ภาคใต้ โทรคมนาคมกับชุมชน
1
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
กระบี่
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
ตามต�ำนานบอกเล่าสืบขานกันมาว่า มีชาวบ้านขุดพบมีดดาบโบราณเล่มหนึง่ จึ ง น� ำ มามอบให้ กั บ เจ้ า เมื อ งกระบี่ และต่อมาไม่นานก็ขดุ พบมีดดาบโบราณ เล่มหนึ่งรูปร่างคล้ายกับมีดดาบโบราณ เล่มใหญ่ จึงน�ำมามอบให้กับเจ้าเมือง กระบี่อีกเช่นกัน เจ้าเมืองกระบี่เห็นเป็น ดาบโบราณสมควรเก็บไว้เป็นดาบคูบ่ า้ น คู่เมือง แต่ขณะนั้นยังสร้างเมืองไม่เสร็จ จึงน�ำดาบไปเก็บไว้ในถ�้ำเขาขนาบน�้ำ หน้าเมือง โดยวางดาบหรือกระบีไ่ ขว้กนั บ้านที่ขุดพบดาบใหญ่โตตั้งชื่อว่า ‘บ้าน กระบีใ่ หญ่’ บ้านทีข่ ดุ พบดาบเล็กตัง้ ชือ่ ว่า ‘บ้านกระบี่น้อย’
ส่วนลักษณะการวางดาบหรือกระบี่ ไขว้ในต�ำนาน กลายมาเป็นสัญลักษณ์ ตราประจ�ำจังหวัดคือรูปดาบไขว้ดา้ นหลัง มีภูเขาและทะเล อีกต�ำนานหนึ่งสันนิษฐานว่า ‘กระบี่’ อาจเรี ย กชื่ อ พั น ธุ ์ ไ ม้ ช นิ ด หนึ่ ง ที่ มี ม าก ในท้องถิ่น คือต้น ‘หลุมพี’ จึงเรียกชื่อ ท้องถิน่ ว่า ‘บ้านหลุมพี’ ต่อมามีชาวมลายู และชาวจีนเข้ามาค้าขายจึงเรียกเพี้ยน เสียงเป็น ‘บ้าน-กะ-ลู-บี’ หรือ ‘คอโลบี’ นานๆ เข้ า จึ ง ปรั บ เป็ นส� ำ เนี ย งไทยว่ า ‘กระบี่’ พวกเราก�ำลังออกเดินทางมุ่งหน้า ไปยังที่แห่งนั้น
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
2
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
จั ง หวั ด กระบี่ ตั้ ง อยู ่ ริ ม ฝั ่ ง ทะเล อันดามัน ห่างจากกรุงเทพฯ 814 กิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขา ทีด่ อน ทีร่ าบ หมูเ่ กาะ น้อยใหญ่กว่า 130 เกาะ อุดมไปด้วยป่า ชายเลน ในตัวเมืองมีแม่นำ�้ ยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไหลผ่านลงสู่ทะเลอันดามัน นอกจากนีย้ งั มีคลองปกาสัย คลองกระบี่ ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย มีต้นก�ำเนิด จากเทือกเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่ คือเทื อกเขาพนมเบญจา มี ป ระชากร ราวสี่แสนคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธและศาสนาอิสลาม อาชีพยอดนิยม คื อ อาชี พ ทางการเกษตรและธุ ร กิ จ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
กระบีเ่ ป็นพืน้ ทีผ่ สมผสานของศาสนา และวัฒนธรรม ในพืน้ ทีท่ เี่ ป็นเกาะบางเกาะ ยังมีชนเผ่าโบราณทีม่ าตัง้ รกรากเป็นกลุม่ แรกอาศัยอยู่จวบจนปัจจุบัน ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ม วลรวมจั ง หวั ด กระบี่ ปี พ.ศ. 2557 (Gross Provincial Product : GPP) ณ ราคาประจ� ำ ปี มีมูลค่าเท่ากับ 75,413 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จาก 70,715 ล้านบาท ในปี 2556 เป็น ล�ำดับที่ 2 ของกลุม่ จังหวัดภาคใต้ฝง่ั ทะเล อันดามัน รองจากจังหวัดภูเก็ต ล�ำดับที่ 5 ของภาคใต้ และล�ำดับที่ 33 ของประเทศ ซึง่ เป็นผลจากการขยายตัวของภาคเกษตร อย่างการประมง และภาคนอกเกษตร รายได้เฉลีย่ ต่อคนต่อปีของชาวกระบี่ อย่างสาขาโรงแรมและภัตตาคาร อยู่ที่ 203,909 บาท เป็นล�ำดับที่ 2 ของ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันและ ของภาคใต้ เป็นล�ำดับที่ 13 ของประเทศ นี่อาจช่วยยืนยันชีวิตความเป็นอยู่ ของชาวกระบี่ ไ ด้ ว ่ า สั ม พั น ธ์ แ น่ น แฟ้ น อย่ า งยิ่ ง ยวดกั บ ภาคเกษตรกรรมและ การท่องเที่ยว
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
สั ด ส่ ว นโครงสร้ า งการผลิ ต ปี 2557 ณ ราคาประจ� ำ ปี
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
สาขาอื่นๆ 21.48%
สาขาเกษตรกรรม 33.90%
สาขาอุตสาหกรรม 4.54% สาขาการขายส่ง การขายปลีก 9.25% สาขาโรงแรม 12.00%
สาขาการขนส่ง 18.83%
3
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
ในท่ามกลางเกาะน้อยใหญ่กว่า 130 เกาะนั้น มีเกาะเล็กๆ แห่งหนึ่งที่ไม่ใคร่ เป็นที่รู้จักมากนักในอดีต ไม่ใช่เกาะยอด นิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลกอย่างพีพี แต่กลับวางตัวสงบนิง่ อย่างเป็นธรรมชาติ ใกล้ตัวเมือง ห่างฝั่งเพียงระยะห้านาที เรือหัวโทงเดินทางไปถึง เกาะกลาง คือเกาะที่ว่านั่น ชื่ออย่างเป็นทางการของเกาะกลาง คือ บ้านเกาะกลาง ต�ำบลคลองประสงค์ อ�ำเภอเมืองกระบี่ ตั้งอยู่บนเกาะกลาง แม่น�้ำกระบี่ ห้อมล้อมด้วยป่าชายเลน ที่อุดมสมบูรณ์ ประชากร 98% นับถือ ศาสนาอิสลาม ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงชายฝัง่ ชีวติ ความเป็นอยู่ ค่อนข้างเรียบง่าย ระยะทางโดยรวมบนเกาะประมาณ 11 กิโลเมตรเท่านั้น นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ไ ปเยื อ นเกาะกลาง ส่วนใหญ่นิยมชมชอบธรรมชาติ บนเกาะ กลางมีทงุ่ นากว้างใหญ่ มีปา่ ชายเลนกลาง แม่น�้ำกระบี่ บนเกาะกลาง นักท่องเที่ยว ยังสามารถเรียนรู้วิถีชีวิตชาวบ้านชุมชน ทั้งการท�ำผ้าปาเต๊ะ การท�ำเรือหัวโทง และเที่ ย วชมนาข้ า วสั ง ข์ ห ยด รวมถึ ง สามารถพักอาศัยในแบบโฮมสเตย์ร่วม กับชาวบ้านได้
การเดินทางภายในเกาะอาจไม่สะดวก สบายนัก ถนนค่อนข้างเล็ก แคบ และ ขรุขระ หากวันไหนฝนตกจะเดินทางล�ำบาก ทั้งทางเรือและบนเกาะ ชื่ อ เสี ย งของเกาะกลางที่ เริ่ ม แพร่ หลายในหมูน่ กั ท่องเทีย่ วมาจากความเป็น ชุมชนที่มีเอกลักษณ์ในเรื่องวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมท้องถิน่ ผูค้ นใช้ชวี ติ อย่างเรียบ ง่าย แทบไม่นา่ เชือ่ ว่าอยูห่ า่ งฝัง่ เพียงระยะ สายตาทอดไปถึง ชุมชนเกาะกลางถูก ห้อมล้อมด้วยป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ บนเกาะมี ค นอยู ่ อ าศั ย ราวห้ า พั น คน แบ่งเป็นสามหมู่บ้าน เชื่อมกันด้วยถนน หลักเล็กๆ หนึ่งเส้นจากหัวเกาะถึงท้าย เกาะ ทั น ที่ เราเดิ น ทางมาถึ ง เกาะกลาง ก็ พ บกั บ สิ่ ง ที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น ครบถ้ ว น ทุกประการ
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
4
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่ น ความถี่ แ ละก� ำ กั บ การประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิ จ การโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ โทรคมนาคม ก�ำหนดให้คณะกรรมการ มี ห น้ า ที่ จั ด ให้ มี บ ริ ก ารโทรคมนาคม พื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ต่อมาส�ำนักงาน กสทช. ร่วมกับ สหภาพ โทรคมนาคมระหว่างประเทศ จึงจัดตั้ง เครือข่าย ‘อาสาสมัครภายใต้โครงการ จิตอาสาเพื่อสังคม’ ขึ้นเป็นครั้งแรกใน ปี พ.ศ. 2557 และคัดเลือกอาสาสมัคร จากมหาวิ ท ยาลั ย สถาบั น การศึ ก ษา และประชาชนจากทั่วประเทศ เข้าร่วม โครงการ แบ่งออกเป็นทีมลงพืน้ ทีท่ ำ� งาน ในศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน (USO NET) ใน 12 จังหวัดทั่วประเทศ ในระหว่างการลงพื้นที่ อาสาสมัคร มี ภ ารกิ จ ออกพบปะชาวบ้ า นในชุ ม ชน และนักเรียนเพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ ศู น ย์ USO NET ชั ก ชวนให้ ม าใช้ ประโยชน์จากศูนย์ USO NET ทั้งยังจัด อบรมให้ความรู้หลักสูตรต่างๆ เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ต เบื้ อ งต้ น การใช้ โ ปรแกรมส� ำ นั ก งาน การสร้ า งเว็ บ ไซต์ การแต่ ง ภาพและ ตัดต่อวิดโี อ และเรือ่ งภัยจากอินเทอร์เน็ต ให้ แ ก่ เ ด็ ก เยาวชน ชุ ม ชนในพื้ น ที่
และผู้ใช้งานทั่วไป อาสาสมัครบางกลุม่ ยังพัฒนาซอฟต์แวร์บางตัวขึ้นเพื่อช่วยเหลือการท�ำงาน ของเจ้ า หน้ า ที่ ผู ้ ดู แ ลศู น ย์ ฯ และเพื่ อ เฝ้ า ระวั ง การใช้ ง านคอมพิ ว เตอร์ แ ละ อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย ทั้งยังได้คิด กิจกรรมใหม่ๆ ทัง้ ทีเ่ กีย่ วและไม่เกีย่ วข้อง กั บ คอมพิ ว เตอร์ เ พื่ อ สร้ า งความสนใจ และออกท�ำกิจกรรมนอกสถานที่ร่วมกับ ชาวบ้านในชุมชน และปีนี้ก็ถึงเวลาของโครงการจิตอาสาเพือ่ สังคม NBTC-ITU Volunteers รุ่นที่ 3 หนึ่งในพื้นที่เป้าหมายก็คือศูนย์ USO NET บนเกาะกลางนี่เอง
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
USO NET ภายใต้แผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน โดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม หรือแผน USO ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559) กสทช. ได้มีการด�ำเนินงาน จัดตั้งศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน ศูนย์อินเทอร์เน็ตโรงเรียน และศูนย์อนิ เทอร์เน็ตเพือ่ สังคม หรือทีเ่ รียกว่า ศูนย์ USO NET ขึ้นในพื้นที่ชนบทห่างไกล และพื้นที่ที่ประชาชน ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ เป็นช่องทางหนึ่งที่ท�ำให้ประชาชนในพื้นที่ชนบท และ กลุ่มเป้าหมายทางสังคม ได้แก่ คนพิการ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสในสังคม และผู้มีรายได้น้อย มีโอกาสเข้าถึง ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง โดยศูนย์ USO NET แต่ละที่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์และบริการ อินเทอร์เน็ต รวมถึงอุปกรณ์ด้านไอซีทีอื่นๆ ไว้บริการ แก่ประชาชนเพือ่ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และเพือ่ เพิ่มโอกาสในการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้การ ด�ำเนินงานของส�ำนักงาน กสทช. ภายใต้แผน USO นั้น ไม่เพียงแต่การจัดตั้งศูนย์ USO NET และการจัดให้มี บริการเพื่อสังคมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเสริมสร้าง ศักยภาพของบุคลากรและองค์กร โดยเฉพาะทีเ่ ป็นองค์กร หรื อ หน่ ว ยงานท้ อ งถิ่ น ชุ ม ชนและชาวบ้ า นในพื้ น ที่ เพื่อให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถในการใช้งาน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากที่สุด
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
ความเป็ น มา การจัดให้มีบริการศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน (USO NET) เป็ น หนึ่ ง ในภารกิ จ ของการจั ด ให้ มี บ ริ ก าร โทรคมนาคมพื้ น ฐานโดยทั่ ว ถึ ง และบริ ก ารเพื่ อ สั ง คม (Universal Service Obligation : USO) ประจ�ำปี 2553 ที่ ผู ้ ไ ด้ รั บ ใบอนุ ญ าตต้ อ งด� ำ เนิ น การในพื้ น ที่ เป้าหมายตามข้อก�ำหนดและเงื่อนไขที่คณะกรรมการ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ก�ำหนด (ปัจจุบัน เป็นหน้าทีข่ องคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ความมุ ่ ง หมาย การจัดให้มีบริการศูนย์ USO NET ชุมชน โรงเรียน และเพื่อสังคม มีขึ้นเพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงบริการ โทรคมนาคมพื้นฐาน (Digital Divide) ของประชาชน ในพื้นที่ชนบท และกลุ่มเป้าหมายทางสังคม เช่น เด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาส ในสังคม โดยน�ำระบบโทรคมนาคม (อินเทอร์เน็ตความ เร็วสูง) มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ในการเข้าถึง ข้อมูลข่าวสารและการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ซึ่งจะมี ส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพชีวติ ของประชาชน และเสริมสร้าง ความเข้มแข็งให้กับชุมชนต่อไป)
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ศูนย์ USO NET บนเกาะกลางก่อตัง้ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2556 ภายในอาคารของ องค์การบริหารส่วนต�ำบลคลองประสงค์ โดยมีคุณไอลดา หมั่นค้า เป็นเจ้าหน้าที่ ผูด้ แู ลศูนย์ เริม่ รับผิดชอบดูแลตัง้ แต่เดือน ตุลาคม 2556 โดยพื้ น เพคุ ณ ไอลดาเป็ น คนพื้ น ที่ อาศัยอยู่หมู่ที่ 1 ที่บ้านเป็นร้านขายข้าว เรียนจบรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หน้าที่หลักๆ ของคุณไอลดาคือดูแล วิทยาเขตปัตตานี เรียนจบแล้วก็กลับมา การใช้บริการอินเทอร์เน็ตทุกอย่าง ตัง้ แต่ ท�ำงานทีน่ ี่ ด้วยเหตุผลเพียงประการเดียว อุปกรณ์ที่ต้องหมั่นตรวจสอบและดูแล คืออยากอยู่ใกล้บ้าน ความสะอาด ดูแลคนที่เข้ามาใช้บริการ คิดแผนด�ำเนินงานก�ำหนดทิศทางของ การใช้ห้อง USO NET ให้เกิดประโยชน์ กับชุมชนสูงสุด แผนด�ำเนินงานที่ว่าในเบื้องต้นก็คือ การรณรงค์ให้ชาวบ้านได้มีโอกาสเข้ามา ใช้งาน มาสัมผัสกับคอมพิวเตอร์ เพราะ หลายคนยัง ไม่ เคยสั ม ผั ส คอมพิ วเตอร์ จริงๆ เลยสักครั้ง ขณะเดียวกัน แผน ด� ำ เนิ น การในอนาคตก็ เ ตรี ย มจะเปิ ด อบรมเจาะจงไปทีก่ ลุม่ ชาวบ้าน อย่างกลุม่ ชาวนา กลุ่มชาวเรือหัวโทง กลุ่มนักเรียน เข้ า มาอบรมที่ นี่ ซึ่ ง ทั้ ง สามกลุ ่ ม นี้ ถื อ ได้ว่า เป็นกลุ ่ ม ประชากรหลั ก ของบ้ า น เกาะกลางก็ว่าได้
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
คุณไอลดาเล่าให้ฟังว่าบนเกาะกลาง แห่ ง นี้ มี โรงเรี ย นที่ ส อนถึ ง ชั้ น มั ธ ยม 6 เท่านั้น เมื่อจบจากที่นี่แล้ว ลูกหลานของ ชาวบ้านหากต้องการศึกษาในระดับอืน่ ๆ ต่อ ก็ต้องเดินทางออกจากเกาะไปเรียน ในตั ว เมื อ งกระบี่ ห รื อ จั ง หวั ด ใกล้ เ คี ย ง อย่างที่ตรังหรือภูเก็ต ลูกหลานชาวบ้านเหล่านี้นี่เองที่เป็น ผู้ใช้บริการศูนย์ USO NET บ่อยกว่า ใครเพื่อน “ส่ ว นใหญ่ เขาก็ จ ะมาค้ น คว้ า หา ข้ อ มู ล กั น มี ตั้ ง แต่ เ ด็ ก ประถม มั ธ ยม นักศึกษาก็มี ถ้าเป็นนักศึกษาส่วนใหญ่ ก็จะมาตอนปิดเทอม” คุณไอลดาเล่าด้วย รอยยิ้ม “ช่วงปิดเทอมเด็กๆ จะเยอะ หน่อย จับกลุ่มกันมา 4-5 คนก็มี มาคน เดียวก็มี เวลามากันทีนี่ครึกครื้นมาก” ขั้นตอนการใช้งานก็ไม่ยุ่งยากเลย เมื่อเด็กๆ มาแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่าจะใช้ งานห้องคอมฯ เจ้าหน้าที่ก็จะมีสมุดให้ลง ชื่อไว้ จากนั้นก็เข้าไปใช้งานได้เลย หาก น้องๆ คนไหนยังไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ มาก่อน เจ้าหน้าที่ก็จะคอยช่วยดูแลสอน การใช้งานให้ เปิดเครือ่ งอย่างไร เซฟไฟล์ อย่างไร เหล่านี้เป็นต้น
“ส่วนใหญ่เขาก็จะมาค้นคว้า หาข้อมูลกัน มีตั้งแต่เด็ก ประถม มัธยม นักศึกษาก็มี ถ้าเป็นนักศึกษาส่วนใหญ่ ก็จะมาตอนปิดเทอม” คุ ณ ไอลดา
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
แม้ว่าห้องคอมฯ จะได้รับความนิยม ในหมู่เยาวชน แต่ก็ยังมีอุปสรรคอยู่บ้าง ในการชั ก ชวนให้ ผู ้ ใ หญ่ บ นเกาะมาใช้ บริการ ยิ่งเมื่อเทียบสัดส่วนการใช้งาน กับเด็ก ต้องถือว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้าง น้อยอยู่สักหน่อย “มีคนมาใช้นะคะ ไม่ใช่ไม่มเี ลย แต่ถา้ เทียบกับเด็กๆ ก็ถือว่าน้อย ส่วนใหญ่ ก็มาหาข้อมูล มาพรินต์งาน” คุณไอลดา ฉายภาพการใช้ห้องคอมฯ ในหมู่ผู้ใหญ่ แม้วา่ อาชีพหลักๆ ในบ้านเกาะกลาง คือการท�ำนาและประมง แต่ก็มีลูกบ้าน ไม่ น ้ อ ยที่ เ ป็ น ลู ก จ้ า ง ท� ำ งานค้ า ขาย หรือรับราชการ กลุ่มอาชีพประเภทหลัง นี่เองที่เป็นผู้มาใช้งานห้องคอมฯ ส่วน คนที่ท�ำนาหรือท�ำประมงส่วนใหญ่ไม่มี เวลามา เพราะเขาต้องท�ำงาน “คนที่ นี่ ใ ช้ มื อ ถื อ กั น หมดแล้ ว ส่ ว นใหญ่ ก็ ใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต จากมื อ ถื อ ตัวเอง บางบ้านมี wifi ของตัวเองด้วย” ช่องว่างหรือความเหลื่อมล�้ำในการ เข้ า ถึ ง เทคโนโลยี ส ารสนเทศและการ สื่อสารของประชาชน ดูจะแคบลงแล้ว ในปัจจุบันนี้
5
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
หนึ่ งในภารกิจ ส�ำคัญ ของทีมอาสา สมัคร NIV คือการลงพื้นที่ โดยทาง โครงการก�ำหนดให้อาสาสมัครแต่ละทีม ต้ อ งปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ใ นพื้ น ที่ เ ป็ น เวลา 6 สัปดาห์ และในระหว่างปฏิบัติงานอาสาสมั ค รก็ มีห น้ า ที่ประเมินความต้องการ ด้าน IT ในพื้นที่ รวมถึงความเป็นไปได้ ในการน� ำ IT มาใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ และแก้ ไขปั ญ หาและอุ ป สรรคที่ ชุ ม ชน มีอยู่ เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ศูนย์ USO NET เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ ได้รู้จักและเข้ามาใช้ประโยชน์จากศูนย์ฯ จั ด อบรมหลั ก สู ต รเกี่ ย วกั บ ไอที ใ ห้ แ ก่ ชุมชนในพื้นที่ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ต การใช้ โ ปรแกรมส� ำ นั ก งาน การสร้ า ง เว็บไซต์ การตัดต่อภาพ และวิดโี อ หรือจัด กิ จ กรรมต่ า งๆ ตามที่ ชุ ม ชนต้ อ งการ หรือตามที่อาสาสมัครเห็นสมควร
เมื่อทีม NIV รุ่น 3 เดินทางมาถึง หมู่บ้านเกาะกลาง พวกเขาก็เริ่มท�ำคลิป แนะน� ำ หมู ่ บ ้ า น วิ ถี ชี วิ ต ความเป็ น อยู ่ อาหารการกิน จากนั้นก็เดินทางไปพบ นายก อบต. ก�ำนัน ก่อนจะเดินทางต่อ ไปประชาสั ม พั น ธ์ โ ครงการกั บ ผอ. โรงเรียนญาซีเราะฮฺพทิ ยานุสรณ์ โรงเรียน บ้านคลองประสงค์ โรงเรียนบ้านบางขนุน โรงเรียนบ้านคลองก�ำ จากนั้นก็ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เด็กๆ นั ก เรี ย นโรงเรี ย นบ้ า นคลองประสงค์ โรงเรียนบ้านเกาะกลาง โรงเรียนญาซีเราะฮฺพทิ ยานุสรณ์ รวมถึงการเปิดศูนย์ฯ เพือ่ ให้ความรูเ้ พิม่ เติมในวันเสาร์-อาทิตย์ ทั้ ง หมดนี้ ก็ เ พื่ อ เรี ย นรู ้ ที่ จ ะรู ้ จั ก วิ ถี ชีวิตของชุมชนบ้านเกาะกลางที่อยู่อาศัย กันมายาวนาน จากรุ่นสู่รุ่น ชุมชนที่มี เอกลักษณ์เฉพาะตัว ยากที่จะหาที่ไหน มาเทียบเคียง ขณะเดียวกันก็ท�ำหน้าที่ เชื่อมโยงผู้คนในชุมชนให้เห็นประโยชน์ ของคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตว่ามี มากมายมหาศาลเพียงใด เพียงแค่ใช้ งานเป็น
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
เอกลั ก ษณ์ ป ระจ� ำ ชุ ม ชนเกาะกลาง การปลู ก ข้ า วสั ง ข์ ห ยด เป็นข้าวนาปีที่ปลูกกันปีละครั้ง มีคุณค่าทางอาหาร สูง และยังเป็นข้าวอินทรียท์ มี่ คี ณ ุ ภาพ ตัง้ แต่กระบวนการ ปลูก การเก็บเกีย่ ว และการสีขา้ วก็ทำ� กันบนเกาะด้วยมือ ของชาวบ้านเอง ข้าวสังข์หยดทีป่ ลูกทีน่ จี่ งึ มีจำ� นวนจ�ำกัด เพราะชาวบ้านปลูกไว้กนิ เอง มีขายบ้างก็เฉพาะบนเกาะ ใครอยากลองชิมต้องไปที่เกาะกลางเท่านั้น เพราะความ พิเศษที่ท�ำให้ข้าวของที่นี่ไม่เหมือนที่ไหนๆ คือดินที่ ใช้ปลูกมีความเค็มของน�ำ้ ทะเลปนอยู่ จึงได้ขา้ วทีน่ มุ่ และ รสชาติดี มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง เมื่อน�ำมาหุงจะมีกลิ่นหอม นุ่ม และรสชาติมัน
การท� ำ เรื อ หั ว โทงจ� ำ ลอง ในสมั ย ก่ อ นเรื อ หั ว โทงเป็ น พาหนะส� ำ คั ญ ในการ ออกเรือหาปลาของชาวประมง เรือหัวโทงดั้งเดิมมีขนาด ตั้งแต่ 7-10 เมตร หัวเรืองอนสูงเพื่อสู้กับคลื่นลมแรงๆ ในทะเล และด้วยภูมิปัญญาของช่างจึงออกแบบหัวเรือ
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
ให้แอ่นงอนเชิดสูงเพื่อแหวกคลื่นได้ดีและน�้ำทะเลไม่ ทะลักเข้าเรือ อีกทัง้ ยังใช้เป็นอุปกรณ์บอกทิศทางส�ำหรับ คนขับเรือเพือ่ ให้พงุ่ ตรงไปยังเป้าหมายได้ดว้ ย การประดิษฐ์ เรือหัวโทงจ�ำลองสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลานานด้วย ความช�ำนาญของช่างและเป็นการท�ำด้วยมือเท่านั้น
การท� ำ ผ้ า ปาเต๊ ะ เป็นการรวมกลุม่ ของชาวบ้านทีไ่ ด้แนวคิดและวิธกี าร ท�ำผ้าปาเต๊ะมาจากจังหวัดปัตตานี เป็นการผสมผสานกัน ระหว่างการท�ำผ้าปาเต๊ะของชาวมาเลย์กบั การท�ำผ้าบาติก จึงเกิดเป็นผ้าทีม่ สี สี นั ลวดลายสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว มีแรงบันดาลใจจากธรรมชาติและวิถีชีวิตของ ท้องถิ่น
6
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
เพื่ อ ให้ เ ป็ น อั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั บ บรรยากาศ เราจึงทดลองค้นคว้าข้อมูล ของหมู ่ บ ้ า นเกาะกลางในศู น ย์ USO NET หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า ‘ห้องคอมฯ’ ข้ อ มู ล ที่ ค ้ น พบอธิ บ ายว่ า วิ ถี ชี วิ ต หลักของชาวเกาะกลางคือการท�ำประมง ชายฝั่ง ชาวเกาะกลางส่วนใหญ่มีความรู้ เรื่องการวางอวนปลา การท�ำโป๊ะน�้ำตื้น การวางลอบปู การสักหอย การท�ำประมง ชายฝั ่ ง เป็ น วิ ถี ชี วิ ต ดั้ ง เดิ ม ของชาว เกาะกลางทีม่ คี วามผูกพันอย่างแยกไม่ออก และสืบทอดกันมาหลายรุ่น พอแดดร่ม ลมตกในยามเย็น ชาวประมงเกาะกลาง ก็จะออกไป ‘สักหอย’ ซึ่งหมายถึงการ ‘ขุ ด หอย’ บริ เวณหาดในทรายมี ห อย หลากหลายชนิด ทั้งหอยหวาน หอยราก หอยแครง หอยเม็ดขนุน
ขัน้ ตอนของการขุดหอยนัน้ ชาวบ้าน จะน� ำ ไม้ แ หลมกลมๆ ถื อ ยาวพอมื อ เดินแทงลงบนพื้นทราย การแทงแบบนี้ เองทีช่ าวบ้านเรียกว่า ‘สักหอย’ ซึง่ ชาวบ้าน แต่ ล ะคนก็ จ ะมี วิ ธี สั ง เกตและวิ ธี ค ้ น หา ที่แตกต่างกัน ท�ำให้สามารถจับหอยได้ หลากหลายชนิด นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว เกาะกลางก็สามารถร่วมสักหอยไปกับ ชาวบ้านได้ นอกจากจะสนุกสนานแล้ว ยังได้เรียนรู้วิธีการขุด และสังเกตหอย แต่ละชนิดจากชาวบ้านในพื้นที่
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
วิถีชีวิตอีกอย่างหนึ่งคือการท�ำโป๊ะ น�้ำตื้น โป๊ะ หมายถึง เครื่องมือประมง ทีต่ งั้ อยูป่ ากแม่นำ�้ หรือในทะเล บริเวณทีม่ ี กระแสน�ำ้ ขึน้ น�ำ้ ลง เป็นเครือ่ งมือประเภท ดั ก จั บ เช่ น เดี ย วกั บ ลอบและโพงพาง แต่ไม่สามารถยกขึ้นลงได้ การท�ำโป๊ะ น�้ำตื้นประกอบด้วยส่วนของลูกขังที่ใช้ ขังปลา กุ้ง ปู ที่มาตามกระแสน�้ำ กับส่วน ปีกสองข้างที่เป็นทางน�ำให้สัตว์เข้าสู่ลูก ขัง การท�ำโป๊ะน�้ำตื้นจะท�ำในช่วงที่น�้ำลง เต็มที่ ชาวบ้านจะน�ำเรือเข้าไปจอดใกล้ๆ โป๊ะแล้วใช้สวิงไล่ช้อนปลาที่เข้ามาติด ในโป๊ ะ หรื อ หากเป็ น วั น ที่ น�้ ำ ลดมาก ก็สามารถเดินไปทีโ่ ป๊ะได้เลย สัตว์ทจี่ บั ได้ ส่วนใหญ่จะเป็น ปลาจะละเม็ด ปลาหมึกกล้วย ปลามง ปลาสาก ปลาทราย ปูม้า และกุ้งแชบ๊วย เมื่อได้อ่านวิถีชีวิตของชาวบ้านจาก ในอิ น เทอร์ เ น็ ต ซึ่ ง เป็ น ข้ อ มู ล พื้ น ฐาน เบื้องต้นแล้ว เราตัดสินใจออกไปพูดคุย กั บ ชาวบ้ า นตั ว จริ ง เสี ย งจริ ง เพื่ อ ให้ ภารกิ จ การลงพื้ น ที่ ใ นชุ ม ชนบ้ า น เกาะกลางของอาสาสมัครรุน่ ที่ 3 ในครัง้ นี้ จะช่ ว ยให้ เราเข้ า ใจความเป็ น ชุ ม ชน มากขึ้น
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
คุ ณ แจวเป็ น ชาวเกาะกลางโดย ก� ำ เนิ ด อาศั ย อยู ่ ห มู ่ 3 เรี ย นหนั ง สื อ อยู่บนเกาะจนถึงชั้นมัธยม 3 จากนั้น ไปเรี ย นต่ อ สาขาช่ า งอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ที่ วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ในตัวเมืองกระบี่ จนจบ ปวส. หยุดเรียนตั้ง แต่ตอนนั้น เพื่อไปท�ำงานที่ร้านขายวัสดุ ขายอะไหล่ อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ใ นตัวเมืองกระบี่นั่นเอง ก่ อ นจะออกไปท� ำ งานแผนกแม่ บ ้ า น ในโรงแรมในเมืองอีกเช่นกัน “ช่วงนั้นโรงแรมบูมมากค่ะ” เธอเล่า แต่ทำ� อยูไ่ ด้เพียงปีกว่า เมือ่ เกิดเหตุการณ์ สึ น ามิ เธอก็ ล าออกเพื่ อ ไปท� ำ งานกั บ มู ล นิ ธิ ศุ ภ นิ มิ ต เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ เด็ ก ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ ก่อนจะโยก ย้ า ยไปท� ำ งานอี ก หลายที่ จ นกลั บ มาสู ่ อ้อมอกของบ้านเกิดในที่สุด
“คนที่ จ ะมาท� ำ งานที่ เ กาะกลาง ค่ อ นข้ า งล� ำ บากหน่ อ ย เพราะคงต้ อ ง ย้ายมาอยูท่ นี่ ี่ ถ้าไปกลับในเมืองระยะทาง ค่อนข้างไกล ซึง่ ถ้าท�ำงานเข้ากะ จะไปกลับ ก็ลำ� บาก กลางคืนมีเรือนะ แต่แพง เพราะ กลางคืนต้องเหมา” เธออธิบายสภาพภูม-ิ ศาสตร์ของเกาะกลางที่ดูจะเป็นเงื่อนไข ส�ำคัญของการเปิดรับคนจากภายนอก เข้ามาประกอบอาชีพ “ถ้าคนที่ชอบแสง สี ห น่ อ ยคงอยู ่ ไ ม่ ค ่ อ ยได้ ที่ นี่ ค ่ อ นข้ า ง จะเงียบ” เกาะกลางในภาพจ�ำของเธอเปลี่ยน ไปเยอะมาก เพื่อนๆ ในวัยเยาว์ถึงวันนี้ ก็ออกเรือนกันไปหมดแล้ว หลายคนต้อง โยกย้ายถิ่นฐานออกไปจากเกาะกลาง ด้วยเงื่อนไขของครอบครัว
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
“เมื่อก่อนตอนเด็กๆ เราใช้ตะเกียง อ่ า นหนั ง สื อ กั น กว่ า จะเริ่ ม มี ไ ฟฟ้ า ใช้ ก็เพิ่งราวๆ ยี่สิบปีมานี่เอง ตอนนั้นอยู่ ป.6 พอดี” ในสมัยนั้นน�้ำดื่มก็ใช้น�้ำฝน ส่วนน�้ำใช้ก็ใช้น�้ำบ่อที่แต่ละบ้านจะขุด กันเอง บ้านใครอยู่ใกล้ทะเลหน่อย น�้ำก็ จะเค็ม ห่างหน่อยน�ำ้ ก็จะกร่อย “ก็ใช้แบบ กร่อยๆ นีแ่ หละค่ะ มันเป็นความเคยชิน” ความที่เป็นชุมชนมุสลิม เราจึงไม่ ค่อยพบสิ่งบันเทิงต่างๆ นานาบนเกาะ กลางแห่งนี้ คุณแจวเล่าว่างานรืน่ เริงทีเ่ ธอ รอคอยก็คือวันฮารีรายอ “เป็นเทศกาลของมุสลิมค่ะ คล้ายๆ
วันปีใหม่ พวกเราก็จะไปมัสยิด พอละหมาด เสร็ จ ก็ เ ฉลิ ม ฉลองกั น เทศกาลนี้ ญ าติ พี่น้องจะมาพบกัน ท�ำอาหารกินกัน” พู ด คุ ย มาสั ก พั ก เราเริ่ ม สงสั ย ว่ า ส�ำหรับคนทีอ่ าศัยอยูใ่ นชุมชนเล็กๆ ทีท่ กุ คนรู้จักกันหมด ไม่มีแสงสีหวือหวาล่อตา ล่อใจ ความรู้สึกจะเป็นอย่างไร
“เมื่อก่อนตอนเด็กๆ เราใช้ ตะเกียงอ่านหนังสือกัน กว่าจะเริ่มมีไฟฟ้าใช้ก็เพิ่ง ราวๆ ยี่สิบปีมานี่เอง ตอนนั้นอยู่ ป. 6 พอดี” คุ ณ แจว
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
“เราไม่ได้ชอบอะไรที่เป็นแบบนั้น พอเป็ น คนไม่ ช อบอะไรแบบนั้ น ก็ เ ลย อยู่ได้” คุณแจวเฉลย ก่ อ นหน้ า นี้ ที่ บ ้ า นของคุ ณ แจวท� ำ บ่อกุ้ง เธอเล่าว่าสมัยนั้นกิจการรุ่งเรือง ดีงาม ก่อนที่จะถูกโรคภัยของกุ้งคุกคาม ช่วงเวลานั้นเองที่เธอใช้โทรศัพท์มือถือ เป็นครั้งแรก “ตอนนั้ น มือถือนี่มีแต่คนแก่ๆ ใช้ นะคะ เด็กๆ ยังไม่รจู้ กั แต่คนแก่ทเี่ ขามีเงิน เขาก็เข้าไปในเมืองบ่อย ก็ไปซื้อมาใช้ แต่พอถึงทุกวันนี้ไม่ใช่แล้ว ตอนนี้เป็น ช่วงเวลาของเด็กๆ ทีจ่ ะใช้มอื ถือกัน คนแก่ ตามเทคโนโลยีไม่ทันแล้ว” เธอรวบยอด สรุปให้เราฟังถึงพัฒนาการการใช้มือถือ ของคนในบ้านเกาะกลาง
จากนั้ น ก็ ต ามมาด้ ว ยสั ญ ญาณ อิ น เทอร์ เ น็ ต เธอคะเนว่ า ปั จ จุ บั น นี้ บนเกาะกลางน่าจะมีจุดที่ให้บริการ wifi อยูร่ าวๆ 5-6 จุดไม่รวมทีอ่ ยูต่ ามบ้านคน ที่ น ่ า สนใจมากคื อ เธอวิ เ คราะห์ ว ่ า ความต้องการอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่าง มากเมื่อชาวบ้านได้รู้จักเฟซบุ๊กและไลน์ แต่ความส�ำคัญของระบบสัญญาณ ไม่ใช่ มี เพี ย งแค่ นั้น เธอเล่ า ให้ ฟ ั ง ว่ า มี เพือ่ นบ้านวัย 40 คนหนึง่ ทีย่ งั คงประกอบ อาชีพประมงซึ่งเป็นที่รู้กันว่าทรัพยากร ในท้องทะเลส�ำหรับชาวบ้านเล็กๆ นั้น นับวันจะลดน้อยถอยลง แต่เพื่อนบ้าน คนนี้กลับไม่ประสบชะตากรรมเช่นนั้น “คนนี้เขาใช้มือถือเป็น GPS แล้วใช้ ไปมาร์ ก จุ ด ไว้ ว ่ า จุ ด นี้ ที่ เ คยได้ ป ลาดี ได้ปลาเยอะ เขาก็จะมาร์กไว้ แต่ไม่รู้ รายละเอี ย ดว่ า ท� ำ ยั ง ไงนะ เราไม่ เ คย ขอเขาดู รู้แต่เขาออกทะเลไป 3-4 วัน กลับมาก็ได้ปลาเยอะ” คุณแจวเล่าด้วย
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ความตืน่ เต้น “เขาไม่ใช้โทร ไม่ใช้อย่างอืน่ ไม่คุยกับใคร แต่ใช้เป็นเทคโนโลยีช่วย หาปลาของเขาเอง” คุณแจวคาดว่าน่าจะ เป็นน้องชายของเขาทีเ่ ป็นคนให้คำ� แนะน�ำ เมือ่ มีผนู้ ำ� ย่อมมีผตู้ าม คุณแจวเล่าว่า หลังๆ ก็เริ่มมีชาวประมงคนอื่นๆ ท�ำตาม บ้างแล้ว ในขณะที่ผู้ชายส่วนใหญ่ยังคงออก เรือไปหาปลา ผูห้ ญิงส่วนใหญ่กอ็ อกบ้าน ไปท�ำงานในเมือง ท�ำงานโรงแรมบ้าง ท�ำงานออฟฟิศบ้าง เป็นข้าราชการก็พอมี หลายคนก็ไปขายของทีต่ ลาดเช้าในเมือง
เจ็ดโมงเช้าออกจากบ้าน ไปขึ้นเรือ ข้ า มฝั ่ ง ไปท� ำ งาน เลิ ก งานก็ ข ้ า มเรื อ กลับบ้าน คุ ณ จั น ก็ เ ป็ น ชาวเกาะกลางโดย ก�ำเนิดเช่นกัน บ้านอยู่หมู่ 3 เรียนหนังสือบนเกาะ จนถึ ง มั ธ ยม 3 จากนั้ น ก็ ไ ปเรี ย นต่ อ ที่วิทยาลัยเทคนิคกระบี่ สาขาช่างไฟฟ้า ก�ำลัง เมือ่ เรียนจบก็ทำ� งานอยูแ่ ถวตัวเมือง กระบี่ ก่อนจะเบนเข็มไปเรียนต่อเสริมสวย ที่ ก รุ ง เทพฯ เรี ย นจบกลั บ มาเปิ ด ร้ า น เสริมสวยในตัวเมืองกระบี่ โยกย้ายไป ภูเก็ต ก่อนจะกลับมาปักหลักที่บ้านเกิด ของตัวเอง “กรุงเทพฯ มันไม่เหมือนบ้านเราค่ะ ไปไหนมาไหนก็ล�ำบากรถติด คนเยอะ มันเป็นสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกับที่เกาะ เราชอบทีเ่ กาะมากกว่า ชอบกระบีม่ ากกว่า มันไม่แน่นไม่แออัด” ความทรงจ�ำเกีย่ วกับ กรุงเทพฯ พรัง่ พรูออกมา “อาหารการกิน
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
ที่ ก รุ ง เทพฯ รสชาติ ก็ ไ ม่ เ หมื อ นที่ ใ ต้ เราติ ด รสชาติ นี้ ม าตั้ ง แต่ เ ด็ ก ๆ เรากิ น แต่รสเผ็ดหรืออาหารรสจัด” คุ ณ จั น เล่ า ว่ า ครอบครั ว ของเธอมี พี่ น ้ อ ง 12 คน ที่ อ ยู ่ ท่ี โ ตกั น มาได้ ก็ เพราะสมัยก่อนทรัพยากรในทะเลมีเยอะ แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ได้เป็นเช่นนั้นแล้ว “ถามคนที่ รู ้ จั ก ว่ า อยากออกไป ท�ำงานในเมืองไหม เขาก็ไม่อยากไปนะคะ เขาอยากอยู่ที่เกาะ เพราะว่าการเดินทาง มันล�ำบาก มันต้องขี่รถไป แล้วก็เอารถ ลงไปในเรือ เสร็จแล้วก็ขี่ต่อไปท�ำงาน ท�ำงานเสร็จตอนกลับก็ต้องเอารถลงไป ในเรือ แล้วก็ขี่กลับบ้าน มันล�ำบากนะคะ แล้วไหนจะค่ารถ ค่าเรือ หรือค่าน�้ำมัน ก็ใช้เยอะอยู่ในแต่ละวัน สมมติค่าแรง วันละ 300 ค่ากินค่ารถไปก็ 150 แล้วค่ะ ก็จะเหลือแค่วนั ละ 150 เอง ไม่มใี ครอยาก
ไปท�ำงานข้างบนหรอก แต่ว่าในเกาะ มันก็ไม่มีอะไรจะให้ท�ำแล้ว” ภาพวิ ถี ชี วิ ต ของคนรุ ่ น หลั ง ใน เกาะกลางถูกฉายขึน้ มาภาพแล้วภาพเล่า แสดงให้เห็นถึงความเปลีย่ นแปลงทีช่ มุ ชน ก�ำลังรับมืออยู่ ท่ามกลางความเป็นอยู่ เรียบง่ายที่เห็นจากภายนอก ทั้งการออก เรือไปในทะเล ทั้งนาข้าวสังข์หยดที่โดย พืน้ ฐานปลูกไว้กนิ กันเอง หรือกระทัง่ สัตว์ เลีย้ งอย่างแพะ ทีเ่ ราพบเห็นได้ตลอดสอง ข้างทางบนเกาะ “เลี้ ย งแพะมั น ไม่ มี ค ่ า ใช้ จ ่ า ยอะไร เลยค่ะ เช้ามาก็ปล่อยให้มันไปเดินเล็ม หญ้าของมันไป ตอนเย็นกลับมาเราก็แค่ ใส่ ก องไฟให้ เขาอุ ่ น ๆ แค่ นั้ น เองค่ ะ กลางคืนเขาก็จะเข้าคอกไปนอน ตอนเช้า เปิดออกจากคอกเขาก็เดินไปหาอะไรกิน ง่ายๆ แบบนี้เลยค่ะ” คุณจันเล่าถึงสัตว์เลี้ยงของครอบครัว ปั จ จุ บั น คุ ณ จั น ท� ำ งานประจ� ำ อยู ่ ที่ โรงแรมที่ มี อ ยู ่ เ พี ย งแห่ ง เดี ย วบนเกาะ นอกจากนั้นยังหารายได้เสริมด้วยการ
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ท�ำร้านเสริมสวยของตัวเองทีบ่ า้ นและเริม่ ที่จะขายของออนไลน์เพิ่มเติม “ก็ขายจากในมือถือนี่แหละค่ะ” เธอ หยิ บ โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ขึ้ น มาประกอบ บทสนทนา แรกๆ ลูกค้าของเธอก็เริ่ม จากเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ บนเกาะกลาง จากนั้นก็ขยับขยายไปยังเกาะยาวบ้าง เกาะศรีบอยาบ้าง เราสนใจว่าเธอเริม่ ต้นธุรกิจหารายได้ เสริมนี้ได้อย่างไร “ก็เห็นเพื่อนๆ เขาท�ำกันในเฟซค่ะ ขายของออนไลน์กันเยอะ พอเขาแนะน�ำ เราก็ลองท�ำดู เดีย๋ วนีค้ นเล่นเฟซกันเยอะ ใช่ไหมคะ เขาก็จะดูจากทางเฟซ อ่านรายละเอียด ถ้าเขาสนใจเขาก็ส่ัง เรามีหน้า
“เหนื่อยแล้วค่ะ อยากอยู่ บ้านแล้ว อยู่บ้านมันไม่เปลือง ค่าใช้จ่าย ค่าเช่าบ้านไม่ต้อง ค่ากิน ค่าอยู่ เราก็มีอยู่ที่บ้าน หมดเลย ไม่ต้องไปซื้อกิน ก็กินผักง่ายๆ หาหอยกิน มันลดค่าใช้จ่ายได้เยอะนะ” คุ ณ จั น
ลงภาพสินค้าให้เขาดู” ซึ่งรายได้ที่ว่าก็ ช่วยเสริมจากรายได้หลักของเธอได้จริงๆ ในอนาคต เธอวางแผนอยากเปิด หน้าร้าน คนทีอ่ ยากเห็นสินค้าตัวจริงจะได้ เดินทางมาดูได้ ถึงตอนนั้น ข้าวสังข์หยด หรือของฝากเล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ ก็อยู่ ในความสนใจของเธอด้วย “เหนื่อยแล้วค่ะ อยากอยู่บ้านแล้ว อยูบ่ า้ นมันไม่เปลืองค่าใช้จา่ ย ค่าเช่าบ้าน ไม่ต้อง ค่ากิน ค่าอยู่ เราก็มีอยู่ที่บ้าน หมดเลย ไม่ต้องไปซื้อกิน ก็กินผักง่ายๆ หาหอยกิน มันลดค่าใช้จ่ายได้เยอะนะ สมมติในตัวเมืองเราท�ำงานเดือนละหมื่น สองหรือสองหมื่นนี่ไม่พอนะคะ ค่าเช่า บ้าน ค่าน�้ำ ค่าไฟ ค่าน�้ำมันรถ ค่ากินอีก ค่าเสื้อผ้า ค่าช้อปปิ้งอีก หมดค่ะ แต่ที่นี่
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
มันไม่มี พอท�ำงานเสร็จกลับบ้านไม่เจอ อะไรให้แวะ กลับไปถึงกินข้าวแล้วก็นอน” เวลาเครี ย ด คุ ณ จั น จะออกไปสั ก หอยเล่น ผ่อนคลายและได้อาหารเย็น ด้ ว ย หรื อ บางครั้ ง ก็ อ อกหาปลาที่ โ ป๊ ะ เวลาที่น�้ำลด คุ ณ บิ๊ ก ไม่ ใ ช่ ช าวเกาะกลางโดย ก�ำเนิด เขาเป็นคนจากเทศบาลกระบี่น้อย อ�ำเภอเมืองกระบี่ ออกจากบ้านไปตั้งแต่ เรียนจบชั้น ป. 6 ไปใช้ชีวิตอยู่กรุงเทพฯ ราวสิ บ สามปี จากนั้ น ก็ ไ ปท� ำ งานร้ า น อาหารอยู ่ ที่ อั ง กฤษอี ก เกื อ บๆ สิ บ ปี จึ ง ค่ อ นย้ า ยกลั บ มาท� ำ งานที่ บ ้ า นเกิ ด กลับมาอยูบ่ า้ นดูแลครอบครัว แล้วจึงค่อย ขยับขยายมาท�ำงานบนเกาะกลางแห่งนี้ “สังคมที่นี่แทบไม่มีการแข่งขัน ไม่มี การแข่งขันกันว่าต้องมีรถ ต้องมีบา้ นหลัง ใหญ่ๆ ต้องการมีโน่นนี่นั่นแบบวิถีชีวิต คนในเมืองเกาะกลางเปรียบเสมือนกระบี่ ในอดี ต ซึ่ ง มี เ สน่ ห ์ ม าก ลองคิ ด ดู ว ่ า ใน ตัวเมืองที่ไฮเทค ศิวิไลซ์ แต่พอข้ามเรือ มาห้านาที คุณจะได้กลับสู่อดีต มีทุ่งนา มีวัว มีควาย มีแพะ มีหมู่บ้านแบบชาว ประมง มีการท�ำประมงน�้ำตื้น มีการหา
“สังคมที่นี่แทบไม่มีการแข่งขัน ไม่มีการแข่งขันกันว่าต้องมีรถ ต้องมีบ้านหลังใหญ่ๆ ต้องการ มีโน่นนี่นั่นแบบวิถีชีวิตคน ในเมืองเกาะกลางเปรียบเสมือน กระบี่ในอดีตซึ่งมีเสน่ห์มาก ลองคิดดูว่าในตัวเมืองที่ไฮเทค ศิวิไลซ์ แต่พอข้ามเรือมาห้านาที คุณจะได้กลับสู่อดีต” คุ ณ บิ๊ ก หอยตามชายทะเล มีการดักปลา มันเป็น สโลว์ไลฟ์ เป็นวิถีชาวบ้านที่เขาอยู่กัน แบบนี้มาตลอด ไม่มีการแข่งขันอะไรกัน อยูก่ นั แบบพีน่ อ้ ง” คุณบิก๊ พยายามอธิบาย ภาพชุมชนเกาะกลางให้เราฟัง จากสายตา ของผู้ที่ผ่านการใช้ชีวิตในเมืองศิวิไลซ์ มายาวนาน
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
เขาให้เหตุผลว่าส่วนหนึง่ ทีเ่ กาะกลาง ยังวิถีชีวิตเช่นนี้ไว้ได้เป็นเพราะสะพาน “เคยมีความพยายามจะสร้างสะพาน เชื่ อ มกั บ ตั ว เมื อ งเหมื อ นกั น ชาวบ้ า น ส่วนหนึ่งเอาด้วยเหตุผลว่าเวลาเจ็บไข้ ได้ป่วยฉุกเฉินตอนกลางคืน คนที่มีเรือ ก็ ดี ไ ป คนที่ ไ ม่ มี เ รื อ ก็ ล� ำ บากหน่ อ ย แต่กลุม่ ทีไ่ ม่เห็นด้วยซึง่ มีจำ� นวนเยอะกว่า ก็บอกว่านี่มันแก้ปัญหาไม่ถูกจุดเขาบอก ว่าถ้ามีสะพานข้ามมามันจะท�ำให้วิถีชีวิต เปลี่ยนไป การแข่งขันจะสูงขึ้น อาจจะมี
นายทุนเข้ามาท�ำธุรกิจมากขึน้ ท�ำให้ชวี ติ คนบนเกาะไม่สงบ ความปลอดภัยค่อนข้าง จะน้อย ทีเ่ ป็นอยูต่ อนนีค้ อื เสน่หข์ องเกาะ กลาง มอเตอร์ไซค์จอดทิ้งไว้ไม่มีหาย ไม่มีอาชญากรรม ไม่มีการลักขโมย ไม่มี การยกพวกตีกนั ไม่มฆี า่ ฟันกัน ไม่มอี ะไร ก็แล้วแต่ที่ไม่ปลอดภัย”
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
คุณบิ๊กเล่าว่าชาวบ้านที่นี่มีเท่าไหน กินเท่านั้น ไม่จ�ำเป็นต้องหาตุนไว้เยอะ แยะ เขาก็อยู่กันมาได้เป็นร้อยๆ ปีแล้ว ไม่มีมลภาวะอะไร โรคภัยไข้เจ็บก็มีน้อย แต่ภาพจริงทีใ่ กล้เคียงความฝันเช่นนี้ ก็ไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร เท่าที่เรา ลงส�ำรวจพื้นที่กัน ก็เริ่มเห็นที่ดินหลาย แปลงปักป้ายขายกันแล้ว
ในเมื่อไม่มีใครสามารถล่วงรู้อนาคต เราในฐานะคนที่ ผ ่ า นมาเพี ย งชั่ ว ครั้ ง ชั่ ว คราวจึ ง ได้ แ ต่ เ ก็ บ ข้ อ มู ล ไปเงี ย บๆ และคงต้ อ งปล่ อ ยให้ ผู ้ ค นในชุ ม ชน ตัดสินใจเลือกอนาคตของพวกเขาด้วย ตัวเอง
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
การปฏิ บั ติตนของนั ก ท่ อ ง เที่ ย วที่ ต ้ อ งเคารพในวิ ถี ชี วิ ต ของชาวเกาะกลาง
1 2 3 4
ไม่น�ำสิ่งเสพติดและของมึนเมาขึ้นมาบนเกาะ
5
ไม่แสดงพฤติกรรมเชิงชู้สาวในที่สาธารณะ
ไม่น�ำอาหารประเภทหมูขึ้นมาบนเกาะ ไม่น�ำสุนัขขึ้นมาบนเกาะ สุภาพสตรีควรแต่งกายสุภาพ ไม่ควรใส่สายเดี่ยว หรือกางเกงขาสั้นมากเกินไปจนเห็นต้นขา
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
1
2
3
4
5
7
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
เมื่อได้ยินได้ฟังชาวบ้านตัวจริงเสียง จริงเล่าถึงวิถีชีวิตจริงๆ ของพวกเขาแล้ว เรากลั บ มายั ง ศู น ย์ USO NET หรื อ ‘ห้องคอมฯ’ ของชาวบ้านอีกครั้ง เพื่อพูด คุยกับ คุณชยุฑ ภูสันต์ พนักงานปฏิบัติ การระดับสูง คุ ณ ยุ ฑ และที ม งานเดิ น ทางมาถึ ง เกาะกลางในราวปี พ.ศ. 2553 เพื่อไป ส�ำรวจพื้นที่ที่จะติดตั้งศูนย์ USO NET จากที่ได้รับแจ้งมาว่าเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่าง จากตัวเมืองกระบี่เพียงแค่สองกิโลเมตร มี แ ม่ น�้ ำ คั่ น กลางอยู ่ สั ก หน่ อ ย ใช้ เวลา นั่งเรือประมาณห้านาที แต่กลับไม่มีการ สื่อสารใดๆ เลย กระทั่งโทรศัพท์มือถือ สัญญาณยังแทบจะไม่ค่อยมี สภาพของเกาะกลางในเวลานั้ น ในเวลานั้ น ดู เ หมื อ นทั้ ง เกาะจะมี ไม่ แ ตกต่ า งจากที่ ไ ด้ ยิ น ได้ ฟ ั ง จาก สัญญาณอินเทอร์เน็ตอยู่เพียงแห่งเดียว ชาวบ้านเจ้าของพื้นที่ คือที่โรงเรียน เป็นอินเทอร์เน็ตจานดาวเทียม 512 K ซึ่งหมายถึงเมื่อเปิดใช้งาน ไปแล้ ว สามารถไปกิ น ข้ า วได้ ส ามจาน กลั บ มาหน้ า google ก็ อ าจยั ง ไม่ ขึ้ น มาบนจอ การมาของอินเทอร์เน็ตที่บ้านเกาะ กลางไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากไม่มีเอกชน เจ้าไหนอยากมาลงทุน “ชาวบ้านนี่ถ้าเราไปถามเขาว่าลุง อยากได้อนิ เทอร์เน็ตมัย้ ทุกวันนีก้ เ็ หมือน เดิม ถ้าพูดจริงๆ ก็คือคนไทยที่สูงอายุ
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
ยั ง ไม่ รู ้ ค วามส� ำ คั ญ ของอิ น เทอร์ เ น็ ต เท่าไหร่ ไม่เข้าใจอินเทอร์เน็ต ไม่รู้จัก อินเทอร์เน็ต พอไม่รไู้ ม่เข้าใจก็ไม่อยากได้ พอไม่อยากได้มันก็ไม่ท�ำให้การตลาด มันงอกเงย ไม่ท�ำให้ผู้ประกอบการขยาย โครงข่ายสนใจ” คุณยุฑอธิบายที่มาที่ไป และนี่เองเป็นเหตุผลให้ USO ต้อง เข้าไปท�ำเป็นตัวอย่างไว้ ท�ำให้ชมุ ชนเห็น ผลจากการส�ำรวจพบว่า ชุมชนที่นี่ ก่อนว่าอินเทอร์เน็ตสามารถเปิดตลาด ขาดแคลนจริงๆ มีความต้องการจริงๆ โลกได้ สามารถคุยกับคนต่างๆ ได้ มีทุก เพียงแต่ไม่ใช่ความต้องการจากประชาชน อย่างใหม่ๆ เข้ามา มีสิ่งที่ให้เรียนรู้เข้ามา ทั่วไป แต่เป็นความต้องการอย่างยิ่งยวด จากโรงเรียน “นั ก เรี ย นอาจจะมองไม่ เ ห็ น ว่ า อินเทอร์เน็ตเร็วเป็นยังไง เพราะเคยเห็น แต่แบบช้าจนชิน มีแต่ครูที่รู้ เพราะครู มาจากที่ อื่ น มาจากในเมื อ ง เขารู ้ ว ่ า มันเร็วกว่านีไ้ ด้นะ ท�ำไมของเรามันไม่เร็ว ล่ะ ติดปัญหาอะไร” เมือ่ ทุกอย่างเข้ารูปเข้ารอย เครือข่าย มือถือก็เริม่ เข้าไปเปิดให้บริการ อินเทอร์เน็ตที่บ้านเกาะกลางเริ่มเร็วขึ้น ใช้งาน สะดวกมากขึน้ จากนัน้ ก็เริม่ มีการโปรโมต การท่องเที่ยวเกาะกลาง จนกลายเป็นที่ รู้จักของนักท่องเที่ยวสายอนุรักษ์จนทุก วันนี้
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
“ถ้าย้อนหลังไปสิบปีกอ่ นแล้วถามว่า ในอนาคตคุณอยากได้มอื ถือแบบนีๆ้ ไหม คุณอาจจะบอกว่าดีๆ อยากได้ๆ แต่ need จริงๆ ไหม ไม่ได้ need หรอก เพราะ ชั่วโมงนั้นมันยังไม่ได้เห็นความส�ำคัญไง Timing มันเปลีย่ นไป ความต้องการของ คนก็เปลีย่ นไป ความรูส้ กึ ของคนก็เปลีย่ น ไป ถ้าคุณได้สัมผัสมันแล้วคุณก็จะรู้ว่า คุณขาดมันไม่ได้ แต่ก่อนคุณไม่ได้สัมผัส มันคุณก็บอกชีวิตคุณก็ไม่เห็นมีปัญหา อะไรนี่ ไม่มเี น็ตก็ไม่เห็นตาย ไม่มโี ทรศัพท์ ก็คยุ กับเพือ่ นได้นี่ ไปหยอดเหรียญก็คยุ ได้ แต่ท�ำไมทุกวันนี้แค่ลืมโทรศัพท์ยังต้อง กลั บ บ้ า นเพื่ อ ไปเอาโทรศั พ ท์ ก ลั บ มา มันไม่ใช่ปัจจัยที่ 4 ก็จริงแต่มันเป็นปัจจัย ที่ 5 ที่ 6 ซึ่งเป็นสิ่งที่ส�ำคัญพอๆ กับ เสื้อผ้า ยารักษาโรค มันกลายเป็นโลก ของการสื่อสารไปแล้ว”
ค�ำถามส�ำคัญจึงเกิดขึน้ เมือ่ เครือข่าย ระบบมื อ ถื อ เข้ า ถึ ง ชาวบ้ า นหมดแล้ ว ศูนย์ USO NET ยังจ�ำเป็นอยู่ไหม “จ�ำเป็นครับ เพราะเป้าประสงค์มัน ต่างกัน โทรศัพท์มือถือมันเอาไว้สื่อสาร ในระยะสั้นๆ แต่ศูนย์ USO NET มันมี ไว้ส�ำหรับใช้งาน
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
“สมมติ ไ ปต่ า งจั ง หวั ด มี มื อ ถื อ ไป เผอิญเจ้านายส่งไฟล์มา คุณก็ได้แต่ดู เกิดเจ้านายบอกว่าช่วย edit หนังสือ หน่อยดิ ตรวจสอบหนังสือให้ผมหน่อย งานนี้ถูกต้องมั้ยเอาไฟล์ตรงนี้ใส่ตรงนั้น ให้ผมหน่อย คุณจะท�ำที่ไหน ถ้าคุณไม่มี แล็ปท็อปไป โอเคมือถือบางรุ่นอาจจะท�ำ ได้ แต่ก็ล�ำบาก แต่ถ้ามีศูนย์ USO NET คุณก็วิ่งไปท�ำได้ ตัวมันอาจจะไม่ส�ำคัญ ร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็จ�ำเป็นต้องมีเหมือน โทรศัพท์สาธารณะ เหมือนตู้ดับเพลิง ไฟไม่ไหม้ก็ไม่มีใครเห็นมันหรอก” การมีอยูข่ องศูนย์ฯ จ�ำเป็นอย่างยิง่ ที่ จะต้องมาควบคูก่ บั การประชาสัมพันธ์ให้ ผู้คนในชุมชนรับรู้และเข้าใจถึงประโยชน์ อั น มากมายมหาศาลที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น จาก ‘ห้ อ งคอมฯ’ ที่ ว ่ า นี้ และอาสาสมั ค ร NIV ก�ำลังท�ำหน้าที่นั้นอย่างเข้มแข็ง
เป็นไปได้วา่ โลกการสือ่ สารทีส่ ะดวก และรวดเร็วขึ้นในอนาคต จะสร้าง platform การท�ำงานใหม่ให้กระจายออกไป อย่างทั่วถึง ไม่จ�ำกัดแต่เฉพาะในเมือง ใหญ่อย่างที่เป็นอยู่ เป็นการท�ำงานที่คน เราแทบจะไม่ต้องมาประจ�ำที่ออฟฟิศแต่ ยังคงสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถ้าสามารถพัฒนาไปถึงจุดนั้นได้ ชุมชนต่างๆ ก็จะเห็นความส�ำคัญของ ‘ห้องคอมฯ’ ของพวกเขามากขึ้น
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
USO VDO
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
ที่มา
ข้อมูลจังหวัดกระบี่ https://th.wikipedia.org/wiki/ วิกิพีเดีย จังหวัดกระบี่ http://www.m-culture.go.th/krabi/ ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดกระบี่ http://www.krabiinformation.com/thai/krabi_info/history.htm ประวัติความเป็นมา ข้อมูลเศรษฐกิจจังหวัดกระบี่ http://www.cgd.go.th/cs/kbi/kbi/ ประมาณการเศรษฐกิจ http://www.krabi.go.th/krabi2015/m_file/summary/summary58.pdf บรรยายสรุปกระบี่ 2558 ข้อมูลเกาะกลาง www.manager.com วาไรตี้ท่องเที่ยว www.pantip.com 'เกาะกลาง' { จังหวัดกระบี่ . . ที่ไม่ได้มีดีแค่ทะเล } . .
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้
www.thetrippacker.com 'ชุมชนเกาะกลาง' สัมผัสวิถีชาวเลเมืองกระบี่ กับ 3 สิ่งที่มาแล้ว...ต้องห้ามพลาด! www.chillpainai.com เมืองกระบี่และเกาะกลาง วิถีชุมชนเรียบง่าย เสน่ห์แห่งเมืองเขาขนาบน�้ำ USO NET http://usonet.nbtc.go.th/th/?page_id=273 ศูนย์อินเทอร์เน็ตชุมชน http://usonet.nbtc.go.th/th/?page_id=277 ศูนย์อินเทอร์เน็ตโรงเรียน
การเดินทางของ ภาคใต้
USO
การเดินทางของ USO : ภาคใต้
เจ้าของ : ส�ำนักงานคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ บรรณาธิการอ�ำนวยการ : นายวเรศ บวรสิน บรรณาธิการบริหาร : นางสาววรกัญญา สิทธิธรรม บรรณาธิการเล่มและบรรณาธิการศิลปกรรม : rabbithood studio เรื่อง : ส�ำนักบริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึงและเพื่อสังคม (Universal Service Obligation) ภาพ : USO | rabbithood studio ออกแบบปก/รูปเล่ม : rabbithood studio เรียงพิมพ์และพิสูจน์อักษร : นางสาวเบญจวรรณ แก้วสว่าง ประสานงานการผลิต : นางสาวธนพร แสงแก้ว
ก ารเดิ น ท าง ของ U S O
ภาคใต้