การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

Page 1

การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 173

การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

174 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จัดพิมพ์เผยแพร่ ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชด�ำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 0 2288 5898 โทรสาร 0 2281 0828 พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558 จ�ำนวนพิมพ์ 2,000 เล่ม ISBN 978-616-372-304-8 ลิขสิทธิ์ ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ที่

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ำกัด 79 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 0 2561 4567 โทรสาร 0 2579 5101 นายโชคดี ออสุวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา


ค�ำน�ำ การจั ด พิ ม พ์ ห นั ง สื อ เล่ ม นี้ สื บ เนื่ อ งจาก ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน ได้ อ นุ มั ติ ใ ห้ ส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ด�ำเนินโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตั้งแต่ ปี 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูผู้สอนงานอาชีพพัฒนานักเรียนให้มีความรู้และมีประสบการณ์ ด้านการเป็น ผู้ประกอบการสามารถ “คิดเป็น ท�ำได้ ขายเป็น” อย่างมีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน มุ่งมั่น กตัญญู รู้จักเจือจานสังคมอันเป็นคุณธรรมส�ำคัญของผู้ประกอบการที่ประสบความส�ำเร็จในอาชีพ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถผลิตชิ้นงานใหม่ในเชิงพาณิชย์ที่จ�ำหน่ายได้ และรักษาทรัพย์สินทางปัญญาในสิ่งที่ตนคิดค้นด้วยการ จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ในขณะเดียวกันก็ละเว้นไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น เป็นแนวทาง การด� ำ เนิ น งานที่ ส� ำ คั ญ เพื่ อ พั ฒ นานั ก เรี ย นให้ มี ทั ศ นคติ ที่ ดี ต ่ อ อาชี พ อิ ส ระสร้ า งประสบการณ์ สู ่ โ ลกกว้ า ง ทางอาชีพ นักเรียนได้ท�ำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ทางปัญญา อารมณ์และสังคม ก่อให้เกิดรายได้ในระหว่างเรียน และเป็นพื้นฐานการประกอบอาชีพที่ดีต่อไปในอนาคต หากไม่ได้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เนื้อหาสาระในหนังสือเป็นการบอกเล่าการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ที่ดีของครูผู้สอนจากโรงเรียนระดับ ประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาในโครงการ จ�ำนวน 19 โรงเรียน ที่ประสบความส�ำเร็จและเป็นตัวอย่างกับผู้อื่นได้ ทั้งนี้ผู้อ่านยังจะได้ข้อมูลความรู้การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของนักเรียน แรงบันดาลใจการท�ำงานของครูแต่ละคน วิธีการท�ำงาน วิธีการจัดการเรียนรู้ของครูที่มีอุดมการณ์การท�ำงานเหล่านี้อย่างหลากหลายวิธีในการปลูกฝังความรู้ การเป็นผู้ประกอบการ ความคิดสร้างสรรค์ คุณธรรม ตลอดจนการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ในจ�ำนวน 19 โรงเรียน มีหลายโรงเรียนที่ส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้คัดเลือก เป็นศูนย์แกนน�ำขยายเครือข่ายของโครงการไปยังโรงเรียนและชุมชนที่สนใจ หากโรงเรียนหรือชุมชนใดสนใจ สามารถสอบถามและสมัครเป็นเครือข่ายกับโรงเรียนทีท่ ำ� หน้าทีศ่ นู ย์ทอี่ ยูใ่ กล้เคียงกับโรงเรียนของตนได้ในเวลาราชการ ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอขอบคุณคณะท�ำงานทุกท่านที่มีส่วนร่วมรวบรวมข้อมูล และจัดท�ำหนังสือเล่มนีจ้ นส�ำเร็จเป็นรูปเล่ม หวังเป็นอย่างยิง่ ว่าหนังสือเล่มนีจ้ ะเป็นบทเรียนทีม่ ปี ระโยชน์แก่ครู โรงเรียน หรือผู้สนใจ น�ำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของตนได้ และขยายผลโครงการให้งอกงามในวงกว้างต่อไป ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน



สารบัญ ค�ำน�ำ ชมรมนักธุรกิจน้อย โรงเรียนวัดเชิงเลน เกล็ดปลาสู่งานสร้างสรรค์ ผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านวนาหลวง งานเพ้นท์บนใบบางยางพารา

1 5 13 18

การ์ตูนและลายไทย 3 มิติ บาติกลูกคุณหญิง ผลิตภัณฑ์กระจูดทะเลน้อยพนางตุง ผลิตภัณฑ์ลวดลายเวียงกาหลง

งานกระจกถมทองค�ำเปลว ตุ๊กตามดจ๋า...อารมณ์ดี สืบสาน…วัฒนธรรมบ้านเชียงแหล่งมรดกโลก เสื่อกกลายขิด

50 56 62 67

23 27 33 44


สารบัญ (ต่อ)

หัตถกรรมฝุ่นไม้ กะหรี่ปั๊บงาด�ำ ธุรกิจเบเกอรี่ “คิดถึงแม่ฟ้าหลวง” สาหร่าย (ไก) จากแม่น�้ำโขง

สมุนไพรมะรุม นักธุรกิจน้อยแปรรูปกล้วย อาหารแปรรูป หลักสูตรท้องถิ่น

96 101 108

รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกผลงานจ�ำหน่าย 114 และสาธิตในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ รายชื่อเจ้าของผลงานในเล่ม 170 คณะผู้จัดท�ำ 171

72 78 85 91


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ชมรมนักธุรกิจน้อย โรงเรียนวัดเชิงเลน ให้นักเรียนได้รับประสบการณ์จริง เช่น การผลิตงานฝีมือ การจั ด ค่ า ยวิ ช าการและอื่ น ๆ คุ ณ ภาพของนั ก เรี ย น ได้ยกระดับขึ้นจนเป็นที่น่าพึงพอใจของชุมชน ปัจจุบัน 3 ฝ่ายส�ำคัญ ได้แก่ วัดเชิงเลน โดยหลวงพ่อประสงค์ จันทโด ชุมชน ศิษย์เก่าและโรงเรียน ได้ร่วมมือกันพัฒนา โรงเรียนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง อีกทั้งโรงเรียนได้รับ มอบหมายให้ ดู แ ลศู น ย์ เ ด็ ก เล็ ก ของชุ ม ชนด้ ว ย ท� ำ ให้ ศรัทธาทีช่ มุ ชนมีตอ่ โรงเรียนเริม่ กลับมา เห็นได้จากจ�ำนวน โรงเรียนวัดเชิงเลน (นครใจราษฎร์) เป็นโรงเรียน นักเรียนปีการศึกษา 2556 มีถึง 160 คน ยกสถานะ ในสั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษา ของโรงเรี ย นจากโรงเรี ย นขนาดเล็ ก เป็ น โรงเรี ย น นครปฐม เขต 2 จั ด การศึ ก ษาระดั บ ประถมศึ ก ษา ขนาดกลาง และได้รับเกียรติเป็นโรงเรียนดีศรีต�ำบลของ ตั้ ง อยู ่ ใ นชุ ม ชนที่ เ ป็ น ชนบทในพื้ น ที่ อ� ำ เภอสามพราน ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานด้วย จังหวัดนครปฐม บริเวณด้านข้างโรงเรียนมีแม่น�้ำท่าจีน ไหลผ่าน บรรยากาศโดยรอบโรงเรียนร่มรื่นด้วยต้นไม้ ใหญ่ น ้ อ ยในชุ ม ชน อาจารย์ ว รางค์ เวชประเสริ ฐ ผูอ้ ำ� นวยการโรงเรียนเล่าว่า มารับต�ำแหน่งผูบ้ ริหารโรงเรียน เป็นครูใหญ่เมื่อปี 2542 ช่วงนั้นโรงเรียนมีขนาดเล็กมาก มี นั ก เรี ย นเพี ย ง 62 คน อยู ่ ใ นเกณฑ์ ต ้ อ งถู ก ยุ บ เลิ ก เมื่ อ เข้ า มารั บ ผิ ด ชอบงานได้ ใช้ ห ลั ก การบริ ห ารท� ำ ให้ เกิ ด เห็ น ผลจริ ง คื อ เริ่ ม ด้ ว ยการสร้ า งขวั ญ ก� ำ ลั ง ใจให้ กับบุคลากรในโรงเรียน ใช้หลักบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยคณะกรรมการสถานศึกษา และจัดการเรียนการสอน ในทิ ศ ทางตามความต้ อ งการของชุ ม ชน คื อ ให้ มี ความเข้ ม แข็ ง ทางวิ ช าการ ใช้ เ ทคโนโลยี ช ่ ว ยในการ จั ด การเรี ย นการสอน มุ ่ ง อบรมให้ นั ก เรี ย นเป็ น เด็ ก ดี โรงเรี ย นได้ แ สวงหาเครื อ ข่ า ยทั้ ง ภาครั ฐ และเอกชน เพื่ อ จั ด กิ จ กรรมส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู ้ อ ย่ า งหลากหลาย

1


2

การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

กิจกรรมส�ำคัญหนึ่งซึ่งท�ำให้โรงเรียนมีโอกาส ก้าวเข้าสูก่ ารน�ำเสนองานระดับประเทศคือ การผลิตงานฝีมอื ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ตุ ๊ ก ตาตั ว ตลกจากเศษผ้ า โรงเรี ย นได้ รั บ ความอนุ เ คราะห์ เ ศษผ้ า จากคุ ณ อดิ ศ ร และคุ ณ อมรา พวงชมพู เจ้าของแบรนด์เสื้อแตงโมให้น�ำไปใช้ประโยชน์ โรงเรี ย นได้ ตั้ ง ชมรมผลิ ต ตุ ๊ ก ตาตั ว ตลก เป็ น กิ จ กรรม ตามความสนใจของนั ก เรี ย น ทั้ ง ระดั บ ประถมต้ น และประถมปลาย อาจารย์สุวรรณี น้อยรักษา ผู้สอน และศิ ษ ย์ เ ก่ า ที่ เข้ า มาช่ ว ย ได้ แ บ่ ง หน้ า ที่ ใ ห้ นั ก เรี ย น ท� ำ เป็ นฝ่ า ยๆ ตามความถนั ด เช่ น ฝ่ า ยตั ด ฝ่ายเย็บ ประกอบเป็นตัวตุ๊กตา ผลงานมีความสวยงามจนได้รับ การคัดเลือกจากส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ให้นำ� ตุก๊ ตาตัวตลกจ�ำหน่ายในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดั บ ชาติ ป ี ก ารศึ ก ษา 2552 และคั ด เลื อ กโรงเรี ย น เข้าอบรมพัฒนาต่อยอดการสอนงานอาชีพให้นักเรียน มีความรู้ในการเป็นผู้ประกอบการตามความเหมาะสม กับวัย นักเรียนสามารถคิดและสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ และสามารถขายได้ พร้ อ มทั้ ง สนั บ สนุ น งบประมาณ ให้ ท� ำ วิ จั ย การพั ฒ นาการเรี ย นการสอนสู ่ ค วามส� ำ เร็ จ นั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ยมี คุ ณ ธรรม น� ำ สู ่ เ ศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ โรงเรี ย นได้ ใช้ ป ระชากรกลุ ่ ม วิ จั ย จากนั ก เรี ย นที่ ส มั ค ร เข้าชมรมนักธุรกิจน้อยตามความสนใจ จัดท�ำแผนการ จัดกิจกรรมเป็น 4 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 เรียนรู้การเป็น นักธุรกิจน้อย เรียนรู้พื้นฐานทางธุรกิจ ธุรกิจงานประดิษฐ์ จากเศษผ้าและคุณธรรมของการท�ำธุรกิจ หน่วยที่ 2 การออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์หลากหลาย หน่วยที่ 3 สร้างผลิตภัณฑ์สานฝันนักธุรกิจน้อย และหน่วยที่ 4 ส่งเสริมการขายท้าทายความสามารถ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

การจัดการเรียนรู้ท�ำโดยให้ความรู้พื้นฐานควบคู่การจัดประสบการณ์ให้กับนักเรียนได้ปฏิบัติจริง กิจกรรม ส�ำคัญ ได้แก่ การศึกษาดูงานแหล่งธุรกิจ ให้นักเรียนสัมภาษณ์ผู้ประกอบการท�ำธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการ การจ�ำหน่ายสินค้าประเภทต่างๆ สังเกตการณ์ซื้อขาย ท�ำเลที่ตั้งการขายที่ดีหรือไม่ดี การจัดวางสินค้าหน้าร้าน ทีน่ า่ สนใจ ออกแบบส�ำรวจและได้สำ� รวจความต้องการซือ้ สินค้าทีท่ ำ� จากเศษผ้าตราแตงโมภายในโรงเรียน เชิญวิทยากร ซึง่ เป็นผูป้ ระกอบการมาให้ความรูน้ กั เรียนในเรือ่ งของการออกแบบ ครูได้คดั เลือกองค์ความรูจ้ าก Youtube ให้นกั เรียน เห็นรูปแบบการท�ำธุรกิจ การน�ำเศษผ้ามาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยค�ำนึงถึง รูปทรง สี ขนาด ประโยชน์การใช้สอย เช่น วีดิทัศน์ 30 ก�ำลังแจ๋ว ช่วงแจ๋วเศษผ้าพารวย ของคุณวิไล ไพจิตรกาญจนกุล เจ้าของห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดบัวผัดแฟคทอรี เป็นต้น การศึกษาความรู้ข้างต้น นักเรียนต้องร่วมกัน สรุปองค์ความรู้เป็น Mind Map ทุกครั้ง หลังจากนั้น ให้ นั ก เรี ย นแต่ ล ะคนฝึ ก ออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละ ร่วมกันคิดว่าสิ่งที่ออกแบบนั้นอะไรบ้างที่คิดว่าสามารถ ท�ำได้จริงและทดลองท�ำ ขั้นนี้ครูต้องช่วยนักเรียนและ อ�ำนวยการทีจ่ ะให้เกิดผลงานเป็นรูปร่าง ผลการออกแบบ ที่นักเรียนตกลงกันในชมรมคือ ท�ำหมอนปักเข็ม ประดิษฐ์ ดอกไม้จากเศษผ้า ประดิษฐ์ตุ๊กตาตัวตลกรูปแบบใหม่ๆ ประดิษฐ์กระเป๋า ผลงานทัง้ หมดสมาชิกในชมรมร่วมมือกัน ท�ำได้จ�ำนวนมาก น�ำไปจ�ำหน่ายทั้งในและนอกโรงเรียน ชมรมมี ก ารประเมิ น คุ ณ ภาพของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ประเมิ น พฤติกรรมการท�ำงานของนักเรียน คุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน มุ่งมั่น กตัญญู ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จะท�ำให้ การประกอบอาชีพธุรกิจประสบความส�ำเร็จ รวมถึงการประเมินความพึงพอใจของสมาชิกในชมรมด้วย ปรากฏว่า นักเรียนในชมรมมีความภาคภูมิใจและเห็นประโยชน์ของการเรียนรู้การท�ำธุรกิจคิดเป็น ท�ำได้ ขายเป็น อย่างครบวงจร นักเรียนในชมรมกล่าวว่า “ผลิตภัณฑ์ที่มีลูกค้าซื้อไปคือความภาคภูมิใจของผม” “ผมขายกระเป๋าได้ 1 ใบ มีความสุขใจที่มีเงินช่วยเหลือย่าและพ่อ” “ไม่ต้องไปซื้อในร้านกิฟต์ชอปเพราะหนูท�ำเองได้” “ผมโชคไม่ดีที่มีโรคประจ�ำตัว แต่ผมโชคดีที่ได้เรียนเรื่องนี้ ผมคิดว่าในอนาคตผมมีงานท�ำแน่นอน” “หนูดีใจที่หนูเรียนเก่ง เย็บผ้าได้สวย เรียบร้อยและขายได้ด้วย”

3


4

การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ปัจจุบันชมรมนักธุรกิจน้อยได้ฝึกให้นักเรียน ท�ำอาหารประเภทต่างๆ จ�ำหน่ายด้วย โดยใช้เวลาช่วงเย็น และวันเสาร์-อาทิตย์ ท�ำให้ใช้เวลาว่างอย่างเป็นประโยชน์ ผู้ ปกครองรู ้สึกอบอุ ่น ใจที่นัก เรี ยนอยู่ ที่โรงเรียนกับครู ผลงานของนักเรียนน�ำออกจ�ำหน่ ายทั้งในท้องถิ่นและ ระดั บ ชาติ ผลงานวิ จั ย ของโรงเรี ย นได้ รั บ คั ด เลื อ ก ให้ น� ำ เสนอในการสั ม มนางานวิ จั ย ระดั บ นานาชาติ ด้านศิลปกรรมอาเซียนในเดือนเมษายน 2556 ซึ่งจัดโดย มหาวิ ท ยาลั ย ศรี น คริ น ทรวิ โ รฒอี ก ด้ ว ย น� ำ มาซึ่ ง ความภาคภูมิใจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ผลที่ เ กิ ด กั บ นั ก เรี ย น ผลจากการวิ จั ย โรงเรี ย นพบว่ า นั ก เรี ย นที่ เข้ า ร่ ว มโครงการมี ผ ลเป็ น ที่ น่าพอใจ เช่น • รู้สึกภาคภูมิใจเห็นคุณค่าของตนเอง • เห็นความส�ำคัญของวัสดุเหลือใช้ • เรียนรู้เรื่องธุรกิจ รู้จักท�ำบัญชี ก�ำหนด ราคาสินค้า เห็นคุณค่าและใช้จ่ายเงินอย่างประหยัด • ฝึ ก คิ ด สร้ า งสรรค์ อ อกแบบเพิ่ ม มู ล ค่ า สามารถน�ำไปขายได้

• เห็นลู่ทางการประกอบอาชีพในอนาคต • เกิ ด ความเชื่ อ มั่ น ในตั ว เอง ได้ พั ฒ นา ด้านบุคลิกภาพและการสื่อสาร • เกิ ด คุ ณ ลั ก ษณะที่ ดี มี คุ ณ ธรรม ซื่ อ สั ต ย์ ขยัน อดทน มุ่งมั่น รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น มีความรับผิดชอบ • เรียนรู้การท�ำงานเป็นทีม • ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ • มีสมาธิในการท�ำงาน • ผลการเรี ย นและความประพฤติ ดี ขึ้ น สามารถสอบเข้ า เรี ย นต่ อ โรงเรี ย นที่ มี ชื่ อ เสี ย งภายใน จังหวัดได้ • มีลักษณะกล้าแสดงออก มีความเป็นผู้น�ำ มากกว่านักเรียนที่ไม่ได้ร่วมโครงการ • รักโรงเรียน ฯลฯ ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน มีหน่วยงานภายนอก และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน มากขึน้ มผี ลงานเชิงประจักษ์ เป็นตัวอย่างแก่โรงเรียนอืน่ ได้ และได้รับการคัดเลือกเป็นศูนย์แกนน�ำขยายเครือข่าย โครงการนักธุรกิจน้อยมีคณ ุ ธรรม น�ำสูเ่ ศรษฐกิจสร้างสรรค์ 1 ใน 29 ศูนย์ รุ่นแรกในปี 2556 ผลงานวิจัยได้ลงตีพิมพ์ ในหนังสือสัมมนาวิจัยระดับอาเซียน ผลที่ เ กิ ด กั บ ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาและครู ได้รับรางวัลระดับเขตพื้นที่และเป็นที่ยอมรับของชุมชน บทเรียนแห่งความส�ำเร็จในครั้งนี้คือความเป็นผู้น�ำและ ความใส่ใจของผูบ้ ริหารโรงเรียน น�ำมาซึง่ การเปลีย่ นแปลง ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างแท้จริง


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

เกล็ดปลาสู่งานสร้างสรรค์ เมื่อเห็นดอกไม้หรือสิ่งประดิษฐ์จากเกล็ดปลา ครั้งใด ก็ให้นึกอัศจรรย์ถึงคนเริ่มคิดที่ชาญฉลาดจริงๆ คิ ด ได้ อ ย่ า งไรที่ น� ำ เอาเกล็ ด ปลาที่ มี ก ลิ่ น เหม็ น คาว พร้ อ มที่ จ ะเป็ น ขยะ สร้ า งมลพิ ษ ให้ กั บ สิ่ ง แวดล้ อ ม มาสร้างสรรค์เป็นดอกไม้นานาชนิด ที่คาดผม เข็มกลัด ติดเสื้อ ประดับกรอบรูป นาฬิกา ภาพปะติดทิวทัศน์ และอื่ นๆ อย่ า งหลากหลาย นั บ เป็ น ภู มิ ป ั ญ ญาน่าทึ่ง ของคนไทยอีกรูปแบบหนึ่ง ปั จ จุ บั น งานศิ ล ปะประดิ ษ ฐ์ จ ากเกล็ ด ปลา มี ก ารจั ด การเรี ย นรู ้ ทั้ ง ในโรงเรี ย นและมี ก ารรวมกลุ ่ ม ของกลุ ่ ม แม่ บ ้ า นท� ำ เป็ น อาชี พ เสริ ม เพื่ อ เพิ่ ม รายได้ ของครอบครัว โดยเฉพาะในพืน้ ทีท่ มี่ แี ม่นำ�้ ล�ำคลอง ทะเล ไปจนถึงแหล่งน�้ำต่างๆ ที่มีปลาชุกชุม เป็นอาหารของ ชาวบ้าน ท�ำให้ชุมชนทั่วทุกภาคที่มีวัตถุดิบ คือ เกล็ดปลา มากมาย แต่ ผ ลงานศิ ล ปะประดิ ษ ฐ์ จ ากเกล็ ด ปลาใด จะน่าสนใจหรือจ�ำหน่ายได้ ต้องวัดกันที่ฝีมือ ความคิด สร้างสรรค์ ซึง่ ท�ำให้ผลงานมีความโดดเด่นกว่า เจ้าของผลงาน ต้องขยันคิด ขยันท�ำ ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ โรงเรียน หลายแห่งในสังกัด สพฐ. ก็มีการจัดการเรียนรู้เรื่องนี้กัน อย่างกว้างขวาง และหนึ่งในโรงเรียนที่นักเรียนมีผลงาน ผลิตภัณฑ์เกล็ดปลาโดดเด่นเป็นที่รู้จักดี คือ โรงเรียน อนุ บ าลวั ง ม่ ว ง สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา

ประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 ซึ่งจัดกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ จากเกล็ดปลาให้นักเรียนทุกชั้นตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติและสร้างสรรค์ ผลงานได้ ส วยงาม ติ ด อั น ดั บ 50 ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ ด่ น ของ โรงเรียนในสังกัด สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ การจัด การเรียนรู้เรื่องเกล็ดปลาจึงเป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียน อนุบาลวังม่วงในปัจจุบัน

5


6

การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

อาจารย์สุธาทิพย์ คัมภีระ ครูผู้สอน เจ้าของ รางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นกว่า 20 รางวัล เล่าถึง ที่มาของผลิตภัณฑ์เกล็ดปลาของโรงเรียนว่า ต้องการ ให้เด็กเรียนรู้สิ่งที่อยู่ใกล้กับตัวเองให้มากที่สุด โดยเห็นว่า โรงเรียนอนุบาลวังม่วง อยู่ใกล้กับเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่ ง เป็ น โครงการในพระราชด� ำ ริ ข องพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแก่ราษฎร เหนืออ่างเก็บน�้ำ ของตั ว เขื่ อ นเป็ น แหล่ ง เพาะพั น ธุ ์ ป ลาน�้ ำ จื ด ที่ ส� ำ คั ญ สร้ า งอาชี พ ใหม่ ใ ห้ กั บ ประชาชนที่ อ าศั ย อยู ่ ใ กล้ เขื่ อ น ด้วยการหาปลาเพื่อบริโภคและจ�ำหน่าย ในแต่ละวัน มี พ ่ อ ค้ า แม่ ค ้ า มาซื้ อ ปลาท� ำ ให้ มี เ กล็ ด ปลาเหลื อ ทิ้ ง เป็นจ�ำนวนมาก จึงได้นำ� เกล็ดปลาเหล่านัน้ มาใช้ประโยชน์ จั ด การเรี ย นการสอนในโรงเรี ย น เป็ น งานศิ ล ปะ งานประดิษฐ์หลากหลายรูปแบบ เช่น ท�ำเป็นดอกไม้ นานาชนิด กิ๊บติดผม งานตกแต่ง นาฬิกา กรอบรูป เชิงเทียน และอื่นๆ มากมาย ประมาณ 40 กว่ารูปแบบ อาจารย์ เ ล่ า ว่ า ได้ เริ่ ม สอนศิ ล ปะ สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ด ้ ว ย เกล็ดปลามาตั้งแต่ปี 2544 ระยะแรกสอนในลักษณะ ชุมนุม ตามความสนใจของนักเรียน ต่อมาในปี 2550 ได้ จั ด ท� ำ เป็ น รายวิ ช าเพิ่ ม เติ ม ในระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษา ตอนต้น ปัจจุบันโรงเรียนมีนโยบายน�ำเรื่องเกล็ดปลา

สอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ กล็ ด ปลาของโรงเรี ย นอนุ บ าลวั ง ม่ ว ง ได้สร้ างชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนในอ�ำเภอ จังหวัด ในกลุ ่ ม โรงเรี ย นสั ง กั ด สพฐ. และบุ ค คลภายนอก เป็นที่ภาคภูมิใจ อาจารย์สุธาทิพย์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเกล็ดปลา และกระบวนการน�ำมาท�ำเป็นผลิตภัณฑ์ว่า เกล็ดปลา เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ต้นทุนต�่ำ บางครั้งได้มาฟรี สามารถใช้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้หลากหลาย เนื่องจาก เกล็ ด ปลามี คุ ณ สมบั ติ ที่ ดี คื อ มี ค วามสวยงามแวววาว ในตั ว เอง มี คุ ณ สมบั ติ ดู ด สี แ ละกลิ่ น จึ ง ย้ อ มสี แ ละ อบกลิ่นได้ง่าย ดัดงอได้ตามรูปทรงที่ต้องการ ทนทาน ไม่แตกหักง่าย น�้ำหนักเบา เกล็ดปลาที่เหมาะส�ำหรับท�ำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ควรเป็นเกล็ดปลาที่มีพื้นผิวสาก ขอบเกล็ดบางใส มีสัน เป็นแกนหนา พื้นผิวเกล็ดมีลักษณะสากมือเมื่อสัมผัส เนื่ อ งจากมี ห นามเล็ ก ๆ โดยเฉพาะบริ เวณแกนกลาง ของเกล็ด หนามที่ผิวเกล็ดช่วยให้เกล็ดดูดซึมสีและกลิ่น ติดทนนาน ส่วนสันที่เป็นแกนหนา ช่วยให้เกล็ดปลา มีคุณสมบัติในการคงรูปทรง เกล็ดปลาที่อยู่ในกลุ่ มนี้ มีปริมาณมากพอที่จะน�ำมาสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงการค้า ได้แก่ เกล็ดปลากระสูบ ปลานวลจันทร์ ปลายี่สก ปลานิล ปลาทับทิม เป็นต้น


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ขั้นตอนที่ส�ำคัญคือ การท�ำความสะอาดเกล็ดปลา การย้อมสี และการออกแบบ การท�ำความสะอาดเกล็ดปลา

1. น�ำเกล็ดปลาแช่น�้ำเปล่าไว้ 1 คืน เพื่อให้ หนังปลาหลุดง่ายขึ้น แล้วเปลี่ยนน�้ำใหม่ 2. น�ำเกล็ดปลาล้างด้วยน�้ำเปล่า 2-3 ครั้ง แล้วล้างด้วยน�้ำสบู่หรือน�้ำยาล้างจานอีกครั้งให้หนังปลา หลุดออกไปให้หมด 3. น� ำ เกล็ ด ปลาแช่ ผ งซั ก ฟอก 5-6 ชั่ ว โมง ล้างน�้ำสะอาด 2-3 ครั้ง จนสะอาด น�ำใส่ตะกร้าผึ่งไว้ 4. น�ำเกล็ดปลาผึง่ บนกระดาษ เกลีย่ ให้กระจาย (กระดาษจะช่วยซับน�้ำให้แห้งเร็ว) ข้ อ ห้ า ม ห้ า มตากเกล็ ด ปลากั บ แดด เพราะจะท�ำให้งอมากเกินไปและกรอบ หากต้องการให้ ผลิตภัณฑ์มีสีสัน ก็น�ำเกล็ดปลาที่ท�ำความสะอาดแล้ว ไปย้ อ มสี การย้ อ มสี แ ล้ ว แต่ ป ระเภทดอกไม้ ห รื อ งานประดิษฐ์ทจี่ ะท�ำ อาจย้อมสีเดียว เช่น ท�ำดอกกุหลาบ เฟื ่ อ งฟ้ า หรื อ ย้ อ มเหลื อ บสี ย้ อ มสี อ ่ อ นไล่ สี แ ก่ ในกลีบดอกเดียวกัน ต้องท�ำทีละกลีบ

วิธีย้อมสีเกล็ดปลา

1. น�ำเกล็ดปลาใส่ภาชนะ แช่ในน�้ำประมาณ 30 นาที ให้น�้ำท่วม เกล็ดปลา 2. น�ำสีย้อมผ้าผสมน�้ำร้อน 1 ถ้วย คนให้ละลายเข้ากัน 3. น�ำเกล็ดปลาที่แช่น�้ำใส่ตะแกรง เพื่อให้สะเด็ดน�้ำ 4. เทน�้ำเย็นลงในภาชนะ แล้วผสมสีที่ละลายน�้ำร้อนคนให้ทั่ว น�ำเกล็ดปลาลงในน�้ำที่ผสมสีเรียบร้อยแล้ว คนให้ทั่ว แช่น�้ำทิ้งไว้ประมาณ 3-10 ชั่วโมง น�ำมาผึ่งให้แห้งในที่ลมโกรก ควรใช้กระดาษรองด้วย จะท�ำให้ เกล็ดปลาติดสีอย่างสม�่ำเสมอ

7


8

การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

เทคนิค หากต้องการให้เกล็ดปลาสีอ่อน ใช้เวลาย้อมประมาณ 10-15 นาที เมื่อท�ำดอกไม้เสร็จแล้ว

การท�ำดอกกุหลาบ วัสดุอุปกรณ์

ถ้าต้องการเคลือบเงา ให้น�ำสีเคลือบน�้ำยาทาเล็บทาโดยใช้พู่กัน จะได้เกล็ดปลาที่แวววาว การท�ำดอกไม้ให้เหมือนจริงตามธรรมชาติ ต้องมีการเพ้นท์สี ลงสีเฉพาะจุด เป็นการเพิ่มรายละเอียด ของดอกไม้ เช่น ดอกกล้วยไม้ เป็นต้น

1. เกล็ ด ปลาจากปลายี่ ส ก ปลานวลจั น ทร์ ปลากระสูบ ปลาช่อน ปลานิล ปลาทับทิม ฯลฯ ที่ย้อมสี เรียบร้อยแล้ว 2. ลวดพันก้านสีเขียว เบอร์ 22, 24 3. ฟลอร่าเทปสีเขียว แป้งดินหอม 4. ลวดก้านดอก 5. กาวแท่ง 6. เกสรดอกไม้ 7. กรรไกรเล็กปากแหลม 8. คีมตัดลวด 9. ปากคีบ 10. ภาชนะผสมสี 11. ปืนกาวไฟฟ้า 12. กล่องส�ำหรับใส่กลีบดอกไม้

วิธีการประดิษฐ์ 1. เ ต รี ย ม ก ลี บ ด อ ก กุ ห ล า บ โ ด ย คั ด สี ขนาดเกล็ดปลา และจ�ำนวนตามต้องการ

2. ม้ ว นเกล็ ด ปลาแต่ ล ะชิ้ น เป็ น รู ป กรวย ตามแบบ ติดด้วยกาวให้เกล็ดปลาคงรูปกรวยตามต้องการ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

3. น�ำมาประกบเข้ากันแบบรูปกรวย

5. น�ำมาเข้าช่อ

4. ติดวนกลีบไปรอบๆ

นอกจากการท�ำดอกกุหลาบแล้ว อาจออกแบบ เป็นดอกประเภทอืน่ ๆ โดยสังเกตและท�ำเลียนแบบของจริง

การจัด การเรียนรู้ : นักเรียนโรงเรีย น ค่าของจ�ำนวนด้วยการนับเกล็ดปลา ปะติดเกล็ดปลา ตามจ�ำนวนตัวเลข และกิจกรรมทีค่ รูสามารถน�ำเกล็ดปลา อนุบาลวังม่วง ต้องเรียนทุกคน มาให้เด็กได้ใช้มากทีส่ ดุ คือ กิจกรรมสร้างสรรค์ เพราะเด็กๆ ระดับอนุบาล

กิจกรรมประจ�ำวันของเด็กอนุบาล สามารถ บูรณาการเกล็ดปลา เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมได้ เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เด็กได้เรียนรู้เรื่องราว ของปลา ประโยชน์จากเกล็ดปลา กิจกรรมเคลื่อนไหว และจั ง หวะ เด็ ก ได้ เ คลื่ อ นไหวร่ า งกายพร้ อ มอุปกรณ์ ดอกไม้เกล็ดปลา กิจกรรมกลางแจ้ง เด็กๆ สนุกสนานกับ การเล่นเกมตักปลาใส่ตะกร้า กิจกรรมเกมการศึกษา เรียนรู้

จะได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างหลากหลาย ทั้งแบบ รายกลุ่มและรายบุคคล ครูประเมินพัฒนาการการเรียนรู้ ของเด็กจากการสนทนา การแสดงความคิดเห็น และ จากผลงานที่เด็กท�ำด้วยตนเอง ซึ่งเด็กแต่ละคนก็จะมีผล ของพัฒนาการแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เด็กทุกคนเรียนรู้ได้ เท่ากัน คือ ความสนุกสนานจากการน�ำเกล็ดปลามาท�ำ กิจกรรมต่างๆ

9


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

10 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3

• สอนในกิ จ กรรมพั ฒ นาผู ้ เรี ย น โดยใช้ กิจกรรมพีส่ อนน้อง ในช่วงเวลา 14.30-15.30 น. ทุกวันพุธ • สอนบูรณาการในกลุ่มสาระการงานอาชีพ และเทคโนโลยี • สอนบูรณาการในกลุ่มสาระสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง • ผลงานของนักเรียน ได้แก่ ภาพปะติด กิ๊บ ที่คาดผม

ระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6

ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1

ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2

รายวิชาดอกไม้ประดิษฐ์ 1 • การท�ำดอกไม้ประดิษฐ์พื้นฐานทั่วไป เช่น ท�ำดอกไม้จากกระดาษ ดินหอม ใยบัว และเกล็ดปลา รายวิชาดอกไม้ประดิษฐ์ 2 • ประดิษฐ์ดอกไม้ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์ ที่ซับซ้อนขึ้น โดยให้นักเรียนคิดออกแบบเอง เทียบกับ ของจริง ครูแนะน�ำเพิ่มเติม

รายวิชาดอกไม้เกล็ดปลา 1 และ 2 • สอนในกิจกรรมเสริมหลักสูตร ในช่วงเวลา • ท�ำดอกไม้อย่างหลากหลายโดยนักเรียน 14.30-15.30 น. เรียนเข้มและปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน ตั้งแต่การท�ำความ • สอนบูรณาการในกลุ่มสาระการงานอาชีพ สะอาด ย้อมสี ท�ำดอก และออกแบบประเภทดอก หรือ และเทคโนโลยี คิดผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มเติม • สอนบูรณาการในกลุ่มสาระสังคม ศาสนา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และวัฒนธรรม ในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาดอกไม้เกล็ดปลา 1 และ 2 • ผลงานของนักเรียน ได้แก่ ภาพปะติด กิ๊บ • ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้นกั เรียนได้เรียนรูว้ ธิ ี ที่ ค าดผม เข็ ม กลั ด กุ ห ลาบ ช่ อ กุ ห ลาบ พวงกุ ญ แจ การท�ำโครงงานอาชีพดอกไม้เกล็ดปลา และลงมือปฏิบตั จิ ริง ดอกทานตะวัน ต้องคิดออกแบบการน�ำเกล็ดปลาท�ำดอกไม้และศิลปะประดิษฐ์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ไม่ซ�้ำกับที่ครูสอนอย่างน้อย 10 แบบขึ้นไป นักเรียน • จัดท�ำเป็นรายวิชาเพิม่ เติมแต่ละชัน้ จะเรียน อาจรวมทุนกันท�ำโครงงาน หรือกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ 2 ภาคเรียน ภาคเรียนละ 1 หน่วยกิต ของโรงเรี ย นเพื่ อ ลงทุ น และจ� ำ หน่ า ยอย่ า งครบวงจร ท�ำเป็นกลุ่มๆ ละ 6-7 คน นักเรียนต้องคิดต้นทุน ก�ำหนด ราคาขายได้ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการตลาด รู้จัก ส�ำรวจและผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับแนวโน้มของตลาด


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

และเข้าใจเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ในชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 นี้ เรียนและปฏิบตั เิ ข้มข้นขึน้ ผลงานต้องได้มาตรฐาน สามารถน�ำเสนอผลงานออกสู่ชุมชนและตลาดได้ ผลงานของโรงเรียนได้รบั เชิญให้เข้าร่วมงาน ของชุมชนทั้งในระดับต�ำบล อ�ำเภอ เขตพื้นที่การศึกษา งานระดั บ ประเทศ และมี โ อกาสน� ำ เสนอผลงานที่ ประเทศภูฏาน พร้อมทั้งสอนให้แก่ผู้สนใจ ปรากฏว่า ได้รับความสนใจจากผู้มาร่วมงานจ�ำนวนมาก และเป็น จุดสนใจของงาน ได้รับการสัมภาษณ์ออกสื่อหนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ของประเทศภูฏานอีกด้วย พร้อมกันนี้ อาจารย์สุธาทิพย์ ได้กล่าวถึง ผลที่ เ กิ ด กั บ นั ก เรี ย น บทเรี ย นที่ ไ ด้ รั บ และปั จ จั ย ความส�ำเร็จในการจัดการเรียนรู้เกล็ดปลา ดังนี้

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนมีจ�ำหน่าย ประจ� ำ ที่ ส หกรณ์ โรงเรี ย น ร้ า นค้ า ในจั ง หวั ด สระบุ รี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ราคาจ�ำหน่ายไม่แพง เช่น ราคาดอกละ 35 บาท จัดเป็นแจกันเล็กถึงขนาดใหญ่ ราคาตัง้ แต่ 150-2,000 บาท ประเภทดอกไม้มหี ลากหลาย เช่น ดอกกุหลาบ เฟือ่ งฟ้า กล้วยไม้ ดอกบัว ดอกไม้อาเซียน มีภาพปะติดเป็นภาพทิวทัศน์ ดอกไม้ ฯลฯ น�ำดอกไม้ เกล็ดปลาประกอบเชิงเทียน นาฬิกา กรอบรูป น�ำดอก ประกอบกับขอนไม้ ท�ำซุ้มประตูประดับงานมงคลต่างๆ เป็นต้น

ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน

• มีความรู้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และ มีทักษะในการประดิษฐ์ดอกไม้เกล็ดปลา โดยน�ำวัสดุ ท้อ งถิ่น มาใช้ใ ห้เกิด ประโยชน์ ได้ชิ้น งานและผลผลิ ต ตามวัตถุประสงค์/เป้าหมาย • ฝึกการท�ำงานร่วมกันโดยใช้กระบวนการกลุม่ มีความสามารถในด้านการจัดการและการตลาด • รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สามารถ หารายได้ระหว่างเรียนและเป็นอาชีพเสริมให้แก่ตนเอง ห่างไกลเรื่องยาเสพติดและเรื่องชู้สาว • เกิดความภาคภูมิใจและน�ำเสนอผลงาน ด้วยความชื่นชม เป็นความพึงพอใจของคณะครู นักเรียน และผู้ปกครอง

11


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

12 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

• มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีความขยัน อดทน มุ่งมั่นในการท�ำงาน มีความรับผิดชอบ มีสมาธิ กล้าคิด กล้าแสดงออก • ได้เทคนิคในการประดิษฐ์ดอกไม้เกล็ดปลา • ได้แนวทางในการน�ำเกล็ดปลามาสร้างสรรค์ งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ช่อดอกไม้ กิฟต์ชอป (ตุ้มหู ที่คาดผม แหวน ที่ติดผม) ภาพปะติด จัดหีบห่อ เป็นของขวัญ ของช�ำร่วยรูปแบบต่างๆ • ได้ศึกษานอกสถานที่ เช่น ศูนย์ศิลปาชีพ อ�ำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และการจัด นิทรรศการสินค้า OTOP • มี ค วามสามารถในด้ า นการจั ด การ การตลาดและการบริการ • มีการพัฒนาคุณภาพชีวติ มีความภาคภูมใิ จ ในท้องถิ่นและความเป็นไทย

ผลที่เกิดกับโรงเรียน

1. ได้เอกสารประกอบการเรียนการสอน/สื่อ การเรียนการสอนให้นักเรียนรุ่นต่อไปศึกษา 2. ได้พัฒนารูปแบบ/สร้างแนวคิดใหม่ในการ ปลูกฝังด้านทัศนคติที่ดีต่ออาชีพอิสระ 3. ได้ สื บ สานอาชี พ ท้ อ งถิ่ น และเป็ น การ น�ำวัสดุเหลือใช้มาท�ำให้มีคุณค่าและมีมูลค่าเพิ่ม 4. โรงเรี ย นมี ร ะบบกิ จ กรรมสร้ า งเสริ ม ประสบการณ์ตรง 5. ส่ ง เสริ ม ศั ก ยภาพของผู ้ เรี ย นและความ เป็ น เลิ ศ ของแต่ ล ะบุ ค คลในการแสดงความสามารถ ความถนัด และความสนใจของตนเอง 6. โรงเรียนมีชื่อเสียงด้านการสอนงานอาชีพ ดอกไม้เกล็ดปลา 7. ผลงานได้ รั บ การยอมรั บ จากชุ ม ชน จากหน่วยงานภายนอกและ สพฐ.

ปัจจัยความส�ำเร็จ

• แรงบั น ดาลใจและความมุ ่ ง มั่ น ของครู ผู้รับผิดชอบ • ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน ชุมชน บุคคลในท้องถิ่น • ได้ รั บ การสนั บ สนุ น ในเรื่ อ งงบประมาณ จากโรงเรียน ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระบุ รี เขต 2 องค์ ค วามรู ้ ใ หม่ ๆ และโอกาสจาก ส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. • นักเรียนมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการท�ำงาน เพื่อฝึกเป็นอาชีพเสริม หรืออาชีพหลักในอนาคตได้ • คณะกรรมการสถานศึ ก ษา ผู ้ บ ริ ห าร คณะครู นักเรียนและชุมชนของโรงเรียนอนุบาลวังม่วง ชืน่ ชมและสนับสนุนผลงานของนักเรียน มีความภาคภูมใิ จ ในท้องถิ่นและความเป็นไทย จากข้อมูลการท�ำงานของ อาจารย์สุธาทิพย์ พบว่า ได้รับรางวัลมากมาย ในเรื่องการจัดการเรียน การสอนดีเด่น เป็นครูดใี นดวงใจของโรงเรียน อ�ำเภอ และ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 เป็นเวลา 2 ปีติดต่อกัน ในปี 2547-2548 และในปี 2552 ได้รบั คัดเลือกให้เป็นคนดีศรีสระบุรี ซึง่ น้อยคนนักจะได้รบั เกียรตินี้ อาจารย์สุธาทิพย์กล่าวว่า นี่คือก�ำลังใจที่ได้รับ จากการทุ่มเทท�ำงานด้วยความเสียสละ ส�ำคัญที่สุดคือ การได้เห็นเด็กๆ ที่ตนสอนเป็นเด็กดี ประสบความส�ำเร็จ และสรุปท้ายว่าในการท�ำงานได้ยึดมั่นอยู่กับคติพจน์ ทีไ่ ม่มวี นั ล้าสมัย คือ “ความพยายามอยูท่ ไี่ หน ความส�ำเร็จ อยู่ที่นั่น”


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านวนาหลวง

ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านวนาหลวง ซึ่ ง เป็ น โรงเรี ย นตั้ ง อยู ่ ใ นอ� ำ เภอปางมะผ้ า สั ง กั ด ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 ได้ รั บ รางวั ล ต้ น แบบเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้เพราะจุดเด่นของการ จัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเน้นหลักการของเศรษฐกิจ พอเพี ย ง คื อ 3 ห่ ว งกั บ 2 เงื่ อ นไข 3 ห่ ว ง ได้ แ ก่ ความมีเหตุมีผล ความพอประมาณ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี และ 2 เงื่อนไข ได้แก่ ความรู้กับคุณธรรม หลักฐานที่เห็น ได้ ชั ด เจนก็ คื อ นั ก เรี ย นโรงเรี ย นบ้ า นวนาหลวงได้ รั บ การฝึกวิชาชีพอย่างจริงจัง จนเด็กมีความสามารถน�ำฝ้าย

ไปผลิ ต เป็ น ชิ้ น งาน หารายได้ ใ นระหว่ า งเรี ย น และ ทางโรงเรียนน�ำเงินจากการจ�ำหน่ายชิ้นงานของนักเรียน แต่ละคนฝากธนาคารไว้ เพื่อมอบให้นักเรียนเมื่อเรียนจบ จะได้เป็นต้นทุนในการประกอบอาชีพหรือใช้ในการศึกษาต่อ หนึ่งในหลายๆ งานวิชาชีพที่นักเรียนโรงเรียน บ้ า นวนาหลวงได้ รั บ การฝึ ก คื อ การทอผ้ า กะเหรี่ ย ง ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ หลั ก เศรษฐกิ จ พอเพี ย งคื อ ในด้ า น ความมีเหตุผลเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของ บรรพบุรษุ ด้วยการทอผ้าทีใ่ ช้วตั ถุดบิ อันได้แก่ ฝ้าย สียอ้ ม จากพืช ในท้อ งถิ่น เครื่อ งปั่น ฝ้าย เครื่อ งทอผ้าก็เ ป็ น สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ที่ ส ร้ า งขึ้ น และใช้ สื บ ทอดกั น มายาวนาน ในกลุ่มชาวเขาด้วยกัน ด้านความพอประมาณคือ พอใจ กับการด�ำรงชีวติ เรียบง่าย ด้วยการใช้ผา้ ทอเอง โดยทีล่ าย และสี ก็ มี ลั ก ษณะที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ เ ฉพาะเผ่ า ของตน ไม่ตอ้ งขวนขวายหาซือ้ ผ้าทีแ่ ปลกใหม่ลายสีตา่ งทีจ่ ะท�ำให้ สิ้นเปลือง ขณะเดียวกันก็เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของ ชนเผ่าอีกด้วย ส่วนการมีภมู คิ มุ้ กันทีด่ กี ค็ อื การใช้วฒ ั นธรรม ของชนเผ่าของตน เป็นเกราะกั้นมิให้กระเจิดกระเจิง

13


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

14 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ตามยุคตามสมัย เราจึงไม่เห็นรูปแบบของกระโปรงสั้น หรือยาวเกินไป ผ้าทีใ่ ช้ไม่บางจนน่าเกลียด หรือมีลวดลาย ข้อความไม่สร้างสรรค์ มีความภูมใิ จทีไ่ ด้แต่งกายด้วยเสือ้ ผ้า ประจ�ำเผ่า ส่วนความรูก้ ค็ อื รูจ้ กั ปลูกฝ้าย ดูแลรักษาต้นฝ้าย ให้เจริญเติบโต รู้จักเก็บดอกฝ้าย น�ำมาสาวเป็นเส้นด้าย ทอเป็นผืน ปักลวดลายและตัดเป็นเสื้อ กระโปรง กางเกง ย่ามส�ำหรับใส่ของแทนที่จะใช้ถุงพลาสติก ด้านคุณธรรม คื อ ความขยั น มานะ อดทน รั บ ผิ ด ชอบ ประหยั ด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปลูกฝ้ายจนถึงขั้นตอนตัดเย็บเป็นชิ้นงาน โรงเรียนมิได้สอนให้ท�ำทุกขั้นตอนก็จริง แต่ในชีวิตจริง ของชาวเขานั้นมีกระบวนการครบ ดังนั้นเมื่อโรงเรียน ได้ จั ด การเรี ย นการสอนในส่ ว นของการทอผ้ า ก็ เ ป็ น การฝึกงานฝึกอาชีพเพื่อให้เขาได้น�ำความรู้ไปประกอบ อาชีพต่อไป นั ก เรี ย นโรงเรี ย นบ้ า นวนาหลวงส่ ว นใหญ่ เป็นเด็กชาวเขาเผ่ามูเซอด�ำ มูเซอแดง ไทยใหญ่พื้นเมือง และกะเหรี่ยง ดังนั้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะชีวิต จึ ง มี ค วามหลากหลาย เพื่ อ ให้ เ หมาะสมกั บ นั ก เรี ย น แต่ละเผ่า กิจกรรมเด่นของโรงเรียนประเภทหนึง่ ทีน่ า่ สนใจ คือ การจัดกิจกรรมชุมนุมอาชีพสู่ความเป็นนักธุรกิจน้อย ด้ ว ยงานทอผ้ า กะเหรี่ ย ง ชนเผ่ า กะเหรี่ ย งด� ำ รงชี วิ ต เรียบง่าย พึ่งพาตนเอง รักและหวงแหนมรดกทางปัญญา ความเชื่อของเผ่าอย่างยิ่ง และได้ถ่ายทอดคุณลักษณะ ดั ง กล่ า วให้ แ ก่ เ ยาวชนของเผ่ า อย่ า งจริ ง จั ง เยาวชน เผ่ากะเหรี่ยงจึงรู้รักษาภูมิปัญญาด้านการทอผ้าอันเป็น มรดกทางวั ฒนธรรมของเผ่ า นี้ เป็น เหตุผ ลที่ โรงเรียน จัดกิจกรรมชุมนุมอาชีพการทอผ้ากะเหรี่ยงขึ้น ซึ่งได้รับ ความสนใจจากนักเรียนเป็นอย่างดี การจั ด กิ จ กรรมชุ ม นุ ม ดั ง กล่ า วโรงเรี ย น เปิ ด รั บ สมั ค รนั ก เรี ย นที่ ส นใจตั้ ง แต่ ชั้ น ประถมศึ ก ษา ปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แผนการสอนของชมรม จัดเนื้อหาและการปฏิบัติยากง่ายตามวัยของนักเรียน

คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-5 สอนนักเรียนให้รู้จักวัสดุ อุ ป กรณ์ ส� ำ หรั บ การทอผ้ า สี แ ละการย้ อ มฝ้ า ย ด้วยสีธรรมชาติ การใช้สี การขึ้นเครื่องทอและวิธีการ เรี ย งเส้ น ด้ า ย เส้ น ยื น และเส้ น พุ ่ ง เพื่ อ การทอ เมื่ อ ถึ ง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนเริ่มหัดทอลายพื้นฐาน และท� ำ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ง ่ า ยๆ เช่ น ผ้ า พั น คอ เมื่ อ ถึ ง


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 1-3 จะให้ นั ก เรี ย นเรี ย นรู ้ เ นื้ อ หา ลึ ก ซึ้ ง ขึ้ น ตามล� ำ ดั บ โดยศึ ก ษาประวั ติ ค วามเป็ น มา ความส� ำ คั ญ ของการทอผ้ า การออกแบบลายผ้ า และ ลายผ้าของชนเผ่า การตัดเย็บเสือ้ ผ้า การน�ำผ้าทอกะเหรีย่ ง ไปประยุกต์หรือดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย แตกต่างไปจากเดิม ผลิตภัณฑ์ชิ้นใหญ่ขึ้น เช่น เสื้อผ้า ของใช้ ปกสมุด กล่องปากกา กล่องทิชชู โคมไฟ กระเป๋า ผ้ า ปู โ ต๊ ะ ผ้ า ม่ า น เป็ น ต้ น การจดทะเบี ย นทรั พ ย์ สิ น ทางปัญญาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่คิดขึ้น การน�ำ สินค้าสู่การจ�ำหน่ายในตลาด ในชั้นนี้ได้เพิ่มการสอน ด้วยวิธีการปฏิบัติเรื่องธุรกิจ การตลาด คุณสมบัติของ ผู้ประกอบการ การสร้า งและรักษาสัมพันธภาพกับลูกค้ า การออกแบบหน้าร้าน การออกแบบตราสินค้า การออกแบบ บรรจุ ภั ณ ฑ์ การเขี ย นเรื่ อ งราวสิ น ค้ า เพื่ อ เพิ่ ม มู ล ค่ า วิธกี ารจ�ำหน่ายโดยส�ำรวจและสรุปความต้องการของตลาด เกี่ ย วกั บ ธุ ร กิ จ ผ้ า ทอในท้ อ งถิ่ น และจั ง หวั ด ใกล้ เ คี ย ง วางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีความประณีต สวยงามและทันสมัยมากขึ้น การก�ำหนด ราคาขายทีเ่ หมาะสม การจ�ำหน่ายในงานต่างๆ ตามสถานที่ ท่องเทีย่ วในจังหวัดและการจ�ำหน่ายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต พร้อมทั้งการท�ำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การจัดการเรียนการสอนครูผู้สอนใช้วิธีการ ให้ นั ก เรี ย นศึ ก ษาเอกสาร การระดมความคิ ด เห็ น พานักเรียนศึกษาดูงานที่ตลาดถนนคนเดิน อ�ำเภอปาย จั ง หวั ด แม่ ฮ ่ อ งสอน ร่ ว มกั น วางแผนงานจั ด จ� ำ หน่ า ย ผลิตภัณฑ์ของตนเองด้วยการปฏิบัติจริง อาจารย์ศรีวรรณ มนต์คีรีทอง และอาจารย์ อรารัตน์ ก้อนจ�ำปา ผู้รับผิดชอบชมรมทอผ้า ได้เล่าถึง ความคาดหวั ง ของผู ้ ส อน คื อ ต้ อ งการให้ นั ก เรี ย น มีความภาคภูมิใจในคุณค่าของการทอผ้าซึ่งเป็นมรดก ทางวั ฒ นธรรมของบรรพบุ รุ ษ ชาวเขาเผ่ า กะเหรี่ ย ง ร่วมใจกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบต่อไป และเพื่อให้นักเรียน

สามารถน� ำ ความรู ้ ก ารทอผ้ า กะเหรี่ ย งไปใช้ ใ นชี วิ ต ประจ�ำวันและสร้างอาชีพบนพืน้ ฐานของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีสาระส�ำคัญ 3 ด้าน ได้แก่

ด้านความรู้ นักเรียนศึกษาจากแหล่งเรียนรู้

ภูมิปัญญาท้องถิ่น เอกสาร ป้ายนิเทศ ภาพวาด ต�ำรา อินเทอร์เน็ต ของจริง ด้านทักษะ ปฏิบตั จิ ริง ด้วยการซือ้ ด้ายมาย้อม ด้ ว ยสี โ ดยใช้ พื ช ธรรมชาติ ซึ่ ง นั ก เรี ย นจั ด หามาเอง หรื อ ศึ ก ษาจากต� ำ รา ย้ อ มเองและตากในร่ ม ให้ แ ห้ ง แล้ ว น� ำ ไปเรี ย งด้ า ยกั บ อุ ป กรณ์ เรี ย งด้ า ยของชาวเขา เผ่ากะเหรี่ยง ให้ได้ขนาดตามต้องการ ต่อด้วยขั้นตอน ทอด้วยกี่เอวของกะเหรี่ยง สร้างลวดลายของเผ่า ได้แก่ ลายเม็ดฟักทอง ลายขิด ลายตัวอักษรหรือลายอื่นๆ ตามต้องการ เมื่ อ ได้ ผื น ผ้ า ตามต้ อ งการแล้ ว ก็ ใ ห้ ฝ ึ ก ตั ด และเย็บ การออกแบบตัดก็จะต้องมีเอกลักษณ์ของเผ่า คือ มีส่วนที่เป็นด้ายห้อยชายขอบ เช่น ชายกระโปรง ชายขอบล่างของตัวเสื้อหรือแขนเสื้อ อาจมีการปักลาย ต่างๆ เพิ่มเติมหลังจากตัดเป็นเสื้อ กระโปรง กางเกง ย่าม หรือผ้าปู ฯลฯ และจัดจ�ำหน่ายได้

15


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

16 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ด้ า นคุ ณ ลั ก ษณะ ต้ อ งการให้ นั ก เรี ย น

มีความอดทน มุง่ มัน่ มีความรับผิดชอบ ละเอียดรอบคอบ ขยันใฝ่รใู้ ฝ่เรียน คิดเป็น ท�ำได้ ขายเป็น รูจ้ กั ประเมินผลงาน ของตน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ท�ำงานกลุ่มได้ ชื่นชมในวัฒนธรรมของตน พร้อมอนุรักษ์และสืบสาน ให้ด�ำรงคงอยู่ต่อไป ผลที่ ป ระเมิ น ได้ จ ากการเรี ย นเรื่ อ งผ้ า ทอ กะเหรี่ยง มีดังนี้ ด้ านคุณธรรม นักเรียนมีจิตส�ำนึกในการ อนุรักษ์ภูมิปัญญาการทอผ้ากะเหรี่ยง มีความภาคภูมิใจ ในการได้สืบทอดวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ ขยัน อดทน รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ รับผิดชอบ มีจิตส�ำนึก ในการใช้ ท รั พ ยากรอย่ า งคุ ้ ม ค่ า และเกิ ด ประโยชน์ สูงสุด เห็นประโยชน์ของการด�ำรงชีวิตตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ด้านความรู้ รู้วิถีชีวิตของชนเผ่ากะเหรี่ยง ในเรื่ อ งของการทอผ้ า เพื่ อ ใช้ ใ นชี วิ ต ประจ� ำ วั น และ ในพิธีกรรม รู้ขั้นตอนอันจะได้มาซึ่งผ้าทอและปฏิบัติได้ มี ทั ก ษะในการทอผ้ า แบบกะเหรี่ ย ง การเสริ ม สร้ า ง คุ ณ ค่ า ของผ้ า ทอด้ ว ยการเพิ่ ม ลายทอหรื อ ปั ก เพิ่ ม

การน�ำผ้าทอส�ำเร็จมาประดิษฐ์หรือประกอบเป็นชิ้นงาน ที่ ยั ง คงมี เ อกลั ก ษณ์ ข องกะเหรี่ ย งเพื่ อ เพิ่ ม คุ ณ ค่ า การคิดราคาขาย การแนะน�ำสินค้า การจัดจ�ำหน่าย ท�ำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และประเมินผล ด้ า นทั ก ษะทางปั ญ ญา จิ ต ส� ำ นึ ก ในการ อนุรักษ์ภูมิปัญญาเป็นตัวผลักดันให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจกันสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่ตลอดไป ด้วยการ สร้ า งสรรค์ ง านในรู ป แบบต่ า งๆ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ความเปลีย่ นแปลงทางสังคมและความต้องการของตลาด แต่ยังคงเอกลักษณ์ของเผ่ากะเหรี่ยงไว้ เช่น น�ำผ้าทอ มาตัดกระโปรงตามแบบสมัยนิยม โดยให้ชายขอบล่าง มีลักษณะเป็นเส้นด้ายห้อยเป็นริ้วๆ หรือตัดเสื้อแต่ที่คอ หรือแขนมีชายผ้าเป็นเส้นด้ายปล่อยห้อยเป็นริ้วเช่นกัน รู้จักใช้ภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์งานอาชีพสุจริต

ด้ า นความสั ม พั น ธ์ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบ

นักเรียนต้องท�ำงานเป็นกลุ่มและมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ภายนอก เช่น วิทยากรท้องถิ่น คู่ค้าขายที่เกี่ยวข้องกัน หรือลูกค้า จึงต้องรู้จักวางตัวให้เหมาะสม สามารถ สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน รับฟังความคิดเห็น มีความจริงใจ ซือ่ สัตย์ รักษาค�ำพูด พร้อมแก้ไขเพือ่ ให้เกิด ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ด้านการคิดวิเคราะห์และน�ำไปใช้ รูจ้ กั คุณค่า

ของภู มิ ป ั ญ ญาชนเผ่ า กะเหรี่ ย งและน� ำ จุ ด สนใจหรื อ จุดดึงดูดใจไปใช้เฉพาะทาง เช่น ใช้ลายปักเม็ดฟักทอง ลายขิด ปักผ้าปูโต๊ะ บนเสื้อหรือกระโปรง น�ำเอกลักษณ์ เฉพาะเผ่าเกีย่ วกับการปล่อยชายผ้าให้เป็นเส้นด้ายไปท�ำ ชายขอบล่ า งกระโปรง ชายขอบล่ า งของเสื้ อ หรื อ แขนเสื้อ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ยังคงเอกลักษณ์เฉพาะ เรื่องของตนไว้เพื่อแสดงความเป็นเผ่าพงษ์ของตนอยู่

ความสวยงามแปลกตาและที่ ม าของผ้ า ทอ กะเหรี่ยงนี้ ท�ำให้ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมแสดงและ จั ด จ� ำ หน่ า ยในงานศิ ล ปหั ต ถกรรมนั ก เรี ย นระดั บ ชาติ ประจ�ำปีการศึกษา 2553 ณ เมือ งทองธานี จังหวั ด นนทบุรี ถึงปัจจุบันเป็นเวลา 5 ปีติดต่อกัน ความส�ำเร็จ ของผลงานทั้งปวงของโรงเรียน นอกจากต้องชื่นชมครู ผู้รับผิดชอบงานแล้ว ผู้เขียนขอชื่นชมนางกัญญา สมบูรณ์ ผู้อ�ำนวยการสถานศึกษา ซึ่งบริหารงานด้วยความมุ่งมั่น เข้มแข็งฝ่าฟันอุปสรรคการท�ำงานมาหลายสิบปี ตั้งแต่ โรงเรี ย นมี ส ภาพหลั ง คามุ ง จาก เส้ น ทางไปโรงเรี ย น ยากล�ำบาก บางพื้นที่ยังเป็นถนนลูกรัง ปัจจุบันโรงเรียน บ้ า นวนาหลวงได้ พั ฒ นามาถึ ง จุ ด ที่ เ ป็ น ตั ว อย่ า งแก่ โรงเรียนอื่นได้เป็นอย่างดี นางกัญญา สมบูรณ์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาของการท�ำงานเป็นผู้บริหาร ได้ยึดหลัก ประโยชน์ของนักเรียนตามหลักสิทธิเด็ก 4 ด้าน เป็นส�ำคัญ คือ สิทธิด้านการอยู่รอด สิทธิด้านการปกป้องคุ้มครอง สิทธิด้านการพัฒนาและสิทธิด้านการมีส่วนร่วม โดยให้ ชุมชน นักเรียน ครูทุกคนเข้าร่วมอบรมรับรู้ ตระหนัก ถึงสิทธิเด็กทั้ง 4 ด้าน และน�ำความรู้และวิธีการมาใช้ ในการดูแลช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กในโรงเรียนและ ชุมชน โดยผู้บริหารต้องลงมือปฏิบัติจริงจัง เป็นตัวอย่าง ให้ผอู้ นื่ ปฏิบตั ติ ามได้ นางกัญญากล่าวด้วยความภาคภูมใิ จ ว่าความส�ำเร็จในวันนี้เพราะครูในโรงเรียนได้ท�ำหน้าที่ ของตนและชุมชนให้ความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียน เป็ น อย่ า งดี ซึ่ ง เป็ น ก� ำ ลั ง ใจในการท� ำ งานของตน อย่ า งสู ง สุ ด ด้ ว ยความมุ ่ ง มั่ น ท� ำ งานอย่ า งสม�่ ำ เสมอ โรงเรี ย นจึ ง ได้ รั บ การคั ด เลื อ กเป็ น ศู น ย์ แ กนน� ำ ขยายเครือข่าย 1 ใน 29 ศูนย์ ของโครงการนักธุรกิจน้อย มีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของส�ำนักพัฒนา นวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. เพื่อขยายผลไปยัง โรงเรียนใกล้เคียงที่สนใจอีกด้วย

17


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

18 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

งานเพ้นท์บนใบบางยางพารา “...พลังเสริมชีวิตให้เข้มแข็งก้าวข้ามอุปสรรค ขวากหนามที่ส�ำคัญที่สุดในชีวิตคือ พ่อ แม่ มีลูก 7 คน ฐานะทางบ้านไม่ค่อยดี พ่อมีอาชีพขับรถสิบล้อรับจ้าง แม่ขายขนม จึงเขียนจดหมายขอทุนพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้น้องๆ ได้มีวิชา ความรู ้ ติ ด ตั ว ผลคื อ ได้ รั บ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ จาก สมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี น าถ พระราชทานทุนการศึกษาให้กับน้อง ๔ คน (คนที่ ๕ ถึ ง ค น ที่ ๘ ) จ น จ บ ป ร ะ ก า ศ นี ย บั ต ร วิ ช า ชี พ และประกาศนี ย บั ต รวิ ช าชี พ ชั้ น สู ง การได้ รั บ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ครั้ ง นี้ ยิ่ ง ใหญ่ นั ก ข้ า พเจ้ า จึ ง ตั้ ง ปณิ ธ านในการท� ำ งานเพื่ อ พระองค์ ท ่ า นทั้ ง สอง และพระบรมวงศานุวงศ์จนกว่าชีวิตจะหาไม่” ข้ อ ความนี้ ก ลั่ น มาจากดวงใจของอาจารย์ กรวิวรรณ์ บุญเจริญ อาจารย์ผู้ริเริ่มการเรียนการสอน “งานเพ้นท์บนใบบางยางพารา” ที่โรงเรียนห้วยยอด (กลึ ง วิ ท ยาคาร) สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ประถมศึ ก ษาตรั ง เขต 2 แสดงถึ ง ความตั้ ง ใจจริ ง ในการท� ำ งานเพื่ อ ประเทศชาติ เนื่ อ งจากได้ รั บ พระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ จากสมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชินนี าถ พระราชทานทุนการศึกษาให้กบั น้องๆ จ�ำนวน 4 คน เล่าเรียนจนจบประกาศนียบัตรวิชาชีพ จึ ง ตั้ ง ปณิ ธ านว่ า จะต้ อ งถวายความจงรั ก ภั ก ดี ต ่ อ สถาบันพระมหากษัตริยด์ ว้ ยการท�ำงานรับใช้ประเทศชาติ อย่างสุดชีวติ และได้มงุ่ มัน่ สร้างงานจนประสบความส�ำเร็จ บรรลุถึงฝั่งฝันในวันนี้


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

นีเ่ ป็นทีม่ าของ “งานเพ้นท์บนใบบางยางพารา” รายวิชาเพิม่ เติม ในชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 และวรรณกรรม งานเพ้นท์บนใบบางยางพารา ซึ่งจดลิขสิทธิ์ทางปัญญา ไว้แล้ว จ�ำนวน 2 รายการ งานเพนท์บนใบบางยางพารา เป็นอีกหนึง่ ผลงาน ที่ น ่ า สนใจ เพราะไม่ ใช่ เ พี ย งใช้ ใ บยางพารามาฟอก ตามวิ ธี ก ารของภู มิ ป ั ญ ญาด้ ว ยการฟอกใบยางพารา ด้วยกรรมวิธีการแช่หรือต้มให้เหลือเส้นใย เรียกว่าใบบาง และมาใช้ทำ� เป็นดอกไม้เหมือนทีเ่ ห็นโดยทัว่ ไป แต่เป็นการ น� ำ ใบบางมาสร้ า งสรรค์ เ ป็ น งานแปลกใหม่ ลั ก ษณะ ศิลปะประยุกต์ โดยน�ำความรูเ้ กีย่ วกับทัศนศิลป์มาใช้ในการ สร้างชิ้นงาน คือ การปะติด การเพ้นท์ประกอบ การใช้สี ท�ำเป็นภาพสองมิติ มีการพัฒนาต่อยอดมาเรือ่ ยๆ ปัจจุบนั ได้น�ำการปั้นนูนต�่ำจากเยื่อกระดาษมาผสมผสานในงาน ท�ำให้เป็นภาพสามมิติ มีการออกแบบลวดลายหลากหลาย ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ ปกสมุด แฟ้ม กรอบรูป กล่อง เป็นต้น อาจารย์กรวิวรรณ์ บุญเจริญ ผู้สอนเล่าถึง แรงบั น ดาลใจในการจั ด การเรี ย นการสอนเรื่ อ งนี้ ว ่ า โรงเรียนห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) เป็นโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 จังหวัดตรังเป็นถิ่นก�ำเนิดยางพารา ประชากรส่วนใหญ่ มีอาชีพท�ำสวนยางพารา เมือ่ ถึงฤดูผลัดใบ ใบก็จะร่วงหล่น มากมาย จึ ง เกิ ด ความคิ ด ว่ า น่ า จะน� ำ ใบยางที่ มี ม าก ในท้องถิ่น มาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน

ในปี 2544 ได้เริ่มสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สอนโดยใช้นวัตกรรมหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องสร้างสรรค์ “งานเพ้นท์บนใบบางยางพารา” สู่ความพอเพียงในสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ต่ อ มาได้ ป รั บ เปลี่ ย นงานเพนท์ บ นใบบาง ยางพาราเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 สาระส�ำคัญๆ ที่สอนแบ่งเป็น 5 ตอน ตอนที่ 1 ย้อนรอยยางพารา ความรู ้ เ กี่ ย วกั บ ยางพาราและ ใบบางยางพารา ตอนที่ 2 ยางพารากับเทคโนโลยี การเลื อ กใช้ เ ครื่ อ งมื อ เครื่ อ งใช้ วั ส ดุ อุ ป กรณ์ และการเลื อ กใบยางพาราน� ำ มาฟอก โดยใช้เทคโนโลยีจากภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ การย้อมสี พร้อมทัง้ สอดแทรกความรูเ้ กีย่ วกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การใช้พลังงานและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

19


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

20 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ตอนที่ 3 ยางพาราสร้างสรรค์ การออกแบบลวดลายของงานเพ้นท์บนใบยางพาราและ การวางแผนการท�ำงาน ตอนที่ 4 ยางพาราพาสนุก ฝึกทักษะ กระบวนการ คุณธรรมการท�ำงาน การน�ำเสนองาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน และผลงาน ตอนที่ 5 ยางพาราสู่ความพอเพียง จั ด การเรี ย นรู ้ ให้ นั ก เรี ย นปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาผลงาน การคิดต้นทุน ก�ำไร การก�ำหนดราคา การท�ำบัญชีรับ-จ่าย การเก็บออม การตลาด การจ� ำ หน่ า ย บรรจุ ภั ณ ฑ์ ความพอเพี ย งตามหลั ก ปรั ช ญาของ เศรษฐกิจพอเพียง พร้อมกันนี้ได้จัดท�ำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เป็นหนังสือ อ่ า นเพิ่ ม เติม “งานเพ้น ท์บนใบบางยางพารา” สู่ค วามพอเพียง โดยผ่ า น การทดลองหาประสิทธิภาพเรียบร้อย

รูปแบบการเรียนรูไ้ ด้เลือกใช้กระบวนการ เทคนิค และวิธกี ารเรียน การสอนที่หลากหลาย ดังนี้

1. กระบวนการกลุม่ เป็นการกระท�ำสิง่ หนึง่ สิง่ ใดร่วมกันของนักเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ โดยนักเรียนจะเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม และวิเคราะห์ พฤติกรรมของนักเรียนซึ่งกันและกัน 2. เทคนิคการเรียนการสอนทีส่ ง่ เสริมความคิดสร้างสรรค์โดยเลือกใช้ เทคนิคต่างๆ ดังนี้ - เทคนิคการระดมสมอง (Brainstorming) - เทคนิคเชื่อมโยงสัมพันธ์โดยใช้การเปรียบเทียบ (Synectics) - เทคนิคการสอนให้คิดประดิษฐ์ (Inventive Thinking) เทคนิคดังกล่าวจะส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในด้านความคิดคล่อง คิดยืดหยุ่น คิดริเริ่ม คิดละเอียดละออ ตามองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ 3. กระบวนการเรียนรู้แบบ SIX STEPS - ระดมพลังสมองเพื่อค้นพบปัญหา - ค้นหาและสรุปปัญหาหลัก - ระดมพลังสมองเพื่อคิดหาวิธีการแก้ปัญหา - เลือกเกณฑ์เพื่อใช้ในการประเมินวิธีการแก้ปัญหา - ประเมินผลเพื่อค้นหาวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด - น�ำเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด และประเมินทักษะการท�ำงาน


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

4. กระบวนการคิดสร้างสรรค์ของ Anderson - สนใจและรู้สึกถึงความต้องการของจิตใจ และสมอง - รวบรวมข้อมูล - ไตร่ตรองถึงการวางแผนโครงสร้างและ รูปแบบของงาน - เกิดจินตนาการ - สร้างจินตนาการและแสดงผลให้เห็นชัดเจน - รวบรวมความคิด และแสดงออกมาในรูป ของผลงาน 5. ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น - ตระหนักในปัญหาและความจ�ำเป็น - คิดวิเคราะห์วิจารณ์ - เสนอทางเลือกอย่างหลากหลาย - ประเมินและเลือกทางเลือก - ก�ำหนดและล�ำดับขั้นตอนการปฏิบัติ - ปฏิบัติด้วยความชื่นชม - ประเมินระหว่างปฏิบัติ - ปรับปรุงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ - ประเมินผลรวมเพือ่ ให้เกิดความภาคภูมใิ จ 6. กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative Learning) การเรียนแบบร่วมมือ (CL) เป็นวิธกี ารเรียน ทีม่ กี ารจัดกลุม่ การท�ำงาน เพือ่ ส่งเสริมการเรียนรูแ้ ละเพิม่ พูน แรงจูงใจทางการเรียน การเรียนแบบร่วมมือไม่ใช่วธิ กี ารจัด นักเรียนเข้ากลุม่ รวมกันแบบธรรมดา แต่เป็นการรวมกลุม่ อย่างมีโครงสร้างทีช่ ดั เจน กล่าวคือ สมาชิกแต่ละคนในทีม จะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในการเรียนรู้และสมาชิกทุกคน จะได้รับการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจเพื่อที่จะช่วยเหลือ เพิ่มพูนการเรียนรู้ของสมาชิกในทีม

7. การสอนแบบโครงงาน (Project) - คิดและเลือกปัญหาที่จะศึกษา - วางแผนในการท�ำโครงงาน - การก� ำ หนดปั ญ หาและขอบเขตของ

การศึกษา - การก�ำหนดวัตถุประสงค์ แนวคิด วิธีการ ที่ จ ะน� ำ มาใช้ ใ นการแก้ ป ั ญ หา สมมติ ฐ าน และนิ ย าม เชิงปฏิบัติการ - การวางแผนรวบรวมข้อมูล และค้นคว้า เพิ่มเติม - ก�ำหนดวิธีด�ำเนินงาน - ลงมือท�ำโครงงาน - การเขียนรายงาน อาจารย์ ก รวิ ว รรณ์ บุ ญ เจริ ญ กล่ า วว่ า กระบวนการจั ด การเรี ย นรู ้ ข องตนจะเน้ น การสาธิ ต การฝึกปฏิบัติ คิดเป็น ท�ำเป็น แก้ปัญหาเป็น ให้นักเรียน มี ส ่ ว นร่ ว มให้ ม ากที่ สุ ด ตั้ ง แต่ ก ารร่ ว มคิ ด ร่ ว มท� ำ ร่ ว มวางแผน ลงมื อ ปฏิ บั ติ และร่ ว มประเมิ น ผลงาน ของตนเอง นักเรียนที่จบชั้น ม.3 ทุกคนต้องมีพื้นฐาน งานอาชีพน�ำไปสู่การประกอบอาชีพได้ การท�ำงานของครูก็เป็นไปตามขั้นตอนของ การท�ำงานในหน้าที่ครูทั่วไป คือ เริ่มจากจัดท�ำโครงการ เสนอผู้บังคับบัญชา ปรึกษาหารือกับคณะครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา การวางแผนการด�ำเนินงาน มีการวิเคราะห์ตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี จั ด ท� ำ หลั ก สู ต รรายวิ ช าเพิ่ ม เติ ม ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย ค�ำอธิบายรายวิช า ผลการเรียนรู้ โครงสร้างรายวิ ช า หน่วยการเรียนรู้ แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่ อ /แหล่ ง การเรี ย นรู ้ แนวทางการวั ด และประเมิ น จั ด ท� ำ เอกสารประกอบหลั ก สู ต ร เช่ น แผนการจั ด

21


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

22 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

โรงเรียนห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) ได้บรรจุวชิ า และกิจกรรมนี้ในแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา 1 ใน 4 กิจกรรมหลักของโรงเรียนตัง้ แต่ปี 2551 และส่งผลให้ โรงเรียนได้รับรางวัลหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม น�ำมาซึ่ง ความภาคภูมิใจของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ด้ า นชุ ม ชน ลดปั ญ หาเด็ ก สุ ่ ม เสี่ ย ง และลด อัตราการออกกลางคันของนักเรียน ผู้ปกครองให้ความ ไว้วางใจให้การสนับสนุนการสร้างห้องปฏิบตั กิ ารงานบ้าน งานประดิษฐ์ เป็นต้น ครู ผู ้ ส อน ได้ รั บ รางวั ล มากมาย เช่ น รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติครูสอนดี รางวัลครูสอนดี หนึ่งแสนครูดี รางวัลล่าสุดในปี 2555 คือ ได้รับรางวัล เหรียญทอง รางวัลอันทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพือ่ การเรียนการสอน กลุม่ สาระการเรียนรูก้ ารงานอาชีพ และเทคโนโลยี ทั้งนี้ อาจารย์กรวิวรรณ์ ได้น�ำผลงาน การเรียนรู้ 10 แผน ใบความรู้ ใบงาน แบบบันทึกการวัด หนังสืองานเพ้นท์บนใบบางยางพารา จดลิขสิทธิท์ างปัญญา และประเมิ น ผล และอื่ น ๆ แต่ สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ จ ะท� ำ ให้ ประเภทงานวรรณกรรมไว้ด้วยแล้วจ�ำนวน 2 รายการ การจัดการเรียนการสอนส�ำเร็จ คือ ครูต้องมีอุดมการณ์ อาจารย์กรวิวรรณ์ บุญเจริญ กล่าวปิดท้ายถึง ในการท�ำงาน ให้โอกาสกับเด็กด้อยโอกาส ให้ความรู้ ความส�ำเร็จว่า ปัจจัยส�ำคัญทีจ่ ะส่งผลส�ำเร็จในการท�ำงาน แก่ ศิ ษ ย์ ทุ ก คนเหมื อ นสอนลู ก หลาน มี ค วามมุ ่ ง มั่ น คือ “ครูต้องมีจิตใจที่มุ่งมั่น ท�ำงานสิ่งใดต้องท�ำให้ส�ำเร็จ ตั้ ง ใจ ทุ ่ ม เท และเสี ย สละท� ำ หน้ า ที่ ข องตนให้ ดี ที่ สุ ด ไม่ว่าจะยากล�ำบากเพียงใดขออย่าท้อถอยกับปัญหาและ มีความพร้อมที่จะให้เด็กเรียนรู้ มีความเป็นกัลยาณมิตร อุปสรรค ยิง่ มีพลังขัดขวางมากเท่าไร ยิง่ เป็นพลังสนับสนุน ห่วงใยช่วยเหลือเกือ้ กูลนักเรียน ท�ำงานให้นกั เรียนศรัทธา ให้ ฟ ั น ฝ่ า ไปให้ จ งได้ ส� ำ หรั บ ตนโชคดี ม ากได้ พ ลั ง ความส� ำ เร็ จ อื่ น ๆ ก็ จ ะตามมาตามที่ ค รู ต ้ อ งการ เช่ น ความเข้มแข็งทีท่ ำ� ให้สามารถก้าวข้ามอุปสรรคขวากหนาม การปลู ก ฝั ง ความรู ้ หรื อ คุ ณ ธรรม ความดี ง าม ในชีวิตมาได้คือ การได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ เน้นความจริงจังและต่อเนื่องเป็นเรื่องส�ำคัญมาก จากพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว และสมเด็ จ ผลที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการจั ด การเรี ย นรู ้ แ ละ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี น าถ พระราชทุ น การจัดกิจกรรมนี้ นักเรียนมีนสิ ยั ในการท�ำงานทีด่ ี สามารถ การศึกษาให้กับน้องทั้ง 4 คน จนจบประกาศนียบัตร น�ำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน และน�ำไปสู่ วิชาชีพ ท�ำให้ตนตั้งปณิธานในการท�ำงาน เพื่อพระองค์ การมีอาชีพในอนาคตได้จริง ท่านทัง้ สอง และพระบรมวงศานุวงศ์จนกว่าชีวติ จะหาไม่”


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

งานกระจกถมทองค�ำเปลว

เป็ น ที่ น ่ า ภาคภู มิ ใ จที่ จั ง หวั ด ขอนแก่ น มีแหล่งเรียนรู้ที่น�ำศิลปะมาเป็นเครื่องมือในการรักษา มรดกทางวั ฒ นธรรมให้ ค งไว้ ซึ่ ง เอกลั ก ษณ์ ข อง ความเป็ น ชาติ ด ้ ว ยการปลู ก ฝั ง การอนุ รั ก ษ์ ม รดก ทางวัฒนธรรมไว้ในเยาวชนของท้องถิ่นได้อย่างน่าชื่นชม แหล่งเรียนรู้ดังกล่าวคือโรงเรียนบ้านงิ้ว โรงเรีย นบ้ า นงิ้ วจัดเป็นโรงเรี ยนขนาดกลาง มีนักเรียนจ�ำนวน 166 คน สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ทางโรงเรียนมุง่ หวัง จะพั ฒ นานั ก เรี ย นให้ เ ป็ น คนดี มี คุ ณ ธรรม มี ค วามรู ้ และทักษะ กระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ กล้าคิด กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล ถูกต้อง ตลอดจนยึดมั่น

ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุง่ เน้นให้นกั เรียน เรียนรูด้ ว้ ยการปฏิบตั จิ ริง สามารถแก้ปญั หาในสถานการณ์จริง อย่างมีสติและมีสมาธิบนพื้นฐานของความเป็นไทย ทางโรงเรี ย นด� ำ เนิ น การจั ด ตั้ ง ชุ ม นุ ม ศิ ล ปะ งานกระจกถมทองค�ำเปลวมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2548 เพื่อให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 มีโอกาส เลือกเรียนตามความสนใจ ชุมนุมศิลปะนีไ้ ด้รบั ความสนใจ จากนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จ�ำนวนปีละ 15-30 คน บรรดาสมาชิกของชุมนุมได้รบั การฝึกฝนศิลปะนี้ จากอาจารย์ ล ดาวั ล ย์ โภโต ซึ่ ง มี พื้ น ฐานการศึ ก ษา ด้ า นงานศิ ล ปะอย่ า งดี ยิ่ ง จากวิ ท ยาลั ย ช่ า งศิ ล ป์ กรมศิลปากร โดยมีอาจารย์อรุณรัศมี ประดาพล เป็นผูช้ ว่ ย

23


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

24 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

รับผิดชอบงานของชมรมร่วมกัน อาจารย์ลดาวัลย์เล่าว่า แรงบันดาลใจในการตั้งชมรมครั้งนี้ เกิดจากการประเมิน พฤติกรรมนักเรียนแล้วพบว่าความรับผิดชอบและสมาธิ ในการเรียนอยู่ในเกณฑ์ต�่ำกว่ าที่ก�ำหนด ไม่น่ าพอใจ ประกอบกับตนมีความถนัดด้านงานศิลปะ จึงทดลอง แก้ปญั หาด้วยการตัง้ ชมรมศิลปะงานกระจกถมทองค�ำเปลวขึน้ เพื่ อ ฝึ ก ให้ นั ก เรี ย นมี ส มาธิ ใ นการเรี ย น ปรากฏว่ า นั ก เรี ย นมี ส มาธิ ดี ขึ้ น ผลพลอยได้ ที่ ต ามมามี ม ากมาย คือ สามารถขัดเกลาจิตใจของผู้เรียนให้มีความอ่อนโยน นั ก เรี ย นภาคภู มิ ใจในตนเองที่ ส ามารถสร้ า งชิ้ น งาน ที่ มี ค วามสวยงามและมี คุ ณ ค่ า ภู มิ ใจที่ มี ส ่ ว นในการ อนุ รั ก ษ์ ศิ ล ปะไทย และสร้ า งชื่ อ เสี ย งให้ กั บ โรงเรี ย น ในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้และขยายผลให้กับโรงเรียนอื่น ที่สนใจ ผลการเรียนของนักเรียนในชมรมดีขึ้นกว่าเดิม

อาจารย์ทั้ง 2 คนได้ประสิทธิ์ประสาทวิ ช า เพื่ อ รั ก ษามรดกทางวั ฒ นธรรมไทย พร้ อ มสร้ า งเด็ ก ให้มีคุณธรรม ยึดมั่นหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่ า งมี ส ติ แ ละสมาธิ งานกระจกถมทองค� ำ เปลว ถ้ า มองผ่ า นๆ จะเหมื อ นกั บ งานลงรั ก ปิ ด ทอง งานช่างชั้นสูงของไทยซึ่งมีขั้นตอนยากเกินกว่านักเรียน ระดับประถมจะท�ำได้ แต่งานที่อาจารย์ลดาวัลย์ โภโต คิ ด ขึ้ น มี ขั้ น ตอนไม่ ซั บ ซ้ อ นมากแต่ ต ้ อ งใช้ ค วาม ประณี ต ขั้ น ตอนการท� ำ เริ่ ม จากการน� ำ กระจกใส ล้ า งท� ำ ความสะอาดแล้ ว น� ำ มาเช็ ด ให้ แ ห้ ง ทั้ ง สองด้ า น น�ำภาพที่เตรียมไว้มาติดกระจกใส ใช้ปากกาหรือพู่กัน วาดภาพตามลายภาพแล้วใช้หมึกสีดำ� ระบายลงในบริเวณ ที่ว่าง ยกเว้นในตัวภาพ ทิ้งไว้ให้แห้งทั้งสองด้านแล้ว น�ำแผ่นทองค�ำเปลวปิดภาพให้ดูโดดเด่น แล้วน�ำใส่กรอบ เป็นการเพิ่มมูลค่าในการจัดจ�ำหน่าย ภาพที่น�ำมาท�ำงาน ศิลปะเป็นรูปงานศิลปะลายไทย เช่น ภาพพระ-นาง ลิง ยักษ์ ครุฑ ลวดลายดังกล่าวเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ที่เด็กรุ่นหลังควรเรียนรู้และรับการปลูกฝังให้เห็นคุณค่า ศิลปะไทย


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ส�ำหรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ อาจารย์ ผูส้ อน ได้ใช้กระบวนการสร้างความตระหนักและแรงจูงใจ ในการเรียนโดยพาไปศึกษาดูงาน ดูภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในท้องถิ่น ดูภาพในหนังสือ เอกสาร วารสาร ในเรื่องราว ที่เกี่ยวกับลวดลายไทย จัดท�ำหลักสูตรแผนนวัตกรรม การจั ด การเรี ย นรู ้ เรื่ อ งงานกระจกถมทองค� ำ เปลว (ชุมนุมศิลปะ) ระดับชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 3-6 ของโรงเรียน บ้ า นงิ้ ว แบ่ ง เป็ น 11 แผนการเรี ย น สาระส� ำ คั ญ คื อ ความรู้พื้นฐานการสร้างชิ้นงาน ตั้งแต่การให้ความรู้และ ฝึกฝนนักเรียน เรือ่ งการเขียนภาพลายเส้นอวัยวะส่วนต่างๆ ของตัวละครในวรรณคดีไทย เช่น พระ นาง ลิง ยักษ์ ในอริ ย าบทต่ า งๆ สั ด ส่ ว นองค์ ป ระกอบของตั ว ละคร ดั ง กล่ า ว วิ ธี ก ารลงหมึ ก ด� ำ วิ ธี ก ารติ ด ทองค� ำ เปลว เมื่อนักเรียนมีความรู้พื้นฐานก็ให้นักเรียนท�ำโครงงาน สร้างสรรค์งานใหม่ด้วยตนเอง และน�ำไปจัดนิทรรศการ และสุดท้ายคือ การจ�ำหน่ายผลผลิตด้วยการก�ำหนด ราคาสินค้า วิธจี ำ� หน่าย เป็นต้น อีกทัง้ นายสายัณห์ ผาน้อย ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 1 มีนโยบายสนับสนุนโรงเรียนที่มีผลผลิต จากการสอน ผลิตส่งร้านค้าสวัสดิการของส�ำนักงาน เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ปรากฏว่ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ก ระจก ถมทองค�ำเปลว มีลกู ค้าสนใจสัง่ ซือ้ เป็นทีต่ อ้ งการของตลาด

การจัดการธุรกิจงานกระจกถมทองค�ำเปลว

เริ่ ม ต้ น จากการผลิ ต ผลงานแบบธรรมดา และขายราคาถู ก ปั จ จุ บั น ผลงานของนั ก เรี ย น ได้ยกระดับคุณภาพขึ้น โดยโรงเรียนได้ท�ำบรรจุภัณฑ์ เป็ น กล่ อ งกระดาษส� ำ หรั บ บรรจุ เ วลาขนส่ ง และมี พลาสติกสูญญากาศห่อหุม้ สินค้าก่อนจะใส่กล่องกระดาษ เพื่อป้องกันกระจกแตกเสียหาย จึงมีการตั้งราคาสินค้า ให้เหมาะสม ราคาสูงขึ้นเนื่องจากคุณภาพของวัตถุดิบ วิธีการท�ำที่นักเรียนต้องใช้เวลา กระบวนการขั้นตอน ที่ ต ้ อ งใช้ ค วามประณี ต และบรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ ไ ด้ ม าตรฐาน

ประกอบกั บ การสอนให้ นั ก เรี ย นคิ ด ต้ น ทุ น ก� ำ ไร การก�ำหนดราคาขายที่เหมาะสม ให้นักเรียนเห็นแนวทาง ว่าสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้และสร้างชิ้นงานได้ เป็นความรู้ ติดตัวนักเรียนที่สามารถน�ำไปประกอบอาชีพ มีรายได้ พึ่งตนเองได้ในอนาคต สิ่งที่นักเรียนได้จากการเรียนรู้ คือ ความตั้งใจ ปฏิ บั ติ ตั้ ง แต่ ก ารเลื อ กลายไทย การเขี ย นลวดลาย ลงบนแผ่นกระจก การน�ำทองค�ำเปลวปิดแผ่นกระจก การใช้ สี ห มึ ก สลั บ ลาย การลงมื อ ฝึ ก ท� ำ สิ่ ง เหล่ า นี้ ล้ ว นต้ อ งระมั ด ระวั ง ประณี ต เท่ า กั บ เป็ น การฝึ ก สติ ต้ อ งระลึ ก อยู ่ เ สมอว่ า ต้ อ งใส่ สี ห มึ ก สี ท องจุ ด ใด เด็ ก ที่ มี ส ติ มี ส มาธิ จะท� ำ งานด้ ว ยความรอบคอบ ระมัดระวัง คิดดี ท�ำดี มีปัญญาเฉียบไว กิจกรรม “กระจกถมทองค�ำเปลวลวดลายไทย” เป็นไปตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง คือ ความมีเหตุผลนั้น เด็กนักเรียนโรงเรียนนี้รู้จักท�ำงาน ต้องใช้ความอดทนเรียนรู้ และฝึกเพือ่ ผลิตผลงานจ�ำหน่าย หารายได้ให้ตนเอง เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของผูป้ กครอง ความพอประมาณ คือ ใช้วตั ถุในการท�ำงานอย่างประหยัด เพื่อลงทุนให้น้อย รู้จักแบ่งเวลาในการท�ำงานและเรียน หรือพักผ่อน นักเรียนจะประสบความส�ำเร็จทัง้ ด้านการเรียน และการสร้ า งผลงาน การมี ภู มิ คุ ้ ม กั น ที่ ดี ก็ คื อ รู ้ รั ก ษ์ และด�ำรงไว้ซึ่งศิลปะของไทย ภูมิใจในตนเองที่มีส่วน สร้างสรรค์งานศิลปะของไทยให้เป็นทีน่ ยิ ม ช่วยให้คนไทย ยังคงนิยมและเห็นคุณค่าของมรดกของบรรพบุรุษไทย ส่ว น 2 เงื่อ นไข คือ ความรู้กับคุณ ธรรมนั้น นักเรี ย น ที่ เ รี ย นในชุ ม นุ ม ศิ ล ปะงานกระจกถมทองค� ำ เปลว ต้องมีความรู้ระดับสามารถสร้างชิ้นงานได้ รู้จักก�ำหนด วัสดุอุปกรณ์ และระยะเวลาในการท�ำชิ้นงาน ต้องรู้จัก คิดต้นทุน ก�ำไร และราคาขายอย่างเหมาะสม ต้องสามารถ เผยแพร่ผลงานของตนให้เป็นที่รู้จักด้วยกิจกรรมต่างๆ

25


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

26 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

คุณธรรมที่เกิดขึ้นกับนักเรียน คือ ขยัน อดทน มุ่งมั่น ตรงต่ อ เวลา รู ้ จั ก รั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของผู ้ อื่ น และ สามารถปรับตนเอง/ผลงาน สามารถท�ำงานกลุ่มได้ดี นอกจากนี้นักเรียนในชุมนุมศิลปะงานกระจก ถมทองค�ำเปลว มีความภูมิใจในผลงานของตน รู้จักใช้ เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีสมาธิในการท�ำงานดี อดทน ใจเย็ น มี ค วามคิ ด ริ เริ่ ม สร้ า งสรรค์ รั บ ผิ ด ชอบ รู ้ ง าน รู้จักท�ำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักประหยัดเพราะต้องใช้วัสดุ ให้เกิดประโยชน์และสิ้นเปลืองน้อยที่สุด รู้จักวางแผน รั ก ษาค� ำ พู ด ความเหน็ ด เหนื่ อ ยจากการท� ำ งานท� ำ ให้ นั ก เรี ย นรู ้ คุ ณ ค่ า ของเงิ น และรู ้ จั ก ประหยั ด อดออม โรงเรียนได้ชื่อเสียงจากการส่งผลงานประกวดแข่งขัน ได้รับความชื่นชมจากสังคม การยอมรับและการเชื่อถือ ครูในโรงเรียนดีใจ ภูมิใจในตัวศิษย์ ในผลงาน ชุมชน ช่วยสนับสนุน เช่น เทศบาลต�ำบลสาวะถีมอบเงินสมทบ คณะกรรมการสถานศึกษา และผูบ้ ริหารโรงเรียนสนับสนุน ทุนในการไปจัดนิทรรศการนอกโรงเรียน โรงเรียนตระหนักเสมอว่า ครูผู้ริเริ่มจะเกษียณ อายุราชการ นักเรียนที่ต้องปฏิบัติงานอยู่จะต้องออกจาก โรงเรียนไปเมือ่ จบชัน้ สูงสุด ฉะนัน้ โรงเรียนจึงต้องเตรียมครู สานงานต่อและเตรียมรุน่ น้องๆ ไว้เพือ่ สืบต่องานของรุน่ พี่ ส่ ว นรุ ่ น พี่ ก็ ต ้ อ งเตรี ย มการให้ มี วิ ช าชี พ ติ ด ตั ว ไป เพื่อด�ำรงชีวิตได้ หรือเพื่อมีงานท�ำเพิ่มพูนรายได้ให้กับ ตนเอง ในการที่จะรักษาความนิยมชมชอบของลูกค้า ให้คงอยู่ต่อไปโดยเน้นที่แบบและรูปลักษณ์ของชิ้นงาน โรงเรี ย น ครู แ ละนั ก เรี ย นจะต้ อ งให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ คุณภาพงานหรือระดับคุณภาพสินค้า

ผลงานของชุ ม นุ ม ศิ ล ปะงานกระจกถม ทองค�ำเปลว โรงเรียนบ้านงิว้ ได้ปรากฏเผยแพร่สภู่ ายนอก อย่างโดดเด่น เป็นที่ยอมรับ ท�ำให้ได้รับคัดเลือกเข้าร่วม แสดงผลงานในเวทีต่างๆ ระดับจังหวัด ระดับภาคและ ระดับประเทศอย่างสม�่ำเสมอ กล่าวโดยสรุปได้ว่า ชุมนุมศิลปะงานกระจก ถมทองค�ำเปลว ประสบความส�ำเร็จ สามารถผลิตชิ้นงาน ที่มีคุณค่า และจ�ำหน่ายได้ดีนั้น เนื่องจากปัจจัยส�ำคัญ คือ มีครูที่มีความสามารถด้านศิลปะเป็นผู้คิดริเริ่มมุ่งมั่น สอนนั ก เรี ย นอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง มี ก ารเตรี ย มครู อ รุ ณ รั ศ มี ประดาพล สานงานต่ อ เมื่ อ อาจารย์ ล ดาวั ล ย์ โภโต เกษี ย ณอายุ ร าชการเมื่ อ ปี ที่ ผ ่ า นมา ประกอบกั บ ผู้บริหารโรงเรียน โดย ผอ.ปรีชา เก้งโทน และส�ำนักงาน เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาให้ ค วามส� ำ คั ญ และสนั บ สนุ น โดยมี ส� ำ นั ก พั ฒ นานวั ต กรรมการจั ด การศึ ก ษา สพฐ. ให้โ อกาสพัฒนาด้านความรู้เพิ่มและมีเวทีให้นักเรียน จ�ำหน่ายอย่างครบวงจร


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ตุ๊กตามดจ๋า...อารมณ์ดี

ใครก็ รู ้ ว ่ า หนู เ ป็ น สั ต ว์ น ่ า เกลี ย ด ทั้ ง รู ป ร่ า ง หน้าตาและนิสัยก็ไม่น่ารัก แต่ฝรั่งก็ยังสร้างภาพยนตร์ ให้ ห นู เ ป็ น ตั ว เอก มี พ ฤติ ก รรมที่ เ ฉลี ย วฉลาดให้ ผู ้ ช ม อดจะรู้สึกเอ็นดู เกิดอารมณ์ร่วม ยิ้มแย้มแจ่มใส ชื่นชม ในความคิดอ่านของมันไม่ได้ ลองหันมาดูครูไทยเราบ้าง ครู ไ ทยเราก็ ส ร้ า งมดให้ เ ป็ น สั ต ว์ น ่ า รั ก ได้ เ หมื อ นกั น มดไทยอาจจะยังไม่ดังเท่าหนูมิกกี้เม้าท์ แต่ก็เริ่มเป็น ทีร่ จู้ กั ได้ออกงานบ่อยและทุกงานผูพ้ บเห็นอดจะยิม้ ให้มนั มิได้เช่นกัน เพราะมดไทยแสนรู้ บ้างก็ยนื เต๊ะท่าเลียนแบบ ดาราภาพยนตร์ บ้ า งก็ เ ล่ น กี ต าร์ บ้ า งก็ ขี่ จั ก รยาน ผู ้ ช มจะรู ้ จั ก มดน่ า รั ก เหล่ า นี้ ใ นธรรมชาติ ข องมดจ๋ า ... อารมณ์ดี นับเป็นความริเริ่มสร้างสรรค์ที่น่าทึ่งไม่น้อย ของโรงเรียนศิรริ าษฎร์วทิ ยาคาร สังกัด ส�ำนักงานเขตพืน้ ที่ การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

แต่ที่น่าทึ่งไปกว่านั้นก็คือ มดเหล่านี้สร้างจาก วัสดุธรรมชาติท้องถิ่นใกล้ตัว ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในท้องถิ่น ที่บุคคลทั่วไปมองไม่เห็นคุณค่า ต้นทุนจึงต�่ำ ก�ำไรจึงสูง วั ส ดุ เ หล่ า นี้ ถู ก น� ำ มาประดิ ษ ฐ์ เ ป็ น มดตามจิ น ตนาการ และความคิด สร้างสรรค์ ด้ว ยภูมิปัญญาของนักเรี ย น โรงเรียนศิริราษฎร์วิทยาคาร สร้างรายได้ระหว่างเรียน ให้แก่นกั เรียน และยังจะเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ ในอนาคตได้อีกด้วย ส�ำหรับผู้ปกครองและบุคคลทั่วไป ถ้าสนใจเรียนรูก้ ารประดิษฐ์ตกุ๊ ตามดจ๋า...อารมณ์ดี ก็สามารถ น�ำไปสร้างสิ่งประดิษฐ์ประกอบอาชีพหารายได้เสริมได้ และยังสร้างความตระหนักถึงการรู้จักน�ำวัสดุธรรมชาติ ที่ไร้ค่ามาสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าขึ้นใหม่ ซึ่งน่าจะเป็น ตั ว อย่ า งในการลดความต้ อ งการในการใช้ ท รั พ ยากร ธรรมชาติอื่นๆ ลงด้วย

27


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

28 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

หลักการของการสร้างตุก๊ ตามดจ๋า...อารมณ์ดนี นั้ ในด้ า นของวั สดุ ก็ คื อใช้ วัส ดุ ไร้ ค ่ า ที่มี อ ยู ่ต ามธรรมชาติ ในด้านของผู้สร้างก็คือต้องเป็นคนช่างสังเกต คือสังเกต ท่าทางปกติทั่วๆ ไปต่างๆ ของมด ซึ่งมีอยู่ 6 ขา เวลาเดิน ขาไหนยกก่อนและขาอื่นๆ ท�ำอย่างไร เวลายืนยกหัวขึ้น ต� ำ แหน่ ง ของล� ำ ตั ว กั บ หั ว สั ม พั น ธ์ กั น อย่ า งไร ทั้ ง นี้ เพื่อเวลาสร้างมดจะได้มีท่าทางอันเป็นธรรมชาติของมด อย่างถูกต้อง ขณะเดียวกันก็ต้องมีความสามารถในการ ออกแบบเชื่ อ มโยงลั ก ษณะของธรรมชาติ ข องมดกั บ ท่าทางที่มดจะต้องท�ำ เช่น ถ้าจะให้มดขี่รถจักรยาน เมื่อมดมี 6 ขา ขาไหนจะเป็นมือจับแฮนด์รถ ขาไหน จะเป็ น เท้ า ปั ่ น จั ก รยาน และขาที่ เ หลื อ จะวางที่ ใ ด ในลักษณะใด เวลานั่งอวัยวะส่วนที่จะนั่งจะเป็นส่วนใด และอาการนั่งจะเป็นอย่างไร หรือถ้าจะให้เล่นกีตาร์ ก็เช่นกัน มดจะยืนท่าใด นั่งท่าใด นี้ล้วนแต่เป็นการ ใช้ความคิดในการออกแบบร่วมกับมุมมองด้านศิลปะ เสริมให้ผลผลิตมีความหมายและคุณค่าทั้งสิ้น

อาจารย์ นิ่ ม นวล ศิ ริ พั น ธุ ์ ครู ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบ การสร้างผลงานตุ๊กตามดจ๋า...อารมณ์ดี เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็ น ครู ที่ เรี ย นจบสาขาวิ ช าเอกวิ ท ยาศาสตร์ วิ ช าโทคณิ ต ศาสตร์ รั บ ราชการตั้ ง แต่ ป ี พ.ศ. 2518 ได้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ชัน้ ป.1-6 มาโดยตลอด จนกระทัง่ ปี พ.ศ. 2552 ครูทสี่ อนสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เกษียณอายุราชการตนเองจึงได้รับมอบหมายให้สอน สาระการงานอาชี พ ฯ ในชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 1 แทน เรื่องงานบ้าน งานเกษตร สอนเองได้ แต่พอถึงเรื่อง งานประดิษฐ์ต้องอาศัยวิทยากรภายนอกคือ อาจารย์ ชัยวัฒน์ ศิริพันธุ์ ซึ่งเก่งด้านนี้มาก อาจารย์ชัยวัฒน์ ได้ เข้ า มาเป็ น วิ ท ยากรสอนอย่ า งเต็ ม ความสามารถ อาจารย์ นิ่ ม นวลและนั ก เรี ย นได้ ร ่ ว มเรี ย นรู ้ ไ ปด้ ว ยกั น นักเรียนสามารถสร้างต้นแบบตามครู และสร้างสรรค์ งานใหม่ ๆ ตามจิ น ตนาการของตนเองได้ ใครเห็ น ใครก็ อ ดออกปากชมถึ ง ความน่ า รั ก และยิ้ ม ไปกั บ เจ้ามดตัวน้อยๆ เหล่านั้นไม่ได้


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ในปี 2553 ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียน ของโรงเรียนศิรริ าษฎร์วทิ ยาคาร ตืน่ เต้น ดีใจ และภาคภูมใิ จ อย่างยิ่งคือ การได้รับแจ้งว่าโรงเรียนได้รับการคัดเลือก ให้น�ำผลงานนักเรียนไปจ�ำหน่ายในงานศิลปหัตถกรรม นั ก เรี ย นระดั บ ชาติ ที่ เ มื อ งทองธานี จั ง หวั ด นนทบุ รี ทุกคนต่างเตรียมการไปร่วมงาน นักเรียนก็ทุ่มเทแรงกาย แรงใจเร่งผลิตสินค้า มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบให้แปลกใหม่ ดู น ่ า รั ก น่ า สนใจกว่ า เดิ ม นั บ แต่ นั้ น ผลงานนั ก เรี ย น โรงเรียนศิริราษฎร์วิทยาคาร ก็ติด 1 ใน 50 ท็อปเท็น สินค้าของ สพฐ. ได้รับการคัดเลือกให้ร่วมงานติดต่อกัน มาถึงปัจจุบัน อาจารย์นิ่มนวลเล่าด้วยความภาคภูมิใจว่า โรงเรี ย นของเราได้ รั บ การคั ด เลื อ กให้ เข้ า โครงการ นั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ยมี คุ ณ ธรรม น� ำ สู ่ เ ศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ การจัดการเรียนการสอน ต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การเพิ่มมูลค่า สินค้า การคิดสร้างสรรค์งานใหม่ๆ กับการจดทะเบียน ทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญา และการสอนธุ ร กิ จ ให้ นั ก เรี ย น สามารถคิดเป็น ท�ำได้ ขายเป็นอย่างครบวงจร สนับสนุน การท� ำ วิ จั ย เพื่ อ พั ฒ นาการเรี ย นการสอนงานอาชี พ และได้รบั เกียรติให้เป็น 1 ใน 29 ศูนย์แกนน�ำขยายเครือข่าย โครงการนักธุรกิจน้อยมีคณ ุ ธรรม น�ำสูเ่ ศรษฐกิจสร้างสรรค์ รุน่ แรกของ ส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ให้กบั โรงเรียนใกล้เคียงและผูส้ นใจอีกด้วย นับเป็นก�ำลังใจ ให้พวกเราทุกคนในโรงเรียนมีแรงใจที่จะพัฒนาต่อไป อย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมทั้งเล่าต่อว่า การจัดการเรียน การสอน ตุก๊ ตามดจ๋า...อารมณ์ดี ได้มกี ารพัฒนาเนือ้ หาสาระ และการจัดการเรียนการสอน มีการวิจยั เพือ่ พัฒนารายวิชา หน่วยการจัดการเรียนรู้และแผน วิธีการจัดการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผล ในแนวทางให้นักเรียนได้เรียนรู้ การคิ ด การสร้ า งสรรค์ ผ ลงานจนถึ ง การจ� ำ หน่ า ย

เพื่อปลูกฝังการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่วัยเด็ก เพื่อให้ นั ก เรี ย นมี แ นวทางการประกอบอาชี พ ต่ อ ไป หากเขา ไม่มีโอกาสศึกษาต่อ และโรงเรียนได้รับประกาศให้ใช้ หลักสูตรกลุ่มสาระการงานอาชีพ ตุ๊กตามดจ๋า...อารมณ์ดี เป็นรายวิชาเพิ่มเติม ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่อปี 2554 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาของ โรงเรียน รายวิชาเพิม่ เติมนีม้ ชี อื่ ว่า นักธุรกิจน้อยมีคณ ุ ธรรม น� ำ สู ่ เ ศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ ตุ ๊ ก ตามดจ๋ า ...อารมณ์ ดี (Happy Ants) จ� ำ นวน 1 หน่ ว ยกิ ต 40 ชั่ ว โมง หลั ก การส� ำ คั ญ คื อ มุ ่ ง ให้ นั ก เรี ย นเกิ ด ทั ก ษะการคิ ด การปฏิบตั ิ การท�ำงานกระบวนการกลุม่ การรูจ้ กั แก้ปญ ั หา ความสามารถในการสื่อสาร การรู้จักใช้เทคโนโลยีเข้ามา ช่วยสร้างสรรค์งาน รักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อมของท้องถิน่ สามารถน�ำความรูเ้ ป็นแนวทาง ในการประกอบอาชี พ ต่ อ ไปในอนาคตได้ และวั ด ผล ประเมินผลไปตามนั้น โดยเน้นความละเอียดรอบคอบ การท�ำงาน ความรับผิดชอบ ความประหยัด ความมุ่งมั่น ตั้งใจ ความเป็นระเบียบในการท�ำงาน และคุณธรรม ของนักธุรกิจน้อยคือ ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน มุ่งมั่น กตัญญู เนื้อหาประกอบด้วย 6 หน่วยใหญ่ ได้แก่ หน่วยที่ 1 นักธุรกิจพื้นฐาน เรียนรู้ความหมาย ความส�ำคัญ แนวคิด โอกาส การด�ำเนินธุรกิจ การตลาด การตั้งชื่อ ตราสินค้า การเขี ย นเรื่ อ งประกอบสิ น ค้ า หน่ ว ยที่ 2 พาณิ ช ย์ อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หน่วยที่ 3 นักธุรกิจน้อย กับปัจจัยสู่ความส�ำเร็จการเป็นผู้ประกอบการ หน่วยที่ 4 ทรัพย์สนิ ทางปัญญา หน่วยที่ 5 การประดิษฐ์ตกุ๊ ตามดจ๋า... อารมณ์ดี และบรรจุภณ ั ฑ์ หน่วยที่ 6 การก�ำหนดราคาขาย การจัดท�ำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

29


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

30 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

การจัดการเรียนรู้ การประดิษฐ์ตุ๊กตามดจ๋า... อารมณ์ดี มีขั้นตอนการด�ำเนินงานดังนี้ ขั้ น น� ำ เข้ า สู ่ บ ทเรี ย น โดยการให้ นั ก เรี ย น หาและดู วั ส ดุ ไร้ ค ่ า ในท้ อ งถิ่ น ของนั ก เรี ย นหรื อบริเวณ โรงเรียน สนทนาถึงการน�ำไปประกอบเป็นส่วนต่างๆ ของร่างกายของมด ขั้นสอน ให้ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ใบความรู้ และตัวอย่าง ในขั้นตอนนี้นักเรียน จะบอกได้ถึงวัสดุที่ต้องน�ำมาใช้ ซึ่งได้แก่ เมล็ดพืชแห้ง มะกล�ำ่ ตาหนู ถัว่ แดงขนาดต่างๆ มะค่าโมง หมากหนามแท่ง ตอไม้ ขอนไม้ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่น ที่เป็นวัสดุเสริม เช่น ลวด เอ็น พลาสติก เชือก กาว สี และที่ ส� ำ คั ญ มากคื อ น�้ ำ ยาฆ่ า เชื้ อ ราที่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งใช้ กั บ วั ส ดุ ไร้ ค ่ า ที่ เ ก็ บมาจากท้ อ งถิ่ น ก่ อ นน� ำ มาประกอบ เป็นชิ้นงาน

เมื่ อ นั ก เรี ย นรู ้ จั ก ส่ ว นประกอบทั้ ง หมดของ ชิน้ งานแล้ว ก็ให้นกั เรียนจัดกลุม่ ก�ำหนดชิน้ งานของกลุม่ ขึน้ และให้ชว่ ยกันคิดว่าต้องการใช้วสั ดุอะไรบ้าง จ�ำนวนเท่าใด ก�ำหนดวัสดุ เครื่องมือ เครื่องใช้ แรงงานที่ต้องการใช้ ในแต่ละขั้นตอนย่อย และก�ำหนดระยะเวลาที่ท�ำงาน ของแต่ละขั้นตอนกันเอง ก่อนเข้าเรียนรายวิชาเพิ่มเติมนี้ นักเรียนทุกคนจะต้องผ่านการฝึกพื้นฐานการใช้เครื่องมือ เครื่ อ งใช้ ส� ำ หรั บ งานประดิ ษ ฐ์ แ ล้ ว จึ ง ไม่ ใช่ เรื่ อ งยาก ที่นักเรียนจะก�ำหนดวัสดุ ของใช้ เครื่องมือ หรือขั้นตอน การท�ำงาน และตกลงแบ่งงานกันท�ำตามความสามารถ และความถนัดกันเอง ขั้ น ปฏิ บั ติ เป็ น เรื่ อ งไม่ ย ากส� ำ หรั บ นั ก เรี ย น เพราะชิ้ น งานท้ า ทายความสามารถของผู ้ เ รี ย นว่ า จะสร้ า งมดในท่ า ใด ลั ก ษณะใด ให้ ส วยเก๋ แ ปลกตา ท่าชวนให้ผู้ชมยิ้มได้โดยไม่ตั้งใจ แต่งานต้องเป็นไปตาม แผนและขั้นตอน ขั้ น ประเมิ น ผล ประเมิ น ทั้ ง ในช่ ว งขั้ น ตอน การปฏิบัติงานในด้านความรู้ ความเข้าใจ ความร่วมมือ ความรับผิดชอบ การใช้เวลา การใช้วัสดุ การคิดราคา ต้นทุน-ราคาจ�ำหน่าย ขัน้ จัดแสดงผลงาน มีวตั ถุประสงค์ เพือ่ น�ำเสนอ สินค้าให้เป็นที่รู้จัก รวมถึงการจ�ำหน่าย ซึ่งเป็นเป้าหมาย ส�ำคัญของโครงการนีท้ จี่ ะให้นกั เรียนมีรายได้ระหว่างเรียน และสร้างประสบการณ์การประกอบอาชีพในอนาคตด้วย ในขั้นตอนนี้นักเรียนจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า จึงต้องเรียนรู้วิธีสร้างความประทับใจด้วยความซื่อสัตย์ ตรงต่ อ เวลา รั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น รั ก ษาผลประโยชน์ ของลูกค้า ทั้งหมดนี้ต้องเก็บเป็นข้อมูลและประเมินผล เพื่อน�ำไปปรับปรุงงานต่อไป


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ผลที่เกิดแก่ผู้เรียน การประดิษฐ์ตุ๊กตามดจ๋า...อารมณ์ดี มีดังนี้ ด้านคุณธรรม

ด้านความรู้

ด้านทักษะทางปัญญา

ด้านความสัมพันธ์และความรับผิดชอบ

ผู ้ เรี ย นรู ้ จั ก ช่ ว ยตนเองให้ มี ร ายได้ เป็ น การแบ่ ง เบาภาระของ ครอบครัว สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัวและถูกทิ้งอย่างไร้คุณค่า ให้เกิดประโยชน์ มีความอดทน มุ่งมั่น ขยัน ร่วมมือร่วมใจกันท�ำงานให้เกิดผลดี ซื่อสัตย์ ซื่อตรงต่อลูกค้า ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ 1. รู้ขั้นตอนประกอบวัสดุต่างๆ เป็นตัวมด 2. รู ้ จั ก ชื่ อ วั ส ดุ อุ ป กรณ์ ที่ ใช้ ป ระกอบเป็ น ตั ว มดและใช้ อุ ป กรณ์ ได้ถูกต้องกับงานและด้วยความระมัดระวัง 3. รู้จักใช้ความรู้ทางศิลปะมาจัดท่าทางของมดให้สื่อถึงอารมณ์ เหมือนภาพยนตร์การ์ตูนได้อย่างเหมาะสม 4. สามารถคิ ด ค� ำ นวณวั ส ดุ อุ ป กรณ์ ค่ า ใช้ จ ่ า ย และราคาขาย ของชิ้นงานได้ 5. สามารถน�ำเสนอผลงานและจัดจ�ำหน่ายได้ 1. รู ้ คุ ณ ค่ า ของทรั พ ยากรธรรมชาติ ที่ ถู ก ทิ้ ง เสมื อ นสิ่ ง ไร้ ค ่ า และ เกิดแนวคิดในการน�ำสิ่งด้อยค่าอื่นๆ มาสร้างผลงานเพิ่มคุณค่าขึ้น 2. รู้จักสังเกตท่าธรรมชาติของสิ่งที่ก�ำลังศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลในการ สร้างงาน 3. สามารถใช้มุมมองด้านศิลปะมาเสริมให้ผลผลิตมีความหมาย และคุณค่า

1. มีความร่วมมือร่วมใจในการท�ำงานและแบ่งงานกันท�ำตามความถนัด 2. รับฟังความเห็นซึ่งกันและกัน ช่วยกันคิดสร้างสรรค์ และปรับปรุง 3. มีความซื่อสัตย์ ซื่อตรง ต่อเพื่อนร่วมงานและลูกค้า 4. มีความรับผิดชอบในการท�ำงาน การรับ-ส่งงาน หรือในผลงานที่จ�ำหน่าย

1. ระบุรายการและจ�ำนวนวัสดุอุปกรณ์ในการท�ำงานแต่ละครั้งได้ 2. วางแผนแสดงขั้นตอนการน�ำเสนอผลงานตามสภาพแวดล้อมและความจ�ำเป็นได้ 3. รับฟังความคิดเห็นของลูกค้าอยู่เสมอเพื่อปรับปรุง 4. หมัน่ หาความรูเ้ พิม่ เติมจากภาพยนตร์/หนังสือการ์ตนู เพือ่ เพิม่ ความสามารถในการพัฒนางานให้มากขึน้

ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และการน�ำไปใช้

31


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

32 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ตัวอย่างประโยชน์ของการเรียนรูต้ กุ๊ ตามดจ๋า... อารมณ์ดี ตามความเห็นของ ด.ญ.ศิริวรรณ วงษ์โพนทอง “การที่ ห นู ไ ด้ ม าท� ำ ตุ ๊ ก ตามดจ๋ า ...อารมณ์ ดี ท� ำ ให้ ห นู เ ปลี่ ย นจากคนที่ ใช้ จ ่ า ยเงิ น อย่ า งฟุ ่ ม เฟื อ ย ไม่ รู ้ จั ก คุ ณ ค่ า ของเงิ น กลั บ มาเป็ น คนที่ รู ้ จั ก อดออม อดทน ซื่ อ สั ต ย์ มี ส มาธิ เป็ น คนอารมณ์ ดี และรู ้ จั ก น�ำเศษวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นตุก๊ ตามด เพือ่ หารายได้ ให้กับตัวเองและครอบครัว โดยตุ๊กตามดจ๋า...อารมณ์ดี ท�ำให้เราอารมณ์ดีตรงที่ว่ามันน่ารักตลก ใครๆ เห็นแล้ว ก็ ต ้ อ งหั ว เราะ อมยิ้ ม ใครที่ เ หงาๆ เศร้ า ๆ ถ้ า ได้ ม า เห็ น ตุ ๊ ก ตามดจ๋ า ...อารมณ์ ดี นี้ แ ล้ ว ต่ า งก็ ต ้ อ งอมยิ้ ม ขึ้ น มาทั น ที ท� ำ ให้ ห นู รู ้ สึ ก ภู มิ ใ จและดี ใ จที่ ท� ำ ให้ คนยิ้ ม ออกได้ ง ่ า ยๆ เพี ย งแค่ ใ ช้ เ ศษวั ส ดุ เ หลื อ ใช้ และจินตนาการของหนู ก็ท�ำให้หนูมีก�ำลังใจขึ้นมาทันที แล้วก็อยากท�ำต่อไปเรื่อยๆ แถมยังเป็นรายได้ให้กับหนู และครอบครัวของหนูอีกด้วยค่ะ”

นี้เป็นหลักฐานว่านักเรียนโรงเรียนศิริราษฎร์ วิทยาคาร ท�ำได้จริง จากการพั ฒ นาผลงานอย่ า งจริ ง จั ง มุ ่ ง มั่ น สม�่ ำ เสมอของวิ ท ยากรและครู ผู ้ ส อน พร้ อ มด้ ว ย การสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียน ส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา และส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ซึ่งได้สนับสนุน องค์ค วามรู้ และมีเวทีใ ห้กับ ครู และนั ก เรี ย นอย่ า งสม�่ ำ เสมอ ท� ำ ให้ ผ ลงานของ อาจารย์นิ่มนวล ศิริพันธ์ุ ได้รับ “รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. Obec Awards” ส�ำหรับครูผสู้ อนยอดเยีย่ มชัน้ มัธยมศึกษา ตอนต้ น กลุ ่ ม สาระการงานอาชี พ และเทคโนโลยี ด้านบริหารจัดการ ประจ�ำปี 2556 และโรงเรียนได้รับ การคัดเลือกให้เป็นศูนย์แกนน�ำขยายเครือข่ายโครงการ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของ ส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. อีกด้วย


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

สืบสาน…วัฒนธรรมบ้านเชียงแหล่งมรดกโลก เฉพาะตัวคือ เป็นภาชนะดินเผาสีดำ� ตกแต่งด้วยลายขูดขีด เป็นเส้นคดโค้ง และภาชนะดินเผาเขียนลายเส้นสีแดง บนพืน้ สีนวล นัน้ ท�ำให้ผคู้ นทีส่ นใจทางด้านศิลปวัฒนธรรม รับรู้ได้ทันทีว่าคือลักษณะของภาชนะเครื่องปั้นดินเผา บ้านเชียง แหล่งมรดกโลกอันเลื่องชื่อของไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต�ำบลบ้านเชียง อ�ำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ความทะมัดทะแมงของเด็กนักเรียนตัวเล็กๆ ระดับชัน้ ประถมศึกษาโรงเรียนบ้านค�ำอ้อ สังกัดส�ำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ที่ก�ำลัง ปั้นภาชนะดินเผาอย่างคล่องแคล่ว ทั้งแบบปั้นด้วยมือ และแบบใช้เครื่องมือ (แป้นหมุน) และบางคนก�ำลังตั้งอก ตั้ ง ใจวาดลวดลายลงบนพื้ น ผิ ว ภาชนะนั้ น เรี ย กร้ อ ง ความสนใจจากผู้คนให้ล้อมวงมามุงดูกันอย่างหนาแน่น ภายในงานศิ ล ปหั ต ถกรรมนั ก เรี ย นระดั บ ชาติ ทุ ก ครั้ ง ที่โรงเรียนมีโอกาสเข้ามาน�ำเสนอผลงานในงานดังกล่าว ผลงานที่ท�ำส�ำเร็จแล้วถูกน�ำมาจัดวางเรียงรายชิ้นเล็ก ถึ ง ชิ้ น ใหญ่ ไว้ ภ ายในบู ธ รอลู ก ค้ า เข้ า มาเยี่ ย มชมและ ซื้อติดมือกลับบ้าน หลากหลายลวดลายอันมีเอกลักษณ์

โรงเรียนบ้านค�ำอ้อ เป็นโรงเรียนเล็กๆ ที่ตั้ง อยู่ไม่ไกลจากแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง เปิดสอนตั้งแต่ ชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อปีการศึกษา 2556 ที่ผ่านมามีนักเรียนเพียง 68 คน มีผู้บริหารสถานศึกษา คือ นางสาววัชรินทร์ พร้อมใจ และครู 5 คน สอนนักเรียน ในทุ ก ระดั บ ชั้ น เมื่ อ ถามผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาและ อาจารย์ อ มรรั ต น์ โคตรน�้ ำ เนาว์ ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบ ว่ า มี แรงบันดาลใจอะไรจึงได้จัดการเรียนการสอนการปั้นหม้อ

33


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

34 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

แกะลาย และเขียนลายหม้อให้นักเรียน และท�ำอย่างไร นักเรียนจึงสามารถท�ำได้เก่งเกินวัยขนาดนี้ ได้ค�ำตอบว่า หลั ก การส� ำ คั ญ คื อ ต้ อ งการอนุ รั ก ษ์ ภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ส่ ง เสริ ม งานอาชี พ และสร้ า งรายได้ ใ ห้ กั บ นั ก เรี ย น ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน พร้อมเล่า ทีม่ าของภาชนะดินเผาดังกล่าวว่า ภาชนะดินเผาลักษณะนี้ ถูกขุดพบที่แหล่งมรดกโลกบ้านเชียง มีพื้นที่ครอบคลุม ประมาณ 400 ไร่ เป็นพืน้ ทีท่ มี่ นุษย์โบราณเคยอยูห่ นาแน่น นั บ เป็ น แหล่ ง ทรั พ ย์ สิ น ทางวั ฒ นธรรมส� ำ คั ญ ของ ประเทศไทยแห่ ง หนึ่ ง โบราณวั ต ถุ แ ละหลั ก ฐานทาง โบราณคดีประเภทต่างๆ ที่ขุดพบยืนยันถึงสังคมและ วั ฒ นธรรมในยุ ค นั้ น ที่ มี ก ารพั ฒ นาทั้ ง ด้ า นเศรษฐกิ จ วิ ท ยาการและศิ ล ปะอย่ า งแท้ จ ริ ง มี อ ายุ ย ้ อ นหลั ง ไป ประมาณ 4,300-กว่า 5,000 ปี อายุสมัยของบ้านเชียง มี ก ารถกเถี ย งกั น อยู ่ ยั ง ไม่ ยุ ติ องค์ ก ารยู เ นสโก แห่งสหประชาชาติได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรม บ้ า นเชี ย งไว้ เ ป็ น แห่ ง หนึ่ ง ในบรรดามรดกโลกเมื่ อ ปี พ.ศ. 2535 ด้วยคุณค่าและความโดดเด่นตามหลักเกณฑ์ มาตรฐานข้อที่ 3 คือ “เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของ วัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน หรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว” ภาชนะดินเผาที่ขุดพบบริเวณแหล่งมรดกโลก บ้านเชียง กล่าวกันว่าเป็นการผลิตภาชนะดินเผาด้วยฝีมอื ระดับสูง แสดงให้เห็นถึงความเจริญด้านเทคโนโลยีและ วั ฒ นธรรมของบ้ า นเชี ย งเอง โดยมิ ไ ด้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจาก ชาติอื่นๆ ภาชนะเครื่ อ งปั ้ น ดิ น เผาเหล่ า นี้ ร าษฎรชาว บ้านเชียงบางคนให้ความสนใจมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เนื่ อ งจากมั ก พบเสมอเวลาขุ ด ดิ น ในหมู ่ บ ้ า นจึ ง เก็ บ รวบรวมไว้ ต่อมากรมศิลปากรสนใจเข้ามาส�ำรวจและ สร้างเป็นพิพิธภัณฑ์รวบรวมเป็นความรู้ไว้ให้คนรุ่นหลัง ได้ศึกษาถึงปัจจุบัน

จากการค้นคว้าทางโบราณคดีพบว่า ภาชนะ ดินเผาสีดำ� ตกแต่งด้วยลายขูดขีดอยูใ่ นสมัยต้นของบ้านเชียง มีอายุราว 5,600-3,000 ปีมาแล้ว ภาชนะดินเผาเขียนลาย บนพื้ น สี ข าวนวล การเขี ย นลายสี แ ดงบนพื้ น แดง และภาชนะดิ น เผาทาด้ ว ยน�้ ำ ดิ น สี แ ดงแล้ ว ขี ด จะอยู ่ ในช่ ว งสมั ย ปลายของวั ฒ นธรรมบ้ า นเชี ย งอายุ ร าว 2,300-1,800 ปีมาแล้ว

การที่โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่วัฒนธรรมเก่าแก่ จึงเป็นหน้าทีแ่ ละความภาคภูมใิ จทีเ่ ราต้องรักษา และสืบทอด ภูมปิ ญ ั ญา วัฒนธรรมดังกล่าวไว้ให้ยงั่ ยืนสืบไป เดิมชาวบ้าน ท� ำ เครื่ อ งปั ้ น ดิ น เผาเพื่ อ ใช้ ใ นครั ว เรื อ นเท่ า นั้ น เมื่ อ มี ก ารขุ ด พบวั ต ถุ โ บราณบ้ า นเชี ย ง หม้ อ ลายเขี ย นสี ได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งน�ำมาท�ำในเชิงการค้า โดยปั้นหม้อ ให้ชาวบ้านปูลูเขียนลาย และชาวบ้านเชียงได้น�ำไปขาย


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

เป็ น ของที่ ร ะลึ ก แก่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ม าชมพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ สถานแห่งชาติบ้านเชียง เป็นการสร้างรายได้ ชุมชน จึ ง เป็ น แหล่ ง ผลิ ต หม้ อ ชาวบ้ า นเชี ย งน� ำ ไปจ� ำ หน่ า ย จนมี ชื่ อ เสี ย งเป็ น ที่ รู ้ จั ก กั น ดี เ กิ ด เป็ น ค� ำ พู ด ติ ด หู ว ่ า “บ้านค�ำอ้อปั้นหม้อ บ้านปูลูเขียนลาย บ้านเชียงขาย” จึ ง จุ ด ประกายให้ เ กิ ด ความคิ ด ที่ จ ะน� ำ มาจั ด การเรี ย น การสอน โรงเรียนเห็นว่าอาชีพการปั้นหม้อจะส่งเสริม งานอาชีพและสร้างรายได้ให้กับนักเรียนและเกิดการ พัฒนาทีย่ งั่ ยืน อีกทัง้ จะเป็นการอนุรกั ษ์ภมู ปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ให้สืบทอดตลอดไป จึงได้ร่วมกันส�ำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการและส�ำรวจภูมิปัญญาในท้องถิ่น ได้ขอ้ สรุปว่ามีความต้องการทีจ่ ะน�ำการปัน้ หม้อและเขียน ลายหม้อมาจัดการเรียนการสอน โรงเรียนจึงก�ำหนด เป็นรายวิชาเพิม่ เติมในกลุม่ สาระการเรียนรูก้ ารงานอาชีพ และเทคโนโลยี คือ รหัสวิชา ง14201 การปั้นหม้อด้วยมือ รหัสวิชา ง15201 การปั้นหม้อด้วยเครื่อง (แป้นหมุน) และรหัสวิชา ง16201 การเขียนลายหม้อ จัดการเรียน การสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ส่วนระดับ ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 1-3 จั ด ให้ เรี ย นในลั ก ษณะเป็ น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งมีชมรมการปั้นหม้อและชมรม การเขียนลายหม้อ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง การเรียนเนื้อหา ครูประจ�ำสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็ น ผู ้ ใ ห้ ค วามรู ้ การฝึ ก ปฏิ บั ติ ท างโรงเรี ย นได้ เชิ ญ วิทยากรท้องถิ่นจ�ำนวน 3 คน มาให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ ทั้งในโรงเรียน ที่สถานประกอบการ และแหล่งเรียนรู้ ในชุมชน และพัฒนาเป็นโครงงานอาชีพ การจัดกิจกรรม การเรียนการสอน บุคลากรทุกคนได้ร่วมกันคิดร่วมกันท�ำ ท�ำให้การด�ำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนการปั้นหม้อ และเขียนลายหม้อประสบความส�ำเร็จ โดยใช้เทคนิค การจัดการเรียนการสอนดังนี้

เริ่มต้นด้วยการจัดกิจกรรมการสร้างและ ปลู ก จิ ต ส� ำ นึ ก ให้ นั ก เรี ย นเห็ น ความส� ำ คั ญ และคุ ณ ค่ า ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เกิดความรัก หวงแหนและ ร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนให้สืบทอดตลอดไป กิจกรรมนี้จัดให้นักเรียนเข้าศึกษาที่สถานประกอบการ ซึ่ ง เป็ น แหล่ ง เรี ย นรู ้ ใ นชุ ม ชน โดยจั ด นั ก เรี ย น เป็นกลุ่มตามชั้นเรียนและหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่จัด สอนให้ คือ กลุ่มที่เรียนการปั้นหม้อด้วยมือ กลุ่มที่เรียน การปั้นหม้อด้วยเครื่อง (แป้นหมุน) และกลุ่มที่เรียน การเขียนลายหม้อ โดยฝึกปฏิบตั จิ ริงจากประสบการณ์ตรง จากการให้ความรู้โดยวิทยากรในท้องถิ่น ให้นักเรียนได้ เห็นตัวอย่างผลงานที่ท�ำส�ำเร็จ การส่งหม้อไปจ�ำหน่าย เป็นสินค้าที่ระลึกให้นักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับผู้ที่ ท�ำอาชีพการปั้นหม้อและเขียนลายหม้อ นักเรียนน�ำสิ่ง ที่ ไ ด้ เ ห็ น มาร่วมกันคิดว่าจะสร้างงานให้เกิดเป็นอาชีพ กับนักเรียนได้อย่างไร สร้างงานแล้วนักเรียนได้อะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง สมควรอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไว้ ห รื อ ไม่ ถ้ า รั ก ษาไว้ จ ะมี วิ ธี ก ารอย่ า งไร นั ก เรี ย น ฝึ ก การคิ ด วิ เ คราะห์ แล้ ว ร่ ว มกั น สรุ ป ข้ อ คิ ด เห็ น ว่ า จะสร้ า งงานอาชี พ ต้ อ งฝึ ก ปฏิ บั ติ ก ารปั ้ น หม้ อ และ เขี ย นลายหม้ อ ให้ เ กิ ด ความช� ำ นาญ และสามารถ น�ำไปจ�ำหน่ายได้จะได้มีรายได้ในระหว่างเรียน จะต้อง สร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก ให้ เ กิ ด ความรู ้ สึ ก รั ก และหวงแหน ในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน และต้องอนุรักษ์ให้สืบทอด ตลอดไป

35


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

36 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

วิทยากรท้องถิ่นที่โรงเรียนเชิญมาให้ความรู้ เรื่องการปั้นหม้อมี 3 ท่าน ได้แก่ นางวงเดือน ชมพู ให้ความรู้ด้านการปั้นหม้อ ด้วยมือแบบโบราณ แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปี ที่ 4 เริ่ ม ตั้ ง แต่ เ ตรี ย มดิ น ปั ้ น คื อ น� ำ ดิ น เหนี ย ว ที่ ห มั ก น�้ ำ ไว้ 1 คื น มาผสมกั บ เชื้ อ ดิ น หรื อ ทราย ใช้ เ ท้ า เหยี ย บให้ ส ่ ว นผสมทั้ ง หมดเข้ า กั น ดี และเก็ บ อิ น ทรี ย วั ต ถุ ที่ เ จื อ ปนอยู ่ อ อกให้ ห มด เพื่ อ ให้ ดิ น มีสภาพพร้อมที่จะน�ำมาปั้น การขึ้นรูปหม้อ การตกแต่ง ตัวหม้อ ปากหม้อและก้นหม้อ ซึ่งล้วนเป็นวิธีการอนุรักษ์ การปั ้ น แบบดั้ ง เดิ ม ของชุ ม ชนทั้ ง สิ้ น แล้ ว ให้ นั ก เรี ย น ร่วมกันสรุปขั้นตอนการปั้นหม้อด้วยมือ นางรัตน์ดา พลสิมมา เป็นวิทยากรคนที่ 2 ให้ความรูก้ ารปัน้ หม้อด้วยเครือ่ ง (แป้นหมุน) หลายรูปทรง แก่นกั เรียนระดับชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนได้รว่ มกัน คิดวิธีการใช้เครื่องมืออย่างปลอดภัย รวมทั้งรู้จักการเก็บ รักษาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการปั้น รูปแบบการจัดกิจกรรม คือ นักเรียนแบ่งกลุ่มการออกแบบหม้อรูปทรงต่ างๆ เป็ น ภาพวาดลงบนกระดาษและบอกชื่ อ รู ป ทรงหม้ อ ที่ นั ก เรี ย นออกแบบด้ ว ย แล้ ว ร่ ว มกั น สรุ ป ขั้ น ตอน การปั้นหม้อด้วยเครื่อง วิ ท ยากรคนที่ 3 ชื่ อ นางวริ น รั ต น์ ประวั ติ สอนการเขี ย นลวดลายหม้ อ แบบดั้ ง เดิ ม ของบ้ านเชียง แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งประกอบด้วย ลายก้นหอย ลายตะขอ ลายเรขาคณิต เมื่อดูการสาธิต เขียนลายหม้อครบทุกลายแล้ว ให้นักเรียนร่วมกันบอกสี ทีจ่ ะใช้ในการเขียนลาย อุปกรณ์ทใี่ ช้เขียนลาย การเตรียมสี เพื่อเขียนลาย และออกแบบลายหม้อ โดยฝึกเขียนลาย บนกระดาษ ตัง้ ชือ่ ลายทีอ่ อกแบบ และร่วมกันสรุปขัน้ ตอน การเขียนลายหม้อ

ในการจั ด ท� ำ กิ จ กรรม ฝึ ก ปฏิ บั ติ จ ริ ง นั้ น ต้ อ งฝึ ก เขี ย นลายลงบนหม้ อ ที่ เ ผาแล้ ว ด้ ว ยดิ น สอ ร่ า งเป็ น เส้ น ไว้ โดยแบ่ ง พื้ น ที่ บ นหม้ อ เป็ น 3 ส่ ว น จากการประมาณด้วยสายตา เมื่อร่างเส้นครบตามลาย ที่ อ อกแบบแล้ ว ใช้ พู ่ กั น ขนาดที่ เ หมาะสมกั บ ขนาด ของหม้อ (เช่น หม้อใบเล็กใช้พู่กันเบอร์ 8, 9 หรือ 10) ตั ด แต่ ง ปลายพู ่ กั น ตามต้ อ งการ แล้ ว ใช้ เขี ย นทั บ ลาย ที่ร่างไว้ จบการเขียนลายด้วยการตกแต่งหม้อให้สวยงาม ยิ่งขึ้นโดยเคลือบด้วยแลคเกอร์ให้ขึ้นมันวาว ส�ำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ให้เข้าร่วมกิจกรรมในรูปของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ชื่อว่า ชมรมการปัน้ หม้อ และชมรมการเขียนลายหม้อ ทุกวันศุกร์ โรงเรียนได้จัดให้รุ่นพี่ที่มีความสามารถในการปั้นหม้อ และเขี ย นลายหม้ อ ช่ ว ยสอนน้ อ งด้ ว ยการฝึ ก ปฏิ บั ติ จริง สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง แต่ไม่เพียงพอจะให้นักเรียน มี ค วามสามารถถึ ง ระดั บ ปั ้ น หม้ อ และเขี ย นลายหม้ อ ให้ เ กิ ด ความช� ำ นาญได้ จึ ง ให้ นั ก เรี ย นไปฝึ ก ปฏิ บั ติ กับวิทยากรท้องถิ่นที่สถานประกอบการในช่วงวันหยุด เสาร์และอาทิตย์ ซึ่งจะท�ำให้นักเรียนได้ฝึกกระท�ำซ�้ำๆ และเกิดความช�ำนาญ เมื่อนักเรียนสามารถสร้างผลงาน ได้แล้ว ก็ฝึกให้น�ำผลงานมาคิดต้นทุน ซึ่งเป็นค่าวัสดุ ค่ า แรง ค่ า เสี ย เวลาและประมาณราคา โดยคิ ด ก� ำ ไร พอเหมาะ น� ำ มาซึ่ ง รายได้ ร ะหว่ า งเรี ย นของนั ก เรี ย น และเกิดความภาคภูมิใจอาชีพในท้องถิ่นของตนเอง และ น�ำออกจ�ำหน่ายในงานชุมชน อ�ำเภอ จังหวัด และกิจกรรม ของ สพฐ. การด� ำ เนิ น การจั ด กิ จ กรรมทั้ ง 3 กิ จ กรรม บุคลากรของโรงเรียนได้รว่ มแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ บั นักเรียน และวิทยากรท้องถิ่น


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ขั้นตอนการปั้นหม้อ การแกะลายหม้อ และการเขียนลายหม้อ

ขั้นตอนการปั้นหม้อ

1. เปิดแป้นหมุนวางดินบนแป้นหมุน ออกแรง ใช้มือกดดินให้ติดบนแป้นให้แน่นและนิ่ง

2. ใช้ นิ้ ว หั ว แม่ มื อ เจาะรู ต รงกลางดิ น ที่ ติ ด บนแป้ น ให้ เ ป็ น รู ข ณะแป้ น ก� ำ ลั ง หมุ น ขึ้ น รู ป ผลงาน ใช้นิ้วมือกด ดึงดินขึ้นเพื่อให้ดินยืดตัวสูงขึ้น

3. ท�ำตัวภาชนะและปากภาชนะ ใช้นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อยสอดเข้าไปกดดันข้างใน ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้ ว ชี้ ก ดด้ า นนอกของภาชนะ ดั น ออกมาให้ เ ป็ น รู ป ทรงหม้ อตามที่ ต ้ อ งการ เปลี่ ย นใช้ นิ้ ว หั ว แม่ มื อ ดั น ด้านใน นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ประคองดิน ด้านนอก ท�ำปากภาชนะ

37


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

38 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

4. ท�ำปากภาชนะ โดยใช้มือจับปากหม้อ ใช้นิ้วชี้กรีดที่คอภาชนะ และ ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับปากให้ตรง และดันออกมาให้เป็นรูปทรงตามที่ต้องการ

5. ขั้นตอนสุดท้าย ท�ำก้นภาชนะ ใช้นิ้วชี้กรีดหรือใช้ไม้ขีดส่วนก้นให้เป็น รูปทรง

6. เมื่อท�ำก้นภาชนะเสร็จแล้ว ใช้เส้นด้ายหรือ เส้นเอ็นตัดก้นภาชนะ ยกออกจากแป้นหมุนน�ำไปผึ่ง

7. ผึ่งให้แห้งแล้วน�ำไปเผา เมื่อเผาสุกแล้ว น�ำไปเขียนลาย


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ขั้นตอนการแกะลายหม้อ

1. น� ำ หม้ อ ที่ ป ั ้ น เสร็ จ แล้ ว ไปผึ่ ง ในร่ ม อย่าให้โดนแดดพอหมาด น�ำไปแกะลายหม้อ ผึ่งให้แห้ง แล้วน�ำไปเผา

2. น� ำ ไปลงสี น�้ ำ มั น สี ด� ำ ผึ่ ง ให้ แ ห้ ง แล้ ว ลง ดินสอพอง

3. พอดินสอพองแห้งแล้วใช้ผ้าชุบน�้ำบิดให้หมาด เช็ดดินสอพองที่อยู่นอก รอยแกะออกให้สะอาด จะได้ผลิตภัณฑ์หม้อด�ำ

39


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

40 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ขั้นตอนการเขียนลายหม้อ

1. ใช้สฝี นุ่ สีแดง สีเหลือง กาวผสมน�ำ้ ใช้พกู่ นั ร่างลายเส้นคอหม้อและก้นหม้อ

2. ใช้พู่กันแบ่งหม้อเป็นสามส่วน ร่างลายหม้อ เขียนลายลงในส่วนทีแ่ บ่งไว้สามส่วน โดยอนุรกั ษ์ลายหม้อ บ้านเชียง

3. หม้อที่เขียนลายส�ำเร็จแล้ว

4. ทาด้วยแลกเกอร์ให้ขนึ้ มันสวยงาม ได้ผลิตภัณฑ์ หม้อลายเขียนสี


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

1.

4.

2.

5.

3.

6.

จากภาชนะดินเผาแบบดั้งเดิม ครูและนักเรียนได้ช่วยกันคิดต่อยอด ผลิตภัณฑ์ให้ทันสมัยใช้งานได้หลากหลายรูปแบบขึ้น เช่น 1. ผลิตภัณฑ์ลายบ้านเชียงทรงแก้วน�้ำ 2. แจกันวางเทียนหอม 3. หม้อลายบ้านเชียงทรงหม้อทอง 4. หม้อลายบ้านเชียงทรงตุ๊กตาคอสั้น 5. หม้อลายบ้านเชียงทรงก�ำปั้น 6.-7. แจกัน

7.

41


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

42 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

9.

8.

10.

11.

8. ที่ประดับตกแต่งตั้งโต๊ะ 9. โคมไฟเล็ก 10. หม้อด�ำทรงก�ำปั้น 11. หม้อด�ำทรงน�้ำเต้าคอยาว 12. หม้อด�ำทรงแก้วน�้ำ

12.

ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้

• โ ค ร ง ง า น อ า ชี พ ก า ร ป ั ้ น ห ม ้ อ แ ล ะ เขี ย นลายหม้ อ ระดั บ ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ 4-6 ได้ รั บ รางวั ล ระดั บ เหรี ย ญทองในการส่ ง เข้ า ประกวดในงาน ศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปีการศึกษา 2552 และ 2553 • ได้ น� ำ ผลงานและผลิ ต ภั ณ ฑ์ นั ก เรี ย น ร่วมจัดนิทรรศการในงานมหกรรมการศึกษาอุดรธานี ครั้งที่ 1 ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีร่วมกับ เทศบาลนครอุดรธานี ปี 2553 • ได้รับการคัดเลือกจากส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ให้น�ำผลิตภัณฑ์ ผลงานของนั ก เรี ย นไปสาธิ ต และจ� ำ หน่ า ยในงาน ศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2550, 2552, 2553 และ 2554

• ไ ด ้ รั บ ก า ร คั ด เ ลื อ ก จ า ก ส� ำ นั ก ง า น คณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน ให้ น� ำ ผลงาน ผลิ ต ภั ณ ฑ์ นั ก เรี ย นไปสาธิ ต และจ� ำ หน่ า ยในงาน ศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติติดต่อกันมาหลายปี • ไ ด ้ รั บ ก า ร คั ด เ ลื อ ก จ า ก ส� ำ นั ก ง า น คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เข้าร่วมโครงการ นั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ยมี คุ ณ ธรรม น� ำ สู ่ เ ศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และได้เข้าร่วมประชุมระดับชาติ ว่าด้วยศิลปหัตถกรรมและการศึกษา โครงการ Crafts and Education ของสภาหั ต ถกรรมโลกภู มิ ภ าค เอเชียแปซิฟิค ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ อ�ำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมือ่ วันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2553


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ผลส�ำเร็จส�ำคัญที่สุดคือตัวนักเรียน

• มีความรูแ้ ละมีทกั ษะในงานอาชีพการปัน้ หม้อ การแกะลายหม้อและเขียนลายหม้อ • มีรายได้ระหว่างเรียน • เห็ น คุ ณ ค่ า ของเวลาและคุ ณ ค่ า ของเงิ น ที่ต้องใช้อย่างประหยัด • ได้ร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลพลอยได้ อื่ น ๆ คื อ นั ก เรี ย นมี ส มาธิ ขยัน อดทน มีความรับผิดชอบ รู้จักท�ำงานร่วมกับผู้อื่น มีความคิดสร้างสรรค์ และสุดท้าย คือ ความภาคภูมิใจ และการเห็ น คุ ณ ค่ า ของตนเองต่ อ ความส� ำ เร็ จ ในการ มีส่วนร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีค่าให้คงอยู่สืบไป

ปัจจัยที่ท�ำให้ประสบความส�ำเร็จคือ

• ผูบ้ ริหารสถานศึกษาสนับสนุนร่วมงานกับครู อย่างเต็มที่ • ครูผู้รับผิดชอบมีความมุ่งมั่น

• บุคลากรทั้งโรงเรียนประสานความร่วมมือ • ชุมชนร่วมมือ • โรงเรียนมีเวทีน�ำเสนอผลงานสม�่ำเสมอ • รางวั ล แห่ ง ความส� ำ เร็ จ และการได้ รั บ การยอมรั บ จากหน่ ว ยงานทุ ก ระดั บ ท� ำ ให้ โรงเรี ย น เกิดพลังใจขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง • โอกาสการได้ รั บ การพั ฒ นาองค์ ค วามรู ้ อย่างต่อเนื่อง ผลงานการจัดการเรียนรู้ในการสืบทอดมรดก วัฒนธรรมของท้องถิ่น ของประเทศและของโลกในครั้งนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและเรียนรู้

43


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

44 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

เสื่อกกลายขิด

จั ง หวั ด ในประเทศไทยต่ า งก็ มี ค� ำ ขวั ญ ของ ตนเอง โดยน�ำส่วนดีเด่นของจังหวัดเรียงร้อยเป็นค�ำขวัญ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงของดี ของจังหวัด ขณะเดียวกันก็เป็นข้อมูลดึงดูดใจให้ผู้สนใจ เข้ามาเยี่ยมชมในจังหวัดของตน ดังจังหวัดยโสธรที่มี ค�ำขวัญว่า “ยโสธรเมืองบัง้ ไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวาน ผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ” งานบั้งไฟของจังหวัด ยโสธรนัน้ เป็นวัฒนธรรมประเพณีทยี่ งิ่ ใหญ่ของภาคอีสาน ดึ ง ดู ด ใจให้ ค นรอเวลามาท่ อ งเที่ ย วชมงานด้ ว ยความ ตื่ น ตาตื่ น ใจ และจั ง หวั ด ยั ง เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการผลิ ต ข้าวหอมมะลิคุณภาพดีให้แก่ประเทศไทย ส่วนค�ำว่า ขิ ด นั้ น เป็ น ชื่ อ ของลายทอผ้ า ซึ่ ง เป็ น เอกลั ก ษณ์ เ ฉพาะ ของคนไทยภาคอี ส าน มี ค วามงดงามและเป็ น ที่ นิ ย ม ขณะเดียวกันในชุมชนของโรงเรียนบ้านดงส�ำราญ ซึง่ ตัง้ อยูท่ ี่ ต�ำบลค�ำน�้ำสร้าง อ�ำเภอกุดชุม มีการน�ำต้นกกซึ่งเป็นพืช พื้นบ้านมาทอเป็นเสื่อ ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความสามารถ ในการทอเสื่ อ กกและมี อุ ป กรณ์ ก ารทอเสื่ อ อยู ่ เ กื อ บ ทุกครัวเรือน การทอเสื่อกกนับเป็นอาชีพเสริมของคน ในชุมชน แต่เสื่อกกที่คนในชุมชนท�ำจะเป็นลายธรรมดา เป็นสีธรรมชาติ และอาจมีสีอื่นคั่นบ้าง

โรงเรียนบ้านดงส�ำราญได้เชือ่ มโยงลายขิดทีท่ อ เป็นผ้าเข้ากับลายเสื่อที่ทอด้วยกก อาจารย์เกษร บานชล คุณครูผู้ริเริ่มการสอนเสื่อกกลายขิดของโรงเรียนกล่าวว่า ค�ำขวัญของจังหวัดยโสธรคือแรงบันดาลใจที่ส�ำคัญในการ น� ำ ลายผ้ า ขิ ด มาทอเสื่ อ ครั้ ง นี้ โดยใช้ ค วามรู ้ พื้ น ฐาน การทอเสื่อ ที่มีอ ยู่ม าศึกษาความเป็น ไปได้ข องการน� ำ วัสดุธรรมชาติของท้องถิน่ คือกกมาใช้ มองเห็นแนวทางทีจ่ ะ น�ำผลผลิตผืนเสือ่ กกลายขิดมาแปรรูปเป็นสิง่ ของเครือ่ งใช้ เป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของจังหวัด ขณะเดียวกัน ก็เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอีกด้วย อาจารย์เกษรเล่าว่า โรงเรียนบ้านดงส�ำราญ เปิดสอนระดับอนุบาลถึงระดับประถมศึกษา มีนักเรียน 130 คน ครู 10 คน ให้บริการ 4 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้าน ในชนบทห่างไกล ถนนเป็นลูกรัง ชาวบ้านฐานะยากจน บางคนชอบเล่นการพนัน มีอาชีพรับจ้าง ปลูกยางพารา พ่ อ แม่ นั ก เรี ย นเข้ า มาท� ำ งานในกรุ ง เทพฯ ปล่ อ ยให้ ลู ก หลานอยู ่ กั บ ปู ่ ย ่ า ตายาย ผลสั ม ฤทธิ์ ท างการเรี ย น ของนั ก เรี ย นต�่ ำ มาก เมื่ อ ย้ า ยเข้ า มาสอนที่ นี่ ใ หม่ ๆ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ไม่รู้จักใคร การเริ่มสอนนักเรียนทอเสื่อในโรงเรียนจึงเป็นเรื่องยาก ครั้งแรก เปิ ด สอนในรู ป แบบชุ ม นุ ม อนุ รั ก ษ์ สื บ สานหั ต ถกรรมทอเสื่ อ กก ซึ่ ง เชื่ อ ว่ า นักเรียนที่เข้าชุมนุมจะได้มีโอกาสเรียนรู้ ปฏิบัติงานได้เป็นชิ้นเป็นอัน ผลงาน จะท� ำ ให้ นั ก เรี ย นเห็ น ความสามารถ ผี มื อ และคุ ณ ค่ า ของตน ความส� ำ เร็ จ ย่อมน�ำมาซึง่ ก�ำลังใจ เมือ่ ผูเ้ รียนมีกำ� ลังใจก็จะลดปัญหาหนีเรียน อันเนือ่ งมาจาก ผูเ้ รียนไม่ถนัดทางด้านวิชาการได้ดว้ ย โดยตัง้ วัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน ไว้ดังนี้ 1. มีความรูค้ วามเข้าใจและประสบการณ์เบือ้ งต้นเกีย่ วกับการท�ำงาน ในชีวิตประจ�ำวันและงานที่เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพ 2. มี ทั ก ษะในการใช้ เ ครื่ อ งมื อ และทั ก ษะในกระบวนการท� ำ งาน ท�ำอย่างมีแผน สามารถท�ำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยเหลือครอบครัวและผู้อื่น ได้ตามควรแก่วัย 3. มีนิสัยที่ดีในการท�ำงานและรู้จักพึ่งตนเอง 4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีการปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้นเสมอ 5. มีความรักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รู้รักษา ป้องกันผลกระทบต่อ สภาพแวดล้อม 6. รู้จักการประกอบอาชีพเสริม ซึ่งจะช่วยให้มีรายได้ช่วยเหลือครอบครัว ปรากฏว่าสอนได้ไม่ถึงสัปดาห์ก็มีเสียงจากผู้ปกครองว่า เขาส่งลูกมาเรียนหนังสือ ไม่ได้มาเรียนทอเสื่อ ค�ำพูดนี้ท�ำให้อาจารย์เกษร พยายามหาวิธีท�ำความเข้าใจกับผู้ปกครอง น�ำผลงาน น�ำภาพผลงานทอเสื่อกกลายขิด จากโรงเรียนที่อาจารย์เคยสอนก่อนย้ายมาสอนที่โรงเรียนบ้านดงส�ำราญ และผลงานนั้นได้รับการคัดเลือกจาก ส� ำ นั ก พั ฒ นานวั ต กรรมการจั ด การศึ ก ษา สพฐ. ให้ น� ำ ไปจ� ำ หน่ า ยในงานศิ ล ปหั ต ถกรรมนั ก เรี ย นระดั บ ชาติ ที่เมืองทองธานีให้ผู้ปกครองดูเพื่อโน้มน้าวใจให้ผู้ปกครองเกิดความสนใจ มั่นใจ และเห็นความส�ำคัญของการฝึก ให้นักเรียนสามารถทอเสื่อกกลายขิด และน�ำไปสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนาเป็นของใช้ต่างๆ เช่น กระเป๋าถือสตรี รูปแบบต่างๆ กรอบรูป แผ่นรองจานข้าวที่ใช้บนโต๊ะอาหาร ปกสมุด กระเป๋าใส่เงินขนาดเล็ก ฯลฯ ปรากฏว่าผู้ปกครอง นักเรียนเริ่มสนใจ

45


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

46 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

อาจารย์เกษรเล่าเพิม่ เติมว่า เป็นเรือ่ งโชคดีของโรงเรียนบ้านดงส�ำราญ ทีส่ ำ� นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. พึงพอใจในผลงานการทอเสือ่ กก ลายขิดของโรงเรียน จึงคัดเลือกโรงเรียนให้เข้าร่วมโครงการนักธุรกิจน้อย มีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งมีการส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้ การสอนงานอาชีพให้ครบวงจร ให้นกั เรียนเรียนรูก้ ารเป็นผูป้ ระกอบการ คิดเป็น ท�ำได้ ขายเป็น อย่างมีคุณธรรม พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณให้ท�ำวิจัยพัฒนา การเรียนการสอนวิชาชีพให้นักเรียนมีความสามารถในการเป็นนักธุรกิจน้อย มีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เมื่อท�ำวิจัยส�ำเร็จตนจึงได้เขียนรายวิชา เพิ่มเติมในหลักสูตรสถานศึกษา เสนอต่อผู้บริหารโรงเรียนและคณะกรรมการ สถานศึกษา และได้รับการอนุมัติให้เปิดสอนในโรงเรียน โครงสร้างหลักสูตร ประกอบด้วยเนื้อหา 6 หน่วยการเรียนรู้ มี 17 แผน เวลาในการจัดการเรียนรู้ 40 ชั่วโมงต่อปี สาระส�ำคัญของแต่ละหน่วยการเรียนรู้ มีดังนี้ หน่วยที่ 1 หัตถกรรมพื้นบ้านงานทอเสื่อลายขิด หน่วยที่ 2 กก พืชเศรษฐกิจ หน่วยที่ 3 ความรูเ้ รือ่ งเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ และวัสดุอปุ กรณ์ในการทอเสือ่ หน่วยที่ 4 สร้างสรรค์งานทอเสื่อลายขิด ปฏิบัติการในการทอเสื่อ เน้นความส�ำคัญของการออกแบบ แปรรูปเพื่อจ�ำหน่ายได้ง่ายขึ้น หน่วยที่ 5 การออกแบบบรรจุภัณฑ์ หน่วยที่ 6 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ - การเป็นผู้ประกอบการหรือเรื่องธุรกิจง่ายๆ ตามวัย - การรู้จักการตลาด การคิดราคาต้นทุน การก�ำหนด ราคาขายที่เหมาะสม - การจ�ำหน่าย การจัดร้าน การพูดจาค้าขาย การท�ำบัญชี - การรู้จักรักษาทรัพย์สินทางปัญญาและการไม่ละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 4 กิจกรรม • สร้างความตระหนักให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและความส�ำคัญของ การทอเสื่อ และการประกอบอาชีพธุรกิจ • ใช้วิทยากรจากภายนอกและศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ • เน้นการปฏิบัติจริง ตั้งแต่การปลูกกก สร้างชิ้นงาน ประเมินผล ปรับปรุง จ�ำหน่าย • เสริมแรง


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

อาจารย์เกษรเล่าว่า วิธีท�ำงานคือให้นักเรียน ท� ำ เป็ นกิ จกรรมกลุ ่ ม เช่ น กลุ ่ ม ปลู ก กก กลุ ่ มตากกก กลุ่มสอยกก กลุ่มธุรกิจ กลุ่มปลูกกกจะขายกกให้กลุ่มทอ กลุ ่ ม ทอก็ น� ำ เสื่ อ ที่ ท อได้ ม าขายให้ ก ลุ ่ ม ธุ ร กิ จ ครู แ ละ นักเรียนช่วยกันออกแบบ และน�ำไปให้แม่บ้านเย็บให้ งานทอเหล่านี้ไม่สามารถท�ำให้เสร็จภายในชั่วโมงเรียน อาจารย์เกษรกล่าวว่า “ดิฉนั มีโรงเรียนเป็นบ้าน ทัง้ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ ดิฉันและนักเรียนจะอยู่ท�ำงานที่โรงเรียน ถ้าเราไม่ทุ่มเท ไม่เสียสละ ก็จะไม่ได้ชิ้นงานที่สมบูรณ์ ต้องใช้เวลานอก” ในระหว่างปิดเทอมนักเรียนยังขอยืม กี่ ฟืม ขอเบิกเส้นกกไปท�ำที่บ้าน โรงเรียนจะลงบัญชีไว้ เสื่อ 1 ผืน ใช้กกประมาณ 1.8 กก. พอใกล้เปิดเทอม ครู ก็ ไ ปตรวจผลงานและซื้ อ ราคาตามคุ ณ ภาพผลงาน ท�ำให้เด็กพยายามจะท�ำให้ดี ผู้ปกครองเองก็เริ่มตั้งวงทอ กั บ เด็ ก เพื่ อ อยากให้ ลู ก ทอได้ เร็ ว ขึ้ น กกที่ ใช้ ท อเสื่ อ มี 2 ประเภท คือ ต้นกกน�้ำเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามคลอง ตามล�ำห้วย รวมถึงบริเวณที่มีน�้ำขัง กกชนิดนี้ จะทอเสื่อได้แน่นละเอียด เส้นกกนิ่มทอง่าย ประเภทที่ 2 คือ ต้นกกญีป่ นุ่ ชอบขึน้ บริเวณทีม่ นี ำ�้ แฉะ ล�ำต้นเล็ก เรียว มีความทนทาน แข็งแรงกว่าต้นกกน�้ำ แต่เนื้อหยาบกว่า เวลาจักกกต้องท�ำให้เป็นเส้นเล็กๆ ช่วยให้ทอได้แน่น ประณีตและสวยงาม เมื่อย้อมสีจะมีความมันวาวท�ำให้ ทอได้สวยงามยิ่งขึ้น โรงเรียนใช้กกญี่ปุ่นเป็นหลัก สี ที่ ใช้ ย ้ อ มเส้ น กกเป็ น สี สั ง เคราะห์ เ พราะ ย้ อ มง่ า ย ปั จ จุ บั น แนวโน้ ม คนกลั บ มาหาธรรมชาติ นิยมสีธรรมชาติจากพืชต่างๆ ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โรงเรี ย นได้ เริ่ ม ทดลองย้ อ มสี เ ส้ น กกด้ ว ยเปลื อ กไม้ ใบไม้นานาชนิด ซึง่ มีขนั้ ตอนยุง่ ยากและใช้เวลาในการย้อม มากขึ้ น แต่ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ข ายได้ ร าคาสู ง ขึ้ น ตามไปด้ ว ย ซึ่งเป็นผลดีกับทุกฝ่าย

ผลที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ นั ก เรี ย น นอกเหนื อ จาก องค์ ค วามรู ้ ด ้ า นธุ ร กิ จ ประสบการณ์ ท างธุ ร กิ จ และ คุ ณ ลั ก ษณะนิ สั ย ที่ ดี ที่ เ กิ ด ขึ้ น แล้ ว นั ก เรี ย นได้ รั ก ษา มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นไว้และถ่ายทอดความรู้ สูผ่ ปู้ กครอง สร้างรายได้ให้กบั ตนเองและครอบครัวอีกด้วย อาจารย์เกษรเล่าให้ฟงั ต่อว่า เด็กๆ ทีช่ อบท�ำงาน กลุม่ นีส้ ว่ นใหญ่ไม่ชอบเรียน ชอบออกไปจับแย้ จับกะปอม มากกว่า การให้มาก่อไฟ ย้อมกก มือสกปรก เขาชอบ โดยเฉพาะเด็กผู้ชายไม่ชอบทอแต่ชอบย้อมสี แต่ทุกคน ต้ อ งทอได้ มิ เช่ น นั้ น จะไม่ มี ค ะแนน เด็ ก ผู ้ ห ญิ ง จะมี ความมุ่งมั่น มีความอดทนมากกว่าเด็กผู้ชาย ผลงานของ เด็กผูห้ ญิงท�ำเสร็จตรงเวลา สวยงาม จึงแก้ปญ ั หาด้วยการ จัดกลุ่ม คละเด็กเก่ง เด็กอ่อนผสมกันไป ปัญหาการสอนการทอเสือ่ ลายขิด มีหลายเรือ่ ง เช่น ปัญหาด้านการผลิตเดิมไม่มีวัตถุดิบคือกก แก้ปัญหา โดยให้ นั ก เรี ย นชั้ น ป.4-6 ปลู ก ที่ โรงเรี ย น 1 แปลง ให้ครูได้เห็น ปลูกที่บ้านอีก 1 แปลง ให้ใครช่วยก็ได้ ถ้ า นั ก เรี ย นปลู ก ที่ บ ้ า นได้ โรงเรี ย นก็ รั บ ซื้ อ ท� ำ ให้ เขา มีอาชีพเสริมด้วยการปลูกกกซึ่งปลูกง่ายมาก เพียงแต่ ขอให้เป็นพื้นที่ที่มีน�้ำไหลกกก็จะงอกงามดี

47


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

48 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ปั ญ หาด้ า นวั ต ถุ ดิ บ ถ้ า เส้ น กกใหญ่ จ ะทอ ได้ ไ ม่ ส วย ขายยาก จึ ง ประชุ ม กั บ นั ก เรี ย นแก้ ป ั ญ หา ด้วยการท�ำเส้นกกให้เล็กลง โดยผ่าเป็น 4 ส่วน และ น� ำ ผื น เสื่ อ มาประดิ ษ ฐ์ เ ป็ น สิ น ค้ า หลากหลายรู ป แบบ ปั จ จุ บั น น� ำ ผื น เสื่ อ แปรรู ป เป็ น กระเป๋ า รู ป ทรงต่ า งๆ แจกัน แฟ้ม ปกสมุด ฉากกั้น ท�ำให้สินค้าของโรงเรียน มี ค วามสวยงาม แตกต่ า งจากของชุ ม ชน ขายได้ ดี นั ก เรี ย นใช้ เ วลาทอเสื่ อ ลายขิ ด หลายลายตลอดปี ขณะนี้ได้สอนพ่อแม่ผู้ปกครองท�ำด้วย ท�ำให้ครอบครัว มี ร ายได้ เ พิ่ ม ขึ้ น ด้ า นการตลาด วางขายในงาน ศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ มีตราสินค้าว่าขิดเงิน ขิดทอง หรือน�ำไปร่วมงานที่หน่วยงานภายนอกเชิญมา ปั จ จุ บั น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องโรงเรี ย นมี ชื่ อ เสี ย งมากขึ้ น เพราะน�ำไปวางขายที่ร้าน O-TOP ของจังหวัด และ มีคนรับไปขายในงานต่างๆ ด้วย

อุปกรณ์การทอเสื่อกกลายขิด ได้แก่

1. โครงกี่ทอ 2. ฟืมและไม้ลายขิด 3. ไม้พุ่งกก 4. เส้นกก 5. เชือกเอ็น 6. มีดและกรรไกร 7. ไม้โป้งเป้ง (ไม้ต้นฟืม)

กระบวนการผลิตเสื่อ มีขั้นตอนดังนี้

ผลที่เกิดกับโรงเรียนและชุมชน

ผลที่เกิดกับโรงเรียน

1. การตัดต้นกก คัดขนาดและท�ำความสะอาด 2. การจักกก หรือการผ่ากก แบ่งกกให้เป็นเส้น 3. การตากกกให้ แ ห้ ง และรวบมั ด เป็ น ก� ำ ๆ พร้อมที่จะน�ำไปย้อม 4. การย้อมสีกก โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของหน่วยงานหลาย จังหวัด เช่น เพชรบุรี อุบลราชธานี ชัยภูมิ สกลนคร และ มุกดาหาร เป็นต้น ชุมชนรักและศรัทธาในโรงเรียน ชุมชน มีผลิตภัณฑ์มากขึ้น ลดปัญหาเด็กซิ่ง ลดปัญหาเล่นเกม และการพนัน โรงเรียนได้รบั เกียรติให้เป็น 1 ใน 29 ศูนย์แกนน�ำ ขยายเครื อ ข่ า ยของโครงการนั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ยมี คุ ณ ธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของ สพฐ. เพื่อขยายผลไปยัง โรงเรียนและชุมชนที่สนใจ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

4. ผลงานของนักเรียนได้รับคัดเลือกให้ร่วม ด้วยการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง และมีผลงาน แสดงในงานระดับนานาชาติของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ เป็นรูปธรรมชัดเจน อาจารย์เกษรจึงได้รับความศรัทธา ระหว่างประเทศ ทีศ่ นู ย์นทิ รรศการและการประชุมไบเทค และก� ำ ลั ง ใจมากมายจากบุ ค ลากรทั้ ง ภายในและ บางนา ในปี 2556 5. อาจารย์เกษรเองได้รับรางวัลรวม 6 รางวัล นอกโรงเรียน ดังนี้ 1. เพื่ อ นครู แ ละชุ ม ชนจั ด งานทอดผ้ า ป่ า จากผลงานการพัฒนางาน พัฒนาคน (นักเรียน) และ หาเงินสร้างอาคารเรียน ชื่อ “ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาไทย” มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ใน 6 รางวัลที่ว่านี้มีรางวัลที่ 2. ผลงานของนั ก เรี ย นได้ รั บ คั ด เลื อ กโดย อาจารย์เองรอคอยมานานถึง 5 ปี คือ รางวัลเหรียญทอง ส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ให้น�ำมา อันดับ 2 ประเภทโครงงานระดับประถมศึกษา จากการ จ�ำหน่ายในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ตั้งแต่ แข่ ง ขั น ในงานศิ ล ปหั ต ถกรรมนั ก เรี ย นระดั บ ชาติ ปีการศึกษา 2555 ของ สพฐ. รางวัลที่อาจารย์ภูมิใจมาก ปี 2552 ถึงปัจจุบัน 3. ผลงานของนั ก เรี ย นได้ รั บ คั ด เลื อ ก คือ ได้รับเข็มเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี” ในงานวันครูโลก และในปี 2555 เช่นกัน อาจารย์เกษร ได้รับการคัดเลือก ให้ร่วมแสดงในงานของจังหวัดยโสธร จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศให้ขึ้นทะเบียน เป็ น ครู ช ่ า งประเภทงานจั ก สานของภาคตะวั น ออก เฉียงเหนือ เป็นอีกหนึง่ รางวัลทีก่ ารันตีความเป็นครูผสู้ อน ที่เสียสละและมีคุณภาพระดับประเทศ อาจารย์ เ กษรได้ ก ล่ า วถึ ง หลั ก การส� ำ คั ญ ในการท� ำ งานของอาจารย์ ว ่ า “ความส� ำ เร็ จ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในวั น นี้ คื อ ต้ อ งท� ำ งานอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง จริ ง จั ง ชั ก น� ำ ผู ้ ป กครองมาร่ ว มงานให้ ไ ด้ และส� ำ คั ญ ที่ สุ ด คื อ ครู ต้องทุ่มเทและเสียสละ ผู้บริหารต้องสนับสนุน”

ผลที่เกิดกับครู

49


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

50 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

การ์ตูนและลายไทย 3 มิติ นักเรียนจากโรงเรียนอื่นๆ และเกิดไอเดียเก๋ว่าจะต้อง ท� ำ ภาพบนป้ า ยนิ เ ทศให้ เ ป็ น ภาพนู น สามมิ ติ โดยใช้ กระดาษเหลือใช้อีกต่างหากได้ประโยชน์ 2 ทาง คือ ความมี ชี วิ ต ชี ว าของภาพ และการลดปริ ม าณขยะลง เมื่อภาพมีชีวิตชีวาอย่างนี้ มีหรือที่จะไม่ชนะการประกวด จั ด ป้ า ยนิ เ ทศ และผลงานจะไม่ เ ป็ น ที่ ส นใจของผู ้ ช ม สิ่งที่เกิดตามมาก็คือผู้ชมมีการสืบเสาะหาแหล่งจ�ำหน่าย การ์ตูนสามมิติ การฝากซื้อและการขอซื้อภาพเหล่านี้ และนี่ เ ป็ น ที่ ม าของความคิ ด ที่ จ ะ “ผลิ ต จ� ำ หน่ า ย” ของนักเรียนโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา

ใครจะคิ ด บ้ า งว่ า การได้ ร ่ ว มงานได้ ดู ง าน ของผู ้ อื่ น ได้ เ ปรี ย บเที ย บงานของผู ้ อื่ น กั บ ของตน และความต้องการพัฒนาให้ง านของตนดีขึ้นนี้ มีพลัง บันดาลในการผลักดันให้นักเรียนโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา จังหวัดนครปฐม ตั้งอกตั้งใจคิดค้นหาวิธีการออกแบบ ป้ายนิเทศให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากป้ายนิเทศของ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

การได้ผลิตจ�ำหน่ายในงานนิทรรศการต่างๆ ด�ำเนินเรื่อยมาจนวันหนึ่ง ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คุ ณ หญิ ง กษมา วรวรรณ เลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (ต�ำแหน่งในขณะนั้น) ได้มาเป็น ประธานเปิดงานประชุมผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาทั่วประเทศ ได้มาชมผลงานการ์ตูนสามมิติ และซื้อไปจ�ำนวนมาก หลังจากนั้นไม่นานท่านก็แนะน�ำ อาจารย์ ทิ พ วั ล ย์ ยิ้ ม สวั ส ดิ์ ผู ้ อ� ำ นวยการโรงเรี ย น ศรีวชิ ยั วิทยา ให้เตรียมน�ำผลงานของนักเรียนเข้าประกวด โครงการกรุงไทยยุววาณิช ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ปลูกฝังความเข้าใจในหลักการด�ำเนินธุรกิจ ที่ถูกต้องเหมาะสม 2. ช่วยเหลือสังคมในการวางรากฐานเกี่ยวกับ การเป็นผู้ประกอบการที่ดีให้กับเยาวชน 3. เปิ ด โอกาสให้ เ ยาวชนได้ ค ้ น พบอี ก ทางเลือกหนึ่งในการด�ำเนินชีวิต ที่มิใช่เพียงการศึกษา เพียงอย่างเดียว สมกับที่เป็น “กรุงไทย ยุววาณิช ชีวิต ที่เลือกได้” 4. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการช่วยเหลือสังคม โดยการสร้างทุนทางปัญญา ซึ่งโรงเรียนได้น�ำผลงาน ดังกล่าวส่งเข้าประกวดในนามบริษัทผลิตศิลป์ ก็ได้รับ รางวัลชนะเลิศระดับประเทศในปี 2552 ได้เงินรางวัล 390,000 บาท พร้อมกับครูและนักเรียนได้ไปศึกษาดูงาน ประเทศญี่ปุ่น 5 วัน ข้อมูลนี้น�ำมาซึ่งความภาคภูมิใจ อย่างยิ่งส�ำหรับนักเรียนกลุ่มนี้ของโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา

และที่ยิ่งใหญ่กว่ารางวัลที่กล่าวถึงคือ โครงการกรุงไทย ยุววาณิชของธนาคารกรุงไทย มีการจัดแข่งขันผลงาน นักเรียนมาแล้ว 8 ปี มีแต่สถาบันการศึกษาสายอาชีวศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศ ไม่เคยมีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ได้รับรางวัลชนะเลิศเลย ทะลุฟ้ามาจริงๆ อาจารย์ ส มพร นิ ส ยั น ต์ ครู ผู ้ ส อนเล่ า ว่ า การประดิษฐ์การ์ตูน 3 มิติ ของกลุ่มบริษัทผลิตศิลป์ เป็ น การสร้ า งการ์ ตู น จากภาพเขี ย นธรรมดาบน แผ่นกระดาษเหลือใช้ เช่น ปกสมุดรายงาน อุปกรณ์เสริม ที่ น� ำ มาใช้ ได้ แ ก่ กระดาษ กรรไกร แผ่ น รองตั ด คัตเตอร์ด้ามปากกา แผ่นรองเมาส์ เครื่องดุนกระดาษ เครื่ อ งมื อ ดั ด ส่ ว นโค้ ง โฟมเทปและที่ ป ั ด แก้ ม ส� ำ หรั บ แต่ ง หน้ า ของสตรี เพื่ อ กรี ด ดุ น และดั ด กระดาษให้ มี ความโค้งนูน ต่อจากนั้นก็น�ำชิ้นส่วนมาประกอบตกแต่ง เป็นรูปทรง 3 มิติ ทีส่ มบูรณ์โดยการ์ตนู และลายไทย 3 มิติ นี้จะเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย สื่อความหมายของ ศิลปวัฒนธรรมไทย เช่น ประเพณีไทย ชุดการละเล่น เด็กไทย มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย แปลกใหม่ ไม่เคยมีใครท�ำมาก่อน ออกจ�ำหน่ายชนิดไม่มีคู่แข่ง เช่น ท�ำเป็นการ์ตนู เดีย่ ว คู่ การน�ำมาประกอบเป็นเรือ่ งราวและ ใส่กรอบส�ำหรับตกแต่งฝาผนัง ผลิตเป็นคลิปอาร์ตบันทึก ลงในแผ่น CD เพื่อผู้ซื้อสามารถน�ำไปคัดลอก ตกแต่งได้ เอนกประสงค์ เป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากบรรดา ลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลที่ชื่นชอบงานศิลปะ

51


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

52 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

หลักการและวิธีเขียนภาพการ์ตูนรูปคน หลักการและวิธี เขียนภาพการ์ตนู รูปสัตว์ และการสร้างสรรค์การ์ตนู 3 มิติ โดยแทรกเนื้อหาธุรกิจเข้าไปด้วย

อาจารย์ ส มพร นิ ส ยั น ต์ ครู ผู ้ ส อนเล่ า ว่ า การจะสร้ า งการ์ ตู น ดั ง กล่ า วได้ ต ้ อ งใช้ ค วามคิ ด และ จิ น ตนาการผสานกั น ก่ อ นจะท� ำ ผู ้ ส ร้ า งจะต้ อ งศึ ก ษา และเรียนรู้หลักการใช้เส้น รูปร่าง รูปทรงในการเขียน การ์ตนู เป็นภาพคน สัตว์ สิง่ ของ ทิวทัศน์ ส่วนประกอบอืน่ ของภาพรวม ภาพการ์ ตู น เด็ ก ไทยให้ เ ป็ น 3 มิ ติ ต้องเรียนรู้หลักการเขียนภาพการ์ตูนตามจินตนาการ ให้เป็นเรื่องราว ต้องมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ในมุมมองของทัศนศิลป์ สามารถถ่ายทอด และสื่อความรู้สึกนึกคิดของตัวการ์ตูนออกมาจากสีหน้า ท่าทางได้ พร้อมกับย�้ำว่า ก่อนการปฏิบัติจริง นักเรียน จะต้องศึกษาหลักการ วิธีการปฏิบัติให้เข้าใจ ต้องได้รับ การฝึกทักษะจนเกิดความช�ำนาญ จะช่วยให้สร้างสรรค์ ผลงานได้อย่างงดงามและมีคณ ุ ภาพ สามารถน�ำไปจ�ำหน่าย เป็ น การส่ ง เสริ ม อาชี พ อิ ส ระ ช่ ว ยให้ ผู ้ เรี ย นมี ร ายได้ ระหว่างเรียน ส่วนคุณค่าทางใจของผูส้ ร้างงานนัน้ การ์ตนู 3 มิ ติ และลายไทยรู ปแบบต่ า งๆ ช่ ว ยให้ ผู ้ ส ร้างงาน เกิ ด ความชื่ น ชมมรดกทางศิ ล ปวั ฒ นธรรม เกิ ด ความ เพลิ ด เพลิ น สนุ ก สนาน มี ค วามภาคภู มิ ใจในผลงาน ฝีมือของตน รายวิชาเพิ่มเติมการ์ตูนและลายไทย 3 มิติ ประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้ 6 หน่วย ได้แก่ ความรู้ เบื้องต้นการเขียนภาพการ์ตูน องค์ประกอบการเขียน ภาพการ์ตูน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนภาพการ์ตูน

ส�ำหรับกระบวนการจัดการเรียนรู้นั้น จัดเป็น ล�ำดับได้ 6 ขั้นตอน คือ

1. ขั้นน�ำ • ครูให้นักเรียนดูตัวอย่างการ์ตูนลักษณะ ต่างๆ ได้แก่ การ์ตูนประกอบ การ์ตูนแผ่นพับ การ์ตูน POP-UP และรูปแบบต่างๆ ทั้งการ์ตูนไทยและการ์ตูน ต่างประเทศ • สนทนา ซักถาม และสรุปโดยเน้นประเด็น เกี่ยวกับ “นักเรียนจะท�ำอย่างไร” รูปแบบหรือลักษณะ การ์ตูนจึงจะแตกต่างไปจากนี้ • ครูเสนอรูปแบบใหม่ของการ์ตูน 3 มิติ แล้วให้นักเรียนอภิปรายหาข้อสรุปเกี่ยวกับความแปลกใหม่ ความน่าสนใจ ต้นทุนในการท�ำและคุณค่าที่ได้ 2. ขั้นสอน • นั ก เรี ย นแบ่ ง กลุ ่ ม ปฏิ บั ติ กิ จ กรรมท� ำ การ์ตูน 3 มิติ ตามใบงานหรือวีดิทัศน์ • ตั ว แทนกลุ ่ ม น� ำ เสนอผลงานและ ตอบค�ำถามของเพื่อนนักเรียน • ครู นั ก เรี ย น ร่ ว มกั น สรุ ป ผลการ ปฏิบัติกิจกรรม โดยเน้นที่ปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไข ในการท�ำงาน


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

3. ขั้นปฏิบัติ • นักเรียนแบ่งกลุม่ พัฒนารูปแบบการ์ตนู 3 มิติ ให้เป็นอัตลักษณ์ของตนเอง • แต่ละกลุ่มสร้างการ์ตูนเป็นเรื่องราว • ตั ว แทนกลุ ่ ม น� ำ เสนอผลงานและ ตอบค�ำถามของเพื่อนนักเรียน • ครู แ ละนั ก เรี ย นช่ ว ยกั น อภิ ป ราย และสรุ ป เกี่ ย วกั บ แนวทางในการจ� ำ หน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์ การเปิดตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ 4. ขั้นประเมิน • ใช้รปู แบบการประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment : AA) • การสังเกตขณะปฏิบัติกิจกรรม • การสอบถามและสัมภาษณ์ • ก�ำหนดเกณฑ์การประเมิน (Rubric) ได้ แ ก่ กระบวนการกลุ ่ ม การออกแบบ การเตรี ย ม และการใช้วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนการท�ำงาน ผลงานส�ำเร็จ รูปแบบและเทคนิคในการน�ำเสนองาน เป็นต้น 5. จัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงาน • นั ก เรี ย นศึ ก ษารู ป แบบการน� ำ เสนอ ผลงาน ได้ แ ก่ การจั ด มุ ม แสดงผลงาน การน� ำ เสนอ ด้วยการแสดงละคร การเชิดหุ่น ป้ายโครงงาน และ การจัดนิทรรศการ • ครู นักเรียน ช่วยกันอภิปรายรูปแบบ ในการจัดแสดงผลงานที่เหมาะสมกับการ์ตูน 3 มิติ • นั ก เรี ย นแต่ ล ะกลุ ่ ม ช่ ว ยกั น จั ด แสดง ผลงาน (จัดเป็นมุมหรือเต็มรูปแบบก็ได้) • สรุปผลการจัดแสดงผลงาน 6. การจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ นักเรียนอภิปรายเกีย่ วกับหลักการจ�ำหน่าย ผลิตภัณฑ์ การคิดต้นทุน การบรรจุภัณฑ์ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การหาตลาด การจัดจ�ำหน่าย การประเมินผล

กระบวนการจัดการเรียนรู้ มีการเน้นชัดเจน ในเรื่อง

• ครูให้ความรู้ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ • ใช้กระบวนการกลุ่ม ให้ออกแบบผลงาน ด้วยตนเอง สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ • ให้ มี ก ารจั ด จ� ำ หน่ า ยในรู ป ของบริ ษั ท เป็ น โครงการส่ ง เสริ ม อาชี พ อิ ส ระเพื่ อ การมี ร ายได้ ระหว่างเรียน • ใช้ทรัพยากรอย่างรูค้ ณ ุ ค่า รักษาสิง่ แวดล้อม ด้วยการน�ำกระดาษเหลือใช้มาเป็นวัสดุเพือ่ การผลิตสินค้า • นั ก เรี ย นทุ ก คนในกลุ ่ ม สามารถเสนอ ผลงานของตน ตอบค�ำถาม สาธิตงานตามความถนัด และความรับผิดชอบของตน อาจารย์ ส มพร เล่ า ว่ า การจั ด การเรี ย น การสอนให้เกิดความส�ำเร็จตามเป้าหมายของหลักสูตรนัน้ ครูต้องให้ความรู้เรื่องทฤษฎีในห้องเรียนและเปิดโอกาส นักเรียนได้ปฏิบตั จิ ริงนอกห้องเรียนให้มาก โดยครูเป็นเพียง ผู้คอยอ�ำนวยการ ช่วยเหลือนักเรียนแก้ปัญหาเฉพาะ เรื่องยากๆ ที่นักเรียนไม่สามารถท�ำได้ การให้เด็กเรียนรู้ ด้ ว ยการตั้ ง บริ ษั ท จ� ำ ลองให้ โ อกาสนั ก เรี ย นคิ ด ผลิ ต จ�ำหน่าย โดยมีการวางแผนธุรกิจ ด�ำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีคุณธรรม รู้จักเจือจานสังคม ด�ำเนินการบริหารจัดการ ท�ำทุกอย่างด้วยตนเอง จะท�ำให้เด็กๆ เรียนรู้และสามารถ

53


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

54 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ท� ำ อะไรได้ ด ้ ว ยตั ว ของเขาเองอย่ า งเกิ น คาดหมาย ทั้งนักเรียนยังได้ลักษณะนิสัยที่ดีจากการท�ำงานติดตัว มาหลายเรื่อง เช่น การท�ำงานเป็นทีม ความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน มุ่งมั่น การแบ่งปันผู้อื่น มีความรับผิดชอบ เป็นต้น และการส่งเสริมให้นักเรียนแต่ละรุ่นส่งผลงาน ของตนเองเข้าประกวด เช่น โครงการกรุงไทยยุววาณิช ของธนาคารกรุงไทย เธอคือแรงบันดาลใจของส�ำนักงาน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และอื่นๆ นั้น ล้วนเป็น การกระตุ ้ น เป็ น แรงจู ง ใจให้ นั ก เรี ย นท� ำ งานให้ ไ ด้ ตามเป้ า หมายอย่ า งมี คุ ณ ภาพและผลการตั ด สิ น การประกวดก็ เ ป็ น ตั ว ประเมิ น ว่ า ผลงานของนั ก เรี ย น อยู่ระดับใด ที่ผ่านมากล่าวได้ว่ ารู้สึกภูมิใจกับผลงาน นักเรียนเป็นอย่างยิ่ง

ผลทีเ่ กิดแก่นกั เรียนกลุม่ การ์ตนู และลายไทย 3 มิติ เห็นได้ชัดเจนแบ่งได้ 5 ด้าน ดังนี้

ด้านคุณธรรม 1. มีความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน มุ่งมั่นและ เจตคติที่ดีต่องานที่ท�ำ 2. มีวนิ ยั ในตนเอง ความรักและสามัคคีในกลุม่ เพื่อนร่วมงาน 3. มีความรับผิดชอบและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดขยะในท้องถิ่น 4. มีจิตใจเรื่องการแบ่งปันความรู้ให้ดีขึ้น

ด้านความรู้ 1. เกิดองค์ความรูก้ ารน�ำกระดาษทีใ่ ช้แล้วกลับ มาประยุกต์ใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า 2. มีความรู้การเลือกวัสดุและการใช้อุปกรณ์ ได้ถูกต้องกับชิ้นงาน 3. มีความรู้ทางเทคโนโลยีการใช้คอมพิวเตอร์ ผลิตคลิปอาร์ตการ์ตูนไทยและลายไทย 3 มิติ 4. มี ค วามรู ้ พื้ น ฐานผู ้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ การจัดท�ำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพื่อก�ำหนดราคาจ�ำหน่าย ด้านทักษะทางปัญญา 1. ใช้ทักษะทางศิลปะส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ด้วยการ์ตูนและลายไทย 3 มิติ 2. วางแผนธุ ร กิ จ และการวางกลยุ ท ธ์ ท าง การตลาดที่โดดเด่นแปลกใหม่ในรูปบริษัท 3. วางแผนสร้างเครือข่ายธุรกิจในกลุ่มเพื่อน และน้อง ตลอดจนสมาชิกในครอบครัว 4. พั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ห ลากหลายทั้ ง ภาพ การ์ตูน และของใช้ ของประดับตกแต่งได้สวยงาม ด้านความสัมพันธ์และความรับผิดชอบ 1. อนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม น�ำสิ่งที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ 2. ลดมลภาวะในสิ่งแวดล้อม ลดจ�ำนวนขยะ ในท้องถิ่น 3. การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ สร้างรายได้ ระหว่างเรียน 4. แบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และการน�ำไปใช้ 1. พัฒนาชิ้นงานแปลกใหม่โดยใช้เทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบชิ้นงาน 2. วิเคราะห์ชอ่ งทางการจ�ำหน่ายสินค้าขยายผล การสร้างบริษัท


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

3. ใช้ ห ลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย งของ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว มาด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ และ การบริหารจัดการองค์กร

ผลงานที่เป็นความภาคภูมิใจของโรงเรียน ครู และนักเรียน ได้แก่

1. บริ ษั ท ผลิ ต ศิ ล ป์ ไ ด้ รั บ รางวั ล ชนะเลิ ศ โครงการกรุงไทยยุววาณิช ปี 2552 ได้รับเงินรางวัล 390,000 บาท และได้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งครูและนักเรียน

2. ได้ รั บ รางวั ล ดี เ ยี่ ย มในงานมหกรรม การประกวดนวัตกรรมทางการศึกษา ระดับภาคกลาง และภาคตะวันออก ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 3. ได้ รั บ รางวั ล โล่ เ กี ย รติ ย ศสื่ อ พั ฒ นา การเรียนรู้มีคุณภาพระดับดีเด่น ในงานมหกรรมรวมพลัง ปฏิรูปการศึกษาไทย ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานร่วมกับสมาคมพัฒนาวิชาชีพครู 4. ได้รบั รางวัลดีเยีย่ มหนึง่ โรงเรียน หนึง่ นวัตกรรม ในงานเปิดบ้านนวัตกรรมการศึกษาจากส�ำนักงานเขตพืน้ ที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 5. นักเรียนรุ่นใหม่ได้จัดตั้งบริษัท Gift Roses จ�ำกัด ธุรกิจ “ผลิตเครื่องประดับจากขนมปัง” ได้รับ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โครงการกรุงไทยยุววาณิช ปี 2555 ได้รบั รางวัล 350,000 บาท และได้ไปศึกษาดูงาน ที่ประเทศจีน ทั้งครูและนักเรียน

ปัจจัยสู่ความส�ำเร็จและบทเรียนที่ ได้รับ

1. กระบวนการจัดการเรียนรู้ ครูตอ้ งให้โอกาส นักเรียนคิดและปฏิบตั จิ ริงให้มากทีส่ ดุ ครูเป็นคนอ�ำนวยการ ช่วยเหลือนักเรียนให้เขาสามารถท�ำงานได้บรรลุเป้าหมาย 2. ครูใกล้ชิดกับนักเรียน เป็นเสมือนเพื่อน พี่ ที่ลูกศิษย์รัก เคารพและไว้วางใจ 3. กลยุทธ์การส่งเสริมให้นักเรียนส่งผลงาน เข้าประกวดแข่งขันเพื่อกระตุ้นการท�ำงานของนักเรียน 4. นโยบายของโรงเรียนที่เน้นเรียนรู้ทฤษฎี ในห้องปฏิบัติจริงนอกห้องเรียน นี่คือ 1 ใน 29 ศูนย์แกนน�ำขยายเครือข่ายของ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคณ ุ ธรรม น�ำสูเ่ ศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ควรแก่การภาคภูมิใจ

55


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

56 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

บาติกลูกคุณหญิง

อาจารย์รชั ดาพรรณ์ วัชพัฒน์ ครูผสู้ อนได้เล่าถึง แรงบั น ดาลใจของการคิ ด สอนให้ นั ก เรี ย นท� ำ ผ้ า บาติ ก เนื่องจากโรงเรียนชะอ�ำคุณหญิงเนื่องบุรี อ�ำเภอชะอ�ำ จั ง หวั ด เพชรบุ รี สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา มั ธ ยมศึ ก ษา เขต 10 ว่ า เป็ น โรงเรี ย นประจ� ำ อ� ำ เภอ ที่เปิดท�ำการสอนนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ตั้ ง อยู ่ ใ นพื้ น ที่ ที่ เ ป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วคื อ ชายหาดชะอ� ำ ซึ่ ง เป็ น ที่ รู ้ จั ก ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วทั้ ง ชาวไทยและ ชาวต่ า งประเทศ นั ก เรี ย นส่ ว นใหญ่ เ ป็ น นั ก เรี ย นที่ มี บ้านพักอาศัยในต�ำบลชะอ�ำ และต�ำบลใกล้เคียง ดังนั้น ชุ ม ชนจึ ง มี ก ารท� ำ อาชี พ เสริ ม เพื่ อ รองรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว จากการพบปะพู ด คุ ย และมี ก ารประชุ ม ผู ้ ป กครอง พบว่ า อาชี พ ที่ ผู ้ ป กครองท� ำ มากที่ สุ ด ได้ แ ก่ อาชี พ รั บ จ้ า งและบริ ก ารต่ า งๆ รองลงมาคื อ อาชี พ ค้ า ขาย ในวันหยุดหรือเทศกาลต่างๆ นักเรียนในโรงเรียนชะอ�ำ คุ ณ หญิ ง เนื่ อ งบุ รี ต้ อ งท� ำ งานช่ ว ยเหลื อ ครอบครั ว

หารายได้ ดั ง นั้ น จึ ง เล็ ง เห็ น ความส� ำ คั ญ ในการสร้ า ง งานอาชี พ ให้ กั บ นั ก เรี ย นโดยจั ด การเรี ย นการสอน ที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน จึงได้จัดท�ำหลักสูตร สถานศึ ก ษาของกลุ ่ ม สาระการเรี ย นรู ้ ก ารงานอาชี พ และเทคโนโลยี โดยเปิดสอนงานอาชีพให้กับนักเรียน ในรายวิชาเพิม่ เติมงานบาติกในระดับชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 5 เพือ่ ให้นกั เรียนได้เลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจ เพื่อสร้างอาชีพการท�ำผ้าบาติก


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

หลักสูตรผ้าบาติกดังกล่าว อาจารย์รชั ดาพรรณ์ ได้ปรับปรุงด้วยตนเองมาตามล�ำดับโดยน�ำองค์ความรู้ ที่ได้จากโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจ สร้ า งสรรค์ บรรจุ ใ นสาระส� ำ คั ญ ให้ นั ก เรี ย นคิ ด เป็ น ท�ำได้ ขายเป็น ตามสโลแกนของโครงการ ใช้เวลาสอน 20 สัปดาห์ๆ ละ 4 ชั่วโมง เป็นเวลา 80 ชั่วโมง/ภาคเรียน แบ่งเป็น 5 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้พื้นฐานในการ ท� ำ ผ้ า บาติ ก ตั้ ง แต่ ค วามเป็ น มา วิ วั ฒ นาการ วั ส ดุ อุ ป กรณ์ แ ละการใช้ ขั้ น ตอนการท� ำ ผ้ า บาติ ก ความรู้เรื่องผ้า การเตรียมผ้า วิธีการลอกลาย วิธีการ เขี ย นเส้ น เที ย น วิ ธี ก ารย้ อ มสี การลงสี วิ ธี ก าร ใช้ น�้ ำ ยาเคมี กั น สี ต ก การต้ ม เที ย น และการตกแต่ ง ให้ส�ำเร็จเป็นชิ้นงาน หน่ ว ยการเรี ย นรู ้ ที่ 2 กระบวนการท� ำ ผ้าบาติกแบบต่างๆ เช่นการท�ำผ้าเช็ดหน้าลายต่างๆ การท�ำผ้าตกแต่ง การท�ำเสื้อยืด และการท�ำผ้าตัดเสื้อ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เทคนิคการสร้างสรรค์ ผ้าบาติก ได้แก่ เทคนิคการสไลด์สี เทคนิคเส้นขี้ผึ้งเหลว หลากสี เทคนิ ค การออกแบบเส้ น เที ย นแบบอิ ส ระ และเทคนิคโรยเกลือให้เกิดลาย หน่ ว ยการเรี ย นรู ้ ที่ 4 โครงงานอาชี พ ผ้าบาติก ได้แก่ วิธีการเขียนโครงงาน ขั้นตอนการท�ำ โครงงาน การปฏิบัติ การประเมินผลและการรายงานผล การด�ำเนินโครงงาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การสร้างนักธุรกิจน้อย มีคณ ุ ธรรม โดยให้ความรูค้ วามเข้าใจการเป็นผูป้ ระกอบการ ที่ มี คุ ณ ธรรมแก่ นั ก เรี ย น จั ด ตั้ ง กลุ ่ ม นั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ย การคิด การออกแบบ การผลิตสินค้า การออกแบบ บรรจุภณ ั ฑ์ ทรัพย์สนิ ทางปัญญา ได้แก่ สิทธิบตั ร ลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้า เป็นต้น

57


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

58 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

จะเห็นว่า รายวิชาเพิ่มเติมผ้าบาติกที่อาจารย์ รัชดาพรรณ์ จัดท�ำขึ้นเป็นโครงสร้างการจัดการเรียนรู้ที่ ครบวงจรจริงๆ ตั้งแต่สอนให้เด็กคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ แปลกใหม่ ลงมือปฏิบตั งิ านจริง น�ำไปจดทะเบียนทรัพย์สนิ ทางปัญญา สามารถจ�ำหน่ายในชุมชนและขยายตลาด ทางอินเทอร์เน็ต กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส�ำคัญคือ • จั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ แ บบโครงงาน ให้นักเรียนเลือกเรียนรู้ตามความสนใจ มีการวางแผน การท�ำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ รู้จักแสวงหาความรู้ จากแหล่ ง ต่ า งๆ แล้ ว ลงมื อ ปฏิ บั ติ จ ริ ง ด้ ว ยตนเอง จนสามารถสรุ ป เป็ น องค์ ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ สิ น ค้ า กั บ สิ่ ง ที่ ค ้ น พบได้ การจั ด ตั้ ง กลุ ่ ม นั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ยเพื่ อ ฝึ ก ประสบการณ์ ก ารท� ำ ธุ ร กิ จ ที่ มี ก ารสร้ า งและพั ฒ นา ผลงานอย่างสร้างสรรค์ โดยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และคุ ณ ลั ก ษณะที่ พึ ง ประสงค์ ใ นการเป็ น นั ก ธุ ร กิ จ ทีป่ ระสบความส�ำเร็จ คือ ความซือ่ สัตย์ ขยัน อดทน มุง่ มัน่ กตัญญู ไปพร้อมๆ กัน • การส่ ง เสริ ม ให้ นั ก เรี ย นน� ำ เทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการ พัฒนาองค์ความรู้ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภณ ั ฑ์

• ฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้วงจรคุณภาพ PDCA ในการพัฒนางาน P (Plan) = การวางแผน D (Do) = การปฏิบัติ C (Check) = การตรวจสอบ A (Action) = ประเมินผลและพัฒนางาน ให้ดียิ่งขึ้น ด้ ว ยกระบวนการจั ด การเรี ย นรู ้ ดั ง กล่ า ว นั ก เรี ย นสามารถสร้ า งสรรค์ ผ ลงานโครงงานอาชี พ ผ้าบาติกสไตล์ใหม่ที่ไม่เหมือนใคร สามารถน�ำผลงาน ไปแข่งขันทักษะทางวิชาการ จัดนิทรรศการ สาธิตและ ประเมินโรงเรียนพระราชทาน ประเมินเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึ ก ษา และสาธิ ต ให้ กั บ หน่ ว ยงานต่ า งๆ จนเป็นทีร่ จู้ กั และสร้างชือ่ เสียงให้กบั ทางโรงเรียนทัง้ ยังน�ำ ผลงานของนักเรียนเข้าแข่งขันทักษะวิชาการโครงงานอาชีพ ประเภททีม ได้รับรางวัลชนะเลิศมาตรฐานเหรียญทอง ที่ 1 ระดับเขตพืน้ ที่ และได้รบั รางวัลมาตรฐานเหรียญทอง ระดับภาค ปี 2553-2555 นักเรียนสามารถน�ำผลงาน เข้าร่วมแข่งขันโครงการกรุงไทยยุววาณิช ของธนาคาร กรุงไทย ได้ผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย ได้รับรางวัล เป็นแชมป์ระดับภาค ปีการศึกษา 2555


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ด้วยผลงานเชิงประจักษ์ ส�ำนักพัฒนานวัตกรรม การจั ด การศึ ก ษา ได้ คั ด เลื อ กโรงเรี ย นชะอ� ำ คุ ณ หญิ ง เนื่องบุรีและสนับสนุนงบประมาณ จัดตั้งเป็นศูนย์แกนน�ำ ขยายเครื อ ข่ า ยโครงการนั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ยมี คุ ณ ธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้แก่โรงเรียนอื่นที่สนใจด้วย นอกจากนี้ โ รงเรี ย นได้ รั บ การคั ด เลื อ ก เป็นโรงเรียนทดลองงานวิจัย เรื่อง รูปแบบการสร้าง นั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ยมี คุ ณ ธรรม สร้ า งทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญา สู ่ เ ศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ ของส� ำ นั ก พั ฒ นานวั ต กรรม การจัดการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน โดยมีอาจารย์ปราโมทย์ ธรรมรัตน์ นักวิจัย จากมหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ เ ป็ น ที่ ป รึ ก ษา ท� ำ ให้ ได้ รู ป แบบการสร้ า งนั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ยด้ ว ยกระบวนการ พัฒนาชีวิตสู่ความส�ำเร็จด้วยการสร้างโปรแกรมสมอง ปลูกฝังความดี วิธีการสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน การเปลี่ ย นเส้ น ทางชี วิ ต โดยการตั้ ง เป้ า หมายชี วิ ต การคิดสร้างสรรค์งาน จนกระทัง่ การน�ำผลงานจดทะเบียน ทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก อาจารย์ รั ช ดาพรรณ์ ไ ด้ น� ำ ความรู ้ ไ ปใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ กั บ นักเรียน ครู และโรงเรียนอย่างมากดังที่กล่าวมาแล้ว ผลงานนักเรียนได้น�ำไปจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา หลายรายการ ได้แก่ 1. ลิขสิทธิ์ ผ้าบาติกลายพระนครคีรี 2. ลิขสิทธิ์ ผ้าบาติกลายคุณหญิงโมเดิร์น 3. ลิขสิทธิ์ ผ้าบาติกลายคุณหญิงคลาสสิค 4. ลิขสิทธิ์ ภาพประดิษฐ์ลายนูนทีท่ ำ� จากทราย ชื่อ Art Sary Group 5. ลิขสิทธิ์ หนังสือ การศึกษาผักบุ้งทะเล ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผ้าบาติกลายพระนครคีรี

ผ้าบาติกลายคุณหญิงโมเดิร์น

ผ้าบาติกลายคุณหญิงคลาสสิค

ภาพประดิษฐ์ลายนูนที่ท�ำจากทราย

59


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

60 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

และยังมีผลงานที่เกิดจากการสอนให้นักเรียน ท�ำโครงงาน ท�ำให้นักเรียนมีผลงาน จดทะเบียนทรัพย์สิน ทางปัญญาอื่นๆ อีก 4 รายการ ได้แก่ 1. อนุสิทธิบัตร เรื่อง เครื่องดื่มกระเจี๊ยบและ พุทราจีนเป็นส่วนผสมและวิธีการท�ำ 2. ลิขสิทธิ์ ดอกผักบุ้งทะเลรัชดาพรรณ์

3. อนุสทิ ธิบตั ร เรือ่ ง วิธกี ารท�ำดอกผักบุง้ ทะเล ให้มีรูปร่างเหมือนดอกไม้จริง 4. อนุ สิ ท ธิ บั ต ร เรื่ อ ง แชมพู ที่ มี ส ่ ว นผสม เป็นผักบุ้งทะเลและวิธีการท�ำ ทั้งนี้ได้มีการจดลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้าของ โรงเรียน “ผลิตภัณฑ์ลูกคุณหญิง” ด้วย


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ลูกคุณหญิงที่ด้านหน้าของโรงเรียนอีกด้วย ผลิตภัณฑ์ นักเรียนของโรงเรียนชะอ�ำคุณหญิงเนื่องบุรี สามารถ สร้างรายได้ให้กับนักเรียนอย่างงดงาม

จากทีก่ ล่าวข้างต้นจะเห็นว่าอาจารย์รชั ดาพรรณ์ ได้จัดการเรียนรู้ด้วยการสร้างประสบการณ์ให้นักเรียน ได้ สั ม ผั ส การประกอบอาชี พ ธุ ร กิ จ อย่ า งครบวงจร บรรลุ เ ป้ า หมายของหลั ก สู ต รที่ ว างไว้ ใ ห้ นั ก เรี ย นด้ ว ย การปฏิบัติจริง ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกลูกคุณหญิง ได้น�ำผ้าบาติกลายต่างๆ ที่ออกแบบไว้ไปแปรรูปเป็น ชุดสตรี เสื้อบุรุษ เสื้อสตรีส�ำเร็จรูป ปลอกหมอนอิง และ กระเป๋าแบบต่างๆ เป็นต้น ได้รับการตอบรับจากตลาด เป็ น อย่ า งดี ลู ก ค้ า มี ค วามพึ ง พอใจมากโดยเฉพาะ การออกแบบผ้าบาติกลายพระนครคีรีไว้ในคอมพิวเตอร์ แล้ ว ให้ ลู ก ค้ า สามารถออกแบบสี ไ ด้ ด ้ ว ยตนเอง ตามความต้ อ งการ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องนั ก เรี ย นได้ น� ำ ออกจ�ำหน่ายทางอินเทอร์เน็ต ได้ร่วมงานที่ได้รับเชิญ ต่ า งๆ พร้ อ มทั้ ง เปิ ด ร้ า นค้ า จ� ำ หน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์

ปัจจัยความส�ำเร็จกล่าวได้ว่าอยู่ที่

1. โอกาสของโรงเรี ย นที่ ไ ด้ รั บ งบประมาณ สนับสนุนในการพัฒนางานอาชีพในฐานะเป็นโรงเรียน ในฝัน 2. การได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ และได้รับ การสนั บ สนุ น งบประมาณจากโครงการนั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ย มีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 3. ความตั้ ง ใจของครู ที่ ไ ม่ ห ยุ ด นิ่ ง ในการ พัฒนาการเรียนการสอน 4. ผู้บริหารให้การสนับสนุน 5. โรงเรี ย นมี ร ้ า นจ� ำ หน่ า ยของโรงเรี ย น เป็นสัดส่วน มีสภาพแวดล้อม ท�ำเลที่ตั้งของโรงเรียน อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้สม�่ำเสมอ ท�ำให้นักเรียนมีก�ำลังใจในการผลิต 6. การน�ำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ อย่างเหมาะสม เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ การจ�ำหน่าย เป็นต้น

ร้านจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ลูกคุณหญิง

61


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

62 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ผลิตภัณฑ์กระจูดทะเลน้อยพนางตุง ระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 1-6 อาจารย์ บุ ญ ขั น ธ์ ศิ ล ปะนุ รั ก ษ์ ครู ผู ้ ส อนเล่ า ว่ า แรงบั น ดาลใจที่ จั ด ท� ำ หลั ก สู ต รนี้ ขึ้ น มาเนื่ อ งจากเขตบริ ก ารการศึ ก ษาของ โรงเรียนอยู่ในพื้นที่ทะเลน้อย ซึ่งมีต้นกระจูดอันเป็น พืชตระกูลเดียวกับกกขึ้นอยู่เป็นจ�ำนวนมาก เนื่องจาก ภูมิประเทศอ�ำนวย คือเป็นพื้นที่ลุ่ม มีน�้ำขังตลอดเวลา มีดินโคลน ซึ่งเรียกว่าพรุ ภาคใต้จะเรียกว่า “โพระ” กระจูดจ�ำนวนมากนี้มีทั้งจากที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และชาวบ้ า นเพาะปลู ก มี พื้ น ที่ ก ระจู ด นั บ พั น ไร่ กล่ า วได้ ว ่ า เป็ น แหล่ ง ผลิ ต กระจู ด ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ของ จังหวัดพัทลุง ชาวบ้านแถบนีไ้ ม่ตำ�่ กว่า 80% ท�ำผลิตภัณฑ์ จากกระจูดเพื่อเลี้ยงชีพ แต่มีแนวโน้มว่าถ้าไม่ปลูกฝัง เด็ ก รุ ่ น ใหม่ งานหั ต ถกรรมประเภทนี้ จ ะลดน้ อ ยลง เนื่องจากนักเรียนไปเรียนหนังสือนอกพื้นที่จบการศึกษา ออกมาก็ไปประกอบอาชีพอื่นกันหมด ไม่สืบทอดอาชีพ และวิชาของพ่อแม่อีกต่อไป ผลงานผลิตภัณฑ์งานสานกระจูดของโรงเรียน พนางตุ ง เป็ น อี ก หนึ่ ง ความพยายามของสถานศึ ก ษา ที่จะด�ำรงรักษางานหัตถศิลป์ไทย ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญา และองค์ความรู้ที่สั่งสมสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน โรงเรียนพนางตุง ตั้งอยู่ในพื้นที่ต�ำบลพนางตุง อ�ำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 จัดการเรียนการสอน


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

อาจารย์บญ ุ ขันธ์เล่าว่า เปิดสอนวิชาผลิตภัณฑ์ จากกระจู ด เป็ น วิ ช าเลื อ กเสรี ใ ห้ นั ก เรี ย นเลื อ กเรี ย น เป็นครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2542 โดยเปิดให้นักเรียน เลื อ กตามความสนใจและความถนั ด ปรากฏว่ า ไม่ มี นั ก เรี ย นเลื อ กเรี ย น เนื่ อ งจากไม่ เ ห็ น ความส� ำ คั ญ จากการส�ำรวจข้อมูลของฝ่ายวิชาการ พบว่า นักเรียน ที่ เรี ย นอยู ่ ใ นโรงเรี ย นขณะนั้ น ร้ อ ยละ 6.12 เท่ า นั้ น ที่ มี พื้ น ฐานในงานจั ก สาน และนั ก เรี ย นมี ค วามคิ ด ว่ า การเรี ย นวิ ช าดั ง กล่ า วไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งเรี ย นในโรงเรี ย น และรู ้ สึ ก อายที่ เ ลื อ กเรี ย นวิ ช าเหล่ า นี้ ตลอดจน ผู้ปกครองไม่ให้การสนับสนุน แต่ฝ่ายบริหารโรงเรียน มี ค วามคิ ด ว่ า ภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ก� ำ ลั ง จะสู ญ หายไป จึงเปลี่ยนไปเปิดเป็นกิจกรรมชุมนุมและมอบหมายให้ตน เป็นครูที่ปรึกษา ได้ด�ำเนินกิจกรรมจนสิ้นปีการศึกษา ผลงานนักเรียนที่ท�ำได้ไม่มีคุณภาพ เนื่องจากครูผู้สอน ไม่ใช่คนในท้องถิน่ ไม่มคี วามช�ำนาญ และนักเรียนส่วนใหญ่ ไม่มีพื้นฐานในการจักสาน ดังนั้นในปีการศึกษาถัดไป ครู ผู ้ ส อนได้ เ ปิ ด สอนเป็ น รายวิ ช าเพิ่ ม เติ ม ใหม่ อี ก ครั้ ง มีนกั เรียนเลือกเรียน จ�ำนวน 6 คน ครูผสู้ อนได้ปรับเปลีย่ น วิธีสอน โดยน�ำนักเรียนออกไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เรียนรูร้ ว่ มกันระหว่างครูและนักเรียน จากประสบการณ์จริง ทุ ก ขั้ น ตอนของการท� ำ งาน จั ด หาวิ ท ยากรท้ อ งถิ่ น

มาช่ ว ยสอน มี ก ารคิ ด ค้ น พั ฒ นาวิ ธี ก ารเตรี ย มวั ส ดุ รูปแบบชิน้ งาน พัฒนาการย้อมสีกระจูดเพือ่ เพิม่ ความสดใส ของสี การอบควันก�ำมะถันเพื่อป้องกันมอดและแมลง การพัฒนาลายสานแบบต่างๆ ผลงานนักเรียนมีคุณภาพ มากขึ้นตามล�ำดับ ได้รับการยอมรับ สามารถจ�ำหน่ายได้ ในปี 2546 ท� ำ ให้ นั ก เรี ย นเกิ ด ความภาคภู มิ ใ จ จึงรวมกลุ่มกันจักสานกระจูดและสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ ของตั ว เองออกจ� ำ หน่ า ย ผู ้ ป กครองและชุ ม ชนให้ ความร่วมมือมากขึน้ ประจวบกับโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ นั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ยมี คุ ณ ธรรม น� ำ สู ่ เ ศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ ในปี 2553 โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ให้นักเรียน เห็ น คุ ณ ค่ า และความส� ำ คั ญ ของการประกอบธุ ร กิ จ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้จ�ำหน่ายได้ตามความต้องการ ของตลาด ซึ่งไม่มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร แกนกลาง ครู ผู ้ ส อนได้ ส อดแทรกเนื้ อ หาเรื่ อ งธุ ร กิ จ ในรายวิ ช าผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ากกระจู ด ท� ำ ให้ นั ก เรี ย น ได้มโี อกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทีห่ น่วยงานทางการศึกษา หรื อ องค์ ก รอื่ น ๆ จั ด ขึ้ น อั น เป็ น ประสบการณ์ ต รง ที่ นั ก เรี ย นสามารถสร้ า งองค์ ค วามรู ้ ไ ด้ ด ้ ว ยตนเอง แรงบั น ดาลใจการพั ฒ นานั ก เรี ย นคื อ ความส� ำ เร็ จ ของ ก้ า วแรก เช่ น เมื่ อ นั ก เรี ย นน� ำ เชื อ กรั ด ผมที่ มี ด อกไม้ ดอกใหญ่ๆ มาผูกติดกับกระเป๋า มีคนสนใจมาขอซื้อด้วย

63


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

64 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ราคาทีส่ งู กว่าราคาเดิมทีข่ ายอยู่ ท�ำให้นกั เรียนคิดจะพัฒนา รูปแบบของผลิตภัณฑ์ โดยน�ำวัสดุประเภทอื่นๆ เช่น ผ้า หนัง ดอกไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น มาตกแต่งผลิตภัณฑ์ ให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ สามารถ เรียนรู้วิธีการคิดต้นทุนก�ำไรในการจัดจ�ำหน่าย กว่าจะมาถึงวันนี้ จะเห็นได้ว่าครูผู้สอนไม่มี ประสบการณ์ จึ ง พั ฒ นาตนเองไปพร้ อ มกั บ นั ก เรี ย น พบปั ญ หาอุ ป สรรคอย่ า งมาก แต่ ด ้ ว ยการเป็ น นั ก สู ้ ปั ญ หาจึ ง ไม่ ใช่ อุ ป สรรคของการท� ำ งาน ยั ง คงมุ ่ ง มั่ น ก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างไม่ท้อถอย มีการพัฒนารายวิชา กระบวนการและกิจกรรมการเรียนรู้ จนท�ำให้นักเรียน เริม่ หันกลับมาสนใจศึกษาในสิง่ ทีเ่ ขามองข้ามไปในครัง้ แรก

หลั ก สู ต รการสอนของรายวิ ช าเพิ่ ม เติ ม ผลิตภัณฑ์จากกระจูด ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักในการก�ำหนด ทิศทางการจัดการเรียนรู้นั้น มีสาระส�ำคัญ คือ การรู้จัก ธรรมชาติและชนิดของกระจูด ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ กระจู ด ใหญ่ และกระจู ด หนู ซึ่ ง มี ต ้ น เล็ ก สั้ น เหนี ย ว น้อยกว่ากระจูดใหญ่ การเตรียมกระจูดเพื่อท�ำผลิตภัณฑ์ วิธีการจักสานแบบต่างๆ ขั้นตอนการท�ำผลิตภัณฑ์และ บรรจุภัณฑ์ การเลือกใช้และเก็บรักษาเครื่องมืออุปกรณ์ การวางแผนปฏิบัติงาน การประเมินผลและปรับปรุง ผลงาน ธุรกิจและกระบวนการท�ำธุรกิจผลิตภัณฑ์กระจูด

ที่มีคุณธรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา การท� ำ บั ญ ชี ร ายรั บ -รายจ่ า ย การก� ำ หนดราคาขาย และจั ด จ� ำ หน่ า ย โดยใช้ ก ระบวนการกลุ ่ ม เพื่ อ พั ฒ นา นั ก เรี ย นให้ มี ทั ก ษะการแสวงหาความรู ้ มี ทั ก ษะ กระบวนการท�ำงาน การบริหารจัดการ การแก้ปัญหา สามารถน�ำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจ�ำวัน เพื่อช่วยเหลือ ตนเอง ครอบครัวและสังคม เห็นแนวทางในการประกอบ อาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม เจตคติ และลักษณะนิสัย ที่ดีในการท�ำงาน สามารถด�ำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่าง มีความสุขบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาและ ฝ่ า ยวิ ช าการ โรงเรี ย นพนางตุ ง ได้ จั ด เวลาให้ นั ก เรี ย น มั ธ ยมศึ ก ษาตอนต้ น ทุ ก คนต้ อ งศึ ก ษาเรื่ อ งกระจู ด ในรายวิชาพืน้ ฐาน กลุม่ สาระการเรียนรูก้ ารงานอาชีพและ เทคโนโลยี โดยบูรณาการสอดแทรกเนือ้ หาในงานประดิษฐ์ งานบ้านร่วมกับอาจารย์ปญ ั ญา หนูราช ให้เป็นหน่วยหนึง่ ในรายวิ ช าพื้ น ฐาน ชื่ อ หน่ ว ยประดิ ษ ฐ์ ข องใช้ ใ นบ้ า น จากวั ส ดุ ท ้ อ งถิ่ น และเปิ ด การสอนหลั ก สู ต รท้ อ งถิ่ น เป็นสาระเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดผลงานนักเรียนรายวิชา ผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ากวั ส ดุ ท ้ อ งถิ่ น ในระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษา ปีที่ 1 รายวิชาประดิษฐ์ของใช้ในบ้าน ส�ำหรับระดับชั้น


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

มัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 และจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานอาชีพในระดับ ชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 5 เพือ่ ปลูกจิตส�ำนึกนักเรียนให้เห็นคุณค่าของภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ และมรดกทางวัฒนธรรม โดยมีผู้บริหารและคณะครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยีและกลุม่ สาระอืน่ ๆ ให้ความร่วมมือด้วยดี ผูป้ กครอง เห็นความส�ำคัญสนับสนุนให้นกั เรียนเข้าร่วมกิจกรรมและให้ความร่วมมือในการ ท�ำกิจกรรมของโรงเรียนอย่างเต็มความสามารถและร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์จนได้รบั รางวัลชนะเลิศในการแข่งขันเกี่ยวกับการจักสานในระดับองค์กร ระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติ ผลงานนักเรียนได้รบั รางวัลระดับชาติตดิ ต่อกันถึง 5 ปี

อาจารย์บุญขันธ์ ให้ความรู้ว่า อุปกรณ์การท�ำผลิตภัณฑ์กระจูด ได้แก่ ต้นกระจูด ซึ่งใช้กระจูดใหญ่ ลูกกลิ้ง เครื่องรีดกระจูดให้แบน กรรไกร สีย้อมผ้า ภาชนะที่ใช้ย้อมสี และจักรเย็บผ้าส�ำหรับรอยต่อ การเตรียมกระจูด ต้องให้ความส�ำคัญตั้งแต่การคัดแยกขนาดและ ความยาวของกระจูด การท�ำกระจูดให้แห้ง การป้องกันเชื้อรา การรีดหรือ ท�ำให้แบน การย้อมสี ซึ่งระยะเวลาการย้อมต้องก�ำหนดเวลาให้เท่ากันทุกครั้ง มิฉะนัน้ จะได้กระจูดสีไม่เสมอกัน รวมถึงการเก็บรักษาให้ถกู วิธี กรรมวิธกี ารเตรียม กระจู ด ของคนพนางตุ ง จะต้ อ งน� ำ ต้ น กระจู ด คลุ ก ดิ น ขาวก่ อ นตากแดด ให้แห้ง แล้วจึงทุบให้แบน เพือ่ ให้นมิ่ หากต้องการสีสนั ก็นำ� ไปย้อมก่อนน�ำมาสาน การสานกระจูดจะเริ่มจากริม ท่าสานคือนั่งขัดสมาธิ หรือนั่งชันเข่าข้างเดียว เมื่ อ สานต้ อ งให้ ป ลายต้ น กั บ โคนต้ น สลั บ กั น มิ ฉ ะนั้ น จะท� ำ ให้ เ สี ย รู ป ได้ เพราะโคนต้นจะโตกว่าส่วนปลาย หมูบ่ า้ นแถบทะเลน้อยสานลายต่างๆ ไม่นอ้ ยกว่า 20 ลาย เช่น ลายสอง ลายสาม ลายสี่ ลายดอกจันทน์ ลายก้านต่อดอก ลายดาวล้อมเดือน ลายดอกพิกุล ลายดอกไม้ ลายใยแมงมุม ลายลูกแก้ว ฯลฯ บางลายก็สญ ู หายไปแล้วต้องกลับมาฟืน้ ฟูกนั ใหม่ งานสานกระจูดสามารถสานได้ ตัง้ แต่เด็กอายุ 7 ขวบ ถ้าเขาได้รบั การฝึกหัด งานสานกระจูดเป็นงานทีเ่ กือบพูดได้วา ่

65


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

66 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ท�ำไม่ยาก และไม่ง่าย อยู่ที่ฝีมือ ความประณีต สานเสร็จ ตกแต่ง เก็บริม หรือพับริม ตัดปลายเส้นกระจูดทีเ่ หลือออก เท่านัน้ ก็เสร็จเรียบร้อย ผลงานบางชิน้ เช่น โต๊ะ มีการน�ำไป จดลิขสิทธิร์ ปู แบบกับกระทรวงพาณิชย์แล้ว เป็นการสอน ให้นักเรียนเรียนรู้การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของ ตนเอง และการไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น เป็นความภาคภูมิใจของนักเรียนและผู้เกี่ยวข้องทุกคน วิธกี ารจัดการเรียนรูท้ สี่ ำ� คัญคือ การให้นกั เรียน ได้ สั ม ผั ส ของจริ ง การสร้ า งประสบการณ์ ใ ห้ นั ก เรี ย น ต้องปฏิบัติจริงและต่อเนื่อง โดยครูต้องทุ่มเท เสียสละ รั ก ในสิ่ ง ที่ ท� ำ มี สั ม พั น ธภาพระหว่ า งครู แ ละนั ก เรี ย น ดั ง แม่ กั บ ลู ก การจั ด การเรี ย นการสอนวิ ช านี้ นั ก เรี ย น ให้ความสนใจจ�ำนวนมากขึ้น ผลิตภัณฑ์ขายดีทุกครั้ง เมื่ อ ไปร่ ว มจั ด งานต่ า งๆ ท� ำ ให้ นั ก เรี ย นตื่ น เต้ น กั บ ประสบการณ์ใหม่ๆ มีรายได้ระหว่างเรียน ใช้เวลาว่าง อย่ า งเป็ น ประโยชน์ มี ส มาธิ ใ นการเรี ย น ผู ้ ป กครอง มอบความไว้ ว างใจลู ก กั บ ครู ให้ ลู ก ใช้ เ วลากั บ งาน ผลิ ต กระจู ด ที่ โรงเรี ย นทั้ ง วั น เสาร์ - อาทิ ต ย์ โรงเรี ย น จึงต่อยอดจัดเป็นกลุม่ สนใจ เพือ่ รองรับนักเรียนทีต่ อ้ งการ

ท�ำงานต่อเนื่อง มีการออกแบบผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ มีร้านส�ำหรับจ�ำหน่ายผลงานและผลิตภัณฑ์ นักเรียน ท�ำให้นกั เรียนเรียนรูด้ ว้ ยการท�ำงานอย่างต่อเนือ่ ง นักเรียนบางคนเมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนได้เรียนต่อ ในสายอาชีพนีอ้ ย่างต่อเนือ่ ง กลายเป็นผูป้ ระกอบการ SME ที่มีชื่อเสียง และกลับมาช่วยน้องๆ เป็นบางโอกาส ประสบการณ์จากคิดเป็น ท�ำได้ ขายเป็นนี้ ท�ำให้นักเรียนเห็นคุณค่าและสร้างความมั่นใจในตัวเอง ในเรื่องของความสามารถในการสร้างงานที่เป็นอาชีพได้ นั บ เป็ น บั น ไดขั้ น แรกของการเป็ น นั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ย ที่มีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในขั้นตอนต่อๆ ไป อาจารย์บุญขันธ์ ศิลปะนุรักษ์ กล่าวปิดท้ายว่า ความส�ำเร็จที่มาถึงจุดนี้ได้เพราะครอบครัว เพื่อนครู ส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ทีส่ นับสนุน องค์ ค วามรู ้ ใ หม่ แ ละให้ โ อกาสนั ก เรี ย นน� ำ เสนอ ผลงานในเวที ต ่ า งๆ และผู ้ ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด คื อ ผู ้ บ ริ ห าร ของโรงเรี ย นที่ ส นั บ สนุ น และให้ ก� ำ ลั ง ใจครู แ ละ นั ก เรี ย นมาตลอด ท� ำ ให้ ค รู มี ก� ำ ลั ง ใจต่ อ สู ้ อุ ป สรรค และท�ำงานสร้างสรรค์สิ่งดีๆ มาถึงทุกวันนี้


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ผลิตภัณฑ์ลวดลายเวียงกาหลง

ผลิตภัณฑ์ลวดลายเวียงกาหลงของโรงเรียน แม่เจดีย์วิทยาคม สังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 36 ได้รับการคัดเลือกจากส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ให้นำ� ผลงานนักเรียน มาสาธิ ต และจ� ำ หน่ า ยในงานศิ ล ปหั ต ถกรรมนั ก เรี ย น ระดับชาติ ตั้งแต่ปี 2552 ติดต่อกันมาถึงปัจจุบัน เป็นการ การันตีคุณภาพของผลิตภัณฑ์ระดับสุดยอดผลิตภัณฑ์ ของ สพฐ. ด้านความประณีตและงดงาม มีการพัฒนา ผลงานใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องและหลากหลาย มีความ เป็นเอกลักษณ์แสดงถึงการด�ำรงรักษาวัฒนธรรมของ ท้ อ งถิ่ น เป็ น อย่ า งดี และที่ ส� ำ คั ญ คื อ สามารถพิ สู จ น์ ให้เห็นเชิงประจักษ์ได้ว่าเป็นฝีมือของนักเรียนจริง ลั ก ษณะส� ำ คั ญ ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ คื อ การน� ำ ลวดลายบนเครื่ อ งเคลื อ บดิ น เผาโบราณที่ ขุ ด พบใน ต�ำบลเวียงกาหลง อ�ำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย

อันเป็นพื้นที่เขตบริการของโรงเรียน น�ำมาสร้างสรรค์ ลงบนผลิตภัณฑ์ต่างๆ ด้วยกรรมวิธีเพ้นท์ การสกรีน การลงรักปิดทอง การปัก เป็นต้น ที่ ม าของผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ ป็ น ผลผลิ ต จากการ จั ด การเรี ย นการสอนหลั ก สู ต รท้ อ งถิ่ น ของโรงเรี ย น วิชาเครือ่ งปัน้ ดินเผาเวียงกาหลง โดยจัดกิจกรรมการเรียน การสอนลงสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง อาจารย์วงเดือน นันทาทอง ผู้สอนเล่าว่า ที่มาของหลักสูตรมีความสัมพันธ์ เกี่ ย วเนื่ อ งกั บ วิ ถี ชี วิ ต ของชุ ม ชนเวี ย งกาหลงซึ่ ง มี ประวัติศาสตร์มาเป็นระยะเวลายาวนานในเรื่องช่างฝีมือ เครื่องปั้นดินเผาที่แสดงถึงภูมิปัญญาของชุมชนที่สั่งสม และสืบทอดติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 700 ปี ทีพ่ บได้จาก ซากเตาเผาที่มีอยู่เป็นจ�ำนวนมากในท้องถิ่น เอกลักษณ์ อันโดดเด่นไม่เหมือนใครของเครือ่ งปัน้ ดินเผาเวียงกาหลง คือ ภาชนะที่มีน�้ำหนักเบา ขึ้นรูปได้บาง แกร่ง ใช้วัตถุดิบ จากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี มีการเขียนลายสีด�ำใต้เคลือบ ลวดลายที่นิยมเขียนมักเป็นภาพเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติ ท้องถิ่น ภาพสัตว์ พืชพันธุ์ ลายดอกไม้ ลายดอกกา

67


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

68 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ลายปลา

ลายก้านขดและลายสัตว์

ลายพันธุ์พฤกษาและลายสัตว์

ลายดอกกา

ลายก้านขด ลายกลีบบัว ลายดอกทานตะวัน และอืน่ ๆ มีการเคลือบภายนอกของ ภาชนะด้วยน�้ำเคลือบใส สีเขียว สีฟ้าอ่อน ดังนั้นเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง จึงมีแง่มมุ ให้ศกึ ษามากมายทัง้ รูปแบบและวิถชี วี ติ ของสังคมทีผ่ ลิตและใช้เครือ่ งปัน้ เหล่านั้น รวมถึงภูมิปัญญาและเทคโนโลยีอันชาญฉลาดของคนในยุคนั้น ปัจจุบันแหล่งเตาเผาโบราณถูกขุด ท�ำลายเพื่อหาเครื่องถ้วยชาม เอาไปจ�ำหน่ายมานานหลายสิบปี มีการขยายพื้นที่ท�ำกินของคนในท้องถิ่น ท�ำให้ซากเตาและหลักฐานต่างๆ เสื่อมสภาพไปมาก ท�ำให้โรงเรียนแม่เจดีย์ วิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนในชุมชนเห็นความส�ำคัญที่จะอนุรักษ์ ฟื้นฟู ภูมิปัญญา เวียงกาหลงไว้ จึงได้จดั ท�ำหลักสูตรเครือ่ งปัน้ ดินเผาเวียงกาหลงขึน้ โดยมีเป้าหมาย ให้นักเรียนของโรงเรียนได้ศึกษา เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปลูกฝังจิตส�ำนึก รักหวงแหนภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง และร่วมกันอนุรักษ์สืบสาน เผยแพร่ ให้คงอยู่ต่อไป สาระส�ำคัญของรายวิชา ศึกษาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ชุมชน โบราณเวียงกาหลง ภูมปิ ญ ั ญาการผลิตเครือ่ งปัน้ ดินเผา เอกลักษณ์ความโดดเด่น ลักษณะรูปแบบ ลักษณะการผลิต วัตถุดิบที่ใช้ ขั้นตอนการผลิต วิธีเผา ลวดลาย เวียงกาหลงที่เขียนลงบนผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนการเขียนลวดลายและฝึกปฏิบัติจริง

ลายเครื่องเคลือบเวียงกาหลง

แบ่งออกเป็นกลุ่มประเภทได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มสัตว์มงคล 1. มงคลมหาโชค คือ ลายปลาตะเพียน 2. มงคลมหาอ�ำนาจ คือ ลายกิเลน ม้ามังกร มังกร สิงห์ 3. มงคลวาสนา คือ ลายหงส์ นกยูง ไก่ฟ้า 4. มงคลอายุ คือ ลายเต่า หมายถึง ความร่มเย็นเป็นสุข อายุยืน กลุ่มที่ 2 กลุ่มพฤกษามงคล 1. ลายก้านขด หมายถึง ความสะดวกราบรื่น 2. ลายบัวเล็บช้าง หมายถึง ความมัน่ คง ใช้เขียนตามขอบล่างของไหและจาน 3. ลายผักขี้หูด ลายผักกูด หมายถึง วัฒนธรรมการด�ำรงชีวิต 4. ลายจุดหมึก จุดที่ 1 - 2 - 3 - 4 หมายถึง คือ การเริ่มต้น จุดที่ 5 - 6 - 7 - 8 หมายถึง คือ การออกผล จุดที่ 9 หมายถึง คือ การรุ่งเรืองสุดขีด


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีความหมายตามต�ำนาน ท้องถิ่น ลายดอกกาหลง เป็ น ลายที่ เ กี่ ย วโยงกั บ พุ ท ธศาสนา คื อ ความหมายเกี่ ย วข้ อ งกั บ ต� ำ นาน พระโพธิ สั ต ว์ ทั้ ง 5 ลายดอกกาหลงจึ ง เป็ น ต� ำ นาน ก่อนที่จะมาเป็นพุทธศาสนา อาจารย์วงเดือนเล่าว่า ตนเองได้จัดท�ำรายวิชา เครื่ อ งปั ้ น ดิ น เผาเวี ย งกาหลง และเริ่ ม สอนนั ก เรี ย น ระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 4 ตั้ ง แต่ ป ี 2546 มี ก าร ปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระของวิชาให้สมบูรณ์ตามล�ำดับ เทคนิคการสอนและวิธีการวัดผล เริ่มตั้งแต่ให้นักเรียน ได้ศกึ ษาประวัตคิ วามเป็นมาของเครือ่ งปัน้ ดินเผาของจริง และแหล่ ง เรี ย นรู ้ ใ นชุ ม ชน หลั ง จากนั้ น ให้ นั ก เรี ย น ฝึกเขียนลายลงกระดาษ แรเงา ระบายสี ฝึกเขียนลาย ด้วยพู่กันจีนลงบนเครื่องปั้นดินเผาและผลิตภัณฑ์ต่างๆ จนกระทั่ ง นั ก เรี ย นเกิ ด ความช� ำ นาญ สุ ด ท้ า ยคื อ การ ให้นกั เรียนท�ำโครงงานลวดลายเวียงกาหลงลงในผลิตภัณฑ์ ตามความถนัดและความสนใจ มีการให้นักเรียนออกแบบ ชิ้นงานโดยน�ำลวดลายปรากฏในผลิตภัณฑ์ด้วยกรรมวิธี ต่างๆ เช่น การวาด เพ้นท์ สกรีน ปักจักร ปักด้วยมือ และประเมินผลการเรียนรู้โดยครู วิทยากร นักเรียนหรือ ผู้เกี่ยวข้องที่มาให้ความรู้ ร่วมประเมินผลงานนักเรียน และเจตคิตของผู้เรียน

ในปี 2553 โรงเรียนได้รับโอกาสคัดเลือกเข้า โครงการนักธุรกิจน้อยมีคณ ุ ธรรม น�ำสูเ่ ศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของส� ำ นั ก พั ฒ นานวั ต กรรมการจั ด การศึ ก ษา สพฐ. ซึง่ ใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนจากกลุม่ โรงเรียนของ ส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั่วประเทศ ที่ได้รับการคัดเลือกให้น�ำผลิตภัณฑ์ฝีมือ นักเรียนจ�ำหน่ายในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ โดยแสดงชัดเจนได้วา่ นักเรียนท�ำชิน้ งานทีน่ ำ� มาจ�ำหน่ายจริง ครูมีความมุ่งมั่นตั้งใจสอน และมีเจตนาต้องการพัฒนา ต่ อ ยอดจากการจั ด การเรี ย นการสอนที่ มี อ ยู ่ เ ดิ ม จากโครงการครูผู้สอนได้รับการพัฒนาต่อยอดความรู้ เรื่ อ งการเป็ น ผู ้ ป ระกอบการ การพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ บรรจุภัณฑ์ การเพิ่มมูลค่าสินค้า ทรัพย์สินทางปัญญา น�ำไปปรับหลักสูตรทีส่ อนอยูเ่ ดิม จัดกิจกรรมประสบการณ์ ให้นักเรียน คิดเป็น ท�ำได้ ขายเป็น อย่างครบวงจร ท�ำให้ครูและนักเรียนได้แนวคิดน�ำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกสู่ตลาดอย่างหลากหลายยิ่งขึ้น ปัจจุบันโรงเรียน ได้จัดการเรียนรู้เป็น 3 รายวิชา คือ • รายวิชาเพิ่มเติม วิชาเครื่องปั้นดินเผาของ เวียงกาหลงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย

69


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

70 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

• โครงงานธุรกิจ เรื่องลวดลายเวียงกาหลง ลงผลิตภัณฑ์รายวิชาการงานพื้นฐานอาชีพ งานธุรกิจ งานอาชีพระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยอาจารย์ปัทมพร ธรรณมรงค์ เป็นผู้สอน

• รายวิชาพัฒนาผูเ้ รียน ชุมนุมเครือ่ งปัน้ ดินเผา เวียงกาหลง โดยอาจารย์อุดมชัย กุแสนใจ เป็นผู้สอน

การจัดการเรียนการสอนเชื่อมโยงกันเป็นทีม โดยมี ผู ้ รู ้ ข องชุ ม ชนเป็ น ก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญ ในการผลั ก ดั น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ล วดลายเวี ย งกาหลงของโรงเรี ย นแม่ เจดี ย ์ วิทยาคม จึงเป็นที่ยอมรับ สามารถจ�ำหน่ายยอดรายได้สูง ในงานศิ ล ปหั ต ถกรรมนั ก เรี ย นระดั บ ชาติ ทุ ก ปี ได้ รั บ การคั ด เลื อ กให้ อ อกแบบและจั ด ท� ำ ของที่ ร ะลึ ก

งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนของภาคเหนือประจ�ำปีการศึกษา 2553 เป็นจานไม้มะม่วงลายเวียงกาหลงพร้อมโลโก้ สพฐ. ในปีการศึกษา 2553 และ 2554 นักเรียนของโรงเรียน ในนามบริ ษั ท งามเวี ย งกาหลง จ� ำ กั ด และบริ ษั ท เส้นสายลายเวียงกาหลง จ�ำกัด ผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย ในการประกวดโครงการกรุงไทยยุววาณิช ของธนาคาร กรุงไทย ครั้งที่ 9 และ 10 ซึ่งมีนักเรียนสังกัด สพฐ. ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย และสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา ร่ ว มเข้ า ประกวด ได้ รั บ รางวั ล แชมป์ ร ะดั บ ภาค และ รางวัลชมเชยระดับประเทศ ได้รบั โล่รางวัลพร้อมเงินรางวัล มูลค่า 85,000 บาท ในปีการศึกษา 2555 ได้เข้าประกวด โครงการกรุงไทยยุววาณิช ครัง้ ที่ 11 อีกครัง้ หนึง่ ปีนนี้ อกจาก จะได้รางวัลแชมป์ระดับภาคเป็นปีที่ 2 แล้ว ได้ไต่ระดับ รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ของประเทศในการประกวด อีกด้วย ในนามบริษัท Kalong Clothing Design จ�ำกัด ได้ รั บ รางวั ล มู ล ค่ า 350,000 บาท และรางวั ล พิ เ ศษ ด้านการบริหารธุรกิจด้วยความโปร่งใสและซื่อสัตย์สุจริต จากส� ำ นั ก งานคณะกรรมการป้ อ งกั น และปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช) เป็นปีที่ 2 (ปีแรกคือปี 2554) มูลค่า 30,000 บาท ยังความภาคภูมิใจให้กับครูผู้สอน ทุกคน โรงเรียน ชุมชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ณ วันนี้โรงเรียนมีอาคารศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญา เวียงกาหลงซึ่งสร้างจากงบประมาณสนับสนุนของชุมชน ร้านค้ายุววาณิชและโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ลวดลาย เวียงกาหลงภายในโรงเรียน และได้รับเชิญจากหน่วยงาน ทั้ ง ภาครั ฐ และภาคเอกชนให้ เ ผยแพร่ ผ ลงานอยู ่ เ สมอ ความส� ำ เร็ จ ของการจั ด การเรี ย นรู ้ ดั ง กล่ า ว โรงเรี ย น ได้ รั บ การคั ด เลื อ กให้ เ ป็ น 1 ใน 29 ศู น ย์ แ กนน� ำ ขยายเครือข่ายของโครงการนักธุรกิจน้อยฯ ได้น�ำความรู้ ออกแบ่ ง ปั น ให้ กั บ ชุ ม ชนและโรงเรี ย นต่ า งๆ ที่ ส นใจ ตามเป้าหมายของหลักสูตรที่วางไว้


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

อาจารย์วงเดือน นันทาทอง กล่าวว่าปัจจัย ความส�ำเร็จมาจากครูทำ� งานเป็นทีม ท�ำงานด้วยความจริงจัง ไม่ย่อท้อ ผู้บริหารสนับสนุน และชุมชนเป็นก�ำลังส�ำคัญ ในการผลักดัน ชุมชนได้เข้ามาเป็นวิทยากร หน่วยงาน องค์ ก รในท้ อ งถิ่ น เช่ น เทศบาลต� ำ บลแม่ ข ะจาน เทศบาลต� ำ บลเวี ย งกาหลง อบต.แม่ เจดี ย ์ และ อบต. แม่เจดีย์ใหม่ ให้การสนับสนุนงบประมาณแก่โรงเรียน เพือ่ น�ำมาจัดการเรียนการสอนเรือ่ งภูมปิ ญ ั ญาเวียงกาหลง นักเรียน ศิษย์เก่า ผูบ้ ริหารและมูลนิธสิ าธิตธรรมานุเคราะห์ บริจาคเงินสร้างอาคารภูมิปัญญาเวียงกาหลง เป็นต้น นอกจากนีย้ งั มีองค์กรแรงงานระหว่างประเทศร่วมสนับสนุน งบประมาณ ปัจจุบันหลักสูตรท้องถิ่นเครื่องปั้นดินเผา เวียงกาหลงยังเป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียนแม่เจดียว์ ทิ ยาคม อีกด้วย ผลที่ได้รับคุ้มค่ากับการท�ำงาน คือ นักเรียน มีความภูมิใจภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง มีความคิด ริเริม่ สร้างสรรค์ คิดออกแบบผลิตชิน้ งาน มีคณ ุ ลักษณะทีด่ ี สามารถท�ำงานเป็นทีม มีความนอบน้อมอ่อนโยน มีสมาธิ ในการเรียน ขยัน อดทน มีความรับผิดชอบ มีทักษะ การสื่ อ สาร ฯลฯ มี ค วามสามารถสื บ สานภู มิ ป ั ญ ญา เวี ย งกาหลงสื บ ต่ อ จากบรรพบุ รุ ษ ได้ บรรลุ ต าม วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องหลั ก สู ต ร นอกจากนี้ นั ก เรี ย นยั ง มี ผลพลอยได้ คือ มีรายได้ระหว่างเรียน ประวัติผลงาน ประสบการณ์ ความสามารถของนักเรียน ส่งผลให้นกั เรียน มี โ อกาสเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ตามความ ปรารถนา ตรงกั บ ความต้ อ งการของตนเอง เช่ น เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา คณะวิจิตรศิลป์ เป็นต้น ท้ า ยที่ สุ ด อาจารย์ ว งเดื อ น เล่ า ถึ ง ลู ก ศิ ษ ย์ ที่เรียนในหลักสูตรที่ตนมีความประทับใจมากคนหนึ่งคือ นายวรุฒ วรรณแก้ว นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนแม่เจดีย์ วิทยาคม ได้เลือกเรียนวิชาเครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง เมื่อเรียน ม.3 เป็นผู้มีความสนใจชื่นชอบศิลปะลวดลาย เวียงกาหลง ได้พยายามศึกษาศิลปะการเขียนลวดลาย

เวียงกาหลง จากภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ จนสามารถเขียนลวดลาย เวียงกาหลงได้อย่างสวยงาม นายวรุฒ วรรณแก้ว มีนิสัย สุภ าพ อ่อ นโยน เป็น นักเรียนที่มีสมาธิใ นการท�ำ งาน และการเรียน มีผลการเรียนดีเยี่ยมติดอันดับ 1 ใน 10 ของระดับชั้น ม.4 และ ม.5 มีลักษณะความเป็นผู้น�ำ โดยเป็ น ประธานบริ ษั ท งามเวี ย งกาหลง จ� ำ กั ด เข้าร่วมแข่งขันในโครงการกรุงไทยยุววาณิช ครั้งที่ 9 ประจ� ำ ปี 2553 จนได้ รั บ รางวั ล แชมป์ ป ระจ� ำ ภาค และได้รับรางวัลชมเชยระดับประเทศ ได้รับเงินรางวัล 85,000 บาท เป็นคณะกรรมการนักเรียนของโรงเรียน แม่เจดียว์ ทิ ยาคม ได้รบั รางวัลคนดีศรีบานเย็นของโรงเรียน แม่ เจดี ย ์ วิ ท ยาคม ได้ รั บ รางวั ล นั ก เรี ย นพระราชทาน ระดั บ เขตพื้ น ที่ ได้ รั บ รางวั ล คนดี ศ รี เชี ย งรายจาก อบจ.เชียงราย ได้รับรางวัลการแข่งขันศิลปะการวาดภาพ จากหลายเวที ทั้ ง ในระดั บ จั ง หวั ด ระดั บ ภาค และ ระดั บ ประเทศ นอกจากนี้ ยั ง มี จิ ต อาสาโดยการเป็ น วิทยากรสอนการเขียนลวดลายเวียงกาหลงให้กับเณร โรงเรียนวัดหนองบัวพิทยา และสอนน้องๆ ในโรงเรียนอีกด้วย ทั้ ง นี้ ค วามส� ำ เร็ จ ที่ ก ล่ า วมาของนายวรุ ต วรรณแก้ ว เป็นผลมาจากการได้เรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรม ภู มิ ป ั ญ ญาเวี ย งกาหลง...นี่ คื อ ความภาคภู มิ ใจของคน เป็นครู

71


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

72 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

หัตถกรรมฝุ่นไม้

ขึ้ น ชื่ อ ว่ า ฝุ ่ น ใครก็ ไ ม่ ช อบเพราะฝุ ่ น คื อ ละอองละเอียดเป็นผง ถ้าเกิดจากแป้งก็เรียกว่าฝุ่นแป้ง ถ้าเกิดจากดินก็เรียกว่าฝุ่นดิน และถ้ามีการแปรรูปไม้ ละอองที่ เ กิ ด จากการแปรรู ป ไม้ เ รี ย กว่ า ขี้ เ ลื่ อ ย หรือใช้ค�ำให้ไพเราะขึ้นก็เรียกว่าฝุ่นไม้ ฝุ่นจะเกิดจาก อะไรก็ตามท�ำให้เกิดความสกปรก ถ้าฟุ้งอยู่ในอากาศ ก็ท�ำให้อากาศขุ่นมัว หายใจไม่ออก ผสมอยู่ในน�้ำก็ท�ำให้ น�้ำขุ่นไม่สะอาด ตกลงบนพื้นบ้าน ผิวพื้นบ้านก็ถูกฉาบ เป็นละออง ถ้าเดินเหยียบลงไปก็เปือ้ นเท้า พืน้ เป็นรอยเท้า เห็นชัดเจน ถ้านั่งลงบนพื้นนั้นผงหรือฝุ่นก็จับติดเสื้อผ้า เห็ น รอยสกปรกชั ด เจน ล้ ว นแต่ ใ ห้ ผ ลในทางสกปรก หรือทางลบทั้งสิ้น แต่ ช าวบ้ า นที่ เ ป็ น ผู ้ ป กครองของนั ก เรี ย น โรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 37 จังหวัดแพร่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม บางครอบครัวหารายได้เสริมด้วยการรับจ้าง

ท�ำงานจัดสวนไม้ไผ่และงานปั้นผลิตภัณฑ์จากฝุ่นไม้ จังหวัดแพร่เป็นจังหวัดในกลุ่มภาคเหนือของ ประเทศไทย มีป่าไม้เป็นทรัพยากรหลัก สินค้าส�ำคัญ ของจังหวัดแพร่อย่างหนึ่งคือเฟอร์นิเจอร์ ของใช้และ ของประดับตกแต่งท�ำจากไม้ ด้วยเหตุนจี้ งึ มีฝนุ่ ไม้อยูท่ วั่ ไป และมีจำ� นวนมาก และก็ดว้ ยภูมปิ ญั ญาชาวบ้านอีกนัน่ แหละ ที่เป็นที่มาของอาชีพ ผลิตภัณฑ์จากฝุ่นไม้ของชาวบ้าน ในจังหวัดแพร่ โรงเรียนร้องกวางอนุสรณ์ ต้องการสนับสนุน ให้นกั เรียนมีโอกาสได้ชว่ ยเหลือครอบครัวด้วยการหารายได้ ระหว่ า งเรี ย น และเห็ น ว่ า เป็ น งานที่ นั ก เรี ย นสามารถ ท�ำอยูท่ บี่ า้ นกับครอบครัว โดยใช้เวลาว่างจากเลิกเรียนแล้ว หรือวันหยุด มีโอกาสได้รับการฝึกฝนจากคนในครอบครัว ได้ช่วยงานครอบครัวอย่างเป็นรูปธรรม เพิ่มรายได้ให้กับ ครอบครัว ส่งเสริมความสัมพันธ์ ความอบอุน่ ในครอบครัว สร้ า งความภาคภู มิ ใ จทั้ ง แก่ ตั ว นั ก เรี ย น ผู ้ ป กครอง และชุ ม ชน ต่ อ เมื่ อ ได้ ห าข้ อ มู ล ด้ า นความต้ อ งการ ของตลาดจากการสังเกต การสัมภาษณ์ทงั้ ผูผ้ ลิต ผูจ้ ำ� หน่าย


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ผู้ซื้อ รวมทั้งคาดการณ์ถึงแนวโน้มของตลาด ก็เชื่อได้ว่า จะเป็นงานศิลปะทีจ่ ะเป็นทีน่ ยิ มอีกนาน การลงทุนไม่มาก เพราะวั ต ถุ ดิ บ มี ม ากในพื้ น ที่ เ อง กระบวนการผลิ ต ไม่ ซั บ ซ้ อ น เพี ย งต้ อ งการฝี มื อ ความคิ ด สร้ า งสรรค์ ความสามารถในเชิงศิลปะ ตลอดจนคุณธรรมและจรรยาบรรณ ในวิ ช าชี พ ของผู ้ ผ ลิ ต เท่ า นั้ น ทางโรงเรี ย นจึ ง ได้ ส ร้ า ง หลักสูตรท้องถิน่ ในกิจกรรมพัฒนาผูเ้ รียน โดยจัดเป็นชุมนุม “งานหัตถกรรมฝุ่นไม้” เพื่อสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 จ�ำนวน 1 คาบต่อสัปดาห์ ซึ่งมีกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 การระดมความคิดพินิจงานหัตถกรรม ชุ ด ที่ 2 การศึ ก ษาแหล่ ง เรี ย นรู ้ จ ากปราชญ์ ช าวบ้ า น ด้านงานปัน้ ฝุน่ ไม้ ชุดที่ 3 การถ่ายทอดความคิดลงสูช่ นิ้ งาน ชุดที่ 4 การเพิ่มมูลค่ากับชิ้นงานสู่การเป็นนักธุรกิจน้อย ชุ ด ที่ 5 การศึ ก ษาแหล่ ง เรี ย นรู ้ ด ้ า นการตลาด และการจัดจ�ำหน่าย ชุดที่ 6 การจัดจ�ำหน่าย สร้างรายได้ แบบนักธุรกิจน้อย ปัจจุบันโรงเรียนได้พัฒนาเป็นรายวิชา เพิ่มเติมในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นางนารี หลายกิ จ พานิ ช รองผู ้ อ� ำ นวยการ โรงเรียน และนายสุกิติ์ นาคสกุล ครูผู้สอนเล่าว่าเริ่มงานนี้ ด้วยการส�ำรวจแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่มีการผลิตงาน หัตถกรรมฝุน่ ไม้ และประสานงานกับผูร้ ู้ ซึง่ เป็นภูมปิ ญ ั ญา ท้องถิน่ เพือ่ เข้าใจกระบวนการทัง้ หมด ตัง้ แต่แหล่งวัตถุดบิ การเตรียมการ วัสดุอปุ กรณ์ สถานที่ วิทยากร เทคนิค วิธกี าร รวมทัง้ ปัญหาและอุปสรรคทีอ่ าจเกิดได้ระหว่างปฏิบตั ิ เมือ่ ได้ข้อมูลที่จ�ำเป็นทั้งหมดแล้วก็น�ำมาวางแผนการเรียนรู้ ร่วมกับนักเรียนระดับชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามขัน้ ตอนคือ ก�ำหนดชุมชนและสถานที่ที่จะไปดูงาน วิทยากร วันเวลา การเดินทาง หลังจากขั้นตอนศึกษางานในชุมชนแล้ว ก็ จั ด ให้ มี ก ารฝึ ก ปฏิ บั ติ ที่ โรงเรี ย น โดยเชิ ญ วิ ท ยากร ซึง่ เป็นผูป้ ระกอบการในท้องถิน่ มาฝึกให้ การฝึกในระยะแรก เป็ น การฝึ ก ผลิ ต ชิ้ น งานตามตั ว อย่ า ง ต่ อ เมื่ อ นั ก เรี ย น สามารถท� ำ ได้ แ ล้ ว ก็ ใ ห้ ใช้ ค วามคิ ด ริ เริ่ ม สร้ า งสรรค์ ออกแบบเพิ่มเติมได้เอง

การท� ำ หั ต ถกรรมฝุ ่ น ไม้ วั ส ดุ แ ละอุ ป กรณ์ ไม่ต ้อ งลงทุน สูง เพียงแต่มีฝุ่น ไม้ก็ท�ำได้แล้ว ผู้ส นใจ อาจใช้ วั ส ดุ อื่ น แทนฝุ ่ น ไม้ ไ ด้ และท� ำ ในกระบวนการ เดียวกัน วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และขั้นตอนการผลิตมีดังนี้

วัสดุและอุปกรณ์

ขั้นตอนการผลิต

ฝุ่นไม้ กาวลาเท็กซ์ กระดาษ หนังสือพิมพ์ ลวด ตะปู เชื อ กฟาง กรรไกร ค้ อ น น�้ ำ ถั ง ใส่ น�้ ำ ลูกปัดส�ำหรับท�ำตาของสัตว์ สีน�้ำ พู่กัน ช้อนพลาสติก ซากไม้แห้ง ผ้าเช็ดหน้า • ฝุ่นไม้ผสมกับกาวลาเท็กซ์ แล้วคลุกเคล้า ให้เข้ากัน นวดจนเป็นเนื้อเดียวกัน • ปั้นกระดาษหนังสือพิมพ์เพื่อเป็นโครงร่าง ให้ได้ขนาดตามต้องการ • น�ำฝุ่นไม้ที่ผสมกาวแล้วหุ้มบนหนังสือพิมพ์ ปั้นให้เป็นรูปร่างของสัตว์ตามที่ต้องการ • ตกแต่ ง ชิ้ น งานให้ เรี ย บร้ อ ยโดยการใช้ อุปกรณ์ต่างๆ แล้วน�ำไปตากแดดหรือผึ่งลมให้แห้งสนิท • ระบายสีบนชิ้นงานให้สวยงาม • จัดส่งลูกค้าตามสั่งและจ�ำหน่ายเอง

73


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

74 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ขั้นตอนการผลิต

ผสมฝุ่นไม้กับกาวลาเท็กซ์คลุกเคล้าจนเป็นเนื้อเดียวกัน

ปั้นกระดาษหนังสือพิมพ์ให้เป็นโครงร่างของสัตว์ต่างๆ แล้วน�ำฝุ่นไม้ที่ผสมแล้วหุ้มแล้วตกแต่งให้ได้รูป

ระบายสีผลิตภัณฑ์ด้วยสีโปสเตอร์


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ผลิตภัณฑ์พร้อมจ�ำหน่าย ในขั้นตอนการสอนให้ผลิตชิ้นงานนี้ นักเรียน จะต้องท�ำงานเป็นกลุม่ มีการวางแผนแบ่งงานกันท�ำ ได้แก่ เตรียมวัตถุดิบ และอุปกรณ์การผลิต ศึกษาความรู้จาก ใบความรู้ ใบงาน ใช้เทคโนโลยีและวิธีการที่ทันสมัย ช่วยในการออกแบบ พัฒนาชิ้นงานให้มีความแปลกใหม่ และมีการตรวจสอบชิ้นงานอย่างจริงจัง ส� ำ หรั บ กระบวนการในการท� ำ งานกลุ ่ ม นั้ น ให้มีก ารแบ่งงานกันท�ำตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ ต้องมีการปรึกษาหารือ ร่วมคิดร่วมท�ำ ร่วมตัดสินใจ และแก้ปัญหา แต่ละคนและแต่ละฝ่าย จะต้ อ งใช้ ค วามอดทน ความรั บ ผิ ด ชอบปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ที่ได้รับมอบหมายให้ส�ำเร็จลุล่วง ร่วมกันประเมินคุณภาพ ของผลงานและปรั บ แก้ ต ามความเห็ น ของกลุ ่ ม หรื อ ของลูกค้า สมาชิกของกลุม่ จะต้องร่วมคิดค�ำนวณค่าใช้จา่ ย และราคาจ�ำหน่ายชิ้นงานด้วย ความรู้ที่นักเรียนได้จากกิจกรรมหัตถกรรม ฝุ ่ น ไม้ คื อ รู ้ แ หล่ ง ที่ ม าและการได้ ม าซึ่ ง วั ส ดุ ฝุ ่ น ไม้ รู ้ จั ก ชื่ อ วั ส ดุ เครื่ อ งมื อ ของใช้ ที่ จ ะต้ อ งใช้ ใ นการ สร้ า งชิ้ น งาน สามารถใช้ เ ครื่ อ งมื อ ของใช้ ไ ด้ ถู ก ต้ อ ง กั บ งาน สร้ า งชิ้ น งานได้ ถู ก ต้ อ งตามขั้ น ตอนและ

กระบวนการ ตกแต่งชิ้นงานให้สวยสะดุดตาด้วยสีและ สิ่งประดิษฐ์อื่น เช่น เลื่อม ริบบิ้น ดอกไม้พลาสติก เป็นต้น เมื่ อ สร้ า งเป็ น ชิ้ น งานแล้ ว นั ก เรี ย นจะต้ อ งคิ ด ต้ น ทุ น และราคาจ�ำหน่าย ท�ำบัญชีรับ-จ่ายได้ และสามารถ น�ำเสนอผลงานของตนให้เป็นที่รู้จัก เช่น จัดนิทรรศการ ท�ำแผ่นพับ ส่งเข้าประกวดและแข่งขัน จัดร้านจ�ำหน่าย ในโรงเรียน จัดบูธจ�ำหน่ายร่วมในงานของชุมชน ได้แก่ งานปีใหม่ งานประจ�ำปีของจังหวัด งานแสดงผลงาน ของนักเรียนระดับโรงเรียน ระดับเขต ระดับภาค และ ระดับประเทศ

75


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

76 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ผลที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ตั ว ผู ้ เรี ย น นอกเหนื อ จาก ความรู้และกระบวนการท�ำงานแล้วยังมีหลายประการ เช่น ทางด้านคุณธรรม นักเรียนในโรงเรียนมีความตัง้ ใจจริง ที่จะท�ำงานให้เสร็จลุล่วง ทุกคนมุ่งมั่น มานะ พยายาม มีสมาธิในการท�ำงาน มีน�้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน อุทิศทุ่มเทก�ำลังกาย ก�ำลังใจ และใช้เวลาของตนให้เป็น ประโยชน์อย่างจริงจัง รู้จักประหยัดใช้วัสดุมิให้สิ้นเปลือง เกิ น ความจ� ำ เป็ น มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ การใช้ วั ส ดุ และเครื่องมือด้วยความทะนุถนอม เก็บรักษาหลังจากใช้ อย่างเรียบร้อย ด้านทักษะทางปัญญา แสดงออกให้เห็น ชัดเจนจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตสัตว์ ต่างชนิดกับที่ได้รับการฝึกมาได้ รู้จักเปรียบเทียบงาน ของตนกับงานศิลป์ของแหล่งอื่นๆ และเพิ่มพูนความรู้ ของตนด้วยการอ่าน ฟัง ดูเพื่อน�ำมาปรับปรุงงานของตน ให้ ดี ยิ่ ง ขึ้ น การแสดงออกด้ า นความสั ม พั น ธ์ แ ละ ความรั บ ผิ ด ชอบของนั ก เรี ย นคื อ การแบ่ ง งานกั น ท� ำ ตามความสามารถ ความถนัด ความสนใจ ร่วมมือร่วมใจกัน ท� ำ งานในความรั บ ผิ ด ชอบของตนด้ ว ยดี รั บ ฟั ง ความคิดเห็นของกันและกันและของลูกค้า รูจ้ กั ตรวจสอบ ผลงานของตนให้มีคุณภาพและสมบูรณ์ก่อนส่งจ�ำหน่าย หมั่ น ประเมิ น การท� ำ งานและผลงานของตนอยู ่ เ สมอ เพื่อปรับปรุงให้ถูกใจลูกค้า

ขั้นตอนการจ�ำหน่ายดูเหมือนจะเป็นขั้นตอน ที่นักเรียนที่ท�ำชิ้นงานโดยทั่วไปรู้สึกว่าจะเป็นขั้นตอน ผ่ อ นคลายความเครี ย ดจากการมุ ่ ง มั่ น สร้ า งชิ้ น งาน จากวั ส ดุ ที่ มี ห น้ า ตารู ป ร่ า งอย่ า งหนึ่ ง ให้ เ ป็ น ชิ้ น งาน ที่ มี รู ป ลั ก ษณ์ อี ก อย่ า งหนึ่ ง ซึ่ ง ดู ดี มี ส าระด้ ว ยศาสตร์ และมีความงามด้วยศิลป์ เมื่อฝีมือปรากฏ ความเครียด ก็คลาย แต่ยังจบไม่ได้ ยังมีขั้นตอนส�ำคัญมากที่สุดอีก คือคิดราคาขาย วิธีขาย วิธีเสนอสินค้าให้โดนใจและ สะดุ ด ใจผู ้ ซื้ อ ดั ง นั้ น นั ก เรี ย นผู ้ ผ ลิ ต หั ต ถกรรมฝุ ่ น ไม้ จึ ง ต้ อ งเหนื่ อ ยเพิ่ ม เติ ม อี ก ระลอกด้ ว ยขั้ น ตอนนี้ และ ต้องเพิม่ ขัน้ ตอนประเมินผลด้วยเพือ่ จะได้ทราบความคิดเห็น ของลูกค้า และผู้พบเห็นหรือนักวิชาการ เพื่อจะได้น�ำมา ปรับปรุงงานของตนต่อ ไป และนี้สามารถกล่าวได้ ว ่ า ครบขั้นตอนของการเรียนรู้สู่เส้นทางอาชีพแล้ว


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

อาจารย์ สุ กิ ติ์ นาคสกุ ล กล่ า วเสริ ม ว่ า การที่นักเรียนจะมีผลงานดีๆ เช่นนี้ออกจ�ำหน่ายได้มากๆ นั ก เรี ย นต้ อ งผ่ า นการฝึ ก ฝนและมี ใ จรั ก ใช้ เ วลา ในชั่วโมงเรียนอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องใช้เวลาว่าง หลั ง เลิ ก เรี ย น วั น หยุ ด เสาร์ - อาทิ ต ย์ ด ้ ว ย จึ ง จะท� ำ ได้ ครูต้องเสียสละเวลาดูแลแนะน�ำ ผลงานของนักเรียน แต่ละปีจะมีการพัฒนาสร้างสิง่ ใหม่อยูเ่ สมอ ความภาคภูมใิ จ ที่ ต ้ อ งการบอกคื อ นั ก เรี ย นมี ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ สามารถต่อยอดชิ้นงานให้แตกต่างจากชุมชนที่ท�ำกัน ทั่วไป และกลับไปช่วยครอบครัวและชุมชนสร้างงาน ใหม่ๆ ได้ ผลพลอยได้ส�ำคัญเรื่องหนึ่งที่เกิดจากกิจกรรมนี้ คือ นักเรียนในโครงการนี้ขยันขันแข็ง ใช้เวลาท�ำงาน ให้เกิดประโยชน์ ไม่มีเวลาไปเที่ยวเตร่คบเพื่อนนอกบ้าน ให้ เ ป็ น ที่ ห นั ก ใจของพ่ อ แม่ รู ้ คุ ณ ค่ า ของวั ส ดุ เ หลื อ ใช้ มี ร ายได้ ร ะหว่ า งเรี ย น แบ่ ง เบาภาระค่ า ใช้ จ ่ า ยของ ครอบครั ว ได้ และที่ ส� ำ คั ญ คื อ นั ก เรี ย นและผู ้ ป กครอง มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันมากขึ้น ความส� ำ เร็ จ ของนั ก เรี ย นกลุ ่ ม ประดิ ษ ฐ์ หัตถกรรมฝุ่นไม้นี้ นอกจากจะวัดได้จากการจ�ำหน่าย ท�ำให้นักเรียนผู้ผลิตมีรายได้ระหว่างเรียนแล้ว ผลงาน ยั ง ได้ รั บ คั ด เลื อ กจากส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา มัธยมศึกษา เขต 37 และส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้ น พื้ น ฐาน ให้ น� ำ มาจั ด แสดงในงานศิ ล ปหั ต ถกรรม นักเรียนระดับภาคและระดับชาติ ในปีการศึกษา 2553 ถึงปัจจุบัน และได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์แกนน�ำ ขยายเครื อ ข่ า ยโครงการนั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ยมี คุ ณ ธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 1 ใน 29 ศูนย์ทั่วประเทศ ของส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ความส�ำเร็จนีก้ ล่าวได้วา่ เป็นเพราะความพร้อม ของวั ส ดุ ที่ มี อ ยู ่ ใ นท้ อ งถิ่ น ความร่ ว มมื อ ของผู ้ บ ริ ห าร สถานศึกษา ครู นักเรียน และชุมชน เป็นความภาคภูมิใจ ร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

77


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

78 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

กะหรี่ปั๊บงาด�ำ

ถ้าเราติดตามข่าวจากสือ่ ต่างๆ ประจ�ำวันจะเห็นว่า ทุกปีมีหลายๆ ครั้งมีเกษตรกรน�ำผลผลิตทางการเกษตร ของตนมาเรียกร้อง ประท้วง ขอความเห็นใจและความช่วยเหลือ จากรัฐบาลด้วยการเทสับปะรดบ้าง มันส�ำปะหลังบ้าง หรือน�้ำนมบ้างลงบนถนนให้เป็นที่สะดุดตา สะดุดใจของ ผูพ้ บเห็น เป็นการกดดันรัฐบาลไปในตัว หรือเป็นความสะสม ความคับแค้นใจของผูผ้ ลิตก็นา่ จะใช่ทงั้ หมด โดยปกติแล้ว เมื่อเกิดปัญหาก็จะมีทางออกอยู่ 2 ทางคือ ทางบวก และทางลบอยูเ่ สมอ แต่พระอาจารย์หรือเรารูจ้ กั ท่านในนาม พระพยอมพระนั ก เทศน์ ชื่ อ ดั ง และพระนั ก พั ฒ นา ยุคบุกเบิกของประเทศไทยได้กล่าวประโยคทองไว้ว่า “ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ได้มีไว้ให้กลุ้ม” ประโยคทองนี้แหละ เป็นที่เกิดของหลักสูตรอาหารเมนูใหม่ของโรงเรียน สังกัด

ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหลายแห่ง เช่น โรงเรียนยางชุมวิทยา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สร้าง งานแปรรูปกล้วย โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ ผลิตกล้วยเพื่อสุขภาพ และโรงเรียนวัดดงยาง (ดงยาง ราษฎร์บ�ำรุง) สร้างต�ำรากะหรี่ปั๊บงาด�ำ โรงเรียนวัดดงยางตระหนักถึงความส�ำคัญของ ผลผลิตทางการเกษตรตามฤดูกาล ซึ่งมีเป็นจ�ำนวนมาก ถึงระดับเหลือกินเหลือใช้ ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากความอุดมสมบูรณ์ ของดินบนผืนแผ่นดินไทย และเมื่อเหลือกินเหลือใช้แล้ว แทนที่จะปล่อยให้ราคาตกต�่ำหรือเสียของก็น�ำมาแปรรูป เกิดประโยชน์ซำ�้ สองคือ คุณค่าของอาหารก็ยงั อยู่ ปริมาณ อาหารก็ยังอยู่ แต่เพิ่มประเภทอาหารมากขึ้น การสอน การท�ำกะหรี่ปั๊บงาด�ำของโรงเรียนได้วางเป้าหมายไว้ดังนี้


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

1. นักเรียนได้เรียนรูแ้ ละเห็นลูท่ างการแปรรูป ผลผลิตจากการเกษตรในท้องถิ่น 2. นั ก เรี ย นได้ บ ริ โ ภคอาหารที่ มี คุ ณ ค่ า ทาง โภชนาการ สะอาด และปลอดสารพิษ 3. นักเรียนมีประสบการณ์การประกอบอาชีพ โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง 4. สร้างนักธุรกิจน้อยมีคณ ุ ธรรม น�ำสูเ่ ศรษฐกิจ สร้างสรรค์ให้แก่สังคม ในเบื้องต้นได้สอนเป็นชุมนุมโครงงานอาชีพ ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปัจจุบันโรงเรียนได้จัดท�ำเป็น รายวิชาเพิ่มเติม ชั้น ป.5 จ�ำนวน 1 หน่วยกิต ชื่อวิชา นั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ยมี คุ ณ ธรรม น� ำ สู ่ เ ศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ ด้วยงานการผลิตและจ�ำหน่ายกะหรี่ปั๊บงาด�ำ โดยจัดท�ำ เป็น 6 หน่วยการเรียนรู้ คือ หน่วยที่ 1 ธุ ร กิ จ นั้ น ส� ำ คั ญ ไฉน เรี ย นรู ้ ความหมาย ความส�ำคัญของธุรกิจ และรูปแบบธุรกิจ หน่วยที่ 2 มาเป็ น นั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ยกั น เถอะ สาระส�ำคัญประกอบด้วยคุณสมบัติของนักธุรกิจน้อย คุ ณ ธรรมและจรรยาบรรณ ปั จ จั ย สู ่ ค วามส� ำ เร็ จ และ ขั้นตอนการเป็นผู้ประกอบการ หน่วยที่ 3 กฎหมายทีน่ กั ธุรกิจน้อยควรรู้ ได้แก่ ทรัพย์สินทางปัญญา และกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หน่วยที่ 4 ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง เ งิ น ทุ น แ ล ะ แหล่งเงินทุน หน่วยที่ 5 การตลาดของนักธุรกิจ ประกอบด้วย ความหมายและความส�ำคัญของตลาด หน่วยที่ 6 ต้นต�ำรับกะหรีป่ บ๊ั งาด�ำ ประกอบด้วย การวางแผนการผลิ ต กระบวนการผลิ ต และควบคุ ม คุณภาพ การบรรจุภัณฑ์และการจ�ำหน่าย

อาจารย์รกั ษ์ษนิ าฎ ครูผสู้ อนกล่าวว่า การใช้เวลา ภายในห้องเรียนไม่เพียงพอ ต้องใช้เวลานอก เมื่อนักเรียน เรี ย นเนื้ อ หาทั้ ง หมดแล้ ว จะเข้ า สู ่ ชุ ม นุ ม งานอาชี พ ของโรงเรียน ก้าวเข้าสู่โลกของการท�ำงานอาชีพด้วยการ ปฏิบัติจริง

การจัดการเรียนการสอนมี 5 ขัน้ ตอน ได้แก่

ขั้นน�ำเข้าสู่บทเรียน สร้างความตระหนักถึง ผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นบางอย่างที่มีมากเกินไป รับประทานไม่ทัน/ไม่หมด เหลือทิ้งเสียของ ซึ่งภูมิปัญญา ไทยแก้ ไ ด้ ด ้ ว ยวิ ธี ต ากแห้ ง ดอง แช่ อิ่ ม หรื อ กวน เพื่อให้อาหารอยู่ในสภาพดีนานขึ้น เพื่อช่วยให้เกษตรกร รอบๆ โรงเรียนไม่ต้องทิ้งผลผลิตทางการเกษตรของงาน ไปอย่างไร้คา ่ และเพือ่ ฝึกให้นกั เรียนรูจ้ กั วิเคราะห์กจิ กรรม การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแนวคิดของหลักปรัชญา เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง โรงเรี ย นจึ ง มี โ ครงการฝึ ก นั ก เรี ย น ท�ำอาหารชนิดหนึ่งชื่อ กะหรี่ปั๊บงาด�ำ

79


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

80 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ขั้นสอน 1. ให้ศึกษาธุรกิจจากของจริงในแหล่งเรียนรู้ และใบความรู้ 2. ให้รู้จักเครื่องปรุงทั้งหมด ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ วิธีการใช้และการดูแลรักษา 3. รู้จักขั้นตอนการท�ำกะหรี่ปั๊บงาด�ำ และ วางแผนปฏิบัติการขั้นตอน 4. ปฏิ บั ติ จ ริ ง โดยใช้ ก ระบวนการกลุ ่ ม ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ 5. รู้จักแหล่งทุน การคิดค�ำนวณค่าใช้จ่าย ราคาจ�ำหน่าย และการท�ำบัญชีรับ-จ่าย และการตลาด 6. ทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายคุ้มครอง แรงงาน ขั้นประเมินผล 1. ป ร ะ เ มิ น พ ฤ ติ ก ร ร ม ร ะ ห ว ่ า ง เรี ย น ความตั้ ง ใจเรี ย น ความขยั น อดทน ความเอื้ อ เฟื ้ อ ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา ประหยัด ความสามัคคี การท�ำงานตามขั้นตอน การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ และ การเก็บรักษา 2. ประเมินผลงาน - คุ ณ ภาพของชิ้ น งานที่ ท� ำ จากผลผลิ ต ภายในท้องถิ่น - กระบวนการในการจัดจ�ำหน่าย

3. ประเมินความรู้ - บอกความหมาย ความส�ำคัญของธุรกิจ ปัจจัยสูค่ วามส�ำเร็จของอาชีพ กฎหมายควรรู้ แหล่งเงินทุน และการขายได้ - บอกเครื่องปรุง ขั้นตอนการปรุงได้ - บอกเหตุผลที่มาของการแปรรูปอาหาร เป็นกะหรี่ปั๊บงาด�ำได้ - บอกแนวคิดในการเรียนรู้เรื่องกะหรี่ปั๊บ งาด�ำ โดยเชื่อมโยงกับหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงได้


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ผลที่เกิดแก่ผู้เรียน

อาจารย์รกั ษ์ษนิ าฎ นิรมล ผูร้ บั ผิดชอบโครงการ กะหรี่ปั๊บงาด�ำได้สรุปผลที่เกิดแก่นักเรียนของอาจารย์ ดังนี้ ด้านคุณธรรม นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค มีความ สามัคคีในการท�ำงานกลุ่ม มีความรับผิดชอบ ประหยัด อดทน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รู้จักพึ่งพาตนเองด้วยการหารายได้ระหว่างเรียน ขยัน รู้จักพัฒนาตนเอง ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ด้านความรู้ 1. มีความรู้เกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร ที่ น� ำ มาแปรรู ป (หมายถึ ง ฤดู ก าลของพื ช ที่ น� ำ มาใช้ เพราะใช้ผลผลิตตามฤดูกาล ท�ำให้ลดต้นทุนได้มาก) 2. รู้ชื่อเครื่องปรุงและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ในการท�ำกะหรี่ปั๊บงาด�ำ 3. รู ้ วิ ธี ท� ำ โดยล� ำ ดั บ ขั้ น ตอนตั้ ง แต่ เริ่ ม ต้ น จนสิ้นสุด 4. รู้จักใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการสืบค้นข้อมูลการเรียนรู้ ตรวจสอบ และแก้ปัญหา การท�ำงาน

5. รู ้ คุ ณ ค่ า ทางอาหารของผลผลิ ต ของตน และบรรยายได้ 6. สามารถคิดค�ำนวณต้นทุน ราคาขาย และ จัดท�ำบัญชีรับ-จ่ายได้ 7. สามารถน� ำ เสนอผลงานในหลายๆ รูปแบบได้ ด้านทักษะทางปัญญา 1. สามารถใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนเครื่องปรุง บางอย่าง เพื่อเปลี่ยนรสชาติให้แปลกใหม่ขึ้น 2. รู ้ จั ก หาวิ ธี แ ก้ ป ั ญ หาลู ก ค้ า ยื น รอนาน ด้ ว ยการรวมกลุ ่ ม ท� ำ จ� ำ หน่ า ยที่ ต ลาดนั ด ใกล้ โรงเรี ย น วันเสาร์ เพื่อฝึกฝนตนเองให้ท�ำงานได้คล่องแคล่วรวดเร็ว ยิ่งขึ้น 3. ใช้วธิ ปี ระชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานด้วยการ ร่วมงานออกร้าน เป็นวิทยากร รับงาน ฯลฯ 4. รู้จักวิธีการรักษาทรัพย์สินทางปัญญาของ ตนเอง และไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น ด้านความสัมพันธ์ความรับผิดชอบ 1. ร่ ว มแรงร่ ว มใจกั น ท� ำ งาน คิ ด แก้ ป ั ญ หา และปฏิบัติ 2. สร้ า งสั ม พั น ธภาพที่ ดี กั บ ผู ้ ป กครอง หน่ ว ยงาน โรงเรี ย นต่ า งๆ จึ ง ได้ รั บ การสนั บ สนุ น ทั้งด้านการเงิน โอกาส แรงงาน (การเผยแพร่ การหา ตลาดให้ การสั่ ง ซื้ อ โดยตรง เชิ ญ เป็ น วิ ท ยากร และ การศึกษาดูงาน) ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และน�ำไปใช้ 1. มีการรวมกลุ่มพิจารณาปัญหา หาสาเหตุ แนวทางแก้ปัญหา และร่วมใจกันปฏิบัติตามแนวทาง แก้ปัญหา และประเมินผล 2. สมาชิกของกลุ่มหารายได้พิเศษเพิ่มจาก ผลงานด้วยการพัฒนาตนเองเป็นวิทยากรในวันหยุด

81


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

82 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ความภาคภูมิใจ

โครงการฝึกอาชีพผลิตและจ�ำหน่ายกะหรี่ปั๊บ งาด�ำของโรงเรียนวัดดงยาง ได้รับความชื่นชมจากสังคม น�ำมาซึ่งความภาคภูมิใจและก�ำลังใจของครูและนักเรียน ดังนี้ • ผู้เรียนได้น�ำองค์ความรู้ไปเผยแพร่โดยเป็น วิทยากรสอนท�ำ “กะหรี่ปั๊บงาด�ำ” แก่เพื่อนนักเรียน ในเขตคุณภาพพนมสารคาม 5 ซึ่งมีทั้งหมด 10 โรงเรียน และเป็ น วิ ท ยากรในการฝึ ก ทั ก ษะอาชี พ ระยะสั้ น แก่เยาวชนต�ำบลหนองแหน ซึ่งสนับสนุนโดยกระทรวง การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ • ได้รบั เชิญให้รว่ มสาธิตการผลิตและจ�ำหน่าย “กะหรี่ปั๊บงาด�ำ” ในงานเทศกาลต่างๆ ทั้งภาครัฐและ เอกชน

• เป็นตัวแทนเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิ ง เทรา เขต 2 สาธิ ต การผลิ ต และจั ด จ� ำ หน่ า ย “กะหรีป่ บ๊ั งาด�ำ” ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคกลาง และภาคตะวันออก ปีการศึกษา 2551 ทีจ่ งั หวัดสุพรรณบุรี และปีการศึกษา 2552 ที่จังหวัดสระบุรี • ได้ รั บ การคั ด เลื อ กจากส� ำ นั ก พั ฒ นา นวัตกรรมการจัดการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ให้นกั เรียนท�ำกะหรีป่ บ๊ั งาด�ำจ�ำหน่าย ในงานศิลปหัต ถกรรมนักเรียนระดับชาติ ณ อิม แพ็ ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน • ได้ รั บ การคั ด เลื อ กจากศู น ย์ ก ารศึ ก ษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดฉะเชิงเทรา ให้โรงเรียนวัดดงยางเป็นแหล่งเรียนรูช้ มุ ชน ต�ำบลหนองแหน เรื่อง การท�ำขนมหวาน อาหารว่างและการบรรจุภัณฑ์


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

• ส�ำนักงานพัฒนาชุมชนอ�ำเภอพนมสารคาม เชิญชวนให้น�ำผลิตภัณฑ์ไปจดทะเบียนเป็น OTOP ของ ต�ำบลหนองแหน • ศู น ย์ ฝ ึ ก อาชี พและธุ รกิ จ มติ ชน ส่ ง เสริ ม ให้เป็นวิทยากรเผยแพร่ความรู้ในการผลิตและวิธีการ จัดจ�ำหน่าย “กะหรี่ปั๊บงาด�ำ” แก่ผู้สนใจทั่วประเทศ เดื อ นละ 1 ครั้ ง ซึ่ ง บั ง เกิ ด ผลให้ มี ผู ้ ป ระกอบอาชี พ การผลิตและจ�ำหน่าย “กะหรีป่ บ๊ั งาด�ำ” อยูเ่ กือบทุกจังหวัด ของประเทศไทย น�ำมาซึ่งความภาคภูมิใจของโรงเรียน เป็นอย่างยิ่งที่ได้ช่วยเหลือพลเมืองของชาติให้มีอาชีพ สุจริตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับคัดเลือกเป็นศูนย์แกนน�ำขยายเครือข่าย โครงการนักธุรกิจน้อยมีคณ ุ ธรรม น�ำสูเ่ ศรษฐกิจสร้างสรรค์ 1 ใน 29 ศูนย์ทั่วประเทศของส�ำนักพัฒนานวัตกรรม การจัดการศึกษา สพฐ. ได้ รั บ รางวั ล เหรี ย ญทอง จากคุ รุ ส ภา เมื่ อ ปีการศึกษา 2552 โครงการ 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม ไม่เพียงแต่นักเรียนเท่านั้นที่ได้รับผลประโยชน์จากการ เรียนวิชากะหรีป่ บ๊ั งาด�ำ ส�ำหรับอาจารย์รกั ษ์ษนิ าฎ นิรมล นั้ น ก็ ต กผลึ ก องค์ ค วามรู ้ จ ากการสะสมประสบการณ์ การจัดการสอนวิชานี้นานหลายปี สรุปได้ดังนี้ 1. ผู ้ เรี ย นทุ ก คนมี ศั ก ยภาพที่ จ ะเรี ย นรู ้ แ ละ พัฒนาตนเองได้ เพียงแต่เวลาและวิธีนั้นจะต้องแตกต่าง กันไปตามความสนใจและความสามารถเฉพาะตน 2. ผู้เรียนไม่เก่งด้านวิชาการ ผู้สอนสามารถ ท�ำให้เขาค้นพบตนเองว่าชอบและถนัดในด้านใด และ ส่งเสริมให้เขาเหล่านั้นได้น�ำสิ่งที่ตนถนัดออกมาแสดง ซึ่งท�ำให้ผู้เรียนมีความสุขที่ได้ร่วมเรียนรู้โครงงานอาชีพ การผลิตและจ�ำหน่ายกะหรีป่ บ๊ั งาด�ำตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง

3. ความส�ำเร็จของงานนั้นจะต้องมีส่วนร่วม ในการ “ร่วมคิด ร่วมใจ ร่วมปฏิบัติ และร่วมการพัฒนา” จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนทุกคน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น องค์กรภาครัฐและเอกชน 4. ผู ้ เรี ย นที่ เรี ย นรู ้ โ ครงงานอาชี พ การผลิ ต และจ� ำ หน่ า ยกะหรี่ ป ั ๊ บ งาด� ำ ตามหลั ก ปรั ช ญาของ เศรษฐกิจพอเพียงนั้น นักเรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ ได้รับความรู้ในสาระการเรียนรู้ครบทั้ง 8 กลุ่มสาระ และ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดังนี้ ภาษาไทย - ฟัง พูด อ่านและเขียนใบความรู้เกี่ยวกับ ขั้นตอนวิธีการต่างๆ คณิตศาสตร์ - การคิดราคาต้นทุน ราคาจ�ำหน่ายและ ผลก�ำไรที่ได้รับ สุขศึกษา - สารอาหารที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ - ความสะอาดและความปลอดภัย ศิลปะ - การออกแบบรูปทรงผลิตภัณฑ์ - การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อจ�ำหน่าย สังคมศึกษา - คุณธรรม จริยธรรม - ความซื่อสัตย์ ขยัน - เสียสละ อดทน ประหยัด - การได้ช่วยเหลือส่วนรวม - การเผยแพร่ความรู้ให้ผู้อื่น - ความสามัคคีในการท�ำงานเป็นกลุ่ม

83


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

84 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ภาษาอังกฤษ - ค้ น หาค� ำ ศั พ ท์ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ชื่ อ วั ส ดุ อุปกรณ์และวัตถุดิบในการผลิตกะหรี่ปั๊บงาด�ำ วิทยาศาสตร์ - วิธีการประหยัดพลังงาน - ความปลอดภัยในการท�ำงาน - สารอาหารที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ การงานอาชีพ - แนวทางการประกอบอาชีพที่สุจริตตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง - การส�ำรวจตนเองเพือ่ วางแผนในการเลือก ประกอบอาชีพ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน - รักและเห็นคุณค่าในตนเอง - ความมีวินัย ประหยัด พึ่งตนเอง รักการ ท�ำงาน - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เห็นแก่ประโยชน์ ส่วนรวม กะหรีป่ บ๊ั งาด�ำของโรงเรียนวัดดงยางเป็นทีร่ จู้ กั กันอย่างกว้างขวาง ในเรื่องของความอร่อย โดยนักเรียน สามารถท�ำได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งอาจารย์รักษ์ษินาฎเอง ได้ เ ขี ย นต� ำ ราสู ต รการท� ำ กะหรี่ ป ั ๊ บ ซึ่ ง มี ไ ส้ ข นม อย่ า งหลากหลาย เผยแพร่ โ ดยทั่ ว ไป กะหรี่ ปั๊บงาด�ำ อาจกล่าวได้ว่าเป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียน ถ้ากล่าวถึง กะหรี่ปั๊บโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ต้องนึกถึงกะหรี่ปั๊บ โรงเรียนวัดดงยางทีเดียว


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ธุรกิจเบเกอรี่ “คิดถึงแม่ฟ้าหลวง”

ใครก็ตามทีไ่ ด้ยนิ ค�ำว่า “แม่ฟา้ หลวง” ทุกคนต้องคิด เชื่ อ มโยงไปถึ ง สมเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรมราชชนนี ในพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว พระองค์ ท รงเป็ น ที่รักใคร่เทิดทูนของชาวไทยภูเขาในท้องถิ่นทุรกันดาร ด้วยทรงเข้าไปช่วยเหลือชาวไทยภูเขาเหล่านัน้ ให้พน้ จาก ความเจ็บป่วย ยากจน ให้คนกับป่าสามารถอยู่รวมกันได้ สามารถพึ่ ง ตนเองได้ ด ้ ว ยการประกอบอาชี พ ที่ สุ จ ริ ต ด้วยน�ำ้ พระทัยอันเมตตาอย่างหาทีเ่ ปรียบมิได้ ชาวไทยภูเขา ได้ ใช้ ค� ำ แทนพระองค์ ด ้ ว ยความรั ก และเทิ ด ทู น สู ง สุ ด ด้วยค�ำว่า “แม่ฟ้าหลวง” โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี ซึง่ เป็น 1 ใน 8 โรงเรียน ทีต่ งั้ อยูบ่ นดอยตุง ใกล้พระต�ำหนัก ที่ประทับ หรือกล่าวว่าอยู่ในพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริของพระองค์ เด็กชาวไทยภูเขาที่เข้าเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ มีโอกาส ดีกว่าเด็กทีเ่ รียนอยูใ่ นอีกหลายหมืน่ โรงเรียนในประเทศไทย เนื่ อ งจากเมื่ อ โครงการพั ฒ นาดอยตุ ง ฯ ได้ พั ฒ นา ความเป็นอยู่ของประชากรในพื้นที่บรรลุวัตถุประสงค์ ของโครงการแล้ ว ด้ ว ยวิ สั ย ทั ศ น์ อั น กว้ า งไกลของ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ประธานโครงการพัฒนาดอยตุงฯ

และคุณหญิงพวงร้อย ดิศกุล ณ อยุธยา รองประธาน โครงการพั ฒ นาดอยตุ ง ฯ ได้ ด� ำ ริ ถึ ง ความยั่ ง ยื น ของ โครงการด้วยการให้ความส�ำคัญกับการศึกษาที่มีคุณภาพ สอดคล้ อ งกั บ บริ บ ทของพื้ น ที่ และการขยายโอกาส ทางการศึกษาของเยาวชนให้สูงขึ้นอย่างน้อยได้เรียน ถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี เพื่อเตรียมเยาวชนและ เด็กในพืน้ ทีใ่ ห้มคี ณ ุ ภาพ รักท้องถิน่ ของตนเองและสามารถ สืบสานและพัฒนาพื้นที่อย่างต่อเนื่องสืบไป ทั้งสองท่าน ถือว่าเป็นบุคคลส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เกิดการประสานความร่วมมือ กับกระทรวงศึกษาธิการและส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน (สพฐ.) ในการพั ฒ นาโรงเรี ย น ในพื้ น ที่ โดยในปี 2547 ส� ำ นั ก พั ฒ นานวั ต กรรม การจั ด การศึ ก ษา (สนก.) ได้ เข้ า ไปท� ำ งานพั ฒ นา

85


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

86 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

การศึกษากับโรงเรียนอย่างใกล้ชิด ร่วมกับส�ำนักงาน เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถมศึ ก ษาเชี ย งราย เขต 3 และชุมชน อาจกล่าวได้ว่าเป็นโครงการหนึ่งเดียวของ สพฐ. ก็ว่าได้ที่ส่วนกลางได้ท�ำงานลงพื้นที่ด้วยตนเอง ในการพัฒนาการศึกษาระดับโรงเรียน

โรงเรี ย นบ้ า นห้ ว ยไร่ ส ามั ค คี เป็ น โรงเรี ย น ที่ ไ ด้ รั บ การปั ก หมุ ด ในแผนพั ฒ นาการศึ ก ษาโรงเรี ย น ในพื้นที่โครงการพัฒนาให้เป็นจุดขยายการจัดการศึกษา ในพื้ น ที่ ท รงงานจากระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาปี ที่ 3 เป็ น การจั ด การศึ ก ษาถึ ง ระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลาย เพื่อให้นักเรียนในพื้นที่อีก 7 โรงเรียน ได้เข้าเรียนต่อ ระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลาย การจั ด การศึ ก ษา ของโรงเรี ย นได้ ยึ ด มั่ น ในแนวทางการพั ฒ นาของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ “สมเด็จย่า” ที่ว่า ช่วยให้เขาสามารถพึ่งตนเองได้ แนวการพัฒนา ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว คื อ การพั ฒ นา ต้องสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและให้ชุมชน เข้ า ไปมี ส ่ ว นร่ ว มในการจั ด การศึ ก ษามากที่ สุ ด และ พระราชกระแสในสมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุ ม ารี เมื่ อ คราวเสด็ จ เยี่ ย มโรงเรี ย น บ้ า นห้ ว ยไร่ ส ามั ค คี เ มื่ อ ปี 2548 ทรงเห็ น ควรให้

เน้นสายอาชีพในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อให้ นักเรียนมีทักษะอาชีพ สามารถท�ำงานประกอบอาชีพได้ หากนั ก เรี ย นไม่ ไ ด้ ศึ ก ษาต่ อ ในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาโดย ผอ.ศุ ภ โชค ปิ ย ะสั น ต์ และคณะครู ต ้ อ งเรี ย นรู ้ ทุ ่ ม เทท� ำ งานอย่ า งหนั ก เนื่ อ งจากไม่ มี ป ระสบการณ์ ด ้ า นการจั ด การศึ ก ษา ระดั บ มั ธ ยมปลายและสายอาชี พ มาก่ อ น แต่ ด ้ ว ย การท� ำ งานกั บ เครื อ ข่ า ย เช่ น สถาบั น อาชี ว ศึ ก ษา จั ง ห วั ด เชี ย ง ร า ย แ ล ะ ก า ร ส ่ ง เ ส ริ ม ส นั บ ส นุ น ของทุ ก ฝ่ า ยที่ เ กี่ ย วข้ อ ง พร้ อ มงบประมาณตามมติ คณะรั ฐ มนตรี ป ี 2548 เพื่ อ สร้ า งโรงเรี ย นแห่ ง ใหม่ และการปรั บ ปรุ ง โครงสร้ า งพื้ น ฐานของโรงเรี ย น พร้อมการสนับสนุนองค์ความรู้ในการสร้างความเข้มแข็ง ทางวิชาการให้กับคณะครู การจัดการศึกษาของโรงเรียน บ้านห้วยไร่สามัคคี จึงเป็นไปด้วยดีตามล�ำดับ ณ วั น นี้ แ ม้ โ ครงการจากส่ ว นกลางจะยุ ติ ลงแล้วเมื่อปี 2553 แต่ผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครู ยั ง คงท� ำ งานอย่ า งเข้ ม แข็ ง พั ฒ นาต่ อ ยอดต่ อ ไป อย่างไม่หยุดยัง้ นับว่าเป็นการพัฒนาการศึกษาอย่างยัง่ ยืน เป็นทีน่ า่ ภาคภูมใิ จ กล่าวได้วา่ การจัดการศึกษาสายอาชีพ ของโรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี อยู่ในระดับแถวหน้า สามารถเป็นตัวอย่าง เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานของ โรงเรี ย นจากทุ ก ภู มิ ภ าคของประเทศไทย หน่ ว ยงาน ภายนอกและต่างประเทศ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

โรงเรี ย นบ้ า นห้ ว ยไร่ ส ามั ค คี เปิ ด สอน หลายสาขาอาชีพ ได้แก่ คหกรรม การโรงแรม เกษตรกรรม งานช่าง คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ภาษาจีนธุรกิจ มีผลิตผล และชิ้นงานมากมาย กล่าวได้ว่าโรงเรียนมาถึงจุดนี้ได้ด้วย พระบารมีในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือ แม่ฟ้าหลวงของปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะชาวดอยตุง ที่ มี โ อกาสได้ รั บ พระเมตตาจากพระองค์ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด จึงเป็นทีม่ าของผลิตภัณฑ์ “คิดถึงแม่ฟา้ หลวง” ของโรงเรียน บ้านห้วยไร่สามัคคี ผลิตภัณฑ์ที่จะยกตัวอย่างกล่าวถึง ในที่ นี้ คื อ “ธุ ร กิ จ เบเกอรี่ คิ ด ถึ ง แม่ ฟ ้ า หลวง” ของ โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี อาจารย์กมลวรรณ เนาว์ชมภู ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบการจั ด การเรี ย นรู ้ วิ ช าธุ ร กิ จ เบเกอรี่ เล่ า ถึ ง ที่ ม าว่ า เปิ ด สอนวิ ช านี้ ใ นระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษา ตอนปลาย เป็นรายวิชาเพิ่มเติม จ�ำนวน 2 หน่วยกิต เวลา 80 ชั่วโมง เหตุที่เปิดรายวิชานี้เพื่อให้ก้าวทันกับ ธุ ร กิ จ การท่ อ งเที่ ย วของท้ อ งถิ่ น และสมั ย นิ ย มของ คนรุ่นใหม่ที่ชอบนั่งคุยพักผ่อน นั่งท�ำงาน อ่านหนังสือ จิบกาแฟ รับประทานขนมประเภทเบเกอรี่เพิ่มมากขึ้น ทุกวัน ดังจะเห็นว่าธุรกิจร้านกาแฟ เบเกอรี ขยายวงกว้าง ไปในสั ง คมเมื อ ง หรื อ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทั่ ว ประเทศ ว่ากันว่าจุดเด่นของร้านเบเกอรี่ถือเป็นธุรกิจที่คนเดียว ก็สามารถท�ำได้ ขอให้มที ำ� เลดี รสชาติดี รูปลักษณ์สวยงาม น่ารับประทาน บริการเป็นเลิศมีความเป็นกันเองกับลูกค้า ความส�ำเร็จก็มารออยู่ข้างหน้า โรงเรียนจึงเห็นว่าเป็น ธุรกิจที่น่าสนใจ นักเรียนสามารถน�ำไปประกอบอาชีพ ได้ไม่ยากนัก จึงเปิดสอนวิชานี้ขึ้น

เมื่ อ เริ่ ม เปิ ด การเรี ย นการสอนรายวิ ช านี้ โรงเรียนต้องพึ่งโรงเรียนอาชีวศึกษาเชียงรายเป็นหลัก ครูกบั นักเรียนเรียนรูร้ ว่ มกัน ปัจจุบนั มีมหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต เข้ามาช่วยพัฒนาองค์ความรู้ด้านอาหารและ การโรงแรมด้วย ทั้งสองสถาบันดังกล่าว ท�ำให้การเปิด สายอาชีพคหกรรมและการโรงแรมของโรงเรียนเข้มแข็ง และเป็นมืออาชีพมากขึ้น อาจารย์กมลวรรณ เนาว์ชมภู ครู ผู ้ ส อนเล่ า ว่ า จริ ง ๆ แล้ ว เบเกอรี่ เ ป็ น อาหารหลั ก ของชาวตะวั น ตก แบ่ ง ประเภทเป็ น หลายกลุ ่ ม เช่ น ขนมปัง เค้ก ชิฟฟอนเค้ก ขนมพาย เดนนิส ครัวซอง คุกกี้ ชูเพสต์ เอแคร์ ครีมคัสตาด ไส้ขนมต่างๆ เรียกรวมๆ กันว่าเบเกอรี่ วิชาธุรกิจเบเกอรีท่ เี่ ปิดสอนมีสาระส�ำคัญคือ การให้นักเรียนรู้จักธุรกิจเบเกอรี่ ตลาด วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตเบเกอรี่ระดับมาตรฐาน คุณค่าทางโภชนาการ สูตรเบเกอรี่ประเภทคุกกี้ เค้ก ขนมปั ง โดนั ท และอื่ น ๆ การออกแบบบรรจุ ภั ณ ฑ์ เพื่ อ ดึ ง ดู ด ลู ก ค้ า การเก็ บ รั ก ษาและพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ให้มคี ณ ุ ภาพ การคิดต้นทุนการผลิต การก�ำหนดราคาขาย การจัดท�ำบัญชีธุรกิจ การแสวงหาโอกาสพัฒนาธุรกิจ เบเกอรี่ การจัดหน้าร้านให้น่าสนใจ การคิดสร้างสรรค์ กั บ การจดทะเบี ย นทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญา การเป็ น ผู้ประกอบการที่มีคุณธรรม “ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน มุ่งมั่น กตั ญ ญู ” เพื่ อ สู ่ ค วามส� ำ เร็ จ ในการประกอบอาชี พ ธุรกิจเบเกอรี่ โดยบูรณาการกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

87


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

88 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

การจัดการเรียนรู้ อาจารย์กมลวรรณ เนาว์ชมภู ได้จัดท�ำเอกสารประกอบการเรียน 7 เล่ม ดังนี้ 1. ธุรกิจเบเกอรี่ 2. วัตถุดิบและเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต เบเกอรี่ 3. การผลิตเบเกอรี่ประเภท คุกกี้ 4. การผลิตเบเกอรี่ประเภท เค้ก 5. การผลิตเบเกอรี่ประเภท ขนมปัง 6. การผลิตเบเกอรี่ประเภท โดนัท 7. โครงการผลิตและจ�ำหน่ายเบเกอรี่

นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยวิธีปฏิบัติจริง ใช้เวลา ทั้ ง ในและนอกเวลาเรี ย น เรี ย นรู ้ สู ต รเบเกอรี่ พื้ น ฐาน ที่ได้มาตรฐาน และให้นักเรียนสร้างสรรค์คิดสูตรใหม่ เบเกอรี่ของโรงเรียนที่รู้จักกันดี ได้แก่ คุกกี้งาหม่อน คุ ก กี้ ก ล้ ว ยตาก คุ ก กี้ ทู โ ทน เป็ น ต้ น ได้ รั บ สั่ ง ซื้ อ ส� ำ หรั บ จั ด งานเลี้ ย ง หรื อ งานประชุ ม ครั้ ง ละมากๆ

ถ้ า มี ง านออกร้ า นเบเกอรี่ จ ะจ� ำ หน่ า ยควบคู ่ กั บ ร้ า นกาแฟของโรงเรี ย นเสมอ ผลที่ ไ ด้ รั บ ที่ น ่ า พอใจ มากคือนักเรียนไม่ไปเกเรที่ไหน วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็ ม าท� ำ งานมี ร ายได้ นั ก เรี ย นท� ำ มากรายได้ ก็ ม าก นักเรียนได้ทกั ษะการท�ำงาน ทักษะชีวติ อย่างมาก นักเรียน และผู ้ ป กครองต่ า งก็ พ อใจ สิ่ ง ที่ อ าจารย์ ก มลวรรณ ปลื้ ม ใจมาก คื อ นั ก เรี ย นมี ค วามรั บ ผิ ด ชอบสู ง มาก สามารถท�ำงานเป็นทีม ท�ำงานเป็นระบบได้โดยล�ำพัง โดยครูไม่ต้องควบคุมดูแล ก็สามารถท�ำงานส�ำเร็จได้

การวัดและประเมินผล อาจารย์กมลวรรณ ท� ำ เกณฑ์ ก ารให้ ค ะแนนทั้ ง ด้ า นความรู ้ การปฏิ บั ติ และคุณธรรม ท�ำการประเมินเป็นรูบิค (Rubic) 4 ระดับ คื อ ปรั บ ปรุ ง พอใช้ ดี และดี ม าก แยกเป็ น รายการ อย่ า งละเอี ย ดและน่ า สนใจ ได้ แ ก่ ความสนใจและ รักการท�ำงาน เจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพสุจริต เห็ น คุ ณ ค่ า ในตั ว เองและมี เ ป้ า หมายในการมุ ่ ง สู ่


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ความส�ำเร็จเพื่อสู่ความส�ำเร็จในธุรกิจ การพัฒนาผลงาน ที่มีคุณภาพ ที่มีค่าต่อผู้ใช้และให้บริการ การไม่เอาเปรียบ ลูกค้า คุณธรรม 5 ประการเพื่อสู่ความส�ำเร็จในการ ประกอบอาชีพธุรกิจเบเกอรี่ ฯลฯ นักเรียนแต่ละคน จะต้องมีชวั่ โมงฝึกงานตามก�ำหนดจึงจะจบได้ รายวิชาเพิม่ เติม ที่เปิดสอน และเอกสารประกอบการเรียน ของอาจารย์ กมลวรรณได้ผา่ นกระบวนการท�ำวิจยั ใช้เวลา 1 ปี จนส�ำเร็จ อาจารย์กมลวรรณเล่าอย่างภาคภูมิใจว่า ผลงานนักเรียน ประสบความส� ำ เร็ จ เข้ า แข่ ง ขั น ระดั บ ภาคและระดั บ ประเทศมาแล้ว และได้รบั การคัดเลือกน�ำผลงานจ�ำหน่าย ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติทุกปี และตนเอง ได้รับการคัดเลือกให้น�ำผลงานวิจัยเรื่องธุรกิจเบเกอรี่ น� ำ เสนอเผยแพร่ ใ นระดั บ ประเทศอี ก ด้ ว ย อาจารย์ กมลวรรณกล่าวถึงปัจจัยความส�ำเร็จ คือ

• ผู้บริหารสถานศึกษา เก่งวิชาการ เก่งงาน เก่งคน เข้าใจและส่งเสริมสนับสนุนการท�ำงานเต็มที่ • ครูท�ำงานทุ่มเท เสียสละ ครูทุกคนร่วมมือ กันท�ำงาน • โรงเรียนได้รับโอกาสดีมาก ที่มีโครงการ พั ฒ นาดอยตุ ง (พื้ น ที่ ท รงงาน) อั น เนื่ อ งมาจาก พระราชด�ำริฯ ส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. และ สพป.เชียงราย เขต 3 ส่งเสริมสนับสนุน ทั้ ง งบประมาณ องค์ ค วามรู ้ และสร้ า งเครื อ ข่ า ยกั บ สถาบันอาชีวศึกษาเชียงราย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบต.แม่ฟา้ หลวง สถานประกอบการในชุมชนและปัจจุบนั มีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตเข้าไปพัฒนาต่อยอด • โรงเรียนทุม่ เทการท�ำงานเพือ่ สร้างคุณภาพ นักเรียน ท�ำให้ผู้ปกครองยอมรับ • การสร้างสายสัมพันธ์กับชุมชน ผู้ปกครอง ท�ำความเข้าใจกับผู้ปกครองอย่างสม�่ำเสมอ • มีการประชาสัมพันธ์โรงเรียนในทุกรูปแบบ ควบคูก่ บั การสร้างคุณภาพการจัดการศึกษา สิง่ ทีส่ ำ� คัญมาก คือแม้เราจะโชคดีที่มีผู้สนับสนุนแต่โรงเรียนต้องร่วมกัน ออกแรงผลักดันและพัฒนางานให้ก้าวหน้าอยู่เสมอด้วย และฝากข้อคิดปิดท้ายให้ผู้ร่วมอาชีพว่า

89


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

90 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

“ต้องแนะให้เขาท�ำ ต้องน�ำให้เขาคิด ต้องสาธิตให้เขาดู ต้องให้เขาเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง ต้องสลัดทิ้งความเคยชินเก่าๆ ต้องท�ำตัวเราให้เป็นแบบอย่าง”

ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางน�ำผู้ปฏิบัติงานไปสู่ความส�ำเร็จอย่างแน่นอน


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

สาหร่าย (ไก) จากแม่น�้ำโขง ต่ อ มามี ก ารประชาสั ม พั น ธ์ อ าหารเสริ ม ที่ท�ำจากสาหร่ายเกลียวทองมีสรรพคุณบ�ำรุงร่างกาย ให้แข็งแรง ตลอดจนรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ และ มีสาหร่ายน�ำเข้าจากต่างประเทศทีเ่ ด็กๆ ชอบรับประทาน ซึ่งมีร สชาติห ลากหลายและราคาแพงวางขายอยู่ตาม ร้ า นค้ า ทั่ ว ไป จึ ง เป็ น แรงบั น ดาลใจให้ อ าจารย์ ป ิ ย นุ ช ศิ ริ ธ าราธิ กุ ล ครู ป ระจ� ำ วิ ช าภาษาไทย โรงเรี ย น บ้ า นเมื อ งกาญจน์ ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ประถมศึ ก ษาเชี ย งราย เขต 4 คิ ด น� ำ สาหร่ า ยจาก สาหร่ายเป็นพืชน�ำ้ ทีน่ ำ� มาประกอบเป็นอาหาร แม่น�้ำโขง วัตถุดิบจากท้องถิ่นที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ของมนุ ษ ย์ ไ ด้ เช่ น เดี ย วกั บ พื ช น�้ ำ อื่ น ๆ เช่ น ผั ก บุ ้ ง มาแปรรูปเป็นอาหารหลากหลายรสชาติ โดยร่วมมือกับ ผั ก กระเฉด หรื อ บั ว สาหร่ า ยต่ า งกั บ พื ช น�้ ำ อื่ น ก็ คื อ ผูป้ กครองและภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ สร้างหลักสูตรมหัศจรรย์ เป็นพืชเซลล์เดียว ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สาหร่าย (ไก) จากแม่น�้ำโขงในกลุ่มสาระการงานอาชีพ ต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ สีเขียวหมายถึงคลอโรฟิลล์ และเทคโนโลยี ประเภทแปรรูปอาหาร ใช้สอนตั้งแต่ ท�ำหน้าทีส่ งั เคราะห์แสง เมือ่ พิจารณาแต่ละเซลล์จะเห็นว่า ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ไม่มสี ว่ นทีเ่ ป็นราก ล�ำต้น หรือใบทีแ่ ท้จริง แต่เมือ่ เซลล์เหล่านี้ เกาะติดกันเป็นจ�ำนวนมาก จึงเห็นเป็นพืชขนาดใหญ่ แผ่เป็นเส้นสายอยู่ในน�้ำเหมือนแพรไหม และมีรูปลักษณ์ คล้ า ย ราก ล� ำ ต้ น และใบ รวมเรี ย กว่ า Thallive ส�ำหรับในประเทศไทยสาหร่ายพันธุด์ งั กล่าวนี้ มีชอื่ เรียกว่า สาหร่าย (ไก) พบในแม่น�้ำโขง ที่หมู่บ้านเมืองกาญจน์ อ� ำ เภอเชี ย งของ จั ง หวั ด เชี ย งราย และที่ แ ม่ น�้ ำ น่ า น อ�ำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เพียงปีละครัง้ เท่านัน้ ระหว่าง เดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม และเป็นอาหารพื้นบ้าน ของคนพื้ น เมื อ งที่ มี ภู มิ ล� ำ เนาอยู ่ ริ ม แม่ น�้ ำ ทั้ ง สอง ตามบริเวณแหล่งก�ำเนิดที่มีสาหร่าย (ไก) อยู่

91


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

92 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ปัจจุบันมีสาหร่ายแปรรูปจ�ำหน่ายอยู่ในโรงเรียนมากกว่า สิ บ ชนิ ด ได้ แ ก่ สาหร่ า ยปรุ ง รสสมุ น ไพร (ไกน�้ ำ ข่ า ) สาหร่ายปรุงรสสมุนไพร น�้ำพริกคั่วสาหร่าย ไข่ทรงเครื่อง สาหร่าย ซาลาเปาสาหร่าย ข้าวเกรียบสาหร่าย แซนวิส/ ขนมปั ง กรอบสาหร่ า ย หมี่ ก รอบน�้ ำ พริ ก คั่ ว สาหร่ า ย ขนมรังผึ้งสาหร่าย ซูชิสาหร่าย น�้ำสาหร่าย เป็นต้น ดร.ยุวดี พีรพรไพศาล จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาหาศักยภาพของสาหร่าย น�้ ำ จื ด ขนาดใหญ่ ที่ มุ ่ ง จะน� ำ มาเป็ น อาหารและยา ต่อมาเมือ่ เข้าสูโ่ ครงการนักธุรกิจน้อยมีคณ ุ ธรรม ในการศึกษาครั้งนี้ท�ำเฉพาะสาหร่ายที่พบในแม่น�้ำน่าน น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของส�ำนักพัฒนานวัตกรรม เป็นหลัก เพราะว่านักวิจัยอยู่ทางภาคเหนือ จึงได้เลือก การจั ด การศึ ก ษา สพฐ. ซึ่ ง มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เพื่ อ ฝึ ก สาหร่ายที่พบเห็นมาก 2 ชนิด มาศึกษาอย่างละเอียด ประสบการณ์ให้นักเรียนเรียนรู้การท�ำธุรกิจ โรงเรียน ได้แก่ สาหร่าย (ไก) และสาหร่ายลอน ทั้งสองอย่างนี้ จึงได้มกี ารปรับเนือ้ หาของหลักสูตรโดยเพิม่ ความรูพ้ นื้ ฐาน เป็นชื่อพื้นเมืองที่คนพื้นถิ่นรู้จักกันดีและใช้เป็นอาหาร ธุรกิจ การน�ำผลิตภัณฑ์สู่ตลาด การก�ำหนดราคาขาย กันมานาน สาหร่ายทัง้ สองอย่างนีม้ คี ณ ุ ค่าทางอาหารสูงมาก การท� ำ บั ญ ชี ร ายรั บ รายจ่ า ย เป็ น ต้ น พร้ อ มกัน นี้ค รู และกลายเป็นจุดเด่นที่ส�ำคัญ โดยมีโปรตีนสูงเทียบได้กับ และนักเรียนได้ร่วมกันคิดทดลองแปรรูปสาหร่ายท�ำเป็น ปลาน�้ำจืด กล่าวได้ว่าสามารถน�ำมาทดแทนการกินปลา อาหารสูตรใหม่ๆ เพื่อออกจ�ำหน่ ายอย่างหลากหลาย ได้เป็นอย่างดี ข้อส�ำคัญคือมีกากหรือเส้นใยพอๆ กับ มากขึ้ น โดยการส� ำ รวจความต้ อ งการของนั ก เรี ย น ผักสีเขียวทั่วๆ ไป และชุมชน มีการประเมินผลหลังการจ�ำหน่ายทุกครั้ง ดังนั้นถ้ากินสาหร่ายอย่างเดียวก็จะได้โปรตีน แล้วน�ำไปปรับเปลีย่ นทดลองใหม่อกี หลายๆ ครัง้ จนเกิดเป็น พอๆ กับกินปลา และได้เส้นใยอาหารพอๆ กับกินผัก ผลผลิ ต ที่ ไ ด้ รั บ การยอมรั บ และเขี ย นเป็ น ต� ำ ราขึ้ น มา แถมยังมีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะแคลเซียม หลังจากที่ประสบความส�ำเร็จครั้งที่ 1 แล้ว สูตรอาหาร ค่อนข้างสูงและที่เด่นที่สุดคือมีซิลิเนียมสูงมาก ซึ่งสูงกว่า สาหร่ายจากแม่น�้ำโขงประเภทที่ 2, 3, 4... ก็ตามมา ในผักสีเขียวด้วยซ�้ำไป แร่ธาตุตัวนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า เป็นสารป้องกันอนุมูลอิสระที่ส�ำคัญยิ่งชนิดหนึ่ง ดังนั้น ในพื้ น ที่ ที่ อ ยู ่ ใ กล้ แ หล่ ง สาหร่ า ยเหล่ า นี้ จึ ง โชคดี ก ว่ า คนกรุ ง เทพฯ ที่ ไ ด้ กิ น อาหารดี มี ป ระโยชน์ แถมยั ง มี รสชาติดีอีกด้วย


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ถ้ า มองด้ า นสรรพคุ ณ ทางยา ก็ จ ะพบว่ า สาหร่าย (ไก) มีฤทธิต์ า้ นการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนีย้ งั มีแนวโน้มยับยัง้ การเกร็งของกล้ามเนือ้ เรียบ ขยายหลอดลม ต้ า นการอั ก เสบ ระงั บ ปวดและลด ความดันโลหิตได้ด้วย สรรพคุณดังกล่าวน่าสนใจมาก ทีเดียว ส่วนสาหร่ายลอนก็พบว่ามีสารวุ้นค่อนข้างมาก ซึ่ ง อาจมี คุ ณ ค่ า ในการน� ำ มาพั ฒ นาเป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อาหารเสริมต่างๆ ได้ แม่น�้ำโขงเป็นห้องเรียนธรรมชาติที่มีคุณค่า ต่ อ การเรี ย นรู ้ เรื่ อ งสาหร่ า ยของนั ก เรี ย น คื อ นั ก เรี ย น ต้องลงไปงมเก็บสาหร่ายจากในแม่น�้ำ เมื่อได้มาแล้ว ต้องท�ำความสะอาด แล้วน�ำเส้นสาหร่ายซึ่งมีลักษณะ เป็นใยเส้นยาวประมาณ 1 เมตร มาท�ำให้แห้งนัน้ นักเรียน จะได้รับความรู้ การเตรียมงาน การฝึกและปฏิบัติจาก ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ซึง่ มีเทคนิควิธกี ารเฉพาะแต่ละขัน้ ตอน คือ เมื่อเก็บสาหร่ายขึ้นมาจากแม่น�้ำแล้ว ต้องน�ำมา คลี่ แผ่ นสาหร่ า ยเป็ น จั บเล็ ก ๆ แล้ ว ปล่ อ ยน�้ ำ ไหลผ่ า น เพื่อให้น�้ำช�ำระล้างสิ่งที่ไม่ต้องการออก กระแสน�้ำที่ไหล ผ่านจะต้องไม่แรงเกินไป เพราะจะท�ำให้แผ่นสาหร่ายขาด ถ้ า กระแสน�้ ำ เบาเกิ น ไปก็ จ ะไม่ ส ามารถชะล้ า งสิ่ ง ที่ ไม่ ต ้ อ งการออกได้ ส่ ว นการตากสาหร่ า ยก็ ต ้ อ งใช้ เทคนิ ค เฉพาะ คื อ ตากบนแผงหญ้ า คาแทนการตาก ในตะแกรง ตะกร้า หรือถาด เพราะแผงหญ้าคามีลักษณะ โปร่งลมเข้าได้ทุกทิศทุกทาง ช่วยให้สาหร่ายแห้งได้เร็ว โดยไม่ตอ้ งพึง่ พาแสงอาทิตย์มากนัก ถ้าตากกับแสงอาทิตย์ แรงจ้ า เกิ น ไป สี เขี ย วของสาหร่ า ยจะซี ด ลง ดั ง นั้ น จึ ง ต้ อ งระวั ง มิ ใ ห้ แ ผ่ น สาหร่ า ยถู ก แสงจ้ า นานเกิ น ไป แผ่ น สาหร่ า ยแห้ ง ที่ น� ำ มาล้ า งสะอาดแล้ ว ตากแห้ ง นี้ ไม่มีการปรุงรส เมื่อแห้งได้ที่แล้วก็เก็บใส่ถุงพลาสติก มัดให้แน่นเพื่อไม่ให้ถูกลมหรือแสง ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งของ การถนอมอาหารเพื่อใช้ประโยชน์ได้นาน

นอกจากห้ อ งเรี ย นธรรมชาติ ที่ ใ ห้ วั ต ถุ ดิ บ กับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีบทบาทในการเตรียมวัตถุดิบ ให้พร้อมใช้เป็นส่วนประกอบปรุงเป็นอาหารแล้ว ในขัน้ ตอน การปรุงรสสาหร่ายและสร้างผลงานแปรรูปสาหร่ายนั้น อาจารย์ปิยนุช ศิริธาราธิกุล ได้ศึกษาความรู้เพิ่มเติม โดยศึกษา ดูงาน ปรึกษาผูร้ ู้ ทดลอง ปฏิบตั จิ ริง แล้วประเมิน ผลงานด้วยตนเองบ้าง ให้เพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนฝูงบ้าง ผู ้ สั น ทั ด กรณี ใ นเรื่ อ งอาหารบ้ า ง ช่ ว ยกั น ประเมิ น ให้ข้อเสนอแนะ แล้วน�ำมาปรับปรุง อาจารย์ปิยนุช เล่าว่า เริ่ ม แรกหลั ก สู ต รครอบคลุ ม เฉพาะความรู ้ เ กี่ ย วกั บ แหล่งที่อยู่ ธรรมชาติของหมู่บ้านเมืองกาญจน์ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประเพณี ความเชื่อถือของบุคคลในท้องถิ่น และทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่นคือสาหร่าย (ไก) ซึง่ เป็นพืชท้องถิน่ ทีม่ คี ณ ุ ค่าทางโภชนาการ และเป็นอาหาร พืน้ บ้านเท่านัน้ ต่อมาสังเกตพบว่าสาหร่าย (ไก) มีกลิน่ คาว เด็ ก ๆ ไม่ ช อบรั บ ประทานอาหารที่ มี ส าหร่ า ย (ไก) เป็ น ส่ ว นประกอบ แต่ ก ลั บ นิ ย มรั บ ประทานสาหร่ า ย จากต่ า งประเทศ จึ ง ได้ คิ ด ค้ น หาวิ ธี ก ารลดกลิ่ น คาว โดยใช้สมุนไพรช่วย ซึ่งนอกจากจะได้ผลเรื่องลดกลิ่น ดังกล่าวแล้ว สมุนไพรทีใ่ ช้ยงั ไปเพิม่ คุณค่าทางโภชนาการด้วย จึงเป็นที่มาของสาหร่าย (ไก) แผ่น ที่มีคุณค่าทางอาหาร ไม่ แ พ้ ส าหร่ า ยแผ่ น ที่ น� ำ เข้ า มาจากต่ า งประเทศและ ได้รับการยอมรับ สามารถเปลี่ยนทัศนคติของนักเรียน ให้ หั น มารั บ ประทานสาหร่ า ยผลิ ต ในชุ ม ชนของตน

93


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

94 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ด้วยวิธีการปรับปรุงแก้ไขกลิ่นคาวในลักษณะดังกล่าว และเกิดหลักสูตรสาหร่ายแปรรูปหลากหลายตามที่ได้ กล่าวไว้ในตอนต้นแล้ว เมื่อล�ำดับการท�ำอาหารแปรรูปสาหร่าย (ไก) จากแม่น�้ำโขง จะเห็นว่านักเรียนผู้ปฏิบัติได้แบ่งงานเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 - เตรี ย มเครื่ อ งมื อ อุ ป กรณ์ การเก็บสาหร่าย ได้แก่ กระบุง สวิง เชือก แผงหญ้าคา น�้ำสะอาด ถัง กะละมัง สถานที่ - เก็บสาหร่าย ท�ำความสะอาด ผึ่งให้แห้ง และเก็บแบบถนอมอาหาร ขั้นตอนที่ 2 แปรรูป ขั้นตอนที่ 3 การบรรจุภัณฑ์ คิดต้นทุน ก�ำไร และการตลาด

แต่ละขั้นตอนต้องใช้แรงงานนักเรียนหลายคน ซึง่ ต้องท�ำงานร่วมกันด้วยความรับผิดชอบ อดทน รอบคอบ ขยัน มีนำ�้ ใจ เอือ้ เฟือ้ ต่อกัน มีความสามัคคี ร่วมคิด ร่วมท�ำ ร่วมแก้ปัญหา ตรงต่อเวลา สุภาพ ซื่อสัตย์ ในขั้นตอน จ�ำหน่ายก็ต้องคิดราคาด้วยความเป็นธรรม นอกจากนี้ ยั ง ต้ อ งเคารพต่ อ ภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น รู ้ จั ก ปรั บ เปลี่ ย น ความคิด วิธีการ ยอมรับความคิดและสิ่งใหม่ๆ ได้อย่าง สร้างสรรค์ อันจะท�ำให้ผลงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจารย์ปิยนุชเล่าว่า ขั้นตอนที่นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหา คือ การน�ำผลิตภัณฑ์ไปจ�ำหน่าย นักเรียนไม่กล้า บอกว่า ขายไม่เป็น ไม่มั่นใจสินค้าของตนเองว่าคนต่างถิ่น เช่น คนกรุงเทพฯ รับประทานเป็นหรือไม่ การก�ำหนดราคาขาย

อย่ า งไรจึ ง จะเหมาะสม เกรงว่ า หากขายแพงเกิ น ไป จะไม่มีคนซื้อ ครูจึงต้องให้ก�ำลังใจ สร้างความมั่นใจ ด้วยการให้ความรู้เพิ่มเติม และให้ฝึกฝนมากขึ้น เช่น ด้านการขายนักเรียนควรน�ำเสนอข้อมูลใดกับลูกค้าๆ จึ ง จะสนใจซื้ อ การก� ำ หนดราคาสิ น ค้ า ที่ เ หมาะสม พานั ก เรี ย นไปสั ง เกตการณ์ แ ละทดลองปฏิ บั ติ จ ริ ง เมื่อนักเรียนขายได้ก็เกิดความมั่นใจและสนุกกับงาน และ มีก�ำลังใจจากรายได้โดยน�้ำพักน�้ำแรงของตนเอง

การสอนให้ นั ก เรี ย นเรี ย นรู ้ ก ารท� ำ ธุ ร กิ จ โรงเรียนได้ตั้งเป็นชุมนุม สมาชิกรวมหุ้นๆ ละ 20 บาท มีคณะกรรมการด�ำเนินงาน แต่ละสัปดาห์ชมุ นุมท�ำอาหาร แปรรูปสาหร่ายออกจ�ำหน่ายในโรงเรียน น�ำผลิตภัณฑ์ ขายตามร้านค้า และจ�ำหน่ายในงานต่างๆ ที่ได้รับเชิญ เมือ่ สิน้ ปีมกี ารปันผลก�ำไร ก�ำไรจากการจ�ำหน่ายส่วนหนึง่ น�ำมาแบ่งเป็นรายได้ให้กับนักเรียนและผู้ลงทุน ส่วนหนึ่ง แบ่ ง ปั น กลั บ คื น สู ่ โรงเรี ย น เพื่ อ ซื้ อ อุ ป กรณ์ ส� ำ หรั บ ใช้ ในการสอนงานอาชีพของโรงเรียน ให้นกั เรียนได้ใช้รว่ มกัน เป็นการสอนนักเรียนรู้จักการให้ การแบ่งปัน นักเรียน เกิ ด ความภาคภู มิ ใ จ และเห็ น คุ ณ ค่ า ของตนเองว่ า แม้นกั เรียนเป็นเด็กก็สามารถสร้างประโยชน์ให้กบั ผูอ้ นื่ ได้


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

คุณสมบัติทั้งหมดจะถูกปลูกฝังในตัวผู้เรียน กลายเป็น คุณสมบัติประจ�ำตัว ซึ่งมีค่าต่อชีวิตมนุษย์และสามารถ น�ำไปใช้ประกอบอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองและ ครอบครัวได้อย่างยั่งยืน

อาจารย์ปยิ นุชให้ขอ้ มูลเพิม่ เติมว่าได้มนี กั เรียน ในโครงการ ชื่อเด็กหญิงอมรรัตน์ แซ่เฮ้อ เมื่อขึ้นชั้น ม.3 ได้เกิดแรงบันดาลใจน�ำความรู้จากการเรียนเปิดกิจการ ขายก๋วยเตี๋ยว ส้มต�ำ น�้ำแข็งไส ในชุมชนม้งที่ตนอาศัยอยู่ โดยเปิดขายในวันหยุด เตรียมการและขายด้วยตนเอง คนเดียว เนื่องจากพ่อแม่ไปท�ำงานต่างจังหวัด ท�ำให้ ความส�ำเร็จที่โรงเรียน และผู้สอนภาคภูมิใจ ตนรู ้ สึ ก ภู มิ ใจมากและถื อ ว่ า เป็ น ความส� ำ เร็ จ สู ง สุ ด ยิ่ ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง คื อ ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษา กว่ารางวัลใดๆ ที่ได้รับ และมีความเชื่อว่าความส�ำเร็จ ขัน้ พืน้ ฐาน ได้คดั เลือกให้นกั เรียนน�ำผลิตภัณฑ์สาหร่าย (ไก) ที่เกิดขึ้นได้นั้น ครูต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ จากแม่น�้ำโขงมาจ�ำหน่ายในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ไม่หยุดนิ่ง พร้อมที่จะพัฒนา มุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ ระดับชาติ ณ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ตัง้ แต่ปกี ารศึกษา มี ค วามรั ก และสนุ ก กั บ งานที่ ท� ำ ที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด คื อ 2551 ติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้โรงเรียนยังได้รับ ได้ รั บ การสนั บ สนุ น จาก ผอ.วายุ วั ฒ น์ ชั ย วรรณะ รางวั ล เหรี ย ญทองอั น ดั บ ที่ 2 โครงงานอาชี พ ในการ ผูบ้ ริหารโรงเรียน และเพือ่ นร่วมงานในโรงเรียน ปีการศึกษา แข่ ง ขั น ทั ก ษะวิ ช าการในงานศิ ล ปหั ต ถกรรมนั ก เรี ย น 2556 นี้ โรงเรียนได้สนับสนุนการท�ำงานด้วยการตั้งศูนย์ ระดับชาติ ปีการศึกษา 2554 และประสบความส�ำเร็จ ฝึกอาชีพและจ�ำหน่ายผลงานนักเรียนด้วย สู ง สุ ด ได้ รั บ รางวั ล เหรี ย ญทองอั น ดั บ 1 งานแปรรู ป อาหาร ในปีการศึกษา 2555 รางวัลดังกล่าวแสดงถึงผล ความส�ำเร็จเชิงประจักษ์ ของการจัดการเรียนการสอน ของครู ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ นั ก เรี ย น และปี ก ารศึ ก ษา 2556 โรงเรียนก็ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 29 ศูนย์แกนน�ำ ขยายเครื อ ข่ า ยไปยั ง โรงเรี ย นและชุ ม ชนที่ ส นใจ ซึ่ ง มี อยู ่ ด ้ ว ยกั น 4 โรงเรี ย น คื อ โรงเรี ย นบ้ า นทุ ่ ง นาน้ อ ย โรงเรียนปางหัดสหศาสตร์ โรงเรียนบ้านห้วยหาน และ โรงเรียนปอวิทยา

95


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

96 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

สมุนไพรมะรุม พืชสมุนไพรอื่นๆ ด้วย เช่น อัญชัน เตยหอม หญ้านาง ฟ้าทะลายโจร เสาวรส พญาวานร ใบบัวบก และสนับสนุน ให้ นั ก เรี ย นน� ำ ต้ น ไปปลู ก ที่ บ ้ า น เพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น และได้พัฒนาหลักสูตร สถานศึ ก ษารายวิ ช าเพิ่ ม เติ ม เรื่ อ งสมุ น ไพรมะรุ ม ในกลุ ่ ม สาระการเรี ย นรู ้ ก ารงานอาชี พ และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้น เพื่อว่านักเรียนจะได้รับการ ถ่ายทอดประสบการณ์จากท้องถิ่นเพิ่มเติม ได้ร่วมกับ ครอบครัวและชุมชนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะรุม ได้สบื ทอดภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ สามารถน�ำความรูไ้ ปประกอบ จากการส� ำ รวจข้ อ มู ล และสภาพทั่ ว ไปของ อาชีพ เกิดประโยชน์ต่อชีวิต น�ำไปสู่ความรู้สึกถึงคุณค่า หมูบ่ า้ นในเขตบริการโรงเรียนโพนงามโคกวิทยาคาร พบว่า ของทรัพยากรท้องถิ่น และเกิดความรู้สึกรักและหวงแหน ภายในหมู่บ้านปลูกต้นมะรุมเกือบทุกครัวเรือน เนื่องจาก สิ่งดีมีค่าของท้องถิ่นของตน สภาพภู มิ อ ากาศเหมาะสมแก่ ก ารเพาะช� ำ ต้ น มะรุ ม และเป็ น พื ช ปลู ก ง่ า ย โตเร็ ว ประชาชนนิ ย มบริ โ ภค เพราะมี คุ ณ ค่ า ทางโภชนาการและมี ส รรพคุ ณ ทางยา หลายด้าน ได้แก่ รากรสเผ็ด หวาน ขม แก้อาการบวม บ�ำรุงไฟธาตุ เปลือกให้ความร้อนแก่ร่างกาย ช่วยขับลม ใบช่ ว ยแก้ อ าการเลื อ ดออกตามไรฟั น แก้ อั ก เสบ ดอกช่วยบ�ำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน�้ำตา ฝักรสหวาน แก้ ไ ข้ ลดไข้ มะรุ ม จึ ง เป็ น หนึ่ ง ในพื ช เศรษฐกิ จ ของหมู ่ บ ้ า นในรู ป ของการจ� ำ หน่ า ยต้ น กล้ า มะรุ ม และการเก็บผลผลิตจากต้นใหญ่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ อาจารย์วราภรณ์ วรพันธ์ ผูร้ บั ผิดชอบการสอน เช่น แคปซูลมะรุม หรือชามะรุม เป็นต้น ประกอบกับ วิชาสมุนไพรมะรุมกล่าวถึงผลทีต่ อ้ งการให้เกิดแก่นกั เรียน โรงเรี ย นโพนงามโคกวิ ท ยาคารได้ มี โ ครงการเพาะช� ำ ในการเรียนวิชานี้ว่า


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

1. เพื่ อ ให้ ผู ้ เรี ย นมี ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บการปลูก บ�ำรุงรักษาต้นมะรุม และคุณค่าทางโภชนาการของมะรุม 2. เพื่ อ ให้ ผู ้ เ รี ย นมี ทั ศ นคติ ที่ ดี ต ่ อ อาชี พ การเกษตร เนื่องจากสามารถน�ำไปสร้างรายได้ 3. เพื่ อ สร้ า งแรงบั น ดาลใจในการประกอบ อาชีพการเกษตรและธุรกิจ 4. เพื่ อ ให้ เ กิ ด การเรี ย นรู ้ ใ นการพึ่ ง ตนเอง ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 5. เพือ่ สร้างนิสยั รักการท�ำงาน เกิดคุณลักษณะ ที่ดีในการท�ำงานและสามารถท�ำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ค� ำ อธิ บ ายรายวิ ช าได้ ยื น ยั น ภารกิ จ ใน การเรียนการสอนวิชานี้ให้เกิดผล 5 ประการดังกล่าว คือ การศึกษาประวัติความเป็นมา ความส�ำคัญ ลักษณะ ส่ ว นต่ า งๆ ของมะรุ ม นั ก เรี ย นต้ อ งรู ้ จั ก เพาะปลู ก โดยเริ่มจากการเตรียมพื้นที่ปลูก ซึ่งใช้พื้นที่รอบๆ บริเวณ โรงเรียน การเตรียมดิน การเพาะเมล็ด และดูแลรักษา ต้นอ่อน ในขั้นตอนเลี้ยงดูต้นอ่อนนี้ ส่วนหนึ่งนักเรียน น�ำต้นอ่อนไปจ�ำหน่ายที่ตลาดนัดบ้านท่าแร่ในวันอาทิตย์ อีกส่วนหนึ่งให้นักเรียนน�ำไปปลูกที่บ้าน เมื่อบทเรียนเรื่องการปลูกผ่านไป และอยู่ใน ระหว่างการดูแลรักษา นักเรียนก็ได้เรียนรู้ถึงประโยชน์ ของมะรุมด้านที่เป็นคุณค่าทางอาหารและคุณค่าทางยา ซึ่งได้ศึกษาจากแหล่งเรียนรู้วิทยากรท้องถิ่น เอกสาร ใบความรู้ และการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ในขั้ น ตอนแปรรู ป นั ก เรี ย นต้ อ งร่ ว มกั น วางแผนแปรรูปผลผลิตด้วยการประสานความร่วมมือกับ บิ ด า มารดาหรื อ ผู ้ ป กครอง และต้ อ งท� ำ ตามขั้ น ตอน

ที่วางแผนไว้ การท�ำงานเน้นทักษะกระบวนการ และ การท�ำงานกลุ่ม ด้วยความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย อดทน ประหยั ด รู ้ จั ก รั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ของผู ้ อื่ น ให้ความร่วมมือด้วยดี ค�ำนึงถึงคุณภาพของงาน การแปรรูปมะรุมเพื่อการจ�ำหน่าย โรงเรียน ค� ำ นึ ง ถึ ง ความปลอดภั ย ของผู ้ บ ริ โ ภคสู ง สุ ด จึ ง ได้ ข อ ค�ำปรึกษาแนะน�ำจากหน่วยงานสาธารณสุขของจังหวัด อยู่เสมอ ทั้งวิธีการผลิตและฉลากสินค้าที่บรรจุภัณฑ์ การจัดจ�ำหน่าย ต้องผ่านขั้นตอนการบรรจุ ให้เป็นหน่วยก่อน เช่น ซอง เม็ด ขวด แคปซูล หรือถุง แล้วจึงน�ำไปคิดราคาขายต่อหน่วย ซึ่งนักเรียนจะต้อง ก� ำ หนดได้ และสิ่ ง จ� ำ เป็ น อี ก เรื่ อ งคื อ การเสนอสิ น ค้ า ให้ เ ป็ น ที่ รู ้ จั ก ด้ ว ยวิ ธี ก ารต่ า งๆ เช่ น แจกตั ว อย่ า ง ใช้โปสเตอร์ ออกร้าน จัดนิทรรศการ ส่วนที่จะหลงลืม เสียมิได้กค็ อื การรูจ้ กั ท�ำบัญชีรบั -จ่าย ทัง้ หมดนีเ้ ป็นความรู้ เกี่ยวกับธุรกิจ สุ ด ท้ า ยของกระบวนการผลิ ต สมุ น ไพร คื อ การประเมินผล ซึง่ มี 2 ช่วงส�ำคัญ ได้แก่ ประเมินในช่วงผลิต หรื อ เรี ย กว่ า ประเมิ น ระหว่ า งเรี ย น และประเมิ น หลังจากจ�ำหน่าย เรียกว่า ประเมินผลโดยรวม การประเมิน ระหว่างเรียนก็เพื่อทราบความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค ของการท� ำ งานจะได้ ห าวิ ธี ป รั บ ปรุ ง แก้ ไข สนั บ สนุ น หรืออ�ำนวยความสะดวกแล้วแต่กรณี ส่วนประเมินผล หลั ง การจ� ำ หน่ า ยก็ เ พื่ อ ทราบความคิ ด เห็ น รสนิ ย ม ความต้ อ งการ หรื อ แนวโน้ ม ของตลาด จะได้ มี ก าร ปรั บ เปลี่ ย นโดยยกระดั บ สิ น ค้ า การผลิ ต หรื อ เพิ่ ม พู น ความรู้ทางธุรกิจให้มากขึ้นต่อไป

97


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

98 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

จากผลการประเมินที่เกิดขึ้นจริงนั้นพบว่า

ด้านคุณธรรม นักเรียนสนใจใฝ่รู้ มุง่ มัน่ อดทน ซือ่ สัตย์ ประหยัด รูจ้ กั รับฟัง ความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นคนมีเหตุมีผลมากขึ้น ให้ความร่วมมือในการท�ำงานดี และมีความเป็นระเบียบรอบคอบ ด้ า นความรู ้ นั ก เรี ย นรู ้ จั ก มะรุ ม ในเรื่ อ งของธรรมชาติ ข องมะรุ ม คุณค่าทางอาหารและทางยา ได้ประสบการณ์ตรงในการเพาะเมล็ด ปลูก ดูแลและรักษา การแปรรูป และการจ�ำหน่าย มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ ด้านปัญญา มองเห็นประโยชน์ของมะรุม คือช่วยให้คนมีสุขภาพดี การปลูก ดูแลรักษาต้นก็ท�ำให้คนมีอาหารมากขึ้น ถ้ามีจ�ำนวนมากก็จ�ำหน่าย หรือแปรรูป สร้างรายได้ให้ด้วย รวมทั้งเห็นความส�ำคัญและความจ�ำเป็นของ การรักษาคุณภาพและมาตรฐานของสมุนไพร ด้านความสัมพันธ์และความรับผิดชอบ นักเรียนสามารถปฏิบัติ งานกลุ่มได้ราบรื่น ส�ำเร็จลุล่วงด้วยดี มีความเข้าใจและเคารพในภูมิปัญญา ท้องถิ่น วิทยากรและผู้ปกครองให้ความร่วมมือด้วยดี ทั้งเรื่องการปลูกมะรุม การแปรรูป และการจ�ำหน่าย ด้านการคิดวิเคราะห์และการน�ำไปใช้ ได้แก่ การเห็นคุณค่าของมะรุม รู้ว่ามะรุมเป็นทั้งอาหารและยา การมีต้นมะรุมในหมู่บ้านเป็นการเพิ่มอาหาร และยา ช่วยให้คนมีสุขภาพดี จึงเต็มใจที่จะน�ำต้นมะรุมไปปลูกที่บ้าน และ เต็มใจช่วยครอบครัวท�ำกิจกรรมแปรรูปสมุนไพรมะรุม อาจารย์วราภรณ์ เล่าว่า การสอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายส�ำคัญมาก คือ วิธีการสอนซึ่งตนเองได้ใช้เทคนิคการสอนหลายรูปแบบผสมผสานกัน ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การสอนโดยใช้ค�ำถาม การระดมความคิด การให้นักเรียนหาความรู้รายงานในชั้นเรียน ที่เน้นมากคือ ให้นักเรียนลงมือ ปฏิบัติจริง


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ผลพลอยได้ ที่ เ กิ ด กั บ นั ก เรี ย นและเป็ น ความภาคภูมิใจของครูผู้สอนวิชานี้คือ

1. นั ก เรี ย นที่ ไ ม่ ส นใจการเรี ย น ไม่ ป ระสบ ความส�ำเร็จในการเรียนในชั้นเรียน มีความตั้งใจเรียน วิชาสมุนไพรมะรุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคปฏิบัติ ได้แก่ การปลูกและการแปรรูปสมุนไพร และแสดงออกให้เห็น ชัดเจน ด้วยการเป็นหัวเรีย่ วหัวแรงในการท�ำงาน ช่วยงาน จนส�ำเร็จลุล่วง และมีความสุขกับการท�ำงาน 2. นั ก เรี ย นเริ่ ม รู ้ จั ก หาพื ช อื่ น ๆ ในชุ ม ชน ที่ มี คุ ณ สมบั ติ เชิ ง สมุ น ไพร สื บ เสาะหาคุ ณ สมบั ติ ข อง แต่ละประเภท ศึกษาว่าพืชเหล่านั้นมีการน�ำมาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์อะไรได้บ้าง 3. นั ก เรี ย นที่ มี ค วามรู ้ เ รื่ อ งพื ช สมุ น ไพร เมื่อพบหรือมีพืชสมุนไพรที่บ้านก็น�ำมาปลูกที่โรงเรียน เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้น อาจารย์ น วลตา จาเพี ย ราช ผู ้ อ� ำ นวยการ โรงเรียน กล่าวว่า นโยบายของโรงเรียนให้ความส�ำคัญ เรือ่ งสมุนไพรพืน้ บ้านไทยอย่างมาก เพราะเห็นปัญหาเรือ่ ง สุขภาพของคนในชุมชน ดังนั้นจึงเห็นว่าหากให้นักเรียน เรียนรู้เรื่องสมุนไพร ซึ่งเป็นทั้งยารักษาโรคหรือเป็นยา อายุวัฒนะที่อยู่รายรอบนักเรียนอยู่แล้ว จะเกิดประโยชน์

แก่นักเรียนอย่างมากในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง ในเบื้ อ งต้ น โดยไม่ ต ้ อ งลงทุ น มาก โรงเรี ย นไม่ ไ ด้ ส อน ให้นกั เรียนรูจ้ กั เพียงแค่มะรุมอย่างเดียว แต่สอนพืชสมุนไพร อื่นๆ ด้วย ให้นักเรียนรู้จักแยกแยะประเภท ประโยชน์ วิ ธี ก ารใช้ ที่ ถู ก ต้ อ ง นั ก เรี ย นทุ ก ชั้ น ตั้ ง แต่ ชั้ น อนุ บ าล จะได้เรียนรู้ เรือ่ งสมุนไพรและปลูกได้ดว้ ยตนเองอย่างน้อย 1 ชนิด แม้ในกิจกรรมพัฒนาผูเ้ รียนยังแบ่งเป็นกลุม่ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ให้นักเรียนเข้ากลุ่มตามความสนใจ เรือ่ งสมุนไพรพืน้ บ้านไทยจึงถือเป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียน ในการบู ร ณาการจั ด การเรี ย นรู ้ ต ามแนวคิ ด เศรษฐกิ จ พอเพียงและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพือ่ ปูพนื้ ฐานให้นกั เรียน ได้เรียนรู้และปฏิบัติจริง และน�ำไปใช้ได้ในชีวิตประจ�ำวัน ผู ้ อ� ำ นวยการโรงเรี ย น กล่ า วว่ า เด็ ก ๆ เรี ย นรู ้ แ ล้ ว เขาสามารถแยกแยะว่ า ต้ น ไม้ ใ ดเป็ น สมุ น ไพรอะไร ยกตั ว อย่ า งเช่ น คราวเมื่ อ ครู พ านั ก เรี ย นไปถอนหญ้ า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คนหนึ่งฟ้องครูว่าเพื่อน บางคนถอนต้ น ฟ้ า ทะลายโจรทิ้ ง ครู จึ ง สอนนั ก เรี ย น คนอื่นที่ยังไม่มีความรู้ ให้รู้จักแยกแยะชนิดสมุนไพรได้ หรือเมื่อนักเรียนเป็นไข้ ปวดศีรษะ ก็จะมาขอยาสมุนไพร ฟ้าทะลายโจรที่นักเรียนท�ำไว้ใช้ในโรงเรียนและจ�ำหน่าย ไปรับประทาน แทนที่จะขอยาพาราเซตามอล แสดงว่า

99


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

100 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

นักเรียนเห็นประโยชน์และคุณค่าของสมุนไพรพื้นบ้าน ดังกล่าว สุดท้ายกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า โรงเรียน โพนงามโคกวิ ท ยาคารแม้ จ ะเป็ น โรงเรี ย นขนาดเล็ ก มีนักเรียนเพียง 93 คน แต่เราก็เป็นหนึ่งในไม่กี่โรงเรียน ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของส�ำนักพัฒนานวัตกรรม การจัดการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขัน้ พืน้ ฐาน เช่นเดียวกับโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ ดังนั้น ปัจจัยความส�ำเร็จในการจัดการเรียนการสอน ให้นักเรียนคิดเป็น ท�ำได้ ขายเป็น จึงเกิดจากก�ำลังใจ ที่โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเข้าโครงการ การมีโอกาส

เข้ารับการพัฒนา ซึง่ โครงการให้ความรูแ้ ละโอกาสโรงเรียน ในรู ป แบบที่ ห ลากหลาย จนสามารถพั ฒ นาโรงเรี ย น และนั ก เรี ย นเชื่ อ มโยงสู ่ ชุ ม ชนและสั ง คมได้ ที่ ส� ำ คั ญ อีกประการหนึ่ง คือครูผู้สอนตั้งใจท�ำหน้าที่ของครู และ ชุมชนให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการเข้ามาร่วมกับ โรงเรียนคัดเลือกสมุนไพรให้เด็กเรียนรู้ และช่วยกันดูแล นักเรียนให้นำ� กล้าไปเพาะปลูกทีบ่ า้ น ปัจจุบนั นักเรียนช่วยกัน ท�ำผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรหลายชนิด เช่น มะกรูด ฟ้าทะลายโจร ฟักข้าว ฯลฯ เป็นส่วนผสมของเครื่องดื่ม ยาหม่อง ยานวดคลายเส้นแก้ปวดเมื่อย สบู่ ยาสระผม ครีมทาผิว และอื่นๆ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 101

นักธุรกิจน้อยแปรรูปกล้วย

ที่มาของหลักสูตรนักธุรกิจน้อยแปรรูปกล้วย เพือ่ แก้ปญ ั หาราคาตกต�ำ่ ของกล้วย ซึง่ เป็นวัตถุดบิ ทีม่ มี าก ในชุมชน หากน�ำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กล้วยในรูปแบบ ต่างๆ ก็จะท�ำให้กล้วยมีค่ามากขึ้น เก็บไว้รับประทาน ได้นานขึน้ ลดการสูญเสียทรัพยากร ซึง่ ยังเป็นประโยชน์ได้ ขณะเดี ย วกั น ก็ จ ะเกิ ด ผลดี ต ่ อ ประชาชนในท้ อ งถิ่ น คือขายกล้วยได้มากขึ้น มีแนวทางประกอบอาชีพใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ได้ทั้งงาน ได้ทั้งเงิน ความเป็นอยู่ของประชาชน ในชุมชนก็จะดีขึ้นด้วย โรงเรียนยางชุมวิทยา ตั้งอยู่ในต�ำบลหาดขาม อ�ำเภอกุยบุรี ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่ประชาชนปลูกกล้วยมาก จนเหลือกินเหลือใช้ กลายเป็นสินค้าไม่มีราคา สะท้อน ให้ เ ห็ น ถึ ง รายได้ อั น น้ อ ยนิ ด และฐานะทางเศรษฐกิ จ ของประชาชน ซึ่งมีผลกระทบไปถึงความพร้อมในการ จัดหาหนังสืออุปกรณ์การเรียน และภาวะทางโภชนาการ ของเยาวชนในชุมชนด้วย ทางโรงเรียนได้ตระหนักถึง ความส�ำคัญและความจ�ำเป็นในการช่วยเหลือนักเรียนเหล่านี้

เพื่อส่งเสริมให้มีหนังสือและอุปกรณ์การเรียนครบถ้วน มี ก� ำ ลั ง กายก� ำ ลั ง ใจพร้ อ มในการเรี ย น ซึ่ ง จะส่ ง ผลให้ นักเรียนมีผลการเรียนดี มีความประพฤติอยู่ในกรอบ คุ ณ ธรรมอั น ได้ แ ก่ ขยั น อดทน ประหยั ด ซื่ อ สั ต ย์ รั บ ผิ ด ชอบต่ อ ตนเอง และสั ง คม จึ ง คิ ด น� ำ แนวทาง พระราชด� ำ ริ ป รั ช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพี ย งมาใช้ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ นักเรียนจะได้มีใช้มีเก็บออม ยิง่ กว่านัน้ วิสยั ทัศน์ของโรงเรียนมีวา ่ “โรงเรียนยางชุมวิทยา ต้องเป็นบ้านหลังที่สองที่อบอุ่น เปี่ยมคุณธรรม เรียนรู้ เพือ่ พัฒนาอาชีพและท้องถิน่ ” กับปรัชญาของโรงเรียนคือ “เรียนดี วินยั ดี มีคณ ุ ธรรม น�ำอาชีพ” อาจารย์สำ� ลี แดงนวล ครูผสู้ อนวิชานักธุรกิจน้อยแปรรูปกล้วย กล่าวว่า ทัง้ หมดนี้ เป็นเหตุผลทีท่ ำ� ให้อาจารย์สนิท อรรถวุฒกิ ลุ ผูอ้ ำ� นวยการ โรงเรี ย นยางชุ ม วิ ท ยาให้ ค วามสนใจและสนั บ สนุ น การสร้างหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อฝึกให้นักเรียนท�ำงานเป็น เห็นลู่ทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรพื้นบ้าน ของชุมชน และทางโรงเรียนได้ตั้งเป้าหมายของหลักสูตร ท้องถิ่นไว้ดังนี้


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

102 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

อาจารย์สำ� ลี แดงนวล กล่าวว่า เมือ่ เข้าโครงการ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของ ส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. โรงเรียน ได้น�ำเรื่องการแปรรูปผักและผลไม้จัดท�ำเป็นหลักสูตร ท้ อ งถิ่ น อย่ า งสมบู ร ณ์ เปิ ด สอนเป็ น รายวิ ช าเพิ่ ม เติ ม ทั้งในช่วงชั้นที่ 3 และช่วงชั้นที่ 4 โดยเพิ่มเนื้อหาธุรกิจ และการปฏิบัติจริง เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนสามารถ เลือกเรียนได้ โรงเรี ย นได้ เ ปิ ด สอนเป็ น รายวิ ช าเพิ่ ม เติ ม นักธุรกิจน้อยแปรรูปกล้วย ง20208 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จ�ำนวน 1 หน่วยกิต เวลา 40 ชั่วโมง โดยมีโครงสร้าง รายวิ ช าแบ่ ง เป็ น หน่ ว ยการเรี ย นรู ้ และแผนการจั ด การเรียนรู้ 1. นักเรียนมีทักษะเบื้องต้นในการสร้างอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว 2. ส่งเสริม สนับสนุน จัดให้มีแหล่งเรียนรู้และ วิชาชีพในโรงเรียน 3. ร่ ว มมื อ กั บ ชุ ม ชนและภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ที่มีความสามารถด้ านงานอาชีพต่ างๆ เพื่อให้ความรู้ และฝึกทักษะให้นกั เรียนมีความรู้ สามารถหารายได้พเิ ศษ ช่วยเหลือครอบครัว 4. สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรประเภท อาหารในท้องถิน่ ทีม่ จี ำ� นวนมาก เช่น กล้วย สับปะรด ขนุน ฟักทอง เผือก มัน 5. นักเรียนมีความภูมิใจที่ตนเองเป็นพลเมือง ที่มีคุณค่าในสังคมไทย มีจิตส�ำนึกในการอนุรักษ์และ สืบทอดวิชาชีพของภูมิปัญญาท้องถิ่น 6. นั ก เรี ย นสามารถพึ่ ง ตนเองได้ ด้ ว ยการ ใช้ชีวิตแบบพอเพียง คือ มีรายได้ รู้จักใช้อย่างประหยัด และอดออม


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 103

5. ด�ำเนินการ 6. ประเมินผล สรุป 1. ขั้ น น� ำ เข้ า สู ่ บ ทเรี ย น เป็ น การสร้ า ง 7. พัฒนา ความตระหนักและเห็นความส�ำคัญของการน�ำทรัพยากร 3. ขั้นประเมินผล ท้องถิ่น ซึ่งมีจ�ำนวนมากมาแปรรูปเพื่อลดการสูญเสีย ผลที่เกิดแก่นักเรียน ทรัพยากรด้วยการน�ำมาถนอมและเพิ่มคุณค่าด้วยวิธีการ 1. มีความรู้เรื่องแปรรูปกล้วยทุกประเภท ต่างๆ และด้วยวิธีนี้เราก็มีอาหารเพิ่มขึ้น ถ้าจ�ำหน่าย ที่สอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ก็มีรายได้ด้วย 2. มี ค วามสามารถในการปฏิ บั ติ ง าน 2. ขั้นสอน การวางแผน เตรี ย มการ การเลื อ กใช้ วั ส ดุ อุ ป กรณ์ ระดับผลิต 1. ใ ห ้ นั ก เรี ย น ห า ค ว า ม รู ้ เรื่ อ ง ก า ร อย่างถูกต้องกับงานและการดูแลรักษา 3. มีความสามารถในการปฏิบัติงานกลุ่ม แปรรูปกล้วยจากวิดีทัศน์ 2. ศึกษาจากใบงาน เอกสาร ต�ำรา ใบความรู้ การแบ่งงานได้เหมาะสมกับความสามารถ เวลา โอกาส การร่วมปรึกษาหารือ แก้ปัญหา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 3. ดูการสาธิตจากนักเรียนรุ่นพี่ 4. การสร้ า งสั ม พั น ธภาพอั น ดี ร ะหว่ า ง 4. แบ่งกลุ่มปฏิบัติจริง แล้วให้แต่ละกลุ่ม เพื่อนร่วมงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ น�ำเสนอผลงาน อาจารย์ส�ำลี เล่าถึงนักเรียนและผลที่เกิดขึ้น 5. ประเมินชิ้นงานด้วยการร่วมอภิปราย สรุปกระบวนการท�ำงานทั้งหมด ตั้งแต่การเตรียมงาน จากการจั ด การเรี ย นการสอนอย่ า งมี ค วามสุ ข ว่ า การปฏิ บั ติ และผลงานที่ ป รากฏ ครู เ ติ ม เต็ ม ส่ ว นที่ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่ครูประทับใจ ที่สุด คือความประทับใจของครูที่มีต่อนักเรียนในกลุ่ม ยังไม่สมบูรณ์หรือเทคนิคเฉพาะที่จะท�ำให้งานดีขึ้น การแปรรูปกล้วยในปี 2552 ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้น ระดับธุรกิจ 1. ศึกษาเรือ่ งการบรรจุภณ ั ฑ์จากการดูงาน มัธยมศึกษาปีที่ 6 เปลี่ยนจากนักเรียนที่ปล่อยเวลาให้ว่าง โดยเปล่าประโยชน์ มาเป็นนักเรียนที่มีความขยันขันแข็ง เอกสาร วีดิทัศน์ การบรรยาย มีความรับผิดชอบสูง และรูจ้ กั หน้าที่ เขาจะมาผลิตกล้วยกัน 2. ปฏิบัติจริง บรรจุภัณฑ์ ในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ บางครั้งครูมีงานต้องท�ำ เขาก็จะ 3. คิดค�ำนวณราคาขาย บอกกับครูวา ่ “คุณครูมาโรงเรียนเถอะนะ มาเปิดห้องให้หนู 4. วางแผนจ�ำหน่าย - แนะน� ำ สิ น ค้ า สู ่ ต ลาดให้ เ ป็ น ที่ รู ้ จั ก เท่านัน้ นอกนัน้ พวกหนูจดั การเองทัง้ หมด หนูอยากมาท�ำ เช่น ร่วมงานแสดงสินค้า จัดนิทรรศการ ส่งประกวด กล้วยแปรรูป” แล้วเขาก็ท�ำได้อย่างนั้นจริงๆ คือ จัดซื้อ และจั ด หาวั ต ถุ ดิ บ มาเองทั้ ง หมด ลงมื อ ปอกกล้ ว ย หรือใช้วิธีลด แลก แจก แถม - ประสานร้ า นค้ า ศู น ย์ ก ารค้ า ทอดกล้ ว ย และปั ่ น ส่ ว นผสม เมื่ อ ท� ำ งานเสร็ จ ก็ ล ้ า ง และเก็บอุปกรณ์เข้าที่ โดยที่ครูไม่ต้องบอกเลยสักครั้ง สหกรณ์ต่างๆ เพื่อธุรกิจร่วม เมือ่ ครูชมว่าเก่งนะท�ำเรียบร้อยโดยไม่ตอ้ งบอก เขาบอกว่า - จ�ำหน่ายเอง

ขั้นตอนการสอนมี 3 ขั้น ได้แก่


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

104 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ถ้าไม่เรียบร้อย เดีย๋ วครูไม่ให้มาท�ำวันเสาร์-อาทิตย์ พวกหนู ก็จะขาดรายได้ เขาแบ่งรายได้กัน คือ คนปอกกล้วย จะได้คนละ 200 บาท คนทอดกล้วยคนละ 300 บาท ท�ำเสร็จเขาจะรับไปขายเอง เพราะลูกค้าสั่งซื้อมาแล้ว (ขาประจ� ำ จากโรงงานที่ ผู ้ ป กครองนั ก เรี ย นท� ำ งาน) เขาก็จะได้ก�ำไรจากการขายอีกถุงละ 4 บาท (ส่ง 16 บาท ขาย 20 บาท) เวลาเขามาท�ำงานดูเขามีความสุขมาก ทอดกล้ ว ยไปฟั ง เพลงไป เวลามี ง านในหมู ่ บ ้ า นหรื อ ในต�ำบล เขาก็จะขอเพียงให้รถโรงเรียนไปส่ง ขากลับ ของจะขายหมด สามารถกลั บ รถมอเตอร์ ไ ซค์ กั บ ผู้ปกครองได้ โดยไม่ต้องรบกวนครู เขาสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับตนเอง แบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง อย่างเห็นได้ชัด นอกจากรายได้ที่นักเรียนได้รับ สิ่งหนึ่งที่เห็น ได้ชัด คือ ความสนิทสนมกับครู วันแม่เขาจะน�ำพวงมาลัย มาไหว้ ค รู แล้ ว บอกว่ า เขารั ก ครู เ หมื อ นแม่ ค นที่ 2 จบ ม.6 ไปแล้ว เมือ่ ถึงวันส�ำคัญ วันปีใหม่ เขาจะโทรมาหา ส่ง ส.ค.ส. มาให้ ซึ่งนักเรียนห้องอื่นๆ ไม่ท�ำ

ข้ อ ค้ น พบหรื อ ประสบการณ์ น ่ า ทึ่ ง ที่ เ กิ ด จากการ จัดการเรียนการสอนของครู

หลังจากที่นักเรียนรุ่นเก่าจบไปแล้ว ครูสอน นักเรียนรุ่นใหม่ ปรากฏว่าลูกค้า เพื่อนครู และนักเรียน ต่ า งก็ บ อกว่ า รสชาติ ไ ม่ เ หมื อ นเดิ ม ก็ แ ปลกใจว่ า ใบความรู ้ เ หมื อ นเดิ ม แล้ ว ท� ำ ไมรสชาติ ไ ม่ เ หมื อ นเดิ ม ครูมารู้ทีหลังว่ านักเรียนเขาเพิ่มน�้ำตาล ครูจึงขอสูตร การผสมเครื่องปรุงจากนักเรียน และยังมีเคล็ดลับอื่นๆ ที่ครูได้มาจากนักเรียนอีก เช่น กล้วยหักมุกขาวต้องน�ำมา ท�ำกล้วยหวานจะได้สีที่สวยงาม ส่วนกล้วยหักมุกเขียว น�ำมาท�ำกล้ว ยรสต่างๆ น�้ำมัน พืช ต้อ งใช้น�้ำมัน ปาล์ ม เวลาทอดจะแห้ ง มี สี เ หลื อ งน่ า รั บ ประทาน ท� ำ ให้ ค รู ได้รู้ว่าบางครั้งสิ่งที่นักเรียนท�ำก็ดีกว่าที่ครูท�ำมาก ดังนั้น จึงควรให้นักเรียนเขาคิดแต่งเติมหรือเพิ่มรสชาติอื่นๆ ตามที่เขาต้องการ ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพ ยิ่งขึ้น การสอนรายวิ ช านี้ อาจารย์ ส� ำ ลี กล่ า วว่ า ประสบผลส�ำเร็จเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากการแปรรูปกล้วย สามารถท� ำ ได้ ง ่ า ยๆ แต่ มี ร ายได้ ดี เป็ น โครงการที่ นักเรียนและผู้ปกครองมีความพอใจสูง เพราะช่วยให้เขา มีรายได้ นักเรียนที่เคยไปรับจ้างท�ำงานโรงงาน เล่าว่า การเข้าร่วมโครงการหารายได้ระหว่างเรียน เป็นการท�ำงาน ที่ มี ค วามสุ ข ถึ ง แม้ จ ะท� ำ ที่ โรงเรี ย นแต่ ก็ ส บายกว่ า ท�ำที่โรงงาน ต้องยืนตลอดทั้งวัน คุยกันก็ไม่ได้ ท�ำทั้งวัน ไม่ได้หยุด รับจ้างท�ำงานในไร่ก็แดดร้อน แถมรายได้ ก็น้อยกว่าการท�ำกล้วยขาย ซึ่งท�ำกันวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึง 5 โมงเย็น บางครั้งก็เปิดเพลง ฟังไปด้วยอย่างมีความสุข การท�ำผักและผลไม้แปรรูปนั้น


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 105

มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการตั้งแต่ชั้น ม.1-ม.6 การท�ำงาน ช่วยให้เกิดความสนิทสนมกันมากขึ้นทั้งครูและนักเรียน รุ ่ น พี่ กั บ รุ ่ น น้ อ ง ทุ ก คนรู ้ ห น้ า ที่ เ มื่ อ ท� ำ เสร็ จ ก็ จ ะ ท� ำ ความสะอาดพื้ น ที่ อ ย่ า งเรี ย บร้ อ ย ในการท�ำจะท�ำ ไปพร้อมๆ กัน มีฝ่ายปอกผลไม้ ทอด ฉาบ และบรรจุถุง เพื่อจ�ำหน่าย การผลิตสินค้าส่วนมากจะเลือกผลิตช่วงทีผ่ ลไม้ มีราคาถูก เช่น สับปะรดจะถูกมากตัง้ แต่ปลายเดือนมีนาคม และเมษายน ก็ จ ะท� ำ สั บ ปะรดกวน ขนมปั ง ชี ส เชค ไส้สับปะรดเพิ่มเติม เป็นต้น การจ�ำหน่าย จ�ำหน่ายถุงละ 5 บาท ส�ำหรับนักเรียนในโรงเรียนยางชุมวิทยา หรือขายส่ง ให้ร้านค้าสหกรณ์ถุงละ 4 บาท ถ้าส่งตามร้านค้าชุมชน จะบรรจุถงุ ละ 10 บาท ราคาส่ง 8 บาท หรือราคาขายปลีก 20 บาท ราคาส่ง 16 บาท แยกย้ายกันไปจ�ำหน่ายตามหมูบ่ า้ น ทีน่ กั เรียนอาศัยอยู่ บางครัง้ จะขายตามออเดอร์ทสี่ งั่ เข้ามา เช่น โรงงาน หรือร้านขายของฝาก โดยนักเรียนในโครงการ เป็ น ผู ้ น� ำ ไปส่ ง หรื อ บางครั้ ง นั ก เรี ย นในโครงการก็ จ ะ

รับไปแล้วขายเอง ก�ำไรก็จะเป็นของเขาเอง เป็นรายได้ อีกต่อหนึ่ง ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของนักเรียนมีหลากหลาย เช่น ฟักทองกรอบ สับปะรดกวน ขนมปังไส้สับปะรด หรือที่เรียกว่าขนมปังชีสเชค น�้ำว่านหางจระเข้ เป็นต้น สิ น ค้ า ของเราโดยเฉพาะกล้ ว ยกระเที ย ม ขนุ น ทอดกรอบ จะขายดี ม าก จนผลิ ต ไม่ ทั น ยิ่ ง ใน ระยะหลังนี้โรงเรียนมีกิจกรรมทุกวันเสาร์ ก็จะมีปัญหา ตามมาคือลูกค้าสั่งของแล้วไม่ได้ นักเรียนเองก็ขาดรายได้ ก็ เ ลยต้ อ งให้ นั ก เรี ย นที่ อ ยู ่ น อกโครงการมาช่ ว ย ซึ่ ง ก็ ช่วยได้มาก เราก็แบ่งก�ำไรให้เขาไป บางครั้งเขาไม่รับเงิน (มาพักเดียว) ก็ให้ผลไม้แปรรูปไปรับประทานที่บ้าน อาจารย์ส�ำลี เล่าเพิ่มเติมว่า ได้สอนนักเรียน ในเรื่ อ งการจดทะเบี ย นทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญา มี ก าร จดลิ ข สิ ท ธิ์ ต ราสิ น ค้ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องโรงเรี ย น และ อยู่ระหว่างการขอจดอนุสิทธิบัตรสูตรการแปรรูปกล้วย ผัก ผลไม้ต่างๆ อีกด้วย


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

106 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

การประเมินผลหลังจากนักเรียนจบวิชานีแ้ ล้ว สรุปได้ 5 ด้าน ดังนี้

ด้านคุณธรรม 1. มีความอดทน มุง่ มัน่ ในการท�ำงานให้บรรลุ ความส�ำเร็จ 2. มีความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียร 3. มีความซื่อสัตย์ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับ ผู้บริโภค โดยการผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพ 4. ประหยัดและใช้วัตถุดิบพร้อมวัสดุอุปกรณ์ อย่างคุ้มค่า ด้านความรู้ 1. มีความรู้และเข้าใจในคุณสมบัติของกล้วย แต่ละชนิด 2. เลือกใช้วสั ดุอปุ กรณ์ ประเภทของเครือ่ งปรุง ได้เหมาะสมกับชนิดของกล้วย 3. มีการวางแผนในการท�ำงาน การปฏิบตั ติ ามแผน และสามารถแปรรูปกล้วยได้ถูกต้องตามขั้นตอนและได้ คุณภาพตามต้องการ 4. มีความรู้พื้นฐานธุรกิจ 5. น�ำความรูจ้ ากการแปรรูปกล้วยไปประกอบ อาชีพสร้างรายได้ให้ตนเองและครอบครัวได้

ด้านทักษะปัญญา 1. สามารถแปรรู ป กล้ ว ยได้ ห ลากหลายรส และมีความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตกล้วยรสชาติใหม่ๆ 2. คิ ด หาแนวทางในการประกอบธุ ร กิ จ เล็ ก ๆ ตามเวลา ความสามารถ และโอกาสที่มี 3. จั ด นิ ท รรศการเพื่ อ การสาธิ ต น� ำ เสนอ และจ�ำหน่าย ตามโอกาสต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ด้านความสัมพันธ์และความรับผิดชอบ 1. มี ค วามสามั ค คี ช่ ว ยเหลื อ ซึ่ ง กั น และกั น ในการท�ำงานกลุ่ม 2. สร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน และลูกค้าทุกระดับ 3. ปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆ และเป็นที่ยอมรับ ของครู เรียนรู้อย่างมีความสุข ด้านทักษะการคิดวิเคราะห์และการน�ำไปใช้ 1. คิ ด ค� ำ นวณต้ น ทุ น ค่ า ใช้ จ ่ า ยของต้ น ทุ น และก�ำไรในการใช้งานแต่ละครั้งได้ 2. คิดประเภทวัสดุ อุปกรณ์ และชนิดของกล้วย ที่น�ำมาแปรรูปและปรุงรสในแต่ละครั้งได้อย่างเหมาะสม 3. ทดลองและหาข้อมูลต่างๆ เพื่อปรับปรุง สินค้าให้แปลกใหม่และได้มาตรฐานยิ่งขึ้น 4. สามารถวางแผนธุรกิจและบริหารจัดการได้


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 107

ผลที่เกิดกับครู

การเรี ย นการสอนมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากขึ้ น ผูเ้ รียนสามารถคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ สังเกต ท�ำแผนผัง ความคิ ด ท� ำ โครงการน� ำ เสนอด้ ว ยการจั ด ป้ า ยนิ เ ทศ ร่ ว มจั ด นิ ท รรศการทางวิ ช าการได้ นอกจากนี้ ยั ง มี ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ หน้ า ที่ สู ง มี น�้ ำ ใจช่ ว ยเหลื อ ผู ้ อื่ น มากขึน้ มีความศรัทธาในตัวครู เป็นผลให้การจัดการเรียน การสอนง่ายขึ้น ที่ส�ำคัญคือครูมีความสุขกับความส�ำเร็จ ของนักเรียน และมีความสุขกับชั่วโมงสอนทุกครั้ง

ผลที่เกิดกับผู้ปกครอง

1. แบ่ ง เบาภาระค่ า ใช้ จ ่ า ยของผู ้ ป กครอง ด้วยการสร้างรายได้ 2. นั ก เรี ย นได้ รั บ การฝึ ก ฝนด้ า นคุ ณ ธรรม จริ ย ธรรม เช่ น อดทนในการท� ำ งาน ช่ ว ยเหลื อ งาน ประหยัดอดออม ตรงต่อเวลา เสียสละ ฯลฯ 3. ผู้ปกครองน�ำผลผลิตกล้วยของบ้านมาขาย ให้โครงการแปรรูปกล้วย ซึ่งได้ราคาดีกว่าขายในตลาด 4. เกิ ด สั ม พั น ธภาพที่ ดี ระหว่ า งโรงเรียนกับ ผู้ปกครอง

5. ผู้ปกครองหลายคนได้รับถ่ายทอดความรู้ แปรรูปกล้วยจากบุตรหลาน และสามารถท�ำรับประทาน ได้เองในครอบครัว และน�ำไปประยุกต์ใช้กับพืชผักอื่นๆ สร้างรายได้ให้กับครอบครัว 6. ผู ้ ป กครองรู ้ สึ ก ภาคภู มิ ใ จที่ บุ ต รหลาน มีอาชีพเสริมช่วยเหลือตนเองได้ระดับหนึ่ง

ความส� ำ เร็ จ และความภาคภู มิ ใ จของ โรงเรียนยางชุมวิทยา

• ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนส�ำนักงาน เขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษามั ธ ยมศึ ก ษา เขต 10 เข้ า ร่ ว ม จั ด นิ ท รรศการ สาธิ ต และจ� ำ หน่ า ยผลิ ต ภั ณ ฑ์ กล้ ว ยแปรพั ก ตร์ งานกาชาดจั ง หวั ด ประจวบคี รี ขั น ธ์ และงานศิ ล ปหั ต ถกรรมนั ก เรี ย นระดั บ ภาคกลาง และภาคตะวันออก • ไ ด ้ รั บ ก า ร คั ด เ ลื อ ก จ า ก ส� ำ นั ก ง า น คณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานให้ น� ำ ผลงาน เข้าร่วมกิจกรรม จ�ำหน่ายผลงานนักเรียนที่มีคุณภาพ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2551 ถึงปัจจุบัน • ได้ รั บ คั ด เลื อ กเป็ น ศู น ย์ แ กนน� ำ ขยาย เครือข่ายโครงการนักธุรกิจน้อยมีคณ ุ ธรรม น�ำสูเ่ ศรษฐกิจ สร้างสรรค์ ของส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. 1 ใน 29 ศูนย์ ทั่วประเทศ • ความภู มิ ใจผลที่ เ กิ ด กั บ ตั ว นั ก เรี ย น คื อ สามารถน� ำ ไปใช้ ใ นการประกอบอาชี พ พึ่ ง ตนเองได้ ในกรณี ที่ ไ ม่ มี โ อกาสเรี ย นต่ อ ในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา ความส� ำ เร็ จ เหล่ า นี้ จ ะบั ง เกิ ด ขึ้ น มิ ไ ด้ เ ลย ถ้ า ไม่ ไ ด้ รั บ การผลักดันสนับสนุนทั้งด้ านก�ำลังกาย ก�ำลังใจ และ ก�ำลังความคิดจากผู้บริหารโรงเรียน


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

108 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

อาหารแปรรูป หลักสูตรท้องถิ่น เพื่ อ เป็ น ประโยชน์ กั บ โรงเรี ย นอื่ น ที่ ส นใจ จึงขอน�ำข้อ มูลที่ไ ด้รับจากโรงเรียนมาเล่าให้ฟ ัง ดั ง นี้ การแข่งขันโครงการกรุงไทยยุววาณิช เป็นการแข่งขัน ที่ผู้ได้รับรางวัลต้องมีความสามารถสูงและปฏิบัติได้จริง เพราะเป็นการแข่งขันร่วมกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายสายสามัญและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จากสถาบั น อาชี ว ศึ ก ษาทั่ ว ประเทศ ในครั้ ง ที่ 9 นี้ มีผู้เข้าแข่งขันจ�ำนวน 900 ทีม ซึ่งผู้เข้าแข่งขันต้องสมัคร และส่ ง แผนธุ ร กิ จ ให้ ค ณะกรรมการ หลั ง จากนั้ น

เป็ น ความภาคภู มิ ใ จอย่ า งยิ่ ง อี ก ครั้ ง ของ ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวง ศึ ก ษาธิ ก าร ที่ โ รงเรี ย นทั บ ปุ ด วิ ท ยา จั ง หวั ด พั ง งา ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ระดับประเทศ จาก การประกวดโครงการ “กรุงไทยยุววาณิช” ครั้งที่ 9 เมื่ อ ปี ก ารศึ ก ษา 2554 ซึ่ ง เป็ น หนึ่ ง ในโครงการของ ธนาคารกรุงไทย เพือ่ สังคมและสิง่ แวดล้อมด้านการศึกษา ที่ มุ ่ ง เสริ ม สร้ า งทุ น ทางปั ญ ญาให้ กั บ นั ก เรี ย นในระดั บ มัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ได้เรียนรู้การท�ำธุรกิจ และฝึกปฏิบัติการด�ำเนิน ธุ ร กิ จ จริ ง โดยจะต้ อ งน� ำ ความรู ้ ที่ มี อ ยู ่ ป ระกอบกั บ การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมทั้งจากเอกสารและภูมิปัญญา ท้องถิน่ แล้วน�ำมาปฏิบตั จิ ริงให้เป็นรูปธรรม โดยการจัดตัง้ บริษัทจ�ำลอง เพื่อผลิตสินค้าและบริการจริง


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 109

ให้ด�ำเนินธุรกิจเป็นเวลา 4 เดือน โดยมีการท�ำบัญชี และเปิ ด บั ญ ชี ฝ ากเงิ น รายได้ กั บ ธนาคารกรุ ง ไทย เมื่ อ ครบ 4 เดื อ น นั ก เรี ย นเขี ย นรายงานผลการ ด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ กรรมการจะคั ด เลื อ กโรงเรี ย นเข้ า รอบ 99 ทีม รางวัลทีมละ 10,000 บาท จากนั้นคณะกรรมการ จากธนาคารกรุ ง ไทย 6 คน จะเดิ น ทางมาประเมิ น การด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ เป็ น เวลา 2 วั น ผลปรากฏว่ า “บริ ษั ท เรื อ นวั ง หม้ อ แกง” ของโรงเรี ย นได้ เข้ า รอบ ชิงชนะเลิศ 10 ทีมสุดท้าย อาจารย์สุวดี ผลงาม ครูผู้สอน งานอาชี พ และที่ ป รึ ก ษาของบริ ษั ท เรื อ นวั ง หม้ อ แกง กล่าวว่า เป็นทีมเดียวของภาคใต้ที่ได้เข้ารอบ 10 ทีม รอบชิงชนะเลิศเป็นการแสดงและจ�ำหน่ายผลงาน 2 วัน พร้ อ มน� ำ เสนอผลงานและตอบค� ำ ถามคณะกรรมการ ในห้ อ งประชุ ม ครั้ ง ละ 1 ที ม โดยมี ค ณะกรรมการ จากภาครัฐและเอกชน พร้อมสักขีพยานจากสื่อมวลชน รวม 15 คน ผลการแข่ ง ขั น บริ ษั ท เรื อ นวั ง หม้ อ แกง

ได้รับ 2 รางวัล คือรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับ โล่รางวัลและเงินรางวัล 350,000 บาท พร้อมศึกษาดูงาน ต่างประเทศและรางวัลพิเศษการด�ำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส และซื่อสัตย์สุจริตจากส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นโล่และเงินรางวัล 30,000 บาท

เส้นทางการพัฒนาสู่รางวัล

อาจารย์สุวดี ผลงาม เล่าว่า ก้าวแรกโรงเรียน ได้รับการคัดเลือกจากส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้ น พื้ น ฐานให้ น� ำ ผลงานนั ก เรี ย นจ� ำ หน่ า ยในงาน ศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2550 ปีแรกท�ำบุหงาร�ำไป มาลัยรังบวบ เครื่องหอม ของช�ำร่วย ท�ำกุหลาบใบบางจ�ำหน่าย จากการมาร่วมงานระดับชาติ ท�ำให้ได้เห็นงานทีห่ ลากหลายในงาน จึงกลับไปพัฒนาสินค้า ตัวใหม่ คือ อาหารแปรรูปจากส้มควาย (ส้มแขก) ซึง่ ขายดิบ ขายดี จึงพัฒนาต่อยอดส่งเข้าแข่งขันจนได้รับรางวัล ชนะเลิศการแปรรูปอาหารในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติ ปีการศึกษา 2552 และได้รับการคัดเลือก ให้ออกร้านในงานอีกครัง้ หนึง่ ในครัง้ นีเ้ ด็กๆ ได้เปลีย่ นตัวเอง ไปเป็ น พ่ อ ค้ า แม่ ข าย จากคนที่ ไ ม่ ก ล้ า พู ด กลายเป็ น นั ก ขาย น� ำ สิ น ค้ า ใส่ ต ะกร้ า ไปเดิ น ขายตามโซนต่ า งๆ ซึ่ ง เป็ น เรื่ อ งแปลกมาก ครู แ อบดี ใจที่ นั ก เรี ย นมี ค วาม กล้าขายได้จริง ต่อมาในปี 2553 โรงเรียนทับปุดวิทยา ได้ เข้ า ร่ ว มโครงการนั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ยมี คุ ณ ธรรม น� ำ สู ่ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้รับการพัฒนาความรู้ นักเรียน ได้รับโอกาสเข้ามาจ�ำหน่ายที่งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ระดับชาติอีก ท�ำให้เกิดความเชื่อมั่น ในปี 2554 นักเรียน ได้ ดู เว็ บ ไซต์ ข องธนาคารกรุ ง ไทยและบอกกั บ ครู ว ่ า “เราน่ า จะส่ ง เข้ า ร่ ว มแข่ ง ขั น นะคะคุ ณ ครู ” ครู เ ห็ น ความมุ่งมั่นตั้งใจของนักเรียนจึงน�ำเงินก�ำไรจากการขาย ในงานศิ ล ปหั ต ถกรรมนั ก เรี ย นระดั บ ชาติ ม าเป็ น


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

110 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ทุ น ด� ำ เนิ น การและเข้ า ร่ ว มการแข่ ง ขั น ตามขั้ น ตอน จนได้รับรางวัลดังกล่าว และในปี 2555 ทีมนักเรียน อี ก รุ ่ น หนึ่ ง เข้ า ร่ ว มการแข่ ง ขั น ได้ รั บ รางวั ล ชมเชย ซึ่งแม้ว่าจะเป็นรางวัลชมเชยก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้อง ฝ่าฟันในการแข่งขันจากคู่แข่งกว่า 700 ทีม จากการสนทนากั บ อาจารย์ สุ ว ดี ผลงาม ผู้สร้างหลักสูตรอาหารแปรรูปของโรงเรียน ได้ข้อมูลว่า อาจารย์ ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาโท สาขา คหกรรมศาสตร์ แ ละเป็ น ผู ้ ส อนวิ ช านี้ ด ้ ว ยตนเอง ได้ จั ด การเรี ย นการสอนตามหลั ก สู ต รสถานศึ ก ษา และมุ่งพัฒนาการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยการน�ำข้อมูล จากการประเมินมาตรฐานการศึกษามาเป็นประเด็นหลัก ในการก�ำหนดแนวทางการพัฒนา ซึ่งผลการประเมิน มาตรฐานการศึ ก ษาพบว่ า นั ก เรี ย นมี ป ั ญ หาในการคิ ด ทั ก ษะการจั ด การและการท� ำ งาน อาจารย์ จึ ง สร้ า ง หลักสูตรวิชาชีพส�ำหรับสอนนักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีวิชาอาหาร ของช�ำร่วย ดอกไม้สด ดอกไม้แห้ง ดอกไม้ ใบตอง ทุกวิชาเน้นการใช้วสั ดุทอ้ งถิน่ ให้เรียนรูเ้ รือ่ งอาหาร ก็ต้องใช้เครื่องปรุงที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่น เช่น เห็ด ส้มควาย แตงไทยให้เรียนเรื่องของช�ำร่วย สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ก็ ใช้ วั ส ดุ เ กษตรในท้ อ งถิ่ น ได้ แ ก่ ใบยาง เปลื อ กลู ก ยาง เป็ น ต้ น เจตนาของอาจารย์ สุ ว ดี ที่สร้างหลักสูตรลักษณะนี้ีก็เพื่อเสนอวิชาชีพที่สอดคล้อง

กับความสนใจและบริบทของนักเรียน ให้นักเรียนได้มี ทางเลือกใหม่ มีโอกาสประสบความส�ำเร็จในการเรียน ด้วยกิจกรรมการคิด ทักษะการจัดการและการท�ำงาน ซึง่ ถูกระบุวา่ เป็นประเด็นปัญหาจากการประเมินมาตรฐาน การศึกษาของโรงเรียน กลยุทธ์ทอี่ าจารย์ใช้ในการจูงใจให้นกั เรียนสนใจ อาหารแปรรูป คือ การให้นักเรียนชิมก่อน และอาจารย์ ต้องเลือกอาหารแปรรูปที่ถูกใจวัยรุ่น เมื่อตัดสินใจเลือก เรี ย นวิ ช านี้ แ ล้ ว มี โ ครงการที่ นั ก เรี ย นจะต้ อ งท� ำ ก่ อ น คือ รู้จักอาหาร ชื่อ รสชาติ รู้จักเครื่องปรุง รู้จักวิเคราะห์ วิจารณ์ถึงคุณภาพของอาหาร จากนั้นก็เป็นภาคปฏิบัติ ครบทัง้ กระบวนการ เมือ่ ส�ำเร็จเป็นอาหารแล้วเป็นขัน้ ตอน ประเมิ น ผลด้ ว ยการให้ นั ก เรี ย นเป็ น ผู ้ ชิ ม กั น เองและ ให้คนอื่นช่วยชิมอาจเป็นพ่อแม่ พี่ น้องทางบ้านก็ได้ เพื่ อ หาข้ อ บกพร่ อ งและส� ำ รวจความนิ ย มของตลาด ไปในขณะเดียวกัน หลังจากเก็บข้อมูลประเมิน นักเรียน เจ้าของงานต้องน�ำมาสรุปข้อติชมทั้งหลายและร่วมมือ ร่วมใจกันปรับปรุงภายใต้ก ารดูแลของอาจารย์ผู้สอน เมื่อเป็นที่น่าพอใจแล้วจึงก�ำหนดราคาจ�ำหน่าย


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 111

ผลของการทุ่มเทก�ำลังกาย ก�ำลังใจ ตลอดจน การใช้ความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการผสมผสาน กับด้านจิตวิทยาของอาจารย์สุวดี ผลงาม ท�ำให้นักเรียน เกิดความกระตือรือร้น ปรับเปลี่ยนท่าทีการเรียนของตน หั น มาให้ ค วามสนใจ เอาใจใส่ เรี ย นรู ้ อ ย่ า งจริ ง จั ง การประสบความส�ำเร็จในการแปรรูปอาหารแต่ละเรื่อง แต่ละขั้นตอน ยิ่งเป็นก�ำลังใจให้ผู้เรียนเกิดความมุมานะ สร้างงานแปรรูปอาหารจนเป็นที่ยอมรับ มีผลงานเด่น ปรากฏหลายปีติดต่อกัน นอกเหนือจากรางวัลที่กล่าว มาแล้ ว ข้ า งต้ น ยั ง มี ร างวั ล อื่ น ๆ เช่ น รางวั ล ชนะเลิ ศ การแปรรู ป อาหารในงานศิ ล ปหั ต ถกรรมนั ก เรี ย น ระดับชาติ ปีการศึกษา 2552 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การแปรรู ป อาหาร และรางวั ล รองชนะเลิ ศ อั น ดั บ 2 โครงงานอาชีพ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2553 นอกจากการสอนในหลักสูตรท้องถิ่นท�ำเป็น รายวิ ช าเพิ่ ม เติ ม อาหารแปรรู ป แล้ ว ยั ง มี ก ารสอน ในรูปแบบชมรม ซึง่ นับวันจะมีนกั เรียนสนใจสมัครเข้าเรียน เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย เวลาเรียนคือวันศุกร์ ในกรณี ที่ เ ป็ น เมนู อ าหารใหม่ เ มื่ อ ปรุ ง สุ ก เรี ย บร้ อ ยแล้ ว นั ก เรี ย นสามารถน� ำ กลั บ บ้ า น เพื่ อ ให้ ผู้ปกครองลองชิมและวิพากษ์วิจารณ์ และนี่เป็นหนึ่ง ในกลวิธีการตลาดของชมรม นอกจากอาหารแปรรูปที่ผลิตได้จะจ�ำหน่าย ในโรงเรียน เช่น งานวันวิชาการ งานวันแข่งกีฬาแล้ว ยั ง น� ำ ออกจ� ำ หน่ า ยนอกโรงเรี ย นในโอกาสต่ า งๆ เช่ น งานวันเด็ก งานประจ�ำปีของจังหวัด และงานประจ�ำปี ของโรงเรี ย นต่ า งๆ ภายในจั ง หวั ด ด้ ว ย เมื่ อ มี ง าน ทีต่ อ้ งออกร้านจ�ำหน่ายอย่างจริงจัง นักเรียนจะใช้เวลานอก มาเตรียมงาน อาจารย์สุวดีเล่าว่า การที่นักเรียนมีโอกาส

แสดงผลงานนอกโรงเรียนเป็นความภาคภูมใิ จของนักเรียน อย่างมาก ก่อ ให้เกิด ก�ำลังใจ เกิด ความกระตือ รือร้ น มีความสุขและเป็นแรงจูงใจอย่างส�ำคัญที่ท�ำให้นักเรียน ทีย่ งั มิได้เข้าโครงการสมัครเข้าชมรมมีความตัง้ ใจรับการฝึก และพัฒนาความสามารถในการท�ำงานได้ดี การจัดกิจกรรมนอกห้องเรียน การประกวด แข่ ง ขั น เป็ น เรื่ อ งหนึ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ เป็ น แรงจู ง ใจจากรุ ่ น พี่ สู่รุ่นน้อง จ�ำนวนเงิน รางวัลที่ไ ด้รับ หรือ ผลก�ำไรจาก การขายแต่ละครั้งจะจ่ายเป็นทุนการศึกษาให้นักเรียน ส่ ว นหนึ่ ง ที่ เ หลื อ จั ด ซื้ อ อุ ป กรณ์ ใ ช้ ใ นโครงการ เป็ น ทุ น หมุ น เวี ย นครั้ ง ต่ อ ไป และทุ ก ครั้ ง จะจ่ า ยเป็ น ค่าน�้ำ-ไฟ ให้กับโรงเรียนร้อยละ 15 ของก�ำไรที่ได้รับด้วย นี่เป็นจุดเน้นที่ส�ำคัญมากๆ ในการสร้างคุณธรรมให้กับ นั ก ธุ ร กิ จ น้ อ ยมี คุ ณ ธรรม น� ำ สู ่ เ ศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ ให้เป็นคนซื่อสัตย์ สุจริต ไม่เอาเปรียบ ที่ส�ำนักพัฒนา นวัตกรรมการจัดการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ต้องการปลูกฝังให้เกิดแก่ผเู้ รียนให้ได้ ผู ้ ป กครองของนั ก เรี ย นก็ เ ป็ น ก� ำ ลั ง ส� ำ คั ญ ๆ มีส่วนร่วมช่วยเหลือการเตรียมการเพื่อออกร้านจ�ำหน่าย ด้วยการให้บุตรหลานน�ำวัตถุดิบจากบ้านมาร่วมสบทบ หรื อ เป็ น ฝ่ า ยจั ด ซื้ อ ให้ ซึ่ ง ท� ำ ให้ ซื้ อ ได้ ใ นราคาถู ก นอกจากนีผ้ ปู้ กครองยังเป็นผูต้ ชิ ม เสนอแนะหรือน�ำสินค้า ไปเผยแพร่ในชุมชนด้วย นางสาวขวั ญ จิ ร า จั น ทร์ เ มฆ นั ก เรี ย น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 เล่าว่า ได้เห็นรุ่นพี่ท�ำงานนี้แล้ว รู้สึกสนุก โดยปกติชอบท�ำอาหารอยู่แล้ว จึงตัดสินใจ เข้าชมรมและไม่ผิดหวังเลย ชอบการประกอบอาหารมาก แต่ ไ ม่ ช อบการขาย รู ้ สึ ก ไม่ ก ล้ า ไม่ มั่ น ใจ จึ ง ขอสนุ ก เฉพาะตอนปรุงอาหารเท่านั้น


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

112 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

เช่นเดียวกับนางสาวสิยานนท์ แก้วมาก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 บอกว่าอยู่ที่บ้านช่วยท�ำงานบ้าน และท�ำกับข้าว เห็นพี่ๆ เขามีผลงานด้านอาหาร งานก็น่าสนใจจึงเข้าร่วมโครงการ เวลาที่มาท�ำโครงงาน คือเวลาเรียน และใช้เวลาว่างด้วย ความจริงแล้วชอบขาย แต่รู้ตัวว่าภาษาไม่ดี พูดไม่เก่งก็เลยไม่ค่อยกล้าอยู่หน้าร้าน อาจารย์สุวดี ผลงาม กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ที่ได้ใช้ระบบ PDCA ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น การแปรรูปส้มควายและแตงไทย Plan วางแผนการด�ำเนินการ

Do ลงมือปฏิบัติตามแผน

Check ตรวจสอบผล/ปรับปรุง Action น�ำไปใช้ในการ พัฒนาผลงาน

» ก�ำหนดผลผลิตทางการเกษตรที่จะน�ำมาแปรรูปอาหาร » เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับผลส้มควายและแตงไทย » เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการแปรรูปอาหารรูปแบบต่างๆ » เชิ ญ ครู ภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น เกี่ ย วกั บ ผลส้ ม ควายและแตงไทยมาร่ ว มจั ด การ องค์ความรู้ (KM.) » ศึกษาและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลส้มควาย แตงไทยและอาหารแปรรูปในชุมชน » น� ำ ข้ อ มู ล มาสั ง เคราะห์ ก� ำ หนดรู ป แบบที่ จ ะท� ำ ได้ แ ก่ ซอส แยม น�้ ำ สลั ด น�้ำผัดไทยส�ำเร็จรูป ไอศกรีม พั้นช์ผลไม้ กวน แช่อิ่ม ฯลฯ » ทดลองสูตรแล้วน�ำไปให้ผู้เชี่ยวชาญชิมและประเมิน » ปรับปรุงสูตรน�ำไปให้ผู้บริโภคชิมและประเมิน » ปรับปรุงและจัดท�ำสูตรต้นต�ำรับของตนเอง » บันทึกข้อมูลอย่างละเอียดทดลองซ�้ำหลายๆ ครั้งเพื่อความมั่นใจ » ตรวจสอบซ�้ำความคิด/การเรียนรู้ที่ได้รับจากการพัฒนา » สรุปสิ่งที่ควรปรับปรุง/ความคิดใหม่ๆ ส�ำหรับการจัดท�ำหลักสูตรท้องถิ่น » น�ำข้อความรู้ที่ค้นพบไปจัดท�ำหลักสูตรท้องถิ่นเป็นรายวิชาเพิ่มเติม » จัดท�ำแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเรียนรู้ผ่านกระบวนการวิจัย » จัดท�ำสื่อเอกสารประกอบการเรียน ใบงาน ใบความรู้ และใบมอบหมายงาน » จัดท�ำเครื่องมือวัดและประเมินผล


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 113

ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปของโรงเรียนทับปุดวิทยา มีหลายอย่าง เช่น การน�ำส้มควาย (ส้มแขก) มาแปรรูป เป็ น แยม ส้ ม ควายแห้ ง แช่ อิ่ ม กวนสามรส พั้ น ซ์ เยลลี่ น�้ ำ พริ ก และน� ำ แตงไทยมาแปรรู ป เป็ น แยม น�้ำสลัด พั้นซ์ แตงไทยกวน เยลลี่ น�้ำผัดไทยส�ำเร็จรูป เป็นต้น นอกจากอาหารแปรรูปดังกล่าวแล้วยังมีการท�ำ ไอศกรีมแตงไทยกะทิสด ไอศกรีม แกงบวดมันมือเสือ ข้าวเหนียวหน้าขนุน เชอร์เบทแตงโม เชอร์เบทส้มควาย เชอร์เบทแตงไทย เชอร์เบทมะม่วง เค้กแตงไทย น�้ำเมี่ยง ส�ำเร็จรูป ข้าวย�ำคลุกเคียงหมูฮ้อง เป็นต้น ถ้าท่านผู้อ่าน สนใจก็เชิญที่โรงเรียนทับปุดวิทยา หรือรอคอยจนถึงงาน ศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติปีต่อๆ ไป (หากยัง มีการจัดกิจกรรมนี้) ความมุ่งมั่นตั้งใจท�ำหน้าที่ของครู ที่ดีอย่างสม�่ำเสมอ ส่งผลให้อาจารย์สุวดี ผลงาม มีความ ก้าวหน้าถึงระดับเชี่ยวชาญ ความภูมิใจของอาจารย์สุวดี ที่ยิ่งกว่าความก้าวหน้าในหน้าที่ คือ การเห็นลูกศิษย์ หลายคนที่ไม่มีใครต้องการกลับมาเป็นคนดี ตั้งใจเรียน และประสบความส�ำเร็จ มีที่ยืนในสังคม อาจารย์สุวดี กล่าวทิ้งท้ายด้วยดวงตาที่เปล่งประกายของความสุข


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

114 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

รายชื่อโรงเรียนที่ ได้รับการคัดเลือกผลงานจ�ำหน่ายและสาธิต ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2552 “สุดยอดเด็กไทย ก้าวไกลสู่สากล” วันที่ 18-20 เมษายน 2553 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19

โรงเรียน

สังกัด ผลิตภัณฑ์ ภาคกลาง/ตะวันออก เบญจมราชาลัย สพป.กรุงเทพมหานคร เขต 1 ดอกไม้ประดิษฐ์ แกะลายกระจก วัดสังเวช สพป.กรุงเทพมหานคร เขต 1 ปั้นจิ๋ว บดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี 4) สพป.กรุงเทพมหานคร เขต 2 ไอเดียเลิศหรูหนูท�ำได้ กระเป๋าหลากสี มหัศจรรย์มันน้อย สารวิทยา สพป.กรุงเทพมหานคร เขต 2 ห่อหมกสวรรค์ ข้าวย�ำเบญจรส ฤทธิยะวรรณาลัย 2 สพป.กรุงเทพมหานคร เขต 2 ศิลปะการเพ้นท์แก้วและกระจก หอวัง สพป.กรุงเทพมหานคร เขต 2 ผ้าบาติก วัดเจ้ามูล สพป.กรุงเทพมหานคร เขต 3 ดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัว อนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม สพป.กาญจนบุรี เขต 1 ขนมปุยฝ้าย วัดหนองพังตรุ สพป.กาญจนบุรี เขต 1 หัตถกรรมเส้นเทปกระดาษ อนุบาลพนมทวน (วัดรางหวาย) สพป.กาญจนบุรี เขต 2 ผลิตภัณฑ์จากผ้าบาติก วัดดอนขมิ้น สพป.กาญจนบุรี เขต 2 กระเป๋าสานเส้นพลาสติก ท่าเรือพิทยาคม สพป.กาญจนบุรี เขต 2 สาวท่าเรือลงสวน ไทรโยคใหญ่ สพป.กาญจนบุรี เขต 3 น�้ำพริกหมูร้า ปลาสร้อยเลิศรส สตรีมารดาพิทักษ์ สพป.จันทบุรี เขต 1 เสื่อจันทบูร วัดตะปอนน้อย สพป.จันทบุรี เขต 2 สละลอยแก้ว (ประมวลวิทยาคาร) วัดวันยาวล่าง สพป.จันทบุรี เขต 2 ก๋วยเตี๋ยวหมูเรียง ขนมจาก วัดชนะสงสาร สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 ร้านซีดีถ่ายภาพที่ระลึก (อนันตชัยประชานุกูล) ดัดดรุณี สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรือกาบกล้วย พนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 จิตรกรรมไทยสร้างสรรค์


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 115

ที่ โรงเรียน 20 ไผ่แก้ววิทยา 21 วัดดงยาง 22 ราชสาส์นวิทยา

สังกัด สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2

23 ชลราษฎรอ�ำรุง

สพป.ชลบุรี เขต 1

24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37

เกาะโพธิ์ถ้วยงามวิทยา วัดหนองแช่แว่น วัดสุวรรณารัญญิกาวาส อนุบาลบ่อทอง บางละมุง ชุมชนคลองจันทน์ อนุบาลเกาะช้าง นวมราชานุสรณ์ วัดสันติธรรมราษฎร์บ�ำรุง วัดท่าด่าน วัดเกาะกระชาย บ้านคลอง 14 ศรีวิชัยวิทยา บ้านหลวงวิทยา

สพป.ชลบุรี เขต 2 สพป.ชลบุรี เขต 2 สพป.ชลบุรี เขต 2 สพป.ชลบุรี เขต 2 สพป.ชลบุรี เขต 3 สพป.ชัยนาท สพป.ตราด สพป.นครนายก สพป.นครนายก สพป.นครนายก สพป.นครนายก สพป.นครนายก สพป.นครปฐม เขต 1 สพป.นครปฐม เขต 1

38 วัดห้วยจระเข้วิทยาคม 39 วัดเชิงเลน (นครใจราษฎร์)

สพป.นครปฐม เขต 1 สพป.นครปฐม เขต 2

40 วัดศรีมหาโพธิ์

สพป.นครปฐม เขต 2

ผลิตภัณฑ์ ศิลปะสร้างสรรค์จากงานกระจก กะหรี่ปั๊บงาด�ำ ก๋วยเตี๋ยวหลอด ส้มต�ำแปลงกาย มะนาวสามรส เมี่ยงเสวยรสกุ้ง/รสปลา ย�ำพฤกษาลุยสวน ข้าวคลุกน�้ำพริก แป๊ะก๊วยธัญพืชนมสด จักสานไม้ไผ่ ฝาชีดาว ตะกร้าหม้อตาล ข้าวตูธัญพืช เครื่องประดับเงิน ภาพวาดสีน�้ำ ผลิตภัณฑ์ของใช้จากต้นตาล/ต้นมะพร้าว ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ปูนปาสเตอร์หรรษา ออมสินไม้ไผ่ ต้นไม้ถัก หัตถกรรมจากไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพจากกระชาย โรตี มะตะบะ การ์ตูนและลายไทยสามมิติ ยาขัดรองเท้าจากโครงงานบูรณาการ มาตรฐาน ข้าวหลามนครปฐม ตุ๊กตาตัวตลก กระเป๋าดอกไม้ กิ๊บติดผมแสนสวย ดอกไม้ประดิษฐ์ธรรมชาติ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

116 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ โรงเรียน สังกัด 41 เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สพป.นนทบุรี เขต 1 บางใหญ่ 42 ไทยรัฐวิทยา 95 (วัดโพธิท์ องบน) สพป.นนทบุรี เขต 2

ภาพสีน�้ำมัน

สพป.นนทบุรี เขต 2

กาแฟโบราณ สละลอยแก้ว ซาลาเปา ยอดมะพร้าวน�้ำหอมอ่อน หัตถศิลป์ดินไทยสายใยธรรมชาติ ตุ๊กตาการบูร น�้ำสมุนไพรเลิศรส ทอดมันหน่อกะลา

สพป.นนทบุรี เขต 2

ข้าวหอมนิลปลอดสารพิษ

สพป.นนทบุรี เขต 2

เต้าหู้นมสดชีวจิต เคอรี่พับงาด�ำไส้สมุนไพร ดอกไม้ประดิษฐ์ ตุ๊กตาจากดิน ไส้อั่วปลาหน่อกะลา ลูกชิ้นกล้วยทรงเครื่อง พฤกษาสวย ข้าวต้มมัดแสนสวย น�้ำสมุนไพรสามสหายเพื่อสุขภาพ โคมไฟลายวิจิตรพิชิตโลกร้อน ฮาลาลข้าวหมกไก่ ดอกสับปะรดจากผ้าลายไทย ข้าวย�ำสมุนไพรวัดผลาหาร ข้าวแช่ ไข่เจียวทรงเครื่อง การเพ้นท์จากเยื่อกระดาษ ซาลาเปาเพื่อสุขภาพ

43 นวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี 44 วัดปรมัยยิกาวาส (แสนสวัสดิ์วิทยาการ) 45 สตรีนนทบุรีบางใหญ่ (นนทกิจพิศาล) 46 เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี

สพป.นนทบุรี เขต 2

47 ปากเกร็ด

สพป.นนทบุรี เขต 2

48 วัดไทรใหญ่

สพป.นนทบุรี เขต 2

49 50 51 52 53 54

สพป.ปทุมธานี เขต 1 สพป.ปทุมธานี เขต 1 สพป.ปทุมธานี เขต 1 สพป.ปทุมธานี เขต 1 สพป.ปทุมธานี เขต 2 สพป.ปทุมธานี เขต 2

คลองหนึ่ง (แก้วนิมิตร) วัดโพธิ์เลื่อน วัดผลาหาร-วัดโพธิ์เลื่อน วัดเทียนถวาย วัดศรีสโมสร เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล�ำลูกกา 55 ชุมชนประชานิกรอ�ำนวยเวทย์

ผลิตภัณฑ์

สพป.ปทุมธานี เขต 2

สืบสานงานศิลป์ ดินเผาประดับ ด้วยเมล็ดข้าวเปลือก


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 117

ที่ 56 หัวหิน

โรงเรียน

สังกัด สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2

57 58 59 60

บ้านดอนกลาง อนุบาลกุยบุรี (วัดวังยาว) ยางชุมวิทยา บ้านดงกระทงยาม

สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 สพป.ปราจีนบุรี เขต 1

61 62 63 64 65

ชุมชนบ้านเกาะสมอ บ้านทับลาน วัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) นครหลวง "อุดมรัชต์วิทยา" อยุธยานุสรณ์

สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 สพป.ปราจีนบุรี เขต 2 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

66 ตะโกดอนหญ้านาง 67 อิสลามศรีอยุธยามูลนิธิ

สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

68 69 70 71 72 73 74 75 76 77

สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 สพป.เพชรบุรี เขต 1 สพป.เพชรบุรี เขต 1 สพป.เพชรบุรี เขต 1 สพป.เพชรบุรี เขต 1 สพป.เพชรบุรี เขต 2 สพป.เพชรบุรี เขต 2 สพป.ระยอง เขต 1 สพป.ระยอง เขต 1

สาคลีวิทยา บางบาล ดอนยางวิทยา วัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์) วัดโพพระใน โยธินบูรณะ เพชรบุรี บ้านลาดวิทยา ชะอ�ำคุณหญิงเนื่องบุรี วัดหนองพะวา วัดตะพงนอก

ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ผ้าหางอวน Easy Flying เรือเอเวอร์เกรด รถพลังงาน ทอดมันสมุนไพร ผัดไทยใบบัว กล้วยแปรพักตร์ น�้ำพริกสามเกลอ ผลิตภัณฑ์จากลวดอะลูมิเนียมและ ทองเหลือง กระดาษลูกฟูกสร้างสรรค์ ปลาร้าสมุนไพรอบแห้ง ผลิตภัณฑ์จากใบลาน ก๋วยเตี๋ยวไก่ฉีก ชาทิพย์น�้ำผึ้ง น�้ำพริกผักสดเครื่องเคียง หมี่กรอบ ขนมกล้วย ขนมสอดไส้ การประดิษฐ์หัวโขนจ�ำลอง ผ้ามัดย้อม ดอกไม้ประดิษฐ์ จากลูกประดู่ ผลิตภัณฑ์ข้าวกล้อง ผลิตภัณฑ์จากใบลาน ศิราภรณ์ดอนยาง หัตถกรรมจากใบตาล ขนมทองม้วน ผลิตภัณฑ์ไม้ตาล เครื่องเบญจรงค์ ผลิตภัณฑ์ลูกคุณหญิงเนื่องบุรี ยาสระผม ครีมนวดผม น�้ำยาล้างจาน ข้าวตอกน�้ำทุเรียน


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

118 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ 78 79 80 81

โรงเรียน บ้านคาวิทยา อนุบาลปากท่อ วัดสันติการามวิทยา วัดเขาส้ม

สังกัด สพป.ราชบุรี เขต 1 สพป.ราชบุรี เขต 1 สพป.ราชบุรี เขต 1 สพป.ราชบุรี เขต 2

82 วัดบ้านไร่ 83 วัดบึงกระจับ (รัฐประชาตันติธนานนท์) 84 วัดหนองกบ (ขุนทองประชานุเคราะห์)

สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2

85 86 87 88

สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ลพบุรี เขต 1

วัดตากแดด (รอดประชานุกูล) วัดหนองกลางดง สายธรรมจันทร์ พลร่มนุสรณ์ มิตรภาพที่ 50

สพป.ราชบุรี เขต 2

89 วัดตองปุ 90 วัดหนองเมือง 91 บ้านวังตาอินทร์

สพป.ลพบุรี เขต 1 สพป.ลพบุรี เขต 1 สพป.ลพบุรี เขต 2

92 93 94 95 96

สพป.ลพบุรี เขต 2 สพป.สมุทรปราการ เขต 1 สพป.สมุทรปราการ เขต 2 สพป.สมุทรปราการ เขต 2 สพป.สมุทรปราการ เขต 2

ชุมชนวัดจงโก มิตรภาพที่ 157 คลองแสนสุข วัดศรีวารีน้อย วัดปานประสิทธาราม วัดบัวโรย

ผลิตภัณฑ์ มหัศจรรย์ไม้กระถิน ขนมเจรจาสด (จากแป้งกล้วย) น�้ำฝรั่งตราสันติเฟรช น�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น โคมไฟ คอนโทรลเลอร์ ดอกไม้และสิ่งประดิษฐ์จากเกล็ดปลา มะกรูดลอยแก้ว ไข่ผ�ำเพิ่มคุณค่าอาหาร เช่น ขนมจีนน�้ำยาไข่ผ�ำ ห่อหมกไข่ผ�ำ ทองม้วนไข่ผ�ำ ไข่เจียวไข่ผ�ำ ทอดมันยี่สกรสเด็ด พริกแกงเผ็ดอร่อย ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเห็ดสามอย่าง ไข่เค็มกากซีอิ้ว น�้ำพริกกะปิเมล็ดทานตะวัน น�้ำพริกกุ้งแห้ง เครื่องสานงานพลาสติก ปลาส้มหนองเมือง ข้าวย�ำสมุนไพร เต้าทึงรวมมิตร น�้ำพริกสูตรโบราณ กะลาน่าใช้จากโปรแกรม GSP น�้ำพริกปลาสลิด สารพัดน�้ำพริกสมุนไพร ผลิตภัณฑ์จากโครงการเกษตรพอเพียง ขนมเค้ก คุกกี้ โมจิ ปลาสลิด ผลิตภัณฑ์ดอกไม้รีไซเคิล


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 119

ที่ โรงเรียน 97 วัดพันธุ์วงษ์

สังกัด สพป.สมุทรสาคร

98 บ้านวังจรเข้ สพป.สมุทรสาคร 99 วัดนางสาว (ถาวรราษฎร์บ�ำรุง) สพป.สมุทรสาคร 100 วังหลังวิทยาคม

สพป.สระแก้ว เขต 1

101 102 103 104 105 106 107

คลองหาดพิทยาคม เมืองไผ่ อรัญประเทศ เทพศิรินทร์ พุแค บ้านท่าพลู เสาไห้ "วิมูลวิทยานุกูล" วัดการ้อง

สพป.สระแก้ว เขต 1 สพป.สระแก้ว เขต 2 สพป.สระแก้ว เขต 2 สพป.สระบุรี เขต 1 สพป.สระบุรี เขต 2 สพป.สระบุรี เขต 2 สพป.สิงห์บุรี

108 109 110 111 112 113

วัดระนาม วัดโคกยายเกตุ พลับพลาไชย ทุ่งคลีโคกช้างวิทยา วัดม่วงคัน วัดหนองยาง

สพป.สิงห์บุรี สพป.สุพรรณบุรี เขต 2 สพป.สุพรรณบุรี เขต 2 สพป.สุพรรณบุรี เขต 3 สพป.อ่างทอง สพป.อ่างทอง

ผลิตภัณฑ์ น�้ำพริกตะไคร้กุ้งสด ข้าวผัดสมุนไพร ตะไคร้ กุ้งสด เนื้อเทียมจากกากถั่วเหลือง ปลาแนม ทองม้วนสมุนไพร เปเปอร์ ART 3 มิติ กัดลายกระจก งานปั้นลอยตัว ดอกไม้จากดินไทย โอ่งผ้าไหม จักสานไม้ไผ่หุ้มปากกา ข้าวแต๋นน�้ำแตงโม น�้ำพริกปลาย่าง การแปรรูปอาหารจากข้าวเม่า บัวลอยมะพร้าวอ่อน หินสวยด้วยมือเรา ผลิตภัณฑ์จากเครื่องหนัง กิจกรรมใช้ถุงเท้าเขียนรูป ผลิตภัณฑ์เกษตรพอเพียงวัดการ้อง เช่น น�้ำพริกปลาเผามะขามสด น�้ำพริกปลาช่อน ย�ำมะม่วง ยาสระผม/ครีมนวดผมข้าวหอมนิล ผลิตภัณฑ์งานจักสานไม้ไผ่ มัจฉาหลงไพร ภาพนูนต�่ำ ผ้ามัดย้อม 2 สี ขนมเกสรล�ำเจียก งานสานพลาสติก ทอผ้า


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

120 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่

โรงเรียน

1

สามัคคีวิทยาคม 2

สังกัด ภาคเหนือ สพป.เชียงราย เขต 1

2 3 4

บ้านดอยช้าง แม่เจดีย์วิทยาคม บ้านเทอดไทย

สพป.เชียงราย เขต 2 สพป.เชียงราย เขต 2 สพป.เชียงราย เขต 3

5 6 7

บ้านป่าซางนาเงิน จันจว้าวิทยาคม บ้านตองม่วงชุม

สพป.เชียงราย เขต 3 สพป.เชียงราย เขต 3 สพป.เชียงราย เขต 4

8

บ้านเมืองกาญจน์

สพป.เชียงราย เขต 4

9 10 11 12 13 14 15

วัดเมืองสาตร บ้านเมืองกื้ด บ้านป่าจี้วังแดง แม่ริมวิทยาคม อมก๋อยวิทยาคม บ้านสบเตี๊ยะ ตากสินราชานุสรณ์

สพป.เชียงใหม่ เขต 1 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 สพป.เชียงใหม่ เขต 5 สพป.เชียงใหม่ เขต 6 สพป.ตาก เขต 1

16 อุ้มผางวิทยาคม 17 บ้านห้วยกระโหลก

สพป.ตาก เขต 2 สพป.ตาก เขต 2

ผลิตภัณฑ์ ของกินบ้านเฮา (เมืองเหนือ) น�้ำพริกแคบหมู น�้ำพริกแคบปลา สมุนไพร (ปลากรอบ) ไส้อั่ว ข้าวเหนียว ผ้าปักชนเผ่า อาราบิก้าพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ลวดลายเวียงกาหลง จิตรกรรมสีน�้ำ/สีน�้ำพลาสติก/ สีอะคริลิก โคมไฟไม้ไผ่ กล้องมูยา ผ้าปักตัวหนอน ตะกร้าสานลายละเอียด (ใยสังเคราะห์) สาหร่ายทรงเครื่องสมุนไพร สาหร่ายป่นปรุงรสสมุนไพร น�้ำพริกคั่วสาหร่าย แซนวิชน�้ำพริก คั่วสาหร่าย ข้าวเกรียบสาหร่าย/ งานศิลปะบ้านเมืองกาญจน์ อาหารพื้นเมือง ข้าวนึ่ง ไส้อั่ว จิ้นส้ม ของใช้ผลิตจากไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์เกษตร ศิลปะบนพื้นไม้ กาแฟอาราบิก้า ตุงโคมจอมทอง ข้าวคลุกสาลิกา ละมุดสอดไส้ ข้าวเกรียบงาสอดไส้เบญจพรรณ สลัดอโวคาโด ผลิตภัณฑ์ทอผ้า จักสานไม้ไผ่ สะล้อ ซึง น�้ำพริกอ่อง


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 121

ที่ 18 19 20 21 22 23

โรงเรียน บ้านขะเนจื้อ บ้านแก่งชัชวลิตวิทยา ตากฟ้าวิชาประสิทธิ์ บ้านน�้ำพุร้อน ก�ำแพงดินพิทยาคม สระหลวงพิทยาคม

สังกัด สพป.ตาก เขต 2 สพป.นครสวรรค์ เขต 1 สพป.นครสวรรค์ เขต 3 สพป.น่าน เขต 2 สพป.พิจิตร เขต 1 สพป.พิจิตร เขต 1

24 อนุบาลโพทะเล "รัฐบ�ำรุง" 25 บางระก�ำ 26 เนินดินราษฎร์อุทิศ

สพป.พิจิตร เขต 2 สพป.พิษณุโลก เขต 1 สพป.พิษณุโลก เขต 2

27 วังทองวิทยาคม

สพป.พิษณุโลก เขต 2

28 29 30 31 32

สพป.พิษณุโลก เขต 3 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 3 สพป.แพร่ เขต 1

วัดโบสถ์ศึกษา บ้านสะเดียง บ้านห้วยผักไล บ้านบ่อไทย บ้านทุ่งโฮ้ง (อภิวังวิทยาลัย)

33 บ้านใหม่ 34 บ้านแม่แลบ 35 บ้านท่าเกวียน

สพป.แพร่ เขต 2 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 สพป.ล�ำปาง เขต 2

36 ศักดิ์สุนันท์วิทยา 37 เสริมงามวิทยาคม

สพป.ล�ำปาง เขต 2 สพป.ล�ำปาง เขต 2

ผลิตภัณฑ์ ผ้าทอ เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ขมิ้นสมุนไพร น�้ำจิ้มเมี่ยงรสเด็ดสมุนไพร งานสร้างสรรค์ศิลปะบนกระจก น�้ำข้าวกล้องงอกเพื่อสุขภาพ ตุ๊กตาอารมณ์ดี ลายผ้าทอจาก โครงงานคณิตศาสตร์ ภาพวาดระบายสี กระยาสารท แปรรูปอาหารน�้ำกระชาย งานจักสานไม้ไผ่ (หวดนึ่งข้าว ตะกร้าจากไม้ไผ่) มอลต์ข้าวไทย ผลิตภัณฑ์จากมอลต์ ผัดไทยวังทอง ห่อหมกลอนตาล มะขามหวานแปรรูป มะรุมสมุนไพร เครื่องศิราภรณ์ ผ้าหม้อฮ่อมเพ้นท์สี สมุดห่อผ้าหม้อฮ่อมเพ้นท์สี กระเป๋าโทรศัพท์เขียนลายเพ้นท์สี ผลิตภัณฑ์จากหวาย ผลิตภัณฑ์จากไม้สัก ปลาแก้วสมุนไพรสามรส แหนมปลา ปลาแดดเดียว กะปิคั่วสมุนไพร ข้าวทอดสมุนไพร การประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุ (กรงนกจากเศษไม้)


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

122 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ 38 39 40 41 42

โรงเรียน แจ้ห่มวิทยา เชิงคีรี (สุวิชานวรวุฒิ) บ้านกง บ้านบึงหญ้า ดาราพิทยาคม

43 หนองเต่าวิทยา 44 พุทธมงคลวิทยา 45 บ้านไร่วิทยา

สังกัด สพป.ล�ำปาง เขต 3 สพป.สุโขทัย เขต 1 สพป.สุโขทัย เขต 1 สพป.สุโขทัย เขต 1 สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1

1 2 3 4

คลองยางประชานุสรณ์ คลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ อุตรกิจ ทุ่งคาพิทยาคาร

สพป.อุทัยธานี เขต 1 สพป.อุทัยธานี เขต 1 สพป.อุทัยธานี เขต 2 ภาคใต้ สพป.กระบี่ สพป.กระบี่ สพป.กระบี่ สพป.ชุมพร เขต 1

5 6

บ้านหนองสองพี่น้อง วัดมะม่วงตลอด

สพป.ตรัง เขต 2 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1

7 8 9

กัลยาณีศรีธรรมราช บ้านร่อน ฉวางรัชดาภิเษก

สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2

10 วัดป่าระก�ำ 11 บ้านคอลอกาเว

สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 สพป.นราธิวาส เขต 1

ผลิตภัณฑ์ เสน่ห์ไม้ ขนมอาลัวจากแป้งปรง ขนมทองพับ ทองม้วน มะละกอกลายร่าง ข้าวกล้องงอกดาราทิพย์ น�้ำข้าวกล้องงอกดาราทิพย์ ไอศครีมข้าวกล้องงอก ไส้กรอกปลาแนมข้าวกล้องงอก กระจกกัดลายและกรอบรูปเคลือบเย็น ไอศครีมแสนอร่อย ขนมจีน-ส้มต�ำบ้านไร่ หัตถกรรมจักสานเตยปาหนัน ผ้าบาติก ข้าวย�ำน�้ำบูดู กาแฟโบราณ น�้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ สบู่จากน�้ำมันมะพร้าว ครีมสมานรอยส้นเท้าแตก ผลิตภัณฑ์แปรรูปไม้หอมเมืองตรัง น�้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ผลิตภัณฑ์ดอกไม้ฝักกระถิน ข้าวย�ำสมุนไพร กระถางธรรมชาติบ้านร่อน ขนมจีนน�้ำยาปักษ์ใต้ ขนมช่อม่วง หรือทองเอก ลอดช่องไทย ผัดหมี่ปากพนัง น�้ำดอกดาหลา โรตี-ชาชัก


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 123

ที่ โรงเรียน 12 บ้านกูบู 13 บ้านกือยา 14 บ้านปะกาฮะรัง

สังกัด สพป.นราธิวาส เขต 2 สพป.ปัตตานี เขต 1 สพป.ปัตตานี เขต 1

15 พัฒนศึกษา 16 โรงเรียนทับปุดวิทยา

สพป.ปัตตานี เขต 1 สพป.พังงา

17 18 19 20 21 22 23 24 25

คุระบุรีชัยพัฒนาพิทยาคม พนางตุง บ้านระหว่างควน บ้านห้วยน�้ำด�ำ วัดเขาทอง หานโพธิ์พิทยาคม วัดนาปะขอ ไทยรัฐวิทยา 29 บ้านนิบงพัฒนา

สพป.พังงา สพป.พัทลุง เขต 1 สพป.พัทลุง เขต 1 สพป.พัทลุง เขต 1 สพป.พัทลุง เขต 1 สพป.พัทลุง เขต 2 สพป.พัทลุง เขต 2 สพป.ภูเก็ต สพป.ยะลา เขต 1

26 27 28 29 30 31 32

เบตง "วีระราษฎร์ประสาน" บ้านหาดทรายด�ำ บ้านภูเขาทอง ทับหลีสุริยวงศ์ ธรรมโฆสิต บ้านน�้ำกระจาย วัดแหลมพ้อ

สพป.ยะลา เขต 3 สพป.ระนอง สพป.ระนอง สพป.ระนอง สพป.สงขลา เขต 1 สพป.สงขลา เขต 1 สพป.สงขลา เขต 1

ผลิตภัณฑ์ ข้าวเกรียบทอดทราย น�้ำมันหอม น�้ำมันหม่อง ลูกประคบ ข้าวย�ำ บาตาบูโระ และขนมหวานเบญจรงค์ น�้ำบูดู เครื่องประดับ สายสร้อยโทรศัพท์ พวงกุญแจ/ตุ๊กตาจากเมล็ดลูกยางพารา ตะกร้าพอเพียง ดอกไม้จากไม้ยางพารา ผลิตภัณฑ์จักสานกระจูด ผลิตภัณฑ์ลูกโพนที่ระลึก เบญจรงค์ท่องไพร ข้าวย�ำนพเก้าและน�้ำสมุนไพร 12 ราศี ชะลอมเอนกประสงค์ ข้าวสังข์หยดซ้อมมือ น�้ำมันว่านทิพย์ 108 ดอกไม้เปลือกข้าวโพด ผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุ เช่น มดกระปุกออมสิน เครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์จากไม้โพธิ์ทะเล ผลิตภัณฑ์ลูกปัดทดแทน ซาลาเปาทับหลี รูปหนังตะลุง งานจักสาน งานเครื่องหอมไทย ย�ำสาหร่ายทะเล


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

124 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42

โรงเรียน

สังกัด วัดท้ายยอ สพป.สงขลา เขต 1 วัดบ่อทรัพย์ สพป.สงขลา เขต 1 สิริวัณวรี 2 สงขลา สพป.สงขลา เขต 2 วัดไทรใหญ่ สพป.สงขลา เขต 2 มัธยมสิริวัณวรี 2 สงขลา สพป.สงขลา เขต 2 บ้านหน้าควนลัง (ราษฎร์สามัคคี) สพป.สงขลา เขต 2 วัดเกษมรัตน์ สพป.สงขลา เขต 3 เทพา สพป.สงขลา เขต 3 พิมานพิทยาสรรค์ สพป.สตูล สุราษฎร์พิทยา สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1

43 มัธยมพัชรกิตติยาภา 3 สุราษฎร์ธานี 44 วัดบางใบไม้ 45 วัดท่าไทร 46 บ้านโพหวาย 47 สุราษฎร์ธานี 2 48 วัดประสบ

สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1

49 50 51 52 53

สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 3

วัดกงตาก บ้านบางใหญ่ บ้านคลองนามิตรภาพที่ 201 กาญจนาภิเษกวิทยาลัย เคียนซาพิทยาคม

สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1

ผลิตภัณฑ์ ข้าวย�ำใบยอ ไข่ครอบ การผลิตดอกไม้ใบยางและของใช้ในบ้าน ข้าวหมกไก่สมุนไพร ข้าวเหนียวไก่ทอดหาดใหญ่ ข้าวมันไก่หาดใหญ่ หม่องไพล ยาดมสมุนไพร ผ้าบาติกไหม ผ้าปักฮียาบ โรตี-ชาชัก เครื่องดื่มสมุนไพรต่างๆ หนังเทียมจากการพัฒนาเซลลูโลสเจล ผัดไทยเมืองคนดี ขนมจาก ห่อหมกปูปลา ขนมลูกบ้าสร้างอาชีพ โล้งโต้ง ก้านมะพร้าวของใช้ในครัวเรือน โคมไฟหิ่งห้อย ขนมจีนเมืองสุราษฎร์ ชีวภาพสิ่งแวดล้อม เครื่องแต่งกายโนราห์ ไข่เค็มไชยา น�้ำพริกชนบท ปูจ๊ะจ๋า ไข่เค็มเคียนซา น�้ำพริกไข่เค็ม บัวลอยเบญจรงค์


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 125

ที่

โรงเรียน

1

ทุ่งศรีเมืองประชาวิทย์

สังกัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1

2 3 4 5 6 7 8

ส�ำเริงวิทยา นาค้อวิทยาคม บ้านสี่แยกสมเด็จ บ้านงิ้ว บ้านโสกแต้ ประเสริฐแก้วอุทิศ พลพัฒนศึกษา

สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 สพป.ขอนแก่น เขต 1 สพป.ขอนแก่น เขต 1 สพป.ขอนแก่น เขต 2 สพป.ขอนแก่น เขต 3

9

บ้านหนองสระ

สพป.ขอนแก่น เขต 5

10 กุดเข้ห้วยบงวิทยานุกูล 11 ชุมชนบ้านแก้งคร้อหนองไผ่ 12 เพชรราษฎร์บ�ำรุง

สพป.ขอนแก่น เขต 5 สพป.ชัยภูมิ เขต 2 สพป.ชัยภูมิ เขต 2

13 14 15 16 17 18

สพป.นครพนม เขต 1 สพป.นครราชสีมา เขต 1 สพป.นครราชสีมา เขต 1 สพป.นครราชสีมา เขต 3 สพป.นครราชสีมา เขต 3 สพป.นครราชสีมา เขต 3

นาแกพิทยาคม เสนานุเคราะห์ จอหอ เสิงสาง บ้านประชาสรรค์ บ้านไผ่

ผลิตภัณฑ์ ก๋วยเตีย๋ วปลาสมุนไพร ราดหน้าปลาเห็ดห้าอย่าง มหัศจรรย์สมุนไพรหมาน้อย น�้ำพริกมะขามสด เขียนภาพด้วยสีพาสเทล งานกระจกถมทองค�ำเปลว ศิลปะจากเศษวัสดุ ต้นไม้มงคล "Snack Herb Rice" มหัศจรรย์แห่งข้าว คุณค่าสู่วิถีชีวิตความพอเพียง การทอเสื่อลายขิดและ ผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก ของขวัญชิ้นเดียวในโลก (สกรีนเสื้อ/แก้ว) ขนมจีนสมุนไพรไฮเทค ปลาร้าทรงเครื่อง ข้าวกล้องนึ่งสมุนไพรกับปลานิลสองใจ ขนมกล้วย ขนมครก ไข่นกกระทาทรงเครื่อง ไอศกรีม น�้ำสมุนไพรปั่นเพื่อสุขภาพ กิจกรรมสีน�้ำมันลายไทย ไข่เค็มพอกดินสอพอง ส้มต�ำ ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล ศัลยกรรมกระดาษ หวานหมากหลากสี น�ำ้ พริกสมุนไพร ปลาร้าบองทรงเครือ่ ง


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

126 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ โรงเรียน 19 ไตรรัตน์วิทยาคาร

สังกัด สพป.นครราชสีมา เขต 4

20 ปากช่อง 21 บ้านหนองมะค่า 22 บ้านเก่า-บ้านน้อย

สพป.นครราชสีมา เขต 4 สพป.นครราชสีมา เขต 4 สพป.นครราชสีมา เขต 5

23 เมืองคง 24 นิคมพิมายศึกษา 25 บ้านตะบอง

สพป.นครราชสีมา เขต 6 สพป.นครราชสีมา เขต 7 สพป.นครราชสีมา เขต 7

26 บ้านโคกขามโนนสมบูรณ์

สพป.บุรีรัมย์ เขต 1

27 28 29 30 31 32 33

สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 สพป.มหาสารคาม เขต 1 สพป.มหาสารคาม เขต 3 สพป.มุกดาหาร สพป.มุกดาหาร สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1

ผลิตภัณฑ์ สร้างสรรค์เครื่องปั้นดินเผาด้วยสีอะคริลิก น�้ำนมข้าวโพดเพื่อสุขภาพ เขาใหญ่ Yong Artist ภาพศิลปะจากจิตรกรน้อย ผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์ (หมวก กระเป๋า ดอกไม้ ของช�ำร่วย) ผัดหมี่โคราช งานหัตถกรรมจากผักตบชวา ผัดหมี่พิมาย ไข่เยี่ยวม้าสมุนไพร ไข่เค็มสมุนไพร น�้ำพริกกบฟูสมุนไพร แคบหมู สูตรโบราณ ขนมไทยทองม้วนสด ภาพจิตรกรรมไทย ข้าวกล้องล�ำสะแทด ขนมเทียนมรกต การแปรรูปอาหารจากกบ สานตะกร้าจากเส้นพลาสติก ผ้าฝ้ายหมักโคลนเมืองหนองสูง แจ่วบองสมุนไพรพื้นบ้าน

สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 สพป.เลย เขต 2 สพป.เลย เขต 3 สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

แกงอ่อมหวาย ไข่มดแดง จิตรกรรมสร้างสรรค์ หน้ากากผีตาโขน เครื่องประดับศิลาภรณ์ โคมไฟประดิษฐ์จากตอไม้ ภาพจิตรกรรมไทยบนผ้าก�ำมะหยี่ แกะสลักขี้ผึ้ง (เทียน)

34 35 36 37 38 39 40

นางรองวิทยาคม บ้านข่อย อนุบาลกันทรวิชัย เขวาไร่ศึกษา บ�ำรุงพงศ์อุปถัมภ์ หนองสูงสามัคคีวิทยา บ้านหวายหลึม (โพธิ์ศรีราษฎร์วิทยา) หนองพอกวิทยาลัย ศรีสงครามวิทยา ศรีสองรักษ์วิทยา เขื่อนช้างวิทยาคาร บ้านหนามแท่ง โนนค้อวิทยาคม บ้านหนองแวงโสวรรณี


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 127

ที่ 41 42 43 44 45 46 47

โรงเรียน บ้านอ้อมแก้ว บึงบูรพ์ กระต่ายด่อนวิทยา บ้านผือ ศิริราษฎร์วิทยาคาร บ้านหนองตาล บ้านจันรม

สังกัด สพป.ศรีสะเกษ เขต 2 สพป.ศรีสะเกษ เขต 2 สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 สพป.สกลนคร เขต 1 สพป.สกลนคร เขต 2 สพป.สุรินทร์ เขต 1

48 49 50 51 52 53

สระขุดดงส�ำราญวิทยา บ้านหนองแวง (โนนนารายณ์) กุดบงพิทยาคาร เซกา โคกม่วงทองวิทยา โคกสวาสดิ์หนองสองห้อง ดอนแดง บ้านนาค�ำหลวง ทมนางาม บ้านค�ำอ้อ บ้านหนองลาด อนุบาลอุบลราชธานี ม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา โนนกุงวิทยาคม บ้านดงบาก ชุมชนบ้านหนองยาว

สพป.สุรินทร์ เขต 2 สพป.สุรินทร์ เขต 2 สพป.หนองคาย เขต 2 สพป.หนองคาย เขต 3 สพป.หนองบัวล�ำภู เขต 1 สพป.อ�ำนาจเจริญ

ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากเศษไม้และรากไม้ งานศิลป์ถิ่นล�ำดวน ผลิตดอกไม้จากผลตะแบก ศิลป์สร้างสรรค์ ประดิษฐ์ตุ๊กตามดจ๋า...อารมณ์ดี ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติบ้านจันรม (ผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้ ผ้าย้อมสีธรรมชาติ ยาสระผม) แหนมคลุกสมุนไพรขิงอ่อน ลายเส้น แลเงาดินสอ ภาพสีโปสเตอร์ สับปะรดผง สมุนไพรสิรินธรวัลลี เสื้อเย็บมือวิถีฝ้าย ข้าวฮางอินทรีย์ น�้ำผึ้งบริสุทธิ์

สพป.อุดรธานี เขต 1 สพป.อุดรธานี เขต 2 สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.อุบลราชธานี เขต 1 สพป.อุบลราชธานี เขต 1 สพป.อุบลราชธานี เขต 2 สพป.อุบลราชธานี เขต 3 สพป.อุบลราชธานี เขต 5

แจ่วบองเลิศรส กล้วยกวน น�้ำพริกจิ้งหรีด การปั้นหม้อและเขียนลายหม้อ มุกประดับ ภาพระบายสี ผ้ากาบบัว ต�ำบักหุ่งอิสานตระการพืชผล ดอกไม้ประดิษฐ์จากดินและผ้า ตะกร้าจากเส้นพลาสติก

54 55 56 57 58 59 60 61 62


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

128 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

รายชื่อโรงเรียนที่ ได้รับการคัดเลือกผลงานจ�ำหน่ายและสาธิต ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2553 “สุดยอดเด็กไทย ก้าวใหม่ที่ ไกลกว่า” วันที่ 26-28 มกราคม 2554 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21

โรงเรียน ประถมทวีธาภิเศก วัดดอนขมิ้น อนุบาลสังขละบุรี บ้านหนองแกประชาสรรค์ บ้านเนินดินแดง วัดวันยาวล่าง วัดชนะสงสาร (อนันตชัยประชานุกูล) วัดดงยาง วัดท่าเกวียน (สัยอุทิศ) อนุบาลชลบุรี บ้านห้วยตากด้าย วัดสุวรรณารัญญิกาวาส ชุมชนวัดวังเคียน ชุมชนคลองจันทน์ วัดหนองจิก อนุบาลเกาะช้าง บ้านโขดทราย วัดไทรทอง วัดท่าด่าน วัดสันติธรรมราษฎร์บ�ำรุง บ้านคลอง 14

สังกัด ภาคกลาง/ตะวันออก สพป.กรุงเทพมหานคร สพป.กาญจนบุรี เขต 2 สพป.กาญจนบุรี เขต 3 สพป.กาญจนบุรี เขต 4 สพป.จันทบุรี เขต 2 สพป.จันทบุรี เขต 2 สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1

ผลิตภัณฑ์ ดอกไม้ดินประถมทวีธาภิเษก กระเป๋าสวยด้วยมือเรา อาหารพื้นถิ่นสังขละบุรี โยเกิร์ตโปรไบโอติกส์ ก๋วยเตี๋ยวจอมยุทธ์ ก๋วยเตี๋ยวหมูเลียง ผัดเส้นจันท์ ซีดีที่ระลึก

สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 สพป.ชลบุรี เขต 1 สพป.ชลบุรี เขต 2 สพป.ชลบุรี เขต 2 สพป.ชัยนาท สพป.ชัยนาท สพป.ชัยนาท สพป.ตราด สพป.ตราด สพป.ตราด สพป.นครนายก สพป.นครนายก สพป.นครนายก

กะหรี่ปั๊บงาด�ำ ผักกาดดองสามรส แคบสับปะรด ส้มต�ำทอด เห็ดอร่อยบ้านห้วยตากด้าย ข้าวตูธัญพืช มันรังนก นกประดิษฐ์ ของใช้จากตาลและมะพร้าว จักสานไม้ไผ่/ก้านลาน คุณสวยด้วยกะลา ร้านหมูชะมวงย่าง ชาล้างสารพิษ หัตถกรรมจากไม้ไผ่ ต้นไม้ถัก โรตี มะตะบะ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 129

ที่ 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45

โรงเรียน วัดเกาะกระชาย วัดดอนหวาย (นครรัฐประสาท) บ้านดงเกตุ วัดเชิงเลน (นครใจราษฎร์) ศูนย์บ้านเรียนลักษณาวลัย อุดมศิลป์ เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา วัดไทรใหญ่ วัดปรมัยยิกาวาส ไทยรัฐวิทยา 95 (วัดโพธิ์ทองบน) วัดเทียนถวาย ศาลาพัน อนุบาลปทุมธานี คลองลาดช้าง (จันทร์เศรฐอุปถัมภ์) คลองหนึ่ง (แก้วนิมิตร) วัดลาดสนุ่น อนุบาลกุยบุรี (วัดวังยาว) บ้านดงกระทงยาม บ้านทับลาน วัดทางกลาง (ประชาสามัคคีอปุ ถัมภ์) ลุมพลีชนูปถัมภ์ วัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) อิสลามศรีอยุธยามูลนิธิ วัดทางหลวง (เทพราษฎร์รังสรรค์) วัดลาดบัวหลวง (สหมิตรศึกษา)

สังกัด สพป.นครนายก สพป.นครปฐม เขต 2 สพป.นครปฐม เขต 2 สพป.นครปฐม เขต 2 สพป.นนทบุรี เขต 1

ผลิตภัณฑ์ กระชายเพื่อสุขภาพ หมอนหอมระเหย ผ้ารองอเนกประสงค์ งานปะติดปะต่อ น�้ำสมุนไพร

สพป.นนทบุรี เขต 2 สพป.นนทบุรี เขต 2 สพป.นนทบุรี เขต 2 สพป.นนทบุรี เขต 2 สพป.ปทุมธานี เขต 1 สพป.ปทุมธานี เขต 1 สพป.ปทุมธานี เขต 1 สพป.ปทุมธานี เขต 1 สพป.ปทุมธานี เขต 1 สพป.ปทุมธานี เขต 2 สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 สพป.ปราจีนบุรี เขต 1 สพป.ปราจีนบุรี เขต 2 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

ข้าวหมกไก่ ผลิตภัณฑ์วัดไทรใหญ่ ก๋วยเตี๋ยว ทอดมันหน่อกะลา เมนูอร่อยไทยรัฐวิทยา 95 ไข่เจียวทรงเครื่อง ลูกปัดวิจิตร ครอสติสแสนงาม ก๋วยเตี๋ยวเรือหมู ก๋วยเตี๋ยวเรือเมืองปทุม ฮาลาลข้าวหมกไก่ โคมไฟพอเพียง ผัดไทยใบบัว ถักลวดอะลูมิเนียม นวดแผนไทย มหัศจรรย์งานประดิษฐ์จากใบลาน บ้านทรงไทยย่อส่วน

สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2

กระจกวิจิตรศิลป์ ไฟเบอร์ร่วมสมัย ขนมสอดไส้สะบัดงา ผ้ามัดย้อมกรุงเก่า เกษตรพอเพียงวัดทางหลวง เครื่องเบญจรงค์


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

130 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ โรงเรียน 46 วัดโพพระใน (รุ่งรังสฤษฎ์) 47 วัดพลา 48 วัดแจ้งเจริญ (บุญเหลือประชาสงเคราะห์) 49 อนุบาลปากท่อ 50 วัดเขาส้ม 51 วัดหนองกบ (ขุนทองประชานุเคราะห์) 52 วัดหนองกลางดง 53 วัดบึงกระจับ (รัฐประชาตันติธนานนท์) 54 วัดตากแดด (รอดประชานุกูล) 55 วัดบ้านไร่ 56 พลร่มอนุสรณ์ มิตรภาพที่ 50 57 ราชประชานุเคราะห์ 33 58 อนุบาลโคกเจริญ 59 ชุมชนวัดจงโก มิตรภาพที่ 157 60 คลองบางปู 61 วัดด่านส�ำโรง 62 วัดปานประสิทธาราม 63 วัดพันธุวงษ์ (ปรีชาเลี่ยมราษฎร์บ�ำรุง) 64 วัดเทพประสิทธิคณาวาส 65 เมืองไผ่ 66 บ้านปากข้าวสาร (บริษัทข้าวไทยจ�ำกัด สงเคราะห์ 2)

สังกัด สพป.เพชรบุรี เขต 1 สพป.ระยอง เขต 1 สพป.ราชบุรี เขต 1

ผลิตภัณฑ์ ขนมทองม้วนน�้ำตาลโตนด ข้าวย�ำสามสี ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง

สพป.ราชบุรี เขต 1 สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2

มหัศจรรย์แป้งกล้วย ผลิตภัณฑ์มะพร้าวตราเขาส้ม อาหารสุขภาพไข่ผ�ำ

สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2

เมนูเห็ดสามสหาย มะกรูดแปรรูป

สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ลพบุรี เขต 1 สพป.ลพบุรี เขต 2 สพป.ลพบุรี เขต 2 สพป.ลพบุรี เขต 2 สพป.สมุทรปราการ เขต 1 สพป.สมุทรปราการ เขต 1 สพป.สมุทรปราการ เขต 2 สพป.สมุทรสาคร

พริกแกงคู่บ้าน ดอกไม้สิ่งประดิษฐ์จากเกล็ดปลา ข้าวผัดธัญพืช-แคนตาลูปน�้ำกะทิ อาหารสุขภาพ ผ้ามัดหมี่ทอมือ กะลาน่าใช้จากโปรแกรม GSP ล�ำแพนกวนสามรส น�้ำพริกปลาสลิด กุ้งเหยียด เค้ก คุกกี้ โมจิปลาสลิด สลัดเนื้อเทียม น�้ำพริกตะไคร้กุ้งสด

สพป.สมุทรสงคราม สพป.สระแก้ว เขต 2 สพป.สระบุรี เขต 1

มะพร้าวน�้ำตาลสด ข้าวเม่าน�้ำนม คริสตัล สบู่ประดิษฐ์


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 131

ที่ 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89

โรงเรียน

สังกัด บ้านท่าพลู สพป.สระบุรี เขต 2 วัดสว่างอารมณ์ สพป.สระบุรี เขต 2 บ้านบางส�ำราญ สพป.สิงห์บุรี ชุมชนวัดกลางท่าข้าม สพป.สิงห์บุรี วัดบางบอน สพป.สุพรรณบุรี เขต 2 วัดเขาพระ สพป.สุพรรณบุรี เขต 2 วัดท่าไชย (ประชานุกูล) สพป.สุพรรณบุรี เขต 2 วัดหนองยาง สพป.อ่างทอง วัดตาลเจ็ดช่อ สพป.อ่างทอง วัดอินทาราม สพม.1 (กทม.) วัดสังเวช สพม.1 (กทม.) ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) สพม.1 (กทม.) ในพระราชูปถัมภ์ วัดพุทธบูชา สพม.1 (กทม.) บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 สพม.2 (กทม.) รัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง สพม.2 (กทม.) หอวัง สพม.2 (กทม.) บางบัวทอง สพม.3 (นนทบุรี) เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สพม.3 (นนทบุรี) นนทบุรี เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สพม.3 (นนทบุรี) นนทบุรี ปากเกร็ด สพม.3 (นนทบุรี) นวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี สพม.3 (นนทบุรี) จอมสุรางค์อุปถัมภ์ สพม.3 (พระนครศรีอยุธยา) บางบาล สพม.3 (พระนครศรีอยุธยา)

ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โคนม กระเป๋าหนังแท้ ผลิตภัณฑ์หมูยอกล้วย น�้ำพริกปลาช่อนแม่ลา ผ้าบาติกชุมชนวัดกลางท่าข้าม ข้าวผัดน�้ำพริกกะปิ ลูกชิ้นปลา เครื่องประดับลูกปัด ครัววัดท่าไชย งานสานจากเส้นพลาสติกผ้าทอมือ ขนมถ้วย ถั่วแปบเบญจรงค์ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ของจิ๋ว เซรามิค บาติกพุทธบูชา ซูชิแบบไทย เครื่องดื่มสมุนไพร ผ้าบาติก โอ่งผ้าไหม ปั้นดินสู่ดาว งานศิลปะ ข้าวหมูตุ๋น ประณีตศิลป์ดินไทย ผลิตภัณฑ์จอมสุรางค์ ผลิตภัณฑ์จากใบลาน


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

132 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ โรงเรียน 90 เทพศิรินทร์คลองสิบสาม ปทุมธานี 91 เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล�ำลูกกา 92 ธรรมศาสตร์คลองหลวงวิทยาคม 93 สวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี 94 โคกกะเทียมวิทยาลัย 95 เบญจมราชรังสฤษฏิ์ 2 96 บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุทรปราการ 97 วังหลังวิทยาคม 98 วังน�้ำเย็นวิทยาคม 99 ชิตใจชื่น 100 วัดสันติการามวิทยา 101 ท่ามะขามวิทยา 102 หนองขาวโกวิทพิทยาคม 103 ศรีวิชัยวิทยา 104 ทุ่งคลีโคกช้างวิทยา 105 โยธินบูรณะ เพชรบุรี 106 ดอนยางวิทยา 107 ชะอ�ำคุณหญิงเนื่องบุรี 108 หัวหิน 109 ยางชุมวิทยา 110 วัดธรรมจริยาภิรมย์ 111 กระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ"

สังกัด สพม.4 (ปทุมธานี)

ผลิตภัณฑ์ ขนมจีบไส้ปลานิล

สพม.4 (ปทุมธานี)

อาหารว่างเพื่อสุขภาพ

สพม.4 (ปทุมธานี) สพม.4 (สระบุรี) สพม.5 (ลพบุรี) สพม.6 (ฉะเชิงเทรา) สพม.6 (สมุทรปราการ)

ของช�ำร่วย ร้านกาแฟสวนกุหลาบ ปลาส้มฟักสมุนไพร ข้าวมันเป็ด ผัดไท กาแฟโบราณ ผลิตภัณฑ์บดินทร์เดชาฯ สมุทรปราการ จักสานไม้ไผ่ ดอกไม้ดินไทย เมนูเห็ดสุขภาพ เทียนแฟนซี น�ำ้ ฝรัง่ ตราสันติเฟรช ตุ๊กตา งานเพ้นท์ ผ้าขะม้า การ์ตูนลายไทยสามมิติ ก๋วยจั๊บสอดไส้สมุนไพร ผลิตภัณฑ์ไม้ตาล ศิราภรณ์ดอนยาง ผลิตภัณฑ์ลูกคุณหญิงเนื่อง ผ้าหางอวน/เครื่องบินของเล่น บานาน่าพาเพลิน สับปะรดกวนชวนชิม กระเป๋าผ้าลดโลกร้อน ขนมแปรรูปจากมะพร้าว

สพม.7 (สระแก้ว) สพม.7 (สระแก้ว) สพม.7 (ปราจีนบุรี) สพม.8 (ราชบุรี) สพม.8 (ราชบุรี) สพม.8 (กาญจนบุรี) สพม.9 (นครปฐม) สพม.9 (สุพรรณบุรี) สพม.10 (เพชรบุรี) สพม.10 (เพชรบุรี) สพม.10 (เพชรบุรี) สพม.10 (ประจวบคีรีขันธ์) สพม.10 (ประจวบคีรีขันธ์) สพม.10 (สมุทรสาคร) สพม.10 (สมุทรสาคร)


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 133

ที่ 112 113 114 115 116 117 118 119 120 121 1 2 3 4 5

โรงเรียน อ้อมน้อยโสภณชนูปถัมภ์ เกาะโพธิ์ถ้วยงามวิทยา บ้านบึง "อุตสาหกรรมนุเคราะห์" พนัสพิทยาคาร บางละมุง ชลราษฎรอ�ำรุง อุทกวิทยาคม นิคมวิทยา ศึกษาสงเคราะห์พนมทวน โสตศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี

6 7 8

บ้านรวมมิตร บ้านดอยช้าง ห้วยน�้ำขุ่นวิทยา อนุบาลแม่ฟ้าหลวง กลุ่มโรงเรียนในพื้นที่โครงการ พัฒนาดอยตุงฯ บ้านห้วยไร่สามัคคี-บ้านผาฮี้ เจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 5 บ้านเมืองกาญจน์

9 10 11 12

บ้านร่มโพธิ์ไทย บ้านราษฎร์ภักดี บ้านปางน�้ำถุ บ้านหนองไคร้

สังกัด สพม.10 (สมุทรสาคร) สพม.18 (ชลบุรี) สพม.18 (ชลบุรี) สพม.18 (ชลบุรี) สพม.18 (ชลบุรี) สพม.18 (ชลบุรี) สพม.18 (ชลบุรี) สพม.18 (ระยอง) ส�ำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ส�ำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคเหนือ สพป.เชียงราย เขต 1 สพป.เชียงราย เขต 2 สพป.เชียงราย เขต 2 สพป.เชียงราย เขต 3 สพป.เชียงราย เขต 3 สพป.เชียงราย เขต 3 สพป.เชียงราย เขต 3 สพป.เชียงราย เขต 4 สพป.เชียงราย เขต 4 สพป.เชียงราย เขต 4 สพป.เชียงใหม่ เขต 1 สพป.เชียงใหม่ เขต 2

ผลิตภัณฑ์ นวดแผนไทย จักสานไม้ไผ่ ขนมจีนบ้านบึง งานศิลป์พนัสพิทยาคาร เฟื่องฟ้าแกลลอรี่ ครัวชลราษฎรอ�ำรุง หมี่แดง-แกงร้อน ซาลาเปาไส้สับปะรด ขนมจ่ามงกุฎ เครื่องประดับนิลและเงิน นิลเจียระไน ผลิตภัณฑ์ท�ำมือชาวไทยภูเขา ผ้าปักดอยช้าง กาแฟเด็กดอยช้าง ซอสจากผักผลไม้ ภาพวาดด้วยนิ้วมือ งานหัตถกรรมดอยตุง ร้านกาแฟดอยตุง นวดแผนไทย ผลิตภัณฑ์จากสาหร่าย (ไก)/ เส้นสายลายศิลป์ ของที่ระลึกพื้นบ้าน ผ้าปักวิถีชีวิตชนเผ่า อาหารแปรรูปแก้วมังกร ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

134 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22

สังกัด สพป.เชียงใหม่ เขต 4 สพป.เชียงใหม่ เขต 4 สพป.เชียงใหม่ เขต 5 สพป.เชียงใหม่ เขต 6 สพป.ตาก เขต 1 สพป.ตาก เขต 2 สพป.นครสวรรค์ เขต 1 สพป.พิจิตร เขต 1 สพป.พิจิตร เขต 1 สพป.พิจิตร เขต 2

ผลิตภัณฑ์ ไม้แกะสลักอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญา บัตรอวยพรหนึ่งเดียวในโลก สร้างสรรค์งานศิลป์ถิ่นวัฒนธรรม ข้าวเม่าเพื่อสุขภาพ งานประดิษฐ์บ้านเกาะลาน ย�ำยวมรสเด็ด แปรรูปอาหารมะนาวดอง ข้าวกล้องหอมมะลิห่อใบบัว ขนมอร่อยวัดดงกลาง ผักผลไม้แช่อิ่ม

สพป.พิษณุโลก เขต 1 สพป.พิษณุโลก เขต 2

ไข่หมกเกลือ น�้ำสมุนไพร ขนมพื้นบ้านเขาสมอ

25 26

โรงเรียน ชุมชนกิ่วแลหลวงประสิทธิ์วิทยา บ้านหัวข่วง บ้านยางเปา บ้านแม่แฮเหนือ บ้านเกาะลาน ท่านผู้หญิงพรสม กุณฑลจินดา สามแยกเจ้าพระยา บ้านดงเสือเหลือง วัดดงกลาง ชุมชนบ้านทุ่งน้อย "โสภณวิทยาคาร" วัดแตน บ้านเขาสมอแคลงริ้วศิริวัฒน์ อุปถัมภ์ บ้านห้วยผักไล บ้านหลักด่าน

สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2

27 28 29 30 31 32 33 34 35 36

บ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บ�ำรุง) บ้านทุ่งโฮ้ง (อภิวังวิทยาลัย) บ้านแป้น (รัฐราษฎร์วิทยา) ชุมชนบ้านผาบ่อง บ้านวนาหลวง บ้านจอมแจ้งมิตรภาพที่ 193 บ้านเหล่า ต้นธงวิทยา บ้านหนองเงือก เชิงคีรี (สุวิชานวรวุฒิ)

สพป.แพร่ เขต 1 สพป.แพร่ เขต 1 สพป.แพร่ เขต 2 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 สพป.ล�ำปาง เขต 2 สพป.ล�ำปาง เขต 2 สพป.ล�ำพูน เขต 1 สพป.สุโขทัย เขต 1

มะรุมเพื่อสุขภาพ น�้ำพริกพอเพียง มะขามพื้นบ้านแช่อิ่ม/แห้ง งานฝีมือบ้านวังฟ่อน ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อฮ่อม ขนมเส้นน�้ำใสเมืองแพร่ ศิลปะไทยใหญ่ ผ้าทอกะเหรี่ยง-มูเซอ พุทราเลิศรสเพื่อสุขภาพ แปรรูปผลไม้บ้านเหล่า โคมไฟกะลามะพร้าว เครื่องตกแต่งบ้าน ขนมอาลัวจากแป้งปรง

23 24


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 135

ที่ 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60

โรงเรียน บ้านวังเกษตร บ้านน�้ำพุ (บ้านไร่) บ้านใหม่คลองอังวะ แม่ออนวิทยาลัย อมก๋อยวิทยาคม แม่ริมวิทยาคม แจ้ห่มวิทยา แม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ พะเยาประสาธน์วิทย์ สตรีศรีน่าน ร้องกวางอนุสรณ์ คีรีมาศพิทยาคม นาโบสถ์พิทยาคม วังทองพิทยาคม ลับแลพิทยาคม บึงสามพันวิทยาคม สระหลวงพิทยาคม ราษฎร์ปรีชาวิทยาคม กาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี พุทธมงคลวิทยา บ้านไร่วิทยา บ้านแก่งชัชวลิตวิทยา ศึกษาสงเคราะห์ตาก ศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่

61 ศึกษาสงเคราะห์แม่จัน

สังกัด สพป.อุทัยธานี เขต 1 สพป.อุทัยธานี เขต 2 สพป.อุทัยธานี เขต 2 สพม.34 (เชียงใหม่) สพม.34 (เชียงใหม่) สพม.34 (เชียงใหม่) สพม.35 (ล�ำปาง) สพม.36 (เชียงราย) สพม.36 (พะเยา) สพม.37 (น่าน) สพม.37 (แพร่) สพม.38 (สุโขทัย) สพม.38 (ตาก) สพม.39 (พิษณุโลก) สพม.39 (อุตรดิตถ์) สพม.40 (เพชรบูรณ์) สพม.41 (พิจิตร) สพม.41 (ก�ำแพงเพชร) สพม.42 (อุทัยธานี) สพม.42 (อุทัยธานี) สพม.42 (อุทัยธานี) สพม.42 (นครสวรรค์) ส�ำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ส�ำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ผลิตภัณฑ์ ครัวบ้านวังเกษตร ผลิตภัณฑ์กล้วย/สับปะรด เชอ เช๊ ซาหว่าย บายศรีจ�ำลอง กาแฟอมก๋อย ศิลปะบนพื้นไม้ เสน่ห์ไม้ล�ำปาง โคมตุงล้านนา ขนมจีนน�้ำเงี้ยว สมุนไพรมะไฟจีน หัตถกรรมฝุ่นไม้ รูปสัตว์ทรายสีทอง ครัวนาโบสถ์ มอลต์ข้าวไทย ข้าวพันผักเมืองลับแล ชาสมุนไพรปรับสมดุลย์ ตุ๊กตาสาวน้อยอารมณ์ดี กระยาสารทกล้วยไข่ กระจกดีกรอบรูปสวย

ไอศครีมสมุนไพร ขนมจีนส้มต�ำบ้านไร่ เครื่องปั้นดินเผาบ้านแก่งชัชวลิต เห็ดนางฟ้าสมุนไพร ผ้าทอกะเหรี่ยง ผลิตภัณฑ์ฝีมือศึกษาสงเคราะห์ เชียงใหม่ ส�ำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ เครื่องเงินชาวเขา


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

136 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24

โรงเรียน บ้านคลองยาง วัดควนวิไล วัดหนองสมาน ห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) บ้านส�ำนักใหม่ วัดมะม่วงตลอด ราชประชานุเคราะห์ 6 บ้านคอลอกาเว พัฒนศึกษา บ้านลานช้าง บ้านระหว่างควน บ้านทุ่งนารี บ้านคลองน�้ำใส ทับหลีสุริยวงศ์ บ้านภูเขาทอง วัดแหลมพ้อ บ้านน�้ำกระจาย วัดไทรใหญ่ บ้านตลิ่งชัน นิคมสร้างตนเอง วัดกงตาก บ้านเกาะมุกด์ บ้านนาสาร เกาะสมุย

สังกัด ภาคใต้ สพป.กระบี่ สพป.ตรัง เขต 1 สพป.ตรัง เขต 1 สพป.ตรัง เขต 2 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 สพป.นราธิวาส เขต 1 สพป.ปัตตานี เขต 1 สพป.ปัตตานี เขต 3 สพป.พัทลุง เขต 1 สพป.พัทลุง เขต 2 สพป.ยะลา เขต 2 สพป.ระนอง สพป.ระนอง สพป.สงขลา เขต 1 สพป.สงขลา เขต 1 สพป.สงขลา เขต 2 สพป.สงขลา เขต 3 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 2 สพม.11 (สุราษฎร์ธานี) สพม.11 (สุราษฎร์ธานี)

ผลิตภัณฑ์ ข้าวย�ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ทอดมันปักษ์ใต้ ขนมบ้า ขนมเทียน ผัดหมี่ทรงเครื่อง งานเพ้นท์บนใบบาง ผ้ามัดย้อม ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย เครื่องประดับราชประชานุเคราะห์ 6 โรตี-ชาชัก น�้ำบูดูข้าวย�ำปรุงส�ำเร็จรูป ฝาชีรียูส ลูกโพน กลองพรก หัวโนห์รา ไก่แจ้ซารามอ ซาลาเปาทับหลี ลูกปัดทดแทน ย�ำสาหร่ายทะเล สงขลาจักสาน ข้าวมันไก่หาดใหญ่ อาหารแห้งปักษ์ใต้ อาหารพื้นเมือง อาหารพื้นเมือง โรตี-ชาชัก เก้าอี้ผ้าใบ หมูโค หมูห้อง กาละแม


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 137

ที่ โรงเรียน 25 ไชยาวิทยา 26 กาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี 27 ทุ่งคาพิทยาคาร 28 พนางตุง 29 หารเทารังสีประชาสรรค์ 30 เมืองนครศรีธรรมราช 31 เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช 32 กัลยาณีศรีธรรมราช 33 นาบอน 34 พัทลุง 35 คลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ 36 คลองยางประชานุสรณ์ 37 สามัคคีศึกษา

สังกัด สพม.11 (สุราษฎร์ธานี) สพม.11 (สุราษฎร์ธานี)

ผลิตภัณฑ์ แกงไตปลา ไข่เค็ม หมี่ไชยา ไข่เค็มไชยา

สพม.11 (ชุมพร) สพม.12 (พัทลุง) สพม.12 (พัทลุง) สพม.12 (นครศรีธรรมราช) สพม.12 (นครศรีธรรมราช)

ผลิตภัณฑ์น�้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ จักสานกระจูด ร้านหารเทารังสีประชาสรรค์ สร้อยลูกปัด คริสตัล ผ้าบาติกเฉลิมพระเกียรติ

สพม.12 (นครศรีธรรมราช) สพม.12 (นครศรีธรรมราช) สพม.12 (พัทลุง) สพม.13 (กระบี่) สพม.13 (กระบี่) สพม.13 (ตรัง)

38 39 40 41

สพม.14 (พังงา) สพม.16 (สงขลา) สพม.16 (สงขลา) สพม.16 (สตูล)

ข้าวย�ำสมุนไพร นาบอนบาติก ซูชิ ข้าวมอด ข้าวสังข์หยด ผ้าบาติกคลองท่อม เตยปาหนัน ดอกไม้ใบกระพ้อ หัวสัตว์กระดาษรีไซเคิล อาหารแปรรูปเกษตรท้องถิ่น ไอติมหมุนวุ้นสวรรค์ บาติกไหมฮิญาบ โรตี-ชาชัก

ทับปุดวิทยา จะนะชนูปถัมภ์ เทพา พิมานพิทยาสรรค์


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

138 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21

โรงเรียน ทุ่งศรีเมืองประชาวิทย์ ชุมชนหนองสอวิทยาคาร โคกค�ำวิทยา สมสะอาดพิทยาสรรพ์ ชุนชนโพนพิทยาคม บ้านงิ้ว บ้านโสกแต้ บ้านโนนโก ชุมชนหนองเรือ หนองเมยสามัคคี บ้านดอนละนาม บ้านจอหอ เสนานุเคราะห์ บ้านด่านเกวียน ไตรรัตน์วิทยาคาร บ้านคลองเสือ บ้านหนองมะค่า (ทองศรีสงเคราะห์) ดอนน�้ำใสวิทยา วันครู 2502 โคกขามโนนสมบูรณ์ บ้านข่อย

22 อนุบาลกันทรวิชัย 23 บ้านเม็กด�ำ

สังกัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 สพป.ขอนแก่น เขต 1 สพป.ขอนแก่น เขต 1 สพป.ขอนแก่น เขต 5 สพป.ขอนแก่น เขต 5 สพป.ชัยภูมิ เขต 2 สพป.ชัยภูมิ เขต 3 สพป.นครราชสีมา เขต 1 สพป.นครราชสีมา เขต 1 สพป.นครราชสีมา เขต 2 สพป.นครราชสีมา เขต 4 สพป.นครราชสีมา เขต 4 สพป.นครราชสีมา เขต 4 สพป.นครราชสีมา เขต 5 สพป.นครราชสีมา เขต 6 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 สพป.มหาสารคาม เขต 1 สพป.มหาสารคาม เขต 2

ผลิตภัณฑ์ ก๋วยเตี๋ยวปลา ราดหน้าปลา อาหารอีสานพื้นบ้าน กล้วยหอมทองไต้หวัน ขนมถั่วตัดน�้ำอ้อยสด ผ้าไหมแพรวา ศิลปะถมด�ำปิดทองค�ำเปลวบนกระจก ศิลปะบ้านโสกแต้ ครัวบ้านโนนโก แปรรูปเห็ดชุมชนหนองเรือ ตะกร้าอเนกประสงค์ อาหารบ้านดอนละนาม มหัศจรรย์ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก สุดยอดเมนูไข่เค็ม งานปั้นดินบ้านด่านเกวียน นมข้าวโพดเพื่อสุขภาพ ผัดหมี่ ส้มต�ำโคราช จิตรกรน้อยบ้านหนองมะค่า โดนัท คุกกี้สมุนไพร พริกเห็ดเผ็ดแซบ ร้านวันครู 2502 กบ แคป เต้าหู้นมสดโคกขาม สืบสานต�ำนานชีวิตสองลุ่มน�้ำ ล�ำสะแทด บ้านขนมไทยโบราณ ผลิตภัณฑ์บ้านเม็กด�ำ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 139

ที่ โรงเรียน สังกัด 24 บ้านแพงหนองเหนือ สพป.มหาสารคาม เขต 3 25 บ้านหนองสองห้องทรัพย์เจริญ สพป.ยโสธร เขต 2 26 บ้านเปลือย (คุรสุ รรค์วทิ ยา) สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2

ผลิตภัณฑ์ แปรรูปเห็ด ข้าวเหนียวแก้วไส้ปลา เสื่อลายขิด ธัญพืชน�้ำมะพร้าวอ่อน ข้าวกล้องผัดกุ้งน�้ำพริกเผา โคมไฟประดิษฐ์จากตอไม้ ไก่ย่างกันทรารมย์ สืบสานงานศิลป์ผลิตภัณฑ์เทียน

27 บ้านหนามแท่ง 28 อนุบาลกันทรารมย์ 29 บ้านหนองแวง (โสวรรณีวิทยาคม) 30 บ้านหนองโนวิทยา 31 บ้านอ้อมแก้ว 32 บ้านกระเดาอุ่มแสง 33 ศิริราษฎร์วิทยาคาร 34 โพนงามโคกวิทยาคาร

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 สพป.ศรีสะเกษ เขต 1

35 36 37 38 39

สพป.สกลนคร เขต 2 สพป.สกลนคร เขต 3 สพป.สกลนคร เขต 3 สพป.สุรินทร์ เขต 2 สพป.สุรินทร์ เขต 2

สานกระเป๋าพลาสติก รากไม้ประดิษฐ์ นวัตกรรมข้าว อาหารปลอดภัย ตุ๊กตามดจ๋า...อารมณ์ดี ผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพร เครื่องดื่มสมุนไพร ไก่ย่างพังโคน/ภาพวาดระบายสี เปลผ้า ผ้าย้อมคราม พลายทองค�ำ-ทองแท่ง ไข่เค็มไอโอดีนทุ่งกุลา

สพป.สุรินทร์ เขต 3 สพป.หนองคาย เขต 3 สพป.หนองคาย เขต 3 สพป.หนองบัวล�ำภู เขต 1 สพป.หนองบัวล�ำภู เขต 2 สพป.อ�ำนาจเจริญ

ภาพวาดงานศิลปะ เสื่อกก ร้านแหนมเนือง มะเขือยักษ์ ผ้าเย็บ-ทอมือ ข้าวฮางงอก น�้ำข้าวฮางงอก/ภาพวาด การนวดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ

40 41 42 43 44 45

บ้านพังโคน (จ�ำปาสามัคคีวิทยา) บ้านหนองบัวสิม บ้านอากาศ อนุบาลชุมพลบุรี บ้านชุมพลบุรี (ชุมพลราษฎร์บ�ำรุง) บ้านระมาดค้อ โสกก่ามนาตาไก้ บ้านหนองแก่งทราย โคกม่วงทองวิทยา บ้านเก่ากลอยกุดกระสู้ มิ่งมงคล

สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 สพป.ศรีสะเกษ เขต 2 สพป.ศรีสะเกษ เขต 2 สพป.สกลนคร เขต 1 สพป.สกลนคร เขต 1


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

140 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ 46 47 48 49 50 51 52

โรงเรียน บ้านนาค�ำหลวง บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านค�ำอ้อ บ้านหนองลาด บ้านเชียงเพ็ง บ้านหนองไหล (พุธเพิ่มวัฒนราษฏร์) บ้านดงบาก

สังกัด สพป.อุดรธานี เขต 1 สพป.อุดรธานี เขต 2 สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.อุดรธานี เขต 4 สพป.อุบลราชธานี เขต 1 สพป.อุบลราชธานี เขต 3

53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68

บ้านโพธิ์ศรี บ้านสมสะอาด ชุมชนบ้านปลาขาว ศรีสองรักษ์วิทยา หนองหานวิทยา บ้านผือพิทยาสรรค์ บ้านเชียงวิทยา เซกา ราชประชานุเคราะห์ ๒๗ หนองสูงสามัคคีวิทยา ดอนตาลวิทยา นาหว้าพิทยาคม นาแกสามัคคีวิทยา กุดฉิมวิทยาคม ค�ำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ มัญจาศึกษา

สพป.อุบลราชธานี เขต 3 สพป.อุบลราชธานี เขต 5 สพป.อุบลราชธานี เขต 5 สพม.19 (เลย) สพม.20 (อุดรธานี) สพม.20 (อุดรธานี) สพม.20 (อุดรธานี) สพม.21 (หนองคาย) สพม.21 (หนองคาย) สพม.22 (มุกดาหาร) สพม.22 (มุกดาหาร) สพม.22 (นครพนม) สพม.22 (นครพนม) สพม.22 (นครพนม) สพม.23 (สกลนคร) สพม.25 (ขอนแก่น)

ผลิตภัณฑ์ แจ่วบองเลิศรส ไส้กรอก ข้าวแต๋นน�้ำแตงโม การปั้นหม้อเขียนลาย มุกประดับ ทอเสื่อกกประยุกต์ น�้ำสควอช พายเสาวรส ดอกไม้ประดิษฐ์พัฒนาชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง ร้านบ้านโพธิ์ศรี ปลากรอบสมุนไพร หมูสามรส งานสืบสานจิตรกรรมไทย หน้ากากผีตาโขน แจ่ว ข้าวเหนียว หมูทอด ไหมขัดฟันจากไหมแท้ๆ กระจกสลักลาย สมุนไพรสิรนธรวัลลี หมวกยางพารา ผ้าหมักโคลน ศิลปะเชิงสร้างสรรค์ พิณ แคน โหวด ผ้าลายขิด ผ้าพันคอสุดเก๋ น�้ำพริกเภสัช ดอกไม้งามมัญจาศึกษา


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 141

ที่ 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82

โรงเรียน มัธยมตลาดใหญ่วิทยา วาปีปทุม สารคามพิทยาคม บรบือ หนองพอกวิทยาลัย ปทุมพิทยาคม ม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา กุดตุ้มวิทยา นิคมพิมายศึกษา สุรธรรมพิทักษ์ เสิงสาง ปากช่อง รัตนบุรี ราชประชานุเคราะห์ 29

สังกัด สพม.25 (ขอนแก่น) สพม.26 (มหาสารคาม) สพม.26 (มหาสารคาม) สพม.26 (มหาสารคาม) สพม.27 (ร้อยเอ็ด) สพม.29 (อุบลราชธานี) สพม.29 (อุบลราชธานี) สพม.30 (ชัยภูมิ) สพม.31 (นครราชสีมา) สพม.31 (นครราชสีมา) สพม.31 (นครราชสีมา) สพม.31 (นครราชสีมา) สพม.33 (สุรินทร์) ส�ำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

ผลิตภัณฑ์ จักสานไม้ไผ่ ไส้กรอกอิสาน ขนมเทียนแก้ว จิตรกรรมไทยประยุกต์ ภาพจากวัสดุธรรมชาติ แกงอ่อมหวาย-ไข่มดแดง ข้าวเหนียว ครัวปทุมพิทยาคม ผ้ากาบบัว ตะกร้าเชือกป่าน สานเครื่องปั้นดินเผาผักตบชวา ขนมจีนประโดก ผัดหมี่โคราช จิตรกรรมเสิงสาง ปากช่อง-เขาใหญ่ อาร์ทติส เบเกอรี่รัตนบุรี มาคราเม่


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

142 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

รายชื่อโรงเรียนที่ ได้รับการคัดเลือกผลงานจ�ำหน่ายและสาธิต ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2554 “สุดยอดเด็กไทย ก้าวล�้ำ สู่ผู้น�ำอาเซียน” วันที่ 25-27 มกราคม 2555 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ที่

โรงเรียน

1 2

วัดเจ้ามูล บ้านรางกระต่าย "พิริยะประชาวิทยาคาร" อนุบาลพนมทวน (วัดรางหวาย) อนุบาลห้วยกระเจา บ้านห้วยมาลัย บ้านหนองแกประชาสรรค์ วัดทองทั่ว วัดวันยาวล่าง ปะตงวิทยา

3 4 5 6 7 8 9

สังกัด ภาคกลาง/ตะวันออก สพป.กรุงเทพมหานคร สพป.กาญจนบุรี เขต 2 สพป.กาญจนบุรี เขต 2 สพป.กาญจนบุรี เขต 2 สพป.กาญจนบุรี เขต 3 สพป.กาญจนบุรี เขต 4 สพป.จันทบุรี เขต 1 สพป.จันทบุรี เขต 2 สพป.จันทบุรี เขต 2

10 วัดดงยาง (ดงยางราษฎร์บำ� รุง) 11 วัดท่าเกวียน (สัยอุทิศ) 12 วอนนภาศัพท์

สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 สพป.ชลบุรี เขต 1

13 14 15 16 17 18 19

สพป.ชลบุรี เขต 1 สพป.ชลบุรี เขต 2 สพป.ชลบุรี เขต 3 สพป.ชัยนาท สพป.ตราด สพป.ตราด สพป.ตราด

บ้านหนองซ�้ำซาก อนุบาลบ่อทอง บ้านทุ่งกราด ชุมชนวัดวังเคียน อนุบาลเกาะช้าง บ้านโขดทราย วัดหนองเสม็ด (อรรถพรสงเคราะห์)

ผลิตภัณฑ์ เจ้ามูลหัตถกรรม ผลผลิตการเกษตร งานบาติกอนุบาลพนมทวน ขนมครกแสนอร่อย ศิลปะเพื่อการสร้างสรรค์ โยเกิรต์ ไบโอติก เส้นจันท์ SEA FOOD ครัววัดวันยาวล่าง ข้าวเกรียบสมุนไพร น�้ำสมุนไพร ชาจากดอกชมจันทร์ กะหรี่ปั๊บงาด�ำ หัวผักกาด 3 รส ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ข้าวอบ 7 สกุลสมุนไพร ซาลาเปา เมี่ยงก๋วยเตี๋ยว (ของดีบ้านบึง) เครื่องประดับเงิน งานศิลป์สมัยใหม่ นกประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์กะลาหลากหลาย ข้าวคลุกพริกเกลือซีฟู้ด ขนมจีนลุยสวน กล้วย/เผือก/มันแก้ว


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 143

ที่ 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42

โรงเรียน วัดเกาะกระชาย วัดประสิทธิเวช บ้านคลอง 3 ดรุณศึกษา วัดท่าด่าน บ้านดงเกตุ วัดดอนหวาย (นครรัฐประสาท) วัดเชิงเลน (นครใจราษฎร์) ชุมชนวัดไทรม้า ไทยรัฐวิทยา 95 (วัดโพธิ์ทองบน) วัดไทรใหญ่ (นนททิวากรราษฎร์บ�ำรุง) วัดปรมัยยิกาวาส (แสนสวัสดิ์วิทยาคาร) เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาฯ ชลประทานสงเคราะห์ สี่แยกบางเตย แย้มสอาดรังสิต วัดศรีสโมสร

สังกัด สพป.นครนายก สพป.นครนายก สพป.นครนายก สพป.นครนายก สพป.นครปฐม เขต 2 สพป.นครปฐม เขต 2 สพป.นครปฐม เขต 2 สพป.นนทบุรี เขต 1 สพป.นนทบุรี เขต 2 สพป.นนทบุรี เขต 2

เกี้ยวกวง บ้านดงกระทงยาม บ้านทับลาน วัดผึ่งแดด (บุญสืบวิชชนูปถัมภ์) บ้านคลองตะเคียน อิสลามศรีอยุธยามูลนิธิ วัดทางกลาง (ประชาสามัคคีอุปถัมภ์)

สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 สพป.ปราจีนบุรี เขต 1 สพป.ปราจีนบุรี เขต 2 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

สพป.นนทบุรี เขต 2 สพป.นนทบุรี เขต 2 สพป.นนทบุรี เขต 2 สพป.ปทุมธานี เขต 1 สพป.ปทุมธานี เขต 2 สพป.ปทุมธานี เขต 2

ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากกระชาย ขนมไทย ไข่เค็ม มะกอกน�้ำดอง มะดันแก้ว หัตถกรรมจากไม้ไผ่ ผ้าสวย-ไม้งาม หมอนหอมระเหย ผ้ามัดย้อม ข้าวหมูแดง ข้าวผัดสมุนไพร ครัวไทยรัฐวิทยา 95 สร้างสรรค์งานถัก โคมไฟจักสาน ขนมวัดไทรใหญ่ ก๋วยเตี๋ยว/ทอดมันหน่อกะลา ข้าวหมกไก่ ถุงทอง กล้วยแขกทอด โยเกิร์ตผลไม้ปั่น อาหารว่างแย้มสะอาดรังสิต งานผ้าบาติก การเพ้นท์ภาพ เยื่อกระดาษ ผัดไทยเส้นหน่อไม้หวาน ถักลวดอะลูมิเนียม/นวดแผนไทย มหัศจรรย์ใบลาน ขนมทองพับสมุนไพร งานกะลาน่าใช้ เพ้นท์กระจกงามตา Unseen กระเป๋าท�ำมือ เนคไท เคคูพาจ บ้านเรือนไทยย่อส่วน กระเป๋าอเนกประสงค์


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

144 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ โรงเรียน 43 วัดส�ำมะกัน (เปี่ยมวิทยาราษฎร์บ�ำรุง) 44 วัดลาดบัวหลวง (สหมิตรศึกษา) 45 วัดลาดชะโด 46 ไทยรัฐวิทยา 2 (วัดช้างใหญ่) 47 วัดพระรูป (จันทศรีสงเคราะห์) 48 วัดโพพระใน (รุ่งรังสฤษฎ์) 49 ชุมชนวัดตะเคียนงาม 50 วัดหนองกะพ้อ 51 อนุบาลปากท่อ 52 บ้านหนองขนาก 53 วัดแจ้งเจริญ (บุญเหลือประชาสงเคราะห์) 54 วัดเขาส้ม 55 วัดบ้านไร่ 56 วัดหนองกบ (ขุนทองประชาสงเคราะห์) 57 วัดตากแดด (รอดประชานุกูล) 58 วัดหนองกลางดง 59 พลร่มอนุสรณ์ มิตรภาพที่ 50 60 บ้านวังตาอินทร์ 61 ชุมชนวัดจงโก มิตรภาพที่ 157 62 วัดด่านส�ำโรง 63 วัดปานประสิทธาราม 64 วัดพันธุวงษ์

สังกัด ผลิตภัณฑ์ สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 งานภาพพิมพ์แก้วเซรามิค/เสื้อ สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 สพป.เพชรบุรี เขต 1 สพป.เพชรบุรี เขต 1 สพป.ระยอง เขต 2 สพป.ระยอง เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 1 สพป.ราชบุรี เขต 1 สพป.ราชบุรี เขต 1

เครื่องเบญจรงค์วัดลาดบัวหลวง ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ก๋วยเตีย๋ วเรือไทยรัฐวิทยา 2/ดอกบัวงาม ข้าวเกรียบงาสมุนไพร ขนมทองม้วนน�้ำตาลโตนด ครัวชุมชนวัดตะเคียนงาม กระเป๋าไม้ไผ่ กล้วยน�้ำว้าน่าลิ้มลอง ขนมกุยช่าย น�้ำกระเจี๊ยบเข้มข้น น�้ำผึ้งบริสุทธิ์/นวดแผนไทย

สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2

ผลิตภัณฑ์มะพร้าวตราเขาส้ม ดอกไม้และสิ่งประดิษฐ์จากเกล็ดปลา ไข่ผ�ำเพื่อสุขภาพ มะกรูดแปรรูป ข้าวเหนียว ไก่ย่างบางตาล พริกแกงคู่บ้าน เมนูเด็ดเห็ด 5 อย่าง ข้าวผัดธัญพืช ปลาส้มทอด อาหารเช้า ข้าวย�ำ กะลาน่าใช้จากโปรแกรม GSP น�้ำพริกปลาสลิด กุ้งเหยียดสมุนไพร เค้ก ขนมโมจิ คุกกี้ (จากปลาสลิด) แฮมเบเกอร์ สลัดเนื้อเทียม น�้ำพริกตะไคร้กุ้งสด

สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ลพบุรี เขต 1 สพป.ลพบุรี เขต 2 สพป.ลพบุรี เขต 2 สพป.สมุทรปราการ เขต 1 สพป.สมุทรปราการ เขต 2 สพป.สมุทรสาคร


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 145

ที่ โรงเรียน 65 เมืองสมุทรสงคราม

สังกัด สพป.สมุทรสงคราม

66 เมืองไผ่ 67 บ้านปากข้าวสาร (บริษัทข้าวไทยจ�ำกัดสงเคราะห์ 2) 68 อนุบาลวังม่วง 69 วัดแหลมคาง 70 ชุมชนวัดกลางท่าข้าม 71 บ้านบางส�ำราญ 72 วัดพระธาตุ 73 วัดหนองพันเทา 74 บ้านหนองกระถิน 75 วัดหนองยาง 76 วัดตาลเจ็ดช่อ 77 วัดม่วงคัน 78 วัดสังเวช 79 วิมุตยารามพิทยากร 80 ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ 81 ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ 82 สิริรัตนาธร 83 นวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี 84 เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี 85 เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี

สพป.สระแก้ว เขต 2 สพป.สระบุรี เขต 1

ผลิตภัณฑ์ น�้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็น เมี่ยงปลาทูเสวย ข้าวเม่าน�้ำนม ถัก/ร้อยสร้อยคริสตัล

สพป.สระบุรี เขต 2 สพป.สิงห์บรุ ี สพป.สิงห์บรุ ี สพป.สิงห์บรุ ี สพป.สุพรรณบุรี เขต 1 สพป.สุพรรณบุรี เขต 2 สพป.สุพรรณบุรี เขต 3 สพป.อ่างทอง สพป.อ่างทอง สพป.อ่างทอง สพม.1 (กทม.) สพม.1 (กทม.) สพม.1 (กทม.)

ดอกไม้เกล็ดปลาแสนสวย พัดสามสหาย น�้ำพริกปลาร้า ผ้าบาติกชุมชนวัดกลางท่าข้าม ขนมปังปลา น�้ำพริกปลาช่อนแม่ลา ย�ำหัวปลี ครัววัดหนองพันเทา มังกรทองหนองกระถิน งานหัตถกรรมวัดหนองยาง ครัววัดตาลเจ็ดช่อ ขนมเกสรล�ำเจียก สังขยาฟักทอง ปั้นของจิ๋วจากดินไทย หัวโขน หมี่กรอบสมุนไพร

สพม.1 (กทม.)

เซรามิค

สพม.2 (กทม.) สพม.3 (นนทบุรี) สพม.3 (นนทบุรี)

นวดกดจุดฝ่าเท้าเพื่อสุขภาพ หัตถศิลป์ดินไทย ครัวนวมินทราชินูทิศฯ ปั้นดินสู่ดาว ครัวเตรียมอุดมศึกษา น้อมเกล้าฯ ภาพวาดสีน�้ำมัน

สพม.3 (นนทบุรี)


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

146 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ โรงเรียน 86 บางบาล 87 เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ล�ำลูกกา 88 ราชโบริกานุเคราะห์

สังกัด สพม.3 (พระนครศรีอยุธยา) สพม.4 (ปทุมธานี)

ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากใบลาน อาหารว่างเพื่อสุขภาพ

สพม.8 (ราชบุรี)

89 90 91 92 93 94 95

ท่ามะขามวิทยา กรรณสูตศึกษาลัย ทุ่งคลีโคกช้างวิทยา ศรีวิชัยวิทยา สามพรานวิทยา ดอนยางวิทยา วัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์) 96 ชะอ�ำคุณหญิงเนื่องบุรี 97 หัวหิน 98 ยางชุมวิทยา

สพม.8 (ราชบุรี) สพม.9 (สุพรรณบุรี) สพม.9 (สุพรรณบุรี) สพม.9 (นครปฐม) สพม.9 (นครปฐม) สพม.10 (เพชรบุรี) สพม.10 (เพชรบุรี)

บัวทิพย์น�้ำผลไม้ เบเกอรี่ ดอกไม้ผ้า งานเซรามิค นิตติ้ง ตุ๊กตาเย็บมือ เพ้นท์ภาพ ครัวกรรณสูตศึกษาลัย โครงลวดรูปสัตว์ การ์ตูนลายไทย 3 มิติ มาลัยช�ำร่วย มังกรกระดาษ ผอบไม้ลายทอง ศิลาภรณ์ดอนยาง ผลิตภัณฑ์ใบตาล

99 100 101 102 103 104

สพม.10 (สมุทรสาคร) สพม.18 (ชลบุรี) สพม.18 (ชลบุรี) สพม.18 (ชลบุรี) สพม.18 (ชลบุรี) สพม.18 (ชลบุรี)

กระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" เกาะโพธิ์ถ้วยงามวิทยา พนัสพิทยาคาร บางละมุง บ้านบึง "อุตสาหกรรมนุเคราะห์" ชลราษฎรอ�ำรุง

สพม.10 (เพชรบุรี) สพม.10 (ประจวบคีรีขันธ์) สพม.10 (ประจวบคีรีขันธ์)

ผลิตภัณฑ์ลูกคุณหญิงเนื่อง ผลิตภัณฑ์ผ้าหางอวน บานาน่าพาเพลิน สับปะรดกวน น�้ำพริกสามเกลอ บ๊ะจ่าง ข้าวแปดเซียนห่อใบบัว จักสานไม้ไผ่ มรดกไทยพิไลค่า เฟื่องฟ้าแกลลอรี่ ขนมจีนบ้านบึง มะละกอแปรรูป


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 147

ที่ 1 2 3 4 5 6

โรงเรียน

7 8

บ้านเพชรมงคล บ้านอุดมทรัพย์ บ้านร่องปลาขาว บ้านรวมมิตร บ้านดอยช้าง กลุม่ โรงเรียนในพืน้ ทีโ่ ครงการ พัฒนาดอยตุงฯ 8 โรงเรียน บ้านราษฎร์ภักดี บ้านเมืองกาญจน์

9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20

บ้านทุ่งนาน้อย บ้านร่มโพธิ์ไทย บ้านห้วยไร่ บ้านขอบด้ง บ้านยางเปา บ้านห้วยส้มปอย บ้านเกาะลาน ตากสินราชานุสรณ์ บ้านห้วยม่วง บ้านแม่ปะ บ้านห้วยกระโหลก อนุบาลลาดยาว

สังกัด ภาคเหนือ สพป.ก�ำแพงเพชร เขต 2 สพป.ก�ำแพงเพชร เขต 2 สพป.เชียงราย เขต 1 สพป.เชียงราย เขต 1 สพป.เชียงราย เขต 2 สพป.เชียงราย เขต 3 สพป.เชียงราย เขต 4 สพป.เชียงราย เขต 4 สพป.เชียงราย เขต 4 สพป.เชียงราย เขต 4 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 สพป.เชียงใหม่ เขต 3 สพป.เชียงใหม่ เขต 5 สพป.เชียงใหม่ เขต 6 สพป.ตาก เขต 1 สพป.ตาก เขต 1 สพป.ตาก เขต 2 สพป.ตาก เขต 2 สพป.ตาก เขต 2 สพป.นครสวรรค์ เขต 2

ผลิตภัณฑ์ ก๋วยเตี๋ยวชากังราว ผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวไทยภูเขา ผ้าเขียนลาย ผลิตภัณฑ์ท�ำมือของชาวเขา ผ้าปักเด็กดอยช้าง/กาแฟเด็กดอยช้าง กาแฟสดดอยตุง อาหารและผลิตภัณฑ์ ชนเผ่า นวดแผนโบราณของชนเผ่า ผ้าปักวิถีชีวิตชนเผ่า สาหร่ายแปรรูปจากแม่น�้ำโขง/ เส้นสายลายศิลป์ แกะสลักสบู่สู่งานอาชีพ ผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง น�้ำเต้าหู้ น�้ำเสาวรส น�้ำพริกคั่วทราย ผลิตภัณฑ์บ้านขอบด้ง สร้างสรรค์งานศิลป์ถิ่นวัฒนธรรม กาแฟบนดอย ของใช้จากเชือก/ใบลาน/ใบตาล ครัวตากสินราชานุสรณ์ ต้นไม้มงคลจากอัญมณี หอยทอดสมุนไพร ซึง สะล้อ โอ่งลายไทย


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

148 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ โรงเรียน 21 บ้านน�้ำพุร้อน 22 ภูคาวิทยาคม

สังกัด สพป.น่าน เขต 2 สพป.น่าน เขต 2

23 บ้านใหม่น�้ำเงิน 24 วัดดงกลาง

สพป.พะเยา เขต 2 สพป.พิจิตร เขต 1

25 อนุบาลอ�ำเภอบางมูลนาก (วัดห้วยเขน) 26 วัดจันทร์ตะวันออก 27 วัดบางสะพานประพันธ์ ชนานุสรณ์ 28 กัลยาณิวัฒนา 1 29 วัดหินลาด 30 วัดกระบังมังคลาราม 31 วัดเขาน้อย 32 บ้านห้วยผักไล 33 บ้านอมกง 34 บ้านเนินสง่า 35 บ้านป่าบง 36 บ้านวังฟ่อน (สิทธิราษฎร์บ�ำรุง) 37 บ้านแป้น (รัฐราษฎร์วิทยา) 38 บ้านวนาหลวง 39 บ้านแม่แลบ 40 แจ้ซ้อนวิทยา 41 เชิงคีรี (สุวิชานวรวุฒิ) 42 บ้านบึงหญ้า

สพป.พิจิตร เขต 2 สพป.พิษณุโลก เขต 1 สพป.พิษณุโลก เขต 2 สพป.พิษณุโลก เขต 3 สพป.พิษณุโลก เขต 3 สพป.พิษณุโลก เขต 3 สพป.พิษณุโลก เขต 3 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 สพป.แพร่ เขต 1 สพป.แพร่ เขต 2 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 สพป.ล�ำปาง เขต 3 สพป.สุโขทัย เขต 1 สพป.สุโขทัย เขต 1

ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่-หมอนสุขภาพ ข้าวเหนียวหมูทอด ไก่ทอดมะแกว่น น�้ำพริกมะแกว่น สานไม้ไผ่บ้านใหม่น�้ำเงิน ข้าวเกรียบปากหม้อสมุนไพร ขนมถั่วแปบเสวย น�้ำพริกเมืองชาละวัน อาหารเพื่อสุขภาพ ผ้าบาติก เห็ดมหัศจรรย์ ข้าวสมุนไพร 5 สี ขนมกล้วย/ฟักทองสอดไส้ ชุดนั่งเล่น นวดแผนไทย เตาพลังงานแรงสูง ผลิตภัณฑ์มะรุมเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์จากข้าวกล้องงอก สารพัดมะขาม ครัวบ้านป่าบง งานกะลาตกแต่ง พรมผ้าอเนกประสงค์ ขนมเส้นน�้ำใสเมืองแพร่ กระดูกหมูอ่อน ผ้าทอกะเหรี่ยง-มูเซอ ผลิตภัณฑ์จากไม้สกั ย�ำไข่น�้ำแร่ ขนมจากแป้งปรง ขนมบ้านบึงหญ้า ผลิตภัณฑ์จากผ้า ป้ายบ้านเลขที่


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 149

ที่ โรงเรียน สังกัด 43 บ้านเมืองเก่า "ศรีอินทราทิตย์" สพป.สุโขทัย เขต 1 44 ชุมชนบ้านคลองยาง สพป.สุโขทัย เขต 2 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66

บ้านห้วยยาง บ้านวังเกษตร บ้านน�้ำพุ บ้านห้วยพลู แม่ออนวิทยาลัย อมก๋อยวิทยาคม แม่แจ่ม แม่ริมวิทยาคม แม่ลาน้อยดรุณสิกข์ แจ้ห่มวิทยา แม่เจดีย์วิทยาคม สามัคคีวิทยาคม 2 วาวีวิทยาคม ดอนศิลาผางามวิทยาคม พะเยาประสาธน์วิทย์ ร้องกวางอนุสรณ์ สตรีศรีน่าน เมืองด้งวิทยา สรรพวิทยาคม อุ้มผางวิทยาคม นาโบสถ์พิทยาคม สระหลวงพิทยาคม

สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 สพป.อุทัยธานี เขต 1 สพป.อุทัยธานี เขต 2 สพป.อุทัยธานี เขต 2 สพม.34 (เชียงใหม่) สพม.34 (เชียงใหม่) สพม.34 (เชียงใหม่) สพม.34 (เชียงใหม่) สพม.34 (แม่ฮ่องสอน) สพม.35 (ล�ำปาง) สพม.36 (เชียงราย) สพม.36 (เชียงราย) สพม.36 (เชียงราย) สพม.36 (เชียงราย) สพม.36 (พะเยา) สพม.37 (แพร่) สพม.37 (น่าน) สพม.38 (สุโขทัย) สพม.38 (ตาก) สพม.38 (ตาก) สพม.38 (ตาก) สพม.41 (พิจิตร)

ผลิตภัณฑ์ เครื่องสังคโลก ไม้แกะสลัก จักสานเส้นพลาสติกชุมชน บ้านคลองยาง ข้าวหลามบ้านห้วยยาง ครัวบ้านวังเกษตร แปรรูปสับปะรดบ้านน�้ำพุ ขนมจีนน�้ำยาไก่ ลาบไก่ น�้ำพริกหมู บายศรีจ�ำลอง กาแฟของหนูหอมกรุ่นกาแฟดอย เบเกอรี่แม่แจ่ม ศิลปะบนพื้นไม้ ผ้าทอขนแกะ เครื่องเงินเผ่าละว้า เสน่ห์ไม้ ผลิตภัณฑ์ลวดลายเวียงกาหลง ไส้อั่ว น�้ำพริกสมุนไพรค�ำเดียว อร่อยกับใบชา เปเปอร์มาเช่ นกแกะสลักจากเศษไม้ ครัวพะเยาประสาธน์วิทย์ หัตถกรรมฝุ่นไม้ น�้ำสมุนไพรมะไฟจีน ก๋วยเตี๋ยวพระร่วง ดอกไม้พันปี ผ้าทอกะเหรี่ยง ขนมนาโบสถ์พิทยาคม ผลิตภัณฑ์เดคูพาจ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

150 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ โรงเรียน 67 สตรีนครสวรรค์

สังกัด สพม.42 (นครสวรรค์)

68 บ้านแก่งชัชวลิตวิทยา 69 วังหินวิทยาคม

สพม.42 (นครสวรรค์) สพม.42 (อุทัยธานี)

70 กาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี 71 พุทธมงคลวิทยา 72 บ้านไร่วิทยา 73 ทองหลางวิทยาคม 74 ศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่

สพม.42 (อุทัยธานี)

1 2 3 4

บ้านหนองจูด วัดนานอน ห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) วัดนางเอื้อย

5 6 7 8 9 10 11 12 13

บ้านตรอกแค บ้านหอยราก บ้านคอลอกาเว พัฒนศึกษา บ้านลานช้าง คุระบุรี วัดเขาทอง บ้านระหว่างควน วัดท่าดินแดง

ชมพู่แปรรูป ขนมปากหม้อ ซาหริ่มสมุนไพร ดอกไม้ใบบาง แจกันเซรามิคแบบขด/ แบบขึ้นรูปวิธีหล่อ สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 ผลิตภัณฑ์กระจูดบ้านตรอกแค สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 ขนมลา สพป.นราธิวาส เขต 1 โรตี-ชาชักบ้านคอลอกาเว สพป.ปัตตานี เขต 1 น�้ำบูดูข้าวย�ำปรุงส�ำเร็จรูป สพป.ปัตตานี เขต 3 ฝาชี/โคมไฟ Reuse สพป.พังงา น�้ำพริกผักสด ข้าวย�ำน�้ำเคย สพป.พัทลุง เขต 1 ผลิตภัณฑ์กระจูดวัดเขาทอง สพป.พัทลุง เขต 1 ลูกโพน กลองพรก สพป.พัทลุง เขต 2 ร้านขนมวัดท่าดินแดง

สพม.42 (อุทัยธานี) สพม.42 (อุทัยธานี) สพม.42 (อุทัยธานี) ส�ำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคใต้ สพป.กระบี่ สพป.ตรัง เขต 1 สพป.ตรัง เขต 2 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2

ผลิตภัณฑ์ Vegetable Bakery กล่องใส่ทิชชู่ กระเช้าแสนสวย เครื่องปั้นดินเผาแก่งชัชวลิต จักสานผักตบชวาประยุกต์ โคมไฟคลาสสิค กระจกดี กรอบรูปสวย เมนูไข่เจียว ไอศกรีม ขนมจีน-ส้มต�ำบ้านไร่ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ สับปะรดหวานฉ�่ำ บรรจุภัณฑ์แสนสวย


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 151

ที่ 14 15 16 17 18 19 20

โรงเรียน บ้านป่าหวัง บ้านคลองน�้ำใส บ้านท่าฉาง บ้านภูเขาทอง บ้านทุ่งหงาว วัดแหลมพ้อ บ้านนา

21 กลุ่มโรงเรียนสุราษฎร์ธานี (บ้านปลายแหลม, บ้านแหลมหอย, บุณฑริกการาม, วัดสว่างอารมณ์, บ้านหาดงาม, บ้านโพหวาย, วัดสมหวัง, วัดคีรีวง, นิคมสร้างตนเอง) 22 บ้านเกาะมุกด์ 23 คลองฉนวนวิทยา 24 เกาะสมุย 25 เคียนซาพิทยาคม 26 มาบอ�ำมฤต 27 ศรียาภัย 28 ทุ่งคาพิทยาคาร 29 เบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช 30 เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช 31 นาบอน

สังกัด สพป.ยะลา เขต 2 สพป.ยะลา เขต 2 สพป.ระนอง สพป.ระนอง สพป.ระนอง สพป.สงขลา เขต 1 สพป.สงขลา เขต 3 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1

สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 2 สพม.11 (สุราษฎร์ธานี) สพม.11 (สุราษฎร์ธานี) สพม.11 (สุราษฎร์ธานี) สพม.11 (ชุมพร) สพม.11 (ชุมพร) สพม.11 (ชุมพร) สพม.12 (นครศรีธรรมราช) สพม.12 (นครศรีธรรมราช) สพม.12 (นครศรีธรรมราช)

ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมบ้านป่าหวัง ไก่แจ้ซารามอ ผลิตภัณฑ์จากไม้โพธิ์ทะเล ลูกปัดทดแทน ผ้ามัดย้อมบ้านทุ่งหงาว สาหร่ายผมนาง สมุนไพรไทย ข้าวย�ำสมุนไพร ลูกตาลกรอบ ผลิตภัณฑ์และอาหารพื้นบ้าน สุราษฎร์ธานี

โรตี-ชาชัก ข้าวหมกไก่บ้านเกาะมุกด์ ขนมจีนน�้ำยา น�้ำสมุนไพรใบเตยหอม กาละแมสมุย หมูโค น�้ำพริกสามมะ น�้ำพริกไข่เค็ม หมี่ฮกเกี้ยน เซรามิค ผลิตภัณฑ์นำ�้ มันมะพร้าวบริสทุ ธิ์ งานบาติก ภาพวาด ครัวเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทร์ นครศรีธรรมราช นาบอนบาติก


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

152 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ 32 33 34 35 36 37 38 39 40 1 2 3 4

โรงเรียน ควนขนุน พัทลุง พนางตุง คลองยางประชานุสรณ์ ทับปุดวิทยา เบตง "วีระราษฎร์ประสาน" สายบุรี "แจ้งประภาคาร" พิมานพิทยาสรรค์ เทพา

สังกัด สพม.12 (พัทลุง) สพม.12 (พัทลุง) สพม.12 (พัทลุง) สพม.13 (กระบี่) สพม.14 (พังงา) สพม.15 (ยะลา) สพม.15 (ปัตตานี) สพม.16 (สตูล) สพม.16 (สงขลา) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สพป.กาฬสินธ์ุ เขต 3 สพป.ขอนแก่น เขต 1 สพป.ขอนแก่น เขต 1 สพป.ขอนแก่น เขต 1

5 6 7

สมสะอาดพิทยาสรรพ์ บ้านโสกแต้ บ้านงิ้ว บ้านแดงใหญ่ (ราษฎร์คุรุวิทยาคาร) บ้านบ่อตะครองโนนฝ้ายสามัคคี สพป.ขอนแก่น เขต 3 บ้านเหมือดแอ่ภูเม็ง สพป.ขอนแก่น เขต 5 ภูมิวิทยา สพป.ชัยภูมิ เขต 2

8 9

บ้านโนนหินลาด-กุดกว้าง บ้านแดงสว่าง

10 ชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล) 11 เสนานุเคราะห์ 12 บ้านจอหอ

ผลิตภัณฑ์ ยกล้ออเนกประสงค์ ข้าวสังข์หยดพัทลุง จักสานกระจูด เตยปาหนัน แปรรูปส้มแขก/แตงไทย ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์นมแพะ บูดูแท่ง โรตี-ชาชัก ไก่ทอดเทพาสูตรดั้งเดิม ขนมถั่วตัดท�ำด้วยน�้ำอ้อยสด ศิลปะจากวัสดุธรรมชาติ กระจกถมทองค�ำเปลว เบญจรงค์ไทย-อีสาน

สพป.ชัยภูมิ เขต 3

ผ้าทอพื้นเมือง อาหารอีสานบ้านเหมือดแอ่ภูเม็ง ข้าวหอมมะลิ น�้ำพริกมะเขือพวง ปลาดุกย่าง แปรรูปอาหารมะนาวดอง ผ้าเกล็ดเต่า ตะกร้าเชือกมัดฟาง สิ่งประดิษฐ์ จากรังไหม 19 สุดยอดน�้ำพริกสมุนไพร

สพป.นครราชสีมา เขต 1 สพป.นครราชสีมา เขต 1

ส้มต�ำ ไส้กรอกไข่เค็ม ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

สพป.ชัยภูมิ เขต 2 สพป.ชัยภูมิ เขต 2


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 153

ที่ โรงเรียน 13 ชุมชนบ้านประโดก-โคกไผ่ (สถิตย์วิริยะกุล) 14 บ้านด่านเกวียน 15 บ้านคลองเสือ 16 ไตรรัตน์วิทยาคาร 17 บ้านดอนเปล้า 18 บ้านลุงตามัน 19 บ้านหนองผักแว่น 20 บ้านโคกขามโนนสมบูรณ์ 21 วัดบ้านตาเสา 22 บ้านมะกอก 23 ชุมชนนาสีนวล 24 อนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย 25 บ้านเม็กด�ำ 26 บ�ำรุงพงศ์อุปถัมภ์ 27 บ้านดงส�ำราญ 28 เมืองสุวรรณภูมิ 29 ทุ่งกุลาประชารัฐ 30 บ้านโป่งศรีโทน 31 อนุบาลพยุห์ 32 บ้านหนามแท่ง 33 บ้านหนองกก 34 บ้านอ้อมแก้ว 35 บ้านกระเดาอุ่มแสง 36 ศิริราษฎร์วิทยาคาร 37 บ้านพังโคน (จ�ำปาสามัคคีวิทยา)

สังกัด สพป.นครราชสีมา เขต 1

ผลิตภัณฑ์ ขนมจีนน�้ำยา หมี่โคราช

สพป.นครราชสีมา เขต 2 สพป.นครราชสีมา เขต 4 สพป.นครราชสีมา เขต 4 สพป.นครราชสีมา เขต 6 สพป.นครราชสีมา เขต 7 สพป.บึงกาฬ สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 สพป.มหาสารคาม เขต 1 สพป.มหาสารคาม เขต 2 สพป.มหาสารคาม เขต 2 สพป.มหาสารคาม เขต 2 สพป.มุกดาหาร สพป.ยโสธร เขต 2 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 สพป.เลย เขต 2 สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 สพป.ศรีสะเกษ เขต 2 สพป.ศรีสะเกษ เขต 2 สพป.สกลนคร เขต 1 สพป.สกลนคร เขต 2

เครื่องปั้นดินเผาบ้านด่านเกวียน ผัดหมี่โคราช ส้มต�ำบ้านคลองเสือ นมข้าวโพด น�้ำพริกกุ้งเสียบ ผัดหมี่ ส้มต�ำโคราชบ้านลุงตามัน แหนมเห็ดเลิศรส ต�ำแซบ ย�ำ ทอด ลูกชิ้นกบ ผลิตภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อม ปลาร้าบอง กล้วยแปรรูป ข้าวหลาม ขนมนางเล็ดข้าวเหนียวด�ำ อาหารแปรรูปอนุบาลพยัคฆภูมิพิสัย ผลิตภัณฑ์ผ้าใยบัว/เบเกอรี่บ้านเม็กด�ำ ตะกร้าสานเส้นพลาสติก เสื่อลายขิดบ้านดงส�ำราญ แจ่วบองสมุนไพรชนิดผง 9 รส โคมไฟกะลามะพร้าว แปรรูปเห็ดนางฟ้า pop up สามมิติ โคมไฟประดิษฐ์ตอไม้ ผลิตภัณฑ์ตน้ กก รากไม้ประดิษฐ์ นวัตกรรมข้าวอาหารปลอดภัย ตุ๊กตามดจ๋า...อารมณ์ดี ไข่ปิ้ง ไก่ย่างพังโคน


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

154 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ โรงเรียน 38 บ้านอากาศ 39 พุทธรักษา 40 สระขุดดงส�ำราญวิทยา

สังกัด สพป.สกลนคร เขต 3 สพป.สกลนคร เขต 3 สพป.สุรินทร์ เขต 2

41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51

สพป.สุรินทร์ เขต 2 สพป.สุรินทร์ เขต 3 สพป.หนองคาย เขต 1 สพป.หนองบัวล�ำภู เขต 1 สพป.อ�ำนาจเจริญ สพป.อุดรธานี เขต 1 สพป.อุดรธานี เขต 2 สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.อุดรธานี เขต 4 สพป.อุดรธานี เขต 4 สพป.อุบลราชธานี เขต 1

ผ้าย้อมคราม นาฬิกาไฮคลาส ขนมสระขุดดงส�ำราญ ผลิตภัณฑ์ใบตาลและเสื่อกก ศิลปะกับวิถีพอเพียง จิตรกรรมไทยกระจก ผลิตภัณฑ์เหล่าฝ้ายผดุงวิทย์ ผ้าเย็บ-ทอมือ ร้อยรสมะละกอ ขนมบัวลอยมะพร้าวอ่อน เสื่อกกลายประยุกต์ ผลิตภัณฑ์ลายบ้านเชียง แปรรูปผัก-ผลไม้ในท้องถิ่น เสื่อกกบ้านเชียงเพ็ง ผลิตภัณฑ์เสาวรส

สพป.อุบลราชธานี เขต 3 สพป.อุบลราชธานี เขต 4 สพป.อุบลราชธานี เขต 5 สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 สพม.19 (เลย) สพม.20 (อุดรธานี) สพม.20 (อุดรธานี) สพม.21 (บึงกาฬ) สพม.22 (นครพนม)

งานประดิษฐ์ดินไทย ผ้าและไม้ ข้าวห่อใบบัว ขนมต้มเบญจรงค์ ภาพจิตรกรรมไทย หนังสือนิทานภาพป๊อบ หน้ากากผีตาโขน งานหัตถกรรมบ้านเชียงวิทยา แจ่วบองสมุนไพร ข้าวเหนียว หมูทอด ผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรสิรินธรวัลลี ผ้าลายขิด

52 53 54 55 56 57 58 59 60

บ้านสะเอิง บ้านคูตัน เหล่าฝ้ายผดุงวิทย์ โคกม่วงทองวิทยา บ้านกุดปลาดุก บ่อน้อยประชาสรรค์ บ้านปะโค บ้านค�ำอ้อ ยางโกนวิทย์ บ้านเชียงเพ็ง บ้านหนองไหล (พุธเพิ่มวัฒนราษฎร์) บ้านดงบาก บ้านนาแก ชุมชนบ้านปลาขาว บ้านหนองทา ศรีสองรักษ์วิทยา บ้านเชียงวิทยา หนองหานวิทยา เซกา นาแกสามัคคีวิทยา

ผลิตภัณฑ์


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 155

ที่ โรงเรียน 61 วังกระแสวิทยาคม

สังกัด สพม.22 (นครพนม)

62 โพนสวรรค์ราษฎร์พัฒนา 63 สหราษฎร์รงั สฤษดิ์

สพม.22 (นครพนม) สพม.22 (นครพนม)

64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79

สพม.22 (นครพนม) สพม.22 (มุกดาหาร) สพม.23 (สกลนคร) สพม.23 (สกลนคร) สพม.23 (สกลนคร) สพม.23 (สกลนคร) สพม.25 (ขอนแก่น) สพม.25 (ขอนแก่น) สพม.26 (มหาสารคาม) สพม.28 (ศรีสะเกษ) สพม.29 (อุบลราชธานี) สพม.29 (อ�ำนาจเจริญ) สพม.30 (ชัยภูมิ) สพม.31 (นครราชสีมา) สพม.31 (นครราชสีมา) สพม.31 (นครราชสีมา)

นาหว้าพิทยาคม หนองสูงสามัคคีวิทยา หนองแวงวิทยา ล�ำปลาหางวิทยา ธรรมบวรวิทยา กุดบากพัฒนาศึกษา ชุมแพศึกษา มัญจาศึกษา บรบือ โนนค้อวิทยาคม ม่วงสามสิบอัมพวันวิทยา นายมวิทยาคาร กุดตุ้มวิทยา พิมายด�ำรงวิทยา นิคมพิมายศึกษา เสิงสาง

ผลิตภัณฑ์ สบู่คาร์บอน น�้ำส้มควันไม้ ปุ๋ยหมัก ไมยราบยักษ์ เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ กรดธรรมชาติเพื่อยางแผ่น และยางก้อน มหัศจรรย์มัจฉาวารี พิณ แคน โหวด ผ้าหมักโคลนเมืองหนองสูง ข้าวฮางงอก แจกันหอยเชอรี่ ถักกระเป๋าเชือกร่ม เสื้อเย็บมือ ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ชุมแพศึกษา ดอกไม้งามมัญจาศึกษา ภาพปะติดจากเมล็ดพันธุ์พืช ศิลป์สร้างสรรค์ ผ้ากาบบัว โอ่งผ้าไหม ถักตะกร้าด้วยเชือกป่าน เถาวัลย์แต่งบ้าน ผักตบชวาสานเครื่องปั้นดินเผา ภาพจิตรกรรมสีน�้ำ สีฝุ่น ลายเส้น


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

156 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

รายชื่อโรงเรียนที่ ได้รับการคัดเลือกผลงานจ�ำหน่ายและสาธิต ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2555 “สุดยอดเด็กไทย มุ่งมั่น สร้างสรรค์แบบอย่างด้วยปัญญา : Supremacy with Grace and Wisdom” วันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ 2556 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ที่

สังกัด ภาคกลาง/ตะวันออก 1 วัดเจ้ามูล สพป.กรุงเทพมหานคร 2 อนุบาลพนมทวน (วัดรางหวาย) สพป.กาญจนบุรี เขต 2 3 บ้านห้วยมาลัย สพป.กาญจนบุรี เขต 3 4 วัดทองทั่ว (เอครพานิช) สพป.จันทบุรี เขต 1 5 วัดวันยาวล่าง (รัฐปัญญานุกูล) สพป.จันทบุรี เขต 2 6 วัดดงยาง สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 7 อนุบาลชลบุรี สพป.ชลบุรี เขต 1 8 บ้านหนองซ�้ำซาก สพป.ชลบุรี เขต 1 9 วอนนภาศัพท์ สพป.ชลบุรี เขต 1 10 บ้านสระสี่เหลี่ยม สพป.ชลบุรี เขต 2 11 บ้านเกาะโพธิ์ (วันครู 2500) สพป.ชลบุรี เขต 2 12 อนุบาลบ่อทอง สพป.ชลบุรี เขต 2 13 บ้านทุ่งกราด สพป.ชลบุรี เขต 3 14 15 16 17 18 19 20 21

โรงเรียน

ชุมชนวัดวังเคียน วัดเด่นใหญ่ ชุมชนวัดดักคะนน บ้านโขดทราย อนุบาลเกาะช้าง บ้านปลายคลอง 22 วัดท่าด่าน วัดสระสี่มุม

สพป.ชัยนาท สพป.ชัยนาท สพป.ชัยนาท สพป.ตราด สพป.ตราด สพป.นครนายก สพป.นครนายก สพป.นครปฐม เขต 1

ผลิตภัณฑ์ เจ้ามูลหัตถกรรม เส้นสายลายสวย ภาพสวยบ้านห้วยมาลัย เส้นจันท์คลุกพริกเกลือ ครัววัดวันยาวล่าง (อาหารพื้นเมือง) กะหรี่ปั๊บงาด�ำ ครัวอนุบาลชลบุรี ข้าวหมูแดงสูตรชลบุรี ขนมจีนกุ้งสด วุ้นราดผลไม้สด โยเกิร์ต มะนาวกระถางสร้างรายได้ ขนมนานาชาติอาเซียน เครื่องประดับเงิน งานศิลป์สมัยใหม่ กระถางประดิษฐ์ จากหอย นกน้อยน่ารัก เห็ด 3 อย่างสร้างคุณค่า ผักตบชวาน่าใช้ ครัวบ้านโขดทราย กะลาน่าใช้ มัสยาหลงเหยื่อ วุ้นแฟนซี หัตถกรรมจากไม้ไผ่ ผลิตภัณฑ์จากผ้าลายหน้าหมอน


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 157

ที่ โรงเรียน 22 วัดดอนหวาย (นครรัฐประสาท) 23 วัดเชิงเลน (นครใจราษฎร์) 24 บ้านกระทุ่มล้ม (นครราษฎร์ประสิทธิ์) 25 ชุมชนวัดไทรม้า 26 วัดไทรใหญ่ (นนทวากรราษฎร์บ�ำรุง) 27 วัดท่าเกวียน (ศึกษาประชาสรรค์) 28 ไทยรัฐวิทยา 95 (วัดโพธิท์ องบน) 29 คลองเกลือ 30 เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 31 วัดปรมัยยิกาวาส (แสนสวัสดิ์วิทยาคาร) 32 ชลประทานสงเคราะห์ 33 ประเสริฐอิสลาม 34 วัดเทียนถวาย 35 วัดบางนางบุญ 36 คลองหนึ่ง (แก้วนิมิตร) 37 บ้านหนองตะเภา 38 บ้านหนองงูเหลือม 39 บ้านดงกระทงยาม 40 บ้านทับลาน 41 จรูญกิมลี้กิจจาทรอนุสรณ์ 42 วัดหนองเครือบุญ 43 ลุมพลีชนูปถัมภ์

สังกัด สพป.นครปฐม เขต 2 สพป.นครปฐม เขต 2 สพป.นครปฐม เขต 2

ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เนเชอรัล อิ่มอร่อย ณ เชิงเลน อาหารบ้านกระทุ่มล้ม

สพป.นนทบุรี เขต 1 สพป.นนทบุรี เขต 2

ข้าวผัดสมุนไพร ครัววัดไทรใหญ่

สพป.นนทบุรี เขต 2 สพป.นนทบุรี เขต 2 สพป.นนทบุรี เขต 2 สพป.นนทบุรี เขต 2

อาหารอีสานวัดท่าเกวียน ครัวไทยรัฐวิทยา 95 หอยครก น�้ำดื่มอาเซียน ข้าวหมกไก่

สพป.นนทบุรี เขต 2

หน่อกะลารสเด็ด

สพป.นนทบุรี เขต 2 สพป.นนทบุรี เขต 2 สพป.ปทุมธานี เขต 1 สพป.ปทุมธานี เขต 1 สพป.ปทุมธานี เขต 1 สพป.ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 สพป.ปราจีนบุรี เขต 1 สพป.ปราจีนบุรี เขต 1 สพป.ปราจีนบุรี เขต 2 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1

สมุนไพรไทย ไอศกรีมกะทิสด ไข่เจียวทรงเครื่อง ไอศกรีมกล้วยหอม ย�ำเห็ดนางฟ้า ข้าวหมกไก่ ไก่จ้อพริกไทยด�ำ งานจักสานจากใบตาล เสื่อกกแปรรูป ถักลวดอะลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์ใบลาน น�้ำพริกเมืองกรุงเก่า หัวโขน สีศิลป์ กรุงเก่า


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

158 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67

โรงเรียน วัดลาดบัวหลวง (สหมิตรศึกษา) วัดลาดชะโด (ประกาศวิทยาคาร) ไทยรัฐวิทยา 2 (วัดช้างใหญ่) วัดโพพระใน (รุ่งรังสฤษฎ์) วัดกระเฉท ชุมชนวัดตะเคียนงาม อนุบาลปากท่อ วัดแจ้งเจริญ (บุญเหลือประชาสงเคราะห์) บ้านล�ำพระ วัดตากแดด (รอดประชานุกูล) วัดหนองกลางดง วัดบ้านไร่ วัดเขาส้ม วัดหนองเสือ (ประชาอุทิศ) อนุบาลบ้านโป่ง (วัดปลักแรด) วัดหนองกบ (ขุนทองประชาสงเคราะห์) พลร่มอนุสรณ์ มิตรภาพที่ 50 วัดหนองเมือง น�้ำสุดวิไลประชาสรรค์ บ้านวังตาอินทร์ ชุมชนวัดจงโก มิตรภาพที่ 157 อนุบาลวัดพิชัยสงคราม วัดปานประสิทธาราม วัดอ่างทอง (อ่างทองพิทยาคาร)

สังกัด สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 2 สพป.เพชรบุรี เขต 1 สพป.ระยอง เขต 1 สพป.ระยอง เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 1 สพป.ราชบุรี เขต 1

ผลิตภัณฑ์ เบญจรงค์สหมิตร ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ก๋วยเตี๋ยวเรือเด็กอยุธยา ทองม้วนน�้ำตาลโตนด ข้าวตูธัญพืช ข้าวแกงเมืองระยอง ครัวชุมชนวัดตะเคียนงาม ขนมไทยๆ จากแป้งกล้วย ผลิตภัณฑ์จากผึ้ง

สพป.ราชบุรี เขต 1 สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2 สพป.ราชบุรี เขต 2

เดคูพาจ สารพัดย�ำ สารพัดน�้ำพริก เมนูเด็ดเห็ด 5 อย่าง ดอกไม้เกล็ดปลา ผลิตภัณฑ์มะพร้าววัดเขาส้ม กระเป๋า Paper band ผลิตภัณฑ์เถ้าลอย (Fly ASH) ไข่ผ�ำแปรรูป

สพป.ลพบุรี เขต 1 สพป.ลพบุรี เขต 1 สพป.ลพบุรี เขต 2 สพป.ลพบุรี เขต 2 สพป.ลพบุรี เขต 2 สพป.สมุทรปราการ เขต 1 สพป.สมุทรปราการ เขต 2 สพป.สมุทรสาคร

ผ้ามัดย้อม ลูกปัด-คริสตัลแสนสวย ปลาส้ม น�้ำอ้อยคั้นสด เห็ดสวรรค์สุดวิไล น�้ำพริกบ้านวังตาอินทร์ กะลาเงินล้าน กุ้งเหยียดเตยหอม ปลาสลิดแปลกหน้า ผลิตผลการเกษตรวัดอ่างทอง


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 159

ที่ 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91

โรงเรียน วัดนางสาว (ถาวรราษฎร์บ�ำรุง) วัดปากสมุทร (ไวยวุฒิชนานุสรณ์) วัดแก่นจันทร์ บ้านเขาแหลม ร่มเกล้า เมืองไผ่ หน้าพระลาน (พิบูลสงเคราะห์) บ้านท่าพลู อนุบาลวังม่วง บ้านหนองผักหนอก บ้านบางส�ำราญ ชุมชนวัดกลางท่าข้าม เรืองเดชประชานุเคราะห์ วัดเวฬุวัน วัดหนองพันเทา วัดลิ้นทอง (จอมวิสิษฐ์ราษฎร์บ�ำรุง) วัดหนองยาง วัดม่วงคัน ชิโนรสวิทยาลัย สตรีวัดระฆัง วัดบวรนิเวศ ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 สิริรัตนาธร

สังกัด สพป.สมุทรสาคร สพป.สมุทรสงคราม สพป.สมุทรสงคราม สพป.สระแก้ว เขต 1 สพป.สระแก้ว เขต 2 สพป.สระแก้ว เขต 2 สพป.สระบุรี เขต 1 สพป.สระบุรี เขต 2 สพป.สระบุรี เขต 2 สพป.สระบุรี เขต 2 สพป.สิงห์บุรี สพป.สิงห์บุรี สพป.สิงห์บุรี สพป.สุพรรณบุรี เขต 2 สพป.สุพรรณบุรี เขต 2 สพป.อ่างทอง

ผลิตภัณฑ์ จิตรกรรมนางสาว ART ผ้ามัดย้อม ผลไม้แช่อมิ่ ผัดไทยเส้นจันท์ เครื่องดื่มน�้ำสมุนไพร ขนมจากน�้ำนมข้าวกล้องงอก ข้าวเม่าน�้ำนม อาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ท�ำมือ "เรซิ่น" ผลิตภัณฑ์จากโคนม กระเป๋าหนัง ดอกไม้เกล็ดปลา ขนมปุยฝ้ายผักหนอก ปลาช่อนแม่ลา เสื้อบาติก ตุ๊กตา ของใช้จากกะลามะพร้าว ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าววัดเวฬุวัน มะม่วงแสนอร่อย ข้าวโรงเรียนเพื่อชุมชน

สพป.อ่างทอง สพป.อ่างทอง สพม.1 (กทม.) สพม.1 (กทม.) สพม.1 (กทม.) สพม.1 (กทม.)

สานศิลป์ ถิ่นอ่างทอง ขนมเกสรล�ำเจียก ถั่วแปบ น�้ำพริกสมุนไพรไทย หมี่กรอบเสวย เครื่องดื่มโอวัลตินภูเขาไฟ นานาสกรีน น้อยในเซรามิค

สพม.2 (กทม.) สพม.2 (กทม.)

เบเกอรี่แป้งเผือก ซาลาเปาฟิวชั่น นวดแผนไทยโรงเรียนสิริรัตนาธร


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

160 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102 103 104 105 106 107 108 109 110 111 112 113 114

โรงเรียน สังกัด ฤทธิยะวรรณาลัย 2 สพม.2 (กทม.) บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4 สพม.2 (กทม.) สตรีศรีสุริโยทัย สพม.2 (กทม.) นวมินทราชินทู ศิ หอวัง นนทบุร ี สพม.3 (นนทบุรี) บางบาล สพม.3 (พระนครศรีอยุธยา) สาคลีวิทยา สพม.3 (พระนครศรีอยุธยา) ชัยสิทธาวาส "พัฒน์สายบ�ำรุง" สพม.4 (ปทุมธานี) สพม.4 (ปทุมธานี) ทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ เทพศิรินทร์คลองสิบสาม สพม.4 (ปทุมธานี) ปทุมธานี ค่ายบางระจันวิทยาคม สพม.5 (สิงห์บุรี) ศรีมหาโพธิ สพม.7 (ปราจีนบุรี) ท่าเกษมพิทยา สพม.7 (สระแก้ว) วังหลังวิทยาคม สพม.7 (สระแก้ว) ตาพระยา สพม.7 (สระแก้ว) สมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต สพม.8 (กาญจนบุรี) ท่ามะขามวิทยา สพม.8 (ราชบุรี) สายธรรมจันทร์ สพม.8 (ราชบุรี) ปากท่อพิทยาคม สพม.8 (ราชบุรี) คงทองวิทยา สพม.9 (นครปฐม) ศรีวิชัยวิทยา สพม.9 (นครปฐม) ทุ่งคลีโคกช้างวิทยา สพม.9 (สุพรรณบุรี) หัวหิน สพม.10 (ประจวบคีรีขันธ์) ยางชุมวิทยา สพม.10 (ประจวบคีรีขันธ์)

ผลิตภัณฑ์ การเพ้นท์หน้ากาก นกหวีดดิน ข้าวหอมปทุม 100% ตรานิลุบล งานหัตถกรรมสตรีศรีสุริโยทัย สวีทตี้ ลานสานศิลป์ ข้าวกล้องสาคลีวิทยา ขนมไทย ลูกชุบ ขนมตาล เกษตรอินทรีย์ ครัวเทพศิรินทร์คลองสิบสาม เครื่องดื่มชาดอกบัวหลวง กระถาง กระเช้าเถาวัลย์ แก่นตะวัน งานหัตถกรรมวังหลังวิทยาคม มะสังแสนอร่อย น�้ำเสาวรสผสมฟักข้าว ตุ๊กตาเย็บมือ เพ้นท์ภาพ ไข่เค็มไข่ไก่จากกากซีอิ๊ว เรือจิ๋วในขวด น�้ำหอมจากพืช บุหงาร�ำไป กิ๊ฟโรส โครงลวดรูปสัตว์ สาญจีหัวหิน กล้วยแปรรูป “ช้างฮาเฮ”


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 161

ที่ 115 116 117 118 119 120 121 122 123 124 125

โรงเรียน วัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์) ดอนยางวิทยา ชะอ�ำคุณหญิงเนื่องบุรี กระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" กุศลวิทยา เนินทรายวิทยาคม ท่าใหม่ "พูลสวัสดิ์ราษฎร์นุกูล" ชลราษฎรอ�ำรุง เกาะโพธิ์ถ้วยงามวิทยา คลองกิ่วยิ่งวิทยา บางละมุง

1 2 3

บ้านเพชรมงคล บ้านดอยช้าง บ้านห้วยไร่สามัคคี

สังกัด สพม.10 (เพชรบุรี) สพม.10 (เพชรบุรี) สพม.10 (เพชรบุรี) สพม.10 (สมุทรสาคร) สพม.10 (สมุทรสาคร) สพม.17 (จันทบุรี) สพม.17 (จันทบุรี) สพม.18 (ชลบุรี) สพม.18 (ชลบุรี) สพม.18 (ชลบุรี) สพม.18 (ชลบุรี) ภาคเหนือ สพป.ก�ำแพงเพชร เขต 2 สพป.เชียงราย เขต 2 สพป.เชียงราย เขต 3

4 5 6 7 8

บ้านเมืองกาญจน์ บ้านป้องตลาด บ้านทุ่งนาน้อย บ้านแม่ปูคา บ้านบ่อสร้างนรากรประสาท

สพป.เชียงราย เขต 4 สพป.เชียงราย เขต 4 สพป.เชียงราย เขต 4 สพป.เชียงใหม่ เขต 1 สพป.เชียงใหม่ เขต 1

9 10 11 12

บ้านหนองไคร้ วัดห้วยไร่ ชุมชนกิ่วแลหลวงประสิทธิ์วิทยา สันป่าตอง (สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร)

สพป.เชียงใหม่ เขต 2 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 สพป.เชียงใหม่ เขต 4 สพป.เชียงใหม่ เขต 4

ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากใบตาล เครื่องประดับไทยประยุกต์ ผลิตภัณฑ์ลูกคุณหญิง นานาอาหารอร่อย ของว่างกระทุ่มแบน ขนมจีนน�้ำพริก น�้ำยาสูตรโบราณ ข้าวหอมนิลปลอดสารพิษ ดินเผากย่ามอญ ครัวชลราษฎรอ�ำรุง ไผ่สานศิลป์ แจงลอน น�้ำพริกปลาร้าสุดแซบ เฟื่องฟ้าแกลลอรี่ ก๋วยเตี๋ยวชากังราว กาแฟเด็กดอยช้าง คิดถึง...แม่ฟ้าหลวง (กาแฟดอยตุง, เบเกอรี่ และผ้าปักชนเผ่า) เส้นสาหร่าย...สายชีวติ ผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้าชนเผ่า แกะสลัก ตีลายแผ่นแร่ ตอกลายบนผืนผ้า งานหัตถกรรมบ้านบ่อสร้างแปรรูปจาก กระดาษสา หนังแฮนด์เมด น�้ำเสาวรส ไม้แกะสลัก สืบสานภูมิปัญญา งานกระดาษสาสันป่าตอง


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

162 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37

โรงเรียน บ้านแม่ตูบ บ้านวังหลวง บ้านห้วยส้มป่อย อนุบาลตาก ตากสินราชานุสรณ์ บ้านห้วยกะโหลก บ้านโพธิป์ ระสาท บ้านท่าวังผา (ประชารัฐวิทยาคาร) บ้านห่างทางหลวง บ้านดง บ้านใหม่น�้ำเงิน บ้านเนินพลวงวิทยา บ้านหัวดง วัดบ้านท้ายน�้ำ อนุบาลอ�ำเภอบางมูลนาก (วัดห้วยเขน) วัดบางสะพานประพันธ์ชนานุสรณ์ บ้านหนองห้าง บ้านถ�้ำน�้ำบัง วัดต้นไคร้ บ้านทุ่งโฮ้ง (อภิวังวิทยาลัย) บ้านวังเลียง ชุมชนบ้านปางหมู บ้านวนาหลวง บ้านแม่แลบ บ้านเลโค๊ะ

สังกัด สพป.เชียงใหม่ เขต 5 สพป.เชียงใหม่ เขต 5 สพป.เชียงใหม่ เขต 6 สพป.ตาก เขต 1 สพป.ตาก เขต 1 สพป.ตาก เขต 2 สพป.นครสวรรค์ เขต 3 สพป.น่าน เขต 2

ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากรากไม้ ตอไม้ ผ้าทอกะเหรี่ยงสีธรรมชาติ กาแฟบ้านห้วยส้มป่อย น�้ำกระเจี๊ยบ ตะไคร้ ใบเตย ตากสินชวนชิม เสน่ห์เส้นเสียง ข้าวต้มมัด กล้วยตาก เส้นสายลายสวยด้วยปากกาลูกลื่น

สพป.น่าน เขต 2 สพป.พะเยา เขต 1 สพป.พะเยา เขต 2 สพป.พิจิตร เขต 1 สพป.พิจิตร เขต 1 สพป.พิจิตร เขต 2 สพป.พิจิตร เขต 2

ผลิตภัณฑ์หญ้าสามเหลี่ยม ไม้กวาดดอกแก้ว สานไม้ไผ่บ้านใหม่น�้ำเงิน เปลผ้าใยไหม น�้ำส้มควันไม้ ขนมไทยธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากไม้หวาย ข้าวน�้ำพริกลงเรือ

สพป.พิษณุโลก เขต 2 สพป.พิษณุโลก เขต 3 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 สพป.แพร่ เขต 1 สพป.แพร่ เขต 1 สพป.แพร่ เขต 2 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2

เห็ดมหัศจรรย์ หมวกสานใจ ปลาดุกเส้นปรุงรส ผ้าด้นมือ สิ่งประดิษฐ์จากเศษไม้สัก งานหัตถกรรมผ้าหม้อฮ่อม มัลเบอรี่ เฮลธ์ตี้แคร์ สิ่งประดิษฐ์ชุมชนบ้านปางหมู ดะจะเว ผ้าทอกะเหรี่ยง-มูเซอ ผลิตภัณฑ์จากเศษไม้สักทอง ผลิตภัณฑ์จากไม้บอง


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 163

ที่ 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63

โรงเรียน บ้านแม่แจ๋ม แจ้ซ้อนวิทยา บ้านหนองเงือก วัดบ้านดง บ้านบึงหญ้า อนุบาลศรีส�ำโรง บ้านป่าเลา ชุมชนบ้านคลองยาง นานกกก บ้านหนองขุย (นครสวัสดิ์ประชานุเคราะห์) บ้านวังเตย อมก๋อยวิทยาคม แม่แจ่ม แม่ริมวิทยาคม แม่ออนวิทยาลัย แจ้ห่มวิทยาคม เถินวิทยา แม่ใจวิทยาคม แม่เจดีย์วิทยาคม เมืองลีประชาสามัคคี ร้องกวางอนุสรณ์ อุ้มผางวิทยาคม สรรพวิทยาคม ยกกระบัตรวิทยาคม เมืองด้งวิทยา พิชัย

สังกัด สพป.ล�ำปาง เขต 3 สพป.ล�ำปาง เขต 3 สพป.ล�ำพูน เขต 1 สพป.ล�ำพูน เขต 2 สพป.สุโขทัย เขต 1 สพป.สุโขทัย เขต 2 สพป.สุโขทัย เขต 2 สพป.สุโขทัย เขต 2 สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1 สพป.อุทัยธานี เขต 1

ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากหญ้าหวาน ถั่วแมคคาเดเมีย ครัวแจ้ซ้อน ผ้าฝ้ายของใช้ในบ้าน งานเพ้นท์ผ้า ผลิตภัณฑ์จากงานผ้า ตู้ชาร์ทไฟ TABLET เกษตรชีวภาพบ้านป่าเลา จักสานเส้นพลาสติก ผลิตผลการเกษตรนานกกก ขนมกง ขนมไข่หงส์

สพป.อุทัยธานี เขต 1 สพม.34 (เชียงใหม่) สพม.34 (เชียงใหม่) สพม.34 (เชียงใหม่) สพม.34 (เชียงใหม่) สพม.35 (ล�ำปาง) สพม.35 (ล�ำปาง) สพม.36 (เชียงราย) สพม.36 (เชียงราย) สพม.37 (น่าน) สพม.37 (แพร่) สพม.38 (ตาก) สพม.38 (ตาก) สพม.38 (ตาก) สพม.38 (สุโขทัย) สพม.39 (อุตรดิตถ์)

ผลิตผลการเกษตรบ้านวังเตย กาแฟของหนูจากอมก๋อย ผ้าตีนจก แม่แจ่ม ศิลปะบนพื้นไม้ บายศรีจ�ำลองจากผ้า เสน่ห์ไม้ เครื่องประดับแก้วโป่งข่าม สมุนไพรเจียวกู่หลัน (ปัญจขันธ์) กาหลง มะแข่นแสนอร่อย หัตถกรรมฝุ่นไม้ ผ้าทอมือกะเหรี่ยง ชุดม้งปักมือ ดอกไม้พันปี อาหารพื้นบ้านเมืองตาก ก๋วยเตี๋ยวพระร่วง ครัวพิชัย


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

164 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ 64 65 66 67 68 69 70 71

โรงเรียน ปางมะค่าวิทยาคม สระหลวงพิทยาคม บ้านแก่งชัชวลิตวิทยา ตากฟ้าวิชาประสิทธิ์ กาญจนาภิเษกวิทยาลัย อุทัยธานี พุทธมงคลวิทยา บ้านไร่วิทยา ศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่

สังกัด สพม.41 (ก�ำแพงเพชร) สพม.41 (พิจิตร) สพม.42 (นครสวรรค์) สพม.42 (นครสวรรค์) สพม.42 (อุทัยธานี) สพม.42 (อุทัยธานี) สพม.42 (อุทัยธานี) ส�ำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ภาคใต้ 1 บ้านนาทุ่งกลาง สพป.กระบี่ 2 ไทยรัฐวิทยา 66 (บ้านนาเนียน) สพป.ชุมพร เขต 1 3 บ้านเนินทอง สพป.ชุมพร เขต 1 4 วัดนานอน สพป.ตรัง เขต 1 5 บ้านเกาะมุกด์ สพป.ตรัง เขต 2 6 ห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) สพป.ตรัง เขต 2 7 ชุมชนวัดหมุน สพป.นครศรีธรรมราช เขต 1 8 บ้านเกาะสุด สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 9 บ้านตรอกแค สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 10 บ้านคลอแระ สพป.นราธิวาส เขต 1 11 บ้านคอลอกาเว สพป.นราธิวาส เขต 1 12 พัฒนศึกษา สพป.ปัตตานี เขต 1 13 ชุมชนบ้านปูยุด สพป.ปัตตานี เขต 1 14 บ้านบางกัน สพป.พังงา 15 บ้านระหว่างควน สพป.พัทลุง เขต 1 16 เกาะสิเหร่ สพป.ภูเก็ต 17 ถลางพระนางสร้าง สพป.ภูเก็ต

ผลิตภัณฑ์ ร้อยเรียงเม็ดมะค่า ผลิตภัณฑ์เดคูพาจ เครื่องปั้นดินเผา ผลิตภัณฑ์ตากฟ้าวิชาประสิทธิ์ กระจกดี กรอบรูปสวย ชิมซิ ชิมซิ ขนมจีน-ส้มต�ำบ้านไร่ ผลิตภัณฑ์เด็กดอย ร้านกาแฟบ้านทุ่งนากลาง ผลิตภัณฑ์บอลไฟไทยรัฐวิทยา 66 กล้วยเล็บมือนางอบช็อคโกแลต ขนมปากหม้อสมุนไพร ซาหริ่มสมุนไพร ลูกชิ้นปลาสาหร่ายขนนก ใบไม้บ้านฉัน จักสานย่านลิเภาชุมชนวัดหมุน ข้าวสังฆ์หยด ผลิตภัณฑ์กระจูดบ้านตรอกแค จักสานย่านลิเภาบ้านคลอแระ โรตี-ชาชัก น�้ำบูดูข้าวย�ำ มะตะบะ ไวน์ผลไม้ถิ่นใต้ โพนบ้านระหว่างควน ขนมโค ทับทิมกรอบ สับปะรดแปรรูป


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 165

ที่ 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32

โรงเรียน บ้านนิบงพัฒนา ไทยรัฐวิทยา 94 (บ้านบ่อน�้ำร้อน) บ้านภูเขาทอง บ้านทุ่งหงาว บ้านท่าฉาง วัดแหลมพ้อ ชุมชนบ้านบ่อประดู่ วัดนิคมประสาทมิตรภาพที่ 149 บ้านเขาน้อย สมาคมเลขานุการสตรี 3 บ้านปากละงู บ้านโพหวาย วัดสมหวัง บ้านบางใหญ่ วัดสว่างอารมณ์

สังกัด สพป.ยะลา เขต 1 สพป.ยะลา เขต 3 สพป.ระนอง สพป.ระนอง สพป.ระนอง สพป.สงขลา เขต 1 สพป.สงขลา เขต 1 สพป.สงขลา เขต 3 สพป.สงขลา เขต 3 สพป.สตูล สพป.สตูล สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1

33 34 35 36 37

บ้านหาดงาม บ้านคลองสระ บ้านหน้าค่าย วัดกลางใหม่ วัดภูเขาทอง

สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1

38 39 40 41 42

วัดโพธิ์นิมิต บ้านเกาะมุกด์ หงษ์เจริญวิทยาคม มาบอ�ำมฤตวิทยา ทุ่งคาพิทยาคาร

สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 2 สพม.11 (ชุมพร) สพม.11 (ชุมพร) สพม.11 (ชุมพร)

ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากกะลาบ้านนิบงพัฒนา ผ้ามัดย้อมไทยรัฐวิทยา 94 ลูกปัดทดแทน ผ้ามัดย้อมบ้านทุ่งหงาว ปลาตีนจากไม้โพธิ์ทะเล สาหร่ายผมนาง ธูปไล่ยุง ธูปเสริมราศี นวดแผนไทย ข้าวดอกราย น�้ำพริกดอกดาหรา ข้าวย�ำ 3 สี ข้าวคลุกกะปิสมุนไพร น�้ำสมุนไพรปั่น ขนมจีนน�้ำยาปักษ์ใต้ ห่อหมก ขนมอบ ขนมทอด น�้ำสมุนไพร น�้ำผลไม้ปั่น กาละแมเกาะสมุย อาหารพื้นเมือง นานาชาติ หมูโค ย�ำทะเล ผัดไท ขนมโค หมี่ผัดสมุย ผักบุ้งไต่ราว ข้าวย�ำปักษ์ใต้ มะพร้าวแก้ว กล้วย ฟักทองสวรรค์ โล่งโต้ง โรตี-ชาชัก ข้าวหมกไก่ ผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยเล็บมือนาง หมี่ฮกเกี้ยน น�้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

166 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58

โรงเรียน ทีปราษฎร์พิทยา พัทลุง พนางตุง นาบอน เมืองนครศรีธรรมราช คลองยางประชานุสรณ์ คลองท่อมราษฎร์รังสรรค์ สามัคคีศึกษา ทับปุดวิทยา สตรีระนอง สุไหงโก-ลก บาเจาะ เบตง "วีระราษฎร์ประสาน" พิมานพิทยาสรรค์ หาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ ธรรมโฆสิต

ผลิตภัณฑ์ งานกะลาทีปราษฎร์พิทยา ครัวพัทลุง กระจูดเมืองลุง นาบอนบาติก ทรายรุ้ง เตยปาหนัน ผ้าบาติก ผลิตภัณฑ์พาราศิลป์ ไอซ์...ติม งานหัตถศิลป์ดิ้นโบราณ บูดูทรงเครื่องส�ำเร็จรูป ใบไม้สีทอง เครื่องหนังเบตง โรตี-ชาชัก พิมานพิทยาสรรค์ ครัวหาดใหญ่ หนังตะลุงสงขลา

1 2 3 4 5 6

สังกัด สพม.11 (สุราษฎร์ธานี) สพม.12 (พัทลุง) สพม.12 (พัทลุง) สพม.12 (นครศรีธรรมราช) สพม.12 (นครศรีธรรมราช) สพม.13 (กระบี่) สพม.13 (กระบี่) สพม.13 (ตรัง) สพม.14 (พังงา) สพม.14 (ระนอง) สพม.15 (นราธิวาส) สพม.15 (นราธิวาส) สพม.15 (ยะลา) สพม.16 (สตูล) สพม.16 (สงขลา) สพม.16 (สงขลา) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บ้านแดงใหญ่ (ราษฎร์คุรุวิทยาคาร) สพป.ขอนแก่น เขต 1 พงษ์ภิญโญ 2 สพป.ขอนแก่น เขต 1 บ้านโนนม่วง สพป.ขอนแก่น เขต 1 บ้านงิ้ว สพป.ขอนแก่น เขต 1 บ้านโสกแต้ สพป.ขอนแก่น เขต 1 บ้านชีกกค้อ สพป.ขอนแก่น เขต 2

7 8

บ้านบ่อตะครองโนนฝ้ายสามัคคี สพป.ขอนแก่น เขต 3 บ้านโนนทองห้วยบาก สพป.ขอนแก่น เขต 4

ลายน�้ำทอง ศิลปะเส้นเชือก สามมิติพิชิตฝัน งิ้วลายทอง มาหากาบ ปลาส้มไร้ก้าง แจ่วบอง ปลาจ้อ ไส้กรอกปลากราย ทอผ้าพื้นเมือง ไก่ย่างเขาสวนกวาง


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 167

ที่ 9 10 11 12 13

สังกัด สพป.ขอนแก่น เขต 5 สพป.ชัยภูมิ เขต 2 สพป.ชัยภูมิ เขต 2 สพป.นครพนม เขต 2 สพป.นครราชสีมา เขต 1

ผลิตภัณฑ์ อาหารพื้นบ้านอีสาน ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและรังไหมเพื่อสุขภาพ กบอบสมุนไพร หัตถกรรมจาก "กก" ขนมจีนน�้ำยาประโดก-โคกไผ่

14 15 16 17 18 19 20 21 22

โรงเรียน บ้านเหมือดแอ่ภูเม็ง บ้านแดงสว่าง หนองแต้วรวิทย์ บ้านเหล่าพัฒนา ชุมชนบ้านประโดก-โคกไผ่ (สถิตย์วิริยะกุล) บ้านจอหอ โชคชัยพรหมบุตรบริหาร บ้านท่าตะแบก บ้านด่านเกวียน บ้านคลองเสือ บ้านดอนเปล้า บ้านลุงตามัน บ้านโคกขามโนนสมบูรณ์ วัดบ้านตาเสา

สพป.นครราชสีมา เขต 1 สพป.นครราชสีมา เขต 2 สพป.นครราชสีมา เขต 2 สพป.นครราชสีมา เขต 2 สพป.นครราชสีมา เขต 4 สพป.นครราชสีมา เขต 6 สพป.นครราชสีมา เขต 7 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2

23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33

บ้านนาสะโน บ�ำรุงพงศ์อุปถัมภ์ บ้านดงส�ำราญ บ้านนาโป่ง บ้านปวนพุ บ้านแก่งม่วง บ้านขาม บ้านเทิน บ้านค้อเมืองแสน บ้านกระเดาอุ่มแสง บ้านตาโกน

สพป.มุกดาหาร สพป.มุกดาหาร สพป.ยโสธร เขต 2 สพป.เลย เขต 1 สพป.เลย เขต 2 สพป.เลย เขต 3 สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 สพป.ศรีสะเกษ เขต 2 สพป.ศรีสะเกษ เขต 2

ผลิตภัณฑ์รักษ์โลก ตุ๊กตาอาเซียน ภาพ 3 มิติ เครื่องปั้นดินเผาบ้านด่านเกวียน ผัดหมี่ ส้มต�ำโคราช กุ้งกลางดอน ส้มต�ำอินเตอร์ ผัดหมี่โคราช ย�ำ ต�ำ แซบ บ้านโคกขามโนนสมบูรณ์ ชุดห่อผลไม้ไฮเทค เรือนไทยออมสิน ลูกน�้ำหลงกล อาหารปลาบ้านนาสะโน ตะกร้าสานเส้นพลาสติก ขิดเงิน ขิดทอง สับปะรดสามสไตล์ กระปุกออมสินจากไม้ไผ่ น�้ำพริกเห็ดหอม ของใช้และของที่ระลึกจากไม้ไผ่ ทุ่งเทินบะหมี่เกี๊ยว หอมแดง กระเทียมปลอดสารพิษ ข้าวเกษตรอินทรีย์ รากไม้ประดิษฐ์


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

168 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ที่ 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60

โรงเรียน บ้านหนองทา ศิริราษฎร์วิทยาคาร โพนงามโคกวิทยาคาร บ้านหนองหมากแซว บ้านพังโคน (จ�ำปาสามัคคี) บ้านอากาศ บ้านหนองลาด พรหมประสาทราษฎร์นุกูล บ้านกางของ สระขุดดงส�ำราญวิทยา บ้านนาน�้ำพาย พระพุทธบาทเทสรังสีวิทยา บ้านหนองเค็ม โคกม่วงทองวิทยา โคกสวาสดิ์หนองสองห้องดอนแดง บ่อน้อยประชาสรรค์ บ้านหนองนาค�ำ บ้านหนองหว้า บ้านหนองลาด บ้านผักตบประชานุกูล บ้านนาจาน พัฒนาศรีผดุงอุดมวิทย์ บ้านค�ำอ้อ บ้านเชียงเพ็ง บ้านปากห้วยม่วง ชุมชนบ้านปลาขาว บ้านโนนเลียง

สังกัด สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 สพป.สกลนคร เขต 1 สพป.สกลนคร เขต 1 สพป.สกลนคร เขต 2 สพป.สกลนคร เขต 2 สพป.สกลนคร เขต 3 สพป.สกลนคร เขต 3 สพป.สุรินทร์ เขต 1 สพป.สุรินทร์ เขต 1 สพป.สุรินทร์ เขต 2 สพป.หนองคาย เขต 1 สพป.หนองคาย เขต 1 สพป.หนองคาย เขต 2 สพป.หนองบัวล�ำภู เขต 1 สพป.อ�ำนาจเจริญ สพป.อุดรธานี เขต 1 สพป.อุดรธานี เขต 1 สพป.อุดรธานี เขต 2 สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.อุดรธานี เขต 3 สพป.อุดรธานี เขต 4 สพป.อุบลราชธานี เขต 2 สพป.อุบลราชธานี เขต 5 สพป.อุบลราชธานี เขต 5

ผลิตภัณฑ์ หนังสือนิทานภาพป๊อป-อัพ ตุ๊กตามดจ๋า...อารมณ์ดี สมุนไพรไทย ลูกปัดหรรษาอาชีพ ไก่ย่างพังโคน ผ้าย้อมคราม หอมชื่นใจกับนพรัตน์มหัศจรรย์ ขนมกันเตรือม ขนมโช้ค เสื่อกกยกลาย ครัวสระขุดดงส�ำราญวิทยา มหัศจรรย์เส้นสีสร้างสรรค์ศิลป์ ขนมเบื้องญวน ขนมชั้น "ด้าย" ได้อาชีพ ม่วงทอง น�้ำผึ้งบริสุทธิ์ ขนมหวาน แกงอ่อมต�ำรับคุณแม่ กบกระโดด การท�ำมุกประดับ รองเท้าหนัง ข้าวกล้องบ้านนาจาน นวดแผนไทย ผลิตภัณฑ์ลายบ้านเชียง เสื่อกกประยุกต์ ผลิตภัณฑ์ตะกร้าสาน ภาพจิตรกรรมไทย หมวกเดคูพาจ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 169

ที่ 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85

โรงเรียน หนองโดดอนเสียด ศรีสองรักษ์วิทยา บ้านเชียงวิทยา หนองหานวิทยา บ้านผือพิทยาสรรค์ นาหว้าพิทยาคม โพนสวรรค์ราษฎร์พัฒนา หนองสูงสามัคคีวิทยา กุดบากพัฒนศึกษา ธรรมบวรวิทยา ล�ำปลาหางวิทยา พลพัฒนศึกษา มัธยมตลาดใหญ่วิทยา มัญจาศึกษา จันทรุเบกษาอนุสรณ์ เชียงขวัญพิทยาคม โพนทองพัฒนาวิทยา คูซอดประชาสรรค์ นารีนุกูล 2 นาเวียงจุลดิศวิทยา กุดตุ้มวิทยา พิมายด�ำรงวิทยาคม บุญวัฒนา นิคมพิมายศึกษา เสิงสาง

86 ธารปราสาทเพชรวิทยา

สังกัด สพป.บึงกาฬ สพม.19 (เลย) สพม.20 (อุดรธานี) สพม.20 (อุดรธานี) สพม.20 (อุดรธานี) สพม.22 (นครพนม) สพม.22 (นครพนม) สพม.22 (มุกดาหาร) สพม.23 (สกลนคร) สพม.23 (สกลนคร) สพม.23 (สกลนคร) สพม.25 (ขอนแก่น) สพม.25 (ขอนแก่น) สพม.25 (ขอนแก่น) สพม.27 (ร้อยเอ็ด) สพม.27 (ร้อยเอ็ด) สพม.27 (ร้อยเอ็ด) สพม.28 (ศรีสะเกษ) สพม.29 (อุบลราชธานี) สพม.29 (อ�ำนาจเจริญ) สพม.30 (ชัยภูมิ) สพม.31 (นครราชสีมา) สพม.31 (นครราชสีมา) สพม.31 (นครราชสีมา) สพม.31 (นครราชสีมา) สพม.31 (นครราชสีมา)

ผลิตภัณฑ์ แหนมเห็ดนางฟ้าข้าวกล้องงอก งามจังเลย เสน่ห์ลายบ้านเชียง แจ่ว ข้าวเหนียว หมูทอด ไหมขัดฟันจากไหม พิณ แคน โหวด เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ฝ้ายมุกดา เสื้อเย็บมือ กระเป๋าเชือกร่ม แจกันหอยเชอรี่ ข้าวนางเล็ดสมุนไพร สร้างสรรค์งานประดิษฐ์จากตอกไม้ไผ่ ดลใจดอกไม้งาม สุดยอดข้าวฮางจันทรุเบกษาอนุสรณ์ ผลิตภัณฑ์บ้านเชียงขวัญ ขี้เลื่อยท�ำมังกร แจ่วกุ้งฝอยสูตรเด็ดเห็ด 10 อย่าง ผลิตภัณฑ์จากผ้ากาบบัว ข้าวกล้องหอมมะลิจุลดิศ ถักตะกร้าด้วยเชือกป่าน กระเช้าเถาวัลย์ ภาพปะติดจากลูกปัดและเลื่อม ผักตบชวาสานเครื่องปั้นดินเผา เทคนิคการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ส�ำหรับเยาวชน งานจิตรกรรมสื่อผสม


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

170 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

รายชื่อเจ้าของผลงานในเล่ม ที่ สังกัด 1 สพป.นครปฐม เขต 2 2 สพป.สระบุรี เขต 2 3 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1

โรงเรียน วัดเชิงเสน (นครใจราษฎร์) อนุบาลวังม่วง บ้านวนาหลวง

4 สพป.ตรัง เขต 2 5 สพป.ขอนแก่น เขต 1

ห้วยยอด (กลึงวิทยาคาร) บ้านงิ้ว

6 สพป.สกลนคร เขต 1 7 สพป.อุดรธานี เขต 3

ศิริราษฎร์วิทยาคาร บ้านค�ำอ้อ

8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19

บ้านดงส�ำราญ ศรีวิชัยวิทยา ชะอ�ำคุณหญิงเนื่องบุรี พนางตุง แม่เจดีย์วิทยาคม ร้องกวางอนุสรณ์ วัดดงยาง (ดงยางราษฎร์บ�ำรุง) บ้านห้วยไร่สามัคคี บ้านเมืองกาญจน์ โพนงามโคกวิทยาคาร ยางชุมวิทยา ทับปุดวิทยา

สพป.ยโสธร เขต 2 สพม.9 (นครปฐม) สพม.10 (เพชรบุรี) สพม.12 (พัทลุง) สพม.36 (เชียงราย) สพม.37 (แพร่) สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 สพป.เชียงราย เขต 3 สพป.เชียงราย เขต 4 สพป.สกลนคร เขต 1 สพม.10 (ประจวบคีรีขันธ์) สพม.14 (พังงา)

ครูผู้รับผิดชอบ นางสาววรางค์ เวชประเสริฐ นางสุธาทิพย์ คัมภีระ นางสาวอรารัตน์ ก้อนจ�ำปา นางสาวศรีวรรณ มนต์คีรีทอง นางกรวิวรรณ์ บุญเจริญ นางลดาวัลย์ โภโต นางอรุณรัศมี ประดาพล นางนิ่มนวล ศิริพันธุ์ นางสาววัชรินทร์ พร้อมใจ นางอมรรัตน์ โคตรน�้ำเนาว์ นางเกษร บานชล นางสาวสมพร นิสยันต์ นางรัชดาพรรณ์ วัชพัฒน์ นางบุญขันธ์ ศิลปนุรักษ์ นางวงเดือน นันทาทอง นายสุกิติ์ นาคสกุล นางสาวรักษ์ษิณาฎ นิระมล นางกมลวรรณ เนาว์ชมภู นางสาวปิยนุช ศิริธาราธิกุล นางวราภรณ์ วรพันธ์ุ นางส�ำลี แดงนวล นางสุวดี ผลงาม


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 175

คณะผู้จัดท�ำ ที่ปรึกษา

นางพจมาน พงษ์ไพบูลย์

คณะท�ำงาน รวบรวมข้อมูล

1. นางสาววันเพ็ญ สุจิปุตโต 2. นางสาวชิตยาภรณ์ หงษ์ทอง 3. นายบุญพร้อม แสนบุญ 4. นายอารักษ์ พัฒนถาวร 5. นางจารุวรรณ แก่นทรัพย์ 6. นางจันทร์เพ็ญ พรมจันทร์ 7. นางสาวพิสมร วัยวุฒิ 8. นายแสงอุทัย ศักดิ์ศรีท้าว 9. ดร.มณฑา จ�ำปาเหลือง 10. นางสาวประภาพรรณ เส็งวงศ์ 11. ดร.สุวิมล พุกประยูร 12. นางวรรณี ชาญชิต 13. นางสาวละเอียด สดคมข�ำ 14. นางธนิดา ตะรุสะด�ำรงเดช

ผู้เขียนและบรรณาธิการกิจ

1. ดร.สุวิมล พุกประยูร 2. นางสาววันเพ็ญ สุจิปุตโต 3. นางสาวชิตยาภรณ์ หงษ์ทอง

ภาพการ์ตูน

นายแสงอุทัย ศักดิ์ศรีท้าว

ผู้อ�ำนวยการส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นักวิชาการศึกษา ส�ำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1 ผู้อ�ำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 ศึกษานิเทศก์ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 1 ศึกษานิเทศก์ ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 ครูโรงเรียนอนุบาลแคนดง ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ข้าราชการบ�ำนาญ ข้าราชการบ�ำนาญ ข้าราชการบ�ำนาญ ข้าราชการบ�ำนาญ ข้าราชการบ�ำนาญ


การสอนงานอาชีพสู่ความเป็นเลิศ

172 นักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

คิดเป็น ท�ำได้ ขายเป็น

โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม น�ำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.