สิริธโรเถรานุสรณ์ Siritharonusorn

Page 1


คำ�ขอขมา นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส (๓ จบ) มหาเถเร ปมาเทน ทฺวารตฺตเยน กตํ สพฺพํ อปราธํ ขมตุ โน ภนฺเต อจฺจโย โน ภนฺเต อจฺจคมา ยถา พาเล ยถามุฬเห ยถาอกุสเล เย มยํ ภนฺเต ชาติโต ปฏฺฐาย, ปมาทํ วา อาคมฺม, อโยนิโสมนสิการํ วา อาคมฺม มหาเถเร อคารวํ อกริมฺหา กาเยน วา วาจายวา มนสา วา สมฺมุขาปิ ปรมฺมุขาปิ เตสนฺโน ภนฺเต มหาเถโร อจฺจยํ อุจฺจยโต ปฏิคฺคณฺหาตุ อายตึ สํวราย โย โทโส โมหจิตฺเตน มหาเถรสฺมึ ปกโต มยา ขมตุ โน โทสํ สพฺพปาปํ วินสฺสตุ ฯ ข้าแต่ท่านพระมหาเถระผู้เจริญ โดยความเป็นไปล่วงเกินอันใด ได้ถึงทับแล้วซึ่งข้าพเจ้าทั้งหลาย ผู้เป็นคนพาล ผู้เป็นคนหลง เป็นคนไม่ฉลาด ด้วยประการไร จำ�เดิมแต่เกิดมา อาศัยความประมาท โดยอุบายไม่แยบคาย ได้กระทำ�ความไม่เคารพ ในท่านพระอาจารย์ ผู้เป็นพระมหาเถระ ที่ทรงไว้แล้วซึ่งพระคุณอันเน่าเคารพสักการะยิ่ง ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี และระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี ขอท่านพระอาจารย์ได้ เมตตาให้อโหสิกรรม ซึ่งโทษอันเป็นไปล่วงเกินนั้น โดยความเป็นโทษอันล่วงเกิน ของข้าพเจ้าทั้งหลายนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลายจะสำ�รวมระวังต่อไป และเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดกาลนานเทอญ ฯ คัดลอกจากลายมือของ พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (พระอาจารย์วัน อุตฺตโม) ซึ่งท่านได้เรียบเรียงไว้สำ�หรับงานพระราชทานเพลิงศพ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๒๑


(คณะศิษยานุศิษย์ สำ�นึกในพระคุณอย่างสูงสุด)


ร้อยสองปี พระผู้รักษ์ พระผู้เป็น พระผู้กล้า เป็นหนึ่งใน เป็นครูสอน เป็นหนึ่งใน เป็นสาวก

ชาตกาล สกุลวงศ์ อริยสงฆ์ หักราน หัวใจ ทางวิมุตติ ใจชาวพุทธ ดังเฉกเช่น

เพชรนํ้าหนึ่ง กรรมฐาน สู่นิพพาน กิเลสกรรม พระกรรมฐาน ดับทุกข์เข็ญ ทุกเช้าเย็น ครั้งพุทธกาล


ที่มาของชื่อ สิริธโรเถรานุสรณ์ “สิริธโร” แปลว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งความสง่า คำ�นี้ ศิษยานุศิษย์ เป็นคำ�ที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะองค์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ท่านเป็นพระอริยสงฆ์อีกองค์หนึ่ง อยู่แบบเงียบๆ มานาน เป็นพระกรรมฐานที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกองค์หนึ่ง จึงได้เป็นที่ รู้จักกันดีในเหล่าบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ความหมายจากปก ดอกบัว แสดงถึง ผู้ที่หลุดพ้นแล้วจากอาสวะกิเลสทั้งปวง เสมือนบัวที่หลุดพ้นแล้ว จากโคลนตม สิริธโร ฉายาของหลวงปู่ ซึ่งแปลความหมายว่า ผู้ทรงความสง่า พื้นปก ดอกบัวและฉายาของหลวงปู่ เป็นเครื่องแสดงไว้ซึ่งคุณธรรมของผู้ปฏิบัติดีนั้น งดงามไม่มีที่ต้องติ นะ มะ พะ ทะ ลุ ละ เต ณะ เป็นพระคาถาประจำ�ขององค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร มีความหมาย ดังนี้ คือ นะ นํ้า มะ ดิน พะ ไฟ ทะ ลม ลุ บรรลุ ละ ละวาง เต เตรียม ณะ นิพพาน (คำ�ว่า ลุ ละ เต ณะ ความหมายที่ได้อธิบายไว้นี้ ได้สอบถามจากครูบาอาจารย์ ที่เคยกราบเรียนถามองค์หลวงปู่ ดังนี้แล) รูปหลวงปู่ยืนถือไม้เท้า เป็นรูปที่องค์ท่านเมตตาอนุญาตให้ถ่ายได้เลยเต็มที่ องค์ท่านปรารภว่า “ถ้า จะถ่ายก็หากล้องมาถ่ายดีๆ” เพราะปกติองค์ท่านจะไม่อนุญาตให้ใครถ่ายรูป ได้ง่ายๆ ส่วนมากใครที่มาขอถ่ายรูปก็มักจะถูกท่านดุ หรือปฏิเสธ


เหตุผล และจุดประสงค์ในการจัดทำ� ดังนี้คือ - เพื่อบูชาธรรมะ และเกียรติคุณของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ - เพื่อเป็นการเผยแผ่ธรรมะประวัติอันทรงคุณค่ายิ่งขององค์หลวงปู่ - เพื่อรักษาเป็นมรดกธรรม ที่ควรสักการบูชา - เพื่อถวายครูบาอาจารย์ และมอบให้เป็นสมบัติของห้องสมุด เช่น วัดต่างๆ, ชมรมพุทธศาสน์, สถานการศึกษา โรงเรียน-มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ฯลฯ - เพื่อจะได้เป็นทิฏฐานุคติแบบอย่างอันดีงาม ให้แก่สาธุชนในสมัยปัจจุบันและภายภาคหน้า ได้มีโอกาสศึกษาธรรมะ และเจริญรอยตามแบบอย่างอันดีงามของครูบาอาจารย์สืบไป หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร (พระอริยสาวกผู้ทรงความสง่า)

ชีวประวัติ ปฏิปทา และพระธรรมเทศนา คณะศิษยานุศิษย์ขอน้อมกตัญญูกตเวทิตาคุณ ถวายบูชาแด่

หลวงปู่หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เนื่องในวาระโอกาสครบรอบ ๑๐๒ ปี

วันที่ ๒๐ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ วัดป่าวังเลิง ตำ�บลท่าขอนยาง อำ�เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม




สำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เจ้าอาวาสวัดป่าวัง เลิง อำ�เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบ เมื่อเวลา ๑๐.๑๐ น. ของวันจันทร์ที่ ๒๐ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๕ ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น รวมสิริอายุได้ ๘๑ ปี ๖ เดือน ๖ วัน ๖๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงพระราชทานนํ้าหลวง สรงสรีระสังขาร และทรงรับสรีระสังขารอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ ๗ วัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้นายภพพล ชีพสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัด มหาสารคาม ไปในการพระราชทานเพลิงถวายแก่สรีระสังขาร หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ณ เมรุชั่วคราว วัดป่าวังเลิง ตำ�บลท่าขอนยาง อำ�เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ในวันเสาร์ที่ ๙ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอพระราชทานวโรกาส ขอถวายพระพรชัยมงคล ด้วย ความรู้สึกสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ และขอเทิดทูนพระมหา กรุณาธิคุณนี้ไว้เป็นสรรพสิริมงคลตลอดกาลนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คณะศิษยานุศิษย์





อนุโมทนากถา อาตมาออกจากวัดศรีเมือง เวลา ๐๓.๓๐ นาที มาถึงนี้ เจ็ดนาฬิกาเศษ ณ บัดนี้จะถึง กำ�หนดเวลาที่จะสรงนํ้าถวายแด่ท่านพระอาจารย์มหาบุญมีแล้ว ก่อนแต่ที่จะทำ�พิธีนั้นก็ใคร่ อยากจะขอแสดงความยินดีกับท่านพระอาจารย์มหาบุญมี ชื่อของท่านบอกอยู่แล้วว่า บุญมี หรือมีบุญ ได้ทั้งสองอย่าง เมื่อก่อนนั้นท่านอยู่ที่วัดป่าภูดินหรือวัดป่าภูทอง อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี หลังจากนั้นมาท่านก็ไปแผ่เมตตาแก่ญาติโยมทางอำ�เภอพนมไพร แล้วก็อยู่ โน้นประมาณสักสามสี่ห้าปี แล้วก็ตอนนี้มาที่มหาสารคาม มหาสารคามนี้เป็นบ้านใหญ่เมืองใหญ่ อุดมสมบูรณ์ ญาติโยมเยอะแยะ สมบัติพัสถาน ต่างๆ มีมากมาย เวลานี้วัตถุสมบัติที่นั่งอยู่แถวนี้มากมายเหลือประมาณ วัตถุสมบัตินั้นได้แก่ ญาติโยมทั้งหลาย ความเป็นจริงอาตมาก็มีงานอยู่แต่ว่า ด้วยความปรารถนาที่อยากจะมาแสดงมุทิตาจิต กับท่านจึงได้เดินทางมา แล้วก็ได้มาถึงแล้วก็ปรากฏว่าเห็นญาติเห็นโยมเตรียมน้ำ�สรง อันเป็น การแสดงสัมมาคารวะ เพราะฉะนั้นในการที่อาตมาจึงขอโอกาสแก่ญาติแก่โยมทั้งหลายว่า พระพุทธศาสนานั้นเป็นของชาวไทย ๓ สถาบัน คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เพราะ เหตุฉะนี้บรรดาพี่น้องญาติโยม โดยเฉพาะพี่น้องชาวจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นจังหวัดที่มี ชื่อเสียง โด่งดังทั้งในปัจจุบันและอดีต เพราะฉะนั้นจึงขอให้บรรดาพวกเราทั้งหลาย จงได้เป็นกำ�ลังในการสนับสนุนส่งเสริม ในการประพฤติปฏิบัติธรรม แล้วพร้อมกันนั้นมีญาติโยมทุกท่านจะได้ถวายนํ้าสรงแด่ท่าน พระอาจารย์มหาบุญมี สุดท้ายนี้ขอให้ท่านพระอาจารย์มหาบุญมี จงเจริญสุข มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดทุกทิพาราตรีกาลโดยทั่วกันเทอญ

พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) (อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙) วัดศรีเมือง อำ�เภอเมือง จังหวัดหนองคาย



สัมโมทนียกถา โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถาติ “ดูก่อนอานนท์ ธรรมวินัยใด อันเราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา” (ที. มหา. ๑๐/๑๗๘.) พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสว่า “ธรรมและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาล ล่วงไปแห่งเรา” ข้อวัตรปฏิบัติที่องค์หลวงปู่มหาบุญมีท่านพาประพฤติปฏิบัตินั้น นับว่าเป็น ทิฏฐานุคติอันดีงาม หากว่าสาธุชนพากันมั่นคงอยู่ในข้อปฏิบัตินั้น ถึงแม้หลวงปู่ท่านได้ ละสังขารจากไปนานแล้วตามกาลเวลา ก็เสมือนว่าองค์หลวงปู่ท่านยังอยู่ในใจของศิษยานุศิษย์ ทุกคนตลอดมา หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ท่านมีโอกาสศึกษาทั้งฝ่ายคันถะธุระ และวิปัสสนาธุระ เป็น พระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์หนึ่งของกองทัพธรรมพระธุดงคกรรมฐาน ท่านเป็น ผู้ที่มั่นคงและดำ�เนินตามรอยของพระพุทธองค์ ได้ถ่ายทอดปฏิปทา ข้อวัตรปฏิบัติอันเด็ดเดี่ยว งดงามตามอริยะประเพณีจากพระบูรพาจารย์ในอดีต จนกระทั่งบรรลุเป้าหมายแห่งมรรคผล พระนิพพาน อาตมาภาพขออนุโมทนาสาธุการในความศรัทธา ความกตัญญูกตเวทิตาของท่าน ทั้งหลาย ในการจัดทำ�หนังสืออนุสรณ์องค์หลวงปู่มหาบุญมี ซึ่งเป็นการรวบรวมนำ�เรื่องราว ชีวประวัติ ข้อวัตรปฏิปทา ธรรมคำ�สอน เพื่อออกเผยแผ่เป็นธรรมทานสู่สาธุชนชาวพุทธต่อไป ขออานิสงส์แห่งการบำ�เพ็ญกุศลในครั้งนี้ ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปทุกผู้ทุกคนเทอญ

พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จันททีโป) (ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๘) วัดโพธิ์สมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี



ธรรมรำ�ลึก โดย พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) หลวงปู่บุญมี สิริธโร ซึ่งเป็นพระอาจารย์และเป็นร่มโพธิ์ร่มทองของพวกเราทั้งหลาย ผู้เป็นศิษย์ตามวิสัยของผู้มีคุณธรรมอันเป็นเครื่องหมายของคนดี พวกเรามีจิตใจที่ประกอบ ด้วยกตัญญูกตเวที จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้มีคุณธรรมอันเป็นเครื่องหมายของคนดี นิมิตตํ สาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี ดั้งนั้นคุณงามความดีที่เป็นสิ่งฝังจิตฝังใจ ซึ่งพวกเราได้จากหลวงปู่นั้น เหนือที่จะ พรรณนาจึงจะไม่นำ�มาขอกล่าวในที่นี้ แต่จะขอย้อนกล่าวไปถึงเรื่องในอดีต เมื่อสมัยก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ ท่านหลวงปู่เป็นพระอาจารย์คอยควบคุมและปกป้องสามเณรที่วัดบูรพาเมืองอุบลฯ อาตมาสมัยนั้นเป็นสามเณร ท่านเป็นผู้มีหน้าที่อบรมสั่งสอนช่วยพระอาจารย์พร สุมโน ซึ่งเป็น เจ้าอาวาสในขณะที่ศึกษาเล่าเรียนนักธรรมและบาลี ท่านผู้นี้เคยถือไม้เรียวบังคับให้อาตมาซึ่ง เป็นสามเณรให้ทองหนังสือบาลีไวยากรณ์ ตั้งแต่สมัยที่อยู่เมืองอุบลโน้น อยู่มาภายหลังอาตมา ได้เข้าไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ ก็พอดีได้ไปสอบเปรียญ ๓ ประโยคได้ ท่านอาจารย์ท่านก็ตามไปในปี พ.ศ.๒๔๘๕ เมื่อไปถึงไปอยู่กรุงเทพฯ ด้วยกันที่วัดปทุมวนาราม เมื่อสมัยเป็นเณรอยู่เมืองอุบล ท่านบังคับให้ทองหนังสือบาลีไวยากรณ์ พอไปอยู่กรุงเทพฯ ก็ถูก ท่านบังคับให้สอนแปลธรรมบท เลยต้องถูกบังคับทั้ง ๒ ข้อ ดั้งนั้น เราจึงมีความเกี่ยวดองกันในฐานะที่เป็นศิษย์กับอาจารย์มาตั้งแต่ครั้งกระโน้น ในช่วงตอนแรกๆ ท่านได้เรียนหนังสือสอบได้เปรียญ ๓ ประโยค ท่านก็บอกว่า ๓ ประโยค เขา ก็เรียกมหาเหมือนกัน เอากันเพียงแค่นี้ พอเสร็จแล้วท่านก็ออกเดินธุดงค์ปฏิบัติ เคยไปอยู่ที่ บ้านห้วยทราย ร่วมกับท่านอาจารย์มหาบัว หลายพรรษา ส่วนอาตมาก็ไปท่องเที่ยวบางทีก็เป็น เจ้าอาวาส บางทีก็เป็นเจ้าคณะอำ�เภอ บางทีก็ไปเป็นเจ้าคณะจังหวัด บางครั้งสุขภาพก็สมบูรณ์ บางครั้งก็อาพาธออดๆ แอดๆ เป็นวัณโรค ในโอกาสที่จะได้พบกันนั้นก็ห่างเหินไปพักหนึ่ง เพราะอาศัยโลกมันกลม ภายหลังเราจึงได้วนเวียนมาเจอกันอีก แล้วถึงอย่างไรก็ตาม แม้ว่า ในเวลาที่เราอยู่ใกล้กันหรือห่างกันก็ตาม ความรู้สึกที่เป็นครูบาอาจารย์หรือเป็นศิษย์นั้นไม่ได้ เสื่อมสูญตามวิสัยของครูบาอาจารย์ผู้มีเมตตา และศิษย์ผู้มีความกตัญญูกตเวที นี่คือประวัติ ความเป็นมาระหว่างอาตมากับท่านอาจารย์หลวงปู่บุญมี สิริธโร

(ณ วัดป่าวังเลิง เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๓๔)



ธรรมรำ�ลึก พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)

เคยอยู่ด้วยกันกับ หลวงปู่มหาบุญมี ได้ร่วมกันอยู่จำ�พรรษา เมื่อปี ๒๔๙๓ อยู่ บ้านห้วยทราย คำ�ชะอี ซึ่งเป็นจังหวัดมุกดาหาร แต่ก่อนขึ้นนครพนม ปีนั้นเป็นปีที่มีการเจ็บไข้ มาก อาตมาก็เป็นไข้เกือบเอาตัวไม่รอด บรรดาหมู่คณะก็เจ็บไข้กันงอมแงม ชาวบ้านเขาก็เจ็บไข้ กันมาก ตาย ๑๐ กว่าศพ ก็ถือว่าเจ็บไข้ตลอดพรรษา ถ้าหากไปกินของแสลงแล้วก็สลบไปเลย ก็ได้อาศัยท่านเป็นผู้แนะแนวและตลอดถึงการอุปัฏฐากรักษา ก็ถือว่าเป็นพระคุณอันยิ่งใหญ่ ไม่ได้ลืมบุญคุณท่าน ก็ได้ล่วงเลยมาหลายปี หลังจากนั้นก็เลยไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ นานๆ ได้มาเจอกันทีหนึ่ง ทีนี้เท่าที่หลวงปู่ใหญ่ท่านได้มาปรับปรุงสถานที่แห่งนี้ก็ความมุ่งหมายของท่าน ท่านก็ ไม่อยากทำ�อะไรหรอก ท่านต้องการอยากให้เป็นมูลมรดกของบรรดาผู้ที่เกิดสุดท้ายภายหลัง โดยเฉพาะในชาวพุทธท่านถือคล้ายๆ กับว่าเป็นลูกเป็นหลานอันเดียวกันผู้ที่นับถือพุทธศาสนา

(หลวงปู่ศรี มหาวีโร ณ วัดป่าวังเลิง ๒๙ กันยายน ๒๕๓๓) (เนื่องในงานทำ�บุญคล้ายวันครบรอบวันเกิด ๘๐ ปี หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร)



สัมโมทนียกถา ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา เป็นมงคลอันสูงสุด

หวนรำ�ลึกเมื่อครั้งสมัยอดีตที่ผ่านมานานหลายปี อาตมาภาพเคยได้ไปกราบคารวะ องค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ณ วัดป่าวังเลิง อำ�เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมี พระบูรพาจารย์สายกรรมฐานหลายองค์ได้เดินทางมาร่วมแสดงมุทิตาจิตเนื่องในงานครบรอบ วันคล้ายวันเกิดในแต่ละปีขององค์หลวงปู่ หรือในบางโอกาสอาตมาก็เคยได้เทียวมากราบ คารวะท่านอยู่เป็นประจำ� และเคยได้ถวายหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง องค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นพระบูรพาจารย์มหาเถระ เสมือนธรรมทายาทใน สายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อีกองค์หนึ่งที่มีปฏิปทาอันงดงามมาโดยตลอด จนสิ้นสุดแห่ง อายุสังขาร โอวาทธรรมและเรื่องราวต่างๆ ขององค์ท่านจึงเป็นครูบาอาจารย์ในดวงใจของ พุทธศาสนิกชนตลอดไป การจัดทำ�หนังสือชีวประวัติขององค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เพื่อเก็บรวบรวมรักษา ธรรมะของท่านไว้ให้เป็นมรดกธรรมแก่สาธุชน และกุลบุตรกุลธิดาต่อไปในภายภาคหน้า ได้ ศึกษาเรียนรู้ แล้วนำ�ไปประพฤติปฏิบัติตน เพื่อให้ได้ประสบความสุขที่แท้จริงนั้น ย่อมเป็นการ ตอบแทนบูชาพระคุณอย่างยอดเยี่ยม สมดังที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงสรรเสริญว่า การปฏิบัติบูชา เลิศกว่าการบูชาใดๆ สุดท้ายอาตมาขออนุโมทนา บุญที่คณะศิษย์ทุกคนได้บำ�เพ็ญ ขอผลกุศลกรรมครั้งนี้ จงได้รวมเป็นพลวปัจจัยสัมฤทธิ์อิฏฐวิบูลมนูญผล ดลบันดาลให้ทุกท่านเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ จงทุกท่านเทอญ พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (หลวงปู่ท่อน ญาณธโร) ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ วัดศรีอภัยวัน อ.เมือง จ.เลย



สัมโมทนียกถา หวนระลึกกลับไปเมื่อในอดีต เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ อาตมาภาพเคยได้จำ�พรรษา ร่วมกับพ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ณ เสนาสนะป่าบ้านห้วยทราย อำ�เภอคำ�ชะอี จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งได้มีพระบูรพาจารย์สายกรรมฐานหลายองค์มาอยู่ร่วมศึกษาปฏิบัติธรรม ภายใต้ร่มธรรมขององค์หลวงปู่มหาบุญมี ซึ่งท่านเป็นประธานสงฆ์ในครั้งนั้น ในกาลต่อมา ช่วงปัจฉิมวัยขององค์หลวงปู่ท่านได้ย้ายมาพำ�นักที่วัดป่าวังเลิง ก็เคยได้เทียวมากราบคารวะ ท่านอยู่เป็นประจำ� บางครั้งก็พักอยู่กับท่านเป็นเวลาเกือบเดือนแล้วแต่เหตุปัจจัยและโอกาส ที่เหมาะสม นับแต่องค์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ท่านละสังขารลาวัฏวนแห่ง สังสารวัฏ อาตมาก็ได้เห็นความเป็นน้ำ�หนึ่งใจเดียวกันของคณะศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย ทั้งฝ่าย บรรพชิตและคฤหัสถ์ มีความพร้อมเพรียงสามัคคีร่วมมือร่วมใจ ที่ได้น้อมรำ�ลึกถึงองค์หลวงปู่ ในการจัดทำ�หนังสืออนุสรณ์ของหลวงปู่ เป็นการรวบรวมนำ�เรื่องราวชีวประวัติ ข้อวัตรปฏิปทา ธรรมคำ�สอน ผญาปริศนาธรรม เพราะจะเป็นข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ เพื่อออกเผยแผ่สู่พุทธศาสนิกชนชาวไทย อาตมาภาพขออนุโมทนาสาธุการในความศรัทธา ความสามัคคีกลมเกลียว ความกตัญญู กตเวทิตาของท่านทั้งหลายที่มีต่อพ่อแม่ครูอาจารย์ฯ สมกับที่ท่านได้เมตตาอบรมสั่งสอนและ ช่ ว ยเหลื อ พวกเราทั้ ง หลายอย่ า งทุ่ ม เทตลอดมาทั้ ง ทางโลกทางธรรมโดยไม่ เ ห็ น แก่ ค วาม เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า แม้ธาตุขันธ์ขององค์ท่านจะแข็งแรงพอเป็นพอไปหรืออ่อนแรงเพียงใด ก็ตาม แต่เมตตาธรรมของท่านดำ�รงอยู่อย่างมั่นคงเสมอ ขอผลานิสงส์ผลบุญในครั้งนี้ จงเป็นเกราะกำ�บังภยันตรายทั้งภายนอกภายในแก่พวกเรา ทั้งหลาย ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปตามกำ�ลังแห่งสติปัญญาจงทุกท่านเทอญ

หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดป่าเกษรศีลคุณ(ผาแดง) อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี



มหาเถรานุสรณ์ องค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ท่านเป็นพระบูรพาจารย์ที่เคารพศรัทธาของครูบาอาจารย์ และชาวพุทธศาสนิกชนทั่วไป ดังจะเห็นได้จากภาพบรรยากาศในวันงานพระราชทานเพลิง สรีระสังขารขององค์หลวงปู่ ที่เป็นวาระการชุมนุมของพระกรรมฐานศิษย์ในสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ได้เดินทางมาร่วมงาน หลั่งไหลมาจากจตุรทิศทั้งสี่ซึ่งมีจำ�นวนมากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง หลักในการศึกษาหาความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาให้ครบสมบูรณ์แบบนั้น มีแนวทางใน การค้นคว้า คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติ คือ การศึกษาเล่าเรียนจากพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ปฏิบัติ คือ เมื่อศึกษาจนจำ�ได้และเข้าใจในฝ่ายปริยัติธรรมแล้ว ก็ออกปฏิบัติภาวนา กรรมฐาน ตามภูเขาลำ�เนาไพร ที่ป่าช้าป่ารกชัฏต่างๆ ฯลฯ ตามคำ�สอนของพระพุทธเจ้าอย่าง เด็ดเดี่ยว และอาจหาญ ปฏิเวธ คือ สืบเนื่องจากการปฏิบัติธุดงคกรรมฐาน ผลที่ได้รับก็คือ ความสงบ ความสุข ทางด้านจิตใจที่ปราศจากกิเลสอาสวะทั้งปวง องค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ท่านถึงพร้อมทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ตามหลักธรรมคำ� สอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงได้บัญญัติไว้ และเปี่ยมด้วยเมตตาธรรมแก่สาธุชน ทุกท่าน ที่ยังตราตรึงอยู่ในความทรงจำ�ของศิษยานุศิษย์ตลอดจนนิจนิรันดร์

หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม วัดป่าสีห์พนม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร



มหาเถรานุสรณ์ พระบู ร พาจารย์ ใ นอดี ต ท่ า นเคยเล่ า ถึ ง ปฏิ ป ทาพระธุ ด งคกรรมฐานสายหลวงปู่ มั่ น ภูริทัตโต ยุคสมัยวัดป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นยุคอัตคัดขาดแคลน ทุกด้าน เพราะเป็นช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา องค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เมตตาอบรม บรรดาศิษย์พระสงฆ์สามเณร ด้วยปฏิปทาที่เด็ดเดี่ยว ร่าเริง อาจหาญ จริงจัง จึงบังเกิดพระมหา เถราจารย์สำ�คัญฝ่ายกรรมฐาน ที่ถือเป็น “เพชรนํ้าเอก” แห่งสายธารธรรมพระกรรมฐานยุค ปัจจุบัน อาทิพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน, หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท, หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ, หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร,หลวงปู่หล้า เขมปัตโต, หลวงปู่ศรี มหาวีโร,หลวงปู่เพียร วิริโย, หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต, หลวงปู่ลี กุสลธโร เป็นต้น สืบตำ�นานพระกรรมฐานมาจนถึง ทุกวันนี้ ในบรรดาพระมหาเถราจารย์เหล่านั้น หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่ ต่อมาได้ไปพำ�นักจำ�พรรษา ณ วัดป่าบ้านห้วยทราย อ.คำ�ชะอี จ.มุกดาหาร จึงทำ�ให้บรรดา ญาติโยมชาวบ้านห้วยทราย ได้เกิดความเคารพคุ้นเคยกับองค์ท่าน คุณแม่ชีแก้ว เสียงลํ้า เอง ก็เคารพนับถือท่านดุจเดียวกัน จึงนับเป็นสายสัมพันธ์ฉันท์พุทธบริษัทสี่ที่ไม่จืดจาง ได้รู้ ได้เห็น ได้สัมผัสปฏิปทาอันเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ ทำ�อะไรทำ�จริง สมเป็นผู้ทรงความสง่าในทางธรรม “สิริธโร” อย่างแท้จริง หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ได้บำ�เพ็ญประโยชน์ของท่านจนสมบูรณ์ แล้วก็ยังมีวิริยะ อุตสาหะบำ�เพ็ญประโยชน์เพื่อสถาบันพระพุทธศาสนา และประเทศชาติบ้านเมือง เมื่อท่านละ สังขารท่านได้มอบมรดกทั้งทางโลกทางธรรม ทรงคุณค่าทั้งด้านวัตถุและจิตใจ ปรากฏประจักษ์ ชัดเห็นเด่นเป็นพยานในสถานที่หลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาศิษย์พระกรรมฐานควรที่ จักดำ�เนินรอยตามปฏิปทาอันกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ไว้สมกับแบบอย่างที่องค์ท่านมอบไว้แก่โลก ตราบนานเท่านาน พระครูสุวิมลบุญญาภาร (หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ) วัดผาเทพนิมิต อ.นิคมน้ำ�อูน จ.สกลนคร



อนุโมทนากถา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระปรมาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน ท่านได้เมตตาอบรมบรรดา ศิษย์พระสงฆ์สามเณร ด้วยปฏิปทาที่เด็ดเดี่ยว ร่าเริง อาจหาญ จริงจัง จึงบังเกิดพระมหาเถร าจารย์องค์สำ�คัญฝ่ายกรรมฐาน ที่ถือเป็น “เพชรน้ำ�เอก” แห่งสายธารธรรมพระกรรมฐานยุค ปัจจุบัน อาทิพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่ขาว อนาล โย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ท่านพ่อลี ธัมมธโร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัน โน หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต เป็นต้น สืบตำ�นานพระกรรมฐานมาจนถึง ทุกวันนี้ ในบรรดาพระมหาเถราจารย์เหล่านั้น หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบของกองทัพธรรมพระธุดงคกรรมฐานอีกท่านหนึ่ง ที่ต่อมาได้ไปพำ�นักจำ� พรรษา ณ ตามเงื้อมผา ป่าเขาลำ�เนาไพรหลายแห่ง จึงทำ�ให้บรรดาญาติโยมและศิษยานุศิษย์ ทั่วไป ได้รู้ ได้เห็น ได้สัมผัสปฏิปทาอันเด็ดเดี่ยว กล้าหาญ ทำ�อะไรทำ�จริง สมดั่งฉายาว่า “สิริธโร” เป็นผู้ทรงความสง่าในทางธรรมอย่างแท้จริง หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ได้บำ�เพ็ญประโยชน์ของท่านจนสมบูรณ์ แล้วก็ยังมีวิริยะ อุตสาหะบำ�เพ็ญประโยชน์เพื่อโลกเป็นอเนกอนันต์ อำ�นวยคุณประโยชน์ต่อสถาบันชาติ พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ และประเทศชาติบ้านเมือง เมื่อท่านละสังขารท่านได้มอบ มรดกทั้งทางโลกทางธรรม ทรงคุณค่าทั้งด้านวัตถุ และจิตใจ ปรากฏประจักษ์ชัดเห็นเด่นเป็น พยานในสถานที่หลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาศิษย์พระกรรมฐานควรที่จักดำ�เนินรอย ตามปฏิปทาอันกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ให้สมกับแบบอย่างที่องค์ท่านมอบไว้แก่โลก ตราบนาน เท่านาน หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี



อนุโมทนากถา พระเดชพระคุณ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง จังหวัดมหาสารคาม ท่านเป็นพระมหาเถระ ผู้ทรงคุณธรรมอันสูงยิ่ง เปี่ยมไปด้วยจริยา ๓ ประการ คือ อัตตัตถจริยา ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ตน และได้อบรมสั่งสอนพระเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้ได้ปัญญาความฉลาดมีที่พึ่งของตน ฝ่ายภิกษุสามเณรก็ได้เจริญสมถะวิปัสสนา กรรมฐาน ที่เป็นครูบาอาจารย์ก็มีหลายรูป ซึ่งเป็นบริษัทภายใน โลกัตถจริยา คือบริษัทภายนอกท่านได้แนะนำ�ให้ทำ�บุญภายนอก บริจาคทาน ก่อสร้าง ถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา คือ สร้างพระพุทธรูป ศาลา กุฏิ สระน้ำ� บ่อน้ำ� ผู้มีมากก็ ทำ�มาก ผู้มีน้อยก็ทำ�น้อย ต่างคนก็ต่างทำ�จนสุดความสามารถของตนเอง ก็จะมีปีติปราโมทย์ ในโภคทรัพย์อันตนได้ฝังไว้ ส่วนบุญภายในก็ได้แนะนำ�สั่งสอนให้ละ โลภะ โทสะ โมหะ ให้เบาบาง ซึ่งรู้จักในลักษณะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้มีพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง ญาตัตถจริยา ประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ญาติมิตรทั้งหลาย คือบรรดาคนที่เห็นกัน รู้จักกันชื่อว่าญาติทั้งสิ้น องค์หลวงปู่มหาบุญมี ท่านได้กระทำ�ประโยชน์ไว้ในพุทธศาสนาอย่างกว้างขวางนั้น จะ หาพระบูรพาจารย์เหมือนดั่งองค์ท่านนั้นก็นับว่าเป็นการหาได้ยากยิ่งในสมัยปัจจุบัน ถึงแม้ว่า องค์หลวงปู่มหาบุญมี จะได้ปล่อยวางธุระทุกอย่างไปแล้วก็ดี ส่วนคุณธรรม ความดีงามต่างๆ ก็ ยังคงสถิตไว้เป็นอนุสรณ์แก่พุทธบริษัทสี่อย่างมั่นคงตลอดกาลนาน

พระโพธิญาณมุนี (หลวงพ่อเมือง พลวัฑโฒ) วัดป่ามัชฌิมาวาส อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์



มหาเถรานุสรณ์ องค์พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล ท่านเคยเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ท่านเป็นผู้มีปฏิปทาเคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติ ถึงพร้อมทั้ง ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ท่านสอบได้เป็นพระมหาเปรียญ แล้วท่านก็ออกเที่ยวธุดงค์กัมมัฏฐาน ปฏิบัติภาวนา หาทางพ้นทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ท่านมาพักอยู่ วัดบ้านผาบ ท่านตั้งใจมาเยี่ยม เมื่อได้ฟังดังนั้นข้าพเจ้าจึงนึกขอขมาในใจที่ได้ประมาท นึกว่าท่านเป็นหลวงพ่อหลวงตา ธรรมดาๆ จากนั้นมาจึงได้มีจิตใจเกี่ยวข้องกับองค์หลวงปู่มหาบุญมี ได้พาญาติโยมไปกราบ คารวะฟังธรรมท่านที่วัดบ้านผาบอยู่เรื่อยๆ ในปีนั้นท่านจำ�พรรษาที่วัดบ้านผาบ เมื่อท่านกลับ ไปที่วัดภูทอง บ้านภูดิน อ.บ้านผือ ก็ได้ไปมาหาสู่ท่าน ฟังธรรมจากท่านอยู่เสมอ ครั้งหนึ่งได้นำ�เทปบันทึกเสียงไปด้วยเพื่อบันทึกเสียงธรรมที่ท่านแสดง ถูกท่านเทศน์สอน ดุอย่างแรงว่า ทำ�ไมไม่อัดธรรมะใส่หัวใจของตัวเอง มาอัดใส่อะไรของภายนอก ทำ�ให้เพิ่ม ความรัก ความศรัทธาในองค์ท่านยิ่งขึ้น ที่เราเข้าใจว่าธรรมะเป็นของคู่ควรกับใจ เมื่อใจกลมกลืน กับธรรมแล้วจะทำ�ให้ทุกข์สิ้นสุดไป องค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นพระมหาเถระที่มีปฏิปทาอันงดงามโดยตลอด จน สิ้นสุดอายุขัยขององค์ท่าน ท่านจึงเป็นครูบาอาจารย์ในดวงใจของข้าพเจ้า และศิษยานุศิษย์ ตลอดไป ด้วยความเคารพและบูชาอย่างยิ่ง พระครูเมตตากิตติคุณ (หลวงพ่อสมหมาย อัตตมโน) ๒๑ เมษายน ๒๕๕๖ วัดป่าสันติกาวาส อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี


พระประธานวัดป่าวังเลิง ตำ�บลท่าขอนยาง อำ�เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม


พระพุทธพจน์

มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ สจฺจานํ จตุโร ปทา วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ ทิปทานญฺจ จกฺขุมา

(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๕๑.

บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐสุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ๔ ประเสริฐสุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรม ประเสริฐสุด และบรรดาสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ประเสริฐสุด

สุสุขํ วต นิพฺพานํ อโสกํ วิรชํ เขมํ

สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ ยตฺถ ทุกขํ นิรุชฺฌติ

(หาริตเถร) ขุ. เถร. ๒๖/๓๐๙.

พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ


หลวงปู่มหาจันทร์ สิริจันโท

หลวงปู่มหาอ้วน ติสโส

หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

หลวงปู่มหาจันทร์ เขมิโย

หลวงปู่มหาจูม พันธุโล

หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม

หลวงปู่มี ญาณมุนี

หลวงปู่ทองรัตน์ กันตสีโล หลวงปู่มหาปิ่น ปัญญาพโล หลวงปู่มหาพิมพ์ ธัมมธโร

หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม

หลวงปู่กินรี จันทิโย

หลวงปู่เทสก์ เทสรังษี

หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ


หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

หลวงปู่หลุย จันทสาโร

หลวงปู่ขาว อนาลโย

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

หลวงปู่กิ่ง อธิมุตตโก

หลวงปู่สีลา อิสสโร

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ

ท่านพ่อลี ธัมมธโร

หลวงปู่ดี ฉันโน

หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม

หลวงปู่สาม อกิญจโน

หลวงปู่คำ�ดี ปภาโส

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

หลวงปู่มหาจันทร์ศรี จันททีโป


หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล

หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท

หลวงปู่บัว สิริปุณโณ

หลวงปู่ชา สุภัทโท

หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ

หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร

หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

หลวงปู่ศรี มหาวีโร

หลวงปู่สมภาร ปัญญาวโร

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

หลวงปู่ผาง ปริปุณโณ

หลวงปู่เพียร วิริโย


หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต

หลวงปู่แบน ธนากโร

หลวงปู่ท่อน ญาณธโร

หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต

หลวงปู่ลี กุสลธโร

หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม

หลวงปู่ปรีดา ฉันทกโร

หลวงปู่บุญพิน กตปุณโญ

หลวงปู่ฟัก สันติธัมโม

หลวงปู่อว้าน เขมโก

หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม

หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร

หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร

หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก

หลวงพ่อคูณ สุเมโธ

หลวงพ่อเมือง พลวัฑโฒ


อริยสาวก พระสุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติดี อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง ญายปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม สามีจิปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ อาหุเนยโย เป็นสงฆ์ควรแก่การสักการะ ที่เขานำ�มาบูชา ปาหุเนยโย เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ทักขิเนยโย เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน อัญชะลีกะระณีโย เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำ�อัญชลี อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า โลกัสสะ ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น ตะมะหัง สังฆัง สิระสา ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น นะมามิฯ ด้วยเศียรเกล้า (ท่านจึงเป็นพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่น่าเคารพ บูชา สักการะ กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ ) สังโฆ สุเขตตาภะยะติเขตตะสัญญิโต พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่ กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย

โย ทิฏฐะสันโต สุคะตานุโพธะโก เป็นผู้เห็นพระนิพพาน ตรัสรู้ตามพระสุคตหมู่ใด

โลลัปปะหีโน อะริโย สุเมธะโส เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี

วันทามิ สังฆัง อะหะมาทะเรนะ ตัง ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ


พระครูวิเวกพุทธกิจ (หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล) วัดเลียบ อำ�เภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี


พระครูวินัยธร (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต) วัดป่าสุทธาวาส อำ�เภอเมือง จังหวัดสกลนคร


หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง ตำ�บลท่าขอนยาง อำ�เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม


สิริธโรเถโรบูชา อริยสงฆ์ เพื่อหวังสุข ปลอดกามา เพียรมุ่งมั่น

รูปใด ปรีด์เปรม อามิส ตามรอยบาท

ใฝ่พ้นทุกข์ เกษมสันต์ นิจนิรันดร์ พระศาสดา

องค์หลวงปู่ รูปนี้นั้น ประชาชน เป็นเนื้อนา

มหาบุญมี ฟุ้งเฟื่อง เชิดชู บุญเขต

เถระมั่น เรื่องทิศา น้อมบูชา พิเศษจริง

ผู้หวังบุญ บริจาค เป็นพระสงฆ์ สมเป็นมิ่ง

ได้บุญ ได้กุศล ผู้เป็นหลัก ขวัญประชา

สุนทรภาค ผลใหญ่ยิ่ง ได้พักพิง มาเนิ่นนาน

มงคลวาร บารมี สถิตทั่ว อภิบาล

ผ่านบรรจบ ขจรไกล พุทธศาสน์ สานุศิษย์

ร้อยสองปี แผ่ไพศาล ยั่งยืนนาน เป็นนิตย์เทอญ ประพันธ์โดย คณะศิษยานุศิษย์


สิ่งที่ควรเข้าใจก่อนอ่าน หนังสือ “สิริธโรเถรานุสรณ์” (พระอริยะสาวกผู้ทรงความสง่า) เล่มนี้เป็นการรวบรวม ชีวประวัติ ปฏิปทา และโอวาทธรรมอันทรงคุณค่ายิ่งขององค์หลวงปู่ โดยการถอดเทปจากการ แสดงพระธรรมเทศนาในหลายวาระ และรวมภาพอิริยาบถต่างๆ จากอดีตถึงปัจจุบันขององค์ หลวงปู่ ซึ่งถือว่าเป็นภาพอันงดงามที่หาดูได้ยาก จึงนำ�มาบันทึกจัดเก็บไว้เป็นรูปเล่มที่สวยงาม ได้มาตรฐาน น่าศึกษาและควรค่าแก่การเก็บรักษา ด้วยทางคณะศิษย์ได้จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อ น้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และอาจาริยบูชา ซึ่งเป็นการแสดงความกตัญญู กตเวทิตาคุณ ในเมตตาธรรมขององค์หลวงปู่ อนึ่งในการเผยแผ่ธรรมะขององค์หลวงปู่ในครั้งนี้ ด้วยกัณฑ์เทศน์ขององค์หลวงปู่ ส่วนมากเป็นภาษาท้องถิ่น(ภาษาอีสาน) คณะศิษย์ปรารถนาให้สาธุชนทั้งหลายได้ซาบซึ้งใน ข้อวัตรปฏิบัติ ปฏิปทาเครื่องพาดำ�เนิน และพระธรรมวินัยอันเป็นสิ่งสำ�คัญสูงสุด ที่พวกเรา ชาวพุทธศาสนิกชนทุกท่านควรน้อมนำ�มาศึกษาประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ให้สมกับเป็น มรดกธรรมหรือมหาสมบัติอันล้ำ�ค่าที่หลวงปู่ฝากไว้ การพิมพ์หนังสือธรรมเป็นอนุสรณ์และที่ระลึก นอกจากเป็นการกระทำ�สิ่งซึ่งเป็น ประโยชน์ที่คงอยู่ยืนนานแล้ว ยังเป็นเป็นการบำ�เพ็ญธรรมทาน คือการให้ธรรมที่พระพุทธเจ้า ตรัสสรรเสริญว่าเป็นทานอันยอดเยี่ยมอีกด้วย ผู้ปฏิบัติเช่นนี้จึงได้ชื่อว่ามีส่วนร่วมในการบูชา ธรรมของพระบูรพาจารย์ อันจักอำ�นวยประโยชน์สุขที่แท้จริง ขอขอบคุณ และอนุโมทนา สาธุการต่อท่านเจ้าภาพทุกท่านที่ได้สนับสนุนทุนทรัพย์ ในการจัดทำ�หนังสือเล่มดังกล่าวนี้ ได้ออกเผยแผ่สาระธรรมสิ่งที่ทรงคุณค่าต่อสาธุชน เพื่อให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธ ศาสนายิ่งๆ สืบไป ขอท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จงมีกำ�ลังใจในการประพฤติปฏิบัติธรรม หากยามใดเกิดความท้อแท้ขอจงนึกถึงองค์หลวงปู่ เพื่อนำ�คติธรรมคำ�สอนของท่านมาเป็น ทิฏฐานุคติแบบอย่างอันดีงาม และมุ่งปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ประสพสุข ชั่วกาลนาน ขอจง ทุกท่านเทอญ ศิษยานุศิษย์ผู้จัดทำ�


สารบัญ คำ�อนุโมทนา พระวรธรรมคติ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก อนุโมทนากถา พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) สัมโมทนียกถา พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จันททีโป) ธรรมรำ�ลึก พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ธรรมรำ�ลึก พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) สัมโมทนียกถา พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (หลวงปู่ท่อน ญาณธโร) สัมโมทนียกถา หลวงปู่ลี กุสลธโร มหาเถรานุสรณ์ หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม มหาเถรานุสรณ์ พระครูสุวิมลบุญญาภาร (หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ) อนุโมทนากถา หลวงพ่อคูณ สุเมโธ อนุโมทนากถา พระโพธิญาณมุนี (หลวงพ่อเมือง พลวัฑโฒ) มหาเถรานุสรณ์ พระครูเมตตากิตติคุณ (หลวงพ่อสมหมาย อัตตมโน)

๘ ๑๐ ๑๒ ๑๔ ๑๖ ๑๘ ๒๐ ๒๒ ๒๔ ๒๖ ๒๘ ๓๐

เสาหลักพระกรรมฐาน-พ่อแม่ครูอาจารย์-ชีวประวัติหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร พระประธานวัดป่าวังเลิง พ่อแม่ครูอาจารย์ เสาหลักพระกรรมฐาน หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ความนำ� สิ่งควรเข้าใจก่อนอ่าน หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ยกย่อง หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ชีวประวัติหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

๓๒ ๓๔ ๔๐ ๔๑ ๔๔ ๔๙ ๕๓

ประวัติการจำ�พรรษา และการเที่ยวธุดงคกรรมฐาน ปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ จำ�พรรษาอยู่ที่วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ย้ายไปอยู่วัดบูรพา อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ปีพุทธศักราช ๒๔๗๙ ย้ายไปอยู่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร

๖๔ ๗๑ ๗๕


ปีพุทธศักราช ๒๔๙๐-๙๔ จำ�พรรษาที่ เสนาสนะป่าบ้านห้วยทราย อ.คำ�ชะอี จ.มุกดาหาร ๗๖ พุทธศักราช ๒๕๙๕ จำ�พรรษาที่วัดป่ามัชฌันติการาม ๘๓ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๖-๒๕๐๐ จำ�พรรษาที่วัดถํ้าม่วง บ้านหนองแวง ต.หนองแวง ๘๖ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปีพุทธศักราช ๒๔๙๙ ๘๘ พุทธศักราช ๒๕๐๑–๒๕๐๓ จำ�พรรษาที่วัดชลประทานน้ำ�อูน ต.แร่ อ.พังโคน จ.สกลนคร ๘๙ พุทธศักราช ๒๕๐๖–๒๕๐๘ จำ�พรรษาที่วัดป่าท่าสำ�ราญ อ.บึงกาฬ จ.บึงกาฬ ๙๑ พุทธศักราช ๒๕๐๙–๒๕๑๑ จำ�พรรษาที่วัดป่าอัมพวัน ๙๒ พุทธศักราช ๒๕๑๒–๒๕๑๔ พรรษาในเขตจังหวัดเลย ๙๙ จำ�พรรษาวัดสิริปุญญาราม อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเล ๑๐๓ ปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ จำ�พรรษาที่วัดพระธาตุฝุ่น อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ๑๐๙ ปีพุทธศักราช ๒๕๑๖-๒๕๑๗ จำ�พรรษาที่วัดป่าสุจินต์ประชาราม อ.สว่างแดนดิน ๑๑๑ จ.สกลนคร จำ�พรรษาที่วัดถ้ำ�พระนาผักหอก บ้านกลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ๑๑๔ จำ�พรรษาที่วัดป่าถ้ำ�พระนาหลวง อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ๑๑๕ ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙-๒๕๓๐ จำ�พรรษาที่วัดป่าภูทอง บ้านภูดิน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ๑๑๙ พุทธศักราช ๒๕๓๑–๒๕๓๒ จำ�พรรษาที่วัดป่าศรีโพธิ์ทอง อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด ๑๒๒ ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ จำ�พรรษาที่วัดหนองเกาะ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ ๑๒๔ ปีพุทธศักราช ๒๕๓๔-๒๕๓๕ จำ�พรรษาที่ วัดป่าวังเลิง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ๑๒๕ พระธรรมเทศนา คติธรรม และผญา ปริศนาธรรม คำ�สอนพอสังเขป ของ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ผญา ปริศนาธรรม หลวงปู่บุญมี สิริธโร ภาษิตคำ�สอน สมถะ-วิปัสสนา พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์

๑๔๘ ๑๕๓ ๑๕๘ ๑๕๙ ๑๖๗


งานมุทิตาจิต-อาพาธ-ละสังขาร-งานพระราชทานเพลิงสรีระสังขาร งานมุทิตาจิต อาพาธ-ละสังขาร งานพระราชทานเพลิงสรีระสังขาร พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เทศน์ในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

๑๘๘ ๑๙๗ ๑๙๘ ๒๑๔

การใช้สอยปัจจัยสี่ ขององค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร การใช้สอยปัจจัยสี่ ขององค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ศึกษาภาษาจีน ศึกษาภาษาอังกฤษ หมวดบริขาร ธรรมปฏิสันถาร ปฏิปทาด้านข้อวัตรปฏิบัติ

๒๓๒ ๒๓๗ ๒๓๕ ๒๕๕ ๒๕๗ ๒๕๘

พระบูรพาจารย์ที่องค์หลวงปู่เคารพ และเป็นเสมือนผู้บอกทาง หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่หลุย จันทสาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่รักษ์ เรวโต หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงปู่หล้า เขมปัตโต หลวงปู่ศรี มหาวีโร

๒๖๙ ๒๗๐ ๒๗๒ ๒๗๓ ๒๗๔ ๒๗๕ ๒๗๖ ๒๗๗ ๒๗๘ ๒๗๙ ๒๘๐ ๒๘๑ ๒๘๒


ธรรมทายาท ครูบาอาจารย์ที่เกี่ยวข้อง และได้กล่าวถึง องค์หลวงปู่มหาบุญมี กราบคารวะหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน กราบเยี่ยมหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดภูจ้อก้อ อำ�เภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) หลวงปู่ขาน ฐานวโร หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร ใต้ร่มธรรม ของหลวงปู่บุญมี สิริธโร

๒๘๕ ๒๘๖ ๒๘๘ ๒๘๙ ๒๙๑ ๒๙๒ ๒๙๓

สิริธโรเจดีย์-ประวัติวัดป่าวังเลิง-ข้อมูลทางบรรณานุกรม สิริธโรเจดีย์ ประวัติวัดป่าวังเลิง กิจวัตรพระภิกษุ สามเณร วัดป่าวังเลิง ถ้อยแถลงคณะผู้จัดทำ� ข้อมูลทางบรรณานุกรม

๓๓๔ ๓๔๔ ๓๔๖ ๓๕๑ ๓๕๖



พระธรรมวิสุทธิมงคล

(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

พระอรหันต์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้กล่าวยกย่อง หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ในหลายวาระและโอกาสต่าง ๆ ไว้ดังนี้ว่า (คณะศิษย์ได้พยายามรวบรวมเรียบเรียงจากกัณฑ์เทศน์ต่าง ๆ ที่องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้ปรารภถึงหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร นั่น ย่อมเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความเป็นสหธรรมิกกันมาเป็นเวลานาน และความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของทั้งสองพระอริยสงฆ์ ซึ่งเป็นธรรมทายาทในศิษย์สายพระธุดงค์กรรมฐาน นับเป็นทิฏฐานุคติอันดีงามแก่บรรดาสาธุชนชาวพุทธตลอดไป) “เราจำ�พรรษาอยู่บนภูเขากับเณรหนึ่ง มหาภูบาล แหละ ให้หมู่เพื่อนอยู่ข้างล่าง เรา ขึ้นไปอยู่บนภูเขา มันใกล้ๆ กัน กลางคืนเวลาประชุมเราก็ลงไป เราเป็นผู้เทศน์แหละ อาจารย์ มหาบุญมีท่านอยู่วัดข้างล่าง เราอยู่ข้างบน ปีนั้นมีมหาสององค์ องค์หนึ่งอยู่ภูเขา องค์หนึ่งอยู่ ตีนเขา” (๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ จากแร่ธาตุเป็นแร่ธรรม) 49


หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร กับ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ภาพถ่ายที่บ้านลูกศิษย์ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

(ถวายทอง ๑ บาท ปัจจัย ๒๐,๐๐๐ บาท ทำ�บุญครบรอบวันมรณภาพ ๑ ปี อาจารย์ มหาบุญมี) ท่านเสียไปกี่ปี (๑๔ ปีค่ะ) อาจารย์มหาบุญนี้ท่านไปอยู่ห้วยทรายกับเรา ท่านแก่ พรรษากว่าเรา ดูเหมือน ๒ พรรษา ท่านเรียนเป็นเปรียญหลังเรา แล้วก็ออกปฏิบัติหลังเรา เรา ออกก่อน ท่านมาก็มาอยู่กับเราห้วยทราย ท่านออกมาทีแรกละท่านมาฝึกหัดทางด้านภาวนา ทีนี้จะออกภาวนาแล้ว ท่านว่าอย่างนั้น ท่านออกมาอยู่ห้วยทราย เราอยู่บนเขากับเณรหนึ่ง ให้ท่านอยู่กับพวกพระอยู่ทางตีนเขาทางนู้น ท่านเป็นตุ๊กตาเลยนะ ท่านไม่ถือเนื้อถือตัว ท่านมอบให้เราหมด ท่านบอกว่าท่านเป็น พระอาคันตุกะเพียงมาอาศัยเท่านั้น มาอาศัยก็มาอาศัยท่านอาจารย์ บอกตรงๆ เลย มาอาศัย ท่านอาจารย์เพื่อจะอบรมทางด้านจิตตภาวนา ท่านเอาจริงๆ คล้ายกันกับพระโปฐิละที่ไปเป็น ลูกศิษย์ของเณรน้อย เณรน้อยเป็นพระอรหันต์ พระโปฐิละเป็นพระเรียนจบพระอรหันต์ ถวาย ตัวเป็นลูกศิษย์ของเณร อันนี้ก็ลักษณะเดียวกัน ถือแบบเดียวกัน กับเราทุกอย่างท่านมอบเลย ทีเดียว ท่านมอบ อย่ามีอะไรกับผมนะ เพียงแต่อาวุโสภันเตเท่านั้นแหละ จากนั้นก็จนหลายปี อยู่ที่นั่นด้วยกัน แล้วก็จากกันไปแล้วก็มาพบกันเรื่อยๆ นี่อัฐิของท่านกลายเป็นพระธาตุนะ อาจารย์มหาบุญมีกลายเป็นพระธาตุ อยู่ที่ มหาสารคาม เขาเรียกวังเลิง คุ้นกันมากกับเรานะ เพราะท่านเคยอยู่กับเราแล้ว จะเรียกตาม หลักธรรมชาติอย่างพระโปฐิละกับเณรนั้นก็ไม่ผิด ท่านถือเราเป็นอย่างนั้น ท่านเคารพมาก แต่ ท่านเป็นอาวุโส ท่านเคารพในทางด้านธรรมะธัมโม ทางพระวินัยเราเคารพท่าน เพราะพระวินัย มีอาวุโสภันเต ธรรมะไม่มี ถือคุณธรรมเป็นสำ�คัญ ท่านนับถือมากทีเดียว ลงเต็มที่ละ เอาละให้พร (๒๐ เมษายน ๒๕๔๙ ฟังความรู้สึกของชาติไทย)

อย่างไปเทศน์มหาสารคามในงานอาจารย์มหาบุญมีนั้น เป็นความจำ�เป็น เขาเอาชื่อเรา ไปลงในใบโฆษณาว่าเราเป็นองค์แสดงธรรม ถ้าไม่เทศน์ก็เสียหมดเลย เพราะเขาเป็นที่แน่ใจ เนื่องจากว่า เรากับท่านอาจารย์มหาบุญมีนี่สนิทกันมา ท่านเคยจำ�พรรษาอยู่กับเราเหมือนกัน (๑๕ สิงหาคม ๒๕๓๕ อบรมคณะพระวัดปทุมวนาราม) 50



หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

“พระอริยะสาวกผู้ทรงความสง่า” พระเดชพระคุณหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นหนึ่งในศิษย์พระกรรมฐานสาย หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านได้รับการยกย่องจากองค์ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ในวาระต่างๆ หลายครั้งว่า เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติ ชอบเรื่อยมา และอัฐิของท่านได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุแล้ว (ดั่งในตำ�ราพระไตรปิฎก ที่ได้กล่าวไว้ว่า อัฐิที่แปรสภาพเป็นพระธาตุได้ ต้องเป็นอัฐิของพระอรหันต์เท่านั้น)

พระเดชพระคุณหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร พระอริยสาวกแห่งวัดป่าวังเลิง เป็นหนึ่งในศิษย์พระกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต มีอุปนิสัยเป็น ปัจเจกกะ มีอากัปกิริยาที่น่ารัก จงรักภักดีต่อครูบาอาจารย์อย่างหาที่ติมิได้ ท่านพูด เพียงพอดี ไม่มากไม่น้อย รักความสันโดษ สมถะ สม่ำ�เสมอ ยินดีในธุดงควัตร มีเมตตา ธรรมแก่บรรดาสาธุชนอยู่เสมอ ไม่อ่อนแอท้อแท้ในการปราบกิเลส ท่านได้แสวงหา สถานที่เที่ยววิเวกด้วยการออกเที่ยวธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ มากมาย เช่น เทือนเขาใน เขตจังหวัดเลย เช่น ภูหลวง เขตอำ�เภอนายูง-บ้านผือ ถ้ำ�ม่วง จังหวัดอุดรธานี และป่า เขาลำ�เนาไพรในเขตจังหวัดมุกดาหาร สกลนคร เป็นต้น 52


ชีวประวัติ

หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง ตำ�บลท่าขอนยาง อำ�เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ชาติกำ�เนิดและชีวิตปฐมวัย หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร มีนามเดิมว่า บุญมี สมภาค เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ ตรงกับวันขึ้น ๑๑ ค่ำ� เดือน ๑๑ ปีจอ ณ บ้านขี้เหล็ก ตำ�บลรังแร้ง อำ�เภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เป็น บุตรโทนของนายทำ�มา และนางหนุก สมภาค ครอบครัวมีอาชีพทำ�นาทำ�ไร่ หมู่บ้านขี้เหล็ก เดิมชื่อบ้านน้ำ�เที่ยง เพราะสมัยก่อนเคยมีช่างมาถลุงเหล็กที่บริเวณ หมู่บ้านนี้ จึงได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อบ้านขี้เหล็ก บรรพบุรุษของท่านแต่เดิมเคยเป็นขุนอยู่ทาง จังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาได้ย้ายภูมิลำ�เนาพา ครอบครัวมาตั้งรากฐานอยู่ที่บ้านขี้เหล็กแห่งนี้ และสืบเชื้อสายตระกูล สมภาค มาจนกระทั่ง ปัจจุบัน เมื่อครั้งเยาว์วัย ท่านจะมีนิสัยรักความ สงบและมีความใฝ่ใจในทางพระพุทธศาสนา เป็นอย่างมาก จนมีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งใน ขณะที่ท่านเลี้ยงควายอยู่กลางทุ่งนาร่วมกับ 53


เด็กๆ ในหมู่บ้านเดียวกัน ท่านได้พบภาพพระพุทธรูปในแผ่นกระดาษแผ่นหนึ่งเข้า ก็เกิดความสนใจมากเป็นพิเศษ จึงได้เก็บกระดาษแผ่นนั้นซ่อนเอาไว้ พอมีเวลาว่าง ท่านก็จะเอามานั่งดูจนเกิดปีติ จึงเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นพระพุทธรูป โดยมีเพื่อนๆ เด็กเลี้ยงควายพากันนั่งดู และก็ปั้นบ่อยๆ ทั้งมีความสวยงามด้วย เมื่อมีพระพุทธรูป ดินเหนียวปั้นมากขึ้น หลวงปู่จึงได้แจกและแบ่งปันให้เพื่อนๆ เอาไป ตอนนั้นหลวงปู่ บอกว่ามีอายุประมาณ ๘-๙ ปีเห็นจะได้ พออายุได้ประมาณ ๑๐-๑๒ ปี ท่านก็ได้เริ่มเรียนหนังสือกับหลวงน้า ซึ่งบวชพระ อยู่ที่วัดใกล้ๆ บ้าน ท่านช่วยโยมมารดาทำ�นาและช่วยงานบ้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงาน ของเด็กผู้หญิงก็ตาม ท่านทำ�ทุกอย่าง นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถกว่าเด็กทั่วๆ ไป และที่สำ�คัญก็คือ มีนิสัยชอบช่วยเหลือเพื่อนบ้านไม่ว่าเขาจะทำ�อะไร ไม่ว่าจะเป็น งานหนักงานเบา ถ้าพอจะช่วยเหลือได้ท่านจะรีบช่วยทันที โดยไม่ต้องให้คนอื่นขอร้อง และชอบถามคำ�ถามที่เกี่ยวกับธรรมะอยู่เสมอ เช่น เห็นคนตายก็จะถามว่า คนไม่ตาย ไม่ได้หรือ คนป่วยไม่ป่วยไม่ได้หรือ อย่างนั้นเป็นต้น

ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา หลังจากที่หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ แล้ว ก็ไม่ได้ เรียนต่อ ต้องออกมาช่วยเหลือโยมมารดาทำ�นาทำ�ไร่ และงานบ้าน เลี้ยงควาย จนอายุ ได้ ๑๗ ปี จึงได้มาบวชเป็นสามเณรอยู่กับหลวงน้า คือพระอาจารย์สิงห์ ผู้เป็นน้องชาย ของโยมมารดา โดยบวชในสังกัดฝ่ายมหานิกาย หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า วัดบ้าน บวชได้ ๑ พรรษา พอจวนจะเข้าพรรษาที่ ๒ ซึ่งเหลือเวลาเพียง ๑ เดือน โยมมารดา ก็ขอร้องให้สึกออกมาช่วยเหลือทำ�งานบ้าน เพราะโยมมารดาสุขภาพไม่ดี ท่านจึงต้อง ลาสิกขาออกมาช่วยโยมมารดาทำ�งาน และได้สมัครทำ�งานเป็นคนขายหินทำ�ทางรถไฟ

54

บ้านขี้เหล็ก อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ


สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-สุรินทร์ เมื่อหลวงปู่อายุย่าง ๑๘-๒๐ ปี โยมมารดาจะขอผู้หญิงให้ตั้งหลายครั้ง แต่ท่านก็ปฏิเสธทุกครั้งไม่ยอมมีครอบครัว เพราะดูคนทั้งหลายแล้วมีความทุกข์ วิตก กังวลแทบทั้งสิ้น ยากที่จะทำ�จิตของตนให้ ผ่องแผ้วได้ ท่านระลึกอยู่ว่า บวชจึงจะมีสุข หนอ การมีชีวิตอยู่อย่างฆราวาสนี้มีแต่ทุกข์ วิตกกังวลไม่สิ้นสุด มีแต่ความรุ่มร้อนเหมือน ฝุ่นละอองมาจากทิศต่างๆ มีเต็มอากาศไม่รู้ ว่าจะหนีไปทิศใดได้ มีแต่จะคลุกเคล้าละออง พิษลงสู่ใจ ใจก็มีแต่ความเศร้าหมอง เพราะ ท่านเห็นโทษของกามคุณ ถ้าผู้ใดกำ�ลังเสพ กามารมณ์ อ ยู่ เ สมื อ นบริ โ ภคเหล็ ก เผาไฟ แดงๆ อยู่ จิตของท่านจึงรำ�ลึกน้อมไปถึงการ อุปสมบท ท่านจึงเอาความดำ�ริในใจนี้เล่าสู่ โยมมารดาฟังว่าท่านอยากบวช โยมมารดา ของท่านจึงได้อนุโมทนาและอนุญาตให้ออก บรรพชาอุปสมบทได้

55

โรงเรียนบ้านขี้เหล็ก


ชีวิตสมณะ การแสวงหาโมกขธรรม และปฏิปทา เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ครั้นอายุได้ ๒๑ ปี จึงขออนุญาตโยมมารดาบวชเป็นพระฝ่ายมหานิกาย โดยมี พระอาจารย์สิงห์ เป็นภาระรับไปดำ�เนินการให้ทุกอย่าง ด้วยจิตใจที่ใฝ่ในเรื่องของการ ศึกษาธรรม ท่านจึงมีความปรารถนาที่จะเรียนในด้านพระปริยัติธรรมให้เข้าใจอย่าง ละเอียดเสียก่อน แต่เนื่องจากการศึกษาธรรมะในยุคสมัยโบราณนั้น วัดที่มีชื่อเสียง มากที่สุด คือวัดเลียบ ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล เคยพำ�นักมาก่อน แต่เนื่องจากท่านเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย จึงค่อนข้างจะยุ่งยากไม่ค่อย สะดวกในเรื่องการทำ�สังฆกรรมต่างๆ เพราะวัดเลียบเป็นวัดในฝ่ายธรรมยุต ด้วย เหตุนี้พระอาจารย์สิงห์ (ไม่ใช่พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม วัดป่าสาลวัน จังหวัด นครราชสีมา) ซึ่งเป็นหลวงน้าของท่าน ได้เมตตารับภาระพาไปฝากกับท่านเจ้าคุณ พระศาสนดิลก(เสน ชิตเสโน ป.ธ.๔) เมื่อท่านเจ้าคุณฯ ได้พิจารณาเรื่องต่างๆ แล้ว บอกว่า จะต้องญัตติกรรมในฝ่ายธรรมยุต พอได้ฟังดังนั้น หลวงปู่ก็รู้สึกดีใจเป็นอันมาก ในการอุปสมบทใหม่ครั้งนี้ มีท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระ มหาสว่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “สิริธโร” แปลความหมายว่า ผู้ทรงความสง่า โดย อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ อุโบสถ (สิมไม้) วัดเลียบ ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

56


พระศาสนดิลก

(เสน ชิตเสโน ป.ธ.๔) พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร


ประวัติ พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน ป.ธ.๔)

ดำ�รงตำ�แหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีอุบลรัตนาราม อำ�เภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (ระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๕๔ – ๒๔๘๔)

ท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) รูปนี้ รูปร่างค่อนข้างสูง ลักษณะ สมบูรณ์มีสง่า ผิวเนื้อดำ�แดง นามเดิมชื่อ เสน ฉายา ชิตเสโน บิดาชื่อ เพี้ยคำ�มุงคุณ (คำ�พา) มารดาชื่อ ไว นามสกุล สิริบูรณ์ เกิด ณ วันอังคาร ขึ้น ๑๒ ค่ำ� เดือนยี่ ปีมะโรง วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๒๓ ที่บ้านหนองบ่อ อำ�เภอเมืองอุบลฯ จังหวัด อุบลราชธานี ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองอุบลฯ ห่างประมาณ ๑๖ กิโลเมตร เมื่อ อายุ ๑๔-๑๕ ปี ได้ตามพระขุนผู้พี่ชายเข้าไปศึกษาอยู่ที่วัดสุปัฏน์ เมืองอุบลฯ และ เจ้าพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) ครั้งดำ�รงสมณศักดิ์ที่ พระครู วิจิตรธรรมภาณี ได้พาเข้าไปกรุงเทพมหานคร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๗ ฝากไว้ในสำ�นัก เจ้าคุณพระศาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) วัดพิชัยญาติการาม และได้บรรพชาอุปสมบท อยู่ในสำ�นักนั้น เจ้าคุณพระศาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เจ้าคุณ พระราชเมธี (ท้วม กัณณวโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สอบพระปริยัติธรรมได้เป็น เปรียญธรรม ๔ ประโยค ต่อมาสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สังฆนายก ครั้งดำ�รงสมณศักดิ์ที่พระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอีสาน ได้ขอออกไปเป็นผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลอีสาน เมื่อท่านได้เลื่อน ตำ�แหน่งขึ้นไปโดยลำ�ดับแล้ว พระมหาเสนจึงได้รับตำ�แหน่งเป็นที่พระศาสนดิลกแทน มีข้อน่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่งว่า ตามธรรมดาพระเปรียญ ถ้าแต่ ๕ ประโยคขึ้นไป ทรง โปรดให้เป็นพระราชาคณะทีเดียว ถ้า ๓-๔ ประโยค ต้องเป็นพระครูเสียก่อนจึงเป็น พระราชาคณะได้ แต่เพราะท่านผู้นี้เป็นพระสหชาติในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงทรงโปรดให้เป็นพระราชาคณะทีเดียว จัดว่าเป็นพิเศษส่วนหนึ่ง ครั้นเป็น พระราชาคณะแล้วไม่นานก็ได้ย้ายจากวัดสุปัฏนารามไปเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีทอง อนึ่ง 58


คณะเปรียญบ้านหนองบ่อ ถ่ายเมื่อ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๓ (นั่งกลาง) พระมหาสว่าง (พระกรรมวาจาจารย์ขององค์หลวงปู่มหาบุญมี) (ยืนซ้าย) พระมหาทอง สรรพสาร (ยืนกลาง) พระมหาสนั่น จันทปัชโชโต (สรรพสาร) ป.ธ.๔ (ยืนขวา) พระมหาจวง

ในฐานะที่ท่านเป็นพระสหชาติซึ่งเมื่อพระสหชาติรูปอื่นๆ ได้รับพระราชทานเครื่อง ระลึกอย่างใดท่านก็ได้รับอย่างนั้นทุกคราว 59


สำ�หรับตำ�แหน่งหน้าที่ ท่านได้เป็นพระครูสอนพระปริยัติธรรม เป็นผู้ช่วย เจ้าคณะมณฑลอีสาน เป็นเจ้าคณะมณฑลร้อยเอ็ด เป็นเจ้าคณะมณฑลอุดร เป็น เจ้าอาวาสวัดศรีทอง และเป็นพระอุปัชฌายะ ส่วนการงานพิเศษ ได้เป็นกรรมการ สร้างพระอุโบสถวัดสุปัฏน์ เป็นกรรมการหล่อพระพุทธปฏิมา คือ พระศรีเมือง พระขวัญเมือง และพระสัพพัญญูเจ้า ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดสุปัฏน์ใน บัดนี้ การนวกรรมโดยเฉพาะในวัดศรีทอง ได้ปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำ�รุดทรุดโทรม ให้คืนดี และก่อสร้างศาลาการเปรียญ โรงเรียน และกุฏิขึ้นหลายหลัง แม้ในที่อื่นก็ได้ เป็นหัวหน้า พาราษฎรก่อสร้างถาวรวัตถุหลายแห่ง เช่น สร้างศาลาการเปรียญที่ วัดบูรพาพิสัย วัดสร้างบัวบ้านหนองบ่อ และวัดบ้านสำ�ลาก แห่งละ ๑ หลัง กับได้ตั้ง และนำ�ราษฎรก่อสร้างวัดบ้านนาเมือง ท่านพระศาสนดิลกรูปนี้ เป็นคนพูดพอประมาณ มักน้อย สันโดษ ชอบวิเวก หนักในพระธรรมวินัย มีปกติเห็นภัยในโทษแม้ประมาณน้อย สงบเสงี่ยมอยู่ในฐานะ เป็นผู้น้อย ชอบเอาอย่างพระราธะ คือ เป็นผู้อดทนต่อโอวาทและอนุศาสน์ ทนได้ ทั้งร้อนคือเดช และทนได้ทั้งเย็นคือคุณ เมื่ออยู่ในฐานะเป็นผู้ใหญ่ก็วางตนให้เหมาะแก่ ภาวะ มีพระเดชก็ไม่มากถึงกับเสียพระคุณ แม้มีพระคุณก็ไม่เกินไปถึงกับเสียพระเดช มั่นคงในพรหมวิหาร เอาภาระในผู้เจ็บป่วย หมั่นแนะนำ�พร่ำ�สอนศิษย์ไม่ให้ก่อเวร และ ให้ระงับเวรด้วยความไม่มีเวร ปฏิปทาของท่านจึงเป็นที่ดูดดื่มไม่จืดจาง ทนต่อความ เพ่งของผู้รู้ทั้งหลาย โดยปกติท่านมีโรคหืดประจำ�ตัว ต่อมาเห็นว่าจะไม่สามารถรับราชการไปได้ จึงทูลลาออกแต่ก็ยังเป็นอุปัชฌายะ เอาธุระสั่งสอนพระภิกษุสามเณรเป็นกำ�ลังแก่ พระศาสนาตลอดมา เมื่อถึงพุทธศักราช ๒๔๘๔ โรคหืดที่เรื้อรังมานานไม่หายขาดนั้น ได้เป็นหนักขึ้นจนถึงแก่มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๔ เวลา ๐๖.๐๐ น. สิริอายุได้ ๖๑ ปี พรรษา ๔ หลังจากที่ได้ญัตติเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุตแล้ว ท่านก็ได้ตั้งใจเล่าเรียนข้อวัตร ปฏิบัติ จนเป็นที่เล่าลือว่าท่านเรียนเก่งมาก เพียงเวลาไม่นานท่านก็สามารถสอบนัก ธรรมชั้นตรี โท เอก ได้ตามลำ�ดับ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ก็ได้ย้ายไปอยู่ที่วัดบูรพา อำ�เภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เคยมาพำ�นักอยู่สมัย ปฏิบัติธรรมเริ่มแรก 60


หนังสือสุทธิของหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

61


อุบลราชธานี (เมืองดอกบัวงาม) จังหวัดอุบลราชธานี ได้ชื่อว่าเป็นเมืองนักปราชญ์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวม พระเถรานุเถระฝ่ายวิปัสสนา เช่น หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านพ่อลี ธัมมธโร พระโพธิญาณเถระ (ชา สุภัทโท) เป็นต้น และ พระเถรานุเถระฝ่ายคันถธุระ เช่น พระอริยกวี (อ่อน ธัมมรักขิโต) พระอุบาลี คุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) สมเด็จพระมหา วีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร) สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จันทปัตโชโต) สมเด็จพระมหา วีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เป็นต้น พระอริยสงฆ์ดังกล่าวเป็นสดมภ์หลักในการอบรมสั่งสอนพุทธบริษัททั้งหลาย โดยไม่เลือกชนชั้นวรรณะ เพื่อให้เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ โดยมีประจักษ์พยานที่เป็น คำ�สั่งสอน และวัดวาอารามสวยงามตระการตามากมาย กระจายอยู่ทั่วไปในเมืองอุบลฯ นอกจากนี้วัดบางแห่งในเมืองอุบลฯ ยังมีความเกี่ยวข้องกับประวัติคณะธรรม ยุตในประเทศไทยอีกด้วย เพราะจังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดแรกในภาคอีสาน ที่ พระสงฆ์คณะธรรมยุตมาถึงเป็นที่แรก และวัดเลียบเป็นอีกวัดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับคณะ ธรรมยุต เพราะในช่วงพุทธศักราช ๒๔๓๔ – ๒๔๔๖ พระอริย กวี (อ่อน ธัมมรักขิโต) กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ แต่ครั้งยังเป็นที่พระญาณรักขิต ได้ร่วมกันดูแลคณะธรรม ยุตในจังหวัดอุบลฯ วัดธรรมยุตได้แผ่สาขาออกไปอีก ๕ วัด ซึ่ง ๑ ใน ๕ วัดนั้นคือ วัดเลียบ 62


ประวัติการจำ�พรรษา ขององค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร


ประวัติการจำ�พรรษา พรรษาที่ ๑ ปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ จำ�พรรษาอยู่ที่วัดเลียบ อำ�เภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ได้ชื่อว่าเป็นเมืองนักปราชญ์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวม พระเถรานุเถระฝ่ายวิปัสสนา เช่น หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่ขาว อนาลโย ท่านพ่อลี ธัมมธโร พระโพธิญาณเถระ (ชา สุภัทโท) เป็นต้น และพระเถรานุเถระฝ่ายคันถธุระ เช่น พระอริยกวี (อ่อน ธัมมรักขิโต) พระอุบาลี คุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) สมเด็จพระมหา วีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร) สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จันทปัตโชโต) สมเด็จพระมหา วีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เป็นต้น

ที่มาของชื่อวัดเลียบ

ส่วนที่มาของชื่อวัดนั้น พระโพธิญาณมุนี ท่าน สันนิษฐานไว้ว่า น่าจะเป็นวัดซึ่งสร้างเลียบคันคูเมือง เพราะลักษณะของแนวริมแม่นํ้ามูลซึ่งเป็นชั้นสูงแล้ว จึงลาดตํ่าลงมา ทางทิศเหนือเป็นแอ่งอยู่ระหว่างแนว ถนนศรีณรงค์ ในบริเวณซึ่งเรียกขานกันว่า หลุบยาง ใหญ่ มีหนองนํ้าอยู่เรียกว่า หนองนกทา อีกทั้งยังมีชื่อ ของถนนเขื่อนธานีปรากฏอยู่ แต่ก็มีบางท่านสันนิษฐานอยู่ว่า ชื่อวัดนั้นมา จากกิริยาอาการเดินไปตามริมตามขอบของหลวงปู่เสาร์ พระอุโบสถ ปัจจุบันได้ทำ�การบูรณปฏิสังขรณ์ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งสมัยก่อนเป็นสิมไม้ สำ�นักสงฆ์แห่งนี้มีอายุได้ ๔๔ ปี มีเจ้าอาวาส ปกครองมา ๑๐ รูป จนถึงยุคท่านพระอาจารย์ทิพย์เสนา ทิพฺพเสน (แท่นทิพย์) ซึ่งเมื่อท่านมรณภาพลงก็ไม่มีพระสงฆ์รูปใดครองสำ�นักสงฆ์แห่ง นี้ต่อ เป็นเหตุให้ต้องร้างไปเป็นเวลาเกือบปี 64


หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

บุกเบิกเสริมสร้างวัดเลียบ ต่อมาหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ได้มาบุกเบิกเสริมสร้างวัดเลียบขึ้นเป็นวัดธรรมยุต และมาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๓๕ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีญาติโยมเข้ามาช่วย พระอุบลการประชานิจ (บุญชู พรหมวงศานนท์) พระสุรพล ชยาการ (อุ่น) ท้าวกรมช้างทองจัน และสังฆการีจารปัจฌา สังฆการีจารเกษ และ ทายกทายิกาได้มีศรัทธาช่วยกันปฏิสังขรณ์วัดและขยายพื้นที่วัดออกดังนี้ ด้านบูรพา กว้างได้ ๑๑ วา ยาว ๒๔ วา ๖ ศอก ด้านอุดร กว้าง ๑๘ วา ๒ ศอก ยาว ๕๓ วา จากนั้นได้ทำ�การสร้างรั้วรอบวัด กำ�หนดเขตหมายแน่นอน มีเสนาสนะและ ถาวรวัตถุดังนี้ พระประธานปูนปั้นหน้าตัก ๑.๙๙ เมตร สูง ๒.๙๙ เมตร ๑ องค์ พัทธสีมา ๑ รูป, หอแจก ๑ หลัง, หอฉัน ๑ หลัง, กุฏิ ๔ หลัง, โป่ง หล่อด้วย ทองสำ�ริด ๑ รูป, ตู้พระไตรปิฎกลายรดนํ้า ๑ หลัง มีคำ�จารึกอักษรธรรมว่า พระครู เสาร์ พร้อมด้วยสัทธิวิหาริกเป็นผู้ซ่อมแปงริจณา ได้จากเท้าจันสีสุราช เป็นผู้เขียนลาย โกเมด เจียผู้ผัวนางบุญตา พร้อมใจกันขอให้ข้าพเจ้าทั้งหลายไปสู่พระนิพพาน นิพพาน ปัจจัยโย โหตุ...(ข้อความลบเลือน), ธรรมาสน์ ๒ หลัง และในการนี้ยังได้ทำ�การปลูกต้นไม้ในบริเวณวัด ต้นมะพร้าว จำ�นวน ๒๑๐ ต้น, ต้นหมาก จำ�นวน ๖๐ ต้น, ต้นมะม่วง จำ�นวน ๔๐๐ ต้น, ต้นขนุน จำ�นวน ๓๒๘ ต้น, ต้นมะปราง จำ�นวน ๒๕ ต้น 65


ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา หลวงปู่เสาร์ ในฐานะเจ้าอาวาสก็ได้ขอ พระราชทานขอเป็นวิสุงคามสีมา โดยท้าว สิทธิสาร และเพี้ยเมืองจัน ได้กราบบังคมทูล พระกรุ ณ าเป็ น วิ สุ ง คามสี ม าตามพระราชโองการที่ ๘๗/๓๐๓ ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๕ พุทธศักราช ๒๔๓๙ ตรงกับปีที่ ๒๙ ในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ดังรายละเอียดพระราช บรมราชโองการ พระราชทานวิสุงคามสีมา วัดเลียบ ที่ ๘๗/๓๐๓ มีพระบรมราชโองการ ประกาศไว้แก่ชนทั้งปวงว่า ที่เขตพระอุโบสถวัดเลียบ แขวงเมืองอุบลราชธานี โดยยาว ๗ วา กว้าง ๕ วา ท้าวสิทธิสารกับเพี้ยเมือง จัน พระเจ้าแผ่นดินสยามได้ทรงยินดีอนุโมทนาอนุญาตแล้ว โปรดให้กรมการ ปักกำ�หนดให้ตามประสงค์ ทรงพระราชอุทิศที่นั้นให้เป็นวิสุงคามสีมา แยกเป็น แผนกหนึ่งต่างหาก จากพระราชอาณาเขตร เป็นที่วิเสศ สำ�หรับ พระสงฆ์แต่จาตุทิศทั้งสี่ ทำ�สังฆกรรม อุโบสถกรรมเป็นต้น พระราชทานตั้งแต่ ณ วันที่ ๒๖ มีนาคม รัตนโกสินทรศก ๒๙/๑๑๕ พระพุทธสาสนกาล ๒๔๓๙ พรรษา เป็นวันที่ ๑๐๓๖๓ ในรัชกาล ปัจจุบันนี้ (พระปรมาภิไธย) 66


หอแจก (ศาลาการเปรียญ) พระพุทธจอมเมือง

พัฒนาวัดเลียบ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ซึ่งต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระครูวิเวกพุทธกิจ” นับเป็นผู้ที่มีบทบาทสำ�คัญในการบรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ ท่านได้ทุ่มเทแรงกายและ แรงใจ พัฒนาวัดเรื่อยมา อาทิ ปีพุทธศักราช ๒๔๓๔ ได้ทำ�การปั้น “พระพุทธจอมเมือง” ซึ่งเป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย หน้าตัก ๑.๙๙ เมตร สูง ๒.๙๙ เมตร ประดิษฐานไว้ในศาลาการเปรียญ (หอแจก) ปีพุทธศักราช ๒๔๓๕ ได้ทำ�การก่อสร้างอุโบสถ (สิมไม้) ซึ่งเป็นอุโบสถขนาด กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ก่อสร้างด้วยไม้ หลังคามุงสังกะสี มีเฉลียงโดยรอบ ปีพุทธศักราช ๒๔๓๖ – ๒๔๓๗ ได้ทำ�การแกะสลักพระพุทธรูป เป็นพระไม้ ปางสมาธิ ฐานกว้าง ๓๒ เซนติเมตร ยาว ๕๒ เซนติเมตร สูง ๒๖.๗ เซนติเมตร องค์ พระหน้าตักกว้าง ๔๘.๕ เซนติเมตร สูง ๘๘.๕ เซนติเมตร ศิลปะรัตนโกสินทร์ อิทธิพล ลาว ประดิษฐานเป็นพระปรานในพระอุโบสถ (สิมไม้) และในช่วงเดียวกันนี้ก็ได้ทำ�การ

67


พระครูวิเวกพุทธกิจ

พระมหาเสนา

พระอาจารย์วิชิตอักษร

แกะสลักพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ อิทธิพลลาวด้วยอีกองค์หนึ่ง วัดเลียบ ได้รับการพัฒนาโดยการนำ�ของเจ้าอาวาสรูปต่อๆ มาโดยลำ�ดับ กระทั่ง ปีพุทธศักราช ๒๕๐๖ อุโบสถ (สิมไม้) ที่หลวงปู่เสาร์สร้างไว้ ชำ�รุด ทรุดโทรมมาก จนไม่สามารถซ่อมแซมได้ พระเดชพระคุณพระโพธิญาณมุนี (สุธีร์ ภัททิโย) เจ้าอาวาส ในสมัยนั้นจึงได้รื้อถอนลง และได้เริ่มลงมือก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ อุโบสถหลังใหม่ มีขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๕ เมตร สูง ๒๗.๕๐ เมตร ในวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๐๖ ด้วยทุนทรัพย์ก่อสร้างครั้งแรก ๘๐,๐๐๐ บาทเศษ การก่อสร้างได้ดำ�เนินการเรื่อยมา เท่าที่ทุนทรัพย์จะอำ�นวยให้ กระทั่งในปี พุทธศักราช ๒๕๐๗ พล.ท.อัมพร จินตกานนท์ ได้นำ�กฐินมาทอดถวาย ได้ปัจจัยมา ดำ�เนินการก่อสร้างประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท และจากทุนทรัพย์ของผู้มีจิตศรัทธา บริจาคร่วมการก่อสร้าง อุโบสถจึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ อุโบสถหลังใหม่ ทำ�การประกอบพิธีผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๓๒ สิ้นงบประมาณ ๑๒ ล้านบาทเศษ โดยอุโบสถหลังใหม่ นี้ได้ประดิษฐานพระประธานนามว่า “พระพุทธจอมเมือง” ที่หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ได้ทำ�การปั้นไว้ ต่อมาวัดเลียบ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๗ พุทธศักราช ๒๕๒๒ ตามประกาศสำ�นักนายกรัฐมนตรี โดยกำ�หนดเขต กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๖ ตอนที่ ๑๙๖ วั ด เลี ย บได้ มี พ ระภิ ก ษุ ส ามเณรสื บ ต่ อ มาเป็ น วั ด ฝ่ า ยธรรมยุ ต ที่ สื บ ทอด เจตนารมณ์ของหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ต้นธารแห่งพระสายกรรมฐานองค์สำ�คัญสืบ ต่อมาจนตราบกระทั่งปัจจุบัน จนเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ สำ�นักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติได้คัดเลือกวัดเลียบเป็น “อุทยานการศึกษาในวัด” 68


พระอาจารย์สนธิ์

พระโพธิญาณมุนี

งานศพพระอาจารย์สนธิ์ สุวโจ

ลำ�ดับเจ้าอาวาส เจ้าอาวาสครองวัดที่ผ่านมามีดังนี้ ๑.พระครูวิเวกพุทธกิจ (หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล) พ.ศ.๒๔๓๕-๒๔๔๕ (๑๐ ปี) ๒.พระมหาเสนา มหาเสโน พ.ศ.๒๔๔๕-๒๔๕๒ (๘ ปี) ๓.พระอาจารย์วิชิตอักษร คัมภีโร (ขัมภรัตน์) พ.ศ.๒๔๕๒-๒๔๘๒ (๓๐ ปี) ๔.พระอาจารย์สนธิ์ สุวโจ พ.ศ.๒๔๘๒-๒๔๙๘ (๑๖ ปี) ๕.พระโพธิญาณมุนี (สุธีร์ ภัททิโย) พ.ศ.๒๔๙๘-๒๕๓๑ (๓๓ ปี) ๖.พระครูธรรมธรมาโนช โชติโก (ทรัพยานนท์) พ.ศ.๒๕๓๓-๒๕๓๗ (๕ ปี) ๗.พระอธิการไพโรจน์ อิทธุปาโท (สุรพัฒน์) พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๔๑ (๓ ปี) ๘.พระครูอุบลคณาภรณ์ (วีระชัย อริญชโย บุตราช) พ.ศ.๒๕๔๒-ปัจจุบัน จังหวัดอุบลราชธานี ได้ชื่อว่าเป็นเมืองนักปราชญ์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งรวม พระเถรานุเถระฝ่ายวิปัสสนา เช่น หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นต้น และพระเถรานุเถระฝ่ายคันถธุระ เช่น พระอริยกวี (อ่อน ธมฺมรกฺขิโต) พระอุบาลี 69


รูปหล่อเหมือน หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ๒ บูรพาจารย์ ในพระอุโบสถ

¶.ªÂÒ§¡ÙÃ

คุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) เป็นต้น ที่ พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติของท่าน โดยมีประจักษ์พยานที่ เป็นธรรมะ และวัดในเมืองอุบลราชธานี วัดเลียบ เป็นวัดหนึ่งที่มีความสำ�คัญในประวัติศาสตร์พุทธศาสนาสายวิปัสสนา ในประเทศไทย เพราะวัดนี้มีความเกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ ๒ รูป ที่เป็นต้นทางแห่งพระ สายกรรมฐาน คือ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เมื่อหลวงปู่มั่น ได้อุปสมบทแล้วจึงมาศึกษาด้านวิปัสสนาธุระกับหลวงปู่เสาร์ที่ วัดแห่งนี้ และออกธุดงค์บำ�เพ็ญเพียร ยึดหลักทางพระธรรมวินัยของพระสายวิปัสสนา Í.ÇÒÃÔ¹ªÓÃÒº อย่างเคร่งครัด จนบรรลุ áÁ‹¹éÓÁÙÅ ขั้ น สู ง สุ ด และกลายเป็ น áÁ‹¹éÓÁÙÅ พระอริยสงฆ์ที่ใกล้ชิดกับ ÇÑ´àÅÕº ÇÑ´ÊØ»˜¯¹ÒÃÒÁ พุ ท ธศาสนิ ก ชนเกื อ บทั่ ว ÇÑ´ºÙÃ¾Ò ทุกภาค โดยเฉพาะภาค þ.ÍغÅÃÑ¡É ·Ø‹§ÈÃÕàÁ×ͧ ÇÑ´ÈÃÕÍغÅÃѵ¹ÒÃÒÁ อีสาน 70


ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ย้ายไปอยู่วัดบูรพา อำ�เภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงระหว่างที่พักปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดบูรพา หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ท่านได้ขวนขวายช่วยรับภาระ เกี่ยวกับงานพุทธศาสนาในด้านคันถธุระ คือท่านเคยเป็น ครูสอนนักธรรมที่วัดสุปัฏนาราม เมืองอุบลฯ

ประวัติวัดสุปัฏนารามวรวิหาร อำ�เภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี อุโบสถวัดบูรพา วัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ฝ่ายธรรมยุตชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่นํ้ามูล ทางทิศใต้ของตัวเมืองอุบลราชธานี ในท้องที่ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอารามของคณะสงฆ์ธรรมยุติก นิกายแห่งแรกในหัวเมืองอีสาน ในราวปีพุทธศักราช ๒๓๙๔ พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระพรหมราชวงศ์ (กุทอง สุวรรณกูฏ) เจ้าเมืองอุบลราชธานี อาราธนา ท่านพันธุโล (ดี) และท่านเทวธัมมี (ม้าว) ภิกษุ ธรรมยุติกนิกาย วัดบวรนิเวศวิหาร กลับไป จำ�พรรษาที่เมืองอุบลฯ และให้สร้างวัดถวาย พระพรหมราชวงศ์ (กุทอง สุวรรณกูฏ) พร้อมคณะกรรมการเมืองอุบลฯ ได้ปรึกษา เลือกตกลงพื้นที่ท่าเหนือ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่าง ตัวเมืองกับบ้านบุ่งกาแซว อันเป็นสถานที่เงียบ สงบและสะดวกแก่การเดินบิณฑบาต เพราะไม่ อุโบสถวัดสุปัฏวนารามวรวิหาร

71


ไกลจากตัวเมืองและบ้านบุ่งกาแซว อีกทั้งการคมนาคม สะดวกทั้งทางบกและทางนํ้า เพราะท่าเหนือเป็นท่าดี อยู่บริเวณคุ้งนํ้าลึก เรือเข้าออกได้สะดวก และได้เริ่ม ปราบที่กำ�หนดเขตด้านกว้าง ยาว เท่ากันด้านละ ๓ เส้น เศษ (๑๒๐ เมตรเศษ) ต่อมามีผู้ถวายที่ดินทางทิศตะวัน ตกเพิ่มอีก ด้านยาวจึงเป็น ๕ เส้นเศษ (๒๐๐ เมตรเศษ) ปัจจุบันวัดสุปัฏนารามวรวิหาร มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๑ ไร่ ๓ งาน ๑๐ ตารางวา และได้ ถมคูก่อกำ�แพง เมื่อฝังหมุดโฉนดที่ดินแล้ว เสนาสนะที่ก่อสร้างหลังแรกคือ พระอุโบสถ ตั้งอยู่กึ่งกลางห่างจากประตูใหญ่ ด้านถนนพรหมเทพในปัจจุบันราว ๑ เส้น (๔๐ เมตร) พระอุโบสถกว้าง ๘ วา (๑๖ เมตร) ยาว ๑๑ วา ๒ ศอก (๒๓ เมตร) หันหน้าสู่ทิศตะวันออก ก่ออิฐถือปูน ผังพื้นเป็น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๗ ห้อง หลังคาทรงคฤห์ไม่ซ้อนชั้นมุงด้วยกระเบื้องไม้ มีช่อฟ้า ใบระกาประดับกระจก หน้าบันด้านตะวันออก สะลักเป็นลายเครือเถา ด้านตะวันตก สลักลายดอกไม้ร่วง มีหลังคาปีกนกซ้อน ๒ ชั้น คลุมพาไลเป็นเฉวียงรอบ เสาเป็นไม้ ก่ออิฐโอบเสา มีประตูด้านหน้า ๒ ช่อง ส่วนกุฏิและเวจกุฏิ ก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหมด ยกเว้นกุฏิเจ้าอาวาสก่อสร้างข้างบนด้วยไม้ข้างล่างก่ออิฐถือปูน เมื่อสร้างวัดเสร็จ แล้วได้อาราธนาท่านพันธุโล (ดี) ท่านเทวธัมมี (ม้าว) และท่านคุณสัมปันโน (กํ่า) ไป จำ�พรรษาอยู่ประจำ� โดยท่านพันธุโล (ดี) เป็นเจ้าอาวาส ท่านเทวธัมมี (ม้าว) เป็น รองเจ้าอาวาส 72


ต่อมาได้พระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดสุปัฏนาราม ซึ่ง หมายความว่า เป็นอารามหรือวัด ตั้งอยู่ที่ท่านํ้าที่ดี นับเป็นวัดธรรมยุตวัดแรกในภาคอีสาน ตั้งแต่ปี พุทธศักราช ๒๓๙๖ ในการสร้างวัดนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานทรัพย์เป็นเงิน ๑๐ ชั่ง (๘๐๐ บาท) พระราชทานให้มีเลกวัด(ชายฉกรรจ์ที่ ระเบียงอุโบสถ อุทิศถวายให้ทำ�งานวัด ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียส่วย สมัยก่อนใช้เป็นที่สอนนักธรรม และภาษีอากร) จำ�นวน ๖๐ คน และพระราชทาน นิตยภัตแก่เจ้าอาวาสเดือนละ ๘ บาท ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๗๙ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะของวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๙ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดสุปัฏนารามวรวิหาร เป็นโบราณสถาน สำ�หรับชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๓ หน้า ๑๕๓๓ วันที่ ๒๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๗ ในสมัยก่อนอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่มีการศึกษามูล กัจจายน์กันอย่างแผ่หลาย มีสำ�นักเรียนที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง ที่เป็นแหล่งผลิตครูอาจารย์ซึ่งจะสอนกันอย่างเป็นหลักเป็นฐาน สำ�นักที่มีชื่อเสียงมากมีครูอาจารย์และนักเรียนจำ�นวนมาก ได้แก่ สำ�นักเรียนวัดเวฬุวัน วัดเลียบ บ้านไผ่ใหญ่ บ้านเค็งใหญ่ บ้านหนองหลัก และบ้านสร้างถ่อ ในแคว้นแดนอีสานทั้ง ๑๕ จังหวัดในสมัยโบราณ ถ้าบุคคลใดต้องการความรู้จะต้องเดินทางไปศึกษาตาม สำ�นักดังกล่าว การเรียนมูลกัจจายน์นั้นเป็นการเรียนที่ ค่อนข้างยาก ผู้เรียนจะต้องมีสมองที่ดี สามารถเรียนได้ จบหลักสูตรซึ่งจะได้รับการยกย่องนับถือจากคนทั่วไปว่า เป็นนักปราชญ์ เพราะเป็นผู้แตกฉานในทางสามารถแปล หนังสือได้ทุกชนิด โปง สมัยก่อนใช้ตีเพื่อเรียกประชุมพระ-เณร 73


ต่อมาภายหลังสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเห็นว่าการ เรียนแบบมูลกัจจายน์นั้นยากเกินไป มีผู้ เรียนจบหลักสูตรน้อยและต้องเสียเวลาใน การเรียนนานเกินความจำ�เป็น จึงทรงปรับ เปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนเสียใหม่ ซึ่ง ได้ใช้เป็นหลักสูตรของการศึกษาฝ่ายคณะ สงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน นับแต่นั้นเป็นต้นมา การเรี ย นมู ล กั จ จายน์ จึ ง ได้ ถู ก ลื ม ไปจาก วงการศึกษาของคณะสงฆ์ตราบจนทุกวันนี้ การศึ ก ษาเล่ า เรี ย นในสมั ย นั้ น ไม่ มี ห้องเรียนเหมือนสมัยปัจจุบัน อาจารย์ที่สอน ไม่ ไ ด้ อยู่ ในที่ แ ห่ งเดี ย วกั นแต่ จะอยู่ แ ยกกัน คนละที่ ดังนั้นเมื่อถึงเวลาเรียน นักเรียนจะ พระประธานในอุโบสถ ต้องแบกหนังสือไปเรียนกับอาจารย์ถึงที่อยู่ ของอาจารย์ วันนี้เรียนวิชานี้ก็แบกหนังสือไปกับอาจารย์นี้ วันพรุ่งนี้เรียนวิชานั้นก็จะ ต้องแบกหนังสือไปเรียนกับอาจารย์นั้น แบกไปแบกมาอยู่เช่นนี้ จนกว่าจะเรียนจบ ที่ ว่าแบกหนังสือนั้นแบกกันจริงๆ เพราะในสมัยก่อนหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มยังไม่มีเช่น ปัจจุบันนี้ หนังสือที่ใช้ในการเรียนการสอนใช้คัมภีร์ใบลานเป็นพื้น นักเรียนต้องเคารพ หนังสือเพราะถือว่าหนังสือเป็นพระธรรม จะดูถูกไม่ได้ถือเป็นเป็นบาป เวลาว่างจาก การเรียน นักเรียนจะต้องเข้าป่าหาใบลานมาไว้สำ�หรับทำ�คัมภีร์เพื่อฝึกหัดจารหนังสือ วิธีทำ�คัมภีร์ก็คือไปหาใบลานมาเลือกเอาเฉพาะใบที่อายุได้ปีหนึ่งแล้ว ถ้าเอาใบอ่อน มามักใช้ได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่ถ้าเอาใบแก่เกินไปใบมักเปราะแตกง่าย เมื่อหามาได้แล้วก็ เอามากรีดลิดใบและก้านใบออก ตากนํ้าค้างไว้ ๓ คืน พอหมาดแล้วจึงใช้ด้ายหรือเชือก ร้อยทำ�เป็นผูกๆ มากน้อยแล้วแต่จะทำ� เวลาไปเรียนกับอาจารย์ก็ใช้คัมภีร์นี้เองคัดลอก ตำ�รับตำ�รา ตลอดจนหัดจารหนังสือพร้อมกันไปด้วย จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ก็ได้เดินทางจากจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อเข้าไปศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับพระปริยัติธรรม ในกรุงเทพมหานคร ท่านได้จำ�พรรษาที่วัดปทุม วนาราม เขตปทุมวัน อยู่ต่อมาไม่นานก็สามารถสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ท่าน มีความแตกฉานในพระปริยัติธรรมเป็นอย่างมาก 74


กุฏิหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เคยจำ�พรรษา

ปีพุทธศักราช ๒๔๗๙ ย้ายไปอยู่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นอาจารย์ผู้สอนกรรมฐานให้แก่ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เมื่อสมัยอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นลูกศิษย์และได้ ถวายความรู้เรื่องบาลีแด่ หลวงปู่มหาบุญมี เมื่อสมัยอยู่ที่วัดสระปทุม กรุงเทพมหานคร

ฝืนสังขารจะเรียนปริยัติต่อไป

หลวงปู่มหาบุญมี เมื่อครั้งศึกษาพระปริยัติธรรม(เปรียญธรรม)อยู่ที่วัดสระปทุม กรุงเทพมหานคร ท่านคิดว่าจะเรียนในชั้นเปรียญธรรม ๔ ประโยค ต่อไป จากนั้นองค์ ท่านจึงลองฝืนสุขภาพและอุปสรรคต่างๆ เพื่อจะได้มีความรู้ในทางพระปริยัติธรรมให้ สูงยิ่งๆ ขึ้นไป แต่ด้วยบุญบารมีขององค์หลวงปู่หรือมีสิ่งใดมาดลบันดาลทำ�ให้ท่านไม่ สามารถกระทำ�ในสิ่งที่ได้หวังเอาไว้ เพราะจากนั้นต่อมาไม่นานก็มีเหตุการณ์ที่ไม่คาด คิดเกิดขึ้น คือปรากฏว่าองค์ท่านเกิดอาพาธป่วยเป็นไข้ และมีงูตัวหนึ่งได้มาขวางทาง เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้นแล้วองค์ท่านจึงได้พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอยู่นานพอสมควร จนวาระสุดท้ายท่านจึงได้ตัดสินใจเข้าป่าเขา เพื่อออกปฏิบัติกรรมฐานบำ�เพ็ญภาวนา หลังจากองค์หลวงปู่ท่านอุปสมบทได้เพียง ๒ พรรษา ครั้นต่อมาโยมมารดาก็ได้ ถึงแก่มรณกรรม ในระหว่างนั้นอาการของจิตท่านก็วิตกกังวลไปต่างๆ ด้วยบารมีธรรม ที่ได้สั่งสมมาแต่ชาติปางก่อนองค์หลวงปู่ท่านได้พิจารณาเห็น “อนิจจัง” คือความไม่ เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิต ในกาลต่อมาท่านมีความมุ่งมั่นที่อยากจะออกเที่ยวธุดงค กรรมฐาน เพื่อปฏิบัติธรรมตามคำ�สั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า จึงได้เดินทางจากกรุงเทพมหานครกลับคืนมายังภาคอีสาน แล้วก็ได้ตั้งปณิธานในการปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง 75


ปีพุทธศักราช ๒๔๙๐-๙๔ จำ�พรรษาที่ เสนาสนะป่าบ้านห้วยทราย อำ�เภอคำ�ชะอี จังหวัดมุกดาหาร

(สมัยก่อนขึ้นกับจังหวัดนครพนม) หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เคยจำ�พรรษาร่วมกัน ณ บ้านห้วยทราย ใน สมัยนั้นหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นผู้มีอายุพรรษามากกว่าหลวงตามหาบัว แต่เรื่อง การปกครองคณะสงฆ์ หลวงปู่มหาบุญมี ท่านได้มอบให้หลวงตามหาบัวเป็นผู้คอยดูแล พระเณร ซึ่งโดยในหลักของพระธรรมวินัยแล้วหลวงตามหาบัวท่านก็ให้ความเคารพต่อ องค์หลวงปู่มหาบุญมีเป็นอย่างมาก หลวงปู่มหาบุญมีท่านจึงอยู่ในฐานะเป็นประธาน สงฆ์ หลวงตามหาบัว ท่านเคยกล่าวถึงปรกติอุปนิสัยของหลวงปู่มหาบุญมี จากการ ที่ได้อยู่ปฏิบัติธรรมร่วมกัน โดยท่านยอมรับเรื่องความใจร้อนของหลวงปู่มหาบุญมี ว่า “ผมว่าผมใจร้อน ยังสู้อาจารย์มหาบุญมีไม่ได้” ฉะนั้นในพรรษาปีนี้ จึงมีพระมหาเปรียญธรรม (๓ ประโยค) อยู่ร่วมกันถึง ๒ องค์ องค์หนึ่งคือหลวงปู่มหาบุญมี อีกองค์ก็คือหลวงตามหาบัว องค์หนึ่งอยู่บนเขาองค์ หนึ่งอยู่เชิงเขา ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ คุณแม่ชีแก้ว เสียงลํ้า ได้นิมิตรู้ล่วงหน้าว่าจะมีพระองค์ สำ�คัญจะมาพักปฏิบัติธรรมที่บ้านห้วยทราย พระกองทัพธรรมกรรมฐานองค์สำ�คัญใน ยุคนั้น ที่พอทราบนามดังนี้ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี หลวงปู่สม โกกนุทโท วัดเวียงสวรรค์ จังหวัดลำ�ปาง 76


หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

วัดเวียงสวรรค์ จ.ลำ�ปาง

วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร

หลวงพ่อนิล ญาณวีโร

หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

หลวงปู่ศรี มหาวีโร

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

หลวงปู่ลี กุสลธโร

วัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม

หลวงปู่สม โกกนุทโท

วัดป่าประดู่ จ.ปราจีนบุรี

วัดป่าจ้อก้อ จ.มุกดาหาร

วัดประชาคมวนาราม จ.ร้อยเอ็ด

หลวงปู่เพียร วิริโย

หลวงปู่สุพัฒน์ สุขกาโม

หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต

หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร

วัดป่านาคูณ จ.อุดรธานี

วัดป่าหนองกอง จ.อุดรธานี

วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี จ.สกลนคร

วัดถ้ำ�กลองเพล จ.หนองบัวลำ�ภู

วัดภูผาแดง จ.อุดรธานี

หลวงปู่คำ�ตัน ฐิตธัมโม

ท่านพระอาจารย์สวาท

สามเณรน้อย

สามเณรอุ่นหล้า

วัดป่าดานศรีสำ�ราญ จ.บึงกาฬ

(ภายหลังได้ลาสิกขาบท)

(พระครูสังฆรักษ์คำ�พอง ปัญญาวุโธ วัดป่านานาชาติ สหรัฐอเมริกา) 77

(หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร)


พระอาจารย์กาย กุสลธัมโม

(ภายหลังได้กลับมาอุปสมบทใหม่ เป็นครั้งที่ ๒)

สามเณรภูบาล

สามเณรบุญยัง

ภายหลังได้ลาสิกขาบท

(หลวงพ่อบุญยัง ผลญาโน วัดป่าบ้านบาก จ.ศรีสะเกษ)

คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ�

บ้านห้วยทราย อ.คำ�ชะอี จ.มุกดาหาร

หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วชุมพล อำ�เภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร หลวงพ่อนิล ญาณวีโร วัดป่าประดู่ จังหวัดปราจีนบุรี (ท่านเป็นบิดาของ สามเณรบุญยัง) หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดภูจ้อก้อ อำ�เภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม อำ�เภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ วัดป่านาคูณ อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี หลวงปู่สุพัฒน์ สุขกาโม วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี อำ�เภอสว่างแดนดิน จังหวัด สกลนคร หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำ�กลองเพล อำ�เภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง อำ�เภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี หลวงปู่คำ�ตัน ฐิตธัมโม วัดป่าดานศรีสำ�ราญ อำ�เภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ สามเณรน้อย (พระครูสังฆรักษ์คำ�พอง ปัญญาวุโธ วัดป่านานชาติ สหรัฐอเมริกา) สามเณรภูบาล (ภายหลังได้ลาสิกขาบท) สามเณรโส สามเณรบุญยัง (หลวงพ่อบุญยัง ผลญาโณ วัดป่าบ้านบาก อำ�เภอราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ) จากนั้นคุณแม่ชีแก้วท่าน จึงได้นำ�พาผู้คนชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายช่วย กันสร้างกระต๊อบ เสนาสนะ ที่พักต่างๆ ไว้รอล่วงหน้าแล้ว เพื่อจะได้เอาไว้สำ�หรับเป็น ที่พักของครูบาอาจารย์ต่อไป หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร พักปฏิบัติธรรมที่เสนาสนะป่าบ้านห้วยทราย(ปัจจุบัน คือ วัดวิเวกวัฒนาราม) ได้มาพักอยู่ก่อนที่องค์หลวงตามหาบัว จะเดินทางมาถึง ในพรรษาปีนี้องค์หลวงตามหาบัว กับสามเณรภูบาล ได้ขึ้นไปจำ�พรรษาอยู่บน 78


หลังเขาบ้านห้วยทราย (ปัจจุบันคือ วัดถ้ำ�นกแอ่น) ส่วนหลวงปู่ลี กุสลธโร ท่านได้ จำ�พรรษาอยู่กับหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งสมัยได้มี โอกาสพบกับหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ในยุคบ้านห้วยทราย ดังนี้ว่า “เราจำ�พรรษาอยู่บนภูเขากับเณรหนึ่ง มหาภูบาล แหละ ให้หมู่เพื่อนอยู่ข้าง ล่าง เราขึ้นไปอยู่บนภูเขา มันใกล้ๆ กัน กลางคืนเวลาประชุมเราก็ลงไป เราเป็น ผู้เทศน์แหละ อาจารย์มหาบุญมีท่านอยู่วัดข้างล่าง เราอยู่ข้างบน ปีนั้นมีมหาสอง องค์ องค์หนึ่งอยู่ภูเขา องค์หนึ่งอยู่ตีนเขา” (คัดจากกัณฑ์เทศน์วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ จากแร่ธาตุเป็นแร่ธรรม)

องค์หลวงปู่ลี กุสลธโร ได้เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งสมัยยุคบ้านห้วยทราย ว่า “แต่ก่อนอยู่บ้านห้วยทรายท่านไม่รับพระมากนะ บางทีก็แปดองค์บางทีก็ห้า องค์ ทุกวันนี้มันมากนะ พระที่จะไปวิเวกก็ไม่มีแล้วไปก็ต้องไปตามสำ�นักต่างๆ ไม่เหมือนสมัยก่อนนะนอนตามดินตามหญ้า ศรัทธาสมัยก่อนไม่เหมือนสมัยนี้นะ สมัยก่อนไปบิณฑบาตก็ได้แต่ข้าวเปล่ามาฉันแล้วก็ไปภาวนา โยมเขาไม่มาวุ่นวาย เขาไม่มาสนใจเรื่องพระกรรมฐานหรอกมันต่างกัน” (คัดจากกัณฑ์อบรมพระปี ๒๕๔๒ บริกรรมพุทโธ ๆ อย่าให้เผลอ)

ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ หลังจากออกพรรษาแล้ว หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ได้ออก เที่ยวธุดงค์ไปพักปฏิบัติธรรมที่วัดป่าบ้านเหล่าน้อย อำ�เภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร (บริเวณเชิงเขาวัดภูจ้อก้อ ปัจจุบันคือวัดป่ามัชฌันติการาม) จากนั้นองค์หลวงตา มหาบัวจึงได้เปลี่ยนสถานที่วิเวก ธุดงค์ลงมาจากหลังภูเขาถํ้านกแอ่น มาพักอยู่ที่ เสนาสนะป่าชายเขาบ้านห้วยทราย ต่อมาปีพุทธศักราช ๒๔๙๕ จนกระทั่งออกพรรษา องค์หลวงตามหาบัว ปรารภ ว่าจะสร้างศาลา แต่องค์ท่านมีความเมตตาหมู่คณะเป็นห่วงว่าจะรบกวนการภาวนา ท่านจึงหาอุบายบอกให้หมู่คณะแยกย้ายกันออกไปหาที่ภาวนาตามป่าเขาต่างๆ จะยัง คงเหลือแต่หลวงปู่ลี และพระสวาท อยู่ช่วยทำ�ข้อวัตร อุปัฏฐากองค์หลวงตามหาบัว เช่น ตักนํ้า ดูแลความสะอาดเรียบร้อยของเสนาสนะ ฯลฯ ในช่วงเวลาระหว่างนั้นพระสวาท ได้เกิดล้มป่วยเป็นไข้มาลาเรียไม่สามารถจะ ทำ�ข้อวัตรถวายครูบาอาจารย์ได้ จึงเป็นเหตุให้หลวงปู่ลีได้ตักนํ้าร่วมกับองค์หลวงตา เพียงสององค์เท่านั้น ชาวบ้านห้วยทรายจึงขออาสาช่วยตักนํ้าถวายพ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงตามหาบัว แต่องค์หลวงตาไม่อนุญาต เพราะเกรงว่าจะเป็นภาระแก่ญาติโยม มากเกินไป ถึงอย่างนั้นฝ่ายญาติโยมก็ยังไม่ลดละความพยายามและบวกกับความ 79


เคารพศรัทธาที่มีต่อองค์หลวงตา เขาฉลาดจึงได้คิดหาอุบายทำ�อย่างไรจะได้ถวายงาน ตามที่ตั้งใจไว้ พวกชาวบ้านจึงได้มาแอบซุ่มดู คอยสังเกตดูว่าช่วงเวลาไหนที่เหมาะแก่ การจะเข้าไปตักนํ้าถวายครูบาอาจารย์ ฉะนั้นจึงได้ปรึกษาหารือกันในกลุ่มญาติโยม ว่า จะมาตักนํ้าในช่วงที่ท่านไม่อยู่(ช่วงท่านไปบิณฑบาต) เมื่อองค์หลวงตาเสร็จจากไป บิณฑบาตกลับมาจากหมู่บ้านมาถึงที่พักมาเห็นสภาพที่อยู่มีคนมาตักนํ้าใช้ใส่ไว้ตามตุ่ม ไว้เต็มเรียบร้อยเป็นอย่างดี ท่านก็เงียบไม่ได้ตำ�หนิอย่างไร จากนั้นชาวบ้านห้วยทราย ก็ได้ถวายการอุปัฏฐากเช่นนั้นเรื่อยมาโดยตลอด ในสมัยยุคบ้านห้วยทราย อำ�เภอคำ�ชะอี จังหวัดมุกดาหาร โดยมีองค์พ่อแม่ครู อาจารย์หลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นผู้นำ�ในยุคสมัยนั้น เป็นปฏิปทาที่เหมือน กับยุคบ้านหนองผือที่องค์หลวงปู่มั่นพาหมู่คณะดำ�เนินมา องค์หลวงตาท่านจะทำ�อะไร ด้วยองค์ท่านเองตลอดเช่น ในช่วงเย็นพระอุปัฏฐากจะนำ�กาน้ำ�ร้อนไปวางไว้หน้าห้อง สรง องค์ท่านจะสรงน้ำ�เอง กุฏิขององค์หลวงตานั้นเป็นกุฏิเล็กๆ มุงด้วยแฝกเตี้ยๆ เวลา ไปรับกระโถนตอนเช้า องค์ท่านจะส่งออกมาทางหน้าต่างซึ่งเป็นฝาขัดแตะ องค์หลวงตาไม่ได้ประชุมอบรมภาวนาทุกวัน แต่จะประชุมเป็นครั้งคราวไป ถ้า วันใดจะมีประชุมองค์ท่านก็จะบอกล่วงหน้าก่อน ท่านเข้มงวดกวดขันกับพระเณรที่ไป ปฏิบัติธรรมกับท่านมาก ยามค่ำ�คืนท่านจะลงเดินตรวจพระเณรในวัดโดยไม่ใช้ไฟฉาย ว่าพระเณรองค์ไหนทำ�ความเพียรอยู่หรือเปล่า ถ้ามองเห็นจุดไฟอยู่ท่านก็จะไม่เข้าไป ถ้าองค์ไหนดับไฟท่านจะเข้าไป เข้าไปจนถึงใต้ถุนกุฏิแล้วฟังเสียงว่าจะนอนหลับหรือ เปล่า หรือนั่งภาวนา เพราะคนที่นอนหลับส่วนมากเสียงหายใจจะแรงกว่าธรรมดาที่ไม่ หลับ ถ้าหากองค์ไหนนอนหลับก่อน ๔ ทุ่มแล้ว พอตอนเช้าประมาณตี ๔ ท่านจะเดิน ตรงไปที่กุฏิองค์นั้นแหละ และถ้ายังไม่ตื่น ตอนเช้าลงศาลาจะเตรียมบิณฑบาต ท่านจะ เทศน์ว่าให้พระเณรองค์นั้น ถ้าท่านได้เตือนถึง ๓ ครั้งแล้วไม่ดีขึ้น ท่านจะขับไล่ออก 80


จากวัดให้ไปอยู่วัดอื่น โดยพูดว่าผมสอนท่านไม่ได้แล้วนิมนต์ ออกไปจากวัดเสีย ฉะนั้น พระเณรยุคบ้านห้วยทรายภายใต้การนำ�ขององค์ ท่านจึงมีความพากเพียรในด้านการทำ�สมาธิภาวนาเป็นอย่าง มาก ต่างองค์ต่างหลักกัน คือ บางองค์เวลาหมู่เดินจงกรมจะขึ้นกุฏิแล้วไม่จุดไฟ ทำ�ท่า เหมือนกับว่านอนแต่ความจริงนั่งภาวนา เวลาหมู่ขึ้นจากทางจงกรมหมดแล้วจึงค่อย ลงเดินจงกรมก็มี (พระอาจารย์สิงห์ทอง เคยเล่าว่า สมัยนั้นเหมือนกับว่าพระเณรในวัด นั้นจะไม่ค้างโลกกัน พอตื่นนอนขึ้นมามองไปเห็นแต่แสงไฟ (แสงโคมไฟ) สว่างไสวตาม กุฏิของพระเณรเหมือนกับไม่นอนกัน) การเป็นอยู่ของพระเณรสมัยนั้นอยู่กันอย่างประหยัด บิณฑบาตแบบธุดงควัตร คือชาวบ้านเขาจะหมกห่ออาหารใส่บาตรพร้อมกับข้าวเหนียว ไม่ได้นำ�อาหารตามมา ส่งที่วัด แต่ว่าศรัทธาของชาวบ้านแถวนั้นเขาดีมากทั้งๆ ที่อดอยากขาดแคลน โดยเฉพาะแล้วเรื่องอาหารการกิน เขามีกบหรือเขียดตัวเดียวอย่างนี้เขาก็แบ่งใส่บาตร ได้ ๔ บาตร ๔ องค์ก็มี ในคราวที่อดอยาก มะเขือลูกเดียวอย่างนี้เขาจะผ่าใส่บาตรได้ ๔ องค์ ทั้งนี้เนื่องจากทางภาคอีสานนั้นค่อนข้างกันดารนํ้า โดยเฉพาะหน้าแล้ง บางแห่ง ต้องได้กินนํ้าในสระ พร้อมทั้งต้องไปตักเอาระยะทางก็ไกลด้วย เป็น ๒-๓ กิโลเมตรก็มี เพราะขุดบ่อแล้วก็ไม่มีนํ้า ถึงจะมีบางแห่งนํ้าก็เค็ม กินไม่ได้ และสิ่งที่ตามมาด้วยก็คือ ความอดอยากเรื่องอาหารการกิน สำ�หรับคนภาคอื่นบางคนมักจะว่าคนอีสานนี้กินไม่เลือก ก็เพราะเหตุว่าความที่ มันหาไม่ได้นั้นเอง มีอะไรเขาก็จับกินไป พวกนํ้าร้อน นํ้าชา โกโก้ กาแฟ และนํ้าตาล อย่างนี้ไม่ต้องถามหา แม้แต่ภาพยังไม่เคยเห็นเลย อาศัยเอาแก่นไม้ รากไม้ ใบไม้มาต้ม ฉัน นานๆ จะมีนํ้าอ้อยก้อนทีหนึ่ง แต่ก้อนนํ้าอ้อยสมัยนั้นอร่อยมาก ก้อนเดียวแบ่งกัน ฉัน ๓-๔ องค์ก็ยังพอ และอร่อยด้วย ไม่เหมือนนํ้าอ้อยสมัยทุกวันนี้ บางปีพระเณรเกิดล้มป่วยเป็นไข้มาลาเรียเกือบหมดทั้งวัด ยังเหลือแต่องค์ หลวงตามหาบัวและพระอีกองค์หนึ่งก็มี เป็นผู้ทำ�กิจวัตรประจำ�วัน เช่น ปัดกวาดลานวัด และตักนํ้าใช้นํ้าฉัน รักษาความสะอาดเสนาสนะต่างๆ บางครั้งครูบาอาจารย์บางองค์ เกิดป่วยหนัก จนชาวบ้านได้พากันออกมานอนเฝ้ารักษา แต่ท่านก็ปรารภว่า ได้กำ�ลัง 81


ใจดีในเวลาป่วย เพราะไม่มีที่พึ่ง จะพึ่งกายก็ไม่สบาย ป่วยไข้ได้มีโอกาสพิจารณามาก เมื่อพิจารณากันอยู่ไม่หยุดไม่ถอยมันก็รู้ก็เข้าใจในเรื่องของกายของจิต ครูบาอาจารย์ สมัยก่อนท่านได้กำ�ลังใจเพราะการป่วยไข้นี้มีมากๆ เลย และกำ�ลังใจท่านก็เข้มแข็ง ไม่เหมือนพระนักปฏิบัติทุกวันนี้ เอะอะก็หมอๆ นิโรธของนักปฏิบัติก็เลยอยู่กับหมอ ไม่ได้อยู่กับธรรมของพระพุทธเจ้า กำ�ลังใจก็อ่อนแอเอามากๆ เลย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เคยจาริกธุดงค์ผ่านมาพักปฏิบัติธรรม และได้จำ�พรรษา ถึง ๒ ครั้ง คือที่วัดป่าหนองน่อง และวัดหนองแวง ท่านได้เมตตาแก้มิจฉาทิฐิ(ความเห็น ผิด)ของชาวบ้านให้เปลี่ยนเป็นสัมมาทิฐิ(ความเห็นถูกตามครรลองคลองธรรม) โดยการ เทศนาสั่งสอนให้เขาถึงพระไตรสรณคมน์เป็นประการสำ�คัญ และท่านได้เริ่มต้นวาง ระเบียบการบวชตาผ้าขาวก่อนที่จะทำ�การบรรพชาอุปสมบทต่อไป ระเบียบนี้จึงได้มี ขึ้นในวงศ์พระกรรมฐานได้ปฏิบัติตามจนถึงปัจจุบันนี้ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่เคยมีพ่อแม่ครูอาจารย์ อาทิเช่น หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และครูบาอาจารย์องค์สำ�คัญอีกหลายท่าน ได้มาจำ�พรรษาโปรดชาวบ้านห้วยทรายนั้น ญาติโยมบ้านห้วยทรายให้ความเคารพรัก และเทิดทูนองค์หลวงตาเป็นที่สุดอย่างหาที่เปรียบมิได้

82


พุทธศักราช ๒๕๙๕ จำ�พรรษาที่วัดป่ามัชฌันติการาม(วัดป่าบ้านเหล่าน้อย) อำ�เภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร (สมัยก่อนขึ้นกับจังหวัดนครพนม) ในวันเพ็ญเดือน ๓ เดินทางไปถึงภูเก้า ไปพักและทำ� สังฆกรรมอยู่ที่วัดหนองแคนพร้อมกับครูอาจารย์มหาบุญมี สิริธโร พระอาจารย์คำ� (ขณะนั้นเป็นเจ้าคณะอำ�เภอมุกดาหาร) และหลวงปู่หล้า เขมปัตโต (วัดภูจ้อก้อ ในปัจจุบัน) และ ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ� ตามพระวินัยสงฆ์จะต้องลงอุโบสถทุกรูป อุโบสถที่ ๑ องค์หลวงปู่มหาบุญมีได้เทศน์ อบรมว่า พระหลวงพ่อหลวงตา อ.คำ�ชะอี อยากเป็น พระเจ้าเองน้อ ไม่อยากมีครูบาอาจารย์ อุปัชฌาย์ท่าน ก็บอกสอนปัจกรรมฐาน หลวงพ่อหลวงตาก็ไม่เอา ยัง อยากเป็นพระเจ้าเอง อุโบสถที่ ๒ เมื่อลงอุโบสถแล้ว องค์หลวงปู่ มหาบุญมีก็ยังเทศน์เหมือนเดิมอีก จนถึงอุโบสถที่ ๓ หลวงปู่กูดก็ยังไม่ทราบว่า หลวงปู่มหาบุญมี เทศน์ว่าให้ วันหนึ่งขณะทำ�สมาธิอยู่ ได้นิมิตถึงหลวงปู่มหา บุญมี ยืนขวางทางเดินจงกรมอยู่ทั้งทางหัวท้ายของ ทางเดินจงกรม และได้ยกมือห้ามท่านปฏิบัติ เมื่อเห็น ดังนั้นหลวงปู่กูด จึงได้พูดกับหลวงปู่มหาบุญมี ใน นิมิตว่า “ถ้าพ่อแม่ครูอาจารย์ไม่ให้หนทางเดินกระผม ผมก็จะไม่เข้าไป ถ้าเปิดหนทางให้ กระผมก็อยู่ปฏิบัติ ต่อไป” เป็นนิมิตอย่างนี้อยู่หลายวัน หลวงปู่กูดก็ยังไม่ เข้าใจ อุโบสถที่ ๔ หลวงปู่มหาบุญมีก็เทศน์ว่าอย่าง บ่อน้ำ�พระปัจเจกพระพุทธเจ้า เดิมอีก พระอาจารย์คำ�ขณะนั้นพาลูกศิษย์มาภาวนา อยู่บนภูค้อ และหลวงปู่หล้า เขมปัตโต รวมทั้งหลวงปู่กูด ก็สงสัยว่า ท่านว่าให้ใครมา หลายครั้งแล้ว หลังจากเลิกการลงอุโบสถแล้ว ก็เข้าทางจงกรม นั่งสมาธิทำ�เพียรกัน ต่อไป หลวงปู่กูดนั่งสมาธิพิจารณาคำ�พูดของหลวงปู่มหาบุญมี พร้อมทั้งเหตุการณ์ ต่างๆ ที่ปรากฏในนิมิต พอสว่างหลวงปู่กูดก็ร้องตะโกนขึ้น รู้แล้วๆ ท่านว่าให้ผม ผมก็ 83


ศาลาหอฉัน

กุฏิหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

พระประธานบนศาลา

ยังไม่รู้สึกตัว รุ่งเช้าหลวงปู่กูดจึงได้ออกเดินทางไปภูผากูด ขณะนั้นแรม ๒ คํ่า หลวงปู่ มหาบุญมีก็ตามมาที่ภูเก้า แต่ไม่ได้เจอ หลวงปู่กูดพบแต่สามเณรรูปอื่น จึงพาพระเณร ที่มีอยู่ในขณะนั้นไปวัดหนองแคนหมด และขนของที่มีอยู่ในวัดภูเก้าไปหมดเช่นกัน แรม ๓ คํ่า โยมบ้านโคกกลางตามขึ้นไปภูผากูด แล้วแจ้งข่าวหลวงปู่มหาบุญมี ตามพ ระเณรและขนเอาข้าวของไปหมดให้ทราบ พร้อมขอนิมนต์หลวงปู่กูด ได้กลับไปพัก ปฏิบัติธรรมที่วัดหนองแคน หลวงปู่กูดตอบตกลงจึงเดินทางกลับภูเก้าในวันแรม ๔ คํ่า เดือน ๓ เมื่อไปถึงภูเก้า ได้พบหลวงปู่มหาบุญมี ท่านก็ไม่เทศน์ว่าให้อีกเลย หลายวันต่อมาเณรน้อย (เณรรักษ์) ก็นิมิตว่า หลวงปู่มหาบุญมีมาดุด่าเฆี่ยนตี เณรยิ่งสงสัยก็ยิ่งถูกตี เมื่อเณรหยุดร้องจึงเลิกตี นิมิตอย่างเดียวกันนี้ถึง ๒ ครั้งติดต่อ กัน เณรรักษ์ก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่อยากเข้าหาหลวงปู่มหาบุญมี ร่างกายเกิด ผ่ายผอมมาก วันหนึ่งสามเณรจึงมาเล่าปัญหาและนิมิตให้หลวงปู่กูดฟัง พร้อมกับบอก ให้พาหนีไปอยู่ที่อื่น เพราะอยู่ที่นี่ไม่ได้อีกแล้ว กลัวหลวงปู่มหาบุญมีมากเหลือเกิน กลัวจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ เณรรักษ์พูดหลายครั้งหลวงปู่กูดจึงตัดสินใจพาเณรรักษ์ ไปกราบลาหลวงปู่มหาบุญมี ท่านพูดว่า “ทำ�ไมไม่เหมือนคำ�พูดเลย นี่ก็เปิดทางให้ เดินแล้ว” นิมิตคำ�พูดนี้เป็นคำ�พูดที่หลวงปู่กูดขอให้หลวงปู่มหาบุญมีเปิดทางให้ปฏิบัติ อย่าได้มาขวาง ถ้าเปิดทางก็อยู่ภูเก้าต่อไป ซึ่งขณะนี้หลวงปู่กูดก็จะมากราบลาพา 84


ทางจงกรมเลียบหน้าผาบนภูเก้า

ความวิเวกสัปปายะบนภูเก้า

สามเณรไปอยู่ที่อื่น หลวงปู่มหาบุญมีท่านพูดต่อไปว่า “ไก่กับเปิด ไปด้วยกันมันไม่ ถูกกันหรอก ไปส่งเณรแล้วกลับมาหาเราอีกครั้ง” หลวงปู่กูดได้พาสามเณรรักษ์ไปอยู่ ที่ภูจ้อก้อกับหลวงปู่หล้า เขมปัตโต หลวงปู่กูดได้ชักชวนสามเณรกลับไปภูเก้าอีก แต่ สามเณรไม่อยากกลับ อยากจะเดินธุดงค์ไปข้างหน้าต่ออีก ดังนั้นหลวงปู่กูดจึงบอกกับ หลวงปู่มหาบุญมีด้วยว่า สามเณรไม่กล้ากลับไปอยู่กับหลวงปู่มหาบุญมีอีก ส่วนหลวง ปู่กูดก็ต้องการธุดงค์ไปทางจังหวัดเลย จึงกราบขออภัยพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ไม่ได้กลับไป อยู่ภูเก้าอีก ในช่วงที่หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ได้อยู่พำ�นักปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดป่าบ้านเหล่า แห่งนี้ หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ได้เดินจากวัดภูจ้อก้อลัดเลาะมาตามป่าเพื่อมาลงอุโบสถ สังฆกรรมร่วมกับหลวงปู่มหาบุญมี ซึ่งทั้งสองวัดนี้อยู่ห่างกันไม่ไกลนัก ครูบาอาจารย์พระกรรมฐานองค์สำ�คัญที่เคยมาพักปฏิบัติธรรม ณ สถานที่แห่งนี้ คือ หลวงพ่อคำ�ผอง กุสลธโร (วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี มรณภาพแล้ว) หลวงพ่อบุญรอด อธิปุญโญ (วัดถ้ำ�ไทรทอง จ.กาฬสินธุ์ มรณภาพแล้ว) หลวงพ่อศรีนวล ขันติธโร (วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี มรณภาพแล้ว) หลวงพ่อชำ�นาญ ชุติปัญโญ (ปัจจุบันท่านดำ�รงสมณศักดิ์ที่ พระครูโชติปัญญาวุธ เจ้าคณะอำ�เภอด่านซ้าย(ธ) จังหวัดเลย วัดป่าศิริรุ่งเรือง) และพระอาจารย์เริง ธัมมวโร (ปัจจุบันคือ พระครูวิบูลคณานุศิษฐ์ เจ้าอาวาสวัด ป่าหนองค้า อำ�เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น) (ในช่วงระหว่างที่องค์หลวงปู่มหาบุญมี ได้อยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดป่ามัชฌันติการามแห่งนี้ ได้ปรากฏนิมิตเห็นหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้เมตตามาสอนอุบายธรรมในนิมิต) องค์หลวงปู่มีความตั้งใจว่าจะสร้างสถานที่แห่งนี้ให้เป็นวัดป่ากรรมฐาน ต่อมา ได้มีชาวบ้านนายพรานมาล่าสัตว์บริเวณนี้ หลวงปู่ได้เมตตาอบรมสอนธรรมเพื่อให้เขา เหล่านั้นรู้จักเรื่องบุญ บาป แต่สุดท้ายปรากฏว่า เขาไม่สนใจ ไม่เชื่อฟัง ไม่ยินดีปฏิบัติ ตาม จากนั้นองค์หลวงปู่ท่านพิจารณาดูความเหมาะสมต่างๆ แล้ว ท่านจึงได้ตัดสินใจ ธุดงค์ไปที่อื่นต่อ 85


หลวงปู่ถาด สีลสุทโธ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๖-๒๕๐๐ จำ�พรรษาที่วัดถํ้าม่วง บ้านหนองแวง ต.หนองแวง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

วัดถํ้าม่วง มีเนื้อที่โดยประมาณ ๑๕๐ ไร่ แต่ก่อนชาวบ้านเรียกว่า ซำ�ม่วง จะ มีนํ้าซับนํ้าซึมอยู่บริเวณป่าหน้าวัด ภายหลังต่อมาจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า ถํ้าม่วง ซึ่งมีต้น มะม่วงอยู่บริเวณหน้าถํ้า เคยมีครูบาอาจารย์มาพัก ณ สถานที่แห่งนี้ อาทิเช่น พระ อาจารย์สวด เขมิโย พระอาจารย์สวาท สิริปุณโณ หลวงปู่มหาบุญมี ท่านเคยได้นำ�พาญาติโยมชาวบ้านขุดสระนํ้า ไว้ที่วัดถํ้าม่วงนี้ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระเณรและส่วนรวม สภาพป่าภายในวัดถํ้าม่วงส่วนมากจะเป็นไม้จิก ไม้เต็งรัง ไม้กะบาก สมัยก่อน เป็นป่ารกชัฏน่ากลัวมากไม่ค่อยมีคนกล้าจะมาเดินเทียวไปมาหรือสัญจรบริเวณนี้ เคยมีสัตว์ป่ามาอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เช่น เสือ ช้าง หมูป่า สัตว์นานาชนิด ลักษณะ ภูมิประเทศของวัดจะเป็นป่าหนาทึบตามแนวสันเขาภูพาน ชาวบ้านหนองแวง ในสมัยโบราณนั้นเขามักจะพากันเรียกครูบาอาจารย์ ด้วย คำ�นำ�หน้าชื่อว่า “พ่อท่าน” เช่น พ่อท่านมหาบุญมี พ่อท่านสวด พ่อท่านคล้าย เป็นต้น คำ�ว่า “พ่อท่าน” เป็นคำ�พูดที่แสดงถึงความเคารพอย่างสูงของชาวบ้านและศรัทธา ญาติโยมในแถบนั้น ครั้นยุคสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันสาธุชนก็มักจะเรียกว่า หลวงพ่อ หรือหลวงปู่ ดังที่เราได้เห็นได้ยินจนถึงทุกวันนี้ 86


มีเหตุการณ์ครั้งหนึ่ง ณ หมู่บ้านหนองแวงแห่งนี้ สมัยก่อนเป็นป่าหนาทึบ มี สัตว์ป่ามากมาย มีผู้คนอาศัยอยู่จำ�นวนไม่ค่อยมากนัก อยู่มาวันหนึ่งในเวลาวิกาลได้ มีเสือใหญ่ตัวหนึ่งแอบเข้าไปล่าสัตว์ในหมู่บ้านแล้วตะปบเอาสุนัขของชาวบ้านที่เขา เลี้ยงไว้ไปกินเป็นอาหาร ต่อมาพอรุ่งเช้าองค์หลวงปู่มหาบุญมีท่านได้ไปบิณฑบาตใน หมู่บ้านตามปรกติที่เคยไปประจำ�ทุกวัน จากนั้นท่านจึงได้เอ่ยถามชาวบ้านขึ้นว่า “เมื่อ คืนนี้เสือมากินหมาหรือ” หลังจากที่องค์หลวงปู่พูดจบลง จึงทำ�ให้ชาวบ้านพากันเกิด อาการมึนงงอย่างมาก เพราะเหตุการณ์นั้นมันเกิดอยู่ในหมู่บ้าน ซึ่งระยะทางจาก วัดถํ้าม่วงกับบ้านหนองแวงก็อยู่ห่างไกลกันมาก ประกอบกับขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน ด้วย ทำ�ให้ญาติโยมชาวบ้านเห็นความอัศจรรย์คือญาณหยั่งรู้ขององค์หลวงปู่ว่าท่าน ไม่ใช่พระธรรมดา จึงนับเป็นการเพิ่มความศรัทธา ความไม่ประมาทในคุณธรรมของ พ่อแม่ครูอาจารย์ซึ่งท่านแสดงให้ศิษย์ได้เห็นได้สัมผัสกับตนเองว่า สิ่งที่ครูบาอาจารย์ ผู้มีคุณธรรมอันวิเศษท่านเห็นท่านรู้มากกว่าปุถุชนคนมีกิเลสหนานั้นยังมีอีกมากมาย นี่เป็นเพียงแค่บางเรื่องบางอย่างเท่านั้นเอง

ประกาศ สร้างพระพุทธรูปองค์นี้และองค์อยู่ถํ้าม่วง เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ สร้าง ๑๐ วันเสร็จ โดยพระอาจารย์พระมหาบุญมี และโยมดีไปนิมนต์พระอาจารย์คล้าย และพระอาจารย์ บุญมี มาเป็นช่างทำ� สิ้นค่าก่อสร้าง ๑,๖๑๘ บาท โดยมีโยมบ้านหนองแวงและโยม บ้านผือ สร้างวันขึ้น ๕ คํ่า เดือน ๖ เสร็จ ๑๔ คํ่า วันศุกร์ที่ ๑๐ พ.ค. ๑๑ ให้นาม พระพุทธรูปองค์นี้และองค์อยู่ถํ้าม่วงว่า พระชินวารีย์ และชินถลมาค สถิต ณ ถํ้าม่วง ปัจจุบัน พระครูสุทธิสีลสังวร (หลวงปู่ถาด สีลสุทโธ) อายุ ๗๐ ปี พรรษา ๔๕ ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดถํ้าม่วง ซึ่งคอยปกครองดูแลพระเณรภายในวัดด้วย เมตตาธรรมอย่างสูง ท่านเคยพบเห็นและมีโอกาสได้รับใช้อุปัฏฐาก ได้ยิน ได้ฟังข้ออรรถข้อธรรมต่างๆ เช่น เรื่องการถือธุดงค์ ๑๓ ข้อ, พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ อุบายการภาวนา ฯลฯ จากหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ตั้งแต่เมื่อ ครั้งยังเป็นฆราวาสครั้นต่อมาท่านได้อุปสมบท ขอถวายตัวเป็นลูกศิษย์ แด่องค์หลวงปู่มหาบุญมีเพื่อสืบทอดมรดกธรรมของครูบาอาจารย์จนกระทั่ง ถึงทุกวันนี้ 87


ปีพุทธศักราช ๒๔๙๙ (ในช่วงฤดูแล้ง) ณ ยอดบุญทันดงโค่โล่ อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี(ปัจจุบัน เป็น อำ�เภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำ�ภู) หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล ได้เดินทาง ต่อไปที่ยอดบุญทัน ซึ่งท่านพระอาจารย์สวด เขมโก ได้พักวิเวกอยู่ที่นั่น และมีโอกาส ได้กราบนมัสการหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ที่ยอดบุญทันดงโค่โล่นี้เป็นป่าดงดิบ เต็ม ไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด มีพวกช้าง เสือ เป็นต้น ตกกลางคืนเสือโคร่งร้องตามประสา เสือป่า พวกโยมที่ติดตามไปด้วยกลัวเสือต้องก่อกองไฟไว้ ต่างคนต่างพากันตั้งใจ ภาวนา เอาพุทโธเป็นที่พึ่ง ภาวนาเหนื่อยแล้วล้มลงนอนก็หลับๆ ตื่นๆ เพราะกลัวเสือ หลวงปู่บุญจันทร์ เล่าว่า ที่ยอดบุญทันนี้ไม่ไผ่ป่าก็ลำ�ใหญ่ เอามาตัดทำ�เป็นกระโถนใช้ ในเวลาฉันเช้า ใช้ทำ�เป็นครกสำ�หรับตำ�อะไรก็ได้ นอกจากนั้นยังใช้สับเป็นฟากสำ�หรับ ปูพื้นและมุงกุฏิกันแดดกันฝนก็ได้ หลวงปู่บุญจันทร์เล่าว่า ที่ยอดบุญทันนี้มันเป็นต้น ห้วยบุญทัน ต้นห้วยโค่โล่ และต้นห้วยบักอึ ๓ ห้วยนี้รวมกันเรียกว่า ยอดบุญทัน คือ ต้นนํ้าลำ�ธารนั่นเอง 88


พุทธศักราช ๒๕๐๑ – ๒๕๐๓ จำ�พรรษาที่วัดชลประทานนํ้าอูน ตำ�บลแร่ อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร สมัยก่อนสภาพป่าบริเวณแห่งนี้ ชาวบ้านทั่วไปพากันเรียกว่า ดงคำ�โพธิ์ ซึ่งใน ตอนนั้นยังไม่มีการสร้างเขื่อนกักเก็บนํ้า เป็นป่าทึบป่าดงดิบอุดมสมบูรณ์มาก มีต้นไม้ ใหญ่นานาพันธุ์ยาวติดต่อไปถึงเขตเทือกเขาภูพาน เต็มไปด้วยอันตรายต่างๆ มีสัตว์ป่า ใหญ่น้อยนานาชนิดอาศัยอยู่ เช่น ช้าง เสือ ฯลฯ ครูบาอาจารย์องค์สำ�คัญสายกรรมฐานที่เคยมาพักปฏิบัติธรรม ณ สถานที่แห่ง นี้ ได้แก่ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร หลวงปู่พันธ์ หลวงปู่แสง ญาณวโร ฯลฯ ซึ่งในการ เดินทางไปจากที่นี่ไปยังวัดป่าภูริทัตตถิราวาส บ้านหนองผือ-นาใน เป็นวัดที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้พักปฏิบัติธรรมในช่วงปัจฉิมวัยจนกระทั่งใกล้จะละสังขาร ระยะทาง ห่างกันก็ไม่ไกลมากนัก ซึ่งทั้งสองสำ�นักนี้อยู่หน้าเขื่อนกับหลังเขื่อน ทราบจากพระรุ่นก่อนๆ ที่ท่านเคยมาพักภาวนาที่นี่เกี่ยวกับเรื่องภพภูมิเจ้าที่ วิญญาณสัมภเวสีเร่ร่อนที่อาศัยอยู่บริเวณแห่งนี้ค่อนข้างแรงมาก มีผู้เคยได้สัมผัสเห็น ว่าเป็นลักษณะคล้ายรูปสิ่งลึกลับแตกต่างกันไป ปัจจุบันพระอาจารย์เลิศชาย อิสฺสโร อายุพรรษา ๒๘ ดำ�รงตำ�แหน่งเจ้าอาวาส 89


วัดชลประทานนํ้าอูน เป็นผู้คอยดูแลและพักปฏิบัติธรรมอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้ อาณาบริเวณของวัดชลประทานน้ำ�อูน มีเนื้อที่ทั้งหมด ๓๕ ไร่ อยู่ติดกับเขื่อน นํ้าอูน เพราะสมัยก่อนเป็นดงป่าใหญ่มากและเป็นผืนป่าแห่งเดียวกัน เป็นต้นกำ�เนิด ของลำ�นํ้าอูน

ความเป็นมาของลำ�นํ้าอูน นํ้าอูน เป็นสาขาที่สำ�คัญที่สุดของแม่นํ้าสงคราม ในตอนบนของภาคตะวันออก เฉียงเหนือ มีต้นนํ้าอยู่ในเทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนคร ไหลลงไปรวมกับแม่นํ้าโขง ที่จังหวัดนครพนม เนื่องจากที่ราบสองฝั่งนํ้าอูนมีลักษณะเป็นแอ่ง ดังนั้น เมื่อถึงฤดู นํ้าหลากเวลาฝนตกหนักจึงถูกนํ้าท่วมเป็นประจำ� บริเวณที่ราบแถบนี้มีการเพาะปลูกมากทั้งข้าวและพืชอื่นๆ แต่ในเวลาฝนตกนํ้า ก็ท่วม เกิดอุทกภัย ทำ�ให้พืชผลเสียหายเป็นประจำ� และช่วงขาดฝนก็เกิดปัญหาเรื่อง การขาดแคลนนํ้า ไม่เพียงพอในการเพาะปลูก ทางกรมชลประทานจึงได้สร้างเขื่อน ขนาดใหญ่ ขึ้นที่บ้านหนองบัวหลวง อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร เพื่อช่วยแก้ปัญหา ของชาวเกษตรกรและจะได้กักเก็บนํ้าไว้ใช้ในยามเกิดวิกฤต 90



พุทธศักราช ๒๕๐๖ – ๒๕๐๘ จำ�พรรษาที่วัดป่าท่าสำ�ราญ อำ�เภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย

ศาลาหอฉัน

(ปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น จังหวัดบึงกาฬ) ตั้งอยู่บ้านท่าสำ�ราญ ม.๒ ต.ซาง อ.เซกา จ.หนองคาย (ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัด บึงกาฬ) สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗๖ ไร่ ๓๐ ตรว. นส.๓ ก เลขที่ ๑๕๕๙ และ ๑๕๖๐ อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๑๐ เส้น ๕ วา จดที่ดินนายประเสริฐ ควรเกตุ ทิศใต้ประมาณ ๑๒ เส้น จดทางสาธารณะ ทิศตะวันออกประมาณ ๗ เส้น ๕ วา จดที่ดินนายเส็ง สมพงษ์ ทิศตะวันตกประมาณ ๕ เส้น จดทางสาธารณะ มีที่ธรณี สงฆ์ ๑ แปลง เนื้อที่ ๒๑ ไร่ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ กุฏิสงฆ์จำ�นวน ๗ หลัง ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูป พระประธาน วัดท่าสำ�ราญ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๗๙ ชาวบ้านเรียกว่าวัดป่าท่าสำ�ราญ เดิมชื่อ ว่าวัดอุดมธรรม เป็นวัดป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และสัตว์ป่านานาชนิด และ เป็นวัดกัมมัฏฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ชาวบ้านช่วยกันสร้างวัดขึ้นในที่ดิน ซึ่ง นายมา สืบสิงห์ และนายเส็ง สมพงษ์ บริจาคให้สร้างวัด การบริหารวัดและการปกครอง วัดท่าสำ�ราญมีเจ้าอาวาสมาแล้วเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระบุ พ.ศ. ๒๔๗๙-๒๔๘๒, รูปที่ ๒ พระมหาบุญมี พ.ศ.๒๔๘๓-๒๔๘๘, รูปที่ ๓ พระเส พ.ศ.๑๓๙๐-๒๔๙๕, รูปที่ ๔ พระบุญมา พ.ศ.๑๔๙๖-๒๕๐๐, รูปที่ ๕ พระพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๑๐, รูปที่ ๖ พระบุญ พ.ศ.๒๕๑๒-๒๕๑๙ รูปที่ ๗ พระจัน ทา พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๒, รูปที่ ๘ พระเสลี พ.ศ.๒๕๒๓-๒๕๒๙, รูปที่ ๙ พระสงวน พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๓, รูปที่ ๑๐ พระคำ�หวา ภูริปัญโญ เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๕๕๑ จนถึง ปัจจุบัน 92


พุทธศักราช ๒๕๐๙ – ๒๕๑๑ จำ�พรรษาที่วัดป่าอัมพวัน (ปัจจุบันคือวัดป่าบ้านกุดเต่า ตำ�บลนามะเฟือง อำ�เภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู) ขณะนั้นที่วัดป่าอัมพวัน ได้มีหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นประธานสงฆ์ อยู่อบรมหมู่คณะพระภิกษุสามเณร ต่อมา เมื่อหลวงปู่ขาน ฐานวโร ได้เดินทางเข้ากราบนมัสการหลวงปู่ มหาบุญมี ตามอริยประเพณีอันดีงามของหมู่สงฆ์ และ ขอร่วมจำ�พรรษาด้วย องค์หลวงปู่มหาบุญมี ท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ ฟังว่า ท่านได้เกิดอัศจรรย์เกี่ยวกับเรื่องการระลึก อดีตชาติปางก่อนในแต่ละภพชาติ ขององค์ท่านว่า พระพุทธรูปเก่าแก่ เคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง ทั้งที่เคยได้เกิดเป็นมนุษย์ และสัตว์ก็มี ทั้งนี้เหตุที่องค์หลวงปู่เล่าให้ลูกศิษย์ก็เพื่อ จะได้เป็นทิฏฐานุคติเครื่อง เตือนใจว่า ภพชาติ ผลของกรรมเก่าที่เคยทำ�ไว้ เป็นเรื่องมีจริงตามหลักคำ�สอนของ พระพุทธเจ้าที่ทรงบัญญัติไว้ และมีองค์หลวงปู่ท่านได้ยืนยันเป็นประจักษ์พยานว่า บาป บุญ นรก สวรรค์ มีจริงทุกประการ (บุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ เช่น การเคยอยู่ร่วมกันในชาติก่อน การเคยเป็นเนื้อคู่กัน) สภาพของเสนาสนะภายในวัดป่าอัมพวันสมัยนั้น(เป็นวัดเก่าอยู่แต่ก่อนแล้ว) ดู จะไม่สมบูรณ์เท่าไรนัก ทั้งกุฏิ ศาลา โรงธรรม ล้วนสร้างไว้เพื่อใช้ชั่วคราวเท่านั้น ด้วย เหตุดังกล่าวในพรรษานี้หลวงปู่ขานจึงได้อยู่ช่วยหลวงปู่มหาบุญมี ทำ�การซ่อมแซม บูรณะเสนาสนะภายในวัด สิ่งใดพอจะซ่อมแซมได้ก็ซ่อมแซม สิ่งใดบูรณะไม่ได้ก็สร้าง ขึ้นใหม่ จนมั่นคงถาวรขึ้นมา สามารถใช้เป็นที่ปฏิบัติบำ�เพ็ญสมณธรรมของพระภิกษุ สามเณร และญาติโยม (องค์หลวงปู่มหาบุญมี เทศนาโปรดญาติโยมชาวบ้านกุดเต่า บนธรรมาสน์พื้นเมือง) วัดป่าอัมพวัน มีเนื้อที่ประมาณ ๗๐ ไร่ (เนื้อที่เดิมประมาณ ๑๐๐ กว่าไร่) พระ อุโบสถ (แต่ก่อนเป็นสิมไม้) ตั้งแต่ยุคสมัยของหลวงปู่มหาบุญมี และครูบาอาจารย์รุ่น เก่า องค์พระพุทธรูปในอุโบสถเป็นของเก่าแก่ ชาวบ้านยุคโบราณเป็นผู้ค้นพบแล้วได้ อาราธนานิมนต์มาจากช่องจำ�ปาซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาช่องชาดตามแนวสันเขา 93


พระอุโบสถ พระประธาน ฝีมือของพ่อคล้าย (หลวงปู่มหาบุญมี ท่านได้นำ�พาสร้าง)

ภูพาน เพื่อมาประดิษฐานไว้ในโบสถ์ให้สาธุชนได้กราบไหว้บูชา เรื่องประเพณีของชาวบ้านกุดเต่าและหมู่บ้านใกล้เคียง ถ้าหากชาวบ้านจะทำ� อะไรแล้วไม่ได้กราบเรียนขออนุญาตองค์หลวงปู่มหาบุญมี ก็มักจะไม่สำ�เร็จตามความ คาดคะเนเอาไว้ เช่น การไปจ้างมหรสพต่างๆ มาฉลองสมโภชน์ในหมู่บ้าน ก็จะมี อุปสรรคมากีดขวางทำ�ให้ไม่ราบรื่นในการละเล่น สมัยก่อนบริเวณวัดป่าอัมพวันแห่งนี้เคยเป็นแหล่งชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่าหลาย ชนิด เช่น โขลงช้างป่า เสือ ฯลฯ สัตว์ต่างๆ มักจะเทียวไปเทียวมาเส้นทางนี้ประจำ� เริ่ม ตั้งแต่ภูผาแดง ต่อมาที่เขาช่องชาด จนไปถึงจุดสุดท้ายที่อุทยานภูเก้าภูพานคำ� ถาวรวัตถุ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด ที่เป็นความดำ�ริ ความเมตตาของ องค์หลวงปู่มหาบุญมี ซึ่งท่านได้มองถึงเหตุการณ์วันข้างหน้า เพื่อจะได้เป็นสมบัติใน พระพุทธศาสนา และเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลแก่กุลบุตร กุลธิดาที่มาสุดท้ายภาย หลัง อาทิเช่น ใช้ประกอบสังฆกรรมประเภทต่างๆ ได้แก่ - การบรรพชาอุปสมบท - การลงอุโบสถ(ทุกวันแรมหรือวันขึ้น ๑๔-๑๕ คํ่า) - การประกอบกุศลพิธี เช่น ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ฯลฯ - เป็นที่อบรมธรรมเข้าสู่จิตใจของสาธุชน - เป็นเขตอภัยทาน (ห้ามมิให้ใครเข้ามาทำ�ลายชีวิตที่อาศัยอยู่ในวัด) 94


- เป็นคติ ตัวอย่างอันดีงาม และนับว่าเป็นมหามงคลอย่างสูงยิ่งที่มี พ่อแม่ครูอาจารย์ผู้ทรงคุณธรรมอันสูงล้นท่านได้เมตตา เสียสละ อุทิศตนเป็นผู้นำ�พาสร้างจนสำ�เร็จเป็นรูปธรรมขึ้นมาเพื่อประโยชน์ ส่วนรวมโดยแท้จริง

อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูป การสร้างพระพุทธรูปเพื่อเป็นพุทธบูชาย่อมเกิดกุศลและมี อานิสงส์ดังนี้ ๑. อกุศลกรรมในอดีตชาติแต่ปางก่อน จะเปลี่ยนจากหนักเป็นเบา จากเบา เป็นสูญ ๒. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง สรรพภยันตรายสลาย ๓. เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติแต่ปางก่อน เมื่อได้รับส่วนบุญไปแล้ว ก็จะเลิก เว้นการจองเวร ๔. เหล่ายักษ์ผีรากษส งูพิษ เสือร้าย ไม่อาจเป็นภัย ๕. จิตใจสงบ ปวงภัยไม่เกิด ฝันร้ายไม่มี ราศีผ่องใส สุขภาพแข็งแรง กิจการ งานเป็นมงคล ๖. มั่นคงในคุณธรรม ความอุดมสมบูรณ์ปรากฏเกินความคาดฝัน ครอบครัว สุขสันต์ วาสนายั่งยืน ๗. คำ�กล่าวเป็นสัตย์ ฟ้าดินปราณี ทวยเทพยินดี มิตรสหายปรีดา ๘. คนโง่สิ้นเขลา คนเจ็บหายได้ คนป่วยหายดี ความทุกข์หายเข็ญ สตรีจะได้ เกิดเป็นชาย ๙. พ้นจากมวลอกุศล เกิดใหม่บุญเกื้อหนุน มีปัญญาเลิศล้ำ� บุญกุศลเรืองรอง ๑๐. สิ่งที่สร้างจะบังเกิดเป็นกุศลจิตแก่ทุกคนที่ได้พบเห็น เป็นเนื้อนาบุญอย่าง อเนกทุกชาติของผู้สร้างที่เกิด จะได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้า ปัญญาใน ธรรมแก่กล้า สามารถได้อภิญญาหก สำ�เร็จโพธิญาณ การจัดสร้างพระพุทธรูปและสิ่งพิมพ์เป็นกุศลดังกล่าว ฉะนั้น ในงานวันเกิด งานมงคลต่างๆ การฉลองยศหรือตำ�แหน่ง การทำ�บุญสะเดาะเคราะห์ หรือขอพร การขอขมาลาบาปตลอดจนการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นต้น หาก ได้สละทรัพย์สินเงินทองเพื่อจัดกิจการดังกล่าวด้วย ก็จะเป็นผลานิสงส์สืบต่อไป 95


อานิสงส์การสร้างโบสถ์

ในการสร้างพระอุโบสถ์ ถือว่าเป็นสถานที่สำ�คัญ มากสำ�หรับพระสงฆ์ ซึ่งจะต้องใช้ทำ�สังฆกรรม สำ�คัญๆ หลายอย่าง อาทิ การให้การอุปสมบท แก่กุลบุตร การสวดทำ�อัพภานกรรม การสวด ญัตติทุติยกรรมวาจา การสวดญัตติจตุตถกรรม วาจา ฯลฯ ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เนื่องจากโบสถ์ที่สร้างขึ้นทุกวันนี้ คณะสงฆ์สามารถใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ หลายอย่างคือ เป็นอาคารอเนกประสงค์ รวมทั้งใช้เป็นที่ประชุมที่แสดงธรรม ที่ ฝึกอบรมสมาธิภาวนาที่สวดมนต์ ทำ�วัตรเช้าค่ำ� และที่พักอาศัยชั่วคราวสำ�หรับ ต้อนรับพระอาคันตุกะ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ผู้ที่สร้างโบสถ์ถวายพระสงฆ์จึงได้ บุญกุศลมากมาย ทั้งชาตินี้และชาติหน้า กล่าวคือ ชาตินี้ ผู้มีศีลเป็นพื้นฐานที่ ถวายโรงอุโบสถ ย่อมได้ความปลื้มปีติสุขอย่างสูง เมื่อได้ทราบว่าพระสงฆ์ได้ใช้โรง อุโบสถที่ตนสร้างถวายอย่างคุ้มค่า เกียรติคุณของผู้ถวายย่อมฟุ้งขจรไกล ผู้ถวาย ย่อมได้ สดับพระธรรมเทศนา เพิ่มพูน ศีล สมาธิ ปัญญา ทำ�ให้จิตใจสะอาด สว่าง สงบสุขได้มากขึ้น แม้จะสิ้นชีพก็ไม่หลงทำ�กาลกิริยา(ตาย) ย่อมมีอารมณ์ยึดมั่นใน กุศลเป็นอาสันนกรรมที่ดี ชาติหน้า ถ้าผู้ถวายโรงอุโบสถ ยังมีกิเลสอยู่ถึงแก่กรรม ลง เขาย่อมได้ไปเกิดในกำ�เนิดที่ดีมีความสะดวกสบายที่เรียกว่าสุคติโลกสวรรค์ อันเพียบพร้อมด้วยสิ่งที่ประเสริฐ ที่พึงพอใจ อันเป็นฝ่ายโลกิยสมบัติและจะได้ บรรลุคุณธรรมต่างๆ อาทิ ฌาน อภิญญา อริยมรรค อริยผล และกระทำ�ให้แจ้งซึ่ง พระนิพพานเป็นที่สุด

การผูกพันธสีมา และฝังลูกนิมิต เมื่อมีตัวอาคาร หรือโรงอุโบสถอันมีขนาดใหญ่พอสมควร มีเสนาสนะอื่นๆ ที่ พระสงฆ์ใช้พักอาศัยอำ�นวยความสะดวกและใช้ประกอบศาสนกิจ ซึ่งปลูกสร้างอยู่ ในพื้นที่ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของสงฆ์ และได้รับอนุญาตจากทางราชการบ้านเมืองแล้ว ก็ เป็นหน้าที่ของฝ่ายพระสงฆ์ที่จะต้องมีพิธีผูกพัทธสีมา อันรวมถึงการเตรียมลูกนิมิตไว้ พร้อมสรรพซึ่งชาวบ้านมัก เรียกว่า งานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต ทั้งนี้ จำ�เป็นต้องปฏิบัติ ให้เป็นไปตามพระวินัยพุทธบัญญัติก่อน พระสงฆ์จึงกระทำ�สังฆกรรมที่กำ�หนดไว้ใน พระวินัยได้ 96


ถอดความจากหลักศิลาจารึก ดังนี้ ๒๕๑๒ ข้าพเจ้าได้มีความปรารถนาในอดีตกาล จึงได้ปรารภ ปรึกษาหารือการสร้างพระพุทธรูปแก่ญาติโยมบ้านกุดเต่า ญาติโยมทั้งหลายก็เกิดความยินดี พร้อมเพรียงสามัคคีกันว่า สร้าง ทางบ้านมีผู้ใหญ่บ้านชื่อนายแถม เป็นประธาน ทางวัด ก็มีพระมหาบุญมี สิริธโร อายุ ๖๐ พรรษา ๓๙ เป็นผู้ใหญ่ ได้จัดการสร้าง จึงได้ไปนำ�เอาท่านอาจารย์คล้ายที่วัดสุจินต์ ประชาราม อำ�เภอสว่าง เป็นช่างทำ� การสร้างได้ลงมือทำ�ใน วันขึ้น ๑ คํ่า เดือน ๑๐ วันพฤหัสเทแท่น วันพุธเทองค์พระ วันศุกร์ขึ้น ๑๔ คํ่าเป็นสำ�เร็จได้ ตลอดถึงเท้าจตุโลกบาลทั้ง ๔ ในทิศทั้ง ๔ ของธรณี และสาวกทั้ง ๒ รางสำ�หรับจุดเทียนและถางธูป ก็สำ�เร็จวันขึ้น ๑๔ คํ่า เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ คํ่า เป็นวันมหาปวารณา เห็นว่าถูกต้องกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ ฉะนั้นจึงให้ทรงพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า สังกัสสโลกวิทู สัตว์ ๒ ตัว เรียกว่า หมาไน ตัวที่ ๑ เดินหน้าแลกลับมาข้างหลัง ตัวอยู่ข้างหลังมัว แต่ดูป้าย ตัวข้างแมนเจ้าเลียงผา แลกลับมาเห็นหมาก็กลัวย้าน ทะยานแก่งแก้ ขางอ จ่องเจาะ มาไหน ๒ ตัวนี้เป็นบุพเพนิวาสชาติติดกัน ๒ ครั้ง ซึ่งอยู่ในที่นี้นั่นเอง คำ�สอน พระเจ้าว่า.... กัมมังภชาติ สัตตานัง กรรมย่อมจำ�แนกสัตว์ให้เป็นต่างๆ กัน เลียงผานั้นปั้นขึ้น เฉย เขาได้มาแต่เมืองเลย มูลค่าในการสร้างทั้งสิ้นเป็นเงิน ๖ พัน ๑๗ บาท เป็นเงิน หกพันสิบเจ็ดบาทถ้วน ทั้งนี้ขอฝากฝังให้นางธรณีและท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ เป็นจ้าว เป็นผู้เฝ้ารักษาต่อไป ให้ศาสนามั่นคงถาวรชั่วฟ้าดินสลายเทอญ

ประวัติพระแม่ธรณีมวยผม ธรณีนี่นี้เป็นพยานความศักดิ์สิทธิ์ของแม่โลก พระแม่ธรณี เป็นเทพฝ่ายหญิงที่ ผูกพันอยู่กับศาสนาพุทธ และคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน ทั้งที่พระแม่ธรณีนั้นเคยเป็น เทพของศาสนาพราหมณ์ ฮินดูเคยกล่าวถึงมาก่อนเพียงแต่พระแม่พระองค์นี้ไม่ได้ สร้างรูปเคารพให้เป็นที่เอิกเกริกอย่างเมืองไทย ส่วนใหญ่ถือเอาดินก้อนหนึ่งมาเป็น 97


เครื่องบูชาแทน “พระแม่ธรณี” เท่านั้น ความยิ่งใหญ่ ของท่านนั้นแทบไม่ต้องบรรยายถึง เพราะเหย้าเรือน ตึกรามบ้านช่อง ห้องหอเวียงวัง พร้อมด้วยสรรพสิ่ง ทั้งหลายในโลกนั้นตั้งอยู่บนพระวรกายของท่าน เพียง แต่ท่านไม่ได้ปรากฏรูปกายเป็นเรือนร่างให้เราสัมผัส มองเห็นด้วยตาเท่านั้นเอง คนไทยเองสร้างรูปของพระนางในลักษณะบีบ มวยผม เป็นจินตนาการที่จำ�ลองเอาจากพุทธประวัติ ตอนพระพุทธเจ้าผจญมารมาสร้างรูปไว้สักการบูชา ปางอื่นๆ ด้วยอิริยาบถยืนก็มี แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เท่ากับการนั่งพับเพียบเท่านั้นเอง ความจริงแล้ว ซึ่งพระแม่ธรณีนั้นเข้าใจง่ายที่สุด ไม่ต้องอธิบายมากทั้งๆ ที่ท่านเองก็มีชื่อเรียกอื่นเหมือน กัน อาทิ พระศรีวสุนธรา, พระปฤถิวี, พระภูมิเทวี, ธฤตริ, พสุนธร, พสุนธรี สถานภาพของพระแม่นั้นโสด ปราศจากการครองคู่กับพระสวามี แต่ตาม วัฒนธรรมดั้งเดิมของคนอินเดียนั้น มักไม่ยอมให้ผู้หญิงอยู่เป็นโสด เพราะผู้หญิงที่ ปราศจากคู่ครองหนึ่ง หรือ สามีตายหนึ่ง มักจะถูกประณามหยามเหยียด ดูหมิ่น ดูแคลนกันไปต่างๆ ดังนั้นในยุคแรกๆ นั้นก็เลยไม่มีการจัดคู่ให้กับแม่ธรณี, พระแม่คงคา ซึ่งมีสถานภาพโสดด้วยกันทั้งคู่ ตำ�นานว่า กาลก่อนนั้น พระลักษมี, พระสรัสวดี, พระธรณี, พระคงคา นั้นร่วมอยู่ในครอบครัวเดียวกับพระวิษณุเทพ ด้วยเหตุที่มีเรื่อง วิวาทกันบ่อยๆ ตามประสาเมียทั้งหลาย พระวิษณุเทพก็เลยต้องทำ�หน้าที่แจกจ่ายเมีย แจกพระคงคาให้กับพระศิวะ และจะยกพระปฤถิวีให้กับเทวดาองค์หนึ่ง ทำ�ให้นาง เกิดความน้อยเนื้อตํ่าใจก็เลยอธิษฐานขอลงมาใช้ชีวิตบนโลก ไม่อยากหาความสำ�ราญ บนสวรรค์อีกต่อไป

แม่ธรณี องค์พยานเอก ภารกิจที่สำ�คัญที่สุดก็คือ ในคืนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ พญามารสวัสดี และ กองทัพมารเข้ารบกวนพระพุทธเจ้าอ้างเอาบัลลังก์เป็นของตน ไม่มีเทพ เทวดา กล้า 98


กุฏิหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

รูปปั้นท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ อยู่รอบๆ บริเวณอุโบสถ

เป็นประจักษ์พยานให้ ต่างหนีกายหลบเร้นไปหมดด้วยความกลัวในพญามารจน พระพุทธเจ้าต้องอ้างเอาธรณีเป็นพยาน พอพระพุทธเจ้าเปล่งวาจาเท่านั้น แผ่นดินก็จะ สะเทือนเลื่อนลั่นอยู่ ๗ ครั้ง เสียงต้องอ้างเอาธรณีเป็นพอพระพุทธเจ้าเปล่งวาจาเท่านั้น แผ่นดินก็สะเทือนเลื่อนลั่นอยู่ ๗ ครั้ง เสียงดังกัมปนาท พระแม่ธรณีไม่อาจทนอยู่ได้พอ นางได้ยิน ต้องปรากฏกายเป็นพยานเอก แสดงการบิดนํ้าจากมวยผมเพื่อแสดงให้เห็น ถึงกุศลที่ พระพุทธเจ้าได้กระทำ�มาตั้งแต่อดีตชาติ ปรากฏว่านํ้าที่กรวดลงบนพื้นแล้ว แม่ธรณีรับไว้นั้นมากถึงขั้นเป็นมหาสมุทร พัดเอาเหล่าพญามารกระจัดกระจายหายไป ต้นเหตุนี้ทำ�ให้เกิดพระพุทธรูปในปางมารวิชัยขึ้นในกาลต่อมา 99


พุทธศักราช ๒๕๑๒ – ๒๕๑๔ จำ�พรรษาในเขตจังหวัดเลย มีครั้งหนึ่งลูกศิษย์ ได้กราบเรียนถาม หลวงปู่มหาบุญมี ว่า เคยได้ยินประวัติพ่อแม่ครูอาจารย์หลายองค์ท่านมักจะไปธุดงค์ทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำ�ปาง ฯลฯ เพราะทางโน้นภูเขาเยอะ อากาศก็ดี ขอกราบเรียน ถามองค์หลวงปู่ เคยไปธุดงค์แถวเชียงใหม่หรือเปล่าขอรับ หลวงปู่มหาบุญมี ตอบว่า ไม่เคยไป เที่ยววิเวกธุดงค์อยู่แถวเมืองเลย ภูเขาไม่อด ระหว่างนี้องค์หลวงปู่มหาบุญมี ท่านได้เที่ยววิเวกอยู่ในบริเวณเทือกเขาภูหลวง หลายแห่ง เช่น วัดปริตตบรรพต บ้านกกกอก วัดสิริปุญญาราม บ้านหมากแข้ง ตำ�บล หนองงิ้ว อำ�เภอวังสะพุง ฯลฯ ณ ที่วัดปริตตบรรพต แห่งนี้องค์หลวงปู่มหาบุญมีท่านได้เมตตามาพักอยู่ จำ�พรรษา เพื่อโปรดญาติโยมชาวบ้านกกกอก ซึ่งในสมัยก่อนเคยมีครูบาอาจารย์องค์ สำ�คัญต่างๆ หลายองค์ท่านเคยมาธุดงค์ ณ สถานที่แห่งนี้และพอสรุปถึงความเกี่ยวข้อง ขององค์หลวงปู่กับหมู่บ้านนี้ว่า บ้านกกกอก เป็นหมู่บ้านที่อยู่ระหว่างหุบเขาด้าน ทิศใต้ติดกับภูหลวง ทางทิศเหนือก็มีภูเขากั้นระหว่างบ้านกกกอกกับบ้านไร่ม่วง ด้าน ทิศตะวันตกก็มีภูเขาขวางกั้นอยู่อีกมีทางเข้าหมู่บ้านด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว มีลำ�ธาร นํ้าไหลผ่านวัด มีนํ้าตก และสัตว์ป่ามากมาย หมู่บ้านนี้มีอยู่ประมาณ ๑๐ กว่า หลังคาเรือน อยู่ในดงป่าทึบ ชาวบ้านมีอาชีพทำ�ไร่เล็กๆ น้อยๆ และเก็บของป่าขาย 100


หลวงปู่สังข์ ฐานิสฺสโร

กุฏิหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เคยอยู่ปฏิบัติธรรม

ซึ่งพออาศัยโคจรบิณฑบาตได้ เป็นสถานที่วิเวก วังเวง สงบสงัด เหมาะแก่การปฏิบัติ ธรรมเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถทำ�ความเพียรได้ทั้งกลางวันและกลางคืน สถานที่ แห่งนี้เป็นสถานที่สมกับคำ�สอนของครูบาอาจารย์ ซึ่งมักจะเน้นถึงสถานที่วิเวก๑ กาย วิเวก๑ จิตวิเวก๑ จึงจะเกิดธรรมะอันน่าอัศจรรย์ของจิตอันวิเศษสุด บ้านกกกอกนี้ สถานที่เป็นมงคล เป็นที่ที่เคยมีพระอริยเจ้าได้เคยมานิพพานอยู่ที่นั่น ดังที่เคยกล่าวมา แล้วในเรื่องหลวงปู่เอีย ที่บ้านกกกอกนั้น เป็นบริเวณป่าเขาอันสงบวิเวก เมื่อจากบ้านกกกอกมา ท่านจึงระลึกถึงสถานที่อันเป็นมงคลนี้ ถือเป็นที่วิเวกซึ่ง จะได้พิจารณาย้อนไปเป็นอนุโลมปฏิโลมได้อย่างสงัดเงียบ สำ�หรับสถานที่เป็นมงคลนี้ ครูบาอาจารย์มักจะเทศนาสอนศิษย์รุ่นหลังๆ อยู่เสมอว่า ต้องตรวจวินัยให้บริสุทธิ์ ข้อวัตรให้เคร่งครัด และที่ลืมไม่ได้คือการแผ่เมตตาจิตออกไปโดยไม่มีประมาณ แผ่ไป ในที่ใกล้ แผ่ไปในที่ไกล แผ่ไปในเบื้องบน แผ่ไปในเบื้องล่าง แผ่ไปในทางเบื้องซ้าย แผ่ไปในทางเบื้องขวา หน้า หลัง กว้าง ไกล แผ่ถึงเทพและอมนุษย์เสมอ เพื่อทำ�ความ คุ้นเคยเป็นมิตรไมตรีต่อกัน รวมทั้งสิงสาราสัตว์น้อยใหญ่ จตุบาท ทวิบาททั่วถ้วนกัน เขาจะได้รับกระแสแห่งความเย็นใจ อาบรดจิตใจอย่างชุ่มฉํ่าเวลาภาวนา

ประวัติวัดปริตบรรพต(บ้านกกกอก)

วัดป่าปริตตบรรพต เดิมชื่อว่า “วัดจิตตะจอมมณี” ตั้งขึ้นในสมัยปลายรัชกาลที่ ๕ ซึ่งได้จดทะเบียนวัดไว้ในกรมศาสนา เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๕๑ แต่เนื่องจากวัดได้ตั้ง อยู่ในสถานที่อันหางไกลความเจริญมาก ทำ�ให้ไม่ค่อยจะมีพระสงฆ์มาจำ�พรรษาและ วัดได้ถูกปล่อยร้างไประยะหนึ่งเนื่องด้วยไม่ค่อยมีพระสงฆ์เข้ามาจำ�พรรษา ต่อมาได้มี พระธุดงค์ กรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คือ หลวงปู่คำ�บุ ธัมมธโร และ หลวงปู่คำ�สอน (ไม่ทราบฉายา) ได้ธุดงค์ผ่านมาและเห็น 101


ว่าวัดแห่งนี้เป็นสถานที่อันสงบ จึงได้จำ�พรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ ต่อมา หลวงปู่ชอบ ฐาน สโม ก็ได้มาจำ�พรรษาที่วัดแห่งนี้และได้เริ่มพาชาวบ้านก่อสร้าง ศาลา กุฏิที่พักสงฆ์ขึ้น เพื่อปฏิบัติธรรม เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๙ และในเวลาต่อมาก็มี หลวงปู่หลุย จันทะสาโร ได้มาจำ�พรรษาต่อจากหลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นเวลา ๔ พรรษา คือตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๘๙ - ๒๔๙๓ โดยหลังจากนั้นมาวัดป่าปริตตบรรพต ก็ได้มีครูบาอาจารย์สายปฏิบัติ ธรรมเดินทางธุดงค์มาจำ�พรรษาบำ�เพ็ญเพียรอยู่ไม่ขาดสาย ครูบาอาจารย์ที่ได้มาจำ�พรรษาวัดป่าปริตรตบรรพตที่คนเฒ่าคนแก่จำ�ได้มีดังนี้ ๑ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม (มรณภาพแล้ว) ๒ หลวงปู่หลุย จันทะสาโร (มรณภาพแล้ว ) ๓ หลวงปู่ซามา อจุตโต (มรณภาพแล้ว) ๔ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร (มรณภาพแล้ว) ๕ หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัญฑิโต ๖ หลวงปู่ลี กุสลธโร ๗ หลวงปู่พวง สุวีโร (มรณภาพแล้ว) ๘ หลวงปู่บุญมา คัมภีธัมโม ๙ หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ ๑๐ หลวงปู่บัวทอง กตปุญโญ (มรณภาพแล้ว) ๑๑ พระอาจารย์เฉลิม มหาปุญโญ ๑๒ พระอาจารย์ทองหนัก สังกจิโร และครูบาอาจารย์สายปฏิบัติธุดงคกรรมฐานอีกหลายรูปที่จำ�ชื่อ-ฉายาไม่ได้ 102


เนื่องจากวัดป่าปริตตบรรพตเป็นวัดที่มีความเงียบ สงบและเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ มีความสมถะเหมาะแก่ การบำ�เพ็ญเพียรภาวนาโดยที่กล่าวมาก็มีครูบาอาจารย์ผู้ได้ ดวงตาเห็นธรรมหลายท่านเคยมาจำ�พรรษาอยู่วัดแห่งนี้และในปัจจุบัน วัดปริตตบรรพต มีเนื้อที่ทั้งหมด ๗๐ ไร่ (เนื้อที่ในส่วนที่มีเอกสารสิทธิ์จำ�นวน ๑๕ ไร่) ปัจจุบันมี หลวงปู่สังข์ ฐานิสสโร อายุ ๙๕ ปี ๒๑ พรรษา เป็นประธานสงฆ์และ คอยดูแลรักษาสถานที่แห่งนี้ ท่านได้อุปสมบท เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ ศาลาหอฉัน สร้างเสร็จเมื่อปี ๒๕๒๐ นับเป็นมงคลอย่างยิ่งที่มีองค์หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ท่านได้เมตตามาช่วยนำ�พาศรัทธาญาติโยมก่อสร้างขึ้นจนสำ�เร็จและได้ใช้ ประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน สมัยก่อนวัดนี้สัตว์ป่าเยอะมาก เช่น เสือ ช้าง เก้ง หมู่ป่า ฯลฯ เพราะเป็นสถานที่ติดกับภูหลวง และอยู่ในอ้อมกอดแห่งขุนเขา ครั้งหนึ่ง พลเอก อาทิตย์ กำ�ลังเอก อดีตผู้บัญชาการ ทหารบก เคยนำ�กำ�ลังทหารมา ปราบพวกลัทธิคอมมิวนิสต์ (ผกค.) เพื่อรักษาความสงบของบ้านเมือง (ลัทธิคอมมิวนิสต์ คือ ลัทธิเกี่ยว กับการจัดระเบียบสังคม ที่ยึดหลัก ว่าการรวมกันของบรรดาทรัพย์สิน ทั้ ง หลายเป็ น ของกลางร่ ว มกั น ทั้งหมด เอกชนจะถือกรรมสิทธิ์ใน อสังหาริมทรัพย์มิได้)

103


ศาลาหอฉัน

หลวงพ่อผจญ อสโม

จำ�พรรษาวัดสิริปุญญาราม อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย ณ วัดสิริปุญญารามแห่งนี้ อยู่ใกล้หมู่บ้านหมากแข้ง องค์หลวงปู่ได้นำ�พา ญาติโยมก่อสร้างถาวรวัตถุเพื่อเป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัทสี่ในภายภาคหน้า และเป็น สมบัติส่วนกลางของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีหลายประเภท อาทิเช่น ขุดสระนํ้า สร้าง พระอุโบสถ พระพุทธรูป กุฏิ ฯลฯ ปัจจุบัน หลวงพ่อผจญ อสโม ได้ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นประธานสงฆ์วัดสิริปุญญาราม คอยปกครองดูแลพระเณรด้วยเมตตาธรรม ท่านเป็นธรรมทายาทของหลวงปู่มหาบุญ มี สิริธโร อีกองค์หนึ่งที่ได้สืบทอดรักษาปฏิปทา ข้อวัตรปฏิบัติ มรดกธรรมตามคำ�สอน ขององค์หลวงปู่มาตราบจนกระทั่งทุกวันนี้

104


หลักศิลาจารึก

(ถอดความจาก หลักศิลาจารึก ว่า) ให้ชื่อวัดนี้ว่า วัดสิริปุญญาราม ปรินิพฺพานโตปฏฐาย ตทสสํวจฉ รุตฺ ตรปญจสตาธิกานิ เทวสํวจฺนิรสหสฺ สานิอติกกฺณ ตานิ ปุจฺจุปนฺ นกาลวเสน ผสฺสุคุญ มาสสฺส ทสมํทินฺนํ วารรวิเสน ปน วรวาโรโหติ สุณนฺ ตโภนโตฯ ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย นับจำ�เดิมแด่องค์สมเด็จพระผู้มี พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรินิพพาน มาบัดนี้ล่วงแล้วได้ ๒๕๑๓ ปี ปัจจุบันนกาล เดือน ๔ วันที่ ๑๑ วันพุธ วันท่านผู้เจริญทั้งหลาย จะพึงกำ�หนดนับ ด้วยประกาลฉะนี้ ด้วยว่าอาตมาจะปรารพ เรื่องสถานที่นี้ก็เป็นสถานที่ว่างเปล่า ภูมิเทวดารักษา อยู่เท่านั้น อาตมาผู้มีชื่อว่า พระอาจารย์มหาบุญมี สิริธโร อายุ ๖๐ ปี พรรษา ๔๐ ปี ได้โดยสารรถมาแต่บ้านกุดเต่า อ.หนองบัวลำ�ภู จ.อุดรธานี ถึงบ้านกกกอก นอนแรม ๑ คืน ตอนเช้าฉันเสร็จแล้ว ให้นายคำ�ภา สุธงสา ผู้ใหญ่บ้านกกกอกนั้น เองกับหมู่พวกอีกหลายคน ทั้งบ้านหมากแข้งด้วย มีนายสุปิน เป็นมาทำ�ที่พักให้ แต่เดือนอ้าย แรม ๓ คํ่า ตรงกับวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๒ อยู่ต่อมาอาตมาเห็น ว่าสงบ สงัด พอสมควร อีกอย่างก็บ้านหมากแข้งนี้ไม่มีวัดมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว จึง อยากให้ชาวบ้านหมากแข้งนี้มีวัดเป็นหลักฐานของจิตใจบ้าง จึงขุดสระอิตถีสห นารีขึ้น ๑ สระ เสร็จแล้วก็ทำ�สระที่ ๒ ออก คหปตีสหนารีขึ้นแล้วทำ� ทำ�นบน้ำ� เป็นถนนชื่อจำ�ปาคหบดีสหนารีอีก อาตมาจึงหวนทวนความดำ�ริ แต่นานมาแล้ว ว่าอยากจะสร้างพระพุทธรูป แท่นสูง ๓ เมตร องค์พระก็สูง ๓ เมตร หน้าตักยาว ๓ เมตร สำ�หรับศาลาสูง ๗ เมตรฉะนี้ ต่อมานายน้อย สุนทรสด อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี พูดปรารภอยากจะสร้างพระ แต่ก่อนๆ มา ก็พอดีมาถึงเข้า อาตมาจึงมอบความเป็นเจ้าของ ให้มอบความเป็น ผู้มีศรัทธาใหญ่ให้นายชาลี สิงห์สุริยะ อดีตครูใหญ่โรงเรียนวิทยาลัย จ.อุดรธานี กับพักพวกเป็นเจ้าศรัทธา มอบการสร้างและเจ้าของผู้สร้างให้พระอาจารย์คล้าย 105


ทานรโต อายุ ๔๓ พรรษา ๒๒ วัดสุจินต์ประชาราม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร มอบชำ�ระพื้นที่และไม้สำ�หรับปลูกสร้างให้บ้านหมากแข้ง บ้านกก กอก กกกระบก และคอยดูแลความบกพร่อง ส่วนศรัทธาเพิ่มเติมมีอยู่มากมาย แต่ที่ใหญ่ๆ นั้นก็มีนายสีนวน บ้านคำ�เจริญ ผู้ใหญ่บ้านดี และหมู่พวกอีกหลาย คนบ้านขาม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เหมือนกัน อ.เพ็น นายเคน นายสมนึก บ้านมุกมัน เป็นผู้มีรถขนทรายและหิน ปูน พร้อมญาติโยม อ.บ้านผือ บ้านกุดเต่า อ.หนองบัวลำ�ภู จ.อุดรธานี นายอ้วน อดีตครูโรงเรียนอยู่บ้านหนองพำ�และหมู่ พวกอีกมากตลอดญาติโยมมาแต่ที่ต่างๆ กัน เมื่อมาถึงก็พากันเป็นเจ้าของสร้าง เหมือนกันตามศรัทธา การสร้างลงมือทำ�แต่เดือนยี่ ขึ้น ๑ คํ่า ศาลาเสร็จเดือน ๓ เพ็ญ ให้ชื่อว่า มาฆะจตุรงฆ์ พระพุทธรูปทำ�สำ�เสร็จ เดือน ๔ เพ็ญ ให้พระนามว่า หลวงพ่อมาฆะวิมุตโต การสร้างทั้งหมดนี้สิ้นเงินไปเป็นจำ�นวน ๑๑,๗๕๐ บาท หลวงพ่อมาฆะวิมุตโตนี้หนา พร้อมทั้ง ๘ อากาสา ปพฺพต วน ภูมิ คํคา มหา สมุทธา อาธกขถา เทวตา สทา ตุมเห พุทธรูปํ อนุรกขนฺตุ ปฐวีนารี นางธรณี ยังไม่สลายฉันใด จงรักษาพระพุทธรูปไว้ฉันนั้น สิทธมตฺถุ สิทธมตฺถุ สิทธมตฺถุ อิทํพลํ เอวํ โหตุ

เนื้อที่ของวัดนี้ ทิศเหนือ ใต้ ยาว ๑๐ เส้น ทิศตวันตก ตะวันออก กว้าง ๕ เส้น

(*หมายเหตุ การถอดข้อความจากหลักศิลาจารึกนี้ คณะทำ�งานได้พยายามพิมพ์ตามข้อความในแผ่นศิลา ที่ครูบา อาจารย์ท่านได้ควบคุมและนำ�พาบึกทึกเรื่องราวของวัดสิริปุญญารามแห่งนี้) 106


อานิสงส์ผลบุญ การสร้างพระอุโบสถ ๑ ก่อให้เกิดความสงบร่มเย็นในชีวิตและครอบครัวเปรียบเหมือนกับการได้สร้าง บ้านสร้างที่อยู่อาศัย ๒ ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในทรัพย์สิน เพราะว่าอุโบสถเป็นที่จัดกิจกรรม ที่ทำ�นุบำ�รุงพระศาสนา ให้เจริญรุ่งเรืองและเป็นทีเจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ ๓ ก่อให้เกิดสติปัญญา ความเฉลียวฉลาดเพราะอุโบสถเป็นที่ทำ�สังฆกรรมของ พระ เช่น การทำ�วัตรสวดมนต์ การบวชนาค การสวดปาฏิโมกข์ การปวารณา รวม ทั้งเป็นสถานที่มีประโยชน์แก่พระพุทธศาสนามากมาย ๔ ก่อให้เกิดความสามัคคี ปรองดอง เพราะอุโบสถนอกจากจะเป็นที่ทำ�สังฆกรรมของพระสงฆ์แล้ว ยังเป็น สถานที่บำ�เพ็ญบุญของชาวบ้านที่มาร่วมสร้างบารมีต่างๆ จึงก่อให้เกิดอานิสงส์อย่าง หาประมาณมิได้ หมายเหตุ ๑ บริจาคสร้างพระอุโบสถเพียง ๑ บาททรัพย์นั้นก็จะอยู่คู่กับอุโบสถสถานไปจน ชั่วลูกชั่วหลาน เหลน โหลน ๒ การสร้างพระอุโบสถถวายสงค์ มีอานิสงส์มากมายมหาศาล เพราะวัดหนึ่งๆ มีอุโบสถได้เพียงหลังเดียว ดังนั้นการร่วมสร้างอุโบสถ ๑ หลัง เท่ากับการได้สร้างวัด ๑ วัด ๓ การที่จะสร้างอุโบสถสำ�เร็จได้ต้องมีอธิฐานธรรม ๔ ประการ คือ ๓.๑ การมีปัญญา คือการเล็งเห็นโทษของความโลภ คือการที่คิดว่าจะ สร้างคนเดียว เพราะการสร้างอุโบสถ ค่าก่อสร้างสูงเราต้องช่วยกันบอกบุญต่อๆ กัน ไปเป็นการกระจายบุญ แบ่งบุญ แจกบุญ ให้กันต่อๆไป ๓.๒ การถือสัจจะ คือการพูดจริง ตั้งใจจริง การกระทำ�จริง ในการที่คิดจะทำ� 107


บริเวณเคยเป็นที่ตั้งกุฏิหลวงปู่ มหาบุญมี สิริธโร ปัจจุบันได้พังทลายแล้ว

๓.๓ ความเสียสละ คือการร่วมมือร่วมใจกันบริจาคทรัพย์สินในการ ก่อสร้างตามกำ�ลังทรัพย์ ๓.๔ การมีอุปสมะ คือความสงบในใจ ไม่ยอมให้อะไรมาทำ�ให้เกิดความ ท้อแท้ ท้อถอย เลิกรากลางคัน ณ วัดป่าประชานิยม ในช่วงหน้าแล้งเมื่อครั้งที่หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ได้ ธุดงค์มากราบนมัสการหลวงปู่พร สุมโน ที่วัดป่าประชานิยม บ้านหนองหลวง อำ�เภอ สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ความดำ�ริในใจขององค์หลวงปู่นั้น ทีแรกท่านคิดว่าจะ มาขออยู่ร่วมจำ�พรรษากับหลวงปู่พร ณ สถานที่แห่งนี้ เพราะว่าหลวงปู่พร องค์นี้เป็น ครูบาอาจารย์ที่หลวงปู่มหาบุญมีท่านเคารพรักเป็นอย่างมาก แต่เนื่องด้วยเหตุผลและ ความจำ�เป็นบางประการ ที่ทำ�ให้องค์หลวงปู่ไม่ค่อยสะดวกที่จะอยู่ต่อไป ในกาลต่อมา ท่านจึงได้กราบลาหลวงปู่พร เพื่อออกธุดงค์ต่อไปและได้มาพักปฏิบัติธรรมที่ดงป่าใหญ่ บ้านคำ�เจริญ นั่นก็คือ วัดพระธาตุฝุ่นในปัจจุบัน ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดประชานิยมสักเท่าไหร่ หลวงตาพร สุมโน (อาจารย์ของหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร) หลวงตาพร (เป็นพี่ชายหลวงปู่บุญ ชินวังโส) เรื่องพระวินัยนี่แน่นอนที่สุด วินัย กับการประหยัด เวลาก่อสร้างนี้ พวกคนก่อสร้างเขาทำ�ปูนตกเพียงแต่เล็กๆ น้อยๆ ท่านไปเก็บหมด แต่ว่าความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อลูกศิษย์นี่.. ยอด.. หาไม่มีใครเปรียบ เทียบ ขนาดโยมเขาเอานํ้าดื่ม นํ้าปานะมาถวายแก้วเดียว ท่านจะเอาจอกเล็กๆ มา 108


หลวงตาพร สุมโน

แบ่งๆ ๆ ๆ พระเณรมีเท่าไหร่ให้ได้ฉันทั่วกันหมด หลวงตาองค์นี้เป็นอย่างนั้น อยู่ที่ วัดบูรพา อุบลฯ หลวงตาพร ในสมัยที่ท่านออกจากฆราวาสไปบวช ทีแรกก็ไปอาศัยอยู่ในสำ�นัก ของท่านอาจารย์มั่น ท่านอาจารย์มั่นบังคับให้บวชเป็นตาเถรชีผ้าขาวอยู่ ๓ ปี อบรม สั่งสอนให้ปฏิบัติธรรม ปฏิบัติจนจิตมีความสงบ รู้ธรรม เห็นธรรม รู้ธรรมวินัย ระเบียบ ปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์และพระศาสนาเป็นอย่างดี แล้วท่านก็ให้เปลี่ยนจากเพศชีผ้า ขาวเป็นเพศสามเณร คือบวชเป็นเณรใหญ่อยู่อีก ๓ ปี พอครบ ๓ ปีแล้ว ท่านอาจารย์ มั่นได้พามาอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดปทุมวนาราม ในจังหวัดกรุงเทพฯ นี้เอง ซึ่ง ท่านอาจารย์มั่นท่านเป็นผู้นำ�มามอบให้พระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปัญโญ) เป็น พระอุปัชฌาย์อุปสมบทให้ เมื่ออุปสมบทแล้วก็อยู่ในสำ�นักของท่านอาจารย์มั่น เอาใจใส่ปรนนิบัติอุปัฏฐาก ครูบาอาจารย์มิให้เดือดร้อน อาจาริยวัตร อุปัชฌายวัตร อย่างถูกต้องตามวินัยทุก ประการ จนกระทั่งท่านอาจารย์มั่นพิจารณาดูอุปนิสัยและการปฏิบัติว่าสมควรพอที่ จะออกบำ�เพ็ญโดยลำ�พังตัวเองได้แล้ว ท่านจึงเรียกมาสั่งว่า “พรเอ๊ย! เจ้าก็ฝึกฝนกับ ครูบาอาจารย์ตั้ง ๑๐ ปี พ้นนิสัยมุตกะแล้วพอจะช่วยตัวเองได้ หลีกออกไปหาวิเวก เฉพาะตัวก่อนเถิด ให้โอกาสองค์อื่นเขาเข้ามาปรนนิบัติครูบาอาจารย์บ้าง” นั่นแหละ จึงจะได้ออกจากสำ�นักครูบาอาจารย์ นี้คือจารีตประเพณีของพระ ธุดงคกรรมฐานที่ปฏิบัติต่ออุปัชฌาย์อาจารย์ในสมัยอดีต ในสมัยที่ท่านอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่นยังดำ�รงชีวิตอยู่ ครูบาอาจารย์ในสมัยก่อนท่านปรารภถึงหลวงตาพรว่า “หลวงตาพรติดตาม หลวงปู่มั่นอยู่ ๙ ปี ระเบียบวินัยข้อวัตรปฏิบัติทุกอย่างถอดแบบเอามาเปรี๊ยะเลย” 109


ปีพุทธศักราช ๒๕๑๕ จำ�พรรษาที่วัดพระธาตุฝุ่น อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ประวัติวัดพระธาตุฝุ่น

วัดพระธาตุฝุ่น ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านคำ�เจริญ หมู่ที่ ๕ ตำ�บลค้อใต้ อำ�เภอ สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๐๑ ไร่ ๒ งาน ๓ ตารางวา น.ส.๓ เลขที่ ๐๐ มีที่ธรณีสงฆ์ จำ�นวน ๑ แปลง อาคารเสนาสนะประกอบด้วยศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ กุฏิสงฆ์ จำ�นวน ๑๕ หลัง เป็นอาคารไม้ ๑๕ หลัง ปูชนียวัตถุมีพระธาตุ ซึ่งเป็นโบราณสถานเก่าแก่เรียกกันว่า พระธาตุฝุ่น ไม่ปรากฏนาม ผู้สร้างและปีที่สร้าง วัดธาตุฝุ่น ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ชาวบ้านเรียกวัดธาตุ เดิมเป็นป่าแต่มีซาก โบราณ ชื่อพระธาตุฝุ่นซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านคำ�เจริญ ต่อมาพระอาจารย์สิงห์ สหธมฺโม พระธุดงค์ได้เดินทางเข้าพักปฏิบัติธรรม ชาวบ้านคำ�เจริญ และหมู่บ้านใกล้เคียงมีความ ศรัทธาเลื่อมใส จึงได้ร่วมกันสร้างบริเวณพระธาตุฝุ่น ให้เป็นวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ (จากคำ�บอกเล่าของญาติโยมชาวบ้านแถวนั้นซึ่งเป็นคนสมัยรุ่นโบราณ ว่า เคยมีคน เห็นหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเดินธุดงค์ผ่านมาทางบริเวณวัดพระธาตุฝุ่นแห่งนี้ ท่าน เคยมาพักบำ�เพ็ญธรรมอยู่ชั่วระยะหนึ่ง และท่านเคยทำ�ป้ายด้วยไม้แบบโบราณติดไว้ บริเวณที่ตรงหน้าองค์พระเจดีย์ เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นคติให้ชาวบ้านบริเวณแถบนี้ ได้รู้ว่าเป็นสถานที่สำ�คัญ) 110


การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาส เท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระอธิการสิงห์ สหธมฺโม พ.ศ. ๒๔๘๔ -๒๕๐๒ รูปที่ ๒ พระอธิการเต็ม ธนฺติโก พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๒๒ รูปที่ ๓ พระอธิการสิงห์ กลฺยาโณ พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๒๗ รูปที่ ๔ พระอธิการเลื่อน โอภาโส ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๘ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน 111


ปีพุทธศักราช ๒๕๑๖-๒๕๑๗ จำ�พรรษาที่วัดป่าสุจินต์ประชาราม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ปีนี้องค์หลวงปู่มหาบุญมี ได้จำ�พรรษาอยู่กับพระอาจารย์คล้าย และคณะศิษย์ ได้พากันช่วยกันสร้างวัดป่าสุจินต์ประชารามแห่งนี้ขึ้นมาให้สมบูรณ์ เพราะจากเดิม เคยเป็นวัดเก่ามาแต่สมัยอดีต ก่อนที่องค์หลวงปู่จะเดินธุดงค์มาพักปฏิบัติธรรมที่นี่ ส่วนพระอาจารย์คล้ายท่านเป็นช่างปั้นพระพุทธรูป ที่เก่งและมีความชำ�นิชำ�นาญมาก ในงานปั้นพระ แม้ว่าองค์หลวงปู่มหาบุญมีท่านจะไปธุดงค์อยู่ที่แห่งใดไกลขนาดไหน ก็ตาม อาทิเช่น หนองบัวลำ�ภู เลย ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ฯลฯ ถ้าหากองค์ท่านมีความ ดำ�ริจะสร้างพระพุทธรูปแล้วท่านมักจะส่งข่าวหรือให้คนมาตามพระอาจารย์คล้ายผู้นี้ ไปช่วยงานท่านอยู่เสมอ ๆ หลวงพ่อสมหมาย อัตตมโน ได้เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อคราวที่หลวงปู่มหาบุญมี 112


กุฏิหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เคยอยู่จำ�พรรษา

สิริธโร ได้เดินทางมาเยี่ยมเยือนหลวงปู่บุญจันทร์ กมโล ณ วัดป่าสันติกาวาส ดังนี้ว่า หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ในความรำ�ลึกของข้าพเจ้า เมื่อแรกพบกับหลวงปู่ ปีพ.ศ. ๒๕๑๗ องค์หลวงปู่มหาบุญมี ท่านนั่งรถสามล้อกะบะคนถีบ กับหลวงพ่อคล้าย มาจากวัดโนนบ้านผาบ (วัดสุจินต์ประชาราม บ้านขาม) มาเยี่ยมพ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล ที่วัดป่าสันติกาวาส บ้านไชยวาน อำ�เภอไชยวาน ขณะนั้น พ่อแม่ครูอาจารย์บุญจันทร์ พึ่งหายจากอาพาธ พักฟื้นอยู่ใต้ถุนศาลา เมื่อข้าพเจ้า มองเห็นองค์หลวงปู่มหาบุญมี นั่งอยู่ในรถ ในใจของข้าพเจ้าก็คิดว่าเป็นหลวงพ่อ หลวงตาธรรมดาๆ มาจากไหนหนอ เพราะท่านวางท่าทางขององค์ท่านเหมือน พระหลวงพ่อธรรมดาๆ องค์หนึ่งเท่านั้น เมื่อท่านลงจากรถสามล้อแล้ว พ่อแม่ครูอาจารย์บุญจันทร์ ก็ให้ข้าพเจ้าจัด อาสนะถวายท่านนั่งแล้ว พ่อแม่ครูอาจารย์บุญจันทร์ก็กราบท่าน ข้าพเจ้าก็กราบตาม แล้วท่านก็ถามสุขทุกข์กัน พอหายเหนื่อยแล้วท่านก็กลับ เมื่อท่านกลับแล้วพ่อแม่ครู อาจารย์บุญจันทร์จึงบอกว่า ครูจารย์มหาบุญมี ท่านเป็นครูบาอาจารย์ ท่านมีอายุ พรรษามากกว่าเรา เคยไปเที่ยวธุดงค์พบกันกับท่านที่ดงโค่โล่ ยอดบุญทัน อำ�เภอ สุวรรณคูหา ได้พักภาวนาอยู่กับท่าน หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ท่านเป็นผู้มีปฏิปทาเคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติ ถึงพร้อม ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ท่านสอบได้เป็นพระมหาเปรียญ แล้วท่านก็ออกเที่ยว ธุดงค์กัมมัฏฐาน ปฏิบัติภาวนา หาทางพ้นทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ท่านมาพักอยู่วัดบ้านผาบ ท่านตั้งใจมาเยี่ยม 113


เหตุที่ได้ชื่อว่า วัดป่าสุจินต์ประชาราม แรกเริ่มเดิมทีมีโยมสุจินต์ ภูมิลำ�เนาเป็นชาวอำ�เภอสว่างแดนดิน ซึ่งเป็น ข้าราชการขณะนั้นดำ�รงตำ�แหน่งเป็นนายอำ�เภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มีความเลื่อมใสในองค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นอย่างมาก ได้มีจิตศรัทธา นำ�พาประชาชนชาวบ้านผาบและหมู่บ้านใกล้เคียงบริเวณแถบนั้น ก่อตั้งสถานที่ ป่าแห่งนี้เพื่อที่จะให้เป็นวัดที่ถาวรในพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง ขณะนั้นยัง ไม่มีชื่อวัด คณะศิษยานุศิษย์จึงได้ปรึกษาหารือกันแล้วเห็นสมควรว่า ควรจะให้ ผู้ที่เป็นเจ้าของศรัทธาใหญ่ได้มีส่วนร่วมในบุญกุศลครั้งนี้ และจะได้เป็นอนุสรณ์ สถานนัยหนึ่งด้วย จึงได้ชื่อว่า วัดป่าสุจินต์ประชาราม วัดป่าสุจินต์ประชาราม มีอาณาบริเวณเนื้อที่ทั้งหมด ๓๘ ไร่ สมัยก่อนเคยเป็น ป่าช้าเก่า มีพื้นที่บริเวณใกล้เคียงเป็นไร่นาของชาวบ้านได้อาศัยประกอบอาชีพ เกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชีพ เจ้าอาวาสองค์แรก คือ หลวงพ่อคล้าย ฐานรตฺโต เป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี (ต่อมาได้ลาสึกขาบทแล้ว อายุพรรษาประมาณ ๔๐ พรรษา) ภายหลังได้เสียชีวิต ณ ที่ แห่งนี้ โดยอิริยาบถนอนหลับใหลยาวค่อยๆ สิ้นลมจากโลกไปด้วยอาการอันสงบ พระประธานในพระอุโบสถ เป็นฝีมือการสร้างโดย คุณพ่อคล้าย หลวงปู่ชนะ อุตฺตมลาโภ ได้ร่วมจำ�พรรษาด้วย ปัจจุบันอายุ ๗๑ ปี วัดป่าโนน มะอึ อำ�เภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ญาติโยมชาวบ้านในสมัยนั้นที่เคยได้รับใช้อุปัฏฐากองค์หลวงปู่มหาบุญมี ได้แก่ นายพร สิงห์เสนา (เคยเป็นกำ�นัน) ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว โยมสอ โยมสง คุณยายพลอย คุณยายจันทร์ คุณยายอุ่น 114


จำ�พรรษาที่วัดถ้ำ�พระนาผักหอก บ้านกลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี สถานที่เป็นมงคลแห่งนี้เคยมีครูบาอาจารย์องค์สำ�คัญหลายท่านมักจะมาพัก ปฏิบัติธรรม อาทิเช่น หลวงปู่คำ�พอง ติสโส หลวงปู่ลี กุสลธโร หลวงปู่ขาน ฐานวโร หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร พระอาจารย์สิงห์ (ตู้แตก) ในระหว่างที่จำ�พรรษาอยู่นี้ องค์หลวงปู่ปฏิบัติธรรมได้อย่างสะดวกสบาย ด้วยความเอื้ออำ�นวยในสถานที่ซึ่งเป็นที่สะดวกสบายและสัปปายะมาก เรื่องการเที่ยว บิณฑบาตแม้ว่าค่อนข้างจะลำ�บาก เพราะมีบ้านคนที่อาศัยอยู่ในละแวกนั้นเพียงแค่ ไม่กี่หลังคาเรือนเท่านั้น ชาวไร่ชาวเขามีฐานะยากจนก็จะทำ�บุญได้ตามอัตภาพความ เป็นอยู่ บางวันบิณฑบาตได้ข้าวเหนียวเปล่าๆ แค่ไม่กี่ปั้น แต่ท่านก็มิได้สนใจใยดี ในเรื่องอาหารการขบฉัน คงตั้งใจมั่งมั่นในการเจริญสมณธรรมตามอัธยาศัยต่อไป 115


จำ�พรรษาที่วัดป่าถ้ำ�พระนาหลวง อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ประวัติความเป็นมาของวัดถ้ำ�พระนาหลวง บ้านนาหลวง หมู่ ๔ ตำ�บลคำ�ด้วง อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี อยู่ในเขต เทือกเขาภูพานตอนบน เชื่อมติดกับภูย่าอู่ ในระหว่างเขตอำ�เภอนายูง อำ�เภอ ศรีเชียงใหม่ จากหลักฐานในประวัติว่าวัดถ้ำ�พระนาหลวงเป็นวัดเก่าแก่มาแต่สมัย สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตตนาคนหุต สันนิษฐานว่าสร้างราว พ.ศ. ๒๐๑๖ แต่ไม่มีบันทึกเป็นหลักฐานยืนยันเป็นแต่คำ�บอกเล่าสืบต่อกันมา อาศัยการ เทียบเคียงกับวัดเก่าแก่ในพื้นที่อีสานตอนบนแถบลุ่มแม่น้ำ�โขงที่สร้างในช่วงเวลา เดียวกันและจากโบราณวัตถุทั้งยังเหลืออยู่ต่อมาคงจะร้างไป ชื่อบ้านนาหลวง แต่เดิมเรียกว่าถ้ำ�พระนาหลวงใน พ.ศ. ๒๕๑๐ มีชาวบ้านจาก 116


บ้านหนองกบ ตำ�บลเมืองพานได้พากันมาล่าสัตว์แถบถ้ำ�พระนาหลวง ได้เห็นพื้นที่ บริเวณนี้ดีเป็นที่ราบสลับกับภูเขาอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่า จึงกลับไปชักชวนญาติพี่ น้องและเพื่อนบ้านโดยมี นายเพ็ง สายแก้ว นายแหล่ สารียา พ่อตู้สมภาร พ่อบุญ เป็นผู้นำ�โดยมาสร้างที่พักพิงชั่วคราวก่อน แล้วตั้งเป็นชุมชน บุคคลเหล่านี้เล่าว่าวัดถ้ำ� พระนาหลวงเป็นวัดอยู่ก่อนแล้ว ได้พบพระพุทธรูปไม้แกะสลักเป็นจำ�นวนมาก ภาย หลังถูกขโมยไปเหลืออยู่เป็นส่วนน้อย ส่วนชื่อบ้านนาหลวง มาจากที่ทางทิศตะวัน ตกของหมู่บ้านมีทุ่งนาขนาดใหญ่มีพื้นที่กว่า ๑๐๐ ไร่ ชาวบ้านเรียกทุ่งหลวง เพราะ บริเวณทุ่งนานี้เคยเป็นทุ่งนาของทหารที่แตกศึกสงครามมาได้ถากถางที่ดินเพื่อทำ�การ เกษตรกรรม

สภาพภูมิประเทศและลักษณะทั่วไปของวัดป่าถํ้าพระนาหลวง เป็นเนินขาขนาดเล็กในเทือกเขาภูพานประกอบด้วยลานหินมีถํ้า และเพิงหิน ธรรมชาติกระจายอยู่ทั่วไปลักษณะภูมิประเทศเช่นเดียวกับภูพระบาท ป่าไม้เป็นป่า เบญจพรรณ มีเพิงหิน (ถํ้า) ๕ แห่ง ดังนี้ ถํ้าพระนาหลวง ๑ เป็นก้อนหินขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๘ เมตร วางทับบนก้อน หินขนาดเล็ก ๔ ก้อน คล้ายใต้หินใหญ่ที่เพดานถํ้าสูงจากพื้น ๑๕๐ เซนติเมตร พบภาพ เขียนสี เขียนด้วยสีแดงคล้ายสีนํ้าหมากเป็นภาพกลม ๒ วงต่อกัน ข้างในเขียนเป็นก้าง ปลากับภาพลายก้านขด มีจุดทึบ ๒ จุด และภาพลายเส้นคดไปมาคล้ายงูมีจุดทึบ ๔ จุด ถ้าพระนาหลวง ๒ เป็นก้อนหอน ๒ ก้อนวางทับกัน กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๐ เมตร 117


สูงจากพื้น ๖ เมตร ภาพอยู่ตรงส่วนใต้เพดานหินเป็นสีชมพูสูงจากพื้น ๖๐ เซนติเมตร ภาพเป็นภาพลายเส้นต่อกันคดไปคดมารูปไข่ต่อกัน ลายเส้นตรง ลายจุดเป็นกลุ่ม ถํ้าพระนาหลวง ๓ เป็นก้อนหินกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๒ เมตร ทอดตัวตามแนวทิศ ใต้อยู่บนก้อนหิน ๓ ก้อน ภาพเขียนสีอยู่ทางทิศใต้ และตรงติดกันผสมกับลายเส้นโค้ง และเส้นคด ด้านล่างเป็นลายเส้นหยักคู่ขนานกับลายดอกไม้ และลายเส้นคู่ขนาน ถํ้าพระนาหลวง ๔ เป็นก้อนหิน ๒ ก้อน วางซ้อนกันมีเพิงหินยื่นออกไปทางทิศ ตะวันออก และทิศตะวันตก ก้อนหินกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๒ เมตร รูปร่างคล้ายดอก เห็ด ทิศตะวันออกหินก้อนแรกถูกสกัดเป็นท่อนแล้วสลักหินเป็นพระพุทธรูปประทับ นั่งปางสมาธิสมัยลพบุรี พลภาพคล้ายสัตว์มีเขาเขียนแบบเงาทึบ ขาหน้า ๒ ขา ขาหลัง เห็นข้างเดียวมีหางยาวจากหัวจรดหาง และภาพลายเส้นที่มีรูปร่างไม่แน่นอน ถํ้าพระนาหลวง ๕ เป็นก้อนหินขนาดใหญ่กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร วาง ทับอยู่บนโขดหินใหญ่มีเพิงยื่นออกไปทางด้านทิศใต้ ลักษณะคล้ายหลืบหินมีภาพลาย เส้นเล็กๆ เขียนด้วยสีแดงจางๆ บนผิวหินสีชมพู ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือได้มีการ สกัดหินเป็นพระพุทธรูปยืนปางเปิดโลกทาสีเหลือง พระบาทถูกพอกด้วยปูนซีเมนต์ สันนิษฐานว่าพระบาทคงชำ�รุด จึงก่อปูนหุ้มไว้ ด้านหน้าและหลังของเพิงหิน เทพื้น ด้วยปูนซีเมนต์และมีใบเสมาสมัยทวารวดีปักไว้ ๘ หลัก ซึ่งทางวัดได้นำ�มาจากโบราณ สถานด้านล่างภูเขา 118


แมงมุม บุพกรรมเก่าขององค์หลวงปู่ ครั้ ง หนึ่ ง องค์ ห ลวงปู่ ม หาบุ ญ มี ท่ า นได้ เ ดิ น ธุ ด งค์ ไ ปตามเทื อ กเขาในเขตทาง วัดถํ้าหีบ ตำ�บลจำ�ปาโมง อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ท่านว่า ขณะนั้นท่านนั่งอยู่ บริเวณหน้าผา พอดีบังเอิญมองเห็นแมงมุมเดินผ่านมา จึงนึกสนุก ก็เลยหยิบก้อนหิน เล็กๆ ขว้างออกไปเฉียดๆ ตัวแมงมุม กะว่าจะขว้างเล่นๆ เฉยๆ ไม่ได้เจตนาจะทำ�ร้าย ให้เจ็บปวดแต่อย่างใด แต่ผลปรากฏว่า ก้อนหินที่ท่านขว้างไปนั้นโดนอวัยวะส่วนที่ สำ�คัญของแมงมุมจึงเป็นสาเหตุทำ�ให้แมงมุมตัวนั้นเสียชีวิต จากนั้นภายหลัง ในช่วงระยะเวลาปีต่อมา จะด้วยเพราะบุพกรรมหรือมีสิ่งใด ดลบันดาลให้ท่านได้รับอันตรายจากแมลงสัตว์กัดต่อย คือถูกแมงมุมกัด ทำ�ให้ร่างกาย ท่านเจ็บปวดมาก และเป็นสาเหตุให้องค์หลวงปู่เริ่มอาพาธเรื่อยมาจนลุกลามมาถึงขั้น เป็นอัมพาธมาตลอด ในช่วงระยะต่อมาองค์หลวงปู่ท่านได้ย้ายมาอยู่ที่วัดป่าวังเลิง จังหวัดมหาสารคาม ฝ่ายลูกศิษย์ที่เคารพรักในองค์ท่านซึ่งมีจำ�นวนมากพอสมควร ต่างคนต่างก็ได้ขวนขวา ยหาหยูกหายาที่ดีๆ มารักษาถวายหลวงปู่ ส่วนของคณะพระอุปัฏฐากก็ได้ช่วยกันเอา เข็มบ่งต้นตอของพิษที่ฝังอยู่ในร่างกายท่านออกมา ปรากฏว่ามีลักษณะคล้ายเป็นขน เล็กๆ 119


ศาลาหอฉัน

พระอุโบสถ

กุฏิหลวงปู่ลี กุสลธโร (เคยอยู่จำ�พรรษา)

ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙-๒๕๓๐ จำ�พรรษาที่วัดป่าภูทอง บ้านภูดิน อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ประวัติวัดป่าภูทอง เดิมที่วัดป่าภูทองเป็นวัดร้าง แต่ก่อนมีโบสถ์ร้างซึ่งไม่มีหลังคามีแค่เสาและใบ เสมาทั้ง ๔ ทิศ ซึ่งมีมาแต่ก่อนตั้งบ้านภูดิน-ภูทอง ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ป่าไผ่เป็นป่า รกทึบ มีครูบาอาจารย์สายกรรมฐานองค์สำ�คัญได้เคยมาเที่ยววิเวกบ้างเป็นบางคราว อาทิเช่น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ, หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม, และครูบาอาจารย์อีกหลาย องค์ เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๐๒ มีท่านพระอาจารย์บัวคำ� ได้มาพักภาวนาและได้ นำ�พาชาวบ้านสร้างเสนาสนะ เป็นกุฏิถาวร ๒ หลัง แต่ท่านไม่ได้จำ�พรรษา ซึ่งมีหลวง พ่อบัวทอง ได้มาจำ�พรรษาเป็นเวลา ๙ ปี ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๒-๒๕๑๐ หลังจาก นั้นหลวงพ่อบัวทองก็ได้ออกเที่ยวธุดงคกรรมฐานไปจำ�พรรษาที่อื่น ต่อมาก็เป็นวัดร้าง อีกเพราะไม่มีพระมาอยู่ประจำ� ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๙ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ซึ่งท่านเป็นพระธุงค กรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้มาพักปฏิบัติธรรมตามนิมิตที่มีเทวดาอาราธนา นิมนต์ เมื่อองค์หลวงปู่มหาบุญมีมาอยู่แล้วท่านได้ไตร่ตรองพิจารณาสถานที่แห่งนี้ด้วย 120


บริขารของหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร (ยังเก็บรักษาไว้อยู่ในอุโบสถ)

ศาลาเทพนิมิต

กุฏิหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

เหตุผลเรียบร้อยแล้ว จึงได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ และสร้างศาลา กุฏิถาวรขึ้นมา นำ�พาญาติโยมขุดสระนํ้า และอยู่จำ�พรรษาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๑๙๒๕๓๐ รวมเป็นระยะเวลา ๑๑ ปี หลังจากนั้นก็ได้ย้ายไปจำ�พรรษาที่วัดศรีโพธิ์ทอง (ปัจจุบันคือวัดป่าโพธิ์ศรี) อำ�เภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ต่อมาหลวงปู่พงษ์ ธัมมาภิรโต ได้มาอยู่จำ�พรรษาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐๒๕๓๑ รวมเป็นระยะเวลา ๒ ปี จากนั้นท่านก็ย้ายไปจำ�พรรษาที่วัดป่าถํ้าหีบ ตำ�บล จำ�ปาโมง อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งต่อมาหลวงปู่ลี กุสลธโร ก็ได้เที่ยวธุดงค์มาพักปฏิบัติธรรมและอยู่จำ�พรรษา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ เป็นระยะเวลา ๑ พรรษา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ หลวงพ่อคูณ สุเมโธ ได้มาอยู่พักปฏิบัติธรรมและอยู่ จำ�พรรษาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้

เหตุที่ได้ชื่อ วัดป่าภูทอง วัดป่าภูทองในสมัยก่อนมีชื่อวัดคือ วัดป่าภูดิน ต่อมาหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร จึงได้ไปกราบเรียนปรึกษาองค์หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เมื่อได้ยินดังนั้น หลวงปู่แหวนจึงได้บอกว่าที่นั่นมีทองเยอะมากซึ่งฝังอยู่ใต้ดิน ฉะนั้น หลวงปู่มหาบุญมีท่านจึงได้เอาตามคำ�ปรารภของหลวงปู่แหวน มาตั้งเป็นชื่อ วัดป่าภูทอง มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ 121


ภาพถ่ายที่วัดป่าภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


123


พุทธศักราช ๒๕๓๑ – ๒๕๓๒ จำ�พรรษาที่วัดป่าศรีโพธิ์ทอง (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นชื่อวัดป่าโพธิ์ศรี)

อำ�เภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เหตุเริ่มแรกคือ หลวงปู่มหาบุญมี ท่านเดินทางมางานประชุมเพลิงศพ หลวงปู่ บุญยัง ผลญาโณ วัดป่าบ้านบาก อำ�เภอราษีไสล จังหวัดศรีสะเกษ จึงเป็นเหตุให้ท่าน ผ่านมาแล้วได้มีโอกาสมาเห็นวัดป่าศรีโพธิ์ทอง แห่งนี้ และพักค้างคืนที่นี่ (ปัจจุบันได้ เปลี่ยนชื่อเป็น วัดป่าโพธิ์ศรี อาศัยตามอำ�นาจของกรมการศาสนา และตามชื่อหมู่บ้าน) เมื่อองค์หลวงปู่ได้มาอยู่ที่วัดป่าศรีโพธิ์ทองแล้ว ครั้งแรกท่านพำ�นักอยู่ที่กุฏิ หลังเล็กๆ หลังหนึ่ง การมาอยู่วัดแห่งนี้องค์ท่านจะอยู่ในฐานะพระผู้เฒ่าผู้ปฏิบัติธรรม จะไม่ค่อยยุ่งเกี่ยวและรับภาระใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนหน้าที่ต่างๆ เช่น การดูแลรักษา เสนาสนะก็ดี การปกครองพระภิกษุสามเณรก็ดี การสั่งสอนพระภิกษุสามเณรก็ดี การต้อนรับแขกก็ดี การเทศนาสั่งสอนอบรมประชาชนก็ดี ภารกิจการบริหารวัดก็ดี การให้ศีลให้พรแก่สาธุชนผู้มาบำ�เพ็ญกุศลก็ดี และกิจอย่างอื่นๆ บรรดามีที่จะเกิดขึ้น ภายในวัดและนอกวัดให้ตกเป็นภาระของ หลวงปู่อ่อนสา แต่ผู้เดียวซึ่งท่านเป็น เจ้าอาวาสในสำ�นักแห่งนี้ ครั้งหนึ่งเคยมีพระภิกษุ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ เมื่อทราบข่าวว่าขณะนี้ 124


ศาลาหอฉัน

กุฏิพระสงฆ์

ทางเข้ากุฏิหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

หอบูรพาจารย์

องค์หลวงปู่ได้ย้ายที่พำ�นักมาอยู่วัดป่าศรีโพธ์ทอง ท่านก็อุตส่าห์รีบเก็บบริขารออก เดินทางมาทันที เพื่อหวังว่าจะได้มาปรนนิบัติรับใช้อยู่กับองค์หลวงปู่เหมือนดั่งที่เคย อุปัฏฐากเป็นประจำ� พอมาถึงวัดแห่งนี้ ท่านก็ได้เข้าไปกราบนมัสการองค์หลวงปู่ และ ได้กราบเรียนบอกเจตนาความตั้งใจที่จะมาขออยู่กับองค์หลวงปู่ เมื่อองค์หลวงปู่ได้ยิน ดังนั้นแล้ว ท่านก็พูดขึ้นว่า ให้ไปขอท่านอ่อนสา นะ (ความหมายขององค์หลวงปู่ คือ ท่านให้ความสำ�คัญ และให้ทุกคนปฏิบัติตาม กฎระเบียบของสำ�นัก เพราะหลวงปู่อ่อนสา ท่านเป็นผู้ดูแลวัดแห่งนี้ ยุคต่อมาคือ พระ อาจารย์สุพรรณ พระอาจารย์เคน พระอาจารย์สมัย พระอาจารย์ติ๋ว) ช่วงหลวงปู่มหาบุญมี พักอยู่ที่วัดป่าศรีโพธิ์ทอง มีครูบาอาจารย์ในเขตยโสธร และบริเวณใกล้เคียง ที่เดินทางมาเยี่ยมเยือนและกราบคารวะองค์หลวงปู่อยู่บ่อยๆ อาทิเช่น พระเทพสังวรญาณ (หลวงตาพวง สุขินทริโย) วัดศรีธรรมาราม จังหวัดยโสธร หลวงปู่สอ พันธุโล เพราะเคยเป็นศิษย์ของท่าน ในปีนี้มีพระเณรจำ�พรรษารวมทั้งหมด ๑๖ องค์หลวงปู่มหาบุญมี ท่านพำ�นักอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้นับเป็นเวลา ๑ ปี แล้วจึงได้เดินทางไปโปรดสาธุชนในที่อื่นต่อไป 125


ปีพุทธศักราช ๒๕๓๓ จำ�พรรษาที่วัดหนองเกาะ อำ�เภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ในปีนี้องค์หลวงปู่มหาบุญมี ท่านได้เมตตาให้ลูกศิษย์ติดตามไปอุปัฏฐากและ ร่วมจำ�พรรษาด้วย คือ พระสมัย ญาณวโร พระสะเทื้อน ชนุตฺตโม พระเชน ขันติโก พระจรินทร์ จรณธัมโม สามเณรสมพร ถิรสังวโร(สีมาคำ�) องค์หลวงปู่มหาบุญมี ท่าน พำ�นักโปรดญาติโยมสานุศิษย์ชาวบุรีรัมย์อยู่ ณ สถานที่แห่งนี้นับเป็นเวลา ๑ ปี แล้วจาก นั้นท่านจึงได้รับนิมนต์จากลูกศิษย์คนสำ�คัญๆ ทางฝ่ายบรรพชิต ได้แก่ หลวงพ่อคูณ สุเมโธ หลวงพ่อเมือง พลวัฑโฒ ทางฝ่ายคฤหัสถ์ ได้แก่ คุณจิรศักดิ์ คณาสวัสดิ์ กำ�นันแก้ว ได้พากันเดินทางมากราบอาราธนานิมนต์องค์หลวงปู่ไปโปรดสาธุชน ชาวจังหวัดมหาสารคาม 126


ศาลาสิริปุญโญ

ปีพุทธศักราช ๒๕๓๔-๒๕๓๕ จำ�พรรษาที่ วัดป่าวังเลิง

กุฏิหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร (ปัจจุบันได้บูรณปฏิสังขรณ์เรียบร้อยแล้ว)

อำ�เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

บันทึกชีวิตประจำ�วันขององค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ในช่วงปัจฉิมวัยบั้นปลายแห่งชีวิตของพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร องค์ท่านได้มาพำ�นักจำ�พรรษา ณ วัดป่าวิงเลิง อำ�เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม นั้นตามที่องค์ท่านได้ประพฤติปฏิบัติให้ศิษย์ดูเป็นแบบอย่าง และได้สังเกตเห็นข้อวัตร ปฏิบัติประจำ�วันขององค์ท่าน เริ่มตั้งแต่ตอนเช้าท่านตื่นจากจำ�วัดได้ปฏิบัติศาสนกิจ จนกระทั่งเข้าพักในตอนตอนกลางคืน ซึ่งพอจะนำ�เรื่องราวมาถ่ายทอดให้ศิษยานุศิษย์ ทุกท่านได้ทราบดังนี้ องค์ท่านตื่นนอนเวลาประมาณ ๐๔.๐๐ น. ตีสี่หลังจากทำ�กิจส่วนตัวเสร็จแล้ว ท่านก็จะออกมานั่งที่เก้าอี้เบาะนวม ที่หน้าห้อง หันหน้าไปทางฝั่งหนองนํ้าข้างวัด (วังเลิง) จากนั้นทั้งพระและสามเณรก็จะผลัดเปลี่ยนกันเข้าไปนวดเส้น พัดวี ถวาย องค์ท่าน ในช่วงนี้องค์ท่านจะซักถามเกี่ยวกับการภาวนาบ้าง เล่าเรื่องราวต่างๆ สอน ข้อธรรมต่างๆ ให้พระเณรฟัง พอได้เวลาออกบิณฑบาต พระเณรก็กราบถอยออกมา เพื่อแยกย้ายกันไปบิณฑบาต โดยแบ่งเป็น ๔ สาย ดังนี้ 127


สภาพกุฏิหลังเดิมของหลวงปู่มหาบุญมี เคยจำ�พรรษา

สายที่ ๑ ไปทางบ้านหัวขัว เดินไปทางด้านหลังวัด สายที่ ๒ ไปบ้านดอนแดง เดินข้ามไปฝายน้ำ�ล้น หนองนํ้าข้างวัด สายที่ ๓ ไปบ้านดอนเวียงจันทร์ สายที่ ๔ ไปบ้านดอนสวน ทุกสายจะมารวมกันที่หน้าวัดป่าวังเลิง แล้วรับบิณฑบาตจากศรัทธาญาติโยม ที่มารอใส่บาตรบริเวณหน้าวัด ถ้าเป็นช่วงในฤดูกาลเข้าพรรษาพระท่านจะถือธุดงควัตร คือ ไม่รับอาหารที่ตามมาภายหลัง จากนั้นจึงเข้ามาที่ศาลามุงหญ้าคาด้านทิศตะวันออก ส่ ว นบาตรขององค์ ห ลวงปู่ จ ะวางไว้ ใ นศาลาหญ้ า เพื่ อ ให้ ลู ก ศิ ษ ย์ ไ ด้ ใ ส่ บ าตรท่ า น โดยปกติพระทุกรูปจะฉันภัตตาหารรวมกันที่บริเวณศาลาหญ้าด้านทิศตะวันออก ส่วนองค์หลวงปู่ท่านจะนั่งฉันบนกุฏิของท่านตรงระเบียงกุฏิด้านนอกห้อง หันหน้าไป ทางศาลาที่พระนั่งฉัน พระที่จัดอาหารใส่บาตรองค์หลวงปู่ คือ พระวิมาน พระสมัย เมื่อจัดอาหารเรียบร้อยแล้ว พระให้พรอนุโมทนา ยถาฯ เริ่มลงมือฉัน ส่วนอาหารที่ พระอุปัฏฐากจะจัดถวายองค์หลวงปู่เป็นประจำ�ทุกวัน คือ ส้มตำ� งาดำ� ถั่วตำ�ละเอียด นํ้าผึ้ง หากวันใดไม่มีอาหารเหล่านี้องค์ท่านจะถามหา (ครูบาอาจารย์ที่เมื่อมากราบ เยี่ยมองค์หลวงปู่ และได้นั่งฉันจังหันกับองค์หลวงปู่ ที่สังเกตเห็นมี ๒ องค์ คือ ๑.หลวง ปู่สม วัดป่าไม้งาม อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี ๒.หลวงปู่พงษ์ วัดถํ้าหีบ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี) ส่วนองค์หลวงปู่ก็จะมีโยมลูกศิษย์อ่านหนังสือพิมพ์ให้องค์ท่านฟัง(.....) จนองค์ ท่านฉันเสร็จ หลังจากนั้นก็จะมีพระขึ้นมาเก็บกวาดเช็ดถูบริเวณที่ท่านนั่งฉัน และ 128


ทำ�ความสะอาดสรีระองค์ท่าน เช่น ล้างปาก ถอดฟันปลอมออกมาล้าง ล้างมือ เช็ดจีวร โดยมี พระไสว พระจรินทร์ เป็นผู้ทำ�ถวายอยู่ประจำ� จากนั้นจึงเป็นเวลาองค์ท่านให้ โอกาสญาติโยมเข้ากราบนมัสการ จนกระทั่งเสร็จเรียบร้อย ถึงเวลาอันสมควรองค์ท่าน ก็เข้าพักผ่อน เวลา ๑๓.๐๐ น. บ่ายโมง องค์ท่านก็จะออกมานั่งที่เดิมในตอนเช้า เพื่อโปรด ญาติโยม บรรดาศรัทธาญาติโยมทั้งหลายหลั่งไหลมาจากที่ต่างๆ ก็จะได้เข้ากราบ นมัสการองค์ท่านและรับฟังโอวาทธรรมจากองค์หลวงปู่ จากนั้นเมื่อสาธุชนเสร็จธุระ และได้กราบลาองค์ท่านกลับไปหมดแล้ว ท่านก็จะเข้าพัก ประมาณ ๑๕.๐๐ น. บ่ายสามโมง องค์ท่านก็จะออกมาสรงนํ้า ในช่วงสรงนํ้า หลวงปู่ ก็จะมีทั้งพระและฆราวาสมารอสรงนํ้าด้วย ในระหว่างสรงนํ้าจะได้ทั้งธรรม ทั้งคำ�พูดที่องค์ท่านเล่าสนุกๆ ให้ลูกศิษย์ฟังเป็นที่รื่นเริงในธรรม ครั้นถึงช่วงที่จะผลัด เปลี่ยนผ้านุ่งสรงนํ้าให้ท่านใส่ผ้าสบง สำ�หรับผู้ที่สรงนํ้าประจำ�จะเป็นที่รู้กันว่าจะไม่ พยายามไปนั่งด้านหลังตรงส้นเท้าองค์ท่าน เพราะถ้าดึงผ้าสรงนํ้าท่านออกช้า (เหตุ ที่ช้า เพราะผ้าสรงนํ้าเมื่อเปียกนํ้าแล้วจะตึงแนบติดกับเนื้อ จะดึงออกยาก) องค์ท่าน จะดีดส้นเท้ามาข้างหลัง ถ้าไม่ระวังจะถูกส้นเท้าองค์ท่านดีด เป็นที่หัวเราะกัน ถ้าใคร จะนั่งด้านหลังส้นเท้าองค์ท่านจะต้องรีบดึงผ้าสรงนํ้าออกเร็วๆ จะได้ไม่ถูกส้นเท้าองค์ ท่านดีด เมื่อสรงนํ้าเสร็จเรียบร้อยแล้วก็พาองค์ท่านมานั่งที่เดิมตอนเช้า ช่วงนี้พระเณรก็ จะเข้าไปนวดเส้น พัดวีถวายองค์ท่าน ซึ่งเป็นช่วงที่องค์ท่านให้โอกาสญาติโยมลูกศิษย์ ทุกคนได้เข้ากราบองค์ท่าน จนถึงเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. ห้าโมงเย็น องค์ท่านก็จะ ให้พากันแยกย้ายกลับภูมิลำ�เนาของแต่ละคน จากนั้นองค์ท่านก็จะนั่งให้พระเณรนวดเส้นไปเรื่อยๆ ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่องค์ ท่านจะพูดธรรมหรือเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ให้ฟัง จวบจนกระทั่งถึงเวลาประมาณ หนึ่งทุ่ม บางครั้งก็จนดึกองค์ท่านจึงเข้าพัก หรือแล้วแต่ตามอัธยาศัยขององค์ท่าน (บันทึกเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๓๔) 129


หลวงปู่แสง ญาณวโร

วันนี้หลังจากทำ�พิธีปฏิบัติบูชาในวันอาสาฬหบูชา แล้วก็ทำ�พิธีอธิฐานเข้าพรรษา พระภิกษุสามเณรที่จำ�พรรษาในปีพ.ศ. ๒๕๓๔ มีรายนามดังต่อไปนี้ (ด้วยเวลาล่วงเลย มาหลายปี อาจมีตกหล่นบ้าง กราบขอขมาต่อครูบาอาจารย์ด้วย) ๑.หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร (ประธานสงฆ์) ๑๖.หลวงตาแก้ว (กำ�นันแก้ว) ๒.หลวงปู่แสง ญาณวโร ๑๗.พระพงษ์ศักดิ์ ๓.พระวิมาน วิมโล ๑๘.พระสมภพ ภูริปัญโญ ๔.พระไสว ธัมมโชโต ๑๙.พระสุพรรณ ชุติณธโร ๕.พระชื่น ๒๐.พระบุญยัง ปวโร ๖.พระเคน ขันติโก ๒๑.พระอาทร ๗.พระสมัย ญาณวโร ๒๒.พระปาน ๘.พระจรินทร์ จรณธัมโม ๒๓.พระป้อม ๙.พระสังคม จรณสัมปันโน ๒๔.พระวิจักษ์ ๑๐.พระสุทธิพงศ์ ชนุตฺตโม ๒๕.พระสังข์ ๑๑.พระพฤหัส ปวัฑฒโน ๒๖.พระสมร ๑๒.พระจำ�ลอง ๒๗.พระชาญชัย (ป่อง) ชยเสโน ๑๓.พระวิมล ๒๘.สามเณรสมพร (ปัจจุบัน พระอาจารย์ ๑๔.พระมหาสุรินทร์ สมพร ถิรสังวโร) ๑๕.พระปิ่น ๒๙.สามเณรนิรันดร์ 130


บึงน้ำ�ใหญ่ที่เรียกว่า วังเลิง

กุฏิพระสงฆ์

รูปหล่อเหมือนหลวงปู่มั่น ภูริทัต ประดิษฐานในศาลา

หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๙๐ เป็นต้นมา หลวงปู่ มหาบุญมี เคยจำ�พรรษาร่วมกับองค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ที่เสนาสนะป่า บ้านห้วยทราย อำ�เภอคำ�ชะอี จังหวัดมุกดาหาร ท่านมีอุปนิสัยพูดแต่น้อย รักการอยู่ รุกขมูลเสนาสนะป่าตลอดมา ออกเที่ยวธุดงคกรรมฐานไปเรื่อยๆ ไม่ติดในสถานที่อยู่ ครั้นต่อมาในช่วงปัจฉิมมัยเมื่อท่านเริ่มชราภาพและมีอายุพรรษากาลมากขึ้นประจวบ กับพระเณร มาขอศึกษาปฏิบัติธรรมกับท่านมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเมตตาธรรมอันหา ประมาณมิได้องค์ท่านจึงได้ตัดสินใจอยู่โปรดศิษยานุศิษย์ที่วัดป่าวังเลิง เป็นประจำ� ตลอดมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งสังขาร ท่านได้ละสังขารลาวัฏวนเข้าสู่อนุปาทิเสส นิพพาน ณ ที่แห่งนี้

อดีตชาติปางก่อน (ของหลวงปู่มหาบุญมี)

ในเรื่องของอดีตชาติของหลวงปู่นั้น หลวงปู่ได้พูดคุยกับลูกศิษย์ในสถานที่ และ เวลาต่างๆ หลายครั้ง ซึ่งพอจะนำ�มาเล่าสู่กันฟังพอสังเขปได้ว่า องค์หลวงปู่มหาบุญมี เคยเกิดในตระกูลอันมั่งคั่งได้เป็นลูกของเศรษฐี ต่อมาได้ออกบวชในสมัยพระปัจเจก พุทธเจ้า มีนามว่า ปทุมบุตรราช และท่านก็ได้ขอมอบกายถวายชีวิตแด่พระปัจเจก พุทธเจ้าองค์นั้น ในอีกชาติหนึ่ง องค์หลวงปู่มหาบุญมี ท่านเคยเกิดเป็นกิ้งก่า เรื่องมีอยู่ว่า หลวงปู่เล่าว่า สมัยหนึ่ง ท่านเกิดเป็นกิ้งก่า ในตระกูล โยนิ คราวนั้นรู้สึกหิวโหยและ ทรมานมาก ท่านจึงได้กำ�หนดจิตหาความจริงว่า ไปยังไงมายังไง ก็พบว่านี่แหละ คือการ 131


เดินในวัฏจักร ความดี ความชั่ว มันก็ย่อมเดินตามสายกรรมนี้ ท่านจึงมีความศรัทธาเชื่อ ในคำ�สอนของพระพุทธเจ้า ที่ทรงตรัสว่า “ทุกคนมีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็น ผู้ให้ผล มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งบุญทั้งบาป” ท่านรู้แจ้งเห็นจริงในไตรโลก ธาตุ จึงได้นำ�มาสอนศิษย์ว่า เรื่องกรรมนี้มิใช่เรื่องเหลวไหล หรือเรื่องหาเหาเกาหมัด แต่เป็นเรื่องจริงเพราะท่านเป็นพระปฏิบัติบูชา ไม่มีความลังเลสงสัยแม้แต่น้อย เพราะ ท่านรู้แจ้งเห็นจริง ท่านจึงนำ�มาสอนลูกศิษย์ลูกหาของท่านให้เชื่อเรื่องบาป บุญ คุณ โทษ มีทั้งชาตินี้ชาติหน้า จึงสอนศิษย์ด้วยความไม่กินแหนงแครงใจ ไม่มีความสงสัย ใดๆ ทั้งสิ้น ท่านจึงเน้นลงในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ในส่วนตัวและส่วนรวม ดังพุทธ สุภาษิตที่ว่า กิจที่ควรทำ�ให้ทำ�เสียแต่บัดนี้ เวลานี้เดี๋ยวนี้ ไม่ควรพลัดวันประกันพรุ่ง ในวันต่อๆ ไป เพราะเป็นการโกหกตัวเองเปล่าๆ ใครเล่าจะทราบได้ว่าความตายของ เราจะมาถึงในวันพรุ่งนี้ อันพญามัจจุราชมีเสนาใหญ่จะติดตามเรา ในวันไหนใครจะ ทราบเล่า คำ�ว่าเสนาน้อยใหญ่ของพญามัจจุราชนั้น เราจะขอเวลาสักนาทีเดียวก็ไม่ได้ เทียว ตรงนี้ท่านได้เน้นหนักกับลูกศิษย์ลูกหาแทบทุกคืน สมัยท่านยังแข็งแรงสุขภาพดี อยู่ ท่านรับรองเรื่องไม่เป็นโมฆะ สำ�หรับลูกศิษย์ที่ปฏิบัติตามหลวงปู่ ท่านสั่งสอน ฉะนั้น หลวงปู่จึงมีความเมตตาต่อลูกศิษย์ลูกหาทั้งใกล้และไกล โดยไม่มี ประมาณ โดยเฉพาะเรื่องสิกขาบท วินัย แม้เล็กน้อยก็ไม่ให้ประมาท และถ้าผู้ใดมี ความคิดขัดแย้งขึ้นในใจ ท่านก็จะทราบขึ้นด้วยฌาน ท่านก็จะตักเตือนด้วยความเตตา แต่ผู้ที่ได้รับความเมตตาจากท่านไม่ได้ก็จะหาว่าท่านดุ ลูกศิษย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติตรงตามท่าน ก็จะทราบได้ดีนักว่า ท่านสามารถจะรู้ ความคิดของผู้อื่น หรือรู้วาระจิต ว่าใครคิดอะไร ทำ�อะไรอยู่ที่ไหน จะไกลหรือใกล้ ก็ตาม ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดจะทราบว่าท่าน หูทิพย์ตาทิพย์รู้ความคิดของผู้อื่น และท่านจะ สอนด้วยเหตุผล กรรม วิบาก กิริยา และเจตนา ท่านจะสอนละเอียดมากน้อยตามจริต นิสัยของศิษย์ที่รับฟังๆ แล้วก็เข้าใจ เพราะท่านมีเหตุผลที่ละเอียดลออในคำ�สอนมาก อีกเรื่องหนึ่งที่หลวงปู่มหาบุญมี ได้เล่าถึงอดีตชาติของท่าน ว่า (เล่าในตอนดึก) 132


บันไดพญานาคทางลงสระน้ำ�บริเวณองค์เจดีย์

กุฏิพระสงฆ์

ท่านเคยเกิดในสมัยพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า กัสสโป ท่านได้ออกบวชตลอดชีวิต และได้ตั้งจิตอธิษฐานกำ�หนดว่า ขอให้สำ�เร็จกิจในพรหมจรรย์ ถ้าข้าพเจ้า(หมายถึง หลวงปู่) เกิดในภพใดชาติใด ขอให้ข้าพเจ้าได้พบพระพุทธศาสนาไปจนตลอด จนรู้แจ้ง สัจธรรม ในกาลสมัยของพระสมณโคดมพระพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าในครั้งพุทธกาล ทรงมีพระนามว่า กัสสโป มีเนื้อความโดยย่อ ดังนี้ ลำ�ดับนั้น พระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่ง จุติลงมาจากดุสิตสวรรค์ทรงพระนามชื่อว่า พระพุทธกัสสโป เสด็จลงมาบังเกิดในเมืองบุรีศรีมหานคร พระบิดรทรงพระนามชื่อท้าวพรหมทัตพราหมณ์ พระมารดาชื่อ พระนางสาครพราหมณี พระชนมายุพิธี คืออายุของพระพุทธเจ้านั้น ยืนได้ ๒ หมื่นปีเป็นกำ�หนด อันว่า พระกัสสโป ได้ตรัสในโลกนี้ก็เป็นมหายศอันยิ่งใหญ่แก่เวไนยสรรพสัตว์ ทั้งหลาย อันได้บังเกิดในศาสนาของพระองค์ ครั้นจุติทำ�ลายขันธ์จากชาตินั้นแล้วก็ได้ ไปบังเกิดในสวรรค์ประมาณได้สองส่วน ไปตกนรกเสียส่วนหนึ่งเพราะเป็นคนใจบาป หยาบช้า มิได้ฟังพระธรรมเทศนา มิสวดมนต์ภาวนาแลมิได้รักษาศีลไว้เป็นที่พึ่งให้ รุ่งเรืองสุกใส ส่วนพระบวรกายของพระองค์สูงได้ ๒๐ ศอก เสด็จออกไปตรัสรู้ยังต้นไทรซึ่งเป็น ไม้ศรีมหาโพธิ์ แล้วพระองค์ก็เสด็จไปเที่ยวโปรดเวไนยสัตว์ตามพุทธประเพณีตลอด พระชนมายุกาลแล้วก็เสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน ในระหว่างพุทธกาลนั้นแผ่นดินก็ งอกสูงขึ้นได้โยชน์หนึ่ง คือ ๘ พันวาเป็นกำ�หนด ฯ) 133


แผนที่การเที่ยวธุดงค์ขององค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร (เป็นแผนที่พอสังเขป ซึ่งจะแสดงให้เห็นสถานที่สำ�คัญต่างๆ หลายแห่งซึ่งในอดีต สมัยรุ่นพ่อแม่ครูอาจารย์ฝ่ายกรรมฐาน ท่านมักจะมาปลีกวิเวก หาสถานที่ภาวนา ดังที่ ได้แสดงรายละเอียดดังกล่าวนี้) 134



สุขา สทฺธมฺมเทสนา

การแสดงสัทธรรม นำ�ความสุขมาให้ (ขุ.ธ.๒๕/๔๑)

พระธรรมเทศนา โดย หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร


เทศนาอบรมเนื่องในวันเข้าพรรษา หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นพระสุปฏิปันโนที่ เผยแผ่ธรรมด้วยการปฏิบัติ อบรมสั่งสอนสานุศิษย์ ทั้งบรรพชิตและฆราวาส ด้วยการทำ�จริง ทำ�ตาม ปฏิบัติตาม มากกว่าการอบรมบรรยายเทศน์หรือ แสดงธรรม แต่ในวาระวันสำ�คัญทางพระพุทธ ศาสนาหรือการได้รับอาราธนา หลวงปู่จะเมตตา แสดงธรรมเทศนาโปรดซึ่งมักใช้ภาษาอีสาน และ มีผญาภาษิตของภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเปรียบเทียบ ให้ญาติโยมได้แปลความตีความ วิเคราะห์พินิจ พิจารณานัยแห่งความหมายธรรมะ ซึ่งใกล้ตัวและ ใกล้วิถีชีวิตของการดำ�รงอยู่เป็นเนื้อแนวเดียวกัน กับวัฒนธรรมประเพณีของชุมชน ดังที่จะได้ยกมา เป็นตัวอย่างพอสังเขปดังนี้ องค์หลวงปู่มหาบุญมี ท่ า นได้ เ มตตาเทศนาอบรมในวั น เข้ า พรรษา ครั้งหนึ่งว่า การปฏิบัติธรรมเหมือนการทำ�นา มีคราดมี ไถ มีการเก็บหญ้า กว่าจะได้หว่านข้าว หว่านแล้ว กว่าข้าวจะงอก มันก็ขึ้นของมันเอง ไม่ได้บังคับนี่ฉันใด หัวใจของคนก็เหมือนกัน สงบ ราบคาบแล้วมันก็จะเกิดเอง จึงค่อยพิจารณามัน พิจารณาให้มันแตกถ้าไม่แตกมันก็ คาตนเอง ไปศึกษาเอาเองไม่ได้ มันเกิดของมันเอง เมื่อมันเกิดเองเราต้องแก้เอง ให้ ตัวเองแก้ตัวเอง ถ้าแก้ถูกแล้วมันก็ไม่มีที่ไป ก็เป็นสุขคือความไม่เป็นไร เป็นทุกข์คือไม่ เกิด ทุกสิ่งทุกอย่างก็ไปอยู่ความสุขเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา คิดก็ไม่ทางสิ้นสุด วิปัสสนา เป็นการขุดราก (รากเหง้าของกิเลส) สมถ เป็นการชำ�ระ (ชำ�ระอกุศลมูล) 137


ผู้หลงหรือผู้รู้ก็อยู่ตัวเดียวกัน รู้เรื่องการปฏิบัติ ไม่ใช่รู้เพราะการศึกษา จงให้มี สติ รู้ก็ให้รู้ถึงใจ รู้ถึงตน ถึงตัวการอบรมสติ ถ้าไม่ศึกษามันก็ไม่เข้าใจ ต้องอบรมเจ้าของ ให้มันเป็นไปเอาเอง มันจึงเสร็จ ถ้าตนเองแก้ไม่ได้ผู้อื่นก็แก้ไม่ตกเหมือนกัน ตัวเราแก้ ตัวเรามันจึงแก้ได้ แก้ให้มันถึงที่สุด มันก็จะสำ�เร็จได้ล่ะ มันเป็นปัจจัตตังทั้งหมด สันทิฏฐิโก เห็นด้วยตัวเอง ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิ วิปัสสนา สันทิฏฐิโก นอกจากความรู้ความเห็นเป็น ไม่ได้ ทุกข์เกิดความอยาก อยากก็อยากดี อยู่ทางโลกมีแต่ความทุกข์กับความอยาก ๒ อย่างนี้มันได้รับกัน ศาสนาก็อาศัยมรรค อาศัยทางโลก เข้าพรรษาอยู่ในไตรมาส ๓ เดือน นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปถึงกลางเดือน ๑๑ ไม่จำ�เป็นไม่ให้ไปนอนที่อื่น ไม่ให้ไปสว่างนอกวัด สังเกตดูวัดมีรั้วล้อมเป็นเขต ถ้ามี ความจำ�เป็นมีพ่อมีแม่เจ็บป่วย อนุญาตให้ไปดูแลรักษาได้ การอื่นไปไม่ได้ ไปก็ไป ด้วยสัตตาหะ ได้ ๖ วัน วันที่ ๗ ให้มาถึงวัด วันนี้คือวันสำ�คัญอีกวันหนึ่ง เป็นวันที่ พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนา ธัมจักฯ อนัตตา เทศน์โปรดปัญจวัคคีย์ก่อนแสดง พระธัมจักฯกับอริยสัจ ๔ ให้มีการอธิษฐานตามความสามารถของเจ้าของในธุดงควัตร ๑๓ ข้อ เอาข้อใดข้อหนึ่ง ถ้าจะเอาทั้งหมดคงจะไม่ได้ ทำ�อะไรให้ทำ�จริงๆ อย่าทำ�เล่นๆ ถ้าทำ�เล่นก็ไม่ได้อะไร ไม่มีสติสตังมันก็ไม่ได้อะไรเลย พากันรักษาวินัย ธุดงค์เป็นวินัย ธรรมะรักษาใจ บำ�เพ็ญภาวนาให้ธรรมะเกิด ขึ้น ผู้ใดจะอธิษฐานอะไรก็ให้อธิษฐานเอา บิณฑบาตฉันเป็นวัตร ฉันหนเดียว ฉันที่นั่ง ที่เดียว ห่ออาหารใส่บาตรอย่าเอาแต่ถุงพลาสติกใส่บาตร ให้ใช้ใบตองห่อ ญาติโยม ก็ต้องอธิษฐานใส่บาตรหรือรักษาใจของตนให้มีสติสตัง อันนี้รักษาไว้ปฏิบัติไว้เพื่ออะไร เมื่อนั่งภาวนาให้เป็นผู้มีสติอย่าให้มันขาด ธรรมจึงจะเจริญขึ้น สักแต่ว่าทำ�เฉยๆ ไม่มี สติธรรมะมันไม่เกิด เกิดขึ้นแต่สิ่งไม่ดี สิ่งดีมันไม่ได้มันไม่เกิดให้ ถ้าจะดีได้นอกจาก ความมีสติ ฯลฯ

138


เทศนาอบรมเนื่องในวันมาฆบูชา

ณ วัดป่าหนองเกาะ อำ�เภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

ญาติโยมทั้งหลาย วันนี้ให้รู้จักว่าเป็นวันสำ�คัญในทางพระพุทธศาสนา พบศาสนา สร้างบุญบารมีให้มีธรรมะ ธัมโม ให้มีความคิดความนึกในทางพุทธศาสนา เพื่อให้มัน หนีจากความทุกข์จากภัย วันนี้เป็นวันสำ�คัญทางพุทธศาสนา เป็นการระลึกถึงคุณ ประเสริฐ ระลึกในสิ่งประเสริฐ คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นไตรสรณคมน์ ของบุคคลที่ อยู่ในพุทธศาสนา พุทโธ ได้แก่ พระพุทธองค์ ธัมโม ได้แก่ ก้อนพระธรรม สังโฆ ได้แก่ พระสงฆ์ พระสงฆ์สมัยนี้ไม่เหมือนพระสงฆ์สมัยก่อน ทุกวันนี้เรียกว่า สมมติสงฆ์ พระสงฆ์ เป็นเนื้อนาบุญของโลกทั้งหลาย คุณของพระสงฆ์ คุณของพระพุทธเจ้าก็มี คุณของ พระธรรม คุณของพระสงฆ์ก็มี คุณของพระพุทธเจ้ามี ๙ ประการ คุณของพระธรรมมี ๖ ประการ คุณของพระสงฆ์มี ๙ ประการ 139


ตนเกิ ด มาต้ อ งมี ห น้ า ที่ ร ะลึ ก ถึ ง สิ่ ง ที่ ต น ปรารถนาว่า อยากได้ความสุขเพื่อพ้นทุกข์ สรณคมน์ เป็นที่พึ่งที่อาศัยเป็นหลักชัยไม้เท้าของพวกเรา เป็น หลักความคิด ความอ่าน ความปรารถนา ถ้าหากไม่มี ก็เซไปหาที่อื่นๆ เซไปหาผี เซไปหาต้นไม้ต้นไร่ เป็น ที่พึ่ง เรียกว่า ของพึ่งที่ไม่ประเสริฐ ท่านจึงเรียกว่า มาสูเว มรณัง อัญญํง คนโดยมากถามหาแต่ที่พึ่ง ไม่ว่าสิ่งที่ไม่ประเสริฐ ถ้าเปรียบกับไม้ก็เป็นไม้ผุ ถ้า ใช้สิ่งที่ประเสริฐนั้นคือ คำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อจะพ้นทุกข์พ้นภัย เป็นแนวทางของพระศาสนา สิ่งอย่างอื่นนั้นไม่แน่นอน ฉะนั้น มาวันนี้มาระลึกถึงคำ�สั่งสอนของ พระพุทธเจ้า แต่ก่อนวันเช่นนี้เป็นวันเดือน ๓ เพ็ง เป็น วันที่ปลงอายุสังขารของพระพุทธเจ้า หมายความว่า ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ปลงอายุสังขารนั้นคือหมายความ ว่า ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปมีกำ�หนดกฎเกณฑ์แต่นี้ไป ๓ เดือน จะปรินิพพาน และวันนี้เป็นวันที่พระอริยสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยไม่ได้นัดหมาย มา ประชุมกันจากทิศทั้ง ๔ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดง โอวาทพระปาฏิโมกข์ พระที่มารวมกันล้วนเป็น พระอรหันต์ทั้งหมด ที่พวกท่านทั้งหลายได้มาประชุมกันพวกเราทั้งหลายก็ขอให้เอา พุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นที่พึ่ง ให้มีความคิดความอ่านเป็นที่พึ่ง มีพุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็น ไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง ไตร แปลว่า ๓ สรณะ แปลว่า เป็นที่พึ่ง เพื่อให้ได้ความสุขสมความมุ่งมาด ปรารถนา ถ้าหากปรารถนาอยากจะพ้นทุกข์ พ้นภัยก็ให้อาศัย ๓ อย่างนี้ ปฏิบัติตาม คำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้า รักษาศีลบ้าง ทานบ้าง ภาวนาบ้าง เกิดมาก็มีที่พึ่งที่อาศัย อย่างหนึ่ง สมปรารถนาอยากพ้นทุกข์พ้นภัย ก็มี ๓ อย่างนี้เท่านั้น 140


ธรรม คำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้า ท่านปฏิบัติมาไม่มีครูไม่มีอาจารย์ท่านก็ ปฏิบัติมาด้วยอำ�นาจบารมีมาโดยลำ�ดับ บารมีท่านสร้างไว้ ๑ อสงไขย แสนกำ�ไร มหากัป เกิดมาภพสุดท้ายนี้บิดาท่านเป็นกษัตริย์ บิดาชื่อสุทโธทนะ มีพระชายาชื่อ พระนางพิมพา ศาสนาท่านวางไว้ ๕,๐๐๐ พระพรรษา เราก็เป็นผู้มีบุญบารมีอยู่ ที่ได้ เกิดมาในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า ให้รู้จักเข้าวัดให้เข้าหาพระ ศึกษาเรื่องชีวิต ชีวา ต้องให้มันรู้เสียก่อน อ่านตัว ก แล้วตัว ข ตัว ค เกิดขึ้นเป็นคน ตัว บ เป็นบาปก็ได้ เป็นบุญก็ได้ ไม่ได้หมายถึง ก.ไก่ ก.กา หมายถึง ก.คน ถ้าให้อ่าน ก.ไก่ ก.กา แล้วใครล่ะ เป็นผู้อ่าน ก็คนนั่นล่ะเป็นคนเกิด นี่มันเป็นธรรมะ ให้ศึกษามาใส่ชีวิตตนเอง อ่านอักขระ ต้องอ่านมาใส่ชีวิตตนเอง มันจึงเป็นผลประโยชน์ ให้มันใกล้กับชีวิต ชีวา ธรรมะท่านว่า ย่อทางปลายให้กลับคืนทางต้น ย่อความเป็นไปของชีวิตให้ย่อความ เกิด นี่ท่านว่าทวนกระแส เรียนมาเพื่อให้เห็นต้นตอมัน เบื้องต้นมันเกิดมาทำ�ไม เกิดมา แล้วมันอยากได้อะไร มันก็อยากได้ดี ดีหรือชั่วอยู่ที่การกระทำ� ทางศาสนาพุทธบอก ว่าเนื่องจากการกระทำ� เนื่องจากกรรมอันดี ดีหรือชั่ว เป็นตัวเจ้าของเอง เกิดมาหลาย ครั้ง เกิดมานับพรรณนาไม่ได้ ไม่รู้ว่าเกิดกี่ภพกี่ชาติ ท่านว่าอย่างนั้นละ หมายความว่า พวกเราไม่ได้เกิดมาชาติเดียว แล้วก็ตกทุกข์ได้ยากอยู่อย่างนี้ เพราะว่าไม่ได้สมความ ปรารถนาของตน แม้แต่ปัจจุบันนี้ก็เหมือนกัน ฉะนั้น เป็นเรื่องของอะไร เป็นเรื่องของกรรม อาศัยกรรมของตน เกิดมาโลกนี้ มันไม่เที่ยง เกิดมามันก็ตั้งอยู่ ตั้งอยู่แล้วมันก็แก่ไป ถึงใครจะปรารถนายังไงก็อยู่ไม่ได้ ถึงจะมีอะไหล่ซ่อมมันก็ต้องชำ�รุดในช่วงสุดท้าย สมัยนี้ก็เหมือนกันมีโรงพยาบาลเยอะ ผลสุดท้ายก็ตายเหมือนเดิมนั่นล่ะ ฉันนั้นให้รู้ชีวิตตนเองว่ามันไม่แน่นอน ชีวิตะ ชีวิตัง ฑีฆะ ฑีฆัง ชีวิตของตน อชฺเชว กิจฺจมาตปํ โกชญฺญา มรณํ สูเว ความเพียรเครื่องเผา กิเลสจงทำ�เสียแต่วันนี้ วันหน้าเราไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ ชีวิตคือ ความคิด ความอ่าน ใน ร่างกายของตน ในชีวิตนี้ก็จะได้รู้จักว่ามันไม่สมปรารถนา คิดอย่างหนึ่งมันก็ไปอย่าง หนึ่ง ฉะนั้น มันแปรรูป โกชญฺญา มรณํ สูเว ไม่บอกให้รู้ว่าวันนี้หรือวันพรุ่งนี้เราจะต้อง ตาย ฉะนั้นให้รักษา พระพุทธ พระธรรม เป็นที่พึ่ง การทานก็ต้องมีการเสียสละ เช่น อย่างข้าวของเงินทอง เสียสละร่างกายของตนอย่างหนึ่ง หมายความว่า ความขี้เกียจ ขี้คร้าน ให้บำ�เพ็ญให้มันรู้เรื่องชีวิตของตนเอง สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุศลาสู ปสมฺปทา 141



ละบาปบำ�เพ็ญอันได้ คำ�ไม่ดี ความไม่ดี ความชั่ว เบียดเบียนผู้อื่นและทั้งตนเองด้วย นี่ ละท่านว่า ละบาปบำ�เพ็ญบุญ ละบาป ก็คือ การรักษาศีล การบำ�เพ็ญ คือ การกิน การทาน การชำ�ระจิตของตนไม่ให้มีความเศร้าหมอง ให้ผ่องแผ้ว คำ�สอนของพระพุทธเจ้า นั้นให้ชำ�ระจิตของตนตามคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้า เกิดมาแล้วก็ได้พบพระพุทธเจ้า ศาสนาคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้าบรรจุไว้ในตัวของเราแล้ว เอาจากพระศาสดาเอง มาเป็นศาสนา ท่านสิ้นแล้วสิ้นกรรมทั้งหลายแล้วจึงได้มาเป็นพระพุทธเจ้า พวกเรา ทั้งหลายเกิดมาจึงได้มางมงายในโลกนี้ คำ�สอนของพระพุทธเจ้านั้นท่านสอนคน คำ�สอน ของท่านจึงได้เรียกว่าพระธรรม สนฺทิฏฐิโก มันก็อยู่ที่ตัวของตนทั้งหมด โอปนยิโก น้อมลงดูให้มันเห็น ดูร่างกายตนเองแล้วดูจิตใจตนเองให้มันเห็น คนอื่นไม่เห็นด้วย เห็นแต่เฉพาะผู้น้อมดู พวกเราทั้งหลายต้องการมีสรณะ มีที่พึ่งที่อาศัยเพื่อให้จิตใจหรือว่าตนเองเป็น ไปตามสมความปรารถนาในเบื้องปลาย ก็คือความพ้นทุกข์ ใครทุกคนก็ไม่อยากให้มัน ทุกข์ ทุกคนก็อยากได้แต่ความสุข ความทุกข์นั้นอยู่หมดทั้งกายทั้งใจ ตามธรรมดาจิตใจ ของพวกเราแล้วมันก็ยังทุกข์อยู่ ไม่มีก็ทุกข์ มีก็ทุกข์ ถ้ามีมากๆ ก็เหมือนจะไม่ทุกข์ มันไม่ใช่ล่ะ มีมากมันก็ทุกข์มากอยู่เหมือนเดิม เหตุนั้นคำ�สั่งสอนของพระพุทธเจ้าท่าน จึงให้ปฏิบัติ ความอยากมันเป็นกิเลสเป็นความทุกข์ ถ้ามันทุกข์ให้เดินมาทางนี้ ให้มีศีล มีภาวนา ชำ�ระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ทุกข์นั้นมันก็อยู่กับความอยากนั่นล่ะ ถ้ามันอยาก มากก็ให้เดินมาทางมรรคนี้ อริยมรรค คืออะไร คือหนทางดับทุกข์ รักษาศีลหนึ่ง ให้มี ความดำ�ริชอบ ดำ�ริในการงานให้มันชอบในศีล ในความเพียร ให้มันหนักแน่นในสมาธิ ให้มันแน่นอน ให้เชื่อในกรรมของตน ทำ�อะไรก็ให้เชื่อกรรม ทำ�ดีก็ได้ดี ทำ�ชั่วก็ได้ชั่ว เราเกิดมากรรมมันพาเป็น เพราะว่ามันไม่เหมือนกัน เกิดมาเท่าไหร่ๆ ก็ไม่เหมือนกัน เป็นการกระทำ�ของกาย วาจา

143


* หมายเหตุ

อธิบายขยายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คุณของพระรัตนตรัย คุณของพระพุทธเจ้า มี ๙ ประการ พุทธคุณ ๙ คือ คุณความดีของ พระพุทธเจ้า ๙ ประการ ดังที่นักปราชญ์ ท่านได้ร้อยกรอง เพื่อให้เป็นบทสวด สรรเสริญพระคุณอันประเสริฐไว้ดังนี้ ๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์ มีคำ�แปล และความหมายอย่างน้อย ๔ ประการ ดังนี้ ๑.๑ เป็นผู้ควร คือ ผู้ทรงสั่ง สอนสิ่งใดก็ทรงทำ�สิ่งนั้นได้ด้วย เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ๑.๒ เป็นผู้ไกล คือ ผู้ทรงไกลจากกิเลสและบาปกรรม เพราะทรงละได้ เด็ดขาดแล้วทั้งโลภ โกรธ และหลง ๑.๓ เป็นผู้หักซี่กำ�แพงล้อสังสารวัฏ คือ ผู้ทรงตัดวงจรแห่งการเวียน ว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏได้แล้ว ๑.๔ เป็นผู้ไม่มีข้อลี้ลับ คือ ผู้ทรงไม่มีบาปธรรมทั้งที่ลับและที่แจ้ง เป็น ผู้ควรแนะนำ�สั่งสอนผู้อื่น และเป็นผู้ควรได้รับความเคารพของผู้อื่น ๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นผู้ทรงตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง คือ ทรงตรัสรู้ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นการค้นพบด้วยพระองค์เอง ไม่มี ครู อาจารย์เป็นผู้สอน ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นผู้ทรงเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ คือ มี วิชชาความรู้ตั้งแต่ความรู้ระดับพื้นฐาน จนกระทั่งความรู้ระดับสูงสุด และมีจรณะ ความประพฤติดีประพฤติได้ตามที่ทรงรู้ เช่น ความสำ�รวมในศีล เป็นต้น ๔. สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดี คำ�ว่า “ไปดี” มีความหมายหลายนัยคือ ๑.เสด็จดำ�เนินตามอริยมรรคมีองค์แปด อันเป็นทางเดินที่ดี 144


๒.เสด็จไปสู่พระนิพพาน อันเป็นสภาวะที่ดียิ่ง ๓.เสด็จไปดีแล้ว เพราะทรงละกิเลสได้โดยสิ้นเชิง ๔.เสด็จไปปลอดภัยดี เพราะเสด็จไปบำ�เพ็ญประโยชน์แก่สัตว์โลก ๕. โลกวิทู เป็นผู้ทรงรู้แจ้งโลก คือทรงรอบรู้โลกทางกายภาพ เช่นโลกมนุษย์ สัตว์โลก สังขารโลก โอกาสโลก และทรงรู้โลกภายในคือ ทุกข์และการดับทุกข์ ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีผู้ทรงฝึกคนได้อย่างยอดเยี่ยม คือ พระองค์ทรงรู้นิสัย (ความเคยชิน) อุปนิสัย(มีแวว) อธิมุตติ(ความถนัด) อินทรีย์(ความพร้อม) ของบุคคลระดับต่างๆ และทรงฝึกสอนด้วยเทคนิควิธีการ ที่เหมาะแก่ความเคยชิน แววถนัด และความพร้อมของเขาให้บรรลุมรรคผลเป็น จำ�นวนมาก ๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คือ พระองค์ ท รงประกอบด้ ว ยคุ ณ สมบั ติ ที่ ค วรเป็ น ครู ข องบุ ค คลในทุ ก ระดั บ ชั้ น เพราะพระองค์ทรงรอบรู้และทรงสอนคนได้ทุกระดับ ทรงสอนด้วยความเมตตา มิใช่เพื่อลาภสักการะและคำ�สรรเสริญ แต่ทรงมุ่งความถูกต้องและประโยชน์สุข ของผู้ฟังเป็นใหญ่ ทรงสอนให้เหมาะสมกับอัธยาศัยของผู้ฟัง และทรงทำ�ได้ตามที่ ทรงสอนนั้นด้วย ๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คือ พระองค์ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและ ข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ยึดถือกันมาผิด ๆ ด้วย ทรงรู้จักฐานะ คือ เหตุที่ควรเป็น เปรียบได้กับคนตื่นจากหลับแล้วทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่งพระองค์ทรงตื่นแล้วเป็นอิสระจากอำ�นาจของโลภ โกรธ หลง แล้ว เมื่อทรง ตื่นแล้วก็ทรงแจ่มใสเบิกบาน มีพระทัยบริสุทธิ์สะอาด ๙. ภควา เป็นผู้มีโชค ผู้ทรงแจกแบ่งธรรม คือพระองค์ทรงเพียบพร้อมได้ ด้วยคุณธรรมทั้งหลาย อันเป็นผลสัมฤทธิ์แห่งพระบารมีที่ทรงบำ�เพ็ญมา นับเป็น ผู้มีโชคดีกว่าคนทั้งปวง เพราะพระองค์ทรงทำ�การใดก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ ส่วน “ภควา” แปลว่า “ทรงแจกแบ่งธรรม” หมายถึง มีพระปัญญาล้ำ�เลิศ จน สามารถจำ�แนกธรรมที่ลึกซึ้งให้เป็นที่เข้าใจง่าย และมีพระกรุณาธิคุณจำ�แนกจ่าย คำ�สั่งสอนแก่เวไนยสัตว์ให้รู้ตาม พระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้ สรุปลงเป็น ๓ ประการคือ 145


๑. พระวิสุทธิคุณ คือ ความบริสุทธิ์ อันได้แก่ พระคุณข้อที่ ๑,๓ และ ๙ ๒. พระปัญญาคุณ คือ ปัญญา อันได้แก่ พระคุณข้อที่ ๒,๕ และ๘ ๓. พระมหากรุณาธิคุณ คือ พระมหากรุณา อันได้แก่ พระคุณข้อที่ ๔, ๖ และ ๗ คุณของพระธรรม มี ๖ ประการ ดังที่นักปราชญ์ท่านได้ร้อยกรองเป็น บทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณ สำ�หรับน้อมนำ�ระลึกไว้ในใจ ดังนี้ ๑. สวากขาโต ภควตา ธัมโม หมายถึง ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ท่ามกลาง อันได้แก่ สมาธิและงามในที่สุด อันได้แก่ ปัญญา พร้อมทั้งอรรถและ พยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์หรือหลักการครองชีวิตอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ๒. สันทิฏฐิโก หมายถึง ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ผู้ใดปฏิบัติ ผู้ใด บรรลุ ผู้นั้นย่อมเห็นประจักษ์ด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อตามคำ�บอกเล่าของผู้อื่น ผู้ใด ไม่ปฏิบัติ ไม่บรรลุ ผู้อื่นจะบอกก็เห็นไม่ได้ ๓. อกาลิโก หมายถึง ไม่ประกอบด้วยการ ผู้ปฏิบัติไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา พร้อมเมื่อใดบรรลุได้ทันที บรรลุเมื่อใดเห็นผลได้ทันที นั่นคือ ให้ผลในลำ�ดับแห่ง บรรลุไม่เหมือนผลไม้อันให้ผลตามฤดูกาล ๔. เอหิปัสสิโก หมายถึง ควรเรียกให้มาดู พระธรรมเป็นคุณอัศจรรย์ดุจของ ประหลาดที่ควรเชิญชวนให้มาชมและพิสูจน์หรือท้าทายต่อการตรวจสอบ เพราะ เป็นของจริงและดีจริง ๕. โอปนยิโก หมายถึง ควรน้อมเข้ามา ผู้ปฏิบัติควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ ของตนหรือน้อมใจเข้าไปให้ถึงด้วยการปฏิบัติให้เกิดขึ้นในใจ ๖. ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ หมายถึง อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ผล อันเกิดจากการปฏิบัติธรรมนั้น ทุกคนที่น้อมนำ�มาปฏิบัติ จะรู้ซึ้งถึงผลแห่ง พระธรรมนั้นด้วยตนเอง ทำ�ให้กันไม่ได้ เอาจากกันไม่ได้ และรู้ได้ประจักษ์ในใจ ของตนเอง คุณของพระธรรมข้อที่ ๑ มีความหมายกว้าง รวมทั้งปริยัติธรรม คือ คำ�สั่ง สอนด้วย ส่วนคุณของพระธรรมข้อที่ ๒ ถึงข้อที่ ๖ มุ่งให้เป็นคุณของโลกุตตร ธรรม 146


ดังนั้น เมื่อทราบความหมายของธรรมคุณ ๖ ทั้งหมดแล้ว การสวดมนต์เพื่อ สรรเสริญพระธรรมคุณในครั้งต่อๆ ไป คงจะทรงความหมายอย่างเปี่ยมล้น คุณของพระสงฆ์ มี ๙ ประการ คุณของพระสงฆ์ หมายถึง คุณความดีที่พระสงฆ์มีอยู่ประจำ�ตน พระสงฆ์ที่ มีคุณความดีได้รับยกย่องมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล คือพระอริยสงฆ์ พระสงฆ์ผู้บรรลุ มรรคและผลขั้นต่าง ๆ สำ�หรับสมมติสงฆ์ พระสงฆ์โดยสมมติในปัจจุบันนี้หากมี ข้อวัตรปฏิบัติอันน่าเลื่อมใสศรัทธา ก็อนุโลมตามคุณของพระอริยสงฆ์ได้ สังฆคุณมี ๙ ประการ ๔ ประการแรกเป็นเหตุและ ๕ ประการหลังเป็นผลดัง ต่อไปนี้ ๑.สุปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีคือ ๑.ปฏิบัติไม่ตามมัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นทางสายกลาง ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงเครียด นัก ๒.ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติได้ดีเท่าเดิม หรือก้าวหน้าสูงขึ้นไป ๓.ปฏิบัติตาม รอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ๒.อุขุปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตรง คือ ๑. ไม่ปฏิบัติลวงโลก คือ ปฏิบัติต่อหน้าคนอย่างหนึ่ง ปฏิบัติลับหลังคนอีกอย่าง หนึ่ง ๒. ไม่ปฏิบัติเพื่อโอ้อวด คือปฏิบัติเพื่อให้คนทั่วไปเห็นว่าตนปฏิบัติเคร่งครัด กว่าใคร ๆ ๓. ปฏิบัติตรงต่อพระพุทธเจ้า และพระสาวกด้วยกัน ไม่อำ�พรางความ ในใจ ไม่มีแง่งอน ๓.ญายปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง คือ ๑.ปฏิบัติมุ่งธรรมเป็นใหญ่ ๒.ปฏิบัติถือความถูกต้องเป็นสำ�คัญ ๓.ปฏิบัติเพื่อ ความตรัสรู้ ๔.สามีจิปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติ สมควรคือ ๑. ปฏิบัติน่านับถือ สมควรได้รับความเคารพ ๒.ปฏิบัติชอบอย่างยิ่ง ๓.ปฏิบัติดีที่สุด ๕.อาหุเนยโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่สิ่งของ คำ�นับ คือ ควรได้รับสิ่งของที่เขานำ�มาถวาย เพราะท่านมีคุณสมบัติ ๔ ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้นนั้น ด้วยว่าสิ่งที่เรียกว่าอาหุนะ เป็นของที่ท่านใช้บูชาคุณ 147


ความดีของคน เมื่อพระสงฆ์ประกอบด้วยคุณสมบัติเช่นนั้น จึงควรแก่อาหุนะ คือ สิ่งของคำ�นับ ๖.ปาหุเนยโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่การ ต้อนรับ คือ ผู้ปฏิบัติงามเช่นนี้ เมื่อท่านไปในบ้านเมืองใด ย่อมเป็นผู้สมควรแก่ การต้อนรับเหมือนการต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ พระสงฆ์อยู่ในฐานะนั้น ๗.ทักขิเณยโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา ควรแก่สิ่งของทำ�บุญ คือ พระสงฆ์ผู้มีคุณสมบัติดังกล่าวย่อมได้รับประโยชน์ตาม ที่ปรารถนา แม้การอุทิศกุศลเพื่อผู้ตาย พระสงฆ์ก็จัดเป็นทักขิไณยบุคคล คือ ควร รับทักษิณาทานนั้น ๆ ๘.อัญชลีกรณีโย พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ควรแก่การ ทำ�อัญชลี คือ พระสงฆ์เป็นผู้มีคุณความดีอยู่ในสันดาน ย่อมอยู่ในฐานะที่ใครๆ ควรแสดงความเคารพด้วยการกราบไหว้ เพราะทำ�ให้ผู้ไหว้มีความรู้สึกว่าตนได้ ไหว้ผู้ที่มีคุณธรรมสมควรแก่การไหว้ ทั้งเป็นการช่วยให้ผู้ไหว้เจริญด้วยพรทั้ง ๔ ประการ อันได้แก่ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ด้วย ๙.อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นเนื้อนาบุญของโลก คือ พระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์ ทักษิณาที่บริจาคแก่พระสงฆ์ ย่อมมีอานิสงส์มาก เปรียบเหมือนนามีดินดีและน้ำ�ดำ� พืชที่หว่านไปย่อมให้ผล ไพบูลย์ จึงเป็นที่บำ�เพ็ญบุญของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย 148



คำ�สอนพอสังเขป

ของ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

องค์หลวงปู่ท่านสอนให้ศึกษาธรรมจากขั้นเบื้องต้น เริ่มจาก ศีล คืออะไร ทุกศาสนาก็มีศีล มีสอนอะไรเราศึกษาหมด เมื่อยังประพฤติตามที่ พระพุทธองค์สอนหมดหรือยัง จุดประสงค์ที่ศึกษาเรื่องศีล สรุปศีลคืออะไร สมาธิ ก็สอนทุกๆ ศาสนาผิดแผกแตกต่างบ้างอยู่ที่วิธีการ จุดประสงค์ คือการที่ต้องการ ให้จิตใจเป็นปกติ ในเมื่อมีผัสสะอะไรเกิดขึ้น เมื่อศีลเป็นปกติ สมาธิก็จะไม่ถูกรบกวน แต่จิตเป็นสิ่งที่ชอบโลดแล่นโดดไปมาตามอายตนะกระทบผัสสะ เกิดเป็นรูปเป็นนาม ก็เกิดชอบไม่ชอบรูปนั้นขึ้นมา แต่สุดท้ายก็ต้องเข้าใจว่ามันทุกข์ทั้ง ๒ อย่างนั้นแหละ ทั้งกุศลและอกุศล สติ จึงจำ�เป็นต้องมีสติ พัฒนาสติให้มีกำ�ลังเพียงพอที่จะไปทำ�หน้าที่ควบจิต จิต เป็นสิ่งที่จะต้องถูกควบคุมด้วยสติ ถ้าใช้สติยึดมั่นถือมั่นดื่มด่ำ�ลงสู่ขณิกะสมาธิ-อุปจาระ สมาธิ และเข้าสู่แดนของปฐมฌาน คือ จิตเข้าสู่ความสงบยิ่งในนามอัปนาสมาธิ พัก ชั่วขณะหนึ่ง ถอนความรู้สึกมาอยู่ที่อุปจาระสมาธิ สมาธิ เพื่อสร้างสัมปชัญญะ ความ รู้สึกตัวให้มีควบคู่กับสติ ให้เป็นอันเดียวกัน สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัวเกาะกุม อยู่กับสติที่กำ�ลังควบคุมจิตอยู่ จะต้องเลือกดู พระกรรมฐาน ๔๐ ห้อง ได้แก่ กสิน ๑๐ กสิณ แปลว่า “เพ่ง” กสินมี ๑๐อย่าง ได้แก่ ๑.ดิน ๒.น้ำ� ๓.ลม ๔.ไฟ ๕.แสงสว่าง ๖.อากาศ ๗.สีขาว ๘.สีแดง ๙.สีเหลือง ๑๐.สีเขียว 150


อนุสสติ ๑๐ อนุสสติ แปลว่า “ตามระลึกถึง” กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึก นึกถึง ๑๐ อย่าง ๑. พุทธานุสสติ ๒. ธัมมานุสสติ ๓. สังฆานุสสติ ๔. สีลานุสสติ ๕. จาคานุสสติ ๖. เทวานุสสติ ๗. มรณานุสสติ ๘. อุปสมานุสสติ ๙. กายคตานุสสติ ๑๐. อานาปานา นุสสติ อสุภกรรมฐาน ๑๐ อสุภ แปลว่า ไม่สวย ไม่งาม กรรมฐาน มี ๑๐ อย่าง ๑. อุทธุมาตกอสุภ ๒. วินิลกอสุภ ๓. วิปุพพกอสุภ ๔. วิฉิททกอสุภ ๕. วิกขายิตก อสุภ ๖. วิกขิตตกอสุภ ๗. หตวิกขิตตกอสุภ ๘. โลหิตกอสุภ ๙. ปุฬุวกอสุภ ๑๐. อัฏฐิ กอสุภ พรหมวิหาร ๔ พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมเป็นที่อยู่ของพรหม ๔ อย่าง ๑ เมตตา= ความรัก ๒.กรุณา= ความสงสาร ๓. มุทิตา= ยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ๔. อุเบกขา=ความวางเฉย อรูปฌาน ๔ คือฌานที่ไม่มีรูป ๔ อย่างคือ ๑.อากาสานัญจายตนะ ๒.วิญญาณัญจายตนะ ๓.อากิญจัญญายตนะ ๔.เนว สัญญานาสัญญายตนะ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา แปลว่า พิจารณาอาหารให้เป็นของน่าเกลียด จตุธาตววัตถาน ๑ จตุธาตววัตถาน แปลว่า ธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ� ธาตุลม ธาตุไฟ ต้องทดสอบจนแน่ใจว่าถูกจริตแต่ละห้อง ถ้าทำ�ถูกจริตพอทำ�ปุ๊บ ก็สว่าง สงบ ก้าวหน้า แสดงว่าถูกจริตกับกองกรรมฐานนั้นๆ ยังมีสิ่งที่จะต้องศึกษาอีกมาก เช่น ไม่ใช่ ไปอ่านเอาฟังเอา ต้องเกิดจากการปฏิบัติเอา และนี่คือหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะเป็นวิปัสสนา กรรมฐาน จุดเริ่มต้นของปฐมฌาน (องค์ของสมาธิอันดับแรกเรียกว่าปฐมฌาน : ฌาน เบื้องต้น ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา) โดยต้องศึกษาเรื่อง

151


๑. ศีล สมาธิ ปัญญา

ไตรสิกขา

ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา ๓ หมายถึง ข้อสำ�หรับศึกษา การศึกษา ข้อปฏิบัติที่พึงศึกษา การฝึกฝนอบรมตนในเรื่องที่พึงศึกษา ๓ อย่างคือ ๑. อธิสีลสิกขา คือศึกษาเรื่องศีล อบรมปฏิบัติให้ถูกต้องดีงาม ให้ถูกต้อง ตามหลักจุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล ตลอดถึงปฏิบัติอยู่ในหลัก มัชฌิมศีล และ มหาศีล ตลอดถึงปฏิบัติอยู่ในหลักอินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษ ๒. อธิจิตตสิกขา คือศึกษาเรื่องจิต อบรมจิตให้สงบมั่นคงเป็นสมาธิ ได้แก่ การบำ�เพ็ญสมถกรรมฐาน ของผู้สมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์ จนได้บรรลุฌาน ๔ ๓. อธิปัญญาสิกขา คือศึกษาเรื่องปัญญาอบรมตนให้เกิดปัญญาแจ่มแจ้ง ได้แก่ การบำ�เพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ของผู้ได้ฌานแล้วจนได้บรรลุวิชชา ๘ ๒. ศึกษาเรื่อง สติปัฏฐาน ๔ ให้เข้าใจและฝึกจนมีสมรรถภาพ มีพลังของสติ โดยรู้ด้วยอารมณ์ของเจตสิก ว่ามีกำ�ลังเพิ่มขึ้นๆ เป็นสติที่จะอำ�นวยความสะดวกในการ จะเข้ าปฐมฌาน

สติปัฏฐาน ๔

เป็นหลักธรรมที่อยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจ ตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ� สติปัฏฐานมี ๔ ระดับ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม คำ�ว่าสติปัฏฐานนั้นมาจาก (สร ธาตุ + ติ ปัจจัย + ป อุปสัคค์ + ฐา ธาตุ แปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิด โดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำ�สภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำ�ว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิก ประเภทหนึ่ง ส่วน*ปัฏฐาน* แปลได้หลายอย่าง แต่ใน มหาสติปัฏฐานสูตร และ สติปัฏฐาน สูตร หมายถึง ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็น ในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ 152


โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำ�นาจกิเลสทั้งปวง ได้แก่ ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติระลึกรู้กายเป็นฐาน ซึ่งกายในที่นี่ หมายถึงประชุม หรือรวม นั่นคือธาตุ ๔ ได้แก่ ดิน น้ำ� ลม ไฟมาประชุมรวมกัน เป็นร่างกาย ไม่มองกายด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา แต่มองแยกเป็น รูปธรรม หนึ่งๆ เห็นความเกิดดับ กายล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติระลึกรู้เวทนาเป็นฐาน ไม่มองเวทนา ด้วยความเป็นคนสัตว์ เรา เขาคือไม่มองว่าเรากำ�ลังทุกข์ หรือเรากำ�ลังสุข หรือเรา เฉยๆ แต่มองแยกเป็นนามธรรมอย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ เวทนาล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติระลึกรู้จิตเป็นฐาน เป็นการนำ�จิตมา ระลึกรู้เจตสิก หรือรู้จิตก็ได้ ไม่มองจิตด้วยความเป็นคน สัตว์ เรา เขา คือไม่มอง ว่าเรากำ�ลังคิด เรากำ�ลังโกรธ หรือเรากำ�ลังเหม่อลอย แต่มองแยกเป็นนามธรรม อย่างหนึ่ง เห็นความเกิดดับ จิตล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ๔. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การมีสติระลึกรู้สภาวะธรรมเป็นฐาน ทั้ง รูปธรรมและนามธรรม ล้วนมีความเกิดดับ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ๓. ต้องศึกษาพุทธประวัติ และคำ�สั่งสอนให้รู้ซึ้งถึงความยากลำ�บาก กว่าที่จะได้ ตรัสรู้เป็นพระสมณโคดมพระพุทธเจ้า ทรงบำ�เพ็ญบุญบารมีมากี่กัปกี่กัลป์ซึ่งมากมาย จนนับประมาณไม่ได้ ตั้งแต่ประสูติ ออกผนวชทรงบำ�เพ็ญทุกรกิริยาค้นหาอริยสัจ หลัง จากบรรลุธรรมวิเศษแล้วองค์สมเด็จพระอนุตตระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงได้ออก ประกาศศาสนาไปทั่วแคว้นชมพูทวีป เมื่อพุทธศาสนาสถิตตั้งมั่นหยั่งรากฝังลึกและ แพร่หลายในดินแดนแห่งนั้นแล้วพระองค์จึงทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานที่ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๖ รวมพระชนม์ ๘๐ พรรษา และวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของพุทธศักราช

๔. ต้องศึกษา มรรค ๘ 153


อริยมรรค มรรคมีองค์แปด *มรรค* (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับ ทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียก ว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อริยสัจ) หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อ ให้พ้นจากทุกข์ และนับเป็นหลักธรรม สำ�คัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกรอบการปฏิบัติ ๘ ประการ ด้วยกัน เรียกว่า “มรรคมีองค์แปด” หรือ “มรรคแปด” (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมี รายละเอียดดังนี้ ๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง การปฏิบัติอย่างเหมาะสมตาม ความเป็นจริงด้วยปัญญา ๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำ�ริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ใน ทางกุศลหรือความดีงาม ๓. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ พูดในสิ่งที่ สร้างสรรค์ดีงาม ๔. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง ๕. สัมมาอาชีวะ คือ การทำ�มาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง เอาเปรียบผู้อื่น ๖. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศล กรรม ๗. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำ�รงอยู่ ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ ๘. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ ทั้งหมดเป็นธรรมที่เป็นทางที่จะต้องเดินเข้าไปสู่ผลเท่านั้น ผลก็จะต้องได้จาก การปฏิบัติที่จะต้องเอาชีวิตเข้าแลกเอา ท่านว่าอย่าไปเสียดายมันเลยชีวิตนั้น เดี๋ยวก็ตายทิ้งไปเปล่าๆ วางความตายเสีย อย่าไปเสียดายความมีอยู่เลย มันหลอก ให้เราทุกข์ทั้งนั้น เกิดซ้ำ�ๆ ซากๆ ไม่หยุดหย่อนให้ผ่อนคลายเลย นี่ทาง (ชี้ไปที่ หัวใจ) ทั้งหมดนี้เป็นการย่นย่อคำ�สอนให้สั้นที่สุด เพื่อให้เหมาะกับเวลาที่กำ�หนด ตายตัว 154


ผญา ปริศนาธรรม หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

ที่องค์หลวงปู่ท่านมักจะนำ�มาสอนศิษย์อยู่เสมอ


คำ�ผญา หรือปรัชญาในการดำ�รงชีวิตของบรรพบุรุษชาวอีสาน ที่ถ่ายทอด กันมาตั้งแต่ดึกดำ�บรรพ์จนถึงชั่วลูกชั่วหลาน คำ�ผญา พร้อมคำ�แปลด้านล่างนี้ เป็น ภูมิปัญญาของนักปราชญ์ท่านผู้รู้ได้ถ่ายทอดไว้เป็นหลักฐานเพื่อเป็นคติเครื่องสอนใจ แก่พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้เป็นอย่างดี

เทียวทางโค้งหนทางมันนานฮอด มัวเก็บบักหว้า มันซิซ้าค่ำ�ทาง ภาษากลาง เทียงทางโค้งมันช้ากว่าจะถึง มัวแต่เก็บผลไม้มันจะมืดค่ำ�เสียก่อน ความหมาย อย่าพากันเถลไถล ออกจากทางตรง เดี๋ยวจะมืดค่ำ�ก่อน อย่ามัวเพลินกับ ผลไม้ป่า จะทำ�ให้ชักช้ามืดค่ำ�ในระหว่างทางได้

ถอยหลังก้ำ�กุมพันสิถือฮุ่ม ตายหน้าพุ่น จังสิย่องว่าหาญ ภาษากลาง เดินทางไม้สุดเส้นทาง อย่าถอยหลังกลับให้เขาเหยียบ หากจะตายก็ขอให้ ตายข้างหน้า เขาจึงจะยกย่องย่องว่าเป็นคนกล้าหาญ ความหมาย จะทำ�อะไรให้ตั้งใจทำ�จริงๆจังๆวางแผนให้แน่วแน่ ให้กระทำ�ด้วยใจ อดทน มีความงามเพียรพยายาม ดั้นด้นไปให้ถึงที่สุด ไม่ใช่กระทำ�ไปได้นิดหน่อยพอ เจอกับปัญหาอุปสรรคก็ยอมแพ้ท้อถอยละทิ้งความพยายาม ขาดความอดทน ไม่ต่อสู้ เพื่อ เอาชนะกับอุปสรรค เหมือนเดินทางไปยังถึงที่หมายแล้วหวนกลับไม่ได้ประโยชน์ อะไร เมื่อได้ลงมือกระทำ�พินิจพิจารณาวางแผนตัดสินใจแล้วต้องกระทำ�ให้สำ�เร็จหาก ไม่สำ�เร็จก็ให้ถึงที่สุด คือต้องศึกษาปัญหากระทำ�ต่อไปไม่อย่าท้อแท้(ให้ยึดว่า ปัญหาใน วันนี้ คือ ผลสำ�เร็จที่เราแก้ปัญหาในวันก่อน หากไม่มีปัญหาก็ไม่รู้ว่าประสบผลสำ�เร็จ ปัญหามีไว้แก้ไม่ได้มีไว้ให้หนี หากหนีปัญหาจะเป็นผู้แพ้ในทันที) แม้จะไม่ประสบผล ตามที่คาดก็อย่าให้อับจนเพราะท้อแท้ คนเขาจึงจะยกย่องสรรเสริญว่าเป็นคนกล้าหาญ ความหมาย นักสู้ต้องสู้ไม่ถอยให้ตายอย่างวีรบุรุษ (บ่อสุดเส้น = ไม่ถึงที่หมายปลายทาง, สิเอิ้น = เรียก, หาญ = กล้าหาญ) 156


คนเหมิดบ้านกินน้ำ�ส่างเดียว เทียวทางเดียวแต่บ่เหยียบฮอยกัน ภาษากลาง คนทั้งบ้านกินน้ำ�บ่อเดียวกัน เทียวถนนเส้นเดียวกันแต่ไม่เหยีบรอยกัน ความหมาย คือ คนรับศีลจากพระ อธิบายว่า คือรับจากพระสงฆ์รูปเดียว

หมกปลาแดกมีคู จี่ปูมีวาด ภาษากลาง หมกปลาร้ามีวิธี เผาปูก็ต้องมีวิธีการเป็นการเฉพาะ คือจะทำ�อะไรเขาต้อง เรียนรู้ มีครูสอน ต้องรู้จักการห่อใบตอง นำ�ไปย่างไฟขนาด ไหนถึงจะอร่อย จี่ปู ต้องมี เทคนิควิธี ถ้าทำ�โดยไม่รู้จะทำ�ให้ปูไหม้ กินไม่ได้ ความหมาย สอนให้เป็นคนที่มีความรอบคอบเรียนรู้เรืองต่างๆ ให้มีความอย่างถ่องแท้ เพราะทุกอย่างมันมีวิธีการที่ดีที่สุดเหมาสมในแต่ละอย่างสิ่งหนึ่งกระทำ�อย่างหนึ่งแต่ อีกอย่างหนึ่งอาจจะเหมาะแก่การกระทำ�อีกอย่างหนึ่ง แม้แต่เหตุการณ์หรือสิ่งเดียวกัน หากเวลาแปรเปลี่ยนไปจะมากระทำ�เหมือนเดิมอาจจะไม่เหมาะสมก็ได้ เหมือนกับการ หมกปลาร้าที่เห็นว่าง่ายแต่หากทำ�ไปถูกวิธีก็จะทำ�ให้ใบตองแตกไหม้ไม่อร่อยก็ได้ต้องรู้ วิธีเป็นการเฉพาะนั้นๆ ก็คือสอนให้รู้จักว่าสถานการณ์อย่างใดควรควรพูดควรทำ� แล้ว ก็ต้องเป็นคนที่มีความรอบรู้เฉพาะด้านอย่างถ่องแท้

กินมำ�มำ� บ่คำ�เบิ่งท้อง ภาษากลาง เอาแต่กิน ไม่ได้คำ�นึงถึงท้องของตน ความหมาย จะทำ�สิ่งใดให้คำ�นึงถึงกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ระเบียบวินัย จารีตประเพณี ความเหมาะสมก่อนจึงจะได้รับประโยชน์

สี่คนหาม สามคนแห่ คนหนึ่งนั่งแคร่ สองคนพาไป สี่คนหาม หมายถึง ร่างกายของคนเรานั้นประกอบด้วยธาตุ ๔ มี ดิน น้ำ� ไฟ ลม เมื่อใด สี่ธาตุนี้แตกออกจากกัน เมื่อนั้นเราตาย เรียกว่า สี่คนช่วยกันหาม สามคนแห่ หมายถึง คนเรานั้นเกิดมามีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ นั่นก็คือ หมาย ถึง สามัญลักษณะ คือ ลักษณะธรรมดา ๓ ประการนั่นเอง อันได้แก่ อนิจจัง คือความ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เปลี่ยนไปตามกาลเวลา ทุกขัง คือ ความทุกข์อันเกิดจากการ 157


เปลี่ยนแปลง และอนัตตาคือความไม่มีตัวตน ดับสูญ คนหนึ่งนั่งแคร่ หมายถึง ใจเรา นั่งแคร่คอยบัญชาการให้ร่างกายทำ�โน่นทำ�นี่ ตาม สภาพหน้าที่ หรือที่เรียกว่าใจเป็นนายกายเป็นบ่าวนั่นเอง สองคนพาไป หมายถึง ความดี และความชั่ว ทำ�ดีก็จะไปสู่สุคติ ทำ�ชั่วก็จะไปสู่ทุคติ

ฟานกินหมากขามป้อม ซ่างมาคาคอมั่ง มั่งบ่ขี่สามมื้อกระต่ายตาย กระต่ายตายแล้ว เห็นอ้มผัดเน่านำ� ภาษากลาง ฟานกินลูกมะขามป้อมแต่ไปติดคอละมั่ง ละมั่งขี้ไม่ได้เลยทำ�ให้กระต่าย ตาย กระต่ายตายตายได้สามวันอีเห็นก็พลอยเน่าไปด้วย ความหมาย ก็เหมือนสำ�นวนที่ว่าปลาเน่าตัวเดียวเหม็นกันทั้งตะข้อง หรือ ลูกไปทำ� ความชั่ว พ่อแม่ต้องพลอยเป็นโทษด้วย แถมด้วยวงศาคณาญาติต้องพลอยหม่นหมอง ไปด้วยเพราะเวลาชาวบ้านด่าเขาไม่ได้ด่าคนทำ�ผิดคนเดียว เท่านั้นยังไม่พอ ครูบาอาจารย์ที่เคยสั่งสอนก็พลอยเสื่อมเสียไปด้วย

ใจประสงค์สร้าง กลางดงกะว่าท่ง ใจขี้คร้าน กลางบ้านกะว่าดง ภาษากลาง ถ้าใจเจตนาจะกระทำ�แล้วอยู่กลางป่าก็เหมือนอยู่บ้าน ถ้าใจขี้เกียจอยู่ กลางบ้านก็ว่าในป่า ความหมาย ถ้าใจสู้ (ขยัน) แม้อยู่ในกลางป่าดงก็เหมือนกลางทุ่ง ถ้าใจเกียจคร้าน แล้วแม้อยู่กลางหมู่บ้านก็เหมือนในกลางป่า คนขี้เกียจมักอ้างนู้นอ้างนี่ แล้วไม่ยอมทำ� การงาน

มุดนํ้าอย่าสิเฮ็ดก้นฟู จกฮูอย่าสิเฮ็ดแขนซัน ภาษากลาง ดำ�นํ้าอย่าทำ�ก้นฟู ล่วงรูอย่าทำ�แขนตั้ง ความหมาย เวลาดำ�นํ้าอย่าให้ก้นลอยขึ้นมา และเวลาล้วงมือเข้าไปในรูเพื่อหาหอย หาปูก็ให้ล้วงไปตามแนวขนานของรู เพื่อจะได้หอยได้ปูในรูนั้นตามประสงค์

158


ไกลมื้อนี้ไกลเจ้าท่อเล็บมือ ไกลมื้อฮือ ไกลเจ้าซํ้านิ้วก้อย ไกลมื้อเล็กน้อย ไกลจ้อย คราวมื้อซิบ่เห็น สิบปีลํ่า ซาวปีลํ่า บ่เห็นองมาหย่ามมั่ง บัดห่าข้าวขึ้นเล้า จั่งเห็นเจ้าเทื่อเดียว หนักไปหน้าเซียงศิลาหาบนุ่น เหลือแต่เว้าบ่ฮู้ฮ่อมเบาหนัก ย่างบ่ไปตามทางสิถืกดงเสือฮ้าย โอ๊ย...เฒ่าผีบ้าขี่ข่าตัณหา ขันอาสาเลี้ยงเมียเลี้ยงลูก หาเอาเซือกมาผูกคอโต จั่งได้โงกลับคืนมาเกิด เกิดแล้วเกิดตายซํ้าผู้เดียว หาละเทียวหาเอาชาติภพ อย่าได้ปีนกกขึ้นนำ�โกนกะฮอกด่อน อย่าได้นอนกอดหม้อไหนํ้าขุ่นเขา มันสิพาฝูงเจ้าลงลอยน้ำ�แก่ง ฝูงหมู่กาและแฮ้งสิเจาะไส่เพิ่นพุงเจ้าแหล่ว กกอยู่ป่า หง่าอยู่บ้าน บานได้อยู่สู่ยาม อีลุมปุมเป้า สามเปาเก้าขอด สุดยอดพระคาถา บารมีงุมไว้ แก้บ่ได้เมือบ้านอ่านสาร กกอีตู่เตี้ยต้นตํ่าใบดก ฮากบ่ทันฝังแน่นซ่างมาจีจูมดอก ฮากบ่ทันหยั่งพื้น ซ่างมาปิ้นป่งใบ อัศจรรย์ใจกุ้งพุงบ่มีซ่างมาเลี้ยงลูกใหญ่ ไส้บ่มีอยู่ท้อง ซ่างมาได้ใหญ่มา 159


แก้วบ่ขัดสามปีเป็นหินแฮ่ พี่น้องบ่แหว่สามปีไปเป็นอื่น แม่น้ำ�ท่อฮอยงัว บ่มีผู้ได๋เฮ็ดขัวข้ามได้ เว้นไว้แต่ผู้ฮู้เหตุผล ผักหมเหี่ยนริมทางอย่าสิฟ้าวเหยียบหย่ำ� บั ด มั น ถอดยอด ขึ้นยังสิได้ก่ายเกิน สกุณา เป็นเสียงฮ้อง ปฐพีเป็นหม่องเล่น แม่นทีเป็นหม่องอยู่

ภาษิตคำ�สอน v หลง มันใหญ่ที่สุด v ทุกสิ่งทุกอย่างอาศัยสติทั้งหมด v ชีวิตน้อยหนักหนา พึงฮู้ว่าลมหายใจชีวิตยังเป็นไป ลมหายใจชีพจร กะให้รีบสร้าง

คุณงามความดี v ดีหรือชั่วเป็นของประจำ�ตัว v เป็นใหญ่แล้ว เป็นน้อยบ่เป็น v ขวาแข็งแรงกว่า ขวาแข็งแรงที่สุด ปทักขิณา ปทักขินา v มีตาให้ดู มีหูให้ฟัง v เกิดมาหยัง เกิดมาเพื่อสร้างบุญญาบารมีหนีให้พ้นทุกข์ v การปฏิบัติให้มันฮู้ จั่งแบ่งเวลา ให้มันมี เช้า สาย บ่าย เย็น ให้มันมีกินมีนอน มีเฮ็ด มีทำ� เฮ็ดกิจส่วนตัวแล้วกะมาเฮ็ดกิจส่วนรวม v ถ้าเรามีศีลมีธรรมแล้ว ทำ�อะไรก็เจริญ มีความสุขความสบาย เย็นอกเย็นใจ v ถ้าจิตไม่โลภแล้วก็ไม่มีอะไรจะโลภ ถ้าจิตไม่หลงแล้วก็ไม่มีอะไรจะหลง ถ้าจิตไม่ โกรธแล้วก็ไม่มีอะไรจะโกรธ v สิ่งทั้งหลายไม่ได้จน มันจนที่หัวใจเท่านั้น ไม่ได้จนที่อื่น พอดวงใจจนแล้วก็จนหมด 160


สมถะ-วิปัสสนา (หลวงปู่มหาบุญมี ท่านสอนอุบายการภาวนา โดยท่านจะเน้น สมถะกับ วิปัสสนา อุปมาอุปมัยเปรียบเสมือนระหว่าง ตัวกระบอกปืน ลูกปืน กับ ดินปืน)

การปฏิบัติภาวนาต้องอาศัย ศีล คือ ความบริสุทธิ์ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นของ เกี่ยวเนื่องกัน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ เปรียบเสมือนลูกปืน ดินปืน ตัวปืน เป็นของ อาศัยซึ่งกันและกัน เช่นเราจะยิงอะไรสักอย่าง ตัวศีล เปรียบเสมือนปืน ต้องสมบูรณ์พร้อมที่จะใช้งานไม่ชำ�รุด ตัวสมาธิ เปรียบเสมือนลูกปืนที่ทำ�ให้ลูกปืน ดินปืนรวมเข้าในที่เดียวกัน เมื่อรวม เข้าในที่เดียวกันแล้วก็คือ สมถะ ความสงบ ตัววิปัสสนา เปรียบเสมือนลูกปืนที่วิ่งไปสู่จุดมุ่งหมายที่เรากำ�หนด เมื่อความสงบ คือตัวสมถะ สมบูรณ์พร้อมแล้วเราจะยกสิ่งใดในร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กระดูก อย่างใดอย่างหนึ่งมาพิจารณา เราจะเข้าใจอย่างแจ่ม แจ้งเพราะปัญญาที่เรายกมาพิจารณาเป็นวิปัสสนาทีบริบูรณ์จากความสงบ ของจิตคือ สมถะ ไม่ใช่วิปัสสนึก นึกอย่างนั้นอย่างนี้ นึกเอาคิดเอาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ฉะนั้น แล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องอาศัยเกี่ยวเนื่องกัน ต้องเป็นไปตามขั้นตอน จะสิ่งใดสิ่งหนึ่ง บกพร่องไม่ได้ ถ้าศีลไม่สมบูรณ์ คือการสำ�รวมระวังในจิตมีน้อย การที่จะกระทำ�ให้จิต เป็นสมาธิก็ยากเพราะตัวศีล คือการสำ�รวมระวังจิตไม่ให้คิดฟุ้งซ่านส่ายไปตามอำ�นาจ กิเลสที่จะพาไป การสำ�รวมจิตดีแล้วก็คือศีลบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นการรักษาศีลไม่ใช่ เที่ยวท่องจำ�ตามตำ�ราข้อนั้นข้อนี้ การรักษาศีลก็คือ การรักษาจิตให้เป็นหนึ่งเดียว ศีล ทุกๆ ข้อ รวมที่จิตดวงเดียว เมื่อเราสำ�รวมจิตดีแล้ว ศีลก็สมบูรณ์ สมาธิก็จะตามมา และวิปัสสนาตัวปัญญาก็จะตามมา เป็นลำ�ดับโดยไม่ต้องไปบังคับ ขอให้ท่านทั้งหลาย เร่งความเพียรพยายาม ชีวิตเรานี้มันน้อย อยู่ไม่นานเดี๋ยวก็ตายไป เร่งสร้างความดี ความสงบ ให้มันมีเกิดขึ้นในใจเรา อย่างน้อยเท่า ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น จะเป็นอุปนิสัย ปัจจัยติดตัวเราไปตลอดมีแต่การได้ เกิดเป็นมนุษย์เท่านั้นที่จะบำ�เพ็ญเพียรให้หลุดพ้น จากอาสวะกิเลสได้ เมื่อเราจะได้เกิดเป็นมนุษย์และได้มาบวชเป็นพระเณร แล้วยิ่งต้อง รีบขวนขวายทำ�ความเพียร เพื่อให้หลุดพ้นจากการเกิดดับ เรียกว่า พระนิพพาน เอาละ พอพากันไปภาวนา (เทศน์ ณ วัดป่าศรีโพธิ์ทอง อำ�เภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด) สามเณรสมพร สีมาคำ� ผู้บันทึก 161


กำ�หนดรู้ การกำ�หนดสติรู้ ให้เป็นสติอยู่กับบริกรรมพุทโธ ถ้าจริตไม่รับกับการกำ�หนด ลมหายใจเข้าออก ก็ให้กำ�หนดรู้สึกว่าตัวเราเองนั่งอยู่ในระหว่างอก กำ�หนดรู้อยู่อย่าง นั้น ถ้าจิตเผลอก็รู้เหมือนกับเรากำ�ลังลุกเดินออกไป ก็ให้กำ�หนดสติรู้อยู่อย่างนั้น แล้ว ก็ดึงกลับเข้ามา

รู้ซึ้งรู้แจ้ง ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล ผลเกิดจากเหตุ เราวินิจฉัยข้อนี้แล้ว จะรู้ซึ้งถึงคำ�สอนพุทธศาสนา

หนังสือ (หนังสื่อ) หนังสือถ้าจะเขียนให้ถูก ต้องเป็นหนังสื่อ เพราะทุกอย่างมีหนังเป็นสื่อให้รู้ เช่น เรามองเห็นหนังโค เราก็รู้ว่าเป็นโค มนุษย์หรือสัตว์ต่างๆ แค่มองเห็นหนังก็รู้ว่าเป็น สัตว์ชนิดนั้นๆ ถ้าเราจะเขียนให้ถูกต้องเป็นหนังสื่อ

สติพร้อม เราจะทำ�สิ่งใดก็ตามเราต้องมีสติพร้อม จะหยิบจับ เดิน นั่ง นอน ดื่ม ทาน หรือ จะทำ�อะไรสติต้องพร้อม ทุกอย่างจะไม่มีการผิดพลาด

ทุกข์ คือ สิตาย คนเราสำ�คัญอยู่ขณะที่จิตจะดับ ธาตุจะแตกมันทุกข์ ถ้าเราไม่มีสติแล้วยังทรมาน นะ เราต้องมีสติพร้อม นั่นแหละท่านว่า ยากคือสิตาย 162


คนเรามีกรรม เรามีชีวิตอยู่เพราะกรรม (กมฺมสฺสกา) เรามีกรรมเป็นแดนเกิด (กมฺมโยนี) เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ (กมฺมพนฺธู) เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย (กมฺมปฏิสรณา) เราทำ�กรรมใดย่อมเป็นผู้รับผลกรรม (ยํ กมฺมํ กริสฺสนฺติ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ)

อยู่ให้สบาย อยู่ที่ไหนก็สบาย ถ้าเราอยู่ด้วยสติ อยู่ที่ไหนก็สบาย ถ้าเราอยู่ด้วยสมาธิ อยู่ที่ไหนก็สบาย ถ้าเราอยู่ด้วยปัญญา

ใจเป็นใหญ่ ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจเป็นหัวหน้า ใจเป็นผู้รับรู้

ความสงบ เมื่อทุกข์ อยู่ด้วยความสงบ เมื่อสุข อยู่ด้วยความสงบ นินทา อยู่ด้วยความสงบ สรรเสริญ อยู่ด้วยความสงบ สงบ ก็รู้อยู่ด้วยความสงบ

ธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ขันติ ความอดทน โสรัจจะ ความเสงี่ยม หิริ ความละอายในจิต เป็นธรรมของผู้บำ�เพ็ญเพื่อความพ้นทุกข์ 163


นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ อยู่บ้าน อยู่ด้วยความสงบ อยู่ป่า อยู่ด้วยความสงบ ความสงบ นำ�มาซึ่งความสุข ความสุขอื่นเสมอด้วยความสงบไม่มี

มาร มารบ่มี บารมีบ่เกิด มารอะไรก็ไม่เท่ากับขันธมาร ขันธมาร ไม่เท่ากับกิเลสมาร กิเลสมาร เกิดข้างในจิตดับได้ที่จิต

ทำ�แทนกันไม่ได้ เกิดคนเดียว ตายคนเดียว จะตายแทนกันไม่ได้ กรรม ทำ�คนเดียว รับคนเดียว รับกรรมแทนกันไม่ได้

ธรรมหยาบวินัยหยาบ ธรรมละเอียด วินัยละเอียด เรื่อง ผำ� (ความละเอียดของพระวินัย) ณ วัดป่าศรีโพธิ์ทอง ครั้งหนึ่งเคยมีพระเอามือไปชอนผำ�ขึ้นจากสระน้ำ�ในวัด ด้วยคิดว่าจะทำ�ให้สระน้ำ�แห่งนี้สะอาด สวยงามและน่าดู พอหลวงปู่ทราบเรื่องท่านก็ เมตตาสอนว่า จิตของเราถ้าถึงขั้นละเอียด เรื่องพระวินัยก็จะละเอียดตามสภาพของ จิต การที่พระเอามือไปชอนผำ�ขึ้นมาจากสระน้ำ� แค่นั้นก็ถือว่า เป็นการพรากของเขียว (ผำ� คือ พืชที่อาศัยอยู่ในน้ำ� ลักษณะละเอียดเป็นเม็ดเล็กๆ สีเขียว คล้ายๆ สาหร่าย) พีชคาม คือ พืชพันธุ์อันถูกพรากจากที่แล้วแต่ยังจะเป็นได้อีก ภูตคาม คือ ของเขียวหรือพืชพรรณอันเป็นอยู่กับที่ มี ๕ ชนิด ๑. พืชเกิดจากเหง้า คือใช้เหง้าเพาะ เช่น ขมิ้น ๒. พืชเกิดจากต้น คือตอนออกได้จากไม้ต้นทั้งหลาย เช่น ต้นโพธิ์ 164


๓. พืชเกิดจากข้อ คือใช้ข้อปลูก ได้แก่ไม้ลำ� เช่น อ้อย ไม้ไผ่ ๔. พืชเกิดจากยอด คือใช้ยอดปักก็เป็น ได้แก่ผักต่างๆ มีผักชีล้อม ผักบุ้ง เป็นต้น ๕. พืชเกิดจากเมล็ด คือใช้เมล็ดเพาะ ได้แก่ ถั่ว งา ข้าว แปลตามรูปศัพท์ ว่า บ้านของภูต, คู่กับ พีชคาม อยู่ในหมวดที่ว่าด้วยภูตคาม วรรคที่ ๒ แห่งปาจิตติยกัณฑ์ในมหาวิภังค์แห่งพระวินัยปิฎก

โลกธรรม ๘ หลวงปู่มหาบุญมีสอนเรื่อง โลกธรรม ๘ จะมีคนรักหมดทั้งโลก ก็ไม่ใช่ จะมีคนชังหมดทั้งโลก ก็ไม่ใช่ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ภาษาบาลี ว่า นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก ขุ. ธ. ๒๕/๔๕.

สอนธรรมด้วยกิริยา บางเรื่องบางอย่างองค์หลวงปู่มหาบุญมี ท่านใช้สายตามองดูอะไร ที่ไหน อย่างไร ก็ให้ลูกศิษย์เข้าใจความหมายว่าท่านต้องการจะให้ทำ�อะไร อย่างไร ไม่จำ�เป็นจะออก จากคำ�พูดอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ผู้มาศึกษาธรรมปฏิบัติกับองค์ท่านจะต้องรู้จัก สังเกต รู้จักใช้ปัญญาพิจารณาดูอาการกิริยาที่องค์ท่านแสดงให้เห็น ซึ่งล้วนแต่เป็นการ ฝึกสติและอุบายสอนศิษย์ทั้งสิ้น

ธรรมปฏิสันถาร หลวงปู่มหาบุญมี ท่านสอนให้เคารพเรื่อง ปฏิสันถาร การต้อนรับ ซึ่งเป็นธรรม อยู่ในความเคารพ ๖ อย่าง ได้แก่ ๑. พุทฺธคารวตา ความเคารพในพระพุทธเจ้า ๒. ธมฺมคารวตา ความเคารพในพระธรรม ๓. สงฺฆคารวตา ความเคารพในพระสงฆ์ 165


๔. สิกฺขาคารวตา ความคารพในการศึกษา ๕. อปฺปมาทคารวตา ความเคารพในความไม่ประมาท ๖. ปฏิสนฺถารคารวตา ความเคารพในปฏิสันถาร คือ การต้อนรับปราศรัย มี ๒ อย่าง คือ ๑.อามิสปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยสิ่งของ ๒. ธรรมปฏิสันถาร ต้อนรับด้วยธรรม คือ กล่าวแนะนำ�ในทางธรรม อีกนัย หนึ่งว่า ต้อนรับโดยธรรม คือ การต้อนรับที่ทำ�พอดีสมควรแก่ฐานะของ แขก มีการลุกรับเป็นต้น หรือช่วยเหลือสงเคราะห์ขจัดปัญหาข้อติดขัด ทำ�กุศลกิจให้ลุล่วง

ดุเป็นธรรม อุบายเวลาดุด่าว่ากล่าวในยามที่ลูกศิษย์ทำ�ผิดหรือขาดสติ องค์หลวงปู่ท่านก็จะ ดุรวมๆ กันทั้งวัด นั่น หมายถึงว่า เป็นการดุรวมทั้งหมดทุกองค์ในอาวาส ถือว่าเป็น ความเสมอภาคเท่ากัน ความเมตตาธรรมไม่มีการลำ�เอียง จากนั้นก็ให้น้อมเอาสิ่งที่องค์ ท่านสอนว่า ถูกดุเพราะอะไร ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาแล้วทีหลังจะได้ไม่ผิดพลาดอีก ถ้า วันไหนลูกศิษย์ใคร่อยากจะฟังธรรมของหลวงปู่ พระอาจารย์จรินทร์ และพระอาจารย์ ไสว ก็จะหาอุบายทำ�ให้หลวงปู่ดุ เพื่อที่หมู่คณะส่วนรวมจะได้ฟังเทศน์และสิ่งที่ไม่เคย ได้ยินได้ฟังมาก่อน

ให้อยู่ในปัจจุบัน หลวงปู่มหาบุญมี ท่านสอน ให้อยู่ในปัจจุบัน (ไม่ให้สนใจหรือกังวลเรื่องอดีต อนาคต)

ขอของดี โยม : หลวงปู่ขอของดีหน่อย หลวงปู่ : ของจะดีไม่ดีมันไม่ได้อยู่ที่ของ สิ่งเหล่านั้นเป็นแค่ธาตุ ๔ เท่านั้น ธาตุดิน น้ำ� ไฟ ลม เอามารวมหลอมกันเข้าสมมุติว่าเป็นนั้นเป็นนี้แค่นั้นเอง ของดีจริงมันอยู่นำ�ใจ เจ้าของ ถ้าใจเจ้าของดีแล้วทุกอย่างดีหมดแหละ 166


อยู่คนเดียวระวังความคิด อยู่กับมิตรระวังคำ�พูด เวลาอยู่คนเดียวอย่าปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ หยุดพิจารณาแล้วค้นหาสัจจะ ของศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมจะพบกับสัจธรรมอันแท้จริง

เป็นใหญ่แล้วเป็นใหญ่ให้เป็น เป็นน้อยแล้วเป็นน้อยให้เป็น ผู้ใหญ่ ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน แต่อยู่ที่มารยาทของการเป็นผู้ใหญ่ ผู้น้อย ไม่ใช่อยู่ที่การเกิดหลัง แต่อยู่ที่มารยาทของการเป็นผู้น้อย

ค้นให้สุด ขุดให้ถึง เกิดเป็นมนุษย์ ค้นให้สุด ขุดให้ถึง

๒๔ ชั่วโมง ทุกคนมีเวลา ๒๔ ชั่วโมง เท่ากันในวันหนึ่งๆ ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ จะได้เปรียบเสียเปรียบก็ด้วยการกระทำ�ของท่านนั้นๆ

โทษคนอื่น โทษของเรา โทษคนอื่นเห็นเท่าภูเขา โทษของเรามองไม่เห็นพอน้อย อยู่ด้วยกันต้องคอยเตือนกัน เพราะตัวเราเองไม่มองเห็นโทษเจ้าของ

คน คนจนข้น คนจนมุ่น คนจนเป็นเนื้อเดียวกัน นั่นแหละเพิ่นว่า คนแท้

การอนุเคราะห์บิดา มารดา การอนุเคราะห์บิดา มารดาตามกาล พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ แม้พระพุทธองค์ยังทรงเสด็จไปเพื่ออนุเคราะห์มารดา บิดา ตามกาล 167


โปรดพุทธมารดา


พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เป็นกัณฑ์เทศน์ที่องค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ท่านมักจะเทศน์อบรมอยู่เป็นประจำ� เมื่อศรัทธาญาติโยมทั้งหลายได้ฟังบทธรรมนั้นแล้ว ก็มีผู้คนสนใจ ชอบใจ และประทับเป็นอย่างมาก จึงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในบรรดาศิษยานุศิษย์ ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ ดังจะได้นำ�เนื้อความทั้ง ๗ คัมภีร์ มาแสดงไว้ดังนี้

การสร้างและปฏิบัติตามพระอภิธรรม นับว่าเป็นการตอบแทนข้าวป้อน และ น้ำ�นมของมารดา และกระทำ�ด้วยเจตนาอุทิศส่วนกุศลแก่บุรพชนผู้ล่วงลับไปแล้ว การ บริจาคทรัพย์เพื่อสร้างพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ถวายเป็นสมบัติแด่พระสงฆ์นั้นเป็นการ กระทำ�ที่น่านิยม นับถือเป็นยิ่งนัก ในทางพระพุทธศาสนาก็กล่าวไว้ว่า ผู้หมั่นอภิวาท เคารพต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์ย่อมเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ แม้แต่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาก็ได้เคยตรัสว่า สิ่งอันควรแก่พระคุณมารดา นั้น แม้เอาเพชรนิลจินดาทรัพย์สมบัติทั้งหลาย มากองจากพื้นพสุธาถึงยอดเขา พระสุเมรุก็ยังต่ำ�ต้อยมิคู่ควรนักสิ่งที่คู่ควร ได้แก่ พระสัตตัปปกรณาภิธรรม ๗ คัมภีร์ ในสมัยปัจจุบันนี้ ฝ่ายผู้ชายสามารถทดแทนบุญมารดาได้ด้วยการบรรพชาอุปสมบท 169


ในพระพุทธศาสนา แต่ฝ่ายหญิงนั้นเล่าอาจจะบวชรักษาศีลอุโบสถ ศีล ๘ ศีล ๕ ได้ตาม อัตภาพ และก็สมควรที่จะสร้างพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ไว้ในพระพุทธศาสนาเพราะเป็น ธรรมะอันสุขุมและลึกซึ้ง สามารถนำ�สรรพสัตว์ทั้งหลายไปสู่มรรคผล และนิพพานได้ จึงถือว่าคู่ควรกับพระคุณมารดา การสร้างพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ตามสติกำ�ลังสามารถของตนนั้นย่อมได้อานิสงส์ อันสูงส่ง บุคคลผู้นั้นจะได้มนุษย์สมบัติ และสวรรค์สมบัติทั้งในภพนี้และภพหน้าอย่าง แน่แท้ พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพระพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและ คำ�อธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกแบบย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ ๑. สํ. หมายถึง สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้ว อธิบายทีละประเภท ๆ ๒. วิ. หมายถึง คัมภีร์พระวิภังค์ ยกหมวดธรรมสำ�คัญ ๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้ว แยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด ๓. ธา. หมายถึง คัมภีร์พระธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่าง ๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ ๔. ปุ. หมายถึง คัมภีร์พระปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภท ต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ ๕. ก. หมายถึง คัมภีร์พระกถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัย สังคายนาครั้งที่ ๓ ๖. ย. หมายถึง คัมภีร์พระยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดย ตั้งคำ�ถามย้อนกันเป็นคู่ๆ ๗. ป. หมายถึง คัมภีร์พระมหาปัฎฐาน หรือ มหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดง ความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร

170


คัมภีร์ที่ ๑ พระธรรมสังคณี กุสลา ธมฺมา, อกุสลา ธมฺมา, ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศล, ธรรมทั้งหลาย อพฺยากตา ธมฺมา ที่เป็นอกุศล ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอัพยากฤต กตเม ธมฺมา กุสลา? ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นกุศาล เป็นไฉนเล่า? ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ กุสลํ กามาวจรกุศลจิต สหรคตแล้วด้วยโสมนัส จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ สัมปยุตแล้วด้วยญาณปรารภเอารูปารมณ์หรือ โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ, หรือว่าสัททารมณ์ คันธารมณ์หรือ หรือว่า รูปารมฺมณํ วา สฺททารมฺมณํ วา รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ หรือ หรือว่าธัมมารมณ์ คนฺธารมฺมณํ วา รสารมฺมณํ วา ก็หรือว่าอารมณ์ใด ๆ เป็นจิตที่เกิดขึ้น โผฏฺฐพฺพารมฺมณํ วา ธมฺมารมฺมณํ แล้ว ในสมัยใด, วา ยํ ยํ วา ปนารพฺภ, ตสฺมึ สมเย ผสฺโส โหติ, ในสมัยนั้น ผัสสะ ย่อมเกิด, อวิกเขปคือ อวิกฺเขโป โหติ, เย วา ปน สมาธิย่อมเกิด, ก็หรือว่า นามธรรมเหล่าใด ตสฺมึ สมเย, อญฺเญปิ อตฺถิ แม้เหล่าอื่นที่อาศัยกันเกิดขึ้นแล้วในสมัยนั้น ปฏิจฺจ สมุปฺปนฺนา, อรูปิโน มีอยู่, ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ เป็นกุศลฯ ธมฺมา, อิเม ธมฺมา กุสลา. ย่อสภาวะในคัมภีร์นี้ ๑. กุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นกุศล หมายเอา กุศลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ ๒. กุสลา ธมฺมา ธรรมที่เป็นอกุศล หมายเอา อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ ๓. อพฺยากตา ธมฺมา ธรรมที่เป็นอัพยากฤต หมายเอา วิบากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ รูป ๒๘ นิพพาน ๑ ๔. อารมณ์ ๖ หมายเอา รูป ๑ เสียง ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ โผฏฐัพพะ คือ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง อีก ๓ รวมเป็น ๗ เรียกว่า วิสัยรูป ๗ ๕. ธัมมารมณ์ ๖ หมายเอา ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ พระนิพพาน ๑ และบัญญัติ ๖. ปโรปัณณาสธรรม ๕๖ คือ ก. ผัสสปัญจกะ ๕ คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิตฯ 171


ข. วิตักกปัญจกะ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาฯ ค. อินทรีย์อัฏฐกะ ๘ คือ สัทธินทรีย์ วีริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมสัสสินทรีย์ และชีวิตนทรีย์ฯ ฆ. สัมมาทิฐิปัญจกะ ๕ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิฯ ง. สัทธาพลสัตตกะ ๗ คือ สัทธาพละ วีริยะพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละฯ จ. อโลภติกะ ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะฯ ฉ. อนภิชฌาติกะ ๓ คือ อนภิชฌา อัพยาบาท สัมมาทิฐิ ฯ ช. หิริทุกะ ๒ คือ หิริ โอตตัปปะ ฯ ฌ. ปัสสิทธิทุกะ ๒ คือ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสิทธิ ฯ ซ. กายลหุตาทุกะ ๒ คื กายลหุตา จิตตลหุตา ฯ ญ. กายมุทุตาทุกะ ๒ คือ กายมุทุตา จิตตมุทุตา ฯ ฎ. กายกัมมัญญตาทุกะ ๒ คือ กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา ฯ ฎ.กายปาคุญญตาทุกะ คื ๑ คือ กายุชุกตา จิตตุชุกตา ฯ ฐ. กายุชุกตาทุกะ ๒ คือ กายุชุกตา จิตตุชุกตา ฯ ฑ. สติทุกะ ๒ คือ สติ สัมปชัญญะ ฯ ฒ. สมถทุกะ ๒ คือ สติ สัมปชัญญะ ฯ ณ. ปัคคาหทุกะ ๒๑ คือ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ฯ ๗. เย วา ปน ธรรมที่เกิดร่วมในจิตตุปบาทนั้นอีก ๙ คือ มนสิการ อธิโมกข์ ฉันทะ วิรตี ๓ และอัปปมัญญา ๒ (รวม ๙) หมายเหตุ ปโรปัณณธรรม ๕๖ มีปรากฏอยู่ในพระธรรมสังคิณีบาลี หน้าต้น และเยวา ปนธรรม ๙ มีปรากฏอยู่ในอรรถสาลินี ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๑๗๖ แม้ปโรปัณณาส กธรรม ๕๖ ท่านก็ได้แสดงไว้เหมือนกัน รวมคัมภีร์นี้แล้วมี ๔ กัณฑ์ คือ ๑. จิตตุปปาทกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของจิตทั้งหมด ๒. รูปกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของรูปทั้งหมด ๓. นิกเขปกัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของติกะ ทุกะ และสุตตันติกะทั้งหมด 172


๔. อรรถกถากัณฑ์ แสดงด้วยเรื่องของเนื้อความในติกะ ทุกะ และนิคมกถา ฯ จบคัมภีร์พระธรรมสังคณี

คัมภีร์ที่ ๒ พระวิภังค์ ปญฺจกฺขนฺธา รูปกฺขนฺโธ, เวทนากฺขนฺโธ, สญฺญากฺขนฺโธ, สงฺขารกฺขนฺโธ วิญฺญาณกฺ ขนฺโธ. ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ? ยงฺกิญฺจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ, อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา, โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา, หีนํ วา, ปณีตํ วา, ยํ ทูเร วา, สนฺติเก วา, ตเทกชฺฌํ ภิสญฺญูหิตฺ วา, อภิสงฺขิปิตฺวา อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ. คำ�แปล ขันธ์ ๕ ทั้งหลาย คือ รูปขันธ์, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณ ขันธ์. ในขันธ์ ๕ เหล่านั้น รูปขันธ์ เป็นไฉนเล่า ? รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันก็ดี, เป็นภายในหรือภายนอกก็ดี, หยาบหรือละเอียดก็ดี, เลวหรือประณีต ก็ดี, หรือว่า รูปใดมีอยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้, พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรวมรูปนั้นแล้ว ย่อเป็นอันเดียวกัน ตรัสเรียกว่า “รูป” นี้ว่า เป็นรูปขันธ์ ฯ ย่อสภาวะในคัมภีร์นี้ ขันธ์ ๕ หมายถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ฯ ๑. รูปขันธ์ หมายเอารูป ๒๘ ที่แจกออกเป็น มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๒๔ ๒. เวทนาขันธ์ หมายเอาเวทนาเจตสิก ๑ แจกออกเป็น สุข ทุกข์ อุเบกขาเวทนา ๓. สัญญาขันธ์ หมายเอาสัญญาเจตสิก ๑ ที่แจกออกเป็น รูป สัททะ คันธะ รสะ โผฏฐัพพะ และ ธัมมสัญญา ๖ ๔. สังขารขันธ์ หมายเอาเจตสิก ๕๐ ที่เหลือปรุงแต่งจิตให้เป็นบุญบ้าง บาปบ้าง เป็น อัพยากฤตบ้าง ๕. วิญญาณขันธ์ หมายเอาจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ที่ทำ�หน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง และรู้ธัมมารมณ์ ๖. คำ�ว่า “ขันธ์” ในที่นี้ หมายความว่า ขันธ์แต่ละขันธ์ ก็จะต้องกองด้วยลักษณะ ๑๑ อย่างดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ จะเป็นรูปขันธ์หรือนามขันธ์ก็ตาม ก็จะต้องกองไว้ 173


ด้วยลักษณะ ๑๑ คือ อดีต, อนาคต, ปัจจุบัน, ภายใน, ภายนอก, หยาบ, ละเอียด, เลว, ประณีต, ไกล, ใกล้, ฯ ๗. ความหมายอีกอย่างหนึ่ง คำ�ว่า “ขันธ์” หมายความว่า ทรงไว้ซึ่งความสูญเปล่า เน่า เสีย ทั้งนี้ก็เพราะว่า รูปทั้งหลายตั้งแต่เกิดปรากฏมาแต่ต้นจนกระทั่งเสียชีวิต ก็มิได้ มีรูปใดหลงเหลืออยู่เลย กล่าวคือ เกิดมาเท่าไร ก็สูญไปหมดเท่านั้น แม้เวทนาคือ สุข ทุกข์ หรือเฉย ๆ ความจำ�เช่นจำ�รูป จำ�เสียง จำ�กลิ่น เป็นต้น สังขารคือความรัก ความชัง ความอิสสาริษยา เป็นต้น หรือวิญญาณที่เคยได้เห็น ได้ยิน ดมกลิ่น ลิ้มรส เป็นต้น เท่าที่เคยมีมาแล้วตั้งแต่หนุ่มสายตลอดจนเฒ่าแก่ ก็มิได้เหลืออยู่เลย เมื่อมี มาแล้วก็หมดไปอย่างนี้ ข้อที่ควรสังเกต อันที่จริง คัมภีร์วิภังค์ที่แปลว่า แจกคัมภีร์นี้องค์พระมหามุนีสัมมา สัมพุทธเจ้า มิได้ทรงแจกไว้เพียงขันธวิภังค์เท่านั้น แต่ทรงแจกไว้ในพระคัมภีร์นี้ทั้ง ๑๘ วิภังค์ คือ นอกจากขันธวิภังค์แล้ว ก็ยังมี อายตนวิภังค์ ธาตุวิภังค์ สัจจวิภังค์ อินทรียวิภังค์ ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ สติปัฏฐานวิภังค์ สัมมัปปธานวิภังค์ อิทธิปาท วิภังค์ โพชฌังควิภังค์ มัคควิภังค์ ฌานวิภังค์ อัปปมัญญาวิภังค์ สิกขาปทวิภังค์ ปฏิสัม ภิทาวิภังค์ ญาณวิภังค์ ขุททกวัตถุวิภังค์ และธัมมหทัยวิภังค์ และทรงแจกไว้ทั้งอภิธรรม ภาชนีย์ และสุตตันตภาชนีย์ตลอดถึงปัญหาปุจฉกะ โดยแจกไปตามติกะ และทุกะ ซึ่ง ผู้ใคร่การศึกษา และปฏิบัติจะทราบรายละเอียดได้ในคัมภีร์วิภังค์นี้ทั้งหมด ตัวย่างที่ควรทราบ ทรงแจกขันธ์ตามภิธรรมภาชนีย์เป็นต้นว่า รูปขันธ์มีอย่าง เดียวคือรูปทั้งหมด ไม่ใช่เหตุ, เป็นอเหตุกะไม่มีเหตุ ไม่ประกอบด้วย สัมปยุตเหตุ เป็นต้นไปจนกระทั่งถึงธรรมที่ไม่เที่ยง และเป็นธรรมที่ถูกความเก่าคร่ำ�คร่าครอบงำ� แล้ว รวม ๔๔ อย่าง จากนั้นก็ทรงแจกเป็น ๒ อย่างไปจนถึงรูป ๑๑ อย่าง แล้วจึงทรง แจกเวทนาขันธ์ต่อไป จนครบขันธ์ ๕ สำ�หรับสุตตันตภาชนีย์นั้น ก็ทรงขยายรูป ๑๑ ลักษณะออกไปแต่ละอย่าง ๆ เช่น รูปที่เป็นอดีตก็ทรงแจกออกไปเป็น ๙ ลักษณะ มีอดีตล่วงไปแล้ว นิรุทธะดับไปแล้ว เป็นต้น ทรงแจกทั้งมหาภูตรูป และอุปาทายรูป แม้นามขันธ์ก็ทรงแจกเช่นกัน และทรง แจกออกเป็นมูลหนึ่ง มูลสองเป็นต้นไป เมื่อจบแล้วก็ตั้งเป็นปัญหาปุจฉกะ คือตั้งเป็น 174


คำ�ถาม เช่นถามว่า รูปขันธ์ และนามขันธ์เป็นกุศลเท่าไร? อกุศลเท่าไร? อัพยา กฤต เท่าไร? แจกอกไปจนจบติกะแล้วก็แจกทุกะอีก ๑๐๐ จนจบ แม้ที่เหลืออีก ๑๗ วิภังค์ก็ ทรงแจกโดยนัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นรายละเอียดต่างๆ ผู้ใคร่ในการศึกษา สภาวะของธรรมชั้นสูงจะทราบได้จากคัมภีร์วิภังค์ทั้งหมดฯ จบคัมภีร์วิภังค์

คัมภีร์ที่ ๓ ธาตุกถา สงฺคโห อสงฺคโห. สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ. อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ, สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ, อ สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ, สมฺปโยโค วิปฺปโยโค, สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตตํ, วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺ ตํ, อสงฺคหิตํ. คำ�แปล มาติกา คือแม่บท ๑๔ คือ ธรรมที่สงเคราะห์เข้าได้ ธรรมที่สงเคราะห์เข้าไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ด้วยธรรมที่นับสงเคราะห์เข้าได้ ๑. ธรรมชาติที่นับ สงเคราะห์เข้าได้ ด้วยธรรมที่นับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้าได้ ด้วยธรรมที่นับสงเคราะห์เข้าได้ ๑, ธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ด้วยธรรมที่นับ สงเคราะห์เข้าไม่ได้ ๑, ธรรมที่ประกอบกันได้ ธรรมที่ประกอบกันไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่ ประกอบเข้ากันไม่ได้ ด้วยธรรมที่ประกอบเข้ากันได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากันได้ ด้วยธรรมที่ประกอบเข้ากันไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากันได้ ด้วยธรรมที่ประกอบ เข้ากันได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากันไม่ได้ ด้วยธรรมที่ประกอบเข้ากันไม่ได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบเข้ากันได้และที่ประกอบเข้ากันไม่ได้ ด้วยธรรมที่นับสงเคราะห์เข้า กันได้ ๑, ธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้และที่นับสงเคราะห์เข้ากันไม่ได้ ด้วยธรรม ที่ประกอบกันได้ ๑, ธรรมชาติที่ประกอบกันได้ และประกอบกันไม่ได้ ด้วยธรรมที่นับ ลงเข้ากันไม่ได้ ๑, และธรรมชาติที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้ และนับสงเคราะห์เข้ากันไม่ ได้ ด้วยธรรมที่ประกอบกันไม่ได้ ๑ รวม ๑๔ นัย ข้อที่ควรกำ�หนดมาติกา ๑๔ นัย นัยที่ ๑ คือ สงฺคโห อสงฺคโห. นัยที่ ๒ คือ สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ. 175


นัยที่ ๓ นัยที่ ๔ นัยที่ ๕ นัยที่ ๖ นัยที่ ๗ นัยที่ ๘ นัยที่ ๙ นัยที่ ๑๐ นัยที่ ๑๑ นัยที่ ๑๒ นัยที่ ๑๓ นัยที่ ๑๔

คือ คือ คือ คือ คือ คือ คือ คือ คือ คือ คือ คือ

อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ. สงฺคหิเต สงฺคหิตํ. อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ. สมฺปโยโค วิปฺปโยโค. สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตตฺตํ. วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ. สมฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ. วิปฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ. สงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ วิปฺปยุตฺตํ. สมฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิตํ. อสงฺคหิเตน สมฺปยุตฺตํ วิปฺปยุตฺตํ. วิปฺปยุตฺเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิตํ.

ตามนัยแห่งพระบาลีทรงจัดมาติกา ไว้ ๕ คือ :๑. นยมาติกา ๒. อัพภันตรมาติกา ๓. นยมุขมาติกา ๔. ลักขณมาติกา และ ๕. พาหิรมา ติกา ความประสงค์ของนัย นัยที่ ๑ ทรงแสดงไขให้ทราบถึงธรรมที่นับสงเคราะห์เข้ากันได้ และเข้ากันไม่ได้ แจกออกเป็น ๘ ตอน คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ อินทรีย์ ปฏิจจสมุปปาทาทิ ติกะ ทุกะ ยกตัวอย่างนัยที่ ๑ ที่ทรงแสดงไว้ในพระบาลีธาตุกถา ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๓ ข้อ ๖ ว่า รูปกฺขนฺโธ กตีหิ ขนฺเธหิ กตีหายตเนหิ กตีหิ ธาตูหิ สงฺคหิโต, รูปกฺขนฺโธ เอเกน ขนฺเธน รูปกฺขนฺโธ เอเกน ขนฺเธน เอกาทสหายตเนหิ เอกาทสหิ ธาตูหิ สงฺคหิโต, กตีหิ อ สงฺคหิโต ? จตูหิ ขนฺเธหิ เอเกนายตเนน สตฺตหิ ธาตูหิ อสงฺคหิโต. แปลว่า รูปขันธ์ นับสงเคราะห์เข้าได้ ด้วยขันธ์ทั้งหลายเท่าไร? อายตนะทั้งหลาย เท่าไร ธาตุทั้งหลายเท่าไร รูปขันธ์นับสงเคราะห์เข้าได้แล้วด้วยขันธ์ ๑ อายตนะ ๑๑ 176


ธาตุ ๑๑ สงเคราะห์เข้าไม่ได้ ด้วยขันธ์เป็นต้นเท่าไร? นับสงเคราะห์เข้าไม่ได้ ด้วยขันธ์ ๔ อายตนะ ๑ ธาตุทั้งหลาย ๗ (จากนั้นก็แจกออกไปเป็นมูละ ตั้งมูล ๑-๒-๓-๔ และ ๕ เป็นที่สุด) หมายเหตุ ท่านที่ต้องการทราบรายละเอียดนัยมาติกาทั้ง ๑๔ นัยนี้ โปรดตรวจดูได้ ใน พระบาลี และอรรถกถาของธาตุถถานี้ต่อไป สำ�หรับในที่นี้ขอแสดงไว้พอเป็นทัสนนัย เท่านั้น ฯ จบคัมภีร์ธาตุกถา

คัมภีร์ที่ ๔ ปุคคลบัญญัติ ฉ ปญฺญตฺติโย. ขนฺธปญฺญตฺติ, อายตนปญฺญตฺติ, ธาตุปญฺญตฺติ สจฺจปยฺญตฺติ, อินฺทฺ ริยปญฺญตฺติ, ปุคฺคลปญฺญตฺติ, กิตฺตาวตา, ปุคฺคลานํ ปุคคฺคลปญฺญตฺติ? สมยวิมุตฺโต อสมวิมุตฺโต กุปฺปธมฺโม, อกุปฺปธมฺโม, ปริหานธมฺโม, อปริหานธมฺโม, เจตนา ภพฺโพ, อนุรกฺขนาภพฺโพ, ปุถุชฺชโน, โคตฺรภู, ภยูปรโต, อภยูปรโต, ภพฺพาคมโน, อภพฺ พาคมโน, นิยโต, อนิยโต, ปฏิปนฺนโก, ผเลฏฐิโต, อรหา, อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน. คำ�แปล บัญญัติ ๖ คือ ขันธบัญญัติ, อายตนบัญญัติ, ธาตุบัญญัติ, สัจจบัญญัติ, อินทริย บัญญัติ, ปุคคลบัญญัติ มีอยู่ การบัญญัติบุคคลว่าเป็นปุคคลบัญญัติ จะมีได้ ด้วย ประมาณเท่าไร? แก้ว่า จะมีได้ ด้วยประมาณเท่านี้ คือ บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจากสมัย, บุคคลผู้ไม่พ้นวิเศษแล้วจากสมัย, บุคคลผู้มีฌาน กำ�เริบ, บุคคลผู้มีฌานไม่กำ�เริบ, บุคคลผู้มีฌานธรรมเสื่อม, บุคคลผู้มีฌานธรรมไม่ เสื่อม, บุคคลผู้ไม่ควรเสื่อมเพราะเจตนา, บุคคลผู้ควรแก่การตามรักษา, บุคคลผู้เป็น ปุถุชน, บุคคลผู้ที่ได้โคราภูญาณ, บุคคลผู้อันเว้นจากภัย, บุคคลผู้อันไว้เว้นจากภัย, บุคคลผู้มาถึงความเป็นผู้ควร, บุคคลผู้มาถึงความเป็นผู้ไม่ควร, บุคคลผู้แน่นอน, บุคคล ผู้ที่ปฏิบัติแล้ว, บุคคลผู้ที่ตั้งอยู่ในผล, บุคคลเป็นอรหันต์, บุคคลผู้ที่ดำ�เนินไปแล้ว เพื่อ ความเป็นอรหันต์ ฯ 177


ขยายความหมายบุคคล ๑. บุคคลผู้ที่พ้นวิเศษแล้วจากสมัยนั้น ตามอรรถกถานัย ท่านหมายเอาพระ โสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามีผู้ที่ได้สมาบัติแปดฯ ๒. อสมยวิมุตตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่พ้นโดยวิเศษไม่ได้แล้วจากสมัย ท่านหมาย เอาพระขีณาสพผู้ที่เป็นสุกขวิปัสสก คือ ไม่ได้สมาบัติแปดนั้นเองฯ ๓. กุปปธรรมบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มีธรรมกำ�เริบ ท่านหมายเอาบุคคลผู้ที่ได้ สมาบัติแล้ว แต่ต่อมาสมาบัติเกิดเสื่อม ๔. อกุปปธรรมบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มีธรรมไม่กำ�เริบ ท่านหมายถึง บุคคลผู้ที่ได้ สมาบัติ แต่ทว่าไม่เสื่อมฯ ๕. ปริหานธรรม และอปริหานธรรมบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มีธรรมเสื่อม และไม่ เสื่อมนั้น ตามอรรถกถานัยฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๓๔ ข้อ ๕ ท่านแสดงได้ว่า “ปริหาน ธมฺมาปริหานธมฺมนิทฺเทสาปิ กุปฺปธมฺมากุปฺปธมฺมทฺเทสวเสเนว เวทิตพฺพา. เกวลญฺหิ อิธ ปุคฺคลสฺส ปมาทํ ปฏิจฺจ ธมฺมานํ ปริหานมฺปิ อปริหานมฺปิ คหิตนฺติ อิทํ ปริยายเท สนามตฺตเมว นามํ” ความว่า แม้นิเทสแห่งปริหานธรรม และอปริหานธรรมก็ควรเข้าใจ เหมือนกับกุปปธรรม และอกุปปธรรมนั้นแหละ ท่านจัดไว้เพราะอาศัยความประมาท ของบุคคลอย่างเดียว จึงเป็นเพียงปริยายเทศนาเท่านั้น (ความ) ไม่แตกต่างกันเลย ฯ ๖. เจตนาภัพพบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ที่ไม่ควรเพื่อความเสื่อมแห่งความตั้งใจ คือความตั้งใจเจริญสมาบัติอยู่อย่างเต็มที่แล้ว ไฉนเล่าจึงจะเสื่อมได้ ฯ ๗. อนุรักขนาภัพพบุคคล ท่านหมายถึงบุคคลที่ไม่เสื่อมจากสมาบัติ ด้วยการตาม รักษาเจริญแต่อุปการธรรมเพื่อความเจริญงอกงามแห่งสมาบัติเท่านั้น ฯ ๘. ปุถุชนบุคคล คือ บุคคลผู้ที่ยังละทิฐิสัญโญชน์ สีลัพพตปรมาสสัญโญชน์ และ วิจิกิจฉาสัญโญชน์ ด้วยสมุจเฉทปหานยังไม่ได้นั่นเอง เมื่อจะว่ากันตามสภาวปรมัตถ์ แล้ว ก็ได้แก่บุคคลที่เป็นปุถุชน ๔ จำ�พวก คือ ทุคติบุคคล สุคติบุคคล ทวิเหตุบุคคล และติเหตุปุถุชนบุคคลนั่นเอง ฯ ๙. โคตรภูบุคคล คือ บุคคลที่กำ�ลังเกิดวิปัสสนาญาณขั้นโคตรภู ที่ทำ�ลายโคตร ปุถุชนรับเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่ตรงหน้าโสดาปัตติมรรค ที่ในโสดาปัตติมรรค วิถีนั้น อันนี้ ท่านเอาเฉพาะพระโยคาวจรผู้กำ�ลังเกิดโคตรภูญาณอยู่ขณะนั้นเท่านั้น เรียกว่า ขณะที่โคตรภูญาณเกิดอยู่ ๓ ขณะ คือ อุปาทขณะ ปีติขณะ และภังคขณะ ๓ นั้นที่เรียกกันว่า “โคตรภูบุคคล” ฯ 178


๑๐. ภยูปรโตบุคคล คือ บุคคล ๘ คน คือ กัลยาณปุถุชนและพระเสขบุคคล ๗ จำ�พวกที่กลัวต่อภัยในทุคติ ๑ ภัยในวัฏฏะ ๑ ภัยที่เกิดจากกิเลส ๑ และภัยที่ถูกติเตียน ๑ จึงงดเว้นจากการทำ�บาปทั้งต่อหน้าและลับหลัง ฯ ๑๑. อภยูปรโตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่หมดจากความกลัวแล้ว ท่านหมายเอาพระ ขีณาสพผู้ที่สิ้นจาก อาสวะทั้งปวงแล้ว ไม่มีความสะดุ้งกลัวต่อภัยอะไรอีกต่อไปแล้ว ฯ ๑๒. ภัพพาคมนบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มาถึงความควรเพื่อบรรลุสัมมตนิยามอัน หมายถึงพระอริยมรรค ๔ ตามที่พระบาลีธรรมสังคณีแสดงไว้ในข้อ ๑๐๓๖ หน้า ๒๑๑ แห่งธรรมสังคิณีบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา เพราะบุคคลพวกนี้ไม่มีกัมมันตราย คืออนันต ริยกรรม ๕ ไม่มีกิเลสสันตรายคือนิยตมิจฉาทิฐิ และไม่มีวิปากันตรายคือวิบากขันธ์ที่ เป็นทุคติ สุคติ หรือทวิเหตุกะมาเป็นเหตุกางกั้นอีกต่อไปแล้ว นั่นเอง ฯ ๑๓. อภัพพาคมนบุคคล คือ บุคคลผู้ที่มาถึงความควรเพื่อความยังหลุดพ้น ไม่ได้ หมายถึงบุคคลผู้ที่ยังมีเครื่องกางกั้นพระอริยมรรค ๔ ที่เรียกว่าอันตรายคือ มี กัมมันตราย ๕ อย่าง มีฆ่ามารดาเป็นต้น ๑ มีความเห็นผิดอย่างดิ่งที่เรียกว่า “นิตย มิจฉาทิฐิ” ๑ มีวิบากขันธ์เป็นอันตรายต่อมรรคอันเป็นสัมมัตตนิยามธรรม คือเป็นสัตว์ ที่หาเหตุไม่ได้คือเป็นทุคติบุคคล เป็นสุคติบุคคล เป็นบุคคลสองเหตุ ๑ มีความไม่เชื่อใน พระรัตนตรัย ขาดปัญญาที่มาพร้อมกับปฏิสนธิปาริหาริกปัญญา และวิปัสสนาปัญญา ๑ เป็นผู้ที่ขาดจากอุปนิสัยแห่งมรรคผลเป็นอภัพพบุคคล ๑. ฯ ๑๔. นิยตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอนต่อผลของกรรมที่ตนจะพึงได้รับ โดยไม่มีสิ่งใดมาขัดขวางได้เลย ซึ่งในอรรถกถาปัญจปกรณ์ฉบับฉัฏฐสังคายนา หน้า ๓๗ ข้อ ๑๔ ท่านได้พรรณนาไว้ว่า นิยตานิยตนิทฺเทเส อานนฺตริกาติ อานนฺตริกกมฺม สมงฺคิโน. มิจฺฉาทิฏฐิกาติ นิยตมิจฺฉาทิฏฺฐิสมงฺคิโน. สพฺเพปิ เหเต นิรยสฺส อตฺถาย นิยตตฺ ตา นิยตา นาม. อฏฺฐ ปน อริยปุคฺคลา สมฺมากาวาย อุปรูปริมคฺคผลตฺถายเจว อนุปาทา ปรินิพฺพานตฺถาย จ นิยตตฺตาทนิยตา นาม. ความว่า ในนิทเทสแห่งนิยตะ และ อนิยต บุคคล ควรมีความเข้าใจดังต่อไปนี้ บทว่า “อานนฺตริกา” หมายถึงผู้ที่มีอนันตริยกร รม บท “มิจฺฉาทิฏฐิกา” หมายถึงผู้ที่มีความเห็นผิดอย่างดิ่ง ก็บุคคลตามที่ได้กล่าวมา แล้วนี้ทุก ๆ จำ�พวกชื่อว่า นิยตบุคคลคือบุคคลผู้ที่เที่ยงแท้แน่นอน เพราะแน่นอนต่อ ประโยชน์แก่นรก ส่วนพระอริยบุคคล ๘ ที่ได้นามว่า นิยตบุคคล เพราะเป็นผู้ที่แน่นอน เพื่อประโยชน์แก่มรรคและผลที่สูง ๆ ขึ้นไป โดยการเจริญโดยชอบด้วย และแน่นอน เพื่ออนุปาทานิพพานด้วย ฯ 179


๑๕. อนิยตบุคคล คือ บุคคลที่นกเหนือจากบุคคลที่เป็นนิยตตามที่ได้กล่าวมา แล้วในข้อ ๑๔ นั่นเอง เพราะบุคคลดังกล่าวในข้อที่ ๑๕ นี้ เป็นบุคคลที่ไม่แน่นอนใน ส่วนของคติที่พึงจะเกิดไปด้วย ในผลแห่งกรรมที่คนจะพึงได้จากการกระทำ�ด้วย ฯ ๑๖. ปฏิปันนกบุคคล คือ บุคคลผู้ที่ปฏิบัติแล้ว ในอรรถกถาปัญจปกรณ์ ฉบับ ฉัฏฐสังคายนา หน้า ๑๗ ข้อ ๑๕ ท่านได้ให้คำ�อธิบายไว้ว่า (๑๕) ปฏิปนฺนกนิทฺเทเส มคฺคสมงฺคิโนติ มคฺคฏฺฐกปุคฺคลา เต หิ ผลตฺถาย ปฏิปนฺนตฺตา ปฏิปนฺนกา นาม. ควร ทำ�ความเข้าใจ ในนิทเทสแห่งปฏิปันนกบุคคลดังต่อไปนี้ บุคคลที่ตั้งอยู่ในมรรคชื่อว่า “มคฺคสมงฺคีบุคคล คือ บุคคลผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยมรรค ด้วยว่าคนเหล่านั้น เท่าที่ได้ นามว่า “ปฏิปนฺนกบุคคล” ก็เพราะเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ผล ฯ ผเลฏฐิตบุคคล คือ บุคคลผู้ที่ตั้งอยู่แล้วในผล ซึ่งมีในอรรถกถาปัญจปกรณ์ ใน หน้าและข้อเดียวกัน ท่านก็ได้ให้อธิบายไว้ว่า ผลสงฺคิโนติ ผลปฏิลาภสมงฺคิตาย ผล สมงฺคิโน. ผลปฏิลาภโต ปฏฺฐาย หิ เต ผลสมาปตฺตึ อสมาปนฺนาปิ ผเล ฐิตาเยว นาม. ความว่า บทว่า “ผลสมงฺคิโน” ได้แก่ผู้ที่พร้อมเพรียงด้วยผล เพราะเป็นผู้ที่พร้อม เพรียงด้วยผลโดยเฉพาะ ด้วยว่า พระอริยผลบุคคลเหล่านั้น นับตั้งแต่ได้ผลโดยเฉพาะ เป็นต้นมา แม้ถึงไม่เข้าผลสมาบัติก็ได้ชื่อว่าตั้งอยู่ในผลได้แน่นอนทีเดียว ฯ ส่วนพระอรหันต์และท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์นั้นในอรรถกถา ที่มา ท่านมิได้อธิบายไว้โดยเฉพาะ แต่ท่านกลับอธิบายถึงพระอริยบุคคลที่เป็นสมสีสีไว้ ๓ จำ�พวกคือ ๑. อิริยาปถสมสีสี คือ พระอริยบุคคลผู้ที่กำ�ลังเดินจงกรมเจริญวิปัสสนาอยู่ ก็ได้บรรลุพระอรหัตนิพพาน เหมือนกับพระปทุมเถระเป็นตัวอย่าง บางองค์ก็นั่งเจริญ วิปัสสนาอยู่ก็ได้บรรลุพระอรหัตแล้วก็นิพพานในอิริยาบถนั่นเอง, บางองค์ก็นอนเจริญ วิปัสสนาอยู่แล้วได้บรรลุพระอรหัตในขณะนอนแล้วก็นิพพาน ในขณะที่นอนอยู่นั่นเอง อย่างนี้เรียกว่า “อิริยาปถสมสีสี” ๒. โรคสมสีสีอริยบุคคล หมายถึง ท่านผู้ที่กำ�ลังเป็นโรคภัยไข้เจ็บอยู่ ท่านก็ไม่ ประมาทรีบเจริญวิปัสสนาแล้วก็บรรลุพระอรหัตนิพพานอย่างพระติสสเถระที่มีตัวเน่า เป็นต้น ฯ ๓. ชีวิตสมสีสีอริยบุคคล หมายถึง บุคคลผู้ที่สิ้นชีพไปพร้อมกับสีสะทั้งสองคือ อวิชชากับชีวิตนั่นเอง 180


ในอรรถกถาแห่งนั้น ได้ขยายสีสะออกไปถึง ๑๓ อย่างคือ ๑. ตัณหา เป็นปลิโพธสีสะเครื่องรบกวน ๒. มานะ เป็นวินิพันธสีสะเครื่องรบกวน ๓. ทิฐิ เป็นปรามาสสีสะเครื่องยึดมั่น ๔. อุทธัจจะ เป็นวิกเขปสีสะเครื่องทำ�ให้ฟุ้งซ่าน ๕. อวิชชา เป็นสังกิเลสสีสะเครื่องทำ�ให้เศร้าหมอง ๖. สัทธา เป็นอธิโมกขสีสะเครื่องทำ�ให้น้อมใจเชื่อที่เป็นอุปสรรคของวิปัสสนา ๗. วิริยะ เป็นปัคคหสีสะเป็นเครื่องพยายามเกินขัดต่อวิปัสสนาปัญญาที่จะ ดำ�เนินต่อไป ๘. สติ เป็นอุปัฎฐานสีสะ สติเป็นสภาพที่ปรากฏชัดเกินไปจนวิปัสสนาปัญญาอัปรัศมี ๙. สมาธิ เป็นอวิกเขปสีสะเป็นเครื่องทำ�ให้นิ่งเกินไป ๑๐. ปัญญา เป็นทัสนสีสะ คือเห็นชัดเกินไปจนศรัทธาเกิดยากไม่เสมอกัน ๑๑. ชีวิตทรีย์ เป็นสีสะอยู่ต่อไปหยุดไม่ได้ ๑๒. วิโมกข์เป็นโคจรสีสะ คือเป็นอารมณ์ ๑๓. นิโรธมีสังขารเป็นสีสะเครื่องปรุงแต่งดับไม่ได้ ฯ ในบรรดาสีสะทั้ง ๑๓ นั้น พระอรหัตมรรคทำ�ลายอวิชชาซึ่งเป็นสีสะของกิเลส จุติจิต ทำ�ลายชีวิตินทรีย์ที่เป็นสีสะที่ทำ�ให้เป็นไป หยุดไม่ได้ จิตทำ�ลายชีวิตตินทรีย์ได้ แต่ไม่ อาจจะทำ�ลายอวิชชาได้ จิตที่ทำ�ลายอวิชชากับจิตที่ทำ�ลายชีวิตเป็นคนละอย่างกัน แต่ สีสะทั้งสองคืออวิชชา และชีวิตของท่านผู้ใดถึงความสิ้นไปได้ ท่านผู้นั้นจึงจะเรียกว่า “ชีวิตสมสีสี” ฯ จบคัมภีร์ปุคคลบัญญัติ

คัมภีร์ที่ ๕ กถาวัตถุ ปฺคคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ ? อามนฺตา. โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ, ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถนาติ ? นเหวํ วตฺตพฺเพ, อาชานาหิ หิคฺคหํ, หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ, สจฺฉิกตฺถปรมตฺเถน ? เตน วต เร วตฺตพฺเพ. โย สจฺฉิกตฺโถ ปรมตฺโถ, ตโต โส ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกตฺถปรม ตฺ- เถนาติ มิจฺฉา. 181


คำ�แปล สกวาที ถามว่า ท่านหยั่งเห็นบุคคล โดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และโดยอรรถที่อย่างยิ่ง กระนั้นหรือ ? ปรวาที ตอบว่า ใช่ ฯ สกวาที ซักต่อไปว่า สภาพใดที่มีอรรถอันแจ่มแจ้ง และมีอรรถอย่างยิง มีปรากฏอยู่ ท่านเข้าไปหยั่งเห็นบุคคลนั้น โดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และโดยอรรถอันยิ่งกระนั้นหรือ ? ปรวาที กล่าวปฏิเสธว่า ไม่สมควรจะกล่าวอย่างนั้น สกวาที กล่าวว่า ท่านรู้แต่พลั้งไป ถ้าว่า ท่านหยั่งรู้เห็นบุคคลได้โดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และอรรถอย่างยิ่งได้แล้วไซร้ ? เพราะเหตุนั้นแล ท่านก็ควรจะกล่าวว่า สภาพใดมีอรรถที่แจ่มแจ้ง และมีอรรถ อย่างยิ่งมีปรากฏอยู่ ข้าพเจ้าก็เข้าไปหยั่งเห็นบุคคลนั้น โดยอรรถที่แจ่มแจ้งและโดย อรรถอันเยี่ยมยิ่งได้ เพราะเหตุนั้น ดังนี้ (ในปัญหากรรมนี้ ท่านควรจะกล่าวว่า ข้าพเจ้า เข้าไปหยั่งเห็นบุคคลโดยอรรถที่แจ่มแจ้งแลโดยที่อย่างยิ่ง แต่ไม่สมควรจะกล่าวว่า สภาพใดมีอรรถที่แจ่มแจ้ง และมีอรรถอันอย่างยิ่งปรากฏอยู่ ข้าพเจ้าก็หยั่งเห็นบุคคล นั้นโดยอรรถที่แจ่มแจ้ง และโดยอรรถที่อย่างยิ่งดังนี้ คำ�ของท่าน) จึงผิดพลาด ฯ หมายเหตุ อันที่จริงบาลีตรงนี้ มีบาลีเต็ม แต่ในอภิธรรมคัมภีร์ที่ ๕ เท่าที่โบราณา จารย์ของเราคัดมา ไม่ได้เอามาด้วย แต่เวลาแปลก็แปลให้เต็มบาลีที่มีอยู่ ฯ ข้อความที่ควรทำ�ความเข้าใจในคัมภีร์นี้ เป็นคัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตร ได้ยึด เอานัยเท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเทศนาไว้แล้ว ก็ตั้งเป็นรูปสกวาที และตบกันเป็น สูตรสำ�หรับถาม ๕๐๐ สูตร และสูตรสำ�หรับแก้อีก ๕๐๐ สูตร เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ก็เพื่อ ต้องการที่จะทำ�ลายทิฐิ คือความเห็นที่ผิดพลาดของฝ่ายอื่นที่เป็นปฏิปักษ์ต่อคำ�สอนใน พระพุทธศาสนานี้นั่นเอง รวมคำ�ถามของฝ่ายพุทธ ๕๐๐ ของฝ่ายอื่น ๕๐๐ สูตร จึง รวมเป็น ๑,๐๐๐ สูตรพอดี สำ�หรับท่านที่สนใจโปรดตรวจดูได้ในกถาวัตถุ และอรรถ กถาที่ท่านได้แก้ไว้อย่างวิจิตรพิสดารแล้ว ในอรรถกถาปัญจปกรณ์ ฯ จบคัมภีร์กถาวัตถุ

182


คัมภีร์ที่ ๖ ยมก

เย เกจิ กุสลา ธมฺมา, สพฺเพ เต กุสลมูลา ? เย วา ปน กุสลมูลา, สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา. เย เกจิ กุสลา ธมฺมา, สพฺเพ เต กุสลามูเลน เอกมูลา ? เย วา ปน กุสลมูเล เอกมูลา, สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา.

คำ�แปล อนุโลมปุจฉาว่า ธรรมะทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นกุศลมีอยู่, ธรรมะเหล่า นั้นทั้งหมด เป็นมูลของกุศลใช่ไหม ? ปฏิโลมปุจฉาว่า ก็หรือว่าธรรมะเหล่าใด ที่ชื่อว่าเป็นมูลของกุศลมีอยู่, ธรรมะ เหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม ? อนุโลมปุจฉาว่า ธรรมะทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นกุศลมีอยู่, ธรรมะเหล่า นั้นทั้งหมด เป็นมูลเดียวกันกับกุศลมูลใช่ไหม ? ปฏิโลมปุจฉาว่า ก็หรือว่า ธรรมะเหล่าใด ที่มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม ? หมายเหตุ ตามคำ�แปล และบาลีเท่าที่ยกมาสวดตามประเพณีทั้งหมดนี้ จะเห็น ว่ามีแต่เฉพาะคำ�ถามเท่านั้นทั้งส่วนอนุโลมและปฏิโลมปุจฉาไม่ได้มีคำ�วิสัชนาอยู่เลย ถ้าจะทำ�ความเข้าใจเฉพาะบาลีที่ได้นำ�เอามาสวดกับคำ�แปลเท่านั้น ก็ย่อมจะทำ�ความ เข้าใจให้ไม่ได้เลยแม้แต่น้อย ยิ่งเป็นพระหรือชาวบ้านที่ไม่มีพื้นการศึกษาสภาวะอยู่ บ้างแล้ว ก็ยิ่งจะมืดแปดด้านเหมือนกับเดินเข้าถ้ำ�ที่ปราศจากแสงสว่างทีเดียว เพื่อ ให้เกิดแสงสว่างตามที่พอจะทำ�ได้ก็จะขอแยกความเข้าใจไว้ในที่นี้สักเล็กน้อยพอเป็น นิทัสสนนัย ก่อนอื่นควรจะทราบถึงคำ�ว่า “กุศล” กับคำ�ว่า “มูล คือรากเหง้าของ กุศล” เสียก่อน จึงจะแยกออกว่าอะไร เป็นอะไร ไม่อย่างนั้น มันจะปนกันไปหมดอย่าง ชนิดที่ไม่อาจจะแยกออกจากกันได้เลย ก็คำ�ว่า “กุศล” เท่าที่ทรงแสดงองค์ธรรมไว้ใน กุสลติกะนั้นก็ได้แก่ กุศลจิต ๒๑ กับเจตสิกที่เกิดร่วมกันอีก ๓๘ เท่านั้น ส่วนมูลที่เป็น รากเหง้าของกุศลนั้น มี ๓ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ เท่านั้น ที่ว่านี้ เป็นองค์ธรรม ของข้อความในพระบาลีทั้ง ๔ ตอนนี้ 183


เมื่อได้รับทราบถึงตัวธรรมะของคำ�ว่า “กุศล” และคำ�ว่า “มูลคือรากเหง้าของ กุศล” แล้ว ก็หันมาพิจารณาดูพระบาลี และคำ�แปลที่ได้ยกเอามาสวดกันดูว่า ตาม คำ�ถามที่ได้ถามนั้น หมายความถึงอะไร? คำ�ถามในอนุโลมปุจฉาที่เป็นสันนิษฐาน บทที่ว่า เย เกจิ กุสลา ธมฺมา? ธรรมะทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ซึ่งเป็นกุศลมีอยู่, สพฺ เพ เต กุสลมูลา? ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมดเป็นมูลของกุศลใช่ไหม? ซึ่งคำ�ถามตอนหลังนี้ เป็นอนุโลมปุจฉา สังสยบท ก็จะมีคำ�วิสัชนาออกมาว่า ตีเณว กุสลมูลานิ, อวเสลา ธมฺ มา น กุสล-มูลา. ความว่า เฉพาะความไม่โลภ ความไม่โกรธ และความไม่หลง ๓ ตัวนี้ เท่านั้น ที่จัดเป็นมูลคือรากเหง้าของกุศล, กุศลธรรมที่เหลือคือกุศลจิต ๒๑ เจตสิกอีก ๓๕ (โดยยกเอากุศลเหตุ ๓ ตัว ที่ออกไปเสียแล้ว) เป็นเพียงกุศล แต่ไม่ใช่เป็นมูลคือ รากเหง้าของกุศล ฯ ส่วนบาลีในปฏิโลมปุจฉาทั้งสันนิฏฐานบท และสังสยบทที่ว่า เย วา ปน กุสล มูลา, สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา? ความว่า ก็หรือว่า ธรรมะเหล่าใดที่ว่าเป็นมูลของกุศล มีอยู่, ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม? คำ�วิสัชนาก็จะออกมาว่า อามนฺตา. รับรองว่า “ใช่” ที่ว่านี้หมายความว่ากุศลมูลคือตัวของความไม่โลภ ความไม่โกรธและ ความไม่หลงซึ่งเป็นรากเหง้าของกุศลนั้น นอกจากตัวเขาจะเป็นรากเหง้าของกุศลนั้น นอกจากตัวเขาจะเป็นรากเหง้าให้เกิดกุศลแล้ว ตัวเองก็เป็นกุศลด้วย (ที่อธิบายมา ทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของบาลีที่เป็นคำ�ถามในตอนแรก พูดถึงเรื่องของมูล มูลของกุศลกับ กุศลเท่านั้น) ส่วนพระบาลีในท่อนที่ ๒ ต่อมาที่ว่า เย เกจิ กุสลา ธมฺมา, สพฺเพ เต กุสลมูเลน เอกมูลา ? ความว่า ธรรมะทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งซึ่งเป็นกุศลมีอยู่ทั้งหมดมีมูลเป็น อันเดียวกันกับกุศลมูลใช่ไหม ? เมื่อมีคำ�ถามขึ้นมาอย่างนี้ คำ�วิสัชนาก็จะออกมาว่า อา มนฺตา. ซึ่งแปลว่า “ใช่” ที่ว่านี้หมายความว่า กุศลธรรมทั้งหมดที่เกิดร่วมกันเมื่อจะ แยกออกให้เห็นชัด ๆ แล้ว ก็พอจะจำ�กัดความได้ว่า ในกุศลจิตตุปบาทอย่างหนึ่ง เช่น เกิดจิตกุศลขึ้น ๑ จะมีเจตสิกเกิดขึ้นพร้อมกันถึง ๓๘ คราวนี้ในเจตสิก ๓๘ นั้น ก็ยก เอา เจตสิกที่เป็นมูลของกุศลคือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ออกเสีย ๓ ตัว ส่วนที่ เหลืออีก ๓๕ และจิตอีก ๑ เป็น ๓๖ เมื่อถามว่า กุศลจิต ๑ กับเจตสิกที่นอกจากมูลอีก ๓๕นั้น ทั้งหมดมีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศมูลใช่ไหม ตอบว่า “ใช่” ที่ว่านี้หมายความว่า มี ๒ อย่างด้วยกันคือ อย่างที่ ๑ กุศลจิต ๑ กับเจตสิกที่เหลือจากมูล ๓๕ ก็เป็นธรรม 184


ที่มีมูลเป็นอันเดียวกับกุศลมูลคือตัว อโลภะ อโทสะ และอโมหะ อย่างที่ ๒ หมายเอา ตัวมูลเองก็มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลเหมือนกันคือ อโลภะ ก็มีอโทสะและอโมหะ เป็นมูล อโทสะ ก็มีอโลภะและ อโมหะเป็นมูล และอโมหะ ก็มีอโลภะและอโทสะเป็น มูล เพราะฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า “มีมูล” เป็นอันเดียวกันกับกุศลมูลตามบาลีนั้น คราวนี้ คำ�ถามที่เกี่ยวกับยมกที่เป็นมูลเดียวกันในปฏิโลมปุจฉาทั้งสันนิฏฐานบท และสงสัยบท ที่ว่า เย วา ปน กุสลมูเล เอกมูลา, สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา? ความว่า ก็หรือว่า ธรรมะ เหล่าใด มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล มีอยู่, ธรรมะเหล่านั้นทั้งหมด เป็นกุศลใช่ไหม? คำ�วิสัชนาก็จะออกมาว่า อามนฺตา. ซึ่งแปลว่า “ใช่” หมายความว่า ธรรมะที่มีมูลเป็น อันเดียวกันกับกุศลมูลนั้น ก็พอจะรวมได้เป็น ๒ พวกคือ กุศลที่ไม่ใช่มูล แต่มีมูลเป็น อันเดียวกันกับกุศลย่างหนึ่ง และกุศลที่เป็นตัวมูล และก็มีมูลเป็นอันเดียวกันกับกุศล อีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นในพระบาลีที่ว่า เย วา ปน กุสลมูเลน เอกมูลา, ก็หมายเอา ทั้งกุศล และกุศลมูล โดยเน้นถามลงไปว่า ทั้งกุศลและทั้งกุศลมูลนั้นเป็นกุศลใช่ไหม? ก็ต้องตอบว่า “ใช่” เรื่องของเรื่องก็มีอยู่เท่านั้น เป็นเพียงเอกเทศเท่านั้น เพราะธรรมะ ที่เกิดมาจากกุศลที่อยู่ในปัญจโวการภพ มิใช่มีแต่เฉพาะนามขันธ์เท่านั้น แม้รูที่เกิดมา จากกุศลเป็นสมุฏฐานก็ยังมีอยู่ เพราะฉะนั้น ในคำ�ตบของปฏิโลมปุจฉานี้ ท่านจึงได้ ออกวิสัชนาเป็นตัวธรรมะที่มีได้ทั้งรูปทั้งนามว่า รูปที่เกิดจากกุศลเป็นสมุฏฐาน ก็มีมูล เป็นอันเดียวกันกับกุศลมูล แต่ทว่าไม่ใช่กุศล, ส่วนกุศลที่เหลือก็มีมูลเป็นอันเดียวกัน กับกุศลมูลด้วย และเป็นได้ทั้งกุศลด้วย คำ�ตอบที่ว่านี้ เป็นคำ�ตอบที่เต็มตามสภาว ธรรมทีเดียว ตัวธรรมะทั้งหมดตรงนี้ก็ได้แก่ กุศลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ และกุศลจิต ตัชรูปอีก ๑๗ นั่นเอง ฯ ข้อสังเกตเกี่ยวกับคัมภีร์ยมก เท่าที่ได้ยกเอามาสวดนี้ มีเพียงคำ�ถามเท่านั้น และ ก็ย่อเอามาเฉพาะมูลยมก กล่าวถึงเรื่องกุศลมูลของกุศลและธรรมที่เป็นมูลเดียวกันกับ กุศลเท่านั้น ในส่วนที่ยังเหลืออีกมากมายถึง ๑๐ คัมภีร์ และในคัมภีร์หนึ่งๆ ก็มีมากมาย เช่นในมูลยมกนิทเทสวารของกุศลติกะ ก็มีถึง ๑๐ วาระ และใน ๑๐ วาระนั้น ก็มีถึง ๔ นัยคือ กุศลบท ๔ นัย คือ มูลนัย ๑ มูลมูลนัย ๑ มูลกนัย มูลมูลกนัย ๑ แม้ในอกุศลบท และอัพยากตบทก็มี อย่าง ๔ นัยเหมือนกัน นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังมีนามบทอีก ๔ นัย ถือ มูลนัย ๑ มูลมูลนัย ๑ มูลกนัย ๑ มูลมูลนัย ๑ เมื่อทรงแสดงมูลยมกจบแล้ว ก็ทรง 185


แสดง ขันธยมก อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก สังขารยมก อนุสยยมก จิตตยมก และ อินทริยยมก ในยมกเหล่านี้ก็ทรงแสดงไว้อีกมากมาย เช่นทรงแสดงถึงมหาวาระไว้ ใน อนุสยยกว่า อุปปัตติวาระ มหาวาระ ๑. อนุสยวาระ แยกออกเป็น ๓ ตอน คือ อนุโลมบุคคล อนุโลมโอกาส และอนุ โลมปุคคโลกาส และแยกออกอีก ๓ ตอน คือ ปฏิโลมบุคคล ปฏิโลมโอกาส และปฏิโลม ปุคคโลกาส ๒. สานุสยวาระ แยกออกเป็น ๒ ตอน คือ เป็นฝ่ายอนุโลม ๓ คือ อนุโลมบุคคล อนุโลมโอกาส อนุโลมปุคคโลกาส แม้ฝ่ายปฏิโลมก็มี ๓ เช่นกัน ๓. ปชหนวาระ ฝ่ายอนุโลม ๓ ฝ่ายปฏิโลม ๓ รวมเป็น ๖ ๔. ปริญญาวาระ ฝ่ายอนุโลม ๓ ฝ่ายปฏิโลม ๓ รวมเป็น ๖ ๕. ปหีนวาระ ฝ่ายอนุโลม ๓ ฝ่ายปฏิโลม ๓ รวมเป็น ๖ แม้ในยมกที่ยังเหลืออีก ๙ ยมก หรือ ๙ คัมภีร์ที่ยังมิได้ยกมาแสดง ก็ทรงแสดง ไว้ในคัมภีร์นั้นอย่างวิจิตรพิสดารเช่นกัน ผู้ต้องการโปรดตรวจดูได้ในที่นั้นเถิด เพราะ ในอรรถกถาปัญจปกรณ์แก้คัมภีร์ที่หกได้อธิบายไว้อย่างวิจิตรพิสดารแล้ว สำ�หรับใน สถานที่นี้จะขอยกเอามาแสดงไว้พอเป็นนิทัสสนนัยเท่านั้น ฯ จบคัมภีร์ยมก

คัมภีร์ที่ ๗ มหาปัฏฐาน เหตุปจฺจโย, อารมฺมณปจฺจโย, อธิปติปจฺจโย, อนนฺตรปจฺจโย, สมนนฺตรปจฺจ โย, สหชาตปจฺจโย, อญฺญมญฺญปจฺจโย, นิสฺสยปจฺจโย, อุปนิสฺสยปจฺจโย, ปุเรชาตปจฺจ โย, ปจฺฉาชาตปจฺจโย, อาเสวนปจฺจโย, กมฺมปจฺจโย, วิปากปจฺจโย, อาหารปจฺจโย, อินฺ ทริยปจฺจโย, ฌานปจฺจโย, มคฺคปจฺจโย, สมฺปยุตฺตปจฺจโย, วิปฺปยุตฺตปจฺจโย, อตฺถิปจฺจ โย, นตฺถิปจฺจโย, วิคตปจฺจโย, อวิคตปจฺจโย. คำ�แปล ธรรมที่มีเหตุหกเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีอารมณ์หกเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีอธิบดี สองประเภทเป็น ปัจจัย, ธรรมที่มีนามขันธ์ที่ดับไปอย่างหาระหว่างขั้นมิได้เป็นปัจจัย. 186


ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ดับไปอย่างหาระหว่างคั่นมิได้โดยลำ�ดับเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มี ธรรมเป็นที่อาศัยสองประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีธรรมอาศัยกันอย่างมีกำ�ลังแรงสาม ประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีรูปธรรมที่เกิดก่อนสองประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนาม ขันธ์ซึ่งเกิดในภายหลังเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีอาเสวนชวนะเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีเจตนา กรรมสองประเภทเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีมรรถเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีวิบากเป็นปัจจัย, ธรรมที่มีฌานเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีธรรมเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์สมปยุตกัน เป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามรูปเป็นวิปปยุตกันเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีรูปนามที่กำ�ลังมีอยู่ เป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ไม่มีแล้วเป็นปัจจัย, ธรรมะที่มีนามขันธ์ที่ดับไปแล้ว เป็นปัจจัย, และธรรมะที่มีนามรูปที่ยังไม่ดับไปเป็นปัจจัย ฯ อธิบายโดยย่อ ในคัมภีร์ปัฏฐานมหาปกรณ์นี้ เป็นคัมภีร์ที่ทรงแสดงไว้อย่างกว้าง ขวางวิจิตรพิสดารอย่างเหลือเกิน ซึ่งก็พอจะสรุปให้เห็นเป็นรูปร่างย่อๆ ดังต่อไปนี้ คือ ธรรมะทั้งหมดที่มีปรากฏอย่างในปัจจัย ๒๔ นี้ ถ้าจะจัดเข้าเป็นตอนๆ แล้วจัดเป็น ๓ ตอน คือ ๑. ธรรมะที่เป็นฝ่ายปัจจัย คือ ผู้อุปการะ ๒. ธรรมะที่เป็นฝ่ายปัจจุบัน คือ ผู้ได้รับอุปการะหรือที่เกิดมาจากปัจจัย ๓. ธรรมที่นกเหนือออกไปจากธรรมที่เกิดจากปัจจัย เช่น อย่างอารัมมณปัจจัย เป็นตัวอย่าง รูปารมณ์เป็นปัจจัยให้เกิดการเห็น รูปารมณ์เป็นตัวปัจจัย ส่วนการเห็นและ เจตสิกที่เกิดร่วมอีก ๗ ผัสสะ เป็นต้น ก็เป็นปัจจุบัน คือ เป็นธรรมที่เกิดจากรูปารมณ์ เป็นปัจจัยให้ ส่วนปรมัตถธรรม คือจิต เจตสิก และรูปที่เหลือซึ่งไม่ได้มีปรากฏอยู่ใน ปัจจุบันธรรมนั้น ก็เป็นปัจจนิกไปเหตุนั้นจึงรวมความได้ว่า ธรรมะที่เป็นปัจจัยก็คือ เป็นผู้ให้อุปการะ ธรรมะที่เป็นปัจจุบันที่เกิดจากปัจจัยก็คือผู้รับ ส่วนธรรมะที่ไม่ได้รับ อุปการะก็ตกเป็นปัจจนิกธรรมไป จากนั้นก็ทรงแสดงไว้ถึง ๗ วาระ และแสดงไปตามติ กาะ ๒๒ ทุกะ ๑๐๐ แสดงอนุโลม ๑ เป็นปฏิโลม ๑ อนุโลมปฏิโลม ๑ เป็นต้น ฯ จบคัมภีร์มหาปัฏฐาน 187


เมตตาภาวนา ของ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

เหฏ ฐิมาจะ อุปะริมาจะ วิตถาริกาจะ ติริยัญจะ สัพเพ สัตตา สัพเพปาณา สัพเพภูตา สัพเพ ปุคคะลา สัพเพอัตตะภาวะ ปะริยานะปันณา สัพพา อิตถิโย สัพเพ ปุริสา สัพเพอะริยา สัพเพอะนะริยา สัพเพเทวา สัพเพมะนุสสา สัพเพวินิปาติกา สะจิตตะกา อะจิตตะกา สะชีวิกา สัพเพอะเวราโหนตุ อัพพะยาปัชฌา โหนตุ อะนีฆาโหนตุ ฑีฆายุกาโหนตุ อะโรคา โหนตุ สัมปัตติ สะมิจฌันตุ สุขัง อัตตานัง ปะริหะรันตุ สัพเพมัง อะนุรักขันตุ จุปัททะวา คาถาเมตตาภาวนาบทนี้ องค์หลวงปู่มหาบุญมี ท่านเมตตาบอกลูกศิษย์ว่า ให้พิมพ์แล้วแจกต่อกันไป เพื่อนำ�ไปสวดเจริญเมตตาทุกวันๆ 188


พระคาถาเมตตาพรหมวิหารฯ เป็นลายมือขององค์หลวงปู่มหาบุญมี 189


งานมุทิตาจิต

เนื่องในโอกาสครบรอบอายุ ๘๐ ปี ของ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

๓๐ กันยายน ๒๕๓๓ ณ วัดป่าวังเลิง (ขึ้น ๑๑ ค่ำ� เดือน ๑๑) ครูบาอาจารย์ที่มาร่วมงาน ได้สรงน้ำ�ถวายองค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร (ช่วงสาย) พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) วัดศรีเมือง อำ�เภอเมือง จังหวัดหนองคาย พระเทพวราลังการ (เคน สุภโร) วัดประชาบำ�รุง อำ�เภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร) วัดประชาคมวนาราม(ป่ากุง) อำ�เภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พระเทพสังวรญาณ (พวง สุขินทริโย) วัดศรีธรรมาราม อำ�เภอเมือง จังหวัดยโสธร พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (ท่อน ญาณธโร) วัดศรีอภัยวัน อำ�เภอเมือง จังหวัดเลย หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ วัดป่าบ้านศรีฐาน อำ�เภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร หลวงพ่อผจญ อสโม วัดป่าสิริปุญญาราม อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย หลวงพ่อคูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พระโพธิญาณมุนี (เมือง พลวัฑโฒ) วัดป่ามัชฌิมาวาส อำ�เภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ หลวงปู่พงษ์ ธัมมาภิรโต วัดถ้ำ�หีบ อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี หลวงพ่อนิพนธ์ อภิปสันโน วัดป่าศาลาน้อย อำ�เภอภูเรือ จังหวัดเลย 190


191


งานมุทิตาจิต

ถวายแด่องค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วันศุกร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๓๔

วันนี้คณะลูกศิษย์ทั้งพระและฆราวาส ได้ร่วมกันจัดงานวันครบรอบวันเกิด ๘๑ ปี องค์หลวงปู่มหาบุญมี ในช่วงเย็นมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ มีครูบาอาจารย์ ทยอยกันเดินทางมาร่วมในพิธีหลายองค์ และได้ขึ้นไปกราบองค์หลวงปู่ที่กุฏิ ขององค์ท่านหลายองค์ ที่อยู่ในที่นั้น ในเวลา ๑๗.๐๐ น. มีหลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงปู่ศรี มหาวีโร หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม ฯลฯ นับเป็นภาพที่ประทับใจเป็นความทรงจำ�ไม่รู้ลืม เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่มี ครูบาอาจารย์ ล้วนแต่องค์สำ�คัญในกองทัพธรรมมานั่งร่วมชุมนุมกัน ท่านสนทนา ธรรมกันเป็นที่รื่นเริงบันเทิงธรรมมาก มีครูบาอาจารย์พรรษารองลงมาคอยนั่งพัด ถวายองค์หลวงปู่ เป็นภาพที่สุดบรรยายจริงๆ เมื่อครูบาอาจารย์องค์ใดที่จะพูด กับองค์หลวงปู่ ท่านจะยกมือขึ้นพนมทุกครั้งเป็นอริยประเพณีที่งดงามยิ่ง ครั้น ใกล้เวลา ๑๙.๐๐ น. ซึ่งเป็นเวลาเจริญพระพุทธมนต์ ครูบาอาจารย์ก็เริ่มทยอย ลงจากกุฏิองค์ท่าน เพื่อไปที่ศาลาสิริปุญโญ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ถามว่า ค่าสร้างศาลานี่เท่าใด พระตอบว่า ประมาณสามแสนบาทครับ (แต่ปรากฏว่า เงินจำ�นวนนี้เป็นค่าสร้างพระประธานในศาลา) อีกสักครู่ หลวงปู่ศรี พูดว่า แม่นบ่ สามแสนมันสิได้ พู้นล่ะ เจ็ดแปดแสนพุ้น ตอนเช้าไปถาม อ.ไสว ปรากฏว่า ค่าสร้างศาลา แปดแสนบาท หลังเจริญพระพุทธมนต์เสร็จ ท่านเจ้าคุณพระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) ได้เทศน์เป็นองค์แรก องค์ต่อมาพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ท่าน เทศน์สอนเรื่องศีล และการภาวนา ลำ�ดับขั้นและอารมณ์ของการภาวนา เริ่ม ตั้งแต่ปฐมฌาน จนถึงฌานสี่ และไปนิพพาน องค์ท่านเทศน์จบเวลาประมาณ ๒๒.๒๐ น. พระได้จัดอาสนะสำ�หรับครูบาอาจารย์และพระเณร เพื่อฉันจังหันใน วันรุ่งขึ้น จนถึงเวลา ๐๑.๓๐ น. ก็แยกย้ายกันกลับกุฏิ 192


วันเสาร์ที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๔ (ขึ้น ๑๑ ค่ำ� เดือน ๑๑) พระรับบิณฑบาตรอบศาลาใหญ่ มีครูบาอาจารย์ร่วมฉันจังหัน และพิธีในเช้า วันนี้รวมทั้งหลวงปู่ศรี มหาวีโร ซึ่งองค์ท่านหลังจากเจริญพระพุทธมนต์เสร็จเมื่อ คืนก็กลับวัดป่ากุง (รุ่งเช้าวันนี้องค์ท่านก็เดินทางมาร่วมฉันจังหันด้วย) หลังจากฉันจังหันเสร็จ และดำ�เนินพิธีต่างๆ เรียบร้อย จึงได้มีการให้ตัวแทน ฝ่ายสงฆ์ คือ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ฝ่ายฆราวาส คือ นายจิรศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ขึ้นไป ถวายสรงน้ำ�องค์หลวงปู่ที่กุฏิด้วย ในวันนี้ ธาตุขันธ์องค์ท่านไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่ รายนามครูบาอาจารย์ที่มาร่วมงานมุทิตาจิต หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๔ ณ วัดป่าวังเลิง พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) วัดศรีเมือง อำ�เภอเมือง จังหวัดหนองคาย เป็นองค์ให้ศีล ๕ แก่บรรดาญาติโยม และนำ�เจริญพระพุทธมนต์ ถวายบูชาคุณครู บาอาจารย์ พระอุดมญาณโมลี (จันทร์ศรี จันททีโป) วัดโพธิสมภรณ์ อำ�เภอเมือง จังหวัด อุดรธานี เป็นองค์ ชุมนุมเทวดา พระเทพวราลังการ (เคน สุภโร) วัดประชาบำ�รุง อำ�เภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน อำ�เภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร) วัดประชาคมวนาราม(ป่ากุง) อำ�เภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด พระเทพสังวรญาณ (พวง สุขินทริโย) วัดศรีธรรมาราม อำ�เภอเมือง จังหวัดยโสธร หลวงปู่สมัย ทีฆายุโก วัดป่าโนนแสงทอง อำ�เภอพังโคน จังหวัดสกลนคร หลวงพ่อแปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร อำ�เภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร หลวงพ่อสุภาพ ......โคกสี อำ�เภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำ�กลองเพล อำ�เภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี หลวงพ่อสนั่น รักขิตสีโล วัดป่าสุขเกษมนิราศภัย อำ�เภอสว่างแดนดิน จังหวัด สกลนคร หลวงปู่อว้าน เขมโก วัดป่านาคนิมิตต์ อำ�เภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร หลวงพ่อคำ�บ่อ ฐิตธัมโม วัดใหม่บ้านตาล อำ�เภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม วัดป่าแก้วชุมพล อำ�เภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร วัดถ้ำ�สหายจันทร์นิมิต อำ�เภอหนองวัวซอ จังหวัด 193


อุดรธานี พระโพธิญาณมุนี (เมือง พลวัฑโฒ) วัดป่ามัชฌิมาวาส อำ�เภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ หลวงปู่พงษ์ ธัมมาภิรโต วัดถ้ำ�หีบ อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อหลังจากที่พระสงฆ์ได้ร่วมพร้อมกันเจริญพระพุทธมนต์เพื่อถวายบูชาคุณ แด่องค์หลวงปู่เสร็จเรียบร้อย พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) ท่านบอกว่า ให้ลั่นฆ้อง ๙ ที ท่านกล่าวสัมโมทนียกถา เสร็จแล้ว นำ�พระสงฆ์สวดชยันโต พระธรรมไตร โลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) ท่านบอกว่าให้ลั่นฆ้อง ๙ ที จากนั้นญาติโยมได้พร้อมกันอาราธนาธรรม ครูบาอาจารย์ที่ขึ้นธรรมาสน์ แสดงธรรม องค์ที่ คือ องค์ที่ ๑ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) องค์ที่ ๒ พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) องค์ที่ ๓ พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร) ในรุ่งเช้าวันต่อมา ช่วงสาย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นผู้แทนคณะศิษย์ทั้งฝ่าย บรรพชิตและคฤหัสถ์ กล่าวคำ�ขอขมาต่อองค์หลวงปู่มหาบุญมี ว่าดังนี้ มหาเถเร ปมาเทนะ ทวารัตตเยนะ กตัง สัพพัง อปราถัง ขมตุ โน ภันเต (๓ จบ) หลวงพ่อพุธ ถวายพานธูป เทียน ดอกไม้ และได้กล่าวถวายพรแด่องค์หลวงปู่มหา บุญมี ว่า ขอให้อายุมั่นขวัญยืน เป็นร่มโพธิ์ร่มทองแก่บรรดาศิษยานุศิษย์และพุทธ บริษัทสืบไป พอกล่าวเสร็จ หลวงพ่อพุธ ค่อยๆ เดินเข่าคลานเข้ามาเพื่อสรงนํ้าลงที่มือ หลวงปู่มหาบุญมี จากนั้นท่านได้น้อมศีรษะเข้าไปสัมผัสกับมือองค์หลวงปู่ ซึ่งเป็น ภาพที่งดงามเกินที่จะบรรยายและหาดูไม่ได้อีกแล้ว นายกเทศมนตรี เป็นตัวแทนฝ่ายฆราวาส สรงนํ้าองค์หลวงปู่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) นำ�พระสงฆ์สวดชัยยันโต ถวายแด่องค์ หลวงปู่มหาบุญมี หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ได้ให้พรและกล่าวอนุโมทนากับศิษยานุศิษย์ ทุกท่านที่ได้มาบำ�เพ็ญบุญบารมีในวันนี้ ในช่วงสุดท้ายของงาน หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร เป็นองค์แทนคณะสงฆ์ ประพรมนํ้าพระพุทธมนต์ให้แก่สาธุชนทั้งหลาย และทางวัดป่าวังเลิงก็มีของ ที่ระลึกแจกสำ�หรับผู้ที่มาร่วมงาน ซึ่งเป็นรูปหลวงปู่มหาบุญมี (ครึ่งองค์) ใน อิริยาบถอมยิ้ม ก่อนแยกย้ายกันกลับ 194


งานมุทิตาจิต 30 กันยายน ๒๕๓๓

พระเทพวราลังการ (หลวงปู่เคน สุภโร)

หลวงพ่อนิพนธ์ อภิปสันโน

หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร

หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ (ขวาสุด)

หลวงพ่อคูณ สุเมโธ 195


หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร กำ�ลังให้พรแก่ศิษยานุศิษย์ และสาธุชนผู้มาร่วมงานทุกท่าน

พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต)

พระเทพวราลังการ (เคน สุภโร)

หลวงปู่ศรี มหาวีโร

หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร

หลวงปู่ท่อน ญาณธโร 196

หลวงพ่อเมือง พลวัฑโฒ


งานมุทิตาจิต ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๔

พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต)

หลวงปู่ศรี มหาวีโร

197


พระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต)

ตัวแทนคณะศิษย์ ถวายเทียนแพ

198

พระราชสังวรญาณ(พุธ ฐานิโย)



บันทึกอาการอาพาธครั้งสุดท้าย ขององค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร หลวงปู่เริ่มอาพาธหนักในช่วงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๒ ในระหว่างที่พัก จำ�พรรษาอยู่ที่วัดป่าศรีโพธิ์ทอง อำ�เภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด สาเหตุเกิดจากการ หกล้มในขณะเดินเข้าห้องนํ้าแล้วเกิดอาการเข่าอ่อน หลังจากนั้นท่านเกิดอาพาธเดิน ไม่ได้ คณะศิษย์จึงได้พยายามช่วยกันรักษาพยาบาลอาการอาพาธของท่าน ทั้งด้วย ยาแผนโบราณและยาแผนปัจจุบัน แต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น ในที่สุดผู้ใหญ่สัญชัย และ กำ�นันเซ็ง จึงได้นิมนต์ท่านไปรักษายาแผนโบราณ ที่อำ�เภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยพัก จำ�พรรษาที่วัดป่าเกาะแก้วประเสริฐ์ พร้อมกับไปรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ ด้วยในบางโอกาส จนอาการดีขึ้น ภายหลังจากนั้น คณะศิษย์จากจังหวัดมหาสารคามได้พากันไปอาราธนาท่าน ให้มาพักจำ�พรรษาที่วัดป่าวังเลิง และท่านก็ได้มาพักจำ�พรรษาที่วัดป่าวังเลิง เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๓๓ ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ หลวงปู่ก็ได้เกิดอาพาธอีกครั้งหนึ่ง คณะศิษย์จึงได้นำ�ตัวท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น และ ตั้งแต่นั้นมาอาการอาพาธของหลวงปู่ก็มีแต่ทรงกับทรุดมาตลอด ตามลำ�ดับดังนี้ เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ครั้งที่ ๑ วันจันทร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ ออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๓๔ เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ครั้งที่ ๒ วันพุทธที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๔ ออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๕ เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ครั้งที่ ๓ วันศุกร์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๕ และ ในเช้าวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๓๕ ท่านก็ได้อนุญาตให้นายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์ เพื่อ ทำ�การผ่าตัดใส่สายยางทางหลอดลม เข้า โอ อาร์ เวลา ๑๖.๑๕ น. ออกเกือบจะเวลา ๑๗.๐๐ น. และฟื้นเวลาประมาณ ๒๐.๐๐ น. หลังจากนั้นอาการอาพาธของหลวงปู่ ก็ทรุดหนักมาเรื่อยๆ จนเป็นที่หนักใจของ คณะแพทย์และคณะศิษยานุศิษย์ผู้เฝ้ารักษาพยาบาลเป็นอย่างมาก จนในที่สุดหลวงปู่ ก็ละสังขารไปด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๓๕ เวลา ๑๐.๑๐ น. ซึ่ง ตรงกับวันจันทร์ แรม ๓ คํ่า เดือน ๕ ปีวอก สิริรวมอายุหลวงปู่ได้ ๘๑ ปี ๖ เดือน ๖ วัน เหลือเพียงภาพลักษณ์แห่งความเป็นพระภิกษุที่เยือกเย็น เบิกบาน เมตตาหาที่


ประมาณมิได้ สันโดษ เรียบง่าย และแบบอย่างแห่งมรรควิธีไปสู่ความหลุดพ้น ที่ พุทธศาสนิกชนจะต้องปฏิบัติตาม ขออำ�นาจบารมีธรรมของหลวงปู่ที่ได้ประพฤติ ปฏิบัติมา จงแผ่เมตตาบารมีให้พุทธบริษัทได้เกิดธรรมจักษุ พบแก่นพุทธธรรมเพื่อ ความร่มเย็นเป็นสุขของสรรพสัตว์ทั้งพิภพด้วยเทอญ

หลวงปู่มหาบุญมี (นิพพาน)

นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ. นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. (ม. ม. ๑๓/๒๘๑. ขุ. ธ. ๒๕/๔๒.)

ชาติสุดท้าย

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแก่เราแล้วว่า “กิเลสเครื่องรัดรึงใจทั้งหลายไม่ สามารถจะกำ�เริบขึ้นมาได้อีกแล้ว จิตของเราได้หลุดพ้นจากกิเลสโดยวิเศษแล้ว ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้ายของเราแล้ว บัดนี้ไม่มีภพเป็นที่เกิดสำ�หรับเราอีกแล้ว ฯ”

สรีระสังขาร ละขันธ์ ลาโลก

พระธรรมไตรโลกาจารย์(รักษ์ เรวโต) พากล่าวนำ�ขอขมาโทษ แด่องค์หลวงปู่


พิธีสรงนํ้าสรีระสังขารหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

สรีระสังขารองค์หลวงปู่มาถึงวัดป่าวังเลิง

คณะศิษย์เตรียมทำ�พิธีขอขมาแด่องค์หลวงปู่

พระเทพวราลังการ (เคน สุภโร)

หลวงปู่เพียร วิริโย

หลวงปู่พงษ์ ธัมมาภิรโต

นายจิรศักดิ์ คณาสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีมหาสารคาม


กราบอาลัย พ่อแม่ครูอาจารย์ อันสังขาร ต้องดับไป ใช่ดับสูญ

สิ่งเกื้อกูล สงเคราะห์โลก และศาสนา

เหล่าลูกศิษย์ ล้วนเดินตาม ทางหลวงปู่ ที่วัดป่า วังเลิง องอาจนัก เพราะหลวงปู่ ได้นำ�ทาง ที่ถูกต้อง รวมดวงใจ รวมจิต ที่คิดภักดิ์

ตามครรลอง ฟันฝ่าสู้ อุปสรรค ด้วยใจรัก ทางธรรม นำ�ชีวิน

เหล่าศิษย์เคย ได้กราบท่าน อย่างใกล้ชิด แต่ด้วยจิต ศรัทธา ดั่งแผ่นดิน เปิดดูช่อง หลวงตา เป็นอาจิณ

สุขเสพสิ้น เสียงธรรม ได้นำ�ทาง

เอาไปแบ่ง แจกจ่าย ให้ปล่อยวาง

ร่วมกันสร้าง แสงธรรม นำ�ใจคน

รูปหลวงปู่ ได้รับจาก วัดเผยแผ่

มากมายแท้ จะเก็บไป ที่ไหนบ้าง

แผ่นซีดี คำ�สอน ศิษย์ยังเปิด

เพื่อให้เกิด ปัญญา ทุกแห่งหน

เหมือนอุบล อาบแสง เพื่อรองรับ

ใบบัวจับ น้ำ�นิ่ง สิ่งงามขำ�

ดั่งหลวงปู่ สถิตไว้ ในใจตน

หมั่นพร่ำ�บ่น ภาวนา หาทางธรรม

คือดอกบัว บานสู่จิต เพื่อน้อมนำ�

สิ่งเลิศล้ำ� สูงค่า วิมุตติธรรม

แปดสิบเอ็ดปี หกเดือน หกวัน

เหล่าผองศิษย์ น้อมกราบกราน บูชาธรรม

ไม่มีแล้ว หลวงปู่ ในวันนี้

ยามเมื่อสิบ โมงกว่า มาคราครั่น




หลวงปู่ในดวงใจ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นพระสุคโตที่ยิ่งใหญ่ทั้งทางธรรมและทาง โลก เปี่ยมด้วยบุญญาบารมีอันสูงยิ่ง ท่านสอนธรรมจากใจ อาศัยธรรมวิเศษของ พระพุทธองค์ที่ท่านรู้จริงเห็นจริงและสอนโดยไม่สะทกสะท้านในสามแดนโลก ธาตุ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญชำ�นาญการทั้งทางภาคปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ตาม หลักแห่งการศึกษาในพระพุทธศาสนา ท่านเป็นอาจารย์ที่อยู่เหนืออาจารย์ทั้งหลาย เพราะการอบรมสั่งสอน ที่เกื้อประโยชน์สูงสุดที่พึงจะเกิดแก่ลูกศิษย์แต่ละคน ท่านจะเข้มงวดกวดขัน จนกว่าลูกศิษย์จะสำ�เร็จประโยชน์นั้นๆ ท่านเป็นครูบาอาจารย์ เป็นแบบฉบับของพระวิปัสสนากรรมฐาน ที่ ยึดถือแบบอย่างวัตรปฏิปทาอันงดงามในสายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ไว้ได้ ครบถ้วนสมบูรณ์แบบทุกประการ หลวงปู่มหาบุญ สิริธโร เป็นพ่อ แม่ ครู อาจารย์ ผู้นำ�แสงพระธรรม อันสว่างไสวเข้าสู่หัวใจของสาธุชนทั้งหลายอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ “ธรรมของ หลวงปู่เป็นธรรมแท้ เป็นธรรมอันเดียวกันกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ในครั้งพุทธกาลทุกพระองค์อย่างไม่ต้องสงสัย”

206


การสร้างก่อสร้างเมรุ เพื่อใช้ในวันงานพระราชทานเพลิง

207


วันพิธีการเคลื่อนสรีระองค์หลวงปู่ ขึ้นสู่เมรุ

ในเวลา ๐๙.๓๐ น. ได้มีการจัดรูปขบวนเพื่ออันเชิญหีบบรรจุสรีระสังขารหลวง ปู่มหาบุญมีขึ้นสู่จิตกาธาน โดยมีพระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ เรวโต) เจ้าอาวาส วัดศรีเมือง จังหวัดหนองคาย เป็นประธาน นำ�โดย พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม หลวงพ่อเมือง พลวัฑโฒ รวมทั้ง พระเถรานุเถระอีกหลายองค์ และศรัทธาญาติโยมประชาชนจำ�นวนมากมายมหาศาล ได้อันเชิญเคลื่อนย้ายหีบสรีระสังขารหลวงปู่มหาบุญมี เดินรอบเมรุ ๓ รอบ ตามแบบ ประเพณีทั่วไป กระหึ่มเสียงสาธุการ ดังกึกก้องไปทั่ววัดป่าวังเลิง อย่างพร้อมเพรียง ยามเมื่อ สรีระหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เคลื่อนผ่าน เสียงดังกล่าวมาจากมหาชนหลายหมื่นคน บนเส้นทางอันเชิญสรีระสังขารหลวง ปู่มหาบุญมีขึ้นบนจิตกาธาน เมื่อเวลาโดยประมาณ ๑๐.๐๐ น. วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ก่อนจะมีพิธีพระราชทานเพลิงในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๕ 208


209


210


วันงานพิธีราชทานเพลิงสรีระสังขาร วันพระราชทานเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ได้จัดให้ มีขึ้นในวันเสาร์ที่ ๙ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕

211


หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ละสังขารเมื่อวันที่ ๒๐ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๕ สิริอายุรวม ๘๑ ปี ๖ เดือน ๖ วัน ๕๙ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำ�เพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน หลังจาก นั้นทางคณะกรรมการจัดงานได้จัดให้มีการไหว้พระสวดมนต์ถวายทุกคืน มีการสวด พระอภิธรรม และแสดงพระธรรมเทศนา ทั้งนี้แม้จะเป็นงานที่มีผู้ร่วมงานมหาศาล แต่ เนื่องจากมีศิษยานุศิษย์มาช่วยเป็นจำ�นวนมาก งานจึงสำ�เร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี 212


ดังจะเห็นได้ว่าองค์หลวงปู่มหาบุญมี ท่านเป็น พระมหาเถระที่เคารพนับถือของพระฝ่ายวิปัสสนา กรรมฐานเป็นอันมาก นับตั้งแต่หลวงปู่มหาบัว ญานสมฺปนฺโน, หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล, หลวงพ่อพุธ ฐานิโย, หลวงปู่ศรี มหาวีโร, หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ, หลวงปู่เพียร วิริโย, หลวงปู่ท่อน ญาณธโร, หลวงปู่ลี กุสลธโร, หลวงพ่อคำ�ผอง กุสลธโร, หลวงพ่ออุ่นหล้า ฐิตธมฺโม, หลวงพ่อศรีนวล ขันติธโร, หลวงพ่ออินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก, หลวงพ่อบุญรอด อธิปุญโญ, หลวงพ่อเมือง พลวฑฺโฒ, หลวงพ่อคูณ สุเมโธ เป็นต้น ดังจะเห็นได้จาก งานพระราชทานเพลิงศพของหลวงปู่ ที่เป็นวาระการชุมนุมของคณะศิษยานุศิษย์ สายหลวงปู่มั่นมากที่สุดครั้งหนึ่ง และในพระธุตังคเจดีย์ (เจดีย์แห่งพระอรหันต์) ณ วัด อโศการาม อำ�เภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ประวัติและรูปเหมือนขององค์หลวงปู่ ก็ได้รับการอาราธนาประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ เพื่อให้สาธุชนทั่วไปได้กราบไหว้ สักการบูชา 213


214


พระเทพวราลังการ (เคน สุภโร)

หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต

พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) องค์ขวาสุด

พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (ท่อน ญาณธโร)

หลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ

พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)

หลวงปู่สมัย ฑีฆายุโก

พระธรรมไตรโลกาจารย์(รักษ์ เรวโต) 215


พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ ชักผ้าบังสุกุล

216


พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) กำ�ลังถวายไม้จันทร์ เพื่อพระราชทานเพลิง

217



พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)

เทศน์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ณ วัดป่าวังเลิง อำ�เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันเสาร์ที่ ๙ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) ชาติปิ ทุกขา ชราปิ ทุกขา มรนัมปิ ทุกขัง อริยสัจจันติ วันนี้เป็นวันพระราชทานเพลิงศพท่านพระอาจารย์มหาบุญมี ซึ่งเป็นพระปฏิบัติ ดีปฏิบัติชอบซึ่งหาได้ยากในสมัยปัจจุบัน บรรดาพี่น้องทั้งหลายที่มาจากที่ต่างๆ วันนี้ เพื่อมาเคารพบูชาปลงธรรมเวช คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่เลือกหน้า ถือองค์ท่าน เป็นสักขีพยานในวันนี้ จึงได้พร้อมกันมา ก่อนที่จะมีการพระราชทานเพลิงท่านก็มีการ สดับตรับฟังพระธรรมเทศนา ตอนเช้าถวายอาหารบิณฑบาตซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการ ทำ�บุญให้ทาน เพื่อบุญกุศลเข้าสู่จิตใจของชาวพุทธเรา บัดก็เป็นโอกาสอันหนึ่งที่จะได้ฟังอรรถธรรม ซึ่งกำ�ลังจะแสดงอยู่เวลานี้ แต่การ แสดงธรรมก็กรุณาให้อภัยจากหลวงปู่นี้ด้วย เพราะการเทศนาว่าการทุกวันนี้ได้หยุด ไปนานแล้ว ในปี ๒๕๓๕ นี้ไม่เคยเทศน์ใสสถานที่ใดเลย ในงานต่างๆ ก็ไม่เคยไปเทศน์ ซึ่งแต่ก่อนก็รับบ้างเท่าที่จำ�เป็น ในวัดซึ่งเคยให้การอบรมพระเณรอยู่เสมอไม่ได้ขาด เรื่อยมา ตั้งแต่พระเณรเข้ามาเกี่ยวข้อง 219


แต่ในปี ๒๕๓๕ นี้ไม่เคยได้ประชุมอบรมพระเณรเลยจนกระทั่งบัดนี้ แต่วันนี้ ก็จำ�เป็นเจ้าของก็ไม่รู้ตัว แต่ออกประกาศในหนังสือโฆษณานั้นแล้วว่า วันนี้หลวงปู่ มหาบัว จะเป็นองค์แสดงธรรมในเวลาบ่ายโมง จำ�เป็นก็ต้องขึ้นธรรมาสน์มีอะไรก็ ค่อยฟังกันไปตามเรื่องก็แล้วกัน ตรงไหนที่ตกหายไปก็ให้ทิ้งไปเสีย กรุณาฟังเฉพาะที่ ยังเหลืออยู่พูดไปมากน้อยก็กรุณาฟังตามนั้น เพราะการเทศนาว่าการทุกวันนี้ ความ จดจำ�ได้แก่ สัญญาเป็นของสำ�คัญเวลานี้เกือบจะไม่มีเหลือแล้วในตัวของเรา พูดไป หลงลืมไปตกหายไป คนมาเกี่ยวข้องมาเช้าถามเช้ามาเย็นถามเย็น มาเวลาไหนถาม เวลานั้นคนๆ เก่านั่นแหละ ซึ่งเป็นน่ารำ�คาญมาก พอเขามาหาก็อยู่ไหน เขาก็บอก ว่าอยู่นั่น ชื่อว่าอะไร ชื่อว่าอย่างนั้น เอ้า ผ่านไป สักเดี๋ยวไปเจอกันอีกอยู่ไหนๆ เรื่อย เลยรำ�คาญสำ�หรับผู้ฟัง แต่ผู้ถามไม่รำ�คาญเพราะจำ�ไม่ได้จริงๆ ไม่ใช่เป็นการแกล้งกัน พลิกแพลงแต่อย่างใดคือความจำ�เป็นอย่างนี้ เพราะร่างกายของเรานี้เป็นเครื่องมือ สำ�หรับใช้ของใจ ใจเป็นเจ้าของแห่งร่างกายอันนี้ กองรูป ได้แก่ ร่างกายของเรา แล้วก็เวทนาความสุข ความทุกข์ เฉยๆ ภายในร่างกายและเข้าสู่จิตใจด้วย สัญญา คือ ความจำ�ได้หมายรู้ จำ�ว่านั้น เป็นนั้นนี้เป็นนี้ อย่างนี้เป็นต้นเรียกว่าสัญญา เช่น จำ�ชื่อจำ�นาม จำ�บ้าน จำ�เรือน จำ�สูตรคาถาบาลี วิชาต่างๆ ได้ นี่เรียกว่า ความจำ� สังขาร คือ ความคิดความปรุงภายในจิตใจ วิญญาณ คือ ความรับทราบที่มีสิ่งมากระทบ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส เข้ามากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่เรียกว่า วิญญาณ แล้วก็ดับไปในขณะที่สิ่งสัมผัสนั้นผ่านไป ทั้ง ๕ ประการ นี้คือเครื่องมือของใจ เครื่องมือเหล่านี้ก็เป็นเหมือนกับรถคันหนึ่ง เมื่อเวลาซื้อมาใหม่ๆ ขับไปที่ไหนได้ทั้งนั้น ไปได้สะดวกสบาย ได้ตามความต้องการ ครั้นใช้นานเข้าไปเครื่องชำ�รุดทรุดโทรม แล้ว ซ่อมตรงนั้นซ่อมตรงนี้ เครื่องตรงนั้นเสียซ่อมที่นี่เสียตรงนั้น ซ่อม หลายครั้งหลายหน ซ่อมไปซ่อมมาสุดท้ายก็เข้าอู่แล้วไม่ออก นี่ร่างกายของเราก็เหมือนกัน เดี๋ยวหูหนวก เดี๋ยวตาฟ่า ตาฟาง จมูกไม่ดี ต้องมีหมอกำ�กับรักษา รักษาตรงนั้นรักษา ตรงนี้ อวัยวะต่างๆ เจ็บท้อง เดี๋ยวปวดศีรษะ ล้วนแล้วแต่ เครื่องมือของเรามันชำ�รุด จึงต้องหาหยูกหายาหาหมอมารักษา 220


รักษากันไปเยียวยากันไป เดี๋ยวชำ�รุดตรงนั้นเดี๋ยวชำ�รุดตรงนี้ สุดท้ายเข้าอู่แล้วไม่ออก นี่เห็นไหมอู่ เมรุ พอสุดท้ายก็ตาย ใช้ไม่ได้เลยเครื่องมืออันนี้ เรียกว่า เข้าอู่ เครื่องมือ ของเราเข้าอู่เช่นเดียวกับรถเข้าอู่แล้วไม่ออก เครื่องมือของคนเราเข้าอู่ก็คือตายแล้วไม่ออก วันนี้ได้แสดงว่า ชาติปิทุกขา ชราปิทุกขา มรนัมปิทุกขัง อริยสัจจัง ซึ่งประกาศ กังวานประจำ�สัตว์โลกมาตั้งแต่ตั้งมีสมมุติขึ้นมานับกาลนับเวลาไม่ได้ กี่กัปกี่กัลป์ไม่มี ใครคำ�นึงคำ�นวณได้ ที่ว่าความเกิดก็เป็นทุกข์ ก่อนจะเกิดมานั้นถูกรีดถูกไถออกมาจาก ช่องแคบ ถ้าออกมาไม่ไหวตายอยู่ในท้องแม่ก็มี ออกมาตายอยู่ในช่องคลอดก็มี ออกมา แล้วตายก็มี คนเราไม่ทุกข์ย่อมไม่ตายนี่ทุกข์มากขนาดนั้น แต่พวกเราทั้งหลายไม่มอง เห็น เห็นแต่ความเกิดมาแล้วพออกพอใจ ว่าเป็นผู้หญิงหรือเป็นผู้ชายยิ้มแย้มแจ่มใส ผู้ที่ให้คลอดได้แก่แม่นั้นสลบไสลไป นี่ก็คือความทุกข์ทั้งแม่ทั้งลูกที่ตกคลอดออกมา นี่ล่ะชาติปิทุกขา เห็นประจักษ์ชัดเจนในตัวของเรานี่แล ท่านจึงเรียกว่า ชาติปิทุกขา การเกิดก็เป็นทุกข์ ในขณะที่ตกคลอดออกมารายใดก็ตามต้องผ่านความสลบไสลมา ด้วยกัน ฟื้นแล้วก็เป็นคนขึ้นมา เลี้ยงดูกันมาอย่างเราๆ ท่านๆ แต่ไม่ได้มองเห็นความ ทุกข์ของผู้ที่ตกคลอดออกมาด้วยความสลบไสลถ้าไม่ฟื้นก็ตาย นี่เราไม่ได้คิดในข้อนี้ เลย จึงไม่ทราบว่า ชาติปิทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์นั้นเป็นอย่างไร ชราปิทุกขา ทีแรกก็เป็นเด็กขึ้นมาก็ค่อยเติบโตแข็งแรง มีกำ�ลังวังชา ครั้นต่อมาก็ แก่ชราครํ่าคร่า เครื่องก็ชำ�รุดทรุดโทรม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทุกข์เข้าไปๆ ๒ แข้ง ๒ ขา กลายเป็น ๔ แข็ง ๔ ขา ไปแล้ว ไม้เท้าเหยียบยันทั้งคลานทั้งเหยียบทั้งยัน นี่ก็เป็นทุกข์ นอกจากนั้นโรคภัยไข้เจ็บยิ่งเบียดเบียนได้ง่ายด้วย อันนี้ท่านก็ว่า ชราปิทุกขา คือความ แก่ความชราครํ่าคร่านี้ก็เป็นกองทุกข์อันหนึ่ง เริ่มเป็นกองทุกข์มาตั้งแต่เริ่มแก่เรื่อยมา มรนัมปิทุกขา ก่อนที่จะตายก็เป็นทุกข์แสนสาหัส จนกระทั่งทนไม่ไหวแล้วตาย ก่อนจะตายนั้นล่ะเป็นทุกข์มากที่สุดเลย ท่านจึงว่า มรนัมปิทุกขัง แม้นความตายก็เป็น ทุกข์ อริยสัจจัง ธรรมที่กล่าวมาเหล่านี้เป็นความจริงประจำ�สัตว์ในสังขารมาแต่กาล ไหนๆ แต่สัตว์โลกทั้งหลายมองไม่เห็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากสิ่งเหล่านี้ จึงพากันลืม เนื้อลืมตัว เกิดขึ้นมาแล้วคิดว่าแต่ตัวจะรํ่าจะรวยจะสวยจะงาม หาเครื่องตกแต่งมา เป็นกอบเป็นกำ� เงินมีเท่าไรแทนที่จะนำ�สิ่งของมาซื้ออยู่ซื้อกินเลี้ยงครอบครัวเหย้า เรือนให้มีความผาสุกสบาย กลับเอาไปกอบโกยซื้อเครื่องประดับขับกล่อมบำ�รุงบำ�เรอ เพื่อมีความสุขความรื่นเริงบันเทิงโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัวว่าสิ่งเหล่านี้คือกองทุกข์ เราจะบำ�รุง ให้มันเป็นสุขอย่างไรมันก็เป็นไปไม่ได้ ไม่ได้คำ�นึงถึงสิ่งเหล่านี้เลย เพราะฉะนั้นโลก 221


จึงได้รับความทุกข์ความทรมาน ความลำ�บาก ชราก็เหมือนกัน แก่เฒ่าชราครํ่าคร่าขนาดไหน เอ้า ผมมันหงอกแล้วหาอะไรมาย้อม ฟาดมันดำ�ไปหมด ดำ�มันก็เป็นหลังหมีไปได้ หมีก็ไม่เห็นวิเศษวิโสอะไร เราเห็นไหมหมีทั้งตัวมันไม่ดำ�แต่หัวมันนะหมีน่ะ มันดำ� หมดทั้งตัว แล้วหมีวิเศษวิโสอะไร อันนี้เราก็หาเครื่อง ตกแต่งมาให้ดำ�หมดทั้งหัว เป็นหนุ่มขึ้นมาแล้วเป็น สาวขึ้นมาแล้ว ควรจะแต่งงานได้อีกหนหนึ่งได้แล้ว ละมั่ง นี่ความคิดของใจที่เต็มไปด้วยความลุ่มความ หลง เนื่องจากไม่เห็นความทุกข์ในความชราภาพ ของตนทำ�ให้เกิดความทุกข์ได้อย่างนี้ มรนัมปิทุกขัง ประหนึ่งว่า คนในโลกนี้มี เราคนเดียวที่จะอยู่คํ้าฟ้า ไม่ต้องตายเหมือนโลก ทั่วๆ ไป แล้วก็ลืมเนื้อลืมตัวลืมศีลลืมธรรม ลืม ทานลืมการกุศล ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งถึง ยั น คํ่ า ไม่ ไ ด้ ร ะลึ ก ถึ ง ศี ล ถึ ง ทานไม่ ไ ด้ ร ะลึ ก ถึ ง ความล้มความตาย มีแต่ความทะเยอทะยาน วิ่งเต้นเผ่นกระโดดเพื่อจะให้ได้ดังใจ มีแต่ความหวังๆ แล้วดิ้นรนไปตามความหวังเป็น ทุกข์ขนาดไหนมากน้อยเพียงไรไม่คำ�นึงกัน มีแต่จะให้สมหวังๆ สุดท้ายก็ผิดหวังๆ ก็ ยังไม่เห็นโทษของความผิดหวังนั้นอีกเพราะความลืมตัว นี่ก็เรียกว่า เราไม่เห็นทุกข์ ใน ความตายของเราว่ามันขวางกั้นอยู่ข้างหน้า ภูเขาทั้งลูกเราหลีกได้ แต่เรื่องความตายนี้ ไม่มีใครจะหลีกได้ เป็นสัตว์ก็ตายเป็นบุคคลก็ตายเป็นอะไรเกิดแล้วก็ต้องตาย ดังที่ท่าน แสดงไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่า ยังกิญจิ สมุทยธัมมัง สัพพัญตัง นิโรธธัมมัง สิ่งใด ก็ตามเกิดแล้วดับทั้งนั้น เกิดแล้วตายทั้งนั้น นั่น นี่เราอยู่ด้วยกัน เราสรุปย่อๆ ไม่ต้อง มากมายเพียงบริเวณของวัดนี้ซึ่งมาอยู่ร่วมกันจำ�นวนมากเท่าไรเวลานี้ มาร่วมการกุศล กันในงานพระราชทานเพลิงศพของท่านอาจารย์มหาบุญมีนี้มีจำ�นวนเท่าไร ตายเรียบ ด้วยกันหมด ตามวาระของตนๆ ไม่มีเว้นแต่รายเดียว แล้วขยายออกไปจากนี้ ออกไป ตรงไหนๆ มีสัตว์มีบุคคลอยู่ที่ใดทั่วโลกดินแดนตายด้วยกันทั้งหมด จึงเรียกว่าเป็นป่าช้า อยู่ทุกตัวสัตว์ไม่จำ�เป็นจะต้องไปหาป่าช้าหาเมรุที่ไหนมันมีอยู่โดยสมบูรณ์ในตัวสัตว์ 222


ตัวบุคคลแล้ว นี่เราก็ไม่รู้ เราจึงเพลิดจึงเพลินจน ลืมเนื้อลืมตัวลืมจนเสียผู้เสียคนไปทั้งคน ทั้งๆ ที่ คนฉลาดยิ่งกว่าสัตว์แต่เวลาประพฤติตัวนี้เลว ยิ่งกว่าสัตว์ ทำ�ความชั่วช้าลามกให้เกิดความ เสียหายแก่ตนนี้มากยิ่งกว่าสัตว์ ได้รับความ ทุกข์มากกว่าสัตว์ หากว่าเราแสดงตามความ เป็นจริงแล้วโลกก็ไม่อยากจะฟังกัน เพราะโลก ก็ชอบแต่ของปลอม ของจริงไม่อยากฟัง ของจริงคืออะไรที่พูดตะกี้นี้ เรื่องป่าช้า ไม่จำ�เป็นจะต้อง มีอยู่สถานที่นั่นที่นี่ มีอยู่กับสัตว์กับ บุคคลน้อยใหญ่ ทั่วโลกดินแดนนี้ เป็นประจำ�โดยสมบูรณ์อยู่แล้ว ถ้าคน ไม่ประมาทย่อมพิจารณาถึงวันเป็นวันตาย วันพลัดพรากจากสัตว์จากสังขารของตน และผู้อื่นได้เป็นอย่างดี แล้วไม่ประมาทลืมเนื้อลืมตัว ทำ�ตัวให้เสียคนเพราะความลืมตัว นี้มากมาย ให้เราระลึกถึงธรรมอยู่เสมอ ดังที่กล่าวในเบื้องต้นว่า ชาติปิ ทุกขา ชราปิ ทุกขา มรณัมปิ ทุกขัง อริยสัจจัง นี่เป็นธรรมความจริงล้วนๆ ลบไม่สูญ ใครจะมาลบ ยังไงไม่สูญลบไม่ได้เป็นความจริง เรื่องเกิดเรื่องตายเป็นของคู่กัน ท่านจึงเรียกว่า ความ เกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ล้วนแล้วตั้งแต่เป็นกองทุกข์ ถ้าผู้ได้ระลึกถึงความ เป็นความตายอยู่เสมอซึ่งเป็นธรรมของดีที่พระพุทธเจ้าประกาศกังวานมาไม่ทราบกี่ กัปกี่กัลป์แล้ว เฉพาะองค์ปัจจุบันนี้ก็ ๒,๕๐๐ กว่าปีนี้แล้ว เราจะได้สติสะตังไม่ลืมเนื้อ ลืมตัว ถึงเวล่ำ�เวลาที่เราจะประกอบคุณงามความดีก็ให้เป็นเวลาของการทำ�งานความดี ของเรา ถึงเวลาที่จะเสาะแสวงหาการทำ�มาหาเลี้ยงชีพ ให้พออยู่พอเป็นพอไปสำ�หรับ เยียวยาธาตุขันธ์ ซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกายตลอดเวลา เราก็ต้องวิ่งเต้นขวนขวาย เสาะแสวงหามา แล้วบำ�รุงกันเท่าที่จำ�เป็นไม่ให้มีความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมจนลืมเนื้อลืมตัว ดังที่เป็นอยู่ แล้วเราก็มีความสงบสุขเย็นใจ การบุญการกุศล ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้วท่านก็เป็นอริยสัจจัง คือเป็น ความจริงล้วนๆ ไม่มีใครจะลบให้สูญไปได้ว่า บาปไม่มี บุญไม่มี นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี มีมาแล้วดั้งเดิมให้เราระลึกได้อยู่อย่างนี้ ตามหลักของศาสนาหรือองค์ศาสดาของเรา 223


สมกับเราเป็นชาวพุทธเป็นลูกเต้าเหล่ากอของพระพุทธเจ้าแล้ว เราก็เป็นคนเชื่อบาป เชื่อบุญเชื่อนรกเชื่อสวรรค์ เชื่อความดีความชั่วทั้งหลาย แล้วละเว้นในสิ่งที่ไม่ควรทำ� ประกอบคุณงามความดีใส่ตัวของเรา เราก็เรียกว่าเป็นผู้ตั้งตัวไว้ชอบไม่ประมาทลืมตน ในวันหนึ่งคืนหนึ่ง ถ้าคนเราระลึกถึงความล้มความตายได้วันละ ๔-๕ หน เพียง เท่านั้น คนนั้นก็ไม่ลืมตัว มีหน้าที่การงานก็เป็นไปด้วยความราบรื่น เป็นไปด้วยความ สม่ำ�เสมอ ไม่ทำ�แบบลืมเป็นลืมตายดังที่เป็นอยู่เวลานี้ นี่ชาวพุทธของเราส่วนมาก มักจะลืมเนื้อลืมตัว ถือศาสนาพุทธก็เป็นถือเพียงเป็นประเพณี ไม่ได้ถืออย่างจริงจัง ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนสัตว์โลกไว้ด้วยพระเมตตาอย่างยิ่งเลย ความประพฤติ ของเราจึงเหลวแหลกแหวกแนวเป็นไปในแง่ต่างๆ ที่จะให้เกิดความเสียหายแก่ตน ไม่มี ที่สิ้นสุดยุติได้เลยก็เพราะการกระทำ�ของเราไม่ได้เรื่อง มีแต่ทวีรุนแรงขึ้นไปโดยลำ�ดับ นี่การกล่าวธรรมทั้ง ๓-๔ ข้อนี้ เพื่อเป็นการเตือนสติปัญญาของพวกชาวเราทั้ง หลายไม่ให้ลืมเนื้อลืมตัว วันนี้ก็เป็นพยานแล้ว บ่าย ๔ โมงนี้ก็จะพระราชทานเพลิง ศพท่าน นี่วันนี้ท่านผ่านไปแล้ว พวกเรายังมีชีวิตอยู่จะปฏิบัติตัวอย่างไรจึงจะเหมาะ สมกับความเป็นมนุษย์เป็นชาวพุทธ ลูกเต้าเหล่ากอของพระพุทธเจ้าก็ให้พากันวิ่งเต้น ขวนขวายรีบเสียตั้งแต่บัดนี้ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ตายแล้วจึงจะสร้างบุญสร้างกุศลไม่ใช่ฐานะ ที่จะทำ�ได้เลย ต้องทำ�เวลานี้ทำ�ในเวลาที่มีชีวิตอยู่นี้ ตื่นนอนขึ้นมาให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก่อนอื่น ไหว้พระก่อน ก่อนจะออกจากที่ไปทำ�หน้าที่ธุระการงาน ไปไหนระลึกได้ พุทโธ ธัมโม สังโฆ สร้าง ความดีไว้จิตใจของเรา จะเป็นเครื่องกระตุ้นเตือนจิตใจของเราไม่ให้ส่ายแส่ ไม่ให้ลืม เนื้อลืมตัวไปในทางชั่วช้าลามกอีกด้วย ยังเป็นการสั่งสมคุณงามความดีเข้าสู่ใจ อาหาร อันสำ�คัญที่เรียกว่าโอชารสคือธรรม เข้าสู่ใจของเราตลอดเวลาที่ระลึกพุทธ ธรรม สงฆ์ นั้นด้วย เราก็เป็นผู้มีความชุ่มเย็นภายในจิตใจของเรา นั่น นี่เรียกว่า เป็นผู้ไม่ประมาท เวลาจะหลับจะนอนก็ให้ไหว้พระสวดมนต์แล้วภาวนา การภาวนานั้นก็มีอยู่แล้วตาม ตำ�รับตำ�ราครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านก็เคยสั่งสอน การภาวนาทำ�อย่างไร เราจะนั่ง ภาวนาก็ได้ เรานอนภาวนาก็ได้แต่หลับง่ายเท่านั้นเองผิดกันตรงนี้ ถ้านั่งไม่ค่อยหลับ ง่ายก่อนจะหลับมันต้องสัปหงกเสียก่อน ถ้าสัปหงกมากก็หัวฟาดไม้มันก็ตื่นนอนขึ้นมา ได้ไม่สัปหงก แต่ถ้านอนแล้วมันไม่ยากนิดเดียวก็หมอนก็นิ่มๆ เสื่อก็อบอุ่นดีด้วยนอน หลับได้สนิท พุทโธไม่ทราบหายไปไหนอันนี้ล่อแหลมต่ออันตรายมาก ให้พากันจำ�เอา แล้วนั่งภาวนานึกพุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือบทใดบทหนึ่งก็ได้ เช่น นึกพุทโธๆ ให้สติจดจ่อ 224


อยู่กับความรู้กับคำ�ว่าพุทโธ พุทโธกับใจให้กลมกลืนเป็นอันเดียวกัน เมื่อเรานึกพุทโธๆ อยู่ไม่หยุดสืบเนื่องกันเป็นลำ�ดับด้วยความมีสติ จิตใจของเราจะสงบเย็นเข้ามาๆ จาก นั้นก็สงบ ความสงบนี้มีหลายขั้นหลายภูมิของใจแห่งนักภาวนาทั้งหลาย เมื่อสงบเข้าไป มากๆ ก็เกิดความอัศจรรย์ขึ้นมาภายในใจ เพราะสิ่งเหล่านี้เราไม่เคยพบเคยเห็นตั้งแต่ วันเกิดมา เราจะได้พบได้เห็นในเวลานั้น ที่เกิดขึ้นกับเราจากการภาวนาของเราด้วย ความมีสติ พอปรากฏผลขึ้นมาเช่นนั้นแล้ว เราจะมีความกระหยิ่มยิ้มย่องพออกพอใจ ปลูกศรัทธาความเชื่อความเลื่อมใสในบุญในกรรมขึ้นทันทีทันใด ในหัวใจของเราโดย ถือเอาหลักภาวนาที่เป็นความสงบนั้นเป็นสักขีพยานหรือข้อยืนยันในบาปบุญคุณโทษ ทั้งหลายจะประจักษ์ที่ใจของเรา ผู้นั้นย่อมมีความขยันหมั่นเพียรที่จะภาวนาต่อไป แล้วทำ�ไปมากผู้รู้ได้ง่ายเห็นได้ง่ายก็มี เช่นเดียวกับเราขุดน้ำ�บ่อ สถานที่ขุดนั้นต่างกัน บางแห่งน้ำ�อยู่ตื้นๆ บางแห่งก็อยู่ลึกๆ ขุดไปเจอน้ำ�ง่ายก็มี ลึกกว่านั้นเจอน้ำ�ก็มี นี่การ ภาวนาของบางรายอาจเจอธรรมที่กล่าวนี้ก็มี พยายามทำ�ไปนานๆ แล้วเจอก็มี เจอ ไปโดยลำ�ดับ มีความลึกตื้น มีความช้าความเร็วต่างกันบ้างไม่เป็นไร ก็ขอให้ทำ�ความ พยายามเพราะปราชญ์ทั้งหลายท่านได้รับความสงบสุขร่มเย็นจนกระทั่งถึงบรมสุขได้ เพราะการภาวนานี้แล เราเป็นลูกศิษย์ตถาคตก็ขอให้มีเวล่ำ�เวลาอบรมจิตใจของเรา บ้าง อย่าปล่อยให้จิตใจส่ายแส่ไปทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน หาที่ยับยั้งไม่ได้เลย อย่างนี้มันเกินไปสำ�หรับมนุษย์เราชาวพุทธ ขอให้มีการยับยั้งตัวด้วยการอบรมจิตใจของเราคือการภาวนาให้ใจสงบเย็น เพียงเท่านี้เราก็เห็นคุณค่าแห่งศาสนาว่า พระพุทธเจ้านั้นท่านทรงมุ่งหมายอย่างไร จึงแสดงธรรมสอนโลก เพียงเท่านี้ก็ประจักษ์กับใจของเราที่บำ�เพ็ญตามท่านแล้วได้ ปรากฏผลขึ้นมาภายในตนเอง ต่อไปก็มีความขยันหมั่นเพียรมากขึ้น นี่ละบรรดาสาวกทั้งหลายของพระพุทธเจ้าที่เป็น สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ของ พวกเรา ท่านอุตส่าห์พยายามบำ�เพ็ญตนด้วยการรักษาใจ เพราะใจนี้เป็นตัวคึกตัว คะนองมากที่สุดไม่มีอะไรเกินใจ จะเป็นชาติชั้นวรรณะใดก็ตาม เป็นเพศหญิงเพศชาย อะไรก็ตาม เพศนักบวชฆราวาสก็ตาม ใจนี้มันไม่ได้เป็นไปตามนั้น ใจนี้คือตัวคึกตัว คะนองที่ฝังยาพิษไว้อย่างแน่นปึ๋งภายในจิตใจ การแสดงออกของใจที่เต็มไปด้วยยาพิษ จึงแสดงไปด้วยความโลภ ความโกรธ ความหลง แสดงเพื่อราคะ ตัณหา ไม่มีเมืองพอ ให้ดิ้นให้ดีดอยู่ทั้งวันทั้งคืน ยืน เดิน นั่ง นอน ทั้งหญิงทั้งชาย ทั้งนักบวชและฆราวาส เพราะฉะนั้นจึงต้องได้ใช้ธรรมเป็นทำ�นบกั้นซึ่งกันและกันเอาไว้ ทำ�นบคืออะไร 225


คือสติกับปัญญา ความพากความเพียรหนุนเข้าไปเพื่อไม่ ให้กระแสแห่งความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ ตัณหา ที่ไหลออกจากใจนี้ไหลไปได้ บังคับไว้ภายในด้วย การภาวนา จิตใจก็สงบเย็น เมื่อสิ่งเหล่านี้สงบลงไปใจ มีความสงบเย็น ความฟุ้งเฟ้อก็คือสิ่งเหล่านี้แลพา ให้ลืมเนื้อลืมตัว พาทำ�บาปทำ�กรรมทั้งหลาย ก็เพราะสิ่งเหล่านี้ ไม่ใช่เพราะสิ่งใด เพราะ กิเลสกิเลสไม่เคยทำ�คนพาคนให้ดี มีแต่พา คนให้ล่มจมเสียหายไปโดยลำ�ดับถ้าปฏิบัติ ตามมันจนหมดเนื้อหมดตัวไม่รู้สึกตัวเลย คนๆ หนึ่งหาความหมายหาจุดหมายปลาย ทางหาที่หมายไม่ได้ เพราะถูกสิ่งเหล่า นี้ฉุดลากไปตลอดเวลา เมื่อมีอรรถมี ธรรมแล้วย่อมมีการยับยั้งชั่งตัวได้ คนเรา การยับยั้งชั่งตัวได้ก็ย่อมมีสติ ปัญญาพินิจพิจารณาใคร่ครวญในสิ่ง ต่างๆ ดีชั่วได้อย่างสะดวกสบาย นี่การบำ�เพ็ญตัวด้วยการภาวนาอบรม ภาวนาให้ทำ�อย่างนี้ คืนหนึ่งวันหนึ่งอย่าปล่อยทิ้งปล่อยๆ ศาสนาของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ ตุ๊กตาเป็นเครื่องเล่นของเด็ก ไม่ใช่ตุ๊กตาเป็นเครื่องเล่นของชาวพุทธเรา พอที่จะมาทำ� เหยาะๆ แหยะๆ หรือพอเป็นประเพณี เดินผ่านไปวัดมองเห็นพระพุทธรูป เห็นพระเจ้า พระสงฆ์ ก็ยกมือไหว้สักชั่วขณะเดียวก็ผ่านไปแล้วจมอยู่ในนรกทั้งเป็น นี้มีมากต่อมาก สำ�หรับชาวพุทธเรา โดยไม่เห็นว่าศาสนาเป็นของสำ�คัญ ความจริงพระพุทธเจ้าเป็น องค์สำ�คัญประเสริฐเลิศโลกไม่มีใครเสมอเหมือน สาวกทั้งหลายก็เป็นองค์ประเสริฐ เลิศโลก ธรรมะที่นำ�มาแสดงสอนโลกนี้ใครจะไปค้นไปคิดไปหาได้มาอย่างพระพุทธเจ้า มาสอนโลกมีอย่างเหรอ ไม่มี มีแต่พระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียวเท่านั้นที่สามารถ เรียกว่า สยัมภู ทรงขวนขวายเองในทางเหตุโดยไม่มีใครบอกใครสอนใครแนะนำ� ใคร ตักใครเตือนเลย พระองค์ทรงเสาะแสวงหาเองจึงเรียกว่า สยัมภูในทางเหตุ สยัมภูใน ทางผล ก็ทรงรู้เองเห็นเอง ตรัสรู้เองไม่มีใครไปบอกวิธีการตรัสรู้ เพราะตรัสรู้ขึ้นมาเป็น 226


ศาสดาเอง และแนะนำ�สั่งสอนสัตว์โลกประเภทต่างๆ ด้วยพระองค์เองโดยไม่มีใครมา แนะนำ�สั่งสอนวิธีการอบรมสั่งสอนสัตว์ทั้งหลายเลย พระพุทธเจ้าสามารถแนะนำ�สั่งสอนได้ บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้มี มากน้อยเพียงไร เราอย่าเห็นว่ามนุษย์นี้เป็นผู้ใหญ่ผู้โต เป็นผู้ปรากฏชื่อลือนามในวงศ์ ศาสนาพุทธเพียงเท่านี้เลย มนุษย์เราถ้าจะเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วในวงศ์ศาสนธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงสงเคราะห์สัตว์โลกแล้วเพียง ๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น มนุษย์เราที่บวช เพื่อพระพุทธศาสนานั้นเพียง ๕ เปอร์เซ็นต์ ๙๕ เปอร์เซ็นต์นั้นท่านแยกท่านแยะไปสู่ ประเภทต่างๆ ดังที่พวกเราไม่เห็นนั่นแหละ แต่องค์ศาสดาท่านเห็น จักษุของท่านไม่ เหมือนจักษุเรา ตาท่านไม่เหมือนตาเรา ตาเรานี้เห็นตั้งแต่สิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นวิสัยของตา เนื้อ ตาพระพุทธเจ้าเห็นทั้งตาเนื้อเห็นทั้งตาทิพย์ มองเห็นหมดสัตว์โลกคิดดูตั้งแต่ภูมิ ของสัตว์ที่ท่านแสดงไว้ในตำ�รับตำ�ราว่า ภูมเทวดา อากาสาเทวดา นอกนั้นก็เทวดา ชั้นสวรรค์ต่างๆ จนกระทั่งถึงพรหมโลกแต่ละชั้นๆ นั้นมีสัตว์ประมาณ เท่าไร จนกระทั่งถึงพรหมโลก แล้วพวกสัตว์ต่างๆ ซึ่งไม่อยู่ในประเภท นี้มีจำ�นวนมากเท่าไหร่ และธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสงเคราะห์โลก นั้นมีแง่ต่างๆ กัน เหมือนกับสัตว์โลกที่มีประเภทต่างกันนั้นแล ไม่ได้มีธรรมประเภทเดียวมาสอนโลกอย่างนั้น แล้วพวกสัตว์ ทั้งหลายเหล่านี้มีจำ�นวนมากกว่ามนุษย์เราเท่าไร เทียบซิ ๕ เปอร์เซ็นต์กับ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ มนุษย์เรามีเพียง ๕ เปอร์เซ็นต์ ใน ๕ เปอร์เซ็นต์นั้นเรารวมมนุษย์ทั้งหมด ไม่ต้องพูดแต่ เพียงมนุษย์ชาวพุทธเรารวมมนุษย์หมดทั้งโลกนี้ก็ เพียง ๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วน ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ธรรมกระจายไปสู่ สั ต ว์ ทั้ ง หลายมี กี่ ภ พกี่ ชาติกี่ชั้นกี่ภูมิ นี่ธรรมะที่แสดงแก่บรรดาสัตว์ทั้งหลาย แต่ละขั้นละภูมิแต่ละรายๆ นั้นมีธรรม ประเภทใดบ้างที่เหมาะสมกับพระองค์ซึ่งเป็น ศาสดาที่จะนำ�มาสงเคราะห์โลกนั้น ใครรู้ ได้ใครเรียนได้ใครไปเห็นที่ไหนมา ไม่มี มี พระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงเรียกว่า สยัมภู ทรง 227


รู้เองเห็นเอง เหมาะสมตรงไหนแสดงตรงนั้น เหมาะสมในธรรมขั้นใดเอาธรรมขั้นนั้นมา แสดงๆ แม้ตั้งแต่มนุษย์เราก็เหมือนกัน เข้ามารับการอบรมจากพระพุทธเจ้าแล้วมีชั้น ต่างกันคือภูมิอรรถภูมิธรรมต่างกันพระองค์จะแสดงแบบเดียวกันไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น คนนี้อยู่ภูมิสมาธิประเภทนี้ชั้นนี้ คนนั้นอยู่ในภูมิปัญญาขั้นนั้นๆ พระองค์จะแสดงแบบ เดียวกันไม่ได้ สมาธิขั้นนี้จะแนะนำ�สั่งสอนตักเตือนในขั้นนี้ ขั้นนั้นแนะนำ�สั่งสอนให้ พอเหมาะพอสมกับสมาธิขั้นนั้นๆ ปัญญาขั้นนั้นต้องแนะนำ�สั่งสอนให้เหมาะสมกับ ปัญญาขั้นนั้น เพื่อการงานเสริมสร้างให้เฉลียวฉลาดให้ยิ่งๆ ขึ้นไป แล้วปัญญามี ความเฉลียวฉลาดมากน้อยเพียงไร ธรรมพระพุทธเจ้าที่จะนำ�มาสงเคราะห์แต่ละขั้น ละภูมิแต่ละรายๆ จะมีความละเอียดแตกต่างกันไปโดยลำ�ดับๆ จนกระทั่งถึงวิมุตติ พระนิพพานแล้วหมดปัญหา แล้วธรรมเหล่านี้ใครไปเรียนไปรู้มาจากที่ไหน มีแต่ พระพุทธเจ้าผู้สิ้นกิเลสแล้วเท่านั้นนำ�ธรรมมาสั่งสอนสัตว์โลกนี้ เป็นยังไงพระพุทธเจ้า ของเราต่างจากพวกเราไหม ตาเราไม่เห็นตาพระพุทธเจ้าเห็นพวกเปรตพวกสัตว์นรก ทั้งหลายมีกี่ขั้นกี่ภูมิมีจำ�นวนมากน้อยเพียงไร คิดดูมนุษย์เรา ๕ เปอร์เซ็นต์ นอกนั้น สัตว์ลึกลับที่เราไม่สามารถมองเห็นนั้น ๙๕ เปอร์เซ็นต์ เป็นยังไงต่างกันไหมกับตา ของเราหัวใจของเรา ความรู้ของพระพุทธเจ้ากับความรู้ของเราเอามาเทียบกันไม่ได้ ความรู้อันหนึ่งสิ้นกิเลสแล้ว ใครจะไปคาดไปเดาตายทิ้งเปล่าๆ ไม่มีทางที่จะคาดถูก เดาถูกได้เลยเพราะไม่เหมือนอะไรในโลกนี้ ความบริสุทธิ์ไม่ได้เหมือนจิตดวงใด จิตที่ บริสุทธิ์ ย่อมไม่เหมือนจิตที่มีกิเลสอยู่ มีกี่หมื่นกี่แสนกี่ล้านๆๆๆๆ ดวงก็ไม่ได้เหมือนกัน แม้ดวงเดียว เป็นธรรมชาติที่พอเหมาะพอสมกับองค์ศาสดากับท่านผู้สิ้นกิเลสนี้เท่านั้น นี่เพียงเท่านี้มันเลื่อมล้ำ�ต่ำ�สูงต่างกันขนาดไหนแล้ว แล้วธรรมที่ท่านมาแนะนำ� สั่งสอนจะให้เป็นแบบเหมือนโลกทั่วๆ ไปได้ยังไง ท่านต้องสอนให้เต็มภูมิของขั้นศาสดา เหมาะสมกับสัตว์ประเภทใดท่านก็แนะนำ�สั่งสอนตามสัตว์ประเภทนั้นๆ ด้วยธรรม ประเภทนั้นๆ ให้เหมาะสมกัน นั่งจึงจะสมภูมิว่าเป็นศาสดาเอก ท่านไม่ได้ไปหาความ รู้มาจากที่ไหน ออกมาจากสยัมภู ทรงขวนขวายเองทุกวิถีทาง แล้วผลก็ทรงรู้เองเห็น เองในธรรมทุกประเภท ทั้งธรรมประเภทที่ทำ�พระองค์ให้บริสุทธิ์วิมุตติพุทโธขึ้นทั้ง ดวงก็ดี ทั้งธรรมที่แนะนำ�สั่งสอนสัตว์โลกจำ�นวนมากน้อยเพียงไรให้ได้รับผลประโยชน์ ทั่วถึงกันก็มี พระองค์ไม่ทรงให้ใครมาช่วยขวนขวายเลย พระองค์ทรงขวนขวายเองทรง รู้เองเห็นเอง ให้พอเหมาะพอดีกับภูมิของศาสดาที่จะนำ�ธรรมมาสั่งสอนโลกนั้นแล แล้วเมื่อเป็นเช่นนี้เป็นยังไงศาสนาของพระพุทธเจ้า เป็นของเล่นของชาวพุทธ 228


เราเหรอ มันสมควรเหรอว่าเป็นตุ๊กตาเครื่องเล่นของชาวพุทธเรา ใครเห็นวัดเห็นวาเห็น ครูบาอาจารย์ เห็นศาสนาเห็นอรรถเห็นธรรมก็เห็นเป็นของเล่นๆ ท่องบ่นสาธยายได้ มาแล้วก็มาพ่นน้ำ�ลายใส่กันว่าตัวรู้หลักนักปราชญ์ เพียงแต่จำ�ความรู้เฉยๆ รู้ใครก็จำ� ได้เพียงแต่รู้ด้วยความจำ� แต่กิเลสไม่ได้ถลอกปอกเปิกออกจากหัวใจเลย มันเป็นยังไง ความจำ�มนุษย์กับความจำ�ของโลกมันผิดกันที่ตรงไหน มันไม่มีผิดกันเลย ความจำ�ที่ จ่อเข้าไปตรงไหนกิเลสพังตรงนั้น ความจริงจ่อเข้าไปตรงไหนด้วยภาคปฏิบัติกิเลสพัง ออกไปตรงนั้นๆ จนกระทั่งกิเลสขาดสะบั้นออกจากหัวใจ เพราะความจริงที่รู้จริงเห็น จริงละจริงฆ่ากิเลสให้ตายจริง นี้เป็นความรู้ประเภทไหนพิจารณาซิ ต่างกันกับโลกไหม ความรู้ประเภทนี้แลที่พระพุทธเจ้านำ�มาสั่งสอนสัตว์โลกให้กังวานอยู่ทั่วดินแดนตลอด มาจนทุกวันนี้ ไม่ใช่เป็นของเล่นๆ พอจะมาเป็นตุ๊กตาของพวกเรา ปาณาติปาตา เวรมณี ว่ากันไปแล้ว มีเท่าไรฆ่ามันแหลกหมดนั่น อทินนาทานา มีเท่าไรฉกลักขโมยปล้นจี้เอาไปหมด มีเหรอชาวพุทธเรา เป็นอย่างนั้นเหรอ พิจารณาซิ มันเข้ากันได้ไหมกับ พุทธัง ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ถือ พระพุทธเจ้าเป็นสรณะของพวกเรา เป็นสรณะพึ่งเป็นพึ่งตายด้วยการฆ่าการฟันการฉก การลักนี้เหรอ กาเมสุมิจฉาจาร ก็เหมือนกันผู้หญิงถ้ามันมีธรรมดานะ ถ้ามันเป็นไปตามอำ�นาจ ราคะตัณหาหญิงชายในโลกนี้ ผู้หญิงคนหนึ่งมันมีหีหนึ่งมันไม่พอ ฟาดมันมีสักสิบหี ผู้ชายมันมีสักสิบโคยมันยังไม่พอ ถึงขนาดนั้นมันยังอยากได้ยี่สิบผัวพันเมียไปอีกคิดดู ซิ ถ้ามันเห็นสมควรแล้วเมียคนเดียวมันก็พอผัวคนเดียวมันก็พอแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่าง เหมาะสมกันแล้วนี่คือความพอดีตามหลักธรรมที่ท่านทรงสั่งสอนไว้ ท่านจึงสอนให้มี ผัวเดียวเมียเดียวไม่ให้มีตั้งห้าตั้งสิบตั้งหมื่นตั้งแสนตั้งล้านเหมือนกับสุนัขเดือนเก้า เป็น ยังไงสุนัขเดือนเก้าพี่น้องทั้งหลายรู้มิใช่เหรอเราอยู่ภาคอีสานด้วยกัน มันมีพอมีเพียง ที่ไหนมันไม่รู้จักบ้านจักเรือนถึงหน้าเดือนเก้าแล้วกัดฉีกกันแหลกเพราะราคะตัณหา มันพาให้กำ�เริบ เลยไม่รู้จักบ้านไม่รู้จักเรือนไม่รู้จักเจ้าของเลย มีแต่กัดแต่ฉีกกันแต่วัน ยั่งค่ำ�คืนยังรุ่ง พวกสัตว์ทั้งหลายที่เต็มไปด้วยราคะตัณหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวพุทธ เราเนี่ยเป็นตัวสำ�คัญมาก ทำ�ลายเจ้าของแหลกเหลวไปหมด ถูกไหมที่หลวงตาบัวพูด ท่านทั้งหลายนี้อย่าไปคิดว่านี้พูดคำ�หยาบ ความเป็น หยาบขนาดไหนพิจารณาซิ พูดอย่างนี้พูดออกมาจากความจริงที่เป็นอยู่แล้วมันไม่พอ กับกิเลสตัณหาของเรามันไม่พอ เมียหนึ่งมันก็ไม่พอมันอยากได้สองเมียสามเมีย ไป 229


ที่ไหนดะไปหมดเลย ผู้ชายมันยิ่งตัวสำ�คัญ ผู้หญิงก็ตัวเก่งตัวแสบเหมือนกันเพราะ ราคะตัณหาพาให้เก่งพาให้แสบ เพราะฉะนั้นมันจึงไม่อยากได้ผัวคนหนึ่งมีโคยเดียว มันอยากได้ถ้าผัวกูมีร้อยโคยนี้ค่อยยังชั่วกูจะได้ไม่ต้องหาไอ้หนุ่มใหม่ มันไปเจอไอ้หนุ่ม อีกมันก็เอาอีกมันไม่ได้คำ�นึงคำ�นวณหรอกว่าผัวมันมีสิบโคยแล้ว ราคะตัณหามันไม่พอ อย่างนี้ดูเอานะ ถ้าเราปฏิบัติตามราคะตัณหาโลกนี้พินาศฉิบหาย ถ้าเอามาปฏิบัติตาม หลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้คืออะไร ผัวเดียวเมียเดียวมันพอดิบพอดีแล้ว ถ้าเป็นวัตถุเงินทองข้าวของก็เต็มบาทสิบเต็มสิบร้อยเต็มร้อยพันเต็มพันแล้ว ถ้าเป็น คนก็เป็นคนเต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่ขาดบาทขาดตาเต็งตาชั่ง ไม่เป็นคนบ้าคนบอบ้าราคะ ตัณหาอย่างที่เป็นอยู่เวลานี้ มีอยู่ด้วยกันทั้งหญิงทั้งชายทั้งผัวทั้งเมียล่ะอยู่ด้วยกัน หาหลักหาเกณฑ์หาเครื่อง ประกันตัวไม่ได้ เลย เป็นยังไงอยู่ด้วยกันมีความผาสุกยังไงบ้างเอามาอวดหลวงตาบัว ด้วยซิ นี่เวลานี้กำ�ลังนำ�ธรรมมาพูดให้ท่านทั้ง หลายพินิจพิจารณา ให้เห็นความพอดีของโลกที่ อยู่กับโลก เราละมันไม่ได้ก็ให้มีเครื่องรักษาพอ เหมาะพอดี ผัวเดียวเมียเดียวพระพุทธเจ้าทรง สั่งสอนไว้แล้ว อปิจฉตา แปลว่าอะไร แปลว่า ความมักน้อย นี่ความมักน้อยของฆราวาสคือ อะไร คือผัวเดียวเมียเดียวเท่านั้น ฝากเป็น ฝากตายฝากชีวิตจิตใจไว้แล้วก็ฝากความ อบอุ่นพึ่งเป็นพึ่งตายกันได้ตลอดไปไม่มีวัน จืดจาง หาสิ่งเหล่านั้นแล้วนอกจาก สิ่งเหล่านี้แล้วเอาเถอะน่า หามามาก เท่าไรมันก็เผาเท่านั้น เงินทองข้าวของ มีมากมีน้อยมันแตกรั่วไหลซึมไปหมด ไหลไปหาอีนั่นไหลไปหาอีหนูไหลไป หาไอ้บ่าว มันไหลไปหมดทุกแง่ทุกมุม เพราะหม้อมันแตกจิตมันแตกแล้วจิต เพราะจิตมันรั่วไหล จิตแตกตับแตก 230


แล้ว ไม่มีความหมาย เมียนั่งอยู่นอนอยู่ด้วยกันหาความเชื่ออกเชื่อใจกันไว้ใจกันไม่ได้ คอยแต่จะเป็นเพชฌฆาตสังหารกันอยู่ตลอดเวลา การสังหารอันนี้มันมากกว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างนะ ผัวเมียกระทบกระเทือนกันในสิ่งที่เราไว้ใจกันอย่างนี้เป็นสิ่งที่รุนแรงมากหนัก มาก ทำ�ให้ลูกเต้าหลานเหลนแตกกระจัดกระจายไปหมดนั่นแหละ แล้วครอบครัว เหย้าเรือนถ้าต่างคนต่างส่งเสริมราคะตัณหาขึ้นมากๆ นี้เป็นยังไงโลกอันนี้ หมากเดือน เก้ามันไม่ได้มีความหมายอะไรนะ คนเดือนเก้านี่สิมันสำ�คัญทำ�ให้โลกให้พินาศฉิบหาย หมามันไม่ทำ� เพียงแต่กัดพวกหมาด้วยกัน มนุษย์เรามันทำ�ได้หมดไม่มีบาปไม่มีบุญ ไม่มีนรกไม่มีสวรรค์ ไม่มีผิดมีถูกดะไปหมด มีแต่ก่อความฉิบหายเพราะแห่งอำ�นาจ ราคะตัณหา นี่เป็นยังไง ศาสนาของพระพุทธเจ้าจะเต็มไปด้วยราคะตัณหาเป็นคู่แข่ง ของพระพุทธศาสนาของเราชาวพุทธ คู่แข่งพระพุทธเจ้าคู่แข่งแบบนี้เหรอพิจารณาซิ กาเมสุมิจฉาจาร เป็นตัวสำ�คัญมากเวลานี้กำ�ลังส่งเสริมทุกแง่ทุกมุมทุกด้านทุกทาง ได้ อะไรมาต้องอันนี้ขึ้นหน้าๆ หน้าที่การงานอะไรตัวนี้ต้องมาตีตลาดๆ หมดนั่นแหละ แล้วเรายังไม่รู้อีกเหรอว่านี้คือตัวกองฟืนกองไฟเผาไหม้ครอบครัวเหย้า เรือน ผัวเมียอยู่ด้วยกันไม่ได้แตกกระจัดกระจายไว้ใจกันไม่ได้ แล้ว เอาธรรมของพระพุทธเจ้าซิมาประดับมารักษาซิ กาเมสุมิจฉาจาร ผัวเดียวเมียเดียวพอแล้ว อปิจฉตา มีผัวเดียวเมียเดียวเท่านี้พอแล้ว เอ้า แล้วเป็นยังไงมันจะจมไหมเรามีผัวเดียวเมียเดียว มีหีเดียวโคยเดียว เอ้า เอามันเต็มเม็ดเต็มหน่วย แล้วเราจะจมไหมกับมีสิบหีสิบโคยนั่น อันไหน จะพาให้ล่มจม อันไหนจะพอดิบพอดี อันไหน จะให้ความเป็นสุขต่อกัน ให้ท่านทั้งหลาย พิจารณา อันนี้อย่าเข้าใจนะว่าหลวงตาบัว เทศน์หยาบเรื่องมันเป็นอย่างนี้ เวลาเทศน์ ก็เหมือนกับว่าหนามยอกหนามบ่ง หนาม ยอกลงไปลึกขนาดไหนเวลาเราบ่งหนาม เราจะบ่งแต่ผิวเผินหนามไม่ออกเราเป็น ยังไงเท้าของเราเน่าเฟ๊ะ อันนี้ก็เหมือน 231


กันความชั่วช้าลามกที่มันเต็มอยู่กับมนุษย์มนาของเราทุกวันนี้ บ้านเมืองของเราชาวพุทธของเราทุกวันนี้มันเป็นอย่างนี้ เหมือนกับหนามมัน ยอกเข้าไปลึกๆ นั่น ตัวกาเมสุมิจฉาจารมันยอกเข้าไปลึกๆ แล้วกล่าวเวลานี้กล่าวให้ ถอนหัวหนามออกมาบ่งหนามออกมามันหยาบเหรอ ถ้าว่าอันนี้หยาบก็อย่าบ่งหนาม เอ้า ปล่อยให้มันฝังจมอยู่ในฝ่าเท้ามันเน่าหมดทั้งเท้า อันนี้ก็เหมือนกันการพูดอย่าง นี้พูดเพื่อถอดเพื่อถอน เพื่อแก้ไขไม่ได้พูดเพื่อความสกปรกรกรุงรัง เพื่อจะทำ�ให้โลก ล่มจมที่ไหน เพราะโลกได้ปฏิบัติตามนี้จะสงบร่มเย็นแล้วมันหยาบไปที่ตรงไหนให้พา กันพิจารณาซิ ธรรมเราพูดความจริงไม่ได้แล้วปล่อยให้แต่กิเลสตัวจอมปลอมมันเดิน ก้าวตีตลาดลาดเล ธรรมของจริงพูดแก้กันไม่ได้มีอย่างเหรอ กิเลสมันยังเป็นได้มันยัง มีได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้แล้วธรรมเข้าไปแก้กันตามชะตามล้างกันถือว่าเป็นความหยาบ ถ้าอย่างนั้นก็หมดศาสนาจะไม่มีเหลืออยู่ในใจของชาวพุทธเลย จะมีแต่ของจอมปลอม อย่างนี้แหละ พูดเรื่องประจบประแจงเลียแข้งเลียขาเลียปากเลียมือกันเหมือนหมา กิเลสมันชอบอย่างนั้น ถ้าเรื่องความจริงผิดเป็นผิดถูกเป็นถูกแนะนำ�สั่งสอนตามความ สัตย์ความจริงมันไม่ชอบ นี่โลกนี้กำ�ลังจะหมดของจริงแล้ว จะหมดในเรื่องความสงบสุข ร่มเย็นเป็นสุขต่อกันแล้วจะหมด จะมีตั้งแต่สิ่งเหล่านี้ล่ะเพ่นพ่านเต็มร้านตลาดทั่วไป วันนี้ได้กล่าวให้พี่น้องทั้งหลายทราบว่าศาสนาเป็นยังไง เรายังเห็นว่าเป็นของเล่นอยู่ เหรอ เวลานี้เรากำ�ลังจะเป็นเถ้าเป็นถ่านไปแล้วด้วยอำ�นาจของการฝ่าฝืนศาสนาของ พระพุทธเจ้า เพียงปาณาฯก็รักษาไม่ได้ อทินนาฯ ก็รักษาไม่ได้ กาเมสุมิจฉาจารฯ ก็ ยิ่งแหลกยิ่งเหลวไปทุกวันๆ มุสาฯ การโกหกพกลม ไอ้เรื่องผัวเมียนั่นแหละมันโกหกพกลม เรื่องอีหนูไอ้หนู นี่แหละมันไปไหนมาแล้วมันก็มาโกหกเมียมัน เมียถามว่าวันนี้ไปไหนมาทั้งวัน โอ๊ย วันนี้เราไปวัดไปฟังเทศน์ นู้นนะฟังซินะ ความจริงมันไปหาอีหนูทั้งวันนะ นี่มันเอานี้มา โกหกโลกโกหกเมียมัน คำ�โกหกอันนี้แหละเป็นความโกหกที่แสบที่สุดเลย นี่คือข้อมุสา ข้อสุราฯก็เหมือนกัน สุรา คือน้ำ�บ้า กินเข้าไปแล้วเป็นบ้าทุกคนเป็นของดีแล้วเหรอ แล้วเป็นยังไงชาวพุทธเราจึงชอบนักชอบหนาสิ่งเหล่านี้ ถ้าไม่ตั้งใจจะเป็นข้าศึกรบ พระพุทธเจ้าเป็นเทวทัตในเวลานี้ชาวพุทธของเรา รบพระพุทธเจ้าแล้วจะเป็นอะไร ไป ถ้าเราเป็นชาวพุทธตั้งใจประพฤติปฏิบัติตัวให้ดี เพียงศีล ๕ ข้อนี้ก็พออยู่พอกินแล้ว พวกเรานะ ไม่ต้องไปหาวิ่งเต้นเผ่นกระโดดวุ่นกันทั้งวันทั้งคืน ไม่มีเวลาได้ยับยั้งชั่งตัวได้ เลยล่ะ เพียง ๕ ข้อนี้ก็สมบูรณ์บริบูรณ์แล้ว นี่คือศีลธรรมพระพุทธเจ้าเอาไปปฏิบัติดูซิ 232


นะ ถ้าหากว่าปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วเรายังมีความเดือดร้อนวุ่นวาย ขณะที่เป็นอยู่เวลานี้และยิ่งๆ กว่านี้แล้วไปหาหลวงตาบัววัดป่าบ้านตาดนะ แล้วหลวง ตาบัวจะพาเดินขบวนทีเดียวแหละเป็นยังไง พาก่อม็อบเลยเชียว เป็นยังไงฟาดมัน แหลกเลย เหอ มันไม่เห็นใครปฏิบัตินะซิ มันบ่นอยู่อย่างนั้น มันไม่ได้เรื่องได้ราวอะไร หาเหตุหาผลไม่ได้ วันหนึ่งคืนหนึ่งอยู่ด้วยกันผัวกับเมียอยู่ด้วยกันไม่ได้ อยู่ด้วยความระแวงอยู่ด้วย ความสงสัย อยู่ด้วยความทะเลาะเบาะแว้งเต็มไปด้วยอันนี้แหละไม่ใช่ด้วยอะไร ที่กล่าว มาตะกี้นี้มันเป็นอะไร พูดอยู่เห็นอยู่มันเป็นบ้าหาอะไร ถ้าว่าผู้หญิงคนนี้มันไม่ครบ สมบูรณ์ผู้ชายคนนี้ไม่ครบสมบูรณ์ เอามันมาทำ�ไมผัวคนนี้มันไม่มีโคย เมียคนนี้ไม่มี หีเอามันมาทำ�ไม ครั้นเอามาแล้วไปหามาจากที่ไหนอีก ผู้หญิงคนนี้มันได้สิบหีมาจาก ที่ไหนมันก็เท่ากันนี่ ผู้ชายคนนั้นมันได้สิบโคยมาจากที่ไหนมันก็มีเท่ากันนั้นแหละ ถ้า นอกจากเราเป็นบ้าเสียอย่างเดียวเท่านั้น ต้องขออภัยพี่น้องทั้งหลายด้วยมันเป็นอย่าง นั้นจะให้ว่ายังไง นิมนต์หลวงตาบัวมาเทศน์ก็ต้องเทศน์ความจริงนะซิ เทศน์ความ ปลอมไม่ได้ เขาจะหาว่าหลวงตาบัวนี้ปลอมเวลานี้เราไม่ปลอม เวลานี้เทศน์ความจริง พระพุทธเจ้าเป็นอย่างไรสอนอย่างนั้น แล้วขอให้พี่น้องทั้งหลายนำ�ไปพินิจพิจารณา อย่าลืมเนื้อลืมตัวเวลานี้มันฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมมากแล้วมนุษย์เรา ศาสนาจะไม่มี ปรากฏในกิริยามารยาทในจิตใจของเราอีกแล้วล่ะ แล้วจะมีแต่ฟืนแต่ไฟเผาไหม้กันไป เรื่อยๆ แล้วโลกนี้จะอยู่กันได้อย่างไรถ้าต่างคนต่างเห็นของชั่วว่าเป็นของดี ของสกปรก โสมมว่าเป็นของสดสวยงดงามเป็นของสะอาดสะอ้านไปแล้วโลกนี้กำ�ลังจะล่มจม แล้วนะ จะไม่มีอะไรติดเนื้อติดตัวเด็กเกิดขึ้นมาภายหลังพ่อแม่พาดำ�เนินยังไงเด็กก็จะ ดำ�เนินตามพ่อแม่เพราะเรียนในหลักธรรมชาติ อยู่ในบ้านในเรือนก็ฟังแต่พ่อแม่ แล้ว วันไหนได้ยินแต่พ่อแม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ทะเลาะอะไรก็เรื่องเหล่านี้ล่ะสำ�คัญมากนะ แล้วลูกก็ฟังทุกวันๆ เอ่อ บ้านนี้ก็พูดบ้านนั้นก็บ่น บ้านนั้นพ่อแม่ก็ทะเลาะกันให้ลูกฟัง ทุกบ้านทุกเรือนเด็กก็ได้ยินสิ่งสกปรกโสมมมาฝังหัวใจ เวลาเรามาก็เป็นแบบนี้นี่ แล้ว ทีนี้เด็กก็เสียไปตามๆ กันหมดไม่มีอะไรดีเลย นี่โทษแห่งความไม่มีศาสนาอยู่ภายในใจ ไม่มีธรรมอยู่ภายในใจ มันก่อความฉิบหายวายปวงไปได้ทุกแห่งทุกหนนั่นแหละ ถ้าตรง กันข้ามต่างคนต่างมีศีลมีธรรมอยู่ในบ้านในเรือนเด็กก็ย่อมมีความร่มเย็นเป็นสุขพูด อะไรเป็นศีลเป็นธรรม ยอมรับกันผัวผิดยอมรับว่าผิดเมียผิดยอมรับว่าผิด แล้วแก้ตัว ของเราทุกคนๆ มันก็อยู่ด้วยกันได้คนเรา ทำ�ไมจะไม่ผิดพลาด ตั้งแต่หมา ๔ ขามันยัง 233


ล้มได้ ทำ�ไมมนุษย์จะผิดพลาดล้มไม่ได้ล่ะ เมื่อล้มแล้วแก้ตัวพินิจพิจารณาแก้ไขใหม่มัน ก็อยู่ด้วยกันได้ นี่เรียกว่าศีลธรรม ให้พากันนำ�ไปประพฤติปฏิบัติ อย่าอยู่เฉยๆ ว่า บาปก็ไม่มีความเชื่อ หน้าด้านยิ่ง กว่าอะไรหน้าหมามันก็ไม่ด้าน เฮอะ เท่านั้นมันก็กลัวแล้วนะ อันนี้มันไม่กลัวนะ ธรรม พระพุทธเจ้าประกาศกังวานเท่าไรมันก็ไม่กลัวมันเห็นเป็นของเล่นไปได้ ศาสนาเลย กลายเป็นของเล่นไปแล้วนะเวลานี้ แต่ที่มันเป็นของจริงเสาะแสวงหาจริงๆ เอาเป็น เอาตายเข้าสู่ก็คือเรื่องกิเลสตัณหาอันนี้สำ�คัญมากที่สุดเลย อันนี้เป็นของจริงขึ้นแทน ของจริงคือธรรมแล้วนะเวลานี้ ของปลอมเมื่อมันมีมากๆ มันจะกลายเป็นความจริงขึ้น มามันทำ�ไปได้หมด แหลกไปได้หมดเราจะทำ�ยังไงในตัวของเรา วันนี้เทศน์มาถึงศีลห้า ถึงไหนก็ไม่รู้แหละ หลวงตาเทศน์ไปตรงไหนขาดตรงไหน ก็ให้ทิ้งไปเสีย ให้ฟังเอาสิ่งที่มันพอเหมาะพอดี นี่พูดถึงเรื่องศีลเรื่องธรรมประจำ� ชาวพุทธประจำ�ฆราวาสของเรา พระก็เหมือนกันเรื่องของ พระตั้งใจประพฤติปฏิบัตินะ ข้าวเขาก็ให้กิน ที่อยู่ที่ กินที่หลับที่นอนไม่มีใครได้ที่อยู่ที่หลับที่นอนดีกว่า พระ ครั้งพุทธกาลท่านไม่ได้มีที่หลับที่นอนดีอะไร เลย พระพุทธเจ้าพอบวชกุลบุตรสุดท้ายภายหลัง แล้วก็ รุกฺขมูลเสนาสนํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย บรรพชาอุปสมบท แล้วให้เข้าไปอยู่ตามรุกขะมูลร่มไม้ ในป่าใน เขา ตามถํ้าเงื้อมผาป่าช้าป่ารกชัฏ แล้ว ทำ�ความอุตส่าห์พยายามบำ�เพ็ญภาวนา อยู่ในสถานที่นั้นตลอดชีวิตเทอญ นั่น ท่านไม่ได้บอก นั่น หอปราสาทราช มณเฑียรเท่านั้นชั้นเท่านี้ชั้น ฟาดให้ มันหรูหราแข่งโลกเขาคับบ้านคับ เมืองแต่ศีลธรรมแห้งผากภายในใจ อย่าทำ�อย่างนั้นหนาพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้สอนอย่างนั้น ขอให้ พ ระลู ก พระหลาน 234


ทั้ ง หลายได้ นำ � ไปประพฤติ ป ฏิ บั ติ ศาสนาเวลานี้ มั น ยั ง เหลื อ แต่ ผ้าเหลืองแล้วนะ หัวโล้นๆ ใคร โกนก็ได้ ผ้าเหลืองใครครองก็ได้ เอาไปครองลิงมันก็เป็นผ้าเหลือง ขึ้นมาในลิง แต่ลิงมันก็เป็นลิงอยู่ อย่างนั้นล่ะ นี่ให้ตั้งใจปฏิบัติแล้ว เราจะได้อาศัยความร่มเย็นเป็นสุข จากการประพฤติปฏิบัติดีจากหลัก ธรรมของพระพุทธเจ้านี้แล เป็นที่ ร่มเย็นแก่ตัวของเราด้วย ไปที่ไหน ก็น่ากราบไหว้บูชาเห็นพระก็เป็น ขวัญตาขวัญใจ อยากกราบอยาก ไหว้อยากบูชาอยากถวาย มีอะไร ไม่เสียดายมนุษย์เราเป็นชาวพุทธ แล้วมีแต่อยากได้บุญได้กุศลอย่าง เดียวนี่คือความเป็นคนดี ไปที่ไหน ก็เป็นแม่เหล็กดึงดูดไปหมด นั่น วัน นี้เทศนาว่าการก็เห็นว่าพอสมควร เทศน์ ไ ปได้ แ ค่ น ี ้ แ หละ เทศน์ มากกว่านี้เดี๋ยวจะลงไม่เป็น เดี๋ยว นะโมทั้งวันก็จะจบไม่เป็นล่ะเพราะ มันหลงหน้าหลงหลัง จึงขอความ สวัสดีจงมีแก่บรรดาพี่น้องทั้งหลาย โดยทั่วกันเทอญ

235


ในรุ่งเช้าของวันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ณ ชั้นบนศาลาวัดป่าบ้านตาด หลังฉันจังหันเสร็จ

องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านได้พูดเกี่ยวกับเรื่องการได้ไปร่วม งานพระราชทานเพลิงสรีระสังขาร หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร “งานท่านอาจารย์มหาบุญมี เมื่อวานนี้ คนมากจริงๆ รถจนหาที่จอดไม่ได้มากจริงๆ คนเป็นหมื่นๆ นะ ไม่ใช่น้อยๆ พระในศาลา หลังนั้นใหญ่ๆ นะ มีแต่พระแน่นอัดแน่นหมด โยมเข้าไม่ได้ นั่งในศาลาเต็มหมด และ ข้างนอกยังมีพระ ดูเหมือนประมาณพันกว่า ส่วนประชาชนนั้นเป็นหมื่นๆ หลายหมื่น หรือจะเป็นแสนก็ไม่รู้ เมื่อวานนี้เราก็พอวางดอกไม้เสร็จเราก็เลยมา เพราะการเผาจริง ก็คงจะตอนค่ำ�ตอนดึกโน้นล่ะมั่ง ท่านอาจารย์มหาบุญมี ท่านก็เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติ ชอบ เคยอยู่ด้วยกันมา สมัยที่เราอยู่มุกดาหาร เคยจำ�พรรษาด้วยกัน” ลูกศิษย์ ถาม? ท่านอยู่วัดไหนครับ หลวงตามหาบัว ตอบ ท่านก็อยู่หลายวัดเหมือนกันนะ แต่ระยะนี้ท่านอยู่ ท่าน เสียที่วัดป่าวังเลิง เป็นวัดที่ท่านเสียนั่นแหละ ที่เผาศพท่าน เมื่อวานนี้ไป คนมากจริงๆ ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านเป็นพระเรียบๆ ไม่บ้งเบ้งๆ เหมือนหลวงตาบัว นี่ มันบ้งเบ้ง พอตีตีเลย หลบไม่ทัน อันนั้นท่านเรียบๆ ท่านเรียบๆ มาแต่ไหนแต่ไร เคย สนิทสนมกันมานานแล้ว ท่านก็เรียนหนังสือเหมือนกันนี้แหละ ออกจากนั้นท่านก็ออก ปฏิบัติ จนกระทั่งท่านมรณภาพไป คนจึงมากมาย ลูกศิษย์ของท่านมาก... 236


พิธีเก็บอัฐิ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

237


การใช้สอยปัจจัยสี่ ของ องค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร


การใช้สอยปัจจัยสี่นั้น องค์หลวงปู่มหาบุญมีท่านใช้อย่างประหยัดมัธยัสถ์เสมอ เช่น ผ้าต่างๆ ของท่านจะปะชุนแล้วปะชุนอีก ผ้าอาบน้ำ�บางผืนเก่าจนขาดรุ่งริ่งท่านก็ ไม่ยอมทิ้ง ยังใช้นุ่งอยู่ทั้งที่ผ้าบริขารมีเยอะมากในวัด เวลากลางคืนท่านจะจุดตะเกียง โป๊ะเล็กๆ หรี่ลงเสียจนจะไม่มีแสง ท่านไม่ยอมใช้ของสุรุ่ยสุร่ายฟุ่มเฟือยเกินความ จำ�เป็น เพื่อให้เป็นคติตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ ที่ใช้ของไม่ประหยัด เช่น สบู่ ใช้แล้วทิ้งไว้ ตากแดดตากฝน ไม่เก็บคืนไว้ในกล่องตามเดิม ท่านคอยตรวจตราดูแลความเรียบร้อย ต่างๆ ของพระเณรด้วยความเมตตา เรื่องรองเท้า การใช้รองเท้าที่พระเณรใช้นั้น องค์หลวงปู่ท่านจะไม่ให้ใช้รองเท้าหนัง เรื่องผ้าไหม ถ้าหากเป็นผ้าทำ�ด้วยไหมท่านไม่ให้ใช้ เรื่องประคดเอว สายรัดประคดที่องค์หลวงปู่ใช้อยู่ประจำ�เมื่อเกิดชำ�รุดหรือขาด ท่านจะนำ�มาปะแล้วปะอีก ชุนแล้วชุนอีก จนไม่สามารถมีที่จะปะชุนต่อไปได้อีก ท่าน ใช้ของอย่างประหยัดมัธยัสถ์ มักน้อย สันโดษ กานํ้า แก้วน้า นำ�มาจากวัดป่าภูทอง ห้ามเปลี่ยนเด็ดขาด ถึงเมื่อเวลากานํ้าเกิด การชำ�รุดเสียหาย องค์หลวงปู่ท่านก็จะให้ลูกศิษย์ซ่อมแล้วซ่อมอีก พระอาจารย์เคน เป็นผู้ซ่อม ถ้าเป็นคนอื่นซ่อมก็ไม่ค่อยดีไม่ทนทาน การขัดกานํ้า เวลาขัดกานํ้าห้ามไม่ใช้ผงซักฟอก หรือ นํ้ายาล้างจาน ส่วนมาก ท่านจะสอนให้ลูกศิษย์ใช้สบู่หรือใบขนุนหรือขี้เถ้า ล้างกานํ้า ขัดล้างออกให้สะอาด เพราะถ้าหากล้างไม่ดีมันจะมีอามิสปรนเปื้อน เป็นอาบัติทุกกฏ และเป็นสูตรโบราณ ตามแบบครูบาอาจารย์พาดำ�เนินมา ประโยชน์และข้อดีก็คือ ช่วยทำ�ให้ภาชนะสะอาด หมดจด ไม่มีกลิ่นคาวอาหารหรืออามิสตกค้างอยู่ในภาชนะ วัสดุที่ใช้ล้างก็หาได้ไม่ยากด้วย การล้างแก้วนํ้า ถ้าหากลูกศิษย์คนไหนไปล้างแก้วน้ำ�หลังจากที่ฉันเสร็จ ถ้า หากว่าแก้วน้ำ�นั้นจะสะอาดหรือไม่สะอาด หลวงปู่มหาบุญมีท่านสามารถรู้ได้โดยไม่ ยากเลย ขนาดแค่ได้กลิ่นนิดๆ หน่อยๆ หลวงปู่ท่านก็รู้แล้วว่าไม่สะอาด เพราะฉะนั้น ลูกศิษย์ในอาวาสคนไหนจะทำ�พอให้ผ่านๆ ไปหรือทำ�อะไรแบบมักง่ายไม่ได้เด็ดขา 239


เครื่องใช้ประจำ�วัน หลวงปู่มหาบุญมี เปี่ยมไปด้วยเมตตาธรรมและการแผ่กุศล คุณงามความดี ยึด หลักของสมณเพศอย่างสม่ำ�เสมอ ด้วยเหตุนี้เครื่องใช้ประจำ�วันของท่านจึงมีเฉพาะสิ่ง ที่จำ�เป็นในการดำ�รงชีพเท่านั้น วัตถุต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ท่านตัดวัตถุทั้งหลาย ทั้งปวงออกจากบ่วงของกิเลสจนหมดสิ้น ซึ่งศิษยานุศิษย์ได้นำ�มาเก็บรวบรวม และจัด แสดงไว้เป็นอนุสรณ์บูชา

หนังสือเกี่ยวกับธรรมะ

แม้หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร จะเป็นพระปฏิบัติกรรมฐานอยู่ตามป่าเขาก็ตาม แต่ ท่านก็มิได้ละเว้นที่จะศึกษาหนังสืออื่นๆ เช่น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายศึกษากัน อีก ทั้งยังเก็บรักษาหนังสือที่สำ�คัญไว้ด้วยความเคารพระมัดระวังอย่างยิ่ง หลวงปู่มหาบุญ มี ท่านเคยอธิบายให้สานุศิษย์ฟังอยู่เสมอว่า ทุกสิ่งอย่างมีหนังเป็นสื่อ เช่น คนเราเมื่อ มองเห็นหนังก็รู้ว่าเป็นคน ม้าเมื่อมองเห็นหนังก็รู้ว่าเป็นม้า ช้างเมื่อมองเห็นหนังก็รู้ว่า เป็นช้าง ทุกสิ่งทุกอย่างจึงมีหนังเป็นสื่อ ถ้าจะอ่านให้ถูกต้องอ่านว่า “หนังสื่อ”

240


241


242


ศึกษาภาษาจีน ของ องค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

243


244


245


246


247


248


249


250


251


252


253


254


255


256


257


258


ศึกษาภาษาอังกฤษ ของ องค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

259


260


หมวดบริขาร บาตรของหลวงปู่มหาบุญมี (หลวงปู่ปัญญา เป็นผู้ถวาย) บาตรของหลวงปู่มหาบุญมี ที่ท่านใช้อยู่เป็นประจำ� ผู้ ถวายก็คือ หลวงปู่ปัญญา ปัญญาวัฑโฒ มีขนาด 9 นิ้ว ส่วน บริขารอื่นๆ เช่น จีวร หรือของใช้อะไรก็ตาม ถ้าหากเป็นของที่ หลวงปู่ปัญญา ท่านฝากมาถวายแด่หลวงปู่มหาบุญมี ท่านก็มัก จะใช้ให้ประจำ� เพราะท่านเมตตาหลวงปู่ปัญญาอย่างมาก โดยปกติแล้วหลวงปู่มหาบุญมี ท่านจะไม่เปลี่ยนบริขาร อะไรง่ายๆ ถ้าไม่จำ�เป็นจริงๆ นี่ก็เพราะอุปนิสัยส่วนตัวและปฏิปทาของท่านเป็น ผู้ประหยัด มัธยัสถ์ ในการใช้เครื่องบริขารต่างๆ บาตร มีพระพุทธานุญาตไว้ ๒ ชนิด คือ ๑.บาตรดินเผา ๒.บาตรเหล็ก การใช้ประโยชน์ ๑. ใช้รับอาหารเวลาบิณฑบาต ๒. ใช้ใส่อาหารเวลาฉัน ๓. ใช้ใส่บริขารเวลาเดินทาง ๔. ใช้เก็บรักษาบริขาร เวลาฝนตก ผ้าสังฆาฏิ ใช้ห่มกันหนาว และใช้พาดบ่าในโอกาส ที่ต้องทำ�สังฆกรรมต่างๆ ผ้าจีวร ใช้สำ�หรับห่ม ผ้าสบง ใช้สำ�หรับนุ่ง ถุงบาตร ใช้สำ�หรับใส่บาตร และบริขารจำ�เป็นในเวลาเดิน ทาง ผ้าไตรจีวร หมายถึง ผ้า ๓ ผืน ประมาณของไตรจีวร ๑. จีวร ๙ x ๖ คืบพระสุคต หรือ ๖ x ๔ หรือ ๑ ศอกของผู้ใช้ ๒. สบง ๒.๕๐ x ๙๐ เมตร 261


๓. สังฆาฏิ ใช้ขนาดเดียวกับจีวร แต่เย็บเป็น ๒ ชั้น โคมไฟ โคมไฟ เรวโต รองเท้า กลด เจ้าคุณพระธรรมไตร โลกาจารย์(รักษ์ เรวโต) เป็นผู้นำ�มาถวายหลวงปู่มหาบุญมี การใช้ประโยชน์ ๑. ใช้แสงสว่างเวลาประชุม ๒. ใช้แสงสว่างเวลาเดินจงกรม โดยจุดเทียนไขไว้ในโคม กลด ซึ่งทำ�ด้วยไม้ลาน ไม้ไผ่บ้าง มุงด้วยผ้าเคลือบน้ำ�มันยางบ้าง เคลือบด้วยขี้ผึ้งบ้าง เพื่อกันฝนในสมัยก่อน แต่ในสมัยปัจจุบันมุงด้วยผ้าพลาสติกหรือ มุงด้วยผ้าร่ม การใช้ประโยชน์ ๑. ใช้กันแดดและฝน แทนร่มเวลาเดินทาง ๒. ใช้กางแทนมุ้ง มุ้งกลด ใช้ผ้าฝ้ายไนลอน หรือผ้าร่มชนิดบาง การใช้ประโยชน์ ใช้แทนมุ้ง โดยการกางกลดแล้วผูกมุ้งไว้กับกลด ผ้าปูที่นอน การใช้ประโยชน์ สำ�หรับปูนอน เพื่อไม่ให้เสนาสนะสกปรก จากมลทินร่างกาย มีพระพุทธานุญาต ให้มีไว้ใช้ อังสะ การใช้ประโยชน์ ใช้สวมใส่เป็นชุดด้านในร่างกาย เพื่อไม่ให้เปลือยตัวเปล่า เวลาอยู่ใน ที่อยู่ หรือไม่ได้ห่มจีวร ผ้าอาบน้ำ�ฝน มีพระพุทธานุญาต มีไว้สำ�หรับอาบน้ำ� มีจำ�กัดขนาดไว้ ให้ใช้ขนาดยาว ๖X๒ คืบพระสุคต การใช้ประโยชน์ ใช้นุ่งอาบน้ำ� นุ่งแทนสบง เวลาอยู่คนเดียวในที่อยู่ ผ้านิสีทะนะ มีพระพุทธานุญาต ให้ใช้ขนาด ๒x๑ ครึ่งคืบพระสุคต ต่อชายออกด้าน ละ ๑ คืบ ใช้ปู่นั่งเพื่อไม่ให้เสนาสนะเปรอะเปื้อน หรือนั่งทับฝุ่นละออง เป็นบริขาร จำ�เป็น มีพระพุทธานุญาตไว้ห้ามอยู่ปราศจากผ้านิสีทะนะเกินกว่า ๔ เดือน ธัมกรก ใช้สำ�หรับกรองน้ำ� ซึ่งเป็นบริขารจำ�เป็นประจำ�ของพระภิกษุ 262


ธรรมปฏิสันถาร ในด้านธรรมปฏิสันถาร องค์หลวงปู่มหาบุญมีท่านมีความเมตตาสูงต่อคณะ ศรัทธาญาติโยมที่มาทำ�บุญสร้างกุศล รักษาศีล และปฏิบัติธรรมกับองค์ท่าน ท่าน จะเมตตาอบรมธรรมะ พร้อมทั้งเล่าเรื่องประสบการณ์ออกเที่ยวธุดงค์และ ด้านการภาวนาของท่านให้ฟัง บางครั้งก็เล่าเรื่องนิทานชาดกก็มี ท่านจะดูแลเอาใจใส่ เป็นอย่างดีเกี่ยวกับญาติโยมที่มารักษาศีลและปฏิบัติธรรม ทั้งที่พักและเรื่องอาหาร การกิน ทุกคณะที่มาบำ�เพ็ญภาวนา ต่างพากันประทับใจในการต้อนรับปฏิสันถาร ว่า ได้รับความอบอุ่น สบายจิตสบายใจมากเมื่อมาบำ�เพ็ญบุญและพักปฏิบัติธรรมที่วัด เมื่อถึงกำ�หนดผู้มาปฏิบัติธรรมจะลาท่านกลับ ท่านจะเทศน์อบรมธรรมส่งท้ายเกือบ ทุกครั้ง ผู้ที่เคยมาแล้วก็มักจะกลับมาอีก พร้อมกับแนะนำ�ผู้สนใจปฏิบัติธรรมและชอบ แสวงบุญ มาฝากตัวขอเป็นลูกศิษย์ท่านอยู่เรื่อยๆ ตราบจนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่ง สังขารของท่าน 263


ปฏิปทาด้านข้อวัตรปฏิบัติ หลวงปู่มหาบุญมี ลักษณะสีผิวดำ�แดง รูปร่างสันทัด ไม่สูงไม่ต่ำ� อุปนิสัยของท่าน คือชอบสันโดษ ท่านจะพูดเพียงครั้งเดียว จะไม่พูดซ้ำ�ซากร่ำ�ไรหลายครั้ง หากว่า ลูกศิษย์คนไหนจะน้อมนำ�เอาคำ�สอนของท่านไปปฏิบัติตามก็จงจำ�ให้ดี ปฏิปทาด้านข้อวัตรปฏิบัติขององค์หลวงปู่มหาบุญมีนั้น เป็นเช่นเดียวกันกับ ปฏิปทาของครูบาอาจารย์สายกรรมฐานทั้งหลาย คือองค์ท่านจะปฏิบัติตนให้ลูก ศิษย์ดูเป็นตัวอย่างเสมอ องค์หลวงปู่ท่านสอนพระ เณร ห้ามไม่ให้อ่านหนังสือพิมพ์ ดูโทรทัศน์ ปฏิปทาขององค์หลวงปู่ จะไม่ขอของจากใคร องค์หลวงปู่ท่านสอนลูกศิษย์ว่า “หากว่าใครปฏิบัติได้เอกลาภจะเกิดขึ้นเอง” ในแต่ละวันโดยเฉพาะช่วงข้อวัตรในเวลาตอนเย็น เช่น กวาดใบไม้ ขัดถูศาลา (ใช้ กะลามะพร้าว) ทำ�ความสะอาดเสนาสนะต่างๆ ภายในวัดเสร็จเรียบร้อย พระเณรในวัด จะพร้อมใจกันมาช่วยกันสรงนํ้าถวายแด่องค์หลวงปู่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ�มิได้ขาดและ นี่ก็คืออาจาริยวัตรอีกข้อหนึ่งซึ่งพระลูกศิษย์ได้ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี พอหลังจาก สรงน้ำ�องค์หลวงปู่เสร็จแล้ว ส่วนมากท่านก็มักจะเทศน์อบรมสั่งสอนในเวลานี้ ธรรมที่ องค์หลวงปู่มักจะสอนศิษย์อยู่เรื่อยๆ และจำ�ได้จนขึ้นใจ ได้แก่เรื่อง การถือธุดงค์ ๑๓ ข้อ และท่านก็มักจะถามพระลูกศิษย์ว่า บวชเพราะอะไร พระแต่ละองค์ท่านก็จะตอบ หลวงปู่ไปตามเจตนาของตนเองว่า บวชเพราะอยากได้บุญกุศลบ้าง บวชเพราะอยาก จะได้รับใช้อุปัฏฐากครูบาอาจารย์บ้าง บวชเพราะฯลฯ มีการบวชหลายแบบหลาย เจตนารมณ์แตกต่างกันไป ดังจะได้ยกมาอธิบายดังนี้ 264


บวช เพื่ออะไร การบรรพชา อุปสมบท นั้นมีหลายแบบ ตามความเข้าใจของผู้มาขอบวช แต่ละคนว่าบวชแล้วได้อะไร บวชทำ�ไม บวชเพราะเหตุผลอะไร บวชเพื่ออะไร ซึ่ง มีหลายกรณีอาทิเช่น “บวชรัก บวชลอง บวชครองประเพณี บวชหนีสงสาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน บวชหนีอกหัก บวชหลักลอย บวชคอยงาน บวชสังขารเสื่อม บวชเพราะเมียไล่ไปบวช” ถ้าหากผู้ที่จะขอบวชในยุคปัจจุบันนั้น ท่านจะบวชด้วยจุดประสงค์และเหตุผล อะไร เป็น ๑ ในหลายแบบนี้หรือเปล่า? เพราะการบวชนั้นมีหลายประเภท แต่ละ อย่างหมายถึงอะไร? บวชรัก คือ? บวชลอง คือ? บวชครองประเพณี คือ? บวชหนีสงสาร คือ? บวช ผลาญข้าวสุก คือ? บวชสนุกตามเพื่อน คือ? บวชหนีอกหัก คือ? บวชหลักลอย คือ? บวชคอยงาน คือ? บวชสังขารเสื่อม คือ? บวชเพราะเมียไล่ไปบวช คือ? หรือ เราจะบวชเพราะรักษาคํ้าชูต่ออายุพระศาสนาให้เด่นดำ�รงยืนยาวตลอดไป การบวชเป็ น อุ บ ายเว้ น จากการเบี ย ดเบี ย นกั น ทั้ ง ทางกายและทางวาจา จุดมุ่งหมายของกานบวชเพื่อศึกษาหลักธรรมเพื่อนำ�มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ ตนเองและสังคม ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีไว้ให้ศึกษานำ�มาปฏิบัติ ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมแลย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องน่าเสียดายที่คนส่วน มากไม่เข้าใจว่าการบวชที่แท้จริงคืออะไร เลยทำ�ให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน จากความเป็นจริง (สัทธรรมปฏิรูป) การที่เราจะเปลี่ยนความเชื่อความเข้าใจที่ไม่ ถูกต้องเป็นเรื่องยากแต่ถ้าช่วยให้บุคคลที่เข้าใจผิด (มิจฉาทิฐิ) ให้เข้าใจถูกต้อง (สัมมาทิฐิ) นับว่าเป็นสิ่งประเสริฐหาได้ยาก การให้ที่ยิ่งใหญ่คือการให้อภัย การ ให้ที่ประเสริฐคือการให้ธรรมะ การบวชเพื่อตั้งมั่นอยู่ในพระศาสนานี้ นับว่าเป็นของยาก เป็นของลำ�บาก ดังนั้น จึงเหมาะแก่ผู้ที่มีศรัทธามีปัญญา เห็นคุณค่าแห่งการพ้นทุกข์เป็นความ สำ�คัญในเบื้องต้นทีเดียว ข้อนั้นเพราะเหตุใด? ตอบว่า เพราะการจะรักษาพระธรรมวินัยไว้ได้นั้น นับเป็นของยาก ไม่น่า รื่นรมย์ บุคคลจึงต้องมีศรัทธาต่อคำ�สอนของพระพุทธองค์ไว้เป็นพื้นฐานรองรับ จิตใจ เพราะการบวชเท่ากับการละออกจากกาม ต้องละจากเรือนที่คุ้นเคย 265


ละออกจากหมู่ญาติและมิตรสหาย ละออกจากความสะดวกสบาย ต้องละ ออกจากทรัพย์สิน ต้องละออกจากสตรีอันเป็นเรื่องทำ�ได้ยาก ต้องอยู่ภายใต้ กรอบบังคับของพระวินัยอันจะก่อให้เกิดความอึดอัดมากมาย ดังนั้น ผู้ที่มั่นคงด้วยศรัทธาเท่านั้น จึงจะฝ่าฟันความยากลำ�บากเหล่านี้ไปได้ เพราะปรารภเพื่อความพ้นจากทุกข์เป็นสำ�คัญ ด้วยเหตุนี้ จึงนับว่า การบวชนั้น ไม่ใช่ของง่าย ท่านจึงจัดบุคคลที่จะเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนานี้ มี ๕ ประเภท ดังนี้ คือ ๑ ปัญญาบรรพชิต ได้แก่ ผู้ที่มากด้วยปัญญา เห็นภัยเห็นโทษของชีวิตที่ต้อง เวียนตายเวียนเกิด เวียนมารับทุกข์ไม่จบไม่สิ้น ท่านย่อมเห็นหนทางแห่งบรรพชิต ว่าเป็นหนทางอันเกษมและปลอดโปร่ง เพราะเป็นเหตุให้ได้อยู่ใกล้กุศล มีศีล สมาธิ ปัญญา และทำ�ให้ประพฤติพรหมจรรย์สะดวกยิ่งนัก การอยู่เป็นฆราวาส ย่อมเป็นไปด้วยความคับแคบ เดือดร้อน เพราะต้องขวนขวายมากมายและอยู่ ใกล้กับบาปอกุศลมากมาย จึงตัดสินใจปลงผมห่มผ้าเหลืองเข้าบวช ปฏิบัติตาม พระวินัย เจริญด้วยจตุปาริสุทธิศีล ปรารภที่จะพ้นจากทุกข์เป็นสำ�คัญ นี่เรียกว่า “ปัญญาบรรพชิต” ๒ ศรัทธาบรรพชิต ได้แก่ ผู้ที่บวชด้วยความเลื่อมใส ศรัทธาในคุณของ พระรัตนตรัย เชื่อกรรมเชื่อผลของกรรม เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็น ของตน และข้อสำ�คัญคือเชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า คำ�สอน ของพระพุทธองค์เป็นทางให้พ้นจากทุกข์ได้จริงจึงออกบวช เพื่อจะได้ปฏิบัติธรรม ให้พ้นจากทุกข์เรียกว่า “ศรัทธาบรรพชิต” บวชเพราะเชื่อในคำ�สอนของพระพุทธ องค์ ที่สอนให้ละชั่วทำ�ดี ทำ�จิตให้บริสุทธิ์ เพราะการจะพ้นจากกิเลสพ้นจากทุกข์ ได้ก็อยู่ที่ต้องทำ�ความเพียรละกิเลสด้วยตนเองเท่านั้น ๓ ภยาบรรพชิต ได้แก่ ผู้ที่เข้ามาบวชเป็นพระ เพราะกลัวความลำ�บากในการ เลี้ยงชีวิตที่ต้องทำ�มาหากินเหนื่อยยาก เพราะเห็นว่าการบวชไม่ต้องทำ�มาหากิน ก็ทำ�ให้มีกินมีใช้ มีที่อยู่สบาย คือ ข้าวไม่ต้องซื้อ บ้านไม่ต้องเช่า จึงได้ออกบวช บวชเข้ามาแล้วก็ไม่ศึกษาธรรม ไม่ปฏิบัติธรรม มุ่งหาแต่ความสุขสบาย มัวแต่ กินๆ นอนๆ เพราะกลัวความทุกข์ยากลำ�บากเรียกว่า “ภยาบรรพชิต” เป็นการ บวชเพื่อสะสมกิเลสทำ�ลายตัวเองให้เป็นทุกข์ในอนาคต ๔ ตัณหาบรรพชิต ได้แก่ ผู้ที่เข้ามาบวชด้วยอำ�นาจของ ตัณหา มานะ และ 266


ทิฎฐิ เพราะเห็นว่าการบวชจะเป็นเหตุทำ�ให้สมบูรณ์ด้วยลาภสักการะ มีคน เคารพนับถือกราบไหว้บูชา มีการอยู่ดีกินดี ตลอดทั้งมีชื่อเสียงเกียรติยศและ มีสิทธิเสรีภาพยิ่งกว่าคนธรรมดา จึงพอใจในการบวชเพื่อเข้ามาแสวงหาลาภ สักการะเป็นต้น ไม่สนใจศึกษาเล่าเรียนปริยัติไม่ปฏิบัติธรรม แต่ทำ�เป็นสนใจใน ธรรมในคำ�สอนเพื่อที่จะแสวงหาลาภสักการะชื่อเสียง เป็นเหตุให้ล่วงพระธรรม วินัยอันดีงาม ประพฤติแต่บาปอกุศล หลอกลวงให้คนอื่นเห็นผิด “การบวชอย่าง นี้เป็นภัยแก่ตัวเองด้วยเป็นภัยแก่พระศาสนาด้วย” ที่ว่าเป็นภัยแก่ตัวเอง คือ เป็นทางให้ตัวเองต้องไปสู่ทุคติได้รับทุกข์แสนสาหัส และที่ว่าเป็นภัยแก่พระศาสนา คือทำ�ลายความดีในพุทธศาสนาให้หมดไป เพราะ บุคคลเหล่านี้จะขัดขวางผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ และสนับสนุนแต่ผู้ที่ปฏิบัติ เหมือนกับตน เป็นการทำ�ลายตัวเองให้เป็นทุกข์เดือดร้อนเพราะต้องไปรับผลของ กรรมที่ตนกระทำ�เองต่อไปเบื้องหน้า ๕ โมหบรรพชิต ได้แก่ ผู้ที่บวชด้วยความหลง เพราะไม่รู้เหตุผลความจริงว่า การบวชเพื่อเป็นการรักษาศีล เจริญสมาธิ เจริญปัญญา เพื่อกำ�จัดกิเลสให้หมด ไป จึงไม่ได้บวชด้วยความเลื่อมใส ไม่ได้บวชเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ไม่ได้บวชเพราะ เห็นทุกข์โทษภัยของวัฏฏะ ไม่ได้บวชเพราะเห็นประโยชน์ในการบวชเพื่อขุด เกลากิเลสให้ลดลง หากแต่บวชโดยเป็นประเพณี หรือถูกชักชวนกระตุ้นให้บวช เป็นการบวชเพื่อตอบแทนคุณบิดามารดา จึงได้บวช ครั้นบวชแล้วก็ไม่ได้สนใจศึกษาธรรมปฏิบัติธรรม ปล่อยวันเวลาให้ล่วงไป เปล่าๆ โดยไร้ประโยชน์ ขาดสมณสัญญาว่าตนเป็นนักบวช ไม่มีการละลาย บาป เกรงกลัวต่อบาป เป็นฆราวาสเคยประพฤติตนอย่างไรก็ประพฤติอย่างนั้น หาความสนุกสนานเพลิดเพลินไปวันหนึ่งๆ ไม่ได้เจริญศีล สมาธิ ปัญญาให้เกิดขึ้น ในตน ไม่แสวงหาคุณธรรมให้แก่ตน มีแต่สะสมกิเลสให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้นทุกวัน การ บวชอย่างนี้เรียกว่า “โมหบรรพชิต” เป็นการบวชเพื่อทำ�ลายตัวเองให้ต้องเป็น ทุกข์ในอนาคตไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น ท่านผู้ที่กำ�ลังจะบวช หรือบวชอยู่แล้ว จงพิจารณาดูว่า ท่านเองปรารภ ที่จะเป็นนักบวชแบบไหน จึงจะชื่อว่า สมกับเป็นสมณะนักบวชในพระศาสนานี้ ตามพระประสงค์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง 267


ในช่วงเวลาตอนเย็น หลวงปู่มหาบุญมี ท่านมักจะให้พระ-เณรอุปัฏฐากอ่าน หนังสือธรรมให้ฟัง หรือเป็นคอลัมน์ในหนังสือต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องพุทธศาสนา โดย นักเขียนมีชื่อหลายท่าน การรักษาศีลโดยเคร่งครัด องค์หลวงปู่จะเทศน์อบรมและควบคุมปฏิปทาด้าน การรักษาศีลของลูกศิษย์ของท่านอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งดุด่าว่ากล่าวเมื่อลูกศิษย์ ทำ�ผิดพลาดด้านศีล หรือไม่ให้ประมาทมองข้ามพระวินัยข้อเล็กๆ น้อยๆ ตัวอย่างเช่น มีพระลูกศิษย์ต้องการจะพักผ่อนในเวลากลางวัน เพราะร่างกายรู้สึกเหน็ดเหนื่อยเมื่อย ล้าจากการทำ�ข้อวัตร หากไม่ปิดประตูกุฏิให้มิดชิดเรียบร้อย หรือลืมสติเปิดประตูเอา ไว้แล้วเผลอหลับไป เมื่อองค์หลวงปู่ท่านทราบเรื่อง หรือเวลาท่านเดินตรวจภายในวัด ไปเจอ ท่านก็จะดุพระองค์นั้นทันที (หากจะพักผ่อนตอนกลางวันในกุฏิ ให้ปิดประตู ให้เรียบร้อย ความหมายของท่านคือ จะฝึกให้เป็นคนมีสติ ไม่ประมาท รู้จักใช้ปัญญา พิจารณาในการกระทำ� ให้เป็นคนละเอียดรอบคอบ) (เรื่องภิกษุเปิดประตูจำ�วัด มีวินิจฉัยอธิบายความดังนี้ ) สองบทว่า ทิวา ปฏิสลฺลิยนฺเตน ความว่า ผู้จะพักจำ�วัดในกลางวัน. พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๘๕๗ หลายบทว่า ทฺวารํ สํวริตฺวา ปฏิสลฺลิยิตุ ความว่า เพื่อให้ปิดประตูก่อน จึงจำ�วัดได้. ก็ในเรื่องเปิดประตูจำ�วัดนี้ ในพระบาลีพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ปรับ อาบัติไว้ว่า เป็นอาบัติชื่อนี้ แม้ก็จริง ถึงกระนั้น พระเถระทั้งหลายก็ปรับเป็น ทุกกฏแก่ภิกษุผู้ไม่ปิดประตูเสียก่อนพักผ่อน เพราะเมื่อเรื่องเกิดขึ้น เพราะโทษ ที่เปิดประตูนอน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! เราอนุญาต ให้ภิกษุผู้จะพักผ่อนในกลางวัน ปิดประตูเสียก่อนจึงพักผ่อนได้. จริงอยู่ พระเถระทั้งหลาย มีพระอุบาลีเถระเป็นต้น ทราบพระประสงค์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย จึงได้ตั้งอรรถกถาไว้. ก็คำ�ที่ว่า เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ ผู้ไม่ปิดประตูเสียก่อนพักผ่อน นี้สำ�เร็จแล้วแม้ด้วยคำ�นี้ว่า มีอาบัติที่ภิกษุต้องใน กลางวัน ไม่ต้องในกลางคืน.

268


[อธิบายประตูเช่นไรควรปิดและไม่ควรปิด] ถามว่า ก็ประตูเช่นไรควรปิด? เช่นไรไม่ควรปิด? แก้ว่า ประตูเวียนที่เขาเอาบรรดาวัตถุชนิดใดชนิดหนึ่ง มีไม้เลียบไม้ไผ่เลียบ ลำ�แพนและใบไม้เป็นต้น ทำ�เป็นบานประตูแล้วสอดลูกล้อครกไว้ตอนล่างและ ห่วงบนไว้ตอนบนนั่นแล ควรปิด. ประตูชนิดอื่นเห็นปานนี้ คือ ประตูลิ่มสลัก ไม้และประตูหนาม ที่คอกฝูงโค ประตูล้อเลื่อนสำ�หรับกั้นบ้านในบ้าน ประตู แผงเลื่อนที่เขาทำ�ประกอบลูกล้อ ๒-๓ อันไว้ที่แผ่นกระดานหรือที่กันสาด ประตู แผงลอยที่เขาทำ�ยกออกได้ เหมือนอย่างในร้านตลาด ประตูลูกกรงที่เขาร้อยซี่ไม้ไผ่ไว้ในที่ ๒-๓ แห่ง ทำ�ไว้ที่บรรณกุฎี (กระท่อม ใบไม้) ประตูม่านผ้า ไม่ควรปิด

ธุดงควัตร ๑๓ ข้อ (การถือธุดงค์ ๑๓ ข้อนี้เป็นข้อประพฤติปฏิบัติที่องค์หลวงปู่มหาบุญมี ท่านจะเน้น ให้ความสำ�คัญ และได้นำ�พาลูกศิษย์ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ� ดังจะได้อธิบายขยายเนื้อ ความดังนี้) “ธุดงค์” แปลว่า องค์คุณเครื่องกำ�จัดกิเลส หมายถึง ข้อวัตรปฏิบัติที่มีความ เข้มงวดเป็นพิเศษ ที่จะช่วยกำ�จัดกิเลสเครื่องเศร้าหมองให้หลุดร่อนออกไปจากใจ ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรนั้น ก็เป็นไปเพื่อ ๑. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อย ๒. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความสันโดษ ๓. ฝึกให้เราได้ขัดเกลากิเลสให้เบาบาง ๔. ฝึกให้เราเป็นผู้รักความสงบ ๕. ฝึกให้เราเป็นผู้รักการแสวงหาสิ่งที่เป็นสาระที่แท้จริงของ ชีวิต (ซึ่งก็คือ ธรรมะภายในตัวเรานั่นเอง) ธุดงควัตร คือข้อปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังคับให้ภิกษุถือปฏิบัติ ใครจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ผู้ที่จะ 269



ปฏิบัติธุดงควัตรนั้น สามารถเลือกได้เองตามความสมัครใจ ว่าจะปฏิบัติข้อใด บ้าง เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อจะถือปฏิบัติก็เพียงแต่กล่าวคำ�สมาทานธุดงควัตร ข้อที่ตนเลือก แล้วก็เริ่มปฏิบัติได้เลย ธุดงควัตรมี ๑๓ ข้อคือ

หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับจีวร) ๑.) ปังสุกูลิกังคะ คือ การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร หมายถึง การใช้แต่ผ้าเก่า ที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำ�ผ้าเหล่านั้นมา ซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่แล้วนำ�มาใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าใหม่ทุกชนิด (บังสุกุล = คลุกฝุ่น) ๒.) เตจีวะริกังคะ คือ การถือผ้า ๓ ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร หมายถึง การใช้ ผ้าเฉพาะที่จำ�เป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าสารพัด ประโยชน์ เช่น คลุมกันหนาว ปูนั่ง ปูนอน ปัดฝุ่น ใช้แทนสบง หรือจีวรเพื่อซักผ้า เหล่านั้น ปัจจุบันภิกษุไทยมักใช้พาดบ่าเมื่อประกอบพิธีกรรม)

หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับบิณฑบาต) ๓.) ปิณฑะปาติกังคะ คือ การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร หมายถึง การบริโภค อาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขานิมนต์ ไปฉันตามบ้าน ๔.) สะปะทานะจาริกังคะ คือ การถือบิณฑบาตตามลำ�ดับบ้านเป็นวัตร หมายถึง จะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็นบ้านคนรวย คนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่บาตรก็รับไปตามลำ�ดับ ไม่ข้ามบ้านที่ ไม่ถูกใจไป ๕.) เอกาสะนิกังคะ ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร หมายถึง ในแต่ละ วันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่ บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำ�ดื่ม ๖.) ปัตตะปิณฑิกังคะ ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร หมายถึง จะนำ�อาหาร ทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันในบาตร แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ ติดในรสชาติของอาหาร 271


๗.) ขะลุปัจฉาภัตติกังคะ ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร หมายถึง เมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้น ถึงแม้มีใครนำ�อะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะ ถูกใจเพียงใดก็ตาม

หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับเสนาสนะ ) ๘.) อารัญญิกังคะ ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร หมายถึง จะอยู่อาศัยเฉพาะในป่า เท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความพลุกพล่านวุ่นวายของเมืองรบกวน การปฏิบัติ หรือเพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส ๙.) รุกขะมูลิกังคะ ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร หมายถึง จะพักอาศัยอยู่ใต้ ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้างขึ้นมามุงบัง ๑๐.) อัพโภกาสิกังคะ ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร หมายถึง จะอยู่แต่ในที่ กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่ อาศัย ๑๑.) โสสานิกังคะ ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร หมายถึง จะงดเว้นจากที่พัก อันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่ เสมอ ไม่ประมาท ๑๒.) ยะถาสันถะติกังคะ ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร หมาย ถึง เมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่ เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำ�ลังพัก อาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที หมวดที่ ๔ ปฏิสังยุตด้วยวิริยะ (เกี่ยวกับความเพียร) ๑๓.) เนสัชชิกังคะ ถือการนั่งเป็นวัตร หมายถึง จะงดเว้นอิริยาบถนอน จะ อยู่ใน ๓ อิริยาบถเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้า ง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน

272



พระบูรพาจารย์ พระบูรพาจารย์ที่องค์หลวงปู่เคารพ และเป็นเสมือนผู้บอกทาง


หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๙ - ๒๔๖๔ ท่านพำ�นักที่วัดถ้ำ�จำ�ปากันตสีลาวาส ภูผากูด ตำ�บลหนองสูง อำ�เภอคำ�ชะอี จังหวัดมุกดาหาร และได้จำ�พรรษาอยู่กับท่าน พระอาจารย์มั่นด้วย วันหนึ่ง หลวงปู่เสาร์นั่งภาวนาอยู่ในที่สงัดวิเวกองค์เดียว ท่านพิจารณาถึง อริยสัจธรรม ได้รู้ได้เห็นตามความเป็นจริงนั้น ในวันนั้นท่านก็ได้ตัดเสียซึ่งความสงสัย ได้อย่างเด็ดขาด จวนจะถึงกาลปวารณาออกพรรษา ท่านก็ทราบชัดถึงความเป็นจริง ทุกประการ จึงได้บอกกับท่านพระอาจารย์มั่น ว่า “เราได้เลิกปรารถนาเป็นพระปัจเจก พุทธเจ้าแล้ว และเราก็ได้เห็นธรรมตามความเป็นจริงแล้ว” ท่านพระอาจารย์มั่นได้ยิน ดังนั้นก็เกิดปีติเป็นอย่างมาก และได้ทราบทางวาระจิตว่า หลวงปู่เสาร์พบวิมุตติธรรม แน่แล้วในอัตภาพนี้ หลวงปู่เสาร์ละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ประกอบพร้อมด้วยศีลวิสุทธิ์ ความมีมหาสติอันไพบูลย์ ด้วยอิริยาบถก้มกราบพระประธานในพระอุโบสถวัดอำ�มาต ยาราม นครจำ�ปาศักดิ์ ประเทศลาว เมื่อวันอังคารที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ แรม ๓ คํ่า เดือน ๓ ปีมะเมีย สิริอายุรวม ๘๒ ปี ๖๒ พรรษา 275


หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ยุคสมัยของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ในยุ ค โบราณสมั ย การนำ � ของแม่ ทั พ ธรรม กรรมฐาน คือ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ผู้เป็น พระบู ร พาจารย์ ใ หญ่ ฝ่ า ยวิ ปั ส สนากรรมฐาน หลวงปู่มหาบุญมี ท่านปรารภว่า ไม่เคยอยู่ จำ�พรรษาด้วย เพราะอุปนิสัยส่วนตัวของท่าน คือ ท่านไม่สะดวกในที่มีผู้คนเยอะๆ และท่าน เป็นคนใจร้อน ในช่วงปัจฉิมวัยของหลวงปู่มั่น ท่านพำ�นักอยู่ที่บ้านหนองผือ ตำ�บลนาใน อำ�เภอ พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร หลวงปู่มหาบุญมีท่านก็จะพักปฏิบัติธรรม บำ�เพ็ญ ภาวนาอยู่ในป่าเขาใกล้ๆ บริเวณสำ�นักของหลวงปู่มั่น พำ�นักอยู่ (ซึ่งในระหว่างนี้หลวง ปู่มหาบุญมี ท่านน่าจะไปกราบคารวะหลวงปู่มั่น หรือเทียวไปมาเป็นครั้งคราว เพราะ ท่านทั้งสององค์อยู่ใกล้กัน และหลวงปู่มหาบุญมี ท่านก็เคารพบูชาองค์หลวงปู่มั่น เป็น เสมือนพ่อแม่ครูบาอาจารย์ของท่าน) หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านเคยพูดเป็นปริศนาธรรมถึง หลวงปู่มหาบุญมี ว่า ธรรม สุก ท่านบุญมี เป็นธรรมที่สุกแล้ว (อุปมาเปรียบเสมือน ทองคำ�บริสุทธิ์ หรือ ชาติสุดท้าย)

“...หลวงปู่มั่นก็เหมือนกันท่านปรารถนาเป็นพุทธภูมิ เลยพอมาชาตินี้ภาวนามย ปัญญาท่านเกิดระลึกชาติได้ว่าท่านเคยเกิดเป็นสุนัขถึงหมื่นชาติ เลยเกิดความสลด สังเวชขึ้นเลยโกรธว่าจะเอาตัวเองให้รอด จึงทำ�ให้บุญบารมีในอดีตชาติที่บำ�เพ็ญมา เพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ได้มาประมวลรวมลงมาในชาตินี้เลย เพราะท่านจะไม่เอา อีกต่อไปแล้ว จึงทำ�ให้ท่านเร็วนะเรื่องความแตกฉานในอรรถในธรรม เพราะท่านเกิด ความสลดสังเวชมากนะ” (โอวาทธรรม หลวงปู่ลี กุสลธโร ๓ สิงหาคม ๒๕๓๘ สะสมบ่มอินทรีย์ไปเรื่อยๆ ) 276


ท่ า นได้ แ สวงหาวิ เ วกบำ � เพ็ ญ สมณธรรมในเขตภาคเหนื อ หลายแห่ ง เพื่ อ สงเคราะห์สาธุชนในที่ต่างๆ นานถึง ๑๑ ปี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัยสิ้น ความสงสัยในสัตถุศาสน์ บรรลุธรรมขั้นพระอรหัตผล ที่ถํ้าดอกคำ� ตำ�บลนํ้าแพร่ อำ�เภอ พร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ในคืนนั้น ประมาณราว ตี ๓ ผลปรากฏว่าฝ่ายกษัตริย์วัฏจักร ถูกสังหารทำ�ลายบัลลังก์ลงอย่างพินาศขาดสูญ ปราศจากการต่อสู้และหลบหลีกใดๆ ทั้งสิ้น กลายเป็นผู้สิ้นฤทธิ์สิ้นอำ�นาจ สิ้นความฉลาดทั้งมวลที่ครองอำ�นาจอยู่ต่อไป ขณะกษัตริย์อวิชชาดับชาติขาดภพลงไปแล้ว เพราะอาวุธสายฟ้าอันสง่าแหลมคมของ ท่านสังหาร ท่านว่า ขณะนั้นเหมือนโลกธาตุหวั่นไหว เสียงเทวบุตรเทวธิดาทั่วโลกธาตุ ประกาศก้องสาธุการ เสียงสะเทือนสะท้านไปทั่วพิภพ ว่า “ศิษย์พระตถาคตปรากฏขึ้น ในโลกอีกหนึ่งองค์แล้ว พวกเราทั้งหลายมีความยินดีและเป็นสุขใจกับท่านมาก แต่ชาว มนุษย์คงไม่มีโอกาสทราบ อาจมัวเพลิดเพลินหาความสุขทางโลกเกินขอบเขต ไม่มีใคร สนใจทราบว่าธรรมประเสริฐในดวงใจเกิดขึ้นในแดนมนุษย์เมื่อสักครู่นี้” จากนั้นในกาลต่อมาท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) จึงได้กราบ อาราธนาท่านเพื่อกลับมาเมตตาโปรดสาธุชนทางภาคอีสาน วาระสุดท้ายท่านจำ�พรรษาที่วัดป่าภูริทัตตถิราวาส บ้านหนองผือ ตำ�บลนาใน อำ�เภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดป่า สุทธาวาส อำ�เภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ เวลา ๐๒.๒๓ น. สิริอายุรวม ๘๐ ปี ๕๖ พรรษา 277


กราบคารวะหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ในช่วงงานถวายเพลิงศพหลวงปู่เต็ม วัดป่าทาวารีศรีสาครดอนวิเวก อำ�เภอ นํ้าโสม จังหวัดอุดรธานี หลังจากเสร็จงานเรียบร้อยแล้ว จากนั้นหลวงปู่มหาบุญมี ท่าน ได้เดินทางไปกราบคารวะ พระราชนิโรธรังสีคัมภีร์ปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) ณ วัดหินหมากเป้ง อำ�เภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย เพราะท่านเคารพหลวงปู่เท สก์ เทสรังสี เป็นอย่างมาก และอีกนัยหนึ่งก็เหมือนว่า ท่านจะแสดงให้ลูกศิษย์ทางเขต จังหวัดอุดรธานีรู้ว่า นับจากนี้แล้วจะไม่ได้มาเยี่ยมเยือนถิ่นนี้อีก ต่อมาองค์หลวงปู่ก็ได้ ย้ายมาอยู่ทางร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ จวบจนวาระสุดท้ายก็มาพำ�นักที่วัดป่าวังเลิง จังหวัด มหาสารคาม และได้ละสังขาร ณ ที่แห่งนี้ 278


ประวัติสังเขป หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

นามเดิม บ่อ แก้วสุวรรณ บิดา มอ แก้วสุวรรณ มารดา พิลา แก้วสุวรรณ เกิด เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ ตรงกับวันพุธขึ้น ๕ ค่ำ� เดือน ๓ ปีฉลู ณ บ้านโคกมน ตำ�บลผาน้อย อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย ท่านเป็นบุตรคนแรก มีพี่น้อง ร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๔ คน เป็นชาย ๒ คน เป็นหญิง ๒ คน การบรรพชา และอุปสมบท หลวงปู่มีจิตโน้มน้าวไปสู่ทางธรรม ตั้งแต่ยังเด็ก เมื่ออายุอย่างเข้า ๑๙ ปี ได้ บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านนาแก บ้านนากลาง อ.เมือง จ.หนองบัวลำ�ภู ครั้นท่านมีอายุครบ ๒๓ ปีบริบูรณ์ จึง ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสร่างโศก ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่าวัดศรีธรรมาราม อำ�เภอ เมือง จังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ โดยมีพระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐานสโม” ท่านเมตตาเล่าให้ฟังว่า ท่านมิได้มีนิสัยสนใจทางการศึกษาด้านปริยัติธรรม มากนัก แม้การท่องปาฏิโมกข์นั้น ท่านใช้เวลาเรียนท่องถึง ๗ ปี จึงจำ�ได้หมด หลวงปู่บวชแล้วถึง ๔ ปี จึงได้มีโอกาสพบ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหา เถระ ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบซึ่งในสมัยนี้ยากจะพบ ผู้เป็น “พระ” อันประเสริฐ ผู้เป็นนาบุญอันเลิศ ยากจะหานาบุญใดมาเทียบได้ สัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย 279


ประวัติสังเขป หลวงปู่หลุย จันทสาโร นามเดิม นายบา วรบุตร บิดา นายผ่อย วรบุตร มารดา นางกวย วรบุตร เกิด วันอังคารที่ ๑๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ ตรงกับวันขึ้น ๔ ค่ำ� เดือน ๓ ปีฉลู ที่ อ.เมือง จ. เลย มีพี่น้องทั้งหมด ๓ คน คือ ๑. นางบวย วรบุตร (ถึงแก่กรรม) ๒. หลวงปู่หลุย (มรณภาพ) ๓. นายสุข วรบุตร (ถึงแก่กรรม) หลังจากที่หลวงปู่ จบชั้นประถมปีที่ ๓ จาก โรงเรียน วัดศรีสะอาด ได้ไปอยู่กับพี่เขย ซึ่งทำ�งาน เป็นสมุห์บัญชี แผนกสรรพากร อ.เชียงคาน อายุ ๑๘ ปี ได้เข้าโบสถ์ นับถือศาสนาคริสต์ เพราะชอบ สวดมนต์ นับถือศาสนาคริสต์ อยู่ ๕ ปี จนคุณพระ เชียงคาน ให้ชื่อว่า นักบุญ หลุย จากการที่คลุกคลีอยู่ นี้ ได้เห็นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จึงออกจากศาสนาคริสต์ เข้าอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ โดยบวชฝ่ายมหา นิกาย อยู่ ๑ ปี แล้วญัตติเข้าเป็นฝ่ายธรรมยุติ ที่ จ.เลย กับท่านพระครูอดิสัย คุณาธาร อยู่ ๑ พรรษา และได้ญัตติเป็นครั้งที่สอง ที่ จ. อุดรธานี โดยท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ ในครั้งนี้ได้อุปสมบท พร้อมกับหลวงปู่ขาว อนาลโย โดยหลวงปู่หลุย เป็นนาค ขวา บวชก่อนหลวงปู่ขาว ๑๕ นาที และได้มาอยู่กับท่าน พระอาจารย์มั่น และท่าน พระอาจารย์เสาร์ ที่ อ.ท่าบ่อ เป็นเวลา ๑๑ ปี และหลวงปู่ ได้อยู่เป็นเจ้าอาวาส วัดถํ้า ผาบิ้ง อยู่ ๒ - ๓ ปี ก็ได้เที่ยววิเวกต่อไป 280


ประวัติสังเขป หลวงปู่ขาว อนาลโย นามเดิม เกิดในสกุล โครัตถา กำ�เนิด ๒๘ ธ.ค. ๒๔๓๑ สถานที่เกิด ต.หนองแก้ว อ.อำ�นาจเจริญ จ.อุบลราชธานี อุปสมบท อุปสมบท ณ วัดสิทธิบังคม อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ในพ.ศ.๒๔๖๒ โดยมีพระครู ป้อง เป็นพระอุปัชฌาย์ มรณภาพ ๑๖ พ.ค. ๒๕๒๖ อายุ ๙๕ ปี ๖๔ พรรษา ก่ อ นอุ ป สมบทหลวงปู่ ไ ด้ ดำ � รงชี วิ ต ตามวิสัยฆราวาสทั่วไปโดยมีบุตร ๓ คน กระทั่งใน พ.ศ. ๒๔๖๒ ขณะอายุได้ ๓๑ ปี หลวงปู่จึงตัดสินใจออกบวชเป็นพระภิกษุ ในบวรพุทธศาสนา หลวงปู่บวชอยู่นาน ๖ ปี จึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ ของพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต และได้ขอญัตติเป็นธรรมยุติ นิกาย เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๖๘ ที่วัดโพธิ์สมภรณ์ จ.อุดรธานี โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่มีความเด็ดเดี่ยวในข้อวัตรปฏิบัติมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับการเดิน จงกรม หลวงปู่ได้เน้นเป็นพิเศษ กล่าวคือ เมื่อฉันเสร็จเริ่มเดินจงกรมเป็นพุทธบูชา พอถึงบ่ายสองโมงเริ่ม เดินจงกรมถวายเป็นธรรมบูชา จนถึงบ่าย ๔ โมง และเมื่อทำ� ข้อวัตรเสร็จสิ้นแล้วก็จะเริ่มเดินจงกรมถวายเป็นสังฆบูชา จนถึงประมาณ ๔-๕ ทุ่ม จึง เข้าที่พักเพื่อบำ�เพ็ญภาวนาต่อไป หลวงปู่ได้บำ�เพ็ญเพียรออกธุดงค์ เพื่อเผยแผ่พระ ธรรม คำ�สอนตามสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง จนอายุ ๗๐ ปี จึงจำ�พรรษา เป็นการถาวร ที่วัดป่าถํ้ากลองเพล หลวงปู่เป็นภิกษุ ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มีข้อวัตรปฏิบัติงดงาม สมควรจดจำ�เป็นแบบอย่างสืบไป 281


ประวัติสังเขป หลวงปู่รักษ์ เรวโต อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๙ (ธรรมยุต), อดี ต เจ้ า อาวาสวั ด ศรี เ มื อ ง ต.ในเมื อ ง อ.เมือง จ.หนองคาย และผู้ก่อตั้งโรงเรียน สอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เป็น แห่งแรกของเมืองหนองคาย เป็นพระ สังฆาธิการที่มีความเคร่งครัดในธรรมวินัย อย่างสูง แต่กอปรด้วยปฏิปทาและจริยวัตร อันงดงาม มีใจเอื้ออารีต่อคณะศิษยานุศิษย์ และพุทธบริษัททั้งหลาย พระธรรมไตรโลกาจารย์ มีนามเดิมว่า รักษ์ มีวรรณดิษฐ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๕๐ ณ บ้านขุนตรา ต.ศรีฐานเหนือ อ.เมือง จ.นครเวียงจันทน์ ประเทศ ลาว (ในสมัยนั้น) ๏ การบรรพชา และอุปสมบท เรียนอยู่เพียง ๑ ปี มีเหตุขัดข้องบางประการ ต้องเลิกเรียน บิดาจึงนำ�ไปบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดขุนตรา ต.ศรีฐานเหนือ อ.เมือง จ.นครเวียงจันทน์ โดยมีพระอธิการคำ�หล้า เป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๐ ณ พัทธสีมาวัดบรมนิวาสราชวิหาร ต.ถนนรองเมือง อ.ปทุมวัน จ.พระนคร (ปัจจุบันคือ แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร) โดยมี ท่าน เจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เมื่อครั้งดำ�รงสมณศักดิ์ที่ พระธรรม ธีรราชมหามุนี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอมราภิรักขิต เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระครู วินัยธร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และ เจ้าจอมมารดาทับทิม วังมหานาค (สะพานขาว) เป็นผู้ถวายความอุปถัมภ์ในการอุปสมบท ๏ การมรณภาพ พ.ศ.๒๕๔๗ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ได้ละสังขารลงอย่างสงบ สิริอายุรวมได้ ๙๘ พรรษา ๗๗ ท่ามกลางความเศร้าสลดและความอาลัยเป็นอย่างยิ่ง ของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ชาวจังหวัดหนองคายและพุทธศาสนิกชนทั่วไป 282


ประวัติสังเขป หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป นามเดิม จันทร์ศรี แสนมงคล โยมบิดา นายบุญสาร แสนมงคล โยมมารดา นางหลุน แสนมงคล เกิด เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ ตรงกับวันอังคาร แรม ๓ ค่ำ� เดือน ๑๑ ปี กุน ณ บ้านโนนทัน ต.โนนทัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น อุปสมบท วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๔ อายุ ๒๐ ปี โดยมีพระครูพิศาลอรัญญเขต (จันทร์ เขมิโย) เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ธ.) และเจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์ (วัดศรี จันทราวาส) เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ สิงห์ ขันตยาคโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล เป็น พระอนุสาวนาจารย์ มีพระอาจารย์กรรมฐาน จำ�นวน ๒๕ รูป นั่งเป็นพระอันดับ ได้รับ นามฉายาว่า “จันททีโป” อันมีความหมายเป็นมงคลว่า “ผู้มีแสงสว่างเจิดจ้า ดังจันทร์เพี็ญ” ศาสนศึกษา พ.ศ.๒๔๗๗ สอบนักธรรมเอกได้ในสนามหลวง สำ�นักเรียนวัดบวรนิเวศ วิหาร กรุงเทพมหานคร สมณศักดิ์ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ พระอุดมญาณโมลี ปัจจุบัน หลวงปู่จันทร์ศรี สิริอายุได้ ๑๐๑ พรรษา ๘๑ (เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๕) ดำ�รง ตำ�แหน่งเจ้าอาวสวัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี ที่ปรึกษาเจ้าคณะ ภาค ๙ (ธรรมยุต) และที่ปรึกษามหาเถรสมาคม (มส.) หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เมตตาให้โอวาทธรรมแก่หลวงปู่จันทร์ศรี “มหาภาวนาเป็นแล้ว ควรเลิกเรียนปริยัติ ออกปฏิบัติกรรมฐานอีก จะได้พ้นทุกข์ ประสบแต่ความสุขกายสุขใจ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีก” เป็นว่าข้าพเจ้า ได้ใกล้ชิดกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ชั่วระยะหนึ่งท่านจึงจากไป ในปีนั้นข้าพเจ้าได้กำ�ไร แห่งชีวิต ซึ่งทำ�ให้สามารถปฏิบัติศาสนกิจอยู่ในเพศพรหมจรรย์มาได้อย่างปลอดภัย 283


ประวัติสังเขป หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน นามเดิม บัว โลหิตดี เป็นบุตรของนายทองดี และนางแพงศรี โลหิตดี พี่น้องทั้งหมด ๑๖ คน วันเกิด ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖ ณ หมู่บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี อุปสมบท ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ วัดโยธานิมิตร อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อตอบแทนพระคุณบิดามารดา โดยมี ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ ศึ ก ษาพระปริ ยั ติ ธ รรมอยู่ กั บ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺธโร) เป็นเวลา ๗ ปี จนสอบได้นักธรรมเอกและเปรียญ ธรรม ๓ ประโยค แล้วจึงออกปฏิบัติธุดงคกรรมฐาน เป็นเวลา ๙ ปี คืนแห่ง..ความสำ�เร็จ วาระสุดท้ายในช่วงออกปฏิบัติธรรม องค์ท่านได้มุ่งสู่วัดดอยธรรมเจดีย์ อ.โคก ศรีสุพรรณ สกลนคร เป็นช่วงพรรษาที่ ๑๕-๑๖ ของท่าน บนหลังเขาลูกนี้เองในคืน เดือนดับ แรม ๑๔ ค่ำ� เดือน ๖ (ตรงกับวันจันทร์ที่๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓) เวลา ๕ ทุ่มตรง คืนแห่งความสำ�เร็จระหว่างกิเลสกับธรรมอัศจรรย์ภายในใจของท่านจึงตัดสิน กันลงได้ ด้วยความประจักษ์ใจ หายสงสัยทุกสิ่งทุกอย่างเรื่องภพชาติ เรื่องเกิด แก่ เจ็บ ตาย กิเลสตัณหา อาสวะทุกประเภทได้ขาดกระเด็นออกไปจากใจในคืนวันนี้เอง หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เป็นพระสุคโตที่ยิ่งใหญ่ทั้งทางธรรมและทางโลก เปี่ยมด้วยบุญญาบารมีอันสูงยิ่ง องค์ท่านได้ละสังขารลาวัฏวนด้วยอาการอันสงบ เข้า สู่อนุปาทิเสสนิพพาน ประกอบพร้อมด้วยธรรมวิสุทธิ์ ความมีมหาสติอันไพบูลย์ใน อิริยาบถนอน ณ กุฏิขององค์ท่าน เวลา ๐๓.๕๓ นาที เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๓๐ เดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๔ แรม ๑๑ ค่ำ� เดือนยี่ ปีขาล สิริอายุรวม ๙๗ ปี ๕ เดือน ๑๘ วัน ๗๗ พรรษา 284


หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน กราบเยี่ยมหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วันพุธที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๔ วันนี้เวลาประมาณเที่ยง องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ได้เดินทางมากราบเยี่ยมองค์หลวงปู่มหาบุญมี ระหว่างที่ องค์หลวงตามาถึง องค์หลวงปู่เข้าพักยังไม่ได้ออกมา องค์หลวงตาก็ได้มาพักผ่อนรออยู่ ที่กุฏิพระ โดยมีท่านพระอาจารย์คูณ สุเมโธ พระสังคม พระสมัย พระปิ่น พระชาญชัย และสามเณรนิรันดร์ ได้ร่วมกันจับเส้นถวายองค์หลวงตามหาบัว ซึ่งองค์หลวงตาท่าน กำ�ชับพระว่า “อย่าไปเรียกท่านนะ ให้ท่านพักผ่อนตามอัธยาศัย เราจะคอยท่านจนถึง เวลาท่านออกมานู้นล่ะ” เวลาต่อมาอีก ๓๐ นาที องค์หลวงปู่ก็ออกมา พระอุปัฏฐาก ก็ขึ้นมากราบเรียนว่า องค์หลวงตามหาบัว ว่า หลวงปู่ท่านออกมาแล้ว องค์หลวงตาก็ เข้าไปกราบองค์หลวงปู่โดยมีพระตามไปด้วย ท่านสนทนากันเป็นที่รื่นเริงในธรรมมาก ขอเล่าเหตุการณ์รวมทั้งถ้อยคำ�ที่องค์ท่านทั้ง ๒ บูรพาจารย์ ได้มีธรรมสากัจฉาต่อกัน ซึ่งพอจำ�ได้ดังนี้ 285


องค์ท่านหลวงตามหาบัว ได้ก้มกราบคารวะหลวงปู่มหาบุญมี ลงที่พื้นกุฏิข้างๆ เท้าหลวงปู่อย่างงดงามมาก หากจะนำ�คำ�พูดที่องค์หลวงตา เคยพูดว่า กราบได้อย่าง สนิทใจนั่นแหละ องค์หลวงตาท่านกราบเช่นนั้นจริงๆ แล้วองค์หลวงตาก็เริ่มพูดขึ้นว่า “เป็นยังไงหนอขอรับ ได้ยินแต่ข่าวว่าป่วย กระผมได้ถามครูอาจารย์เรื่อยอยู่นะ” แล้ว องค์หลวงตาก็เอื้อมมือไปจับจีวรผ้าไหมองค์หลวงปู่ แล้วพูดว่า “โฮ่ ผ้าไหมนี่นะ” แล้ว ก็หัวเราะ องค์หลวงปู่ ก็หัวเราะ แล้วพูดขึ้นว่า โยมเขาทำ�มาถวายดอก เอ่อ มาแล้วก็ดี เทศน์ให้ฟังหน่อย หลวงตามหาบัว กล่าวว่า สิให้ข้าน้อย เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนอย่างไรน้อ ต่างองค์ต่างก็หัวเราะรื่นเริงในธรรม จากนั้นองค์หลวงตามหาบัว จึงได้หันมาพูด กับหมู่พระที่นั่งอยู่รอบๆ ว่า “ข้อยเคยอยู่กับเพิ่มตั้งแต่ปี ๒๔๙๔ ถึง ๒๔๙๕ นู้น ทาง มุกดาหาร เป็นยังไงพระมีป่าไม้พอทำ�ทางจงกรมนั่งภาวนาไหม หรือมีแต่เสื่อกับหมอน ถ้าให้หาป่าไม้ทำ�ทางจงกรมนี่คือจะยากนะ ถ้าให้หาเสื่อกับหมอนนี่ไวกว่าลิง อยู่โน้น ไม่ได้นะ พระขี้เกียจไล่ออกทันทีเลย อย่างอื่นไม่เอาให้เอาแต่เดินจงกรมภาวนาอย่าง เดียว” หลวงตามหาบัว หันหน้ามาทางหลวงปู่มหาบุญมี แล้วพูดว่า “ข้าน้อยคิดฮอด เลยมากราบครูอาจารย์สื่อๆ ดอก มาเทื่อหนึ่งแล้วตั้งแต่เดือนใด๋ จำ�บ่ได้แล้ว” องค์ หลวงตามองเห็นภาพถ่ายหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่มั่น อยู่ที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง นครปฐม ติดไว้ ข้างฝา ผนังกุฏิ ท่านเลยพูดว่า “รูปพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นถ่ายอยู่ที่ไหน ท่านจึงหนุ่มจัง” สักพักองค์หลวงตาก็กล่าวขึ้นว่า ปล่อยให้ท่านได้มีโอกาสอยู่คนเดียวเงียบๆ ไหมล่ะ หรือมีแต่คนกวนท่าน บัดนี้เอาอย่างนี้นะ หาไม้มาไว้หลายๆ บริเวณนี้ พอคนมาขว้าง ใส่เลย อย่าให้มันเข้ามา คนมันกลัวอยู่ดอก ค้อนนั่นนะ แล้วองค์หลวงตาก็หัวเราะ องค์หลวงตา ได้ถามคณะศิษย์ที่นั่งอยู่ข้างๆ ว่า เพิ่นเป็นโรคอีหยังล่ะ คณะศิษย์ก็ได้กราบเรียน พร้อมการรักษาที่นายแพทย์ได้ให้การแนะนำ� ใน ระหว่างนั้นองค์หลวงปู่ถามหลวงตา ว่า มันเป็นตาฉายบ่ล่ะ (หมายถึงฉายแสงรังสี) หลวงตามหาบัว ตอบว่า แล้วแต่ครูอาจารย์จะพิจารณาขอรับ องค์หลวงตานั่ง อยู่สักพักแล้วก็กราบลาองค์หลวงปู่ (รวมเวลาท่านนั่งสนทนากันประมาณ ๒๐-๓๐ นาที) เอาล่ะติพวกเรา กราบเพิ่นล่ะ เพิ่นจะได้พักผ่อน นั่งโดนเพิ่นเมื่อย 286


ประวัติสังเขป หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส เกิด เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ณ บ้านบึงแก อำ�เภอมหาชนะชัย จังหวัด ยโสธร เป็นบุตรของนายหยาด และนางทองสา แสงสี พ.ศ. ๒๔๗๕ อุปสมบทครั้งแรกที่วัดกุดกุง อ.คำ�เขื่อนแก้วจังหวัดยโสธร โดย พระอาจารย์ม่อน เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้พระอาจารย์กอง วัดป่าโพนทัน เป็นพระ อาจารย์สอนกรรมฐานองค์แรก อุปสมบทเป็นพระธรรมยุตแล้ว หลวงปู่บัวพาก็กลับมาจำ�พรรษาที่วัดป่า สุทธาวาส ซึ่งครูบาอาจารย์ พระเณร ประชุมกันเพื่อจัดเวรอุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ โดยพระทุกองค์ในวัดจะได้รับเวรปรนนิบัติรับใช้ท่านพระอาจารย์ใหญ่เสมอกันทุกองค์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ เสร็จจากงานถวายเพลิงศพหลวงปู่ใหญ่แล้ว หลวงปู่บัวพา กลับมาจำ�พรรษาที่วัดดอนธาตุ ๑ พรรษา แล้วกลับไปโปรดโยมมารดา ที่บ้านเกิด จากนั้นได้ธุดงค์ไป วัดป่าบ้านหนองผือ และอยู่ศึกษาธรรมกับ หลวงปู่มั่น ภู ริทตฺโต อีก ๑ พรรษาจึงธุดงค์ต่อไปอีกหลายจังหวัด จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๐ ท่านจึงได้มาอยู่จำ�พรรษาที่วัดร้างแห่งหนึ่ง ในอำ�เภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ต่อ มาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดป่าพระสถิตย์ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ หลวงปู่บัวพา ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูชั้นตรี ที่พระครูปัญญาวิสุทธิ์ หลวงปู่บัวพา ได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบ เพราะโรคชราภาพเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๑๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ� เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันมหา ปวารณาออกพรรษาพอดี เวลา ๒๐.๔๕ น. สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วัน พรรษา ๖๑ 287


ประวัติสังเขป หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร

ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมว โร นามสกุล ไชยเสนา ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ� เดือน ๘ ปีชวด ณ บ้านศรีฐาน ตำ�บลกระจาย อำ�เภอลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบัน อำ�เภอลุมพุกเปลี่ยนเป็นอำ�เภอ คำ�เขื่อนแก้ว ขึ้นกับจังหวัดยโสธร และปัจจุบัน บ้านศรีฐานเป็นตำ�บล ตำ�บลศรีฐาน ขึ้นกับอำ�เภอ ป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ท่านมีพี่น้องร่วมมารดา-บิดาเดียวกัน ๕ คน เป็นชาย ๓ เป็นหญิง ๒ บิดาของท่านชื่อ นาย บุญจันทร์ มารดาชื่อนางอบมา ไชยเสนา ท่านเป็น บุตรคนที่ ๓ พี่ชายของท่านคนหัวปีได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังเล็ก ส่วนพี่ชายคนรองก็ได้เสียชีวิตไปอีก ในตอนที่มีครอบครัวและมีลูก ๓ คนแล้ว ยัง เหลืออยู่แต่น้องสาวของท่าน ๒ คน ชื่อ นางกรอง จันใด และนางแก้ว ป้องกัน

ปฐมวัย-การศึกษา-อุปสมบท ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนประชาบาล จนจบชั้น ป. ๔ ครั้นเรียนจบชั้น ป. ๔ แล้ว ท่านก็ได้ช่วยพ่อแม่ทำ�นาต่อไป จนอายุครบ ๒๐ ปีจึง ได้อุปสมบท เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ก่อนเข้าพรรษา ๗ วัน ณ พัทธสีมา วัดป่า สำ�ราญนิเวสน์ ตำ�บลบ้านบุ่ง อำ�เภออำ�นาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระครูทัศน วิสุทธิ์ (มหาดุสิต เทวิโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์เดียวกันกับพระอาจารย์ จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก แต่พระอาจารย์สิงห์ทองบวชหลัง ๑ พรรษา ครั้นบวชแล้วได้มาจำ�พรรษา ณ วัดป่าศรีฐานใน ซึ่งเป็นวัดป่าของหมู่บ้านศรีฐาน โดยมีพระอาจารย์บุญสิงห์เป็นพระอาจารย์ผู้ให้การอบรมสั่งสอนด้านสมาธิภาวนา ท่านอยู่วัดป่าแก้วมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นพรรษาที่ ๓๖ อายุ ๕๖ ปี อันเป็นปีที่ ท่านพระอาจารย์สิงห์ทองประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตก ถึงแก่มรณภาพ ณ ท้องนาทุ่งรังสิต เขตหมู่ที่ ๔ ตำ�บลคลอง ๔ อำ�เภอหลวง จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓ พร้อมกับท่านพระอาจารย์บูญมา ฐิตเป โม วัดสิริสาละวัน บ้านโนนทัน ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดภูทอก ท่านพระอาจารย์ วัน อุตตฺโม วัดถ้ำ�อภัยดำ�รงธรรม ท่านพระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี บ้านต้าย 288


ประวัติสังเขป หลวงพ่อพุธ ฐานิโย นามเดิม พุธ อินทรหา กำ�เนิด ๘ ก.พ. ๒๔๖๔ สถานทีเ่ กิด อ.หนองโดน จ.นครราชสีมา อุปสมบท อุปสมบท ณ วัด ปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อพ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมี พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมณศักดิ์ พระราชสังวร ญาณ หลวงพ่อกำ�พร้าบิดา มารดา ตั้งแต่ อายุ ๔ ขวบ ดังนั้น หลวงพ่อจึงอยู่ในความ อุปการะของญาติที่ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ต่อมาเมื่ออายุ ๑๕ ปี ได้บรรพชา เป็นสามเณร ที่วัดอินทร์สุวรรณ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ภายหลังบรรพชา เป็น สามเณรแล้ว หลวงพ่อได้มีโอกาสเดินทางไปยังวัดบูรพา จ.อุบลราชธานี ณ วัดแห่งนี้ เอง หลวงพ่อได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ของท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ซึ่งเป็นพระ อาจารย์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และเริ่มรับการฝึกอบรมด้าน ปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐาน จากท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นครั้งแรก ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๘๓ ท่านพระ อาจารย์เสาร์ ได้พาหลวงพ่อไปฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งหลวงพ่อได้จำ�พรรษาเรื่อยมาจนอายุครบบวช จึงได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดแห่งนี้ หลวงพ่อได้ปฏิบัติศาสนกิจช่วยงานพระศาสนา ตลอดมา กระทั่งในปีพ.ศ. ๒๕๑๓ หลวงพ่อจึงดำ�รงตำ�แหน่งเป็นเจ้าอาวาส วัดป่าสาล วัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา ตลอดเวลาที่ผ่านมา หลวงพ่อมิเคยหยุดบำ�เพ็ญประโยชน์ ต่อพระศาสนา และสังคม ท่านยังคงรับเป็นองค์บรรยายธรรม และอบรมสมาธิภาวนา ให้แก่ศาสนิกชนอย่างสม่ำ�เสมอ ท่านเป็นผู้สร้างคุณประโยชน์ แก่พระศาสนา และ ประชาชนอย่างสูง เป็นผู้ยินดีเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอนธรรมแก่ พระภิกษุ สาม เณ ตลอดถึงสาธุชน ผู้มาถึงสำ�นักด้วยความเมตตา เป็นผู้ชี้นำ�ในธรรมปฏิบัติ ทั้งเป็นผู้ ปฏิบัติสำ�รวมตนในพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นแบบอย่างอันดี แก่ศิษยานุศิษย์มาโดยตลอด ควรแก่การเครารพเทิดทูนยิ่ง 289


ประวัติสังเขป หลวงปู่หล้า เขมปัตโต ท่านเกิดเมื่อ วันจันทร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๔ ที่บ้านกุดสระ อำ�เภอหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี บิดาชื่อนายคูน เสวตร์วงศ์ มาดาชื่อ นางแพง เสวตร์วงศ์ เป็นบุตรคน สุดท้อง ในจำ�นวนพี่น้อง ๘ คน อาชีพของ ครอบครัว คือทำ�นา ท่านศึกษา ในโรงเรียน ชั้นประถม ปีที่ ๒ ก็ต้องออกมา ในวัยเยาว์ ท่านได้มีโอกาส รับใช้พระ ธุดงค์ ที่จาริกมา ในละแวกบ้าน ซึ่งมีส่วน ช่วย หล่อหลอมจิตใจ ให้ใฝ่ในทางธรรม อายุ ๑๘ บวชเป็นเณร เมื่ออายุครบเกณฑ์ ก็ได้บวช เป็นพระ ตามประเพณี จาก นั้น ก็ลาสิกขา มาครองเรือน ได้ประสพ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง แห่งสังขาร และการ พลัดพราก ครั้นปี พ.ศ.๒๔๘๖ บวชเป็น พระมหานิกาย ที่วัดบ้านยาง มีพระครูคูณ เป็น อุปัชฌาย์ พรรษาแรก ก็สอบนักธรรมโทได้ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๘ ท่านได้ญัตติ เข้าในคณะธรรมยุต ที่วัดโพธิสม ภรณ์ อุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ครั้งเป็นพระเทพกวี เป็นอุปัชฌาย์ และให้ท่าน ไปพำ�นัก ฝึกการปฏิบัติ กับหลวงปู่บุญมี ชลิตโต ที่วัดโพธิ์ชัย หนองน้ำ�เค็ม อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นวัด ที่เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เคยอาราธนา ท่านพระ อาจารย์มั่น ภูริทัตโต ไปพำ�นัก ครั้งที่ท่าน กลับจากเชียงใหม่ และหลวงปู่ บุญมี เคยได้ รับการศึกษา อบรม กับท่านพระอาจารย์มั่น และดำ�เนิน ปฏิปทา ตามพระบุพพาจารย์

290


หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดภูจ้อก้อ อำ�เภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร

ได้เคยกล่าวถึง หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร (เมื่อคราวมีพระ และฆราวาสขึ้นไป กราบทำ�วัตรหลวงปู่หล้า ปี พ.ศ.๒๕๓๔) ว่า ท่านเคยมาอยู่บ้านเหล่านะ เราได้ไปลง อุโบสถอยู่ที่วัดท่านนะ สมัยก่อนท่านดุนะ ถ้าพระทำ�ไม่ถูก ไม่ภาวนา ท่านจะดุเลย เดี๋ยวนี้ท่านดุไหม พระ ตอบว่า ไม่ครับ ท่านไม่ค่อยดุแล้ว และไม่ค่อยพูด หลวงปู่หล้า ใช่ซิ เดี๋ยวนี้ท่านแก่แล้วนะ ท่านเมื่อยล้า พวกท่านอยู่กับหลวงปู่ พา กันทำ�ข้อวัตรครูบาอาจารย์ดีๆ นะ อย่าให้ท่านหนักใจ พากันดูแลท่านดีๆ

เยี่ยมหลวงปู่หล้า เขมปัตโต

หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ได้ไปเยี่ยมหลวงปู่หล้า เขมปัตโต(ช่วงนั้นไม่ค่อยสบาย อาพาธ ได้ใช้เครื่องช่วยหายใจ) เมื่อไปถึงวัดภูจ้อก้อ หลวงปู่มหาบุญมีท่านบอกพระ ให้ไปกราบเรียนหลวงปู่หล้า ว่า หลวงปู่ภูดินมา เมื่อหลวงปู่หล้าทราบเรื่อง จากนั้นคน ทั้งหลายก็แตกฮือกันมา ส่วนหลวงปู่หล้าท่านให้พระอุปัฏฐากรีบลงไปต้อนรับหลวงปู่ มหาบุญมี แล้วกราบเรียนถามท่านว่า ถ้าหากสุขภาพธาตุขันธ์หลวงปู่ไม่สะดวกที่จะ ขึ้นมาบนภู หลวงปู่หล้าท่านว่าจะลงมากราบหลวงปู่มหาบุญมีที่ข้างล่างเชิงเขาภูจ้อก้อ เพราะหลวงปู่หล้าท่านมีความคุ้นเคยและให้ความเคารพหลวงปู่มหาบุญมีมากอีกองค์หนึ่ง 291


ประวัติสังเขป หลวงปู่ศรี มหาวีโร นามเดิม ชื่อ ศรี เกิด ในสกุลปักกะสีนัง เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๐ ตรงกับวัน ศุกร์ เดือนหก ปีมะเมีย ที่บ้านขามป้อม อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม โยมบิดาชื่อนาย อ่อนสี โยมมารดาชื่อนางทุม ปักกะสีนัง การศึกษา ในสมัยนั้น นับว่าอยู่ในขั้นดี ท่านได้เข้ารับราชการเป็นครูในปีรุ่งขึ้น หลัง จากสำ�เร็จการศึกษา บรรพชาอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ณ พัทธสีมาวัดราษฎร์รังสรรค์ บ้านป่ายาง อำ�เภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีพระ โพธิญาณมุนี (ดำ� โพธิญาโณ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เป็นอุปปัชฌาย์ ได้รับ ฉายา ทางพระพุทธศาสนา เป็นมคธว่า “มหาวีโร” ปี พ.ศ.๒๔๘๙ ท่านได้จาริกไปจำ�พรรษา ที่วัดป่าแสนสำ�ราญ อ.วารินชำ�ราบ จ.อุบลราชธานี ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ธุดงค์ไปพำ�นักที่ถ้ำ�พระเวส ครั้นเข้าพรรษา ได้ไปจำ�พรรษา ที่วัดบ้านนาแก อ.อนาแก จจ.นครพนม พ.ศ. ๒๔๙๑ เข้าจำ�พรรษา ที่วัดโนนนิเวสน์ อ.เมือง จ.อุดรธานี ซึ่งมีโอกาสศึกษา ธรรม และอุปัฏฐาก พระบุพพาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เมื่อหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาพาธพระอาจารย์ศรี ก็มีโอกาสถวายการปฏิบัติ ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๙๓ พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ไปจำ�พรรษาที่วัดป่าบ้านหนอง ผัก ตบ อ.วาริชภูมิ จ.อุดรธานี และปีต่อมา ได้มีโอกาส ไปพำ�นักจำ�พรรษาที่ วัดบ้านห้วย ทราย อ.คำ�ชะอี จ.มุกดาหาร ได้มีโอกาสศึกษาธรรม กับท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณ สัมปันโน ซึ่งเป็นประธานสงฆ์ในสำ�นักแห่งนี้ หลวงปู่ศรี มหาวีโร จำ�พรรษาที่วัดประชาคมวนาราม หรือวัดป่ากุง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เป็นต้นมา ท่านเป็นผู้นำ� เป็นธุระในกิจการงาน พระศาสนา อย่างจริงจังและ มั่นคง สร้างคุณูปการและสาธารณประโยชน์เป็นจำ�นวนมาก ท่านเป็นพระเถราจารย์ ผู้เปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรม เป็นเนื้อนาบุญ อันยิ่งใหญ่ ของพระพุทธศาสนา เป็นพระ ป่า พระกรรมฐาน ที่ศิษย์เคารพ ศรัทธา อย่างมหาศาล เป็นสมณะผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติ ชอบ อย่างสิ้นสงสัย 292


พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้เคยร่วมธุดงค์กับหลวงปู่มหาบุญมี หลวงปู่ศรีท่านให้ความ เคารพบูชาหลวงปู่มหาบุญมีมากองค์หนึ่ง หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านได้พูดเสมอว่า หลวงปู่มหาบุญมี มีบุญคุณต่อท่านมาก สมัยอยู่ บ้านห้วย อำ�เภอคำ�ชะอีด้วยกัน เพิ่นรักษาเจ้าของตั๊วะ (ท่านรักษาเรานะ) ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้จำ�พรรษาอยู่ป่าช้าบ้านห้วยทราย โดยมีหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นประธานสงฆ์ ในปีนั้นหลวงปู่ศรี เกิดอาพาธป่วยเป็น ไข้มาลาเรียอย่างหนัก และแทบจะเอาชีวิตไม่รอดถึงกับผมร่วง เป็นเวลา ๒๒ เดือน หลวงปู่ศรีท่านจึงคิดว่า ทำ�ยังไงจึงจะหายไข้ จึงถามสามเณรว่า เณรน้อยอะไรหนอ มันผิดไข้มาลาเรีย (เป็นของแสลงกัน) สามเณรจึงตอบว่า มะพร้าวครับ เหมือนดั่งมี อะไรดลบันดาล วันหนึ่งชาวบ้านได้นำ�มะพร้าวมาถวายพระที่วัด แบ่งกันได้องค์ละ ๒ ลูก หลวงปู่ศรี ท่านคิดว่า วันนี้ล่ะจะได้รู้กัน เราเป็นไข้ป่ามันทรมานมานานวัน ถ้าฉัน 293


มะพร้าวแล้วจะผิดสำ�แดง เราจะฉันเพื่อให้ผิดสำ�แดง มะพร้าวทั้ง ๒ ลูกนั้น หลวงปู่ศรี ท่านฉันจนหมดเกลี้ยง พอฉันเข้าไปเท่านั้นแหละ ท่านก็หน้ามืดอย่างแรงตัวสั่นเทิ้ม ชัก กระตุกล้มลงทันที สลบไสลไปเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ทีนี้หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร (ท่าน เป็นหมอยาสมุนไพรเก่า) เห็นอาการหลวงปู่ศรีน่าเป็นห่วง หลวงปู่มหาบุญมีท่านจึงเอา ช้อนงัดปากให้อ้าขึ้นแล้วกรอกยาลงไป ไข้มาลาเรียไม่นานก็หายขาดอย่างเหลือเชื่อ ต่อจากนั้นเมื่อหายป่วยแล้ว หลวงปู่ศรี ท่านก็ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติธรรมอย่าง อุกฤษฏ์เอาจริงเอาจังทุกอย่าง และไม่ลืมพระคุณของหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ที่ได้ ช่วยชีวิตให้หายจากการอาพาธหนักในครั้งนั้น เมื่อถึงวันงานครบรอบวันเกิดหลวงปู่ มหาบุญมี ซึ่งทางคณะศิษย์ได้จัดถวายปีละครั้ง หรือมีโอกาสอื่นๆ หลวงปู่ศรีท่านจะ มากราบคารวะหลวงปู่มหาบุญมี อยู่เป็นประจำ�มิได้ขาด

วันเสาร์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๔

วันนี้ตอนบ่าย ลงอุโบสถเสร็จ สักครู่ใหญ่ๆ องค์หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้นำ�คณะ ศิษยานุศิษย์ทั้งพระ-ฆราวาสจากจังหวัดร้อยเอ็ดและใกล้เคียงมาเป็นหมู่คณะใหญ่มาก พอสมควร จำ�นวนประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ คน เพื่อมากราบคารวะทำ�วัตรขอขมาองค์ หลวงปู่มหาบุญมี ซึ่งท่านปฏิบัติเป็นประจำ�ทุกๆ ปี ในช่วงฤดูเข้าพรรษา ได้ทราบว่า คณะของท่านมาจากลงอุโบสถสามัคคี ที่วัดสาขาอำ�เภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด 294


หลวงปู่ขาน ฐานวโร วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๑ มีลูกศิษย์ได้ไปกราบหลวงปู่ขาน ฐานวโร วัด ป่าบ้านเหล่า อำ�เภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ได้กราบเรียนท่านว่า มาจากมหาสารคาม วัดป่าวังเลิง พอหลวงปู่ขานท่านรู้ว่ามาจากวัดป่าวังเลิง ท่านเมตตาเล่าให้ฟังว่า เราเคย อยู่กับท่านนะ อยู่กับท่านต้องมีสติตื่นตัวอยู่ตลอดเวลานะ แต่ก่อนท่านดุนะไม่ได้ใจดี เหมือนทุกวันนี้หรอก ทำ�อะไรต้องว่องไวระมัดระวัง การทำ�ข้อวัตรท่านก็เหมือนกัน ไป อยู่กับท่านแรกๆ นี้ เรากะว่าท่านจะตื่นตี ๓ ก็เลยเตรียมแปรงสีฟันใส่ยาไว้ให้ท่าน กับ ขันน้ำ� ปรากฏว่า ท่านตื่นแต่ ๖ ทุ่ม ตี ๑ โน้นนะ พอวันต่อมาเราเตรียมไว้รอท่านตั้งแต่ตี ๑ เหมือนกัน ท่านก็ตื่นตี ๓ นั่นล่ะ เห็น ไหมครูบาอาจารย์ท่านลองดูฉลาดของเราว่าจะเฉลียวฉลาดทันท่านไหม อยู่กับท่านนี้ ต้องตื่นตัวมีสติ ฉลาดรอบคอบกับท่านตลอดนะ ถ้าอย่างนั้นถูกท่านดุเลย แต่ก็มีความ เคารพท่านนะ 295


หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร วันเสาร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๔

หลังจากฉันจังหันเสร็จแล้ว ลูกศิษย์ได้ขึ้นไปกราบถวายนวดเส้น สังเกตดูธาตุ ขันธ์องค์หลวงปู่รู้สึกท่านเพลียอยู่บ้าง องค์ท่านบอกว่า “เจ็บเส้นที่บริเวณใบหู ด้าน หลังขึ้นมาบนศีรษะ เมื่อคืนนี้แทบไม่ได้นอนเลย” พอช่วงสายๆ คณะหลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร แห่งวัดถ้ำ�สหาย อำ�เภอ หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ได้เดินทางมากราบเยี่ยมองค์หลวงปู่ แต่เป็นช่วงเวลาที่ หลวงปู่ท่านเพิ่งจะเข้าพัก ท่านพระอาจารย์จันทร์เรียน จึงไม่อยากรบกวนเวลาพักผ่อน ขององค์หลวงปู่ จากนั้นจึงได้พาคณะศรัทธาออกเดินทางต่อไปยังวัดบรรพตคีรี (ภูจ้อ ก้อ) อำ�เภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อกราบคารวะหลวงปู่หล้า เขมปัตโต หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร เคยเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า เราเคยอยู่กับท่าน(หลวงปู่ มหาบุญมี สิริธโร) แถวๆ เขตเมืองเลย เป็นเวลาตั้ง ๙ ปีนะ ถ้าหากท่านจะออกไปเที่ยว วิเวก ท่านจะตามเราไปเฝ้าวัดให้ท่านนะ ไกลขนาดไหนก็ไปตามเรามาเฝ้าวัดให้ 296


ใต้ร่มธรรม

ของหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร


นิมิตตํ สาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี ดังนั้นพวกเราผู้ที่มีคุณธรรมที่ทำ�คุณให้เป็นคนดี เราจึงมิบังอาจที่จะลืมพระเดช พระคุณของครูบาอาจารย์ และได้ฟังคำ�สอนของครูบาอาจารย์ แล้วเราก็ปฏิบัติตามทุก อย่าง เพราะท่านสอนให้เรารู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ สอน ให้เราละความชั่วประพฤติความดี ทำ�ใจให้บริสุทธิ์สะอาด สอนให้เรารู้จักบำ�เพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ซึ่งท่านเป็นผู้นอกจากจะเป็นผู้สอน เป็นผู้แนะ แล้วท่านก็ยังเป็น ผู้นำ� หมายถึง ทำ�ให้เป็นตัวอย่างในบางครั้งท่านก็ต้องบังคับ ซึ่งอย่างเมื่อสมัยหลวงพ่อ อยู่กับท่านเป็นสามเณร ท่านบังคับให้ท่องหนังสือลาลีไวยากรณ์ เอาทางมะพร้าวล่อไว้ ที่หลัง แล้วก็บังคับให้ท่อง

298


พระโพธิญาณมุนี (หลวงพ่อเมือง พลวัฑโฒ) วัดป่ามัชฌิมาวาส อำ�เภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

ท่านได้เมตตาเล่าเรื่องเกี่ยวกับองค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๐ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๖ ไว้ดังนี้ว่า

หลวงพ่อเมือง ปรารภว่า ผมเทียวไป(หมายถึง เทียว ไปวัดป่าวังเลิง)ไม่ได้ขาดสักวันในช่วงนั้น รูปหลวงปู่ มหาบุญมี อิริยาบถท่ายืน พระลูกศิษย์ ได้ยื่นรูปหลวงปู่มหาบุญมี ท่ายืน ถือไม้เท้า ให้หลวงพ่อเมืองพิจารณาดู หลวงพ่อ ตอบว่า เออ ใช่ๆ ตอนนั้นสร้างเป็นศาลา มุงหญ้ายาวๆ อยู่กลางเกาะสระน้ำ� หลวงปู่มหาบุญมี ท่านออกมายืนอยู่ริมสระน้ำ� ผมก็อยู่ในเหตุการณ์วันนั้น เออนี่ล่ะ ต่อมาได้ไปเห็น รูปหลวงปู่อยู่ที่วัดป่าเหล่างา ไปเห็นอยู่วัดหลวงพ่อประสิทธิ์ ท่านมีงานฉลองศาลา ต่อ มาผมได้พาคุณหมอบรรพต ไปตรวจหลวงปู่มหาบุญมี ที่วัดป่าวังเลิง ท่านสมัยก็อยู่นั่น 299


ล่ะ กราบเรียนท่านเสร็จเรียบร้อย ว่า หลวงปู่คำ�หมากนี้ขอให้หมอนะครับ จากนั้น หลวงปู่มหาบุญมี ท่านก็เมตตาคลายคำ�หมากออกใส่กระดาษ ส่วนหนึ่ง นั้นท่านคลายให้คุณหมอ อีกส่วนหนึ่งท่านคลายให้ผม ผมได้เอาใส่ในย่ามตั้งแต่วันนั้น มา ผมไม่ค่อยได้ดู เพิ่งได้ดูเมื่อวันก่อน ผมก็เลยเอามาใส่ในย่ามที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้ สาธุ เด้อ หลวงปู่ ไม่ได้เข้าไปอุปัฏฐาก แต่ว่ารูปท่ายืนนี้ เห็น ๒-๓ ครั้งติดต่อกัน ไป ขอนแก่นก็ไปเห็น ไปวัดนั้นก็ไปเห็นรูปนี้ล่ะ เคยเกี่ยวข้องกับหลวงปู่ ทีนี้มีคนหนึ่งมี ศรัทธาว่าจะทำ�ไปถวายที่วัดภูผาแดง องค์หนึ่งหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน องค์ หนึ่งหลวงปู่ศรี มหาวีโร ผมก็เลยเอาขึ้นไว้บนหลังตู้สูงๆ ทีนี้หลวงปู่มหาบุญมีของเราท่านเป็นพระที่ไม่ค่อยพูดเท่าไหร่ ผมไปทุกวันๆ แต่ว่าไม่ได้ ค้างคืน ถึงวันปลงผม ผมจำ�ได้ กิริยาขององค์หลวงปู่ ลูบผมแต่ไม่มีผม นั่งอยู่บนโซฟา หลวงปู่เปลี่ยนสีนะ เมื่อดูคราวหนึ่งสีผิวพรรณ วรรณะเป็นแบบหนึ่ง เมื่อต่อมาอีกระยะ หนึ่งสีผิวพรรณ วรรณะก็เปลี่ยนเป็นอีกแบบหนึ่ง หน้าตาผิวพรรณเปลี่ยนสี เป็นสีแดง อ่อน(อมชมพู) คล้ายเด็กน้อยก็มี เรื่องนี้ผมประทับใจ แต่ไม่ได้พูด ผมมีประสบการณ์เกี่ยวกับครูบาอาจารย์ที่ตั้งไว้อยู่ที่นี่(วัดป่ามัชฌิมาวาส) องค์ หนึ่งอายุ ๘๐ กว่าปี อีกองค์หนึ่ง ๗๘ ปี คือหลวงปู่ลี ถ้าหากตั้งไว้เฉยๆ ก็เหมือนธรรมดา แต่ถ้าหากมีลูกศิษย์ญาติโยมผู้เกี่ยวข้องมากราบนมัสการ ปรากฏว่า กลิ่นจากศพองค์ ท่านจะออกมา หลวงปู่มหาบุญมีก็เหมือนกัน เวลามีครูบาอาจารย์ และญาติโยมสนิท สนมเดินทางมากราบคารวะ ปรากฏว่า กลิ่นจากสรีระขององค์ท่านจะออกมา ให้ได้ สัมผัสกับกลิ่นนั้น พวกเราก็เหมือนกันให้น้อมเข้ามาหาตนเอง เหมือนท่านจะบอกเรา ว่าไม่ให้พากันประมาท หลวงปู่มหาบุญมี ผมก็ได้ไปรับท่านมา ผมก็เปรียบเสมือน หำ�นอกสบง ผมก็ เคารพท่านมาก เอาท่านมาแล้วนิมนต์ท่านไปพักอยู่วังเลิง ผมก็ได้กำ�ลังใจหลายอย่าง จากองค์หลวงปู่ พระอาจารย์สะเทื้อน บอกว่า ได้ยินหลวงปู่มหาบุญมี พูดว่า อาจารย์ เมืองภาวนาเป็นแล้ว

ต่อมาได้กราบอาราธนานิมนต์หลวงปู่มหาบุญมี มาพักอยู่วัดป่าวังเลิง วัดป่วังเลิง 300


ผมนี้ล่ะได้ไปสร้างไว้ ก็เลยกราบนิมนต์องค์หลวงปู่มาอยู่ ด้วยบุญญาธิการของหลวงปู่ ครูบาอาจารย์ก็รู้ข่าว ญาติโยมผู้คนก็มากราบไหว้เยอะมากขึ้น ยังไม่เท่านั้นนะ มาลงใจเอากับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านเคยมาที่วัด ป่ามัชฌิมาวาส ท่านมาเห็นโบสถ์หลังนี้ แทนที่จะยกย่อง ก็เลยถูกปลุกเสกอย่างหนัก เลย ท่านว่า “โบสถ์ไม้หลังนี้ ไม้อยู่บนเมืองฟ้าเมืองสวรรค์ มันหมดหรือยัง” ความ หมายคือ ท่านจะให้เน้นเรื่องจิตใจ ไม่ให้เน้นเรื่องวัตถุ ผมเคยไปวัดป่าบ้านตาด เอา ของไปถวายท่าน ตอนนั้นยังไม่รู้ขนบธรรมเนียม เอาตู้ไปถวายแต่องค์หลวงตาฯท่านก็ เมตตา อีกต่อมาองค์หลวงตาก็มาที่นี่ล่ะ แต่ไม่ใช่ศาลาหลังนี้ พอเข้าไปกราบท่าน ท่าน ก็พูดขึ้นเลยว่า “เรามารับเป็นลูกศิษย์” (หลวงพ่อเมือง) ฟังแล้วหูอื้อเลย ตอนนั้นผมไม่เคยพูดให้ใครฟัง พูดให้แต่พระ อาจารย์อินถวายฟัง ปีที่แล้วนี้ล่ะ มีโยมคนหนึ่งมาเล่าให้ผมฟัง (คุณวิบูลย์ วินิจอักษร) โยมคนนี้มาบอกข่าวผม เรื่องหลวงปู่มหาบุญมี ว่า ท่านอาจารย์มีพระดี เป็นพระสำ�คัญมาก หลวงตามหาบัวยัง ไปกราบเลย หลวงพ่อเมือง ถามว่า คือใคร คุณวิบูลย์ วินิจอักษร ตอบว่า หลวงปู่มหาบุญมี อยู่วัดป่าภูดิน อยู่บ้านผือ อุดรฯ เขามาพูดให้ผมฟัง ผมก็ยังไม่ได้ไปนะ ต่อมาองค์หลวงปู่มาอยู่ทางจังหวัดร้อยเอ็ด คู่กับ อำ�เภอสตึก พระลูกศิษย์ ถามว่า พนมไพรใช่ไหมครับ หลวงพ่อเมือง ตอบว่า ใช่ๆ ที่ขุดสระน้ำ�ไว้ มีนกเป็ดลอยน้ำ�เล่น ศาลา คุณจิร ศักดิ์เป็นผู้ไปสร้างไว้ ตอนต่อมาผมจึงได้ไปพบท่าน คุณจิรศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ได้ทำ�บุญ วันเกิดให้แม่ของเขา ตอนนั้นผมอยู่จังหวัดภูเก็ต ประมาณร่วมเดือน ผู้จัดการธนาคาร กรุงเทพเขาซื้อที่ไว้ เขาก็นิมนต์ให้ไปแผ่เมตตาให้ (ผมก็ไม่เคยไปสักครั้ง) เสร็จธุระแล้ว ผมก็รีบกลับขึ้นมางานนี้ เพราะรู้ว่าองค์หลวงปู่จะมางานนี้ กะว่าจะได้พบหลวงปู่มหา บุญมี พอไปถึงปั๊บแล้วก็ฉันในงาน ผมก็นั่งรองท่านลงมา ท่านสมัยนี้ล่ะอุปัฏฐากกับ 301


เณรสม ทีนี้พอฉันเสร็จเรียบร้อยก็มีโครงการในใจว่าจะนิมนต์องค์หลวงปู่ไปแผ่เมตตา ให้ที่วัด ดำ�ริไปดูวัดวังเลิง และวัดดงเมืองด้วย ผมก็นั่งรถคันเดียวกับองค์หลวงปู่ มีพระ ๓ องค์ (หลวงพ่อเมือง พระสมัย เณรสม) นั่งเบาะหลังรถเก๋งคันนั้น ข้างหน้ามีองค์ หลวงปู่กับคนขับ วันนั้นออกจากห้างเสริมไทยไปต่อที่วัดวังเลิง ออกจากวัดวังเลิงจึง มาที่วัดดงเมือง(วัดป่ามัชฌิมาวาส) เสร็จแล้วถึงได้ไปส่งองค์หลวงปู่ที่วัดท่าน ที่อำ�เภอ พนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ตอนนั้นองค์หลวงปู่ยังสูบยาอยู่ ต่อมาไม่นานองค์ท่านเริ่มมี อาการป่วย ผมก็ได้ไปเยี่ยมท่านที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ผมก็เลยพูดว่า ผมก็เคยรู้จักนาย แพทย์ปัญญา โรงพยาบาลแพทย์ปัญญา อยู่ที่กรุงเทพฯ อยากจะนิมนต์หลวงปู่ไปรักษา อยู่ที่นั่น ครั้งก่อนเคยไปเยี่ยมหลวงปู่คำ�ดี ปภาโส หลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต ก็อยู่ที่นั่น คุณ หมอเลื่อมใสพระสายกรรมฐานมาก หลวงปู่วัน อุตฺตโม หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ เคยไป เมตตาเขา พอผมปรารภอย่างนั้นผมก็ได้กลับมาวัด และคิดว่า ไม่วันใดก็วันหนึ่งจะเอา องค์หลวงปู่ไปรักษาที่โรงพยาบาลนั้น ทีนี้ต่อมาไม่นานก็เลยสู้ โยมศรีไทยใหม่ไม่ได้ เขา นิมนต์ไปรักษาอยู่ที่ศิริราชก่อน เขาเคยอุปัฏฐากสมัยที่องค์หลวงปู่พักอยู่วัดป่าภูดินมา ก่อนแล้ว เขาก็ตามมารับใช้อุปัฏฐาก ทีนี้ได้ลงไปเฝ้าองค์หลวงปู่ ผมกับพระอาจารย์คูณ สุเมโธ เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่ พรรษา ๗-๘ โน้นล่ะ อยู่ด้วยกันพรรษาเท่ากัน ไปพักอยู่เกือบเดือน องค์หลวงปู่พักอยู่ ที่เรือนไทยของคุณหมอลักขณา เป็นที่สัปปายะดีอยู่ ส่วนพวกผมไม่ได้พักกับองค์หลวง ปู่ หาที่พักต่างหาก ทีนี้จะนิมนต์องค์หลวงปู่มาอยู่ที่วังเลิงอย่างเป็นทางการ วันนั้น เขาเอาสารคดีเกี่ยวกับสัตว์ป่ามาฉายให้หลวงปู่ดู ต่อมาหลวงปู่รู้สึกง่วง ลูกศิษย์ก็เลย เปลี่ยนเป็นการชกมวยมาให้ดู หลังจากดูมวยเสร็จแล้วก็นิมนต์ท่านกลับวัดวังเลิง ทีนี้ ชาวบ้านทางกาฬสินธุ์รู้ข่าวก็เกิดความศรัทธาอยากมาถวายผ้าป่าแด่องค์หลวงปู่เป็น คณะแรก ส่วนเรื่องพิธีกรรมท่านไม่ค่อยมีพิธีรีตองอะไรมากนัก ท่านก็ให้รับศีลก่อน แล้วจึงได้ถวายผ้าป่าเป็นคณะแรก มีการแห่ขบวนกลองยาว องค์หลวงปู่ไม่ค่อยชอบ องค์หลวงปู่ ไปอยู่ที่ไหน ท่านชอบให้โยมขุดสระ มาอยู่วังเลิงก็จะให้โยมขุดสระข้างกุฏิ หลวงปู่ ผมก็รู้พอผิวเผินหรอก พอจะยืนยันได้ว่าเป็นความจริง

302


หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร อริยสงฆ์ ผู้นำ�สาธุชนปฏิบัติ สู่สันติธรรม วันหนึ่ง ในช่วงประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ผมได้มีโอกาสได้เดินทางไปพบกับ อริยสงฆ์ ที่ได้นำ�ทางให้ผมเห็นวิถีสันติธรรม เหตุที่ทำ�ให้ผมได้มีโอกาสได้ไปพบ และ ปรนนิบัติหลวงปู่พระมหาบุญมีสิริธโร เป็นเรื่องอัศจรรย์ยิ่ง คุณจิระศักดิ์ ได้พาไปพบหลวงปู่ที่วัด เมื่อไปถึงก็ได้ไปกราบหลวงปู่ ว่าจะมาขอ อนุญาตตรวจ ท่านก็ยินยอมให้ตรวจ จนลูกศิษย์ก็แปลกใจ และแปลกใจไปกว่านั้น ก็คือ พอนิมนต์ให้หลวงปู่ไปตรวจที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ท่านก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือ ตอบรับ ซึ่งลูกศิษย์คือคุณจิระศักดิ์ก็บอกว่า นั่นคือการตอบรับเพราะถ้าปฏิเสธ ท่าน จะปฏิเสธทันที เมื่อได้กราบอธิบายถึงความน่าจะเป็นไปได้ของการอาพาธที่มีก้อนที่ คอเหมือนเป็นต่อมน้ำ�เหลือง อาจจะมีต้นเหตุจากในลำ�คอหรือหลอดลม แต่อาจจะใช้ 303


การตรวจด้วยเครื่อง ซีทีสแกนที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ รวมทั้งตรวจด้วยเครื่องมืออื่น ให้แน่นอน ได้นัดวันที่ว่างดูเหมือนจะเป็นวันพฤหัสบดีแล้วก็กลับ โดยไม่แน่ใจว่าท่าน จะมารับการตรวจตามข้อสันนิษฐานจากลูกศิษย์ ว่าการไม่ปฏิเสธคือการตกลงยอมรับ เพราะหลวงปู่พูดน้อยมาก ปรากฏว่าถึงวันจันทร์ นายกจิระศักดิ์โทรศัพท์มาว่า หลวงปู่จะมาตรวจวันนี้ จึง ต้องเตรียมการติดต่อแผนกรังสีวินิจฉัย โชคดีมีเวลาว่างพอแทรกได้ตอนบ่าย จึงได้ ตรวจพบว่ามีก้อนที่บริเวณคอหอยหลังโคนลิ้น ที่ภาษาแพทย์เรียกว่า พิริฟอร์ม ฟอส ซ่า( Pyriform Fossa) ซึ่งเป็นส่วนที่มักจะมีเนื้องอกพวกมะเร็งซ่อนอยู่ จะไม่มีอาการ จนกว่าจะกระจายมาที่ต่อมน้ำ�เหลือง และมีโอกาสขยายไปปิดทางเดินหายใจและ หลอดอาหาร ซึ่งอาจทำ�ให้หายใจลำ�บากและฉันอาหารไม่ได้ ได้กราบให้คำ�แนะนำ�ว่าการรักษาควรจะต้องผ่าตัดหรือฉายแสง อย่างหนึ่งอย่าง ใด หรือใช้ทั้งสองอย่างร่วมกัน ตอนมาส่งหลวงปู่ขึ้นรถ หลวงปู่สั่นศีรษะปฏิเสธ ถาม อยู่อย่างเดียว ให้ให้ยา ก็กราบอธิบายว่ายารักษา พวกคีโมนั้นมันอาจจะแรงเกินไป ท่านก็ถามอีกว่า “ยา ยา” เหมือนกับจะหยั่งรู้ว่าจะมียาอย่างอื่นที่ดีกว่ายาคีโม ซึ่งใน ส่วนตัวก็ลืมไปแล้วว่า เพิ่งได้ยาวิจัย ชื่อ ยูเครน จากเพื่อนแพทย์ชาวออสเตรีย มาทดล อง หลังจากนั้นไม่กี่วันก็ได้รับโทรศัพท์ จากคุณจิรศักดิ์ ว่าหลวงปู่อาการไม่ดี ฉันท์ อาหารไม่ได้ และมีอาการหายใจลำ�บาก จึงนิมนต์มาแอดมิตเข้าพักรักษาที่โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ เริ่มให้การรักษาตามอาการ และจะขออนุญาตใช้เข็มเจาะตรวจบริเวณ ก้อนที่คอ และจะวางแผนเพื่อให้การรักษาโดยฉายแสง หรือผ่าตัด หรือทั้งสองอย่าง แต่หลวงปู่ปฏิเสธและพูดเรื่องยา ก็เรียนหลวงปู่ว่ายาถ้าเป็นคีโม น่าจะไม่เหมาะกับ หลวงปู่เพราะร่างกายอาจจะรับไม่ได้ พอดีนึกได้ว่ามียาวิจัยชื่อ “ยูเครน” ที่ได้รับ มาจำ�นวนหนึ่งจากเพื่อนแพทย์ดังกล่าว แต่เนื่องจากเป็นยาวิจัยหลวงปู่ต้องเซ็นชื่อ ยินยอม หลวงปู่ก็พูดเล่นๆว่า จะให้เซ็นต้องรับประกันว่าฉีดแล้วจะหาย แล้วก็ไม่ได้ เซ็นแต่ยินยอมให้ฉีด ที่กล้าฉีดเพราะมีบทความและตัวอย่างการรักษาแล้วได้ผลใน ต่างประเทศแล้ว อนึ่งก่อนหน้านี้ได้ทดลองให้ยากับผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้าย ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์หลายราย พบอาการปวดอย่างรุนแรงลดลงไม่ต้องใช้ยา มอร์ฟีน บางรายมีก้อนที่ตับเล็กลงจากภาพเอ็กซเรย์ซีที อาการหลวงปู่ดีขึ้นเป็นลำ�ดับ ฉันอาหารได้ดี เสียงก็ดีขึ้นไม่แหบ หายใจสะดวก จึงได้นิมนต์ไปทำ�ซีทีสะแกนอีก พบ 304


ภาพสะแกนเนื้อมะเร็งลดลงอย่างมีนัยสำ�คัญ กราบเรียนหลวงปู่ขณะอยู่บนเตียงตรวจ ในห้องเอ็กซเรย์ จำ�ได้ว่าหลวงปู่จับมือบีบแน่นเหมือนขอบใจ เมื่ออาการดีขึ้นจึงพาห ลวงปู่กลับวัดป่าวังเลิง หลังจากนั้นก็ยังตามไปตรวจเยี่ยม มีลูกศิษย์บางคนไปทำ�ธุรกิจค้าข้าวที่เวียงจันทร์ แล้วยังไม่ได้รับเงินค่าขายข้าว มาปรึกษาหลวงปู่ หลวงปู่ห้ามไปเดี๋ยวเขาจะเอามาให้เอง ขณะนั้นลาวกำ�ลังมีการ เปลี่ยนแปลงอำ�นาจทางการเมืองโดยการปฏิวัติของทหาร ถ้าข้ามไปอาจจะไม่ได้กลับ หลังจากนั้นผ่านไปไม่นานเมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองสงบลง พ่อค้าชาวลาวก็เอาเงินมาให้ เองจริงๆ เป็นเหมือนดังคำ�ที่หลวงปู่ได้พูดไว้ล่วงหน้า ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นอานิสงส์ที่ผมได้มีโอกาสปรนนิบัติพระอริยสงฆ์ที่ได้เมตตา และได้ชี้ทางหลายอย่างระหว่างที่บุญได้ดูแลหลวงปู่ ศิษย์หลายคนบอกว่า ความ จริงหลวงปู่น่าจะละสังขารก่อนหน้านี้ แต่เหมือนหลวงปู่รอโปรดให้ผมได้มีโอกาสได้ ดูแลท่านจนแม้ในวาระสุดท้ายของท่านที่ท่านตัดสินใจไม่รับการรักษาโดยยาฉีด แต่ ก็อนุญาตให้ผมได้ผ่าตัดต่อท่อหายใจเข้าสู่หลอดลมเพราะเนื้องอกได้มาอุดทางเดิน หายใจ แต่ในที่สุดหลวงปู่ก็ละสังขารไปด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๓๕ เวลา ๑๐.๐๐ น ตรง ตรงกับวันจันทร์ แรม ๓ ค่ำ� เดือน ๕ ปีวอก สิริรวมอายุหลวงปู่ ได้ ๘๑ ปี ๖ เดือน ๖ วัน จากตัวอย่างที่ผมได้เห็น ได้รับรู้ จึงได้อาศัยแนวทางของหลวงปู่ เมื่อผมจะต้อง ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ในเรื่องใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแก้ปัญหาความขัด แย้ง การเจรจาไกล่เกลี่ย รวมถึงประชาธิปไตย ก็ได้ใช้ตัวอย่างที่มีรูปธรรมให้ผู้ฟังได้เห็น ในการสอน และเมื่อจะสอนเรื่องใด ก็จะต้องสามารถปฏิบัติให้เห็นได้จริง แนวทางการ จะไปแก้ปัญหาก็ใช้แนวคิดที่หลวงปู่สอนว่า เราต้องแก้เราเอง การจะแก้ปัญหาความ ขัดแย้งก็ต้องแก้กันเอง คนอื่นหรือคนกลางเพียงมาช่วยให้เกิดกระบวนการ เป็นต้น ข้อเขียนนี้อาจจะไม่ได้กล่าวถึงหลวงปู่ในเรื่องคำ�สอนอื่นๆ นัก แต่ได้นำ�สิ่งที่ผู้เขียนได้รู้ และเห็นในบุญบารมีของหลวงปู่ที่ได้มีโอกาสสัมผัสมาแลกเปลี่ยนกับบรรดาศิษย์และผู้ สนใจอื่นๆ ศาสตราจารย์นายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์

ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันพระปกเกล้า – ผู้อำ�นวยการหลักสูตรแก้ปัญหาความขัดแย้ง และอดีต อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันรักสคูล สู่สันติธรรม ขอนแก่น http://www.rucschool.com 305



รำ�ลึกถึงพระคุณหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ได้มาจำ�พรรษาอยู่ที่วัดป่าภูทอง ตำ�บลบ้านผือ อำ�เภอ บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๓๐ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ ผมได้ย้ายมารับราชการเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงอุดรธานี ต่อ มาวันหนึ่งผมได้มีโอกาสไปกราบนมัสการหลวงปู่มหาบุญมี ที่วัดป่าภูทอง หลังจากได้ กราบนมัสการหลวงปู่แล้ว ผมทราบว่าหลวงปู่เคร่งครัดข้อวัตรปฏิบัติและมีจิตที่เปี่ยม ไปด้วยความเมตตาอย่างสูง ผมเกิดความศรัทธาเลื่อมใสจึงถือโอกาสขอให้หลวงปู่ แนะนำ�การปฏิบัติธรรม หลวงปู่ได้เมตตาอบรมสั่งสอนแนะนำ� และเริ่มให้ผมทำ�สมาธิ ซึ่งเป็นการอบรมจิตให้เกิดความสงบ โดยกำ�หนดจิตไว้ที่คำ�บริกรรมว่า “พุทโธ” หรือ กำ�หนดจิตไว้ที่ลมหายใจเข้าและออกก็ได้ จนจิตอยู่ในอารมณ์เดียว ทำ�ให้ผมประทับใจ หลวงปู่มากขึ้นอีก ในที่สุดเมื่อถึงเย็นวันศุกร์ ผมเดินทางไปฟังธรรมจากหลวงปู่ และอยู่ปฏิบัติธรรม ที่วัดป่าภูทอง จนถึงเย็นวันอาทิตย์จึงกลับบ้าน โดยได้ปฏิบัติเช่นนี้เป็นเวลานาน ผมเห็น ว่า หลวงปู่เสมือนแม่เหล็กดึงดูดผมให้มาปฏิบัติธรรม นอกจากนั้นหลวงปู่ยังแนะนำ�ข้อ ปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกฝนอบรมทางด้านปัญญา ให้เกิดความเห็นแจ้งในความเป็นจริง โดยหลวงปู่แนะนำ�ว่า เมื่อจิตสงบตั้งมั่นดีแล้ว ให้พิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยงของ ร่างกาย เพราะร่างกายของเราเป็นกองทุกข์ และร่างกายของเราไม่ใช่ตัวตน คือให้เห็น ไตรลักษณ์ และในเรื่องของจิตก็ให้พิจารณาให้เห็นในทำ�นองเดียวกัน นอกจากนี้หลวง ปู่เน้นว่า สติเป็นสิ่งสำ�คัญมาก ให้ใช้สติดูกายดูใน ให้เห็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริง ไม่ใช่นึกเอานะ ส่วนอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ก็ให้กำ�หนดรู้ สมุทัยก็ให้ละ นิโรธทำ�ให้แจ้ง มรรค ทำ�ให้เจริญ ข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์คือมรรคมีองค์แปด โดยสรุปก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง อีกทั้งหลวงปู่ได้อธิบายรายละเอียดในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติให้ ฟังและชี้ทางให้ดำ�เนินอีกมากมาย ในการเดินทางไปกราบหลวงปู่ในระยะแรก จำ�ได้ว่าท่านให้ท่องคาถาบทหนึ่ง 307


ให้ได้ ถ้าใครท่องได้จะไม่ตกนรก ความว่า ปโตเมตตัง ปรชินัง สุคโต จุติ จิตตเมต ตัง นิพพานัง สุคโต จุติ แปลความว่า ผู้ตกสู่ห้วงเมตตา เคลื่อนจากสุคติสู่ชัยชนะอื่น ผู้มีจิตเมตตาเคลื่อน จากสุคติสู่นิพพาน ภายหลังหลวงปู่ได้ย้ายไปอยู่ที่วัดหนองเกาะ อำ�เภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ในวัน หนึ่งผมได้ไปกราบนมัสการหลวงปู่ หลังจากหลวงปู่ฉันจังหันเช้าแล้ว หลวงปู่บอกให้ พระสุทธิพงศ์ (เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม องค์ปัจจุบัน) ผมและนายสุรศักดิ์ (ขณะ นี้บวชอยู่ที่วัดป่าวังเลิง) ไปตามนายคล้ายซึ่งรู้จักกับหลวงปู่ และเป็นช่างปั้นพระอยู่ที่ จังหวัดยโสธร ให้มาปั้นพระอยู่ที่วัดหนองเกาะ โดยหลวงปู่บอกเพียงว่า นายคล้ายมา ขายข้าวที่จังหวัดยโสธร เมื่อขายข้าวแล้วจะนั่งรอรถโดยสารเพื่อกลับบ้าน อยู่ที่สถานี ขนส่งจังหวัดยโสธรนั่นแหละ ทุกคนที่ไปด้วยกันไม่มีใครรู้จักและเห็นหน้านายคล้ายมา ก่อน จึงสงสัยว่า หลวงปู่ทราบได้อย่างไรว่า นายคล้ายมาขายข้าวที่จังหวัดยโสธร แล้ว จะนั่งรอรถโดยสาร เพื่อกลับบ้านอยู่ที่สถานีขนส่งจังหวัดยโสธร เมื่อไปถึงสถานีขนส่ง จังหวัดยโสธร พวกผมถามหานายคล้ายไม่ปรากฏว่า มีนายคล้ายอยู่ที่นั่น จึงขับรถจะ กลับวัดหนองเกาะ เมื่อขับรถออกมาได้ไม่ไกลนักก็ฉุดคิดได้ว่า หลวงปู่บอกว่า นาย คล้ายนั่งอยู่ที่สถานีขนส่งจังหวัดยโสธร จึงย้อนกลับไปสถานีขนส่งอีกครั้ง ผู้โดยสาร กลับไปเกือบหมดแล้ว เห็นชายคนหนึ่งนั่งอยู่คนเดียวที่เก้าอี้ ผมเดินเข้าไปถามชายดัง กล่าวชื่อนายคล้ายใช่ไหม ชายคนนั้นตอบว่า ใช่ ผมจึงบอกว่า หลวงปู่มหาบุญมี ให้ มาตามไปปั้นพระที่วัดหนองเกาะ นายคล้ายรีบขึ้นรถมาพร้อมพวกผมเพื่อกลับไปที่ วัดหนองเกาะในทันที โดยที่นายคล้ายไม่ได้กลับไปบอกคนที่บ้านก่อน ผมกับพวกเกิด ความสงสัยว่า หลวงปู่ทราบได้อย่างไรทั้งที่หลวงปู่ไม่ได้ติดต่อกับนายคล้ายมาก่อน นับ เป็นเรื่องอัศจรรย์ใจยิ่งนัก ทุกวันนี้น้อมรำ�ลึกถึงความเมตตาที่หลวงปู่ได้อบรมสั่งสอน แนะนำ�ให้ภาวนาไม่ ว่าจะเป็นสมถะภาวนาก็ดี วิปัสสนาภาวนาก็ดี โดยวิธีอบรมจิตให้เกิดความสงบ และ อบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง ทั้งให้มีสติรู้กายรู้ใจของตน จนเห็นว่ากายก็ดี ใจก็ดี เพียงเป็นธรรมเป็นธาตุเท่านั้น หาใช่ตัวเราไม่ ธรรมะดังกล่าวเป็นธรรมะที่ลึกซึ้ง และมีคุณค่าอย่างยิ่ง แม้หลวงปู่จะละสังขารไปนานแล้วก็ตาม แต่พระคุณหลวงปู่ที่ได้ เมตตาอบรมสั่งสอนแนะนำ�ให้แก่ผมนั้นยังประทับใจผมตลอดมาและตลอดไป นายธนะพัฒน์ แจ่มจันทร์ (อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา) 308


น้อมรำ�ลึกถึงพระคุณของหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เมื่อประมาณ ๒๐ ปีเศษที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่มหาบุญมี สิ ริธโร ที่วัดป่าวังเลิง จังหวัดมหาสารคาม โดยขับรถจากขอนแก่นไปทำ�บุญช่วงวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ บ่อยครั้ง ในตอนนั้นสุขภาพยังแข็งแรงเพราะอายุไม่มากทำ�ให้ขับรถทาง ไกลเป็นเรื่องไม่ยากเกินไป ด้วยบารมีของหลวงปู่ดึงดูดจิตใจทำ�ให้ทุกอย่างสามารถ ทำ�ได้ง่ายไปหมด

อุปัฏฐากหลวงปู่ขณะอาพาธ ดิฉันได้มีโอกาสอุปัฏฐากหลวงปู่ขณะอาพาธทั้งนี้วัดป่าวังเลิงและโรงพยาบาล ศรีนครินทร์ ดิฉันและอาจารย์หมอวัฒนา สุขีไพศาลเจริญ ได้มีโอกาสติดตามอาจารย์ หมอวันชัย วัฒนศัพท์ ไปดูแลรักษาหลวงปู่ที่วัดป่าวังเลิง หลายครั้ง ซึ่งอาจารย์หมอ วันชัยจะขับรถเดินทางไปประมาณตอนเลิกงานหลังเวลาราชการ บางครั้งรถยนต์ ของอาจารย์หมอวันชัย มีปัญหาระหว่างการเดินทางไป อาจารย์หมอวันชัยจะลงไป ตักน้ำ�ในลำ�คลองข้างทางมาราดหม้อน้ำ�แล้วเอาเครื่องมือจากท้ายรถมาทำ�การซ่อม รถ เมื่อการซ่อมรถเรียบร้อยแล้วเดินทางต่อไปจนถึงวัดโดยปลอดภัย (อาจารย์หมอ ผ่าตัดนอกจากจะซ่อมคนแล้ว ยังซ่อมรถยนต์ได้อีกด้วย) มีบางวันคุณป้าแหม่ม ภรรยา อาจารย์หมอวันชัย ได้ติดตามไปด้วย หลวงปู่จะทราบว่าป้าแหม่มทานอาหารอะไรได้ บ้าง หลวงปู่จะให้ลูกศิษย์สั่งอาหารที่คุณป้าแหม่มทานได้มาเลี้ยงคณะอาจารย์หมอ เป็นที่ประทับใจอย่างยิ่ง หลวงปู่มีความเมตตาพวกเราเหมือนลูกหลาน เรื่องรังสีกับพลังจิต ขณะหลวงปู่อาพาธด้วยโรคเนื้องอกบริเวณคอชนิดหนึ่ง ศิษย์กราบเรียนแนวทาง การรักษาเนื้องอกดังกล่าวด้วยการผ่าตัดและการรักษาด้วยรังสีรักษา หลวงปู่เมตตา บอกว่ารังสีเป็นเรื่องเดียวกับพลังจิต 309


หลวงปู่ก็รู้ภาษาอังกฤษ มีครั้งหนึ่งหลวงปู่นั่งอยู่ท่ามกลางคณะแพทย์และศิษย์หลายคน หลวงปู่ปรารภ ขึ้นมาว่าหลวงปู่ก็รู้ภาษาอังกฤษเหมือนกันนะ แล้วหลวงปู่ก็เขียนคำ�ภาษาอังกฤษ “ COSMOS ” ให้พวกเราดู แล้วบอกว่าใครแปลได้ หลวงปู่จะให้รางวัล…… สรุปว่าพวก เราได้รางวัลปลอบใจ ลานวิเวกสัมผัสธรรมชาติยามเย็น ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขณะหลวงปู่อาพาธ บางครั้งหลวงปู่ได้พักรักษาตัว ณ ห้องพิเศษ ๖ก ขณะนั้นโรง พยาบาลศรีนครินทร์ ยังไม่มีหอสงฆ์อาพาธ ในตอนเย็นๆ หลวงปู่จะไปพักผ่อนกิริยา บท ณ บริเวณลานกว้างซึ่งเป็นทางเชื่อมระหว่างตึกชั้น ๖ ด้านทิศตะวันตก ตำ�แหน่ง นี้อากาศดีมาก มีลมแรง ได้บรรยากาศเงียบสงบ ยามเย็นมองเห็นธรรมชาติ เห็น พระอาทิตย์ตกดิน มองเห็นไกลถึงบึงศรีฐาน แลเห็นฝูงนกเป็ดน้ำ�บินที่บึงศรีฐานด้วย ลูกศิษย์ทั้งหลายมีโอกาสได้กราบหลวงปู่อย่างใกล้ชิดทำ�ให้จิตใจสงบดี มีความสุข ผลไม้อร่อยแบบเอกลักษณ์ไทย เนื่องจากหลวงปู่ชอบพิจารณาฉันลูกตะขบสุกซึ่งมีผลสีแดง ลูกตะขบสุกใน บริเวณมหาวิทยาลัยขอนแก่น รสชาติดีมาก หวานและมีกลิ่นหอม วิธีเก็บลูกตะขบสุก นอกจากจะยืนบนเก้าอี้แล้วยังสามารถเอารถกระบะไปจอดใกล้ต้นตะขบแล้ว ปีนไป เก็บ วิธีนี้สะดวกและเก็บได้อย่างมีคุณภาพ ลูกตะขบสุกต้องมีผลสีแดงพอดี การได้นั่งอยู่ใกล้หลวงปู่ต้องมีสติให้มากๆ การได้นั่งอยู่ใกล้หลวงปู่ต้องมีสติให้มากๆเนื่องจากหลวงปู่ทราบว่าเราคิดอะไร อยู่ ถ้าคิดผิดจากธรรมหลวงปู่จะชี้ตัวมาที่ผู้นั้นทันทีด้วยความเมตตาท่ามกลางศิษย์คน อื่นๆ ที่นั่งอยู่ด้วย ลูกศิษย์ต้องทำ�ข้อสอบให้ผ่านโดยจะสอบผ่านต่อหน้าหลวงปู่ หรือ กลับไปทำ�เป็นการบ้านก็ได้ เพราะหลวงปู่มีเมตตาที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงจิตใจลูกศิษย์ ให้เป็นคนที่มีจิตใจใหม่และดีกว่าเดิม หลวงปู่เมตตาให้ลูกศิษย์พ้นทุกข์ ตั้งอยู่ใน ทาน ศีล ภาวนา เช่นเดียวกับหลวงปู่องค์อื่น ๆ หลวงปู่สอนศิษย์ให้เป็นนักวิจัย หลวงปู่สอนศิษย์ให้เป็นนักวิจัยจิตใจตนเอง โดยเอามือชี้ตรงเข้าไปบริเวณ 310


ตำ�แหน่งหัวใจของลูกศิษย์ หลวงปู่สอนศิษย์ให้กราบไหว้พระพุทธรูป หลวงปู่จะเมตตาให้ดิฉันกับอาจารย์หมอวัฒนา นำ�ดอกบัวซึ่งมีผู้นำ�มาถวาย หลวงปู่จำ�นวนมากในแต่ละวันไปบูชาพระพุทธรูปที่พระวิหาร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ การบูชากราบไหว้พระพุทธรูปด้วยกาย วาจา ใจ ด้วยความสติ สามารถกล่อมเกลา จิตใจให้ดีงามได้อีกวิธีหนึ่ง ด้วยดิฉันมีความเชื่อว่าธรรมเกิดโดยไม่เลือก กาลและสถาน ที่ หลวงปู่สอนไม่ให้เดินเสียงดัง หลวงปู่พาคณะศิษย์เดินทางจากขอนแก่นไปจังหวัดอุดรธานีโดยขบวนรถไฟ ศิษย์ที่ไปเดินใกล้ๆ หลวงปู่เวลาเดินห้ามเดินมีเสียง ดังนั้นต้องระวังเรื่องรองเท้าด้วย ศิษย์รับมรดกจากหลวงปู่ คณะศิษย์ที่ได้มีโอกาสเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ล้วนได้รับมรดกจากหลวงปู่ด้วย กันทั้งสิ้น แตกต่างกันไปตามบุญวาสนาของแต่ละคน บางคนเป็นเศรษฐี บางคนได้ อะไรดีๆ แต่ไม่สามารถบอกใครได้ หลวงปู่ละสังขารเข้าสู่นิพพาน โรงพยาบาลศรีนครินทร์เป็นสถานที่หลวงปู่เลือกเพื่อละสังขารเข้าสู่นิพพาน ดิฉันจำ�ได้ว่าวันที่หลวงปู่ละสังขารเข้าสู่นิพพานในวันนั้น เหมือนฟ้าถล่ม หรือ ฟ้าร้องไห้ ฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักมาก เป็นเหตุให้ไฟฟ้าโรงพยาบาลศรีนครินทร์ดับ ลิฟต์ใช้ งานไม่ได้ คณะลูกศิษย์ จึงได้นิมนต์สรีระหลวงปู่ลงมาจากชั้น ๖ ด้วยการแบกหามลง มาโดยทางลาดเอียงระหว่างตึกทั้ง ๖ ชั้น เพื่อกลับวัดป่าวังเลิง จังหวัดมหาสารคาม ท่ามกลางความอาลัยของลูกศิษย์ทุกคน เรื่องของความจำ�ที่นานกว่า ๒๐ ปีเศษนี้อาจมีความบกพร่องผิดพลาด ดิฉัน กราบขอขมาองค์หลวงปู่และขอดิฉันได้รับการให้อภัยจากท่านผู้อ่านทุกท่าน โดย รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงมณเฑียร เปสี

311


กราบนมัสการ พ่อ-แม่ ครูอาจารย์ หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ลูกขอนอบน้อมถวายเศียรเกล้าแด่พ่อ-แม่ ครูอาจารย์ทุกพระองค์ สิ่งที่ลูกจะขอ กล่าวต่อไปนี้คือ ความทรงจำ�ส่วนหนึ่งที่ได้มีโอกาสรักษาพยาบาลพระหลวงปู่มหาบุญ มี เมื่อ ๒๐ กว่าปีก่อน สิ่งที่ลูกเขียนบันทึก มีสิ่งใดที่ก้าวก่ายหรือล่วงเกิน ไม่ว่าจะกาย วาจา ใจ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ลูกขอกราบอโหสิกรรม พ่อ-แม่ ครูอาจารย์ มา ณ ที่นี้ด้วย เมื่อประมาณ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๔ ดิฉันได้ถูกตามโดยเพื่อนรัก (คุณหมอ มณเฑียร เปสี) บอกให้ไปกราบหลวงปู่องค์หนึ่งมาจาก วัดป่าวังเลิง อำ�เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งดิฉันไม่เคยรู้จักมาก่อนเพื่อนบอกว่าหลวงปู่ไม่สบาย เป็นมะเร็ง ที่คอหอยส่วนต้น จะมารักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ เป็นเจ้าของไข้ เรา ๒ คน เป็นแพทย์ผู้ช่วย วันแรกที่ดิฉันได้รับความเมตตาจากท่าน คือ ท่านให้น้าปรีชา นำ�รูปถ่ายของท่าน ซึ่งใส่กรอบเรียบร้อยมาให้ ซึ่งเป็นความซาบซึ้ง ใน ครั้งแรกที่ได้กราบท่าน และได้รับความเมตตามากขนาดนี้ หลวงปู่ได้เข้าพักรักษาอยู่ที่หอผู้ป่วย ๖ก. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ อยู่ระยะหนึ่ง จึงกลับไปอยู่วัด ขณะที่อยู่โรงพยาบาล ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับวิชาแพทย์ที่ดิฉันเรียนมา ว่าที่เรารู้คือส่วนหนึ่งแต่หลวงปู่รู้มากกว่านั้น ทั่ว ๓ แดนโลกธาตุก็รู้ได้ หลวงปู่เป็นเนื้อ งอกบริเวณคอหอย อาจารย์นพ.สมชาติ แสงสะอาด บอกว่า “หลวงปู่อย่างมากไม่เกิน 312


๓ เดือนก็ต้องเจาะคอ” เพราะท่านจะหายใจเองไม่ได้ พวกเราก็คิดอย่างนั้นแต่เอาเข้า จริง ธาตุขันธ์ ของหลวงปู่ต้องเจาะคอก็จริง แต่ระยะเวลาเป็นไปอย่างช้าๆ หลวงปู่ยืด เวลาที่เจาะคอได้นานถึง๕ เดือน ท่านมาเจาะคอในระยะหลังๆ(๒๘ มีนาคม ๒๕๓๕) ก่อนมรณภาพเท่านั้น ซึ่งทำ�ให้ดิฉันเรียนรู้ได้ว่าธาตุขันธ์ ของพ่อ-แม่ครู อาจารย์ ก็เดิน ไปตามธรรมชาติของโรคทุกอย่าง แต่ความต่างกับปุถุชน คือ เกิดขึ้นหรือปรากฏได้ ช้ากว่า และเวทนาหลายๆอย่างไม่ค่อยเห็นเช่น ความเจ็บปวด ความทรมานจากธาตุ ขันธ์ ซึ่งเป็นไปได้ว่าท่านไม่ได้แสดงออก แต่ทุกๆพระองค์ก็จะลงท้ายเหมือนผู้ป่วยทั่วๆ ไป หลวงปู่เคยถามพวกเราว่า เครื่องนั้นคืออะไร (ท่านชี้ไปที่เครื่องฉายแสง) พวกเราก็ อธิบายเป็นคุ้งเป็นแควว่า เอาไว้ฉายแสงเซลล์มะเร็งให้มันยุบหรือฝ่อ เป็นการบรรเทา ชั่วคราว ท่านถามว่า “รู้จักพลังจิตไหม” พวกเราก็ได้แต่เหรอหรา เพราะรู้แต่ทฤษฎี ท่านบอกว่า “พลังจิตมีพลังงานมากกว่าพลังนิวเคลียร์มากมายนัก” พวกเราจึงถึง บางอ้อว่าเวลาพาท่านไปฉายแสง ท่านบ่นว่า ร้อนๆ แต่จริงๆแล้วพลังจิตมีอำ�นาจทะลุ ทะลวงมากกว่าพลังนิวเคลียร์มากมายนัก ปกติ เวลาที่ท่านมาอยู่ที่โรงพยาบาลจะมีคนมาเยี่ยมเยือนหลวงปู่มากมายไม่ ขาดสาย กลุ่มแพทย์ (อ.วันชัย, ดิฉัน, คุณหมอมณเฑียร) ก็จะเข้ามาดูแลกันทุกวัน ส่วน ใหญ่ ไปตอนเช้า – เย็น เนื่องจากคุณหมอมณเฑียร จะเป็นเจ้าแห่งศรัทธา ทำ�บุญอยู่ ตลอดเวลา สม่ำ�เสมอมากราบเยี่ยมหลวงปู่วันละหลายๆครั้ง ส่วนดิฉันก็ไม่ค่อยว่าง ตามประสา จึงไม่ค่อยได้เข้าไปกราบท่านบ่อยนัก มักไปตามเวลาที่กล่าว วันหนึ่ง หลวง ปู่ทักเสียงดุๆว่า “หายไปไหนทำ�ไมไม่มา ต้องให้เชิญหรือไง” จิตดิฉันตอบรับทันที คือ อึดอัด เพราะความคิดไม่ต้องการไปรบกวนท่านบ่อย ท่านจะได้ทำ�กิจวัตรทั้งส่วนตัว และรับแขก ไม่อยากเอาหน้าที่ของแพทย์ไปอ้างเพื่อเข้าพบท่านบ่อยๆ ซึ่งจริงๆแล้ว สามารถทำ�ได้ แต่ดิฉันไม่ชอบทำ�และไม่คิดทำ� ครูบาอาจารย์องค์อื่นๆดิฉันก็ปฏิบัติ เช่นเดียวกัน แต่พอหลวงปู่ทัก ก็เกิดสะดุดใจว่า เราเป็นอย่างนั้นหรือ ซึ่งตอนนั้น ดิฉัน ยังไม่รู้ตัวว่า หลวงปู่ได้ช่วยขจัดความอึดอัดเช่นนั้นให้หายโดยเราไม่รู้ตัว มารู้ว่าเกิด ประโยชน์ เมื่อคราวหลวงพ่อสนั่น รักขิตสีโล (ละสังขารแล้ว) วัดป่าสุขเกษมนิราศ ภัย อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ได้ทักเช่นนี้เช่นกัน จิตดิฉันไม่มีอาการเช่นนั้นอีกเลย จิตใจโล่ง โปร่งสบาย เป็นเหตุเป็นผลของตัวมันเอง อย่างอาจหาญ ท่ามกลางเสียง ท่าน อาจารย์สนั่น ว่าเป็นระยะๆและลูกศิษย์ท่านก็คอยห้ามไม่ให้หลวงพ่อสนั่นว่าดิฉัน แต่ ดิฉันไม่รู้สึกแล้วเพราะหลวงปู่ได้ช่วยขจัด ให้ผ่านพ้นตั้งแต่วันนั้นมาแล้วโดยไม่รู้ตัว วันหนึ่งขณะที่อยู่โรงพยาบาลหลวงปู่จะพาบรรดาลูกๆ หลานๆ ทั้งหลายไป 313


อุดรธานี โดยเหมารถไฟ ๑ โบกี้ ดิฉันมาอยู่ขอนแก่นนานมาก ไม่เคยขึ้นรถไฟเลยก็นึก รู้สึกแปลกดี และก็ยินดีที่จะไปกับหลวงปู่ทางรถไฟ แต่ไม่ได้บอกท่าน นัดกันจะออก จากโรงพยาบาลประมาณ ๐๔.๓๐ น. ดิฉันไปถึงประมาณ ๐๔.๐๐ น. คำ�แรกที่ครูบา สมัยมาบอกคือ ท่านถามว่า หมอวัฒนา มาหรือยัง ซึ่งแสดงถึงความเมตตา ที่มีให้อย่าง ดิฉันมากมาย สุดจะคณานับได้ เมื่อหลวงปู่อยู่โรงพยาบาลได้สักระยะหนึ่ง ท่านขอกลับไปอยู่วัด เมื่ออาการ อาพาธเป็นมากขึ้น อาจารย์วันชัยก็อาราธนามาอยู่โรงพยาบาล(ครั้งที่ ๒ วันที่ ๒๕ธันวาคม ๒๕๓๔) พอค่อยยังชั่วท่านก็ขอกลับวัดโดยให้พวกเราตามไปดูแล พวก เรา ๓ คน เทียวไปเทียวกลับเพื่อดูแลท่านทุกวัน โดยอาจารย์วันชัย เป็นคนขับรถ ดิฉัน นั่งหน้า อาจารย์มณเฑียร นั่งหลัง บางครั้งรถเสียกลางทางต้องพากันลงจอดซ่อม แต่ ศรัทธาไม่เคยเปลี่ยนแปลง เรายังไปกันอย่างสม่ำ�เสมอ ความทรงจำ�ที่จำ�ได้ชัดเจนคือ เมื่อท่านต้องให้เลือด หลังจากที่อาจารย์วันชัยมาส่งและแทงเส้นให้เลือดเรียบร้อยแล้ว ท่านก็กลับ เหลือดิฉันกับอาจารย์มณเฑียร นั่งเฝ้า ให้เลือดท่านอยู่ที่ศาลา ขณะอยู่ วัด ท่านก็มีภาษาอังกฤษมาให้เรียน ใครตอบได้ให้รางวัล ขนาดพวกเรา ๒ คน ความ รู้เทียบเท่าปริญญาเอก ยังตอบไม่ได้เลยว่าแปลว่าอะไร แต่ก็ยังได้รับความเมตตา ท่าน ให้ผ้าถุงมา ๒ ผืนจริงๆแล้วหลวงปู่เล็งเห็นแล้วว่า หมอผู้หญิง ๒ คน นั่งๆ นอนๆ อยู่บน ศาลา ไม่สะดวกนักในการลุกๆนั่งๆและแอบนอนจึงส่งผ้าถุงมาให้เรา ๒ คน หลังจากได้ รางวัลผ้าถุงมา หมอ ๒ คน จึงได้นอนเฝ้าหลวงปู่ด้วยความสบายใจ เมื่อวาระสุดท้ายมาถึง หลวงปู่ได้กลับเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์อีก ครั้งเป็นครั้งที่ ๓ (วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๔) และเป็นครั้งสุดท้ายของธาตุขันธ์ท่าน หลวงปู่ผอมมาก เสมหะมาก หายใจขัด ลำ�บาก จึงอนุญาตให้แพทย์เจาะคอเพื่อช่วย หายใจและระบายเสมหะ หลวงปู่มีการเปลี่ยนแปลงของธาตุขันธ์หลายอย่างที่ค่อนข้าง หนักแต่ก็ไม่ค่อยแสดงให้เห็นมากนักมีแต่อาการสงบให้เราเห็นเป็นส่วนใหญ่ แต่ความ เมตตาที่มีแก่ลูกศิษย์ลูกหาไม่ได้น้อยลงเลย ท่านปล่อยให้ธาตุขันธ์ ทำ�หน้าที่ไปตาม ธรรมชาติ วันที่ท่านสิ้น(๒๐ เมษายน ๒๕๓๕) เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นเป็นภาวะเป็น ปกติ ตอนเช้า อาจารย์วันชัยมาเยี่ยมรักษาตามปกติ และเห็นว่าหลวงปู่ไม่เป็นอะไร จึง ออกไปหมู่บ้าน อาจารย์มณเฑียร ก็ลงไปดูคนไข้ ดิฉันกราบลาเป็นคนสุดท้าย ก่อนกลับ ดิฉันตรวจดูอาการแล้วก็ดูเหมือนไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง จึงกราบลากลับบ้านไปกินข้าว เช้า ดิฉันกลับไปได้สักครู่ ยังไม่ได้เริ่มกินข้าว พยาบาลโทรมาว่าหลวงปู่มรณภาพแล้ว (ประมาณ ๑๐.๑๐ น.) แสดงว่าการกราบลาของพวกเราในเช้าวันนั้นเป็นครั้งสุดท้ายใน 314


ชีวิตของท่าน นับเป็นความเมตตาที่หาค่าประมาณมิได้ที่ท่านได้เมตตาพวกเราชาวโรง พยาบาลศรีนครินทร์ให้ได้ทำ�บุญทำ�กุศลถวายแด่ท่านเป็นครั้งสุดท้าย ในระหว่างที่ดิฉันได้ดูแลพระหลวงปู่ ดิฉันได้เห็นอะไร หลายๆอย่างในเรื่องจิต ภาวนา ดิฉันได้เห็นว่าคนหายใจด้วยอัตราการหายใจไม่ถึง ๑๐ ครั้ง ทำ�ได้อย่างไร เพราะเกิดกับตัวเราเองขณะไปรอกราบหลวงปู่อยู่หน้ากุฏิ หรือระหว่างนั่งรถมากราบ เยี่ยมท่าน จึงไม่แปลกใจว่าเมื่อมีครูบาอาจารย์ป่วยมารักษา พยาบาลมารายงานว่า ท่านหายใจไม่ถึง ๑๐ ครั้ง ดิฉันบอกว่าไม่ต้องไปรบกวนท่านปล่อยให้ท่านภาวนาไป ตามอัธยาศัย มีเหตุการณ์ที่ดิฉันคิดว่าได้รับความเมตตาอย่างสูงสุดจากท่าน คือ ขณะที่นั่งรอ หลวงปู่อยู่หน้ากุฏิ รอเวลาท่านออกมาจากกุฏิห้องพัก ดิฉันนั่งภาวนา เห็นจิตตัวเอง หลุดออกไปจากแรงดึงดูดทั้งหลายทั้งปวง มีสภาพไร้น้ำ�หนัก ไม่มีตัวตน มีแต่รู้อยู่ ครั้ง แรกที่เห็นตอบไม่ได้ว่าเป็นอะไร แต่เมื่อเห็น ๑ – ๒ ครั้ง จึงจับได้ว่ามันเป็นสภาพไร้ แรงดึงดูดเพราะดิฉันเห็นจิตที่มันกลับเข้ามาด้วยแรงยึดเหนี่ยวทีละอย่างๆจนกลับมาที่ เดิม ถ้าไม่เห็นจิตที่กลับเข้ามาดิฉันก็คงไม่รู้หรอกว่าจิตที่หลุดออกไปไร้แรงดึงดูดเช่นนั้น เป็นอย่างไร เมื่อหลังจากหลวงปู่มรณภาพดิฉันฝันว่า ได้ไปกราบท่านที่ศาลาที่วัดป่า วังเลิง เห็นอาจารย์มณเฑียรสนทนากับท่านอยู่ สักพักท่านเรียกดิฉันเข้าไปใกล้ๆ ท่าน โยนผ้าห่มสีแดงเลือดหมูที่ท่านห่มเป็นประจำ�มาให้ ซึ่งในฝันดิฉันดีใจมาก เมื่อคลี่ผ้าห่ม ดูเห็นอักษรที่ปลายผ้าห่มเขียนเอาไว้ว่า “ อยู่กับปัจจุบันจิต ปัจจุบันธรรมอันหนึ่ง วัน หนึ่งโอกาสดีจะมาถึง ” ดิฉันก้มลงกราบกับสิ่งที่เห็นแล้วหลวงปู่ก็ถามว่า ภาวนาเป็น อย่างไร ดิฉันก็เล่าให้ท่านฟังแต่ไม่ได้ยินเสียงที่ตนเองพูด แต่ได้ยินท่านพูดว่า ถ้าเช่น นั้นให้เอาผ้าห่มไปทานให้คนอื่นซะ ดิฉันตอบหลวงปู่ว่า “ เจ้าค่ะลูกจะเอาไปทานคน อื่นต่อแน่ แต่ตอนนี้ขอเก็บเอาไว้บูชาก่อนเจ้าค่ะ ”นี่คือธรรมสุดท้ายของพระหลวงปู่ที่ เมตตาต่อลูกหลาน สุดท้ายนี้ดิฉันขอกราบแทบเท้าพระหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ขอกราบอโหสิกรรม ในการกระทำ�ของลูกอันรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยกาย วาจา ใจ บุญกุศลใดๆที่ลูกได้กระทำ� มาในภพชาติต่างๆและต่อๆไป จงเป็นพลปัจจัยให้ลูกได้เห็นธรรมรู้ธรรมติดตามหลวง ปู่ไปด้วยเทอญ ด้วยความเคารพอย่างสูง รศ.พญ.วัฒนา สุขีไพศาลเจริญ 315



กราบนมัสการ พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ขอนอบน้อมกราบถวายแด่องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ สิ่งที่ข้าพเจ้าจะขอเล่าต่อไปนี้ คือ ความทรงจำ�ในอดีตที่ได้มีโอกาสพบเห็น สัมผัสและอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่มหาบุญ มี เมื่อ ๒๐ กว่าปีที่ผ่านมา สิ่งที่ข้าพเจ้าเขียนบันทึกนี้ หากมีสิ่งใดที่ไม่เหมาะสมทั้งทาง กาย วาจา ใจ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ข้าพเจ้าขอกราบอโหสิกรรมแด่ พ่อแม่ครู อาจารย์ มา ณ ที่นี้ด้วย

ศาลาฝึกสติ ข้าพเจ้ามีโอกาสได้กราบหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ที่วัดป่าภูทอง อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี พร้อมกับคุณสะเทื้อน (ปัจจุบันคือเจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม) ได้ พบหลวงปู่ครั้งแรกที่ศาลาฉัน ภัตตาหาร และเป็นที่ต้อนรับญาติโยมที่มาทำ�บุญ ศาลา นี้หลังนี้ญาติโยมที่ไปวัดภูดินรุ่นเก่าจะรู้จักเป็นอย่างดี เป็นศาลาที่หลวงปู่สร้างไว้ให้ ญาติโยมฝึกสติ เพราะเวลาเดินไปมาในศาลา ถ้าใครไม่มีสติไม่มีความระมัดระวังแล้ว หน้าผากจะชนคานเกือบทุกครั้ง ข้าพเจ้าเคยชนไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง เมื่อหลวงปู่ท่าน ทราบท่านก็จะดุเสมอๆ ว่า “ขาดสติ” ข้าพเจ้าจึงเข้าใจอุบายธรรมจากหลวงปู่ว่า สติ จะเป็นตัวควบคุมกาย วาจา และใจ ของเราเอง

ผญา ธรรม (ความขยัน) ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าได้มีโอกาสรับใช้หลวงปู่ โดยนำ�คณะครู อาจารย์ และนักศึกษา จากวิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี ไปช่วยหลวงปู่ก่อสร้างรั้ววัด ก่ออิฐแดงรอบวัด โดยจะ ไปกันในวันหยุดสุดสัปดาห์ บางรายที่ไปทำ�งาน คนจำ�นวนมากบางคนก็ตั้งใจทำ�งาน อย่างเต็มที่บางคนก็ทำ�แบบพอปานกลางไม่ค่อยทุ่มเท หลวงปู่ท่านก็จะให้คติสอนใจ เป็นผญาภาษาอีสานเพื่อให้ได้ข้อคิดว่า “ใจประสงค์สร้าง กลางดงกะว่าบ้าน ใจขี้คร้าน กลางบ้านกะว่าดง” อิฐแดงสำ�หรับทำ�การก่อสร้าง คุณอภิราม อยู่ที่กรุงเทพฯ ลูกศิษย์ ของหลวงปู่เป็นผู้ถวายทั้งหมด 317


ผญา ธรรม (สายสัมพันธ์) ณ เหตุการณ์ครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าได้มีโอกาสสนทนากับหลวงปู่ เรื่องความสัมพันธ์ ของญาติพี่น้อง หลวงปู่ก็จะสอนข้าพเจ้าเป็นผญาภาษาอีสานว่า “แก้วสามปีบ่ขัดเป็น แฮ่ พี่น้องบ่แหว่สามปีเป็นอื่น” หลวงปู่ท่านคอยตักเตือนเสมอว่า อย่าคิดและพูดถึง เรื่องที่ผ่านมาแล้ว มันไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น คิดก็เมื่อยเปล่าๆ ไม่เกิดประโยชน์

ความสุข ๒ อย่าง มีอยู่คราวหนึ่ง ข้าพเจ้าจะนั่งคอยปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่ ณ วัดป่าภูทอง ในช่วงเย็นหลวง ปู่ท่านจะเดินจงกรมเป็นประจำ� เมื่อเดินเสร็จแล้วหลวงปู่ก็จะมานั่งพัก บรรยากาศช่วง เย็นสมัยนั้นมียุงจำ�นวนเยอะมาก แล้วมียุงบางกลุ่มมากัดกินเลือดที่ขาหลวงปู่เต็มไป หมด ยุงแต่ละตัวกินเลือดท่านอิ่มจนท้องป่อง พอข้าพเจ้าเห็นเหตุการณ์ดังนั้นแล้วก็ไม่ ได้คิดอะไร เพราะความเป็นห่วงสุขภาพของหลวงปู่ ข้าพเจ้าจึงเอื้อมมือจะไปตบ ทันใด นั้นหลวงปู่ก็รีบเตือนสติข้าพเจ้าทันทีว่า อย่าไปทำ�ร้ายเขา ยุงมันก็อาศัยเลือดเราเป็น อาหาร เขาก็อยากมีชีวิตอยู่ และสอนข้าพเจ้าต่อไปว่า โตฮู้บ่ สุขมีอยู่ ๒ อย่าง ๑. สุขเพื่อเน่า ๒. สุขจนไม่มีที่จะสุข

พระคาถาเจริญเมตตา ความเมตตาธรรมของหลวงปู่ ท่านได้เมตตาต่อครอบครัวของข้าพเจ้ามาก โดย หลวงปู่ได้เขียนบทสวดเจริญเมตตาพรหมวิหารเทวดา ด้วยมือของหลวงปู่เองแล้วมอบ ให้แก่แม่บ้านของข้าพเจ้า และหลวงปู่ท่านบอกให้สวดทุกครั้ง หลังจากที่เราบำ�เพ็ญ บุญ และสวดภาวนาก่อนนอนทุกคืนเป็นประจำ� หลวงปู่ท่านเมตตาเขียนบทสวดคาถา เมตตาภาวนา แล้วให้นำ�ไปพิมพ์แจกเป็นธรรมทานทั่วไป เพื่อผู้ที่สนใจใคร่ปฏิบัติธรรม จะได้สวดเจริญตามพระคาถานี้

ให้ความสำ�คัญของการศึกษา หลวงปู่ท่านได้เห็นความสำ�คัญของการศึกษา โดยท่านได้ให้คณะศิษย์จัดตั้ง มูลนิธิหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ที่โรงเรียนบ้านผือพิทยาสรรค์ อำ�เภอบ้านผือ จังหวัด อุดรธานี โดยมอบหมายความไว้วางใจให้คุณทนันชัย ตรังคานุกูลกิจ เป็นผู้ดำ�เนิน การนำ�ดอกผลของเงินมูลนิธิไปช่วยเหลือเด็กนักเรียนในอำ�เภอบ้านผือ ที่เรียนดีแต่ ยากจน มูลนิธิได้เจริญอยู่จนถึงทุกวันนี้ 318


สงเคราะห์ พัฒนาชุมชนบ้านเมือง หลวงปู่ท่านได้มองเห็นความสำ�คัญ และความจำ�เป็นของการคมนาคม ใน ระหว่างที่ท่านพักอยู่วัดป่าภูทอง ท่านได้ให้คณะศิษย์ดำ�เนินการ สร้างถนนหนทางเป็น เส้นทางเชื่อมต่อระหว่าง ทางเลี่ยงเมืองของอำ�เภอบ้านผือ ต่อไปอำ�เภอสุวรรณคูหา ซึ่ง ปัจจุบันนี้ก็คือ ถนนรอบเมืองของอำ�เภอบ้านผือ ซึ่งสามารถย่นระยะทาง ช่วยประหยัด เวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง นับเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลแก่ประชาชนชาว อำ�เภอบ้านผือและอำ�เภอใกล้เคียงได้เป็นอย่างมาก (วัดป่าภูทอง ในอดีตแต่ก่อนชาว บ้านแถบนั้นมักจะพากันเรียกชื่อวัดว่า วัดป่าภูดิน) สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าขอกราบแทบเท้าพระหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ขอกราบ อโหสิกรรมในการกระทำ�อันรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ด้วยกาย วาจา ใจ บุญกุศลใดๆ ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำ�มาในอดีตชาติ และภพปัจจุบัน ขอจงเป็นพลปัจจัยให้ข้าพเจ้าได้มีดวงตาเห็น ธรรมตามรอยของหลวงปู่ไปด้วยเทอญ ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง อาจารย์วีรพงษ์ 319


บันทึกความทรงจำ�

เรียงถ้อยร้อยธรรมหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

“มีชื่อบ่ให้ปรากฏ มียศบ่ลือชา” อมตวาจาองค์หลวงปู่ จากการที่ ไ ด้ มี โ อกาสถวายงานรั บ ใช้ ต ลอดทั้ ง ทำ � ข้ อ วั ต รต่ อ องค์ ห ลวงปู่ จ น กระทั่งวาระสุดท้ายที่องค์ท่านละสังขาร ทำ�ให้ได้ความรู้ในการทำ�ข้อวัตร อุปัฏฐาก ครูบาอาจารย์มาจนกระทั่งทุกวันนี้ ได้มีโอกาสวาสนาได้รู้จักครูบาอาจารย์มากมาย หลายองค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นครูบาอาจารย์องค์สำ�คัญ ที่เป็นกำ�ลังหลักในวงศ์กรรมฐาน ยุคปัจจุบัน เหตุเพราะเมื่อถึงคราวที่บรรดาลูกศิษย์ได้จัดงานต่างๆ ถวายองค์หลวงปู่ เช่น งานครบรอบวันเกิดท่าน ซึ่งจะจัดทุกวันขึ้น ๑๑ ค่ำ� เดือน ๑๑ ของทุกปี โดยองค์ หลวงปู่ท่านให้ถือเอาวันทางจันทรคติเป็นหลัก งานทอดกฐินและงานอื่นๆ จะมีครูบา อาจารย์เดินทางมาร่วมงานจำ�นวนมาก เรียกว่า ทั่วทั้งภาคอีสานก็ว่าได้ ไม่เฉพาะวัน งานเท่านั้น วันอื่นๆ ก็จะมีครูบาอาจารย์ได้เดินทางมากราบคารวะหลวงปู่อยู่เสมอ ทำ�ให้มีโอกาสได้อุปัฏฐากรับใช้ดูแลครูบาอาจารย์ทุกองค์ที่มา และได้รับความเมตตา จากองค์ท่านจนทุกวันนี้ แสดงให้เห็นว่าองค์หลวงปู่เป็นที่เคารพบูชาและรู้จักอย่าง กว้างขวางในบรรดาพระกรรมฐานในสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ด้วยองค์หลวงปู่เป็นผู้มีความสันโดษสมถะ เป็นอยู่อย่างเรียบง่าย พูดน้อย จึงไม่ ค่อยปรากฏประวัติของท่าน เคยมีพระแอบนำ�เครื่องบันทึกเสียงเพื่อบันทึกเสียงท่าน เวลาท่านพูดถึงเรื่องราวการปฏิบัติธรรม ท่านจะดุและว่า อัดทำ�ไม ให้จำ�เอาใส่ใจนี่ และ ท่านก็ไม่ค่อยกล่าวถึงประวัติท่าน เคยได้ยินครูบาอาจารย์เล่าว่า องค์หลวงปู่ เคยตั้งจิต อธิฐานไว้ว่า ขอให้ได้มรรคผลนิพพาน หากได้จะขออยู่อย่างพระธรรมดา ไม่หวังในชื่อ เสียง ลาภ ยศ ใดๆ ด้วยเหตุนี้องค์ท่านเลยอยู่อย่างเรียบง่ายธรรมดา ไม่ค่อยปรากฏชื่อ 320


เสียงเท่าใด นอกจากในหมู่พระด้วยกันเท่านั้นที่จะรู้ถึงปฏิปทาและภูมิธรรมองค์ท่าน องค์ท่านจะเน้นการปฏิบัติภาวนา ท่านจะอบรมให้พระตั้งใจปฏิบัติ เดินจงกรมภาวนา หากมีข้อสงสัยใดๆ นำ�มากราบเรียนถามองค์ท่านจะแก้ปัญหาให้ บันทึกความทรงจำ�นี้เป็นการนำ�มาถ่ายทอดจากบันทึกไดอารี่ และความจำ� ทั้ง ที่ระหว่างเป็นฆราวาสและบรรพชิต ในช่วงที่องค์หลวงปู่มาพักจำ�พรรษา ตั้งแต่วัน อาทิตย์ที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๓๓ จวบจนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งการละสังขารขององค์ ท่าน ขอทำ�ความเข้าใจก่อนว่า การนำ�บันทึกความทรงจำ�มาถ่ายทอดนี้เพียงเพื่อ ต้องการถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตให้ทราบว่า การชีวิตอยู่ภายใต้บารมีธรรมองค์ท่าน การพูดคุยสนทนากับองค์ท่านเปรียบเสมือนพ่อกับลูก ฉะนั้นมีทั้งเข่นทั้งดุทั้งปลอบ ทั้งสอน ครบทุกรสเป็นอยู่เรียบง่ายแต่ทุกคนทั้งพระและฆราวาสต่างก็เทิดทูนบูชา คุณธรรมองค์หลวงปู่อย่างเหนือเศียรเหนือเกล้าอย่างหาที่สุดมิได้

วันพุธที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๓

ณ วัดป่าวังเลิง ช่วงหัวค่ำ�คณะพระอุปัฏฐากกำ�ลังนั่งทำ�ข้อวัตร (จับเส้นใช้พัดไล่ ยุงถวายองค์หลวงปู่) มีพระสมัย สามเณรสมพร กับข้าพเจ้า องค์หลวงปู่ได้กล่าวสอน ธรรมขึ้นมาว่า “ให้เดินจงกรมบ้าง เป็นการฝึกสมาธิไปด้วยในตัว จะได้มีสติ เป็นพระ ให้รู้จักวินัย บ่มีวินัยก็คือบ่มีธรรม มีธรรมแต่บ่มีวินัยก็บ่มีประโยชน์อะไร ต้องมีวินัย ก่อนจึงมีธรรม”

วันอังคารที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๓๓

ข้าพเจ้ากลับจากทำ�งานก็เข้าไปวัดป่าวังเลิง พบองค์ท่านกำ�ลังนั่งพักผ่อน จึง เข้าไปกราบแล้วขอโอกาสท่านเข้าไปถูกุฏิ ได้เวลาสรงน้ำ�ก็ไปร่วมกับพระสรงน้ำ�องค์ ท่าน แล้วเรารีบออกมาจัดที่นั่งไว้รอ ขณะนั้นเวลา ๑๘.๐๐ น. หลังจากนำ�องค์ท่านนั่ง พักผ่อนแล้ว ข้าพเจ้ากับพระนั่งอยู่คนละข้างถือพัด พัดลมถวายท่าน พอได้โอกาสแล้ว ก็กราบเรียนถามท่านว่า กราบขอโอกาสหลวงปู่ครับ ผมขอโอกาสเรียนถามหลวงปู่ ครับ ผมนั่งภาวนาทำ�ไมไม่ไปไหนมาไหนสักที องค์ท่านตอบติดตลกว่า “เอ้า ซิให้มันไปไส 321


ทั้งพระและข้าพเจ้าหัวเราะ องค์ท่านก็หัวเราะเช่นกันเบาๆ ข้าพเจ้าก็กราบเรียน ต่อว่า คือมันเป็นอย่างนี้ครับ ถ้าจะเปรียบการภาวนาของผมกับการเรียนหนังสือแล้ว รู้สึกว่า มันไม่ได้เลื่อนชั้นสักที เรียนอย่างไงก็อยู่อย่างนั้น ไม่รู้จะจับจุดอย่างไร ไม่รู้ว่า อย่างไรคือความพอดี การวางอารมณ์อย่างไร แล้วทำ�อย่างไรจะทำ�จิตให้นิ่งได้นานๆ จิตบางทีสงบอยู่แพ๊บเดียวแล้วก็เผลอออกมาคิดเรื่องต่างๆ คุมจิตให้นิ่งไม่ได้สักที องค์ท่านได้เมตตาตอบว่า “ซิให้มันสงบดังใจเราทันทีได้ยังไง ต้องค่อยๆ ปฏิบัติ ไปเรื่อยๆ อย่าใจร้อน อย่าคิดอยากได้นั่นอยากได้นี่ อยากเห็นนั่นเห็นนี่ ให้ตั้งสติอยู่ที่ การภาวนา วางอารมณ์ไว้ที่ท้องก็ได้ กำ�หนดรู้อยู่เฉพาะส่วนนั้น จะกำ�หนดอานาปาน สติหรือคำ�บริกรรมพุทโธก็ได้ หากเมื่อมีความสงบนิ่งอยู่เพียงนิดเดียวก็ยังดีสำ�หรับ ฆราวาส เมื่อสงบนิ่งแล้วก็ค่อยๆ ใช้ความนิ่งกำ�หนดให้นิ่งอยู่นานๆ ต้องค่อยๆ ตะล่อม อย่าไปข่มมาก เอาให้พอดีๆ แข็งมากก็ไม่ดี อ่อนไปก็ไม่ไหว ต้องให้พอดีๆ ทำ�อย่างนี้ ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็รู้ของมันเองไม่ต้องไปกังวลอะไร การอ่านหนังสือ ฟังเทปธรรมก็ดี เป็นการศึกษาแต่อย่าเอามาถือเป็นอารมณ์ในการภาวนามันจะเกิดการกังวล ให้วางไว้ แล้วเอาแต่การกำ�หนดภาวนาอย่างเดียว” น่าอัศจรรย์แท้ ที่องค์หลวงปู่ท่านกล่าวมาทั้งหมด ช่างตรงกับที่เรากำ�ลังเราเป็น อยู่โดยแท้

วันเสาร์ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๓

เช้าหลังฉันจังหัน มีครอบครัวหนึ่งเป็นเชื้อสายชาวจีน จากตลาดมากราบทำ�บุญ อุทิศให้เตี่ย(บิดา)ที่เสียชีวิตและพวกเขาจะพากันออกจากทุกข์ ตามธรรมเนียมชาวจีน ที่ใช้เศษผ้าสีดำ�กลัดไว้ตรงไหล่เสื้อ องค์หลวงปู่ถามว่า “มาจากไหนมีธุระอะไร” พวกเขาตอบว่า มาจากตลาด มาทำ�บุญอุทิศให้เตี่ย และจะออกทุกข์ องค์หลวงปู่เลยถามกลับว่า “ออกได้จริงๆ เหรอ ทุกข์” (เป็นการถาม ที่มีความหมายแฝงธรรมของหลวงปู่ ให้คนฟังได้คิด แล้วนำ�ไป พิจารณาว่า เรื่องการออกจากทุกข์ ไม่ใช่ว่านึกเอาหรือคิดเอา อยากจะออกเมื่อไหร่ ก็ได้ เพราะตามคำ�สอนของครูบาอาจารย์ คือ การจะออกจากทุกข์ได้ จะต้องเห็นภัย เห็นโทษในวัฏสงสารเท่านั้น)

322


วันอังคารที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๓๓

วันนี้พระอุปัฏฐากกำ�ลังรอทำ�ข้อวัตร สรงน้ำ�องค์หลวงปู่ ได้ธรรมเตือนใจใน ขณะจะสรงน้ำ�องค์ท่าน คือหลังจากประคององค์ท่านมานั่งตั่งสรงน้ำ�เรียบร้อยแล้ว พระผสมน้ำ�ร้อนกับน้ำ�เย็นไม่ได้ส่วนที่พอดีกับธาตุขันธ์ของท่านที่เคยทำ�มาเป็นประจำ� ทำ�ให้ต้องเทน้ำ�เพิ่มไปมาหลายครั้ง องค์ท่านเลยกล่าวขึ้นว่า “นี่แหละการทำ�อะไร ก็ตาม ถ้าขาดความรอบครอบหรือความพอดีไม่ได้ จะทำ�ให้เสียของ จำ�ไว้ ก่อนจะทำ� อะไรให้พิจารณาให้ดี จะได้ไม่เสียของ น้อยไปก็ไม่ดี มากไปก็ไม่ดี ให้พอดีๆ”

วันอังคารที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๓

วันนี้คณะศิษย์ทำ�ข้อวัตรเสร็จตอนเย็น เวลาประมาณ ๑๘.๓๐ น. จึงเข้าไปกราบ องค์หลวงปู่ พอดีครูบาสังคมได้อ่านหนังสือถวายองค์หลวงปู่อยู่ก่อนแล้ว กับครูบาบุญ ยังและพระอีก ๑ องค์ หลังจากอ่านหนังสือเสร็จแล้ว องค์ท่านก็ได้คุยเรื่องราวต่างๆ ให้ ฟัง ซึ่งพอสรุปคำ�สอนในเรื่องราวที่องค์ท่านเมตตากล่าวให้ฟังได้ดังนี้ - คนเรามีเงินมากเท่าใด ถึงจะเป็นเศรษฐี ถ้าไม่มีความสุขใจ มีแต่ความทุกข์ใจก็ ตายเร็ว อายุไม่ยืน - คนเราหากอวดฉลาด โง่ไม่เป็น มันก็จะโง่อยู่อย่างนั้นล่ะ อวดฉลาดทำ�ไม ถ้า ฉลาดจริงๆ มันก็สำ�เร็จมรรคผลแล้วซิ จะมานั่งโง่อยู่อย่างนี้ทำ�ไม ถ้าจะเด็ดเดี่ยวก็ให้ เด็ดเดี่ยวให้ถูกทาง ให้ได้อรรถได้ธรรม อย่าเด็ดเดี่ยวอย่างไม่เป็นท่า - การปฏิบัติภาวนาให้ทำ�ไปเรื่อยๆ เป็นนิจศีล อย่าขี้คร้านทำ�ไปเรื่อยๆ มันจะ เกิดผลของมันเอง เปรียบคือฝนตก ตกหลายก็ดีตกพรำ�ๆ ก็ดี แต่ตกทุกวันสม่ำ�เสมอ มันก็ทำ�ให้ข้าวกล้าเจริญงอกงามได้ แต่ถ้าตกไม่สม่ำ�เสมอ นานๆ ตกสักที ข้าวกล้ามันก็ เหี่ยวแห้งตาย ก็คือฆ่าเจ้าของ เพราะฉะนั้น ให้ตั้งใจปฏิบัติภาวนาให้สม่ำ�เสมอทุกๆ วัน เป็นนิจศีล มันก็จะเกิดผลของมันเปรียบดังต้นข้าว (แต่องค์หลวงปู่ก็ยังกล่าวถ่อมตนใน ขณะที่กล่าวสอนธรรมต่ออีกว่า) “เจ้าของก็ได้แต่เว้าบอกเฉยๆ ดอกว่า ให้นั่งภาวนา ทุกวันนี้เจ้าของก็บ่เคยนั่งภาวนาสักทีดอกมีแต่บอกคนอื่น”

วันอาทิตย์ที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๓๓

วันนี้ไม่ค่อยมีญาติโยมมากราบองค์หลวงปู่ ข้าพเจ้าจึงได้กราบเรียนถามท่าน ว่า ปีหน้าผมตั้งใจจะบวชกับหลวงปู่ และจะทำ�บุญอุทิศส่วนกุศลให้คุณพ่อ มีวิธีการ 323


อย่างไรครับที่จะให้ได้บุญแก่บุพการีผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และผู้ที่ทำ�บุญ ส่วนการที่จะทำ� เป็นธาตุใส่กระดูก คุณพ่อผมไม่อยากจะทำ�ตามที่โลกเขานิยมกัน เอาเงินที่จะซื้อธาตุ มาซื้อของทำ�บุญน่าจะดีกว่าครับ องค์หลวงปู่ท่านตอบว่า “ก็ทำ�บังสุกุลเฉยๆ นี่ละ ส่วนธาตุนั้นพระพุทธเจ้า พระ ปัจเจกพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระราชาจักรพรรดิ เขาจึงทำ�กัน คนธรรมดาไม่ เหมาะสม ถ้าจะบวชก็ทำ�เรื่องลาบวชเท่านั้น”

วันจันทร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔

วันนี้ช่วงบ่ายมีญาติโยมจำ�นวนมากมากราบท่าน จากอำ�เภอวาปีปทุม อำ�เภอ บรบือ อำ�เภอบ้านไผ่ และตัวเมืองมหาสารคาม มีผู้หญิงคนหนึ่งโชคดีได้รับโชคลาภ ตามที่โลกเขานิยมกัน พาเพื่อนมากราบองค์หลวงปู่ คราวนี้คงอยากได้อีก ก่อนกราบ ลาได้กราบเรียนองค์หลวงปู่ว่า หลวงปู่ให้ฝนตกหนักๆ แน่เด้อค่ะ ทางบรบือ องค์หลวง ปู่ตอบว่า “อยากได้ให้ภาวนาเอา” เมื่อคณะนั้นลากลับแล้วเป็นเวลาเย็นมากประมาณ ๑๗.๐๐ น. คงเหลือข้าพเจ้ากลับสามเณรสมพร เห็นเป็นโอกาสดีเลยกราบเรียนถาม องค์ท่านว่า หลวงปู่ครับ การทำ�บุญถวายสังฆทาน กับถวายบังสุกุลมีวิธีการยังไง แตก ต่างกันยังไงครับ และอานิสงส์ได้อย่างไรครับ หลวงปู่ ตอบว่า “มันก็ไม่เหมือนกันนะ สังฆทานจะต้องมีพระอุปโลกน์ การรับ จะต้องมีพระครบ ๔ องค์ ต้องมีอัฐบริขาร ๘ ครบ อันนี้ได้อานิสงส์ประมาณกัลป์บ่ได้ ส่วนบังสุกุล ก็ถวายธรรมดานี่ล่ะอานิสงส์ได้ ๖๐ กัลป์” ลูกศิษย์ ถาม สังฆทาน ถ้าไม่มีบริขาร ๘ จะได้ไหมครับ หลวงปู่ ตอบว่า ได้เหมือนกัน ลูกศิษย์ ถาม ส่วนบังสุกุล การถวายจะถวายกับมือหลวงปู่หรือจะวางไว้เฉยๆ หลวงปู่ ตอบ แบบไหนก็ได้เหมือนกัน ลูกศิษย์ ถาม ส่วนการทำ�บุญอุทิศกุศลให้คนตาย เช่น พ่อแม่ญาติพี่น้อง ครั้นเขาตายไป แล้วหลายปี ๑๐ ปี ๒๐ ปี เขาก็ยังได้อยู่เหรอครับ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าเขาไปเกิดหรือยัง หลวงปู่ ตอบ ได้อยู่ ถ้าเขาอนุโทนาด้วย ถ้าไปเกิดแล้วก็เป็นอันแล้วกันไป

วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔

วันนี้คณะศิษย์ไปทำ�บุญเนื่องในวันมาฆบูชา ณ วัดป่าวังเลิง องค์หลวงปู่ยังไม่ 324


ออกมา จึงได้ทำ�ข้อวัตรกวาดถูกุฏิหลวงปู่ พอทำ�เสร็จองค์ท่านก็ออกมาพอดี มีญาติโยม จากอำ�เภอบรบือ ทำ�งานอยู่ที่ธนาคารกรุงไทย มากราบขอบารมีหลวงปู่ว่า หลวงปู่ช่วย แผ่เมตตาให้หนูหน่อย หนูเป็นหนี้เขาอยู่ ๖๐,๐๐๐ บาท แต่หนูไม่ได้สร้างขึ้นเอง น้อง เป็นคนทำ�หนี้ไว้หนูเลยรับปากว่าจะช่วย องค์ท่านตอบว่า โอ๊ย ไม่รู้จะเอาอะไรช่วยแหละ มีแต่จะให้พวกเจ้าภาวนาเอา ทำ�เป็นไหมล่ะ ไหว้พระ สวดมนต์ภาวนา ภาวนาทำ�ให้ใจสงบ ไม่ได้ทำ�เอาอะไรนะ เอา จิตไว้เนี่ย (ท่านตบไปที่หน้าอกท่าน) อย่าส่งไปตามอารมณ์ภายนอก ทำ�ทุกวัน เช้าก็ทำ� เย็นก็ทำ� ได้วันละหน่อยก็ยังดี ทำ�ไปเรื่อยๆ มันหากจะเป็นเองหรอก ทำ�เป็นแล้วมัน สงบนะ มันสบายไม่วุ่นวาย

วันพุธที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๓๔

วันนี้คณะศิษย์ได้เดินทางไปกับองค์หลวงปู่ ซึ่งนายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์ คณบดีแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น ได้กราบอาราธนา นิมนต์องค์หลวงปู่ไปตรวจเช็ดอาการป่วยที่บริเวณลำ�คอ ภายในช่องปากลงไป ในคณะ มีท่านจิรศักดิ์ คณาสวัสดิ์ เป็นผู้นำ�ไป ก่อนออกจากวัด ฝนซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะตกมาก่อน ได้กระหน่ำ�ตกลงมาอย่างแรง ขณะจะออกเดินทางจากวัดในเวลา ๑๒.๐๐ น. พอดี ออก จากวัดได้ระยะทาง ๒ กิโลเมตร ปรากฏว่า ฝนก็หยุดตก เมื่อถึงโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เวลาประมาณ ๑๓.๓๐ น. คณะแพทย์ได้จัดห้องรับรองอย่างดี และได้ดำ�เนินถวายการ ตรวจองค์หลวงปู่ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เพราะได้เตรียมการไว้เรียบร้อยแล้ว มีนาย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านโรคมะเร็งลำ�คอด้านในปาก ถวายการตรวจอย่างดียิ่ง ซึ่งรวม ทั้งการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์เอกซ์เรย์ การตรวจคลื่นหัวใจ มีเรื่องที่ถ้าว่าเป็น ปรากฏการณ์มหัศจรรย์ก็น่าจะใช่ คือ เมื่อแพทย์นำ�เครื่องมือวัดคลื่นหัวใจมาแปะยัง จุดต่างๆ ขององค์ท่าน เช่น หน้าอก ลำ�ตัว แขน ขา แพทย์ก็ทำ�การเดินเครื่องตรวจ กระดาษกราฟก็ไหลออกมาจากเครื่อง แต่ไม่ปรากฏเป็นเส้นกราฟแสดงการทำ�งาน ของคลื่นหัวใจ แพทย์ก็ตรวจสอบดูที่เครื่องอีกครั้งก็ปรกติดี ตรวจดูทุกจุดที่แปะไว้ตาม ร่างกายองค์ท่านก็เรียบร้อยดี พระอุปัฏฐากได้บอกนายแพทย์ว่า กราบขอโอกาสหลวง ปู่ท่านก่อนซิ ท่านนายแพทย์วันชัย เลยยกมือประนมกราบองค์ท่านแล้วกล่าวว่า ผม กราบขอโอกาสท่านหลวงปู่ตรวจดูการทำ�งานของหัวใจครับผม หลวงปู่ ท่านพยักหน้า แล้วออกเสียงเบาๆ ว่า เอ่อ 325


แล้วนายแพทย์วันชัย ก็ไปดูที่เครื่องอีกครั้ง แล้วกล่าวว่า อ้าว ลืมกดปุ่มตรงนี้ เลยกดปุ่มตัวที่ว่า ปรากฏว่าเครื่องทำ�งานทันทีเลย ซึ่งผลกราฟออกมาสรุปว่า อาการเต้นของหัวใจอยู่ในเกณฑ์ปรกติ มันน่าแปลก ตรงที่ว่า เครื่องมือที่นายแพทย์ใช้อยู่ทุกวัน ทำ�ไมกลับลืมกดปุ่มที่อยู่ตรงหน้าแท้ๆ ได้ แต่เมื่อกราบขอโอกาสท่าน กลับมองเห็นปุ่มที่นั่น จากนั้นก็ไปตรวจที่ห้องต่างๆ อีก หลายห้อง จนครบกระบวนการ ผลสรุปจากการตรวจครั้งนี้ นายแพทย์วันชัย ได้กราบ เรียนถวายองค์หลวงปู่ว่า ลักษณะอาการที่ตรวจจากภายนอกและผลเอกซ์เรย์ อัลตร้า ซาว์ด ท่านมีเนื้องอกภายในลำ�คอ บริเวณด้านหลังกล่องเสียง ติดกับท่อทางเดินอาหาร และท่อหายใจซึ่งเนื้องอกนี้น่าจะเป็นมะเร็งในระยะเริ่มแรก ซึ่งวิธีการรักษามีอยู่ ๒ วิธี คือ ๑.ผ่าตัดเอาเนื้องอกนี้ออก ๒.ฉายรังสีทำ�ลายก้อนเนื้อ แต่ในลักษณะอาการหลวงปู่ท่าน ถ้าทำ�ฉายแสงก็จะหายได้ ขอองค์หลวงปู่ได้ โปรดพิจารณาว่าจะเหมาะสมอย่างไร ปรากฏว่า หลวงปู่ตอบว่า ไม่ทำ�อะไรสักอย่างแหละ ทิ้งไว้อย่างนี้แหละ เดี๋ยวมันก็หาย หรอก ซึ่งคณะนายแพทย์ได้เพียรพยายามกราบอ้อนวอน แสดงถึงเจตนาและผลของ การฉายแสง ซึ่งอยากให้องค์หลวงปู่หาย แต่องค์ท่านก็ปฏิเสธตลอดจนคณะแพทย์ อ่อนใจ เห็นว่าองค์ท่านไม่เอาแน่ ก็เลยหยุด สุดท้ายก็กราบเรียนองค์ท่านว่า อันนี้ก็สุด แล้วแต่องค์หลวงปู่จะเมตตาพิจารณาเห็นสมควรอย่างไร แต่ถ้าหากว่าหลวงปู่จะฉาย แสง ก็ให้แจ้งให้ทราบเลย คณะแพทย์ยินดีที่จะเป็นธุระในการจัดการดูแลรักษาทุก อย่างให้อย่างสะดวกปลอดภัยที่สุด หลังจากนั้นคณะแพทย์ก็ได้ถวายปัจจัยเป็นเครื่อง ไทยทาน ได้เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. องค์หลวงปู่ก็กลับวัดป่าวังเลิง

วันอาทิตย์ที่ ๒๑ กรกฎาคม๒๕๓๓

วันนี้ เวลา ๑๘.๔๕ นาที มีพระบวชใหม่ ขึ้นไปกราบขอนิสัยกับองค์หลวงปู่ เสร็จ แล้วท่านเมตตาให้โอวาทธรรมดังนี้ ให้สำ�รวมมีสติ สตินี้ต้องทันใจ อะไรสติต้องไปก่อน ระวังสำ�รวมอย่าให้อาบัติ ให้ ฝึกท่องคำ�กล่าวแสดงอาบัติไว้ให้ได้ ทั้งแสดงต่อผู้อ่อนกว่าและผู้แก่กว่า บวช ๓ เดือน 326


ซ้ายมือพระอาจารย์วิมาน องค์กลางหลวงตาสังข์ ขวามือพระอาจารย์จรินทร์ หลังจากที่ถวายขันดอกไม้ ขอหลวงปู่บวชแล้ว ลงมา โกนผม

กุฏิหลังนี้ หลวงตามหาบัวเ คยมาพักชั่วคราว ช่วงรอเวลาเข้ากราบคารวะ หลวงปู่มหาบุญมี

327

สภาพหน้าห้องกุฏิของหลวงปู่ ที่องค์หลวงปู่นั่งให้ญาติโยม เข้ากราบ ซ้ายมือของภาพ หน้าเด็กเป็นเบาะนั่งของ หลวงปู่


นี้ให้ได้งามๆ ฝึกหักภาวนาให้มีสติ ข้อวัตรปฏิบัติก็ให้มี กวาดรักษากุฏิ เช็ดถูศาลา กับ หมู่พวก ธุระส่วนตัวธุระส่วนรวม ก็ให้รู้จัก ให้มีข้อวัตรเป็นประจำ� การเดินจงกรมก็ให้ รู้จักกำ�หนดสติ อธิฐานจิตเอาไว้ จะเดินเวลาไหน นั่งเวลาไหน ให้เป็นเวลา เอาให้มัน รู้ทันสติ เดิน เช้า สาย บ่าย เย็น ก็กำ�หนดเอา การนั่งภาวนาเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าจะนั่ง เอาแต่เช้ากับเย็น นั่งได้ทุกเวลา บวช ๓ เดือนนี่เอาให้ได้ ให้สติรู้ทัน ให้ฝึกภาวนาพอ ให้รู้แนวทางนี้ได้ก็ดีแล้ว พอให้เป็นนิสัยต่อไปข้างหน้า อย่าสนใจคนอื่น ถ้าสนใจคนอื่น ก็ได้แต่กับคนอื่นนั่นแหละ แต่เก่า ๓ เดือนนี้ เดือนแรกท่านให้ศึกษาวินัย เดือนสองนี้ ให้เรียนธรรม แต่นี่ให้ภาวนาตลอด ๓ เดือน สติ นี่คือการรู้ทันความคิด นั่งฝึกไปเรื่อยๆ มันหากรู้เอง เป็นเองหรอก จะให้ มันเร็วตามใจนึกคิดมันก็ไม่เร็วหรอก คิดว่าเจ้าของมีสติแล้วมันไม่ใช่ มันคิดเอาตามใจ เจ้าของคิดเอาเองเฉยๆ มันต้องฝึกหัดภาวนาไปนานๆ มันก็ค่อยรู้ของมันเองหรอก

วันเสาร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๓๔

ตอนบ่ายองค์หลวงปู่ ให้พระพาไปที่ศาลาใหญ่ ซึ่งกำ�ลังปั้นพระประธาน โดย พ่อคล้ายเป็นผู้ปั้น (องค์หลวงปู่ให้ไปตามพ่อคล้าย มาเป็นผู้ปั้นโดยเฉพาะ) องค์หลวง ปู่ดูที่ฐานแท่นพระแล้ว ได้นำ�วัตถุชิ้นหนึ่งบรรจุอยู่ในถุงแบบโบราณ ใส่ลงในฐาน พระประธานด้วยองค์ท่านเอง แล้วองค์ท่านกำ�กับดูการปิดฐานพระประธานจนเสร็จ เรียบร้อยแล้วจึงกลับกุฏิ (วัตถุชิ้นนั้นท่านเอาให้ดูเมื่อวานตอนเย็น มีข้าพเจ้า ครูบา สมัย สามเณรสมพร องค์ท่านบอกว่า เอ้า ใครไม่เคยเห็นก็ดูซะ เป็นก้อนเหล็กสีดำ� ขนาดเท่าหัวแม่มือ สัมผัสแล้วเย็นยะเยือก ฟังจากครูบาอาจารย์ท่านเคยเล่าให้ฟังแต่ จำ�ไม่ได้ว่าเป็นท่านใด ท่านเล่าว่าหลวงปู่ได้วัตถุชิ้นนี้จากในป่าเขาบริเวณหมู่บ้านม่วง ไข่ จังหวัดเลย ขณะองค์ท่านกำ�ลังเดินจงกรม)

วันพุธที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๓๔

วันนี้ตอนขณะเข้ากราบจับเส้นองค์หลวงปู่ท่านให้โอวาทว่า การภาวนาให้ กำ�หนดสติ ให้อยู่ ทำ�ไปมันหากจะรู้เองว่าความสงบเป็นอย่างไร พอสติสงบแล้ว ให้ จับจดอยู่อย่างนั้นล่ะ ให้มันเป็นอย่างนั้นตลอด มันจะรู้จะเห็นความสงบเอง วันหนึ่งๆ เราจะทำ�อะไรบ้างเราต้องอธิฐานแล้วทำ�ให้ได้อย่างนั้น จะเดินจงกรมกี่ครั้ง จะภาวนากี่ ครั้ง เราต้องมีครู โดยเอาตัวเรานั้นล่ะเป็นครูสอนตัวเราเอง เข้าพรรษามาแล้ว อธิฐาน 328


ซิว่า เราจะทำ�อะไรบ้าง เป็นกฎเกณฑ์กิจวัตรอย่าให้ขาด นั่งภาวนาไม่ใช่ว่าจะคิดให้มัน เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ให้เป็นนั่นเป็นนี่ มันต้องกำ�หนดสติให้รู้ ทำ�ไปเรื่อยๆ พอถึงขั้นสงบ มันจะรู้เองไม่ต้องไปถามใครมันก็รู้ของมันเอง

วันเสาร์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๔

วันนี้ตอนบ่าย ลงอุโบสถเสร็จ สักครู่ใหญ่ๆ องค์หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้นำ�คณะ ศิษยานุศิษย์ทั้งพระ-ฆราวาสจากจังหวัดร้อยเอ็ดและใกล้เคียงมาเป็นหมู่คณะใหญ่มาก พอสมควร จำ�นวนประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ คน เพื่อมากราบคารวะทำ�วัตรขอขมาองค์ หลวงปู่มหาบุญมี ซึ่งท่านปฏิบัติเป็นประจำ�ทุกๆ ปี ในช่วงฤดูเข้าพรรษา ได้ทราบว่า คณะของท่านมาจากลงอุโบสถสามัคคี ที่วัดสาขาอำ�เภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด

วันจันทร์ที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๔

วันนี้ตอนเย็นคณะศิษย์ได้พา รศ.นายแพทย์นิพนธ์ พวงวรินทร์ จากโรงพยาบาล ศิริราช มาขอโอกาสตรวจอาการอาพาธขององค์หลวงปู่(เวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น.) ซึ่งหลังจากนายแพทย์นิพนธ์ ได้ตรวจอาการองค์หลวงปู่เสร็จแล้ว ได้กราบเรียนท่าน ว่า องค์หลวงปู่น่าจะรักษาโรคโดยการฉายแสงรังสี จะได้หายเร็วๆ แล้วเสียงก็จะกลับ คืนมาเหมือนเดิม ซึ่งการฉายแสงโอกาสหายมีมาก ยิ่งในระยะนี้ก้อนเนื้อยังไม่โต ยิ่ง สบายใจได้เลย ขอรับรองว่าหาย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ และไม่มีอันตรายใดๆ แน่ แล้วก็ยก ตัวอย่างผู้ป่วยในลักษณะนี้ แล้วเคยรักษาโดยวิธีนี้หายมาแล้ว ให้ฟังหลายราย อยาก จะนิมนต์หลวงปู่ไปรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช ใช้เวลาสัก ๒๐ วัน องค์หลวงปู่ท่านก็ไม่ยอมไป ทั้งนายแพทย์นิพนธ์ และคณะศิษย์ เฝ้ารบเร้า อ้อนวอนขอเมตตาท่านอยู่นาน โดยยกเหตุผลต่างๆ นานา จนในที่สุดองค์ท่านคงเห็น ในความตั้งใจจริงและความห่วงใยครูบาอาจารย์ จึงพูดว่า “ถ้าไปศรีนครินทร์ ขอนแก่น จะไปอยู่” เท่านั้นแหละทุกท่านในที่นั้นต่างดีใจกันยกใหญ่ คณะศิษย์ได้กราบเรียนองค์ ท่านว่า จะรับติดต่อไปที่ท่านอาจารย์หมอวันชัย นายแพทย์นิพนธ์ ก็บอกว่า ลองเช็ค ดูว่า ที่ขอนแก่นมีเครื่องฉายแสงโคบอลหรือเปล่า เพราะประสิทธิภาพจะแน่นอนกว่า ราคาประมาณ ๖๐ ล้านบาท ซึ่งคณะศิษย์ก็รับปากว่า จะติดต่อในวันรุ่งขึ้นทันที ได้ ผลอย่างไรจะมากราบรายงานองค์หลวงปู่ในเย็นวันพรุ่งนี้ เป็นอันว่าองค์หลวงปู่รับ นิมนต์ไปรักษาแล้ว แต่ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น โดยไปแล้วกลับทุกวันจน เสร็จขั้นตอนการรักษา 329


วันพุธที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๔

วันนี้เวลาประมาณเที่ยง องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ได้เดินทางมากราบเยี่ยมองค์หลวงปู่มหาบุญมี ระหว่างที่ องค์หลวงตามาถึง องค์หลวงปู่เข้าพักยังไม่ได้ออกมา องค์หลวงตาก็ได้มาพักผ่อนรออยู่ ที่กุฏิพระ โดยมีท่านพระอาจารย์คูณ สุเมโธ พระสังคม พระสมัย พระปิ่น พระชาญชัย และสามเณรนิรันดร์ ได้ร่วมกันจับเส้นถวายองค์หลวงตามหาบัว ซึ่งองค์หลวงตาท่าน กำ�ชับพระว่า “อย่าไปเรียกท่านนะ ให้ท่านพักผ่อนตามอัธยาศัย เราจะคอยท่านจนถึง เวลาท่านออกมานู้นล่ะ” เวลาต่อมาอีก ๓๐ นาที องค์หลวงปู่ก็ออกมา พระอุปัฏฐาก ก็ขึ้นมากราบเรียนว่า องค์หลวงตามหาบัว ว่า หลวงปู่ท่านออกมาแล้ว องค์หลวงตาก็ เข้าไปกราบองค์หลวงปู่โดยมีพระตามไปด้วย ท่านสนทนากันเป็นที่รื่นเริงในธรรมมาก ขอเล่าเหตุการณ์รวมทั้งถ้อยคำ�ที่องค์ท่านทั้ง ๒ บูรพาจารย์ ได้มีธรรมสากัจฉาต่อกัน ซึ่งพอจำ�ได้ดังนี้ องค์ท่านหลวงตามหาบัว ได้ก้มกราบคารวะหลวงปู่มหาบุญมี ลงที่พื้นกุฏิข้างๆ เท้าหลวงปู่อย่างงดงามมาก หากจะนำ�คำ�พูดที่องค์หลวงตา เคยพูดว่า กราบได้อย่าง สนิทใจนั่นแหละ องค์หลวงตาท่านกราบเช่นนั้นจริงๆ แล้วองค์หลวงตาก็เริ่มพูดขึ้นว่า “เป็นยังไงหนอขอรับ ได้ยินแต่ข่าวว่าป่วย กระผมได้ถามครูอาจารย์เรื่อยอยู่นะ” แล้ว องค์หลวงตาก็เอื้อมมือไปจับจีวรผ้าไหมองค์หลวงปู่ แล้วพูดว่า “โฮ่ ผ้าไหมนี่นะ” แล้ว ก็หัวเราะ องค์หลวงปู่ ก็หัวเราะ แล้วพูดขึ้นว่า โยมเขาทำ�มาถวายดอก เอ่อ มาแล้วก็ดี เทศน์ให้ฟังหน่อย หลวงตามหาบัว กล่าวว่า สิให้ข้าน้อย เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนอย่างไรน้อ ต่างองค์ต่างก็หัวเราะรื่นเริงในธรรม จากนั้นองค์หลวงตามหาบัว จึงได้หันมาพูด กับหมู่พระที่นั่งอยู่รอบๆ ว่า “ข้อยเคยอยู่กับเพิ่มตั้งแต่ปี ๒๔๙๔ ถึง ๒๔๙๕ นู้น ทาง มุกดาหาร เป็นยังไงพระมีป่าไม้พอทำ�ทางจงกรมนั่งภาวนาไหม หรือมีแต่เสื่อกับหมอน ถ้าให้หาป่าไม้ทำ�ทางจงกรมนี่คือจะยากนะ ถ้าให้หาเสื่อกับหมอนนี่ไวกว่าลิง อยู่โน้น ไม่ได้นะ พระขี้เกียจไล่ออกทันทีเลย อย่างอื่นไม่เอาให้เอาแต่เดินจงกรมภาวนาอย่าง เดียว” 330


หลวงตามหาบัว หันหน้ามาทางหลวงปู่มหาบุญมี แล้วพูดว่า “ข้าน้อยคิดฮอด เลยมากราบครูอาจารย์สื่อๆ ดอก มาเทื่อหนึ่งแล้วตั้งแต่เดือนใด๋ จำ�บ่ได้แล้ว” องค์ หลวงตามองเห็นภาพถ่ายหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่มั่น อยู่ที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง นครปฐม ติดไว้ ข้างฝา ผนังกุฏิ ท่านเลยพูดว่า “รูปพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นถ่ายอยู่ที่ไหน ท่านจึงหนุ่มจัง” สักพักองค์หลวงตาก็กล่าวขึ้นว่า ปล่อยให้ท่านได้มีโอกาสอยู่คนเดียวเงียบๆ ไหมล่ะ หรือมีแต่คนกวนท่าน บัดนี้เอาอย่างนี้นะ หาไม้มาไว้หลายๆ บริเวณนี้ พอคนมาขว้าง ใส่เลย อย่าให้มันเข้ามา คนมันกลัวอยู่ดอก ค้อนนั่นนะ แล้วองค์หลวงตาก็หัวเราะ องค์หลวงตา ได้ถามคณะศิษย์ที่นั่งอยู่ข้างๆ ว่า เพิ่นเป็นโรคอีหยังล่ะ คณะศิษย์ก็ได้กราบเรียน พร้อมการรักษาที่นายแพทย์ได้ให้การแนะนำ� ใน ระหว่างนั้นองค์หลวงปู่ถามหลวงตา ว่า มันเป็นตาฉายบ่ล่ะ (หมายถึงฉายแสงรังสี) หลวงตามหาบัว ตอบว่า แล้วแต่ครูอาจารย์จะพิจารณาขอรับ องค์หลวงตานั่ง อยู่สักพักแล้วก็กราบลาองค์หลวงปู่ (รวมเวลาท่านนั่งสนทนากันประมาณ ๒๐-๓๐ นาที) เอาล่ะติพวกเรา กราบเพิ่นล่ะ เพิ่นจะได้พักผ่อน นั่งโดนเพิ่นเมื่อย

วันเสาร์ที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๔

หลังจากฉันจังหันเสร็จแล้ว ลูกศิษย์ได้ขึ้นไปกราบถวายนวดเส้น สังเกตดูธาตุ ขันธ์องค์หลวงปู่รู้สึกท่านเพลียอยู่บ้าง องค์ท่านบอกว่า “เจ็บเส้นที่บริเวณใบหู ด้าน หลังขึ้นมาบนศีรษะ เมื่อคืนนี้แทบไม่ได้นอนเลย” พอช่วงสายๆ คณะท่านพระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร แห่งวัดถ้ำ�สหาย อำ�เภอ หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ได้เดินทางมากราบเยี่ยมองค์หลวงปู่ แต่เป็นช่วงเวลาที่ หลวงปู่ท่านเพิ่งจะเข้าพัก ท่านพระอาจารย์จันทร์เรียน จึงไม่อยากรบกวนเวลาพักผ่อน ขององค์หลวงปู่ จากนั้นจึงได้พาคณะศรัทธาออกเดินทางต่อไปยังวัดบรรพตคีรี (ภูจ้อ ก้อ) อำ�เภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร เพื่อกราบคารวะหลวงปู่หล้า เขมปัตโต

วันอาทิตย์ที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๓๔

วันนี้ก่อนจะลงอุโบสถ มีคณะแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น มาถวายตรวจดูอาการองค์หลวงปู่ ซึ่งคณะ 331


แพทย์ได้กราบเรียนผลการตรวจอาการองค์หลวงปู่ พอสรุปได้ดังนี้ อาการขององค์ท่านขณะนี้ อ่อนเพลียมาก เนื่องจากฉันอาหารไม่ค่อยได้ เพราะ ก้อนเนื้องอกในลำ�คอโตขึ้นจนแทบจะปิดกล่องเสียง ทางเดินอาหาร และหลอดลม ซึ่ง ลักษณะเช่นนี้ถ้าปล่อยไว้เรื่อยๆ ไม่ทำ�การรักษาจะทำ�ให้อาการทรุดลงเรื่อยๆ และ โอกาสที่จะรักษาให้หายมีน้อยมาก หากจะทำ�การรักษาก็โดยวิธีฉายแสง ก็จะทำ�ให้ สามารถยืดอายุต่อไปได้อีก โดยอาการขั้นนี้หากฉายแสงก็ประมาณ ๑๐๐ ต่อ ๑๐ จะ อยู่ได้ประมาณ ๕ ปี แต่หากไม่ฉายแสงโอกาสก็สั้นลงเรื่อยๆ และก็ต้องทำ�การเจาะ ลำ�คอเพื่อช่วยการหายใจให้สะดวก หากต่อไปฉันอาหารลำ�บาก ร่างกายจะอ่อนเพลีย เพราะไม่มีอาหารเข้าไปหล่อเลี้ยง ก็ต้องใช้วิธีเจาะหน้าท้องให้อาหาร ซึ่งเมื่อกราบเรียน ท่านจบ องค์ท่านก็บอกว่า “บ่เอาสักอย่าง” หลังจากนั้นสักพัก องค์หลวงปู่ก็ไปลง อุโบสถที่ศาลาหญ้า

วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๓๔

วันนี้ตอนเย็น คณะศิษย์ได้ทำ�พิธีเจริญพระพุทธมนต์ต่ออายุบูชาธาตุขันธ์ถวาย องค์หลวงปู่ ณ วัดป่าวังเลิง โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมไตรโลกาจารย์ ที่ปรึกษาเจ้า คณะภาค ๙ (ธ) วัดศรีเมือง อำ�เภอเมือง จังหวัดหนองคาย เป็นองค์ประธาน มีครูบา อาจารย์หลายองค์มาร่วมพิธีในงานนี้ อาทิ พระเทพวราลังการ (เคน สุภโร) พระเทพวิ สุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) หลวงปู่สมัย ทีฆายุโก หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต พระ อาจารย์ผจญ อสโม

วันศุกร์ที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๓๔

วันนี้ตอนเช้า ณ วัดป่าวังเลิง องค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ท่านได้ใส่บาตรพระ สงฆ์ทั้งหมดที่มาในงานพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายแด่องค์หลวงปู่เมื่อคืนนี้

วันพฤหัสบดีที่ ๕ กันยายน ๒๕๓๔

บ่าย ๒ โมง ๔๐ นาที คณะลูกศิษย์ได้พากันไปส่งองค์หลวงปู่ที่โรงพยาบาล ศรีนครินทร์ ขอนแก่น คณะแพทย์ได้จัดให้องค์ท่านพักรักษาอาการอาพาธ ที่ตึก ๖ ชั้น ๖ ห้องที่ ๕ โดยอาจารย์นายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์ ได้เป็นผู้กราบนิมนต์องค์หลวงปู่ เพื่อรับการรักษา 332


วันเสาร์ที่ ๗ กันยายน ๒๕๓๔

ตอนเย็น องค์หลวงปู่เดินทางกลับจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เพื่อมาลงอุโบสถ ในวันพรุ่งนี้ สังเกตดูรู้สึกว่าธาตุขันธ์องค์ท่านผอมมาก เสียงแหบ และมีเสลดที่ลำ�คอ

วันจันทร์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๓๔

วันนี้องค์หลวงปู่ ได้เดินทางไปโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ออกจากวัดเวลา ๑๒.๐๐ น. ได้ยินข่าวว่าไปหลายวัน ในระยะนี้องค์ท่านเทียวไป โรงพยาบาล และกลับมาวัด ค่อนข้างถี่ขึ้น แต่ถึงยังไงองค์ท่านจะกลับมาก่อนครบระยะสัตตาหะฯ (ตามพุทธานุ ญาต เรื่องของพระวินัยแล้ว ในช่วงฤดูกาลเข้าพรรษาทรงอนุญาตให้ภิกษุไปข้างแรมที่ อื่นได้ไม่เกิน ๗ วัน) องค์หลวงปู่ท่านก็ปฏิบัติให้ลูกศิษย์ได้ดูเป็นแบบอย่างอันงดงาม ถึง แม้ว่าท่านจะป่วยไข้หรืออาพาธหนักขนาดไหนก็ยังไม่ละเลยพระวินัยข้อนี้

วันอังคารที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๓๔

วันนี้องค์หลวงปู่ ได้เดินทางไปโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ออกจากวัดเวลา ๑๒.๑๐ น. ตอนเข็นรถท่านลงจากกุฏิ องค์ท่านจะถามว่า เวลาเท่าไร ซึ่งเป็นการฝึกสติลูกศิษย์ ผู้ใกล้ชิดให้รู้จักเป็นคนช่างสังเกตสิ่งรอบข้างใกล้ตัว

วันพฤหัสบดี ๒๖ กันยายน ๒๕๕๔

วันนี้เวลาบ่าย ๑๓.๓๐ น. องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน มากราบเยี่ยม หลวงปู่มหาบุญมี สามเณรอืดรีบมาบอกพระที่กุฏิ พระก็รีบครองผ้าออกไปต้อนรับ องค์หลวงตา องค์ท่านพักอยู่ที่กุฏิข้างโรงไฟ พระสงฆ์ได้ช่วยกันถวายการนวดเส้นองค์ ท่าน พระกราบเรียนท่านว่า หลวงปู่ไม่อยู่ ไปโรงพยาบาลครับ เมื่อพระถวายการนวด เส้นประมาณ ๓๐ นาที ท่านก็บอกว่า พอแล้ว เราจะกลับล่ะ ก่อนกลับองค์หลวงตาก็ได้ ถามว่า องค์หลวงปู่ท่านอยู่ตึกไหน พระ กราบเรียนท่านว่า หลวงปู่พักอยู่ตึก ๖ ชั้น ชั้นที่ ๖ ห้องเบอร์ ๕ ครับ ตึกนี้ถ้าเราเข้าไปโรงพยาบาลจะอยู่ทางด้านขวามือครับ แล้วองค์หลวงตาก็เดิน ทางกลับ

333


วันอาทิตย์ที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๓๔

วันนี้หลวงปู่มหาบุญมี กลับจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ถึงวัดเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. หลังจากพระทำ�ข้อวัตรเสร็จก็ขึ้นไปกราบองค์ท่าน ซึ่งองค์ท่านได้นอนพัก ผ่อนในกลดแล้ว ในวันนี้ได้เอาเตียงนอนมานอกห้องตรงระเบียงหน้าห้อง มีพระกับ โยมจากจังหวัดศรีษะเกษมากราบ องค์ท่านก็ให้โอกาสเข้ากราบซึ่งเป็นเวลามืดแล้ว ประมาณ ๑๙.๐๐ น. (ด้วยรถชำ�รุดกลางทาง เสียเวลาซ่อมรถ) องค์ท่านเมตตาถาม ว่า มาจากไหน ฉันน้ำ�แล้วหรือยัง จากที่อยู่กับองค์ท่านตั้งแต่องค์ท่านมาพักนักที่วัด ป่าวังเลิง รู้สึกว่าองค์ท่านใส่ใจในเรื่องการต้อนรับ ปฏิสันถาร เกี่ยวกับน้ำ�ฉันมาก ไม่ว่า คณะใดมากราบองค์ท่าน ท่านจะต้องถามทันที เมื่อมาถึง ฉันน้ำ�แล้วหรือ ซึ่งหากคณะ ใดมากราบองค์ท่านพระเณรจะต้องรีบหาน้ำ�มารับรองโดยเร็ว ไม่งั้นองค์ท่านจะจ้องตา ทันที อันนี้ถือเป็นหน้าที่โดยตรงของพระเณรที่อยู่ในที่นั่น จะต้องนำ�น้ำ�ดื่มมารับรอง พระอาคันตุกะโดยเร็ว หลังจากคณะจังหวัดศรีษะเกษ ได้กราบลาองค์ท่านแล้ว ลูก ศิษย์นั่งพัดถวายท่านต่อโดยกำ�หนดลมหายใจอย่างมีสติอยู่ตลอด สังเกตเห็นธาตุขันธ์ องค์ท่านผอมลงไปมาก ลักษณะเพลีย ธาตุขันธ์อ่อนโรยแต่องค์ท่านไม่เคยมีอาการวิตก กังวลไปกับธาตุขันธ์ที่โรคภัยเบียดเบียนองค์ท่านเลย

วันพุธที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๓๔

วันนี้เป็นวันปวารณาออกพรรษา พระภิกษุในอาวาสลงทำ�วัตรเช้าพร้อมกันเวลา ๓.๐๐ น. (ตีสาม) องค์หลวงปู่ท่านก็มาร่วมในพิธีด้วยในเวลาประมาณ ๔.๐๐ น. (ตีสี่) องค์ท่านบอกว่าให้กล่าวคำ�ปวารณาออกพรรษาทีละองค์ (ตามอายุพรรษา เริ่มจาก พระพรรษามากไปจนถึงพระบวชใหม่) เสร็จพิธีก็เป็นช่วงเวลาสว่างพอดี ในตอนเช้า พระออกรับบิณฑบาตภายในวัดป่าวังเลิง

วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๓๔

วันนี้เป็นวันทอดกฐินสามัคคี โดยทางวิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคามเป็นเจ้า ภาพทอดกฐินร่วมกับศิษยานุศิษย์ทุกหมู่เหล่า ซึ่งตามปฏิปทาองค์หลวงปู่พาดำ�เนิน มา ท่านกำ�หนดให้รับกฐินไม่เกิน ๗ วัน หลังจากวันออกพรรษา ด้วยองค์ท่านต้องการ ให้พระเสร็จภาระจากกฐินกาลโดยเร็ว เพื่อให้พระจะได้เร่งทำ�ความเพียรภาวนาต่อไป หรือหากจะมีองค์ใดต้องการออกเที่ยววิเวก ก็จะได้ไปโดยสะดวก ในปีนี้องค์หลวงปู่ได้ มอบหมายให้หลวงปู่แสง ญาณวโร เป็นองค์รับกฐิน 334


วันจันทร์ที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๓๕

วันนี้นับว่าเป็นวันที่บรรดาลูกศิษย์ของหลวงปู่ ต่างโศกเศร้าเสียใจกันเป็นที่สุด ด้วยองค์ท่านหลวงปู่ได้ละสังขารจากไป แต่ก็มีเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์ ก่อนที่องค์ท่าน จะละสังขารเป็นเหตุการณ์ที่พระอริยะ ๒ องค์ ที่ท่านมีความผูกพันลึกซึ้งในธรรมต่อกัน ได้มาพบกันเป็นครั้งสุดท้าย เสมือนหนึ่งว่าท่านได้มาล่ำ�ลากัน และส่งดวงจิตอันบริสุทธิ์ อีกองค์หนึ่งสู่แดนนิพพาน คือ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้มากราบเยี่ยมเป็นครั้งสุดท้าย มี เหตุการณ์ดังนี้ ที่วัดป่ากุง อำ�เภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด หลังจากหลวงปู่ศรี มหาวีโร ฉัน จังหันเสร็จเรียบร้อย ท่านบอกให้คนขับรถ ไปเอารถออกมา ท่านนั่งรออยู่หอฉัน ซึ่งคน ขับรถเองก็งงอยู่เหมือนกัน เพราะอยู่ๆ ท่านก็บอกให้เอารถออกมา จากนั้นท่านก็บอก ให้ไปโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น ท่านบอกว่าจะไปเยี่ยมหลวงปู่มหาบุญมี เมื่อ ขึ้นไปที่ห้องหลวงปู่มหาบุญมี ได้พักรักษาอาการอาพาธอยู่ คณะพระอุปัฏฐากหลาย องค์ ก็จัดเก้าอี้ถวายหลวงปู่ศรี นั่งอยู่ข้างเตียงองค์หลวงปู่ ซึ่งก่อนเข้าไปในห้องมีพระ ได้กราบเรียนหลวงปู่ศรี ว่า วันนี้อาการองค์หลวงปู่มหาบุญมี ดีขึ้นไม่มีอาการไอ ไม่มี เสลด หลวงปู่ศรี นั่งเยี่ยมไข้อยู่สักพักก็ลากลับ โดยก่อนกลับหลวงปู่ศรีท่านได้สั่งพระไว้ ว่า ส่งข่าวให้ครูบาอาจารย์รู้หรือยัง ส่งข่าวซะนะ โดยที่พระก็ยังงงในคำ�พูดของหลวงปู่ ศรี ว่า ส่งข่าวอะไร แต่ก็ตอบรับกับครูบาอาจารย์ที่ได้สั่งว่า ครับผม หลังจากที่หลวงปู่ศรี กลับไปได้ประมาณ ๒ ชั่วโมง องค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ท่านก็ละสังขาร พระอุปัฏฐากจึงได้เข้าใจความหมายในคำ�สั่งของหลวงปู่ศรี ก่อนเดิน ทางกลับว่า ให้ส่งข่าวครูบาอาจารย์นั้นหมายถึงอะไร และเมื่อหลวงปู่มหาบุญมี ท่านละสังขารแล้ว ข่าวก็ได้แพร่ออกไปในหมู่ลูกศิษย์ ซึ่งที่วัดป่ากุง ในตอนบ่ายก็มีลูกศิษย์ไปกราบเรียนหลวงปู่ศรี ว่า หลวงปู่มหาบุญมี ได้ ละสังขารแล้ว หลวงปู่ศรีท่านพูดว่า เพิ่นท่าเจ้าของไปเยี่ยมติ (ท่านรอเราไปเยี่ยมมั้ง)

335


ช่วงเย็น โปรดญาติโยม ในช่วงเย็น หลังจากองค์ท่านให้โอกาสญาติโยมได้กราบแล้วก็เป็นเวลาที่พระใน วัดจะได้มีโอกาสทำ�ข้อวัตรองค์ท่าน ซึ่งในช่วงนี้นับเป็นโอกาสอันดี ที่จะได้ทั้งทำ�ข้อ วัตรและฟังท่านเล่าเรื่องราวต่างๆ รวมทั้งข้อธรรม หรือหากใครมีปัญหาธรรมใดๆ จะ กราบเรียนถามองค์ท่าน ท่านก็จะให้โอกาสเต็มที่ไปจนดึก ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่มีค่า มากที่สุด ลูกศิษย์ได้เฝ้าองค์ท่านอย่างใกล้ชิด เสมือนพ่อกับลูกเลยทีเดียว บางครั้งองค์ ท่านจะหยอกพระด้วย ทำ�ให้สนุกสนานรื่นเริงในธรรมไปตามคำ�พูดแบบบ้านๆ ของ องค์ท่าน คราวหนึ่งหลังจากญาติโยมกลับแล้ว มีหลวงตาสังข์ ฐานิสฺสโร กับ พระชาญ ชัย ชยเสโน ได้นั่งนวดขาองค์ท่าน คนละข้าง ท่านถามว่า เป็นอย่างไรพระใหม่ภาวนา หลวงปู่สังข์ ตอบว่า ข้าน้อยภาวนาคือบ่เห็นหยังสักเทื่อ หลวงปู่มหาบุญมี พูดว่า ฮ่วย ซิให้มันเห็นหยัง มันอยากเห็นไปก่อนแล้ว ไม่ได้ ให้ภาวนาให้เห็นอะไรนะ ถ้าอยากเห็นก็ลืมตาซิ ท่านก็หัวเราะ ฮือๆ ภาวนาแล้วอยาก เห็นนั่นเห็นนี่ มันบ่แม่นให้เห็นนะ เฮ็ดให้จิตสงบซิ แล้วองค์ท่านก็หันหน้ามาที่พระอีก 336


องค์แล้วถามว่า องค์นี่เด้ เรากราบเรียนด้วยความระมัดระวังอย่างสุดขีดว่า การภาวนา ก็พอเป็นพอไปอยู่บ้าน แต่มันไม่ค่อยสงบเท่าไหร่ครับผม องค์ท่านกล่าวต่อว่า มันก็ ไม่ทันได้สงบง่ายๆ แหละ ต้องค่อยทำ�ไปเรื่อยๆ ให้มีสติ ให้กำ�หนดลมหายใจ อยู่จุดใด จุดหนึ่ง อยู่ซานดัง (ชานจมูก) ก็ได้ ค่อยทำ�ไป มันหากเป็นไปเองดอก อย่าอยากได้มาก มันจะไม่ได้อะไรนะ มันหากรู้ของมันเองหรอก มีอยู่ครั้งหนึ่ง เป็นช่วงหลวงปู่มหาบุญมี ป่วยมากแล้ว ได้จัดที่นอนพักธาตุขันธ์ องค์ท่าน ด้านนอกห้อง เอาเตียงมาวางระเบียงหน้าห้อง เอากลดกางให้องค์ท่านนอน จากหัวค่ำ�ขึ้นไปจะมีพระมานวดเส้นถวาย และบางองค์ก็ใช้พัดด้ามยาวคอยพัดให้ลม และไล่ยุงไปด้วย ทีแรกก็ข้างละ ๓ องค์ ครั้นดึกไปก็ค่อยๆ ถอยออกกลับกุฏิทีละองค์ๆ จนเหลืออยู่แค่ไม่กี่รูป มีอยู่คืนหนึ่งเราก็ขึ้นไปเพื่อจะนวดถวายองค์ท่าน พร้อมกับพระ หลายองค์ดังเคย แต่ด้วยพระอยู่ข้างละหลายองค์แล้ว เราจึงนั่งจับพัดด้ามยาวมาพัด ถวาย โดยได้ตั้งสัจอธิฐานในใจว่า จะพัดพร้อมกับกำ�หนดลมหายใจ ทำ�สมาธิไปในตัว ด้วยระยะนั้นเพิ่งบวชใหม่ๆ และเพิ่งจะเข้าพรรษา ทำ�ให้จิตคิดถึงแต่บ้าน ว่าทางบ้าน จะอยู่กันยังไง คิดไปมาสับสน จนสักพักได้ยินองค์ท่านหลวงปู่พูดขึ้นมาว่า พัดให้มันมี ลมหน่อย ในขณะนั้นเราเองก็ยังคิดไปว่า อ้าวก็พัดมีลมวืดวาสอยู่นี่หนา ท่านทำ�ไมพูด ว่า พัดให้มันมีลมแน่เป็นหยัง ในขณะจิตนั้นก็เข้าใจความหมายขององค์ท่าน อ๋อที่แท้ สติเราออกไปข้างนอกไปถึงบ้านโน้น ก็เราตั้งสัจจะไว้ว่าจะพัดโดยกำ�หนดลมหายใจเข้า ออกไปในตัว แต่เราเผลอไปไม่มีลมหายใจกำ�หนด เลยเข้าใจว่า พัดให้มันมีลมหน่อย เป็นไร องค์ท่านรู้จริงๆ สักพักพระก็ทยอยกันกลับกุฏิ คงเหลือแต่เราองค์เดียวจึงได้วาง พัดเข้าไปจับเส้นนวดถวายองค์ท่าน ในขณะนั้นนึกถึงคำ�ที่หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านเคย เทศน์ให้ฟังว่า “เจ้าของจับเส้นหลวงปู่มั่น บางเทื่อฮอด ๒ ยามพู้น จับตั้งแต่ค่ำ�ไป คัน เพิ่นบ่บอกให้เซากะเซาบ่ได้เด้ บางเทื่อจนฮอด ๒ ยาม พู้น เพิ่นจังบอกเซา” ทำ�ให้เราคิดว่า จะเป็นเหมือนหลวงปู่ศรีบ่น้อ ขั้นฮอด ๒ ยาม ซิบ่ดึกบ่ ก็นวดถวายองค์ ท่านไปเรื่อยๆ พอเห็นองค์ท่านนิ่งเงียบหายใจคล้ายกับกรน คิดว่าองค์ท่านคงจะหลับ แล้ว ก็เบามือทำ�ท่าจะหยุดและกราบลาท่านกลับกุฏิ แต่พอเบามือเท่านั้นแหละ องค์ ท่านกระแอมไอขึ้นมาทันที เป็นอยู่อย่างนี้ ๒-๓ ครั้ง เลยคิดว่า เอ้า ไม่ใช่เหตุบังเอิญ แล้ว สงสัยงานนี้อยู่ดึกถึง ๒ ยามเหมือนหลวงปู่ศรีแน่ๆ จริงดังที่คิด จนกระทั่ง ๒ ยาม ไปจนเกือบตีหนึ่ง องค์ท่านจึงได้บอกว่า “เอาล่ะ ไปพักซะ” 337


เรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับไสยศาสตร์ มีอยู่คืนหนึ่งลูกศิษย์ฝันว่า องค์หลวงปู่มหาบุญมี ได้ใช้เหล็กจาร ทำ�การจารหลัง ให้จนเต็มแผ่นหลัง แล้วก็มอบตำ�ราคาถาเป็นหนังสือผูกให้ รุ่งเช้าลูกศิษย์ก็รีบเข้าไป กราบเล่าเรื่องความฝันถวายให้องค์ท่านฟัง องค์ท่านพูดว่า “ไสยศาสตร์มันก็จริงของ เขา แต่มันไม่ใช่ทางเดินของเรา ถ้าไปติดอยู่กับไสยศาสตร์มันก็ช้า” องค์ท่านจะมีพระคาถาที่องค์ท่านใช้เขียนให้เวลามีญาติโยม มาให้ท่านเจิมบัง แดดรถยนต์ ป้ายร้าน รูปองค์ท่าน ท่านจะเขียนเป็นตัวธรรม(ตัวขอม) ดังนี้ อ่านว่า นะ มะ พะ ทะ ลุ ละ เต ณะ ความหมาย ดังนี้ นะ น้ำ� มะ ดิน พะ ไฟ ทะ ลม ลุ บรรลุ ละ ละวาง เต เตรียม ณะ นิพพาน (คำ�ว่า ลุ ละ เต ณะ ความหมายที่ได้อธิบายไว้นี้ ได้สอบถามจากครูบาอาจารย์ที่ เคยกราบเรียนถามองค์หลวงปู่ ดังนี้แล) จากบันทึกความทรงจำ� ที่ได้นำ�มาเรียงถ้อย ร้อยธรรม เล่าสู่ฟัง เสมือนหนึ่ง เป็นจดหมายเหตุที่ได้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ไว้ในระหว่างที่ได้มอบกายถวายชีวิตต่อ องค์หลวงปู่ผู้มีพระคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ในระหว่างทั้งที่เป็นฆราวาส และช่วงที่ได้ อุปสมบทอยู่ร่วมจำ�พรรษากับองค์ท่าน ก็พอประมวลได้เท่าที่พอจะนำ�มาถ่ายทอดสู่ กันฟังได้เพียงเท่านี้ หากมีส่วนหนึ่งส่วนใดที่พลาดพลั้งหรือไม่เหมาะ ด้วยสติปัญญาปุถุชนผู้ยังมี กิเลสเต็มหัวใจอยู่ ขอกราบ ขอขมาโทษ อโหสิกรรมต่อองค์หลวงปู่ ตลอดทั้งองค์พระ มหาเถระ ครูบาอาจารย์ที่ได้กล่าวถึงด้วยเทอญ “มหาเถเร ปะมาเทนะ ทะวาระตะเยนะกะตัง สัพพัง อะปะรัง ขะมะตุเม ภันเต” (ชยเสโน ภิกขุ) คุณชาญชัย กาญจนปภากูล (ทิดป่อง) 338


สิริธโรเจดีย์


เจดีย์ที่น่ากราบไหว้ (องค์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านได้ให้โอวาท เกี่ยวกับการสร้างพระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นคติดังนี้ว่า) ตำ�ราคือองค์ศาสดามากาง ก็คือองค์ศาสดาแสดง ไว้ ว่าบุคคลที่ควรจะก่อเจดีย์ไว้กราบไหว้บูชานั้นมีอยู่ ๔ ประเภท ๑. พระพุทธเจ้า ๒. พระปัจเจกพุทธเจ้า ๓. พระอรหันต์ ๔. พระเจ้าจักรพรรดิ นี่เป็นผู้สมควรแก่การก่อสร้างเจดีย์ไว้กราบไหว้ บูชา ในสถานที่เหมาะสมหรือสมควร เช่น ที่ชุมนุมชนคน หมู่มาก ควรที่ตรงไหนให้ก่อที่ตรงนั้นๆ ไว้ ตำ�ราคือองค์ ศาสดาแสดงไว้ เพราะฉะนั้นการที่จะก่อเจดีย์หรืออะไรๆ นี้ บรรดาพี่น้องทั้งหลายไม่ค่อยจะคิดกัน ดูจะไม่ได้เห็น ในตำ�ราคือองค์ศาสดาประกาศเอาไว้ อย่างนั้นก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นการก่อเจดีย์จึงมักจะก่อสุ่มสี่สุ่มห้าไปเลย เวลามองเห็นเจดีย์ คนก็ต้องระลึกถึงพระพุทธเจ้า เป็นอันดับแรก รองลำ�ดับลงมาก็พระอรหันต์ พระปัจเจก เวลากราบเข้าไปมับฟาดถูกหมา เช่น ไอ้ปุ๊กกี้ตายแล้ว รักไอ้ปุ๊กกี้ สงสารไอ้ปุ๊กกี้ แล้วก่อเจดีย์ให้มัน ไม่ได้หมาย ถึงว่าจะก่อเจดีย์ไว้กราบไหว้หมาไอ้ปุ๊กกี้เรานะ แต่คน พอเห็นเจดีย์ก็นึกว่าพระพุทธเจ้า ไอ้ปุ๊กกี้ก็เลยกลายเป็น พระพุทธเจ้าขึ้นมาในเวลานั้น กราบหมาทั้งตัว เอ้า พูด ให้มันยันให้มันเห็นชัดเจนซิ ธรรมพระพุทธเจ้าเป็นแบบ เป็นฉบับที่ถูกต้องดีงาม จึงควรนำ�มาปฏิบัติตามแถวแนว ที่ทรงแสดงไว้ (โอวาทธรรมหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ๑๗ มิถุนายน ๒๕๔๖) 340


เจดีย์พิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง อำ�เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

แนวคิดสร้างสรรค์ ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ – ๒๕๓๙ ในการออกแบบองค์พระเจดีย์ ได้เลือกรูปทรง ๘ เหลี่ยมเป็นแปลนหลัก โดยมีปริศนาธรรมแฝงคติอยู่ในตัว ความหมายมาจากมรรค ๘ ซึ่งเป็นทางสายกลาง แห่งการดับทุกข์ หรือทางดำ�เนินเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์ ๘ อย่าง คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบตามทำ�นองคลองธรรม ๒. สัมมาสังกัปโป คือ ความดำ�ริในทางที่ชอบ ๓. สัมมาวาจา คือ การเจรจาชอบ (ประพฤติวจีสุจริต) ๔. สัมมากัมมันโต คือ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีโว คือ การเลี้ยงชีวิตในทางที่ชอบ ๖. สัมมาวายาโม คือ ความเพียรพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ คือ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจชอบ

ผังภายในของอาคาร จะประกอบด้วยสระบัว

ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านอุปมาเปรียบมนุษย์เหมือนบัว ๔ เหล่า คือ บุคคล ๔ จำ�พวก ได้แก่ 341


342


๑. อุคฆฏิตัญญู หมายถึง พวกที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เมื่อฟังธรรมก็รู้และ เข้าใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ� เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่ง บานทันที ๒. วิปจิตัญญู หมายถึง พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เมื่อฟังธรรมและได้รับการ อบรมฝึกฝนเพิ่มเติมก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาไม่นาน เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ ปิ่มน้ำ� ซึ่งจะบานในวันถัดไป ๓. เนยยะ หมายถึง พวกที่มีสติปัญญาน้อย เมื่อฟังธรรมและได้รับการอบรม ฝึกฝนอยู่เสมอ มีความเพียร มีศรัทธา ในที่สุดสามารถรู้และเข้าใจได้ เปรียบเสมือน ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ� ซึ่งจะค่อยๆ พ้นน้ำ� แล้วเบ่งบานได้ในที่สุด ๔. ปทปรมะ หมายถึง พวกสุดท้ายแม้ฟังธรรมเท่าไรก็ไม่อาจเข้าใจความหมาย และรู้ตามได้ แต่ก็เป็นปัจจัยให้บรรลุธรรมในภพต่อๆ ไป เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่ 343


กับโคลนตม มีแต่จะตกเป็นอาหารของเต่า ปลา ไม่มีโอกาสพ้นน้ำ�เพื่อเบ่งบาน เมื่อเป็นดังนี้แล้วเราจะรักษาชีวิตไว้เพื่อเผยแผ่พระธรรม สั่งสอนมวลมนุษย์ จนกว่าพระพุทธศาสนาจะแพร่หลายประดิษฐานมั่นคง เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษย์

ขนาดความกว้างภายในอาคาร

กว้าง ๑๕ เมตร ปราศจากเสาภายในที่จะขึ้นไปรับเจดีย์ด้านบนโดยใช้คานยื่น จากเสาทั้ง ๘ มุม ไปบรรจบกับคานรับรอบ(RING BEAM) แปดเหลี่ยมและตั้งโครงสร้าง ขึ้นไปรับยอดเจดีย์จากคานรับรอบนี้ การออกแบบได้คำ�นึงถึงการนำ�แสงและลม ธรรมชาติเข้าสู่โถงภายใน โดยการใช้ช่องแสง และระบายลมเหนือฟ้าเพดานตรงกลาง รูป ๘ เหลี่ยม เป็นลายฉลุโลหะรมดำ�เพื่อให้ลมที่เข้ามาผ่านออกได้ ด้านนอกเหนือประตู ทางเข้าทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปปูนปั้นท้าวจตุโลกบาล ท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ถวายอารักขา คอยคุ้มครององค์พระ เจดีย์

344


เรื่องของท้าวมหาราชทั้ง ๔ บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา โดยมีท้าวมหาราชทั้ง ๔ เป็นผู้ ปกครองดูแล คอยแบ่งกันครอบครอง ดังนี้ ด้านทิศตะวันออก เป็นที่อยู่ของ ท้าวธตรฐ มีพวกคนธรรพ์ เป็นบริวาร คนธรรพ์ นี้เป็นเทวดาพวกหนึ่งซึ่งที่มี ความถนัดในการดนตรีศิลปะระบำ�รำ� ฟ้อนและชำ�นาญในการขับกล่อมเพลง ยิ่งนัก เมื่อใดที่เทวดาทั้งหลายชุมนุม กันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน เมื่อนั้น พวกคนธรรพ์ ก็จะไปทำ�หน้าที่ขับกล่อมเพลงและระบำ�รำ�ฟ้อนเพื่อความสำ�ราญของ เหล่าเทวดา ด้านทิศใต้ เป็นที่อยู่ของท้าววิรูปักษ์ มีพวกนาคเป็นบริวาร นาคนี้เป็นพวกกาย ทิพย์พวกหนึ่ง มีฤทธิ์เดชมาก เพราะเพียงแค่พิษของนาคถูกต้องบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ก็สามารถตัดเอาผิวหนังของบุคคลนั้นและทำ�ให้ถึงแก่ความตายได้ในพริบตา พวก นาครู้จักเนรมิตตนเป็น มนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นเทวดา เพื่อท่องเที่ยวไปตามสถานที่ ต่างๆ ตามอัธยาศัยอย่างสุขสำ�ราญ หากบุคคลใดได้ยินได้ฟังมาว่าพวกนาคมีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก ทำ�ให้ชอบใจ แล้วทำ�คุณงามความดีด้วยกาย วาจา ใจ พร้อมทั้งปรารถนาไปเกิดเป็นนาค บุคคลนั้นเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปเกิดเป็น นาคในชาติต่อไปสมความปรารถนา ด้านทิศเหนือ เป็นที่อยู่ของท้าวเวสวัณหรือ ท้าวเวสสุวัณ มีพวกยักษ์ เป็นบริวาร ยักษ์ นี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่ง มีสันดานแตกต่างกัน บางตนก็มีสันดานดีประกอบ ด้วยศีลธรรม บางตนก็มีสันดานร้ายมีจิตใจเต็มไปด้วยโทสะโมหะ เป็นอันธพาลที่มีใจ กล้าหาญดุดัน ท้าวเวสวัณมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ท้าวกุเวร เพราะในสมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธ ศาสนา ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัตินั้น มีพราหมณ์ผู้หนึ่งนามว่า กุเวร เป็น 345


คนใจดีมีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาชีพด้วยการทำ�ไร่อ้อย นำ�ต้นอ้อยตัดใส่ลง ไปในหีบยนต์แล้วบีบน้ำ�อ้อยขายเลี้ยงชีวิตตนและบุตรภรรยา ต่อมากิจการเจริญขึ้น จนเป็นเจ้าของหีบยนต์สำ�หรับบีบน้ำ�อ้อยถึง ๗ เครื่อง จึงสร้างที่พักสำ�หรับคนเดิน ทาง และบริจาคน้ำ�อ้อยจากหีบยนต์เครื่องหนึ่งซึ่งมีประมาณน้ำ�อ้อยมากกว่าหีบยนต์ เครื่องอื่นๆ ให้เป็นทานแก่คนเดินผ่านไปมาจนตลอดอายุขัย ด้วยอำ�นาจแห่งบุญกุศลที่บริจาคน้ำ�อ้อยให้เป็นทานนั้น ทำ�ให้กุเวรได้ไปอุบัติ เป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา มีนามว่า”กุเวรเทพบุตร”ต่อมากุเวรเทพ บุตรได้เทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแลพระนครด้านทิศเหนือ จึงได้มีพระนามว่า “ท้าว เวสวัณ”

ท้าวมหาราชทั้ง ๔

๑. ท้าวธตรัฏฐะ อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุเป็นผู้ปกครองคันธัพพ เทวดา ทั้งหมด ๒. ท้าววิรุฬหกะ อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองกุมภัณฑเทวดา ทั้งหมด ๓. ท้าววิรูปักขะ อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองนาคะ เทวดา ทั้งหมด ๔. ท้าวกุเวระ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองยัก ขะเทวดาทั้งหมด เทวดาที่อยู่ภายใต้การปกครองของท้าวจาตุมมหาราช คือ ๑. ปัพพัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยภูเขาอยู่ ๒. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่ อาศัยอยู่ในอากาศ ๓. ขิฑฑาปโทสิกเทวดา เทวดาที่ มีความเพลิดเพลินในการเล่นกีฬา จนลืมบริโภค อาหารแล้วตาย ๔. มโนปโทสิกเทวดา เทวดาที่ ตายเพราะความโกรธ ๕. สีตวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำ�ให้อากาศเย็นเกิดขึ้น ๖. อุณหวลาหกเทวดา เทวดาที่ ทำ�ให้อากาศร้อนเกิดขึ้น ๗. จันทิมเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระจันทร์ ๘. สุริยเทวปุตตเทวดา เทวดาที่ อยู่ในพระอาทิตย์ จตุโลกบาล ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มีหน้าที่เป็นจตุโลกบาล คือเป็นผู้คุ้มครองและ ตรวจดูโลกซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์ทั้ง ๔ ทิศ โดย วัน ๘ ค่ำ� อำ�มาตย์ของท้าวมหาราช 346


ทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลก วัน ๑๕ ค่ำ� บุตรทั้งหลายของท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะ เป็นผู้ตรวจดูโลก ส่วนในวัน ๑๕ ค่ำ� ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลกเองว่า พวกมนุษย์พากัน บำ�รุงบิดามารดา และสมณพราหมณ์ เคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ในตระกูล รักษาอุโบสถ ศีลและทำ�บุญกุศลเป็นจำ�นวนมากหรือไม่ ครั้นตรวจดูแล้วก็จะไปบอกพวกเทพชั้น ดาวดึงส์ ซึ่งมาประชุมกันในสุธรรมาเทวสภา ถ้าได้ฟังว่าพวกมนุษย์ทำ�ดีกันน้อย พวก เทพชั้นดาวดึงส์ ก็มีใจหดหู่ เพราะทิพยกายจะลดถอย อสุรกายจะเพิ่มพูน แต่ถ้าได้ ฟังว่าพวกมนุษย์ทำ�ดีกันมาก พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ก็มีใจชื่นบาน เพราะทิพยกายจะ เพิ่มพูน อสุรกายจะลดถอย

ส่วนผนังที่เหลืออีก ๔ ด้านประกอบด้วย กระเบื้องดินเผาแสดงเป็นภาพเล่าเรื่อง ราวชีวประวัติของหลวงปู่ มหาบุญมี สิริธโร

ภาพที่ ๑ แสดงเรื่องราว คือ ชาติภูมิอยู่จังหวัดศรีสะเกษ เรียนปริยัติธรรม จบ ป.ธ. ๓ เป็นครูสอนบาลีอยู่ที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี เกิดเบื่อหน่ายลาออกธุดงค์ พ.ศ. ๒๔๙๗ พักจำ�พรรษาถ้ำ�ม่วง อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี อยู่องค์เดียว ชะเงื้อม ผาถ้ำ�ม่วง ปีต่อมาจำ�พรรษา ณ บ้านเหล่า (ต่อมาเป็นวัดป่ามัชฌันติการาม) สมัยนั้นยัง เป็นดง มีหมู่ป่า อีเห็น สัตว์เชื่องมาก อยู่รุกขมูลตลอด ปรากฏเห็นหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มาสอนในนิมิต และตั้งใจจะสร้างวัด มีชาวบ้านมาล่าสัตว์ สอนเรื่อง ปาบ บุญ ไม่เชื่อฟัง เลยธุดงค์หนีไปที่อื่น 347


ภาพที่ ๒ แสดงเรื่องราว คือ ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ จำ�พรรษาอยู่บ้านกุดเต่า ในเขตหนองบัวลำ�ภู (เป็นวัดเก่ามีอยู่แล้ว) เทศนาโปรดญาติโยมอยู่ศาลา บนธรรมาสน์ พื้นเมือง พ.ศ. ๒๕๐๙ – ๒๕๑๐ จำ�พรรษา อยู่บ้านกกกอก อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย อยู่ กลางภูเขา มีเสือ ช้าง เป็นต้น อยู่รุกขมูลองค์เดียว

ภาพที่ ๓ แสดงเรื่องราว คือ พ.ศ. ๒๕๑๑ – ๑๒ – ๑๓ จำ�พรรษาบ้านหมากแข้ง อำ�เภอวังสะพุง จังหวัดเลย อยู่รุกขมูล ต่อมาได้กลายเป็นวัดสิริปุญญานุสรณ์ พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๑๘ จำ�พรรษา อำ�เภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร อยู่กับ คณะศิษย์ สร้างวัดป่าสุจินต์ประชาราม 348


ภาพที่ ๔ แสดงเรื่องราว คือ พ.ศ. ๒๕๑๙ สร้างวัดป่าภูทอง (วัดร้างมีซากอิฐ โบราณ) บ้านภูดิน อำ�เภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี สร้างวิหารคร่อมซากอิฐ ได้สร้าง ศาลา ขุดสระ บ่อน้ำ� (หลวงปู่ชอบขุดสระ ชอบน้ำ�เป็นพิเศษ) ปลูกกุฏิหลายหลัง พา ญาติโยม ทำ�วิปัสสนากรรมฐาน พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๓๐ จำ�พรรษาวัดป่าภูทอง สอนญาติโยมปฏิบัติธรรม พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๒ จำ�พรรษา อำ�เภอพนมไพร และที่อำ�เภอสตึก พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๓๔ จำ�พรรษา ณ วัดป่าวังเลิง อำ�เภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม นายเผ่า สุวรรณศักดิ์ศรี สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมไทย) ปัจจุบันเป็นอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

349


งานฉลองเจดีย์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ๑๙-๒๐ เมษายน ๒๕๓๙

พระประธาน สภาพเจดีย์อยู่ในระหว่างดำ�เนินการก่อสร้าง

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

หลวงปู่ศรี มหาวีโร , หลวงปู่ท่อน ญาณธโร

พระราชธรรมานุวัตร (เลื่อน สุกวโร)

หลวงปู่ศรี มหาวีโร 350


หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

หลวงปู่ท่อน ญาณธโร

หลวงปู่จันทา ถาวโร

หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสฺสโก

หลวงปู่คำ�ผอง กุสลธโร

หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม(องค์ซ้าย)

ดร.อำ�นวย วีรวรรณ อดีตรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง เป็นประธานในงาน พระสงฆ์ที่มาร่วมมุทิตาจิตในงาน 351


ประวัติวัดป่าวังเลิง

บ้านหัวขัว ตำ�บลท่าขอนยาง อำ�เภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ผู้ริเริ่มบุกเบิกก่อตั้งวัดป่าวังเลิงขึ้นมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรก และที่เป็นกำ�ลังสำ�คัญ ของวัด คือ พระโพธิญาณมุนี (หลวงพ่อเมือง พลวัฑโฒ) คุณจิรศักดิ์ คณาสวัสดิ์ กำ�นัน แก้ว ฯลฯ วัดป่าวังเลิง ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดมหาสารคาม เป็นวัดสาย “ธรรม ยุต” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตั้งแต่วันที่ ๑ เดือนมกราคม ปีพุทธศักราช ๒๕๔๓ เป็นสถานที่อยู่จำ�พรรษาในช่วงปัจฉิมวัยของหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ซึ่งเป็นลูกศิษย์ ในสายพระกรรมฐานของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จุดที่สำ�คัญ และน่าสนใจภายในวัดป่าวังเลิง ได้แก่ ศาลาการเปรียญ (ชื่อศาลาสิริปุญโญ เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อประธาน ซึ่ง องค์หลวงปู่มหาบุญมีเป็นผู้นำ�พาสร้างขึ้นเพื่อให้สาธุชนได้กราบไหว้บูชา) พระเจดีย์ ประดิษฐานพระธาตุ และเรื่องราวชีวประวัติของหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ศาลามุงหญ้าสมัยที่องค์หลวงปู่นำ�พาลูกศิษย์สร้างเอาไว้ เมื่อครั้งจำ�พรรษาอยู่ที่นี่ หนองน้ำ�ขนาดใหญ่มาก ที่เรียกว่า วังเลิง จนกลายเป็นชื่อที่มาของวัดป่าวังเลิง อีกจุดคือ กุฏิของหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร สร้างจากไม้และปูน ยกพื้นสูง ปัจจุบันทางวัดได้ทำ�การซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ เพื่อให้แข็งแรงและถาวรเรียบร้อย แล้ว 352


วัดป่าวังเลิง ตั้งอยู่บ้านหัวขัว ตำ�บลท่าขอนยาง อำ�เภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม เป็นวัดที่หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เคยเป็นประธานสงฆ์องค์แรก ปัจจุบันมี ท่านพระครูสุทธิพรหมคุณ (สุทธิพงศ์ ชนุตฺตโม) เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม (ธ) ดำ�รง ตำ�แหน่งเป็นเจ้าอาวาส วัดป่าวังเลิง เป็นชื่อที่ขึ้นทะเบียนของกองพุทธศาสนสถาน สำ�นักงานพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติ และเส้นทางไปวัด เดินทางจากตัวเมืองจังหวัดมหาสารคาม ไปตาม เส้นทางมหาสารคาม-กันทรวิชัย ตรงไปตามถนนหมายเลข มค๓๐๐๑ ถึงกิโลเมตรที่ ๘ ให้เลี้ยวขวา ทางเข้าวัดจะมีป้ายชื่อวัดป่าวังเลิง อีกประมาณ ๘๐๐ เมตรก็ถึงวัด การบุกเบิก – การก่อสร้าง ถาวรวัตถุต่าง ๆ เช่น - ศาลาการเปรียญ - โรงน้ำ�ร้อน - กุฏิพระเถระ - เสนาสนะ กระท่อม - ห้องน้ำ� ห้องส้วม - ถนนหนทาง - เขตอุบาสิกา ที่พักปฏิบัติธรรม - โรงครัว - เรือนพักอุบาสิกา

353


กิจวัตรพระภิกษุ สามเณร วัดป่าวังเลิง

เวลา ข้อวัตรปฏิบัติ ๐๔.๐๐ น. ทำ�วัตรเช้า - สวดมนต์ เสร็จแล้วนั่งสมาธิเจริญเมตตาภาวนา ๐๕.๓๐ น. รวมกันศาลาหญ้า เพื่อจัดบริขาร อาสนะที่นั่ง - จัดบาตร กระโถน กาน้ำ� เตรียมน้ำ�ใช้น้ำ�ฉันให้เรียบร้อย ๐๖.๐๐-๐๖.๓๐ น. เมื่อได้เวลารุ่งอรุณเช้าของวันใหม่ ออกภิกขาจารบิณฑบาต ข้อควร ประพฤติในเวลาออกบิณฑบาต ให้ปฏิบัติตามเสขิยวัตร เช่น เดิน บิณฑบาตด้วยอาการสำ�รวมอินทรีย์ ๖ นุ่งห่มให้เรียบร้อย ห่มคลุม กลัดรังดุม ถือบาตรในจีวร กำ�หนดทางเข้าออกหมู่บ้าน ไม่ยืนใกล้ หรือไกลจากผู้ให้นัก ๐๗.๓๐ น. กลับถึงวัด เตรียมจัดภัตตาหาร รับประเคนอาหารถวายครูบา อาจารย์ จัดอาหารใส่บาตร และให้พรแก่ญาติโยม รวมฉันจังหันที่ศาลาหญ้า (ก่อนจะฉันต้องพิจารณาอาหารก่อน เพื่อไม่ให้หลงลืมตัวและฉันด้วยความสำ�รวมระวัง มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ เริ่มฉัน และฉันในบาตรโดยวิธีสำ�รวม พระ เณร ผ้าขาว ฉัน เหมือนกันหมด อาหารอย่างเดียวกัน จนตลอดแถว) 354


๐๘.๓๐ น. ฉันภัตตาหารเสร็จ - ล้างบาตร - เช็ดบาตรเก็บบริขารเสร็จเรียบร้อย แล้วปัดกวาดเช็ดถูศาลาหอฉัน แยกย้ายกลับกุฏิ ๑๔.๐๐ น. ฉันน้ำ�ร้อน น้ำ�ปานะ ที่โรงต้มน้ำ�ร้อน ๑๕.๐๐ น. กวาดใบไม้ ทำ�ความสะอาดเสนาสนะต่างๆ กุฏิ ห้องน้ำ� ศาลาหญ้า เสร็จแล้วแยกย้ายกลับกุฏิของตน ใครจะเดินจงกรม นั่งภาวนา ท่องบ่นสาธยายหนังสือสวดมนต์ ทบทวนพระปาฏิโมกข์ หรือจะทำ� กิจวัตรต่างๆ ก็สุดแต่อัธยาศัย ๑๙.๓๐ น. ประชุมพระสงฆ์ สามเณร ทำ�วัตรเย็น สวดมนต์ นั่งสมาธิ เจริญ เมตตาภาวนา (หากตรงกับวัน ๑๔ ค่ำ� หรือ ๑๕ ค่ำ� พระทุกองค์จะต้องมาประชุมกันที่ศาลาสิริปุญญา ราม เพื่อลงอุโบสถสังฆกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน เวลาบ่าย ๑๓.๓๐-๑๔.๐๐ น.) 355


ท่านผู้เงียบสงบ สยบกิเลสของทุกคนที่ได้พบด้วยธรรมภายใน

ยากจะหาครูบาอาจารย์ เช่นท่านได้ ท่านผู้มีธรรมเอกอุ และยังมีชีวิตอยู่ สภาพป่าอันร่มรื่น สถานที่เหมาะสม ธรรมชาติโดยรอบ เป็นวังน้ำ�ใหญ่ วัดป่าวังเลิงจึงรมณียสถานที่สัปปายะที่สุด ณ แดนธรรมแห่งนี้

ที่องค์หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร ได้มอบไว้ให้เป็นสมบัติของพุทธศาสนา และเพื่อลูกหลาน อนุชนรุ่นหลัง ได้สืบทอดตามเจตนารมณ์สืบไป

การที่เราได้พบ และกราบนมัสการท่าน จึงถือได้ว่าเป็นมงคลอันสูงสุด

356



หลวง ปู่ มหา บุญมี

ใหญ่ยิ่ง ในธรรมะ บารมี พระคุณท่าน อเนกอนันต์ ทุกข์เกิดดับ อยู่กับใจ บริสุทธิ์ กราบพุทธองค์

คือ คือ คือ คือ

ประทีป โคมทอง ของชาวพุทธ ปราชญ์มนุษย์ ผู้ยอด อริยสงฆ์ พระสาวก ผู้แน่วแน่ เจตจำ�นง พรอรหันต์ เด่นดำ�รง ตลอดกาล

วัด สถานศาสน์ยั้ง ธำ�รง พุทธเอย ป่า รกชัฏเที่ยวธุดงค์ สุดด้าว วัง วนวัฏหลง ตัดสิ้น แล้วนอ เลิง วุ้งเวิงน้ำ�ใหญ่ เฟ้นไว้นิพพาน ประพันธ์โดย ศิษยานุศิษย์


ถ้อยแถลงคณะผู้จัดทำ� หนังสือ “สิริธโรเถรานุสรณ์” นี้ สำ�เร็จลงได้เพราะความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจ ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์จำ�นวนมาก ความพร้อมเพรียงดังกล่าวเกิดขึ้นได้ด้วยทุก ท่านล้วนมีความเคารพบูชาและศรัทธาต่อองค์หลวงปู่ ผู้เป็นพระอรหันตสาวกสมัย กึ่งพุทธกาล ผู้ควรแก่การสร้างเจดีย์เพื่อกราบไหว้บูชา อีกทั้งเชื่อมั่นวา คติธรรมจาก ชีวประวัติขององค์หลวงปู่จะเป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เกิดความเข้าใจในธรรม มีหลักใจมีศีลธรรมความประพฤติที่ถูกต้องดีงามตามครรลอง คลองธรรม เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สมดังคำ�อนุโมทนาของหลวงพ่อคูณ สุ เมโธ ที่ได้ปรารภเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ วัดป่าภูทอง ว่า

“การเผยแผ่ประวัติของท่าน ให้สาธุชนได้รู้ ได้ทราบก็จึงเป็นการดี หลวงปู่มหาบุญมีนั้น ก็ได้เกี่ยวข้องกับพ่อแม่ครูบาอาจารย์ดังนาม ที่ได้เขียนมานี้ ข้อปฏิบัติของท่านที่ได้สัมผัสก็ รู้สึกว่า ท่านได้ปฏิบัติไปตามแนวพ่อแม่ครูบา อาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้พาดำ�เนินมา แล้วก็ได้ฟังธรรมะจากท่านก็รู้สึกว่าประทับใจ อยู่ ช่วงที่ท่านไปหาอยู่ที่ภูลังกา

ครั้งหนึ่งผมมาหาท่านอยู่ที่นี่(วัดภูทอง) ท่านมา จำ�พรรษาอยู่ที่นี่ผมมากราบท่านอยู่ที่นี่ ได้ฟัง เทศน์ท่าน ฟังเทศน์ท่านก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ก็ไม่ค่อยเข้าใจ แต่ฟังแล้วท่านบอกว่า ยังเหลืออยู่อีก ๗ ชาติ ทีนี้พอผมไปอยู่ภูลังกา 359


กับหลวงปู่บุญมี ปริปุณโณ(วัดป่านาคูณ) สมัยนั้น ท่านจะออกจากที่นี่(วัดภูทอง) ท่าน ไปหาที่อยู่หลายๆ แห่งว่างั้นเถอะ แล้วก็ไปจนถึงภูลังกา(วัดถ้ำ�ยา) อันนี้พูดตามประวัติ ของท่านที่ผมได้สัมผัสกับท่านเนอะ ขึ้นไปถึงภูลังกาท่านก็ไปพักอยู่ด้วยคืนหนึ่ง หลวง ปู่บุญมีก็บอกว่า ไปอุปัฏฐากท่านนะ ไปฟังเทศน์ท่าน พอฟังเทศน์จบ นวดเส้นถวาย ท่าน ท่านเทศน์ที่ภูลังกานี้ โอ้ เทศน์เข้าท่าทีนี้ เทศน์เข้าหลักไม่เหมือนอยู่ที่ภูทอง เรา ฟังท่านเทศน์แล้ว โอ่ เข้าหลัก ในการที่จะเหมือนกับหลวงตามหาบัวเทศน์เลยนะ เราก็ คิดในใจของเราว่า หลวงปู่เทศน์อยู่ที่ภูทองนี้ทำ�ไมท่านถึงว่าเหลืออยู่ ๗ ชาติ เราคิดใน ใจของเรานะ มาเที่ยวนี้ไม่ใช่เหลือ ๗ ชาตินะ เทศน์แบบนี้เทศน์แบบหลุดพ้น เราคิดใน ใจของเรานะ พอเราคิดในใจแค่นั้นแล้วท่านก็เทศน์ขึ้นมาเลยนะ แต่ก่อนมันว่าเหลืออยู่ ๗ ชาติ แต่เดี๋ยวนี้มันไม่เหลือแล้ว ท่านว่า มันก็แปลกอยู่นะ นี่ละๆ เรื่องเกี่ยวกับหลวงปู่ มหาบุญมี ถึงว่า อนุโมทนาด้วย ที่ได้พิมพ์หนังสือท่านออกเผยแผ่ เอาแค่นั้นละเนอะ” ขออำ�นาจคุณพระศรีรัตนตรัย และบารมีธรรมขององค์หลวงปู่มหาบุญมี ได้ โปรดดลบันดาลให้คณะผู้จัดทำ� ผู้เกี่ยวข้องช่วยเหลือทุกท่าน ผู้ร่วมบุญทั้งหลายตลอด จนท่านผู้อ่าน จงประสบแต่ความสุขความเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย ปรารถนาสิ่งใดที่ถูก ต้องดีงาม ขอให้สำ�เร็จสมความมุ่งมาดปรารถนาทุกประการเทอญ

360


สิริธโรเถรานุสรณ์ (พระอริยะสาวกผู้ทรงความสง่า) ISBN พิมพ์ครั้งที่ ๑ จำ�นวน

๙๗๘-๖๑๖-๗๑๗๔-๓๒-๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ..................... เล่ม

กราบขอบพระคุณ พระเทพสารเวที(เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช), พระอุดม ญาณโมลี (จันทร์ศรี จันททีโป), หลวงพ่อผจญ อสโม, หลวงพ่อคูณ สุเมโธ, พระครูสุทธิ พรหมคุณ (สุทธิพงศ์ ชนุตฺตโม), หลวงปู่สังข์ ฐานิสฺสโร พระอาจารย์สมัย ญาณวโร พระ ครูอุบลคณาภรณ์(วีระชัย อริญฺชโย) ประธานที่ปรึกษา พระโพธิญาณมุนี(เมือง พลวัฑโฒ) คณะทำ�งาน พระอาจารย์อำ�พล ฐานุตฺตโร พระอาจารย์โอเค ปภากโร พระปัญญา นิมฺมโล พระเทอดพงศ์ พุทธสโร ผศ.นวลเพ็ญ ยศพล คุณชาญชัย กาญจนปภากูล คุณสุรภัสส์กรณ์ สายบุญ ชานนท์ คุณวีระชัย ทองเหง้า คุณพรรณี นรินทร์ คุณวิชิต สืบจิต คณะผู้จัดพิมพ์ คณะศรัทธาชาวพุทธ และศิษยานุศิษย์ทุกท่าน เอื้อเฟื้อภาพ คณะสงฆ์วัดป่าวังเลิง คณะสงฆ์วัดป่าบ้านตาด คณะสงฆ์วัด เลียบ คณะสงฆ์วัดศรี และข้อมูลต่างๆ อุบลรัตนาราม คณะสงฆ์วัดบูรพา คณะสงฆ์วัดสุปัฏนาราม คณะสงฆ์วัดป่าบ้านเขวา คุณชาญชัย กาญจนปภากูล สถานวิทยุเสียงธรรมเพื่อ ประชาชนบ้านตาด แหล่งข้อมูล www.Luangta.com & www.watpa.com


บรรณานุกรม หนังสืออ้างอิงประกอบกับการจัดทำ� สิริธโร บูชา หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร พิมพ์เมื่อ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ครั้งที่ ๑ อนุสรณ์สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จันทปัชโชโต) วัดนรนาถสุนทริการาม พิมพ์เมื่อ มิถุนายน ๒๕๔๒ ๑๕๐ ปี วัดศรีอุบลรัตนาราม ประวัติวัดศรีทอง จังหวัดอุบลราชธานี พิมพ์เมื่อ ๙ เมษายน ๒๕๔๙ วัดเลียบ อุบลราชธานี อารามแห่งบูรพาจารย์ พิมพ์เมื่อ มกราคม ๒๕๕๔ ครั้งที่ ๑ ประวัติวัดสุปัฏนารามวรวิหาร (ปฐมวงศ์พระธรรมยุต) จังหวัดอุบลราชธานี พิมพ์ เมื่อ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร ชีวประวัติและพระธรรมเทศนา พิมพ์เมื่อ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ครั้งที่ ๒ พระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์ พิมพ์เมื่อ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๑ ครั้งที่ ๑ กมโล ผู้งามดั่งดอกบัว ประวัติหลวงปู่บุญจันทร์ กมโล พิมพ์เมื่อ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๐ ครั้งที่ ๑ ด้วยเดชพระเมตตา ชีวประวัติคุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ� พิมพ์เมื่อ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ อธิปุญโญ เถรบูชา หลวงปู่บุญรอด อธิปุญโญ พิมพ์เมื่อ มิถุนายน ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๑ ชีวประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ขาน ฐานวโร พิมพ์เมื่อ กันยายน ๒๕๔๙ ครั้งที่ ๒ อัตโนประวัติ หลวงปู่กูด รักขิตตสีโล พิมพ์เมื่อ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ครั้งที่ ๑ มหาวีโรวาท ชีวประวัติ คติธรรม หลวงปู่ศรี มหาวีโร พิมพ์เมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ๙๐ ปี เศรษฐีธรรม หลวงปู่ลี กุสลธโร(พระอริยสาวกแห่งภูผาแดง) พิมพ์เมื่อ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ ครั้งที่ ๑ ดูข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.Luangta.com หรือ www.watpa.com




ประกาศวัดประชาคมวนาราม(ป่ากุง) ฉบับที่ พิเศษ/๒๕๕๖ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำ�หนังสืออนุสรณ์ พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) ด้วยคณะศิษยานุศิษย์พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)วัดประชาคม วนาราม(ป่ากุง) มีความประสงค์จะดำ�เนินการจัดพิมพ์หนังสือประวัติ ปฏิปทา ธรรม คำ�สอน ตลอดทั้งคุณธรรมต่างๆ เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่องค์ท่านหลวงปู่ศรีฯ และ เป็นคติแบบอย่างในการประพฤติ ปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ อันจะยังให้เกิด ประโยชน์แก่ศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนผู้สนใจใคร่ในธรรมปฏิบัติ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการดำ�เนินการจัดทำ�หนังสือดังกล่าวให้สำ�เร็จลุล่วง ด้วยความ เรียบร้อยดีงามตามความมุ่งหมาย ดังมีรายนามต่อไปนี้


คณะกรรมการฝ่ายบรรพชิต 1. พระครูปลัดทองอินทร์ กตปุญโญ ประธานกรรมการ 2. พระครูบรรพตธรรมรังสี(พระอาจารย์มณี ธมฺมรํสี) กรรมการ 3. พระอาจารย์ประยุทธ วรญาณปยุตฺโต กรรมการ 4. พระธนินท์รัฐ จนฺทาโภ กรรมการ 3. พระอาจารย์อำ�พล ฐานุตฺตโร กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการฝ่ายคฤหัสถ์ 1. นายสุขสันต์ โพธิวัฒน์ ประธานกรรมการ 2. นายอภิชา แต้อารักษ์ รองประธานกรรมการ 3. นางบำ�เพ็ญ นรินทร์ กรรมการ 4. นางสาวพรรณี นรินทร์ กรรมการ 5. นายวิชิต สืบจิต กรรมการ 6. นายเวโรจน์ จีนเก่า กรรมการ 7. นายยศชนันท์ สุขเกษม กรรมการ 8. นายชาญชัย กาญจนปภากูล กรรมการและเลขานุการ ทั้งนี้ จึงอนุญาตให้คณะกรรมการจัดทำ�หนังสืออนุสรณ์ เริ่มดำ�เนินการได้ตั้งแต่ บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันอาทิตย์ที่ ๑๙ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ ขออนุโมทนาบุญในกุศลเจตนาครั้งนี้ด้วย (พระครูปลัดทองอินทร์ กตปุญโญ) เจ้าอาวาสวัดประชาคมวนาราม(ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.