1
2
3
ฑีฆายุกา โหตุ มหาราชินี ขอพระองคทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ดวยเกลาดวยกระหมอม ขอเดชะ ขาพระพุทธเจาคณะกรรมการ และสมาชิกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย
ขณะที่หารือกันวา..สารสองลอฉบับนี้ อยากจะใหมี เรือ่ งราวเกีย่ ว “คุณแม” ทีใ่ ชจกั รยานในชีวติ ประจำวัน เพือ่ เปน บทบรรณาธิการ การนำเสนอความอบอุน ของแมทม่ี ตี อ ลูกและคนในครอบครัว โดยมี “จักรยาน” เปนหนึง่ ในสือ่ กลาง ทีแ่ ฝงอยูใ นวิถชี วี ติ ของคนไทยมาชานาน และคุณแมทคี่ ณะทำงานสารสองลอไดมโี อกาสพูดคุยทานนี.้ . นับวาเปนหนึง่ ใน ตัวแทนของอีกหลายทาน ซึง่ ใชจกั รยานเปนพาหนะนำพาลูกๆ รวมเดินทางใน การใชชวี ติ ครอบครัวไดอยางนารัก นาอบอุน ทำใหความผูกพันของทุกคนในครอบครัว กลายเปนสิง่ สำคัญทีเ่ ชือ่ มโยงความรักความอบอุน อยางแนนแฟนและยัง่ ยืน ภาพของคุณแมทมี่ ลี กู ๆ ซอนทาย มีทนี่ งั่ ดานหนาสำหรับคนเล็ก พรอมตะแกรง ใสสมั ภาระ ปน ออกจากบานลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอยสูถ นนสายหลัก เพือ่ ไปโรงเรียน หรือจับจายซือ้ ของ และแมแตไปเทีย่ วดวยกันในเสนทางทีไ่ มไกลนัก คือความเรียบงายทีน่ า ประทับใจตอผูพ บเห็น อีกทัง้ ยังแฝงไวดว ยหลักปรัชญาที่ พอเพียง ดวยจักรยานทีม่ รี ปู ลักษณเฉพาะและชินตา จนทำใหภาพความรูส กึ ที่ ุ ลักษณะสารพัดประโยชน พบเห็น ถูกนำมาเรียก “ประเภท” ของจักรยานทีม่ คี ณ เชน นีว้ า “จักรยานแมบา น” เปนคำทีม่ คี วามหมาย..ตรง..และชัดเจน สิ ง หาคม.. เดื อ นสำคั ญ อั น มี ค วามหมายเพื่ อ ระลึ ก ถึ ง พระคุ ณ ของแม ขอนอมใจรำลึกถึงความอบอุน ของคุณแมทกุ ๆ ทานไว ณ ทีน่ .ี้ . มีโอกาสเมือ่ ใด.. ชวนกันพาคุณแมไปขีจ่ กั รยาน ปน ชาๆ ออกกำลังกายเบาๆ พักผอนสบายๆ ที่ สวนสาธารณะสักแหงนะครับ.. บรรณาธิการสารสองลอ
คุณแมนักปน นิอร ปนทอง และลูกๆ ถายภาพ ศักดิ์รพงศ เกรียงพิชิตชัย
สารสองล อ ฉบับที่ ๒๔๒ / สิงหาคม ๒๕๕๔ ISSN ๑๕๑๓-๖๐๕๑
คารฟรีเดย ๒๐๑๑ แวดวงสองลอ สารสองลอ ไดรบั การสนับสนุนโดย ไปกินชิมอาหารอรอย ครั้งที่ ๘ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ ปฏิทินทริป ๒๕๕๔ สรางเสริมสุขภาพ (สสส.) อาสาสมัครสำรวจเสนทางจักรยาน สนใจสมัครสมาชิกสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย เพือ่ สิทธิพเิ ศษในการรวมกิจกรรมและรับสาร จักรยานทรานฟอรเมอรของแม สองลอฟรี สมาชิกรายป ๒๐๐ บาท (ต่ำกวา ๑๕ ป ๘๐ บาท) สมาชิกตลอดชีพ ๒,๐๐๐ บาท คุณแมนักปน ติดตอไดท่ี โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗ หรือสมัครออนไลนไดท่ี http://www.thaicycling.com/member Bangkok Car Free Sunday ทริปสูแคหมด..หนองจอก เจาของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ผูพิมพผูโฆษณา มงคล วิจะระณะ บรรณาธิการ วรวุฒิ วรวิทยานนท กองบรรณาธิการ นัทติยา วิริยวัฒน, กัญญพัฒน บัณฑุกุล, นนลนีย ทริปซำเหมาวงกลม... อึ้งวิวัฒนกุล ประสานงานและบัญชี วิภาดา กิรานุชิตพงษ สมาชิก สุทธิชัย สุศันสนีย พิมพที่ ปนไปกินฯ ณ ตลาดพระประแดง บริ ษั ท ศรี เ มื อ งการพิ ม พ จำกั ด โทร. ๐๒-๒๑๔-๔๖๖๐, ๐๒-๒๑๔-๔๓๗๐ โทรสาร Fitness Lifestyle 6 ๐๒-๖๑๒-๔๕๐๙ สำนั ก งาน สมาคมจั ก รยานเพื่ อ สุ ข ภาพไทย ๘๔๙/๕๓ จุ ฬ าซอย ๖ การขี่จักรยานแบบทองไป ๒ ถนนบรรทัดทอง แขวงวังใหม เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, เชิงชางหนึ่ง..สบายๆ ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐ โทรสาร ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑ เวบไซต www.thaicycling.com Fan Page: ขอบคุณผูบริจาค facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล tchathaicycling@gmail.com
๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๒ ๑๓ ๑๖ ๑๘ ๒๐ ๒๒ ๒๔ ๒๖ ๒๘ ๓๐
Bangkok Car Free Day 2011 วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ น ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร
กิจกรรมรณรงค์ของกลุ่มผู้ใช้จักรยาน ๗ จุดทั่วกรุงเทพมหานคร พร้อมมุ่งสู่สนามหลวง จุดที่ ๑ ลานพระบรมรูปทรงม้า สวนอัมพร จุดรวมพลใหญ่ จุดที่ ๒ สุขุมวิท สวนเบญจสิริ อยู่ใกล้กับห้างดิเอ็มโพเรียม จุดที่ ๓ เพชรเกษม เดอะมอลล์บางแค จุดที่ ๔ ลาดพร้าว สนามราชมังคลากีฬาสถาน (สนามกีฬาหัวหมาก) จุดที่ ๕ สวนธนฯ สวนธนบุรีรมย์ จุดที่ ๖ พหลโยธิน ตลาดประตูกรุงเทพฯ จุดที่ ๗ พุทธมณฑล ถนนอักษะ ด่วน..ขอเชิญผู้สนใจร่วมกิจกรรม กลุ่มหรือชมรมในส่วนต่างจังหวัดต่างๆ กลุ่มหรือชมรมจักรยาน ที่จะจัดแสดงนิทรรศการและโชว์กิจกรรมต่างๆ บริษัทห้างร้านที่สนใจร่วมออกร้านแสดงสินค้า สำหรับผู้ใช้จักรยาน หรือสนใจร่วมสนับสนุนกิจกรรม
สามารถประสานงานได้ที่
คุณมงคล วิจะระณะ อุปนายกสมาคม ๐๘๑-๙๑๙-๒๙๘๙ ผู้รับผิดชอบโครงการ คุณหลิน กรรมการ ๐๘๑-๘๑๙-๓๑๑๔ ฝ่ายประสานงานส่วนต่างจังหวัด คุณวิวัฒน์ กรรมการ ๐๘๑-๔๕๖-๑๘๑๗ ฝ่ายประสานงานส่วนกรุงเทพฯ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐ โทรสาร ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑ email: tchathaicycling@gmail.com http://www.thaicycling.com
2
ÊؾÃóºØÃÕ ªÇ¹»˜›¹
แวดวงสองลอ
“»˜›¹ÊäμÅ àÁ×ͧà˹‹Í ä»ãËŒ¶Ö§ ¢ÍãËŒ·Ñ¹” ชมรมจักรยานสุพรรณบุรี ไซคลิ่งคลับ ๒๐๐๙ หรือ Suphanburi Cycling Clup 2009 นำโดยประธานชมรมฯ คุณประพจน งวนจินดา (เสือซง สวนแตง) เชิญพี่นองเสือทุกทานรวมปนทริปสไตลเมืองเหนอ “ไปใหถึง-ขอใหทัน” โดยมีวัตถุประสงคเพื่อสุขภาพและรณรงคประหยัด พลังงานตานมลพิษ ลดมลภาวะโลกรอน แนะนำสงเสริมแหลงทองเที่ยว ของจังหวัดสุพรรณบุรี และสรางความสามัคคีและมิตรภาพระหวางชมรม จักรยานดวยกัน แบงกิจกรรมเปนสองเสนทาง A ระยะทาง ๑๐๐ กิโลเมตร และ B ระยะทาง ๕๐ กิโลเมตร โดยมีถวยรางวัลมอบใหอีกดวย กิจกรรมมีขึ้นใน วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ คาลงทะเบียน ๓๐๐ บาท รวมจับแจกรางวัล จากบริษัทอีซูซุ และผูใหัการสนับสนุนมากมาย ติดตอไดที่ รานสุพรรณ ไบค ๐-๓๕๕๔-๖๖๘๕ หรือ คุณจิรา ๐๘-๖๖๒๙-๔๓๓๑ หรือ คุณประพจน งวนจินดา (เสือซง สวนแตง) ๐๘-๑๘๑๗-๘๕๙๗
๗
วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ • เวลา ๑๙.๓๐ น.
ทริปวันเดียว
ทริปปั่นไปกินชิมอาหารอร่อย ครั้งที่ ๘
ปั่นเข้าซอย หาของอร่อยสะพาน ๓
ห
ลังจากทริปวันที่ ๒๒ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๔ ที่เราพาท่านไปชมหิ่งห้อย บ้านบางกระสอทีผ่ า่ นมา แฟนๆ ร่วมทริป กันอย่างล้นหลาม เป็นที่ถูกอกถูกใจของ พ่อแม่พี่น้องทุกท่าน แถมยังได้สมาชิก ใหม่ๆ มาอีกเพียบ ทริปนีเ้ ราจะพาท่านลัดเลาะไปตาม
ซอยเล็กซอยน้อย ผ่านชุมชนแออัดหลายที่
บางทีก่ จ็ ะเป็นซอยทีเ่ ล็กมากๆ เข้าได้เฉพาะ
แต่จกั รยานและมอเตอร์ไซค์เท่านัน้ ทีแ่ น่ๆ
งานนี้เราจะพาท่านปั่นผ่านไปยัง สุสาน-
จีนแคะ และป่าช้าแขก ท่านที่ขวัญอ่อน กรุณาพกพระเครื่องมาด้วย เด้อ.. ริปนี้เราจะพาท่านไปนมัสการ ท้าว-
เวสสุวรรณ หรือ ไฉ่ซิงเอี้ยะ หรือ
พระธนบดี หรือท้าวกุเวร ล้วนแต่เป็นนามของท่านทั้งสิ้น มีเรื่องเล่ามากมายหลายมุมเกี่ยวกับท่านท้าวเวสสุวรรณ
เป็นเทพแห่งความมัง่ คัง่ (ท้าวเวสสุวนั ) หรือในภาษาพราหมณ์
เรียกว่า “ท้าวกุเวร” ถ้าในพระพุทธศาสนาจะเรียก “ท้าว-
ไพสพ” เป็นอธิบดีแห่งอสูร หรือเจ้าแห่งภูตผีปศี าจทัง้ หลาย
โดย ท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึง่ ในท้าวจตุโลกบาลทัง้ สี่ ผูค้ มุ้ ครอง
ดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์เป็นที่นับถือของชุมชนใน ย่านนั้น ในคัมภีร์โบราณ กล่าวไว้ว่าผู้ใดหวังความเจริญใน ลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้จุดธูป ๙ ดอก สักการะท้าวเวสสุวรรณ และถวายดอกกุหลาบ ๙ ดอก เสร็จจากสักการะท่านท้าวฯ แล้ว เราจะนำท่านปัน่ ไป
ชิมของอร่อยๆ กันในย่านสะพาน ๓ บริเวณนี้ มีของอร่อย ลือชื่อหลายอย่าง เช่นข้าวขาหมูเห็ดหอม บะหมี่เกี๊ยวปู หมู แ ดง ก๋ ว ยเตี๋ ย วลู ก ชิ้ น ปลา ผั ด ไทย ก๋ ว ยเตี๋ ย วหลอด ทรงเครื่ อ ง อาหารตามสั่ ง อั น หลากหลาย น้ ำ ผลไม้ ปั่ น ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวทุเรียน ล้วนแต่ชวนน้ำลายไหล ทั้งสิ้น 8
ท
กำหนดการ คืนวันศุกร์ที่ ๒๖ ส.ค. ๒๕๕๔ ๑๙.๐๐ น. นัดรวมพล หน้าสมาคมฯ ถนน
บรรทัดทอง จุฬา ซอย ๖ ข้างสนามกีฬา แห่งชาติ มาไม่ถกู โทรสอบถาม ทีส่ มาคมฯ ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗ พบปะดื่มน้ำชา กาแฟ ขนมว่างก่อน สมัคร หรือ ต่ออายุสมาชิก สมาคมฯ ๑๙.๓๐ น. ล้อหมุนเลีย้ วซ้ายเข้าบรรทัดทอง - เลี้ยวขวาเข้าพระรามสี่ - เลี้ยวซ้ายแยก มหานคร - วิ่งตรงผ่านแยกมเหสักห์ ผ่านแยกสีลม - ถึงแยกสาธรตรงไปวิ่งเข้า ซอยเล็กข้างทางด่วน - ผ่านชุมชน - ผ่าน ป่าช้าแขก - ผ่านหลังโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก - เข้าเซ็นหลุยส์ - วิ่งเข้าชุมชน
กุศลทอง (ช่วงนี้จะเป็นซอยเล็กๆ ที่มีชาวบ้านอยู่กันอย่าง หนาแน่นมาก ซอยนีเ้ ข้าได้เฉพาะรถจักรยานและมอเตอร์ไซค์ เท่านั้น) - ผ่านศูนย์การค้าวรรัตน์ - เข้าซอยเล็กผ่านสุสาน จีนแคะ - ผ่านสำนักงานเขตสาทร - เข้าซอยเย็นจิตร ผ่านสมาคมแต้จิ๋ว - วิ่งเข้าซอยเล็กหลังวัดปรก - เข้าซอย
โรงน้ำแข็ง - เลี้ยวขวาเข้าถนนจันทน์ - ตรงไปเข้าถนน
เจริญกรุง - เลี้ยวซ้ายเข้าซอยเจริญกรุง ๑๐๓ (ช่วงนี้จะ เป็นซอยเล็กๆ ที่มีชาวบ้านอยู่กันอย่างหนาแน่นมาก เป็น ชุมชนของชาวมุสสลิม เราจะได้เห็นมัสยิดและที่เป็นจุดเด่น ของเราจะได้แวะเข้าไปไหว้ท้าวเวสสุวรรณองค์ใหญ่มาก) -
เข้าซอยแฉล้มนิมติ ร - ซอยกรรณิการ์ - เข้าถนนพระราม ๓ -
ถนนสาธุประดิษฐ์ - สะพาน ๓ เราจะแวะทานอาหารกันทีน่ ี่ ขากลับ เราจะวิง่ เข้าถนนจันทน์ - เข้าซอยเย็นอากาศ
- เข้าซอยงามดูพลี - ถนนพระราม ๔ - สวนลุมฯ - อังรีดนู งั ค์ - วัดหัวลำโพง - สมาคมฯ ดูแล ความปลอดภัย ตลอดเส้นทางไม่ต้องกลัว พลัดหลง ระหว่างร่วมทริปบริการทุกระดับประทับใจ
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินทริป
เดือนสิงหาคม-ธันวาคม ๒๕๕๔
๑๒-๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ สองล้อท่องระยองกับ ททท. ระยอง ๑๘-๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ สองล้อท่องสิงคโปร์ คืนวันศุกร์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ ปัน่ ไปกินชิมอาหารอร่อย (๘) อาทิตย์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ นำร่อง คาร์ฟรีเดย์ อาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๔ นำร่อง คาร์ฟรีเดย์ คืนวันศุกร์ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๔ ปัน่ ไปกิน ชิมอาหารเจส่งท้าย (๙) อาทิตย์ท่ี ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔ คาร์ฟรีเดย์ Car Free Day 2011 อาทิตย์ที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๔ สำรวจเส้นทางจักรยาน วงแหวนรอบใน ๘-๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ ผักไห่ อยุธยา คืนวันศุกร์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปัน่ ไปกิน ชิมอาหารอร่อย (๑๐) ๒๒-๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ กฐินสามัคคี กรุงเทพฯ - ชาติตระการ พิษณุโลก ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ทริปพระประแดง คืนวันศุกร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปัน่ ไปกิน ชิมอาหารอร่อย (๑๑) ๑๙-๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ รีไซเคิลจังหวัดน่าน ๑๐-๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๔ ฉะเชิงเทรา อ่างฤา ไน คืนวันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ ปัน่ ไปกินชิมอาหารอร่อย (๑๒) ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ ตลาดดอนหวาย คืนวันเสาร์ที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ ปัน่ ชมไฟวันคริสต์มาส
Friday 12-Sunday 14 August 2011 Trip Rayong with The Tourism Authority of Thailand (TAT) Thursday 18-Sunday 21 August 2011 Trip Singapore Friday 26 August 2011 After Work Trip to Taste Delicious Food #8 Sunday 4 September 2011 Pre Car Free Day Event Sunday 11 September 2011 Pre Car Free Day Event Friday 16 September 2011 After Work Trip to Taste Delicious Food #9 Sunday 18 September 2011 Bangkok Car Free Day 2011 Sunday 25 September 2011 Surveying Imagine Bicycle Lanes on Middle Ring Roads Saturday 8-Sunday 9 October 2011 Pug Hai, Ayutthaya Friday 14 October 2011 After Work Trip to Taste Delicious Food #10 Saturday 22-Wednesday 26 October 2011 Katin Trip to Chattrakarn, Phitsanulok (Katin is annual festival to present new robes to monks after the end of Buddhist Lent) Sunday 6 November 2011 Trip Phra Pradaeng Town Friday 18 November 2011 After Work Trip to Taste Delicious Food #11 Saturday 19-Sunday 20 November 2011 Repair Bicycle at Nan Saturday 10-Monday 12 December 2011 Ang Ru Nai, Chachoengsao Friday 16 December 2011 After Work Trip to Taste Delicious Food #12 Sunday 18 December 2011 Trip Don wai Floating market Saturday 24 December 2011 Christmas Light Decoration
หมายเหตุ : รายการต่างๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ สอบถามรายละเอียดหรือสมัครร่วมทริปได้ที่ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐ โทรสาร ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑ email: tchathaicycling@gmail.com หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.thaicycling.com หรือ Facebook.com/TCHAthaicycling Remarks: Trips can be changed as appropriate, English information, call Bob Tel. 081-555-2901, email: bobusher@ksc.th.com
9
เรื่อง เล็ก (หวานเจี๊ยบ)
บทความ
อาสาสมัครสำรวจ เส้นทางจักรยาน ครั้งที่ ๑
ณ สำนักกลางนักเรียน
คริสเตียน เชิงสะพานหัวช้าง เขตราชเทวี กรุงเทพฯ เช้ า วั น นี้ พ วกเราชาว TCHA มีนัดที่จะเข้าอบรม
เพือ่ ร่วมเป็นอาสาสมัครสำรวจเส้นทางจักรยาน ครัง้ ที่ ๑
จำนวนประมาณ ๔๗ คนผู้สังเกตุการณ์ ๔ คน ซึ่ง จัดโดยมูลนิธิโลกสีเขียว โดยในวันนี้พี่หมี (คุณมงคล วิจะระณะ) อุปนายกสมาคมฯ คนเก่งของชาว TCHA ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ด้วย นือ้ หาของการอบรมนัน้ คือ เชิญชวนให้ใช้จกั รยาน ในชีวติ ประจำวันอย่างปลอดภัย โดยการหลีกเลีย่ ง เส้นทางที่มีการจราจรแออัดหนาแน่น และชี้ให้เห็น ว่าการใช้จักรยานในการเดินทางเป็นการประหยัด พลังงาน ลดมลพิษในอากาศ โดยผู้เข้ารับการอบรม ในครั้งนี้ทุกท่าน ล้วนเป็นผู้ที่ใชัจักรยานโดยแท้จริง บางท่านใช้จักรยานเป็นพาหนะเดินทางไปทำงาน บางท่านใช้จักรยานเพื่อเป็นพาหนะในการท่องเที่ยว วิทยากรได้ชี้ให้เห็นถึงการปั่นจักรยานในตรอกใน ซอยและบนทางเท้า ซึ่งจะมีความปลอดภัยมากกว่า การปั่นจักรยานบนท้องถนน หน้าที่ของอาสาสมัครสำรวจเส้นทางจักรยาน ก็คือ ทุกท่านจะแบ่งโซนการสำรวจว่าท่านใดสะดวก ที่จะสำรวจในโซนไหน โดยจุดประสงค์จะมุ่งที่ถนน
ตรอก ซอย ทีม่ กี ารใช้พาหนะชนิดอืน่ น้อยถึงน้อยทีส่ ดุ
เ
10
เพือ่ นำมาทำแผนทีส่ ำหรับผูใ้ ช้จกั รยานและนำเสนอกับ
ทางกรุงเทพมหานคร ประกอบการขอเส้นทางจักรยาน
ในโอกาสต่อไป ชาวจักรยานท่านใดสนใจจะเข้าร่วม เป็นอาสาสมัครเพื่อช่วยกันสำรวจเส้นทางจักรยาน ในครั้งนี้ สามารถติดต่อได้ที่มูลนิธิโลกสีเขียวค่ะ โซนสำรวจเส้นทางจักรยานกลางเมืองมีทงั้ หมด
๓๒ โซนแบ่งตามสัดส่วนในแผนทีก่ รุงเทพฯ เพือ่ ความ เหมาะสมสำหรับการสำรวจ ทางมูลนิธีโลกสีเขียวจะ ทำแผนที่โดยระเอียดให้กับอาสาสมัครใหม่เพิ่มเติม ขยายให้ ใ หญ่ อี ก ๔ เท่ า ตั ว จากที่ ไ ด้ รั บ มา แผนที่ ละเอียดมากเท่าไร การสำรวจจะได้ลงจุดที่สำรวจได้ ละเอียดยิ่งขึ้น
ก
ารเข้ารับการอบรมในวันนี้ คุณซันได้เป็นวิทยากร
โดยตลอด ให้คำแนะนำที่ดีแก่พวกอาสาสมัคร ด้วย คณะวิทยากรได้นำผูเ้ ข้ารับการอบรมปัน่ จักรยาน สำรวจพืน้ ทีใ่ กล้เคียง โดยเริม่ จากสำนักกลางนักเรียน คริสเตียน ปั่นขึ้นทางเท้าบนสะพานหัวช้าง ลงจาก สะพานหัวช้างแล้วปั่นเลียบคลองแสนแสบ วิทยากร จะชีใ้ ห้เห็นว่าจุดใด ความปลอดภัยในการใช้จกั รยาน
อยูใ่ นระดับใด ทางเดินเท้าช่วงไหนทีต่ อ้ งมีการปรับปรุง
ซ่อมแซม ช่องฝาปิดท่อระบายน้ำ มีขนาดของช่องที่
พอดีกบั ล้อจักรยานซึง่ อาจไม่ปลอดภัยกับผูข้ บั ขี่ ฯลฯ รายละเอียดดังกล่าวจะถูกเก็บเป็นข้อมูลในการ
สำรวจ เพื่อจัดทำแผนที่สำหรับผู้ใช้จักรยานต่อไป
ตอนท้ายมีการสรุปว่าพวกเราควรจะเข้าไปสำรวจเส้นทาง ในชุมชนหรือไม่ ให้เหตุผลกันพอสมควร บางคนก็
ว่าไม่ เพราะเกรงถึงความปลอดภัย ทางแคบ ไม่เป็น ทีส่ ะดวกในการเดินทาง สร้างความเดือดร้อนรำคาญ ให้กับชุมชน เกรงว่าจะเกิดอุบัติเหตุกับเด็กเล็กๆ ที่ เดินผ่านไปผ่านมาในชุมชน ได้ยินเสียงจากชุมชน ต่อว่าพวกเราบ้างว่า ทำไมไม่ไปปั่นจักรยานบนถนน ไม่น่าเข้ามาในชุมชน บางคนก็บอกว่าดี ไม่มีรถยนต์ จะได้กระจายรายได้ให้กับชุมชนในการซื้อเครื่องดื่ม บ้าง และจะได้รู้ถึงทางลัดที่สามารถทะลุออกไปได้ อย่างสะดวกไม่ต้องไปอ้อมถนน สามารถลดระยะ เส้นทางไปได้มากทีเ่ ดียว ถ้าสามารถรูเ้ ส้นทางในชุมชน ได้เป็นอย่างดี
หลังจากนัน้ จะมีการประเมินผลของการสำรวจ
ให้ส่งข้อมูลแบ่งออกเป็น ๒ งวด งวดแรกให้ส่งข้อมูล วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ งวดที่ ๒ ส่งข้อมูลวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ เพื่อรวบรวมข้อมูลมาประเมิน ผลและปรับปรุงให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป ผู้สนใจติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www. greenworld.or.th/bikemap
11
โดย ZangZaew
บทความ
จักรยานทรานฟอร์เมอร์ของแม่
สำหรั บ คุ ณ แม่ ที่ เ ป็ น นั ก ปั่ น จั ก รยานด้ ว ยแล้ ว สิ่ ง หนึ่ ง ที่ อยากทำคือการพาลูกน้อยไป
ปัน่ จักรยานเทีย่ วด้วยกันประสา
แม่ลูก ติดที่ว่าอาจจะมีปัญหา เกีย่ วกับการบรรทุกลูกน้อยไป ด้วยอย่างปลอดภัย และผ่อนแรงคุณแม่เวลาปั่นจักรยาน.. จักรยาน TAGA เป็นหนึ่งในคำตอบที่ช่วยให้คุณแม่นักปั่น สะดวกขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ลงานการออกแบบและการผลิตของ “ทาก้า (TAGA)” ซึง่ มีสำนักงานอยูใ่ นประเทศเนเธอร์แลนด์และอเมริกา
กับการออกแบบที่คำนึงถึงการใช้งานระหว่างจักรยานและ รถเข็นเด็กนำมาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการใช้งาน กลายเป็นจักรยานสามล้อมาพร้อมทีน่ ง่ั สำหรับ เด็กเล็กด้านหน้า ซึ่งสามารถสับเปลี่ยนอุปกรณ์ได้หลาย
รูปแบบ มีหลักอานพร้อมเบาะนัง่ และชุดขับเคลือ่ นสำหรับ คุณแม่นักปั่นที่ด้านหลัง การปั่นจักรยานสามล้อคงจะสร้าง ความเสถียรในการใช้งานได้เป็นอย่างดี รูปแบบผลิตออก มาได้อย่างสวยงามแข็งแรงทีเดียว โครงสร้ า งหลั ก ของตั ว เฟรม ผลิ ต ด้ ว ยอลู มิ เ นี ย ม
อัลลอย ๖๐๖๑ มาตรฐานเดียวกับจักรยานเฟรมอลูมิเนียม ทั่วไป มีชุดขับเคลื่อนเป็นชุดเกียร์ดุมรุ่นเน็กซัสของชิมาโน่ สองล้อหน้าติดตั้งดิสก์เบรคเพิ่มความมั่นใจในการหยุดรถ ได้เป็นอย่างดี กับวงล้อขนาด ๑๖ นิ้วกำลังเหมาะ จุ ด เด่ น ที่ เ ป็ น จุ ด ขายสำคั ญ ของจั ก รยานทาก้ า คื อ การออกแบบให้สามารถพับได้อย่างสะดวกง่ายดาย เพื่อ
ผ
12
การแปลงร่างเป็นรถเข็นเด็กด้วยเวลาเพียง ๒๐ วินาทีเท่านัน้ มันจะกลายร่างเป็นรถเข็นเด็กแบบสามล้อ ที่มีขนาดเล็กลง ใช้งานสะดวก โดยล้อหน้าจะถูกพับกลายเป็นล้อหลัง ชุด มือจับกลายเป็นที่เข็นพร้อมที่น่งั สำหรับลูกน้อยอยู่ด้านหน้า ด้านล่างมีที่วางสัมภาระของลูกน้อยพอดิบพอดี น้ำหนักรวมประมาณ ๒๐ ถึง ๒๙ กิโลกรัม ขึ้นอยู่ กับอุปกรณ์เสริมที่ติดตั้ง สามารถรองรับน้ำหนักผู้ขี่ ๑๐๐ กิโลกรัม, ที่นั่งเด็ก ๒๕ กิโลกรัม ที่นั่งเด็กตัวที่สอง ๒๐ กิโลกรัม วามคิ ด สร้ า งสรรค์ อั น เยี่ ย มยอด เพื่ อ เอาใจคุ ณ แม่
นักปัน่ ทีจ่ ะได้สนุกกับลูกน้อย (นักปัน่ ในอนาคต) อย่าง ลงตัวเช่นนี้นี่เอง ทำให้จักรยานทาก้าคว้ารางวัลมากมาย นับตัง้ แต่เปิดตัวมาในปี ๒๐๐๘ อาทิ รางวัลประเภทจักรยาน ในเมือง จากงาน Eurobike ๒๐๐๘, รางวัลประเภทการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ จากงาน Red Dot ปี ๒๐๐๙, รางวัล ซิลเวอร์อวอร์ด ในปี ๒๐๑๐ เป็นต้น ปัจจุบันมีอุปกรณ์เสริมสำหรับทาก้าออกมาหลาย อย่าง อาทิ ที่กันฝน, บังโคลน, เบาะนั่งสำหรับเด็กหลากสี (แดง เขียว ส้ม ฟ้าสว่าง), กระเป๋าด้านข้าง, ที่ใส่สัมภาระ ขนาดใหญ่ (เอาใจคุณแม่ที่ชอบเดินทางไปช็อปกระจาย พร้อมคุณลูก), ที่นั่งสำหรับเด็กน้อยสองคน และอุปกรณ์ จับยึดที่นั่งเด็กกับรถยนต์ เป็นต้น สนนราคาจำหน่ายแบบออนไลน์ คือ ๑,๔๙๕ USD หรือประมาณ ๔๓,๒๓๕ บาท
ค
ที่มา: www.tagabikes.com http://www.facebook.com/Taga.nl
เรื่อง แนน • ภาพ หล่อ
คุณแม่..นักปั่น
บทความ
ไม่ว่าวันไหนๆ ก็ใช้จักรยานค่ะ
ห
าไม่ง่ายเลยค่ะ กลางเมืองใหญ่อย่างสาทร ที่จะเห็นคุณแม่ปั่นจักรยานรับส่งลูก แต่ แรงดึงดูดของคนที่รักชอบในสิ่งเดียวกันก็นำพา ให้ได้พบเจอคุณแม่นักปั่น คุณแม่นิอร ปิ่นทอง จากวันนั้นเมื่อปี ๒๕๔๒ เริ่มใช้จักรยานตั้งแต่ยัง ไม่มีลูก จักรยานที่ใช้เป็นแม่บ้านคันเล็กๆ ปั่นไป ทำงานแถวสาทร ไปซื้อของแถวราชดำริ สำเพ็ง ประตูน้ำ ฯลฯ ถึงวันนี้ก็ ๑๒ ปีแล้ว เริ่มใช้จักรยานรับส่งลูกไปโรงเรียนตั้งแต่
ปี ๒๕๔๘ จนกระทัง้ ตัง้ ท้องลูกคนทีส่ อง จึงเปลีย่ น มาใช้มอเตอร์ไซค์ เพราะรูส้ กึ มันเกร็ง หน้าท้องเกินไปตอนปั่น หลังจาก คลอดคนเล็ ก ช่ ว งนั้ น ใช้ จักรยานบ้าง แต่หยุด รับส่งคนโตไปโรงเรียน
เพราะต้องเลีย้ งดูคนเล็ก และได้มารับส่งลูกไปโรงเรียน อี ก ครั้ ง ตอนคนเล็ ก เข้ า โรงเรี ย น เมื่ อ ปี ๒๕๕๐ จนกระทั่งทุกวันนี้ คนโตก็อายุ ๑๑ ขวบ คนเล็ก ๖ ขวบแล้วค่ะ ที่จริงแล้วก็ไม่ได้ถึงกับไปส่งทุกวัน วันจันทร์ถึงศุกร์ จะให้คุณพ่อเป็นคนไปส่งเพราะต้องไปทำงานตั้งแต่ ตีสาม ส่วนไปรับลูกก็ปั่นไปรับเองทุกวัน เพราะงาน คุณพ่อเลิกดึกมาก ปั่นจากบ้านไปซอยโรงน้ำแข็ง แถวสาทร ส่งลูกที่โรงเรียนสัจจพิทยาที่บางรัก ไม่ ไกลคะ แค่ ๑๐ นาที จริงๆ แล้วจะเสียเวลานานตอนที่ ติดไฟแดงแยกสาทรนี่ละคะ ถ้าไฟเขียวก็ปรื๊ดเดียว ถึงไม่เกิน ๕ นาที แต่หลายครั้งที่ได้สิทธิพิเศษจาก คุณตำรวจที่แยกนี้ พอเขาเห็นเราปั่นออกจากซอย มาใกล้ๆ หัวมุมถนนก็กดไฟเปลี่ยนเป็นสีแดงให้ทันที ก็ปน่ั ข้ามได้ไม่ตอ้ งรอนาน เพือ่ นยังแซวว่าเธอเป็นกิก๊ กับตำรวจหรือไง (หัวเราะ) แต่จริงๆ แล้วเขาคงจะ เกรงว่าเด็กๆ จะไปโรงเรียนสายมากกว่า ม่ว่าวันไหนๆ ก็ใช้จักรยานค่ะ อย่างงานวันแม่ คุ ณ แม่ ต้ อ งแต่ ง ตั ว สวยใส่ ก ระโปรง ก็ ปั่ น คั น นี ้ ละคะ พร้อมกับลูกๆ มาร่วมงานวันแม่ที่โรงเรียน
ไ
14
โดนเพื่อนๆ ว่าเหมือนกันว่าเธอจะบ้าหรือ ก็ฉันไม่ อยากรอสามีนี่นา ไม่รู้จะว่างเมื่อไร สามีบอกให้นั่ง สามล้อไปเหมือนกัน แต่รู้สึกไม่สะดวกเท่าจักรยาน ที่ปั่นออกจากบ้านได้เลย ถ้านั่งสามล้อก็ต้องเดินจาก ซอยออกมาเรียกที่ถนนใหญ่อยู่ดี ช้าว่าปั่นออกจาก บ้านอีก ไปมันแบบนี้สามคนแม่ลูกแหละง่ายดี วันหยุดจะไปซื้อของหรือไปธุระ ลูกๆ ก็จะขอ ไปด้ ว ย พวกเราก็ ปั่ น กั น ไปสามคนแม่ ลู ก ครั้ ง ที่ ประทับใจเห็นจะเป็นตอนที่พาลูกๆ ไปเที่ยวมาบุญ ครองจะเอาโทรศัพท์ไปซ่อม ก็ปน่ั ไปทางลัดเข้าโรงแรม มณเฑียร ทะลุออกสามย่านตรงไปก็มาบุญครองละ ใกล้ๆ ๒๐ นาทีก็ถึง ตัวเองกลัวจักรยานจะหายนะ จึ ง เอาไปจอดไว้ ที่ ป้ อ มตำรวจกลางสี่ แ ยกปทุ ม วั น บอกคุณตำรวจว่า ฝากจักรยานด้วยนะคะ ตำรวจ บอกว่าต้องล็อคด้วยนะ หากลับมาแล้วจักรยานหาย ผมไม่รับผิดชอบนะ.. ระหว่างทางที่ปั่นผ่านเจอสถานที่น่าสนใจก็จะ บอกเล่าให้ลูกๆ ฟัง ถ้าลูกอยากจะมาต้องเดินทาง มาอย่างไร อย่างเช่น สยาม.. ลูกสามารถนั่งรถไฟฟ้า มาที่นี่ได้นะ พอปั่นผ่านมหาวิทยาลัยจุฬาฯ ก็บอก
ลู ก ว่ า ลู ก ที่ นี่ น ะมหาลั ย วิ ท ยาลั ย อั น ดั บ หนึ่ ง ของ ประเทศไทยเลยนะ ทำเอาลูกสาวอยากมาเรียน ถ้า อย่างนัน้ ลูกก็ตอ้ งตัง้ ใจเรียนรูไ้ หม จะได้ไม่ตอ้ งลำบาก เหมือนแม่ น้องให้คำตอบอย่างมั่นใจเลยคะว่า.... หนูจะตั้งใจเรียน กติแล้วจะให้ลกู ๆ ปัน่ เล่นในโรงเรียนทีแ่ ม่ทำงาน ก็เอาจักรยานของลูกมาทิง้ ไว้ทโ่ี รงเรียนกรุงเทพ คริสเตียน เลิกเรียนเขาก็มาปั่นเล่น หรือวันหยุดแม่ มาทำโอที ลูกๆ ก็เล่นอยู่ที่โรงเรียน จักรยานใครจะ มายืมเอาไปปั่นก็ได้นะ มีครั้งหนึ่ง อาจารย์ทองแดง ชวนให้ไปนำทริปกับเด็กนักเรียนทีโ่ รงเรียน ก็ปน่ั แถว นั้นไม่ไกลมาก เพราะกิจกรรมที่จัดมีบางคนก็เดิน เป็นการรณรงค์กิจกรรมกินอยู่เพื่อสุขภาพ ข่าวกิจกรรมปั่นจักรยานก็ทราบจาก อาจารย์ ทองแดงอยู่เรื่อยๆ แต่ไม่ว่างไปร่วมกิจกรรมเพราะ ต้องทำงานพิเศษวันหยุด เมื่อได้ยินที่แนนเล่าให้ฟัง เรือ่ ง กิจกรรม Car Free Sunday ก็สนใจมาก อยาก จะพาลูกๆ ไปร่วมทริปด้วย รู้สึกได้ถึงความปลอดภัย ของการปิดถนนปั่น พอพูดถึงเรื่องนี้ก็นึกขึ้นได้ว่า ตอนที่ ถ นนสาทรทาสี ใ ห้ เ ลนจั ก รยาน ชอบมากๆ
ป
เลยคะ รู้สึกว่ามีเลนของเราด้วย พอเห็นรถจอดทับ ก็แอบคิดในใจแต่ไม่กล้าบอกไปว่า คุณเข้ามาในพื้นที่ ฉันได้ยังไงเห็นไหมนี่มีตราจักรยานอยู่บนพื้นนะ ได้ แค่ค้อนให้คนขับแค่นั้น รือ่ งการดูแลรักษาจักรยานก็ทำเองประจำ ถ้าปัน่ ๆ
แล้วรู้สึกมันฝืดๆ ก็จะเติมลม หยอดน้ำมัน กระดิ่ง ก็ซื้อมาติดเองนะ กระจกมองหลังก็ติดเอง ทำเอง
ทุกอย่าง ถ้ายากมากอย่างล้อเบี้ยวก็ให้คุณพ่อเอาไป ร้านจักรยานแถวถนนจันทน์ซ่อมให้ เรื่องเส้นทางที่ปั่นก็ไม่รู้สึกเป็นปัญหาใดๆ นะ สงสัยเพราะปั่นเก่งแล้ว ปกติก็ปั่นขึ้นฟุตบาท แล้วก็ ข้ามตามแยกไฟแดง สะดวกดีนะ ข้อเสียของจักรยาน หาไม่เจอเลยคะ เพราะตั้งแต่ปั่นมารู้สึกว่าได้อย่าง เดียว ที่เห็นชัดๆ ก็คือประหยัดเวลา ประหยัดน้ำมัน ประหยัดเงิน ได้ช่วยลดมลภาวะ ได้พาลูกๆ เที่ยว กรุงเทพฯ ด้วยคะ ลูกๆ ก็ชอบบอกว่าตื่นเต้นดีเวลา ซ้อนท้ายจักรยานคุณแม่ ถ้าขอได้อยากขอเลนจักรยานก่อนเลยคะ เห็น ด้วยนะคะทีจ่ ะทำให้เมืองนีเ้ ป็นมหานครแห่งจักรยาน ช่วยลดมลภาวะ และจะได้ลมหายใจที่สะอาด
เ
15
เรื่อง TCHA • ภาพ NOBLEBIKE
บทความ
Bangkok Car Free Sunday
ฉลาดเดินทางเพื่อเมืองน่าอยู่
กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ
เครื อ ข่ า ย Bangkok
Bicycle Campaign สมาคม
จักรยานเพื่อสุขภาพไทย TCHA กลุ่ ม Bangkok Big Trees และมู ล นิ ธ ิ โลกสี เขี ย ว จั ด กิ จ กรรมพิ เ ศษเชิ ญ ชวนคนกรุ ง ขึ้ น
รถไฟฟ้าหรือคาร์พูลกันมาปั่นจักรยาน เที่ยว ชิม ชม ร่วมกิจกรรมเรียนรู้ประวัติศาสตร์และอนาคตของ ต้นไม้ใหญ่และพืน้ ทีส่ เี ขียวในเขตกลางกรุงย่านลุมพิน-ี บางรัก มีการแบ่งเลนถนนให้จักรยานปั่นได้สะดวก
จากวิ ท ยุ เพลิ น จิ ต ราชดำริ สี ล ม บรรจบสาทร
ตลอดครึ่งวันช่วงเช้าในวันอาทิตย์ที่ ๑๐ กรกฎาคม
๒๕๕๔ เพือ่ ส่งเสริมการฉลาดเดินทางแบบคาร์บอนต่ำ
ปลอดมลพิษ และยังมีกจิ กรรมอืน่ ๆ มาร่วมสร้างสีสนั
มากมาย เช่น กิจกรรมดูนกที่สวนลุม นำโดยกลุ่ม Save Birds การบรรยายไลเคนสวนลุมฯ ทำไมด้าน ถนนวิทยุดีกว่าด้านอื่น ดูไลเคนบนต้นปาล์มบริเวณ หน้าประตูอนุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๖, ฟังประวัติการ อนุรกั ษ์ตน้ ก้ามปูถนนวิทยุ, กิจกรรมปัน่ จักรยานออก เพลินจิต เลียบเข้าถนนราชดำริ แวะ AUA ฟังแผน พัฒนาพื้นที่และชะตาชีวิตต้นไม้ใหญ่ ซึ่งรวม ๑ ใน ๑๐๐ ต้นไม้มหานคร วันนี้จึงกลายเป็นวันพิเศษอีกหนึ่งวัน ที่คนรัก
กรุงเทพฯ ทัง้ ทีใ่ ช้จกั รยานเป็นประจำ ใช้บา้ งบางโอกาส
16
หรือแม้กระทั่งเพิ่งเคยใช้วันนี้เป็นวันแรกในชีวิต... รวมทั้งทุกภาคส่วน มาร่วมกันสรรค์สร้างกิจกรรม เพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อชาวจักรยานคนกรุงเทพฯ กัน
ทุกท่านเป็นบุคคลทีห่ ว่ งใยกรุงเทพฯ ห่วงใยสิง่ แวดล้อม... เป็นวันทีเ่ พือ่ นร่วมทางบนท้องถนนจะได้เรียนรู้
ซึ่ ง กั น และกั น เจ้ า หน้ า ที่ ภ าครั ฐ ได้ พ บเห็ น ปั ญ หา
ทุกปัญหา ทุกอุปสรรค ทุกความคิดเห็น เชื่อได้ว่าจะ
ได้รบั การหยิบ นำไปศึกษาหาหนทางแก้ไข ทัง้ ในส่วน
ภาครัฐที่มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ทั้งภาค ประชาชนที่ต้องอยู่ร่วมกัน ในสังคมคนกรุงเทพฯ ที่ จะเอื้ออาทร ห่วงใยซึ่งกันและกัน ปรับตัวให้เข้ากัน ในทุกส่วน เพื่อความลงตัว ในส่วนของการจัดเตรียมจักรยานให้ยืมใช้นั้น
อาสุ ท ธิ ชั ย อาธี ร ยุ ท ธ์ ลุ ง อู๊ ด อาลิ ขิ ต คุ ณ หล่ อ
คุณวิวัฒน์ หนูกะปิ ได้ไปช่วยกันคัดเลือกจักรยาน สำหรับเตรียมให้เพื่อนๆ ได้ยืมขี่กัน ซึ่งจักรยานชุดนี้ เป็นจักรยานสีเขียวที่ทาง กทม. เคยให้ประชาชน
ยืมขี่กัน ขณะนี้โครงการชุดนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว และขอขอบคุณบริษัทเอกชนผู้ร่วมสนับสนุน จักรยานในกิจกรรมนี้ด้วย คือ บริษัท มาสเตอร์ แอด จำกัด (มหาชน) มาร์โก้ ได้อนุเคราะห์มอบจักรยานจำนวน ๑๐๐ คัน บริษัท แอล เอ ไบซิเคิ้ล (ประเทศไทย) จำกัด อนุเคราะห์จักรยาน จำนวน ๕๐ คัน รวมจั ก รยานทั้ ง หมด ๑๕๐ คั น สำหรั บ ให้ ประชาชนได้ยืมขี่ร่วมกิจกรรมกัน
17
รหัสทริป ๔๙๐ • วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เรื่อง คากิ / เล็ก • ภาพ คากิ
สรุปทริป
ปั่นสนุก..ครบทุกรสชาติ ..สู้แค่หมด..หนองจอก
เช้าวันอาทิตย์ท่ี ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เป็นวันที่อาลิขิตได้ กำหนดไว้หลายสัปดาห์แล้ว ว่า จะพาเหล่าสมาชิกผูน้ ยิ ม การปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ ให้ได้มีโอกาสรวมตัวกันปั่น ในเส้นทางที่ปลอดภัย การ-
จราจรไม่วุ่นวาย เพื่อได้พบเห็นเส้นทางหลากหลาย รูปแบบ และได้ชิมอาหารแปลกใหม่อร่อยๆ ริปนี้อาลิขิตพาปั่นไปยังร้านอาหารมุสลิมชื่อดัง ย่านชานเมือง ที่มีชื่อร้านเท่ๆ ว่า “สู้แค่หมด” จากการทีท่ างร้านได้มโี อกาสออกทีวรี ายการตลาดสด
สนามเป้าเมือ่ เดือนก่อน จึงทำให้มลี กู ค้าจากหลายกลุม่ อยากได้มโี อกาสชิมอาหารดีราคาแสนประหยัด เพียง เมนูละ ๑๐ บาท ช่างลงตัวสำหรับภาวะเศรษฐกิจ กระเป๋าแบนของสังคมไทยเวลานี้ดีจัง
ท
18
พวกเรานัดกันที่สวนรถไฟ แล้วจะล้อหมุนออก
จากสวนรถไฟหลังเคารพธงชาติ วันนี้เพื่อนๆ ให้
ความสนใจมารอ เพื่อร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
มาจากกลุ่มต่างๆ มากมาย ลองนับจากสายตาไม่น่า จะต่ำกว่า ๑๕๐ คน และยังมีอีกกิจกรรมหนึ่งที่มีนัด ปั่ น ในกรุ ง เทพฯ ชั้ น ใน คื อ กิ จ กรรม CAR FREE SUNDAY ซึ่งจะมีเพื่อนๆ บางส่วนได้นัดมารวมตัว กันที่นี่เช่นเดียวกัน จึงทำให้วันนี้สวนรถไฟดูคึกคัก ขึ้นเป็นอย่างมาก ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็น ประชารั ฐ ผไทของไทยทุ ก ส่ ว นอยู่ ด ำรงค์ ค งไว้ ไ ด้ ทั้งมวล........ หลังเคารพธงชาติแล้ว อาลิขิตอธิบาย เส้นทาง จัดทีมอาสาดูแลสมาชิก แล้วล้อก็หมุนออก เดินทางปั่นตามกันไปเป็นขบวนยาวเหยียด และยังมี มาสมทบระหว่างเส้นทางอีกเป็นจำนวนมาก ประมาณ ๒๐๐ คนเห็นจะได้ ขาดก็คงไม่มากนัก
ผมคากิ.. วันนี้ไม่ได้ร่วมปั่นจักรยานด้วย แต่ ยกครอบครัว พ่อ แม่ และลูกสาว ขับรถตามให้บริการ น้ำดื่ม “น้ำดอกอัญชัญ” เป็นบริการจากใจผมฟรี สำหรับวันนี้ ผมต้มเองชงเองบรรจุขวดเอง เตรียมไว้ ๑๘๐ ขวด และอีก ๖ เหยือกใหญ่ๆ แช่น้ำแข็งเย็นๆ ตามแจกตลอดทาง รวมทั้งที่แจก ณ ร้านสู้แค่หมด ช่วงมื้อเที่ยงอีกด้วย...... บวนออกจากสวนรถไฟประมาณ ๗๐ คัน ไปถึง
หน้าวัดเสมียนนารีรออยู่อีกประมาณ ๕๐ คัน
หน้า ไอ.ที.สแควร์ อีก ๒๐ คัน ปัน่ เข้าฐานทัพอากาศ ไปออกถนนพหลโยธิน เลี้ยวซ้ายแล้วยูเทิร์นกลับมา หน้าประตูกรุงเทพฯมีรออยู่อีก ๑๐ คัน มียางแตก โซ่ขาดบ้างตามประสาจักรยาน แต่พวกเราพี่น้อง ต่ า งช่ ว ยกั น ซ่ อ มแล้ ว ปั่ น ไปด้ ว ยกั น จนถึ ง จุ ด หมาย ปลายทาง
ข
ถึงร้านสู้แค่หมดประมาณ ๑๐ โมงเศษๆ ทาน อาหารอร่อยๆ ราคาประหยัด นัง่ พักอยูจ่ นหายเหนือ่ ย
พีค่ นสวยเจ้าของร้านได้มาเชิญไปถ่ายรูปร่วมกัน จากนัน้
ก็อำลาพี่เจ้าของร้านปั่นกลับบ้าน ระหว่างทางช่วง
ขากลับ ขบวนได้หยุดเพื่อรอกลุ่มน้องเรียมและกลุ่ม เจริญกรุง ๑๐๓ แต่มาทราบภายหลังว่าน้องเรียมได้ ฝากบอกไว้แล้วว่าจะแยกกลับอีกเส้นทางหนึ่ง วันนี้อากาศร้อนแดดแรงมากๆ มีเป็นตะคริว ๓-๔ ท่ า น รวมทั้ ง น้ อ งศศิ ศ (ลู ก ชายพี่ ป้ อ ม) ที่
ไม่สามารถปั่นกลับถึงบ้านเองได้ ต้องยกจักรยานขึ้น แท็กซี่กลับบ้าน มาถึงสวนรถไฟประมาณ ๔ โมงเย็น ส่งสมาชิกกลับบ้านเรียบร้อยปลอดภัยทุกท่าน ขอบคุณพี่ป้อม สุมาวงศ์, น้องอาร์มที่ช่วยดูแล ทริป ขอบคุณผู้ร่วมทริปทุกท่านที่ร่วมปั่นไปเที่ยว ด้วยกันในวันนี้
19
รหัสทริป ๔๙๑ • วันศุกร์ที่ ๑๕ - วันจันทร์ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เรื่อง NongJack • ภาพ manee_p
สรุปทริป
ซำเหมาวงกลม...
กรุงเทพฯ...นครนายก... เขาใหญ่...น้ำตกสามหลั่น สระบุร ี ...กรุงเทพฯ
20
กิจกรรมปัน่ จักรยานประเภท “ซำเหมา”
คื อ หนึ่ ง ในความท้ า ทายของบรรดา
นักปั่นจักรยานเพื่อการเดินทางและ ท่องเที่ยว โดยอาศัยกำลังของตนเอง กับจักรยานคู่ใจ ไปยังเส้นทางข้ามจังหวัด พร้อมกับ สัมภาระที่น้อยที่สุด และใช้ประโยชน์อย่างมากที่สุด เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า.. มีเพียงจักรยานเป็นเพื่อน..
เราก็สามารถเดินทางไปไหนต่อไหนได้นั่นเอง.. องมาอ่ า นความรู้ สึ ก ส่ ว นหนึ่ ง ของหนึ่ ง ในผู ้ ร่วมทางซำเหมาวงกลมครัง้ นีก้ บั สมาคมจักรยาน
เพื่อสุขภาพดูสิ.. “เริ่มที่เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ผมตั้งใจที่จะ ออกกำลังจากทีเ่ คยเทีย่ วหนักมาเกือบ ๑๐ ปี น้ำหนัก ขึ้นเป็น ๗๙.๕ กิโลกรัม รอบเอว ๓๗ นิ้ว ลองวิ่ง
วันแรก สามารถวิ่งได้ครึ่งรอบสวนลุมพินี ทว่ากลับมี อาการเจ็บหน้าอกมาก แต่ก็พยายามต่อไป ผมออก จะบ้าๆ บอๆ หน่อยจึงตั้งใจจะลงแข่งไตรกีฬา โดย ไม่แน่ใจว่าไหวไหม พยายามซ้อมมาตลอด ๒ เดือน นั่นเป็นเหตุให้ต้องซื้อจักรยานมาเพื่อฝึกปั่น นี่เป็น จักรยานคันแรกในชีวิตเลยละครับ ด้วยความที่เป็นมือใหม่ และปั่นเพียงแค่วัน
ล
เสาร์ อาทิตย์ จึงอยากจะฝึกให้มากขึน้ เมือ่ หาหนทาง
ดูแล้วก็มาเห็นทริป ซำเหมาเขาใหญ่อันนี้ จึงสนใจ อยากมาเพื่อหวังจะฝึกกล้ามเนื้อ และเรียนรู้การปั่น
จักรยาน ผมลังเลว่าจะไหวหรือไม่เพราะผมปัน่ จักรยาน
มาแค่ ๕ ครั้ง ระยะรวม ๒๗๐ กิโลเมตรเท่านั้น แล้ว ทริปนี้มีปั่นขึ้นเขา ๔ วัน ๔๓๐ กิโลเมตร! ซึ่งคงไม่มี ใครที่ปั่นมาแค่ ๕ ครั้งแล้วบ้ามาร่วมทริปนี้ แต่ผม
ก็มา ..ไม่รู้จักใครเลยสักคน คนอายุรุ่นเดียวกันก็ไม่มี อย่างที่บอกฮะ ผมมันบ้าๆ บอๆ ต่ แ ล้ ว ...มั น ก็ ผ่ า นไปด้ ว ยดี ไม่ มี ล งมาเข็ น
ไม่มีตะคริว มียางแตกครั้งหนึ่ง มีล้มครั้งหนึ่ง ครบทุกรส สุดมัน! ...ระหว่างทาง เวลาปั่นผมเห็นวิวต่างๆ สวยๆ มากมาย เห็นน้ำใจพี่ๆ เห็นความมุ่งมั่น สิ่งเหล่านี้
ส่งผลให้ผมปั่นได้ครบ ๔๓๐ กิโลเมตร และขอบอก ว่าการตัดสินใจมาทริปนี้ เป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุด เรื่องหนึ่งในชีวิตผมเลย ผมได้เอาชนะบางอย่าง และ ผมคงเสียดายมากถ้าไม่กล้าตัดสินใจมาทริปนี ้ ขอบคุณ TCHA มากครับทีช่ ว่ ยเติมเต็มบางอย่าง
ในชีวิตผม และตอนนี้ผมหนัก ๖๗ กิโลกรัม รอบเอว เหลือ ๓๑ นิ้วแล้วครับ”
แ
21
รหัสทริป ๔๙๒ • วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ • เรื่อง/ภาพ หลิน
สรุปทริป
ทริปปั่นไปกินชิมอาหารอร่อย ครั้งที่ ๗
ณ ตลาดพระประแดง
ทีแรก นึกว่าทริปนีต้ อ้ งปัน่ กลาง
สายฝนซะแล้ว ตลอดวันสมาชิก โทรเข้ามาถามไถ่กันไม่หยุดกับ ทางสมาคมฯ ว่า ทริปปั่นไปกิน และชมหิง่ ห้อยของเรา จะยกเลิก หรือไม่ เนือ่ งจากกลัวตากฝน แต่เหมือนฟ้าจะเป็นใจ ไม่มีฝนตกตลอดทริปเลย กระทั่งกลับถึงบ้านต้อง กราบไหว้ขอบคุณฟ้าดินซะจริงๆ พื่อนๆ มารวมตัวกันตั้งแต่ฟ้ายังไม่มืด ยิ่งใกล้เวลา ล้ อ หมุ น พวกเราชาวนั ก ปั่ น ทั้ ง หลายก็ เ ต็ ม จุ ฬ า
ซอย ๖ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสมาคมฯ เรา ตอนแรกนึกว่า มิตรรักแฟนเพลงจะกลัวฝนกันเสียอีก แต่กลับมากัน อย่างล้นหลาม ชนิดทีไ่ ม่เคยมากเท่านีม้ าก่อน ถึง ๒๐๐ กว่าท่านแน่ะ โดยเฉพาะ ทริปนี้ มีคุณพ่อพาคุณลูกมาปั่น ไปดูหง่ิ ห้อยกันอยูห่ ลายท่านหลายคู่ น่าชื่นใจจริงๆ หลังจากชี้แจงเรื่องเส้นทางแล้ว ก็ได้เวลาล้อหมุนออกจากสมาคมฯ เข้า ถนนบรรทัดทอง มุ่งตรงไปยังพระประแดง สถานที่เป้าหมาย ช่วงที่ผ่านทางแคบถึงกับมี
เ
22
คุณแม่ท่านหนึ่งสะกิดให้ลูกตัวเล็กว่า “มาดูเร็วลูก มาดู หิ่ ง ห้ อ ยแน่ ะ ” ทำให้ ค นที่ ปั่ น ตามมาข้ า งหลั ง
อดยิ้มไม่ได้ เหมือนจริงๆ เมื่อกลุ่มจักรยานของเราที่ ปั่นในยามค่ำคืนเป็นทางยาวเช่นนี้ ดูจากด้านหลัง ไม่ผิดอะไรกับแสงของหิ่งห้อยที่เป็นสร้อยร้อยระย้า เป็นสายยาว ด้วยไฟประดับหลากสีสันของจักรยาน สวยมากและชวนมองจริงๆ เมื่อเรามาถึงชุมชนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม “ลำพู บางกระสอบ” คุณโปสัน ประธานชมรมจักรยาน บ้านบางกระสอบ และทีมงานกลุม่ อนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม
ลำพูบางกระสอบ ได้ออกมาต้อนรับอย่างอบอุน่ พร้อม
กับบริการอาหาร แกงเขียวหวานที่อร่อยมาก และ เครื่องดื่ม ทางกลุ่มฯ ได้เตรียมอาหารให้พวกเราไว้ ซึง่ คาดไว้วา่ จะมาประมาณ ๑๐๐ ต้นๆ แต่ปรากฏ ว่า มากันถึง ๒๐๐ กว่าคน มากมายจนต้อง
คดข้าวและเทแกงถึงก้นหม้อกันเลยทีเดียว เสร็จจากรับประทานอาหารกันแล้ว ทางกลุ่มฯ ยังได้แบ่งกลุ่มผู้ชม และจัด ให้มีวิทยากรนำพวกเราชมหิ่งห้อยที่ อยู่ในสวน พวกเราเดินฝ่าความมืด
อีกทัง้ ต้องส่งสัญญาณโดยการกระซิบ-
กระซาบกัน และเดินเกาะเพือ่ นทีอ่ ยู่
ข้างหน้าต่อๆ กันไป เพราะไม่อยาก ใช้แสงไฟ และเสียงเป็นการรบกวน ระบบนิเวศน์ของหิ่งห้อย แถมพื้นที่
บางตอนเป็นท้องร่อง ทางเดินเป็นไม้-
กระดานแผ่นเดียว หากเผลอนิดเดียว อาจได้ลงไปสปาเบื้องล่างก็ได้ มือ่ เงยหน้าขึน้ มามองไปตามต้นไม้ รอบตัว โอ้โห! อะไรกันเนีย่ เหมือน มี ใ ครเอาไฟคริ ส ต์ ม าส มาติ ด ตาม
สุมทุมพุม่ ไม้ ต้นเล็กต้นใหญ่ เต็มไป-
หมด ไม่ผิดหวังจริงๆ เต็มไปด้วยแสงไฟของหิ่งห้อย ตัวน้อย แม้กระทัง่ บนพืน้ ก็ยงั มี แสดงว่าระบบนิเวศน์ บริเวณนี้สมบูรณ์จริงๆ งานนี้หิ่งห้อยน้อยออกมา ทำงานกันอย่างไม่เกียจคร้าน อยากจะอยู่ชื่นชมให้ นานๆ แต่ได้เวลาก็จำต้องรีบออกมาเพราะยังมีเพือ่ นๆ กลุ่มหลังรอชมกันอยู ่ เสร็จจากดูหิ่งห้อยได้เวลาปั่นกลับ บางท่านก็
ยังแวะหาอะไรทานก่อนกลับบ้านอีกรอบ แต่สว่ นใหญ่
แล้วจะพากันปัน่ กลับมายัง ณ จุดเริม่ ต้นคือทีส่ มาคมฯ งานนี้ทุกท่านมีแต่ความสุข พกความสนุกกลับบ้าน
เ
กันอย่างเต็มหัวใจ และไม่เปียกฝน กันเลย ขอขอบพระคุณ • คุณโปสัน ประธานชมรมจักรยาน
บ้านบางกระสอบ และสมาชิก กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลำพู-
บางกระสอบ ทีอ่ นุเคราะห์ให้เข้า เยีย่ มชมสถานทีอ่ นั ควรค่าแก่การ อนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานของเราต่อ ไป พร้อมทั้งอาหาร เครื่องดื่มที่ อร่อยมากมาบริการพวกเรา • ทีมงาน สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย TCHA
ที่จัดทริปดีๆ น่าสนใจแบบนี้ให้พวกเรา • ทีมงาน COFFEE BIKE ติดต่อประสานงาน และ ดูแลประทับใจ • สมาชิกผูร้ ว่ มทริปทีช่ ว่ ยกันรักษาความสงบระหว่าง
ที่เยี่ยมชมสถานที่ทุกๆ ท่าน อย่าลืม..นัดของเราครั้งต่อไป ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ ทริปปัน่ เข้าซอย หาของอร่อยทานทีส่ ะพาน ๓ กราบท้าวเวสสุวรรณ ไปกันให้ได้นะคะ
23
เรื่อง วชิรุฬ จันทรงาม
มุมสุขภาพ
Fitness Lifestyle 6 ไตรกีฬา
ใ
นตอนที่ ๕ เราได้พูดคุยกันถึงเรื่อง การปกป้อง ดวงตาของเราจากอันตรายต่างๆ เมือ่ เราใช้สายตา กลางแจ้งกลางแดดเป็นเวลานานๆ วันละหลายๆ ชั่วโมง จะต้องเผชิญกับสายลม แสงแดด และรังสียูวี จากธรรมชาติ ซึง่ สามารถทำให้เกิดต้อกระจก ต้อเนือ้ ต้อลม หรือโดนสิง่ แปลกปลอม เช่นเศษไม้ เศษทราย หรือแมลงเข้าตาได้ จึงได้แนะนำให้มีการใช้แว่นตา กันแดดที่มีการเคลือบป้องกันรังสี UVA และ UVB และมีความยืดหยุ่น มีความเหนียว ไม่แตกหักเมื่อ ถูกแรงกระแทก ถือเป็นการดูแล ทะนุถนอมดวงตา ของเราให้อยู่รอดปลอดภัยตลอดไป ท่านสามารถหา อ่านรายละเอียดได้จาก “สารสองล้อ” ฉบับเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๔ นะครับ ว่ายน้ำ/กม. ๑. Sprint .๗๕ ๒. Olympic ๑.๕ ๓. Double Olympic ๓.๐ ๔. Half Ironman ๑.๙ ๕. Triple Olympic ๔.๐ ๖. Ironman ๓.๘ ๗. Ultraman ๗.๙
24
ในตอนนี้ เราจะคุยกันถึงเรื่องไตรกีฬา ซึ่งรวม กีฬาถึง ๓ ชนิดไว้ด้วยกันในการแข่งขัน คือว่ายน้ำ
ขี่จักรยาน และวิ่ง ผู้ที่จะเข้าแข่งขันจะต้องมีร่างกาย ที่ฟิตมาก จึงจะสามารถวิ่งเข้าเส้นชัยได้ ทุกคนจะ ต้องผ่านการฝึกมาอย่างดีและเป็นระบบ จึงจะได้ผล สูงสุดจากการฝึก ทีย่ กเรือ่ งนีม้ าคุย ก็หาใช่วา่ เราจะยกให้ไตรกีฬา
เป็นกีฬาสำหรับนักแข่งอาชีพเท่านัน้ ในทางตรงกันข้าม
เราเห็นว่าไตรกีฬานั้น ก็สามารถเป็นกีฬาสำหรับมือ
สมัครเล่นได้ดว้ ยเช่นกัน โดยเฉพาะสำหรับผูท้ รี่ กั และ
ชอบพอในการฟิตร่างกายให้แข็งแรงเข้าขัน้ ระดับเทพ เบื้องต้นจะขอพูดถึงการแบ่งไตรกีฬาออกเป็น ระดับต่างๆ ดังนี ้
ปั่นจักรยาน/กม. ๒๐ ๔๐ ๘๐ ๙๐ ๑๒๐ ๑๘๐ ๓๖๙
วิ่ง/กม. ๕ ๑๐ ๒๐ ๒๑.๑ ๓๐ ๔๒.๒ ๘๙
รวม /กม. ๒๕.๗๕ ๕๑.๕ ๑๐๓ ๑๑๓ ๑๕๔ ๒๒๖ ๔๖๕.๙
ก
ารแข่งขันไตรกีฬา อาจจะไม่ได้มรี ะยะตามข้อมูล ในตารางนี้เสมอไป ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไป ตามแต่ผู้จัดจะกำหนดขึ้นมา เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ สำหรับนักกีฬาและผู้ที่จะเข้าร่วมแข่งขัน ไตรกีฬา ดีสำหรับนักกีฬาสมัครเล่นอย่างเราๆ อย่างไร? นี่ เ ป็ น ความเห็ น ส่ ว นตั ว ของผู้ เขี ย นนะครั บ
คุยกันเล่นๆ อย่าถือเป็นมาตรฐานแต่อย่างใด เนือ่ งจากการออกกำลังกาย เป็นสิง่ ทีเ่ ราควรจะ
ทำเป็นประจำทุกวัน เสมือนการทำกิจวัตรประจำวัน
อืน่ ๆ จึงมีความจำเป็นทีเ่ ราจะต้องสนุกและมีความสุข
ในการออกกำลังกาย เราจึงจะสามารถทำได้เป็นกิจวัตร
โดยไม่เบื่อ ฉะนั้นความหลากหลายจึงสามารถช่วย ทำให้เราไม่เบื่อ และสนุกไปกับการฝึกในแต่ละวัน โดยเฉพาะการเข้าร่วมแข่งขันเป็นระยะๆ ในแต่ละปี
ก็เป็นเสมือนการทดสอบความฟิตของร่างกายไปในตัว นั ก กี ฬ าสมั ค รเล่ น ส่ ว นใหญ่ ค งจะไม่ ไ ด้ ห วั ง ถ้วยรางวัลอะไรจากการเข้าแข่งขัน เพียงแต่ขอให้ได้ แข่งจนจบการแข่งขัน ก็สามารถทำให้หัวใจเบิกบาน ได้แล้ว ถือเป็นการทำให้อารมณ์และจิตใจดี ซึ่งเป็น ส่วนหนึง่ ของการมีสขุ ภาพโดยรวมทีด่ ี คือดีทง้ั ร่างกาย และจิตใจ
ทีจ่ ริงแล้วการเล่นไตรกีฬาถือเป็น Total Fitness
คือ ฟิตเต็มๆ สมบูรณ์ไปเสียทุกด้าน เนื่องจากการ ว่ายน้ำ การขีจ่ กั รยาน และการวิง่ จะต้องใช้กล้ามเนือ้ ทุกส่วนของร่างกาย ลำพังเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง จะไม่ครอบคลุมเหมือนการเล่นไตรกีฬาทั้ง ๓ ชนิด ารฝึกไตรกีฬาแต่ละอย่างสลับกันไปในแต่ละ วัน ยังช่วยให้กล้ามเนื้อบางส่วนได้มีโอกาสพัก
ต่างจากการฝึกกีฬาเพียงประเภทเดียวซ้ำๆ อยูท่ กุ วัน
โดยเฉพาะการว่ายน้ำ จะใช้ฝึกได้โดยไร้แรงกระแทก ต่อข้อต่อต่างๆ และในกรณีที่เกิดการบาดเจ็บจาก
การวิง่ หรือการปัน่ จักรยาน เราก็สามารถมาฝึกว่ายน้ำได้
ดีทั้งสำหรับปอด หัวใจ และกล้ามเนื้อหลายๆ ส่วน จะเป็ น การดี ต่ อ สุ ข ภาพ ร่ า งกายและจิ ต ใจ เพียงใด หากเราจะมีเวลาร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัว นำจักรยานไปปัน่ ในสถานที่ ต่างๆ ว่ายน้ำกันตามแหล่งน้ำธรรมชาติ และวิ่งได้ เหยาะๆ สูดอากาศที่บริสุทธ์ชนิดที่ไม่เคยได้พบเจอ กันในกรุงเทพมหานคร สถานที่ที่ว่านี้ ผมก็เพิ่งไป พบว่ามีครบถ้วนตามที่ได้กล่าวมานี้ รวมทั้งมีสนาม กอล์ฟ ๒ สนาม ๓๖ หลุมอยู่ด้วย ก็ที่แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรีนี่ไงครับ เรามาเริ่มเล่นไตรกีฬากันเถอะ.......
ก
25
เรื่อง Rainbow
เรื่องเล่านักปั่น
การขี่จักรยานแบบท่องไป ๒
เ
มื่อได้ขี่จักรยาน “ท่องไป” ในโลกกว้าง สิ่งที่ผม ได้ยินได้ฟังบ่อยๆ จากบรรดาท่านที่ปลาบปลื้ม ด้วย มักจะปรารภว่า “สักวันหนึ่ง ฉันจะ..............” ประมาณว่าจะ “ท่องไป” แบบนี้บ้าง หิวกระหาย ชีวิตที่เป็นอิสระเสรี ปราศจากพันธะที่กำหนดให้ทำ ในสิ่งที่ต้องการ ค้นพบโลกใหม่ๆ แบบที่มีชีวิตชีวา ผมอยากจะเพิ่มเติมในแง่มุมที่อาจจะเลือนราง ไปบ้ า งก็ คื อ “ความเข้ า ใจ” ต่ อ การเดิ น ทางแบบ
ท่องไป หากเข้าใจเพียงแง่มุมเดียว เราอาจจะออก เดินทางไม่สำเร็จ! อุปสรรคที่สำคัญคือความเข้าใจในกระบวนคิด ของตนเอง เป็ น ใจที่ ส ร้ า งความคิ ด หวาดกลั ว การ เดินทาง เพราะความที่ล่วงเข้าไปในโลกที่แปลกใหม่ ทั้งภูมิประเทศ จากบ้านเมืองที่ตนเองไม่เคยชินไปสู่ สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ตลอดจนสิ่งที่อยู่ในใจ ความเหงา ความแปลกหน้า ความไม่เคยชินจากความไม่สะดวก ต่างๆ ฯลฯ สรุปความว่า เป็นอะไรที่ไม่เหมือนเดิม ารขี่จักรยานแบบท่องไป สำหรับในประเทศ นอกที่พัฒนาแล้ว เป็นที่เข้าใจและยอมรับใน สังคมเป็นปกติ แต่ในบ้านเรา ถ้ากล่าวอย่างไม่เกรงใจ เพียงแค่กล่าวจำเพาะแต่บริบทตัวรถจักรยานเท่านั้น ก็มีมิติแฝงเร้นที่น่าแปลกประหลาด ในสังคมไทย จักรยานถูกผูกให้เข้ากับสัญลักษณ์
ของความจน ความข้นแค้น ความเหนือ่ ยยากทุกข์เข็ญ
ก 26
ที่เป็นคนละด้านกับความสะดวกสบาย สถานะทาง สังคม และการยอมรับหน้าถือตา ระบบดังกล่าว
มันปลูกฝังในสังคมไทยมาช้านาน เป็นกรอบใหญ่โต ที่เชื่อหลักการของความมั่นคง การเชิดชูความสำเร็จ
และหวาดกลัวความล้มเหลว หลีกเลีย่ งการถูกคัดออก
กลั ว ไม่ ทั น เพื่ อ น กลั ว ที่ จ ะทำอะไรแล้ ว ถู ก มองว่ า
ไม่เหมือนผู้อื่น กลัวถูกหาว่า “บ้า” เมื่อความกลัว เหล่านี้สะสมมากๆ เข้า มันจึงแสดงออกมาด้วยการ สยบยอม จมดิ่งชีวิตไปกับสภาพแหยๆ จำเจ และ หน่ายเหน็ด ดังนั้นการขี่จักรยานในสังคมไทย จึงเป็นของ ประหลาดถ้าคุณมีปญ ั ญาไปพาหนะอืน่ ได้ แต่ยงั เลือกที่ จะไปด้วย “รถถีบ” แสดงว่า “เพี้ยน” แหงๆ ที่ยัง ผลให้นักจักรยานบางคนชดเชยความรู้สึกที่พร่อง เหล่านั้นด้วยการคุยโวมันเสียเลย ถ้าไม่เก่งทางวาจา ก็บ้าพลัง ไม่ก็อวดทางชั้นอะไหล่กรุ๊ปเซ็ตที่สุดยอด
แต่เนือ้ หาสาระทางกระบวนคิดกลับเหลวเป๋วกลวงโบ๋ สืบเนื่องจากเหตุข้างต้น... รายที่หวังว่า “สัก วันหนึ่ง ฉันจะ..............” มักหมุนล้อออกเดินทาง ไม่สำเร็จ เพราะความที่รอให้พร้อมก่อนนั่นเอง เชื่อ-
หรือไม่กบั การ “ท่องไป” มันเป็นอะไรทีง่ า่ ย ง่ายเกิน
กว่าที่จะต้องรอให้สิ่งใดๆ พร้อม จงเก็บความพร้อม ไว้เรียกสิง่ ทีย่ ากๆ ดีกว่า ทีเ่ ป็นเช่นนีก้ เ็ พราะคุณหวาด กลัวความล้มเหลวไง กลัวว่าทำไปแล้วจะเกิดอาการ
จ๋อยเวลาเกมส์โอเว่อร์แต่ทำไม่สำเร็จ ยืดไม่ออก เพราะ หวังว่าจะไปยืดในขั้นสุดท้าย คือความต้องการการ
ยอมรับจากผูอ้ นื่ ไง ไม่ได้หวังว่าจะเป็นการ “ใช้ชวี ติ ”
ผมสามารถบอกใบ้ให้ว่า เมื่อใดก็ตามที่คุณขี่แบบ “ท่องไป” หากยังรู้สึกว่ายากและน่าเบื่อหน่าย นั่น-
แสดงว่าคุณกำลังก้าวผิดทาง และแน่นอนที่สุด คุณ ต้องการการปรับเปลี่ยน ไม่ใช่เพราะคุณไม่รู้อะไรใน การปัน่ ชนิดนี้ แต่แท้จริงแล้วการทีไ่ ม่เคยเลยต่างหาก คือลักษณะจำเป็นมากกว่าสิ่งใดๆ ค่าที่ว่า คนที่ไม่รู้ อะไรเลยจะเปิ ด ผั ส สะ และพร้ อ มที่ จ ะอ้ า แขนรั บ ประสบการณ์แปลกใหม่อย่างเต็มที ่ กจักรยานบางท่านที่ “ท่องไป” โดยไม่มที ว่ งท่า
ของการจาริกใดๆ ย่อมไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ สำหรั บ ตั ว ผมเอง.. หากกลั บ จากเดิ น ทางมาแล้ ว
ได้ สั่ ง สอนให้ ตั ว เองสามารถแยกแยะว่ า สิ่ ง ใดเป็ น พืน้ ฐานจำเป็นแก่ชวี ติ ออกจากเปลือกกระพี้ สามารถ เพาะบ่มความพึง่ ตนเองได้ ตัง้ มัน่ คุณธรรมบางประการ ในจิตใจ และหยัง่ ถึงสัจจภาพบางอย่างของชีวติ ย่อม จะทำให้ทริปนั้นประสบความสำเร็จ โดยไม่เกี่ยงว่า จะเป็นกี่กิโลเมตรก็ตาม ใครก็รู้ว่าเวลามีจำกัด เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้ไม่ นานเลย อยากจะทำอะไรควรทำเลย อย่ามัวเสียเวลา ไปสะสมขยะในนามของความมั่นคงมาสุมหัว โลก ภายนอกเต็มไปด้วยชีวิตชีวาให้คุณสูดดม โบยบิน และดื่มด่ำ จงใช้เวลาให้คุ้มค่ากับการชื่นชมสรรพสิ่ง ทีเ่ ป็นจริงในปัจจุบนั ด้วยการจัดกระเป๋าแล้วถอนสมอ ออกมุ่งหน้าสู่ทะเลลึกที่ขับเคลื่อนด้วยความกระหาย อยากรู้อยากเห็น และยินยอมแลกเปลี่ยนมันด้วย อะไรก็ตามที่คุณมีแม้อาจจะเปียกปอนหนาวสั่นและ ไม่อิ่มเป็นบางมื้อ แต่ผมรับประกันว่าคุ้มค่าอย่าง แน่นอนในท้ายที่สุด ๑๒.๑๕ น. ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ นครสวรรค์
นั
ใครก็รู้ว่าเวลามีจำกัด เรามีชีวิตอยู่ในโลกนี้ไม่นานเลย อยากจะทำอะไรควรทำเลย อย่ามัวเสียเวลาไปสะสมขยะ ในนามของความมั่นคงมาสุมหัว โลกภายนอกเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ให้คุณสูดดม โบยบิน และดื่มด่ำ จงใช้เวลาให้คมุ้ ค่ากับการชืน่ ชม สรรพสิ่งที่เป็นจริงในปัจจุบัน
• • •
27
เรื่อง/ภาพ ช่างหนึ่ง
เชิงช่างหนึ่ง
สบายๆ ท่านเคยปวดเมื่อยมั้ยเวลาปั่นจักรยาน หรือ
มีอาการเจ็บฝ่ามือ เท้า ก้น หรือไม่? จริงๆ แล้วการเซ็ทอัพจักรยานของทุกๆ ชิ้น ส่วนนั้น สามารถช่วยให้อาการที่กล่าวมาทั้งหมด
ลดลงหรือไม่มีอาการอีกเลย
มาเริ่มต้นกันที่ฝ่ามือเป็นอันดับแรก
หากท่านเคยมือชาบริเวณนิ้วก้อยหรือฝ่ามือ ทดลองตรวจสอบดูว่า การวางมือบนแฮนด์นั้น มี การกดน้ำหนักลงไปมากไปหรือไม่ อาการนีส้ ว่ นใหญ่ จะควบคูไ่ ปกับการปวดเมือ่ ยต้นคอด้านหลัง วิธแี ก้ไข เบื้องต้น ลองใส่แหวนรองใต้คอแฮนด์ให้สูงขึ้นสัก เล็กน้อยเพื่อยกคอแฮนค์สูงขึ้นมา เป็นการรองรับ ท่าทางที่เราจะต้องก้มตัวลงไปเพื่อจับแฮนด์ เมื่อระดับของแฮนด์สูงขึ้นมา อาการปวดเมื่อย
ต้นคอและอาการมือชาจะลดน้อยลงได้ อีกวิธที ชี่ ว่ ยได้คอื เวลาปัน่ จักรยานให้สวมถุงมือ
28
ที่มีความหนาตรงอุ้งมือมากหน่อย เป็นอีกจุดหลักๆ ช่วยลดอาการปวดต้นคอและอาการชาที่ฝ่ามือได้
อาการปวดหลังท่อนบน
อาการนี้มักจะเกิดกับท่านที่ใช้ระดับของคอ-
แฮนด์ต่ำเกินไป หากที่สรีระของผู้ขับขี่ซึ่งไม่สามารถ ก้มตัวได้ไม่มาก ประกอบกับคอแฮนด์อยู่ในระดับที่ ต่ำเกินไป จะทำให้เกิดการปวดเมื่อย เพราะว่าท่าน ไม่สามารถก้มตัวได้ต่ำมากๆ นั่นเอง ดังนั้นเมื่อปั่น จักรยานในขณะที่คอแฮนค์ต่ำเกินไปในระยะเวลา-
นาน ร่างกายไม่จะคุ้นชินกับการก้มตัวลักษณะนี้ จึง ทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังไปตลอด แม้กระทั่ง ตอนปั่นและหลังปั่น ดังนั้นการแก้ปัญหานี้คร่าวๆ ให้ท่านทดสอบ โดยการก้มตัวดูว่าส่วนหลังของคุณนั้นสามารถก้มได้ แค่ไหน หากก้มตัวลงไปแล้วมือไม่สามารถแตะลงไป ติดกับพืน้ หรือเท้าได้ ขอแนะนำว่าอย่าได้ใช้คอแฮนด์
ต่ำเชียวนะ เพราะท่านไม่สามารถก้มตัวแบบนั้นได้ เป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดการปวดหลังท่อนบนได้ อย่างที่กล่าวข้างต้น ในทางกลับกันถ้าท่านสามารถ ก้มตัวลงไป จนกระทั่งฝ่ามือสามารถวางลงบนพื้นได้ ท่านจะสามารถตั้งคอแฮนด์และระดับของแฮนด์ให้ ต่ำได้ ง่ายๆ ใช่มั้ยครับ เรื่องนี้เป็นศาสตร์ที่ลึกซึ้งและ ละเอียดอ่อน ทุกๆ มิลลิเมตรนั้นสามารถทำให้เรา เป็นนักปั่นที่ไม่มีอาการปวดเมื่อยเลยก็ว่าได้
ระดับความสูงของเบาะนั่ง
อันดับแรกให้ดูระยะระหว่างแฮนด์กับเบาะว่า มีความยาวมากน้อยไปหรือไม่ การเซ็ทอัพคร่าวๆ ให้ท่านจอดจักรยานอิงกับผนังแล้วขึ้นไปในท่านั่งปั่น จักรยานตามปกติ วางมือที่แฮนด์และให้เพื่อนชี้ดู
มุมด้านข้างว่า ช่วงแขนตึงไปหรือหย่อนไปหรือเปล่า ส่วนใหญ่ถา้ เป็นรถเสือหมอบ ให้ขอ้ ศอกหย่อนหน่อย ประมาณ ๑.๕ นิ้ว และเสือภูเขาหย่อนประมาณ
๒-๓ นิ้ว ดูช่วงต่อไปเป็นช่วงของเบาะกับเท้า ด้วยการ วางเท้าด้านใดด้านหนึ่งลงไปด้านล่าง โดยให้ขาจาน ตัง้ ฉากกับพืน้ สำหรับรถเสือหมอบต้องให้หวั เข่าหย่อน ประมาณ ๑-๒ นิ้ว และจะต้องตรวจวัดกับรองเท้าที่ ท่านจะใช้ปน่ั จักรยานด้วย เพือ่ ประสิทธิภาพทีส่ มบูรณ์ ที่สุด และสำหรับรถเสือภูเขาให้หย่อนซักประมาณ ๒-๓ นิ้ว เนื่องจากมิติการวางเท้าของเสือภูเขานั้น ไม่ราบเรียบเหมือนเสือหมอบ เพราะเราอาจจะปั่น ไปบนเส้นทางที่มีหินหรือด้านล่างของก้อนหินก็เป็น ไปได้ แต่ ถ้ า ปั่ น ทางเรี ย บบ่ อ ยๆ ให้ เซ็ ท อั พ คล้ า ย เสือหมอบก็ได้ไม่ว่ากัน ในเมื่อความสบายในการปั่นเป็นที่สุดของการ ปัน่ จักรยาน แล้วท่านจะมัวรอช้าไปใย สมัยนีอ้ ปุ กรณ์
มีมากมายเพื่อให้เราๆ ท่านๆ เลือกสรรอุปกรณ์ให้ เหมาะสม จะได้ปน่ั จักรยานอย่างสนุกเพิม่ ขึน้ ทดลอง
ปรับกันได้นะครับ ฉบับนี้ก็ขอลาไปก่อนล่ะครับ
29
ขอบคุณผู้บริจาค
คุณมงคล วิจะระณะ บริจาคเงิน ๑,๐๐๐ บาท คุณสุประดิษฐ์ เทวาภินิมมิต บริจาคเงิน ๕๐๐ บาท คุณเอี่ยมอาจ คูศิวิไลส์ บริจาคเงินสด ๕,๐๐๐ บาท คุณสมพงษ์ เริ่มรัตน์ บริจาคจักรยาน 1 คัน คุณวิลาสินี รัตนาภินันท์ชัย บริจาคจักรยาน 1 คัน
สำหรับผูท้ สี่ นใจร่วมบริจาคจักรยาน อุปกรณ์ หรืออืน่ ๆ เพือ่ นำไปใช้ในโครงการรีไซเคิลจักรยานของสมาคมฯ สามารถติดต่อ ได้ทที่ ำการสมาคมฯ ถนนบรรทัดทอง จุฬาซอย ๖ ข้างสนามกีฬาแห่งชาติ โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐
สินค้าของสมาคม
เป็นสินค้าทีจ่ ำเป็นสำหรับผูใ้ ช้จกั รยาน จัดจำหน่ายในราคามิตรภาพ สนใจเลือกซือ้ ได้ทที่ ำการสมาคมฯ
โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗ เวลาทำการ ๐๙.๐๐ น. - ๑๘.๐๐ น. หยุดวันอาทิตย์ สั่ง ซื้ อ ทางไปรษณี ย์ โอนเข้ า บั ญ ชี ประเภท
ออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบรรทัดทอง ในนาม สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย เลขทีบ่ ญ ั ชี ๐๖๓-๒-๕๒๒๗๖-๑ แล้วกรุณาแฟกซ์สำเนาใบโอน มาที่โทรสาร ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑ หรือส่งทาง E-mail: ๐๐๑ : หมวกคลุมหน้า ๐๐๓ : ถุงแขนลายธงชาติ tchathaicycling@gmail.com ราคาใบละ ๑๒๐ บาท ราคาคู่ละ ๑๕๐ บาท
๐๐๔ : สายรัดข้อเท้า เส้นใหญ่ ราคาชิ้นละ ๘๐ บาท เส้นเล็ก ราคาชิ้นละ ๓๐ บาท
๐๐๖ : เสื้อ TCC ตัวเล็ก ราคาตัวละ ๑๐๐ บาท
๐๐๗ : เสื้อจักรยานแขนสั้น ราคาตัวละ ๗๕๐ บาท
๐๐๘ : เสื้อจักรยานแขนยาว ราคาตัวละ ๙๕๐ บาท
๐๐๕ : เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ราคาตัวละ ๑๘๐ บาท
๐๐๙ : เสื้อจักรยานสีขาว ราคาตัวละ ๓๐๐ บาท
๐๑๐ : กางเกงขาสั้น ราคาตัวละ ๖๕๐ บาท
๐๑๑ : กางเกงขายาว ราคาตัวละ ๘๕๐ บาท
จองด่วน!
โฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเหล่านักปั่นมากที่สุด!
6 ซม. เปิดพื้นที่โฆษณาย่อยเป็นพิเศษ สำหรับร้านค้าย่อยที่จำหน่าย จักรยาน บริการซ่อมบำรุง จำหน่ายอะไหล่ รับประกอบจักรยาน เสือ้ ผ้า 3 ซม. ร้ า นอาหารสิ น ค้ า มื อ สอง ของส่ ว นตั ว บริ ก ารท่ อ งเที่ ย ว หรื อ อื่ น ๆ
เชิญจับจองด่วน พื้นที่ขนาด ๓ คูณ ๖ เซนติเมตร ราคาพิเศษในโอกาส เปิดพื้นที่ใหม่เพียง ๑,๐๐๐ บาทต่อครั้งต่อเล่มเท่านั้น ติดต่อด่วน
โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐ หรือทางเวบไซต์ที่ http://bit.ly/TCHAminiAD โฆษณาตรงเป้าหมายและยังได้ร่วมสนับสนุนสมาคมฯ อีกด้วย!
30
31
32