การ เดินทาง ของ USO
ภาคเหนื อ
การเดินทางของ ภาคเหนือ
2
USO
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
ภาคเหนือ
3
การเดินทางของ ภาคเหนือ
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
1
4
5
การเดินทางของ ภาคเหนือ
เมื่อปีคริสต์ศักราช 1957 สหภาพโซเวียตปล่อย ดาวเทียมสปุตนิก (Sputnik) ขึ้นสู่ห้วงอวกาศ ว่ากันว่า เหตุ ก ารณ์ นั้ น ส่ ง ผลให้ ส หรั ฐ อเมริ ก าเริ่ ม ตระหนั ก ถึ ง ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต จนเมื่อปีคริสต์ศักราช 1969 กองทัพสหรัฐฯ ก็ต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยง ทางการทหารอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน มีความเป็นไปได้ ที่จะถูกโจมตีด้วยอาวุธปรมาณูหรือนิวเคลียร์ ส่งผลให้ เกิ ด ความวิ ต กกั ง วลเกี่ ย วกั บ การท� ำ ลายล้ า งศู น ย์ คอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารข้อมูล ซึ่งอาจท�ำให้ เกิดปัญหาทางการรบ ในช่วงเวลานัน้ ระบบคอมพิวเตอร์
6
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
มี ห ลากหลายรู ป แบบ ท� ำ ให้ ไ ม่ ส ามารถแลกเปลี่ ย น ข้อมูลข่าวสารและโปรแกรมกันได้ จึงเกิดแนวความคิด ที่ จ ะท� ำ การวิ จั ย ระบบที่ เชื่ อ มโยงเครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบที่แตกต่างกัน ตลอด จนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกันได้โดยไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่องหรือสายรับส่งสัญญาณ จะเสียหายหรือถูกท�ำลาย กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐฯ (DoD = Department of Defense) จึงให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA เพือ่ ท�ำการทดลองระบบเครือข่ายทีช่ อื่ DARPA
Network
7
การเดินทางของ ภาคเหนือ
จากนั้นในปี 1991 ก็เกิดระบบ world wide web (www.) ขึ้นครั้งแรกในโลก ใช้งานผ่าน เครื่ อ งคอมพิ ว เตอร์ และพั ฒ นาเรื่ อ ยมาจน ในปี 1996 โทรศัพท์มือถือเครื่องแรกของโลก จึงสามารถใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
8
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
เราพาตั ว เองย้ อ นเวลากลั บ ไปด้ ว ยการ นั่ ง อ่ า นเรื่ อ งการถื อ ก� ำ เนิ ด ของอิ น เทอร์ เ น็ ต ในโลกบนโทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ที่ นั บ จะกลายเป็ น อวัยวะชิน้ ใหม่ในโลกปัจจุบนั ในวันทีเ่ ทคโนโลยี การเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ข่ า วสารถู ก โอนถ่ า ยจาก กองทัพมาสู่ประชาชนคนธรรมดา ระหว่างรอ สมาชิกที่เหลือก�ำลังเดินทางมาสนามบิน
เราคือทีมงาน USO-Universal Service Obligation หน่ ว ยงานเล็ ก ๆ ในสั ง กั ด ส�ำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิ จ การโทรทั ศ น์ และกิ จ การโทรคมนาคม แห่งชาติ (กสทช.) เราก�ำลังจะมุ่งหน้าไปยัง จังหวัดเชียงใหม่
9
การเดินทางของ ภาคเหนือ
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
2
10
11
การเดินทางของ ภาคเหนือ
ราวหนึ่ ง ชั่ ว โมงเศษ สิ้ น เสี ย งประกาศ ขอบคุณผู้โดยสาร เราทยอยออกจากตัวเครื่อง เดินไปรอกระเป๋าที่สายพาน เมื่อสัมภาระของ ทุกคนกลับมาอยู่กับผู้เป็นเจ้าของครบถ้วน ไม่ตกหล่นสูญหาย คนและกระเป๋าเดินทาง ก็ ไ ปรวมกั น อยู ่ ที่ ด ้ า นนอกอาคารสนามบิ น รถตู้มารออยู่แล้ว
12
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
เรามุ่งหน้าออกจากตัวเมืองเชียงใหม่ไป ตามถนนหมายเลข 1013 สู่อ�ำเภอจอมทอง ลั ด เลาะขึ้ น ไปตามเส้ น ทางภู เขาคดเคี้ ย ว และสูงชันของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จนเมื่อใกล้ถึงยอดดอยจึงพบทางแยกให้เลี้ยว เลาะลงหุบเขาคดเคี้ยวสู่อ�ำเภอแม่แจ่ม อ�ำเภอ ไกลออกไปที่ แ ม้ ช าวเชี ย งใหม่ ใ นตั ว เมื อ ง บางคนยังไม่เคยย่างกรายไปเยี่ยมเยียน
13
การเดินทางของ ภาคเหนือ
ในวิกิพีเดียเล่าว่า อ�ำเภอแม่แจ่ม หรือ ‘เมืองแจ๋ม’ นั้นแต่เดิมเรียกกันว่า ‘เมืองแจม มีเรือ่ งเล่าครัง้ โบราณกาลว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระมหากัจจายนะได้จาริก ผ่านมาทางยอดดอยอ่างกา (ดอยอินทนนท์) เช้าวันหนึ่งเมื่อพระองค์เสด็จออกบิณฑบาต โปรดสัตว์ มีย่าลัวะเฒ่า (หญิงชราชาวลัวะ) คนหนึ่ ง น� ำ ปลาปิ ้ ง เพี ย งครึ่ ง ตั ว มาใส่ บ าตร ถวาย พระบรมศาสดาทอดพระเนตรด้วยความ เมตตาและความสงสัย จึงตรัสถามย่าลัวะว่า “แล้วปลาอีกครึง่ ตัวล่ะอยูไ่ หน” ย่าลัวะทูลตอบ
14
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
ว่า “เก็บไว้ให้หลาน” พระองค์จึงทรงร�ำพึงว่า “บ้านนีเ้ มืองนีม้ นั แจมแต๊นอ” (หมายถึง ‘เมืองนี้ ช่างอดอยากจริงหนอ’) ต่อมาดินแดนนี้จึงได้ ชื่อว่า ‘เมืองแจม’ ค�ำว่า ‘แจม’ เป็นภาษาลัวะ แปลว่า มีน้อย ไม่พอเพียง หรือขาดแคลน ต่อมาเมือ่ กลุม่ คนไท-ยวน (ไต) มาอยู่ จึงเรียก ชื่อตามส�ำเนียงไท-ยวนว่า ‘เมืองแจ๋ม’ และ เพี้ยนเป็นเมืองแจ่ม หรือ ‘แม่แจ่ม’ อันเป็น นามมงคล หมายถึ ง ให้ เ มื อ งนี้ เ ป็ น เมื อ ง แห่งความแจ่มใส ลบความหมายของค�ำว่า ‘แจม’ ทิ้งไป
แม่ แจ่ ม ในปั จ จุ บั น นั้ น ไม่ น ่ า จะอดอยาก ดังในต�ำนานอีกต่อไปแล้ว เพราะกลายเป็น แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ตลอดสองข้างทาง มีวัดวาอารามมากมายให้ ผูค้ นเดินทางไปสักการะ มีหมูบ่ า้ นทอผ้าตีนจก อย่าง กลุ่มทอผ้าบ้านไร่ หรือ กลุ่มหัตถกรรม ผ้าซิ่นตีนจกบ้านท้องฝาย ซึ่งเคยได้รับรางวัล พระราชทานหมู่บ้านดีเด่น ประจ�ำปี 2553
ประเภทอนุรกั ษ์ชมุ ชนพืน้ ถิน่ ดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้ ง ยั ง เป็ น หมู ่ บ ้ า นแรกที่ ส นั บ สนุ น ให้ มี ก าร ส่งเสริมอาชีพการทอผ้าตีนจกขึ้นในแม่แจ่ม ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ไม่น้อย
15
การเดินทางของ ภาคเหนือ
เราไม่ได้ออกนอกเส้นทางไปตามแหล่ง แต่ ส ถานที่ ท ่ อ งเที่ ย วในแม่ แจ่ ม ที่ ไ ด้ รั บ ความนิยมอย่างมากจากนักท่องเทีย่ ว โดยเฉพาะ ท่องเที่ยวที่ไหนเลย แต่มุ่งตรงสู่ที่พัก ส�ำรวจ นักท่องเที่ยวจากเมืองกรุงก็คือ การได้ไปพัก ข้ า วของที่ พ กมาตามรายการเตรี ย มของที่ แรมแบบโฮมสเตย์ เ พื่ อ สั ม ผั ส ชี วิ ต ชาวบ้ า น สมาชิกในทีมจัดท�ำให้ อันประกอบด้วย และชื่ น ชมความงดงามของนาขั้ น บั น ไดที่ บ้านป่าบงเปียง เล่าลือกันว่าเป็น นาขั้นบันได ที่สวยมากที่สุดแห่งหนึ่ง
16
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
1. ถุงพลาสติกกันฝน คลุมกระเป๋าเดินทาง 2. ยาแก้เมารถ+ยาประจ�ำตัว 3. ทิชชู่เปียก 4. หมวก+แว่นตา 5. รองเท้าแตะ 6. รองเท้าบูท 7. เสื้อกันฝน 8. บะหมี่กึ่งส�ำเร็จรูปแบบถ้วย 9. หมอน+ผ้าห่ม 10. ไฟฉาย 11. พระสักองค์ให้อุ่นใจ 12. เตรียมกายและใจให้พร้อม
17
การเดินทางของ ภาคเหนือ
เสร็จจากตรวจดู ข ้ า วของตามรายการที่ เตรีย มมา เราลองค้ นหาข้ อ มู ล ของหมู ่ บ ้ า น พะแอดูอกี ครัง้ เผือ่ จะพบอะไรใหม่ๆ แต่ปรากฏ ว่ า เรื่ อ งราวของหมู ่ บ ้ า นนี้ มี ใ ห้ เ ห็ น ในโลก อิ น เทอร์ เ น็ ต น้ อ ยมาก ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ข้ อ มู ล เกี่ยวกับทะเบียนข้อมูลพื้นฐานต่างๆ อย่าง แผนที่ รหั ส ไปรษณี ย ์ หรื อ รายชื่ อ ในสมุ ด หน้าเหลือง แต่เมือ่ ไล่อา่ นไปเรือ่ ยๆ ก็พบข้อมูล หนึ่งที่ปรากฏขึ้นมา เป็นหน้าแบบสอบถาม เรือ่ งหมูบ่ า้ นไม่มนี ำ�้ ประปาใช้ โดยส�ำนักบริหาร จุดหมายปลายทางของเราไม่ใช่ทนี่ ี่ แต่คอื จัดการน�้ำ กรมทรัพยากรน�้ำ ซึ่งกรอกข้อมูลไว้ ที่หมู่บ้านพะแอดู
เมื่ออ่านรายการเตรียมของมาเรื่อยก็ยัง ไม่สะดุดใจ จนกระทั่งผ่านครึ่งแรกมาแล้วจึง ค่อยๆ พบว่าเริ่มเป็นรายการแปลกๆ ที่ปกติ เวลาเดินทางไปไหนแทบไม่จ�ำเป็นต้องพกไป อย่าง หมอน ผ้าห่ม บะหมี่กึ่งส�ำเร็จรูป (ย�้ำว่า ต้องแบบถ้วย) รวมถึง ‘พระสักองค์ให้อุ่นใจ’ ยิ่งเมื่ออ่านรายการสุดท้ายที่ทีมงานเตรียมไว้ ราวกับจะย�้ำให้แน่ใจอีกครั้งว่าเราเตรียมกาย และใจพร้อมหรือไม่ส�ำหรับการเดินทางครั้งนี้
18
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2557 โดยแบ่งหมวดหมู่ เป็นหมู่บ้านที่มีน�้ำประปาใช้แล้วกับหมู่บ้าน ที่ ยั ง คงไม่ มี น้� ำ ประปาใช้ แ ละต้ อ งการสร้ า ง ประปา รายละเอียดในตารางแจ้งว่าบ้านพะแอดู มีสมาชิกในหมู่บ้าน 572 คน ประกอบเป็น จ�ำนวนครัวเรือนที่ต้องการใช้น�้ำประปา 171 ครัวเรือน โดยมีแหล่งน�้ำที่จะใช้ผลิตประปา จากแม่น�้ำหรือคลอง
ชื่ อ ของหมู ่ บ ้ า นพะแอดู ต กอยู ่ ใ นช่ อ ง หมู่บ้านที่ยังคงไม่มีน�้ำประปาใช้ และต้องการ สร้างประปาเมื่อปลายปี 2557 ร่วมกับหมู่บ้าน อื่ น อี ก หลายๆ หมู ่ บ ้ า นในละแวกเดี ย วกั น ก่อนหลับตานอน เราจินตนาการไม่ออกเลยว่า เส้นทางที่รออยู่ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร
19
การเดินทางของ ภาคเหนือ
USO
3
20
21
การเดินทางของ ภาคเหนือ
USO
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
ภาคเหนือ
เจ็ดโมงเช้าอากาศที่แม่แจ่มสดชื่นมาก แดดสวย ฟ้าใส อุณหภูมิก�ำลังเย็นสบาย รถตู้จากไป แทนที่ด้วยรถกระบะ ขับเคลื่อนสี่ล้อ ทั้งขนสัมภาระ ขนคน ระหว่างที่รอพวกเรา ขนสัมภาระไปขึน้ รถ เห็นพีค่ นขับตรวจเช็กสภาพรถซ�ำ้ แล้ว ซ�้ำอีก เมื่อคนพร้อมสัมภาระพร้อม คณะเดินทางของเรา ก็มงุ่ หน้าออกเดินทาง เมือ่ พ้นตัวเมืองไปไม่ไกล วิวทิวทัศน์ สองข้างทางก็เริ่มมีแต่ภูเขา ภูเขา และภูเขา โล้นบ้าง ครึ้มบ้าง ตามสภาพการดูแลจัดการ ท้องฟ้าโปร่งไปตลอด เส้นทางจนเมือ่ เวลาผ่านไป ถนนปูนเริม่ แทนทีด่ ว้ ยถนนดิน ทางที่ เ คยกว้ า งเริ่ ม แคบลงในระยะที่ ร ถสองคั น สวนกั น น่าจะเบียดตัวผ่านไปได้พอดิบพอดีไม่ขาดไม่เกิน จนกระทั่งเมื่อถึงกลางดอย จู่ๆ ท้องฟ้าที่เคยสว่าง สดใสก็เริ่มเปลี่ยน เมฆสีเทาด�ำทะมึนเคลื่อนตัวเข้ามา อย่างรวดเร็ว เราหยุดรถ หยิบถุงพลาสติกใบใหญ่ ที่เตรียมไว้ออกมาคลุมสัมภาระทั้งหลายที่หลังกระบะ จากนั้นไม่นานฝนก็เทลงมา เรายังคงเดินทางต่อไป เพื่อให้ถึงที่หมายก่อนฟ้ามืด ถนนดินเริ่มเปียกและลื่น นี่ จึ ง เป็ น สาเหตุ ใ ห้ ต ้ อ งเตรี ย มรถขั บ เคลื่ อ นสี่ ล ้ อ ไว้ แต่แรก พร้อมคนขับที่เชี่ยวชาญช�ำนาญการเส้นทาง เป็นพิเศษ
22
23
การเดินทางของ ภาคเหนือ
สักพักพวกเราบางคนก็เริม่ ต้องการห้องน�ำ้ ส� ำ หรั บ สมาชิ ก ท่ า นชายดู จ ะไม่ มี ป ั ญ หานั ก ส� ำ หรั บ ห้ อ งน�้ ำ ธรรมชาติ ก ลางป่ า กลางเขา แต่ กั บ สมาชิ ก ท่ า นหญิ ง เป็ น อี ก เรื่ อ งหนึ่ ง เมื่อสองข้างทางนั้นไม่มีอะไรสูงและหนาทึบ พอให้บดบังกิจธุระเป็นส่วนตัว ไหนจะต้องเสีย่ ง กั บ อากั ป กิ ริ ย าปลดทุ ก ข์ ที่ ไ ม่ รู ้ ว ่ า จะมี เ พื่ อ น ร่วมโลกตัวน้อยกระโดดเข้าหาหรือไม่ แต่ใน เมื่อไม่มีทางเลือกที่ดีกว่านี้ สมาชิกท่านหญิง ของเราสองคนจึงผลัดกันดูต้นทางระหว่างที่
24
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
อีกคนปฏิบัติภารกิจ ฝนยังคงตกอยู่ ระหว่าง นั้นเอง สมาชิกชายท่านหนึ่งพลาดท่าเหยียบ ตะปูทหี่ ล่นอยูแ่ ถวนัน้ หลังท�ำธุระส่วนตัว ดีทเี่ รา เตรียมอุปกรณ์ปฐมพยาบาลไปพร้อม
เมื่อทุกคนปลดเปลื้องภาระส่วนตัวเป็นที่ เรียบร้อย เราจึงออกเดินทางต่อ ไม่นานฝน ก็ซาเม็ด และถึงเวลาอาหารกลางวันทีเ่ ตรียมไว้ เรามองหาท�ำเลเหมาะกลางป่าเพื่อเติมพลังให้ กองทัพ จนพบล�ำธารเล็กๆ แห่งหนึง่ อยูข่ า้ งทาง ดูแล้วเหมาะจะเป็นที่ร่วมรับประทานอาหาร กลางวันด้วยกันเป็นอย่างยิ่ง
ข้าวกล่องถูกทยอยออกสู่สมาชิก จากนั้น ต่างคนต่างก็เลือกจุดนัง่ กินอาหารตามอัธยาศัย โดยไม่ลืมก�ำชับกันว่าเราจะไม่ทิ้งเศษขยะใดๆ ไว้กลางทางให้เป็นมลพิษกับธรรมชาติ หลาย คนทีต่ วั เปือ้ นโคลนตอนปลดทุกข์กบั ธรรมชาติ จึงเลือกไปนั่งกินข้าวบนขอนไม้ที่ข้างๆ ล�ำธาร นั่นเอง หวังเอาขาแช่น�้ำชะล้างคราบโคลนที่ ติดอยู่
25
การเดินทางของ ภาคเหนือ
อิ่มหน�ำส�ำราญตามอัตภาพแล้วเราก็ออก เดินทางต่อ ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อยังคงท�ำงาน ได้ดีไม่บกพร่อง หลายคนหนังท้องตึงหนังตา ก็เริ่มหย่อน ขณะบรรยากาศก�ำลังเคลิ้มได้ที่ นั้นเอง จู่ๆ ก็มีคนร้องตะโกนว่า “ขาเลือดออก ขาเลื อ ดออก” เมื่ อ ก้ ม ดู จึ ง พบปลิ ง น้ อ ยตั ว อ้วนพีเกาะอยู่เต็มสองขา เรารีบหยุดรถแล้ว ลองถามกับสมาชิกในรถคันอืน่ ก็พบว่าถูกปลิง ดูดเลือดกันถ้วนหน้า ต้องใช้เวลาอีกสักพัก กว่าจะเนรเทศบรรดาปลิงออกจากขาจนหมด ครบทุกคน
26
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
ฝนทีซ่ าเม็ดไปเริม่ กลับมาใหม่ คราวนีแ้ ลดู จะหนักกว่าเดิมเสียอีก สังเกตได้จากทีป่ ดั น�ำ้ ฝน ของรถท�ำงานหนักขึ้น สีหน้าและแววตาของ เพือ่ นร่วมทางเริม่ ฉายแววกังวลออกมาทีละคน สองคน และเพียงไม่นาน แววกังวลนั้นก็ฉาบ อยูบ่ นใบหน้าทุกคน ยิง่ เดินทางเข้าไปในป่าลึก ถนนที่เคยเป็นดินเริ่มกลายสภาพเป็นโคลน ที่ทั้งเปียกทั้งเหนียวและทั้งลื่น ข้างทางด้าน หนึ่งเป็นป่า ส่วนอีกข้างเป็นเหว
ใช่! เหว ที่หมายถึง ช่องลึกลงไปในภูเขา นั่ น แหละ แล้ ว ไม่ น านความกั ง วลทั้ ง หลาย ก็ ก ลายเป็ น ความจริ ง แม้ เ ราจะไม่ ต ้ อ งการ รถคันหนึ่งติดหล่ม ทางตรงนั้นเป็นช่วงโค้ง และมีหล่ม เราทุกคนต่างลงไปท�ำหน้าที่ ทัง้ ผลัก ทั้งดัน ทั้งขย่ม คนขับรถได้แต่พยายามแล้ว พยายามอี ก จนรถสะบั ด ไปมาอยู ่ ห ลายครั้ ง ก็ยงั ไม่สามารถหลุดจากหล่มไปได้ สุดท้ายต้อง ใช้วิธีผูกโซ่ลากให้ขึ้นจากหล่ม แต่เมื่อคันแรก พ้นหล่มไปได้แล้ว คันที่สองก็ตกลงไปในหล่ม แทน ไม่เร่งเต็มที่ก็หลุดออกมาไม่ได้ แต่เมื่อ
เร่งเต็มที่รถก็จะสะบัด ยิ่งถนนเป็นโคลนลื่น อาการสะบั ด ของรถยิ่ ง จั บ ทิ ศ จั บ ทางไม่ ไ ด้ หลายคนช�ำเลืองไปยังหุบเหวที่อยู่ข้างๆ นี่ อาจไม่ใช่วธิ ที ดี่ ที สี่ ดุ แต่ในเวลานัน้ เราไม่มที าง เลือกอื่น ที่นั่นไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ถนน ก็ไม่กว้างพอให้ท�ำอย่างอื่นได้มากกว่านี้ ขณะ เดียวกันก็ไม่มีชาวบ้านผ่านทางมาเลยแม้แต่ คนเดียว
27
การเดินทางของ ภาคเหนือ
วิธีการหนึ่งที่นิยมใช้กันในหมู่คนที่ต้อง เดิ น ทางในป่ า หน้ า ฝนคื อ การใช้ โ ซ่ พั น ล้ อ หลักการของมันก็คอื การใช้โซ่ชว่ ยกันความลืน่ จากยางเพื่ อ ให้ ร ถเคลื่ อ นตั ว ไปข้ า งหน้ า ได้ วิ ธี ก ารก็ คื อ จั บ โซ่ ค ลุ ม ล้ อ แล้ ว ใช้ ข อเกี่ ย ว จากนั้นก็ใช้เชือกมาถักเป็นรูปดาวยึดด้านข้าง ไว้ ต้องถือว่าเราโชคดีทพี่ คี่ นขับมีประสบการณ์ พอสมควร เมือ่ สถานการณ์เกินจุดทีจ่ ะเยียวยา ได้ด้วยล้อยางตามล�ำพังแล้ว เขาก็เริ่มงัดโซ่ ออกมาพัน
28
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
เส้นทางนี้ได้รับการแนะน�ำต่อๆ กันมา จากคนในพื้ น ที่ ว ่ า ไม่ ค วรเดิ น ทางคั น เดี ย ว โดยเฉพาะในฤดู ฝ น อย่ า งน้ อ ยก็ ต ้ อ งมี อี ก คั น เป็ น คู ่ หู กั น ไปด้ ว ยเสมอ หลั ง ยื้ อ ยุ ด ฉุ ด กระชากจนใกล้อ่อนแรง ในที่สุดคนขับก็พารถ ทะยานออกจากโคลนเปียกแฉะที่รั้งล้อเอาไว้ ได้ส�ำเร็จ สมาชิกบางคนเฉลยภายหลังว่าได้ วางแผนส�ำรองไว้ว่าถ้าหมดหวัง เราคงท�ำได้ เพียงรอชาวบ้านสักคนผ่านมาแล้วขอความ ช่วยเหลือ หรือถ้าไม่มีใครผ่านมาจริงๆ ก็ต้อง ค้างคืนกันตรงนั้น
ในที่สุดเราใช้เวลากว่าสองชั่วโมงในการ พยายามพารถขึน้ มาจากหล่มด้วยทุกๆ วิธกี าร ที่มี ทั้งใช้คนดัน ใช้รถลาก ใช้โซ่พันเสาไฟฟ้า และใช้โซ่พันล้อ ฝนยังไม่หยุดตก
คนขับบอกว่าเราใกล้ถึงที่หมายแล้ว สิ้นเสียง นัน้ เอง ความกังวลทัง้ หลายก็พลันมลายหายไป หมดสิ้น เราใช้เวลาเดินทางออกจากแม่แจ่ม เพื่อมาถึงที่นี่ราวเก้าชั่วโมงและเป็นเก้าชั่วโมง ที่ยากจะลืม เบื้องหน้าเราคือ โรงเรียนบ้าน เราออกเดิ น ทางต่ อ ท่ า มกลางสายฝน ขุนแม่นาย บ้านพะแอดู ความกังวลในใจเริ่มคลายลงไปบ้าง ไม่มีเสียง พูดคุยกันในรถ สมาชิกทุกคนต่างเหน็ดเหนือ่ ย และอ่อนล้า ภาพรถที่สะบัดขึ้นมาจากหล่ม จนเกื อ บชนสมาชิ ก คนหนึ่ ง ของเราตกเหว ยังคงวนเวียนอยู่ในหัว จนกระทั่งได้ยินเสียง
29
การเดินทางของ ภาคเหนือ
USO
4
30
31
การเดินทางของ ภาคเหนือ
USO
คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มีภารกิจหลักประการหนึง่ คื อ การจั ด ให้ มี บ ริ ก ารโทรคมนาคมพื้ น ฐานโดยทั่ ว ถึ ง และบริการเพื่อสังคม (Universal Service Obligation) หรือเรียกย่อๆ ว่า USO เนื่องจากบริการโทรคมนาคม พื้นฐานโดยทั่วถึง นั้นถือเป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม อันจะเป็นประโยชน์ในการลดความ เหลือ่ มล�ำ้ ในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม เปิดโอกาสให้มี การเข้าถึงการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะ ท�ำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น อันหมายถึง แนวโน้มที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
32
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
ภาคเหนือ
คณะครูและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนบ้านขุนแม่นาย มารอต้อนรับอยู่แล้ว พวกเราหอบร่างที่เปียกปอนและ เหนื่ อ ยล้ า ตามคุ ณ ครู ไ ปยั ง ห้ อ งพั ก ที่ จั ด เตรี ย มไว้ ใ ห้ อันที่จริงจะเรียกว่า ห้องพัก ก็อาจไม่ตรงนัก ค�ำที่น่าจะ ตรงกว่าก็คือ ห้องสมุด
33
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
ภาคเหนือ
ใช่แล้ว ทางโรงเรียนไม่ได้มีห้องพักรับรองใดๆ ส�ำหรับแขก ผู้มาเยือน จึงได้แต่จัดวางที่นอนเรียงๆ กันไว้ในห้องสมุด ให้คน แปลกถิ่นที่เดินทางมาไกลได้ซุกหัวนอน ห้องสมุดของโรงเรียน ไม่กว้างขวางนัก แม้ไม่มมี งุ้ ลวดแต่ผนังทัง้ สีด่ า้ นก็ถกู ปิดไว้มดิ ชิด มีเพียงช่องเล็กๆ ตามรอยแตกของประตูและหน้าต่างที่คอย ปล่อยลมหนาวเข้ามาเป็นกระสาย หมอนและผ้าห่มถูกเตรียม ไว้ให้เป็นของที่ได้รับมาจากการบริจาค เมื่อเอาสัมภาระมาเก็บ เป็นที่เป็นทางเรียบร้อยแล้ว เมื่อล้างเนื้อล้างตัวให้สะอาดขึ้น บ้างแล้ว เราจึงขอให้คณ ุ ครูชว่ ยพาเดินส�ำรวจหมูบ่ า้ นทีเ่ พียงเดิน ออกนอกรั้วโรงเรียนก็ถึงแล้ว ฝนหยุดตกได้สักพัก อากาศเริ่ม เย็นลงอย่างฉับพลัน หลายคนต้องหยิบเสื้อกันหนาวมาสวม ชาวบ้านพะแอดูโดยชาติพันธุ์แล้วเป็นชาวปกาเกอะญอ หรือที่ ภาษาราชการเรียกรวมๆ กันว่ากะเหรีย่ ง โดยพืน้ ฐานแล้วพวกเขา อยูก่ นิ กับธรรมชาติอย่างกลมกลืนในชีวติ ประจ�ำวัน เกือบทุกบ้าน เลีย้ งไก่พนื้ เมืองเพือ่ กินไข่ เกือบทุกบ้านอีกเช่นกันทีเ่ ลีย้ งหมูดำ� แทบทุกบ้านเลี้ยงแบบปล่อยไว้ตามธรรมชาติ เล้าของพวกมัน ก็ ไ ม่ ใ ช่ ที่ ไ หนอื่ น ไกล แต่ อ ยู ่ ใ ต้ ถุ น บ้ า นของพวกเขานั่ น เอง เราสงสัยว่าการเลี้ยงปล่อยให้หมูเดินเปะปะอย่างนี้ ชาวบ้าน จะจ�ำได้หรือว่าหมูใครเป็นหมูใคร คุณครูหัวเราะแล้วเฉลยว่า จ�ำได้สิ หมูมันไม่ไปไหนไกลบ้านหรอก มันก็เดินๆ กินๆ นอนๆ อยู่แถวๆ บ้านใครบ้านมันนั่นแหละ
34
35
การเดินทางของ ภาคเหนือ
สัตว์เลี้ยงอีกชนิดที่นิยมกันมากคือหมา แต่อย่าเข้าใจผิดว่าหมาเลี้ยงของชาวบ้านนั้น มีไว้เพือ่ ความน่ารักน่าเอ็นดูแต่อย่างใด พวกมัน มีหน้าทีป่ ระจ�ำทีต่ อ้ งท�ำ คือออกไปช่วยเจ้าของ ล่าสัตว์ สารภาพว่าเราไม่คิดว่าจะได้ยินค�ำว่า ล่าสัตว์ อีกในสมัยนี้ สังคมสมัยใหม่ที่เปลี่ยน ทิศทางการด�ำรงชีวิตของคนจากการออกล่า เพื่ อ ความอยู ่ ร อด กลายเป็ น การซื้ อ หาจาก คนกลางผ่านระบบตลาดโดยเฉพาะกับสังคม คนเมือง การล่าสัตว์ยังมีอยู่และยังเป็นความ อยู่รอดของคนอีกจ�ำนวนไม่น้อย
36
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
เมือ่ ถามว่าสัตว์ทลี่ า่ มีอะไรบ้าง ก็ได้คำ� ตอบ ว่าส่วนใหญ่เขาก็ล่ากินกันตั้งแต่กระรอก กวาง เก้ง ไปจนหมูป่า นอกเหนือจากการเลี้ยงสัตว์ ไว้กินเองแล้ว ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังปลูกผัก อย่าง ผักกาด ฟักทอง และแตงกวาลูกใหญ่ๆ บางส่วนท�ำไร่ข้าวไว้เลี้ยงชีพ ข้าวที่ว่าเป็น ข้าวไร่ ปลูกไว้พอกินในครอบครัว เหลือบ้าง นิ ด หน่ อ ยก็ ซื้ อ ขายกั น เองในหมู ่ เ พื่ อ นบ้ า น กั บ อี ก อาชี พ หนึ่ ง ซึ่ ง ได้ รั บ ความนิ ย มมาก ในช่วงหลังคือการท�ำไร่ข้าวโพดเพื่อขายต่อ ไปให้พ่อค้าคนกลาง
บ้านเรือนของชาวพะแอดูสร้างจากวัสดุ อย่ า งอื่ น ในพื้ น ที่ อ ย่ า งหญ้ า คาและไม้ ไ ผ่ บางส่ ว นที่ เ ป็ น กระเบื้ อ งต้ อ งเดิ น ทางไปซื้ อ จากข้างล่าง เมื่อได้วัสดุครบถ้วนแล้วชาวบ้าน ก็จะชวนกันมาช่วยปลูก บ้านแต่ละหลังจะมี ห้ อ งหั บ ตามอั ต ภาพ บางบ้ า นดี ห น่ อ ยก็ มี ห้องน�้ำ ส่วนบ้านไหนที่ไม่มีห้องน�้ำเมื่อจะท�ำ ธุระก็ต้องพาหมาเดินเข้าป่าไป คุณครูเล่าว่า ทั้งหมู่บ้านมีอยู่ราว 60 หลังคาเรือน เฉลี่ย เรือนละ 5 คนก็จะเท่ากับว่ามีสมาชิกในหมูบ่ า้ น
ราวสามร้อยกว่าๆ เมื่อเดินต่อไปเรื่อยๆ ก็จะ มีสิ่งที่มีเหมือนกันทุกบ้านคือ กองฟืน พะแอดู ไม่มีไฟฟ้า เคยมีแผงโซล่าร์เซลล์จากโครงการ ของรัฐ แต่ปัจจุบันก็เสื่อมสภาพไปหมดแล้ว ตามกาลเวลา น�้ำประปาก็ไม่มี น�้ำกินน�้ำใช้ที่ ไหลเวียนอยู่ในหมู่บ้านคือน�้ำประปาที่เรียกว่า ประปาภูเขา อันหมายถึงการเอาท่อไปต่อจาก แหล่งน�้ำธรรมชาติเข้าสู่หมู่บ้าน แน่นอนว่า ถ้าปีไหนแล้ง แปลว่าจะไม่มีน�้ำใช้ ชาวบ้าน ต้องเดินถือภาชนะไปตักน�ำ้ จากล�ำห้วยข้างล่าง
37
การเดินทางของ ภาคเหนือ
ทีอ่ ยูห่ า่ งออกไปเป็นกิโลฯ เพือ่ แบกน�ำ้ ขึน้ มาใช้ ระยะทางราวแปดกิโลเมตร ภาพถนนหนทาง สัญญาณโทรศัพท์ก็มีเพียงบางจุด เมื่อถามถึง เมื่อตอนบ่ายย้อนกลับขึ้นมาในหัวทันที เรื่องการดูแลสุขภาพ เวลาเจ็บป่วยท�ำอย่างไร คุณครูให้ค�ำตอบว่าถ้าไม่เป็นอะไรมากก็รักษา กันเองตามวิธีธรรมชาติ ถ้าเป็นมากหน่อย ก็จะไปทีโ่ รงเรียน เพราะมีหยูกยาทีค่ นบริจาคไว้ แต่ ถ ้ า เป็ น หนั ก ก็ จ ะต้ อ งพากั น ไปอนามั ย ขุนแม่ลานในเขตจังหวัดแม่ฮอ่ งสอนทีอ่ ยูต่ ดิ กัน
38
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
ฟ้าเริม่ มืดแล้ว อากาศก็เริม่ หนาวเย็นลงอีก ระหว่างที่เดินกลับโรงเรียน เราฉุกใจคิดได้ว่า ชาวบ้านที่เราพบส่วนใหญ่เป็นคนแก่และเด็ก น้ อ ย มี ค นหนุ ่ ม สาวอยู ่ บ ้ า งแต่ ไ ม่ ม ากนั ก สอบถามได้ ค วามว่ า คนหนุ ่ ม สาวส่ ว นใหญ่ เมื่ อ เรี ย นจบจากโรงเรี ย นขุ น แม่ น ายแล้ ว ก็ลงไปเรียนต่อข้างล่าง ระหว่างที่เรียนก็กลับ มาเยี่ ย มบ้ านบ้างไม่กลับ บ้าง เรียนจบแล้ว
ก็กลับมาบ้านบ้างไม่กลับบ้าง จะว่าไปคนที่ กลับมามีน้อย ส่วนใหญ่ลงไปรับจ้างท�ำงาน รายวันในเมืองกันหมด บางคนปีๆ หนึ่งหาเงิน ได้ราวหนึ่งหมื่น บางคนก็ไม่ถึง สังคมปัจจุบัน มันเปลีย่ นไปแล้ว ลูกหลานก็ตอ้ งใช้เงิน วิธหี นึง่ ที่ จ ะหาเงิ น ได้ ก็ คื อ ต้ อ งลงไปรั บ จ้ า งท� ำ งาน ข้ า งล่ า งนั่ น แหละ คุ ณ ครู ส รุ ป ให้ ฟ ั ง เมื่ อ เรา เดินกลับมาถึงรั้วโรงเรียน
39
การเดินทางของ ภาคเหนือ
USO
5
40
41
การเดินทางของ ภาคเหนือ
เมือ่ ดวงอาทิตย์ลบั ฟ้า ความหนาวเย็นก็แผ่ เข้าปกคลุม เมื่ออ้าปากพูดควันก็ลอยออกมา พร้อมๆ กัน น�้ำที่เคยว่าเย็นไม่เคยเย็นขนาดนี้ แม้จะอิดออดไม่อยากอาบ แต่สภาพร่างกาย ที่สะบักสะบอมมาทั้งวันไม่อนุญาตให้ท�ำอย่าง นัน้ ได้ เราท�ำได้อย่างดีทสี่ ดุ คือแย่งกันไปอาบน�ำ้ ก่อน เชื่ออยู่ลึกๆ ว่ายิ่งเวลาผ่านไป น�้ำอาจจะ เย็ น ลงกว่ า นี้ อี ก ห้ อ งน�้ำของโรงเรีย นไม่ได้ สะดวกสบายนักแต่คอ่ นข้างมิดชิด ถึงอย่างนัน้ ประตูและผนังก็ยังมีร่องรูให้ลมหนาวพัดลอด
42
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
ผ่านเข้ามาได้ คนโบร�่ำโบราณเคยสอนไว้ว่า เวลาอาบน�้ำเย็นให้กลั้นใจไว้ เราก็ท�ำตามนั้น แต่เพียงเมื่อราดน�้ำลงไปบนตัวหนึ่งขันเท่านั้น ใจที่กลั้นไว้ก็แทบขาดสะบั้น ร่างกายชาไป ชั่วขณะ แต่ข้อดีหากเราผ่านการอาบน�้ำเย็น มาได้ คื อ ร่ า งกายจะอุ ่ น ขึ้ น พร้ อ มรั บ มื อ กั บ อากาศที่ เ ย็ น ลงอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เมื่ อ สมาชิ ก ทุกคนผ่านกิจกรรมตัวชากันถ้วนหน้าแล้ว ก็ถงึ เวลาอาหารที่ทางคณะครูช่วยจัดเตรียมไว้จาก เสบียงที่เราเตรียมกันมาเอง เพื่อไม่ให้เป็น
การรบกวนทรัพยากรของผูอ้ ยูห่ า่ งไกล แกงจืด ร้อนๆ กับไข่เจียวอุน่ ๆ แถมด้วยเมนูพเิ ศษจาก ทางโรงเรียนอย่าง ผัดฟักแม้ว หรือที่รู้จักกัน ในชื่อ ผักซาโยเต้ ท�ำให้ลืมความเหน็ดเหนื่อย เมือ่ ยล้าไปชัว่ ขณะ เสร็จจากอาหารค�ำ่ เรียบง่าย แต่อิ่มท้องอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ เรานั่งพูดคุย กั บ คณะครู อี ก สั ก พั ก ก่ อ นแยกย้ า ยไปนอน รวมกันในห้องสมุด ไม่มีใครพูดคุย ไม่มีใคร
ค้นหาข้อมูลใดๆ มีเสียงลมหวีดหวิวที่พัดผ่าน รอยแยกของประตู ห น้ า ต่ า งช่ ว ยกล่ อ มนอน ช่วงเวลานีเ้ องทีร่ ายการเตรียมของหมายเลข 11 มีความหมายขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก
43
การเดินทางของ ภาคเหนือ
USO
6
44
45
การเดินทางของ ภาคเหนือ
ราวตีห้า เด็กๆ สี่ห้าคนเดินจากในหมู่บ้าน มาที่ โ รงเรี ย นเพื่ อ ก่ อ ไฟ ซาวข้ า ว หั่ น ผั ก เตรียมอาหาร เพื่อที่คุณครูประจ�ำเวรอาหาร จะมาเป็นคนปรุงและดูแลการท�ำอาหารตอน หกโมงเช้ า เพื่ อ ที่ จ ะกิ น ด้ ว ยกั น ตอนช่ ว งพั ก อาหารกลางวัน เป็นระบบที่ท�ำกันอยู่ทุกวัน โดยจะมีตัวแทนนักเรียนจากชั้นต่างๆ แบ่งเวร กัน วันไหนมีคนแปลกหน้ามาพักค้างอ้างแรม ก็ จ ะได้ กิ น อาหารเช้ า ระบบนี้ ด ้ ว ย ซึ่ ง เช้ า นี้ พวกเราก็ได้ลิ้มรสข้าวต้มหมูกับพริกน�้ำปลา จากฝีมือของคุณครูและเด็กที่อยู่เวร ส่วนเด็ก
46
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
คนอื่นๆ จะทยอยมาโรงเรียนกันตอนเจ็ดโมง เช้ า พอเจ็ ด โมงครึ่ ง ประธานนั ก เรี ย นจะให้ สั ญ ญาณท� ำ เวรสี คื อ ท� ำ ความสะอาดรอบ บริเวณโรงเรียนแต่ละจุด นักเรียนจะแบ่งเป็น กลุ่มสามสีก็แยกย้ายไปท�ำความสะอาดตามที่ ได้มอบหมาย ห้องน�ำ้ บ้าง โรงครัวบ้าง สนามบ้าง อนุบาลบ้าง หลังจากนั้นแปดโมงเช้าก็เข้าแถว หน้าเสาธง ท�ำกายบริหาร ดืม่ นม มีอกี กิจกรรม หน้าเสาธงอย่างหนึ่งที่เราเพิ่งเคยเห็น คือการ แนะน�ำตัวระหว่างชั้นเรียนด้วยการสวัสดีน้อง อนุบาลหนึ่ง สวัสดีพี่อนุบาลสอง พี่อนุบาลสอง
สวัสดีพี่อนุบาลสาม ไล่ไปอย่างนี้จนครบถึง ชั้น ป.6 คุณครูบอกว่าวิธีนี้จะช่วยท�ำให้พี่กับ น้องรู้จักรักและเคารพกัน เมื่อเสร็จกิจกรรม ยามเช้าแล้ว เด็กๆ ก็แยกย้ายไปเข้าห้องเรียน โรงเรียนที่เราอยู่นี้ชื่อ โรงเรียนบ้านขุนแม่นาย บ้านพะแอดู คุณครูที่คอยต้อนรับเราและเป็น ผูพ้ าเราเดินส�ำรวจหมูบ่ า้ นเมือ่ วานนีช้ อื่ คุณครู สมจิต ดวงใจไพรวัลย์ โดยพื้นเพแล้วครูสมจิต ถื อ เป็ น ลู ก หลานปกาเกอะญอโดยก� ำ เนิ ด เรียนจบมาสายสังคมสงเคราะห์ ก่อนหน้านี้ เคยบวชเป็นพระธรรมจาริกซึ่งหมายถึง พระที่
เผยแพร่ศาสนาพุทธบนดอย จากนั้นลาสิกขา แล้วไปสอบบรรจุครูที่จังหวัดเชียงราย ก่อนจะ ย้ายมาอยู่ที่นี่ได้ราวหนึ่งปี ตอนนี้มีครอบครัว พักอาศัยอยู่ที่อ�ำเภอจอมทอง ทุกวันศุกร์จะ เดิ น ทางกลั บ บ้ า นด้ ว ยมอเตอร์ ไ ซค์ เ พื่ อ ไป ดูแลภรรยาและลูกน้อยสองคน ใช้เวลาเดินทาง ประมาณห้ า ชั่ ว โมงกว่ า หลายครั้ ง ที่ รู ้ สึ ก เหน็ดเหนื่อย แต่ครอบครัวก็คือครอบครัว
47
การเดินทางของ ภาคเหนือ
USO
โรงเรียนบ้านขุนแม่นายนี้อยู่ในสังกัด สพฐ. (ส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ) อันที่จริงชื่อ ขุนแม่นาย เป็นชื่อของหมู่บ้านข้างๆ ที่อยู่ติดกัน เนื่องจาก พะแอดู เป็นชื่อของชาวปกาเกอะญอ คนเฒ่า คนแก่ ค นหนึ่ ง ที่ ม าเริ่ ม ตั้ ง ถิ่ น ฐานอยู ่ ที่ นี่ เ ป็ น บ้ า นหลั ง แรก แต่ทางการแจ้งว่าชื่อบุคคลที่ไม่เป็นค�ำไทยอาจไม่เหมาะ ที่ จ ะเป็ น ชื่ อ โรงเรี ย นเท่ า ไหร่ นั ก จึ ง ต้ อ งหยิ บ ยื ม ชื่ อ ไทย มาจากหมู่บ้านข้างๆ
48
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
ภาคเหนือ
ทั้ ง โรงเรี ย นเปิ ด สอนตั้ ง แต่ ชั้ น อนุ บ าลไปจนถึ ง ป.6 มีนักเรียนทั้งหมด 45 คน มีครูข้าราชการ 3 คน พนักงานราชการ 1 คน แล้วก็มีครูจ้างสอนอนุบาลอีก 1 คน ซึ่งเมื่อดู จากจ�ำนวนครูแล้วไม่น่าจะเพียงพอต่อการเรียนการสอน เด็กนักเรียนจึงต้องเรียนกับครูตู้ในช่วงเช้า และครูที่มีอยู่ จะมาสอนต่อในรายละเอียดตอนช่วงบ่าย ราวบ่ายสาม โรงเรียนก็เลิก เด็กๆ ส่วนใหญ่ทยอยเดินกลับบ้านเพื่อไป ช่วยงานที่บ้าน อาบน�้ำ กินข้าว แล้วเดินกลับมาที่โรงเรียน อี ก รอบเพื่ อ มาชุ ม นุ ม กั น อยู ่ ใ นห้ อ งที่ เ รี ย กกั น ติ ด ปากว่ า ห้องคอมฯ ซึ่งห้องคอมฯ ที่ว่านี้แท้จริงแล้วก็คือ ศูนย์ USO NET นั่นเอง
49
การเดินทางของ ภาคเหนือ
USO
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
ภาคเหนือ
ศูนย์ USO NET คือการจัดให้มบี ริการศูนย์อนิ เทอร์เน็ตส�ำหรับ ชุมชนและโรงเรียน เพือ่ ให้เกิดบริการโทรคมนาคมพืน้ ฐานโดยทัว่ ถึง โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่ ง ชาติ (กสทช.) ก� ำ หนดให้ ผู ้ ไ ด้ รั บ ใบอนุ ญ าต ประกอบกิจการโทรคมนาคมด�ำเนินการติดตั้งสัญญาณโทรศัพท์ และอิ น เทอร์ เ น็ ต ในพื้ น ที่ เ ป้ า หมายตามข้ อ ก� ำ หนดและเงื่ อ นไข ที่ ก� ำ หนดไว้ เพื่ อ ให้ เ กิ ด การลดความเหลื่ อ มล�้ ำ ในการเข้ า ถึ ง โทรคมนาคมขั้นพื้นฐาน (Digital Divide) ของนักเรียนและ ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลที่โทรคมนาคมเข้าไม่ถึง ในส่วนของการ ด�ำเนินการ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจะด�ำเนินการปรับปรุงพื้นที่ภายใน โรงเรียนให้พร้อมส�ำหรับทีม USO เข้าไปจัดตั้งศูนย์ และติดตั้ง อุ ป กรณ์ แ ละสิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกต่ า งๆ อย่ า งคอมพิ ว เตอร์ พรินเตอร์ โทรทัศน์ เครื่องเล่นดีวีดี เครื่องโปรเจกเตอร์และจอภาพ เครื่องส�ำรองไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์กระจายสัญญาณ โดยผู้ได้รับ ใบอนุ ญ าตจะต้ อ งสนั บ สนุ น ค่ า ใช้ จ ่ า ยด้ า นสาธารณู ป โภคและ ค่ า ใช้ ส อยวั ส ดุ สิ้ น เปลื อ งเป็ น รายเดื อ นให้ แ ก่ โ รงเรี ย นที่ มี ศู น ย์ และหน่ ว ยงานท้ อ งถิ่ น ที่ รั บ ผิ ด ชอบ รวมถึ ง ไม่ คิ ด ค่ า บริ ก าร อินเทอร์เน็ตรายเดือนเป็นระยะเวลา 3 ปีนับจากวันส่งมอบงาน
50
51
การเดินทางของ ภาคเหนือ
ทุกคนรู้จักคอมพิวเตอร์จากครูตู้ แต่ก็คิดว่า เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ไกลตัวส�ำหรับเขา นั่งอยู่หน้า เครื่องคอมพิวเตอร์กล้าๆ กลัวๆ เกร็งๆ ไม่ท�ำ อะไรเลย ต้องให้ครูช่วยกระตุ้นว่าไม่เป็นไร นัน่ แหละจึงค่อยเริม่ กดๆ จิม้ ๆ กัน เริม่ ท�ำความ รู้จักกับอุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อพวกเขาเข้ากับ โลกกว้างด้วยอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมทีเ่ ป็น บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านทางช่อง สัญญาณดาวเทียมแบบสองทาง (Two-ways Broadband Internet) ซึ่งมีข้อดีคือสามารถ ส่งสัญญาณไปยังพื้นที่ห่างไกลที่สายโทรศัพท์ ครูสมจิตเล่าจากปากค�ำของครูคนอื่นที่มา เข้าไม่ถึง ประจ�ำอยู่ก่อนหน้านี้ว่า ตอนที่คอมพิวเตอร์มา ติดตั้งครั้งแรก เด็กๆ ตื่นเต้นและสนใจกันมาก ปัจจุบันเรามีศูนย์ USO NET อยู่ราว 958 แห่ง แบ่งเป็นศูนย์ในโรงเรียน 520 แห่ง ในชุ ม ชน 398 แห่ ง และศู น ย์ เ พื่ อ สั ง คม อันหมายถึงออกแบบมาเพือ่ ผูพ้ กิ ารโดยเฉพาะ อีก 40 แห่ง ศูนย์ทั้งหมดนี้กระจายกันออกไป ตามพื้ น ที่ ห ่ า งไกลครอบคลุ ม ทั่ ว ทุ ก ภู มิ ภ าค ของประเทศ บางพื้นที่ไม่มีไฟฟ้า ทาง USO จ�ำเป็นต้องจัดหาเครือ่ งผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน แสงอาทิ ต ย์ เ พิ่ ม เติ ม เข้ า ไปด้วย ที่โ รงเรีย น บ้านขุนแม่นายนี่ก็เช่นกัน
52
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
ครูสมจิตยังเล่าอีกว่า ถ้าจะว่าไปแล้วโลก ของพวกเด็กๆ ยังปิดอยู่มาก เป็นโลกแคบๆ ที่อยู่กันในหมู่บ้าน จนกระทั่งหลังๆ นี่เองที่ เพิ่ ง รู ้ จั ก กั บ ที วี ก็ แ ห่ ม าดู ที วี กั น ที่ โ รงเรี ย น ผู้ใหญ่ในหมู่บ้านนานๆ มาเยี่ยมเยียนที่ห้อง คอมฯ สักครั้ง ส่วนมากก็จะมากันในวันที่มี รายการพิ เ ศษส� ำ คั ญ ๆ อย่ า งการถ่ า ยทอด ฟุตบอล โลกของความรูย้ อ่ มไม่ได้มอี ยูแ่ ค่เพียง ในต�ำราเรียน ส่วนใหญ่หอ้ งคอมฯ ของพวกเขา จะใช้เรียนกันในช่วงภาคเรียนที่สอง คือตั้งแต่
เดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เพราะว่า เป็นช่วงที่แดดออกดี อุปกรณ์กักเก็บพลังงาน แสงอาทิตย์ท�ำงานได้เต็มที่ ในช่วงฤดูฝนนั้น ไม่ต้องพูดถึง ใช้งานได้สักพักไฟก็หมด
53
การเดินทางของ ภาคเหนือ
ในช่วงบ่ายเด็กๆ บางส่วนก็จะมาเข้าฝึก ทักษะและค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมในห้องคอมฯ โดยเฉพาะกับวิชาที่เกี่ยวกับ กอท. หรือการ งานอาชีพ ซึ่งจะเน้นไปที่เด็กนักเรียน ป.4ป.6 ซึ่ ง อยู ่ ใ นวั ย ที่ ก� ำ ลั ง อยากรู ้ อ ยากเห็ น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดอย่างหนึ่งคือตอนนี้ เด็ ก ๆ เริ่ ม หายกลั ว คอมพิ ว เตอร์ แ ละพิ ม พ์ สัมผัสได้แล้ว มากไปกว่านั้น ทางโรงเรียนยัง มีการสอนให้เด็กๆ หัดใช้โปรแกรมน�ำเสนอ
54
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
(presentation) และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เบื้องต้น (e-book) เพื่อเตรียมความพร้อม ส�ำหรับไปแข่งขันงานแข่งทักษะวิชาการของ ทางส�ำนักงานพืน้ ทีก่ ารศึกษา และเมือ่ ไม่นานนี้ เองนักเรียนของโรงเรียนบ้านขุนแม่นายก็เพิ่ง ไปคว้ารางวัลที่ 2 จากการแข่งขันนี้มา วิธีการ แข่งขันก็คือ หนึ่งทีมมี 2 คน ให้เวลาแข่งขัน 3 ชัว่ โมง โดยมีหวั ข้อให้เลือกจับฉลากน�ำเสนอ อยู่ 3 เรื่องคือ เศรษฐกิจพอเพียง อาเซียน
และโลกร้อน เมื่อจับฉลากได้แล้ว นักเรียนต้อง ลงโปรแกรมกันเอง จากนั้นก็ใช้ข้อมูล รูปภาพ วิดีโอ ซีดี ที่ผู้จัดเตรียมไว้ให้มาจัดเรียงเป็น โปรแกรมน�ำเสนอและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ผลปรากฏว่ า ผลงานของนั ก เรี ย นโรงเรี ย น บ้านขุนแม่นายได้ที่ 2 แม้จะเสียใจที่พลาด อั น ดั บ ที่ 1 แต่ ทั้ ง ครู แ ละนั ก เรี ย นยั ง คงมี ความหวัง และจะใช้เวลาเพื่อพัฒนาฝีมือใน การแข่งขันครั้งต่อไป เพื่อจะคว้าอันดับสูงสุด
ของการแข่งขันมาไว้ในครอบครองให้ได้ แม้จะ ต้องแลกกับความเหนื่อยยากของการเดินทาง ไปแข่ ง ขั น ที่ โ รงเรี ย นศู น ย์ ก ลางของกลุ ่ ม เครือข่าย ปางหินฝน ซึง่ ถ้าไปทางลัดจะไม่ไกล มาก คือประมาณ 40 กิโลเมตร แต่หากสภาพ ถนนไม่เอื้ออ�ำนวย ต้องอ้อมลงไปทางขุนยวม พักที่แม่แจ่ม แล้วย้อนกลับมา ใช้เวลาเกือบ ทั้งวัน ระยะทางไปกลับร่วม 200-300 กิโลฯ
55
การเดินทางของ ภาคเหนือ
USO
7
56
57
การเดินทางของ ภาคเหนือ
ฝนหยุดตกไปตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว ตกบ่าย พวกเราร�ำ่ ลาคณะครูกอ่ นออกเดินทางกลับบ้าน โล่งใจขึ้นที่สภาพอากาศดูเหมือนจะไม่หนัก หน่วงเหมือนเมื่อตอนขามา ค�ำนวณเวลาเอา ไว้ว่าราว 6 ชั่วโมงก็น่าจะลงไปถึงข้างล่างได้ แต่ ถึ ง อย่ า งนั้ น คนขั บ ก็ ต ้ อ งตรวจสภาพรถ ให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทางอยู่ดี นักเรียน เกือบทัง้ โรงเรียนพากันมายืนส่ง ยิม้ แย้มแจ่มใส โบกไม้ โ บกมื อ ลาคนแปลกหน้ า ที่ เ ดิ น ทาง มาจากแดนไกลซึ่งมีไม่บ่อยนัก
58
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
USO
ภาคเหนือ
ระหว่างทางกลับบ้าน เราได้แต่นึกหวัง ให้อนาคตของพวกเขาเปิดกว้าง เชื่อมต่อกับ ความเป็ น ไปของโลกในอนาคตซึ่ ง นั บ วั น จะไม่มที สี่ ิ้นสุด มีช่องทางในการเลือกรับข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์เพื่อการพัฒนาตนเอง พั ฒ นาชุ ม ชน และพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ของ ทุกคนให้ดียิ่งขึ้น ทัดเทียมกับคนอื่นๆ ในสังคมนี้
59
การเดินทางของ USO ภาคเหนือ
การเ ดิ น ทางขอ ง USO
ภาคเหนือ
USO
VDO
60
61