นิตยสารธรรมะ : มุม : Vol.2 No.5 : ISSN 1906-2613 เดือนพฤษภาคม 2554 : Buddha Jayanti Issue : สุริยา แสงแก้วฝั้น จุดเปลี่ยนที่เรียนจากหัวใจ : พระมหา สง่า ธีรวํโ ส Vs. พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ บทบาทสงฆ์ไทย ในปัจจุบันเหมาะสมแล้ว จริงหรือ? : Made in Chiang Mai : แจกฟรี !!
ที่แสดงบทพสงฆ์องค์ชีท่าน พวกทำ�งานเต้นรำ�กินหมิ่นเหม่ด้วย บทผู้ดีผู้ร้ายได้ร่ำ�รวย บทคนจนมีใจสวยด้วยคุณธรรม วิมล เจือสันติกุลชัย
เจ้าของ มูลนิธิหยดธรรม ประธานมูลนิธิ พระถนอมสิงห์ สุโกสโล รองประธานมูลนิธิ พระมหาไกรวรรณ ชินทตฺติโย ที่ปรึกษามูลนิธิ ประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข กรรมการ พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชญฺญู กรรมการ พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป กรรมการ วิชัย ชาติแดง กรรมการ ศิริพรรณ เรียบร้อยเจริญ กรรมการ ศิริพร ดุรงค์พิสิษฐุ์กุล พระถนอมสิงห์ สุโกสโล บรรณธิการผู้พิมพ์โฆษณา บรรณธิการที่ปรึกษา อลิชา ตรีโรจนานนท์ บรรณาธิการ พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป กองบรรณาธิการ วรวรรณ กิติศักดิ์ ปิยตา เผ่าต๊ะใจ ที่อยู่มูลนิธิ ตู้ป.ณ. 54 ปณ.แม่ริม เชียงใหม่ 50180 โทร : 053-044-220 www.dhammadrops.org บรรณาธิการศิลปะ Rabbithood Studio (www.rabbithood.net) ฝ่ายศิลป์ พัชราภา อินทร์ช่าง ช่างภาพ ศิริโชค เลิศยะโส ภานุวัฒน์ จิตติวุฒิการ สมคิด ใจศรี ชยพัทธ แก้วกมล พิสูจน์อักษร พระมหาวิเชียร วชิรเมธี ร่วมบุญจัดส่ง บริษัท เคล็ดไทย จำ�กัด117-119 ถ.เฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพนะนคร กรุงเทพฯ 10200 http://www.kledthaishopping.com ร่วมบุญจัดส่ง บริษัท ดอคคิวเมนนท์ พาเซล เอ็กซ์เพรส จำ�กัด (DPEX) ต่างประเทศ 60 ซอยอารีย์ 5 เหนือ ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 http://www.dpex.com Special thanks พระพรหมคุณากรณ์ ป.อ.ปยุตโต/ พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร/ พระมาโนช ธมฺมครุโก/ สุลักษณ์ ศิวรักษ์/ สุรสีห์ โกศลนาวิน/ ถนอมวรรณ โกศลนาวิน/ อุดม แต้พานิช/ ชาลี ประจงกิจกุล ออกแบบปก รบฮ. ถ่ายภาพปก ภาณุวัฒน์ จิตติวุฒิการ ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด กู๊ด-พริ้นท์ พริ้นติ้ง พิมพ์ท่ี 4/6 ซอย 5 ถ. ช้างเผือก ต.ศรีภูมิ อ.เมือง เชียงใหม่ 50200 โทร : 053-412556 แฟกซ์ : 053-217264
Buddha Jayanti Issue เคยมีเรื่องขำ�ๆ ที่เกิดขึ้นจริงเมื่อปีก่อ นอยากเล่าให้ฟัง มีโรงเรียนแห่งหนึ่งนิมนต์พระไปทำ�กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรีย น พอพระไปถึงแล้วผู้อำ�นวยการฯ กลับยัง ไม่ให้เข้าโรงเรียนด้วยเหตุผลว่า ให้ท่านนิมนต์มาเพิ่มอีกอย่างน้อย 1รูป ตอนนี้ท่านมี 4รูป แล้ว ซึ่งไม่เป็นมงคล เพราะโรงเรียนไม่มี งานศพ พระทัง้ หมดจึงนัง่ รอทีซ่ ุ้มประตูหน้าโรงเรียนให้รปู ที่ 5 มาถึง จึงได้เข้าไปทำ�กิจกรรมกับนักเรียน และเรื่องที่ท่านวุฒิสมาชิก ท่านหนึ่งพูดในสภาว่า “ทศพิธราชธรรมนั้นใช้กับพระราชาเท่านั้น เราสามัญชนใช้ไม่ได้” เพื่อนพระขำ�กันใหญ่ แต่ก็ตระหนักรู้กันว่า มันเป็นตลกร้าย จึงมานั่งคุยกันถึง ประเด็นเหล่านี้ ว่าเพราะอะไร ความเข้าใจหลักพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนในประเทศไทย จึงน้อยเหลือเกิน ซึ่งถ้าว่า ตามหลักแล้วเมื่อความเข้าใจไม่ดี ก็มี พฤติกรรมหรือการกระทำ�ทีไ่ ม่ถกู ต้อง (หรือว่ารูด้ แี ต่ไม่มกี ารปฏิบตั )ิ จึงไม่แปลกใจเลยที่ทุกวันนี้เรามีแต่ร่ำ�ร้องหาคุณธรรม แต่ไม่เห็น มีใครจะทำ�หนำ�ซ้ำ�บางทีทำ�ผิดเพื่อเรียกร้องความถูกต้อง ลองคิด เล่นๆ ก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าแล้วมันจะจบอย่างไร แต่เ ดาเล่นๆ อีกว่าคงจะหยวนๆ กันไปเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา อย่างไรก็แล้วแต่ ทราบว่ากำ�ลังจะมีการยกประเด็นความซื่อสัตย์ซื่อตรงเป็นวาระ แห่งชาติ คงจะเป็นความหวัง ได้ว่า กระแสต่อไปคงจะนำ�ไปสู่การ ศึกษาเรียนรู้หลักธรรมและการนำ�ไปปฏิบัติให้ถูกต้อง เพราะเมื่อ รู้ก็ทำ�ได้ เมื่อทำ�บ่อยก็ชำ�นาญ ทำ�นานๆ ก็ติดเป็นนิสัย และนิสัย จะนำ�ไปสู่พฤติกรรมที่เป็น เอกลักษณ์ตน เมือ งไทยเป็นเมืองพุทธ เอกลักษณ์ความเป็นพุทธจึงจำ�เป็นที่จะต้องทำ�ให้ปรากฏ ไม่ใช่แค่ สร้างวัดให้ฝรั่งมาดู ท่านทุทธทาสเคยพูดไว้ว่า “ศีล ธรรมไม่กลับ มาโลกา จะวินาศ” ท่ามกลางปัญหาและความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อาจจะยุติลงได้หากนำ�ศีลธรรมกลับมา ไม่ใช่แค่กลับมาใส่ไว้ใน ตำ�ราหรือร่างไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่นำ�กลับมาสู่จิตใจใส่ ความคิดและวิถีชีวิตที่ดำ�เนินไปของเราทุกคน ความพิน าศอาจ กลับกลายเป็นพัฒนา ความจนอาจพลิกเป็นความเจริญ ความทุกข์ อาจสลายกลายเป็นสุข ว่าแต่...แล้วเมื่อไหร่จะเริ่มกันจริงจังสักที พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป บรรณาธิการ
9
4 6 8 8
9 16 22
16
32 34 36 38 40
Buddhist’s Mystery : ธรรมมาสน์ ทำ�ไม? Art Code : Athit’s Eye on Japan Earthquake 2011 คน-ทำ�-มะ-ดา : คิดจะทำ�ความดี...อย่ามี คำ�ว่าลังเล มุมส่วนตัว : สุริยา แสงแก้วฝั้น จุดเปลี่ยน ที่เรียนจากหัวใจ มุมพิเศษ : 2600 ปี พุทธชยันตีมาถึงแล้ว... VS. : พระมหาสง่า ธีรวํโส VS อ.พิภพ อุดมอิทธิพงษ์ บทบาทสงฆ์ไทย ในปัจจุบัน เหมาะสมแล้วจริงหรือ? ธรรมไมล์ : Loch Lomond Hidden tips : อกหักควรทำ�ตัวอย่างไร ผ้าเหลืองเปื้อนยิ้ม : คบคน Time for ทำ� ธรรมะ(อีก)บท : ซึ่งหน้าแต่ไม่ซึ้งใจ
22
M Mental O Optimum O Orientation M Magazine
สารบัญ
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
มุมใหม่
5
รณรงค์ทำ�บุญทุกวันพระ ฟื้นให้เป็น “วันแห่งสติ” ชาวพุทธ คณะทำ�งานเพื่อการก่อตั้งเครือข่ายพุทธชยันตี เปิดกิจกรรม พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยระหว่างวันวิสาขบูช า 2554 ถึง วันวิสาขบูชา 2555 จะเป็น ช่วงที่คนไทยทุกคน จะได้ทำ�กุศลร่วมกันด้วยมงคล 2 ประการ คือ งานพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และ งานมหามงคลวโรกาสทีพ่ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระชน มายุครบ 84 พรรษา เป็นที่มาของรหัสศักดิ์สิทธิ์ 2600-84 เพื่อ เยียวยาวิกฤติสัง คมไทย โดยเครือข่า ยฯ จะร่วมกันฟื้นคืนวิถี ชาวพุทธ ให้มีการทำ�บุญในทุกวันพระ เพื่อให้วันพระกลับมา เป็น“วันแห่งสติ” ในสังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง ติดตามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/ Buddha.jayanti
ผู้นำ�องค์ก รเอกชนใหญ่แห่งศรีลังกา ได้รับรางวัลส่งเสริม พุทธศาสนา สมาคมบักเกียว เดนโดะ เกียวไก ซึ่งเป็นพุทธสมาคมแห่งญี่ปุ่น ได้จัดพิธีม อบรางวัลด้านวัฒ นธรรมประจำ�ปีครั้งที่ 45 แก่ ดร. เอ ที อริยรัตเน ผู้ก่อตั้งองค์กรสารโวทัย (Sarvodaya) ซึ่งเป็น องค์กรเอกชนที่ใหญ่ที่สุดและได้รับการยอมรับมากที่สุดใน ศรีลังกา ในฐานะที่ท่านได้ช่วยส่งเสริมพุทธศาสนา และนับเป็น ชาวศรีลัง กาคนที่สองที่ได้รับรางวัลเกียรติยศนี้ นอกเหนือจาก อดีตประธานาธิบดีศรีลังกาผู้ล่วงลับ เจ อาร์ จาเยวาร์ดินี ซึ่ง เคยได้รับรางวัลนี้ในปี 1983 ว่ากันว่าเงินรางวัลทั้งหมดที่ ดร.อริยรัตเนได้รับในครั้งนี้ รวมกับเงินบริจาคจากบรรดาญาติ สนิทมิตรสหาย จะนำ�ไปใช้ในการ ก่อสร้า งธรรมศาลาและสถูป ที่วัด ปาลิยโคเทลปูรณวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ข้าง สำ�นักงานใหญ่ขององค์กรสารโวทัย ในเมืองโมราตูวา ประเทศศรีลังกา
ทุ่มงบบูรณะวัดและโบราณสถาน ภาคใต้ จากเหตุการณ์น้ำ�ท่วม นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รมว.วัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะรัฐ มนตรี มีมติเห็น ชอบอนุมตั ิ งบประมาณ บูรณะซ่อมแซมโบราณสถาน จำ�นวน 17 แห่ง ที่ได้รับผล กระทบจากปัญ หาอุทกภัยในพื้นที่ จ.สุร าษฎร์ธานี นครศรีธ รรมราช พัทลุ ง สงขลา สตูล ปัต ตานี และ นราธิวาส รวม 7 จังหวัด เป็นเงินจำ�นวน 72,350,000 บาท และยังได้มีมติอนุมัติงบประมาณ 84,108,660 บาท ในการ ช่วยเหลือวัดที่ป ระสบภัยน้ำ�ท่วม และดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งมีทั้งหมด 178 วัด โดยแบ่งเป็นที่วัดใน จ.กระบี่ 11 วัด ชุม พร 6 วัด ตรัง 12 วัด นครศรีธรรมราช 48 วัด พัทลุง 71 วัด ยะลา 4 วัด สุราษฎร์ธานี 23 วัด และนราธิวาส 3 วัด ก็หวังเป็นอย่างยิง่ ว่าศาสนสถานเหล่านีจ้ ะกลับมาสวยงามและสามารถใช้ประกอบ ศาสนกิจได้ดังเดิม
ญี่ปุ่นเปิดตัวพิพิธภัณฑ์พุท ธแห่ง แรกของโลก มหาวิทยาลัยเรียวโกกุ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเครือพุท ธศาสนา นิกายโจโดชิน หรือนิกายชิน เปิดตัว พิพิธภัณฑ์เรียวโกกุ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็น พิพิธภัณฑ์ที่ครอบคลุมทุกแง่มุมทาง พุทธศาสนาแห่งแรกของโลก ที่ชิโมเกียว วอร์ด ในเมืองเกียวโต โดยเริ่ม สร้างพิพิธภัณฑ์ดังกล่าวในปี 2007 มีความสูง 3 ชั้น พร้อมห้องใต้ดิน เพื่อ เผยแพร่จุดกำ�เนิดและ ความเป็นมาของศาสนาพุทธ พร้อมจัดแสดงสิง่ ทรงคุณค่าต่างๆ ทางศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง พิธีเปิดครั้งนี้ พิพิธภัณฑ์จึงได้จัดนิท รรศการพิเศษที่มีชื่อว่า “Buddha and Shinran” โดยจัดแสดงพระพุทธรูป 660 องค์ พร้อมพระคัมภีร์ต่างๆ ทั้งที่เป็นของญี่ปุ่นและจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย โดยนิทรรศการจะมีถึงวันที่ 25 มีนาคม 2012 เพื่อร่วมฉลองครบรอบ 750 ปีแห่งการมรณภาพของพระชินรัน ผู้ก่อตั้งพุทธศาสนานิกายชิน
6
Buddhist’s Mystery
เรื่อง : กองบรรณาธิการ I ภาพประกอบ : รบฮ.
ธรรมมาสน์ ทำ�ไม?
ธรรมมาสน์ คือ อาสนะ(ที่นั่ง) ที่จัดไว้ให้พระภิกษุได้นั่ง เพื่อแสดงธรรม หรือปฏิบัติศาสนกิจอื่นๆ ซึ่งจะยกระดับสูงกว่า สายตาผู้ฟัง โดยจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะคล้ายปราสาทที่ประดับประดาไปด้วย ลวดลายการแกะสลัก การวาดภาพและเทคนิคการตกแต่งไป ตามฝีมือช่างและค่านิยมของแต่ละพื้นที่ ลักษณะของธรรมมาสน์แบบโบราณ จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนที่หนึ่งเป็นฐานซึ่งจะสร้างด้วยวัสดุที่มั่นคงถาวร ค้ำ�ด้วยไม้เนื้อแข็งก่อนจะประดับด้วยไม้แกะสลักหรือทำ�เป็น ฐานปูนเพราะส่วนใหญ่มักจะไม่เคลื่อนย้ายไปไหน สองเป็นห้องนั่งแสดงธรรมเป็นทรงสี่เหลี่ยมมีเพียง ้ เสาคำ�หลังคาปล่อยโล่งให้มองเห็นพระที่นั่งแสดงธรรมทั้งสี่ด้าน มีพนักพิงหลังหันหน้าไปทางพุทธศาสนิกชน ด้านข้างมีที่วาง ตาลปัตรและพานวางคัมภีร์ ส่วนสุดท้ายคือหลังคา ซึ่งจะมีลักษณะที่หลากหลาย ทั้งราบเรียบและประดับประดาด้วยลวดลายและแก้วสีสันต่างๆ
โดยส่วนใหญ่จะทำ�เป็นเหมือนยอดเจดีย์ ในภาคเหนือและภาคอีสานบางวัดเท่านั้นจึงจะพบเห็น ธรรมมาสน์แบบโบราณ แต่ก็ไม่ได้ใช้เป็นส่วนใหญ่ เพราะ ค่านิยมของภาคกลางที่มีธรรมมาสน์ลักษณะเป็นเก้าอี้นั่งมี พนักพิงประดับด้วยลวดลายสีทอง หรือธรรมาสน์สมัยใหม่ที่เป็น เหมือนเก้าอี้หวาย ได้นำ�มาใช้แทนแบบเก่าอย่างแพร่หลาย แต่หวั ใจสำ�คัญของธรรมมาสน์ คือ การทีพ่ ทุ ธศาสนิกชน ได้ฟังธรรมจากพระสงฆ์ ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้สำ�คัญที่ ชาวบ้านจะได้ศึกษาพระธรรมและนำ�ไปปฏิบัติให้เกิดผล โดยอานิสงส์ของการฟังธรรมนี้ดีมี 5 อย่าง 1. ได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง 2. สิ่งใดเคยฟังแล้วไม่เข้าใจย่อมเข้าใจเพื่อขึ้น 3. บรรเทาความลังเลสงสัยลงไป 4. ทำ�ความเห็นให้ถูกต้อง 5. จิตของผู้ที่ฟังย่อมผ่องใส ดังนั้น จึงขอเชิญชวนท่านผู้อ่านฟังธรรมะ วันละนิดจิตแจ่มใส เข้าใกล้ความสุข สาธุ.
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
Book Corner
7
สื่อสารด้วยหัวใจ พูดอย่างไรให้ลูกรับฟัง : 3 เคล็ดรักเพื่อทำ�ให้ลูกจอมแก่นเกิดความเข้าใจ และให้ความร่วมมือ ผู้แต่ง : อินบาล คาชตาน ผู้แปล : ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์ ช่องว่างและความห่างระหว่างวัย อาจจะทำ�ให้พ่อแม่ที่แม้จ ะชอบอ้างคำ�ว่า “อาบน้ำ�ร้อนมาก่อน” ถึงกับต้องกุมขมับ เมื่อลูกไม่ยอมกินข้าว หวงของเล่น ไม่ยอมเก็บห้องให้เรียบร้อย ไม่กลับบ้านตาม เวลาที่กำ�หนด การผ่านพ้นเหตุการณ์ดังกล่าวมีหลายวิธี แต่จะทำ�อย่างไรให้ผ่านไปโดยบัวไม่ช้ำ�น้ำ� ไม่ขุ่น การสื่อสารด้วยหัวใจเป็นกุญแจสู่ความสัมพันธ์อันเปี่ยมสุข พ่อแม่จะได้พบวิธีเลี้ยงดูลูกด้วย ความกรุณาให้มีความสุขทั้งร่า งกายและจิตใจ เด็กๆจะได้เข้าใจความต้องการของตัวเอง หนังสือ เล่มนี้คือคู่มือการสื่อสารกับเด็ก วัยรุ่น และทุกคนในครอบครัว ที่พ่อแม่ คุณครู ผู้ทำ�งานเกี่ยวกับ เด็กต้องอ่าน หนังสือภาพพระพุทธประวัติ ภาพ : อู บาจี บรรยาย : ประมวล เพ็งจันทร์ ภาพจิตรกรรมในหนังสือเล่มนีเ้ ป็นผลงานของ อู บาจี จิตรกรเอกชาวพม่า ซึง่ มีความตัง้ ใจอันยิง่ ยวด ที่จะวาดภาพชุดนี้เพื่อเป็นพุทธบูชา ยามวาดจึงสำ�รวมตน ทำ�จิตใจให้สงบด้วยการนั่งสมาธิ และ ปรึก ษาพระเถระผู้ใหญ่หลายรูปเพื่อให้เข้าใจถึงแก่น ความคิดในแต่ละภาพอย่างถ่องแท้ สมบูรณ์ ทั้งในเชิงความงามและการสื่อถึงพุทธปรัชญา ผลงานชิ้นนี้จึงมีความอ่อนช้อย ประณีตบรรจง และ แฝงคติธรรมไว้อย่างแยบยล เป็นการบันทึกประวัตศิ าสตร์ของศาสนาทีย่ อ้ นถึงต้นกำ�เนิดจากอินเดีย เผยแผ่สู่เอเชียและพม่า บรรยายภาพโดย ประมวล เพ็งจันทร์ จบปริญญาเอกด้านปรัชญาจาก ประเทศอินเดีย อดีตอาจารย์ภาควิชาปรัชญาฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้บ รรยายภาพเนื้อหา ด้วยความเข้าใจในแก่นของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มีความสอดคล้องและส่งเสริมภาพของจิตรกร ที่ช่วยให้ผู้อ่านได้ทั้งสุนทรียรสและอรรถรสจากการอ่าน THE DHAMMAPADA: THE SAYING OF THE BUDDHA ผู้แต่ง : THOMAS BYRON จัดจำ�หน่าย : ASIA BOOK “พระธรรมบท” ถือเป็นหนึ่ง ในวรรณกรรมคลาสสิก ในโลกพุท ธศาสนา หนังสือเล่มนี้จึงเป็น วรรณกรรมชิ้นเอกที่เก็บรวบรวมคำ�พูดที่สำ�คัญของพระพุทธเจ้า 423 ข้อ และสามารถใช้เป็น คู่มือสำ�คัญ สำ�หรับผู้ที่ต้องการที่จะประพฤติปฏิบัติตามองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบนเส้นทางสู่ ความสว่าง โดยได้ประมวลและรวบรวมจากพุทธวจนะต่างๆ ตลอดระยะเวลา 2,500 ปีที่ผ่านมา โดยผู้แต่ง THOMAS BYRON ซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Havard และ Oxford ได้ตั้งใจ ศึกษาหาข้อมูล จนค้น พบความเรียบง่ายจากวิถีปฏิบัติ จากคำ�สอนของพระพุทธเจ้า และถ่ายทอด ออกมาได้อย่างน่าอ่าน
8
Art Code
เรื่อง : ปิยตา เผ่าต๊ะใจ I ภาพ : อธิษฐ์ พีระวงศ์เมธา
Athit’s Eye on Japan Earthquake 2011
หลายเดือนก่อนเหตุการณ์รุนแรงที่สุดของการเกิดแผ่น ดินไหวบนโลก ได้สร้างภาพที่ตราตรึงอยู่ในดวงตาของผู้ชมนับล้าน ผ่านยูทูป แต่กับบางคนที่อยู่ในเหตุการณ์ภาพความรกร้างของบ้าน เรือนที่ครั้งหนึ่งแทบไม่มีให้เห็นบนเกาะท่ามกลางทะเลล้อมรอบ ซึ่งครั้งหนึ่งมันเคยเป็นสถานที่รื่นรมย์ เป็นที่พักผ่อนหย่อนกายของ ผู้คนที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำ�มาหากิน ได้ถูกผนวกกับภาพท้องฟ้า สีครามสดใส ข้างล่างเรียงรายด้วยแมกไม้อย่างสวยงาม มีเรือลำ�ขาว จอดอยู่บนตึกดูประหนึ่งว่า ถูกนักจิตรกรสร้างภาพขึ้นด้วยเทคนิค คอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาพที่ดูเหมือนจะสดใส แต่กลับแฝงไว้ด้วย เบื้องหลังอันน่าหวาดกลัว จริงๆ แล้วภาพเหล่านี้ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น จากจิตรกรใดๆ ทั้งสิ้น หากแต่ถูกคลื่นอันบ้าคลั่งที่โถมกระหน่ำ� มาจากทะเล พัดพาเอาเรือลำ�นี้ หรือแม้แต่รถมาจอดเกยตึก ความ ร้ายแรงของภัยจากสึนามิที่เกิดขึ้นในเมืองฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น พอจะคาดเดาได้ว่ามากน้อยแค่ไหน ซากปรักหักพังของบ้านเรือน เศษไม้และเศษเหล็ก ถูกพัดพามากองรวมกันในสภาพที่พังยับเยิน แล้วคนที่อยู่ตามถนนหนทาง ตามตึกรามบ้านช่องที่หนีไม่ทัน พวก เขาจะเป็นอย่างไร คงจะพอนึกภาพออก บ้านเมืองทีถ่ กู ทิง้ ร้างอย่าง
ไม่ใยดีเพราะกัมมันตภาพรังสีรว่ั ไหล ภาพแห่ง ความสูญเสียและ เศร้าโศก บางคนไม่เห็นแม้แต่ญาติที่หายไปได้แต่มองดูป้ายชื่อ พลางหลั่งน้ำ�ตา บางคนได้แต่นั่งอยู่ข้างหลุมศพญาติพลาง อธิษฐานในใจให้คนที่จากไปได้ไปสู่สุคติ สำ�หรับศพที่ไม่มีญาติ ก็มีเหล่าอาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่ทหารสวดไว้อาลัยด้วยความ เศร้าเสียใจดูประหนึ่งว่าเป็นญาติตนเองก็มิปาน อธิษฐ์ พีระวงศ์เมธา ช่างภาพที่กล้าหาญผู้หนึ่งได้ลงทุน ไปเสี่ยงอันตรายจากสารกัมมันตภาพรังสี โดยเดินทางไปยังจุดเกิด เหตุหลายๆ ที่ พร้อมกับบันทึกภาพเหตุการณ์ก่อนเก็บกวาดให้เรา ได้เห็น เขาเข้าไปในสถานเกิดเหตุเป็นเวลาเกือบ 1 เดือน เดินผ่าน เมืองที่ประสบภัยพิบัติกว่า 10 เมืองกว่าจะได้ภาพเหล่านี้ออกมา สู่สายตาผู้คน จนเกิดนิทรรศการ “Athit’s Eye on Japan Earthquake 2011” ขึ้น ซึ่งจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม ถึง 30 มิถุนายนนี้ ณ โรงแรมดุสิต ปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ เพื่อสมทบ ทุนช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยธรรมชาติ ท่านที่สนใจก็สามารถ เข้าชมได้ตามวันเวลา ดังกล่าว
www.WANGDEX.co.th
10
คน-ทำ�-มะ-ดา
เรื่อง : วรวรรณ กิติศักดิ์ I ภาพ : ทีมงานกู้ภัยในเหตุการณ์
คิดจะทำ�ความดี...อย่ามีคำ�ว่าลังเล
เราๆ ท่านๆ ยังคงจะพอจำ�กันได้ถึงเหตุการณ์คลื่น สึนามิถล่มที่ภาคใต้ของประเทศไทยเรา จากภาพข่าวในทีวีบ้าง ในหน้าหนังสือพิมพ์บ้าง แต่นั่นเป็นภาพเพียงบางส่วนของความ สูญเสียและเป็นเพียงเศษเสี้ยวของความรู้สึกน่าสะพึงกลัว บางคนเห็นแล้วคงกลัวว่าจะเกิดขึ้นกับตนเอง บางคนคงรู้สึก สะอิดสะเอียนแทบอาเจียน บางคนคงรู้สึกเศร้าเสียใจแทนญาติๆ ผู้สูญเสีย บางคนคงอยากเข้าไปช่วยเหลือ แต่ได้เพียงแค่คิด จะมีสักกี่คนที่คิดจะช่วยแล้วลงมือช่วยจริง ด้วยเหตุผลมากมาย ที่นำ�มาเป็นข้ออ้างให้ตนเอง แต่สำ�หรับหญิงสาววัย 29 ปีชื่อ ชัชชญา คัณฑเขตต์ หรือ “แอ้” ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ผ่านประสบการณ์ ณ จุดนั้นมา เธอสามารถข้ามพ้นความเห็นแก่ตัว เข้าช่วยหรือ อย่างไม่เกรงกลัว แม้จะยืนอยู่ท่ามกลางบรรยากาศเลวร้ายที่ แผ่ซ่านไปทั่วบริเวณที่เกิดเหตุ ทั้งที่ก่อนนั้นแอ้ไปเที่ยวกับ ครอบครัวอย่างมีความสุข แต่หลังจากที่เธอได้ทราบข่าว และ เห็นผู้คนจำ�นวนมากกำ�ลังเดือดร้อน จึงทำ�ให้การท่องเที่ยวหมด สนุกไปทันที คิดเพียงอย่างเดียวว่า ต้องหาทางไปที่เกิดเหตุนั่น ให้ได้ จนได้อ่านกระทู้ใน www.pantip.com รับอาสาสมัครช่วยงาน
จึงตัดสินใจลงชื่อเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครทันทีทั้งที่ไม่รู้จักใครเลย เธอมองว่ามันเป็นการรวมพลัง รวมใจครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตเลย ก็ว่าได้ เพื่อที่จะมาทำ�สิ่งดีๆ ให้กัน ด้วยความเห็นใจไม่หวังค่า ตอบแทนใดๆ ไม่มีความสนุกสนาน ซึ่งต่างกับงานอาสาใน รูปแบบอื่น เมื่อไปถึงเห็นสภาพศพนอนเรียงรายมากมาย เป็นภาพที่ไม่คิดว่าจะได้เห็นในชีวิต สิ่งที่เครียดและโศกเศร้า ยิ่งกว่า ก็คือการทำ�งานกับคนเป็น ณ จุดรับแจ้งตามหาผู้เสียชีวิต มีบางครั้งต้องไปนั่งสงบและผ่อนคลายเพราะรู้สึกเครียด รู้สึก เป็นทุกข์ ตอนนั้นรับผิดชอบงานแทบทุกอย่าง คีย์ข้อมูล ผูกแท็ก ศพ แจกน้ำ� รวมถึงทำ�ความสะอาดวัตถุพยาน แต่นั่นก็ไม่ได้ ทำ�ให้เธอล้มเลิกความคิดที่จะช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลก แม้จะมีแต่ ร่างที่ไร้วิญญาณแล้วก็ตาม แอ้บอกกับเราว่า สิ่งที่ได้จากการลงไปช่วยเหตุการณ์ สึนามิ ได้ค้นพบว่าชีวิตคนเราไม่ได้เรียงขั้นตอนจากเกิด แก่ เจ็บ ตาย เสมอไป เพราะความตายอาจจะมาเยือนเราเมื่อไหร่ก็ได้ สิ่งที่แอ้ฝากไว้คืออย่าลังเลที่จะทำ�ความดี เพราะไม่อยากเสียใจ ที่เราคิดจะทำ� แต่ไม่ได้ลงมือทำ� และจงหมั่นทำ�ความดีสร้างบุญ สร้างกุศลไว้ก่อนที่จะสายเกินไป ไม่มีโอกาสได้ทำ�อีกต่อไป…
เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ I ภาพ : สมคิด ใจศรี
สุริยา แสงแก้วฝั้น จุดเปลี่ยนที่เรียนจากหัวใจ
มุมส่วนตัว
11
12
หากเอ่ยชื่อ “สุริยา แสงแก้วฝั้น” คงมีน้อยคนที่จะรู้จัก แต่ถ้าจะบอกว่า “เยล” หนึ่งในสมาชิก “สามเกลอ คนเล็กหัวใจใหญ่” ทุกคนคงต้องร้อง อ๋อ พร้อมกับนึกเห็นภาพเด็กหนุ่มที่มีร่างกายพิการจากโรคกล้ามเนื้อเกร็ง แต่กำ�เนิด แต่มีหัวใจที่แข็งแกร่ง มีมุมมองที่เราๆ ท่านๆ อาจไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน และอาจคิดไม่ถึงว่า ความคิด เหล่านั้นจะมาจากชายหนุ่มคนนี้ ฉะนั้น “มุม” จึงติดตามสัมภาษณ์เขา เพื่อรับทราบถึงมุมมองด้านธรรมะของเขาว่า เป็นเช่นไร ในสภาวะที่ตัวเขาเป็นอยู่ และมองเห็น เรามารับรู้ไปพร้อมๆ กันเลย มุม: เคยมีคนล้อเลียน หรือทำ�ให้รารู้สึกแย่ๆ บ้างหรือเปล่า มีเยอะแยะ ต้องบอกตรงๆ ว่าเยอะแยะที่มีคนถากถาง ก็ยอมรับมุมมองของเขาหนึ่งมุมมองเราไม่สามารถจะไปว่าอะไรได้ บางคน ว่าเราเป็นคนพิการ มาตัดสินว่าเราเป็นคนพิการเรียนหนังสือได้เหรอ ประมาณนั้น มุม: ส่วนใหญ่ได้ยินจากคนแบบไหน เป็นผู้ใหญ่ก็มี ก็ใหญ่ๆ กันแล้ว ก็เนื่องจากเหตุผลบางคนอาจจะไม่เข้าใจ พูดให้เราเสียกำ�ลังใจ แต่เราก็เอาคำ�ถากถางนินทามาเป็น แรงผลักดันดีกว่า มุม: คิดแบบนี้ได้ตั้งแต่เมื่อไร เด็กๆ เลยครับ ยอมรับว่าเป็นคนชนบท ไม่ได้อยู่ในเมือง ไม่มีสังคมที่เจริญมากมายอะไร เมื่อย้อนไป 20 กว่าปีที่แล้ว ที่เชียงราย ผมต้องต่อสู้กับอุปสรรค ไม่ว่าจะร่างกาย ทางด้านความคิด ทางด้านความคิดนี้หนักกว่าสิ่งแวดล้อมที่จับต้องได้ เราต้องใช้สิ่งเหล่านี้ หล่อหลอมจิตใจให้ลุกขึ้นมาต่อสู้ ผลักดัน ถือว่าสิ่งที่เขาพูดเขาสะท้อนถึงตัวเรา บางทีก็คนเรามีความเห็นที่แตกต่างกันได้ เราคิดใน แง่บวกว่า เขามาเตือนเรามากกว่า แล้วมองไปที่ตัวเรา ว่าเป็นจริงอย่างที่เขาคิดหรือไม่ ก็ช่างน้ำ�หนักเอา ถ้าเราเป็นอย่างนั้นจริง ก็ต้องยอมรับ แต่ถ้ามันขาดความเป็นจริง เราก็นิ่งเฉยไว้ ผมว่าทุกปัญหาเรามอง เราคิดไปเองมากกว่า ถ้าเราไม่เก็บเอาคำ�ที่ไม่ดี กับตัวเรามาคิด มันก็จบ หยุดการต่อยอด อะไรก็ตามถ้าเรามัวไปต่อยอดความคิดของเรา บางทีเขาไม่ได้คิดลึกซึ้งขนาดนั้น แต่เรา ไปคิดเอง การคิดต่อยอดสำ�คัญ ถ้าเราคิดอาจคิดลึกกว่าเขา มองลึกกว่าเขาก็ได้ มุม: เราเคยคิดอยากจะมีแฟน หรือมีครอบครัวบ้างไหม มีครับ ผมตอบตรงๆ มีแน่นอนล่ะ พระพุทธเจ้าบอกว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ มันไม่สามารถจะอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายตามลำ�พังได้ ก็บางอารมณ์ความรู้สึกก็คิดว่า วันนี้เราอายุ 20 ปี เรายังมีพ่อมีแม่มีพี่อยู่เคียงข้างเรา ให้กำ�ลังใจเรา แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งเขาเหล่านี้ ไม่อยู่ เราก็จะต้องอยู่คนเดียว โดดเดี่ยวเดียวดาย ตำ�รับตำ�ราท่านก็สอนว่า ไม่มีใครอยู่ได้ตามลำ�พัง แต่ในความเป็นจริงแล้วมัน ตอบโจทย์อะไรชีวิตเราหลายๆ อย่าง เช่น การอยากมีแฟน การอยากจะไปปฏิสัมพันธ์ต่อเพศตรงข้ามอะไรต่างๆ มันมีความรู้สึก เหล่านั้นอยู่ แต่เราสามารถวางกรอบ กรอบความคิดสำ�คัญ ผมสร้างกรอบความคิดนะ ผมสร้างกรอบว่า ความคิดเราคิดได้แค่นี้นะ เราคิดกันเลยกรอบไม่ได้ ปัญหาวัยรุ่นสมัยนี้ หรือวัยอะไรก็แล้วแต่ สามารถจะคิด แต่เขาคิดเลยกรอบโดยเฉพาะวัยรุ่นเลยกรอบปุ๊บ มันจะเกิดความทุกข์ บางคนถึงขั้นเศร้าหมองซึมเศร้าเสียใจ บางคนอาการหนัก บางที่ปล่อยให้ความเหงาเข้ามาครอบคลุม ผมคิด เลยกรอบตรงนั้นไป ถ้าคิดในกรอบและมีวีจัดการความคิดอารมณ์ความรู้สึกเรา เราก็คิดมีมุมมองอย่างสร้างสรรค์ อยากให้ทุกคน ช่วยกันครับ
มุม: ถ้าหากจะมีแฟน อยากให้แฟนเป็นคนแบบไหน ผมดูผู้หญิงที่เราชอบจริงๆ ต้องดูที่แม่ ไม่ใช่แม่เขา แต่เป็นแม่เรา เพราะแม่เป็นเพศตรงข้ามคนแรก ที่มาปฏิสัมพันธ์กับเรา ฉะนั้น เราจะรู้นิสัยการปฏิบัติการวางตัว นิสัยใจคอเป็นอย่างดี
13
มุม: ตอนนี้เจอผู้หญิงแบบนี้หรือยัง ตอนนี้ผมไม่คิด เพื่อนผมก็มาถามบ่อยนะว่าเยลไม่หาแฟนสักคนหรือ ผมก็ตอบว่ามันไม่มีเวลา แค่เรียน แค่เดิน แค่วันนี้จะก้าวขา เดินยังไงเพื่อไม่ให้ล้มเพื่อให้ไปถึงคณะ มีคนถามว่าอยู่คนเดียวเหงาไหม ผมก็ตอบว่าอยู่ยังไงให้เหงา ชีวิตผมไม่เหงา ทำ�โน่นทำ�นี่ อ่านหนังสือ คอนโทรลจิตเรา บังคับจิตเราให้มีพื้นที่เต็มตลอด ความเหงาของเราจะหมดไป ผมเป็นคนชอบพูดชอบคุย บางทีเราไม่มี ใครคุยด้วยก็ไปนั่งคุยกับสุนัข มันก็ได้อารมณ์ สาเหตุที่เป็นอย่างนั้นคือเอาอารมณ์มาวางพื้นที่ในจิตเราไม่ให้ว่างนอกจากหนังสือ ไม่มีใครที่วันๆ เปิดอ่านหนังสือทั้งวัน มันต้องหาวิธีอื่นเสริมบ้าง มุม: ทำ�ไมถึงเลือกเรียนนิติศาสตร์ ผมก็แค่หวังว่า อยากจะเอาความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาทั้งหมด ไปช่วยพัฒนา ผู้ด้อยโอกาส หรือคนพิการในสังคม ให้มีศักดิ์มีศรี เท่า เทียมกับคนทั่วไปในสังคม เท่าเทียมไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องเดินได้ดีเหมือนคนปกติ คุณจะต้องมีอภิสิทธิ์เหนือกว่า จริงๆ หมายถึงว่าเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานให้ได้มากที่สุด อย่างเช่นทุกวันนี้จะเห็นตึกอาคารราชการต่างๆ เช่น ธนาคารเป็นต้น แทบไม่รองรับ คนเหล่านี้ เป็นบันไดบ้าง บางที่ไม่มีลิฟท์ไม่มีอะไร นี่แหล่ะความเท่าเทียมในความหมายของผม มุม: ตอนนี้ได้เรียนวิชาที่ชอบแล้ว มองอนาคตไว้อย่างไร ผมเคยพูดเสมอ เมื่อมีคนมาถามผมบ่อยครั้งว่า ชีวิตหลังจากออกรั้วมหาวิทยาลัย หลังจากได้ปริญญาบัตรแล้วมันจะเป็นอย่างไร ต่อไป ผมก็ไม่สามารถที่จะตอบได้ มันเป็นเรื่องของอนาคตมากกว่า คือคนเรามีตาอยู่ข้างหน้ากลับมองไม่เห็นตัวเรา เพราะฉะนั้น อนาคต มันจะสุขจะทุกข์จะชัว่ จะดีหรือไม่ ปล่อยให้มนั เป็นเรือ่ งของอนาคตและวันข้างหน้าดีกว่า ขอเพียงแค่เราทำ�วันนี้ ทำ� ณ ปัจจุบนั นี้ ณ ชั่วโมงนี้ ณ นาทีนี้ วินาทีนี้ ให้ดีที่สุดแค่นี้ก็พอใจแล้ว มุม: ได้เขาว่าสนใจธรรมะด้วยหรือ ผมสนใจมาตั้งแต่ตอนเด็กๆ ตอนนั้นผมไม่ได้เข้าเรียน คือทางโรงเรียนเขาไม่รับเด็กพิการ ก็เลยไม่มีอะไรทำ� ผมเพิ่งได้มาเข้าอนุบาล 1 ตอนอายุประมาณ 10 ปี ปกติ อายุ 6-7 ก็ได้เข้าแล้ว 5 ปีอยู่อนุบาล1 อนุบาล 2 แต่ผมไม่ได้เข้า มาเข้าโรงเรียน อนุบาลตอนอายุ 10 ปี ก็ระยะห่าง 10 ปี ก็ไม่รู้จะทำ�อะไรก็ศึกษาไปวัดบ้างอะไรพวกนี้ บ้านผมส่วนมากไปชุมชนผู้เฒ่าผู้แก่ส่วนใหญ่วันพระเขาจะไปวัด ไปทำ�พิธีก็ไปกับพ่อกับแม่ไปกับคุณตาคุณยาย ไปฟังธรรมทุกวันพระ มันช่วยได้หลายเรื่องเลยทางด้านจิตใจ ทางด้านสภาพร่างกาย ความอ่อนล้าความคิดอะไรพวกนี้ ถ้าทางสภาพจิตใจก็จะเป็นเวลาเราท้อใจเราไม่สบายอะไรพวกนี้ หรือพบเจอสิ่งที่เลวร้ายในชีวิต มันก็ช่วยยับยั้งความคิดที่เขาเรียกว่าไม่ดีให้หมดไป สภาพร่างกายก็อย่างเช่นการเดิน ถึงแม้จะเดินช้า ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยแต่มันก็ถึง มันไม่ใช่ไม่ถึง การเหน็ดเหนื่อยในการเดินผมว่ามันเป็นอนิจจัง มันไม่เที่ยงแท้ เดี๋ยวมันก็หาย ใช่ครับ มันเป็นอุปสรรค แต่พอเริ่ม ที่จะเรียนรู้และยอยมรับมัน อารมณ์เหล่านั้นมันก็ค่อยๆ จางหายไป ถึงแม้มันจะฝังใจอยู่บ้างแต่มันก็ละลายค่อยๆ ลืมมันไป ผมไม่ใช่ ชอบธรรมะอย่างเดียว ผมไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าธรรมะอย่างเดียว มันจะดูไม่แฟร์ มันเหมือนว่าเอาธรรมะไปปฏิบัติเพื่อให้ลืมสิ่งเหล่านี้ มันคงทำ�ได้ยากมันเป็นสิ่งที่หลอกลวงตัวเองมากกว่า ผมเลยว่าค่อยๆ เรียนรู้มัน มันเป็นก็ปล่อยให้มันเป็นแบบนี้
14 มุม: ตอนนี้ถือว่าเป็นคนหนึ่งที่มีความสุขหรือเปล่า ณ ปัจจุบนั ก็มคี วามสุขและมีความทุกข์ สองสิง่ นีม้ นั เป็นของคูก่ นั อยูแ่ ล้ว ผมเชือ่ ว่าไม่ใครปฏิเสธสองสิง่ นีไ้ ด้ มันเป็นของคูก่ นั อย่างเช่น รองเท้า ถ้ามันมีข้างเดียวมันก็ไม่ใช่รองเท้า ความสุขกับความทุกข์มันเป็นของคู่กัน ถ้าเราจะเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ผมว่าไม่ใครทำ�ได้อยู่ที่เรา จะเรียนรู้สุขเรียนรู้ทุกข์มากน้อยแค่ไหน มุม: มีความคิดดีๆ แบบนี้มีใครเป็นแรงบันดาลใจบ้าง แรงบันดาลใจในชีวิตก็มีบ้าง แต่ผมยึดตัวเองเป็นหลักก่อน มุม: ที่บอกว่านับถือตัวเองนี่ยังไง ที่นับถือเป็นเพราะว่าไม่มีใครช่วยเหลือหรือเปล่า มันเป็นคนละส่วนไม่เกี่ยว การนับถือตัวเอง จะไปบอกว่าไม่มีคนช่วยเหลือมันไม่ได้ การนับถือตัวเองก็คือเอาที่พึ่งทางปัญญาตัวเอง เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่เอากำ�ลังตัวเองเป็นที่ตั้ง ถ้าเอากำ�ลังตัวเองเป็นที่ตั้ง ผมไม่สามารถทำ�อะไรได้ ไปไหนมาไหนต้องคอยพึ่งวอร์คเกอร์ คอยพึ่งเพื่อน การนับถือตัวเองคือการนับถือปัญญาเป็นที่ตั้ง และเมื่อนับถือปัญญาเป็นที่ตั้งแล้วก็ลองมองไปรอบข้างว่าใครจะเป็น ตัวอย่างที่เดินสายเดียวกันกับเรา มุม: คนที่เห็นว่าเดินสายเดียวกันคือใคร ที่สุดคือพ่อแม่ ผมเชื่อว่าทุกคนปฏิเสธท่านทั้งสองไม่ได้ และเราอาจจะมีไอดอล หรือคนที่เป็นแบบอย่าง สามารถทำ�ให้เราเดินตามท่าน ได้ ก็มีเยอะแยะ เมืองไทยอย่างเช่นพระพุทธทาสภิกขุ ท่าน ว.วชิรเมธี มุม: ทำ�ไมถึงยึดท่านเหล่านี้เป็นแบบอย่าง ผมอ่านหนังสือท่านพุทธทาสภิกขุ ท่านเป็นคนที่ควรเอาเป็นต้นแบบทางพระพุทธศาสนา ท่านสามารถสื่อวิธีดับทุกข์ได้แบบชาวบ้าน แบบสามัญชน ท่านพระพุทธทาสมักจะเป็นสายเดียวกันกับนักบวชที่มีชื่อเสียงที่โด่งดังไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นท่าน ติช นัท ฮันท์ มหาตมะคานธี ท่านผู้นี้ก็คือสุดยอดระดับโลก ท่านใช้ธรรมะแบบง่ายและเข้าใจง่าย และปฏิบัติจนรู้แจ้งห็นชัด มุม: งั้นแสดงว่าได้ศึกษาธรรมะในแนวปรัชญา แนวปรัชญา แต่เป็นปรัชญาสมัยใหม่ แม้คำ�พูดของท่าน ท่านพูดไปประมาณ 20 - 30 ปีก่อนแต่ปัจจุบันก็ยังสามารถเอามาใช้ เอามา ปฏิบัติได้ทุกเมื่อ ผมเชื่ออย่างนั้น มุม: คนบางคนมีพร้อมทุกอย่างแต่กลับรู้สึกขาดอะไรในชีวิต มีมุมมองเกี่ยวกับคนเหล่านี้อย่างไร เมือ่ เช้าผมก็เจอน้องคนหนึง่ เข้ามาคุยกับผมว่า เขาเป็นคนทีไ่ ม่มน่ั ใจกับตัวเอง เวลาทำ�อะไรก็คดิ อยูเ่ สมอว่า ตัวเองเป็นคนดี เป็นคนเก่ง แต่ผลออกมามันไม่ใช่ ผมก็เลยบอกว่าให้ละความคิดนั้นไป ถ้าเรามองความคิดว่า ดีมันก็ดี ถ้าเรามามองความคิดไม่ดี มันก็ไม่ดี คำ�ที่ พระท่านหนึ่ง สอนไว้ว่า ถ้าเราเปลี่ยนความคิด ชีวิตเราก็จะเปลี่ยน มันก็จริงครับ อย่าไปจมกับความคิดเดิมๆ ควรจะพัฒนาความคิด ให้ไปเรื่อยๆ จนกว่าความคิดของเราจะเกิดเป็นปัญญา แล้วผลที่เราคิดก็จะดีตามมาเอง
16
มีคนถามว่าอยู่คนเดียวเหงาไหม ผมก็ตอบว่าอยู่ยังไงให้เหงา ชีวิตผมไม่เหงา ทำ�โน่นทำ�นี่ อ่านหนังสือ คอนโทรลจิตเรา บังคับจิตเราให้มีพื้นที่เต็มตลอด ความเหงาของเราจะหมดไป
มุม: อยากให้โลกเป็นแบบไหน ในจินตนาการของตัวเอง ผมคิดว่าโลกของเรามันมี 2 โลก โลกสังคมไทยมี 2 สังคม สังคมในอุดมคติ กับสังคมในความเป็นจริง สังคมในอุดมคติหรืออุดมการณ์ เราฝันว่าอยากเป็นแบบนี้นะ อยากมีครบ 32 ประการนะ อยากเป็นคนเก่งเรียนหนังสือได้เกียรตินิยม แต่เรามองถึงโลกความเป็นจริง มันเป็นไปไม่ได้ อยากมีเงิน อยากเรียนจบ ถ้าเราไม่พยายามมันเป็นไปไม่ได้ มุม: มองโลกรอบๆ ตัวเป็นยังไง คนเรามันมีหลายมุมมอง มุมมองหนึ่งของผมอาจจะตอบแบบน้อยใจนิดหนึ่ง ว่าทำ�ไมโลกสร้างให้เรามาเป็นมนุษย์ เป็นคนเหมือนกัน แต่ท�ำ ไมสร้างเรามาไม่เหมือนกัน นีม่ มุ มองหนึง่ มันอาจเป็นมุมมองทีเ่ ป็นเชิงลบ แต่อกี มุมมองว่า เราต้องเข้าใจความจริง เข้าใจสัจธรรม และความเป็นไปของโลกของสังคมว่า ท่านให้เรามาแค่นี้จงภูมิใจเถิด ที่ท่านให้เรามา เราโชคดีที่เราเกิดมาเป็นคน ความคิดสองมุมนี้ มันสวนทางกันแต่มันก็เป็นมุมมองอีกมุมมองหนึ่ง
18
มุมพิเศษ
เรื่อง : กองบรรณาธิการ I ภาพ : ภาณุวัฒน์ จิตติวุฒิการ
2600 ปี พุทธชยันตี มาถึงแล้ว...
20
พุทธชยันตี แปลว่า ชัยชนะของพระพุทธเจ้า โดยมีจุดเริ่มมาจากการเฉลิมฉลองครบรอบ การบรรลุธรรมของ พระพุทธเจ้าซึ่งชาวพุทธถือว่าเป็นวันสำ�คัญ ไทยเรานั้นเรียกวันนี้ว่า “วันวิสาขบูชา” โดยเนื้อหาสาระนั้นแน่นอนว่า ทั้งหมดต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า แต่หากพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นโดยไม่ได้ทำ�อะไรเลย คงจะไม่มีคนนับถือท่าน และเรียนรู้จากธรรมะที่ท่านค้นพบมาถึง 2600 ปีใช่ไหม และหากการจัดงานพุทธชยันตีเป็นเหตุอันเนื่องมาจาก คุณงามความดีของพระองค์แล้วล่ะก็ ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังมีพระชนมมายุอยู่พระองค์ทรงทำ�อะไรบ้าง พระพุทธเจ้าทรงค้นพบธรรมะ ธรรมะคือคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้า อย่าได้เข้าใจไปว่าธรรมะนี้พระพุทธเจ้ากำ�หนดขึ้นมาเพื่อให้เป็นกฎ แต่จริงแล้วธรรมะนี้ เป็นธรรมชาติ คือมีอยู่เองแล้ว มิได้มีใครสร้างขึ้น เพียงแต่พระพุทธเจ้าทรงฝึกฝนอบรมตนจนตรัสรู้ในตัวธรรมชาติทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วนำ�ออกมาเปิดเผย ธรรมะคือธรรมชาติ แม้มนุษย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเหมือนกัน แต่ในความคิดของคนส่วนใหญ่แล้ว มักจะแยกมนุษย์ ออกจากธรรมชาติ จนมีความคิดที่จะพิชิตธรรมชาติหรือเอาชนะธรรมชาติ อยู่เหนือธรรมชาติ อย่างพวกตะวันตกนั้นเขามีความคิดอย่างนี้ เขาจึงพยายามพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ หมายเอาชนะธรรมชาติให้ได้ อากาศมันร้อนนักก็สร้างเครื่องทำ�ความเย็นขึ้นมา ถ้าอากาศมันหนาวนัก ก็สร้างเครื่องทำ�ความร้อนขึ้นมา และอื่นๆ อีกมากมาย พวกเขามีความรู้สึกว่าเอาชนะธรรมชาติได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วเขาเพียง สามารถป้องกันความร้อนจากธรรมชาติได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เพียงในห้องเล็กๆ หรือในตึกๆ เดียว กลับทำ�ให้เกิดปัญหาอันใหญ่หลวง ขึ้นมาด้วยซ้ำ�ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก โลกจึงร้อนอย่างเช่นทุกวันนี้ ธรรมะคือ ตัวกฎของธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างจะดำ�เนินไปตามกฎธรรมชาติ เมื่อมีเกิดก็ต้องมีตาย ถ้าไม่เกิดก็ไม่ตาย ทุกสิ่ง ทุกอย่างย่อมมีเหตุ เมื่อมีเหตุให้เกิด ก็เป็นเหตุให้มีความดับไปเป็นธรรมดา ธรรมะคือ หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ หน้าที่คือการกระทำ�ที่ถูกต้อง คือถูกต้องแก่ความเป็นมนุษย์ทุกขั้นทุกตอนแห่งวิวัฒนาการ ของตน ถ้าเราเข้าใจธรรมะได้อย่างนี้ จะสำ�เร็จประโยชน์มากกว่าที่ว่าธรรมะคือคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมะคือ ผลของหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ เป็นครูเป็นอาจารย์ก็ทำ�หน้าที่ของครูของอาจารย์ให้ถูกต้อง ผลออกมาดีถูกต้อง คือได้ลูกศิษย์ที่ดีมีคุณธรรม มีคุณภาพ เป็นเจ้าหน้าที่การเงินก็ทำ�หน้าที่ให้ถูกต้อง เป็นชาวนาชาวสวนก็ทำ�หน้าที่ให้ถูกต้อง เป็นหมอแพทย์ และอื่นๆ ก็ทำ�หน้าที่ให้ถูกต้อง ไม่คดโกง ทำ�หน้าที่อย่างสุจริต ก็จะได้ผลที่ถูกต้องเป็นที่น่าพอใจอย่างที่สุด
พระพุทธเจ้าทรงเปลี่ยนแปลงสถานะชนชั้นในสังคม ในสมัยนั้นเวลาคนเกิดมา ก็จะถูกจัดเข้าในพวกในหมู่ที่แบ่งแยกสถานะความเป็นคนออกจากกันทันทีที่เรียกกันว่า วรรณะ โดยเดิมเชื่อกันว่าถ้าหากใครเกิดในวรรณะสูง จะถือเป็นคนดีถูกยกย่องมีหน้ามีตาในสังคม แต่พระพุทธเจ้ามาเปลี่ยนว่า คนจะดีหรือเลวนั้น อยู่ที่การกระทำ�และความประพฤติ อาจจะฟังดูแล้วเหมือนกับว่าเป็นเรื่องง่ายๆ ทำ�ไมคนสมัยนั้นคิดไม่ได้ ก็ต้องลองถามตัวเองว่าหากเรา ไปอยู่ในบริบทสังคมแบบนั้น ถูกหล่อหลอมให้เชื่อเรื่องเทพเจ้าสร้างทุกสิ่งมาตลอด จะปฏิเสธความเชื่อเหล่านี้ได้ง่ายๆ ไหม ถ้าได้ง่ายๆ ต้องลองถามตัวเองดูบ้างว่า ตอนนี้ยังกลัวผีอยู่ไหม (ภายใต้ความเชื่อในลักษณะเดียวกัน) ก็มักจะมีคำ�แก้ตัวตามมาว่า ไม่กลัวไม่เชื่อ แต่ก็ไม่ลบหลู่ เป็นการแทงกั๊กเอาไว้เผื่อว่าจะมีจริง จะได้ไม่เข้าตัวก็ว่างั้น ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้มาเปลี่ยนแปลงความเชื่อนี้ โดยให้อิสระแก่ชนชั้นที่ถูกกดขี่ให้มีคุณค่าเท่าๆ กับคนที่มีวรรณะสูง เช่น เมื่อมาบวชแล้วก็ไม่ใช่พราหมณ์ ไม่ใช่กษัตริย์ ไม่ใช่จัณฑาลอีก ทุกคนมีศักดิ์มีฐานะเท่าเทียมกัน ล่วงเลยไปถึงการบวชให้ผู้หญิงซึ่งเป็นเพศ ทีถ่ กู กดขีม่ าโดยตลอด พระองค์กท็ รงให้ความทัดเทียมแก่ผหู้ ญิงขึน้ มาตามลำ�ดับ เป็นการสร้างความน่าเชือ่ ถือให้แก่ผหู้ ญิงโดยละมุนละม่อม เช่น การบวชภิกษุณีที่เริ่มต้นค่อยๆ ลดบทบาทพระภิกษุไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับภิกษุณีออกทีละน้อยๆ จนในที่สุดภิกษุณีก็มีบทบาทเต็มที่ ในการบวชภายในภิกษุณีสังฆะนั้นเอง
22 พระพุทธเจ้าทรงสร้างสังคมแห่งอุดมคติ พระองค์ได้ใช้เวลาตั้งแต่เริ่มตรัสรู้สร้างพุทธบริษัทให้เกิดขึ้น ซึ่งพุทธบริษัทนั้นเล่าก็มาจากคนหลายสถานะร้อยพ่อพันแม่ ที่มา อยู่รวมกันด้วยอุดมการณ์เดียวกัน แต่ขณะที่ยังไม่ประสบผลสำ�เร็จในการปฏิบัติ แน่นอนว่าต้องมีความขัดแย้งภายในอยู่พอสมควร (ความแตกต่างและหลากหลายทางความเชื่อค่านิยมในชมพูทวีปนั้น ยังมีให้เห็นอยู่จนถึงทุกวันนี้) แต่พระองค์ก็ทรงยกความเป็นจริงตาม ธรรมชาติซึ่งทุกคนสามารถเข้าใจได้มาแสดง ทำ�ให้ทุกฝ่ายที่ไม่ลงรอยกันปรองดองกันได้ในระดับหนึ่ง พร้อมกับประชาธิปไตยอันประกอบ ด้วยธรรมาธิปไตยที่ต้องมีเสียงเป็นเอกฉันท์เท่านั้น พ่วงด้วยกลุ่มคนอีกจำ�นวนหนึ่งซึ่งพร้อมใจจะไม่เบียดเบียนใครอีกตลอดชีวิต พระพุทธเจ้าทรงเปลี่ยนแปลงความเชื่อและประเพณี ในสมัยที่พระพุทธองค์มีพระชนม์ชีพอยู่นั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติต่างๆ มักจะถูกโยงไปสู่ความเชื่อในเรื่องเทวดาพิโรธ ผีร้าย หรือว่ายักษ์ตามล้างแค้นต่างๆ นานา จะคลี่คลายได้ก็ต้องบูชายันต์เสียก่อน โดยการนำ�สัตว์ไปฆ่า ตั้งแต่สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ไล่ไปจนถึง การฆ่าคนด้วยกันเอง โดยมีความเชื่อว่า ถ้าหากทำ�แล้วจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะเทวดารับของเซ่นไปแล้วต้องช่วย เหมือนกับ ตอนหนึ่งในหนังสือผีสางคางแดงของ อ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก ที่ว่าแม้แต่พระอินทร์ซึ่งเป็นเทพตำ�แหน่งสูงๆ ก็เป็นเหยื่อของการติดสินบน ด้วยของเซ่นได้เช่นกัน พระพุทธเจ้าไม่เพียงเปลี่ยนความคิดที่ต้องยกเลิกการบูชายันต์ออกไปเท่านั้น แต่พระองค์ยังสอนให้เห็นเลยว่า ต่อให้เทวดา หรือ ภูติผีมีจริงแค่ไหนก็ตาม การเซ่นไหว้ก็ไม่ได้ทำ�อะไรให้ดีขึ้นด้วย ดังที่อนาถปิณฑิกะเศรษฐีสาวกผู้เป็นเลิศด้านการถวายทาน นำ�ทรัพย์ไป บริจาคจนเกือบหมด จนเทวดาที่บ้านต้องบอกให้เอาทรัพย์ที่มีไปทำ�เครื่องเซ่นให้ตัวเองดีกว่า ปรากฏว่าเศรษฐีได้ฟังก็เลยไล่เทวดาออก จากบ้านทันที เดือดร้อนหาที่อยู่ไม่ได้อีก ต้องไปหาเทวดาศักดิ์ใหญ่มาเคลียร์กับพระพุทธเจ้าจนเศรษฐียอมให้กลับเข้าบ้านไป ซึ่งเป็นการ ปฏิวัติความเชือ่ ทีค่ นต้องอยูภ่ ายใต้เทวดาลงอย่างสิน้ เชิง แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้ “ความดี” มาเป็นสิง่ ทีใ่ ช้เคารพแทน การอดทนคือการ บำ�เพ็ญตบะ ไม่ใช่การทรมานร่างกายตนเอง เช่นนี้เป็นต้น อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นเรื่องใหญ่ในสมัยนั้นก็คือ การมีศาสนาที่ท้าทายต่อการพิสูจน์ กล่าวกันตามความเป็นจริงแล้ว จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยัง ไม่มีศาสนาไหนที่กล้าท้าทายความเชื่อเช่นเดียวกับพุทธศาสนาอีก หลักกาลามสูตรเป็นหลักที่ท้าทายให้ผู้สนใจในศาสนานั้นอย่าปลงใจเชื่อ ในทันที แต่ให้เอาไปลองทำ�ดูก่อน หากดีจริงๆ แก้ไขปัญหาชีวิตได้จริง ก็ค่อยมานับถือก็ได้ ซึ่งจนถึงบัดนี้ก็ยังคงเป็นเพียงศาสนาเดียว ในโลกที่สอนให้คนตั้งคำ�ถาม แม้แต่กับตัวคำ�สอนและศาสดาเอง พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พ้นจากทุกข์ และสำ�คัญทีส่ ดุ ก็คอื การสอนให้พน้ จากทุกข์ ในขณะทีผ่ อู้ ื่นกำ�ลังวิ่งแสวงหาความสุข พระพุทธองค์ได้ทรงสอนเอาไว้ว่า ทุกข์กายนั้น ตราบใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ต้องมีทุกข์อยู่ แต่ทุกข์ใจนั้น ดับได้และเริ่มได้เดี๋ยวนี้ โดยมีผู้คนมากมายมาสมัครเป็นลูกศิษย์เพื่อพิสูจน์ ความจริงข้อนี้ เพราะคำ�ว่าหลุดพ้นนั้นมีมานานแล้ว แต่ผู้ที่หลุดพ้นและมาสอนด้วยยังไม่มี จะมีก็แต่ตำ�นานที่เหลือทิ้งไว้เท่านั้นเอง และ เนื่องจากพระองค์ได้เรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ มามากมาย การสอนให้พ้นทุกข์ของพระองค์นั้น มักจะประยุกต์เอาในสิ่งที่ผู้ฟังธรรมกำ�ลังหมกมุ่น อยู่มาเป็นอารมณ์ให้พิจารณา เช่น หากพบกับชาวนาที่กำ�ลังทำ�นาอยู่ ท่านก็พูดเรื่องทำ�นาด้วย แต่การทำ�นาแบบพุทธ พบพราหมณ์ก็พูด เรื่องที่พราหมณ์จะรู้ เรียกว่าประยุกต์โลกุตระให้เข้ากับโลกียะได้อย่างลงตัว จนผู้ฟังพิจารณาตามแล้วสามารถพ้นทุกข์กันได้ในขณะนั้น เลยทีเดียวเชียว เกิดเป็นพระสูตรมากมายตามมาว่าท่านไปตรัสอะไร กับใคร ยังไงไว้บ้าง เผื่อว่าคนรุ่นหลังมาศึกษาต่อจะสะดุดความคิด บางอย่างจากพระสูตรเหล่านี้ และคำ�สอนเพื่อการพ้นทุกข์นี่เองคือแก่นของพระพุทธศาสนา เหมือนดังที่พระองค์เคยได้ตรัสกับพระภิกษุทั้ง หลายว่า ความรู้ของพระพุทธองค์นั้นมากมายเหมือนกับใบไม้ในป่า แต่ที่เลือกมาสอนนั้นเหมือนใบไม้ในกำ�มือเดียว คัดพิเศษเอาเฉพาะ ส่วนที่ใช้ในการพ้นทุกข์ก็เพียงพอ สิ่งที่พระพุทธองค์ได้ค้นพบนั้นเป็นสิ่งประเสริฐแน่ แต่สิ่งที่เป็นคุณมากกว่าก็คือการที่พระองค์เอามาประยุกต์ใช้กับ สังคมนี่เอง เราจึงเรียกท่านว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และ พระมหากรุณาธิคุณ แล้วพระ สงฆ์ในปัจจุบันเล่าสืบทอดต่อจากพระองค์ได้แค่ไหน
VS.
พื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างพระกับโยมในศตวรรษที่ 21
เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ I ภาพ : ชยพัทธ แก้วกมล
VS.
พระมหาสง่า ธีรวํโส VS. อ.พิภพ อุดมอิทธิพงษ์
บทบาทสงฆ์ไทย ในปัจจุบัน เหมาะสมแล้ว จริงหรือ?
25
26
ในสังคมปัจจุบันมีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมายและแพร่ขยายไปได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเรื่องของ ศีลธรรมในสังคม ที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงบ่อยๆ และเมื่อได้ถูกเอ่ยถึงแล้ว ก็ไม่แคล้วที่จะต้องวิจารณ์ถึงสถาบันที่เป็น หลักในด้านศีลธรรมจริยธรรม อย่างพุทธศาสนาและมหาเถรสมาคมขึ้นมา ดังนั้นครั้งนี้ “มุม” เลยขอนำ�เสนอ พระมหาสง่า ธีรสํวโร ผู้อำ�นวยการสำ�นักวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ มาถกกับ พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักเขียนนักแปลผู้มีความสามารถในการสะกิดต่อมสำ�นึกผู้อ่านคนหนึ่งของสังคมไทย ในประเด็นข้อกังขาว่าพุทธศาสนากับสังคมไทยในปัจจุบัน ยังเสริมกันอยู่อีกหรือไม่อย่างไร ลองมาพิจารณา กันครับ พิภพ : ในแง่สังคมสงฆ์กับสังคมไทยในปัจจุบัน ผมมองว่ามีความเกีย่ วข้องในเชิงพิธกี รรมเป็นส่วนใหญ่ สมัยก่อนอย่างน้อยทีส่ ุดถ้าเราอยู่กับ ครอบครัว บางทีพ่อแม่หรือว่าญาติผู้สูงอายุก็จะพาเราไปหาพระทุกวันพระบ้าง ไปทุกวันอะไรต่างๆ แต่ผมคิดว่าในปัจจุบันนี้ มันมีน้อยลง หนึ่งก็คือพ่อแม่ต้องทำ�งานเยอะ สองคือมีโบสถ์สมัยใหม่ นั่นก็คือห้างสรรพสินค้า และการไปวัดบางทีพิธีกรรมมันค่อนข้างยุ่งยาก เด็ก สมัยใหม่มันก็ไม่ค่อยคุ้น เอ๊ะ ทำ�ไมต้องสวดกันยาวๆ สวดภาษาก็ฟังไม่รู้เรื่อง ก็ไปโบสถ์สมัยใหม่ดีกว่า มีแอร์เย็นๆ มีของถูกๆ ให้ซื้อ อะไร แบบนี้ อันนี้ทำ�ให้ผมคิดว่า กับสังคมสมัยใหม่เขาอาจจะเข้าวัดเฉพาะมีพิธีกรรมบางอย่าง เช่น ไปงานบวชเพื่อน ไปงานศพ หรือว่าไป สะเดาะเคราะห์ คือเรียกว่าจุดสุดท้ายของชีวิตแล้วเป็นต้น แต่ก็แน่นอนว่ายังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ยึดมั่นและคุ้นเคยกับการไปวัด คุ้นเคยกับ สังคมสงฆ์ แต่ก็น่าเสียดายที่คนกลุ่มหลังกลับเป็นกลุ่มที่เข้าวัดโดยผมไม่แน่ใจว่าเข้าวัดไปเพื่อจะเจริญรอยตามสมมุติสงฆ์ หรือเข้าวัดไป เพื่อหวังประโยชน์ในด้านอื่นๆ ในเรื่องหมอดูบ้าง ในเรื่องที่พึ่งทางใจอะไรต่างๆ บ้าง อันนี้ก็น่าเสียดายที่ไปยึดติดสิ่งที่เป็นกระพี้ไม่ใช่เป็น ตัวแก่น อันนี้ที่ผมมองกว้างๆ นะ พระมหาสง่า : แต่อาตมากลับมองอีกทาง คือเวลาที่เราคุยเรื่องของพระสงฆ์เกี่ยวกับสังคม คำ�ถามที่มีอยู่ตลอดเวลาก็คือทำ�ไมเด็กวัยรุ่น ไม่เข้าวัด ทำ�ไมปัจจุบันจึงไม่เหมือนในอดีต มันเหมือนกับว่าเรากำ�ลังเรียกร้องหาอดีต ทีนี้ถ้าถามว่าวัยรุ่นสมัยก่อนมันเข้าวัดกันทุกคน รึเปล่า สมัยอาตมาก็ต้องบอกว่าผู้เฒ่าผู้แก่พาไปนะ ไปทุกวันหรือนานๆ ไปครั้ง พาไปในช่วงวันพระ พาไปในช่วงของเทศกาล มันมีการ ละเล่นอยู่ในวัด จึงพาลูกหลานไป ถ้าเรามองย้อนกลับไปในอดีต ก็จะต้องมองย้อนกลับมาว่า ปัจจุบันที่วัยรุ่นไม่เข้าวัด จริงๆ แล้วไม่ใช่เป็น เพราะสังคมมันเปลี่ยนแปลงไปหรอก เพียงแต่ว่า ณ ปัจจุบันนี้ พอเราเจอปัญหาอะไรบางอย่าง เราจะมีความคาดหวังต่อคน เช่น ตำ�รวจ ครู พระ จะช่วยแก้ปัญหาให้เรา แต่แทนที่เราจะตั้งคำ�ถามว่า ครูช่วยในโรงเรียนได้ไหม ตำ�รวจช่วยดูแลในเรื่องของกฎหมายได้ไหม พระช่วยเข้มแข็งหน่อยในเรื่องของการสอนจริยธรรมได้ไหม แทนที่เราจะตั้งประเด็นนี้เพื่อหาคำ�ตอบร่วมกัน เรากลับมองว่าวัยรุ่นไม่เข้าวัด และล่าสุดนี่ อาตมาเคยคุยกับอาจารย์ท่านหนึ่งและก็มีเยาวชนด้วย ก็เลยถามว่าเขาเข้าวัดทำ�ไม เขาเองก็ยังไม่รู้ว่าจะเข้ามาทำ�อะไร และผู้ใหญ่ที่บอกว่าทำ�ไมวัยรุ่นไม่เข้าวัด ก็ไม่มีคำ�ตอบให้เด็กเลยนะ ว่าให้เด็กเข้าไปทำ�อะไร ในเมื่อไม่มีวัตถุประสงค์ให้เข้าไป แต่ถ้า บอกว่าไปเข้าวัดปฏิบัติธรรม ก็ต้องถามว่าตอนคุณเป็นวัยรุ่นคุณปฏิบัติธรรมไหม นึกถึงวัยของตัวเอง ไปนั่งสมาธิใช่ไหม ไม่ (เน้นเสียง) ไอ้คล้าวไปเจอแฟนในเรื่องมนต์รักลูกทุ่ง มันไปดูประกวดร้องเพลงนะ มันไม่ได้ไปนั่งสมาธิ แต่วันหนึ่งเมื่อชีวิตมันมีปัญหา มันไปหา หลวงพ่อ ดังนั้นการที่วัยรุ่นปัจจุบันไม่เข้าวัด หนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า สังคมปัจจุบันมันเปลี่ยนไป สถานที่ท่องเที่ยวของเด็กในปัจจุบัน กับเด็กในอดีตมันเปลี่ยนไป หรือเขาอาจจะยังไม่ถึงวัยที่เหมาะสม เขาจึงไม่เรียกร้องหามัน ดังนั้นวัดจึงทำ�หน้าที่ในการรักษา ถ้าเขาป่วยเขา ถึงจะไป แม้กระทั่งที่อาจารย์ว่าเมื่อกี้ไปหาหมอดู ก็แสดงว่าดวงเริ่มตกแล้วจึงไป แต่พระเป็นหมอดูได้ไหม จริงๆ แล้วไม่ได้ตั้งใจเป็น แต่เมื่อโยมมาแบบนี้มันต้องแก้ไขเบื้องต้น ถ้าไปเจอพระที่ศึกษามามาก อย่างหลวงพ่อปัญญา ท่านมีความเข้มแข็งในเรื่องของจริยธรรม อย่างท่านพุทธทาส อย่างเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ แล้วเราก็จะได้หมอที่ดีว่างั้นเถอะ ไม่เลี้ยงไข้ จัดยาให้ปุ๊บทีเดียวหายเลย
พิภพ : คือหลวงพี่มองว่าในแง่ของการทำ�หน้าที่บทบาททางสังคมของสังคมสงฆ์ ยังไม่มีอะไรเสียหาย คือเหมือนเดิมก็ไม่เป็นไร
27
พระมหาสง่า : ณ ขณะนี้ถ้าเรามองในเชิงสังคมที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน วัด พระสงฆ์และสังคมยังทำ�หน้าที่ของตัวเองอยู่นะ เพียงแค่มันอาจจะ ต่างกัน อาจจะต่างภูมิประเทศ อาจจะต่างบุคคลไปเท่านั้นเอง แต่เชื่อว่าถ้าถามในวันนี้ หรือถามกลับไปในสมัยของท่านพุทธทาสว่าวัด และพระสงฆ์มีหน้าที่อะไรคำ�ตอบก็น่าจะเหมือนกัน พุทธศาสนิกชน คนวัยรุ่นคนหนุ่มคนสาวหรือผู้เฒ่าผู้แก่ควรทำ�อะไรกับวัด คำ�ตอบมัน ก็เหมือนเดิม คือความคาดหวังที่สังคมมีต่อวัดในสมัยท่านพุทธทาส กับปัจจุบันเหมือนเดิม พิภพ : หลวงพี่คิดว่าเหมือนเดิม พระมหาสง่า : เหมือนเดิม ที่เขามีความคาดหวังว่าพระควรทำ�หน้าที่นี้ วัดควรทำ�หน้าที่นี้ พระสงฆ์เองหลวงพ่อพุทธทาสบอกว่า พระควรจะ เอาแก่นให้โยม อย่าให้โยมไปติดกับเปลือกกระพี้ วันนี้ไปถามท่าน ว.วชิรเมธี ก็ตอบคำ�ตอบเดียวกัน เพียงแต่อาจจะมีคำ�พูดอะไรต่างๆ ที่ต่างไปบ้าง แต่เชื่อว่ามันคงยังเป็นคำ�ตอบเดิม พิภพ : ผมเห็นว่าในแง่พระสงฆ์ที่ยังเกี่ยวข้องกับสังคม ที่เห็นชัดเจนที่สุดก็น่าจะเป็นเรื่องของหนังสือธรรมมะที่ค่อนข้างจะขายดี เป็น best seller อันนี้ก็เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ แต่อันหนึ่งก็น่าสนใจเหมือนกันว่า หนังสือหลายเล่มไม่ได้เขียนโดยพระ แต่กลับเป็นแม่ชีบ้าง ฆราวาส ญาติโยมบ้าง อันนี้ก็เป็นประเด็นที่หลวงพี่ว่าน่าสนใจไหมครับ ถ้าหลวงพี่มองว่ามันไม่ได้เป็นปัญหาที่บทบาทของสงฆ์แล้ว จะหมายความว่าไง พระมหาสง่า : ที่บอกว่าไม่เป็นปัญหาก็คือว่า คำ�ถามในอดีต กับที่คนในอดีตคาดหวัง อาตมาเชื่อว่ายังเป็นเหมือนเดิม แต่ถ้าในประเด็น ที่ว่า เอ๊ะ ทำ�ไมปัจจุบันนี้ หนังสือที่น่าสนใจหลายเล่มกลับไม่ใช่หนังสือของพระพรหมคุณาภรณ์ หลวงพ่อพุทธทาสถูกลืมไปแล้ว หลวงพ่อ ปัญญาก็ไม่ฟื้น เพราะอะไร เพราะภาษาที่ท่านใช้ต่างกับภาษาของคนปัจจุบันโดยสิ้นเชิง กลับมาสู่คำ�ถามที่ของอาจารย์เมื่อกี้ คำ�ถามที่ว่า ในอดีตเรามีพระที่บวชตั้งแต่เล็กไปจนกระทั่งโต อยู่วงในตลอด ไม่เคยรับรู้ความเป็นไปของสังคมเลย สื่อสารก็สื่อสารจากพระไตรปิฎก สู่ตัวเอง ทำ�ความเข้าใจแล้วสื่อไปหาโยม ถามว่าแล้วท่านเข้าใจเรื่องโลกสังคมไหม บางแห่งทีวีไม่เคยดู หนังสือพิมพ์ไม่เคยแตะ แล้วโยม มีปัญหาเนี่ย เขาเจอกระหน่ำ�จากกรอบสังคมข้างนอกซึ่งตัวท่านไม่เคยเห็นเลย ท่านจะให้อะไรแก่โยมได้นอกเหนือจากรดน้ำ�มนต์ ท่านจะ ให้คำ�ปรึกษาอะไรกับโยมได้นอกเหนือจากว่าโยมสืบชะตาสิ เพราะท่านถูกสั่งมาแบบนี้ แต่ถ้าไปเจออย่างพระธรรมโกศาจารย์ ไปเจออย่าง พระมหาสมปอง อันนี้ตื่นเต้นไปทั้งวงการ ถามว่าเพราะอะไร เพราะพระเหล่านี้เปิดรับสังคม แล้วทำ�ไมคนในอดีตพอบวชปุ๊บมีคุณภาพ พอเข้ามาบวชปุ๊บ ฟังพระพุทธเจ้าเทศน์ไม่นานก็บรรลุธรรม นัยยะนี้อยากจะบอกอย่างนี้ว่าในอดีตเขาเป็นข้าราชการทหาร เป็นนักปกครอง เป็นพ่อค้า มีความรูส้ กึ ว่าพอแล้วอิม่ แล้วในเรือ่ งทรัพย์สนิ เงินทอง แต่วา่ คำ�ตอบทีเ่ ขาได้จากสังคมมันยังไม่พอ เขาใช้ชวี ติ อยูก่ บั สังคมมาก่อน พอเขาได้มาฟังเทศน์เขาบวชเป็นพระ ลูกศิษย์ กับเพื่อนๆ จะตามไปที่วัด เพื่ออะไร อาจารย์ของเราอยู่ที่นั่นและอาจารย์คุยภาษาเดียวกัน กับเรา ไปฟังองค์นี้แหละท่านพูดแล้วเข้าใจ พิภพ : การพูดภาษาเดียวกันคือการที่คนไม่ตั้งคำ�ถาม อย่างเช่น ท่าน ว. เทศน์ก็เชื่อหมด หรือว่าหลวงพี่สมปองเทศน์ก็เชื่อหมด ไม่มีการตั้ง คำ�ถาม ผมว่าตรงนี้เป็นปัญหา ไม่ใช่ส่วนหนึ่งในการสร้างปัญญา ผมรู้สึกว่าพระสมัยใหม่ไม่ได้มีบทบาท เวลาที่หลวงพี่เทียบระหว่างท่าน พุทธทาส กับท่าน ว. ผมว่าต่างกัน ถ้าหลวงพี่ยังจำ�ได้ สมัยที่ท่านพุทธทาสท่านยังหนุ่มๆ ท่านไปตั้งวัดธารน้ำ�ไหล ที่สวนโมกข์ธรรม บรรยาย อันหนึ่งที่ทำ�ให้วงการสั่นสะเทือนมาก หลวงพี่จำ�ได้ไหมครับ ท่านบอกว่าท่านตั้งชื่อปาฐกถาธรรมว่า ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม อันนี้ท่านเทศน์
28 ไว้เมื่อปี พ.ศ.2490 อันนี้ท่านเทศน์ บอกว่าสิ่งที่เป็นเครื่องปิดบังพระนิพพานก็คือตัวพระพุทธเจ้า ตัวพระพุทธเจ้าตามความเข้าใจของเรา อย่างเช่นพระพุทธรูปในโบสถ์เป็นต้น อันนั้นสั่นสะเทือนวงการ ผมเชื่อว่าคนสมัยนั้นเรียกว่าช็อคเลยว่าทำ�ไมมีพระมาบอกว่า พระพุทธรูป ขวางกั้นไม่ให้คนเข้าถึงพระพุทธธรรม แล้วมันนำ�ไปสู่ธรรมสากัจฉา ถ้าทางโลกก็เรียกว่าเป็น debate มีการโต้เถียงกันวิพากษ์กัน ถัดมาอีก หลายปีต่อมาท่านก็ไปพูดอีกที่พุทธสมาคม ท่านก็ไปพูดในเรื่องของความพอประมาณ ความสันโดษ ท่านพูดถึงเรื่องสันตุฏฐีธรรม อันนี้ ก็นำ�ไปสู่การ debate กับทางหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ที่ตอนหลังขึ้นมาเป็นนายกก็ไม่เชื่อ ท่านเชื่อไปอีกแนวหนึ่ง เถียงว่าถ้า คนสันโดษ คนไม่หากิน คนไม่ทำ�อะไร สังคมมันจะก้าวหน้าไปได้ยังไง จะมีโภคทรัพย์ต่างๆ ได้ยังไง ผมรู้สึกว่าสังคมสมัยใหม่ ไม่มีพระที่ ตั้งคำ�ถามแรงๆ ให้ยาแรงๆ กับสังคม อย่างบทบาทท่าน ว. ผมคิดว่าเป็นบทบาทพระแบบเก่ามาก คือพูดแล้วอยากให้คนเชื่อ อย่างพระมหา สมปอง ผมคิดว่าท่านก็สอดแทรกมุขตลกเข้ามา ซึ่งจริงๆ ก็เป็นเรื่องที่หลวงพี่พยอมท่านก็ทำ�ไว้ ตั้งแต่ผมเป็นมัธยมต้นก็ไปฟัง ซึ่งฟังแล้วก็ หัวเราะก๊อกแก๊กๆ หรืออย่างสมัยนี้เวลาไปงานศพทางภาคเหนือก็นิยมนิมนต์พระที่ท่านเทศน์ตลกๆ ซึ่งบางทีผมไปนั่งฟังอยู่สองสามชั่วโมง ก็รู้สึกว่าไม่ค่อยมีแก่นมีสาระอะไร คือเทศน์เพื่อให้โยมอยู่ เพราะมันดึกเท่านั้นเอง อยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพ ซึ่งอันนี้ผมรู้สึกมันเป็นเรื่องที่ น่าเสียดายว่าทำ�ไม ถ้าเราดูอย่างพุทธในนิกายอื่นๆ อย่างดาไลลามะท่านไม่ได้มีชื่อเสียงไม่ได้เป็นที่รู้จักเพราะว่าท่านเป็นประมุขของ ประเทศทิเบตเท่านั้น แต่ท่านยังมีชื่อเสียงในแง่ที่ท่านพยายามเอานักวิทยาศาสตร์มาคุยกับพระ มาแลกเปลี่ยน มาธรรมสากัจฉากัน อันนี้ ในพุทธสายอื่นๆ ก็มี อย่างในไต้หวันยิ่งไปใหญ่ ทางสังคมสงฆ์ของเขาพระมีบทบาทต่อปริมณฑลสังคมมาก แต่ทำ�ไมพระไทย... ผมรู้สึกว่า ตรงนี้มีน้อยนะ ถ้าจะพูดถึงบทบาทของท่าน ว. หรือท่านมหาสมปอง มันเป็นลักษณะการสื่อสารทางเดียวอยู่ มันไม่ใช่การสื่อสารสองทาง คือสิ่งที่จะทำ�ให้เกิดพุทธิปัญญา มันคงต้องมีการโต้แย้งโต้เถียงกัน ไม่รู้หลวงพี่จะมองยังไง พระมหาสง่า : อาตมากลับมองว่าคล้ายนะ เพราะยุคของท่านพุทธทาสก็มีหลวงพ่อพุทธทาสองค์เดียว ไม่มีพุทธทาสสี่ห้าองค์นะ ในยุค ครูบาศรีวิชัย ก็มีครูบาศรีวิชัยแค่องค์เดียว คือเพชรมันมักจะหายาก ในขณะเดียวกันถ้าถามว่ายุคนี้เป็นยุคที่สังคมตั้งคำ�ถามไหม สังคม ปัจจุบันต่างกับท่านพุทธทาส เพราะผู้นำ�วันนี้ไม่สนใจพระ ทำ�ไมไม่สนใจ สมัยหลวงพ่อพุทธทาส พระพูดอะไรชาวบ้านตามหมด ดังนั้น ถ้าจับพระได้ จับมวลชนได้ ปัจจุบันไม่นะ ดังนั้นเวลาจะทำ�อะไรผู้นำ�มักจะคุยกับผู้นำ�ชุมชน พระสงฆ์ กำ�หนดบทบาทให้พระเลยว่าอย่ายุ่ง กับการเมือง อย่าคุยกับการเมือง ตั้งอะไรขึ้นมาก็อย่าไปแตะการเมือง แต่ในขณะเดียวกันเวลาการเมืองมีปัญหาโทษพระนะ แล้วหม่อม ราชวงศ์คึกฤทธิ์ ทำ�ไมต้องโต้ท่านพุทธทาส เพราะถ้าคนเชื่อท่านพุทธทาสหมดตายเลย นโยบายเงินผังจบ เพราะท่านพุทธทาสสอนเรื่อง สันโดษ ถ้าอะไรก็ตามที่ไม่เอื้อต่อเรื่องของเงินทองธุรกิจ ไม่เอื้อต่อผลประโยชน์ของคนชั้นกลางและคนชั้นนำ� แม้คุณเป็นนายก คุณพูดเขาก็ ไม่สน เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องดีไหม ดี พอมีนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งเอานโยบายนี้ออกมาประกาศว่า จากนี้เป็นต้นไปรัฐบาลนี้จะต้องนำ� แนวพระราชดำ�ริมาสานต่อนโยบายทุกอย่างเป็นเรือ่ งของเศรษฐกิจพอเพียงทัง้ หมด ถามว่าเกิดอะไรขึน้ ไม่นานก็จะถูกตี แล้วในทีส่ ดุ อยูเ่ กือบ ไม่ได้ ดังนัน้ บทบาททีส่ งั คมส่วนใหญ่ทอ่ี ยูข่ า้ งล่าง คาดหวังกับพระยังเหมือนเดิม แต่คนระดับสูงทีม่ อี �ำ นาจจะชีน้ �ำ สังคม ไม่เชือ่ พระอีกแล้ว พิภพ : ในขณะเดียวกันพระก็ไม่ได้ออกมา เพราะว่านโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล ผมว่าแทบทุกชุดนโยบายการเมืองอาจจะไม่เหมือนกัน แต่นโยบายเศรษฐกิจผมว่าใกล้เคียงกันมาก ก็คือเรื่องการเปิดเสรีตลาดทุน ให้มีธนาคารต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในธนาคารไทยมากขึ้น มีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามามากขึ้น มีการกดขี่ค่าแรงต่างๆ มากขึ้นแต่ว่าทำ�ไม พระออกมาพูดได้ไหม พระมหาสง่า : อย่างที่ผ่านมาอาตมาตั้งคำ�ถามกับโยมว่า ทำ�ไมเราต้องตื่นเต้นกับเรื่องไข่ ถ้าวันหนึ่งเราเดินตามแนวคิดเดิม ถามว่าชาวบ้าน ที่อยู่ตามหมู่บ้าน ถามว่าเดือนหนึ่งซื้อไข่กี่ครั้ง เขาเลี้ยงไก่อยู่ในหมู่บ้าน เขามีไก่ที่ไข่ให้เขากินทุกวัน ดังนั้นรัฐบาลจะประกาศยังไงก็ช่าง แต่จริงๆ แล้วเรื่องนี้เป็นความเดือดร้อนของคนทั้งประเทศหรือไม่ ประกาศเพื่อที่จะสามารถกระทำ�อะไรได้กับงบประมาณ ใช่ไหม ทุกวันนี้ เวลาเขาตื่นเต้นเรื่องของน้ำ�มัน พระมหาสง่าก็บอกว่าเดี๋ยวนี้เรากลัวอ้วนไม่ใช่เหรอ แล้ววันนี้ถ้าเรางดกินน้ำ�มันซักเดือนมันจะเป็นไรไป
ผมรู้สึกว่าสังคมสมัยใหม่ ไม่มีพระที่ตั้งคำ�ถามแรงๆ ให้ยาแรงๆ กับสังคม อย่างบทบาทท่าน ว. ผมคิดว่า เป็นบทบาทพระแบบเก่ามาก คือพูดแล้วอยากให้คนเชื่อ อย่างพระมหาสมปอง ผมคิดว่า ท่านก็สอดแทรกมุขตลกเข้ามา ซึ่งจริงๆก็เป็นเรื่องที่ หลวงพี่พยอมท่านก็ทำ�ไว้
30 คลอเรสเตอรอลก็ไม่สูง เขาบอกว่าอันนี้ไปแตะการเมือง แตะรัฐบาลแล้ว แต่เราต้องคุย พระมีหน้าที่ในการชี้ถูกชี้ผิด ชี้นำ�สังคม อะไรก็ตาม ที่มันเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เราเห็นทุกข์ของประชาชน เรามองเห็นทางแก้ไขของประชาชนว่ามันมาจากอะไร แล้วพระจะต้องกล้าที่จะชี้ แล้วทำ� หน้าที่ของพระ ทำ�หน้าที่เผยแพร่ ทำ�หน้าที่ให้แนวทางที่ถูกต้องกับสังคม แล้วถามว่ากล้าพูดในสิ่งเหล่านี้ไหม เราต้องพูด อะไรก็ตามที่เป็น สิง่ ทีไ่ ม่ถกู ต้องเราต้องพูด ส่วนจะมีผลอย่างไรนัน้ มันอีกเรือ่ งหนึง่ แต่ถามว่าความคาดหวังในใจพระสงฆ์แทบทุกองค์ คิดสิ่งนี้เหมือนกันหมด คืออยากให้สังคมร่มเย็นเป็นสุข อยากเผยแพร่พระธรรมคำ�สั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำ�พูดและอะไรต่างๆ อาจต่างกันไป หลวงพ่อเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่พูดอันหนึ่งที่ทำ�ให้อาตมาภาพกับกลุ่มพระสงฆ์ที่ทำ�งานเกิดกำ�ลังใจ ท่านบอกว่าพระสงฆ์ต้องทำ�แบบนี้ เราอยู่ได้เพราะชาวบ้าน และเมื่อชาวบ้านเดือดร้อนพระสงฆ์ไม่ควรนิ่ง ความทุกข์ของชาวบ้านคือความทุกข์ของเรา นี่คือสิ่งที่พระจะต้อง ตระหนักอยู่เสมอ การที่พระพุทธเจ้าบอกว่าหนึ่งเราต้องเที่ยวบิณฑบาต ไม่ได้หมายความว่าเราต้องขอข้าวชาวบ้านกิน แต่ต้องการให้เรา ตระหนักว่าชีวิตของเราเนื่องด้วยชาวบ้าน เมื่อเขามีอยู่มีกินเราก็ได้อยู่ได้กิน แต่เมื่อเขาเดือดร้อน เราช่วยอะไรเขาได้บ้างก็ควรช่วย พิภพ : คือบทบาทในเชิงสังคมสงเคราะห์นั้น ผมคิดว่าหลายคนไม่ปฏิเสธ เพราะประเทศไทยไม่ใช่เฉพาะสถาบันสงฆ์ หลายๆ หน่วยงาน สถาบันศึกษา อะไรต่างๆ ผมว่าก็ทำ�หน้าที่เรื่องสังคมสงเคราะห์นี่อยู่ แล้วคนไทยเป็นคนใจบุญชอบบริจาค อันนี้ผมคิดว่าถ้าเทียบกับ หลายๆ ประเทศ เราอยู่ในแนวหน้าแน่นอน ในเรื่องของการบริจาคช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ในแง่ที่เป็นเงินทองหรือปัจจัยต่างๆ แต่ประเด็น ก็คือในอีกส่วนหนึ่ง เช่นที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เขามีการวิจัยและก็เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ บอกว่าในปี พ.ศ.2553 ที่ผ่านมา เขาไปสำ�รวจ จากสมาชิกที่เป็นพ่อค้าของหอการค้าไทย พบว่าพ่อค้าเหล่านี้ เวลาที่ทำ�โครงการอะไรเกี่ยวกับรัฐ สร้างถนน สร้างสะพาน ต้องจ่ายเงินค่า น้ำ�ร้อนน้ำ�ชา 25-40% มูลค่าของโครงการรัฐทั้งหมดประมาณ 1 แสนล้าน แสดงว่าปีๆ หนึ่ง ร่วมๆ 2 แสนล้าน ซึ่งเสียไปให้กับราชการบ้าง ให้กับข้าราชการการเมืองบ้าง ตรงนี้ในแง่บทบาทของพระจะอธิบายยังไง หลวงพี่คิดว่าจะเข้ามามีบทบาทอย่างไร หรือว่าเราก็ยังคงต้อง มีหน้าที่เรื่องสังคมสงเคราะห์ต่อไป ส่วนเขาจะโกงกินเพิ่มขึ้นก็ไม่เป็นไร หรืออย่างปรากฏการณ์ในเรื่องละครดอกทองสีส้ม ขอโทษนะฮะ ดอกส้มสีทอง ปรากฏการณ์แบบนี้ อย่างกรณีที่ตัวเอกก็มีบุคลิกที่ข้ามเส้นศีลธรรมไปมากจนกระทั่งบางเรื่องก็จะเกินกว่าจินตนาการของ ผู้แต่ง ผู้แต่งเขาก็ยอมรับว่าหลายๆ ฉากเขาไม่ได้เขียนอย่างนั้น อย่างฉากที่ด่าแม่ตัวเองนี่ก็ไม่ได้เขียน แต่ว่าผู้กำ�กับละคร หรือผู้ที่เขียน บทละคร คนที่เอามาทำ�เป็นบทละครโทรทัศน์ดูเหมือนว่าจะทำ�หน้าที่เกิน อาจจะเป็นเพราะเขารู้สึกว่า ไอ้ต่อมกิเลสคนน่ะมันมี และที่ผ่าน มามันถูกบดบังไว้ ยิ่งเราเป็นเมืองพุทธ เราจะไปล่าผัวอย่างนั้นไม่ได้ เป็นอย่างนั้นรึเปล่า แต่ในกรณีเรยาผมคิดว่าน่าสนใจนะ คนที่สังคม มองหาเพื่อขอคำ�ปรึกษา หรือคนที่จะก้าวออกมาให้ความเห็นกับสังคมในเรื่องนี้กลับไม่ค่อยมีพระ กลับไม่ค่อยมีสถาบันสงฆ์ กลับเป็นกระ ทรวงวัฒนธรรม ซึ่งมันเป็นกระทรวงใหม่ และมีนักการเมืองเป็นข้าราชการเท่านั้นเอง แต่ว่าพระไปอยู่ที่ไหน มีท่าน ว. มาพูดบ้างแต่ท่าน ก็พูดแผ่วๆ ไม่ได้วิจารณ์ตรงๆ คือประเด็นที่ผมจะตั้งคำ�ถามคือมันเป็นไปได้ไหม ที่พระจะให้ยาแรงกับสังคมในหลายๆ เรื่อง ไม่ใช่แค่เรื่อง สังคมสงเคราะห์ แต่ในหลายเรื่องซึ่งเป็นการให้ยาแรงล่ะ พระทำ�ได้ไหม แล้วเคยทำ�ไหม พระมหาสง่า : ทำ�ได้ วันนี้ถ้าสมมติว่าจะทำ�อะไรก็ตามที่เราต้องทำ�ต่อสังคม พระจะต้องมีสื่อในมือ ถ้าเราไม่มีสื่อในมือ เราจะพูดดียังไง ก็ตาม ไม่มีผล วันนี้มีพระตามบ้านนอกที่ทำ�งานดีๆ เพื่อสังคมแล้วก็ชี้นำ�สังคมเยอะแยะ หลายองค์พูดดีกว่าท่าน ว. หลายองค์ทำ�งาน เหน็ดเหนื่อย พระเหล่านี้เปลี่ยนแปลงเรื่องของพฤติกรรมของคนเยอะแยะมากมาย แต่เพราะท่านไม่ได้ถูกนำ�เสนอในหน้าของการสื่อสาร ให้สังคมได้รับรู้ สังคมไทยติดพระเหมือนติดดารา วันนี้พอมีปัญหาปุ๊บหลับตานึกถึงท่าน ว. องค์เดียว นึกถึงท่านมหาสมปองแค่องค์เดียว เพราะอะไร เพราะคิดว่าถ้าไปถามพระที่ท่านเป็นที่รู้จักของสังคมแล้วชาวบ้านน่าจะเชื่อ อันนี้มองในมุมของพระมหาสง่านะ พิภพ : แล้วหลวงพี่มีข้อเสนอยังไง ที่จะทำ�ให้พระเข้าไปมีปากเป็นเสียงที่จะทัดทานกระแสสังคมแบบที่ผมยกตัวอย่างให้เห็นเมื่อกี้
ในเชิงสังคมที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อ กัน วัด พระสงฆ์ และสังคมยังทำ�หน้าที่ ของตัวเองอยู่ เพียงแค่มัน อาจจะต่างกัน อาจจะต่างภูมิประเทศ อาจจะต่างบุคคลไปเท่านั้นเอง
32
อ.พิภพ : กรณีเรยาผมคิดว่าน่าสนใจนะ คนที่สังคมมองหา เพื่อขอคำ�ปรึกษา หรือคนที่จะก้าวออกมา ให้ความเห็นกับสังคมในเรื่องนี้กลับไม่ค่อยมีสถาบันสงฆ์ กลับเป็นกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งมันเป็นกระทรวงใหม่ เอาในเรื่องการเมืองท้องถิ่น ระดับ อบต. เทศบาล อบจ. อะไรแบบนี้ เป็นไปได้ไหม อย่างเช่น ผมคิดว่าแต่เดิมมาเราก็จะได้ยินว่ามี พระหลายรูปที่ท่านมีบทบาทเป็นผู้นำ�ชุมชนอยู่นาน ก่อนที่ไอ้เรื่องกระจายอำ�นาจมันจะเกิดขึ้น พอกระจายออกมาแล้ว กลายเป็นว่าในระ ดับอบต. อบจ. อะไรต่างๆ การจัดการกับหลายๆ เรื่องมันก็ยังเต็มไปด้วยเรื่องของผลประโยชน์ส่วนตัวอยู่ค่อนข้างเยอะ พระมหาสง่า : วันนี้พระพูดปั๊บก็จะถูกโยงทันทีว่า ท่านเป็นสีนั้น ท่านเป็นสีนี้ แล้วในที่สุดการเมืองก็เข้ามาเบียดบังพระสงฆ์ บางทีก็พูด นัยตรงกันข้ามว่า พระไม่มีอะไรหรอกเดี๋ยวก็ขอเงิน อบต. เดี๋ยวก็ขอเงินเทศบาล คือดึงพระเข้าไปอยู่ในส่วนของการเมืองหมดเลย อาตมา ได้เห็นหลวงพ่อพระพรหมคุณาภรณ์ ซึ่งมีพละกำ�ลังพูดเรื่องประชาธิปไตย พูดเรื่องของวินัย พูดถึงเรื่องของการเมือง พูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ จนกระทั้งครั้งหนึ่งท่านถือว่าเป็นป๊อบปูล่าในวงการคณะสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นงานประชุมสัมมนาที่ไหน ถ้าหลวงพ่อพระพรหมคุณาภรณ์หรือเจ้าคุณปยุตไปบรรยายนี่ โห กระเทือนวงการ แต่วันนี้มีอะไรเกิดขึ้น คนเอาองค์ความรู้ที่ท่านอุตส่าห์ สั่งสมมาถ่ายทอด คนบอกว่าภาษาของท่านเก่าไปแล้ว หมดยุค ท่านอาจารย์ไพศาล วิสาโล นักเคลื่อนไหว ตามรอยท่านพุทธทาส ติดตาม งานของหลวงพ่อปัญญา ศึกษางานหลวงพ่อพระพรหมคุณาภรณ์ ออกมาพูดทั้งเชิงการเมืองทั้งเศรษฐกิจทั้งสังคม ข้อคิดดีๆ ทั้งนั้นเลย แต่ถามว่าใครเอาคำ�พูดท่านไปใช้ไหม ไม่ พอท่านพูดปุ๊บ ท่านสีเหลือง พอยุคนี้ปุ๊บท่านเตือนสติรัฐบาล บอกไปอยู่กับสีแดงอีกแล้ว ถูกบอก ทันทีเพื่ออะไร พระก็ถูกดิสเครดิต คือเวลาที่พระชี้นำ�สังคมเมื่อไหร่ พระจะถูกมองและก็ถูกทำ�ร้ายทันที พิภพ : แต่จริงๆ ก็ไม่ใช่เฉพาะพระ ถ้าเป็นครู ถ้าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ ถ้าออกมาพูดอะไรที่มันตรงข้ามกับรัฐบาล ท่านมักจะถูกมองว่า มีฝ่าย ผมว่าเป็นเหมือนกันหมด และผมคิดว่ามันเป็นกระบวนการทั่วๆ ไปที่เกิดขึ้นในสังคมประชาธิปไตย ผมกลับรู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องที่แปลก ประหลาด เขาไม่มาหาว่าหลวงพี่เป็นสีแดงสิแปลก อย่างนี้พระจะมีท่าทียังไงกับไอ้สีๆ พวกนี้ พระมหาสง่า : เขาจะว่าเราเป็นสีอะไรช่างมัน แต่วันนี้เราอยู่กับญาติโยม โยมจะเป็นสีไหนเข้ามาวัด เขามีความทุกข์พระต้องทำ�หน้าที่ วันนี้ ถ้าเราจะต้องชี้นำ�สังคม บำ�บัดทุกข์บ�ำ รุงสุข ชีท้ างให้เขาพ้นทุกข์ ชี้ทางสุขให้แก่เขา สอนให้เขาละชั่ว สอนให้เขาทำ�ความดีด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่ปรารถนาหวังผลประโยชน์แอบแฝงอะไรจากเขา ในขณะเดียวกันก็บอกว่าญาติโยม นักการเมือง นักธุรกิจ อย่าทำ�อะไรเบียดบังหวัง ผลประโยชน์จากชาวบ้าน หรือแอบแฝงอะไรที่ไม่เป็นสาระไม่เป็นประโยชน์กับเขา สอนอย่างนี้หมด พูดอย่างนี้หมด ถ้าพระช่วยกันพูด สำ�คัญก็คือเรามีพุทธบริษัทที่จะต้องร่วมมือกันอย่างเข้มแข็ง ไม่มองชาวบ้านเป็นตัวสินค้า ถ้าเมื่อไหร่มองอย่างนี้ก็จบ
34
ธรรมไมล์
เรื่อง I ภาพ : ภาณุวัฒน์ จิตตวุฒิการ
“Lock Lomond” ทะเลสาบสุดโรแมนติกในตำ�นานของ Scotland ใช้เวลาเดินเท้าเกือบสองวันกว่าจะถึงที่หมาย แต่ความงามและความสงบตลอดเส้นทาง ก็ทำ�ให้ทุกอย่างคุ้มค่า
36
hidden tips
เรื่อง : กองบรรณาธิการ I ภาพประกอบ : เพลง
อกหักควรทำ�ตัวอย่างไร
“อกหัก” เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกเพศทุกวัย และเกิดได้ทุกเวลา เพราะมันหมายความถึงการไม่ได้อย่างที่ คาดหวังไว้ ไม่ว่าจะเป็นการแอบรักเขาแต่เขาไม่รักตอบ จนไปถึง การอยากได้รับเลือกตั้งแต่ดันสอบตกเป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่อง ธรรมดามากๆ สำ�หรับสังคมมนุษย์ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะแก้ไข ปัญหาปวดใจนี้อย่างไรต่างหาก “มุม” ฉบับนี้จึงนำ�เคล็ดดีๆ มาแบ่งปันท่านผู้ไม่สมหวังทั้งหลายไว้ ณ ที่นี้เลยทีเดียว เริ่มแรกหากอกหักอย่าเพิ่งไปคิดถึงเหตุผลที่ทำ�ให้อกหัก เพราะช่วงเวลานั้นเราอาจจะไม่ได้สนใจเหตุผลเท่าที่ควร ทางที่ดี ควรปิดโทรศัพท์ (ให้เวลากับตัวเองบ้าง) เดินออกมาจากบรรยากาศ ที่คุ้นเคย หาสถานที่โล่งๆ โปร่งๆ ไว้จะได้รู้สึกเหมือนได้หายใจ เต็มที่กว่าเดิม หากรู้สึกว่าออกซิเจนได้ช่วยให้ความทุกข์เบาบาง ลงแล้ว ก็ค่อยกลับเข้าสู่วิถีชีวิตเดิม แต่หากว่ายังไม่ดีขึ้นโปรดดู ข้อต่อไป หากเปลี่ยนบรรยากาศแล้วยังไม่ช่วย ก็ต้องลองเปลี่ยน อิริยาบถดูบ้าง เช่น ไปออกกำ�ลังกาย ไปปลูกต้นไม้ ไปขัดห้องน้ำ� จัดห้องก็ว่ากันไป ถ้าห้องตัวเองสะอาดแล้ว จะไปช่วยห้องอื่น
ด้วยลองดู ไม่แน่การทำ�บุญแบบนี้อาจได้เพื่อนมาอีกเพียบ หากยังไม่ดีขึ้นก็ต้องดูข้อต่อไป เมื่อเปลี่ยนบรรยากาศก็แล้ว เปลี่ยนอิริยาบถก็แล้ว ยังไม่ช่วยให้ดีขึ้น ก็ต้องลองเปลี่ยนสังคมดูบ้าง ลองไปอยู่กับ คนที่อยู่ด้วยแล้วมีความสุข เช่น พ่อแม่ ญาติ เพื่อน แม่ชี พระ ดูบ้างก็อาจจะเป็นทางออกให้ได้เหมือนกัน เพราะถ้าอยู่คนเดียว คิดไม่ออกแล้ว การได้ปรึกษากับใครสักคนที่เข้าใจอาจจะทำ�ให้ สบายใจขึ้น ที่สำ�คัญคือต้องเลือกคนคุยด้วย ไม่ใช่เอาคนหัวอก เดียวกันมานัง่ คุย ต่างคนต่างเศร้าจะพากันดิง่ ลงสูค่ วามดำ�มืดไปใหญ่ และหากยังไม่ดีขึ้น เราคงต้องเริ่มหันกลับมามีสติดูใจ ของตัวเองบ้าง หากเริ่มคิดก็ให้เริ่มมีสติรู้ทันความคิดแล้วไม่ปรุง แต่งความคิดต่อ ความคิดที่ทำ�ให้ทุกข์นั้นก็จะหายไป ยิ่งทำ�ได้ บ่อยเท่าไหร่ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นได้น้อยลงทุกครั้งนั่นเอง เพราะพระพุทธเจ้าสอนว่าสุขทุกข์อยู่ที่ใจ ฉะนั้น หากมีสติรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจได้แล้ว ทุกข์ก็จะเกิดยากขึ้น แน่นอน และอาการอกหักก็จะเป็นเพียงแค่สิ่งเล็กๆ ที่ผ่าน เข้ามาทักทายเท่านั้นเอง...
38
ผ้าเหลืองเปื้อนยิ้ม ภาคพิเศษ ตอนเณรน้อยนักสืบ
คดีที่ ๑๑ : “คบคน”
เรื่อง : กิตติเมธี I ภาพประกอบ : บุคลิกลุงป้า bookalicloongpa@gmail.com
39 ณ เย็นที่แสงแดดเริ่มอ่อนตัวลง ปลดปล่อยให้ไอร้อนค่อยๆ ถูกดูดกลืนลงใต้ผิวดิน พร้อมๆ กับเสียงสวดมนต์ซึ่งจบไป สักครู่ใหญ่ เป็นช่วงเวลาที่สามเณรทั้งหมดจะต้องเตรียมตัวต่อศีล ๑๐ โดยอาศัยช่วงวันสำ�คัญวันพระใหญ่ ขึ้นหรือแรม ๑๔, ๑๕ ค่ำ� เพื่อจะได้ย้อนกลับมาดูตัวเองว่าผิดศีลข้อใดไปบ้าง จะได้ปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น โดยมีวิธีการขอและรับศีลจากพระอาจารย์ หลังจากเสร็จ พระอาจารย์ก็จะให้โอวาทต่อ “เป็นปกติของสังคมจะปะปนไปด้วยคนดีกับคนดีน้อย หรือคนรวยกับคน รวยน้อย แม้แต่ในวัดก็มีทั้งพระภิกษุ สามเณร และเด็กวัด ก็ต้องรู้จักปรับตัวเอาสิ่งไม่ดีเหล่านั้นออกไป ขัดเกลานิสัยให้สงบมากที่สุด เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคมส่วนร่วมได้...” พระอาจารย์เริ่มบรรยาย พอจบก็ปล่อยให้สามเณรซักถามได้ “พระอาจารย์ทำ�ไมเด็กวัดไม่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับวัดด้วยการเลิกกินข้าวเย็นเหมือนพระเณรละครับ” สามเณรน้อยถามเพื่อ เรียกร้องความเป็นธรรม “ก็เขายังไม่พร้อมสำ�หรับการบวชที่จะฝึกฝนตนเอง แต่พระเณรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เขาไม่นานเขาคงเลิกได้แล้วบวชเพื่อ พัฒนาตัวเองให้ยิ่งขึ้นไป ฉะนั้น เณรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีก่อน” “ผมกลัวจะปรับเขาไม่ทันนะซิครับ” “ไม่ทันอะไร” “ก็ไม่ทันที่ผมจะปรับเป็นเหมือนเขาเสียก่อนนี่ซิครับ” สามเณรน้อย พูดเสร็จก็นั่งกลืนน้ำ�ลายหิวขึ้นมาทันที จนสามเณรที่เหลือพลอยหัวเราะชอบใจ “นี่เพราะการปรับตัวเราเองจะเริ่มจากคนที่อยู่ใกล้ๆ เหมือนพระพุทธพจน์ที่ว่า คบคนเช่นไรก็เป็นคนเช่นนั้น ฉะนั้น แทนที่ เณรจะไปเปลี่ยนเขา เณรก็หันมาเอาพระภิกษุที่ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นแบบอย่างสิ อย่าถือว่าเราสามเณรมีศีลมากกว่าแล้วจะ ทำ�ให้คนอื่นเปลี่ยนแปลงได้หมด เพราะบางคนเป็นคนพาลก็ยากจะเปลี่ยนได้เหมือนกัน ซ้ำ�บางทีเราอาจเปลี่ยนไปเหมือนเขาเสียอีก” พระอาจารย์พูดจบทุกคนก็กราบพระพร้อมกันก่อนจะแยกย้ายกันไปทำ�วัตรปฏิบัติส่วนตัว ปล่อยให้สามเณรน้อยคิงถึงการคบคนแค่นั้นจะเปลี่ยนแปลงชีวิตคนได้มากมายขนาดนั้นเลยหรือ จึงเริ่มทำ�การพิสูจน์ หาข้อเท็จจริงทันทีว่า “คบคนเช่นไร เป็นคนเช่นนั้นนะจริงหรือไม่” จนถึงวันพระใหญ่ถัดมาที่มีการประชุมกัน พระอาจารย์ก็พูดเรื่องเดิมอีก พอพูดจบสามเณรน้อยก็สนับสนุนทันที “ใช่แล้วครับ แต่ผมว่าไม่ใช่แค่คนเท่านั้นที่คบกันแล้วเปลี่ยน แม้แต่สัตว์อยู่ใกล้เรานานๆ ก็เปลี่ยนได้ครับ” “ทำ�ไมละเณร” พระอาจารย์ถามกลับ “ก็ผมไปเห็นเจ้าโบ้สุนัขที่หลวงตาเลี้ยงไว้ดูจะไม่ค่อยชอบแมวนัก เหมือนกับหลวงตาเลยที่ไม่ชอบแมวเหมือนกัน” สามเณรน้อยอธิบายเหตุผลก่อนจะว่าต่อ “และพอมาอยู่วัดนานๆ เจ้าโบ้ก็ยิ่งเหมือนหลวงตาเข้าไปใหญ่เลย” “ทำ�ไมละ” “ก็เจ้าโบ้อยู่แต่ตัวเดียว ไม่สนใจหมาตัวเมีย แล้วนะซิครับ วันๆ เอาแต่กินกับนอน เหมือนกันเลย” สามเณรน้อยให้เหตุผลเบา ขณะที่พระอาจารย์รีบห้าม “เณรไปขอขมาหลวงตา เลยนะที่พูดล่วงเกินท่านอย่างนี้” สามเณรจึงรีบหยุดพูดเรื่องนี้แล้วยกมือท่วมหัวด้วยสำ�นึกผิด ก่อนจะวกเข้ามาหาเรื่องสามเณรปุ้ยบ้าง ซึ่งกำ�ลังนั่งหัวเราะกับการสืบสวนของสามเณรน้อยในครั้งนี้อยู่ “เณรปุ้ยกับแมวที่เณรเลี้ยงไว้นะครับ ยิ่งเห็นชัดว่าเหมือนกันเข้าไปใหญ่” สามเณรปุ้ยได้ยินถึงกับหยุดขำ�พร้อมหันไปถาม “เรื่องอะไรละเณร” “ก็เรื่องกลัวน้ำ�นะซิ เห็นช่วงหลังไม่อาบน้ำ�เหมือนกันเลย ไม่รู้ว่าใครเลียนแบบใครอันนี้” สามเณรน้อยรีบตอบ จนพระอาจารย์ต้องรีบให้หยุดพูดถึงการสืบครั้งนี้ แต่ก็สรุปให้เณรฟังว่า “เรื่องนี้เลยสอนว่าไม่ว่าคน สัตว์ หรือแม้แต่ต้นไม้ สิ่งของใกล้ตัวก็บอกถึงนิสัยคนๆ นั้นได้เหมือนกัน อย่างที่สามเณรน้อยพูดมา” “เสียดายไม่ได้เล่าต่อ มีเรือ่ งพระอาจารย์ดว้ ย” สามเณรน้อยพูดขึน้ ขณะที่พระอาจารย์รีบนำ�สามเณรทั้งหมดกราบพระทันที
40
-
Time for ทำ�
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
บริจาคอุปกรณ์มวยไทย (ไม่มีระยะเวลาโครงการ รับบริจาคเรื่อยๆ) มูลนิธิดวงประทีป ขอรับบริจาคอุปกรณ์มวยไทย ให้กับเด็กๆ ในชุมชนริมคลองพระโขนงซึ่งเป็นชุมชน ที่อยู่ในพื้นที่คลองเตย โดยขณะนี้มีอาสาสมัครที่สามารถมาสอนศิลปะแม่ไม้ม วยไทยให้กับเด็กๆ ได้ ในช่วงเย็น หรือเสาร์อาทิตย์ จึงขอเชิญผู้ที่ใจบุญหรือผู้สนใจ ที่มีอุปกรณ์มวยไทยไม่ว่า จะเป็นเวที กระสอบทราย นวม ฯลฯ เพื่อสนับสนุนให้เด็กได้ฝึกฝนเรียนรู้ศิลปะแม่ไม้ม วยไทย และเป็นการ ส่งเสริมให้เด็กๆ ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเป็น การออกกำ�ลังกายแทนการไปมั่วสุม สนใจ ติดต่อสอบถามได้ที่ มูลนิธิดวงประทีป หรือนายการัญ เพิ่มลาภ โทร 02-671-4045-8
โครงการหมวกใบกระจิ๋ว (ไม่มีระยะเวลาโครงการ รับบริจาคเรื่อยๆ) ขอเชิญชวนร่วมโครงการ “หมวกใบกระจิ๋ว” สำ�หรับผู้ที่สนใจอยากถักหมวกไหมพรมใบเล็กๆ สำ�หรับเด็กแรกเกิดใน รพ.พุทธชินราชพิษณุโลก มาช่วยกันถักหมวกมาให้เป็นของขวัญชิ้นแรก ของน้องหนู กับคุณยายดาวเจ้าของโครงการหมวกใบกระจิ๋ว โดยหมวกทารกใช้ไม้นิตเบอร์ 6 ไหมเส้นใหญ่ใช้ 1 เส้น โซ่ 40 ห่วง ไหมเส้นเล็กใช้ 2 เส้น ความสูง ประมาณ 20 -23 แถว ส่วน ลวดลายของหมวกนั้นจะเป็นอะไรก็ได้แล้วแต่จิตศรัทรา สนใจติดต่อสอบถามได้ที่คุณดาว รักดี โทร 089-179-1057 หรือ e-mail khunyaidow@hotmail.com พยาบาลเทคนิคชำ�นาญงาน แผนกฝากครรภ์ รพ.พุทธชินราช จ. พิษณุโลก
-
-
โครงการตลาดประกอบฝัน เปิดโอกาสให้เยาวชนทีอ ยากเป็นผู้ก่อการดี มีความคิดสร้างสรรค์ดีๆ ที่เป็น ประโยชน์ต่อตนเองและ สังคมได้ “ประกอบฝัน” ให้ออกมาเป็นรูปธรรม โดยการส่งความคิดในรูปแบบโครงการเข้ามา เพื่อขอรับ การสนับสนุนในด้านต่างๆ โดยรวมกลุม่ อย่างน้อย 3 คน อายุระหว่าง 18 - 25 ปี ส่งรูปแบบของโครงการ ตามความเชื่อของคุณ มีเป้าหมายทำ�ให้สังคมดีขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยมีระยะเวลาดำ�เนินการ ระหว่าง 11 กรกฎาคม – 31 ตุล าคม 2554 งบประมาณไม่เกิ น 50,000 บาท เปิดรับโครงการ 10 มิถุนายนนี้เท่านั้น สนใจติดต่อสอบถาม โทร. 02-3191648
รับอาสาสมัครถอดเสียงท่านพุทธทาส หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพฯ) ต้องการรับอาสาสมัครช่วยงานถอดเสียง ท่านพุทธทาส ซึ่งตอนนี้มีอยู่กว่า 5,000 เรื่อง โดยจะมีการส่งไฟล์เสียงให้อาสาสมัครผ่านทาง E-Mail ท่านสามารถทำ�งานได้ที่บ้านหรือสถานที่ต่างๆ แล้วแต่สะดวก ผู้สนใจสามารถสมัครได้ที่ คุณโต และ คุณนิว โดยส่ง ชื่อ, E-Mail, และหมายเลขติดต่อกลับ มาที่เมล์ karunphol_p@bia.or.th และ naked_hand@hotmail.com (กรุณาส่งทั้งสอง E-Mail) ทางนิตยสารมุม ขอร่วมอนุโมทนาสาธุมา ณ ที่นี้ด้วย สำ�หรับอาสาสมัครทุกท่าน
-
BACK ISSUE 12345
สามารถติดต่อรับหนังสือมุมฉบับย้อนหลังได้ที่ มูลนิธิหยดธรรม 083-5169-888 หรือ prataa@dhammadrops.org
X X X X X X 6 7 8 9 10 11
สามารถรับหนังสือมุมได้ที่ เชียงใหม่ rabbithood studio happy hut 1 happy hut 2 ร้านกู Sweets Salad Concept แก้วก๊อ Café de Nimman คุณเชิญ มาลาเต Seescepe iberry Minimal Gallery Hatena ราชดำ�เนิน คุณนายตื่นสาย
เชียงราย สวนนม(นิมมาน) Toast House บะเก่า หมา อิน ซอย กาแฟสถาน hub 53 ร้านวันวาน กาแฟโสด กินเส้น สวนนม (หน้า มช.) Nova ร้านหนังสือดวงกมล ร้านหนังสือสุริวงศ์ พันธุ์ทิพย์ Bangkok Airway (ศรีดอนชัย)
ร้านอาหารครัวป้าศรี ร้านอาหารโป่งแยงแอ่งดอย หอพักนครพิงค์ลอด์จ ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ถ.ช้างเผือก ธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) แม่ริม ฝ้ายเบเกอรี่ (ไลเซียม) Kru Club Lyceum สถาบันบัณฑิตวิทยา ร้านอาหาร 32 กม. ร้านกาแฟ วาวี (แม่สา) ร้านกาแฟ วาวี (four seasons) ร้านกาแฟ วาวี (แม่โจ้)
ร้านกาแฟ ดอยช้าง (แม่ริม) ริมปิง super market (กาดรวมโชค) ห้องสมุดทุกคณะใน มช. รติกา คลินิก ร้านแชร์บุ๊ค แม่ริม Annie Beauty (ศิลิมังคลาจารย์) Bon Café ช้างคลาน สนามบินเชียงใหม่ วัดพระธาตุดอยสะเก็ด ร้านเล่า Little cook cafe สถานีวิทยุแม่ริมเรดิโอ
ร้านเกาเหลาเลือดหมู เจ๊สหรส ร้านเครื่องปั้นดินเผา ดอยดินแดง ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง Café Hub วิทยาลัยเทคนิค เชียงราย
กรุงเทพฯ
ร้านกาแฟ คาเฟ่ ดิโอโร่ (กรุงเทพ) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ ห้องสมุด มหาวิทยาลัยศิลปากร วัดญาณเวศกวัน
Sweden The Royal Thai Embassy,StockKhoim Thai Studies Associatio
42
ธรรมะ(อีก)บท
เรื่อง : ธรรมรตา I ภาพประกอบ : Pare ID
ซึ่งหน้าแต่ไม่ซึ้งใจ
ผมติดตามข่าวการประสบอุทกภัยอยู่ตลอด บ่อยครั้งที่ผม จะส่ง SMS และส่งของไปร่วมบริจาคตามจุดรับใกล้ที่ทำ�งาน ผมรู้ว่า มันเล็กน้อย แต่ด้วยความกระจ่อยร่อยของผม มันคงทำ�ได้แค่นี้ ภาระหนี้ที่ผมกู้รัฐมาเรียนก็ต้องหักจ่ายทุกเดือน ไหนจะค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน และแน่นอนค่าโทรศัพท์มือถือ ผมไม่ได้มีธุระอะไร จะต้องโทรบ่อยนักหรอก ทางบ้านก็นานๆ โทรไปที จะมีนานหน่อย ก็แฟนผมนี่แหละ ต้องโทรหามันทุกวันไม่งั้นก็งอน ต้องตามง้อ เปลืองหนักกว่าเก่าอีก ผมสะเทือนใจทุกครั้งที่มีข่าวเกี่ยวกับภัยพิบัติที่มนุษย์ต้อง พบเจอ ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ และมันก็ทำ�ให้ผมได้ ปลงชีวิตไปได้เยอะเหมือนกัน คนเรามันก็นิดเดียวแค่นี่เอง จะเป็น จะตายต่างกันแค่หายใจกับไม่หายใจ จะรวยจะจนต่างกันแค่มีเงิน มากกับไม่มีเงิน แต่มันก็ไม่ได้ทำ�ให้ผมเก็บมาคิดจนรู้สึกทุกข์ใจ ...จนกระทั่งเมื่อเช้า ผมดูข่าวคนเก็บเอาก้อนยางพาราที่ลอยน้ำ�มาและก็เก็บ ปลาจากรถขนปลาคว่ำ� มันเกิดอะไรขึ้น? ผมไม่เข้าใจ ผมเฝ้าถาม ตัวเองซ้ำ�ไปซ้ำ�มาตลอดทางก่อนจะถึงที่ทำ�งานก็ยังไม่ได้คำ�ตอบที่ พอใจ เพือ่ นๆ ในทีท่ �ำ งานวิจารณ์กนั บ้าง แต่กเ็ หมือนเรือ่ งขำ�ๆ ประจำ� วันเสียมากกว่าทีจ่ ะหาประเด็นปัญหาเพือ่ หาทางออกอะไรเท่าไหร่
เนื้อข่าวตำ�รวจบอกว่า ยอมความได้ตามมาตรา 355 ซึ่งมีเนื้อหาว่า “ผู้ใด เก็บได้ ซึ่งสังหาริมทรัพย์อันมีค่า อันซ่อน หรือ ฝังไว้ โดยพฤติการณ์ ซึง่ ไม่มผี ใู้ ด อ้างว่า เป็นเจ้าของได้ แล้วเบียดบัง เอาทรัพย์นั้น เป็นของตนเอง หรือ ของผู้อื่น ต้องระวางโทษ จำ�คุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือ ทั้งจำ� ทั้งปรับ” ซึ่งดูอาการแล้วไม่น่าจะใช่การเก็บได้ด้วยซ้ำ� และถ้าปรับแค่สองพัน มันก็ยังเป็นเงินของเจ้าของก้อนยางพาราอยู่ดี กฎหมายบ้านเรานั้นมันเป็นอย่างไรกัน เขียนไว้ดี เขียนไว้ มากมายแต่สุดท้ายทำ�อะไรไม่ได้ ไม่สามารถรักษาความสงบ ความปลอดภัยให้กับสุจริตชนได้ ก่อนจะฟุ้งมากกว่านี้ผมพยายาม ระงับอารมณ์ตนเองด้วยการอ่านหนังสือธรรมะ บังเอิญไปเจอ สุภาษิตบทหนึ่งซึ่งเข้ากันมาก ในนั้นเขียนว่า ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ วณฺณวนฺตํ อคนฺธกํ เอวํ สุภาสิตา วาจา อผลา โหติ อกุพฺพโตฯ คำ�พูดดี แต่ทำ�ตามไม่ได้ก็ไร้ผล เปรียบเหมือน ดอกไม้มีสีสวยแต่ไร้กลิ่น
มูลนิธิหยดธรรม ดำ�เนินการร่วมกันระหว่างพระและฆราวาสในการสร้างสรรค์ให้สังคมเกิดความดีงามโดยการใช้ธรรมะ ในการกล่อมเกลาจิตผ่านกิจกรรม การสร้างเสริมจิตอาสา สร้างเครือข่ายอาสาสมัครชุมชนให้ตระหนักถึงการอยู่ร่วมกัน อย่างเกื้อกูลเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน อีกทั้งการจัดค่ายคุณธรรมตามสถานศึกษาต่างๆ ทัณฑสถาน และชุมชนที่สนใจ เพื่อให้เยาวชนและชุมชนได้ถ่ายทอดต่อไปยังคนรอบข้าง ไม่เพียงเท่านั้น ทางมูลนิธิหยดธรรมยังดำ�เนินงานในเรื่องของการจัดอบรมกรรมฐานและปฏิบัติธรรม สำ�หรับผู้สนใจ เพื่อ สุขภาวะของบุคคลและองค์รวม อีกทั้งการสร้างสรรค์สื่อธรรมะในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งนิตยสารที่ท่านถืออยู่นี้ เพื่อที่จะได้ ถ่ายทอดและเผยแผ่ธรรมะออกไปในวงกว้าง ทั้งนี้ ในทุกกิจกรรมที่ทางมูลนิธิได้ดำ�เนินการ รวมทั้งสื่อต่างๆที่ทางมูลนิธิได้จัดทำ�และเผยแพร่เป็นไปเพื่อการสาธารณะกุศล โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทางมูนิธิดำ�เนินกิจกรรมผ่านน้ำ�ใจของท่านผู้มีจิตศรัทธา ที่หวังจะให้ สังคมของเราเกิดความดีงาม ท่านผู้มีจิตศรัทธาท่านใดต้องการสนับสนุนการทำ�งานของมูลนิธิ และร่วมเครือข่ายหยดธรรม สามารถติดต่อได้ที่ prataa@dhammadrops.org กรณีประสงค์สนับสนุนทุนในการดำ�เนินกิจการของมูลนิธิ สามารถสนับสนุนได้โดยการโอนเงินมาที่ ... มูลนิธิหยดธรรม
ชื่อบัญชี มูลนิธิหยดธรรม ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมายเลขบัญชี 667-2-69064-3 ธนาคารกสิกรไทย สาขาย่อยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หมายเลขบัญชี 557-2-03369-6
โปรดแจ้งการสนับสนุนโดยการส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่โทร 085-995-9951 หรือ prataa@dhammadrops.org เพื่อที่ทางมูลนิธิสามารถออกโมทนาบัตรได้ถูกต้อง