คานา กรมการพัฒนาชุมชน โดยสานักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน ได้ จัดทาเอกสารกระบวนการรับรองมาตรฐานแผนชุมชน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ พัฒนาชุมชน/ภาคีการพัฒนา ผู้นาชุมชน และผู้สนใจทั่วไป ได้ใช้ ประกอบการขับเคลื่อนแผนชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ รายละเอียดของเนื้อหาประกอบด้วย กระบวนการขั้นตอน การรับรองมาตรฐานแผนชุมชน ผลการดาเนินงาน การกระจายเป้าหมายการดาเนินและการจัดสรร งบประมาณแต่ละจังหวัดเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
กรมการพัฒนาชุมชน ธันวาคม ๒๕๕๓
สารบัญ บทนา ความหมายของมาตรฐาน หลักการของมาตรฐาน ระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน
บทนา แผนชุมชนเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน กรมการ พัฒนาชุมชนได้ส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชนมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ โดย คานึงถึงการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในระดับฐานราก และเพื่อให้หน่วยงาน ภาคี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เห็นความสาคัญของแผนชุมชนและนา แผนชุมชนไปใช้ประโยชน์เพื่อการแก้ไขปัญหาได้ตรงตามความต้องการ ของชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้ริเริ่มส่งเสริมระบบมาตรฐานแผน ชุมชน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้า คุณทหารลาดกระบัง ภาคีการพัฒนา และผู้นาชุมชน ออกแบบระบบการ ตรวจสอบรับรอง ตัวชี้วัดและเกณฑ์เพื่อให้จังหวัดได้ใช้ตรวจสอบรับรอง ในการออกแบบตัวชี้วัดและเกณฑ์ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณ ทหารลาดกระบังร่วมกับกรมการพัฒนาชุมชนได้ทดสอบตัวชี้วัดและเกณฑ์ ครบทั้ง ๔ ภูมิภาค พร้อมปรับแก้ไขให้มีความเหมาะสมกับภูมิสังคมของแต่ ละพื้นที่
ความหมายของคาต่างๆเกี่ยวกับมาตรฐาน "การมาตรฐาน" มีศัพท์บัญญัติทางวิชาการที่เกี่ยวข้องอยู่มาก บางคาเป็นคาที่รู้จักแพร่หลาย และมีการนาไปใช้ในหลาย ๆ ด้าน อย่างไร ก็ตามความหมายของศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานและการมาตรฐานนั้น ได้มีผู้ให้คานิยามไว้หลายอย่างดังนี้
การมาตรฐาน (Standardization) หมายถึง กิจกรรมในการวางข้อกาหนดที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหา สาคัญที่มีอยู่หรือที่จะ เกิดขึ้น เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็น ปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสาเร็จสูงสุดตามข้อกาหนดที่วางไว้
๑. กล่าวโดยเฉพาะได้แก่ กิจกรรมที่ประกอบไปด้วยกระบวนการใน การกาหนด การประกาศใช้ และการนามาตรฐานต่าง ๆ ไปใช้ ๒. ประโยชน์ที่สาคัญของการมาตรฐาน ได้แก่ การปรับปรุงความ เหมาะสมของ ผลิตภัณฑ์ กรรมวิธี และการบริการตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ป้องกันไม่ให้มีอุปสรรคในทางการค้า และ ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันในทางเทคโนโลยี
มาตรฐาน (Standard) หมายถึง เอกสารที่จัดทาขึ้นจากการเห็นพ้องต้องกัน และได้รับ ความเห็นชอบจากองค์กรอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เอกสารดังกล่าววาง กฎระเบียบแนวทางปฏิบัติหรือลักษณะเฉพาะแห่งกิจกรรม หรือผลที่ เกิดขึ้นของกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติ วิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสาเร็จสูงสุดตามข้อกาหนดที่วางไว้ หมายเหตุ : มาตรฐานควรตั้งอยู่บนผลที่แน่นอนทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และประสบการณ์ โดยมุ่งการส่งเสริมให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด แก่ชุมชน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้คา นิยามของ มาตรฐาน ว่า มาตรฐาน คือ สิ่งที่ถือเป็นหลักสาหรับเทียบ กาหนด พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้กาหนดคาว่า "มาตรฐาน" ไว้ว่า มาตรฐาน คือ ข้อกาหนดรายการอย่าง ใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างเกี่ยวกับ จาพวก แบบ รูปร่าง มิติ การทา เครื่องประกอบ คุณภาพ ชั้น ส่วนประกอบ ความสามารถ ความทนทาน และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สรุปความหมายของ มาตรฐาน • ขนาดเดียวใช้ได้กับทุกคน • มาตรฐานถูกกาหนดมาจากภายนอก • ข้อมูลถูกจัดใส่ในกล่องข้อมูลที่ถูกจัดไว้อย่างตายตัว • ความหมายถูกกาหนดมาจากภายนอกระบบ
• • • •
การทาซ้าและการคาดการณ์ได้เป็นสิ่งที่ถูกกาหนดว่ามีคุณค่า จุดเน้นอยู่ที่เสถียรภาพและการควบคุม ความหมายจะอยู่คงที่ ระบบปรับตัวตามมาตรฐาน
มาตรฐานระบบการจัดการ (Management System Standard) คือ ข้อกาหนดหรือขั้นตอน ในการบริหาร กระบวนการทางาน ต่างๆ ขององค์กร เพื่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ การ ดาเนินงาน และบรรลุตามวัตุถุประสงค์ที่วางไว้ ปัจจุบันมาตรฐานระบบการจัดการที่สาคัญและหน่วยงานทั่วโลก นาไปใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่ มาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ ISO ๙๐๐๐ ISO ๙๐๐๐ (Quality Management System : QMS) เป็น มาตรฐานสากลสาหรับการบริหารงาน ในองค์กรที่นาไปใช้กันอย่าง แพร่หลาย เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีกระบวนการทางานที่มีประสิทธิภาพและ มีคุณภาพ โดยสามารถนาไปใช้ได้ทุกองค์กร ทุกขนาดทั้งอุตสาหกรรมการ ผลิตและการบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับ ลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยปัจจุบัน ISO ๙๐๐๐ : ๒๐๐๐ แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๔ ฉบับ คือ ISO ๙๐๐๐ : ระบบการบริหารงานคุณภาพ - หลักการพื้นฐาน และคาศัพท์ ISO ๙๐๐๑ : ระบบการบริหารงานคุณภาพ - ข้อกาหนด ISO ๙๐๐๔ : ระบบการบริหารงานคุณภาพ - แนวทางการ ปรับปรุงสมรรถนะ ISO ๑๙๐๐๑ :แนวทางในการตรวจประเมินระบบการ บริหารงานคุณภาพ และ/หรือระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ระดับของมาตรฐาน มาตรฐานที่กาหนดขึ้นนั้น หากจาแนกโดยระดับแล้วอาจมีได้ หลายระดับ (Level) ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากการกาหนดขึ้นและการ นาไปใช้ ระดับของมาตรฐานดังกล่าวแยกได้เป็น ๖ ระดับที่สาคัญ ดังนี้
๑. มาตรฐานระดับบุคคล (Individual Standards) เป็น มาตรฐานที่กาหนดขึ้นโดยผู้ที่ต้องการใช้แต่ละบุคคล รวมไปถึง การกาหนดโดยแต่ละหน่วยงานเพื่อให้เป็นไปตามความประสงค์ของแต่ละ คน หรือแต่ละหน่วยงานนั้น เช่น ข้อกาหนดในการทาเฟอร์นิเจอร์แต่ละ ชิ้น การออกแบบบ้านแต่ละหลัง เขื่อนแต่ละแห่ง การสร้างสะพาน การ สร้างโรงงาน ทาผลิตภัณฑ์เฉพาะ ฯลฯ
๒. มาตรฐานระดับบริษัท (Company Standards) เป็นมาตรฐานที่เกิดขึ้นจากการกาหนดขึ้นโดยการตกลงร่วมกันของ แผนกในบริษัท เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการผลิต การซื้อขาย ฯลฯ
๓. มาตรฐานระดับสมาคม (Association Standards) เป็น มาตรฐานที่กาหนดขึ้นจากกลุ่มบริษัท หรือโดยกลุ่มบุคคลที่อยู่ใน วงการค้าเดียวกัน หรือเกิดจากข้อตกลงของกลุ่มบริษัทหรือโรงงานที่มี กิจกรรมของอุตสาหกรรมเป็น อย่างเดียวกัน หรือมีการผลิตของชนิด เดียวกัน เช่น กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สมาคม อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ เป็นต้น
๔. มาตรฐานระดับประเทศ (National Standards) เป็น มาตรฐานที่ได้จากการประชุมหารือเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันของ ผู้เกี่ยวข้องหลาย ฝ่ายในชาติ โดยมีหน่วยงานมาตรฐานของชาตินั้น ๆ เป็น
ศูนย์กลาง ซึ่งหน่วยงานมาตรฐานของชาตินี้ อาจเป็นหน่วยงานของรัฐหรือ เอกชนก็ได้
๕. มาตรฐานระดับภูมิภาค (Regional Standards) เป็น มาตรฐานที่เกิดขึ้นจากการประชุมปรึกษาหารือกันระหว่าง ประเทศในภูมิภาคเดียว กัน แล้วกาหนดข้อตกลงร่วมกัน ส่วนมากจะเป็น การปรับมาตรฐานระดับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ให้มีสาระสาคัญ สอดคล้องกัน
๖. มาตรฐานระดับระหว่างประเทศ (International Standards) เป็น มาตรฐานที่ได้จากข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกต่าง ๆ ที่มี ความสนใจร่วมกัน เช่น มาตรฐานระหว่างประเทศขององค์การระหว่าง ประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization - ISO)
หลักการของมาตรฐาน การมาตรฐานมีหลักการที่สาคัญ ดังนี้
หลักการที่ ๑ หลักของการลดแบบและขนาด หลัก การนี้ สืบเนื่องมาจากความคิดของมนุษย์ ที่ต้องการให้การ ดาเนินชีวิตของคนเราเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การลดแบบและขนาด ของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่มากมายให้เข้ารูปเข้าแบบที่เหมาะสม จึงเป็นการทา สิ่งที่ยุ่งยากให้ง่ายขึ้น ขจัดความฟุ่มเฟือยของแบบและขนาดที่ไม่ จาเป็น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความยุ่งยากและซับซ้อนในสังคมปัจจุบัน รวมทั้ง เพื่อป้องกันความยุ่งยากที่ไม่จาเป็นในอนาคตด้วย
หลักการที่ ๒ หลักของการเห็นพ้องต้องกัน การมาตรฐานเป็นกิจกรรมที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่ เกี่ยวข้อง ดังนั้น ในการกาหนดมาตรฐานจึงต้องอาศัยความเห็นพ้อง ต้องกันของทุกฝ่าย และต้องเป็นการเห็นพ้องกันที่เป็นที่ยอมรับด้วย
หลักการที่ ๓ ต้องมีการนามาตรฐานไปใช้ปฏิบัติได้ มาตรฐาน แม้จะมีเนื้อหาดีเด่นเพียงใดก็ตาม หากไม่มีใครนาเอา มาตรฐานไปใช้แล้วก็ถือว่ามาตรฐานนั้นเป็นเพียงเอกสารที่ไม่ มีคุณค่า เพราะไม่สามารถทาให้เกิดประโยชน์จากมาตรฐาน ดังกล่าวได้
หลักการที่ ๔ มาตรฐานต้องทันสมัยอยู่เสมอ มาตรฐาน ควรจะได้รับการทบทวนและปรับปรุงให้ทันสมัย เหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบันอยู่เสมอ ต้องไม่หยุดนิ่งเป็นเวลานาน โดยทั่วไปมาตรฐานทุกเรื่องจะต้องได้รับการตรวจสอบ หรือการปรับปรุง แก้ไขทุกๆ 5 ปี
หลักการที่ ๕ มาตรฐานต้องมีข้อกาหนดที่จาเป็น ข้อกาหนดของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่องใดเรื่องหนึ่งควร จะมีการระบุคุณ ลักษณะที่สาคัญของผลิตภัณฑ์ ประสิทธิภาพของการ นาไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุดิบ ฯลฯ โดยการกาหนดคุณลักษณะแต่ละ รายการต้องชัดเจน และต้องมีข้อกาหนดวิธีทดสอบผลิตภัณฑ์ไว้ด้วย เพื่อ ใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เป็นไปตามข้อกาหนด ในมาตรฐานหรือไม่
หลักการที่ ๖ มาตรฐานควรมีการนาไปใช้โดยเสรี เชื่อกันว่าการนามาตรฐานไปใช้โดยสมัครใจจะได้ผลดีกว่า แต่ในกรณี
ที่จาเป็นต้องมีการ บังคับใช้มาตรฐาน ก็ควรจะได้มีการพิจารณาอย่าง รอบคอบในทุก ๆ ด้าน
ระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน ความหมาย ระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน หมายถึง กิจกรรมหรือ กระบวนการ เพื่อตรวจสอบและรับรองแผนชุมชน โดยการประเมินตาม มาตรฐานแผนชุมชนที่กาหนดขึ้นโดยใช้ระบบการมาตรฐานของประเทศ ไทยเป็นกรอบความคิดในการออกแบบ และโดยการมีส่วนร่วมของภาค ราชการ ภาคเอกชน ที่ดาเนินงานส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน และ ภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชนในหมู่บ้าน/ตาบลของ ตนเอง ระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชนที่กรมการพัฒนาชุมชนริเริ่มขึ้น นี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ได้แก่ ตัวชี้วัดและเกณฑ์ การตรวจสอบรับรอง ได้แก่ คณะกรรมการรับรองมาตรฐานแผนชุมชนของจังหวัดและ คณะทางานประเมินมาตรฐานแผนชุมชน
มาตรฐานแผนชุมชน มาตรฐานแผนชุมชนที่กรมการพัฒนาชุมชนร่วมกับภาคีการ พัฒนาภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชนกาหนดขึ้นตาม หลักการระบบการมาตรฐานของประเทศไทยซึ่งสานักงานคณะกรรมการ แห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงานได้กาหนดไว้เพื่อให้ใช้กันทั่วไป ใน ขณะเดียวกันยังได้คานึงความแตกต่างของบริบทของแต่ละชุมชน เช่น วิถี ชีวิต ทัศนคติ ค่านิยม กรอบความคิด วัฒนธรรม ประเพณี สภาพแวดล้อม
ฯลฯ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือแก่หน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการสนับสนุน กิจกรรมการแก้ไขปัญหา/การพัฒนาหมู่บ้านที่กาหนดไว้ในแผนชุมชนของ หมู่บ้านด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้านได้อย่างมั่นใจ มาตรฐานแผนชุมชน ประกอบด้วย ตัวชี้วัดและเกณฑ์ ๕ ตัวชี้วัด ได้แก่ ๑.๑ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (การจัดทาแผนตามแนวของ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง) คะแนน ๒๐ คะแนน ให้พิจารณาในประเด็น ต่อไปนี้ ๑.๑.๑ การพึ่งตนเอง หมายถึง มีกิจกรรมในแผนชุมชน แสดงให้ถึงความต้องการพึ่งตนเองของหมู่บ้าน/ชุมชน หรือมีเป้าหมาย ดาเนินการเพื่อให้หมู่บ้าน/ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ เช่น การระดมทุน การหาปัจจัยการผลิตการเกษตรทดแทน ฯลฯ ๑.๑.๒ มีกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นการช่วยเหลือซึ่งกัน และกันของคนในชุมชน รวมทั้งช่วยเหลือชุมชนอื่น ๑.๑.๓ มีกิจกรรมส่งเสริมให้คนในหมู่บ้านเก็บออมเงินใน รูปแบบต่างๆ ๑.๑.๔ ภูมิคุ้มกันชุมชน หมายถึง มีกิจกรรมสร้างการ เรียนรู้เพื่อให้คนในหมู่บ้านรู้และเข้าใจสถานการณ์/ความเปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นและอาจจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน และมี กิจกรรมเพื่อป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบเหล่านั้น ๑.๑.๕ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง มีกิจกรรมแก้ไข ปัญหาหรือพัฒนาหมู่บ้านที่ใช้ความรู้หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑.๑.๖ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ ชุมชน หมายถึง มีกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของชุมชน ๑.๒ การมีส่วนร่วม คะแนน ๒๐ คะแนน ให้พิจารณาในประเด็น ต่อไปนี้ ๑.๒.๑ การมีส่วนร่วมของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน ๑.๒.๒ การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรเอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน ในกระบวนการจัดทาแผนชุมชน ของหมู่บ้าน ๑.๒.๓ ลักษณะของการมีส่วนร่วม ได้แก่ ร่วมคิด ร่วม ตัดสินใจ กิจกรรม วิเคราะห์ ดาเนินงาน ติดตามประเมินผล และใช้ ประโยชน์ ๑.๓ กระบวนการเรียนรู้ คะแนน ๒๕ คะแนน ให้พิจารณาใน ประเด็นต่อไปนี้ ๑.๓.๑ ใช้เวทีประชาคมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง คนในหมู่บ้าน และถ่ายทอดความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน ๑.๓.๒ มีการทบทวนและจัดการความรู้กระบวนการ จัดทาแผนชุมชนของหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อปรับปรุงให้แผนชุมชนมี ประสิทธิภาพ ๑.๔ การใช้ประโยชน์ คะแนน ๒๕ คะแนน ให้พิจารณาจานวน กิจกรรมตามแผนชุมชนที่สามารถนามาปฏิบัติได้จริง โดยจาแนกเป็น ๓ ส่วน คือ ๑.๔.๑ จานวนกิจกรรมที่หมู่บ้าน/ชุมชนดาเนินการเอง
๑.๔.๒ จานวนกิจกรรมที่หมู่บ้าน/ชุมชนจะดาเนินการ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ๑.๔.๓ จานวนกิจกรรมที่หมู่บ้าน/ชุมชนจะต้องให้ หน่วยงานต่างๆ ดาเนินการให้ทั้งหมด ๑.๕ รูปเล่มของแผนชุมชน (โครงสร้างของแผน) คะแนน ๑๐ คะแนน ให้พิจารณาองค์ประกอบของแผนชุมชน ดังนี้ ๑.๕.๑ มีข้อมูลแสดงประวัติ / ความเป็นมาของหมู่บ้าน/ ชุมชน ๑.๕.๒ มีข้อมูลแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของหมู่บ้าน/ ชุมชน และ/หรือสภาพปัญหาที่หมู่บ้าน/ชุมชนประสบอยู่ ๑.๕.๓ มีข้อมูลแสดงแนวทางการแก้ไข / การพัฒนาของ หมู่บ้าน ๑.๕.๔ มีกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาหมู่บ้าน/ ชุมชนที่จัดเป็น ๒ กลุ่มคือ จัดกลุ่มตามลักษณะการดาเนินงาน กิจกรรม คือ หมู่บ้าน/ชุมชนดาเนินการเองทั้งหมด หมู่บ้านดาเนินการ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และหมู่บ้านขอให้หน่วยงานสนับสนุนและ ดาเนินการทั้งหมด จัดกลุ่มตามประเภทของกิจกรรม คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ กิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม และกิจกรรมทาง สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ๑.๕.๕ มีการปรับปรุงแผนชุมชนอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
หน่วยรับรองมาตรฐาน
ระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชนที่กรมการพัฒนาชุมชนร่วมกับ ภาคีการพัฒนาภาคราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชนออกแบบขึ้นนี้ มีหน่วยรับรองซึ่งมีที่มาจากคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม กระบวนการแผนชุมชนที่มีอยู่ในจังหวัดเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้ปฏิบัติงาน ในระดับจังหวัด ในขณะเดียวกันก็ยังคงแนวคิดของการประเมินโดย บุคคลภายนอก หน่วยงานรับรองดังกล่าวประกอบด้วย คณะกรรมการ รับรองมาตรฐานแผนชุมชนจังหวัดและคณะทางานประเมินมาตรฐานแผน ชุมชนจังหวัด คณะกรรมการรับรองมาตรฐานแผนชุมชนจังหวัด ประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ภาคประชาชน ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันการศึกษา จานวน ๑๑ – ๑๕ คน ดังนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย เป็นประธาน ผู้แทนส่วนราชการระดับจังหวัดที่ดาเนินงานส่งเสริมกระบวนการแผน ชุมชนของจังหวัด จานวน ๓-๕ คน (สานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ที่ทา การปกครองจังหวัด ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สานักงานสาธารณสุขจังหวัด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ การเกษตร สานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ฯลฯ) เป็นกรรมการ ผู้แทนภาคประชาชน จานวน ๑ คน เป็นกรรมการ ผู้แทนองค์กรพัฒนาภาคเอกชน จานวน ๑ คน เป็นกรรมการ ผู้แทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน จานวน ๑ คน เป็นกรรมการ ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด (หรือองค์กรปกครองท้องถิ่น) จานวน ๑ คน เป็นกรรมการ
ผู้แทนสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีบทบาท/ร่วมในการส่งเสริม กระบวนการแผนชุมชน จานวน ๑-๓ คน เป็นกรรมการ ผู้แทนสานักงานจังหวัด เป็นเลขานุการ หัวหน้ากลุ่มงานที่รับผิดชอบงานส่งเสริมกระบวนการแผนชุมชน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
หน้าที่ กาหนดนโยบาย/เป้าหมายการรับรองแผนชุมชนของจังหวัด พิจารณาให้การรับรองแผนชุมชนที่คณะทางานประเมินมาตรฐานแผน ชุมชนของจังหวัดประเมินและผ่านมาตรฐานแผนชุมชนที่กรมการพัฒนา ชุมชนกาหนด แต่งตั้งคณะทางานประเมินมาตรฐานแผนชุมชนของจังหวัด ติดตาม ประเมินผลการับรองมาตรฐานแผนชุมชนของจังหวัด ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดาเนินงานรับรองมาตรฐานแผนชุมชนของ จังหวัด ดาเนินการอื่นใดที่จาเป็นให้การดาเนินงานรับรองมาตรฐานแผนชุมชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คณะทางานประเมินมาตรฐานแผนชุมชนจังหวัด ประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนสถาบันการศึกษา ผู้แทน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนจังหวัดหรือองค์กร เอกชนหรือผู้แทนศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนจังหวัด ผู้แทนแผน ชุมชนจังหวัด ผู้แทนสถาบันการเงินชุมชนหรือสถาบันการจัดการเงินทุน ชุมชน ผู้แทนสานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด จานวน ๙ – ๑๕ คน ดังนี้ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย หัวหน้าคณะ ผู้แทนสถาบันการศึกษา คณะทางาน ผู้แทน อปท. คณะทางาน
ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนจังหวัด / NGO / ศอช.จ. คณะทางาน ผู้แทนแผนชุมชนระดับจังหวัด จานวน ๑-๒ คน คณะทางาน ผู้แทนสถาบันการเงิน / สถาบันการจัดการเงินทุนชุมชน คณะทางาน หัวหน้าส่วน / ผู้แทนส่วนราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้อง คณะทางาน หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัด คณะทางาน และเลขานุการ หัวหน้ากลุ่มงานที่ได้รับมอบหมาย สพจ. คณะทางาน และผู้ช่วยเลขานุการ หน้าที่ ประเมินมาตรฐานแผนชุมชนตามระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชนที่ กรมการพัฒนาชุมชนกาหนด เสนอผลการประเมินให้คณะกรรมการรับรองมาตรฐานแผนชุมชนจังหวัด พิจารณาและให้การรับรอง
การตรวจสอบและรับรอง (วิธีการ / ขั้นตอน) ๑. แกนนาหมู่บ้าน/ชุมชนร่วมกับทีมปฏิบัติการระดับตาบล ประเมินแผนชุมชนเบื้องต้นโดยใช้ตัวชี้วัดคุณภาพแผนชุมชน ๖ ตัวชี้วัด และตัวชี้วัด ๕ ตัว ของกระบวนการประเมินคุณภาพแผนชุมชนแบบมีส่วน ร่วม ๒. แกนนาหมู่บ้าน/ชุมชนเสนอแผนชุมชนให้คณะกรรมการ รับรองมาตรฐานแผนชุมชนพิจารณา ๓. คณะกรรมการรับรองฯ ส่งแผนชุมชนที่หมู่บ้านเสนอขอเข้ารับ การประเมินให้คณะทางานประเมินมาตรฐานแผนชุมชน ๔. คณะทางานประเมินฯ พิจารณาและประเมินมาตรฐาน
๕. คณะทางานเสนอผลการประเมินมาตรฐานให้คณะกรรมการ รับรองฯ พิจารณารับรอง ๖. คณะกรรมการรับรองฯ ประกาศรับรอง
ผลการดาเนินงาน การส่งเสริมระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชนของกรมการพัฒนา ชุมชน ทีเริ่มดาเนินการในปี ๒๕๕๒ มีแผนชุมชนที่ผ่านการรับรอง มาตรฐาน จานวน ๘,๔๓๐ แผนชุมชน คิดเป็นร้อยละ ๑๒.๒ (จากจานวน แผนชุมชนทั้งหมด ๖๙,๑๑๐ แผนชุมชน) ปี ๒๕๕๓ มีแผนชุมชนที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ๑๑,๑๖๕ แผนชุมชน (คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๑๕) จากจานวนแผนชุมชนทั้งหมด ๖๙,๑๑๐ แผนชุมชน ปี ๒๕๕๔ กรมการพัฒนาชุมชนได้รับการจัดสรรงบประมาณใน การรับรองมาตรฐานแผนชุมชนจานวน ๙,๓๓๗,๕๐๐ บาท (เก้าล้านสาม แสนสามหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยบาทถ้วน) รายละเอียดการจัดสรรงบประมาณ แต่ละจังหวัดตามภาคผนวก โดยมีกิจกรรมที่ต้องดาเนินการในระดับ อาเภอระดับจังหวัดคือ กิจกรรมการประชุมเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ มาตรฐานแผน และกิจกรรมประชุมคณะกรรมการรับรองมาตรฐานแผน ชุมชนและคณะทางานประเมินมาตรฐานและแผนชุมชนระดับจังหวัด
ภาคผนวก
ลาดับที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19
ทะเบียนจัดสรรเงินงบประมาณ ประจาปี 2554 กิจกรรมที่ 3.2 โครงการพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานแผนชุมชน รายละเอียด หมู่บ้าน จัดสรร จัดสรร จังหวัด อาเภอ เป้าหมาย จังหวัด อาเภอ กระบี่ 8 118 49400 48000 กาญจนบุรี 13 267 53870 78000 กาฬสินธุ์ 18 411 58,190 108000 กาแพงเพชร 11 281 54290 66000 ขอนแก่น 26 643 65,150 156000 จันทบุรี 10 201 51890 60000 ฉะเชิงเทรา 11 255 53510 66000 ชลบุรี 11 171 50990 66000 ชัยนาท 8 150 50360 48000 ชัยภูมิ 16 457 59,570 96000 ชุมพร 8 213 52250 48000 เชียงราย 18 477 60,170 108000 เชียงใหม่ 25 551 62,390 150000 ตรัง 10 217 52370 60000 ตราด 7 76 48140 42000 ตาก 9 156 50540 54000 นครนายก 4 124 49580 24000 นครปฐม 7 263 53750 42000 นครพนม 12 315 55,310 72000
รวมยอดเงินที่ จัดสรร (บาท) 97,400 131,870 166,190 120,290 221,150 111,890 119,510 116,990 98,360 155,570 100,250 168,170 212,390 112,370 90,140 104,540 73,580 95,750 127,310
20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45
นครราชสีมา นครศรีธรรมราช
นครสวรรค์ นนทบุรี นราธิวาส น่าน บุรีรัมย์ ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์
ปราจีนบุรี ปัตตานี อยุธยา พังงา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ พะเยา ภูเก็ต มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน มุกดาหาร ยะลา ยโสธร
32 23 15 6 13 15 23 7 8 7 12 16 8 11 12 9 8 11 8 9 3 13 7 7 8 9
1,059 457 411 94 172 257 713 132 124 211 187 345 98 201 259 301 179 413 183 205 30 569 124 156 108 259
77,630 59,570 58,190 48680 51020 53570 67,250 49820 49580 52190 51470 56,210 48800 51890 53630 54,890 51230 58,250 51350 52010 46760 62,930 49580 50540 49100 53630
192000 138000 90000 36000 78000 90000 138000 42000 48000 42000 72000 96000 48000 66000 72000 54000 48000 66000 48000 54000 18000 78000 42000 42000 48000 54000
269,630 197,570 148,190 84,680 129,020 143,570 205,250 91,820 97,580 94,190 123,470 152,210 96,800 117,890 125,630 108,890 99,230 124,250 99,350 106,010 64,760 140,930 91,580 92,540 97,100 107,630
46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71
ร้อยเอ็ด ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี ลาปาง ลาพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สงขลา สตูล สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สระแก้ว สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลาภู อ่างทอง อุดรธานี
20 5 8 10 11 13 8 14 22 18 16 7 6 3 3 13 9 6 9 10 19 17 17 6 7 20
691 54 126 253 323 251 142 263 763 433 293 84 100 84 76 269 213 94 237 291 285 623 361 174 132 493
66,590 47480 49640 53450 55,550 53390 50120 53750 68,750 58,850 54,650 48380 48860 48380 48140 53930 52250 48680 52970 54,590 54,410 64,550 56,690 51080 49820 60,650
120000 30000 48000 60000 66000 78000 48000 84000 132000 108000 96000 42000 36000 18000 18000 78000 54000 36000 54000 60000 114000 102000 102000 36000 42000 120000
186,590 77,480 97,640 113,450 121,550 131,390 98,120 137,750 200,750 166,850 150,650 90,380 84,860 66,380 66,140 131,930 106,250 84,680 106,970 114,590 168,410 166,550 158,690 87,080 91,820 180,650
72 73 74 75
อุตรดิตถ์ อุทัยธานี อุบลราชธานี อานาจเจริญ รวม
9 8 25 7 878
175 177 773 174 21000
51110 51170 69,050 51080 4069500
54000 48000 150000 42000 5,268,000
หมายเหตุ : จัดสรรให้ดังนี้ - ระดับจังหวัด 75 จังหวัด 1. ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม รวม 2 ครั้ง เป็นเงิน 25,000 บาท 2. ค่าใช้จ่ายในการติดตามประเมินมาตรฐานแผนชุมชน เป็นเงิน 15,000 บาท 3. ค่าวัสดุ - ค่าวัสดุอุปกรณ์เครื่องเขียนต่างๆ เป็นเงิน 5,860 บาท - ค่าจัดทาเอกสารปชส. หมู่บ้านเป้าหมาย หมู่บ้านละ 30 บาท - ระดับอาเภอ 878 อาเภอ 1. ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมเตรียมความพร้อม 1 ครั้ง เป็นเงินอาเภอละ 6,000 บาท
105,110 99,170 219,050 93,080 9,337,500
การรับรองมาตรฐานแผนชุมชน ปีที่พิมพ์
ธันวาคม ๒๕๕๓
ขนาดหนังสือ ....... หน้า จานวน ๑๘,๐๐๐ เล่ม จัดทาโดย สานักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ชั้นที่ ๕ อาคาร B ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ โทร. ๐ ๒๑๔๑ ๖๑๐๕,๐๒๑๔๑ ๖๑๕๗-๖๓ โทรสาร ๐ ๒๑๔๓ ๘๙๑๙ เว็บไซต์ www.cdd.go.th
ที่ปรึกษา นายสุรชัย ขันอาสา นางกอบแก้ว จันทร์ดี นายสมชาย วิทย์ดารงค์
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผอ.สานักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน
ผู้เรียบเรียง นางศรีสุรินทร์ วัฒนรงคุปต์ นางบุบผา เกิดรักษ์ นายสุทธิพร สมแก้ว นายรังสรรค์ หังสนาวิน น.ส.ฐานิสร นันทพัฒน์ปรีชา นายมรุต ภูมิมี
หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน กลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน กลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน กลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน กลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน กลุ่มงานส่งเสริมการบริหารจัดการชุมชน
บรรณานุกรม กองส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐาน สานักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. ๒๕๕๓ มาตรฐาน:ข้อมูลทั่วไป.กรุงเทพมหานคร พัลลภ ตันจริยภรณ์. ๒๕๕๒. การพัฒนาแผนชุมชน.กรุงเทพมหานคร: กรมการพัฒนาชุมชน.