Real Prosperity? ความเจริญรุ่งเรืองแท้หรือ

Page 1



วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

TBTS Theological Journal วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์แบ๊บติสต์

มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ พั ฒ นาการค้ น คว้ า วิ จั ย และการสอนของคณาจารย์ โดย เผยแพร่ ง านวิ จั ย หรื อ บทความต่ า งๆ ของคณาจารย์ในสถาบัน เพื่อเสริมสร้าง แนวคิดและพัฒนาชีวิตของผู้รับใช้เต็ม เวลา ตลอดจนส่ ง เสริ ม ให้ ค ริ ส เตี ย น สามารถน�ำแนวคิดและค่านิยมตามหลัก การของพระคัมภีร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิต ได้อย่างถูกต้อง

กองบรรณาธิการ

ศจ.ยินดี จัง อ.ธานินทร์ วรวิจิตราพันธ์ อ.วีรนุช วงศ์คงเดช อ.อรนุช ตรีสุโกศล คุณสุริยา เลิศมาลีวงศ์

ผู้ตรวจทานภาษาไทย อ.ปราณี จันทระ

ผู้ตรวจทานภาษาอังกฤษ อ.Eric Mullis

ออกแบบปก

คุณสุริยา เลิศมาลีวงศ์ ฝ่ายศิลป์ คุณชลธิชา สิทธิโชคตระกูล


TBTS Theological Journal

บทบรรณาธิการ “พระพรทีแ่ ท้จริงจะน�ำเราเข้าใกล้พระองค์ ไม่ใช่น�ำเราออกห่างจากพระองค์” ประโยคดังกล่าวมีความน่าสนใจให้ชวน คิดถึงพระพรต่างๆที่พระเจ้าทรงจัดเตรียม ในเรานั้ น เพื่ อ อะไรกั น แน่ พระองค์ ปรารถนาให้มนุษย์ได้ใกล้ชดิ สนิมสนมและ รักษาความสัมพันธ์กับพระองค์ให้ดีที่สุด ดังนั้นพระพรใดๆ ที่พระองค์ประทานนั้น จึงต้องเป็นเหตุนำ� เราให้เข้าใกล้พระองค์ใน ทุกๆ ทาง ริค วอร์เรน เขียนบทความหนึ่งเกี่ยวกับ กฏแห่งพระพรทีม่ าจากพระเจ้า 4 ประการ (The Four Laws of God’s Blessing) กล่าวไว้ว่า พรที่พระเจ้าให้เรามานั้นก็เพื่อ ผู้อื่นจะรับพร ยิ่งเราได้รับพรมากขึ้นก็เพื่อ เราจะเป็นพรมากขึ้น ทรงคาดหวังที่เราจะ ใช้พระพรนั้นช่วยเหลือคนอื่นได้มากขึ้น เมือ่ เอ่ยถึงพระพรทีร่ จู้ กั กันอย่างกว้างขวาง ในชื่ อ “ข่ า วประเสริ ฐ แห่ ง ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง” “ข่ า วประเสริ ฐ แห่ ง ความ สบายใจ” “พระกิตติคุณแห่งความมั่งคั่ง” หรือ “พระกิตติคณ ุ แห่งความเจริญรุง่ เรือง” นับได้ว่าเป็นกระแสที่คริสเตียนทั่วโลกให้ ความสนใจคงจะไม่ผิดนัก ทั้งมุมมองที่เปิด รับ ทั้งมุมมองที่ลังเล หรืออาจต่อต้านแต่ แท้ ที่ จ ริ ง แล้ ว เราอาจก� ำ ลั ง ละเลยถึ ง

ความหมายที่แท้จริงไป บ้างจึงปิดใจที่จะ ค้นหาศึกษา บ้างก็เปิดรับมากเกินไปจนเกิด ความเข้ า ใจผิ ด เกิ ด การตี ค วามหมายที่ คลาดเคลื่ อ น วารสารฉบั บ นี้ จึ ง ตั้ ง ใจใช้ หัวข้อว่า “ความเจริญรุ่งเรืองแท้?” (Real Prosperity?) เพื่อช่วยเราทั้งหลายที่จะ สืบค้น ศึกษาถึงที่มา ผลกระทบ และมุม มองในหลายๆ มิติ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ต่างๆ ในเรื่องนี้ จะช่วยให้ผู้อ่านได้เห็น ได้ เข้าใจ ศึกษาและรับมือกับกระแสความ เคลือ่ นใหวนีไ้ ด้อย่างมีเหตุผล ตัง้ อยูบ่ นหลัก พระธรรมอย่างมั่งคง และสามารถวินิจฉัย สิ่งต่างๆ ที่จะน�ำมาซึ่งผลกระทบได้อย่าง รอบคอบ บทความในวารสารนี้ผู้เขียนบทความอาจ ใช้ค�ำเรียก “พระกิตติคุณแห่งความเจริญ รุ่งเรือง” ในหลายชื่อตามบริบท และแหล่ง ข้อมูลที่ใช้อ้างอิงแตกต่างกัน บางครั้งอาจ ใช้ ว ลี “ศาสนศาสตร์ แ ห่ ง ความเจริ ญ รุง่ เรือง” ผูอ้ า่ นอาจเกิดความสับสนบ้าง แต่ ขอให้เข้าใจโดยทั่วไปว่ามีความหมายใน ทิศทางเดียวกันตลอดวารสารนี้และเมื่อ อ่านโดยตลอด คาดหวังว่าผูอ้ า่ นจะได้รบั ค�ำ ตอบต่างๆ ด้วยตัวเอง โดยสะท้อนจาก บทความทั้ ง ทางด้ า นศาสนศาสตร์ สังคมวิทยา และ ในมุมมองของการท�ำ พันธกิจ บทความแรก “ข่าวประเสริฐแห่ง


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ค ว า ม เ จ ริ ญ รุ ่ ง เ รื อ ง ใ น ค ว า ม เ ป ็ น คริ ส ตพาณิ ช ย์ ” อ.ปดิ พั ท ธ์ สั น ติ ภ าดา อาจารย์พเิ ศษ หลักสูตรอบรมผูน้ ำ� ฆราวาส และ เลขาธิการสมาคมนักศึกษาคริสเตียน ไทย ช่วยเตือนเราถึงสิ่งพึงระวังเมื่อ “เรา” กลายเป็นศูนย์กลางของการอวยพร จาก นั้นเป็น “บทเรียนจากค�ำฮีบรู ‘ทรัพย์ สมบัติ’ ‘เงินทอง’ และ ‘การอวยพระพร’ ในพระคัมภีร์เดิม” ศจ.ดร.ทะนุ วงศ์ธนาธิกุล น�ำเราศึกษาถึงความหมายเดิมของ พระพร และเป้าหมายของการอวยพรของ พระเจ้า ส่วน “ความเจริญรุง่ เรืองในมุมมอง ของพระเยซู” ดร.ชัยวัฒน์ ชาวเมืองแมน ชี้ให้เราเห็นว่าพระองค์ไม่ได้ทรงกล่าวว่า ความมั่งคั่งเป็นสิ่งชั่วร้าย แต่ความมั่งคั่งที่ ขวางกั้นพระเจ้าต่างหากที่น�ำอันตรายมา ใน “มองผู้รับใช้ ‘แห่งความรุ่งเรือง’ กับ ผู้รับใช้ ‘ในประวัติศาสตร์’ และผลกระทบ ต่อคริสเตียนไทย” ดร.วิยะดา ทัฬหิกรณ์ ชี้ ให้ เ ราเห็ น ถึ ง ประเด็ น นี้ จ ากมุ ม มองทาง ประวัตศิ าสตร์ การพัฒนาการของกระแสนี้ ผ่ า นชี วิ ต ของบรรดาผู ้ รั บ ใช้ ใ นอดี ต ถึ ง ปัจจุบัน และช่วยให้เรามีสายตาที่ถูกต้อง ตามแบบพระเยซู และบทความสุดท้าย “การเพิ่มพูนคริสตจักรและศาสนศาสตร์ แห่งความเจริญรุ่งเรือง” ศจ.ยินดี จัง ได้ สะท้ อ นถึ ง อิ ท ธิ พ ลของกระแสนี้ ที่ ไ ด้ ลงตัวกันกับกระแสการเพิม่ พูนคริสตจักรใน ยุคปัจจุบันได้อย่างดี จนน�ำให้เกิดความ เข้าใจต่อการเติบโตที่คลาดเคลื่อนออกไป จากเป้าหมายที่แท้จริง นอกจากบทความ

ต่างๆที่มีคุณค่าแล้ว วารสารนี้ยังน�ำเสนอ บทสัมภาษณ์ต่างมุมจากผู้รับใช้ 3 ท่าน 3 บทบาท “มั่งมีและเมตตา” ชีวิตและงาน ของ พญ.ดร. เคลียวพันธ์ สูรพันธ์ แพทย์ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญพิ เ ศษ สาขาสู ติ น รี เ วช โรงพยาบาลบ�ำรุงราษฎร์ ผู้ก่อตั้งพันธกิจ บ้านเด็กชัยพฤกษ์ ทีน่ ำ� พระพรไปสูเ่ ด็กๆ ที่ ยากจน เป็นความมั่งคั่งของการได้รับใช้ สั ง คมได้ อ ย่ า งไร “มั่ ง คั่ ง ทั้ ง ธุ ร กิ จ และ รับใช้” บทสัมภาษณ์ อ.กอบชัย จิราธิวฒ ั น์ ศิ ษ ย า ภิ บ า ล ค ริ ส ต จั ก ร กิ จ ก า ร ข อ ง พระคริสต์และ นักธุรกิจ กรรมการบริหาร กลุม่ บริษทั ในเครือเซ็นทรัลพัฒนา เรือ่ งราว ที่สะท้อนการรับใช้ที่เคียงคู่กับการด�ำเนิน ธุ ร กิ จ และการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ต่ อ กระแส ค�ำสอนของกิตติคุณแห่งความรุ่งเรือง และ “ท�ำให้ผอู้ นื่ รุง่ เรือง” ชีวติ และการรับใช้ของ ลุงไพโรจน์ ป้าจิตรา อยู่เปล่า ผู้รับใช้ที่ไม่มี ต�ำแหน่งฐานะใดๆ ผู้ก่อตั้งพันธกิจชุมชน พัทยา การต่อสู้ ความอดทน หัวใจแห่งการ รับใช้ ได้สร้างความรุ่งเรืองในผู้อื่นอย่างมี ความหมาย ขอขอบคุณบรรดาคณาจารย์ อาจารย์พเิ ศษ ผู้รับใช้ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ที่ได้ กรุณาสละเวลาเพื่อจัดเตรียมบทความใน ห้วข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ และขอขอบคุณ สมาคมพระคริสตธรรมไทยที่กรุณาให้ใช้ การอ้ า งอิ ง ข้ อ พระธรรมตลอดวารสาร ฉบับนี้ 4

ส�ำหรับบทความอืน่ ทีน่ า่ สนใจ ท่านสามารถ ค้นหาและศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ


TBTS Theological Journal

โรงเรียนที่ www.thaibts.com ขอพระเจ้ า ทรงอวยพรผู ้ อ ่ า นทุ ก ท่ า น และขอพระเจ้าน�ำเราทัง้ หลายทีจ่ ะเข้าใจใน เป้าหมายแห่งพระพรที่มาจากพระองค์ ขอทรงให้ พ ระพรนั้ น เป็ น เหตุ ที่ น� ำ เรา ทัง้ หลายยิง่ เข้าใกล้พระองค์ น�ำเราทัง้ หลาย ทีจ่ ะยิง่ รักพระองค์ ยิง่ เพิม่ พูนการปรนนิบตั ิ รับใช้ประชากรของพระองค์มากยิง่ ๆ ขึน้ ไป สรรเสริญพระเจ้าผู้อ�ำนวยพระพรทั้งสิ้น อาเมน

5


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

สารบัญ

ข่าวประเสริฐแห่งความเจริญรุ่งเรืองในความเป็นคริสตพาณิชย์ อ.ปดิพัทธ์ สันติภาดา

8

บทเรียนจากคำาฮีบรู “ทรัพย์สมบัติ” “เงินทอง” และ “การอวยพระพร” ในพระคัมภีร์เดิม

18

A Lesson from the Hebrew Words “Wealth”, “Money”, and “Blessing” in the Old Testament Rev. Dr.Thanu Wongthanathikul

25

ความเจริญรุ่งเรืองในมุมมองของพระเยซู

33

Jesus’s Perspective on Prosperity Dr.Chaiwat Chawmuangman

41

“มั่งมีและเมตตา”

50

ศจ.ดร.ทะนุ วงศ์ธนาธิกุล

ดร.ชัยวัฒน์ ชาวเมืองแมน

บทสัมภาษณ์ พญ.ดร.เคลียวพันธ์ สูรพันธ์


TBTS Theological Journal

มองผู้รับใช้ “แห่งความเจริญรุ่งเรือง” กับ ผู้รับใช้ “ในประวัติศาสตร์”และผลกระทบต่อคริสเตียนไทย

59

“มั่งคั่งทั้งธุรกิจและรับใช้”

72

การเพิ่มพูนคริสตจักรและศาสนศาสตร์ แห่งความเจริญรุ่งเรือง

80

“ทำ�ให้ผู้อื่นรุ่งเรือง”

90

ดร.วิยะดา ทัฬหิกรณ์

บทสัมภาษณ์ อ.กอบชัย จิราธิวัฒน์

ศจ.ยินดี จัง

บทสัมภาษณ์ ลุงไพโรจน์ ป้าจิตรา อยู่เปล่า


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ข่าวประเสริฐแห่งความเจริญรุ่งเรือง ในความเป็นคริสตพาณิชย์ อ.ปดิพัทธ์ สันติภาดา รูปด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ทอง ที่ทางวัด จัดบริการไว้ให้เป็นต้น”1 ตัวอย่างที่เรา เห็นได้ไม่ว่าจะเป็นระดับเล็กในชุมชน หรือระดับกว้างระดับประเทศเช่น กรณี อื้ อ ฉาวของวั ด พระธรรมกาย วิ ถี ชี วิ ต หรูหราของหลวงปู่เณรค�ำ การเช่าพระ การปลุกเสกเครื่องรางของขลัง การให้ เลขท้าย การโฆษณาอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ต่างๆ การท�ำเสน่ห์ การขายวัตถุมงคล ออนไลน์ และอื่นๆ

ค� ำ สอนและรู ป แบบของศาสนาเชิ ง พาณิ ช ย์ เ ป็ น สิ่ ง ที่ เ กิ ด ในทุ ก วั ฒ นธรรม ความเชื่อ เนื่องจากศาสนาเป็นเครื่องมือ ทีท่ รงพลังทีส่ ดุ อย่างหนึง่ ในการระดมเงิน จากผูค้ น และสามารถเกิดเป็นโครงสร้าง ทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีการใช้หลักค�ำ สอน ความโดดเด่นของผู้น�ำ การโฆษณา ชวนเชื่ อ และอี ก หลายปั จ จั ย เพื่ อ จุ ด ประสงค์ด้านการเงิน หลายกรณีเป็นที่ วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง และ เป็ น ค� ำ ถามที่ มี ต ่ อ ความ “แท้ ” หรื อ “เที ย ม” ของกลุ ่ ม นั้ น ๆ ในทางพุ ท ธ ศาสนามีการใช้คำ� ว่า “พุทธพาณิชย์” ซึง่ หมายถึง “กระบวนการค้าขายความเชื่อ และความศรัทธาในพุทธศาสนาโดยใช้ วัตถุหรือสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธ ศาสนาหรือพระรัตนตรัย มาเป็นเครื่อง มือสร้างรายได้แสวงหาผลประโยชน์ใน ทางพาณิชย์ กล่าวคือ เป็นการใช้เงิน เพื่ อ แสดงออกซึ่ ง ปฏิ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง พุทธศาสนิกชนกับพุทธศาสนา ทีบ่ ง่ บอก ถึ ง ความใกล้ ชิ ด และลั ก ษณะความ สัมพันธ์ที่มีร่วมกัน ผ่านกิจกรรมหรือ พิธกี รรมทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น การเช่าบูชาพระ เครื่อง พระบูชา การท�ำบุญพระพุทธรูป ปางประจ�ำวันเกิด การสักการะพระพุทธ

ความเชื่อ ไสยศาสตร์ วัตถุนิยม ลักษณะของความเชื่อที่ “จับต้องได้” โดยเฉพาะเมื่อสามารถแปลงการอวยพร ของสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ เี่ ป็นนามธรรมให้เป็นรูป ธรรมด้วยสิ่งมีค่าต่างๆเช่น บ้าน รถยนต์ ต�ำแหน่งหน้าที่การงาน โทรศัพท์มือถือ หุน้ และหลักทรัพย์นนั้ เป็นค�ำพยานทีท่ รง พลังที่สุดอย่างหนึ่งของกลุ่มความเชื่อ ต่ า งๆ ที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด ศรั ท ธาต่ อ คน จ� ำ นวนมากของมนุ ษ ย์ ตั้ ง แต่ อ ดี ต กาล ซึง่ นอกจากมีความกลัวเป็นพืน้ ฐานแล้ว ยัง 1

ภณกุล ภวคุณวรกิตติ์, พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ในพุทธ ศาสนาเชิงปฏิบัติของไทย : กรณีศึกษาวัดในจังหวัดนครปฐม. Available from: http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php/พุทธพาณิชย์และไสยพาณิชย์ [1 Oct. 2015]

8


TBTS Theological Journal

หรือความเชื่อของกลุ่มน้อย เมื่อท�ำการ เปรียบเทียบความเชือ่ ของศาสนาทัว่ ไปใน เรือ่ งนีก้ บั ศาสนาคริสต์ พบว่ามีหลายส่วน ที่ ใ กล้ เ คี ย งกั บ ความเชื่ อ ของกลุ ่ ม ข่ า ว ประเสริฐแห่งความเจริญรุง่ เรือง บทสรุป การศึกษาโดยคณะท�ำงานศาสนศาสตร์ โลซาน4 สรุปค�ำสอนของ “ข่าวประเสริฐ แห่งความเจริญรุ่งเรือง” (Prosperity Gospel) ดังนีว้ า่ “ผูเ้ ชือ่ มีสทิ ธิท์ จี่ ะได้รบั พระพรด้ า นสุ ข ภาพและความมั่ ง คั่ ง ทางการเงิน และพวกเขาสามารถได้รับ พระพรเหล่านี้โดยการประกาศยืนยัน ความเชือ่ และการ‘หว่านเมล็ดพันธุ’์ ผ่าน การถวายทรัพย์สนิ เงินทองอย่างสัตย์ซอื่ ” ในค�ำสอนเท็จนี้ คริสเตียนทุกคนสามารถ ได้รับความเจริญรุ่งเรือง ที่เน้นเรื่องการ กินดีอยู่ดี สุขภาพร่างกายที่ดี ปราศจาก โรคภัยไข้เจ็บทั้งปวงเพียงให้เขามีความ เชื่อในพระเจ้า โดยถวายทรัพย์สินเงิน ทองอย่ า งสั ต ย์ ซื่ อ 5 ตั ว อย่ า งของการ ประกาศถ้อยแถลงแห่งความเชื่อแบบนี้ เช่น ศจ. คอง ฮี (Kong Hee) ศิษยาภิบาล ของ คริสตจักรซิตี้ ฮาร์เวสต์ (City Harvest) ประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า “ความรุง่ เรืองที่ เเท้จริงคือ การมีความมัง่ คัง่ ทางการเงิน เพือ่

มีการท�ำบางอย่างเพื่อจะให้ส่ิงศักดิ์สิทธิ์ เหล่ า นั้ น ท� ำ การอวยพรตามที่ ม นุ ษ ย์ ต้องการได้ 2 อ.ยศ สั น ติ ส มบั ติ นั กมานุษยวิทยา กล่าวถึงพฤติกรรมเช่นนีใ้ นระดับทัว่ ไปว่า “มนุษย์พยายามเกลี้ยกล่อม โน้มน้าว และล่อลวงอ�ำนาจศักดิ์สิทธิ์ด้วยวิธีการ ต่างๆ เช่น การบนบาน การใช้ไสยศาสตร์ การใช้ เ วทมนตร์ และการประกอบ พิ ธี ก รรม เพื่ อ น� ำ เอาอ� ำ นาจศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ มาเป็ น เครื่ อ งต่ อ รอง หรื อ ควบคุ ม ธรรมชาติ”3 เมื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดก็ตาม สามารถดลบันดาลให้มนุษย์พบกับความ สมหวังได้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นก็จะได้รับการ ยกย่ อ ง เคารพสั ก การะมากกว่ า สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ ไ ม่ ท� ำ สามารถท� ำ ให้ ม นุ ษ ย์ สมหวังได้ และในอีกทางหนึ่งอาจารย์ กูรู นักบวชที่สามารถเป็นสื่อกลางหรือ ควบคุมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ท�ำตามที่ตนเอง และผู้มาขอความช่วยเหลือต้องการได้ ก็ จะมีชื่อเสียง ได้รับเกียติยศสรรเสริญ มี การถวายปัจจัยต่างๆตอบแทนเป็นผู้น�ำ ทางจิตวิญญาณที่มีอ�ำนาจได้

ศาสนาคริสต์ในรูปแบบของ คริสตพาณิชย์

4

เป็นกลุ่มที่ได้รับรองจากคริสเตียนอีแวนเจลิคอลทั่วโลกในเรื่อง ทิศทางการทำ�พันธกิจประกาศข่าวประเสริฐและมิชชั่น และยังมี กลุ่มทำ�งานทางหลักข้อเชื่อ ศาสนศาสตร์ต่างๆที่ใช้เป็นมาตรฐาน ได้ สามารถค้นเพิม่ ได้จาก http://www.lausanne.org/

มิติในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์แบบนี้ไม่ได้ เกิดเฉพาะศาสนาพุทธ ความเชื่อเรื่องผี

5 2

Conrad Philip Kottak, Anthropology: The Expansion of Human Diversity, (NY: McGrew-Hill, 2006), 473.

3

ยศ สันตสมบัติ, มนุษย์กับวัฒนธรรม, (กรุงเทพ: สำ�นักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556), หน้า 287.

9

อ้างอิงใน http://www.dahlfred.com/index.php/ blogs/4christ/728-prosperity-gospel-article-from-theology-committee-of-thailand-protestant-churches-coordinating-committee [1 Oct. 2015]


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ท่านจะท�ำตามพระทัยพระเจ้าได้ในทุกๆเวลา เเละสถานการณ์”6 และ เดวิด ยองกี โช (David Yonggi Cho) จากคริสตจักรที่ ใหญ่ที่สุดในโลก Yoido Full Gospel Church กล่าวไว้ว่า “โดยถ้อยค�ำที่พูด ออกมาเราสร้างจักรวาลเเห่งสภาพเเวดล้อมได้”เเละ “คุณสร้างการทรงสถิตของ พระเยซูโดยปากของคุณ...พระองค์จะท�ำ ตามปากเเละถ้อยค�ำของคุณ”7 เป็นต้น

สิ่งนี้ ค�ำเทศนาและค�ำพยานมากมายบน เวที แ ละโลกอิ น เตอร์ เ น็ ต พู ด เป็ น เสี ย ง เดี ย วกั น ว่ า “ชี วิ ต ของฉั น ดี ขึ้ น จริ ง ๆ” แน่นอนว่าสามารถดึงดูดผู้คนที่อ่อนแรง เหนื่อยล้าได้มาก เท่าๆกับดึงดูดผู้คนที่ โลภด้วย

การเติบโตขึ้นอย่างกว้างขวางของกลุ่มที่ สอนข่าวประเสริฐแห่งความมัง่ คัง่ ไปด้วย กั น ได้ ดี กั บ โลกที่ ถู ก ครอบครองโดย กระเเสบริโภคนิยมและวัตถุนิยม มีผู้คน มากมายเข้ามาในคริสตจักร รับบัพติศมา มีชีวิตอยู่ร่วมกันในชุมชนใหม่ เมื่อคริสต จั ก รประกาศว่ า การมาเชื่ อ ในพระเยซู คริสต์จะปลดปล่อยออกจากความทุกข์ ยากทั้งปวงและน�ำพาเราไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้น ข่าวสารเหล่านี้ไม่ได้ถูกประกาศโดยไม่มี หลักฐานยืนยัน เพราะคริสตจักรก็สร้าง ขึ้นด้วยเทคโนโลยีราคาสูง เสียงเพลง ไพเราะ ตืน่ ตาตืน่ ใจ ผูค้ นรอบข้างยิม้ แย้ม แจ่มใส ทุกคนมีความหวังในการมาเชื่อ

เนือ้ หาของค�ำสอนอีกอย่างหนึง่ ทีม่ าคูก่ บั ข่ า วประเสริ ฐ แห่ ง ความมั่ ง คั่ ง ก็ คื อ ค�ำสอนทีเ่ น้นความสุข ความสบายใจของ ผู ้ ฟ ั ง เป็ น หลั ก ซึ่ ง บางท่ า นนิ ย ามว่ า “ข่าวประเสริฐแห่งความสบายใจ” (Feel-Good Gospel) ซึ่งมีลักษณะร่วม กับข่าวประเสริฐแห่งความมั่งคั่งหลาย ประการ เน้นการเทศนาให้เป็นที่นิยม ชื่นชอบและอยู่ในกระแสสังคม เน้นการ สร้ า งแรงจู ง ใจ ก� ำ ลั ง ใจที่ จ ะมี ชี วิ ต ที่ ประสบความส� ำ เร็ จ ไม่ พู ด ถึ ง เรื่ อ ง ความบาป การพิพากษา หรือประเด็น อ่อนไหวต่างๆเช่น การเมือง จุดยืนด้าน จริยธรรมของคริสเตียน เน้นสถานที่ของ คริสตจักรที่สมบูรณ์แบบ ทันสมัย ตื่นตา ตื่นใจ เป็นต้น เรียกได้ว่าเป็นความเชื่อ แบบทีม่ จี ดุ มุง่ หมายและผลประโยชน์ของ มนุษย์เป็นศูนย์กลาง คือการอธิษฐาน การจั ด การนมั ส การ การเจิ ม ด้ ว ยไฟ พระวิ ญ ญาณ และรู ป แบบต่ า งๆที่ คริสเตียนใช้ เพื่อขอให้พระเจ้าท�ำตาม

คริสตพาณิชย์ที่มีความต้องการของ ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

6

https://preachersaidwhat.wordpress.com/2011 /03/23/kong-hee-said-what/ผู้เขียนต้องขออภัยที่ไม่สามารถ หาคำ�อ้างอิงจากคำ�สอนของนักเทศน์สองท่านนี้ได้โดยตรง ท่าน สามารถหาคำ�สอนของนักเทศน์สองท่านนี้ได้ทางสื่อออนไลน์ ทั่วไป

7

Jim Fox, Question of Paul Yonggi Cho, Available from: http://www.believersweb.org/view.cfm?ID=557 [9 Oct. 2015]

10


TBTS Theological Journal

Gospel Is Hurting Africa) ดั ง นี้

สิ่งที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการหาย ป่วย การได้รับการอวยพรให้ร�่ำรวยขึ้น คริสเตียนบางกลุ่มเน้นการ “หว่านเมล็ด พันธ์ุแห่งความเชื่อ” ซึ่งมักมีภาคปฏิบัติ ของการถวายทรัพย์แบบการลงทุนที่คุ้ม ค่า “ยิ่งถวายมากก็จะยิ่งได้รับตอบแทน มาก” การตอบแทนของพระเจ้าจะเกิด ขึ้นแน่นอนเมื่อเราได้ถวายทรัพย์ด้วย ความเชื่อและมีการท่องข้อพระคัมภีร์ บางข้อซ�้ำๆเพื่อให้เกิดผลขึ้นจริงในชีวิต

ข่ า วประเสริ ฐ แห่ ง ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง เป็ น ค�ำสอนที่ส่งเสริมให้คริสเตียนเกิดความโลภ คริสเตียนทุกคนทราบดีวา่ การให้กเ็ ป็นความสุข แต่คำ� สอน ข่าวประเสริฐแห่งความเจริญรุง่ เรือง มุ ่ ง เน้ น ที่ จ ะสอนให้ ค ริ ส เตี ย นเกิ ด ความโลภ อยากได้มากกว่าทีจ่ ะให้ หัวใจค�ำสอนหลักก็คอื ความเห็นแก่ตวั และความเชือ่ มัน่ ในสิง่ ของวัตถุ ที่ฉาบด้วยค�ำสอนบางๆ ของแล็กเกอร์ที่ทาไว้ สมาชิกคริสตจักรจะได้รับการกระตุ้นอย่างต่อ เนื่องให้หว่านเมล็ดพันธุ์ทางการเงิน (Seed Faith8) เพือ่ ทีจ่ ะเก็บเกีย่ วผลตอบแทนทีย่ งิ่ ใหญ่ กว่า ในแอฟริกา การจัดการประกาศทั้งหมด จะทุ่มเทให้กับค�ำสอนเพื่อให้ได้ความมั่งคั่ง นักเทศน์จะคุยโม้คุยโต บนธรรมาสน์เกี่ยวกับ การทีพ่ วกเขาได้รบั พระพรจากพระเจ้าอย่างไร จนสามารถจะมีเสื้อผ้า รองเท้า สร้อยคอ และ นาฬิกาแพง ๆ นักเทศน์จะพร�ำ่ สอนพระคัมภีรว์ า่ การเติบโตฝ่ายจิตวิญญาณจะถูกวัดโดยดูวา่ ใคร มีบ้านหลังใหญ่ หรือ นั่งเครื่องบินชั้นหนึ่งหรือ ไม่ และเมื่อความโลภถูกเทศนาสั่งสอนกันบน ธรรมาสน์ ผู้คนก็ย่อมจะเชื่อว่าเป็นความจริง และเป็ น เหมื อ นมะเร็ ง ร้ า ยที่ ก ่ อ ตั ว ขึ้ น ใน พระนิเวศน์ของพระเจ้า9

เป็นไปได้หรือไม่ที่ความเชื่อแบบนี้จะให้ มนุษย์กลายเป็นศูนย์กลางของการได้รับ สิ่งต่างๆ ไม่ใช่พระเจ้า ผู้เป็นผู้สูงสุด ครอบครองทุกอย่าง และมนุษย์เข้ามา ด้ ว ยใจถ่ อ ม ส� ำ นึ ก ในพระคุ ณ และ ตระหนักว่าพระเจ้ามีคุณค่าไม่ใช่เพราะ พระองค์ ม อบอะไรบางอย่ า งให้ เ รา สมควรกับการกระท�ำบางอย่างที่เราท�ำ ไป แต่ เ พราะพระองค์ เ ป็ น พระเจ้ า เราเป็นผู้ซึ่งเราเป็น เท่านั้น

ผลของคริ ส ตพาณิ ช ย์ ต ่ อ ชี วิ ต ผู ้ น�ำ คริสเตียนและคริสตจักรทั่วโลก เจ. ลี เกรดี้ (J. Lee Grady) อดี ต บรรณาธิ ก ารของ Charisma News อธิ บ ายผลของคริ ส ตพาณิ ช ย์ ห รื อ ข่ า ว ประเสริฐแห่งความมั่งคั่งในแอฟริกาใน บทความชือ่ อันตราย 5 ประการของพระ กิ ต ติ คุ ณ เเห่ ง ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งต่ อ เเอฟริกา (5 Ways the Prosperity

8

Seed Faith คือความเชื่อเเละการถวายซึ่งเปรียบเทียบเหมือน การหว่านเมล็ดพันธ์ ที่จะเกิดผลเป็นความมั่งคั่งทางวัตถุเเละการ มีสุขภาพดี 9

J. Lee Grady, “5 Ways the Prosperity Gospel Is Hurting Africa” แปลโดย Karl Dahlfred, Available from: http://www.dahlfred.com/index.php/blogs/4christ/ 737-5-ways-the-prosperity-gospel-is-hurting-africa-thai [1 Oct. 2015]

11


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ลักษณะเด่นอย่างหนึง่ ของคริสตจักรทีร่ บั เอาข่ า วประเสริ ฐ แห่ ง ความมั่ ง คั่ ง คื อ ศิษยาภิบาลและผูน้ ำ� ระดับสูงจะเป็นแบบ อย่างของผู้เชื่อที่มีชีวิตที่สมบูรณ์ตามค�ำ สัญญาที่ข่าวประเสริฐแห่งความมั่งคั่งได้ ให้ไว้ ไม่ว่าจะเป็นชีวิตที่สะดวกสบาย หรูหรา ครอบครัวที่อบอุ่น สมาชิกของ คริสตจักรแบบนี้ดูเหมือนว่าจะไม่มีข้อ สงสั ย หรื อ ค� ำ ถามเกี่ ย วกั บ ผู ้ น� ำ ของ พวกเขา ที่ซื้อคฤหาสน์หลังใหญ่ โดยสาร ด้วยเครือ่ งบินเจ็ทส่วนตัว สมาชิกจ�ำนวน มากเต็มใจและสนับสนุนการเงินเพื่อให้ ผู้น�ำของพวกเขาได้รับ “พระพร” และมี ความเชือ่ ว่า “พระพร” เหล่านัน้ ก็จะกลับ มาที่พวกเขาเช่นกัน โดยที่อ�ำนาจ ชื่อ เสียง การอ้างตัวว่าเป็นผู้เผยพระวจนะ อัครทูต ผูท้ ำ� การอัศจรรย์จากพระเยซู สิง่ เหล่านีส้ ามารถประกอบกันท�ำให้ตำ� แหน่ง ของศิ ษ ยาภิ บ าลมี มิ ติ ข องการเป็ น ผูบ้ ริหารระดั บ สู ง และราชาของชุ ม ชน แห่ ง นั้ น ได้ 10 สมาชิกจึงเปี่ยมไปด้วย ความหวังเมื่อถวายเงินให้กับผู้น�ำเหล่านี้ และไม่มีข้อสงสัยในวิถีชีวิตของพวกเขา เพราะเป้ า หมายและค่ า นิ ย มค� ำ สอน ทั้งหมดสอดประสานกันอย่างลงตัว แต่ สิ่งที่เกิดขึ้นซ�้ำแล้วซ�้ำอีกก็คือการฉ้อโกง ของผู้น�ำเหล่านั้นหลายคน ในวันที่ 26 มิถุนายน 2012 ศิษยาภิบาลและกลุ่ม

ผู้ก่อตั้งคริสตจักรซิตี้ ฮาร์เวสต์ ประเทศ สิงคโปร์ ถูกเจ้าหน้าที่ต�ำรวจ และเจ้า หน้าทีจ่ ากกระทรวงพาณิชย์ จับในข้อหา ยักยอกเงินในการก่อสร้างคริสตจักรแห่ง ใหม่จ�ำนวน 50 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ประมาณ 1,285 ล้านบาท) และอีกหลาย ข้อหาในการบิดเบือนบัญชีของคริสตจักร11 แต่ ศิ ษ ยาภิ บ าลก็ ยั ง คงอยู ่ ใ นต� ำ แหน่ ง เทศนาตามปกติ สมาชิกในคริสตจักรยัง คงเชื่อมั่น รวมกันเป็นหนึ่งเดียวในการ อธิษฐานเผื่อ สนับสนุนผู้น�ำของพวกเขา คือ คอง ฮี หลังจากที่ถูกข้อกล่าวหาใน เรื่ อ งดั ง กล่ า ว และในกรณี ข อง เดวิ ด ยองกี โช ที่ถูกตัดสินจ�ำคุกในกรณียักยอก เงิน เลีย่ งภาษี และมีเรือ่ งอือ้ ฉาวทางเพศ ของเขาอีกมากมาย12 เป็ น เรื่ อ งน่ า เศร้ า ใจที่ ค ริ ส ตจั ก รไทย จ�ำนวนมาก ยังคงมีภาพของบุคคลเหล่านี้ ในฐานะของความส�ำเร็จที่อยากจะเดิน ตาม โดยไม่มีบทเรียนจากประวัติศาสตร์ และการเอาจริ ง เอาจั ง ในการต่ อ ต้ า น ค� ำ สอนนี้ ม ากนั ก อาจเป็ น เพราะข่ า ว ประเสริ ฐ แห่ ง ความมั่ ง คั่ ง สามารถ สนั บ สนุ น เป้ า หมายเชิ ง ปริ ม าณของ คริสตจักรได้อย่างดีเยี่ยม 11

“CAD arrests 5 City Harvest Church members, including Pastor Kong Hee”. Channel NewsAsia. [26 Jun. 2012]

10

12

D. A. Horton, Available from: http://9marks.org/ article/journalnine-marks-prosperity-gospel-church/ [1 Oct. 2015]

http://www.christianitytoday.com/gleanings/2014/ february/founder-of-worlds-largest-megachurch-convicted-cho-yoido.html [1 Oct. 2015]

12


TBTS Theological Journal

ผลกระทบของข่ า วประเสริ ฐ แห่ ง ความเจริญรุ่งเรืองต่อการสร้างชีวิต สาวกในระยะยาว

และการได้ชีวิตที่ดีขึ้นเหล่านี้ (ในนิยาม ของทุนนิยม บริโภคนิยมและวัตถุนิยม) เป็นเครือ่ งพิสจู น์ความเชือ่ ของตัวเองและ พิสจู น์ความยิง่ ใหญ่ของพระเจ้า ซึง่ ขัดแย้ง อย่างมากกับค�ำสอนของพระเยซูคริสต์ที่ มุ่งเน้นการมีชีวิตที่เรียบง่าย เสียสละ พึงพอใจในสิ่งที่มี เห็นแก่ประโยชน์ของ ผู้อื่นมากกว่าตัวเอง

แน่นอนว่าข่าวประเสริฐแห่งความเจริญ รุง่ เรืองจะดึงดูดผูค้ นจ�ำนวนมากให้เข้ามา ในคริสตจักรได้ในเวลารวดเร็ว แต่ทว่าใน ท่ า มกลางการเฉลิ ม ฉลองตั ว เลขของ จ� ำ นวนคน เงิ น ถวายและทรั พ ย์ สิ น ที่ คริ ส ตจั ก รซื้ อ ได้ ม ากขึ้ น นั้ น ล้ ว นเป็ น ภาพลวงตาที่บิดเบือนค�ำสอนที่ถูกต้อง ของคริ ส ตจั ก รและการเป็ น คริ ส เตี ย น ที่แท้จริง เมื่อค�ำสอนและแนวทางของ คริสตจักรอยู่ในความมั่งคั่งด้านวัตถุ ไม่ ว่าจะพูดด้วยภาษาหรืออธิบายอย่างไร ก็ ต าม ความสนใจของคริ ส เตี ย นก็ จ ะ เป็นการได้ครอบครองทรัพย์สนิ ทีม่ มี ลู ค่า สูงขึ้น โดยเชื่อว่าเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพ ความเชื่อของตัวเองซึ่งสัมพันธ์กับการ อวยพรที่ ม ากขึ้ น ของพระเจ้ า ซึ่ ง นั บ เป็นการทวีคูณของกระแสบริโภคนิยม เพราะในกระแสที่หนึ่งคือสังคมที่มีธุรกิจ การตลาด สื่อโฆษณามากมายที่จะบอก ผูค้ นเสมอว่า สิง่ ทีเ่ รามีอยูย่ งั ไม่พอ เราจะ ต้องมีหน้ามีตาดีขึ้นอีกในสังคม ต้องขับ รถที่มีคุณภาพสูงขึ้น มีบ้านที่ใหญ่และ สะดวกกว่านี้อีก ต้องสื่อสารและท�ำงาน ให้ เ ร็ ว ขึ้ น ด้ ว ยเทคโนโลยี ที่ ทั น สมั ย ขึ้ น และกระแสที่ ส อง ความเชื่ อ ว่ า ชี วิ ต คริสเตียนทีส่ มบูรณ์คอื การได้รจู้ กั พระเจ้า

ความกดดันในชีวิตคริสเตียนที่จะต้อง เลือกระหว่างการปรนนิบัติพระเจ้าหรือ เงิ น ทอง (มธ. 6:24) ดู เ หมื อ นว่ า จะ ถูกจัดการให้หายไปได้ด้วยข่าวประเสริฐ แห่ ง ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง แน่ น อนว่ า พระเยซูไม่ได้สอนอย่างสุดโต่งว่าเงินทอง เป็นเรื่องชั่วร้าย การได้มีความสุขกับ อาหารการกิน สิง่ ของต่างๆก็ไม่ใช่เรือ่ งชัว่ ร้าย แต่สงิ่ ทีพ่ ระเยซูหา้ มพวกเราคืออะไร จอห์น สตอทท์ (John R. W. Stott) อธิ บ ายหั ว ใจค� ำ เทศนาบนภู เ ขาของ พระเยซูคริสต์เรื่องของทรัพย์สมบัติและ ความทะเยอทะยานไว้ อ ย่ า งน่ า ฟั ง ว่ า “ถ้าเช่นนั้นพระเยซูห้ามอะไร พระเยซู ห้ามการสะสมทรัพย์สมบัติอย่างเห็นแก่ ตัว พระองค์ห้ามการใช้ชีวิตอย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย การมีใจแข็งกระด้างที่ไม่รู้สึก ถึ ง ความขั ด สนของคนที่ ด ้ อ ยโอกาส มากมายในโลก การมีความเฟ้อฝันอัน โง่เขลาทีว่ า่ ความเต็มบริบรู ณ์ของชีวติ นัน้ คือการมีทรัพย์สมบัติมากมาย และการ 13


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

พระเจ้า แล้วได้อะไร” ซึ่งเป็นค�ำถาม เดียวกับที่ผู้คนในความเชื่ออื่นมีกับสิ่ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ อื่ น ๆมี เ ช่ น กั น อาจจะท� ำ ให้ การนมัสการกลายเป็นสิ่งจอมปลอมเฉก เช่นเดียวกับการกราบไหว้พระบาอัล พระ อาเชราห์ จตุคามรามเทพ ตุ๊กตาลูกเทพ ก็เป็นได้ และเมือ่ พระทีเ่ รานมัสการ ไม่ได้ ประทานความสุ ข กายสบายใจ ความ ร�่ำรวยตามที่เราต้องการแล้ว เราก็จะหัน ไปหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์องค์ถัดไปที่น่าจะท�ำ หน้าที่ได้ดีกว่านี้ สมกับที่เราได้ถวายของ ต่างๆให้

หลงใหลในวัตถุนยิ มทีผ่ กู มัดจิตใจของเรา ให้ติดอยู่กับโลกนี้”13 ความชื่มชมยินดีในการได้รู้จักพระเจ้า การมี ชี วิ ต ที่ ง ดงามเหมื อ นกั บ พระเยซู คริสต์ สามารถเปลี่ยนกลายเป็นความ พอใจแบบผิวเผินทีม่ ตี อ่ สิง่ ทีเ่ ราได้รบั ตาม ความต้องการของเรา คริสตจักรกลาย เป็นศูนย์พฒ ั นาตนเอง สร้างแรงบันดาลใจ ผ่อนคลายจากความเครียดในการใช้ชวี ติ สถานที่ของคริสตจักรควรจะต้องหรูหรา สะดวกสบาย และท�ำให้วันอาทิตย์ของ เรากับครอบครัวสมบูรณ์ที่สุด แน่นอน ว่าการได้รับชีวิตใหม่จากพระเจ้าเป็น ความสุข ความสบายใจที่หาที่เปรียบไม่ ได้ แต่ขา่ วประเสริฐแห่งความมัง่ คัง่ ทีเ่ น้น ความสบายใจของผู้เชื่อ จะหยุดยั้งและ บิดเบือนอีกหลายค�ำสอนทีส่ ำ� คัญ ทีท่ ำ� ให้ คริสเตียน “ไม่สบายใจ” เช่น การเสีย สละ การต่อต้านความอยุตธิ รรม การเป็น เสียงให้กบั คนกลุม่ น้อยต่างๆ การเอาชนะ ความโลภและอคติ ต ่ า งๆของตั ว เอง การละทิง้ หลายอย่างทีเ่ รารักเพือ่ ติดตาม พระเยซู การเชื่อฟังที่ขัดแย้งกับความ ต้องการของเรา และการทนทุกข์เพือ่ ข่าว ประเสริฐ เป็นต้น เมือ่ ความดี ความยิง่ ใหญ่ ของพระเจ้า ถูกประเมินด้วยมุมมองผล ประโยชน์ของมนุษย์ ค�ำถามที่เรามีในใจ แต่อาจจะไม่ได้พูดออกมาคือ “ติดตาม

คริสตจักรที่ไม่ได้สอนข่าวประเสริฐแห่ง ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งก็ ห นี ไ ม่ พ ้ น จาก กับดักในเรื่องนี้ เมื่อมีเรื่องทุนเป็นที่ตั้ง กลุ่มคนที่ถวายให้กับคริสตจักรมากจะมี อ� ำ นาจควบคุ ม การใช้ จ ่ า ยเงิ น ของ คริสตจักรมากกว่ากลุ่มคนที่ถวายน้อย 14 ผู ้ ค นที่ ร�่ ำ รวยจะได้ เ ป็ น กรรมการ คณะธรรมกิจ ผู้บริหารของคริสตจักรได้ อย่ า งรวดเร็ ว ในขณะที่ ส มาชิ ก ฐานะ ปานกลางหรือน้อย จะได้รับการปฏิบัติ อีกแบบหนึ่ง ค�ำถามทีเ่ ราสามารถตัง้ กับนักเทศน์เหล่า นั้ นที่ ปรากฏตั วพร้ อ มกั บการอั ศ จรรย์ รักษาโรค ขับผีบนเวทีในห้องสัมมนาของ โรงแรมต่ า งๆ หรื อ เวที ง านฟื ้ น ฟู ต าม 14

John White, The Golden Cow: Materialism in the Twentieth-Century Church, (IL : InterVarsity Press, 1979), 107.

13

จอห์น สตอทท์, ค่านิยมทวนกระแส, (กรุงเทพฯ : กนกบรรณสาร, 2003), หน้า 203.

14


TBTS Theological Journal

หนังสือชื่อ โรคร้ายของพระกิตติคุณเเห่ง ความร�ำ่ รวยเเละสุขภาพดี (The Disease of The Health and Wealth Gospels) สรุปทิ้งท้ายว่าหลักชีวิตของคริสเตียน ตามกรอบความคิดของพระคัมภีร์หมาย ถึง “การรับเอารูปแบบวิถชี วี ติ ทีเ่ รียบง่าย ไม่ ใ ช่ ต ามกฏเกณฑ์ ข ้ อ บั ง คั บ แต่ เ ป็ น เพราะการส�ำนึกในพระคุณของพระเจ้า” และ “ความกล้าหาญทีจ่ ะยืนหยัดต่อต้าน ความเชื่องมงายของวัฒนธรรมวัตถุนิยม ของเรา และกล้าหาญที่จะให้เวลาและ เงินทองไปในเรื่องที่ไม่ได้เป็นที่นิยม”16 เมื่ อ วั ต ถุ นิ ย มและบริ โ ภคนิ ย มท� ำ ให้ คริสเตียนไม่สามารถแยกแยะระหว่างสิ่ง ที่ จ�ำ เป็ นในการด� ำ รงชี พ กั บสิ่ ง ที่ เ ป็ นที่ นิยม คริสเตียนก็สามารถมีรูปเคารพที่ ไม่ใช่วัวทองค�ำหรือพระบาอัลอีกต่อไป แต่เป็นวิถีชีวิตที่หรูหรา ไต่ระดับการใช้ ชีวิตในความหมายของทุนนิยม โดยมีค�ำ สอนของข่าวประเสริฐแห่งความเจริญ รุ่งเรืองมาปิดบังความโลภและเปลี่ยนให้ เป็น “พระพร” ของพระเจ้านั่นเอง

สนามกีฬาขนาดใหญ่ ว่าพวกเขาสามารถ ไปตามชุมชนแออัด ศูนย์ผู้ป่วย ผู้ลี้ภัยที่ ต้องการความช่วยเหลือจริงๆ ได้หรือไม่ พวกเขาสามารถเข้าไปช่วยเหลือหยุดยั้ง โรคอีโบล่าในแอฟริกาได้หรือไม่ พวกเขา จะรักษาคนในบริบทของสถานที่ที่ไม่มี คอนเสิร์ต ไม่มีผู้จัดงานฟื้นฟู แต่เป็นที่ที่ ไม่มีใครเห็นได้หรือไม่ ผมไม่เคยเห็นว่า พระเยซูคริสต์จะทรงรักษาโรคให้ผู้คน โดยการจัดคอนเสิร์ตนมัสการ หรือมีรูป แบบงานที่หรูหราอลังการแบบที่เราเห็น มากมายในปัจจุบัน การมีเงินมากขึน้ ไม่ได้เป็นตัวบ่งชีว้ ่าเรามี ชีวติ สาวกทีพ่ ฒ ั นาขึน้ แต่อย่างใด รอน ไซ เดอร์ (Ron Sider) เขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่ ง กลายเป็ น ข้ อ ถกเถี ย งอย่ า งมากชื่ อ คริสเตียนทีร่ ำ�่ รวยในยุคเเห่งความหิวโหย (Rich Christian in an Age of Hunger) เรียกร้องให้ คริสเตียนในอเมริกาเหนือ กลั บ ใจจากวั ฒ นธรรมวั ต ถุ นิ ย มและ บริโภคนิยม หันมามีชวี ติ ทีเ่ รียบง่าย เสียสละ และอุทิศตัวในการช่วยเหลือพัฒนา คนยากจนที่ มี ม ากมายในโลกนี้ แต่ มี คริ ส ตจั ก รน้ อ ยมากที่ จ ะฟั ง และตอบ สนอง ต่อค�ำสอนนี้ เพราะไม่มีอะไรน่า สนใจไปกว่าการที่ตนเองจะมีชีวิตที่ดีขึ้น และการที่จะมีคนมาเชื่อเพิ่มขึ้นมากๆ15 กอร์ดอน ดี. ฟี (Gordon D. Fee) ใน

16

Gordon D. Fee, The Disease of the Health and Wealth Gospels, (London : OM SPM, 2006), 64-65.

15

Ben Witherington III, Jesus and Money, (London : SPCK, 2010), 153.

15


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

บรรณานุกรม ยศ สันตสมบัติ. มนุษย์กับวัฒนธรรม. กรุ ง เทพฯ: ส� า นั ก พิ ม พ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์, 2556. สตอทท์, จอห์น. ค�าเทศนาบนภูเขา. กรุงเทพฯ: กนกบรรณสาร, 2006. Fee, Gordon D. The Disease of the Health and Wealth Gospels. London: OM SPM, 2006. Kottak, Conrad Philip. Anthropology: The Expansion of Human Diversity. NY: McGrew-Hill, 2006. White, John. The Golden Cow: Materialism in the Twentieth Century Church. IL: InterVarsity Press, 1979. Witherington III, Ben. Jesus and Money. London: SPCK, 2010.

Internet Resources ภณกุล ภวคุณวรกิตติ์. พุทธพาณิชย์ และไสยพาณิ ช ย์ ใ นพุ ท ธศาสนาเชิ ง ปฏิ บั ติ ข องไทย: กรณี ศึ ก ษาวั ด ใน จังหวัดนครปฐม. Available from: http://www.chulapedia.chula. ac.th/index.php/พุทธพาณิชย์และไสย พาณิชย์ [1 Oct. 2015]

ปดิพัทธ์ สันติภาดา D.V.M., MTS. อาจารย์พิเศษ หลักสูตรอบรมผู้น�าฆราวาส สมรสกับคุณปิยนุช มีลูกสาว 1 คน (มาลิตา) เลขาธิการสมาคมนักศึกษาคริสเตียนไทย

16


TBTS Theological Journal

Fox, Jim. Question of Paul Yonggi Cho, Available from : http:// www.believersweb.org/view. cfm?ID=557 [9 Oct. 2015] Grady, J. Lee. 5 Ways the Prosperity Gospel Is Hurting Africa แปลโดย Karl Dahlfred, Available from: http://www.dahlfred.com/ index.php/blogs/4christ/737-5ways-the-prosperity-gospel-is-hurting-africa-thai [1 Oct. 2015] Horton, D. A. Nine Marks of the Prosperity Gospel Church, Available from : http://9marks.org/article/journalnine-marks-prosperity-gospel-church/ [1 Oct. 2015] Theology Committee of Thailand Protestant Church Coordinating Committee. ค�ำสอนเทียมเท็จของข่าว ประเสริฐแห่งความรุ่งเรือง. Available from: http://www.dahlfred.com/ index.php/blogs/4christ/728-prosperity-gospel-article-from-theology-committee-of-thailand-protestant-churches-coordinating-committee [1 Oct. 2015]

17


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

บทเรียนจากค�ำฮีบรู “ทรัพย์สมบัติ” “เงินทอง” เเละ “การอวยพร” ในพระคัมภีร์เดิม ศจ.ดร.ทะนุ วงศ์ธนาธิกุล คล้ายคลึงกันหลายค�ำในพระคัมภีร์เดิม ภาษาฮีบรู พจนานุกรม ISBE1 อ้างอิง ศัพท์ฮีบรูสามค�ำคือ โฮน (hon), ฆะยิล (chayil) และ เนะคาสีม (nekhacim) ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนได้เลือกค�ำที่พบ บ่อยถึง 142 ครั้ง คือ ฆะยิล (chayil)

บทน�ำ

พระคัมภีร์เดิมคือหนังสือบรรทัดฐานที่ พระเจ้าทรงมอบให้แก่คริสตชนเพื่อการ ด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน เพราะในปัจจุบัน ชีวิตประจ�ำวันของคริสเตียนไทยมีความ เกีย่ วข้องกับทรัพย์สมบัติ เงินทอง ซึง่ เป็น พระพรที่มาจากพระเจ้าและเป็นปัจจัยสี่ เพื่อการด�ำรงชีวิตให้อยู่รอดในแต่ละวัน

ในพจนานุกรมฮีบรู-ไทย ค�ำว่า “ฆะยิล” มี ค วามหมายว่ า “แข็ ง แกร่ ง มี ค วาม สามารถ มั่งคั่ง กองทัพ” ซึ่งสอดคล้อง กับใน BDB2 ที่ให้ความหมายหลักของ ค�ำว่า ฆะยิล คือค�ำว่า แข็งแกร่ง ความ หมายรองจากแข็งแกร่งคือ ความสามารถ ที่มักใช้ร่วมกับลักษณะทางจริยธรรมที่ ดีงาม (moral worth) ส่วนความหมาย ด้านการมีทรัพย์สมบัติที่เป็นวัตถุ เป็น ความหมายรองจากนั้นในค�ำอธิบายของ TWOT 3 ค�ำว่า ฆะยิล ในรูปของค�ำนาม มี ก ารใช้ เ กี่ ย วกั บ ความแข็ ง แกร่ ง ของ

ด้วยเหตุนี้คริสเตียนจึงมีพระคัมภีร์เ ดิ ม ซึ่งเป็น “มาตรฐานของความเชื่อ” ที่ พระเจ้าให้แก่เ รา เพื่อให้เ ราสามารถ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต ประจ� ำ วั น สอดคล้ อ งกั บ มาตรฐานความเชื่อได้ ในบทความนี้ผู้เขียนได้น�ำค�ำศัพท์ภ าษา ฮีบรูที่ปรากฏในพระคัมภีร์เดิมมาใช้เพื่อ เป็นแนวทางให้ผอู้ า่ นได้เรียนรูถ้ งึ ค�ำสอน เกี่ยวกับทรัพย์สมบัติ เงินทอง และการ อวยพระพรของพระเจ้า โดยน�ำเสนอ ข้อคิดที่ได้รับจากการศึกษาค�ำตามราก ศัพท์ รวมถึงการยกตัวอย่างเหตุการณ์และ บุคคลในพระคัมภีรเ์ ดิมเพือ่ ประกอบด้วย

1

“Wealth,” The International Standard Bible Encyclopedia, (Grand Rapid, Michigan: WM.B.Eerdmans, 1988), 185-186. 2

Francis Brown, R. Driver, and Charles Briggs, The New Brown Driver Briggs Gesenius Hebrew and English Lexicon, (Indiana: Associated Publishers and Authors, Inc., 1979), 298. 3 Gleason L. Archer and R. Laird Harris, The Theological Wordbook of the Old Testament, (Chicago: Moody Publishers, 1980), 271.

“ทรัพย์สมบัต”ิ

ค� ำ ว่ า “ทรั พ ย์ ส มบั ติ ” ในภาษาฮี บ รู สอดคล้ อ งกั บ ค� ำ ศั พ ท์ ที่ มี ค วามหมาย 18


TBTS Theological Journal

(ฆะยิล)” ทรัพย์สมบัติแม้เป็นสิ่งมีค่าที่ มนุษย์หลายคนต้องการ แต่มนุษย์เอง จ� ำ เป็ น ต้ อ งไม่ ลื ม ถึ ง ความยั่ ง ยื น ถาวร ทรัพย์สมบัติที่แท้จริงควรมีความมั่นคง และยืนนาน ไม่เพียงแต่ในช่วงชีวิตของ คนคนนั้ น เท่ า นั้ น แต่ ยั ง สื บ ทอดไปถึ ง หลายชั่วอายุคน

พระเจ้าหรือจากพระเจ้า ประมาณ 20 ครัง้ ความมัง่ คัง่ ในทรัพย์สมบัติ ประมาณ 30 ครั้ ง ส่ ว นอื่ น ๆ มั ก ใช้ บ รรยายถึ ง ลักษณะของคน เช่น คนแข็งแกร่ง ผู้มี ปัญญา ผู้มั่งคั่ง และลักษณะของการศึก สงคราม เช่น กองทัพ นักรบ ทหาร หรือ แม้แต่ข้าราชบริพารของพระราชินีแห่ง เชบา (1 พกษ. 10:2)

3. ทรัพย์สมบัติของคนเรามาจากไหน? เป็นค�ำถามส�ำคัญของมนุษย์ทตี่ อ้ งมาย้อน มองตัวเองและถามตัวเองพระธรรมปฐมกาล ได้ ก ล่ า วถึ ง พระเจ้ า ผู ้ ท รงสร้ า งทรั พ ย์ สมบัติให้กับมนุษย์ บางครั้งทรัพย์สมบัติ ทีม่ มี ากมายอาจหลอกลวงมนุษย์ได้วา่ นัน่ คือต้นแบบหรือที่มาของความแข็งแกร่ง ของมนุษย์ แต่มนุษย์เองต้องไม่ลืมว่า พระเจ้าผู้ทรงประทานสิ่งสารพัดให้กับ มนุษย์นั้นทรงเป็นความแข็งแกร่งที่แท้ จริง เราต้องส�ำรวจว่า เพราะอะไรเราถึง ต้องการมีทรัพย์สมบัติ เพราะว่าต้องการ ที่จะมีความแข็งแกร่ง ให้คน ยอมรับใน ความสามารถหรืออวดทรัพย์ส มบั ติ นั้ น กั บ ผู ้ อื่ น หรื อ เปล่ า พระธรรมเยเรมีย์ 9:23-24 ได้กล่าวว่า “พระยาห์เวห์ตรัส ดังนีว้ า่ ‘อย่าให้ผมู้ ปี ญ ั ญา อวดสติปญ ั ญา ของตน อย่ า ให้ ช ายฉกรรจ์ อ วดความ เข้มแข็งของตน อย่าให้คนมัง่ มีอวดความ มัง่ คัง่ ของตน แต่ให้ผอู้ วดอวดสิง่ นี้ คือการ ที่ เ ขาเข้ า ใจและรู ้ จั ก เราว่ า เราคื อ พระยาห์ เ วห์ ผู ้ ส� ำ แดงความรั ก มั่ น คง ความยุตธิ รรมและความชอบธรรมในโลก

จากความหมายทางพจนานุ ก รม พระคัมภีร์ BDB และ TWOT ผูเ้ ขียนสรุป ค�ำว่า ทรัพย์สมบัติ ในรากศัพท์ภาษาฮีบรู ค�ำว่า “ฆะยิล” เป็นบทเรียน 5 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. เมือ่ พิจารณาถึงรากศัพท์ “ทรัพย์สมบัต”ิ ในพระคัมภีร์เดิม ทรัพย์สมบัติไม่จ�ำเป็น ต้องอยูใ่ นรูปของวัตถุสงิ่ ของ ทีด่ นิ หรือสิง่ ที่สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้เสมอไป ค�ำว่า “ทรัพย์สมบัต”ิ สามารถอยูใ่ นรูปของ นามธรรม ซึง่ มนุษย์ไม่สามารถจับต้องได้ หรือซื้อขายได้ ยกตัวอย่างเช่น ความ เข้มแข็ง กล้าหาญ ความเป็นนักรบ 2. จากค� ำ อธิ บ ายของ TWOT ค� ำ ว่ า “ฆะยิล” ซึ่งหากอยู่ในรูปของค�ำกริยา จะมีความเกี่ยวข้องกับเวลา ซึ่งมีความ หมายว่า มั่นคง ถาวร ในพระธรรมโยบ 20:20-21 “เพราะความโลภของเขาไม่รู้ จักพอ เขาจะไม่ปล่อยสิ่งที่เขาปรารถนา ไปเลย เมื่อเขากินแล้วก็ไม่มีอะไรเหลือ เหตุฉะนั้นความเจริญของเขาจะไม่ถาวร 19


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ประสบความยากล�ำบาก สูญเสียทรัพย์ สมบั ติ ที่ เ ป็ น วั ต ถุ แต่ เ ขาไม่ ไ ด้ สู ญ เสี ย ความแข็ ง แกร่ ง หรื อ ความมั่ น คงใน ความเชื่อในพระเจ้า เช่น โยบ ได้สูญเสีย ฝู ง สั ต ว์ แ ละความมั่ ง คั่ ง ที่ ต นมี ภ ายใน พริบตา แต่ท่ามกลางความทุกข์ยากของ การสู ญ เสี ย ทรั พ ย์ ส มบั ติ ภ ายนอก เหล่ า นั้ น โยบไม่ ไ ด้ ต ่ อ ว่ า พระเจ้ า เลย เขากลั บ แสดงความแข็ ง แกร่ ง ซึ่ ง เป็ น ทรัพย์สมบัติภายในเขาอย่างมากที่สุด และเป็นแบบอย่างให้กบั เราในทุกวันนีใ้ ห้ มีความแข็งแกร่งในยามที่เราประสบกับ ความทุกข์ล�ำบาก

เ พ ร า ะ เ ร า พ อ ใ จ ใ น สิ่ ง เ ห ล ่ า นี้ ’ พระยาห์ เ วห์ ต รั ส ดั ง นี้ แ หละ” 4. เราแสวงหาทรั พ ย์ ส มบั ติ ภ ายนอก จนเราลืมสิ่งที่เรามีอยู่หรือไม่? จากราก ศัพท์ของค�ำว่า “ทรัพย์สมบัต”ิ ครอบคลุม ความหมายว่า ความสามารถ ความเป็น นักรบหรือนักสู้ พระเจ้าทรงเป็นผูป้ ระทาน ความสามารถและความเป็นนักสู้ในชีวิต ของเราแต่ละคน ดัง “อย่าให้คนมั่งมีอวดความมั่งคั่ง นั้ น เราอย่ า ดู ห มิ่ น ความสามารถทีต่ นเอง ของตน แต่ให้ผู้อวดอวดสิ่งนี้ มี จ นท� ำ ให้ เ ราขั ด ขื น คือการที่เขาเข้าใจ และรู้จักเราว่า ค�ำสั่งของพระเจ้า ยกตัวอย่างเช่น เราคือพระยาห์เวห์ ผู้ส�ำแดง คนอิสราเอลที่ไม่กล้า ความรักมั่นคง ความยุติธรรม เข้าในแผ่นดินคานาอัน เพราะกลั ว คนยั ก ษ์ และความชอบธรรมในโลก พวกเขาดูถูกตัวเองว่า เพราะเราพอใจในสิ่งเหล่านี้” ไม่สามารถรบชนะคน เยเรมีย์ 9:24 เหล่านั้นได้ เขาลืมว่า พระเจ้าทรงเป็นความ เข้ ม แข็ ง ของพวกเขาและไม่ เ ชื่ อ ใน พระองค์ นี่ เ ป็ น สาเหตุ ที่ ท� ำ ให้ ค น อิสราเอลต้องเดินวนรอบในถิน่ ทุรกันดาร อีกหลายปีตอ่ มาและคนในรุน่ นัน้ ไม่มใี คร สามารถเข้าในแผ่นดินคานาอันได้ยกเว้น แต่ คาเลบและโยชูวา

“เงินทอง” มี ก ารใช้ ค� ำ ศั พ ท์ ฮี บ รู ม ากมายใน พระคัมภีร์เดิมซึ่งให้ความหมายเกี่ยวกับ เรื่องเงิน ค�ำที่ใช้โดยทั่วไปในภาษาฮีบรู คือค�ำว่า “เคะเส็ฟ” (keceph) ซึ่งมี ความหมายตรงตัวคือ แร่เงิน ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้พบว่า มนุษย์ได้ใช้แร่ทองค�ำ และแร่เงิน เป็น ตั ว กลางในการแลกเปลี่ ย นตั้ ง แต่ ก ่ อ น สมัยอับราฮาม ในพจนานุกรมพระคัมภีร์ ของ Fausset กล่าวถึงยุคของอับราฮาม ว่าการแลกเปลี่ยนสินค้า ได้มีการตีราคา และแลกเปลี่ยนโดยคิดมูลค่าขึ้นลงตาม การชัง่ น�ำ้ หนักของแร่เงิน หรือแร่ทอง ใน รูปของแท่ง (bars) หรือแหวน (rings) ส่วนเงินทีอ่ ยูใ่ นรูปของเหรียญนัน้ ไม่มกี าร

5. บุคคลทีไ่ ม่มที รัพย์สมบัตทิ เี่ ป็นวัตถุนนั้ แสดงถึงผลของการไม่เชื่อในพระเจ้าใช่ หรือไม่? ในพระคัมภีร์มีบุคคลมากมายที่ 20


TBTS Theological Journal

กล่ า วถึ ง เลยก่ อ นช่ ว งเวลาของเอสรา ค�ำว่า “เคะเส็ฟ” ในพระคัมภีร์เดิมได้น�ำ มาใช้อย่างกว้างขวางมากกว่าใช้เป็นเพียง การซื้ อ ขายแลกเปลี่ ย นสิ่ ง ของเท่ า นั้ น “เคะเส็ฟ” ยังครอบคลุมถึง

ค�ำว่า เคะเส็ฟ ในส่วนของข้อคิดที่เราจะ น�ำมาใช้ เราสามารถแบ่ง เคะเส็ฟ ที่ถูก ใช้ เ ป็ น สามด้ า นด้ ว ยกั น นั่ น คื อ ด้ า นที่ พระเจ้าทรงสอนให้มนุษย์ด�ำเนินชีวิตใน ทางที่ถูกต้อง ด้านที่สองคือด้านของการ ครอบครองและการใช้ ส่วนด้านสุดท้าย คือด้านที่มนุษย์ได้กบฏต่อพระเจ้าโดย การน�ำเงินนั้นมาสร้างเป็นรูปเคารพเพื่อ กราบไหว้

1. เงินที่แสดงถึงความมั่งมี ใน ปฐมกาล 13:2 ที่ ไ ด้ ก ล่ า วถึ ง อั บ ราฮั ม มั่ ง มี ทั้ ง ฝูงสัตว์ เงินและทองค�ำ 2. เงินทีบ่ ริสทุ ธิจ์ ำ� เป็นต้องมีการถลุงหรือ ไล่ขี้แร่ออกจากเงิน (สภษ. 25:4, 26:23, อสค. 22:18)

ด้านทีพ่ ระเจ้าทรงสอนให้มนุษย์ได้ดำ� เนิน ชีวิตอย่างถูกต้อง ในด้านนี้มนุษย์จ�ำเป็นต้องเห็นภาพของ “เคะเส็ฟ” ว่าเป็นสิ่งที่มีค่า เงินเป็นของพระเจ้า และบริสทุ ธิก์ ต็ อ่ เมือ่ ได้รบั การ ถลุงน�ำขี้เงินออกไป อิสราเอล พระองค์ประทานเงินทอง ในยุคสมัยของเอเสเคียลได้ถกู ให้กับมนุษย์เพื่อใช้ กล่าวว่า พวกเขาคือขี้เงินและ หากพวกเขาจะเป็นเงิน เขา จ�ำเป็นต้องถูกละลายด้วยไฟในเตาหลอม (อสค. 22:18-22) ในพระธรรมมาลาคี ได้ กล่าวถึงบุตรหลานของเลวีจำ� เป็นต้องถูก ช�ำระให้บริสุทธิ์เหมือนเงินที่ถูกถลุง เพื่อ เขาจะน�ำเครื่องบูชามาถวาย แด่พระ ยาห์เวห์ด้วยความชอบธรรม (มลค. 3:3) ดั ง นั้ น ชี วิ ต ของเราจะต้ อ งถู ก ช� ำ ระให้ บริสทุ ธิก์ อ่ น เพือ่ เราจะเป็นคนทีใ่ ช้การได้ ด้านการครอบครองและการใช้

3. เงินที่เป็นแร่เพื่อน�ำมาใช้เป็นภาชนะ (ปฐก. 24:53, 44:2) 4. เงินทีน่ ำ� มาท�ำเป็นแตร (กดว. 10:2) 5. เงินที่น�ำมาใช้ท�ำเป็นรูปเคารพ (อพย. 20:23, อสย. 2:20) 6. เงินทีท่ ำ� เป็นแผ่นน�ำมาชัง่ ในรูปน�ำ้ หนัก เชเขล ตะลันต์ (ปฐก. 20:16, 45:22, 1พกษ. 20:39) 7. เงินในรูปของค่าไถ่ ซึง่ พระคัมภีรใ์ ช้ค�ำ ตรงตัวว่า เงินค่าไถ่ (ลนต. 25:52)

ข้อคิดจากการปรากฏของค�ำว่า “เคะเส็ฟ” (keceph) พระเจ้าไม่ได้สร้างมนุษย์เพื่อเงิน แต่ทรง ให้ เ งิ น เพื่ อ เป็ น ของที่ ม นุ ษ ย์ จ ะน� ำ มาใช้ หากเราพิจารณาการปรากฏของ

พระธรรมฮักกัย 2:8 “เงินเป็นของเรา และทองก็ เ ป็ น ของเรา พระยาห์ เ วห์ 21


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

การไม่เชือ่ ฟังหรือต่อต้าน เมือ่ มนุษย์ได้ทำ� รูปเคารพส�ำหรับตน จากเงินหรือทอง ของตน เพื่อกราบไหว้และปรนนิบัติรูป เคารพเหล่ า นั้ น นั่ น คื อ การกบฏต่ อ พระเจ้า

จอมทัพตรัสดังนีแ้ หละ” มนุษย์จำ� เป็นต้อง ตระหนักอยูเ่ สมอว่า เงินเป็นของพระเจ้า พระองค์ประทานเงินทองให้กับมนุษย์ เพื่อใช้ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า แต่ละคนจะน�ำเงินและ สิ่งส�ำคัญก็คือ ขณะที่ ทองไปใช้ในทางใด สิ่ง เราได้ครอบครองและใช้เงินและ ส�ำคัญก็คือขณะที่เราได้ ทองนั้น เราตระหนักหรือไม่ว่า ครอบครองและใช้ เ งิ น เงินและทองที่เรามีอยู่ทั้งสิ้นเป็น และทองนัน้ เราตระหนัก หรือไม่ว่าเงินและทองที่ ของพระเจ้า เรามี อ ยู ่ ทั้ ง สิ้ น เป็ น ของ พระเจ้า ท่าทีของการมี เงินและทองที่สอดคล้องกับพระธรรม ฮักกัยนั้นท�ำให้เราสามารถถวายอย่าง เต็มใจโดยที่ไม่มีเงื่อนไขว่าพระองค์ต้อง ตอบแทนการถวายของเรา ท� ำ ให้ เ รา ขอบพระคุณพระองค์เสมอส�ำหรับเงิน และทองที่พระเจ้าให้เรา รักษาความ ซื่ อ สั ต ย์ ใ นเรื่ อ งเงิ น ทองไม่ โ ลภเหมื อ น อาคาน (ยชว. 7:21) รวมถึงใช้อย่างถูก ต้องเพือ่ สมกับทีเ่ งินและทองนัน้ เป็นของ พระเจ้า

“การอวยพระพร” ภาษาฮีบรูที่มักถูกใช้เกี่ยวกับการอวยพร คือค�ำว่า “บารัค” (barakh) เป็นค�ำกริยา เน้นถึงท่าที “คุกเข่า” และ “กล่าวอวยพร” ในพจนานุกรม ISBE กล่าวถึงการอวยพร ที่ปรากฎในพระคัมภีร์เดิมทั้งหมดสาม ด้านด้วยกันคือ 1. การอวยพรจากพระเจ้าในสิง่ ทรงสร้าง เริม่ ขึน้ ในพระธรรมปฐมกาลเมือ่ พระองค์ ทรงสร้างสรรพสิง่ และทรงเห็นว่าสรรพสิง่ ที่ ทรงสร้างนัน้ ดี ค�ำว่า “บารัค” ถูกใช้ครัง้ แรก ในพระธรรมปฐมกาลบทที่ 1 ข้อ 22 เพือ่ ให้สิ่งทรงสร้างรวมทั้งมนุษย์นั้นเกิดผล และทวีคณ ู 2. การอวยพรระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ในฐานะของพระฉายา ของพระเจ้ า ได้ รั บ การอวยพรจาก พระเจ้ า ในการเกิ ด ผลดกและทวี คู ณ (ปฐก. 1:28) และในขณะเดียวกันมนุษย์ ได้มกี ารอวยพรแด่พระเจ้าผูป้ ระทานการ อวยพรแก่เขา (สดด. 95:6)

ด้านทีม่ นุษย์ได้กบฏต่อพระเจ้า หนึง่ ในพระบัญญัติ 10 ประการได้กล่าวว่า “ห้ามท�ำรูปเคารพส�ำหรับตน เป็นรูปสิง่ ใด ซึ่งมีอยู่ในฟ้าเบื้องบน หรือบนแผ่นดิน เบือ้ งล่างหรือในน�ำ้ ใต้แผ่นดิน ห้ามกราบ ไหว้หรือปรนนิบัติรูป เหล่านั้น...” (อพย.20:4) การกบฏนัน้ มีความหมายถึง

3. การอวยพรของมนุษย์ด้วยกัน เกิดขึ้น เมื่อมนุษย์ได้กล่าวค�ำอวยพรเพื่อให้อีก ฝ่ายได้รับสิ่งดี โดยมีหรือไม่มีพระเจ้าเข้า 22


TBTS Theological Journal

ครองเท่านั้น แต่ควรมองถึงทรัพย์สมบัติ ภายในที่ไม่สามารถจับต้องได้ นั่นคือ ความเข้มแข็ง ความมั่นคงภายในจิตใจ

มาเกีย่ วข้อง การอวยพรในลักษณะนีด้ งั เช่น ความสัมพันธ์ของพ่อลูก (ปฐก. 27:33) ญาติพี่น้อง (ปฐก. 24:60) หรือแม้แต่ บาลาอั ม ผู ้ ซึ่ ง อวยพรชนชาติอิสราเอล แทนค�ำแช่งสาป (กดว. 23:11) จากการศึกษาภาษาฮีบรู ค�ำว่า “บารัค” ท�ำให้เราเห็นจุดประสงค์ของการอวย พระพรของพระเจ้าเพื่อให้มนุษย์และสิ่ง ทรงสร้างนัน้ ทวีและเกิดผล และมนุษย์ได้ แสดงถึ ง การคุ ก เข่ า เพื่ อ สรรเสริ ญ ต่ อ พระเจ้าเมือ่ เขารูว้ า่ สรรพสิง่ ทีเ่ ขามีเกิดผล และทวี ม ากขึ้ น นั้ น มาจากพระองค์ การอวยพรเป็นสิ่งส�ำคัญเมื่อมนุษย์ได้ ตระหนักถึงผูท้ ใี่ ห้พรและมีทา่ ทีถอ่ มตัวลง

2. “บารัค” ไม่เพียงแต่มีความหมายว่า อวยพร แต่ ยั ง มี ค วาม พระเจ้าทรงสร้างเงินและ หมายถึ ง ท่ า ที คุ ก เข่ า สรรเสริญ เป็นบทเรียนที่ ทรัพย์สมบัติไว้เพื่อมนุษย์จะทวี พระคัมภีร์เดิมได้แนะน�ำ และเกิดผล ไม่ได้สร้างมนุษย์เพื่อ ถึงท่าทีที่มนุษย์ควรมีต่อ พระเจ้าผู้ทรงสร้างและ ให้เงินหรือทรัพย์สมบัติทวีขึ้น อวยพรมนุษย์ ในฐานะ พระฉายาของพระเจ้ า เราควรคุกเข่าต่อพระเจ้าและสรรเสริญ พระองค์ทที่ รงสร้างสรรพสิง่ เพือ่ เรา ไม่ใช่ การคุกเข่าต่อทรัพย์สมบัติ เงินทอง ท่าที ของการคุกเข่าสรรเสริญพระเจ้าจะน�ำสู่ ท่าทีของการอวดพระเจ้า ผูท้ รงประทาน การอวยพร ทรัพย์สมบัติ และเงินทองใน ชีวิตประจ�ำวันของเรา ไม่ใช่ การโอ้อวด วัตถุสิ่งของหรือแม้แต่ความสามารถของ ตนในการได้ทรัพย์เหล่านั้นมา

สรุป พระคัมภีรเ์ ดิมได้ให้คำ� สอนกับเรามากมาย ในเรือ่ งการอวยพระพรจากพระเจ้า ทรัพย์ สมบัติ และเงินทอง หลังจากผู้เขียนได้ เสนอความหมายตามรากศัพท์ในแต่ละค�ำ เมื่อน�ำบทเรียนของแต่ละค�ำมาเชื่อมโยง กัน ผู้เขียนสรุปเป็นบทเรียนดังนี้

3. พระคัมภีร์เดิมได้ให้ข้อคิดแก่เราว่า ทรัพย์สมบัติและเงินทองที่เรามีนั้นมา จากการอวยพรของพระเจ้า ดังนั้นท่าที ของเราไม่เพียงแต่คุกเข่าและถวายให้ พระองค์ เ พื่ อ สรรเสริ ญ เท่ า นั้ น แต่ ยั ง ครอบคลุมถึงท่าทีของการอวยพรผู้อื่น ด้วย เราสามารถอวยพรผู้อื่นโดยการ แบ่งปันทรัพย์และเงินทองทีเ่ รามีตอ่ ผูอ้ นื่ อวยพรผู้อื่นให้มีความแข็งแกร่งในจิตใจ

1. พระเจ้าทรงอวยพรมนุษย์เพื่อให้เกิด ผลและทวีคณ ู สิง่ ทรงสร้างทีพ่ ระองค์ทรง สร้างต่างอยู่ในแผนการแห่งการอวยพร ของพระองค์ พระเจ้าทรงสร้างเงินและ ทรัพย์สมบัติไว้เพื่อมนุษย์จะทวีและเกิด ผล ไม่ได้สร้างมนุษย์เพือ่ ให้เงินหรือทรัพย์ สมบั ติ ท วี ขึ้ น มนุ ษ ย์ ไ ม่ ค วรมองว่ า วั ต ถุ สิง่ ของเป็นทรัพย์สมบัตทิ ตี่ นมีหรือครอบ 23


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ผ่านความแข็งแกร่งของเราทีพ่ ระเจ้าทรง ประทานให้ แ ละอวยพรผู ้ อื่ น ผ่ า นการ คุกเข่าและถวายค�ำสรรเสริญแด่พระเจ้า ผู้ทรงอวยพระพรเรา

ฮิดากะ, โยชิฮโิ กะ และทะนุ วงศ์ธนาธิกลุ . พจนานุ ก รมฮี บ รู – ไทย. กรุงเทพฯ: ธรรมดาเพรส, 2005. Archer, Gleason L. and R. Harris, Laird. The Theological Wordbook of the Old Testament. Chicago: Moody Publishers, 1980. Bromiley, Geoffrey W. (Editor). The International Standard Bible Encyclopedia [ISBE]. Michigan: WM. B. Eerdmans Publishing Co.,1995.

ศจ.ดร.ทะนุ วงศ์ธนาธิกุล

BS.(Psychology), M.Div., D.Min. อ.พิเศษ หมวดพระคัมภีร์เดิม สมรสกับอ.เมลิสสา มีลูกสาวหนึ่งคนและลูกชายหนึ่งคน (ทิตติยาพร และศานติ) ศิษยาภิบาลคริสตจักรพระสัญญา

Brown, Francis, R. Driver, and Charles Briggs. The New Brown Driver Briggs Gesenius Hebrew and English Lexicon. Indiana: Associated Publishers, 1979. Green, Jay P. The New Englishman’s Hebrew Concordance. Massachusetts, Hendrickson, 1984. Hartley, John E. The book of Job, New International Commentary on the Old Testament. Michigan: WM. B. Eerdmans Publishing, 1988.

บรรณานุกรม วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. Thai–English Dictionary. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น, 1996.

Tigay, Jefferey H. The JPS Torah Commentary, Deuteronomy. Philadelphia: The Jewish Publication Society, 1996.

ฮิดากะ, โยชิฮโิ กะ. ศาสนศาสตร์พระคัมภีร์ เดิม: มองพระคัมภีร์เดิมจากหลากมิติ. กรุงเทพฯ: โรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์ แบ๊บติสต์, 2014. 24


TBTS Theological Journal

A lesson from the Hebrew words “Wealth”, “Money” and “Blessing” in the Old Testament Rev. Dr.Thanu Wongthanathikul , Translated by : Mr.Practh Kaneungkaival that have meanings which are similar to or associated with “wealth”. The International Standard Bible Encyclopedia (ISBE)1 has cited three words: “hon”, “chayil” and “nekhacim”. The Word “chayil”, which is mentioned 142 times in the Old Testament, is the word chosen by the author to explore in this article.

Introduction The Old Testament is a Christians’ guide for daily living from God. Today, the daily life of the Thai Christian involves the subject of wealth and money, which are part of the basic human needs that God has blessed us with. Therefore, Christians have the Old Testament as a “Code of faith” from God to help us live a life of faith that is guided by his standards.

The Hebrew-Thai Dictionary defines chayil as “strong”, “competent”, “wealthy” and “army”. This definition coincides with the definition from The New Brown Driver Briggs Gesenius Hebrew and English Lexicon (BDB)2 which defines chayil as “strength”. The secondary definition is

In this article, the author will explore Hebrew words from the Old Testament that will help guide the reader in the study of wealth, money and God’s blessing by reflecting upon the etymology of related words as well as referencing events and people from the Old Testament.

1

“Wealth,” The International Standard Bible Encyclopedia, (Grand Rapid, Michigan: WM.B.Eerdmans,1988), 185-186.

“Wealth”

2

Francis Brown, R. Driver, and Charles Briggs, The New Brown Driver Briggs Gesenius Hebrew and English Lexicon, (Indiana: Associated Publishers and Authors, Inc., 1979), 298.

In the Hebrew version of the Old Testament, there are many words 25


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

“traits usually associated with moral worth”, followed by the definition of “having material wealth”.

1. Considering the etymology of the word “wealth” found in the Old Testament, wealth does not always mean something in the form of items, lands, or tradable assets. “Wealth” can also mean something intangible or untradeable such as strength, courage, and warrior-likeness.

In the explanation of the noun form of chayil in The Theological Wordbook of the Old Testament (TWOT)3 , has approximately 20 instances where it is associated with “the strength of from God” and 30 instances where it is associated with “wealth of material riches”. The remaining instances are typically used to describe a person’s traits, such as “strong”, “wise” or “wealthy”, as well as to describe war, by using terms such as “army”, “warriors” or “soldiers”. Last, it was even used to describe the servants of Queen of Sheba (1Ki. 10:2).

2. The verb form of chayil, as described in TWOT, is related to time and means “enduring” and “eternal”. One example found in Job 20:20-21 reads, “Surely he will have no respite from his craving; he cannot save himself by his treasure. Nothing is left for him to devour; his prosperity will not endure (chayil).” Although prosperity is something many people need, true wealth should possesses perpetuity and endurance, not only for a persons life-span, but through several generations.

Based on the definition of chayil from The Biblical Dictionary, BDB and TWOT, the author has concluded five lessons:

3. “Where did our wealth come from?” is a vital question we should reflect on. In the book of Genesis, God granted wealth to man. Sometimes, our understanding of wealth and riches might misled

3

Gleason L. Archer and R. Laird Harris, The Theological Wordbook of the Old Testament, (Chicago: Moody Publishers, 1980), 271.

26


TBTS Theological Journal

when the Israelites were too afraid of the Amalekites and Canaanites to enter Canaan. They thought they were incapable “let the one who boasts of winning against boast about this: that they the resident giants. They forgot have the understanding to that their strength was from God know me, that I am the and they failed Lord, who exercises to believe in kindness, justice and Him. Therefore, they were to righteousness on earth, wander the desert for in these I delight” for years and Jeremiah 9:24 no one in their generation was able to enter Canaan but Caleb and Joshua.

us into believing that they are the origin of our strength. However, we must remember that true strength lies in God who provides for us. We should ponder the reason we wish for wealth. Is it for the sake of strength? To be praised as competent? Or, for boasting to other people? In Jeremiah 9:23-24, it is written: “This is what the Lord says: ‘Let not the wise boast of their wisdom or the strong boast of their strength or the rich boast of their riches, but let the one who boasts boast about this: that they have the understanding to know me, that I am the Lord, who exercises kindness, justice and righteousness on earth, for in these I delight,’ declares the Lord”.

5. Does not having material wealth signify a person’s faith in God? Throughout the Bible, there were many people who suffered hardships and lost their material possessions. However, they neither lost their faith in God. One example is Job. Job lost all of his wealth and possessions. However, even in his suffering from the loss of his external wealth, he demonstrated

4. Have we searched for external riches and forgot the riches we already have? The etymology of the word “wealth” includes the meaning of capabilities, warrior/ fighter-likeness. God has given each of us abilities as well as a fighting spirit. Therefore, if we devalue ourselves, it is disobedience to God. One example of this is 27


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

his strength by not blaming God and thus becoming a role-model for us to follow when we face hardships

2. Refined silver that must be smelt till all dross is removed (Pr. 25:4, 26:23, Eze. 22:18). 3. Silver that is to be used as vessels (Ge. 24:53, 44:2).

“Money”

In the Old Testament, many Hebrew words are used that relate to money. The most universal word is “keceph”, which means silver (ore).

4. Silver that is to be hammered into trumpets (Nu. 10:2). 5. Silver that is to be molded into idols (Ex. 20:23, Isa. 2:20). 6. Pieces of silver, weighted in shekels/talents (Ge. 20:16, 45:22, 1Ki. 20:39)

Historical sources suggest that mankind has been using gold and silver as mediums of exchange since before the time of Abraham. Fausset’s Bible Dictionary describes the use of gold or silver bars and rings as a medium for trade during the age of Abraham. The use of coins is not mentioned until the time of Ezra.

7. Money to pay for redemption, called “price for redemption” in the Bible (Lev. 25:52). Notions Gleamed from the Word “Keceph” God did not create mankind for the purpose of pursuing money, but he gave mankind money for them to use in daily life. The various usages of the word “keceph” can be categorized in three different ways. The first way “keceph” is used involves God guiding mankind to live on the right path, the second way deals with possessions and administration

In the Old Testament, the word “keceph” is used numerous times to refer to trading and exchange. However, it is also used to mean: 1. Silver which represents wealth. In Genesis 13:2 Abraham was described as wealthy in livestock, silver and gold. 28


TBTS Theological Journal

and the last way regards mankind’s rebellion against God when they chose to worship idols created from silver.

us to use it as we see fit. The important point is whether or not we are conscious that money belongs to the God. Haggai’s reminder helps us to see that we are to whole-heartily offer everything we have to God without The crucial point is whether expecting anything we are conscious that in return, that we are to always be money belongs to the Lord thankful for the while we were holding on money He gives to and using them. us, that we are to preserve our honesty and not follow in Achan’s lead (Jos. 7:21) and to use money in a way that is honoring to God.

God Guides Man to Live on the Right Path In this instance, “keceph” is valuable and pure only if the dross is smelt away. During the age of Ezekiel, the Israelites were said to be the “dross of silver” and if they wished to become like silver, they must be melted in the furnace (Eze. 22:18-22). In the book of Malachi, the Levites must be refined and purified like gold and silver, so they would be able to bring righteous offerings to God. (Mal. 3:3). Therefore, we too must be purified before we are fit to serve the Lord.

Man Rebelling Against God In the Ten Commandments it is written: “You shall not make for yourself an image in the form of anything in heaven above or on the earth beneath or in the waters below…” (Ex. 20:4). Rebellion is to disobey or to go against God. When mankind values their gold and silver in

Possession and Administration Haggai 2:8 reads, “‘The silver is mine and the gold is mine,’ declares the LORD Almighty.” This passage means we must always understand that money belongs to God, and He has granted 29


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

when people offer blessings to each other, with or without God’s involvement, with the intention of making someone happy. This type of blessing includes those found in father-son relationships (Ge. 27:33), between relatives (Ge. 24:60) and even when Balaam blessed the Israelites instead of cursing them (Nu. 23:11).

ways that make it most valuable in their life, it is an act of rebelling against God.

“Blessing”

In Hebrew, one word that was typically associated with “blessing” is “barakh”. It is a verb that means “to kneel” or “to bless”. The ISBE Dictionary describes blessings in the Old Testament in three ways. The three ways are:

Studying the word “barakh” has allowed us to see why God blessed us, to be “fruitful and increase in number”, and why we kneel down in praise of Him when we understand that everything we have came from the Lord. Blessings become meaningful once we realize whom they came from and learn to have a humble attitude.

1. The blessing from God to His creation. This occurs for the first time in Genesis when God created everything. The word “barakh” was first used in Genesis 1:22 when God blessed his creation so that they would be fruitful and increase in number. 2. The blessing between God and man. This happened when God blessed mankind and created them in His image and called them to be fruitful and increase in number (Ge. 1:28) It also refers to when men kneel before the God who blessed them (Ps. 95:6).

Conclusion

The Old Testament teaches us much about God’s blessings of wealth and money. The following is a summary of the main points of this study: 1. God blessed mankind to be fruitful and increase in number.

3. Mankind’s blessing toward each other. This type of blessing is 30


TBTS Theological Journal

from God. We should not only have an attitude of kneeling down in praise of God, we should also strive to bless other people. We can God gives money bless others by and wealth so that sharing with them the wealth and mankind can prosper. inner strength God has given us and also by kneeling down in praise of the God who has blessed us.

All of God’s creation are objects of His blessing. God gives money and wealth so that mankind can prosper. He did not make mankind for the purpose of making money and acquiring possessions. We should not view material wealth as our only possessions. We should also look at the intangible inner wealth such as mental strength. 2. “Barakh” does not only mean “to bless” but also means “to kneel in praise”. The Old Testament gives us this word to show us the attitude we, who are created in His image, are to have toward the God who created and blessed us. We should kneel in praise of God, our creator. We should not kneel to praise money and wealth. The attitude of kneeling down in praise of God should lead us to the attitude of boasting of in Him who blesses and grants us wealth in our daily lives. It should not be about boasting in material riches or our abilities to acquire them.

Rev. Dr. Thanu Wongthanathikul

BS.(Psychology), M.Div., D.Min.

Rev. Thanu serves as Pastor of Promise Baptist Church and is a Professor of Old Testament Studies at TBTS. He is married to Mrs. Malissa Wongthanathikul. They have two children, Thittiyaporn and Santi.

3. The Old Testament teaches us that wealth and money a blessing 31


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

Bibliography:

Hartley, John E. The book of Job, New International Commentary on the Old Testament. Michigan: WM. B. Eerdmans Publishing, 1988.

วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. Thai–English Dictionary. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น, 1996. ฮิ ด ากะ, โยชิ ฮิ โ กะ. ศาสนศาสตร์ พระคัมภีร์เดิม:มองพระคัมภีร์เดิมจาก หลากมิต.ิ กรุงเทพฯ: โรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์แบ๊บติสต์, 2014.

Tigay, Jefferey H. The JPS Torah Commentary, Deuteronomy. Philadelphia: The Jewish Publication Society, 1996.

ฮิดากะ, โยชิฮโิ กะ และทะนุ วงศ์ธนาธิกลุ . พจนานุ ก รมฮี บ รู – ไทย. กรุ ง เทพฯ: ธรรมดาเพรส, 2005. Archer, Gleason L. and Harris R. Laird. The Theological Wordbook of the Old Testament. Chicago: Moody Publishers, 1980. Bromiley, Geoffrey W. (Editor). The International Standard Bible Encyclopedia [ISBE]. Michigan, WM. B. Eerdmans Publishing Co., 1995. Brown, Francis, R. Driver, and Charles Briggs. The New Brown Driver Briggs Gesenius Hebrew and English Lexicon. Indiana: Associated Publishers, 1979. Green, Jay P. The New Englishman’s Hebrew Concordance. Massachusetts, Hendrickson, 1984. 32


TBTS Theological Journal

ความเจริญรุ่งเรืองในมุมมองของพระเยซู ดร.ชัยวัฒน์ ชาวเมืองแมน

เบื้องหลังสภาพสังคมในยุคสมัยนั้น

equation) ต่อมาภายหลัง การยอมรับ ความแตกต่างทางชนชัน้ ได้มกี ารสืบทอด และพั ฒ นาต่ อ มา โดยแบ่ ง เป็ น สอง แนวทาง แนวทางแรกเริ่มมีการพัฒนา ความคิดที่ว่าความมั่งคั่งน�ำมาซึ่งความ โลภและการใช้อ�ำนาจอย่างไม่ถูกต้อง และแนวทางที่สอง ในสังคมที่ทรัพยากร ต่างๆมีอยู่จ�ำกัด ความมั่งคั่งที่ไม่มีความ ชั ด เจนว่ า มาจากพระเจ้ า ถู ก มองว่ า เป็นการได้มาจากการใช้อ�ำนาจและการ สรรหาที่ไม่ถูกต้อง2

ในแถบดิ น แดนปาเลสไตน์ ในช่ ว ง ศตวรรษแรก ประชากรแบ่งเป็นชนชั้น ใหญ่ๆ สองชนชั้นด้วยกัน ชนชั้นแรก คือ บรรดาผู้ที่ร�่ำรวยซึ่งเป็นชนชั้นส่วนน้อย อันประกอบไปด้วยกลุ่มคนสี่กลุ่ม คือ คนในวงศ์วานมหาปุโรหิต วงศ์วานของ เฮโรด ข้ า ราชการรวมทั้ ง ชนชั้ น สู ง ใน สั ง คมยิ ว และกลุ ่ ม สุ ด ท้ า ยคื อ บรรดา พ่อค้าและคนเก็บภาษี ชนชั้นที่สองคือ บรรดาคนจน ชาวนา ช่ า งฝี มื อ และ กรรมกรรายวัน ซึง่ ได้รบั การขนานนามว่า เป็ น “พลเมื อ งของแผ่ น ดิ น ” (the people of the land)1 ในเวลานั้น ระบบของศาสนายิวยอมรับ ความแตกต่างทางชนชั้นนี้ และได้ดูแล จัดการความแตกต่างนี้โดยสนับสนุนให้ คนทีม่ งั่ คัง่ แบ่งปันแก่ผทู้ ยี่ ากไร้ในรูปของ สั ง คมสงเคราะห์ แ ละการบริ จ าคทาน อับราฮัม กษัตริย์โซโลมอน และโยบ ถูก ใช้เป็นตัวอย่างของความสัมพันธ์ระหว่าง ความมั่งคั่ง ร�่ำรวยและพระพรที่มาจาก พระเจ้ า (the piety-prosperity

เมือ่ พระเยซูคริสต์เสด็จเข้ามาในโลกและ ทรงเริ่มพันธกิจ พระองค์ทรงเผชิญกับ สภาพสังคมที่แตกต่างเหล่านี้ พระองค์ ทรงเลือกที่จะใช้ชีวิตกับกลุ่มคนที่ด้อย โอกาสในสังคมโดยการที่พระองค์ทรง เริ่มต้นชีวิตของพระองค์ในโรงนาไม่ใช่ พระราชวัง และใช้ชีวิตอย่างใกล้ชิดกับ บรรดาผู้ที่สังคมไม่ยอมรับ (outcasts) เช่นคนบาป คนเก็บภาษี และคนพิการ สภาพเหล่านี้เป็นบริบทที่มาแห่งค�ำสั่ง สอนของพระองค์เกี่ยวกับ ความมั่งคั่งซึ่ง ปรากฏในพระกิตติคุณ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งใน มัทธิว บทที่ 6 และลูกา บทที่ 12 และ 16

1

Joel B. Green, Scot McKnight and I. Howard Marshall. Dictionary of Jesus and the Gospels (Downers Grove: InterVarsity Press, 1992), 701.

2

33

Ibid., 703.


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ทอง หรือความมั่งคั่ง โดยพระเยซูเป็นผู้ อันตรายของทรัพย์สมบัติ เดียวที่ใช้ค�ำค�ำนี้ในพระคัมภีร์ใหม่ ค�ำนี้ และความมั่งคั่ง มักปรากฏบ่อยๆ ในวรรณกรรมของบร รดารับบีชาวยิวหมายถึง “ทรัพย์สมบัต”ิ พระเยซูคริสต์ไม่เคยสอนว่า “ความมัง่ คัง่ หรือถ้าในแง่ทไี่ ม่ดหี มายถึงการมีภาพของ หรือ ความเจริญรุง่ เรือง” ในตัวมันเองเป็น การได้มาซึ่งทรัพย์สมบัติ ในทางที่มิชอบ ความชัว่ ร้ายแต่พระองค์ได้สอนในหลายที่ หรือโดยการติดสินบน4 “ไม่มีใครเป็นข้า ว่า “ความมัง่ คัง่ และ ความเจริญรุง่ เรือง” สองเจ้าบ่าวสองนายได้” ค�ำว่า “เจ้า” ใน เป็นสิ่งที่อันตรายและจะต้องระมัดระวัง ข้อเดียวกันนี้คือκυρίος (kyrios) เป็น พระองค์ไม่ได้หา้ มทีจ่ ะ ค�ำที่ให้ภาพของผู้ที่ มีทรัพย์สิ่งของแต่ห้าม พระเยซูคริสต์ไม่เคยสอน มี ทั้ ง “สิ ท ธิ และ ไม่ให้รักทรัพย์สิ่งของ อ�ำนาจ” เหนือผู้ที่ ความรักทีม่ ตี อ่ เงินทอง ว่า “ความมั่งคั่ง หรือ ความ เป็นมูลรากแห่งความ เจริญรุ่งเรือง” ในตัวมันเองเป็น อยู่ใต้อาณัติ ทรัพย์ สมบัติสามารถแย่ง ชั่วทั้งมวล ไม่ใช่ตัวเงิน ความชั่วร้าย แต่พระองค์ได้สอน ชิงความจงรักภักดี ทอง (1ทธ. 6:10)3 ไปจากพระเจ้ า ได้ ในอุปมาเรื่องผู้หว่าน ในหลายที่ว่า “ความมั่งคั่ง และ ฉะนัน้ ประเด็นไม่ได้ เมล็ดพืช (มก. 4:18-19) ความเจริญรุ่งเรือง” เป็นสิ่งที่ อยู ่ เ พี ย งแค่ ว ่ า เรา พระองค์กล่าวว่า “ความ ควรจัดล�ำดับความ อันตรายและจะต้องระมัดระวัง ลุม่ หลงในทรัพย์สมบัติ ส� ำ คั ญ ใ ห ้ กั บ และความโลภในสิ่ ง พระเจ้าและทรัพย์ ต่างๆ” เป็นสาเหตุที่รัดและท�ำให้พระ สิ่งของอย่างไร เพราะว่าทั้งพระเจ้าและ วจนะนั้นไม่เกิดผล และเป็นไปไม่ได้ที่จะ ทรัพย์สิ่งของเรียกร้องที่จะให้เรา “รับ “รับใช้พระเจ้าและเงินทอง พร้อมกัน” ใช้”และต้องการมีสิทธิและอ�ำนาจเหนือ (มธ. 6:24) ค�ำว่า “เงินทอง” มาจากค�ำ ชีวิตของเราเป็นไปไม่ได้ที่เราจะรับใช้ทั้ง ว่า μαμωνᾶς (mamōnas) หรือทีพ่ ระ พระเจ้าและเงินทองในเวลาเดียวกัน เพราะ คัมภีรฉ์ บับ RSV ใช้ค�ำว่า “Mammon” พระเยซูกล่าวว่า “...ส�ำหรับคนที่วางใจ เป็นค�ำกรีกทีม่ าจากภาษาอาราเมคอีกที หนึง่ ซึง่ สามารถหมายถึง ทรัพย์สมบัติ เงิน 4 Gerhard Kittel, Gerhard Friedrich and Geoffrey William Bromiley. Theological Dictionary of the New Testament Translation of: Theologisches Worterbuch Zum Neuen Testament (Grand Rapids: WM.B. Eerdmans, 1995, c1985), 552.

3

D. A. Carson. The Sermon on the Mount (Grand Rapids: Baker House, 1978), 77.

34


TBTS Theological Journal

เมื่อเจ้ายังมีชีวิตอยู่เจ้าได้สิ่งที่ดีส�ำหรับ ตัว...เวลานี้ ...เจ้าได้รับแต่ความทุกข์ ระทม” ซึง่ สอดคล้องกับ ค� ำ สอนใน ลู ก า 6:24 พระองค์บอกว่า “วิ บั ติ แ ก่ พ วกท่ า นที่ ผู้ที่ติดตามพระองค์ ร�่ำรวยเพราะว่าท่านได้ จะต้องไม่ยอมให้มีอะไร รั บ ความสะดวกสบาย แล้ว” เป็นภาพของผู้ที่ มาขวางกั้นหรือครอบครอง สุขสบายอย่างฟุ่มเฟือย จิตใจของเขา ใ น วั น นี้ โ ด ย ไ ม ่ ไ ด ้ ตระหนักว่าวิบตั จิ ะมาถึง จากการอุทิศถวายใจทั้งหมด ชี วิ ต ของเขาเมื่ อ ต้ อ ง กับพระองค์ ปรากฏต่ อ พระพั ก ตร์ พระเจ้าพระองค์ยงั เตือน เกี่ ย วกั บ การไว้ วางใจและส�่ำสมทรัพย์ สิง่ ของ “ระวังให้ดี จงหลีกเลีย่ งจากความ โลภทุกอย่างเพราะว่าชีวิตของคนไม่ได้อยู่ ที่การมีของฟุ่มเฟือย” (ลก. 12:15) และ ตามมาด้วยค�ำอุปมาเรือ่ งเศรษฐีโง่ (ลก. 12:16-21) ไร่นาของเศรษฐีคนหนึง่ เกิดผล บริบรู ณ์มาก เขาจึงวางแผนจัดสร้างยุง้ ฉาง ทีใ่ หญ่ขนึ้ เพือ่ รองรับผลผลิตมากมายทีเ่ กิน ความคาดคิดรวมทัง้ ทรัพย์สมบัตทิ งั้ หมดที่ มีอยูแ่ ล้ว และชืน่ ชมยินดีในทรัพย์สงิ่ ของ ที่มีอยู่ พร้อมทั้งวางใจว่าเขาจะไม่ต้อง ล�ำบากแน่แต่จะใช้ชีวิตอย่างสุขสบายไป ตลอดชีวติ ในทีน่ ปี้ ญ ั หาไม่ได้อยูท่ วี่ า่ ไร่นา ของเขาเกิดผลบริบรู ณ์มากแต่เพราะท่าที การไว้วางใจของเขาต่อทรัพย์สงิ่ ของทีม่ อี ยู่ มากมายต่างหากพระเยซูเรียกเขาว่า “คน โง่” เพราะเขาจะได้ประโยชน์อะไรถ้าได้

ในทรัพย์สมบัติ การเข้าในแผ่นดินของ พระเจ้าก็ยากจริงๆ” (มก. 10:24, ฉบับเเปล 1971) เป็นบริบทที่พระองค์พูดกับเหล่า สาวกหลังจากทีช่ ายคนหนึง่ ไม่พร้อมทีจ่ ะ ติดตามพระองค์เนื่องจากไม่สามารถละ จากทรัพย์สมบัติที่ตนมีอยู่ “อูฐจะลอด รูเข็มก็ง่ายกว่าคนมั่งมีจะเข้าในแผ่นดิน ของพระเจ้า” (มก. 10:25) พระองค์ไม่ได้ บอกว่ า ผู ้ ที่ จ ะติ ด ตามพระองค์ จ ะต้ อ ง ละทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ แต่พระองค์ บอกว่าผูท้ ตี่ ดิ ตามพระองค์จะต้องไม่ยอม ให้มีอะไร มาขวางกั้นหรือครอบครอง จิ ต ใจของเขาจากการอุ ทิ ศ ถวายใจ ทัง้ หมดกับพระองค์ ศักเคียสคนเก็บภาษี ซึง่ ถือว่าร�ำ่ รวย ได้แสดงให้เห็นท่าทีเช่นนี้ (ลก. 19:1-10) หลังจากทีม่ ปี ระสบการณ์ ส่วนตัวกับพระเยซู เขายอมที่จะละทิ้ง ความมั่งคั่งที่มีอยู่ “ทรัพย์สิ่งของของข้า พระองค์ข้าพระองค์ยอมให้คนยากจน ครึ่งหนึ่งและถ้าข้าพระองค์โกงอะไรของ ใครมาก็ยอมคืนให้เขาสีเ่ ท่า” (ข้อ 8) และ เมือ่ ศักเคียสส�ำแดงให้เห็นว่า “เงินทอง” ไม่ ไ ด้ เ ป็ น “เจ้ า ” เหนื อ เขาอี ก ต่ อ ไป พระเยซูจึงตรัสว่า “วันนี้ความรอดมาถึง บ้านนี้แล้ว” (ข้อ 9) พระเยซู ยั ง เน้ น เรื่ อ งการที่ ไ ม่ ส ามารถ ปรนนิบัติทั้งพระเจ้าและเงินทองในเวลา เดียวกันในอุปมาเรื่องเศรษฐีกับลาซารัส (ลก. 16:19-31) อับราฮัมพูดกับเศรษฐี ในแดนคนตายว่า “ลูกเอ๋ยเจ้าจงระลึกว่า 35


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ของท่านอยู่ที่ไหนใจของท่านก็อยู่ที่นั่น ด้ ว ย” (มธ. 6:20-21) ใจของเรา มักจะจดจ่อและหมกมุน่ อยูก่ บั “ทรั พ ย์ สมบัติ” ของเราและให้ความส�ำคัญกับสิง่ อื่นน้อยลง รวมทั้งพระเจ้าด้วย พระเยซู เตือนให้เราจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เป็นนิรันดร์ สิ่งซึ่งจะไม่เน่าเปื่อย หรือถูกขโมยไปได้

สิง่ ของหมดทัง้ โลกแต่ตอ้ งเสียชีวติ ของตน (มธ. 16:26) ในสายพระเนตรของพระเจ้า เขาไม่ได้มั่งคั่งเลย เขาโง่ที่พึ่งพาทรัพย์ สมบัตใิ ห้เป็นความมัน่ คงในชีวติ เขาไม่รวู้ า่ เขาไม่ ส ามารถเอา พระเยซูไม่ได้ต�ำหนิการ ทรัพย์สมบัตทิ กุ อย่างที่ เขามี อ ยู ่ ไ ปด้ ว ยได้ ออมทรัพย์หรือการเก็บสะสม เพราะทัง้ สิน้ ทีเ่ ขามีอยู่ เพื่อใช้ในยามจ�ำเป็น จะจบสิ้ น ภายในคื น แต่พระองค์เตือนท่าทีที่มีต่อ เดียวเมื่อชีวิตของเขา จากโลกนีไ้ ป ทรัพย์และความมั่งคั่ง รวมทั้ง

ขณะเดี ย วกั น พระเยซู ส อนสาวกของ พระองค์ ไ ม่ ใ ห้ วิ ต กกั ง วลในเรื่ อ งสิ่ ง ที่ จ�ำเป็นในชีวติ “เหตุฉะนัน้ เราบอกท่านทัง้ หลายว่าอย่ากระวนกระวายถึงชีวิตของ ตนว่า จะเอาอะไรกินหรือจะเอาอะไรดื่ม และอย่ากระวนกระวายถึงร่างกายของ ตนว่าจะเอาอะไรนุง่ ห่ม ชีวติ ส�ำคัญยิง่ กว่า อาหารมิใช่หรือและร่างกายส�ำคัญยิง่ กว่า เครื่ อ งนุ ่ ง ห่ ม มิ ใ ช่ ห รื อ ” (มธ. 6:25) “จงดูนกในอากาศมันมิได้หว่านมิได้เกีย่ ว มิได้สำ�่ สมไว้ในยุง้ ฉางแต่พระบิดาของท่าน ทัง้ หลายผูท้ รงสถิตในสวรรค์ทรงเลีย้ งนก ไว้ท่านทัง้ หลายมิประเสริฐกว่านกหรือ” (ข้อ 26) “พระบิดาของท่านผูท้ รงสถิตใน สวรรค์ทรงทราบแล้วว่าท่านต้องการสิง่ ทัง้ ปวงเหล่านี”้ (ข้อ 32) พระองค์ทรงสัญญา ว่ า จะจั ด เตรี ย มและประทานสิ่ ง ที่ “จ�ำเป็น” ให้กับบรรดาคนของพระองค์ ในทีน่ บี้ รรยายถึงสิง่ ทีจ่ ำ� เป็นต่อการด�ำรง ชีวติ ออกมาในภาพของ น�ำ้ เครือ่ งนุง่ ห่ม และอาหาร จะเห็นว่าพระเยซูไม่ได้สญ ั ญา ถึงสิ่งฟุ่มเฟือย ทรัพย์สมบัติ หรือความ มั่งคั่งทางวัตถุ “เพราะว่าพวกต่างชาติ

ในค�ำเทศนาบนภูเขา

การให้ความส�ำคัญสิ่งเหล่านี้ พระเยซูบอกสาวกว่า “อย่ า สะสมทรั พ ย์ เกินกว่าสิ่งที่เป็นนิรันดร์

สมบัติเพือ่ ตัวพวกท่าน เองไว้ ใ นโลกที่ อ าจเป็ น สนิมและที่แมลงกินเสียได้ และที่ขโมย อาจทะลวงลักเอาไปได้” (มธ. 6:19) เพราะทรั พ ย์ ส มบั ติ ใ นตั ว มั น เองไม่ สามารถให้ความมั่งคงที่แท้จริงได้ แม้แต่ ตัวทรัพย์สินเองยังถูกท�ำลายและถูกแย่ง ชิงไปได้ พระเยซูไม่ได้ต�ำหนิการออม ทรัพย์หรือการเก็บสะสมเพื่อใช้ในยาม จ� ำ เป็ น แต่ พ ระองค์ เ ตื อ นท่ า ที ที่ มี ต ่ อ ทรัพย์และความมัง่ คัง่ รวมทัง้ การให้ความ ส�ำคัญสิ่งเหล่านี้เกินกว่าสิ่งที่เป็นนิรันดร์ “แต่จงสะสมทรัพ ย์สมบัติเ พื่ อ ตั วพวก ท่านเองไว้ในสวรรค์ที่ไม่มีแมลงจะกิน และไม่ มี ส นิ ม จะกั ด และที่ ไ ม่ มี ข โมย ทะลวงลักเอาไปได้เพราะว่าทรัพย์สมบัติ 36


TBTS Theological Journal

ค�ำสอนที่บิดเบือน

แสวงหาสิง่ ของทัง้ ปวงนี”้ (ข้อ 32) ค�ำว่า ต่ า งชาติ ใ นที่ นี้ ถู ก ใช้ ใ นแง่ ล บหมายถึ ง บรรดาผูท้ ไี่ ม่มพี ระเจ้า หรือไม่ได้เป็นส่วน หนึง่ ของครอบครัวแห่งความเชือ่ เขาทัง้ หลายมุ่งหาสิ่งต่างๆ ที่จะตอบสนองต่อ ความต้องการที่ไม่มีสิ้นสุด5 “แต่ท่านทั้ง หลายจงแสวงหาแผ่นดินของพระเจ้าและ ความชอบธรรมของพระองค์ ก ่ อ น” (ข้อ 33) สิง่ ทีพ่ ระเยซูเรียกร้องกับสาวก ของพระองค์ คือ การทีจ่ ะด�ำเนินชีวติ อยู่ ภายใต้น�้ำพระทัยและการปกครองของ พระเจ้าแทนการทีม่ ใี จจดจ่ออยูก่ บั ทรัพย์ สมบัติหรือสิ่งของซึ่งไม่สามารถน�ำมาซึ่ง ความสุขและความมัน่ คงทีแ่ ท้จริงในชีวติ ค� ำ สอนของพระเยซู ใ นท่ า ที ที่ ค วร ระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่องความมั่งคั่งและ ทรัพย์สิ่งของ ได้รับการสะท้อนผ่าน จดหมายฝากของเปาโลซึ่งได้บรรยายถึง สภาพสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคสมัยนั้นพร้อมทั้ง ค�ำตักเตือน“ส่วนพวกที่อยากร�่ำรวยก็ ตกอยู่ในการล่อลวงและติดกับดักของ ความอยากมากมายที่ โ ง่ เ ขลาและ อันตราย ซึ่งฉุดคนเราให้ลงไปสู่ความ พินาศและความย่อยยับ เพราะว่าการรัก เงิ น ทองเป็ น รากเหง้ า ของความชั่ ว ทั้งหมด ความโลภเงินทองนี้ที่ท�ำให้บาง คนหลงไปจากความเชื่อ และตรอมตรม ด้วยความทุกข์มากมาย”(1 ทธ. 6:9-10)

ปัจจุบันมีการน�ำค�ำสอนของพระเยซูไป ใช้ ใ นการสนั บ สนุ น ความคิ ด เกี่ ย วกั บ เรื่อง ความเจริญรุง่ เรือง ความมัง่ คัง่ อยูด่ ี กินดี ครอบคลุมไปถึงสุขภาพด้วย ซึ่ง บางครัง้ เรียกค�ำสอนเหล่านีว้ า่ พระกิตติคณ ุ แห่งความเจริญรุง่ เรือง (prosperity gospel) โดยมีผู้น�ำค�ำสอนเหล่านั้นไปใช้อย่างไม่ ถูกต้อง จากการตีความหมายโดยไม่สนใจ บริบทดัง้ เดิมและเนือ้ หาค�ำสอนทีแ่ ท้จริง ของพระเยซู ตัวอย่างค�ำสอนทีบ่ ดิ เบือน 1.“เราบอกความจริ ง กั บ ท่ า นว่ า ใคร ก็ ต ามที่ ส ละบ้ า นหรื อ พี่ น ้ อ งชายหญิ ง หรือบิดามารดาหรือลูกหรือไร่นาเพราะ เห็ น แก่ เ ราและข่ า วประเสริ ฐ ของเรา คนนั้นจะได้รับผลตอบแทนร้อยเท่าใน ยุคนี้คือบ้าน พี่น้องชายหญิง มารดา ลูก และไร่นา พร้อมการข่มเหงด้วยและใน ยุคหน้าจะได้ชีวิตนิรันดร์” (มก. 10:29-30) การตีความหมายที่บิดเบือน “ถ้าเราถวายพระเจ้า 10 เหรียญ จะได้ รับกลับคืนมา 1,000 เหรียญ ถวาย 1,000 เหรียญ จะได้คืนมา 100,000 เหรียญ ค�ำสอนเช่นนี้ใน มาระโก 10:29 ดีจริงๆ”6 6

5

Donald A. Hagner, Matthew 1-13, Word Biblical Commentary, edited by Ralph P. Martin (Dallas,Texas: Word Books publisher, 2002), 165.

37

ยกค�ำเทศนาของ Gloria Copeland โดย David Wayne Jones, and Russell S. Woodbridge. Health, Wealth & Happiness: Has the Prosperity Gospel Overshadowed the Gospel of Christ (Grand Rapids: Kregel Publications, 2011), 65.


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

พระองค์ ท รงสั ญ ญาว่ า พระองค์ จ ะ อวยพรเขาทั้ ง หลายด้ ว ยสิ่ ง ดี ต ่ า งๆ ฝ่ายวัตถุและอย่างมั่งคั่งและบริบูรณ์

ความหมายของพระเยซู ในที่ นี้ พ ระเยซู ก� ำ ลั ง ยื น ยั น กั บ บรรดา สาวกว่า แม้วา่ เขาได้ละทิง้ สิง่ สารพัดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ญาติพี่น้อง หรือ ไร่นา เพื่อติดตามพระองค์ในโลกนี้ เขาจะ ได้เข้าส่วนในครอบครัวใหม่ของพระเจ้า จะมีความสัมพันธ์ใหม่กับบรรดาญาติพี่ น้องในความเชือ่ จ�ำนวนมากมายหลายเท่า จะได้รับการต้อ นรั บเข้ า มี ส่ ว นในบ้ า นเรื อ นและ “เพราะว่าการรักเงินทอง ไร่นาของผู้เชื่อเหล่านั้น เป็นรากเหง้าของความชั่วทั้งหมด และไม่ เ พี ย งเท่ า นี้ สิ่ ง ที่ ความโลภเงินทองนี้ที่ท�ำให้บางคน ตามมาพร้ อ มกั น ใน ข้อ 30 (ซึ่งผู้บิดเบือน หลงไปจากความเชื่อ และ ค�ำสอนไม่ได้รวมสิ่งนี้ใน การตีความหมายด้วย) ตรอมตรมด้วยความทุกข์ ผู้เชื่อจะได้ เ ข้ า มี ส ่ ว น มากมาย” ในการทนทุกข์ และถูก 1 ทธ. 6:10 ข่มเหงเพราะพระนาม ของพระองค์ด้วย7

ความหมายของพระเยซู ก่อนหน้านีพ้ ระเยซูเล่าอุปมาเรือ่ งคอกแกะ พระองค์เปรียบเหมือนผูเ้ ลีย้ งที่ดีและแกะ ของพระองค์กร็ จู้ กั พระองค์ บริบทตอนนี้ เป็ น การเปรี ย บเที ย บพระองค์ เ องกั บ บรรดาผู ้ เ ลี้ ย งปลอมที่ เ ป็ น ขโมยและ โจร (ข้อ 8) “ชีวิต” ในที่นี้หมายถึง “ชีวิตนิรันดร์” คือ ความรอดที่พระองค์ พูดในข้อ 9 นั่นเอง “และนี่แหละคือ ชีวิตนิรันดร์คือที่เขารู้จักพระองค์ผู้ทรง เป็นพระเจ้าเที่ยงแท้องค์เดียวและรู้จัก พระเยซู ค ริ ส ต์ ที่ พ ระองค์ ท รงใช้ ม า” (ยน. 17:3) ในที่นี้พระเยซูไม่ได้พูดถึง เรื่องทรัพย์สิ่งของหรือความมั่งคั่งทาง ด้านวัตถุในโลกนีเ้ ลย8 3.“สิ่ ง ใดที่ พ วกท่ า นขอในนามของเรา เราจะท�ำสิ่งนั้น” (ยน. 14:14)

2.“ขโมยนัน้ ย่อมมาเพือ่ จะลัก ฆ่า และ ท�ำลายเสีย เราได้มาเพือ่ เขาทัง้ หลายจะได้ ชีวติ และจะได้อย่างครบบริบรู ณ์” ( ยน. 10:10 )

การตีความหมายที่บิดเบือน พระเจ้าจะทรงตอบค�ำอธิษฐานของผูเ้ ชือ่ ที่สามารถขออะไรก็ได้ โดยความเชื่อก็ จะได้รับทุกสิ่งจากพระเจ้า โดยเฉพาะ ในด้านความเจริญรุ่งเรือง และทรัพย์ สิ่งของเงินทอง “ท่านไม่มเี พราะไม่ได้ขอ”

การตีความหมายที่บิดเบือน พระเจ้าทรงรักบรรดาคนของพระองค์ และต้องการให้พวกเขาได้รับแต่สิ่งดีๆ 8

7

ดู ยน. 3:15-16, 36; 4:14, 36; 5:24, 39; 6:27, 40, 47, 51, 54, 58, 68

Ronald J. Kernaghan. Mark, The IVP New Testament Commentary (Downers Grove: Intervarsity Press, 2007), 200.

38


TBTS Theological Journal

สิ่งเหล่านัน้ ด้วยวิธตี า่ งๆ โดยไม่สนใจว่าจะ ถูกต้องและสอดคล้องกับน�้ำพระทัยของ พระเจ้ า หรื อ ไม่ จิ ต ใจเช่ น นั้ น เป็ น ตั ว ปัญหาใหญ่ที่แท้จริง ใจที่รักและวางใจ ในเงินทองนีเ่ องเป็นสาเหตุของความโลภ และความชั่วทั้งมวล ซึ่งในที่สุดจะน�ำไป ถึงการที่มีใจกราบไหว้ และบูชาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทดแทนพระเจ้าผู้เที่ยงแท้ผู้ซึ่ง สามารถประทานความมั่ ง คั่ ง และ บริบูรณ์ที่แท้จริงฝ่ายวิญญาณ ค�ำสอน แห่งพระกิตติคุณแห่งความรุ่งเรืองและ การตี ค วามหมายที่ บิ ด เบื อ นต่ อ บริ บ ท ทีแ่ ท้จริงของค�ำสอนของพระเยซู น�ำเสนอ พระเยซูเป็นเพียงผู้ที่สามารถตอบสนอง ต่อความมัง่ คัง่ และรุง่ เรืองทางวัตถุเท่านัน้

(ยก. 4:2) “เมื่อเราอธิษฐาน ให้เราเชื่อ ว่าเราได้รบั สิง่ ทีเ่ ราขอแล้ว เพราะพระเจ้า ไม่มีทางเลือกพระองค์จะต้องตอบตาม ค�ำร้องทูลขอของเรา . . .นีเ่ ป็นกุญแจแห่ง ความส�ำเร็จของคริสเตียน”9 ความหมายของพระเยซู ใน ยอห์น 14:12 พระเยซูบอกกับบรรดา สาวกว่า “คนที่วางใจในเราจะท�ำกิจการ ทีเ่ ราท�ำนัน้ ด้วยและเขาจะท�ำกิจทีย่ งิ่ ใหญ่ กว่านั้นอีก” พระเยซูบอกให้สาวกออก ไปประกาศข่าวประเสริฐเรือ่ งแผ่นดินของ พระเจ้ า เหมื อ นกั บ ที่ พ ระองค์ ไ ด้ ท� ำ พระองค์ จ ะทรงสถิ ต อยู ่ กั บ เขาและ ช่วยเหลือเขาในยามที่เขาร้องทูลขอการ ช่วยเหลือจากพระองค์เพื่อให้พันธกิจ ส� ำ เร็ จ เป็ น ค� ำ อธิ ษ ฐานขอในสิ่ ง ที่ สอดคล้ อ งและอยู ่ ใ นแผนการของ พระเจ้าและเพื่อให้สิ่งนี้ส�ำเร็จ และสิ่งที่ ขอบนฐานที่ว่า “เพื่อว่าพระบิดาจะทรง ได้รับเกียรติอันยิ่งใหญ่” ( ข้อ 13 )10

สรุป พระเยซูคริสต์ไม่ได้สอนว่าความมั่งคั่ง หรือทรัพย์สมบัติในตัวเองเป็นสิ่งชั่วร้าย แต่ พ ระองค์ ท รงเตื อ นอย่ า งชั ด เจนว่ า ใจที่รักและวางใจในทรัพย์สมบัติจะเป็น ที่ ม าของการแสวงหาให้ ไ ด้ ม าซึ่ ง

ดร.ชัยวัฒน์ ชาวเมืองแมน

BS. EE., M.Div., Th.D. ผู้อำ�นวยการสถาบัน อาจารย์หมวด พระคัมภีร์ใหม่ สมรสกับคุณภัทรพร มีลูกสาวสองคน (ภัทรียา และพรินพร) สมาชิกคริสตจักรพระคุณ

9

ยกค�ำเทศนาของ Creflo Dollarโดย David Wayne Jones, Russell S. Woodbridge, Health, Wealth & Happiness, (Grand Rapids: Kregel Publications, 2011), 69.

10

Rodney A. Whitacre, John, The IVP New Testament Commentary series, edited by Grant R. Osborne (Downers Grove, Ill.: InterVarsity Press, 1999), 355.

39


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

Bibliography:

Kittel, Gerhard., Friedrich, Gerhard., and Gerhard, Geoffrey William. Theological Dictionary of the New Testament, Translation of: Theologisches Worterbuch Zum Neuen Testament. Grand Rapids: WM.B. Eerdmans, 1985. Whitacre, Rodney A. John, The IVP New Testament Commentary. Downers Grove: InterVarsity Press, 1999.

Carson, D. A. The Sermon on the Mount. Grand Rapids: Baker House, 1978. Green, Joel B., McKnight, Scot and Marshall, I. Howard. Dictionary of Jesus and the Gospels. Downers Grove: InterVarsity Press, 1992. Hagner, Donald A. Matthew 1-13, Word Biblical Commentary, edited by Martin, Ralph P. Dallas, Texas: Word Books Publisher, 2002. Jones, David Wayne, and Woodbridge, Russell S. Health, Wealth & Happiness: Has the Prosperity Gospel Overshadowed the Gospel of Christ. Grand Rapids: Kregel, Publications, 2011. Kernaghan, Ronald J. Mark, The IVP New Testament Commentary, edited by Osborne, Grant R. Downers Grove: InterVarsity Press, 2007.

40


TBTS Theological Journal

Jesus’s Perspective on Prosperity

Dr. Chaiwat Chawmuangman , Translated by: Mr.Practh Kaneungkaival

The State of Affairs at That Time

acceptance has been inherited and developed in two ways. First, some propose the idea that prosperity leads to greed and the abuse of power. Second, others suggest that in a society with limited resources, prosperity that couldn’t be clearly traced back to God came from an inappropriate use of power and procuring.2

During the first century AD, the people who lived in the area surrounding Palestine were divided into two classes. The first class of people was the wealthy citizens. They were the minority class. The wealthy class included the families of high priests, Herod’s descendants, high-ranking officials and nobles, and last, merchants and tax collectors. The second class of citizens were called “the people of the land”1 . They were poor farmers, artisans and daily laborers.

When Jesus Christ came to the world and started his ministry, he encountered these social differences. He chose to live among the unprivileged by starting his life not in a palace but in a barn. He also lived closely with outcasts like sinners, tax collectors and the disabled. These personal realities are the original context for his lessons on prosperity that appear in the Gospels, especially in Matthew chapter 6 and Luke chapters 12 and 16.

The Judaism of that time accepted the differences between classes and managed them by encouraging the rich to share with the poor by means of social welfare and donations. Abraham, King Solomon and Job are used as examples of the piety-prosperity equation. This Joel B. Green, Scot McKnight and I. Howard Marshall. Dictionary of Jesus and the Gospels (Downers Grove: InterVarsity Press, 1992), 701. 1

2

41

Ibid., 703.


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

used in the Revised Standard Version (RSV). It is a Greek word that can be traced back to Aramaic root. While Jesus Christ never labeled It means wealth, money or “wealth and prosperity” as evil, he prosperity. Jesus was the only did, however, teach and explain person to use the many times that word mammon in He did not ban the “wealth and prosperity” the New Testament. is potentially dangerous possession of riches, but The word and is something people mammon also should approach with forbid the love of riches appears many caution. He did not ban times in Jewish the possession of riches, Rabbinic literature and carries the but forbid the love of riches. It is meaning of “wealth” or, in a more the love of money, and not the negative connotation, the act of money itself, that is the root of all acquiring wealth via improper evil (1Ti. 6:10).3 methods or from bribery.4 In the In the parable of the sower (Mk. saying “No one can serve two 4:18-19), Jesus said that “the masters”, the word “masters” deceitfulness of wealth and the came from the word κυρίος desires for other things” is what (kyrios) which gives the impression chokes the word and makes it of “rights and authority” over their unfruitful. He also said, “You can subjects. This means wealth can not serve both God and money.” usurp our loyalty towards God, (Mt. 6:24). The word “money” therefore, the point is not only originates from the word μαμωνᾶς about how we prioritize between (mamōnas),or “mammon”, as

Threats from Wealth and Prosperity

4

Gerhard Kittel, Gerhard Friedrich and Geoffrey William Bromiley. Theological Dictionary of the New Testament Translation of: Theologisches Worterbuch Zum Neuen Testament (Grand Rapids: WM.B. Eerdmans, 1995, c1985), 552.

3

D. A. Carson. The Sermon on the Mount (Grand Rapids: Baker House, 1978), 77.

42


TBTS Theological Journal

God and wealth. Both God and wealth demand we “serve” them. They both vie for rights and authority over our lives.

wealth had on him. He said, “Here and now I give half of my possessions to the poor, and if I have cheated anybody out of anything, I will pay back four times the Jesus was not telling those amount.” (v. 8) who wish to follow him to When Zacchaeus s h o w e d t h a t abandon all their possessions, “money” was but he was rather telling no longer his them that his followers must “master,” Jesus said, “Today sal- not have anything, which vation has come would prevent them from to this house” giving all their heart to him (v. 9).

Not only is it impossible for someone to serve both God and money at the same time, Jesus also said, “…how hard is it for them that trust in riches to enter into the kingdom of God!” (Mk. 10.24, KJV). The context of this passage a discussion between Jesus and his disciples regarding the man who gave up following Jesus because he could not abandon his wealth. Jesus said, “It is easier for a camel to go through the eye of a needle than for someone who is rich to enter the kingdom of God.” (Mk. 10:25). Jesus was not telling those who wish to follow him to abandon all their possessions, but he was rather telling them that his followers must not have anything, which would prevent them from giving all their heart to him. Zacchaeus, the tax collector, demonstrated a correct attitude toward money (Lk. 19:1-10) when he abandoned and relinquished the hold his

Jesus also emphasized the inability to serve both God and money through the story of the rich man and Lazarus (Lk. 16:19-31). Abraham replied to the rich man who was in Hades with “Son, remember that in your lifetime you received your good things… but now… you are in agony.” This also corresponds with the lesson from Luke 6:24, “But woe to you who are rich, for you have already received your comfort.” These passages depict those who 43


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

in their present life live in luxurious comfort without noticing the calamity that will befall them when they are to appear before God. Jesus also warned us of trusting and collecting wealth. Jesus said, “Watch out! Be on your guard against all kinds of greed; life does not consist in an abundance of possessions.” (Lk. 12:15). This lesson was followed by the parable of the rich fool (Lk. 12:13-21). The ground of a certain rich man yielded an abundant harvest. Therefore, he planned to build a bigger barn for his unexpected surplus of grain and wealth. He thought he would be merry with the wealth he possessed, trusting that he surely would no longer face h a r d s h i p a n d w o u l d live comfortably forever. In this story, the problem is not how his ground yielded bountiful harvest, but the reason why Jesus called him a “fool” (v. 20). The reason was due to his attitude of entrusting life to his abundant wealth. In the eyes of God, he was not wealthy at all, for he merely relied on his wealth as security in life. All that he

possessed would become meaningless with a passing of a single night as he left the world of the living for he could not take any wealth along with him. He acted foolish and ignored the words of Jesus that said, “What good will it be for someone to gain the whole world, yet forfeit their soul?” (Mt. 16:26).

44

In the Introduction to the Sermon on the Mount, Jesus taught his disciples “Do not store up for yourselves treasures on earth, where moths and vermin destroy, and where thieves break in and steal” (Mt. 6:19), for wealth by itself cannot grant true security because all of our earthly treasures can be destroyed and stolen. Jesus does not criticize the act of saving or storing money for necessary usage, but he warns about the attitude we hold towards treasures and wealth as well as cautions us against prioritizing them above eternal things. “But store up for yourselves treasures in heaven, where moths and vermin do not destroy, and where thieves do not break in and steal. For where your


TBTS Theological Journal

these things do the Gentiles seek...” (v. 32, KJV). In this passage, the word “Gentile” was used with a negative connotation and refers to the pagans/atheist or those not a part of the family of believers. The pagan seeks things to satiate his unending needs.5 “But seek first his kingdom and his righteousness” (v. 33). Jesus requires his disciples to live under God’s will and governance instead of being preoccupied with wealth or things that do not bring true happiness and security. Paul’s first letter to Timothy also reflects Jesus’ teachings regarding one’s attitude and cautiousness toward treasures and wealth. 1Timothy 6:9-10 warns us that “Those who want to get rich fall into temptation and a trap and into many foolish and harmful desires that plunge people into ruin and destruction. For the love of money is a root of all kinds of evil. Some people, eager for money, have wandered

treasure is, there your heart will be also” (Mt. 6:20-21). We are often so focused on and preoccupied with our “wealth” that we forget to place our hope and trust in God. Jesus reminds us to focus on things that are eternal, which will not decay or be stolen. At the same time, Jesus taught his disciples not to worry about life’s necessities. “Therefore I tell you, do not worry about your life, what you will eat or drink; or about your body, what you will wear. Is not life more than food, and the body more than clothes?” (Mt. 6:25). “Look at the birds of the air; they do not sow or reap or store away in barns, and yet your heavenly Father feeds them. Are you not much more valuable than they?” (v. 26). “…Your heavenly Father knows that you need them” (v. 32). Jesus promises to prepare and grant things that are “necessary” to his people. This passage depicts life’s necessities as water, clothes and food. It can be seen that Jesus did not promise luxuries, treasures or material wealth. “For after all

5

Donald A. Hagner, Matthew 1-13, Word Biblical Commentary, edited by Ralph P. Martin: (Dallas,Texas: Word Books publisher, 2002), 165.

45


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

Warped interpretation: “Give $10 and receive $1,000; give $1,000 and receive $100,000. . . In short, Mark 10:30 is a very good deal.”6

from the faith and pierced themselves with many griefs.” “For the love of money is

Warped Teachings

Nowadays, Jesus’s a root of all kinds of evil. teachings have been used to support the Some people, eager for notion of prosperity, money, have wandered comfort, wealth and from the faith and pierced even health. These teachings are somtimes themselves with called the “prosperity many griefs.” gospel”. Adherents to the prosperity 1Ti 6:10 gospel interpret Jesus’ teachings without considering the original context of the passages and the true meaning of the text. Examples of these teachings are as follows:

Jesus’s meaning: Here, Jesus was reassuring his disciples that although they would have left many things, be it home, relatives or fields, to follow Jesus in this world, they would get to be a part of God’s new family. They would come to have multiple times more brothers and sisters in faith and would be welcome to take part in the houses and fields of these believers. Not only that, but they would also receive persecutions suffered in the name of Jesus (v. 30),7 whereas this is not included in the warped interpretation.

1. “Truly I tell you,” Jesus replied, “no one who has left home or brothers or sisters or mother or father or children or fields for me and the gospel will fail to receive a hundred times as much in this present age: homes, brothers, sisters, mothers, children and fields—along with persecutions— and in the age to come eternal life” (Mk. 10:29-30).

2. “The thief comes only to steal and kill and destroy; I have come that they may have life, and have it to the full.” (Jn. 10:10). 6

QuotedGloria Copeland’s sermonbyDavid Wayne Jones, and Russell S. Woodbridge.Health, Health, Wealth & Happiness: Has the Prosperity Gospel Overshadowed the Gospel of Christ, (Grand Rapids: Kregel Publications, 2011), 65.

7

46

Ronald J. Kernaghan. Mark, The IVP New Testament Commentary (Downers Grove: Intervarsity Press, 2007), 200.


TBTS Theological Journal

by faith it will be granted, especially in the aspect of prosperity and monetary wealth. “You do not have because you do not ask God.” (Jas. 4:2). “When we pray, believing that we have already received what we are praying, God has no choice but to make our prayers come to pass. . . . This passage is treated as a key to getting results as a Christian”9

Warped interpretation: God loves his people and wish for them to only receive good things. He promises to bless them with abundant material goods to the fullest extent. Jesus’ meaning: Before this, Jesus told the story of The Good Shepherd and His Sheep. In this passage, Jesus is the good shepherd and his sheep listen to him. In this context, Jesus compares himself with false shepherds who are thieves and robbers (v. 8). The word “life” refers to “eternal life” which is the salvation mentioned in verse 9. “Now this is eternal life: that they know you, the only true God, and Jesus Christ, whom you have sent.” (Jn. 17:3). Jesus does not mention anything about treasures or material wealth.8

Jesus’s meaning: In John 14:12, Jesus answered his disciples “Whoever believes in me will do the works I have been doing, and they will do even greater things than these”. Jesus told his disciples to preach the Gospel of God’s kingdom just as he has done and he will be with them and answer them when they ask for his help and let the ministry succeed. The prayer conforms to and is within God’s plan to let it succeed and is asked on the basis “so that the Father may be glorified” (v. 13).10

3. “You may ask me for anything in my name, and I will do it.” (Jn. 14:14). Warped interpretation: God will answer believers’ prayers and his followers can ask for anything and

9

QuotedCreflo Dollar’s sermon by David Wayne Jones, Russell S. Woodbridge, Health, Wealth & Happiness, (Grand Rapids : Kregel Publications, 2011), 69.

8

See John. 3:15-16, 36; 4:14, 36; 5:24, 39; 6:27, 40, 47, 51, 54, 58, 68.

10

Rodney A. Whitacre, John, The IVP New Testament Commentary series, edited by Grant R. Osborne (Downers Grove, Ill.: InterVarsity Press, 1999), 355.

47


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

Conclusion

Jesus did not teach that treasures and wealth in itself are evil. However, Jesus has given a clear warning that the main problem is when someone loves and trusts in material wealth and possessions and disregards God’s teachings. It is these types of hearts that hold the root of all evil and greed. The love of money will lead someone to worshipping material wealth and possessions instead of God who could grant true wealth and fullness of spirit. The prosperity gospel and its warped interpretation of Jesus’s teachings depict Jesus only as someone who can satisfy our desire for material wealth and prosperity.

Dr.Chaiwat Chawmuangman BS.EE., M.Div., Th.D. Dr. Chaiwat serves as the Director of TBTS and is a Professor of New Testament Studies. He is married to Mrs. Pattaraporn Chawmuangman. They have two children, Pattreeya and Parinporn. He is a member of Grace Baptist Church.

48


TBTS Theological Journal

Bibliography:

Whitacre, Rodney A. John, The IVP New Testament Commentary. Downers Grove: InterVarsity Press, 1999.

Carson, D. A. The Sermon on the Mount. Grand Rapids: Baker House, 1978. Green, Joel B., McKnight, Scot and Marshall, I. Howard. Dictionary of Jesus and the Gospels. Downers Grove: InterVarsity Press, 1992. Hagner, Donald A. Matthew 1-13, Word Biblical Commentary, edited by Martin, Ralph P. Dallas, Texas: Word Books Publisher, 2002. Jones, David Wayne, and Woodbridge, Russell S. Health, Wealth & Happiness: Has the Prosperity Gospel Overshadowed the Gospel of Christ. Grand Rapids: Kregel Publications, 2011. Kernaghan, Ronald J. Mark: The IVP New Testament Commentary, edited by Osborne, Grant R. Downers Grove: InterVarsity Press, 2007. Kittel, Gerhard., Friedrich, Gerhard., and Gerhard, Geoffrey William. Theological Dictionary of the New Testament, Translation of: Theologisches Worterbuch Zum Neuen Testament. Grand Rapids: WM.B. Eerdmans, 1985.

49


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

มั่งมีเเละเมตตา เรื่อง และ สัมภาษณ์: วีรนุช วงศ์คงเดช และ อรนุช ตรีสุโกศล พระเจ้าบอกว่าให้เชื่อฟังสามี จึงตัดสิน ใจกลั บ ประเทศไทย ตอนนั้ น ได้ แ ต่ อธิษฐานเผื่อลุงหมอ เพราะถ้าลุงหมอ ไม่เชื่อพระเจ้าป้าหมอก็เชื่อฟังยาก เมื่อ กลั บ มาถึ ง ไม่ กี่ เ ดื อ นลุ ง หมอก็ รั บ เชื่ อ ท� ำ ให้ มี ค วามสุ ข มาก ต่ อ มาเราได้ พ บ ข่าวในหนังสือพิมพ์ ว่ามีเด็กทารกที่ถูก ทิ้ ง ที่ ส วนจตุ จั ก ร รู ้ สึ ก ตกใจมากว่ า โอ้ โ ห! เขาท� ำ กั น ได้ ข นาดนี้ เ ลยหรื อ ตอนแรกป้ า หมอคิ ด ว่ า ข่ า วนี้ ค งเป็ น ครั้งเดียวในรอบ 2-3 ปี แต่ผ่านไปไม่ กี่ วั น ก็ อ ่ า นพบข่ า วว่ า มี เ ด็ ก ถู ก ทิ้ ง กอง ขยะที่ สุ ท ธิ ส าร มดขึ้ น เต็ ม ตั ว ไปหมด อ่ า นเจออย่ า งนี้ อ ยู ่ เ รื่ อ ยๆ ป้ า หมอมี ความรู ้ สึ ก ว่ า เมื อ งไทยไม่ น ่ า อยู ่ เ ลย ดู น ่ า กลั ว เริ่ ม อยากกลั บ ประเทศ เยอรมัน แต่ลุงหมอไม่อยากกลับ จึงต่อ รองกับสามีว่า ถ้าจะให้อยู่ก็ขอให้ตัว เองได้ท�ำอะไรที่มีประโยชน์ต่อสังคม งั้น ขอไปเลี้ ย งเด็ ก เหล่ า นี้ แ ล้ ว กั น เพราะ ป้าหมอรู้สึกว่าเขาทิ้งเด็กอย่างไร้ค่า แต่ ถ้าเราสามารถให้โอกาสเขาเป็นมนุษย์ ที่ มี คุ ณ ค่ า ตามที่ พ ระองค์ ส ร้ า งมา ก็ อยากจะท�ำสิ่งนี้ ดังนั้นการที่พระเจ้า ให้กลับมาเมืองไทยก็เหมือนพระเจ้าน�ำ ให้กลับมารับใช้ เหมือนเป็นการทรง เรียกจากพระเจ้า

พญ.ดร. เคลียวพันธ์ สูรพันธ์ ลูกครึ่ง ไทย-เยอรมัน รับเชื่อพระเจ้าที่โรงเรียน วัฒนา หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมได้ไป ศึกษาต่อทางด้านการแพทย์ ที่ประเทศ เยอรมั น ท� ำ งานที่ ป ระเทศเยอรมั น ประมาณ 20 ปี จึงตัดสินใจกลับมาอยู่ ที่ประเทศไทย โดยเป็นผู้เริ่มก่อตั้งบ้าน เด็กชัยพฤกษ์ ร่วมกับสามีคือ น.ต.นพ. สมศักดิ์ สูรพันธุ์ และมิชชันนารีอีกท่าน หนึ่ง ภายใต้มูลนิธิชัยพฤกษ์ รับอุปการะ เลี้ยงดูเด็กด้อยโอกาสทั้งหลาย

ท�ำไมคุณหมอจึงตัดสินใจกลับเมือง ไทย ทั้งที่ตอนนั้นยังเป็นแพทย์อยู่ที่ ประเทศเยอรมัน และการตัดสินใจ นี้ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ พั น ธกิ จ บ้ า นเด็ ก ชัยพฤกษ์อย่างไรคะ? ส า เ ห ตุ ที่ ก ลั บ เ มื อ ง ไ ท ย เพราะลุงหมอ (สามี) ซึ่งเป็น คนไทยเกษียณอายุแล้ว และ ท่านต้องการ กลับมาใช้ชีวิต ช่วงบั้นปลายที่ประเทศไทย เพราะอยู ่ ป ระเทศเยอรมั น มานานตั้ง 30 ปี ตอนนั้นลุงหมอยังไม่ ได้ รั บ เชื่ อ แต่ ก็ ไ ด้ ติ ด ตามป้ า หมอไป โบสถ์ทุกอาทิตย์ เมื่อป้าหมออธิษฐาน 50


TBTS Theological Journal

วิญญาณ เน้นให้เติบโตไปทั้งสามด้าน พร้ อ มๆกั น เพื่ อ เขาจะเป็ น มนุ ษ ย์ ที่ มี คุณภาพ

แล้ ว ย้ า ยบ้ า นเด็ ก ชั ย พฤกษ์ ม าที่ จังหวัดนครนายกได้อย่างไรคะ? หลังจากอยู่ซอยชัยพฤกษ์ ก็ย้ายไปหลัง ที่สองที่ถนนพหลโยธิน ย้ายต่อไปจนถึง หลั ง ที่ 4 ก็ เ ริ่ ม รู ้ สึ ก ว่ า ไม่ ไ หวแล้ ว ร่อนเร่อยู่ประมาณ 5 ปี ลูกๆเกือบ 40 คนแล้ว ถ้าต้องย้ายอีก จะย้ายกันยังไง เหนื่อยมาก พอย้ายบ้านอยู่เรื่อยๆ

คุ ณ หมอเริ่ ม ท�ำพั น ธกิ จ บ้ า นเด็ ก ชัยพฤกษ์อย่างไร? ป้าหมอเริ่มท�ำพันธกิจนี้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ตอนแรกเริ่ ม ก็ มี เ ด็ ก ไม่ กี่ ค น เป็ น เด็ ก ที่ รั บ ผ่ า นกรมประชาสงเคราะห์ บ ้ า ง รั บ ผ่ า นโดยการบอกปากต่ อ ปากบ้ า ง ส่วนใหญ่เด็กพวกนี้ไม่มีพ่ออยู่แล้ว แม่ ก็จะเป็นเด็กผู้หญิงที่ยังไม่มีความพร้อม แล้วบังเอิญตั้งครรภ์ขึ้นมา อาจจะโดน กระท�ำช�ำเรา หรือว่าตั้งครรภ์แล้ว แฟน ก็หนีไป เมื่อเราบอกว่าพร้อมที่จะช่วย เด็ ก ประเภทนี้ เค้ า ก็ จ ะติ ด ต่ อ เข้ า มา บ้ า นหลั ง แรกเป็ น บ้ า นเช่ า อยู ่ ที่ ซอย ชัยพฤกษ์ เขตพระโขนง จึงเป็นที่มา ของชื่ อ บ้ า น “ชั ย พฤกษ์ ” เป็ น ชื่ อ ที่ มี คุณค่าส�ำหรับคริสเตียน แปลว่า ต้นไม้ แ ห ่ ง ชั ย ช น ะ เ ร า ตั้ ง เ ป ็ น มู ล นิ ธิ มี มิ ช ชั น นารี ค นหนึ่ ง ที่ ช ่ ว ยหาทุ น ให้ ส่วนทางการแพทย์ และงานเอกสาร ต่างๆ ป้าหมอเป็นผู้รับผิดชอบ มีเลขาฯ คนหนึ่งช่วยดูแลอยู่ ตอนนั้นป้าหมอก็ จะดูแลสุขภาพของเด็ก ดูแลพนักงาน สอนเขาให้เลี้ยงเด็กให้เติบโตไปทั้ง 3 ด้ า น คื อ ทั้ ง ร่ า งกาย จิ ต ใจ และจิ ต

ป้ า หมอก็ เ ริ่ ม อธิ ษ ฐานขอพระเจ้ า ว่ า อยากจะมีบ้านเป็นของตัวเอง เพราะถ้า เรายั ง ร่ อ นเร่ อ ย่ า งนี้ ลู ก ๆจะเหนื่ อ ย มาก พนักงานก็เหนื่อยเพราะเปลี่ยนสิ่ง แวดล้อมบ่อย กว่าจะปรับตัวได้แต่ละที ก็ 3-4 เดือน แล้วอีกหน่อยลูกที่เรียนจบ ออกจากบ้านไปแล้วจะได้กลับมาเยี่ยม เราได้” เมื่อเริ่มหาที่ก็มีคนมาบอกว่ามี ที่บอกขายอยู่แถวรังสิต พอได้ยินค�ำว่า “รั ง สิ ต ” เลยนึ ก ขึ้ น ได้ ว ่ า ตั ว เองมี คุ ณ ยายอยู ่ รั ง สิ ต ก่ อ นที่ คุ ณ ยายจะเสี ย ท่ า นได้ ท� ำ พิ นั ย กรรมยกที่ ดิ น ให้ กั บ พระเจ้ า ไว้ ดู แ ลเด็ ก ก� ำ พร้ า สร้ า ง โรงเรียน สร้างคริสตจักร และสร้าง สุ ส าน พยายามตามหาลู ก หลานคุ ณ ยายจนเจอ แต่ ป รากฎว่ า ที่ ดิ น ผื น สุดท้าย 200 ไร่ ก�ำลังจะโดนยึด ก็เลย ขอร้องเขาว่า อย่ายึดเลยเพราะที่นี้คุณ 51


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ยายได้เขียนพินัยกรรมเอาไว้ ระบุมอบ เพื่อให้รับใช้พระเจ้า ถ้าคุณยึดที่ดินนี้ ดิฉันก็จะฟ้องคุณนะ เพราะไม่เป็นไป ตามความประสงค์ ข องพิ นั ย กรรม ก็จะต้องขึ้นศาล พูดกับเขาค่อนข้าง แรงเพราะว่าเขาจะไม่ยอมอย่างเดียว ต่อรองกับเขาแล้วในที่สุดก็ต้องน�ำเงิน ไปให้เขา 500,000 บาท ซึ่งมีคนบริจาค เงิ น ให้ เ รา ในที่ สุ ด ก็ ไ ด้ ไ ถ่ ถ อนที่ ดิ น ผืนนี้มา จึงเป็นที่มาของบ้านชัยพฤกษ์ ที่คลอง 16 จังหวัดนครนายก ซึ่งในส่วน พื้นที่บ้านเด็กประมาณ 10 ไร่

ไม่ เ พราะกั บ เด็ ก ใครที่ ท� ำ ให้ โ ลกอั น สวยงามของเด็กถูกท�ำลาย สิ่งเหล่านี้ จะให้เกิดขึ้นในบ้านไม่ได้ เรื่องต่อมา คื อ เ รื่ อ ง ก า ร ข า ด เ งิ น ส นั บ ส นุ น หลังจากร่วมงานกับมิชชันนารีไปได้ 6 ปี เงินสนับสนุนเริ่มน้อยลง พอประมาณ ปี ที่ 8 มิ ช ชั น นารี ต ้ อ งกลั บ ประเทศ ป้ า หมอต้ อ งมารั บ ภาระคนเดี ย ว หมดเลย ทั้งหาทุน ทั้งดูแลเด็ก สอน พนักงาน และท�ำเอกสารต่างๆ ตอน นั้ น มี เ ด็ ก อยู ่ ใ นบ้ า นประมาณ 10 คน ตั้งแต่ทารก จนถึงเด็กเล็ก บางครั้งถึง เวลาสิ้ น เดื อ น ไม่ มี เ งิ น จ่ า ยพนั ก งาน แม้ แ ต่ ก รมประชาสงเคราะห์ ก็ ยั ง เป็ น ห ่ ว ง เ รื่ อ ง นี้ เ พ ร า ะ มี มิ ช ชั น น า รี ต่างประเทศมาเริ่มโครงการต่างๆ ไว้ มากมาย แต่พอเริ่มได้สักพัก มิชชันนารี กลั บ ประเทศ ท� ำ ให้ โ ครงการนั้ น ล้ ม เขาถามว่ า “คุ ณ หมอมี เ งิ น เท่ า ไหร่ ” ป้ า หมอตอบว่ า “ดิ ฉั น มี แ ต่ ใ จที่ เ ต็ ม เปี่ยม และวิชาชีพเท่านั้น” ตอนนั้นถึง จะมีภาระหนัก แต่ป้าหมอรู้สึกโล่งใจ เพราะรู้ว่าพระเจ้าอยู่กับเรา ป้าหมอ ไปประเทศเยอรมั น พู ด เรื่ อ งพั น ธกิ จ กับเพื่อน โบสถ์ และสถานทูต ก็ได้รับ เงินสนับสนุน เหมือนว่าพระเจ้าได้ทรง เลี้ยงเราดีกว่าเลี้ยงนกอีก ป้าหมอก็ยัง แปลกใจว่าผ่านพ้นมาได้ยังไง ตอนต้น ปีเงินในบัญชีแทบจะไม่มี แต่พอสิ้นปี ก็ ผ ่ า นมาได้ คนไข้ ก็ ใ ห้ ม าทุ ก เดื อ น ป้าหมอรู้สึกว่าพระเจ้าเลี้ยงดูเราจริงๆ

การท�ำพั น ธกิ จ บ้ า นชั ย พฤกษ์ มี ปัญหาหรืออุปสรรคอะไรบ้าง ? อุปสรรคในช่วงต้น คือ เรื่องพนักงานที่ ไม่ มี ค วามรู ้ เ พี ย งพอและก็ ไ ม่ ไ ด้ รั ก ลู ก จริงๆ ส่วนใหญ่ พนักงานที่เข้ามาคือแค่ ต้องการมีงานท�ำ มีเงินเดือน แต่ขาด ภาระใจอย่างมาก ป้าหมอก็ พ ยายาม สอน แต่ ค นไหนที่ ป รั บ ตั ว ไม่ ไ ด้ ก็ ต ้ อ ง เชิญเขาให้ออกจากงาน ป้าหมอต้อง ฝึกสอนพนักงานด้วยตัวเอง ตรวจสอบ และเช็ ค ตลอดเวลาว่ า ลู ก ของเราต้ อ ง สมบูรณ์ ป้าหมอยอมอยู่กับพนักงาน ไม่กี่คนที่เขารักเด็กจริงๆดีกว่า และจะ อดทนรอจนได้คนแบบนั้นถึงจะรับเข้า มาท�ำงาน พระเจ้าก็ส่งอาสาสมัครต่าง ช า ติ ม า ช ่ ว ย กั น ห ล า ย ค น จ า ก ทั้ ง สหรั ฐ อเมริ ก า เยอรมั น เบลเยี่ ย ม ป้ า หมอจะไม่ ช อบเลยถ้ า ใครพู ด 52


TBTS Theological Journal

ป้าหมอจะบอกลูกๆว่า “พระเจ้าทรง เมตตา เพราะพระเจ้าได้ทรงเลือกสรร ลูกๆมา ไม่ใช่ลูกทุกคนจะได้เข้ามาอยู่ ที่ บ ้ า นนี้ ท� ำ ไมป้ า ถึ ง ต้ อ งเข้ ม งวด เพราะว่ า ลู ก เป็ น ลู ก ของกษั ต ริ ย ์ ผู ้ ยิ่ ง ใหญ่ น ะสิ พระราชิ นี เ อลิ ซ าเบธยั ง เข้มงวดกับหลานของท่านเองมาก เพื่อ หลานของท่านจะสง่างามไม่ว่าจะอยู่ใน อริ ย าบถอย่ า งไร ลู ก เป็ น ลู ก ของ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ The King of kings ลู ก ต้ อ งท� ำ ตั ว ให้ น ่ า รั ก ” ป้ า หมอเห็ น คุณค่าในตัวของเขา และช่วยให้เขามอง เห็ น คุ ณ ค่ า ในตั ว เอง เพราะใครๆ ชอบเรี ย กพวกเขาว่ า เด็ ก ศู น ย์ ฯ บ้ า ง เด็กมูลนิธิบ้าง ฯลฯ เมื่อเขาบอกว่า เขา ไม่มีพ่อ ป้าหมอก็พูดหนุนใจเขาจนใน ที่ สุ ด เขาได้ ค� ำ ตอบเองว่ า “ผมมี พ ่ อ คือ ลุงหมอไงครับ และผมก็มีพระเจ้า” ได้ค�ำตอบแบบนี้ตัวเขาก็มีความสุข ป้า หมอยังสอนอีกว่า “ลูกดูสิว่าหลายคน ที่เกิดมา ที่มีพ่อและแม่ แต่พ่อแม่ก็ไม่ ได้ เ ลี้ ย งดู เ ขา บางครั้ ง ยั ง ท� ำ ร้ า ย ทารุณหรือให้คนอื่นเลี้ยงแทนก็มี แถม ยั ง ท� ำ อะไรที่ ไ ม่ ดี กั บ เขาเยอะแยะ ถ้างั้นลูกๆก็โชคดีแล้วที่ได้มาอยู่ภายใต้ ก า ร ดู แ ล ข อ ง ป ้ า ห ม อ ” ป ้ า ห ม อ ได้ยกตัวอย่างบุคคลในพระคัมภีร์ เช่น โยเซฟ ก็ไม่ได้อยู่กับพ่อตลอด แต่ก็ได้ เป็นผู้ยิ่งใหญ่ โมเสส ก็ไม่ได้อยู่กับพ่อ กับแม่ แต่เขาก็ประสบความส�ำเร็จ ป้า หมอสอนให้ลูกๆดูแบบอย่างบุคคลใน

เราไม่ ต ้ อ งวิ ต กกั ง วลเลย ในช่ ว งแรก ยั ง มี ข องบริ จ าคเข้ า มาค่ อ นข้ า งมาก ตอนช่วงฟองสบู่แตก ไม่มีของบริจาค แม้แต่ห้องอาหารก็โล่ง ไม่มีอะไรเลย เราก็ ผ ่ า นมาได้ ด ้ ว ยดี ไม่ เ คยกั ง วล ว่าลูกจะไม่มีข้าวทาน เพราะว่าคนไข้ส่ง ข้าวมาให้ทุกเดือนเดือนละ 2 กระสอบ คนนั้นให้อาหารแห้ง คนนี้ให้ขนมบ้าง บริ ษั ท นมก็ บ ริ จ าคมาให้ จ� ำ นวนมาก พระเจ้ า ทรงเลี้ ย งดู หมอจึ ง อยากท� ำ บ้านหลังนี้ให้มีความสุข ให้เด็กๆเติบโต ได้อย่างเต็มที่ทั้งกาย ใจและจิตวิญญาณ

คุ ณ หมอปลู ก ฝั ง ลู ก ทุ ก คนในเรื่ อ ง ของพระเจ้าอย่างไรบ้าง? ป้ า หมอจะสอนให้ ลู ก ใช้ ชี วิ ต ทั้ ง วั น อยู ่ กับพระเจ้า ไม่ว่าเวลากิน นอน เราจะ อธิ ษ ฐาน ร้ อ งเพลงสรรเสริ ญ พระเจ้ า ป้าหมอสอนลูกๆว่า ร้องเพลงให้คิดถึง พระเจ้ า พระเจ้ า ฟั ง อยู ่ ข ้ า งบนจริ ง ๆ ไม่ใช่แค่ร้องเพลงไปเรื่อยๆ แต่ให้คิดถึง ความหมายของเนื้อเพลงด้วย

53


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

พระคัมภีร์ เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้ เข้ ม แข็ ง ก่ อ นที่ ลู ก ๆจะออกไปอยู ่ น อก บ้าน

“คะ” ด้วย พอพูดแล้วมักจะโดนคน อื่นๆพูดประชด เหน็บแนม” ป้าหมอก็ ให้เขาตอบไปว่า “ก็บอกว่าคนในบ้าน เรา เขาพูดกันอย่างนี้” ป้าหมอชี้ให้เขา เห็นว่า เมื่อเขาโตขึ้น ไปท�ำงานโรงแรม เขาก็ไม่ต้องปรับตัว ไม่ต้องเรียนภาษา สุภาพใหม่ เพราะพูดจนชินตั้งแต่เด็ก รู้ว่าการพูดที่สุภาพต้องพูดไพเราะ ส่วน เรื่ อ งความก้ า วร้ า วจะไม่ มี ใ นบ้ า นเรา เด็ ก ที่ อิ่ ม ใจเขาจะไม่ มี ภ าวะจิ ต ตกต�่ ำ โน่ น ! เขากลั บ มาจากสวน เขาจะ อารมณ์ ดี รดน�้ ำ ต้ น ไม้ ก็ ร ้ อ งเพลงไป ด้วย ป้าหมอสอนให้คุยกับต้นไม้ไปด้วย ต้นไม้ก็ฟังเราท�ำให้สดชื่น

พวกพี่ ๆ ที่ โ ตแล้ ว พอถึ ง เ ว ล า ต ้ อ ง อ อ ก ไ ป เ รี ย น มหาวิ ท ยาลั ย ก็ จ ะไปพั ก หอพั ก ไม่ ว ่ า จะอยู ่ ที่ ไ หน ก็ ต ามก็ จ ะมี ก ารติ ด ต่ อ อยู ่ ตลอดเวลา เด็กบางคนไม่ เคยจากบ้านเลยจนถึง ม.6 พอต้องไปเรียนไกลก็จะอนุญาตให้เขา กลับมาทุกวันศุกร์ ป้าหมอพร้อมที่จะ จ่ า ยเงิ น ในสิ่ ง ที่ ดี ที่ สุ ด ส� ำ หรั บ เด็ ก ๆ ซึ่ ง พระเจ้ า ก็ ไ ม่ เ คยให้ เ ราขั ด สนเลย แต่พระเจ้าก็ไม่ได้ให้เรามีเงินเพื่อที่จะ ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ซื้อสิ่งของที่เกิน ความจ�ำเป็น ป้าหมอสอนลูกๆว่า “ทุกคน มาตัวเปล่าก็กลับไปตัวเปล่า สิ่งที่เรามี อยู ่ เ พี ย งพอกั บ การด� ำ รงชี วิ ต อะไรที่ จ�ำเป็นพระเจ้าจะให้ พระเจ้าสัญญาไว้ ก็ให้จริงๆแม้จะเป็นของเล็กน้อย แต่ขอ ให้ ลู ก ใช้ เ งิ น ให้ ถู ก เพื่ อ จะปรนนิ บั ติ พระเยซูคริสต์

มี เ ด็ ก หลายคนที่ เ รี ย นจบปริ ญ ญาตรี แล้ ว สามารถเรี ย นต่ อ ปริ ญ ญาโทได้ เรียนกันเก่งมาก มีอยู่ 2 คน ที่ได้ทุนไป เรียนต่อที่ต่างประเทศ คนที่สัมภาษณ์ ถามว่า “เกิดเมืองนอกหรือเปล่าคะ หนู เรี ย นโรงเรี ย นอิ น เตอร์ ห รื อ เปล่ า คะ” พอเขาได้ค�ำตอบว่า มาจากมูลนิธิบ้าน ชัยพฤกษ์ จังหวัดนครนายก เขาตกใจ ว่ า ท� ำ ไมพู ด ภาษาอั ง กฤษเก่ ง ขนาดนี้ สิ่ ง นี้ ท� ำ ให้ เ ราเห็ น ความยิ่ ง ใหญ่ ข อง พระเจ้า ป้าหมอมีความคิดว่าลูกเราเอง ส่งเรียนอินเตอร์ได้ แต่ลูกของพระเจ้า ต้องช่วยมากกว่านี้อีก ในขณะที่คุกเข่า อธิษฐานกับพระเจ้า ก็มีความคิดหนึ่ง เข้ า มาในหั ว “ก็ รั บ ครู ฝ รั่ ง เข้ า มาเลย ประกาศไปเลยใครอยากเข้ามาก็มาอยู่ ที่ บ ้ า นกั บ เรา” ก็ ไ ด้ จ ริ ง ๆ ได้ ค รู ฝ รั่ ง

เวลาเด็ ก ไปโรงเรี ย น ไปอยู ่ กั บ สั ง คม ภายนอกซึ่งหลายครั้งมีการพูดค�ำหยาบ หรือมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ป้าหมอก็จะ สอนว่าโลกข้างนอกก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ลูกไม่ต้องไปตามพวกเขานะ ลูกจะต้อง เป็นตัวอย่างและเป็นต้นแบบให้กับเขา มี เ ด็ ก ผู ้ ห ญิ ง ถามว่ า “ท� ำ ไมต้ อ งพู ด 54


TBTS Theological Journal

มาสอน บ้านบางหลังที่มูลนิธิจะไม่มี การพูดภาษาไทยเลยนะคะ ได้ครูฝรั่ง มา 4 คน ให้เขาคลุกคลีอยู่กับเด็กบาง คนติดใจอยู่ถึง 4 ปี ทั้งๆที่ตั้งใจมาอยู่ แค่ ป ี เ ดี ย ว นี่ คื อ พระพรที่ พ ระเจ้ า ประทานให้ แ ม้ เ ราไม่ มี เ งิ น ส่ ง เด็ ก ไป เ รี ย น โ ร ง เ รี ย น อิ น เ ต อ ร ์ แ พ ง ๆ เป็นพระพรที่ท�ำให้ลูกๆเห็นถึงความรัก อันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า เด็กๆเรียนรู้ว่า พระเจ้ า ส่ ง คนมาช่ ว ยเหลื อ พวกเขา ตลอด ป้าหมอสอนให้ลูกๆ ติดสนิทกับ พระเจ้ า ยั ง ไม่ มี ลู ก คนไหนหนี ไ ปจาก พระเจ้า เด็กรุ่นที่ 1 และ 2 เรียนจบไป แล้ว ถ้านับจนถึงปัจจุบันก็ร่วมร้อยคน แม้บางคนไม่ประสบความส�ำเร็จในการ เรี ย นหลั ก สู ต รปริ ญ ญาตรี บางคนจบ สายอาชีพ บางคนจบแค่ ม. 6 และก็ ขอออกไปท�ำงาน เด็กผู้หญิงบางคนก็ ไปมี แ ฟน และก็ แ ต่ ง งานมี ลู ก ก็ ไ ม่ เป็ น ไร ป้ า หมอรู ้ ว ่ า เด็ ก ๆรั ก พระเจ้ า เพราะว่ า ปลู ก ฝั ง พวกเขาตั้ ง แต่ เ ล็ ก แม้ เ ขาเองอยากออกไปสู ้ กั บ โลก ภายนอก คิ ด ว่ า ตนเองมี วุ ฒิ ภ าวะพอ ป้ า หมอก็ ไ ด้ แ ต่ อ ธิ ษ ฐานเผื่ อ พวกเขา วันแม่ พวกเขาก็จะกลับมา มาขอโทษ บ้าง มาเล่าประสบการณ์บ้าง บางคนก็ กลั บ มาช่ ว ยสอนวิ ช าต่ า งๆให้ น ้ อ งๆ เพราะป้าหมอไม่มีเวลา พวกเขากลับมา ด้ ว ยใจที่ รั ก บ้ า น และมี ค วามผู ก พั น น้องๆ ก็จะมีแบบอย่างที่ดี เขาเห็นว่า

รุ่นพี่ท�ำได้ เขาก็ท�ำได้ แม้บางคนอาจ อ่ อ นแอและพ่ า ยแพ้ ก ารทดลองจาก ซาตาน แต่ทุกคนเป็นลูกของพระเจ้า ป้าหมอก็จะคอยเตือนเขา เมื่อเขากลับมาบ้านไม่ว่า ช่วงไหนก็ตาม ป้าหมอก็ จะสอนเขา ตลอด เวลาว่า “ลูกเป็นคนที่เก่ง ป้าหมอรู้จักลูกตั้งแต่เล็ก จนโต ฉะนั้น ลูกต้องเก่ง กว่าซาตานให้ได้” หลายคนที่มีปัญหา ก็โทรมาปรึกษา ป้าหมอก็คอยให้ก�ำลัง ใจเขาตลอด

คุ ณ หมอเปรี ย บเหมื อ น คุ ณ แม่ คุณครู และทุกอย่าง คุณหมออยาก เห็ น ปลายทางของเด็ ก ๆ เป็ น อย่างไร? ขอให้เขาเป็นคนดีของสังคม และเป็น ผู้ปรนนิบัติพระเยซูคริสต์ตลอดชีวิตของ เขานี่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ให้ เ ขาเป็ น ต้ น แบบ เป็นตัวอย่าง หมอพยายามสอดแทรก ให้เขามีภาวะเป็นผู้น�ำในโอกาสต่างๆ อย่ า งเวลาอยู ่ ใ นโบสถ์ ก็ จ ะมี พี่ โ ต พี่กลาง พี่เล็ก คอยรับผิดชอบเพลง ให้ เขากล้าแสดงออก ให้กล้าพูดในสิ่งที่เขา จะพูด ให้มั่นใจ และเขาก็กล้าที่จะถาม คุณครูในห้องเรียน และเมื่อเจอฝรั่งก็จะ เข้าไปทักทาย เด็กที่นี่เขาจะมีจุดเด่น ป้าหมอไม่ค่อยกังวลเพราะฝากพวกเขา ไว้กับพระเจ้า บางคนอาจต้องเจอมรสุม 55


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

คุณหมอรู้สึกยังไงกับสิ่งที่ได้เริ่มต้น ท�ำบ้านชัยพฤกษ์ และวันนี้คุณหมอ คิ ด ว่ า คุ ้ ม ค่ า หรื อ ไม่ ใ นสิ่ ง ที่ ล งทุ น ลงแรงไป?

ในชีวิตหนักหน่อย ล้มลุก คลุกคลาน แต่นั่นเป็นเพราะพระเจ้าต้องการใช้เขา แต่ละคนไม่เหมือนกัน มีตดิ ยาเสพติดก็มี เด็กคนนี้ฉลาดมากแต่เขาก็ยังตกหลุม ของซาตาน เพราะว่าเขาไปร้องเพลง ตามร้ า นอาหารเวลากลางคื น พอเรา ไม่ มี ส ติ ซาตานก็ จ ะจ้ อ งเล่ น งาน ป้ า หมอสอนเด็ ก ๆว่ า ผู ้ ที่ ข ยั น ที่ สุ ด ใน โลกนี้ คือ “ซาตาน” มนุษย์เหนื่อยก็ หลั บ แล้ ว แต่ ซ าตานมั น ไม่ ย อมหลั บ ยอมนอน คอยจับจ้องอยู่ตลอด 24 ชม. ป้ า หมอก็ ค อยสอนเด็ ก ๆ ให้ เ ขารู ้ จุ ด อ่อนของตัวเอง และให้เขาดิ้นรนสู้ต่อ ไปให้ได้ ป้ า หมอเชื่ อ ว่ า ลู ก ๆ ทุ ก คนที่ อ อกไป นอกบ้าน เขาจะมีมรสุมในชีวิตของเขา ไม่มากก็น้อย คนที่มีความเชื่อมากก็จะ ได้พบกับเขาวันอาทิตย์เพราะเขาจะมา โบสถ์ แต่ก็มีพวกที่ไม่ได้ไปโบสถ์ บ้าง ก็ท�ำงาน บ้างก็ไม่มีเวลาไป ป้าหมอก็ เป็นห่วงพวกเขา แต่ก็มั่นใจว่าพวกเขา จะไม่หลุดไปจากทางของพระเจ้า ถ้า พวกเขาหลุ ด ไป พระเจ้ า ก็ จ ะมี วิ ธี ดึ ง พวกเขากลับมาจนได้

เหนื่ อ ยมากค่ ะ แต่ มี ค วามสุ ข มากๆ เพราะว่ า พระเจ้ า จะให้ ก� ำ ลั ง ใจตลอด ช่วยให้เรารู้สึกชุ่มชื่นในจิตใจ ป้าหมอ ให้ ค วามรั ก ต่ อ เด็ ก ๆและพวกเขาให้ ความรักตอบแทนกลับมา และเราก็มี ความสุขที่เห็นเขาประสบความส�ำเร็จ ในชีวิต บางคนจบกฎหมาย จบบัญชี จบพยาบาล ทุกคนมีหน้าที่การงานที่ดี มีต�ำแหน่งที่ดี บางคนได้ท�ำงานบริษัท ต่างชาติ ป้าหมอภูมิใจที่ทุกคนประสบ ความส�ำเร็จ ตอนนี้ก็มีหลายคนที่ก�ำลัง เรี ย นอยู ่ บางคนเรี ย นจบปริ ญ ญาตรี แล้วก็ขอเรียนต่ออีก ซึ่งพอเขามีรายได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ เขาก็ท�ำงานไปด้วย เรียนไปด้วย เรียนเสาร์-อาทิตย์ ลูก แต่ ล ะคนก็ มี ป ระวั ติ ไ ม่ เ หมื อ นกั น เลย ป้าหมอดีใจที่ได้ดึงเขาออกมาจากวงจร ชีวิตของครอบครัวของเขาได้ มิฉะนั้น ถ้าเขาไม่ได้มาอยู่กับเราตรงนี้ เขาก็คง เหมือนกับคุณพ่อคุณแม่ของเขา ถ้าเป็น เด็ ก ผู ้ ห ญิ ง ก็ จ ะท้ อ งก่ อ นแต่ ง ถ้ า เป็ น ผู ้ ช ายก็ อ าจติ ด ยาเสพติ ด เขาได้ ห ลุ ด ออกจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี เหมือนได้ ชีวิตใหม่

56


TBTS Theological Journal

จากที่ผ่านๆมา คุณหมอเริ่มต้นจาก สิ่ ง ที่ คุ ณ หมอมี อ ยู ่ และด�ำเนิ น ไป ด้วยความเชื่อ โดยท�ำหน้าที่คนต้น เรื อ นดู แ ลอารั ก ขาสิ่ ง เหล่ า นี้ อ ย่ า ง สั ต ย์ ซื่ อ และพระเจ้ า ก็ น�ำให้ เ กิ ด ผลอย่างมากมาย คุณหมอมองว่า ในกรณีที่เราเป็นคริสเตียน เราจะ ดู แ ลหรื อ อารั ก ขาสิ่ ง ที่ พ ระเจ้ า ประทานให้ อย่ า งสั ต ย์ ซื่ อ ได้ อย่างไร?

อย่างนี้ ถ้าสักวันเราไม่มีอะไร ก็จะเก็บ ผักบุ้งกิน ในบ้านก็มีทุกอย่าง ป้าหมอ รู้สึกว่า ยิ่งดูแลของของพระเจ้า ก็ต้อง คิ ด ว่ า ทุ ก ๆอย่ า งเป็ น ของพระองค์ ขอบคุ ณ พระเจ้ า เราไม่ ส มควรแต่ พระองค์ให้โอกาสเราในการปรนนิบัติ พระองค์ ยิ่งเราปรนนิบัติพระองค์มาก เท่าไหร่จากทรัพย์สมบัติของพระองค์ เรายิ่งจะได้รับพระพรและความสุขมาก เท่านั้น พระองค์จะยิ่งเทพระพรให้เรา มากขึ้นอีก เพราะพระองค์เห็นว่าเรา ใช้มนั อย่างคุม้ ค่ากับพันธกิจของพระองค์

ถ้ า ผู ้ ที่ รั ก พระเจ้ า มี ส ายสั ม พั น ธ์ ที่ ติดสนิทกับพระเจ้าแล้ว การที่เราจะอยู่ เพื่ อ พระคริ ส ต์ มั น ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เรื่ อ งยาก แต่ ก ลั บ ต้ อ งขอบคุ ณ พระเจ้ า ที่ ไ ด้ เติ ม โน่ น เติ ม นี่ มาให้ เ ราได้ รั บ ใช้ พระองค์ ม ากยิ่ ง ขึ้ น ไปอี ก บางที เ ราก็ หาไม่ได้ แต่พระองค์ก็เปิดโอกาสมาให้ เรา เราก็ต้องท�ำอย่างเต็มที่ ให้เกียรติ พระองค์ ม ากที่ สุ ด ยิ่ ง เราเอาสิ่ ง ที่ พระองค์ประทานให้มารับใช้พระองค์ ยิ่งมากเท่าไหร่ พระองค์ก็จะยิ่งเปิดทาง ให้เรารับใช้มากยิ่งขึ้นไปอีก เราก็ท�ำไป ได้เรื่อยๆ บางครั้งดูเหมือน เราเจอทาง ตัน ไปต่อไม่ได้ แต่จริงๆแล้วไม่มีทางตัน ส� ำ หรั บ คนที่ รั ก พระเจ้ า และทุ ่ ม เทให้ พระองค์ พระเจ้ า มี ท างที่ เ ปิ ด ออกให้ อย่ า งงดงามกว่ า ที่ เ ราคิ ด ไว้ เ สมอ ป้ า หมอไม่ เ คยมี ค วามรู ้ สึ ก ว่ า ไปต่ อ ไป ไม่ไหว จะต้องปิดบ้าน เราอยู่ของเรา

ได้ฟังเรื่องราวของคุณหมอ น่าจะ ตรงกับข้อพระคัมภีร์จากพระธรรม ลูกา 12:48 ที่กล่าวไว้ว่า “ทุกคนที่ รับมามาก จะถูกเรียกร้องมาก และ ทุ ก คนที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายไว้ ม าก จ ะ ถู ก เ รี ย ก ร ้ อ ง ม า ก ยิ่ ง ก ว ่ า ” คุ ณ ห ม อ คิ ด เ ห็ น อ ย ่ า ง ไ ร กั บ พระธรรมตอนนี้ คุ ณ หมอคิ ด ว่ า พระเยซูต้องการสอนอะไร? ป้าหมอคิดว่า พระเยซูต้องการให้ก�ำลัง ใจเรา เมื่อเราทุ่มเทมากก็จะได้รับมาก แม้ว่าเราจะเจอประสบการณ์ ที่หนักในชีวิต แต่พระเจ้าจะให้สิ่งที่ดี มากมายแก่เรา

57


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ได้ เ ห็ น หั ว ใจของคุ ณ ลุ ง หมอ และ คุณป้าหมอที่มีต่อเด็กๆ คุณป้าหมอ อยากจะหนุ น ใจคริ ส เตี ย นที่ จ ะมี ส่ ว นในการดู แ ลกลุ ่ ม คนที่ ด ้ อ ย โอกาสในสังคม มากขึ้นได้อย่างไร ? คริ ส เตี ย นควรจะเป็ น ผู ้ ดู แ ลกลุ ่ ม คนที่ ด้อยโอกาสเป็นอย่างยิ่ง เพราะพวกเขา เหล่ า นั้ น เป็ น ลู ก ของพระองค์ เ ช่ น กั น มีอาสาสมัครที่ไม่เป็นคริสเตียนได้เสีย สละไปสอนเด็ ก ๆ ใต้ ส ะพานพุ ท ธ ดู แ ลความทุ ก ข์ สุ ข ของคนเหล่ า นั้ น แต่ป้าหมอยังไม่เห็นคริสเตียนที่ท�าตรงนี้ เลยสั ก คน น่ า เสี ย ดายไม่ ต ้ อ งรอ ให้ มี เ งิ น ทุ น เยอะๆ งานของพระเจ้ า ไม่ จ� า เป็ น ต้ อ งมี โ ครงการแบบธุ ร กิ จ คื อ ต้ อ งรอให้ มี เ งิ น ทุ น ก่ อ น มั น ไม่ ใ ช่ แบบนั้ น เพราะว่ า พระเจ้ า ได้ ใ ห้ ตะลันต์ ให้สติปัญญา และให้ก�าลังกับ เราแล้ว ถ้าเรามีใจรักที่จะท�า จิตใจเรา ไ ป ก ่ อ น ท� า สิ่ ง ง ่ า ย ๆ ที่ เ ร า ท� า ไ ด ้ แล้วพระเจ้าจะประทานเงินทุนให้เอง เราไม่ต้องกังวลเลยว่าจะไม่มีสิ่งของที่ ต้องการใช้ในการปรนนิบัติพระองค์

พญ. ดร. เคลียวพันธ์ สูรพันธ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สาขาสูตินรีเวช โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ สมาชิกคริสตจักรวัฒนา 58


TBTS Theological Journal

มองผู ้รับใช้ “แห่งความเจริญรุ ่งเรือง” กับผู ้รับใช้ “ในประวัติศาสตร์” และผลกระทบต่อคริสเตียนไทย ดร.วิยะดา ทัฬหิกรณ์ เมื่อศึกษาเรื่องราวรายละเอียดเกี่ยวกับ ศาสนศาสตร์แห่งความเจริญรุ่งเรือง ซึ่ง เป็นค�ำสอนที่แพร่หลายอย่างรวดเร็วใน คริสตจักรปัจจุบัน และมีการเผยแพร่อยู่ ในหลายคณะ จนเข้าใจว่าเป็นค�ำสอนที่ ถูกต้องตามพระคัมภีร์ คริสตจักรในหลาย ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยก็ได้รับผล กระทบจากค� ำ สอนนี้ โ ดยไม่ เ ข้ า ใจว่ า แท้ จ ริ ง เป็ น ค� ำ สอนที่ ผิ ด เพี้ ย นจาก พระคัมภีร์

เข้าใจในพระคัมภีร์ จึงหลงไปตามค�ำสอน เหล่านั้น น�ำมาซึ่งความเสียหายของผู้ที่ เชื่อ และคริสตจักรเกิดการแตกแยก แต่ ส�ำหรับบรรดาผูส้ อนเทียมเท็จ กลับร�ำ่ รวย มหาศาล ดังนัน้ ในบทความนี้จึงมุ่งให้เกิด ความเข้าใจทีถ่ กู ต้องตามพระคัมภีร์ และ เห็นแบบอย่างของบรรดาผู้เชื่อทั้งระดับ ผู้น�ำ และสมาชิกคริสตจักรทั้งหลายที่มี ความเชื่อตามพระคัมภีร์อย่างถูกต้อง และมี ก ารด� ำ เนิ น ชี วิ ต ตามน�้ ำ พระทั ย พระเจ้าของคริสเตียน โดยเฉพาะคริสต จักรยุคแรกทีป่ กป้องความเชือ่ ให้พน้ จาก ค� ำ สอนเที ย มเท็ จ ทั้ ง หลาย เพื่ อ ให้ คริสเตียนทุกยุคทุกสมัยยึดมั่นในค�ำสอน ที่ถูกต้องตามพระคัมภีร์ และด�ำเนินชีวติ อย่างถูกต้องตามพระประสงค์ของพระ เยซูคริสต์เจ้า

ตลอดประวั ติ ศ าสตร์ ค ริ ส ตจั ก รของ พระเจ้า เราได้เรียนรู้ว่า คริสตจักรของ พระเจ้าต้องเผชิญปัญหาหลายอย่าง อาทิ การข่มเหงทางการเมือง การล่อลวงอัน เกิดจากค�ำสอนเทียมเท็จ และอื่นๆ เพื่อ มุง่ ท�ำลายคริสตจักรของพระคริสต์ ทีท่ รง ไถ่ด้วยพระโลหิตของพระองค์ เพื่อให้ คริสตจักรหลงไปจากทางแห่งความเชื่อ อันถูกต้อง

พระกิตติคณ ุ แห่งความมัง่ คัง่ (prosperity gospel) สอนว่าผู้เชื่อมีสิทธิที่จะได้รับ พระพรด้ า นสุ ข ภาพ และความมั่ ง คั่ ง ทางการเงิน และพวกเขาสามารถได้รับ พระพรเหล่านี้โดยการประกาศยืนยัน ความเชื่อ และการหว่าน “เมล็ดพันธุ์” ผ่านการถวายทรัพย์สนิ เงินทองอย่างสัตย์ ซื่อ ค�ำสอนแห่งความมั่งคั่งนี้เป็นปรากฎ การณ์ที่ไม่เจาะจงคณะนิกายความเชื่อ

ความเป็นมาของศาสนศาสตร์แห่ง ความเจริญรุ่งเรือง ศาสนศาสตร์แห่งความเจริญรุ่งเรืองเป็น ค�ำสอนเทียมเท็จที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 และต่อเนื่องมาจนถึงศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อคริสเตียนที่ขาดความรู้ความ 59


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

เราสามารถพบค� ำ สอนนี้ ไ ด้ ทั้ ง ใน คริสตจักรเครือเพนเทคอส (pentecost) ในคริสตจักรคาริสเมติค (charismatic) และบางกลุม่ ใน อิแวนเจลิคลั (evangelical) ค�ำสอนของผู้ที่น�ำเสนอ “พระกิตติคุณ แห่งความมั่งคั่ง” เป็นค�ำสอนเท็จ และ บิดเบือนพระคัมภีร์อย่างร้ายแรง และ พฤติ ก รรมของเขาเหล่ า นั้ น มั ก จะเน้ น การกระท�ำที่ผิดจรรยาบรรณและสวน ทางกับวิถชี วี ติ ของพระเยซูคริสต์ และส่ง ผลกระทบต่อคริสตจักรในหลายๆด้าน รวมไปถึ ง การอภิ บ าลที่ ท� ำ ร้ า ยผู ้ เ ชื่ อ ท� ำ ให้ ชี วิ ต ฝ่ า ยจิ ต วิ ญ ญาณไม่ เ ติ บ โต ค�ำสอนเช่นนี้ไม่เพียงแต่ไม่ให้ความหวัง ที่แท้จริง และยั่งยืน แต่อาจหันเหความ สนใจของผู ้ ที่ ไ ด้ รั บ ฟั ง ออกจากพระ กิ ต ติ คุ ณ และวิ ถี ท างแห่ ง ความรอด นิรันดร์1

จะเป็นเรื่องพลังอ�ำนาจเเห่งค�ำพูดเเละ การอธิษฐาน การหว่านเมล็ดพันธุ์เเห่ง ความศรัทธา เรื่องพระพรด้านวัตถุเงิน ทองที่ผ่านทางความเชื่อเเละการถวาย หรือเน้นความคิดในเเง่บวกอย่างเดียว โดยละเลยเรื่องการทนทุกข์เเละเสียสละ เเบบพระเยซู หรือเรือ่ งการพิพากษา เเละ ความบาป ผูน้ ำ� เหล่านีม้ อี ทิ ธิพลต่อพีน่ อ้ ง คริสเตียนในระดับทีเ่ เตกต่างกันไป เเต่ใน ค�ำสอนของทุกคน ล้วนเเต่มีเนื้อหาบาง ส่วนที่ไม่สะท้อนหลักค�ำสอนคริสเตียนที่ ถูกต้อง สมดุล ในศตวรรษที่ 19 นักประกาศ ชือ่ ฟิเนียส พี . ควิ ม บี้ (Phineas P. Quimby) เริ่ ม สอนเรื่ อ งแนวคิ ด ใหม่ (New Thought) ต่อมา ควิมบี้ ได้เป็นครู หรือ ผูร้ ู้ (guru) ของ แมรี่ เบเกอร์ เอ็ดดี (Mary Baker Eddy) ผู้ซึ่งเน้นพันธกิจแห่งการ รักษาทางจิตกล่าวว่า “ความคิดจิตใจอยู่ เหนือสาระ” (mind over matter) และ ใช้ความคิดและค�ำพูดในแง่บวก (positive thinking and speaking) ซึ่ ง ต่ อ มาได้ ก ลายเป็ น ลั ท ธิ ค ริ ส เตี ย น วิทยาศาสตร์ (Christian Science) ทัง้ นี้ เกิดขึ้นจากเรื่องแนวคิดใหม่นั่นเอง หลัง จากนั้นก็มีลัทธิทางศาสนากลุ่มใหม่ๆ ซึ่ง เกิดขึ้นจากลัทธิคริสเตียนวิทยาศาสตร์ เช่น ขบวนการเน้นความเป็นเอกภาพ (unity) ของศาสนากับวิทยาศาสตร์ (Divine Science of the Mind)

จากข้อความข้างต้น ให้เรามาท�ำความ เข้าใจพอสังเขปเกีย่ วกับจุดเริม่ ต้นของค�ำ สอนพระกิตติคุณแห่งความเจริญรุ่งเรือง 1. บุคคลต่างๆที่มีเเนวคิดที่เกี่ยวข้องกับ พระกิ ต ติ คุ ณ แห่ ง ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง มีผนู้ ำ� ต่างๆทางตะวันตกทีม่ เี เนวความคิด เเละสนับสนุนความคิดที่เ กี่ย วข้ อ งกั บ พระกิตติคณ ุ เเห่งความเจริญรุง่ เรืองไม่วา่ 1

คณะท�ำงานศาสนศาสตร์โลซาน, “ค�ำแถลงการณ์เกี่ยวกับ พระกิตติคุณแห่งความมั่งคั่ง,” พระคริสตธรรมประทีป 64, 348 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2013): หน้า 18.

60


TBTS Theological Journal

ซึง่ มีความคิดเห็นพืน้ ฐาน คือ อ�ำนาจแห่ง การรักษา และครอบครองของพระเจ้าอยู่ ในความคิดของมนุษย์ เพราะความคิด ของพระเจ้า และความคิดของมนุษย์ไม่ ได้แยกจากกัน แต่เชื่อมต่อกันและกัน2

ค.ศ. 1947 ออรัล โรเบิร์ตส (Oral Roberts) ผู้ก่อตั้งสมาคมการประกาศ ออรัล โรเบิร์ตส (The Oral Roberts’ Evangelistic Association) และมหา วิทยาลัยออรัล โรเบิรต์ ส (Oral Roberts University) ได้ ส อนวิ ช าว่ า ด้ ว ย ศาสนศาสตร์แห่งความเจริญรุง่ เรือง เขา ได้ อ ธิ บ ายกฎของความเชื่ อ ว่ า เป็ น ข้ อ ตกลงแห่งพระพร ในการทีพ่ ระเจ้าจะคืน กลับให้เจ็ดเท่า โดยผู้ถวายจะได้รับเงินที่ พวกเขาถวายไปแล้ว โดยจะมีเงินจาก แหล่งที่ไม่คาดคิดย้อนกลับคืนมาสู่พวก เขาทั้งหลาย

ผู ้ ที่ ไ ด้ รั บ ความคิ ด ลั ท ธิ ค ริ ส เตี ย น วิทยาศาสตร์คนต่อมา คือ นโปเลียน ฮิลล์ (Napoleon Hill, 1883–1970) ผู้เขียน หนังสือคิดและร�ำ่ รวย (Think and Grow Rich) และหนังสืออธิษฐานและร�่ำรวย (Pray and Grow Rich) แนวคิดใหม่นี้มี ความคิดว่าการอธิษฐาน คือ ความคิดใน แง่บวก และค�ำพูดในแง่บวกเหมือนเป็น คาถาศักดิ์สิทธิ์

ค.ศ. 1960 ที. แอล. ออสบอร์น (T. L. Osborn) เริ่มเน้นค�ำสอนข่าวประเสริฐ แห่งความรุ่งเรือง

ค.ศ. 1890 นักวิชาการ อี. ดับบลิว. เคน ยอน (E. W. Kenyon) ผูศ้ กึ ษาวาทศาสตร์ ทีว่ ทิ ยาลัยอีเมอร์สนั (Emerson College) เป็นผูท้ สี่ นับสนุนค�ำสอนเรือ่ งพระกิตติคณ ุ แห่งความเจริญรุง่ เรือง และการรักษาโรค โดยการอธิ ษ ฐาน มี ค วามแพร่ ห ลาย ท่ า มกลาง กลุ ่ ม คริ ส เตี ย นบริ สุ ท ธิ์ (Holiness Christian) เคนยอนได้นำ� การ ประกาศเผยแผ่เรื่องการรักษาโรค และ พระกิตติคณ ุ แห่งความเจริญรุง่ เรือง โดย การอธิ ษ ฐานเพื่ อ คนป่ ว ยจะได้ รั บ การ รักษา เน้นให้มีแนวคิดและค�ำพูดในแง่ บวก

ค.ศ. 1970 ออรัล โรเบิร์ตส เป็นผู้ที่ โดดเด่นในการสอนเรื่อง “สัญญาพร” เหมือนกับหลักค�ำสอนเรื่อง “เมล็ดพันธุ์ แห่ ง ความศรั ท ธา” โดยเปรี ย บเที ย บ ว่าการบริจาคเป็นรูปแบบหนึง่ ของ เมล็ด ซึ่งจะเติบโตในมูลค่า และจะกลับไปสู่ผู้ ให้ เขาเชิญพันธมิตรผู้ร�่ำรวย และผู้ที่ บริจาคมาร่วมประชุมเพื่อจะได้รับการ สนับสนุน ยองกี โช ( Yonggi Cho) นักเทศน์ชาว เกาหลีแห่งคริสตจักร Yoido Full Gospel Church เป็นผู้ที่สนับสนุนพระกิตติคุณ แห่ ง ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งอี ก คนหนึ่ ง

Roger E. Olson, “Is the ‘Prosperity Gospel’ a Variety of Evangelicalism?,” Available from: http://www.patheos.com/blogs/ rogereolson/2015/09/a-new-book-discussion-series-scot-mcknights-kingdom-conspiracy/ [28 Sep. 2015]

2

61


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

คริสตจักรของเขาเป็นคริสตจักรที่ใหญ่ ที่สุดในโลก

กลุ่มผู้สอนนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่ลี ซัมมิท (Lee’s Summit) รัฐมิสซูรี่ ซึง่ ก่อตัง้ โดย ชาร์ล และ เมอร์เทิล ฟิลมอร์ (Charles and Myrtle Fillmore)4

เคนเน็ธ ฮากิน้ (Kenneth Hagin, 1917–2003) เป็ น ผู ้ ก ่ อ ตั้ ง ศู น ย์ อ บรม และสุขภาพดี คือ พระคัมภีร์เรมา (Rhema การกล่าวพระค�ำ Bible Institute) ตั้งอยู่ที่ (speaking the word) เมืองทูลซ่า รัฐโอคลาโฮมา (Tulsa, Oklahoma) สถาบันนี้สอนนักศึกษาให้ ใช้การกล่าวอ้างพระนาม เพื่อจะมีพลัง อ�ำนาจในการรักษาโรค และเกิดความ มั่ ง คั่ ง ตามที่ อี . ดั บ บลิ ว . เคนยอน สอนไว้3

วิธีการที่จะได้มีความมั่งคั่ง

โรเบิร์ต โบว์เดน (Robert Bolden) กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้เชื่อพระเจ้า เขา เข้าใจว่าการรักษาโรคเป็นวิธีที่เราท�ำ ตามสิ ท ธิ ใ นพั น ธสั ญ ญาของพระเจ้ า เราสามารถฝึ ก ฝนอ้ า งสิ ท ธิ โ ดยใช้ พระวจนะเกี่ยวกับการรักษาโรคได้ เคนเนท โคปแลนด์ (Kenneth Copeland) คิดว่าหลักการพื้นฐานของ ชีวิตคริสเตียน คือ การรู้ว่าพระเจ้าได้น�ำ เอาความผิดบาป ความเจ็บป่วย โรค ต่างๆ ความโศกเศร้า ความยากจนไว้กับ พระเยซูที่ไม้กางเขนแล้ว

ฮากิ้น สอนว่า เรมา เป็นการส�ำแดงของ พระเจ้าในปัจจุบันนี้ ซึ่งต่างจากลอกอส (Logos Word พระวาทะของพระเจ้า) ที่ เป็นการส�ำแดงของพระเจ้าในอดีตโดย เฉพาะในพระคัมภีร์ พระเจ้าต้องการให้ ประชากรของพระองค์มีความรุ่งเรือง มั่งคั่ง และมีสุขภาพดี วิธีการที่จะได้มี ความมั่งคั่ง และสุขภาพดี คือ การกล่าว พระค�ำ (speaking the word) จากค�ำ สอนเรื่อง “การสอนเรื่องความเชื่อใน พระค�ำ (word-faith teaching)” และ แนวคิดใหม่ เรียกว่า ความเป็นเอกภาพ (unity) ผู้ที่เชื่อไม่เพียงแต่มีความคิดแง่ บวกเท่านั้น แต่ต้องพูดเรื่องสุขภาพ และ ความเจริญมั่งคั่งให้เป็นจริงขึ้นมาด้วย 3

กลอเรีย โคปแลนด์ (Gloria Copeland) กล่าวว่า ถ้าท่านให้ 10 ดอลล่าร์ จะได้ รับ 1,000 ดอลล่าร์กลับคืน ถ้าให้ 1,000 ดอลล่าร์ จะได้รับ 100,000 ดอลล่าร์ จอยส์ ไมเออร์ (Joyce Meyer) เน้ น การได้ รั บ ความสมบู ร ณ์ เ พราะ พระเจ้าทรงรักษา โรเบิร์ต ทิลตัน (Robert Tilton) เน้นการรักษาจากพระเจ้าด้วยความเชื่อ โจเอล ออสทีน (Joel Osteen) เน้นค�ำพูดของเราว่ามีฤทธิ์อ�ำนาจ 4

Ibid.

62

Walter R. Martin, The Christian and The Cults, (Michigan: Zondervan Publishing House, 1956), 36.


TBTS Theological Journal

เครฟโฟล ดอลล่าร์ (Creflo Dollar) เน้นค�ำพูดทีก่ ล่าวด้วยความเชือ่ จะเกิดผล

มหาวิทยาลัยออรัล โรเบิร์ตส (Oral Roberts University) ศู น ย์ ค วามเชื่ อ คริ ส เตี ย นซี แ อทเทิ ล (Christian Faith Center of Seattle) ศูนย์อบรมพระคัมภีร์เรมาโอคลาโฮมา (Oklahoma’s Rhema Bible Training Center)

การประกาศ เทศนา สั่งสอน ของบุคคล เหล่านี้ น�ำมาซึ่งความมั่งคั่งร�่ำรวยของ ผู้เทศนามากกว่าความมั่งคั่งของผู้เชื่อ ผูเ้ ชือ่ บางคนทีค่ ล้อยตามและท�ำตามกลับ กลายเป็ น คนที่ มี ห นี้ สิ น มากมาย และ ร่างกายก็ไม่ได้รับการรักษา

พระกิตติคุณแห่งความเจริญรุ่งเรือง เป็น ขบวนการความร่วมมือระหว่างสถาบันที่ มีแนวคิดเดียวกัน ท�ำเป็นระบบเครือข่าย และเป็นอิสระ ศิษยาภิบาลกลุม่ นีจ้ ะสร้าง เครือข่ายผ่านการจัดอบรมต่างๆ การ จั ด การประชุ ม สั ม นาผ่ า นรายการทาง โทรทัศน์ ตลอดจนผ่านหนังสือและสื่อ ต่างๆที่ผลิตขึ้น พวกเขาจะสนับสนุนส่ง เสริมงานของตนเอง อีกทั้งร่วมกันเป็น พันธมิตรทางศาสนา การขับเคลื่อนของ กลุ่มพระกิตติคุณแห่งความเจริญรุ่งเรือง ก็โดยผ่านสถาบันที่เป็นเครือข่ายกันเป็น หลัก อาทิ มีการก่อตัง้ สมาคมคริสตจักร แห่งความเชือ่ นานาชาติ (The Association of Faith Church International-AFCI) ในปี 1978 โดย จิม และ แคทลีน เคส แมน (Jim and Kathleen Kaseman) โดยมีศูนย์อบรมพระคัมภีร์เรมา และ มหาวิทยาลัยออรัล โรเบิร์ตส เป็นฝ่าย ผลักดันขบวนการแห่งความเชื่อ และ ท� ำ ให้ ผู ้ เ ชื่ อ ในพระกิ ต ติ คุ ณ แห่ ง ความ เจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งมี บ ทบาทเพิ่ ม ขึ้ น อย่ า ง มากมาย

2. คริสตจักรต่างๆ และหลายหน่วยงาน ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้รับอิทธิพล จากศาสนศาสตร์แห่งความเจริญรุง่ เรือง 5 ได้แก่ คริสตจักรพระกิตติคุณสมบูรณ์ (Full Gospel Church) คริสตจักรขนาดใหญ่แห่งฟลอริดา (Florida Mega-Church) คริ ส ตจั ก รของพระเจ้ า ในพระคริ ส ต์ (Church Of God in Christ) คริสตจักรแอสเซมบลีส์ออฟก๊อด (Assemblies of God) ของ ทอมมี บาร์เนทท์ (Tommy Barnett) คริสตจักรนานาชาติแห่งพระกิตติคุณใน มิติทั้งสี่ (International Church of the Foursquare Gospel) คริสตจักรเลควู้ด (Lakewood Church) 5

Catherine Bowler. “Blessed: A History of the American Prosperity Gospel,” (Doctor of Philosophy. Dissertation, Duke University, 2010), 19-25. Available form: http:// dukespace.lib.duke.edu/dspace/bitstream/handle/10161/2297/D_Bowler_Catherine_a_201005.pdf?sequence=1 [30 Aug. 2015]

63


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ความเชื่อ และแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง ตามพระคัมภีร์อย่างแท้จริง

ฝ่ายวิญญาณมากกว่าความสุขมั่งคั่งฝ่าย วัตถุ6

พระคัมภีร์สอนว่า “ด้วยว่าการรักเงิน ทองเป็นมูลรากแห่งความชั่วทั้งปวง” (1 ทธ. 6:10) “อย่าส�่ำสมทรัพย์สมบัติไว้ส�ำหรับตัวใน โลกทีอ่ าจเป็นสนิม และทีแ่ มลงจะกินเสียได้ และที่ขโมยอาจขุดช่องลักเอาไปได้ แต่ จงส�่ำสมทรัพย์สมบัติไว้ในสวรรค์ ที่ไม่มี แมลงจะกิน และไม่มีสนิมจะกัด และที่ ไม่มีขโมยขุดช่องลักเอาไปได้ เพราะว่า ทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ไหน ใจของ ท่านก็อยู่ที่นั่นด้วย” (มธ. 6:19-21)

พระคัมภีร์เดิม และพระคัมภีร์ใหม่สอน เกี่ ย วกั บ “ความมั่ ง คั่ ง ร�่ ำ รวย” ว่ า 1. ความร�่ำรวย และทรัพย์สมบัติ เป็น พระพรอย่างหนึ่งที่ผู้ชอบธรรมได้รับ 2. แม้ว่าความร�่ำรวยเป็นของประทาน จากพระเจ้า (ปญจ. 5:19) แต่เกิดจาก ความขยันขันแข็งของคนนั้นด้วย (สภษ. 6:10-11) 3. ความมั่งคั่งร�่ำรวยไม่ใช่หลักประกัน ความมั่ น คงที่ ถ าวร และไม่ ส ามารถ แทนคุณงามความดี หรือความชอบธรรม ได้ ชื่อเสียงดีเป็นสิ่งที่ควรเลือกมากกว่า ความมั่งคั่ง (สภษ. 22:1) 4. ความร�ำ่ รวยสามารถน�ำภัย และความ ทุกข์มาให้ (ปญจ. 5:13) 5. การมีเงินทองไม่ใช่สงิ่ ทีผ่ ดิ บาป แต่การ รักเงินทองเป็นมูลรากแห่งความชั่วร้าย ทั้งปวง (1ทธ. 6:10) 6.ผู้รับใช้ของพระเจ้าต้องเป็นคนไม่รัก เงิน สิ่งนี้เป็นคุณลักษณะของมัคนายก ผูป้ กครอง และกรรมการคริสตจักรต้องมี (1ทธ. 3:3, 8) 7.ผู ้ ที่ มี ท รั พ ย์ สิ น เงิ น ทองมากมาย สามารถตกลงในบาปของความหยิง่ และ การโอ้อวดได้ (ลก. 12:19) 8. พระคัมภีรใ์ หม่สอนให้เราอย่าวางใจใน ทรัพย์สนิ สิง่ ของเงินทอง คริสเตียนไม่วดั

ผูร้ บั ใช้พระเจ้าในอดีตล้วนแล้วแต่ดำ� เนิน ชีวิตตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์ หาได้แสวงหาความสุขความพอใจในฝ่าย ร่างกาย หรือฝ่ายโลกแต่อย่างไร ทั้งนี้ เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดตัดสินใจตอบรับการทรง เรียกจากพระเจ้าให้เป็นผู้รับใช้พระเจ้า ย่อมต้องละทิ้งทรัพย์สมบัติ เกียรติยศ ชื่อเสียง ญาติมิตร ผู้รับใช้พระเจ้าเลือก ที่ จ ะเป็ น ผู ้ มั่ ง คั่ ง ในพระนามพระเจ้ า คุณธรรม และจริยธรรมของพระเจ้า แม้ จะถูกโลกดูหมิ่นเหยียดหยาม แต่ในสาย พระเนตรพระเจ้ า พวกเขาเป็ น ผู ้ ที่ มี คุณค่า และเป็นผู้ที่ทรงรัก พวกเขา ด�ำเนินชีวติ ด้วยความถ่อมใจอย่างแท้จริง และด้วยการเชือ่ ฟังอย่างเรียบง่าย อีกทัง้ ยังด�ำเนินชีวิตด้วยความรัก และความ อดทน เน้นความก้าวหน้าในเส้นทางชีวติ

6

โธมัส อาเคมพิส, เลียนแบบพระคริสต์ แปลโดย เออร์ซลู า โลเวนธอล, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: กนกบรรณาสาร, 2001), หน้า 36

64


TBTS Theological Journal

คุณค่ามนุษย์ด้วยจ�ำนวนเงินในธนาคาร (ลก. 12:13-21) เพราะเงินทองจะเป็น สิ่งที่สูญสลายไป และไม่คงอยู่นิรันดร์ (มธ. 6:19-20)7

2. โจนาธาน เอ็ดเวิร์ดส (Jonathan Edwards) นักเทศน์ฟื้นฟูที่มีชื่อเสียงใน ประวัตศิ าสตร์คริสตจักรท่านพยายามจะ เขียนหนังสือด้วยตัวหนังสือที่ขนาดเล็ก ที่สุดเพื่อประหยัดเงินในการซื้อกระดาษ

แบบอย่างตามแนวพระคัมภีร์ของ ศิษยาภิบาล และนักเทศน์ในอดีต

3.จอห์น เวสลีย์ (John Wesley) ไม่ว่า แต่ละปีจะมีเงินเดือนเพิม่ ขนาดไหน ก็จะ ใช้จ่ายเท่าเดิมทุกปี ส่วนที่เหลือจะมอบ ให้คนจนทั้งหมด นักธุรกิจ คริสเตียนจ�ำนวนมากยอม “เพราะข้าพเจ้าจะมีฐานะ เสี ย ผลประโยชน์ ม หาศาล อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าก็ เพราะมิยอมอ่อนข้อต่อการ เรียนรู้แล้วที่จะพอใจ คดโกงทีผ่ ดิ ต่อมาตรฐานของ พระคัมภีร์ คริสเตียนมีหน้า อยู่อย่างนั้น” ที่ ต ่ อ ค น ขั ด ส น แ ล ะ ค น ฟป. 4:11 ยากจนในการให้ความช่วย เหลือ (สภษ. 14:21) ไม่มอง ข้ามละเลย หรือท�ำร้ายเขา (สดด. 10:2, อสย. 3:14-15) หน้าที่ที่คริสเตียนมีต่อ คนจนเปรี ย บเหมื อ นหน้ า ที่ ที่ เ รามี ต ่ อ พระเจ้า (สภษ. 14:31) เพราะพระเจ้า ทรงสนพระทัยคนจน และทรงช่วยเหลือ พวกเขา8 การกระท�ำของนักประกาศ พระกิ ต ติ คุ ณ แห่ ง ความรุ ่ ง เรื อ งทั้ ง ใน อเมริกา ในแอฟริกา และประเทศในแถบ เอเซีย เมือ่ พิจารณาจากข้อความข้างต้น แล้วขัดต่อหลักค�ำสอนของพระคัมภีร์ อย่างเห็นได้ชดั และด�ำเนินชีวติ ทีแ่ ตกต่าง

ศิษยาภิบาล และนักเทศน์ในอดีตที่ท�ำ ตามพระคัมภีร์ผู้ปลุกเร้าให้เกิดการฟื้นฟู ฝ่ า ยจิ ต วิ ญ ญาณ น� ำ คนมาถึ ง พระเจ้ า มากมาย (หาใช่น�ำเงินถวายมาให้แก่ตัว นักเทศน์เอง) ได้แก่ 1. อาจารย์ เปาโล (2คร. 3:10) ท่านตัดสินใจเลือกวิถีชีวิตหลังการทรง เรียกจากพระเจ้าให้ยอมเสียสละท�ำงาน ที่ ไ ด้ ค ่ า ตอบแทนน้ อ ย หรื อ ไม่ ไ ด้ ค ่ า ตอบแทนอะไรเลย “ข้าพเจ้าไม่ได้บ่นถึง เรื่ อ งความขั ด สน เพราะข้ า พเจ้ า จะมี ฐานะอย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าก็เรียนรู้แล้ว ที่จะพอใจอยู่อย่างนั้น ข้าพเจ้ารู้จักที่จะ เผชิญกับความตกต�่ำ และรู้จักที่จะเผชิญ กั บ ความอุ ด มสมบูร ณ์ ไม่ว่ากรณีใดๆ ข้าพเจ้ารู้จักเคล็ดลับที่จะเผชิญกับความ อิม่ ท้อง และความอดอยาก ความสมบูรณ์ พูนสุข และความขัดสน ข้าพเจ้าผจญทุก สิ่ ง ได้ โดยพระองค์ ผู ้ ท รงเสริ ม ก� ำ ลั ง ข้าพเจ้า” (ฟป. 4:11-13) 7

วรรณภา เรืองเจริญสุข, จริยธรรมคริสเตียน, (เชียงใหม่: พระคริสตธรรมเชียงใหม่, 2009), หน้า198.

8

65

เรื่องเดียวกัน, หน้า 202.


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

แต่พระคุณด�ำเนินไปอย่างเรียบง่าย หันออกจากสิง่ ต่างๆ ทีด่ เู หมือนจะเป็น ความชัว่ ได้ การเคลือ่ นไหวทีแ่ ตกต่าง กั น ของธรรมชาติ และพระคุ ณ ไม่ หลอกลวง และกระท�ำทุกอย่างเพื่อ พระเจ้าผูเ้ ดียว ธรรมชาติมนุษย์สนใจ การมีทรัพย์สินฝ่ายโลก และชื่นชม ยินดีในผลประโยชน์ที่ได้รับฝ่ายโลก โศกเศร้าเมื่อขาดทุน และฉุนเฉียวถ้า ใครกล่าวค�ำพูดนิดเดียวที่อาจท�ำให้ เจ็บใจ แต่พระคุณมองไปถึงสิง่ นิรนั ดร์ และไม่ยดึ สิง่ ทีเ่ ป็นของกาลเวลาไว้โดย ไม่ ก ระเทื อ นใจถ้ า เกิ ด การเสี ย หาย หรือโกรธเมื่อถูกคนกล่าวหาพูดค�ำ รุนแรง เพราะได้ฝากขุมทรัพย์ และ ความยินดีไว้ทสี่ วรรค์ทไี่ ม่เกิดการเสีย หายในสิง่ ใดเลย ธรรมชาติของมนุษย์ มักจะโลภอยากได้ เต็มใจรับมากกว่า ให้ผู้อื่น และชอบที่จะมีสิ่งของเป็น กรรมสิ ท ธิ์ ส ่ ว นตั ว ของตนเอง แต่ พระคุณนั้นอ่อนโยน และมีใจกว้าง ขวาง หลี ก เลี่ ย งการท� ำ อะไรเพื่ อ ประโยชน์ ส ่ ว นตั ว อิ่ ม ใจเมื่ อ มี แ ค่ เล็กน้อย และถือว่าการให้เป็นพระพร มากกว่าการรับ10

จากผู้รับใช้ของพระคริสต์ 4. ดไวท์ เเอล. มูดี้ (Dwight L. Moody) เป็ น บุ ค คลที่ พ ระเจ้ า ทรงใช้ อ ย่ า งมาก เหตุ ผ ลที่ พ ระเจ้ า ทรงใช้ ท ่ า นมาก คื อ มูดไี้ ม่มใี จรักเงินทอง ท่านกล่าวว่า “มีเงิน จ�ำนวนเป็นพันเป็นหมื่นแม้แต่เป็นล้าน เหรียญผ่านมือของท่าน แต่ไม่เคยติดค้าง อยู่ในมือท่านมูดี้เลย” ผู้รับใช้พระเจ้า ต้องไม่ถกู เงินทองผูกมัด เป็นแบบอย่างที่ ดีแก่สมาชิกจึงจะสอนสมาชิกให้รู้จักการ ใช้เงิน และการไม่ให้เงินผูกมัดด้วย9 5. โธมัส เอ. เคมพิส (Thomas A. Kempis) ผูเ้ ขียนหนังสือเรือ่ ง เลียนแบบพระคริสต์ (Of The Imitation of Christ) ให้เป็น มรดกที่มีคุณค่ายิ่งต่อคริสเตียนรุ่นต่อๆ มาทั่วโลก โธมัส ตัดสินใจถวายตัวรับใช้ พระเจ้าเมื่ออายุยี่สิบปี เขาได้บวชใน ประเทศเนเธอร์แลนด์ เขามีชีวิตที่สงบ และเรียบง่าย และมีชีวิตที่สัมพันธ์สนิท กับพระคริสต์อย่างลึกซึ้ง เขาเป็นแบบ อย่างของผู้รับใช้พระเจ้าที่ควรแก่การ ยกย่อง ตอนหนึ่งในหนังสือ เลียนแบบ พระคริสต์ ใจความดังนี้ ธรรมชาติมนุษย์มักเป็นคนเจ้าเล่ห์ และดึงดูดผูค้ นมากมาย ท�ำให้พวกเขา ตกหลุมพราง และถูกล่อลวง ในขณะ ทีแ่ สวงหาแต่ผลประโยชน์สำ� หรับตัวเอง

จากบุคคลในประวัติศาสตร์คริสตจักร ผู้รับใช้ของพระเจ้าโดยมากด�ำเนินชีวิต ตามแบบอย่างของพระเยซูคริสต์ และ

9

เวสเลย์ เชาว์, ผู้รับใช้พระคริสต์ แปลโดย ทองหล่อ วงศ์ก�ำชัย (กรุงเทพฯ: กนกบรรณสาร, 2000), หน้า 68.

10

66

โธมัส อาเคมพิส, หน้า 161.


TBTS Theological Journal

บรรดาอัครทูตทัง้ หลาย ค�ำสอนของท่าน เหล่ า นั้ น สอดคล้ อ งกั บ ค� ำ สอนใน พระคั ม ภี ร ์ และการด� ำ เนิ น ชี วิ ต ที่ ใ ห้ ความสนใจเรือ่ งฝ่ายจิตวิญญาณมากกว่า เรื่ อ งฝ่ า ยโลก สนใจความมั่ ง คั่ ง ฝ่ า ย จิ ต วิ ญ ญาณมากกว่ า ความมั่ ง คั่ ง ใน ทรัพย์สินเงินทอง ดังนั้นจึงส่งต่อความ เชื่อจากรุ่นสู่รุ่นอย่างเกิดผล และมีชีวิตที่ ถวายเกียรติแด่พระเจ้า

Mission) ดังนั้นความเชื่อของผู้รับใช้เหล่านี้ เป็น ความเชือ่ แท้จริง ไม่ได้ปะปนกับการมุง่ หวัง ผลประโยชน์เพือ่ ตนเอง หรือหมูค่ ณะของตน หากแต่การกระท�ำทั้งสิ้นก็เพื่อให้เป็นไป ตามพระประสงค์ของพระเจ้า และเพื่อ ถวายเกียรติแด่พระเจ้าอย่างแท้จริงด้วย ความสัตย์ซื่อ และจริงใจ เครก คีนเนอร์ (Craig แต่พระคุณมองไปถึง Keener) เป็ น แบบ อย่ า งของผู ้ เ ชื่ อ ใน สิ่งนิรันดร์ และไม่ยึด ปัจจุบัน มีค�ำพยาน สิ่งที่เป็นของกาลเวลาไว้ ชีวิตที่ส�ำแดงออกถึง ความเชือ่ และด�ำเนิน ชี วิ ต ใ น ก า ร รั บ ใ ช ้ พระเจ้าด้วยท่าทีที่ถูกต้อง เดิม คีนเนอร์ อยูใ่ นกลุม่ ทีไ่ ม่เชือ่ ว่ามีพระเจ้า (Atheist) ต่อมาเมื่อรับเชื่อในปี 1975 เขากลับมีใจ ที่หิวกระหายและตั้งใจศึกษาพระคัมภีร์ อย่างมาก จนมีความเข้าใจทีล่ กึ ซึง้ เมือ่ ได้ ศึกษาพระธรรมลูกา และพบว่าพระเยซู ทรงเรียกสาวกให้ ละทิ้งทุกสิ่งติดตาม พระองค์ (ลก. 12:33) คีนเนอร์ได้ตอบ สนองโดยการถวายชีวิตของตนเองด้วย ความเชื่อฟัง และท�ำตามพระประสงค์ที่ ให้ ส ละทุ ก สิ่ ง อี ก ทั้ ง วางใจในการจั ด เตรียมของพระองค์ (ลก. 12:22-29) คีน เนอร์ ไ ด้ ตั้ง ใจช่ วยเหลื อ เด็ ก คนหนึ่ ง ใน ประเทศอินเดียทุกเดือนๆ ละ 15 ดอลล่าร์ แ ต ่ ส ถ า น ก า ร ณ ์ ใ น ชี วิ ต เ กิ ด ก า ร

หากแต่ ว ่ า ในยุ ค แห่ ง การแสวงหาวั ต ถุ ความสะดวกสบาย ส่ ง ผลต่ อ ผู ้ รั บ ใช้ พระเจ้ า โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ใน กลุ ่ ม เพนเทคอส บางกลุ่ม ตามที่เราได้รับรู้มา แล้วนัน้ มีชวี ติ และค�ำสอนทีแ่ ตกต่างจาก ผูร้ บั ใช้พระเจ้าในอดีต นอกจากทีไ่ ด้กล่าว มาแล้วข้างต้น ยังมีผู้รับใช้พระเจ้าอีก มากมาย อาทิ นั ก บุ ญ ฟรานซิ ส แห่ ง อัสซิซิ (Saint Francis of Assisi) ที่เป็น ผู้มั่งคั่ง แต่ยอมสละทุกสิ่งเพื่อพระคริสต์ ฮัดสัน เทเลอร์ (Hudson Taylor) ผู้อุทิศ ชีวติ เพือ่ พระเจ้าเป็นมิชชันนารีทปี่ ระเทศ จีน โดยมุ่งท�ำการประกาศกับท้องถิ่น ทุรกันดาร เพื่อน�ำดวงวิญญาณมากมาย ถวายแด่พระเจ้า ฮัดสัน เทเลอร์ หาได้ หวังผลประโยชน์ ชื่อเสียง ทรัพย์สินเงิน ทองแม้แต่นอ้ ยนิด นอกจากนีท้ า่ นเองพึง่ ในพระเจ้า และได้วางหลักการให้กับ องค์กรมิชชั่นของท่านไว้ คือ มิชชันนารี ของซีไอเอ็ม (China Inland Mission) ต้ อ งท� ำ พั น ธกิ จ ด้ ว ยความเชื่ อ (Faith 67


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ทีต่ ดิ ตามค�ำสอนเหล่านีล้ ว้ นมีปญ ั หาชีวติ ตามมาทั้งสิ้น ค�ำสอนเรื่องพระกิตติคุณ แห่งความเจริญรุ่งเรืองจึงเป็นค�ำสอนที่ ผิดเพีย้ น เป็นค�ำสอนเทียมเท็จ และขัดต่อ พระวจนะของพระเจ้าอย่างร้ายแรง

เปลี่ ย นแปลง เขาขาดรายได้ จึ ง ได้ อธิษฐานขอการจัดเตรียมจากพระเจ้า เพราะว่าเด็กคนนี้ยังต้องพึ่งความช่วย เหลื อ จากเขา และพระเจ้ า ตอบค� ำ อธิ ษ ฐานโดยจั ด เตรี ย มให้ เ ขามี ร ายได้ เพียงพอส�ำหรับเด็กอินเดียคนนั้น และ ส� ำ หรั บ ตั ว เขาด้ ว ย คี น เนอร์ ไ ด้ รั บ ประสบการณ์กับพระเจ้าในเรื่องนี้เสมอ และเชื่อว่าวันหนึ่งพระบิดาของเราจะ ทรงแบ่ ง ปั น ทุ ก สิ่ ง กั บ เรานั่ น คื อ ความ สมบูรณ์แห่งราชอาณาจักรของพระองค์11

ดังนัน้ คริสเตียนจึงควรระมัดระวังค�ำสอน เช่นนีใ้ ห้มาก และพยายามท�ำความเข้าใจ ในหลักค�ำสอนที่ถูกต้องตามพระคัมภีร์ อีกทั้งต้องศึกษาพระวจนะอย่างลึกซึ้ง ก่อนที่จะตีความหมาย มิฉะนั้นผู้เชื่อเอง ก็จะถูกล่อลวงให้หลงผิดได้อย่างไม่ยากนัก

ผลกระทบต่อคริสตจักรในปัจจุบัน

ข้อเสนอแนะส�ำหรับคริสเตียนไทย

กล่าวสรุปโดยรวม คือ คริสตจักรต่างๆยัง คงได้ รั บ ผลกระทบจากค� ำ สอนเรื่ อ ง พระกิ ต ติ คุ ณ แห่ ง ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง เพราะผู้น�ำ หรือสมาชิกสนใจเข้าร่วมรับ ฟั ง การประกาศและการอบรมตาม ค�ำสอนนี้ โดยไม่รู้ว่าผลลัพธ์ที่ได้จะสร้าง ปัญหามากกว่าที่จะได้รับค�ำตอบแก่การ ด�ำเนินชีวติ ของเขา ยกตัวอย่าง เช่น ค�ำสอน เหล่ า นี้ ท� ำ ให้ ผู ้ น� ำ และศิ ษ ยาภิ บ าล คริสตจักรมีฐานะดีขึ้น มีสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกในชีวิตเพิ่มขึ้นมากมาย เช่น มี รถยนต์ราคาแพง มีบา้ นหรูๆ มีชวี ติ ทีเ่ ป็น เหมือนมหาเศรษฐี แต่ในเบื้องลึกพบว่า ค�ำสอนเหล่านี้เต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยม ไร้ ซึ่งจริยธรรม และสร้างความหายนะที่ รุนแรงให้กับคนยากจน อีกทั้งคริสเตียน

1. เราจะต้องรูว้ า่ ค�ำสอนหลักของพระกิตติคณุ แห่งความเจริญรุง่ เรืองเป็นค�ำสอนทีใ่ ห้ความ ส�ำคัญกับเรือ่ งเงินๆ ทองๆ ทีข่ ดั แย้งกับการ ด�ำเนินชีวติ ขององค์พระเยซู และเป้าหมาย ทีพ่ ระองค์ทรงสิน้ พระชนม์บนไม้กางเขน 2. เราต้องให้ความเคารพในเกียรติและ ศักดิ์ศรีของคนยากจนอย่างจริงจัง โดย การปฏิเสธค�ำสอนนี้ และเดินในทางอืน่ ที่ จะช่วยเหลือคนยากจนแทนการเสนอ ค�ำสอนทางลัดไปสู่ความร�่ำรวย 3. ผู้ที่มีส่วนในค�ำสอนนี้ต้องกลับใจใหม่ ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เป็นผู้สอนเองก็ตาม แต่ถ้าเราใช้พระวจนะในทางหนึ่งทางใด ที่ น� ำ ไปสู ่ ก ารกราบไหว้ ท รั พ ย์ สิ่ ง ของ

11

Craig Keener, “When Jesus Wanted All My Money,” Christianity Today, (May, 2015): 46-49.

68


TBTS Theological Journal

ความส� ำ คั ญ เกี่ ย วกั บ หนทางแห่ ง ไม้ กางเขน

เสมือนหนึ่งรูปเคารพ (คส. 3:5) หรือ แสวงหาสิง่ ของมากเกินความจ�ำเป็น หรือ บิดเบือนข้อพระคัมภีร์เพื่อสนับสนุนวิถี การด�ำเนินชีวิตของเรา เราต้องกลับใจ ใหม่ และหันกลับไปสูค่ วามเรียบง่าย และ ความร้อนรนที่จะติดตามพระเยซู12

ดั ง นั้ น หากศิ ษ ยาภิ บ าล และผู ้ น� ำ คริสตจักร ขาดความเข้าใจทีถ่ กู ต้อง หรือ มีความเข้าใจที่ผิดๆ และสนับสนุนให้ สมาชิ ก คริ ส ตจั ก รไปเข้ า ร่ ว มในงาน ประกาศ หรือสัมนา ของคริสตจักรที่มี ค�ำสอนทีเ่ ทียมเท็จเหล่านี้ การหลงไปทาง ความเชื่อก็จะเกิดมากขึ้น

แนวโน้มในอนาคตของพระกิตติคุณ แห่งความเจริญรุ่งเรือง จากการศึ ก ษาเรื่ อ งราวเกี่ ย วกั บ การ เริม่ ต้น และการขยายตัวของพระกิตติคณ ุ แห่งความเจริญรุง่ เรือง พบว่าการส่งเสริม สนั บ สนุ น เรื่ อ งราวเหล่ า นี้ ยั ง คงแพร่ กระจายไปยั ง คริ ส ตจั ก รต่ า งๆ ที่ ศิษยาภิบาล ผูน้ ำ� และสมาชิกขาดความรู้ ความเข้าใจในพระวจนะอย่างถ่องแท้ และยังเน้นความร่วมมือกันอย่างมากเพือ่ ให้คริสตจักรขยายอย่างรวดเร็วในด้าน ปริมาณจนลืมค�ำนึงถึงคุณภาพของผู้เชื่อ กระแสแห่ ง การขยายคริ ส ตจั ก รอย่ า ง รวดเร็ ว นั้ น ต้ อ งพึ่ ง อาศั ย ทุ น ทรั พ ย์ มากมาย อีกทั้งโลกในปัจจุบันมุ่งเน้น ความรูว้ ชิ าการทีท่ นั สมัยและรวดเร็วเพือ่ ให้ได้มาซึ่งการมีชีวิตที่สุขสบาย มั่งคั่ง ร�ำ่ รวย การประกาศทีเ่ น้นการแสวงหาสิง่ เหล่านี้จึงตอบรับกับกระแสของโลกใน การแสวงหาความมัง่ คัง่ มากกว่าแสวงหา พระเจ้าองค์เที่ยงแท้ และหลักค�ำสอนที่ ถู ก ต้ อ งตามพระคั ม ภี ร ์ จนละเลยใจ

คริ ส เตี ย นจึ ง ควรศึ ก ษาพระคั ม ภี ร ์ ใ น แนวทางทีถ่ กู ต้อง และยึดมัน่ ในความเชือ่ ที่ถูกต้องตามหลักพระคัมภีร์ระมัดระวัง การถูกล่อลวงให้หลงไปตามกระแสความคิด ที่แปลกๆ ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ สุดท้ายให้เราทัง้ หลายทีเ่ ชือ่ ในพระเจ้า มี สายตาทีพ่ จิ ารณาคนทัง้ หลายด้วยสายตา อย่างสายพระเนตรพระเจ้า คือ ไม่ดูแต่ รู ป ร่ า งภายนอก แต่ ใ ห้ ม องดู ที่ จิ ต ใจ (1ซมอ. 16:7) และให้เราเฝ้าระวัง ตามที่ พระธรรมมาระโกบันทึกไว้ ด้วยว่าจะมี พระคริสต์เทียมเท็จ และผูท้ ำ� นายเทียมเท็จ หลายคนเกิดขึน้ ท�ำหมายส�ำคัญ และการ อั ศ จรรย์ เพื่ อ ล่ อ ลวงผู ้ ที่ พ ระเจ้ า ทรง เลือกสรรให้หลงไปถ้าเป็นไปได้ แต่ท่าน ทั้งหลายจงระวังให้ดี ดูเถิด เราได้บอก ท่านทัง้ หลายไว้กอ่ นแล้ว (มก. 13:22-23)

12

ข่าวประเสริฐแห่งความเจริญรุ่งเรือง Available form: https://www.youtube.com/watch?v=yt6x4ufiky. [2 Aug. 2015]

69


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

บรรณานุกรม เชาว์, เวสเลย์. ผู้รับใช้พระคริสต์. แปล โดย ทองหล่อ วงค์กำ� ชัย. กรุงเทพฯ: กนก บรรณสาร, 2000. แม็คโดนัลด์, วิลเลี่ยม. การเป็นสาวกแท้ ของพระเยซูคริสต์. กรุงเทพฯ: คริสตจักร มักกะสัน, 20--. วรรณภา เรืองเจริญสุข. จริยธรรมคริสเตียน. เชียงใหม่ : พระคริสตธรรมเชียงใหม่, 2009. อาเคมพิส, โธมัส. เลียนแบบพระคริสต์. แปลโดย เออร์ซลู า โลเวนธอล. กรุงเทพฯ: กนกบรรณสาร, 2001. Hanegraaff, Hank. Christian in Crisis. Oregon: Harvest House Publishers, 1993. Martin, Walter R. The Christian and The Cults. Michigan: Zondervan Publishing House, 1956.

ดร.วิยะดา ทัฬหิกรณ์ BA.(History), M.Div., D.Th. คณบดีฝ่ายวิชาการ สมรสกับคุณสมศักดิ์ มีลูกชาย 2 คน ลูกสาว 2 คน (กิตติคุณ กิตติศักดิ์ กิตติพร กิตติกานต์) เป็นสมาชิกและร่วมรับใช้ทคี่ ริสตจักรไมตรีจติ

วารสารเเละบทความต่างๆ คณะท�ำงานศาสนศาสตร์โลซาน. ค�ำเเถลงการณ์เกี่ยวกับ “พระกิตติคุณ เเห่งความมัง่ คัง่ .” พระคริสตธรรมประทีป. 64, 348 (พฤษภาคม - มิถนุ ายน 2013) : 18-22. 70


TBTS Theological Journal

Bowler, Catherine. “Blessed: A History of the American Prosperity Gospel.” Doctor of Philosophy. Dissertation, Duke University, 2010. Available form: http://dukespace. lib.duke.edu/dspace/bitstream/ handle/10161/2297/D_Bowler_ Catherine_a_201005.pdf?sequence=1 [30 Aug. 2015]

ทีมกรรมการศาสนศาสตร์ กปท. “ระวัง ค�ำสอนผิดเพี้ยน.” อบรมสัมนา ค�ำสอน เพี้ยน โดยศจ.ดร.มาโนช แจ้งมุข ( เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่ ) 14 กันยายน 2014. เลิศ ทิสยากร. “รุ่งเรือง หรือโลภ.” งานสนทนาปัญหาศาสนศาสตร์ ครัง้ ที่ 29, ณ โรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์แบ๊บติสต์ (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่) 2 กุมภาพันธ์ 2015. Keener, Craig. “ When Jesus wanted all My Money.” Christianity Today. (May 2015): 46-49.

Olson, Roger E. “Is the “Prosperity Gospel” a Variety of Evangelicalism?.” Available from: http://www. patheos.com/blogs/rogereo lson/ 2015/09/a-new-book-discussion-seriesscot-mcknights-kingdom-conspiracy/ [23 Sep. 2015]

Internet Resoures Adeleye, Femi. “ บทความตอบสนอง ต่อข่าวประเสริฐแห่งความมั่งคั่ง.” [ออนไลน์ ] by ONG STAFF นคท. Otc.9,2012 แหล่งที่มา : IFES ; http:// ifesworld.org/blogs/femiadeleye/ responding-to-the-Prosperity-gospel#comment-110; Internet [24 Aug. 2015] Bible Based Medicine. “ A Brief History of the Prosperity Gospel.” [Online] Available from: http:www.biblebasedmedicine. com; Internet; [24 Aug. 2015]. 71


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

มั่งคั่งทัง้ ธุรกิจเเละรับใช้ : อ.กอบชั ย จิราธิวัฒน์ เรื่อง และ สัมภาษณ์: วีรนุช วงศ์คงเดช และ อรนุช ตรีสุโกศล

การท�ำธุรกิจต้องเกีย่ วข้องกับประเด็น เรือ่ งภาษี กลยุทธ์ทางการค้า และการ ท�ำก�ำไร คริสเตียนจะเป็นนักธุรกิจที่ ดีได้นนั้ เป็นเรือ่ งทีย่ ากหรือไม่ อย่างไร

ของพระองค์ และใช้ศกั ยภาพเเละตะลันต์ ของเราอย่างเต็มที่ เราก็จะท�ำธุรกิจได้ อย่างเกิดผล การท�ำธุรกิจได้ดใี นทีน่ ี้ คือ การด�ำเนินอยู่ ในกรอบของกฎระเบียบที่รัฐบาลได้วาง เอาไว้ ทั้งเรื่องภาษีและกฎหมายอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง พระคัมภีร์ได้บอกกับเราว่า “ทุ ก คนจงยอมอยู ่ ใ ต้ บั ง คั บ ของผู ้ ที่ มี อ�ำนาจปกครอง เพราะว่าไม่มีอ�ำนาจใด เลยที่ไม่ได้มาจากพระเจ้า” (รม. 13:1) อ� ำ นาจของรั ฐ บาลมาจากพระเจ้ า พระเจ้ามอบหมายให้รัฐบาลเป็นคนดูแล ให้อยูด่ ว้ ยกันอย่างสันติ พระเจ้าให้รฐั บาล มาวางกรอบของการค้าเพื่อให้เราอยู่ใน กรอบ ถ้าเราเชื่อในสิ่งที่พระคัมภีร์สอน เป็นการง่าย ที่จะเชื่อฟังเเละท�ำตามกฎ ระเบียบของรัฐาล

ผมมองว่า พระเจ้าของเราเป็นเจ้าของความ คิด สติปญ ั ญาและความสร้างสรรค์ในการ ท�ำธุรกิจทุกอย่าง พระเจ้ารู้ว่าในการ ด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ทุ ก ประเภทควรบริ ห าร อย่างไร ธุรกิจจึงจะมีความแข็งแกร่ง เมือ่ เราอธิษฐาน อ่านพระคัมภีร์ ติดสนิทกับ พระเจ้า พระองค์จะเปิดเผยและส�ำแดง น�้ ำ พ ร ะ ทั ย ข อ ง พระองค์ให้เรารู้และ เมื่อพระเจ้าทรงเรียกให้เราเป็น เข้ า ใจธุ ร กิ จ ของเรา นักธุรกิจ พระเจ้าก็ให้ตะลันต์และ เมื่อพระเจ้าทรงเรียก ศักยภาพกับเราในการที่จะบริหาร ให้ เ ราเป็ น นั ก ธุ ร กิ จ จัดการ คริสเตียนที่ขาดความเชื่อ พระเจ้ า ก็ ใ ห้ ต ะลั น ต์ และศักยภาพกับเราใน จึงต้องพยายามใช้วิธีต่างๆ ที่ขัด การทีจ่ ะบริหารจัดการ คริสเตียนที่ขาดความ กับพระคัมภีร์เพื่อให้ธุรกิจของ เชือ่ จึงต้องพยายามใช้ ตัวเองได้เปรียบคู่แข่ง วิ ธี ต ่ า งๆ ที่ ขั ด กั บ พระคัมภีรเ์ พือ่ ให้ธรุ กิจ ของตัวเองได้เปรียบคูแ่ ข่ง แต่คริสเตียนมี พระเจ้าเเละมีความเชื่อด้วย เราจึงได้ เปรียบกว่าคนทั่วไป เพราะเราเข้าใจ น�ำ้ พระทัยของพระเจ้า เข้าใจพระปัญญา

เรื่องภาษี เมื่อมีหน้าที่ต้องจ่าย เราก็ ร่ ว มมื อ ในการจ่ า ยภาษี ไ ป เหมื อ นที่ พระคัมภีร์ได้กล่าวว่า “ของของซีซาร์ จงถวายแด่ซีซาร์” (มธ. 22:21) ส�ำหรับ คริสเตียนแล้วน่าจะปฏิบัติตามได้ง่าย อย่ า งไรก็ ดี คริ ส เตี ย นก็ มี ค วามเชื่ อ ว่ า เมื่อเราจ่ายภาษีไปเราก็ไม่ได้เสียเปรียบ เพราะพระเจ้าปรารถนาทีจ่ ะอวยพระพร ในชีวิตของเรา ดังนั้นคริสเตียนเชื่อว่าถ้า 72


TBTS Theological Journal

พระเจ้าประทานสติปัญญาให้ ในส่วนที่ เป็นของเรา เราก็สามารถท�ำให้งอกเงย มากขึ้น แต่ในส่วนที่เราจ่ายภาษีให้กับ รัฐบาล รัฐก็จะน�ำไปท�ำนุบ�ำรุงประเทศ ท�ำให้ประชาชนเกิดความเจริญด้วยกันทัง้ คู่ ถ้าเราไม่จา่ ยภาษีให้รฐั รัฐก็จะมีปญ ั หา ค่าใช้จ่ายไม่พอที่จะดูแลคนในประเทศ เมื่อรัฐบาลดูแลคนในประเทศไม่ได้ จะ เกิดผลกระทบต่อธุรกิจของเราในที่สุด

บอกกับเราว่า “ถ้ามีที่ปรึกษาหลายคนก็ จะได้ชัยชนะ” พระเจ้าสอนให้เรารับฟัง ความคิดเห็นของผูอ้ นื่ และถ่อมใจ ถ้ารูจ้ กั ฟังคนอืน่ และสิง่ ทีพ่ ระเจ้าต้องการให้เรา เรียนรู้ บางทีพระเจ้าก็สอนเราโดยที่เรา ไม่รู้ตัว อย่างเช่น ผมได้มีโอกาสรู้จักและ คุยกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทสาย โรงงาน เป็นธุรกิจทีแ่ ตกต่างกับธุรกิจทีผ่ ม ดูแลอยู่ เมื่อผมฟังเขา แบ่งปันแล้ว พระเจ้ามี พระเมตตา ทรงน�ำผม ให้ เ ข้ า ใจและเกิ ด ความคิดบางอย่างทีไ่ ป ปรั บ ใช้ กั บ ธุ ร กิ จ ของ ผมได้ หรือผมพูดคุย กับผู้บริหารบริษัทซึ่ง เป็นลูกค้า แม้เขามีการค้าขนาดเล็กกว่า เรา แต่เมื่อเราได้เรียนรู้จากการแบ่งปัน โดยถ่อมใจฟังเขา เราก็เรียนรู้จากเขาได้ แล้วผมก็น�ำสิ่งต่างๆ ที่ได้มาปรับปรุง และท�ำให้ความแข็งแกร่งของธุรกิจเรา มีมากขี้น

ในแง่ของกลยุทธ์ทางการค้า? กลยุทธ์ทางการค้า หัวใจก็คอื การบริหาร สิ่งที่ธุรกิจเรามีอยู่ให้เป็นจุดแข็งเหนือคู่ แข่งขัน ซึ่งเป็นเรื่องของการใช้สติปัญญา เพื่อบริหารจัดการสิ่งที่พระเจ้าประทาน ให้อย่างสร้างสรรค์ เพือ่ ให้ธรุ กิจของเรามี ความแข็งแกร่ง เราต้องดูแลตัวเองและ บริหารธุรกิจของเราให้ดี โดยเป็นคนที่ ยอมเรียนรู้ และต้องถ่อมใจในการพัฒนา ธุรกิจอย่างสม�ำ่ เสมอ ในพระธรรมสุภาษิต กล่าวไว้วา่ “เมือ่ เข้าสูส่ งครามก็จะมีการน�ำ ยิ่งมีที่ปรึกษาหลายคนก็จะได้ชัยชนะ” (สภษ. 24:6) กลยุทธ์ในการท�ำธุรกิจ เปรียบได้กบั การท�ำสงครามกัน คือ มีการ แข่งขันกันใช้ทรัพยากรคน พนักงาน เงิน และเวลา โดยเป็นการแข่งขันกันอย่าง เต็มที่ และน�ำธุรกิจให้ไปถึงชัยชนะ คือ การทีธ่ รุ กิจของเราเจริญเติบโตแข็งแกร่ง ขึ้น หลักการนี้พระเจ้าสอนให้คิด ให้ ปรับปรุงธุรกิจไม่ให้หยุดนิ่ง พระคัมภีร์

การท�ำธุรกิจให้ประสบความส�ำเร็จ ต้อง รูจ้ กั สร้างสรรค์ธรุ กิจให้เป็นทีต่ อ้ งการของ ตลาดและลูกค้า ถ้าพูดเป็นหลักการ คือ เราต้ อ งเข้ า ใจผู ้ บ ริ โ ภค ถ้ า เราเข้ า ใจ ผู้บริโภค เราก็จะสามารถปรับปรุงสินค้า และการบริ ก ารให้ เ ป็ น ที่ ต ้ อ งการของ ลูกค้าทั่วไป อย่างเช่น สมัยก่อนคนส่วน ใหญ่ คิ ด ว่ า เราไม่ ส ามารถไปเปิ ด 73


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ศูนย์การค้าทีต่ า่ งจังหวัดได้เพราะคนต่าง จังหวัดไม่เข้าใจเรื่องศูนย์การค้าขนาด ใหญ่ ซึง่ มีรา้ นค้าเยอะๆ มีบริการมากมาย ต้องมีผบู้ ริโภคเข้าออกวันหนึง่ เป็นหมืน่ ๆ คน ถ้าเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ก็ต้อง เกือบแสนคน ไม่อย่างนัน้ ศูนย์การค้าก็จะ อยู่ไม่ได้ แต่เป็นพระคุณและพระเมตตา ที่ พ ระเจ้ า ประทานความเข้ า ใจให้ เ รา พัฒนาศูนย์การค้า ให้เข้ากับผู้บริโภคใน จังหวัดต่างๆ โดยพระคุณของพระเจ้า เรา จึ ง ได้ ไ ปเปิ ด ศู น ย์ ก ารค้ า ที่ เ ชี ย งราย อุดรธานี และทั่วทุกภาคในประเทศไทย ได้ส�ำเร็จ ความส�ำเร็จตรงนี้ก็เป็นผลจาก สติปญั ญาความเข้าใจทีพ่ ระเจ้าประทานให้ ถ้าเราสัตย์ซื่อและท�ำตาม พระประสงค์ของพระเจ้า ไม่ว่า สิ่งใดที่เราบริหารอยู่ จะเป็นธุรกิจหรือ

แต่ ถ ้ า ความสามารถในการดู แ ลเด็ ก มี จ�ำนวนลดลง ผลิตภาพลดลง จ�ำนวนเด็ก ก็ลดลงเรือ่ ยๆ ในทีส่ ดุ องค์กรนีก้ จ็ ะหายไป เพราะผู้บริจาคก็จะค่อยๆ ลดลง ในทุก องค์กรจึงต้องมุ่งเน้นทีว่ ัตถุประสงค์ และ ต้องพยายามก่อให้เกิดขึ้นมาให้ได้ ทั้งใน หลั ก ของการใช้ “ตะลั น ต์ ที่ พ ระเจ้ า ประทานให้” (มธ. 25:14-30) ถ้าผูบ้ ริหาร องค์ ก รใช้ ต ะลั น ต์ เ ต็ ม ที่ จ าก 5 ก็ จ ะ เพิ่มพูนเป็น 10 หรือจาก 2 ก็จะเพิ่มเป็น 4 ตามระยะเวลา แต่คนที่มี 1 กลับน�ำไป ฝังดินจึงไม่เกิดผล พระเจ้าจะให้นำ� เงินไป ให้กับคนที่มี 10 แทน ดังนั้นถ้าเราสัตย์ซื่อและท�ำตามพระประสงค์ของพระเจ้า ไม่ว่าสิ่งใดที่เราบริหารอยู่ จะเป็นธุรกิจ หรือองค์กรทีไ่ ม่แสวงหาก�ำไรของเราก็จะ เกิดผล และเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ถ้าไม่ ได้ดำ� เนินตามพระประสงค์ของพระเจ้า ก็ จะตกต�่ำลง

ในมุมมองของอาจารย์ การท�ำธุรกิจไม่ได้หวัง แค่ก�ำไรใช่หรือไม่?

ธุ ร กิ จ โดยทั่ ว ไปก็ ต ้ อ ง องค์กรที่ไม่แสวงหาก�ำไรของเราก็จะ มุ ่ ง หวั ง ก� ำ ไรเป็ น ตั ว วั ด เกิดผล และเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ถ้า ผลิตภาพ (productivity) ถ้ า ผลิ ต ภาพไม่ เ พิ่ ม ขึ้ น ไม่ได้ด�ำเนินตามพระประสงค์ของ หรื อ ดี ขึ้ น ทั้ ง หมดก็ อ ยู ่ ไม่ได้ และรวมถึงองค์กร พระเจ้า ก็จะตกต�่ำลง ที่ ไ ม่ แ สวงหาก� ำ ไรด้ ว ย แ ต ่ ทุ ก อ ง ค ์ ก ร ที่ ไ ม ่ แสวงหาก� ำ ไรก็ มี ตั ว วั ด ผลิ ต ภาพ เช่ น องค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดูแลเด็กก�ำพร้า ถ้า ปีแล้วปีเล่าจ�ำนวนเด็กก�ำพร้าที่ดูแลเท่า เดิมไม่ได้โตขึน้ แสดงว่าผลิตภาพเท่าเดิม

ผลิตภาพ (Productivity) กับ ก�ำไร (Profit) เหมือนหรือต่างกันอย่างไร? “ผลิ ต ภาพ” หรื อ พระคั ม ภี ร ์ เ รี ย กว่ า “การเกิดผล” ไม่ใช่มีแต่ “ก�ำไร” เท่านั้น เช่น ยอดขายสูงขึน้ ดังนัน้ ถ้าธุรกิจมีกำ� ไร เพิม่ ขึน้ ด้วยการลดค่าใช้จา่ ย ก�ำไรนัน้ เป็น เพียงก�ำไรระยะสั้น อย่างเช่น บางบริษัท เลิกจ้าง (layoff) พนักงานเพื่อจะลดค่า ใช้จ่าย อาจจะเห็นว่าปีนั้นมีก�ำไร แต่ถ้า เลิกจ้างพนักงานไปสัก 5 ปี บริษัทนั้นจะ 74


TBTS Theological Journal

เกิดผล ก็เริม่ มีผลร้ายสูร่ า่ งกายและจิตใจ อารมณ์ เ ริ่ ม แปรปรวน มี ค วามเครี ย ด โมโหง่าย ตัดสินใจก็ผิดพลาด เพราะว่า เราอยู่ห่างไกลและไม่ได้รับการทรงน�ำ จากพระวิญญาณบริสุทธิ์ ชี วิ ต ด� ำ เนิ น ไปตามเนื้ อ พอผมไม่ได้พบพระเจ้า หนัง เป็นเหมือนคนที่ไม่ ได้ รู ้ จั ก พระเจ้ า ธุ ร กิ จ ก็ไม่ได้พบกับสันติสุขที่แท้จริง ค่อยๆ เบนเข็มโดยที่เรา ได้พักแค่ใจและร่างกาย ไม่ รู ้ ตั ว คนที่ ท� ำ งาน แต่จิตวิญญาณที่ไม่ได้เจอ รอบๆ ตั ว เรา ก็ เ ริ่ ม ไม่ ยอมรับ เพราะผมกลาย พระเจ้าก็ไม่ได้พัก ไม่ได้เข้าสู่การ เป็ น คนหงุ ด หงิ ด ง่ า ย พ�ำนักของพระเจ้า เครียดง่าย โมโหง่าย พอ ถึงจุดหนึง่ คุณพ่อก็ลงโทษ ไม่ให้ทำ� งาน เพราะคนทีท่ ำ� งานกับเราไป บอกคุณพ่อว่าท�ำงานกับผมไม่ได้ ผมจึง ถูกลดอ�ำนาจลงเรื่อยๆ เริ่มรู้สึกน้อยใจก็ เลยประชดโดยลาออกมานอนอยูก่ บั บ้าน ประมาณ 4-6 เดือน ไม่มงี านท�ำ ภายหลัง คุณพ่อให้ไปท�ำงานที่ใหม่ ไปของานใคร ก็ ไ ม่ มี ใ ครให้ เ พราะบรรดาญาติ พี่ น ้ อ ง ได้ ยิ น ชื่ อ เสี ย งของผมว่ า เป็ น คนเจ้ า อารมณ์ เอาแต่ใจตัวเอง ไม่เชื่อฟัง ไม่มี ใครอยากร่วมงาน ผมไม่มีงานท�ำ ไม่รู้จะ ท�ำอย่างไร ในเมื่อไม่มีใครให้งานท�ำ ผม จึงขอทุนจากคุณพ่อไปตั้งธุรกิจเอง คุณ พ่อก็ไม่อนุญาตให้ทำ� ธุรกิจเพราะตอนนัน้ คุณพ่อเป็นประธานกลุ่มเซ็นทรัล คุณลุง สุทธิธรรมก็ป่วยหนักใกล้จะเสียชีวิต คุณ พ่อบอกว่าถ้าผมออกไป คุณอาทั้งหลาย

อยูไ่ ม่ได้ เพราะทีผ่ า่ นมาบริษทั มีกำ� ไรจาก การลดค่าใช้จ่าย ไม่ได้ก�ำไรจากยอดขาย ที่เพิ่มขึ้น

จากประสบการณ์ในการท�ำธุรกิจ ของ อ.กอบชัย มีบทเรียนอะไรบ้างที่ อยากจะแบ่งปัน? เวลาคริสเตียนท�ำอะไรและประสบความ ส�ำเร็จมาก คนรอบข้างก็ชื่นชมว่าเราเก่ง แต่ถา้ ไม่ระวังตัว จิตใจเราเริม่ ไม่ได้อยูก่ บั พระเจ้า ค่อยๆ ห่างจากพระเจ้าไป ก็จะ เป็นอันตราย ส�ำหรับผมเอง มีอยูช่ ว่ งหนึง่ ผมขยั น ท� ำ งานมากเริ่ ม ประสบความ ส�ำเร็จ และเริม่ มีความคิดว่าเรือ่ งพระเจ้า เป็ น เรื่ อ งเสี ย เวลา เริ่ ม ไม่ อ ยากรั บ ใช้ กลุ่มสามัคคีธรรมก็ไม่อยากไป ไปโบสถ์ วั น อาทิ ต ย์ ก็ รู ้ สึ ก เสี ย เวลา ไม่ อ ยาก อยูน่ าน รีบกลับมาพักผ่อนทีบ่ า้ นดีกว่าจะ ได้เตรียมตัวท�ำงานในวันจันทร์ต่อ ผม ค่อยๆ ลดกิจกรรมด้านฝ่ายวิญญาณไป เรื่ อ ยๆ จนในที่ สุ ด กลุ ่ ม สามั ค คี ธ รรม ก็ไม่ได้ไป โบสถ์ก็ไม่ไป เอาเวลาไปพัก ผ่ อ นตามชายทะเลแทน พอผมไม่ ไ ด้ พบพระเจ้า ก็ไม่ได้พบกับสันติสุขที่แท้ จริ ง ได้ พั ก แค่ ใ จและร่ า งกาย แต่ จิ ต วิญญาณที่ไม่ได้เจอพระเจ้าก็ไม่ได้พัก ไม่ได้เข้าสู่การพ�ำนักของพระเจ้า จริงๆ แล้วทุกอย่างเริม่ มาจากจิตวิญญาณ เมือ่ ไม่ตดิ สนิทกับพระเจ้า จิตวิญญาณไม่ 75


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

อาจารย์กอบชัย กับสมาชิก คริสตจักร

ก็จะออกตาม ธุรกิจก็จะอยู่ไม่ได้ คุณพ่อ ขอร้องให้อยูช่ ว่ ยท�ำงานต่อ ส่วนผมก็ไม่มี ทางไปแล้ว เพราะญาติพี่น้องไม่อยากให้ ไปท�ำงานด้วย กลัวว่าผมจะไปอาละวาด ใส่ เ ขา ผมมาถึ ง ทางตั น เป็ น การถู ก พ ร ะ เ จ ้ า ตี ส อ น ลงวิ นั ย ในที่ สุ ด ก็ เริ่มรู้ว่านั่ นเป็ นน�้ ำ พระทัยของพระเจ้า ที่ ต ้ อ งท� ำ งานร่ ว ม กั บ คุ ณ พ่ อ จึ ง เริ่ ม กลั บ มาอธิ ษ ฐาน แสวงหาพระเจ้ า อ่ า นพระคั ม ภี ร ์ จิ ต วิญญาณเริ่มสนิทสนมกับพระเจ้าอีกครั้ง หนึง่ พระเจ้าได้เปิดทางให้กลับมาท�ำงาน ในเซ็นทรัลพัฒนา แต่ตอนไปเริม่ งานใหม่ ผมเองก็ไม่ได้ถ่อมใจจริง ยังมีความหยิ่ง คิดว่าตัวเองเก่ง คุณอาให้ไปเป็นผูอ้ ำ� นวยการดูแลทุกศูนย์การค้า ซึ่งเป็นต�ำแหน่ง ที่มีความรับผิดชอบสูง ไม่มีใครอยากท�ำ ส่วนตัวเป็นคนหยิ่ง ผมมองว่าเมื่อไม่มี ความส�ำคัญ ไม่มีคุณค่า ก็ยิ่งไม่อยากท�ำ เมื่อผมมีความคิดว่าต�ำแหน่งนี้คงไม่ดี เป็นงานที่ไม่มีคุณค่าก็เลยไม่อยากท�ำ ไป ท�ำวันเดียวและก็ไม่ได้ไปอีก ไม่ถอ่ มใจ ทัง้ ที่ จ ริ ง แล้ ว งานนี้ เ ป็ น งานที่ มี ข อบข่ า ย ความรับผิดชอบสูงมาก แต่เป็นงานทีต่ อ้ ง แก้ ป ั ญ หามากมาย ไม่ มี ใ ครอยากแก้ ปัญหา ผมตอบไปว่าถ้ามีอารมณ์ก็จะไป ทั้งๆ ที่ทกุ วันก็ไม่มอี ะไรจะท�ำ ตกงานมา 6-8 เดือน

แต่พอผมเริ่มถ่อมใจจริง เริ่มกลับมาอ่าน พระคัมภีร์และอธิษฐานมากขึ้น ชีวิตก็ ค่อยๆ ฟืน้ ในฝ่ายจิตวิญญาณ เริม่ กลับไป สามัคคีธรรมกับพีน่ อ้ ง เริม่ ไปโบสถ์ เริม่ มี ความละอาย กลั ว ว่ า ถ้ า ผมไปท� ำ งาน พนักงานต้องหัวเราะเยาะผมแน่ๆ พอถึง เวลาก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ แถมคุณอาไม่ ให้ดแู ลศูนย์การค้าแล้ว ต�ำแหน่งทีใ่ ห้ดแู ล ศูนย์การค้า ก็ให้คนอื่นท�ำ ผมต้องไป ท�ำงานเป็นเลขาฯ ของคุณอาสุทธิธรรม แทน ท�ำหน้าที่ประสานงานในต�ำแหน่ง เลขาฯ เป็นการตีสอนของพระเจ้า เพราะ อายุก็ 40 ปีแล้ว เคยดูแลพนักงานเป็น พันคน กลับต้องมาเริ่มต้นใหม่หมด ไม่มี ลูกน้องเลย แต่ผมรู้ว่านี่เป็นจุดที่พระเจ้า ตีสอนผม เมื่อเป็นเช่นนี้ผมยอมรับการตี สอนจากพระเจ้า ความคิด จิตใจก็เปลีย่ นไป ยอมรับว่าทุกสิ่งที่คุณอาสุทธิธรรมให้ทำ� เป็นสิง่ ทีพ่ ระเจ้าทรงน�ำให้ทำ� จากนัน้ ไม่วา่ คุณอาจะให้ท�ำอะไร หรือใครให้ท�ำอะไร ก็ตาม ผมก็ ท� ำ หมด ต่อมาปี 1997 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดวิกฤติ เศรษฐกิจ ผมได้รับมอบหมายให้เข้าไป ช่ ว ยดู แ ลธุ ร กิ จ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ข อง ครอบครัว เป็นโครงการคอนโดมิเนียม หลังหนึ่งแถวสาทร ผมไม่มีความรู้เรื่อง การโอนทรั พ ย์ สิ น มาก่ อ น ต้ อ งพึ่ ง พา พระเจ้าอย่างเดียว ทุกเช้าก่อนไปท�ำงาน จะคุ ก เข่ า อธิ ษ ฐาน “ข้ า แต่ พ ระเจ้ า พระองค์ เ ป็ น เจ้ า ของความรู ้ ทุ ก อย่ า ง 76


TBTS Theological Journal

ต้องไปเจรจาซื้อ ในการเจรจาก็มีปัญหา มากมายเรื่องราคาทรัพย์สิน แต่พระเจ้า เมตตาให้ ท� ำ เราก็ ท� ำ ไป เมื่ อ ผมพบ อุปสรรคในงาน ผมเชื่อว่าพระเจ้าให้เจอ โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องพระเจ้ า อย่ า พยายามหลีกเลี่ยง ต้องอธิษฐานพึ่งพา พระเจ้าอย่างมาก และในที่สุดก็ส�ำเร็จ สามารถซื้อกิจการที่มุ่งหวังได้

พระองค์รู้ทุกสิ่งว่าธุรกิจจะต้องท�ำยังไง ขอสอนลูกด้วย” แล้วก็เดินไปท�ำงาน อัศจรรย์มาก ในที่สุดโครงการสามารถ โอนคอนโดมิเนียมให้กับลูกค้าได้ทั้งหมด 100% โดยไม่ มี ค ดี ก ารฟ้ อ งร้ อ งใดๆ นี่เป็นการอัศจรรย์จากพระเจ้า ผมยังงง ว่าเกิดขึน้ ได้อย่างไร เพราะในช่วงปี 1997 มี ค ดี ฟ ้ อ งร้ อ งติ ด ตามหนี้ สิ น กั น ไปทั่ ว เพราะช่วงนั้นคนไม่มีเงิน และคนจะไม่ โอนคอนโดมิเนียม คอนโดมิเนียมอื่นๆ ก็ มีคดีต้องฟ้องร้องมากมาย เพื่อจะโอน มี การถูกยึด

ในฐานะที่อ.กอบชัย เป็นทั้งนักธุรกิจ และผู้อภิบาลด้วย มีมุมมองอย่างไร เกี่ยวกับ prosperity gospel? หลั ก ของพระเจ้ า คื อ การเกาะติ ด กั บ พระคัมภีร์ สิง่ ใดทีไ่ ม่ได้มาจากพระคัมภีร์ ในทีส่ ดุ จะใช้ไม่ได้ผล นักธุรกิจคริสเตียน บางคนขาดความเชื่อจึงไปยึดหลักนั้นที หลั ก นี้ ที ซึ่ ง ไม่ ใ ช่ ห ลั ก ในพระคั ม ภี ร ์ หลักของพระคัมภีร์มีอยู่แล้ว คือ

คุ ณ อาบอกว่ า “เจ้ า นี้ มั น เก่ ง นี่ ถ้ า อย่างนั้นให้น�ำบริษัทไปจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์” ผมไม่เคยน�ำบริษัท เข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่อะไรก็ตามที่ พระเจ้าให้ท�ำ ผมยินดีท�ำ ผมไปเรียก พนักงานทีเ่ กีย่ วข้องมาตัง้ ทีมทีป่ รึกษา ซึง่ ที่ผ่านมาได้มีการพยายามน�ำบริษัทเข้า ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ 2-3 ปี ยั ง เข้ า ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ไ ม่ ไ ด้ แต่ พ ระเจ้ า ได้ ส�ำแดงจากสติปัญญาของพนักงานที่คุย กัน ท�ำด้วยกันมาได้ 1-2 ปี ก็น�ำบริษัท เข้าตลาดหลักทรัพย์ได้เป็นผลส�ำเร็จด้วย พระคุณพระเจ้า

1. ชีวติ จะต้องให้พระเยซูเป็นศูนย์กลาง

พระเจ้าให้ทุกคนอยู่ในบทบาทที่แตก ต่างกัน บางคนเป็นอาจารย์ บางคน เป็นข้าราชการ บางคนเป็นแพทย์ และ มีบางคนพระเจ้าให้เป็นนักธุรกิจ ซึง่ ทุก คนต้องมีพระเยซูเป็นศูนย์กลางทั้งสิ้น ถ้าไม่มีพระเยซูเป็นศูนย์กลาง การเริ่ม ต้ น ท� ำ งานจะมี ป ั ญ หา การทรงน� ำ จากพระเจ้าที่จะมาถึงเรา ก็มาไม่ถึง เราต้องดิน้ รนด้วยตัวของเราเอง ซึง่ จะ มีข้อผิดพลาดตลอด

คุณอาก็บอกอีกว่า “เจ้านีม่ นั เก่ง ถ้าอย่าง นัน้ ให้ไปซือ้ กิจการ” ตอนนัน้ ข้ามปี 1997 มาแล้ว เริม่ มีศนู ย์การค้าทีป่ ระสบปัญหา ทางธุรกิจ มีคนมาบอกขาย เราก็ไปซือ้ ซึง่ 77


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

2. เรื่องธุรกิจ พระเจ้าบอกว่า ต้องขยัน เหมือนมด

ความคิ ด ของสั ง คมที่ ไ ม่ ไ ด้ อ ยู ่ ใ นพระ คัมภีร์พัดพาล่องลอยไป คริสเตียนเหล่า นีเ้ องเมือ่ ได้รบั ข้อมูลเกีย่ วกับ Prosperity Gospel ว่า ถ้าท่องข้อพระคัมภีร์ข้อนั้น ข้อนี้ที่พูดถึงความร�่ำรวยแล้วจะรวยขึ้น แท้จริงพระคัมภีรไ์ ม่เคยบอกอย่างนัน้ เลย หรือบางกลุ่มบอกว่า “ต้องถวายสิบลด ถวายเผื่อเรื่องนั้นเรื่องนี้ แล้วพระเจ้าจะ อวยพร ถ้าพระเจ้าไม่อวยพรภายใน 3 เดือน มาร้องเรียนกับทีโ่ บสถ์ได้เลย” การ สอนเช่นนี้เกินเลยไปกว่าสิ่งที่พระคัมภีร์ สอน และก�ำลังท�ำหน้าที่ในการรับรอง แทนพระเจ้าที่เกินเลยความจริง อย่างไร ก็ ต ามการถวายสิ บ ลดก็ ยั ง เป็ น เรื่ อ ง จ�ำเป็น และพระเยซูเน้นย�ำ้ เรือ่ งการถวาย ว่าเป็นเรื่องท่าทีในใจของผูถ้ วาย บางคน ถวายเพือ่ หวังจะได้รบั คิดว่าถวายไปแล้ว พระเจ้าจะตอบแทนเรา แต่เราควรส�ำนึก ในพระคุณว่าทุกสิง่ ในชีวติ ของเรามาจาก การทรงประทานของพระเจ้า รวมทั้ง อาชีพและเงินทองด้วย ผมคิดว่า การที่ พระเจ้ า ต้ อ งการให้ เ ราถวายทุ ก เดื อ น ก็เพื่อจะตรวจสอบจิตใจของเราอยู่เสมอ คนส่ ว นใหญ่ แ พ้ ภั ย เงิ น มากที่ สุ ด พระคัมภีรจ์ งึ เตือนใจว่า มูลเหตุของความชัว่ ทั้ ง มวลคื อ การรั ก เงิ น (1ทธ. 6:10) เงินมีพลังใหญ่มาก พระเจ้าถึงให้เราตรวจ สอบตนเองทุกเดือน ว่ายังรักพระเจ้าอยู่ หรือไม่ หรือรักเงินมากกว่าแล้ว ไม่เช่น นั้นเราอาจจะเผลอได้

พระธรรมสุ ภ าษิ ต บอกเราว่ า “คน เกียจคร้านเอ๋ย จงไปดูมด” แสดงว่าเรา ต้องขยันเหมือนมด มดมีวินัยสูงมาก ตื่น แต่เช้า พอแดดเริ่มขึ้นจากขอบฟ้า มดจะ รีบพากันออกมาท�ำงาน พอดวงอาทิตย์ตก มดจะกลับเข้ารัง ตามเวลาของมัน มดมี ช่วงเวลาท�ำงานและช่วงเวลาพักผ่อน แบ่งเวลาเป็น พระคัมภีรส์ อนนักธุรกิจให้ เรียนรู้จากมดด้วย บางคนกั ง วลเรื่ อ ง ธุรกิจมาก มัวแต่ท�ำงานจนเรียกว่าขาด ความเชื่อว่าพระเจ้าจะดูแล พระคัมภีร์ บอกเราว่า พระเจ้าต้องการให้เราเป็นคน งานทีส่ ร้างบ้าน ถ้าพระเจ้า ไม่ได้อยูด่ ว้ ยก็เป็นการสร้าง ผมคิดว่า การที่พระเจ้า บ้านที่เหนื่อยเปล่า คนยาม ต้องการให้เราถวายทุก ที่ยืนเฝ้าอยู่ที่เหนือก�ำแพง ถ้าพระเจ้าไม่ได้อยูด่ ว้ ย การ เดือน ก็เพื่อจะตรวจสอบ อยู่เฝ้ายามก็เหนื่อยเปล่า จิตใจของเราอยู่เสมอ พระเจ้าต้องการให้ลูกของ พ ร ะ อ ง ค ์ ห ลั บ ส บ า ย เป็นการเหนื่อยเปล่าที่ตื่น แต่เช้า ท�ำงานจนค�่ำมืด หลังขดหลังแข็ง กลายเป็นคนที่ขาดการวางใจพระเจ้า (สดด. 127:1-2) การทีเ่ ราจะวางใจพระเจ้า ได้จ ะต้องมีชีวิตที่ติดสนิท กับ พระองค์ จริงๆ แล้วค�ำตอบทุกอย่างอยูใ่ นพระคัมภีร์ เราต้องอ่าน ถ้าไม่อ่านเราจะถูกกระแส 78


TBTS Theological Journal

อาจารย์ คิ ด อย่ า งไร ที่ ท างกระแส prosperity เน้นว่า ถ้าเรามาเชื่อ พระเจ้า เราจะได้รับการอวยพร?

ต้องให้พระองค์เป็นที่หนึ่งในชีวิตอย่าง แท้จริง จากตัวอย่างของเศรษฐีหนุม่ เมือ่ ดู บริบทแล้วพบว่า อุปสรรคของเขา คือ การมีเงินมากเกินไปจนหน่วงรัง้ ชีวติ ของเขา พระเยซูจึงเรียกให้เขาสละทุกอย่างเพื่อ ติดตามพระองค์จริงๆ ซึ่งนับเป็นชัยชนะ ในอีกมุมหนึง่ ทีเ่ ขาจะแสดงออกมาเป็นการ ด�ำเนินชีวติ ทีใ่ ห้พระเจ้าส�ำคัญทีส่ ดุ การให้ พระเจ้าเป็นศูนย์กลางจะแสดงออกมาเป็น ท่าทีของเราที่อยากติดสนิทกั บ พระเจ้ า อยากศึกษาพระคัมภีร์ อยากเชื่อฟังพระ คัมภีร์ อยากสามัคคีธรรมกับพีน่ อ้ ง อยาก มีส่วนรับใช้ในคริสตจักร คือ เป็นสาวกที่ มีชวี ติ ทีเ่ ติบโตในพระเจ้าและเป็นพรต่อผู้ อื่น นี่เป็นการเรียกร้องจากพระเจ้า เมือ่ เราจะติดตามพระองค์ เราต้องยอมให้ พระองค์เป็นทีห่ นึง่ อย่างแท้จริง ถ้าเรายัง มี ข ้ อ แม้ อ ยู ่ เ รื่ อ ยๆ ก็ เ ป็ น ตั ว บ่ ง ชี้ ว ่ า พระเจ้าอาจยังไม่ได้เป็นทีห่ นึง่ ในชีวติ ก็ได้

ผมเชื่ อ ว่ า พระเจ้ า อวยพรอยู ่ แ ล้ ว ใน พระคั ม ภี ร ์ พู ด ถึ ง การอวยพระพรไว้ มากมาย แต่พระพรที่พระคัมภีร์พูดถึง ไม่ ไ ด้ ห มายถึ ง ความร�่ ำ รวยอย่ า งเดี ย ว ตั ว อย่ า งในพระคั ม ภี ร ์ มี ม ากมาย เช่ น คริ ส เตี ย นในยุ ค แรกสมั ย พระธรรม กิจการ ทีเ่ อาจริงเอาจังกับพระเจ้าก็ไม่ใช่ ทุกคนทีร่ ำ�่ รวย บางคนท�ำงานหาเช้ากินค�ำ่ บางคนเป็ น ทาสด้ ว ยซ�้ ำ แต่ มี ชี วิ ต ด�ำรงอยู่ได้ ทรัพย์สินก็ไม่มี พระเจ้าได้ เรียกคนทุกกลุ่มมาเพื่อให้เขาเป็นเกลือ และแสงสว่างในสังคมของเขา ไม่เช่นนั้น ความรอดจะอยูใ่ นกลุม่ ของพ่อค้าเท่านัน้ พระเจ้าได้เรียกคนทุกกลุ่มมาเป็นสาวก ของพระองค์ ดังนั้นนักธุรกิจต้องไม่ขาด ความเชื่อ พระเจ้าจะประทานตะลันต์ เพือ่ ให้เราท�ำงานได้และมีธรุ กิจทีย่ งั่ ยืนได้ เราอาจจะรวยไม่ เ ท่ า กั น เพราะพระ ประสงค์ของพระเจ้าส�ำหรับแต่ละคน แตกต่างกันไป ในมาระโก 10:23-24 พระเยซูตรัสกับ เหล่าสาวกว่า “คนมัง่ มีจะเข้าไปในแผ่น ดินของพระเจ้าก็ยากจริงๆ” อาจารย์ คิดว่า พระเยซูต้องการสอนอะไร ? ผมคิดว่า พระเยซูต้องการสอนว่า การที่ เราจะติดตามและเป็นสาวกของพระองค์

อ.กอบชัย จิราธิวัฒน์ ศิษยาภิบาลคริสตจักร กิจการของพระคริสต์ กรรมการบริหารกลุ่มบริษัท ในเครือเซ็ลทรัลพัฒนา 79


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

การเพิ่มพู นคริสตจักรและศาสนศาสตร์แห่ง ความเจริญรุ่งเรือง ศจ.ยินดี จัง

ความเป็นมาและกระบวนการพัฒนา ของการเพิ่มพูนคริสตจักร

ให้การอบรมแก่มิชชันนารีทั้งหลาย ศูนย์ อบรมนี้ ไ ด้ พั ฒ นาขึ้ น ตามล� ำ ดั บ ในปี 1965 ศู น ย์ ดั ง กล่ า วได้ ย ้ า ยไปที่ พระคริ ส ตธรรมฟู ล เลอร์ (Fuller Theological Seminary) ในรั ฐ แคลิ ฟ อร์ เ นี ย และเปลี่ ย นชื่ อ เป็ น สถาบันการอบรมพันธกิจโลกและการ เพิ่ ม พู น คริ ส ตจั ก ร (World Mission Seminary and Church Growth Institution) โดยมีเป้าหมายเพื่ออบรม มิชชันนารีในการประกาศข้ามวัฒนธรรม เพื่ อ ก่ อ ตั้ ง คริ ส ตจั ก รและเพิ่ ม พู น คริสตจักร ต่อมาในปี 1972 ดร.แม็คกัฟ แรนได้ทำ� งานร่วมกับดร.ปีเตอร์ แวกเนอร์ (Dr. Peter Wagner) ทีเ่ ป็นลูกศิษย์ทำ� ให้ เรื่ อ งการเพิ่ ม พู น คริ ส ตจั ก รเป็ น ที่ รู ้ จั ก อย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกา

กระแสของการเพิ่มพูนคริสตจักรได้เริ่ม ขึ้นในปี1936 โดย ดร.โดนัลด์ แม็คกัฟแรน (Dr. Donald McGavran) ซึ่งเป็น มิ ช ชั น นารี ที่ ท� ำ งานในประเทศอิ น เดี ย ท่านได้รวบรวมและวิเคราะห์งานวิจัยที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ผลงานขององค์ ก รมิ ช ชั่ น ต่างๆ ซึง่ สรุปได้วา่ องค์กรมิชชัน่ ส่วนใหญ่ มุ่งเน้นงานเพิ่มพูนคริสตจักรเป็นส�ำคัญ จากนั้น ดร.แม็คกัฟแรน ได้เขียนหนังสือ 2 เล่ม ซึ่งเป็นที่มาที่ท�ำให้กระแสการ เพิ่มพูนคริสตจักรได้รับความสนใจจาก นั ก ศาสนศาสตร์ หนั ง สื อ เล่ ม แรกชื่ อ ว่าสะพานของพระเจ้า (The Bridges of God) ตีพิมพ์ในปี 1955 และเล่มที่สอง ชื่ อ คริ ส ตจั ก รเติ บ โตอย่ า งไร? (How Churches Grow?) ตีพิมพ์ในปี 1959 หนังสือสองเล่มนี้กล่าวถึงการประกาศ พระกิตติคุณอย่างเป็นระบบและในที่สุด ระบบนีไ้ ด้เป็นต้นแบบ (model) ของการ ประกาศอย่างหนึ่ง โดยนักวิชาการเรียก รูปแบบนี้ว่า “การเพิ่มพูนคริสตจักร”

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเพิ่มพูนคริสตจักร กล่าวว่า “เป้าหมายของการตัง้ คริสตจักร คือการประกาศข่าวประเสริฐของพระเจ้า และสร้างสาวกจนสุดปลายแผ่นดินโลก” เพราะฉะนั้ น ยุ ท ธศาสตร์ ข องการเพิ่ ม พู น คริ ส ตจั ก ร คื อ การประกาศข่ า ว ประเสริฐ สร้างสาวก ตั้งคริสตจักร ร่วม รับใช้ ตามที่พระเยซูได้กล่าวไว้ใน มัทธิว 16:8 “เราจะสร้างคริสตจักรของเราไว้”

ในปี 1961 ดร.แม็คกัฟแรน ได้ย้ายไปที่ เมืองยูจีน รัฐโอเรกอน และได้ก่อตั้งศูนย์ อบรมการเพิ่ ม พู น คริ ส ตจั ก รขึ้ น เพื่ อ 80


TBTS Theological Journal

ความเป็นมาและกระบวนการพัฒนา ของศาสนศาสตร์ แ ห่ ง ความเจริ ญ รุ่งเรือง

ฉ ะ นั้ น ก า ร ส ร ้ า ง แ ล ะ ก า ร เ พิ่ ม พู น คริ ส ตจั ก รจึ ง สอดคล้ อ งกั บ ภารกิ จ ที่ พระองค์มอบให้เราในฐานะผู้รับใช้ของ พระเจ้า

ศาสนศาสตร์ แ ห่ ง ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง (Theology of Prosperity) เริ่มขึ้นเมื่อ ศตวรรษที่ 19 ได้รับอิทธิพลจากการ เคลื่อนไหวของกลุ่มความคิดใหม่ (New Thought Movement) โดยอิทธิพลของ สวีเดนบอร์ก (Swedenborg) และควิมบี้ (Quimby) ผู้กล่าวว่า “จิตใจสามารถ เปลี่ ย นแปลงสถานการณ์ ไ ด้ ” 1 การ เคลือ่ นไหวอันนีไ้ ม่ได้เป็นไปตามหลักของ พระคัมภีร์ทั้งหมดแต่ได้รับอิทธิพลจาก ศาสนาฮิ น ดู ห รื อ ปรั ช ญาต่ า งๆ ที่ ผ สม ผสานกัน และตัง้ แต่ปี 1980 ศาสนศาสตร์ แห่ ง ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งก็ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ สหรัฐอเมริกา โดย วิลเลียม เคนยอน (William Kenyon, 1867-1948) เป็นผู้ริเริ่ม ต่อมาคือ เคนเน็ธ อี. ฮากิ้น (Kenneth E. Hagin, 1917-2003) จึง ท�ำให้รากฐานของศาสนศาสตร์แห่งความ เจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งในสหรั ฐ อเมริ ก ามี ค วาม แข็งแกร่งขึ้น และกลุ่มผู้รับใช้ที่ได้รับ อิทธิพลในศาสนศาสตร์นี้ คือ โรเบิร์ต เอช. ซูลเลอร์ (Robert H. Schuller) เบ็นนี่ ฮินน์ (Benny Hinn) โจเอล ออส ทีน (Joel Osteen) และบุคคลส�ำคัญ อื่นๆ อีกมากมาย พวกเขาเชื่อว่าพระเจ้า

การพัฒนาแนวคิดการเพิ่มพูนคริสตจักร ได้ขยายออกไป ไม่ใช่อยู่ในกรอบความ เชื่อของกลุ่มอนุรักษ์นิยมเท่านั้น ต่อมา เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงจากคลื่นลูก ใหม่คลื่นแรก คือ การเคลื่อนไหวของ พระวิ ญ ญาณบริ สุ ท ธิ์ ใ นกลุ ่ ม พี่ น ้ อ ง เพนเทคอสซึง่ เน้นการได้รบั พร การรักษา โรค การเพิ่มพูนสมาชิก และคลื่นลูกที่ สอง คือการเปลี่ยนแปลงด้านสังคมที่ เรียกว่าแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ (postmodernism) ซึ่งได้เน้นด้านเสรีภาพ และความอิสระของบุคคล การเพิ่มพูน คริสตจักรได้เคลื่อนไปตามคลื่นสองลูกนี้ และได้ขยายไปถึงกลุ่มประเทศในโลกที่ สาม แต่การเคลื่อนไหวเช่นนี้สร้างผล กระทบทางลบต่อการเพิ่มพูนคริสตจักร คือ 1. เน้นการเพิ่มพูนที่ปริมาณ ถ้าสามารถ เพิม่ คนได้มาก ก็ถอื ว่าประสบความส�ำเร็จ มาก และผู ้ ที่ ส ามารถเพิ่ ม สมาชิ ก ได้ จ�ำนวนมากก็จะได้รับการยกย่อง 2. เน้นเนือ้ หาหรือโปรแกรมทีส่ นุกสนาน ที่คนจะชื่นชอบเพื่อดึงดูดคน จึงเป็นการ เพิ่มพูนคริสตจักรตามความพอใจของ มนุษย์ ซึง่ อาจไม่ใช่ตามพระประสงค์ของ พระเจ้า

1

Martin A. Larson, New Thought; or, A Modern Religious Approach: The Philosophy of Health, Happiness, and Prosperity (New York: Philosophical Library, 1985), 6.

81


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

อวยพรเหนือบรรดาลูกของพระเจ้าใน ด้านการเงิน สุขภาพ และชีวิตที่ดี และ ช่องทางที่ได้รับพระพรเหล่านี้คือความ เชื่อที่มั่นคงเท่านั้น (strong enough or sufficient faith) ในขณะเดียวกันคน ป่วย คนยากจน หรือคนทีห่ มดหวัง ก็เป็น เพราะเขาขาดความเชื่อและคนเหล่านั้น อยูน่ อกพระทัยของพระเจ้าและเป็นกลุม่ คนที่ล้มเหลว2

พื้นฐานของแนวคิดนี้เกี่ยวข้องกับเรื่อง วั ต ถุ นิ ย มอย่ า งเต็ ม รู ป แบบ ดั ง นั้ น ศาสนศาสตร์แห่งความเจริญรุง่ เรืองจึงได้ ขยายตัวอย่างมากในบริบทสังคมอเมริกนั ที่มีความเสรีด้านวัตถุนิยม และวิถีชีวิต ที่ฟุ้งเฟ้อ

การพบกั น ระหว่ า งการเพิ่ ม พู น คริ ส ตจั ก รและศาสนศาสตร์ แ ห่ ง ความเจริญรุ่งเรือง

เคนเน็ธ อี. ฮากิ้น เชื่อว่า พระเจ้าผู้ทรง มหิทธิฤทธิ์ (El Shaddai) ทรงประทาน พระสัญญาอย่างเพียงพอให้กับลูกที่รัก ทุกคน พระเจ้าเป็นพระผู้ทรงมั่งคั่ง ไม่ใช่ ผู้ที่ขัดสน ฮากินยืนยันพระสัญญาของ พระเจ้าทั้ง 7 ประการ3 คือ ปลดปล่อย เขา วางเขาไว้ในที่สูง ตอบเขา อยู่กับเขา ยกย่องเขา ให้เขาอิม่ ใจด้วยชีวติ ทีย่ นื ยาว และส�ำแดงความรอดแก่เขา (deliver him, set him on high, answer him, be with him, honor him, with long life I will satisfy him, and show him my salvation)

การเพิ่มพูนคริสตจักรและศาสนศาสตร์ แห่งความเจริญรุง่ เรือง ได้โคจรมาพบกัน ได้อย่างธรรมชาติที่สุดเพราะความเป็น มาและพัฒนาการตามที่กล่าวมาทั้งหมด นั้นมีเส้นทางที่ใกล้เคียงกันมาก และทั้ง 2 เรือ่ งได้เสริมซึง่ กันและกัน ช่วงเวลาการ เพิม่ พูนคริสตจักรก�ำลังโตขึน้ ศาสนศาสตร์ แห่งความเจริญรุง่ เรืองท�ำหน้าทีจ่ ดุ ไฟให้ กับการเพิม่ พูนคริสตจักร และสังเกตจาก สภาพภายนอก กลุ่มคนที่เชื่อในศาสน ศาสตร์แห่งความเจริญรุ่งเรืองก็สามารถ เพิ่ ม พู น คริ ส ตจั ก รขนาดใหญ่ (mega church) ได้

ศาสนศาสตร์แห่งความเจริญรุ่งเรืองมอง เรื่องความเชื่อว่าเป็นช่องทางที่จะได้รับ ความมั่งคั่งของพระเจ้า ยิ่งไปกว่านั้น ความเชื่ อ นี้ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ความเชื่ อ มั่ น ใน ตั ว เองมากจนอาจถึ ง ขั้ น หลงตั ว เองได้

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มพูนคริสตจักรและ ศาสนศาสตร์แห่งความเจริญรุ่งเรืองนั้น มี ค วามผิ ด พลาดจากหลั ก ค� ำ สอนที่ เกี่ยวข้องกับการเพิ่มพูนและการพัฒนา คริสตจักรตามพระคัมภีร์บางประการ ดังนี้ 1. การเพิ่มพูนปริมาณและการพัฒนา จากภายนอกไม่ใช่การเพิ่มพูนที่แท้จริง

2

Kenneth E. Hagin, How to Turn Your Faith Loose (Tulsa: Faith Library, 1983), 15.

3

Kenneth E. Hagin, El Shaddai: The God Who Is More Than Enough (Oklahoma. : Faith Library Publication, 1980), 18.

82


TBTS Theological Journal

ตามหลักพระคัมภีร์ การเพิม่ พูนทีแ่ ท้จริง จะเน้นคุณภาพภายในและการเติบโต อย่างเป็นธรรมชาติทสี่ ุด เน้นการเพิ่มพูน ด้วยบุคลิกภาพที่สอดคล้องกับค�ำสอน ของพระเยซู ซึ่ ง นั่ น หมายความว่ า เป้ า หมายเชิ ง คุ ณ ภาพส� ำ คั ญ กว่ า เป้าหมายในเชิงปริมาณ อย่างไรก็ตาม การเพิม่ พูนทางปริมาณและคุณภาพต้อง ไปพร้อมๆกันอย่างสมดุล คุณภาพและ ปริมาณนัน้ ไม่ได้มคี วามขัดแย้งกัน แต่ทงั้ สองส่ ว นต้ อ งช่ ว ยประคั บ ประคองกั น เพราะการเติบโตด้านปริมาณ ก็ไม่ได้ หมายความว่าด้านจิตวิญญาณจะอ่อนแอ เสมอไป ทั้ ง สองส่ ว นนี้ ต ้ อ งเติ บ โตไป ด้วยกัน ซึ่งเรียกว่าการเพิ่มพูนคริสตจักร แบบครบวงจร (Holistic Church Growth) ที่ โ รเบิ ร ์ ต เค. ฮั ด นั ท (Robert K. Hudnut) กล่าวในหนังสือการเพิ่มพูน คริสตจักรไม่ใช่ประเด็นหลัก (Church Growth is Not the Point)

สังคมวิทยามากเกินไป แต่การพัฒนาตาม หลั ก พระคั ม ภี ร ์ นั้ น จะเกิ ด ขึ้ น ได้ เ มื่ อ มี พระคุณของพระเจ้าเท่านั้น 4. การพั ฒ นาและการ เพิ่มพูนสภาพภายนอกนั้น การเพิ่มพูนที่แท้จริง ไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง แต่ จะเน้นคุณภาพภายใน เป้าหมายที่แท้จริงของการ พั ฒ นาและเพิ่ ม พู น ของ และการเติบโตอย่างเป็น ค ริ ส ต จั ก ร ต า ม ห ลั ก ธรรมชาติที่สุด พระคัมภีรค์ อื การสร้างแผ่น ดิ น ของพระเจ้ า ให้ ส� ำ เร็ จ นั่ น หมายถึ ง การปกครอง ของพระเจ้าอย่างทัว่ ถึงในทุกส่วนของชีวติ ดังนัน้ กลุ่มคนที่คาดหวังความส�ำเร็จของ การเพิม่ พูนคริสตจักรต้องอธิษฐานตามที่ พระเยซูคริสต์สอนไว้ว่า “ขอให้แผ่นดิน ของพระองค์มาตั้งอยู่” เป้าหมายที่แท้ จริงของการเพิม่ พูนคริสตจักรไม่ได้ขนึ้ กับ การเติบโตของชีวติ ส่วนตัว หรือการขยาย คณะนิกาย แต่ตอ้ งให้ทกุ ส่วนในชีวติ ของ เราถวายเกี ย รติ แ ด่ พ ระเจ้ า และจุ ด นี้ มนุษย์ต้องเชื่อฟังพระมหาบัญชาและท�ำ ภารกิจที่พระเจ้าทรงมอบหมายให้เราใน การเป็นผู้ครอบครอง ดูแล อารักขา สิ่ง ทรงสร้างต่างๆซึ่งรวมถึงสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมอย่างสัตย์ซื่อ (ปฐมกาล 1:28) ฉะนั้นถ้าเราจะปฏิบัติตามหลัก การเพิ่มพูนคริสตจักรอย่างถูกต้อง เรา ต้องรักษาภารกิจ 2 อย่างต่อไปนี้ให้ครบ ถ้วน คือ การประกาศข่าวประเสริฐและ การท�ำความดีต่อเพื่อนบ้าน

2. “เป้าหมายของการเพิ่มพูนคริสตจักร ไม่ได้อยู่ที่การเพิ่มพูน แต่อยู่ที่การจงรัก ภักดีและความสัตย์ซื่อต่อพระคริสต์” ค ว า ม คิ ด นี้ ส นั บ ส นุ น ก า ร เ พิ่ ม พู น คริสตจักรว่าต้องค�ำนึงถึงสิทธิอำ� นาจของ พระคริ ส ต์ และแก่ น แท้ ส� ำ คั ญ ของ ข่าวประเสริฐ 3. การพัฒนาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมี ความพยายามหรือมีการป้อนข้อมูลหรือ มีการสร้างเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง ผลลัพธ์ที่ดี นี่เป็นการพัฒนาตามหลัก

83


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ศาสนศาสตร์แห่งความเจริญรุง่ เรือง ส่ ง ผลต่ อ การเพิ่ ม พู น คริ ส ตจั ก ร อย่างไร?

สหรัฐอเมริกาเฟื่องฟูมาก อิทธิพลของ แนวคิดนีท้ ำ� ให้คริสเตียนเกิดความคิดใหม่ ที่ว่า “คุณค่าของความสุขสูงกว่าคุณค่า ของความบริสุทธิ์”

คริสตจักรในยุคปัจจุบนั ทีอ่ า้ งถึงหลักการ ทางการตลาด (marketing principle) เพื่อการเพิ่มพูนคริสตจักรโดยพยายาม ขยายคริ ส ตจั ก รในรู ป แบบของศาสน ศาสตร์ แ ห่ ง ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ ง การ เพิ่มพูน คริสตจักรหลายครั้งเป็นความ พยายามของมนุษย์ไม่ได้เป็นไปตามหลัก ข่าวประเสริฐของพระเจ้า ถึงแม้จะใช้ พระนามของพระเยซูและเชือ่ ในฤทธิเ์ ดช ของพระเยซู แต่เป็นความเชื่อที่อยากได้ รับพระพรลักษณะคล้ายความเชื่อแบบ ไสยศาสตร์ ความเชื่ อ ที่ ขึ้ น กั บ ความ ต้องการของมนุษย์เป็นหลักได้ท�ำลาย ความเชื่ อ อั น งดงามในข่ า ว ประเสริฐของพระเจ้า ผู้รับใช้ สิ่งที่ศาสนศาสตร์ ของพระเจ้าที่รักษาแก่นแท้ แห่งความเจริญรุ่งเรืองได้ ของข่าวประเสริฐแต่ไม่ได้ท�ำ ส่งผลต่อการเพิ่มพูน งานในคริสตจักรใหญ่โตกลับ ถูกมองว่าต�่ำต้อย เพราะพวก คริสตจักร คือ การให้ เขามองว่าความเชือ่ ทีม่ ากต้อง ความส�ำคัญกับเรื่อง ส�ำแดงออกมาเป็นพันธกิจที่ วัตถุนิยม และการเน้นการ ใหญ่โต ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1920 เกิดปรัชญาแนวคิดใหม่ที่ ประสบความส�ำเร็จ ชื่อว่า “ปฏิบัตินิยม” (pragmatism) ซึ่งเป็นทัศนะที่เน้น ผลทางปฏิบตั ิ แนวคิดปฏิบตั นิ ยิ มนีท้ ำ� ให้ ศาสนศาสตร์แห่งความเจริญรุ่งเรืองใน

สิ่ ง ที่ ศ าสนศาสตร์ แ ห่ ง ความเจริ ญ รุ่งเรืองได้ส่งผลต่อการเพิ่มพูนคริสตจักร คือ การให้ความส�ำคัญกับเรื่องวัตถุนิยม และการเน้ น การประสบความส� ำ เร็ จ ศาสนศาสตร์แห่งความเจริญรุ่งเรืองและ การเพิม่ พูนคริสตจักรนัน้ มีลกั ษณะทีใ่ กล้ เคียงกันและรอคอยค�ำตอบเดียวกัน แต่ ความเชื่อที่รวมสองเรื่องนี้ไว้ไม่สามารถ เป็นประโยชน์ต่อคริสตจักรได้อีกต่อไป ดร.คริ ส ไรท์ (Dr.Chris Wright) ประธานกลุ่มท�ำงานแผนกศาสนศาสตร์ โลซานน์ (President of Lausanne Theological Department Working Group: LTWG) ได้ ยื น ยั น อย่ า งเป็ น ทางการว่าศาสนศาสตร์แห่งความเจริญ รุ ่ ง เรื อ งนั้ น ผิ ด หลั ก ศาสนศาสตร์ อ ย่ า ง แน่นอน เป็นค่านิยมใหม่ทเี่ กิดขึน้ ตัง้ แต่ปี 2000-2010 ที่สมควรละทิ้งหรือท�ำลาย เพราะเป็นศาสนศาสตร์ที่ห่อหุ้มความ โ ล ภ ข อ ง ม นุ ษ ย ์ ไ ว ้ อ ย ่ า ง ส ว ย ง า ม ศาสนศาสตร์นี้ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของ มนุษย์ท�ำให้มนุษย์มีความมั่นใจในการ ด�ำเนินชีวิตว่าจะดีขึ้น แต่ท้ายสุดกลับ ไม่เอาพระกิตติคุณของพระเจ้า โรนัลด์ เจ. ไซเดอร์ (Ronald J. Sider) ได้เตือน เกี่ ย วกั บ อั น ตรายของการแสวงหา 84


TBTS Theological Journal

ผลลั พ ธ์ ข องความโลภของมนุ ษ ย์ คริสตจักรใหญ่และมีอิทธิพลนั้นอาจเป็น เป้าหมายที่สวยงาม แต่เป้าหมายที่แท้ จริ ง ของคริ ส ตจั ก รนั้ น อยู ่ ที่ ก ารสร้ า ง แผ่นดินของพระเจ้าให้ส�ำเร็จ เป้าหมาย ได้ เ น้ น ถึ ง บุ ค ลิ ก ภาพภายในมากกว่ า ภายนอกหรือความส�ำเร็จตามวัตถุนิยม โดย อ.ริค วอร์เรน (Pastor Rick Warren) ได้เริ่มต้นรณรงค์การสร้างคริสต จักรทีเ่ คลือ่ นไปด้วยวัตถุประสงค์ อย่างไร ก็ตามการวางวัตถุประสงค์ของคริสตจักร ต้องระวังด้วยว่าจะไม่ได้รับอิทธิพลจาก สังคมเพราะสังคมในปัจจุบันเป็นสังคมที่ สับสนวุ่นวายซึ่งก็ง่ายที่จะหลงลืมเป้า หมายที่แท้จริงของคริสตจักร แม้ยุคสมัย จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรแต่เป้าหมาย ที่ แ ท ้ จ ริ ง ข อ ง ค ริ ส ต จั ก ร ต ้ อ ง ไ ม ่ เปลี่ยนแปลง ศาสนศาสตร์แห่งความ เจริญรุ่งเรืองจะเน้นกระแสใหม่ๆ แต่ค ริสตจักรต้องคงไว้ซงึ่ เป้าหมายทีแ่ ท้จริงที่ พระคัมภีร์บอกไว้

ความมัง่ คัง่ ว่า4 1. ท�ำให้หลงลืมพระเจ้า 2. ท�ำให้เกิดสงคราม 3. ท�ำให้หลงลืมผู้ยากไร้ซึ่งพระเจ้าทรง สนพระทัยคนเหล่านั้น 4. เป็นความโลภทีไ่ ม่มที สี่ นิ้ สุด ความโลภ ที่ควบคุมไม่ได้

ข้อเสนอแนะเพือ่ เป็นแนวทางใหม่ใน การสร้างคริสตจักรที่เข้มแข็ง การเพิ่มพูนคริสตจักรและศาสนศาสตร์ แห่งความเจริญรุ่งเรืองมีความหวังอัน เดี ย วกั น คื อ การตั้ ง คริ ส ตจั ก รที่ เ ป็ น ตัวแทนของพระเจ้าบนแผ่นดินโลก และ คริสตจักรที่สะท้อนถึงความสง่างามของ พระเจ้ า แต่ ทั้ ง สองเรื่ อ งก็ ม องข้ า มจุ ด ส�ำคัญบางอย่าง ซึ่งถ้าสามารถแก้ไขแล้ว ก็ จ ะมี แ นวทางใหม่ ใ นการสร้ า ง หรื อ เพิ่มพูนคริสตจักรที่เข้มแข็งอย่างแท้จริง (authentic church growth) ได้ จึงมี ข้อเสนอแนะ 4 ประการ ดังนี้

2. คริสตจักรควรสร้างความเป็นผู้น�ำที่ น�ำสูก่ ารเปลีย่ นแปลง ไม่ใช่ความเป็นผูน้ ำ� ที่ยึดอ�ำนาจแบบดั้งเดิม ( have transformational leadership, not authoritative leadership ) การเพิ่มพูนคริสตจักรและศาสนศาสตร์ แห่งความเจริญรุ่งเรืองได้มาบรรจบกัน และได้สร้างภาพลักษณ์ของความเป็น ผู้น�ำอย่างหนึ่ง คือ ผู้น�ำที่มีสิทธิอ�ำนาจ สูงสุด สมาชิกทุกคนต้องเชื่อฟังผู้น�ำโดย

1. คริสตจักรควรเคลือ่ นด้วยวัตถุประสงค์ ไม่ใช่ดว้ ยโปรแกรม (purpose driven church, not program driven church) การเพิ่มพูนคริสตจักรและศาสนศาสตร์ แห่งความเจริญรุ่งเรืองได้มาบรรจบกัน และได้สร้างภาพลักษณ์ของคริสตจักรที่ ว่า คริสตจักรทีใ่ หญ่และมีอทิ ธิพลนัน้ เป็น 4

Ronald J. Sider, Rich Christians in an Age of Hunger: A Biblical Study (IL:Downers Grove,1984), 108-111.

85


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

การเพิ่มพูนคริสตจักรและศาสนศาสตร์ แห่งความเจริญรุ่งเรืองได้มาบรรจบกัน และได้สร้างภาพลักษณ์ของความเป็น คริ ส ตจั ก รที่ ท� ำ กิ จ กรรมเกี่ ย วกั บ งาน มิชชัน่ (ทีไ่ ม่ได้หมายถึงงานข้ามวัฒนธรรม เท่านั้น)มากขึ้น แต่อย่าลืมว่ากิจกรรม บางอย่างที่เราท�ำอยู่อาจไม่เกี่ยวข้องกับ บทบาทหรื อ ลั ก ษณะที่ แ ท้ จ ริ ง ของ คริ ส ตจั ก ร คริ ส ตจั ก รที่ แ ท้ จ ริ ง ต้ อ งมี บทบาทสอดคล้องกับงานมิชชั่น นั่นคือ ต้ อ งปฏิ บั ติ ต ามพระมหาบั ญ ชาของ พระเจ้า ซึ่งเรื่องนี้เป็นเป้าหมายส�ำคัญ ของการด� ำ เนิ น งานของคริ ส ตจั ก ร คริสตจักรแห่งงานมิชชั่น (missional church) นั้นไม่ได้เป็นคริสตจักรที่เน้น กิ จ กรรมของงานมิ ช ชั่ น อย่ า งเดี ย ว คริสตจักรทีม่ ใี จต่องานมิชชัน่ ต้องสอนให้ สมาชิกทุกคนใช้ชวี ติ ทุกด้านให้สอดคล้อง กับงานมิชชั่น และช่วยให้พวกเขากล้าที่ จะปฏิบัติตามภารกิจที่เขาได้เรียนรู้

ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ เป็นลักษณะของผู้น�ำ ที่ต้องเป็นหัวหน้าใหญ่ (boss) หรือเป็น ผู้จัดการใหญ่ (manager) แต่การเป็น ผู ้ น� ำ ตามพระคั ม ภี ร ์ ต ้ อ งมี ภ าพลั ก ษณ์ แบบผู้รับใช้ (servant leadership) เบอร์นาร์ด เอ็ม. บาส (Bernard M. Bass) ได้อธิบายความเป็นผูน้ ำ� ในรูปแบบใหม่วา่ “ความเป็นผู้น�ำที่น�ำสู่การเปลี่ยนแปลง” (transformational leadership) ผู้น�ำ แบบปฏิวัติใหม่ จะช่วยให้ผู้ติดตามมอง เห็นคุณค่าและความส�ำคัญของเป้าหมาย อย่างชัดเจน จนพวกเขาได้ทุ่มเททั้งชีวิต เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของชุมชนส่วนรวม โดยไม่ได้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว แต่อย่างใด5 แท้จริงแล้วยุคนีต้ อ้ งการผูน้ ำ� แบบโค้ช (coach) หรือผู้น�ำ คริสตจักรแห่งงานมิชชั่น แบบพี่เลี้ยง (mentor คือ เป็นแบบอย่างในชีวติ ได้อย่าง ไม่ใช่คริสตจักรที่มี รอบด้าน และต้นแบบของ กิจกรรมเกี่ยวกับ ผูน้ ำ� แบบนีก้ ค็ อื องค์พระเยซู คริสต์ เมื่อผู้น�ำท�ำตาม งานมิชชั่น พระเยซูคริสต์ คริสตจักรก็จะ มีการเพิ่มพูนแบบครบถ้วนสมบูรณ์ได้ คริสตจักรควรเป็น

4. คริสตจักรควรเป็นคริสตจักรที่ยื่นมือ ออกไปช่วยเหลือสังคม ไม่ใช่คริสตจักรที่ ดึงดูดสังคม (outreaching church, not attraction church) การเพิ่มพูนคริสตจักรและศาสนศาสตร์ แห่งความเจริญรุ่งเรืองได้มาบรรจบกัน และได้สร้างภาพลักษณ์แก่คริสตจักรอีก อย่างหนึง่ คือ ความพยายามในการดึงดูด ศั ก ยภาพเข้ า มาในศู น ย์ ก ลางของ

3. คริสตจักรควรเป็นคริสตจักรแห่ง งานมิชชั่น ไม่ใช่คริสตจักรที่มีกิจกรรม เกี่ยวกับงานมิชชั่น (missional church, not mission activity church) 5

Bernard M. Bass, Bruce J. Avolio, Improving Organizational Effectiveness through Transformational Leadership (CA: Sage Publication,1993), 13.

86


TBTS Theological Journal

สรุป

คริสตจักร คริสตจักรที่เติบโตส่วนใหญ่ อยากสร้างอาคารที่ใหญ่โต อยากให้มี จ� ำ นวนสมาชิ ก เพิ่ ม ขึ้ น อยากให้ มี สิ่ ง อ�ำนวยความสะดวกต่างๆ เพิ่มขึ้น และ เมื่อมองความยิ่งใหญ่ของสิ่งเหล่านี้ก็เกิด ความพึงพอใจ แล้วอวดตัวว่านี่คือภาพ ลักษณ์ของพระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ แต่แท้จริง แล้ว คริสตจักรควรส�ำแดงความรักและ ยื่นมือช่วยเหลือสังคมไม่ว่าคริสตจักรจะ มีขนาดใหญ่หรือเล็กก็ตาม ตามประวัติศาสตร์ของคริสตจักร เรื่องศาสนาและ การเมืองต้องแยกออกจากกัน แต่นั่นไม่ ได้หมายความว่าคริสตจักรต้องเพิกเฉย ต่อความอยุติธรรมในสังคม คริสตจักรต้องท�ำหน้าที่เป็นเกลือและ แสงสว่างของโลก ดังนั้นหากคริสตจักร เติบโตอย่างแท้จริง ต้องมีการสือ่ สารเพือ่ สร้างสัมพันธ์ระหว่างคริสตจักรและสังคม คริสตจักรต้องมีศักยภาพเพียงพอที่จะ ท�ำให้สงั คมเกิดการเปลีย่ นแปลงในทางที่ ดีขึ้น

ดร. วอลเตอร์ ซี. ไคเซอร์ (Dr.Walter C. Kaiser) นักศาสนศาสตร์พระคัมภีร์เดิม ได้กล่าวไว้ว่า“ข่าวประเสริฐที่เน้นความ มั่งคั่ง สุขภาพดี และความเจริญรุ่งเรือง นั้ น เป็ น ข่ า วประเสริ ฐ ที่ จ อมปลอม” เราควรพิจารณาดูมุมมองจากพระคัมภีร์ ก็จะทราบว่าอะไรคือแก่นแท้ของคริสตจักร บทความฉบับนี้ วิเคราะห์ถงึ การเพิม่ พูนคริสตจักรและศาสนศาสตร์แห่งความ เจริญรุ่งเรืองที่มีมุมมองที่แตกต่างจาก หลักการของพระคัมภีร์ เพื่อที่จะหาข้อ สรุปในบทความนีใ้ ห้พจิ ารณาถึงหลักการ

4 ประการ ดังนี้

1. คุณค่า (value) ใช้เป็นมาตรฐานใน การตั ด สิ น ใจท� ำ หากเราให้ คุ ณ ค่ า กั บ สิ่งใด เราก็จะตัดสินใจกระท�ำสิ่งนั้น เช่น เดียวกัน หากเราเห็นคุณค่าของการเพิ่ม พูนคริสตจักรก็ให้เราปฏิบตั ติ ามหลักการ ของการเพิ่มพูนคริสตจักร

ข้อเสนอแนะดังกล่าวทั้ง 4 ประการนั้น คริสตจักรต้องพิจารณาวางแผนล่วงหน้า และต้ อ งรั ก ษาหลั ก การส� ำ คั ญ ไว้ เ พื่ อ รับมือกับอนาคต โดยมีจุดยืน 4 ประการ คื อ เป็ น คริ ส ตจั ก รที่ เ คลื่ อ นไปด้ ว ย วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีความเป็นผู้น�ำที่ น�ำสูก่ ารเปลีย่ นแปลง เป็นคริสตจักรแห่ง พันธกิจ และเป็นคริสตจักรที่ยื่นมือออก ไปช่วยเหลือสังคม

2. ภารกิ จ (mission) เนื้ อ หาของการ กระท�ำในสิง่ ทีเ่ ราให้คณ ุ ค่า หากคริสตจักร ให้คุณค่ากับพระมหาบัญชาของพระเจ้า กิจการงานหรือภารกิจของคริสตจักรก็ ต้องสอดคล้องกับพระมหาบัญชา และมี การกระท�ำที่ทุ่มสุดก�ำลังเพื่อจะส�ำเร็จ ตามพระมหาบัญชานั้น

87


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

3. นิมิต (vision) คือ ภาพที่เห็นเมื่อ ภารกิจส�ำเร็จ ดังนั้น นิมิตก็ต้องเป็นสิ่งที่ ท� ำ ได้ ใ นอนาคต ท� ำ ให้ เ กิ ด แบบแผน ภารกิจถือว่าเป็นการกระท�ำ แต่นิมิต เป็นการมองเห็น 4. ยุทธศาสตร์ (strategy) เป็นช่องทาง หรื อ กระบวนการที่ ท� ำ ให้ นิ มิ ต ส� ำ เร็ จ คริสตจักรอาจมียุทธศาสตร์ได้แม้ยังไม่มี นิมิตหรือภารกิจที่ชัดเจน แต่ยุทธศาสตร์ ที่ปราศจากภารกิจและนิมิตก็เหมือนรถ ม้าที่ไม่มีม้า เพราะว่ายุทธศาสตร์นั้นเป็น วิธีที่น�ำไปสู่ความส�ำเร็จที่เปล่าประโยชน์ คริสตจักรของพระคริสต์ต้องเป็นเหมือน คริสตจักรทีพ่ ระคัมภีรก์ ล่าวไว้ คือ คริสตจักร ต้องมีภารกิจ นิมติ และเพือ่ ให้นมิ ติ ส�ำเร็จ คริ ส ตจั ก รย่ อ มต้ อ งการยุ ท ธศาสตร์ ที่ สอดคล้ อ งกั บ ภารกิ จ และนิ มิ ต นั้ น การเพิ่ ม พู น คริ ส ตจั ก รตามแนวทาง ศาสนศาสตร์แห่งความเจริญรุ่งเรืองถือ เป็ น ยุ ท ธศาสตร์ อ ย่ า งหนึ่ ง แต่ ห าก ปราศจากคุ ณ ค่ า ของภารกิ จ และนิ มิ ต ตามหลักการของพระคัมภีร์ ยุทธศาสตร์ นั้นก็ไม่เป็นประโยชน์ต่อคริสตจักร และ คริสตจักรนั้นก็ไม่เป็นที่พอพระทัยของ พระองค์

ศจ.ยินดี จัง

B.A. (Communication), M.Div., M.Edu.

อาจารย์หมวดศาสนศาสตร์ประยุกต์ สมรสกับ Mrs.Jung Eun Hong มีลูกสาวสองคน (Jin Sol & Jin Young) เป็นผู้ก่อตั้งคจ.ชวนชื่น เขตพระโขนง และกลุ่ม True Worshipers

88


TBTS Theological Journal

Bibliography

Journals

Fee, Gordon D., Kaiser, Walter C., Moo, Douglas J. The Gospel and Contemporary Perspectives,vol.2: Viewpoints from Trinity Journal (Biblical Forum Series) , Kregel Academic & Professional, 1997.

Choi, Dong Kyu.“Your Church Can Grow Up,” MokHoiwaShinHak (Ministry and Theology), Vol.271 (2012,01): 44-51. Ryoo, Jang-Hyun. “A Theological Critique of the Prosperity Theology,” ShinHakNonDan (Theological Forum) Vol.61 ,Yonsei University College of Theology, (2010): 7-30.

Hagin, Kenneth E. El Shaddai: The God Who Is More Than Enough. Oklahoma: Faith Library Publication, 1980.

Shin, SungWook. “Prosperity Theology and Its Homiletical Alternatives,” SulKyoHanKook (Sermon Korea) Vol. 4 No. 2, The Korea Society of Homiletics, (2012): 56-100.

Larson, Martin. A New Thought, or, A Modern Religious Approach: The Philosophy of Health, Happiness, and Prosperity. New York: Philosophical Library,1985. McGavran, Donald Anderson. How to Grow Your Church: Conversations About Church Growth. California: Regal Books, 1973. McGavran, Donald Anderson. The Bridges of God : A Study in the Strategy of Missions. Wipf & Stock Publishers, 2005. Sider, Ronald J. Rich Christians in an Age of Hunger: A Biblical Study. IL: Downers Grove, 1984. 89


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

ท�าให้ผู้อ่นื รุ ่งเรือง ลุงไพโรจน์ ป้าจิตรา อยู่เปล่า เรื่อง และ สัมภาษณ์: ธานินทร์ วรวิจิตราพันธ์ และ อนันต์ ทรัพย์ธนัท

จาก“ติดหนี้” มา “ติดตาม” พระคริสต

มเชื่อว่าที่หัวใจของคริสต์ศาสนา เป็นเรื่องของ“ความจริงที่ขัดแย้ง หรือน่าทึง่ ” (paradox) อย่างเช่น “เราไมสามารถทํางานที่ เรื่ อ งความจริ ง ที่ ขั ด แย้ ง มาก ยิ่งใหญกันไดทุกคน ที่ สุ ด คื อ ก า ร ที่ พ ร ะ เ ย ซู แตเราทํางานเล็กๆ ดวย “เจ้าชายแห่งพระสิร”ิ ไปอยู่บน ความรักอันยิ่งใหญได” ไม้กางเขนเครือ่ งประหาร “กาก เดนสังคม” ในสั ง ค ม โ ร มั น โ บ ร า ณ ในวารสารเล่มนี้ที่ เราคุยกันเรื่องความ “ร�่ารวย” “มั่งคั่ง” หรือ “รุ่งเรือง” เรา อยากน�าเสนอชีวติ ของผูร้ บั ใช้คู่ หนึ่งที่ไม่มีทรัพย์สมบัติ ฐานะ แม่ชีเทเรซา แห่ง กัลกัตตา ต�าแหน่งใดๆ แต่รับใช้พระเจ้า อย่ า งสั ต ย์ ซื่ อ ด้ ว ยใจ และ “ร�่ารวย” ในการลงทุนในชีวิตของคน อืน่ ๆทีพ่ ระเจ้าส่งมาในชีวติ ท่าน ในบรรดา ผู้คนเหล่านั้นมีสองคนที่คุณลุงคุณป้าได้ สนับสนุนมาเรียนทีส่ ถาบันของ เราจนจบและปัจจุบันได้รับใช้ พระเจ้า อยู่ คือ อ. พัทราพรรณ เสนาวงษ์ (คจ. อั น ติ โ อเกี ย สวนมะลิ ) และ อ. อนันต์ ทรัพย์ธนัท (รับใช้ จากซ้าย-ขวา ป้าจิตรา ป้าราตรี พระเจ้าในการประกาศกับพี่น้องมุสลิม) มะหมี่ ลุงไพโรจน์ โย (อ. อนันต์)

90

ลุงไพโรจน์ อยู่เปล่า เกิดและเติบโตที่ ชลบุรี เรียนหนังสือมาทางช่างกลโรงงาน หลังเรียนจบมาก็ผา่ นการท�างานทางด้าน ช่ า งมาอย่ า ง โชกโชน เคย เป็ น ลู ก จ้ า ง ชั่ ว คราวเป็ น ช่างกลโรงงาน ที่ ป ตท. และ ลุงไพโรจน์-ป้าจิตรา อยู่เปล่า ได้ไปท�างานที่ ต ะ วั น อ อ ก กลางหลายๆประเทศนาน 5-6 ปี ขณะที่ ก�าลังสร้างเนือ้ สร้างตัวอยูใ่ นช่วงหนึง่ ของ ชีวิตที่ครอบครัวถูกมรสุมด้านเศรษฐกิจ อย่างหนักจากการถูกโกงจนถูกฟ้องล้ม ละลาย ในช่วงนั้นคุณลุงได้มีโอกาสไป ท�างานสร้างโรงแรมใหม่แห่งหนึง่ ทีพ่ ทั ยา ที่มีหุ้นส่วนคนหนึ่งเป็นคริสเตียน หลัง จากสร้างโรงแรมนั้นเสร็จก็ยังท�างานต่อ เนื่องที่นั่นจนกลายเป็นหัวหน้าช่างของ โรงแรมนั้น ในช่วงเวลานั้นเองที่ลุง ไพโรจน์และป้าจิตราได้หันหน้ามาพึ่ง พระเจ้าโดยได้เริ่มไปโบสถ์จากการเชิญ ชวนของรายการวิทยุคริสเตียนในเครือ


TBTS Theological Journal

สหกิจที่ซ. 13 พัทยากลาง หลังจากได้ มาเชื่ อ พระเจ้ า และเป็ น สมาชิ ก ของ คริสตจักร พระเจ้าก็อวยพระพรในหน้าที่ การงาน จนมาประกอบอาชีพอิสระใน การรับซ่อมและบ�ำรุงลิฟท์ คริสตจักรที่ ไปร่ ว มได้ มี ก ารแยกออกมาตั้ ง เป็ น คจ.พระเยซูคริสต์ที่ ถ. ชัยพฤกษ์ ใกล้หาด จอมเทียนอยู่ได้แปดปี ในช่วงนี้เองเมื่อ ประมาณปี 2003 ครอบครัวของคุณลุง ไพโรจน์ได้ตัดสินใจครั้งใหญ่ในชีวิตโดย การตัดสินใจออกจากคริสตจักรและมา เริม่ บุกเบิก “พันธกิจชุมชนพัทยา” ทีบ่ า้ น ตัวเองโดยร่วมกับเพื่อนสมาชิกที่โบสถ์ 2-3 ครอบครัว หนึง่ คือป้าราตรีเพือ่ นเก่า แก่ที่เคยท�ำงานโรงแรมพัทยามาด้วยกัน “พันธกิจชุมชนพัทยา” อยู่ในบ้านเช่า ของลุงกับป้าทีม่ เี นือ้ ทีเ่ ล็กๆภายในบ้านไม่ เกิน 25 ตรม. ที่ใช้เป็นทั้งบ้านและพันธกิจในเวลาเดียวกัน

“ขน�ำ” หรือเพิงหน้าบ้านที่เป็นทั้งห้องรวี เเละที่ท�ำพันธกิจต่างๆ

พระเจ้า และพระวจนะ พันธกิจก็คอ่ ยๆ โตขึ้น ลุงและป้ามองพันธกิจเหมือน คริสตจักรตามบ้านที่ทุกคนเอาของมา รวมเป็นกองกลางและแบ่งปันซึ่งกัน และกัน พันธกิจท�ำเพื่อวัตถุประสงค์ สร้างจิตวิญญาณและครอบครัวแห่ง ความเชื่ อ ไม่ ยึ ด ติ ดกั บเรี่ อ งอาคาร ฐานะเงินทอง ไม่ได้รับการสนับสนุน จากองค์กรหรือกลุ่มคนใดๆ หลังเริ่ม พันธกิจที่นี่ได้ไม่นาน เนื่องจากอายุที่ เพิ่มมากขึ้นลุงกับป้าได้เริ่มประกอบ อาชีพใหม่คอื การขายปาท่องโก๋ทกุ ๆเช้า ที่ตลาดใน ถ.ชัยพฤกษ์ และด้วยอาชีพ นี้เองที่ลุงกับป้าได้ช่วยเหลือและเป็น พระพรให้ แ ก่ เ ด็ ก ๆและวั ย รุ ่ น เป็ น จ�ำนวนมากที่พระเจ้าส่งเข้ามาในชีวิต ของทั้ ง สองคน ทั้ ง กลุ ่ ม เด็ ก และ วัยรุน่ ทัง้ ในชุมชน ลูกค้าปาท่องโก๋ รวม ถึงลูกหลานของพี่น้องคริสเตียนที่รู้จัก ก็ได้เข้ามารับพระพรที่บ้านเช่าเล็กๆ หลังนี้ ลุงและป้าได้ท�ำ “ขน�ำ” ที่เป็น เพิ ง เล็ ก ๆหน้ า บ้ า นและใช้ เ ป็ น ที่ ท� ำ

บ้านเล็กที่แออัดไปด้วยผู้คน

เริ่มพันธกิจชุมชนพัทยา พั น ธกิ จ ชุ ม ชนพั ท ยาเริ่ ม ต้ น ที่ 2-3 ครอบครัว เริ่มอธิษฐาน และพึ่งพิงใน 91


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

เรื่ อ งเงิ น ค่ า เสื้ อ ผ้ า รองเท้า การช่วย เหลือนี้ท�ำต่อเด็กๆจ�ำนวนนับไม่ถ้วนทั้ง ลูกหลานผู้เชื่อ และเด็กในชุมชน และมี บางคนมา “ลี้ภัย” อยู่ที่บ้านเป็นช่วง สัน้ ๆ มะหมีเ่ ป็นอีกคนทีส่ ามีเสียชีวติ เมือ่ สิ บ ปี ที่ แ ล้ ว และมี ป ั ญ หาด้ า นสุ ข ภาพ คุ ณ ลุ ง คุ ณ ป้ า จึ ง รั บ มาอยู ่ ด ้ ว ยจนถึ ง ปัจจุบัน โย (อ. อนันต์) เป็นอีกคนหนึ่ง ทีเ่ ข้ามาอยูก่ บั พันธกิจนีต้ งั้ แต่เริม่ ต้น โย เริ่ ม รู ้ จั ก พระเจ้ า ในการไปท� ำ งานที่ ไต้หวันแต่ไม่ประสบความส�ำเร็จทัง้ เรือ่ ง งานและครอบครัว โยได้มาเริ่มเติบโต ในความเชื่ออีกครั้งที่พันธกิจนี้ และได้ รับการสนับสนุนให้ไปเรียนพระคริสต ธรรมที่ภูเขาอธิษฐาน จ. ชลบุรี และต่อ มาได้มาเรียนเพิ่มเติมจนจบการศึกษาที่ รร. คริสต์ศาสนศาสตร์แบ๊บติสต์ ผู้เล็ก น้อยเหล่านี้ทั้ง เด็กก�ำพร้า ผู้ป่วยโรค เอดส์ คนที่เป็นหนี้สินหมดตัว คนมี ปัญหาครอบครัว พ่อแม่ไม่เอา คนที่ ชีวิต “ล้มเหลวและเป็นศูนย์” คนล้ม ละลาย ได้ผ่านเข้ามาในพันธกิจชุมชน พัทยาและได้รบั ความรักและการเยียวยา และได้พบกับทีท่ เี่ ป็นเหมือน “บ้าน” ซึง่ อบอุ่นและให้ความหวังกับชีวิตอีกครั้ง

พันธกิจต่างๆทั้งการสอนรวี เล่นเกมส์ หรื อ กิ จ กรรมต่ า งๆด้ ว ย จนผ่ า นมา ประมาณสี่ปีบ้านหลังนี้ก็เต็มด้วยเด็กๆ วัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่มากินมานอน มา นมัสการและหลายๆคนบ้านเล็กๆแห่งนี้ ก็เหมือนเป็น “ที่ลี้ภัย” ด้วย อยู่กัน เหมือนครอบครัวใหญ่ ลุงและป้าท�ำ พันธกิจชุมชนพัทยานีด้ ว้ ยหลักการ “การ ให้เป็นเหตุให้มีความสุข” ของพระเยซู คริสต์

พันธกิจแห่ง “ความสงสาร”

“รถประจ�ำต�ำแหน่ง ลุงไพโรจน์”

พั น ธกิ จ ชุ ม ชนพั ท ยานี้ ถู ก ผลั ก ดั น ด้ ว ย “ความรัก” และ “ความสงสาร” ในตัว เด็กๆ และวัยรุ่น น้องแบงค์ เป็นเด็กคน หนึ่งที่ครอบครัวลุงและป้ารับมาเลี้ยงดู เลี้ยงตั้งแต่อายุ 2 ขวบจนจบม. 3 แล้วจึง คืนพ่อแม่ไป จากเด็กทีเ่ คยเป็นไวรัส ลงตับ ปัจจุบันก�ำลังเรียนชั้นอุดม ศึกษาที่ม. บูรพาปี 3, พุทรา เป็น ลูกของคนขายของอยู่ใกล้ๆกันที่ ตลาด ลุงและป้าเลยช่วยสนับสนุน เรื่องค่าขนมไปรร. และส่งเสริมเรื่องการ ศึกษาจนสุดท้ายมาเรียนจบที่รร.คริสต์ ศาสนศาสตร์แบ๊บติสต์ เกดลูกพี่ลูกน้อง ของพุ ท ราเป็ น อี ก คนที่ ไ ด้ รั บ การดู แ ล สนับสนุนจากครอบครัวนี้ เงินที่ได้จาก การขายปาท่องโก๋ส่วนหนึ่งจะถูกใช้เพื่อ ช ่ ว ย เ ห ลื อ ใ ห ้ เ ด็ ก ๆ ไ ด ้ ไ ป ร ร . บางคนเป็นเด็กก�ำพร้า บางครัง้ ช่ ว ยเหลื อ

พระเจ้าทรงเพิ่มและทรงเติม หลั ง จากท� ำ พั น ธกิ จ ที่ บ ้ า นเติ บ โตมา ประมาณ 4 ปี จนที่คับแคบมาก มีผู้รับ ใช้คนหนึ่งได้น�ำนักธุรกิจคริสเตียนท่าน 92


TBTS Theological Journal

หนึง่ มาหาลุงและป้า นักธุรกิจท่านนัน้ ได้ เกิ ด ภาระใจที่ จ ะสนั บ สนุ น ในการหา สถานที่ใหม่ให้ส�ำหรับพันธกิจ นักธุรกิจ ท่ า นนั้ น ได้ นั ด ลุ ง ไพโรจน์ ไ ปดู อ าคาร พาณิชย์ 3 ชั้นหลังหนึ่งและบอกว่าได้ซื้อ ให้สำ� หรับการท�ำพันธกิจ พร้อมทัง้ ให้เงิน ก้ อ นหนึ่ ง ไว้ ส� ำ หรั บ การตกแต่ ง ลุ ง ไพโรจน์ไม่ได้รับโอนอาคารหลังนั้นไว้ แต่ได้รับไว้ส�ำหรับการเป็น “บ้านหลัง ใหม่” ส�ำหรับงานพันธกิจชุมชนพัทยา โดยได้ จ ่ า ยค่ า เช่าบ้าน 3,000 บ า ท จ น ถึ ง ปัจจุบนั เป็นเวลา ประมาณ 7 ปี และมีแผนที่จะ ซื้ อ อ า ค า ร ดั ง กล่าวเพื่อใช้ใน พันธกิจเป็นการ อาคารพาณิชย์ 3 ชั้นบ้านใหม่ของ “พันธกิจ ถาวรต่อไป ชุมชนพัทยา” ป ั จ จุ บั น มี ส ม า ชิ ก ม า น มั ส ก า ร ประมาณ 6070 คน ในช่วง เ ว ล า ห นึ่ ง ที่ ครอบครัว “พันธกิจ ชุมชนพัทยา” พั น ธ กิ จ ก� ำ ลั ง เติบโตอย่างดีนนั้ ได้มีพี่น้องจากประเทศเกาหลีที่สนใจใน พันธกิจนี้ได้มาเสนอที่จะ “take over”

พันธกิจโดยเสนอให้ลุงและป้าไปเรียน พระคัมภีร์ที่เกาหลี และจะส่งทีมมา บริหารจัดการพันธกิจต่อไป โดยจะ เปลี่ยนชื่อพันธกิจด้วย ลุงและป้า รู ้ สึ ก ว่ า นี่ ไ ม่ ไ ด้ เ ป็ น น�้ ำ พระทั ย พระเจ้าจึงได้ตอบปฏิเสธไป ใน ปัจจุบันพันธกิจชุมชนพัทยายังได้ ร่วมมือกับโครงการมูลนิธิ “รักและ ห่วงใย” อยู่ที่ท่าตะเกียบ ฉะเชิงเทรา สั ง กั ด สหกิ จคริ ส เตี ย นเพื่ อ ท� ำ งานด้ า น สังคมสงเคราะห์ด้วย

การทนทุกข์ และ พระพรในการรับใช้ ความผิดหวัง ทนทุกข์ และ ความชื่นชม ยินดี เป็นสัญลักษณ์ในการรับใช้ของ ผู้รับใช้แท้ทุกคน เช่นเดียวกับงานของ พันธกิจชุมชนพัทยา การไม่ตอบสนอง หรื อ ผิ ด หวั ง กั บ คนที่ เ ราทุ ่ ม เทดู แ ลเขา อันนี้เป็นเรื่องส�ำคัญของผู้รับใช้ที่ต้อง เผชิญกับ “ความน้อยใจ” ลุงไพโรจน์ จัดการเรือ่ งนีโ้ ดยหันไปหาพระวจนะของ พระเจ้ า โดยเฉพาะในสดุ ดี 46:10 “จงนิ่งเสีย แล้วรู้เถิดว่า เราคือพระเจ้า” “อย่ารับใช้ความรูส้ กึ ตัวเอง ให้ใคร่ครวญ ถึงชีวิตที่ผ่านมา และ พระพรที่พระเจ้า ทรงมอบให้ในอดีต” ส่วนความชื่นชม ยิ น ดี ห รื อ พระพรที่ ไ ด้ รั บ คื อ เมื่ อ เห็ น พระเจ้ า อวยพระพรผู ้ ค นต่ า งๆใน พันธกิจ เช่น ลูกชายของป้าราตรี “โอ้ต” ที่ประสบความส�ำเร็จในการเรียนและ 93

การนมัสการในช่วงแรก ที่บ้านใหม่ของพันธกิจ


วารสารวิชาการโรงเรียนคริสต์ศาสนศาสตร์เเบ๊บติสต์

อ. อนันต์ (โย) หนึ่งผลของพันธกิจ

ไม่เกิดผล ใน 7 ปีที่ขายปาท่องโก๋มา ลุง คิดว่าน่าจะเก็บเงินได้สัก 500,000 บาท แต่ เ งิ น ก้ อ นนั้ น ถู ก ใช้ ไ ปในการพั ฒ นา เด็กๆ วัยรุน่ และคนต่างๆทีพ่ ระเจ้าให้เข้า มาในพันธกิจซึ่งมีคุณค่ากว่ากันมาก สิ่ง ที่ส�ำคัญในการรับใช้คือการใช้ชีวิตของ เราเพื่อ “เป็นตัวอักษร” ของพระคริสต์

อ. พัทราพรรณ เสนาวงษ์ (คนกลาง) สมัยเรียนที่รร.

หน้าที่การงาน และร่วมรับใช้เป็นนัก ดนตรีในคริสตจักร พุทรา หรือ โยทีเ่ รียน พระคริสตธรรมจนส�ำเร็จ และเป็นผูร้ บั ใช้ เต็ ม เวลา ความรั ก ความผู ก พั น ใน ครอบครัวใหญ่ที่ดูแลซึ่งกันและกั นมา ตลอดจนมาถึงปัจจุบันที่ส่งผ่านไปถึงรุ่น ลูกๆที่เขามาดูแลพวกเราด้วย

เสียงสะท้อนถึงครอบครัวลุงไพโรจน์ ป้าราตรี จูมั่น ผู้ร่วมบุกเบิกพันธกิจชุมชนพัทยา “เรารับใช้พระเจ้าร่วมกัน ทุกข์ยาก ล� ำ บากร่ ว มกั น มา ดู แ ลกั น มาตลอด พวกเค้า (ลุงกับป้า) เป็นพี่ แต่จริงๆที่เขา ท�ำเหมือนเป็นพ่อกับแม่ ดูแลเราทุกอย่าง เขายังเป็นผู้ปกครองในงานแต่งงานของ พี่ เป็นคนจูงพี่เข้าในพิธีแต่งงานด้วย”

ลุงไพโรจน์กับความรุ่งเรือง การก้าวผ่านมาได้ถงึ วันนีเ้ พราะ เราฝาก ไว้กับพระเจ้า เรื่องสถานที่ ไม่มีเงินจะ ไปเช่าสถานที่ บางครั้งต้องไปใช้เวลาที่ ชายทะเลเพื่ อ เตรี ย มสอนพระคั ม ภี ร ์ ท�ำพิธศี พโดยการไปเช่าวัด การบัพติศมา การแต่งงาน ก็ต้องไปพึ่งพาสถานที่ของ คนอืน่ ๆ แต่ขอบคุณพระเจ้าทีล่ กู คนเดียว ของลุงและป้าชือ่ “น้องหนึง่ ” มีหวั ใจร่วม กับพ่อแม่ในการรับใช้ ร่วมพันธกิจ เป็น ครูรวี ปัจจุบนั น้องหนึง่ ท�ำงานทีโ่ รงแรม ระยองซิตี้ ลุงขอฝากถึงผูร้ บั ใช้ในปัจจุบนั ว่า อย่ายึดติดอยูก่ บั ลาภ ยศ ความมัง่ คัง่ อาคาร สถานที่ ไม่งั้นงานของพระเจ้าจะ

อ. ประนอม จันทร์ครุธ ศบ.คริสตจักรแบ๊บติสต์พัทยา ที่ปรึกษาชมรมคริสเตียนพัทยา “คุณไพโรจน์ เป็นบุคคลทีเ่ ดินกับพระเจ้า อย่างคงเส้นคงวา จากการที่ได้รู้จักและ เห็นชีวิตของท่าน ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้รู้จัก กับพระเจ้าใหม่ๆ และย้ายมาอยู่ที่พัทยา ก็ เ ห็ น ท่ า นรั บ ใช้ กั บ ผู ้ รั บ ใช้ ห ลายท่ า น เสมอมา ในระหว่างเดินกับพระเจ้าอาจมี หลายอย่างเปลีย่ นแปลง แต่ชวี ติ ของท่าน ไม่เปลี่ยนแปลง ยังเห็นท่านสร้างเด็กรุ่น ใหม่ขึ้นมารับใช้ทั้งในคริสตจักรและส่วน 94


TBTS Theological Journal

รวม ส่วนชีวติ แห่งการให้ของท่านไม่เลือก ว่างานนัน้ เป็นงานของใคร คริสตจักรไหน ท่านพร้อมที่จะมีส่วนในงานของพระเจ้า ตลอด” อ. อนันต์ ทรัพย์ธนัท (โย) “ลุงกับป้า อดทน อดกลั้นในการสร้าง ชี วิ ต ผมอย่ า งมาก บางที ก็ มี ว ่ า กล่ า ว ตักเตือน หรือไม่ไหวจริงๆก็เงียบ ลุงกับ ป้ารักทุกคนทีเ่ ข้ามาเหมือนคนคนนัน้ เป็น ส่วนหนึง่ ในครอบครัว ลุงช่วยเหลือคนที่ ยากจน ตกงาน ครอบครัวที่มีลูกเยอะ รวมถึ ง ผู ้ ด ้ อ ยโอกาส... ลุ ง กั บ ป้ า เป็ น คนรวยทรัพย์ในสวรรค์ ไม่ใช่ในโลกนี้”

“เป็นคนมีความทุกข์ แต่ยังยินดีอยู่เสมอ เป็นคนยากจนแต่ ยังท�าให้คนจ�านวนมากมั่งมี เป็นคนไม่มีอะไรเลย แต่ยังเป็นเจ้าของทุกสิ่ง”

อ. พัทราพรรณ เสนาวงษ์ (พุทรา) “ความประทับใจทีไ่ ม่เคยลืมเลย ทีค่ ณ ุ ลุง ไพโรจน์และคุณป้าจิตราได้มอบให้กับ ดิฉัน นั่นคือ “ความรักและแบบอย่างที่ เหมือนพระเยซูคริสต์” ความรักที่ไม่ใช่ แค่คา� พูดแต่แสดงออกมาเป็นการกระท�า และแบบอย่างที่ลุงกับป้าคอยอบรมสั่ง สอนดิฉนั อยูเ่ สมอ ดูแลและเอาใจใส่ดฉิ นั เหมือนคนในครอบครัว เสียสละทั้งเงิน ทอง เวลา ที่อยู่อาศัย และอื่นๆอีก จนมา คิดดูแล้วลุงกับป้าได้ให้มากกว่าคนใน ครอบครัวของดิฉันเสียอีก นั่นอาจเป็น เพราะค� า พู ด ที่ ลุ ง กั บ ป้ า ชอบพู ด อยู ่ เสมอๆว่า ‘เรารัก เพราะพระเจ้าทรงรัก เราก่อน’”

2 คร. 6:10

95



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.