สารสองล้อ พฤษภาคม 2558

Page 1


จักรยานล้านไอเดีย

ศิลปะการออกแบบจักรยาน โ

จากยานยนต์

ครงสร้างของจักรยานที่มีจ�ำนวนน้อยชิ้น เรียบง่าย ตัวเฟรมถูกสร้างขึ้นจากโลหะชิ้นเดียว ขึ้นรูปทั้งคัน ท�ำให้มีรูปร่างที่ดูปราดเปรียว เบาะนั่งเป็นหนังสีด�ำตัดเย็บด้วยมืออย่างปราณีต เย็บด้วยเส้นด้ายสีแดง เช่นเดียวกับรถยนต์สปอร์ตมาสด้า MX-5 นีค่ อื ผลงานการออกแบบจักรยานภายใต้แนวคิดการออกแบบ “โคโดะ ดีไซน์” ซึง่ หมายถึง จิตวิญญาณแห่งการเคลื่อนไหว ในการน�ำศิลปะและเส้นสายแห่งการเคลื่อนไหวอันรวดเร็ว เช่น ท่วงท่าของการเคลื่อนไหวอันสง่างามของเสือซีต้า ที่ปราดเปรียวแข็งแรงและทรงพลัง มาสู่การออกแบบรูปทรงอันสวยงามเปี่ยมพลัง นักออกแบบได้น�ำแนวคิดแบบโคโดะมาออกแบบจักรยานแข่งประเภทลู่ ซึ่งเป็นจักรยาน เกียร์เดี่ยว ไร้เบรค เน้นไปที่ความปราดเปรียว แข็งแรง และสิ่งส�ำคัญคือ.. รวดเร็ว!! จักรยานงานศิลป์ชนิ้ นีถ้ กู น�ำมาจัดแสดงเคียงคูก่ บั รถยนต์มาสด้าภายในงาน มาสด้า ดีไซน์: เดอะคาร์ แอส อาร์ต (Mazda Design: The Car as Art) ซึ่งถูกจัดขึ้นที่เมืองมิลานประเทศ อิตาลีเดือนที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่จักรยานเท่านั้นที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยแนวคิดแบบคุโดะ แต่ยังมีโซฟาและ ที่แช่ไวน์ซึ่งถูกสร้างสรรค์โดยศิลปินชาวญี่ปุ่น ภายใต้แนวคิดเดียวกันมาจัดแสดงเคียงข้าง ยานยนต์ของตนอีกด้วย ■

2 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)


สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 3


จักรยานล้านไอเดีย

จักรยานไตรกีฬาแห่งอนาคต

F

renchBuilt 22 Triathlon คือจักรยานที่เป็นงานออกแบบส� ำ หรั บ ไตรกี ฬ า เกิ ด จาก แนวคิ ด ของศิ ล ปิ น ชาวฝรั่ ง เศส ผู ้ ซึ่ ง เป็ น นั ก ออกแบบยานยนต์ ต่างๆ รวมถึงจักรยาน เขามีชื่อ ว่า Benjamin Goudout โดย จั ก รยานไตรกี ฬ าต้ น แบบคั น นี้ เฟรมถูกสร้างขึน้ ด้วยวัสดุคาร์บอน น�้ำหนักเบา เสริมความแข็งแกร่ง

4 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)

ภายในของโครงสร้างด้วยไทเทเนียม ตั้ ง แต่ ตั ว เฟรมตลอดจนถึ ง หลั ก อานและฐานเบาะนั่ง ท�ำให้เกิดความแข็งแรงและ ในขณะเดียวกันยังมีน�้ำหนักเบา ลูล่ ม สนับสนุนการแข่งขันความเร็ว จักรยานในลักษณะของไตรกีฬาได้ เป็นอย่างดี โดยชุดเบรค ชุดเกียร์ และตีนผีถกู ออกแบบให้อยูภ่ ายใน ตัวเฟรมอย่างเข้ารูป ใช้ระบบเกียร์

ไฟฟ้าอิเลคทรอนิคส์ควบคุม พร้อม ระบบเบรคไฮดรอลิกแบบ ABS จั ก รยานต้ น แบบคั น นี้ ถู ก สร้ า งสรรค์ ขึ้ น มาเพื่ อ น� ำ ไปจั ด แสดงในงาน RCD Small Dots ในฝรั่งเศสโดยเฉพาะ ■

ทีม่ า www.benjamingoudout.com



สารสองล้อ ได้รบั การสนับสนุนโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สารสองล้อ ฉบับที่ 287/พฤษภาคม 2558 ISSN 1513-6051

2 จักรยานบ�ำบัด 7 แวดวงสองล้อ 12 ปฎิทินทริป 14 ทริปและกิจกรรม 16 ประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 18 เด็กชายฮูก….เด็กหญิงเค้าแมว 20 มือใหม่ฝึกใช้รองเท้าปั่นจักรยาน 22 เรื่องจากปก 26 เข่าเสื่อม 30 สุขภาพดีไม่มีขาย (4) 34 ปั่นจักรยานมีแต่ได้กับได้ 36 แนะน�ำร้านจักรยาน 37 Fitness Lifestyle 52 40 App Update 42 เชิงช่างหนึ่ง 46 บริจาคจักรยาน 47 สินค้าสมาคมฯ

บทบรรณาธิการ

ในใจแล้ว.. มีความรู้สึกยินดี ที่ทราบข่าวเกี่ยวกับนโยบาย สนับสนุน “การใช้จักรยาน” ซึ่งรัฐบาลและผู้บริหารประเทศใน ระดับต่างๆ ได้ให้ความส�ำคัญ ตลอดจนการจัดสรรงบประมาณมา ด�ำเนินการในแนวทางต่างๆ ทีม่ คี วามโดดเด่นเห็นได้ชดั เป็นอย่างมาก นัน่ คือแผนงานเกีย่ วกับการปรับปรุงและสร้างเส้นทางส�ำหรับการ ใช้จกั รยานมากมาย ทัง้ ในเขตกรุงเทพมหานครและในจังหวัดต่างๆ อย่างไรก็ตาม สิง่ ทีป่ รารถนาคือการได้เห็นความตัง้ ใจจริง ท�ำจริง และน�ำข้อมูลจากผูใ้ ช้จกั รยานจริงๆ มาเป็นส่วนหนึง่ ของการวางแผน เพราะเชื่อได้อย่างเต็มร้อยว่า หากผู้พัฒนาหรือออกแบบทาง จักรยาน ไม่ใช่คนทีใ่ ช้จกั รยานอยูเ่ ป็นทุนเดิมแล้ว มักจะไม่ทำ� ให้เกิด ทางจักรยานที่สามารถตอบโจทย์การใช้จักรยานได้อย่างแท้จริง แทบทุกครั้งไป อีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ไม่แพ้กัน คือการสร้างความรู้ และความเข้าใจ ในการใช้เส้นทางสาธารณะร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ผู้ใช้จักรยาน คนเดินเท้า หรือผู้ใช้ยานยนต์ ตลอดจนพ่อค้าแม่ค้า ผู้อาศัยทางเท้าหรือทางสาธารณะเป็นแหล่งค้าขาย ท�ำอย่างไรสังคมของเราจึงจะมีความเข้าใจในประเด็นที่ส�ำคัญนี้ จนก่อเกิดเป็นสามัญส�ำนึกที่ถูกต้องเหมาะสม และท้ายที่สุดจะ เป็นการใช้ทางสาธารณะร่วมกันอย่างปลอดภัย อย่างมีความสุข.. ไม่ต้องไปขวนขวายหาวิธีอื่นไกล.. มาเริ่มต้นกันที่ “ตัวเรา” เองก่อน นี่คือสิ่งที่ควรท�ำที่สุด ขอให้ใช้จักรยานกันอย่างมีความสุขครับ บรรณาธิการสารสองล้อ วัตถุประสงค์ของสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย 1. ส่งเสริมการใช้จักรยานในทุกกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ อาทิเช่น เพื่อสุขภาพและพลานามัย การคมนาคม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และนันทนาการ 2. ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาจราจรด้วยการใช้จักรยานทั่วประเทศ 3. เป็นองค์กรประสานงานระหว่างผู้ใช้จักรยานทั่วประเทศและในระดับสากล 4. อนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม 5. ร่วมกันท�ำกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ และสันติภาพของมวลมนุษยชาติ 6. เป็นศูนย์กลางในการสือ่ สาร ส่งเสริมความสัมพันธ์อนั ดี ยกย่อง ให้กำ� ลังใจ และให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลกันในหมู่สมาชิก ที่ประกอบคุณงามความดี ช่วยเหลือสังคมและส่วนรวม 7. ไม่ด�ำเนินกิจกรรมทางการเมือง เจ้าของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา มงคล วิจะระณะ บรรณาธิการ วรวุฒิ วรวิทยานนท์ กองบรรณาธิการ สุปรียา จันทะเหลา บัญชี วิภาดา กิรานุชติ พงษ์ ฝ่ายทะเบียน ปิยนุช เสวตวิวัฒน ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ฐนวัฒน์ กลิ่นน้อย พิมพ์ที่ บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จ�ำกัด โทร. 02-214-4660, 02-214-4370 โทรสาร 02-612-4509 ส�ำนักงาน สมาคมจักรยาน เพือ่ สุขภาพไทย 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 22 (สาธุประดิษฐ์ 15 แยก 14) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 โทรสาร 02-678-8589 เวบไซต์ www.thaicycling.com Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล์ tchathaicycling@gmail.com สนใจสมัครสมาชิกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย เพื่อสิทธิพิเศษในการร่วมกิจกรรมและ รับสารสองล้อฟรี สมาชิกรายปี 200 บาท ( ต�่ำกว่า 15 ปี 80 บาท ) สมาชิกตลอดชีพ 2,000 บาท ติดต่อได้ที่ โทร. 02-678-5470 โทรสาร 02-678-8589 หรือสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.thaicycling.com/member อีเมล tchamember@gmail.com

6 │ สารสองล้ ภาพโดย Black อGroup 287 (พฤษภาคม Bike 2558)

ขอบคุณฟอนต์ ซูเปอร์มาร์เก็ต จาก f0nt.com


แวดวงสองล้อ

ทัวริ่งดิสก์เบรคไฮโซจาก NINER

ำนวนไม่น้อยของกลุ่มผู้ใช้จักรยาน มักนิยมใช้จักรยานเพื่อการเดินทาง และนั่นจึงเห็นเหตุให้มีจักรยาน ประเภททัวริ่ง เพื่อตอบโจทย์การใช้งานในลักษณะนี้.. ซึ่งเฟรมที่ใช้วัสดุ “โครโมลี่” หรือรถเหล็ก (หาก จะเรียกกันแบบชาวบ้าน) คือเฟรมจักรยานที่ว่ากันว่า เหมาะสมที่สุดส�ำหรับการใช้จักรยานแนวเดินทางไกล จักรยานเฟรมเหล็กโครโมลี่จ�ำนวนมากมาย กลายเป็นเสน่ห์ของ หนึง่ ในสายพานผลิตของแบรนด์จกั รยานหลายยีห่ อ้ ไม่เว้นแม้แต่แบรนด์ จักรยานแนวไฮเอนด์อย่าง Niner ซึ่งเปิดตัวจักรยานเฟรมเหล็กแบบ ไฮโซรุ่น RLT 9 STEEL ออกมาให้คอทัวริ่งได้ซีดซ้าดกันแบบสุดๆ เฟรมใช้วัสดุโลหะ Seamless Reynolds 853 อันขึ้นชื่อลือชา เรื่องความยอดเยี่ยมในการน�ำมาท�ำเป็นเฟรมจักรยานแนวนี้ และมีการ ออกแบบคอแฮนด์รวมถึงชุดตะเกียบ หน้าที่เป็นวัสดุคาร์บอน พร้อมด้วย ระบบเกียร์ไฟฟ้าของ Ultegra Di2 Hydro รวมถึงดิสก์เบรคทั้งล้อหน้า และหลัง มันจึงกลายเป็นจักรยานทัวริ่ง สุดหรูไปในทันที.. ■ ที่ ม า http://www.ninerbikes. com/rlt9steel สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 7


แวดวงสองล้อ

สามารถส่งข่าวประชาสัมพันธ์ของท่านมาได้ที่ กองบรรณาธิการสารสองล้อ email: tchajournal@gmail.com หรือโทรสาร 02-678-8589

GoPro ชวนประกวดภาพ บริษัท เมนทาแกรม จ�ำกัด ผู้น�ำเข้าและจัดจ�ำหน่ายกล้อง โกโปรแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม ประกวดภาพถ่ายจากกล้อง GoPro ในกิจกรรม “GoPro : Be a Hero Photo Contest” มองโลกด้วยมุมมองใหม่ๆ ไปกับ กล้อง GoPro พร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจดีๆ ไปให้กบั เพือ่ นของคุณ ผ่านโปสการ์ดสุดพิเศษ ลุ้นรับรางวัลแพ็กเกจทัวร์ญี่ปุ่น 2 ที่นั่งและรางวัลอื่นๆ รวมมูลค่ากว่า 150,000 บาท ส่งภาพเข้าประกวดได้ ตั้งแต่วันนี้ - 15 พ.ค. 58 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง Facebook/ GoProThailand ■ อินเตอร์เนชั่นแนล บางกอกไบค์ 2015 “นีโอ” ออกาไนเซอร์ยกั ษ์ใหญ่ ขานรับนโยบายส่งเสริมการใช้จกั รยานจับมือ ททท. - ทีเส็บ จัดงาน อินเตอร์เนชั่นแนล บางกอกไบค์ 2015 มหกรรมจักรยานของผู้ที่มีใจรักการปั่น ครั้งที่ 5 อย่างยิ่งใหญ่ บริษทั เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบชิ นั่ ออกาไนเซอร์ จ�ำกัด หรือ นีโอ ผูร้ เิ ริม่ การจัดงานแสดงสินค้าด้านจักรยาน และการท่องเทีย่ วครบวงจรของประเทศไทย ขานรับนโยบายส่งเสริมการใช้จกั รยาน เดินหน้าขยายตลาด ธุรกิจจักรยานและการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยจับมือกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ ส�ำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ พร้อมพันธมิตรวงการ จักรยาน ระดมสินค้าแบรนด์ไทย และแบรนด์ต่างประเทศ เช่น จักรยาน อุปกรณ์ตกแต่ง อุปกรณ์เสริม แฟชั่นเสื้อผ้า และบริการต่างๆ ครบวงจรมาร่วมสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับงาน “อินเตอร์เนชั่นแนล บางกอกไบค์ 2015” หรือ มหกรรมจักรยานของผู้ที่มีใจรักการปั่น ครั้งที่ 5 งานแสดงสินค้าและอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับจักรยานและการท่องเที่ยวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คาดการณ์ปีนี้ ตลาดจักรยานของ ประเทศเติบโต 10% มูลค่าตลาดรวม 6,500 ล้านบาท ยังคงมุ่งเน้นการจัดงานแสดงสินค้าและบริการเพื่อคนที่รักจักรยานและการท่องเที่ยวยิ่งใหญ่ครบ วงจรทีส่ ดุ นอกจากนีเ้ พือ่ เป็นการปูพนื้ ฐานการเป็นนักปัน่ ตัง้ แต่เด็ก บริษทั ฯยังจัดให้มกี จิ กรรมการแข่งขัน จักรยาน Balance Bike Race Fun หรือจักรยานฝึกการทรงตัวส�ำหรับหนูน้อยนักปั่นอายุระหว่าง 2-5 ขวบโดยแบ่งเป็นประเภทหนูน้อยนักปั่นอายุต�่ำกว่า 3 ขวบ และอายุ 3 ขวบขึ้นไป ส�ำหรับการสนับสนุนการจัดงาน อินเตอร์เนชันแนล บางกอกไบค์ 2015 ในครั้งนี้ ททท.ได้น�ำเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการท่องเทีย่ วโดยจักรยาน ภายใต้แนวคิด “เส้นทางจักรยาน 12 เมืองต้องห้ามพลาด” โดย คัดเลือก 12 จังหวัดจากทัว่ ประเทศ ตามแนวคิด ปีทอ่ งเทีย่ ว วิถีไทย โดยการด�ำเนินนโยบายเชิงกลยุทธ์ด้านการตลาด เพือ่ ขยายฐานการท่องเทีย่ ว โดยภายในงานได้มกี ารเปิดตัว เส้นทางท่องเทีย่ วด้วยจักรยานก่อน 3 จังหวัด ได้แก่ กระซิบ รักเสมอดาว จังหวัดน่าน, เมืองสายน�้ำ สามเวลา จังหวัด สมุทรสงคราม และ ยุทธจักรความอร่อย จังหวัดตรัง ■ 8 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)


OPTIMA จัดกิจกรรมทริปปั่นอย่างเป็นทางการครั้งแรก พิเศษเฉพาะผู้ใชัจักรยาน OPTIMA ภายใต้ชื่อ OPTIMA FAMILY TRIP ครั้งที่ 1 ซึ่งได้รับ การตอบรับเป็นอย่างดีที่ อ�ำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี ในวันที่ 15 มีนาคม 2558 ที่ผ่านมา พร้อมให้บริการเซอร์วิสผู้เข้าร่วมกิจกรรมตลอดเส้นทาง ในส่วนของทริปต่อไป วันที่ 17 พฤษภาคม 2558 ท่าน สามารถติดตามรายละเอียดได้ท ี่ www.optimacycle.com/trip ■

NAVA BIKE คว้ารางวัล Social Media จาก Dahon เดือนมีนาคมทีผ่ า่ นมา บริษทั นาวาไบค์ จ�ำกัด ผูน้ ำ� เข้าจักรยานพับ Dahon ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานประชุมประจ�ำปีของตัวแทนจ�ำหน่าย Dahon ทั่ ว โลก หรื อ Dahon International Distributor Conference (DIDC) ซึ่งในปีนี้ จัดขึ้นที่เมืองเสิ่นเจิ้น ประเทศจีน โดยทาง Dahon ได้น�ำคณะเข้าเยี่ยมชมโรงงานแห่งใหม่ บนเนื้อที่กว่า หกหมืน่ ตารางเมตร ซึง่ โรงงานแห่งใหม่สามารถผลิตจักรยาน Dahon ได้ อย่างครบวงจร ตัง้ แต่การขึน้ เฟรม ท�ำสีไปจนถึงการบรรจุหบี ห่อ เพือ่ ร่น ระยะเวลาการผลิตให้สั้นขึ้น รวมทั้งยังมีโซนทดสอบคุณภาพมาตรฐาน ของชิ้นส่วนส�ำคัญ เช่นเฟรม คอ แฮนด์ ตะเกียบ และชิ้นส่วนอื่นๆ ด้วย เครื่องทดสอบส�ำหรับรถจักรยานมาตรฐานญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา โดยในงานนีต้ วั แทนจ�ำหน่ายได้มโี อกาสทดสอบรถรุน่ ใหม่ๆ ส�ำหรับปี 2016 และร่วมแสดงความเห็น เพือ่ ใช้ในการพัฒนาจักรยานพับ Dahon ให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบนั รวมทัง้ มีการมอบรางวัลต่างๆ ให้กบั ตัวแทนจ�ำหน่าย ซึง่ ทางนาวาไบค์ ได้รางวัลด้าน Social Media จาก facebook fanpage: DahonThailand โดยของรางวัลที่ได้รับ ทางนาวาไบค์ได้น�ำมาแจกให้กับผู้ร่วมตอบค�ำถามในเพจของเราอีกด้วย ในงาน Taipei Cycle Show 2015 ที่ประเทศไต้หวัน ทางนาวาไบค์ ได้มีโอกาสพบปะพูดคุย กับ Mr.Alfredo Gios ต�ำนานเจ้าของแบรนด์ Gios ซึ่ง Mr.Gios ได้พูดคุยถึงการเป็นผู้สนับสนุน ของ Movistar Team Ecuador ในปีนี้ ที่มีผลงานโดดเด่น เป็นที่น่า จั บ ตา รวมทั้ ง ได้ แ นะน� ำ รถ Gios 2016 และฝากสวัสดีแฟนๆ Gios ในเมืองไทยอีกด้วย ■ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 9


แฟนคลับจักรยาน CUBE มีเฮ บริษัท แอลเอ ไบซิเคิ้ล (ประเทศไทย) จ�ำกัด ผู้ผลิตและน�ำเข้าจักรยานตลอดจนอุปกรณ์เสริม แบรนด์คุณภาพมากมาย ล่าสุดเป็นตัวแทนน�ำเข้าจักรยานแบรนด์คุณภาพจากเยอรมันชื่อว่า CUBE มาให้แฟนๆ ได้เฮกันแล้ว โดยเฉพาะจักรยานเสือหมอบสองรุ่นพิเศษคือ PELOTON และ PELOTON SL ด้วยเฟรมแบบซ่อนสายลบรอยเชื่อมที่มีน�ำ้หนักเบา ตะเกียบหน้าคาร์บอนแบบพิเศษ นอกจากนี้ยังมี อุปกรณ์เสริมส�ำหรับคนรักจักรยาน CUBE อาทิ ถุงมือ ชุดปั่นจักรยาน เป้หลัง หมวก เป็นต้น สามารถติดต่อสอบถามได้ทตี่ วั แทนจ�ำหน่ายทัว่ ประเทศ หรือที่ โทร. 02 819 4488 (8.30 - 17.00 น. จันทร์ - ศุกร์) ■ THAILAND CENTURY TOUR การแข่งขันจักรยานทางไกลประเภททัวร์ ระยะทางกว่า 300 กิโลเมตรในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นเส้นทางในฝันของนักปัน่ จักรยานผูต้ อ้ งการความท้าทาย โดยจะจัดขึน้ ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม ถึง 2 สิงหาคม 2558 รวม 4 วัน 4 เสตจ แบ่งการแข่งขันออกเป็น 6 รุ่น ทั้งชายหญิงและเยาวชน สามารถ สมัครผ่านทางระบบออนไลน์ได้ที่ http://www.tfaforms.com/368275 รับสมัครจ�ำนวน 200 ท่านเท่านั้น ■

10 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)


Garmin รุกตลาดนาฬิกาข้อมืออัจฉริยะ เมื่อกระแสของอุปกรณ์สายรัดข้อมือและนาฬิกา อัจฉริยะก�ำลังมาแรง ค่าย Garmin เองก็ได้มีอุปกรณ์ ประเภทนีน้ ำ� รองมาก่อนหน้าแล้ว และนีค่ อื อุปกรณ์สวม ใส่รุ่นล่าสุดที่ค่ายนี้น�ำเสนอ นั่นคือ Vivoactive ซึ่งเป็น นาฬิกาอัจฉริยะตัวแรกของ Garmin ในรูปแบบนาฬิกา หน้าจอแบบสัมผัส ซึ่งมีระบบ GPS ภายใน สามารถเก็บ ข้อมูลของการออกก�ำลังกายหรือเล่นกีฬาได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการวิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน�้ำ หรือ ตีกอล์ฟ ตัวนาฬิกายังมีคุณสมบัติเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน เพื่อรับการแจ้งเตือนต่างๆ อาทิ สายเรียกเข้า ข้อความ หรืออีเมล์ อีกทั้งยังท�ำงานคู่กับอุปกรณ์ Heart Rate Monitor แบบสายคาดอกของ Garmin เพื่อเก็บข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจในขณะเล่นกีฬา สนนราคา 9,700 บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จ�ำกัด โทร. 0-2266-9944 อีเมล: customerservice-gps@cdg.co.th ■ OPTIMA ร่วมงาน Taipei Cycle เมื่อวันที่ 18-21 มีนาคมที่ผ่านมา จักรยาน OPTIMA ได้ร่วมจัดแสดง ในงาน Taipei Cycle ที่กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน หนึ่งในงานแสดงจักรยาน ระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งมีหลากหลายแบรนด์ดังมาเข้าร่วมใน มหกรรมครั้งนี้ โดย OPTIMA มีจุดประสงค์ในการประชาสัมพันธ์แบรนด์ให้ เป็นที่รู้จัก พร้อมทั้งแสดงศักยภาพในด้านสินค้าและนวัตกรรม และเพื่อเพิ่ม ความมั่นใจในคุณภาพของจักรยาน OPTIMA ให้อยู่ในระดับเทียบเท่าสากล ■ นครแหลมฉบังใจเกินร้อย ครั้งที่ 2 วันที่ 21 มิถุนายน 2558 มีกิจกรรม ปั่นจักรยานแข่งขันเชิงท่องเที่ยว ซึ่งได้ทั้ง การออกก�ำลังกาย การท่องเที่ยว และการ สร้างสถิติให้กับตัวเอง กับการปั่นจักรยาน ภายในพื้นที่ของแหลมฉบัง เป็นการจัดขึ้น ครั้งที่สองของกิจกรรม “นครแหลมฉบังใจ เกินร้อย” โดยเริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 6.30 น. ณ สวนสาธารณะเทศบาลนครแหลมฉบัง มีสองระยะ ทางให้เลือกสมัครร่วมกิจกรรม คือ 58 และ 15 กิโลเมตร ทั้งรุ่น VIP และ รุ่นทั่วไป สอบถามรายละเอียด ทางเว็บไซต์ได้ที่ www.RaceReg.net ■ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 11


ตารางกิจกรรมสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย 2558 TCHA Annual Events 2015 พฤษภาคม May

1 - 5 โครงการจักรยานสู่ฝันของเด็กบ้านดาดา (TCHA + BIKE AID SINGAPORE) 10 Audax - Test-run 200 km. Bangpu - Bangpra

มิถุนายน June

7 Audax Randonneurs Test-run 200 km. งิ้วราย - สะพานข้ามแม่น�้ำแคว 14 พิพธิ ภัณฑ์วทิ ยาศาสตร์ อว.พช.คลอง 5 | One day trip to Science Museum 21 สอนซ่อมจักรยาน | Bicycle repair classes

กรกฎาคม July

30 - 2 ส.ค. ปลูกป่าเชียงดาว | Reforestation at Chiang Dao

สิงหาคม August

9 เกาะเกร็ด | Cycling trip to koh kret island 12 ปั่นวันแม่ | Bicycle ride for Mom • สอนซ่อมจักรยาน | Bicycle repair classes

กันยายน September ตุลาคม October

CAR FREE DAY 2015

11 สอนซ่อมจักรยาน | Bicycle repair classes 23 - 25 กฐินวัดทรงธรรมกัลยาณี | Thot Kathin at Wat Shong Tham Kallayanee

พฤศจิกายน November

8 บริจาคห่วงอลูมิเนียม | Donate aluminum cycling trip 21 - 22 รีไซเคิล | Recycle Event

ธันวาคม December

10 ปั่นวงกลมรอบเขาใหญ่ | Cycling trip around Khao-Yai 24 ไนท์ทริป ปั่นดูไฟ | Christmas night trip

หมายเหตุ รายการต่างๆ อาจมีการเปลีย่ นแปลงได้ • สอบถามรายละเอียดหรือสมัครร่วมทริปได้ท่ี สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย โทร. 0-2678-5470 • email: tchathaicycling@gmail.com • หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.thaicycling.com, Facebook.com/TCHAthaicycling • Remarks: Trips can be changed as appropriate • English information, call Bob Tel. 08-1555-2901 • email: bobusher@ksc.th.com



ทริปและกิจกรรม

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทริปต่างๆ และการช�ำระค่าทริป ได้ที่ โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989

TCHA ชวนปั่นและร่วมกิจกรรมเดือนมิถุนายน 2558

สอนซ่อมจักรยานเบื้องต้น โดยสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย อาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2558 ทุกวันนีม้ ผี ใู้ ช้การขีจ่ กั รยานเป็นการออกก�ำลังกายและใช้ในชีวติ ประจ�ำวันมากขึน้ จึงมีเสียง เรียกร้องจากสมาชิกให้ TCHA จัดสอนการซ่อมจักรยานเบื้องต้นเพื่อจะได้ซ่อมเองได้บ้าง เช่นกรณียางรัว่ หรือโซ่ขาด จะเห็นได้วา่ สองกรณีนถี้ า้ หากเกิดขึน้ จะไม่สามารถขีร่ ถต่อไปได้เลย จึงเน้นแนะน�ำเรื่องปะยางและต่อโซ่ หากสามารถซ่อมได้จะท�ำให้เราเดินทางด้วยจักรยานได้ โดยสะดวกเพราะกรณีอื่นๆ เช่น ปรับสายเบรก หรือ ตั้งเบรกเราท�ำกันได้อยู่แล้ว TCHA จะจัดสอนและแนะน�ำที่สวนเบญจกิติเพราะเป็นสวนสาธารณะที่ร่มรื่น อากาศดี มีผู้ใช้บริการ ขี่จักรยานและวิ่งออกก�ำลังกายอยู่แล้ว ซึ่งสามารถที่จะแวะเข้า มารับฟังได้หากมีความสนใจในการซ่อมเบื้องต้น ท่านที่ต้องการน�ำเครื่องมือตัดต่อโซ่ของตนเองมาใช้ก็จะ ดีมาก เพราะจะได้ฝึกใช้ได้อย่างคล่องมือยิ่งขึ้น ส่วนทาง TCHA จะเตรียมยางใน แผ่นปะยางและกาว เพื่อให้ท่านฝึกปะยาง นัดกันที่สวนเบญจกิติ เวลา 9.00 น. อาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2558 โดยอาสุวิทย์และคณะ มาร่วมกันได้เลย ไม่ต้องจองครับ ■ AUDAX BY TCHA : TEST-RUN 200 km. Ngiurai - The Bridge of the River Kwai อาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน 2558 กิ จ กรรมปั ่ น จั ก รยานเพื่ อ มหิดล พุทธมณฑล สาย 4 ประมาณ จากนั้ น ปั ่ น เข้ า กาญจนบุ รี ผ่ า นสุ ส านจี น ริ ม เขื่ อ นแม่ ก ลอง สร้ า งความเชื่ อ มั่ น ให้ กั บ ตนเอง 12 กิโลเมตร พิ สู จ น์ ก ายพิ สู จ น์ ใ จกั น อี ก ครั้ ง ใน เส้นทางปั่นจะเรียกได้ว่าใช้ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ส งคราม สุ ส านทหาร AUDAX BY TCHA โดยในเดือน ถนนรองตลอด 200 กิโลเมตรเลยก็ พันธมิตรและไปครึ่งทางที่สะพาน มิถุนายน 2558 นี้ จะไปปั่นยาวๆ ว่าได้ ซึ่งปกติคนที่ขับรถใช้เส้นทาง รถไฟสายมรณะริ ม แม่ น�้ ำ แคว 200 กิ โ ลเมตรเส้ น ทางงิ้ ว รายสู ่ ไม่ใช้กัน จะเป็นสีสันที่ส�ำคัญที่สุด จากนั้ น จะปั ่ น ย้ อ นกลั บ ทางเดิ ม สะพานข้ า มแม่ น�้ ำ แคว จั ง หวั ด ของทริปนี้ กล่าวคือเราจะปั่นเลียบ ทั้งหมด ได้ก�ำหนดวันอาทิตย์ที่ 7 ทางรถไฟ เลียบคลองชลประทาน มิถุนายน 2558 เป็นวัน test-run กาญจนบุรี เริ่มต้นที่ลานเอนกประสงค์ ไปตลอด ไปหาจุดต้นน�้ำคือเขื่อน ดู ร ายละเอี ย ดแผนที่ เ ส้ น ทาง กนกพฤกษของโรงเรียนวัดงิ้วราย แม่กลองทีอ่ ำ� เภอท่าม่วง แล้วไปแวะ http://ridewithgps.com/ ต�ำบลงิว้ ราย อ�ำเภอศาลายา จังหวัด พักจุดใหญ่ๆ ได้ถึงสองครั้งที่สวน routes/7427125 ■ นครปฐม ห่ า งจากมหาวิ ท ยาลั ย สุขภาพม่วงชุมริมเขื่อนแม่กลอง


SHIMANO

XTR 11-SPEED

ชุดขับเคล�อนเสือภูเขาที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพสูงสุด พรอมใหคุณใชงานในการขับขี่ทั้งแบบ Race และ Trail ดวยการใชงานที่นุมนวล และแมนยำ

HAH HONG TRADING L.P. Tel : 02-225-0485, 02-222-1638 Fax : 02-226-3030 210 Luang Road, Pomprab, Bangkok 10100 e-mail: junior12@truemail.co.th

หจก. ฮะฮงพาณิชย โทร : 02-225-0485, 02-222-1638 แฟกซ : 02-226-3030 210 ถนนหลวง แขวงปอมปราบฯ กรุงเทพมหานคร 10100 อีเมล : junior12@truemail.co.th

สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 15


เรื่อง zangzaew • ภาพ schantalao / ฐนวัฒน์ กลิ่นน้อย

ประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 2558

รรยากาศอบอุ่นหมุนเวียนกลับมาให้สัมผัสกัน อีกครั้งหนึ่ง ส�ำหรับสมาชิกสมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย ในวันประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 2558 เมื่ อ วั น อาทิ ต ย์ ที่ 26 เมษายน 2558 ณ ห้องประชุมศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ สมาชิกเริ่มทยอยมาตั้งแต่ช่วงเช้ากระทั่งถึง เวลานัดหมาย 9.00 น. แต่การประชุมยังไม่ได้เริ่มต้น ขึ้นอย่างเป็นทางการ จนเวลาล่วงเลยไปอีกเล็กน้อย เพือ่ รอความพร้อมของสมาชิกซึง่ ก�ำลังเดินทางมาและ ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์

เมือ่ ถึงช่วงเวลาอย่างเป็นทางการ นายกสมาคมฯ คุณมงคล วิจะระณะ หรือ “น้าหมี” นามเรียกคุน้ เคย อันเป็นที่รู้จักของสมาชิกฯ ได้จุดธูปเทียนสักการะ พระพุทธ หลังจากนัน้ จึงเริม่ ด�ำเนินการประชุม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ซึ่งเป็นประธานที่ปรึกษาของสมาคมฯ ให้เกียรติ มาเป็นผู้ด�ำเนินการประชุมในครั้งนี้ อันดับแรกคือเรื่องแจ้งเพื่อทราบ โดยนายก สมาคมฯ ได้ชี้แจงถึงความอนุเคราะห์จากคุณพิชิต เอื้อสกุลเกียรติ อดีตนายกสมาคมฯ ได้กรุณามอบ


เงิ น สนั บ สนุ น กิ จ กรรมสมาคมฯ เป็ น จ� ำ นวนสอง แสนบาท โดยหนึ่งแสนบาทแรกส�ำหรับสนับสนุน กิจกรรมช่วยเหลือทุนการศึกษาให้กับเยาวชนบ้าน ดาดาที่สังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นกิจกรรม ร่วมกันกับชมรมจักรยาน BIKE AID จากประเทศ สิงคโปร์ ส่วนอีกหนึ่งแสนบาทมอบให้เป็นกองทุน ส�ำหรับช่วยเหลือสมาชิกของสมาคมฯ กรณีทปี่ ระสบ อุบัติเหตุต่างๆ จากนั้นจึงมีการสรุปข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีของ สมาคมฯ ตลอดจนค่าใช้จา่ ยเกีย่ วกับกิจกรรมต่างๆ ที่ เกิดขึ้นตลอดช่วงปี 2557 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่าง ยิง่ การจัดงานคาร์ฟรีเดย์ 2557 ซึง่ ประสบความส�ำเร็จ เป็นอย่างดี โดยได้รบั การสนับสนุนจากทัง้ ภาครัฐและ เอกชน ตลอดจนชาวจักรยานที่มาร่วมกิจกรรมกัน เป็นจ�ำนวนมาก แต่ สิ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ ในการประชุ ม ครั้ ง นี้ คื อ การ ประกาศขอลาออกของนายกสมาคมฯ เพือ่ ต้องการที่ จะเปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และมี ความสนใจทีจ่ ะมาบริหารกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมฯ แต่ในท้ายทีส่ ดุ แล้วสมาชิกจ�ำนวน 84 ท่านต่างยกมือ สนับสนุน และให้กำ� ลังใจนายกสมาคมฯ ท่านปัจจุบนั ยังคงปฏิบตั หิ น้าทีน่ ตี้ อ่ ไป จากนัน้ จึงเป็นการเสนอชือ่

และยกมือรับรองอุปนายกอีกจ�ำนวน 3 ท่าน ให้เป็น ไปตามข้อบังคับของสมาคมฯ โดยมีผลสรุปดังนี้ 1. คุณสันติ โอภาสปกรณ์กิจ อุปนายกฝ่าย ประสานงาน มีผู้สนับสนุนจ�ำนวน 80 เสียง 2. คุณสาภินนั ท์ ส่องแสงจันทร์ อุปนายกฝ่าย โครงการ มีผู้สนับสนุนจ�ำนวน 78 เสียง 3. คุณกฤษดา ก�ำแพงแก้ว อุปนายกฝ่าย เอกสาร มีผู้สนับสนุนจ�ำนวน 81 เสียง สิ่งส�ำคัญประการสุดท้ายที่ได้ผลสรุปจากการ ยกมือสนับสนุนของสมาชิกผู้เข้าร่วมประชุม คือการ เห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงชื่อสมาคมฯ เสียใหม่ เพื่อ ให้สอดคล้องกับสภาวะโดยรวมของภาระหน้าที่และ กิจกรรมของสมาคมฯ ในปัจจุบนั โดยสรุปชือ่ ใหม่ของ สมาคมฯ คือ สมาคมผู้ใช้จักรยานแห่งประเทศไทย ซึง่ ได้คะแนนเสียงสนับสนุนเกินครึง่ หนึง่ ของผูร้ ว่ มลง คะแนน จากนีไ้ ปคือภาระหน้าทีข่ องนายกสมาคมฯ และ อุปนายกสมาคมฯ ชุดใหม่ ทีจ่ ะสรรหาคณะกรรมการ ในส่วนต่างๆ มาช่วยกันด�ำเนินกิจกรรมของสมาคมฯ ให้มีความเข้มแข็ง และยังประโยชน์ถึงสมาชิกผู้ใช้ จักรยาน ตลอดจนผู้ใช้จักรยานในประเทศไทยกัน อย่างเต็มที่ต่อไป ■


สุขภาพนักปั่น

เรียบเรียงจากข้อมูลของ มูลนิธิหมอชาวบ้าน (Folk Doctor Foundation) www.doctor.or.th

เด็กชายฮูก...เด็กหญิงเค้าแมว ....ตี 3 กว่าแล้ว.... แต่เปเป้ยังคงตื่นอยู่ ตายังสว่าง นั่งเฝ้าอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ เล่มเกมส์อย่างเพลิดเพลินเมามัน... บางเวลาก็สลับไป chat กับเพื่อนชมรมคนนอนดึกเช่นเดียวกัน ในเรื่องสัพเพเหระประสาวัยรุ่น ....ตี 5 แล้ว .... แต่พลอยก็ยงั นัง่ อยูห่ น้าจอ เธอชอบดูหนังวัยรุน่ เกาหลีซงึ่ เป็นหนังชุด (Series) แต่ละเรือ่ งมีเป็น 10 แผ่น แม่เตือนให้พลอยเข้านอนตั้งแต่ตอนเที่ยงคืนแล้ว แต่เธอก็ยังชอบแอบดูหนังชุดแบบนี้ดึกๆ เสมอ

ปั

ญหาคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีทั้งวัยรุ่นและวัยท�ำงานทั้ง หลายกระท�ำในสิ่งที่ดูเหมือนไม่ใช่เรื่องจ�ำเป็น และมีสาระประโยชน์นักแต่อย่างใด นับตั้งแต่เล่น เกมส์ออนไลน์ คุยกัน (Chatting) ผ่านอินเตอร์เนต ส่งข้อความหากัน (Texting) โทรศัพท์คุยเล่นกัน (Phone call) ดูหนังดึกๆ ดื่นๆ จนกลายเป็นเรื่อง ที่พบเห็นดาษดื่น จนกลายเป็นเรื่องปกติในสังคมยุค ปัจจุบัน หลายคนลงเอย ด้วยการนอนหลับอยูบ่ นโซฟา หรือหน้าจอ โดยอุปกรณ์ทวี ี และคอมพิวเตอร์เหล่านัน้ ยังคาเปิดทิ้งไว้ จนรุ่งเช้าเลยก็มี ปัญหาวัยรุ่นโดยเฉพาะวัยเรียนนอนดึก และ นอนไม่เป็นเวลา เป็นเรื่องที่พ่อแม่ ผู้ปกครองเกือบ ทั้งโลกปวดหัว แต่ก็ไม่รู้จะแก้ปัญหาอย่างไร... ช่วงเดือนที่มีการแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่งเวลา 18 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)

ถ่ายทอดการแข่งขันอยูร่ ะหว่าง 5 ทุม่ ตี 1 และตี 3 ท�ำให้ คนไทยจ�ำนวนมากออกอาการหน้าตายู่ยี่ ไปท�ำงาน สาย และไปงีบหลับ สัปหงกในที่ท�ำงาน นัยว่าท�ำให้ รถราบนท้องถนนในกรุงเทพติดขัดและแออัดน้อย ลงไปแยะ เรื่องนอนดึก อดนอนชั่วครู่ชั่วยาม สมัยก่อน เราจะพบในเด็กนักเรียน นักศึกษาที่ดูหนังสือสอบ พอสอบเสร็จก็กลับมาหลับนอนตามปกติ แต่ทกุ วันนี้ กลายเป็นว่าเป็นการนอนดึก นอนไม่เป็นเวลาทีท่ ำ� อยู่ เป็นประจ�ำ จนกลายเป็นเรื่องเคยชิน... การนอนดึกและนอนไม่เป็นเวลา อาจมีหลายคน ไม่ใส่ใจและให้ความส�ำคัญนัก แต่ในทางวิทยาศาสตร์ แล้ว พฤติกรรมดังกล่าว ส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร บ้าง ลองมาฟังการวิเคราะห์ดูหน่อยครับ 1. หน้าตาดูโทรม ขอบตาคล�้ำ ดูแก่กว่าวัย


ผมเผ้ายุ่งเหยิง หน้ามัน ส่งผลให้ผิวพรรณดูไม่สดใส นอกจากนั้นท�ำให้เป็นสิวมากขึ้น สุ้มเสียงแหบเครือ 2. เมือ่ นอนดึกจะท�ำให้อว้ นง่าย เพราะท้องว่าง มีการหลั่งของสาร Ghrelin ซึ่งกระตุ้นความหิว และ สาร Leptin ที่ระบุความอิ่มจะลดต�่ำลง 3. ท�ำให้ระบบฮอร์โมนและเคมีในร่างกาย แปรปรวน มีการหลั่งสารความเครียด คือ Cortisol ออกมามากขึ้น การซ่อมแซมร่างกายของ Growth hormone จะมีน้อยลง (ซึ่งบางคนเชื่อว่าอาจมีผล ท�ำให้เด็กตัวเตี้ยกว่าที่ควรจะเป็นได้) 4. ท�ำให้ระบบขับถ่ายมีผลกระทบ ท้องอืด ง่ายกว่าปกติ ปกติร่างกายจะมีกระบวนการย่อยไข มันมากตอนเที่ยงคืนก็จะเกิดผลกระทบ 5. ภูมคิ มุ้ กันร่างกายลดลง หลายคนทีอ่ ดนอน หรือ นอนผิดเวลา มักจะมีอาการเจ็บคอตอนเช้า บาง คนก็เกิดแผลร้อนในในช่องปาก (Aphthous ulcer) บางคนก็มอี าการเชือ้ เริม (Herpes) ทีฝ่ งั ตัวอยูใ่ นช่อง ปากก�ำเริบ 6. ผลกระทบในระยะยาว นักวิจัยบางท่าน เชื่อว่าการนอนดึกและนอนไม่เป็นเวลาส่งผลต่อการ เป็นโรคเรือ้ รังหลายโรคตอนสูงวัยได้มากขึน้ เช่น โรค ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และมะเร็ง นอกจาก นี้ยังส่งผลท�ำให้อายุขัยสั้นลง 7. ผลกระทบต่ อ หน้ า ที่ ก ารงาน และชี วิ ต ประจ�ำวัน คือท�ำให้เป็นคนหงุดหงิดง่าย ท�ำงาน เฉื่อยช้าในตอนบ่าย กระทบต่อผลการเรียนและ มนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น Voltaire นักประพันธ์นามอุโฆษชาวฝรั่งเศส กล่าวว่า “คุณจะได้ประโยชน์มหาศาลถ้าฝึกการ ตื่ น นอนแต่ เ ช้ า ” คนไทยโบราณมี ค� ำ พั ง เพยว่ า “ตื่นเช้าน�้ำใส ตื่นสายน�้ำขุ่น” เป็นค�ำคมที่เป็น อุทาหรณ์สอนใจอย่างดีว่า อย่านอนดึกเลย บางคนอาจจะโต้แย้งว่า ตอนดึกๆ เป็นยามที่ อากาศเย็นสบาย เงียบสงบ ไม่ค่อยมีเสียงและผู้คน รอบๆ ตัวมารบกวน ท�ำให้มีสมาธิท�ำงานดีขึ้น ในทาง

วิทยาศาสตร์เราพบว่าประสิทธิภาพ (Efficiency) และผลผลิต (Productivity) ของร่างกายมีแนวโน้ม จะลดลงเมื่อดึกมากขึ้น ถ้าหากในเวลากลางวัน เรามี กิ จ กรรมอยู ่ ต ลอด ยามวิ ก าลจึ ง ควรเป็ น เวลายก คัทเอาต์ขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนและตั้งสมดุลย์ ร่างกายใหม่ ค�ำแนะน�ำที่สั้น และกระชับที่สุดคือ ควรเข้า นอนช่วง 21 - 23 นาฬิกา อย่างดึกทีส่ ดุ ไม่เกินเทีย่ งคืน ไม่เล่นมือถือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใดๆ หรือดูโทรทัศน์ ช่วง 30 - 60 นาทีกอ่ นนอน ไม่ดมื่ ชากาแฟ ห้องนอนควร มืด เงียบ และอุณหภูมพิ อเหมาะ ตืน่ นอนในเวลาใกล้ เคียงกันแทบทุกวัน อย่าตื่นสายในวันหยุด สวดมนต์ หรือนั่งสมาธิก่อนนอน จะช่วยให้ใจสงบและหลับ สบาย คนนอนดึกและตื่นเช้า มักจะนอนไม่พอโดย ไม่รู้ตัว ฝรั่งเรียกว่า เป็นพวกชอบ “จุดเทียนปลาย 2 ข้าง” (to burn the candle at both ends) เปเป้ชอบท�ำตัวเป็นนกฮูก ส่วนพลอยชอบ ท�ำตัวเป็นนกเค้าแมว ซึง่ หากินกลางคืน เป็นเรือ่ งทีข่ ดั กับหลักการที่ว่า เราควรให้คุณค่ากับการนอนหลับ พักผ่อน เฉกเช่นคุณค่าของชีวติ (we must value our sleep as we value our life) ทีเดียวครับ ■ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 19


รอบรู้สองล้อ

มือใหม่ฝึก

ใช้รองเท้าปั่นจักรยานให้ถูกวิธี ค

ำแนะน�ำส�ำหรับมือใหม่ที่คิดจะเริ่มสวมรองเท้าปั่นจักรยานแบบติดคลีท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการปั่น และมีความสนุกกับการปั่นจักรยานมากยิ่งขึ้น..

1. สวมรองเท้าคู่ใหม่ของคุณ และหาจุดที่มั่น เพื่อ คร่อมจักรยานและวางเท้าลงบันได

3. ขยับเท้าข้างทีถ่ นัดให้คลีทเข้าล็อคกับบันได ซึง่ จะ มีเสียงให้รับรู้

2. ยืนคร่อมจักรยานด้วยท่าทางที่ถนัด มั่นคง และ เป็นธรรมชาติ

4. ค่อยๆ กดเท้าข้างนั้นเพื่อปั่นจักรยานไปข้างหน้า ช้าๆ พร้อมกับวางเท้าอีกข้างบนบันไดและล็อค เช่นเดียวกัน

20 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)


5. ค่อยๆ ปั่นด้วยความเร็วช้าๆ ให้ทรงตัวได้อย่าง มั่นคง

6. จากนั้นฝึกปลดเท้าออกจากล็อค เพื่อสร้างความ เคยชิน หากปลดไม่ออกอย่างเพิ่งตกใจ ค่อยๆ ท�ำ สลับไปมาระหว่างการปลดล็อคและล็อคคลีท

8. ฝึกเช่นเดียวกันนี้กับเท้าอีกข้างอย่างมีสติ

7. ต้องฝึกให้ช�ำนาญจากนั้นปลดล็อคคลีทแล้วจึง จอดเพื่อยืน

9. เมือ่ เริม่ เข้าใจความรูส้ กึ แล้ว ค่อยๆ ฝึกซ�ำ้ ๆ จนเกิด ความช�ำนาญ ■ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 21


เรื่องจากปก

เรื่อง ijaopa • ภาพ Black Group Bike, Facebook ปั่นแค่ไหว

ปั่นแค่ร่างกายยังไหว

ไปแค่หัวใจเรามีความสุข…ก็พอ!

ก็

ไม่มีอารายมากกก แค่อยากบอกว่า....เริ่มแก่แล้ว! ผ่านมาก็จะครึ่งชีวิตแล้ว... อยากดูแลสุขภาพบ้าง กลัวร่างกายมันจะงอแง อยากให้อยู่กับเราไปนานๆๆ เพิ่งเริ่มปั่น…แต่จะพยายามตั้งใจ ทีแรกจะเอารูปลง Facebook ตัวเอง ก็เกรงใจ เพื่อนๆ กลัวเค้าจะร�ำคาญกัน ก็แค่จะหาที่เก็บรูป เก็บเรื่องราว...เกี่ยวกับการปั่น จักรยานเท่านั้นเอง จริงๆๆ ^^ เสียดายรูปที่ถ่ายไว้สวยๆ ทั้งน้านๆๆๆ ถ่ายเยอะ แล้วไม่มีที่เก็บเลยท�ำเพจปั่นแค่ไหว เอาไว้เก็บรูปดูคนเดียว อยากบอกว่า “รถเค้า ไม่มีเกียร์นะ...รอด้วย!!” 555+

22 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)


ค�ำถามที่โดนถามบ่อยๆ คือ ถาม --> “ท�ำไม ซื้อล้อเล็ก แล้วจะปั่นตามคนอื่นทันมั้ย” ตอบ --> “ความตั้งใจครั้งแรกที่ซื้อ คือ อยากได้จักรยานพับ เบาๆ ใส่หลังรถ เอาไปปั่นออกก�ำลังกาย หรือไปปั่น เที่ยวต่างจังหวัด ชิล ชิล ปั่นริมทะเล ปั่นรอบเกาะ ปั่นเที่ยวเขาใหญ่ ไม่ได้คิดว่าจะออกทริปอะไรกับเค้า เลย 555+ แต่พอซื้อมาแล้ว เพิ่งรู้ว่ามีกลุ่มจักรยาน ปั่นออกทริปกันด้วย ก็เลยอยากไปบ้างจะได้มีเพื่อน ปัน่ คนเดียวเหงาจัง! แค่นนั้ เองจริงๆ ก็เลยเริม่ หากลุม่ หาทริปเบาๆ ที่พอจะปั่นไหว ไม่ไกล กลัวเป็นภาระ คนอื่น แล้วก็อาศัยเนียนๆ ไปกะกลุ่มต่างๆ คอน เซ็ปหลัก คือ ปั่นแค่ไหว ไปแค่ใจถึง (สุข) ปั่นเรื่อยๆ เหนือ่ ยก็หยุด ไม่ไหวก็พบั รถโบกแท็กซีก่ ลับ แค่นนั้ เอง ชิล ชิล อย่าคิดเยอะ 555+ อีกค�ำถามที่ได้ยิน คือ ถาม --> “ท�ำไมไม่ซื้อจักรยานอีกคันล่ะ จะได้เอา ไปปั่นออกทริปไกลๆได้” ตอบ --> “ไม่มีตังค์ล่ะ” 555+ เอวัง…ก็มีด้วยประการละฉะนี้ๆๆๆๆ” ข้อมูล จักรยาน : น้องเจ้าป่า ---> “Crius รุ่น Smart 2.0” ล้อ 14 นิ้ว Single speed เริ่มปั่น 9 มิถุนายน 2557

มาว่ากันถึงเรือ่ งทริปปัน่ ทางไกล Audax ดีกว่า... ผมร่ ว มกิ จ กรรมปั ่ น ทางไกล ครั้ ง นี้ เ ป็ น ครั้ ง ที่ 5 (Audax 300 BRM, Cha-am) ทีแรกก็ว่าจะไม่ไป เพราะผ่าน Audax 300 ระยอง-จันทบุรี มาแล้ว แต่ พอดีพี่ต่อ (ขาซ้อม ซ้อมหนักมาก ปั่นออกทริปกัน บ่อยๆ) และน้องต้อม (ขาแรงกลุ่ม Sunday Bikes) ที่ผ่าน Audax 300 มาด้วยกัน 3 คน จะไป… ก็เลย อยากไปร่วมปั่นด้วย เลยสมัครเข้าร่วมอีกครั้ง ต้อม ชวนปัน่ ไปกับกลุม่ Bike-Thailand ช่วงแรกๆ จะลาก ไป 30+ ก่อน ผมเลยนิมนต์ให้ต้อมไปก่อนเลย (จะ บ้าหรอไปเร็วเกิ้น 555+) ส่วนผมจะขอปั่นเกาะพี่ต่อ ไปละกัน ปั่นออกมากับพี่ต่อ เรื่อยๆ ตั้งแต่ตีห้า ตาม ดูดไปหลายกิโลฯ จนกลุ่มอื่นๆ แซงไปหมด สักแป๊บ เจอกลุม่ Sunday Bikes ปัน่ แซงไป เลยแซงพีต่ อ่ และ เร่งตามไปทักทาย เจอพี่จอนนี่ (พี่ใจดีกลุ่ม Sunday Bikes) ปิดท้ายขบวนอยู่ ก็ตะโกนทักทาย เสร็จแล้ว เค้าก็ปั่นจากไปอย่างรวดเร็ว 35++ ผมตามไม่ทัน... เศร้า!! กลับมาปั่นคนเดียวเรื่อยๆ รอพี่ต่อด้วย แต่ก็ ไม่เจอสักที จนไปถึง CP1 เจอเพือ่ นๆ นักปัน่ หลายคน

สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 23


ที่คุ้นเคย พักแปบนึงก็ไปต่อ เจอพี่จอนนี่ ที่หลุดกลุ่มใหญ่มา ผมเลยตั้งใจ อาศัยไปด้วย (มีคนเกาะแล้วตรู) หลังจากหยุดพัก ผมก็ออกไปก่อนเพื่อ ดักถ่ายรูปเพื่อนนักปั่น พอพี่จอนนี่มาก็ปั่นตามไป กะตามดูดเป็นปลิงเลย คราวนี้ 555+ แต่กระติกน�้ำผมดันตกไปสองรอบเลยตามไม่ทัน กลายเป็น หนังชีวิตเลยตรู T__T ปัน่ ไปคนเดียวเรือ่ ยๆ เหนือ่ ยก็พกั แวะดืม่ น�ำ้ เป็นระยะๆ จอดหามุม สวยๆ ดักถ่ายรูปเพือ่ นนักปัน่ บ้าง เสร็จแล้วก็ไปต่อ เรือ่ ยๆ เหมือนหนังชีวติ ...ลมแรง แดดแรง อยากจะตะโกนดังๆ ว่า “ตรูมาท�ำไมฟะนี่!” วิวสอง ข้างทางมีแต่แดดกะลม มีนาเกลือให้ชม ก็สวยงามดีนะ เห็นคนงานท�ำงาน กันเพียบ ก็นึกในใจ “ไม่ร้อนกันหรอ ท�ำงานตากแดด” เออ..แล้วเราล่ะ ไม่ร้อนหรอ 555+ คนอืน่ มากันเป็นขบวน แซงไปเป็นร้อยคัน จะขึน้ ไปลากให้เค้าก็ไม่ไหว ^^ จะตามดูด ก็ไม่ไหว ปั่นมันคนเดียวนี่แหละ พักไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็ถึง 555+ ระหว่างที่ปั่นอยู่ ก่อนเข้า CP2 ประมาณ 30 กม. ผมก็เจอพี่จอน นี่ และเพื่อนๆ นักปั่นคนอื่นๆ แวะพักกินน�้ำอยู่ สบายแล้วตรู อิอิ ปั่นตาม พี่จอนนี่มาเรื่อยๆ หยุดพักเป็นระยะจนถึง CP2 เจอเพื่อนนักปั่นอีกเพียบ ผมหิวมากเลย กินข้าวเหนียวหมูที่เค้าเตรียมให้ไป 3 ถุง (เกินโควต้า… ป่าวฟะ?) แล้วก็ไปต่อมุ่งหน้าสู่ CP3 หาดชะอ�ำ เราก�ำลังออกไป แต่เพื่อน นักปั่นขาแรงกลับจาก CP3 กันมาถึง CP4 แล้ว (จุดเดิม CP2) โอ้ๆๆๆ แม่เจ้า แรงงงงงจริงๆ แต่เราก็ไม่แคร์ ไปต่อ 555+ เหมือนหนังชีวิตอีก แล้วกว่าจะไปถึงหาดชะอ�ำ ลมแรงมากๆ แล้วก็มาถึง CP3 จนได้ เจอต้อม ที่มาถึงก่อนหยุดพักประมาณ 2 ชม. แล้ว เพราะตามกลุ่มแรกไม่ไหวละ แรงเกิ๊นนนนน และก็เจอกลุ่ม Sunday Bikes อีกหลายคนหยุดพักกันอยู่ ผมขอ พักแปบ และขอตัวออกไปก่อนคนเดียว เพราะถ้าออกพร้อมกันผมก็จะตาม เค้าไม่ทนั แน่ๆ ปัน่ เรือ่ ยๆ มาคนเดียว เจอเพือ่ นนักปัน่ อีกหลายคนปัน่ สวน มาเพราะก�ำลังจะเข้า CP3 กัน ทักทายบ้างแล้วก็ไปต่อ และก็มาถึง CP4 ก็ท�ำความเร็วได้ดีนะ ลมส่งมาตลอดทาง แต่ถึงยังไงก็ปั่นได้ในระดับหนึ่ง เพราะควงขาไม่ทนั พักแปปก็ไปต่อเลยเพือ่ ปัน่ มุง่ หน้าสู่ CP5 ระยะทางอีก ประมาณ 70 กม. ระหว่างทางตะวันก�ำลังจะตกดิน วิวข้างทางสวยมากๆ ก็เลยแวะถ่ายรูปนิดนึง (ความจริงหมดแรง 555+) แล้วก็ปั่นไปเรื่อยๆ คนเดียว เจอเพื่อนๆ บ้างประปราย ตลอดทาง ปั่นหอบสังขารตัวเองมาถึง CP5 ในปั๊ม ปตท. หิวมาก แวะเข้าร้าน Black Canyon จัดหนักเลย เหมือนเป็นอาหารหลักอย่างเป็นทางการมือ้ แรก 24 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)


(จะเข้าไปตากแอร์…แต่แอร์ดันไม่ เย็น เซ็งจริงๆ) และก็เจอเพื่อนๆ ครบกันหมด พี่ต่อ ต้อม พี่จอนนี่ และเพื่อนนักปั่นคนอื่นๆ พอกินอิ่ม ก็ไปกันต่อ แต่หยุดเช็คไฟกันแปป พี่ต่อเลยขอออกน�ำไปก่อน โดยที่ เหลืออีก 4-5 คน ให้ตอ้ มเป็นหัวลาก ลากเร็วเกิน๊ นนนน ผมนีเ่ ริม่ หมดแรง ขอหยุดพักสองรอบ...พักรอบ 3 ที่ เข้าปั๊ม เหลืออีก 27 กม. กับเวลาอีก 3 ชม. ผมเริ่มงอแงละ ถ้าเจอพี่ต่อ นะ... จะไม่ตามต้อมละ จะรีบไปไหน เวลาเหลืออีกตัง้ เยอะ แต่... ความจริง เค้าปั่นกันไม่เร็วหรอก เพราะเค้า เป็นเสือหมอบกันหมด ผมเป็นรถพับ คันน้อยๆ คนเดียว มีกระเป๋าหน้ารับ ลมอีก ตามดูดเค้ามาได้เกือบ 40 กม. ก็อึดมากๆแล้ว ^_____^ แต่ก็สงสัยว่าพี่ต่อหายไปไหน ปั่นเร็วแท้ ไม่เจอกันเลย ถ้าเจอจะ ดูดๆๆๆ เพราะยังไงก็ไม่ลากเร็วเท่า ต้อมแน่ๆ 555+ สุดท้ายก็ไม่เจอพีต่ อ่ ก็ปน่ั ตามต้อมกับพีจ่ อนนี่ และเพือ่ นๆ อีก 3 คน มาเรื่อยๆ จนถึง FINISH โอ้เย้!! ตรูท�ำได้แล้ว สถิติดีกว่าครั้งที่ แล้วด้วย ครัง้ ก่อนเข้าทีเ่ วลา 23.59 น. คราวนี้ 23.14 น. (ตามเวลาที่ เจ้าหน้าที่ลงให้) จบแล้วนะ...ไม่ต้องคุยกันอีก นะเรื่อง Audax 555+ ก็ประมาณ นี้ที่เล่าสู่กันฟัง ใ ครไม่ เ คยมาปั ่ น ก็ มาเลยไม่ตอ้ งกลัว จักรยานอะไรก็มา ได้ แต่ตอ้ งซ้อมมานะ อย่าท�ำตามผม เพราะนอกจากใจกล้าแล้ว….ก็ต้อง บ้าด้วย ^_____^ ■ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 25


สุขภาพนักปั่น

เรียบเรียงจากข้อมูลของ มูลนิธิหมอชาวบ้าน (Folk Doctor Foundation) www.doctor.or.th

เข่ า เสื่ อ ม

26 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)


ลายคนที่เกิดปัญหาข้อเข่าเสื่อม และสามารถ มีอาการดีขึ้นได้ด้วยการปั่นจักรยาน อย่างไร ก็ ต ามเราควรท� ำ ความเข้ า ใจและเรี ย นรู ้ เ กี่ ย วกั บ อาการและวิธีการดูแลรักษาตนเอง เพื่อให้ห่างไกล จากปัญหาเข่าเสื่อมจากข้อมูลต่อไปนี้ อาการ ผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมอาจมีอาการผิดปกติที่เข่า ข้างเดียว หรือ 2 ข้างก็ได้ อาการที่พบบ่อยก็คือ อาการปวดเวลาเคลื่อนไหวข้อเข่า จะลุกจะนั่งจะ รู้สึกขัดยอกในข้อเข่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเดิน ขึน้ -ลงบันได หรือเวลานัง่ งอเข่านานๆ เวลาขยับ หรือ เคลื่อนไหวข้อเข่า จะมีเสียงดังกรอบแกรบในข้อเข่า มักจะเกิดจากการเสียดสีของผิวข้อต่อที่ขรุขระ และ จะมีการสะดุด หรือติดขัดในข้อ เนือ่ งจากเศษกระดูก งอกหักหลุดเข้าไปขัดขวางในข้อต่อ เมื่อเข่าเสื่อมรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการขาโก่ง เดินไม่ถนัด เดินคล้ายขาสั้นข้างยาวข้าง (ลงน�้ำหนัก ไม่เต็มที่ หรือเอนตัวเพราะเจ็บเข่าข้างหนึ่ง) บางคน เดินกะเผลกหรือโยนตัวเอนไปมา บางคนอาจงอ เหยียดเข่าล�ำบาก หรือกล้ามเนื้อขาลีบลง ในรายที่มีข้อเข่าอักเสบมาก นอกจากปวดเข่า รุ น แรงแล้ ว ยั ง มี อ าการบวมของข้ อ เข่ า ร่ ว มด้ ว ย อันเนื่องมาจาก ข้อมีการผลิตน�้ำในข้อมากขึ้นกว่า ปกติ การด�ำเนินโรค โรคนีม้ กั จะเป็นเรือ้ รังตลอดชีวติ ยกเว้นในรายที่ รักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม อาการจะ หายดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลังการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อน โรคเข่าเสื่อมมักไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง นอกจากในรายที่เป็นมาก อาจเดินไม่ถนัด ขาโก่ง เข่าทรุดหกล้มได้

อันตรายมักเกิดจากการใช้ยาพร�่ำเพรื่อหรือ ใช้ยาอย่างผิดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อยาชุดหรือ ยาลูกกลอนที่เข้ายาสตีรอยด์มากินเอง ผู้ป่วยเมื่อ กินยานีต้ ดิ ต่อกันนานๆ (เพราะช่วยให้หายปวดชะงัด) ก็จะได้รับพิษภัยจากยาสตีรอยด์จนเป็นอันตราย ร้ายแรงได้ เช่น ภาวะต่อมหมวกไตฝ่อ, ภาวะติดเชื้อ รุนแรงถึงขั้นโลหิตเป็นพิษ เป็นต้น การแยกโรค อาการปวดเข่า เข่าอักเสบ อาจเกิดจากสาเหตุ อื่นๆ เช่น กล้ามเนือ้ หรือเส้นเอ็นเข่าอักเสบ ส่วนใหญ่เกิด จากการบาดเจ็บ โดยเฉพาะจากการวิง่ ออกก�ำลังกาย หรือปัน่ จักรยานทีไ่ ม่ถกู หลัก มักพบในคนทุกวัย และ เป็นอยู่ไม่นาน เมื่อได้รับการรักษาก็จะหายขาดได้ เกาต์ มักจะปวดรุนแรง และข้อมีลักษณะบวม แดงร้อน ซึง่ เกิดขึน้ ฉับพลัน หลังกินเลีย้ ง ดืม่ เหล้า หรือ กินอาหารที่ให้สารยูริกสูง บางคนอาจมีไข้ร่วมด้วย หากสงสัยควรเจาะเลือดตรวจดูระดับยูริกในเลือด ซึ่งจะพบว่าสูงผิดปกติ ไข้รูมาติก พบมากในเด็กอายุ 5-15 ปี จะมี อาการปวดข้อ ข้ออักเสบบวมแดงร้อน มีไข้ร่วมด้วย บางคนอาจมีประวัติเป็นไข้และเจ็บคอ (ทอนซิล อักเสบ) ก่อนปวดข้อ 1-4 สัปดาห์ หากสงสัยควรรีบ ไปพบแพทย์ พบแพทย์ เมื่ อ ไปพบแพทย์ แพทย์ จ ะท� ำ การวิ นิ จ ฉั ย โดยการซักถามอาการและตรวจร่างกายเป็นหลัก ในบางรายอาจต้องท�ำการเอกซเรย์ เมื่อพบว่าเป็นโรคเข่าเสื่อม แพทย์จะแนะน�ำ การปฏิบัติตัวต่างๆ ที่ส�ำคัญ ได้แก่ การหลีกเลี่ยง การนั่งงอเข่า รวมทั้งการนั่งซักผ้า การนั่งส้วมยองๆ (ควรหันมาใช้สว้ มชักโครกแทน หรือใช้เก้าอีเ้ จาะช่อง ตรงกลางนั่งคร่อมบนส้วมซึม) การเดินขึ้น-ลงบันได สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 27


การลดน�้ำหนักตัว การออกก�ำลังกาย การบริหาร กล้ามเนือ้ เข่า การใช้ไม้เท้าช่วยเดิน การสร้างราวเกาะ ป้องกันการหกล้ม เพราะเข่าอ่อน เข่าทรุด ส่วนยาถ้าปวดเข่าไม่มาก แพทย์อาจให้กินยา พาราเซตามอล (เพราะไม่มีผลต่อการเกิดโรคแผลใน กระเพาะ) ถ้าเป็นมากอาจให้ยาบรรเทาปวดชนิดแรง เช่น ทรามาดอล (tramadol) กินบรรเทาเป็นครัง้ คราว หรืออาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (เช่น ไอบูโพรเฟน) ยานี้นอกจากบรรเทาปวดแล้ว ยังช่วย ลดการอักเสบของข้อและกล้ามเนื้อ แต่มีข้อเสีย คือ กินติดต่อกันนานๆ จะท�ำให้เกิดแผลในกระเพาะ อาหารได้ ถ้าจ�ำเป็นต้องใช้ ยานี้กินติดต่อกันนานๆ แพทย์อาจให้ยาป้องกันโรคแผลในกระเพาะ (เช่น รานิทิดีน, โอมีพราโซล) กินร่วมด้วย 28 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)

ในบางรายแพทย์อาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่ สตีรอยด์ตัวใหม่ (เช่น เซเลค็อกซิบ) ยานี้มีข้อดีคือ มีผลต่อการเกิดโรคแผลในกระเพาะต�่ำ ข้อเสียคือ ราคาแพง และถ้ากินติดต่อกันนานๆ อาจเกิดการ อุดตันของลิ่มเลือดในหลอดเลือดหัวใจและสมองได้ จึงต้องระวังไม่ใช้ในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือสมองตีบตัน และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ ในบางรายแพทย์อาจใช้วิธีฝังเข็มบรรเทาปวด และอักเสบแทนยาเป็นครั้งคราว ในรายที่มีข้อเข่า อักเสบรุนแรง แพทย์อาจฉีดสตีรอยด์เข้าข้อเพื่อลด การอักเสบ สามารถฉีดซ�้ำได้ทุก 4-6 เดือน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโรคข้อเสื่อมมักจะเป็น เรือ้ รัง การรักษาดังกล่าวก็เป็นเพียงแต่บรรเทาอาการ เป็นครัง้ คราว ดังนัน้ ผูป้ ว่ ยควรเน้นการปฏิบตั ติ วั อย่าง จริ ง จั ง และสม�่ ำ เสมอ จะช่ ว ยให้ ล ดการใช้ ย าลง และหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากยาได้ ในรายที่เป็นมาก เช่น เดินไม่ถนัด ขาโก่ง ปวดทรมาน แพทย์อาจรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งมีอยู่ หลายวิธี วิธที ไี่ ด้ผลดี แต่คา่ ใช้จา่ ยแพงก็คอื การผ่าตัด เปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งแพทย์จะพิจารณาใช้วิธีนี้แก่ ผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป การวินิจฉัย แพทย์มกั จะวินจิ ฉัยจากอาการของผูป้ ว่ ยได้แก่ อาการปวดเข่าเวลาเคลื่อนไหวข้อเข่า ข้อเข่ามีเสียง ดังกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว ซึ่งพบในคนสูงอายุ หรือคนอ้วน ในรายทีไ่ ม่แน่ใจ อาจต้องเอกซเรย์ขอ้ เข่า จะพบลักษณะเสื่อมของข้อเข่า เมือ่ มีอาการปวดเข่าให้ดแู ลตัวเองเบือ้ งต้น ดังนี้ หลีกเลี่ยงท่าที่ท�ำให้ปวดเข่า ได้แก่ การนั่ง งอเข่า เช่น นั่งยองๆ นั่งสมาธิ นั่งพับเพียบ เป็นต้น ควรนั่งเก้าอี้ แทนการนั่งพื้น หลีกเลีย่ งการเดินขึน้ บันได ถ้าปวดเข่าข้างเดียว เวลาเดินขึน้ บันได ให้เดินขึน้ ทีละขัน้ โดยก้าวขาข้างดี


(ไม่ปวด) ขึ้นก่อน แล้วยกขาข้างที่ปวดขึ้นตามไป วางบนขั้นที่ขาดีวางอยู่ (อย่าก้าวข้ามไปอีกขั้นหนึ่ง) ส่วนขาลงบันได ก็ก้าวขาข้างที่ปวดลงก่อน แล้วก้าว ขาดีตาม การเดินขึ้น-ลงบันไดทีละขั้นแบบนี้ ขาข้าง ที่ปวด จะไม่มีการงอเข่า จึงลดการปวดลงได้ ควรเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นยืน และจาก ยืนเป็นนั่งสลับก่อนบ่อยๆ เข่าจะได้ไม่ติดขัดมาก ถ้าปวดเข่ามากประคบด้วยผ้าชุบน�ำ้ ร้อน หรือ ลูกประคบและกินยาพาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด บรรเทาปวด ซ�้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง ถ้าเดินแล้วรู้สึกปวดเข่า หรือเข่าทรุด ควรใช้ ไม้เท้าช่วยหรือมีราวเกาะ ถ้ าน�้ำ หนัก มาก ควรหาทางลดน�้ำหนักโดย การควบคุมอาหารและออกก�ำลังกายให้มากขึน้ (เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน วิ่งเหยาะๆ) เมื่ อ อาการปวดเข่ า ทุ เ ลาแล้ ว ควรบริ ห าร กล้ามเนื้อเข่าอย่างสม�่ำเสมอ เริ่มแรกไม่ต้องถ่วง น�้ำหนัก ต่อไปค่อยๆ ถ่วงน�้ำหนัก (เช่น ใส่ถุงทราย หรือขวดน�้ำใส่ในถุงพลาสติก) ที่ปลายเท้า เริ่มจาก 0.3 กิโลกรัม เป็น 0.5 กิโลกรัม, 0.7 กิโลกรัม และ 1 กิโลกรัม โดยเพิ่มไปเรื่อยๆ ทุก 2-3 สัปดาห์ จนยกได้ 2-3 กิโลกรัม ข้อเข่าก็จะแข็งแรง และลด อาการปวด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาชุด หรือยาลูกกลอน ยาเหล่านี้แม้ว่าอาจจะช่วยบรรเทาปวดได้ดีแต่มัก มีตัวยาอันตราย (เช่น สตีรอยด์) ผสม ซึ่งก่อให้เกิด ผลร้ายแรงตามมาได้

การบริหารกล้ามเนื้อเข่า - เหยียดเข่าตรงแล้วเกร็งเข่าประมาณ 5 วินาที (นับ 1 ถึง 10 ช้าๆ) แล้ววางขาลงพัก - แต่ ล ะข้ า งท� ำ ซ�้ ำ ประมาณ 10 - 20 ที แล้วสลับไปท�ำอีกข้าง - ท�ำสลับไปมา นาน 5 - 10 นาที วันละ 3 - 5 ครั้ง ควรไปพบแพทย์ เมือ่ มีลกั ษณะข้อใดข้อหนึง่ ดังต่อไปนี้ - มีไข้ - ข้อเข่าบวม หรือมีลักษณะแดงร้อน - สงสัยเป็นโรคเกาต์ ไข้รมู าติก หรือโรคอืน่ ๆ - ดูแลตนเอง 1-2 สัปดาห์แล้วยังไม่ทุเลา - มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะดูแล รักษาตนเอง การป้องกัน ระวังอย่าให้นำ�้ หนักตัวมากเกิน ด้วยการควบคุม อาหารที่บริโภค และออกก�ำลังกายเป็นประจ�ำ หลีกเลี่ยงการนั่งงอเข่า การเดินขึ้น-ลงบันได บ่อย ■

การบริหารกล้ามเนื้อเข่า ใช้ถุงทรายถ่วง สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 29


เรื่อง เสือน้อย ณ ไบค์เลิฟส์

สุขภาพดี...ไม่มีขาย (4) ใน

หมู่พวกเรา อย่างน้อยก็ส่วนใหญ่ของคนอ่าน “สารสองล้อ” ผม...พอจะทึกทักได้ว่า เป็น หมู่ชนคนมีใจชอบการออกก�ำลังกาย ใช้วิธีการปั่น จักรยาน เพื่อหวังลุถึงความเป็นคนมี “สุขภาพดี” ที่สโลแกนบอกกันมาว่า “ไม่มีขาย” แถมมีคนเขียน ท่อนต่อบอก ต้อง... “ท�ำเอง” ทั้งทุกวันนี้ ความฮิตฮ็อตของการปั่นจักรยาน เพื่อการออกก�ำลังกายเป็นที่นิยมของหนุ่มสาวคน ท�ำงานอย่างไฟลามทุ่ง ความนิยมเพิ่มเป็นหลายเท่า เห็นชัดแต่ปีกลายที่ผ่านมา เดินไปตรงไหน เจอว่า มีร้านขายจักรยานเปิดใหม่แทบทุกซอย ต่างอย่าง ลิ บ ลั บ จากเมื่ อ ก่ อ น วั น นี้ เ ป็ น ยุ ค บู ม ของการปั ่ น จักรยาน ดึงนักปั่นหลายคนที่เคยกลัวแดด ปั่นยิกๆ อยู่กะที่ในห้องแอร์ บรรยากาศความนิยม เป็นตัวดึง หลายคนออกมาปั่นสูดลมดมควัน เล่นของจริงบน ท้องถนน เพื่อออกก�ำลังกายเสียจริงๆ เราคนอยู่ใน วงการคนปัน่ จักรยาน พลอยชืน่ ใจ ท�ำนองมีพวกเพิม่ ถือว่าเราทุกท่าน เป็นกลุ่มโชคดีมีโอกาสและ เวลาปั่นจักรยาน เพื่อการออกก�ำลังกาย ด้วยการ ปัน่ จักรยานเราเชือ่ และถือว่าเป็นการออกก�ำลังกายที่ ว่ากันว่า เป็นการออกก�ำลังแบบแอโรบิคที่เหมาะกับ ทุกเพศทุกวัย แถมเหมาะกับคนทีม่ ปี ญ ั หาน�ำ้ หนักเกิน ทีจ่ ะไม่ตอ้ งเผชิญปัญหาปวดข้อเข่ามากเท่ากับการวิง่ หรือการเต้นกลางแจ้งที่มีครูน�ำ ออกสเต็ปเต้นออก ก�ำลัง ทีเ่ ป็นต้นตอเกิดค�ำ “เต้นแอโรบิค” แพร่หลาย 30 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)

ในบ้านเรากว่าสามสิบปี ถึงวันนี้ พูดถึงค�ำว่าการออกก�ำลังแบบแอโรบิค หาก ยังต้องพูดถึงเรื่องนี้ใน พ.ศ. นี้...คงจะเป็นเรื่องสุด โบราณแล้ว แถมคนเขียนคงถูกโห่...หากยังต้องเขียน ขยาย ว่าการออกก�ำลังกายแบบแอโรบิคคืออะไร แต่จ�ำต้องเขียนพอสังเขป ไม่งั้นมันเขียนต่อเรื่องที่ อยากเขียนไม่ได้ ว่าโดยย่อเอาเป็นว่า การกีฬาใดที่ท่านเล่น แต่ละครัง้ นานต่อเนือ่ ง ตามต�ำราว่าต้องเกินยีส่ บิ นาที แต่ผมว่าให้มนั เกินครึง่ ชัว่ โมงเป็นดีกว่า...เชือ่ ผมเต๊อะ ในภาวะความเหนื่อยที่ท่านยังสามารถใช้ปาก หรือ จมูกอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง...เอาตาม ท่านถนัดว่างัน้ เถอะ สูดลมดูดอากาศ หายใจเข้าออก ได้อย่างสม�่ำเสมอ กับการออกก�ำลังกายที่ท่านท�ำอยู่ ภาวะแบบนี้ทางเทคนิคัลเทอมเขาเรียก...การออก ก�ำลังกายแบบแอโรบิค หรือพูดอีกที...แบบพูดอธิบาย ยาวเพิ่มหน่อย แบบไหนๆ ก็ไหนๆ พูดยาวพูดสั้น... ไม่ว่ากัน การออกก�ำลังกายแบบแอโรบิค เป็นการ ออกก� ำ ลั ง กาย โดยพลั ง งานที่ ไ ด้ เป็ น ผลจาก ขบวนการสันดาปในกล้ามเนื้อซึ่งต้องใช้อ็อกซิเจน ก็อ็อกซิเจนในอากาศที่เราหายใจเข้าไปน่ะแหละ ครับ ท�ำให้เกิดพลังงาน ซึง่ เขายังแบ่งความเข้มข้น ของความเหนื่ อ ยในการเล่ น เป็ น อี ก สามระดั บ หากหาอ่านต่อให้รพู้ อเป็นหลัก ก็จะช่วยเป็นแนวทาง ตอบเราได้ เราจะออกแบบการออกก�ำลังกายของเรา


ในโซนแอโรบิคระดับไหน เพื่อหวังจะได้อะไร แต่หากจะปั่นแค่ออกจากบ้านไปหาซื้อโจ๊ก หรือไม่ได้ตดิ ใจในเรือ่ งอืน่ เอาเป็นว่าแค่ได้ปน่ั ให้แข้ง ขามันยืดเส้น ก็อาจจะไม่จ�ำเป็นจะต้องรู้ แต่อย่างว่า โบราณท่านกล่าวค�ำคม “รู้ไว้...ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม” ในสภาวะการปัน่ บางครัง้ มีทงั้ ทีอ่ าจจะท�ำด้วย จงใจ เช่นปั่นอัดหรือบี้กะเพื่อนหวังสนุกจนถึงขั้น สุดเหนื่อยแฮ่ก หรืออาจจะด้วยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ใน คนที่ตั้งความหวังจะฟิตตัวเตรียมลงแข่ง ไม่ว่าแข่ง เอาถ้วย หรือแข่งเอามันส์ปั่นแข่งกันในหมู่เพื่อน ผมเจอรุ่นน้อง...นักปั่นเพื่อหวังการแข่งขัน หัดปั่น แบบไม่มีครู แต่ละวันตั้งใจซ้อมปั่น ซ้อมขั้นหนัก หอบแฮ่กๆ ...หวังให้แข็ง ท�ำต่อเนื่อง ท�ำทุกวัน แต่ การณ์กลับกลาย ไม่ถงึ ปี...กลายเป็นน่วมแทนจะแข็ง กลายเป็นคนไม่มเี รีย่ วแรงแม้นจะปัน่ เล่น แบบร่างกาย มันรู้สึกล้าไม่รู้หาย หรือบางคนไปปั่นในสถานการณ์ ที่โหดกว่าที่ตนคุ้น ด้วยเส้นทางมันบังคับ เช่นไปปั่น ในพื้นที่ๆ เส้นทางปั่น ต้องไต่เขาสูงและชันโหดยาว ต่อเนื่อง ต้องปั่นอัดกะเขาสูงชันจนรู้สึกเหนื่อยหอบ การปัน่ ภายใต้สภาวะทีพ่ ดู ถึงนี้ ล้วนเหนือ่ ยเกินกว่าที่ จะหายใจได้ดว้ ยจังหวะปรกติ ด้วยมันหอบ การหายใจ ที่ท�ำได้ระหว่างปั่นแทบจะต้องกระเดือก มันหายใจ หอบถึงขนาดแทบต้องกลืนอากาศลงไป หรือต้อง ทนกลั้นจัดจังหวะ เพื่อกระเดือกลมลงถึงปอด ภาวะ ทั้งหมดนี้...ดูเหมือนว่าแต่ละท่าน จะเล่นหรือเหตุ บังคับให้จ�ำเป็นจะต้องเล่น จนเลยเถิดของระดับขั้น สามที่เหนื่อยสุดของขั้นแอโรบิค เป็นขั้นแอนีโรบิค เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อของเรา ปลดปล่อยพลังงานให้ เราเค้นกระไดปัน่ จักรยาน ในรูปแบบทีไ่ ม่ใช้ออ็ กซิเจน ซะแล้วครับ หรือบางคนเรียกภาวะนี้ ว่าเล่นกันใน สภาพอ็อกซิเจนในการใช้งานมันติดลบ กีฬาที่รูปแบบการเล่นแบบแอนีโรบิคชัดเจน ก็จำ� พวกนักยกน�ำ้ หนัก นีล่ ะครับ ชัดเจนเลย พอจะยก ลูกตุ้มแต่ละที ตอนถ่ายทอดสดจะเห็นประดานักยก น�ำ้ หนัก เร่งสูดลมหายใจเข้าออก พอพร้อม ก็อบึ๊ บบบ

ยกและดันให้ไอ้ตุ้มมันขึ้นสุดปลายแขน สูงสุดหัว เม้มปากบีจ้ มูกรอกรรมการตีธงบอกผ่าน แทบจะเป็น ลมตาย เพราะเกร็งลมปราณ หายใจไม่ได้ ไม่งนั้ ลูกตุม้ มันจะหล่นใส่หัว แพ้ซะฉิบ แต่ไม่น่าเชื่อในกีฬาเดียวกัน เล่นต่างกันหรือ ใส่ความหนักในการเล่นต่างกัน จะด้วยความตั้งใจ แบบจะเอามัน หรือด้วยรู้ไม่ถึงการณ์ หรือเหตุการณ์ หรือสถานการณ์มันบังคับ...ให้มันส์เกิน มันก็แปลง ประเภทแปลงนิยามของประเภทการออกก�ำลังกาย ไปได้ครับ เช่นการวิง่ วิง่ จ๊อกกิง้ แบบวิง่ ไปผิวปากไป มันแน่นอนแอโรบิคแน่ แต่อีตอนหมามันไล่กวดจะ งับน่อง จ�ำต้องสปริน้ ท์วงิ่ ตับแล่บ ช่วงวิง่ หนีหมาไล่งบั น่องนีส่ งสัยจะต้องเล่นในโซนแอนีโรบิคซะแล้วครับ มันถึงจะโกยได้พ้นคมเขี้ยวหมา อย่างปั่นจักรยานก็ เช่นกัน ปัน่ ในระดับทีห่ นักเกินมันก็เข้าสูโ่ ซนแอนีโรบิค ซะง่ายๆ ประเด็นนี้น่ีละครับ ว่ามันจะมีผลสู่เรื่อง สุขภาพที่หวังให้มันดี กลับกลายเป็น “ดี...จริงหรือ ที่ มี เ ครื่ อ งหมายปรั ศ นี . ..???” ต่ อ ท้ า ยซะนะครั บ เพราะหลายคนทีผ่ มเห็น ได้ผลจากการปัน่ ดังว่า มีผล ท�ำร่างกายทรุดโทรมลง มันเกิดรู้สึกเบื่อการปั่น เบื่อ แม้นกระทั่งเรื่องกินข้าว จากเหตุเผลอโหมปั่นหนัก เกินจากภาวะแอโรบิคไปเป็นแอนีโรบิค เรื่องแบบนี้ เกิดขึ้นได้ทั้งจากนักปั่นเพื่อหวังสุขภาพ แต่ขยันปั่น หอบแฮ่กๆ กันทุกวัน จนถึงนักปัน่ ระดับหวังคว้าถ้วย จากสนามแข่งขัน ที่เผลอไผลท�ำตารางซ้อมผิด เผลอ ใส่แผนการซ้อมระดับต่อยอดของความแข็ง ซ้อมปั่น ในโซนแอนีโรบิคด้วยปริมาณเวลาการซ้อมและความถี่ ของการซ้อมผิดไปหน่อย มันก่อเกิดภาวะโอเว่อร์ เทรนนิ่ง แล้วจะไปคว้าถ้วยที่ไหนได้ ร่างกายมันแย่ ไปแล้ว กว่าจะฟื้นจากความทรุดโทรม กว่าจะให้ จิตใจมันคึกอยากจะคว้าจักรยานออกไปปัน่ อุจจาระ หมู...อุจจาระสุนัข ก็ต้องพักหยุดปั่นกันไม่น้อยกว่า สามเดือน บางคนมันล่อกว่าครึ่งปี กว่าความรู้สึก กระดี๊กระด๊าอยากปั่นมันถึงกลับคืนสิงหัวใจ โธ่...ไม่เชื่อผม ก็ลองถามคนที่เคยเล่น จนเกิด สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 31


ภาวะบักโกรกดูเถอะครับ ว่าไอ้ความเบือ่ ซ้อมเบือ่ เล่น มันเป็นไง ใครไม่เจอก็ไม่รู้สึก ว่ามันซึมเซาระดับไหน แต่ละนะ...ช่วงระยะเวลาการปั่นในโหมด หนักถึงขัน้ แอนีโรบิค ต่างคนต่างไม่เหมือนกัน ว่าท�ำ กันนานแค่ไหนและท�ำซ�้ำๆ กันซักกี่วัน มันถึงจะถึง ขัน้ ท�ำให้รา่ งกายทรุด ไอ้ของแบบนีข้ องแต่ละคนมัน ไม่เท่ากัน เหมือนนิว้ คนมีหา้ นิว้ แต่มนั เท่ากันทีไ่ หนเล่า ทัง้ มันขึน้ ต่อความฟิตความสมบูรณ์ทางกีฬาแต่ละคน แต่หากตั้งใจอยากลองเจอ ท�ำเถอะครับ ไปปั่นให้ เหนือ่ ยถึงขัน้ หอบแฮ่กเป็นภาวะแอนีโรบิค ไม่ตอ้ งท�ำ นานหรอก เอาแค่วันละชั่วโมงหากแข็งและทนท�ำได้ แล้วลองท�ำติดต่อทุกวันเถอะ ท�ำเถอะ...เจอแน่นอน ไม่ได้แช่ง แค่บอกคนอยากลอง คนอยากเจอภาวะ ปัน่ แล้วร่างกายมันทรุดโทรม งัน้ ท�ำยังไง ท�ำแบบว่า... แล้วจะเจอ แถมขาดทุนในเรื่องชวนกันท�ำการออก ก�ำลังกาย หวังสุขภาพดี...ที่ว่าไม่มีขาย ไปซะอีก แล้วหากท่านใด ได้ภาวะโทรม...ส�ำหรับท่าน ที่อยากลอง แทนการได้สุขภาพดีที่อยากได้ ได้ภาวะ โทรมสมใจแล้ว โปรดมาเล่าเปรียบเทียบกัน อยากรู.้ .. มันจะเหมือนที่ผมเคยเจอบ้างหรือเปล่า หรือต่างกัน ส่วนตัวทีเ่ คยเจอไอ้ภาวะนี้ ภาวะโทรมจากการ อัดจักรยาน จนถึงขั้นเหนื่อยเลยเถิดเป็นแอนีโรบิค ท�ำต่อเนือ่ งกันจนถึงจุดทีร่ า่ งกายมันทรุดโทรมนี่ บอก ตรงๆ ว่าพอถึงจุดที่ร่างกายมันแย่ ใจคอมันห่อเหี่ยว ถึงขั้นนี้แล้ว เรียกว่ามันกู่ไม่กลับซะแล้วครับ ความ ทรุดโทรมของร่างกายมันมาเยือน ช่วงนีใ้ ครเขาหวังดี เอาข้าวและกับข้าวอย่างดีมาวางตรงหน้า บอกให้กนิ เพือ่ ฟืน้ แรง ร่างกายมันก็ทงั้ เพลียทัง้ หิวนะในแต่ละวัน ที่ผ่านไป แต่ไม่ยักมีกะจิตหรือกะใจที่จะเอาช้อนตัก ได้แต่นั่งมองมัน ทั้งวัน...กินไม่ลง ความรู้สึกอยากกิน มันหายไป แน่นอนไอ้ความอยากปั่นก็หดหมด ฝืนใจ ขึน้ ไปปัน่ ก็ไม่มแี รงจิตใจมันหมดอารมณ์จะกดกระได ตัวเราบอกได้ครับ หากใจคอยังซึมกะทือ หรืออารมณ์ อยากปัน่ ไม่มเี ลยนี่ ใครตกอยูส่ ภาพนี้ พักต่อซะดีกว่า 32 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)

อย่าไปฝืนปั่นมันเลย นี่ก็เล่าบอกเป็นเคล็ด...ส�ำหรับ คนที่อยากลอง แต่บอกก่อน...ก่อนไปลอง ภาวะโทรมแบบนี้ นอกจากต้องเสียเวลาพักฟืน้ รอเวลาจนใจมันอยากปัน่ เริ่มปั่นได้จริง ออกไปปั่นช่วงสามเดือนแรก ก็ใช่จะ ได้แรงปัน่ ทีแ่ ข็งขันเช่นก่อนโทรม ด้วยมันโทรมทรุด ติดลบไปมากโข มันยังต้องใช้เวลาส�ำหรับการปั่น เพือ่ ฟืน้ ฟูรา่ งกายให้แข็งทนถึงขีดเก่า บางคนล่อเป็นปี ที่เห็นอยู่สามเดือนหกเดือนเป็นอย่างน้อย ส่วน ตัวผมเจอสามเดือน บุญนักหนา ไม่ทรุดซะเกินไป งั้นเอาแค่รู้จักมัน...ไอ้เรื่องปั่นจักรยานซะจน ร่างกายทรุดโทรม จากที่ผมบอก แล้วหาทางหลีก มันซะดีกว่า โดยใช้หลักรู้วิธีวัดความพร้อมสมบูรณ์ ของร่างกายว่ามันพร้อมขนาดไหน ทีจ่ ะไปปัน่ แล้วไม่ ได้ความโทรมกลับมา ง่ายนิดเดียว ให้รู้จักจับชีพจร ยามพักของเราเอง และหัดท�ำทุกเช้าเมื่อตื่นนอนให้ เป็นนิสยั ประจ�ำวัน ก็จะช่วยเราพยากรณ์ความพร้อม ของร่างกายเรา ว่าวันนี้ที่ตื่นมา สมควรออกก�ำลังแค่ ระดับแอโรบิค หรือจะเติมใส่ระดับเหนื่อยแฮ่กๆ ... ถึงระดับแอนีโรบิคลงไป ตามแผนซ้อมที่วางไว้ ครับ...ส�ำหรับคนทีห่ วังความเป็นเลิศทางการ แข่งขัน จ�ำเป็นครับทีเ่ ขาจะต้องเติมโปรแกรมการซ้อม ระดับแอนีโรบิคลงไปในตารางซ้อม ที่เราพูดกันว่า ซ้อมกันให้เหนื่อยระดับหายใจเข้าออกมันยังท�ำไม่ ได้ มันรู้สึกจุกแน่นไปหมด เพื่อความเป็นเลิศ...เขา ต้องซ้อมกันเหนื่อยปานนั้น แต่ขอบอกก่อน การ ซ้อมปั่นในระดับต่อยอดขั้นแอนีโรบิค เพื่อหวัง ชัยชนะ มันเป็นดาบสองคม มันต้องมีครูหรือความ รู้คอยก�ำกับการซ้อม มิฉะนั้นจะได้อาการบักโกรก แทนความฟิต ถึงวันแข่ง...ดันป้อแป้ เพราะทรุด โทรมจากซ้อมซะหนักเกิน เรื่องแบบนี้มีบ่อยครับ ในหมู่พวกเรา ของกลุ่มชนส่วนหลักที่อ่าน สารสองล้อ อย่างที่ทึกทักแต่ตอนเกริ่น ผมเดาว่าน่า จะใช้วิธีการปั่นจักรยานเพื่อหวังสุขภาพในทางดี


แต่ตามประสบการณ์ตรงของกระผมกลับเห็น กลุ่มคนหนุ่มสาววัยยังห้าว ใช้จักรยานปั่นในโซน แอนีโรบิค แต่ช่วงเริ่มต้นของการปั่นวัยตั้งไข่ เห็น เยอะมากแบบอย่างว่า ปั่นเหนื่อยหอบ หอบ...แฮ่กๆ แน่นอนครับการปั่นจักรยานมันท�ำได้ แถม ท�ำได้ง่ายกว่าการวิ่ง ในกลุ่มพวกวิ่งเสียอีก ลักษณะ ของกีฬา มันไม่เอื้อให้คนวิ่งเหนื่อยแฮ่กแบบวิ่งร้อย เมตรได้สนุก หากไม่มีฐานแอโรบิคที่มั่นคง จากการ หัดวิ่งแบบแอโรบิค...วิ่งให้ทนทานกันมาก่อน วิ่งตับ แล่บหอบแฮ่กๆ ...มันไม่มีทางท�ำให้รู้สึกสนุกได้เลย เพราะมันมีแต่ความเหน็ดเหนื่อย แถมสุดระบม พวก กลุ่มที่หัดวิ่ง ดูเหมือนจะไม่มีทางลัดที่จะรีบ ไปเล่น หนักได้ในโซนแอนีโรบิค ด้วยลักษณะของธรรมชาติ กีฬามันไม่เอื้อ ต้องอาศัยสองตีนของเราเองเป็นตัว แบกน�ำ้ หนักเรา ลงกระแทกกับถนนยามย�ำ่ เท้าก้าววิง่ คนหัดวิง่ กันใหม่ กว่าจะถึงจุดรักการวิง่ ต้องทนระบม ปวดเมื่อยตัวอยู่เป็นเดือน แถมการเพิ่มระยะจาก กิโลเมตรเป็นให้ได้ซักห้าหกกิโลเมตร ช่างท�ำได้ยาก เย็นนานนับห้าหกเดือน ไม่เหมือนจักรยาน ที่เราเอา ตัวเราขึ้นไปนั่ง ให้รถมันแบกและถ่ายน�้ำหนักเราลง ถนนด้วยสองล้อ การเคลื่อนไหวเราท�ำแค่ออกแรง กดกระไดให้หมุน ระบบลูกปืนและยางทีล่ นื่ ไหล ก็พา คนปั่นเคลื่อนที่ด้วยการใช้พลังงานที่ไม่มากนัก แถม ไม่เกี่ยงน�้ำหนักเรา ปั่นแค่ครั้งสองครั้งท่านใดโชคดี หลุดภาวะเรื่องเจ็บก้น ใส่แรงให้หมดให้รถมันวิ่งจี๋ ยิ่งหอบเหนื่อย ยิ่งชอบด้วยสนุก ถึงโซนแอนีโรบิค ก็ติดใจ ด้วยมันให้ความรู้สึกว่าสุดมันส์ ทั้งด้วยภาวะ การณ์งานที่รัดตัว มีเวลาปั่นวันละน้อยนิด จับกลุ่ม ปัน่ กันได้ ปัน่ ไล่กนั ให้มนั หอบ ชอบจริงๆ ทีเ่ หงือ่ หยด ทั้งหอบเหนื่อย ต่างบอกว่าปั่นได้สะใจ ใครปั่นกัน อย่างนี้ เสียดายจังขาดหลักการ ขาดช่วงการปั่นเพื่อ ตัง้ ฐาน ทีค่ วรจะใช้เวลาให้มากท�ำฐานแอโรบิคให้แข็ง ก่อน แล้วค่อยต่อยอดเน้นการปั่นแอนีโรบิค ครับ หนุม่ สาวออฟฟิศ เป็นวัยมีเรีย่ วแรงแข็งขัน

แต่ตามประสาคนงานยุ่ง ส่วนใหญ่จัดเวลาปั่นได้ยาก เต็มที ปั่นได้ก็หลังเลิกงาน ถึงได้เห็นการปั่นกลางคืน เป็นกลุ่มใหญ่เริ่มนิยม ในหมู่หนุ่มสาวคนท�ำงาน จับกลุ่มได้ก็ตั้งหน้าตั้งตาปั่นอัดกันให้แฮ่ก หากเป็น กลุ่มมีเวลาปั่นสัปดาห์ละวันสองวันก็จัดว่าร่างกาย น่าจะฟื้นตัวทน จากการปั่นโหดโซนแอนีโรบิค แต่ หากเป็นกลุ่มขยันปั่นชวนปั่นโหดทุกวัน ระวังซักวัน พอความโทรมทรุดมันเริ่มเยือน จะหาว่าน้าไม่เตือน แต่ต้นมือ บอกเล่ากันแค่นี้ แค่หวังดึงใจให้ฉุกคิด และ ชวนไปหาอ่านต่อ หาอ่านให้เจอ หลักการปั่นสร้าง ฐานแอโรบิค ควรท�ำกันอย่างไร ท�ำกันก่อนๆ จะมี ปัญหาปัน่ จนโทรม แถมบางคนอาจซวย ในคนเล่น เล่นกีฬาโซนแอนีโรบิคซะอย่างเดียว มักเจอว่าเป็น ผู้มีภาวะเป็นคนหัวใจโต โตแบบบวมอึ๋ม ไม่ใช่โต แบบกล้ามเนือ้ หัวใจมันแข็งแรง ต่างจากคนทีอ่ ดทน เบื่อ เล่นในโซนแอโรบิค จนนานพอ เพื่อเป็นฐาน ก่อนต่อยอดไปเล่นโซนแอนีโรบิค เล่นเหนื่อยแฮ่ก ได้ปลอดภัย พวกคน “หัวใจโต” เป็นเหตุหอ้ งสูบฉีดปัม๊ เลือด มันถูกผนังห้องหัวใจที่บวมอึ๋ม มันบีบเหลือเป็นห้อง แคบ กลายเป็นคนมีห้องหัวใจส�ำหรับสูบฉีดปั๊มเลือด ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย มันหดเล็กลง สืบเนื่องจากการ เล่นกีฬา ในแนวแบบแอนีโรบิคมากเกินไป คนกลุ่มนี้ หากไปหาหมอ หมอท่านจ�ำแนกเป็นพวกมีโรคประจ�ำ นะครับ ว่าเป็นคนไข้หัวใจโต เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่ควรจะได้รบั แถมอีกเรือ่ ง นอกจาก ทีเ่ ตือนว่าจะโทรม ระวังด้วย ทัง้ มันจะกลายว่าเสียของ ในเรื่องออกก�ำลังเพื่อสุขภาพ “ดี” ที่เราท�ำมัน “ดี...จริงๆ หรือ” ภาวะแอโรบิคที่ควรได้ โธ่อตุ ส่าห์หาวิธแี ละหมัน่ ออกก�ำลังหวังสุขภาพดี แต่พอไปหาคุณหมอให้ตรวจร่างกาย คุณหมอดัน จ�ำแนกเราเป็นคนไข้ประเภท “หัวใจโต” แทนที่จะ ได้ค�ำชม “หัวใจแข็งแรง” ■ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 33


Bike to Work

เรื่อง/ภาพ ปรัชญา กิจกังวล

ปั่นจักรยาน มีแต่ได้กับได้ “ผ

มไม่ ไ ด้ เ น้ น หนั ก ในการปั ่ น ไปในทิ ศ ทาง แข่ง ขันหรือ แฟชั่น แต่ผมปั่นไปตามวิถี ของผมซึ่งเหมาะสมและก็พอดีกับตัวผม” ผมชื่ อ ปรั ช ญา กิ จ กั ง วล ชื่ อ เล่ น “ปรั ช ” ครับ อายุ 28 ปี อยู่ ต�ำบลกลางดง อ�ำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาครับ ปัจจุบนั เป็นพนักงานบริษทั เอกชน... เมื่อ 5 ปีที่แล้วก่อนจะมาปั่นจักรยาน ผมเป็น คนชอบเล่นกีฬาฟุตบอลแต่เกิดอุบตั เิ หตุระหว่างการ แข่งขันจนต้องเข้ารับการผ่าตัดหัวเข่าเพราะเส้นเอ็นที่ เข่าขาด และในระหว่างรักษาตัวจึงต้องท�ำกายภาพ บ� ำ บั ด เรื่ อ ยๆ แพทย์ ป ระจ� ำ จึ ง แนะน� ำ ให้ ผ มปั ่ น จักรยาน เพราะการปั่นจักรยานจะไม่มีแรงกระแทก มาที่เข่าเหมือนกับการวิ่ง ผมจึงไปซื้อจักรยานราคา ถูกๆ มาคันนึง เริ่มปั่นก็คือรอบๆบ้านใกล้ๆ ละแวก บ้านเพียงแค่ช่วยบ�ำบัดหัวเข่า หลังจากนั้นก็มีอาการ ดีขึ้นเรื่อยๆ จนแทบจะเป็นปกติ แต่พอหายดีแล้วผม ก็ยังรู้สึกดีที่ได้ปั่นจักรยานจึงปั่นมาเรื่อยๆ จากการ บ�ำบัดตัวเองกลายมาเป็นการปั่นเพื่อออกก�ำลังกาย

34 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)


ประจ�ำ... เพิ่มระยะทางมากขึ้น ปั่นไปตามที่ต่างๆ ในต�ำบล โชคดีอย่างหนึ่งของผมคือ เสันทางการปั่นใน ต�ำบลของผมเต็มไปด้วยธรรมชาติ เพราะผู้คนใน หมู่บ้านส่วนมากจะท�ำเกษตรกรรม ผมจึงไม่เบื่อกับ การปัน่ เลย แถมได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ในต�ำบลมากกว่า การขับรถยนต์หรือขี่จักรยานยนต์ด้วยซ�้ำ ผมใช้เวลา สักระยะหนึ่งในการปั่นจักรยานออกก�ำลังตอนเย็น จึงคิดได้ว่า... ระยะทางจากที่บ้านไปที่ท�ำงานก็ไม่ได้ ไกลมาก ถ้าไปกลับก็แค่ 11 กิโลเมตรเท่านั้น จึงได้ตดั สินใจว่าจะใช้จกั รยานนีล่ ะ่ เป็นพาหนะ ที่จะใช้ไปท�ำงานในช่วงเช้า วันแรกก็ยังหวั่นๆ เพราะ กลัวในหลายๆอย่าง กลัวสุนัข.. กลัวเข้างานไม่ทัน ... กลัวจะถูกมองว่าบ้า... เพราะที่ท�ำงานผมไม่มีใครปั่น จักรยานมาท�ำงานเลย แต่เพียงวันแรกเท่านัน้ ทีผ่ มปัน่ จักรยานไปท�ำงาน ในตอนเช้า ผมก็ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ มากขึ้น ภาพ บรรยากาศและอากาศดีๆ ในช่วงเช้า พระบิณฑบาตร ในช่วงเช้า กิจกรรมช่วงเช้าของคนในต�ำบล มันท�ำให้ ผมรู้สึกสดชื่นมากๆ มันแตกต่างกว่าแต่ก่อนอย่าง

เห็นได้ชัดว่าวันใดผมได้ปั่นจักรยานมาท�ำงานผมจะ ท�ำงานด้วยความสดชื่น เหมือนคนได้เติมพลังก่อน การท�ำงาน หลังจากนั้น ผมก็ใช้จักรยานเป็นพาหนะใน การเดินทางมาท�ำงานจนถึงปัจจุบัน หากแต่มีบ้างที่ มีความจ�ำเป็นที่จะต้องใช้รถยนต์หรือจักรยานยนต์ แทน ถ้าตีเป็นเปอร์เซ็นต์ ผมว่าประมาณ 90% ที่ผม ใช้จักรยานเดินทางมาท�ำงานครับ นอกจากเดินทาง มาท�ำงานแล้วในชีวิตประจ�ำวันของผมจักรยานก็เข้า มามีส่วนร่วมในชีวิตของผมเสมอ เช่นเดินทางใกล้ๆ การไปซือ้ ของทีต่ ลาด คือหากมีโอกาสทีจ่ ะใช้ผมก็จะ ใช้เสมอครับ... ผมมีจกั รยานเก่าอยู่ 2 คัน ก็จะใช้สลับกันไปมา ผมไม่ได้เน้นหนักในการปั่นไปในทิศทางแข่งขันหรือ แฟชั่น แต่ผมปั่นไปตามวิถีของผมซึ่งเหมาะสมและก็ พอดีกบั ตัวผม ทุกวันนีก้ ร็ สู้ กึ ดีครับทีไ่ ด้ปน่ั จักรยานใน ทิศทางของผมแบบนี้ เพราะผมคิดว่า “ปั่นจักรยาน มีแต่ได้กับได้ เราได้ คนรอบข้างเราได้ สังคมได้ โลกก็ได้ และเพียงแค่สงิ่ เดียวทีไ่ ม่ได้จากจักรยานเลย คือ โรคภัยไข้เจ็บ” ครับ ...■ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 35


แนะน�ำร้านจักรยาน

เรื่อง schantalao ภาพ https://www.facebook.com/rideawayshop

น Ride-A-Way-Shop

All Ways for Bike

อกจากสิ น ค้ า ตกแต่ ง และ อุปกรณ์เสริมจักรยานแล้ว ไรด์ อ ะเวย์ ยั ง มี แ บรนด์ ก ระเป๋ า สไตล์ทวั ร์รงิ่ และอุปกรณ์เสริมอืน่ ๆ ภายใต้แบรนด์ Fill In ทีส่ ร้างสรรค์ มารองรับความต้องการและการใช้ งานของลูกค้าอีกด้วย ผลิตภัณฑ์ ที่ออกแบบโดยเน้นคุณภาพและ ทดสอบการใช้งานได้จริงด้วยวัสดุ คุณภาพดี ควบคุมตั้งแต่ขั้นตอน การดีไซน์ การผลิต ขั้นตอนการ ตัดเย็บทีท่ างร้านใส่ใจเพือ่ ให้สนิ ค้า ทุกชิน้ ได้มาตรฐาน นอกจากนีแ้ ล้ว ยั ง มี บ ริ ก ารหลั ง การขายส� ำหรั บ ลูกค้า ทั้งงานแก้ไข ซ่อมแซม เพื่อ ให้ลูกค้าได้อุ่นใจในการเลือกใช้ อุปกรณ์ของทางร้าน ■

สนใจสินค้าต่างๆ สามารถเข้าชมได้ที่ https://www.facebook.com/ rideawayshop ที่ตั้ง : เลขที่ 3 ซอยจรัญสนิทวงศ์ 40/1 แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ โทร. : 094-346-9004 เวลาเปิด-ปิด : 14:00-22:00 น. 36 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)


Fitness Lifestyle 52 วชิรุฬ จันทรงาม

ทางจักรยานใหม่ ที่ต้องลอง (1)

ะยะหลังนี่ เป็นที่แน่ชัดเจนกันยิ่งขึ้น ถึงเรือ่ งกระแสการปัน่ จักรยานทีไ่ ด้เริม่ จุดติดแล้ว เพือ่ เป็นทางเลือกในการเดินทาง เพือ่ สันทนาการ และเพือ่ การออกก�ำลังกาย ผมจึงอยากจะใช้หน้านี้ รวบรวม อัพเดท และบันทึกทางจักรยานทัว่ ไทยเอาไว้ ทัง้ ทีม่ ี แผนที่จะก่อสร้าง และที่ได้สร้างแล้ว เพื่อที่ พวกเราจะได้รบั ทราบกัน ได้ไปลองกัน ตาม สะดวก ตามอัธยาศัย ทางจั ก รยานเลี ย บคลองแสนแสบ (11-16 เมษายน 2558) นายอดิศักดิ์ ขันตี รป.กทม. กล่าวว่า ได้ลงพืน้ ทีส่ ำ� รวจเส้นทางจักรยานริมคลอง แสนแสบ ตัง้ แต่ทา่ เรือซอยรามค�ำแหง 167 เขตสะพานสูง-คลองตัน เพือ่ พัฒนาเส้นทาง จักรยานเลียบคลองแสนแสบให้เป็นทางเลือก ในการเดินทางเชือ่ ม ต่อระบบขนส่งมวลชน อืน่ ๆ และทางสายหลัก โดยมีแผนจัดท�ำเป็น ทางเดินและทางจักรยานเชือ่ มต่อกัน ตัง้ แต่ บริเวณประดิษฐ์มนูธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 10 กิโลเมตรทั้งสองฝั่ง ให้เป็นทางเดินและ ทางจักรยานคอนกรีต ขนาด 1.5-2 เมตร โดย ให้สำ� นักงานเขตพืน้ ทีส่ ำ� รวจและด�ำเนินการ ร่วมกันทันที กทม. อยู่ระหว่างการเตรียมจัดท�ำ เส้นทางจักรยานรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ฝั่งธนบุรี อีก 5 เส้นทาง รวมถึงถนนสาทร ถนนบางขุ น เที ย นชายทะเล ถนนรอบ อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และถนนลาดพร้าว เส้นทางจักรยานในฝัน “เชียงใหม่” ไม่คบ ื หน้า ถูกยึดจอด จยย.เต็มเลน (17 เมษายน 2558) ศูนย์ขา่ วเชียงใหม่ - แผนสร้างเส้นทาง จักรยานเชียงใหม่ยังไม่คืบ วางแผนท�ำกัน 4 สาย ได้งบท�ำแค่ 20 ล้านบาท แถมล่าสุด สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 37


คืบหน้าแค่ 50% เหลืออีกเพียง 7 วันจะสิ้นสุดสัญญา ก่อนถึงวันส่งมอบงาน และเส้นทางจักรยานในเขต ตัวเมืองได้กลายเป็นที่จอดรถจักรยานยนต์ จนต้อง เสี่ยงปั่นกันบนทางรถยนต์แทน วันนี้ 17 เมษายน 2558 หลังจากรัฐบาลมีนโยบาย สนับสนุนให้ทุกจังหวัดสร้างเส้นทางจักรยานขึ้น ซึ่ง จังหวัดเชียงใหม่ได้ก�ำหนดก่อสร้างทั้งหมด 4 เส้นทาง คือ 1. รอบคูเมืองเชียงใหม่ รวมระยะทาง 13.5 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 8 ล้านบาท 2. เวี ย งกุ ม กาม อ.สารภี ระยะทาง 9.7 กิโลเมตร งบประมาณ 3.7 ล้านบาท ซึ่งเป็นเส้นทางใน ประเภทเขตเมืองและชุมชน 3. เส้นทางสาธารณะและท่องเทีย่ ว คือ เส้นทาง สายพื ช สวนโลก-พระธาตุ ด อยค� ำ -ไนท์ ซ าฟารี ระยะทางประมาณ 18 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 7.4 ล้านบาท 4. จากห้ ว ยตึ ง เฒ่ า -ศู น ย์ ป ระชุ ม และจั ด แสดงสิ น ค้ า นานาชาติ เฉลิ ม พระเกี ย รติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ระยะทาง 4.5 กิโลเมตร งบประมาณ 20 ล้านบาท ยังไม่มีการสร้างเส้นทางจักรยานตามที่ระบุไว้ ในขั้นต้น จะมีก็เพียงแต่บริเวณถนนโดยรอบหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (ศาลากลางเก่า) และบริเวณ ถนนด้านหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ที่มีการทาสีถนน เพื่อบอกถึงเส้นทางจักรยานทั้งสองข้างทางเท่านั้น และบริเวณรอบคูเมืองยังมีรอยของการแบ่งเส้นทาง จักรยานแต่ก็ยังมีสิ่งกีดขวางบนเส้นทางเช่นเดิม เส้ น ทางจั ก รยานบริ เ วณด้ า นหน้ า วิ ท ยาลั ย อาชีวศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ทีก่ ำ� หนดเส้นทางจักรยาน ไว้อย่างชัดเจน แต่กม็ ผี นู้ ำ� รถจักรยานยนต์มาจอดขวาง ตลอดแนวเส้นทาง ท�ำให้ผู้ที่ปั่นจักรยานไม่สามารถปั่น จักรยานบนเส้นทางได้ ส่วนอีก 3 เส้นทางที่เหลือยังไม่สามารถสร้าง ได้ เนื่องจากต้องรอการจัดสรรงบประมาณจากทาง กรมพลศึกษาก่อน เส้นทางที่ 4 จากห้วยตึงเฒ่า-ศูนย์ประชุมและ จัดแสดงสินค้านานาชาติ เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ระยะทาง 4.5 กิ โ ลเมตร ที่ เ ริ่ ม 38 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)

ท�ำสัญญาการว่าจ้าง ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 57 การก่อสร้างคืบหน้าแล้วประมาณ 50% เท่านั้น ตาม สัญญาจะต้องแล้วเสร็จภายในวันที่ 24 เมษายน 2558 ทางจักรยานทั่วประเทศไทย นางสร้ อ ยทิ พ ย์ ไตรสุ ท ธิ์ ปลั ด กระทรวง คมนาคม เปิดเผยถึงแผนการพัฒนาเส้นทางจักรยานใน กรุงเทพมหานคร ว่า รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงคมนาคม ต้องการให้มีการเพิ่มเติมเส้นทางจักรยาน อีก 3 แห่ง ในปี 2558 โดยจะผลักดันให้มีเส้นทางจักรยานให้ได้ ถึง 1 พันแห่งทั่วประเทศภายในปี 2559 ซึ่งเป็นการ ร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬา และกรุงเทพมหานคร โดยงบประมาณที่จะน�ำมาใช้พัฒนาเส้นทางจักรยาน ส่วนใหญ่จะมาจากงบประมาณของแต่ละหน่วยงาน มอบ สนข.ศึกษา กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ส�ำนักงาน นโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็น หน่วยงานกลางในการรวบรวมข้อมูล ซึง่ เบือ้ งต้นแต่ละ กระทรวงที่เกี่ยวข้องจะมีแผนงานและงบประมาณ รองรับอยู่แล้ว โดยกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้รับ มอบหมายให้ดูแลทางจักรยานทั่วประเทศ ทั้งแบบ ลานกีฬาหรือเพื่อท่องเที่ยว ส่วน กทม.นั้นมีเส้นทางจักรยานอยู่ 31 เส้นทาง แต่อาจจะมีบางเส้นทางที่ได้รับความนิยม บางเส้น ทางอาจจะต้องปรับปรุงให้มีมาตรฐานดีขึ้น บางเส้น ทางมีปัญหารถจักรยานยนต์เข้าไปใช้เส้นทาง โดย จะมีโครงการน�ำร่องที่เป็นต้นแบบในต่างจังหวัด คือ เส้นทางจักรยานริมแม่น�้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลกซึ่ง ใช้ส�ำหรับการสัญจร ท่องเที่ยวและออกก�ำลังกาย โดย มีการออกแบบเส้นทางให้ได้มาตรฐาน ระยะทางรวม 23 กิโลเมตร งบประมาณ 20 ล้านบาท โดยระยะแรกจะ ปรับปรุงระยะทาง 4.5 กิโลเมตร วงเงิน 5 ล้านบาทก่อน ใน กทม.จะเป็ น เส้ น ทางจั ก รยานรอบบึ ง มั ก กะสั น พื้ น ที่ 500 ไร่ โดยระยะแรกจะจั ด ท� ำ เส้นทางรอบสถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ระยะทาง ประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งจะต้องมีการส�ำรวจออกแบบ เพือ่ ให้สอดคล้องกับโครงการพัฒนาพืน้ ทีม่ กั กะสันของ


การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สนข.จะประมวลเส้ น ทางจั ก รยานที่ มี อ ยู ่ ใ น ปัจจุบันของคมนาคม ทั้งเส้นทางจักรยานเพื่อแก้ไข ปัญหาจราจร เส้นทางในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อปรับปรุง ให้เส้นทางมีมาตรฐานและมีสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ครบถ้วน มีป้ายสัญลักษณ์ พร้อมจุดพัก จุดชมวิว และ เส้ น ทางที่ ต ้ อ งท� ำ เพิ่ ม จั ด หมวดหมู ่ ใ ห้ ชั ด เจนเพื่ อ ไม่ให้การด�ำเนินงานซ�้ำซ้อนกัน ส�ำหรับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ได้มี การด�ำเนินการเรือ่ งของ เส้นทางจักรยาน ประกอบด้วย กรมเจ้าท่า (จท.) แผนงานโครงการที่จะด�ำเนินการใน อนาคต คือ เส้นทางจักรยานเลียบเขือ่ นป้องกันตลิง่ พัง แม่นำ�้ ป่าสัก ระยะทาง 9 กิโลเมตร ปี พ.ศ.ทีจ่ ะด�ำเนินการ 2559-2561 วัตถุประสงค์ทางจักรยาน เพือ่ การสันทนาการ และออกก�ำลังกาย กรมการขนส่ ง ทางบก (ขบ.) โครงการที่ อ ยู ่ ระหว่างการด�ำเนินงานชื่อ เส้นทางจักรยานภายใน บริเวณกรมการขนส่งทางบก ถนนพหลโยธิน แขวง จอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ระยะทาง 2 กิโลเมตร ภายในกรมการขนส่งทางบก ปี พ.ศ.ที่ด�ำเนินงาน 2557-2558 วัตถุประสงค์ทางจักรยาน เพื่ออ�ำนวย ความสะดวกให้ข้าราชการและประชาชนในการติดต่อ ระหว่างอาคาร โครงการที่อยู่ระหว่างการด�ำเนินงาน กรมทางหลวง (ทล.) 1. เส้นทางจักรยาน ทางหลวงหมายเลข 121 ระยะทาง 4.56 กิ โ ลเมตร พื้ น ที่ ต� ำ บลดอกแก้ ว อ�ำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ.ที่ด�ำเนินงาน 2558 วัตถุประสงค์ทางจักรยาน สนับสนุนการท่องเทีย่ ว การออกก�ำลังกาย 2. เส้นทางจักรยาน ทางหลวงหมายเลข 2034 ระยะทาง 7 กิโลเมตร ตอนมุกดาหาร-นาสีนวน ระหว่าง กิโลเมตรที่ 1+000-8+00 พื้นที่ ต�ำบลนาสีนาว อ�ำเภอ เมืองมุกดาหาร ปี พ.ศ.ทีด่ ำ� เนินงาน 2558 วัตถุประสงค์ ทางจักรยาน สนับสนุนการท่องเทีย่ ว การออกก�ำลังกาย 3. เส้นทางจักรยาน ทางหลวงหมายเลข 4 ระยะทาง 2.20 กิโลเมตร ปี พ.ศ.ที่ด�ำเนินงาน 2558 วัตถุประสงค์ทางจักรยาน สนับสนุนการท่องเที่ยว

การออกก�ำลังกาย จังหวัดพังงา 13 กุมภาพันธ์ 2558 หมูบ่ า้ น หมู่ 9 บ้านทับปลา ต�ำบลท้ายเหมือง อ�ำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา นายวิทย์ วรวงค์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานทางหลวง ชนบทจังหวัดพังงา ได้จดั การประชุมรับฟังความคิดเห็น ต่อโครงการปรับปรุงและก่อสร้างทางจักรยาน ส�ำหรับ การออกก�ำลังกายและพักผ่อน ถนนสาย พง. 5012 เชือ่ มถนนเทศบาลท้ายเหมือง - ชายทะเลท้ายเหมือง ระยะทาง 3.875 กิ โ ลเมตร เลี ย บชายทะเลหาด ท้ายเหมือง โดยมี นายวรพจน์ ล้อมลิม้ หัวหน้าอุทยาน แห่งชาติเขาล�ำปี-หาดท้ายเหมือง พ.ต.ท.จักรกฤช แต้วฒ ั นา รักษาการ รอง ผกก.สภ.ท้ายเหมือง นายสมนึก ทองเพชร ประธานชมรมจั ก รยานเพื่ อ สุ ข ภาพ จังหวัดพังงา พร้อมด้วยผูแ้ ทนจากหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ผู้น�ำท้องที่ ผู้น�ำชุมชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วม เป็นจ�ำนวนมาก รัฐบาลได้มีนโยบายให้สร้างเส้นทางจักรยาน เพื่อให้มีความปลอดภัย และส่งเสริมให้ประชาชนใช้ จักรยานให้มากขึ้นในชีวิตประจ�ำวัน การปั่นจักรยาน ถือเป็นกิจกรรมทีด่ ตี อ่ สุขภาพ และยังเป็นการเปิดพืน้ ที่ ในการพบปะสังสรรค์ ใช้เวลาร่วมกันกับเพื่อนๆ และ ครอบครัว ช่วยสร้างครอบครัวอบอุ่น และท�ำให้สังคม น่าอยู่มากขึ้น ปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดพังงาได้มีกลุ่มนักปั่นเพิ่ม มากขึน้ อย่างรวดเร็ว นอกจากนัน้ ยังมีกลุม่ นักท่องเทีย่ ว ที่ชื่นชอบในการปั่น มีความชื่นชอบในเส้นทางต่างๆ ของจังหวัดพังงาเป็นอย่างมาก ในการก่อสร้างครั้งนี้ อาจจะมีการกระทบกับชีวติ ความเป็นอยูข่ องประชาชน ในพื้นที่ จึงจ�ำต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในพื้นที่ก่อน ซึ่งประชาชนก็ได้มีมติเห็นด้วยกับการ ก่อสร้างครั้งนี้ ได้ยินได้เห็นแล้วก็ชื่นใจที่รัฐฯ ได้ตื่นตัวและมี การสนับสนุนการใช้จักรยานอย่างจริงจังมากขึ้นอย่าง เป็นรูปธรรม ช่วยกันติดตามและเสนอแนะให้กับทุก หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการที่จะท�ำให้ฝันของ พวกเราชาวจักรยานเป็นจริงนะครับ ■ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 39


App Update

เรื่อง @zangzaew

TRAINER ROAD ส

ำหรั บ นั ก ปั ่ น จั ก รยานเพื่ อ ออกก� ำ ลั ง กาย ผู้ซึ่งต้องการรูปแบบการฝึกฝนที่เข้มข้นและ จริงจัง รวมถึงการฝึกฝนในระดับเดียวกับนักปั่น จักรยานแข่งระดับมืออาชีพ สามารถโหลด App หรือโปรแกรม “TRAINER ROAD” เพื่อการฝึกปั่น

40 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)

จักรยานแบบเดียวกับนักแข่ง ราวกับมีโค้ชมือโปร คอยก�ำกับดูแลก็ไม่ปาน โปรแกรมตัวนีท้ ำ� งานได้ทงั้ บนเครือ่ งคอมพิวเตอร์ PC (Window XP ขึน้ ไป) และ MAC (OS 10.6 ขึน้ ไป) รวมถึง App ที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้ในอุปกรณ์


iOS ของ Apple ไม่วา่ จะเป็น iPad หรือ iPhone โดย ตัวโปรแกรมนัน้ ให้ความสะดวกง่ายดายต่อการใช้งาน อย่างมาก สามารถเลือกก�ำหนดโปรแกรมการฝึกฝน ด้วยวิธีใช้เม้าท์คอมพิวเตอร์ควบคุมการลากแล้ววาง เช่นเดียวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ท�ำให้สามารถก�ำหนดรูปแบบการฝึกได้อย่าง สะดวก ทั้งนี้ตัวโปรแกรมนั้นใช้มาตรฐานการฝึกฝน รูปแบบต่างๆ จากโค้ชมืออาชีพซึง่ ใช้สำ� หรับการฝึกฝน นักแข่งจักรยานในสหรัฐอเมริกาเป็นพิมพ์เดียวกันเลย ตัวโปรแกรมนั้นสามารถใช้งานเชื่อมโยงกับ อุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ หลากหลายยี่ห้อดัง ผ่านทาง ระบบ ANT+ หรือ บลูทธู และผลทีเ่ กิดขึน้ จะแสดงบน จอคอมพิวเตอร์ทันทีแบบเรียลไทม์ ตลอดจนรองรับ อุปกรณ์ฝกึ ปัน่ จักรยานมากมาย อาทิ Wahoo KICKR, CycleOps PowerBeam Pro & PowerSync, CycleOps 300/400, CompuTrainer และ Tacx & Elite เป็นต้น และเพื่อความ “อิน” ในการฝึกเช่นเดียวกับ นักแข่งจักรยาน ตัวโปรแกรมจึงสามารถก�ำหนดให้ เชือ่ มโยงกับเครือข่าย Video ออนไลน์ตา่ งๆ ของการ บันทึกรายการแข่งขันจักรยานจากสถานทีจ่ ริงทัว่ โลก ซึง่ ท�ำให้การฝึกฝนมีความสนุกสนานและท้าทายมาก ยิง่ ขึน้ ในการสร้างแรงบันดาลใจ หรือจะใช้เพือ่ การชม ภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงระหว่างฝึกฝน ก็สามารถ ท�ำได้เช่นเดียวกัน ความสนุ ก ยิ่ ง กว่ า คื อ ตั ว โปรแกรมเสริ ม ชื่ อ TrainerRoadCompanion ซึ่งสามารถดาวน์โหลด มาใช้ ง านร่ ว มกั น กั บ เพื่ อ นนั ก ปั ่ น ท� ำ ให้ ส ามารถ สร้างทีมเพื่อแบ่งปันประสบการณ์จากการฝึกฝนกับ เพื่อนๆ ได้ ค่าใช้จา่ ยส�ำหรับการใช้งานโปรแกรมหรือ App ดังกล่าวนี้ จะเรียกเก็บเป็นรายเดือน คือเดือนละ 10 USD หรือประมาณ 324 บาทต่อเดือน สามารถดู ร ายละเอี ย ดและดาวน์ โ หลดได้ ที่ www.trainerroad.com ■ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 41


เชิงช่างหนึ่ง เรื่อง ช่างหนึ่ง

การเลือกแฮนด์ให้ถกู ต้อง

ฟนๆ คอลัมน์ สอบถามมาเรือ่ งแฮนด์ จึง ขอมอบเรื่องราวเกี่ยวกับแฮนด์ให้ทราบ ในฉบับนี้ เพื่อให้ท่านสมาชิกได้ทราบกันว่า แฮนด์มีรายละเอียดอะไรบ้าง และท�ำไมถึง ต้องทราบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร Reach ระยะ Reach เป็นระยะจากเส้นผ่าน ศู น ย์ ก ลางของบาร์ บ น ไปจนถึ ง เส้ น ผ่ า น ศูนย์กลางของส่วนที่โค้ง ซึ่งมีหลายระยะ ให้เลือก ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับฝ่ามือของเราเอง ถ้าเราเป็นคนมือใหญ่นิ้วยาว สามารถใช้ Reach ที่มีความยาวมากขึ้น เพื่อให้เราจับ แฮนด์ได้กระชับ ถ้ า เรามื อ ใหญ่ แล้ ว เลื อ กใช้ ร ะยะ Reach แคบหรือระยะ Reach น้อย จะท�ำให้ มือของเรารู้สึกไม่สบายมือ คือช่องของการ จับมันจะเล็ก บางคนปวดมือเพราะช่องที่ แคบนั่นเอง Ramp angle จุ ด นี้ จ ะเป็ น ความลาดของแฮนด์ ด้านบน ระยะตรงนี้จะขึ้นอยู่กับความถนัด ของแต่ละคน เพราะการจับแฮนด์ ท่าทาง การปั่นแตกต่างกัน การวางมือนั้นบางคน ชอบแบบกดผ่ามือลง บางคนชอบหงายมือ หน่อย เป็นต้น 42 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)


Drop คื อ ความลึ ก ของแฮนด์ ผมมื อ เล็ ก จึงผมชอบทรงแฮนด์ Compact ซึ่งจับได้ ถนัดที่สุด บางท่านฝ่ามือใหญ่ บางทีทรง แฮนด์ Compact ก็อาจจะไม่ถนัด เพราะ วางมือได้ไม่เต็มช่องของการวางมือทีบ่ าร์ลา่ ง Clamp Diameter จุดนี้เป็นจุดที่เราต้องทราบเพื่อเลือก ซื้อขนาดของคอแฮนด์ได้อย่างถูกต้อง เช่น แฮนด์ขนาด 31.8 จะต้องซื้อ คอแฮนด์ 31.8 ด้วยเช่นกัน สิ่งที่ส�ำคัญที่เราต้องเลือกก่อน คือขนาดความกว้างของแฮนด์ ขนาดความ กว้างของช่วงไหล่แต่ละคน มีขนาดไม่เท่า กัน เราจะวัดขนาดของหัวไหล่ของเราว่ามี ความกว้างเท่าใด จากนั้นเอาค่าตัวเลขที่ได้ มาไปเลือกซื้อแฮนด์ที่ถูกต้อง สรุปว่า หากเราจะซือ้ แฮนด์สกั หนึง่ อัน เราต้องพิจารณาอะไรบ้าง ส่วนแรกขนาด ทีเ่ ราได้มาทีว่ ดั จากหัวไหล่เรา ทรงของแฮนด์ ระยะ reach วัสดุทใี่ ช้ทำ� แฮนด์ เช่น อลูมเิ นียม คาร์บอน เหล็ก อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า ผู้บริโภค อย่ า งเราๆ จะเลื อ กให้ เ หมาะสมอย่ า งไร นั่นเอง ■

สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 43


เชิญทุกท่านทีส่ นใจจักรยาน รวมถึง ความสนใจในการดูแลสุขภาพ และ ออกก�ำลังกาย ด้วยการขี่จักรยาน มาสมั ค รเป็ น สมาชิ ก ของสมาคม จั ก รยานเพื่ อ สุ ข ภาพไทย เพื่ อ โอกาสในการรับข่าวสาร ตลอดจน สิทธิประโยชน์มากมาย.. หรือสมัคร ผ่านระบบออนไลน์..​ดังนี้ J สมาชิกประเภทบุคคล 1. อัตราค่าสมาชิกแบบรายปี 200 บาท 2. อัตราค่าสมาชิกแบบตลอดชีพ 2,000 บาท (รับวารสาร สารสองล้อ แบบรูปเล่มทางไปรษณีย์) * กรณีต่ออายุสมาชิก ใช้อัตราเดียวกับแบบรายปี J สิทธิประโยชน์ที่สมาชิกได้รับ 1. ช�ำระค่าทริปในราคาสมาชิก 2. ช�ำระค่าสินค้าสมาคมฯ ในราคาสมาชิก 3. แสดงบัตรเพื่อรับส่วนลดร้านค้าร่วมรายการ เช่น ร้านจักรยาน ร้านอาหาร ฯลฯ 4. มีสิทธิในการเข้ารับเลือกเป็นคณะผู้บริหาร กิจกรรมสมาคมฯ 5. มีสทิ ธิออกเสียงเลือกตัง้ คณะบริหารกิจกรรม ของสมาคมฯ

44 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)

J การช�ำระค่าสมัครสมาชิก สามารถช�ำระได้สองวิธีคือ 1. สมัครแบบออนไลน์ ด้วยการกรอกแบบฟอร์มผ่านทางเว็บไซต์ ได้ ที่ http://www.thaicycling.com/tcha/ member_register/ หรือใช้สมาร์ทโฟน สแกน QR Code ที่ปรากฏนี้ และท�ำการโอนเงินไปยัง.. ธนาคารกสิกรไทย สาขาเทสโก้ โลตัส พระรามที่ 3 ชือ่ บัญชี สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย บัญชีเลข ที่ 860-2-14222-2 2. ช�ำระด้วยเงินสด ณ ที่ท�ำการสมาคมฯ 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 22 (สาธุประดิษฐ์ 15 แยก 14) ถนนนราธิวาสราช นครินทร์ ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-678-5470 โทรสาร : 02-678-8589 เวลาท�ำการ 09:00 น. – 18:00 น. email: membertcha@gmail.com


áÃç¤ËÅѧ¤Ò áÃ礨ѡÃÂÒ¹

Tel : 02 589 2614 , 02 591 5220-2

สอนซ่อมจักรยานเบื้องต้น โดยสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ที่สวนเบญจกิติ เวลา 9.00 น. อาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน 2558 โดยอาสุวิทย์และคณะ

แนะน�ำการตัดต่อโซ่ และปะยางด้วยตนเอง โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989 พิเศษ! บัตรสมาชิกสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย ใช้สิทธิส่วนลดได้ที่ PRO BIKE ส่วนลด 15% โทร. 02-254-1077 WORLD BIKE ส่วนลด 20% โทร. 02-944-4848 THONGLOR BIKE ส่วนลด 10% ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ยกเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ โทร. 02-712-5425 ZIP COFFEE (หมู่บ้านสัมมากร) ส่วนลดกาแฟ 10 บาท ส�ำหรับผู้ถือบัตรฯ และลด 20 บาท ส�ำหรับผู้สวมเสื้อจักรยาน TCHA ลายธงชาติ Steve Café & Cuisine ส่วนลด 10% ส�ำหรับค่าอาหาร โทร. 081-904-8444

จองด่วน!

โฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเหล่านักปั่นมากที่สุด!

เปิดพื้นที่โฆษณาย่อยเป็นพิเศษ ส�ำหรับร้านค้าย่อยที่จ�ำหน่าย จักรยาน บริการซ่อมบ�ำรุง จ�ำหน่ายอะไหล่ รับประกอบจักรยาน เสื้อผ้า ร้านอาหารสินค้ามือสอง ของส่วนตัว บริการท่องเที่ยว หรืออื่นๆ เชิญจับจองด่วน พื้นที่ขนาด 3 คูณ 6 เซนติเมตร ราคาพิเศษในโอกาส เปิดพื้นที่ใหม่เพียง 1,000 บาทต่อครั้งต่อเล่มเท่านั้น ติดต่อด่วน โทร. 02-678-5470 หรือทางเวบไซต์ที่ http://bit.ly/TCHAminiAD

6 ซม. 3 ซม. โฆษณาตรงเป้าหมายและยังได้ร่วมสนับสนุนสมาคมฯ อีกด้วย! สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558) │ 45


บริจาคจักรยาน

โครงการต่อเนือ่ งทีส่ มาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย TCHA จัดขึน้ เพือ่ น�ำจักรยานเก่ามาบูรณะใหม่ และ น�ำไปมอบให้กับน้องๆ เยาวชนตามที่ห่างไกล เพื่อใช้ ในการเดินทางสัญจรไปโรงเรียน หรือส�ำหรับ ภารกิจอื่นๆ ตลอดจนออกก�ำลังกายในครอบครัวได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาพลังงานสิ้นเปลืองด้านอื่น ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมบริจาคจักรยานที่ไม่ ใช้แล้ว และยังอยู่ ในสภาพที่สามารถซ่อมแซมขึ้นมา ใหม่ได้ โดยสมาคมฯ มีกิจกรรมนัดซ่อมจักรยานเพื่อน้อง จากบรรดาอาสาสมัครมาช่วยกันซ่อมบ�ำรุง ให้จักรยานที่ได้รับบริจาคเหล่านี้ ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ สามารถน�ำไปใช้งานได้อย่างเช่นปกติดังเดิม โดยมี โครงการน�ำจักรยานเหล่านี้ไปส่งมอบให้กับเยาวชน ณ โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ ถนนนราธิวาส

ติดตอสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย รถไฟฟา BTS หรือประสงครวมโครงการรีไซเคิลจักรยานไดที่ ศาลาแดง รถไฟฟา BTS สำนักงาน สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ชองนนทรี ถนนสาทร 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร 22 รถไฟฟา BTS BRT ชองนนทรี (สาธุประดิษฐ 15 แยก 14) สุรศักดิ์ ถนนนราธิวาสราชนครินทร แขวงชองนนทรี แมคโคร BRT เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 ถนนจันทน รร.เซนยอเซฟฯ โทรสาร 02-678-8589 ซอย 15 นราธิวาสฯ 22 ที่ทำการสมาคมฯ BRT ถนนจันทน เว็บไซต www.thaicycling.com (นราธิวาส ซอย 22) ถนนสีลม

ุประดิษฐ

ถนนสาธ

สาธุประดิษฐ 15 แยก 14 ทางลงสาธุประดิษฐ

46 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)

ทางดว

โลตัสพระราม 3

ถนนพระราม 3

Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล tchathaicycling@gmail.com


ÊÔ¹¤ŒÒÊÁÒ¤Á¨Ñ¡ÃÂÒ¹à¾×èÍÊØ¢ÀÒ¾ä·Â

เปนสินคาที่จำเปนสำหรับผูใชจักรยาน จัดจำหนายในราคามิตรภาพ ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี สามารถเลือกซื้อไดที่ สมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร 22 ถนนนราธิวาสราชนครินทร แขวงชองนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 หรือสั่งซื้อทางไปรษณีย ดวยการโอนเงินเขาบัญชีของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ประเภทบัญชีออมทรัพย ธนาคารกสิกรไทย สาขาโลตั ส พระราม 3 เลขที ่ 860-2-14222-2 แล ว กรุ ณ าแฟกซ ส ำเนาใบโอนไปที ่ โทรสาร 02-678-8589 หรื อ ส ง ทาง email: tchathaicycling@gmail.com

02

01

05 03

04

06 09

08

10

07 01 หมวกคลุมหนา 02 แถบเสื้อ 03 เสื้อจักรยาน 04 เสื้อจักรยาน 05 กางเกงขาสั้น SDL (สีฟาและสีเขียว) สะทอนแสง TCHA แขนสั้น TCHA แขนยาว รุนมาตรฐาน ใบละ 130 บาท สินคาหมดชั่วคราว ตัวละ 750 บาท ตัวละ 950 บาท ตัวละ 950 บาท 06 กางเกงขายาว 07 ถุงแขน 08 กางเกง 09 กางเกง 10 พวงกุญแจ SDL รุนมาตรฐาน สีดำ ขาสั้น รุนใหม ขายาว รุนใหม โปรดระวังจักรยาน │ 47 ตัวละ 1,100 บาท คูละ 120 บาท ตัวละ 450 บาท ตัวละ 690สารสองล้ บาทอ 287 (พฤษภาคม ชิ้นละ2558) 30 บาท


48 │ สารสองล้อ 287 (พฤษภาคม 2558)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.