สารสองล้อ มกราคม 2558

Page 1


เรื่อง zangzaew

ปั่นออนไลน์ สไตล์สนุก..เพื่อสุขภาพ ที่มา zwift.com

ปั่นผู้มีเวลาน้อย ออกรอบกลาง ส�แจ้งกัำบเพืหรัไม่​่อคบนฝู่อนัยได้กงมากนั ้น แต่สนใจ

อยากทดสอบความเร็วในสนาม แข่งกับเขาบ้าง.. เจ้าซอฟท์แวร์ หรือ App ที่ชื่อว่า Zwift ตัวนี้.. สามารถตอบสนองได้เต็มๆ ซอฟท์แวร์ Zwift ถูกพัฒนา ขึ้ น ภายใต้ เ อ็ น จิ้ น Zengine ที่ พั ฒ นาขึ้ น มาเองของที ม วิ ศ วกร คอมพิ ว เตอร์ ค ่ า ย Zwift โดย ร่วมมือกันกับโปรจักรยาน Mike McCarthy ผู ้ มี ป ระสบการณ์ ในสนามแข่งขันมากกว่า 12 ปี กลายเป็นเกมออนไลน์ที่ต้องใช้ การปัน่ จักรยานจริงๆ เพือ่ ลงสูเ่ ส้น ทางแข่งขันที่สมจริง.. สวยงาม...

แบบเดียวกับการเล่นเกมออนไลน์ สไตล์เรสซิ่ง.. เชื่อมต่ออุปกรณ์หลายชนิด ด้วยระบบ ANT+ และ Bluetooth ท�ำให้เซ็นเซอร์วดั ระยะทาง ความเร็ว รอบขา หรือฮาร์ทเรต กลายมา เป็นข้อมูลที่แปลงไปสู่รูปแบบการ ปั่นราวกับของจริงในภาพกราฟิค ที่ปรากฏ สามารถเข้าร่วมแข่งขัน พร้อมกันได้ถึง 1 หมื่นคนทั่วโลก และจะเพิ่มเป็น 10 สนามในปี 2015 รวมถึงการพัฒนาเป็น App

เกมส� ำ หรั บ เล่ น บนแทปเล็ ต ทั้ ง ระบบ iOS และ Android ขั้ น ตอนการสมั ค รเข้ า เล่ น เกมแบบเหนื่ อ ยจริ ง เสี ย เหงื่ อ จริงแบบนี้แสนง่ายดาย เพียงแค่ ดาวน์ โ หลดโปรแกรมเกมมาลง ในเครื่อ ง MAC หรือ PC แล้ว ลงทะเบียนสมัครเข้าระบบ โดย ในช่วงเปิดให้บริการจริงภายใน ปี 2015 นี้ จะคิดค่าบริการเป็น รายเดือน เดือนละ 10.00 USD (ประมาณ 330 บาท) ■


ช่างคิดช่างประดิษฐ์ เรื่อง zangzaew

จักรยานพกพาไร้โซ่ ที่มา http://bygen.co.kr/

ารคิดค้นจักรยานที่ไม่ต้องพึงพาวิธีขับเคลื่อน ด้วยโซ่นั้น มีมาเป็นระยะๆ แต่คงจะไม่เหมือน กันกับวิธีคิด และการออกแบบของทีมวิศวกรของ บริษัท Bygen ประเทศเกาหลี เพราะเขาได้พยายาม คิดค้น เพือ่ ให้เกิดจักรยานทีป่ น่ั ได้แบบไร้โซ่ อีกทัง้ ยัง อ�ำนวยความสะดวกในการเดินทาง ข้อเหวี่ยงที่ขับเคลื่อนดุมล้อและเฟืองท้ายล้อ หลังโดยตรง โดยมีบนั ไดส�ำหรับปัน่ ทัง้ สองข้าง เพือ่ ให้ เกิดความรู้สึกเช่นเดียวกับการปั่นจักรยานตามปกติ แต่ไม่ต้องใช้โซ่เพื่อส่งก�ำลัง จนได้รับการจดสิทธิบัตร เป็นที่เรียบร้อย จากการทดสอบพบว่า ระบบดังกล่าวสามารถ ลดการสูญเสียพลังงาน จากการปัน่ จักรยานปกติแบบ มีโซ่ได้ 7 - 8 เปอร์เซ็นต์ และเพือ่ อ�ำนวยความสะดวกมากยิง่ ขึน้ จึงเป็น ครั้งแรกที่ได้มีการออกแบบเฟรมจักรยานแบบสไลด์ เก็บได้ โดยใช้วสั ดุคาร์บอนทีพ่ ฒ ั นาขึน้ มาเฉพาะ เพือ่ ความคงทนต่อการใช้งานในลักษณะนี้ และยังง่าย ต่อการพกพา ส�ำหรับการเดินทางเชื่อมต่อกับระบบ ขนส่งมวลชน กว่ า 6 ปี ที่ ที ม วิ ศ วกรของ Bygen พั ฒ นา ผลงานชิ้นนี้ ท�ำให้พวกเขาประสบความส�ำเร็จอย่าง ภาคภูมิใจ จากการได้รับรางวัลนวัตกรรมที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาในประเทศ เกาหลี ■


www.yaban.com



สารสองล้อ ได้รบั การสนับสนุนโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สารสองล้อ ฉบับที่ 283/มกราคม 2558 ISSN 1513-6051

3 ช่างคิดช่างประดิษฐ์ 8 แวดวงสองล้อ 10 ปฏิทินทริป 11 ทริปและกิจกรรม 12 รอบรู้สองล้อ 16 จากสายแข่ง สายเทยี่ ว แล้วเลยี้ วไปสายกาแฟ 18 สุขภาพดี...ไม่มีขาย 22 ปัน่ วันเดียว…เทีย่ วตลาดโบราณบางพลี 24 เชียงใหม่ BIKE FESTIVAL 26 ปั่นบริจาคห่วงอลูมิเนียม 28 BTS Bike Rally for Life 30 จักรยานทางไกล ทอดผ้าป่าสามัคคี 31 Velo Thailand 32 Bike to work 34 ปัน่ สองเดือนเทีย่ วยูนนาน.. ตอนที่ 4 (ต่อ) 38 ดูแลผิวสวย... ยามสายลมหนาวโชย 40 บางกะเจ้า... The Best Urban Oasis (2) 42 เชิงช่างหนึ่ง ตอน Crack 46 บริจาคจักรยาน 47 สินค้าสมาคมฯ

บทบรรณาธิการ

น่ายินดีที่ “รูปธรรม” เพือ่ สนับสนุนและส่งเสริมการใช้จกั รยาน เกิดขึน้ แบบจับต้องได้ ใช้งานได้ อย่างเช่นโครงการเส้นทางจักรยาน รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งทางกรุงเทพมหานครได้ด�ำเนินการใน แบบที่เรียกว่าค่อนข้างจริงจัง นอกจากปรับความสวยงามและ ชัดเจนของเลนจักรยานแล้ว ยังได้เพิ่มเติมเสาเพื่อป้องกันไม่ให้ เส้นทางจักรยานนั้น ถูกรุกล�้ำจากรถยนต์หรือสิ่งอื่นๆ อีกสารพัด โครงการดังกล่าวเปิดตัวอย่างจริงจัง ในระดับที่ผู้บริหาร ประเทศให้ความส�ำคัญจนเป็นที่ประจักษ์ในสื่อต่างๆ แต่สิ่งที่ผู้ว่า กรุงเทพมหานครกล่าวย�้ำอย่างเป็นห่วงผ่านทางรายการทีวี นั่นคือ เรื่องของ “ความปลอดภัย” เพราะถึงแม้วา่ จะมีเลนจักรยานเกิดขึน้ พร้อมมาตรการก�ำกับ ดูแลอย่างจริงจัง แต่ในเรื่องของความปลอดภัย โดยเฉพาะตัวผู้ใช้ จักรยานนั้น ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ ที่จะสามารถรับประกันได้ เว้นแต่จะต้องพึ่งพาตนเอง ให้ใช้จักรยานด้วยความไม่ประมาท เข้าใจในกฎจารจร ในช่วงคาบเกี่ยวของการเปลี่ยนผ่านแนวคิด และพฤติกรรม การใช้รถใช้ถนน ซึ่งมีจักรยานมาเป็นเงื่อนไขเพิ่มเติม อาจจะต้อง ใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจเกีย่ วกับ “การใช้ทางร่วมกัน” อย่าง ปลอดภัย ระหว่างคนเดินเท้า คนปั่นจักรยาน คนขับรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ อีกพอสมควร.. กว่าทีว่ นั นัน้ จะมาถึง.. ผูใ้ ช้จกั รยานเพือ่ การเดินทาง ยังคงต้อง ปั่นจักรยานอย่างถูกวิธี รู้กฎจราจร และไม่ประมาท เพื่อให้เกิด ความปลอดภัยอย่างสูงสุดอยู่ดีนะครับ บรรณาธิการสารสองล้อ วัตถุประสงค์ของสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย 1. ส่งเสริมการใช้จักรยานในทุกกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ อาทิเช่น เพื่อสุขภาพและพลานามัย การคมนาคม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และนันทนาการ 2. ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาจราจรด้วยการใช้จักรยานทั่วประเทศ 3. เป็นองค์กรประสานงานระหว่างผู้ใช้จักรยานทั่วประเทศและในระดับสากล 4. อนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม 5. ร่วมกันท�ำกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ และสันติภาพของมวลมนุษยชาติ 6. เป็นศูนย์กลางในการสือ่ สาร ส่งเสริมความสัมพันธ์อนั ดี ยกย่อง ให้กำ� ลังใจ และให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลกันในหมู่สมาชิก ที่ประกอบคุณงามความดี ช่วยเหลือสังคมและส่วนรวม 7. ไม่ด�ำเนินกิจกรรมทางการเมือง เจ้าของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา มงคล วิจะระณะ บรรณาธิการ วรวุฒิ วรวิทยานนท์ กองบรรณาธิการ สุปรียา จันทะเหลา บัญชี วิภาดา กิรานุชติ พงษ์ ฝ่ายทะเบียน ปิยนุช เสวตวิวัฒน ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ ฐนวัฒน์ กลิ่นน้อย พิมพ์ที่ บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จ�ำกัด โทร. 02-214-4660, 02-214-4370 โทรสาร 02-612-4509 ส�ำนักงาน สมาคมจักรยาน เพือ่ สุขภาพไทย 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 22 (สาธุประดิษฐ์ 15 แยก 14) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 โทรสาร 02-678-8589 เวบไซต์ www.thaicycling.com Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล์ tchathaicycling@gmail.com สนใจสมัครสมาชิกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย เพื่อสิทธิพิเศษในการร่วมกิจกรรมและ รับสารสองล้อฟรี สมาชิกรายปี 200 บาท ( ต�่ำกว่า 15 ปี 80 บาท ) สมาชิกตลอดชีพ 2,000 บาท ติดต่อได้ที่ โทร. 02-678-5470 โทรสาร 02-678-8589 หรือสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.thaicycling.com/member อีเมล tchamember@gmail.com

น้องปิงปิง ด.ช. มงคลชัย กวินชูสิน • ภาพโดย schantalao

ขอบคุณฟอนต์ ซูเปอร์มาร์เก็ต จาก f0nt.com



แวดวงสองล้อ

OPTIMA เปิดตัวสีใหม่ ปี 2015 โทนหวานส� ำ หรั บ เสื อ หมอบ รุ ่ น CORSA อย่างเป็นทางการแล้ว นอกเหนือ จากสีใหม่ ทาง OPTIMA ยังเปิดตัวไซส์เล็ก เพิ่มเติม (44, 46 cm.) หลังจากที่มีกระแส เรียกร้องกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถ ชมสินค้าจริงได้จากร้านตัวแทนจ�ำหน่าย OPTIMA ได้ทั่วประเทศในเดือนมกราคม 2558 เป็นต้นไป ■

8 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)


สามารถส่งข่าวประชาสัมพันธ์ของท่านมาได้ที่ กองบรรณาธิการสารสองล้อ email: tchajournal@gmail.com หรือโทรสาร 02-678-8589

หาร้านตัวแทน OPTIMA ที่ใกล้ที่สุด OPTIMA เปิดช่องทางให้นักปั่นทุกท่าน สามารถ ตรวจสอบหาร้านตัวแทน OPTIMA ที่ใกล้ท่านมากที่สุด ด้วยระบบ Current Location โดยระบบจะบอกระยะทาง เป็นกิโลเมตรของร้านทีใ่ กล้ทสี่ ดุ ในกรณีทเี่ กิดปัญหาระหว่างขี่ และต้ อ งการเข้ า ศู น ย์ เ พื่ อ รั บ การ Service รวมไปถึ ง เลือกชมสินค้า OPTIMA โดยการเข้าผ่านมือถือของท่านที่ www.optimacycle.com/dealer ■

เทศกาลจักรยาน “BIKE SHOW” งานกลางแจ้ง ตอนกลางคืน ครั้งแรกในประเทศไทย ที่ใหญ่ที่สุดแห่งปี วันที่ 5-8 กุมภาพันธ์ 2558 ณ เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อนท์ !! • ต้องการน�ำจักรยาน มาร่วมแสดงในงาน (ทางเรามีค่าขนส่งให้) • องค์กรจักรยาน / กลุ่มปั่น / ภาครัฐ / เอกชน / ประชาชน สนใจน�ำเสนอ เข้าร่วมท�ำกิจกรรมในงาน • ติดต่อสัมภาษณ์ ถ่ายท�ำรายการ • สมัคร STAFF ของงาน ***สนใจจองบูธ และเป็นผู้สนับสนุนงาน ติดต่อ : คุณหวาน โทร. 081-812-5900 E-mail: energyteamwork@yahoo.com ■ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558) │ 9


7 1. Audax ชะอ�ำ 300 | Cha-am Audax 300 2. ประชุมใหญ่ประจ�ำปีสมาคมฯ สถานที่ ห้องประชุมกองปราบฯ | TCHA Annual General Meeting • สอนซ่อมจักรยาน | Bicycle repair classes 15 วันเดียวเที่ยวพิพิธภัณฑ์ เริ่มลานพระรูป | Museums one day trip 5 ท่องวัฒนธรรมมอญ บางกระดี่ ออกเทียน ทะเล | Tourism to see Mon culture Bangkradee

1 - 5 สังขละบุรี | Sang kla buri trip 10 พิพิธภัณฑ์ทหารอากาศ | One day trip to Air Force Museum 23 - 24 รีไซเคิล | Recycle Event 30 - 1 มิ.ย. ปลู ก ป่ า เชี ย งดาว 13 ไร่ | Reforestation Event at Chiang Dao 14 พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ อว.พช.คลอง 5 | One day trip to Science Museum 21 สอนซ่อมจักรยาน | Bicycle repair classes

กรกฎาคม / Jul สิงหาคม / Aug

15 คลองพิ ท ฯ - อควาเรี่ ย ม | Klong Pittayalongkorn to Samutsakorn aquarium

กันยายน / Sep

11 ลานคนเมือง - เขาดิน | Lan Khon Meaung to Dusit zoo

ธันวาคม / Dec พฤศจิกายน / Nov ตุลาคม / Oct

มิถุนายน / Jun พฤษภาคม / May เมษายน / Apr

มีนาคม / Mar

กุมภาพันธ์ / Feb มกราคม / Jan

ตารางกิจกรรมสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย 2558 | TCHA Annual Events 2015 12 สนามหลวง - 3 ศาสนา | Cycling trip to touch 3 Religious 18 - 19 ไม้ใหญ่ในชุมชน วัด โรงเรียน สถานที่ ราชการ | Cycling trip to see big Trees in the Community 30 - 2 ส.ค. วงกลมรอบเขาใหญ่ | Kao Yai cycling trip 9 เกาะเกร็ด | Cycling trip to koh kret island 12 ปั่นวันแม่ | Bicycle ride for Mom • สอนซ่ อ มจั ก รยาน | Bicycle repair classes CFD

11 สอนซ่อมจักรยาน | Bicycle repair classes 23 - 25 กฐิ น วั ด ทรงธรรมกั ล ยาณี | Thot Kathin at Wat Shong Tham Kallayanee

8 บริจาคห่วงอลูมเิ นียม | Donate aluminum cycling trip 21 - 22 รีไซเคิล | Recycle Event

24 ไนท์ทริป ปั่นดูไฟ | Christmas night trip

หมายเหตุ รายการต่างๆ อาจมีการเปลีย่ นแปลงได้ • สอบถามรายละเอียดหรือสมัครร่วมทริปได้ท่ี สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย โทร. 0-2678-5470 • email: tchathaicycling@gmail.com • หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.thaicycling.com, Facebook.com/TCHAthaicycling • Remarks: Trips can be changed as appropriate • English information, call Bob Tel. 08-1555-2901 • email: bobusher@ksc.th.com


TCHA ชวนปัน่ และร่วมกิจกรรมเดือนมกราคม-มีนาคม 2558 สามารถสอบถามรายละเอียดเพิม่ เติมเกีย่ วกับทริปต่างๆ และการช�ำระค่าทริป ได้ที่ โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989 ปั่นเดี่ยวไม่เดียวดาย..เที่ยวเขาดินวนา (สวนสัตว์ดุสิต) อาทิตย์ที่ 11 มกราคม 2558 สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทยชวนปัน่ ย้อนวัยไปเทีย่ วชม ดินแดนสรรพสัตว์ ทีค่ รัง้ หนึง่ ในวัยเยาว์เราล้วนใฝ่ฝันอยากไปเห็นเป็นบุญตา จะน�ำพาไปชมกันว่า เสือ สิงห์ กระทิง แรด ยีราฟ ม้าลาย กระต่าย กระแต ยังดูแลกันดีอยู่หรือไม่ ยังแถมด้วยการน�ำพาไปวัดราชนัดดา รามวรวิหาร โลหะประสาท กับคติความเชือ่ ของชาวพุทธ ทีว่ า่ มีอยูเ่ จ็ดแห่งเท่านัน้ ในโลก และ บัดนี้เหลือเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ก�ำหนดการ 07.00 น. พบกันที่ลานคนเมือง กรุงเทพมหานคร เพื่อรับค�ำแนะน�ำเส้นทาง 07.30 น. ออกปั่นไปเขาดิน เข้าเที่ยวชม และต่อไปที่วัดราชนัดดา ไปจบทริปที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) แล้วกลับลานคนเมือง ใช้เวลาประมาณครึ่งวันเช้า ร่วมกิจกรรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ยกเว้นค่าเข้าชมสวนสัตว์ น�ำทริปโดย พี่เรย์ เสียงดังฟังชัด..ดุดันแต่จริงใจ ■ เทียนทะเล-ศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น�้ำสมุทรสาคร อาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 ชวนปั่นเที่ยวบางขุนเทียนชายทะเล แวะชมศูนย์แสดงพันธุ์ สัตว์น�้ำสมุทรสาคร ซึ่งเป็นอควาเรียมแห่งใหม่ใกล้กรุงเทพฯ ก�ำหนดการ 06.30 น. พบกันที่โลตัสพระรามสาม 07.00 น. ล้อหมุนเส้นทาง พระราม 3-ดาวคะนอง-พระราม 2 เทียนทะเล แวะพักที่โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ แล้วไปยังจุดชมวิวมัจฉานุ-ฝายชลอคลื่น-อควาเรี่ยม 14.00 น. ออกเดินทางกลับโลตัสพระราม 3 ร่วมกิจกรรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถน�ำรถยนต์ไปจอดได้ที่โรงเรียนคลองพิทยาลงกรณ์ น�ำทริปโดย เฮียม้อ ■ ปั่นวันเดียวท่องเที่ยวหาความรู้..แอบดูพิพิธภัณฑ์ อาทิตย์ที่ 15 มีนาคม 2558 พิพิธภัณฑ์นับวันจะเลือนหายไปจากใจเรา จึงขอเชิญชวน ร่วมปั่นไปท่องเที่ยวเก็บเกี่ยวความรู้จากอดีตกันที่ บ้านจักรยาน สถานที่เก็บสะสมความสวยงามของจักรยานหลากหลายยุคสมัย แวะพิพิธภัณฑ์วัดบางอ้อยช้างชมของสะสมที่รวบรวมไว้ให้ดูจนถึง ลูกถึงหลาน แล้วแวะทานอาหารอร่อยในวัดสังฆทาน ก�ำหนดการ 07.00 น. พบกันที่ลานพระรูปทรงม้า 07.30 น. มุง่ หน้าสถานีรถไฟบางบ�ำรุ ลัดเลาะสวนผักไปพักบ้านจักรยาน แล้วข้ามคลองมหาสวัสดิไ์ ปวัดบางอ้อยช้าง สุดท้ายปิดทริปที่วัดสังฆทาน ร่วมกิจกรรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย น�ำทริปโดย พี่เรย์ เสียงดังฟังชัด..ดุดันแต่จริงใจ ■ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558) │ 11


รอบรู้สองล้อ เรื่อง zangzaew

ขอบคุณข้อมูลจาก

มือใหม่ใส่คลีท

เมื่อนักปั่นมือใหม่เริ่มไว้ ใจตัวเอง จากประสบการณ์ที่ค่อยๆ สะสม จนความเร็วระดับเริ่มต้นกลายเป็น เรื่องจิ๊บๆ สิ่งที่ต้องแสวงหามาเพิ่มเติม คือการติดคลีทที่รองเท้า เพื่อผันสู่ระดับแอดวานซ์กับเขาบ้าง..

1. เลือกซื้อบันไดคลิปเลส เพื่อใช้กับรองเท้าส�ำหรับ ปั่นจักรยานที่ติดคลีท

4. เลื อ กหาถนนที่โล่ง พื้นเรียบ และไม่มีร ถหรือ สิ่งกีดขวางส�ำหรับการฝึก

2. ติดตั้งคลีทที่พื้นรองเท้าในต�ำแหน่งที่ถูกต้องให้ แน่นหนา

5. ยืนคร่อมจักรยานในท่าเตรียมพร้อม และวางเท้า ข้างที่ถนัดบนบันได เท้าอีกข้างยืนตามปกติ

3. ปรับตั้งระดับความแน่นที่บันไดคลิบเลสให้อ่อน เพื่อสะดวกในการปลดออกอย่างรวดเร็ว

6. กดรองเท้าให้คลีทยึดติดกับบันได แล้วปรับให้ ขาบันไดยกขึ้นท�ำมุม 45 องศา เตรียมพร้อมปั่น


นำเข าและจัดจำหนายโดย บริษัท นาวาไบค จำกัด โทร 02-898-6655 www.navabike.com FB:Navabike ...................................................................................................................................................................................................................... กรุงเทพมหานครและปริมณฑล: Bike Monster (รามอินทรา) 089-441-2591 Aim Bike (เมืองทองฯ) 02-984-0427 Bike Station (พัฒนาการ) 02-722-9999 Bird Bike (สุทธิสาร) 083-304-0497 B.M. Bike (พระราม 2) 02-417-6031 Cycle Square (พระราม 3) 02-683-1777 นายภณไบค (บางนา) 089-043-6262 Sixty Fixy (สุขุมวิท 31) 084-123-6655 Bike Station City (K-Village) 02-661-5629 2WR (ลาดกระบัง) 094-865-9777 ปนปนไบค (ลาดพราว) 083-6050-303 จักริน (สนามหลวง 2) 084-944-5533 สวนธนไบคพลัส (สวนธนฯ) 02-871-6251 Forest Home (บางนา) 081-495-4544 ทวียงคยานยนต (ประชาชื่น) 02-585-2266 เทพเจริญไบค (โชคชัย 4) 02-538-5435-6 บางนาจักรยาน (อุดมสุข) 02-393-0349 เร็วกวาเดิน (สำราญราษฎร) 081-933-3541 VS Bike (ราชพฤกษ) 02-191-9890 Tago Bike (JJ mall) 081-300-8063 Fashion Bike (สายไหม) 086-322-6236 Bike House (พุทธมณฑล สาย4) 089-201-4860 T-Bike (สาย 2) 083-075-7756 Bike Bike Rid (บางใหญ) 080-077-0246 Bike Garden บางกรวย 085-862-4242 Smart Bike (รังสิต) 02-523-7229 K-siam (สมุทรสาคร) 034-426-089 Arena (สมุทรปราการ) 089-662-2595 ภาคกลางและภาคตะวันออก: Rit Bike (นครนายก) 081-668-6660 ระยองซิตี้ไบค (ระยอง) 089-666-0305 นำโชค (ชลบุรี) 038-272016 Buddy (บางละมุง) 082-259-9299 ภาคอีสานและภาคเหนือ: Bike Center (ขอนแกน) 089-422-2123 สองลอ (โคราช) 081-879-1318 จักรยานบันเทิง (ลำปาง) 054-322-390 Velo City (เชียงใหม) 081-595-5975 Ibike (เชียงใหม หางดง) 084-611-1211 ภาคใต: หาดใหญเมาทเทนไบค (หาดใหญ, สงขลา) 084-198-9394 ปตตานีเมาทเทนไบค (ปตตานี) 081-599-6807


7. เริ่มออกตัวเหมือนปั่นปกติแล้วใช้เท้าอีกข้างที่ ยืนอยู่ ขึ้นมาเหยียบบนบันได ค่อยๆ กดให้คลีทที่ พื้นรองเท้ายึดเข้ากับบันได

10. จากนัน้ ค่อยๆ หยุดแล้วใช้เท้าข้างหนึง่ ลงแตะพืน้ แล้วยืนตามปกติ โดยยืนคร่อมจักรยานไว้

8. ค่อยๆ ปั่นไปตามความถนัด และสัมผัสกับความ รู้สึกที่แตกต่างจากการปั่นแบบเดิม

11. ย้อนกลับไปท�ำแบบเดียวกันนี้จากข้อ 6 อีกครั้ง เพื่อฝึกซ้อมให้เกิดความคุ้นเคย

9. ก่อนหยุดต้องเผื่อระยะล่วงหน้ามากกว่าเดิม เพื่อ จะมีเวลาปลดคลีทที่เท้าออกจากบันได ด้วยการ บิดเท้าออกด้านข้าง

12. อย่าลืมว่าจะต้องมีสติอยูเ่ สมอว่า ก�ำลังใส่คลีทติด บันไดอยู่ เพือ่ จะได้ไม่เผลอลืมปลดออกเวลาจอด ทุกครั้ง ■


11-SPEED

HAH HONG TRADING L.P. Tel : 02-225-0485, 02-222-1638 Fax : 02-226-3030 210 Luang Road, Pomprab, Bangkok 10100 e-mail: junior12@truemail.co.th

หจก. ฮะฮงพาณิชย โทร : 02-225-0485, 02-222-1638 แฟกซ : 02-226-3030 210 ถนนหลวง แขวงปอมปราบฯ กรุงเทพมหานคร 10100 อีเมล : junior12@truemail.co.th


เรื่อง/ภาพ zangzaew

จากสายแข่ง สายเที่ยว

แล้วเลีย้ วไปสายกาแฟ จจุบันนี้มีสถานที่ซ้อมขาส�ำหรับนักปั่น ทั้งมือใหม่ ปั มือเก่า อยูม่ ากมายหลายแห่ง ส่วนหนึง่ มักจะเป็นสวน สาธารณะ ซึ่งเป็นทั้งสถานที่ออกก�ำลังกายและพักผ่อน ไปในเวลาเดียวกัน เช่นเดียวกับในพืน้ ทีข่ องสวนหลวง ร.9 ที่มีถนนให้ซ้อมปั่นจักรยานอยู่ภายใน.. ใกล้ๆ กันนั้น ยังมี “ตลาด” ซึ่งจัดว่ากลายเป็นหนึ่งในตลาดขนาดใหญ่ ส�ำหรับย่านนี้ก็ว่าได้.. และในตลาดดังกล่าวนั้น มีร้านกาแฟซึ่งเป็นที่รู้จัก กันดีของชาวจักรยานชื่อว่า ตอตติ (Totti) ร้านกาแฟขนาดใหญ่ มีพนักงานหลายคน โดย

16 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)

คุณจรูญ ชาติสุวรรณ

มีเครื่องชงกาแฟหน้าตาแปลกสะดุดตา ตั้งไว้ท้าทาย ให้ชิมว่า กาแฟหอมกรุ่นที่จะถูกสร้างสรรค์ออกมานั้น จะอร่อยเพียงใด.. ทั้งหมดคือสูตรกาแฟที่เกิดจากการ ค้นคว้าทดลองของคุณ “จรูญ ชาติสุวรรณ” ผู้น�ำพา สารพัดสูตรกาแฟมาจากการปั่นจักรยานไปทั่วไทยและ ประเทศเพื่อนบ้าน กว่าจะหลงเสน่ห์จักรยาน? อดี ต นั้ น คุ ณ จรู ญ เป็ น คนชอบออกก� ำ ลั ง กาย เนื่องจากมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง และที่ง่ายที่สุดคือการ วิ่ง เพราะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น จนเข้ากลุ่มกับเพื่อนๆ ชวนกัน ไปแข่งทวิกรีฑา เป็นการแข่งขัน ว่ า ยน�้ ำ และวิ่ ง ร่ ว มกิ จ กรรม ไปเสียแทบจะทุกแห่ง จนเริ่ม ที่จะมองหาความสนุกท้าทาย เพิ่มอีกนิด.. ด้วยการไปร่วม แข่งไตรกีฬา ซึ่งมีการแข่งขัน จักรยานร่วมอยู่ด้วย


การเข้าร่วมแข่งจักรยานได้ท้ังความสนุก ได้ทั้ง ความภาคภูมิใจ ได้ทั้งการเดินทางไปต่างถิ่น อย่างเช่น การไปแข่งขันที่ภูเก็ต ก็ได้ต�ำแหน่งที่ดีๆ กลับมา จากจุด นีแ้ หละ.. ทีท่ ำ� ให้เสน่หข์ องจักรยาน เข้ามาผูกพันอยูใ่ นตัว ของคุณจรูญจนเต็มหัวใจ

ด้วยจักรยาน ซึ่งมีความเป็นมิตรกับผู้คนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงตัวเรา..

ชีพจรเริ่มลงล้อ.. เมือ่ รูส้ กึ ว่าสามารถขีจ่ กั รยานได้ 30 - 40 กิโลเมตร ในการแข่งขัน ความคิดที่จะขี่จักรยานเดินทางท่องเที่ยว ก็เกิดขึ้น อยากไปออกทริปกับชมรมจักรยานซึ่งได้จัด กิจกรรมเดินทางจากนราธิวาสเข้ากรุงเทพฯ แต่เวลา ไม่ลงตัว.. สุดท้ายจึงไปกันเองแบบย้อนรอยทริปนั้น ใช้ เ วลา 8 วั น ในการปั ่ น จั ก รยานเดิ น ทางเข้ า กรุงเทพฯ พบว่าบางวันท�ำระยะทางได้ถึง 200 กิโลเมตร ระหว่างทางได้พบกับมิตรภาพและการช่วยเหลือมากมาย จากชาวบ้าน ซึ่งได้รับความเอื้อเฟื้อเป็นอย่างมาก หลังจากนัน้ จัดทริปด้วยตัวเอง เดินทางไปเชียงราย โดยมีกิจกรรมท�ำบุญ รับบริจาคระหว่างทาง เพื่อสมทบ ทุนซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาให้โรงเรียนที่ เชียงราย ครั้งนั้นบริจาคได้มากถึง 6 โรงเรียน

ผลพวงที่ตามมาคือ..กาแฟ คุณจรูญมีหลานอยูท่ แี่ คนาดา ซึง่ เป็นคนทีช่ นื่ ชอบ กาแฟอย่างมาก ในฐานะคุณตาจึงขอเรียนรู้เรื่องกาแฟ และขอน�ำชื่อของหลานมาตั้งร้านกาแฟเล็กๆ ในเมือง ไทย ชือ่ ว่า ตอตติ (Totti) และไม่ได้หยุดความรูเ้ รือ่ งกาแฟ แค่ทักษะเดิม แต่สนใจศึกษาจากต�ำรา ค้นคว้า ทดลอง อยู่ตลอดเวลา การปัน่ จักรยานเดินทางจึงมีผลพลอยได้เกิดตามมา คือการปัน่ ไปหากาแฟในทุกทีท่ กุ เมืองทีต่ อ้ งผ่าน ไม่วา่ จะ เป็นกาแฟในทีต่ า่ งๆ ของเมืองไทย ไปจนถึงเวียดนาม ลาว ที่ไหนใครว่าอร่อยที่สุด.. ต้องตามไปชิม จนเกิดความรู้ ความเข้าใจจากการทดลองทดสอบ ได้สูตรกาแฟต่างๆ มากมาย ใช้การลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ เพื่อหาจุดที่ “อร่อยที่สุด” ของกาแฟ ให้กับลูกค้า จนได้สูตรเรือธงของร้าน คือ “กาแฟยอดดอย” ซึง่ ใช้สว่ นผสมระหว่างกาแฟทีด่ ที สี่ ดุ แพงทีส่ ดุ ของดอยตุง มาเป็นตัวหลักในส่วนผสมเฉพาะ!

เริ่มคิดการณ์ไกล..ไปนอก.. ความสุขทีไ่ ด้รบั จากการปัน่ จักรยาน เริม่ ท�ำให้คณุ จรูญ เข้าถึงเนื้อแท้ของการเดินทางลักษณะนี้มากขึ้น กระทั่ง วางแผนปั่นจักรยานไปเที่ยวเวียดนามกับเพื่อนชาวไทย และเกาหลีรวมเป็นสามคน โดยเริ่มต้นที่มุกดาหาร เข้า เมืองเว้ แล้วปัน่ ขึน้ สูต่ อนเหนือของฮานอย ไปเดียนเบียนฟู ใช้ระยะทางปั่นวันละหนึ่งถึงสองร้อยกิโลเมตร กลายเป็ น ความสุ ข สนุ ก สนาน ได้ พั ก ผ่ อ น ได้ ประสบการณ์ ได้อะไรหลายอย่างมากกว่าการเดินทาง ไปเที่ยวแบบซื้อทัวร์ ได้เปิดโลกทัศน์ใหม่เอี่ยม อย่างเช่น ช่วงปั่นจักรยานที่ภาคใต้ ซึ่งทราบข่าวกันว่าน่ากลัว แต่ ไปสัมผัสจริงๆ ไม่ได้เป็นอย่างนั้น โดยเฉพาะเมื่อเราไป

กาแฟ..กับ..จักรยาน ร้านกาแฟ..คือสถานทีโ่ ซเชียลของคนจักรยาน เป็น จุดศูนย์รวมทีค่ นปัน่ จักรยานจะท�ำให้รา่ งกายได้รบั คาเฟอีน ทีเ่ หมาะสม ได้พกั ผ่อน ได้พบเพือ่ น จากไม่กคี่ นขยายเป็น หลายๆ คนจนเป็นชุมชน เติบโตขึน้ เรือ่ ยๆ โดยมีความคิด ที่ว่า “ร้านกาแฟควรเป็นที่สาธารณะของกลุ่มคน” จัดให้มีที่จอดจักรยานหน้าร้านสะดวกสบาย สามารถใช้ บริการร่วมกันได้ทั้งคนใช้จักรยานและผู้คนทั่วไป ปั่นไปแวะชิมกาแฟหลากสูตรได้ที่ ตอตติ คอฟฟี่ ด้านในของตลาดหน้าสวนหลวง ร.9 และอีกร้านอยูภ่ ายใน Top ซูเปอร์มาเก็ต บนถนนเฉลิมพระเกียรติใกล้สี่แยก ศรีอุดม ■ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558) │ 17


เรื่อง เสือน้อย ณ ไบค์เลิฟส์

สุขภาพดี...ไม่มีขาย (3) (ต่อจากฉบับที่แล้ว)

มเริ่มเป็นไข้ประเภทเดินเข้าหาโรงพยาบาลด้วยตนเอง เต็มใจไป...ยังไม่ถึง ขั้นต้องมีคนหาม ก็หลังจากไปเจาะเลือดที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ในโอกาส แค่นึกสนุกอยากไปตรวจอวัยวะภายในฟรีๆ ด้วยเครื่องมือแพง ที่ทางโรงพยาบาล เขาเพิ่งติดตั้งแล้วเสร็จแล้วชวนคนไปใช้บริการช่วงพิเศษ แต่กลับได้เรื่อง...ที่ไม่คาด ด้วยโปรแกรมการตรวจ เขามีภาคบังคับ ต้องเจาะเลือดไปท�ำแล็บ ไอ้ทผี่ มไม่เคยคาด ...ดันได้มา ได้ผลไขมันตัวร้ายเกิน คุณหมอท่านผูท้ ำ� หน้าทีแ่ ปลผล ท่านถามผมอยาก รักษาไหม ผมจ�ำได้ตอนนัน้ อยูใ่ นมาดตาแก่ไปหาหมอ ก็ทำ� บทงกๆ เงิน่ ๆ นัง่ ค้อมกาย ประสานมือหน้าตัก เอ่ยค�ำตะกุกตะกัก “หยะ...อยาก...ครับ” ครับคุณหมอ ท่านก็ลงบันทึกในแฟ้มประวัติผม ออกใบนัดให้ผมไปพบหมออีกแผนก เขาเรียก “คณะเวชศาสตร์ครอบครัว” นับจากวันที่โดนหมอดุ ผมก็เป็นคนไข้ของ โรงพยาบาล ต้องไปพบหมอตามหมอนัดทุกหกเดือน เป็นกิจท�ำต่อเนื่องนับถึงวันนี้ กว่าห้าปีแล้ว หาทาง รักษาตัวให้หมดจากโรคประจ�ำตัว “ไขมั น เกิ น ” จนขั้นเอามันอยู่ แต่ทุกหกเดือนก็ยังคงไปเจาะเลือด ดูมันต่อ วันที่ไปพบหมอตามใบนัดครั้งแรก เพิ่งสังเกต ว่าใบนัดที่หมอให้มา ให้ไปพบหมอที่คณะเวชศาสตร์ ครอบครัว เป็นค�ำใหม่สำ� หรับผม ผมห่างโรงพยาบาล กว่าสี่สิบปี ยุคที่ยังเรียนหนังสือเคยมีประสบการณ์ น�ำญาติต่างจังหวัด เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รามาธิบดี ยุคโน้นยังต้องรีบตืน่ รีบมาให้ถงึ โรงพยาบาล ตอนตีสี่ เอารองเท้าแตะติดตัวมาหนึ่งคู่ มาถึงหน้า แผนก...รู้สึกจะเรียกชื่อเป็น แผนกโอพีดี ประมาณนี้ 18 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)

ยังไม่มีเจ้าหน้าที่มาท�ำงานหรอกครับ มาถึงก็จัดแจง เอารองเท้าแตะทีถ่ อื ติดมือ ไปวางเรียงเป็นแถวต่อจาก คนที่เขาไปวางก่อนเรา ครับยุคโบราณการจองคิวหา หมอโรงพยาบาลใช้รองเท้าแตะของเรา เป็นเครือ่ งมือ จัดล�ำดับคิวครับใครมาก่อนใครมาหลัง เขียนเล่าเป็น ฝอยเผื่อหนุ่มสาวคนรุ่นใหม่รู้ความหลังของคนแก่ ความล�ำบากการหาหมอสมัยโบราณ ไปหาหมอตามโรงพยาบาลของรัฐยุคปัจจุบนั นี้ ไม่ต้องหิ้วรองเท้าแตะไปหาหมอเช่นยุคเก่าที่ผมเล่า ผมไปครั้ ง แรกไปถึ ง ก่ อ นเวลาท� ำ งานแปดโมงเช้ า ซักห้านาที ไปยืน่ บัตรนัด รอการเรียกชือ่ ไปหลายครัง้ เข้าก็ชักรู้ เขาจะเริ่มเรียกชื่อไปนั่งหน้าห้องรอหมอ ตรวจซักประมาณเก้าโมงเช้า มีคนไข้รอตรวจเป็นร้อย แต่โรงพยาบาลยุคใหม่นี้มีห้องตรวจ มีหมอ


ตรวจร่วมยี่สิบกว่าห้อง ยี่สิบกว่าคุณหมอมั้ง พอแก่ การรับมือคนไข้ทรี่ อตรวจแต่ละเช้า ผมใช้เวลารอและ รับการตรวจในเวลาทีไ่ ม่นาน สักไม่เกินสิบโมงเช้าก็ได้ พบหมอ ทีเ่ หลือก็เป็นขัน้ ตอนช�ำระเงินค่าตรวจ ค่ายา ที่หมอสั่ง ขั้นตอนนั่งรอรับยา ทุกขบวนการจบสิ้นก็ ประมาณสิบเอ็ดโมงเช้า ส�ำหรับผมซึง่ ไปถึงโรงพยาบาล ค่อนข้างสาย เกือบแปดโมงเช้า ท�ำทุกอย่างจบทุก ขั้นตอนอย่างที่เล่าก่อนสิบเอ็ดโมงเช้านี่ พอใจในการ ได้รับบริการจากโรงพยาบาลเป็นที่สุดแล้วครับ ส่วนในการไปพบหมอตามนัดครั้งที่สอง และ ทุกหกเดือนถัดจากการไปหาครัง้ แรก นอกจากใบนัด แล้วยังมีใบสั่งจากหมอให้เจาะเลือดด้วย เป็นแบบนี้ ทุกครัง้ ทุกครัง้ พอถึงวันนัด ผมก็คงไปถึงโรงพยาบาล ในเวลาเดิม คือก่อนแปดหรือหลังแปดโมงเช้า สิง่ ทีท่ ำ�

เพิ่มเติมหลังจากไปยื่นบัตรนัดเพื่อรอการเรียกตรวจ ตามปรกติแล้ว คือเดินไปแผนกเจาะเลือด ท�ำขัน้ ตอนเจาะเลือดนีซ้ กั ครึง่ ชัว่ โมง เสร็จก่อน จะเป็นลมเพราะหิวข้าว ด้วยมีคำ� สัง่ ของหมอให้งดกิน ข้าวก่อนเจาะเลือดสิบกว่าชัว่ โมง เสร็จจากเจาะเลือด ก็ไปหาข้าวกิน มีเวลานั่งกินนั่งพักผ่อนเหลือเฟือ แล้วกลับไปนัง่ รอเขาเรียกตรวจซักเก้าโมงกว่าๆ หาก ไม่แน่ใจว่าคิวเราเขาเรียกผ่านไปแล้วหรือยัง ก็สอบถาม เจ้ า หน้ า ที่ ไ ด้ วิ ธี ส อบถามก็ แ ค่ เ ดิ น เข้ า ไปชิ ด ห้ อ ง เจ้าหน้าที่ ก้มตัวเอาหัวมุด เอาแค่ปากและจมูกยืน่ ไป ในช่องกระจก ทีเ่ ขาเจาะเป็นรูเล็กพอให้ปากและจมูก ของคนถามโผล่เข้าไปอ้าปากถามเจ้าหน้าที่ ที่เขานั่ง มีบ้างยืนท�ำงานวุ่นในห้องกระจก รอจังหวะเขาว่าง ถามเขาได้ ว่าชื่อเราถูกเรียกไปแล้วหรือยัง หากยังก็ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558) │ 19


นั่งรอต่อซักหน่อย หากเรียกแล้วก็ไปรอตรวจได้เลย เขายังให้สิทธิ์คิวเราตามที่ได้เรียกไปแล้วครับ พอรู้ ขั้นตอนเป็นแบบนี้ ผมก็มักจะไปหาที่นั่งแบบสบายๆ ภายนอกห้อง เลีย่ งคนจ�ำนวนมาก ไม่อดึ อัดในการรอ ครับ รอเวลาซักเก้าโมงถึงไปนัง่ หรือยืนเกร่รอเรียกชือ่ เขาจัดจังหวะการท�ำงาน ผลตรวจเลือดมักจะเสร็จ และถูกส่งถึงมือหมอก่อนเราจะถูกเรียกชื่อ วันที่ผมไปพบหมอวันแรก ผมก�ำหนดความ ตั้งใจเตรียมไว้แล้วครับ ว่าจะขอโอกาสคุยและขอ ความรู้จากคุณหมอ ในปัญหาเรื่องไขมันเกิน ส�ำหรับ ผมนี่...มันเรื่องอะไร และจะขอปรึกษาคุณหมอท่าน เรือ่ งผมคิดจะรักษาปัญหาไขมันเกินโดยไม่รบั ยา แทบ จะตลอดชีวิตที่เกิดมา ไม่ชอบกินยาหรือกินอะไรที่ เป็นวิทยาศาสตร์ของสังเคราะห์ หรือของพระมีมนต์ ก�ำกับเสก ไม่ว่าจะคุยว่ามีสรรพคุณบ�ำรุงร่างกายซัก ขนาดไหน...ไม่เคยกิน พอถึงคิวผมเขาเรียกตรวจ หลังจากคุณหมอ ท่านดูรายงานผลเลือด ท่านก็ชี้แจงผมซ�้ำอีกครั้ง ตรงกับที่คุณหมอที่ท�ำหน้าที่แปลผลแล็บบอกผมไป หนึ่งรอบแล้ว ก็มันผลแล็บครั้งเดียวกันนั่นล่ะครับ ไขมันผมมันเกิน ผมก็เรียนบอกคุณหมอโดยสุภาพ ประมาณว่าขอรบกวนคุณหมอฟังผมซักกะติด้ ว่าเป็น ที่รู้กันว่าไอ้ไขมันตัวร้ายนี่ มันมักจะเกิดแก่หมู่คนที่ ขีเ้ กียจไม่ออกก�ำลังกาย พวกกินแบบไม่ระวังตัว ผมเล่า รายละเอียดให้คุณหมอฟังร่วมครึ่งชั่วโมง เกี่ยวกับ พฤติกรรมของผม ทั้งการกินนิยมผักงดไขมัน การ พักผ่อนก็นอนหัวค�่ำคลับและบาร์ไม่เคยไป อ่างน�้ำก็ ชอบแช่และว่ายในสระใหญ่ไม่ชอบลงอาบในอ่างเล็ก การออกก�ำลังกายท�ำจริงจังมากว่าสิบปี แถมชี้พุงให้ คุณหมอดู คุณหมอดูซิครับพุงผมงี้ฟีบยังกะพุงแย้ มันเรื่องอะไรไอ้ไขมันๆ ถึงเกิน ครับจ�ำเป็นครับ ที่ต้องเล่าเป็นรายละเอียดให้ คุณหมอท่านฟัง รู้สึกคุณหมอจะบอกผมคงจะตกอยู่ กลุม่ เป็นจ�ำพวกคนทีร่ า่ งกายมันสร้างไอ้ไขมันตัวร้าย ซะมากเกิน ยิ่งแก่มันยิ่งมีมากตามอายุ หากผมจ�ำผิด 20 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)

หรือแปลความคุณหมอท่านผิด ขออภัยด้วย เพราะ ตรงนีไ้ ม่ใช่ประเด็นหลัก ประเด็นมันคือมันเกิน “คุณลุง ต้ อ งกิ น ยาไปซะก่ อ น” แล้ ว อี ก หกเดื อ นค่ อ ยมา เจาะเลือดดูอีกที หมอสัง่ ยาและออกใบนัด เอายาไปกินก่อนเถอะ แก้ปัญหาด่วนให้ไขมันตัวร้ายมันลดก่อน ส่วนลุงจะ เอาวิธีออกก�ำลังแก้ปัญหา หมอก็ยินดีที่ลุงจะท�ำ แต่ บอกให้นะลุง ลุงไปเล่นกีฬาต่อให้มันมากขึ้น หากลุง บอกว่าทีเ่ ล่นมานัน้ มากแล้ว มันยังไม่พอ ผมถามหมอ พอไม่พอมันดูตรงไหน หมอท่านชี้ผลแล็บให้ดูค่า “ไขมันตัวดี” พร้อมอธิบายเพิ่มว่า ค่าไขมันตัวดีของ ลุงถือว่าขยันออกก�ำลังแล้วละนะ เพราะได้คา่ “ไขมัน ตัวดี”มากกว่าคนทั่วไป แต่มันยังไม่พอ พอไม่พอหมอจะเอาแค่ไหนบอกมา เดีย๋ วผมไปท�ำ ตอนนั้นท้าหมอ เอ้ยยย...ถามคุณหมอท่านไปยังงั้น ล่ะครับ เพราะมึนอยู่ที่หมอบอก ไอ้ที่เรานึกว่าเรา เล่นแทบตายแล้วนั้นมันเอาอยู่ ดันเอาไม่อยู่ แล้วหมู่ เพื่อนๆ ประเภทวิ่งด๊องแด๊ง...แค่พอได้เหงื่อแล้วชวน กินปาท่องโก๋ หรือพรรคพวกเพื่อนปั่นรวมกลุ่มปั่น ปั่นพอเหงื่อซึมแล้วชวนกินโจ๊กใส่ไข่ลวกแถมตือฮวน มิแย่กว่าผมเหรอ...ไอ้ไขมันตัวร้าย หมอบอกโจทย์ ไปเล่นกีฬาหรือออกก�ำลังให้ มากกว่าที่ลุงท�ำ ให้ค่า “ไขมันตัวดี” มันเกิน 75 ...อย่าให้ผมต้องเขียนค่าหน่วยมันเลยครับปวดหมอง คุณหมอท่านบอก หากค่าไขมันตัวดีมันเกิน 75 พอ จะวางใจได้วา่ มันจะช่วยป้องกัน ไม่ให้ไอ้ไขมันตัวร้าย มันสร้างปัญหาลิ่มเลือดได้ นี่หมอเอาเรื่องปัญหาการ เกิดลิ่มเลือด เพราะผมดันโม้เส้นเลือดพวกเส้นเลือด หัวใจของผม ดูเหมือนมันยังไม่เขรอะ ไม่น่าจะให้ผม ต้องกลัวเรื่องไขมันอุดตัน...นี่ผมก็พูดเองนะครับ ก็ พูดแบบชาวบ้าน โธ่...แบบผมจะไปรูเ้ รือ่ งยากๆ อะไร หมอก็เลยสรุปให้ผมกลัวไอ้ไขมันตัวร้าย อย่าชะล่าใจ ว่าหลอดเลือดที่ดูว่ายังยืดหยุ่นไม่กระด้าง ท่านเป็น ห่วงผม มันอาจเป็นเหตุท�ำให้เกิดลิ่มเลือด แล้วไอ้ ลิ่มเลือดที่มันเกิด มันเกิดไหลไปอุดระบบหัวใจ หรือ


ระบบเส้นเลือดในส่วนส�ำคัญ ความซวยจะมาเยือนลุง หมอว่าครับ ของผม...ผลที่หมออ่านวันนั้น ไขมันตัวดีมัน ได้แค่ 65 โฮ...ฟังแล้วเหนื่อย ผมเอาเรื่องนี้ไปบ่นให้ พรรคพวกกลุม่ วิง่ ด้วยกัน ทีเ่ ป็นขาเถ้าแก่ทเี่ ขาหมัน่ ไป ตรวจสุขภาพประจ�ำปี เขาฟังแล้วตบมือฉาดบอกโอย ปัญหาเหมือนกัน แถมซ�้ำร้ายถูกเมียเย้ยเยาะ ตัวผัว ออกก�ำลังทนวิง่ ตากแดดเป็นบ้าเป็นหลังกับผมทุกวัน ไปหาหมอ เจาะตรวจเลือดได้ไขมันตัวดีประมาณผม 60 ต้นๆ แต่อาซ้อเมียเพื่อน วันๆ นั่งนับเงินก�ำลังกง ก�ำลังกายแทบไม่ได้ออก ไปเจาะตรวจเลือดวันเดียว กับผัว ได้ค่าไขมันตัวดีเกิน 75 สุดมึนจริง แต่ก็ยินดี ไปกะเมีย...เฮียแกว่า ผมเอาเรือ่ งนีไ้ ปถามหมอ หมออธิบายให้ผมฟัง ในหมูห่ ญิงและชาย ผูห้ ญิงมีโอกาสจะโชคดีกว่าผูช้ าย ทีร่ า่ งกายตามธรรมชาติเรือ่ งสร้างไขมันตัวดี...วัดทีไร เกิน 75 เป็นตัวคุม้ ครองปัญหาจากไขมันตัวร้ายได้ตาม ธรรมชาติ แต่หมอท่านก็บอกผมว่ากรมธรรม์คุ้มภัย อันนี้ของผู้หญิง มันมักจะหมดลงเมื่ออายุสูงวัยขึ้น

โดยเฉพาะช่วงหลังหมดประจ�ำเดือน ค่าไขมันตัวดี ของท่านผู้หญิงก็จะลดลง จึงต้องระวัง ครับเล่าให้ฟงั ในสาระทีอ่ ยากชักชวนท่านผูน้ ยิ ม การออกก�ำลังกาย ยังไงๆ ก็ขอชักชวนอีกครั้งครับ ว่าอย่าวางใจละเว้นการตรวจร่างกายประจ�ำปี อย่าง น้อยก็ไปหาหมอเจาะเลือดดูซักหน่อย มันบอกอะไร ต่อมิอะไรเกี่ยวกับสุขภาพเราได้แล้วครับ โดยไม่ต้อง ไปใช้เครือ่ งมือราคาแพง ให้เสียเงินมากเกินโดยใช่เหตุ ส่วนทีผ่ มเขียน อาจจะมีความผิดพลาดในเรือ่ ง ความถูกต้องทางการแพทย์ หากมีโปรดอภัยด้วย ด้วยตั้งใจเขียนเพียงเพื่อให้เกิดความตระหนักใส่ใจ ขอเขียนชวนท่านไปหาหมอตรวจสุขภาพ ไม่ได้เจตนา ให้ท่านเกิดความรู้ทางมดหมอ เรื่องความรู้ท่ีถูกต้อง ขอท่านไปคุยกับคุณหมอทีด่ แู ลท่านจะดีกว่า ขอได้รบั ประโยชน์เฉพาะในส่วนที่เขียนชวนให้ไปหาหมอนะ ครับ ว่าอย่าละเว้นกัน ผมไม่อยากให้ท่านเป็นเช่นผม ทีห่ ลงทะนงนึกไปเองว่าออกก�ำลังกายจริงจังแล้ว จะ ไม่มีปัญหาเรื่องไขมันตัวร้ายเกิน ท่านไปตรวจแล้ว “มันไม่เกิน” ก็ขอยินดีด้วย ■ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558) │ 21


สรุปทริป

เรื่อง/ภาพ schantalao

ปั่นวันเดียว…

เที่ยว

ตลาดโบราณบางพลี


ริปปั่นวันเดียวเที่ยวตลาดท้ายสุดของปีเพิ่งผ่านไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยสมาคม จักรยานเพื่อสุขภาพไทยได้รับเกียรติจากกลุ่มบางแก้วไบค์ มาเป็นผู้น�ำทริปให้ชาวบางกอกไปเยือนถิ่น บางพลีกัน… เส้นทางวันนี้ถือว่า Unseen ถูกใจชาวขาชิลมาก ปั่นไปพักไป เข้าป่าเข้าพง มีแทร็คให้ลงบ้าง ประปรายกว่าจะไปถึงตลาด… ตลาดบางพลีเป็นตลาดโบราณ สมัย พ.ศ. 2400 เพิ่งมีการปรับปรุงฟื้นฟูหลังมีเหตุไฟไหม้ไปเมื่อไม่นาน มานี้ ตอนนี้ตลาดกลับมาคึกคักรับบรรยากาศฤดูร้อนน้อยปลายปี ท่านใดที่ว่างจะพาลูกหลาน คุณพ่อคุณแม่ ไปเดินจับจ่ายใช้สอยช่วยให้คนในชุมชนได้มีรายได้กันบ้างนะคะ… พบกันใหม่กับทริปประจ�ำเดือนในปีหน้า ขอขอบคุณ อบต. บางแก้ว, ศูนย์แพทย์ครอบครัวและชุมชน อบต.บางแก้ว, เมกาบางนา, มูลนิธิ ร่วมกตัญญู และเจ้าหน้าทุกท่านที่เกี่ยวข้อง มา ณ ที่นี้ ■ คุณพ่อน้องปิงปิง ด.ช. มงคลชัย กวินชูสนิ อายุ 5 ขวบครึง่ บอกกับเราว่าถ้ามีทริปชิลๆ สไตล์นี้จะพาน้องปิงปิง มาด้วยทุกครั้ง ถ้าหากเป็นทริปใหญ่ระยะทางมากกว่า 60 กม. ขึ้นไป ก็จะไปกันแค่ 2 คนคุณพ่อกับคุณแม่ น้อง ปิงปิงมีสมาธิดีขึ้นมากตั้งแต่มาขี่จักรยาน ถ้าขี่แถวบ้าน ก็จะขี่จักรยานสองล้อของเด็ก และพยายามไม่ให้ลูก ติดเกมส์ในแท็ปเล็ตเป็นอันขาด... น่ารักจริงๆ นะคะ ครอบครัวนี้ ■


สรุปทริป

เรื่อง เรวัตร ดวงประชา อุปนายกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย

ชียงใหม่ BIKE FESTIVAL 5-7 ธันวาคม ที่ผ่านมา เป็นการจัดงานจักรยานทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ เท่าทีเ่ คยจัดมา ด้วยจ�ำนวนคนเข้า-ออกหนาตากว่าทุกครัง้ ทีเ่ ชียงใหม่ ได้จัดขึ้น ณ หอนิทรรศการ มหาวิทยาลัยเชียใหม่ ทางสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทยได้รบั เกียรติ ให้เข้าร่วมเปิดงานและร่วมเสวนา ในหัวข้อ “เชียงใหม่ จะเป็ น เมื อ งจั ก รยานในอนาคต” พร้ อ มเปิ ด บู ธ ประชาสัมพันธ์สมาคมฯ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ในการเสวนาหัวข้อ “เชียงใหม่จะเป็นเมือง จักรยาน” ครั้งนี้ ได้ระดมความคิดจากทุกภาคส่วน ทีเ่ กีย่ วข้องได้แสดงความคิดเห็นและนวัตกรรมในการ 24 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)

ใช้จักรยานในเมืองเชียงใหม่ หาแนวทางและปัญหา เพื่อแก้ไขและ ปรับปรุงให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อ จะเป็นมหานครแห่งจักรยานในอนาคต เชียงใหม่ถอื เป็นแหล่งท่องเทีย่ วอันดับต้นๆ ของ ประเทศ มีแหล่งศิลปวัฒนธรรม ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันเลย ในแต่ละที่ จักรยานถือว่าเหมาะที่สุดในการเดินทาง ไปยังสถานที่ท่องเที่ยวเหล่านั้น และเป็นการลดการ ใช้รถยนต์สว่ นตัวให้นอ้ ยลง ไม่กอ่ ให้เกิดมลภาวะใดๆ ต่อเมืองอีกด้วย ตลอด 3 วัน ทางสมาคมฯ นอกจากจะได้ร่วม เสวนาในหัวข้อต่างๆ ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ยังได้


มีโอกาสพบปะพูดคุยกับเพื่อนๆ จากชมรมต่างๆ แนะน�ำช่องทางการหาความรู้ เกี่ยวกับทริปหรือ กิจกรรมที่สมาคมฯ ได้ท�ำอยู่ในปัจจุบันและโครงการ ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเป็นประโยชน์ใน ทุกด้านของชาวจักรยานทั่วประเทศ มีเพือ่ นๆ ชาวจักรยานให้ความสนใจบูธของสมาคมฯ แวะเวียนมาพูดคุยและขอน�ำเอกสารไปศึกษา หาช่องทาง ดูรายละเอียดและช่องทางทีจ่ ะติดต่อกับสมาคมฯ ก็ถอื ว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางของการประชาสัมพันธ์ตัวเรา ส่วนเรื่องรับสมัครสมาชิกถึงจะไม่ได้มากมาย ผมก็มองประโยชน์จากภาพรวมมากกว่า เราต้อง

อย่าลืมไปว่า ผู้ที่ไปให้ร้ายเราในที่ต่างๆ มีอยู่ไม่น้อย การทีเ่ ราได้ออกไปพบปะพูดคุยกับพวกเขาบ้าง ก็ถอื ว่า เราได้มโี อกาสให้ความกระจ่างในทุกเรือ่ งเพือ่ เพือ่ นๆ ที่อยู่ในต่างจังหวัดจะได้เข้าใจเรามากขึ้น สุดท้าย… สิ่งที่ท�ำให้เรา …สมาคมจักรยานเพื่อ สุขภาพไทยได้มโี อกาสไปเป็นส่วนหนึง่ ของการจัดงาน ในครั้งนี้ ขอขอบคุณ บริษัท ไรท์แมนนอร์ท จ�ำกัด ผูจ้ ดั งาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ น้องๆ STAFF ทีใ่ ห้ความ สะดวกตลอดงาน และที่ขาดเสียมิได้ คุณจารุกัญญา อดีตเลขาธิการสมาคมฯ ได้ให้ทพี่ กั พิงตลอดการท�ำงาน … ขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง ■ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558) │ 25


สรุปทริป

เรื่อง คุณจือ • ภาพ อาจงตรี

ปั่นบริจาคห่วงอลูมิเนียม วัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ 1. เพือ่ เป็นการน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคณ ุ ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยผ่าน มูลนิธขิ าเทียม โครงการพระราชทานขาเทียมช่วยเหลือ ประชาชนผู้พิการ 2. เพือ่ ประสานแสดงพลังความร่วมมือ ภาครัฐ ภาคเอกชน สมาชิกสมาคมฯ ชาวจักรยาน และชุมชน รวมทัง้ ประชาชนทัว่ ไป ร่วมกันเก็บเศษวัสดุอลูมเิ นียม เพื่อบริจาคในโครงการ 3. เป็นการส่งเสริมการออกก�ำลังกายด้วยการ ปั่นจักรยาน ประหยัดพลังงานน�้ำมัน 4. เป็นการรณรงค์ - การใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติ อย่างมี คุณภาพ น�ำกลับมารีไซเคิล - การอนุรักษ์ เพื่อให้ตระหนักรู้ คัดแยก วัสดุเหลือใช้ก่อนทิ้ง ลดปริมาณขยะ ลดมลพิษ - เพือ่ ให้มวี สั ดุอลูมเิ นียมเพียงพอกับความ ต้องการ..ในอนาคตอันใกล้ มีความสมดุลระหว่าง อุปสงค์-อุปทานของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ ก�ำลังเติบโต 5. เพือ่ เผยแพร่ สร้างค่านิยมใหม่อย่างสร้างสรรค์ ให้เกิดความเข้าใจ ช่วยกันพัฒนาคน สังคม ส่งผลถึง ประเทศชาติ 26 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)

ในปีนี้ได้เก็บรวมรวมวัสดุอลูมิเนียม ได้มากถึง 1,209 กก. มีชมรมจักรยานเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรม ติดป้าย ตั้งทีมเก็บสะสมกันอย่างคึกคัก จริงจัง เพื่อ น�ำมาบริจาคให้แก่มูลนิธิขาเทียม อาทิเช่น จุดรวมพล ชมรมจักรยานพระราม 8 จ�ำนวน 290 กก. จุดรวมพล กรมควบคุมมลพิษ จ�ำนวน 225 กก. จุดรวมพล วัดเสมียนนารี จ�ำนวน 260 กก. ส�ำนักงาน สมาคมฯ จ�ำนวน 182 กก. จุดบริจาค ณ บริษัทบางกอกแคนฯ จ�ำนวน 252 กก. จ�ำนวนน�ำ้ หนัก แยกย่อยกลุม่ อาจคลาดเคลือ่ น ไปบ้างเนือ่ งจากขึน้ ตาชัง่ เทรวมกัน แต่ในครัง้ ต่อๆ ไป จะให้น�ำชั่งน�้ำหนัก แยกเป็นสัดส่วน เพื่อให้หัวหน้า ทีมได้รับรู้ จัดเป้ที่ระลึกแจกให้ครบทุกท่านตาม วัตถุประสงค์ของผู้สนับสนุนการผลิตเป้ และต้อง ขออภัย มา ณที่นี้ ที่ได้เตรียมเป้ไม่เพียงพอ ผู้ที่ไม่ได้ รับเป้กรุณามารับได้ทสี่ มาคมฯ ตามรายชือ่ ทีล่ งนามไว้ หรือ โทรศัพท์มาแจ้งที่ สนง.สมาคมฯ หรือติดตามที่ เว็บไซต์สมาคมฯ และ เว็บ thaimtb หลังจากนีเ้ ราจะ ส่งไปรษณีย์ ให้ท่าน... ในเรื่องการรับเป้และ น�้ำหนัก อลูมิเนียม ก็จะมีการปรับปรุงให้รอบคอบ โดยผ่าน ผู้แทนกลุ่ม ประธานชมรมจักรยานที่ประสงค์ร่วม เป็นจุดรับบริจาค ในโอกาสนี้ และปีต่อๆ ไป ชมรมจักรยานใด


ต้องการเป็นตัวแทนจุดรวมรับบริจาค เก็บรวบรวมให้ สมาชิก หรือตัวแทนชุมชนหมู่บ้าน ตัวแทนสมาคมฯ โปรดแจ้งน�้ำหนักอลูมิเนียมที่ท่านเก็บรวบรวมไว้ได้ พร้อมจ�ำนวนเป้ที่ต้องน�ำส่งก่อนวันงาน 3 เดือน เพื่อ จะได้จัดเตรียม ประมาณการไว้ให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้ รับอย่างทั่วถึง ไม่ต้องส่งวัสดุอลูมิเนียมมาที่สมาคมฯ เนื่องจากส�ำนักงานสมาคมฯ เล็กและมีพื้นที่จ�ำกัด การพัฒนาคุณภาพของกิจกรรม การพัฒนากิจกรรมต้องสร้างคุณค่าทางจิตใจ ส�ำหรับผูเ้ ข้าร่วมกิจกรรม การปลุกจิตส�ำนึก ว่าตัวเรา ได้มีส่วนท�ำร้ายธรรมชาติหรือเปล่า และสร้างความ รู้สึกร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม กิจกรรมจึงจะ ประสบความส�ำเร็จ บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ข้าพเจ้าขอให้ความหมายของค�ำว่า ขยะ คืออะไร .. ขอตอบว่า..คือวัสดุเหลือใช้ที่ไม่มีประโยชน์ ต้องการ จะทิ้ง ไม่อยากได้ ไม่อยากมี สกปรก แต่กิจกรรม เรียกคืนวัสดุอลูมเิ นียม เพือ่ โครงการขาเทียมฯ ท�ำให้ ได้รบั ความรูส้ กึ ใหม่ ปรับเปลีย่ นแนวคิด มองลึกกว่า นัน้ ขยะในบ้านต้องไม่มี มันไม่ใช่ขยะ ขยะต้องเป็น ศูนย์ เนื่องจากเราไม่ควรเรียกสิ่งเหลือใช้ในบ้าน ว่า “ขยะ” ทุกอย่างมันมีคุณค่า มีราคา มีต้นทุน การผลิต มีการแปรสภาพ เพื่อให้น�ำกลับมาใช้ใหม่

ได้อกี เยอะ การ ใช้ได้ตอ่ ๆไป เพือ่ หวงแหนทรัพยากร ทางธรรมชาติ ไ ว้ ใ ห้ ลู ก หลานไว้ ใ ช้ ภ ายภาคหน้ า .. เพื่ อ อนาคตของชาติ . ... เป็ น ความรั บ ผิ ด ชอบ ของแต่ ล ะปั จ เจกชน ควรที่ จ ะฝึ ก มอง ฝึ ก คิ ด ฝึกเปลี่ยนจิตส�ำนึก ใช้สรรพนามใหม่ ไม่ว่าจะเป็น reuse, repair, recycle ก่อนที่จะตัดสินใจทิ้ง... ได้หรือไม่ ดูเหมือนน่าจะท�ำง่ายๆ แต่ข้าพเจ้ารู้สึก ว่ายาก เนือ่ งจากว่าเราจะเคยชินกับการทิง้ เพือ่ รอให้ คนอืน่ มาเก็บหรือคิดว่า เป็นหน้าทีข่ องส�ำนักงานเขต พนักงานเก็บขยะ หน่วยงานภาครัฐ ... ในวาระปีใหม่ ที่ก�ำลังจะถึงนี้ ทุกครัวเรือนมักจะเก็บบ้าน ตกแต่ง ปัดกวาดจัดบ้านใหม่ ปรารถนาให้ พิจารณาถึง reuse, repair, recycle และเพือ่ นๆ อย่าลืม เก็บจากสถานที่ จัดงานฉลองปีใหม่นะคะ เนื่องในกิจกรรมที่ผ่านมา มีสิ่งอื่นใดที่ขาดตก บกพร่อง สมาคมฯ โดยผูจ้ ดั คุณจือ โทร. 082-683-1881 ต้องกราบขออภัย มา ณ ที่นี้ค่ะ ปีหน้าฟ้าใหม่ เราจะ ปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้น..... เรามีสัญญาใจ เก็บวัสดุ อลูมเิ นียมเหลือจากการใช้ นับตัง้ แต่วนั นี้ ....แล้วรอลุน้ ตัวเลขในปีหน้า....ว่าจะสามารถทุบสถิตไิ ด้หรือไม่...... แล้วเจอกันปี 2558.... สวัสดีค่ะ ■ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558) │ 27


สรุปทริป

เรื่อง/ภาพ schantalao

BTS Bike Rally for Life

รลลี่จักรยานการกุศลโดย กทม. ร่วมกับรถไฟฟ้า BTS ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 87 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั และในโอกาสทีร่ ถไฟฟ้าบีทเี อสเปิดให้บริการเดินรถ ครบ 15 ปี โดยรายได้จดั งานเมือ่ วันที่ 30 พฤศจิกายน ทีผ่ า่ นมา ร่วมสมทบทุนสร้างศูนย์เวชศาสตร์ ผู้สูงอายุ และโรงพยาบาลในเขตบางขุนเทียน แรลลีเ่ ริม่ จากสถานีรถไฟฟ้าบางหว้า จนถึงพุทธมณฑล ดูแลการปัน่ โดยสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย และทีมคอฟฟีไ่ บค์... ม.ร.ว. สุขมุ พันธ์ บริพตั ร ผูว้ า่ ราชการกรุงเทพมหานครได้เดินทาง มาเป็นประธานพร้อมกับปั่นจักรยานในระยะ 20 กม. จนถึงจุดหมายโดยมีน้องหวานหวาน มาร่วมสร้างสีสันด้วย แรลลี่จักรยานครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนโดย ธนาคารกรุงเทพ มอบเงินเป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 1,500,000 บาท ■


เราเป็นโรงงานผลิตและจ�าหน่าย เสื้อคอกลม เสื้อโปโล สินค้าพรีเมียม ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี งานด่วนสั่งได้ ราคาเป็นกันเอง โทร. 089-487-8789 ภาณิดา เหมรัตนากร


สรุปทริป

เรื่อง/ภาพ ก�ำพล ยุทธไตร

จักรยานทางไกล ทอดผ้าป่าสามัคคี

แปดริ้ว-อุ้มผาง-ทีลอซู ด้

วยชมรมจักรยานเพือ่ สุขภาพ ฉะเชิ ง เทราร่ ว มกั บ สมาคม ศิ ษ ย์ เ ก่ า โรงเรี ย นเบญจมราช รังสฤษฎิ์ และโรงพยาบาลอุ้มผาง จัดกิจกรรมปั่นจักรยานทางไกล ผ้าป่าสามัคคี จากลุม่ น�ำ้ บางปะกงสู่ มูลนิธโิ รงพยาบาลอุม้ ผาง เส้นทาง ฉะเชิงเทรา-อุ้มผาง ระหว่างวันที่ 5-11 ธั น วาคม 2557 โดยมี วัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพือ่ น�ำรายได้มอบให้มลู นิธิ โรงพยาบาลอุม้ ผาง จัดชือ้ อุปกรณ์ ทางการแพทย์ และผู้ป่วยที่ยากไร้ 2. เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ ้ น ให้ ป ระชาชนหั น มาออก 30 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)

ก�ำลังกายโดยปัน่ จักรยาน เป็นการ สร้างสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ให้แข็งแรง 3. เพื่อส่งเสริมความรู้ด้าน การท่องเที่ยว อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และลดการใช้พลังงาน ขบวนนักปัน่ ออกจากแปดริว้ มุ่งหน้าสิงห์บุรี ก�ำแพงเพชร ตาก น�ำ้ ตกพาเจริญ และทีลอซูตามล�ำดับ มีผใู้ จบุญร่วมมอบเงินเข้ากองผ้าป่า สามัคคีตลอดเส้นทาง เมือ่ ถึงปลายทาง ในวันที่ 11 ธันวาคมได้ทำ� พิธถี วาย ผ้าป่า ณ วัดอุม้ ผางในช่วงเช้า สรุป ยอดผ้าป่าฯ ได้จำ� นวนเงิน 1,000,999 บาทถ้ ว น นายแพทย์ ว รวิ ท ย์

ตั น ติ วั ฒ นทรั พ ย์ ผู ้ อ� ำ นวยการ โรงพยาบาลอุ้มผางเป็นผู้รับมอบ เงินเมื่อเสร็จพิธีแล้วก็ถึงเวลาพา คณะนักปัน่ ไปล่องแพ ออกเดินทาง สู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผางฯ (น�้ำตกทีลอซู) ผ่านน�้ำตกทีลอจ่อ น�้ำตกสายรุ้ง ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไป ด้วยมอส เฟิรน์ ก้านด�ำ .... หลังจาก ท่ อ งเที่ ย วกั น เต็ ม ที่ ใ นช่ ว งหั ว ค�่ ำ ก็ ก ลั บ ที่ พั ก ณ วั ด อุ ้ ม ผาง รั บ ประทานอาหารเย็นที่โรงพยาบาล อุ้มผาง ได้รับการสนับสนุนโดย ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง ขอขอบคุณ การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย ส�ำนักงานตาก ■


แนะน�ำร้านจักรยาน เรื่อง/ภาพ schantalao

Velo Thailand

ากคุณมีเพือ่ นเป็นชาวต่างชาติ ทีไ่ ด้มโี อกาสเดินทางมาท่อง เที่ยวกรุงเทพฯ แล้วอยากจะมาใช้ ชีวิตชิคๆ ขี่จักรยานชมพระนคร ดูบา้ ง ขอแนะน�ำให้มาเช่าจักรยาน ในย่านสามเสน ซึ่งเป็นแหล่งรวม แบบครบวงจรส� ำ หรั บ ชาวแบ๊ ค แพ็ ค เกอร์ ทั้ ง หลาย ทั้ ง ร้ า นค้ า ร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์ รวมไปถึง ที่พักให้ท่องเที่ยวได้ใช้ช่วงเวลา พักผ่อนกันอย่างเต็มที่ เขตพระนครเป็นพื้นที่ที่นัก ท่องเที่ยวชาวต่างชาติมักให้ความ

ส� ำ คั ญ และเป็ น จุ ด แรกๆ ที่ ต ้ อ ง มาเยือน….Velo Thailand มี จักรยานให้เช่าในราคาวันละ 300 บาท มีการจัดทริปปั่นจักรยานให้ นักท่องเที่ยวด้วย ภายในร้านมี สินค้าอุปกรณ์จกั รยานให้ เลือกซือ้ หรือหากคุณปั่นมาเองก็สามารถ แวะหยอดตู ้ เ ติ ม ลมจั ก รยาน นอกจากนี้ยังเป็นร้านเซอร์วิสให้ กับคนในชุมชนและนักปั่นที่ผ่าน ไปมาด้วยค่ะ Velo Thailand ตั้งอยู่ใน ซอยสามเสน 4 ตรงข้ามส�ำนักงาน

เขตพระนคร เข้ามาประมาณไม่ถงึ 20 เมตรก็จะเห็นหน้าร้านมีจกั รยาน เรียงกันอยู่ หาไม่ยากค่ะ หรือหาก ใจดีเจอชาวต่างชาติกช็ วนพวกเขา ไปปั่นด้วยกันเลยก็ดีนะ ■ ที่ ตั้ ง เลขที่ 29 สามเสน ซ.4 แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 02-6288628, 089-2017782 E-mail : ae@velothailand.com www.velothailand.com

สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558) │ 31


Bike to work

เรื่อง/ภาพ Mashi Kul เรียบเรียง schantalao

ติดใจ…

จนไม่อยากจะหยุดปั่น

ากความชอบ กลายเป็นความติดใจ…จนไม่อยาก จะหยุดปัน่ คุณกุนท�ำธุรกิจส่วนตัว และใช้จกั รยาน ในชีวิตประจ�ำวันซะส่วนใหญ่ เหตุผลใดที่เธอเลือกท�ำ ในสิ่งนี้… “แรกเริม่ กุนเป็นคนไม่ชอบออกก�ำลังกาย หลังจาก การคลอดลูกคนที่สองท�ำให้มีน�้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่ง ตัวเองเป็นคนที่อ้วนง่ายมากๆ ตอนนั้นกลับไปอยู่บ้าน ต่างจังหวัดและเข้าท�ำงานในหน่วยงาน ราชการ ส่วนงาน ที่ท�ำจะนั่งอยู่กับที่มากกว่า การใช้ชีวิตประจ�ำวันแทบ จะไม่ได้ออกก�ำลังกายเลย แต่ละวันตื่นเช้าก่อนไปท�ำงานก็จะทานอาหาร มื้อหนักๆ นั่งโต๊ะท�ำงานจนกระทั่งถึงช่วงพักกลางวัน ยิง่ ถ้าได้รวมกลุม่ กับเพือ่ นๆ ออกไปหาอะไรทานด้วยนะ ก็จดั หนักกันทุกครัง้ หลังจากนัน้ ก็กลับมานัง่ โต๊ะ ท�ำงาน ต่อจนกระทั่งถึงเย็น พอกลับบ้านก็ถึงเวลาอาหารเย็น ดิฉนั ใช้ชวี ติ แบบนีม้ าหลายปี พร้อมกับน�ำ้ หนักตัว ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลงเลย... จนกระทั่งเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาได้ลาออกจากงาน ประจ�ำแล้วกลับมาท�ำธุรกิจส่วนตัวที่กรุงเทพฯ จากที่ 32 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)

เคยใช้ชีวิตประจ�ำวันแต่ละวันแบบช้าๆ ที่ต่างจังหวัด พอกลับมาอยู่ในเมืองจ�ำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ทุกอย่าง เหมือนเปลี่ยนชีวิตใหม่เลยก็ว่าได้ เป็นชีวิตที่อยู่กับความเร่งรีบและต้องแข่งขันให้ ทันกับเวลาเพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปนั่งแหง่วในรถที่ติดอยู่ กลางถนนเป็นชัว่ โมงๆ ท�ำให้เสียเวลาและเสียสุขภาพจิต มาก... เคยคิดว่าในระยะเวลา 2 ชั่วโมง เท่าๆ กันหาก ขับรถไปพัทยายังไม่เหนือ่ ยเท่าขับรถไปติดแหงก อยูบ่ น ถนนรัชดาเลย (555) บางครัง้ ก็ตอ้ งทรมานเพิม่ หากปวด ปัสสาวะขึ้นมาในเวลานั้นพอดีอีก เชื่อว่าผู้อ่านหลายๆ คนคงเคยพบกับความรู้สึกที่สุดๆ แบบนั้นเช่นเดียวกัน (มันทรมานเกินบรรยายจริงๆ...อิอิอิ) นอกจากเรื่องความเร่งรีบแล้วปัญหาของดิฉันก็ คือความคล่องตัวในการที่จะไปไหนมาไหนกับการใช้ บริการรถโดยสารสาธารณะต่างๆ ได้ไม่สะดวกมาก เท่าใดนัก เพราะด้วยน�้ำหนักตัวที่มากเกิน หรือที่เรียก กันง่ายๆ ว่า “อ้วน” ล่ะค่ะ ครั้นจะวิ่งตามรถเมล์หรือ จะเข้าไปยืนเบียดเป็น


ปลากระป๋องกับ ชาวบ้านบนรถไฟฟ้า ก็แสนจะอึดอัด อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เคยลองใช้อยู่บ้างบางวัน แต่พอ กลับมาถึงบ้าน ทั้งเหนื่อยทั้งเพลียทุกครั้ง อีกทัง้ การงานทีจ่ ะต้องไปพบปะผูค้ นด้วยความที่ เป็นผู้หญิงก็อยากที่จะแต่งตัวสวยๆ และยิ่งมาอยู่ใน เมืองแบบนี้ ก็อยากจะแต่งให้ทนั สมัยเหมือนกับเค้าบ้าง แต่กย็ าก หากยังอ้วนอยูแ่ บบนีแ้ ต่งไปก็ขาดความมัน่ ใจ จะท�ำยังไงดีล่ะ!? อยากได้หุ่นที่ไม่ตองถึงกับ เป็นนางแบบ ขอแบบหุ่นกระฉับกระเฉง เวลาไปไหน อยากเดินแบบคล่องตัวไม่อุ้ยอ้ายก็พอ คิดจะลองไป ออกก�ำลังกาย แล้วจะเลือกแบบไหนดีล่ะ? ดิฉันเลือกออกก�ำลังกายอยู่หลายประเภทแต่ก็ ไม่สำ� เร็จ วันนึงได้ลงไปธุระที่ หาดใหญ่ และไปเจอเพือ่ น โดยบังเอิญ เขาได้แนะน�ำให้ลองปัน่ จักรยานดู ซึง่ เพือ่ นของ ดิฉันก็เป็นคน ชอบปั่นจักรยานอยู่แล้ว ในใจก็คิดว่ามัน คงไม่จะน่ายากอะไร เคยปัน่ อยูบ่ อ่ ยๆ เพราะตอนท�ำงาน อยู่ที่ต่างจังหวัด ก็ปั่นบ้างเวลาไปไหนมาไหนใกล้ๆ เพื่อนดิฉันไม่รอช้ารีบพาไปซื้อจักรยานวันนั้น เลย ดิฉนั ซือ้ จักรยานคันแรกเป็นรถพับมือสองคันเล็กๆ เพื่อนพาปั่นจากตัวเมืองหาดใหญ่จะไปสงขลา โดยที่ เพื่อนขับรถตามเซอร์วิส… จ�ำความรูส้ กึ ครัง้ นัน้ ได้เลยไม่รวู้ า่ ปัน่ ไปกีก่ โิ ลเมตร รูแ้ ต่วา่ มันเหนือ่ ยมาก ยิง่ ตอนสิบล้อตามหลังท�ำให้ตกใจ และรู้สึกกดดันมากๆ อีกประมาณสิบกว่ากิโลเมตรจะ ถึงสงขลา ดิฉันถอดใจไม่ปั่นต่อแล้วยกเก็บขึ้นรถ คิดว่า คงจะไม่เอาแล้วล่ะปั่นจักรยาน จากนัน้ กลับมากรุงเทพฯ ก็ได้มาเจอกับแฟนของ เพือ่ นซึง่ ปัน่ จักรยานในเมืองเป็นประจ�ำอยูแ่ ล้ว มาชวน ดิฉันให้มาลองปั่นเล่นในเมืองด้วยกัน พอเริ่มออกปั่น สักพักก็เริ่มสนุก ชอบ และเริ่มติดใจ จนไม่อยากจะ หยุดปั่น... เพราะที่ส�ำคัญคือมันท�ำให้น�้ำหนักตัวของดิฉัน เริ่มลดลง และรู้สึกถึงความคล่องตัวมากขึ้นอีกทั้งยังได้ อะไรอีกหลายๆ อย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพในร่างกายของ ตัวเองที่รู้สึกว่าดีขึ้นมาเรื่อยๆ โดยส่วนตัวแล้วการได้มาปั่นจักรยานบนถนน ในเมืองที่การจราจรติดขัดวุ่นวาย จนท�ำให้ชีวิตของ

คนในเมืองต้องแข่งขันกับเวลาจนแทบจะไม่มีเวลา เหลือพอที่จะท�ำกิจกรรมต่างๆ ได้ในแต่ละวัน บางคน ออกจากบ้านไปท�ำงานแต่เช้าตรูก่ ลับถึงบ้านก็ดกึ เวลา ก็หมดไปแล้วหนึ่งวัน ตั้งแต่หันมารักการปั่นจักรยาน จนทุกวันนี้มี จักรยานเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจ�ำวันเลยก็ว่าได้ (อาจจะฟังดูเว่อร์ไปหน่อย 555) ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ ขยาดรถติดเอามากๆ เพราะเคยกลัน้ ปัสสาวะในขณะที่ ติดอยูบ่ นรถกับระยะทางแค่ไม่กสี่ บิ กิโลเมตรนานเกือบ 2 ชัว่ โมงบนทางด่วน จนถึงกับท�ำให้ตอ้ งนอน โรงพยาบาล เข้ารับการรักษากรวยไตอักเสบกันเลยทีเดียว ทีบ่ อกว่าจักรยานได้มาเป็นส่วนหนึง่ ของชีวติ ก็คอื จะมีจักรยานพับคันเล็กติดไว้ที่รถเวลาจะไปไหนแล้ว เห็นรถติดมากๆ ในระยะทางไม่ไกลมากจากสถานที่ ทีเ่ ราจะไปท�ำธุระก็จะหาทีจ่ อด แล้วเปลีย่ นเอาจักรยาน ปั่นไปแทน อ่อ…ลืมบอกไปว่าตั้งแต่หันมาปั่นจักรยาน จะไม่ค่อยใส่ชุดกระโปรงเท่าไรนัก (กลายเป็นเปลี่ยน สไตล์ไปด้วยเลย 555) บางครั้งในขณะที่ดิฉันหาที่จอดรถแล้วเปลี่ยน มาใช้จักรยาน ก็เห็นรถที่จอดติดด้วยกันข้างๆ ยังไม่ ไปไหนจอดติดอยูท่ เี่ ดิมก็มี เคยคิดเล่นๆ ว่าหากเราเสร็จ ธุระของเราแล้ว รถคันนั้นไปถึงที่หมายของเขาหรือยัง น้อออ… คิดแล้วก็ภูมิใจที่ตัวเองชอบปั่นจักรยาน..อิอิ และในบางวันหากรู้ว่าจะต้องไปสั่งสินค้าหรือ ท�ำธุระในสถานที่ซึ่งไม่มีที่จอดรถ หรือยากต่อการหาที่ จอดรถ เช่น เยาวราช ส�ำเพ็ง ฯลฯ ก็จะปัน่ ออกไปเลย... เดีย๋ วนีใ้ นชีวติ ประจ�ำวันคล่องตัวมากยิง่ ขึน้ ไม่วา่ จะเป็นการเดินทางกับเวลาทีเ่ หลือพอทีจ่ ะได้ทำ� กิจกรรม ต่างๆ กับครอบครัวได้อีกด้วยค่ะ” ■

สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558) │ 33


เรื่องเล่าชาวสองล้อ เรื่อง/ภาพ จารึก หลังสวน

ปั่นสองเดือนเที่ยว ยูนนาน..หยวนหยาง ตอนที่ 5 (ต่อ)

34 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)


ากเมื อ งล่ า วเม่ ง ผมควั ก โพยแผนปั่นออกมาทวนดู ดูชื่อเมืองที่ตั้งใจจะปั่นไปถึงชื่อ เมืองฮ้วงเหมาลิ่ง ปั่นๆ ไปได้ซัก 20 กิโลเมตร ถามชาวบ้านเขา บอกถึงแล้ว ก็เป็นเมืองเล็กๆ อีก นัน่ แหล่ะ เจอร้านข้าวแบบตัง้ ครัว หน้าบ้าน มีอาหารสดพวกผักวาง ใส่ถาดเต็มตู้โชว์ ถือว่าต่างจาก ร้านอาหารที่ผมพบเจอระหว่าง สมัยปั่นเที่ยวจีนห้าหกปีก่อน ผมบอกแม่ ค ้ า ช่ ว ยผั ด ผั ก อย่ า งเดี ย วให้ ห น่ อ ย นั่ ง รอพอ เพลิน แม่ค้าก็ยกกับข้าวมาพร้อม ข้าวสวยหนึ่งถัง เป็นถังไม้ครับ ผมตักกินจนอิม่ เหลือผมขอ คดใส่ห่อแม่ค้าไม่ได้ว่าอะไร แต่ ตอนแม่ค้าเก็บตังค์ผมคิดเดือดใจ นิดหน่อย ผัดผักหนึง่ จานข้าวหนึง่ ถังตักกินแค่สองถ้วยใหญ่ แม่ค้า คิดเงินยี่สิบหยวนประมาณหนึ่ง ร้อยบาทไทย หากเทียบกับจ่ายที่ ตลาดสด ผักจานนี้ไม่เกินเงินสอง หยวน หุงข้าวกินไม่เกินสองหยวน หลงจ้งหากท�ำเองควักทุนไม่เกิน ห้าหยวน กินเกินอิ่ม ผมไม่ได้คิดจะรีบปั่น แถม นิ สั ย กิ น ข้ า วเสร็ จ ก็ อ อกอาการ เผลอพิงผนังหลับตาท�ำสบาย แต่ ต้องตื่นแบบสะดุ้งโหยง สามีของ แม่คา้ ครับ มาจากทีไ่ หนก็ไม่รู้ เอา สันของก�ำปั้นทุบลงกับโต๊ะเหล็ก เสียงดังปั้ง แถมยังออกปากว่า.. ไม่ต้องแปลก็รู้ว่าถูกไล่ให้รีบลุก ครับ ถึงได้รู้ธรรมเนียมการ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558) │ 35


36 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)


ค้ า ขายของคนจี น เสร็ จ ธุ ร ะกั น แล้ ว จงอย่ า ท� ำ ตั ว เกะกะให้เขาร�ำคาญ อย่างกินข้าวเสร็จจงรีบไป เขา สงวนที่ไว้ดูแลลูกค้าคนต่อไป มันยังมีเวลาเหลือเฟือก็ปั่นต่อ เส้นทางจากนี้ ไปไม่ได้ท�ำโพยเตรียมไว้ เลยไม่รู้จะเป็นเมืองชื่ออะไร เลยเริ่มปั่นแบบก�ำหนดอารมณ์โหมดใหม่ เป็นแบบ ไม่อนาทรร้อนใจ ถึงตรงไหนก็ชา่ ง ก่อนมืดค�ำ่ ค่อยเล็ง หาที่ลับตาคน หาที่กางเต็นท์นอน เอาเข้าจริง ปั่นไปถึงห้าโมงกว่าๆ เข้าถึงเมือง เล็กแต่ไม่รู้ชื่อเมือง ตามสูตรเมือ่ เข้าเมือง ก็ตอ้ งตระเวนหาโรงแรม ถามชาวบ้านเขาก็ชี้ ก็ปั่นเล็งไปหาแยกที่เขาชี้เล็ง เป็ น หมาย เห็ น อาเฮี ย คนนึ ง แกยื น อยู ่ ก ลางถนน ผมไม่ทนั สังเกตแกก�ำลังท�ำอะไรก็เข้าไปสอบถามทันที อาเฮียที่ท�ำท่าออกงิ้ว โฮกฮากตอบผม... อั๊วก็เพิ่งมา ถึงที่นี่ อั๊วไม่รู้ ผมถึงเพิ่งหัดท�ำตัวสังเกตรอบข้าง อาเฮียยืน ข้างๆ รถตูส้ องคัน คุยกันถึงรูร้ ถสองคันเป็นรถโฆษณา เคลื่อนที่ ที่ส�ำคัญเห็นอาเฮียกะรถคาราวานสองคัน ปักหลักนอนในรถริมถนน ขั้นต้นตอนเย็นเขาขน กระทะเครื่องครัว เริ่มท�ำกับข้าวกันแล้ว กลายเป็นว่าผมเจอรีสอร์ทเหมาะต่อการกาง เต็นท์นอนกลางเมือง รถตูส้ องคันแต่ละคันมีสมาชิกประจ�ำรถต่างกัน คันที่อาเฮียผมถาม ดูเหมือนมีสองคนอาเฮียหนึ่งคน กะอีกคนก็ผชู้ าย คันทีส่ องสมาชิกเป็นครอบครัว สามี หนุม่ วัยสามสิบกะเมียวัยคงจะใกล้เคียง มีลกู เล็กเดิน เล่นหนึ่งคน สมาชิกแต่ละคันง่วนกะการขนเตาครัว ของจีน เตาพวกนี้เสียงเปลวไฟมันน่าเกรงขาม จุด พรึ่บไฟแรงเปลวไฟสีน�้ำเงินจัด ออกวาง ผมหันหลัง ให้แผล้บเดียว อ้าวเขาตั้งวงกินข้าวกันแล้ว อยู่ใกล้เดี๋ยวน�้ำลายหก ผมเดินไปหาท�ำเลกาง เต็นท์ให้หา่ งวงข้าว เลือกติดด้านข้างของเพิงขายของ ก็อาศัยเพิงเป็นทีพ่ งิ จักรยาน กางเต็นท์คลุมฟลายชีท ซ่อนจักรยาน ท�ำคืนที่สองเริ่มช�ำนาญ

ผมเดินส�ำรวจดู เห็นแต่ละหน้าบ้านที่อยู่ริม ถนน เขามีก๊อกน�้ำใช้แต่ล้วนมีกุญแจล็อคก้านเปิด มิให้ผู้ใดเปิดใช้ได้เอง พอเดินผ่านหน้าบ้านของคนชาวบ้านทีเ่ ขาท�ำเป็น ร้านขายของช�ำ คนขายในร้านแต่งชุดชนกลุ่ม จึง ออกปากขอเธอใช้น�้ำจากก๊อกน�้ำหน้าบ้านของเธอ เธอพยักหน้ายินดี ผมรอเวลาพอมืดให้มืดอีกหน่อย ก็นงุ่ กุงเกงตัวปัน่ อาบน�ำ้ ซักไปด้วย อาบได้สบาย อากาศ ไม่หนาวเกินไป เอาสายยางจ่อหัว น�ำ้ ไหลสุดแรง อาบ สบายตัวจริงๆ อาบเสร็จเติมน�ำ้ ใส่ถงั หิว้ เดินกลับมาที่ เต็นท์ เอาไว้หงุ ข้าวทัง้ ล้างหน้าถูฟนั ตอนตืน่ เช้าพรุง่ นี้ ซักทุ่มกว่าลมกระโชกแรง ท้องฟ้ามืดไปหมด นึกว่าฝนจะตก เลยรีบเข้าเต้นท์ นอนแต่หัวค�่ำเลย วันนี้ เหมือนจะหลับได้สนิท แต่ก็รู้สึกลมกระโชกแรง ทั้งคืน ทั้งคืนฝนไม่ตก เช้าตรู่ หูได้ยินเสียงโซปราโนแซกโฟโฟน เสียง หวานพริ้วแหลมสูงจากแผ่นเป่าของเคนนี่จี เพลงคุ้น หูเดอะโมเม้นท์ โฮยผมนึกในใจ คนคุมเครื่องส่งเสียง ตามสายมาถึงล�ำโพงในตลาด อารมณ์ช่างสุนทรีย์ เลือกเพลงเพราะเหมาะกะอารมณ์กล่อมคนตื่นสาย กว่าจะได้เริม่ ปัน่ ก็เกือบสิบโมงเช้า ก่อนจะปัน่ จริงๆ ก็แถจักรยานไปร�่ำไปลา หญิงเจ้าของร้านที่เมื่อคืน กรุณาอนุญาตให้อาบน�ำ้ เธอยิม้ ใจดีประกอบตอนส่าย หน้าไม่ยอมรับเงิน ทีผ่ มยืน่ ให้เธอสองหยวนค่าน�ำ้ อาบ เส้นทางปั่นวันนี้ ปั่นไต่เขาเนิบทั้งวัน ปั่นเพลิน คิดเพลินด้วยความสุข จู่ๆ เจอสถานที่ตั้งของศูนย์ ท่องเทีย่ ว ทีศ่ นู ย์การท่องเทีย่ วนีม้ ลี านจอดรถกว้างใหญ่ มีร้านขายของที่ระลึก คนขายส่วนใหญ่ที่เห็นเป็น ผู้หญิงแต่งกายชนกลุ่มพื้นเมือง ในพื้นที่ของศูนย์ ท่องเที่ยวนี่ผมว่าผมไม่เห็นเจ้าหน้าที่ผู้ชายเลยนะ สงสัยอาชีพเกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยว เกี่ยวกับงาน ที่จะท�ำให้คนเที่ยวเขาพออกพอใจนี่ ดูเหมือนจีนเขา จะนิยมให้เพศหญิงยึดครองในหน้าที่การงานนี้ ■ (อ่านต่อฉบับหน้า) สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558) │ 37


สุขภาพนักปั่น

เรียบจากข้อมูลของ มูลนิธิหมอชาวบ้าน (Folk Doctor Foundation) www.doctor.or.th นักเขียนหมอชาวบ้าน นพ.ประวิตร พิศาลบุตร

ดูแลผิวสวย...ยามสายลมหนาวโชย

หนาวเช่นนี้ท้องฟ้าแจ่มใสและอากาศเย็น ช่ขึ้นบ้วงฤดู สบาย แต่ก็มีโอกาสพบโรคผิวหนังบางอย่างมาก าง ลองมารู้จักกับโรคเหล่านี้กัน

ควรลดหรืองดการฟอกสบู่ และใช้ครีมให้ความชุ่มชื้น ทาใบหน้า ทาตามตัว ควรงดการใช้สบู่ที่มีเม็ดขัดถู ใบหน้าด้วย ควรสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดในหน้าหนาว เช่น สวมกางเกงขายาว ใส่เสื้อแขนยาว สวมถุงมือ ถุงเท้า หมวก เหล่านีช้ ว่ ยลดปัญหาผิวแห้ง ปัญหารังแค ลดการเสีย่ งต่อโรคหวัด และยังช่วยป้องกันผิวหนังจาก แสงแดดจ้าในฤดูหนาวอีกด้วย

ทีพ่ บบ่อยคือหลายท่านมีผวิ แห้ง บางครัง้ แห้งจน แตกลายและเกิดอาการคันได้มาก บางท่านมีผนื่ แดงเป็น ขุยที่ร่องจมูก แก้ม เหนือคิ้ว และแนวไรผม เรียกว่าโรค เซ็บเดิรม์ (seborrheic dermatitis) ถ้าล้างหน้าฟอกสบู่ บ่อยโรคนี้จะก�ำเริบ บางท่านมีรังแคของหนังศีรษะมาก นอกจากนั้น ยังพบการก�ำเริบของโรคผิวหนัง โรคเซ็บเดิร์มคืออะไร? อักเสบภูมแิ พ้ (atopic dermatitis) และพบการระบาด โรคเซ็ บ เดิ ร ์ ม พบได้ บ ่ อ ยโดยเฉพาะในช่ ว ง และก�ำเริบของโรคกลีบกุหลาบ (pityriasis rosea) ได้ หน้าหนาว เป็นโรคกลุม่ เดียวกับรังแคและโรคสะเก็ดเงิน ซึง่ เป็นโรคผิวหนังเรือ้ รังทีไ่ ม่ตดิ ต่อ ลักษณะเป็นผืน่ แดง ตามหน้าผาก ข้างแก้ม คิ้ว หรือเป็นผื่นมีขุยที่เหนือคิ้ว ดูแลไม่ให้ผิวแห้งได้อย่างไร? ปัญหาผิวหนังในหน้าหนาวที่พบบ่อยที่สุด และ ร่องจมูก แนวไรผม ถ้าเป็นชนิดรุนแรงผื่นจะเห็นได้ มักเกิดกับคนไทยที่รักความสะอาดเป็นทุนอยู่แล้วคือ ชัดเจนมากซึ่งดูแล้วอาจไม่ต่างไปจากโรคสะเก็ดเงิน ปัญหาผิวแห้งท�ำให้เกิดอาการคัน บางท่านเข้าใจผิด นอกจากพบผืน่ ทีใ่ บหน้าแล้ว ยังอาจพบผืน่ ทีห่ นัง ว่าคันจากความสกปรกจึงยิ่งใช้สบู่ฟอกถูผิวที่แห้งคัน ศีรษะคล้ายรังแค แต่หนังศีรษะจะมีผื่นแดง และยังพบ ท�ำให้อาการเป็นมากขึ้น บางท่านใช้สบู่ยาฟอกผิวหนัง ตามต�ำแหน่งอืน่ ๆ ทีม่ ตี อ่ มไขมันมากได้แก่ ในรูหู หลังหู เพราะเข้าใจผิดว่าผิวแห้งคันเกิดจากการติดเชือ้ โรค การ ในสะดือ และหัวหน่าว เป็นต้น บางรายอาจมีอาการคัน ใช้สบู่ยายิ่งท�ำให้ผิวแห้งจัดจนแตกลายและเป็นแผลได้ ปัจจัยทีท่ ำ� ให้โรคเซ็บเดิรม์ หรือรังแคของผิวหน้า การอาบน�้ำร้อนจัดหรือนอนแช่อ่างอาบน�้ำอุ่นก็ท�ำให้ ก�ำเริบได้แก่ ความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ผิวหน้าแห้ง ล้างหน้าฟอกสบู่บ่อยครั้งเกินไป การโดนแสงแดดจัด ผิวยิ่งแห้ง ในหน้าหนาวอาจใช้เพียงสบู่อ่อนฟอกบริเวณที่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และกินอาหารหรือดื่ม อับชื้น เช่น รักแร้ ซอกขา ก็เพียงพอ ถ้ามีผิวแห้งมาก เครื่องดื่มที่ร้อนจัด แนวทางในการป้องกันและรักษาโรคเซ็บเดิร์มนี้ ควรใช้ครีมบ�ำรุงผิวที่ไม่เหนียวเหนอะหนะ ผู้ที่มีผิวแห้งต้องงดยาทาแก้คันที่มีลักษณะเป็น คือหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นดังกล่าว หากเป็นมากควร แป้งน�ำ้ เพราะจะท�ำให้ผวิ หนังแห้งมากขึน้ และต้องไม่ใช้ พบแพทย์ผิวหนัง แพทย์อาจให้ยาทา เช่น ครีมทาลด ยาฆ่าเชื้อราทา เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาผิวแห้งและ เชื้อยีสต์ หรือครีมสตีรอยด์อย่างอ่อน เนื่องจากโรคนี้ ยังท�ำให้ผิวแห้งก�ำเริบขึ้น การใช้ครีมบางตัวเช่น กรด มักเป็นๆ หายๆ ผู้ป่วยจึงไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป ผลไม้ กรดวิตามินเอ ครีมรักษาสิว เช่น เบนซอยล์เพอร์ เพราะจะท�ำให้เครียดและโรคยิ่งก�ำเริบขึ้น ออกไซด์ โลชั่นทาสิว (เช่น ก�ำมะถัน) ต้องระวัง เพราะ ท�ำให้ผิวแห้งระคายเคืองได้ง่าย ถ้าจ�ำเป็นต้องทายาให้ รังแคเป็นอย่างไร รักษาได้ไหม? น้อยลงหรืองดเป็นช่วงๆ รังแคคือขุยบนเส้นผมหรือหนังศีรษะ อาจมีลกั ษณะ ในฤดู ห นาวถ้ า หน้ า แห้ ง มากหรื อ ผิ ว กายแห้ ง แห้งหรือมันก็ได้ รังแคไม่ใช่โรค แต่เป็นความแปรปรวนของ 38 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)


ขอบคุณภาพประกอบจาก Philsroadbiking

เซลล์หนังศีรษะทีแ่ บ่งตัวมากขึน้ แล้วหลุดออกง่ายและเร็ว กว่าปกติ กลายเป็นขุยขนาดใหญ่ทสี่ ามารถสังเกตเห็นได้ การรักษารังแคอาจใช้แชมพูรกั ษารังแคทีม่ อี ยูใ่ น ท้ อ งตลาด ซึ่ ง มี ตั ว ยาส� ำ คั ญ ในการขจั ด รั ง แค เช่ น ซิงก์ไพริไทออน ซีลิเนียมซัลไฟด์ และคีโทโคนาโซล ตัว ยาเหล่านี้ลดการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง และช่วยให้ ขุยหรือขี้ไคลที่เกิดขึ้นไม่ลอกหลุดเร็วกว่าปกติ รวมถึง ลดจ�ำนวนเชื้อยีสต์บนหนังศีรษะลงด้วย การใช้แชมพูรกั ษารังแคให้ใช้ตามค�ำแนะน�ำหรือ ฉลากข้างขวด เมือ่ รังแคหายแล้วก็อาจกลับเป็นใหม่ได้อกี

ผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ไม่ควรใช้สบู่มาก ไม่ควรนอนแช่ในอ่างอาบน�ำ้ ไม่ควรอาบน�ำ้ ร้อนจัด การ เช็ดตัวให้ใช้วธิ ซี บั ไม่ควรเช็ดหรือถูแรงๆ ไม่ควรใส่เสือ้ ผ้า ขนสัตว์ที่หนา ควรใส่เสื้อผ้าฝ้ายทอโปร่งๆ ให้พยายาม ระงับสติอารมณ์ไว้ อย่าเครียด อย่าเกาบริเวณที่คัน ผูป้ ว่ ยทีเ่ ป็นโรคผิวหนังภูมแิ พ้และผูป้ กครองเด็ก ต้องพยายามเข้าใจว่า แม้ว่าโรคนี้จะก่อให้เกิดความน่า ร�ำคาญเพียงใดก็ตาม โรคนี้ก็ไม่ใช่โรคร้ายแรงถึงชีวิต จึงควรยอมรับสภาพความเป็นจริงที่จะมีชีวิตอยู่กับ โรคนี้ให้ได้

โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้เป็นอย่างไร? โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ไม่ใช่โรคติดต่อที่มักเริ่มพบในวัยเด็ก ผู้ป่วยร้อยละ 70 พบประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเช่น ประวัติว่าพ่อแม่ เป็นหืดหอบ ลมพิษ หรือน�้ำมูกไหลเพราะแพ้อากาศ แบ่งลักษณะเป็น 3 ช่วงอายุคือ - ช่วงวัยทารก มักพบเป็นผื่นที่แก้มหรือบริเวณอื่น ของใบหน้า หรือตามด้านนอกของแขนขา ล�ำตัว - ช่วงวัยเด็ก ผืน่ มักเป็นตามข้อพับแขนขา ผืน่ จะแดง หนา อาจคันรุนแรงมาก - ช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ มักคันมาก อาการคันมัก ก�ำเริบตอนกลางคืน ผื่นมักเป็นตามข้อพับแขนขา ใบหน้า หัวไหล่

โรคกลีบกุหลาบเป็นอย่างไร? โรคกลีบกุหลาบเริ่มแรกจะมีผื่นปฐมภูมิเรียกว่า ผืน่ แจ้งข่าว ต่อมาอีก 1-2 สัปดาห์จะมีผนื่ เล็กๆ ลักษณะ เฉพาะกระจายทัว่ ไป มักเป็นตามแนวลายเส้นของผิวหนัง จึงท�ำให้ผนื่ ทีห่ ลังอาจเรียงตัวดูคล้ายต้นคริสต์มาส อาจ มีอาการน�ำมาก่อนผื่นขึ้นเช่น เหนื่อยเมื่อยล้า คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ไข้ และปวดศีรษะ ร้อยละ 75 ของผูป้ ว่ ยโรคกลีบกุหลาบมีอาการคัน ซึ่งร้อยละ 25 อาจคันรุนแรง โรคกลีบกุหลาบพบได้ตลอดปีแต่มักพบบ่อยใน ช่วงที่อากาศเปลี่ยน ในฤดูหนาวโรคกลีบกุหลาบมักมี อาการคันอย่างรุนแรงเพราะมีผิวแห้งร่วมด้วย ■ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558) │ 39


Fitness Lifestyle 48 เรื่อง วชิรุฬ จันทรงาม

บางกะเจ้า...

The Best Urban Oasis (2) (ต่อจากฉบับที่แล้ว)

ครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ ในบริเวณ พื้นที่ข้างเคียง

1) โครงการคลองลัดโพธิ์ ในอดีต คลองลัดโพธิเ์ ป็นคลองลัดแนวเหนือ-ใต้ ของคุ ้ ง น�้ ำ ของแม่ น�้ ำ เจ้ า พระยา ต� ำ บลทรงคนอง อ�ำเภอพระประแดง มีสภาพตื้นเขิน หากปรับปรุงจะ ช่วยให้แม่นำ�้ เจ้าพระยาไหลลัดลงทะเลได้สะดวกและ รวดเร็วยิง่ ขึน้ ซึง่ จะช่วยแก้ไขปัญหาน�ำ้ ท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล เมือ่ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2538 พระบาทสมเด็จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ฯ ได้ พ ระราชทานพระราชด� ำ ริ ใ ห้ หน่วยราชการทีเ่ กีย่ วข้องร่วมกัน เร่งวางโครงการและ ด�ำเนินการปรับปรุงขุดลอก พร้อมก่อสร้างอาคาร ประกอบในคลองลัดโพธิ์ตามความเหมาะสม ซึ่งเมื่อ ได้ปรับปรุงแล้วเสร็จ สามารถลดระยะทางการระบาย ของแม่นำ�้ เจ้าพระยาออกสูอ่ า่ วไทยได้เร็วมากขึน้ จาก 18 กิโลเมตร ให้เหลือเพียง 600 เมตร และลดเวลา การเดินทางของน�้ำลงจากเดิม 5 ชม. เหลือเพียง 10 นาทีเท่านั้น นอกจากนี้ ประตูระบายน�้ำคลองลัดโพธิ์ ยังสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังน�้ำได้ถึงกว่า 5 กิโลวัตต์ 2) โครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรม กรมทางหลวงชนบท ด�ำเนินการก่อสร้าง ถนน ต่อเนื่องเชื่อมโยงพื้นที่ย่านอุตสาหกรรมและท่าเรือ 40 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)

คลองเตย มีความยาวรวมประมาณ 25 กิโลเมตร ส่วน สะพานภูมพิ ล 1 และสะพานภูมพิ ล 2 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ก่อสร้าง ขึ้นเพื่อเป็นโครงข่ายถนนรองรับการขนถ่ายล�ำเลียง สินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปยังพื้นที่อุตสาหกรรม ในจังหวัดสมุทรปราการและภูมิภาคอื่นๆ เพื่อมิให้ รถบรรทุ ก วิ่ ง ผ่ า นตั ว เมื อ งอั น เป็ น สาเหตุ ข องการ จราจรติดขัด ผลดีที่ได้รับ 1) พื้นที่กระเพาะหมูเป็นพื้นที่ลุ่มล้อมรอบ ด้วยแม่น�้ำเจ้าพระยาและใกล้ทะเล ดังนั้นเมื่อระดับ น�้ำทะเลขึ้นสูงในฤดูน�้ำหลาก ระดับน�้ำจะสูงล้นมา ตามตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ 2-3 ชั่วโมง โดยเฉพาะพื้นที่ บ้านริมตลิ่ง ซึ่งเดิมเมื่อน�้ำท่วมจะกินเวลานานกว่า และระดับน�้ำสูงกว่า เนื่องจากโครงการคลองลัดโพธิ์ ท�ำให้ปริมาณน�้ำในแม่น�้ำเจ้าพระยาไหลระบายออก อ่าวไทยได้เร็วขึ้น 2) ปัญหาการจราจร เนื่องจากพื้นที่กระเพาะ หมู มี ถ นนหลั ก เพี ย งสายเดี ย ว คื อ ถนนเพชรหึ ง ษ์ และเมื่อก่อนมีรถบรรทุกจ�ำนวนมากข้ามแพมาจาก พระประแดง ท�ำให้การจราจรติดขัดอย่างมาก แต่เมือ่ มีโครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ท�ำให้การจราจร คล่องตัวขึ้นอย่างมาก 3) ด้านการท่องเที่ยว ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยว เพิม่ ขึน้ เป็นจ�ำนวนมาก สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั


เช่น ตลาดน�ำ้ บางน�ำ้ ผึง้ สวนศรีนครเขือ่ นขันธ์ รวมทัง้ ยังมีชมุ ชนวัดมอญโบราณ สวนป่าชุมชน และ เส้นทาง ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยรถจักรยาน ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมกับองค์กรส่วนท้องถิ่นและประชาชน ให้ความ ร่วมมือในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นอย่างดี มาดูเส้นทางจักรยานกันครับ

นิตยสาร ไทม์ เอเซีย ฉบับ Best of Asia ได้ยกย่องให้เกาะบางกะเจ้า (บริเวณกระเพาะหมู) ให้ เ ป็ น ปอดกลางเมื อ งที่ ดี ที่ สุ ด ในเอเชี ย (The Best Urban Oasis) และพวกเราก็เห็นด้วยว่า เกาะบางกะเจ้าเป็นพืน้ ทีส่ เี ขียวส�ำหรับการท่องเทีย่ ว เชิงอนุรักษ์โดยรถจักรยานดีจริงๆ ทีเดียว... ■

เส้นทางที่ 1 (วิบาก)

ระยะทางประมาณ 24.4 กิโลเมตร สวนสุขภาพคลองลัดโพธิ์ - เข้าซอยเพชรหึงษ์ 16 - สวนเฉลิมพระเกียรติ - สถานีเพาะช�ำกล้าไม้ วัดบางกระสอบ - อบต.บางกระสอบ - ซอยเพชรหึงษ์ 22 - สวนหมากแดงลุงกลม - ซอยยิ่งอ�ำนวย - ตลาดน�้ำ บางน�้ำผึ้ง - สวนป่าบางน�้ำผึ้ง - วัดบางกอบัว - เข้า ซอยเรวดี - พิพธิ ภัณฑ์ปลากัดไทย - สวนริมแม่นำ�้ - วัด บางกระเจ้านอก - วัดบางกะเจ้ากลาง - ซอยเพชรหึงษ์ 23 - ถนนเพชรหึงษ์ - หมู่บ้านมอญทรงคนอง - ซอย เพชรหึงษ์ 2 - สวนสุขภาพคลองลัดโพธิ์ เส้นทางที่ 2 (รถยนต์ติดตามได้)

ระยะทางประมาณ 15.8 กิโลเมตร สวนสุขภาพคลองลัดโพธิ์ - ซอยเพชรหึงษ์ 22 ไม้ประดับหมู่ 2 บางกระสอบ - เข้าซอยยิ่งอ�ำนวย - ผ่านโฮมสเตย์ผู้ใหญ่อ้อย - ตลาดน�้ำบางน�้ำผึ้ง วัดบางกอบัว - พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย - สวนศรีนคร เขื่อนขันธ์ ซอยเพชรหึงษ์ 33 - กลับสวนสุขภาพ คลองลัดโพธิ์ เส้นทางที่ 3 (เวลาน้อย/ขี่จักรยานไม่คล่อง)

ระยะทางประมาณ 7.6 กิโลเมตร ตลาดน�ำ้ บางน�ำ้ ผึง้ - ออกซอยเพชรหึงษ์ 26 - เข้าซอย เพชรหึงษ์ 33 - เข้าสวนศรีนครเขือ่ นขันธ์ - พิพธิ ภัณฑ์ ปลากัดไทย - เข้าซอยเรวดี - ซอยเพชรหึงษ์ 33/1 - เข้าซอยเพชรหึงษ์ 28 กลับเข้าตลาดน�้ำบางน�้ำผึ้ง (ผ่านเข้าหลังวัดบางน�้ำผึ้งใน) สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558) │ 41


เชิงช่างหนึ่ง เรื่อง ช่างหนึ่ง

crack ส

วัสดีครับท่านสมาชิกทุกท่าน กลับมาพบกันพร้อม ลมหนาว มีความสุขมากครับอากาศเย็นสบายๆ แบบนี้ ได้ออกไปปั่นแล้วดีจริงๆ ฉบับนี้ผมจะมาแนะน�ำ crack หรือรอยแตกของ จักรยานและชุด Safety อุปกรณ์ทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเราใช้ ผิดวิธี หรือใช้ไปในที่ๆ ไม่ควรใช้ หรือหมดอายุตามสภาพ การใช้งาน ไม่ว่าชิ้นส่วนนั้นๆ จะมีความแข็งแรงแค่ไหน ก็ มีสิทธิ์ที่สินค้าเหล่านั้นจะเสียหายได้เช่นกัน อีกประการหนึ่งการเกิดอุบัติเหตุ ก็สามารถท�ำให้ ชิ้นส่วนของจักรยานเราเสียหายได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อย่า ประมาทกันนะครับ เรื่องหมวกกันน็อค เป็นเรื่องส�ำคัญมากในการใช้ จักรยาน ขอเตือนเอาไว้เลย เช่นว่า.. ท�ำไมเวลาเราล้มแล้ว หมวกแตก? จริงๆ แล้วหมวกกันน็อคจักรยาน วัสดุทใี่ ช้ผลิตจะเป็น โฟมอัด ความแข็งขึ้นอยู่กับแบรนด์ แต่ละแบรนด์มีขั้นตอน และวิธีการอัดโฟม รวมถึงรูปโครงสร้างของโครงหมวกกัน น็อคที่แตกต่างกัน อันนี้แล้วแต่การดีไซน์ (design) ใครที่เคยประสบอุบัติเหตุหมวกกันน็อคจะแตกร้าว หมวกบางใบโฟมแยกออกจากกัน บางใบก็ยงั รวมกันอยู่ แต่ ก็มีรอยแตกร้าว ซึ่งหมวกกันน็อคที่แตกร้าวแล้วเราไม่ควร

42 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)

น�ำกลับมาใช้ เนื่องด้วยหมวกเหล่านั้น ค่าความแข็งแรงจะ ลดลงเหลือศูนย์ เท่าที่ผมทราบมาไม่มีหมวกกันน็อคใบไหนที่โฟมจะ ปริแตกเองนะครับ อ่อ..โฟมของหมวกบางแบรนด์ เนื้อโฟม ที่ น� ำ มาผลิ ต จะมี อ ายุ ก ารใช้ งานประมาณ 3 ถึ ง 5 ปี บางแบรนด์เนื้อโฟมจะนุ่มไปเอง สังเกตได้จากสีของโฟมซึ่ง จะไม่เงา มันวาว แต่จะกลายเป็นสีด�ำด้านๆ เจออย่างนี้..​ทางที่ดีก็เปลี่ยนหมวกใหม่เถอะนะครับ เวลาเกิดอุบัติเ หตุแล้ว หัวคุณจะกระแทกลงไป ค่าแรง กระแทกจะท�ำให้โฟมของหมวกแยกกระจายออกไปแน่นอน บางทีเมื่อเกิดเ หตุล้ม ความเสียหายอาจจะไม่ได้มี แค่หมวกกันน็อคครับ แต่อาจจะรวมไปถึงอะไหล่ต่างๆ อาทิ แฮนด์ คอแฮนด์ เฟรม ตะเกียบ ดุมล้อ ขอบล้อ และ Dropout เป็นต้น เรามาดูทีละชิ้นกันเลยนะครับ แฮนด์ เ มื่ อ เ กิ ด ร ถ จักรยานล้ม แฮนด์จะ เป็นส่วนหนึง่ ของจักรยาน ที่โดนก่อนแลย แฮนด์ จะพับไปด้านไหนเราก็ ไม่สามารถรู้ได้ ผมมั่นใจว่าเราไม่สามารถตั้งท่าได้ก่อนล้ม แน่ๆ แต่เราตรวจเช็คได้ว่ามันมีรอยแตกร้าวหรือบิดเบี้ยว แค่ไหน ถ้ามีรอยแตกร้าวก็เปลี่ยนใหม่ดีกว่านะครับ แฮนด์ทเี่ ป็นวัสดุอลูมเิ นียม จะค่อนข้างแข็ง ส่วนมาก เมื่อเราเกิดอุบัติเหตุ แฮนด์อาจบิดเบี้ยวเสียรูปมากกว่า แต่ ถ้าหักเลยนี่แสดงว่า ล้มแรงมากๆ ส่วนที่ยึดติดกับแฮนด์ เป็น Stem ก็ต้องดูรอยด้วยนะครับ เพราะว่าถ้าแฮนด์ ไม่เป็นอะไรอาจจะลามไปที่ Stem ได้ สเต็ม (Stem) ดังภาพบริเวณที่ ตัวยึดน็อตแฮนด์มีรอย แตก ตรงจุดนี้ถ้าสเต็ม มีรอยแตกแล้ว การยึด แฮนด์ก็จะไม่แน่น ทีนี้หละครับอย่าได้ยืนโยกรถนะ มีสิทธิ์ ตกรถได้เพราะแฮนด์จะคว�่ำลง ถ้าจับไม่แน่นอาจจะตกลง มาทับแล้วเกิดเหตุล้มได้เลย เป็นผมนะแค่รอยผิวๆ 0.1 มิลลิเมตร.. ก็เปลี่ยนแล้ว กลัวครับเวลาล้มแล้วไม่คุ้มค่า


เฟรม เ ฟ ร ม นี่ ก็ เ ห็ น บ่อยนะ ส่วนใหญ่รอย ร้าวจะมีไม่กี่ที่ เช่นตรง ท่ อ ที่ ใ ส่ ต ะเกี ย บหรื อ โช้คอัพ รอยร้าวที่เกิด ขึ้นบริเวณนี้ส่วนใหญ่จะมาจากสาเหตุในขั้นตอนแรก คือ การใส่ถ้วยคอ โดยใช้เครื่องมือการใส่ที่ไม่ถูกต้อง หรืออัด ถ้วยคอเข้าไปเกินแรงที่เฟรมจะทนได้ อีกสาเหตุหนึ่งอาจ จะเป็นที่กระบวนการผลิตเฟรม ในจ�ำนวน 1,000 ตัวอาจ จะมีซัก 1 เฟรม ที่มีปัญหา ตรงนี้ไม่สามารถซ่อมแซมได้ ครับ ต้องเปลี่ยนเฟรมใหม่เลย ถามว่าใช้ปั่นได้มั้ย ตอบว่า ได้ครับ แต่ว่าชุดคอจะหลวมบ่อยๆ แล้วรอยแตกร้าวก็จะ ค่อยๆ ยาวขี้นเรื่อยๆ ครับ ตะเกียบ สมั ย เด็ ก ๆ ผม ปั่น BMX ค่อนข้างซน ชอบกีฬาผาดโผน ปั่น จั ก รยานกระโดดโลด เต้ น ตามประสาวั ย รุ ่ น จ�ำได้ว่าครั้งหนึ่ง ผมใช้ ตะเกียบ BMX แบรนด์ หนึง่ ก็ใช้ไม่นานนะครับ ประมาณ 1 ปี ผมน�ำ จักรยานคูใ่ จไปกระโดด เนิน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คื อ ตะเกี ย บหน้ า รถ จักรยานหัก หลังจาก กระโดดลงมาถึงพื้น เหตุการณ์นนั้ ผม จ� ำ ได้ แ ม่ น มาก ท� ำ ให้ ผมเจ็บตัวมาก หน้าอก กระแทกกับแฮนด์ หัวผม ไถลไปกับพื้น วันนั้นไม่ ต้องนึกเลยครับผมเจ็บ และน่วมไปทัง้ ตัว สาเหตุคอื เราน�ำตะเกียบมาใช้งานผิดประเภท นั่นเอง ซึ่งสมัยเด็กๆ ก็ไม่มีใครมาอธิบายให้ฟัง ว่าตะเกียบ จักรยานธรรมดานัน้ ประกอบด้วยแกนหรือซางตะเกียบและ ตัวขา ที่น�ำมาเชื่อมต่อกันด้วยเครื่องอัดแรงดันสูง

สาเหตุทผ่ี มเจ็บตัวคือ แกนตะเกียบทีม่ ขี นาดบางมาก มันหลุดออกจากขาตะเกียบทัง้ สองข้าง! ตัง้ แต่วนั นัน้ ผมจึงได้ เข้าใจแล้วว่า ตะเกียบทีด่ ใี ช้สำ� หรับงานหนัก ซางตะเกียบจะ ต้องมีความหนามากกว่า รวมถึงบริเวณหูตะเกียบหรือส่วน ที่แกนล้อล็อคอยู่นั่นเอง จะต้องมีความทนทานด้วย อีกกรณีคอื อาการตะเกียบพับ ตะเกียบพับมักจะพับตรง ส่วนโค้งของตะเกียบ มักจะเกิดจากการกระแทกที่มากจน ส่วนโค้งไม่สามารถรับแรงกระแทกได้ เหตุการณ์แบบนี้ก็ยัง ปลอดภัยกว่ากรณีแรกๆ คือล้อยังหมุน รถยังคงสภาพเดิม ดุมล้อ คือส่วนทีท่ ำ� ให้ลอ้ หมุนโดยได้รบั พลังมาจากขาของเรา เมือ่ เราปัน่ ล้อจะเริม่ หมุนตามแรงกดทีเ่ ท้าเรา ออกแรงมาก รถก็ไหลไปมาก ออกน้อยก็ไหลไปด้านหน้าน้อยประมาณนัน้ ตามประสบการณ์ที่พบเจอมา ส่วนใหญ่อาการแรกๆ คือ ความตึงของซีล่ วดมากเกินไป คือแรงดึงจากซีล่ วดของล้อนัน้ ส่วนใหญ่จะมีแรงดึงเท่าๆ กัน และจะมีคา่ ความตึง ทีช่ า่ งผูม้ ี ประสบการณ์ต้องทราบว่าจะต้องมีความตึงเท่าไร ส�ำหรับ ล้อชนิดนั้นๆ เราสามารถน�ำเครื่องมือเช็คความตึงซี่ลวดมาเช็ค แค่นั้นเอง แต่ถ้าไม่มีหละ.. ค�ำถามนี้มักจะมีมากกว่า เอ่อ.. ผมกระซิบเลยนะ จับดูเลย ใช้ความรู้สึก ลองบีบดูเลย กรณีทที่ ำ� ให้ดมุ แตกอีกอย่าง คือเกิดจากการกระแทก อย่างแรง ปกติแล้วดุมล้อ จะรับแรงจากด้านปีกของดุมล้อ แนวดิง่ แต่ถา้ แรงมากระท�ำด้านข้างดุมรับไม่ไหวหรอกครับ ภาวะความเครียดของปีกดุม มันเกินแรงทีป่ กี ดุมจะรับได้ ซึง่ สามารถท�ำให้ดมุ แตกหักได้ จ�ำเป็นต้องให้ผเู้ ชีย่ วชาญเป็นคน ชี้แนะเกี่ยวกับความตึงของซี่ลวดครับ ขอบล้อ ส่วนที่จะเสียหายตามมานั้นคือขอบล้อ เนื่องจาก ดุมล้อจะสัมพันธ์กับซี่ลวดและขอบล้อ ดังนั้น ถ้าดุมแตก มีปัญหา ขอบล้อจะเสียหายไปด้วย เกิดจากแรงดึงที่ซี่ลวด ส่งผลไปที่ขอบล้อด้วยนั่นเอง ส่วนที่เสียหายมักจะเป็นที่รู ยึดซี่ลวดของขอบล้อนั่นเอง ■


รอบรู้สองล้อ เรื่อง zangzaew

ขอบคุณข้อมูลจาก

ปรับองศาแฮนด์ แบบง่ายๆ

ท่าทางการปั่นจักรยานที่เหมาะสม จะช่วยให้ปั่น จักรยานได้โดยไม่เกิดอาการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังปลอดภัยต่อการควบคุมรถจักรยานใน ขณะปั่น การปรับตั้งแฮนด์จักรยานให้มีระดับและ มุมที่เหมาะสมกับตัวผู้ปั่น จึงเป็นสิ่งส�ำคัญที่ท�ำเอง ได้ ไม่ยาก โดยเฉพาะกับจักรยานถนน (เสือหมอบ)

3. ขันตัวล็อคทีค่ อแฮนด์ โดยใช้ประแจหกเหลีย่ มทีม่ ี ขนาดตรงกัน เพื่อคลายการจับยึดกับคอเฟรม

1. เลือกใช้อปุ กรณ์ประแจหกเหลีย่ ม ทีม่ ขี นาดตรงกัน กับน็อตตัวเมียซึ่งยึดสเตมกับแฮนด์

4. ปรับระดับความสูงของคอแฮนด์ ให้อยู่ในระดับที่ เหมาะกับตัวคุณ ขณะคร่อมจักรยานด้วยท่าปัน่ ปกติ

2. ขันน็อตเพือ่ คลายการจับยึดแฮนด์ออก แล้วปรับมุม ของแฮนด์ให้อยูใ่ นระดับทีค่ ณ ุ รูส้ กึ ว่าเหมาะกับท่าทาง ตัวเองมากที่สุดขณะคร่อมจักรยานในท่าปั่น

5. จากนั้นทดลองปั่นจักรยานเพื่อวัดดูความรู้สึกว่า ระดับและมุมของแฮนด์นั้นพอเหมาะพอดีกับท่าทาง ของคุณแล้วหรือยัง ■

44 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)


áÃç¤ËÅѧ¤Ò áÃ礨ѡÃÂÒ¹

ชวนปั่นเที่ยว

บางขุนเทียนชายทะเล

แวะชมศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น�้ำ สมุทรสาคร ซึ่งเป็นอควาเรียม แห่งใหม่ใกล้กรุงเทพฯ

อาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 06.30 น. พบกันทีโ่ ลตัสพระรามสาม โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989

พิเศษ! บัตรสมาชิกสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย ใช้สิทธิส่วนลดได้ที่ PRO BIKE ส่วนลด 15% โทร. 02-254-1077 WORLD BIKE ส่วนลด 20% โทร. 02-944-4848 THONGLOR BIKE ส่วนลด 10% ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ยกเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ โทร. 02-712-5425 ZIP COFFEE (หมู่บ้านสัมมากร) ส่วนลดกาแฟ 10 บาท ส�ำหรับผู้ถือบัตรฯ และลด 20 บาท ส�ำหรับผู้สวมเสื้อจักรยาน TCHA ลายธงชาติ Steve Café & Cuisine ส่วนลด 10% ส�ำหรับค่าอาหาร โทร. 081-904-8444

จองด่วน!

Tel : 02 589 2614 , 02 591 5220-2

การแข่งขันจักรยานเสือหมอบ เสือภูเขา ใจเกินร้อย นครนายก ครั้งที่ 1 วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม 2558

ณ เขื่อนขุนด่านปราการชล อ�ำเภอเมือง นครนายก จังหวัดนครนายก สอบถามรายละเอียดได้ที่ : ส�ำนักงานการ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครนายก โทรศัพท์/โทรสาร : 037-313283

ปั่นเดี่ยวไม่เดียวดาย..

เที่ยวเขาดินวนา (สวนสัตว์ดุสิต) อาทิตย์ที่ 11 มกราคม 2558

ปัน่ ย้อนวัยไปเทีย่ วชม ดินแดนสรรพสัตว์ ทีค่ รัง้ หนึง่ ในวัยเยาว์เราล้วนใฝ่ฝนั อยากไปเห็นเป็นบุญตา 07.00 น. พบกันที่ลานคนเมือง กรุงเทพมหานคร โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989

โฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเหล่านักปั่นมากที่สุด!

เปิดพื้นที่โฆษณาย่อยเป็นพิเศษ ส�ำหรับร้านค้าย่อยที่จ�ำหน่าย จักรยาน บริการซ่อมบ�ำรุง จ�ำหน่ายอะไหล่ รับประกอบจักรยาน เสื้อผ้า ร้านอาหารสินค้ามือสอง ของส่วนตัว บริการท่องเที่ยว หรืออื่นๆ เชิญจับจองด่วน พื้นที่ขนาด 3 คูณ 6 เซนติเมตร ราคาพิเศษในโอกาส เปิดพื้นที่ใหม่เพียง 1,000 บาทต่อครั้งต่อเล่มเท่านั้น ติดต่อด่วน โทร. 02-678-5470 หรือทางเวบไซต์ที่ http://bit.ly/TCHAminiAD

6 ซม. 3 ซม. โฆษณาตรงเป้าหมายและยังได้ร่วมสนับสนุนสมาคมฯ อีกด้วย! สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558) │ 45


บริจาคจักรยาน

โครงการต่อเนื่องที่สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย TCHA จัดขึ้นเพื่อน�ำจักรยานเก่ามาบูรณะใหม่ และ น�ำไปมอบให้กับน้องๆ เยาวชนตามที่ห่างไกล เพื่อใช้ในการเดินทางสัญจรไปโรงเรียน หรือส�ำหรับภารกิจอื่นๆ ตลอดจนออกก�ำลังกายในครอบครัวได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาพลังงานสิ้นเปลืองด้านอื่น ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมบริจาคจักรยานที่ไม่ใช้แล้ว และยังอยู่ในสภาพที่สามารถซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ได้ โดยสมาคมฯ มีกิจกรรมนัดซ่อมจักรยานเพื่อน้องทุกๆ เดือน จากบรรดาอาสาสมัครมาช่วยกันซ่อมบ�ำรุงให้ จักรยานที่ได้รับบริจาคเหล่านี้ ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ สามารถน�ำไปใช้งานได้อย่างเช่นปกติดังเดิม โดยมีโครงการ น�ำจักรยานเหล่านี้ไปส่งมอบให้กับเยาวชน ณ โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ

ถนนนราธิวาส

ติดตอสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย รถไฟฟา BTS หรือประสงครวมโครงการรีไซเคิลจักรยานไดที่ ศาลาแดง รถไฟฟา BTS สำนักงาน สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ชองนนทรี ถนนสาทร 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร 22 รถไฟฟา BTS BRT ชองนนทรี (สาธุประดิษฐ 15 แยก 14) สุรศักดิ์ ถนนนราธิวาสราชนครินทร แขวงชองนนทรี แมคโคร BRT เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 ถนนจันทน รร.เซนยอเซฟฯ โทรสาร 02-678-8589 ซอย 15 นราธิวาสฯ 22 ที่ทำการสมาคมฯ BRT ถนนจันทน เวบไซต www.thaicycling.com (นราธิวาส ซอย 22) ถนนสีลม

ุประดิษฐ

ถนนสาธ

สาธุประดิษฐ 15 แยก 14 ทางลงสาธุประดิษฐ

46 │ สารสองล้อ 283 (มกราคม 2558)

ทางดว

โลตัสพระราม 3

ถนนพระราม 3

Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล tchathaicycling@gmail.com


ÊÔ¹¤ŒÒÊÁÒ¤Á¨Ñ¡ÃÂÒ¹à¾×èÍÊØ¢ÀÒ¾ä·Â

เปนสินคาที่จำเปนสำหรับผูใชจักรยาน จัดจำหนายในราคามิตรภาพ ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี สามารถเลือกซื้อไดที่ สมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร 22 ถนนนราธิวาสราชนครินทร แขวงชองนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 หรือสั่งซื้อทางไปรษณีย ดวยการโอนเงินเขาบัญชีของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ประเภทบัญชีออมทรัพย ธนาคารกสิกรไทย สาขาโลตั ส พระราม 3 เลขที ่ 860-2-14222-2 แล ว กรุ ณ าแฟกซ ส ำเนาใบโอนไปที ่ โทรสาร 02-678-8589 หรื อ ส ง ทาง email: tchathaicycling@gmail.com

02

01

05 03

04

06 09

08

10

07 01 หมวกคลุมหนา 02 แถบเสื้อ 03 เสื้อจักรยาน 04 เสื้อจักรยาน 05 กางเกงขาสั้น SDL (สีฟาและสีเขียว) สะทอนแสง TCHA แขนสั้น TCHA แขนยาว รุนมาตรฐาน ใบละ 130 บาท สินคาหมดชั่วคราว ตัวละ 750 บาท ตัวละ 950 บาท ตัวละ 950 บาท 06 กางเกงขายาว 07 ถุงแขน 08 กางเกง 09 กางเกง 10 พวงกุญแจ SDL รุนมาตรฐาน สีดำ ขาสั้น รุนใหม ขายาว รุนใหม โปรดระวังจักรยาน ตัวละ 1,100 บาท คูละ 120 บาท ตัวละ 450 บาท ตัวละ 690 บาท ชิ้นละ 30 บาท



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.