TDM 43

Page 1

MAGAZINE



12 UNIVERSITY ดอยแง่ม

22 DENT AWAY

26 ฟันปลอมหยุดโลก

32 DENT ADIREK

36 DENT dining

38 สมดุล คุณค่า ชีวิต

CONTENTS

V O L U M E 2 I S S U E 3 J U LY • S E P T E M B E R 2 0 1 7 06 10 12 18 22 26 32 36

ทันตกรรมหน้าวัง รังสีเอกซในงานทันตกรรม University ดอยแง่ม ภารกิจ (ไม่) ลับจับหมอเถื่อน Dent Away ฟันปลอมหยุดโลก Dent Adirek Dent Dining

38

สมดุล คุณค่า ชีวิต 40 อาจารย์แม่ Indiana 44 16 กิเลสโซเชียล 46 360 องศาก่อนไปเรียนต่อ 48 The team behind the scene 52 เมื่อฉันไปเรียน CPR 54 ติดเชื้อจากฟัน 60 จะท�ำอย่างไรหากหมอโดนโพสต์ ในสื​ื่อออนไลน์

64 67 68 72 76 78

* บทความในแมกกาซีนฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้น *

4 THAI DENTAL MAGAZINE

บทบาททันตกรรม PCC ไข่ไก่ 1 ฟอง คดีสภา - 800 บาท 10 เรื่องคนไข้ติดเตียง สารจากนายก คัดท้าย


เรื่อง ทพ.พิสุทธิ์ อ�ำนวยพาณิชย์

6 THAI DENTAL MAGAZINE


เมื่อพูดถึงงานออกหน่วยท�ำฟันนอกสถานที่ ชื่อคุ้นหูที่ทันตแพทย์ เคยได้ยินและนึกถึง ก็มักเป็น “ทันตกรรมพระราชทาน” “ออกหน่วย พอ.สว.” “อ�ำเภอ...ยิ้มเคลื่อนที่” “ทันตกรรมเคลื่อนที่” ฯลฯ แต่ทันตแพทย์หลาย ๆ คน อาจยังไม่เคยได้ยินชื่อ “ทันตกรรมหน้าวัง” มาก่อน

ในท้องถิ่นที่ห่างไกลน่าจะมีปัญหาเรื่องฟันกันมาก แต่สามารถ เข้าถึงการรักษาได้น้อย ทันตแพทย์ที่เคยท�ำหน้าที่นี้ก็เช่น พลโท ทวีศักดิ์ ทวีศรี ผู้เป็นทั้งพระสหาย และสมาชิกวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ ซึ่งเป็น วงดนตรีในพระองค์ การออกท�ำฟันนอกสถานที่แต่ละครั้ง ทันตแพทย์ตาม เสด็จฯ จะเตรียมกระเป๋าเครื่องมือบรรจุอุปกรณ์ถอนฟัน พร้อม หม้อข้าว และเตาแก๊สชนิดเคลื่อนที่ ส�ำหรับต้มเครื่องมือฆ่าเชื้อ โรคไปด้วย การรักษาส่วนใหญ่ทที่ ำ� คือการถอนฟัน แต่ผปู้ ว่ ยราย ใดทีจ่ ำ� เป็นต้องได้รบั การรักษามากกว่านัน้ ทันตแพทย์ตามเสด็จฯ ก็จะส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลในจังหวัด หรือใน กรุงเทพฯ

ทันตกรรมหน้าวังเป็นงานออกหน่วยท�ำฟันนอกสถานที่ ทีม่ กี องทันตแพทย์ กรมแพทย์ทหารบก ในสังกัดกองทัพบกเป็น หน่วยงานรับผิดชอบหลัก เริ่มออกหน่วยอย่างเป็นทางการครั้ง แรกในปี พ.ศ. 2529 ภายหลังจากหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่รับผิดชอบโดยคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด�ำเนินงานมาได้ 16 ปี แต่กอ่ นหน้านัน้ ก็มที นั ตแพทย์บางท่านในสังกัดกองทันตแพทย์ ที่ได้ไปออกหน่วยท�ำฟันเคลื่อนที่ ตามเสด็จพระราชด�ำเนิน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช อย่างไม่เป็น ทางการ อยู่ก่อนแล้ว ทันตแพทย์ตามเสด็จฯ เริ่มจากในระยะแรก เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปเยีย่ มประชาชน ในชนบททีก่ นั ดารห่างไกล พระองค์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทันตแพทย์ที่ตามเสด็จฯ ออกไปช่วยท�ำฟันให้แก่ประชาชน ในท้องทีน่ นั้ ๆ ด้วย เนือ่ งจากพระองค์ทรงตระหนักว่า ประชาชน

ทันตกรรมหน้าวัง กองทันตแพทย์ได้พัฒนารูปแบบการออกท�ำฟันนอก สถานที่เรื่อยมา จนกลายมาเป็น “ชุดทันตกรรมเคลื่อนที่” ซึ่งในชุดประกอบด้วยทันตแพทย์ นายสิบทันตกรรม และรถ ทันตกรรมเคลื่อนที่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปจังหวัดใด กองทันตแพทย์ก็จะจัดชุด ทันตกรรมเคลื่อนที่เข้าร่วมขบวนเสด็จฯ ด้วย เมื่อขบวนเสด็จฯ มาถึงยังทีป่ ระทับ ชุดทันตกรรมเคลือ่ นทีก่ จ็ ะจัดตัง้ หน่วยให้บริการ ทันตกรรมแก่ประชาชน บริเวณหน้าทีป่ ระทับนัน้ โดยมีทนั ตแพทย์ จากโรงพยาบาลของกองทัพบก และโรงพยาบาลของกระทรวง สาธารณสุขที่อยู่ในพื้นที่ มาร่วมให้บริการด้วย จากลักษณะของการออกหน่วย และต�ำแหน่งที่ตั้งของ หน่วยบริเวณหน้าที่ประทับนี่เอง ประชาชนจึงเรียกชื่อการ ออกหน่วยนี้จนติดปากว่า “ทันตกรรมหน้าวัง” งานทันตกรรมหน้าวัง เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2529 ที่วังไกลกังวล จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาก็เปิดให้บริการที่ พระต�ำหนักภูพานราชนิเวศน์ จ.สกลนคร และในปี พ.ศ. 2530 ก็เริ่มเปิดให้บริการที่พระต�ำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส การออกหน่วยที่พระต�ำหนักภูพานราชนิเวศน์ และพระต�ำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์นนั้ ค่อนข้างล�ำบาก ชุดทันตกรรมเคลือ่ นทีต่ อ้ ง เดินทางโดยรถทันตกรรมเคลือ่ นทีเ่ ป็นระยะทางไกล ใช้เวลา 2-3 วันจึงจะถึงจุดหมาย และยังต้องอาศัยความร่วมมือจากหลาย ฝ่ายเข้ามาเกีย่ วข้อง ทัง้ การแวะเติมน�ำ้ มัน การพักค้างคืน ตลอด 7


ภายในรถทันตกรรม พระราชทาน

รถทันตกรรมเคลื่อนที่ 02

รถทันตกรรมเคลื่อนที่ 04

จนทันตแพทย์และนายสิบทันตกรรมที่ร่วมออกหน่วย ส่วน หนึ่งก็มาจากโรงพยาบาลของกองทัพบก ที่ตั้งอยู่ระหว่าง เส้นทางไปหรือในบริเวณพื้นที่นั้น การออกหน่วยที่พระต�ำหนักภูพานราชนิเวศน์ ต้อง อาศัยความร่วมมือจากโรงพยาบาลค่ายสุรนารี จ.นครราชสีมา โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศลิ ปาคม จ.อุดรธานี และโรงพยาบาล ค่ายกฤษณ์สวี ะรา จ.สกลนคร ส่วนการออกหน่วยทีพ่ ระต�ำหนัก ทักษิณราชนิเวศน์ ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากโรงพยาบาล ค่ า ยเขตอุ ด มศั ก ดิ์ จ.ชุ ม พร โรงพยาบาลค่ า ยวชิ ร าวุ ธ จ.นครศรีธรรมราช และโรงพยาบาลค่ายเสนาณรงค์ จ.สงขลา ส�ำหรับงานทันตกรรมหน้าวังที่พระต�ำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จ.เชียงใหม่ ชุดทันตกรรมเคลื่อนที่เคยเดินทางตาม เสด็จฯ ในระยะแรก แต่เนื่องจากเส้นทางเข้าสู่พระต�ำหนักมี ความสูงชัน ท�ำให้ไม่สามารถน�ำรถทันตกรรมเคลื่อนที่ไปให้ บริการหน้าพระต�ำหนักได้ ชุดทันตกรรมเคลื่อนที่จึงเปิดให้ บริการทันตกรรมที่โรงพยาบาลค่ายกาวิละ จ.เชียงใหม่แทน และต่อมาก็ส่งมอบหน้าที่นี้ให้หน่วยงานในพื้นที่รับผิดชอบ การออกหน่วยทันตกรรมหน้าวังแต่ละครัง้ นอกจากจะ ให้บริการรักษาทันตกรรมทั่วไปคือ อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน แล้ว งานส�ำคัญอีกงานหนึง่ ทีต่ อ้ งท�ำควบคูก่ นั ไปด้วยก็คอื การ ให้ความรูเ้ รือ่ งสุขภาพช่องปากแก่ประชาชน เนือ่ งจากผูท้ ำ� งาน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่มารับบริการในขณะนั้น ยังไม่มี ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลรักษาฟันของตนเอง บางคน ก็ต้องการถอนฟันแต่เพียงอย่างเดียว เพื่อใส่ฟันปลอม โดย ไม่รู้ว่ายังมีการรักษาอื่น ๆ อีก เช่น อุดฟัน หรือขูดหินปูน ที่ สามารถท�ำได้ดว้ ย ผลจากการพยายามให้ความรูเ้ รือ่ งการดูแล สุขภาพช่องปาก ร่วมกับการให้การรักษา ท�ำให้ประชาชนมี สุขภาพช่องปากดีขนึ้ ในระดับหนึง่ และมีอตั ราการถอนฟันลด น้อยลง

รถทันตกรรมเคลื่อนที่ สิ่งส�ำคัญที่ขาดไม่ได้ส�ำหรับการออกหน่วยท�ำฟันใน พื้นที่ห่างไกลก็คือ รถทันตกรรมเคลื่อนที่ รถทันตกรรมเคลื่อนที่คันแรก ที่น�ำมาใช้ในงานทันตกรรม หน้าวัง คือ “รถทันตกรรมเคลื่อนที่ 02” ของกรมแพทย์ทหารบก รถคันนีด้ ดั แปลงมาจากรถโดยสาร Isuzu ภายในมีเก้าอีท้ ำ� ฟัน 2 ตัว และเครื่องเอกซเรย์ 1 เครื่อง จัดหามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 และน�ำ มาใช้ในงานทันตกรรมหน้าวัง ตั้งแต่การออกหน่วยครั้งแรกที่ วังไกลกังวล รถคันนี้นอกจากจะใช้ให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชนแล้ว ยั ง ใช้ ส� ำ หรั บ ถวายการรั ก ษาพระทนต์ ข องพระบาทสมเด็ จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินนี าถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 กองทัพบกได้สร้าง “รถทันตกรรม เคลื่อนที่ 04” ขึ้น ด้วยเงินประมาณ 10 ล้านบาท เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องใน โอกาสทีพ่ ระองค์มพี ระชนมพรรษา 60 พรรษา แต่พระองค์พระราชทาน รถคันนี้กลับคืนมา ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 เพื่อให้กอง ทันตแพทย์น�ำไปใช้ให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชน รถทันตกรรม หมายเลข 04 คันนี้ จึงมีชื่อว่า “รถทันตกรรมพระราชทาน” รถทันตกรรมพระราชทานเป็นรถทันตกรรมเคลื่อนที่ ที่ทันสมัยที่สุดในตอนนั้น และยังเป็นต้นแบบของรถทันตกรรม เคลือ่ นทีค่ นั ต่อ ๆ มาของกรมแพทย์ทหารบกด้วย ตัวรถดัดแปลงมา จากรถโดยสาร Mercedes-Benz มีความกว้าง 2.5 เมตร ยาว 12 เมตร และสูง 3.5 เมตร แบ่งเป็นห้องทันตกรรม 2 ห้อง ห้องพักคอย และห้องโดยสาร ภายในรถมีเก้าอี้ท�ำฟัน 2 ตัว เครื่องเอกซเรย์ 1 เครื่อง เครื่องนึ่งอัดไอน�้ำ เก้าอี้สนามส�ำหรับให้บริการนอกคันรถ อุปกรณ์และวัสดุทางทันตกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังติดตั้งระบบ เครื่องปรับอากาศ เครื่องก�ำเนิดไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส เพื่อแยก

8 THAI DENTAL MAGAZINE


ใช้ระหว่างระบบแสงสว่าง-เครือ่ งปรับอากาศ กับระบบเครือ่ งมือ ทันตกรรม ถังเก็บน�้ำขนาด 400 ลิตร และกระบอกไฮดรอลิกเท้า ช้าง ส�ำหรับปรับระดับระนาบของรถในขณะท�ำฟัน กองทันตแพทย์นำ� รถทันตกรรมพระราชทานมาใช้ในงาน ทันตกรรมหน้าวัง แทนทีร่ ถทันตกรรมเคลือ่ นที่ 02 ทีน่ ำ� ไปใช้งาน ต่อที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รถคันนี้สามารถใช้ให้บริการทันตกรรมทั่วไปแก่ประชาชน ได้วันละประมาณ 60 คน ทั้งการตรวจ ฟัน อุดฟัน ถอนฟัน ขูดหินปูน และยังสามารถน�ำอุปกรณ์ทันต กรรมมาเพิ่มเติม เพื่อใช้ส�ำหรับการรักษาเฉพาะทาง หรือเพื่อ รองรับจ�ำนวนผู้ป่วยที่มากเกินกว่าปกติได้ด้วย รถคันนีย้ งั ใช้สำ� หรับถวายการรักษาพระทนต์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช เช่นกัน ถึงตรงนี้ ผู้อ่านหลายคนอาจสงสัยว่า แล้วรถทันตกรรมเคลื่อนที่ 01 กับ 03 ไปอยู่ตรงไหน ? รถทั้ง 2 คันเคยมีอยู่ แต่ถูกปลดประจ�ำการไปนานแล้ว กองทันตแพทย์เริ่มน�ำรถทันตกรรมเคลื่อนที่ 01 มาใช้งานตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2516 โดยใช้ในงานของกองทันตแพทย์เอง ไม่ได้น�ำไป ใช้ออกหน่วยตามเสด็จฯ รถคันนี้ถูกใช้งานจนถึงปี พ.ศ. 2528 จากนั้นคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ขอ น�ำไปไว้ทคี่ ณะ ส่วนรถทันตกรรมเคลือ่ นที่ 03 เป็นรถทีก่ องทัพบก ของประเทศฝรั่งเศสบริจาคให้เมื่อปี พ.ศ. 2531 กองทันตแพทย์ เคยน�ำมาใช้ในงานทันตกรรมหน้าวังอยูร่ ะยะหนึง่ โดยใช้เป็นรถ ส�ำหรับงานธุรการ มากกว่ารถส�ำหรับให้การรักษา รถคันนี้ถูก ปลดประจ�ำการเมื่อปี พ.ศ. 2539 ส�ำหรับรถทันตกรรมเคลือ่ นที่ ทีย่ งั คงใช้งานอยูใ่ นปัจจุบนั มีอกี 2 คันคือ รถทันตกรรมเคลือ่ นที่ 05 ใช้ในงานของโรงพยาบาล ค่ายสุรนารี และรถทันตกรรมเคลื่อนที่ 06 ใช้ในงานของกอง ทันตแพทย์เอง รถทันตกรรมเคลื่อนที่ 01 จนถึง 06 นี้ ก็เป็นคนละคันกับ รถยนต์ทำ� ฟันเคลือ่ นที่ ทีพ่ ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช พระราชทานให้แก่หน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ ซึง่ น�ำมาใช้ให้บริการทันตกรรมเคลือ่ นทีเ่ ป็นครัง้ แรก เมือ่ วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2513 ที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์

หน่วยแพทย์พระราชทานพระต�ำหนักทักษิณราชนิเวศน์

เพื่อใช้เป็นสถานที่ให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชน แทนการใช้ โรงจอดรถ กองทันตแพทย์ก็ได้น�ำรถทันตกรรมพระราชทาน ไป ใช้ให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชนทีจ่ งั หวัดอืน่ แทน โดยปัจจุบนั รถคันนี้ยังคงใช้ในงานของโรงพยาบาลอานันทมหิดล จ.ลพบุรี ส่วนคลินิกทันตกรรมพระราชทานก็เปิดให้บริการประชาชน จน กระทั่งถึงการเสด็จฯ แปรพระราชฐานครั้งสุดท้าย เมื่อปี พ.ศ. 2557 จึงยุติไป ส�ำหรับที่พระต�ำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ปัจจุบันได้ใช้ อาคารชั้นเดียวของหน่วยแพทย์พระราชทาน ที่ตั้งอยู่ในบริเวณ พื้นที่พระต�ำหนัก เป็นสถานที่ให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชน โดยมีองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างเปลีย่ นแปลงไปจากเดิม ตัง้ แต่ หน่วยงานรับผิดชอบ ที่มีหน่วยแพทย์พระราชทาน ศูนย์แพทย์ ทหารบกจังหวัดชายแดนใต้ กองอ�ำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในภาค 4 ส่วนหน้า มาดูแลแทน และรูปแบบของบริการ ทันตกรรมที่ครอบคลุมหลากหลายขึ้น ทั้งตรวจฟัน อุดฟัน ถอน ฟัน ขูดหินปูน รักษารากฟัน ท�ำฟันปลอม จนถึงใส่รากเทียม แต่ ทว่าชาวบ้านก็ยังคงเรียกชื่อหมอที่ท�ำงานที่นี่คล้ายคลึงเดิมว่า “หมอหน้าวัง” บทสรุป ทันตกรรมหน้าวังเกิดขึ้นได้ก็ด้วยพระราชวิสัยทัศน์ และ พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงตระหนักถึงปัญหาสุขภาพช่องปาก ของประชาชนในพืน้ ทีห่ า่ งไกล ร่วมกับบริบททางสังคม และความ จ�ำกัดของทรัพยากรในสมัยนัน้ ปัจจัยเหล่านีค้ อ่ ย ๆ เปลีย่ นแปลง ไปตามเวลาที่ล่วงเลย ส่งผลให้รูปแบบของทันตกรรมหน้าวัง มี การปรับเปลีย่ นไปด้วย เพือ่ ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละสมัย บทบาทอย่างเป็นรูปธรรมของทันตกรรมหน้าวังใน ปัจจุบัน อาจลดน้อยลงเมื่อเทียบกับในอดีต ทว่าบทบาท ในฐานะพืน้ ฐานแนวคิด และตัวอย่างแห่งการเปลีย่ นแปลง ยังคงควรฉายประกายอยูเ่ บือ้ งหลังการออกหน่วยท�ำฟันใน แต่ละครั้ง

รูปแบบทีเ่ ปลีย ่ นแปลงไปของทันตกรรมหน้าวัง ในระยะหลัง เมือ่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับที่วังไกลกังวลเป็น หลัก ก็ได้มีการก่อสร้างโรงจอดรถทันตกรรมพระราชทานขึ้น บริเวณเขตพระราชฐานชั้นนอก กองทันตแพทย์จึงใช้บริเวณ โรงจอดรถนี้ เป็นสถานที่ให้บริการทันตกรรมแก่ข้าราชบริพาร ทหารและต�ำรวจที่มาปฏิบัติหน้าที่ และประชาชนทั่วไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการก่อสร้างคลินิกทันตกรรม พระราชทานขึ้น บริเวณเขตพระราชฐานชั้นนอก วังไกลกังวล 9


เกาะกระแส

เรื่อง อ. ทพ.พลกฤษณ์ ศิลป์พิทักษ์สกุล/อ. ทญ. ดร.พิสชา พิทยพัฒน์ อ. ทพ.อธิคุณ ประดิษฐ์ปภา ภาควิชารังสีวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประโยชน์และการป้องกัน

รังสีเอกซ์ ในงานทันตกรรม ภาพที่ 1 ตัวอย่างภาพรังสีกัดปีกของผู้ป่วยด้านขวา (แถวบน) และด้านซ้าย (แถวล่าง)

ก่อนที่ทันตแพทย์จะให้การรักษาทางทันตกรรม ไม่ว่าหัตถการประเภทใดก็ตาม ทันตแพทย์ก็จะ ท�ำการซักประวัติ ตรวจดูในช่องปากว่ามีรอย โรค หรือความผิดปกติใดหรือไม่ แต่การตรวจ ดูด้วยตาเปล่าอย่างเดียวไม่สามารถเห็นความ ผิดปกติได้ทุกชนิด เนื่องจากข้อจ�ำกัดทางด้าน กายภาพ เช่น บริเวณปลายรากฟัน กระดูก รอบรากฟัน กระดูกขากรรไกร ฟันผุที่ด้าน ประชิดติดกันของฟัน ดังภาพที่ 1 การจะตรวจ หาความผิดปกติในบริเวณเหล่านี้ จึงจ�ำเป็น ต้องอาศัยเครื่องมือช่วย ซึ่งก็คือการถ่ายภาพ รังสีทางทันตกรรมนั่นเอง

10 THAI DENTAL MAGAZINE


ทางทันตกรรมได้การรักษาที่เหมาะสม ที่ส�ำคัญการที่ภาพรังสี สามารถตรวจพบรอยโรคของฟัน หรือกระดูกขากรรไกรตั้งแต่ ต้นขณะที่รอยโรคยังมีขนาดเล็ก ก็ท�ำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ ทันท่วงที ลดการได้รบั หัตถการทีม่ คี วามซับซ้อน รวมทัง้ เป็นการ ลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยไปในตัวด้วย ภาพที่ 2 ตัวอย่างภาพรังสีPanoramic เพื่อตรวจดู กระดูกขากรรไกรและฟันคุด

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่าการ ถ่ายภาพรังสีเพื่อใช้ในการวินิจฉัยทางทันตกรรมมีผลเสียต่อ ร่างกาย อย่างไรก็ตามทันตแพทย์ผู้ถ่ายภาพรังสีทันตกรรม ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยทันตแพทย์จะใช้ปริมาณรังสีต�่ำที่สุด เท่าที่จ�ำเป็นต่อการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาให้ผู้ป่วย ซึ่ง จะพิจารณาจากความจ�ำเป็นของผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป

ารถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรมจะใช้รังสีเอกซ์ ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ถูกน�ำมา ใช้อย่างกว้างขวางในทางการแพทย์ โดยใน ทางทันตกรรมบริเวณที่รับรังสีจะมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับ การถ่ายภาพรังสีทางการแพทย์โดยทั่วไป ท�ำให้ปริมาณรังสีที่ ผู้ป่วยได้รับจากการถ่ายภาพรังสีแต่ละครั้งนั้นต�่ำมาก โดยการ ได้รับรังสีเอกซ์จากการถ่ายภาพรังสีแบบ Panoranic 1 ภาพ (ภาพที่ 2) อาจเปรียบได้กับการใช้ชีวิตประจ�ำวันปกติ 1-3 วัน เพราะคนเรานั้นได้รับรังสีในชีวิตประจ�ำวันจากชั้นบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมตลอดเวลาอยู่แล้ว

ก่อนการถ่ายภาพรังสี ผูป้ ว่ ยจะต้องแจ้งทันตแพทย์เสมอว่า ผูป้ ว่ ยก�ำลังตัง้ ครรภ์ หรือมีความเป็นไปได้ทจี่ ะตัง้ ครรภ์หรือไม่ ซึง่ จริง ๆ แล้วการตัง้ ครรภ์ไม่ได้เป็นข้อห้ามในการถ่ายภาพรังสีทาง ทันตกรรม หากภาพถ่ายรังสีมีความจ�ำเป็นในการวินิจฉัยและ วางแผนการรักษาให้ผู้ป่วย เช่น กรณีผู้ป่วยมีอาการปวดและ ต้องได้รับการรักษาฉุกเฉิน สามารถถ่ายภาพรังสีได้ แต่หากไม่ ได้มคี วามจ�ำเป็นเร่งด่วน การถ่ายภาพรังสีสามารถเลือ่ นออกไป ก่อนได้ นอกจากนี้ในขณะที่ถ่ายภาพรังสี ผู้ป่วยยังจะได้รับการ ป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับรังสีในส่วนที่ไม่จ�ำเป็น การป้องกัน รังสีนี้ท�ำได้โดยให้ผู้ป่วยใส่เสื้อตะกั่วและปลอกคอตะกั่ว (ภาพ ที่ 3) ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ล�ำตัวและต่อมไทรอยด์ของผู้ป่วย ได้รับรังสีเอกซ์โดยไม่จ�ำเป็นขณะถ่ายภาพรังสี

ประโยชน์ของภาพถ่ายรังสีทางทันตกรรมนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการ ตรวจดูบริเวณรูผุของฟันที่ไม่สามารถ เห็นได้จากการตรวจในปาก ส�ำหรับดู การติดเชือ้ บริเวณปลายรากฟันจากฟัน ที่ผุทะลุโพรงประสาทฟัน การดูระดับ การละลายของกระดูกรอบรากฟันใน

โดยสรุปแล้วภาพเอกซเรย์เป็นเครื่องมือที่จ�ำเป็นเพื่อใช้ วินจิ ฉัยและวางแผนการรักษาทางทันตกรรม โดยยึดประโยชน์ที่ ผูป้ ว่ ยพึงได้รบั เป็นส�ำคัญ หากไม่มภี าพเอกซเรย์เพือ่ ใช้ประกอบ การรักษา อาจท�ำให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วยได้ โดย ทันตแพทย์เป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุม มาตรฐานของเครื่องมือและอุปกรณ์ ต่าง ๆ การเลือกเทคนิคการถ่ายที่เป็น ประโยชน์ต่อผู้ป่วย และการให้การป้องกัน รังสีเอกซ์แก่ผู้ป่วยอย่างเหมาะสม

ผู้ป่วยที่เป็นโรคร�ำมะนาด หรือโรคปริทันต์ การมีฟันที่ไม่ขึ้นใน ช่องปากตามเวลา ฟันที่ฝัง หรือคุดอยู่ในกระดูกขากรรไกร การ ที่มีการขยายตัวผิดปกติของกระดูกขากรรไกรที่อาจเกิดจากถุง น�้ำ หรือเนื้องอก ใช้ตรวจหาบริเวณที่มีการแตกหักของฟัน หรือ กระดูกขากรรไกร รวมทัง้ ใช้ในการประเมินการเจริญเติบโตของ ขากรรไกรเพือ่ วางแผนในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน เป็นต้น จากทีก่ ล่าวมา จะเห็นได้วา่ การถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรม นั้นมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งต่อการให้การรักษาทางทันตกรรม ทันตแพทย์สามารถน�ำข้อมูลทีไ่ ด้จากภาพรังสี ประกอบกับข้อมูล การซักประวัติ และอาการที่ตรวจได้ น�ำไปสู่การให้การวินิจฉัย แยกโรค การวางแผนการรักษา รวมทัง้ การติดตามผลการรักษา ทางทันตกรรมที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มารับการรักษา

ภาพที่ 3 แสดงการใส่ เสื้อตะกั่ว (สีน�้ำเงิน) และ ปลอกคอตะกั่ว (สีชมพูลาย) เพื่อป้องกันรังสีเอกซ์แก่ผู้ป่วย 11


University in the Park

ดอยแง่ม

เนื่องในโอกาสที่ส�ำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีอายุครบ 5 ปี ในปี 2560 จึงเป็นการสมควรที่จะเรียบเรียงข้อมูล จากบันทึกต่างๆ เพื่อน�ำมาแนะน�ำโรงเรียนทันตแพทย์ ที่ตั้งในพื้นที่ ภาคเหนือตอนบนแห่งนี้ ให้เป็นที่รู้จัก และเพื่อให้ปรากฏ เป็นหลักฐานสืบไป 12 THAI DENTAL MAGAZINE


แนะน�ำหน่วยงาน

เรื่อง อ.ทพ. ณรงค์ ลุมทิกานนท์/อ.ทพ. พรรษกร แสงแก้ว/อ.ทพ. วิไล อริยะวุฒิกุล

ปลูกป่า สร้างคน สร้างมหาวิทยาลัย

พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

นับย้อนไปกว่า 18 ปี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ก่อสร้างขึ้นบนพื้นที่ประมาณ 5,000 ไร่ ณ ดอยแง่ม ต.ท่าสุด อ.เมือง จ.เชียงราย ตามมติคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่มีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี การตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ณ ที่แห่งนี้ เปรียบเสมือนการเข้ามารักษาสมบัติ ของแผ่นดิน น�ำที่ดินมาใช้ประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างถาวร เนื่องจากก่อนหน้านั้น พื้นที่ บริเวณนี้เคยมีผู้บุกรุกเข้ามายึดครองโดยไม่ถูกต้องหลายต่อหลายครั้ง ทั้งๆ ที่ที่ดินผืน นี้ บางส่วนเป็นพื้นที่ป่าสงวน บางส่วนเป็นที่ดิน สปก. บางส่วนเป็นที่ดินไม่มีเอกสาร สิทธิ์ ซึ่งไม่สามารถครอบครองได้ มีเพียงพื้นที่ส่วนน้อย ที่อาจมีโฉนดหรือใบแจ้งการ ครอบครองที่ดินอยู่บ้าง ฉะนั้น หากไม่ได้ตั้งมหาวิทยาลัยไว้บริเวณนี้ ที่ดินผืนนี้ก็คงจะ ถูกยึดครองและเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ โดยผู้ไม่สมควรรับสิทธิ์อีกเป็นจ�ำนวนมาก1 รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดี และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเล่าว่า ความคิดในการออกแบบมหาวิทยาลัยในขณะนัน้ ต้องการให้เป็นแบบล้านนาประยุกต์ มีพื้นที่ใช้สอยครบถ้วน ค�ำนึงถึงการประหยัดพลังงาน และความเป็นระเบียบใน การใช้พื้นที่ รวมทั้งให้ความส�ำคัญต่องานภูมิสถาปัตย์ จึงมุ่งเน้นให้รักษาลักษณะ ภูมปิ ระเทศเดิมไว้ให้มากทีส่ ดุ นอกจากนี้ ยังวางกรอบแนวคิดไว้วา่ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ จะเป็น University in the Park ตามพระราชปณิธาน “ปลูกป่า สร้างคน” ของสมเด็จ- พระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดังนั้นจึงมีการปลูกต้นไม้ในพื้นที่รกร้างทั้งมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาบุกเบิกและจับจองพื้นที่ เนื่องจากเดิมต้นไม้ในบริเวณนี้ถูกแผ้ว ถางท�ำลายไปจนเกือบหมดสิ้นแล้ว และยังได้น้อมน�ำแนวพระราชด�ำริในพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เกีย่ วกับการปลูกป่ามาประยุกต์ใช้ ท�ำให้พนื้ ที่ ดอยแง่มพลิกฟื้นกลับมาเป็นผืนป่าอีกครั้ง พร้อมๆ กันนั้น ก็ได้พัฒนาสิ่งแวดล้อม และ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยพัฒนาการศึกษาและอาชีพไปด้วย1 ณ ใจกลางของมหาวิทยาลัย ยังได้ประดิษฐานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึง่ ได้รบั พระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จ- พระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช เพือ่ เป็นศูนย์รวมใจของชาวมหาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวง และชาวไทยทั้งปวงต่อไป1

13


ภาพบน : ภูมิทัศน์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง บนพื้นที่กว่า 4,000 ไร่ ภาพล่าง : อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ศิริชนะ

จุดแข็งที่กลายเป็น จุดขายในเวลานี้ก็คือ การน�ำภาษาจีนเข้ามา สอนในมหาวิทยาลัย อย่างจริงจังตั้งแต่ แรกเริ่ม ตามความคิด ของท่านที่เล็งเห็นว่า ต่อไปประเทศจีน จะมีบทบาทส�ำคัญ ในโลก

เมือ่ ครัง้ ที่ รศ.ดร.วันชัย ศิรชิ นะ ด�ำรงต�ำแหน่งปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ท่านมีความ ฝันส�ำคัญคือ อยากมีโอกาสสร้างมหาวิทยาลัยดีๆ ให้แก่บา้ นเมือง อยากให้มหาวิทยาลัย ที่เกิดขึ้นสามารถแก้ปัญหาของสังคมได้ อยากให้มหาวิทยาลัยสามารถเป็นตัวอย่างที่ ดีแก่สังคมในทุกด้าน อยากให้ทั่วโลกยอมรับว่ามหาวิทยาลัยไทยมีคุณภาพ อยากให้ มีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียนในประเทศไทยมากๆ อยากให้การศึกษาเป็นเครื่องมือ สร้างมิตรและสันติภาพกับประเทศเพื่อนบ้าน อยากเห็นเด็กไทยมีโอกาสเข้าเรียนใน ระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ และอยากให้คนจนก็มีสิทธิ์เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้1 ท่านจึงพยายามสร้างมหาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวงด้วยความมุง่ มัน่ และด้วยความหวัง จะให้มหาวิทยาลัยแห่งนีเ้ ป็น World University คือเป็นมหาวิทยาลัยทีส่ ามารถผลิตคน ทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถ ออกไปรับใช้สงั คมโลกในทุกวัฒนธรรมได้อย่างมีคณ ุ ภาพ โดย ในเบื้องต้น มหาวิทยาลัยจะต้องสร้างคนที่มีคุณภาพไว้ก่อน เพราะเมื่อมหาวิทยาลัย สามารถสร้างคนเก่งคนดีได้แล้ว การเป็นมหาวิทยาลัยชัน้ น�ำ ก็จะเกิดขึน้ อย่างแน่นอน1 ท่านเห็นว่า สิง่ ทีม่ หาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวงสามารถท�ำได้เร็ว และน่าจะดึงดูดความ สนใจของคนทัง้ ประเทศได้ ก็คอื การสร้างมหาวิทยาลัยให้มรี ปู ลักษณ์สวยงาม มีภมู ทิ ศั น์ แปลกตา มีความงดงามตามธรรมชาติ และมีหลักสูตรที่น่าสนใจ ดังนั้นในระยะแรก เริ่ม มหาวิทยาลัยจึงทุ่มเทในการพัฒนาสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ให้สวยงาม แล้ว น�ำมาเผยแพร่ให้สาธารณชนได้เห็น จนเกิดเป็นความประทับใจ และกล่าวขานกันว่า มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงสวย น่าไปเที่ยว น่าไปอยู่ ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยก็พยายามสร้างและพัฒนา จุดแข็งและจุดขาย ทั้ง ด้านวิชาการและด้านบริการสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากท่านตระหนักดีว่า ในระยะ ยาวแล้ว ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยย่อมเกิดจากความเข้มแข็งด้านวิชาการ บัณฑิตที่มี คุณภาพ งานวิจัยที่น�ำไปประยุกต์ใช้ได้ คุณภาพการบริการและการเข้าถึงประชาชน การน�ำเสนอสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม การเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคม รวมถึงการ เข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาประเทศ1 จุดแข็งที่กลายเป็นจุดขายหนึ่งในเวลานี้ก็คือ การน�ำภาษาจีนเข้ามาสอนใน 14 THAI DENTAL MAGAZINE


ภาพซ้าย : อาคารปรีคลินิก (M3) ชั้น 2 ที่ตั้งปัจจุบันของส�ำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ ภาพบนขวา : ย้อนไปเมือ่ 18 ปีทแี่ ล้ว มหาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวงได้กอ่ ตัง้ ขึน้ ณ บริเวณดอยแง่ม จังหวัดเชียงราย ภาพล่างขวา : ตึกใหม่ 9 ชั้น ส�ำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

มหาวิทยาลัยอย่างจริงจังตั้งแต่แรกเริ่ม ตามความคิดของท่านที่เล็งเห็นว่า ต่อไป ประเทศจีนจะมีบทบาทส�ำคัญในโลก ด้วยวิสัยทัศน์นี้ ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยจึงได้ รับการยอมรับว่ามีความเป็นเลิศทางการสอนเกี่ยวกับจีน ทั้งด้านภาษาวัฒนธรรมจีน ธุรกิจ ล่ามและการแปล การสอนภาษาจีน และจีนศึกษา โดยมีนักศึกษาที่เรียนเต็ม เวลาทางด้านนี้มากที่สุด และมีอาจารย์ภาษาจีนมากที่สุดด้วย1 นอกจากนี้ ท่านยังริเริ่มให้ใช้ภาษาอังกฤษ เป็นสื่อการสอนหลักของมหาวิทยาลัย มาตัง้ แต่ตน้ เพือ่ แก้ปญ ั หาความไม่สนั ทัดภาษาอังกฤษของนักศึกษา ท่ามกลางปัญหา และอุปสรรคมากมายในระยะแรก โดยมีเจตนาให้มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็น มหาวิทยาลัยนานาชาติ โดยไม่จ�ำเป็นต้องมีค�ำว่า International University ปรากฏ อยู่ แต่จะเป็นนานาชาติด้วยความสามารถและชื่อเสียงของตนเอง ท่านยังมุ่งหวังให้มี นักศึกษาต่างชาติมาเรียนต่อที่นี่ อย่างน้อยในเบื้องต้นก็มาจากทุกประเทศในแถบลุ่ม น�้ำโขง และมาจากทั่วโลกในอนาคต วิสัยทัศน์ของท่านจึงสอดคล้องอย่างยิ่งกับค�ำว่า New – Different – Better1

สู่ความเป็นศูนย์กลาง ทางการแพทย์แห่งลุ่มน�้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงสามารถจัดตั้งส�ำนักวิชาแพทยศาสตร์ และส�ำนักวิชา ทันตแพทยศาสตร์ ได้ส�ำเร็จ หลังจากเตรียมการมานาน และผ่านอุปสรรคมามากมาย นักศึกษารุ่นแรกของทั้ง 2 ส�ำนัก ส่วนหนึ่งมาจากจังหวัดทุกจังหวัดทางภาคเหนือของ ประเทศตามระบบโควตา และอีกส่วนหนึ่งมาจากทั่วประเทศ1 ขณะนี้มหาวิทยาลัยก�ำลังก่อสร้าง กลุ่มอาคารศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า หลวง เพือ่ ใช้เป็นศูนย์การศึกษาด้านการแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล รวมทัง้ วิทยาศาสตร์ สุขภาพสาขาต่างๆ โดยคาดว่าจะเปิดท�ำการได้ในปี 25611 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมุ่งมั่นที่จะเปิดส�ำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์มาตั้งแต่ต้น 15

และได้เตรียมการมาอย่างต่อเนื่อง ส�ำนัก วิชาทันตแพทยศาสตร์จึงได้ถือก�ำเนิดขึ้น เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2555 โดยในช่วง แรกมหาวิทยาลัยได้เชิญ รศ.ทพ.สัมพันธ์ ศรีสวุ รรณ และคณะมาเป็นผูย้ กร่างแผนการ จัดตั้ง ต่อมาในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 ท่านได้รับต�ำแหน่งเป็นคณบดีท่านแรก ของส� ำ นั ก โดยท่ า นได้ เ ตรี ย มการด้ า น ต่าง ๆ จนพร้อมทีจ่ ะเปิดรับนักศึกษารุน่ แรก แล้ว แต่ทา่ นกลับถึงแก่กรรมโดยกะทันหัน ทางมหาวิทยาลัยจึงเชิญ รศ.ทพ.ทะนง ฉัตรอุทัย ซึ่งเคยร่วมงานกับคณบดีท่าน แรก ให้มาเป็นคณบดีท่านที่ 2 และเริ่ม เปิดรับนักศึกษารุ่นแรกตามแผนที่วางไว้2 รศ.ทพ.ทะนง ฉัตรอุทัย ได้บันทึก เรื่องราวการจัดตั้งส�ำนักวิชาฯ ไว้ว่า “เพื่อ สืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ‘พระมารดา แห่งการทันตแพทย์ไทย’ ในการพัฒนา คุ ณ ภาพชี วิ ต ของประชาชนที่ ด ้ ว ย โอกาสที่อยู่พื้นที่ห่างไกล และเพื่อสนอง พระราชปณิธาน ‘ให้ปวงประชามีฟันดี’2 ส�ำนักวิชาฯ จึงมุง่ ผลิตทันตแพทย์ เพือ่ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนทันตแพทย์ ใน เขตภาคเหนือตอนบน และทัว่ ประเทศไทย


หน่วยแพทย์พระราชทาน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

บรรยากาศการเรียนการสอน

ตลอดจนประเทศในแถบลุ่มน�้ำโขง โดยมุ่งหวังให้ทันตแพทย์ที่จบไป จะต้องมีความรู้ พืน้ ฐาน ทัง้ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ทางคลินกิ และด้านวิจยั ทางทันตกรรม สามารถ น�ำความรู้มาใช้ประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ มีทักษะทางวิชาชีพ ผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพทันตกรรม มีความ เชี่ยวชาญในการวินิจฉัย วางแผนการรักษา ให้การรักษา ติดตามและประเมินผลการ รักษา ตลอดจนสร้างเสริม และดูแลสุขภาพช่องปาก ขั้นพื้นฐานได้เป็นอย่างดี ด้วยปณิธานทีจ่ ะผลิตทันตแพทย์ทมี่ จี ติ อาสา มีความรู้ มีคณ ุ ภาพ และมีคณ ุ ธรรม เพื่อสังคม ส�ำนักวิชาฯ จึงมีพันธกิจในการจัดการศึกษา เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตทันตแพทย์ ที่สามารถค้นคว้า วิจัย แก้ไขปัญหา และพัฒนาความรู้ใหม่ รวมทั้งให้บริการทาง ทันตกรรม และบริการวิชาการทางการแพทย์ แก่ประชาชนโดยรวมได้ จากทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า มหาวิทยาลัยมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่ง ที่จะผลักดัน ให้ส�ำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์แห่งนี้ เป็นโรงเรียนทันตแพทย์ที่ดีที่สุดอีกแห่งหนึ่ง ของประเทศ อ.ทพ.อุทัยวรรณ กาญจนกามล รองคณบดี ได้บันทึกไว้ว่า “เวลาผ่านไปอย่าง รวดเร็ว ได้มผี เู้ ข้ามาเป็นก�ำลังส�ำคัญในกรรมการประจ�ำหลักสูตรฯ อีกหลายท่าน หลาย วาระ เช่น ผศ.ทพญ.สุมิตรา พงษ์ศิริ, รศ.ทพญ.ประไพ สัลละพันธ์, รศ.ทพ. ดร.สุวิทย์ อุดมพานิช, ผศ.ทพญ. ดร.วิไลรัตน์ วรภมร ท�ำให้เราสามารถปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรให้ พัฒนายิ่งขึ้นเป็นล�ำดับ” 2 ต่อมา รศ. ทพ.ทะนง ฉัตรอุทัย ได้ลาออกไป ทางมหาวิทยาลัยจึงเชิญ อ.ทพ. ดร.ณรงค์ ลุมพิกานนท์ มารับต�ำแหน่งคณบดีเป็นท่านที่ 3 ซึ่งท่านได้ด�ำรงต�ำแหน่งอยู่ จนถึงปัจจุบัน2 อ.ทพ.อุทัยวรรณ กาญจนกามล ยังได้บันทึกไว้ว่า “ผมได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ทั้งในฐานะครู มิตร และศิษย์ อย่างเป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจน” ซึ่งก็คือการออกแบบ หลักสูตรเพื่อสนองพระราชปณิธาน โดยก�ำหนดให้มี วิชาชีวิต ชื่อ “รายวิชาการพัฒนา คุณภาพนักศึกษาด้วยกิจกรรม” ส�ำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 5 เพื่อให้นักศึกษา ทันตแพทย์มีจิตส�ำนึกและตระหนักในคุณค่าความเป็นมนุษย์ ตระหนักในคุณค่าของ วิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และมีทักษะชีวิต ในการครองตน ครองคน และครองงาน 16 THAI DENTAL MAGAZINE

ส�ำนักวิชาฯ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ นักศึกษาด้วย 3 วิธีการหลัก คือ (1) ให้นักศึกษาได้ลงมือท�ำ และ สะท้อนความคิดต่อสิ่งที่ท�ำลงไป (Active learning) (2) ให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ การเรียนรู้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งใน ชั้นเรียนที่มีการเรียนการสอนทางไกล จากคณาจารย์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในศาลาประชาคม วัด ชุมชน และใต้รม่ ไม้ ร่วมกับครูชาวบ้าน ในโรงพยาบาลชุมชน และ รพ.สต. ร่วม กับครูพี่เลี้ยงทันตแพทย์ และครูพี่เลี้ยง สาธารณสุข ในห้องเรียนกลับทาง (Flipped classroom) และใน Google Classroom (3) ให้นกั ศึกษาได้เรียนรูผ้ า่ นกิจกรรม การเรียนแบบเป็นทีม โดยให้นักศึกษา แสวงหาความรูด้ ว้ ยตนเอง จากการค้นคว้า ร่วมกันเป็นทีม เกีย่ วกับเรือ่ งการท�ำงานด้วย จิตสาธารณะ และการบ�ำเพ็ญประโยชน์ ต่อส่วนรวม จากนั้นจึงจัดกิจกรรมกลุ่ม สัมพันธ์ ให้นักศึกษาน�ำสิ่งที่ตนได้ค้นคว้า มาระดมความคิด เพือ่ วางแผนจัดกิจกรรม ที่เน้นการมีส่วนร่วมในการท�ำงานด้วยจิต สาธารณะ และทดลองน�ำแผนกิจกรรมนัน้ ไปด�ำเนินการร่วมกันเป็นทีม จนถึงถอดบท เรียน ประเมินผลจัดการเรียนรู้ และรายงาน ผลของการท�ำงานร่วมกันเป็นทีม


บรรยากาศรอบรั้วมหาลัย

ปัจจุบันส�ำนักวิชาฯ มีนักศึกษาอยู่ 4 ชั้นปี ชั้นปีละประมาณ 28-32 คน การเรียน การสอนยังใช้อาคารเรียนชั่วคราวที่ตึก M3 ในส่วน main campus โดยขณะนี้อาคาร ถาวรของส�ำนักวิชาฯ อยู่ระหว่างการตกแต่งภายในและเตรียมความพร้อม ซึ่งคาดว่า จะแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2561

มุ่งหน้าไปสู่อนาคต จากวิสัยทัศน์ “New, Better and Different” และจากโอกาสที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า หลวงตั้งอยู่บริเวณลุ่มน�้ำโขง ทางตอนบนของประเทศไทย ซึ่งประชาชนในพื้นที่มีความ หลากหลายทางชาติพนั ธ์ุ ส�ำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ จึงมีแนวคิดทีจ่ ะจัดการเรียนการ สอน โดยให้นักศึกษาลงพื้นที่จริงในชุมชนบริเวณนั้น เพื่อให้เข้าใจบริบททางสังคมและ วัฒนธรรมของผู้มารับการรักษา และสามารถให้การรักษาแบบเป็นองค์รวม (Holistic health care) โดยความสัมพันธ์ระหว่างทันตแพทย์ ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชน ไม่ได้ จบลงเพียงแค่การรักษาโรคเสร็จสิ้น หรือผู้ป่วยหายจากโรคเท่านั้น แต่การดูแลยังคง ด�ำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ผสมผสานกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่อง ปากด้วย

ส�ำนักวิชาฯ ยังมีความมุ่งหวังที่จะ ผลิตทันตแพทย์ทมี่ ที กั ษะการสือ่ สาร เข้าใจ ผู้อื่น และดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็น มนุษย์ จึงจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Transformative learning เพือ่ ให้ผปู้ ว่ ยได้ รับการรักษาที่เหมาะสมและมีสัมฤทธิ์ผล สูงสุด ดังค�ำกล่าวของ Sir William Osler (1904) ที่ว่า “It’s much more important to know what sort of a patient that has a disease, than what sort of a disease a patient has.” ทีส่ ำ� คัญ ส�ำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มีขอ้ ได้เปรียบ ทีน่ กั ศึกษาวิทยาศาสตร์การ แพทย์ จากหลากหลายส�ำนักวิชาฯ ในชั้น ปีต้นๆ จะมีการเรียน ท�ำกิจกรรม และอยู่ ร่วมกันโดยตลอด ท�ำให้เกิดความเป็นมิตร และการร่วมงานกันเป็นทีม จงึ เป็นโอกาสที่ ส�ำนักวิชาฯ จะส่งเสริมและพัฒนา การเรียน และประสบการณ์ แบบ Inter-professional education (IPE) ตลอดจนผสมผสานการ ท�ำงานร่วมกัน เป็นทีมสุขภาพชุมชน แบบ District Health Education เพือ่ ตอบสนอง ต่อความต้องการของประเทศต่อไป (จากเรื่องราวที่ปรากฏในหนังสือ: 1. บันทึกความทรงจ�ำ วันชัย ศิริชนะ กว่าจะ ถึงดอยแง่ม มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 2558 2. หนังสือที่ระลึก สัมมนาวิชาการ เนื่องในวาระครบรอบ 5 ปี ส�ำนักวิชา ทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, 22-23 มีนาคม 2560)

17 รูปถ่ายนักศึกษาและอาจารย์ทันตแพทย์ ส�ำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง


เกาะกระแส

เรื่อง/ภาพ ทพ.บุญเกียรติ วัฒนเรืองรอง รพ.บางจาก จ.สมุทรปราการ

18 THAI DENTAL MAGAZINE


ผมขอเล่าประสบการณ์ ของทันตแพทย์ โรงพยาบาลชุมชนเล็กๆ ที่มีโอกาสร่วมทีมคุ้มครอง ผู้บริโภคไปจับร้านจัดฟันแฟชั่นนะครับ

หลายคนคงสงสัยว่าให้ทมี คุม้ ครองผูบ้ ริโภคไปจับร้านจัด ฟันแฟชัน่ ก็นา่ จะพอแล้วไม่จำ� เป็นต้องมีทนั ตแพทย์เข้าไปร่วมใน ทีมหรอก ผมอยากบอกว่าเรือ่ งฟันไม่มใี ครรูเ้ ท่าหมอฟันหรอกครับ เราเป็นผูม้ คี วามรูใ้ นด้านทันตกรรมและอุปกรณ์การจัดฟัน เราต้อง เก็บพยานหลักฐานให้ครบจะต้องแปลความหมายของอุปกรณ์ จัดฟันทั้งหมดให้ถูกต้องเป็นภาษาไทยในส�ำนวนคดีเพื่อให้ศาล พิจารณาเรื่องนี้ส�ำคัญมากเพราะเป็นพยานหลักฐานที่จะเอาผิด กับร้านค้าจัดฟันแฟชั่นได้

จุดเริ่มต้นจาก“มือปราบหมอฟันเถื่อน”

ผมได้รบั การประสานงานจากส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สมุทรปราการแจ้งมาว่าทันตแพทยสภาได้ทำ� หนังสือแจ้งเบาะแส ร้านจัดฟันแฟชัน่ ในเขตพืน้ ทีพ่ ระประแดง เท่าทีร่ มู้ าทันตแพทยสภา ได้จดั ท�ำ facebook fanpage “มือปราบหมอฟันเถือ่ น” ซึง่ เปิดให้ ประชาชนทั่วไปและทันตแพทย์เราเข้ามาแจ้งเบาะแสในกล่อง ข้อความ จากนั้นทันตแพทยสภาจะสืบค้นเพิ่มเติม หากได้ข้อมูล เพียงพอก็จะท�ำหนังสือแจ้งไปยังส�ำนักงานสาธารณสุขในแต่ละ จังหวัดเพื่อที่จะด�ำเนินการต่อ ผมได้ข่าวว่ามีคนแจ้งเบาะแสมา 19

หลายร้อยร้านค้าทีเดียว แต่ส�ำหรับพื้นที่สมุทรปราการก็ต้องเป็น หน้าที่ของทันตแพทย์ในสมุทรปราการที่จะต้องช่วยกัน

เตรียมการจับกุม

เบื้องต้นต้องมีเตรียมการประชุมซักซ้อมความเข้าใจกัน พอสมควรเลยทีเดียว เกีย่ วกับเรือ่ งอ�ำนาจหน้าทีแ่ ละขัน้ ตอนการ แสดงตัวเข้าตรวจค้น เพราะเรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งส�ำคัญในขัน้ ตอนของ กฎหมายทีต่ อ้ งใช้ความระมัดระวังให้ถกู ต้อง มีการประสานงานกับ เจ้าหน้าทีต่ ำ� รวจท้องทีท่ กี่ ารกระท�ำความผิดเกิดขึน้ หรือปัจจุบนั มี หน่วยงานต�ำรวจทีม่ หี น้าทีจ่ บั กุมด้านนีโ้ ดยตรงคือกองบังคับการ ปราบปรามกระท�ำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค(บก. ปคบ.) ก็ได้ ในการจับกุมครั้งนี้ทีมงานตัดสินใจที่จะประสานงาน กับต�ำรวจในท้องที่ รวมถึงการแบ่งหน้าทีว่ า่ ในเวลาจับกุมใครเป็น คนถ่ายรูปเป็นหลักฐาน ใครเป็นผู้เก็บของกลางที่ใช้ในการกระ ท�ำความผิด ใครจะซักถามสอบสวนเจ้าของร้านเบื้องต้น ในตอน ท้ายจะเป็นหน้าที่ของต�ำรวจในการน�ำผู้ต้องหาไปสอบสวนตาม กระบวนการทางกฎหมายที่สถานีต�ำรวจ


ต้องไม่ลืม! ก่อนไปควรศึกษา กฎหมายที่เกี่ยวข้องสักนิด ทาง ที่ดีก็พกกฎหมายที่เกี่ยวข้องไป ด้วยจะช่วยพนักงานสอบสวนได้ มากครับ เพราะต้องอธิบายว่าผิด อย่างไรเข้าองค์ประกอบใดบ้าง ซึ่งมีอยู่ 3 ฉบับ คือ 1) พระราชบัญญัติวิชาชีพ

ทันตกรรม 2537 2)พระราชบัญญัติสถานพยาบาล 2541 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 พ. ศ. 2559 3) ค�ำสั่งคณะกรรมการ คุม้ ครองผูบ้ ริโภคที่ 10/2552 เรือ่ งห้ามขายสินค้าลวดดัดฟันแฟชัน่ และพระราชบัญญัตคิ มุ้ ครองผูบ้ ริโภค พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไข เพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ 2556 การที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.ก็มี บทลงโทษแรงขึ้นทั้งนั้น เช่น จ�ำคุกจาก 3 ปีเพิ่มเป็น 5 ปี ปรับก็ มากขึ้น คนถูกจับถ้าอยากประกันตัวก็ต้องหาหลักทรัพย์มากขึ้น เช่น กรณีนมี้ ผี ตู้ อ้ งหา 2 คนถูกจับได้ขณะก�ำลังท�ำการจัดฟันแฟชัน่ ให้กบั ลูกค้าเลยโดนข้อหาครบทุกฉบับ ญาติตอ้ งหาเงินประมาณ 140,000 บาทมาประกันตัวในชั้นสอบสวน ซึ่งเป็นเงินจ�ำนวนไม่ น้อยทีเดียวผู้ที่คิดจะเป็นผู้ค้าจัดฟันแฟชั่นถ้ารู้ถึงข้อมูลนี้น่าจะ คิดใหม่ว่าควรท�ำหรือไม่

ลงมือจับกุม

ส�ำหรับสถานที่ที่ไปจับกุมครั้งนี้เป็นห้างค้าปลีกใหญ่ที่ มีลักษณะพิเศษ ร้านจัดฟันแฟชั่นอยู่ในโซนที่ห้างค้าปลีกใหญ่ นี้ให้เช่าช่วงไปกับบุคคลภายนอกอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นก่อนที่จะ เข้าจับกุมที่ร้านจัดฟันแฟชั่นจ�ำเป็นจะต้องติดต่อผู้จัดการห้าง หรือผู้มีอ�ำนาจตัดสินใจ เพื่อแสดงหมายขอตรวจค้นห้างซึ่งเป็น เจ้าของพื้นที่และต้องตามเจ้าของผู้เช่าช่วงพื้นที่ห้างมาร่วมรับรู ้ โดยอีกฝ่ายหนึ่งอาจจะซับซ้อนสักหน่อยแต่ก็มีข้อดีอย่างหนึ่ง คือเราสามารถอธิบายและขอความร่วมมือกับผู้เช่าช่วงพื้นที่ให้ ช่วยดูแลสอดส่องอย่าให้มีผู้เช่าเปิดร้านจัดฟันแฟชั่นซึ่งเป็นการ กระท�ำผิดกฎหมาย ซึ่งอาจจะมีผลกระทบกับเขาได้ในความผิด ฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระท�ำความผิด ถ้าพิสูจน์ได้ว่าผู้ให้เช่า รู้หรือควรรู้ว่าผู้เช่าที่ใช้สถานที่ในการกระท�ำความผิด ซึ่งในครั้ง นี้ผู้ให้เช่าที่ก็รับปากว่าจะช่วยเจ้าหน้าที่ดูแลไม่ให้เกิดขึ้นอีก บ่ายโมงของวันที่ 28 มิถนุ ายน 2560 ทีมงานทัง้ หมดได้มา ร่วมกันซักซ้อมความเข้าใจกันในร้าน fast food แห่งหนึ่งภายใน ห้างทางต�ำรวจน�ำโดยร.ต.อ.บุญเลิศ เหล็กมา รองสว.(สอบสวน) พ.ต.ต.บัญชา เพียรไธสง สว.ป้องกันปราบปรามสายสาธารณสุข มีนายจเด็จ ปัตวี สาธารณสุขอ�ำเภอพระประแดง ภก. ณัฐยาภรณ์ วงศ์บุญเกื้อกูล และผมทพ.บุญเกียรติ วัฒนเรืองรอง เมื่อซักซ้อม

20 THAI DENTAL MAGAZINE


กันเรียบร้อยเวลาบ่ายสองก็ได้ลงมือจับกุม ตอนเข้าไปจับกุมก็ไม่ ยากอะไรเข้าไปแสดงตัวเข้าตรวจร้านทีเ่ ข้าจับกุมชือ่ ร้านพีแ่ อนดัด ฟันแฟชัน่ ขณะเข้าตรวจสอบตามเรือ่ งทีไ่ ด้รบั จากทันตแพทยสภา ทีมเราได้พบผู้กระท�ำผิดคือหญิงอายุ 50 ปีก�ำลังลงมือให้บริการ ลูกค้าอยู่บนเตียง เราจึงแสดงตนเพื่อขอตรวจสอบใบประกอบ วิชาชีพและใบอนุญาตประกอบสถานพยาบาล ที่นี่ล่ะครับจากหมอฟันที่จับเครื่องมือ 3 เกลออยู่ทุกวัน กลายมาเป็นต้องวิ่งจับผู้ค้าท�ำความผิดในการจัดฟันแฟชั่น งาน นีก้ ต็ อ้ งฝึกนับเลขให้เก่งเพราะจะต้องช่วยๆ กันนับจ�ำนวน O-ring , Bracket, ลวดจัดฟัน, tissue guard และอื่นๆ ที่เป็นของกลาง ว่าแต่ละอย่างมีจ�ำนวนกี่ชิ้นแยกชนิดเป็นหมวดๆ และที่ส�ำคัญ พนักงานสอบสวนอาจสอบปากค�ำทันตแพทย์ในฐานะพยาน ในส�ำนวนคดีก็มีโอกาสได้ไปเป็นพยานกันที่ศาลถ้าศาลออก หมายเรียก การท�ำงานครัง้ นีต้ อ้ งใช้เวลาพอควรเลยล่ะครับกว่าจะเสร็จ สิน้ กระบวนการทัง้ หมด กว่าทีจ่ ะจับกุมไปทีส่ ถานีตำ� รวจกว่าทีจ่ ะ นับของกลาง กว่าที่ต�ำรวจจะเขียนส�ำนวนเสร็จ ผมจึงอยากบอก เพือ่ นๆ ว่าในวันทีล่ งพืน้ ทีจ่ บั กุมจัดฟันแฟชัน่ ให้ทำ� ใจไว้กอ่ นห้าม ไปรับอยู่เวร ห้ามนัดคนไข้ในคลินิกตอนเย็น หรือห้ามมีนัดพิเศษ ในวันนั้นเด็ดขาด กว่าจะเสร็จงานก็ถึงหัวค�่ำเลยครับ

ท�ำงานเรื่องนี้เสร็จได้กลับบ้านนอนอย่างเดียวเท่านั้น แม้ จะต้องใช้เวลาต้องเตรียมการหลายอย่าง แต่กเ็ ป็นความภูมใิ จกับ การท�ำภารกิจนี้ให้กับวิชาชีพทันตกรรมของเรา ภูมิใจที่มีส่วนใน การป้องกันเด็กวัยรุน่ ทีอ่ าจได้รบั อันตรายจากการจัดฟันแฟชัน่ ได้ อีกทางหนึ่ง แม้จะเป็นจุดเล็กๆ จุดเดียว แต่หวังว่าถ้าเพื่อนๆใน โรงพยาบาลชุมชน ในส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่เราเป็นเจ้า พนักงานคุม้ ครองผูบ้ ริโภคซึง่ เป็นผูม้ อี ำ� นาจเข้าตรวจค้นจับกุมได้ ตามกฎหมายมาร่วมมือร่วมใจกันช่วยกันจับกุมท�ำให้รา้ นค้าเข็ด หลาบก็จะลดอันตรายที่เกิดกับวัยรุ่นเราได้ สุดท้ายผมหวังว่าประสบการณ์ทถี่ า่ ยทอดมาครัง้ นีจ้ ะ เป็นประโยชน์กับพี่น้องทันตแพทย์ไม่มากก็น้อยนะครับ 21


dent away เรื่อง/ภาพ ทญ. ปิยะธิดา จิตตานันท์

เกาะเจจู หรือ Jeju-do เป็นสถานที่เที่ยวของประเทศ เกาหลีใต้ เป็นที่ที่ครอบครัวชาวเกาหลี จะหอบลูก จูงหลานมาเทีย ่ วกัน ส�ำหรับนักท่องเทีย ่ วชาวไทย ถ้าไปเกาหลีกม ็ ก ั จะไป ช็อปปิง ้ แถวเมียงดง ไปดู คอนเสิร์ต ไปตามรอย series แต่เจจูเป็นที่เที่ยว ยอดนิยมของชาวเกาหลีจริงๆ นับได้จากประชากร บนเครื่องบินมีแค่ดิชั้นกับเพื่อนแค่ 2 คน ฝรั่งอีก 1 คู่ นอกนั้นเกาหลีทั้งล�ำ 22 THAI DENTAL MAGAZINE


มื่อตอนวางแผนไปเจจู กะว่าเที่ยววันธรรมดา สบายๆ คง ไม่ค่อยมีคนไปเที่ยวกัน ที่ไหนได้ วันที่เดินทาง ชาวเกาหลี มากมายมากันเต็มสนามบิน คิดดูว่าเจจูฮอตขนาดไหน ถึงกับมีโต๊ะให้ข้อมูลท่องเที่ยวที่สนามบิน Gimpo ซึ่งเป็นสนาม บินภายในประเทศเหมือนดอนเมืองบ้านเรา จากค�ำบอกเล่าของ น้องสาวชาวเจจูที่ jeju tourist information counter เธอบอกว่า Summer Vacation เพิ่งเริ่มวันที่เจ้ 2 คนจะออกเที่ยวเนี่ยแหละ ค่ะ ประชากรเกาหลีจงึ หลัง่ ไหลไปเจจูกนั ยกครัว.... อยากจะแหม มมมม..... เลือกวันเที่ยวได้เหมาะจริงๆ เกริ่นมาสองย่อหน้ายังไม่ออกจากเมืองหลวงเลยค่ะคุณ ผู้ชม ว่าแล้วก็ขอข้ามไปตอนเครื่องลงที่เจจูเลยแล้วกัน การเดิน ทางในเกาะอาจไม่สะดวกสบายเหมือนในเมืองหลวง ไม่มีรถไฟ ใต้ดิน จะมีก็รถบัส เราเลยเลือกเช่ารถขับ ช่วงที่ไปเที่ยวเป็นหน้า ร้อนที่นี่ราวๆ เดือนกรกฎาคม อากาศร้อนพอๆ กะบ้านเราเลย A-About Jeju เจจูเป็นเกาะทางชายฝั่งตอนใต้อากาศ ค่อนข้างดีแทบตลอดปี มีภูเขาไฟชื่อ Hallasan อยู่กลางเกาะ เป็นภูเขาไฟที่กว้างและลึก ลุงแท็กซี่แนะน�ำว่าให้ไปที่นี่ แต่น้อง สาว tourist info. บอกว่าต้อง hiking ไปราว 5 ชั่วโมง เลยขอไป คราวหน้าละกัน หลังจากได้รถแล้ว เราก็ขับรถผ่านเขาลงไปปักหลักทาง ใต้ที่ Seogwipo แหล่งเที่ยวทางใต้นี่ มีวัดใหญ่ ชื่อ Yakcheon Temple เป็นวัดพุทธนิกายมหายาน ถือเป็นวัดทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในเอเชีย

ในอุโบสถมีพระพุทธรูป 3 องค์ คือ พระพุทธเจ้าแห่งอดีต ปัจจุบนั และอนาคต มีข้าวสารและเทียนไฟฟ้าให้ถวายพระด้วย (แทน หลากสี) จากนัน้ เราบ่ายหน้าไปทางตะวันออกของเกาะ มีทเี่ ทีย่ ว น่าสนใจคือ Seongsan ilchulbong เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว 23


ได้เหงือ่ ก�ำลังดี แต่ขา้ งบนปากปล่องกว้างมากราว 600 เมตร เลย ไม่ได้เห็นภาพรวมเหมือนในแผนที่ แต่ก็สวยแปลกไปอีกแบบ ที่เที่ยวในเจจูนี่เอาจริงๆ แล้วเยอะมากๆ มีทั้ง Teddy bear museum, Hello kitty island, ภูเขาไฟ, ถ�้ำที่เกิดจากลาวา ไหลผ่าน, น�้ำตก, Stone Park, ไร่ชา Osulloc พร้อมร้านขายขนม จากชาเขียว, ร้านคาเฟ่เก๋ๆ ของ G-dragon (นักร้องวง Big Bang) ชายหาดมากมาย อาหารทะเลสดอร่อย หลังจากไปภูเขาไฟแล้ว ก็ลองไปเข้าถ�้ำดู มีหลายถ�้ำมากๆ แต่ที่เลือกไปคือ Manjanggul Cave เป็นถ�้ำยาวกว่า 10 กิโลเมตร แต่เปิดให้เข้าชม 1.3 กม. ถ�้ำ นี้เกิดจากลาวาไหลผ่าน ผนังถ�้ำมีรอยริ้วเป็นสายๆ ได้เป็นมรดก โลกด้วยนะ ข้างในเย็นมาก แต่คอ่ นข้างมืดเข้าไปแล้วหนาวๆ เลย

สูงราว 180 เมตร เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟทีอ่ ยูใ่ ต้นำ�้ กลาย เป็นยอดภูเขาไฟรูปกรวยคว�ำ่ ติดริมทะเล เป็นหนึง่ ในภูเขาไฟ 360 ลูกที่อยู่บนเกาะ UNESCOให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติด้วย เค้าว่ากันว่า “เขาแห่งตะวันรุ่ง” นี้เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขนึ้ ทีส่ วย มาก การมาเที่ยวที่นี่ต้องเดิน เดิน และเดิน ขึ้นไปชมปากปล่อง 24 THAI DENTAL MAGAZINE


กันข�ำๆ .... ถ้าใครมาเจจู Marine Park เป็นอีกจุดที่แนะน�ำนะคะ มาเดี่ยวมาคู่มาทั้งครอบครัวก็เล่นได้ เป็นช่วงเวลาดีๆ มีความสุข จริงๆ กิจกรรมกับปลาโลมา 3 สิ่งที่ท่านจะได้เจอเมื่อมาถึงเจจู สิ่งแรกคือ ลม ... ด้วย ความที่เป็นเกาะลมจะพัดโอบรอบกายเราตลอดเวลา สิ่งที่สอง คือ ผู้หญิง เพราะสมัยก่อนชาวเจจูท�ำประมงเป็นหลัก ด้วยคลื่น ไม่ได้เดินจนสุดถ�้ำ ข้ามไปอีกภูเขาไฟนึง Sangumburi Crater ลมทะเลที่แรง ผู้ชายส่วนใหญ่เลยจากไปในทะเลกันหมดก็เลย อันนี้ชอบค่ะ วันที่ไปอากาศหลัวๆ มัวๆ แต่ว่ามีที่ให้ถ่ายรูปสนุกๆ มีผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สิ่งที่สามคือ หินลาวา เพราะภูเขาไฟมี เยอะดีค่ะ มากมาย หินลาวาจึงมีทั่วเกาะ เราจะพบเห็น Dolharubang เป็น เจจูนี้มีดีหลายอย่าง แต่ที่ชอบมากของทริปนี้คือ การได้ หินลาวาสลักเป็นรูปคนแก่ใจดีหลายรูปแบบ เชือ่ กันว่าเป็นผูพ้ ทิ กั ษ์ ไปเล่นกับปลาโลมา ตอนแรกขับรถไปผิดที่เพราะไปจ�ำว่าที่เรา ท�ำหน้าที่คุ้มครองเกาะ พบได้ทั่วทุกแห่งบนเกาะเจจูจริงๆ ค่ะ จะไปชี่อ Pacific Land ที่น่ีก็มีปลาโลมาเหมือนกัน แต่เป็นที่ ด้วยธรรมชาติอันหลากหลาย รวมถึงกิจกรรมมากมายให้ แสดง Dolphin Show, Sealion show ดีที่ไปถึงเร็ว พอถามเค้า เลือกเล่น ท�ำให้เกาะเจจูเป็นสถานที่น่าประทับใจอีกแห่ง อยาก ว่าให้ไปเล่นกะปลาโลมาได้ตรงไหน เค้าถึงบอกว่าป้าต้องไปอีก แนะน�ำให้มาลองแวะเที่ยวกัน เที่ยวบินตรงจากไทยก็มีนะคะ จะ ที่นะจ๊ะขับรถไปอีก 20 นาที ที่เราจองไว้คือ Jeju Marine Park ลงที่โซลแล้วค่อยบินต่อมาที่นี่ หรืออยากนั่งเรือก็มีเฟอรี่มา จั่ว ที่นี่มีหลายโปรแกรมให้เลือก ตั้งแต่ Trainer Experience, Dol- หัวไว้ว่า Jeju A to Z แล้ว B – Y หายไปไหน ??? ก็เชิญพ่อแม่พี่ phin Swimming, Dolphin Diving, Dolphin Prenatal Training น้องไปหาต่อที่เจจูกันนะคะ ขอปิดท้ายด้วย Z – Zip Map ไว้ให้ดู Project (อันนี้ส�ำหรับคนท้อง) เราเลือกอันถูกสุดคือ ลองเป็นครู เผื่อเป็นไอเดีย เดินทางครั้งหน้าลองใส่เจจูไว้ในแผนเที่ยวดู แล้ว ฝึกค่ะ ใช้เวลาทั้งหมดราว 45 นาที ต้องเปลี่ยนชุดเป็นกันน�้ำใส่ คุณจะรู้ว่าเกาหลีไม่ได้มีดีแค่บอยแบนด์.... ขอให้มีความสุขกับ บูท แต่เป็นประสบการณ์ที่สนุกจริงๆ เพื่อนร่วมชั้นเป็นเยาวชน การใช้ชีวิตนะคะ เกาหลีและพ่อแม่ ครูฝกึ จะให้เราสัง่ โลมาให้เต้นๆ โยนบอลไปให้ ไปคาบมาส่ง แล้วก็ให้โลมาโดดแตะมือ อันนี้เรายืนบนฝั่ง แล้ว ก็ย้ายบ่อมาอีกข้าง คราวนี้ต้องลงน�้ำด้วย น�้ำเย็นมากกกกก... ก ไก่ล้านตัว น้องครูฝึกบอกน�้ำร้อนเป็นอันตรายกับโลมา (แปล ว่าสุภาษิต น�้ำร้อนปลาเป็นน�้ำเย็นปลาตาย ใช้กับโลมาไม่ได้... แฮ่) บ่อนี้ได้สัมผัสน้องโลมา ถ่ายรูป เล่นสาดน�้ำกะโลมา ปลา จริงจังชั้นก็จริงจัง สรุปชั้นเปียกซ่กอยู่คนเดียว คนอื่นเค้าสาด 25


IDEA dent เรื่อง/ภาพ Dentdiary

ฟันปลอมหยุดโลก

DENTURES OF CHURcHILL ารท�ำงานกับสิ่งเล็กๆ มาตลอดชีวิต อยู่ให้ห้อง 4 เหลี่ยม เตียงและเก้าอี้ กับงานที่พบปะผู้คนมากมายทั้งผู้ร่วม งาน และคนไข้ มีสิ่งหนึ่งที่รบกวนจิตใจมาเสมอว่า งาน ทันตแพทย์เทียบเคียงกับงานที่ดูยิ่งใหญ่เช่น งานของทหารในการ ป้องกันประเทศ งานของนักวิทยาศาสตร์ในระดับ Nobel Prize งาน ของแพทย์ท่ีช่วยชีวิตคน งานของนักปรัชญาที่คิดค้นระบอบการเมือง การปกครอง งานของนักเศรษฐศาสตร์ที่พบโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ที่ ใช้อธิบายพฤติกรรมของตลาด หรืองานของนักฟิสิกส์ใน CERN ที่ก้าว ขัามขีดจ�ำกัดของจักรวาลด้วยการค้นพบอนุภาคพระเจ้า (Higgs boson) etc. หรืองานในสเกลระดับนี้ จะมีบ้างไหม? ค�ำถามทีร่ บกวนจิตใจผม ด�ำเนินมาตลอดชีวติ การท�ำงาน 16 ปี และสิ้น สุดลงด้วยข่าวชิ้นเล็กๆ ชิ้นหนึ่ง ในช่วงกลางปี 2010 ข่าวนีค่ อื การจัดประมูลฟันปลอมของรัฐบุรษุ ชาวอังกฤษผูย้ งิ่ ใหญ่ อดีต นายกรัฐมนตรี อดีตผู้น�ำฝ่ายค้าน เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล โดย British auction house ณ มณฑล Norfolk

26 THAI DENTAL MAGAZINE


SIR WINSToN

27


จากประวัติตั้งแต่วัยเด็ก จนถึง วัยหนุ่มที่เข้ารับราชการทหาร วินสตัน เชอร์ชิล มีปัญหาด้าน เหงือกและฟันที่อยู่ภายใต้การ ดูแลของทันตแพทย์มาตลอด ฟันปลอมชิ้นเล็กๆ ชุดหนึ่งที่ได้รับการออกแบบเพื่องานเฉพาะ โดยทันตแพทย์และความร่วมมือของช่างทันตกรรมผูช้ าญฉลาด มีบทบาทส�ำคัญยิง่ ในการเปลีย่ นสภาพการเป็นผูเ้ พลีย่ งพล�ำ้ ของ อังกฤษและเครือจักรภพได้อย่างไร? ผมจะเล่าให้ฟังครับ ก่อนอืน่ ขอปูพนื้ ความรูเ้ รือ่ งประวัตศิ าสตร์ของ World War II เพือ่ ความเข้าใจโดยสรุปครับ สงครามโลกครัง้ ที่ 2 เริม่ ขึน้ และสิน้ สุดลงตรงกับรัชสมัยของรัชกาล ที่ 8 ของประเทศไทยครับ จัดเป็นสงครามทีก่ นิ เวลายาวนาน และ สูญเสียทั้งชีวิตมนุษย์และทรัพยากรต่างๆ จัดว่ามากที่สุดในโลก เมือ่ เทียบกับสงครามทุกครัง้ ทีผ่ า่ นมา สงครามแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย หลัก คือ ฝ่ายอักษะ ที่เป็นผู้ก่อสงครามคือ เยอรมัน ญี่ปุ่น และ อิตาลี กับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย US UK และประเทศ ในเครือจักรภพ สหภาพโซเวียต ฝรั่งเศส โปแลนด์ และชาติอื่นๆ

เชอร์ชิล ในวัยหนุ่ม Vertical Dimention ยังดูปกติ

ในช่วงแรกของสงครามการรุกคืบของฝ่ายอักษะ คือ เยอรมัน เข้าไปในดินแดนของชาติในยุโรป ด�ำเนินไปด้วยความรวดเร็ว และแผ่ขยายอิทธิพลอย่างรุนแรงมาก จากโปแลนด์ จนมาสู่การ ยึดครองฝรั่งเศสส�ำเร็จ และเป้าหมายต่อไปคือ อังกฤษ

ตอนเริ่มเป็น ส.ส. สังเกต appearance เริ่มเปลี่ยน ความนูนของริมฝีปากบน เริ่มลดลง Nasolabial fold เริ่มชัดขึ้น

ในตอนนัน้ ผูค้ นในเกาะอังกฤษระส�ำ่ ระสายและเสียขวัญมาก จาก การรุกของเยอรมันเข้ามาประชิดเรื่อยๆ และในปีนั้นเองหลังการ ลาออกของนายกรัฐมนตรีคนก่อน วินสตัน เชอร์ชิล ก็ได้กลาย เป็น นายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นเวลาที่ รัชกาลที่ 8 ครองราชย์มาแล้ว 6 ปี วินสตัน เชอร์ชลิ โดยพืน้ ฐานเกิดในครอบครัวของชนชัน้ สูงทีร่ ำ�่ รวย และได้รบั ราชการในกองทัพอังกฤษในสายงานข่าวมาตลอด จน กระทั่งลาออกมาเล่นการเมือง รับเลือกตั้งจากการเลือกตั้งทั่วไป เป็น ส.ส.จากโอลด์แฮม จนได้เป็น รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม และด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในขณะที่ WW II เกิดขึ้นแล้ว 1 ปี (WW II กินระยะเวลา 6 ปี) จากปัญหาเรื่องเหงือกและฟัน ที่รบกวนมาตลอด ท�ำให้ เชอร์ชิล ต้องสูญเสียฟันไปบางส่วนในที่สุด

ตอนเป็น นายกรัฐมนตรี VD loss ชัดเจน จะสังเกต Marionette Line เด่นชัด

28 THAI DENTAL MAGAZINE


เสียงของ นายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิล ผ่านทางวิทยุกระจาย เสียง ถือเป็นสิง่ ส�ำคัญมากทีจ่ ะปลุกปลอบขวัญและก�ำลังใจของ ผูค้ นในประเทศให้รสู้ กึ ฮึกเหิมและมีความหวังในการรวมน�ำ้ หนึง่ ใจเดียวกัน เพือ่ น�ำประเทศผ่านพ้นวิกฤต (ในตอนนัน้ เยอรมันชนะ ฝรัง่ เศสแล้ว และอังกฤษคือ ด่านต่อไปของสมรภูมยิ โุ รปทีต่ อ้ งเข้า ยึด ถ้าเยอรมันยึดอังกฤษได้สำ� เร็จ โลกทีเ่ ราเห็นอาจไม่ได้เป็นอยู่ อย่างทุกวันนี้) ลองมาฟังการกล่าวสุนทรพจน์ครั้งที่มีชื่อเสียง ซึ่ง ถือกันว่า เป็นการพูดที่ทรงพลังอย่างสูงสุดของ วินสตัน เชอร์ชิล ในยามที่อังกฤษก�ำลังเผชิญสถานการณ์อันยากล�ำบากมากกัน ครับ (ให้สังเกตเสียง Lisp ของเชอร์ชิล)

การสูญเสียฟันนอกจากจะท�ำให้ Appearance ของใบหน้าเปลีย่ น สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างที่เกิดขึ้นคือ ปัญหาเรื่อง Phonetic นั่นเองครับ การออกเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของ ท่านนายกรัฐมนตรี วินสตัน เชอร์ชิล คือ ท่านเป็นคนที่พูดไม่ชัดครับ (Lisp)

พูดไม่ชัดแบบไหน? ในขั้นตอนการท�ำ Complete denture มี step หนึ่งที่พวกเราคุ้น เคย คือ การทดสอบ Phonetic เพื่อหาความยาวของปลายฟัน หน้าบน (เสียง ฟ ฟัน) และ Vertical Dimension ที่เหมาะสมใน คนไข้แต่ละคน โดยการให้คนไข้ออกเสียง Sibilant sound (S,Z หรือ ส เสือ)

สุนทรพจน์นเี้ ป็นทีร่ จ ู้ ก ั กันในชือ ่ We shall fight on the beaches การสูญเสียฟันของ เชอร์ชิล ท�ำให้เกิดปัญหา 2 ประการที่ขัด แย้งกัน กล่าวคือ

วินสตัน เชอร์ชิล ท่านออกเสียง Sibilant sound ไม่ได้นั่นเองครับ การออกเสียงพูด ส เสือ ไม่ชดั ของ วินสตัน เชอร์ชลิ เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งที่ท�ำให้คนอังกฤษ (และคนทั่วโลก) จดจ�ำท่านได้ เมื่อ ได้ฟังเสียง

ท�ำไม “เสียง” ของ เชอร์ชิล จึงมีความ ส�ำคัญมากในสมัยนั้น ก่อนอืน่ ต้องเข้าใจก่อนว่า ในช่วงนัน้ มีโทรทัศน์เกิดขึน้ แล้ว แต่คน ที่มีโทรทัศน์มีอยู่น้อยมาก ดังนั้นสื่อที่ทรงพลังที่สุด ก็คือ สิ่งพิมพ์ ต่างๆ และ วิทยุกระจายเสียง การท�ำสงครามนอกจากการใช้อาวุธและก�ำลังทหาร สิ่งที่มี ประสิทธิภาพไม่แพ้กนั ก็คอื สงครามการข่าวและการโฆษณาชวนเชือ่ ของฝ่ายต่างๆ

ข่าวสารปลอมที่ปล่อยออกไปเพื่อให้ ประชาชนในประเทศตรงข้าม เกิดความ หดหู่ หมดก�ำลังใจในการรบ หรือข่าว ลวงเรือ่ งการรบแพ้หรือชนะในบางพืน้ ที่

29


1.

การสูญเสียฟันแบบบางส่วน โดยเฉพาะฟันหน้าบนจ�ำนวน 4 ซี่ ตั้งแต่ 12 – 22 ท�ำให้เสียบุคลิกภาพ จึ งต้องใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้แบบ Kennedy Class III-mod-II เพื่อไม่ให้เสียบุคลิกในการพบปะผู้คน และการ ออกสื่อ (เชอร์ชิล เริ่มสูบฮาวานาซิการ์ สมัยที่เป็นทหารประจ�ำการที่คิวบาใน พ.ศ.2438 (ตรงกับช่วง รัชกาลที่ 5 ในไทย) และสูบเรื่อยมาตลอดชีวิต

การใส่ Upper RPD ยังช่วยให้เขาสูบซิการ์ที่ ชื่นชอบได้ตามปกติ

2.

การใส่ฟันปลอม ช่วยเสริมบุคลิกภาพให้กลับมาดัง เดิม แต่เชอร์ชิลตระหนักดีว่า มันกลับท�ำให้การออกเสียงแบบ Lisp อันเป็นเอกลักษณ์ประจ�ำตัวของเขาหายไป การพูดของ เชอร์ชิล ในที่ต่างๆ ดูไม่เป็นปัญหา เพราะผู้คนในที่นั้นๆ จะได้ เห็นเขาพูดตัวเป็นๆ แต่การพูดผ่านวิทยุกระจายเสียง ท�ำให้คน จ�ำเสียงเขาไม่ได้ และไม่แน่ใจว่า เสียงที่ได้ยินนั้นคือ ผู้น�ำตัว จริงหรือเปล่า!

โจทย์ที่ทันตแพทย์ได้รับคือ ต้องสร้างฟันปลอมที่เมื่อใส่แล้วต้อง สามารถพูดออกเสียงแบบ Lisp อันเป็นเอกลักษณ์ได้เหมือนเดิม (เหมือนตอนที่ไม่ได้ใส่ฟัน) (ผมเข้าใจว่า การถอดฟันปลอมใน ที่สาธารณะ เช่น ในสถานีวิทยุกระจายเสียงที่แน่นอนว่าต้องมี นักข่าวและสื่ออื่นๆ อยู่น่าจะท�ำได้ล�ำบากหรือ เป็นไปไม่ได้เลย) ทันตแพทย์ประจ�ำตัวของ เชอร์ชิล คือ Wilfred Fish และด้วย ความร่วมมือกับช่างทันตกรรมทีเ่ ป็นคนท�ำฟันปลอมประจ�ำตัวคือ Derek Cudlipp (Wilfred Fish ได้รับการแต่งตั้งเป็น Sir Wilfred Fish ในภายหลัง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เชอร์ชิล ให้ความส�ำคัญกับ เขามากในฐานะอัศวิน)

ช่างทันตกรรม Derek Cudlipp ก็มคี วามส�ำคัญไม่แพ้ทนั ตแพทย์ เกือบจะเรียกว่า ต้องอยู่ในสถานที่ที่ เชอร์ชิล สามารถเรียกตัวได้ ทันที เพราะเวลาโมโห หรือ อารมณ์เสียขณะได้รบั ข่าวหรือระหว่าง ประชุมวางแผน เชอร์ชิลมักมีนิสัยอย่างหนึ่งคือ เขาจะถอดฟัน ปลอมออกมาขว้างทิ้ง เท่าที่ผมอ่านเจอ ใช้ค�ำว่า “ขว้างออกไป อีกห้อง” กันเลยทีเดียว ผลก็คือ ฟันปลอมที่มี major connector เป็น Gold type IV ตะขอและฟัน Porcelain หักเสียหายอยู่บ่อย ครั้ง และทุกครั้งที่หักเสียหาย แน่นอนว่า ต้องได้รับการ repair โดยเรียกตัวช่าง Derek Cudlipp ทันที ในประวัตกิ ล่าวว่า คุณหมอ Wilfred Fish และช่าง Derek Cudlipp สร้างฟันปลอมให้ เชอร์ชิล 4 ชุด โดยปกติเชอร์ชิล จะพกติดตัว ด้วยเสมอ 2 ชุด เชื่อกันว่า ฟันปลอมแบบนี้ 1 ชุด ถูกฝังไปพร้อม กับร่างเชอร์ชลิ ส่วนชุดทีน่ ำ� ออกมาประมูล เป็นสมบัตขิ องตระกูล Cudlipp ซึง่ ถูกน�ำออกมาประมูลโดย ลูกชายของ Derek Cudlipp (Nigel Cudlipp) ทีนี้เราลองมาดูว่า คุณหมอ Wilfred Fish และช่าง Derek แก้ ปัญหาการออกแบบฟันปลอมให้ใส่ฟันแล้วยังออกเสียงเหมือน ตอนไม่ใส่ฟัน ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถใส่แล้ว Appearance ดูดีและสูบซิการ์ได้ด้วย

30 THAI DENTAL MAGAZINE


ลองสังเกต Tissue surface สังเกตว่าเราจะไม่เห็น ลักษณะ anatomy ของ incisive papilla, palatine rugae, palatine raphe บริเวณนี้ เพราะ Major connector ทีเป็น Gold plate ถูกท�ำให้ไม่แนบกับเพดานสนิท แต่มี space ใต้ฐานฟันปลอมกับ palate ฟันปลอมชิ้นนี้จึงต้องการ retention สูงสุด โดยการออกแบบตะขอให้กลับด้านกันในลักษณะของ กรรไกร เพือ่ ต้านการหลุด และสามารถลด torque ต่อ abutment โดยใช้ตะขอกลม เพื่อให้ไม่เกิด rigid design

ก่อนอื่นมาดู Material ในสมัยนั้นกันก่อน

ฟันหน้า porcelain ทัง้ 4ซีม่ ขี นาดใหญ่ เพือ่ ชดเชยการไม่มี labial flange ทีช่ ว่ ย support ริมฝีปากบน (เราจะเห็น brown stain ด้าน proximal จากคราบควันซิการ์ บริเวณ 11,21 จะเห็นชัดสุด เพราะ เป็นต�ำแหน่งทีก่ ดั ลงบนซิการ์โดยตรง) สิง่ นีค้ อื การแก้ปญ ั หาของ ผู้ออกแบบ ให้เกิดการเคลื่อนผ่านของลมเข้าสู่ใต้ฐานฟันปลอม เสมือนกับลมผ่านออกเมื่อไม่มีฟันหน้านั่นเอง

ในช่วงปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ.2483 ตรงกับสมัย ร.8) ตอนที่ เชอร์ชิล รับศึกหนักเป็น นายกรัฐมนตรีนนั้ ฐานฟันปลอม PMMA รุน่ แรกๆ คล้ายที่พวกเราใช้อยู่ (ที่บอกว่า คล้ายๆ เพราะมันถูกปรับปรุง คุณสมบัติมาอย่างเยอะครับ) เกิดขึ้นแล้วครับ แต่เรียกได้ว่า ยัง เป็นวุ้น เพราะ Otto Rohm บิดาแห่ง PMMA เพิ่งท�ำมันให้อยู่ใน Thesis PhD ส�ำเร็จในปี ค.ศ.1901 (พ.ศ.2444 ตรงกับสมัย ร.5) จนกว่าจะเริ่มใช้ได้จริงช่วง ค.ศ.1940 ซึ่งจะเห็นว่า มันเป็นช่วง เวลาที่คาบเกี่ยวกันมาก ดังนั้นวัสดุฐานฟันปลอมที่ technician อย่างช่าง Derek คุ้นมือ ที่สุดจึงเป็น Gold alloy ฐานฟันปลอม Gold type IV รวมทั้ง ตะขอ Platinum และฟันปลอมทีท่ ำ� มาจาก Porcelain นัน่ เองครับ ทีนี้ลองมาพิจารณาฟันปลอมชิ้นนี้กันชัดๆ

Upper RPD กับ space ชนิด Kennedy Class III-mod II ประกอบด้วยฟัน Porcelain และ metal tooth การออกแบบ ของตะขอที่ไม่ reciprocation แต่เน้น retention และเป็น Tissue-support

บทบาทของทันตแพทย์และช่างทันตกรรมที่ร่วมมือกันสร้างชิ้น งานเพื่อรักษาโลกใบนี้เอาไว้ ฟันปลอมชุดนี้จึงถูกเรียกว่า The teeth that saved the world.

31


32 THAI DENTAL MAGAZINE


Dent adirek

เรื่อง/ภาพ ทพ.นธร ขจรไพร และกองบรรณาธิการ ภาพ ทพ.สมชาติ กาญจนวัฒนา และ สิรวัชร์ รอดดอน

นยุคสมัยทีเ่ ครือข่ายไซเบอร์ทำ� ให้เราได้รจู้ กั กันมากขึน้ ท�ำให้ มีโอกาสเรียนรู้ว่ามีกลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์ที่เป็น Health nut เรียกได้วา่ คลัง่ ไคล้การออกก�ำลังกาย และหนึ่งในทีม นีเ้ ป็นทันตแพทย์จงึ ติดตามจนได้โอกาสสัมภาษณ์หมอ “ทุเรียน” วรางค์รตั น์ เศวตศิลป์มาฝากท่านกันค่ะ “ทุเรียน” เป็นคนจังหวัด สุราษฎร์ธานี จบทันตแพทยศาสตร์บณ ั ฑิต มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ ปีการศึกษา 2542 ศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขา ปริทันตวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่นในปี 2545 ใช้ทุนและรับ ราชการอยูใ่ นโรงพยาบาลศูนย์จงั หวัดสุราษฎร์ธานีจนถึงปัจจุบนั

เล่นกีฬาท�ำให้ร่างกายแข็งแรง หรือแม้แต่ท�ำนองเพลงวรรค ที่ว่า “กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลส ท�ำคนให้เป็นคน” จึงน�ำความรู้มาสู่การปฏิบัติ เริ่มจากเรียนว่ายน�้ำตอนเป็นเด็ก เนือ่ งจากคุณแม่เป็นโรคหอบหืด จึงส่งเสริมให้ลกู ออกก�ำลังกาย ชนิดนี้ ความเป็นโรคของแม่นำ� มาสูค่ วามมีสขุ ภาพร่างกายทีแ่ ข็ง แรงของลูกในปัจจุบนั แต่กฬี าว่ายน�ำ้ ท�ำต่อเนือ่ งได้ยากจากการ หาสระว่ายน�้ำ ที่ได้มาตรฐาน และความสะดวกในเรื่องเวลา ค่า ใช้จ่ายที่ถือว่าสูง ดังนั้นการวิ่งจึงเหมาะที่จะทดแทนกีฬาว่าย น�้ำได้ เพราะเป็นกีฬาประเภท Aerobic exercise เหมือนๆ กัน การวิง่ สามารถท�ำได้สะดวก ง่าย และดูเหมือนค่าใช้จ่ายจะน้อย สุดเมือ่ เทียบกับกีฬาชนิดอืน่ ” (เอ๋ เราก็รอ้ งเพลงนีไ้ ด้ จ�ำได้เหมือน กันแต่ไม่เห็นวิ่งได้เหมือนทุเรียนเลย)

เมื่อถูกถามว่าอะไรท�ำให้ใส่ใจการออกก�ำลัง

ทุเรียนตอบว่า “คงจากความรู้ที่เรียนมาตั้งแต่เด็กว่าการ 33


ไปไงมาไงถึงมาไตรกีฬาได้ละคะ

ทุเรียนตอบกลัว้ หัวเราะว่า “2 ปีทผี่ า่ นมา ตรวจพบว่ากระดูก อ่อน cartilage ของเข่าข้างขวาเสื่อม หมอด้านเวชศาสตร์การ กีฬาแนะน�ำให้เลิกวิง่ และกิจกรรมทุกอย่างทีต่ อ้ งใช้การเคลือ่ นไหว ข้อเข่า เพือ่ ยืดอายุการใช้ชวี ติ ได้ปกติจนถึงวัยชรา แต่ในชีวติ จริงยัง ท�ำตามค�ำแนะน�ำของคุณหมอในทันทีไม่ได้ จึงหันมาหัดขีจ่ กั รยาน (ก็ยังคงใช้หัวเข่าอยู่) เป็นที่มาของการเข้าแข่งขันไตรกีฬา” แล้วไตรกีฬาเขาท�ำอะไรกันละคะ? ไหนๆ ถามแล้ว ขอถามเพิ่มเติมสักหน่อย

ไตรกีฬา (Triathlon) เป็นการแข่งขันกีฬา 3 ประเภทต่อเนือ่ ง กันคือว่ายน�้ำ จักรยาน และวิ่ง ระยะทางในการแข่งขันกีฬานั้น สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายระยะทางแตกต่างกันออกไปดังนี้ โดยจะแบ่งตามล�ำดับดังนี้ ว่ายน�้ำ/จักรยาน/วิ่ง (กิโลเมตร) Sprint Distance 0.75/20/5 Olympic Distance 1.5/40/10 (เป็นระยะที่ใช้ในการแข่ง โอลิมปิก ITU การแข่งขันระดับชาติอื่นๆ) Half Ironman 1.9/90/21 (รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งคือ Ironman 70.3 มาจากระยะทางรวมเมื่อคิดเป็นหน่วยไมล์) Ironman 3.8/180/42 ในประเทศไทยรายการที่มีชื่ออันดับต้นๆ ของประเทศคือ Laguna Phuket Triathlon ก็จะมีระยะทาง 1.8/55/12 กม. ซึ่ง ในปี 2553 Laguna ได้จัดการแข่งขัน IRONMAN 70.3 ขึ้นต่อ จากการแข่งขัน Laguna Phuket Triathlon ส่วนรายการแข่ง อย่างเป็นทางการที่จัดโดยสมาคมไตรกีฬาในประเทศไทยเช่น แม่นำ�้ โขงไตรกีฬา และรายการชิงแชมป์ประเทศไทยก็จะใช้ระยะ Olympic Distance ในการแข่งขัน ในบางรายการก็จะมีระยะ Sprint Distance เพือ่ ให้เยาวชนหรือมือใหม่ทเี่ พิง่ เริม่ เล่นไตรกีฬา สามารถลงแข่งขันได้ วิธกี ารเล่น นักกีฬาทีไ่ ด้ลงทะเบียนแล้วจะได้หมายเลขแทน ของแต่ละบุคคล ซึ่งจะได้รับสติกเกอร์ส�ำหรับติดที่ส่วนต่างๆ ของ อุปกรณ์การแข่งเช่นหมวกกันน็อก หรือจักรยานทั้งนี้เพื่อสะดวก ต่อการเช็คเลขหมายของกรรมการ และจะมีการเขียนหรือประทับ หมายเลขนัน้ ทีแ่ ขนและขาของนักกีฬาแต่ละคนอีกครัง้ ในวันแข่ง ในวันแข่งขันนักกีฬาจะต้องท�ำการน�ำอุปกรณ์ตา่ งๆ ทีใ่ ช้มา รวมกันไว้ ณ พื้นที่ส่วนกลางที่เรียกว่า ‘Transition Area’ หรือเป็น จุดเปลีย่ นผ่านของชนิดกีฬา จากนัน้ นักกีฬาจะถูกน�ำตัวไปปล่อย ส�ำหรับการเริ่มกีฬาว่ายน�้ำ หลังจากนั้นก็จะเข้ามาที่ Transition Area เพื่อเปลี่ยนเป็นจักรยาน และเมื่อครบระยะทางก็จะต้อง กลับเข้ามาใน Transition Area อีกครัง้ เพือ่ เปลีย่ นเป็นวิง่ ในล�ำดับ สุดท้าย

เริ่มเข้าแข่งรายการ Ironman (ระยะเต็ม) ครั้งแรก วันที่ 4 มีนาคม 2560 ประเทศนิวซีแลนด์ โดยการน�ำทีมของหมอไก่ นพ.คมกฤช รัชตเวช สามารถจบได้โดยใช้เวลาทั้งหมด 14:55:24 ชัว่ โมง จากเวลาทีก่ ำ� หนดให้ผา่ นภายใน 17 ชัว่ โมง และเพิง่ เล่นจบ ไป Ironman ครัง้ ที่ 2 วันที่ 23 กรกฎาคม 2560 ทีเ่ มืองนีซ ประเทศ ฝรัง่ เศส โดยใช้เวลาไป 15:15:06 ชัว่ โมง นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ ดีมาก การทีต่ อ้ งไปหาสนามแข่งในต่างประเทศเพราะเมืองไทยยัง ไม่มรี ะยะเต็ม นอกจากการได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาได้ประสบการณ์ และความสนุกแล้ว(ไม่นบั ว่าจะต้องเหนือ่ ยและเสียเงิน) พบว่าคน ต่างชาติทเี่ ล่นกีฬาชนิดนีส้ ว่ นใหญ่เป็นวัยกลางคนจนถึงผูส้ งู อายุ มาก จ�ำได้ว่าช่วงปั่นจักรยานโดนผู้สูงอายุแซงไปเยอะมาก “มีเหตุการณ์ประทับใจในขณะแข่งขัน เช่น โดนปั่นแซง โดยหญิงสูงวัย เธอหันมายิ้มให้อย่างเป็นมิตรพร้อมกับส่งสายตา ว่า “สู้ๆ” กองเชียร์ตลอดข้างทางวิ่ง จุดพักให้น�้ำและอาหารเสริม ก�ำลัง การปิดถนน ระบบความปลอดภัยดี งานล่าสุดที่ฝรั่งเศสใส่ ชุดแข่งสีธงชาติไทย มีตัวหนังสือ Thailand ปักอยู่ด้านหลังด้วย ระยะทางวิง่ ทีย่ าวกับอากาศร้อนจัด เหมือนจะวิง่ ไม่ไหวจาก heat stroke คนเชียร์ข้างทาง รวมทั้งคนวิ่งแซงทักว่า “สวัสดีค่ะ/ครับ” บ้าง “ไทยแลนด์” บ้าง ตามส�ำเนียงภาษาบ้านเค้า ท�ำให้มีก�ำลัง ใจขึ้นมาได้ตลอดทางจนจบ ส�ำหรับคนที่ชอบการออกก�ำลังกายประเภท Aerobic exercise เป็นงานอดิเรก นอกเหนือจากการท�ำงานประจ�ำ การ เล่นไตรกีฬาเป็นอีกทางเลือกหนึง่ ทีไ่ ด้ครบทุกรส และถ้าฝึกฝนจน ร่างกายมีความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนือ้ ได้มากขึน้ จนสามารถเล่นได้ถึงระยะเต็มแล้ว มีโอกาสได้ไปสัมผัสสนามใน ต่างประเทศที่มีเส้นทางที่สวยงาม และท้าทายค่ะ อีกหนึง่ ความภาคภูมใิ จคือได้แสดงสัญลักษณ์สธี งชาติไทย ในการแข่งกีฬาที่แสดงถึงความแข็งแรงของร่างกายและความ แข็งแกร่งของจิตใจ ในต่างแดน เส้นทางนี้ ทุเรียนได้รับความสนับสนุน ก�ำลังใจจาก เพื่อนๆ หลากหลายกลุ่ม ที่เอ่ยชื่อไม่หมด ผู้ใหญ่ใจดีหลาย ท่านที่ให้โอกาสและสนับสนุน แน่นอนค่ะที่มีทั้งคุณพ่อคุณ แม่ทยี่ อมให้เล่นกีฬาตามใจชอบ เพราะมันปนมาด้วยความ ห่วงใยกับระยะทางที่คาดไม่ถึงว่าจะท�ำได้ แอบดื้อหมอที่ รักษาแต่ก็ขอท�ำตามชอบพร้อมรับสภาพค่ะ

34 THAI DENTAL MAGAZINE


Dent Dining เรื่อง ฤทัย ภาพ เร

วันศุกร์ริมถนนศรีอยุธยา ในโมงยามแห่งความรีบเร่ง ผู้คน และการจราจรที่ติดขัด เราเหลือบมองเข็มนาฬิกา ในใจพลันคิดว่ามื้อเย็นนี้ควรแวะพักหาร้านอาหาร ที่มีของอร่อยๆ ทานให้อิ่มหน�ำส�ำราญก่อนกลับบ้านจะดีกว่าโดยจุดหมายปลายทาง ของเรา คือร้านอาหารเก่าแก่ในต�ำนานที่ชื่อว่า “ไชยโรจน์” 36 THAI DENTAL MAGAZINE


ซึ่งเป็นร้านโปรดของศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข ผู้ก่อตั้ง และเป็นคณบดีท่านแรกของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหิดล ที่มีเรื่องเล่าบอกต่อกันมาว่า สมัยก่อนนั้นนักศึกษาอยู่ ท�ำงานกันจนมืดค�ำ่ จูๆ่ ก็มเี ด็กจากร้านไชยโรจน์วงิ่ เอาข้าวมาส่ง ให้นักศึกษา แล้วบอกว่าอาจารย์สตางค์ให้เอามาให้ จากวันนั้น จนถึงวันนี้ ไชยโรจน์ ได้กลายเป็นร้านโปรดคู่ใจของครู อาจารย์ และนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงผู้คนในย่านนี้มาอย่าง ยาวนาน… “เราเปิดร้านขายอาหารมาตั้งแต่ปี 2501 จนในวันนี้ ก็ 60 ปีแล้ว” คุณป้าถวิล จุฬาโรจน์มนตรี ภรรยาของคุณวิชัย จุฬาโรจน์มนตรี เจ้าของร้านไชยโรจน์ที่นับเป็นเจเนเรชั่นที่สอง ในการสืบทอดกิจการมาจากคุณพ่อของสามี เล่าพลางเผยรอย ยิ้มอย่างอารมณ์ดี “ตัวป้าเองแต่งงานเข้ามาเป็นลูกสะใภ้ เรา เป็นครอบครัวคนจีน คุณพ่อของสามีท่านท�ำร้านขายอาหารมา ตั้งแต่แรก แต่ท่านไม่ได้ลงครัวเอง จ้างกุ๊กมาท�ำ ส่วนเราเป็นรุ่น ลูกเป็นทายาทรุน่ ทีส่ องทีไ่ ด้เข้ามาสานต่อก็ไม่ได้ปรับเปลีย่ นอะไร ร้านยังเป็นบ้านเก่าแบบเดิมๆ ไม่ได้คดิ ว่าจะต้องปรับอะไรให้ทนั ตามสมัย ไม่ได้ต้องการที่จะก้าวให้ทันใครเขา เราชอบที่เราเป็น แบบนี้ เป็นความเรียบง่ายที่มีเสน่ห์ ป้าคิดว่าอย่างนั้น” “ส่วนพ่อครัว แม่ครัว ล้วนเป็นคนเก่าคนแก่อยู่กับเรา มานาน 30 - 40 ปี อยู่กันเหมือนเป็นครอบครัว เราไม่คิดจะเอา เปรียบใคร เราอิ่มเขาอิ่ม เราท�ำเพราะเรามีความสุขใจ ไม่ได้ท�ำ เพราะจะหวังเพียงแต่ผลก�ำไรงามๆ สมัยก่อนนัน้ เราขายกันทีร่ มิ ทางรถไฟแล้วโดนเขาไล่ที่ คุณพ่อก็ย้ายแล้วได้มาซื้อที่ดินตรงนี้ ไว้ ราคาตารางวาละ 1,500 บาท ราว 50 กว่าตารางวาเห็นจะ ได้ ตอนนีร้ าคาพุง่ สูงตัง้ เท่าไร มีคนมาขอซือ้ ป้าไม่ขาย เพราะทีน่ ี่ คือบ้านเราผูกพัน คนที่มาทานอาหารที่นี่เขาก็ชอบที่เป็นแบบนี้ แล้วอาหารที่นี่จะเป็นเมนูแบบพื้นบ้าน ไม่ได้ปรุงแต่งอะไรมาก จนเกินไป เป็นอาหารไทย จีน แบบดั้งเดิม ซึ่งเราเน้นวัตถุดิบที่ มีคุณภาพ สะอาด สดใหม่ ของสดนี่ต้องไปตลาดไปเลือกเองกับ มือทุกเช้า” เราชวนคุณป้าถวิลคุยเพลินได้ไม่นาน อาหารจานพิเศษ เมนูในต�ำนานของร้านไชยโรจน์ก็ถูกน�ำมาจัดวางเรียงเสิร์ฟเต็ม โต๊ะอยู่ตรงหน้า เรียกได้ว่าหลายเมนูนั้นสร้างความแปลกใจให้ เกิดขึน้ ได้ไม่นอ้ ย เพราะนีเ่ ป็นครัง้ แรกทีเ่ ราได้ลองลิม้ รสชาติความ อร่อยของปลากะพงราดพริก ที่ขอบอกเลยว่าต้องลบภาพปลา ราดพริกแบบเดิมๆ ไปให้หมด เพราะไม่ใช่ปลาราดพริกแดงที่มี รสชาติหวานๆ เผ็ดๆ ที่หาทานกันได้ตามร้านอาหารทั่วๆ ไป แต่ กลับเป็นปลากะพงเนือ้ แน่นๆ บัง้ เป็นริว้ ๆ แล้วน�ำไปทอดให้กรอบ ราดด้วยกระเทียมสับผัดกับพริกขีห้ นูสวน ได้รสชาติหวานลิน้ ของ เนื้อปลาที่ลงตัวกับรสเค็มๆ เผ็ดๆ ได้กลิ่นหอมฉุนของกระเทียม

สดที่น�ำไปผัดกับพริกนิดๆ ทานกับข้าวสวย หรือข้าวต้มร้อนๆ อร่อยเลิศไม่ต้องปรุงแต่งอะไร และยิ่งได้ลองลิ้มต้มย�ำขาหมู ร้อนๆ ที่ขาหมูตุ๋นมาพอดีให้เปื่อยแบบกรุบๆ กรอบๆ ต้องบอก เลยว่าใช่ นอกจากนี้เมนูบ้านๆ อย่างมะระผัดไข่ ก็ได้รสมะระ ขมนิดๆ สดกรอบก�ำลังดี ทานคู่กับซี่โครงหมูอบ เสิร์ฟพร้อมถั่ว ลันเตาราดด้วยน�ำ้ ซอสรสชาติหวานอ่อนๆ เข้ากันได้ดกี บั เนือ้ นุม่ ๆ อร่อยเต็มค�ำ สุดท้ายเราไม่ลืมที่จะลองลิ้มเมนูไอศกรีมกะทิสด แบบโฮมเมด ซึ่งอร่อยสดหอมกะทิเอามากๆ เรียกได้ว่าทุกเมนู อาหารของร้านไชยโรจน์ ยังคงรักษารสชาติความอร่อยในแบบ ดั้งเดิมเหมือนเมื่อ 60 ปีก่อนเอาไว้ได้เป็นอย่างดี ความเก่าไม่ได้หมายความว่าจะต้องน่าเบือ่ หน่าย เพราะ ในความเก่ามีหลายสิง่ ทีถ่ กู หลอมรวมเอาไว้อย่างมากมาย เสมือน กับรสชาติของอาหารจะอร่อยได้ ต้องเกิดจากความเอาใจใส่ และ ประสบการณ์ที่สั่งสมมา… ร้านไชยโรจน์ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าพญาไท ถนน ศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 เปิดให้บริการ วันจันทร์-วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 11.00 น.-19.30 น. ปิดวันอาทิตย์ โทรศัพท์ : 02 354 4090 ร้านอยู่ติดถนนใหญ่ ไม่มีที่จอดรถ สามารถจอดรถได้ที่ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย ฝั่งตรงข้าม

37


สมดุล คุณค่า ชีวิต

เรื่อง ทพ. สมดุลย์ หมั่นเพียรการ https://dhamrongdul.wordpress.com

ช่วงปีที่ผ่านมา ปรากฏการณ์หนึ่ง ที่ถือเป็นกระแสทั้งประเทศ คือการ เกาะติดหน้าจอทุกคืนวันพฤหัสบดี รอลุ้นว่า ศิลปิน นักร้อง ดารา หรือ เหล่าคนดังซึ่งปิดบังหน้าตาภาย ใต้หน้ากาก ในรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง นั้นเป็นใคร นอกจากความดังของรายการ ยัง ท�ำให้เกิดการตีความค�ำว่า หน้ากาก ในมุมที่เปลี่ยนไป .........

38 THAI DENTAL MAGAZINE


เคยเผลอคิดว่าสนามหญ้าบ้านข้างๆ ท�ำไมเขียวสดกว่าของ ตัวเอง เพื่อนบางคนที่ดูไม่ตั้งใจเรียนขยันอ่านหนังสือเท่ากับเรา ท�ำไมสอบได้คะแนนดีกว่า ไหมครับ ในสังคมออนไลน์ทำ� ให้การรับรูค้ วามเป็นไปของใครสักคน ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เรารู้ทุกที่ที่เขาไป อาหารทุกจานที่เขากิน ทุก เรื่องที่เขาท�ำ จนคิดไปว่าเรารู้จัก ‘หน้า’ ของคนที่ปรากฏอยู่บน หน้ากระดานข่าวของเราเป็นอย่างดี ทั้งๆ ที่อาจไม่เคยพบหน้า ค่าตากันมาก่อน จนวันหนึ่ง คุณอาจเผลอร้อง “เฮ้ย” เมื่อทราบข่าวว่าเขา ท�ำงานใหญ่บางงานที่แสนยากเย็นจนส�ำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะมันขัดกับหน้ากากมนุษย์กิจกรรมที่เราเห็นจนเจนตา จน (เผลอ)คิดไปเองว่าเขาไม่นา่ เหลือเวลาทุม่ เทท�ำเรือ่ งนัน้ จนส�ำเร็จ เมื่อเทียบกับคนอื่นหรือแม้แต่กับตัวเราเอง เหมือนเขาถอดหน้ากากไปเป็นอีกคนที่คุณคาดไม่ถึง เรื่องบางเรื่องจึงถูกตัดสินไปแล้วด้วยความคิดเห็นที่แสดง ต่อๆ กันจนบิดเบือนไปมากจากจุดเริ่มต้น และอีกวันก็อาจจะ ถูกเข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นอีก มองผ่านมุมของคนที่ถูกมองอย่างเข้าใจผิด เขาคงไม่อาจ เปลีย่ นความเข้าใจของทุกคนให้ถกู ต้องได้ แต่เขาเลือกทีจ่ ะปรับ ใจให้นงิ่ ไม่ตอบโต้โดยเลือกใส่หน้ากากเป็นสนามหญ้าข้างบ้าน ได้ เพราะไม่ว่ามันจะสีเขียวสดหรือเขียวแก่ สนามหญ้าเองก็หา เคยใส่ใจไม่ มีแต่คนทีเ่ ป็นคนมองสนามหญ้าเท่านัน้ แหละทีเ่ ดือด ร้อน สิง่ ทีท่ ำ� ให้ไม่มคี วามสุขในพริบตาคือการน�ำตัวเองไปตัดสิน เทียบกับคนอืน่ ด้วยความตืน้ เขินจากสิง่ ทีม่ องเห็นผ่านตาเพียงไม่ กี่นาที จนลืมคิดไปว่านั่นไม่ใช่ทั้ง 24 ชั่วโมงในหนึ่งวันของเขา ไม่มคี วามส�ำเร็จใดได้มาโดยง่าย มันมีตน้ ทุนทีส่ มราคาของความ เพียรพยายามที่แต่ละคนต้องแลกและทุ่มเทเพื่อให้ได้มาทั้งสิ้น หน้ากากของความสุข มักมีรอยน�้ำตาซ่อนอยู่ในรอยยิ้มเสมอ .......... การใส่หน้ากาก ก็คือการถอดหน้ากาก บางคนเลือกใส่หน้ากากเพือ่ ปกปิดตัวตนบางอย่างทีไ่ ม่อาจ เปิดเผย ขณะที่คนดังหลายคนในรายการหน้ากากนักร้องเลือก ใส่หน้ากากเพือ่ ปลดปล่อยตัวตนทีเ่ ขาไม่เคยเปิดเผยให้สงั คมได้ รับรู้ และบางทีหน้ากากที่เราเห็นอาจจะไม่ใช่ ‘หน้า’ ที่เขา เลือกใส่ แต่กลายเป็นเราที่เป็นผู้เลือกหน้ากากนั้นสวมลง บน ‘หน้า’ เขาเสียเอง

วามสนุกของรายการหน้ากากนักร้อง คงไม่ได้อยู่ เพียงแค่เสียงร้องทรงพลัง โชว์สุดอลังการ หรือ คอมเม้นต์ฮาๆ เท่านั้น แต่อยู่ที่การท�ำให้คนดู อย่างเราๆ สงสัยอยู่ทุกครั้งว่า “ใครร้องวะ” ความลับทีถ่ กู ปิดไว้ใต้หน้ากาก คือส่วนส�ำคัญทีท่ ำ� ให้รายการ มีผู้ติดตามชมเป็นวงกว้าง ช่วงพีคที่สุดในรายการจึงเป็นตอน “ถอดหน้ากาก” ที่หลายคนถึงกับร้อง “เฮ้ย”.. หรือสบถบางค�ำ ออกมา เมื่อเห็นว่า ตัวจริงภายใต้หน้ากากนั้นเป็นใคร หลังถอดหน้ากากบางคนก็สร้างความประหลาดใจอย่างไม่ น่าเชื่อว่าจะร้องเพลงได้เพราะขนาดนี้ นักร้องหรือดาราบางคน ที่หายหน้าจากวงการ ก็กลับมาดัง กลายเป็นขวัญใจมหาชนได้ ชั่วข้ามคืน ทัง้ ๆ ทีก่ อ่ นหน้านีค้ นส่วนใหญ่แทบจะลืมผลงานของ เขาไปแล้ว คนดังภายใต้หน้ากากบางคน มีความสุขทีไ่ ด้รบั การยอมรับ อย่างทีเ่ ขาอาจไม่เคยได้รบั มาก่อนจากตัวตนทีค่ นทัว่ ไปเคยรูจ้ กั จนไม่อยากถอดหน้ากากออกมา เพราะไม่แน่ใจว่าหลังจากนั้น คนเหล่านั้นจะรู้สึกกับเขาเหมือนเดิมหรือเปล่า .......... ในช่วงชีวิตหนึ่งเราอาจรู้จักคนหนึ่งมานาน จนวันหนึ่งที่ เราได้เห็นอีกด้านที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน ซึ่งอาจเป็นด้านที่ท�ำให้ คุณประหลาดใจ น่าชื่นชม หรืออาจเป็นด้านที่ไม่อาจท�ำใจให้ ยอมรับได้ คุณคิดว่าที่ผ่านมาเขาใส่หน้ากากเข้าหาคุณหรือเปล่า ถ้าการใส่หน้ากาก คือการสวมบทบาทหนึง่ เพือ่ ให้คนทัว่ ไป ได้รจู้ กั เป็นตัวตนของเขาทีแ่ สดงออกอย่างจริงใจ ไม่เสแสร้ง แต่ ด้วยเหตุปจั จัยอีกมากมายทีท่ ำ� ให้เขาซุกซ่อนตัวตนด้านอืน่ ไว้ใต้ หน้ากากโดยไม่อาจเปิดเผย คุณคิดว่าเขาหลอกลวงคุณหรือเปล่า คนที่มีหน้าที่สร้างความสุขให้กับผู้อื่น หรือถูกคนรอบข้าง คาดหวังที่จะได้รับความสนุกสนานจากตัวเขา หลายครั้งที่เขา อาจต้องเลือกใส่หน้ากากที่มีแต่รอยยิ้มเข้าหาคนอื่น ซุกซ่อน ความปวดร้าวอ่อนล้าไว้ภายใน บางคนสามารถเปลี่ยนความทุกข์ท้อใต้หน้ากากเป็นพลัง ด้านบวกแบ่งปันให้กับคนรอบข้างจนได้รับพลังงานดีๆ คืนกลับ มา ขณะทีบ่ างคน เช่น Chester Bennington นักร้องน�ำวง Linkin Park กลับถอดหน้ากากนักร้องที่เคยใส่เพื่อสร้างความสุขให้กับ คนอืน่ แล้วจบชีวติ ด้วยการแขวนคอในห้องพักจากภาวะซึมเศร้า ของเขา เป็นตัวจริงใต้หน้ากากที่สร้างความสะเทือนใจแก่แฟน เพลงทั่วโลก ในสังคม บางครั้งก็ยากที่จะเป็นตัวของตัวเอง .......... 39


EXCLUSIVE INTERVIEW เรื่อง/ภาพ ทพ. รุ่งกิจ หลีหเจริญกุล

อาจารย์แม่

ของทันตแพทย์ไทยใน

อินเดียนา

ฉบับนี้เราสัมภาษณ์พิเศษไกลไปอีกซีกโลก สู่มลรัฐอินดิแอนา สหรัฐอเมริกา เพราะผู้ที่เรา จะสัมภาษณ์คือ รศ.ทญ.สุธีรา ห่อวิจิตร ผู้เป็น “อาจารย์แม่” ของบรรดานักเรียนไทย ที่มาเรียนต่อที่ Indiana University School of Dentistry (IUSD) 40 THAI DENTAL MAGAZINE


หลังจากนัดแนะวันเวลากันอย่างดิบดี พอถึงเวลา 4 ทุ่มที่เมือง ไทยเรา หากแต่เป็น 11 โมงเช้าทีอ่ นิ ดิแอนา (หรือก็คอื อินเดียนา นั่นแหละ) เราก็รีบ Free call ผ่าน Line ไปสัมภาษณ์ทันที

ชีวิตนักเรียนไทย

ช่วยเหลือ ท�ำให้อาจารย์ได้รบั การตอบรับเข้าเรียนต่อที่ Indiana University โดยเมื่อ ศ.บุญถิ่นทราบว่าอาจารย์ก�ำลังสมัครเข้า เรียนต่อที่นี่ ท่านจึงได้ฝากฝังอาจารย์ไปยัง Professor Herman B Wells อธิการบดีของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ซึ่งเป็นเพื่อนกับท่าน และในเวลาต่อมา Professor Herman B Wells ก็ยังกลายเป็น คนไข้ของอาจารย์อีกด้วย สมัยนัน้ ยังไม่มที นุ สนับสนุนจากรัฐบาล เพือ่ ศึกษาต่อต่าง ประเทศ นักเรียนจะต้องหาเงินมาสนับสนุนการศึกษาของตัวเอง อาจารย์จงึ ได้รบั ค�ำแนะน�ำให้ฝกึ ท�ำ Porcelain ส�ำหรับงานครอบ ฟัน เพื่อเพิ่มเครดิตให้ตัวเองในการขอรับทุนการศึกษาจากที่นั่น และเป็นช่องทางสร้างรายได้ในระหว่างการใช้ชีวิตที่นั่นด้วย ใน คืนสุดท้ายก่อนทีจ่ ะบินไปอเมริกา อาจารย์กย็ งั คงท�ำคลินกิ จ�ำได้ ว่าเป็นการใส่สะพานฟัน 3 ยูนิต ให้แก่คนไข้ท่านหนึ่ง และคนไข้ ท่านนั้นยังได้พาอาจารย์ไปทานอาหารค�่ำ เพื่อเลี้ยงส่งก่อนไป เรียนต่อต่างประเทศด้วย

อาจารย์เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกอาจารย์เรียนที่โรงเรียนสตรี วัดระฆัง จากนัน้ ก็มาเรียนทีโ่ รงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พอถึงระดับ มหาวิทยาลัย อาจารย์ก็สอบเข้าเรียนที่คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้ โดยในสมัยนัน้ มีคณะทันตแพทยศาสตร์เพียงแห่งเดียว สังกัด มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบนั คือคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) เมือ่ อาจารย์จบการศึกษาในปี 2511 ก็มาท�ำงานเป็น intern อยูท่ คี่ ณะ ต่อมา ศ.ทพ.อิศระ ยุกตะนันท์ ตัง้ คณะทันตแพทยศาสตร์ อีกแห่ง ซึ่งปัจจุบันสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์จึงไปช่วย สอนอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งทางจุฬาฯ มีต�ำแหน่งอาจารย์ว่าง ศ.พิเศษ ทญ. ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช จึงได้ชวนอาจารย์ ให้กลับมาสอนที่จุฬาฯ ในแผนกทันตกรรมประดิษฐ์ ศ.พิเศษ ทญ. ท่านผูห้ ญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช เป็นทันตแพทย์ ไทยท่านแรกทีเ่ รียนจบ Prosthodontics จาก Indiana University School of Dentistry (IUSD) และเนือ่ งจากท่านได้รบั ประสบการณ์ การเรียนอันดีเยี่ยมในสาขานี้จาก Dr. John F Johnston ผู้เป็น หัวหน้าแผนก Fixed and Removable Prosthodontics ใน ตอนนั้น อาจารย์ท่านผู้หญิงจึงเลือกแนะน�ำให้บรรดาอาจารย์ ในแผนกไปเรียนต่อที่นี่ แต่หนทางการไปเรียนต่อก็ไม่ได้งา่ ยเสมอไป เพราะในการ สมัครครัง้ แรก อาจารย์สธุ รี าถูกปฏิเสธในการรับเข้าเรียนต่อ ทว่า เหมือนมีโชคตามมาด้วยความบังเอิญ เมื่ออาจารย์ท่านผู้หญิง ได้กรุณาส่งคนไข้ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งมาให้อาจารย์รักษา นั่นก็คือ ศ.บุญถิ่น อัตถากร คนไข้ผู้นี้นี่เองที่ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ในชีวิตของอาจารย์ เนื่องจากเป็นผู้เมตตาให้ความ

ชีวิตนักเรียนนอก

ในที่สุด อาจารย์ก็ได้มาเรียนต่อที่ IUSD ในปี 2515 โดย ช่วงแรก อาจารย์ปวดหัวไมเกรนจากความเครียดอยู่บ่อย ๆ จน อดถามตัวเองไม่ได้ว่า มาที่นี่ท�ำไม ยังต้องมาเรียนต่ออะไรอีก ในเมื่อตอนอยู่เมืองไทยทุกอย่างก็ดูลงตัวอยู่แล้ว (ค�ำถามยอด ฮิต ที่นักเรียนนอกหลายคนมักถามตัวเอง ในช่วงแรกที่ไปเรียน) ไม่ว่าจะเป็นการสอนที่คณะหรือการท�ำงานคลินิกที่เมืองไทย ก็ ดูประสบความส�ำเร็จเป็นที่น่าพอใจ อาจารย์ต้องใช้เวลากว่า 6 เดือน จึงจะเริ่มปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมใหม่ได้ บุคคลท่าน 41


หนึ่งที่ช่วยอุปถัมภ์ และให้ความช่วยเหลือในระยะแรกของการ ปรับตัวก็คือ ทญ.อารอบ วัฒนวิจารณ์ ที่กรุณาให้ที่พักอาศัยใน ช่วงแรก และยังช่วยสอนการท�ำ Porcelain ให้ด้วย การเป็นนักเรียนหลังปริญญาต่างแดน นอกจากจะต้อง ตัง้ ใจเรียนเพือ่ ให้ได้ผลการเรียนทีด่ แี ล้ว ยังต้องสามารถถ่ายทอด ความรู้ที่เรียนมา เพื่อสอนนักเรียนทันตแพทย์ Undergrad ของ IUSD ด้วย การเรียนของที่นี่ก็เข้มข้นมาก ทั้งภาคทฤษฎี คลินิก และงานแล็บทันตกรรม อาจารย์เป็นนักเรียนหลังปริญญาที่เป็นผู้หญิงเพียงคน เดียวของที่นี่ โดยมีเพื่อนร่วมรุ่นในแผนก Prosthodontics เป็น คนอเมริกา 2 คน และคนบราซิล 1 คนซึง่ ได้ลาออกไปในภายหลัง ทั้งรุ่นจึงมีเพียง 3 คนเท่านั้น ในตอนนั้น Program director และ หัวหน้าแผนกเป็นคนเดียวกันคือ Dr. Ronald Dykema และยัง เป็นผู้สอนวิชา Fixed prosthodontics ส่วนผู้สอนวิชา Removable prosthodontics คือ Dr. Don Cunningham ซึ่งเป็นผู้ที่ ท�ำให้อาจารย์มีความเข้าใจในการออกแบบฟันเทียมแบบถอด ได้อย่างถ่องแท้

อาจารย์ไทยที่ IUSD

ขณะเรียน อาจารย์มีความตั้งใจและมีผลการเรียนดีเยี่ยม ท�ำให้ได้รับการทาบทามเป็นอาจารย์ประจ�ำของที่นี่ ในปี 2517 ทัง้ ๆ ทีย่ งั เรียนไม่จบหลักสูตรของทีน่ ดี่ ว้ ยซ�ำ้ หลังจากท�ำงานเป็น อาจารย์ประจ�ำที่ IUSD ได้ระยะหนึ่ง ก็ถูกชักชวนให้ย้ายไปเป็น อาจารย์ประจ�ำที่ University of Kentucky แต่ก็ท�ำงานในที่แห่ง ใหม่ได้เพียง 3 ปีครึ่งเท่านั้น ก็ย้ายกลับมาเป็นอาจารย์ประจ�ำที่ IUSD เหมือนเดิม ในช่วงนี้เอง อาจารย์สามารถสอบ Dental license ของ มลรัฐอินดิแอนาได้ ท�ำให้อาจารย์สามารถให้การรักษาคนไข้ที่ คลินิกภายนอกมหาวิทยาลัยได้ โดยทางมหาวิทยาลัยอนุญาต ให้อาจารย์ประจ�ำ สามารถท�ำงานภายนอกได้สัปดาห์ละ 1 วัน และในเวลาต่อมา อาจารย์กไ็ ด้รบั Diplomate American Board

of Prosthodontics ซึง่ ถือเป็นความภาคภูมใิ จอย่างยิง่ เนือ่ งจาก เป็นคนไทยคนแรกที่สามารถสอบได้ ส�ำหรับการเรียนการสอนนักเรียนทันตแพทย์ Undergrad ของทีน่ ี่ ก็คล้าย ๆ กับของโรงเรียนทันตแพทย์ทเี่ มืองไทย นักเรียน จะต้องมีความรับผิดชอบมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการท�ำคลินิกให้ ครบ Requirement, งานแล็บต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการมีส่วน ร่วมในงานวิจัย แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ ความสัมพันธ์ระหว่าง ศิษย์กับอาจารย์ ที่ไม่ค่อยมีความตึงเครียด มีลักษณะสบาย ๆ มากกว่าที่เมืองไทย ยิ่งพอนักเรียนเรียนจบเป็นทันตแพทย์แล้ว ความสัมพันธ์ก็จะกลายเป็นเพื่อนระดับเดียวกับอาจารย์ผู้สอน เลย แม้ว่าตอนนี้อาจารย์เกษียณจากการท�ำงานที่ IUSD แล้ว แต่ก็ยังรู้สึกภาคภูมิใจ ที่ยังมีคนไทยอีก 2 คนเป็นอาจารย์อยู่ที่ นี่คือ Dr. Sopanis (Minnie) Cho และ ทพ.กมลภพ ผาสุข

ชีวิตครอบครัวในต่างแดน

ในช่วงที่อาจารย์ก�ำลังเขียนวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท อาจารย์ก็ได้คลอดลูกชายคนแรกชื่อ Ray S. Hovijitra ซึ่งได้ เดินตามรอย เป็นทันตแพทย์ในเวลาต่อมา จากนั้นอีกไม่นาน อาจารย์ก็คลอดลูกชายคนที่ 2 ชื่อ Norman T. Hovijitra ปัจจุบัน เป็นทนายความ อาจารย์บอกว่า ความส�ำเร็จของอาจารย์จะ เกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่ได้ความช่วยเหลือจากสามี (Chamnan Hovijitra) และครอบครัว ที่คอยให้ก�ำลังใจเสมอมา

Indiana celebrities!!!

เรือ่ งนีเ้ ริม่ จากเมือ่ ประมาณปี 2535 อาจารย์ทา่ นผูห้ ญิง ได้ ริเริ่มโครงการพัฒนาอาจารย์สาขาทันตแพทยศาสตร์ ของทบวง มหาวิทยาลัยขึ้น เพื่อเป็นการรักษามาตรฐานทางวิชาการ และ สร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะทันตแพทยศาสตร์ ทัง้ ในประเทศไทยและต่างประเทศ ส�ำหรับในอเมริกา ท่านสนใจ จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัย 2 แห่งคือ Indiana University และ University of North Carolina at Chapel Hill

42 THAI DENTAL MAGAZINE


ในส่วน IUSD ท่านได้ติดต่อผ่านอาจารย์ ไปยังคณบดี เพื่อเซ็นสัญญาความร่วมมือ ในการรับอาจารย์จากคณะทันต แพทยศาสตร์ของไทย ไปศึกษาต่อในสาขาทีข่ าดแคลนเป็นกรณี พิเศษ ด้วยทุนช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย ความร่วมมือในครัง้ นี้ ส่ง ผลให้มอี าจารย์ทนั ตแพทย์จากเมืองไทย มาเรียนต่อทีน่ อี่ ย่างอุน่ หนาฝาคั่ง อาจารย์ทันตแพทย์ 2 ท่านแรกที่ได้รับทุนมาเรียนต่อที่นี่ คือ รศ.ทพ.สมหมาย ชอบอิสระ ในสาขาทันตกรรมส�ำหรับเด็ก และ อ.ทพ.ประกอบ บูรณสิน ในสาขาเวชศาสตร์ช่องปาก หลัง จากนัน้ ก็มอี าจารย์ทนั ตแพทย์อกี หลายท่าน จากแทบทุกสถาบัน ในเมืองไทย มาเรียนต่อที่นี่ และมีความสนิทสนมกับครอบครัว ของอาจารย์เป็นอย่างดี ใครมาอยู่ก่อนก็จะช่วยแนะน�ำการใช้ ชีวิตและการเรียนให้แก่รุ่นถัดไป มีการส่งมอบสิ่งของเครื่องใช้ ต่อกันไปเรื่อย ๆ ดูแลกันแบบรุ่นสู่รุ่น บางครั้งก็นัดท�ำอาหารเย็น ร่วมกัน หรือจัดทริปไปเที่ยวด้วยกันบ้าง ปัจจุบันอาจารย์ทันตแพทย์หลายท่านที่เคยเรียนที่นี่ ก็ กลายเป็น Celebrities คูว่ งการทันตกรรมไทยไปแล้ว ตัวอย่างเช่น ผศ.ทพ.โชติรส คูผาสุข, ผศ.ทญ.วัชราภรณ์ คูผาสุข และ รศ.ทพ. ยสวิมล คูผาสุข จากมหาวิทยาลัยมหิดล ในส่วนจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยก็มี อ.ทพ.รัชภาส พานิชอัตรา, รศ.ทพ.เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์, ศ. ทพ.ดร.พสุธา ธัญญะกิจไพศาล และ รศ.ทพ. ดร.กิตติ ต.รุ่งเรือง นอกจากนี้ยังมี ผศ.ทญ. ดร.ปิยะนุช เพิ่มพา นิช จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, รศ.ทพ.ดร.พลธรรม ไชยฤทธิ์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น, รศ.ทญ.ดร.อังคณา เธียรมนตรี และ ผศ.ทพ.วรพงษ์ ปัญญายงค์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ตอนนี้ อ.วรพงษ์ ได้ย้ายมาอยู่มหิดลแล้ว), อ.ทญ.สุมนา โพธิ์ ศรีทอง, อ.ทญ.ชนิดา ธรรมสุนทร และ ทญ.นพมาศ ศุภรพันธ์ จากสถาบันทันตกรรม

แบ่งบทบาทระหว่างทันตแพทย์ทวั่ ไปกับทันตแพทย์เฉพาะทาง ก็ มีขอบเขตการท�ำงานก�ำหนดไว้ชดั เจน การได้ Board certification หรือได้รบั การรับรองว่าเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญ เป็นสิง่ ส�ำคัญมาก เพราะ หากมีการฟ้องร้องเกิดขึน้ อย่างน้อยตัวเราก็มหี น่วยงานมารับรอง ว่า เราเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการให้การรักษานั้นๆ แก่ คนไข้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ส่วนระบบการส่งต่อระหว่างหมอเฉพาะทางด้วยกัน จะมี การเขียนจดหมายส่งตัว หรือโทรศัพท์ไปพูดคุยล่วงหน้า ถึงสิ่ง ที่เราคาดหวังจากการรักษา และโดยมารยาทแล้ว หมอที่เรา ส่งคนไข้ไปให้ ก็จะส่งคนไข้คนเดิมกลับมาหาเรา เป็นการสร้าง เครือข่ายในอนาคต ระบบส่งต่อของอเมริกา ดูเหมือนจะยุ่งยาก กว่าของไทยมาก เพราะที่อเมริกา หมอเฉพาะทางจะเปิดคลินิก เฉพาะทางแยกออกมาอย่างชัดเจน กว่า 2 ชั่วโมงที่อาจารย์ได้เล่าเรื่องราวสมัยก่อนให้ฟัง ท�ำให้เราได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่าง จากการใช้ชีวิต และจาก ประสบการณ์การท�ำงานของอาจารย์ ถึงแม้ฉากของเรื่องราวจะ แตกต่างกัน ทั้งในแง่สถานที่ ช่วงเวลา และวัฒนธรรม แต่สาระ แห่งชีวิตที่ได้เรียนรู้ กลับคงคุณค่าอยู่อย่างร่วมสมัย

ประสบการณ์เป็นเจ้าของคลินก ิ ทีอ ่ เมริกา

อาจารย์ยงั เปิดคลินกิ ทันตกรรมของตัวเองทีอ่ เมริกาด้วย โดย เปิดให้บริการมานานกว่า 30 ปี อาจารย์คิดเสมอว่า ทันตแพทย์ จะประสบความส�ำเร็จในการท�ำงานได้นนั้ จะต้องมีความสัมพันธ์ ที่ดีกับคนไข้ และนอกจากให้การรักษาที่ดีแล้ว เราควรให้ข้อมูล ที่ถูกต้องและเข้าใจง่ายแก่คนไข้ ทั้งก่อนและหลังการรักษาทุก ครั้งด้วย อาจารย์ยังเน้นย�้ำ เรื่องการบันทึกประวัติการรักษาของ คนไข้ ว่าเป็นสิ่งที่ส�ำคัญมาก เพราะจะช่วยเตือนความจ�ำให้เรา หรือให้หมอที่มารักษาต่อ โดยควรบันทึกให้ครบทุกขั้นตอน แม้ กระทั่งการแปลผลภาพรังสี ก็ต้องบันทึกให้ละเอียด นอกจากนี้ การตัดสินใจในการรักษาต่าง ๆ ก็ควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบ และ บันทึกไว้ด้วยเช่นกัน ข้อมูลเหล่านี้จะความส�ำคัญยิ่งขึ้น หากมี การฟ้องร้องในอนาคต ปัจจุบัน อเมริกามีทันตแพทย์เฉพาะทางเพิ่มมากขึ้น การ 43


ข�ำขัน

16 ชนิด ที่แฝงมากับการเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์ค กิเลส

3 โกธะ

1อภิชฌาวิสมโลภะ

ใครโพสต์สิ่งใดไม่ถูกใจ ไม่ตรงกับความคิด ของตัว ก็นึกโกรธ จับโยงความคิดผู้อื่น มา ปะทะกับความคิดของตนเอง จนกลายเป็น ความทุกข์ใจ

เห็นใครโพสต์ต์ภาพบ้านหลังใหญ่ๆ รถ หรูๆ อาหารดีๆ ภาพการพักผ่อนในโรง แรมสวยๆ ภาพชีวิตหรูหรา ก็เกิดความ รูส ้ ก ึ อยากได้เหมือนอย่างเขา เกิดความไม่ พอใจชีวต ิ ของตนเอง เกิดความโลภ เกิด ความทุกข์ หดหูใจ ว่าท�ำไมหนอ ชีวิตคน อืน ่ จึงดีกว่าชีวต ิ ของตนเอง นานวันเข้าก็ พัฒนาไปสูค ่ วามโลภ อยากได้ในสิง ่ ที่ไม่ใช่ของตัว รู้สึกอยากจะโพสต์ อยากจะอวดเหมือนอย่างเขาบ้าง

4 อุปนาหะ

เมือ ่ โกรธ เพราะคิดเห็นต่างกัน ก็ผก ู ใจเกลียด คนๆ นั้น โดยไร้เหตุผล

5

2 พยาบาท

มักขะ

เห็นใครท�ำความดีกน ็ ก ึ หมัน ่ ไส้เขา เห็นค�ำสอน ปราชญ์ ค�ำสอนพระ ค�ำสอนศาสดา ค�ำสอน ผูร้ ใู้ ดๆ ทีไ่ ม่เข้ากับความคิดของตน ก็นก ึ ดู แคลน พยามใช้ความคิดของตนหักล้าง ทัง ้ ทีร่ วู้ า่ สิง ่ ทีเ่ ขาน�ำเสนอนัน ้ เป็นสิง ่ ทีม ่ ป ี ระโยชน์

เปิดเฟสส่องดู เห็นคนทีต ่ นเกลียดมีความ สุข ก็คิดหมั่นไส้อยู่ในที แต่เมื่อเปิดดูแล้ว เห็นคนที่ตนเกลียดมีความทุกข์ หรือมี ปัญหา ก็รู้สึกยินดีพอใจ

44 THAI DENTAL MAGAZINE


6

ปลาสะ

ไม่เคยชื่นชมใคร เห็นใครโพสต์อะไรก็ไม่ พอใจไปหมด ฟาดงวงฟาดงาไปหมด เห็น อะไรก็ขวางหูขวางตาไปหมด

7 อิสสา

จิตเกิดความอิจฉาจนทนไม่ได้ ต้องพิมพ์ ต้องแสดงออกด้วยการเสียดสีประชด ประชัน โพสต์ เมนท์ วิจารณ์ด้วยความ ไม่สุภาพ ไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ใดๆ

8

มัจฉริยะ

เมือ ่ น�ำเสนอใดไปแล้ว วันหนึง ่ มีผอ ู้ น ่ื น�ำความ คิดของตนไปดัดแปลงก็นก ึ เสียดาย เกิด ความทุกข์ นึกหวงความรูข้ องตนขึน ้ มาในที

9

มายา

ยึดติดอยูก ่ บ ั โลกมายา ฝังตัวอยูห ่ น้าคอม ไปไหนมาไหน เปิดดูโทรศัพท์อยู่ตลอด เวลา ยึดติดกับยอดไลค์ ยอดเมนท์ ยอด แชร์ หลงอยู่ในมายาของโลกโซเชียล ไม่ สามารถหยุดติดต่อกับโลกโซเชียลได้ นานๆ พึ่งพาโลกโซเชียลสร้างความสุข แบบปลอมๆ ให้กับตนเอง

10

สาเถยยะ

โพสต์สง ิ่ ทีไ่ ม่ใช่ตวั เอง สร้างภาพว่าตนเป็น อย่างนัน ้ อย่างนี้ ทัง ้ ทีต ่ นเองไม่ได้เป็นอย่าง นัน ้ เลย น�ำไปสูก ่ ารยึดติดกับภาพลักษณ์ ที่ตนสร้างขึ้น ต้องฉลาดอยู่ตลอดเวลา ต้องแสนดีอยู่ตลอดเวลา ต้องสวยต้อง หล่ออยู่ตลอดเวลา ภาพลักษณ์ต้องดูดี อยู่ตลอดเวลาที่สุดแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็น�ำ มาซึ่งความทุกข์ในชีวิตจริง ของตนเอง

11

12

สารัมภะ

คอยแต่จะเปรียบเทียบตนเองกับผูอ ้ น ื่ แข่ง ดีแข่งเด่นกับเขา เขามีคนกดไลค์กค ี่ นแล้ว เรามีกี่คนแล้ว เขามีเพื่อนกี่คนแล้ว มีคน เมนท์ คนแชร์กี่คนแล้ว ท�ำไมของเขามี เยอะ ท�ำไมของเราจึงมีเท่านี้ ตั้งหน้าตั้ง ตาเอาชนะกันในเรื่องไร้สาระ ทั้งที่ไม่เคย รู้จักกันมาก่อนด้วยซ�้ำ

13

มานะ

เมื่อมีคนกดไลค์มากๆ มีคนชื่นชมมากๆ ก็หลงว่าตนเก่ง ตนดีกว่าเขา ทัง ้ ทีค ่ วาม จริงแล้ว ทุกคนย่อมมีทั้งด้านดีและไม่ดี มีสิ่งที่เชี่ยวชาญและสิ่งที่โง่เขลา มีสิ่ง ที่พิเศษ และสิ่งที่ธรรมดา เมื่อหลงตน มากเข้า อัตตาตัวตนก็ขยายตัวใหญ่ขึ้น เกิดเป็นมานะทิฐิว่า ข้าคือผู้ยิ่งใหญ่ ข้า คือคนส�ำคัญ

14

อติมานะ

เมื่อคิดว่าตนดีกว่าใคร ก็เริ่มดูถูกผู้อื่น เริ่มพูด เริ่มเมนท์ เริ่มแสดงความคิดเห็น ประชดประชันว่าตนดีกว่าเขา

15

มทะ

เสพติดค�ำชืน ่ ชม ปล่อยให้ใจฟูไปกับค�ำชม ทัง ้ วัน คุยแต่วา่ วันนีม ้ ใี ครมาชมบ้าง พัฒนา ไป สู่ความมัวเมาต่อค�ำสรรเสริญเยินยอ

16

ปมาทะ

ใช้เวลาอยูใ่ นโลกโซเชียลนานเกินไป จนไม่ ได้ทำ� อะไรเป็นชิน ้ เป็นอันในชีวต ิ จริง ละเลย การงาน ครอบครัว สุขภาพ หมดเวลาอยู่ กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือจอโทรศัพท์ ท�ำให้ชีวิตจริงตกต�่ำลงเรื่อยๆ

ถัมภะ

เมือ ่ มีใครแสดงความคิดเห็นทีแ่ ตกต่าง รีบ โต้เถียงในทันที จ้องแต่จะเถียง โดยไม่ได้นำ� ความคิดนัน ้ มาตรึกตรองจนเกิดปัญญา โพสต์ระบายความในใจอย่างไร้เหตุผล ไหลไปตามอารมณ์ของตนเป็นใหญ่ บ่น ตลอดเวลา ระบายอารมณ์อยูต ่ ลอดเวลา

45

...ข้อคิด...

การใช้โซเชียลเน็ตเวิรค ์ นัน ้ มีประโยชน์กจ ็ ริง แต่หากเราหลงอยูก ่ บ ั มันมากเกินไป หรือยึด ติดกับมันมากเกินไป สิ่งที่เป็นประโยชน์.... ก็อาจกลับมาสร้างความทุกข์ให้เราได้ใน ภายหลัง ...ทุกวันนี้มีคนจ�ำนวนมาก ที่ตกเป็นทาสของโลกโซเชียล ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งคนที่มีการศึกษา คนไร้การศึกษา ทั้งคนเก่ง และคนไม่เก่ง ทั้งคนธรรมดาและคนดังต่างๆ ตราบที่เราไม่ได้ใช้มันอย่างมีสติ มันย่อมกลืนกินชีวิตของเรา ไปสู่โลกเสมือนจริงมากขึ้นเรื่อยๆ ...คนทุกวันนี้ไม่มองหน้ากันแล้ว เพราะเรามองหน้าจอกันตลอดเวลา ในหนึ่งปี เราแทบนับครั้งได้ว่า มองท้องฟ้ากี่ครั้ง แม่อยู่กับลูก นั่งมองจอ ลูกอยู่กับแม่ ก็นั่งมองจอ อ่านค�ำชมบนจอเสร็จ มานั่งเถียงกับคนในครอบครัวต่อ ...ทุกวันนี้ โลกเป็นอย่างนี้ ไม่อยากจะเชือ ่ ว่า มันจะเป็นไปได้ แต่...มันก็เป็นไปแล้ว

ป.ล. กิเลสทั้ง 16 ข้อนี้

น�ำมาจากหลักธรรมอุปกิเลส 16 ของ พระพุทธเจ้า แสดงให้เห็นว่า หลักธรรม ของพระพุทธเจ้า เป็นอกาลิโก ไม่จ�ำกัด กาล เป็นสัจจะ เป็นของจริงที่น�ำมาสอนใจ ตน และสอดส่องความเป็นไปของสังคมได้ ทุกยุคทุกสมัย ในบทความนี้ แม้ไม่ได้ถอดมาเหมือนซะที เดียว แต่น�ำมาดัดแปลง เสริมเนื้อหาให้เข้า กับสิง ่ ทีเ่ ห็นๆ กันอยูใ่ นโลกโซเชียล กิเลสทัง ้ 16 ตัวนี้ เมื่อเกิดกับใครแล้ว พระพุทธเจ้า ท่านเตือนไว้ว่า... จะน�ำไปสู่ความขุ่นมัว ในเบื้องต้น หากไม่พยายามสะสาง จะน�ำ ไปสู่ความทุกข์ และพัฒนาไปเป็นความ ชั่วในรูปแบบอื่นๆ ถ้าเราไม่หลอกตัวเอง จนเกินไปนักจะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้กิเลสทั้ง 16 ตัวนี้ ได้ยึดพื้นที่ทั้งหมดในโลกโซเชียล ไปเรียบร้อยแล้ว Cr. พศิน อินทรวงค์


YOUNG GEN DENTIST เรื่อง ทญ. วรรณวลัย ชอบอิสระ

มอง

360

องศา

ก่อนเรียนต่อ…

เรียนต่ออะไรดีนะ? Implant ก็ก�ำลังมาแรง เรียนต่อ Implant ดีไหม? เอ๊ะ เดี๋ยวนี้มีหลักสูตร หลายแบบจัง มีทั้ง 1 ปี 2 ปี 3 ปี เราจะเรียนแบบไหนดี ? สอบบอร์ดด้วยดีมั้ย? แล้วจะเรียนเมือง ไทยหรือไปเมืองนอกดี? หลายๆ คนอาจเคยมีค�ำถามเหล่านี้เกิด ขึ้นในใจ อยากเรียนต่อ แต่ไม่รู้จะเรียนอะไร ดี ไม่แน่ใจว่าเราเหมาะกับอะไร คอลัมน์นี้ จึงขอน�ำแง่คิดเล็กๆ น้อยๆ จากหลายๆ ด้าน มาฝากผู้อ่านค่ะ

ด้านตัวเราเอง

เราควรพิจารณาว่า เราชอบหรือสนใจสาขาอะไรเป็นพิเศษ Prosth ? ศัลย์ ? จัดฟัน ? หรือสาขาอื่นๆ แต่ถ้าเพิ่งเรียนจบมา ใหม่ ๆ เราก็อาจลองท�ำงานหลายๆ อย่าง ในหลายๆ สาขาไปก่อน แล้วลองสังเกตว่า เราชอบงานลักษณะไหน และสนใจขอบเขต ของงานในระดับลึกแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่นงาน Prosth เราอยาก ท�ำครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมยากๆ เท่านัน้ หรือต้องการ ท�ำไปถึง Maxillofacial prosthesis ส่วนในงานศัลย์ เราอยากผ่า ฟันคุด ตัดกระดูกในคลินิกอย่างมั่นใจมากขึ้น หรือต้องการไปถึง ระดับผ่าตัดขากรรไกรในห้องผ่าตัด ถ้ายังไม่แน่ใจอีก ก็อาจไป ขอค�ำปรึกษา หรือลองไปดูงานในสาขาที่สนใจ เพื่อเปิดมุมมอง ต่อสาขานั้นๆ ให้กว้างขึ้นค่ะ เราควรพิจารณาถึงความสามารถของตัวเราเองด้วยนะคะ บางสาขาที่เราสนใจจริงๆ แต่รู้สึกว่ายากเกินความสามารถ เรา ก็อาจย้อนกลับมาคิดสักเล็กน้อยว่าพอสู้ไหวไหม หากคิดว่าไหว ก็อาจจะต้องอ่านหนังสือและฝึกฝนทักษะขั้นพื้นฐานของสาขา นั้นๆ ให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาความสามารถของเราให้พร้อมที่จะ เรียนต่อด้วยค่ะ

46 THAI DENTAL MAGAZINE


ด้านค่าใช้จ่าย และรายได้หลังเรียนจบ

ด้านคนไข้

เราควรค�ำนึงถึงคนไข้ในพื้นที่ที่เราท�ำงานหรือ วางแผนจะไปท�ำงานด้วย ว่าต้องการการรักษาในระดับ ใด คนไข้ส่วนใหญ่ในโรงพยาบาลชุมชน มักเป็นเคสที่ การรักษาไม่ยงุ่ ยากนัก ขณะทีค่ นไข้ในโรงพยาบาลทัว่ ไป โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย บางเคส อาจมีความซับซ้อนในการรักษามากกว่า เนื่องจากเป็น แหล่งรับ Refer มาจากที่ต่างๆ ส่วนคนไข้ในคลินิกหรือ โรงพยาบาลเอกชน ก็มลี กั ษณะแตกต่างกัน ตามนโยบาย และขีดความสามารถของสถานทีน่ นั้ ๆ นอกจากนี้ คนไข้ ในบางพืน้ ทีอ่ าจมีปญ ั หาหรือความต้องการบางด้านมาก เป็นพิเศษ เช่น คนไข้ในเมืองใหญ่ อาจมีความต้องการ เรื่องความสวยงามสูง ควบคู่ไปกับการรักษา การเลือกเรียนต่อในสาขาทีต่ รงกับความต้องการ ของพื้นที่ ก็น่าจะท�ำให้ทันตแพทย์สามารถให้บริการ คนไข้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและเต็มความสามารถ แล้วถ้าสาขาทีเ่ ราต้องการเรียน ไม่ตรงกับความต้องการ ของพืน้ ทีล่ ะ่ ? เราก็ตอ้ งชัง่ น�ำ้ หนักปัจจัยต่างๆ แล้วเลือก หาแนวทางทีเ่ หมาะสม บางคนอาจเปลีย่ นสาขา บางคน อาจเปลี่ยนพื้นที่ บางคนอาจออกจากราชการ เพื่อให้มี อิสระในการเลือกมากขึ้น หลายคนหวังอยากเรียนต่อจนจบดอกเตอร์หรือ สอบบอร์ดได้ โดยลืมค�ำนึงไปว่า แท้จริงแล้วคนไข้ใน พื้นที่ต้องการอะไรกันแน่ หมอที่มีความรู้และทักษะ ที่ดีย่อมมีประโยชน์ต่อคนไข้ แต่มองอีกมุมหนึ่ง หมอ ที่เอาใจใส่คนไข้ เข้าใจปัญหาที่แท้จริงของคนไข้ ก็มี ความส�ำคัญไม่แพ้กัน ทันตแพทย์ GP ที่ไม่ได้เรียนต่อ เฉพาะทาง แต่พยายามดูแลคนไข้แบบเป็นองค์รวม และ Update ความรู้อยู่เสมอ จึงมีความส�ำคัญไม่น้อย ไปกว่าทันตแพทย์ Spec ค่ะ

การเรียนต่อแต่ละสาขา มีคา่ ใช้จา่ ยมาก-น้อยแตกต่างกัน โดยราคา จะแพงมากขึ้นเมื่อเป็นหลักสูตร Inter หรือไปเรียนต่อต่างประเทศ ค่าใช้ จ่ายเหล่านี้ไม่ได้มีเฉพาะค่าเล่าเรียนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงค่าอุปกรณ์ ประกอบการเรียนที่ต้องซื้อเอง ค่าที่พัก ค่าน�้ำ-ไฟ ค่าอาหาร และค่าเดิน ทาง หากไปเรียนต่อไกลบ้าน ค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่เพิ่มขึ้น หากไปเรียนต่อ ในเมืองทีค่ า่ ครองชีพสูง นอกจากนีอ้ ย่าลืมต้นทุนค่าเสียโอกาส เนือ่ งจาก ขาดรายได้จากการท�ำงาน ในระหว่างเรียนต่อด้วยค่ะ การวางแผนเรียน ต่อจึงควรพิจารณาทั้งเรื่องสาขา หลักสูตร ระยะเวลา และสถานที่ที่จะ ไปเรียน ให้สอดคล้องกับสถานะการเงินของตัวเองและครอบครัว โดย เฉพาะคนที่ก�ำลังวางแผนสร้างครอบครัว ก็อาจต้องคิดทบทวนหลาย รอบหน่อยค่ะ ส่วนรายได้หลังเรียนจบก็เป็นอีกปัจจัยทีห่ ลายคนให้ความส�ำคัญ บางสาขาโดยเฉพาะจัดฟันและ Implant ก็เป็นที่รู้กันดีว่ามีรายได้สูง แต่ รายได้ที่ดีคงไม่ใช่ปัจจัยเพียงอย่างเดียวในการเลือกเรียนต่อ เพราะการ ได้ท�ำงานที่ชอบ ความท้าทาย หรืออุดมการณ์ในการท�ำงาน ก็อาจเป็น อีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเช่นกันค่ะ

ด้านค่านิยม

บางคนเลือกเรียนต่อ เพราะเห็นเพือ่ นหลายคนไปเรียนต่อกันแล้ว กลัวตัวเองจะตกรุ่น บางคนเลือกสาขาตามเพื่อน ตามครอบครัว ตาม อาจารย์บอก หรือตามความนิยม แต่พอเรียนได้สักระยะหนึ่ง ก็อาจนึก เสียดายว่า ไม่น่ามาเรียนเลย น่าจะเรียนสาขานั้นดีกว่า หรืออาจลาออก ไปกลางคัน เมือ่ เรียนจบแล้ว ต้องท�ำงานทีต่ วั เองไม่ชอบ ก็อาจไม่มคี วาม สุขในการท�ำงาน ท�ำงานอย่างขาด Passion หรืออาจหันไปท�ำงานคนละ สาขาจากทีเ่ รียนมา บางคนอาจยึดติดกับค่านิยมการเรียนต่อมากเกินไป จนลืมคิดไปว่า การไม่เรียนต่อก็เป็นอีกทางเลือกหนึง่ ทีค่ วรพิจารณา การ เป็นทันตแพทย์ GP อาจเป็นค�ำตอบทีล่ งตัวทีส่ ดุ ส�ำหรับหลายๆ คนก็ได้คะ่

ประมวลผล

การได้เรียนต่อในสาขาทีต่ วั เองชอบหรือสนใจ น่าจะเป็นสิง่ ทีห่ ลายๆ คนคาดหวัง แต่ในความเป็นจริงกลับมีปจั จัยอีกหลายๆ ด้านมาส่งผลต่อ เรื่องนี้ ตัวเราเองย่อมเป็นคนตัดสินใจเรื่องนี้ได้ดีที่สุด ว่าปัจจัยด้านใดมี น�้ำหนักมากกว่ากัน เพราะบริบทของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป เรา ย่อมทราบความต้องการที่แท้จริงของตัวเราเองดีท่ีสุด และก็เป็นตัวเรา เองที่ต้องอยู่กับงานนั้นๆ ไปอีกนาน ท้ายที่สุด หากเราตัดสินใจไม่เรียน ต่อ เราก็ควรก้าวเดินไปในเส้นทางนี้อย่างมั่นใจ ทันตแพทย์ GP หลายๆ คนก็มคี วามสุขในการท�ำงาน และสามารถให้การดูแลรักษาคนไข้ได้เป็น อย่างดีนะคะ การเป็นทันตแพทย์ GP หรือ Spec สาขาใด และท�ำงานอยู่ ที่ไหน ไม่ส�ำคัญ เพราะหากตั้งใจจริงแล้ว ทันตแพทย์ทุกคนล้วน แล้วแต่สามารถช่วยเหลือคนไข้ และท�ำประโยชน์ให้แก่ประเทศ ชาติได้ทั้งนั้นค่ะ 47


เกาะกระแส

เรื่อง/ภาพ ทีมทันตแพทยสภา

The team behind the scene เรื่องเอกซเรย์ทันตกรรมนั้น ทางออกที่วิชาชีพเราสบายใจได้แก่การตรวจสอบ ที่ตรวจโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไปประสานกับส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเพื่อขอครอบครองให้เราอีกชั้นหนึ่ง ฉบับนี้เราจึงได้โอกาสมาสัมภาษณ์

ท่านอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ น.พ.สุขุม กาญจนพิมายและทีมกัน

ก่อนอื่นขอแนะน�ำหน่วยงานได้แก่กรมวิทยาศาสตร์การ แพทย์ก่อนนะคะ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตั้งอยู่พื้นที่ด้าน หลังในกระทรวงสาธารณสุข ภารกิจหลักของกรมท�ำหน้าที่ดูแล ด้านวิทยาศาสตร์ทั้งกายภาพ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ที่ประกอบการ ท�ำการรักษา และสนับสนุนเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้แก่ แลบ รังสี Biosafety และคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่การตรวจคุณภาพ ผัก ผลไม้ ยาเสพติด เครื่องส�ำอางและสินค้าที่ใช้กับประชาชน อื่นๆ ตรวจค่าความสะอาดน�้ำทิ้ง ตรวจการปนเปื้อนของน�้ำดื่ม ผู้ปฏิบัติงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกอบด้วยนัก วิทยาศาสตร์ เภสัชกร สัตวแพทย์ และนักวิชาการ ท�ำการวิเคราะห์ วิจัย สนับสนุนเทคนิคบริการด้านต่างๆ ก่อนเปิดการสัมภาษณ์ท่านอธิบดีแสดงความมั่นใจใน มาตรฐานวิชาชีพว่า “ส่วนตัวผมมั่นใจในมาตรฐานวิชาชีพ เรา ทุกคนอยากท�ำงานอย่างปลอดภัยและอยากให้คนไข้หรือผู้รับ

บริการมั่นใจ ทันตแพทย์ เป็น 1 ใน 3 ของ Medical hub ได้แก่ ศัลยกรรม ทันตกรรม และ แพทย์แผนไทย ซึง่ เป็นนโยบายของรัฐ เราต้องช่วยกันอ�ำนวยให้การประกอบวิชาชีพได้ประโยชน์ ธุรกิจ ของประเทศก็ได้ และเพือ่ ยกระดับมาตรฐานการรักษาในอนาคต ผมได้ปรับกระบวนการภายในเพื่ออ�ำนวยความสะดวกให้เรา มาตั้งแต่หลายเดือนมาแล้ว” และท่านตระหนักดีเรื่องความ กังวลของทันตแพทย์เกี่ยวกับโทษที่ดจู ะรุนแรงและไม่สมเหตุผล ตามพ.ร.บ.ใหม่ โครงสร้างองค์กรนั้น กรมวิทย์มีสาขา 15 สาขากระจาย ทั่วประเทศและมีปัญหาคิวการตรวจยาวหลักหลายเดือน ใน ส่วนกลางเดิมมีทีม 4 ทีมและเมื่อมีปัญหาจึงเพิ่มก�ำลังเป็น 6 ทีม ทันทีและหากยังประสบปัญหากรมวิทย์กพ็ ร้อมจะเพิม่ ทีมในการ ตรวจประเมินมากขึน้ โดยมีเป้าให้การตรวจไม่ให้เกิน 1 เดือนราย ละเอียดเบอร์ติดต่อแต่ละสาขา ดังนี้

48 THAI DENTAL MAGAZINE


เขตให้บริการตรวจสอบคุณภาพเครื่องก�ำเนิดรังสี

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ล�ำดับ 1

เขตจังหวัดรับผิดชอบ ส�ำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์

เขตจังหวัด รับผิดชอบ

โทรศัพท์

โทรสาร

จดหมาย อิเล็กทรอนิกส์

หมายเหตุ ดูแลการตรวจ

นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นครนายก และกรุงเทพมหานคร

02-951-0000 ต่อ 02-951-1028 dmscdiag@gmail.com สอบ เครือ่ ง เอกซเรย์ 99854, 99647 คอมพิวเตอร์

เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ล�ำปาง ล�ำพูน

05-311-2188-90 05-311-2088

-

ของเขต ศวก. 5 ด้วย

2

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1

3

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1/1 เชียงราย น่าน พะเยา และแพร่

05-317-6225-6 05-317-6224

-

4

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2

พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และอุตรดิตถ์

05-532-2824-6 05-532-2824-6 ต่อ 121

-

5

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3

นครสวรรค์ ก�ำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี และชัยนาท

05-624-5618-20 05-624-5617

-

6

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 4

นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สระบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นครนายก และกรุงเทพมหานคร

02-965-9752

02-965-9754

-

7

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 5

สมุทรสงคราม กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และสมุทรสาคร

03-472-0668-71 03-472-0540

-

8

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6

ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี 03-878-4006-7 03-845-5165 สมุทรปราการ สระแก้ว จันทบุรี ระยอง และตราด

-

9

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 7

ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และ ร้อยเอ็ด

04-324-0800

04-324-0845

-

10 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 8

อุดรธานี เลย หนองคาย หนองบัวล�ำภู บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร

04-220-7364-6 04-220-7367

-

11 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9

นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ 04-434-6006-15 04-434-6018

-

12 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ

04-434-6018

04-531-2230 ต่อ 104

-

13 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช

07-735-5301-6 07-735-5300

-

14 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต พังงา และกระบี่

07-635-2041-2 07-635-2044

-

15 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา นราธิวาส ปัตตานี และยะลา

07-444-7024-8 07-433-0215

-

16 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง พัทลุง และสตูล

07-550-1050-3 07-550-1056

-

อ�ำนาจเจริญ และมุกดาหาร และระนอง

49


เราสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจจากท่าน ผอ.ศิริ ผอ.กองรังสี ผอ.ศิริ ศรีมโนรถ ฟิสิกส์รังสีเชี่ยวชาญ กล่าวว่า “ค่าใช้จ่ายในการตรวจคุณภาพเป็นค่าตอบแทนและ ค่าเดินทางของเจ้าหน้าที่และใช้มานานแล้ว ในอนาคตหาก จะให้ไปตรวจนอกเวลาอาจต้องขอปรับเพิ่มบ้าง ส่วนค่าเดิน ทางเราก็ขอเก็บตามจริง แต่ถ้าขึ้นทะเบียนสถานพยาบาลแล้ว ทุก 2 ปีเราจึงใช้เกณฑ์การต่ออายุสถานพยาบาลประกอบ เพื่อ ให้สะดวกกับทันตแพทย์ไทย แต่ตามมาตรฐานสากลนั้นหาก สถานพยาบาลขึ้นทะเบียนตามมาตรฐาน JCI จะต้องถูกตรวจ ทุกปี” ท่าน ผอ. ศิริ เสริมว่า “เครื่องเอกซเรย์ทันตกรรมมีรังสี ไม่มาก อย่างไรก็ตาม ผมอยากให้พวกเราตระหนักถึงรังสีปริมาณ น้อยๆ ที่ได้รับเสมอๆ และอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนเเปลง DNA ของผู้ได้รับ โดยสิ่งที่ทีมงานเรียนรู้จากการตรวจวัดรังสี พบว่า มีเครื่อง Handheld x-ray บางเครื่องมีการรั่วของรังสีเกินเกณฑ์” เมือ่ สอบถามรายละเอียดเกีย่ วกับการดูแลวิชาชีพทันตแพทย์ ในช่วงที่ผ่านมา ท่านอธิบดีเล่าว่า กรมวิทย์จะออกตรวจสอบ มาตรฐานเครื่องเอกซเรย์ตามแจ้งและส่งเอกสารให้เจ้าของ คลินิก โดยเอกสารแสดงมาตรฐานเครื่องเอกซเรย์ของคลินิกนั้น จะถูกส่งต่อไป 2 ส่วน ได้แก่ ที่ส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเพื่อขอ อนุญาตครอบครองเครือ่ งและส่งไปส�ำนักงานสถานพยาบาลหรือ ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพือ่ ขอด�ำเนินการสถานพยาบาล ซึง่ เมื่อพิจารณารายละเอียดของเอกสารแล้ว พบว่ามีความซ�้ำซ้อน กันพอควรระหว่างเอกสารที่ส่งไปทั้งปส.และส�ำนักงานสถาน พยาบาล และเนือ่ งด้วยเดิมไม่มกี ารระบุโทษท�ำให้เจ้าของคลินกิ หลายแห่งใช้เอกสารกรมวิทย์เพือ่ ขอเปิดด�ำเนินการสถานพยาบาล และไม่ได้ไปขอครอบครองเครือ่ งกับปส. เพือ่ ยกระดับการแสดงมาตรฐานในอนาคตและเพือ่ อ�ำนวย ความสะดวกให้วิชาชีพ ในอีก 6 เดือนข้างหน้า กรมวิทยาศาสตร์

การแพทย์มีเป้าหมายจะเปิดเวบไซต์อ�ำนวยความสะดวกให้ วิชาชีพ ดังรายละเอียดในภาพโดยจะเปิด Hotline ให้ค�ำปรึกษา 24 ชั่วโมง (รายละเอียดนี้เป็น version เตรียมการก่อนข้อบังคับ ออก จะเห็นว่ากรมวิทยาศาสตร์การเเพทย์เตรียมดูเเลประสาน กับปส.ไว้ให้ด้วย เเต่หากไม่ต้องประสานปส. เวบไซต์นี้จะยิ่ง รวดเร็วสะดวกมากขึ้น) ทีมงานที่ไปเจรจากับกระทรวงวิทย์นั้น ท่านรองอธิบดี นพ.สมฤกษ์ จึงสมาน เป็นผู้น�ำทีมเเละเจรจากันหลายคราวมาก ในช่วงที่ผ่านมา ในนามวิชาชีพเราก็ขอขอบพระคุณทุกท่านของ กรมวิทย์ทพี่ ยายามดูเเลวิชาชีพเรามาโดยตลอด เเละอนาคตเรา คงต้องท�ำงานร่วมกับกรมวิทย์กนั ด้วยดีตอ่ ไป (ในการตรวจความ ปลอดภัยของเครื่องเอกซเรย์) “ผมมีประสบการณ์ผ่าตัดหัวใจและเครื่องแคทขัดข้อง ท�ำให้เสียหายกับคนไข้ จะเรียกบริษัทมาแก้ไขก็ไม่รองรับเรา 24 ชั่วโมง จึงอยากเปิด Hotline เพื่อให้ค�ำแนะน�ำเบื้องต้นแก่ ผู้ให้การรักษา” เราจบการสัมภาษณ์อย่างมีความสุข...

Flowchart ลาดับขั้นตอนการทางานทั้งกระบวนงาน

2

1 ขออนุญาตครอบครองใช้เครื่อง กาเนิดรังสีทางการแพทย์ (คาขอ + เอกสารแนบ)

ชาระเงินค่าบริการ

3

รับใบอนุญาต

ฐานข้อมูล เจ้าหน้าที่ RSO วิชาชีพ 5 สาขา

ตรวจสอบเครื่องกาเนิดรังสีเอ็กซ์ (สานักรังสี,ศวก)

3.1

3.3

8

วิชาชีพ 5 สาขา

ตรวจสอบคาขอ (ระบบ)

3.2

ไม่ผ่าน

สานักงานปรมาณู เพื่อสันติ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

สถานพยาบาล

4 5 7

ตรวจสอบที่เครื่อง รายชื่อเจ้าหน้าที่ RSO มี คุณสมบัตติ ามที่ ปส. กาหนด ตรวจรังสีประจาบุคคล (OSL) ผ่าน

ดึงข้อมูลจากระบบ

สานักรังสีออกรายงานผลตรวจสอบ ขึ้นบัญชีเครื่องกาเนิดรังสี ใบอนุญาต

6 ออกใบอนุญาตให้ สถานพยาบาล

50 THAI DENTAL MAGAZINE

กรม สบส./ หน่วยงานอื่นๆ

ธนาคาร ใช้ระบบ Teller Payment ตัด โอนเงินค่าบริการ โดยแยก ค่าบริการเป็น สองก้อนตาม ค่าบริการทีส่ อง หน่วยงานเก็บ


INTERVIEW

1

Q : ความคืบหน้าการเอาเครื่องเอกซเรย์ ทันตกรรมที่เกี่ยวข้องออกจากจากกฎกระทรวง กับส�ำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ถึงขั้นไหนแล้ว ? ผอ. อาคม : ส�ำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะได้รับ เรื่องจากทันตแพทยสภา ถึงเหตุผล ความจ�ำเป็นและปัญหาการมีเครื่อง เอกซเรย์อยูใ่ นกฎกระทรวงก�ำหนดชนิดและจ�ำนวนเครือ่ งมือ เครือ่ งใช้ ยา และเวชภัณฑ์หรือยานพาหนะที่จ�ำเป็นประจ�ำสถานพยาบาล พ.ศ.2558 ข้อ 4 (2) ที่ระบุว่า คลินิกทันตกรรม ต้องจัดให้มีเครื่องเอกซเรย์ฟันที่ได้ มาตรฐานทางการแพทย์ ความคืบหน้าล่าสุดส�ำนักสถานพยาบาลและ การประกอบโรคศิลปะ ได้นำ� เรือ่ งดังกล่าวเข้าสูท่ ปี่ ระชุมของคณะกรรมการ สถานพยาบาลในการน�ำเครือ่ งเอกซเรย์ ฟัน ออกจากกฎกระทรวงดังกล่าว คณะกรรมการมีมติเห็นชอบ ขั้นตอนต่อไป คือการเสนอตามขั้นตอนกฎหมายในการน�ำเครื่อง เอกซเรย์ ออกจากกฎกระทรวง ขณะนีก้ ฎกระทรวงเรือ่ งดังกล่าวอยูร่ ะหว่าง พิจารณาของชั้นกฤษฎีกา ซึ่งในการพิจารณานั้นกฤษฎีกาจะเชิญผู้ที่ เกี่ยวข้องเข้าร่วมชี้แจงในรายละเอียดและการแก้ไขเพิ่มเติม

2

Q : แล้วต่อจากนี้หากเปิดคลินิกทันตกรรม โดยไม่ได้มีเครื่องเอกซเรย์แล้ว ต่อมาจะน�ำเครื่อง เอกซเรย์มาใช้จะต้องท�ำอย่างไร ? ผอ. อาคม : ถ้าหากกฎกระทรวงก�ำหนดชนิดและจ�ำนวนเครื่องมือ เครือ่ งใช้ ยาและเวชภัณฑ์หรือ ยานพาหนะทีจ่ ำ� เป็นประจ�ำสถานพยาบาล พ.ศ.2558 ไม่มีข้อก�ำหนด เครื่องเอกซเรย์ฟันที่ได้รับมาตรฐาน ทางการ แพทย์อยู่ในกฎกระทรวง การเปิดคลินิกก็จะสามารถเปิดได้ โดยที่ไม่ต้อง มีเครือ่ งเอกซเรย์ แต่ถา้ หาก จะน�ำเครือ่ งเอกซเรย์มาใช้ในคลินกิ ทันตกรรม ผู้รับอนุญาต (ผู้ประกอบกิจการ) จะต้องเขียนค�ำขออนุญาต เพื่อยื่นเปิด 51

บริการเอกซเรย์เพิ่ม ซึ่งจะต้องมีการตรวจโดยกรม วิทยาศาสตร์การแพทย์ และได้รบั อนุญาตการใช้ เครือ่ ง เอกซเรย์ จากส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเหมือนเดิม

3

Q : หากสามารถขอน�ำเครื่อง เอกซเรย์ออกจากกฎกระทรวงก�ำหนด ชนิดและจ�ำนวนเครือ ่ งมือ เครือ ่ งใช้ ยา และเวชภัณฑ์หรือยานพาหนะที่จ�ำเป็น ประจ�ำสถานพยาบาล พ.ศ.2558 ของ พรบ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ได้ จะ มีผลอย่างไร? ผอ. อาคม : หากกฎกระทรวง ไม่ได้บงั คับเรือ่ งของ เครื่องเอกซเรย์ไว้ในกฎหมาย เครื่องเอกซเรย์ทาง การ แพทย์ที่ใช้ในคลินิกทันตกรรม ก็ต้องถือว่าเป็นเครื่อง มือแพทย์จะต้องผ่าน อย. และได้รับการตรวจตาม มาตรฐาน การอนุญาตของส�ำนักงานปรมาณูเพือ่ สันติ ในอนาคตถ้าหากส�ำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ออกกฎหมายไม่ควบคุมเครื่องเอกซเรย์บางชนิด ตัวอย่าง เช่น เครื่องเอกซเรย์ Intra-oral เครื่อง เอกซเรย์ดังกล่าว ก็จะไม่ถูกตรวจมาตรฐาน ดังเช่น ปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังถือว่าเครื่องเอกซเรย์ดัง กล่าวเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งต้องผ่าน อย.


แนะน�ำหน่วยงาน

เรื่อง ร.ท.ทพ.ธนศักดิ์ ถัมภ์บรรฑุ กลุ่มงานทันตกรรม รพ.ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร

กริ๊งงงงง!!..เสียงกริ่งฉุกเฉินดังขึ้น เจ้าหน้าที่กรูกันไปช่วย CPR ผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินด้วยเหตุที่เป็นโรงพยาบาลเล็กๆ แม้แต่นายสิบ ทันตกรรมของเราก็ยังวิ่งไปช่วย ทันตแพทย์น้องใหม่ ผู้สนใจใคร่รู้จึงวิ่งตามไปดู 52 THAI DENTAL MAGAZINE


พบผูป้ ว่ ยโดนต่อรุมต่อยมา หัวใจหยุดเต้นมาสักพัก เจ้าหน้าทีต่ อ่ แถวกันขึน้ CPR ผูป้ ว่ ยอย่างขันแข็งเพือ่ ช่วยให้ผปู้ ว่ ยกลับมาอีก

ผมทราบจากอาจารย์ว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทักษะการ CPR ถูกสอนให้กับบุคคลทั่วไปอย่างแพร่หลาย เป็นความโชค ดีของผูค้ นทีน่ นั่ และอยากให้บา้ นของเราปลอดภัยอย่างนัน้ ด้วย เหมือนกัน ในเวลาเพียง 3 ชัว่ โมงของการเรียน เราได้เห็นตัวอย่าง ของการช่วยชีวิตที่เกิดขึ้นจริง เรียนรู้หลักการและฝึกปฏิบัติใน สถานการณ์จ�ำลองหลายกรณี ทั้งการช่วย CPR เด็กทารก เด็ก เล็ก กระทั่งถึงบุคคลทั่วไป การใช้เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า และการช่วยเหลือผู้ป่วยกรณีมีสิ่งแปลกปลอมติดคอ ผมได้พบ ว่าการได้ฝึกท�ำบ่อยๆ ท�ำให้เรารู้สึกเป็นธรรมชาติมากขึ้นหาก ต้องท�ำ CPR จริงๆ หลังจากอบรมแล้ว เราจะได้รับใบรับรอง ผ่านการฝึก แต่จะต้องทบทวนอบรมซ�้ำทุกๆ 2 ปีนอกจากจะได้ ความรูแ้ ละมัน่ ใจแล้ว อีกสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในใจของผมหลังการอบรม คือ วัฒนธรรมความปลอดภัย มีแรงใจอยากท�ำห้องทันตกรรมให้ เป็นพื้นที่ปลอดภัย ส่งต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยให้กับเพื่อน ร่วมงานเพิ่มขึ้นอีกการฝึก CPR นอกจากจะเป็นประโยชน์กับ ผูป้ ว่ ยแล้ว ก็ยงั ช่วยให้คณ ุ หมออุน่ ใจ ท�ำงานอย่างปลอดภัยและ มีความสุขอีกด้วย หากท่านผู้อ่านพบว่า เราอยู่ในสถานการณ์ ที่เสี่ยงหรือไม่มั่นใจกับการจัดการภาวะฉุกเฉิน ผมเชิญชวนให้ เราไปอบรมและทบทวนเรื่อง CPR กันอย่างสม�่ำเสมอนะครับ

“หมอๆ มา ช่วยกัน CPR มัย้ ” เสียงหนึง่ เรียกขึน้ ...รูส้ กึ เหมือนหัวใจหมอฟันคนนีจ้ ะหยุดเต้นไป ด้วย แม้จะเคยได้ฝึกกับหุ่นในห้องเรียน มาบ้าง แต่ก็ไม่มั่นใจและประหม่าเหลือ เกิน กลัวว่าความขาดประสบการณ์ของเราจะไปท�ำให้คนไข้ ครั้ง ทันตแพทย์ใหม่ได้แต่ยืนดูอย่างตื่นเต้น

แย่ไปกว่าเดิม ผมจึงตัดสินใจพูดออกไปว่า “เอาเลยครับพี่ เดีย๋ ว ผมช่วยอย่างอื่นแทน”

ผมเดินออกมาจากห้องฉุกเฉินด้วยความรู้สึกหน้าแห้งหน่อยๆ ที่ได้ชื่อว่าหมอ แต่ไม่กล้าท�ำ CPR ผู้ป่วย ความรู้สึกนี้ยังอยู่ใน ใจเสมอเมื่อนึกถึงมัน จนวันที่ได้ข่าวว่าสมาคมโรคหัวใจจะมา จัดอบรม basic life support ในงานประชุมประจ�ำปีของทันต แพทยสมาคม จึงตัดสินใจเข้าร่วมโดยไม่ลังเล ผมอยากจะดูแล คนไข้หรือคนใกล้ตัวที่เราพบเจอได้จริงๆ เพราะเราไม่มีทางรู้ว่า เหตุการณ์ฉุกเฉินนี้จะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไร

“เพื่อคนไข้ปลอดภัย เพื่อความอุ่นใจในการท�ำงาน”

53


วิชาการทันตกรรม เรื่อง ทญ. พัชรี กัมพลานนท์

ติดเชื้อจากฟัน ชนิดง่ายๆ หมอฟันคนไหน ก็รักษาได้

54 THAI DENTAL MAGAZINE


“สวัสดีค่ะอาจารย์ อาจารย์จ�ำหนูได้ไหมคะ หนูเคยเป็นทันตแพทย์ใช้ทุนที่โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งที่พัทลุง เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วค่ะ” “หนูเคยแวะไปดูงานศัลย์กับอาจารย์ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ 1 สัปดาห์” “แล้วอาจารย์ก็สอนหนูเจาะระบายหนองจาก vestibular space” “ตอนนั้นหนูได้กลับไปช่วยรักษาคนไข้ที่โรงพยาบาลหลายคนเลยค่ะ” “ตอนนี้หนูจบดอกเตอร์ทางทันตกรรมประดิษฐ์จากต่างประเทศ และกลับมาเป็นอาจารย์สอนในโรงเรียนทันตแพทย์ที่กรุงเทพฯ แล้วค่ะ”

รู้สึกปลื้มมากๆ ที่เคยมีโอกาสช่วยน้องทันตแพทย์ที่เพิ่ง เมือ ่ ทันตแพทย์เตรียมตัวรักษาการ เรียนจบ และมีประสบการณ์งานศัลย์ไม่มากนัก ให้สามารถรักษา ผู้ป่วยติดเชื้อในช่องปากชนิดที่ง่ายแสนง่ายส�ำหรับทันตแพทย์ ติดเชื้อจากฟันอย่างมีหลักการ การติดเชือ้ จากฟันชนิด localized odontogenic infection ศัลย์ แต่อาจดูไม่ง่ายนักส�ำหรับทันตแพทย์ทั่วไป ทว่าเมื่อน้องๆ ได้ลองลงมือให้การรักษาผู้ป่วยประเภทนี้แล้ว ก็จะรู้ว่าไม่ใช่เรื่อง เช่น vestibular space infection, chronic fistula, pericoronitis, localized abscess มีวธิ รี กั ษาไม่ยงุ่ ยากมากนัก เราเคยกล่าวถึง ยากจนเกินความสามารถของทันตแพทย์ทั่วไปเลย การรักษา pericoronitis ในวารสารฉบับก่อนหน้านี้ไปแล้ว ฉบับ นีจ้ งึ อยากกล่าวถึงวิธรี กั ษาการติดเชือ้ ใน vestibular space และ รู้ไหมคะว่าฟันท�ำให้เกิดการติดเชื้อ space อื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน การรักษาการติดเชื้อที่มีสาเหตุจากฟัน มีหลักการเช่น ได้อย่างไร เชื้อโรคและสารพิษที่ท�ำให้เกิดฟันผุ ฟันตาย โรคปริ เดียวกับการรักษาการติดเชือ้ บริเวณอืน่ ๆ โดยต้องพิจารณาปัจจัย ทันต์ และฝาเหงือกอักเสบ (pericoronitis) อาจแพร่ลุกลาม ส�ำคัญ 3 ประการ ไปพร้อมๆ กันเสมอ ได้แก่ 1) ตัวผู้ป่วย (host) ไปสู่เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก ท�ำให้เกิดการติดเชื้อจากฟัน มีการ 2) เชื้อโรค (microorganisms) 3) สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยน บวมเกิดขึ้นตามต�ำแหน่งต่างๆ ขึ้นกับซี่ฟันที่เป็นสาเหตุ (รูปที่ 1, ไป (environment) 1) ตัวผูป้ ว่ ย ให้พจิ ารณาว่าผูป้ ว่ ยอยูใ่ นภาวะฉุกเฉินหรือ 2) การติดเชื้อเหล่านี้อาจเป็นแบบเฉพาะที่ รักษาได้ไม่ยุ่งยาก หรืออาจลุกลามไปไกล มีอันตรายถึงชีวิตก็ได้ การรักษาการติด ไม่ เช่น บวมมากหายใจล�ำบาก มีไข้สงู กลืนไม่ได้ อ้าปากได้นอ้ ย เชื้อจากฟัน ไม่ใช่ท�ำโดยการกินยาต้านจุลชีพ (ยาฆ่าเชื้อ) และ ขาดน�้ำ รวมถึงมีโรคทางระบบที่ส่งผลต่อระดับภูมิคุ้มกันของ ยาแก้ปวด เท่านั้น เพราะหากไม่รักษาที่สาเหตุของการติดเชื้อ ร่างกายหรือไม่ ทันตแพทย์ทั่วไปสามารถให้การรักษาแก่ผู้ป่วย ที่มีปัญหาไม่มากนักได้ หากผู้ป่วยมีโรคประจ�ำตัวเช่นเบาหวาน แล้ว โรคก็ไม่มีทางหายขาดได้อย่างแน่นอน ก็ควรอยู่ในสภาพที่ควบคุมได้ดีแล้ว ควร ซักประวัติเรื่องการใช้ยาเป็นเวลานานให้ ชัดเจน โดยเฉพาะผูป้ ว่ ยทีม่ ปี ระวัตกิ ระดูก พรุน (osteroporosis) 2) เชือ้ โรคทีเ่ กี่ยวข้องกับการติด เชื้อจากฟัน ส่วนใหญ่เป็นชนิด mixed microorganisms มีทงั้ ชนิด cocci/bacilli, gram +ve/-ve, aerobic/anaerobic เชื้อ โรคทีพ่ บในระยะแรกๆ ของการติดเชือ้ คือ รูปที่ 1 ฟันที่อยู่ในสภาพโรคปริทันต์ รูปที่ 2 ฝาเหงือกอักเสบ Streptococcus โดยเชือ้ โรคเหล่านีเ้ ดิมเป็นเชือ้ ประจ�ำถิน่ ในช่อง รอบฟันกรามล่างซี่ที่สาม ปาก แต่เมื่อมีสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมเกิดขึ้น เช่น ฟันผุถึง ซึ่งงอกไม่เต็มที่ โพรงประสาท โรคปริทันต์ ฝาเหงือกอักเสบ เชื้อประจ�ำถิ่นเหล่า นี้ก็จะกลายเป็นเชื้อก่อโรคขึ้นมา 55


ความรูเ้ รือ่ งนี้ น�ำมาสูก่ ารใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล เช่น เลือกใช้ amoxicillin เป็นล�ำดับแรก โดยรับประทานวันละ 3 ครัง้ หากผูป้ ว่ ยแพ้ยา อาจเปลีย่ นเป็น clindamycin แทน ทัง้ นีไ้ ม่ จ�ำเป็นต้องใช้ยา Augmentin (amoxicillin + clavulanic acid) ตั้งแต่ระยะแรก ในผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติดื้อยา มิฉะนั้นจะเป็นการ ส่งเสริมปัญหาเชื้อดื้อยา ซึ่งเป็นปัญหาโลกแตกของทุกวันนี้ 3) สภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เป็นปัจจัยที่ส�ำคัญ มาก ทีเ่ ราต้องรีบแก้ไข เพือ่ ช่วยให้เชือ้ ประจ�ำถิน่ กลับมาเป็นปกติ เหมือนเดิม การรักษาการติดเชื้อที่บวมเป็นหนองแล้ว จึงต้องเจาะ ระบายหนอง และก�ำจัดสาเหตุของการติดเชือ้ อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะท�ำให้ยาต้านจุลชีพสามารถเข้าไปท�ำงานต่อได้ดี เมือ่ หลักการพร้อมแล้ว ทันตแพทย์ทวั่ ไปทุกคนย่อมให้การ รักษาได้อย่างแน่นอน โดยเลือกผูป้ ว่ ยทีไ่ ม่มโี รคทางระบบซับซ้อน จนส่งผลต่อภาวะติดเชือ้ และมีการติดเชือ้ ไม่รนุ แรงมากนัก ผูป้ ว่ ย พร้อมรับฟังค�ำอธิบายและให้ความร่วมมือในการรักษา ผูป้ ว่ ยราย ใดที่เหลือบ่ากว่าแรง ก็ควรส่งต่อไปพบทันตแพทย์ศัลย์ดีกว่า

วินิจฉัยการติดเชื้อใน vestibular space ให้ถูกต้อง

หากการติดเชื้อในฟันกรามน้อยหรือฟันกราม ทั้งบน และล่าง ลุกลามลงไปใต้ต่อจุดเกาะของกล้ามเนื้อ buccinator ก็จะกลายเป็น buccal space infection (รูปที่ 4.1, 4.2) ซึ่งอยู่ ในต�ำแหน่งใกล้เคียงกับ vestibular space แต่มีวิธีเจาะระบาย หนองที่แตกต่างกัน

รูปที่ 4.1 การติดเชื้อใน buccal space ร่องพับช่องปากอาจ บวม เล็กน้อย แต่แก้มด้านนอก จะบวมชัดเจน รูปที่ 4.2

การติดเชื้อใน vestibular space ที่มาจากฟันกรามล่าง อาจลุกลามไปไกลตามแนวขอบล่างของขากรรไกรล่าง (inferior border of mandible) เรียกว่า perimandibular space infection (รูปที่ 3.2) มีวิธีเจาะระบายหนองแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย

ก่อนลงมือรักษาต้องวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง vestibular space เป็นช่องว่างใต้เยื่อหุ้มผิวกระดูกบริเวณร่องพับช่องปาก (vestibule) อยู่ด้านบนหรือด้านล่าง ด้านหน้าหรือด้านหลัง ของ ช่องปากก็ได้ แล้วแต่ว่าฟันซี่ใดเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ การติดเชือ้ ในฟันหลังมักเริม่ จากรอบๆ ตัวฟัน เช่น ฟันที่ เป็นโรคปริทนั ต์ หรือฟันทีผ่ จุ นเหลือแต่ราก จากนัน้ จะลุกลามออก มาทางด้านกระพุ้งแก้ม มาอยู่ใต้ต่อเยื่อหุ้มผิวกระดูกบริเวณร่อง รูปที่ 3.2 พับช่องปาก กลายเป็น vestibular space infection (รูปที่ 3.1, 3.2) การติดเชือ้ ใน vestibular space ทีม่ สี าเหตุจากฟันกราม น้อยบนหรือฟันน�ำ้ นมบน มีอาการแสดงคล้ายคลึงกับการติดเชือ้ ใน canine space จากฟันเขีย้ ว แต่การติดเชือ้ ใน canine space จะลุกลามขึ้นไปสูงกว่า โดยอาจลุกลามสูงไปถึงหัวตาด้านนัน้ ๆ (รูปที่ 5.1, 5.2) แต่วธิ เี จาะระบายหนองมีความคล้ายคลึงกัน

รูปที่ 3.1 การติดเชื้อใน vestibular space ร่องพับช่องปากจะบวมชัดเจน โดย space อยู่ใต้เนื้อเยื่ออ่อนติดกับผิวกระดูกขากรรไกรล่าง ส่วน perimandibular space จะอยู่ลึกถัดลงไปถึงขอบล่างของขากรรไกรล่าง รูปที่ 5.1 การติดเชื้อใน canine space ร่องพับ รูปที่ 5.2 ช่องปากบนจะบวมน้อยกว่า vestibular space แต่ภายนอกอาจบวมถึงหัวตา

56 THAI DENTAL MAGAZINE


กว่ามาก เพียงถอดท่อระบายหนองออก แล้วฉีดล้างเข้าไปในช่อง ทีม่ ีการติดเชื้อ หรือหากการติดเชื้อยังไม่หายดีเมื่อผ่านไป 2-3 วัน ก็สามารถเปลี่ยนท่อระบายหนองชิ้นใหม่ได้ กรณีระบายหนองจาก lower vestibular space ให้ลงมีด บนผิวเนือ้ เยือ่ อ่อนทีบ่ วม โดยเฉียงใบมีดเข้าด้านใกล้กลาง เพือ่ ช่วย ให้สามารถแหวกเข้าสู่บริเวณที่มีหนองได้ง่ายขึ้น และลดความ เสี่ยงที่จะไปบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อและเส้นเลือด buccal (รูปที่ 7) หลังจากนั้นอาจใช้เครื่องมือ curette ดันน�ำเข้าไปใน space ก่อน จนเครื่องมือสัมผัสผิวกระดูกขากรรไกร แล้วจึงเปลี่ยนมา ใช้ artery forceps แหวกตามเข้าไปใน space นั้นๆ จะช่วยให้ หนองระบายออกมาได้งา่ ย (รูปที่ 8) หมอมือใหม่มกั กล้าๆ กลัว ๆ ท�ำให้สอดเครื่องมือเข้าไปไม่ถึงผิวกระดูกขากรรไกร จึงเข้าไปไม่ ถึง vestibular space ผู้ป่วยจึงอาจมีการติดเชื้อลุกลามต่อไปได้

ฉีดยาชาให้มป ี ระสิทธิภาพมากทีส ่ ด ุ

เนือ้ เยื่อทีม่ กี ารอักเสบ มีหนองอยูด่ ้านใต้ จะมีสภาวะเป็น กรด เมื่อฉีดยาชาเฉพาะที่ ซึ่งมีสภาวะเป็นกลางหรือด่างอ่อนๆ เข้าไป จะท�ำให้ผู้ป่วยชาได้ไม่เต็มที่ เราควรเลือกใช้ยาชาชนิดทีผ่ สมสารบีบหลอดเลือด (vasoconstrictor) และก่อนฉีดยาชาเฉพาะที่ เราควรให้ผปู้ ว่ ยบ้วนปาก ให้สะอาด อาจเลือกใช้น�้ำยา chlorhexidine gluconate 0.12% เพื่อช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในช่องปาก การฉีดยาชา ให้ฉดี ในบริเวณเนือ้ เยือ่ อ่อนทีม่ กี ารบวม โดย ฉีดลึกเป็นชัน้ ๆ ลงไป ไม่ปกั เข็มตรงลงไปใน space ทีม่ หี นอง เริม่ โดยสอดเข็มฉีดยาให้ขนานกับเนือ้ เยือ่ แล้วเดินยา เมือ่ ผิวด้านบน ของเนื้อเยื่ออ่อนเริ่มชาบ้างแล้ว จึงสอดเข็มฉีดยาให้ลึกลงไปอีก ชัน้ แล้วเดินยาเพิม่ ควรฉีดยาชาเป็นบริเวณกว้างๆ รอบๆ บริเวณ รูปที่ 6 การฉีดยาชา ให้ฉีดบริเวณ เนื้อเยื่ออ่อนที่มีการบวม โดย สอดเข็มฉีดยาให้ขนานกับเนื้อเยื่อ ไม่ปักเข็มตรงลงไปใน space ที่มีหนอง

ที่บวม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บน้อยลง (รูปที่ 6) ควรจ�ำไว้ให้ขึ้นใจว่า ผู้ป่วยต้องไม่เจ็บจากการกรีดมีด ลงบนเนื้อเยื่ออ่อน แต่อาจจะเจ็บได้บ้าง ตอนใช้เครื่องมือแหวก เข้าไปในช่องว่างเพือ่ ระบายหนอง ซึง่ หากท�ำได้เร็ว และผูป้ ว่ ยให้ ความร่วมมือดี ก็มักไม่มีปัญหา ก่อนเขียนบทความนี้ ได้เคยโทรศัพท์ไปสอบถามรุน่ น้องที่ เป็นอาจารย์ศลั ย์ ทีม่ ปี ระสบการณ์การรักษาผูป้ ว่ ยในโรงพยาบาล เอกชน อาจารย์เล่าว่า ผูป้ ว่ ยมักทนความเจ็บปวดได้นอ้ ย แต่หาก พูดอธิบายให้ผปู้ ว่ ยเข้าใจ ผูป้ ว่ ยก็พร้อมให้ความร่วมมือ สามารถ รักษาภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่ได้

รูปที่ 7 การลงมีดเพื่อเจาะระบายหนองใน vestibular space ให้เฉียง ใบมีดเข้าด้านใกล้กลาง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่จะไปบาดเจ็บต่อกล้าม เนื้อและเส้นเลือดข้างเคียง รูปที่ 8 การระบายหนองจาก lower vestibular space ให้ใช้เครื่องมือ curette ดันน�ำเข้าไปใน space ก่อน จนสัมผัสผิว กระดูกขากรรไกร แล้วเปลี่ยนมาใช้ artery forceps แหวกตามเข้าไปใน

กรณีระบายหนองจาก perimandibular space มีวิธีการ แตกต่างจาก vestibular space เล็กน้อย โดยต้องดันเครื่องมือ curette หรือ artery forceps ให้ลกึ ลงไปถึงขอบล่างของขากรรไกร ล่าง แล้วแหวกไปทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เนื่องจาก perimandibular space มักมีการติดเชื้อที่ลุกลามกว้างกว่า vestibular space (รูปที่ 9)

ลงมือเจาะระบายหนอง

น้องๆ ทันตแพทย์ทั่วไปมักตัง้ ค�ำถามว่า “จะระบายหนอง ผ่านทางขอบเหงือก ของฟันที่เราถอนออกได้หรือไม่” ค�ำตอบคง ต้องบอกว่า ถ้าการติดเชื้อเป็นเพียงฝีรอบปลายรากฟัน การวาง ท่อระบายหนองผ่านทางขอบเหงือกลงไป ก็น่าจะท�ำได้ แต่หากเป็นการติดเชื้อใน vestibular space การเจาะ ระบายหนองจากเนือ้ เยือ่ อ่อนบริเวณร่องพับช่องปากทีม่ กี ารบวม จะช่วยให้เครือ่ งมือแหวกเข้าไประบายหนองได้งา่ ยกว่า แผลถอน ฟันหายได้รวดเร็วกว่า เนือ่ งจากไม่มที อ่ ระบายหนองไปขวางการ ประกบชิดของแผลถอนฟัน การล้างแผลในวันถัดไปก็ท�ำได้ง่าย

รูปที่ 9 การระบายหนองจาก perimandibular space ให้ดันเครื่องมือ curette หรือ artery forceps ให้ลึกลงไป ถึงขอบล่างของขากรรไกรล่าง

57


ติดตามผู้ป่วยหลังการรักษา

หลังจากระบายหนองแล้ว ให้ใช้ syringe และ เข็มเบอร์ 18 ตัดปลายไม่ให้คม ฉีดล้างภายใน space ด้วยน�้ำเกลือ การ ล้างแผลในช่องแคบๆ ควรฉีดล้างเป็นจังหวะๆ (stroke irrigation) เพื่อช่วยให้หนองถูกชะล้างออกมาได้เป็นระยะๆ จากนั้นจึงน�ำท่อระบายหนองชนิด penrose ขนาดเล็กๆ กว้างประมาณ 1 ซม. มาวาง แล้วเย็บท่อระบายหนองเข้ากับผิว เนือ้ เยือ่ อ่อนเพียงด้านเดียว ไม่ควรเย็บทัง้ สองด้าน เพราะจะท�ำให้ การระบายหนองและการล้างแผลในภายหลังยากขึ้น (รูปที่ 10) หากทันตแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาล พบว่าการติดเชื้อ ดูแปลกๆ หรือผูป้ ว่ ยมีโรคทางระบบร่วมด้วย ควรส่งหนองไปย้อม สีแกรมและเพาะเชือ้ ด้วย เพือ่ วิเคราะห์ชนิดของเชือ้ โรค และช่วย ในการตัดสินใจเปลี่ยนยาต้านจุลชีพ หากอาการของผู้ป่วยไม่ดี ขึ้นภายหลังการรักษา

รูปที่ 10 การวางท่อระบายหนอง ใช้ท่อชนิด penrose ขนาดเล็กๆ กว้างประมาณ 1 ซม. มาวาง แล้วเย็บท่อระบายหนองเข้ากับ ผิวเนื้อเยื่ออ่อนเพียงด้านเดียว

ถอนฟันที่เป็นสาเหตุเมื่อไหร่ดี

กรณีฟนั ซีน่ นั้ ยังสามารถเก็บไว้ได้ เช่น โดยการรักษาคลอง รากฟันและท�ำครอบฟัน เราก็อาจช่วยกรอเปิดช่องทางระบาย หนองทางตัวฟัน ร่วมกับการเจาะระบายหนองทาง space หากฟันซีน่ นั้ ๆ ไม่สามารถเก็บรักษาได้แล้ว ก็ควรถอนออก ให้เร็วที่สุด เพื่อช่วยให้สภาวะแวดล้อมกลับคืนสู่สภาพปกติ แต่ ทัง้ นีก้ ต็ อ้ งพิจารณาถึงความสามารถของหมอในการถอนฟันขณะ ที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย

อย่าปล่อยให้ผู้ป่วยหายไปเลย การรักษาการติดเชื้อจาก ฟัน อาจไม่ประสบความส�ำเร็จในครั้งเดียว ผู้ป่วยอาจมีอาการ ลุกลามรุนแรงขึ้น ด้วยสาเหตุหลายๆ อย่าง เช่น การเจาะระบาย หนองไม่เพียงพอ ต้นเหตุของการติดเชื้อยังคงอยู่ในปาก เชื้อโรค เป็นชนิดรุนแรงต้องการยาทีจ่ ำ� เพาะขึน้ ผูป้ ว่ ยไม่ดแู ลความสะอาด ในช่องปาก ฯลฯ ดังนัน้ ควรนัดผูป้ ว่ ยกลับมาติดตามอาการในวัน รุง่ ขึน้ หรือโทรศัพท์ไปสอบถามอาการของผูป้ ว่ ย หากคุน้ เคยแล้ว นัดผู้ป่วยสัก 2 วันหลังการรักษา ภายหลังถอดท่อระบายหนองออกแล้ว ควรติดตามผลการ รักษาอีก 1-2 ครั้ง เนื่องจากหากปากแผลปิดไปแล้ว แต่ภายใน space ยังมีหนองหลงเหลืออยู่ อาจท�ำให้เกิดการติดเชื้อลุกลาม ต่อไปได้ เมือ่ เรารักษาผูป้ ว่ ยเหล่านีไ้ ปหลายๆ ราย ก็จะเกิดความ ช�ำนาญ สามารถคาดการณ์ได้วา่ ผูป้ ว่ ยรายใดต้องรีบนัดกลับมา ดูอาการ

รักษาอย่างไรให้คงความเป็นมิตร จากผู้ป่วย

การรักษาการติดเชื้อจากฟัน เป็นงานที่ไม่สร้างรายได้ มากมายให้แก่ผู้รักษา แต่การที่ทันตแพทย์พัฒนาตนเอง ให้ สามารถรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ได้ ท่านย่อมบังเกิดความภาคภูมิใจ ที่มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยหายจากความเจ็บปวด มีความรู้สึกเป็น หมอแขนงหนึ่งอย่างแท้จริง สิ่งเหล่านี้อาจช่วยให้ท่านอิ่มเอมใจ มากกว่าการแสวงหาอาหารราคาแพงมารับประทาน ถึงแม้วา่ ท่านตัง้ ใจรักษาผูป้ ว่ ยอย่างเต็มทีแ่ ล้ว ผลการรักษา ก็อาจไม่ประสบความส�ำเร็จดังใจหวัง อาจมีปัญหาแทรกซ้อน ต่างๆ ตามมาบ้าง ตามเหตุผลที่ได้กล่าวไปแล้ว จนอาจต้องส่ง ต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาจากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดังนัน้ การสร้างความสัมพันธ์ทดี่ กี บั ผูป้ ว่ ยตัง้ แต่กอ่ นการ รักษา การให้ค�ำอธิบายต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาแทรกซ้อนที่อาจ เกิดขึน้ การสร้างระบบการส่งต่อทีด่ ี และการนัดติดตามเป็นระยะ จะช่วยให้ผ้ปู ่วยรู้สกึ เป็นมิตร และยอมรับผลการรักษาได้ดยี งิ่ ขึ้น ทันตแพทย์เองก็มีโอกาสพัฒนาความสามารถในการรักษาให้ดี ขึ้นตาม ขอให้นอ้ งๆ ทันตแพทย์ทพ ี่ ร้อมจะให้การรักษาผูป้ ว่ ย เหล่านี้ประสบโชคดี

58 THAI DENTAL MAGAZINE


เกาะกระแส

เรื่อง ดร.ทพ.อดินันท์ พรหมพันธ์ใจ

จะท�ำอย่างไร หากหมอ โดนโพสต์

ในสื่อออนไลน์ 60 THAI DENTAL MAGAZINE


มีค�ำกล่าวว่าสื่อออนไลน์ ร้ายยิ่งกว่าอาวุธสงคราม เพราะแพร่สะพัดไปได้ง่าย มีประสิทธิภาพสูง สามารถทะลุ ทะลวงไปได้ในทุกที่ที่มีอินเตอร์เนต ส่วนอ�ำนาจการท�ำลายล้างก็ขึ้นอยู่ กับเนื้อหาสาระหรือเรื่องราวที่ส่ง ออกไปดังที่ปรากฎตัวอย่างคดีดัง จากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.สกลนคร “มึงไปดูเมียกูเดี๋ยวนี้ ...กูต่อยมึงจริงๆ นะ ... อ้พวกหมอสมองหมา” หรือจากอีกโรงพยาบาลหนึ่งใน จ.เพชรบุรี “ต้องรอให้ตายเหมือนน้องคนนัน้ ก่อนใช่ไหม” แม้แต่ในโรงพยาบาลเอกชนอีกแห่งหนึง่ ในกรุงเทพมหานคร “ผมและครอบครัวมีความเคารพคุณหมอครับ แต่ความสูญเสียที่ ครอบครัวเราได้รบั คุณหมอต้องรับผิดชอบ” ใครๆ ทีเ่ ป็นหมอ พอ รับทราบข่าวเหล่านีก้ ไ็ ด้แต่นกึ ภาวนาว่าขอตนเองอย่าได้พบอย่า ได้เจอกับเรื่องแบบนี้เลย น่าประหลาดใจที่บางคนโพสต์ กดไลค์หรือแชร์ บางครั้ง ยังไม่รู้เลยด้วยซ�้ำว่ารายละเอียดเรี่องราวเป็นยังไง บางเรื่องก็ เป็นแค่ความเห็นของคนโพสต์ เรื่องของแปลกๆ สร้างข่าวเรียก ยอดวิว หรือไม่ก็ขายของท�ำให้เกิดความเข้าใจผิดในด้านการ รักษาพยาบาล รวมทั้งเรื่องที่เราเจอกันบ่อยๆ คือ ความประทับ ใจหรือไม่พึงพอใจบริการที่ได้รับ แล้วน�ำมาโพสต์จนกลายเป็น กระแสดราม่าด่ากันในโลกออนไลน์ เพราะฉะนัน้ เราต้องคิดก่อนเขียนและโพสท์อะไรลงไป รวม ทั้งต้องคิดต่อด้วยว่าถ้ามีคนโพสต์เรื่องที่เกี่ยวกับเราแล้วจะท�ำ อย่างไร เพราะคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาใช้พื้นที่ในสื่อสังคมออนไลน์ มักจะเป็นเครือข่าย (network) ทีม่ ีความชอบคล้ายคลึงกันหรือมี ความสัมพันธ์เกีย่ วข้องกันอย่างใดอย่างหนึง่ เวลาแสดงความคิด ความเห็นก็มักจะไปในทางเดียวกัน พูดง่ายๆ ว่าถ้าเปิดประเด็น ด้วยการด่าก็จะด่าและดราม่าผสมโรงกันไป ผสมไปกับอารมณ์ ที่เจือด้วยความโกรธและความเกลียดชัง เราก็อย่าได้หวังเลยว่า จะมีการเล่าถึงเรื่องราวจริงๆ หรือมีหลักฐานทางการแพทย์มา ยืนยัน ส่วนภาพหรือเรื่องราวที่มาน�ำเสนอก็มักจะท�ำให้หมอเสีย หายหรือไม่ก็เล่าแบบบิดเบือนข้อมูล บางทีก็จะมีค�ำหยาบคาย 61

หรือเนือ้ ความทีร่ นุ แรงด้วย ซึง่ พีๆ่ นักข่าวทุกวันนีก้ ห็ าเรือ่ งจากสือ่ ออนไลน์นี่แหละมาขยายความต่อให้เป็นข่าวในพื้นที่สื่อมวลชน ถ้าตัวเราเองหรือพรรคพวกเพื่อนฝูงของเราบังเอิญเจอ แจ็คพอตกลายเป็นข่าวบนสื่อออนไลน์ก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจไป ต้องจ�ำไว้เสมอว่าอย่าไปโต้เถียงโดยเด็ดขาด เพราะมันจะเหมือน กับตะโกนลงไปในโอ่งเปล่าที่มีแต่เสียงก้องสะท้อนไปมา ท�ำให้ ข่าวนัน้ อาจจะดังและลุกลามบานปลายออกไปได้ ขอให้เราใช้สติ ในการสือ่ สารและรีบท�ำความเข้าใจกับต้นตอของเรือ่ งด้วยความ รวดเร็ว เหมือนการดับไฟทีโ่ หมไหม้อยูใ่ ห้ดบั และหยุดลุกลามเสีย ก่อน ส่วนควันจะยังเหลือให้คนเห็นบ้าง เดี๋ยวมันก็จะค่อยๆ จาง ไปเอง

ท�ำยังไงไม่ให้มีเรื่องไปโพสต์ การป้องกันที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายก็คืออย่า ให้มีรูปภาพ คลิปเสียง หรือวิดีโอใดๆ เกิดขึ้นได้ โดยน�ำเอาหลัก จริยธรรมทัว่ ไปของผูใ้ ห้บริการด้านสุขภาพมาประยุกต์ใช้ ซึง่ หลัก การนีไ้ ด้กล่าวไว้วา่ ประการแรกต้องป้องกันอันตรายต่อผูอ้ นื่ โดย ต้องไม่ทำ� การละเมิดสิทธิผปู้ ว่ ย หรือการกระท�ำใดๆ ในการใช้สอื่ สังคมออนไลน์ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ ทรัพย์สิน หรือชื่อเสียงของผู้ใดก็ตามและประการที่สอง มุ่งประโยชน์ของ ผู้ป่วยเป็นส�ำคัญ โดยการใช้สื่อออนไลน์ต้องไม่กระทบกระเทือน หรือเป็นอุปสรรคต่อการให้บริการสุขภาพแก่ผปู้ ว่ ย และมุง่ ทีจ่ ะให้ ความรูแ้ ละท�ำความเข้าใจแก่สงั คมเป็นส�ำคัญซึง่ หลักการทีก่ ล่าว มาพอจะน�ำมาใช้เป็นแนวทางป้องกันได้ ดังนี้


เพื่อป้องกันคนที่เอารูปไปโพสต์จะมีความผิดตาม กฎหมาย ควรจะก�ำหนดพืน้ ทีแ่ ละช่วงเวลาทีห่ า้ มถ่ายภาพบันทึก เสียง หรือวิดีโอ เช่น ในห้องท�ำฟันขณะท�ำหัตถการ โดยเฉพาะ หากปรากฏตัวผู้ป่วยหรือข้อมูลของผู้ป่วยอยู่ในภาพหรือเนื้อหา ที่บันทึกไว้ ไม่ว่าจะรู้หรือไม่ก็ตามว่าคนในภาพเป็นใคร ซึ่งทั้ง ภาพหรือเสียงอาจจะมีความไม่เหมาะสม เช่น รุนแรง หวาดเสียว อุจาด ลามก อนาจาร เข้าข่ายการโฆษณา หรือภาพที่อาจท�ำให้ เข้าใจได้ว่าเหยียดหยามหรือดูหมิ่นคนบางกลุ่ม ซึ่งใครก็ตามที่ เกิดความเสียหายจากภาพหรือเสียงนัน้ สามารถด�ำเนินคดีกบั ผูท้ ี่ น�ำภาพหรือเสียงเหล่านัน้ ไปเผยแพร่ให้รบั ผิดทางกฎหมายอย่าง หลีกเลีย่ งไม่ได้โดยเฉพาะการหมิน่ ประมาท การกระท�ำความผิด เกีย่ วกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายคุม้ ครองเด็ก และกฎหมายทีเ่ กีย่ ว กับทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น แม้ว่าผู้ที่ปรากฏในภาพจะเป็น ญาติพนี่ อ้ งหรือลูกหลานเราก็ตามถ้าอยากถ่ายกันจริงๆ ก็ขอร้อง ให้ถา่ ยตอนทีท่ ำ� ทุกอย่างเสร็จแล้ว คุณหมอและผูป้ ว่ ยอยูใ่ นสภาพ ที่พร้อมที่จะถ่ายรูปเป็นที่ระลึกร่วมกันในบริเวณที่เหมาะสม บริเวณคลินิกท�ำฟันหรือสถานพยาบาลควรท�ำป้าย แสดงทีแ่ จ้งเตือนการเผยแพร่ภาพหรือสือ่ ชนิดใดๆ ในสือ่ ออนไลน์ หรือสื่อประเภทใดๆ ทางคอมพิวเตอร์ หากไม่ได้รับอนุญาตจาก สถานพยาบาลหรือคนที่ปรากฏในภาพหรือเสียงนั้น ใครก็ตาม น�ำเอาไปเผยแพร่ดว้ ยการโฆษณา ไม่วา่ จะเป็นเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรทีท่ ำ� ให้ปรากฏด้วยวิธี

ใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระท�ำโดยการกระจายเสียงหรือการกระจายภาพ หรือท�ำการ ป่าวประกาศด้วยวิธีอื่นๆ ผู้กระท�ำอาจจะต้องระวางโทษ จ�ำคุก ไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท สถานพยาบาลขนาดใหญ่ควรมีหน่วยงานไอทีหรือผู้ รับผิดชอบโดยตรงเพือ่ แก้ไขปัญหาทางสือ่ ออนไลน์โดยเฉพาะ ซึง่ หากพบว่ามีการให้ขอ้ มูลทีผ่ ดิ พลาดคลาดเคลือ่ น หรือมีขอ้ ความ ที่ท�ำให้เสียหายต้องรีบสื่อสารท�ำความเข้าใจแก่สังคมโดยทันที และท�ำการระงับเหตุก่อนที่จะกลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกัน โดยปราศจากความรู้และข้อเท็จจริงในวงกว้าง คลินกิ หรือทันตแพทย์ควรแจ้งช่องทางการติดต่อสือ่ สาร โดยตรงกับผู้ป่วยที่รวดเร็วและชัดเจน อย่าปล่อยให้ปัญหาหรือ เรื่องที่ค้างคาใจระหว่างกันไปปรากฏทางสื่อออนไลน์ และอยากเสนอแนะให้กระทรวงสาธารณสุขท�ำงาน เชิงรุก ด้วยการให้ข้อมูลแก่ประชาชนในกรณีการเผยแพร่ภาพ ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง ไม่ว่าจะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมด หากการเผยแพร่เหล่านั้นก่อให้เกิดความเสียหายไม่ว่าทางหนึ่ง ทางใดแก่สถานพยาบาลหรือใครก็ตาม ผู้เผยแพร่ทุกคนต้องรับ ผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดีกว่ามาแก้ปัญหาหลังเกิดเหตุ

62 THAI DENTAL MAGAZINE


ถ้าเจอโพสต์เกี่ยวกับเรา...เอาไงดีหากเป็นคราว เคราะห์เห็นเรื่องเสียหายของตัวเองหรือหน่วยงานปรากฎ บนสื่อออนไลน์ ก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจ หรือไปโพสต์ตอบโต้ ในทันทีให้แก้ปัญหาเป็นล�ำดับขั้น ดังนี้

หากเกิดความเสียหายจริง สถานพยาบาลหรือทันตแพทย์ ทีเ่ กีย่ วข้องควรพยายามหาทางชดใช้เยียวยาหรือแก้ไขความเสีย หายด้วยวิธีการที่มุ่งรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน โดยให้ ญาติและผู้เสียหายพอใจและเต็มใจ แต่ตัวคุณหมอเองก็ต้องไม่ เสียหายหรือเสียเปรียบมากนัก

เมื่อพบเรื่องต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามล�ำดับ ขัน้ ให้ทราบถึงเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ เพือ่ ให้ทราบ ร่วมรับรูเ้ หตุการณ์ และร่วมแก้ไขหรือบรรเทาความรุนแรงในเหตุการณ์ดงั กล่าวอย่าง รวดเร็ว หากเราไม่มีหัวหน้าก็ขอให้ตั้งสติให้ดีและปรึกษาคนที่มี ความรู้เรื่องกฎหมายที่เราไว้ใจ

ห้ามให้ข่าวใดๆ แก่สื่อมวลชน หากจ�ำเป็นต้องให้ข่าว ควรให้ข่าวเฉพาะข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหรือข้อมูลทางการแพทย์ ที่เปิดเผยได้ ระวังอย่าให้ข้อมูลผู้ป่วย (มีความผิดฐานเปิดเผย ความลับผู้ป่วย) อย่าเพิ่งให้แนวทางการแก้ไขปัญหาหรือข้อ เสนอใดๆ เพราะอาจสร้างปัญหาจากการเผยแพร่ขา่ ว โดยเฉพาะ การออกรายการประเภทสัมภาษณ์แบบที่เอาสองฝ่ายมาเผชิญ หน้ากัน เพราะจะยิ่งท�ำให้เกิดความขัดแย้งที่ลุกลามบานปลาย ได้ ถ้าจ�ำเป็นสถานพยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องควรจัดการแถลง ข่าวและเป็นหน้าที่ของผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงในการให้ข่าวอย่าง เป็นทางการเท่านั้น โดยหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและการโต้ตอบ กันผ่านสื่อมวลชน

ต้องชี้แจงและให้ข้อมูลโดยไม่ปิดบังอ�ำพรางแก่คนที่ เข้ามาช่วยเราแก้ไขปัญหานี้ รีบให้ข้อมูลที่ถูกต้องหรือท�ำความเข้าใจต่อสังคมใน ช่องทางต่างๆ โดยด่วนทีส่ ดุ แต่ตอ้ งไม่ใช้อารมณ์หรือตอบโต้โดย ปราศจากหลักฐานหรือข้อมูลทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้

พยายามติดต่อต้นตอทีท่ ำ� การเผยแพร่โดยเร็วทีส่ ดุ เพือ่ จากเหตุการณ์ทผี่ า่ นๆ มา จะเห็นได้วา่ การใช้สอื่ ออนไลน์ แก้ไขปัญหาทีเ่ กิดขึน้ และควบคุมไม่ให้เรือ่ งราวนัน้ ขยายวงกว้าง ส�ำหรับสังคมไทยเป็นปัญหาชุดใหม่ทตี่ อ้ งเรียนรูแ้ ละแก้ปญ ั หาไป ออกไปจนสื่อมวลชนน�ำไปขยายผลในทางการท�ำข่าวได้ ด้วยกัน ส�ำหรับคนท�ำงานบริการด้านสุขภาพเองก็ต้องระวังการ แพร่ภาพ เสียง หรือข้อความที่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยและกระทบ หากยังตกลงกันไม่ได้ในเบื้องต้นควรนัดหมายเจรจา ต่อจริยธรรมในวิชาชีพ อีกทั้งยังต้องเตรียมตัวรับมือกับปัญหา และในระหว่างที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ควรขอร้องให้ผู้เผยแพร่หยุด ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในสื่อออนไลน์ที่มีทั้งจริงและเท็จ มีทั้งที่เป็น การเผยแพร่หรือลบข้อความเหล่านั้นก่อน และควรแจ้งให้ผู้เผย คุณและให้โทษ เป็นประโยชน์และสร้างความเสื่อมเสียต่อสถาน แพร่ทราบถึงผลดีผลเสียและความผิดตามกฏหมายทีอ่ าจเกิดขึน้ พยาบาลและวงการวิชาชีพทันตแพทย์ โดยการป้องกันและแก้ไข ภายหลังได้ ปัญหานัน้ ต้องค�ำนึงถึงการไม่ละเมิดสิทธิผปู้ ว่ ยและมุง่ ประโยชน์ ของผูป้ ว่ ยเป็นส�ำคัญ ทันตแพทย์ในยุค 4.0 จึงต้องรูเ้ ท่าทันสังคม และเทคโนโลยีทเี่ ปลีย่ นไป ควรหาทางป้องกัน และมีวธิ กี ารแก้ไข ปัญหาที่ชัดเจนและรวดเร็ว

63


เกาะกระแส

เรื่อง อ.ดร.ทญ. มัทนา เกษตระทัต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทบาทของทันตแพทย์กับนโยบาย

Primary Care Cluster

ค�ำถาม: ทันตแพทย์ที่ได้รับ มอบหมายเป็นทันตแพทย์ประจ�ำ PCC รับผิดชอบประชากร 30,000 คน มีบทบาทหน้าที่อย่างไร ต่างจาก ก่อนมีนโยบายอย่างไร ค�ำถาม: จะเรียกทันตแพทย์คนนี้ ว่าทันตแพทย์ครอบครัว (Family Dentist) ตามนโยบาย “คลินก ิ หมอ ครอบครัว” หรือว่าเรียกว่าทันตแพทย์ ปฐมภูมิ (Primary Care Dentist) ตามการแปลตรงตัวของค�ำว่า PCC หรือไม่ต้องมีชื่ออะไรใหม่ ก่อนที่จะตอบค�ำถาม อยากตั้งข้อสังเกตว่า ส่วนหนึ่งของที่มา ความงุนงงนัน้ น่าจะมาจากการแปลค�ำว่า PCC เป็นภาษาไทย ด้วย เพราะเอกสารช่วงแรกที่นโยบายออกมาในปี พ.ศ.2559 นั้น PCC ถูกแปลตรงตัวว่า “การจัดกลุ่มหน่วยบริการสุขภาพ ปฐมภูมิ” ซึ่ง 1 Cluster ก็คือการรวมกลุ่มจัดกลุ่มของ หลายๆ Primary Care Units หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล (รพสต.) ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 เอกสารใหม่ๆ เริ่มแปล PCC ว่า “คลินิกหมอครอบครัว” แทน ตอนนี้เห็นเรียก 1 รพ.สต. ว่า เป็น 1 PCC หรือ 1 คลินิกหมอครอบครัวด้วย สับสนกันต่อว่า 1 PCC หรือ 1 cluster หรือ 1 unit กันแน่

เอาล่ะ มาเข้าเรื่องกันต่อค่ะ ถ้าจะตอบสองค�ำถามแรก ข้างต้นนั้น มี Concept ที่ต้องเคลียร์กันแต่แรกเลยคือ

1. เวชศาสตร์ครอบครัว

(Family Medicine) กับ เวชศาสตร์ ปฐมภูมิ (Primary Care) เหมือน หรือต่างกันอย่างไร Primary Care Physician = หมอ Family Medicine หรือไม่ ? ถ้าอ้างตาม American Academy of Family Physicians ซึ่งตอบได้ชัดเจนที่สุดเท่าที่หาได้ก็คือ Primary care provider อาจจะเป็น หมอ family med หรือ หมอ internal med หรือ หมอ pediatrician หรือ หมอ geriatrician ก็ได้ ที่ใช้หลักการดูแลตาม concept ของ primary care นั่นคือ 1. บริการด่านแรก 2. ดูแล ต่อเนือ่ ง 3. ดูแลผสมผสานทุกด้าน 4. ประสานงานเป็นทีม แต่วา่ หมอ fam med เป็นมากกว่า pediatrician หรือ geriatricianหรือ internal med หรือเรียกเทียบเคียงให้เห็นภาพคือ oral physician ก็เช่นกัน หมอ fam med เป็นมากกว่านั้น เพราะไม่ว่าหมอ pediatrician หรือ หมอ geriatrician จะใส่ใจครอบครัวของผู้ป่วยยังไง target หลักของการดูแลรักษาก็คือ เด็ก หรือไม่ก็ ผู้สูงอายุ อย่าง มากก็ดูเรื่อง caregiver burden เพิ่มขึน้ มา แต่หมอ fam med จะ เป็นหมอที่ดูแลทั้งครอบครัวและ ถ้าเทียบกับ internal med แล้ว หมอ fam med ใช้หลัก “working with family” มากขึน้ ไปอีกขัน้ มี “ความสัมพันธ์” อันดีมากๆ กับผูป้ ว่ ยและครอบครัว เป็น “หมอคน หนึ่งที่ดูรวมๆ” (comprehensive) ของผู้ป่วยและครอบครัวจริงๆ

64 THAI DENTAL MAGAZINE


แน่นอนว่าหมอเด็กหรือหมอผู้สูงอายุ ถ้าจะท�ำงานให้ ได้ประสบความส�ำเร็จจริงๆ ก็ต้องใช้หลักการ “working with family” มาด้วย ต้องมี doctor-patient relationship ที่ดีด้วย แต่ว่า ความรู้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยต่างวัยก็ท�ำให้ไม่สามารถ เป็นได้เท่ากับ family med physician แน่นอน ความเป็น “หมอ ดูรวมๆ คนหนึ่ง” (comprehensive) ก็ไม่มีทางเท่ากับหมอ fam med เมื่อมาดูบทบาทของหมอ internal med หรือ หมอฟัน มักจะเป็น primary care provider เสียส่วนใหญ่ หรือ ถ้าเป็นจะ เป็นมากกว่านัน้ ก็อยูท่ หี่ มอท่านนัน้ ว่าได้ทำ� งานโดยการน�ำศาสตร์ family med มาใช้หรือเปล่า

ศาสตร์ family med คืออะไร

keyword ของ family med ตาม College of Family Physician of Canada คือ 1. skilled clinician 2. community-based discipline 3. a resource to a defined practice population 4. The patient-doctor relationship is central to the role

2. Individual Approach - High

Risk Approach - Population Approach

คือพอใช้ค�ำว่า family med หรือ family dent แล้วเนี่ย ถ้าดูรากมันคือความเป็น “therapist” นะ คือเป็น “clinician” ถึง แม้จะมองจาก individual ไป family ไป community แต่มันก็ มองเพือ่ ทีจ่ ะดูแลผูป้ ว่ ยแบบ individual person หรือ individual family ทีอ่ าศัยและมีวถิ ชี วี ติ ตามชุมชนทีเ่ ค้าอยู่ มันต้อง tailor ต้อง ตัดเสื้อให้พอดีตาม risk factors ตามบริบทแต่ละคนแต่ละบ้าน นอกจากท�ำงาน cure แล้วก็ยัง care งาน disease prevention กับ health promotion ด้วย แต่ก็เป็นการท�ำงาน prevention & promotion แบบ individual approach เป็นหลัก นั่นคือทั้ง screening ทั้ง prevention ทั้ง empower ผู้ป่วยและครอบครัว ให้เพิ่มทักษะในการดูแลตนเอง

แต่ก็มักจะยังไม่ใช่การท�ำงานแบบ population approach ที่ ท�ำเป็นโครงการหรือขับเคลื่อนกับกลุ่มประชากรเป้าหมาย “ทั้ง กลุ่ม” ที่ท�ำๆ กันมาในแวดวงทันตะฯ ก็คือท�ำตาม setting เช่น โรงเรียนประถม ศพด. หรือ ชมรมผู้สูงอายุ ท�ำตาม Ottawa Charter หรือ Bangkok Charter ทีท่ นั ตแพทย์เป็นผูช้ นี้ ำ� เป็นคุณ เอือ้ และ เชือ่ มประสาน (เป็นโครงการทีล่ งทัง้ entire population หมอฟันที่อยู่ใน Primary Care Cluster จะเป็น family group ลด health inequities ไม่เลือกท�ำเฉพาะกลุ่ม high risk dentist หรือเป็น primary care dentist ก็อยู่ตรงนี้นี่เอง ถ้าหมอ ของ population นั้น) เป็นได้สุดทางก็คือเป็น family dentist แต่ถ้ารองลงมาก็เป็น primary care dentist คือเป็นด่านหน้า เป็นเจ้าของไข้ คอยดูแล กล่าวอีกแบบก็คือ ทันตแพทย์มีหน้าที่ 2 มุมคือเป็น therapist/ ประสานงานให้ครบด้าน ส่งต่อผู้ป่วยและรับกลับมาดูแล phase clinican ที่ท�ำงาน Individual approach แล้วก็เป็น oral health maintainance อาจจะอยู่แต่ที่คลินิก OPD ก็เป็น primary care promotor ที่ท�ำงาน population approach ด้วย ท�ำทั้ง 2 doctor ได้นะ แต่อาจจะไม่ได้ “working with family” ไม่ได้ อย่าง อาจจะเรียกว่า เป็นทั้ง primary care dentist นี่ถ้าท�ำให้ ตามไปดูถึงบ้านหรือคุยนานๆเพื่อท�ำความเข้าใจ dynamic ของ สุดยอดก็คือเป็น family dentist กับเป็น public health dentist ครอบครัวและชุมชนนัน้ ๆ ไม่ได้ทำ� ความเข้าใจปัจจัยทางสังคมสิง่ ที่ท�ำโครงการเพื่อ population health ด้วย แวดล้อมของผูป้ ว่ ยและครอบครัว ถ้าท�ำส่วนหลังนีไ่ ด้จริงๆ ถ้าเป็น resource person เป็นตัวเป็นตนของชุมชนจริงๆ ก็น่าจะเรียกว่า family dentist ที่ท�ำตามหลัก family medicine ได้อย่างเต็มปาก แต่ถ้าไม่ได้ท�ำขนาดนั้นก็ไม่ต้องเรียกชื่อ family dentist ก็ได้ แค่ เป็น primary care dentist ก็มีประโยชน์มากๆๆๆๆ แล้ว เพราะ ในปัจจุบันนี่รักษา chief complaint แล้วก็จบไป หายจากกัน ไม่ได้ดูแลต่อเนื่อง ไม่ได้รู้จักกันเท่าไร่

65


สรุปค�ำตอบ

บทบาทของทันตแพทย์ระดับอ�ำเภอที่ท�ำงาน ภาครัฐว่า ... นโยบายจะมายังไง ใช้ชื่ออะไร ไม่เป็นไร เราเข้าใจของเราว่า หมอฟันของรัฐ ที่สังกัดสธ. มีบทบาท 2 ส่วน คือ

1. ควรเป็น therapist/clinician ด้วย แบบจะ

family dentist หรือจะ primary care dentist ก็ตามแต่ แล้วแต่หมอฟันคนที่ได้รับมอบหมายจะ ท�ำได้ตามจริง ขอให้ใช้หลัก person-centred ดู individual และ family ที่อาศัยอยู่ภายใต้ปัจจัย ของชุมชนที่เค้าอยู่ บริการด่านแรก ดูแลต่อเนื่อง ดูแลผสมผสานทุกด้าน ประสานงานเป็นทีม “ดูรวมๆ ทุกเรื่อง” และ

2. ต้องเป็น public health dentist ที่ใช้

population approach ในการท�ำโครงการตาม กลุ่มประชากรเป้าหมายที่มักก�ำหนดเป็น setting ท�ำงาน health promotion ตาม Ottawa หรือ Bangkok Charter ด้วย ไม่ใช่ แค่ดูแลรักษาคนไข้เป็นคนๆ หรือเป็นครอบครัว อย่างองค์รวมเท่านั้น แต่ advocate mediate enable ให้ครบทั้งกลุ่มประชากรเพื่อลดความ เหลื่อมล�้ำ ความไม่เป็นธรรม จัดการกับ social determinants ด้วย จะเป็นทั้ง 2 บทบาทในคนคนเดียวหรือไม่ ไม่เป็นไร แต่รวมๆ แล้วใน 1 พื้นที่ อย่างน่้อยใน 1 อ�ำเภอ ต้องมีจ�ำนวนทพ.ที่ท�ำครบทั้ง 2 บทบาท ถ้ารพช.ไหนมีหมอฟันคนเดียวก็คงหนีไม่พ้น การท�ำงานของหมอฟันกับทันตาภิบาลและ สหวิชาชีพอื่นๆ อย่างราบรื่นและเป็นมิตรต่อกัน ถึงส�ำคัญมากๆ นอกจากนีก ้ ารท�ำงานกับภาคสังคม กับองค์การ บริหารส่วนต�ำบลและหน่วยงานมหาดไทย ส่วนอ�ำเภอก็เป็นอีกบทบาทส�ำคัญเพือ ่ ให้เป็นหมอ ประจ�ำ PCC ทีท ่ ำ� หน้าทีไ่ ด้ครบถ้วน 66 THAI DENTAL MAGAZINE

ปล.1

ต่อยอดประเด็นที่ส�ำคัญมากคือ เนื่องจาก โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไปแล้ว น่าจะถึง เวลาพิจารณาปลดล็อคพ.ร.บ.ให้ทันตแพทย์ เอกชนดูแลรักษานอกสถานพยาบาลได้แล้ว หมอฟันเอกชนต่างประเทศ ก็เป็น family dentist ได้ เป็น primary care dentist ได้ แต่ ในเมืองไทยพ.ร.บ.สถานพยาบาลไม่ให้หมอ ฟันเอกชน home visit หรือมี domiciallary service

ปล.2

home visit เป็นเครื่องมือให้หมอเข้าใจผู้ป่วย มากขึ้น เป็นการไปท�ำความเข้าใจวิถีของเขา จ�ำเป็นมากๆในการจะดูแลผูป้ ว่ ยให้สำ� เร็จตาม แนวทาง family medicine ส่วน domiciallary service ที่ไปตรวจช่องปากหรือไปท�ำหัตถการ ให้บริการที่บ้านนั้น อันนั้นเป็นส่วนรองนะ ให้ดู ตามความเหมาะสม ความจ�ำเป็น และไม่ได้เป็น keyword ที่จะท�ำให้หมอฟันคนหนึ่งกลายเป็น primary care dentist หรือ family dentist ได้ การเปลี่ยนสถานที่เจอคนไข้จากในรพ. ไปเป็น ทีร่ พ.สต. หรือแม้แต่ไปเจอคนไข้ทบี่ า้ น ถ้าหมอ ท�ำตัวเหมือนเดิม มองคนไข้เหมือนเดิม แต่เปลีย่ น สถานที่ ไม่ได้ดแู ลต่อเนือ่ ง ไม่ได้ทำ� ความเข้าใจ เขาได้มากขึ้น มันก็ช่วยแค่ลดค่าเดินทางคนไข้ จบ ก็เหมือนกับการมาออกหน่วยแล้วหายไป

ปล. 3

เผลอๆ ทันตาภิบาลนี่แหละคือ ด่านแรกตัว จริง ส่วนจะให้ทันตาภิบาลเป็น therapist มาก น้อยแค่ไหน ท�ำ clinical prevention หรือให้ทำ� โครงการเชิง population health มากน้อยแค่ ไหน แบ่งบทบาทหน้าที่กับทันตแพทย์อย่างไร อันนี้ .... ขอไม่ออกความเห็นในบทความนี้นะ คะ มีกลุ่มคนที่ท�ำงานเรื่องนี้อีกหลายกลุ่มอยู่ แล้ว คิดไปคิดมา หรือหมอฟันครอบครัว คือ family dental nurse = ทันตาภิบาลนี่แหละ ยกเว้นซะว่าจะให้ทันตาภิบาลไปรับบทบาท public health officer เฉยๆ แล้วให้ทันตแพทย์ ลงมาใกล้ชิดระดับต�ำบลได้จริงๆ


คดีสภา

เรื่อง ทพ.จีรศักดิ์ ทิพย์สุนทรชัย

“ท�ำไมหมอคิดผมตั้ง

นายชอบ รักษาฟัน เป็นหนุ่มใหญ่วัยกลางคน ร้องเรียนว่าได้ไป ขูดหินปูนที่คลินิกฟันสวยโดยมีคุณหมอคมข�ำเป็นผู้ท�ำการตรวจ วินิจฉัย นายชอบเห็นสติกเกอร์แสดงราคาค่าบริการทันตกรรม หน้าคลินิกว่า “ราคาเริ่มต้นที่...........ขูดหินปูน 500 บาท” ฯลฯ นายชอบอ้างว่าในระหว่างการตรวจช่องปากนั้น คุณหมอคมข�ำ มิได้แจ้งราคาก่อนแต่กลับแจ้งราคาขณะที่เริ่มใช้เครื่องมือขูด

หินปูนว่า ผู้ป่วยมีหินปูนมากขอคิดค่าบริการ 700-800 บาท ซึ่ง ขณะนั้นเขาอยู่ในลักษณะอ้าปากมีผ้าคลุมหน้าเว้นบริเวณช่อง ปากและมีเครื่องมือขูดหินปูนอยู่ ไม่สามารถปฏิเสธการรักษา หรือทักท้วงการก�ำหนดราคาที่สูงขึ้นได้ อีกทั้งนายชอบยังร้อง เรียนเพิ่มเติมอีกว่า ในระหว่างการรักษา คุณหมอคมข�ำได้ใช้ น�้ำเสียงที่แสดงออกอย่างไม่พอใจและมีการถอนหายใจในช่วง

68 THAI DENTAL MAGAZINE


ที่นายชอบมิได้ปฏิบัติตามค�ำสั่งระหว่างการรักษาตลอดเวลา รวมทั้งยังแสดงสีหน้าไม่พอใจอีกด้วย หลังขูดหินปูนเสร็จได้คิด ค่ารักษา 800 บาท นายชอบจึงได้สอบถามพนักงานเก็บเงินของ คลินกิ ว่าเหตุใดหมอคมข�ำจึงคิดราคาค่าขูดหินปูนสูงถึง 800 บาท ทัง้ ทีท่ างคลินกิ ได้ก�ำหนดราคาไว้ชัดเจนว่า 500 บาท และตนเอง ก็เคยขูดกับหมอคนอื่นที่คลินิกแห่งนี้เขาก็คิดเพียง 500 บาท ซึ่ง พนักงานแจ้งว่าราคา 500 บาท ต้องรับบริการจากเจ้าของคลินิก ในวันจันทร์ถงึ วันศุกร์เท่านัน้ ส่วนราคา 800 บาทเป็นราคาทีห่ มอ คมข�ำก�ำหนด นายชอบจึงเห็นว่าคุณหมอคมข�ำมีพฤติกรรมขัด ต่อข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพใน ข้อที่ว่า ไม่แจ้งให้ผู้ป่วยได้ทราบราคาที่ถูกต้องก่อนการรักษาจึง ร้องเรียนมายังทันตแพทยสภา คณะอนุกรรมการจรรยาบรรณได้ท�ำการสืบสวนหาข้อ เท็จจริงว่าคุณหมอคมข�ำมีพฤติกรรมเข้าข่าย ผิดข้อบังคับทันตแพทยสภาว่าด้วย ที่ จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม ประเด็น ปี พ.ศ. 2538 หรือไม่ โดยมีประเด็น พิจารณาดังนี้

1

คุณหมอคมข�ำคิดค่าบริการขูดหินปูนเป็นธรรมแก่ผู้ป่วยหรือ ไม่ จากพยานหลักฐานปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้ 1.ภาพถ่ายที่เป็นเอกสารประกอบการร้องเรียนอัตราค่า บริการที่คิดติดบริเวณกระจก หน้าคลินิก พบว่า “ค่าบริการเริ่มต้นที่ • อุดฟันหน้า 400 บาท • อุดฟันกราม 400 บาท • ขูดหินปูน 500 บาท...........” 2.จากหลักฐานของคลินิกที่ส่งมาให้ได้แจ้งค่าบริการดังนี้ “อัตราค่าบริการเริ่มต้นที่ • อุดฟันหน้า/ซี่ 400 บาท • อุดฟันกราม/ซี่ 400 บาท • ถอนฟัน/ซี่ 500 บาท • ขูดหินปูน 500 บาท...........” จากข้อมูลหลักฐานดังกล่าวเห็นได้วา่ เป็นการก�ำหนดค่า บริการทันตกรรมโดยก�ำหนดเป็นราคาเริม่ ต้นและไม่ได้กำ� หนด อัตราค่าบริการสุทธิไว้ ซึ่งเจ้าของคลินิกได้ให้ถ้อยค�ำว่า ราคา สุทธิจะเท่าใดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์แต่ละท่าน แต่ ต้องแจ้งให้คนไข้ทราบก่อน 69

ซึ่งจากกรณีนี้ นายชอบ เคยมาใช้บริการที่คลินิกนี้ มากว่า 3 ปีแล้วกับทันตแพทย์เจ้าของคลินิก ซึ่งคิดค่าขูด หินปูน 400-500 บาท แต่ครัง้ ทีเ่ กิดเรือ่ งขึน้ นีน้ ายชอบ มาขูด หินปูนเช่นเคยแต่ไม่พบเจ้าของคลินิก และได้รับการรักษา จากคุณหมอคมข�ำแทน ซึ่งระหว่างที่คุณหมอคมข�ำตรวจ ช่องปาก พบว่านายชอบมีหินปูนมากจึงแจ้งให้ทราบและ ขอคิดค่าบริการ 800 บาท ประเด็นพิจารณาว่า การคิดค่าบริการขูดหินปูนใน ราคา 800 บาทในรายนี้เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งจากประวัติการรักษา คณะอนุกรรมการพบว่า นายชอบเคยมาขูดหินปูนกับคุณหมอเจ้าของคลินิก 2 ครั้ง ในเดือนมีนาคม 2553 และเดือนกรกฎาคม 2554 โดยคุณ หมอเจ้าของคลินิกคิดค่าขูดหินปูนในราคา 500 บาท ต่อ มาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 จึงมาขูดหินปูนกับคุณหมอ คมข�ำ ซึง่ เมือ่ หมอคมข�ำท�ำการตรวจและวินจิ ฉัยว่านายชอบ มีหนิ ปูนมาก จึงแจ้งราคาค่าขูดหินปูน 800 บาท จากข้อเท็จ จริงดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ทันตแพทย์ทั้ง 2 คนคิดค่าบริการ ขูดหินปูนไม่เท่ากัน แต่เมื่ออนุกรรมการพิจารณาระยะเวลา การเข้ารับบริการขูดหินปูนของนายชอบ พบว่านายชอบมา ขูดหินปูนกับหมอคมข�ำหลังจากขูดหินปูนครัง้ สุดท้ายกับหมอ เจ้าของคลินิก เมื่อเวลาผ่านไปในเกือบ 2 ปี และไม่ปรากฏ หลักฐานยืนยันได้ว่า นายชอบไปรับบริการขูดหินปูนที่ใด ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว จึงอาจเป็นไปได้วา่ นายชอบจะมี หินปูนมากกว่าปกติ ซึง่ โดยทัว่ ไปการประเมินการรักษาและ การคิดค่าบริการทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยเป็นดุลยพินิจของ ทันตแพทย์ผใู้ ห้การรักษา ซึง่ คลินกิ นีม้ ขี อ้ ตกลงว่า ทันตแพทย์ ทุกคนจะคิดค่าบริการทันตกรรมในอัตราเริ่มต้นเดียวกันแต่ ราคาสุทธิจะเท่าใดขึน้ อยูก่ บั ดุลยพินจิ ของทันตแพทย์แต่ละ คน แต่ตอ้ งแจ้งให้ผปู้ ว่ ยทราบก่อน ซึง่ จากหลักฐานปรากฏข้อ เท็จจริงว่า อัตราค่าบริการขูดหินปูนที่ทางคลินิกประกาศใช้ เป็นราคาเริม่ ต้น 500 บาท มิได้กำ� หนดราคาสุทธิไว้ ประกอบ กับ ไม่มีกฎระเบียบหรือข้อบังคับได้ก�ำหนดอัตราค่าบริการ ทันตกรรม หรือค่าบริการขูดหินปูนในราคาสุทธิไว้ชดั เจน ดัง นั้นจึงไม่สามารถพิจารณาได้ว่าการคิดค่าบริการขูดหินปูน ส�ำหรับผูป้ ว่ ยรายนีเ้ หมาะสมหรือไม่ และจากการให้ถอ้ ยของ คุณหมอคมข�ำ พบว่าคุณหมอคมข�ำ เคยเก็บค่าขูดหินปูนผู้ ป่วยรายอื่นที่มีหินปูนมากในราคา 1,000 บาท จึงเป็นไปได้ ว่าการคิดค่าบริการขูดหินปูนแก่ผปู้ ว่ ยแต่ละรายจะไม่เท่ากัน ขึน้ กับสภาพ ช่องปากของผูป้ ว่ ยทีท่ นั ตแพทย์จะประเมินการ รักษาในขณะนั้น


ที่

ประเด็น

3

ที่

ประเด็น

2

คุณหมอคมข�ำได้แจ้งค่าบริการให้ นายชอบทราบก่อนให้บริการขูดหินปูนหรือไม่ ข้อเท็จจริงพบว่า ในการที่หมอคมข�ำตรวจช่องปาก นายชอบและพบว่ามีหินปูนมากขอคิดค่าขูดหินปูน 800 บาท จึงแจ้งให้นายชอบทราบซึ่งนายชอบรับทราบแล้วแต่ นายชอบอ้างว่าขณะนั้นนายชอบอยู่ในลักษณะอ้าปากมี ผ้าคลุมหน้าเว้นไว้เฉพาะบริเวณช่องปากและมีเครื่องมือ อยู่ในปากจึงไม่สามารถปฏิเสธการรักษาหรือท้วงติงการ ก�ำหนดราคาที่สูงขึ้นดังกล่าวได้ ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า แม้ผู้ป่วยจะ มีผ้าคลุมบริเวณหน้าเว้นไว้เฉพาะบริเวณช่องปากและมี เครื่องมือทันตกรรมอยู่ในปากระหว่างที่คุณหมอคมข�ำแจ้ง ราคาค่าบริการ ซึ่งหากนายชอบไม่ต้องการรับการรักษาใน ขณะนัน้ ก็สามารถปฏิเสธการรักษาได้ และจากการสืบสวน ยังไม่ปรากฏพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่า หมอคมข�ำได้ใช้ เครื่องมือขูดหินปูนแก่นายชอบ ก่อนที่จะแจ้งค่าบริการให้ ทราบหรือแม้ว่าทางหมอคมข�ำจะเริ่มให้บริการขูดหินปูน ไปแล้วนายชอบก็ยังมีสิทธิปฏิเสธการรักษาได้ตลอดเวลา โดยสามารถแสดงกิริยาหรือ ส่งสัญญาณที่วิญญูชนทั่วไป จะแสดงให้ทันตแพทย์ทราบว่าตนปฏิเสธการรักษาหรือขอ ยุตกิ ารรักษา เช่น การแสดงท่าทางโดยยกมือขึน้ เป็นต้น ซึง่ จากข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากนายชอบได้รบั ทราบราคา ค่าบริการขูดหินปูนแล้ว นายชอบก็มไิ ด้แสดงกิรยิ าใดๆ ทีจ่ ะ แสดงให้เห็นว่าตนเองปฏิเสธการรักษาหรือขอยุตกิ ารรักษา ในขณะนัน้ แต่ยงั คงยินยอมให้หมอคมข�ำ ขูดหินปูนจนเสร็จ สิน้ กระบวนการการรักษา คณะกรรมการทันตแพทยสภาจึง มีความเห็นว่าประเด็นการไม่แจ้งค่าบริการทันตกรรมก่อน ให้บริการขูดหินปูนนั้นไม่มีมูล

คุณหมอคมข�ำได้ปฏิบัติต่อผู้ป่วยโดยสุภาพมีน�้ำใจ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่ นายชอบร้องเรียนว่าคุณหมอคมข�ำสีหน้านิ่งๆ ไม่ยิ้ม แย้มหรือทักทาย รวมทั้งในระหว่างการรักษา จะแสดง อาการที่ท�ำให้นายชอบรู้สึกได้ว่าคุณหมอคมข�ำไม่พอใจให้ บริการ เช่นพูดด้วยน�ำ้ เสียงตะคอก ให้นายชอบอ้าปากพร้อม กับแสดงอาการถอนหายใจและหลังจากให้บริการเสร็จแล้ว นายชอบจะถามข้อมูลเกีย่ วกับอาการเหงือกร่นแต่หมอคมข�ำ กลับพูดตัดบทและบอกให้นายชอบไปรอนอกห้องตรวจ ประเด็นนี้จากการสืบสวนคุณหมอคมข�ำให้ถ้อยค�ำ ว่า การรักษาในวันนัน้ นายชอบก็มไิ ด้แสดงความไม่พงึ พอใจ ในการรักษา หรือแสดงอากัปกิริยาใดๆ ที่ผิดปกติ และแม้ว่า บางวันตนเองจะรักษาคนไข้มากรู้สึกเหนื่อยล้าแต่ตนก็ไม่ เคยแสดงกิริยาหรือปฏิบัติต่อผู้ป่วยโดยไม่สุภาพซึ่งประเด็น นี้เจ้าของคลินิกก็ให้ข้อมูลว่าคุณหมอคมข�ำไม่เคยมีปัญหา กับคนไข้หรือแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่คลินิก มาก่อนและจากการสอบถามผูช้ ว่ ยทันตแพทย์ในคลินกิ ก็ให้ ถ้อยค�ำว่า ในวันดังกล่าวได้ยนิ เสียงคุณหมอคมข�ำพูดกับคนไข้ เสียงดัง ในระดับหนึ่งแต่ไม่ดังมากและเป็นการพูดตามปกติ เนือ่ งจากหมอคมข�ำเป็นคนพูดเสียงดังอยูแ่ ล้วและไม่เห็นว่า คุณหมอแสดงกิริยาไม่สุภาพใดๆ กับผู้ป่วย จากข้อเท็จจริงทัง้ หมดคณะกรรมการทันตแพทยสภา เห็นว่าการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของ คุณหมอคมข�ำไม่มี มูลเหตุอันสงสัยได้ว่ามีการประพฤติผิดจรรยาบรรณตามข้อ บังคับทันตแพทยสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันต กรรม พ.ศ.2538 จะมีมติยกข้อกล่าวหาในที่สุด

ข้อคิดจากคดีนี้

“หากจะคิดค่ารักษา ทีส่ งู ขึน้ กว่า ที่ผู้ป่วยเคยจ่าย ควรอธิบาย ให้ผู้ป่วยทราบอย่างละเอียด ถึงเหตุผล ความจ�ำเป็นและ หากมีแนวโน้มว่าจะเกิดปัญหา ควรให้ผปู้ ว่ ยลงนามรับทราบ ก่อนท�ำการรักษาทุกครั้ง”

70 THAI DENTAL MAGAZINE


IdentY SORIES

โดย อ.ดร.ทญ.มัทนา เกษตระทัต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประเด็นน่ารู้เมื่อต้องดูเเลช่องปาก

ผู้ป่วยติดเตียง

ค�ำว่า ผู้ป่วยติดเตียง แปลมาจาก ค�ำว่า “bedridden patient” ซึ่งแบ่งได้หลายประเภท เช่น ผู้ป่วยที่เรียกกันทั่วไป ว่า เจ้าหญิงหรือเจ้าชายนิทรา (vegetative stage) ผู้ป่วยระยะ สุดท้ายที่อาจจะรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัว อาจอยู่ในสภาพติดเตียง จากความรุนแรงของโรคมะเร็ง หรือโรคเรือ้ รังอืน่ ๆเช่น dementia Parkinson COPD หรืออาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตจากโรคหลอด เลือดสมอง (stroke) อาจได้รับอุบัติเหตุทางสมอง ไขสันหลัง หรือ มีภาวะกระดูกพรุน ข้ออักเสบ กระดูกสะโพกหัก หรือ ผูป้ ว่ ยอาจไม่กล้าลุกเดิน เพราะกลัวล้ม กลายเป็นผูป้ ว่ ยติดเตียง จากปัญหาทางจิตใจก็พบได้เช่นกัน ที่น่าเสียดายที่สุดแต่ก็เกิด ขึ้นได้ คือ ผู้ป่วยติดเตียงจากสภาพของบ้านและถนนหนทางที่ ไม่พร้อมให้กลับมาใช้ชีวิตแบบเดิมได้ จากตัวอย่างดังกล่าว จะ เห็นได้ว่า ผู้ป่วยติดเตียงแต่ละประเภทมีความสามารถในการ ท�ำความสะอาดช่องปากตนเองหรือมีลกั ษณะเฉพาะในช่องปาก ทีแ่ ตกต่างกันไป ผูป้ ว่ ยบางคนสามารถท�ำความสะอาดช่องปาก ตนเองได้หากมีคนเตรียมอุปกรณ์ให้สามารถคว้าได้ใกล้ๆ หรือมี คนช่วยหยิบของให้ ผูป้ ว่ ยนัง่ บนเตียงแปรงฟันเองโดยใช้ขนั หรือ กะละมังรอง มีผา้ ขนหนูให้เช็ดก็เพียงพอแล้ว ในกรณีทสี่ ดุ โต่งอีก ด้านหนึง่ คือ ผูป้ ว่ ยทีต่ อ้ งมีผดู้ แู ลแปรงให้ ไม่ได้สลบหมดสติ แต่ ไม่สามารถสือ่ สารได้ อีกทัง้ ต่อต้านขัดขืน และ มีความเสีย่ งทีจ่ ะ ส�ำลัก ดังนัน้ ขัน้ แรกของการดูแลผูป้ ว่ ยติดเตียงคือการประเมิน ลักษณะเฉพาะของผู้ป่วย โดยอาจดูตามลักษณะเด่นๆดัง ต่อไปนี้ : มีสติหรือหมดสติ ความสามารถในการรับรู้สื่อสาร

ยอมอ้าปากหรือไม่ ใช้ก�ำลังต่อต้านหรือไม่ ความสามารถในการลุกนั่งหลังตรง ความสามารถในการกลืน (ความเสี่ยงที่จะส�ำลัก) ความสามารถในการท�ำความสะอาดช่องปากตนเองหาก จัดเตรียมของให้หรือช่วยพยุงมือ ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจหรือไม่ ผู้ป่วยได้รับอาหารทางปากหรือไม่ เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือไม่

ขัน้ ทีส่ องคือการประเมินภายในช่องปาก ว่ามีปญ ั หาสุขภาพ ช่องปากประเด็นใดเป็นพิเศษหรือไม่ เช่น : มีรอยโรคฟันผุ โรคเหงือกหรือไม่ มากน้อยเพียงใด มีฟันหรือไม่ มีฟันเทียมหรือไม่ ชนิดใด มีแผลในช่องปาก ปากแห้งน�้ำลายน้อยหรือไม่ อาการเจ็บปวดหรือแสบภายในช่องปากหรือไม่ ปัจจัยเหล่านีจ้ ะท�ำให้รายละเอียดของแผนการดูแลสุขภาพ ช่องปากของผู้ป่วยต่างกัน ทั้งการจัดท่าผู้ป่วย อุปกรณ์ หรือ ประเภทของยาสีฟันและน�้ำยาบ้วนปากที่ใช้ อีกทั้งความถี่ของ การดูแลท�ำความสะอาดช่องปากก็แตกต่างกันไปด้วย อย่างไรก็ตามบทความนีเ้ ป็นเพียงปฐมบทเกริน่ น�ำและสรุป ประเด็นทีน่ า่ สนใจพอทีจ่ ะน�ำไปปรับใช้ดแู ลผูป้ ว่ ยภาวะพึง่ พิงได้ โดยคร่าวเท่านั้น ผู้เขียนได้เลือกเนื้อหาที่คิดว่าเป็นหลักการพื้น ฐานหรือประเด็นที่ส�ำคัญไว้โดยย่อดังต่อไปนี้

72 THAI DENTAL MAGAZINE


แปรงสีฟัน แนะน�ำให้ใช้แปรงสีฟันหัวเล็ก ขนนุ่ม ด้ามยาว จับกระชับถนัดมือ เวลาจับแปรงเพือ่ แปรงฟันให้ผู้ อืน่ ให้ลองจับแบบจับดินสอปากกา (pen grip) มากกว่าการจับ แบบก�ำด้ามแปรงสีฟนั จะท�ำให้สะดวกมากขึน้ ในการขยับเปลีย่ น ต�ำแหน่งในการแปรงฟันให้ผอู้ นื่ หากผูป้ ว่ ยพอแปรงเองได้ให้สง่ เสริมให้ผปู้ ว่ ยแปรงเอง โดยอาจปรับด้ามแปรงให้จบั กระชับมาก ขึ้นหรือใช้แปรงสีฟันไฟฟ้าช่วยด้วยก็ได้

การจัดท่าผู้ป่วย หากผู้ป่วยไม่ได้เสี่ยงส�ำลัก จะให้นั่งตัวตรงหรือเอียง หรือนอนราบก็ได้ แต่หากผูป้ ว่ ยเสีย่ งส�ำลักได้งา่ ย และ ไม่สามารถนั่งตัวตรงหรือบังคับการกลืนได้เอง ไม่ สามารถท�ำตามค�ำขอให้บว้ นน�ำ้ เองได้ ให้ผปู้ ว่ ยกึง่ นัง่ กึง่ นอนท�ำ มุม 30-60 องศากับพืน้ ห้ามนอนราบ หาหมอนมาหนุนท้ายทอย (cervical pillow) อย่าให้หน้าหงายไปด้านหลัง

การท�ำความสะอาดซอกฟัน ใช้แปรงซอกฟันที่มีขนาดพอเหมาะกับขนาดของ ช่องระหว่างฟัน ไหมขัดฟัน หรือผ้าก๊อซ ขึ้นอยู่กับ ความถนัดและลักษณะของฟันว่ามีความโค้งเว้า เป็นฟันซี่เดี่ยว หรือมีต�ำแหน่งการเรียงตัวอย่างไร ยาสีฟัน ในกรณีที่ผู้ป่วยเสี่ยงส�ำลัก ยาสีฟันที่ควรเลือกใช้ คือยาสีฟนั ทีฟ่ องน้อย นัน่ คือไม่มสี ารลดแรงตึงผิว เช่น Sodium Lauryl Sulfate (SLS) หากผู้ป่วยยังคงทานอาหาร ทางปากอยู่ ถึงแม้จะใส่ NG tube หรือเจาะท้อง ถ้ามีการฝึกกลืน ด้วยอาหารหรือใช้สารเพิ่มความหนืดที่ท�ำจากแป้งแม้เพียงเล็ก น้อยก็จะยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคฟันผุ จึงมีความจ�ำเป็น ทีจ่ ะต้องใช้ยาสีฟนั ผสมฟลูออไรด์ หากมีฟองจากการแปรงมาก จนกลัวส�ำลัก ให้ท�ำการดูดหรือซับน�้ำลายและฟองออกตลอด การท�ำความสะอาดช่องปาก อาจแปรงโดยไม่ใช้ยาสีฟันจน ก�ำจัดพลัคออกก่อนแล้วค่อยใช้ยาสีฟันในปริมาณที่เหมาะสม เป็น brush on gel ตอนจบให้เคลือบฟันไว้ก็ได้

แปรงลิ้น ให้แปรง (brush) ลิน้ ด้วย แปรงสีฟนั ขนนุม่ หรือแปรง ส�ำหรับแปรงลิน้ โดยเฉพาะ แต่ไม่ขดู (scrape) ลิน้ ใน ผูป้ ว่ ยทีไ่ ม่มฟี นั เหลือแล้ว หากมี tongue coating ก็ ยังเสีย่ งทีจ่ ะเกิด aspiration pneumonia ถึง 2 เท่า 73


น�้ำยาบ้วนปาก น�ำ้ ยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์แบบไร้แอลกอฮอล์สามารถใช้ชว่ ย ท�ำความสะอาดช่องปากได้ในกลุม่ ทีม่ คี วามเสีย่ งฟันผุ สว่ นผูป้ ว่ ย ทีม่ โี รคเหงือกเสีย่ งติดเชือ้ ทีป่ อดนัน้ หลักฐานวิชาการแนะน�ำให้ ใช้ Chlorhexidine mouth rinse หรือ Povidone Iodine เท่านั้น ไม่แนะน�ำให้ใช้นำ�้ ยาบ้วนปากชนิดอืน่ ๆ ทีผ่ สมแอลกอฮอล์ เช่น Special Mouthwash (SMW) ที่ท�ำจาก Thymol หรือ Chloroxylenol (Dettol) ในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มี oral mucosa บาง ปากแห้ง หรือเป็นแผล แน่นอนว่าไม่แนะน�ำให้ใช้ hydrogen peroxide หรือ lemon glycerine เช่นกัน เช็ดกระพุง ้ แก้มและ เพดานปากด้วย ในการเช็ดกระพุง้ แก้มและ เพดานปากเพือ่ ก�ำจัดคราบ เศษอาหารหรือเสมหะ อาจ ใช้นิ้วพันผ้าก๊อซ หรือ ไม้ พันส�ำลีพันผ้าก๊อซอีกชั้นก็ ได้ อาจชุบน�้ำสะอาด น�้ำ เกลือ หรือ น�้ำยาบ้วนปาก ดังที่กล่าวมาในข้อ 6 ก็ได้ ขึน้ อยูก่ บั ลักษณะของผูป้ ว่ ย

Mouth prop, Mouth gag หรือ Mouth rest? ในกรณีทผี่ ปู้ ว่ ยไม่ยอมอ้าปากเอง อาจซือ้ “openwide-mouth rest” (หาซื้อได้ออนไลน์) หรือใช้ ผ้าก๊อซขนาด 3x3 หรือ 4x4 นิ้ว จ�ำนวน 2 แผ่นพันรอบด้าม แปรงสีฟันหรือไม้กดลิ้นให้ผู้ป่วยกัดแทน mouth prop หรือ mouth gag ไม่ควรใช้ mouth gag หากผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเป็น แผลที่มุมปากหรือแก้ม หากใช้ mouth prop ควรพัน floss หรือ ผ้าก๊อซไว้เพื่อป้องกันหลุดลงคอผู้ป่วยเสมอ

รักษาแผล และ เพิ่มความชุ่มชื้นภายในช่องปาก หากผู้ป่วยเป็นแผลติดเชื้อให้จ่ายยาเพื่อรักษา รอยโรคตามเหมาะสมว่าเป็นเชื้อรา ไวรัส หรือ แบคทีเรีย เมื่อ ลดความเจ็บปวดจากแผลหรือการติดเชื้อได้แล้ว ผู้ป่วยมักจะ ยอมให้ท�ำความสะอาดช่องปากมากขึ้นกว่าเมื่อตอนที่ยังเจ็บ ปวดอยู่ นอกจากนี้ให้คงความชุ่มชื้นภายในช่องปากไว้เสมอ ไม่ว่าจะเป็น nebulizer น�้ำเกลือ หรือ การใช้น�้ำลายเทียม การ ท�ำให้ในช่องปากชุ่มชื้นก็ถือเป็นชั้น barrier ลดความเสี่ยงการ อักเสบติดเชื้อด้วยเช่นกัน

ริมฝีปากชุ่มชื้นโดยไม่ต้องทาวาสลีน เลือกใช้สารหล่อลืน่ สูตรน�ำ้ เช่น KY jellyแทนวาสลีนในการทาริมฝีปาก โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยต้องใช้ Oxygen canula ผู้ป่วยที่ได้ รับอาหารทางสายยาง หรือผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันต�่ำมากๆ เพราะ วาสลีนอาจกลายเป็นสิ่งแปลกปลอม ท�ำให้เกิด exogenous lipoid pneumonitis ได้ ในรายละเอียดนั้น จะมีเรื่องเทคนิคการอ้าปากผู้ป่วยที่มี ปัญหาพฤติกรรม หรือ การจัดท่าผูด้ แู ลให้ทำ� ความสะอาดผูป้ ว่ ย ได้โดยไม่ปวดเอวปวดหลัง หรือ รายละเอียดเรื่องการเอียงหรือ หันคอของผูป้ ว่ ยเพือ่ ช่วยให้กลืนน�ำ้ ลายได้งา่ ยขึน้ ลดความเสีย่ งที่ จะส�ำลักลงหลอดลม หรือความถีใ่ นการท�ำความสะอาดช่องปาก ว่าวันละ 2 ครั้ง หรือ ต้องดูแลบ่อย เช่นทุก 2 ชั่วโมง โดยคณะ ทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำ� ลังจะท�ำสือ่ การ สอนผ่านเว็บไซต์เพือ่ เผยแพร่องค์ความรูส้ สู่ าธารณะต่อไปค่ะ

74 THAI DENTAL MAGAZINE


สารจากนายก

ถุงมือมีแป้ง VS

ไม่มีแป้ง

เรียนท่านสมาชิกทุกท่าน มื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา กองควบคุมเครื่องมือ แพทย์ ได้มีการประชุมหารือร่วมกับผู้ใช้ถุงมือส�ำหรับการ ศัลยกรรม และ ถุงมือส�ำหรับตรวจโรค โดยเชิญ ราชวิทยาลัย ทางการแพทย์หลายๆ สาขา สภาและองค์กรวิชาชีพต่างๆ เข้าร่วม หารือ รวมทั้งทันตแพทยสภาและทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศ ไทยฯ เนื่องจากกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ได้รับทราบประกาศ ยกเลิกการใช้ถุงมือส�ำหรับการศัลยกรรมและถุงมือส�ำหรับการ ตรวจโรคชนิดมีแป้งในประเทศสหรัฐอเมริกาจากองค์การอาหาร และยาของสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2560 และต่อ มามีประเทศอีก 3 ประเทศทีป่ ระกาศยกเลิกและระงับการขาย การ กระจายและการผลิตถุงมือทางการแพทย์ชนิดมีแป้งเพิ่มเติมคือ ประเทศซาอุดิอาระเบีย (มีผลบังคับใช้ 27 มีนาคม 2560) ประเทศญี่ปุ่น (มีผลบังคับใช้ปลายปี 2561) ประเทศฟิลิปปินส์ (มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2562) สาเหตุทปี่ ระเทศสหรัฐอเมริกาออกมาตรการยกเลิกและระงับ การขาย การกระจายและการผลิตถุงมือส�ำหรับการศัลยกรรมและ ถุงมือส�ำหรับการตรวจโรคชนิดมีแป้ง เนื่องจากมีข้อพิจารณาว่า

ถุงมือทางการแพทย์ชนิดมีแป้ง มีแนวโน้มก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ รุนแรงและเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย และบุคลากรทางสาธารณสุข ผู้ใช้งานถุงมือทางการแพทย์ อาจเกิดอาการแพ้ การอักเสบของ ทางเดินหายใจ การอักเสบของแผล และ การเกิดพังผืดหลังจาก การผ่าตัด มาตรการนี้ไม่รวมถุงมือชนิดมีแป้งที่ใช้ส�ำหรับป้องกัน รังสี (powdered radiographic protection glove)

ถุงมือและข้อมูลของถุงมือยาง

ปกติถุงมือที่ผลิตใช้การอย่างแพร่หลายทั่วโลก คือถุงมือที่ ท�ำจากน�้ำยางพารา มี Latex เป็นส่วนประกอบที่สำ� คัญ ในการ ผลิตจะใส่แป้ง (Corn Starch-แป้งข้าวโพด) เป็นสารช่วยหล่อลื่น ในการใส่ถุงมือและลดการติดกันของถุงมือ ถุงมือไม่มีแป้งมีวิธี การผลิตที่ผสมคลอรีน (Chlorination) เพื่อท�ำให้ผิวของถุงมือลื่น ช่วยให้ใส่ได้ง่าย แต่จะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผิว Latex ซึ่ง จะท�ำให้ผวิ ลืน่ มาก และอาจจับสิง่ ของได้ไม่ถนัดต้องออกแรงเกร็ง กล้ามเนือ้ ทีม่ อื ท�ำให้ไม่เป็นทีน่ ยิ มและมีราคาแพงกว่าถุงมือทีม่ แี ป้ง ถึง 4 เท่าในปัจจุบัน เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนกว่าและ ความต้องการที่ต�่ำกว่า แต่ในอนาคตหากผู้ผลิตจ�ำเป็นต้องทยอย เปลี่ยนไปผลิตถุงมือที่ไม่มีแป้งก็อาจมีราคาที่ถูกลง

76 THAI DENTAL MAGAZINE


ปัจจุบันถุงมือที่ผลิตจะเป็นชนิดมีแป้ง 90% มีบริษัทผลิต ถุงมือในประเทศไทย เป็นผู้ผลิตถุงมือมีแป้ง 101 แห่ง และเป็นผู้ ผลิตถุงมือจากยางสังเคราะห์และถุงมือไม่มแี ป้งเพียง 2 แห่งเท่านัน้ ประเทศไทยมีบทบาทส�ำคัญในฐานะผูผ้ ลิตและผูส้ ง่ ออกถุงมือยาง ที่ใช้ในทางการแพทย์เป็นอันดับหนึ่งของโลก นอกเหนือจากถุงมือ ที่ใช้งานบ้านและใช้งานอุตสาหกรรม ข้อมูลจากรายงานของสถาบันพลาสติก ระบุว่า ปี 2557 ประเทศไทยผลิตถุงมือทั้งสามประเภท 15 ล้านคู่ และ ส่งออก ร้อย ละ 98 ขายในประเทศเพียงร้อยละ 2 (ประมาณ 300 ล้านคู่) ถุงมือ ทีผ่ ลิตร้อยละ 90 เป็นถุงมือยางทางการแพทย์ สหรัฐอเมริกาน�ำเข้า ถุงมือทางการแพทย์จากไทยมากที่สุดในโลก ร้อยละ 50 ของยอด ส่งออกของไทย รองลงไปคือ เยอรมันและญี่ปุ่น ประเทศไทยน�ำ เข้าถุงมือการแพทย์จากมาเลเซียมากที่สุด เพื่อบรรจุใหม่และส่ง ออกไปขายต่างประเทศเกือบทัง้ หมด เนือ่ งจากก�ำลังการผลิตถุงมือ การแพทย์ของไทยไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า หากจะ ประกาศให้ถุงมือที่ผลิตในประเทศต้องเป็นชนิดที่ไม่มีแป้งเท่านั้น ก็จะท�ำให้ผผู้ ลิตทัง้ ร้อยกว่ารายของไทยต้องหยุดกิจการแล้วเริม่ ต้น ลงทุนใหม่ในการสร้างกระบวนการผลิตใหม่ให้เป็นถุงมือทีไ่ ม่มแี ป้ง ซึ่งกระบวนการผลิตจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ถุงมือส�ำหรับการศัลยกรรมและถุงมือส�ำหรับการตรวจโรค จัดเป็นเครือ่ งมือแพทย์ตามพ.ร.บ.เครือ่ งมือแพทย์ พ.ศ.2551 ผูผ้ ลิต และผู้น�ำเข้าต้องจดทะเบียน และต้องมีมาตรฐานและข้อก�ำหนด ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องถุงมือส�ำหรับการตรวจโรค พ.ศ. 2555 เพือ่ ให้มคี ณ ุ ภาพ ประสิทธิภาพ ปลอดภัยในการใช้และ สอดคล้องกับการควบคุมเครื่องมือแพทย์ในระดับสากล ความเห็นของผูป้ ระกอบวิชาชีพด้านการแพทย์และทันตแพทย์ เพือ่ เป็นการเตรียมความพร้อมและหามาตรการทีเ่ หมาะสมในการ ก�ำกับดูแลถุงมือศัลยกรรมและถุงมือตรวจโรคของประเทศไทย กอง ควบคุมเครื่องมือแพทย์จึงท�ำการรวมรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ รายงานอาการอันไม่พึงประสงค์จากถุงมือทางการแพทย์ชนิดมี แป้งในประเทศไทย รวมทั้งหารือถึงผลกระทบ ผลดี ผลเสีย ตลอด จนมาตรการรองรับและแนวทางแก้ไขเพื่อรองรับสถานการณ์ที่ ก�ำลังจะเกิด เพื่อมิให้เกิดความขาดแคลนเครื่องมือแพทย์และให้ เกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อทั้งบุคลากรทางสาธารณสุขและภาค ผู้ประกอบธุรกิจการผลิตถุงมือการแพทย์ของประเทศไทย และ เป็นการรวบรวมข้อมูลเพือ่ พิจารณาการออกมาตรการของส�ำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยาด้วย ในการประชุมเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา ราช วิทยาลัย ศัลยประสาท (ผ่าตัดสมองและไขสันหลัง แม้บางหัตถการ จะใช้กล้องส่องเข้าไปผ่าก็ตาม) และศัลยศาสตร์ทั่วไป (ซึ่งท�ำการ ผ่าตัดในช่องท้องเป็นส่วนใหญ่) ให้ขอ้ มูลว่า ทีผ่ า่ นมาแม้จะใช้ถงุ มือ ศัลยกรรมที่มีแป้ง ก็จะล้างมือด้วย น�้ำ Sterilized และเช็ดมือด้วย ผ้า Sterilized ก่อนเข้า Case เคยเปลี่ยนไปเป็นถุงมือไม่มีแป้ง เหมือนกัน แต่ดว้ ยความแพง และความลืน่ ทีผ่ วิ สัมผัสกับเครือ่ งมือ ศัลยแพทย์บางท่านยังคงใช้ถงุ มือมีแป้งแล้วล้างมือก่อนเข้า Case

ส่วนของราชวิทยาลัยสูติ ยืนยันว่ายังคงใช้ถุงมือผ่าตัดและ ถุงมือตรวจทีม่ แี ป้ง ไม่เคยพบรายงานของผลข้างเคียง ศัลยแพทย์ ผูแ้ ทนจากโรงพยาบาลโรคทรวงอก ซึง่ มีหตั ถการด้าน Open Heart (เปิดช่องอกเพือ่ ผ่าตัดหัวใจ) มากทีส่ ดุ และมีอตั ราความส�ำเร็จของ การผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจทีป่ ระสบผลส�ำเร็จสูงมากแห่งหนึง่ ในเอเชีย ยืนยันการใช้ถุงมือผ่าตัดที่มีแป้งและไม่พบปัญหาใด ๆ ทันตแพทย์ก็ยืนยันการใช้ถุงมือที่มีแป้งทั้งถุงมือตรวจและ ถุงมือผ่าตัด ก็ไม่ได้พบรายงานอาการข้างเคียงใด ๆ ยกเว้นแต่ ทันตแพทย์ที่แพ้ Latex ในถุงมือยางก็ต้องงดใช้ถุงมือจากยาง ธรรมชาติไปเลย อาจใช้ถุงมือจาก Nitril แต่ก็หาซื้อยาก และ ไม่ สะดวกในการท�ำหัตถการ ในอนาคตหากมีการยกเลิกถุงมือที่มี แป้ง และให้ใช้ถงุ มือทีไ่ ม่มแี ป้งเพือ่ การท�ำหัตถการของทันตแพทย์ เราคงต้องประสบปัญหาในการปรับตัวมากเพราะความลื่นของ ถุงมือไม่มีแป้ง ที่เป็นถุงมือที่ท�ำจากยางธรรมชาติผ่านขบวนการ Chlorination ส่วนการหาถุงมือในกลุ่ม Nitril หรือ ยางสังเคราะห์ vinyl ก็หาซื้อยากกว่า และ ราคาสูงกว่า ในส่วนพยาบาลทีเ่ ป็นผูด้ แู ลการจัดเตรียมถุงมือให้แพทย์ใน โรงพยาบาล พบว่า ทีโ่ รงพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย นเรศวร มีการสั่งซื้อถุงมือมีแป้งและไม่มีแป้ง ในปริมาณเท่า ๆ กัน ทีโ่ รงพยาบาลรามาธิบดีปจั จุบนั สัง่ ซือ้ ถุงมือไม่มแี ป้งมากขึน้ เรือ่ ยๆ ทัง้ ถุงมือศัลยกรรมและถุงมือตรวจโรค ซึง่ ยืนยันว่าเนือ่ งจากปริมาณ ทีส่ งั่ ซือ้ สูงมาก จึงสามารถเจรจาให้บริษทั ถุงมือยางทีไ่ ม่มแี ป้ง ยอม ลดราคาลงมาจนเกือบจะใกล้เคียงกับถุงมือทีม่ แี ป้ง ดังนัน้ ในความ เห็นของผู้ประกอบวิชาชีพส่วนใหญ่จึงไม่มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ ว่าจะต้องเลิกใช้ถุงมือมีแป้งตามอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ข้อสรุปในการรับฟังความเห็น จึงสรุปได้ว่า ประเด็นการ ผลิตเพื่อการส่งออก ยังคงให้ผลิตถุงมือที่แป้งได้ต่อไป และ ผู้ส่ง ออกที่จะต้องส่งไปยังตลาดที่ต้องการถุงมือไม่มีแป้งก็ต้องปรับตัว เอง การจ�ำหน่ายในประเทศสามารถจ�ำหน่ายได้ทงั้ 2 ชนิด แล้วแต่ สถานประกอบการจะเลือกซือ้ แบบใด อย่างไรก็ตามยังต้องเปิดรับ ฟังความเห็นจากผูบ้ ริโภคด้วยอีกครัง้ หนึง่ จึงจะเป็นข้อสรุปสุดท้าย พวกเราต้องประสบปัญหาจากการแพ้ถุงมือยางมากน้อยเพียงไร ท่านจะเตรียมตัวทดลองใช้ถุงมือที่ไม่มีแป้งเพื่อการท�ำหัตถการ ต่าง ๆ ในการรักษาหรือไม่อย่างไร ต่อไปในอนาคตการใช้ถงุ มือทีม่ ี แป้งแล้วล้างแป้งด้านนอกทีส่ มั ผัสคนไข้ออกก่อนลงมือท�ำหัตถการ อาจจะช่วยลดความลืน่ ในการท�ำงานลงได้ แต่กย็ งั ไม่แก้ปญ ั หาใน คนไข้หรือหมอที่แพ้ยางพารา (Latex)

ขอบคุณในความสนใจของท่าน อดิเรก ศรีวัฒนาวงษา นายกทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 77


ลวัตการเปลีย่ นแปลงของสังคม เป็นปัจจัยภายนอกที่กระทบ ถึงทุกคน การน�ำเทคโนโลยีมา ปรับใช้กับระบบบริการส่งผลให้ผู้ประกันตน สามารถเข้ารับบริการทันตกรรมภาครัฐได้โดย ไม่ต้องจ่ายและไปเบิก ผู้ให้บริการสามารถไป ขึ้นทะเบียนและขอรหัสเพื่อคีย์เบิกการรักษา และได้รบั เงินคืนสัปดาห์ถดั จากคียส์ ง่ เบิก การ เข้าถึงบริการทันตกรรมในกลุ่มวัยแรงงานน่า จะดีขนึ้ และเจ้าเทคโนโลยีทมี่ าในรูปแบบ Big data ท�ำให้กระบวนการควบคุมก�ำกับการ ท�ำงานภาครัฐผ่านระบบสารสนเทศชัดเจนมาก ขึ้น มีทั้งข้อดี และข้อจ�ำกัด (เวลาที่ใช้ในการ ท�ำงานเพิ่ม) ปรากฏการณ์ aging society ที่พบจาก การท�ำงานในโรงพยาบาลนั้น จ�ำนวนนักเรียน คงทีม่ าต่อเนือ่ ง ทัง้ ทีป่ ระชากรในภาพรวมของ บางใหญ่เพิ่มโดยตลอด กลุ่มประชากรที่เพิ่ม อย่างรวดเร็วคือกลุ่มผู้สูงอายุ การรวมกลุ่มใน ไซเบอร์ทำ� ให้เกิดความตืน่ ตัวในการรักษาสิทธิ คุณภาพการดูแลสุขภาพช่องปากคนไข้โรค เรือ้ รังต่างๆ ได้รบั ความสนใจมากขึน้ แมกกาซีน เราจึงใช้พนื้ ทีใ่ นการสือ่ สารให้ความรูท้ า่ นสมาชิก เกี่ยวกับการดูแลคนไข้กลุ่มสูงอายุ ติดเตียง คนไข้โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นบทบาทใหม่ที่ ถูกคาดหวังของทันตแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุข และน่าจะเป็นประโยชน์ในการน�ำไปใช้ดูแล ญาติมติ รของท่านกันต่อไป และในยุคไซเบอร์ นี้จะรับสาร แปลสาร ส่งสารกันอย่างไร เราก็ มีเรื่องราวมาฝากท่านนะคะ แนะน�ำหน่วยงานฉบับนี้ เราเก็บบรรยากาศ และแนะน�ำโรงเรียนทันตแพทย์ในสวน ที่ว่า

เจ้าของ ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ปรึกษา ทพ.อดิเรก ศรีวัฒนาวงษา ศ.ทพ.ดร.ประสิทธิ์ ภวสันต์ ทญ.ดร.ญาดา ชัยบุตร ผศ.ทญ.ดร.ศิริจันทร์ เจียรพุฒิ

กันว่า…สวยที่สุดในประเทศมาฝากท่าน นะคะ และแนะน�ำผูบ้ ริหารนโยบายของกรม วิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมที่จะได้ท�ำงาน ตรวจสอบความปลอดภัยของเครือ่ งเอกซเรย์ ที่ท่านสมาชิกซื้อหามาติดตั้ง ร่วมกับท่าน สมาชิกในอนาคตมาฝากนะคะ ปี 2560 ระบุให้การน�ำเข้าเครื่องมือ แพทย์ตอ้ งผ่านการประเมินของคณะกรรมการ อาหารและยา โดยจะมีผู้ทรงคุณวุฒิอ่าน คุณสมบัติเครื่องมือแพทย์ ขอขึ้นทะเบียน กันเพือ่ คัดกรองความปลอดภัยก่อนอนุญาต ให้น�ำเข้าประเทศ ส่วนเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ แล้วจะไม่อนุญาตให้นำ� เข้าประเทศนอกจาก เพื่อการวิจัยเท่านั้น ในส่วนของเครื่องมือ แพทย์ทจี่ ะขอขึน้ ทะเบียนจดแจ้งเพือ่ ควบคุม นัน้ เบือ้ งแรกเสนอ ลวดจัดฟัน แบรกเก็ตจัด ฟัน น�ำ้ ยาบอนดิง ซึง่ ไม่นา่ จะน�ำไปท�ำกิจการ อืน่ ได้นอกจากท�ำฟัน เพือ่ คุม้ ครองคนไข้จาก การจัดฟันแฟชัน่ (ทีร่ ะบาดไปทัว่ ในขณะนี)้ กระแสการดูแลสุขภาพสัตว์กม็ าแรง ขึน้ มีนอ้ งทันตแพทย์ถามมาว่า หากเจ้าของ คลินิกมาขอให้ช่วยไปขูดหินปูนสุนัขคลินิก ข้างๆ สามารถท�ำได้ตามกฎหมายหรือไม่ ค�ำตอบคือ “ไม่” เรามีสทิ ธิใ์ นการรักษามนุษย์ ไม่ได้มสี ทิ ธิท์ ำ� การรักษาสุขภาพช่องปากให้ สัตว์นะคะ และอย่าคิดไปถึงการติดลวดจัด ฟันให้สนุ ขั หรือแมว โดยไม่มขี อ้ บ่งชีท้ างการ แพทย์ ไม่ได้ถามความสมัครใจ(ของน้อง หมา น้องแมว)กันก่อนผิดทั้งจรรยาบรรณ และผิดศีลธรรมนะคะ การท�ำงานในยุคที่เร่งรีบและมี KPI มากมายขณะนี้ ไม่แปลกที่หลายท่านอาจ

บรรณาธิการ ทญ.แพร จิตตินันทน์ กองบรรณาธิการ ทญ.อภิญญา บุญจำ�รัส ทพ.สุธี สุขสุเดช ทญ.ดวงตา อิสสระพานิชกิจ ทญ.ธิติมา วิจิตรจรัลรุ่ง ร.ท.ทพ.ธนศักดิ์ กัมภ์บรรฑุ

มีการ burnt out ละเลยในการทีจ่ ะมีปฏิสนั ถาร กับคนไข้ไปบ้าง บทความเมื่อคนไข้เยียวยา หมอ ขอสะท้อนและขอเน้นย�้ำความส�ำคัญ ของการสือ่ สาร ความใส่ใจกับคนไข้ ทีด่ จู ะถูก ละเลยจากสังคมก้มหน้าในปัจจุบัน เป็นเรื่อง ส�ำคัญไม่เร่งด่วนที่ไม่ท�ำไม่เสียค่าปรับ เป็น เรือ่ งของคุณภาพการรักษาที่ JCI หรือ TDCA ตรวจสอบไม่ได้ ขอเชิญชวนเราทุกคนร่วมแรง ร่วมใจรักษาคุณภาพ “น�ำ้ ใจ และความเอาใจ ใส่” ที่อยู่คู่กับ “ฝีมือ”ทันตแพทย์ไทยนะคะ เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม และ การวิจัย ทันตแพทยสมาคมจึงจัดประกวด ผลงานวิจัย DAT graduated research competition ทีก่ ลุม่ เป้าหมายคือนักศึกษาใน มหาวิทยาลัยและทันตแพทย์ที่จบการศึกษา ไม่เกินสองปี และท�ำวิจัยภายใต้อาจารย์ที่ ปรึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการกู้ชีพ การท�ำงานใน Health Team ของทันตแพทย์ การประชุมปลายปีนี้เราจัดประชุมเชิงปฏิบัติ การอีกครั้งในวันที่ 14-15 ธันวาคมนี้นะคะ ท่านที่สนใจรีบติดต่อสมาคมด่วน เปิดให้เข้า ประชุมจ�ำนวนจ�ำกัดนะคะ เพราะเรามีสมาชิก สนใจและตกค้างจากการประชุมกลางปีมา จ�ำนวนหนึ่ง มีสมาชิกถามเรื่องสืบเนื่องจาก การแบนถุงมือมีแป้งของอเมริกา ข้อเท็จจริง เรือ่ งนีท้ า่ นนายกได้อธิบายโดยละเอียดในเล่ม ติดตามอ่านได้นะคะ

ทพ.พิสุทธิ์ อำ�นวยพาณิชย์ ทพ.กิตติธัช มงคลศิวะ ทพ.สมดุลย์ หมั่นเพียรการ ทพ.อภิสิทธิ์ อารยะเจริญชัย ทพ.รุ่งกิจ หลีหเจริญกุล ทญ.ดุลยรัตน์ โถวประเสริฐ ทญ.ประภาสิริ เดี่ยวปรัชญารักษ์ ดร.พัฒนพงส์ จาติเกตุ

78 THAI DENTAL MAGAZINE

บรรณาธิการ

ทญ. แพร จิตตินันทน์

ติดต่อโฆษณาที่ คุณ ชิตศักดิ์ สุวรรณโมลี โทร.02-539-4748 ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ 71 ลาดพร้าว 95 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร. 02-5394748 แฟกซ์ 02-5141100 e-mail: thaidentalnet@gmail.com



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.