งต่างไปจากเรา เพราะมุ่งหวังมรรคผลในอีกแบบหนึ่งต่าง จากโลกียชนธรรมดา แต่ที่สุดแล้วท่านก็เป็นมนุษย์ที่ต้องออกไปปะทะกับสังคม ท่านจะทำ�อะไรได้ในกรอบนิกายตามที่ท่านสังกัด เพราะ พุทธศาสนาก็มีหลายร้อยหลายพันนิกาย ข้อห้ามอะไรก็มีไม่เหมือนกัน พระก็ปฏิบัติตามกรอบของนิกายที่ตัวเองสังกัด ตามความชื่อที่ตัวเอง นับถือ แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่พระ ปัญหาอยู่ที่สังคมไทยโดยรวมมากกว่า ที่แยกไม่ออกระหว่างโลกโลกียะกับโลกโลกุตระ เพราะฉะนั้นสังคม ไทยมันก็เลยงงๆ จะเป็นศาสนาจักรแบบสังคมอิสลามเลยไหม เอากฎของศาสนามาเป็นกฎของประเทศ ซึ่งก็ไม่ใช่ ส่วนพระท่านอยู่แบบ ของท่าน ท่านต้องเป็นคนเลือกเองว่า ท่านอยากจะเข้ามาปะทะกับสังคมแบบโลกียะ มากน้อยแค่ไหนอย่างไร ภายใต้ข้อจำ�กัดอะไรบ้าง แต่ ทั้งนี้ทางฝ่ายคณะสงฆ์เองก็ยังมีปัญหาเรื่องระบบบริหารราชการ โครงสร้าง พัดยศ (เหมือนระบบราชการทั่วไป) ที่มันเหมือนกับระบบราชการ นี่มันก็เป็นการตัดสินใจของพระสงฆ์เองที่จะออกมาปฏิรูปบางอย่างบ้างในโลกของพระ ซึ่งคิดว่าฆราวาสเองคงไม่เกี่ยว ให้ท่านไปจัดการแก้ ปัญหาของท่านเอง ถ้าเรามีอะไรไม่พอใจเราก็ดุด่ากันไป ก็อยู่กันไปแบบนี้แหละค่ะ ท่านจันทร์: คืออาตมามองว่าการปล่อยให้ทำ�ไปมันต้องอยู่ภายใต้กรอบของพระธรรมวินัยด้วย จริงอยู่การที่จะปล่อยให้มีการสื่อวิทยุโทรทัศน์ หรืออะไรก็แล้วแต่ กลับปรากฏว่าเป็นการใช้สื่อไปในทางที่ผิดพระธรรมวินัย อาตมาก็ไม่เห็นด้วยที่จะบอกว่าให้ประชาชนเลือก อย่างใน กรณีการโฆษณายาทั่วๆ ไปก็ต้องมี อย. คอยกำ�กับ คอยดูแลเพื่อความปลอดภัยของประชาชน กรณีที่สอนธรรมะผ่านสื่อ กรณีนี้อาตมาก็คิด ว่าต้องมีกรอบของพระธรรมวินัยกำ�กับอยู่ อย่างการเรี่ยไร เรี่ยราด(ลากเสียง) จนน่าเบื่อหน่าย แล้วก็กลายเป็นการใช้สื่อเพื่อหาเงิน จำ�นวนมากๆ อย่างที่คุณพูดในกรณีธรรมกายเนี่ย อาตมาเห็นว่ากรณีของธรรมกายเป็นรูปแบบของการแสวงหาเงินที่อย่างมากมายแล้วก็ ค่อนข้างโจ๋งครึ่ม คำ� ผกา: ดีค่ะ ยิ่งโจ๋งครึ่มเท่าไหร่ยิ่งดี ถ้าคนเขาเห็นการขายแอมเวย์ทางจิตวิญญาณชัดเจนอย่างนั้น เขายังเต็มใจจะซื้ออันนี้ แขกคิดว่า เป็นอำ�นาจของผู้บริโภคแล้วล่ะค่ะ อย่างคนอยากหิ้วกระเป๋าหลุยส์นะคะ กระเป๋าหลุยส์กับกระเป๋า 500-600 บาท มันก็ใส่ของได้เหมือนกัน แต่ทำ�ไมคนอยากหิ้วกระเป๋าหลุยส์ มันเป็นสิทธิส่วนบุคคลนะ ถึงที่สุดแล้วคนมีสิทธิ์เลือก ถ้าคนเขาอยากได้แอมเวย์ทางจิตวิญญาณแบบ ธรรมกาย ถึงเราวิจารณ์เขาก็ฟังเราวิจารณ์แล้วแต่เขายังรักจะเลือกทางนี้ ก็เป็นเรื่องที่ใครก็ช่วยใครไม่ได้ แต่ในหมู่พระด้วยกันเองจะออก มาวิจารณ์ธรรมกายอย่างไร แขกก็จะอ่านแล้วก็จะมีความสุขด้วยที่ได้อ่าน แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าแขกก็ไม่เห็นว่าจะมีพระออกมาวิจารณ์ ธรรมกายอย่างเป็นระบบเป็นเรื่องเป็นราวว่าต่อต้านกันจริงๆ ไหม ท่านจันทร์: ในเรื่องของสื่อ ถ้าพระได้มีโอกาสใช้สื่อในแบบที่ว่าไม่ต้องใช้เงินซื้อ ไม่ต้องใช้เงินเช่าช่วงเวลา และไม่ต้องผูกติดกับพระกระแส หลัก เพราะเราต้องเข้าใจนะว่าสื่อที่มีการเทศน์ทุกเช้าวันอาทิตย์ ก็กลายเป็นว่าผูกติดอยู่กับพระจำ�นวนไม่กี่รูปที่ใช้สื่อเทศน์ และก็เป็นการ เทศน์ชนิดที่ว่า ห่างไกลจากวิถีชีวิตคนปกติอยู่พอสมควรทีเดียว เรียกได้ว่าเขียนมาอ่านอย่างไร้ชีวิตชีวา ในสมัยก่อนท่านเจ้าคุณพุทธทาส เทศน์ มีท่านปัญญานันทเทศน์ ที่พอฟังได้หน่อย แต่ปรากฏว่าในระยะหลังมาหลังจากที่มีพระบางรูป ออกมาพูดจาอะไรร่วมสมัยบ้างก็กลาย เป็นพระรูปนั้น อย่างท่านเจ้าคุณปัญญานันทภิกขุ เคยถูกผู้มีอำ�นาจรัฐในสมัยหนึ่งเซ็นเซอร์การเทศน์ พระบางรูปก็มีลักษณะอย่างเดียวกัน ถูกเซ็นเซอร์จากรัฐ คุณมองเรื่องนี้อย่างไร คำ� ผกา: สมัยนี้มันหนักกว่าที่ท่านปัญญานันทภิกขุอีก เพราะฉะนั้นจะหาพระกบฏยาก พระที่จะกล้าออกมาท้าทายอำ�นาจรัฐ หรือท้าทาย องค์กรสงฆ์เอง ซึ่งก็เป็นตัวแทนของอำ�นาจรัฐอย่างหนึ่ง คนที่ออกมาต่อสู้ตายกันก็เยอะ ติดคุกกันก็เยอะ พระที่เป็นพระปัญญาชนก็น่าจะถึง เวลาออกมาท้าทายอำ�นาจรัฐกันบ้าง ไม่ต้องกลัวถูกเซ็นเซอร์ เพราะท่านเป็นพระมีผ้าเหลืองคุ้มครอง มีอภิสิทธิ์กว่าประชาชนสามัญชนอีก
เยอะ พระปัญญาชนจะต้องกล้ามากกว่านี้ ต้องกล้าที่ใช้สื่อมากกว่านี้ แต่โดยทั่วไปแขกก็เห็นว่าพระที่ออกมามีหน้ามีตาอยู่ในวงสังคม ก็ เป็นพระที่ยอมศิโรราบต่ออำ�นาจซะมากกว่า หาพระกบฏไม่ค่อยได้ค่ะ
31
ท่านจันทร์: ในกรณีที่พระพยอมท่านใช้สื่อมากพอสมควรในการที่จะขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ นานา จนในระยะหลัง ดูเหมือนว่าท่านก็จะแพ้สื่อ โดนสื่อกระทำ�อยู่พอสมควร คำ� ผกา: ก็ไม่เป็นไร เราออกมาในที่แจ้ง แขกคิดว่าพระที่ตัดสินใจออกมาใช้สื่อ มันก็เหมือนอยู่ใต้ฝ้า ฝนตกมันก็เปียกเป็นธรรมดา แขกก็ไม่ เห็นว่ามันจะเป็นเรื่องแปลกอะไรที่โดนกระทำ�บ้าง ไปกระทำ�คนอื่นบ้าง ท่านจันทร์: อาตมาตั้งข้อสังเกตสังคมไทยนี่ขาดความคุ้นเคยในการสร้างความสัมพันธ์กับพระ และโยม ในปัจจุบันนี้เวลาศรัทธาก็ศรัทธา อย่างหัวปักหัวปำ� แล้วก็คล้อยตามไปหมด สำ�หรับคนบางคนที่ศรัทธาเลื่อมใส มีอะไรก็ให้หมดๆ แต่ ณ วันหนึ่งมีจิตใจเป็นอย่างอื่น ก็แสดง ท่าทีคนละอย่างที่ตัวเองเคยแสดงเอาไว้แต่ก่อน ที่ว่าคนไทยขาดความพอดี ขาดความคุ้นเคยในการแสดงออกกับพระสงฆ์องค์เจ้า ยก ตัวอย่างเช่นการคุยกับพระในการออกทีวี เห็นพิธีกรจำ�นวนมากต้องยกมือพนมไหว้ทุกครั้ง ในการพูดกับพระปกติเราก็ไม่ได้ยกมือพนมแต้ทุก ครั้งไป อาตมามองว่านั่นเป็นการแสดงมากกว่า หรือคุณคิดว่าอย่างไรในเรื่องนี้ คำ� ผกา: แขกก็รู้สึกแปลกๆ เหมือนกัน แขกไม่ค่อยสนใจเรื่องพวกนี้เท่าไหร่ เห็นเป็นเรื่องขำ�ๆ มากกว่า ไม่คิดว่าเป็นเรื่องคริติคอลเท่าไหร่ คิดว่าจะไหว้อะไรนักหนา ขำ�มากกว่าจะเอามานั่งวิจารณ์เป็นเรื่องเป็นราว คือมันไม่ค่อยมีค่าพอที่จะพูดถึง ท่านจันทร์: พูดถึงสื่อนี่นะ อาตมาว่าพระจำ�นวนไม่น้อยที่ใช้สื่อในเรื่องเครื่องรางของขลังเดรัจฉานวิชา คุณจะสังเกตว่า จะมีข้อถกเถียงว่าคุณ โยมเป็นคนทำ� แต่จริงๆ แล้วพระเป็นคนจ้าง พระเป็นคนเอาเงินจ่ายเพื่อการโฆษณาเครื่องรางของขลังหรือวัตถุมงคลต่างๆ นานา ซึ่งวัตถุไม่ได้เป็นมงคล ในมงคล 38 คุณมองเรื่องนี้เป็น อย่างไร คำ� ผกา: แขกก็ไม่ได้สนใจเรื่องแบบนี้อีกนั่นแหละคะ แขกมองในฐานะนักมานุษยวิทยามากกว่า แขกมองว่าไสยศาสตร์แบบนี้มันก็มีฟังชั่น ของมันแต่ละยุคแต่ละสมัยของแต่ละกลุ่มคน ท่านจันทร์: แต่คุณทราบไหมว่า ปัจจุบันนี้หนังสือพระที่มียอดจำ�หน่าย และวางแผงในท้องตลาด ส่วนใหญ่ก็จะเป็นหนังสือแนวเครื่องราง ของขลังต่างๆ นานา คำ� ผกา: มันก็สะท้อนสังคมนะคะ ถ้าสังคมไทยเป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้ มีชนชั้นกลางที่มีการศึกษามากกว่านี้ มีความเหลื่อมล้ำ�ทาง ชนชั้นน้อยกว่านี้ มีโครงสร้างทางการศึกษา ระบบสาธารณูปโภค โรงพยาบาลที่ดีกว่านี้ มีกิน มีอยู่ ชีวิตปลอดภัย แต่เดี่ยวนี้สังคมเต็มไป ด้วยความรู้อนาคต เต็มไปด้วยความไม่แน่ไม่นอน เต็มไปด้วยเคราะห์ร้ายที่จะเกิดขึ้นรอบตัวอย่างไม่คาดฝัน รัฐบาลก็ยังง่อนแง่น ไม่เป็น ประชาธิปไตย ไม่รู้วันไหนมันจะมีรัฐประหาร มันก็ต้องพึ่งเครื่องรางของขลังมันเป็นเรื่องธรรมดามาก มันไม่ใช่ความผิดของคน ไม่ใช่ความ ผิดของพ่อค้าพระ ไม่ใช่ความโง่ของคน เมื่อสังคมเคลื่อนไปในแนวทางที่มีการศึกษา มีความคิดเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น เป็นประชาธิปไตย ความเหลื่อมล้ำ�น้อยลง ระบบเก็บภาษีเป็นเรื่องเป็นราว ระบบสาธารณูปโภคดีแล้ว คนได้เข้าโรงเรียน เข้ามหาวิทยาลัยได้ใกล้เคียงกัน ลูกมี สิทธิ์เข้ามหาวิทยาลัยในระบบที่ยุติธรรม ไม่ต้องอาศัยเส้นสาย ไม่ต้องฝากผู้ใหญ่ ระบบอุปถัมภ์แบบนี้หมดไปแล้ว เครื่องรางของขลังจะหมด ไปเอง มันไม่ใช่เรื่องที่จะหายไปภายในชั่วข้ามคืน มันก็ต้องเปลี่ยนไปตามพัฒนาการของสังคม
32 ท่านจันทร์: นั่นเป็นเรื่องที่เมื่อไรจะเกิดก็ไม่รู้นะ (หัวเราะ) อาตมาเห็นว่าคนชั้นกลางจำ�นวนไม่น้อยรวมทั้งชนชั้นสูงด้วยสิ คำ� ผกา: ก็ชนชั้นกลางชนชั้นสูงมันอยู่ในสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ชนชั้นกลางก็มีแค่หยิบมือเดียว แล้วเป็นชนชั้นกลางที่ไม่ได้ขึ้นมาด้วย ความสามารถของตัวเองล้วนๆ ไงคะท่าน การที่ขึ้นมาด้วยฝากฝัง อุปถัมภ์ มันไม่มั่นคงไงคะ มันก็ไม่รู้ว่าความเป็นชนชั้นกลางของมัน เมื่อ ไหร่จะหมดไป เพราะว่าระบบมันคลอนแคลน ระบบมันได้มาอย่างไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นการเมืองเศรษฐกิจไม่มั่นคงก็ต้องกลับไปห้อยพระ อยู่ดีน่ะค่ะ ท่านจันทร์: ในความคิดของอาตมา คิดว่าสื่อพระเครื่องทั้งหลาย และก็สื่อทั้งหลายเป็นตัวชี้นำ� คำ� ผกา: ต้องไปแก้ที่โครงสร้าง ไม่ใช่มาจับคนขายพระเครื่อง หรือด่าหนังสือพระเครื่อง ทุกคนต้องช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องโครงสร้าง อย่าไป โทษสื่อ ต้องโทษโครงสร้างก่อน แก้ที่สื่อท่านจะไปแก้ยังไง ท่านจะเอาอำ�นาจรัฐมาปลุกอีก ก็เป็นเผด็จการอีก เพราะฉะนั้นต้องใช้กลไกทาง สังคมนี่แหละ ที่จะทำ�ให้อยู่ในร่องในรอยเป็นไปธรรมชาติของมัน เราไม่สามรถไปบอกสื่อ จะต้องฉลาดกว่านี้ มันเป็นไปไม่ได้ คือสื่อมันไม่ได้ ฉลาดด้วยตัวมันเองหรือลุกขึ้นมานำ�สังคม เอะอะอะไรก็โทษสื่อ ไม่ยอมกลับมาโทษตัวเอง ไม่ยอมรับว่ามันมีอะไรผิดปกติในโครงสร้างของ สังคมทั้งหมด นี่เราพยายามปัดความรับผิดชอบออกไปจากตัวเราทุกๆ คน ท่านจันทร์: พูดถึงสื่อกับพระเนี่ย สิ่งที่อาตมามองเห็นก็คือถ้าพระใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ แล้วก็มีมืออาชีพมาจัดการในการนำ�เสนอสื่อ ให้น่าติดตามมากกว่านี้ จะเป็นโดยสังคมมีส่วนร่วม หรือมีญาติโยมช่วยกันจัดการอย่างมีระบบให้เรื่องของศาสนา เรื่องธรรมะเป็นเรื่องที่น่า สนใจมากกว่าที่จะเป็นเรื่องออกมาเทศน์ ออกมาทอล์ค แล้วก็เป็นคำ�พูดที่ค่อนข้างจะแห้งแล้งน่าเบื่อหน่ายแบบทุกวันนี้ คำ� ผกา: แขกคิดว่า มันอยู่ที่เนื้อหาที่พระอยากจะพูดมากกว่า พระจะพัฒนาเนื้อหาที่ดีกว่านี้ ก้าวหน้ากว่านี้ได้อย่างไรมากกว่า นั่นเป็น ปัญหาที่สำ�คัญกว่า มันไม่ใช่ปัญหาที่เครื่องมือหรือความเป็นมืออาชีพ อยู่ที่เนื้อหาที่สื่ออกไปมากกว่าคะ ท่านจันทร์: ใช่ ยังไงต้องมีระบบบริหารจัดการ อย่างเราออกทีวี ออกวิทยุก็ต้องมีสคริปต์ คำ� ผกา: ไม่ใช่ว่ามีสคริปต์ดีหรือว่าไม่ดีนะคะ อย่าง ว.วชิรเมธี เนี่ยท่านก็เตรียมดี สคริปต์ดี แต่ปัญหามันอยู่ที่เนื้อหา แอทติจูด ทัศนคติ อุดมการณ์ทางการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย มีแนวโน้มที่จะไปอย่างที่เราเห็นนะคะ ไปถึงการทำ�มาหากินมากกว่าที่จะอยากเห็นสังคมดีขึ้น อีกหลายทัศนคติมองว่าท่าน ว.วชิรเมธี นี้ใช้ไม่ได้เลยกับคำ�ที่ว่า “ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ที่ดี ขนาดนี้ แต่ทำ�ไมข้าราชการจึงคอรัปชั่น” มันไม่มีลอจิค ไม่มีความเป็นเหตุเป็นผล ไม่มีตรรกะ แขกว่าต้องการการวิพากษ์วิจารณ์ เพราะฉะนั้นแขกไม่คิดว่าปัญหาอยู่ที่เทคโนโลยีหรือ การจัดการ หรือการใช้สคริปต์ ถ้าคำ�พูดของ ว.ดีเนี่ย มันเป็นคำ�สอนทางพุทธ ก็ถือว่าคำ�สอนทางพุทธเถรวาทของเมืองไทยมีปัญหาแล้วล่ะในตอนนี้ ท่านจันทร์: นี่ถ้าคุณพูดถึงท่านว. วชิรเมธี เนี่ยนะ อาตมาก็ยังมองว่าท่าน ว.วชิรเมธี ก็ยังมีการแสดงธรรมที่มีความสอดคล้องกับยุคสมัย ได้มากกว่าพระอีกหลายๆรูป อาตมาว่าคำ�พูดของ ว.วชิรเมธี ยึดโยงอยู่กับศาสนาพุทธจริงๆ เพียงแต่ท่านใช้ภาษา ท่านนำ�เสนอในภาษาที่ แปลกใหม่ น่าสนใจ แต่ในที่ท่านคิดเองเขียนเอง อันนั้นมันก็เป็นเรื่องของความเห็นแล้วละ ไม่ใช่เรื่องของความรู้ บางทีเราไปเอาความเห็น มาเป็นประเด็นไม่ได้ เพราะความเห็นมันเป็นอัตวิสัยของพระรูปนั้น เป็นของท่าน ว. เป็นของท่านจันทร์ เป็นของท่านไพศาล เป็นของคำ� ผกา เป็นเรื่องส่วนตัวเรา แต่บางอันมันเป็นความรู้ เราก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นความรู้ เราจะไปตัดสินว่าความเห็นของท่านผิดหรือ ไม่ดี หรือถ้า เป็นพุทธศาสนาแบบนี้มันใช้ไม่ได้ อาตมาก็เห็นว่ามันเป็นการเอาความเห็นไปตีทิ้งความเห็นและความรู้มากไป ขอขอบคุณภาพ ลักขณา ปันวิชัย จาก MagazineDee.com
34
ธรรมไมล์
เรื่อง I ภาพ : ภาณุวัฒน์ จิตตวุฒิการ
“ผลิ”
ในช่วงเวลาที่ธรรมชาติแห้งแล้งที่สุด ต้นไม้ยังคงผลิดอกบอกความงามได้ ในสังคมที่วิกฤติ คนเราก็ยังทำ�ความดีได้
36
hidden tips
เรื่อง : กองบรรณาธิการ I ภาพประกอบ : เพลง
สอนอย่างไร.......ให้เป็นธรรม
เรื่องราวพระพุทธศาสนากับธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็น เรื่องที่ลึกซึ้ง กว้างขวาง และหลากหลายวิธีคิด ในปัจจุบันการตีความ คำ�สอนของพระพุทธองค์นั้นก็มีออกมามากมายแตกต่างกันไป และ คนก็เลือกปฏิบัติตามคำ�สอนที่ตนเองชอบใจ โดยไม่ได้คิดให้รอบคอบ ว่าสิ่งที่ตนเองกำ�ลังทำ� หรือเชื่ออยู่นั้นผิดถูกอย่างไรเพราะฉะนั้น “มุม” ฉบับนี้จะขอยกเอาลักษณะการตัดสินว่าอะไรเป็นธรรมเป็นวินัย มา ให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายเก็บไว้ไปพิจารณาว่า คำ�ที่ท่านได้ยินได้ฟังเป็น คำ�สอนของพระพุทธเจ้าจริงๆ หรือไม่ ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้ 1. คำ�สอนที่เป็นไปเพื่อความคลายกำ�หนัด แนะนำ�ให้เรา ไม่มีใจติดข้องยึดติดอยูใ่ นเรือ่ งรักๆ ใคร่ๆ ไม่คิดหมกมุ่นหรือไม่แสวงหา แต่เรื่องนี้ ไม่ทำ�ผิดตามความรัก ความใคร่ สอนให้เรารู้จักข่มมันเอาไว้ บ้าง จนถึงสามารถที่จะกำ�จัดมันไปจากความคิด และความต้องการได้ 2. คำ�สอนที่เป็นไปเพื่อความไม่ประกอบทุกข์ คนเราไม่ ชอบความลำ�บากด้วยกันทั้งนั้น การทำ�ตนเองไม่ให้ลำ�บากด้วย ความไม่รู้เท่าถึงการณ์ ด้วยความเข้าใจผิดในกรณีที่ไม่ควรจะมีความ ลำ�บากหรือลำ�บากแต่น้อยก็ตาม 3. คำ�สอนที่เป็นไปเพื่อไม่สะสมกองกิเลส กิเลสก็คือสิ่ง ที่เศร้าหมอง อยู่กับตัว ตัวก็เศร้าหมอง อยู่กับใจ ใจก็เศร้าหมอง แต่ มักชักชวนให้คนอื่นหลงไหล และพาตัวเราเองไปสู่ความไม่รู้จักพอ เช่น สะสมเครื่องประดับ หรือ เครื่องใช้ชนิดที่ไม่มีความจำ�เป็นแก่การ เป็นอยู่ เพื่อความลุ่มหลง หรือความเห่อเหิม ทะเยอทะยาน ประกวด แข่งขันกัน อยากได้อยากเด่นมากๆ ขึ้นไป 4. คำ�สอนที่เป็นไปเพื่อความอยากน้อย ไม่อยากได้ ไม่
อยากมีเกินมาตรฐานแห่งความเป็นจริงของตน หรือกำ�ลังสติปัญญา ของตน ไม่ดิ้นรนหาแสวงหาโดยไม่คิดถึงวิธีการว่าถูกหรือผิด 5. คำ�สอนที่เป็นไปเพื่อความสันโดษ สันโดษไม่ได้หมาย ถึง ความอยากน้อยจนไม่ทำ�อะไร แต่หมายถึง ความรู้จักพอใจในสิ่งที่ ได้มาแล้ว หรือมีอยู่แล้ว ซึ่งแม้จะทำ�ให้มีความรู้สึกเป็นคนยากจนอยู่ ตลอดเวลา แต่ก็สามารถทำ�ให้ใจเราสงบได้ด้วยคำ�ว่า พอ 6. คำ�สอนที่เป็นไปเพื่อความไม่คลุกคลี การไม่พบปะ สังสรรเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน จัดงานครื้นเครง ดื่มกิน เที่ยว ตามสถานที่ต่างๆ อันเป็นสาเหตุให้เสียเงินทอง เสียเวลาเกินความ จำ�เป็น 7. คำ�สอนที่เป็นไปเพื่อความพากเพียร การปฏิบัติทำ�ความ ดับทุกข์ เป็นเรื่องใหญ่และยึดยาว จึงต้องอาศัยความเพียร ต้องให้ เวลากับมันหน่อย อดทนให้มาก 8. คำ�สอนที่เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ความเลี้ยงง่ายจึง จะเป็นเหตุให้ไม่ต้องมีภาระเรื่องอาหาร มากกว่าที่จำ�เป็น ซึ่งทำ�ให้เสีย เวลา และเสียวัตถุมากไปเปล่าๆ ธรรมะทั้ง 8 ประการนี้ เป็นคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ควร ที่จะทำ�ตาม ยึดถือ เชื่อถือได้ แต่ถ้าตรงกันข้ามกับที่กล่าวมาข้างต้น นั้น แสดงว่าธรรมะนั้นไม่ใช่คำ�สอนของพระพุทธองค์ ไม่ใช่สิ่งที่ควรนำ� ไปปฏิบัติตาม ไม่ควรยึดถือเป็นแก่นสาร เพราะฉะนั้นเมื่อทราบดังนี้แล้ว จึงไม่ควรมัวหลงติด อยู่ในสิ่งแปลกปลอม หลอกลวงอีกต่อไปเพื่อพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น
38
ผ้าเหลืองเปื้อนยิ้ม ภาคพิเศษ ตอนเณรน้อยนักสืบ
คดีที่ ๑๑ : “ว่าง่าย”
เรื่อง : กิตติเมธี I ภาพประกอบ : บุคลิกลุงป้า bookalicloongpa@gmail.com
39 ในวัดมีความแตกต่างของหลากหลายชีวิตที่มาอยู่ร่วมกัน แต่ก็ยังหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ด้วยวิถีปฏิบัติ อันเป็นไป เพื่อความสุขสงบ ไม่เบียดเบียนกันและกัน แม้ชีวิตพระภิกษุสามเณรดูยุ่งยาก แต่ก็งดงามยิ่งนักเมื่อมองผ่านโลกแห่งความวุ่นวาย ภายนอก สามเณรพายุเป็นสามเณรที่ผ่านความวุ่นวายมาแอบอิงความสงบภายใต้พระรัตนตรัย ตั้งแต่เข้ามาบวชอยู่รวมเป็นหนึ่ง เดียวในวัด ก็เริ่มต้นเรียนรู้พร้อมๆ กับสามเณรน้อยและสามเณรปุ้ย ทั้งกิริยามารยาทก็เรียบร้อย อีกทั้งยังช่วยเหลือเพื่อนๆ ที่เดือด ร้อนยามจำ�เป็น “ผมเก็บเงินได้ ๑๐๐ บาทครับ” สามเณรน้อยหยิบเงินออกมายื่นให้พระอาจารย์ พระอาจารย์จึงนำ�เงินที่ได้ไปประกาศ ท่ามกลางหมู่สามเณร “เณรน้อยเก็บเงินได้ ของใครก็มารับไป แล้วอย่าลืมขอบคุณคนเก็บได้ด้วย” สามเณรทั้งหมดนิ่งเงียบ พระอาจารย์จึงเก็บเงินไว้ก่อนเพื่อจะมีคนมาเอาวันหลัง แต่ช่วงค่ำ�ๆ สามเณรพายุก็เข้าไปหาพระอาจารย์แล้วพูดขึ้น “พระอาจารย์ผมมีเรื่องจะเล่าให้ฟัง...” “เอ้ามีเรื่องอะไรเณรก็ว่าไป” “ผมรู้ว่าเงินเป็นของใครครับ แต่อย่าบอกนะว่าผมบอก ถือว่าผมเล่าให้ฟังก็พอ...” สามเณรพายุอารัมภบท พระอาจารย์ได้แต่ส่ายหน้าพร้อมทำ�มือให้เล่าต่อ “คือสามเณรปุ้ยบอกว่าเงินนั้น เป็นของเขา เขามาเล่าให้ผมฟัง พระอาจารย์ฟังแล้วคิดเองแล้วกันนะครับว่าจะทำ�ยังไง ผมแค่เล่าให้ฟัง” ประโยคสุดท้ายทำ�ให้ พระอาจารย์ถึงกับยิ้ม เพราะรู้เจตนาที่เณรพายุอยากให้เพื่อนได้เงินคืน จึงให้สามเณรปุ้ยมาคุยก่อนจะรับเงินคืนไป นอกจากนี้สามเณรพายุยังเชื่อฟังพระอาจารย์ที่ท่านแนะนำ�อะไร ก็จะนำ�ไปปฏิบัติอย่างคนว่าง่าย แถมยังชอบทำ�ตัวตาม แบบอย่างดีที่ตนเองได้รู้หรือฟังๆ มา “การรักษาผ้าทุกผืนไม่ว่าจะเป็นจีวร สบง อังสะ ทุกผืนล้วนเป็นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรต้องดูแลรักษาให้ดี เหมือน พระภิกษุทั้งหลายในครั้งพุทธกาล...” พระอาจารย์เล่าให้สามเณรฟัง จนวันหนึ่งสามเณรพายุก็เข้ามาหาพระอาจารย์ด้วยประโยค เดิม “พระอาจารย์ผมมีเรื่องจะเล่าให้ฟัง...” “เอ้า...มีเรื่องอะไรก็เล่าไป” พระอาจารย์พูดขึ้น “เขาหาว่าผมบ้าครับ” “ใครว่าละ” “ก็หลายคนละครับ สามเณรน้อยด้วย” พอดีสามเณรน้อยเดินผ่านมาพอดี พระอาจารย์เลยเอ่ยถาม “เณรไปว่าเณรพายุว่าบ้าทำ�ไม เอาอะไรมาพูด” สามเณรน้อยเลยเข้าร่วมวงด้วย พร้อมกับชี้ไปที่จีวร “ก็นั่นไงครับ ใส่จีวรก็ตะเข็บออก แถมจีวรยังไม่ซักอีก ดำ�ก็ดำ� แถมเหม็นกว่าจีวรผมอีก” พระอาจารย์เพิ่งสังเกตจึงถามขึ้น “แล้วทำ�ไมเณรใส่จีวรตะเข็บออก ไม่ใส่เหมือนคนอื่นเขาละ” “ก็พระอาจารย์สอนผมนี่ครับให้รู้จักรักษาผ้าให้ดี ที่ผมใส่ตะเข็บออก ผ้าจะได้ไม่เก่าง่ายๆ และอีกอย่างที่ไม่ซัก เพราะเดี๋ยวจีวรจะเปื่อยหมด อีกอย่างพระที่ทรงจีวรเก่าๆ ก็มีนี่ครับ ผมเลียนแบบท่านนะครับ” สามเณรพายุตอบด้วยความใจเย็น ก่อนจะยิ้มให้พระอาจารย์และสามเณรน้อย พระอาจารย์จึงต้องแนะนำ�ใหม่ “ไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอกเณร เณรดูแลซักจีวรให้สะอาด ห่มผ้าให้เหมือนคนอื่นเขา แล้ว ทำ�อะไรก็เอาแต่พอดีๆ อย่ามากไปแบบนี้อีก” สามเณรพายุทำ�หน้าเข้าใจอีกครั้ง ทำ�ให้พระอาจารย์เริ่มเข้าใจวิถีชีวิตแบบนี้มากขึ้น ขณะที่สามเณรน้อยได้แต่คิดว่าต่อไปจะเจอสามเณรพายุจะทำ�อะไรอีก
40
-
Time for ทำ�
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
รวมข้อมูลศูนย์รับบริจาค ช่วยผู้ประสบภัยน้ำ�ท่วมภาคใต้ ภาคใต้อ่วมอีกครั้ง ! หลังพายุฝ นตกหนักหลายวัน ทำ�ให้หลายพื้นที่ท างภาคใต้ของ ประเทศไทยน้ำ�ท่วมหนัก ถนนไม่สามารถสัญจรไปมาหลายสาย ประชาชนหลาย ครอบครัวบ้านพัง ไร้ที่อยู่อาศัย พื้นที่เกษตรเสียหายหลายร้อยไร่ และขณะนี้ยังมี หลายพื้นที่ต้องการความช่วยเหลือซึ่งบางหน่วยงานอาจเข้าไปไม่ทั่วถึง สามารถเลือก บริจาคตามหน่วยงานที่ต้องการได้ที่ www.volunteerspirit.org/node/2953
โครงการจักรยานไปเรียนหนังสือ บ้านกระบกเตี้ย อ. สนามชัยเขต จ. ฉะเชิงเทรา นักเรียนต้องเดินเท้าไปเรียนเองอยู่เป็น ส่วนใหญ่ จำ�นวน 29 คนที่ต้องเดินทางมาเรียนไกล จึงขอความอนุเคราะห์จักรยาน จำ � นวน 29 คั น โดยสามารถช่วยเหลือโดยมอบเป็นจักรยานใหม่หรือเก่าที่สภาพ ยังใช้งานได้ หรือมอบเป็นเงินสมทบตามกำ�ลังศรัทธา มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม 409 ซ.โรหิตสุข ถ.ประชาราษฎร์บำ�เพ็ญ แขวง/เขต ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 สนใจติดต่อ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-6910437 – 9 และดูรายชื่อน้องๆ ที่ต้องการจักรยานได้ที่ www.kraboktiaschool.ac.th
-
-
รับอาสาสมัคร “เพิ่มความสุข ลดความทุกข์” มูลนิธิกระจกเงา ต้องการอาสาสมัครเพื่อสร้างกำ�ลังใจ สร้างความผ่อนคลายให้ผู้ป่วยขณะรักษาตัว อยู่ในโรงพยาบาล กิจกรรมที่ทำ�ขึ้นอยู่กับความสนใจและความถนัดของอาสาสมัครและผู้ป่วย เช่น วาดภาพ, สอนร้องเพลง, เล่นดนตรี, เล่านิทาน, สอนการบ้าน และอื่นๆ ตามความเหมาะสม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ทุกวันพุธ 13.00 - 15.30 น. ที่ โรงพยาบาลรามาธิบดี และ กลุ่มที่ 2 ทุกวัน พฤหัสบดี 13.00 - 15.30 น. ที่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2941-4194 ถึง 5 ต่อ 10
“โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง” คอมพิวเตอร์เก่ามีค่า ... อย่าทิ้ง ยังมีน้องๆ ทั่วประเทศที่ยังต้องการ เพื่อให้พวกเขา ได้มีโ อกาสในการศึก ษามากขึ้น ท่านสามารถบริจาคคอมพิวเตอร์ หรือทุนสนับสนุน เพื่อนำ�ไปใช้ใ นการปรับปรุงคอมพิวเตอร์เหล่านี้ โดยท่า นสามารถนำ�คอมพิวเตอร์ มาบริจาคได้ที่ โครงการคอมพิวเตอร์เพื่อน้อง เลขที่ 8/12 ซอยวิภาวดี 44 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจัก ร กรุ ง เทพฯ 10900 หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-941-4194-5 ต่อ 10
-
BACK ISSUE
X X X X X X
สามารถติดต่อรับหนังสือมุมฉบับย้อนหลังได้ที่ มูลนิธิหยดธรรม 083-5169-888 หรือ prataa@dhammadrops.org
12345
6 7 8 9 10
สามารถรับหนังสือมุมได้ที่ เชียงใหม่ happy hut 1 happy hut 2 ร้านกู Sweets Salad Concept แก้วก๊อ Café de Nimman คุณเชิญ มาลาเต Seescepe iberry Minimal Gallery Hatena ราชดำ�เนิน คุณนายตื่นสาย สวนนม(นิมมาน)
เชียงราย Toast House บะเก่า หมา อิน ซอย กาแฟสถาน hub 53 ร้านวันวาน กาแฟโสด กินเส้น สวนนม (หน้า มช.) Nova ร้านหนังสือดวงกมล ร้านหนังสือสุริวงศ์ พันธุ์ทิพย์ Bangkok Airway (ศรีดอนชัย) ร้านอาหารครัวป้าศรี
ร้านอาหารโป่งแยงแอ่งดอย หอพักนครพิงค์ลอด์จ ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ถ.ช้างเผือก ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) แม่ริม ฝ้ายเบเกอรี่ (ไลเซียม) Kru Club Lyceum สถาบันบัณฑิตวิทยา ร้านอาหาร 32 กม. ร้านกาแฟ วาวี (แม่สา) ร้านกาแฟ วาวี (four seasons) ร้านกาแฟ วาวี (แม่โจ้) ร้านกาแฟ ดอยช้าง (แม่ริม)
ริมปิง super market (กาดรวมโชค) ห้องสมุดทุกคณะใน มช. รติกา คลินิก ร้านแชร์บุ๊ค แม่ริม Annie Beauty (ศิลิมังคลาจารย์) Bon Café ช้างคลาน สนามบินเชียงใหม่ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ร้านเล่า Little cook cafe สถานีวิทยุแม่ริมเรดิโอ
ร้านเกาเหลาเลือดหมู เจ๊สหรส ร้านเครื่องปั้นดินเผา ดอยดินแดง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง Café Hub วิทยาลัยเทคนิค เชียงราย
กรุงเทพฯ
ร้านกาแฟ คาเฟ่ ดิโอโร่ (กรุงเทพ) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร วัดญาณเวศกวัน
Sweden The Royal Thai Embassy,StockKhoim Thai Studies Associatio
42
ธรรม(อีก)บท
เรื่อง : ธรรมรตา I ภาพประกอบ : Pare ID
เลือกคบเพื่อจบดี
เมื่อ 2 ปีก่อน ผมได้พบกับจอนเขาย้ายมากับยายอายุ ประมาณหกสิบกว่าๆ เขาดูเจี๋ยมเจี้ยมเกินกว่าจะอยู่กับพวกเราได้ ในตอนแรก เสื้อผ้าหน้าผมเรียบร้อยคำ�พูดสุภาพ อาจเป็นเพราะ ความที่เขาอยู่กับยายมาตั้งแต่เล็กๆ แกมีชื่อว่า “ศรี” แต่ศรีอะไร หรืออะไรศรีอันนี้ผมก็ไม่ทราบ ความเป็นคนใจดี เข้าวัดวาอยู่เสมอ ทำ�ให้ยายศรีดูเป็นคนอ่อนโยนเมตตาไปเสียทุกเรื่อง ผมไม่เคยเห็น ยายแกมีเรื่องกับใคร แม้ว่าอาจจะมีบ้างที่บางคนจะไปหาเรื่องกับ แกแต่ก็แพ้ความนิ่งและใจเย็นของยายศรี สุดท้ายก็เลิกไปและ ยายศรีก็ไม่รู้สึกถือสาหาความอะไร แกเคยบอกว่า “ใครด่า ใคร บ่น ทนเอา ใจเราร่มเย็นเป็นพอ” บุคลิกอย่างนี้ซึมซับเข้าไปในตัว จอนมากจนแทบจะเรียกว่าถอดแบบกันเลย หลังเลิกเรียนจอนจะกลับบ้านตรงเวลาเสมอ เพื่อที่จะ รีบมาช่วยยายทำ�กับข้าวไปขายที่หน้าปากซอยในตอนเย็นทุกวัน เป็นจำ�พวกอาหารอีสาน เช่น ห่อหมก แกงหน่อไม้ ผักดอง และ น้ำ�พริกแจ่ว ซึ่งจอนก็จะเป็นคนช่วยล้างชามล้างหม้อหรือห่อใส่ถุง ทุกเย็นจะปรากฏภาพหลานยายเข็นรถออกมาด้วยกัน และเข็นกลับในเวลาประมาณ สามทุ่ม แต่ที่นี่คือซอยข้าวบูด ย่านชุมชนซึ่งแม้จะตัดคำ�ว่า “แออัด” ออกไปแล้วแต่ความแออัดมันก็ไม่ได้ลดลงเลยแม้แต่น้อย ซ้ำ�ร้ายดูเหมือนมันจะยิ่งยัดเยียดเบียดเสียดกันมากขึ้น เมื่อก่อนมี
แต่คนเหนือกับอีสานแต่ตอนนี้มีทั้งลาว พม่า กัมพูชา และหลังๆ นี้มีพวกมืดๆ ดำ�ๆ เพิ่มมาด้วยแม้ไม่เยอะแต่มันก็เพิ่มความรู้สึก นานาชาติมากขึ้น และน้อยคนจะนึกภาพออกว่ามันเน่าเฟะแค่ไหน จอนนั่งอยู่ตรงหน้าผม เห็นเขาแล้วผมอดขำ�ไม่ได้หลาย อย่างในตัวเขาเปลี่ยนไปจากเดิมมาก มากจนไม่เหลือเค้าเดิม ทรงผมเหมือนถากเอาด้วยจอบ เสื้อยืดที่ยืดจนสุดๆ ของมันแล้ว กางเกงลอยก้นและผ้าใบเน่าๆ หลายคนบอกว่าเขาเป็นคนดีที่ เสียแล้ว ซึ่งก็จะสรุปลงที่เพราะมาคบกับพวกผม จอนนั่งหอบเหนื่อยพอๆ กับผม เรารอดมาถึงตรงนี้แค่ สองคน เพราะทันทีที่ตำ�รวจมาก็ไม่ได้สนใจใครเอาตัวให้รอดเท่านั้น แต่ผมต้องตามจอนให้ติดๆ เพราะกระเป๋าเงินอยู่ที่จอน ขืนผม ปล่อยไปมีหวังอด งานนี้ผมเสี่ยงขนยามาเองจากฝั่งโน้น จะได้ฟัน เหนาะๆ เนื้อๆ ไม่คิดว่าจะโดนอย่างนี้ แต่โชคยังดีที่หนีมาได้ ผมไม่รอให้จอนตั้งตัวกระโจนใส่พร้อมมีด เขาได้แต่ ตกใจและค่อยๆ สิ้นใจไปช้าๆ ภาพเก่าๆ คงฉายผ่านหัวเขาอย่าง รวดเร็วและแน่นอนเขาคงจะนึกได้แล้วว่าครัง้ หนึง่ ยายเคยสอนไว้วา่ อเสวนา จ พาลานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การไม่คบคนพาลจะเป็นมงคลแก่ชีวิต
เขาต้องนึกออกแน่ๆ ผมยังจำ�ได้เลย
มูลนิธิหยดธรรม ดำ�เนินการร่วมกันระหว่างพระและฆราวาสในการสร้างสรรค์ให้สังคมเกิดความดีงามโดยการใช้ธรรมะ ในการกล่อมเกลาจิตผ่านกิจกรรม การสร้างเสริมจิตอาสา สร้างเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนให้ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกัน อย่างเกื้อกูลเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อีกทั้งการจัดค่ายคุณธรรมตามสถานศึกษาต่างๆ ทัณฑสถาน และชุมชนที่สนใจ เพื่อให้เยาวชนและชุมชนได้ถ่ายทอดต่อไปยังคนรอบข้าง ไม่เพียงเท่านั้น ทางมูลนิธิหยดธรรมยังดำ�เนินงานในเรื่องของการจัดอบรมกรรมฐานและปฏิบัติธรรม สำ�หรับผู้สนใจ เพื่อ สุขภาวะของบุคคลและองค์รวม อีกทั้งการสร้างสรรค์สื่อธรรมะในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งนิตยสารที่ท่านถืออยู่นี้ เพื่อที่จะได้ ถ่ายทอดและเผยแผ่ธรรมะออกไปในวงกว้าง ทั้งนี้ ในทุกกิจกรรมที่ทางมูลนิธิได้ดำ�เนินการ รวมทั้งสื่อต่างๆที่ทางมูลนิธิได้จัดทำ�และเผยแพร่เป็นไปเพื่อการสาธารณะกุศล โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทางมูนิธิดำ�เนินกิจกรรมผ่านน้ำ�ใจของท่านผู้มีจิตศรัทธา ที่หวังจะให้ สังคมของเราเกิดความดีงาม ท่านผู้มีจิตศรัทธาท่านใดต้องการสนับสนุนการทำ�งานของมูลนิธิ และร่วมเครือข่ายหยดธรรม สามารถติดต่อได้ที่ prataa@dhammadrops.org กรณีประสงค์สนับสนุนทุนในการดำ�เนินกิจการของมูลนิธิ สามารถสนับสนุนได้โดยการโอนเงินมาที่ ... มูลนิธิหยดธรรม
ชื่อบัญชี มูลนิธิหยดธรรม ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมายเลขบัญชี 667-2-69064-3 ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมายเลขบัญชี 557-2-03369-6
โปรดแจ้งการสนับสนุนโดยการส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่โทร 085-995-9951 หรือ prataa@dhammadrops.org เพื่อที่ทางมูลนิธิสามารถออกโมทนาบัตรได้ถูกต้อง