บันไดปั่น..อัจฉริยะ!
ผ
ลงานการออกแบบจากทีมนักออกแบบชาว ฝรั่งเศส ก�ำเนิดเป็นบันไดปั่นจักรยานสุดยอด อัจฉริยะ ซึ่งสามารถระบุพิกัด GPS ของจักรยานที่ ติดตั้งบันไดนี้ได้ โดยส่งข้อมูลต�ำแหน่งไปยังโทรศัพท์ สมาร์ทโฟนผ่านทาง App ซึ่งสามารถแจ้งเตือน เจ้าของจักรยานได้ทนั ทีวา่ รถจักรยานของตัวเองนัน้ .. ถูกเคลื่อนย้ายไปยังที่ใดโดยผู้ไม่ประสงค์ดี นอกจากนี้... บันไดอัจฉริยะยังท�ำหน้าที่บันทึก รายละเอียดการปัน่ จักรยาน เช่นเดียวกับอุปกรณ์ไมล์ จักรยาน ด้วยการบันทึกความเร็ว สถิติ เส้นทาง ระยะทาง ความชัน ตลอดจนการเผาผลาญ พลังงานในร่างกาย ด้วยการส่งข้อมูลผ่านระบบคลาวน์สู่สมาร์ทโฟนด้วยเช่นกัน จุดเด่นสุดๆ คือคุณสมบัติในการสร้างพลังงานไฟฟ้าหล่อเลี้ยงตัวเอง โดยไม่ต้องชาร์ต แบตเตอรี่ และสามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้ด้วยตัวเอง ด้วยการติดตั้งที่แสน ง่ายดายใช้เวลาเพียง 2 นาที เช่นเดียวกับการติดตั้งบันไดปกติทั่วไป และมีรหัสเฉพาะส�ำหรับ เจ้าของเท่านั้น ผลงานนี้ถูกน�ำออกแสดงภายในงาน International Consumer Electronics Show 2015 (CES) ที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา ■
Recon Jet แว่นจิว๋ ติดคอมพ์ฯ “รี
คอน (Recon)” บริษัทผู้พัฒนาและผลิตอุปกรณ์จอแสดงผลสวมศรีษะ ได้พัฒนาแว่นพร้อมกล้อง ขนาดจิ๋ว ซึ่งภายในบรรจุสมองกลอัจฉริยะ Dual-Core ARM ความเร็ว 1 GHz พร้อมหน่วยความจ�ำ 1 GB DDR2 SDRAM และ 1 GB flash ซึ่งเกินพอส�ำหรับการท�ำงานสารพัด ติดตั้งจอขนาดเล็ก ซึ่งให้ภาพคมชัดระดับ HD ในมุมมอง 16:9 WQVGA ท�ำให้ได้ภาพเทียบเท่ากับ การชมด้วยจอขนาด 30 นิ้ว ภายในบรรจุเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวและแรงโน้มถ่วงถึง 9 รูปแบบ พร้อมเซ็นเซอร์วัดความดัน ระดับความสูง อุณหภูมิ ความกดอากาศ โดยสามารถควบคุมอุปกรณ์ได้ด้วย เซ็นเซอร์แบบสัมผัสแม้ในขณะสวมถุงมือ ยังมีกล้องบันทึกภาพระดับ HD ประกอบด้วยล�ำโพงพร้อมไมโครโฟนในตัว จึงกลายเป็นกล้องถ่ายภาพ ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ รวมถึงเป็นไมโครโฟนไร้สายส�ำหรับเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ที่สุดยอดส�ำหรับนักปั่น คือสามารถเชื่อมสัญญาณอุปกรณ์ด้วยระบบ ANT+ ได้สูงสุดถึง 8 รายการ ไม่ว่าจะเป็นไมล์ วัดรอบขา ฮาร์ทเรต หรืออื่นๆ และมีช่องส�ำหรับใส่หน่วยความจ�ำแบบ Micro USB เพื่อบันทึกข้อมูลทั้งภาพ เสียง วิดีโอ และสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ รีคอนเจท เตรียมออกวางตลาดในช่วงไตรมาสแรกของปี 2558 นี้ ■
เรื่อง @zangzaew • ภาพ Riese & Mller
จักรยานบรรทุกอเนกประสงค์
จั
กรยานที่นิยมใช้เพื่อการบรรทุกสัมภาระ หรือ ขนย้ายสิ่งของจ�ำนวนมากในบ้านเรานั้น เห็นจะ ไม่พน้ “ซาเล้ง” หรือจักรยานสามล้อ ซึง่ มีพนื้ ทีส่ ำ� หรับ บรรทุกสัมภาระขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้า แต่นั่นอาจ จะไม่ทำ� ให้เกิดความคล่องตัวเท่ากับจักรยานบรรทุก สัมภาระแบบสองล้อ ที่มีขนาดย่อมลงมาหน่อย ผลงานประดิษฐ์จากผู้สร้างสรรค์จักรยานพับ อย่าง “เบอร์ดี้ (Birdy)” ด้วยการสร้าง “คาร์โก้ ไบค์ (Cargo-Bike)” จักรยานสองล้อส�ำหรับบรรทุก สัมภาระ ซึง่ ถูกออกแบบเป็นอย่างดีทำ� ให้มจี ดุ ศูนย์ถว่ ง ทีเ่ หมาะสม ส�ำหรับการทรงตัวในขณะบรรทุกน�ำ้ หนัก ได้อย่างสมดุลย์ และเคลื่อนที่ได้อย่างสะดวก พร้อม ระบบกันสะเทือนสมบูรณ์แบบทั้งส่วนหน้าและหลัง ตั ว เฟรมผลิ ต ด้ ว ยอลู มิ เ นี ย มมี น�้ ำ หนั ก เบา แข็งแรง ออกแบบให้สามารถถอดประกอบได้สะดวก
4 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
ง่ายดาย ขณะเดียวกันก็ยังแข็งแรง รองรับน�้ำหนัก ได้สูงสุดถึง 200 กิโลกรัม อีกทั้งยังเสริมพลังงาน ขับเคลื่อนเพื่อช่วยเหลือนอกเหนือจากการออกแรง ปั่นปกติ ด้วยชุดมอเตอร์ขับเคลื่อนจากพลังไฟฟ้า ของ “บ็อช (Bosch)” สามารถเสริมความเร็วได้ 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส�ำหรับรุ่น HS มาร์คสั ไรส์ และ ฮิวโก้ มูลเลอร์ คูห่ นู กั ประดิษฐ์ สมัครเล่น ทัง้ คูใ่ ช้เวลาออกแบบและประดิษฐ์จกั รยาน ต้นแบบ เพือ่ ส่งเข้าประกวดในงานประกวดนวัตกรรม ใหม่ของเฮสส์ (Hesse Innovation Prize) พวกเขา ใช้เวลาตลอด 10 วัน ประดิษฐ์จกั รยานพับต้นแบบชือ่ ว่า “เบอร์ด”ี้ และสามารถคว้ารางวัลในปี 1993 และ เป็นที่มาของจักรยานภายใต้ยี่ห้อ ไรส์และมุลเลอร์ (Riese & Müller) ซึ่งเป็นที่รู้จักมาถึงปัจจุบัน ■
สารสองล้อ ได้รบั การสนับสนุนโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สารสองล้อ ฉบับที่ 284/กุมภาพันธ์ 2558 ISSN 1513-6051
2 บันไดปั่น..อัจฉริยะ! 3 Recon Jet แว่นจิ๋วติดคอมพ์ฯ 4 จักรยานบรรทุกอเนกประสงค์ 8 แวดวงสองล้อ 12 ปฎิทินทริป 14 ทริปและกิจกรรม 16 COBI เสริมให้จักรยานปลอดภัย 18 คู่รักปั่นกระจาย 22 Brompton Junction ล�ำดับที่ 8 ของโลก! 24 ชุดปั่นที่ใช่.. คุณสวมใส่หรือยัง? 26 แนะน�ำร้านจักรยาน 27 เติมความฝัน...อยากปั่นเที่ยว 32 ปัญหาปวดหลัง..เมื่อปั่นจักรยาน 34 Bike to work 36 ปั่นสองเดือนเที่ยวยูนนาน.. หยวนหยาง ตอนที่ 4 ต่อ 38 ยาสเตียรอยด์กับสุขภาพตา 40 ฝัน…ที่เป็นจริงของชาวจักรยาน 42 เชิงช่างหนึ่ง ตอน Crack (ตอนจบ) 46 บริจาคจักรยาน 47 สินค้าสมาคมฯ
บทบรรณาธิการ
เมือ่ ความนิยมในการใช้จกั รยานเติบโตขึน้ อย่างก้าวกระโดด ในประเทศไทย จ�ำนวนผู้ใช้จักรยานในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน จึงเป็นเหตุผลให้เกิดนักปัน่ จักรยาน หน้าใหม่ๆ ขึน้ มากมาย ดังนัน้ .. ความรูเ้ กีย่ วกับการขีป่ น่ั จักรยาน อย่างถูกต้อง ตัง้ แต่ระดับพืน้ ฐานไปสูร่ ะดับสูง จึงมีความจ�ำเป็น อย่างยิง่ ทีผ่ หู้ นั มาสนใจจักรยาน ควรจะต้องศึกษาท�ำความเข้าใจ เพราะการเลือกจักรยานที่ไม่เหมาะสมกับตัวเรา จะท�ำให้ เกิดปัญหาขึน้ มากมายต่อร่างกาย แทนทีจ่ ะได้เสริมสร้างสุขภาพ จะกลับกลายเป็นบั่นทอนร่างกายไปอย่างน่าเสียดาย และการ ปัน่ จักรยานหาใช่คำ� ตอบเดียวส�ำหรับการออกก�ำลังกายเท่านัน้ แต่การรู้จักเตรียมพร้อมร่างกาย ทั้งก่อนและหลังปั่นจักรยาน ถือว่าเป็นสิ่งส�ำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน ลองศึกษาเนื้อหาในสารสองล้อฉบับนี้ คิดว่าพอจะเป็น ประโยชน์ต่อผู้สนใจปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพและการเดินทาง เหมือนเช่นเคย.. ส�ำหรับสารสองล้อฉบับเดือนกุมภาพันธ์ กับคู่รักสองล้อ ที่ซึ่งจักรยาน.. กลายเป็นกามเทพน้อยๆ น�ำพา มาผูกพันกัน นอกเหนือจากความรักที่มีต่อจักรยาน ต่อสุขภาพ ยังมีความรักที่มี..ต่อกัน.. อีกด้วย น่าประทับใจมากครับ บรรณาธิการสารสองล้อ วัตถุประสงค์ของสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย 1. ส่งเสริมการใช้จักรยานในทุกกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ อาทิเช่น เพื่อสุขภาพและพลานามัย การคมนาคม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และนันทนาการ 2. ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาจราจรด้วยการใช้จักรยานทั่วประเทศ 3. เป็นองค์กรประสานงานระหว่างผู้ใช้จักรยานทั่วประเทศและในระดับสากล 4. อนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม 5. ร่วมกันท�ำกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ และสันติภาพของมวลมนุษยชาติ 6. เป็นศูนย์กลางในการสือ่ สาร ส่งเสริมความสัมพันธ์อนั ดี ยกย่อง ให้กำ� ลังใจ และให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลกันในหมู่สมาชิก ที่ประกอบคุณงามความดี ช่วยเหลือสังคมและส่วนรวม 7. ไม่ด�ำเนินกิจกรรมทางการเมือง เจ้าของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา มงคล วิจะระณะ บรรณาธิการ วรวุฒิ วรวิทยานนท์ กองบรรณาธิการ สุปรียา จันทะเหลา บัญชี วิภาดา กิรานุชติ พงษ์ ฝ่ายทะเบียน ปิยนุช เสวตวิวัฒน ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ฐนวัฒน์ กลิ่นน้อย พิมพ์ที่ บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จ�ำกัด โทร. 02-214-4660, 02-214-4370 โทรสาร 02-612-4509 ส�ำนักงาน สมาคมจักรยาน เพือ่ สุขภาพไทย 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 22 (สาธุประดิษฐ์ 15 แยก 14) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 โทรสาร 02-678-8589 เวบไซต์ www.thaicycling.com Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล์ tchathaicycling@gmail.com สนใจสมัครสมาชิกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย เพื่อสิทธิพิเศษในการร่วมกิจกรรมและ รับสารสองล้อฟรี สมาชิกรายปี 200 บาท ( ต�่ำกว่า 15 ปี 80 บาท ) สมาชิกตลอดชีพ 2,000 บาท ติดต่อได้ที่ โทร. 02-678-5470 โทรสาร 02-678-8589 หรือสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.thaicycling.com/member อีเมล tchamember@gmail.com
คุณฟารุก และ คุณเรียม • ภาพโดย schantalao
ขอบคุณฟอนต์ ซูเปอร์มาร์เก็ต จาก f0nt.com
iBIKE
iBIKE
แวดวงสองล้อ
สามารถส่งข่าวประชาสัมพันธ์ของท่านมาได้ที่ กองบรรณาธิการสารสองล้อ email: tchajournal@gmail.com หรือโทรสาร 02-678-8589
iBIKE ประกันความสุขของนักปั่น ฟอลคอนประกันภัย รุกตลาดจักรยานเปิดตัว “ไอไบค์” (iBIKE) ประกัน ความสุขของนักปั่น ครั้งแรกของเมืองไทยที่ชูจุดขายความคุ้มครองและสิทธิ ประโยชน์คุ้มค่า พร้อมรูปแบบบริการที่ทันสมัย ในราคาเริ่มต้นเพียง 750 บาท/ปี Falcon เดินหน้ากลยุทธ์ “Sport Marketing” รุกตลาดประกันจักรยานโดย จุดเด่นคือขายผ่านออนไลน์ www.isport4life.com ตลอด 24 ช.ม. ทุกวัน คุณโสภา กาญจนรินทร์ และคุณพัชนี ศรีสุขวัฒนา แห่งบริษัท ฟอลคอน ประกันภัย จ�ำกัด (มหาชน) ได้ทำ� การส�ำรวจความคิดเห็นของนักปัน่ จักรยานจนสรุป การออกแบบและพัฒนากรมธรรม์จักรยาน “iBIKE ประกันความสุขของนักปั่น” ภายใต้สโลแกน “ปั่นสบาย หายไม่ห่วง” ปัจจุบันบริษัทฟอลคอนพร้อมเปิดขายประกันภัยแก่นักปั่นจักรยานที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ อายุ ตั้งแต่ 15-65 ปี โดยจักรยานที่รับไม่ได้ก�ำหนดรุ่นหรือยี่ห้อใดๆ ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 10,000 บาท จนถึงราคา 500,000 บาท ซึ่งราคาเบี้ยเริ่มต้นอยู่ที่ 750 บาท/ปี แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับแพคเกจที่เลือก และราคาเบี้ยจะ ผันแปรตามราคาจักรยาน และแผนประกันภัยที่เลือกซื้อ โดยมีช่องทางจ�ำหน่ายหลักๆ 4 ช่องทางคือ 1. ออนไลน์ที่ www.isport4life.com ตลอด 24 ชั่วโมง 2. Call Center ของฟอลคอนฯ หมายเลข 02-676-9999 ในวันเวลาท�ำการ 3. ร้านค้าและตัวแทนจ�ำหน่ายจักรยาน 4. บริษัทนายหน้าประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนช่องทางแจ้งเคลมนั้น เพื่อความสะดวกแก่ผู้เอาประกันในการแจ้งเคลมผ่าน สมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ต ผ่าน Line Application ID : Falcon_iBIKE พร้อม บริการแจ้งเคลมตลอด 24 ชัว่ โมงทุกวัน โดยจะมีเจ้าหน้าทีค่ อยรับเรือ่ งและแนะน�ำ ช่วยเหลือในการแจ้งเคลม หากมีอบุ ตั เิ หตุรนุ แรง จะมีเจ้าหน้าทีเ่ ข้าไปยังจุดเกิดเหตุ ภายใน 30 นาทีหากเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ เขตอ�ำเภอเมืองในต่างจังหวัด และใช้เวลา 45 นาทีส�ำหรับพื้นที่ปริมณฑล สามารถสอบถามเพื่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลประกันภัยได้ที่ โทร. 02-676-9999 ■ RangyPOS ใช้มือถือ.. ช่วยเปิดร้าน RangyPOS คือ App ซึ่งท�ำหน้าที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์ ขนาดเล็ก ส�ำหรับช่วยจัดการด้านสต็อคสินค้า บันทึกการขาย และสรุปรายงานได้ เช่นเดียวกับระบบการค้าปลีกมาตรฐาน ทัว่ ไป แต่ทสี่ ำ� คัญคือ.. สามารถท�ำทุกอย่างได้ดว้ ยโทรศัพท์มอื ถือ แบบสมาร์ทโฟนนั่นเอง เจ้าของร้านสามารถเข้าไปดูประวัติการขาย สถิติการขาย รายละเอียดสต็อค และอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์ ยอดจ�ำหน่ายของสินค้าต่างๆ เอาไว้เป็นข้อมูลส�ำหรับบริหาร จัดการสินค้าภายในร้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ.. ไม่ต้องวุ่นวาย กับการ “จ�ำ” แบบเดิมๆ อีกต่อไป ดูรายละเอียดและดาวน์โหลดใช้งานฟรีได้ที่ www.rangypos.com ■ 8 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
แวดวงสองล้อ
สามารถส่งข่าวประชาสัมพันธ์ของท่านมาได้ที่ กองบรรณาธิการสารสองล้อ email: tchajournal@gmail.com หรือโทรสาร 02-678-8589
สัปดาห์อาเซียน “We are ASEAN” ด้วยส่วนอาเซียน ส�ำนักการประชาสัมพันธ์ตา่ งประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ ซึง่ เป็นหน่วยงานหลัก ของรั ฐ ที่ มี ห น้ า ที่ ป ระชาสั ม พั น ธ์ เ ผยแพร่ ข่าวสารความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนแก่ ประชาชนทั่วไป ได้ก�ำหนดจัดงาน สัปดาห์ อาเซียน “We are ASEAN” ระหว่างวันที่ 3-5 มีนาคม 2558 เวลา 16.00-21.00 น. ณ บริเวณหน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ซึ่งจะมีพิธี เปิดงานในวันที่ 3 มีนาคม 2558 โดยจะจัด เป็นขบวนนักปั่นจักรยาน รถบัสเปิดประทุน ตกแต่ง จะเคลื่อนขบวนโดยนักปั่นจักรยาน จากกรมประชาสัมพันธ์ เวลา 15.00 น. ถึง หน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ประมาณเวลา 16.00 น. รับฟรี ASEAN T-shirt พร้อมประดับธงอาเซียนที่จักรยาน โดยสามารถสมัครลงทะเบียนที่ http://goo.gl/forms/o8EIOmB42h ■ “BIKE SHOW” เทศกาลจักรยานกลางแจ้ง ตอนกลางคืน 19 - 22 กุมภาพันธ์ 2558 ครัง้ แรกในประเทศไทย...กับ งาน “BIKE SHOW” เทศกาลจักรยานกลางแจ้ง ตอนกลางคืน ใหญ่ทสี่ ดุ แห่งปี ระหว่างวันที่ 19 - 22 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 15.00 - 23.30 น. ณ เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ จัด โดย BIKE Community ร่วมกับ บริษทั เอนเนอะจี ทีมเวิรค์ จ�ำกัด กิจกรรมในงานประกอบด้วย MUSIC BIKE SHOW, ร่วมกันค้นหา นางฟ้านักปัน่ แห่งปี “Angel Rider 2015” พร้อมร่วมปัน่ กับเหล่านางฟ้าใน “Bike Rally With Angels”, กูรู จักรยานคันแรก ส�ำหรับมือใหม่หดั ปัน่ , การแสดงภาพถ่าย “จักรยาน เล่าเรื่อง” จากช่างภาพนักปั่น, มาให้คะแนน ภาพถ่าย Selfie กับจักรยานคันโปรด และการ แข่งขัน BALANCE BIKE RACE ชิงถ้วยรางวัล สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติม : คุณหวาน โทร. 081-812-5900 E-mail : energyteam work@yahoo.com และ www.facebook. com/BikeCommunity.ET ■ 10 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
กลับมาพิสูจน ใจคุณอีกครั้ง
ขอเชิญร วมการแข งขันจักรยานใจเกินร อย ป นเลยลงโขง ครั้งที่ 2 ตอน“ป นไปเลย” 1 march 2015
สมัคร ผ านเว็บ thai mtb.com ดูรายละเอียดได ที่ face book: ป นไปเลย2015 ติดต อคุณกิต 085-0023888
1 - 5 สังขละบุรี | Sang kla buri trip 10 พิพิธภัณฑ์ทหารอากาศ | One day trip to Air Force Museum 23 - 24 รีไซเคิล | Recycle Event 30 - 1 มิ.ย. ปลูกป่าเชียงดาว 13 ไร่ | Reforestation Event at Chiang Dao 14 พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อว.พช.คลอง 5 | One day trip to Science Museum 21 สอนซ่อมจักรยาน | Bicycle repair classes
กรกฎาคม / Jul สิงหาคม / Aug กันยายน / Sep
5 ท่องวัฒนธรรมมอญ บางกระดี่ ออกเทียน ทะเล | Tourism to see Mon culture Bangkradee 26 ประชุ ม ใหญ่ ป ระจ� ำ ปี ส มาคมฯ สถานที่ ห้องประชุมกองปราบฯ | TCHA Annual General Meeting
มิถุนายน / Jun
เมษายน / Apr
7 1. Audax ชะอ�ำ 300 | Cha-am Audax 300 2. สอนซ่ อ มจั ก รยาน | Bicycle repair classes 15 วันเดียวเที่ยวพิพิธภัณฑ์ เริ่มลานพระรูป | Museums one day trip
ธันวาคม / Dec พฤศจิกายน / Nov ตุลาคม / Oct
15 คลองพิ ท ฯ - อควาเรี่ ย ม | Klong Pittayalongkorn to Samutsakorn aquarium
พฤษภาคม / May
มีนาคม / Mar
กุมภาพันธ์ / Feb
ตารางกิจกรรมสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย 2558 TCHA Annual Events 2015 12 สนามหลวง - 3 ศาสนา | Cycling trip to touch 3 Religious 18 - 19 ไม้ใหญ่ในชุมชน วัด โรงเรียน สถานที่ ราชการ | Cycling trip to see big Trees in the Community 30 - 2 ส.ค. วงกลมรอบเขาใหญ่ | Kao Yai cycling trip 9 เกาะเกร็ด | Cycling trip to koh kret island 12 ปั่นวันแม่ | Bicycle ride for Mom • สอนซ่ อ มจั ก รยาน | Bicycle repair classes CFD
11 สอนซ่อมจักรยาน | Bicycle repair classes 23 - 25 กฐิ น วั ด ทรงธรรมกั ล ยาณี | Thot Kathin at Wat Shong Tham Kallayanee
8 บริจาคห่วงอลูมเิ นียม | Donate aluminum cycling trip 21 - 22 รีไซเคิล | Recycle Event
24 ไนท์ทริป ปั่นดูไฟ | Christmas night trip
หมายเหตุ รายการต่างๆ อาจมีการเปลีย่ นแปลงได้ • สอบถามรายละเอียดหรือสมัครร่วมทริปได้ท่ี สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย โทร. 0-2678-5470 • email: tchathaicycling@gmail.com • หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.thaicycling.com, Facebook.com/TCHAthaicycling • Remarks: Trips can be changed as appropriate • English information, call Bob Tel. 08-1555-2901 • email: bobusher@ksc.th.com
ทริปและกิจกรรม
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทริปต่างๆ และการช�ำระค่าทริป ได้ที่ โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989
TCHA ชวนปั่นและร่วมกิจกรรม
เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2558 Bike for kids with love On Valentine’s Day วันเสาร์ที่ 14 และอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย ร่วมกับ บริษทั ราชาไซเคิล ผูผ้ ลิตจักรยาน OPTIMA ขอเชิญร่วมโครงการจักรยานการกุศล เพือ่ ช่วยเหลือเด็กบ้าน คามิลเลีย่ น โซเชียล เซ็นเตอร์ ระยอง ร่วมให้กำ� ลังใจ… ชวนปัน่ ทางไกลมอบความรักให้นอ้ งๆ และหาทุนให้มลู นิธฯิ เพือ่ ให้มลู นิธฯิ ดูแลช่วยเหลือน้องๆต่อไป ด้วยระยะทางปัน่ จักรยาน 335 กิโลเมตร โดยนักปั่น 1 ท่านกับค่าสมัครเพื่อช่วยน้อง 400 บาท โดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ และมีบริษัท ราชาไซเคิล จ�ำกัด ผู้เป็นสนับสนุนโครงการ ทุกจุด start ช�ำระเงินผ่านบัญชี มูลนิธคิ ณะนักบุญคามิลโลแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงเทพ สาขามาบตาพุด เลขทีบ่ ญั ชี 443-4-87449-3 และโหลดสลิปเงินโอนเข้า ระบบ register ได้ที่ http://thaicycling.com/tcha/cycling -trip-camillian-rayong สอบถามรายละเอียดเพิม่ เติมได้ที่ สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย โทร. 02-6785470 ■ เทียนทะเล-ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น�้ำสมุทรสาคร อาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 ชวนปัน่ เทีย่ วบางขุนเทียนชายทะเล แวะชมศูนย์แสดง พันธุส์ ตั ว์นำ�้ สมุทรสาคร ซึง่ เป็นอควาเรียมแห่งใหม่ใกล้กรุงเทพฯ ก�ำหนดการ 06.30 น. พบกันที่โลตัสพระรามสาม 07.00 น. ล้อหมุนเส้นทาง พระราม 3-ดาวคะนอง-พระราม 2-เทียนทะเล แวะพักที่โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ แล้วไปยังจุดชมวิวมัจฉานุ-ฝายชลอคลื่น-อควาเรี่ยม 14.00 น. ออกเดินทางกลับโลตัสพระราม 3 ร่วมกิจกรรมฟรีไม่มคี า่ ใช้จา่ ย สามารถน�ำรถยนต์ไปจอดได้ทโี่ รงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ น�ำทริปโดย เฮียม้อ ■ ปั่นวันเดียวท่องเที่ยวหาความรู้..แอบดูพิพิธภัณฑ์ อาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2558 พิพธิ ภัณฑ์นบั วันจะเลือนหายไปจากใจเรา จึงขอเชิญชวนร่วมปัน่ ไปท่องเทีย่ วเก็บเกีย่ วความรูจ้ ากอดีตกันที่ บ้านจักรยาน สถานที่เก็บสะสมความสวยงามของจักรยานหลากหลายยุคสมัย แวะพิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้าง ชมของสะสมที่รวบรวมไว้ให้ดูจนถึงลูกถึงหลาน แล้วแวะทาน อาหารอร่อยในวัดสังฆทาน ก�ำหนดการ 07.00 น. พบกันที่ลานพระรูปทรงม้า 07.30 น. มุ่งหน้าสถานีรถไฟบางบ�ำหรุ ลัดเลาะสวนผักไป พักบ้านจักรยาน แล้วข้ามคลองมหาสวัสดิ์ไปวัด บางอ้อยช้าง สุดท้ายปิดทริปที่วัดสังฆทาน ร่วมกิจกรรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย น�ำทริปโดย พี่เรย์ เสียงดังฟังชัด..ดุดันแต่จริงใจ ■ 14 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
SHIMANO
XTR 11-SPEED
ชุดขับเคล�อนเสือภูเขาที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพสูงสุด พรอมใหคุณใชงานในการขับขี่ทั้งแบบ Race และ Trail ดวยการใชงานที่นุมนวล และแมนยำ
HAH HONG TRADING L.P. Tel : 02-225-0485, 02-222-1638 Fax : 02-226-3030 210 Luang Road, Pomprab, Bangkok 10100 e-mail: junior12@truemail.co.th
หจก. ฮะฮงพาณิชย โทร : 02-225-0485, 02-222-1638 แฟกซ : 02-226-3030 210 ถนนหลวง แขวงปอมปราบฯ กรุงเทพมหานคร 10100 อีเมล : junior12@truemail.co.th
ช่างคิดช่างประดิษฐ์
COBI เสริมให้ จักรยานปลอดภัย COBI Bike
COBI System
C
OBI คือผลงานการค้นคว้าและออกแบบจาก ทีมวิศวกรจากประเทศเยอรมนี ได้น�ำเอาความ ต้องการในอุปกรณ์เสริมแบบรอบด้านมารวมไว้ใน ชุดเดียวกัน ผสมผสานกับการดึงความสามารถของ โทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟน ซึ่งวางแนวคิด ให้อุปกรณ์ต่างๆ นั้น รองรับโทรศัพท์ในอนาคตได้ หลากหลายรุ่น! อุปกรณ์ในชุดจะประกอบด้วย ไฟส่องสว่าง รูปทรงเฉพาะ มีให้เลือกส�ำหรับจักรยานลักษณะต่างๆ อาทิ จักรยานในเมือง จักรยานเสือภูเขา จักรยานไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีไฟเบรคอัตโนมัติ ไฟสัญญาณ เลี้ยว มีปุ่มควบคุมไฟสัญญาณซึ่งสามารถควบคุมได้ ด้วยนิ้วโป้งที่สะดวกง่ายดาย
16 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
ไฟเบรคที่ท้ายรถจักรยานแบบอัตโนมัติ ไฟ จะส่องสว่างเมื่อแตะเบรคเพื่อหยุดจักรยาน พร้อม ไฟเลี้ยวที่สามารถควบคุมได้จากชุดคอนโทรลเลอร์ ด้านหน้าแบบไร้สาย สามารถใช้พลังงานได้ 3 รูป แบบ คือ ชุดแบตเตอรี่, ชุดชาร์ตแบบไดนาโม และใช้ พลังงานร่วมกับอุปกรณ์สำ� หรับจักรยานไฟฟ้า e-bike มีชุดส�ำหรับติดตั้งโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ที่ปรับได้หลายขนาด เพื่อรองรับโทรศัพท์มือถือที่มี ขนาดรุ่นและหน้าจอแตกต่างกันทั้งในปัจจุบันและ อนาคต App ในโทรศัพท์มือถือกับคุณสมบัติมากมาย ภายใต้มุมมองที่เรียบง่ายและชัดเจน - มี ร ะบบน� ำ ร่ อ งส� ำ หรั บ จั ก รยาน แสดง
COBI Team
FAB glossy
เส้นทางจักรยาน ด้วยภาพกราฟิคแบบ 2D และ 3D สามารถค้นหาเพื่อนที่ร่วมปั่นอยู่ใกล้ๆ - ใช้ แ ผนที่ ข องระบบ OpenStreetMap (OSM) ซึ่งเป็นการรวมเครือข่ายสร้างแผนที่เส้นทาง จากผูใ้ ช้ทวั่ โลก จึงท�ำให้มเี ส้นทางส�ำหรับจักรยานอย่าง หลากหลาย นอกเหนือจากถนนสายหลักๆ ทั่วไป - มาพร้อมสัญญาณกันขโมย ที่จะปลดได้ เฉพาะตัวเจ้าของเท่านั้น และสามารถเพิ่มผู้อื่นได้ใน อนาคต เหมือนมีสมาร์ทคียส์ ำ� หรับล็อคจักรยานในตัว - เชือ่ มโยงทุกอุปกรณ์สำ� หรับการใช้ขอ้ มูลใน การออกก�ำลังกาย และการปัน่ จักรยาน ผ่านระบบ ANT+ อุปกรณ์นี้ใช้วิธีการระดมทุนในเวบไซต์ Kickstarter โดยตั้งเป้าไว้ที่ 100,000 เหรียญสหรัฐ
COBI Feature
ปรากฏว่ามีผู้ร่วมบริจาคทะลุสี่แสนไปแล้ว! Tom Acland ผู ้ พั ฒ นาออกแบบอุ ป กรณ์ เสริมเพิ่มเติมอีกชิ้น เรียกว่า “The Dash” เป็นหูฟัง อัจฉริยะแบบไร้สาย มีคุณสมบัติในการรับสัญญาณ จากโทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ที่ ชั ด เจน ขณะเดี ย วกั น ก็ ยั ง สามารถได้ยินเสียงจากรอบข้างเพื่อความปลอดภัย ในขณะปั่นจักรยานบนเส้นทาง ภายใน “The Dash” ยังมีระบบ Gyroscope ท�ำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของ ศีรษะ เช่นเมื่อก้มลงเพื่อมองจอมือถือซึ่งติดตั้งอยู่ที่ แฮนด์ หน้าจอจะติดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ และเมื่อเงย มองทางข้างหน้า หน้าจอมือถือก็จะเข้าสู่ระบบเซฟ โหมดของจอ ■ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558) │ 17
คู่รักปั่นกร
18 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
ระจาย
เรื่องจากปก
เรื่อง schantalao
ค
งจะคุ้นหน้าคุ้นตากันดีส�ำหรับพี่ชาย พี่สาวคู่นี้ เพราะมีงานปั่นที่ไหนพี่เค้า ไม่เคยจะพลาด เรียกว่าปั่นกระจาย ไปได้ทุก งาน นอกจากจะเป็นคูร่ กั ทีร่ กั การปัน่ จักรยาน เป็ น ชี วิ ต จิ ต ใจแล้ ว พี่ เ ค้ า ยั ง เป็ น คู ่ รั ก ของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทยมาก่อนด้วย อยากรู้ว่ามารักกันได้อย่างไร ต้องตามไปฟัง กันค่ะ
เป็นมาอย่างไรถึงได้มาปั่นจักรยานและ กลายเป็นคู่รักนักปั่น พี่เรียม : “พี่เริ่มขี่จักรยานครั้งแรกวัน Car
Free Day ประมาณ 15 ปีที่แล้ว จ�ำได้ว่าเริ่ม start ที่สนามศุภชลาศัย โดยการชักชวนจาก พี่ที่ท�ำงาน ตอนนั้นยังไม่มีจักรยานเลยนะ เอาจักรยาน BMX เก่าๆ ของน้องชายไป เบรคก็ไม่มี จักรยานก็คันนิดเดียว ขี่ไปเวลา เบรคต้องใช้เท้าเบรค วันนั้นไปด้วยใจจริงๆ มีเจ้าหน้าที่ชมรม (ตอนนั้นยังเป็นชมรมอยู่) คอยประกบ ขีก่ ย็ งั ไม่แข็งเกือบชนท้ายรถเมล์ ตั้งหลายครั้ง ครั้งที่ 2 พี่คนเดิมชวนไปท�ำใบขับขี่ จักรยาน เราก็บอกพี่เค้าไปว่าไม่มีจักรยาน พี่บอกไม่เป็นไรมีให้ยืม วันนั้นรีบตื่นแต่เช้า ไปจุดนัดพบที่ขนส่งตรงจตุจักร ตื่นเต้นมาก ขับรถก็ไม่เป็น แต่ฉนั จะมีใบขับขีเ่ ป็นของตัวเอง แล้ว กลับถึงบ้านเอาไปอวดทุกคน พ่อหัวเราะ ใหญ่เลย ใบขับขี่จักรยานใหญ่กว่าใบขับขี่ รถยนต์ 3 เท่า แล้วจะพกติดตัวยังไงหว่า หลั ง จากนั้ น ก็ อ ยากไปออกทริ ป กั บ พวกพี่ๆ อาๆ ไปหาซื้อจักรยานโดยไม่ได้มี ความรู้อะไรทั้งสิ้น ไปถึงร้านมองหาแต่ยี่ห้อ Gary Fisher อย่างเดียวเลย (ฮ่าๆ) ก็มันเป็น จักรยานคันใหญ่ที่เราได้ลองขี่ครั้งแรกนี่นา… สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558) │ 19
จากนั้ น ก็ ส มั ค รสมาชิ ก ชมรม แล้ ว เข้ า ไปดู รายละเอียดทริปตลอด ทริปไหนทีไ่ ปได้โดยใช้รถไฟฟ้า ก็ไม่เคยพลาด จะให้เราขี่ไปจากบ้านอย่าได้หวังเลย กลัวรถใหญ่เบียด และทุกครั้งที่ออกทริปกลับมาบ้าน ก็สลบเป็นตาย ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว แต่ไม่เข็ด จากนั้นหยุดขี่ไปเกือบ 2 ปี แล้วมาเริ่มตอนกลาง ปี 52 ทริปมือใหม่ปั่นไปเกาะเกร็ด แทบตาย (ฮ่าๆ) ก็ เล่นปั่นความเร็ว 15 จะตามใครเค้าทันหละ โชคดีมีพี่ๆ มือเก่าคอยช่วยเหลือ แล้วก็ซา่ อาจหาญไปทริปซ�ำเหมา เกาะสีชัง 120++ กม. ไปทั้งที่รู้ว่าตัวเองไปไม่ถึง แต่ ก็อยากลองนะ (ฮ่าๆ) ในที่สุดก็โดนสอยขึ้นรถแถวๆ อมตะนคร” พี่ฟารุก : “ส่วนพี่เริ่มขี่จักรยานตอนต้นปี 53 โดยการ ชักชวนจากน้าชาย จากนั้นก็มาทริปซ�ำเหมาเกาะสีชัง กับชมรมก็เจอเรียมเค้านีแ่ หละ เจอกันเช้าวันที่ 2 บนเรือ มีคนในกลุ่ม TCC แนะน�ำว่าเค้าเป็นมุสลิมเหมือนกัน ก็แนะน�ำให้รู้จักกัน ตอนนั้นก็ยังไม่ได้คิดอะไร แค่รู้จัก กันในทริป พอหลังจากนั้นก็ยังไม่ได้จีบนะ คือเรียมเค้า ขีก่ บั กลุม่ วัดเสมียนมีอาลิขติ อาศุภชัยอยู่ ก็ไปเจอกันโดย บังเอิญ ตอนไปตลาดโก้งโค้ง” พีเ่ รียม : “คือพีอ่ ยากขีท่ วั ริง่ มันก็ตอ้ งซ้อมบ่อยๆ พีร่ กุ เค้าก็ถามว่าไปซ้อมขากับเค้าไหม ตอนแรกรู้สึกเลยว่า เค้ามีความพยายาม เพราะต้องไปรับพี่ที่บ้าน คือพี่รุก เค้าไม่ได้จบี นะ คือรูส้ กึ ประทับใจมาเรือ่ ยๆ ว่าผูช้ ายคน นีน้ า่ รักนะ เพราะเค้าจะดูแลทุกคนในทริป ไม่ใช่ดแู ลแค่ เราคนเดียว ทุกครัง้ ทีข่ จี่ ะไม่เคยเจอเค้าเลย แต่เมือ่ ตอน ที่เราต้องการความช่วยเหลือน่ะก็จะเห็นเค้า…” พี่ฟารุก : “คือจากนั้นก็เหมือนไปออกทริปก็เจอกัน ตลอด คุยกันถูกคอมันก็เลยซึมซับเข้าไปเองอัตโนมัติ ก็เลยรู้สึกชอบขึ้นมา….” พี่เรียม : “ตอนนั้นพี่อยากไปภูกระดึงมากกกกก แล้ว ไม่มีใครไป พี่ก็เสริชในเว็บมีทริปหารเฉลี่ยก็เลยเปรยๆ ตอนไปทริปจักรยานว่าอยากไป พี่รุกเค้าก็บอกไปสิ เดี๋ยวไปเป็นเพื่อน เพราะพี่ไม่รู้จักใครเลย ส่วนใหญ่จะ มีแต่ สว. ... ขึน้ ไปเนีย่ มีคพู่ คี่ เู่ ดียวทีต่ อ้ งใช้คำ� ว่าดึง เพราะ มันเป็นหน้าฝน ฤดูนำ�้ หลากแล้วมันลืน่ ด้วย ความจริงพี่ 20 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
เป็นคนขาไม่แข็งแรงแต่ชอบเที่ยว ตอนขึ้นต้องใช้วิธีดึง ขาลงต้องใช้วิธีโรยตัว พี่ลงไปก่อนให้พี่รุกอยู่ข้างบนคือ ใช้เชือกโรยตัวลงมา ตอนที่พี่ลงเนี่ย พี่รุกเกือบตกเขา นะ เราก็เลยรู้สึกประทับใจว่าเค้าช่วยชีวิตเรา อะไร ประมาณเนี้ย” (ฮิ้ววววว!! เสียงของคนทั้งวง) หลังจากกลับจากทริปเดินป่าที่ภูกระดึง พี่ก็เจอ พี่รุกอีก ก็เลยถามเค้าตรงๆ ว่าชอบเราเหรอ?.... พี่รุก บอกว่า เวลาละหมาดเค้าจะขอพรจากพระอัลเลาะห์วา่ ถ้าผู้หญิงคนนี้เป็นเนื้อคู่ของเค้าให้รับรักเค้าด้วย (มารู้ ตอนหลังใกล้จะแต่งงานแล้ว) พอหลั ง จากที่ พี่ ถ ามเค้ า สั ก พั ก เค้ า ก็ ช วนไป เที่ยวบ้าน ตอนนั้นพี่ยังไม่มั่นใจ เลยตอบปฏิเสธเค้าไป บอกเค้าไปว่าถ้ามัน่ ใจอยากคบเป็นแฟนจะบอกละกัน… คือหลังจากนั้นพี่รุกชวนไปขี่จักรยานทุกวันหยุด อยากไปไหนบอก ตั้งแต่นั้นไม่เคยหยุดขี่เลย ได้เจอ บ่อยๆ ก็เลยรูส้ กึ ว่าผูช้ ายคนนีอ้ ารมณ์ดจี งั มีความสุขทุก ครั้งที่ได้ขี่จักรยาน แล้วได้เจอเค้ามั้ง (ฮ่าๆ) ทีนี้ก็เลยถามเค้าอีกครั้งนึง ว่าชอบเราจริงไหม เค้าบอกว่าตัวเค้ามัน่ ใจ แต่ขนึ้ อยูก่ บั เราถ้ามัน่ ใจเมือ่ ไหร่ ให้บอก พอเดือนเมษาพี่เลยบอกเค้าว่าให้แม่เค้ามาคุย สรุปก็แต่งงาน 31 ก.ค. 54 …รู้จักกันเป็นแฟนกันปีกว่าแล้วก็แต่ง คือตาม หลักศาสนาต้องแต่งก่อนจีบ เคยได้ยินไหม?... (ไม่เคย เลยจ้า) เค้ากลัวว่าจะนอกลู่นอกทางก็เลยให้แต่งงาน กันก่อนจีบ แต่พี่ว่าระยะเวลาไม่ส�ำคัญ เพราะเวลาเรา อยู่กับเค้า เรารู้สึกเหมือนเราเป็นเจ้าหญิง ที่มีองครักษ์ คอยพิทักษ์ความปลอดภัย (ฮิ้วววว) ทีนี้ก็เลยเลื่อน ต�ำแหน่งองครักษ์ให้เป็นเจ้าชายซะเลย หลังจากแต่งงาน พี่รุกบอกอยากไปไหนให้บอก บังพาไปได้ทกุ ที่ แต่ตอ้ งโดยจักรยานเท่านัน้ นะ เลยเป็น ที่มาว่าจะเห็นพี่ขี่จักรยานตลอดทุกวันหยุด แทบจะไม่ ได้ใช้รถใหญ่ ยกเว้นไปทริปกับสมาคมฯ อีกเรือ่ งคือทีต่ อ้ ง ขอบพระคุณคือ ตอนนัน้ คุณพิชติ เป็นนายกสมาคมฯ ก็ได้ พูดไว้ว่า ใครที่มาออกทริปกับสมาคมฯ เจอกันในทริป แล้วเป็นแฟนจนได้แต่งงานกัน คุณพิชติ จะให้เงินขวัญถุง 30,000 บาท ซึง่ ก็รสู้ กึ จะมีคเู่ ราคูเ่ ดียวนีแ่ หละมัง้ (ฮ่าๆ)”
ทราบมาว่าได้ปั่นจักรยานไปหัวหินกันสองคน เล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ? พี่เรียม : “ทีแรกตั้งใจจะไปเมืองกาญฯ แต่ปีที่ผ่านมาเนี่ยคือ
ไปบ่อยมาก ก็เลยคิดว่ามีเวลาช่วงหยุดปีใหม่ก็อยากจะไปหัวหิน เคยไปกับอาลิขิต อาศุภชัยหนนึง แล้วทีนี้มีเวลา 5 วันพี่ก็อยาก ทัวร์ยาว ชวนใครก็ไม่มีใครไปก็เหลือกันแค่สองคน วางแผนแค่ เดือนเดียวจองที่พักใน Agoda พอดีที่พักว่างก็จองเลย วันแรกกรุงเทพฯ-หาดเจ้า อยากเที่ยวเราก็ขี่เรื่อยๆ ค่ะ จะมีวนั แรกทีร่ ะยะทางเยอะหน่อย ประมาณ 135 กิโล พอวันทีส่ อง หาดเจ้า-หัวหิน วันทีส่ ามจากหัวหินไปเขาวัง นอนทีต่ วั เมืองเพชร ระยะ 60 โลนี่หินมาก ลมแรง พี่ถึงที่พักห้าโมงเย็น ความเร็วแค่ 15 สปริ้นท์ไม่ขึ้น… วันที่สี่ก็จากตัวเมืองเขาวังมานอนที่อัมพวา ก็ได้ใช้เวลาเดินเล่นที่ตลาดน�้ำอัมพวาด้วย” พี่ฟารุก : “พี่ว่าไปกันสองคนแบบเนี้ยมันก็ง่ายด้วย ทั้งเรื่อง อาหาร การเดินทาง คืออยากแวะตรงไหนก็แวะเลย ไปแบบ ชิวๆ ตรงไหนสวยก็แวะถ่ายรูป ก็มีปัญหาเรื่องยางเหมือนโดน ปล่อยลมแค่นั้นเอง” มีคนฝากขอค�ำแนะน�ำมา ถ้าแฟนเราไม่ได้ปั่นจักรยานด้วย จะท�ำอย่างไรดีคะ? พี่เรียม : “เรื่องจะชักชวนให้แฟนเรามาขี่จักรยานด้วย พี่ว่า
ค่อนข้างยาก มันต้องเป็นความชอบส่วนตัวด้วยส่วนหนึ่ง เพราะ ผูห้ ญิงรักสวยรักงาม มาเจอร้อนๆ เหงือ่ แตก คงเข็ดนะ ทีเ่ ค้าบอก คนขี่จักรยานนอกจากจะชอบจักรยานเป็นทุนเดิมแล้ว มันต้องมี ความบ้าด้วย (ฮาาาา จริงค่ะ!!) ก็ลองชวนให้เค้ามาขี่กับเราด้วย สักครัง้ ก่อน ถ้าเค้าชอบก็โอเคไป แต่ถา้ ยังไม่ชอบอาจจะต้องปรับ ไปเป็นกีฬาหรือกิจกรรมอื่นๆ แทนเนอะ” พี่ ฟ ารุ ก : “ก็ อ าจจะเริ่ ม ชวนมาปั ่ น ตอนเย็ น ๆ ค�่ ำ ๆ ก่ อ น แดดไม่ร้อน เหงื่อไม่ออก ไปกับกลุ่มเพื่อนหลายๆ คนให้เค้ารู้สึก ปลอดภัย ปั่นไปถ่ายรูปไป แวะหาของกินด้วย เดี๋ยวซักพักอาจ จะติดใจเลิกไม่ได้ก็มีนะ” เป็นอย่างไรกันบ้างคะ… เรื่องราวของคู่รักนักปั่นประจ�ำ เดือนแห่งความรักที่เราแนะน�ำ เพื่อนๆ อ่านแล้วอยากชวนคู่รัก ของคุณมาปั่นจักรยานไหม?? ไม่แน่นะ เดือนแห่งความรักปีหน้า อาจจะป็นคู่ของคุณได้ลงคอลัมน์ของสารสองล้อฉบับต้อนรับ วาเลนไทน์ก็เป็นได้… ^^ ■ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558) │ 21
เรื่อง/ภาพ @zangzaew
Brompton Junction
ล�ำดับที่ 8 ของโลก!
B
rompton Junction คื อ ร้ า นในอุ ด มคติ ที่ บ ริ ห ารจั ด การโดยแนวคิ ด หลั ก ของบริ ษั ท แม่จากประเทศอังกฤษ ภายในร้านจ�ำหน่ายเฉพาะ จักรยานบรอมตัน ซึ่งได้รับการออกแบบและผลิต โดยบรอมตันเองเท่านัน้ ภายในร้านได้รบั การตกแต่ง ตามรูปแบบของบรอมตันโดยเฉพาะ มีจักรยานครบ ทุกสี โดยเฉพาะจักรยานรุ่น limited edition ซึ่งถูก สร้างขึ้นเป็นพิเศษ และมีจ�ำหน่ายเฉพาะ Junction store ทัง้ แปดสาขาทัว่ โลกเท่านัน้ โดยมีสาขาทัง้ หมด อยู่ที่ Milan, London, Shanghai, Beijing, Kobe, Hamburg, Amsterdam และล่าสุดที่ประเทศไทย ไม่ เ พี ย งแต่ จั ก รยานที่ มี ค รบทุ ก สี และรุ ่ น limited เท่านั้น แต่ยังมีอุปกรณ์เสริม อะไหล่ต่างๆ ครบทุกชิ้น ตลอดจนบริการสั่งประกอบบรอมตันใน แบบของคุณเอง ด้วยซอฟท์แวร์ในคอมพิวเตอร์ (แบบ เดียวกับที่ให้บริการทางหน้าเว็บไซต์ของบรอมตัน) เพื่อให้ผู้ซื้อเลือกและเห็นตัวอย่าง ก่อนสั่งประกอบ ได้โดยตรง 22 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
คุณวิลเลี่ยม บัทเลอร์-อาดัมส์
ที่สาขานี้.. ยังได้จัดแสดงบรอมตันรุ่นแรกสุด ซึ่งเป็นหนึ่งใน 30 คันแรกของโลก ที่ผลิตขึ้นใน ปี 1970 โดยคุณแอนดริว ริชชี่ บิดาแห่งจักรยาน บรอมตัน เป็นจักรยานบรอมตันรุน่ แรกระบุหมายเลข ที่ 027 ไว้ให้แฟนคลับได้ชื่นชม คุณวิลเลี่ยม บัทเลอร์-อาดัมส์ (William Butler-Adams) กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ของบรอมตัน จากอังกฤษ บินตรงมาร่วมงานเปิดร้านนี้ด้วยตัวเอง และยังได้แสดงความคิดเห็นไว้อย่างน่าสนใจ.. “ส� ำ หรั บ ตั ว แทนจ� ำ หน่ า ยในประเทศไทย ล้วนเป็นร้านที่เปิดมาไม่นาน และเป็นคุณรุ่นใหม่ ซึ่งมีความกระตืนรือร้นสนใจในการพัฒนาการตลาด เมื่อเราน�ำเสนอรูปแบบของร้านบรอมตันจังชั่นและ แนวคิดให้เห็นภาพ ต่างตอบรับและเห็นด้วย ร้านบรอมตันจังชั่น จะกลายเป็นร้านต้นแบบ เป็ น แรงบั น ดาลใจ เป็ น แหล่ ง ความรู ้ ตลอดจน แนวทาง ที่จะน�ำไปสู่การพัฒนาของร้านจักรยาน ทั่วทั้งประเทศ เราไม่ต้องการเปิดร้านบรอมตันจังชั่น มากมายไปทั่ว แต่เราต้องการมีร้านต้นแบบเช่นนี้ เพียงหนึ่งเดียวในแต่ละประเทศ ที่จะคอยให้การ สนับสนุนร้านตัวแทนต่างๆ ผมและบรอมตัน.. มีความหวังและความตั้งใจ อย่างมาก ในการมีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงเมืองต่างๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย เพื่อให้ จักรยานได้กลายเป็นหนึ่งในการเดินทางที่เป็นไปได้ ในอนาคตอันใกล้นี้” ■ Brompton Junction Thailand ตั้งอยู่ที่ ดิ เอ็มโพริโอ เพลส สุขุมวิทซอย 24 เปิดบริการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 11.00 - 19.00 น. และวันเสาร์เวลา 11.00 - 18.00 น. วันอาทิตย์ปดิ โทร. 02-160-4021 หรือ 02-160-4022 Email: info@bromptonjunction.co.th พิกัดร้าน 13.723618,100.566884 สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558) │ 23
รอบรู้สองล้อ
เรื่อง zangzaew
ขอบคุณข้อมูลจาก
ชุดปั่นที่ใช่..คุณสวมใส่หรือยัง?
1
2
3
4
5
6
7
8
24 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
นอกจากเลือกซื้อจักรยานคันที่ใช่และโดนใจเพื่อไป ปั่นแล้วนั้น.. ชุดสวมใส่ในการปั่นจักรยานก็เป็นสิ่ง ส�ำคัญไม่ด้อยไปกว่าจักรยาน เพราะด้วยความเร็ว ที่มากขึ้น ประกอบกับการใช้เส้นทางร่วมกับผู้อื่น อะไรก็เกิดขึ้นได้.. 1. สวมหมวกนิรภัยเสมอ หมวกนิ ร ภั ย หรื อ หมวกกั น น็ อ คคื อ สิ่ ง ส� ำ คั ญ ในการป้องกันศรีษะจากการกระแทก จึงควรเลือก หมวกที่ มี ข นาดพอดี กั บ ศี ร ษะ และมี ส ายรั ด คางที่ แน่นหนามั่นคง รวมถึงการส่วมใส่อย่างถูกต้อง โดย ครอบศีรษะพอดี และควรหาหมวกใบเล็ก หรือผ้าโพก ศีรษะมาสวมไว้กอ่ นทีจ่ ะสวมหมวก จะช่วยให้เกิดความ กระชับยิ่งขึ้น 2. แว่นกันแดดคุณภาพดี เพื่ อ ความปลอดภั ย ของดวงตา เมื่ อ ยามปั ่ น จั ก รยานจะมี ทั้ ง ลม ฝุ ่ น แมลง และแสงแดด ให้ ต้องเผชิญตลอดเวลา จึงควรเลือกสวมแว่นตาซึ่งมี คุณสมบัติป้องกันแสงยูวีเป็นอย่างดี แม้จะมีราคาสูง บ้างเล็กน้อย แต่ช่วยให้ดวงตาปลอดภัยได้นาน
กีฬาทัว่ ไปได้ ด้วยการเลือกถุงเท้าทีม่ คี วามหนาพอประมาณ และพอดีกับการสวมกับรองเท้า 6. รองเท้าส�ำหรับจักรยาน การปั่นจักรยานอย่างจริงจัง และได้ผลเต็มที่ในการ ใช้รอบขา จ�ำเป็นต้องเลือกใช้รองเท้าส�ำหรับปั่นจักรยาน โดยเฉพาะ ซึง่ เป็นรองเท้าทีต่ ดิ ตัง้ คลีทส�ำหรับจับยึดกับบันได ควรเลือกแบบที่สามารถปรับความแข็งได้ และต้องไม่ลืม ฝึกฝนการใช้งานให้คุ้นเคย 7. สวมถุงมือเสมอ การเสียดสีและการกระแทกระหว่างมือกับแฮนด์ จักรยาน จะเกิดขึ้นเสมอในระหว่างปั่นจักรยาน ถุงมือที่มี ความหนาในช่วงฝ่ามือจึงเป็นสิ่งจ�ำเป็น ถ้าเป็นการปั่นแบบ ทัว่ ไป สามารถเลือกแบบครึง่ ข้อนิว้ ได้ แต่ถา้ เป็นการปัน่ แบบ ผาดโผน จ�ำเป็นต้องเลือกแบบเต็มนิ้ว 8. หน้ากากกันฝุ่นควัน นักปั่นจักรยานส่วนใหญ่ มักจะต้องใช้เส้นทางร่วม กับยวดยานอื่นๆ จึงควรสวมหน้ากากหรือผ้าปิดส่วนจมูก และปาก เพื่อป้องกันฝุ่นหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ■
3. เสื้อส�ำหรับขี่จักรยาน เป็นเสื้อที่ใช้เนื้อผ้าและการออกแบบเฉพาะ เพื่อสวมใส่ส�ำหรับการปั่นจักรยาน มีคุณสมบัติในการ ระบายอากาศและเหงือ่ และท�ำให้ผสู้ วมใส่รสู้ กึ สบายใน ขณะปัน่ จักรยาน ควรเลือกทีม่ ีสหี รือลวดลายสะดุดตา จะได้เห็นเด่นชัดส�ำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกับเรา 4. กางเกงเสริมเป้า เลื อ กสวมกางเกงที่ ผ ลิ ต ขึ้ น ส� ำ หรั บ การปั ่ น จักรยานโดยเฉพาะ มีการเสริมเป้าด้วยฟองน�้ำหรือ เจลคุณภาพดี ปกป้องการเสียดสีที่จะเกิดขึ้นเมื่อนั่ง ปั่นนานๆ บนอานจักรยาน และหากต้องปั่นเป็นระยะ ทางไกล แนะน�ำให้เลือกเป็นกางเกงขายาว จะช่วย ป้องกันแสงแดดได้ดีกว่า 5. เลือกถุงเท้าให้เหมาะ ถุงเท้าส�ำหรับสวมใส่ในการปัน่ จักรยานโดยเฉพาะ นั้น มีผลิตออกมาจ�ำหน่ายเช่นกัน แต่อาจจะไม่ได้มีให้ เห็นมากนัน้ เราจึงสามารถเลือกถุงเท้าส�ำหรับการเล่น
เราเป็นโรงงานผลิตและจ�าหน่าย เสื้อคอกลม เสื้อโปโล สินค้าพรีเมียม ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี งานด่วนสั่งได้ ราคาเป็นกันเอง โทร. 089-487-8789 ภาณิดา เหมรัตนากร
แนะน�ำร้านจักรยาน
เรื่อง/ภาพ schantalao
104 Custom Cycles พื้
นทีย่ า่ นฝัง่ ธนฯ มีทางจักรยานเลาะเลียบริมน�ำ้ เจ้าพระยา ตัง้ แต่สะพานพุทธ จนถึงท่าน�ำ้ วัดกัลยาฯ หลายๆ ท่านคงเคยผ่านหรือไปปัน่ ท่องเทีย่ วกันมาบ้างแล้ว ผูเ้ ขียนก็เช่นกันค่ะ….วันนีไ้ ด้ปน่ั เพือ่ จะไปทะลุซอยด้าน ในพอปั่นผ่านทางเข้าวัดประยูรวงศาวาส ก็เหลือบไปเห็นร้านจักรยานซุกตัวอยู่ในตึกแถว มองแล้วน่าจะเป็น ร้านของช�ำมาก่อน เมือ่ เข้าไปก็เจอคุณลุงคุณป้า (ซึง่ เป็นคุณพ่อคุณแม่เจ้าของร้านนัน่ เอง) ต้อนรับด้วยรอยยิม้ และยินดีให้เราช่วยบอกกล่าวประชาสัมพันธ์ร้านให้ด้วย สินค้าในร้านก็เป็นจักรยานของ Araya ซะส่วนใหญ่ อะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งก็มีของวินเทจบ้างประปราย คุณลุงบอกว่า ช่วงเย็นๆ จะมีบรรดานักปัน่ แวะเวียนมาชมสินค้ากันประจ�ำ ท�ำให้บริเวณนีค้ กึ คักกว่าทีเ่ คย ยิ่งช่วงนี้บรรยากาศเหมาะเจาะ อากาศเป็นใจให้ปั่นกินลมชมวิวด้วยแล้ว คงจะคึกคักกันไม่น้อยเลยทีเดียว ■
ที่ตั้ง : เลขที่ 104 ถนนเทศบาลสาย 1 แขวงวัดกัลยา เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 Facebook : https://www.facebook.com/104CustomCycles 26 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
เรื่อง ไม้ขอย เดือนแรม ภาพ @zangzaew
เติมความฝัน...อยากปั่นเที่ยว
เ
จตนาผม ตัง้ ชือ่ ล้อและเลียนกลุม่ ปัน่ เทีย่ ว เอกลักษณ์หนังโครตเหีย่ ว แต่ประทานโทษ...ขาโครตแข็ง ผมอ่าน เรือ่ งเทีย่ วของท่านเมือ่ เจ็ดแปดปีกอ่ น ทึง่ ... อึ้ง...กิมกี่...ก็แต่ละท่านล้วนผู้เฒ่า ดูเหมือน แต่ละท่านมาตั้งล�ำ ตั้งไข่หัดปั่นเที่ยว ก็เกือบจะ เลยเพลภาษาพระ ภาษาคนเกือบเกินแกง ผมไม่แน่ใจว่าจะได้ค�ำตอบตรงกันหรือไม่ หากไป ถามแต่ละท่านที่ภายหลังเจอะเจอกัน ว่าท่านคิดอย่างไร ตอนเริ่มต้นตั้งไข่จะปั่นเที่ยว มันฝึกกันล�ำบากยากเย็นขนาด ไหน แล้วท�ำยังไงถึงปั่นเที่ยวได้ ทั้งไอ้การหาเส้นทางปั่นเที่ยวล่ะ หาแบบไหน ปั่นกับใคร จนติดลมตั้งเป็นกลุ่มชวนปั่นเที่ยวกันถึงวันนี้
สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558) │ 27
ที่บอกไม่แน่ใจเพราะส่วนตัวผมเอง ยังไม่เคย เอาค�ำถามแบบข้างบนไปถามท่านหรือถามใคร เลยยัง ไม่รู้ความในใจของท่านอื่น แต่ส่วนตัวผม ผมรู้ว่า เป็นเพราะผมมีความฝัน อยากปั่นจักรยานเที่ยว ไอ้ความฝันนี้มันฝังอยู่ในส่วนลึก มาแต่ครั้งยังเล็ก แค่เป็นเด็กเรียนหนังสือชั้นปอปลาย ผมเป็นเด็กโชคดีที่บ้านนอกที่ผมเกิดและโต ถึงจะเป็นหมู่บ้านเล็กๆ อยู่แถวริมทะเลของภาคใต้ แต่ช่างอุดมสมบูรณ์ด้วยร้านกาแฟ บ้านผมช่างมี ร้านขายกาแฟเยอะจริงๆ มีนับสิบร้านเรียงสองฟาก ถนนดิน ถนนสายหลักของหมู่บ้าน ก็มีแค่เส้นเดียว ยาวไม่ถึงกิโลเมตร เป็นของดีสุดส�ำหรับผม เพราะ แต่ละร้านเขานิยมรับหนังสือพิมพ์ ให้ลูกค้าอ่านข่าว เป็นกับแกล้มทางสายตา ประเทืองปัญญาของสมอง ลูกค้าสั่งกาแฟดื่มหนึ่งจอกจะนั่งอ่านหนังสือพิมพ์ เป็นชั่วโมงเขาไม่ว่า แถมเขามีน�้ำชาให้เติมใส่จอก กาแฟทีย่ กซดหมดแล้ว ดืม่ น�ำ้ ชาของแถมหมดเมือ่ ไหร่ ขอเขาเติม หรือเรียกขอให้เขายกกาใหม่มา ไม่นับว่า กี่กาเป็นส่วนบริการฟรีทั้งหมด เป็นของส�ำคัญวางให้ แกล้มหนังสือพิมพ์ คนบ้านนอกรุน่ พ่อผมสุดจะเพลิน ใช้เวลาค่อนข้างจะมากแต่ละวัน กะการนั่งซดน�้ำชา หลังกินกาแฟ จ�ำนวนร้านกาแฟนับสิบร้าน ทุกร้าน จึงมีคนนัง่ ค่อนข้างจะเต็มทัง้ ช่วงเช้าและหัวค�ำ่ แหม... ก็เล่นนั่งแช่กันแบบนั้น ผมไม่มีดีกรีพอที่จะเป็นลูกค้าสั่งกาแฟกิน แต่ ทุกร้านเขาใจดีให้เด็กชายลูกโกจีกู้บ้านอยู่ในตลาด ทีด่ ทู า่ จะชอบอ่านหนังสือ ถือวิสาสะเดินเข้าออกหยิบ หนังสือพิมพ์เขากางอ่านบนโต๊ะว่าง แต่ละวันผมมี กิจวัตรประจ�ำวันช่วงเย็นหลังเลิกเรียนที่สุดจะชอบ เดินเข้าร้านโน้นเข้าร้านนี้ตระเวนอ่านหนังสือพิมพ์ แต่ละร้านรับร้านละฉบับ ยุคนั้นน่าจะมีหนังสือพิมพ์ รายวั น หลายหั ว แต่ ที่ ผ มจ� ำ ได้ มี เ สี ย งอ่ า งทองที่ ภายหลังเปลี่ยนเป็นไทยรัฐ มีเดลินิวส์ มีสารเสรี ที่พอโตขึ้นถึงรู้เป็นหนังสือพิมพ์เชียร์รัฐบาล ส่วน สยามรัฐนั้นแค่เห็น คนรับอ่านเป็นกลุ่มครู 28 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
ยุ ค ผมเป็ น เด็ ก วั ย ขนาด...หั ว โตซั ก สองสาม ก�ำปั้น ดูเหมือนหนังสือพิมพ์ “พิมพ์ไทย” จะเป็น ที่นิยมในตลาดชนบทบ้านผม แต่ผมจ�ำไม่ได้ผมได้ อ่านเรื่องราวของอาจารย์ปรีชา พิมพ์พันธ์ ที่ท่าน เขียนเล่าเรื่องปั่นจักรยาน จากเมืองไทยไปเรียน หนังสือถึงอเมริกา ท่านเขียนเล่ามาเป็นจดหมาย ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับใด แต่ดูเหมือนน่าจะใช่ “พิมพ์ไทย” ที่ลงพิมพ์เรื่องราวของท่าน ผมติดตาม อ่านโดยตลอด จบเรื่องเพียงท่านเล่าความ ปั่นถึง อเมริกาจนได้ที่เรียนหนังสือ เป็นความประทับฝังใจ ฝังในหัวเด็กบ้านนอก คนหนึ่ง เป็นเรื่องก่อเกิดความฝันอยากปั่นจักรยาน เที่ยวไปในโลกกว้าง เยี่ยงอาจารย์ปรีชาท่านท�ำ ครับเป็นความฝันของผม ทีส่ งิ ซุกก้นลึก พอมัน โผล่ผลิงอก มันเบิกบานสุดกู่ เริม่ จากความฝัน แล้วได้ ท�ำจริง ท�ำฝันเป็นจริง ถึงกาลเริ่มได้ท�ำตอนแก่... ก็ไม่สายเกินเพล ครับ แล้วท่านล่ะครับ ตอนนี้ละครับอยาก ถามท่านบ้าง มีความฝันบ้างหรือเปล่า เรื่องจะปั่น จักรยานเที่ยวกัน ผมมีความฝันอยากปั่นจักรยานเที่ยว เช่นท่าน อาจารย์ปรีชาท�ำเป็นอย่างให้ดู ฝังอยู่ในหัวแต่ชั้น ปอปลาย จนเรียนจบมอต้น ความเป็นเด็กบ้านนอก อยากเรียนต่อให้สงู กว่ามอต้น สูตรชีวติ มันบังคับ ต้อง ด้นเข้ากรุง วันนี้ย้อนคิดความหลัง ครั้งวันนั่งรถไฟ จากถิ่นบ้านเกิด จุดหมายปลายทางคือกรุงเทพฯ ครั้งแรกวันนั้น นั่งรถไฟกระฉึกกระฉัก ยังฝันเฟื่อง ต่อยอดของความฝัน จะเก็บเงินหวังซื้อจักรยาน หวังจะปัน่ กลับบ้านเกิดทุกปิดเทอมช่วงเรียนหนังสือ ครับคิดฝันอย่างนี้จริงๆ ครับ มิได้มุสาหวัง เพียงเขียนดูให้งาม ทั้งวัยเด็กของผม มอเตอร์ไซค์ใน หมู่บ้านเห็นไปก็ยังงั้น ไม่เก็บฝังจ�ำในหัว บ้านนอกของผมยุคนั้น ขาเถ้าแก่บางคนเริ่ม สั่งมอเตอร์ไซค์จากกรุงเทพฯ ไปขี่กันโก้บนถนน ดินปนทรายสายหลักผ่านหมู่บ้าน ไม่ว่าไทรอัมพ์ของ
ไอ้กันจ�ำได้มีสองคัน หนึ่งในสองคันนี้ตัวเจ้าของเขา ใจดียามขี่เล่นกินลม ชวนผมนั่งบึ่งเที่ยวชายหาด เด็กนับร้อยรวมผู้ใหญ่นับเป็นพันเดินชายหาด ตาม ความนิยมท�ำเป็นธรรมเนียมเดินเที่ยวหาดปีละครั้ง ช่วงตรุษจีน ผมนั่งโก้ซ้อนท้ายไทรอัมพ์บึ่งบรื้อมมม ผ่านกลุ่มคน ยังมีบีเอ็มดับเบิ้ลยูของเถ้าแก่ร้านถ่าย รูป และยี่ห้อสุดเก๋าเอ็มแซ็ดจากเยอรมัน คันนี้สุดเท่ เก๋ากึ๊กส์ สงสัยตกค้างแต่ครั้งสงคราม ทั้งเวสป้าและ แลมเบร็ตต้า ผู้ใหญ่บอกผมเรียกมันเป็นรถสกู๊ตเตอร์ ของอิตาลี รถพวกนีม้ ยี หี่ อ้ ละคัน แต่แน่ๆ รถมอเตอร์ไซค์ จากญีป่ นุ่ พวกฮอนด้ารุน่ คัพ ซูซกู ิ ยามาห่า จริงๆ นะ ครับ...ท่านเจ้าของรถคันนี้ท่านเรียกชื่อเป็นอย่างนี้ จริ ง ๆ บ้ า นนอกของผมถึ ง ขั้ น มี ตั ว แทนสั่ ง มาขาย ผมเองก็เคยลองขับขี่มาบ้างกะมอเตอร์ไซค์พวกนี้ ด้วยขนาดมันเล็กไม่หนักหรือสูงเหมือนพวกรถฝรั่ง เด็กตัวเท่าลูกหมาแบบผม ผู้ใหญ่วางใจให้ขี่เล่นได้ แต่ผมผู้มีภาพท่านอาจารย์ปรีชา ปั่นจักรยาน ไปอเมริกาพิมพ์ใจอยู่ในหัว เห็นมอเตอร์ไซค์พวกนี้ที่ ขาเถ้าแก่ขี่กันในตลาดบ้านนอกของผม ก็ไม่ได้ท�ำให้ ผมจะเห็นการขีม่ อเตอร์ไซค์มนั จะสนุกไปกว่าการปัน่ จักรยาน ยังจ�ำแม่นถึงความฝัน พูดซ�้ำอีกที นั่งฝัน ตอนกลางวัน วันที่นั่งรถไฟชั้นสามจากบ้านเกิดเข้า กรุงเทพฯ เพือ่ เรียนต่อ พร้อมเพือ่ นร่วมรุน่ กว่าสิบคน ยังเกิดความอยากจะปั่นจักรยานจากกรุงเทพฯ กลับ บ้านนอกช่วงปิดเทอม นึกฝันล่วงหน้า...มันท่าจะ โก้น่าดู เอาจริง...ชีวติ จริงของผม หลังเข้าเรียนในกรุงเทพฯ มัวแต่เรียนจากชั้นมอเรียนต่อจนจบ จนได้วิชาการ ท�ำกิน มัวติดหล่มการหากิน จนถึงขั้นตกหล่มตั้ง ครอบครัวตนในกรุง ความฝันอยากปัน่ จักรยานเทีย่ ว นั้น มันตกตะกอนนอนก้นอยู่ในหลืบลึกจนเกือบลืม ว่าเคยฝัน จนวันหนึ่งมีคนมากระตุ้นต่อมฝันให้แตก ปลุกฝันเป็นจริง ตอนอายุตนลุปูนเข้าห้าสิบปีเกินซัก แค่หนึ่งปี ยังพอทันฉัน ไม่ถึงขนาดจะสายจนเลยเพล คนมากระตุ้นช็อตไฟฟ้าใส่ร่างมัมมี่ที่ความฝัน
นั้นตายแล้ว เป็นเพื่อนรุ่นน้องอายุน้อยกว่าผมสิบ กว่าหลายปี ใช้ชวี ติ ท�ำกิจกรรมกลางแจ้งปีนภูเขาเล่น พายเรือ เคยพายเรือคนเดียวล่องล�ำน�้ำปิงแถวหน้า เมืองเชียงใหม่ สู่เจ้าพระยามหานที จนลุลงมาถึง ท่ า น�้ ำ เมื อ งนนท์ ถิ่นเกิดบ้านเขา จบการปั่นเรือ เกิดอยากปัน่ จักรยาน ก็ปน่ั ดุย่ คนเดียวจากท่าน�ำ้ เมือง นนท์ลงใต้ของไทย ไปถึงภูเก็ต เรื่องที่รุ่นน้องท�ำแล้วมาเล่าให้ผมฟัง ตอนพาย เรือก็แบกเรือใส่รถไปเริ่มต้นที่เชียงใหม่ ตอนปั่น จักรยานก็ได้จกั รยานโบราณ...คือจักรยานเกียร์เดียว เขาใช้ถีบส่งน�้ำแข็ง ป๊อกเขาท�ำส�ำเร็จก็มาเล่าสู่กันฟัง ไอ้เรื่องพายเรือ ที่ป๊อกเขาท�ำส�ำเร็จก่อนหน้า ตอนเอามาเล่าให้ผมฟังมันไม่จ๊าบไม่ซ่าเข้าสู่หัวผม แต่นึกชื่นชมป๊อกเขาช่างกล้าหาญ และโครตจะทนๆ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558) │ 29
พายเรือไม้แบบใช้ตามบ้านนอก พายคนเดียวยี่สิบ กว่าวัน ตัวงี้เกรียมแดดด�ำเมี่ยม เห็นส่วนขาวแค่ ลูกกะตา ผมแค่ออกปากถามป๊อกในข้อสงสัย ตอน พายเจอเขือ่ นหรือฝายกัน้ ท�ำไง ก็ตอ้ งออกปากขอแรง ชาวบ้านช่วยยกช่วยหามเรือข้ามฝายจ�ำได้ป๊อกตอบ ส่วนตรงช่วงมีเขื่อนกั้นล�ำน�้ำปิง จ�ำไม่ได้แล้วป๊อกแก้ ปัญหานี้ยังไง แต่ตอนที่ป๊อกมาเล่าเรื่องปั่นจักรยานลงใต้ ปั่นด้นคนเดียวถึงภูเก็ต มันสป๊าร์คทันทีกับความฝัน ของผม ที่เดิมมันคงจะซุกตายเงียบฝังอยู่ในก้นบึ้ง
30 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
สมองไปแล้ว ได้ฟงั เรือ่ งเล่าปัน่ จักรยานเทีย่ วจากป๊อก ความฝันเฟื่องของผมที่เล่าให้ฟังมันลุกโพลงทันที เหมือนกะซากของมัมมี่ที่โดนช็อตด้วยไฟฟ้า...ลุกขึ้น ยืนตื่นอย่างที่เห็นในหนัง แต่ไอ้การพรรณนี้จะท�ำได้ส�ำเร็จ ขี้หมาแบบ ผม...ต้องมีคนช่วยเหลือ หนึ่งต้องมีคนหาอุปกรณ์ สองต้องมีคนต้นแบบ ผมนั้นโบ๋เบ๋...ท�ำอะไรไม่เป็น คิดอะไรก็ไม่ออก คนต้นแบบนัน้ มีแล้วคือป๊อก คนหาอุปกรณ์นนั้ ขาประจ�ำ...วิทยาเพือ่ นผม เราสามคนเป็นเพือ่ นเทีย่ ว
เดินทางแบบแบกเป้นั่งรถเที่ยวกางเต้นท์นอน เที่ยว เล่นด�ำน�ำ้ แบบแบกอุปกรณ์สว่ นตัวไปเล่นกัน พืน้ ฐาน การเล่นกิจกรรมพวกนีเ้ ราท�ำด้วยกันกว่าสิบปี หลอม เราสามคนสนิทสนมกันมาก มากพอที่จะชวนท�ำ กิจกรรมปัน่ จักรยานเทีย่ ว ทันทีทฟ่ี งั ป๊อกเล่าเรือ่ งปัน่ จักรยานจบผมบอกเพือ่ นทัง้ สอง ตกลงก�ำหนดวันเป็น สัปดาห์หน้า นับนิว้ มือคืออีกเจ็ดวัน เราสามคนนัดไป ปั่นจักรยานเที่ยวกัน โดยนัดรวมพลที่บ้านผม ผมเกริ่นตอนเริ่มต้น นับจากตั้งไข่คิดจะปั่น เที่ยว แล้วท�ำยังไงต่อถึงปั่นเที่ยวได้ หาเส้นทางปั่น เที่ยวแบบไหน ปั่นกับใคร มีใครปั่นเป็นเพื่อน หรือ ลุยเดี่ยวเลยครับ ผมโชคดี ทุกอย่างเป็นรูปเป็นร่างจบครบในวันนัน้ ป๊อกและวิทยาก�ำหนดเส้นทาง เป้าหมายเส้นทาง ที่จะไป จะปั่นไปเที่ยวปราสาทพนมรุ้ง คงจะผลจาก ความตื่นตัวเรื่องการทวงขอหน้าบันคืนจากไอ้กันใน ช่วงนั้น จะปั่นเที่ยวแบบเอาเต้นท์ไปรอนแรมนอน กลางทาง เหมือนที่เราเคยเที่ยวกัน ต่างจากทุกทีเคย แบกเป้นั่งรถโดยสาร ก็เปลี่ยนเป็นการปั่นจักรยาน เหลืออุปกรณ์หลัก...รถจักรยานแต่ละคนยัง ไม่มี รถส่งน�ำ้ แข็งทีป่ อ๊ กใช้ปน่ั ลงไปถึงภูเก็ต เป็นแบบ โบราณว่าเสร็จนาฆ่าถึก เสร็จศึกฆ่าขุนทหาร ป๊อก ปั่นถึงภูเก็ตก็ขายจักรยานได้เงินเป็นค่าตั๋วรถทัวร์นั่ง กลับบ้าน สมัยเราสามคนเล่นด�ำน�้ำแบบสกูบ้าด้วยกัน พวกผมผ่านพ้นช่วงหาซื้อของใหม่ราคาแพงก็ด้วย ฝีมือวิทยา แกช่างไปหาอุปกรณ์การเล่นสกูบ้าที่เขา กองขายแบบเหมาเข่ง ไม่ใช่ของใหม่วางขายในตู้โชว์ พวกเรกกูเรเตอร์ของใหม่ราคายุคผมเล่นชุดละหลาย พัน แต่เงินพันบาทในมือวิทยาหามาได้เป็นสิบชุด ก็ของเขากองทิ้งขายเป็นเศษโลหะ ครับ...ของพวกนี้ เรารื้อมาซ่อม เอามาเล่นด�ำน�้ำกันสนุกในหมู่เรา พอเราตกลงจะเล่นจักรยาน แบบก�ำหนดวัน อีกเจ็ดวันจะเดินทาง วิทยาก็ไปหาจักรยานมาให้เรา สามคั น ของผมหนึ่ ง คั น ของวิ ท ยาหนึ่ ง คั น และ
แน่นอนต้องจัดหาให้ปอ๊ กคนต้นเรือ่ ง ต้นตอการจุดไฟ จุดความฝันวัยเด็ก ความอยากปั่นจักรยานเที่ยวนับ แต่ฝันครั้งยังเด็กให้คุโชน จากเรื่องเล่าของป๊อก ปั่น เที่ยวคนเดียวจากกรุงเทพฯ ถึงภูเก็ต นั่นละครับ ยุคสิบปีก่อน ถึงแม้นวงการจักรยานยังไม่บูม เช่นวันนี้ ร้านค้าหรือตัวแทนผูน้ ำ� เข้าจักรยาน ทัง้ แบบ เสือภูเขา หรือเสือหมอบ ราคาคันละหมื่นต้นจน หลายหมื่ น อาจจะยั ง มี น ้ อ ยหรื อ หาซื้ อ ได้ แ ค่ ใ น กรุงเทพฯ แต่แน่นอนครับยุคนัน้ ทีผ่ มเริม่ เล่น จักรยาน เก่าจากญี่ปุ่น แถวเซียงกงนั้น ก็เริ่มมีแล้วครับ วิทยาไปหาซื้อจักรยานให้พวกผมแถวเซียงกง ตกคันละสามพันกว่าบาท ครับยุคนั้น ก็ถือว่าแพง นะครับ ความฝันวัยเด็กใกล้จะเป็นจริง ได้รถมาแล้ว แต่ก็ยังมีเรื่องท�ำอีกเยอะครับ กว่าจะได้ปั่นตามวัน ที่นัดกัน ต้องเตรียมของและท�ำรถ หาหนังสืออ่าน พอให้รู้ ตั้งใจครับว่าฉบับหน้าจะเล่าต่อ เพียงแต่อยากจะทิ้งท้ายครับ ไม่ว่าท่านจะมี ฝันเหมือนผมหรือไม่มี ผมก็ยังอยากให้เรื่องที่ผมเล่า เป็นเรื่องจุดประกายไฟ หวังให้ท่านมาลองเที่ยวด้วย การปั่น มาปั่นจักรยานเที่ยวกันครับ ถึงแม้นท่านมีฝันเช่นกับผม แต่ออกตัววันนี้ยัง อมโรค ก็อย่าท้อ เชิญอ่านต่อผมจะเล่าเพิ่ม ผมปั่น เที่ยวกว่าสิบปี เจอคนรู้ตนว่าอมโรค แต่อดทนรักษา ตัวเองด้วยการปั่น ควบคู่กับกินยาที่หมอให้ โรคร้าย ที่รุมตัว มันดีขึ้นถึงบางอย่างมันหายขาด ครับผมขอ เอามาเล่าสู่ต่อครับ ว่าปั่นเที่ยวแบบผมอาจจะช่วย ลดโรค แถมโรคหลายอย่างหายขาดได้ ก็ ดู ตั ว อย่ า งท่ า นผู ้ เ ฒ่ า กลุ ่ ม ที่ ผ มคุ ้ น กลุ ่ ม “ไม้ ค�้ ำ ตะวั น ” ที่ผมเอาชื่อ กลุ่ม ท่านมาเลียนล้อ แผลงเป็นชื่อผม แต่ละท่านงี้ล้วนเริ่มจับจักรยาน หัดปั่นเที่ยวตอนเลยเพล เนื้อตัวงี้เหี่ยวกันทุกท่าน แถมบางท่านมากับโรค เจออีกที...ล้วนแข็งโป๊ก... แข็งที่ขา ผลพวงการปั่นเที่ยวติดต่อกันสองสามปี โรคหายหมด ชักดื้อหมอเลิกกินยา ■ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558) │ 31
เรื่อง @zangzaew
ปัญหาปวดหลัง..เมือ่ ปัน ่ จักรยาน อาการปวดหลัง ปวดแขน มือชา.. ที่มักจะเกิดกับนักปั่นจักรยานมือใหม่ทั้งหลายนั้น เป็นเพราะความที่ยัง ไม่ทราบถึงการเลือกจักรยานที่เหมาะสม และการเรียนรู้วิธีปฏิบัติให้ถูกต้อง เมื่อต้องการปั่นจักรยาน ออกก�ำลังกายหรือออกทริป 1
2
3
32 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
1. เลือกจักรยานให้เหมาะ ขนาดของจักรยานและส่วนสูงของร่างกาย ถือว่าเป็น สิ่งที่ส�ำคัญมากส�ำหรับการเลือกจักรยานคู่ใจสักคันหนึ่ง เงือ่ นไขนีร้ า้ นจ�ำหน่ายจักรยานทีเ่ อาใจใส่ลกู ค้า จะสามารถ เลือก “ขนาด” จักรยานที่เหมาะสมกับส่วนสูงของคุณได้ 2. ระยะหลักอานและแฮนด์ ส�ำหรับมือใหม่ขอแนะน�ำให้เลือกหรือปรับระดับ ของแฮนด์จักรยานให้อยู่ในต�ำแหน่งสูงไว้ก่อน เพื่อการนั่ง ปั่นจักรยานได้อย่างสบาย พร้อมทั้งปรับระดับหลักอานให้ สัมพันธ์กับความยาวของช่วงขา ด้วยการขึ้นนั่งบนเบาะ จักรยาน แล้วใช้ส้นเท้าเหยียบบันได โดยให้ช่วงขาและเข่า ยืดตึงพอดี และเมื่อเราเลื่อนปลายเท้ามาเหยียบบันไดใน ลักษณะเดียวกับการปั่นจักรยาน ช่วงของขาและหัวเข่าจะ งอเล็กน้อย 3. ท่าทางขณะปั่นจักรยาน จากการปรับตามข้อที่ 2 ให้สงั เกตช่วงขาขณะปัน่ โดย ขณะที่บันไดจักรยานอยู่ในต�ำแหน่ง 12 นาฬิกา ช่วงต้นขา และน่องควรท�ำมุมประมาณ 90 องศา และขณะที่บันไดลง ไปต�ำ่ สุดในต�ำแหน่ง 6 นาฬิกา ช่วงต้นขาและน่องควรท�ำมุม ประมาณ 20 - 30 องศา หากไม่เห็นเช่นนี้ แนะน�ำให้ปรับ ระดับความสูงต�่ำของหลักอาน
4. ก�ำมือพอเหมาะ และงอแขนเล็กน้อย ท่าทางปั่นที่ถูกต้องคือช่วงแขนจะต้องงอเล็กน้อย เพื่อคอยดูดซับแรงกระแทกจากผลกระทบของล้อหน้า โดยก�ำแฮนด์ให้พอดีไม่แน่นเกินไป และพร้อมที่จะย้ายนิ้ว ไปคว้าเบรคได้สะดวก 5. หลีกเลี่ยงแรงกระแทกไหล่ ไม่ควรปล่อยน�้ำหนักของตัวลงบนหัวไหล่ ซึ่งท�ำให้ หัวไหล่และหลังยุบตัวลง แต่ควรยืดหลังให้ตรงไปตามลักษณะ การก้มขณะปั่นจักรยาน และหัวไหล่อยู่ในแนวราบปกติ โดยให้ลักษณะการซับแรงกระแทกไปอยู่ที่ช่วงแขนแทน 6. อบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อ ก่อนออกปั่นจักรยานระยะทางไกลๆ จ�ำเป็นจะต้อง ออกก�ำลังเพื่อยืดกล้ามเนื้อส่วนหลัง และเป็นการอบอุ่น ร่างกายก่อนออกปั่นจักรยาน ด้วยการนอนหงายจากนั้น ยกไหล่และศรีษะขึ้น เพื่อออกก�ำลังกายกล้ามเนื้อส่วนหลัง และไหล่ ให้เลือดหมุนเวียนในส่วนนี้
4
5
6
7. ท่าออกก�ำลังกายรักษาหลัง ให้ทำ� ท่าต่อไปนีค้ า้ งไว้ครัง้ ละ 30 วินาที จ�ำนวน 3 ครัง้ โดยเว้นช่วงพักครั้งละ 1 นาที 7.1 คว�่ำหน้าลง ให้แขนและศอกพยุงตัวขึ้นโดยยืด หลังและช่วงขาให้ตรง 7.1
7.2
7.3
7.4
7.2 ยืดกล้ามเนื้อด้านข้าง ด้วยการ ตะแคงล�ำตัว ใช้แขนข้างหนึ่งวางศอกยันพื้น จากนั้นเกร็งล�ำตัวตรง 7.3 ยื ด กล้ า มเนื้ อ หลั ง นอนหงาย วางแขนเหยียดตรงข้างล�ำตัว ชันเข่า แล้วยก ตัวล�ำตัวขึ้น 7.4 คว�่ ำ หน้ า ในท่ า คลาน ชั น เข่ า และแขน จากนั้ น สลั บ แอ่ น ล� ำ ตั ว และ โก่งหลังขึ้น ■ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558) │ 33
Bike to work
เรื่อง schantalao ภาพ อัลบั้มส่วนตัวบน Facebook
BIKE TO WORK
สารสองล้อฉบับนีเ้ ราไปตามฉกตัวสาวเปรีย้ วคนนีม้ าจากเว็บพันทิปก็เพราะเธอออกตัวว่าปัน่ ไป ท�ำงานมาได้ระยะนึงแล้ว จุดสนใจอยู่ที่สีผมของเธอค่ะ (ใช่เหรอออ?) อ่อ ไม่สิคะ ประเด็นอยู่ที่เธอดู เป็นสาวเปรี้ยวที่ไม่น่าจะมาท�ำอะไรแบบนี้เลย คุณบ๊วย สุชาดา พนาปวุฒิกุล ปั่นมานานแค่ไหนแล้วคะ จุดเริ่มแรกที่คิดจะปั่นจักรยานคือ? บ๊วยปั่นจักรยานมา 1 ปีกว่าๆ (ซื้อจักรยาน คันแรก มีนาคม 2556) เริ่มต้นจากตอนแรกพักที่ ท�ำงาน เนื่องจากขี้เกียจขึ้นรถเมล์ไปท�ำงาน รถติด เสียเวลาเดินทาง ท�ำให้ยอมปูผา้ นอนกับพืน้ ในออฟฟิศ มันนัน่ แหละ เป็นอย่างนีม้ า 5 ปี อยูม่ าวันนึง มีโอกาส ได้นงั่ รถเมล์กลับไปเลือกตัง้ ผูว้ า่ กทม. วันนัน้ รถติดมาก ขณะที่นั่งเอาหัวโขกกระจกรถเมล์อย่างเบื่อหน่ายอยู่นั้น ก็เห็นผูช้ ายคนนึงปัน่ จักรยานเสือภูเขาด้วยชุดนักปัน่ ครบสูตร ปั่นลัดเลาะ ขึ้นฟุตบาท แซงรถเมล์ไป บ๊วย นี่เกาะกระจกมองตามด้วยความประทับใจเลยค่ะ จากบ้านไปออฟฟิศ ระยะทางประมาณ เท่าไหร่ แล้วมีอุปสรรคอะไรระหว่างทางมั้ย จากบ้านที่วงศ์สว่างไปออฟฟิศแถวลาดพร้าว ระยะทางราวๆ 11 กิโลค่ะ อุปสรรคคือ ต้องปั่นข้าม สะพานรัชวิภา ซึ่งเป็นสะพานใหญ่และมีทางแยกลง 34 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
ถึง 3 ทาง ตอนแรกๆ เลย ก็คิดว่า ต้องเลือกต�ำแหน่ง เลนที่ถูกต้องที่สุด ต้องไม่เกะกะรถใหญ่ จะมีจุดที่ ต้องเปลี่ยนเลนก็ใช้วิธีโบกขอทาง แต่โชคดีนิดหน่อย เพราะเวลาที่บ๊วยไปท�ำงาน เป็นช่วงรถติด รถเยอะ บนสะพานรถจึงวิ่งไม่เร็วนัก (เพิ่งจะรู้สึกดีที่รถติด ก็คราวนี้) แล้วตั้งแต่ปั่นไปท�ำงานนี่ มีใครพูดถึงเราแบบไหนบ้างคะ เริ่มจากแม่ค่ะ ตอนแรกแม่ไม่เห็นด้วยเลย บ่นตลอด ถามว่าเมื่อไหร่จะเบื่อ เลิกปั่นเถอะ แต่ บ๊วยก็เริ่มมีเพื่อน เริ่มออกทริปไปไกลขึ้นเรื่อยๆ มีอยู่ ทีนึงโทรหาแม่ แล้วถามแม่ว่า “ทายซิบ๊วยอยู่ไหน?” แม่ถาม อยู่ไหนอ่ะ บ๊วยก็ตอบว่า “ปั่นจักรยานมา อยุธยา” แม่ก็ “ห๊าาา!! ไปท�ำไม ไปยังไง ไหวหรอ” แต่สุดท้ายแม่ก็เริ่มเอาลูกสาวไปอวดคนข้างบ้าน ว่าลูกสาวปัน่ จักรยานไปไหนมาไหน ไปท�ำงาน ไปเทีย่ ว ไกลๆ ส่วนเพื่อนร่วมงานก็เริ่มสนใจจักรยานบ้าง เหมือนกัน เจ้านายก็หันมาปั่นจักรยานด้วยค่ะ แต่ ไม่ได้ออกทริป เน้นใช้เป็นพาหนะ แทนการใช้รถยนต์ ตั้งแต่ปั่นจักรยานมามีอะไรเปลี่ยนไปบ้างคะ บ๊วยผอมลงค่ะ น�้ำหนักลดไป 10 กิโล และก็ ไม่เคยป่วย ไม่เป็นไข้หวัดอีกเลย ซึ่งปกติบ๊วยจะป่วย
ปีละ 2 - 3 ครั้งนะ เรื่องประหยัดมั้ย…คงไม่ เพราะ แต่ก่อนไม่ไปไหน นอนอืดอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยม แต่ สิง่ ทีไ่ ด้มาคือ การเปิดโลกใหม่ ได้รจู้ กั เส้นทางใหม่ๆ ได้รจู้ กั ร้านอาหารอร่อยๆ ไกลแค่ไหนเราก็ปน่ั ไปกิน ^^ โดยที่น�้ำหนักก็ไม่เพิ่ม แล้วน้องบ๊วยอยากจะชักชวนหรือฝากอะไร ถึงคนที่ก�ำลังอ่านบ้างคะ สิง่ ทีอ่ ยากฝากคือ... บางคนอาจมองว่าจักรยาน คือแฟชั่น ออกทริปตามเพื่อน ต้องใส่ชุดปั่นครบเซ็ท แต่จริงๆ แล้วจักรยานสามารถเป็นส่วนนึงในชีวิต ประจ�ำวันของเราได้เป็นอย่างดี เพียงแค่เปิดใจ และ เริ่มออกปั่น (แต่ต้องไม่ลืมหมวกกันน๊อค ถุงมือ ไฟ ส่องสว่าง มีสติ เพื่อความปลอดภัยด้วยนะคะ ^^) ■
เรื่องเล่าชาวสองล้อ เรื่อง/ภาพ จารึก หลังสวน
ปั่นสองเดือน เที่ยวยูนนาน..หยวนหยาง ตอนที่ 4 ต่อ
ที่
ศูนย์นี้ มีออฟฟิศขายตัว๋ ผ่านประตู เข้าไปเดินหรือ นั่งชมวิวพระอาทิตย์ตก ตอนผมเห็นป้ายบอก อัตราค่าผ่านทาง เขาใช้ค�ำว่าค่าผ่านทาง ผมตกใจ เอ๊ะเราจะต้องเสียค่าผ่านทางด้วยหรือเปล่าล่ะนี่ ก�ำลัง เก้ ๆ กั ง ๆ พยายามจะอ่ า นพยายามจะแปล ทั้ ง พยายามจะพูดจาสอบถามกับเจ้าหน้าที่คนขายตั๋ว ซึง่ ก็เป็นผูห้ ญิงอีกนะแหล่ะ แต่แต่งเครือ่ งแบบท�ำนอง เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ที่นั่งในห้องกระจก ผมก้มลงพูด
36 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
กับเธอ จนเมือ่ ยมือ ยังไม่คอ่ ยจะเข้าใจ ก็ใจคนทีก่ งั วล จะต้องเสียตังค์ ช่วงทีก่ ำ� ลังมึน ก็มเี ด็กสาวทีย่ นื มองผมอยู่ คงจะ เห็นอาการก้มๆ เงยๆ พูดจาผ่านช่องกระจกของผม อยูน่ าน ก็อาสาคุยให้ซกั สามนาทีกห็ นั มาบอกผม หาก ปัน่ เฉยโดยไม่เดินลงไปดูนาข้าว เขาไม่เก็บตังค์นะคะ ผมก็มึน ผมปั่นมาหลายวัน ดูนาข้าวของเขา ทุกวัน หากเขารู้จะโดนปรับย้อนหลังไหมนี่
ผมรีบรับค�ำบอกเธอทันที ช่วยบอกเจ้าหน้าที่ หน่อย ผมแค่ปั่นผ่าน ไม่มีเจตนาจะไปดูนาข้าว ยัง นึกในใจเขาจะเอาผ้ามาผูกตาผมหรือเปล่า กะช่วง ของเส้นทางที่จะต้องปั่นต่อไป คิดไกลขนาดนัน้ ก็คนไม่มตี งั ค์ เห็นป้ายเขาบอก ราคาการเก็บตังค์ ทัง้ ก่อนปัน่ เทีย่ ว เพือ่ นฝูงล้วนบอก แหล่งท่องเที่ยวในจีน ล้วนเก็บตังค์ทั้งนั้น ก็นึกไปเอง เขาห้ามดูๆ นาข้าวฟรีๆ ตอนผมปั่นออกจากลานจอดรถ เดินทางต่อ ถึงได้เห็นแนวรั้วกั้นยาวเกือบกิโลเมตร ลองจอด จักรยานชะโงกหัวมองข้ามรัว้ เขาท�ำสะพานไม้ให้คน เดินดูววิ นาขัน้ กระได บางจุดท�ำเป็นทีน่ งั่ เป็นยกชัน้ สูง สองหรือสามชั้น เหมือนนั่งดูกีฬา ศูนย์ทอ่ งเทีย่ วดูนาขัน้ กระไดตรงนี้ เป็นจุดการ ชมวิวตอนพระอาทิตย์ตก ที่ว่ากันว่าสวยสุดครับ แต่ ส ่ ว นตั ว ผมนะครั บ โธ่ . ..ผมปั ่ น สามสี่ วั น เห็ น วิ ว นาขั้ น กระได จนออกจะเอี ย น ตื่ น เช้ า นั่ ง บริกรรมคาถาก็นั่งดูวิวแบบนี้ ตกเย็นอีกรอบ ก็นั่งดู อีกรอบ ไม่นับตอนหยุดพักเหนื่อยช่วงปั่น ดูจนเอียน เด็ ก สาวคนที่ ช ่ ว ยผมคุ ย และถามเจ้ า หน้ า ที่ รู้แล้วฉงนใจ ไหงโลกมันกลม เธอเคยมาเรียนหนังสือ ระดับปริญญาโททีส่ วนสุนนั ทา กรุงเทพฯ จบด้านการ ท่องเที่ยว กลับเมืองจีนไปได้งานท�ำที่ปักกิ่ง มาเที่ยว หยวนหยาง มากับครอบครัวและแฟนหนุ่มที่ยังไม่ได้ แต่งงานกัน เธอดีใจที่รู้ว่าผมก็มาจากกรุงเทพฯ ผมโล่งใจพอรู้ว่าไม่ใช่การเก็บเงินคนปั่นผ่าน บนเส้นทางปรกติ สายตาก็หาเรื่อง อยากเจ๊าะแจ๊ะ กะสาวๆ ประดาคนขายของที่ระลึก ที่มีซุ้มขายเรียง กันเป็นตับนับสิบซุ้มเลยครับ พอเดินไปยังกลุ่มของเธอ ที่ว่างงานไม่มีลูกค้า ต่างนัง่ รวมกลุม่ หยิบเครือ่ งปักสอย ท�ำหัตถกรรมงาน ฝีมือ ท�ำนองโฆษณาส่วนของสินค้าวางขายในร้าน ฝีมือท�ำมือพวกเธอท�ำกันเอง ผมลากเก้าอี้ที่วางว่างๆ มาตัวหนึ่ง หาที่นั่ง ใกล้กะกลุ่มสาวๆ สี่ห้าคน มีคนหนึ่งวางการงานที่ท�ำ
เดินเขาไปในร้าน หยิบประดาโพสการ์ดเดินมาชี้ชวน ผมดู ผมหยิบมาดูบอกเธอตรงๆ ไม่มีตังค์ซื้อละนะ แต่ขอเปิดดูได้ไหม เธอยิ้มหวานละไม พยักหน้ายินดี จากที่ผมไม่เคยรู้เรื่อง ไม่เคยอ่านหาข้อมูล ไม่รู้อะไรเลย ว่าท�ำไมไอ้ทุ่งนาข้าว แค่เขาท�ำเป็นขั้น กระได มันจะมีแรงจูงใจนักหนา ที่เขาจะท�ำได้ถึงขั้น เป็นแหล่งท่องเทียว คนมาเที่ยวกันมากมาย ได้เห็นรูปโพสการ์ดถึงจะเข้าใจ ทั้งตะลึงต่อ ความงามของรูป โอพระคุณเจ้าข้าแต่ละรูปช่างสวย งามจริงๆ ผมคนบุญน้อยไปเที่ยวทั้งที วาสนาไม่ถึง ดันไปเที่ยวตอนนาขั้นกระไดไม่สวย ผมออกปากถามสาวน้อยที่เอารูปโพสการ์ด ให้ผมดู ถามเธอว่าพอจะมีฟรีแม็พแผนที่เที่ยวแถวนี้ บ้างไหม หากมีขอฟรีลุงหน่อย เธอยิ้มใจดีอีกครั้ง เดินแกมวิ่งกลับร้าน ไปหยิบกระดาษมาหนึ่งแผ่น เป็นแผนที่ท่องเที่ยวแจกฟรี ครับ ผมผู้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ อาศัยปั่นมั่วซั่ว ก็ได้ แผนที่แผ่นนี้เป็นคู่มือปั่นเที่ยว จนได้ไปพักในต�ำบล โตยีสุ ที่จ�ำค�ำนี้ได้ตอนเด็กสาวอธิบาย ย�้ำว่าเป็น จุดท่องเทีย่ วทีน่ า่ พักน่าอยูท่ สี่ ดุ ของการเทีย่ วดูนาขัน้ กระไดในพื้นที่แถวนี้ ครับ ถึงพอนึกออก นึกถึงค�ำแนะน�ำจากหนุม่ น้อย ชาวจีนจากเมืองซีอานที่พบกันระหว่างทางเมื่อวาน และแนะน�ำผมไว้ก่อนแล้ว ไปดูนาขั้นกระไดของจริง ต้องไปทีโ่ ตยีสุ ทัง้ จองทีพ่ กั ให้ผม ส�ำหรับการพักคืนนี้ โจทย์ผม ขั้นต่อไป จะไปหาที่พักที่เจอได้ยังไง ที่พักที่หนุ่มจีนนักท่องเที่ยวด้วยมอเตอร์ไซค์ใจดี อุตส่าห์โทรจองให้ผม...ที่พักเยาวชน ■ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558) │ 37
สุขภาพนักปั่น
เรียบเรียงจากข้อมูลของ มูลนิธิหมอชาวบ้าน (Folk Doctor Foundation) www.doctor.or.th นักเขียนหมอชาวบ้าน พญ.สุนทรี ธิติวิเชียรเลิศ
ยาสเตียรอยด์กับสุขภาพตา
ย
ากลุม่ คอร์ตโิ คสเตียรอยด์หรือทีเ่ รียกสัน้ ๆ ว่ากลุม่ สเตียรอยด์ เป็นยาทีส่ งั เคราะห์ขนึ้ จากฮอร์โมน ชนิดหนึ่งในร่างกาย มีหลายประเภท เช่น เดกซ์ซา เมทาโซน เพร็ดนิโซโลน ฟลูออโรเมทาโลน เป็นต้น ยาออกฤทธิ์ลดการอักเสบและกดภูมิต้านทาน โดยมีผลต่อหลายระบบในร่างกาย จึงถูกน�ำมาใช้ รักษาอาการอักเสบในโรคต่างๆ อย่างแพร่หลาย ซึ่ง รูปแบบการบริหารยามีท้ังในรูปยากิน ยาฉีด ยาพ่น ยาหยอดและยาป้าย ในทางจักษุวิทยา นิยมใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ใน การรักษาการอักเสบในช่องหน้าลูกตา เยื่อบุตาหรือ กระจกตาอักเสบบางประเภท รวมทัง้ การอักเสบหลัง การผ่าตัด เป็นต้น ยากลุ่มนี้มีข้อดีที่ลดการอักเสบได้ในหลายโรค โดยเฉพาะการอักเสบหรืออาการภูมิแพ้ชนิดที่เป็น รุนแรง
38 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
อย่างไรก็ตาม การใช้ยาต่อเนือ่ งเป็นระยะเวลา นานอาจท�ำให้มีผลข้างเคียงได้หลายประการ “ดวงตา” กับผลข้างเคียงจากยาสเตียรอยด์ 1. ต้อหิน ยากลุม่ สเตียรอยด์โดยเฉพาะในรูปยาหยอด หากหยอดต่อเนือ่ งเป็นเวลานาน 2 สัปดาห์ขนึ้ ไป อาจ ท�ำให้มกี ารเปลีย่ นแปลงโครงสร้างของการระบายน�ำ้ หล่อเลี้ยงในลูกตา ท�ำให้ความดันลูกตาสูงขึ้นและ ท�ำลายขั้วประสาทตา เกิดต้อหินจากการใช้ยาได้ ระยะแรกมักไม่มีอาการแสดงใด ต่อมา เมื่อมีอาการมากขึ้นจะค่อยๆ สูญเสียลานสายตา ตาพร่ามัว จนระยะสุดท้ายเกิดตาบอดได้ การรั ก ษาในระยะแรก ควรรี บ หยุ ด ยา สเตียรอยด์ถา้ ไม่มขี อ้ บ่งชีใ้ นการใช้ยาแล้ว ภายหลังหยุด ยาความดันลูกตาอาจลดลงจนปกติได้ แต่ถ้าต้อหิน
เป็นระยะรุนแรงแล้ว แม้หยุดยา ความดันลูกตาอาจ ไม่ลดลง อาจพิจารณาให้ยาลดความดันลูกตา เพื่อ ชะลอการสูญเสียสายตา และตรวจติดตามการรักษา อย่างต่อเนื่อง 2. ต้อกระจก เกิดได้ทั้งในรูปยาหยอดและยากิน ยาจะ ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิซึมของเลนส์ตา ท�ำให้เลนส์ตาขุ่นขึ้นและเป็นต้อกระจกบางชนิดได้ ผู้ป่วยจะมีอาการตามัวโดยค่อยๆ มัวคล้าย หมอกฝ้าบัง และเมื่อเป็นแล้วการหยุดยาสเตียรอยด์ มักไม่ท�ำให้เลนส์ตากลับมาใสเป็นปกติได้ ถ้าต้อกระจกเป็นมากขึ้นจนมีผลต่อการ ด�ำเนินชีวติ ประจ�ำวัน อาจต้องพิจารณารักษาโดยการ ผ่าตัดต้อกระจก 3. การติดเชื้อของตา ยาออกฤทธิล์ ดการอักเสบ แต่ขณะเดียวกัน
ยาก็มีฤทธิ์ลดภูมิต้านทานของร่างกาย ท�ำให้เพิ่มโอกาส
เกิดการติดเชื้อบางอย่าง เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ของ ลูกตาได้ โดยเฉพาะการติดเชื้อกลุ่มไวรัสเริม เป็นต้น 4. ผิวหนังเปลือกตาบางตัวลง มักเป็นผลข้างเคียงเฉพาะที่ จากยาหยอด หรือยาป้ายตา ท�ำให้เกิดการเปลีย่ นแปลงของเนือ้ เยือ่ และเซลล์ เ ม็ ด สี ที่ บ ริ เ วณเปลื อ กตาท� ำ ให้ ผิ ว หนั ง บริเวณดังกล่าวบางตัวและสีดูจางลง
ใช้ยาสเตียรอยด์อย่างปลอดภัย ท�ำอย่างไร 1. เมื่อมีอาการผิดปกติทางตา เช่น อาการ ตาแดง คันเคืองตา ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจ วินจิ ฉัยว่ามีความจ�ำเป็นต้องใช้ยากลุม่ สเตียรอยด์กอ่ น ไม่ควรซื้อยาหยอดที่มีส่วนประกอบของสเตียรอยด์ มาใช้เอง โดยสามารถสังเกตได้จากฉลากที่เขียน ก�ำกับข้างขวดยา เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงจากยา ได้โดยไม่รู้ตัว 2. ผู้ป่วยที่มีความจ�ำเป็นต้องได้รับยาหยอด กลุ่มสเตียรอยด์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรมาตรวจ ติดตามพบจักษุแพทย์อย่างสม�ำ่ เสมอเพือ่ ปรับความถี่ ของยา ขนาดยา และระยะเวลาการใช้ยาทีเ่ หมาะสม 3. หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดตา ตามัว หรือหยอดยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบกลับ ไปพบแพทย์ก่อนนัด เพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจ เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่ายากลุ่มสเตียรอยด์ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธี ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตาของเราได้ จึงควรใช้ ภายใต้การดูแลของจักษุแพทย์เพือ่ หลีกเลีย่ งอันตราย ทีเ่ กิดจากการใช้ยาทีไ่ ม่เหมาะสมได้ เพือ่ การมีสขุ ภาพ ตาที่ดี ■ ขอบคุณภาพประกอบจาก Philsroadbiking
5. ผลข้างเคียงอื่นที่พบได้ เช่น หนังตาตก รูม่านตาขยายโตขึ้น มักพบในรูปยาหยอด สาเหตุไม่ทราบชัดเจน เชือ่ ว่ายาสเตียรอยด์ไปมีผลต่อเส้นประสาททีม่ าเลีย้ ง กล้ามเนื้อยกเปลือกตาและกล้ามเนื้อหดรูม่านตา ให้ท�ำงานลดลง จึงมีหนังตาตกและรูม่านตาขยาย โตขึ้นได้ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558) │ 39
Fitness Lifestyle 49 เรื่อง วชิรุฬ จันทรงาม
ฝัน…ที่เป็นจริง ของชาวจักรยาน Fitness Lifestyle 46 “การประสานฝัน ของเรา…ก�ำลังเป็นจริง” ซึง่ ลงตีพมิ พ์ในฉบับเดือน ใพฤศจินบทความ กายน 2557 ได้กล่าวถึงการที่ พลเอกประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้พดู ถึงเรือ่ งทีจ่ ะส่งเสริม ให้คนไทยใช้รถจักรยานในรายการ “คืนความสุขฯ” เมือ่ คืนวันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม 2557 และ 10 ตุลาคม 2557 ซึง่ มีความชัดเจนอย่างยิง่ จึงได้บนั ทึกลงไว้ในวารสาร สารสองล้อเป็นสาระส�ำคัญแล้วนัน้ ต่อมาเมือ่ คืนวันศุกร์ ที่ 2 มกราคม 2558 ทีผ่ า่ นมาในรายการ “คืนความสุข ให้คนในชาติ” พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเกี่ยวกับการใช้รถจักรยานอีกวาระ หนึง่ จึงเห็นสมควรบันทึกเพิม่ เติมไว้ ณ ทีน่ ี้ ความว่า.. “เมือ่ วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม (2557) ทีผ่ า่ นมา ผมได้ไปเปิดโครงการพัฒนาเส้นทางจักรยานในพืน้ ที่ เกาะรัตนโกสินทร์ ในการจัดท�ำช่องทางจักรยานและ ส่งเสริมการสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้จักรยาน แทนการใช้รถยนต์ในการสัญจรไปมา อ�ำนวยความ สะดวกและความปลอดภัยให้แก่ประชาชน ลดปัญหา การจราจร ปัญหามลพิษ และสภาพแวดล้อมในพืน้ ที่ เกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสวยงาม ของโบราณสถานทีส่ ำ� คัญของชาติ อาจจะท�ำให้เสือ่ ม โทรมก่อนเวลาอันควร รวมทัง้ สนับสนุนการท่องเทีย่ ว การออกก�ำลังกาย แล้วก็เป็นของขวัญปีใหม่ 2558 ให้กับประชาชนด้วย 40 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
วั น นั้ น ผมได้ ร ่ ว มปั ่ น จั ก รยานกั บ พี่ น ้ อ ง ประชาชน เพื่ อ ดู แ ลความเรี ย บร้ อ ยของเส้ น ทาง จักรยานตามโครงการดังกล่าว ได้ชื่นชมทัศนียภาพ เกาะรัตนโกสินทร์ของเรา เป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร ซึง่ เป็นระยะแรกของการด�ำเนินการปรับปรุงเส้นทาง จักรยาน จ�ำนวน 12 เส้นทาง และในระยะที่ 2 ก็จะ ด�ำเนินการปรับปรุงเพิ่มอีก 5 เส้นทางในปี 2558 นี้ ระยะทางรวมอีก 10 กิโลเมตร และในอนาคตก็มี แผนที่จะขยายเส้นทางจักรยานไปยังฝั่งธนบุรี รวม ถึงเส้นทางอื่นๆ ให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีเส้นทางจักรยานรวม 31 เส้นทาง ระยะทาง 232 กิโลเมตร ส� ำ หรั บ การด� ำ เนิ น การปรั บ ปรุ ง เส้ น ทาง จักรยานดังกล่าว เป็นการปรับปรุงด้านกายภาพ อาทิ ปรับผิวจราจรให้มีความเรียบ ปรับระดับราง รับน�้ำและฝาท่อระบายน�้ำ ปรับช่องทางเดินถนนให้ มีความเหมาะสม ปรับช่องทางจักรยานให้มีความ ชัดเจน เปลี่ยนตะแกรงฝาบ่อพักเป็นแนวขวาง รวม ทั้งตีเส้นจราจรช่องทางจักรยานเป็นเส้นคู่และทาสี พื้นผิวช่องจักรยานเป็นสีเขียว ติดตั้งสัญลักษณ์ทาง จักรยานและอุปกรณ์เพิ่มความปลอดภัย เป็นต้น ขอขอบคุณทางกรุงเทพมหานคร ทีเ่ ป็นแม่งาน หลัก อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการก็คงต้องค�ำนึง ถึงพ่อค้าแม่ค้า วินมอเตอร์ไซค์ การจราจร ผู้ใช้รถ
ใช้ถนน การจอดรถต่างๆ เหล่านี้ มีความจ�ำเป็นใน การใช้พื้นที่ร่วมกัน ก็เผื่อแผ่แบ่งปันกันในเรื่องของ การใช้ถนนให้เหมาะสมด้วย อย่าทะเลาะเบาะแว้งกัน รวมถึงการจอดรถในเส้นทางจักรยาน อันนีต้ อ้ งค�ำนึง ถึงความมีวินัย ความปลอดภัย ความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของคนในชาติด้วย เราต้องแสดงออกให้ เห็นว่า เราพึง่ พาอาศัยกันและกันอยูร่ ว่ มกันได้ เข้าถึง ทรัพยากรได้อย่างไม่มคี วามเหลือ่ มล�ำ้ แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะมีความขัดแย้งอยู่บ้าง เรามีวัฒนธรรมที่เกื้อ หนุนกันอยู่แล้ว ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ส� ำ หรั บการปรั บ ภู มิ ทั ศ น์ แ ละขยายเส้ น ทาง จักรยานของกรุงเทพมหานคร อาจต้องกระทบกับ คนบางกลุม่ แต่กจ็ ะให้ประโยชน์กลับมาต่อคนหมูม่ าก ซึ่งต้องอาศัยการปรับตัวเข้าหากัน เช่น พ่อค้าหาบเร่ แผงลอย อาจปรับเปลี่ยนวิธีการ หรือขายสินค้า ส�ำหรับบริการให้กับนักปั่น นักท่องเที่ยว ที่จะมีมาก ขึ้นในอนาคต และผมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะน�ำ มาสู่การพัฒนาในแนวทางที่ดีขึ้น ส�ำหรับทุกๆ ฝ่าย หากเราช่วยกันบางครั้งก็จ�ำเป็นต้องเสียสละประโยชน์ ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมบ้าง เส้นทางจักรยานเหล่านี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ที่ยังมีข้อจ�ำกัดอีกหลายอย่างประการ อาจจะยังไม่ สามารถใช้ได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็เป็นการริเริ่ม ที่ดี เพื่อให้น�ำไปสู่การพัฒนาที่สมบูรณ์ อันจะช่วยยก
ระดับความสุขในการเดินทาง การปรับวิถีชีวิตให้กับ คนกรุง ประชาชนในเขตเมือง นอกจากนั้น ผมอยาก ให้เส้นทางจักรยานนี้น�ำไปสู่การสร้างโอกาสและ รายได้ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นการค้าขาย สินค้าให้แก่ผขู้ บั ขีจ่ กั รยาน น�ำเสนอผลิตภัณฑ์ในท้องถิน่ ณ จุดแวะพัก ซึง่ สิง่ เหล่านีส้ ามารถพัฒนาต่อยอดเป็น เส้นทางการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เพื่อจะดึงดูดนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติต่อไปได้ ทัง้ นี้ ไม่วา่ จะเป็นการปรับปรุงเส้นทางจักรยาน หรือการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ในชุมชน สิง่ เหล่านีจ้ ะช่วยส่งเสริมการท่องเทีย่ วไปได้อกี ทางหนึง่ เน้นย�้ำในเรื่องของความปลอดภัย เรื่องความสะอาด ด้วย ความสวยงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูกาลที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ จะเข้ามาเที่ยวในประเทศไทยเป็นจ�ำนวนมาก ถือว่า เป็นสิ่งดีจะมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของเรา ทุกคน ก็ต้องช่วยกันดูแลในทุกๆ มิติ ในด้านของความสงบ เรียบร้อย ความเป็นระเบียบแล้วก็ความเป็นเจ้าของ บ้านทีด่ ี แล้วก็ชว่ ยกันส่งเสริมให้นกั ท่องเทีย่ วเหล่านัน้ ได้เรียนรูว้ ฒ ั นธรรมไทยทีด่ งี าม ได้เข้ามาสัมผัสชีวติ วิถี ไทยที่เป็นเอกลักษณ์อย่างน่าชื่นชมด้วยนะครับ” ก็เป็นที่ประจักษ์แล้วนะครับว่า รัฐบาลนี้ สนับสนุนการใช้จักรยานอย่างเป็นรูปธรรม ฝันของเราชาวจักรยาน…เป็นจริงแล้วครับ! ■ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558) │ 41
เชิงช่างหนึ่ง เรื่อง ช่างหนึ่ง
crack
ตอนจบ
ต่
อภาค 2 ในฉบับที่แล้ว crack ได้กล่าวถึงเรื่อง ล้อที่มีรอยแตก สาเหตุที่ท�ำให้ขอบล้อแตกมันมี ไม่กี่เรื่อง วงล้อ 1 วง จะเซ็นเตอร์ล้อตรงได้ เกิดขึ้น จากการ set up ซี่ลวดทุกเส้น ให้มีความตึงเท่าๆ กัน ถ้ามีเส้นใดเส้นหนึ่งรับแรงมากเกินไป ก็จะท�ำให้ เกิดแรงดึงไปที่จุดๆ นั้น ท�ำให้รับภาระหนักขึ้น นี่คือ สาเหตุทำ� ให้เกิดความเสียหายของขอบล้อและดุมล้อ ผมเคยเห็นขอบล้อระเบิด บริเวณที่ขอบล้อ ระเบิดได้นนั้ ส่วนใหญ่ทผี่ มพบ จะเป็นบริเวณตรงกลาง ของขอบล้อบริเวณที่เราบีบเบรค เกิดขึ้นได้อย่างไร? บริเวณขอบล้อตรงจุดกลางของการใช้ขอบล้อ นั้น การใช้งานจะมีการเสียดสี ทุกๆ ครั้งที่เกิดจาก การเบรค มีแรงบ้างเบาบ้าง ตามความเร็วของรถ และแรงที่เกิดจากการบีบเบรค และถ้ามีสภาพฝุ่น หรือเศษสิ่งสกปรกเข้ามาฝังในตัวผ้าเบรค ก็จะเป็น ตัวกัดกินเนื้อของขอบล้อนั้นไปเรื่อยๆ ดังนัน้ ความหนาของขอบล้อบริเวณนัน้ ก็จะถูก ปาดออกไปเรื่อยๆ จนขอบล้อบางลง เมื่อขอบล้อรับ แรงดันที่มาจากยางไม่ได้ หรือรับแรงจากความร้อน ที่สะสมจากการเบรคไม่ได้ ขอบล้อจึงเกิดการปริ
42 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
แต่ขอบล้อยังอยู่ในรถที่ปั่นอยู่ แรงดันยางจะดัน ขอบล้อให้ปริออกมา มันจึงระเบิดออกมาไม่วา่ จะเป็น อลูมิเนียมหรือขอบคาร์บอน ขอบคาร์บอนคงหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ แม้ว่า ขอบคาร์บอนแข็งก็จริง แต่ถ้าสูญเสียความแข็งแรง ไปแล้ว ก็กระจายเป็นชิ้นๆ เหมือนกัน มาดูส่วนต่อไป...โซ่ ตามประสบการณ์ที่ผ่านมา โซ่ที่ขาดกระเด็น ที่พบเจอ คือโซ่ที่สูญเสียความแข็งแรงไปแล้วคือโซ่ ที่มีสนิมกัดกร่อนอยู่ในเนื้อของโลหะ เมื่อเวลาใช้ งานมีแต่แผ่นประกบเปิดอ้าออกมา หรือบางกรณี.. แผ่นประกบหักกระเด็นออกมาเลย ดังนั้นการดูแลโซ่ พยายามอย่าให้โซ่เกิดสนิม
ฝังเข้าไปในเนื้อของโซ่ มิฉะนั้นเวลาท่านปั่นก็ต้อง ลุ้นเอาล่ะครับว่า ส่วนไหนมันจะระเบิดออกมา จาก ประสบการณ์ผมเองนะครับเคยเอาจักรยานไปปั่น ชายหาด กลับมาก็จอดทิ้งไว้ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ไอทะเล ความเค็มเกาะจักรยานผม แล้วกัดชิ้นส่วน ทุกชิ้นรวมถึงโซ่ด้วย โซ่สนิมขึ้นทั้งเส้น แถมเวลาปั่นโซ่หงิก คงเคย เจอนะครับโซ่หงิก คืออาการที่เวลาปั่นแล้วการขยับ ตัวของโซ่จะไม่ขยับ มันจะกระตุกๆ โดดๆ เวลาปั่น อาการนี้ ถ ้ า เกิ ด ขึ้ น มี ส องอย่ า งแก้ ไ ด้ แ ละแก้ ไ ม่ ไ ด้ ถ้าแก้ไม่ได้เปลี่ยนโซ่ไปเลยปลอดภัยที่สุด เพราะ อย่างไร โซ่ที่โดนไอเค็มแล้วไม่สามารถฟื้นคืนชีพได้ เพียงแต่รอเวลาแตกหักคาฝีเท้าเรา มาดูสงิ่ ทีม่ ค ี วามเสีย่ งอีกอย่างคือ..สายเบรค สายเบรคเป็นสิ่งที่เราต้องใส่ใจ ผมจะเปลี่ยน ทุ ก ๆ ปี หรื อ ขึ้ น อยู ่ กั บ การดู แ ลรั ก ษาสายเบรค สายเบรคที่เคยพบบริเวณส่วนโค้ง จุดต่างๆ จุดที่ พบบ่อยที่สุดคือจุดยึดกับก้ามเบรค ถ้าเรามีการปรับ เบรคบ่อยๆ บริเวณจุดยึดมีรอยยุบตัวที่เกิดจากการ บีบรัดตัวล็อคสาย ดังนั้นจุดส�ำคัญที่สุด จุดนี้สายจะอ่อนแอที่สุด เนื่องจากสายจะบานออกและแบน ความแข็งแรง จะสูญเสียไปเยอะ ถ้าเกิดล็อคสายไปครั้งหนึ่งแล้ว ปรับเลื่อนขึ้นหรือลงไปไม่ว่าจะเป็น 1 - 2 มิลลิเมตร
จุดอ่อนตรงนั้นต้องตรวจเช็คให้แน่ใจว่ายังมีความ แข็งแรงอยู่ การสังเกต เวลาเบรคถ้าจุดนั้นมีการขยับตัว หรือเบรคแล้วสายล็อคไม่อยู่ เปลี่ยนเลยนะครับ อีกจุดเราไม่สามารถมองเห็นได้แต่เราตรวจสอบได้ คือ ภายในสายที่ซ่อนอยู่ในปลอกเบรค ลองรื้อออกมาดู ถ้ามีสนิมเกาะบริเวณสายเบรค ให้เปลีย่ นเลยนะครับ เพราะเวลาเราเบรค สายจะเปราะและขาดสบั้นออก โดยไม่บอกไม่กล่าว และอะไรจะเกิดขึน้ ล่ะครับงานนี้ อุบัติเหตุแน่นอน
สายเบรคมี ค วามเหนี ย ว แต่ ถ ้ า เปราะแล้ ว มันจะขาดออกทันที ซึ่งไม่อยากให้เกิดขึ้นเวลาเรา ใช้จักรยาน ผมเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่อันดับหนึ่งเลย นะครับ ก็เล่ามาเยอะแล้ว ฉบับนี้ผมก็ขอลาไปก่อนพบ กันฉบับหน้านะครับ บ๊าย..บายยยย ■ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558) │ 43
App Update
เรื่อง @zangzaew
Cyclemeter GPS
ห่
างหายการแนะน�ำ app ส�ำหรับผู้ใช้จักรยานไป พอสมควร มาฉบับนีข้ อน�ำ app แบบตัวเดียวเอา อยูส่ ำ� หรับผูส้ นใจออกก�ำลังกายด้วยจักรยานมาแนะน�ำ โดย app ตัวนี้ชื่อว่า Cyclemeter GPS หรือมีชื่อ เต็มๆ ว่า Cyclemeter GPS - Cycling Running and Mountain Biking Ride Tracking เป็นผลงานของบริษัท แอปวีโอ อิงค์ (Abvio Inc.) เป็น app ที่ครบเครื่องส�ำหรับผู้ใช้จักรยาน แถมยังสามารถเชื่อมโยงไปยัง app ดังๆ ตัวอื่นๆ ได้ เช่น สามารถอัพโหลดข้อมูลโดยอัตโนมัตไิ ปยัง Strava เป็นต้น การใช้งานนั้นสามารถโหลดจาก App Store ได้ฟรี และใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องลงทะเบียน โดย หลังจากใส่ขอ้ มูลน�ำ้ หนัก อายุ หน่วยวัดระยะทาง ก็จะ สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ทันที โดย app จะท�ำงาน บน iOS 7 เป็นต้นไป ใช้งานได้บน iPhone, iPad และ iPod touch
44 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
ระบบจะจับพิกัด GPS และแสดงข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเร็ว ระยะทาง และอื่นๆ โดยมี การรวบรวมสถิติของกิจกรรมแต่ละครั้งเอาไว้อย่าง ละเอียด บันทึกในประวัติการใช้งานซึ่งสามารถเรียก ดูได้ทุกเมื่อ และจุดเด่นคือเป็น app ที่มีระบบเชื่อม โยงข้อมูลกับ iCloud โดยตรง แม้ว่าจะสามารถโหลดมาใช้ได้ฟรี แต่ภายใน app มีระบบช�ำระเงินเป็นสมาชิกในอัตรา 4.99 USD ต่อปี ซึ่งภายในระบบสมาชิกนี้ ได้เพิ่มเติมคุณสมบัติ มากมายอย่างน่าทึ่งมาให้ใช้กันไม่หมดเลยทีเดียว อาทิ เชื่อมโยงข้อมูลกับอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ เช่น ฮาร์ทเรต วัดรอบขา หรือการบันทึกข้อมูลสภาพ อากาศ การเปิดปิดระบบจากชุดหูฟัง ก�ำหนดตาราง ฝึกล่วงหน้า ส่งออกข้อมูลเป็นไฟล์ชนิดต่างๆ ได้เช่น CSV, GPX, TCX, FIT หรือ KML เป็นต้น ทดลองดาวน์โหลดมาใช้งานได้ที่ App Store โดยค้นหาค�ำว่า Cyclemeter GPS ■
áÃç¤ËÅѧ¤Ò áÃ礨ѡÃÂÒ¹
ชวนปั่นเที่ยว
บางขุนเทียนชายทะเล
แวะชมศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น�้ำ สมุทรสาคร ซึ่งเป็นอควาเรียม แห่งใหม่ใกล้กรุงเทพฯ
อาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 06.30 น. พบกันทีโ่ ลตัสพระรามสาม โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989
Tel : 02 589 2614 , 02 591 5220-2
การแข่งขันจักรยานเสือหมอบ เสือภูเขา ใจเกินร้อย นครนายก ครั้งที่ 1 วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2558
ณ เขื่อนขุนด่านปราการชล อ�ำเภอเมือง นครนายก จังหวัดนครนายก สอบถามรายละเอียดได้ที่ : ส�ำนักงานการ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครนายก โทรศัพท์/โทรสาร : 037-313283 Bike for kids with love on Valentine’s Day
พิเศษ! บัตรสมาชิกสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย ใช้สิทธิส่วนลดได้ที่ PRO BIKE ส่วนลด 15% โทร. 02-254-1077 WORLD BIKE ส่วนลด 20% โทร. 02-944-4848 THONGLOR BIKE ส่วนลด 10% ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ยกเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ โทร. 02-712-5425 ZIP COFFEE (หมู่บ้านสัมมากร) ส่วนลดกาแฟ 10 บาท ส�ำหรับผู้ถือบัตรฯ และลด 20 บาท ส�ำหรับผู้สวมเสื้อจักรยาน TCHA ลายธงชาติ Steve Café & Cuisine ส่วนลด 10% ส�ำหรับค่าอาหาร โทร. 081-904-8444
จองด่วน!
เชิญนักปั่นจักรยานทางไกล ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการจักรยานการกุศล Bike for kids with love on Valentine’s Day
วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2558 ค่าลงทะเบียน 400 บาท ทุกจุด start สมัครได้ที่ www.thaicycling.com/tcha/ cycling-trip-camillian-rayong/
โฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเหล่านักปั่นมากที่สุด!
เปิดพื้นที่โฆษณาย่อยเป็นพิเศษ ส�ำหรับร้านค้าย่อยที่จ�ำหน่าย จักรยาน บริการซ่อมบ�ำรุง จ�ำหน่ายอะไหล่ รับประกอบจักรยาน เสื้อผ้า ร้านอาหารสินค้ามือสอง ของส่วนตัว บริการท่องเที่ยว หรืออื่นๆ เชิญจับจองด่วน พื้นที่ขนาด 3 คูณ 6 เซนติเมตร ราคาพิเศษในโอกาส เปิดพื้นที่ใหม่เพียง 1,000 บาทต่อครั้งต่อเล่มเท่านั้น ติดต่อด่วน โทร. 02-678-5470 หรือทางเวบไซต์ที่ http://bit.ly/TCHAminiAD
6 ซม. 3 ซม. โฆษณาตรงเป้าหมายและยังได้ร่วมสนับสนุนสมาคมฯ อีกด้วย! สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558) │ 45
บริจาคจักรยาน
โครงการต่ อ เนื่ อ งที่ ส มาคม จักรยานเพือ่ สุขภาพไทย TCHA จัดขึน้ เพื่อน�ำจักรยานเก่ามาบูรณะใหม่ และ น�ำไปมอบให้กับน้องๆ เยาวชนตาม ที่ ห ่ า งไกล เพื่ อ ใช้ ใ นการเดิ น ทาง สั ญ จรไปโรงเรี ย น หรื อ ส� ำ หรั บ ภารกิจอื่น ๆ ตลอดจนออกก� ำ ลั ง กายในครอบครัวได้ โดยไม่ตอ้ งพึง่ พา พลังงานสิ้นเปลืองด้านอื่น ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมบริจาค จั ก รยานที่ ไ ม่ ใ ช้ แ ล้ ว และยั ง อยู ่ ใ น สภาพที่ ส ามารถซ่ อ มแซมขึ้ น มา ใหม่ ไ ด้ โดยสมาคมฯ มี กิ จ กรรม นั ด ซ่ อ มจั ก รยานเพื่ อ น้ อ ง จาก บรรดาอาสาสมัครมาช่วยกันซ่อม บ�ำรุงให้จกั รยานทีไ่ ด้รบั บริจาคเหล่านี้ ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ สามารถน�ำไป ใช้งานได้อย่างเช่นปกติดังเดิม โดยมี โครงการน�ำจักรยานเหล่านีไ้ ปส่งมอบ ให้ กั บ เยาวชน ณ โรงเรี ย นต่ า งๆ ทั่วประเทศ
ขอบคุณผู้บริจาค
บริษัท อ๊อคต้าฟูดส์ จ�ำกัด โดย คุณพงศ์ ตู้ธนาธรณ์ บริจาคจักรยาน 2 คัน ถนนนราธิวาส
ติดตอสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย รถไฟฟา BTS หรือประสงครวมโครงการรีไซเคิลจักรยานไดที่ ศาลาแดง รถไฟฟา BTS สำนักงาน สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ชองนนทรี ถนนสาทร 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร 22 รถไฟฟา BTS BRT ชองนนทรี (สาธุประดิษฐ 15 แยก 14) สุรศักดิ์ ถนนนราธิวาสราชนครินทร แขวงชองนนทรี แมคโคร BRT เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 ถนนจันทน รร.เซนยอเซฟฯ โทรสาร 02-678-8589 ซอย 15 นราธิวาสฯ 22 ที่ทำการสมาคมฯ BRT ถนนจันทน เว็บไซต www.thaicycling.com (นราธิวาส ซอย 22) ถนนสีลม
ฯ
ุประดิษฐ
ถนนสาธ
สาธุประดิษฐ 15 แยก 14 ทางลงสาธุประดิษฐ
46 │ สารสองล้อ 284 (กุมภาพันธ์ 2558)
น
ทางดว
โลตัสพระราม 3
ถนนพระราม 3
Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล tchathaicycling@gmail.com
ÊÔ¹¤ŒÒÊÁÒ¤Á¨Ñ¡ÃÂÒ¹à¾×èÍÊØ¢ÀÒ¾ä·Â
เปนสินคาที่จำเปนสำหรับผูใชจักรยาน จัดจำหนายในราคามิตรภาพ ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี สามารถเลือกซื้อไดที่ สมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร 22 ถนนนราธิวาสราชนครินทร แขวงชองนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 หรือสั่งซื้อทางไปรษณีย ดวยการโอนเงินเขาบัญชีของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ประเภทบัญชีออมทรัพย ธนาคารกสิกรไทย สาขาโลตั ส พระราม 3 เลขที ่ 860-2-14222-2 แล ว กรุ ณ าแฟกซ ส ำเนาใบโอนไปที ่ โทรสาร 02-678-8589 หรื อ ส ง ทาง email: tchathaicycling@gmail.com
02
01
05 03
04
06 09
08
10
07 01 หมวกคลุมหนา 02 แถบเสื้อ 03 เสื้อจักรยาน 04 เสื้อจักรยาน 05 กางเกงขาสั้น SDL (สีฟาและสีเขียว) สะทอนแสง TCHA แขนสั้น TCHA แขนยาว รุนมาตรฐาน ใบละ 130 บาท สินคาหมดชั่วคราว ตัวละ 750 บาท ตัวละ 950 บาท ตัวละ 950 บาท 06 กางเกงขายาว 07 ถุงแขน 08 กางเกง 09 กางเกง 10 พวงกุญแจ SDL รุนมาตรฐาน สีดำ ขาสั้น รุนใหม ขายาว รุนใหม โปรดระวังจักรยาน ตัวละ 1,100 บาท คูละ 120 บาท ตัวละ 450 บาท ตัวละ 690 บาท ชิ้นละ 30 บาท