ค�ำน�ำ
หนังใหญ่ เป็นการละเล่นที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งของไทย ได้รับ การยกย่องว่าเป็นการละเล่นชั้นสูง แสดงเฉพาะงานส�ำคัญ มีมาแล้วแต่ ครั้งกรุงศรีอยุธยาสันนิษฐานว่าคงจะเกิดขึ้นหลังจากมหากาพย์รามาย ณะของอินเดียได้แพร่กระจายเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับโขน เป็นที่น่าสังเกตว่า การเล่นหนังใหญ่นั้นนิยมเล่นเรื่อง รามเกียรติ์มาตั้งแต่ครั้งโบราณ เช่นเดียวกับการแสดงโขน ปัจจุบันหนังใหญ่ไม่เป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายนัก เนื่องจากสภาพ สังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยอิทธิพลของอารยะธรรมตะวัน ตก วัดขนอน จังหวัดราชบุรี เป็นเพียงไม่กี่สถาบันที่เป็นแหล่งก�ำเนิด ของหนังใหญ่และยังคงมีตัวหนังจ�ำนวนมากอยู่ ในสภาพที่สมบูรณ์ และ ยังมีคณะแสดงที่สืบทอดศิลปะการแสดงไว้ สามารถน�ำออกแสดงในงาน ต่างๆได้อยู่ ในปัจจุบัน วัดขนอนสร้างหนังใหญ่ได้มากเป็นเพราะชาวบ้าน มีความศรัทธา น�ำหนังวัวมาถวายวัด ซึ่งหนังใหญ่ทั้งหมดถือเป็นสมบัติ ของวัดขนอน และเป็นงานศิลป์ชิ้นส�ำคัญชิ้นหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของ จังหวัดราชบุรี
จากเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของหนังใหญ่ ท�ำให้เกิดการศึกษา เกี่ยวกับหนังใหญ่ ในบริบทต่างๆ ขึ้น ทั้งในส่วนของประวัติความเป็น มา วิวัฒนาการของการสลักหนัง กรรมวิธี เครื่องมือที่ ใช้ ในการแกะ ตัวละคร วิธีการ และเครื่องดนตรีที่ ใช้ประกอบการแสดง จากการศึกษา ข้อมูลหนังใหญ่โดยละเอียด จนเกิดเป็นประเด็นที่สามารถถ่ายทอดสู่งาน ออกแบบได้อย่างโดดเด่น ซึ่งเกิดจากการศึกษาลักษณะต่างๆ ของหนัง ใหญ่ ทั้งในส่วนของลักษณะเด่น คุณค่าเชิงรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่ ได้จากการศึกษาหนังใหญ่ ในด้านรูปแบบ องค์ประกอบ ศิลป์ และเอกลักษณ์ความเป็นไทย ที่สามารถน�ำมาใช้เป็นแนวทางการ พัฒนาเป็นผลงานออกแบบสร้างสรรค์ ในรูปแบบของเฟอร์นิเจอร์ถนน และสามารถน�ำองค์ประกอบทางการออกแบบเหล่านี้มาเป็นข้อมูลให้กับ ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับศึกษาเกี่ยวกับหนังใหญ่สามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้ ใน อนาคตซึ่งเรื่องราว ลวดลาย ความงดงาม ความวิจิตรของหนังใหญ่ วัด ขนอนนี้ ล้วนแฝงไว้ซึ่งจิตวิญญาณของชาวราชบุรี และเอกลักษณ์ความ เป็นไทยไทย นายสมัชชา อภิสิทธิ์สุขสันติ ผู้ศึกษา
บทที่ 1
บทน�ำ
ที่มา และความส�ำคัญ
หนังใหญ่ เป็นการละเล่นที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งของไทย ได้รับ การยกย่องว่าเป็นการละเล่นชั้นสูง จะแสดงเฉพาะงานส�ำคัญๆ มีมาแล้ว แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาสันนิษฐานว่าคงจะเกิดขึ้นหลังจากมหากาพย์รามาย ณะของอินเดียได้แพร่กระจายเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับโขน เป็นที่น่าสังเกตว่า การเล่นหนังใหญ่นั้นนิยมเล่นเรื่อง รามเกียรติ์มาตั้งแต่ครั้งโบราณ เช่นเดียวกับการแสดงโขน ค�ำว่าหนังใหญ่ เรียกตามลักษณะตัวหนังที่มีขนาดใหญ่มาก บางตัวมีความสูงถึง 2 เมตร กว้างถึง 1.50 เมตร ต้องใช้หนังวัวทั้งผืนมา ฉลุ เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกับหนังตะลุง ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก การ ที่หนังใหญ่ได้รับการยกย่องเป็นมหรสพชั้นสูง เนื่องจากหนังใหญ่เป็นที่ รวมของศิลปะที่มีคุณค่าหลายแขนง ได้แก่ ศิลปะการออกแบบลวดลาย เชิงจิตรกรรม ผสมกับฝีมือช่างสลักหนังที่ประณีตอ่อนไหวต้องมีฝีมือและ ความช�ำนาญพิเศษ และเมื่อน�ำออกแสดงก็มารวมกับศิลปะทางดนตรี โขนละครและวรรณกรรม ซึ่งเคลื่อนไหวอย่างมีชีวิตชีวาไปตามลีลาของ นาฏศิลป์ชั้นสูง โดยฝีมือของคนเชิดประกอบบทพากย์และเจรจาผสานกับ ความไพเราะของดนตรีวงปี่พาทย์ จึงส่งผลให้การแสดงหนังใหญ่มีคุณค่า ทางศิลป์อย่างสมบูรณ์ ปัจจุบันหนังใหญ่ไม่เป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายนัก เนื่องจาก
สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยอิทธิพลของอารยะธรรม ตะวันตก วัดขนอน จังหวัดราชบุรี เป็นเพียงไม่กี่สถาบันที่เป็นแหล่ง ก�ำเนิดของหนังใหญ่และยังคงมีตัวหนังจ�ำนวนมากอยู่ ในสภาพที่สมบูรณ์ และยังมีคณะแสดงที่สืบทอดศิลปะการแสดงไว้ สามารถน�ำออกแสดงใน งานต่างๆได้อยู่ ในปัจจุบัน วัดขนอนสร้างหนังใหญ่ได้มากเป็นเพราะชาว บ้านมีความศรัทธา น�ำหนังวัวมาถวายวัด ซึ่งหนังใหญ่ทั้งหมดถือเป็น สมบัติของวัดขนอน และเป็นงานศิลป์ชิ้นส�ำคัญชิ้นหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ ของจังหวัดราชบุรี จากเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของหนังใหญ่ ท�ำให้เกิดการศึกษา เกี่ยวกับหนังใหญ่ ในบริบทต่างๆ ขึ้น ทั้งในส่วนของประวัติความเป็นมา การสลักหนัง เครื่องมือ ตัวละคร การแสดง จากการศึกษาข้อมูลหนัง ใหญ่โดยละเอียด จนเกิดเป็นประเด็นที่สามารถถ่ายทอดสู่งานออกแบบ ได้อย่างโดดเด่น ซึ่งเกิดจากการศึกษาลักษณะต่างๆ ของหนังใหญ่ ทั้ง ในส่วนของลักษณะเด่น คุณค่าเชิงรูปธรรมและนามธรรม และน�ำมา ประยุกต์ ใช้ ในการออกแบบอุปกรณ์ถนน (Street Furniture) เพื่อเป็นการ แสดงถึงอัตลักษณ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมพื้นบ้านในด้านของคุณค่าและ สุนทรียะจากคนรุ่นก่อนสู่คนรุ่นปัจจุบันผ่านงานศิลปะออกแบบสมัยใหม่ และเพื่อน�ำไปต่อยอดเป็นการสร้างสรรค์งานออกแบบอื่นต่อไปในอนาคต การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l2
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
ขั้นตอนการศึกษา
สมมุติฐานของการศึกษา
วิธีการศึกษา
ขอบเขตการศึกษา
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อศึกษา รูปแบบ เอกลักษณ์ ความงามจากประวัติความ เป็นมา การท�ำหนัง ตัวละคร ลวดลาย การเล่นหนัง และคุณค่าของหนัง ใหญ่ วัดขนอน จังหวัดราชบุรี 2. เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ของหนังใหญ่ คุณค่าและความส�ำคัญ ในลักษณะของการวิเคราะห์หาลักษณะทางรูปธรรม และนามธรรม เพื่อ เป็นองค์ประกอบ และแนวคิดในการออกแบบ 3. เพื่อออกแบบผลงานสร้างสรรค์ ในรูปแบบของอุปกรณ์ ถนน (Street Furniture) ที่สื่อถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดราชบุรีผ่านศิลปะ พื้นบ้านหนังใหญ่
การศึกษาค้นคว้าเรื่องหนังใหญ่นี้ เป็นการดึงเอาเอกลักษณ์ ความงาม ผ่านการแสดง ตัวละคร ลวดลาย และคุณค่าทางรูปธรรม และนามธรรมที่สามารถสื่อถึงเอกลักษณ์ของหนังใหญ่และความเป็น ไทย เพื่อน�ำมาเป็นแนวทางการออกแบบสร้างสรรค์อุปกรณ์ถนน (Street Furniture) เพื่อสื่อถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี อีกทั้งจะเป็นการส่ง เสริมการอนุรักษ์วิถีแห่งมรดกไทยและเป็นแรงจูงใจทางจิตใจรูปแบบใหม่ ที่มีคุณค่าตลอดจนให้คนรุ่นใหม่ได้สืบทอดศิลปวัฒนธรรมและวิถีไทยได้ อย่างยั่งยืนต่อไป
1. การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาในเรื่องราวของหนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี คือ 1.1 ประวัติความเป็นมา 1.2 ชนิด ลักษณะตัวหนัง องค์ประกอบ และ กรรมวิธี ในการสร้างตัวหนังใหญ่ 1.3 กรรมวิธีการสร้างตัวหนัง 1.4 เครื่องประกอบในการแสดง 1.5 เรื่องส�ำหรับการแสดง 1.6 พิพิธภัณฑ์และการอนุรักษ์ 2. ศึกษาหลักวัฒนธรรมศาสตร์ 3. ศึกษาหลักการออกแบบภูมิทัศน์ถนนและอุปกรณ์ประกอบ ถนน 4. ออกแบบอุปกรณ์ประกอบถนนเพื่อเป็นกรณีศึกษา อย่าง น้อย 2 ชนิด
1. ศึกษารวบรวมข้อมูลภาคเอกสาร วิชาการ บทความ งาน วิจัย และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหนังใหญ่ 2. วิเคราะห์ข้อมูล 3. ออกแบบออกแบบอุปกรณ์ประกอบถนน 4. สรุป และอภิปรายผล
การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีการศึกษาดังนี้ 1. การศึกษารวบรวมข้อมูลภาคเอกสาร แบ่งข้อมูลออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับหนังใหญ่วัดขนอน จังหวัด ราชบุรี 1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมศาสตร์ 1.3 ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการออกแบบภูมิทัศน์ถนน และอุปกรณ์ประกอบถนน 2. สร้างแบบวิเคราะห์ My Mapping เพื่อแตกกระบวนความ คิดด้านรูปธรรมและนามธรรม 3. วิเคราะห์และสรุปข้อมูลเพื่อเป็นแนวความคิดในการ ออกแบบ 4. ด�ำเนินการวางแผน และออกแบบตามข้อมูลที่สรุปได้ 5. เขียนรายงานสรุปการวิจัย
1. ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของหนังใหญ่ เอกลักษณ์ เด่นที่การแสดงถึงวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ความเชื่อ ความ วิจิตร ความสามารถของช่างสลักหนัง 2. ได้ความรู้ ในลักษณะต่างๆ ของหนังใหญ่ ทั้งในส่วนของ ลักษณะเด่น และคุณค่าเชิงรูปธรรม และนามธรรม 3. สามารถน�ำข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวความคิดในการ สร้างสรรค์ผลงานได้ตรงตามความต้องการ 4. การออกแบบสร้างสรรค์อุปกรณ์ถนน (Street Furniture) เพื่อสื่อถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี จะช่วยส่งเสริมและสร้างจิตส�ำนึก ถึงคุณค่าให้คนรุ่นใหม่ได้สืบทอดศิลปวัฒนธรรมและวิถีไทยได้อย่างยั่งยืน ต่อไป
การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l3
บทที่ 2
เอกสารและ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.1 ชนิด ลักษณะตัวหนัง องค์ประกอบ และกรรมวิธีในการสร้างตัวหนังใหญ่ ของไทย
หนังใหญ่เป็นการแสดงที่เกิดจากการเอาศิลปะแขนงต่าง ๆ คือ หัตถศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ และดุริยางคศิลป์ และวรรณศิลป์ มา ผสมผสานกันให้สอดคล้อง เหมาะสมเพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้ชมอันแสดง ให้เห็นถึงอัจฉริยภาพทางด้านการแสดงของบรรพบุรุษของศิลปินไทย เอกลักษณ์ที่เชิดหน้าชูตาของหนังใหญ่ ในขณะนี้ คือ ความเก่าแก่ สวยงามของตัวหนัง ตัวหนังใหญ่เกิดจากการนําหนังสัตว์ที่ตายแล้วฉลุ เป็นภาพและลวดลาย ใช้สีระบายเพื่อให้เกิดความสวยงาม หนังใหญ่ แต่ละตัวแกะฉลุลายตามเนื้อเรื่องที่แสดง เป็นตัวละครที่มีอยู่ ในเรื่องเป็น ภาพฉากต้นไม้ ภูเขาป่า สระน�้ำ ปราสาท ยานพาหนะ ตัวละคร ภาพ
การต่อสู้ซึ่งแต่ละตอนของเรื่องที่แสดงจะมีตัวหนังใหญ่เป็นภาพตัวหนัง บรรยายกิริยา อาการคล้าย ๆ กับภาพสไลด์ที่ ใช้บรรยายประกอบการ อภิปรายเรื่องราวต่าง ๆ
1.2 ชนิดของตัวหนังใหญ่ ของไทย
หนังใหญ่ของไทยแยกเป็นตัวหนังที่ ใช้เวลาแสดงได้ 2 ชนิด คือ หนังที่ ใช้แสดงในเวลากลางคืนได้อย่างเดียว กับอีกชนิดหนึ่ง คือ หนังที่ ใช้แสดงได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ดังจะได้แนะนํารายละเอียด ดังนี้ - หนังที่ ใช้แสดงกลางคืนได้อย่างเดียว เรียกว่า หนังกลาง คืน มีพื้นเป็นสีดํากับสีขาว 2 สี หนังใหญ่ที่พบว่าเล่นกลางคืนปัจจุบันมี 2 แห่ง คือ หนังใหญ่วัดพลับพลาไชย จังหวัดเพชรบุรี และหนังใหญ่วัดบ้าน ดอน จังหวัดระยอง การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l5
- หนังใหญ่ที่ ใช้แสดงได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เรียกว่า หนังกลางวัน มีหลายสี คือ สีขาว สีดํา สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีจะช่วย ขับให้ตัวหนังมีความสวยงามเด่นชัดขึ้น หนังกลางวันที่พบในปัจจุบันมี 2 แห่ง คือ ที่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี และวัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี
1.3 ลักษณะตัวหนังใหญ่ ของไทย
หนังใหญ่เป็นแผ่นหนังโคและหนังกระบือที่ฉลุสลักเป็นภาพที่เป็นไปตาม เนื้อ เรื่องที่ ใช้แสดงซึ่งแบ่งตามลักษณะท่าทาง กิริยาอาการ อิรยาบถ ที่ อยู่อาศัย ธรรมชาติ ฯลฯ ได้ 7 ชนิด คือ 1. หนังเจ้าหรือหนังครู เป็นตัวหนังที่ ใช้สําหรับพิธีไหว้ครู ไม่ ใช้แสดง มี 3 ตัว คือ พระฤาษี พระอิศวรหรือพระนารายณ์ และทศกัณฐ์ หนังพระอิศวรหรือพระนารายณ์ และทศกัณฐ์ เรียกว่า “พระแผลง” เพราะหนังครูทั้งสองภาพเป็นท่าแผลงศร 2. หนังเฝ้าหรือหนังไหว้ เป็นภาพหนังเดี่ยว หน้าเสี้ยว พนม มือ ถ้าเป็นตัวหนังที่ถืออาวุธ ปลายอาวุธจะสอดใต้รักแร้ และชี้ ไปทาง เบื้องหลัง หรือเหน็บไว้กับเอว หนังไหว้ ได้แก่ หนุมาน องคต สุครีพ พิเภก เป็นต้น หนังชนิดนี ้ใช้แสดงตอนเข้าเฝ้า สูงประมาณ 1 เมตร 3. หนังคเนจรหรือหนังเดิน ในบางครั้งเรียกหนังชนิดนี้ ว่า “ตัวเดิน” เป็นภาพหนังเดี่ยว หน้าเสี้ยว ถ้าเป็นตัวหนังที่เป็นตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ จะอยู่ ในท่าเดิน หนังชนิดนี้ ใช้ตอนยกทัพตรวจพล กองทัพของตัวนาย ถ้าเป็นลิงมักสลักเป็นท่าหย่อง (คือการเอาเท้าทั้งสอง วางกับพื้นส้นเท้าข้างหนึ่งวางบนพื้น ส้นเท้าอีกข้างหนึ่งต้องพ้นจากพื้น เล็กน้อยแล้ว หลบเท้าข้างนั้นลงนิดหน่อย) หนังชนิดนี้จะสูงประมาณ 1.50 เมตร หนังตัวเดิน ได้แก่ พระรามตัวเดิน ทศกัณฐ์ตัวเดิน นางสีดา ตัวเดิน เป็นต้น
การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l6
4. หนังง่า เป็นหนังภาพเดี่ยว หน้าเสี้ยวท่าเหาะ คือท่าที่ยก เท้าข้างใดข้างหนึ่งไว้ ซึ่งคล้ายกับท่าของโขนและละคร) หนังง่ามีอยู่ด้วย กัน 3 ลักษณะ คือ 4.1 หนังง่าที่เป็นลิง ยักษ์แสดงท่าทางการสู้รบ ใน มือถืออาวุธ เช่น กริช กระบี่ 4.2 หนังง่าที่อยู่ ในท่าเหาะ ได้แก่ หนุมานใน ท่า เหาะลายที่หนึ่ง และลายที่สอง 5. หนังเมือง เป็นหนังภาพเดี่ยวหรือหลายภาพก็ ได้อยู่ ในหนัง ผืนเดียวกัน ซึ่งในผืนหนังจะต้องประกอบด้วยภาพปราสาทราชวัง วิมาน พลับพลา ท้องพระโรง ศาลา ที่มีตัวละครในเรื่องที่จะแสดง นั่ง นอน พูดกัน หรือมีท่าทางอื่น ๆ ตามเนื้อเรื่องที่ ใช้แสดง หนังเมืองจะมีความ กว้างมากที่สุดตามขนาดของผืนหนังสูงประมาณ 2 เมตร 6. หนังจับ เป็นหนังที่มีภาพตัวละครในเรื่องตั้งแต่ 2 ตัวขึ้น ไปอยู่ ในหนังผืนเดียวกันส่วนใหญ่จะเป็นภาพตัวละครในเรื่องกําลังต่อสู้ เป็นภาพที่ ใช้แสดงต่อจากหนังง่า เช่น หนังจับพระรวมกับทศกัณฐ์ หนัง จับลิงขาวกับลิงดํา หนังจับองคตกับยักษ์ปักหลั่น หนังจับหนุมานกับนาง ผีเสื้อสมุทร เป็นต้น หนังจับจะมีความกว้างยาวเท่า ๆ กับหนังเมือง คือ สูงประมาณ 2 เมตร กว้างมากที่สุดตามขนาดของผืนหนังที่จะมีได้ 7. หนังเบ็ดเตล็ด เป็นหนังที่ไม่จัดอยู่ ในหนังประเภทใด ประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะ แยกย่อยได้ดังนี้ 7.1หนังเตียว เป็นภาพหนัง 2 ตัวกําลังจับมัด เช่น ลิงขาวจับลิงดํา 7.2 หนังปราสาทเป็นภาพหนังที่มีตัวละครนอนอยู่ ในปราสาท เช่น ปราสาทอินทรชิต 7.3 หนังเขน เป็นหนังที่เป็นไพร่ พลของกองทัพ ไพร่พลลิง เรียกว่า เขนลิง ไพร่พลยักษ์ เรียกว่า เขนยักษ์กว้างประมาณ 1.20 เมตร สูงประมาณ 1.50 เมตร 7.4 หนังเบ็ดเตล็ดที่มีท่าทางแปลก เช่น หนุมาน ส่งนางบุษมาลี ตัวตลก คนถือบ้องกัญชา คนจีน ภูเขา สระน�้ำ นก ดอกไม้ งู พญานาค ลิงเล็กลิงน้อย เป็นต้น
การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l7
1.4 กรรมวิธีในการสร้าง ตัวหนังใหญ่ของไทย
1.4.1 การเตรียมหนัง มีหนังสัตว์หลายชนิดที่สามารถนํามาฟอกแล้วแกะฉลุลายเป็น รูปตัวหนังได้ เช่น หนังโคหนังกระบือ หนังเสือ หนังหมี หนังแพะ แต่ คนไทยนิยมใช้หนังวัวมากกว่าหนังชนิดอื่น ๆ หนังควายหนา ขูดและ ฉลุลายลําบาก หนังวัวมีความบางกว่า มีความโปร่งใส เช่น หนังแก้ว ถ้า เป็นหนังลูกวัวจะบางใสกว่า ในสมัยโบราณ เมื่อได้หนังวัวมาสด ๆ ก็นํา มาหมักไว้กับนน�้ำปูนขาว แล้ว เอาขึ้นมาตําในครกตําข้าวให้นิ่ม แล้วแช่ ในน�้ำ แช่ด้วยลูกลําโพงที่มีดอกสีแดงและสีขาว ลูกลําโพงจะฟอกเอาความ ขื่นขมพิษที่มีอยู่ ในแผ่นหนังออก หมักไว้จนเห็นว่าหนังได้ถูกฟอกออก หมดแล้ว คือ ประมาณ 3 – 5 วัน ก็อาจจะเอาขึ้นมาตําในครกอีก พอ เห็นว่าหนังอ่อนนิ่มได้ที่ดีแล้วก็เอาหนังมาขึงให้ตึง ผึ่งแดดให้แห้ง พอ หนังเริ่มแห้งสนิท ใช้กะลามะพร้าว มีด สิ่ว เปลือกหอย ขูดพังผืดและ ขนออกจนกระทั่งหนังทั่วแผ่นบางเท่าๆ กัน มีความเรียบสะอาด ต่อจาก นั้นก็เอาแผ่นหนังมาขึงให้ตึง ตากแดดให้แห่งสนิท แล้วจึงเริ่มกรรมวิธี การให้สีพื้นหนัง กรรมวิธีการฟอกหนังที่กล่าวมาแล้วเป็นกรรมวิธีที่เรียก ว่า ฆ่าหนังให้ตาย คือ หนังจะเรียบ ไม่หงิกงอ เหี่ยวย่น หนังจะคงอยู่ ใน สภาพเรียบแบนเป็นระยะเวลานับร้อยๆปี ในบางแห่งไม่มีการหมักหนัง ก่อน เมื่อได้หนังสด ๆ มาก็คลุกกับขี้เถ้าแล้วนํามาขึงในกรอบไม้ โดยใช้ ตะปูตอกยึดให้ตึงตลอดทั้งผืน ใช้มีดชําแหละพังผืดที่ติดมากับหนังออกให้ หมด แล้วนําไปตากแดดจนแห้ง จึงถอดจากกรอบ ใช้มีดขูดตกแต่งหนัง ทั้งสองด้านโดยขูดเอาขน พังผืด และไขมันออก แล้วนําไปฟอก 1.4.2 การฟอกหนังในปัจจุบัน ในบางท้องถิ่นใช้ลูกมะเฟือง ข่า ใบสมอ อาจนําหนังสด ๆ มาตํากับใบ สมอและข่าผสมกับน�้ำหมักกับหนังจนขนหนังหลุด จากนั้นนําหนังไป ล้างให้สะอาด แล้วนําไปขึงกับกรอบไม้ตากลมจนแห้ง บางช่างอาจยังไม่ นําไปตากแดดเลย แต่จะแช่น�้ำข่ากับใบสมอไว้ประมาณ 1 วัน นําหนัง ไปล้างจนสะอาดแล้วขึงตากลม การทําในลักษณะนี้นาน ๆ ไปหนังจะ ย่น เป็นฝ้าขาวที่ผืนหนัง ช่างบางคนฟอกหนังด้วนสับปะรด ใช้สับปะรด 3 กิโลกรัมต่อน�้ำหนักหนัง 1 กิโลกรัม เติมน�้ำพอประมาณ นําหนังมา หมักไว้ประมาณ 2 - 5 วัน หนังบางจะใช้เวลาหมักน้อยกว่าหนังหนา เมื่อหมักได้ที่แล้วจะเกิดลักษณะเป็นวุ้นไขมันที่ผืนหนัง นําหนังมาวาง บนแผ่นไม้ ใช้ช้อนหรือมีดที่ไม่คมขูดเอาวุ้นไขมันและขนออกทั้งสองด้าน ล้างน�้ำให้สะอาด แล้วนําไปขึงตากลมไว้ ปัจจุบัน การฟอกหนังนิยมใช้ น�้ำส้มสายชู เพราะสะดวก ใช้เวลาน้อย โดยใช้น�้ำส้มสายชู 1 ลิตร ผสมน�้ำ 20 ลิตร นําผืนหนังที่ขูดตกแต่งเอาขนกับไขมันออกแล้วมาแช่น�้ำแล้วนํา ไปหมักในอ่างหรือโอ่งที่ผสมน�้ำส้มสายชู แช่ทิ้งไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง นํา หนังไปล้าง แล้วตากลมไว้จนแห้ง
1.4.3 การเขียนลายบนตัวหนัง การเขียนลายลงบนผืนหนัง สมัยโบราณเอาเขม่าก้นหม้อ หรือกาบ มะพร้าวเผา ละลายกับน�้ำข้าว เช็ดทาผืนหนังให้ทั่วทั้งสองด้าน ใช้ ใบ ฟักข้าวเช็ดขัดจนหนังลื่นเป็นมัน แล้วใช้ดินสอพองเขียนลวดลายตาม ต้องการ ในปัจจุบัน การเขียนลายไม่ต้องทาหนังสีดํา ใช้ดินสอหรือ ปากกาเขียนลายได้เลย ถ้าช่างเขียนลายฝีมือไม่เที่ยงพอ มีการเขียนลาย ผิด ลบออกยาก จะใช้เหล็กแหลม “เหล็กจาร” เขียนลาย เพราะรอยเหล็ก แหลมที่เขียนลงบนผืนหนังสามารถลบออกได้ง่าย เพียงแต่ ใช้น�้ำเช็ดรอย ที่เขียนก็ลบออกทันที การลอกลาย ใช้วิธีการลอกลายเส้นจากหนังสือเก่าหรือ ลวดลายจากฝาผนัง โดยใช้กระดาษไขวางทับลวดลายและเส้น แล้วนํามา ถ่ายเป็นพิมพ์เขียวติดบนผืนหนัง แล้วจึงแกะฉลุลายตามเส้นนั้น ๆ การลอกลายแบบใช้สีสเปรย์ โดยไม่ต้องเขียนลาย โดยการนําหนังเก่า ที่แกะแล้วมาเป็นแม่แบบ นํามาวางทาบทับบนผืนหนังใหม่ แล้วใช้สีส เปรย์พ่น เมื่อเอาแบบออกลวดลายจะติดอยู่บนผืนหนัง การลอกลายวิธี นี้จะใช้กับช่างที่ไม่มีความชํานาญในการเขียนลาย และสะดวกสําหรับการ ฝึกสอนเด็กรุ่นใหม่ ในการแกะฉลุลาย ตัวหนังจะมีรูปร่างสวยงาม มีความ วิจิตรมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับการเขียนลายนี้เองช่างบางคนชํานาญ ทั้งการเขียนและการแกะสลัก 1.4.4 การแกะสลักลวดลาย เมื่อเขียนลวดลายลงบนผืนหนังดังกล่าวแล้วข้างต้น ส่วนที่เป็นลวดลาย และเส้นต่าง ๆ ช่างแกะฉลุจะใช้มุกหรือปัจจะบันเรียกว่า ตาไก่ ตอก และ ใช้มีดแกะสลักในส่วนที่ต้องการให้ลอยตัว ถ้าลวดลายกลม ๆ ช่างจะใช้ มุกตอกตามลวดลาย ส่วนลายในส่วนที่ ใหญ่ ลักษณะเป็นเหลี่ยม ๆ จะใช้ มีดแกะ มุกมีหลายขนาดเรียกว่า มุกใหญ่ มุกกลาง มุกยอด ดังในบทไหว้ ครูกล่าวไว้ว่า “มุกกัดและเคียงเรียงราย” การแกะในบางมุม ช่องไฟของ ลวดลายใช้สิ่วขนาดต่าง ๆ การแกะสลักเป็นรูปโปร่ งตาที่ต้องการพอที่ แสงไฟจะส่องเห็นเป็นรูปทรงงดงาม ในส่วนที่เป็นลายโปร่ งจะเป็นสีขาว การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l8
1.4.5 การลงสีบนตัวหนัง เมื่อแกะสลักหนังตัวนาง (คือเพศหญิง) ถ้าจะให้เป็นสีขาวที่ ใบหน้า ลําตัว ก็สลักเอาพื้นตัวออก เอาพื้นหน้าออก เรียกว่า “นางหน้าแขวะ” ถ้าจะให้ มีสีขาวในบางส่วน คือขาวจาง ๆ เมื่อส่องกับแสงไฟ ช่างจะขูดสีดําออก และทําให้หนงส่วนนั้นบางลงไปอีก หรือต้องการให้บริเวณไหนมีสีขาวโดย ทั่วไป แต่ไม่ถึงกับสลักส่วนนั้นออกไปเลย ช่างจะใช้มุกสลักให้ละเอียดมาก เรียกว่า “เอามุกเดิน” ที่กล่าวมาแล้วจะเป็นลักษณะของหนังกลางคืนถ้า เป็นหนังที่เล่นได้ทั้งตอนกลางวันและกลางคืน สีที่ปรากฏมีหลายสี เช่น สีขาว สีดํา สีเขียว สีเหลือง สีแดง ซึ่งแต่ละสีเริ่มจากการลงสีดําไว้ก่อน ขูดให้บางทั้งสองหน้าจนเป็นสีขาว แล้วค่อยลงสีตามต้องการ สีเขียว ใช้จุนสีผสมกับน�้ำมะนาวทา สีแดง ใช้น�้ำฝางผสมกับสารส้มทา สีเหลือง ใช้น�้ำฝางทาแล้วเอาน�้ำมะนาวถู หนังใหญ่บางตัวมีแผ่นทองเปลวติดอยู่ แสดงว่าผ่านการบูชา ครูหรือการเข้าพิธีมาแล้ว หรือผ่านการแสดงมาแล้วหลายครั้ง ซึ่งเท่ากับ เพิ่มความขลังความศรัทธาให้กับผู้ที่ได้ชม แต่ตัวหนังพระลักษมณ์จะต้อง ปิดทองที่หน้า ต้องลงด้วยสีเหลืองซึ่งจะทําให้ตัวหนังดูเด่นและสง่างาม สมภาคภูมิ 1.4.6 การเคลือบตัวหนังให้เป็นเงางาม คงทนถาวรต่อสภาพ อุณหภูมิและความชื้นที่ปลี่ยนแปลง สมัยโบราณ ถ้าต้องการให้หนังเป็น มัน ใช้ ใบฟักข้าวถูทา บางท้องถิ่นใช้น�้ำมันยางใสทา แต่ที่พบว่าเป็นมัน คงทนถาวร ใช้ยางมะขวิดดิบ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายแลคเกอร์หรือยูริเทน เคลือบตัวหนัง สามารถกันความชื้นได้ สามารถรักษาสภาพของหนังและ สี ให้คงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ
1.4.7 ไม้ตับหนัง หรือ ไม้คีบหนัง ขั้นตอนสุดท้ายของการทํารูปหนังใหญ่ คือ การผูกไม้สําหรับเชิด เรียก ว่า “ไม้ตับหนัง” หรือ “ไม้คีบหนัง” ลักษณะคล้ายตับปิ้งปลา ถ้าเป็นหนัง ตัวเล็กใช้ ไม้ประกบเป็นไม้ตับคู่เดียว ถ้าเป็นตัวหนังใหญ่ ๆ ใช้ ไม้ประกบ เป็นไม้ตับ 2 คู่และให้ห่างกันพอสมควร ไม้ตับหนังนิยมใช้ ไม้ ไผ่ที่แก่จัด เหลาให้เล็กๆ ด้านในแบนเรียบติดกับผืนหนัง ดานผิวเหลาให้มนไม่ ให้ หนาหรือบางจนเกินไป ขนาดของไม้ตับหนัง หนาประมาณครึ่งนิ้ว ถึง 1 นิ้ว ส่วนปลายเล็กกว่าส่วนโคนเล็กน้อย เพื่อกันมอดหรือแมลงกินไม้ ต้องนําไม้ตับหนังมารมควันไฟเสียก่อน การผูกไม้ตับหนังต้องใช้หวาย ที่เหลาเป็นเส้นเล็ก ๆ ผูกให้แน่นเหมือนกับการผูกขอบกระด้งหรือขอบ ตะแกรง เหลือโคนให้ยาวลงมาสําหรับจับเชิด ประมาณ 50 เซนติเมตร ถ้าเป็นหนังใหญ่ เช่น หนังจับ หนังพลับพลา หนังเมือง หนังราชรถ หนังปราสาท ต้องเหลือไม้ตับไว้ประมาณ 75 เซนติเมตร ที่ต้องทําที่จับให้ ยาว เพราะเวลายกหนังมาเต้นที่หน้าจอจะต้องใช้ลําแขนตรงข้อศอกทาบ ติดกับไม้ช่วยใน การยก คนเชิดจะยกหนังให้ตั้งตรงด้วยข้อมือไม่ไหว ทํา ให้หนังเอนโย้ ไปมา ดูแล้วไม่ เกิดความสวยงาม การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l9
1.4.8 เครื่องประกอบในการแสดงหนังใหญ่ การแสดงหนังใหญ่ประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ - สถานที่ (โรงหนัง จอหนัง แสง) - ตัวหนัง - เครื่องดนตรีประกอบ - คนพากย์และเจรจา (ตัวตลก) - คนเชิดหนังและวิธีการเชิด - เรื่องที่ ใช้ ในการแสดง - วิธีการแสดง
1.4.9 สถานที่ โรงหนัง การแสดงหนังใหญ่ควรหาสถานที่กลางแจ้งที่มีความกว้างยาว เพียงพอ อย่างน้อยประมาณ 200ตารางวา โรงหนังใหญ่ไม่ต้องปลูกร้าน ยกพื้นเหมือนการแสดงอย่างอื่น ๆ สามารถแสดงกับพื้นดิน พื้นปูน หอประชุม เวที ห้องโถง แล้วแต่โอกาส เพราะเวลาเล่นใช้ คนยืนเชิด หน้าจอและหลังจอ ตัวหนังจะอยู่สูงกว่าระดับพื้นของสถานที่ที่ ใช้แสดง ประมาณ 2.50 เมตร ผู้ชมจึงแลเห็นตัวหนังอย่างทั่วถึงกัน จอหนัง โดยปกติมีขนาดยาวประมาณ 16 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร ใช้ผ้าสีขาวมาทําจอ ผ้าที่ทําจอแบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามความยาวของจอ คือ ส่วนกลางใช้ผ้าสีขาวบางยาวประมาณ 8 เมตร ที่เหลือด้านซ้ายขวา ใช้ผ้าขาวธรรมดายาวข้างละ 4 เมตร ใช้ผ้าสีแดงเย็บทาบริมขอบจอทั้งสี่ ด้าน บางที ใช้ผ้าสีน�้ำเงินทาบต่อเพิ่มจากขอบสีแดงออกไปอีกชั้นหนึ่งทั้ง สี่ด้าน มองดูจากระยะไกล ๆ จะเห็นว่า ตรงกลางมีผ้าสีขาวโปร่ง รอบ ๆ มีสีแดง หรือบางทีมีสีน�้ำเงินรอบนอกอีกชั้นหนึ่งการตั้งจอหรือยกจอ ในสมัยโบราณ หนังใหญ่ต้องปักเสาสูง 4 ต้นด้วยการใช้ ไม้ ไผ่ลําใหญ่ ๆ มาปักเรี ยงให้ห่ างกัน เสาต้นหัวกับต้นท้ายต้องให้พอดีกับจอหนังใหญ่ เสาต้นที่ 1 และเสาต้นที่ 2 ควรห่างกันประมาณ 3 เมตร เสาต้นที่ 3 จะ ห่างจากเสาต้นที่ 2 ประมาณ 10 เมตร เสาต้นที่ 3 จะห่างจากเสาต้นที่ 4 ประมาณ 3 เมตร พอดีสุดจอหนังใหญ่ ก่อนยกเสาขี้นที่หัวเสาทุกต้น ต้องผูกรอกติดไว้ แล้วร้อยเชือกลงมาให้ปลายเชือกทั้งสองข้างจรดพื้นดิน เอาลําไม้ ไผ่เล็ก ๆ มาผูกติดกันให้ยาวเท่ากับจอหนัง แล้วผูกติดกับริมจอ ด้านบนที่ยาว 16 เมตร ที่ริมจอทุกด้านมีเชือกยาวประมาณ 1 คืบ ผูก ริมจอกับไม้ ไผ่เป็นระยะ ๆ เรียกเชือกผูกนี้ว่า “หนวดพราหมณ์” ผูกจน ตลอดความยาว แล้วเอาปลายของเชือกเส้นที่ร้อยลูกรอกไว้มาผูกกับไม้ ไผ่ ที่เรียกว่า “คร่าวบน” ให้ ได้ระยะเสาชัก ผูกเชือกอย่างนี้กับรอกทุกตัวที่ อยู่กับเสาชักจอให้ตั้งขึ้น ให้สูงกว่าพื้นดินประมาณ 1 เมตร เอาปลาย เชือกมาผูกไว้ที่โคนเสา ส่วนล่างของจอที่อยู่ติดกับพื ้นดินเอาผ้าผูกติดกับ คร่าวอันล่าง ใช้ผ้าที่ทําเป็นหนวดหราหมณ์ผูก ใช้ผ้าลายหรือผ้าดอกสี่ ต่าง ๆ แขวนใต้จอห้อยสูงมาจนจรดพื้นดินเพื่อความสวยงาม และเพื่อมิ ให้คนดูแลเห็นสิ่งที่ไม่น่าดูในโรงด้านบนของจอมีระบายเป็นลาย ปิดด้วย กระดาษทองบ้าง ปักไหมทองอย่างจีนบ้าง มีดิ้นทองดิ้นเงินยาวหรือลูก ลุ่ยห้อยยาวตลอดจอส่วนบน ปลายของเสาทั้งสี่มีของประดับตกแต่ง เช่น
ธงแดงบ้าง ปัจจุบันใช้ธงชาติและขนนกยูงเพื่อความสวยงามบางคณะ ก็อาจจะมีธงที่ประกอบด้วย พระพุทธคณะ แต่วัตถุประสงค์ก็คือให้เกิด ความสวยงาม มีสง่าน่าดูน่าชม และเรียกคนดู ด้านข้างและด้านหลังของ จอใช้เสื่อใบสาคู คําแพน เสื่อรวกอย่างหนึ่งอย่างใดก็ ได้ที่มีความสูงใกล้ เคียงกัน กั้นเป็นวง หรือทําเป็นคอกล้อมครึ่งวงกลมใหญ่ ปลายลําแพน ทั้งสองข้างยื่นมาเกือบถึงเสาต้นหัวและต้นท้ายของจอ เว้นช่องให้คนเชิด หนังเดินเข้าและเดินออกพร้อมทั้งตัวหนังที่ถืออยู่ เพราะต้องมีการเชิด ทั้งด้านนอกและด้านใน ภายในวงลําแพนใช้เป็นที่พักของผู้แสดง เก็บตัว หนัง และร้านเพลิง (แสง) ในปัจจุบัน ไม่นิยมใช้ ไม้ ไผ่มาทําเป็นจอหนังนิยมใช้เหล็กแป๊บน�้ำแทน เพราะสะดวกในการขนย้ายในการแสดงในห้องประชุม พื้นสนาม หรือ ลานกว้างที่เป็นปูนซีเมนต์ บางครั้งทําเป็นท่ออะลูมิเนียมที่สามารถถอด ต่อกันได้สะดวกในการขนย้ายและเบาแรงในการตั้งจอ
1.4.10 แสงสว่างที่ ใช้แสดงให้แสงเงา ในสมัยโบราณ การให้แสงเงาจะให้ทางด้านหลังตอนกลาง ของจอ ห่างจากจอพอสมควรปักเสาโน้มเอนรั้งกับเสาจอ 2 ต้นส่วนบน ขึงผ้าหรือลําแพนให้สูงพอสมควรเพื่อช่วยกันแสงไฟไม่ ให้กระจายออกไป คงให้แสงไฟจับอยู่ที่หลังจอหนัง ที่กั้นนนี้เรียกว่า “บังเพลิง” ตรงกลาง ระหว่างบังเพลิงกับจอหนังปลูกร้านเล็ก ๆ 2 ร้านสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ห่างกันพอสมควร บนพื้นร้านปูด้วยดินทราย สังกะสีสําหรับวาง กอกไต้หรือกะลามะพร้าวจุดให้ลุกเป็นแสงสว่าง เรียกว่า “ร้านเพลิง” พอ ใกล้เวลาแสดง นายไต้จะเร่งไฟให้สว่างขึ้น ร้านเพลิงนี้สมัยหลัง ๆ ใช้ ตะเกียงเจ้าพายุ ไฟฟ้าจากหลอดไฟ หลอดนีออน สปอตไลท์ เพื่อความ สะดวกสบายเป็นหลัก การใช้ ไต้หรือกะลามะพร้าวจุดให้แสงไฟลุกเป็น ธรรมชาติและให้บรรยากาศมากกว่าดวงไฟ เพราะเปลวไฟธรรมชาติลุก เคลื่อนไหว ทําให้ภาพตัวหนังสวยงาม ดูมีชีวิตจิตใจ เกี่ยวกับการให้แสง สว่างแสดงหนังใหญ่ ในสมัยโบราณ ที่พักของคนเชิดหนังอยู่ด้านหลังของ จอและบริเวณใกล้เคียงกัน ต้องมีที่จัดตัวหนังใหญ่เรียงลําดับไว้เพื่อใช้ ใน การแสดงคืนนั้น ๆ
การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 10
1.4.11 ผู้ทอดหนัง นอกจากจะมีตัวหนังใหญ่ตามลักษณะทั้งเจ็ดประเภทที่กล่าวมา แล้ว ต้องมีตัวหนังที่จะแสดงในชุดนั้น ๆ ให้ครบตามเนื้อเรื่อง จึงต้องมี ตัวหนังแต่ละชนิดไว้เป็นจํานวนมาก ในการแสดงหนังใหญ่ หนังใหญ่ ผู้จัดหนังเป็นผู้ที่มีความสําคัญคนหนึ่ง เราเรียกกันว่า “ผู้ทอด หนัง” ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ในเรื่องที่จะแสดงนั้นเป็นอย่างดี และต้องรู้ว่า ตัวไหนจะออกก่อนและหลัง ตัวไหนหมดหน้าที่แล้วตัวไหนจะต้องเอาออก แสดงอีกผู้ทอดหนังจะทําหน้าที่ทอดหนังไว้ ให้ผู้เชิดหนังด้วยการเอาตัว หนังนั้นพิงซ้อนทับกันไว้บนเสื่อหรือผืนลําแพนที่ปูเป็นบริเวณกว้างด้าน หลังของจอหนังต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่เรียงเป็นลําดับกัน เช่น ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ ลิง หนังเขนยักษ์และเขนลิง หนังเมือง หนังปราสาท หนังจับชุดต่าง ๆ หนังเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เพื่อสะดวกกับคนเชิดจะได้หยิบ ไปเชิดได้ โดยเร็วและไม่มีการผิดพลาด เมื่อตัวหนังได้เชิดเสร็จแล้วก็รับมา เก็บไว้ ถ้าผู้เชิดมีความชํานาญหรือเชิดมาหลายครั้งแล้ว ก็จะช่วยนําไป เก็บไว้ยังที่จัดเตรียมไว้เมื่อเชิดเสร็จแล้ว 1.4.12 เครื่องดนตรีประกอบการแสดง ดนตรีที่ ใช้บรรเลงในการแสดงหนังใหญ่ ส่วนใหญ่ ใช้วงดนตรี ปี่ พาทย์ที่เรียกว่า “เครื่องห้า” “เครื่องคู่” “เครื่องใหญ่” แล้วแต่ฐานะ ของงาน แต่จะมีเครื่ องดนตรีชนิดพิเศษอยู่ 3 ชนิดที่เรียกว่าปี่ กลาง กลองติ๋ง และโกร่ง ปกติในวงปี่พาทย์จะต้องมีปี่ ในการบรรเลงประกอบ การแสดงหนังใหญ่ มีประเพณีมาแต่สมัยโบราณว่าปี่ ที่ ใช้ต้องเป็นปี่ ที่ เรียกว่า “ปีกลาง” ปี่กลางเป็นปี่ที่เล็กกว่าปี่ในนิดหน่อย มีเสียงสูงกว่าปี่ ใน 1 เสียง การบรรเลงปี่ พาทย์ประกอบการแสดงหนังใหญ่ต้องบรรเลง ด้วยเสียงที่เรียกว่า “เสียงกลาง” ตลอดทุกเพลง ตั้งแต่โหมโรงจนสิ้นสุด การแสดง กลองที่ ใช้ ในการแสดงหนังใหญ่มี 4 - 5 ใบ มีกลองติ๋ง 2 ใบ กลองติ๋งมีขนาดเล็กกว่ากลองทัดนิดหน่อย มีเสียงสูงกว่ากลองทัด ซึ่ง เจ้าของหนังจะต้องมีกลองติ๋งไว้ประจํา และจะต้องมีกลองทัดอีก 2 - 3 ใบ กลองทัดอยู่ทางซ้ายมือของคนตี กลองติ๋งอยู่ทางขวามือของคนตีโกร่ง เป็นเครื่ องเคาะจังหวะคล้าย ๆ เกราะเป็นไม้ ไผ่ทั้งลํายาวประมาณ 2 3 เมตร วางทอดทางนอนบนที่วางเตี้ย ๆ ข้างล่างจะเจาะรูยาว ๆ ตาม ปล้องไม้ ไผ่ขนาดนิ้วมือสอดได้เป็นตอน ๆ ไปใช้ ไม้ ไผ่ลําเล็ก ๆ ขนาด เท่าไม้ตีกลองหรือใช้ ไม้ ไผ่ซีกสําหรับตีก็ ได้ ผู้ที่ตีนั่งเรียงกัน ตีได้หลายๆ คน สําหรับตีประกอบจังหวะเวลาเชิดจะตีอยู่ด้านหลังของจอ คนตีส่วน ใหญ่ก็คือคนแสดงหนังใหญ่นั่นเอง โกร่งนี้ ไม่จําเป็นต้องมีก็ ได้ วงปี่พาทย์จะตั้งอยู่ด้านหน้าของจอหนังใหญ่ อยู่ระหว่างกึ่งกลางของจอ หันหน้าเข้าหาจอเพราะต้องดูการเชิดของคนเชิดด้วยจึงจะบรรเลงและ เชิดเข้ากัน ได้เป็นอย่างดีและมีรสชาติ และวงดนตรีปี่พาทย์จะอยู่ห่างจาก จอประมาณ 4 เมตร 1.4.13 คนพากย์คนเจรจา คนพากย์คนเจรจาที่ ใช้ ในการแสดงหนังใหญ่ต้องมีอย่างน้อย 2 - 3 คน ไม่ควรเกิด 4 คน ทั่ว ๆ ไปนิยมใช้เพียง 2 คน คนพากย์คน เจรจาต้องเป็นผู้ที่มีความชํานาญในเรื่ องที่จะเล่น รวมทั้งจะต้องสามา รถจดจําคําพากย์ที่เป็นบทบังคับได้อย่างแม่นยํา เช่น บทพากย์ ไหว้ครู นอกจากนั้นต้องเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ทั้งในเรื่องและนอกเรื่องที่จะแสดง ในชุดนั้น ๆ เป็นอย่างดี หรือคิดแต่งคํากาพย์ ร่าย ฉันท์ ด้วยการใช้
ปฏิภาณของตนเองได้ หรืออาจจะพูดได้ว่ามีความเป็นกวีอยู่ ในตัวเองบ้าง บางตอนคําประพันธ์ต้องใช้เป็นร่ายยาวซึ่งต้องสัมผัสคล้องจองกัน ใน บางโอกาสก็อาจจะมีการว่ากระทู้แก้กัน กระทู้ก็คือการเจรจาแบบร่ายยาว และมักจะท่องจําแบบที่ครูสอนมา แต่เรื่องของกระทู้นี้ส่วนมากนับเป็น ความรู้พิเศษของคนเจรจา ถ้าจะเป็นคนพากย์คนเจรจาที่ดีต้องได้กระทู้ ถ้าไม่กระทู้ก็เปรียบเสมือนไม่มีครู กระทู้ถือได้ว่าเป็นเครื่องวัดความรู้ ความสามารถของคนพากย์และคนเจรจา คือกระทู้ของใครก็ของคนนั้น ไม่นิยมนํามาว่าอวดกัน ครูในสมัยโบราณจะแต่งกระทู้ ไว้เป็นตอน ๆ เช่น หนุมานกับนางบุษมาลี พระรามกับทศกัณฐ์ พระลักษมณ์กับอินทร ชิต ทศกัณฐ์กับพิเภก เป็นต้น กระทู้พิเศษนี้ครูจะมอบให้ศิษย์ด้วยความ รักหรือมอบให้ลูกหลานที่สืบเชื้อสายไว้เป็นสมบัติเฉพาะตัวก็ ได้ กระทู้ที่ มีความไพเราะส่วนใหญ่จะเป็นกระทู้ตอนจัดทัพ คนพากย์ที่ว่ากระทู้ต้อง มีเสียงดี กังวาน แหลมเล็กหรือปานกลาง น�้ำเสียงมีเสน่ห์ แฝงความมี สง่าอยู่ ในกระแสเสียงนั้น คนพากย์และคนเจรจายังต้องมีความสามารถในการบอกหน้าพาทย์ ให้ นักดนตรีทําเพลง ประกอบการแสดงได้อย่างถูกต้อง ในสมัยโบราณ คน พากย์มักจะบอกเพลงให้ปี่ พาทย์ทําด้วยคําแผลง ซึ่งเป็นการลองเชิงดูสติ ปัญญาของผู้บรรเลงว่าจะมีปฏิภาณไหวพริบหรือไม่ เช่น “เพลงกลม” คน พากย์จะบอกว่า “ลูกกระสุน” ถ้า “เพลงวา” ก็จะกางมือออกพร้อมกาง แขนจนสุด ปี่พาทย์ก็จะบรรเลง “เพลงวา” ในบางโอกาสต้องใช้เพลงนั้น เพลงนี้แทนกัน สมพันธ์กับความสามารถของนักดนตรี เวลาติดตลก ก็จะเล่นตลกระหว่างคนพากย์กับตัวตลก คนพากย์ต้องพูด ตลกให้ทันจึงจะประสานกับตัวตลกได้ คนพากย์จะต้องคอยซักถามปูพื้นหา ช่องทางให้กับตัวตลก ตัวตลกจะได้มีโอกาสแทรกคําตลกและมักจะเป็นคํา พูดสองแง่สองมุมซึ่งให้คิดไปต่าง ๆ นานา สร้างความขบขันให้แก่ผู้ชมได้ เป็นอย่างดี บางครั้งตัวตลกจะเล่นทะลึ่งกับคนเจรจา แต่ ในที่สุดตัวตลกก็ ต้องยอมแพ้ ให้กับคนเจรจา เพราะถือว่าคนเจรจานี้ศักดิ์ศรีเหนือกว่า ตัว ตลกหนังใหญ่นี้บ้าง ครั้งจะถือหนังรูปตัวตลกออกมาด้วย เช่น ตัวเจ๊กจีน ตอนหนุมานบุกกรุงลงกา และพวกหนังจําอวดต่าง ๆ สิ่งที่สําคัญอีกอย่างหนึ่ง คนพากย์ต้องมีน�้ำเสียงดี กังวาน ดังฟังชัดเจน ยิ่งตอนดึก ๆน�้ำค้างตกเสียงจะดังและใสมีกังวาน นอกจากนั้นจะต้อง เป็นคนที่มีกระแสเสียงทน ไม่ ใช่แหบแห้งไปเฉย ๆ จึงจําเป็นต้องเป็นผู้ มีพรสวรรค์ทางน�้ำเสียงซึ่งธรรมชาติสร้างมาให้ โดยเฉพาะ คนพากย์จะว่า ครั้งหนึ่งนานเป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมงหรือตลอดทั้งคืน
การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 11
1.4.14 เรื่องสําหรับการแสดง เรื่องที่หนังใหญ่ ใช้แสดง นิยมเรื่องรามเกียรติ์กันเป็นส่วน ใหญ่ เพราะมีคําพากย์รามเกียรติ์ของเก่าปรากฏอยู่ และหนังก็เป็นตัว ละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่ปรากฏเป็นตํานานในหนังสือสมุทรโฆษคําฉันท์ ว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ โปรดให้พระมหาราชครูแต่งสมุทรโฆษ คําฉันท์ขึ ้น สําหรับเล่นหนังอีกเรื่ องหนึ่ง และดูเหมือนว่าศรีปราชญ์ จะได้แต่งอนิรุทธิ์คําฉันท์ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อเล่นหนังอีกเรื่องหนึ่ง ด้วย แต่ทั้งสองเรื่องนี้จะไม่ทันได้นําออกเล่นหรืออาจจะไม่ได้รับความ นิยมจึงไม่ ปรากฏว่าได้ ใช้เป็นเรื่ องเล่นหนังกันสืบมาเหมือนอย่างเรื่อง รามเกียรติ์ นอกจากนี้ เชื่อกันว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา นิยายเรื่องอิเหนา (ปันหยี) ของชวาได้เข้ามาแพร่หลายในราชสํานักไทย และคงมีผู้แต่งเป็นคําพากย์ หรือบทละครไว้สักเรื่อง 2 เรื่อง หรือเป็นตอนใดตอนหนึ่ง แต่เป็นที่น่า เสียดายว่าต้นฉบับได้สูญหายไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 คํา พากย์เรื่องอิเหนาได้ถูกรวบรวมหรือถูกแต่งขึ้นใหม่อีกในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดเป็นข้อมูลสร้างความบันดาล ใจให้คิดแต่งเป็นบทละครเรื่องอิเหนาขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 เรื่องอิเหนา และเรื่องสมุทรโฆษคําฉันท์ ไม่ปรากฏมีตัวหนังใหญ่หลงเหลือให้เห็นแต่ ก็ปรากฏมีรูปภาพเขียนบนกระดาษแข็งและผืนผ้าให้เห็นเค้าว่าน่าจะเคย สลักลงในผืนหนัง หนังใหญ่ของชาวมลายูใช้รียกชื่อหนังของตนว่า “วายังปูรวา” (Wayang Purava) หรือ “วายังกุลิต” (Wayang Kulit) ซึ่งแปลว่ารูปที่ท�ำ ด้วยหนังสัตว์ (วายัง = รูปเงา และอื่นๆ อีกหลายนัย เช่น เทวดา กุลิต = หนังสัตว์ ส่วนวายังปูรวา แปลว่า วายังเก่าหรือวายังดั้งเดิมมีขึ้นก่อน วายังชนิดอื่นๆ) แม้เรื่องที่นิยมใช้เล่นจะไม่เหมือนกับของไทย คือนิยม เล่นเรื่องมหาภารตะมากกว่าเรื่องรามายณะ และตอนที่นิยมเล่นกันมาก คือตอน “อรชุนวิวาห์” ส่วนเรื่องรามายณะก็เคยเล่นกันมาแต่ก่อนเรื่อง มหาภารตะอีกด้วย เรื่องปันหยีหรืออิเหนาเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นิยมเล่นกัน มากในชวา ไทยเราอาจได้แบบอย่างมาจากชวาบ้างก็ ได้ หนังใหญ่ที่แสดง ตอนกลางวันจะมีการแต่งชุดระบําสวย ๆ ถ้าเป็นหนังใหญ่ที่แสดงตอน กลางคืนต้องมีการแสดงเบิกหน้าพระหรือบทไหว้ครู ก่อนแสดง จากนั้น จะแสดงเรื่องสั้น ๆ เป็นการเบิกโรงเสียตอนหนึ่งก่อน แล้วจึงจับเรื่อง ใหญ่แสดงต่อไปตามเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่งของเรื่องรามเกียรติ์ เรื่อง ที่ ใช้แสดงตอนเบิกโรงแต่โบราณมามีหลายเรื่อง เช่น บ้องตันแทงเสือ หัวล้านชนกัน แทงหอก และจับลิงหัวคํ่า เป็นต้น แต่ ในระยะหลังนี้แสดง กันแต่ชุดจับลิงหัวคํ่า
1.4.15 วิธีการแสดง ถ้าเป็นการแสดงตอนกลางวัน จะแสดงจับระบําชุดเมขลารามสูร ประกอบร้องเพลง พระทอง เบ้าหลุด บะหลิ่ม และสระบุหรง เพลงทั้งสี่คือระบํา 4 บท ซึ่งเป็นการเลียนแบบการเล่นละครมาแสดง ประกอบกับตัวหนังใหญ่นั่นเองถ้าเป็นการแสดงตอนกลางคืน จะเริ่มต้น ด้วยพิธีเบิกหน้าพระหรือการไหว้ครู ซึ่งขั้นตอนมีดังนี้ คือ ผู้เป็นเจ้าของ คณะหนังใหญ่จะนําหนังเจ้าหรือหนังครูทั้งสาม คือ ฤาษี 1 พระอิศวร หรือพระนารายณ์ 1 ทศกัณฐ์ 1 ออกมาปักไว้หน้าจอเสียบไว้กับผืนจอ หนังหรือกับเสาจอหนังก็ ได้ รูปฤาษีเอาไว้ตอนกลางรูป พระอิศวรหรือพระนารายณ์จะเอาไว้ทางขวามือ รูปทศกัณฐ์ ไว้ทางซ้ายมือของคนไหว้ครู ดังคําพากย์ ไหว้ครูตอนท้ายของทวยที่ 1 ว่า “เบื้องซ้ายข้าไหว้ทศกัณฐ์ เบื้องขวาอภิวันท์ สมเด็จพระรามจักรี” และเงิน กํานลจากเจ้าภาพ 2 สลึงเฟื ้อง ปัจจุบัน 12 บาท เทียนขี้ผึ้ง 3 เล่ม บาง คณะมีหัวหมู 2 หัว ไก่ 2 ตัว บายศรีปากชาม กล้วยสุก 2 หวี มะพร้าว อ่อน 2 ผล เหล้า 2 ขวด ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ไข่ต้ม 2 ฟอง เมื่อ ได้เครื่องสังเวยครบแล้ว บูชาครูอัญเชิญครูสังเวยเครื่องสังเวย ผู้เป็น หัวหน้าประกอบพิธีทําน�้ำเทพมนต์ศักดิ์สิทธิ์พรมทุกคนในคณะจอหนัง ตัว หนัง ดนตรีปี่พาทย์ คนดู เพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นขวัญและกําลัง ใจในการแสดงเสร็จแล้วจุดเทียนเล่มหนึ่งไปให้ วงปี่พาทย์ติดไว้ที่ตะโพน เริ่มอ่านโองการเบิกหน้าพระ ปี่พาทย์เริ่มโหมโรงเหมือนโหมโรงเย็น และ หยุดบรรเลงที่เพลงเสมอ ครูผู้ทําพิธีก็กล่าวนมัสการตามพิธีแล้วจุดเทียน อีกเล่ม ติดตรงปลายไม้คาบหนังอันหน้าของรูปพระอิศวร พระนารายณ์ และรูปทศกัณฐ์ซึ่งอยู่ตรงปลายศรพอดี พวกนักแสดงโห่ขึ้นสามลา ปี่ พาทย์บรรเลงเพลงเชิด ผู้เป็นครูเอาหนังรูปฤาษีเก็บเข้าโรง คนเชิดหนัง 2 คนจับหนังพระอิศวรพระนารายณ์และหนังทศกัณฐ์ขึ้นเชิดออกมาพ้น จากจอ ทําท่าทางสัก 2 -3 ท่าไม่มากนัก จะเป็นแบบท่าของตัวพระ ไม่มี การเต้น ไม่มีการเก็บเท้าแบบยักษ์และลิง แล้วนําหนังเจ้าเข้าทาบจอดัง เดิม ปี่พาทย์หยุดบรรเลงเพลง คนพากย์เริ่มพากย์ ไหว้ครู 3 ตระ ซึ่งมี 3 ทวยด้วยกัน การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 12
ประวัติของหนังใหญ่ วัดขนอน
2.1 วัดขนอน วัดขนอนตั้งอยู่ริมแม่น�้ำแม่กลอง ด้านหน้าจดแม่น�้ำ ด้านหลังจดถนน ลูกรัง มีเนื้อที่ประมาณ 20 ไร่ อยู่ที่ตําบลสร้อยฟ้า อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี อยู่ห่างจากตัวอําเภอประมาณ 2 กิโลเมตร ตามถนน คันคลองชลประทาน แล้วเลี้ยวเข้าถนนลูกรังอีกประมาณ 1 กิโลเมตร วัดขนอนอยู่ทางขวามือของถนน ผู้ ให้ความสนับสนุนการแสดงหนัง ใหญ่ตลอดมาคือ พระอิการจวน กนฺตจิตโต ภายหลังเปลี่ยนเจ้าอาวาส หลายครั้ง ทําให้การสนับสนุนหนังใหญ่ขาดความต่อเนื่อง ที่บริเวณวัด มีโรงเรียนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดด้วย และมีที่พักสําหรับผู้ที่ ต้องการไปพัก ท่านพระครูศรัทธาสุนทร (หลวงปู่กล่อม) อดีตเจ้าอาวาส วัดขนอน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2341 มรณภาพเมื่อ พ.ศ. 2485 เป็นผู้เริ่ม สร้างหนังใหญ่ขึ้นราว พ.ศ. 2420 – 2430 ในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือประมาณ 120 ปีมาแล้ว เนื่องจากมี ความสนใจด้านการช่าง ที่วัดมีหนังเป็นตัวอยู่บ้างแล้ว คือหนังเดี่ยวตัว ไม่ ใหญ่ เรียกว่า “หนังกลาง” ประกอบกับมีนายอั๋งผู้เคยเป็นโขนคณะ ของพระแสนทองฟ้าเจ้าเมืองราชบุรีมาชวนให้ท�ำหนังใหญ่เป็นสมบัติ ของวัด หลวงปู่กล่อมจึงได้ชวนช่างจาด ช่างจ๊ะ ชาวราชบุรี และช่างพ่วง ชาวบ้านโป่งมาร่วมกันท�ำตัวหนัง โดยครูอั๋งเป็นช่างเหล็ก และอีก 3 คน เป็นช่างเขียน ท่านพระครูจะเป็นผู้บอกว่า ใครควรจะเป็นผู้เขียนรูปตัวใด หนังชุดแรกที่สร้างคือชุดหนุมานถวายแหวน ต่อมามีการสร้างหนังใหญ่ เพิ่มเติม ชุดที่สองช่างจ๊ะเป็นผู้เขียนและสลักแต่เพียงผู้เดียว หลังจากนั้น มีการสร้างต่อมาอีกหลายชุด ชุดสุดท้ายคือชุดทศกัณฑ์สั่งเมือง รวมมีตัว หนังทั้งหมดประมาณ 330 ตัว ทางวัดจึงเก็บรักษาไว้ และได้ท�ำตัวหนัง ใหญ่ชุดใหม่มาเล่นแทน โดยมีชุดต่างๆดังนี้ 1. ชุดหนุมานถวายแหวน 2. ชุดสหัสสกุมารและเผาลงกา 3. ชุดศึกอินทรชิตครั้งที่ 1 4. ชุดศึกมังกรกัณฐ์ 5. ชุดศึกวิรุญมุข
6. ชุดนาคบวช 7. ชุดพรหมาสตร์ 8. ชุดศึกทศกัณฐ์ครั้งที่ 5 9. ชุดหนุมานอาสา 10. ชุดทศกัณฐ์สั่งเมือง 11. ชุดศึกบรรลัยกัลป์ การที่วัดขนอนสร้างหนังใหญ่ได้มาก เป็นเพราะชาวบ้านมี ศรัทธา นําหนังวัวมาถวายวัดชาวบ้านใช้วัวทํานา เมื่อวัวตายจะแล่หนัง มาให้วัดทําหนัง เมื่อมีหนังวัวจ�ำนวนมาก วัดจึงเสร้างหนังใหญ่ได้มาก และมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ บางตัวสูง 2 เมตร กว้าง 1 เมตรครึ่ง ปัจจุบัน ตัวหนังได้หายไปบ้าง ชํารุดบ้าง บางตัวก็ฆ่าไม่ลง (ย่น) บางตัวยังไม่เคย ออกแสดง หนังใหญ่ทั้งหมดถือเป็นสมบัติของวัดวัดขนอน คณะหนัง ใหญ่จะเป็นชาวบ้านในละแวกนั้นซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทํานา อยู่ ในความ อุปถัมภ์ของวัด ถ้ามีผู้ต้องการหาไปเล่นต้องไปติดต่อกับวัดทางวัดจะจัด และรับผิดชอบ ทุกอย่าง รายได้จะเป็นของวัด ใช้ทุนบํารุงวัดและคณะ หนัง นายลออ ทองมีสิทธิ์ เป็นทั้งครูหนังและนายหนังตลอดมา และ เพิ่มเสียชีวิตไปเมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ร่วมคณะมีประมาณ 25 คน นายลออเป็น ผู้พากย์หนังที่ยังไม่มีผู้ ใดสามารถเท่า โดยเฉพาะเป็นผู้จดจําบทได้แม่นยํา และมีบทพากย์ ไว้เกือบครบทุกชุด ปัจจุบันได้มอบให้เป็นลิขสิทธิ์ของสํานัก เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับหนังใหญ่วัดขนอน นาย ละออเป็นผู้จดจําและเล่าไว้เป็นหลักฐานให้คนรุ่นหลังได้ทราบ เดิมผู้พากย์หนังคนแรกคือครูอั๋ง คืออาของนายละออ ชื่อเพิ่มเดิมเป็น หมื่นพินิจอักษร เสมียนของพระแสนทองฟ้า นายเพิ่มได้หัดให้นายลออ พากย์หนังต่อมาผู้เชิดสมัยก่อนคือครูบก (ซึ่งพากย์ด้วย) เป็นครูของผู้เชิด รุ่นต่อๆ มาจนทุกวันนี้ เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 การแสดงหนังใหญ่ได้หยุดไป เพราะสภาวะบ้านเมือง ไม่มี ใครดูแลรักษาตัวหนัง เนื่องจากท่านพระครู ศรัทธาสุนทรมรณภาพ ตัวหนังถูกทิ้งอยู่กับดินใต้ถุนกุฏิเมื่อสงครามเลิกมี ชาวต่างประเทศมาพบ เข้าจึงได้จัดการเอากลับมาเก็บบนกุฏิอีกครั้ง การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 13
ปัจจุบันผู้แสดงหนังใหญ่วัดขนอนเป็นชุดใหม่ซึ่งศึกษาต่อมาจากครูเก่า นายจาง กลั่นแก้วซึ่งเป็นลูกศิษย์ของครูบก เป็นผู้ฝึกซ้อมเด็กรุ่นใหม่ คน พากย์คือนายประสบ วงศ์จีน และนายวุ้น ขังเกศ ซึ่งเรียนพากย์จากนาย ลออ ผู้เชิด ส่วนใหญ่เป็นเด็กกําพร้าที่ทางวัดเลี้ยงไว้ วัดขนอนเป็นแห่งเดียวที่มีหนังจํานวนมากที่สุด และมีตัวหนัง ครบเป็นเรื่อง และมีการเล่นกันอยู่จนทุกวันนี้ แต่นับวันก็จะได้เล่นน้อย ลงไม่ค่อยได้เล่นตอนยาวๆต่างจังหวัดทางภาคใต้นิยม จ้างมากกว่าที่ อื่น นอกจากนี้ก็มีการแสดงบทสั้น ๆ สาธิตให้ผู้ที่ต้องการดู หรือเพื่อการ ศึกษา 2.2 ชุดหนังใหญ่ วัดขนอน หนังใหญ่วัดขนอนทั้งหมดแต่ละชุดมีความยาวต่างกัน ตอนที่ ยาวมาก คือ หนุมานถวายแหวน ซึ่งเริ่มเรื่องตั้งแต่พระรามใช้ ให้หนุมาน องคต ชมพูพานไปสืบมารดา เพื่อทราบหนทางไปเมืองลงกาและฝาก แหวนกับสไบไปให้นางสีดา จากนั้นก็ดําเนินเรื่องเป็นตอนย่อย ๆ ติดต่อ กันไป คือ ตอนพบยักษ์ปักหลั่น หนุมานเข้าปราสาทนางบุษมาลี พญา นกสัมพาที นางผีเสื้อสมุทร อากาศตะไล ลองดีพระนารถฤาษี เข้าสวน ถวายแหวน จนถึงศึกสหัสสกุมาร และเผาลงกา เป็นตอนสุดท้ายของเนื้อ เรื่องชุดนี้ บางชุดเป็นตอนสั้น ๆ และไม่สัมพันธ์กับชุดอื่น เช่นศึกบรรลัยกัลป์ เพราะข้ามไปจับเนื้อเรื่องหลังจากทศกัณฐ์ตายไปนานแล้ว ชุดอื่น ๆ แต่ละชุดมักมีเรื่องต่อเนื่องกัน เช่นตอนศึกทศกัณฐ์ ครั้งที่ 5 ชุดหนุมาน อาสา และชุดทศกัณฐ์สั่งเมือง ส่วนชุดศึกมังกรกัณฐ์ ศึกวิรุญมุข และ นาดบาศ จะมีเนื้อเรื่องที่เกี่ยวพันกันโดยตลอด และต่อด้วยตอนศึกพร หมาสตร์ เป็นอันจบเรื่องที่เกี่ยวด้วยอินทรชิต หนังบางตอนไม่เคยนําออกแสดง เช่น ตอนศึกวิรุณมุข ซึ่ง แทรกอยู่กับตอนนาดบาศ อาจเป็นเพราะจําบทกันไม่ได้ มีแต่บทเก่าของ นายละออ ซึ่งใช้ตัวอักษรแบบเก่าอ่านยาก ผู้เล่นรุ่นใหม่จึงอ่านไม่ค่อยจะ ได้ ใช้แต่วิธีท่องจําก็อาจลืมได้ง่าย บางตอนไม่กล้าเล่นกันเพราะคิดว่าครู แรง คือ ตอนทศกัณฐ์สั่งเมือง ถ้าจะเล่นก็ต้องเชิญนายลออครูหนังเป็นผู้ มาเลือกตัวหนังและเป็นผู้พากย์ หลังจากนายลออเสียชีวิตแล้ว ไม่มีผู้ ใด กล้านําหนังตอนนี้มาแสดงอีก ชุดที่นิยมเล่นกับมาก คือชุดหนุมานถวาย แหวน ถ้าไปเล่นในงานศพ มักจะเล่นตอนหนุมานเผาลงกา ซึ่งต่อเนื่อง กับตอนหนุมานถวายแหวน ชุดเบิกโรงคือชุดจับลิงหัวคํ่า ซึ่งมีตัวหนังชุด นี้อยู่ประมาณสิบกว่าตัว มีทั้งหนังจับใหญ่และหนังจับเล็ก ตัวหนังใหญ่วัดขนอนมีครบทุกประเภท ตั้งแต่หนังครูไปจนถึง หนังเบ็ดเตล็ด ตลอดจนหนังเดี่ยวขนาดเล็กและกลาง เป็นรูปตัวตลก ยักษ์และลิง ซึ่งจะเข้ามาเสริมบทในแต่ละชุด เพื่อออกแนวตลกบางตอน ลักษณะของตัวหนังมีความงดงามมากทั้งลวดลายที่วิจิตร และสีซึ่งระบาย สีแดง เหลือง น�้ำเงิน ดํา และเขียว ลายไทยสี่สลักมีความอ่อนช้อย จังหวะช่องไฟ การจัดองค์ประกอบภาพดูสวยงามกลมกลืน เมื่อต้องแสง ไฟ จะยิ่งสวยอย่างประหลาด
2.3 บทพากย์และเจรจาประกอบการเล่นหนังใหญ่ วัดขนอน บทเก่าซึ่งใช้กันมาแต่เดิม ซึ่งเป็นของนายลออ ทองมีสิทธิ์ แต่งโดยหมื่นพินิจอักษร (เพิ่ม ทองมีสิทธิ์) คัดลอกโดยเหมื่นนรากร (เลื่อง ทองมีสิทธิ์) ส่วนใหญ่จะเล่นตามบทเก่านี้บ้าง ใช้บทละครพระราช นิพนธ์รัชกาลที่ 2 บ้าง บทเก่าที่เหลืออยู่ไม่ครบทุกชุด บางชุดไม่สมบูรณ์ ชุดไหนไม่ ใคร่ ได้เล่น บทพากย์ที่ได้จําตกทอดกันมาก็เลือนรางไป บทบาง ชุดมีเนื ้อเรื่ องแตกต่างไปจากพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 บ้าง เช่น ตอน ศึกอินทรชิต ครั้งที่ 1 อินทรชิตต้องศรพระลักษมณ์ ร.1 เป็นศรพลาย วาต แต่บทวัดขนอนเป็นศรอนันตจักรวาลและเมื่อโดนศรแล้วอินทรชิต หนีกลับลงกา บทของ ร.1 มีว่าอินทรชิตร่ายเวทและลูบที่แผลจนศรหลุด แต่บทวัดขนอน อินทรชิตไปหานางมณโฑ ๆ ให้กินนมจากเต้าศรจึงหลุด ออกได้เพื่อเน้นถึงพระคุณมารดา บทพากย์เจรจาทุกตอน สรุปได้ว่ามีเนื ้อความที่ดําเนินตามพ ระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 เกือบทั้งหมดในยุทธกัณฑ์ พระราชนิพนธ์รัชกาล ที่ 6 เฉพาะตอนท้ายชุดนาดบาศ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 ตอนพากย์ เอราวัณ และบางตอนได้เสริมแต่งเองตามสังคมท้องถิ่น สําหรับบทพากย์ที่หายไป ได้แก่ตอนศึกวิรุญมุขจนถึงพระลักษมณ์ต้องศร นาดบาศ ชุดหนุมานถวายแหวน16 ทั้งหมด เหลือเฉพาะตอนหนุมาน เข้าปราสาทนางบุษมาลี ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชุดนี้ชุดพรหมาสตร์ ตอนท้ายบทขาดหายไป ชุดทศกัณฐ์สั่งเมืองไม่มีบทตอนจบ
2.4 การถือโชคลาง ผู้แสดงหนังใหญ่ทุกคนถือการไหว้ครูเป็นสิ่งสําคัญที่ขาดไม่ได้ ถ้าการไหว้ครูไม่ได้ทําครบพิธีเขาจะไม่ยอมเล่น การแสดงตอนตาย หรือ ที่เรียกตามภาษาหนังว่า “ล้ม” นั้น ไม่เคยมีมาก่อน เช่น ตอนทศกัณฐ์ ล้มในชุดทศกัณฐ์สั่งเมือง ผู้เล่นถือกันว่าจะมีอันเป็นไป ถ้าทําผิดประเพณี การเล่นหนังดังกล่าวจึงไม่มี ใครกล้าลองดี แม้แต่ตอนตัวละครสลบ ก็ต้อง ให้ฟื้นก่อน เช่น ตอนพระลักษมณ์ถูกศรนาคบาศ จะหยุดเล่นตอนนั้นไม่ ได้ ต้องเล่นให้ถึงตอนฟื้นก่อนจึงจะหยุดได้ หนังตอนสําคัญ เช่น ตอนทศ กัณฐ์สั่งเมืองคนเล่นหนังในปัจจุบันยังไม่กล้าเล่น เพราะ “ครูแรง” ต้อง เชิญให้ครูหนังเป็นผู้เล่นและพากย์ ชาวคณะหนังใหญ่วัดขนอนเชื่อว่าครู หนังสิ้นชีวิตไปแล้วยังอยู่คุ้มครองรักษา ถ้าเคารพกราบไหว้จะเกิดสวัสดิ ถ้าผู้ ใดทําผิดก็จะมีอันเป็นไป เพราะเคยมีผู้ขโมยหนังใหญ่หนีไปไม่สําเร็จ ต้องจมน�้ำตายในแม่น�้ำแม่กลองหน้าวัด การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 14
2.5 การแสดงหนังใหญ่ วัดขนอนในปัจจุบัน
การตั้งเสาปักจอ ตั้งเสาปักจอบนพื้นดิน ที่กว้างขวางพอจอเป็นแบบหนังใหญ่โบราณ ไม่มี ลวดลายเป็นฉากประกอบ พื้นผ้าขาว ขอบแดง ด้านหลังจอปูเสื่อเพื่อเป็น ที่เรียงตัวหนัง และสําหรับผู้เชิดแต่งตัวรอการแสดง การให้แสง ปัจจุบันใช้ ไฟฟ้าแบบสปอร์ตไลท์ส่องข้างหลังแทนไฟไต้และไฟ กะลา ซึ่งสะดวกกว่าการเผากะลาต้องเตรียมงานมาก ผู้คุมการป้อนเชื้อ เพลิงต้องชํานาญในการคุมแสงให้พอดี ต้องใช้กะลามากซึ่งหาได้ยาก อีก อย่างหนึ่ง ไฟกะลาทําให้จอดําได้ง่าย จึงใช้ ไฟสปอร์ตไลท์ 5 - 7 ดวงแทน ซึ่งได้แสงไฟสว่างพอดี แต่แสงแข็งไม่เรืองและพลิ้วไหว อันจะทําให้หนัง สวยงามมีชีวิตชีวา เหมืองไฟกะลา การเตรียมตัวหนัง ผู้เตรียมตัวหนัง เรียกว่า คนออกหนัง หรือคนจัดหนัง จะ เตรียมเรียงลําดับหนังวางไว้ ให้เรียบร้อยบนเสื่อหลังจอ คอยส่งตัวหนัง ให้คนเชิดได้ถูกต้องตามบทพากย์ หนังใหญ่วัดขนอนมีนายบุญมี เทียม จินดาเป็นคนออกหนัง
พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ วัดขนอน เป็นโครงการตามพระราชดําริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ผู้ก่อตั้งโครงการอนุรักษ์หนังใหญ่คือ ท่านพระครู ศรัทธาสุนทร อดีตเจ้าอาวาสวัดขนอน ลักษณะเป็นเรือนไทยเก็บรักษาตัว หนังใหญ่ ภายในเป็นที่จัดแสดงตัวหนังใหญ่ที่อนุรักษ์ ไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาล ที่ 5 มีทั้งหมด 313 ตัว หนังใหญ่คนละชุดกับที่แสดงปัจจุบัน(เนื่องจาก สมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระราชดําริให้ทางวัดช่วยอนุรักษ์หนังใหญ่ทั้ง 313 ตัวไว้ จัดทําชุดใหม่ขึ้นมาไว้แสดงแทน) ภายในพิพิธภัณฑ์ยังจัดแสดงเครื่องมือ และอุปกรณ์ โบราณ ที่ ใช้ ในการแกะสลักตัวหนัง และมีของที่ระลึกให้ซื้อกลับไปฝาก และราย ได้ช่วยสนับสนุนการอนุรักษ์หนังใหญ่ของทางพิพิธภัณฑ์วัดขนอนอีกด้วย ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมทางพิพิธภัณฑ์มีเอกสารประชาสัมพันธ์ ให้ สามารถ หยิบไปอ่านเพิ่มเติมได้ หนังใหญ่วัดขนอน อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เป็นหนัง ใหญ่ที่เหลือไว้ ให้ศึกษาและชมอย่างครบชุด หนังใหญ่เป็นมหรสพที่เก่า แก่และได้รับการยกย่องว่าเป็นการละเล่นชั้นสูงของไทย เป็นที่รวมศิลปะ หลายแขนงไว้ ในเรื่องเดียวกันไว้ครบถ้วน การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 15
การอนุรักษ์ วัดขนอน มีส่วนสําคัญยิ่งต่อการอนุรักษ์หนังใหญ่ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน ทางวัดได้ร่วมกับภาครัฐและเอกชน ในการนําหนังใหญ่วัด ขนอนนี ้ไปแสดงเผยแพร่ ยังที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมา แล้วหลายครั้ง ในปี พ.ศ.2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี องค์อุปถัมภกมรดกไทย ทรงเห็นคุณค่าในการแสดงและศิลปะ หนังใหญ่ ทรงมีพระราชดําริให้ทางวัดช่วยอนุรักษ์หนังใหญ่ทั้งสิ้น 313 ตัว และจัดทําหนังใหญ่ชุดใหม่ขึ้นแสดงแทน โดยมีมหาวิทยาลัยศิลปากร รับผิดชอบงานช่างจัดทําหนังใหญ่ทั้งหมด ได้นําหนังใหญ่ชุดใหม่ที่สร้าง นี้ทูลเกล้าถวาย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2538 ณ โรงละครแห่งชาติ และ ทรงพระราชทานให้ทางวัดขนอนนํามาใช้ ในการแสดงต่อไป ปัจจุบัน ทางวัดได้จัดพิพิธภัณฑ์สถานแสดงนิทรรศการหนัง ใหญ่ เปิดให้ประชาชนและผู้สนใจเข้าร่วมชมศึกษา พร้อมทั้งการสาธิต การแสดงหนังใหญ่ ตลอดจนการฝึ กเยาวชนให้เรียนรู้และสืบทอดศิลป วัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ครบทุกกระบวนการ เพื่อสนองโครงการตามพ ระราชดําริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สืบต่อไป นอกจากนี้ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมของยูเนสโกประกาศ ให้ “การสืบทอดและฟื้นฟูหนังใหญ่วัดขนอน” ได้รับรางวัลจาองค์กร การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) และได้รับการยกย่องให้เป็น1 ใน 6 ชุมชนดีเด่นของโลก ที่ มีผลงานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมเชิงนามธรรม โดยเมือวันที่ 8 - 11 มิถุนายน 2550 องค์กร ACCU (Asia - Pacific Cultural Centre for UNESCO) ได้จัดมอบเหรียญรางวัล เกียรติบัตรและมีการสัมนาแลก เปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้แทนชุมชนต่าง ๆ ที่ได้รับรางวัล และบรรดาผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมและคณะกรรมการของยูเนสโก ณ โรงแรมโตเกียวไดอิชิ เมืองซึรุโอกะ จังหวัดยามากาตะ ประเทศญี่ปุ่น จากเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของหนังใหญ่ ท�ำให้เกิดการศึกษา เกี่ยวกับหนังใหญ่ ในบริบทต่างๆ ขึ้น ทั้งในส่วนของประวัติความเป็น มา วิวัฒนาการของการสลักหนัง กรรมวิธี เครื่องมือที่ ใช้ ในการแกะ ตัว ละคร วิธีการ และเครื่องดนตรีที่ ใช้ประกอบการแสดง จากการศึกษา ข้อมูลหนังใหญ่โดยละเอียด จนเกิดเป็นประเด็นที่สามารถถ่ายทอดสู่งาน ออกแบบได้อย่างโดดเด่น ซึ่งเกิดจากการศึกษาลักษณะต่างๆ ของหนัง ใหญ่ ทั้งในส่วนของลักษณะเด่น คุณค่าเชิงรูปธรรมและนามธรรม จะ เห็นได้ว่า ในด้านรูปแบบ องค์ประกอบศิลป์ และเอกลักษณ์ความเป็น ไทย ที่สามารถน�ำมาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเป็นผลงานออกแบบ สร้างสรรค์ และสามารถน�ำองค์ประกอบทางการออกแบบเหล่านี้มาเป็น ข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับศึกษาเกี่ยวกับหนังใหญ่สามารถใช้ประโยชน์ ต่อไปได้ ในอนาคตซึ่งเรื่องราว ลวดลาย ความงดงาม ความวิจิตรของ หนังใหญ่ วัดขนอนนี้ ล้วนแฝงไว้ซึ่งจิตวิญญาณของชาวราชบุรี และ เอกลักษณ์ ไทย การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 16
3. ความหมายของวัฒนธรรม
“วัฒนธรรม” หมายความว่า “ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญ งอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของ ชาติ และศีลธรรมอันดีงามของประชาชน” เป็นค�ำที่เกิดขึ้นในภาษาไทย ในสมัยที่รัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ค�ำเดิม เป็นภาษาอังกฤษ คือ “Culture” วัฒนธรรมเป็นส่วนประกอบที่สลับซับ ซ้อนทั้งหมดของลักษณะอันชัดเจนของจิตวิญญาณวัตถุ สติปัญญา และ อารมณ์ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นสังคมหรือหมู่คณะ วัฒนธรรมมิได้หมาย ถึงเฉพาะเพียงศิลปะและวรรณกรรมเท่านั้นแต่หมายถึงฐานนิยมต่าง ๆ ของชีวิต สิทธิพื้นฐานต่างๆ ของมนุษย์ ระบบค่านิยมขนบธรรมเนียม ประเพณีและความเชื่อ วัฒนธรรมจึงแสดงให้เห็นได้ ในลักษณะ ต่าง ๆ เช่น ความดี ความงาม และความเจริญในชีวิตมนุษย์ซึ่งปรากฏในรูป ธรรมต่างๆ และได้ตกทอดมาถึงเราในปัจจุบันเป็นแบบอย่างหรือการ ด�ำรงชีวิตของกลุ่ม ซึ่งสมาชิกเรียนรู้ถ่ายทอดกันไปด้วยการอบรมสั่งสอน ทั้งทางตรงและทางอ้อมหรือหมายความง่าย ๆ ว่าแบบแผนชีวิตความ เป็นอยู่ของชนกลุ่มหนึ่งในขณะใดขณะหนึ่งเป็นวิถีชีวิตการปฏิบัติและ สิ่งของที่เป็นผลมาจากการสะสมถ่ายทอดจากกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งไปสู่รุ่น ถัด ๆ ไปเพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์หรือเครื่องบ่งชี้ความเป็นกลุ่มชน ของกลุ่มบุคคลนั้น ๆ เป็นวิถีการด�ำเนินชีวิตของสังคมเป็นแบบแผนการ ประพฤติปฏิบัติและการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมเดียวกันสามารถแก้ ไขและซาบซึ้งร่วมกัน
วัฒนธรรมไทย เป็นวิถีชีวิตที่คนไทยได้เลือกสรรปรับปรุงแก้ ไข จนถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงามเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและได้ ใช้เป็นเครื่อง มือหรือเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ ไขปัญหาในสังคมซึ่งสังคมจะ ต้องปรับและรักษาไว้ ให้เจริญงอกงาม เกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติ ร่วมกันเป็นแนวเดียวกันอย่างต่อเนื่องของสมาชิกในสังคมสืบทอดเป็น มรดกทางสังคมต่อจากอดีตหรืออาจเป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้นสร้างสรรค์ ขึ้นใหม่หรืออาจรับเอาสิ่งที่เผยแพร่มาจากสังคมอื่น ๆ ทั้งหมดนี้หาก สมาชิกยอมรับและยึดถือเป็นแบบแผนประพฤติปฏิบัติร่วมกันก็ย่อมถือว่า เป็นวัฒนธรรมของสังคมนั้น กล่าวโดยสรุปวัฒนธรรม หมายถึง ความ เจริญงอกงามซึ่งเป็นผลมาจากระบบความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ มนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จ�ำแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ จิตใจ สังคม และวัตถุ มีการสร้างสมและสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไป สู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่งจนกลายเป็นแบบแผน ที่สามารถเรียนรู้และก่อให้เกิดผลิตกรรมและผลิตผลทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรมอันควรแก่การวิจัยเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ถ่ายทอด ส่ง เสริม เสริมสร้างเจตทัศนะ และแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างดุลยภาพระหว่าง มนุษย์ สังคม และธรรมชาติซึ่งจะช่วยให้มนุษย์สามารถด�ำรงชีพอย่าง มีสันติภาพ สันติสุข และอิสรภาพอันเป็นพื้นฐานแห่งอารยธรรมของ มนุษย์ วัฒนธรรมจ�ำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุธรรม (Material Culture) เป็น วัฒนธรรมที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นของมนุษย์ที่สามารถน�ำมาใช้เพื่อ อ�ำนวยความสะดวกสบายต่อการด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน อันได้แก่ เครื่อง มือ เครื่องใช้สอย อาคารก่อสร้าง ที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งกาย เครื่องยนต์ กลไก งานจิตรกรรม เครื่องมือสมองกล เป็นต้น 2. วัฒนธรรมที่ไม่เป็นวัตถุธรรม (Nonmaterial Culture) เป็นวัฒนธรรมที่ไม่มีรูปร่างเป็นตัวตนเป็นนามธรรมอันประกอบด้วย บรรทัดฐาน ค่านิยม และความเชื่อต่าง ๆ ที่ผสมผสานอยู่ ในวิถีชีวิต ของมนุษย์ จากความหมายและขอบข่ายดังกล่าววัฒนธรรมจึงมีขอบข่าย ครอบคลุมความคิด ความเชื่อ วิถีปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมประเพณี การ ปฏิบัติต่อกันของคน และผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นและสั่งสมทั้งที่เป็นศิลป หัตถกรรมและภูมิปัญญาชาวบ้าน ในการศึกษาครั้งนี้จะเน้นวัฒนธรรมที่ เป็นศิลปะ หัตถกรรมพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 17
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ ทฤษฎีคุณค่า หรือ คุณวิทยา เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่ว่าด้วยธรรมชาติของคุณค่า อันกล่าวถึงอุดมคติต่างๆในด้านความ จริง ความดี ความงาม และความบริสุทธิ์ทางจิตใจ ซึ่งการมีความรู้สึกซาบซึ้งในคุณค่าต่างๆนี้ เป็นลักษณะพิเศษของมนุษย์ คุณค่าเป็นสิ่ง นามธรรมมีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่จะเข้าใจและซาบซึ้งได้ สุนทรียะ หมายถึง สิ่งที่เกี่ยวกับความนิยม ความงาม สุนทรียภาพ หมายถึง ความรู้สึกถึงคุณค่าของสิ่งที่งาม และความเป็น ระเบียบขององค์ประกอบทางศิลปะ สุนทรียศาสตร์จึงหมายถึง วิชาที่ว่าด้วยความนิยมและความงาม ซึ่งความงามนั้นเป็นลักษณะพิเศษของสิ่ง ใดสิ่งหนึ่ง ที่แสดงออกมาอย่างเด่นชัดเพื่อการรับรู้ทางประสาทสัมผัส หรือน�ำไปสู่การสร้างภาวะแห่งการสร้างอารมณ์ต่างๆของผู้ที่เกี่ยวข้อง อารี สุทธิพันธ์ (2535 : 222 - 223) กล่าวว่าส่วนประกอบของสุนทรียะจะประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
ความสัมพันธ์ระหว่างระบบคุณค่ากับภูมิปัญญาไทย ระบบคุณค่ามีความสัมพันธ์กับภูมิปัญญาไทยอย่างแนบแน่น เพราะภูมิปัญญาไทยเป็นประสบการณ์ที่สั่งสมจากการที่มมนุษย์ ในวัฒน ธรรมหนึ่งๆเคยสัมผัสกับธรรมชาติ สัมผัสกับในหมู่มนุษย์เอง และสัมผัส กับสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติ เมื่อมีประสบการณ์กับสิ่งเหล่านี้แล้วเพื่อความ อยู่รอด เพื่อความสวัสดี เพื่อความมั่นคง และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตใน สังคมและชาติพันธ์นั้นๆจึงเกิดปัญญาขึ้น (เอกวิทนย์ ณ ถลาง 2540 : 1) ดังนั้น การมองการแสดงหนังใหญ่ก็เช่นเดียวกัน คือ หนัง ใหญ่ ไม่ได้เป็นเพียงมหรสพเพื่อความบันเทิงเท่านั้น แต่หากใช้แนวคิด เกี่ยวกับระบบคุณค่าและภูมิปัญญาไทยเพื่อให้เห็นคุณค่าที่เป็นองค์รวม จึงสามารถพิจารณาคุณค่าของหนังใหญ่ ออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านบุคคล และด้านสังคม ด้านบุคคล ได้แก่ ทักษะความรู้ สติปัญญา ความคิด การแก้ ปัญหา อารมณ์ บุคลิกภาพ เจตคติที่ดีต่อศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ด้านสังคม ได้แก่ การศึกษา การแลกเปลี่ยน จริยธรรม ศิลปกรรม ความงาม ความคิดสร้างสรรค์ อัตลักษณ์ ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์สัญลักษณ์ (Symbolic Interaction) ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์สัญลักษณ์ เริ่มด้วยความคิดเรื่องการกระ ท�ำระหว่างกัน (Interaction) และสัญลักษณ์ (Symbols) ซึ่งเป็นหัวใจแล้ว
จึงขยายวงออกไปถึงมนุษย์แต่ละคน ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ สังคมและสภาพของสังคมมนุษย์ ทฤษฎีนี้นับเป็นทฤษฎีประเภทจุลภาค (Micro) เพราะให้ความส�ำคัญต่อมนุษย์แต่ละคนเรียกสั้นๆว่าทฤษฎี สัญลักษณ์ ซึ่งเน้นแนวคืดเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับสัญลักษณ์ แนวคิด นี้จะตั้งค�ำถามว่า “อะไรคือสัญลักษณ์พื้นฐาน ที่ท�ำให้มนุษย์เกิดความ เข้าใจ” สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2545 : 122 - 123) Symbolism สัญลักษณ์นิยม คือ สิ่งที่ ใช้แทนสิ่งอื่นได้หลายอย่าง การเข้าใจสัญลักษณ์ อย่างหนึ่งต้องอาศัยการตีความจากความหมายที่ตกลงกันทั่วไป มนุษย์ เป็นสัตว์ที่รู้จักการใช้สัญลักษณ์เพื่อสร้างบ�ำรุงรักษา และพัฒนาความ สัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม และมนุษย์ยังใช้สัญลักษณ์ ในการ ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้มนุษย์รุ่นหลัง การกระท�ำระหว่างสังคมนั้น จะต้องมีการใช้สัญลักษณ์ (Symbol) สื่อความหมายระหว่างกัน เช่น การโฆษณาสินค้า ใช้ภาษา รูปภาพ ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. กับ นาย ข. คุยกัน เขาก็ต้องใช้ภาษา สื่อความหมายกันประกอบกับกิริยาท่าทางซึ่งสื่อความหมายถึงกันได้ ดัง นั้นการกระท�ำระหว่างกันทางสังคมจึงต้องเป็นการกระท�ำระหว่างกันทาง สัญลักษณ์ (Symbolic Interaction) การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 18
ภูมิทัศน์ถนนและอุปกรณ์ประกอบถนน (Streetscape and Street Furniture)
ภูมิทัศน์ถนนมีความผูกพันกับวิถีชีวิตคนเมืองมานานนับแต่ การสัญจรทางบกได้เริ่มขึ้น เมื่อกล่าวถึงภูมิทัศน์ คนทั่วไปจะนึกถึงพื้นที่ หนึ่งที่มนุษย์รับรู้ด้วยตาเป็นหลัก หรือการใช้ โสต เพื่อรับรู้พื้นที่ที่ประกอบ ด้วยธรรมชาติ (แผ่นดิน น�้ำ ต้นไม้ และสัตว์) เมื่อพิจารณาต่อในส่วนที่ มนุษย์สรรค์สร้างจะพบว่ามีหลายค�ำด้วยกันตามความส�ำคัญของแต่ละ เรื่อง เช่น ภูมิทัศน์สถาปัตยกรรม ภูมิทัศน์วัฒนธรรม ภูมิทัศน์เมือง และภูมิทัศน์ทางเดิน ฯลฯ ภูมิทัศน์ถนน เป็นสภาพแวดล้อมที่สามารถ มองเห็นได้จากถนนอันเป็นทางสัญจรขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ว่างริม ถนนทั้งที่เป็นสาธารณะ และพื้นที่ส่วนบุคคล เช่น พื้นที่หน้าอาคาร ทาง เดิน ต้นไม้ สาธารณูปโภคและอุปกรณ์ประกอบถนนต่างๆการออกแบบ ภูมิทัศน์ถนนมีความส�ำคัญในการสร้างเอกลักษณ์ของเมืองผู้คนที่สัญจร ด้วยการเดินจะสามารถรับรู้ และเข้าใจรายละเอียดของพื้นที่ได้ดีมากขึ้น อันเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างจินตภาพของเมืองให้จดจ�ำได้ง่ายขึ้น ส่วนประกอบของภูมิทัศน์ถนน (streetscape elements) - พื้นผิวทางเท้า (Pavement) เป็นส่วนที่เด่นชัดที่สุดของส่วน ประกอบภูมิทัศน์ถนน พื้นผิวที่ผ่านมามีการพัฒนาตั้งแต่เทพื้นคอนกรีต มาเป็นวัสดุปูพื้นแบบหน่วยย่อย (unit paving) โดยมีขอบคันถนน (curb) เป็นตัวแบ่งถนนกับทางเท้า - วัสดุพืชพรรณ (Landscape Planting) ต้นไม้ช่วยสร้าง บรรยากาศที่ดีและลดความกระด้างของถนนซึ่งการเลือกใช้ต้นไม้มีปัจจัย หลายอย่าง ได้แก่ ต้นไม้ที่เหมาะกับภาพลักษณ์ถนน สภาพอากาศ แมลง โรค การดูแลรักษา ความกว้างของพูพอนรากเมื่อต้นไม้ โตขนาดของการ แผ่กิ่งก้าน และการสร้างแผ่นปิดหลุมปลูกต้นไม้ (tree grates) ฯลฯ - ระบบแสงสว่างบนถนนและทางเท้า (Street Lighting) ควร ค�ำนึงถึงความสว่างเพียงพอและให้ความปลอดภัยกับทางเท้าและถนนใน เวลาค�่ำคืน ซึ่งต้องพิจารณารายละเอียด คือ ระดับการส่องสว่างต�ำแหน่ง ติดตั้ง และชนิดของไฟฟ้าส่องสว่างทางเท้า - ถนน - อุปกรณ์ประกอบถนน (Street Furniture) มักประกอบด้วย ม้านั่ง เสาเตี้ย ตู้ ไปรษณีย์ ตู้ โทรศัพท์ก๊อกน�้ำดื่ม ภาชนะรองรับขยะ ซุ้ม บริการ จุดจอดรถประจ�ำทาง และป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ (ด�ำรงศักดิ์ สังข์ ทอง, 2549, 29)
อุปกรณ์ประกอบถนน (Street Furniture) หมายถึง วัตถุหรือ สิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่ถูกติดตั้งไว้บนทางสัญจรบนทางเท้า และที่สา ธารณะอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดเอกลักษณ์ของพื้นที่ (Identity) ความ น่าดึงดูด (Attractiveness) และสร้างให้เกิดความประทับใจ (Impression) แก่ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ และผู้มาเยือน อุปกรณ์ประกอบถนนมีความ แตกต่างกันไปตามการใช้งานในแต่ละพื้นที่ ทั้งวัตถุ ประสงค์การใช้งาน ประเภท รูปแบบ และรูปลักษณ์ รวมไปถึงวัสดุและเทคโนโลยีที่ ใช้ ใน การผลิต แต่ ในปัจจุบันอุปกรณ์ประกอบถนนในหลายพื้นที่ยัง ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ ใช้ ได้อย่างแท้จริงทั้งใน ด้านประโยชน์ ใช้สอย เช่น การหลงทางหรือหาจุดหมายปลายทางไม่ พบ ความสกปรกบนทางสัญจร ปัญหาความเมื่อยล้าในการเดินทาง อาชญากรรมและอันตรายต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ ใช้ทางสัญจร และปัญหา ในด้านรูปลักษณ์ เช่น ทางสัญจรขาดความสวยงาม ขาดความน่าดึงดูด ใจ ตัวอุปกรณ์ประกอบถนนเองไม่ แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของพื้นที่ และขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ ปัญหาเหล่านี้ส่วนใหญ่สืบเนื่องมา จากการที่หลายพื้นที่ไม่ ได้มีการศึกษาความต้องการที่แท้จริงของผู้ ใช้หรือ ไม่ ได้มีการเปิดโอกาสให้ผู้ ใช้เข้ามีส่วนร่วมในการวางแผนและออกแบบ อุปกรณ์ประกอบถนนภายในพื้นที่ ตัวอย่างของอุปกรณ์ประกอบถนนที่ดีประเภทม้านั่ง เช่น บน พื้นที่เมืองใหม่ ในรปปงหงิฮิลล์ คือ การรวมเข้ากันของศิลปะสาธารณะ กับงานออกแบบภูมิทัศน์เมือง นักออกแบบทั้ง 11 คนได้วางงานกระจาย บนโครงการภูมิทัศน์ถนนของรปปงหงิ ฮิลล์ นักออกแบบเหล่านี้ ได้ พัฒนาแนวคิดส�ำหรับเฟอร์นิเจอร์สาธารณะที่ว่า“สถานพักผ่อนที่แสวงหา ภาพลักษณ์ของป่าในชีวิตคนเมือง” ซึ่งงานจะแสดงถึงความหลากหลาย ของรูปแบบท�ำให้ผู้พบเห็นรู้สึกว่าก�ำลังถูกเชื้อเชิญให้มีปฏิสัมพันธ์กับ อุปกรณ์เหล่านั้น การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 19
บทที่ 3
วิธีการ ศึกษาค้นคว้า
กระบวนการศึกษา กระบวนการศึกษาเรื่อง การออกแบบอุปกรณ์ถนนหนังใหญ่แสดงอัตลักษณ์จังหวัดราชบุรี ได้ด�ำเนินการตามขั้นตอน จากการค้นคว้าเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการคัดเลือกข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่แบ่งไปตามล�ำดับเนื้อหา แล้วจึงสรุปแนวความคิดที่เป็นเอกลักษณ์ เพื่อน�ำไปใช้ ใน การออกแบบต่อไป
ภาพแสดงขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า
เกณฑ์การเลือกขอบเขตการศึกษา การศึกษาเรื่อง การออกแบบอุปกรณ์ถนนหนังใหญ่แสดงอัตลักษณ์จังหวัดราชบุรี นั้น มีข้อมูลหลากหลายด้านที่หน้าสนใจ ทั้งที่เป็นข้อมูล ทางรูปธรรมและนามธรรมจึงน�ำมาเขียนเป็น Mind Mapping
การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 21
จากภาพแสดงให้เห็นถึงรูปแบบของประเด็นต่าง ๆ ทั้งในด้านนามธรรมที่ว่าด้วยเรื่องคุณค่าและวัฒนธรรม ส่วน ด้านรูปธรรม คือ ศาตร์แห่งศิลป์ที่เป็นองค์ประกอบของหนังใหญ่ เป็นต้น แต่สิ่งที่จะคัดเลือกและมีความน่าสนใจ ที่จะน�ำมาศึกษาออกแบบซึ่งน่าจะมีความเชื่อมโยงกันระหว่างรูปแบบนามธรรมและรูปธรรมกับแนวทางออกแบบ อุปกรณ์ประกอบถนน คือแนวทางในการสร้างเอกลักษณ์งานออกแบบที่สื่อความหมายถึงหนังใหญ่ ในเรื่องของ รูปลักษณ์ลวดลายของตัวหนัง อันมีเอกลักษณ์น�ำมาออกแบบอุปกรณ์ประกอบถนนเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของพื้นที่ จังหวัดราชบุรี เพื่อสร้างให้เกิดความประทับใจแก่ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่และผู้มาเยือน อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็น ถึงคุณค่าของภูมิปัญญาอันเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ เกิดความภาคภูมิใจ ผ่านงาน ออกแบบที่เป็นเครื่องมือในการช่วยถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง และสามารถน�ำ ความคิดด้านคุณค่านี้ ไปประยุกต์ ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ ในการน�ำไปใช้สร้างสรรค์งานออกแบบในรูปแบบต่าง ๆ ได้ อย่างมีระบบ และมีคุณภาพต่อไป 3. การออกแบบการศึกษา จากหัวข้อการศึกษาค้นคว้าเรื่อง หนังใหญ่ ผู้ศึกษาค้นคว้าได้สรุปการศึกษาค้นคว้า ดังนี้ 3.1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องของ ประวัติความเป็นมาของหนังใหญ่ ข้อมูลหนังใหญ่วัดขนอน อุปกรณ์และกรรมวิธีการ สร้างตัวหนัง ความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวกับการแสดง ทฤษฎีทางวัฒนธรรม การออกแบบภูมิทัศน์ถนน เป็นต้น 3.2 การศึกษาการสร้างแนวทางในการออกแบบ เพื่อทราบและก�ำหนดทิศทางในการแนวคิดการออกแบบ 3.3 ศึกษาผลงานตัวอย่างที่เกิดจากการน�ำแนวคิดของหนังใหญ่ที่มีการประยุกต์ ใช้ ในปัจจุบัน เพื่อวิเคราะห์คุณค่า ข้อดี ข้อเสีย แล้วน�ำมา ปรับปรุงพัฒนาสร้างสรรค์เป็นแนวทางในการออกแบบของหัวข้อที่ศึกษา ซึ่งสรุปข้อมูลได้
4. ขั้นตอนในการด�ำเนินการศึกษา 1. ศึกษารวบรวมข้อมูลภาคเอกสาร วิชาการ บทความ งาน วิจัย และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหนังใหญ่ 2. เก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลกลุ่ม ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการศึกษาค้นคว้า พร้อมทั้งสรุปข้อมูล 3. ศึกษาข้อมูลโครงการเปรียบเทียบ (Case Study) เพื่อ วิเคราะห์เป็นแนวทางในการน�ำมาใช้ 4. สรุปผล และวิเคราะห์ข้อมูลจากภาคเอกสาร แล้วน�ำมา สังเคราะห์ข้อมูล 5. น�ำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์ จากกระบวนการค้นคว้า ข้อมูลมาสรุปเป็นข้อมูลส�ำหรับการสร้างสรรค์ผลงาน (Main idea concept) 6. วิเคราะห์ข้อมูล 7. ออกแบบออกแบบอุปกรณ์ประกอบถนน 8. น�ำเสนอผลงาน สรุป และอภิปรายผล
5. แหล่งข้อมูลที่ ใช้ ในการศึกษา 5.1 ข้อมูลปฐมภูมิ ศึกษา ค้นคว้าข้อมูล จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดย รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ ต�ำราวิชาการ ตลอดจนนิตยสาร หรือเอกสาร อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 5.2 ข้อมูลทุติยภูมิ เก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการศึกษาค้นคว้า พร้อมทั้งสรุปข้อมูล ที่ ได้ 6. เครื่องมือที่ ใช้ ในการศึกษา การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เป็นการศึกษาค้นคว้าเชิงเอกสาร ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่ ใช้วิธีการประมวลข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ เพื่อน�ำ วิเคราะห์เปรียบเทียบให้ ได้ผลลัพธ์ตามที่ก�ำหนด การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 22
บทที่ 4
การวิเคราะห์ ข้อมูลและผลการ วิเคราะห์และแรง บันดาลใจ
ในกระบวนการศึกษาเรื่องการศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ถนน ผู้ศึกษาได้ด�ำเนินการค้นคว้าข้อมูลและลงพื้นตามขั้นตอน จึงได้ รวบรวมและสรุปผลการศึกษาก่อนจะน�ำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการออกแบบ ซึ่งแบ่ง ตามหัวข้อได้ดังนี้ 1. การศึกษาด้านรูปธรรม โดยในบทที่ 2 ได้ศึกษาข้อมูลของหนังใหญ่ ทั้งใน เรื่องประวัติความเป็นมา ประเภทของหนังใหญ่ ขั้นตอนในการท�ำหนัง ความเชื่อและ ประเพณีต่างๆ ซึ่งได้วิเคราะห์ออกมาจากความเป็นรูปธรรมของหนังใหญ่ โดยเป็นข้อมูล จากเอกสารทั้งหมด จากการศึกษา พบว่าหนังใหญ่นั้นมีส่วนประกอบด้านรูปธรรมที่สื่อให้เห็นถึง ความเป็นเอกลักษณ์ ได้อย่างชัดเจน ไม่เกิดความสับสนกับหนังตะลุง หรือหนังชวา หรือ หนังประเภทอื่นๆ มีอยู่ 5 ประการ ได้แก่
1. ตัวละครหลัก 2. บรรยากาศฉากหลังประกอบตัวละคร 3. ไม้ตับ 4. รูปร่างวงกลมของตัวหนังใหญ่ 5. ลวดลาย และแสงเงา
ลวดลายพื้นแบบต่างๆของหนังใหญ่ การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 24
2. การศึกษาด้านนามธรรม จากการศึกษาในภาคเอกสารใน ด้านคุณค่า และทฤษฎีทางวัฒนธรรม พบว่าหนังใหญ่เป็นมหรสพที่เก่า แก่ของไทย แต่ ในปัจจุบันหนังใหญ่ไม่เป็นที่นิยมเล่นกันแพร่หลายนัก เนื่องจากค่านิยม และวัฒนธรรมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ด้วยอิทธิพลของอารยะธรรมตะวันตก ซึ่งผลกระทบอย่างหนึ่งของการ พัฒนาสังคมตามกระแสโลก คือ วัฒนธรรมของแตละแห่งที่รับการ เปลี่ยนแปลงในทุกทิศทางนี้จะออนโอนกาวตามกระแสโลกหรือยังเขมแข็ง คงเอกลักษณประจ�ำชาติ ของตนไว ได้หรือไม่ ซึ่งสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนี้จะ ต้องได้รับการยอมรับจากทุกคนในสังคม และท�ำให้ทุกคนมีความคิดเข้าใจ ที่ตรงกันหรือใกล้เคียงกันให้ ได้มากที่สุด
3. การสร้างแนวทางในการออกแบบ จากการสรุปในข้างต้น ผู้ศึกษาเห็นว่า การประยุกต์ ใช้ความคิดและศิลปะและการออกแบบมาสร้างสรรค์เป็นผลงาน เพื่อน�ำ เสนอวัฒนธรรมเก่าที่นับวันจะเลือนหายไปในสังคมปัจจุบัน แนวทาง การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนนที่มีประโยชน์ สามารถใช้งานได้จริง ท�ำให้ วัฒนธรรมหนังใหญ่แต่โบราณไปปรากฏให้เห็นในชีวิตประจ�ำวัน และ ท�ำให้ ไม่รู้สึกขัดแย้ง เกิดความงามทางทัศนียภาพ เกิดการรับรู้ว่าหนัง ใหญ่นี้เป็นสมบัติของชาวราชบุรี เกิดความภาคภูมิใจ และระลึกถึงคุณค่า ของวัฒนธรรม อีกทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัด ราชบุรีและประชาสัมพันธ์หนังใหญ่วัดขนอนได้อีกทางหนึ่ง การเสริม สร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในมิติใหม่ผ่านงานออกแบบสมัยใหม่นี้ จะเป็นการปรับการพัฒนาโดยผสมผสานมิติวัฒนธรรมทั้ง 3 ดาน ใหกล มกลืนอยางเหมาะสม ไดแก ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ การศึกษาข้อมูลของผู้ศึกษาาจึงเป็นการสรุปข้อมูลเพื่อเป็นก รอบในการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นอัตลักษณ์ของหนังใหญ่ ที่สามารถ สื่อได้อย่างชัดเจนและเข้าใจได้ โดยง่าย ในเชิงสัญลักษณ์ของศิลปะการ ออกแบบที่เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมออกสู่ภายนอกเพื่อปลูกฝัง ความภูมิใจแก่คนรุ่นใหม่ จึงสรุปแบบ Key Word ดังภาพที่ 27
การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 25
บทที่ 5
สรุปแนวความคิด และกระบวนการ ออกแบบ
จากกระบวนการศึกษาเรื่องการศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่ การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน ผู้ศึกษาได้ด�ำเนินการค้นคว้าข้อมูลและ ลงพื้นตามขั้นตอน จึงได้รวบรวมและสรุปผลการศึกษาก่อนจะน�ำข้อมูลไป เป็นแนวทางในการออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ถนน ซึ่งได้แนวความคิดเพื่อใช้ ในการสร้างงานออกแบบเป็นม้านั่งต้นไม้ ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้ แรงบันดาลใจในการออกแบบ ลวดลายแสงเงาของหนังใหญ่ สู่การออกแบบ “เฟอร์นิเจอร์ถนนสร้างภูมิทัศน์วัฒนธรรม” แนวความคิด การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ด้วยวัสดุสมัยใหม่ ผสาน ความงามของแสงเงา สร้างบรรยากาศวัฒนธรรมผ่านธรรมชาติของลาย สลักหนัง กระบวนการออกแบบ ต้นไม้หนังใหญ่จ�ำลอง ผู้ศึกษาออกแบบโดยใช้ลวดลายจากลายจากพื้นหลัง ของหนังใหญ่ที่เป็นธรรมชาติน�ำมาออกแบบ เพื่อใช้สร้างเป็นลวดลาย ของต้นไม้หนังใหญ่จ�ำลอง โดยให้มีความรู้สึกเป็นงานหนังใหญ่แบบ เดิมๆ แต่ ใช้วัสดุสมัยใหม่ ในการออกแบบ ดังนี้ 1. แผ่นอะคริลิค ความหนา 6 มิลลิเมตร น�ำมาตัดเป็นรูปทรงต้นไม้ท�ำสีด�ำทึบ เว้นโปร่งบริเวณช่องไฟ ลายฉลุ จ�ำนวน 2 แผ่นต่อต้นไม้ 1 ต้น ประกบหน้า-หลัง โดยภายในมี โครงเหล็กเพื่อความแข็งแรง ทนต่อแรงลม และสภาพแวดล้อมภายนอก 2. สแตนเลสสตีล หุ้มปิดผิวด้านข้าง ท�ำให้เกิดความวาว และท�ำให้เกิดความกลมกลืนกับม้านั่งด้านล่าง 3. โคมไฟแก้วกลม เป็นโคมไฟส่องสว่าง และสร้างบรรยากาศบริเวณงานออกแบบ 4. หลอดไฟ LED ซ่อนอยู่ภายในต้นไม้ เมื่อเปิดไฟ LED ในเวลากลางคืน แสงไฟจะลอดผ่านช่องไฟอะคริลิคที่ เว้นช่องไฟลายฉลุไว้ และพลาสติกจะมีคุณสมบัติน�ำแสงเพื่อให้มีความ สว่างทั่วทั้งต้น ม้านั่ง ผู้ศึกษาออกแบบ เน้นออกแบบให้มานั่งดูทันสมัย โชว์เนื้อของวัสดุให้เห็นแบบชัดเจน มีรูปทรงที่เรียบง่ายไม่ขัดต่อภูมิทัศน์ แวดล้อม ใช้วัสดุสมัยใหม่ ในการออกแบบ ดังนี้ 1. สแตนเลสสตีล ดัดทรงเป็นที่นั่งโค้ง รับไปกับตัวต้นไม้จ�ำลอง โชว์ความสวยงามของเนื้อวัสดุ 2. เหล็กฉลุลาย สร้างเป็นฐานของมา นั่ง น�ำลายพื้นของหนังใหญ๋มาฉลุลายเป็นแพทเทิร์นโดยรอบ 4. หลอดไฟ LED ซ่อนอยู่ภายในฐาน ล่างของม้านั่ง เมื่อเปิดไฟ LED ในเวลากลางคืน แสงไฟจะลอดผ่านช่อง เหล็กที่ฉลุลายไว้ เกิดความสวยงามและเป็นไฟส่องสว่างบริเวณพื้นราบ ไปในตัว
การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 27
ตัวอย่างผลงานการออกแบบในบรรยากาศจ�ำลอง กลางวัน และกลางคืน จากผลงานการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนนดังกล่าว ผู้ศึกษาได้ มุ่งท�ำการออกแบบภายใต้แนวคิดการผสมผสานของใหม่กับของเก่าเข้า ด้วยกัน เพื่อเป็นการส่งต่อวัฒนธรรมผ่านทางสัญลักษณ์แห่งความงาม ของหนังใหญ่ และสร้างคุณค่าในรูปแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งผู้ศึกษามีความ เห็นว่า นี่เป็นเพียงแนวทางหนึ่งในหลายๆ แนวทางในการสร้างงาน ออกแบบ แต่ ในความเป็นจริงแล้วการที่จะสืบต่อลมหายใจหนังใหญ่วัด ขนอน จังหวัดราชบุรี ให้อยู่คู่สังคมต่อไปได้อย่างยั่งยืน จะต้องได้รับความ
ร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วน ประชาชนในสังคมทุกคนควรจะมีส่วน ร่วมในการช่วยกันรักษาวัฒนธรรมอันมีค่าน้ ไว้ ผู้ศึกษาหวังว่า การศึกษานี้จะเป็นจุดเริ่มต้นและมีข้อมูลที่ เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ต้องการศึกษาต่อไป เพื่อให้เกิดการสืบต่อวัฒนธรรม การเล่นหนังใหญ่ของวัดขนอน ต�ำบลสร้อยฟ้า อ�ำเภอโพธาราม จังหวัด ราชบุรี ให้ยังคงมีอยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน
การศึกษารูปลักษณ์หนังใหญ่ สู่การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ถนน
l 28
บรรณานุกรม กนกวรรณ สุวรรณวัฒนา. สมุดภาพหนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2527. ธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด (มหาชน). ลักษณะไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน), 2551 ปรีชญะ โรจน์ฤดากร. ภูมิทัศน์ถนนกับวิถีชีวิตคนกรุงเทพมหานคร. เปรมรัศมี ธรรมรัตน์. การวิเคราะห์คุณค่าและการด�ำรงอยู่ของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน : กรณีศึกษาหนังใหญ่วัดขนอน อ�ำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552 ผู้ช่วยศาสตราจารย์อริยา อรุณินท์. เทศกาลงานเมือง : ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อความเป็นเมืองน่าอยู่. เพชร ตุมกระวิล. หนังสีและหนังเล็ก. บุรีรัมย์ : โรงพิมพ์วินัย (6), 2548 มะลิ. “วัฒนธรรมกับการพัฒนาสังคม”. นิตยสารการประชาสงเคราะห. ปที่ 40 ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน - ธันวาคม2540) : 11 - 16. รัฐธนินทร์ พราหมณีนิล. การออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์และเฟอร์นิเจอร์ถนนที่แสดงเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ ศิลปหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552 เรืองชัย บุญเรืองขาว. จิตรกรรมไทย ครูสมปอง อัครวงษ์ โรงเรียนเพาะช่าง. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน), 2550 สน สีมาตรัง. ประวัติความเป็นมาของหนังใหญ่. กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2522. สนั่น รัตนะ. ต�ำราศิลปะไทย ชุด ศิลปะลายก�ำมะลอ. กรุงเทพฯ : สิปประภา, 2549 สุภิตร อนุศาสน์. หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี. ลพบุรี : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม วิทยาลัยครูเทพสตรี, 2531 แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย. สมุดภาพเรื่องหนังใหญ่หรือหนังไทยสมัยก่อน : หนังใหญ่ชุดพระนครไหว. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ (165), 2526