นิตยสารธรรมะ : มุม : Vol.3 No.2 : ISSN 1906-2613 เดือนสิงหาคม 2555 : Educrazy Issue : อัญชลี คุรุทัช พุทธอยู่ในสายเลือด : วิ ท ยานั น ทะ Vs. พระอูนายะกะ การศึกษาแบบไหนน่าสนใจกว่ากัน : Made in Chiang Mai : แจกฟรี !!
มูลนิธิหยดธรรม เจ้าของ www.facebook.com/mymoommag พระถนอมสิงห์ สุโกสโล ประธานมูลนิธิ พระมหาไกรวรรณ ชินทตฺติโย รองประธานมูลนิธิ ประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข ที่ปรึกษามูลนิธิ พระศรีวิสุทธิวงศ์ กรรมการ พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป กรรมการ คุณวิชัย ชาติแดง กรรมการ คุณอลิชา ตรีโรจนานนท์ กรรมการ คุณศิริพร ดุรงค์พิสิษฐุ์กุล กรรมการ คุณวีรยา ทองน้อย กรรมการ คุณดนิตา ศักดาวิษรักษ์ กรรมการ พระถนอมสิงห์ สุโกสโล บรรณาธิการ อลิชา ตรีโรจนานนท์ บรรณาธิการที่ปรึกษา พระถนอมสิงห์ สุโกสโล บรรณาธิการผูพ ้ ิมพ์โฆษณา พระมหาวิเชียร วชิรเมธี กองบรรณาธิการ พระนพกร รชฺชธโน เปรมปิติ รัชต์ธร ตู้ป.ณ. 54 ปณ.แม่ริม เชียงใหม่ 50180 ที่อยู่มูลนิธิ โทร : 053-044-220 www.dhammadrops.org Rabbithood Studio บรรณาธิการศิลปะ พัชราภา อินทร์ช่าง ฝ่ายศิลป์ ศิริโชค เลิศยะโส / ภานุวัฒน์ จิตติวุฒิการ ช่างภาพ พรชัย บริบูรณ์ตระกูล / ชยพัทธ แก้วกมล ตะวัน พงศ์แพทย์ / ปานวัตร เมืองมูล พระมหาวิเชียร วชิรเมธี พิสูจน์อักษร บริษัท เคล็ดไทย จำ�กัด 117-119 ร่วมบุญจัดส่ง ถ.เฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพนะนคร กรุงเทพฯ 10200 www.kledthaishopping.com บริษัท ดอคคิวเมนนท์ พาเซล เอ็กซ์เพรส จำ�กัด (DPEX) ร่วมบุญจัดส่ง 60 ซอยอารีย์ 5 เหนือ ต่างประเทศ ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 (www.dpex.com) พระพรหมคุณากรณ์ ป.อ.ปยุตโต/ Special thanks พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร/ พระมาโนช ธมฺมครุโก/ สุลักษณ์ ศิวรักษ์/ สุรสีห์ โกศลนาวิน/ ถนอมวรรณ โกศลนาวิน/ อุดม แต้พานิช/ ชาลี ประจงกิจกุล กลุ่มพัฒนาจิตเพื่อชีวิตดีงาม รบฮ. ออกแบบปก ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด กู๊ด-พริ้นท์ พริ้นติ้ง พิมพ์ที่ 4/6 ซอย 5 ถ. ช้างเผือก ต.ศรีภูมิ อ.เมือง เชียงใหม่ 50200 โทร : 053-412556 แฟกซ์ : 053-217264
Educrazy Issue ทุกๆ ปี กิจวัตรอย่างหนึ่งที่อาตมาจะต้องทำ�อยู่เสมอก็คือ การเดินจาริกเป็นระยะทางไกลๆ เพราะการได้มโี อกาสออกมาเดินจาริก แสวงบุญถือเป็นช่วงเวลาที่ปลอดโปร่งและได้เรียนรู้มากที่สุดช่วงหนึ่ง ในชีวิตก็ว่าได้ แต่สิ่งที่เห็นแล้วทำ�ให้น่าเศร้าใจอย่างหนึ่งก็คือภาพของ โรงเรียนที่มีพื้นที่ค่อนข้างกว้างใหญ่ มีอาคารก่อสร้างไว้แล้ว หลาย อาคาร แต่กลับมีนักเรียนน้อยมากเดินไปดูจำ�นวนนักเรียนในแต่ละชั้น ก็ไม่ถึง 10 คนเสียด้วยซ้ำ� บางแห่งก็ไม่มีนักเรียนเลยต้อ งกลายเป็น โรงเรียนร้างปล่อยให้ตกึ ทีส่ ร้างมาอย่างใหญ่โตนั้นต้องผุพงั ไป เลยทำ�ให้ นึกถึงบรรดาเด็กๆ ที่เข้ามาติดต่อขอบวชเรียน บางคนก็ก�ำ ลังเรียนอยู่ชั้น ป.4 - ป. 5 บางคนก็เรียนอยู่ชั้นที่สูงกว่านั้น ซึ่งก็มาจากหลายๆ โรงเรียน คละๆ กันไป แต่สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือเด็กเหล่านีส้ ว่ นใหญ่อา่ นภาษาไทย ได้น้อยมาก สะกดคำ�ก็ไม่ค่อยถูก บวกลบเลขหลักเดียวก็ยังมีปัญหา มาก เลยทำ�ให้สงสัยต่อไปว่าทำ�ไมเด็กเหล่านี้ถึงทำ�ไม่ได้ทั้งๆ ที่เรื่อง เหล่านี้สำ�หรับภูมิความรู้ของ ป.5- ป.6 แล้ว น่าจะเป็นเรื่องง่าย (เช่นการ สะกดคำ�ว่า คน หรือ อ่านคำ�ว่า บัง เป็น บาง หรือ บัว เป็น บาว ) แม้ว่า เด็กเหล่านี้จะไม่ได้ไปเรีย นโรงเรียนดังๆ ในจังหวัด แต่การไม่มีความรู้ ขั้นพื้นฐานขนาดนี้ น่าจะเป็นปัญหาที่ระบบการศึกษามากกว่าที่ตัวเด็ก เองหรือเปล่า แต่ก็ยังมีที่น่าสนใจว่า เด็กเหล่านี้เริ่มตัง้ คำ�ถามกับการศึกษา เพราะไม่รู้ว่าจะต้องไปเรียนไปทำ�ไม ไม่ชอบเรียนไม่อยากเรียนแต่กลับ ถูกพ่อแม่บังคับให้ไปเรียน แม้จะสนุกที่ได้ไปเล่นกับเพื่อนๆก็ตาม รวม ไปถึงการตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับสังคมใกล้ๆ ตัว เช่น ทำ�ไมพ่อแม่ ครูอาจารย์ และคนในหมู่บ้านถึงมีหนี้กันเยอะแยะมากมายขนาดนี้ ทำ�ไมการพนัน ถึงเล่นกันได้ตั้งแต่ใ นโรงเรียนยันวัด การลักลอบตัดไม้ก็ทำ�กันอย่างไม่ เกรงกลัวใครเพราะมีทั้งผู้ใหญ่ กำ�นัน เจ้าหน้าที่ตำ�รวจ จนถึงเจ้าหน้าที่ ป่าไม้ไปร่วมด้วยช่วยกัน จนงานลุล่วงและแบ่งเงินกันไปด้วยดี ทำ�ให้ พวกเขาเกิดความคิดว่าพฤติกรรมเหล่านี้ไม่น่าจะผิดกฎหมาย จนเมื่อ ครอบครัวเริ่มประสบกับปัญหาหนี้สิน เขาจึงได้กลับมาคิดอีกครัง้ หนึง่ ว่า มันไม่น่าจะเป็นไปในทางที่ถูกที่ควร ฉะนั้นถ้ามองจากมุมนี้ ระบบการศึก ษาอาจจะดีขึ้นก็ได้ เพราะระบบการศึกษาได้สร้างพื้นที่ทางความคิดให้เด็กสมัยใหม่ได้มี โอกาสตั้งคำ�ถามกับชีวิตและสังคมในยุคปัจจุบันมากขึน้ แทนการรอรับ เอาแต่ความรู้ที่สถานศึก ษาจะให้เพียงเท่านั้น แต่สังคมไทยจะดีขึ้น หรือเปล่านั้น คงจะเป็นเรื่องที่เราต้องช่วยกันลุ้นต่อไป พระถนอมสิงห์ สุโกสโล บรรณาธิการ
8
4 8
16
16 22 34 36
34
38 39 40
Buddhist’s Mystery : เหตุใดชาวพุทธนิยม บูชาพระด้วยดอกบัว มุมส่วนตัว : อัญชลี คุรุทัช พุทธอยู่ในสายเลือด มุมพิเศษ : เรียน l รู้ VS. : วิทยานันทะ Vs. พระอูนายะกะ การศึกษาแบบไหนน่าสนใจกว่ากัน ธรรมไมล์ : What am I ? ผ้าเหลืองเปื้อนยิ้ม : ทำ�อย่างไร? จะแสดงฤทธิ์ได้ Hidden tips : How to be โสดาบัน? Time for ทำ� ธรรมะ(อีก)บท : ดีแตก
22
M Mental O Optimum O Orientation M Magazine
สารบัญ
มุมใหม่ ประเทศอังกฤษจัดสัมมนาเรื่อง “ทางเข้าออกของจิต” ณ กรุ ง ลอนดอน ประเทศอังกฤษ กำ�หนดให้มีการสัมมนาใน หัวข้อเรื่อง “ทางเข้าออกของจิต” ในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ โดยเนื้อหาหลักของงานนี้คือการสำ�รวจธรรมชาติ และศักยภาพ ของจิต เน้นในเรื่องของการปฏิบัติแนวทางของธิเบต โดยจะได้ รู้ถึงมุมมองที่หลากหลาย วัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงแนวทาง การปฏิบตั ขิ องพุทธศาสนาในชีวติ ประจำ�วัน จัดขึ้นโดยนักศึกษา ธรรมะที่ทำ�งานกับองค์กรพุทธหนึ่งที่ได้รับการยอมรับใน UK. ที่ มีชื่อว่า Foundation for the Preservation of the Mahayana Tradition(FPMT). http://buddhisttrends.com/up-coming-event-
london-gateways-of-the-mind/1270/
5
ภิกษุณีไต้หวันส่งเสริมการแต่งงานคนรักของ เพศเดียวกัน ภิกษุณี ชิ เชาวหู ศาสตราจารย์แห่ง มหาวิทยาลัยฉวน จวง ประเทศไต้หวัน จะทำ�หน้าที่เป็น พยานรัก พร้อมอวยพรการ แต่งงานระหว่างสองสาว ฟีช ฮังค์ และคู่ของเธอ ยู ยาทิง คู่รัก เพศเดียวกัน ท่านบอกไว้ว่าคำ�สอนทางพุทธศาสนานั้นไม่ได้ กีดกันทั้งกลุ่มชายรักชาย หรือหญิงรักหญิง เราจึงไม่ควรแบ่ง แยกคนจากรสนิยมการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน หวังว่าการ กระทำ�ครั้งนี้จะช่วยโอบอุ้มจิตวิญญาณของชาวพุทธอันจะแผ่ ขยายความรักความเมตตาไปสู่โลก” พร้อมกันนี้ยังจะมีคณะ พระสงฆ์ และแม่ชีเข้าร่วมสวดมนต์ อวยพรให้ในงานแต่งของสาวรักสาว ที่จะมีขึ้นในเดือนนี้ด้วย http://www. buddhistchannel.tv/index.php?id=4 8%2C10987%2C0%2C0%2C1%2C0
พระสงฆ์ชาวไต้หวันมอบความ หวังให้กับเด็กกำ�พร้าแอฟริกา ผ่านคำ�สอนพุทธองค์ หลังจากทีเ่ ปิดหูเปิดตาในแอฟริกาใต้ ในปี 1992 ทำ�ให้พระอาจารย์ ฮุยหลี่ ตั ด สิ น ใจที่ จ ะตั้ ง สถานเลี้ ย งเด็ ก กำ � พร้ า ในแอฟริ ก าเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ เยี ย วยาทั้ ง คนยากคนจนและช่ ว ย เหลือผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS โดยนำ� หลักธรรมพุทธองค์มาบูรณาการเข้ากับสภาพแวดล้อม ปัจจุบัน ในองค์กรที่ไม่แสวงหากำ�ไรของเขามีเด็กกำ�พร้ามากกว่า 3,000 คนโดยส่วนใหญ่เป็นประเทศมาลาวี สวาซิแลนด์ เลโซโทและ ประเทศอื่นๆอีก ที่นี่ประกอบไปด้วยนักเรียนทุกเพศทุกวัยตั้งแต่ อายุ 3 ขวบไปถึงอายุ 90 ปีเลยทีเดียว อาจารย์ฮุ่ยหลี่ยังกล่าว อีกว่า “ที่นี่จะช่วยให้เด็กๆได้สัมผัสกับชีวิตทางสังคมที่แท้จริง ไม่เพียงแต่พวกเขาต้องเรียนหนักและอยู่ด้วยกัน แต่สิ่งสำ�คัญ ก็คือว่า การดูแลซึ่งกันและกันฉันท์พี่น้อง http://amitofocare. blogspot.com/
ชาวพุทธญี่ปุ่นรวมตัวกัน ต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์ จากเหตุการณ์แผ่นดินถล่มและสึนามิเมื่อปลายปีที่แล้ว (2011) ซึ่งมียอดผู้เสียชีวิตถึง 15,848 คน และสูญหายอีก 3,305 คน (ตามตัวเลขของกรมตำ � รวจญี่ปุ่น) รวมไปถึงความทรงจำ� ของชาวญี่ปุ่นต่อเหตุการณ์ที่เมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิถูกทิ้ง ระเบิดนิวเคลียร์ใส่ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำ�ให้ชาวญี่ปุ่นรุ่น ใหม่ออกมาต่อต้านการรื้อฟื้นโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โออิ ในกรุงโตเกียว โดยครั้งนี้ผู้นำ�ชาวพุทธหลากหลายนิกายได้รวม ตัวกันเพื่อร่วมประท้วงด้วย น่าสนใจว่าคราวนี้ผู้ที่ร่วมชุมนุม ส่วนใหญ่อายุอยู่ในช่วงระหว่าง 20-30 ปีเท่านั้น
6
Buddhist’s Mystery
เรื่อง : กองบรรณาธิการ I ภาพประกอบ : รบฮ.
เหตุใดชาวพุทธนิยมบูชาพระด้วยดอกบัว
สาเหตุที่ทำ�ให้ดอกบัวครองอันดับ “Top Hit ดอกไม้บูชา พระ” มาตั้งแต่ไหนแต่ไรได้แก่ความเกี่ยวข้องกับองค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดพระชนม์ชีพ เริ่มจากความเชื่อที่ว่าพระนาง สิริมหามายาทรงมีพระสุบินว่ามีช้างมาเยี่ยมและยื่นดอกบัวให้ เมื่อครั้งประสูติก็เชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงดำ�เนินได้เจ็ดก้าวโดยมี ดอกบัวผุดขึ้นรองรับพระบาท (หรือพูดเป็นภาษาสามัญได้ว่า “เป็นเหมือนรองเท้าเมื่อเดินก้าวแรก เป็นที่นั่งยามบรรลุธรรมแล้ว และเป็นที่นอนในเวลาสุดท้ายของชีวิต”) การบูชาพระด้วยดอกบัว จึงเป็นพุทธานุสสติได้ประการหนึ่งประกอบกับดอกตูมมีรูปทรง เหมือนการประนมมือสักการะ พุทธศาสนิกชนจึงนิยมนำ�ดอกไม้ ชนิดนี้มาเป็นสัญลักษณ์แห่งการนบนอบในพระรัตนตรัย พระธรรมเทศนาที่เกี่ยวข้องกับดอกบัวที่เราคุ้นหูกันดี ได้แก่การที่พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบคนทั้งหลายในโลกนี้ กับดอกบัวสี่จำ�พวกได้แก่ บัวพ้นน้ำ� (อุคคะติตัญญู) เปรียบเทียบได้กับคนที่มี ปัญญาเฉลียวฉลาด เมื่อถูกแนะนำ�สั่งสอนธรรมะ ก็เข้าใจได้ทันที เรียกได้ว่า “Get ง่าย” บัวปริ่มน้ำ� (วิปปะจิตัญญู) เปรียบเทียบได้กับคนที่มี ปัญญาดี เมื่อถูกแนะนำ�สั่งสอนอธิบายโดยละเอียด จะสามารถ เข้าใจได้ ถือได้ว่าฉลาด บัวใต้น้ำ� (เนยยะ) เปรียบเทียบได้กบั คนทีม่ ปี ญ ั ญาพอใช้ ้ เมือ่ พยายามศึกษาค้นคว้า สอบถามฝึกหัด ทบทวนซ�ำ ๆ ก็จะสามารถ เข้าใจได้ เรียกได้วา่ พอมีหวังแต่ตอ้ งใช้ความทุม่ เทมากหน่อย
บัวในตม (ปะทะปะระมะ) เปรียบเทียบได้กับคนที่ไม่มีสติ ปัญญา ไม่ว่าจะได้รับการแนะนำ�สั่งสอนอย่างไรก็ตาม อีกทั้งยังมี นิสัยไม่ขวนขวายพยายาม จึงไม่อาจเข้าใจอะไรได้เลย คนประเภท นี้สอนไปก็หวังให้เกิดความรู้ความคิดได้ยาก เหมือนบัวที่อยู่ใน โคลนใต้น้ำ� เป็นได้อย่างมากก็อาหารของเต่าและปลา ความพิเศษอีกประการของดอกบัวคือความสะอาดสดใส ไม่เกลือกกลั้วสิ่งสกปรก ภาษาสันสกฤตเรียกบัวว่า “บงกช” แปลว่า “เกิดจากโคลนตม” ด้วยความที่บัวเป็นไม้น้ำ� หยั่งรากลงบนพื้น โคลนแต่ยังชูก้านดอกมาบานรับแสงตะวันโดยกลีบดอกและใบ ไม่เปื้อนแม้แต่น้อย ชาวพุทธจึงใช้เป็นตัวอย่างสอนใจว่าชาติ กำ�เนิดไม่มีผลต่อการศึกษาธรรม และนิยมนำ�ใบบัว มารองรับ เส้นผมของกุลบุตรผู้ศรัทธาบรรพชาในพุทธศาสนาอีกด้วย ในคัมภีร์ ต่างๆ ยังจารึกเรื่องผลของการถวายดอกบัวต่อพระรัตนตรัยว่า ผู้ถวายดอกบัวจะได้บังเกิดเป็นเทพบุตร เทพธิดาบนสวรรค์ และ ชาวพุทธยังมีความเชื่ออีกว่า ดอกบัวก็เหมือนกับคนเรานี้เอง ดอกบัวที่ชูดอกพ้นจากผิวน้ำ�ขึ้นมารับแสงสว่างได้นั้น ก็เหมือนกับ ผู้ที่หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง กลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ความสะอาดบริสุทธิ์ของดอกบัวควรค่าแก่การ ยกย่องเป็นราชินีแห่งดอกไม้น้ำ� ดอกบัวที่เกิดจากตม สะอาด บริสุทธิ์ได้ด้วยน้ำ�ฉันใด จิตใจที่มัวหมองเพราะเปื้อนความ โลภ ความโกรธ ความหลง สามารถชำ�ระให้สะอาดได้ด้วย ธรรมะฉันนั้น
“ไทยเราต้องการเพียงความรู้สมัยใหม่ของฝรั่งที่เราไม่มี (กำ�ลังตื่น กำ�ลังเห่อ) จึงมุ่งเน้นที่จะรับเอาวิชาการเหล่านั้น เข้ามา ส่วนเรื่องศาสนาและปรัชญา เราถือว่าเรามีอยู่แล้ว และมั่นใจในความประเสริฐของสมบัติที่เรามีอยู่แล้วคือหลัก พระพุทธศาสนา ไปๆ มาๆ กลายเป็นว่าคนไทยได้ลืมเลือน เหินห่าง แปลกแยกไปจากพื้นเพทั้งพระพุทธศาสนาและ วัฒนธรรมของตนเอง” จากหนังสือ รุ่งอรุณของการศึกษา เปิดฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
8
Book Corner OUTWITTING THE DEVIL The Secret to Freedom and Success ผู้เขียน : Napoleon Hill อธิบายเพิ่มโดย : Sharon Lechter หนังสือที่เขียนไว้เกือบ 80 ปีที่แล้วโดย นโปเลียน ฮิล ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้ที่เป็นต้นแบบ แห่งหนังสือแนวสอนให้ประสบความสำ�เร็จทางธุรกิจ แต่ไม่ได้รับการตีพิมพ์จน ชารอน เล็ชเตอร์ ไป พบเข้า แล้วเห็นว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะกับยุคนี้เสียยิ่งกว่าเมื่อ 80 ปีที่แล้วเสียอีก เธอจึงนำ�มาปัดฝุ่น ใหม่พร้อมกับอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้หนังสือเล่มนี้ เพื่อทำ�ให้คุณรู้จักกับมารมากที่สุด
ความสุข ปลดล๊อคสู่ความมั่งคั่งทางจิต (Happiness Unlocking the Mysteries of Psychological Wealth) ผู้เขียน : เอ็ด ดีเนอร์ และ โรเบิร์ต บีสวาส - ดีเนอร์ ความสุขคืออะไร ทุกคนเกิดมาล้วนอยากมีความสุข และต่างก็ดิ้นรนไขว่คว้าแสวงหาความสุข แต่ มีน้อยคนที่จะพบกับความสุขที่แท้จริง ในหนังสือเล่มนี้จะอธิบายว่า ความสุขที่แท้จริงคืออะไร เกิด ขึ้นได้อย่างไร มีประโยชน์อย่างไร และจะสร้างขึ้นมาได้อย่างไร ผ่านประสบการณ์ของผู้เขียนซึ่งได้ ปฏิบัติมานานกว่า 30 ปี อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นวิทยาศาสตร์ แล้วคุณจะพบว่า การจะมีความ สุขอย่างแท้จริง ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลย
พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย ผู้เขียน : พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) หนังสือธรรมะที่ได้รับการยอมรับจากชาวพุทธทั่วโลก ซึ่งมีการปรับขยายมาโดยตลอด จากหนังสือ เล่มเล็กๆ 200 กว่าหน้า จนไม่น านมานี้หนังสือมีความหนาเพิ่มขึ้นด้วยเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ถึง 1360 เพื่อให้เข้มข้นมากขึ้นสำ�หรับพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ ด้วยการเพิ่มเนื้อหาอีก 1 บท เลยทีเดียวเชียว หากผู้ใดสนใจอยากมีไว้อ่านก็สามารถหาไฟล์ pdf ให้โหลดได้แล้ว สำ�หรับผู้ที่ ต้องการแบบเป็นเล่มหรือ cd กรุณาติดต่อไปที่ วัดญาณเวศกวัน ได้โดยตรงเลยงานนี้แจกฟรีไม่มี เงื่อนไข
BACK ISSUE สามารถติดต่อรับหนังสือมุมฉบับย้อนหลังได้ที่ มูลนิธิหยดธรรม 083-5169-888 หรือ prataa@dhammadrops.org
11 l 12 l 13 l 14 l 15 16 l 17 l 18 l 19
สามารถรับหนังสือมุมได้ที่ เชียงใหม่ Rabbithood Studio happy hut 1 happy hut 2 ร้านกู Sweets Salad Concept แก้วก๊อ Café de Nimman คุณเชิญ มาลาเต Seescepe iberry Minimal Gallery Hatena ราชดำ�เนิน คุณนายตื่นสาย
เชียงราย สวนนม(นิมมาน) Toast House บะเก่า หมา อิน ซอย กาแฟสถาน hub 53 ร้านวันวาน กาแฟโสด กินเส้น สวนนม (หน้า มช.) Nova ร้านหนังสือดวงกมล ร้านหนังสือสุริวงศ์ พันธุ์ทิพย์ Bangkok Airway (ศรีดอนชัย)
ร้านอาหารครัวป้าศรี ร้านอาหารโป่งแยงแอ่งดอย หอพักนครพิงค์ลอด์จ ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ถ.ช้างเผือก ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) แม่ริม ฝ้ายเบเกอรี่ (ไลเซียม) Kru Club Lyceum สถาบันบัณฑิตวิทยา ร้านอาหาร 32 กม. ร้านกาแฟ วาวี (แม่สา) ร้านกาแฟ วาวี (four seasons) ร้านกาแฟ วาวี (แม่โจ้)
ร้านกาแฟ ดอยช้าง (แม่ริม) ริมปิง super market (กาดรวมโชค) ห้องสมุดทุกคณะใน มช. รติกา คลินิก ร้านแชร์บุ๊ค แม่ริม Annie Beauty (ศิลิมังคลาจารย์) Bon Café ช้างคลาน สนามบินเชียงใหม่ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ร้านเล่า Little cook cafe สถานีวิทยุแม่ริมเรดิโอ
ร้านเกาเหลาเลือดหมู เจ๊สหรส ร้านเครื่องปั้นดินเผา ดอยดินแดง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง Café Hub วิทยาลัยเทคนิค เชียงราย
กรุงเทพฯ
ร้านกาแฟ คาเฟ่ ดิโอโร่ (กรุงเทพ) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร วัดญาณเวศกวัน
Sweden The Royal Thai Embassy,StockKhoim Thai Studies Associatio
10
มุมส่วนตัว
เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ I ภาพ : พรชัย บริบูรณ์ตระกูล
อัญชลี คุรุทัช พุทธอยู่ในสายเลือด
11 ไม่ว่าในที่ไหนยุคสมัยใดในโลกนี้ คนที่แข็งแรงกว่ามีอำ�นาจ มากกว่าก็มักจะเอาเปรียบและใช้กำ�ลังกับผู้อ่อนแอกว่าเสมอ ถ้าหากเป็นในโลกแห่งภาพยนตร์เราคงจะได้เห็นซุปเปอร์ฮีโร่ ต่างๆ ออกมาช่วยคนที่ถูกพวกมีอำ�นาจพิเศษทำ�ร้ายให้พ้นภัย ให้รอด แต่ใครจะเคยคิดกลับมาบ้างไหมว่าในชีวิตจริงพวกที่ มีอำ�นาจพิเศษไม่ได้เป็นเพียงคนๆ เดียวเหมือนในหนัง แต่ พวกที่มีพลังพิเศษและใช้พลังนั้นทำ�ร้ายคนที่มีโอกาสน้อย กว่ากลับกลายเป็นองค์กรขนาดใหญ่จนถึงระดับประเทศเลย ทีเดียว โดยเฉพาะประเทศมหาอำ�นาจที่แม้แต่ประเทศเล็กๆ ก็ไม่กล้าเข้าไปคัดค้านแต่อย่างใดด้วย
BPF (Buddhist Peace Fellowship) ก็เป็นองค์กรพุทธ สายเซนองค์กรหนึ่งในอเมริกาที่ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อต่อสู้กับ ความอยุติธรรมและความรุนแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลก นี้ ที่ส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นจากบริษัทยักษ์ใหญ่หรือผู้มีอำ�นาจ ในประเทศต่างๆ เป็นผู้กระทำ�นั้นเอง เช่น การเข้าไปมี ส่วนร่วมในการเรียกให้ยุติความรุนแรงในพม่า โคลัมเบีย อัฟกานิสถาน การค้ามนุษย์ในมาเลเซีย รวมไปถึงการ ให้ความช่วยเหลือกลุ่มสตรีและกลุ่มผู้อพยพที่ถูกละเมิด ด้วยการร่วมกันปฏิบัติธรรมเรียกร้องให้เกิดความสงบและ ความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกระทำ�เหล่านั้นไม่ว่าเขาจะนับถือ ศาสนาใดก็ตาม คุณอัญชลี คุรุทัช ผู้หญิงไทย – อเมริกัน ตัวเล็กๆ ที่ความสามารถไม่เล็กคนหนึ่ง เป็นผู้มีบทบาทอย่างยิ่ง ในองค์กรนี้จนถึงกับก้าวเข้ามาอยู่ในตำ�แหน่งประธาน กรรมการขององค์กรนี้อยู่พักหนึ่งเลยทีเดียว น่าสนใจว่าถึง แม้จะเป็นชาวพุทธเหมือนกันแต่ก็มีวิธีคิดและวัฒนธรรม ที่แตกต่างกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำ�หลักการพุทธ ไปประยุกต์ช่วยเหลือผู้อื่นอีกทีหนึ่ง ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้นก็ ขอเชิญพิจารณากันต่อไป
12 มุม : ช่วยเล่าเกี่ยวกับงานของคุณหน่อยได้ไหม องค์กร Buddhist Peace Fellowship เป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาได้ 30 กว่าปีแล้ว ประมาณปี 1978 นักบวชสายเซน ชาวอเมริกัน ชื่อ Robert Aitken Roshi ท่านเป็นผู้ก่อตั้งร่วมกับคนอื่นๆ ตอนนั้นในประเทศอเมริกามีเรื่องของการเคลื่อนไหวทางสังคม แล้วมีการต่อสู้ ในเรื่องของสิทธิ แล้วคนก็เริ่มหันมาสนใจแนวทางของพุทธมากขึ้น ในการที่ทำ�งานทางสังคม เช่น เวลาออกไปประท้วงอะไรอย่างนี้ ก็ จะมีความโกรธเยอะ องค์กรนี้ก็ก่อตั้งขึ้นเพื่อที่จะต่อสู้ทางสังคม แต่ว่าใช้วิถีสันติวิธี เปลี่ยนจุดที่เขาเน้นไปเรื่อยๆ แล้วแต่สถานการณ์ ของสภาพสังคมตอนนั้น ก็แล้วแต่ว่าคนที่มาเป็นผู้นำ�เขาจะถนัดด้านไหน แต่ว่าตอนนี้ก็เป็นองค์กรที่ยืนยันในเรื่องที่ว่า เราไม่เห็นด้วย กับการทำ�สงคราม ไม่เห็นด้วยกับการที่สังคมมีความไม่เท่าเทียมกัน แล้วเราก็พยายามที่จะสร้างชุมชน ไม่ว่าจะออกมาเป็นรูปแบบ ไหนก็ตาม แต่ว่าต้องการสร้างชุมชนของคนที่สนใจเรื่องของความเป็นธรรมในสังคม ขณะเดียวกันก็เน้นปฏิบัติธรรมด้วย มุม : Rated ตัวเองอยู่ในระดับไหน ในเรื่องของความรู้ และศรัทธาเกี่ยวกับพุทธ ความศรัทธาไม่ได้เป็นปัญหาอะไร เราเข้าใจในวิถีแห่งพุทธ เข้าใจปรัชญา แต่ว่าจะให้มาพูดคุย อธิบายถึงความลึกล้ำ� เพราะไม่เคย ศึกษาอย่างจริงจัง ถึงตอนนี้ก็ยังไม่รู้หมด เนื่องจากว่าเมื่อก่อนไปเมืองไทย ทำ�งานอยู่ที่ศูนย์ผู้อพยพ แล้วก็พอไปถึงอเมริกา ก็ทำ�งาน ทางด้านนี้ตลอด เพราะฉะนั้นเป็นคนที่มีประสบการณ์ มีความสามารถในการทำ�งานองค์กร ซึ่งตอนนั้นเขาต้องการคนที่มีความเข้าใจ ในเรื่ององค์กร Nonprofit เพราะว่าองค์กร Buddhist Peace Fellowship ก็เป็นองค์กร Nonprofit ไม่ได้เป็นองค์กรทางศาสนา คือไม่ได้ เป็นวัด ไม่ได้เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม มุม : ตอนนั้นทำ�งานกับผู้อพยพอยู่ก่อนแล้ว ทำ�มาตลอด ตอนนั้นก็ยังทำ�อยู่ คือ อลัน สน็อกกี้(Alan Senauke) เขารู้จักเป็นการส่วนตัว เห็นว่าเราอาจจะช่วยในการจัดการองค์กร ได้ เขาก็บอกว่าไม่รู้พุทธไม่เป็นไร แล้วตอนนั้นเขาก็ต้องการให้บอร์ดของ Buddhist Peace Fellowship มันหลากหลาย เพราะว่าจะมี แต่ฝรั่ง คนขาว วัยกลางคน เป็น Zen ซะส่วนใหญ่ เขาก็พยายามให้องค์กร Buddhist Peace Fellowship ซึ่งก็ไม่ได้เป็นองค์กรนิกาย ใด นิกายหนึ่ง เขาก็ชวนไป ตอนนั้นก็คิดอยู่พักหนึ่ง แล้วก็ตอบรับไป เพราะว่าถ้าให้ช่วยเรื่ององค์กร ก็น่าจะพอช่วยได้ ตอนนั้นคือ ปี 2004 แล้วก็ปี 2005 ทางกรรมการคัดเลือกให้เป็นประธานของ Buddhist Peace Fellowship ก็เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของ องค์กรที่ว่า จู่ๆ ก็มีคนที่ไม่ใช่คนขาวขึ้นมาเป็นประธาน นอกจากนั้นก็ยังเป็น immigrant แล้วเราก็ไม่ใช่ Native speaker ด้วย เพราะ ฉะนั้นเขาก็มองว่า เป็นก้าวหนึ่งขององค์กรที่จะก้าวเข้าไปสัมพันธ์ สัมผัสกับชุมชนอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่เฉพาะคนฝรั่ง มุม : ช่วงที่ทำ�งานใหม่ๆ มีสิ่งที่อยากทำ� หรือว่าจะขับเคลื่อนในสิ่งที่เราถนัดอะไรบ้าง องค์กรในตอนนั้น เขายังไม่มีความรู้หลากหลาย แล้วก็ยังไม่ได้เป็นองค์กรพุทธ ที่เรียกว่ารับใช้คนอเมริกัน เพราะว่าคนอเมริกันเองที่ เขาทำ�งานเรื่องสังคม เขาต้องการอะไรซักอย่างที่หนึ่งที่มาช่วยให้เขาได้ทำ�อย่างสันติวิธี ให้เขามีความสุขกับการทำ�งาน อันนั้นจำ�เป็น แต่ว่าสิ่งที่ขาดไปก็คือ เขาไม่รู้จักกับกลุ่มพุทธ อย่างเช่นพุทธเถรวาท ซึ่งก็มีของชุมชนไทย ลาว เขมร ตอนนั้นก็มีความรู้สึกว่า การที่ เรามาอยู่ในองค์กรนี้ เป็นการทำ�ให้เขามีแง่มุมมอง มีความเข้าใจ มีความสนใจ ที่จะไปสัมผัสกับผู้อพยพ ผู้ลี้ภัย คนต่างชาติที่อยู่ใน อเมริกา ซึ่งคนเหล่านี้ก็เป็นคนพุทธที่มีรากเหง้าในการนับถือศาสนาพุทธ มีความเข้าใจ เขาอาจจะไม่เคยไปที่วัดไทย วัดไทยก็อาจจะ ไม่ได้รู้จักองค์กรนี้ ช่วงที่เข้ามาก็มีความรู้สึกว่า เออ ก็มีความสำ�คัญตรงนั้นมากขึ้น อันนั้นก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วที่สำ�คัญตอน นั้นเราเข้ามารับใช้องค์กรนี้ พยายามทำ�ให้เขาทำ�งานได้ แล้วองค์กรมีปัญหาเยอะ เราก็พยายามแก้ปัญหาตรงหน้า อย่างเช่นว่าองค์กร ขาดเงินทุน ขาดการจัดการในบางเรื่อง เราจะวุ่นอยู่กับตรงนั้น ไม่ได้ว่ามีแผนการ คือเราไม่ได้เข้าไปด้วย Agenda ที่ยิ่งใหญ่ เราเข้าไป แบบว่ามีอะไรที่ต้องการความช่วยเหลือ เราก็ทำ�
13
มุม : เวลาจะขับเคลื่อนกิจกรรมที่ไม่เห็นด้วยกับสงคราม หรือว่าต้องการสร้างชุมชน มีวิธีการสร้างกระบวนการกิจกรรมยังไง ที่ผ่านมาเรามีโครงการที่อยู่กับออฟฟิศหน่วยงานกลาง ขณะเดียวกันก็มีโครงการที่พวก chapter เขาทำ�กันอยู่ คือเป็น 2 ลักษณะ ลักษณะหนึ่งก็คือ เรามีกลุ่มเยาวชน Youth Program ที่อยู่ในบริเวณนี้ ก็อาจจะมาจัดนั่งปฏิบัติธรรมด้วยกัน นั่งพูดคุย ก็จะเป็นสถานที่ ทีค่ นเดินทางมาได้ หรือว่ามี Prison Program มีโปรแกรมเข้าไปสอนเข้าไปปฏิบตั ธิ รรมในคุก เป็นคุกทีอ่ ยูห่ า่ งจากเมือง San Francisco ไปชั่วโมงหนึ่ง แต่ขณะเดียวกันเราก็มีรูปแบบเป็น model ไว้ เช่นคนที่อยู่ New York เขาก็อาจจะมองว่าเขาต้องการทำ�แบบนี้ด้วย เขาก็เอารูปแบบของการทำ� Youth Training ไปประยุกต์ใช้ หรือว่าเขาก็อาจจะมีไอเดียของเขาเอง มันเป็นองค์กรที่มี 2 ระดับนะ
มุม : หนึ่งปีผ่านไป ความรู้สึกของคนในองค์กรที่มองคุณ เปลี่ยนไปบ้างไหม ก็ไม่นะคะ จริงๆ แล้วใน San Francisco Bay Area ก็เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายอยู่แล้ว แต่คิดว่าคนที่เป็น immigrant เป็นคนแรก ถ้าจำ�ไม่ผิดนะคะ เราก็จะรู้สึกนิดหน่อยว่า จริงๆ ไม่มี Authority ในเรื่องของพุทธ มีแต่ว่าไม่ได้เป็นแบบฝรั่ง ในวิถีชีวิตของคนไทยส่วน ใหญ่ เราก็ใกล้ชิดแล้วเราก็ซึมซับเอาหลักการเอาคำ�สอนอยู่ในตัวเรา ในวิธีการคิด วิธีปฏิบัติมีอยู่ คนเขาเห็นตรงนี้ แต่ว่าเราก็ไปมอง ว่า โอ๊ย เราไม่มี Intellectual understanding ไม่มีความเข้าใจทางวิชาการ ไม่สามารถจะดึงเอาอันนี้อันนั้นมาอธิบายได้ ก็จะเป็นความ รู้สึกนิดหน่อยว่า เราอาจจะไม่เหมาะ แต่ว่าเรารับหน้าที่มาแล้วก็พยายามทำ�ให้ดีที่สุด อย่างเช่นว่า มาอินเดียประชุม INEB ในฐานะ เป็นประธานขององค์กรนี้ แต่คนก็จะมองแล้วงงๆ จริงๆ เราจะต้องบอกว่าเราเป็นคนอเมริกัน เรามาแทนองค์กรซึ่งเป็นอเมริกัน คนก็จะฟังแล้วก็จะไม่เข้าใจ ว่ามันเป็นไปได้ยังไง แต่ถ้าเราพูดว่าฉันเกิดเมืองไทย เขาก็จะ อ๋อ โอเคๆ มุม : การทำ�งานองค์กรนี้ ให้อะไรกับคุณอัญชลีบ้าง ตอนที่จะเข้าไปทำ� ก็คิดอยู่ว่าตัวเองเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นฝ่ายพนักงาน สมัยเราทำ�งานองค์กร เราเป็น Director ของหน่วยงาน Social service คือเราเป็นคนทำ�งาน แล้วทุกๆ องค์กร Nonprofit เขาจะมีกรรมการ มี Board of directors เรานี่คิดอยู่ตลอดเวลาว่า โอ๊ย! ใคร จะมาเป็น Board of directors ก็คือเป็นงานที่จะต้องรับผิดชอบนะ คือจริงๆ ในกฎหมาย กรรมการจะเป็นผู้รับผิดชอบทางกฎหมาย ขององค์กร คนที่เป็นพนักงานนี่ พอถึงที่สุด ถ้าเกิดสมมติว่ามีเรื่องมีอะไรที่มันผิด พวกกรรมการจะต้องรับผิดชอบ ตอนนั้นเราคิดว่า ใครจะมาเป็น มันเป็นแบบทำ�งานฟรี ต้องมีภาระ แล้วเงินทุนก็ต้องไปช่วยเขาหา แล้วเราก็รู้สึกว่าไม่มีใครอยากทำ�หรอก แต่ว่าก็มีคนที่ อยากทำ� มันเป็นเกียรติเป็นหน้าตา ทีนี้พอเรามาทำ�เอง เราก็คิดว่าถ้าต้องไปเป็นกรรมการที่ปรึกษา ไม่มีองค์กรไหนดีกว่าองค์กรนี้แล้ว คนพุทธที่อเมริกาเขาศึกษาจริงจัง แล้วก็พยายามเอามาใช้อย่างจริงจัง เราได้เรียนรู้จากตรงนี้เยอะมาก เรียนรู้ถึงวิธีการจัดการปัญหา อย่างพุทธ คือคนอเมริกันปกติเป็นคนที่กล้าพูด กล้าทำ� กล้าเผชิญกับความขัดแย้ง แต่บางครั้งกลายเป็นเรื่องใหญ่โตไป แต่ว่าพออยู่ ในองค์กรพุทธ เขาจะจัดการกับปัญหาโดยที่ฟัง นึกถึง compassion ให้กันและกัน ความเมตตากรุณาให้กันและกัน ตรงนี้เรียนรู้เยอะ ขณะเดียวกันเราก็เริ่มพูดมากขึ้น Philosophy ของ Buddhist Practice คืออะไร และโดยเฉพาะในแง่ของการทำ�งานสังคม เมื่อกี้ บอกว่า พุทธอยู่ในสายเลือด แต่ไม่ได้อยู่ในสมองนะ มันก็เริ่มมาอยู่ในสมองมากขึ้น แล้วก็เริ่มมีการ process มีการคิดพูด สื่อสารกับ คนมากขึ้น มุม : ถ้าอย่างนั้นเมื่อมันให้ประโยชน์มาตลอด ทำ�ไมวันหนึ่งเราถึงถอยตัวออกมา ยังไม่ได้ถอย ตอนนี้ยังเป็นรองประธานอยู่ คือเราไม่อยากให้ตำ�แหน่งมันอยู่อย่างนั้น มันควรจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จะไปยึดเป็น ประธานอยู่นานๆ ได้ยังไง เราพูดกันมาว่าเป็นคนละปีก็พอ แต่ตอนนั้นเป็น 2 ปี เราก็บอกว่า เราควรจะหลุดออกมาแล้วให้คนอื่นเป็น ตอนนี้กลับมาเป็นรองประธาน เพราะว่ามันไม่มีคน เปลี่ยนกันไปมา แต่จริงๆ แล้วเราเรียนรู้เยอะ เรามองปัญหาของโลก ตอนนี้สภาพ มันแย่มาก เหมือนกับว่าต้องหมดหวัง ต้องตายแน่เลย แต่ว่าขณะเดียวกันด้วยความเป็นองค์กรพุทธ เราไม่มองว่าเป็นสิ่งที่เราต้อง ท้อแท้ ต้องสิ้นหวัง เราก็ทำ�ต่อไป ทำ�เต็มที่เท่าที่เราจะทำ�ได้ ทำ�ไปเรื่อยๆ เราก็จะไม่ละทิ้ง เพราะฉะนั้นมันเป็นแรงบันดาลใจอย่างหนึ่ง
ถ้าไม่มีความขัดแย้งขึ้นมา เราก็ไม่ได้คิด ถ้าเราไม่เห็นว่ามันเป็น ปัญหา เราก็จะปล่อยมันเรื่อยๆ แน่นอน มันเป็นเรื่องลำ�บาก
15 เราได้เห็นคนมากมายที่เรานับถือ ตอนนี้ Executive Director เป็นผู้หญิงอายุ 24 เป็นชาวพุทธโดยกำ�เนิด แต่เป็นฝรั่ง คือพ่อแม่เป็นครู นิกายเซนที่มีชื่อ ตัวเขาเกิดมาอยู่ในแวดวงพุทธ เป็นคนที่มีศักยภาพมาก เวลาที่เราเห็นแล้วก็จะรู้สึกว่า เรามีส่วนในการช่วย สนับสนุนเขา ช่วยให้เขาได้ทำ�ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ อันนี้คือสิ่งที่เราได้ มุม : คิดยังไง กับวัดไทยที่เพิ่มมากขึ้นในอเมริกา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อาจจะ Sensitive นิดหน่อย แต่ว่าวัดก็เป็นศูนย์กลางของคนไทย โดยเฉพาะคนไทยที่ห่างจากบ้าน การได้ไปวัดเป็น สิ่งที่มีความหมายกับเขา อันนี้เราเห็นตรงนี้ บางคนก็ขับรถมาทุกวันอาทิตย์ขับมาชั่วโมงหนึ่ง เพื่อจะได้มาพบปะพูดคุยกับคนอื่น ได้ มาไหว้พระ ได้มากินอาหารไทย ฉะนั้นคิดว่าวัดไทยในอเมริกานี่รับใช้ตรงนี้ มากกว่าที่จะเป็นแหล่งของการปฏิบัติธรรมจริงๆ หรือว่า จะเป็นแหล่งของการเผยแผ่คำ�สอน บทบาทตรงนั้นไม่ได้มากเท่าที่หลายคนอาจจะคาดหวัง แต่ว่าเป็นสถานที่ที่ให้ความอบอุ่นใจ อีก อย่างหนึ่งพระที่วัดไทยจริงๆ ก็ทำ�งานหนัก เพราะมันไม่มีคนที่จะมาช่วยทุกวัน เราเห็นตรงนี้ กำ�ลังจะพูดว่า concept ของวัดจะต้อง สร้างวัดให้ใหญ่โต จะต้องซื้อที่ให้มากขึ้น อันนี้ยังเห็นอยู่ ถ้าในส่วนตัวก็มีความรู้สึกว่า มันทำ�ให้คนมองแต่เรื่องของวัตถุ แล้วทางวัด เองก็จะต้องให้ยิ่งใหญ่ขึ้นๆ ให้โตขึ้นเพื่อที่จะดึงคน คนก็ไปตามนั้น ซึ่งมันเสียดายว่า มันขาดในสิ่งที่เป็นแก่นของการปฏิบัติ ระยะหลัง วัดที่มาสร้างใหม่ บางวัดก็เป็นวัดปฏิบัติ ก็มองว่ามันมีความหลากหลายในความต้องการ คนที่มีความต้องการมาไหว้พระในโบสถ์ หรือว่าคนที่ต้องการมาปฏิบัติธรรมจริงๆ การที่มีวัดมากขึ้นก็อาจจะเป็นสิ่งดีในการสร้างความหลากหลายให้กับคน ชุมชนมีความ ต้องการอะไร แล้ววัดก็จะเกิดขึ้นตามนั้น สมมติว่ามีกลุ่มคนที่ต้องการปฏิบัติธรรมจริงๆ อย่างเดียว เรื่องพิธีกรรมไม่เอา เขาก็อาจจะไป นิมนต์พระมา แล้วเขาก็จะ support ทุกคนก็ช่วยกันทุ่มทุน ช่วยกันสร้างอะไรขึ้นมา เพื่อจะให้มีวัดตรงนี้ ตอนนี้มีวัดผู้หญิงของภิกษุณี เถรวาท เป็นวัดที่หลวงพ่อเจ้าอาวาสของวัดไทยสนับสนุน แล้วท่านก็ให้ภิกษุณีไปเปิดวัดเอง เป็นภิกษุณีฝรั่ง ท่านภิกษุณีองค์นี้รู้จักกับ หลวงพ่อที่เป็นพระไทย เพราะฉะนั้นตอนนี้ก็เริ่มมีการก่อตั้งวัด แล้วก็จะเริ่มมีคนมาทั้งผู้ชายผู้หญิง เขาจะเห็นความสำ�คัญของวัดที่ สอนโดยภิกษุณี แล้วท่านก็ปฏิบัติธรรม ขณะเดียวกันก็มีการเผยแผ่คำ�สอน มันก็ทำ�ให้คนหลายคนที่เขาอาจจะรู้สึกไม่ค่อย comfortable ที่จะไปวัดไทย พระพูดแต่ภาษาไทย แล้วก็ไม่มีพระผู้หญิง เขาก็ไปวัดนี้ ก็เห็นสิ่งที่ดีๆ เกิดขึ้น มันก็คงมีความขัดแย้งใน เรื่องการเมืองอยู่ จำ�นวนคนไทยมันก็มีเท่าเดิม แต่วัดมีมากขึ้น มันก็มีการแย่งลูกค้ากัน มุม : ตอนนี้รู้สึกยังอย่างไรเวลาต้องทำ�งานอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งของชาวพุทธ รู้สึกดีนะ รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งจำ�เป็น เพราะว่าถ้าไม่มีความขัดแย้งขึ้นมา เราก็ไม่ได้คิด ถ้าเราไม่เห็นว่ามันเป็นปัญหา เราก็จะปล่อยมัน เรื่อยๆ แน่นอนมันเป็นเรื่องลำ�บาก แล้วคนก็พูดง่ายกว่าทำ� แต่ว่าเวลามีปัญหา คนก็จะเหมือนกับโกรธกันเกลียดกัน มีเรื่องกัน แต่ว่า ในความที่มันเผชิญหน้ากัน ปะทะกันนี่ เชื่อว่าจะต้องมีอะไรที่เป็นประกายออกมา แล้วช่วยให้คนอื่นได้เห็น ได้เข้ามาจัดการ ได้เข้ามา ช่วย อาจจะไร้เดียงสาเกินไปหรือเปล่า ที่มองว่าถ้าไม่มีความขัดแย้ง มันก็ไม่เติบโต มุม : คุณคิดว่าอนาคตของพุทธศาสนาในอเมริกาจะเป็นยังไง พุทธศาสนาในอเมริกา เป็น topic ที่ใหญ่ กว้างขวาง พูดได้อีกนาน เพราะจริงๆ พุทธศาสนาในอเมริกากำ�ลังเติบโต กำ�ลังฝังราก ราก เริ่มงอก แต่ว่ามันจะต้องเป็นอะไรที่อยู่ในวัฒนธรรมอเมริกัน ซึ่งวัฒนธรรมนี้จะมีความหลากหลาย เน้นในเรื่องของความส่วนตัว แต่ว่า เขาดึงในสิ่งที่ดีๆ จากตะวันออก ดึงในสิ่งที่เป็นประโยชน์มาใช้ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เขาก็ไม่เอามา ซึ่งอันนี้ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี คนอเมริกัน จะมี value คือการให้คุณค่ากับความชอบธรรม ความเท่าเทียมกัน เรื่องของผู้หญิง ขณะเดียวกัน เขาจะเอาการปฏิบัติ เอาธรรมะ เอาพุทธศาสนามาจากเมืองไทย ญี่ปุ่น หรือที่ไหนก็แล้วแต่นี่ เขาก็จะเอาในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เช่นคำ�สอน วิธีการนั่งปฏิบัติ หรืออะไรก็ แล้วแต่ แต่ว่ามันจะอยู่ใน value ของสิ่งที่เขาให้ความสำ�คัญ เพราะฉะนั้นคิดว่าน่าจับตาดู แต่ขณะเดียวกันต้องระวังไม่ให้มันเกิดเป็น ลักษณะที่ว่าฉันใหญ่กว่า ฉันดีกว่า ฉันรู้มากกว่า กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งคนอเมริกันจะมีปัญหาเรื่องนี้เยอะ พอไปซักพักหนึ่งจะต้อง เป็นว่า ฉันรู้ดีกว่าเธอ แต่คิดว่าในเรื่องพุทธเขายังไม่ถึงขนาดนั้น
16
เมื่อกี้บอกว่า พุทธอยู่ในสายเลือด แต่ไม่ได้อยู่ในสมองนะ มันก็เริ่มมาอยู่ในสมองมากขึ้น แล้วก็เริ่มมีการ process มีการคิดพูด สื่อสารกับคนมากขึ้น
มุม : เมื่อองค์กรทำ�งานเรื่องพุทธกับเรื่อง peace เวลาเกิดความขัดแย้งกันในสังคมอเมริกัน ซึ่งคุณบอกว่ามีสูง จะทำ�งานยังไงให้คนมี ประกายในการเปลี่ยนจากความขัดแย้งมาสู่เรื่อง peace ได้ หนึ่งเราไม่เห็นเขาเป็นศัตรู อย่างเช่นว่ามีการไปประท้วง การประหารชีวิต ซึ่งอเมริกามีโทษประหารชีวิต ทุกครั้งที่จะมีการประหาร ก็จะ มีกลุ่มพุทธ อาจจะไม่ใช่ Buddhist Peace Fellowship ทุกครั้งไป จะมีกลุ่มพุทธที่ไปอยู่ที่นั่น ไปนั่งสมาธิ การนั่งสมาธิมันเป็นอะไรที่มี พลัง นั่งเงียบๆ ไม่พูด แต่ว่าคนรู้สึกได้ถึงความสงบ ขณะเดียวกันก็ไม่ไปตะโกนด่า หรือว่าเราเห็นทหารหรือตำ�รวจที่เขายืนอยู่ เราก็จะ ไม่มีท่าทีว่าเขาเป็นศัตรู อันนี้เป็นสิ่งที่พุทธนำ�เข้ามาในการต่อสู้เรื่อง peace เรื่องความเท่าเทียม นี่แหละคะรูปแบบของการเผชิญหน้า แต่ว่าไม่ใช้ความรุนแรง คนหลายคนมองว่าพุทธคือการเงียบๆ ไม่พูด ไม่อะไร ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่เลย ไม่ใช่แน่นอน คือเราไปอยู่ แนวหน้า เราไปอยู่ที่นั่น แต่ว่าเราไม่ได้ถือหอก คือเรายืนเงียบๆ ไปเป็นพยานรู้เห็น มุม : ตอนนี้ความขัดแย้งเกิดขึ้นมันเยอะมาก ทั้งในระดับความสัมพันธ์ภายในครอบครัว กับเพื่อน หรือระดับใหญ่ของสังคม การ ทำ�งานเรื่อง peace ที่ค่อยๆ ทำ�อย่างนี้ มันจะมีพลังพอกับความขัดแย้งที่มันมากนี้ได้ยังไง ถ้าอันนี้ไม่พอ แล้วอันไหนพอ คือจริงๆ แล้วถ้าคุยกับพวกปรมาจารย์ เขาก็คงจะพูดว่ามันต้องเริ่มจาก transform ตัวเองก่อน แต่ขณะ เดียวกันเราเชื่อว่าเรา transform ตัวเองแล้ว มันจะเกิดความกล้า ความไม่กลัวขึ้นมา คือคนคิดว่าการที่ว่าเราไปยืนอยู่หน้าคุก มันอาจ จะไม่ได้ส่งผลอะไร แต่จริงๆ แล้วมันส่งผล การที่เราไม่ถอยหนีกับความขัดแย้ง การที่เราออกไปเผชิญหน้ากับมัน ทำ�ให้ทุกคนที่เห็น ปัญหานี้ เขาได้รับผลกระทบจากเรา แต่ว่าขณะเดียวกัน เราไม่สามารถทำ�ทุกอย่างได้ ปัญหาเยอะแยะมากมายอย่างที่ว่า เราไม่ได้มี ทัศนคติที่ว่า “โลกวุ่นวาย เรากำ�ลังจะมาจัดการให้มันเรียบร้อยให้หมด” เราไม่มีทัศนคติแบบนี้ในการทำ�งาน เพราะเรารู้ว่าเราทำ� ไม่ได้ ขณะเดียวกันเรารู้ว่ามันมีอำ�นาจกับการควบคุมอยู่ในระบบ ระบบใครกุมอำ�นาจอยู่ คือ Socially Engaged Buddhist องค์กร อย่าง BPF เราเข้าใจในเรื่องของโครงสร้างทางสังคม รู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่กุมอำ�นาจอยู่ อย่างพวก corporation ทั้งหลาย เราก็มี strategy ในการไปเป็น advocacy ไปเรียกร้องในระดับนโยบาย เปลี่ยนนโยบาย ไปทำ�ให้นโยบายไม่ประหารชีวิตเด็กและเยาวชน หรือว่านโยบายเขียนจดหมายไปถึงประธานาธิบดี ว่าเราคัดค้านอย่างนี้อย่างนั้น เราทำ�โดยอาศัย network เราทำ�ร่วมกันคนอื่น มัน ต้องเป็น network แล้วก็ move ไปด้วยกัน เพราะถ้าทำ�เป็นทีละจุดๆ มันก็ได้นะ แต่มันไม่มีพลังพอ โครงการ BPF อาจจะไม่มีวันพรุ่งนี้ ก็ได้ เพราะว่าอาจจะไม่มีเงินทุนเหลืออยู่เลย แต่คิดว่า concept ในการคิดของเรื่องการที่เอากลุ่มคนพุทธที่จะทำ�งานเพื่อสังคม โดยมี ความเข้าใจเรื่องโครงสร้างความรุนแรง มันจะไม่มีทางดับไป
18
มุมพิเศษ
เรื่อง : กองบรรณาธิการ l ภาพ : รบฮ.
เรียน l รู้
20
เราจะเรียนกันไปถึงไหน หากจะบอกว่าทุกวิชาในโลกใบนี้ล้วนแต่มีเป้าหมายเดียวกันทั้งหมดก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะทุกวิชาเกิดขึ้นจากคนต้องการที่จะมี ความสุข และหลีกเลี่ยงจากการเป็นทุกข์ ซึ่งคนแต่ละคนก็ย่อมจะคิดแตกต่างกัน จึงทำ�ให้ทุกคนมองหาวิธีแก้ทุกข์ที่ต่างกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์และเหตุปัจจัยที่คนๆ นั้นได้พานพบมา เช่น ยุคที่เศรษฐกิจไม่ดีผู้คนก็เริ่มตุนอาหารเพราะไม่อยากอด โดยคิดว่าอย่างน้อยๆ ถ้ามีอาหารไม่ขาดก็จะทำ�ให้ชีวิตมีความสุขได้ เป็นต้น คนจึงมีทางเลือกที่จะเรียน “วิชา” ที่จะส่งเสริมตัวเองให้สามารถตอบสนองต่อ ความต้องการจากภายนอกและภายในนั้นได้ บางคนก็คิดทฤษฎีความรู้ใหม่ๆ ทำ�ให้วิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามากขึ้น เป็นผลให้ความเป็นอยู่ ของผู้คนลำ�บากน้อยลง แต่ในขณะเดียวกันก็ทนลำ�บากได้ยากขึ้น เพราะหลายกรณีที่เมื่อกายสบายแล้วความสบายใจก็เกิดขึ้นตามมา หากแต่บางครั้งแม้กายจะสบายแล้วก็จริง แต่ใจก็ไม่ได้สบายไปด้วย ซึ่งก็เป็นภาระที่เราต้องหาทางแก้กันต่อไป โดยทางแก้ที่ง่ายที่สุดอย่าง หนึ่งในปัจจุบันก็คือการผลักภาระการแก้ทุกข์ทางใจนี้ไปให้หมอโรคจิต(จิตแพทย์) ดูแลแทน จนรายการดังๆ ในอเมริกาหลายรายการ เป็นเรื่องการแก้ไขปัญหาทางจิต หนังสือขายดีในไทยและต่างประเทศคือหนังสือ How to ที่สอนว่าทำ�อย่างไรจะมีความสุข มหาวิทยาลัย ทั่วโลกต่างก็มีวิชาส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา แต่ทว่าปัญหาทางจิตของคนในยุคนี้ก็ไม่ได้น้อยลงไปแถมยังมากขึ้น เสียอีกต่างหาก ฉะนั้นจึงน่าสนใจว่าอุดมการณ์ของการศึกษาในปัจจุบันคืออะไรกันแน่ เพราะดูเหมือนว่ายิ่งเรียนเท่าไรก็ไม่จบ (พอ) เสียที ยังต้องมีใบนั่นใบนี่มาเพิ่มดีกรีความรู้อยู่เรื่อยไป จนน่าสงสัยว่าชีวิตนี้เราจะเรียนอะไรกันนักกันหนากว่าจะได้ความสุขที่ถวิลหามาครอง
พระพุทธศาสนาสอนให้เรียนเรื่องอะไร สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นไม่ได้เป็นวิชาที่ต้องไปนั่งท่องอ่านตำ�ราจากที่ไหน แต่สอนให้รู้จักการอ่านตัวเองเป็นตำ�รา การฝึกฝนก็ไม่ ได้ฝึกฝนให้ไปอยู่ในระบบใดๆ ทั้งสิ้น กลับสอนให้ออกจากระบบเสียอีก ซึ่งระบบที่ว่านี้ไม่ใช่ระบบสังคมเมืองธรรมดาๆ แต่ออกจากระบบ การหมุนวนที่เรียกกันว่า “วัฏฏะ” และ การเรียนจบในพระพุทธศาสนาหรือตามคำ�สอนของพระพุทธเจ้า ไม่ได้หมายความว่าให้เรียนให้ได้ ใบประกาศจบจากสถาบันใดๆ ไม่ได้หมายถึงต้องจำ�พระไตรปิฎกให้ได้ทั้งเล่ม หรือประสบความสำ�เร็จในชีวิตเป็นเศรษฐีแสนล้าน แต่กลับ กันพระพุทธเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่สอนลูกศิษย์ว่า “อย่าเสียเวลาไปรู้ทุกอย่าง มันยังไม่จำ�เป็น เรียนเรื่องที่สำ�คัญๆ ก่อน” ท่านได้อุปมาเรื่องของ ความสำ�คัญของความรู้ไว้มากมาย เช่น เรื่อง “ใบไม้ในกำ�มือ” จาก สีสปาสูตร ที่คนไทยคุ้นหูคุ้นตา พระพุทธเจ้าได้พูดถึงความสำ�คัญของ การเลือกเอาความรู้ที่ควรรู้ในการแก้ปัญหาชีวิตไว้ก่อน ไม่จำ�เป็นต้องรู้ทุกอย่าง โดยพาภิกษุผู้ใฝ่ในความรู้ทั้งหลายไปในป่าคว้าใบไม้มา กำ�หนึ่งแล้วถามว่าระหว่างใบไม้ในมือกับใบไม้ในป่า ที่ไหนมีใบไม้เยอะกว่ากัน ซึ่งทุกรูปก็ตอบว่าในป่ามีมากกว่า พระพุทธองค์จึงอุปมา ต่อว่า ความรู้นั้นมีมากมาย แต่ที่จำ�เป็น(ในการใช้ดับทุกข์) จริงๆ มีเพียงในกำ�มือเท่านั้น และต้องลำ�ดับความสำ�คัญให้ถูกต้องด้วย เรื่องนี้ มีอยู่ในจูฬมาลุงกโยวาทสูตร ที่พระมาลุงกยบุตรถามปัญหาต่างๆ นานา ประมาณว่าโลกนี้ยั่งยืนไหม จะแตกเมื่อไหร่ ชาตินี้ ชาติหน้ามีจริง ไหม เป็นต้น ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบ แล้วอุปมาถึงคนที่โดนยิงด้วยธนูอาบยาพิษ แล้วมัวแต่สงสัยว่าใครยิง ธนูทำ�จากอะไร ยิงจากที่ไหน ยิงด้วยเครื่องชนิดใด ไม่ยอมรักษาตัว ก็คงได้ตายพอดี ตัวเองมีทุกข์ทางใจมัวแต่ไปถามเรื่องอื่นอยู่ จะหายทุกข์ได้ยังไง พระองค์ทรงแนะ ให้มองกลับไปที่โครงสร้างของความทุกข์ ว่าถ้าอยากหายจากความทุกข์ ก็ต้องรู้จักทุกข์ เรียนรู้ทุกข์ก่อนสิ แล้วจะออกจากทุกข์ได้ ถ้าไม่มี ความรู้ที่ชัดเจนก็กลายเป็นแก้ทุกข์ได้ไม่ถูกจุด ไม่หมดเด็ดขาด ต้องทำ�ซ้ำ�หลายรอบ เหมือนที่พระพุทธเจ้าพูดเอาไว้ใน มหาสาโรปมสูตร ที่เปรียบคนต้องการความพ้นทุกข์กับคนต้องการแก่นไม้ไปสร้างบ้านไว้ 5 ระดับคือ คนอยากได้แก่นไม้ ไปเห็นกิ่งและใบของต้นไม้ดันนึกไปว่านี่คือแก่นไม้ หอบกิ่งไม้และใบไม้กลับไป นอกจากจะใช้ประโยชน์ได้ ไม่เท่ากับแก่นไม้แล้ว คนที่เขารู้จักแก่นไม้คืออะไรก็จะรู้ว่าคนๆ นี้ไม่รู้จักแก่นไม้ ซึ่งท่านก็เปรียบกลับมาว่า คนเราต้องการความพ้นทุกข์ มี โอกาสจะพ้นจากความทุกข์ได้อยู่แท้ๆ แต่ดันไปหลงใหลในลาภยศสรรเสริญเงินทองที่ผ่านเข้ามาในระหว่างทาง ได้รับการยอมรับนับถือ จากผู้คนรอบข้างว่าเป็นผู้รู้ธรรมะใช้ธรรมะมีความสามารถทำ�ให้ตัวเองร่ำ�รวยเงินทองยศศักดิ์ แล้วคิดว่านั่นคือสิ่งที่ควรได้จากการปฏิบัติ ธรรมแล้ว ก็จะทำ�ให้เขาพลาดโอกาสที่จะได้ประโยชน์ที่แท้จริงจากธรรมะไป
เรียน l รู้
22 บางคนเข้าป่าไปแทนที่จะได้แก่นไม้คราวนี้ไปคว้าเอาสะเก็ดไม้ แล้วหลงคิดว่าเป็นแก่นไม้ ท่านก็เปรียบกลับไปอีกว่า คนบางคน เข้ามาปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ พอตัวเองรักษาศีลได้สมบูรณ์ไม่บกพร่อง ได้รับการยอมรับนับถือจากตัวเองและผู้คน ก็หลงไปคิดว่านี่ คือแก่นของธรรมะแล้ว บางเจ้าถึงขนาดไปเกทับคุณงามความดีกับผู้อื่นเลยทีเดียว บางคนได้เปลือกไม้กลับไปคิดว่าเป็นแก่น ท่านก็เปรียบกลับมาให้เห็นว่า ความสมบูรณ์ของสมาธินี่เป็นเพียงเปลือกของการ ปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะมีคุณวิเศษเหาะเหินเดินอากาศได้ นั่งสมาธิได้ฌานสงบนิ่งยังไงก็ตาม ก็ยังต้องวนเวียนอยู่ในวิถีชีวิตแห่งความทุกข์อยู่ ยังไม่สามารถหลุดออกไปได้ บางคนปรารถนาแก่นไม้เกือบได้แก่นไม้ดันไปได้เพียงกระพี้ไม้ ท่านก็เปรียบกลับมาว่า ความสมบูรณ์แห่งปัญญา(ความรู้ความ เข้าใจโลกตามความเป็นจริง) คือกระพี้ของการปฏิบัติธรรม หมายความว่ามีความรู้ถึงพร้อมแล้วแต่ยังไม่ได้เอาไปใช้นี่เอง แต่ก็จะมีคนหนึ่งที่รู้ว่าแก่นไม้คืออะไร มุ่งหน้าค้นหาแก่นไม้และได้แก่นไม้นั้นมา ท่านก็เปรียบกลับมาว่า ในการปฏิบัติก็มีแก่นอยู่ที่การหลุด พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงไม่กลับมาทุกข์อีก การใช้ชีวิตก็เป็นไปเพื่อคนอื่นมากกว่าตัวเอง เพราะไม่มีอะไรต้องแสวงหาเพื่อตอบสนองความ ต้องการของตัวเองอีกแล้ว จึงจะเห็นได้ว่าจุดหมายสูงสุดของการศึกษาในทางพุทธไม่ได้พูดเรื่องอื่นเลยนอกจากการเรียนรู้ไปเพื่อดับทุกข์ และการดับทุกข์ได้ จริงๆ เท่านั้นจึงจะเรียกว่าได้จบการศึกษาจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่รู้ในภาคทฤษฎีเท่านั้น แล้วต้องเรียนอะไรบ้าง พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสไว้ว่า “ธรรมะ”(ความเป็นจริงของธรรมชาติที่รู้แล้วทำ�ให้ดับทุกข์ได้) นั้นมีอยู่แล้ว ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะเกิด ขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม พระองค์เป็นเพียงผู้ค้นพบแล้วนำ�มาบอกต่อให้ขยายเป็นวงกว้างเท่านั้น หลักสูตรของพระพุทธเจ้าจึงประยุกต์ให้แต่ละ คน เมื่อคนอื่นทำ�ตามแล้วเห็นว่าเป็นจริงตามนั้น เขาผู้นั้นก็จะพ้นทุกข์ได้ด้วยตัวของตัวเอง และวิธีที่จะทำ�ให้เห็นความจริงที่ทำ�ให้พ้นทุกข์ ได้เรียกว่า “ไตรสิกขา” หรือที่คุ้นหูกันว่าการศึกษา 3 ด้าน ประกอบด้วย สีลสิกขา หรือที่เรียกกันว่า การศึกษาเพื่อให้เกิดศีล หมายถึงการศึกษาในการแสดงออกทางพฤติกรรมของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นพูด หรือทำ�อะไรก็ตาม ให้มีสติอยู่เสมอ ไม่เบียดเบียนตัวเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น เว้นจากการเบียดเบียนทั้งทางตรงและทางอ้อม มีผลทำ�ให้มี ความทุกข์ที่เกิดจากการกระทำ�โดยไม่ยั้งคิดน้อยลง ทำ�ให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น จิตตสิกขา หรือที่เรียกกันว่า การศึกษาเพื่อให้เกิดสมาธิ หมายถึง การเพิ่มพูนความสามารถให้จิตใจมีความจดจ่อมากขึ้น ทำ�ให้ สภาพจิตสงบจากความฟุ้งซ่าน ทำ�ให้เกิดความใสกระจ่างในจิต สามารถโน้มนำ�มาพิจารณาความเป็นไปตามธรรมชาติ อันเป็นเหตุให้เกิด ปัญญาง่ายขึ้น ปัญญาสิกขา หรือที่เรียกกันว่า การศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญา หมายถึง การฝึกฝนความสามารถในการเฝ้าสังเกตความเป็นจริง ตามธรรมชาติ จนเข้าใจในความจริงของธรรมชาติ ไม่พยายามบังคับทุกสิ่งต้องเป็นไปดั่งใจต้องการ เรียนรู้จนเกิดอิสรภาพจากภายในมีผล ให้จิตใจพ้นจากความทุกข์ได้ในที่สุด ผู้ที่เข้าเรียนหลักสูตรนี้ไปแล้ว ก็มีอยู่ด้วยกัน 4 จำ�พวก คือ คนที่เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และอีกประเภท เรียนจบแล้วหรือเรียกว่าเป็นศิษย์เก่า คือ พระอรหันต์ ที่หลายท่านก็ได้กลับมาเป็นครูสอนให้คนอื่นเข้าใจต่อไป แม้การเรียนรู้ทางวิทยาการต่างๆ ในโลกอาจมีไม่รู้จบ แต่ในวิถีพุทธรับรองถ้าตั้งใจเรียนจบแน่ๆ และไม่ต้องหาอะไรเรียนต่อในทางพุทธ อีกแล้ว เพราะการเรียนวิถีพุทธคือการเรียนรู้เพื่อหลุดโลก(โลกุตตระ)ไม่ติดอยู่ในวังวนแห่งความทุกข์ในโลกอีก ฉะนั้นเมื่อตัวเองสามารถ หมดทุกข์ได้จริงๆ สิ่งที่สามารถทำ�ได้ต่อไปก็คือการช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ มีทางเลือกให้ก้าวอย่างมากมายโดยไม่ถูกผูกติดกับความ เปลี่ยนแปลงของโลกอีก(โลกเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา แต่พระอรหันต์ไม่อ่อนไหวตาม) รู้อย่างนี้แล้วมาลงทะเบียนเรียนวิชาพ้นทุกข์กันเถิด ไม่ต้องสอบแอดมิดชั่น ไม่ต้องปั่นแปะเจี๊ยะ ไม่ต้องผ่าน การฝากใดๆ และท้ายที่สุดไม่เสียค่าเทอมด้วยนะ
VS.
พื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างพระกับโยมในศตวรรษที่ 21
วิทยานันทะ Vs. พระอูนายะกะ
การศึกษาแบบไหน น่าสนใจกว่ากัน
เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ I ภาพ : พรชัย บริบูรณ์ตระกูล
25
26
การศึกษาถือเป็นเรื่องสำ�คัญของมนุษยชาติ เพราะเราเชื่อกันว่าการศึกษาย่อมทำ�ให้เกิดความรู้ และความรู้ นี้จะนำ�พาชีวิตให้ดำ�รงอยู่ได้อย่างพัฒนาและมีความสุขทั้งแก่ตัวเองและสังคม ส่วนจะศึกษาอย่างไรนั้นก็ต้องขึ้นอยู่ กับเหตุปัจจัยหลายๆ อย่าง ทำ�ให้บางคนมีโอกาสได้เรียนจากโรงเรียนของรัฐ บ้างได้เรียนจากโรงเรียนเอกชน บางคน ก็โรงเรียนวัด บางคนมีฐานะหน่อยหรือสอบชิงทุนได้ก็ไปเรียนต่างประเทศ ซึ่งการจัดระบบก็จะคล้ายกันบ้าง ต่างกัน บ้าง ตามแต่พื้นที่ แต่ก็สามารถเห็นได้ว่าระบบการศึกษานั้นมีการพยายามปรับปรุงกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการ ลอกแบบจากที่อื่นมาใช้ หรือคิดใหม่ขึ้นมาจากความคิดสร้างสรรค์ของนักการศึกษา ซึ่งก็ได้รับการยอมรับบ้าง ถูก ปฏิเสธบ้าง เป็นเรื่องธรรมดา ครั้งนี้ มุม จึงได้เชิญนักพัฒนาการศึกษาระดับประเทศจากสองประเทศมาแลกเปลี่ยน กัน คือ อูนายะกะ พระพม่านักพัฒนาระบบการศึกษาและเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนพงดาวโอ(Phong Dao Oo Monastic School) โรงเรียนเรียนฟรี(วัด) ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในพม่า มีเด็กนักเรียนที่ฐานะไม่ดีมาเรียนอยู่ด้วยหลายพันคน ซึ่งเด็ก นักเรียนบางคนเรียนจบจากที่นี่แล้วยังสามารถสอบติดมหาวิทยาลัยดังๆ ระดับโลกได้อีกด้วย และคู่แลกเปลี่ยนกับ ท่านก็คือ ซูน คุย วูน หรือผู้ที่รู้จักจะเรียกว่า วิทยานันทะ นักการศึกษาทางเลือกชาวมาเลเซียที่เน้นการสร้างชุมชน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้แทนโรงเรียน ที่เรียกว่า Community Based Learning (การเรียนรู้แบบใช้ชุมชนเป็นฐาน) เขา เชื่อว่าการเรียนในโรงเรียนไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำ�หรับการศึกษายุคใหม่อีกต่อไป เพราะโรงเรียนในปัจจุบันมุ่งเน้นที่จะ แข่งกันสู่จุดสูงสุดของตลาดวิชาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางอุตสาหกรรมการศึกษา มากกว่าการส่งเสริมให้ นักเรียนก้าวไปในองค์ความรู้ที่เป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษา และรู้เท่าทันเข้าใจการเป็นอยู่อย่างมีความสุขโดยไม่ตก เป็นทาสของทุนนิยมบริโภคนิยม เมื่อเหตุปัจจัยทำ�ให้ทั้งสองมาแลกเปลี่ยนกัน เราอาจจะได้แนวทางใหม่สำ�หรับผู้ที่กำ�ลังเรียนอยู่ มีลูกหลาน กำ�ลังอยู่ในวัยเรียน หรือเป็นผู้อยู่ในแวดวงการศึกษา เพื่อใช้ในการพัฒนาหลักสูตรของเราต่อไป ขอเชิญพิจารณาครับ วิทยานันทะ : ผมว่าก่อนที่เราจะพูดถึงระบบการศึกษา เราคงต้องถามก่อนว่า เราจะเรียนไปทำ�ไม อะไรคือจุดหมายของการเรียน เมื่อ เรารู้ตรงนั้นแล้วเราค่อยมาเลือกกันว่าการศึกษาระบบไหนมันเหมาะกับจุดหมายของเรา ผมเป็นคนแปลกๆ นะ ฉะนั้นผมเลยมีคำ�ถาม เกี่ยวกับเบื้องหลังความคิดของการศึกษาก่อน ว่าอะไรกันแน่ที่มันอยู่ในใจเราจากนั้นค่อยเลือกระบบ อูนายะกะ : อาตมาคิดว่าสิ่งที่คุณกำ�ลังพูดอยู่นี้คงจะใช้ไม่ได้กับการศึกษาของคนทั้งประเทศหรอกใช่ไหม การศึกษาแบบ home school ที่คุณพูดมานี้น่าจะเหมาะกับครอบครัวที่ต้องการสอนลูกอยู่กับบ้านมากกว่าจริงไหม วิทยานันทะ : แน่นอนครับ ผมเห็นด้วย ผมไม่ได้มาคุยกับท่านเพื่อโปรโมทการศึกษาทางเลือกว่าดีกว่าการศึกษาในระบบ แต่ผมมาเพื่อ ที่จะพูดถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา และทำ�อย่างไรเด็กๆ ถึงจะได้เรียนรู้ต่างหาก ส่วนใหญ่บรรยากาศในห้องเรียนหนึ่งห้องจะมีเด็ก ประมาณ 30 – 40 คน ใช่ไหมครับ ที่พม่าก็เท่านี้หรือเปล่าครับ อูนายะกะ : ในพม่าบางโรงเรียนยังเยอะกว่านี้อีก ในโรงเรียนของอาตมาบางห้องก็ 50-70 แต่ปีนี้เราจะลดจำ�นวนนักเรียนลงจาก 7000 ให้เหลือ 6000 ห้องเรียนก็จะมีขนาดเล็กลงด้วย ชั้นประถมก็อาจจะ 20 กว่า 30
27 วิทยานันทะ : สิ่งที่ผมอยากจะนำ�มาแลกเปลี่ยนก็คือ การศึกษาแบบชุมชนอุปถัมภ์คือ เราต้องเข้าใจก่อนว่าเด็กทุกคนมีความแตกต่าง กัน ในห้องเรียนที่มีเด็ก 50 คนนั้น เด็กบางคนก็เรียนรู้แตกต่างจากคนอื่น บางคนชอบวาดเขียนแต่ไม่ชอบอ่าน บางคนชอบอ่านชอบ เรียนแต่ไม่ชอบเขียน พอถึงเวลาจดก็จะอิดออด หลักการหนึ่งของการศึกษาแบบนี้คือต้องพยายามความเข้าใจว่าเด็กต้องการอะไร มี ความสามารถในการเรียนรู้อย่างไร แล้วผลักดันความสามารถตรงนั้นออกมา อูนายะกะ : แต่ว่าทุกวันนี้การศึกษาในระบบเราก็ใช้หลักการสอนโดยให้เด็กเป็นศูนย์กลาง (CCA = Child Center Approach) เหมือนกัน แล้วเราก็ยังใช้ระบบ RWCT (Reading Writing for Critical Thinking = ระบบพัฒนาการเรียนการอ่านเพื่อการคิดเชิง วิจารณญาณ) ห้องเรียนที่มีนักเรียน 50 คนอาจจะไม่ดีเท่าไหร่ แต่ห้องที่มีนักเรียนแค่ 20 คนอาตมาว่าน่าจะดีแล้ว แต่ละคนก็สามารถ แสดงออกได้มากขึ้น คนที่ชอบวาดก็ได้วาด ชอบพูดก็ได้พูด ชอบแสดงออกอย่างไรก็มีพื้นที่ให้เขา วิทยานันทะ : แล้วเด็กๆ ยังต้องทำ�การสอบอยู่ด้วยหรือเปล่าครับ อูนายะกะ : การสอบก็มีตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงเกรด 8 (ในพม่าเรียนจนถึงระดับ 10 แล้วค่อยสอบ A-Level) ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่การสอบที่ จริงจังอะไร วิทยานันทะ : แสดงว่าระบบที่โรงเรียนของท่านก็ไม่สนับสนุนให้เด็กต้องทำ�ข้อสอบ อูนายะกะ : จะว่าอย่างนั้นก็ได้ ส่วนใหญ่โรงเรียนวัดก็จะไม่มีการสอบ รัฐบาลก็ไม่ได้ให้ความสำ�คัญกับการสอบ แต่ว่าโรงเรียนรัฐ บางโรงเรียนก็ยังมีการจัดสอบอยู่ ซึ่งเท่าที่ดูแล้วก็ไม่ได้ยากอะไร ตรงนี้อาตมาคิดว่าปัญหามันอยู่ที่ผู้สอนมากกว่า แต่ในโรงเรียนของ อาตมาไม่มีปัญหานี้ วิทยานันทะ : ผมชอบแนวคิดเรื่องระบบที่สอนเด็กโดยมีเด็กเป็นศูนย์กลางนะ แต่ผมก็มีคำ�ถามว่า ที่ว่าให้เด็กเป็นศูนย์กลางนั้น เป็น ศูนย์กลางขนาดไหน ถ้าสมมติว่าเด็กไม่สามารถอ่านหนังสือได้ แม้ว่าจะผ่านการสอนไปแล้วหลายเดือน ท่านจะทำ�ยังไง อูนายะกะ : เราก็ต้องมาวิเคราะห์กันว่าเด็กคนนี้พิการหรือเปล่า ถ้าพิการก็ส่งไปเรียนที่อื่น วิทยานันทะ : แสดงว่าท่านก็ใช้วิธีอื่นไป อูนายะกะ : ใช่ วิทยานันทะ : แล้วเด็กแบบไหนล่ะที่ท่านจะฟันธงว่าเขาพิการ แล้วเขาคนนั้นก็จะหมดโอกาสได้เรียนรู้ในกระบวนการเรียนการสอน แบบของท่านใช่ไหม
28 อูนายะกะ : คือในพม่าเรามีโรงเรียนสำ�หรับเด็กพิการ ซึ่งอาตมาก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาสอนกันยังไง แต่เท่าที่อาตมารู้ก็คือประสบความ สำ�เร็จพอสมควรเลยนะ วิทยานันทะ : อย่างนี้ครับ หลักการอย่างหนึ่งของเราเลยก็คือ ไม่มีเด็กที่พิการ แค่มีการเรียนรู้ที่แตกต่างเท่านั้น อูนายะกะ : เรียนช้ากว่า วิทยานันทะ : ไม่ได้ชา้ กว่า สิง่ หนึง่ ทีผ่ มเห็นว่าเป็นความล้มเหลวของระบบการศึกษาก็คอื ถึงแม้จะมีระบบการเรียนการสอนทีม่ เี ด็กเป็น ศูนย์กลางก็ตาม เด็กๆ ก็ยงั ถูกตัดสินอยูด่ ี ไม่วา่ จะเป็นการจัดกลุม่ คนเรียนช้า หรือว่าคนพิการ ซึง่ คนกลุม่ นีเ้ ราไม่ถอื ว่าเขาพิการหรือเรียนช้า แต่เรามองว่าเราไม่เข้าใจวิธสี อนเขา เพราะวิธกี ารเรียนรูข้ องเขาต่างจากเรา หรือความสามารถของเขาอาจจะอยูท่ อ่ี น่ื กับสิง่ อืน่ อูนายะกะ : อาตมาคิดว่าเรื่องนี้อยู่ที่ผู้สอนนะ ผู้สอนจำ�เป็นต้องรู้ความสามารถของเด็กและวิธีการนำ�บทเรียนไปสู่เขา วิทยานันทะ : ถ้าอย่างนั้นท่านช่วยบอกผมหน่อยได้ไหมว่า ท่านใช้วิธีไหนในการเข้าไปรู้ความสามารถและความแตกต่างของเด็ก อูนายะกะ : เราก็มีการทดสอบก่อนไง ให้รู้ว่าใครมีความสามารถแค่ไหนอย่างไร จากนั้นก็จัดเด็กนักเรียนไปตามห้องต่างๆ วิทยานันทะ : สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะย้ำ�นะครับ ถ้าหากท่านย้ายเด็กออกจากห้องหรือพาไปอยู่ในห้องที่เรียกว่าพิการแล้ว ท่านกำ�ลังสร้าง ความแตกต่าง กำ�ลังแบ่งแยกเขาอยู่ และสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมาก็คือ เด็กกลุ่มที่ไม่ถูกแบ่งแยกออกมาเขาก็จะรู้สึกว่าเขาปกติ แต่สำ�หรับ เด็กที่ถูกแยกห้อง เขาก็จะรู้สึกว่าเขาไม่ปกติ ดังนั้นนอกจากท่านจะต้องมีปัญหาเรื่องความสามารถของเด็กแล้ว ท่านยังต้องพบกับ ปัญหาเด็กขาดความเชื่อมั่นอีก ซึ่งจากสถิติก็จะพบว่าเด็กกลุ่มนี้จะมีความเชื่อมั่นในตัวเองน้อยมาก และเมื่อเด็กขาดความเชื่อมั่นน้อย ก็จะทำ�ให้เกิดสภาวะทางจิตใจที่เปราะบางและมีโอกาสที่จะปิดตัวเองอยู่ในโลกส่วนตัวได้สูง ผมต้องการจะนำ�เสนอสิ่งที่ผมได้ประสบ มาในชุมชนของเรานะครับ เรามีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่มีปัญหาเรื่องการอ่านมาก 10 กว่าขวบถึงเริ่มจะอ่านหนังสือออกบ้าง เด็กอีกคน หนึ่งไม่มีเพื่อนเลย มีโลกส่วนตัวอยู่ตลอดเวลาไม่สนใจคนรอบข้างเลย เราจึงเริ่มนำ�เด็ก 2 คนนี้มาอยู่ด้วยกัน จากนั้นเริ่มใช้ระบบการ เรียนการสอนที่เรียกว่า การเรียนรู้โดยมีตัวเด็กเป็นพลังขับ(Child Driven Learning) หมายถึงว่าตัวเด็กเองที่เป็นผู้ขับเคลื่อนในการ เรียนรู้ ซึ่งถ้าเราพูดถึงการเรียนการสอนที่มีเด็กเป็นศูนย์กลางแล้วล่ะก็ น่าจะหมายถึงว่าเราต้องเอาใจใส่เด็กเป็นพิเศษ แต่แบบเรียน ก็น่าจะเหมือนเดิม ส่วนการเรียนรู้โดยมีเด็กเป็นพลังขับคือ ถ้าวันนี้เด็กบอกว่าอยากเรียนสิ่งนั้นสิ่งนี้ เราก็จะพาเด็กไปร่วมกับกลุ่มที่ เขากำ�ลังเรียนรู้กับสิ่งนั้นอยู่ แล้วคอยดูผลที่จะเกิดขึ้นตามมา ภายในเวลาไม่เกิน 6 เดือนเลยครับ ท่านจะเห็นเด็กพิเศษเหล่านี้มีความ สุขมาก ความสามารถในการเข้าสังคมก็ดีขึ้น การอ่านก็ดีขึ้น แต่ถ้าเขาไปเข้าโรงเรียนปกติตลอด 12 ปีนะครับ เขาจะรู้สึกว่าตัวเองมี ปมด้อย ไม่มีความสุข เพราะถูกจัดไว้แล้วว่าเป็นเด็กพิการ ถ้าตัวเด็กเองสอบได้ที่ 1-10 ก็อาจจะยังพอทน แต่ถ้าลำ�ดับต่ำ�กว่านั้นล่ะ ครับ ฉะนั้นผมคิดว่าพื้นฐานการเรียนรู้ของเด็กตรงนี้เป็นสิ่งที่เราต้องปรับและต้องปะทะกับระบบเพื่อการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา ผมชอบคำ�ว่า community base learning(การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน) เพราะมันสื่อถึงการรวมผู้คนไว้ด้วยกันไง
อาตมาคิดว่าสิ่งที่คุณ กำ�ลังพูดอยู่นี้คงจะใช้ไม่ได้ กับการศึกษาของคนทั้ง ประเทศหรอกใช่ไหม
30 อูนายะกะ : ในชุมชนของคุณมีนักเรียนเท่าไหร่ วิทยานันทะ : กลุ่มละ 10-15 คนครับ อูนายะกะ : แล้วถ้าหากเด็กเหล่านี้ต้องย้ายชุมชนขึ้นมา แล้วเขาไม่มีใบอะไรเลยซักอย่าง เขาจะไปหาที่เรียนใหม่ได้ยังไง วิทยานันทะ : ก็ต้องกลับมาหาเป้าหมายหลักที่ผมบอกไว้ไงครับ ว่าเป้าหมายของการเรียนรู้คืออะไร ผมคิดว่าเป้าหมายของการเรียน การสอน ก็เพื่อให้เด็กรู้จักการสร้างเป้าหมายได้ด้วยตนเอง เมื่อเด็กเกิดความอยากที่จะไปถึงเป้าหมายด้วยตนเองแล้วมันก็จะมีฉันทะ ที่จะทำ�เป้าหมายให้สำ�เร็จด้วย ยกตัวอย่างนะครับ ผมมีเด็กอยู่คนหนึ่งไปเข้าโรงเรียนแล้วไม่มีความสุขเลยเพราะเขาเป็นพูดไม่ชัด หลังจากไปโรงเรียนได้ 1 ปี เด็กคนนี้แทบไม่มีความมั่นใจในตัวเองเลย เนื่องจากโดนเพื่อนๆ แกล้ง เพราะเราไม่รู้นี่ว่าถ้าหากส่งเขาไป โรงเรียนแล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับเขาบ้าง ฉะนั้นหลังจากปีแรกผ่านไปเขาก็ไม่อยากจะไปเรียนอีกแล้ว และถ้าเราไปบังคับให้เขาไป ก็ไม่รู้ว่าในที่สุดเขาจะฆ่าตัวตายหรือเปล่า พ่อแม่เขาก็เลยให้ออกจากโรงเรียน เราก็เลยได้มีโอกาสเรียนรู้ว่า เขาแต่งบทกวีไฮขุได้ งดงามมาก (เน้นเสียง) ตอนอายุ 15 เขาบอกว่าเขาอยากทำ�งานที่เกี่ยวกับสื่อ เพราะเขาชอบเขียนชอบแต่งนั่นแต่งนี่ เขาก็เลยไปสมัคร เรียนมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบอกว่าเขาไม่มีใบอะไรเลยมาสมัครไม่ได้ต้องไปเรียนให้จบมัธยมก่อน แต่เนื่องจากฉันทะมันเยอะ มากเขาเลยประกาศว่าถ้าอย่างนั้นเขาจะสอบจบมัธยมปลายให้ได้ใน 1 ปี ในขณะที่คนอื่นๆ ใช้เวลา 12 ปี อูนายะกะ : ใน 1 ปีเลยเหรอ วิทยานันทะ : แล้วเขาก็ทำ�ได้ ตอนนี้เขากำ�ลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยปี 3 แล้ว ผมไม่แน่ใจว่าในพม่าเป็นอย่างไรนะครับ แต่สมัยนี้ มีการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาสำ�หรับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เรียนแต่ผ่านการทำ�งานมาก็สามารถเข้ามาสอบได้ ยังมีเด็กผู้หญิงอีกคน นะครับ เธอชอบวาดรูปลงในอินเตอร์เน็ต จนเดี๋ยวนี้มีคนมาติดต่อให้วาดลงโฆษณาที่นั่นที่นี่เยอะไปหมด อายุแค่ 15 ปีก็หาเงินได้ มากกว่าพ่อของเธอแล้ว อูนายะกะ : แล้วตอนนี้ก็ยังเรียนมหาวิทยาลัยอยู่ใช่ไหม วิทยานันทะ : ใช่ครับ ตอนนี้กำ�ลังเรียนศิลปะที่มหาวิทยาลัยที่เน้นไปทางศิลปะโดยเฉพาะเลย ทำ�งานไปด้วยเรียนไปด้วยเลย อูนายะกะ : แล้วที่เป็นได้แบบนี้ ได้เข้ามหาวิทยาลัยมีซักกี่เปอร์เซ็นต์กันล่ะ วิทยานันทะ : นั่นก็แล้วแต่ว่าใครอยากจะเข้าไปเรียนนะครับ เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนอยากจะเรียนมหาวิทยาลัยนะครับ แต่สำ�หรับคนที่ อยากเรียนผมสามารถบอกได้เลยว่า 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะพวกเขาจะรู้ว่าตัวเองต้องทำ�อะไร อูนายะกะ : แล้วเด็กพวกนี้ต้องอยู่กับคุณกี่ปีล่ะ
วิทยานันทะ : แล้วแต่เขาเลยครับ อูนายะกะ : แล้วการศึกษาแบบนี้จะเอาไปใช้กับเด็กนักเรียนทั้งประเทศได้หรือ วิทยานันทะ : ผมคิดว่าจุดมุ่งหมายของเราไม่ใช่การสนับสนุนระบบการสอนแบบนี้ แต่จุดหมายของเราคือส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ใน ถิ่นที่เราอยู่ แน่นอนว่าต้องมีเด็กไปโรงเรียนตามปกติอยู่แล้ว แต่ผมอยากจะนำ�เสนอให้มองในมุมอื่น ถ้ามองในมุมของผมที่เป็นพ่อเนี่ย ผมอยากจะบอกว่าการเรียนรู้ในโรงเรียนมันไม่พอ เพราะเวลาเด็กกลับบ้านเขาก็ต้องเรียนรู้อย่างอื่นด้วย ผมว่าปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งที่ เกิดขึ้นจากการมีโรงเรียน ก็คือการไม่มีส่วนร่วมของพ่อแม่ ไม่ทราบว่าโรงเรียนของท่านมีช่วงเวลาให้พ่อแม่เด็กเข้ามาใช้เวลาร่วมกับ ลูกบ้างไหม อูนายะกะ : ไม่มีเวลาหรอกพ่อแม่ของเด็กๆ ต้องทำ�งาน เด็กๆ ในโรงเรียนของอาตมาเป็นเด็กยากจนกันหมด จะมีเข้าร่วมหน่อยก็คือ เวลามีการนัดประชุมผู้ปกครอง วิทยานันทะ : แสดงว่าไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้เลยใช่ไหมครับ สิ่งหนึ่งที่เราพยายามผลักดันให้โรงเรียนรัฐใน ประเทศเอาไปใช้เป็นอย่างมากก็คือการให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมนี่ละ เพราะบางทีพ่อแม่ก็ไม่รู้เรื่องเลยด้วยซ้ำ�ไปว่าลูกๆ เขา เรียนอะไรบ้าง ซึ่งพ่อแม่ควรจะมีช่วงเวลาที่ได้มีส่วนร่วมกับการเรียนรู้ของลูกด้วย เพราะเดี๋ยวนี้ในโรงเรียนทำ�ให้การเรียนรู้ของเด็กถูก ตัดขาดจากพ่อแม่ และเมื่อเด็กไม่ได้เรียนรู้จากพ่อแม่ เด็กก็จะถูกตัดขาดจากชุมชนด้วย กลายเป็นว่าการเรียนรู้ทุกอย่างต้องมาจาก โรงเรียน จากห้องแล็บเท่านั้น หลักการของผมคือหากพ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของลูกในเวลาเรียนได้มากเท่าไหร่ก็จะดี เท่านั้น แต่จะทำ�ได้แค่ไหนก็ต้องดูกันอีกทีครับ อูนายะกะ : อาตมาก็ชอบในวิธีการที่คุณพูดมานะ แต่คิดว่าหลักการนี้ไม่น่าจะใช้ได้ในระบบที่สอนเด็กจำ�นวนมากได้ วิทยานันทะ : จริงครับ จริงอย่างมากเลย เพราะการเรียนการสอนแบบนี้ต้องให้เด็กเป็นจุดศูนย์กลางเป็นอย่างมากจนถึงที่สุดเลยก็ว่า ได้ เพราะบางครั้งถึงเด็กจะบอกว่าวันนี้ไม่อยากเรียนอะไร อยากจะนอนเฉยๆ ก็ตาม เราก็จะปล่อยให้นอนเฉยๆ อูนายะกะ : แล้วเวลาเรียนล่ะ วิทยานันทะ : จะเข้ามาเมื่อไหร่ก็ได้ครับ อูนายะกะ : เมื่อไหร่ก็ได้เลยเหรอ (หัวเราะพร้อมทำ�เสียงตกใจ) วิทยานันทะ : แล้วเวลาเด็กมีปัญหาทำ�ยังไงครับ แล้วครูอาจารย์ในโรงเรียนของท่านทำ�ยังไงครับ
32 อูนายะกะ : เราจะไม่ทำ�ร้ายเด็กเลยในขณะที่บางโรงเรียนจะทำ� ทำ�ให้เด็กที่อยู่กับเรามีความสุข โดยเฉพาะเราไม่เคยทำ�ร้ายเด็กเลย เราจะให้มานั่งสมาธิให้จิตใจสงบลงก่อน หลังจากนั้นเราก็จะคุยกันว่าอะไรควรทำ�ไม่ควรทำ� เราก็ต้องคุยกับอาจารย์ด้วยว่าการทำ�ร้าย เด็กจะทำ�ให้เด็กเกิดความกลัว แล้วถ้าหากว่าเด็กเกิดความกลัวขึ้นเขาก็จะไม่เกิดปัญญา อาจจะเรียนรู้ได้แต่จะไม่กล้าคิด พอไม่กล้า คิดก็จะไม่เกิดปัญญา นี่คือสิ่งที่อาตมาทำ�อยู่ เป็นแบบวิถีพุทธไง แต่ก็มีอยู่บ้างที่เป็นปัญหา อย่างเช่นมีเด็กคนหนึ่งขโมยของเพื่อน อาตมาก็จะเรียกมาคุยมาปรับความเข้าใจกัน อธิบายว่าการขโมยของไม่ดียังไง ทำ�ให้คนอื่นรู้สึกยังไง แล้วมันทำ�ร้ายเรายังไงแบบ นี้ แต่ก็มีบางครั้งที่วิธีนี้มันก็ไม่ได้ผลนะ อาตมาก็ลองวิธีอื่นต่อไป ลองไปเรื่อยๆจนกว่าจะสำ�เร็จนั่นละ ไม่หมดหวังง่ายๆ หรอก ตอนนี้ อาตมาก็พยายามทำ�ให้วิธีนี้เป็นที่แพร่หลายโดยการเชิญครูอาจารย์จากหลายๆ โรงเรียนมาปรึกษาพูดคุยกัน ซึ่งตอนนี้ก็มีโรงเรียนเอา รูปแบบนี้ไปอยู่หลายโรงเรียนแล้วนะ วิทยานันทะ : ยอดเลยครับ แต่ถ้ามองไปอีกขั้นหนึ่ง ท่านได้แนะนำ�เรื่องแบบนี้ให้กับผู้ปกครองเด็กหรือเปล่าครับว่าการทำ�ร้ายเด็กจะ ให้ผลเป็นลบอย่างนี้ ที่ว่าทำ�ให้เด็กเกิดความกลัวแล้วคิดไม่เป็น อูนายะกะ : เวลาประชุมผู้ปกครองก็จะบอกเขาไปด้วย ปีหนึ่งก็หลายครั้ง วิทยานันทะ : คือผมเป็นคนที่เชื่อในทางเลือกใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ผมเชื่อว่าในแต่ละประเทศควรมีการศึกษาหลายๆ ระบบให้เลือก ทั้ง กับตัวเด็กเองและรวมไปถึงผู้ปกครองด้วย และผมก็ชอบหลายอย่างในวิธีของท่าน เพียงผมยังอยากรู้ต่อไปอีกหน่อยว่า แล้วหลังจาก เรียนจบแล้วละ เขามีจุดหมายในชีวิตหรือเปล่า ซึ่งมันก็กลับไปสู่จุดเริ่มต้นที่ว่าเขาเรียนไปเพื่ออะไรใช่ไหมครับ อูนายะกะ : เราจะมีโอกาสได้ดูแลเด็กมากที่สุดก็ช่วงประถมจนถึงมัธยมต้นเท่านั้น ซึ่งเราก็ใช้วิธีการเรียนรู้แบบระบบ RWCT แต่ถ้าเขา เรียนมัธยมปลายแล้ว เราก็จะใช้วิธีนี้ไม่ได้ต้องเป็นไปตามที่รัฐกำ�หนด ซึ่งเขาจะต้องทำ�ข้อสอบต่างๆ เพื่อที่จะให้ได้คะแนนพอสำ�หรับ จะเรียนต่อไป ซึ่งก็เป็นปัญหาสำ�หรับเราเหมือนกัน วิทยานันทะ : แล้วสำ�หรับนักเรียนที่มีความคิดสร้างสรรค์แต่เรียนไม่เก่งล่ะครับ อูนายะกะ : คือถ้าเรียนไม่เก่งเราก็จัดให้เขาไปอบรมทางด้านอาชีพด้วย ตอนเช้าก็มาเรียนที่โรงเรียนตามปกติ ช่วงบ่ายก็ไปฝึกอาชีพซึ่ง ตอนนี้ก็จะมีพวกช่างไม้ ช่างเย็บผ้า เป็นต้น วิทยานันทะ : แล้วเรื่องการเสริมความคิดสร้างสรรค์ เช่น ดนตรี ศิลปะ พวกนี้ล่ะครับ อูนายะกะ : ตอนนี้เราไม่ได้ทำ�เรื่องนี้เลย อยากทำ�เหมือนกันแต่ยังทำ�ไม่ได้ วิทยานันทะ : หมายความว่าถ้าเขาเรียนไม่ไหว ท่านก็จะแนะนำ�ให้เขาไปฝึกอาชีพอย่างที่ท่านว่ามาเหรอครับ
ผมอยากจะบอกว่า การเรียนรู้ในโรงเรียนมัน ไม่พอ เพราะเวลาเด็ก กลับบ้านเขาก็ต้องเรียนรู้ อย่างอื่นด้วย
34 อูนายะกะ : ใช่ ตอนนี้ก็เป็นอย่างนั้น วิทยานันทะ : แล้วมีทางเลือกอื่นไหมครับ อูนายะกะ : เด็กที่นี่บางทีเรียนจบมัธยมต้นแล้วก็ไม่เรียนต่อ บางคนก็มาฝึกสายอาชีพตรงๆ เลย พอจบไปแล้วก็เปิดร้านของตัวเอง หรือไม่อย่างนั้นก็ไปทำ�งานที่อื่นเลย วิทยานันทะ : ผมรู้สึกเสียดายนะครับ เด็กเหล่านี้น่าเสียดายที่ปลายทางของการศึกษาต้องตกมาอยู่ที่การฝึกเป็นช่างไม้หรือเย็บผ้า อยากจะแนะนำ�ท่านหน่อยว่า ท่านน่าจะเพิ่มอีกซักวิชานะครับ คือวิชาการเป็นนักลงทุน (Entrepreneur) ครับ เพราะผมคิดว่าการ เรียนเป็นนักลงทุนเนี่ย มันฝึกคนในหลายทาง ทั้งทางการคิดแบบธุรกิจ การสร้างความชัดเจนให้จุดหมาย และ การเสริมสร้างความ คิดสร้างสรรค์ ผมคิดว่าถ้าคนมีความสามารถใน 3 ด้านนี้แล้ว เขาจบออกไปจะทำ�อะไรก็ได้ แต่ถ้าจบไปแล้วเป็นได้แค่ช่างไม้หรือช่าง เย็บผ้า ก็ดูเหมือนว่าทางไปของเขามันแคบเหลือเกิน แต่ถ้าเขามีความรู้อย่างที่ผมบอกท่าน เขาจะหาทางไปของเขาเองได้ ไม่ตัน(เน้น เสียง) เพราะบางคนเขาก็ไม่ได้อยากเป็นช่างไม้ แต่เขาไม่มีตัวเลือกอื่น แล้วเราก็ไม่มีเวลามานั่งแนะนำ�เขาตลอดเวลาด้วย ฉะนั้นต้อง ทำ�ให้เขาคิดเป็น การเรียนหลักสูตรนักลงทุนนี้จะเป็นตัวเปิดความคิดของเขา ให้เขากล้าทำ�ในสิ่งที่ไม่เคยลองทำ�มาก่อนไงครับ ให้เขา มั่นใจว่าต่อให้ต้องเผชิญกับสิ่งใหม่ เขาก็จะก้าวผ่านมันไปได้ ซึ่งในโรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้สอนเรื่องนี้ ที่มาเลเซียก็เหมือนกันครับ ถ้า เรียนไม่ไหวก็ส่งไปฝึกอาชีพ แล้วก็จบออกมาเป็นช่างเป็นคนงานก่อสร้างกันหมด ที่ผมพูดเรื่องนี้เพราะการเรียนการสอนแบบนี้กำ�ลัง ได้ผลเชิงบวกเป็นอย่างมากในชุมชนของเราครับ อูนายะกะ : อาตมาก็เห็นด้วยนะ ความเป็นจริงสิ่งที่คุยอยู่เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็สามารถทำ�ได้กับคนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น คงไม่มีทางเป็นไปได้ สำ�หรับคนทั้งประเทศ ซึ่งอาตมาคิดว่าหลายอย่างที่ได้ฟังมาก็น่าสนใจและอาจนำ�ไปปรับใช้ได้บ้าง แต่ส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ง่ายนัก สำ�หรับพม่าในเวลานี้ วิทยานันทะ : ผมเห็นด้วยเต็มที่เลยครับ ผมว่ามันคงไม่มีวิธีการเดียวที่เหมาะกับทุกคน เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าท่านว่า คนทุกคนต่าง จิตต่างใจ จะให้คิดเหมือนกันคงไม่ได้ ดอกบัวยังมีหลายเหล่าเลยครับ ท่านก็เลยมีหลายพระสูตรสำ�หรับคนแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งในที่สุดท่านก็พาไปหาจุดหมายเดียวได้ทั้งหมด แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ผมก็เชื่อว่าเราต้องมีทางเลือกให้ครับ ต้องมีทางเลือกให้เด็ก และผู้ปกครองด้วย เพราะระบบการศึกษามันเปลี่ยนแปลงตลอด โลกเปลี่ยนไปตลอดเวลา เช่น อินเตอร์เน็ตเปลี่ยนโลกของเราไปเยอะ มาก อาชีพใหม่มากมายเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงแค่ 8-9 ปีนี้เอง ฉะนั้นผมว่าเราต้องกลับมาคิดใหม่แล้วครับ ว่าทำ�อย่างไรเราถึงจะ ปรับปรุงการเรียนการสอนของเราให้เข้ากับยุคที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วนี้ได้ การพบกันครั้งนี้ผมก็ได้อะไรไปปรับให้เข้ากับของผมหลาย อย่างเลยนะครับ ผมคิดว่าสิ่งที่ดีที่สุดก็คือการที่เราได้มาแลกเปลี่ยนกันแบบนี้ไงครับ
36
ธรรมไมล์
เรื่อง I ภาพ : ภาณุวัฒน์ จิตตวุฒิการ
“ความขลัง” จะศักดิ์สิทธิ์แค่ไหน ก็ไม่พ้นความเสื่อมสลายอยู่ดี
“What am I ?”
38
ผ้าเหลืองเปื้อนยิ้ม ภาคพิเศษ ตอนเณรน้อยนักสืบ
เรื่อง : กิตติเมธี I ภาพประกอบ : บุคลิกลุงป้า bookalicloongpa@gmail.com
คดีที่ ๒o : “ทำ�อย่างไร? จะแสดงฤทธิ์ได้”
39
ภาพของการเหาะเหินเดินอากาศของตัวการ์ตูนกลายเป็นจินตนาการให้เด็กๆ หลายคนอยากเลียนแบบ อยากเก่ง อยากเป็นแบบนั้นได้บ้าง เมื่อก่อนตอนเป็นเด็กสามเณรน้อยก็คิดแบบนั้น แต่พอได้มาบวชแล้วอ่านประวัติพระสาวกของพระพุทธเจ้า ก็เห็นท่านแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ก็เลยเปลี่ยนความตั้งใจหันมาอยากเป็นสามเณรอย่างจริงจังเพื่อแสดงฤทธิ์อะไรได้บ้าง “พระอาจารย์ถ้าจะแสดงฤทธิ์ได้ต้องทำ�อย่างไรบ้างครับ” สามเณรน้อยสงสัยขึ้นขณะที่พระอาจารย์แก้วกำ�ลังสอนเรื่อง พระอริยสาวก “พระพุทธองค์ไม่ได้ให้ใครที่เข้ามาบวชแสดงฤทธิ์นะ แต่มุ่งให้คนดับทุกข์ได้เท่านั้น แต่ที่มีเรื่องการแสดงฤทธิ์บ้างก็เพื่อ กำ�ราบคนเห็นผิด หรือสอนธรรมเท่านั้น ถ้าเณรอยากมีฤทธิ์จริงพระพุทธองค์ทรงสรรเสริญฤทธิ์ที่เกิดจากการแสดงธรรมต่างหาก” พระอาจารย์แก้วแนะนำ� แม้จะได้ยินพระอาจารย์แนะนำ�อย่างนั้นแต่ก็ไม่ได้ทำ�ให้ความตั้งใจของสามเณรลดลงแต่อย่างใด กลับทำ�ให้ความมุ่งมั่น อยากแสดงฤทธิ์ได้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น จึงไปถามหลวงตาที่มากประสบการณ์ก็ได้คำ�ตอบว่า “ถ้าจะแสดงฤทธิ์ได้ก็ต้องฝึกปฏิบัติให้มาก นั่งสมาธิเจริญวิปัสสนา ไม่เล่นหรือทำ�อะไรเหมือนเด็ก ต้องมีสติกินง่าย อยู่ง่าย นอนน้อย ปฏิบัติเยอะๆ ไม่พูดไม่คุยกับใครเลยยิ่งดี เบื้องต้นเอาแค่นี้ก่อน” สามเณรน้อยฟังมาอย่างตั้งใจแล้วบ่นเบา “ทำ�เยอะขนาดนี้เลยหรือครับ” แต่พอนึกภาพตนเองเหาะได้ ก็เกิดกำ�ลังใจขึ้นมาอีกครั้งแล้วพูดเสียงดัง “ได้ครับ” ตั้งแต่นั้นสามเณรน้อยก็ลงมือพิสูจน์คำ�ของหลวงตาด้วยการเดินจงกรม นั่งสมาธิ ไม่เล่น ไม่พูดกับใครเลย และตั้งเป็น กติกาปิดไว้หน้าประตูว่า “ห้ามรบกวน ปฏิบัติธรรมอย่างหนัก กินน้อย นอนน้อย ไม่พูด ไม่คุย ส่วนแมวและสุนัขห้ามส่งเสียง รบกวน” และข้อความยังมีทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า “เมื่อแสดงฤทธิ์ได้จะเลิกปฏิบัติทันที” ใครเดินมาเห็นข้อความที่ปิดหน้าประตูต่างอดยิ้มไม่ได้ถึงความตั้งใจอยากแสดงฤทธิ์ได้ของสามเณรน้อย แต่ผ่านไป ไม่ถึงวันก็เห็นสามเณรมาเติมข้อความต่อ “ห้ามรบกวน ปฏิบัติธรรมอย่างหนักบ้าง กินน้อยบ้าง นอนน้อยบ้าง ไม่พูดไม่คุยบ้าง... เมื่อแสดงฤทธิ์ได้นิดหน่อย จะเลิกปฏิบัติทันที” ผ่านไปหนึ่งวันกติกาก็เริ่มน้อยลงอีก “ห้ามรบกวน ปฏิบัติธรรมไม่หนัก กินได้ นอน ได้ พูดได้ คุยได้ แสดงฤทธิ์ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น” จนเวลาผ่านไปการปฏิบัติธรรมของสามเณรน้อยก็กลายเป็นนอนเสียเป็นส่วนใหญ่ จนพระอาจารย์แก้วมาเจอเข้า “ไหนว่าเณรจะปฏิบัติธรรมไง นี่มานอนเล่นเสียแล้ว อุตส่าห์ให้หยุดเรียน เพราะเห็นความตั้งใจ ไหนอธิบายมาซิ” พระอาจารย์ถามขึ้น ฝ่ายสามเณรต้องรีบลุกทันทีแล้วอธิบาย “ก็ผมเห็นว่าการปฏิบัติธรรมแบบหลวงตาว่าไม่จำ�เป็นแล้วนี่ครับ” “ทำ�ไมละ ก็การปฏิบัติธรรมนี่ละเป็นสิ่งสำ�คัญในทางพระพุทธศาสนา ใครที่เข้ามาบวชล้วนต้องปฏิบัติธรรม เพื่อนำ�ไปแก้ทุกข์ ไม่ใช่แค่แสดงฤทธิ์ได้อย่างที่เณรต้องการ” พระอาจารย์ส่ายหน้า “ก็ไม่จำ�เป็นต้องปฏิบัติหนักๆ เลยนี่ครับ และผมก็ไม่อยากแสดงฤทธิ์ได้แล้วด้วย” สามเณรน้อยให้เหตุผลต่อ “ทำ�ไมละ เห็นตอนแรกตั้งใจมากนี่” พระอาจารย์ทำ�หน้าสงสัยกับการเปลี่ยนแปลงของสามเณร “โถ่ อาจารย์ผมเห็นแมลงกุดจี่บินได้ หรือไส้เดือนก็ดำ�ดินได้ ถ้ามีฤทธิ์แล้วเป็นอย่างแมลงกุดจี่กับไส้เดือน ผมไม่เอาละครับ ผมเป็นอย่างนี้ละดีที่สุดแล้ว” สามเณรยิ้มกับความเป็นตัวเอง พระอาจารย์จึงรีบหยิบไม้เรียวเพื่อบอกว่า “เณรขี้เกียจซะมากกว่า อย่างนี้รีบไปเรียนเลย ไม่อย่างนั้นจะได้เห็นฤทธิ์ไม้เรียว นี้บ้างละ” สามเณรน้อยได้ฟังเท่านั้นก็เหมือนร่างกายเบาขึ้นกะทันหันลอยออกจากที่นอนอย่างรวดเร็ว ห่มจีวรแล้วไปเรียนไม่มีความ ขี้เกียจหลงเหลืออยู่อีกเลย นี่ต่างหาก “ฤทธิ์” ที่แท้จริง แค่มีเครื่องกระตุ้นนิดหน่อยก็ทำ�ได้แล้ว “ความสำ�เร็จทุกอย่างล้วนมีผลมาจากความพยายาม แต่ทำ�ไมคนมากมายถึงมีคนที่สำ�เร็จไม่เท่ากัน ก็เพราะเรา พยายามไม่มากพอ เราจึงมองความสำ�เร็จว่าเป็นได้เพราะเขามีนั่นมีนี่มากกว่าเรา แต่ถ้าคิดดีๆ จะเห็นว่าความจริงทุกคน มีเท่ากัน คือ มีกายกับใจ อยู่ที่จะใช้อย่างไรต่างหาก แล้วปาฏิหาริย์จะเกิดขึ้นตลอดเวลาถ้าเราพยายาม” พระอาจารย์แก้วแนะนำ�
40
hidden tips
เรื่อง : พระปณต คุณวฑฺโฒ I ภาพประกอบ : เพลง
How to be โสดาบัน?
“เป็นโสดาบันทำ�ไม? เป็นไปได้ด้วยหรือ? เป็นแล้วดียัง ไง?.... โสดาบันคืออะไร?” คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า … อริยบุคคล ๔ คู่ นั้นได้แก่ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และพระอรหันต์ ว่าโดยย่อ โสดาบันก็คือผู้ถึง กระแสที่จะนำ�ไปสู่พระนิพพาน แปลความหมายอีกชั้นได้ว่า พระพุทธเจ้าสอนพระธรรม ให้ ผู้ปฏิบัติตามอริยมรรคพ้นทุกข์ เมื่อพ้นทุกข์ก็คือถึงพระนิพพาน เป็น อริยบุคคล นั่นแหละคือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ใช่ สมมติสงฆ์ที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์... อริยสงฆ์นั้นจะเป็น คฤหัสถ์ครองเรือนก็ได้ สมัยพุทธกาลก็มถี มเถไป เช่น พระเจ้าพิมพิสาร อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นผู้หญิงก็มีมาก อย่างนางวิสาขา นกุลมารดา เป็นอาทิ แต่คนเราสมัยนี้ ไม่ได้อยากเป็นโสดาบัน ไม่ได้อยาก นิพพาน ไม่ได้คิดจะพ้นทุกข์กันเสียแล้ว เราคิดอยากจะรวย อยากจะ สวย หล่อ เรตติ้งดี อยากจะมีสุข ได้เสพสมปรารถนา และพาลให้รู้สึก ว่า เรื่องนิพพาน พ้นทุกข์ เป็นเรื่องเอาท์ ไร้สาระ ห่างไกล และเป็นไป ไม่ได้.... น่าจะจริงอย่างที่พระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์เขียน ไว้ในหนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับขยาย ที่เพิ่มเติมเนื้อหาภาคที่ ๓ ว่า ด้วย อารยธรรมวิถี (หน้า ๘๘๑) ท่านเจ้าคุณฯ เขียนไว้ว่า “ในสภาพเช่นนี้ นอกจากจะต้องพยายามสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับนิพพานให้เกิดขึ้นแล้ว มีภูมิธรรมระดับ หนึ่งที่ควรช่วยกันชักจูงคนให้หันมาสนใจ คือความเป็นโสดาบัน ซึ่ง เป็นเป็นอริยบุคคลระดับต้น หรือสมาชิกกลุ่มแรกในชุมชนอารยะ”
ท่านเจ้าคุณฯ ยกพุทธพจน์ที่ปรากฏในพระไตรปิฎกมา สาธยายให้เห็นว่า ภูมิธรรมและการดำ�เนินชีวิตอย่างพระโสดาบัน ไม่ห่างไกล ไม่น่ากลัว และควรพัฒนาให้งอกงามในชีวิตของเราท่าน ทั้งหลาย คุณสมบัติเหล่านี้ ท่านเจ้าคุณฯ สรุปไว้ ๗ ด้าน ว่าโดยย่นย่อได้ประมาณนี้.... ๑. ด้านศรัทธา เชื่อมั่นความดี กฎแห่งเหตุผล มั่นใจในศักยภาพของ ตนที่เป็นมนุษย์ ๒. ด้านศีล ประพฤติดี เลีย้ งชีพสุจริต เป็นอิสระ ไม่เป็นทาสของตัณหา ๓. ด้านสุตะ เป็นผู้มีการศึกษา เรียนรู้อริยธรรม ๔. ด้านจาคะ มีน้ำ�ใจเผื่อแผ่ ยินดีในการให้ ปราศจากความตระหนี่ ๕. ด้านปัญญา รู้ชัดในอริยสัจ ๔ มองเห็นปฏิจจสมุปบาท เข้าใจใน ไตรลักษณ์ ๖. ด้านสังคม ปฏิบัติตามหลักธรรมสำ�หรับสร้างความสามัคคี และ เอกภาพของหมู่ชน เมื่อทำ�ผิดก็รีบเปิดเผยแก้ไข ขวนขวาย ทำ�ประโยชน์ทั้งเพื่อหมู่คณะ และประโยชน์ในแง่ของการพัฒนาตนเอง อย่างเต็มกำ�ลัง ๗. ด้านความสุข พัฒนาความสุขประณีตลึกซึง่้ ขึน้ ไป ไม่ตอ้ งอาศัยสิง่ เสพ ก็ถ้าจะเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามคำ�สอนของ พระพุทธองค์ ดำ�เนินชีวิตตามอริยมรรค เจริญในธรรมตามที่ท่าน เจ้าคุณฯ สรุปไว้ ปลายทางแห่งมรรคาของเราท่านทั้งหลายก็คือความ เป็นอริยะด้วยกันทั้งนั้น ไม่ได้น่ากลัว ห่างไกล แต่ก็ไม่จำ�เป็นว่าจะต้อง “ได้เป็น” ในวันพรุ่งนี้ ปีหน้า หรือชาติไหน ขอแค่ให้เรา “ได้ทำ�” ให้ชีวิต ทุกวัน นาที เดินเข้าใกล้ความพ้นทุกข์ ทีละก้าว วันละนิด ก็ดีถมไป อย่าหวังเพียงว่า “ไม่เดินย้อนศร ถอยลงอบาย ก็บุญโข” อย่างนั้นไม่รู้ว่าเกิดมาได้อะไร...เสียชาติเกิด...
-
Time for ทำ� ทำ�บุญด้วยจิตอาสา กับศิลปะภาวนา สวนโมกข์ กรุงเทพฯ (ตลอดปี) ตลอดปี - ปลายปี 2555 พุทธิกา ฉลาดทำ�บุญด้วยจิตอาสา ขอชวนเพื่อนๆ มาเจริญสติ ปัญญา ด้วยการเริ่มต้นให้ ..ทีส่ ดุ ท้ายจบลงด้วยการ ได้รับอย่างอิ่ม เอมใจ โดยร่วมฝึก สมาธิ ใ นงานศิ ล ปะด้ว ยจิ ต อาสา ในการทำ� ถุงชายผ้าเหลืองเติมใจผู้ป่วย, ถุงใส่รองเท้าผู้ปฏิบัติธรรม, พรมเช็ดเท้าผู้ปฏิบัติธรรม กิจกรรมจัดในอาทิตย์แรกของทุกเดือน เริ่ม 11.00 - 16.00 น. ที่สวนโมกข์กรุงเทพฯ (ชั้น 1) โทรสมัครและสอบถามได้ที่ คุณธนวัชร์ (ดล) : 087-678-1669, 089-899-0094 : tanawatk@gmail.com ดูเพิ่มที่ www.volunteerspirit.org/event/5027
สร้างบ้านดิน ทำ�สวน เก็บเมล็ดพันธุ์ กับพี่โจน จันได ไม่มีกำ�หนด พันพรรณ ขอเชิญอาสาที่มีใจติดดิน รั ก โลก มาเรียนรู้ถึงงานสร้างบ้านดิน ทำ�สวนเก็บเมล็ดพันธุ์ ณ พัน พรรณ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง อ.แม่แตง เชียงใหม่ ตั้งแต่ 1 สัปดาห์ จนถึง 1 ปี (อาสา สมัครคนไทยอยู่เรียนรู้มีจำ�กัด 1 เดือน) โดยใช้วิถีชีวิตที่กินอยู่หลับนอนเรียบง่าย เครื่องใช้ไฟฟ้ามีแต่ พอเพียง ควรนำ�เต็นท์มาด้วยเพราะจำ�นวนที่จำ�กัด โดยช่ว ยสมทบค่าอาหารและที่พ ั ก 300 บ./วัน จำ�นวนเงินที่ได้รับจากการบริจาคทั้งหมด เราจะนำ�เข้ากองทุนการเก็บเมล็ดพันธุ์ ติดต่อได้ทพ่ี โ่ี จน จันได 081-470-1461 อีเมล์ jonjandai@hotmail.com หรือคุณกฤษ 081-470-1461 ในเวลา 09.00-18.00 น. (หยุดวันจันทร์)
-
-
ช่วยกันตีแผ่ผลงานของพระสงฆ์ ให้สังคมได้ชื่นชมกัน บัดนี้ – ปลายเดือนกันยายน 2555 เครือข่ายพุทธชยันตี สังฆะเพื่อสังคม ต้องการแรงสนับสนุนหลายด้าน เช่น ถ่ายเก็บภาพการทำ�งานใน โครงการต่างๆของสังฆะ เพื่อสังคม รวมถึงงานประชุมในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งถ่ายทำ�วิดีโอ หรือหนังสั้น, ทีมงานทำ�วารสาร เสขิยธรรม, กราฟฟิค ดีไซเนอร์ ไม่จำ�กัดเพศ อายุ หรือวุฒิการศึกษา สะดวกที่จะเดินทางออกต่างจังหวัดได้ รับเรื่อยๆ กระทั่งปลายเดือนกัน ยายน สนใจติดต่อ คุณส้ม 081-578-8747 อีเมล์ orangegal19@gmail.com หรือ sangha4society.com
มาถักไหมพรม ได้ฝีมือ ได้บุญ ให้ความอุ่นคลายหนาวกันเถอะ เครือข่ายอาสาอิสระ “โรงบ่มอารมณ์สุข” ขอเชิญชวนอาสาสมัคร ร่วมด้วยช่วยกันถักหมวกไหมพรม ผ้าพันคอ หรือเครื่องห่มกันหนาวไหมพรม สำ�หรับผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่ห่างไกล ผู้ป่วยมะเร็ง และ เด็กอ่อนตามโรงพยาบาลต่างๆ รวมถึงพระภิกษุด้วย โดยโครงการเชิญชวนอาสาสมัคร ร่วมกันถักเครือ่ ง กันหนาว โดยถักเก็บไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นปี จนสุดปลายปี พ.ศ. 2555 โดยไม่จ�ำ กัดจำ�นวนในการถัก ทั้งนี้ จะมีการนัดสอนและเรียนรู้ร่วมกันในการถัก ทุกๆ วันอาทิตย์สุดท้ายของแต่ละเดือน ตั้งแต่เวลา 13.00 เป็นต้น ไป ณ ลานกิ จ กรรมจตุจักรเซ็นเตอร์ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) จตุจัก ร สอบถามได้ที่ คุณจิระพงค์ รอดภาษา (นุ้งนิ้ง) 081-515-8564 หรือ sunday2309@hotmail.com ดูรายละเอียดเพิ่มที่ กิจกรรม www.facebook.com/boonvolunteer
-
41
42
ธรรมะ(อีก)บท
เรื่อง : ธรรมรตา I ภาพประกอบ : Pare ID
ดีแตก
ในห้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์ “นักเรียนที่น่ารักทุกคน วันนี้เป็นวันที่เราจะมาเรียนรู้ว่า ทำ�ไม เราถึงต้องอพยพออกนอกโลก มาอาศัยอยู่ในกาแลคซี่ที่แสน ไกลนี้” คุณครูเกริ่นขึ้นทันทีที่เข้าเรียน สายตาจับจ้องมองไปที่เด็ก ทีละคน ช่วยให้เด็กๆ ตื่นตัว แม้จะได้ฟังเรื่องนี้มามากแล้วแต่ทุกคน ก็ต้องเรียนซ้ำ�ๆ ทุกๆ ปี แม้แต่ในโต๊ะกินข้าวของหลายๆ บ้าน พ่อแม่ยังพูดเรื่องนี้ซ้ำ�ไปซ้ำ�มา เหมือนกับว่าทุกๆ คนพร้อมใจกันที่ จะตอกย้ำ�เรื่องนี้ให้เป็นที่จดจำ�กับลูกหลานไปไม่หลงลืม จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้ แต่จู่ๆ มันก็ลุกลาม เร็วมาก แม้จะมีเค้ารางพอสมควร แต่ก็หาใครที่ใส่ใจจริงจัง น้อยมาก ทำ�ให้มีผู้ที่หลงรอดมาได้เพียงหยิบมือเดียว หากเทียบกับ ประชากรโลกในขณะนั้น โลกขณะนั้นแบ่งเป็นสองขั้ว หลังจากที่รวบรวมขั้วต่างๆ ให้มาอยู่ด้วยกันหลายคนบอกว่าเป็นการจัดหมวดหมู่ แรกๆ นั้น เพียงต้องการให้เห็นความแตกต่างเพื่อการศึกษาให้เกิดความเข้าใจ แต่มันค่อยๆ เพี้ยนไปเรื่อย กระทั่งจากแบ่งหมวดหมู่กลายมาเป็น แบ่งพรรคพวก และไม่ใช่เพื่อศึกษาให้รู้ถึงความแตกต่าง แต่มัน ถูกนำ�มาใช้เพื่อแบ่งให้แตกแยก ขั้วหนึ่งบอกว่าขาวดีกว่า อีกฝ่ายก็ยกดำ�ว่าดีกว่า ต่างก็ยกตนข่มเขาพร้อมทั้งขยายอาณาเขตด้วยวิธีการต่างๆ
ทั้งแทรกแซง แทรกซึม แย่งชิง และยิงทิ้งหากคิดว่าไม่เห็นด้วย กับฝ่ายตน ความโกลาหลเกิดขึ้นทุกแห่งไม่เว้นแม้แต่ขั้วโลกเหนือ และใต้ ฝั่งเอสกีโมเหนือจึงเติมลมให้ฝ่ายตนพองตัวใหญ่กว่า ขณะที่ฝ่ายใต้เห็นว่าไม่น่ายอมได้ จึงใส่ลมให้ขั้วโลกใต้ขยายใหญ่ ขึ้น โลกจากที่เคยกลมเกลี้ยงกลายเป็นบิดเบี้ยว ผิดเพี้ยนทั้ง ความคิดของคนและรูปลักษณ์ของโลก เหตุการณ์ค่อยๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้นไม่มีใครยับยั้ง ชั่งใจอย่างถูกต้องอีกต่อไป เพราะเห็นแก่ความถูกใจเท่านั้น โลกเริ่มบวมคนก็เริ่มบ้า คนไร้เหตุผลโลกก็ไร้สมดุล สายใยยึดโยง โลกขาดไปทีละเส้นจนสั่นสะเทือนเกิดแผ่นดินเคลื่อนไหว เยื่อใย ผู้คนที่มีต่อกันก็ค่อยๆ สั้นจนมันไม่เหลือให้เห็นอีกต่อไป และแล้วโลกก็ถึงกาลอวสาน เหลือคนในยานเพียงเล็ก น้อยที่ใช้ญาณแห่งปัญญาเอาตัวรอดปลอดภัยจากวิกฤตการณ์ ครั้งนั้นมาได้ “ไม่มีใครดีไปกว่าใครหรอกนักเรียน ความคิดทำ�ลาย คนอื่นเพราะไม่อยากเห็นเขาดีกว่าเรียกว่า “ริษยา” และมันก็เป็น เหมือนเชื้อร้ายที่ทำ�ให้เราต้องมาอยู่แบบนี้ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าเตือน เรามาตั้งนานแล้วว่า อรติ โลกนาสิกา ความริษยาเป็นเหตุ ทำ�โลกให้ฉิบหาย”
มูลนิธิหยดธรรม ดำ�เนินการร่วมกันระหว่างพระและฆราวาสในการสร้างสรรค์ให้สังคมเกิดความดีงามโดยการใช้ธรรมะ ในการกล่อมเกลาจิตผ่านกิจกรรม การสร้างเสริมจิตอาสา สร้างเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนให้ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกัน อย่างเกื้อกูลเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อีกทั้งการจัดค่ายคุณธรรมตามสถานศึกษาต่างๆ ทัณฑสถาน และชุมชนที่สนใจ เพื่อให้เยาวชนและชุมชนได้ถ่ายทอดต่อไปยังคนรอบข้าง ไม่เพียงเท่านั้น ทางมูลนิธิหยดธรรมยังดำ�เนินงานในเรื่องของการจัดอบรมกรรมฐานและปฏิบัติธรรม สำ�หรับผู้สนใจ เพื่อ สุขภาวะของบุคคลและองค์รวม อีกทั้งการสร้างสรรค์สื่อธรรมะในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งนิตยสารที่ท่านถืออยู่นี้ เพื่อที่จะได้ ถ่ายทอดและเผยแผ่ธรรมะออกไปในวงกว้าง ทั้งนี้ ในทุกกิจกรรมที่ทางมูลนิธิได้ดำ�เนินการ รวมทั้งสื่อต่างๆที่ทางมูลนิธิได้จัดทำ�และเผยแพร่เป็นไปเพื่อการสาธารณะกุศล โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทางมูนิธิดำ�เนินกิจกรรมผ่านน้ำ�ใจของท่านผู้มีจิตศรัทธา ที่หวังจะให้ สังคมของเราเกิดความดีงาม ท่านผู้มีจิตศรัทธาท่านใดต้องการสนับสนุนการทำ�งานของมูลนิธิ และร่วมเครือข่ายหยดธรรม สามารถติดต่อได้ที่ prataa@dhammadrops.org กรณีประสงค์สนับสนุนทุนในการดำ�เนินกิจการของมูลนิธิ สามารถสนับสนุนได้โดยการโอนเงินมาที่ ... มูลนิธิหยดธรรม
ชื่อบัญชี มูลนิธิหยดธรรม ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมายเลขบัญชี 667-2-69064-3 ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมายเลขบัญชี 557-2-03369-6
โปรดแจ้งการสนับสนุนโดยการส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่โทร 085-995-9951 หรือ prataa@dhammadrops.org เพื่อที่ทางมูลนิธิสามารถออกโมทนาบัตรได้ถูกต้อง
www.WANGDEX.co.th