ประวัติโรงพิมพ์ในประเทศไทยที่ควรรู้

Page 1

โรงพิมพ์ ในประเทศไทย


2

โรงพิมพ์ในอดีต


โรงพิมพ์ในอดีต การพิมพ์ในเมืองไทยได้รับเทคโนโลยีจากชาวตะวันตกตั้งแต่ยุค กรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ชื่อ หลุยส์ ลาโน (Loius Laneau) ได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นใน ปี พ.ศ. ๒๒๐๕ เพื่อพิมพ์คาสอนศาสนาคริสต์ไวยากรณ์ไทยและบาลี ตลอดจน พจนานุกรมไทย ต่อมาได้มีการตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระราชวังที่ลพบุรี การพิมพ์ในสมัยนั้นใช้ตัวอักษรโรมันมาเรียงพิมพ์ ส่วนภาษาไทยใช้ไม้มาแกะ เป็นหน้าทั้งหน้าใช้เป็นแม่พิมพ์


ต่อมาในพ.ศ. ๒๒๒๙ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่ง คณะทูตนาโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรี ยังประเทศฝรั่งเศส เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ได้มีโอกาสศึกษา งานที่โรงพิมพ์หลวงของฝรั่งเศสและได้กลับมาพัฒนาการพิมพ์ใน เมืองไทย แต่การพิมพ์ของไทยก็ได้หยุดชะงักไปในสมัย สมเด็จพระเพทราชา


ในพ.ศ. ๒๒๒๙ ได้มีการสร้าง โรงพิมพ์หลวง ขึ้นทีพ่ ระราชวัง ในจังหวัดลพบุรใี นช่วงปลายรัชกาลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช


ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บาทหลวง การ์โนลต์ (Arnoud Antioine Garnault) ได้เข้ามาประเทศ ไทยและได้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในโบสถ์ซันตาครูส ฝั่งธนบุรี ในปี พ.ศ. ๒๓๓๙ ในรัชกาลต่อ ๆ มาก็มีการตั้งโรงพิมพ์เพิ่มขึ้นอีก โดยโรงพิมพ์ส่วนใหญ่มีชาวตะวันตกเป็นเจ้าของ


ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เริ่มมีโรงพิมพ์ที่เป็นของคนไทยเอง คือ โรงพิมพ์วัดบวร นิเวศวิหาร ของเจ้าฟ้ามงกุฎในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


เจ้าฟ้ามงกุฎได้ลาสิขาบทมาขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงตั้งโรงพิมพ์ขึ้นอีกแห่งในเขต พระบรมมหาราชวัง ทรงตั้งชื่อว่า “โรงอักษรพิมพการ” ถือเป็น โรงพิมพ์หลวงในสมัยนั้น พระองค์ได้ทรงจัดพิมพ์หนังสือแจ้งข่าว ราชการที่เรียกว่า “ราชกิจจานุเบกษา” นับเป็นสิ่งพิมพ์ของไทย เล่มแรกของคนไทย


เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นเจ้าอาวาส วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ได้ประกาศให้โรงพิมพ์ภายในวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นโรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย เพื่อเฉลิมพระนามพระบรมราชชนก โดยทรงเปิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ แต่บางคราวก็หยุดพิมพ์บ้าง เพราะต้องหา ทุนมาจัดพิมพ์เพื่อแจกจ่ายเพียงอย่างเดียว


หมอแดน บีช บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) ได้รับ กิจการโรงพิมพ์จากคณะมิชชันนารีมาดาเนินการต่อ และได้ทา ในเชิงการค้าจึงถือเป็นบุคคลแรกในประเทศไทยที่ทาโรงพิมพ์ เชิงธุรกิจ


ในที่สุดพัฒนาการของการพิมพ์ในสยามก็มาถึง จุดสาคัญที่สุด คือ หมอบรัดเลย์และคณะ สามารถหล่อตัวพิมพ์ ภาษาไทยขึ้นสาเร็จเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๓๘๔ ตัวพิมพ์ ชุดนี้หมอบรัดเลย์ยังได้ทาขึ้นอีกเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย เจ้าฟ้ามงกุฎ สาหรับใช้ที่โรงพิมพ์วัดบวรนิเวศวิหาร


ในวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๘๗ หมอบรัดเลย์ก็ได้ออกหนังสือพิมพ์ ฉบับแรกของสยามขึ้นในชื่อว่า “หนังสือจดหมายเหตุ บางกอกรีคอร์ดเดอร์” กิจการโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ได้พิมพ์หนังสือออกมาจานวนมาก โดยเฉพาะในระยะหลังเมื่อหมอบรัดเลย์ ได้รับพระราชทานที่ดินให้เช่าบริเวณ ปากคลองบางกอกใหญ่ งานพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่จากัดเฉพาะงานทางด้านศาสนา อีกต่อไป แต่ได้พิมพ์หนังสือหลากหลายประเภท เช่น นิยาย ประวัติศาสตร์ กฎหมาย วรรณคดี เป็นต้น เพื่อจาหน่ายแก่บุคคลที่สนใจทั่วไป


เครื่องพิมพ์ดดี ภาษาไทยเครื่องแรก เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย เกิดขึ้นเมื่อ Edwin Hunter Mcfarland ชาวอเมริกัน ซึ่งรับราชการในตาแหน่งเลขานุการส่วน พระองค์ ในสมเด็จกรมพระยาดารงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงธรรม การ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้มีแนวความคิดที่จะสร้างเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้นจึงได้เดินทาง กลับไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสารวจหาโรงงานที่สามารถผลิต เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยได้


ลักษณะเครื่องพิมพ์ดดี ไทยสมัยแรก ลักษณะเครื่องพิมพ์ดีดไทย Smith Premier นั้น เป็นแบบ แคร่ตาย (แคร่พิมพ์ไม่เลื่อน) ทางานแบบตรึงแคร่อักษร ซึ่งสามารถ ใช้งานได้ดี และมีแป้นพิมพ์ ๗ แถว ไม่มีแป้นยกอักษรบน (Shift key) จึงยังไม่สามารถพิมพ์โดยวิธีพิมพ์สัมผัสได้ (Touch Typing) ต้องพิมพ์โดยวิธีใช้นิ้วเคาะทีละแป้น แต่ในขณะออกแบบแป้น อักษรไทยเพื่อบรรจุลงในแผงแป้นอักษรนั้น Mcfarland ได้ลืม บรรจุตัวอักษร "ฃ" (ขอ ขวด) และ ฅ (คอ คน) ลงไปด้วย แต่โชคดีที่ยังมีอักษรอื่นที่พ้องเสียงสามารถใช้แทนกันได้


นักพิมพ์ดีดไทยคนแรกของไทย หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ Mcfarland ได้นา เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเครื่องแรกยี่ห้อ Smith Premier เข้ามาถวายพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ซึ่งพระองค์ได้ทรงทดลอง พิมพ์ และเป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงถือได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เป็นนักพิมพ์ดีดไทยพระองค์แรก ซึ่งต่อมาพระองค์ได้ทรงสั่งซื้อ เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย Smith Premier จานวน ๑๗ เครื่อง เพื่อมาใช้ในราชการ


ร้านเครือ่ งพิมพ์ดีด ร้านแรกของไทย ต่อมา Mcfarland ได้เดินทางกลับไปสหรัฐฯ และอยู่ที่นั่นจนกระทั่ง ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ นายแพทย์ George B. Mcfarland หรืออามาตย์เอกพระอาจวิทยาคม ซึ่งเป็นน้องชายก็ได้รับสืบทอด กิจการเครื่องพิมพ์ดีดของพี่ชายมาไว้ และได้นาไปตั้งแสดงและสาธิต ในร้านทาฟันของตนเอง จนเป็นที่รู้จักและสนใจของประชาชน อย่างมาก ดังนั้น เขาจึงได้สั่งซื้อเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยนั้นเข้ามา จาหน่ายโดยตั้งร้านที่หัวมุมถนนเจริญกรุงตัดกับถนนวังบูรพา ชื่อร้าน Smith Premier Store ในปี พ.ศ. ๒๔๔๑


โรงงานผลิตกระดาษเพื่อกิจการโรงพิมพ์ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการตั้งโรงงานผลิตกระดาษในเชิงอุตสาหกรรมขึ้น กิจการโรงพิมพ์ได้เจริญเติบโต และมีการเปิดโรงพิมพ์ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน


โรงพิมพ์ในปัจจุบัน


ประเภทของการพิมพ์ที่ผู้ประกอบการโรงพิมพ์นิยมทากันในปัจจุบันมีดังนี้ การพิมพ์ออฟเซต หรือการพิมพ์ลูกกลิ้งคู่ (Offset Printing) เป็นเทคนิค การพิมพ์ชนิดหนึ่งซึ่งใช้ลูกกลิ้งเกลี้ยงทาด้วยยาง ถ่ายทอดหมึกจากลูกกลิ้งแม่แบบ ก่อนจะถ่ายทอดหมึกลงสู่กระดาษซึ่งต่างจากการพิมพ์ลูกกลิ้งเดี่ยว (rotary press printing) หรือการพิมพ์แบบประทับอักษร (letterpress printing) ที่ใช้แม่แบบ กดลงบนกระดาษโดยตรง การพิมพ์ลูกกลิ้งคู่พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๑๘ เพื่อใช้พิมพ์ บนผิวดีบุกและต่อมาได้พัฒนาเป็นการพิมพ์บนกระดาษ เหมาะกับการพิมพ์ใบปลิว แผ่นพับ โบรชัวร์ โปสเตอร์ และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ในปริมาณมาก -


-การพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ (Letterpress Printing) เป็นวิธีพิมพ์ ระบบเก่าแก่ซึ่งเป็นระบบการพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์โลหะ ที่เรียกว่า “ตัวตะกั่ว” โดยทาแม่พิมพ์จากโลหะเป็นตัวอักษรแล้วนามาเรียงเป็นคา ประโยค ทาให้สามารถถอดนามาใช้ซ้าได้ ซึ่งวิธีนี้ทาให้สามารถสร้างแม่พิมพ์ได้อย่าง รวดเร็วแทนการแกะสลักแม่พิมพ์จากไม้ และการพิมพ์ด้วยวิธีนี้ก็ทาให้ การพิมพ์เข้าสู่ยุครุ่งเรืองสามารถทาหนังสือได้จานวนมากได้อย่างรวดเร็ว


ทาให้ความรู้ต่าง ๆ สามารถส่งต่อไปได้ดีขึ้น ในประเทศไทย การพิมพ์ชนิดนี้ก็เป็นที่นิยม และใช้การอย่างแพร่หลาย โดยผู้ทนี่ า การพิมพ์วิธนี ี้เข้ามาคือ หมอบรัดเลย์ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ จากนั้นมา การพิมพ์ของไทยก็พัฒนาเรื่อย ๆ จึงเกิดโรงพิมพ์ขึ้นมามากมาย และเกิดอาชีพช่างพิมพ์ และช่างเรียงพิมพ์ขึ้นด้วย


เครื่องพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์


-การพิมพ์ซิลค์สกรีน (Silkscreen Printing) การพิมพ์นูน ทีใ่ ช้แม่พิมพ์เป็นบล็อคผ้าที่ขึงให้ตึง ขั้นตอนการพิมพ์จะเป็นการกด หมึกให้ผ่านทะลุผ้าเพื่อถ่ายหมึกลงบนวัสดุที่รองไว้ งานพิมพ์ ซิลค์สกรีน เป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนต้องอาศัยช่างที่มี ความชานาญพอสมควร


ประเภทของเครือ่ งพิมพ์ซิลสกรีน จุดเด่นจุดด้อยของงานพิมพ์ซิลสกรีน ✘ ให้สีสดใสมันวาวสร้างชั้นหมึกพิมพ์ได้หนาทาให้สีพิมพ์คงทน ไม่หลุดลอกง่าย ✘ รองรับวัสดุได้หลายประเภทซึ่งสามารถดัดแปลงรูปแบบแม่พิมพ์ ให้พิมพ์บนวัสดุพิมพ์ได้ทุกชนิดโดยเลือกหมึกพิมพ์ให้เหมาะกับ วัสดุพิมพ์ เช่น แก้ว ไม้ กระดาษ เป็นต้น


จุดเด่นจุดด้อยของงานพิมพ์ซิลสกรีน ✘

✘ ✘

ใช้งานในสิ่งพิมพ์หลายประเภท เช่น เสื้อผ้า สิ่งทอ แผงวงจร อิเล็กทรอนิกส์ ขวดแก้ว พลาสติก บัตร นามบัตร การ์ดอวยพร งาน โปสเตอร์ขนาดใหญ่ งานศิลปะ ฯลฯ คุณภาพงานพิมพ์ต่อชิ้นค่อนข้างสม่าเสมอ ซึ่งเหมาะกับงานฉลาก เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงช้ามีจัดว่าเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีวงจรชีวิตยาว ดีต่อการลงทุน เป็นระบบพิมพ์เป็นที่นิยมและใช้ในวงกว้างทาให้มีวัสดุอุปกรณ์จาหน่าย มากมายหาซื้อได้ง่าย


ข้อเสียเปรียบของงานพิมพ์ซิลค์สกรีน ✘ ไม่เหมาะกับงานสอดสี

งานไล่โทน งานที่มีรายละเอียดซับซ้อน เหมาะสาหรับงานรูปแบบกราฟิกที่ใช้สีพิเศษ

✘ ความเร็วในการพิมพ์ยังสู้ระบบพิมพ์อื่น ✘ ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ๆ เช่น ออฟเซต เป็นต้น

แม้ว่าจะมีการสร้างหมึกพิมพ์ที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังเป็นความจริงที่การพิมพ์ซิลค์สกรีนจะทาให้ น้าเสียมาก น้าที่จะใช้ในการผสมหมึก และทาความสะอาดแม่พิมพ์


27

ตัวอย่างของงานพิมพ์(ซิลค์)สกรีน -การทา Block Screen - Print Screen


การพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing) การพิมพ์ที่ใช้เครื่องพิมพ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ โดยรับข้อมูลภาพจาก คอมพิวเตอร์มาพิมพ์เครื่อง printer ทีอ่ ยู่ตามบ้านของคนทั่วไป ก็เป็นการพิมพ์ดิจิตอล แต่ยังไม่สามารถสนองความต้องได้ครบถ้วน ทั้งด้านปริมาณ คุณภาพ และเวลาทีใช้ในการพิมพ์ เช่น การทาโปสเตอร์ ขนาด A3 ประมาณ ๑๐๐ แผ่น เครื่อง printer ตามบ้าน สามารถ พริ้นท์ได้ แต่คุณภาพและเวลา ที่ได้อาจทาให้เจ้าของ printer เกิดความรู้สึกไม่คุ้มค่ากับเวลาทีเสีย และได้มาซึ่งคุณภาพที่ไม่สามารถ ตอบสนองการใช้งานได้


จึงเกิดเครื่อง printer ที่มาตอบโจทย์ความต้องการในลักษณะนี้ คือ เครื่อง Digital Press ที่ให้คุณภาพงานพิมพ์รายละเอียดใกล้เคียง กับระบบ offset มากจนแทบแยกไม่ออก และยังทาความเร็วได้ทัน ความต้องการรวมถึงสามารถพิมพ์ได้หลากหลายวัสดุ เช่น กระดาษปอนด์ กระดาษอาร์ตมัน กระดาษมีลวดลาย กระดาษหนาไม่เกิน ๓๐๐ แกรม สติกเกอร์ pvc ขุ่น-ใส แผ่นใส สติกเกอร์เปลือกไข่ ฉลากสินค้า โฮโลแกรม ฯลฯ


เครื่อง printer แบบดิจิตอล


การพิมพ์เฟล็กโซกราฟี หลักการพิมพ์ระบบเฟล็กโซนั้นแม่พิมพ์ทาด้วยยางบริเวณที่เกิดภาพ จะนูนการทาแม่พิมพ์จะต้องทาแม่พิมพ์บนสังกะสีก่อนแล้วจึงเอา bakelite ไปทาบนแผ่นสังกะสีที่กัดกรดเป็นแม่พิมพ์ เมื่อถ่ายแบบ มาแล้วนาแผ่นยางไปอัดบน bakelite จึงจะได้แม่พิมพ์ยางออกมา แม่พิมพ์ยางที่เรียกว่า polymer plate ซึ่งเป็นยางสังเคราะห์ มีความ เหมาะสมในการใช้งานเพราะทนทานรับหมึกได้ดี หมึกที่ใช้เป็นหมึกเหลว อาจเป็นหมึกพิมพ์ระบบน้าหรือตัวทาละลายก็ได้มักแห้งตัวโดยการระเหย ต้องการแรงพิมพ์ต่าเนื่องจากใช้แม่พิมพ์นุ่ม และหมึกพิมพ์เหลว


ระบบการพิมพ์จะมีลูกกลิ้งยางจุ่มอยู่ในอ่างหมึก ทาให้ลูกกลิ้งถูกเคลือบ ด้วยหมึกแบบบาง ๆ ลูกกลิ้งจะพาหมึกมาติดที่ลูกกลิ้งเหล็ก (anilox roll ลักษณะเป็น ลูกกลิ้งกราเวียร์แต่มสี กีน (หลุมหมึก) ลูกกลิ้งเหล็กนีจ้ ะ ถ่ายทอดหมึกไปให้ลูกกลิ้งที่มีแม่พิมพ์ยางหุ้มอีกลูกหนึ่งซึ่งลูกกลิ้งนี้จะเป็น ลูกกลิ้งที่มีลักษณะนูนบริเวณที่รับภาพจากนั้นแม่พิมพ์ยางจะถ่ายทอดหมึก ลงบนผิวของวัตถุ โดยมีลูกกลิ้งเหล็กอีกอันติดอยู่เป็นลูกกลิ้งกดคอยกด ให้หมึกซึมไปที่ผิวของวัสดุอย่างทั่วถึง ภาพพิมพ์ที่ได้มีความคมชัดน้อย


เครื่อง printer แบบเฟล็กโซกราฟี


การพิมพ์กราวัวร์ (Gravure) การพิมพ์กราวัวร์ หรือ โรโตกราววัวร์ (Rotogravure) หรือ โฟโต้กราวัวร์ (Photogravure) มีพัฒนาการมาจากการพิมพ์ อินทาลโย คาว่า "Roto" มีความหมายว่า"หมุนรอบ" หมายถึง โครงสร้างของแม่พิมพ์ที่เป็นโลหะรูปทรงกระบอกหมุนรอบขณะ ทาการพิมพ์ ส่วนคาว่า "Photo" หมายถึง การนาเอาเทคนิค การถ่ายภาพมาใช้ในกระบวนการทาแม่พิมพ์


เครื่องพิมพ์กราวัวร์จะส่งหมึกผ่านโดยแม่พิมพ์ที่กัดเป็นรูเล็ก ๆ ตามขนาดและตามความลึกแตกต่างกันโดยใช้ปฏิกิริยาทางเคมี และการเจียรผิวของแม่พิมพ์ให้เรียบ ในยุคสมัยใหม่จะใช้การเจาะรู ด้วยแสงเลเซอร์หรือหัวเข็มทาด้วยเพชร ตัวลูกกลิ้งแม่พิมพ์นี้ทาจาก เหล็กชุบด้วยทองแดงพร้อมทั้งเคลือบโครเมียมในขั้นตอนสุดท้าย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงสามารถใช้แม่พิมพ์ได้ทนทาน


สิ่งที่พิมพ์สาหรับเครื่องพิมพ์ควรมีผิวเรียบที่สามารถรับถ่ายหมึก ทีเ่ ป็นจุด ๆ นี้อย่างรวดเร็วนับได้ว่าเป็นระบบพิมพ์ทาให้คุณภาพการพิมพ์ ที่ดี และแม่พิมพ์สามารถใช้งานได้ทนทานกว่าระบบพิมพ์อื่น ๆ ดังนั้น จึงเหมาะกับงานที่มีปริมาณมาก ๆ อย่างต่อเนื่อง


สมาชิกในกลุ่ม นางสาวนาราภัทร ชูเชิดรับ เลขที่ ๑๘ นางสาวพรนภัส เพ็งลา เลขที่ ๒๕ นางสาวพิมภมร สามะเนีย๊ ะ เลขที่ ๒๗ นางสาวภัณฑิรา ศรีแสง เลขที่ ๒๘ นางสาวยวิษฐา กาเนิดทอง เลขที่ ๓๐


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.