สารสองล้อ กันยายน 2554

Page 1

ทริปกฐินสามัคคี..กรุงเทพฯ ~ พิษณุโลก..อยาพลาด!

ปนเขาซอยทานอรอยที่ยานอุดมสุข ● วิบากกรรม..ไตรกีฬา!? ● สำรวจเสนทางวงแหวนรอบใน ● รวมรณรงค Moving Planet ● ทริประยอง ~ จันทบุรี ● จักรยาน..บนถนนสายรุงแหงชีวิต

ÁÙŤ‹Ò òõ ºÒ· ÊÁÒªÔ¡..ÃѺ¿ÃÕ!

prf 5 A-W 243 Sept.indd 1

1 9/5/54 BE 9:35 AM


2 prf 5 A-W 243 Sept.indd 2

9/5/54 BE 9:36 AM


3 prf 5 A-W 243 Sept.indd 3

9/5/54 BE 9:36 AM


สำคัญนะครับ..เดือนนี้.. บทบรรณาธิการ เพราะเป็นเดือนที่จะเกิดการรวมตัวครั้งใหญ่ของชาวจักรยานทั่ว ประเทศ เพื่อร่วมกิจกรรมแสดงพลังของคนรักจักรยาน ผู้ซึ่งสนับสนุน แนวคิดรักษ์โลก ลดมลภาวะ และเสริมสร้างสุขภาพ ด้วยการหันมาร่วม กันใช้จักรยาน ทุกครั้งที่ได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมในงาน “คาร์ ฟรี เดย์” จะรู้สึก ตื่นเต้นไปกับสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอ เพราะการที่มีผู้ใช้จักรยานมากมาย มาจาก หลากหลายสาขาอาชีพ หลากรูปแบบ รวมตัวกันอยู่ในสถานที่เดียวกัน และยั ง มี ผู้ ใช้ จั ก รยานที่ ร่ ว มกิ จ กรรม ณ จั ง หวั ด ต่ า งๆ อี ก ทั่ ว ประเทศ

ต่างพร้อมใจในวันเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงสังคมของผู้ใช้จักรยานซึ่งมี มากมายในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เชื่อว่าคุณคือหนึ่งในผู้ที่จะเข้าร่วม บันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ครั้งนี้ด้วย เช่นเดียวกัน สารสองล้อฉบับนีม้ โี อกาสนำพาผูอ้ า่ นไปพูดคุยกับหนึง่ ในผูป้ ระกอบการ

“โรงงานผลิตจักรยาน” ในประเทศไทย ซึ่งผลิตจักรยานป้อนสู่ตลาดมา

อย่างต่อเนือ่ งยาวนาน กระทัง่ ล่าสุดได้พฒ ั นาจักรยานในกลุม่ นักปัน่ รุน่ ใหม่

หัวใจไร้เกียร์ อย่างจักรยาน “ฟิกซ์เกียร์” ออกมาสู่ตลาด ที่ได้ทั้งคุณภาพ และราคาซึง่ เหล่าวัยรุน่ ทัง้ หลายสัมผัสได้ ทำให้เราได้รบั รูว้ า่ แม้การสนับสนุน ผู้ใช้จักรยานในเมืองไทยอาจจะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แต่ทางด้านฝีมือ การผลิตแล้ว เราสามารถผลิตจักรยานที่พอเหมาะพอดีกับผู้ใช้ได้ไม่แพ้ใคร เช่นเดียวกัน ข้อสำคัญขอกระซิบส่งท้ายไว้ตรงนีว้ า่ สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย

เตรียมจะนำพาทุกท่านทีส่ นใจ ร่วมกันปัน่ จักรยานไปเยีย่ มชมเทคโนโลยีการ

ประกอบเฟรมจักรยานด้วยหุน่ ยนต์กนั ถึงถิน่ เลยทีเดียว.. คอยติดตามนะครับ บรรณาธิการสารสองล้อ

สารสองล้อ ได้รบั การสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

แบบปก ZangZaew SnapRider

สารสองล้ อ ฉบับที่ ๒๔๓ / กันยายน ๒๕๕๔ ISSN ๑๕๑๓-๖๐๕๑

แวดวงสองล้อ Moving Planet ๓ กิจกรรมชวนปัน่ นำร่อง CAR FREE DAY 2011 ไปกินชิมอาหารอร่อย ครั้งที่ ๙ ทริปกฐินสามัคคี ปฏิทินทริป ๒๕๕๔ Car Free Day 2011 จับเข่าคุย..ลุยโลกสองล้อ Bangkok Car Free Sunday 2 พิชิตเส้นทางท่องเฉลิมบูรพาชลทิต สรุปทริปปั่นไปกิน สะพานสาม Fitness Lifestyle 7 จักรยาน...ยานพาหนะพิเศษฯ เชิงช่างหนึ่ง..จักรยานสมัยผม สินค้าสมาคมฯ

๕ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๓ ๑๖ ๑๙ ๒๐ ๒๒ ๒๔ ๒๖ ๒๘ ๓๐

สนใจสมัครสมาชิกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย เพื่อสิทธิพิเศษในการร่วมกิจกรรมและรับสารสองล้อฟรี สมาชิกรายปี ๒๐๐ บาท ( ต่ำกว่า ๑๕ ปี ๘๐ บาท) สมาชิกตลอดชีพ ๒,๐๐๐ บาท ติดต่อได้ที่ โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗ หรือสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.thaicycling.com/member เจ้าของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา มงคล วิจะระณะ บรรณาธิการ วรวุฒิ วรวิทยานนท์ กองบรรณาธิการ นัทติยา

วิริยวัฒน์, กัญญพัฒน์ บัณฑุกุล, นนลนีย์ อึ้งวิวัฒน์กุล ประสานงานและบัญชี วิภาดา กิรานุชิตพงษ์ สมาชิก สุทธิชัย สุศันสนีย์ พิมพ์ที่ บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด โทร. ๐๒-๒๑๔-๔๖๖๐, ๐๒-๒๑๔-๔๓๗๐ โทรสาร ๐๒-๖๑๒-๔๕๐๙ สำนักงาน สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย

๘๔๙/๕๓ จุฬาซอย ๖ ถนนบรรทัดทอง แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ ๑๐๓๓๐ โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐ โทรสาร

๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑ เวบไซต์ www.thaicycling.com Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล์ tchathaicycling@gmail.com

4 prf 5 A-W 243 Sept.indd 4

9/5/54 BE 9:36 AM


แวดวงสองล้อ ประกาศยกเลิกและแก้ไข การอนุญาตจักรยานพับได้ขึ้นรถไฟฟรี!!! ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีประกาศ เมือ่ วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ ลงนามโดยนายนรินทร์ จันทรเดชา ผู้อำนวยการฝ่ายการเดินรถ ให้ยกเว้น ค่ า ระวางทั่ ว ประเทศ มี ผ ลบั ง คั บ ใช้ ตั้ ง แต่ วั น ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เป็นต้นไปแล้วนั้น ต่อมาได้เกิด ปัญหาระหว่างผู้ใช้บริการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับเรื่องการขยายความตามระเบียบปริมาตร ๕๐ x ๕๐ x ๕๐ ของสัมภาระ ซึ่งสมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทยได้ยื่นเรื่องขอความอนุเคราะห์แก้ไข ปัญหาดังกล่าว บัดนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ออกคำสั่ง ยกเลิกคำสั่งประกาศตามบันทึกข้อความเดิมเมื่อวัน ที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปใน แนวทางเดียวกัน และลดข้อร้องเรียนจากผู้ใช้บริการ ให้พนักงานที่เกี่ยวข้องใช้คำสั่งใหม่ ซึ่งลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ แทน มีรายละเอียดดังนี้ อนุญาตให้นำจักรยานชนิดพับได้ ที่มีขนาด

เส้นผ่าศูนย์กลางวงล้อไม่เกิน ๒๐ นิว้ มากับตัวผูโ้ ดยสาร

ไปกับขบวนรถโดยสารต่างๆ พิจารณายกเว้นค่าระวาง ให้ ถื อ ว่ า รถจั ก รยานชนิ ด พั บ ได้ ๑ คั น ที่ มี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางวงล้อไม่เกิน ๒๐ นิ้ว และมี น้ำหนักไม่เกินสิทธิ (เมื่อเก็บพับแล้ว) ให้ถือว่าเป็น

ของเครือ่ งใช้จำนวน ๑ ชิน้ หากนำพามากับสัมภาระ อื่ น ๆ เมื่ อ รวมกั น แล้ ว มี น้ ำ หนั ก เกิ น สิ ท ธิ หรื อ คั น

ใหญ่โตเกินจนไม่สามารถจัดเก็บไว้ได้ตามข้อ ๑.๓

ก็ให้คิดค่าระวางตามระเบียบต่อไป ซึ่งข้อบังคับที่ ๑.๓ มีรายละเอียดดังนี้.. ข้อ ๑.๓ สามารถเก็บไว้ในที่วางของ หรือใต้ ม้านั่งได้โดยเรียบร้อย หากเป็นรถที่ไม่มีที่วางของ หรือชั้นวางของ ก็อนุโลมให้วางไว้ข้างที่นั่งในส่วน ที่เป็นสิทธิของแต่ละคน (ตรงกับที่นั่งแต่ละคน) แต่ไม่ให้ล้ำเข้าไปในช่องทางเดินเกินสมควร จนไป ปิดกั้นช่องทางเดินโดยสิ้นเชิง หรือกีดขวางการใช้ สิทธิของผู้โดยสารอื่น และต้องไม่ก่อให้ผู้โดยสาร อื่นได้รับความเดือดร้อนรำคาญ ... ... ... แจ้งเพื่อให้เพื่อนสมาชิกผู้ใช้จักรยานเดินทาง โดยรถไฟได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดนี้ โดยทั่วกัน นับแต่นี้เป็นต้นไป

5 prf 5 A-W 243 Sept.indd 5

9/5/54 BE 9:36 AM


สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทยได้รับความ เปิดแล้ว..ร้านจักรยาน สวนธน ไบค์พลัส อนุเคราะห์จากคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่ อ วั น อาทิ ต ย์ ที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔

ในการดำเนิ น งานของสมาคมจั ก รยานเพื่ อ สุ ข ภาพไทยนั้ น นอกจากคณะกรรมการผู้ ทุ่ ม เท

แรงกายแรงใจแล้วนั้น เรายังได้รับเกียรติอย่างสูง จากผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ให้ความอนุเคราะห์เป็น

ทีป่ รึกษา เพือ่ ให้การบริหารงานของสมาคมฯ เป็นไป

อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามวิสยั ทัศน์ และพันธกิจ

ที่ตั้งไว้ โดยมี ท่านนิพนธ์ บุญญภัทโร อดีตผู้ช่วย รัฐมนตรีประจำ รมต.นร. และอดีตประธานทีป่ รึกษา ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้เกียรติเป็น ประธานคณะทีป่ รึกษาสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย

และมีรายนามของคณะที่ปรึกษาดังนี ้ ท่านนิพนธ์ บุญญภัทโร ประธานคณะที่ปรึกษา ทพ.อนุศักดิ์ คงมาลัย คุณจุมพล สำเภาพล นพ.วิชอบ ธนกิติธรรม นพ.วิรัตน์ โพคะรัตน์ศิร ิ คุณวีระพันธ์ โตมีบุญ รศ.ดร.วิโรจน์ ศรีสรุ ภานนท์ คุณวรวิทย์ วุฒปิ กรณ์กติ ติ ผศ.แชล่ม บุญลุ่ม คุณธวัชชัย เอกธุระประคัลภ์ คุณกุล สาธิตานุรักษ์ คุณเลอศักดิ์ อินชัย คุณศักดิช์ ยั เจริญกุลศักดิ ์ คุณอรุณ วิทยานุพงศ์ คุณวิสิทธิ์ หรินันทนา คุณศุภชัย เที่ยงกมล คุณจรูญ อิ่มทรัพย์ คุณวชิรุฬ จันทรงาม คุณถาวร ตันติศิริวิทย์ คุณสมบูรณ์ กิจนำ คุณยงยุทธ ฉันทนิมิ คุณภูมิ ศิรประภาศิริ คุณสันติ ตรีขจรศักดิ ์ คุณครรชิต วิเศษสมภาคย์ คุณกิตติ สุวัฒน์เมฆินทร์ สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทยขอขอบพระคุณ

ในความอนุเคราะห์จากทุกท่านเป็นอย่างสูง ไว้ ณ ทีน่ ี้

ที่ผ่านมา สมาชิกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภายไทย ได้ มีโอกาสรวมตัวกันออกปั่นจักรยานไปตามเส้นทาง จากสมาคมฯ สูร่ า้ นจักรยานเยือ้ งสำนักงานเขตทุง่ ครุ เพื่อร่วมแสดงความยินดีในโอกาสเปิดร้านจักรยาน แห่งใหม่ ของ “เฮียจุย้ ” หรือ วรวิทย์ วุฒปิ กรณ์กติ ติ ประธานชมรมจักรยานสวนธน ผู้ใหญ่ใจดีซึ่งเป็นที่ รู้จักกันดีในแวดวงนักปั่นจักรยาน ร้านจักรยานแห่งใหม่นมี้ ชี อื่ ว่า “สวนธน ไบค์พลัส

(SUANTHON BIKE+)” จำหน่ายจักรยานหลากหลาย ยี่ห้อในระดับคุณภาพ พร้อมทีมช่างที่ชำนาญ เพื่อ บริการให้กับเพื่อนสมาชิก และผู้ใช้จักรยานทุกท่าน

ร้านตัง้ อยูต่ รงข้ามเยือ้ งสำนักงานเขตทุง่ ครุ ซอยประชา-

อุทศิ ๘๖ ถนนประชาอุทศิ เขตทุง่ ครุ กรุงเทพมหานคร สามารถค้นหาพิกดั แผนทีเ่ ส้นทางกับ maps.google. co.th ได้ที่ 13.611435,100.508841 สมาคมจั ก รยานเพื่ อ สุ ข ภาพไทยขอแสดง ความยินดีในโอกาสเปิดร้านใหม่ และชาวจักรยาน จะได้มีแหล่งสินค้าดีมีคุณภาพ บริการเป็นกันเอง เพิ่มขึ้นอีกที่หนึ่งด้วย

6 prf 5 A-W 243 Sept.indd 6

9/5/54 BE 9:36 AM


รหัสทริป ๕๐๑ • วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๔ • เวลา ๐๖.๐๐ น.

ทริปวันเดียว

Moving Plane

A DAY TO MOVE BEYOND FOSSIL FUELS 350.org ร่วมกับสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพ ไทย ขอเชิญทุกท่านร่วมรณรงค์ขบั เคลือ่ นการเดินทาง อย่างไร้การเผาผลาญพลังงาน... ด้วยจักรยานพลังงาน สะอาดเพือ่ โลกของเรา โดยกิจกรรมรณรงค์ “Moving Planet” เป็ น กิ จ กรรมใหญ่ ที่ จั ด ขึ้ น ในวั น ที่ ๒๔ กันยายน เพื่อรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศโลก เป็น วันที่ทุกๆ ชาติทั่วโลกจะมารวมตัวกันเพื่อแสดงให้ เห็นว่าเราจะช่วยกันพาโลกของเราเคลื่อนไปไม่ต้อง พึง่ พาเพียงแค่เชือ้ เพลิงซากดึกดำบรรพ์หรือเชือ้ เพลิง ฟอสซิล ด้วยกิจกรรมทีห่ ลากหลาย เช่น การเดินขบวน ขบวนจักรยานรณรงค์ และกิจกรรมอื่นๆ เพราะว่า ผู้นำชาติต่างๆ ปฏิเสธ เพิกเฉย ผ่อนปรน และไม่ให้ ความสำคัญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ-

อากาศโลก เราต้องยุติสิ่งเหล่านี้ ถึงเวลาแล้วที่เรา ต้องจัดการกับปัญหาอย่างจริงจัง

กำหนดการ

๖.๐๐ น. พบกัน ณ ลานพระบรมรูป ร.๖ สวนลุมพินฯี ลงทะเบียนรับเสือ้ ทีร่ ะลึก (จำนวนจำกัด) ติดธงรณรงค์ ตั้งขบวน ๘.๐๐ น. ร่วมร้องเพลงชาติพร้อมกัน พิธีปล่อยตัว เคลื่อนขบวนรณรงค์..... ๑๑.๓๐ น. ขบวนกลั บ มา ณ สวนลุ ม พิ นี ฯ ร่ ว ม รับประทานอาหารกลางวัน ๑๓.๐๐ น. เสร็จสิ้นกิจกรรม

ทำไมเราต้องพาโลกของเราเคลือ่ นไปไม่ตอ้ งพึง่ พา เพียงแค่เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์? โครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกที่ใช้เชื้อเพลิงซาก

ดึกดำบรรพ์นั้นเป็นภัยคุกคามต่ออนาคตของโลก

และเป็นเป้าหมายหลักของเราในการรณรงค์ เชือ้ เพลิง

ดังกล่าวก่อให้เกิดมลพิษกับมหาสมุทร พืน้ ดิน ชุมชน

อากาศ และปอดของเด็กๆ เชือ้ เพลิงนัน้ เป็นปัญหาที ่ ทำให้การเมืองย่ำแย่ เพราะรัฐต้องใช้เงินกว่าหกแสน

ล้านเหรียญทัว่ โลกเพือ่ อุม้ ราคาเชือ้ เพลิง สิง่ ทีน่ า่ กลัว

ทีส่ ดุ คือการเผาผลาญถ่านหินและน้ำมันต่อไปเรือ่ ยๆ จะทำให้ภาวะการเปลีย่ นแปลงทางสภาพภูมอิ ากาศ กลายเป็นหายนะ การลดและงดพึ่งพาพลังงาน ซากดึกดำบรรพ์เป็นสิง่ แรกทีเ่ ราต้องทำเพือ่ ให้สภาพ ภูมิอากาศโลกให้กลับมาสู่ระดับ ๓๕๐ พีพีเอ็ม ทำไมถึงเป็นวันที่ ๒๔ กันยายน? เพือ่ ต้องการเชือ่ มโยงงานรณรงค์นกี้ บั เครือข่าย

World Carfree Network ซึ่งได้รณรงค์เรื่องวัน “Carfree days” ในเมืองต่างๆ ทั่วโลกในวันที่ ๒๒ กันยายน นอกจากนี้ วันที่ ๒๔ กันยายน ยัง เป็นวันเสาร์ ที่ทุกคนจะมีเวลาว่าง และเป็นช่วง เวลาที่ประชากรส่วนใหญ่ท่วั โลกไม่ได้หยุดพักร้อน นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องการแยก

วันนี้ออกมาเพื่อให้สาระที่เราต้องการจะสื่อและ การรณรงค์นั้นมีความชัดเจน

7 prf 5 A-W 243 Sept.indd 7

9/5/54 BE 9:36 AM


ทริปวันเดียว

๓ กิจกรรมชวนปั่นนำร่อง CAR FREE DAY 2011

ตลอดทั้งเดือนกันยายน ๒๕๕๔ สมาคมจักรยาน

เพือ่ สุขภาพไทย (TCHA) ร่วมจัดกิจกรรมชวนปัน่ นำร่อง และปิดท้าย อันเป็นการร่วมรณรงค์เป็นหนึ่งเดียวกับ งานใหญ่ประจำปี CAR FREE DAY 2001 ทุกอาทิตย์ ตลอดเดือน ดังนี้.. รหัสทริป ๔๙๖ ชือ่ ทริป ทริปนำร่องคาร์ฟรีเดย์ ตลาดโก่งโค้ง อยุธยา วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๗.๐๐ น. จุดรวมพล ๓ จุด คือ จุดที่ ๑ ที่ทำการสมาคม

จุฬา ซอย ๖, จุดที่ ๒ สวนรถไฟ และ จุดที่ ๓ วัดเสมียนนารี เส้นทาง โลคัลโรด ดอนเมือง รังสิต พัก Work Point

ถนนคลองเปรมประชา บางประอิน ตลาดโก่งโค้ง รวมระยะทางไปกลับ ประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร รหัสทริป ๔๙๗ ชือ่ ทริป ทริปนำร่องคาร์ฟรีเดย์ ตลาดน้ำดอนหวาย วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๖.๐๐ น. นัดพร้อมกันทีห่ น้าสำนักงานสมาคมจักรยานเพือ่

สุขภาพไทย จุฬาซอย ๖ ล้อหมุนออกจากสนามศุภฯ > แยกตึก กกต. > ยมราช > สะพานขาว > หลานหลวง

> ราชดำเนิน > สะพานพระปิ่นเกล้าฯ > บางขุนนนท์ > สน.ตลิ่งชัน > บรมราชชนนี > พุทธมณฑลสาย ๓ > อั ก ษะ > ข้ า มถนนพุ ท ธมณฑลสาย ๔ > ถนน

ข้างองค์พระ > ลัดเลาะตัดออกพุทธมณฑลสาย ๕ >

ลั ด ตั ด ผ่ า นไปตลาดน้ ำ วั ด ดอนหวาย (พั ก ทานข้ า ว/

จ่ายตลาด) > ศาลายาดีไซย์ SDL > ขากลับเส้นทางเดิม ระยะทางไปกลับ ประมาณ ๘๐ กิโลเมตร รหัสทริป ๕๐๑ ชือ่ ทริป ทริปสำรวจเส้นทางจักรยานในฝันวงแหวนรอบใน วันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๗.๐๐ น. พบกัน ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) กรุณา รับประทานอาหารเช้าให้เรียบร้อย เส้นทาง สวนรถไฟ > วิภาวดี - รังสิต > ถนน รัชดาฯ > สะพานพระราม ๗ > จรัญสนิทวงศ์ > สะพาน กรุงเทพฯ > ถนนพระราม ๓ > สวนเบญจกิติ > ถนน พระราม ๙ > ถนนรัชดาฯ > สวนรถไฟ ระยะทางไปกลับ ประมาณ ๔๖ กิโลเมตร • ทุกท่านมาร่วมทุกกิจกรรมได้โดยไม่ต้องสมัคร ไม่เสียค่า ใช้จ่าย มาให้ตรงตามเวลาและสถานที่นัดได้เลย • เตรี ย มหมวกกั น กระแทก อุ ป กรณ์ กั น แดด ถุ ง แขน

ครีมกันแดด ยางในอะไหล่ พร้อมชุดปะยาง • กรุณาตรวจเช็คสภาพรถจักรยานคูใ่ จของท่านให้พร้อมปัน่

ก่อนออกเดินทาง หมายเหตุ กำหนดการข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง สามารถตรวจสอบรายละเอียดปฏิทินทริปได้ที่นี่ http://bit.ly/TCHAtrips หรือ โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐

8 prf 5 A-W 243 Sept.indd 8

9/5/54 BE 9:36 AM


รหัสทริป ๔๙๘ • วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๔ • เวลา ๑๙.๓๐ น.

ทริปวันเดียว

ทริปปั่นไปกินชิมอาหารอร่อย ครั้งที่ ๙

ปั่นเข้าซอย ทานอร่อยที่ย่านอุดมสุข สุ ด แสนจะดี ใจ ที่ ท ริ ป ปั่ น ไปกิ น ชิ ม อาหารอร่ อ ย

ของเรา ถ้าไม่นับทริปแรกสุดที่พวกเราพาไปทานอาหาร ย่านเยาวราชในปี ๒๕๕๓ ทว่าจะเริ่มนับกันตั้งแต่เดือน มกราคมปี ๒๕๕๔ จนถึงเดือนกันยายนนี้ เกือบจะครบ

ขวบปีแล้ว แฟนๆ ประจำ และสมาชิกใหม่ๆ เพิม่ ขึน้ ทุกครัง้

โดยเฉพาะครัง้ ทีพ่ าไปชมหิง่ ห้อย ณ ชมรมบ้านบางกระสอบ มีสมาชิกมาร่วมด้วยมากกว่า ๒๐๐ คนทีเดียว รั้งนี้..เราจะพาท่านปั่นเที่ยวแถวพระโขนง บริเวณ สุขุมวิทซอย ๑๐๓ ย่านอุดมสุข เป็นการเรียกน้ำย่อย ก่อนเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ ๓ กิโลเมตร ทั้งปากซอย และท้ายซอย จะมีของอร่อยให้เลือกทานกันได้อย่างจุใจ

อาหารแสนอร่อยในย่านนีท้ ขี่ อจะแนะนำทุกท่าน อาทิ โกย-

ซีหมี่ กระเพาะปลา ข้าวผัดปู ร้านก๋วยจั๊บสะท้านโลกันต์

ร้านบะหมี่ปู หมูแดง ร้านโจ๊ก ร้านหมูสะเต๊ะ ของหวาน

ที่ ข อจะแนะนำมี น้ ำ แข็ ง ไส โรตี ชาชั ก มาจากทางใต้

(หร่อยแหน่ๆ) อเชิญชวนท่านที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมได้ ไม่ว่าท่าน

จะเป็นมือใหม่หรือขาแรงเจ้าเก่า ทริปนีเ้ หมาะอย่างยิง่

สำหรับบางท่านที่ยังไม่เคยปั่นบนท้องถนนเอง หรือปั่นช่วง กลางคืน ด้วยเหตุผลหลายอย่าง ไม่ว่าจะด้วยต้องทำงาน กลางวัน วันหยุดต้องอยู่กับครอบครัวไม่มีเวลาร่วมทริป ปกติ หรืออาจจะห่วงเรือ่ งความปลอดภัยบนท้องถนน ทริปนี้ เราสามารถตอบโจทย์ของทุกท่านได้ เพราะเรามีทีมงานที่ เชี่ยวชาญคอยดูแลไม่ให้พลัดหลงและปลอดภัย ขอเพียง แต่ท่านมีจักรยานที่พร้อมใช้งาน เตรียมไฟหน้า ไฟท้าย

อันนี้สำคัญเพราะเราปั่นในยามกลางคืน และข้อสำคัญคือ เตรียมเงินสำหรับทานอาหาร ชิญไปร่วมทริปตามเวลานัดได้เลย ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่ อย่างใด เราดูแลและบริการทุกท่าน ทุกระดับประทับใจ โดยทีมงานสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย TCHA และ กลุ่มนักปั่นจักรยานอารมณ์ดี COFFEE BIKE

ค ข

prf 5 A-W 243 Sept.indd 9

กำหนดการ

คืนวันศุกร์ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๔ ๑๙.๐๐ น. นัดรวมพล หน้าสมาคมฯ ถนนบรรทัดทอง จุฬา ซอย ๖ ข้างสนามกีฬาแห่งชาติ มาไม่ถูกโทรสอบถาม ที่สมาคมฯ ๐-๒๖๑๒-๔๗๔๗ พบปะดื่มน้ำชา กาแฟ ขนม-

ว่าง ท่านใดที่สนใจจะสมัครหรือต่ออายุสมาชิกสมาคมฯ หรือจะซี้อสินค้าสมาคมฯ ก็ขอเชิญได้ตามอัธยาศัย ๑๙.๓๐ น. ได้เวลาล้อหมุน ออกจากสมาคมเลี้ยวซ้าย

เข้าถนนบรรทัดทอง – เลี้ยวซ้ายพระรามสี่ – พระรามสี่

ตรงตลอด – ถึงสามแยกพระโขนงเลี้ยวขวา – ตรงตลอด จนถึงซอยสุขุมวิท ๑๐๓ - ย่านอุดมสุข - เลี้ยวซ้ายเข้าไป ๓ กิโลเมตร เราจะแวะทานอาหารกันที่นี่ ขากลับ กลับทางเส้นทางเดิม ระยะทางประมาณ ๕๐ กิโลเมตร

การเตรียมตัว

๑. ต้องตรวจเช็คสภาพรถให้พร้อมใช้งาน ๒. ไฟส่องสว่าง ไฟหลัง และอุปกรณ์สะท้อนแสง ๓. หมวกกันกระแทก เพื่อความปลอดภัย ๔. จักรยานฟิกซ์เกียร์ ขอแนะนำให้ตดิ เบรคอย่างน้อยหนึง่ ข้าง ทริปปั่นไปกินชิมอาหารอร่อยนี้ จัดขึ้นทุกวันศุกร์กลางเดือนดังนี ้ คืนวันศุกร์ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๔ คืนวันศุกร์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ คืนวันศุกร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ คืนวันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ หมายเหตุ กำหนดการข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง

โปรดติดตามรายละเอียดได้ทกุ ๆ เดือน สามารถตรวจสอบ

รายละเอียดปฏิทนิ ทริปได้ทน่ี ่ี http://bit.ly/TCHAtrips หรือ โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐

9 9/5/54 BE 9:36 AM


รหัสทริป ๕๐๔ • วันที่ ๒๒ - ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔

ทริปหลายวัน

จักรยานทางไกล กฐินสามัคคี กรุงเทพฯ - ชาติตระการ พิษณุโลก

๗.๐๐ น. พิธีปล่อยขบวนนักปั่นสะพานบุญ...โดย นายกสมาคมจั ก รยานเพื่ อ สุ ข ภาพไทย คุ ณ พิ ชิ ต

เอื้อสกุลเกียรติ ๗.๓๐ น. ล้อหมุนออกเดินทางตามเส้นทางสายเอเชีย กรุงเทพฯ - สิงห์บุรี ระยะทาง ๑๔๒ กม. พักค้างคืนที่วัดกุฎีทอง จ.สิงห์บุรี วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๔ สิงห์บุรี - นครสวรรค์ ระยะทาง ๑๐๑ กม. พักค้างคืนที่วัดสุคต จ.นครสวรรค์ วันจันทร์ที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ นครสวรรค์ - พิษณุโลก ระยะทาง ๑๒๙ กม. พักค้างคืนที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

(วัดใหญ่) จ.พิษณุโลก วันอังคารที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ พิษณุโลก - ชาติตระการ ระยะทาง ๑๐๙ กม. พักค้างคืนที่วัดเจริญธรรมราษฎรศรัทธา บ้าน โคกผักหวาน อาหารเย็น บริษัท สหพีร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองทุกท่าน วันพุธที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ ๑๐.๐๐ น. พิธีทอดกฐินสามัคคี ณ วัดเจริญธรรม ราษฎรศรัทธา อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก กำหนดการ เส้นทาง ระยะทาง และที่พัก รับประทานอาหารเสร็จแล้วปั่นไปอำเภอชาติ-

ตระการ เก็ บ จั ก รยานและสั ม ภาระเดิ น ทางกลั บ วันเสาร์ที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ ๖.๐๐ น. นัดพบกันที่สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) กรุงเทพฯ ด้วยรถยนต์ (การเดินทางกลับสามารถ (กรุณารับประทานอาหารเช้ามาให้เรียบร้อยก่อน กลับพร้อมกันโดยจัดจ้างรถบัส รถบรรทุกจักรยาน ออกเดินทาง) ลงทะเบียนรับเสื้อโครงการ ฟังสรุป ช่ ว ยกั น ออกค่ า ใช้ จ่ า ย หรื อ แยกย้ า ยกลั บ เองตาม อัธยาศัย) เส้นทางและแนะนำเส้นทาง

มาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย และบริษทั สหพีร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ขอเรียนเชิญท่านผู้มีจิต-

ศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี สมทบทุน สร้างศาลาอเนกประสงค์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ วัดเจริญราษฏร์ ศรัทธา (สำนักสงฆ์โคกผักหวาน) ารทอดกฐินด้วยขบวนจักรยานครั้งนี้นับเป็น ครั้งที่ ๔ หลังจากการเริ่มต้นการปั่นจักรยาน ทอดกฐินครัง้ แรกในประเทศไทยของสมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย คณะจักรยานกว่า ๑๐๐ คัน/ชีวิต ร่วมเชิญองค์ผ้ากฐินฯ จากกรุงเทพฯ ไปยังวัดเจริญ ราษฏร์ศรัทธา (สำนักสงฆ์โคกผักหวาน) ด้วยขบวน จักรยานทางไกล กรุงเทพฯ - ชาติตระการ พิษณุโลก ระยะทาง ๔๗๕ กิโลเมตร ด้วยแรงกาย แรงใจ แรง ศรัทราของเพื่อนพี่น้องชาวจักรยาน นำพาองค์กฐิน ลากไปตามเส้นทาง มีโอกาสแวะบอกบุญชาวบ้าน ตามเส้นทางผ่าน จนถึงจุดหมายปลายทาง ระหว่าง เส้นทางเต็มเปี่ยมด้วยน้ำใจเพื่อนร่วมทาง ประชาชน สองข้างทางทีใ่ ห้การต้อนรับจนถึงจุดหมายปลายทาง ร่วมทำบุญถวายองค์กฐินรับบุญกันถ้วนหน้า

10 prf 5 A-W 243 Sept.indd 10

9/5/54 BE 9:36 AM


หมายเหตุ ผู้ร่วมโครงการจาก กรุงเทพฯ ถึง ชาติตระการ

จะได้รับเสื้อจักรยาน ๑ ตัว (สนับสนุนโดย บริษัท สหพีร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด) และเสื้อลำลอง ๑ ตัว กรุ ณ าแจ้ ง ชื่ อ - นามสกุ ล เบอร์ โ ทรศั พ ท์ ขนาดเสื้อ และแจ้งอายุ เพื่อส่งทำประกันอุบัติเหตุ และสำหรับผูท้ เี่ ข้าร่วมโครงการระหว่างทางถึงวัด

จะได้รับเสื้อที่ระลึก ๑ ตัว รับจำนวนจำกัด การเดินทางกลับ จากชาติตระการเข้ากรุงเทพฯ สมาคมฯ จัดรถ บขส. ๓๖ ที่นั่ง ๓ คัน รวม ๑๐๘ ที่นั่ง ส่วนจักรยานจัดรถบรรทุกจักรยานรับได้ ๘๐ คัน ส่วนที่เกินบรรทุกในรถโดยสาร (บขส. หรือ อาจเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) สำหรับผู้ร่วม โครงการประสงค์จะเดินทางกลับด้วย สามารถแจ้ง จองทางโทรศั พ ท์ ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗ โทรสาร

๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑ หรื อ ทาง tchathaicycling@

gmail.com และยืนยันด้วยการจ่ายค่ารถโดยสาร และรถบรรทุกจักรยาน เป็นเงิน ๘๐๐ บาท โดยโอน เงินเข้าบัญชี ประเภทออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์

สาขาบรรทัดทอง ในนาม สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย

เลขที่บัญชี ๐๖๓-๒๕๒๒๗๖-๑ (กรุณาส่งโทรสาร สำเนาการโอนเงินไปที่ ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑) หรือไป ชำระที่สมาคมฯ ภายในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๔

(ไม่รับจ่ายหน้างาน) สอบถามรายละเอียดที่คุณหล่อ โทร ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗ ข้อมูลที่ควรทราบสำหรับนักปั่น ๑. มีความสามารถปั่นจักรยานต่อเนื่อง ๒๐ ๒๕ กม./ชม มีรถบริการบรรทุกสัมภาระ และบริการ ตลอดเส้นทาง ๒. ค่ า ที่ พั ก ไม่ เ สี ย ค่ า ใช้ จ่ า ย นอนพั ก วั ด

(สมทบทุนบำรุงวัดตามอัธยาศัย) ค่าใช้จ่ายระหว่าง เดินทาง ค่าอาหาร ค่าเดินทางกลับผูเ้ ข้าร่วมโครงการ รับผิดชอบเอง (อาจมีเลี้ยงบ้างบางมื้อ)

๓. ผู้ร่วมโครงการ ซึ่งเป็นผู้นำบุญ ขอให้ร่วม เป็นกรรมการกฐินสามัคคี และช่วยหากรรมการร่วม ทอดกฐินสามัคคี เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างศาลา อเนกประสงค์ในครั้งนี้ด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง หาก ต้องการฎีกากฐิน (ซองกฐิน) ขอรับได้ที่สมาคมฯ ติดต่ออาสุทธิชัย ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗ ๔. ผูร้ ว่ มโครงการจาก กรุงเทพฯ ถึง ชาติตระการ

จะได้รับเสื้อจักรยาน ๑ ตัว เสื้อลำลอง ๑ ตัว กรุณา แจ้ง ชื่อ - นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ ขนาดเสื้อ และ แจ้งอายุ เพื่อส่งทำประกันอุบัติเหตุ ๕. สำหรับผู้ที่เข้าร่วมโครงการระหว่างทาง

ถึงวัด จะได้รับเสื้อที่ระลึก ๑ ตัว ๖. การปั่นจักรยานระหว่างทาง โปรดไปเป็น

กลุ่มเพื่อความปลอดภัย และเชื่อฟังทีมงานบริการ จะมีการจัดขบวนเป็นระเบียบในการเข้าแหล่งชุมชน เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมทำบุญ ขอขอบพระคุณ ล่วงหน้าสำหรับความร่วมมือมา ณ ที่นี้ ๗. เตรี ย มยางในอะไหล่ ชุ ด ปะยาง เต้ น ท์

ถุงนอน ครีมกันแดด หมวกกันกระแทก หมวกผ้า ไฟหน้า ไฟท้าย ของใช้จำเป็นของแต่ละท่าน เงิน สำหรับเป็นค่าอาหารและเดินทางกลับ ๘. เส้นทางลาดยางตลอด จักรยานอะไรก็มาได้

ทุกประเภท ขึน้ อยูก่ บั กำลังของท่านแต่ควรจะมีความ สามารถปัน่ ความเร็ว ๒๐ กม. ต่อชัว่ โมง อย่างต่อเนือ่ ง ๙. สมาชิกท่านใดจะแยกกลับก่อนไม่ว่าช่วง ไหน ขอความกรุ ณ าแจ้ ง ผู้ น ำทริ ป หรื อ กรรมการ

ทราบก่อน จะได้ไม่เป็นกังวลว่าท่านไปอยู่ที่ไหน ๑๐. นำทริปโดย อาสุทธิชัย *รายการข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความ เหมาะสม

11 prf 5 A-W 243 Sept.indd 11

9/5/54 BE 9:36 AM


ข่าวประชาสัมพันธ์

ปฏิทินทริป

เดือนกันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๔

อาทิตย์ที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔ นำร่อง คาร์ฟรีเดย์ ตลาดโก่งโค้ง อยุธยา อาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๔ นำร่อง คาร์ฟรีเดย์ คืนวันศุกร์ที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๔ ปั่นไปกิน ชิมอาหารอร่อย (๙) อาทิตย์ท่ี ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔ คาร์ฟรีเดย์ Car Free Day 2011 อาทิตย์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๔ กิจกรรมรณรงค์ “Moving Planet” A DAY TO MOVE BEYOND FOSSIL FUELS. อาทิตย์ที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๔ สำรวจเส้นทางจักรยาน วงแหวนรอบใน ๘ - ๙ ตุลาคม ๒๕๕๔ ผักไห่ อยุธยา คืนวันศุกร์ที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ ปัน่ ไปกิน ชิมอาหารอร่อย (๑๐) ๒๒ - ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ กฐินสามัคคี กรุงเทพฯ - ชาติตระการ พิษณุโลก ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ทริปพระประแดง คืนวันศุกร์ที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ปัน่ ไปกิน ชิมอาหารอร่อย (๑๑) ๑๙ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ รีไซเคิลจังหวัดน่าน ๑๐ - ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๔ ฉะเชิงเทรา อ่างฤา ไน คืนวันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ ปัน่ ไปกิน ชิมอาหารอร่อย (๑๒) ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ ตลาดดอนหวาย คืนวันเสาร์ที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ ปัน่ ชมไฟวันคริสต์มาส

Sunday 4 September 2011 Pre Car Free Day Event Sunday 11 September 2011 Pre Car Free Day Event Friday 16 September 2011 After Work Trip to Taste Delicious Food #9 Sunday 18 September 2011 Bangkok Car Free Day 2011 Saturday 24 September 2011 “Moving Planet” A DAY TO MOVE BEYOND FOSSIL FUELS. Sunday 25 September 2011 Surveying Imagine Bicycle Lanes on Middle Ring Roads Saturday 8 – Sunday 9 October 2011 Pug Hai, Ayutthaya Friday 14 October 2011 After Work Trip to Taste Delicious Food #10 Saturday 22 – Wednesday 26 October 2011 Katin Trip to Chattrakarn, Phitsanulok (Katin is annual festival to present new robes to monks after the end of Buddhist Lent) Sunday 6 November 2011 Trip Phra Pradaeng Town Friday 18 November 2011 After Work Trip to Taste Delicious Food #11 Saturday 19 - Sunday 20 November 2011 Repair Bicycle at Nan Saturday 10 – Monday 12 December 2011 Ang Ru Nai, Chachoengsao Friday 16 December 2011 After Work Trip to Taste Delicious Food #12 Sunday 18 December 2011 Trip Don wai Floating market Saturday 24 December 2011 Christmas Light Decoration

หมายเหตุ : รายการต่างๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ สอบถามรายละเอียดหรือสมัครร่วมทริปได้ที่ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐ โทรสาร ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑ email: tchathaicycling@gmail.com หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.thaicycling.com หรือ Facebook.com/TCHAthaicycling Remarks: Trips can be changed as appropriate, English information, call Bob Tel. 081-555-2901, email: bobusher@ksc.th.com

prf 5 A-W 243 Sept.indd 12

9/5/54 BE 9:36 AM


บทความ

CAR FREE DAY 2011

กันยายน ๒๕๕๔ คือเดือนสำคัญที่ชาวจักรยานทุกท่านรอคอย เพราะในวันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔ นี้ คือ วันแห่งการรวมตัวผู้ใช้จักรยานทั่วประเทศ ร่วมกับชาวจักรยานทั่วโลกในเดือนเดียวกัน กับงานรณรงค์ให้เกิดการตื่นตัว เพื่อลดพลังงาน หันไปใช้รูปแบบการเดินทางอื่นๆ แทนรถยนต์ส่วนตัว เช่น ใช้รถจักรยาน ใช้คาร์พูลทางเดียวกันไปด้วย กัน (Car Pool) เดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ภายใต้ชื่อเดียวกันว่า “CAR FREE DAY” ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๓๗ ที่ร่วมกับประชาชนใน ๘๔๘ เมืองของ ๒๕ ประเทศทั่วโลก

คาร์ฟรีเดย์ในประเทศไทย

สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ซึ่งเดิมมาจาก ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย จดทะเบียนจัดตั้งเป็น นิติบุคคลกระทำกิจกรรมในนาม "สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย" ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา ได้จัด กิจกรรมรณรงค์วันปลอดรถ ด้วยขบวนจักรยานโดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน กลุ่มชมรมจักรยานในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลอดจนกลุ่มชมรมจักรยานทั่วประเทศไทย ผนึกความสามัคคีร่วมรณรงค์ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

ปี ๒๕๕๐ เข้าร่วมรณรงค์ ๓๑ จังหวัด

• กิจกรรมวันปลอดรถ ลดโลกร้อน Car Free Day 2007 • รณรงค์สร้างแผนที่ประเทศไทย ณ สนามศุภชลาศัย ขนาด ๗๕ เมตร ด้วยกลุ่มผู้ใช้จักรยาน ๑,๒๒๑ คน/คัน

ปี ๒๕๕๑ เข้าร่วมรณรงค์ ๔๒ จังหวัด

• กิจกรรมวันปลอดรถ ลดโลกร้อน Car Free Day 2008 • รณรงค์สร้างแผนที่ประเทศไทยและธงชาติไทย ณ สนามไทย-ญี่ปุ่นดินแดง ขนาด ๙๕ เมตร ด้วยกลุ่มผู้ใช้ จักรยาน ๑,๒๕๑ คน/คัน

ปี ๒๕๕๒ เข้าร่วมรณรงค์ ๖๒ จังหวัด

• ร่วมกิจกรรม วันปลอดรถ ลดโลกร้อน Car Free Day 2009 • รณรงค์สร้างแผนที่ประเทศไทย และธงชาติไทย ณ สนามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ขนาด ๑๓๐ เมตร ด้วยกลุ่มผู้ใช้จักรยาน ๑,๖๕๑ คน/คัน

ปี ๒๕๕๓ เข้าร่วมรณรงค์ ๗๕ จังหวัด

• ร่วมกิจกรรม วันปลอดรถ ลดโลกร้อน Car Free Day 2009 • รณรงค์สร้างธงชาติไทย ณ ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

prf 5 A-W 243 Sept.indd 13

9/5/54 BE 9:36 AM


CAR FREE DAY 2010 กิจกรรมร่วมรณรงค์ในปีนี้ มีความน่สนใจหลายอย่าง

และได้รบั ความสนับสนุนมากยิง่ ขึน้ ทัง้ ในส่วนของกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด เพื่อร่วมกันผลักดันให้จักรยาน เป็นอีกหนึง่ ทางเลือกในการเดินทาง กระตุน้ ให้เกิดสิง่ อำนวย ความสะดวกแก่ผู้ใช้จักรยานเช่น เส้นทางจักรยาน ที่จอด จักรยาน สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ใช้จักรยานเพื่อ ความปลอดภัยของผู้ใช้จักรยาน และให้ประชาชนตระหนัก ถึงปัญหามลพิษในอากาศ มลพิษทางเสียง ปัญหาสภาวะ โลกร้อน ลดการใช้พลังงาน เสริมสร้างให้มีสุขภาพแข็งแรง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย กิจกรรมในกรุงเทพฯ ได้รับการสนับสนุนจากกรุงเทพมหานคร เตรียมจัด กิจกรรมปั่นรณรงค์โดยนัดพบตามจุดต่างๆ กระจายทั่วทุก ทิศทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ๙ จุด ร่วมปั่นมุ่งสู่ใจกลาง เมืองกรุงเทพฯ ร่วมกิจกรรมส่วนรวม ให้วันนี้เป็นวันที่ม ี ผูใ้ ช้จกั รยานกระจายทัว่ กรุงให้มากทีส่ ดุ พร้อมติดธงรณรงค์ ทุกคัน สามารถลงทะเบียนแบบ On Line ได้ที่ http:// www.thaicycling.com/node/102 หรือ โทร. ๐๒-๖๑๒ -๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐ โทรสาร ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑ E-mail : tchathaicycling@gmail.com

กำหนดการ

๑๒.๐๐ น. ขบวนทั้งหมดร่วมรับประทานอาหาร

รับของทีร่ ะลึกมากมาย และชมนิทรรศการ และร้านค้าต่างๆ

ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ร่วมกิจกรรม งานออกร้าน งาน Non-Motor Show พบนิทรรศการความรู้ เรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม แสดงจักรยานทุกประเภท จากกลุ่ม/ชมรมจักรยานต่างๆ สินค้าสำหรับชาวจักรยาน มากมายจากผูผ้ ลิต ผูจ้ ำหน่ายจักรยานและผลิตภัณฑ์สำหรับ

ผูใ้ ช้จกั รยาน ชมการแสดงจักรยานผาดโผน จักรยานล้อเดียว

จักรยานฟิกซ์เกียร์ จักรยานพับได้ จักรยานโบราณ และ

อีกมากมาย ๑๔.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. ร่ ว มเสวนาเรื่ อ งทิ ศ ทาง จักรยานไทย ณ ห้องประชุม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ๑๗.๐๐ น. ปิดงาน จุดรวมพลทั้ง ๙ จุดมีดังนี้ จุดที่ ๑ ลานพระบรมรูปทรงม้า สวนอัมพร จุดรวม พลใหญ่ หัวหน้ากลุ่ม น้าหมี TCHA จุดที่ ๒ สุขุมวิท สวนเบญจสิริ อยู่ใกล้กับห้างดิเอ็ม โพเรียม หัวหน้ากลุ่ม เฮียม้อ Coffee Bike จุดที่ ๓ เพชรเกษม เดอะมอลล์บางแค.. หัวหน้า กลุ่ม ป้าตุ๊ ป๋าหน่อย Bike Joy จุดที่ ๔ ลาดพร้าว (สนามกีฬาหัวหมาก) หัวหน้า กลุ่ม เฮียคากิ TCHA จุดที่ ๕ สวนธนฯ ศูนย์เยาวชนบางมด หัวหน้ากลุ่ม เฮียจุ้ยสวนธนฯ จุดที่ ๖ พหลโยธิน ตลาดประตูกรุงเทพฯ หัวหน้า กลุ่ม อาลิขิต TCHA จุดที่ ๗ พุทธมณฑล ถนนอักษะ ซอย ๔ หัวหน้า กลุ่ม คุณปราชญ์ Jil อักษะ ๒๐๐๐ จุ ด ที่ ๘ TOT แจ้ ง วั ฒ นะ หลั ก สี่ หั ว หน้ า กลุ่ ม

คุณทรงศักดิ์ แต่สุวรรณ TOT จุดที่ ๙ รามอินทรา-อาจณรงค์ World Bike (ร้าน ใหม่) เลียบทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ (ใกล้โรงเบียร์ เยอรมันตะวันแดง) หัวหน้ากลุ่ม เสือเมือง ๙๙ City Bike

วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๖.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ๐๖.๐๐ - ๐๖.๓๐ น. ลงทะเบียนรับเสื้อและของที่ ระลึก พร้อมอาหารว่าง รวมตัวกระจายตามจุด ๙ จุดทั่ว กรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งขบวนปั่นจักรยานมุ่งสู่ ลาน พระบรมรูปทรงม้า (สวนอัมพร) ๐๘.๐๐ น. ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า (สวนอัมพร) ร่วมร้องเพลงชาติพร้อมกันทั่วประเทศอีก ๗๖ จังหวัด พิธี ปล่อยขบวนเคลือ่ นตัวมุง่ สูท่ อ้ งสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ๐๘.๓๐ - ๐๙.๐๐ น. พิธีเปิดกิจกรรมอย่างเป็น ทางการโดยกรุงเทพมหานคร ๐๙.๐๐ - ๐๙.๓๐ น. ขบวนจักรยานเคลือ่ นตัวร่วมปัน่ กิจกรรมในต่างจังหวัด รณรงค์ทางจักรยานภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ รับการสนับสนุนจาก สสส. องค์กร 350.org เชิญ

14 prf 5 A-W 243 Sept.indd 14

9/5/54 BE 9:36 AM


ผูใ้ ช้จกั รยานทุกท่านทัว่ ประเทศรวมตัวร่วมรณรงค์พร้อมกัน

ทัว่ ประเทศในท้องถิน่ ของตนเอง ติดธงรณรงค์ทกุ คันเหมือน กันทั่วประเทศ ผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้จาก ชมรมจักรยานในจังหวัดของท่าน โดยมีกิจกรรมของบาง จังหวัด อาทิ จังหวัดพังงา โครงการรวมพลคนพังงาลดภาวะโลกร้อน “PHANG

NGA CAR FREE DAY 2011” จัดกิจกรรมให้เด็กและเยาวชน มีความรู้ ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก รวมทั้งสภาวะโลกร้อน เช่น เดิน-วิ่งแรลลี่ ขึ้นเขานางหงส์ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับเส้นทางพังงา-เขานางหงส์/ทับปุดเขานางหงส์ กิจกรรมจักรยานแรลลีร่ อบเมืองพังงา กิจกรรม จักรยานแรลลี่ไปปลูกไม้ดอกไม้ประดับตามเส้นทางพังงาเขานางหงส์ และกิจกรรมปั่นจักรยานท่องเที่ยว ทับปุด-

มะรุ่ย-โคกไคร ชมแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนบ้าน โคกไคร เป็นต้น จังหวัดกาฬสินธุ ์ โครงการรวมพลคนชอบออกกำลังกาย รวมพลัง ประหยัดพลังงาน “KALASIN CAR FREE DAY 2011” กิ จ กรรม ฮู ล่ า ฮู ป , แอโรบิ ค , พารามอเตอร์ (ร่ ม บิ น ), นิทรรศการ “พลังงาน” กิจกรรมรวมพลคนจักรยาน ปั่น รณรงค์ ชมกาฬสินธุ์ เมืองน่ารัก กิจกรรมจักรยานท่องเทีย่ ว กิจกรรมแข่งขันจักรยานทางเรียบ “คู่ซี้” ระยะทาง ๖๕ กิโลเมตร เป็นต้น จังหวัดระยอง ร่ ว มกิ จ กรรมขบวนจั ก รยานรณรงค์ ต ามเส้ น ทาง และเดินทางกลับถึงบริเวณงาน ชมการแสดงต่างๆ และ ร่วมรับประทานอาหาร และรับของที่ระลึก จังหวัดสมุทรสาคร กิจกรรมร่วมกับ CAR FREE DAY 2011 สถานที ่ ริมเขื่อนศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดยะลา อำเภอเบตง กิจกรรม ณ สนามกีฬากลางเทศบาลเมืองเบตง และ

เขตพื้นที่บริการอำเภอเบตง จังหวัดยะลา หลังเสร็จสิ้นการ ปั่น เชิญนักปั่นทุกคนร่วมกันปลูกต้นไม้คนละ ๑ ต้น จังหวัดภูเก็ต กิจกรรม ณ ศาลเจ้ากิว้ เทีย้ นเก้ง ปลายแหลมสะพานหิน

ร่วมรณรงค์ใช้รถจักรยาน และการเดินทางสาธารณะ จังหวัดเชียงราย กิ จ กรรม ณ ลานหน้ า ที่ ว่ า การอำเภอเชี ย งแสน จังหวัดเชียงราย เชิญปั่นจักรยานตามถนนเลาะริมแม่น้ำ โขง ปั่นไปพิชิตอนุสรณ์สถาน ๓ ผู้กล้า ตำบลบ้านแซว

ซึ่ ง จะครบรอบในวั น ที่ ๒๐ กั น ยายนนี้ พ อดี ระยะทาง

ไป-กลับ ๕๐ กม.

กิจกรรมนำร่อง

นอกจากกิ จ กรรมในวั น ที่ ๑๘ กั น ยายน ๒๕๕๔ แล้ว ยังมีกิจกรรมนำร่อง จัดขึ้นทุกวันอาทิตย์ของเดือน กันยายน ๒๕๕๔ อีกด้วย.. คือจัดให้มกี ารปัน่ จักรยานรณรงค์ สำรวจเส้นทางจักรยานในเขตกรุงเทพมหานคร อาทิ ต ย์ ที่ ๔ กั น ยายน ๒๕๕๔ สำรวจเส้ น ทาง จักรยาน กรุงเทพฯ - อยุธยา อาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๔ สำรวจเส้นทาง จักรยาน ตลาดดอนหวาย อาทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๔ Car Free Day 2011 อาทิตย์ที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๔ สำรวจเส้นทาง จักรยาน วงแหวนรอบใน

ของรางวัลมากมายจากผู้สนับสนุน

สิง่ หนึง่ ทีไ่ ม่ควรพลาดด้วยประการทัง้ ปวง คือนอกจาก

จะได้ร่วมรณรงค์ครั้งสำคัญแล้ว ยังจะมีโอกาสได้รับของ รางวัลจักรยานจาก INTER BIKE โดยบริษัท P2V กลับไป อีกด้วย อาทิ จักรยาน FUJI TOURING มูลค่า ๓๖,๙๐๐ จำนวน ๑ คัน จั ก รยานพั บ ของ Doppel-

ganger จากประเทศญี่ปุ่น รุ่น FX-06 มูลค่า ๑๓,๙๐๐ บาท จำนวน ๑ คัน และรางวัลพร้อมของที่ระลึกอื่นๆ อีกมากมาย...

15 prf 5 A-W 243 Sept.indd 15

9/5/54 BE 9:36 AM


จับเข่าคุย..ลุยโลกสองล้อ

STRONG MAN Fixed Gear

สายพันธ์ุไทย!

ากกระแสความนิยมจักรยานประเภทเกียร์เดีย่ ว หรือที่เรียกกันเป็นที่เข้าใจว่า “ฟิกซ์เกียร์” ซึ่ง เป็นที่นิยมกันในหมู่นักปั่นจักรยานวัยรุ่น ที่ต้องการ ความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แม้จะมี จักรยานหลายยี่ห้อจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่าย แต่ยังมีจักรยานฟิกซ์เกียร์ที่ผลิตขึ้นในเมืองไทย และ กำลังได้รับความนิยมอย่างมากไม่แพ้กัน ภายใต้ยี่ห้อ ที่หมู่นักปั่นกลุ่มนี้รู้จักกันดีว่า..FIXED 1 FIXED 2 FIXED 3 หรือ “สตรองแมน (STRONG MAN)”

ผู้ที่ให้เกียรติสารสองล้อได้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ การผลิ ต ฟิ ก ซ์ เ กี ย ร์ ใ นครั้ ง นี้ คื อ “คุ ณ สมเกี ย รติ

อนันต์สรลักษณ์” หรือ “คุณอ๋า” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ในแวดวงของร้านค้าจักรยานนับแต่อดีตถึงปัจจุบัน

กับโรงงานผลิตชิน้ ส่วนจักรยานทีช่ อ่ื ว่า “เจ เค ซี ไบค์” สารสองล้อ: ขอทราบความเป็นมาของ เจ เค ซี ไบค์? คุณอ๋า: จริงๆ แล้วเราเป็นโรงงานผลิตจักรยานแห่ง แรกในประเทศไทย ที่ริเริ่มมาตั้งแต่สมัยคุณพ่อ ซึ่ง เป็นผู้นำจักรยานเข้ามาจากประเทศเวียตนาม เริ่ม จากรถจักรยานสามล้อ ซาเล้ง และรถยี่สิบแปดนิ้ว ซึ่งใช้บรรทุกน้ำแข็ง รวมถึงบรรทุกถ่านหุงข้าว เมื่อ ประมาณสามสิบปีที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันจะพบเห็นน้อย มากแล้ว แต่ดว้ ยว่ากิจการของเรานัน้ เป็นการทำธุรกิจ ภายในครอบครัว จึงไม่ได้เน้นด้านการประชาสัมพันธ์ อะไรมากมายนั ก ส่ ว นใหญ่ จึ ง เป็ น ที่ รู้ จั ก เฉพาะ

ผูป้ ระกอบการและร้านค้าจักรยาน ทีน่ ำชิน้ ส่วนต่างๆ

ไปประกอบเป็นคันเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ใช้จักรยาน หลากหลายรูปแบบ สารสองล้อ: ปัจจุบนั นีบ้ รรดานักปัน่ จักรยานรุน่ ใหม่ๆ จะเริ่มรู้จักกันมากขึ้นเพราะกระแสฟิกซ์เกียร์? คุณอ๋า: ถ้าพูดถึงตอนนี้ ต้องยกให้กบั จักรยานประเภท ฟิกซ์เกียร์ครับ เพราะโรงงานของเรานั้นได้ผลิตเฟรม จั ก รยานประเภทนี้ อ อกสู่ ต ลาด และกลายเป็ น ที่ ถู ก อกถูกใจคนรุ่นใหม่ๆ ที่กำลังให้ความสนใจกับ จักรยานชนิดนี้ ในราคาที่ทุกคนมีโอกาสสัมผัสได้ อย่างคุ้มค่า สารสองล้อ: กว่าจะเป็นฟิกซ์เกียร์ สตรองแมน ผ่านขั้นตอนอย่างไร บ้าง? คุณอ๋า: เนือ่ งจากว่าโรงงานของ เรานัน้ มีการติดต่อประสานงาน กับทางโรงงานในไต้หวันโดย

16 prf 5 A-W 243 Sept.indd 16

9/5/54 BE 9:36 AM


ตลอดกว่าสิบปีแล้ว จึงมีการแลกเปลีย่ นความรู้ เทคนิค

ต่างๆ ในการออกแบบและผลิตจักรยานระดับคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ซึ่งมี

ความทันสมัยและได้มาตรฐาน เมือ่ กระแสของจักรยาน ฟิ ก ซ์ เ กี ย ร์ เริ่ ม ได้ รั บ ความสนใจขึ้ น ในประเทศไทย สอดคล้ อ งกั บ การได้ มี โ อกาสดู ง านการออกแบบ จักรยานและเยีย่ มชมโรงงานผลิต Fixed gear หลายๆ โรงงานที่ต่างประเทศ ทำให้เรานำต้นแบบ Drawing มาผสมผสานการออกแบบจักรยานฟิกซ์เกียร์ทส่ี มบูรณ์

ที่สุดมา แต่เนื่องจากว่าของเขาเป็นขนาดยุโรป ซึ่งใหญ่ เกินไปสำหรับคนเอเชีย เราจึงนำต้นแบบนั้นมาปรับ ความเหมาะสมของขนาดให้เข้ากับเรา จนสามารถ ผลิตจักรยานในกลุม่ นีอ้ อกมาได้ตรงตามความต้องการ ของตลาดบ้านเราครับ สารสองล้อ: ตอนนี้ผลิตออกมากี่รุ่นแล้ว? คุณอ๋า: เราได้ลองผิดลองถูกมาพอสมควร กว่าที่จะ ได้ รู ป แบบที่ ล งตั ว ที่ สุ ด โดยจั ก รยานสตรองแมน

รุ่นแรก คือรุ่น Fixed 1 เราเน้นที่ขนาดของคนเอเชีย ในระดับนักเรียนมัธยมเป็นหลัก ปรากฏว่าได้รบั ความ นิยมจนถึงในระดับมหาวิทยาลัย แต่ความสูงของ

เฟรมนัน้ ยังไม่เพียงพอ แม้วา่ ความจริงแล้วจะสามารถ ปรับที่ความสูงของท่อนั่งให้กับคนที่สูงมากๆ ได้ แต่ค่านิยมของนักปั่นระดับมหาวิทยาลัยกับ รถนำเข้านั้น กำหนดไว้ว่าจะต้องใช้ท่อนั่งขนาด ๕๒ เซ็นติเมตร เราจึงนำข้อมูลเหล่านี้มาออกแบบเป็นรุ่น ถัดมาคือ Fixed 2 จึงทำให้โรงงานของเรามีจักรยาน ทั้งรุ่น Fixed 1 และ 2 ซึ่งเป็นจักรยานสำหรับโซน เอเชียถึงสองระดับด้วยกัน สารสองล้อ: แล้ว Fixed 3 และ Fixed 4 ละครับ? คุณอ๋า: จากความนิยมของสองรุ่นแรก ซึ่งจะเรียก กันว่าเป็นรูปทรงไดมอนด์ เมือ่ ศึกษาจากต่างประเทศ รวมถึงสินค้าที่นำเข้ามา จึงคิดว่ารุ่นต่อมาควรจะมี

ความแตกต่างกัน จึงได้ออกแบบรุ่น Fixed 3 และ Fixed 4 โดยเน้นเฟรมที่มีความโค้งเว้า แฝงความ อ่อนช้อยอยู่ในตัว มีการปรับองศาให้แตกต่างกัน ออกไป แต่ทั้งสี่รุ่นนี้จะสังเกตได้ว่าทุกรุ่นของเราจะ

ดูหนัก เพราะเราใช้แป๊บหนาเพื่อความปลอดภัยครับ เพราะเราเชื่อว่าเขาต้องขี่เล่นทุกรูปแบบ เราจึงต้อง ใส่ความห่วงใยเข้าไปในตัวรถครับ สารสองล้อ: จุดเด่นของการผลิตเฟรมของโรงงาน? คุณอ๋า: โรงงานของเราอยู่ในระดับกลาง แต่สิ่งหนึ่ง ทีเ่ ป็นจุดเด่นคือ เราใช้เทคโนโลยีหนุ่ ยนต์ในการเชือ่ ม ตัวเฟรมฟิกซ์เกียร์ รวมถึงอีกหลายๆ รุน่ ทำให้ได้ความ

แม่นยำ และคุณภาพการเชือ่ มในระดับเดียวกันทุกจุด

บนเฟรมจักรยาน

17 prf 5 A-W 243 Sept.indd 17

9/5/54 BE 9:36 AM


สารสองล้อ: ได้ยินว่าเรื่องตะเกียบ Fixed Jump เนี่ยมีคนพูดถึงกันมากเลย? คุณอ๋า: เรามีการเก็บข้อมูลมาว่า หลายๆ คนขี่แล้ว แล้วตะเกียบหน้าจะกระแทกแรงมากจนหัก จึงได้นำ ประเด็นนี้มาผสมผสานกับการออกแบบ ทำให้ได้

ตะเกียบหน้าทีส่ ามารถใส่ได้กบั ทุกรุน่ มีความแข็งแรง

ทนทาน ผ่านการทดสอบจัม๊ พ์มาแล้วจากนักขีห่ ลายๆ

แหล่ง ลูกค้าจึงเลือกทีจ่ ะซือ้ เฟรมและตะเกียบจากเรา

หรือจากลูกค้าตัวแทนจำหน่ายของเรา แล้วนำไปใส่ ล้อใส่อุปกรณ์ต่างๆ ตามชอบ เขามีทางเลือกที่อิสระ กว่ า รถที่ ต้ อ งซื้ อ ทั้ ง คั น ซึ่ ง แกะกล่ อ งออกมาแล้ ว

ไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้เลย สารสองล้อ: เรือ่ งของสีสนั และความต้องการของผูข้ ?ี่ คุณอ๋า: โรงงานของเราใช้สีอะคีลิคชนิดเดียวกับที่ใช้ พ่นสีรถยนต์ คุณภาพเทียบเท่ากันครับ พ่นสีในตู้ โดยใช้ระบบจานพ่นอัตโนมัติ สีจึงมีโอกาสโดนฝุ่น ละอองแปลกปลอมน้อยมาก และอบอยู่ในเตาที่มี ความร้อนสูงถึง ๑๒๐ องศา ทำให้ได้สีตรงสเปคที่ ต้องการ ปัจจุบันมีให้เลือกมากกว่า ๑๒ สี ไม่ว่าจะ เป็นสีมุก สีสะท้อนแสง หรือสีสดๆ ตลอดจนการ เล่นลายในตัว และเรายินดีทจ่ี ะให้ลกู ค้าสัง่ สีได้ตามใจ ชอบ เช่นอยากได้ท่อบนสีนี้ ท่อล่างอีกสีหนึ่ง อย่างนี้ สั่งได้หมด เราบริการให้ได้

สารสองล้ อ : ความคิ ด เห็ น เกี่ ย วกั บ แวดวง จักรยานในปัจจุบัน? คุณอ๋า: ปัจจุบันตลาดจักรยานเริ่มมีคนเข้ามา ให้ ค วามสนใจกั น เยอะขึ้ น ที่ เข้ า มาลงทุ น

เยอะมาก แต่มาในแบบนำเข้าจากนอกมา ขายแบบสำเร็จรูปเลย และยังมีขายในเวบไซต์ ที่ไม่มีหน้าร้าน วงการจักรยานเริ่มเปลี่ยนไป อย่างชัดเจน เท่าที่ผมเคยไปงานจักรยาน ต่ า งประเทศ พบคนมากหน้ า หลายตาเป็ น

คนไทย เดินแล้วไม่คุ้นเลยว่าเป็นคนในวงการ จักรยาน มีหน้าใหม่ๆ ให้ความสนใจเยอะมาก ซึ่ง นับว่าเป็นสิ่งที่ดี ช่วยทำให้เกิดความตื่นตัวมากขึ้นใน ตลาดบ้านเรา สารสองล้อ: ในอนาคต มีอะไรที่น่าติดตามดูบ้าง? คุณอ๋า: เรื่องจักรยานเนี่ย ในบ้านเราล้าหลังกว่าของ ไต้หวันหลายปี จริงๆ ต้องพูดว่า ไต้หวันเป็นประเทศที่ ผลิตจักรยานเยอะทีส่ ดุ ในโลก ขอชมเชยโรงงานผลิต จักรยานของไต้หวันแห่งหนึ่ง ไม่ขอเอ่ยชื่อนะครับ การก้ า วสู่ ค วามเป็ น Inter ของเขา ๘ โมงเช้ า

ตัดแป๊บท่อนแรก เฉือนแป๊บเข้ารูป เชื่อม เช็คศูนย์

พ่นสี ติดสติ๊กเกอร์ ห่อ ประกอบใส่กล่อง พอบ่าย ๒ โมงจักรยานกล่องแรกของเขาขึ้นสู่สายพานเข้าสู่ตู้ คอนเทรนเน่อร์แล้วครับ โรงงานนี้ถ้าเอ่ยชื่อแล้วทุก คนรู้จักหมดจริงๆ นะครับ โรงงานผู้ผลิตในประเทศ ก็ต้องติดตามดูแบบใหม่ๆ และการเปลี่ยนแปลงไป ของเขาตลอดเวลา โดยส่วนตัวแล้ว ทางเราก็พยายาม ออกแบบพัฒนารูปแบบและสีสัน รวมถึงสติ๊กเกอร์ ที่ใช้อยู่ตลอดเวลา และอยากวิงวอนขอให้โรงงาน จักรยานระดับกลางอย่างพวกเรา เน้นเรื่องคุณภาพ ของตัวเอง และคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ที่ซื้อไป ใช้ให้มากที่สุดครับ ผู้ขี่ควรได้ของดีๆ มีคุณภาพไป

ใช้งานครับ และภาพพจน์อุตสหกรรมจักรยานเมือง ไทยก็จะดีขึ้นแน่นอนครับ

18 prf 5 A-W 243 Sept.indd 18

9/5/54 BE 9:36 AM


วันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ • ภาพ TCHA

สรุปทริป

Bangkok Car Free Sunday 2

เป็นครั้งที่สองแล้วสำหรับกิจกรรมชวนคนกรุงเทพฯ จอดรถยนต์ไว้บ้าน มาปั่นจักรยานลดมลภาวะ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่คนกรุงฯ จะได้นำพาครอบครัวมาพักผ่อน เรียนรู้ และปั่นจักรยานเที่ยวร่วมกัน ทั้งเที่ยวชม สถานที่สำคัญทางประวัตศาสตร์ ชมวัด วัง ศาลเจ้า และสัมผัสวิถีถิ่นชุมชน ซึ่งล้วนอยู่ในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ ใกล้ตัวเรานี่เอง ตลอดกิจกรรมมีวิทยากรคอยให้ความรู้ บอกเล่าเรื่องราวของสถานที่ต่างๆ และวิถีชีวิตที่ควรศึกษา

ซึง่ ได้รบั การสนับสนุนจัดกิจกรรมครัง้ นีโ้ ดย กรุงเทพมหานคร มูลนิธโิ ลกสีเขียว สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย

(TCHA) กลุ่ม Bangkok Bicycle Campaign กลุ่ม Big Trees Project และ บุญ Bike ขอเชิญชมภาพความสนุกสนาน และความน่าประทับใจในกิจกรรมครัง้ นีไ้ ด้ และขอขอบคุณผูใ้ ช้จกั รยาน

ทุกท่านที่มาร่วมแสดงพลังกันในครั้งนี้

19 prf 5 A-W 243 Sept.indd 19

9/5/54 BE 9:36 AM


รหัสทริป ๕๙๓ วันที่ ๑๒ - ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เรื่อง คุณเล็กหวานเจี๊ยบ ภาพ น้าเอก รฟท.

สรุปทริป

พิชติ เส้นทางท่องเฉลิมบูรพาชลทิต -พิชิตอ่าวไทยระยอง-จันทบุรี เช้าวันนี้พวกเรานักปั่น TCHA ตื่น กันแต่เช้ามุง่ หน้ามาทีส่ มาคมฯ เพือ่

นำจักรยานขึน้ รถบรรทุกไปปัน่ ทีร่ ะยอง

สมาชิกหลายท่านนำสัมภาระและ จักรยานคันโปรดมาฝากไว้ที่สมาคมฯ ล่วงหน้าก่อน แล้ว รถบัสสองคันจอดรอรับอยู่ พร้อมรถบรรทุก จักรยานอีกหนึง่ คัน น้องเติล้ (ศิระพงศ์ ฉิมโฉม) และ น้ อ งๆ เจ้ า หน้ า ที่ ป ระจำรถขะมั ก เขม้ น ช่ ว ยกั น ยก จักรยานขึ้นรถบรรทุก ต้องขอขอบคุณน้องๆ ที่มา กับรถบรรทุก (ทรีทรานฯ) ที่กรุณาช่วยดูแลจักรยาน ทุกคันให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยดี ถบัสเดินทางไปถึงเรือรบหลวงประแสประมาณ ๑๐ โมงเศษๆ ขบวนจักรยานของเจ้าถิ่นรอรับ พวกเราอยู่แล้ว เมื่อไปถึงพวกเราพากันไปลงทะเบียนรับเสื้อ และทักทายเจ้าหน้าที่ ททท. ตลอดจนเพื่อนนักปั่น เจ้าของพื้นที่ สักครู่พิธีการเปิดงานเริ่มขึ้นโดยท่าน

ผูอ้ ำนวยการ ททท. ได้นำคณะนักปัน่ ทัง้ หมดไปปล่อย ลู ก กุ้ ง ลงสู่ ท้ อ งทะเลบริ เวณปากน้ ำ ประแส โดยมี

ช่างภาพสื่อมวลชนติดตามบันทึกภาพกิจกรรมใน ครั้งนี้ตลอดช่วงกิจกรรมและช่วงปั่นจักรยาน สร้าง ความครึกครื้นให้กับพวกเราเป็นอันมาก เพราะจะ ได้ออกทีวีกันนะสิ วันนี้พวกเราพลาดการปั่นชมทุ่งปรงทองและ การเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชุมชนชาวประแส เนื่องจาก รถบรรทุกจักรยานยังเดินทางมาไม่ถึง ต้อง โทร. สอบถามกันจ้าละหวั่น กว่าจะมาถึงปากน้ำประแส เวลาล่วงไปบ่ายโมงกว่าแล้ว นักปัน่ ทัง้ หมดรับประทาน อาหารกลางวันที่โรงเรียนบ้านตะเคียนงาม อาหาร มื้อนี้อร่อยมากๆ ไม่ว่าจะเป็นแกงส้ม ทอดมัน และ ไข่เจียว ากนั้ น ททท. และนั ก ปั่ น เจ้ า ถิ่ น ได้ น ำคณะ

ของเราปั่นไปยังหาดเจ้าหลาวเพื่อเข้าสู่ที่พักคือ เดอะเรสซิเด้นท์รีสอร์ต ระหว่างทางมีจุดพักดื่มน้ำ

ที่ อบต.กระแจะ จากนั้นปั่นต่อไปยังหาดคุ้งวิมาน พวกเราหลายคนอดน้ำลายไหลไม่ได้กับปลาหมึกที่ จอดขายข้างทาง ได้แต่มองไม่ได้จอดซื้อเนื่องจาก เกรงว่าจะปั่นตามขบวนไม่ทัน สมาชิกหลายท่านปั่น

20 prf 5 A-W 243 Sept.indd 20

9/5/54 BE 9:36 AM


ขึ้นไปบนจุดชมวิวของหาดคุ้งวิมาน ถ่ายรูปกันสนุก

สนานเฮฮา เจ้าถิ่นนำปั่นต่อไปยังชุมชนในโครงการพระ-

ราชดำริอ่าวคุ้งกระเบน ปั่นผ่านไปแล้วก็รู้สึกปลาบ-

ปลื้มปิติเหลือเกินที่เรามีองค์ในหลวงที่ทรงมีความ ห่วงใยในทุกข์สุขของพสกนิกรของพระองค์ทรงใส่ พระทัยในทุกๆ ทุกตารางเมตรบนผืนแผ่นดินไทย ประเทศไทยโชคดีที่มีในหลวงค่ะ เมื่อถึงที่พักหรูของ เราแล้ว เรารับประทานอาหารเย็นเวลา ๖ โมงครึ่ง มื้อเย็นนี้ก็เช่นกันค่ะ เราได้รับความกรุณาจาก ททท. เป็ น มื้ อ กระชั บ มิ ต ร-เชื่ อ มสั ม พั น ธไมตรี กั บ คณะ

นักปัน่ เจ้าถิน่ ก็วา่ ได้ ก่อนจะแยกย้ายกันตามอัธยาศัย บ้างก็แยกตัวไปพักผ่อน บ้างก็ออกไปปั่นจักรยาน ท่องราตรี ช้าของวันที่ ๑๓ สิงหาคม เมือ่ รับประทานอาหารเช้า

เรียบร้อยแล้ว นักปั่นเจ้าถิ่นไม่ว่าจะเป็นประแส ท่าใหม่ จันทบุรี ได้พาปั่นไปเที่ยวชมวิวทิวทัศน์โดย เริ่มออกจากที่พักไปนิดเดียวก็ขึ้นเขาเลยทีเดียว ลง

จากเขาก็ถึงสะพานเฉลิมรัตนโกสินทร์ที่ปากน้ำแขมหนู

แวะดื่มน้ำ-ถ่ายรูป จากนั้นปั่นไปอีก ๒๐ กิโลเมตร ถึ ง ปากน้ ำ แหลมสิ ง ห์ ข้ า มสะพานตากสิ น มหาราช แวะดื่มน้ำ-ถ่ายรูปกันที่นี่(อีกแล้ว) จากนั้ น ปั่ น ต่ อ ไปแวะตึ ก แดง ซึ่ ง ในอดี ต เคย

เป็นศูนย์บญ ั ชาการทหารฝรัง่ เศส วิทยากรได้นำนักปัน่

ทั้งหมดเข้าเยี่ยมชมและบรรยายให้ทราบถึงเรื่องราว ในประวัติศาสตร์ เราปั่นต่อไปยังศูนย์ศิลป์เสื่อบาง สระเก้า เยีย่ มชมและซือ้ ผลิตภัณฑ์ ชมวิดทิ ศั น์กจิ กรรม

ของศูนย์ฯ จากนัน้ ไปชมอูต่ อ่ เรือพระเจ้าตากฯ และเข้า

ไปกราบไหว้องค์จำลองพระเจ้าตากสินมหาราชในศาล

พวกเรารับประทานอาหารกลางวันกันทีน่ ี่ ซึง่ เป็นข้าว

กล่องมีขา้ วหมูกระเทียม และข้าวกระเพราไก่ให้เลือก ราปั่นไปด้านหลังค่ายเนินวงแวะพักดื่มน้ำ มีสวน สละอยู่ริมถนน เดินเข้าไปเด็ดมาชิม ปรากฏว่า

เปรีย้ วจีด๊ เลยค่ะ แล้วปัน่ กลับทีพ่ กั มีสมาชิกหลายท่าน

ใช้บริการรถเซอร์วิส ขอขอบคุณนักปั่นจากท่าใหม่

จันทบุรีและประแส ที่ได้กรุณาปั่นมาส่งถึงที่พักเลย พวกเรา TCHA ซาบซึ้งน้ำใจในครั้งนี้มากๆ รุ่งเช้าวันที่ ๑๔ สิงหาคม มื้อเช้าเป็นข้าวต้ม และกาแฟ โปรแกรมเดิมจะปั่นไปเยี่ยมชมโครงการ อ่าวคุ้งกระเบนในพระราชดำริ แต่เนื่องจากฝนตก ทางทีมงาน จึงเปลี่ยนโปรแกรมเป็นนั่งรถบัสไปแทน การปั่น จอดจักรยานไว้เพื่อเตรียมแพ็คขึ้นรถบรรทุก หลั ง จากเยี่ ย มชมโครงการในพระราชดำริ อ่ า วคุ้ ง กระเบนเข้าชมป่าชายเลน และฟังบรรยายพร้อมชม วิดิทัศน์ เข้าชมอควาเรี่ยม แล้วกลับมาที่พักเพื่อเก็บ สัมภาระขึ้นรถกลับบ้าน แวะรับประทานมื้อกลางวันที่ร้านก๋วยเตี๋ยวผัด ไทข้างทางแถวๆ อำเภอแกลง กลับถึงหน้าสมาคมฯ ๖ โมงเย็นแยกย้ายกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ ขอบคุณท่านผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย น้องอัญ น้องมิ้นท์ คุณโยธิน และพี่อีก ท่านนึงซึ่งจำชื่อไม่ได้ ต้องขออภัยด้วยค่ะ ขอบคุณ ทุกท่านที่ร่วมเดินทางไปปั่นด้วยกันอย่างสนุกสนาน โอกาสหน้าไปด้วยกันอีกนะคะ

21 prf 5 A-W 243 Sept.indd 21

9/5/54 BE 9:36 AM


รหัสทริป ๔๙๕ • วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ • เรื่อง/ภาพ แนน

สรุปทริป

ทริปปั่นไปกินชิมอาหารอร่อย ครั้งที่ ๘

ถนนจันทน์ สะพานสาม

ที่จริงน่าจะต้องเรียกว่า “ทริป หนาวสั่นปั่นลุยฝน” มากกว่านะ..! ตัง้ ใจไว้ลว่ งหน้าหลายวันว่าทริป

นี้ฉันต้องไม่พลาด เพราะเป็นเส้นทาง

ไปทำงานทุกวันเลย จากออฟฟิศปัน่ มา

ห้านาทีก็ถึงจุดหมาย ครั้นจะไปรอที่ปลายทางคงจะ

ไม่สนุก ปั่นจักรยานนั้นปลายทางเป็นแค่เป้าหมาย เรื่องราวความสนุกประทับใจส่วนใหญ่อยู่ที่ระหว่าง ทางมากกว่า องฟ้าวันนี้เหมือนจะเป็นใจฝนตกให้ตั้งแต่ตอน

กลางวัน พอตอนเย็นลองออกไปปัน่ พืน้ สะอาดจัง

อากาศก็ดี ค่ำคืนนี้ต้องปั่นสนุกแน่ และแล้วก็ได้เวลา หกโมงเย็นเลิกงานรีบปั่นกลับบ้าน ยังไม่ทันทุ่มดีก็ ถึงบ้าน รีบเปลี่ยนเสื้อผ้า ตั้งใจเอาจักรยาน Full Sus (Full Suspension จักรยานที่มีโช้คหน้าและ หลัง) ไปออกทริป เปลีย่ นเป็นเสือ้ จักรยาน ใส่กางเกง

จักรยานด้วยเลยปัน่ สบายดี เติมน้ำใส่กระติกเพิม่ หน่อย ติดไฟท้ายไฟหน้าปัน่ ออกจากบ้านไปถึงสมาคมฯ ทุม่

กว่าๆ คนเริม่ มากันแล้ว เห็นเสือ้ ส้มๆ กระจัดกระจาย สมาคมเปิดไฟสว่างจ้า มองเข้าไปเห็นว่าเตรียมงาน กันอย่างยุ่ง เดินสายสวัสดีพี่ๆ อาๆ ที่น่ารักทุกท่าน หลายเสียงเริ่มบ่น ยังไม่ออกอีกหรือ? ฝนจะ ตกแล้ว มองดูฟ้า..จริงด้วยท้องฟ้าเปลี่ยนเป็นสีอม แดงๆ เฮียม้อมาแล้ว ใครสักคนตะโกนบอกมา อีก สักสิบนาทีได้ เม็ดฝนก็เริ่มตกลงมาบนหัว เปาะแปะ

ท้

เสียงพีห่ ลินตะโกนมาว่า “ออกทริปได้” ทำเอาหลาย คันเปลี่ยนใจเลี้ยวกลับบ้าน ส่วนตัวเอง..มาแล้วก็ ต้องลุยสิ ปรี๊ดดดดดดดดดด.....เสียงนกหวีดที่เฮียม้อ เป่าก็ดัง แล้วขบวนก็เริ่มปั่นออกจากสมาคมฯ ตอน เกือบสองทุ่ม ปั่นไปตามถนน รถยนต์วันนี้น้อยมาก ปั่นอยู่ กลุ่มกลางๆ ดูบรรยากาศฝนตกปรอยๆ กำลังเย็น สบาย ทุกคนดูสนุกสนาน เลี้ยวขวาออกพระราม ๔ มาหยุดรอกันอีกทีทถ่ี นนมหานคร รวมได้ครบจำนวนก็ ปั่นก็ต่อ ปั่นกันไม่เร็วมากแต่กลุ่มหลังก็ยังห่าง ผ่าน ไฟแดงแยกสาทร กลุ่มแรกก็หยุดรออีกครั้ง เม็ดฝนที่ ตกมาโดนผิวรู้สึกว่ามันใหญ่ขึ้นนะ หลายคนเริ่มไป หลบตามร้านค้าแถวนั้น สักพักฝนก็เทลงมาหนักขึ้น คิ ด ในใจว่ า สงสั ย เลิ ก ทริ ป แถวนี้ แ น่ ๆ ที่ ไ หนได้ พ อ

กลุ่มหลังมาถึงก็ปั่นแซงหน้า เอ้าไปต่อได้ ปั่นเข้าซอยโรงน้ำแข็งเวลานี้ไม่เหมือนทุกเช้า-

เย็นที่ปั่นผ่าน เพราะใช้อีกเส้นทางเข้าข้างๆ ทะลุ

ชุมชนชาวอิสลาม ได้ยินเสียงอ่านคำภีร์กันผ่านตาม

ลำโพงตัวใหญ่ทตี่ ดิ ไว้ดา้ นบนเสาไฟฟ้า ดีเนอะแบบนี ้ คนในชุมชนสามารถมีส่วนร่วมได้ อีกทั้งเด็กๆ ก็ยัง ได้ซึมซับทำให้รักในศาสนา แค่ปั่นผ่านก็ได้เรียนรู้ วัฒนธรรมท้องถิ่น “ไปไหนกันหรือ?” เริ่มมีชาวบ้านถาม “ทำไม ฝนตกก็ยังปั่น” “ปัน่ วนแถวนีล้ ะคะ ปัน่ เรียกร้องทางจักรยาน....”

22 prf 5 A-W 243 Sept.indd 22

9/5/54 BE 9:36 AM


“อ่ะ.. ไม่ใช่ๆ เรามาออกทริปปั่นไปกินของ อร่อยทุกเดือน ค่ะ” เอ้าไปต่อได้ ฝนตกทุกคนก็ยังลุยต่อ คราวนี้ ปั่นไปออกเจริญกรุง เราไปเที่ยวอีกชุมชนหนึ่ง ชม ท้าวเวชสุวรรณตั้งเด่นสง่าอยู่หน้าบ้านกลางชุมชน เจริญกรุง ๑๐๓ เราจอดแวะสักการะ “ใครอยากขอ

หมอบคันงาม ก็ขอนะ” เฮียม้อตะโกนบอก หลายคน

ตั้งใจขออย่างจริงจัง (ฮา) ปั่นเลาะตามซอยมาออกสะพานสอง ย้อนกลับ

ขึ้นสะพานสาม แวะพักหม่ำมื้อค่ำกันได้ หลายสิบ คนมุ่งไปที่รถเข็นขายข้าวขาหมู เจ้านี้รับรองความ อร่อย ส่วนตัวเองมีอีกตัวเลือกล่อใจคือผัดไทของ โปรดนั่นเอง หม่ำคนเดียวอยู่สักพักมีพ่อลูกมานั่ง โต๊ ะ ข้ า งหน้ า พ่ อ ถามลู ก ว่ า “สนุ ก ไหมปั่ น ลุ ย ฝน

มันเป็นความลับระหว่างเราสอง อย่าให้แม่รู้นะ (ฮา) ถ้าแม่มา ไม่ได้ปั่นลุยฝนแบบนี้แน่” ดูท่าทางน้องจะ ติดใจการออกทริปมาก สอบถามได้ความว่า น้อง อายุ ๘ ขวบ ร้องขอมาออกทริป พ่อก็เป็นสมาชิก สารสองล้ออยู่แล้ว ทราบข่าวว่าจะมีทริปนี้ ดูระยะ ทางแล้ว ไม่ไกล จึงขับรถจากร่มเกล้า ขนจักรยาน พามาร่วมทริปนี้ สงสัยคราวหน้าน้องเขาต้องร้องพา มาอีกแน่ๆ โดนเฉพาะปั่นลุยฝนนี่แหละครั้งแรกสุด ประทับใจของเขาเลย

ป้าหมายต่อไปคือขาหมู จะซื้อกลับมาเป็นอาหาร วันรุ่งขึ้น เดินไปยังไม่ถึงร้านพี่หน่อยก็ชวนไปกิน เต้าฮวย ทำเอาเป้าหมายเริ่มรวนเร ซื้อขาหมูก่อน เอาไปแขวนรอไว้ที่แฮนด์ เดินกลับไปดูอีกที.. ว้าว! เต้าหวยชามใหญ่หน้าดู คงต้องมัดจำไว้ก่อนโอกาส หน้าค่อยว่ากัน แล้วหันไปซือ้ ถัว่ เขียวต้มน้ำตาลหน้าตา น่ากิน ๑ ถุงกลับบ้านแทน (ฮา) สรุปได้สองถุงห้อยที่ แฮนด์ทำยังกับแม่บ้านมาจ่ายตลาด เพราะหันไปดู ซ้ายขวา ต่างมีห้อยที่แฮนด์กันคนละถุงสองถุง แนนมาแยกกลับก่อนตรงแยกสามย่าน โบก

มือลาสวัสดีทุกคน กลับมาถึงหน้าบ้านก็เอาสายยาง ฉีดน้ำล้างก่อนเลย ตามด้วย..อาบน้ำสระผม ซักเสื้อ ร้องเท้า ถุงมือ อย่างเละ (ฮา) รอยคราบความสนุก ถูกสบู่วิเศษขจัดออกไป เรื่องราวระหว่างทางที่ได้ เห็นบรรยากาศความน่ารักกับเพื่อนๆ นักปั่นที่ดูแล กันตลอดทาง ทั้งๆ ที่เพิ่งรู้จักกันก่อนออกทริปก็มี น้ำใจที่มีให้กัน กั้นรถให้ตามแยกต่างๆ หยุดรอเป็น ระยะๆ สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำกันอย่างนี้แหละคะ เสน่ห์ของการออกทริปจักรยานกับสมาคมฯ ยังคง อยู่ในความทรงจำ ขอบคุณทีมงาน Coffee Bike ทีน่ า่ รักทุกคนนะคะ

ตาจะปิดแล้ว ก็นี่มัน..เกือบตีหนึ่งแล้วนี่นา..

23 prf 5 A-W 243 Sept.indd 23

9/5/54 BE 9:36 AM


เรื่อง วชิรุฬ จันทรงาม

Fitness Lifestyle 8

มุมสุขภาพ

เดินการกุศลจากสังขละบุรไี ปภูเก็ต ฤๅจะเป็นวิบากกรรม ในตอนที่แล้วเราได้คุยกันถึง เรื่ อ งไตรกี ฬ า ซึ่ ง เป็ น การคุ ย กั น

เกี่ยวกับส่วนดีของการเล่นกีฬาที่มี ต่อสุขภาพร่างกาย ในตอนนี้จะขอ พูดถึงเรื่องการใช้กำลังเกินกว่าที่ ร่างกายเราจะสามารถรับได้ จนเกิดอาการบาดเจ็บ และเป็นอันตราย ผมได้รับอีเมลล์จากเพื่อนคนหนึ่ง ทราบว่าเขา กำลังป่วยเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เรียกว่า CHF ซึ่งย่อมา จาก Congestive Heart Failure มีอาการขาบวม ท้องบวม อ้วนขึน้ ทัง้ ๆ ทีไ่ ม่ได้ทานอาหารมาก ทีท่ ราบ ว่าเป็นโรคอะไรเพราะหมอที่โรงพยาบาลบอก ผมจึง ได้รบี ตรวจสอบไปยังอากู๋ โดย Search ทัง้ ภาษาไทย และอั ง กฤษใน Google ได้ ค ำอธิ บ ายมาจากเวป Siamhealth ว่า Congestive Heart Failure คืออาการหัวใจ ทำงานล้มเหลว ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ขาดออกซิเจน

เมือ่ ไตได้รบั เลือดไปเลีย้ งน้อยลง จะสร้างสารบางชนิด

ออกมา ทำให้เกิดการคั่งของน้ำและเกลือในร่างกาย หากหัวใจห้องซ้ายวาย ก็จะมีการคัง่ ของน้ำและเกลือที่ ปอด ทำให้เกิดภาวะทีเ่ รียกว่าน้ำท่วมปอด หากหัวใจ

ห้องขวาวาย จะเกิดการคัง่ ของน้ำทีข่ า ทำให้บวมทีเ่ ท้า หัวใจวายหมายถึงภาวะซึ่งหัวใจไม่สามารถสูบ ฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ หัวใจวาย ไม่ เ หมื อ นกั บ หั ว ใจหยุ ด เต้ น เราเรี ย กหั ว ใจวายว่ า Congestive Heart Failure หรือ CHF 24 prf 5 A-W 243 Sept.indd 24

สาเหตุของหัวใจวาย

เมื่ อ อายุ ม ากขึ้ น หรื อ มี ภ าวะที่ ท ำให้ หั ว ใจ ทำงานมากขึ้น หรือมีการสูญเสียความสามารถใน การบีบตัวของหัวใจ การมีพฤติกรรมเสี่ยงเช่น การ สูบบุหรี่ อ้วน รับประทานอาหารไขมันสูง ขาดการ ออกกำลังกาย ล้วนทำให้เกิดโรคหัวใจวายได้ ซึ่งบาง ครั้งไม่ทราบสาเหตุ ที่พบได้บ่อยได้แก่ • หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ • ความดันโลหิตสูง • ลิ้นหัวใจ เช่น โรคหัวใจ รูมาติก • โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด • โรคปอดเช่นโรคถุงลมโป่งพอง • โรคเบาหวาน • ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง • หัวใจเต้นผิดปกติ อาจจะเต้นผิดจังหวะ

หรือเต้นช้าเกินไป • สารพิษ เช่น สุรา หรือยาเสพติด • ผูป้ ว่ ยทีม่ โี ลหิตจางมากก็ทำให้เกิดหัวใจวาย • ผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษ

อาการของโรคหัวใจวาย

โรคหัวใจวายเป็นโรคที่มีการทำลายกล้ามเนื้อ หัวใจอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมากพอจึงเกิดอาการ ของหัวใจวาย รักษาจะไม่หายขาด • หน้าแข้งและหลังเท้าบวม เมื่อกดหลังเท้า จะพบรอยบุ๋ม

9/5/54 BE 9:36 AM


• แน่นหน้าอกตอนกลางคืน ต้องลุกขึน้ มานัง่ • อ่อนเพลียง่าย ไม่มีแรง • ข้ อ เท้ า บวม บวมท้ อ งเนื่ อ งจากมี ก ารคั่ ง ของน้ำและเกลือ • น้ำหนักเพิ่มอย่างเร็ว • ไอเรื้อรังโดยเฉพาะหากเสมหะมีเลือดปน ออกมา ต้องรีบไปพบแพทย์เพราะนัน่ คือ อาการของ น้ำท่วมปอด • เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียนเนื่องจากระบบ ย่อยอาหารได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลง • ความจำเสื่อม มีการสับสน

การป้องกันโรคหัวใจวาย

โรคหัวใจเมือ่ เป็นแล้วมักจะรักษาไม่หาย ดังนัน้

การป้องกันก่อนการเกิดโรคหัวใจวายจึงเป็นวิธีที่ดี ที่สุด คือ ๑. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิต ลด ความเสี่ยง หลีกเลี่ยงอาหารมัน เค็ม รักษาน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่เครียด งดสูบบุหรี่ ดื่มสุราใน ปริมาณที่จำกัด ๒. รักษาโรคที่เป็นอยู่ เช่น โรคความดันโลหิต เบาหวาน ไขมันสูง หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ ๓. ตรวจร่างกายประจำปี ๔. การรักษาโรคพื้นฐาน เช่น การเต้นหัวใจที่

ผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคธัยรอยด์เป็นพิษ เท่ า ที่ ดู ร ายละเอี ย ดข้ า งต้ น ก็ ยั ง ไม่ ส ามารถ สรุปสาเหตุการป่วยของเพื่อนผมได้ ขณะนี้หมอยัง

ทำการตรวจเลือดหาข้อสรุปอยู่ จึงขอเล่าถึงสาเหตุ ก่อนเกิดอาการของเพื่อนผมให้ฟังไปพลางนะครับ เพื่อนผมเป็นอาสาสมัคร และมาสอนนักเรียน อยู่ ที่ สั ง ขละบุ รี ที่ โรงเรี ย นสอนเด็ ก ชาวเขาเป็ น

ส่วนใหญ่ จึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะมาใช้จ่าย เพื่อนผม

จึงได้ใช้วิธีรวบรวมเงินโดยการ เดินมาราธอนจาก

สังขละบุรีไปภูเก็ตคนเดียว แต่การเตรียมงาน การประสานงานรวมทั้ง การประชาสัมพันธ์ยังบกพร่อง การเดินมาราธอนใน ครั้งนั้น จึงไม่ได้รับความสนใจจากสื่อฯ และบุคคล ทั่วไปก็ไม่ได้รับทราบ ผลปรากฏว่าหาเงินได้เพียง หลักแสน แต่ ห ลั ง จากจบการเดิ น ครั้ ง นั้ น เท้ า บวมไป

๓ - ๔ เดือน ต่อมาก็เกิดอาการดังกล่าวที่ผมได้รับ ทราบจากอีเมลล์ ถึงแม้วา่ เขาจะมีนำ้ ใจในการรณรงค์ หาเงินมาเพื่อให้โรงเรียนอยู่รอด แต่การทำอะไรที่ เกิดกำลังที่ร่างกายจะรับได้ ก็มีผลอย่างที่เห็นนี ้ แต่ด้วยความที่ได้ตั้งใจเด็ดเดี่ยว เพื่อนผมจึง วางแผนที่จะเดินการกุศลอีก ครั้งนี้จากสังขละบุรี มายังกรุงเทพฯ และได้ประสานมายังสมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อเตรียมการ ล่วงหน้า จึ ง ขอแจ้ ง มายั ง ทุ ก ๆ ท่ า นที่ มี จิ ต สาธารณะ หากท่านประสงค์ที่จะช่วยเหลือในด้านใดก็ตาม ขอ ให้ ติ ด ตามรายละเอี ย ดการเดิ น ฯ ครั้ ง นี้ จ ากทาง สมาคมฯ ต่อไปนะครับ

25 prf 5 A-W 243 Sept.indd 25

9/5/54 BE 9:36 AM


เรื่อง Rainbow

ชีวิตกับจักรยาน

จักรยาน...ยานพาหนะพิเศษ ที่ใช้ไต่ขึ้นบนสายรุ้งแห่งชีวิต

รถราก็มี จะขีป่ น่ั ไปทำไมให้เมือ่ ยและทุกข์ทรมาน ไม่เข้าใจว่าจะดั้นด้นไปเพื่ออะไร ทั้งๆ ที่สามารถไป ถึงให้สะดวกสบายกว่านั้น” นี้เป็นคำพูดที่มาจากผู้ที่ยังไม่เข้าใจ และมอง

ไม่เห็นประเด็นสำคัญอันใดทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลังการขีจ่ กั รยาน

ท่องเทีย่ วทางไกล หากเราอธิบายได้ และไม่เบือ่ หน่าย เสียก่อน ก็อาจเล่าสูก่ นั ฟังถึงความมหัศจรรย์อนั แสน จะน่าทึ่งจากอีกฟากฟ้าหนึ่งของทางช้างเผือก แต่ถ้า เหนื่อยอ่อนจนเกินไปก็คงจะเพียงแค่ยิ้มแย้มตอบรับ แต่ปล่อยเงียบไว้ไม่เฉลย ตราบใดที่ตระหนักว่าพูด ไปสองไพเบี้ย ก็มีเพียงบางคนเท่านั้นที่เข้าถึง และ บ้างที่ไม่หือไม่อือใดๆ เลย ระนั้นก็ตาม ตัวเราก็เถอะหากไม่ไตร่ตรองให้ดี มีความเป็นไปได้เสมอที่ยามเผลอเรอ เราอาจ ใช้ตรรกะและเหตุผลแบบอย่างกระแสหลัก มาใช้กับ การเดินทางไกลด้วยจักรยานโดยไม่รู้ตัว ในความเข้าใจของผู้เขียน เราควรปฏิบัติต่อ จักรยานทางไกล หรือการขี่ปั่นสไตล์นี้ในบุคลิกอีก อย่างที่แตกต่างจากรถยนต์โดยสิ้นเชิง ในการขี่ปั่น ทางไกลด้วยความเร็ว ทีม่ ีนักจักรยานหลายท่านนิยม กระทำกัน น่าสงสัยว่าท่านมีเป้าหมายเพื่ออะไร? แม้ ปัญจวัคคีย์ทรมานเรือนร่างก็ยังมีเป้าหมายแสวงหา ความหลุดพ้น แต่การไปถึงตรงนัน้ ในเวลาทีน่ อ้ ยทีส่ ดุ ต่อหน่วยระยะทางเป็นลักษณะชัดเจนของการแข่งขัน กับอะไรบางอย่าง ไม่ก็เพื่อการฝึกฝนเพื่อการนั้น

หลายครั้งหลายตอน..เมื่อออกแบบแผนการเดินทาง วาดฝันกับสหายไปในท่วงท่าแบบเรือ่ ยๆ เน้นพบพาน กับประสบการณ์แปลกๆ ในถิ่นที่แตกต่าง แต่เมื่อ เดินทางจริงกลับปั่นโกยแน่บ เราทำไปเพื่ออะไร? วามเหนือ่ ยหรือความเมือ่ ยล้าทีเ่ ราต้องประคอง

ระดับทีป่ ริม่ ขอบให้ทรงตัวต่อไปได้เรือ่ ยๆ ตลอดวัน

ไม่เอื้อให้เราเปิดผัสสะสัมผัสโลกธรรมชาติแวดล้อม ได้เลย ถ้าไม่ใช่เพราะการแข่งขันหรือฝึกซ้อม เราต้อง ถามตัวเองว่า เราทำอย่างนีไ้ ปเพือ่ อะไรกัน หรือเพราะ เราเชื่อมั่นหลักการแห่งความยิ่งมาก-ยิ่งดี (More is

Better) อย่างไม่จำแนก ยิง่ ขีป่ นั่ ได้มากกิโลเมตรยิง่ ดี

ได้เวลาที่น้อยที่สุดยิ่งดี ยิ่งหลายจังหวัดยิ่งเก่ง จบวัน หรือจบทริปภูมิอกภูมิใจกับตัวเลข ODO หรือ DST บนจอหน้าปัด ยิ่งมากยิ่งรู้สึกมันในอารมณ์ สิ่งเหล่านี้สมควรที่นักจักรยานที่มีรสนิยมเรียก ตัวเองว่า “ทัวริง่ ” ควรทบทวนว่า เราต้องการความเร็ว อย่างเป็นตัวของตัวเองแน่นอนจริงๆ ไม่ใช่แห่ตาม เขาไป จะอับอายและรับไม่ได้หากได้ชื่อว่า “ปั่นสู้ เพื่อนไม่ได้” แล้วต้องเตลิดตามพวกเขาไปอย่างไม่ ได้ไตร่ตรอง ความต้องการไปให้เร็ว และไปอย่างสิ้น เวลาให้นอ้ ยลงจากการเดินทาง เป็นแรงจูงใจทีก่ ระตุน้ ให้ ม นุ ษ ย์ เราผลิ ต เครื่ อ งจั ก รไอน้ ำ และเครื่ อ งยนต์ ทำให้ประหยัดเวลาเดินทาง จะได้ใช้เวลาที่สงวนนั้น ไปกั บภารกิจอื่นๆ ที่เข้าท่า ไม่ต้องอดทนกับการ

26 prf 5 A-W 243 Sept.indd 26

9/5/54 BE 9:36 AM


เดินทางอันน่าเบือ่ หน่าย ซึง่ ก็ยอมรับได้วา่ ประดิษฐ-

กรรมทีผ่ ลิตได้ ช่วยมนุษย์ได้มาก และเปลีย่ นโฉมหน้า เราตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ม้ต่อมา เข้าสู่สมัยใหม่ มนุษย์เรายิ่งมีพฤติกรรม เร่งรีบขึน้ ในทุกปริมณฑล หากคนเราเอาเงินตรา ซื้อเวลาได้คงซื้อไปแล้ว เห็นได้จากมีการจ้างวาน

ผู้อื่นให้ทำบางอย่างแทนตัวเองแพร่หลายมากขึ้นๆ จนเกิดโทษภัยกับความเป็นอยูต่ า่ งๆ อันเป็นธรรมชาติ ของโลกาภิวัตน์ ตลอดจนสร้างความสับสนในคุณค่า ของพฤติกรรมประจำวันที่ชวนให้งุนงงว่า นี่เรากำลัง ทำอะไร และทำสิ่งเหล่านี้ไปเพื่ออะไร แม้กระทั่งเรา เกิดมาเพื่ออะไรกันแน่ รายที่ตอบได้ชัดเจนบ้างก็ออกบรรพชา บ้างก็ เออรี่ (เกษียณก่อนกำหนด) หรือหลุดเข้าไปในโลกที่ ตนเองปรารถนาต้องการอย่างเต็มตัว แต่จำนวนมาก เป็นแค่ได้คิดได้ฝันเพียงบางแว่บของกระแสสำนึก กับคำถามสำคัญๆ แต่ยงั ไตร่ตรองเข้าไปลึกไม่พอเพียง ถึงระดับเปลีย่ นพฤติกรรมหรือการงาน ได้แต่ยอมรับ มันเข้ามาเป็นส่วนหนึง่ ของความใฝ่ฝนั เพือ่ การแสวงหา ทางเลือก เพื่อเป็นบททดลองของใหม่บางอย่างให้ แน่ใจมากขึ้น เมื่อเป็นดังนี้ การเดินทางด้วยจักรยานทางไกล

ในรูปแบบเด็กน้อยซุกซนพเนจรจึงเริม่ ต้นขึน้ ความไม่

แน่นอนและความแปลกแตกต่างนำมาสูค่ วามผจญภัย

สร้างความสนุกสนานเร้าใจ มันจึงเกิดนิมิตแปลกประหลาดที่หาไม่ได้จาก บริบทอื่นๆในชีวิตปัจจุบัน ความที่จักรยานมันไปช้า กว่ายานพาหนะอืน่ ๆ เวลาทีถ่ กู ริบไปจากการเดินทาง กับพาหนะสมัยใหม่ถูกนำกลับคืนมา หรือการหวน

ปฏิเสธเครือ่ งมือนำทางทีค่ รัง้ หนึง่ มันเคยทรงประสิทธิภาพ ในการเคลื่อนย้ายตัวคนไปอย่างรวดเร็ว ไปสู่วิถีที่ บรรพชนเคยทำกันมา สิ่งที่ได้กลับมาคือ จำนวนทักทายที่เป็นไมตรี ดอกไม้ทป่ี ลิวไสวในท้องทุง่ หรือสำเนียงไพเราะกังวาล

กรุบกรับของเม็ดกรวดในย่างก้าวทีล่ อ้ หมุนไป นำความ

เมื่อลงได้ขึ้นคร่อมถีบรถสองล้อ ประดิษฐกรรมมหัศจรรย์ ให้ตระหนักรู้ว่า เรากำลังขึ้นโดยสาร กับยานพาหนะชนิดพิเศษ ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อให้ไต่สายรุ้ง แห่งชีวิต โลดแล่นไปในโลกแห่ง จินตนาการที่ไม่รู้จบ.. ตื่นตาตื่นใจมาทดแทนความเบื่อหน่าย ที่แต่ละอย่าง

มีสถานะช่วยยกระดับจิตวิญญาณของเราให้เติบโตทัง้ สิน้ แต่ถา้ นักจักรยานทัวริง่ กลับไปรับเอาท่วงท่าของ

การเดินทางแบบกระแสหลักมาใช้ และเริ่มทวนซ้ำ กับการริบเอาเวลากลับคืนไปอีกครัง้ ความมหัศจรรย์

แห่งท้องทุง่ ก็จะเลือนหายไป ความงดงามแห่งหมูบ่ า้ น จะสิ้นสูญ และน้ำใจของผองชนจะปลาสนาการไป โดยอัตโนมัติ งอย่าใช้จักรยานด้วยความรู้สึกคาดหวังอย่าง รถยนต์ จะรีบไปให้ไปรถ ก็ทั้งเร็วกว่า เบาะก็ นิ่มกว่า ความที่ความเร็วนั้นช่วยลดปริมาณของมื้อ อาหาร และค่าแรมคืน ประหยัดกว่าเห็นๆ เมือ่ ลงได้ขนึ้ คร่อมถีบรถสองล้อ ประดิษฐกรรม

มหัศจรรย์ ให้ตระหนักรู้ว่าเรากำลังขึ้นโดยสารกับ ยานพาหนะชนิดพิเศษที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อให้ ไต่สายรุ้งแห่งชีวิต โลดแล่นไปในโลกแห่งจินตนาการ ที่ ไ ม่ รู้ จ บ ไปเยี่ ย มเยี ย นเจ้ า ชายน้ อ ยในดวงดาวที ่ เปลี่ยวเหงา ผ่านทะลุสู่เมืองลับแล ที่เราไม่แน่ใจว่า จะได้กลับมาอีกครั้งหรือไม่ จนกระทั่งตัวเราได้คำตอบที่เฉพาะเจาะจงใน โลกแห่ ง การขี่ ปั่ น ว่ า “เราต้ อ งการอะไรแน่ จ าก จักรยาน” และ ณ จุดหมายตรงนี้ ไม่ว่าคุณจะใช้ จ่ายมันสิน้ เปลืองลงไปขนาดไหน ก็ถอื ว่า คุม้ ค่าเสมอ ถ้าคุณดั้นด้นมาถึง ๑๐.๑๓ น., ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๓ บ้านลุงเพียร, พัทลุง

27 prf 5 A-W 243 Sept.indd 27

9/5/54 BE 9:36 AM


เรื่อง/ภาพ ช่างหนึ่ง

เชิงช่างหนึ่ง

จักรยานสมัยผม

าทิตย์ที่ ๑๘ กันยายน เหล่าบรรดานักปั่นทั่ว สารทิศ ทุกเพศ ทุกวัย ทุกมุมของประเทศ จะ มาเข้าร่วมกิจกรรม Car Free day ปีนี้คงจะยิ่งใหญ่ กว่าปีอื่นๆ รีบปัดฝุ่นขัดสีฉวีวรรณจักรยานของเรา เพือ่ พร้อมจะออกไปร่วมกิจกรรมกันนะครับ กิจกรรม

แบบนีค้ งได้พบเห็นจักรยานหลายๆ ประเภท ในฉบับนี ้ จะหยิบยกจักรยานแต่ละประเภทให้ได้ทราบกันว่า แบ่งแยกย่อยเป็นจักรยานอะไรบ้าง เริ่มต้นด้วยจักรยานที่รู้จักกันทั่วไป..

จักรยานส่งน้ำแข็ง

(ผูใ้ หญ่แถวบ้านเรียกว่าจักรยาน ส่งน้ำแข็ง) มั ก จะเห็ น คุ้ น ๆ ตากั น ตั้งแต่สมัยวัยเด็ก ที่ชาวบ้านใช้

ปัน่ ไปตลาดหรือใช้สง่ ของ ลักษณะ

ของตัวรถจะค่อนข้างคันใหญ่ มีเข้ามาบ้านเราเป็นเวลากว่าร้อยปีแล้ว จักรยาน ประเภทนี้ส่วนใหญ่ใครที่มีมักจะเก็บสะสมไว้ เพราะ หาชมได้ยากแล้ว ตัวรถจักรยานจะมีไฟหน้า ไฟท้าย กระดิง่ บังโคลน กันโซ่ และทีโ่ ดดเด่นก็คอื เบาะหนังที่ มีสปริงขดอยู่ใต้เบาะ ขาตั้งเป็นเหล็กแบบขาตั้งคู่ ซึ่ง ผสมผสานเข้ากันอย่างลงตัว ตัวรถผู้ชายจะดูง่ายๆ

ท่อบนของเฟรมด้านบนนัน้ จะขนานกับพืน้ ดูคลาสสิค ยิ่งนัก แต่ไม่ได้จบอยู่แค่นี้ จักรยานโบราณแบบนี้มี ทรงที่เป็นแบบรถผู้หญิงเหมือนกัน สมัยพ่อเรียกว่า

28 prf 5 A-W 243 Sept.indd 28

“ทรงตัวเมีย” พ่อว่าอย่างนั้น บางรุ่นจะมีตะแกรง ด้วย ซึ่งเป็นเหล็กแผ่นหนาๆ ทรงสี่เหลี่ยมสีดำดูดุดัน อยู่ด้านหลัง เพิ่มความขลังเข้าไปอีก ส่วนจักรยาน ผู้หญิงจะแตกต่างกันที่ตัวถัง โดยท่อเฟรมด้านบน นัน้ จะเอียงลาดลงมาถึงตรงท่อนัง่ เป็นทรงท่อคู่ ผนวก กับตระกร้าสานหรือตระกร้าสเตนเลสใบใหญ่ กระดิง่

สีเงินมันวับวาว ดูๆ ไปรถจักรยานสมัยรุน่ คุณปู่ คุณทวด

ก็มีพัฒนาการมากเลยทีเดียว สมัยเด็กๆ ยังจำได้ว่า พ่อมีจักรยานตัวผู้แอบ เอาไปปั่น กว่าจะปั่นจักรยานเป็นก็เล่นเอาโดนไป หลายแผล แถมยังต้องมีเทคนิคการขึ้นไปปั่น ต้อง เอาขาคล่อมเฟรมล่าง หรือสอดเข้าไปในช่องของตัว เฟรมแล้วค่อยๆ ปั่นไป โอ้ว!!! นึกถึงตอนเด็กๆ (แอบ ขำ) จักรยานโบราณมีเรื่องราวอันยาวนาน ซึ่งสมัย ผมคงไม่มีข้อมูลมากนัก เพียงแต่เกิดมาจำความได้ก็ เห็นรถสองแบบนี้แล้ว 9/5/54 BE 9:36 AM


จักรยานแม่บ้าน

พอเริ่มโตขึ้นมาก็มีจักรยานหลาก-

หลายแบบเข้ามาในบ้านเมืองเราไม่น้อย จักรยานที่ผมจำความได้เริ่มย่างกรายเข้า มานั้น..เป็นจักรยานแม่บ้าน ที่มีขนาดเล็ก กว่าจักรยานรุน่ เก่า ซึง่ จักรยานรุน่ เก่าส่วน ใหญ่ วงล้อจะมีขนาด ๒๗ หรือ ๒๖ นิ้ว สมัยนั้นล้อใหญ่มาก พัฒนาการสมัยใหม่รถจักรยาน วงล้อ ๒๖ และ ๒๔ นิ้วจึงเข้ามาครองตลาดในประเทศ อย่างรวดเร็ว เนื่องจาก ผลิตขึ้นภายในบ้านเราได้แล้ว ราคาถูกย่อมเยาว์ ซึ่งครองตลาดมายาวนานจนถึงสมัย นี้ยังผลิตและขายได้เรื่อยๆ จักรยานโบราณก็ยังคงอยู่ในใจหลายๆคน จนสมัยต่อมา กระแสความแรงของ จักรยาน Bicycle Moto Cross ก็เข้ามา เป็นจักรยานขนาดวงล้อ ๒๐ นิ้วที่มี รูปลักษณะคล้ายๆ จักรยาน

โรไลเดอร์ เพียงแต่ด้านหลังจะมีช็อคอัพ สมัยนั้นใครมีปั่นจะเท่ห์มากๆ

จักรยานโมโตครอส

นัน่ คือชือ่ ทีผ่ มได้ยนิ มา เป็นจักรยานทีม่ ลี กั ษณะ

คล้ายมอเตอร์ไซค์แบบโมโตครอส เพียงแต่ว่าไม่มี เครื่องยนต์กลไกที่มาขับเคลื่อน มันต้องใช้แรงจาก คนปั่นเท่านั้น สมัยนั้นได้รับความนิยมสูงมาก ใน

ต่างประเทศเด็กๆ ปัน่ ไปเรียน ปัน่ เข้าป่า ลุยทางขรุขระ

ประมาณ ๒๐ ปีเห็นจะได้ ชอบจริงๆ Bicycle Moto

Cross เบาะสีเ่ หลีย่ มทรงสูง หนาเตอะ ...ยาวไปด้านหลัง

แฮนค์ยกสูง และมีป้ายเบอร์บ่งบอกความเป็นตัวเอง ช็อคอัพหลังคู่แนบกับเฟรมวางเฉียงๆ ใต้เบาะอัน มหึมา บังโคลนอันน้อย ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มี ถังน้ำมันหลอกด้วย ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าจะหลอกใคร (ฮา) เอาเป็นว่าสมัยนั้นหล่อคร้าบ..หล่อ วงล้อ ๒๐ นิ้ว ยางที่มีดอกยางตะปุ่มตะปํ่า เพื่อใช้ปั่นในทางลูกรัง ได้อย่างสบาย แต่นำ้ หนักเจ้าตัวมันค่อนข้างหนักมาก

prf 5 A-W 243 Sept.indd 29

จักรยาน BMX

และแล้ ว ก็ ห นุ่ ม ขั้ น มาอี ก กระแสของเจ้ า Bicycle Moto Cross ก็เริ่มเลือนหายไป ที่โด่งดัง ต่อมากลับกลายเป็นจักรยานคันเล็กคล้ายๆ กัน เพียง แต่ว่าบังโคลนหน้าหลัง ถังน้ำมันหลอกๆ ช็อคอัพ หน้าและหลังหายไป แล้วเปลี่ยนชื่อมาเป็น จักรยาน BMX โอ้ว.. ถึงสมัยวัยรุ่นเสียที..... เอาเป็นว่าฉบับนีข้ อตัวไปปัดฝุน่ เตรียมจักรยาน

ผมไปลุย Car Free day ก่อนนะครับ เอาคันไหนไปดีนะ ฮิฮิฮิ ฉบับหน้าพบกันใหม่ ครับสวัสดี

29 9/5/54 BE 9:36 AM


เชิญร่วมบริจาคกับ “โครงการรีไซเคิลจักรยาน” สำหรับผู้ที่สนใจร่วมบริจาคจักรยาน อุปกรณ์ หรืออื่นๆ เพื่อนำไปใช้ในโครงการ รีไซเคิลจักรยานของสมาคมฯ สามารถติดต่อได้ที่ทำการสมาคมฯ ถนนบรรทัดทอง จุฬาซอย ๖ ข้างสนามกีฬาแห่งชาติ โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐

สินค้าของสมาคม

เป็นสินค้าทีจ่ ำเป็นสำหรับผูใ้ ช้จกั รยาน จัดจำหน่ายในราคามิตรภาพ สนใจเลือกซือ้ ได้ทที่ ำการสมาคมฯ

โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗ เวลาทำการ ๐๙.๐๐ น. - ๑๘.๐๐ น. หยุดวันอาทิตย์ สั่ ง ซื้ อ ทางไปรษณี ย์ โอนเข้ า บั ญ ชี ประเภท

ออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบรรทัดทอง ในนาม สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย เลขทีบ่ ญ ั ชี ๐๖๓-๒-๕๒๒๗๖-๑ แล้วกรุณาแฟกซ์สำเนาใบโอน มาที่โทรสาร ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑ หรือส่งทาง E-mail: ๐๐๑ : หมวกคลุมหน้า ๐๐๓ : ถุงแขนลายธงชาติ tchathaicycling@gmail.com ราคาใบละ ๑๒๐ บาท ราคาคู่ละ ๑๕๐ บาท

๐๐๔ : สายรัดข้อเท้า เส้นใหญ่ ราคาชิ้นละ ๘๐ บาท เส้นเล็ก ราคาชิ้นละ ๓๐ บาท

๐๐๖ : เสื้อ TCC ตัวเล็ก ราคาตัวละ ๑๐๐ บาท

๐๐๗ : เสื้อจักรยานแขนสั้น ราคาตัวละ ๗๕๐ บาท

๐๐๘ : เสื้อจักรยานแขนยาว ราคาตัวละ ๙๕๐ บาท

๐๐๕ : เสื้อกั๊กสะท้อนแสง ราคาตัวละ ๑๘๐ บาท

๐๐๙ : เสื้อจักรยานสีขาว ราคาตัวละ ๓๐๐ บาท

๐๑๐ : กางเกงขาสั้น ราคาตัวละ ๖๕๐ บาท

๐๑๑ : กางเกงขายาว ราคาตัวละ ๘๕๐ บาท

จองด่วน!

โฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเหล่านักปั่นมากที่สุด!

6 ซม. เปิดพื้นที่โฆษณาย่อยเป็นพิเศษ สำหรับร้านค้าย่อยที่จำหน่าย จักรยาน บริการซ่อมบำรุง จำหน่ายอะไหล่ รับประกอบจักรยาน เสือ้ ผ้า 3 ซม. ร้ า นอาหารสิ น ค้ า มื อ สอง ของส่ ว นตั ว บริ ก ารท่ อ งเที่ ย ว หรื อ อื่ น ๆ

เชิญจับจองด่วน พื้นที่ขนาด ๓ คูณ ๖ เซนติเมตร ราคาพิเศษในโอกาส เปิดพื้นที่ใหม่เพียง ๑,๐๐๐ บาทต่อครั้งต่อเล่มเท่านั้น ติดต่อด่วน

โทร. ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐ หรือทางเวบไซต์ที่ http://bit.ly/TCHAminiAD โฆษณาตรงเป้าหมายและยังได้ร่วมสนับสนุนสมาคมฯ อีกด้วย!

30 prf 5 A-W 243 Sept.indd 30

9/5/54 BE 9:36 AM


กิจกรรมรณรงค์ของกลุ่มผู้ใช้จักรยาน ๙ จุดทั่วกรุงเทพมหานคร พร้อมมุ่งสู่สนามหลวง จุดที่ ๑ ลานพระบรมรูปทรงม้า สวนอัมพร จุดรวมพลใหญ่ จุดที่ ๒ สุขุมวิท สวนเบญจสิริ อยู่ใกล้กับห้างดิ เอ็มโพเรียม จุดที่ ๓ เพชรเกษม เดอะมอลล์บางแค จุดที่ ๔ ลาดพร้าว สนามราชมังคลากีฬาสถาน (สนามกีฬาหัวหมาก) จุดที่ ๕ สวนธนฯ สวนธนบุรีรมย์ จุดที่ ๖ พหลโยธิน ตลาดประตูกรุงเทพฯ จุดที่ ๗ พุทธมณฑล ถนนอักษะ จุดที่ ๘ TOT แจ้งวัฒนะ หลักสี่ จุดที่ ๙ รามอินทรา-อาจณรงค์ ร้าน World Bike ด่วน..ขอเชิญผู้สนใจร่วมกิจกรรม กลุ่มหรือชมรมในส่วนต่างจังหวัดต่างๆ กลุ่มหรือชมรมจักรยานที่จะ จัดแสดงนิทรรศการและโชว์กิจกรรมต่างๆ บริษัทห้างร้านที่สนใจร่วมออกร้านแสดงสินค้าสำหรับผู้ใช้ จักรยาน หรือสนใจร่วมสนับสนุนกิจกรรม

สามารถประสานงานได้ที่ คุณมงคล วิจะระณะ อุปนายกสมาคม ๐๘๑-๙๑๙-๒๙๘๙ ผู้รับผิดชอบโครงการ คุณหลิน กรรมการ ๐๘๑-๘๑๙-๓๑๑๔ ฝ่ายประสานงานส่วนต่างจังหวัด คุณวิวัฒน์ กรรมการ ๐๘๑-๔๕๖-๑๘๑๗ ฝ่ายประสานงานส่วนกรุงเทพฯ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ๐๒-๖๑๒-๔๗๔๗, ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๐ โทรสาร ๐๒-๖๑๒-๕๕๑๑ email: tchathaicycling@gmail.com http://www.thaicycling.com

31 prf 5 A-W 243 Sept.indd 31

9/5/54 BE 9:36 AM


32 prf 5 A-W 243 Sept.indd 32

9/5/54 BE 9:36 AM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.