สารสองล้อ พฤษภาคม 2557

Page 1

ปท ี ี่

22 ©ºÑº·Õ่ 275/¾ÄÉÀÒ¤Á 2557

âªÇ ÃÙÁ áË‹§ãËÁ‹ “ÇÔ¹ÊÔµÒ” µÓ¹Ò¹ÍØ»¡Ã³ ¨Ñ¡ÃÂÒ¹½‚Á×Í ¤¹ä·Â!

»ÃЪØÁãËÞ‹ÊÒÁÑÞ»ÃШӻ‚ 2557 ¡Ñº¹ÒÂ¡Ï ¤¹ãËÁ‹ ¨Ñ¡ÃÂÒ¹ÃÕä«à¤ÔÅÏ ■ Learn to Ride #2 ■ ÇѲ¹¸ÃÃÁ¡ÒÃ㪌¨Ñ¡ÃÂÒ¹ »˜›¹¨Ñ¡ÃÂÒ¹¡ÑºÊعѢà¾×่͹«Õ้ ■ ¼ÙŒËÞÔ§¡Ñº¨Ñ¡ÃÂÒ¹ ■ »˜›¹à·Õ่ÂÇá¶Ç¨Ô¹¼Ô้§ 3 âäÅÁ¨Ò¡¤ÇÒÁÌ͹ ■ Bike to work ■ ¢Ö้¹´ÍÂÊ͹¹ŒÍ§«‹ÍÁ¨Ñ¡ÃÂÒ¹

ÊÒÃÊÍ§ÅŒÍ 275 (¾ÄÉÀÒ¤Á 2557) │ 1


2 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)


CYLO One

สุดยอดจักรยานป นเมือง

CYLO จั ก รยานแบรนด ใ หม ข อง โปรแลนด ซ�่งถือกำเนิดจากผู บร�หารด าน การออกแบบของผลิ ต ภั ณ ฑ ไ นกี ้ พ ร อ ม ด ว ยน อ งชาย โดยช� ่ อ ยี ่ ห อ เป น การผสม ผสานคำระหว า งคำว า จั ก รยานในภาษา อังกฤษและภาษาฝรั่งเศส คือ cycle และ Velo กลายเป น CYLO และได รบั การออกแบบ โดย ARRO.studio แล ว ไปผลิ ต ที ่ ป ระเทศ โปรแลนด รุ น แรกคื อ CYCLO One ออกแบบ ภายใต แ นวคิ ด ของ “สุ ด ยอดจั ก รยาน ป น ในเมื อ ง” ตั ว เฟรมผลิ ต โดยอะลู ม ิ น ั ม 6061 ที ่ ม ี น ้ ำ หนั ก เบา ตะเกี ย บหน า ใช อะลูมินัม 7075 ติดตั้งระบบไดนาโมผลิต กระแสไฟฟ าสำหรับไฟส องสว างทั้งหน าและ หลังของตัวรถ พร อมระบบดิสก เบรกและ เกี ย ร Nexus ของช� ม าโน แ บบ 3 ระดั บ โดยเป น ระบบสายพาน ขนาดล อ 700c หน ากว าง 32c จำหน า ยในสนนราคาเร่ ิ ม ต น 1,850 ดอลล า ร ห ร� อ ประมาณ 59,700 บาท สามารถดูรายละเอียดได ที่ www.cylo.cc

สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 3


4 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)


สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 5


สารสองล้อ ได้รบั การสนับสนุนโดย ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สารสองล้อ ฉบับที่ 275/พฤษภาคม 2557 ISSN 1513-6051

07 08 10 12 14 16 18 20 22 26 28 30 32 34 36 38 40 42 46 47

จักรยานล้านไอเดีย แวดวงสองล้อ ปฏิทินทริป ทริปพฤษภาคม - มิถุนายน ปั่นจักรยานกับสุนัขเพื่อนซี้ โชว์รูมแห่งใหม่ “วินสิตา” ขึ้นดอยไปสอนน้องซ่อมจักรยาน Learn to Ride #2 ไหว้พระสุขใจ วัดประยงค์ฯ โรคลมจากความร้อน ปั่นเที่ยวแถวจินผิ้ง ตอนที่ 3 จักรยานรีไซเคิลฯ ตอนที่ 5 Bike to work Cycle Square พระราม 3 กระแสวัฒนธรรมใช้จักรยาน Fitness Lifestyle 40 ผู้หญิงกับจักรยาน ประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 2557 บริจาคจักรยาน สินค้าสมาคมฯ

บทบรรณาธิการ

เป็นช่วงเวลาของอากาศทีร่ อ้ นระอุอย่างมากในเดือนทีผ่ า่ นมา แต่ดูเหมือนว่า.. จะไม่ท�ำให้ชาวจักรยานต้องสะทกสะท้านแต่ อย่างใด เพราะคนรักจักรยานทั้งหลาย ต่างสามารถปรับตัว ปรับแผนส�ำหรับการ “ออกทริป” ไปยังสถานที่ต่างๆ ได้อย่าง เหมาะสม ท�ำให้แม้ว่าจะร้อนเพียงใด แต่ยังมีกิจกรรมและทริป จักรยานมากมายหลายกลุม่ ทีพ่ ร้อมท้าลมร้อนแดดแรง ก็ขอให้ รูจ้ กั จัดหาเสือ้ ผ้า อุปกรณ์ และน�ำ้ ดืม่ ทีเ่ พียงพอต่อการประกอบ กิจกรรมจักรยานอย่างสนุนสนานและเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง และในเดือนเมษายนทีผ่ า่ นมานีเ่ อง จากการประชุมใหญ่สามัญ ประจ�ำปีครัง้ ล่าสุดทีผ่ า่ นมา สมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทยได้ มีนายกสมาคมฯ พร้อมด้วยอุปนายกสมาคมฯ คนใหม่ ที่พร้อม จะมาสานต่อ และร่วมพัฒนาสมาคมฯ พร้อมวงการจักรยานของ ไทยเราให้เติบโตก้าวหน้าขึน้ ไปอีก ขณะเดียวกับทีน่ ายกคนเดิม และคณะกรรมการ ยังคงยินดีท่ีจะร่วมสนับสนุนกิจกรรมของ สมาคมฯ ไปพร้อมๆ กัน ขอแสดงความยินดีกับทุกๆ ท่านมา ณ​ที่นี้ครับ บรรณาธิการสารสองล้อ วัตถุประสงค์ของสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย 1. ส่งเสริมการใช้จักรยานในทุกกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ อาทิเช่น เพื่อสุขภาพและพลานามัย การคมนาคม การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และนันทนาการ 2. ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาจราจรด้วยการใช้จักรยานทั่วประเทศ 3. เป็นองค์กรประสานงานระหว่างผู้ใช้จักรยานทั่วประเทศและในระดับสากล 4. อนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม 5. ร่วมกันท�ำกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์ และสันติภาพของมวลมนุษยชาติ 6. เป็นศูนย์กลางในการสือ่ สาร ส่งเสริมความสัมพันธ์อนั ดี ยกย่อง ให้กำ� ลังใจ และให้ความช่วยเหลือ เกื้อกูลกันในหมู่สมาชิก ที่ประกอบคุณงามความดี ช่วยเหลือสังคมและส่วนรวม 7. ไม่ด�ำเนินกิจกรรมทางการเมือง เจ้าของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา มงคล วิจะระณะ บรรณาธิการ วรวุฒิ วรวิทยานนท์ กองบรรณาธิการ ก�ำพล ยุทธไตร, ศักดิ์รพงค์ เกรียงพิชิตชัย, สุปรียา จันทะเหลา บัญชี วิภาดา กิรานุชิตพงษ์ ส่วนทะเบียน เรืออากาศตรีลิขิต กุลสันเทียะ ฝ่ายโฆษณา กัญญพัฒน์ บัณฑุกุล พิมพ์ที่ บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จ�ำกัด โทร. 02-214-4660, 02-214-4370 โทรสาร 02-612-4509 ส�ำนักงาน สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 22 (สาธุประดิษฐ์ 15 แยก 14) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 โทรสาร 02-678-8589 เวบไซต์ www.thaicycling.com Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล์ tchathaicycling@gmail.com สนใจสมัครสมาชิกสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย เพื่อสิทธิพิเศษในการร่วมกิจกรรมและ รับสารสองล้อฟรี สมาชิกรายปี 200 บาท ( ต�่ำกว่า 15 ปี 80 บาท ) สมาชิกตลอดชีพ 2,000 บาท ติดต่อได้ที่ โทร. 02-678-5470 โทรสาร 02-678-8589 หรือสมัครออนไลน์ได้ที่ http://www.thaicycling.com/member ขอบคุณฟอนต์ ซูเปอร์มาร์เก็ต จาก f0nt.com


จักรยานล้านไอเดีย เรื่อง zangzaew

Alfa Romeo 4C IFD

จั

ดได้ว่า “จักรยาน” กลายเป็นผลิตภัณฑ์เชิงศิลปะ ที่มักจะถูกน�ำไปเป็นโจทย์เพื่อแสดงถึงความสามารถ ด้านการออกแบบที่แปลกใหม่และท้าทายอยู่เสมอ.. รวมถึ ง นั ก ออกแบบชั้ น สู ง ที่ อ อกแบบยานยนต์ ร ะดั บ โลก อย่างเช่นทีมนักออกแบบของรถยนต์สปอร์ตคูเป้ 2 ที่นั่ง Alfa Romeo 4C ตัวแข่งแรงๆ ในตลาดรถสปอร์ตระดับหรู ได้ออกแบบจักรยานในแนวคิดเดียวกันมาอวดโฉม โดย ออกแบบให้ รู ป ลั ก ษณ์ ข องเฟรมจั ก รยาน สอดคล้ อ งกั บ ชื่อรุ่น 4C ขอรถยนต์ด้วยวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์น�้ำหนักเบา ค�ำว่า IFD ทีต่ อ่ ท้ายชือ่ รุน่ มาจาก “Innovative Frame Design” และด้วยความเป็นหนึ่งเดียวด้านการออกแบบ เทียบเคียงกับรถหรู สนนราคาจึงเหมาะส�ำหรับผู้มีอันจะกิน ระดับเอื้อมถึง อยู่ที่ 3,500 - 9,000 ยูโรเท่านั้นเอง! แน่นอนว่า.. ไม่มีโอกาสได้พบเห็นจักรยานรุ่นนี้ในงาน แสดงจักรยาน แต่จะพบเห็นได้ภายในงานแสดงรถยนต์ระดับ หรูเท่านั้น..


แวดวงสองล้อ

เรื่อง/ภาพ schantalao

สามารถส่งข่าวประชาสัมพันธ์ของท่านมาได้ที่ กองบรรณาธิการสารสองล้อ email: tchajournal@gmail.com หรือโทรสาร 02-678-8589

The Circle Summer Bike Fest 2014

บูธของสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทยมีชาวจักรยานแวะเวียนมาเยี่ยมชมตลอดวัน

ต้

อนรับลมร้อนกับเทศกาลจักรยานฤดูร้อน ครั้งที่ 1 บนพื้นที่ลานด้านในของศูนย์การค้า The Circle ถนน ราชพฤกษ์ ตั้งแต่วันที่ 27-30 มีนาคมที่ผ่านมา นับเป็นอีกหนึ่งงานที่เจ้าของงานลงทุนและมีไอเดียจัดงานได้ ลงตัวส�ำหรับนักปั่นและสมาชิกในครอบครัวสามารถจูงจักรยานเข้ามาเดินช้อปปิ้งและชมกิจกรรมต่างๆ ได้ งานนีต้ อบรับความต้องการของชีวติ คนเมืองและชานเมืองด้วยบูธทีพ่ ร้อมไปด้วยสินค้าเกีย่ วกับจักรยาน กิจกรรมบนเวที ที่เชิญนักปั่นเซเลปของวงการมาพูดคุยเรื่องต่างๆ และยังมีการแข่งจักรยานทรงตัวของหนูน้อยวัยอนุบาล เรียกเสียง หัวเราะในความน่าเอ็นดูของเด็กๆ อนาคตนักปั่นขาแรงทั้งหลาย รวมถึงสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทยก็ได้รับเชิญ ให้ออกบูธเพื่อรับสมัครสมาชิกอีกด้วยค่ะ... ได้ข่าวแว่วๆ ว่างานจะมีขึ้นอีกครั้งในไม่ช้า ส�ำหรับผู้ที่พลาดงานครั้งนี้ เตรียมกระเป๋าสตางค์ของคุณไว้ให้พร้อม 8 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)


สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 9


ปฏิทินทริป

ปฏิทินทริป เดื อ นพฤษภาคมกรกฎาคม 2557 1 - 5 พฤษภาคม 2557 1 - 4 พฤษภาคม 2557 18 พฤษภาคม 2557 8 มิถุนายน 2557 15 มิถุนายน 2557 21 - 22 มิถุนายน 2557 6 กรกฎาคม 2557 27 กรกฎาคม 2557 1 - 5 May 2014 1 - 4 May 2014 18 May 2014 8 June 2014 15 June 2014 21 - 22 June 2014 6 July 2014

27 July 2014

ปั่นสองน่อง ท่องเหมืองปิล็อก 399 กิโลเมตร พิชิต 399 โค้ง งาน Bangkok Bike Expo ที่เมืองทองธานี ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาดดอนหวาย Learn to Ride #3 สอนมือใหม่หัดขี่จักรยาน ครั้งที่ 3 สวนเบญจกิติ ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาดบางน�้ำผึ้ง รีไซเคิล มอบจักรยาน จังหวัดพิษณุโลก ท�ำบุญเลี้ยงเด็กอ่อน รังสิต คลอง 6 ท่องบางกอก ทะลุบางกรวย จุดเริ่มใต้สะพานพระราม 8 Cycling trip to Mine Pilok 399 kilometers. Bangkok Bike Expo at Impact Muangthong Thani. One day cycling trip to Wat Don Wai floating market. Learn to Ride #3 at Benchakitti Park. One day cycling trip to Bangnanpung floating market. Recycle cycling trip to Phitsanulok. Cycling trip to charity food for kids at Rangsit babies’ home. Cycling trip from Bangkok through Bang Kruai, Start at Rama 8 bridge.

รายการต่างๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ สอบถามรายละเอียดหรือสมัคร ร่วมทริปได้ที่ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย โทร. 0-2678-5470 email: tchathaicycling@gmail.com หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ www.thaicycling.com, Facebook.com/TCHAthaicycling 10 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)

Trips can be changed as appropriate English information, call Bob Tel. 08-1555-2901 email: bobusher@ksc.th.com


BCAA เพ��มความเป นนักป นในตัวคุณ BCAA (Branched Chain Amino Acids) กรดอมิโนที่สำคัญต อการสร างกล ามเนื้อ

BCAA สำคัญอย างไรกับคุณ?

• ลดความเมื่อยล า

• ลดอาการบาดเจ็บ

• ลดการสูญเสียมวลกล ามเนื้อ • เพิ�มความคงทนแข็งแรงของกล ามเนื้อ • ฟ นฟูกล ามเนื้อจากการบาดเจ็บ • เพิ�มการสังเคราะห โปรตีนเข าสู ร างกาย

ราน DD Pharmacy สถานที่ตั้ง จากแยกอังรีดูนังค เขามาทางถนนสุรวงศ เลยทางเขาถนนธนิยะมาประมาณ 20 เมตร โทรศัพท 089-898-5260 สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 11


TCHA ช่วนปั่นฯ

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับทริปต่างๆ และการช�ำระค่าทริป ได้ที่ โทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989

TCHA ชวนปัน่ และร่วมกิจกรรมเดือนพฤษภาคม-มิถนุ ายน 2557 ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาด กลายเป็ น กิ จ กรรมที่ น ่ า ประทั บ ใจส� ำ หรั บ สมาชิ ก ชาวจักรยานทีช่ นื่ ชอบกิจกรรม ปัน่ จักรยานวันเดียวด้วยการ ไปเที่ยวตลาดชื่อดัง นอกจากความหลากหลายของเส้นทาง ที่ไปกันแล้ว ยังได้ประทับใจกับตลาดและความสวยงามของ วัดวาอารามในพื้นที่เดียวกัน.. และแผนส�ำหรับกิจกรรมปั่น วันเดียว..เที่ยวตลาด ครั้งต่อไปดังนี้ • วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2557 - ตลาดดอนหวาย • วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน 2557 - ตลาดบางน�้ำผึ้ง • วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม 2557 - ท่องบางกอก ทะลุบางกรวย จุดเริ่มใต้สะพานพระราม 8 ซ่อมจักรยานเพื่อน้อง ในโครงการรีไซเคิลจักรยาน 24-25 พฤษภาคม 2557

สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ขอเชิญพี่น้องนักปั่น ร่วมกิจกรรมซ่อมจักรยานเพือ่ น้องในโครงการรีไซเคิลจักรยาน เพื่อส่งมอบให้น้องๆ นักเรียนใน อ�ำเภอวัดโบสถ์ จังหวัด พิษณุโลก ในวันที่ 24-25 พฤษภาคม 2557 ณ บริษัท ไปรษณีย์ไทย ส�ำนักงานใหญ่ ถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งแต่เวลา 9.00-15.30 น. สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย จะด�ำเนินการซ่อม จักรยานจ�ำนวน 50 คัน (โดยประมาณ) เพื่อส่งมอบให้น้องๆ ใน จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งจะเดินทางไปมอบในช่วง วันที่ 21-22 มิถุนายน 2557 …. จึงขอเชิญเพื่อนๆ พี่น้องจิตอาสามาร่วมกิจกรรมนี้ให้ส�ำเร็จลุล่วงด้วยดี Learn to Ride #3 โครงการสอนผู้ปั่นจักรยานไม่เป็น ฟรี!! ครั้งที่ 3 อาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2557

โครงการ Learn to Ride เป็นโครงการทีม่ ขี นึ้ ส�ำหรับผูท้ สี่ นใจอยากปัน่ จักรยาน แต่ยงั ปัน่ จักรยานไม่เป็น ยังไม่รู้วิธีการใช้จักรยานอย่างถูกต้อง เตรียมพร้อมในการฝึกการปั่นจักรยานให้เป็นบนท้องถนน หรือแม้แต่ ผู้ที่ยังไม่ได้คิดจะฝึกปั่นจักรยาน รวมทั้งผู้ที่ยังตัดสินใจเลือกชนิดของจักรยานที่เหมาะกับตัวเองไม่ถูก ค�ำถาม เกี่ยวกับวิธีการใช้ อุปกรณ์และตัวจักรยาน กิจกรรมนี้มีก�ำหนดจัดขึ้นทุกเดือน โดยครั้งแรกจัดไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2557 ที่โรงยิม คณะ วิทยาศาสตร์การกีฬา สนามกีฬาแห่งชาติ และส�ำหรับกิจกรรมครั้งที่ 3 นี้เราจะจัดกิจกรรมกันที่สวนเบญจกิติ เชิญท่านที่สนใจติดต่อสมัครได้ที่สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย 12 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)


สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 13


รอบรู้สองล้อ เรื่อง Zangzaew

ปัน ่ จักรยานกับสุนขั เพือ่ นซี้ การปั่นจักรยานเพื่อออกก�ำลังกายนั้น นอกจากจะเป็นผลดีต่อสุขภาพแล้ว ยังพบเห็นหลายๆ ท่านที่รักสุนัข มักจะพาเจ้าแสนรู้เพื่อนซี้ออกไปวิ่งข้างๆ จักรยานที่ปั่นด้วย แม้ว่าจะได้ผลดีกับเจ้าของทั้ง ด้านสุขภาพกายและใจ แต่ควรท�ำความเข้าใจให้ถูกต้องเพื่อให้การไปปั่นจักรยานกับเพื่อนรู้ ใจเช่นสุนัขนั้น ได้ประโยชน์และไม่เป็นอันตราย ด้วยเพราะเคยมีบางท่านพาสุนัขไปปั่นจักรยานด้วยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ นั่นถึงกับท�ำให้ต้องสูญเสียสุนัขอันเป็นที่รักไปอย่างไม่น่าจะเกิดขึ้น..

1. สายจูงทีเ่ หมาะสม ค ว ร เ ลื อ ก สายจูงสุนัขที่มีความ แข็งแรง และผลิตขึ้น มาเพื่อใช้ส�ำหรับการ จูงสุนัขโดยเฉพาะ มี ปลายด้านจูงลักษณะ เป็นห่วงให้จับได้อย่างมั่นคง

4. ฝึกให้จดจ�ำค�ำสัง่ ควรฝึ ก ฝนให้ สุ นั ข สามารถจดจ� ำ ค�ำสั่งและปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัด เช่น การสั่งให้หยุด หรือ วิ่งช้าลง เป็นต้น

2. จูงด้วยความถนัดในการปั่น ใช้ มื อ ข้ า งที่ ถนัดก�ำที่ห่วงสายจูง พร้อมจับแฮนด์อย่าง ถนัดมือ ไม่ควรใช้การ ผู ก สายจู ง กั บ ตั ว รถ จักรยานเด็ดขาด ทัง้ นี้ เพื่ อ ให้ เราสามารถ ควบคุมได้ทั้งสนุกและจักรยานอย่างถนัดมือ

5. ระยะทางที่พอเหมาะ เพราะสุนัขวิ่ง เท้ า เปล่ า ไม่ เ หมื อ น จั ก รยานที่ เ ราปั ่ น ดั ง นั้ น จ� ำ เป็ น ต้ อ ง เลือกทางที่เหมาะสม แ ล ะ ห ยุ ด พั ก เ ป ็ น ระยะโดยไม่ใช้ระยะ ทางที่ยาวเกินไป

3. เตรียมน�้ำดื่มส�ำหรับเพื่อนรัก นอกจากขวด น�้ำดื่มส�ำหรับตัวเอง แล้ว จ�ำเป็นต้องเตรียม ขวดน�้ ำ ส� ำ หรั บ สุ นั ข ด้วย เพราะการได้วิ่ง เคียงคูไ่ ปกับจักรยาน นั้ น ต้ อ งใช้ พ ลั ง งาน อย่างมาก ที่ส�ำคัญไม่ควรใช้น�้ำราดรดไปบนศีรษะหรือ ตัวสุนัขอย่างเด็ดขาด

6. พักผ่อนร่วมกัน สร้างความ รู้สึกที่ดีด้วยการหยุด พั ก เป็ น ระยะ และ แสดงความรั ก กั บ สุนัขของคุณ เพื่อให้ รูส้ กึ อบอุน่ สนุกสนาน ไม่ใช่การบังคับให้วิ่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของเราเพียงอย่างเดียว

14 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)

ที่มา www.wikihow.com


สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 15


ร้านจักรยาน

เรื่อง zangzaew • ภาพ chantalao

โชว์รูมแห่งใหม่

อุ

ปกรณ์เสริมที่ส�ำคัญส�ำหรับ นักปั่นจักรยานมักจะต้องมี ติดรถเอาไว้เสมอ คือบรรดา กระเป๋ า ใส่ อุ ป กรณ์ แ ละสั ม ภาระ ต่างๆ ส�ำหรับติดไว้กับรถจักรยาน และแบรนด์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ “วินสิตา (Vincita)” มีที่มา จากภาษาอิ ต าลี ความหมายว่ า “ชัยชนะ” เดิมเป็นการผลิตสินค้าลักษณะ OEM ผลิตให้กับลูกค้าที่น�ำไปติด แบรนด์ของตัวเอง ต่อมาจึงผลิต ออกแบบเป็นแบรนด์วินสิตาเพื่อ จ�ำหน่ายอย่างที่เห็นในปัจจุบันกว่า 20 ปีแล้ว ปัจจุบนั มีสนิ ค้าแบรนด์วนิ สิตา ออกมาตอบสนองผู ้ ใช้ จั ก รยาน มากมายหลายชิ้ น ไม่ ว ่ า จะเป็ น กระเป๋าใส่อุปกรณ์ สัมภาระ จนถึง กระเป๋าใส่จกั รยานทัง้ คัน นอกจากนี้ ยังมีแรคบรรทุกของ และอุปกรณ์เสริม อื่นๆ อีกหลายชนิด.. โชว์ รู ม แห่ ง ใหม่ ตั้ ง อยู ่ ที่ 39/11-12 ถนนรามค�ำแหง แขวง มีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510 โทร. 02-540-8080 สามารถดูราย ละเอียดได้ที่ www.vincita.co.th 16 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)

“วินสิตา”


SUPERSIX EVO RED

FRAME SUPERSIX EVO, BALLISTEC CARBON, SPEED SAVE, PRESSFIT BB30 FORK SUPERSIX EVO, BALLISTEC CARBON CRANK CANNONDALE HOLLOWGRAM SI, BB30, FSA CHAINRINGS, 50/34 SHIFTERS SRAM RED 22 DOUBLETAP COG SET SRAM PG-1170, 12-26, 11-SPEED CHAIN SRAM PC-1170, 11-SPEED FRONT DERAILLEUR SRAM RED 22 YAW, BRAZE-ON REAR DERAILLEUR SRAM RED 22 RIMS MAVIC KSYRIUM EQUIPE S WTS BRAKE SRAM RED HANDLEBAR CANNONDALE C2 COMPACT STEM CANNONDALE C1, 31.8 6 DEG. BRAKE LEVERS SRAM RED DOUBLETAP SADDLE FI'ZI:K ARIONE, W/ MG RAILS

155,000ß CAAD10

FRAME CAAD10, SMARTFORMED 6069 ALLOY, SPEED SAVE, BB30 FORK CAAD10, SPEED SAVE FULL CARBON, 1-1/8" TO 1-1/4" TAPERED STEERER CRANK FSA GOSSAMER PRO, BB30, 50/34 SHIFTERS SHIMANO 105 5700 COG SET SHIMANO 105 5700, 12-27, 10-SPEED CHAIN SHIMANO 105 5700, 10-SPEED FRONT DERAILLEUR SHIMANO 105 5700, BRAZE-ON REAR DERAILLEUR SHIMANO 105 5700 BRAKE TEKTRO R580 HANDLEBAR CANNONDALE C3 COMPACT STEM CANNONDALE C3, 31.8, 6 DEG. BRAKE LEVERS SHIMANO 105 5700 SADDLE PROLOGO, KAPPA EVO

70,000ß

CAADX DISC 5 105

FRAME CAADX CYCLOCROSS DISC, OPTIMIZED 6061 ALLOY, BB30 FORK CANNONDALE ULTRA X DISC, CARBON BLADES, 1-1/8" CRANK FSA GOSSAMER CROSS, BB30, 46/36 SHIFTERS SHIMANO 105 5700 COG SET SHIMANO TIAGRA 4600, 12-28, 10-SPEED CHAIN KMC X10, 10-SPEED FRONT DERAILLEUR SHIMANO 105 5700 REAR DERAILLEUR SHIMANO 105 5700 RIMS MADDUX CX 2.1 DISC, 32-HOLE (36H 58 -61CM) BRAKE PROMAX RENDER R, 160MM FRONT, 140MM REAR HANDLEBAR CANNONDALE C3 COMPACT STEM CANNONDALE C3, 31.8, 6 DEG. BRAKE LEVERS SHIMANO 105 5700 SADDLECANNONDALE STAGE CX W/ STEEL RAILS

75,000ß

www.bike-specials.com www.facebook.com/bike.special Tel. 02-943-2177-9 Tel. 086-302-7848 อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 17 บริษัท ไบค-สเปเชียล จำกัด 427,429 รามอินทรา ก.ม.8 หนาปากซอย รามอินสารสองล้ ทรา 75 คันนายาว กรุงเทพฯ


สรุปทริป

เรื่อง หนูนา • ภาพ พี่ชาติตระการ

ขึ้นดอยไปสอนน้อง

ซ่อมจักรยาน

มื่อปี 2553 สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ซึ่งขณะ นั้นยังเป็นชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย ได้จดั ทริปรีไซเคิลจักรยานเสือภูเขา เพือ่ น้องๆ ลูกหลาน ชาวเขา โดยขอรับบริจาคจักรยานเสือภูเขาทีย่ งั พอใช้งานได้ มาซ่อมแซม และมอบให้กับโรงเรียนชุมชนเรียนรู้สมเด็จย่า แม่แจ่ม จ�ำนวน 23 คัน เนื่องจากผู้ใหญ่ที่ดูแลโรงเรียน ทราบว่าชมรมฯ มีกิจกรรมรีไซเคิลเพื่อน้องอยู่เป็นประจ�ำ ประกอบกั บ สภาพภู มิ ป ระเทศของโรงเรี ย นจ� ำ เป็ น ต้ อ ง ใช้จักรยานมีเกียร์จึงขอความอนุเคราะห์มา ต้นปี 2555 กรรมการสมาคมฯ และสมาชิกฯ จ�ำนวนหนึ่งได้ไปดูแล ซ่อมจักรยานและมอบอะไหล่จำ� เป็นบางส่วนให้กบั โรงเรียน ปลายปี 2556 ได้รบั แจ้งขอความอนุเคราะห์จากโรงเรียนให้ ไปช่วยซ่อมแซมจักรยานเนื่องจากมีจักรยานที่พอใช้งานได้ เพียง 4 คันเท่านั้น ซึ่งเด็กบางคนจ�ำเป็นต้องใช้ปั่นไปเรียน หนังสือในตัวอ�ำเภอด้วย

18 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)

โรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรูส้ มเด็จย่า (มศว.) แม่แจ่ม บ้านสันเกีย๋ ง ต�ำบลช่างเคิง่ อ�ำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตัง้ ขึ้นโดยสมเด็จย่าของเรา เป็นโรงเรียนผสมผสานการเรียนรู้ วิถีชีวิตของชุมชน ส่วนใหญ่เด็กๆ ที่มาเรียนที่นี่จะเป็นเด็ก ชาวไทยภูเขาที่อยู่บนดอย ทางโรงเรียนมีการสอนตั้งแต่ ป.1- ม.3 และอีกส่วนจะเป็นเด็กที่จะมาเรียนต่อ ม.1-3 ซึ่ง จะเป็นเด็กที่จบจากโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ใน โรงเรียนมีเด็กทั้งหมด 60 คน และครู 10 คน มีการสอน วิชาการและการท�ำนา ท�ำไร่ ส่งเสริมอาชีพแบบพอเพียง พวกเขาจะปลูกข้าว-ผัก เอาไว้ท�ำอาหารทานเองค่ะ ในการทีเ่ ราไปซ่อมและบริจาคจักรยานครัง้ นีเ้ ป็นครัง้ ที่ 3 แล้ว เมือ่ ครัง้ ก่อนๆ เราได้บริจาคจักรยานและซ่อมเพียง เล็กน้อย แต่ครั้งนี้เราได้ขึ้นไปสอนให้น้องรู้จักซ่อมจักรยาน พร้อมกับมอบจักรยานใหม่สว่ นหนึง่ ให้นอ้ งด้วย เราได้จติ อาสา ที่น่ารัก น้องๆ ทุกคนขยันขันแข็งในการเรียนรู้เพื่อซ่อม


จักรยานเป็นอย่างมาก รวมถึงคุณครูก็เข้าร่วมเป็นจิตอาสา ด้วยค่ะ ขอเอ่ยนามน้องๆ และคุณครูดังนี้ < ด.ช. ไพสิริ พงศ์ประทีปชัย (ไกด์) < ด.ช. สิทธิชัย ไกรสิทธิ์พาณิชย์ (จอที) < ด.ช. กิตพงศ์ สันติอรุโณทัย (มีทู) < ด.ช. ทศพล ยอดคีรพี งไพร (หลุ) คนนีช้ า่ งมือเอก ของเราค่ะ < ครูเอกลักษณ์ (ครูลพ) < ครูเทิดศักดิ์ (ครูเบิ้ม) < ครูมนัส (ครูนัส) เราเริม่ สอนตัง้ แต่การแนะน�ำให้ครูและน้องๆ ได้รจู้ กั เครื่องมือต่างๆ ที่จะใช้ในการซ่อมว่าเครื่องมือตัวนี้ชื่ออะไร ท�ำหน้าทีอ่ ะไร โดยการซ่อมครัง้ นีเ้ ราได้จดั เตรียมชุดอุปกรณ์ การซ่อมไปให้นอ้ งๆ ด้วย เริม่ ตัง้ แต่นำ� ล้อเก่ามาอัดจารบี ตัง้ จี๋ ตัง้ ซีล่ วดให้ลอ้ ตรง ใส่ยางนอก ยางใน จากนัน้ ก็เริม่ อัดจารบี ลูกปืนคอ ใส่ตะเกียบ อัดจารบีกะโหลก ใส่จาน, บันได ตัง้ ซีล่ วด ใส่คอแฮนด์, ปลอกแฮนด์, หลักอาน, เบาะ, ยางใน, ตีนผี, ชิฟเตอร์ และสอนการตัง้ ชิฟเตอร์และตีนผี รวมถึงการใส่เบรก โดยให้นักเรียนท�ำเสร็จพร้อมกันทุกขั้นตอน จนครบหมด ทุกคัน และคืนที่เราซ่อมเสร็จทางโรงเรียนได้จัดการแสดง ขอบคุณ มีการแสดงพืน้ บ้านของชาวเขาปกากะญอ การเต้น ลาวกระทบไม้ โครงการนีเ้ ราได้รบั บริจาคเงินจากผูใ้ หญ่ใจดีเป็นจ�ำนวน ทั้งสิ้น 55,000 บาท และได้มอบเงินจ�ำนวน 5,000 บาท เพื่ อ เป็ น กองทุ น อาหารกลางวั น ส� ำหรั บ นั ก เรี ย น โดยมี คุณก�ำพล ยุทธไตร ผูจ้ ดั การสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย เป็นตัวแทนมอบ พอรุง่ เช้าก็มพี ธิ มี อบจักรยาน อะไหล่จกั รยาน และชุด อุปกรณ์ในการซ่อมให้กบั น้องๆ ซึง่ เป็นจักรยานทีน่ ำ� มาซ่อม จ�ำนวน 15 คัน และทีร่ บั บริจาคมาทัง้ คันแบบใช้การได้ดเี ป็น จ�ำนวน 6 คัน รวมทั้งสิ้น 21 คัน หลังจากทานอาหารกลาง วันเสร็จเราก็เดินทางกลับ....

ด.ช. ทศพล ยอดคีรีพงไพร (หลุ) อายุ 15 ปี มีอาชีพ ท�ำนา ท�ำไร่ …. มีโอกาสมาเรียนที่นี่ด้วยจึงเลือกเป็น จิตอาสาเพราะชอบจักรยานมาก และจะเป็นผู้ช่วย ซ่อมจักรยานให้เพื่อนๆ หลุบอกว่าอยากให้เพื่อนๆ ทุกคนรักจักรยานให้มาก และถ้าเสียก็ตะช่วยซ่อมให้ เขาชอบซ่อมจักรยานหรืออยากเรียนเป็นช่างซ่อม หลุ ยังบอกว่าชอบโรงเรียนนีม้ ากเพราะได้ความรูแ้ ละสนุก ถึงแม้โรงเรียนของเขาจะไม่ใหญ่

ด.ช. ณัฐพนธ์ สิริธารากุล (นัส) อายุ 14 ปี มาเรียนที่ นี่ได้ 2 ปี มีอาชีพท�ำนา ท�ำไร่ เลือกมาเรียนที่นี่เพราะ จะได้จบ ม.3 (จบ ป.6 จากแม่แจ่มมาต่อ ม.3 ที่นี่) นัส บอกว่าดีใจมากที่ได้มาซ่อมจักรยาน เผื่อเวลารถเสีย เราก็จะซ่อมเองได้ และมีรถไว้ใช้งาน ขอขอบคุ ณ บริษัท โดมิโนแวร์ จ�ำกัด • บริษัท ธีระชัย ก๊าซธรรมชาติ จ�ำกัด • บริษัท ศักดิ์ชัยสตีล จ�ำกัด • คุณเพ็ญศรี พลพิพัฒน์พงศ์ • คุณณรงค์ ใจเพชร • คุณณรงค์ - คุณพันทิพา ไชยวงศ์ • คุณเกรียงศักดิ์-คุณ นิลวรรณ ศรีธวัชชัย • คุณอรอนงค์ สุ ว รรณศิ ล ป์ • คุ ณ กุ ้ ย เช็ ง แซ่ โ ค้ ว • คุ ณ นิ ต ยา ลิ้ ม ภั ค ดี • ห้างขายยาจีอ้ นั โอสถ ฉะเชิงเทรา • ห้างขายยาหมอไฝ ฉะเชิงเทรา • ห้างขายยาซือ่ ตรงฟาร์มาซี ฉะเชิงเทรา • นพ. กาณฑ์ เงาประเวศ • ทพญ.ทิพาพร-ทพ.ธรรมนูญ สุโฆษิต • ทพญ.พนิดา เตชะมีนา • ทพ. สุทธิทธิ์ วัณณสุทธางกูร และภรรยา • ทพ. วินัย ฟักโต และ ภรรยา • นพ. วิรัตน์ - ทพญ.จินตนา โพคะรัตน์ศิริ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 19


สรุปทริป

เรื่อง schantalao • ภาพ สาธิต ภัทโรภาส

#2 20 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)


ากโครงการ Learn to Ride ในครั้งแรก เราได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีมาก มีหลายสายโทร เข้ามาสอบถามถึงกิจกรรมครั้งที่ 2 และมีการวางก�ำหนดวัน เวลาและสถานที่ แต่เนื่องจากมีเหตุ บ้านการเมือง จึงได้มกี ารเลือ่ นกิจกรรมครัง้ ทีส่ องมาหลายเดือน จนได้เวลาอันเหมาะสมโดยมีผลู้ งชือ่ สมัครกว่า 140 ท่าน ซึง่ ถือว่าเกินความคาดหมายเลยทีเดียว... อาจจะเพราะมีการเลือ่ นก�ำหนดยาวนานเกินไป บางท่านจึงไม่สามารถมาเข้าอบรมในวันนั้นได้ จึงมีสมาชิกมากันเพียง 50 กว่าท่านเท่านั้น แต่ก็ท�ำให้ทีมงาน สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง ในครั้งนี้เรานัดหมายกันที่โรงยิม คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา สนามกีฬาแห่งชาติ Coffee Bike Club ยังคงเป็นครูพเ่ี ลีย้ งเช่นเดิมในการสอนปัน่ จักรยานส�ำหรับผูท้ ยี่ งั ปัน่ จักรยานไม่เป็นเลย เราเริม่ สอนกันตัง้ แต่การทรงตัว ไปจนถึงการพาปัน่ ออกถนน หลายๆ ท่านได้เคล็ดวิชากันไปคนละเล็กละน้อย ถึงแม้ว่าจะมีชั่วโมงสอนเพียงไม่นานนัก แต่ก็ได้เรียนรู้หลายๆ อย่างจนบางท่านสามารถปั่นจักรยานได้ และ พร้อมออกสู่ถนนเพื่อเป็นคนใช้จักรยานที่รู้กติกาและมารยาทของนักปั่น ติดตามและสมัครร่วมกิจกรรม Learn to Ride #3 ได้ที่ www.facebook.com/TCHAthaicycling หรือที่ www.thaicycling.com สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 21


สรุปทริป

เรื่อง/ภาพ สิงห์ต้น (ผู้จัดการทีมจักรยานสิงห์สลาตัน)

ไหว้พระสุขใจ วัดประยงค์ ชมนรก สวรรค์วัดพืชอุดม

ชมฉากละครดังทองเนือ้ เก้า ตลาดเก่าล�ำไทร

ากาศร้อนๆ ปลายเดือนมีนาคม ในวันหยุด สุดสัปดาห์หลายคนอาจจะนอนตากแอร์ ในห้อง นัง่ ดูหนังเรือ่ งโปรด ดืม่ น�ำ้ หวานเย็นๆ อยูบ่ า้ น แต่สำ� หรับเรานักปัน่ จักรยาน การได้ออกมาปัน่ จักรยานท่ามกลางสายลมร้อนๆ แดดแรงๆ ในเส้นทาง การปั่นที่สวยงาม เป็นสิ่งที่พวกเราชื่นชอบอยู่แล้ว ในปีนที้ ริปของสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย จะเน้นวันเดียวเที่ยวตลาด ซึ่งเป็นการน�ำพาเพื่อนๆ

รับมอบของที่ระลึก 22 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)

ปัน่ จักรยานท่องเทีย่ วไปยังตลาดและวัดต่างๆ ในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาสมาคมฯ ได้พา ไปปั่นทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมี สถานที่น่าสนใจจ�ำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นเส้นทาง ปั่นจักรยานที่ร่มรื่น รถยนต์น้อย เหมาะแกการปั่น จักรยาน ทริ ป นี้ ไ ด้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากที ม จั ก รยาน

มอบของที่ระลึกให้นักปั่น


เส้นทางปั่น

สิงห์สลาตัน ซึง่ เป็นทีมทีป่ น่ั อยูใ่ นเขตสายไหม บางเขน มาเป็นทีมน�ำทางและช่วยบริการ เรานัดหมายกันใน วันที่ 29 มีนาคม 2557 โดยใช้พนื้ ทีล่ านจอดรถประตู กรุงเทพ ถนนพลโยธินเป็นจุดรวมพล มีเพื่อนนักปั่น ให้ความสนใจร่วมทริปจ�ำนวน 127 คน เจ็ดโมงกว่าๆ เริ่มมีเพื่อนนักปั่นทยอยเข้ามา สู่จุดรวมพล ทุกคนมาด้วยใจที่รักการปั่นจักรยาน ท� ำ ให้ เริ่ ม มี บ รรยากาศในการพู ด คุ ย แลกเปลี่ ย น

ประสบการณ์ในการปัน่ ก่อนออกทริป ต้องขอขอบคุณ บริษทั บรัท ฟามาตอล จ�ำกัด ทีม่ อบเครือ่ งดืม่ เกลือแร่ ผสมโสมชนิดเม็ดฟู่และเป้หลังสวยๆ ให้เพื่อนนักปั่น ทุกท่านเป็นของที่ระลึกอีกด้วย แปดโมงเช้าสิงห์ต้น ผู้จัดการทีมสิงห์สลาตัน เริม่ เรียกรวมพลเพือ่ บรรยายสรุปเส้นทางการปัน่ และ แนะน�ำ สิงห์โบ๊ทหัวหน้าทีมสิงห์และทีมสต๊าฟสิงห์ ที่จะเป็นผู้ช่วยดูแลเพื่อนนักปั่น จากนั้นก็เริ่มออก

จุดพักที่ 1 สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 23


หลวงปู่ทวดวัดประยงค์กิตติวนาราม

วัดพืชอุดม

ปัน่ กัน โดยใช้เส้นทางแยก คปอ. สายไหมถึงถนนหทัย ราษฎร์ เพือ่ ไปสบทบกับเพือ่ นสมาชิกสิงห์สลาตันอีก จ�ำนวนหนึง่ ทีร่ อรับแขกอยู่ ณ จุดรวมพลสิงห์บนถนน หทัยราษฎร์ เส้นทางในช่วงนี้อาจจะแคบและมีรถมากอยู่ สักหน่อย โดยเราก�ำหนดให้มกี ารปัน่ เป็นขบวนสองแถว เพื่อความสะดวกในการดูแลความปลอดภัย จากนั้น เราก็เข้าสู้เส้นทางปั่นของทริปนี้ สองข้างทางปั่นเป็น ทุ่งนา บึงน�้ำ ในขบวนมีน้องผู้หญิงและคุณลุง คุณป้า วัย 60 ขึ้น หลายท่านเพิ่งซื้อจักรยานและออกมา ปั่นทางไกลครั้งแรก จึงรู้สึกกังวลใจกลัวไปไม่ไหว ไปไม่ทนั เพือ่ น ซึง่ นัน่ ก็ไม่ใช่ปญ ั หา ทางทีมสิงห์สลาตัน ได้จัดทีมสต๊าฟที่มีประสบการณ์ไว้คอยช่วยเหลือ เพื่อนนักปั่นมือใหม่ไว้อยู่แล้ว ... ... ... สิบโมงกว่าๆ เราปั่นมาถึงจุดหมายแรกนั่นก็ คือ วัดประยงค์กิตติวนาราม หรือที่เราเรียกกันว่า วัดหลวงปูท่ วดองค์ใหญ่ เพราะวัดนีม้ รี ปู ปัน้ องค์ใหญ่ ของหลวงปู่ทวด พระเกจิสายวิปัสนา ซึ่งคนไทยและ ชาวพุทธทั่วไปศรัทธาเลื่อมใส

ภายในวัดสงบร่มรืน่ อากาศเย็นสบาย และยังมี พระอุโบสถขนาดใหญ่สวยงาม มีพิพิธภัณฑ์จัดแสดง ประวัตทิ า่ น ทางวัดได้จดั น�ำ้ ดืม่ เย็นๆ ไว้ให้เพือ่ นนักปัน่ ได้ดื่มดับร้อน ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย ... ... ... จากวัดประยงค์เราจะมุง่ หน้าไปชมสวรรค์และ นรกกันครับ จุดหมายของเราต่อไปก็คือวัดพืชอุดม ระยะทาง 17 กิโลเมตร ใช้เส้นทางปั่นเลียบคลองส่ง น�้ำผ่านทุ่งนา บ่ายโมงกว่าๆ หัวลากน�ำทางของสิงห์สลาตัน ก็พาเพือ่ นนักปัน่ มาถึงวัดพืชอุดม ทีน่ ที่ างฝ่ายบริการ ของทีมสิงห์รอต้อนรับเพื่อนนักปั่น หลังจากต้อง ปั่นตากแดดมาเหนื่อยๆ ด้วยน�้ำแดงเย็นๆ และยังมี มะยมกวน ฝีมือป้าอาค์ฝ่ายพลาธิการของทีมสิงห์ อร่อยกันไปถ้วนหน้าขอบคุณมากครับ วัดพืชอุดม เป็นวัดขนาดใหญ่มีจุดท่องเที่ยวที่ น่าสนใจคือ ทางวัดได้มีการจัดแสดงนรกและสวรรค์ จ�ำลอง ภายในนรกจ�ำลองจะเป็นปูนปั้นของคนที่ ตกนรกว่าถ้าเราท�ำผิดศีลเมื่อเราตกนรกในแต่ละขุม เราจะถูกทรมานด้วยอะไรบ้างเป็นเครื่องเตือนสติให้

24 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)


จุดแจกน�้ำเส้นทางขากลับ

ตลาดล�ำไทร

แก่พุทธศาสนิกชน และในส่วนของสวรรค์ทางวัดได้ จ�ำลองสวรรค์ชนั้ ต่างๆ ทัง้ 7 ชัน้ เพือ่ ให้เรารูถ้ งึ ผลบุญ ของการท�ำบุญ การท�ำดี ... ... ... หลังจากไหว้พระท�ำบุญกันเป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว เริ่มตั้งขบวนปั่นกันอีกครั้ง เรามุ่งหน้าไปตลาดเก่า ล�ำไทร เพื่อไปหากาแฟเย็นโบราณหอมๆ อร่อยๆ ดื่มกัน ระยะทางสั้นๆ แค่ 3 กิโลเมตรเท่านั้น ตลาดเก่าล�ำไทรนัน้ .. แต่กอ่ นเป็นชุมชนโบราณ ลักษณะเป็นเรือนแถวท�ำด้วยไม้ เป็นชุมชนที่เป็น ตลาดเก่าอยูต่ ดิ คลอง การคมนาคมต้องมาด้วยเรือ แต่ เนือ่ งด้วยความเจริญเข้ามาสูช่ มุ ชนมีการตัดถนนด้าน หน้าตลาด จึงท�ำให้เกิดชุมชนแห่งใหม่และตลาดใหม่ ริมถนน ท�ำให้ตลาดเรือนไม้ถูกทิ้งร้างเกือบทั้งหมด เราจะรู้จักตลาดล�ำไทรจากการที่เป็นฉากถ่าย ละครและภาพยนตร์หลายๆ เรื่อง แต่ที่เราออกจะ คุ้นตากันก็คงจะเป็นฉากในละครเรื่อง ทองเนื้อเก้า หรือล�ำยอง นอกจากนั้นสถานที่แห่งนี้ยังมีร้านขนม ไทยโบราณท�ำใหม่ๆ ออกจากเตากันเลยทีเดียว เป็น ทีถ่ กู อกถูกใจเพือ่ นนักปัน่ สุภาพสตรีคณ ุ แม่บา้ นยิง่ นัก

ได้จับจ่ายซื้อของฝากกันไปไม่น้อย ... ... ... นอกจากจะพาท่องเที่ยวแล้วเรายังอยากฝึก นักจักรยานให้รจู้ กั การปัน่ ทางไกลอย่างถูกวิธอี กี ด้วย ซึง่ ทีมสิงห์สลาตันมีสต๊าฟทีม่ ปี ระสบการณ์ในการปัน่ ระยะไกลแบบนี้มาช่วยให้ค�ำแนะน�ำ และช่วยฝึกฝน การปั่นให้เป็นที่ถูกใจของเพื่อนนักปั่นที่ต้องการฝึก ปั่นทางไกล ส�ำหรับทริปนี้ใช้เวลารวมประมาณ 8 ชั่วโมง รวมระยะทาง 75 กิโลเมตรพอดี ไม่มีนักปั่นท่านใด ประสบอุบัติเหตุระหว่างการปั่น ทุกท่านได้รับความ สนุกสนาน ได้ประสบการณ์ในการปั่นกับทีมสิงห์ สลาตันทีม่ ีประสบการณ์และความช�ำนาญในการปั่น จักรยานทางไกล ต้องขอขอบคุณสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทยที่ได้จัดทริปปั่นดีๆ แบบนี้ให้กับนักปั่น จักรยาน ขอบคุณทีมจักรยานสิงห์สลาตันที่ช่วยน�ำทาง และการบริการดีๆ ขอบคุณนักจักรยานทุกท่านทีเ่ ข้า ร่วมทริปปัน่ นี้ แล้วพบกันทริปวันเดียวเทีย่ วตลาดของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทยในครั้งต่อๆ ไปครับ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 25


สุขภาพนักปั่น

ที่

เรียบเรียงจากข้อมูลของ มูลนิธิหมอชาวบ้าน (Folk Doctor Foundation) www.doctor.or.th

โรคลมจากความร้อน

ผ่านมาเคยมีข่าวการตายของเด็กเล็กที่ติดอยู่ใน รถยนต์ที่ปิดประตูหน้าต่างมิดชิดอยู่กลางแดด เปรี้ยง เพราะความเผลอเรอของผู้ใหญ่ บางครั้ง ก็มีข่าวนักวิ่งมาราธอนหรือทหารใหม่เป็นลมหมดสติ ถู ก หามเข้ า โรงพยาบาล เนื่ อ งจากวิ่ ง อยู ่ ท ่ า มกลาง อากาศร้อน เมื่อปี พ.ศ. 2546 เกิดคลื่นความร้อนที่ประเทศ ฝรั่งเศส ท�ำให้มีคนตายไปถึง 14,800 คน การเจ็บป่วย และการตายเนื่องจากอากาศร้อนดังกล่าวนี้ เรียกว่า โรคลมจากความร้อน ในช่วงฤดูร้อน ทุกคนจึงต้อง ระมัดระวังป้องกันตัวเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของโรคนี้ ชือ่ ภาษาไทย โรคลมจากความร้อน โรคลมแดด ชื่อภาษาอังกฤษ Heat stroke โรคลมจากความร้อน อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุ ดังนี้ 1. เกิดจากการเผชิญกับอากาศร้อน เช่น การเกิด คลื่นความร้อนมากกว่า 39.2 องศาเซลเซียส (102.5 องศาฟาเรนไฮต์) ติดต่อกันตัง้ แต่ 3 วันขึน้ ไป ผูท้ มี่ คี วาม เสี่ยงต่อการเกิดโรคลมจากความร้อน ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี คนอ้วน จากสาเหตุนี้ผู้ที่ มีโรคเรื้อรัง (เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคคอพอก เป็นพิษ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น) รวมทั้งผู้ที่กินยาบาง ชนิ ด ที่ ขั ด ขวางกลไกการก� ำ จั ด ความร้ อ นออกจาก ร่างกาย (เช่น ยารักษาโรคจิต ยาแก้แพ้ ยา ที่ออกฤทธิ์ แอนติโคลิเนอร์จิก) ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือ เสพยาโคเคน หรือแอมเฟตามีน (ยาบ้า) ถ้ากลุ่มคนที่มี

26 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)

ความเสี่ยงเหล่านี้อยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศหรือ การถ่ายเทอากาศไม่สะดวก 2. เกิดจากการออกก�ำลังกายหรือท�ำงานใช้แรง กายอย่างหนัก ท่ามกลางอากาศที่ร้อนและชื้น หรือ ในห้องที่ร้อนและปิดมิดชิด ท�ำให้ร่างกายสร้างความ ร้อนมากเกินกว่าที่สามารถก�ำจัดออกไปได้ สาเหตุที่ มักพบในคนหนุ่มสาวที่มีร่างกายแข็งแรง เช่น นักกีฬา นักวิ่งไกล นักปั่นจักรยาน คนงาน ทหาร เป็นต้น อาการ ผูป้ ว่ ยจะมีอาการไข้สงู จัด ร่วมกับอาการทางสมอง เช่น เดินเซ สับสน มีพฤติกรรมแปลกๆ ประสาทหลอน เพ้อคลั่ง ชัก หมดสติ ผู้ป่วยมักมีประวัติเผชิญคลื่น ความร้อน ออกก�ำลังกายหรือท�ำงานใช้แรงกายในที่ มีอากาศร้อน หรือติดอยู่ในรถยนต์ที่ปิดประตูหน้าต่าง มิดชิดอยู่กลางแดดนานๆ อุณหภูมิวัดทางทวารหนักมากกว่า 41 องศา เซลเซียส (ยกเว้นในรายที่ได้รับการปฐมพยาบาลด้วย การลดอุณ หภูมิมาก่อน ก็อาจตรวจไม่พ บไข้ หรือ ไข้ไม่สูงมาก) ชีพจรเต้นเร็ว หายใจหอบลึก ผิวหนัง ออกร้อนและมักมีเหงื่อออก (อาจพบผิวหนังแห้งไม่มี เหงื่อออกในระยะท้ายของโรค ซึ่งมักพบในกลุ่มที่เกิด จากคลื่นความร้อน มากกว่ากลุ่มที่ออกก�ำลังกายมาก) การดูแลตนเอง เมือ่ พบผูป้ ว่ ยมีไข้สงู ร่วมกับอาการทางสมอง และ


มีประวัติถูกคลื่นความร้อน ออกก�ำลังในที่มีอากาศ ร้อน ควรน�ำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ก่อนน�ำ ส่งโรงพยาบาล ควรให้การปฐมพยาบาลดังนี้ 1. พาผู้ป่วยหลบเข้าที่ร่ม ในรถหรือห้องที่มี ความเย็น 2. ถอดเสื้อผ้าให้เหลือเท่าที่จ�ำเป็น 3. ใช้ผ้าชุบน�้ำเย็นเช็ดตามตัว ใช้พัดลมเป่า วางถุงใส่น�้ำแข็งไว้ตามซอกคอ รักแร้และขาหนีบ 4. น�ำส่งโรงพยาบาลโดยรถปรับอากาศ หรือ เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท การรักษา แพทย์ที่โรงพยาบาลจะรีบท�ำการแก้ไขภาวะ ฉุกเฉิน (เช่น ให้ออกซิเจน ใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้ น�้ำเกลือ เป็นต้น) และรีบหาวิธีลดอุณหภูมิร่างกาย (เช่น ถอดเสื้อผ้าออก ใช้น�้ำก๊อกธรรมดาพ่นตามตัว ใช้พดั ลมขนาดใหญ่เป่า วางน�ำ้ แข็งตามซอกคอ รักแร้ และขาหนีบ จนกว่าอุณหภูมริ า่ งกายต�ำ่ กว่า 40 องศา เซลเซียส) รวมทั้งแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆ แพทย์จะหลีกเลีย่ งการให้ยาลดไข้ นอกจากไม่มี ประโยชน์แล้ว ยังอาจก่อผลข้างเคียง เช่น แอสไพรินอาจ ท�ำให้เลือดออกง่ายขึน้ พาราเซตามอล อาจมีพษิ ต่อตับ

งุ่มง่าม หรือกล้ามเนื้อท�ำงานประสานกันไม่ดี การป้องกัน การป้องกันอันตรายจากความร้อน (อากาศร้อน) ควรปฏิบัติดังนี้ 1. หลีกเลี่ยงการออกก�ำลังหรือใช้แรงกายในที่มี อากาศร้อนและชื้น 2. ในการออกก�ำลังกาย ก่อนออกก�ำลังควรดื่มน�้ำ 400-500 มิลลิลิตร (ประมาณ 2 แก้ว) และระหว่างออก ก�ำลังควรดื่มน�้ำ 200-300 มิลลิลิตร (ประมาณ 1 แก้ว) เป็นระยะๆ ควรสวมเสื้อผ้าบางๆ หลวม และสีอ่อน 3. ในช่วงที่มีคลื่นความร้อน (อากาศร้อน) ควรอยู่ ในห้องปรับอากาศ หรือมีพดั ลมเป่า อากาศถ่ายเทสะดวก ควรอาบน�้ำบ่อยๆ ดื่มน�้ำมากๆ สวมเสื้อผ้าบางๆ หลวมๆ สีอ่อนและเท่าที่จ�ำเป็น 4. ส�ำหรับเด็กเล็ก ไม่ควรปล่อยเด็กไว้ในรถยนต์ ตามล�ำพังแม้เพียงประเดี๋ยวเดียว เมื่อไม่ใช้รถควรปิด กุญแจประตูรถทุกครัง้ ควรเก็บกุญแจรถไว้ในทีม่ ดิ ชิดหรือ ที่เด็กเอื้อมไม่ถึง

ภาวะแทรกซ้อน หากปล่อยให้อุณหภูมิร่างกายสูงอยู่นาน อาจ มีผลกระทบต่ออวัยวะทุกส่วน เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ ส�ำคัญ เช่น หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดต�ำ่ เลือดออก ใต้เยื่อบุหัวใจ ปอดบวมน�้ำ ปอดอักเสบ การหายใจ ล้มเหลวเฉียบพลัน ไตวายเฉียบพลัน เลือดออกง่าย อัมพาตครึ่งซีก ชัก ความจ�ำเสื่อม ตับวาย เป็นต้น การด�ำเนินโรค ผลการรักษาขึน้ กับความรุนแรงและระยะเวลา ที่เป็นก่อนมาถึงโรงพยาบาล ถ้าได้รับการรักษาได้ เร็วและถูกต้องก็มีโอกาสรอดชีวิตถึงร้อยละ 90 แต่ ถ้าปล่อยให้มีอาการนานเกิน 2 ชั่วโมง ค่อยเข้ารับ การรักษา ก็มอี ตั ราตายสูงถึงร้อยละ 78 บางรายเมือ่ รักษาจนฟื้นตัวดีแล้ว บางรายอาการทางสมองอาจ หายได้ไม่สนิท อาจมีบุคลิกภาพเปลี่ยนไป ท่าทาง

เราเป็นโรงงานผลิตและจ�าหน่าย เสื้อคอกลม เสื้อโปโล สินค้าพรีเมียม ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี งานด่วนสั่งได้ ราคาเป็นกันเอง โทร. 089-487-8789 ภาณิดา เหมรัสารสองล้ ตนากร อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 27


เรื่องเล่าชาวสองล้อ เรื่อง/ภาพ จารึก หลังสวน

ากคิ ด เที่ ย วจี น แถวเมื อ งจิ น ผิ้ ง ต่ อ จาก ซาปา ก็ แค่ปั่ นลิ่วลงเขา 36 กิโลเมตร ตรงดิ่งไปที่ด่านลาวไกของเวียดนามแล้ว เข้าจีนที่ด่านเหอโค่วของจีน พักในเมืองเหอโค่วหนึ่ง คืนหรือไม่พักก็ตามใจ ปั่นต่อไม่ถึงสองร้อยกิโลเมตร ขาแรงปั่นสบายๆ ปั่นสองวัน ขาขี้เกียจปั่นแบบผม นั้นต้องมีสาม ปั่นสองวันผมแนะน�ำปั่นวันแรกปั่นสัก ร้อยกิโลเมตร ก�ำหนดจุดพักครึ่งทางค้างโรงแรมที่ เมืองมันเชา รุ่งขึ้นปั่นอีกวันเส้นทางไต่เขาหนืดอีก ประมาณสิบกิโลเมตรก็ถึงแล้ว ครั บ เล่ า แบบนี้ อ าจจะยั ง โดนบ่ น มั น ย่ อ เกิ น ขอเล่าเพิม่ เติมตามทีผ่ มเจอ มีกเี่ รือ่ งเล่าหมดเปลือก.. ช่วงแรกที่เริ่มปั่นออกจากเหอโค่ว ผมเจอถนน เป็นถนนใหญ่กว้างขวาง ผมยังนึกในใจปั่นสบายกว่า ห้าหกปีกอ่ นทีเ่ คยปัน่ ตรงลงมาจากคุนหมิง ปัน่ จนเจอ ถนนหมายเลข 326 ปั่นไปสองสามกิโลเมตรก็ถนน ก็ยงั ดูเรียบดี อ้าวถัดต่อจากนัน้ เจอถนนสุดเน่าซะแล้ว สภาพเหมือนมันจะเป็นถนนที่ถูกสร้างค้างไว้ ตั้งแต่ ยุคที่ผมมาปั่นเมื่อครั้งก่อน ใจผมตอนนั้นกังวลว่ามันจะเป็นสภาพนี้ไปถึง แค่ไหน เพราะรถบรรทุกก็เยอะ แต่อย่าเพิ่งตกใจ เหมือนผม เพราะถนนที่ค่อนค้างช�ำรุดเนื่องจากมีรถ 28 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)

ใช้กันมากมีระยะทางเพียงห้าหกกิโลเมตรเท่านั้น จากนั้นจะพบเส้นทางให้เลือก ใครจะใช้ถนนไฮเวย์ ประเภทมีอุโมงค์มุดเทือกเขา บางช่วงมีสะพานข้าม ช่องเขา หรือจะเลือกถนนลาดยางรุน่ โบราณสาย 326 เอาเข้าจริงๆ แล้ว บรรดารถทั้งหลายล้วนแห่ ไปวิ่งบนถนนไฮเวย์ทั้งสิ้น ทิ้งให้ผมปั่นสบายคนเดียว แทบทั้งวันบนถนนลาดยางรุ่นโบราณสาย 326 ถนน เส้นนีเ้ ลียบแม่นำ�้ เป็นพรมแดนธรรมชาติทกี่ นั้ ระหว่าง จีนและเวียดนาม เป็นเส้นทางกว่าเจ็ดสิบกิโลเมตร ที่สวยงามมาก ปัน่ ไปถึงเมืองซินเจีย่ เป็นเมืองเล็กๆ ทีค่ อ่ นข้าง เต็มไปด้วยฝุ่น ย่านที่เป็นเมืองมีเพียงตึกแถวขนาบ สองข้างถนนระยะไม่น่าจะเกินห้าร้อยเมตร ยังดีที่ มีโรงแรมให้พักเหมาะส�ำหรับคนที่จะค้างสักสามวัน แต่ส�ำหรับขาแรงใช้เป็นจุดพักกินข้าวแล้วปั่นต่อให้ ถึงเมืองมันเชาจะดีกว่า เพราะเมืองซินเจี่ยนี้สภาพ มันมอมแมมเสียเหลือเกิน เป็นเมืองทีร่ ถจากด้านเหนือล�ำน�ำ้ วิง่ ลงมาสมทบ กับรถที่ขึ้นมาถึงสามแยกที่เมืองนี้ แล้วส่วนใหญ่ ก็จะเลี้ยวขึ้นไปหาถนนไฮเวย์ เพื่อตัดตรงขึ้นคุนหมิง จากเหอโค่วนัน่ เองครับ มินา่ ช่วงทีผ่ มปัน่ จากเหอโค่วมา ถึงตรงนีถ้ งึ ไม่คอ่ ยเจอรถ เพราะไปใช้เส้นใหม่กนั หมด


ปั่นเที่ยวแถวจินผิ้ง ...ตอนที่ 3

ตอนผมปัน่ ถึงเมืองซินเจีย่ นีผ้ มค้างทีน่ หี่ นึง่ คืน เพราะ ตอนปั่นออกจากเหอโค่วออกจะสายเกิน วันนั้นกว่า จะเริ่มปั่นก็เกือบสิบโมงครึ่ง ปั่นถึงซินเจี่ยก็เกือบ ห้าโมงเย็น เลยจ�ำเป็นต้องพัก ท�ำให้ได้เห็นวิถีชีวิต ของผู้คนกับสายน�้ำใหญ่ที่ผ่านเมือง โรงแรมที่ผมพัก อยูต่ ดิ ริมแม่นำ�้ เปิดหน้าต่างบานโตดูววิ สวย พอตกดึก เห็นประดาพ่อค้าแม่คา้ และชาวบ้านต่างเข็นรถขนขยะ น�ำไปเททิ้งที่ริมน�้ำ ผมเริม่ ปัน่ แบบหุงข้าวกินเองนับแต่ปน่ั ผ่านลาว และเวียดนาม เพือ่ หวังประหยัดค่าใช้จา่ ย ตอนตืน่ เช้า ที่เมืองซินเจี่ยก็เช่นกัน หุงข้าวกินจนอิ่มเป็นมื้อเช้า ใส่หอ่ เผือ่ กินต่ออีกสองมือ้ โดยออกไปหาซือ้ เต้าหูแ้ ผ่น มาทอดให้เหลือง ดูเหมือนจะเก็บได้นาน เต้าหูท้ อดนี่ บางทีผมเก็บกินได้วันครึ่ง มื้อเที่ยงและมื้อเย็นของ วันที่ทอด บวกมื้อเช้าวันรุ่งขึ้นได้อีกมื้อ ปั่นจักรยานในจีนบางช่วง ปั่นกันห้าหกสิบ กิโลเมตรไม่เจอบ้านคน หรือเจอก็เป็นหมู่บ้านที่ไม่มี ใครประกอบอาชีพท�ำร้านอาหารขายคนเดินทาง เลยครับ และผมก็มักจะปั่นไปตกค้างต้องกางเต็นท์ นอนกลางทาง จึงต้องกินมื้อเย็นของเก่า มื้อเช้าก็ ของเก่าแทบทุกวันที่ปั่นในจีน กว่ า จะออกจากเมื อ งซิ น เจี่ ย วั น นั้ น ก็ เ กื อ บ

สิบโมงเช้า ถนนที่ใช้ปั่นยังคงเป็นถนนเลียบแม่น�้ำ สายเดิม ปัน่ ถึงเทีย่ งเจอสามแยกท�ำเลค้าขาย เห็นแม่คา้ ตัง้ แผงลอยมีมะม่วงและสัปะรดเป็นหลัก ขายริมทาง ใกล้ทางแยกผมแวะเข้าไปขออาศัยชายคาแผงลอย ของแม่ค้านั่งกินข้าวที่ห่อไว้ กินเสร็จก็ออกปากขอ ซื้อมะม่วงเขาหนึ่งลูก เขาคิดเงินไม่ถูกเพราะเขาขาย แบบชั่งบนตาชั่ง ลูกเดียวเขาขี้เกียจชั่งเลยหยิบลูก จากเข่งทีเ่ ขาคัดทิง้ ส่งให้ผมกินแบบโบกมือไม่เอาตังค์ ทั้ ง นั่ ง กินและส่ง กิริยาคุยเพลินกะแม่ค ้าพอ สมควรแก่การที่แม่ค้าหยิบมะม่วงให้กินฟรี ผมเดิน ข้ามถนนไปตึกแถวฝัง่ ตรงข้าม ด้วยเห็นมีเตาพ่วงสาย จากถังแก๊สวางหน้าบ้าน สถานการณ์ของผมแก๊สที่ พกไปใกล้จะหมด ออกปากบอกหนุ่มเจ้าของร้าน ขอผมซื้อแก๊สในถังซักห้าหยวน โดยผมยื่นตังค์ไปให้ ก่อน หนุม่ ใจดีเขาเข้าใจพยักหน้าให้ผมจัดการเติมแก๊ส หวังถ่ายจากถังใหญ่ลงกระป๋อง ถึงได้รู้เกลียวของ หัวถังแก็สของจีนกับของบ้านเราใช้กันไม่ได้ สุดท้ายจึงแบมือขอตังค์จากหนุ่มคืน พร้อม กล่าวค�ำขอบคุณและเขย่ามือท�ำพิธีอ�ำลาหนุ่มใจดี เพื่อออกเดินทางต่อ (อ่านต่อฉบับหน้า)

สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 29


ช่างคิดช่างประดิษฐ์

เรื่อง/ภาพ โอเล่ย์ ช่างใต้ดิน กลุ่มเฟสบุ๊คจักรยานแนวๆ

จักรยานรีไซเคิล จากเหล็กข้างเตียงผู้ป่วย (5) จักรยานรีไซเคิลจากจักรยานเก่าๆ โดยนายประเสริฐพล พรมชาติ อาชีพรับราชการ โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งต�ำแหน่ง ช่างปรับ ซ่อมครุภัณฑ์ประจ�ำส�ำนักงาน หน้าที่ซ่อมบ�ำรุงเครื่องมือแพทย์ เช่น เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อโรค ไฟผ่าตัด เตียงผ่าตัด รถเข็นคนป่วย รวมไปจนถึงเตียงผู้ป่วย

ากอะไหล่เตียงผู้ป่วยซึ่งช�ำรุดจนซ่อมไม่ได้ กองทิ้งเป็นเศษเหล็ก ซึ่งเก็บรวบรวมไว้ จักรยานทีผ่ มท�ำผ่านๆ มาก็ได้อะไหล่สว่ นนี้ นั้นละครับ ที่ท�ำจักรยานเป็นรูปทรงต่างๆ ได้มา หลายคัน แต่ละคัน เท่ๆ และมองเห็นตามท้องถนน ไม่ค่อยมีสักเท่าไร ก็คิดท�ำไว้หลายคันอยู่ แต่คันนี้จะ เป็นอีกแนวหนึง่ ครับ หลังจากลงวารสาร สารสองล้อ ไปแล้ว 4 คันแล้ว

30 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)

ส่วนประกอบของจักรยานคันนี้ ตัวเฟรมรถ มาจากจักรยานเก่าๆ น�ำมาตัดยุบเอาส่วนที่ต้องการ เพือ่ ท�ำตามแบบทีเ่ ราอยากได้เช่นอะไหล่จากกระบอก เตียง ส�ำหรับแฮนด์จกั รยานน�ำมาจากแฮนด์จกั รยาน เก่าๆ มาตัดท�ำแนวใหม่ ตัวที่วางของได้จากเหล็ก กระบอกเตียงและลวดลายเหล็กดัด คันบังคับเลี้ยว ตัวแกนดันมาจากเสาน�ำ้ เกลือ และบูทลูกหมากบังคับ เลีย้ วมาจากลูกปืนล้อเตียงนอนผูป้ ว่ ย กะโหลกบันได โซ่ใช้ของเก่า ส่วนที่ต้องเสียเงินซื้อมีเพียงแค่ ยาง นอก ยางใน สายเบรค เหล็กและลวดลายเหล็กดัด ประตูบา้ น คันนีร้ วมราคาอะไหล่แล้วตกอยูป่ ระมาณ 1,500 บาท ขัน้ ตอนการประกอบ ใช้วธิ วี าดรูปจ�ำลองจักรยาน ที่เราอยากได้บนสมุดบันทึก หลังจากนั้นน�ำโครง จักรยานพับเก่าๆ มาตัดเอาส่วนที่ต้องการมา ด้วย การแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนหน้าและส่วนหลัง


จากนั้นน�ำกระบอกเตียงมาตัดเชื่อมต่อตรงกลางเป็น คานรับน�้ำหนัก แล้วเชื่อมกรอบสี่เหลี่ยมไว้ส�ำหรับ บรรทุกของ ประดับความสวยงามด้านข้างด้วยลวดลาย เหล็กดัดประตูบ้าน เอาส่วนจักรยานทีต่ ดั มาเตรียมไว้และกระบอก เตียงมาประกอบเข้าด้วยกัน ใช้การเล็งๆ วัดๆ ดูว่า มุมไหนดี สวย เท่ พอได้รปู ร่างแล้วจัดการเชือ่ มไฟฟ้า อีกครั้งเพื่อความแข็งแรง จักรยานแต่ละคันที่ผมท�ำขึ้นจะใช้เวลาค่อน ข้างนานพอสมควร เพราะมีเวลาท�ำนิดหน่อยตอน พักเที่ยงและตอนเลิกงานเท่านั้น ก็ท�ำแบบนี้กว่า จะเสร็จ คันนี้ใช้เวลาท�ำประมาณ 2 เดือน การใช้งานส่วนใหญ่จะปั่นไปตลาดนัดแถวๆ ที่ ท�ำงาน และปัน่ ไปท�ำงานระหว่างตึกหนึง่ ไปอีกตึกหนึง่ ส่วนวันอาทิตย์นานๆ ครั้งก็จะปั่นไปกินไปเที่ยวกับ พี่ๆ เพื่อนๆ ไม่ไกลมากนัก มีคนชมและขอถ่ายรูป บ้าง และมีโอกาสปั่นไปร่วมงานคาร์ฟรีเดย์ 2013

ชื่ อ กลุ ่ ม เฟสบุ ๊ ค จั ก รยานแนวๆ เวลากลุ ่ ม ผมปั ่ น จักรยานผ่านไป ผู้คนที่พบเห็นต่างหันมามอง และ ทักทายเป็นระยะตามถนนก็รู้สึกดีใจครับ ที่มีคน ชืน่ ชอบจักรยานแนวๆ ทีผ่ มท�ำขึน้ แต่ละคัน มันท�ำมา จากแนวคิดที่ชอบจักรยานแบบแนวๆ ครับผม สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณพี่วุฒิมากครับ ที่ มองเห็นและอยากน�ำเสนอจักรยานรีไซเคิลของผม

สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 31


Bike to work

เรื่อง/ภาพ schantalao • ภาพ พี่ๆ เพื่อนๆ ที่ร่วมทริป

คู่รัก Bike to work คุ ณ กิ๊ ว (นรวรรณ วงศ์ เ ลิ ศ วิ ท ย์ )

Product Coordinator บริ ษั ท Go Vacation Thailand และ คุณแย้ (ปรัชญา ไทยแท้) Assistant Manager บริ ษั ท TT Network Integration (Thailand) Co., LTD. คุ ณ คงจ� ำ เขาทั้ ง สองคนนี้ ไ ด้ จ าก สารสองล้อฉบับ “คูร่ กั นักปัน่ ” เขาทัง้ สองเลือกใช้จกั รยานในชีวติ ประจ�ำวัน และใช้ปน่ั ไปท�ำงานอีกด้วย เรามาลอง ฟังกันว่าจักรยานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตเขาทั้งคู่ได้อย่างไร ท�ำไมถึงเลือกปั่นจักรยานแทนการขับรถ? กิ๊ว เริ่มแรก เคยไปเป็นอาสาสมัคร ท�ำงานใน ฟาร์มที่ญี่ปุ่น ขณะนั้น เราใช้จักรยานไปไหนมาไหน และคนญี่ปุ่นใช้จักรยานเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต เลย ท�ำให้มคี วามคิดว่าอยากใช้จกั รยานในชีวติ ประจ�ำวัน ที่เมืองไทย พอกลับมาก็เลยคิดว่าใช้จักรยานในชีวิต ประจ�ำวันซะเลย แรกๆ เริ่มขี่ไปซื้อของหรือ เดินทาง ใกล้ๆ พอท�ำงานก็เลยขีไ่ ปท�ำงานด้วย ไม่ตอ้ งอารมณ์ เสียกับรถติด แล้วยังมีเวลาท�ำในสิ่งที่เราต้องการ อีก ที่ท�ำงานค่าจอดรถโหดมาก ชั่วโมงละ 100 ถ้า เป็นรายเดือนก็แพง แถมยังมีที่จ�ำกัดอีก แย้ ที่ท�ำงานไม่มีที่จอดรถ ถ้ามีก็ต้องเสียค่า เช่าเดือนละ 2,500 ประกอบกับ ภรรยาผมชวนด้วย ก็เลยเริ่มขี่มาประมาณปีกว่าๆ แล้ว ไม่ต้องปวดหัว กับรถติด เป็นชั่วโมงๆ แค่ไม่กี่กิโล อีกอย่างเรา 2 คน ขี้เกียจออกก�ำลังกาย ก็เลยเอาการปั่นจักรยานมา 32 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)

เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตไปเลย ได้ทั้งออกก�ำลังกาย และ เดินทางได้เร็วขึ้น มีเวลาเป็นส่วนตัวมากขึ้น ไม่ต้อง นั่งแช่ในรถ เพื่อนๆ ที่ท�ำงานว่ายังไงบ้าง มีใครเลียนแบบ เราไหม? กิ๊ ว เพื่ อ นที่ ท� ำ งานมั ก จะถามว่ า ขี่ ม าได้ ไ ง ไม่กลัวรถเหรอ เราก็ตอบไปเลยว่ากลัว แต่ก็ต้อง ขี่ แ บบมี ส ติ ก ่ อ นสตาร์ ท นี่ ก็ ช วนเพื่ อ นร่ ว มงานขี่ เหมือนกัน ส่วนใหญ่เพื่อนที่ท�ำงานขับรถมา หรือใช้ บริการรถไฟฟ้า แย้ มี พี่ ท� ำ งานขี่ ก ่ อ นอยู ่ แ ล้ ว และผมเองก็ ชั ก ชวนน้ อ งอี ก คนให้ ม าขี่ เพื่ อ นร่ ว มงานมั ก มา สอบถามว่า อันตรายไหม ผมก็ตอบไปว่า ต้องระวัง ให้มาก และมีสติตลอดเวลาครับ


จัดการตัวเองอย่างไรก่อนออกจากบ้าน? แย้ ใส่เสื้อกีฬา และกางเกงจักรยาน หมวก กันน็อค ถุงมือ ผ้าบัฟ แว่นตาพร้อม แล้วเอาชุดท�ำงาน ใส่กระเป๋าห้อยข้างกับแร็ค พอไปถึงทีท่ ำ� งานก็เช็ดเนือ้ เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้า กินข้าว แม่ยายผมเตรียมข้าว เช้าให้ผมไปทานครับ กิ๊ว วิธีการเตรียมตัวเหมือนแย้เลย ก่อนออก จากบ้านจะทานโยเกิร์ตรองท้องก่อน ไม่งั้นไม่มีแรง พอถึงทีท่ ำ� งานก็เช็ดเนือ้ เช็ดตัว เปลีย่ นเป็นชุดท�ำงาน กินพวกธัญพืชเพิ่มพลังงานเป็นอาหารเช้า แล้วก็เอา ข้าวไปกินเป็นมื้อกลางวันเหมือนกันค่ะ ระยะทางเท่าไร มีอปุ สรรคไหม แล้วแก้ปญ ั หา อย่างไรบ้าง? กิ๊ ว ระยะทางแค่ 5 กิ โ ล โดยขี่ ไ ปกั บ แย้ ช่วงแรก แล้วค่อยแยกเข้าออฟฟิศ เราขีซ่ กิ แซกไม่เก่ง ก็เลยเน้นขีช่ ดิ ซ้าย ซึง่ ก็ตอ้ งคอยระวังรถออกจากซอย และรถมากด้านขวา ส่วนถ้าจะต้องขี่ซิกแซก ต้อง ดูหลังและรอบตัวเราตลอด กระจกมองหลังนี่ขาด ไม่ได้เลย จากบ้านปั่นออกมาถนนเจริญราษฎร์ ซึ่ง รถติด และไฟแดงนาน จากนัน้ เข้าสาทร และเข้าซอย

ประมวญที่ท�ำงาน ใช้เวลาประมาณ 15 นาที ถ้าขับ รถอาจเกือบชั่วโมงเพราะรถติด แย้ ระยะทาง 8 กิโล รถติด ทางแคบ ต้องอาศัย การลัดเลาะ ช่องแคบๆ ใช้กระจกมองหลัง คอยดูหน้า ดูหลังและรอบตัวตลอด เคยเกิดอุบัติเหตุ 1 ครั้งตรง หน้าออฟฟิศ ถนนวิทยุจะมีเลนรถสวน มีรถเก๋งแซง เข้ามาในเลนเรา และมอเตอร์ไซค์แซงพี่เก๋งอีกที แล้ว ก็มาชนเรา ดีที่ไม่เป็นอะไรมาก ใช้เวลาเดินทางไป ท�ำงานประมาณ 30 นาที ถ้าขับรถก็ชั่วโมงกว่าๆ ฝากถึ ง คนที่ ยั ง ไม่ ก ล้ า bike to work สักนิดค่ะ? กิ๊ว ถ้าเทียบสัดส่วนการปั่นจักรยานในชีวิต ประจ� ำ วั น ผู ้ ห ญิ ง อาจจะน้ อ ยกว่ า ผู ้ ช าย การปั ่ น จั ก รยานในเมื อ งที่ ก ารจราจรติ ด ขั ด ท� ำ ให้ เราถึ ง จุดหมายเร็วขึน้ มีเวลาให้กบั ตัวเองมากขึน้ และได้ออก ก�ำลังไปในตัว อันนี้ต้องลองดูแล้วจะรู้ การขับขี่ต้อง ระวังตลอดเวลา และคอยคาดเดาเหตุการณ์ที่จะเกิด ขึ้นตลอด เช่นแท็กซี่ด้านหน้าจะจอด จะมีผู้โดยสาร เปิดประตูลงมา เราต้องชะลอ และไม่ประมาท แย้ ลองมาปั่นดู ชีวิตจะเปลี่ยนไปครับ... สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 33


ร้านจักรยาน

เรื่อง/ภาพ schantalao

Cycle Square พระราม 3

34 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)


ร้

านไซเคิ ล สแควร์ เริ่ ม เป็ น ที่ รู้จักในหมู่นักปั่นมาตั้งแต่ปลาย ปี 2012 เปิดบริการจ�ำหน่าย จั ก รยานเสื อ หมอบ (Road Bike), จักรยานเสือภูเขา (Mountain Bike), City Bike, จักรยานมินิ และจักรยาน พับ พร้อมทั้งอะไหล่จักรยาน, อุปกรณ์ ส�ำหรับปั่นจักรยาน และบริการงาน ช่างต่าง ๆ ไซเคิล สแควร์น�ำเข้าสินค้า ที่น่าสนใจและทันสมัยเพื่อให้ลูกค้าได้ เลือกสินค้าได้เหมาะสมกับตนเอง และ การบริการที่เป็นกันเองท�ำให้มีลูกค้า แวะเวียนมาใช้บริการอย่างไม่ขาดสาย นอกจากนี้ทางร้านยังมีกาแฟดอยช้าง และ Wifi ฟรีบริการลูกค้านักปั่นทุก ท่านค่ะ ที่ ตั้ ง : ถนนพระราม 3 เยื้อ งธนาคารกรุ ง ศรี ฯ ส� ำ นั ก งานใหญ่ (มาทางสะพานกรุงเทพ) ตรงข้ามกับ Int-intersect พระราม 3, ถึง BRT วัดด่านแล้วชิดซ้าย อยู่ติดถนนใหญ่

บริษทั ไซเคิล สแควร์ จ�ำกัด 959 ถนนพระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-683-1777 (GPS 13.675623,100.544742) เปิดบริการ อังคาร-ศุกร์ 11:00 - 19:30 น. เสาร์-อาทิตย์ 11.00 - 17.00 น. ปิดวันจันทร์ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 35


บทความ

เรื่อง Rainbow • ภาพ zangzaew

อัตลักษณ์จำ� เพาะแบบไทยๆ

ในกระแสวัฒนธรรม ใช้จักรยาน

36 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)


พราะบรรยากาศการสั ญ จร ในประเทศเรา เคยใช้พาหนะ เป็นเครื่องแยกแยะฐานะของ ผู้คน เช่นเดียวกับที่เคยใช้เครื่อง แต่งกาย และบ้านช่องมาจ�ำแนก สถานะทางสังคมมานานแล้ว จึง ไม่น่าแปลกใจที่เมื่อมีวัฒนธรรม แบบใหม่ๆ ของการขี่ปั่นจักรยาน บังเกิดขึน้ จึงมีชาวไทยจ�ำนวนหนึง่ นิยมจักยานชั้นดี แบบอย่างจาก การแข่ ง ขั น ที่ มี คุ ณ ภาพสู ง เกิ น จ�ำเป็น แทนที่จะเน้นประโยชน์ใช้ งานเป็นหลัก จริงอยู่นักปั่นไทยผู้สมถะ ที่เลือกใช้จักรยานอย่างประหยัด และราคาถูกยังมีอยู่ แต่ทา่ มกลาง กระแสนิ ย มจั ก รยาน ปริ ม าณ นักเลงสองล้อไฮเอนด์ เมือ่ เทียบกับ ประชากรทั้งหมด กลับมีมากกว่า ประเทศใดๆ ในขณะทีส่ ดั ส่วนผูใ้ ช้ จักรยานต่อประชากรทั้งประเทศ กลับมีน้อยที่สุดเช่นกัน เราจะอธิบายปรากฏการณ์นี้ ด้วยส�ำเนียงใดๆ ให้ได้ความรูส้ กึ ไม่ กระอักกระอ่วนจนเกินไป ชาติอนื่ เช่นในยุโรป หรือแม้กระทัง่ จีน ดูจะ เป็นภาพทีค่ นุ้ ตาแสนธรรมดามาก เมื่อสาวออฟฟิศแต่งกายเข้าสมัย จะขี่ จั ก รยานแม่ บ ้ า นไปท� ำ งาน ประจ�ำวัน แต่อย่างนี้ในบ้านเรา แทบจะไม่มีทางเห็นเลย คนไทยเราแคร์บุคลิกที่เข้า กันอย่างมาก เราอาจขีจ่ กั รยานได้ แต่เสือ้ ผ้าและชุดใส่ ต้องให้เข้ากับ ตัวรถ เมือ่ ขีจ่ กั รยาน ชุดแต่งก็ตอ้ ง เป็นชุดจักรยาน จะเป็นชุดท�ำงาน ไม่ ไ ด้ เ ป็ น อั น ขาด และเมื่ อ แต่ง

ออฟฟิศหรู ก็ต้องไปรถเก๋ง ความ ไม่สะดวกจึงเกิดขึ้น ที่จริงความ ไม่สะดวก มันก็เริ่มตั้งแต่การนิยม ใส่เครื่องแต่งกายแบบยุโรปเมือง หนาวในส�ำนักงานนั่นทีเดียว ใครก็ ต ามในบรรดาผู ้ มุ ่ ง หวั ง ใช้ จั ก รยานเป็ น เครื่ อ งมื อ สัญจรแทนรถยนต์บ้านเรา หาก ใช้จักรยานแม่บ้าน ที่เน้นใช้งาน และประหยัดอย่างไม่เก้อเขิน ย่อม ต้องผ่านการตกผลึกในจิตส�ำนึก และพบค�ำเฉลยทีเ่ หมาะสมกับตัว ตนของเขาเองในระดับหนึง่ ก่อนที่ จะหาญกล้าลงมือขี่ปั่นสัญจร พูดง่ายๆ “ลุค” ดูจะเป็น เรื่องใหญ่เลยหล่ะ หากแต่งสาว ออฟฟิศแล้วขี่จักยานแม่บ้านไป ท�ำงาน การรณงค์ใช้จักรยานที่เป็น ไปได้จริง ที่พอจะเป็นไปได้และ คลี่คลายได้อย่างรูปธรรม จะเกิด ได้กน็ า่ จะน�ำร่องด้วยจักรยานแนวๆ เฉพาะกลุ่ม ที่สามารถขับเน้นให้ เห็นบุคลิกที่เขาเลือกที่จะเป็นที่ (เข้าใจเอาเองว่า) แตกต่าง พอทีจ่ ะ ท�ำให้ขี่ปั่นได้อย่างอุ่นใจว่ามีราคา ค่าชั้น ไม่ธรรมดาในสายตาตัวเอง เหล่านี.้ ...เป็นภาวะคิดค�ำนึง เบือ้ งต้นก่อนใช้งานของนักปัน่ ไทย จ�ำนวนหนึ่ง ที่ผู้ก่อการรณรงค์ วั ฒ นธรรมขี่ ป ั ่ น ในบ้ า นเราควร ค�ำนึง สังคมไทยมีอะไรๆ ที่พิเศษ ซึ่ ง สั ง คมอื่ น เขาไม่ มี กั น และ สิ่ ง เหล่ า นี้ เ องที่ จ ะมี ผ ลต่ อ การ สร้างสานวัฒนธรรมจักรยานใน ประเทศของเราอย่างแน่นอน สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 37


Fitness Lifestyle 40 เรื่อง วชิรุฬ จันทรงาม

ความในใจของผู้ป่วย —ไม่น่าละเลยต่อสุขภาพ

น 2 ฉบับทีแ่ ล้ว เราได้คยุ กันถึงเรือ่ ง App ทีใ่ ช้บนมือถือ ทีก่ ำ� ลังได้รบั ความสนใจในขณะนี้ คือ “Burn Your Fat With Me” ในฉบับนี้ก็ยังจะเกี่ยวกับสุขภาพ Fitness Lifestyle จะเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับอะไร โปรดติดตามกันครับ ไม่นานมานี้ ผมมีโอกาสได้อา่ นเรือ่ งราวทีเ่ ขียนโดย นายแพทย์ชาวญีป่ นุ่ ท่านหนึง่ ชือ่ Ootsu Shuuichi ซึง่ ใน ปี 2009 ได้รวบรวมความในใจที่ได้สอบถามจากผู้ป่วยใน ช่วงบัน้ ปลายชีวติ ของพวกเขากว่า 1,000 คน มาเขียนเป็น หนังสือชื่อ “25 เรื่องที่เสียใจ ในยามเสียชีวิต” ผมเห็นว่าเกีย่ วข้องกับพวกเราทุกคนและน่าสนใจดี จึงขอน�ำมาเล่าสู่กันฟัง เฉพาะค�ำตอบที่มีผู้เลือกตอบ เหมือนกันมากที่สุดจากจ�ำนวนที่ถาม 4 หัวข้อ 1. เรือ่ งทีร่ สู้ กึ เสียใจ ก่อนเรือ่ งอืน่ ใดทัง้ หมด ตอบ —การที่ไม่ได้ให้ความส�ำคัญกับสุขภาพ 2. เรื่องที่เสียใจว่า น่าจะท�ำเอาไว้ก่อน ตอบ— การที่ไม่ได้ท�ำ สิ่งที่ตนเองอยากท�ำ 3. เรือ่ งทีเ่ สียใจว่าไม่ควรท�ำลงไป ตอบ—การสูบ บุหรี่และการที่ไม่ได้เลิกสูบบุหรี่ 4. เรือ่ งทีเ่ สียใจ เมือ่ เผชิญหน้ากับความตายของ ตนเอง ตอบ—การทีไ่ ม่ได้แสดงเจตจ�ำนงก่อนทีจ่ ะเสียชีวติ จะสังเกตเห็นได้ว่า 2 ใน 4 ข้อที่มีผู้เลือกตอบมาก ที่สุด เป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ คือค�ำตอบของข้อ 1 และ ข้อ 3 ส�ำหรับการดูแลสุขภาพตนเองนั้น ก็เป็นเรื่องที่ 38 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)

เราทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว คือนอกจากเราควรจะลด ความเสีย่ งในด้านต่างๆลงแล้ว เรายังควรจะดูแลด้านต่างๆ ให้ดี 5 ด้านด้วยคือ 1. การรับประทานอาหาร เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น เราควรทานให้นอ้ ยลง แต่ทานอาหารทีส่ ะอาด มีประโยชน์ ให้ ค รบหมู ่ ครบมื้ อ ทานผั ก สดที่ ส ะอาดและผลไม้ หลากหลายชนิดให้มากขึ้น หากน�้ำหนักตัวยังเพิ่มขึ้น ก็แสดงว่าเรายังทานมากเกินไป ให้ ป รั บ ประเภทและปริ ม าณอาหารเสี ย ใหม่ ความอ้วนเป็นอันตรายตามทีเ่ ราทุกคนทราบกันดีอยูแ่ ล้ว 2. การออกก�ำลังกายสม�่ำเสมอเป็นประจ�ำ นาน ครั้งละ 40 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์ การออกก�ำลังกายควรแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ - การออกก�ำลังหัวใจและปอด การหมุนเวียน โลหิต การหายใจ ด้วยการออกก�ำลังกายแบบแอร์โรบิค ซึง่ ท�ำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เช่นการปั่นจักรยาน การวิ่งเหยาะ การเดินเร็ว การว่ายน�้ำ เป็นตัน - การออกก�ำลังกล้ามเนือ้ เนือ่ งจากกล้ามเนือ้ ของ คนเราจะลีบเล็กลงเรือ่ ยๆ ทีละน้อยหลังจากเราอายุ 35 ปี ให้สงั เกตดู ส�ำหรับหญิงด้านหลังแขนจะย้วย สัน่ กระเพือ่ ม ได้ตามแรงสะบัดของแขน ผู้ที่อ้วนมากท้องแขนจะย้อย ชายทีไ่ ม่ได้ออกก�ำลังกล้ามเนือ้ แขน ขา น่อง จะลีบเล็กลง นิ่ม เละ เหลว และแน่นอนนั่นหมายถึงพละก�ำลังก็จะลด น้อยถอยลง ตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ลดลงด้วย


Smart Alarm : App จับการเคลื่อนไหวตัวของเราขณะที่นอนหลับ

เราจึ ง ควรมี ก ารออกก� ำ ลั ง กล้ า มเนื้ อ ที่ เรี ย กว่ า strength exercise ซึ่งมีข้อมูลหลากหลายมากมายบน อินเตอร์เน็ต ผู้ที่สนใจควรจะ google หาข้อมูลและเริ่ม ปฏิบัติให้เป็นกิจวัตร - การยื ด เหยี ย ดเส้ น เอ็ น กล้ า มเนื้ อ และขยั บ เขยื้อนข้อต่อต่างๆ มีท่ายืดเหยียดมากมาย การเล่นโยคะ เป็นการยืดเหยียดทีด่ ี ควร google หาข้อมูลเพิม่ เติมและ ปฏิบัติให้เป็นประจ�ำเช่นเดียวกัน 3. การเอาชนะความเครียดด้วยการควบคุมและ คลายเครียด การสงบจิตสงบใจด้วยการท�ำสมาธิเพียง 10-20 นาที หลังจากตื่นนอนตอนเช้า ก็จะเป็นประโยชน์ อย่างมากต่อสุขภาพจิต การมีสุขภาพจิตดี เป็นพื้นฐาน ของการมีสุขภาพกายที่ดี 4. การพั ก ผ่ อ นให้ ดีเ พี ย งพอ เพราะช่วงที่เรา นอนหลับ จะเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่ สึกหรอ และเสริมสร้างภูมติ า้ นทานร่างกายให้แข็งแรง ซึง่ เราจะสามารถสังเกตได้ดว้ ยตนเอง เช่นเวลาทีเ่ ราไม่สบาย เป็นไข้ หรือปวดเมือ่ ยกล้ามเนือ้ เรามักจะรูส้ กึ ดีขนึ้ เมือ่ เรา ตืน่ ขึน้ มาในตอนเช้า ยิง่ หลับได้สนิท ร่างกายก็จะยิง่ ได้พกั ผ่อนเต็มที่มากขึ้น ขณะนี้เราสามารถวัดว่าการนอนของเรานั้น เรา หลับได้สนิท หลับได้ลึก นานกี่ชั่วโมง กี่นาที คิดเป็น คุณภาพการนอนที่ดีเป็นกี่ เปอร์เซ็นต์ ของการนอนหลับ ในแต่ละคืน

App นีใ้ ช้กบั iphone ซึง่ จะคอยจับการเคลือ่ นไหว ตั ว ของเราในขณะที่ เราหลั บ หากเคลื่ อ นไหวบ่ อ ย เคลื่อนไหวมาก แสดงว่าการหลับของเราไม่สนิท ไม่ลึก โดยเราจะวางโทรศัพท์ iphone ไว้หา่ งจากตัวเราประมาณ 50-70 เซ็นติเมตร App นี้ชื่อ Smart Alarm ครับ นอกจากจะวัดคุณภาพการนอนหลับของเราแล้ว ยังจะสามารถตั้งเวลาปลุก ให้ปลุกเป็นเสียงเพลง เป็น เสียงนกร้อง เสียงน�้ำตก เสียงคลื่นในทะเล เสียงจิ้งหรีด เรไร ซึ่งมีให้เลือกเป็นร้อยแบบครับ ผู้ที่สนใจ สามารถ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก App Store 5. การตรวจสุขภาพประจ�ำปี จะท�ำให้เราทราบ ถึงสุขภาวะของร่างกายเรา และหากตรวจพบอะไรที่ไม่ ปกติเสียแต่เนิ่นๆ โอกาสที่เราจะรักษาให้หายได้ ก็จะมี สูงขึ้น การที่ จ ะให้ มี สุ ข ภาพดี ควรท� ำ ในลั ก ษณะการ ป้องกันมากกว่าการแก้ใข การมีสุขภาพดีมิใช่แต่เพียง จะช่วยให้เรามีอายุยืนยาวเท่านั้น หากแต่เราจะมีชีวิต อยู่อย่างมีคุณภาพ ที่จะน�ำมาซึ่งความสุขในครอบครัว และเราจะไม่เป็นภาระให้กับลูกหลานหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด อย่าลืม..ให้ความส�ำคัญกับสุขภาพ.. ขอให้มีสุขภาพดี อายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ ด้วยกันทุกท่านนะครับ.. สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 39


เชิงช่างหนึ่ง เรื่อง ช่างหนึ่ง

ผู้หญิงกับจักรยาน ฤ

ดูรอ้ นปีนอี้ ากาศสุดเหวีย่ งจริงๆ เลย ร้อนได้ใจมากๆ แต่ผมก็ยงั เห็นจักรยานในเมืองปัน่ กันอยู่ ไม่ว่าในช่วงเช้าและช่วงเย็น มีคนปั่นจักรยานไปท�ำงานมากขึ้น ผมได้เห็นผู้หญิงปั่นจักรยาน สะพายเป้ มีอุปกรณ์ครบ สวมหมวกกันน็อคด้วย จึงนึกขึ้นมาได้ว่า เดี๋ยวนี้ผู้หญิงให้ความ ส�ำคัญกับสุขภาพและกล้าปัน่ บนถนน ยิง่ ช่วงค�ำ่ ๆ ย่านเยาวราชตลาดชาวจีน มีนกั ปัน่ จักรยานกันเยอะ จะเห็นนักปั่นสาวๆ อยู่ในกลุ่มเกือบทุกกลุ่มเลย จริงๆ แล้วไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย การมาปั่นจักรยาน ควรจะมีความรู้เรื่องการซ่อมแซมและ บ�ำรุงรักษาจักรยานเบื่องต้นกันบ้าง ฉบับนี้จึงหยิบยกเรื่องราวเกี่ยวกับการดูแลซ่อมแซมเบื้องต้นมา น�ำเสนอ เพื่อที่ว่าเวลาหนุ่มๆ สาวๆ ออกทริปกัน จะได้มีความรู้และสามารถแก้ไขได้ ก่อนอื่น เมื่อเรามีจักรยาน สิ่งแรกที่จะต้องท�ำเป็นคือ เปลี่ยนยางใน ปะยางในให้เป็นก่อน การเปลี่ยนยางในไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเราฝึกและลองท�ำบ่อยๆ

อุปกรณ์ที่ต้องมี 1. ชุดปะยาง ที่งัดยาง แผ่นปะยาง กาวปะยาง 2. กระดาษทรายหยาบ 3. สูบลมเล็ก หรือ สูบใหญ่ 4. ประแจถอดน็อตล้อเบอร์ 14mm 15mm 5. ผ้าแห้ง ควรจะฝึกถอดและใส่ยางในให้คล่องเสียก่อน วิธี การฝึกคือให้ถอดล้อหน้าออกมา ปลดแกนปลดออก หรือ ขันน็อตล้อหน้าถ้าเป็นแบบน็อตล็อคดุมล้อทั้งสองแบบ ถ้าเราฝึกถอดและใส่บ่อยๆ สิ่งที่ว่ายากก็ง่าย หลัง จากนัน้ ก็มาถึง จุดประสงค์หลักๆ คือการปะยาง จักรยาน ของเราสาวๆ ไม่ตอ้ งตกใจนะครับ เราก็สามารถปะยางได้ ไม่ยากเลย มาดูจากภาพ.. เริ่มจากปล่อยลมยางออกถ้ายังมี อยู่ หรือหากยางแตกก็ไม่ตอ้ งปล่อยคงไม่มลี มด้านในแล้ว จากนัน้ เริม่ น�ำทีง่ ดั ยาง มากดลง ณ จุดที่ 1 ต้องแน่ใจว่าเรา ดันลงไประหว่างยางและขอบล้อ จากนัน้ สังเกตทีอ่ ปุ กรณ์ งัดยางด้านที่กดลงไปจะงอเล็กน้อย ตรงนี้เพื่อเป็นจุดให้ เราเกี่ยวหรืองัดยางออกมาได้ 40 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)

ให้กดลงไปเป็นมุมประมาณ 45 องศา ลักษณะ อุปกรณ์งัดยางมีลักษณะตามภาพที่ 2 มุมกดลงประมาณ


10 องศา ตรงบริเวณที่งอๆ ของอุปกรณ์งัดยางจะไปกด ยางนอกด้านใน ท�ำให้ยางนอกหลุดออกมาจากขอบล้อ ทัง้ นีย้ างบางรุน่ เราจ�ำเป็นต้องท�ำลักษณะนีส้ องจุด เพราะขอบยางด้านในแน่นและติดกับขอบล้อ เนื่องจาก ยางแต่ละยี่ห้อจะมีการล็อคขอบล้อไม่เท่ากัน ง่ายบ้าง ยากบ้าง ถ้ายากท�ำแบบนี้สองจุด เอาไว้ถ้าเก่งแล้วค่อย ใช้งัดจุดเดียวได้ หลังจากน�ำยางนอกมาแล้ว สิ่งแรกที่เราตรวจเช็ค ให้สบู ลมเข้าไปทีย่ างใน ถ้ารูรวั่ ขนาดใหญ่ ลมจะออกตลอด และยางจะไม่พอง เราจะรู้ได้เลยว่ารั่วตรงไหน บางกรณี สูบเข้าไปเรื่อยๆ จนยางในป่องออกๆ แต่ไม่มีลมออก อันนี้ซิยาก เพราะรูที่รั่วน่าจะเล็กมาก ต้องพึ่งถังน�้ำแล้วน�ำยางจุ่มลงไปในน�้ำหารูรั่ว ถ้าไม่เจอ มันอาจจะซ่อนอยู่ในจุดที่เรามองข้าม เช่น จุ๊บลม ต้องตรวจเช็คจุ๊บลมด้วย จุ่มน�้ำตรงนี้นานหน่อย บางเส้นจุบ๊ ลมมีลมซึมออกมาก็เป็นได้ เมือ่ เราพบรูรวั่ แล้ว จะต้องท�ำความสะอาดยาง เช็ดให้แห้งด้วยผ้า บริเวณทีร่ วั่ ฉากต่ อ ไปให้ ขั ด ด้ ว ยกระดาษทรายที่ เ ตรี ย มไว้ ค่อยๆ ขัดตรงจุดที่รั่ว เพื่อให้ไข หรือแป้งที่เคลือบผิวยาง หลุดออกไป แล้วขัดลงไปอีกให้เนื้อยางชั้นนอกเป็นรอย นิดหน่อยเป็นพอ อย่าขัดมากไปหรือออกแรงจุดใดจุดหนึง่ มากไป จะท�ำให้ยางไหม้ แล้วจะทากาวยากและปะยาง ไม่อยู่ ขัดยางเรียบร้อยก็ทากาวที่ผิวของยาง ณ จุดที่ ขัดกระดาษทราย โดยทากาวเป็นพืน้ ทีใ่ หญ่กว่าแผ่นปะยาง และไม่ทากาวหนาเกินไป ทาบางๆ ทั้งที่ผิวและที่แผ่นปะ ยางด้วย แผ่นปะยางในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นสีสม้ ด�ำ ลอกแผ่นฟอยล์ออก แล้วทากาวด้านสีส้มนะครับ จากนัน้ รอกาวแห้งพอหมาดๆ สัก 20 วินาที แล้วน�ำ แผ่นปะวางประกบลงไป ค่อยๆ กดไล่แผ่นปะยางจาก ซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้ายแล้วแต่ถนัด ต่อไปก็ วางยาง ในทิ้งไว้ รอกาวแห้ง ระหว่างนีใ้ ห้ไปตรวจยางนอก ระวังนะครับ อย่าใช้ นิ้วอันบอบบางของผู้หญิงตรวจเช็ค อาจจะมีสิ่งแหลมคม บาดมือได้ ให้ใช้ทงี่ ดั ยางรูดยางด้านในถ้ามีแก้วสิง่ แหลมคม จะรูส้ กึ สะดุดมือ ให้เขีย่ ออก เพราะสิง่ แหลมคมเหล่านีจ้ ะ ไปทิ่มแทงยางในเราซ�้ำอีกได้ จากนัน้ น�ำยางในทีก่ าวแห้งแล้ว ใส่กลับเข้าไปทีย่ าง นอก **อย่าใส่ยางในที่ขอบล้อก่อน เพราะใส่ยาก***

แล้วสอดจุ๊บยางใส่ตรงช่องที่ขอบล้อจากนั้นค่อยๆ บีบ ยางนอกเข้าไปจนครบรอบ ยางบางรุ่น ต้องใช้ที่งัดยางงัดเข้าไป คล้ายๆ กับ ตอนเอายางนอกออก แต่…ต้องระมัดระวัง ที่งัดยางจะ ไปทิม่ ยางในจนรัว่ จุดใหม่ได้ ดังนัน้ ค่อยๆ กดนะครับ เมือ่ ยางเข้าไปในขอบล้อก็เติมลมตามความจุของยาง หากไม่แน่ใจให้ตรวจสอบดูตรงบริเวณแก้มยาง จะ มีพมิ พ์บอกชัดเจนว่า 35-65 psi หรือ 100-120 psi ขณะ เติมลมก็ต้องตรวจอีกนะครับ ดูว่าขอบยางของยางนอก เสมอกับขอบล้อทั้งหมดหรือไม่ ถ้าไม่เสมอสูบๆ ไปยาง ในจะกระเด็นออกมาเพราะมีแรงดันของยางใน ยางจะ ระเบิด ระวังด้วย ใส่ยาง สูบเรียบร้อยก็ใส่ล้อ การขันน็อตให้ขันย้อนศรส�ำหรับดุมน็อตล็อค แต่ ถ้าเป็นแกนปลดก็หมุนๆ ตั้งความตึงและพับล็อคให้แน่ ใส่เบรก ปรับเบรก เพราะรถบางรุน่ เราต้องปลดเบรกเพือ่ ถอดล้อออกมา ง่ายดีมั้ยครับสาวๆ แต่ขอเสริมอีกนิดอาจจะเลอะ หน่อย คือการหยอดน�้ำมันโซ่ หลังจากปั่นสาวๆ มักจะไม่ ค่อยได้สนใจเรือ่ งน�ำ้ มันโซ่สกั เท่าไหร่ เราสามารถสังเกตดู ที่โซ่ได้เลยนะครับ ว่าควรจะหยอดมันหรือยัง ถ้าโซ่ใสขาวควรหยอดน�้ำมัน จะใช้แบบฉีกหรือ หยอดได้ทงั้ นัน้ ส�ำหรับการฉีด โซ่จะมีดา้ นบนและด้านล่าง ผมแนะน�ำให้หยอดด้านล่าง คือใต้เฟรมด้านล่างสุดตามภาพ แล้วหมุนบันไดปั่นถอยหลังหยอด และฉีดให้ครบ 1 รอบ พอเลย เวลาเราปัน่ น�ำ้ มันจะซึมเข้าไปหล่อลืน่ เฟืองและโซ่ อย่าหยอดเยอะไปนะครับเลอะเทอะ สาวๆ ขาเลอะ น�้ำมันหยอดโซ่ หรือมีรอยโซ่ที่น่องแล้วละก็จะไม่สวย เอานะ เอ..หรือชอบแบบนั้นผมก็ไมรู้นะ บางคนบอกว่า ประสบการณ์สูง 55555

ฉบับนี้ ผมหวังว่าสาวๆ น่าจะท�ำได้ด้วยตัวเอง นะครับ บางเวลาก็ต้องท�ำเองบ้างไรบ้าง ฉบับนี้ลาไป ล่ ะ ครั บ สวั ส ดี . ......โอ้ ว ร้ อ นๆ อากาศช่ า งดี เ สี ย เหลื อ เกินนนนนนนนน สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 41


เรื่อง/ภาพ schantalao

บรรยากาศการประชุมใหญ่สามัญ ประจ�ำปี 2557 ณ ห้องศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ

มื่อวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทยได้มีการ จัดประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 2557 ขึ้น ณ ห้องศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ ในครัง้ นีเ้ ป็นการครบวาระของคณะกรรมการสมาคมฯ ชุดเดิม และได้มกี ารจัดการเลือกตัง้ นายก และอุปนายกคนใหม่ด้วย มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมกว่า 180 ท่าน ท�ำให้การประชุม ครั้งนี้อบอุ่นขึ้นทันตา หลังจากได้มีการแถลงวาระการประชุมต่างๆ แล้วก็ถึงเวลาการเสนอ ชื่อผู้ที่จะรับต�ำแหน่งนายก และอุปนายกทั้ง 3 ท่าน ซึ่งเป็นไปด้วยความเป็นกันเอง สรุป สุดท้ายคุณมงคล วิจะระณะ ได้รบั การลงคะแนนเป็นนายกสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย คนใหม่ และอุปนายกได้แก่ คุณลิขิต กุลสันเทียะ, คุณแมน ตระหง่านไพบูลย์ และ คุณเรวัตร ดวงประชา ตามล�ำดับ ต้องขอขอบพระคุณสมาชิกทุกท่านทีเ่ สียสละเวลาในวันพักผ่อนมาร่วมประชุมในครัง้ นี้ ด้วยค่ะ

(จากขวา) คุณมงคล วิจะระณะ นายกสมาคมฯ คนใหม่, คุณลิขิต กุลสันเทียะ, คุณแมน ตระหง่านไพบูลย์ และคุณเรวัตร ดวงประชา อุปนายกสมาคมฯ ทั้งสามท่าน 42 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)


รายชื่อสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม ล�ำดับ ชื่อ นามสกุล ID 1 คุณศิรินทร์ คุ้งวงศ์ (ออย) 17 2 คุณวันดี เกษปทุม 648 3 คุณอานนท์ ดุษฎีพรรณ์ 654 4 คุณสันติ ตรีขจรศักดิ์ 679 5 คุณจเด็จ มโนภาส 877 6 คุณมนัสวีร์ ธรรมิกรักข์ 908 7 คุณกฤษฎา กรลิขิตไพศาล 1188 8 คุณปรีชา คล่องการเขียน 1684 9 คุณวรากรณ์ ศรศรี (แจ๊ก) 1716 10 คุณวิภาวรรณ จิรสัชฌกร 1783 11 คุณเกื้อกูล เอื้อการุญชัยกุล 1846 12 คุณมงคล วิจะระณะ 1873 13 คุณสุวิทย์ พิสุทธิพร 2011 14 คุณถาวร ตันติศิริวิทย์ 2221 15 คุณเกตุ (Bob) วรก�ำธร 2289 16 คุณสมบูรณ์ กิจน�ำ 2473 17 คุณจรูญ อิ่มทรัพย์ 2735 18 คุณลีลา กูลณรงค์ 2744 19 คุณประภพ เบญจกุล 2746 20 คุณสงกรานต์ กาญจนเมฆานนท์ 2894 21 คุณบัณฑูรย์ มนธาตุผลิน 2950 22 คุณทิวากร อัมพุประภา 2963 23 คุณบังอร อนุรักษ์พงศธร 3048 24 คุณลิขิต อนุรักษ์พงศธร 3115 25 คุณศุภชัย เที่ยงกมล 3215 26 คุณวินิดา นากสุก 3354 27 คุณฉลาด สงเคราะห์สุข 3483 28 คุณนที ศานติมงคลวิทย์ 3496 29 คุณสริตา บุญประเสริฐ 3497 30 คุณอรอุษา สุวรรณสุก 3541 31 คุณวิริยา สาสกุล 3622 32 คุณกฤษฎา ติวะนันทกร 3668 33 คุณจารุวรรณ จรัสรุ่งโรจน์กุล 3815

ล�ำดับ ชื่อ นามสกุล 34 คุณบุญถม งอสอน 35 คุณประวัติ พิศุทธ์สินธ์ 36 คุณวิภาดา กิรานุชิตพงศ์ 37 คุณสนธิชัย อินทราราม 38 คุณลิขิต กุลสันเทียะ 39 คุณสายลัดดา ปรางค์ชัยเวศน์ 40 คุณสุธน สุมนดิษย์ 41 คุณสุดจิตต์ นุ่มอาชา 42 คุณบัญชา ธารทิพย์สุคนธ์ 43 คุณวิชอบ ธนกิติธรรม 44 คุณพัชรินทร์ อิ่มทรัพย์ 45 คุณสุกัญญา องวงศ์เสถียร 46 คุณมนัสนันท์ เหราบัตย์ 47 คุณวินัย ขันทอง 48 คุณสามารถ สุขชัย 49 คุณคมเดช เจริญธนโชติ 50 คุณชนินทร์ หัศบ�ำเรอ 51 คุณมาโนช ปัญญาอุดมพงศ์ 52 คุณพุ่ม แก้วประเคน 53 คุณชด พุ่มอ�่ำ 54 คุณบุญธรรม พานรักษ์ 55 คุณรัฐชัย ไชยพงศาวลี 56 คุณโกวิทย์ ล้วนวุฑฒิ 57 คุณปรีชา รามอินทรา 58 คุณศิระพงษ์ ฉิมโฉม 59 คุณวรรณา รามอินทรา 60 คุณวรวุฒิ วรวิทยานนท์ 61 คุณสุทัศน์ คุณตา 62 คุณสันติ บุญอ�ำนวย 63 คุณอ�ำมาด สิงหา 64 คุณประสงค์ ตุลาพันธุ์ 65 คุณอนันต์ เกลี้ยงเกลา 66 คุณประสิทธิ์ ศิลาบุตร

ID 3881 4100 4119 4203 4236 4276 4303 4335 4397 4421 4451 4492 4572 4599 4696 4697 4707 4754 4793 4795 4820 4867 4880 4881 4884 4885 4958 4989 5039 5057 5112 5117 5148

ล�ำดับ ชื่อ นามสกุล 67 คุณเรวัต ตันกันภัย 68 คุณสุรชัย สุพรรณโกมุท 69 คุณปาณชัย ปฎิมากรเลิศ 70 คุณเรวัตร ดวงประชา 71 คุณบุญเจิด เพชรเพลินตา 72 คุณบุญเรือน เพชรเพลินตา 73 คุณธนู คงพืช 74 คุณไชยยศ ปิติปาละ 75 คุณสุเทพ สุวรรณศรี 76 คุณสุนันทา สุวรรณศรี 77 คุณมานิตย์ สินธพวงศานนท์ 78 คุณก�ำพล ยุทธไตร 79 คุณบุญมี ไหลหลั่ง 80 คุณทองมา แข่งขัน 81 คุณบ�ำรุง กัลวทานนท์ 82 คุณคณาธิป จงธัญญากร 83 คุณเกียรติ ลาภาภรณ์กุล 84 คุณแมน ตระหง่านไพบูลย์ 85 คุณธานินทร์ เหลาประดิษฐ์ 86 คุณเจริญ อิ่นแก้ว 87 คุณจักรพันธ์ ไหลหลั่ง 88 คุณอนุรักษ์ เปลี่ยนศิริ 89 คุณอวะตาร เที่ยงกมล 90 คุณสุมาวงศ์ พรหมโมบล 91 คุณธนาศักดา ทับโทน 92 คุณกานดา กองวงษ์ 93 คุณมะลิ เหลืออร่าม 94 คุณสหะ เหลืองอร่าม 95 คุณปุณภวัฒน์ วงศ์รัศมีธรรม 96 คุณกิติชัย เอื้อสุขอารีย์ 97 คุณกิตติ สุวัฒน์เมฆินทร์ 98 คุณจงตรี หวังสงวนกิจ 99 คุณชาตรี ยศปัญญา

ID 5166 5176 5221 5243 5253 5254 5289 5290 5310 5312 5318 5340 5344 5357 5358 5365 5370 5394 5443 5454 5484 5527 5555 5564 5600 5634 5638 5641 5652 5667 5682 5765 5784

สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 43


เหล่าซือ สมาชิกคนส�ำคัญได้นำ� จดหมายข่าว สารสองล้อตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบันที่ เก็บสะสมไว้มาให้สมาชิกได้ชื่นชม

บรรณาธิการสารสองล้อมาพร้อมกับของก�ำนัลพิเศษมอบแก่สมาชิกทีม่ าร่วมประชุมเป็น ที่วางโชว์ “สารสองล้อ” สวยเก๋ จากการสนับสนุนของผู้ใหญ่ใจดีในสมาคมฯ เจ๊สเุ กียงทีน่ า่ รัก ท�ำวาฟเฟิลร้อนๆ มาแจก จ่ายให้เพื่อนสมาชิก

รายชื่อสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม (ต่อ) ล�ำดับ ชื่อ นามสกุล 100 คุณมีชัย บันลือพงศ์เจริญ 101 คุณบุญชัย ภัทจารีสกุล 102 คุณพรรษกร จันทร์ไพบูลย์กิจ 103 คุณอภิรดี ก่อสิริทรัพย์ 104 คุณวิวัฒน์ ศรีพจนารถ 105 คุณสุธน กมลภิวงศ์ 106 คุณสุเนต สิงห์นันต์ 107 คุณวัชระ วิเชียรแสน 108 คุณเฉิดฉาย ใจมั่น 109 คุณธนเดช กนกวรรณรัตน์ 110 คุณสมพร เต็งเจริญ 111 คุณปรัชญา ไทยแท้ 112 คุณนรวรรณ วงศ์เลิศวิทย์ 113 คุณสมชาย กัลยานุกุล 114 คุณโสภณ เบญจาทิกุล 115 คุณประเสริฐ เจริญกิจเจริญ 116 คุณอรนุช ทุ่มอุทัย 117 คุณบุญชู จันทร์เพ็ญ 118 คุณภัสภณ เจริญสุข 119 คุณไพโรจน์ เลิศด�ำรงค์เดช 120 คุณบรรจง บุญพิเชฐ 121 คุณสุปรียา จันทะเหลา 122 คุณนภนต์ ตระการกิตติกุล 123 คุณวัฒนชัย เอี่ยมนาค 124 คุณศรีส�ำอางค์ ไหลหลั่ง 125 คุณธนัช นวลวิจิตร 126 คุณอานนท์ กรุดส�ำริด 127 คุณประสิทธิ์ สุขเจริญ 128 คุณทักษิณาวรรต เลิศอนันต์

ID 5807 5922 5981 6007 6059 6068 6081 6152 6217 6336 6486 6493 6495 6516 6517 6522 6551 6558 6590 6591 6592 6593 6797 6905 6919 7013 7139 7144 7242

44 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)

ล�ำดับ ชื่อ นามสกุล 129 คุณวุฒิ เมฆเสรี 130 คุณจารุณี วงศ์สี 131 คุณธนรัตน์ พรามณ์เทพ 132 คุณประชา พฤกษ์ประเสริฐ 133 คุณชวน ทองไทยสิน 134 คุณสมศักดิ์ ชัชวาลวรเดช 135 คุณวัลยา บรรพโต 136 คุณอัญชลี ศรีราช 137 คุณจารุวรรณ ชาญเดช 138 คุณชมพูนุท เกตุศร 139 คุณลมุลจิต วิเชียรศรี 140 คุณเทวิน พิมพ์พันธุ์ 141 คุณพีรณัฐ ชาญเดช 142 คุณจันทร์สม วัชรเขียวศรี 143 คุณเกศแก้ว แสงแป้ 144 คุณพีระเดช ชาญเดช 145 คุณปริญญา ถีรกมลชัย 146 คุณปวีณา ปราณีต 147 คุณศุภชัย เอื้อตระกูลชัย 148 คุณจุฑาภรณ์ นันท์วรรธน 149 คุณรัฐชัย จิระธ์วี 150 คุณระวีวรรณ รองเดช 151 คุณวีณา ทองถนอม 152 คุณวินัย ศรีปิตะรัต 153 คุณพรมาลา แก้วชนะ 154 คุณปวีณา เรโอแนล 155 คุณทินกร เจือจันทร์ 156 คุณช่อทิพย์ เป้าเล 157 คุณพิษณุ พิมพูล

ID 7463 7466 7467 7468 7469 7470 7471 7472 7473 7474 7475 7476 7477 7478 7479 7480 7481 7482 7483 7484 7485 7486 7487 7488 7489 7490 7491 7492 7493

ล�ำดับ ชื่อ นามสกุล 158 คุณดารณี บรรณวัฒน์ 159 คุณวรรณา ชัยนะรา 160 คุณวรวิทย์ จุฬาพรหมเดช 161 คุณศศิธร สกุนตะวิภาดา 162 คุณบุญญาพร ไชยเดช 163 คุณระพี ล้อบูรณะ 164 คุณปวีณา ปัญจันทร์สิงห์ 165 คุณสมบูรณ์ จันทร์ต๊ะปัญญา 166 คุณสุวรรณา คูหาภาสกร 167 คุณชุติมา ทรัพย์คต 168 คุณปิยฤทธิ์ มุขแก้ว 169 คุณภัครัตน์ มุขแก้ว 170 คุณกิตติพล ติรโศภิน 171 คุณพรศักดิ์ ธรรมนิมิตร์ 172 คุณพัชรี ธรรมนิมิตร์ 173 คุณอัมพวัน นิ้มเจริญ 174 คุณวรรณนิสา ถ้วยทอง 175 คุณสมบูรณ์ จารุผดุง 176 คุณอภิเดช สุขใจ 177 คุณยุพิน สุขใจ 178 คุณวนิดา ยะทะนนท์ 179 คุณชินวัตร ยะทะนนท์ 180 คุณณิชยา ยะทะนนท์ 181 คุณสมศักดิ์ ด�ำรงทวีศักดิ์ 182 คุณสมศักดิ์ โรจนปัญญากุล 183 คุณธีระเดช ฐิตะฐาน 184 คุณเมธาวี บุญร่วม 185 คุณสมศักดิ์ มีมนสม 186 คุณรุ่งศักดิ์ เหลืองหิรัญภูษิต

ID 7494 7495 7496 7497 7498 7499 7500 7501 7502 7503 7504 7505 7506 7507 7508 7509 7510 7511 7512 7513 7514 7515 7516 7517 7518 7519 7520 7521 7522


áÃç¤ËÅѧ¤Ò áÃ礨ѡÃÂÒ¹

Tel : 02 589 2614 , 02 591 5220-2

ปั่นวันเดียว..เที่ยวตลาด วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2557

ตลาดดอนหวาย

วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน 2557

ตลาดบางน�้ำผึ้ง

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม 2557

ท่องบางกอก ทะลุบางกรวย จุดเริ่มใต้สะพานพระราม 8

Learn to Ride #3

โครงการสอนผู้ปั่นจักรยานไม่เป็น

สนใจโทร. 02-678-5470

ฟรี!! ครั้งที่ 3

พิเศษ! บัตรสมาชิกสมาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย ใช้สิทธิส่วนลดได้ที่

อาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2557 ณ สวนเบญจกิติ

PRO BIKE ส่วนลด 15% โทร. 02-254-1077 WORLD BIKE ส่วนลด 20% โทร. 02-944-4848 THONGLOR BIKE ส่วนลด 10% ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ยกเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ โทร. 02-712-5425 ZIP COFFEE (หมู่บ้านสัมมากร) ส่วนลดกาแฟ 10 บาท ส�ำหรับผู้ถือบัตรฯ และลด 20 บาท ส�ำหรับผู้สวมเสื้อจักรยาน TCHA ลายธงชาติ Steve Café & Cuisine ส่วนลด 10% ส�ำหรับค่าอาหาร โทร. 081-904-8444

จองด่วน!

โครงการจัดขึ้นเพื่อผู้ที่สนใจอยากปั่น จักรยานและต้องการเรียนรู้วิธีการใช้ จักรยานอย่างถูกวิธี สมัครเรียนโทร. 02-678-5470 หรือ 081-902-2989

โฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเหล่านักปั่นมากที่สุด!

เปิดพื้นที่โฆษณาย่อยเป็นพิเศษ ส�ำหรับร้านค้าย่อยที่จ�ำหน่าย จักรยาน บริการซ่อมบ�ำรุง จ�ำหน่ายอะไหล่ รับประกอบจักรยาน เสื้อผ้า ร้านอาหารสินค้ามือสอง ของส่วนตัว บริการท่องเที่ยว หรืออื่นๆ เชิญจับจองด่วน พื้นที่ขนาด 3 คูณ 6 เซนติเมตร ราคาพิเศษในโอกาส เปิดพื้นที่ใหม่เพียง 1,000 บาทต่อครั้งต่อเล่มเท่านั้น ติดต่อด่วน โทร. 02-678-5470 หรือทางเวบไซต์ที่ http://bit.ly/TCHAminiAD

6 ซม. 3 ซม. โฆษณาตรงเป้าหมายและยังได้ร่วมสนับสนุนสมาคมฯ อีกด้วย! สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557) │ 45


บริจาคจักรยาน

โครงการต่อเนือ่ งทีส่ มาคมจักรยานเพือ่ สุขภาพไทย TCHA จัดขึน้ เพือ่ น�ำจักรยานเก่า มาบูรณะใหม่ และน�ำไปไปมอบให้กับน้องๆ เยาวชนตามที่ห่างไกล เพื่อใช้ในการเดินทาง สัญจรไปโรงเรียน หรือส�ำหรับภารกิจอื่นๆ ตลอดจนออกก�ำลังกายในครอบครัวได้ โดย ไม่ต้องพึ่งพาพลังงานสิ้นเปลืองด้านอื่น ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมบริจาคจักรยาน ที่ไม่ใช้แล้ว และยังอยู่ในสภาพที่สามารถ ซ่อมแซมขึน้ มาใหม่ได้ โดยสมาคมฯ มีกจิ กรรม นัดซ่อมจักรยานเพื่อน้องทุกๆ เดือน จาก บรรดาอาสาสมัครมาช่วยกันซ่อมบ�ำรุงให้ จักรยานที่ได้รับบริจาคเหล่านี้ ฟื้นคืนชีพขึ้น มาใหม่ สามารถน�ำไปใช้งานได้อย่างเช่นปกติ ดั ง เดิ ม โดยมี โ ครงการน� ำ จั ก รยานเหล่ า นี้ ไปส่งมอบให้กับเยาวชน ณ โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ

ขอขอบคุณผู้บริจาค คุณสุวรรณา พฤทธานันทน์ มอบจักรยาน 1 คัน

ฯ ถนนนราธิวาส

ติดตอสมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย หรือประสงครวมโครงการรีไซเคิลจักรยานไดที่ รถไฟฟา BTS สำนักงาน สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ชองนนทรี ถนนสาทร 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร 22 รถไฟฟา BTS BRT ชองนนทรี (สาธุประดิษฐ 15 แยก 14) สุรศักดิ์ ถนนนราธิวาสราชนครินทร แขวงชองนนทรี แมคโคร BRT เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 ถนนจันทน รร.เซนยอเซฟฯ โทรสาร 02-678-8589 ซอย 15 นราธิ ว าสฯ 22 ที่ทำการสมาคมฯ BRT ถนนจันทน เวบไซต www.thaicycling.com (นราธิวาส ซอย 22) ถนนสีลม

รถไฟฟา BTS ศาลาแดง

ถนนสาธ

ุประดิษฐ

สาธุประดิษฐ 15 แยก 14 ทางลงสาธุประดิษฐ

46 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)

ทางดว

โลตัสพระราม 3

ถนนพระราม 3

Fan Page: facebook.com/TCHAthaicycling อีเมล tchathaicycling@gmail.com


ÊÔ¹¤ŒÒÊÁÒ¤Á¨Ñ¡ÃÂÒ¹à¾×èÍÊØ¢ÀÒ¾ä·Â

เปนสินคาที่จำเปนสำหรับผูใชจักรยาน จัดจำหนายในราคามิตรภาพ ผลิตจากวัสดุคุณภาพดี สามารถเลือกซื้อไดที่ สมาคมจักรยาน เพื่อสุขภาพไทย 2100/33 ซอยนราธิวาสราชนครินทร 22 ถนนนราธิวาสราชนครินทร แขวงชองนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทร. 02-678-5470 หรือสั่งซื้อทางไปรษณีย ดวยการโอนเงินเขาบัญชีของ สมาคมจักรยานเพื่อสุขภาพไทย ประเภทบัญชีออมทรัพย ธนาคารกสิกรไทย สาขาโลตัสพระราม 3 เลขที่ 860-2-14222-2 แลวกรุณาแฟกซสำเนาใบโอนไปที่ โทรสาร 02-678-8589 หรือสงทาง email: tchathaicycling@gmail.com

02

01

05 03

04

06 09

08

10

07 01 หมวกคลุมหนา 02 แถบเสื้อ 03 เสื้อจักรยาน 04 เสื้อจักรยาน 05 กางเกงขาสั้น SDL (สีฟาและสีเขียว) สะทอนแสง TCHA แขนสั้น TCHA แขนยาว รุนมาตรฐาน ใบละ 130 บาท ตัวละ 150 บาท ตัวละ 750 บาท ตัวละ 950 บาท ตัวละ 950 บาท 06 กางเกงขายาว 07 ถุงแขน 08 กางเกง 09 กางเกง 10 พวงกุญแจ SDL รุนมาตรฐาน สีดำ ขาสั้น รุนใหม ขายาว รุนใหม โปรดระวังจักรยาน │ 47 ตัวละ 1,100 บาท คูละ 120 บาท ตัวละ 450 บาท ตัวละ 690สารสองล้ บาทอ 275 (พฤษภาคม ชิ้นละ2557) 30 บาท


48 │ สารสองล้อ 275 (พฤษภาคม 2557)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.