ISBN: 978-616-372-307-9
ผู้เขียนและบรรณาธิการ: มนธิดา สีตะธนี ที่ปรึกษาและบรรณาธิการจัดการ: พนิดา วิชัยดิษฐ ออกแบบ รูปเล่ม และภาพประกอบ: ศรีรัฏฐ์ สมสวัสดิ์
จัดทำ�และเผยแพร่โดย สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
1
ISBN: 978-616-372-307-9 หนังสือ “ไอเดียใหม่...สร้างสรรค์ขึ้นได้” โครงการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เขียนและบรรณาธิการ: มนธิดา สีตะธนี เอกสารเผยแพร่เพื่อการศึกษา 101 หน้า พิมพ์ครั้งที่ 1: มีนาคม พ.ศ. 2558 จำ�นวนพิมพ์ 6,000 เล่ม จัดทำ�โดย สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 กระทรวงศึกษาธิการ เลขที่ 319 วังจันทร์เกษม ถนนราชดำ�เนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 02-2885895 โทรสาร 02-2810828 สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2558 ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พิมพ์ที่ โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด เลขที่ 79 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02-5614567 โทรสาร 02-5795101
2
คำ�นำ� สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีเจตจำ�นงในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็น ทรัพยากรที่มีคุณค่าของชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน และตระหนักในความสำ�คัญของการพัฒนา เยาวชนให้เป็นนักคิด คิดเป็น คิดได้ คิดสร้างสรรค์ สอดรับกับทักษะที่ต้องการเน้นให้เกิดขึ้นในตัวตนของ ประชากรโลกในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชน ต้องการเวลาในการบ่มเพาะ และต้องดำ�เนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีจิตคิดสร้างสรรค์ฝังอยู่ในตัวของเด็ก และสามารถใช้จิตคิด สร้างสรรค์ในทุกโอกาส หนังสือ “ไอเดียใหม่...สร้างสรรค์ขึ้นได้” เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้าง สรรค์ของเด็กและเยาวชน ที่นำ�เสนอเนื้อหาสาระเป็นลำ�ดับขั้นตอน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง ผู้ที่สนใจ หรือ เยาวชน สามารถนำ�ไปศึกษาหาความรู้ เพื่อเสริมและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นกับตนเอง หรือ กับการพัฒนาเยาวชนในความรับผิดชอบ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ “ไอเดียใหม่...สร้างสรรค์ขึ้นได้” จะเป็นประโยชน์ต่อสถาน ศึกษา ในการนำ�ไปขยายผลต่อครู ผู้ปกครอง และเยาวชนในทุกโอกาส ขอขอบคุณสำ�นักนวัตกรรมการ จัดการศึกษา สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ดร.มนธิดา สีตะธนี ที่ช่วยดำ�เนินการ ให้หนังสือเล่มนี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน ซึ่งจะเป็นอนาคต สำ�คัญของชาติต่อไป ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3
โครงการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ เป็นโครงการต่อยอดจากโครงการพัฒนาเด็ก และเยาวชนสู่ความเป็นนักประดิษฐ์ของสำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ที่ได้ดำ�เนินการมาอย่าง ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เพื่อคัดเลือกผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ของ นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เข้าร่วมประกวดและจัดแสดงในเวทีนานาชาติ International Exhibition for Young Inventors (IEYI) ซึ่งริเริ่มและมีขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น และปีต่อๆมา ประเทศอื่นๆ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี พ.ศ. 2555 จากการดำ�เนินงานโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่ความเป็นนักประดิษฐ์ และการเข้าร่วม งาน IEYI อย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา 10 ปี พบว่า ประเทศต่าง ๆ มีความตื่นตัวในการพัฒนาศักยภาพ ความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ระดับโรงเรียนในมิติของการพัฒนาทรัพยาการมนุษย์ของประเทศ โดยมี การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ในระดับโรงเรียนอย่างมีระบบ เพื่อให้ เด็กมีความคิดนวัตกรรม มีโอกาสสร้างไอเดียใหม่ ๆ ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ จึงได้พัฒนาโครงการพัฒนา เด็กและเยาวชนสู่ความเป็นนักประดิษฐ์ มาเป็นโครงการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เป็นปีแรก และเห็นว่าจะให้สัมฤทธิ์ผลควรมีการปูพื้นฐานให้บุคลากรทางการศึกษาเข้าใจการสร้างไอเดีย ใหม่ๆ จึงได้จัดทำ�หนังสือ “ไอเดียใหม่...สร้างสรรค์ขึ้นได้” เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพความ คิดสร้างสรรค์ โดยเชิญ ดร.มนธิดา สีตะธนี ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ในการทำ�งาน ส่งเสริมศักยภาพความคิดสร้างสรรค์แก่เด็กและเยาวชน และได้ร่วมงานกับ สพฐ. มานานในการจัดค่าย พัฒนาเด็กและเยาวชนสู่ความเป็นนักประดิษฐ์ และค่ายพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ เป็นผู้เขียน หนังสือ และปัจจุบันยังคงเป็นที่ปรึกษาโครงการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา และนำ�ไป ประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติอย่างยั่งยืน
พนิดา วิชัยดิษฐ ผู้อำ�นวยการกลุ่มโครงการพิเศษ หัวหน้าโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา 4
หนังสือเล่มนี้ จัดทำ�ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมความสามารถคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ระดับโรงเรียน โดยกรอบสาระในหนังสือเน้นการส่งเสริมความสามารถคิดสร้างสรรค์ที่นำ�ไปสู่ความ สามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ด้วยไอเดียใหม่ๆ ที่เกิดจากตัวเด็กเอง เนื้อหาในหนังสือมีทั้งสาระและ การนำ�เสนอกรณีตัวอย่างต่างๆ สาระในหนังสือ เขียนขึ้นจากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ทำ�งานเกี่ยวข้องในการส่งเสริมและ พัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชน รวมทั้งการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม เนื้อหา บางส่วนในหนังสือได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เด็ก คุณครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำ�เนิน งาน IEYI ซึ่งผู้เขียนขอขอบคุณผู้ให้คำ�สัมภาษณ์ทุกท่านที่ปรากฏในหนังสือนี้ บท “การออกแบบกับความคิดสร้างสรรค์” และส่วน “เรียนรู้การสร้างนวัตกรรมจาก สตีฟ จ๊อบส์” เขียนและเรียบเรียงโดยคุณศรีรัฏฐ์ สมสวัสดิ์ สถาปนิกอิสระ ซึ่งผู้เขียนขอขอบคุณ ขอขอบคุณ ท่านดิลก พัฒน์วิชัยโชติ อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้น ฐาน รองศาสตราจารย์ ดร.อภิชิต เทอดโยธิน คณบดีคณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี และดร.ชินพงศ์ วังใน นักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่กรุณา ช่วยอ่านและให้ความคิดเห็นทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ อันมีส่วนทำ�ให้สาระเนื้อหาในหนังสือนี้มีความ สมบูรณ์มากขึ้น และขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนช่วยในการจัดทำ�หนังสือนี้ ขอขอบคุณสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สนับสนุนให้ผู้เขียนได้มีโอกาส ถ่ายทอดประสบการณ์ลงในหนังสือนี้ หวังว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ทำ�งานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเด็กระดับโรงเรียนให้ แสดงออกในความสามารถคิดสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ จนถึงความสามารถคิดสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ เพื่อการสร้างสิ่งประดิษฐ์ ที่แม้นว่าผลงานสร้างสรรค์บางชิ้นงานของเด็กอาจจะยังไม่เกิดผลในการนำ�ไป ใช้งานได้จริง แต่ก็เป็นรากฐานสำ�คัญในการบ่มเพาะให้เด็กมีจิตคิดสร้างสรรค์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อตัว เด็กเองและต่อประเทศชาติในอนาคต มนธิดา สีตะธนี ผู้เขียนและบรรณาธิการ 5
สารบัญ หน้า 9 “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”
หน้า 13 จิตคิดสร้างสรรค์
หน้า 27 ไอเดียใหม่ กับ ความคิดสร้างสรรค์
หน้า 43 การออกแบบกับความคิดสร้างสรรค์
6
หน้า 53 แรงบันดาลใจกับความคิดสร้างสรรค์
หน้า 63 ความคิดนวัตกรรมกับสิ่งประดิษฐ์
หน้า 85 จินตนาการ
หน้า 93 ทิ้งท้าย
7
8
“พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”
9
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช ทรงมีพระปรีชา สามารถและพระอัจฉริยภาพในศาสตร์หลายด้าน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เครื่องกล ชลประทาน ยานยนต์ โยธา เทคโนโลยีการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาการ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ) ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านสังคมวิทยา ด้านศิลปศาสตร์ ฯลฯ และพระองค์ทรงสน พระทัยและให้ความสำ�คัญกับการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่นำ�มาซึ่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตและ การพัฒนาสิ่งแวดล้อม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราข ทรงตระหนักถึงปัญหา จากน้ำ�เน่าเสียในแหล่งน้ำ�สาธารณะต่างๆ จึงทรงคิดค้นและประดิษฐ์ “เครื่องกลเติมอากาศที่หมุนช้า แบบทุ่นลอย” หรือ “กังหันน้ำ�ชัยพัฒนา” ที่มีรูปแบบเรียบ ใช้งานง่าย มีประสิทธิภาพสูงในการบำ�บัดน้ำ� เสีย ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของพระองค์ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 อัน เป็นประวัติศาสตร์การจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรครั้งแรกในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
10
พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ พสกนิกรชาวไทย และพระองค์ทรงได้รับพระราชสมัญญานาม “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” “พระ บิดาแห่งนวัตกรรมไทย” และ “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” พระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของพระองค์ ได้รับ การยอมรับในระดับสากลว่า ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของพระองค์สามารถนำ�ไปใช้งานได้กว้างขวาง เกิด ประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของโลก และกระตุ้นเตือนให้มนุษย์เกิดจิตสำ�นึกใน คุณภาพของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในโอกาสที่ผู้แทนองค์กรนานาชาติ ๒๙ องค์กรใน ๒๗ ประเทศที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ ของโลก ได้เดินทางมาร่วมงานวันนักประดิษฐ์นานาชาติในประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ พระองค์ทรงได้รับมติเป็นเอกฉันท์ให้ถวายพระราชสมัญญานามว่า “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์โลก” (ข้อมูล: สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ) และได้รับถวายเหรียญรางวัล “พระอัจฉริยภาพทางการ ประดิษฐ์” จากสมาพันธ์นักประดิษฐ์โลก (IFIA) เพื่อเชิดชูพระปรีชาสามารถที่ทรงสร้างผลงานด้านการ ประดิษฐ์อันทรงคุณค่าและมีประโยชน์แก่ชาวโลกไว้มากกว่า ๑,๐๐๐ ชิ้น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ สยามินทราธิราช ทรงเป็นแบบอย่างใน การคิดค้นสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมให้คนไทยได้เดินตามเบื้องพระยุคลบาท เพื่อการพัฒนาประเทศใน ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ข้อมูล: สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ – www.nrct.go.th เครดิตภาพ: www.prdnorth.in.th, region5.prd.go.th, inventors.nrct.go.th
11
12
บทที่
๑
จิตคิดสร้างสรรค์
13
ความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ในคนทุกคน แตกต่างกันตามความสามารถและศักยภาพในการคิดของแต่ละคน เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัว และแสดงออกได้ตั้งแต่วัยเด็ก เล็ก เด็กหญิง ปพิชญา อารีมิตร อายุ 8 ปี
การสร้างสรรค์งานศิลปะของเด็ก เป็นกระบวนการค้นพบ เป็นกระบวนการที่เด็กมีจินตนาการ ได้สร้างชิ้นงาน และสื่อสารแสดงออกให้คน อื่นเห็น ซึ่งเป็นรากฐานสำ�คัญในอนาคตสำ�หรับเด็ก การคิดสร้างสรรค์งานศิลปะของเด็ก ช่วยปูพื้นฐานให้เด็กเรียนรู้ในการสร้างสิ่งใหม่ๆ จากความคิด สร้างสรรค์ในตัว ผู้ใหญ่จึงอาจใช้การสร้างงานศิลปะในการฝึกฝนเด็กให้เรียนรู้การค้นพบ และ การสร้าง สิ่งใหม่จากความคิดสร้างสรรค์ในตัวเด็กเอง และสื่อสารออกมาให้คนอื่นได้เห็น
ความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตัว เด็กสามารถคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นชิ้นงานได้ ผู้ใหญ่ควรมีกิจกรรมให้ เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์ในตัว สร้างชิ้นงานขึ้นมาจากแรงจูงใจภายในของเด็ก โดยเด็กใช้จินตนาการคิด ได้อย่างเสรี สนุก มีสมาธิในการทำ�งานจนสำ�เร็จ 14
พลังความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก หาก ถูกเก็บไว้ ไม่มีโอกาสปล่อยออกมา ความคิด สร้างสรรค์ของเด็กจะไม่ได้รับการพัฒนา
หน้าที่ของผู้ใหญ่ คือ การดึงความคิดสร้างสรรค์ของเด็กออกมา การสร้างโอกาสให้เด็กใช้ความคิด สร้างสรรค์โดยไม่สะกัดกั้นจินตนาการของเด็ก การสร้างโอกาสให้เด็กฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์อย่างสนุก และได้ทำ�อย่างต่อเนื่อง ผู้ใหญ่ควรส่งเสริมให้เด็กมีโอกาสใช้ความคิดสร้างสรรค์ในทุกโอกาส ทั้งในชั้นเรียน นอกชั้นเรียน ในครอบคร้ว และในชีวิตประจำ�วัน
เด็กยิ่งฝึกฝนการใช้ความคิดสร้างสรรค์บ่อยๆ ทักษะในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ก็จะยิ่งมีมากขึ้น ถ้า เด็กได้รับการฝึกฝนให้ทำ�อย่างต่อเนื่อง เด็กจะมีความคล่องในการดึงความคิดสร้างสรรค์ออกมา จน เกิดเป็น “จิตคิดสร้างสรรค์” ที่ฝังอยู่ในตัว และจะดึงออกมาใช้เองในโอกาสต่างๆ การฝึกฝนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ช่วยพัฒนาทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เด็กระดับโรงเรียนใน ทุกช่วงชั้น จึงควรได้รับการฝึกฝนการใช้ความคิดสร้างสรรค์
การฝึกฝนเด็กให้สร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ เป็นการวางรากฐานให้เด็กเรียนรู้การสร้างสิ่งต่างๆ เป็นการฝึกเด็กให้เรียนรู้การคิดไอเดียด้วยตัวเองใน การทำ�หรือสร้างสิ่งต่างๆ การสร้างสรรค์ผลงาน 3 มิติ ทำ�ให้เด็กได้เรียนรู้การสร้างสิ่งต่างๆ การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ... 15
ฝึกเด็กให้ “สร้างสิ่งใหม่” หมายถึง ฝึกเด็กให้ทำ�สิ่งที่เด็กคิดขึ้นเอง เด็ก ทำ�ขึ้นเอง การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในเด็กระดับโรงเรียน จำ�เป็นต้องสร้างโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิด สร้างสรรค์สร้างชิ้นงานขึ้นจากตัวเด็กเอง ซึ่งทำ�ได้ 2 รูปแบบ คือ • การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์รูปแบบการทำ�งานรายบุคคล • การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์รูปแบบการทำ�งานกลุ่ม การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์รูปแบบการทำ�งานรายบุคคล
การออกแบบกิจกรรมจะให้เด็กทำ�ชิ้นงานด้วยตัวเองคนเดียว โดยการออกแบบกิจกรรมต้องคำ�นึงถึงองค์ ประกอบสำ�คัญของความสามารถคิดสร้างสรรค์ 3 อย่าง คือ แรงจูงใจ – สิ่งที่ทำ�ให้เด็กต้องการใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตัวทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แรงจูงใจนี้อาจ
เกิดจากภายในตัวเด็กเองที่อยากทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือ เด็กอาจได้รับแรงจูงใจจากภายนอกแล้วมีผลเกิด เป็นแรงจูงใจภายในตัวเด็กที่ทำ�ให้อยากทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์ – ความสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ในตัวเด็กในการคิดสิ่ง
ใหม่ ความสามารถคิดสิ่งที่แตกต่างไปจากสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ เห็นอยู่ หรือ ความสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่มีอยู่ รู้อยู่ ในมิติคิดที่ทำ�ให้ได้สิ่งใหม่ องค์ความรู้หรือประสบการณ์ – องค์ความรู้หรือประสบการณ์ที่เด็กมีเกี่ยวกับสิ่งที่จะคิด
สร้างสรรค์ โดยอาจมีอยู่เดิม หรือหาสิ่งที่ดีกว่ามาเพิ่มเติมสิ่งที่มีอยู่เดิม 16
การออกแบบกิจกรรมเพื่อให้เด็กดึงความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองออกมา
• ออกแบบกิจกรรมให้เด็กมีแรงจูงใจที่ต้องการจะทำ� เช่น สนุกที่จะทำ� มีความท้าทายที่ทำ�ให้อยาก ทำ� มีความรู้สึกจากภายในที่ต้องการจะทำ� มีความต้องการแก้ปัญหาในมิติคิดใหม่ๆ • ออกแบบกิจกรรมให้อยู่ในกรอบความรู้หรือประสบการณ์ที่เด็กมี หรือ มีสิ่งเอื้ออำ�นวยให้เด็ก สามารถเข้าถึงการค้นหาข้อมูลองค์ความรู้เพิ่มหรือมีประสบการณ์เพิ่มในสิ่งที่ต้องการสร้างสรรค์ • ออกแบบกิจกรรมที่ทำ�ให้เด็กสามารถใช้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ที่นำ�ไปสู่การทำ�งานสำ�เร็จได้
ตัวอย่างกิจกรรม: การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสื่อสาร ความหมายเป็นภาพ ภาพตัวอย่างการใช้ความคิดสร้างสรรค์สื่อความหมาย “โลกร้อน” app.emaze.com
การฝึกเด็กให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์สื่อสารความหมายเป็นภาพ อาจนำ�ไปใช้ในการเรียนการสอนในชั้น เรียนได้ด้วย โดยฝึกให้เด็กใช้ความคิดสร้างสรรค์สื่อความหมายแทนการอธิบายสิ่งที่เรียนด้วยข้อความ ภาพตัวอย่างการสื่อความหมายแทนการอธิบายด้วยข้อความ
“ห่วงโซ่อาหาร”
“การสังเคราะห์ด้วยแสง”
17
ตัวอย่างกิจกรรม: การใช้ความคิดสร้างสรรค์จากจินตนาการ ภาพตัวอย่างผลงานจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์จากจินตนาการ
“สัตว์เลี้ยงในจินตนาการของฉัน”
“เมืองในอนาคต”
ตัวอย่างกิจกรรม: การใช้ความคิดสร้างสรรค์แบบเปิดเสรี
ภาพตัวอย่างการใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างชิ้นงาน จากกระดาษ
ภาพตัวอย่างการใช้ความคิดสร้างสรรค์สร้างชิ้น งานจากเส้นลวด
เครดิตภาพ: www.13nr.org
เครดิตภาพ: www.cincin66.blogsot.com
18
การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์รูปแบบการทำ�งานกลุ่ม
การให้เด็กสร้างสรรค์ชิ้นงานจากการทำ�งานกลุ่ม ต้องคำ�นึงถึงองค์ประกอบสำ�คัญ 3 อย่าง คือ การมีส่วนร่วม – สมาชิกในกลุ่มมีส่วนร่วมในการเสนอความคิด และมีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การตัดสินใจ – สมาชิกในกลุ่มมีการตัดสินใจร่วมกัน มีการใช้ความคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ การตกลงในการทำ�งานร่วมกัน – สมาชิกในกลุ่มตกลงร่วมกันในการทำ�งานชิ้นสร้างสรรค์ การใช้ความคิดสร้างสรรค์รูปแบบการทำ�งานกลุ่ม • การมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม หรือ การระดมความคิด เป็นสิ่งที่สำ�คัญมาก เพื่อให้กลุ่ม สามารถดึงความคิดสร้างสรรค์จากสมาชิกกลุ่มออกมา สมาชิกกลุ่มจึงต้องมีโอกาสได้เสนอความคิด อย่างเสรี และได้รับการต้อนรับการเสนอความคิดจากสมาชิกกลุ่มคนอื่นๆ และการระดมความคิด ต้องมีการจดบันทึกรายการความคิดที่สมาชิกกลุ่มแต่ละคนเสนอ • การตัดสินใจ – กลุ่มต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มร่วมกันอภิปรายความคิดที่เสนอ เพื่อร่วมกัน วิเคราะห์และสังเคราะห์หาสิ่งที่ดีที่สุดมาทำ�ชิ้นงานสร้างสรรค์ • การตกลงในการทำ�งานร่วมกัน - สมาชิกในกลุ่มมีความพึงพอใจ และมีความมุ่งมั่นที่จะทำ�ชิ้นงานสร้างสรรค์ร่วมกัน - การลงมือทำ�งาน สมาชิกกลุ่มสามารถเสนอความคิดเห็นได้ มีการตัดสินใจร่วมกันในการ ทำ�งาน การแก้ปัญหาในการทำ�งาน และมีการให้กำ�ลังใจแก่กันในการทำ�งาน - การทำ�งานร่วมกัน กลุ่มควรมีข้อตกลงในการทำ�งาน เช่น การเลือกหัวหน้ากลุ่ม คนจดบันทึก การแบ่งหน้าที่ในการทำ�งาน การตกลงในวิธีหรือขั้นตอนการทำ�งาน ฯลฯ 19
การระดมความคิด
สมาชิกกลุ่มร่วมกันเสนอความคิด โดยมีผู้จดบันทึก และมีการวิเคราะห์-สังเคราะห์ความคิดที่เสนอ
กลุ่มมีการสรุปภาพรวมแนวคิดที่จะนำ�ไปทำ�ชิ้นงานสร้างสรรค์
20
สมาชิกกลุ่มร่วมมือกันทำ�ชิ้นงานสร้างสรรค์
สมาชิกกลุ่มหารือและร่วมกันหาหนทางแก้ปัญหา
กลุ่มนำ�เสนอชิ้นงานสร้างสรรค์ เพื่อสื่อสารสิ่งที่สร้างสรรค์ให้ผู้อื่นได้เห็น
21
การออกแบบกิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานในรูปแบบการทำ�งานกลุ่ม จำ�เป็นต้องออกแบบกิจกรรมให้ ท้าทายความคิดสร้างสรรค์ และเป็นกิจกรรมที่ต้องการการทำ�งานร่วมกันจึงจะนำ�ไปสู่ความสำ�เร็จได้ การออกแบบกิจกรรมควรกำ�หนดให้กลุ่มทำ�งานร่วมกันภายใต้เงื่อนไขและข้อจำ�กัด เช่น จำ�นวนวัสดุที่ให้ ชนิดอุปกรณ์ที่มีให้ เวลาที่กำ�หนด ฯลฯ การออกแบบกิจกรรมให้มีการแข่งขันชิ้นงานสร้างสรรค์ เป็นสิ่งท้าทายในการทำ�งานสร้างสรรค์ของแต่ละ กลุ่ม เด็กจะรู้สึกสนุกในการคิดและการทำ�งานร่วมกันในกลุ่ม ต้วอย่างกิจกรรม: การแข่งขันชิ้นงานสร้างสรรค์ ภาพตัวอย่าง การสร้างรถจากวัสดุและอุปกรณ์ที่ให้ เพื่อมาแข่งขันกันว่ารถของกลุ่มใดวิ่งไปได้ไกลที่สุด
22
ภาพจากกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
การออกแบบกิจกรรมที่ต้องการทั้งความคิดสร้างสรรค์และการคิดแก้ปัญหาในระหว่างการทำ�งานชิ้น สร้างสรรค์ จัดเป็นสิ่งท้าทายของการทำ�งานของกลุ่ม ตัวอย่างกิจกรรม: การสร้างสรรค์ชิ้นงานที่มีการคิดแก้ปัญหาในระหว่างการทำ�
ชิ้นงาน
ตัวอย่างการต่อไม้ไอติมให้สูงที่สุด เครดิตภาพ: youtube.com
ตัวอย่างการต่อชิ้นไม้ให้ได้จำ�นวนมากที่สุด เครดิตภาพ: youtube.com
การต่อโครงสร้างให้ยกน้ำ�หนักได้มากที่สุด โดยใช้จำ�นวนชิ้นต่อและวัสดุอุปกรณ์เท่าที่มีให้
23
การออกแบบกิจกรรมที่ให้เสรีในการคิดสร้างสรรค์ นับเป็นสิ่งท้าทายในการทำ�งานกลุ่ม โดยการทำ� กิจกรรมอาจให้เด็กทำ�โครงสร้างรูปแบบปลายเปิดที่เด็กสามารถคิดสร้างสรรค์ขึ้นได้เอง ตัวอย่างกิจกรรม เปิดเสรีทางความคิดสร้างสรรค์
ตัวอย่างโครงสร้างจากกระดาษ เครดิตภาพ: behance.net
เก้าอี้นั่งจากลำ�ไผ่ ภาพจาก “กิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์”
24
ตัวอย่างโครงสร้างจากไม้ไอติม
เครดิตภาพ: www.asnexananda.com
เก้าอี้นั่งจากลังกระดาษลูกฟูก
คนทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในตัว ถ้าหมั่นฝึกฝน...ก็จะมีจิตสร้างสรรค์อยู่ในหัวใจ
ฝึกฝนเด็กให้มี “จิตคิดสร้างสรรค์”
“เปิดประตูสู่โลกกว้าง” – ผู้มีจิตคิดสร้างสรรค์จะมีความกระตือรือล้นสนใจในสิ่งต่างๆ รอบตัว และต่อโลกกว้าง ชอบรู้ ชอบคิด ชอบแสวงหา ชอบค้นพบ “คิดกว้าง คิดลึก คิดไกล คิดจินตนาการ” – ผู้มีจิตคิดสร้างสรรค์เป็นผู้ที่ชอบคิด คิดสิ่งนั้น คิด สิ่งนี้ มองเห็นสิ่งต่างๆ จากความคิดที่กลั่นกรองมาจากภายใน มีจินตนาการคิด “ช่างเชื่อมโยง” – ผู้มีจิตคิดสร้างสรรค์สามารถเชื่อมโยงหลายสิ่งหลายอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อคิด สิ่งใหม่ที่แตกต่าง สามารถคิดเชื่อมโยงได้จากสิ่งที่ไม่น่าจะเชื่อมโยงกันได้ “หาหนทางใหม่” – ผู้มีจิตคิดสร้างสรรค์มีมิติคิดที่แตกต่าง มีความคิดที่หลากหลาย คิดทางเลือก ได้หลายทางในการแก้ปัญหา ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง “กล้าคิด” – ผู้มีจิตคิดสร้างสรรค์สามารถคิดในสิ่งที่ไม่มีผู้ใดมองเห็นผู้ใดนึกถึง คิดสิ่งท้าทาย คิด คำ�ถามที่อาจไม่มีคำ�ตอบ คิดในสิ่งที่อาจดูเหมือนไม่มีความเป็นไปได้ “มุ่งมั่นลุ่มหลง” – ผู้มีจิตคิดสร้างสรรค์จะมีความลุ่มหลงในงานที่ทำ� จะมีจิตที่มุ่งมั่นทำ�งานไปสู่ ความสำ�เร็จ แม้จะผ่านความล้มเหลวก็ไม่ล้มเลิกย่อท้อ
25
เครดิตภาพ infed.org
ศาสตราจารย์ฮาวเวิร์ด การ์ดเนอร์ จิตแพทย์อเมริกันผู้ เป็นต้นตำ�รับ ‘พหุปัญญา’ ให้ความสำ�คัญกับการเรียนการ สอนที่พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะความคิดที่บ่มเพาะฝังไว้ใน ตัวจนเกิดเป็นนิสัย และมีการฝึกฝนผู้เรียนให้สามารถคิด ประยุกต์ใช้ข้อมูลที่มีและข้อมูลที่ดีที่ได้มาจากการค้นหา เรียนรู้เพิ่มขึ้นทำ�สิ่งต่างๆ ศาสตราจารย์ฮาวเวิร์ด การ์ดเนอร์ ให้แนวทางไว้ว่า ใน ศตวรรษที่ 21 นี้ หากคนเราต้องการดำ�รงชีวิตอยู่เพื่อ อนาคตที่ดีของตนเองและสังคม คนทุกคนจำ�เป็นต้อง พัฒนาจิตที่สำ�คัญ 5 อย่าง คือ จิตวิทยาการ จิตสังเคราะห์ จิตสร้างสรรค์ จิตเคารพ และจิตจริยธรรม (Gardner, H., “5 Minds for the Future”) จิตคิดทั้ง 5 ประการนี้ หากเด็กได้รับการพัฒนาขึ้นในตัวได้อย่างสมดุล ก็จะเป็นแก่นคิดที่ฝังอยู่ในตัวเด็ก ทำ�ให้เมื่อเด็กเติบโตขึ้น จะสามารถรับมือได้กับการดำ�รงชีวิตในอนาคตที่ท้าทายของศตวรรษที่ 21 ... ด้วยเหตุนี้ เด็กระดับโรงเรียนทุกช่วงชั้น จำ�เป็นต้องได้รับการพัฒนาจิตคิดทั้ง 5 ประการนี้ ... และตามแนวคิดจิต 5 ประการสำ�หรับศตวรรษที่ 21 ของศาสตราจารย์ ฮาวเวิร์ด การ์ดเนอร์ การ พัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ในเด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จึงเป็นสิ่งจำ�เป็น ซึ่ง สามารถทำ�ได้ทั้งในชั้นเรียน นอกชั้นเรียน ในครอบครัว และในชีวิตประจำ�วัน
26
บทที่
๒
ไอเดียใหม่ กับ ความคิดสร้างสรรค์
27
“ไอเดียใหม่” เกิดขึ้นได้ จากความสามารถคิดสร้างสรรค์ การคิด “ไอเดียใหม่” คือ การคิดสิ่งที่ “แตกต่าง” ไปจากสิ่งที่รู้อยู่ เห็นอยู่ เป็นอยู่ ใช้อยู่ ทำ�อยู่ การคิด “ไอเดียใหม่” จากความสามารถคิดสร้างสรรค์ ไม่ได้หมายความเพียงแค่การคิด “สิ่งที่ แตกต่าง”เท่านั้น แต่การคิด “ไอเดียใหม่” จะต้องเป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่าและเป็น ประโยชน์ต่อผู้อื่น บ่อยครั้งที่ผู้ใช้ตะเกียบ จับตะเกียบได้ไม่ถนัดมือ โดยเฉพาะชาว ต่างชาติ “ไอเดียใหม่” จึงเกิดขึ้นกับ Chu Mingming นักเรียนจีนวัย 15 ปี ที่ได้คิดทำ�ชิ้นส่วนที่ช่วยให้การจับตะเกียบทำ�ได้ถนัดขึ้น ง่ายขึ้น และได้นำ�แสดงและออกขายในงาน World Expo ปี พ.ศ. 2553 ปัจจุบันมีการผลิตอุปกรณ์ช่วยจับตะเกียบเชิงพาณิชย์ออกมาหลายหลายรูปแบบ และหลากหลายสี
เครดิตภาพ: www.amazon.com
28
บ่อยครั้งที่คนเรามักติดกับอยู่กับความคิดเดิมๆ ทำ�ให้วนเวียนอยู่กับความคิดเดิม ไม่สามารถแก้ปัญหา ให้ดีขึ้นได้ ความคิดนอกกรอบ ความคิดในมิติใหม่ เป็นมิติคิดที่หลุดออกมาจากการคิดในรูปแบบเดิมๆ ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือระบบเก่าๆ ของสิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ เห็นอยู่ ทำ�อยู่ หรือ ใช้อยู่ ก่อนหน้านี้ จักรยานที่มีล้ออยู่ในวงล้อแบบปกติ ไม่สะดวกในการพาไปกับตัวผู้ใช้ได้ “ไอเดียใหม่” ที่คิด ออกแบบสร้างสรรค์ให้ล้อจักรยานพับเก็บได้ ช่วยให้ผู้ใช้จักรยานสามารถพกพาจักรยานไปกับตัวได้
เครดิตภาพ: www.designswan.com
เครดิตภาพและข้อมูล: eyeteeth.blogspot. com
รองเท้าไอเดียใหม่ของ Johny Apple Sandal รองเท้าแตะที่มี ฝ่ารองเท้าที่เก็บเมล็ดพืชขึ้นมาได้ และเมื่อเดินก็จะปล่อยเมล็ด ลงดิน ทำ�ให้ช่วยปลูกต้นไม้ ลดโลกร้อน เครดิตภาพและข้อมูล: www.bookofjoe.com 29
แนวทางการส่งเสริมเด็กให้เกิด “ไอเดียใหม่” คิดจากปัญหา ปัญหาในชีวิตประจำ�วัน หากรู้จักสังเกต คิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อหาหนทางในการแก้ปัญหา “ไอเดียใหม่” ในการทำ�สิ่งของเกิดขึ้นได้
อุปกรณ์ช่วยใส่กางเกงสำ�หรับผู้มีปัญหาในการก้มใส่กางเกง “ไอเดียใหม่” ของนักเรียนไต้หวันที่จัดแสดง ในงาน IEYI 2013 กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
เด็กชาย Ma, Te-chih นักเรียนไต้หวัน คิด “ไอเดียใหม่” ในการทำ�อุปกรณ์ช่วยใส่ถุงเท้า เพื่อช่วยคนที่ ไม่สามารถก้มตัวลงใส่ถุงเท้าเองได้ รวมทั้งผู้สูงอายุที่ไม่ถนัดในการใส่ถุงเท้าด้วยตัวเอง
ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2012 กรุงเทพมหานคร 30
“... หลังรับประทานอาหารเสร็จ เวลาใช้ไหมขัดซอกฟัน ต้องใช้นิ้วม้วนพันเส้นไหมเข้าไปในปาก รู้สึกไม่ ถนัด และยังไม่สะดวกใช้กับทุกซอกฟันด้วย...” ปัญหาความไม่สะดวกในการใช้ไหมขัดซอกฟันทำ�ให้ เด็กชาย Chen, Chang-Yuan นักเรียนไต้หวัน คิดอุปกรณ์ขัดซอกฟันไฟฟ้าที่ใช้งานได้สะดวก ขัดซอกฟันได้ทะมัดทะแมงกว่าการใช้มือพันเส้นไหม และใช้ได้ดีกับทุกซอกฟัน และอุปกรณ์ถอดเปลี่ยนหัวได้ เพื่อให้สามารถนำ�หัวแปรงสีฟันมาสวมใส่ได้ด้วย
Chen, Chang-Yuan
ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า
31
“... ช่วงฤดูฝน เวลาถือร่มที่เปียกฝนเข้าไปในอาคารเรียน น้ำ�หยดจากร่มตกลงที่พื้น ทำ�ให้พื้นลื่น น้องๆ และเพื่อนคนอื่นไม่ทันสังเกต เดินแล้วลื่น เกิดอุบัติเหตุได้ หรือ บางทีต้องไปเข้าห้องเรียน จึงวางร่มที่ เปียกทิ้งไว้ กลับมาเอาร่ม ร่มหายไปแล้ว...”
ความต้องการป้องกันอุบัติเหตุจากพื้นอาคารเรียนที่ลื่นจากน้ำ�หยดจากร่มที่เปียกฝน ทำ�ให้เด็กหญิงเดือน ฉาย อิศรเสนา ณ อยุธยา และ เด็กหญิงชลธิญา ภิญโญโชค คิดทำ�เครื่องมือรีดและสะบัดน้ำ�ออกจากร่ม เพื่อนำ�ไปตั้งไว้ในอาคารเรียนในช่วงฤดูฝน เครื่องมือใช้หลักการปั่นร่มให้หมุนเพื่อให้น้ำ�หลุดออกจากผิว ร่ม โดยมีขาเหยียบให้เครื่องทำ�งาน
ผลงานนักเรียนไทยชิ้นนี้ได้รับรางวัล เหรียญทองแดงในงาน IEYI 2014 กรุงจา การ์ต้า อินโดนีเซีย
ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า 32
คิดสิ่งที่คุ้นเคย ในมิติคิดใหม่ การทำ�สิ่งที่คุ้นเคยให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นจุดเริ่มต้นของนักคิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็นการ สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์หรือการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพราะสิ่งที่ใช้กันอยู่จนคุ้นชิน คนเรามักมอง ข้ามไป ไม่สนใจ ไม่นึกถึงการเปลี่ยนแปลง แต่นักคิดสร้างสรรค์จะมองสิ่งคุ้นชิน สิ่งคุ้นเคย ในอีกมิติหนึ่ง นักคิดสร้างสรรค์จะมองและสังเกตสิ่งคุ้นชิน เพื่อวิเคราะห์ค้นหาสิ่งที่เป็นปัญหา สิ่งที่ไม่น่าพึงพอใจ เพื่อ คิดสังเคราะห์หาหนทางเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้ไขปัญหา หรือทำ�ให้ใช้งานได้ดีขึ้น เด็กหญิง Kazuki Tashiro นักเรียนญี่ปุ่น มองเห็นราวตากผ้า และเห็นว่า เมื่อตากผ้าห่มผืนใหญ่บนราว ตากผ้าจะกินพื้นที่มาก
เกลียวตากผ้าห่ม “ไอเดียใหม่” ของ เด็กหญิง Kazuki Tashiro ช่วยให้การตากผ้าห่มผืนใหญ่ ด้วยเกลียวตากผ้าประหยัดพื้นที่ลงได้
ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2012 กรุงเทพมหานคร
นักเรียนจากฮ่องกงผู้นี้ มองเห็นว่า เสื้อนักเรียนที่ใส่อยู่ทุกวัน เวลาเร่งรีบ มักจะติดกระดุมเรียงเม็ดผิด “ไอเดีย ใหม่” เกิดขึ้น ด้วยการทำ�แถบสาบ เสื้อที่มีสมบัติทางแม่เหล็กดูดติดกัน โดยไม่ต้องติดกระดุม ข้อมูลและภาพจาก งาน IEYI 2013 กรุง กัวลาลัมเปอร์ 33
หลอดดูดที่ใช้กันจนคุ้นชิน นักคิด สร้างสรรค์มองเห็นว่า มีปัญหาในขณะ ใช้และทิ้งช่วงการใช้หลอดดูด “ไอเดีย ใหม่” เกิดขึ้น ด้วยการทำ�ฝาขวดให้มีที่ ยึดหลอดดูด ข้อมูลและภาพจากงาน AYIE 2013 กรุง กัวลาลัมเปอร์
กระบอกเครื่องดื่มใส่น้ำ�แข็ง นักศึกษาไต้หวันมองเห็นว่า น้ำ�แข็งละลายทำ�ให้เครื่องดื่มเจือจางลงเสีย รส “ไอเดียใหม่” เกิดขึ้น โดยการทำ�กระบอกเครื่องดื่มให้มีสองส่วน ส่วนบนทำ�เป็นช่องแยกใส่น้ำ�แข็งไว้ ทำ�ให้เครื่องดื่มในส่วนล่างเย็นและไม่เสียรส ข้อมูลและภาพจากงาน AYIE 2013 กรุงกัวลาลัมเปอร์ 34
เปิดตาเปิดใจกว้าง ค้นหา ขบคิด ความกระตือรือล้นสนใจโลกรอบตัวและสิ่งที่อยู่รอบข้าง คือ คุณลักษณะที่ดีของนักคิดสร้างสรรค์ โดย นักคิดสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพจะเปิดประตูสู่โลกกว้าง เปิดตากว้างมองสิ่งต่างๆ รอบตัว สังเกต ขบคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ สิ่งที่เห็น สิ่งที่พบ และเกิดประกายของ “ไอเดียใหม่” เด็กชาย Akihiro Yamada นักเรียนญี่ปุ่นสังเกตเห็นว่า ที่ญี่ปุ่นมีคนสูงอายุที่ถูกทอดทิ้งไว้ในบ้าน ตาม ลำ�พังมาก หากเจ็บป่วยอยู่ภายในบ้านจะเกิดอันตราย และไม่มีใครช่วยได้ เด็กชาย Akihiro Yamada มีข้อสังเกตว่า ทุกบ้านมีตู้ใส่หนังสือพิมพ์หน้าบ้าน คนส่งหนังสือพิมพ์จะมาส่ง หนังสือพิมพ์ทุกวัน และคนสูงอายุที่อยู่บ้านลำ�พังก็จะออกมาเอาหนังสือพิมพ์ทุกวัน แต่หากคนสูงอายุที่ อยู่ลำ�พังเกิดเจ็บป่วย ก็จะออกมาเอาหนังสือพิมพ์ไม่ได้ “ไอเดียใหม่” เกิดขึ้นว่า ถ้าหนังสือพิมพ์ที่ค้างอยู่ในตู้หนังสือพิมพ์สามารถเป็นสัญญาณสื่อความหมายกับ คนส่งหนังสือพิมพ์ได้ ก็จะสามารถช่วยผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยอยู่ในบ้านลำ�พังได้
“ไอเดียใหม่” คือ ถ้ามีหนังสือพิมพ์ค้างอยู่ในตู้หนังสือพิมพ์ เมื่อคนส่งหนังสือพิมพ์มาส่งหนังสือพิมพ์ฉบับ ใหม่ลงไป แผ่นขอความช่วยเหลือจะตกลงมา ทำ�ให้คนส่งหนังสือพิมพ์ให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุได้ ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2012 กรุงเทพมหานคร 35
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เผชิญกับภัยพิบัติ คือ แผ่นดินไหวอยู่บ่อยครั้ง ทำ�ให้คนญี่ปุ่นตระหนักในภัย พิบัติทางธรรมชาตินี้ นาย Masahiro Osaka นักเรียนญี่ปุ่นตระหนักว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหว สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือ ไฟฟ้าดับ
“ไอเดียใหม่” เกิดขึ้นจากข้อสังเกตที่ว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหว บ้านจะสั่น ของจะล้ม หากมีไฟฉายตั้งที่โต๊ะ หากล้มลงแล้วไฟสว่าง ก็จะช่วยให้เห็นได้ ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2012 กรุงเทพมหานคร
นักเรียนญี่ปุ่นผู้หนึ่ง สังเกตว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหว หนังสือในชั้นหนังสือจะหล่นตกลงมา จึงเกิด “ไอเดีย ใหม่” ขึ้นว่า ถ้าชั้นหนังสือติดตั้งกลไกการทำ�งานที่เมื่อเกิดการสั่นสะเทือน จะปล่อยที่กั้นลงมาปิดชั้น หนังสือ ทำ�ให้หนังสือไม่หล่นตกลงมา
ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2013 กรุงกัวลาลัมเปอร์ 36
“ความปลอดภัยด้านอาหารเป็นสิ่งสำ�คัญ และพบว่าอาหารที่รับประทานกันมักมีสารปนเปื้อนเจือปน ทำ�ให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ”
“ไอเดียใหม่” ง่ายๆ ในการตรวจสารบอแร๊กซ์ในอาหาร คือ การใช้สาร Turmeric เคลือบไม้ทดสอบ ซึ่งจะใช้จิ้มลงไปในอาหาร ผลงานของเด็กหญิง Dayu Laras Wening และ เด็กหญิง Luehfia Adila นักเรียนอินโดนีเซีย ชิ้นไม้ตรวจสอบง่ายๆ ทุกคนสามารถใช้ได้ ให้ผลทดสอบได้ในเวลาอันรวดเร็วไม่กี่วินาที สามารถพกพา ติดตัวไปได้สะดวก ด้วย “ไอเดียใหม่” นี้ ผู้ใช้สามารถตรวจสอบอาหารก่อนรับประทานได้ ช่วยให้สามารถเลือกอาหารที่ ปลอดภัยจากสารบอแร๊กซ์ได้ ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า
37
คิดเชื่อมโยง สิ่งต่างๆ ที่เป็นอยู่ มีอยู่ ใช้อยู่ ผู้คิดสร้างสรรค์จะสนใจปรับปรุง เปลี่ยนแปลง สิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ ใช้อยู่ ให้ เป็นสิ่งใหม่ได้โดยนำ�เอาเทคโนโลยีที่มีอยู่มาเชื่อมโยง
ร่มธรรมดาที่ติดตั้งอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเพิ่ม ทำ�ให้สามารถใช้ประโยชน์ร่มได้มากกว่ากันแดดกันฝน ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2013 กรุงกัวลาลัมเปอร์
“ไอเดียใหม่” ที่นำ�เทคโนโลยีมาประกอบในปิ่นโตอาหาร ทำ�ให้ปิ่นโตสามารถเก็บและถนอมอาหารให้สด และอุ่นได้นาน ชิ้นงานสร้างสรรค์ของนายสมพงษ์ คำ�มูน นายเอก ติยะ นักเรียน และนายสุพจน์ สุรีติ๊บ ครูที่ปรึกษาไทย ที่ได้รับรางวัลเหรียญทองสาขาเทคโนโลยีสีเขียว ในงาน IEYI 2013 กรุงกัวลาลัมเปอร์
38
ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2013 กรุงกัวลาลัมเปอร์
ไม้เท้าที่นำ�เทคโนโลยีหลายอย่างมาประกอบกัน ทำ�ให้ไม้เท้ามีประโยชน์ได้หลายอย่าง ช่วยพยุงร่างกาย ช่วยส่องไฟนำ�ทาง มีเสียงขอทาง มีสัญญาณดังเมื่อล้ม ช่วยคีบของ ชิ้นงานสร้างสรรค์ของเด็กชายปวเรศ พรมมาลา และเด็กชายปัณณวิชญ์ สามแก้ว ได้รับรางวัลเหรียญ ทอง สาขาความปลอดภัยและสุขภาพ 39
คิดนอกกรอบ สิ่งที่เคยเห็นอยู่ เป็นอยู่ ทำ�อยู่ ใช้อยู่ หากคิดนอกกรอบ ไอเดียใหม่ๆ เกิดขึ้นได้
ตะเกียบที่เคยใช้อยู่ เมื่อคิดนอก กรอบ ตะเกียบอาจเปลี่ยนรูปแบบ ไปกว่าที่เคยเห็น และทำ�อะไรได้ มากกว่าตะเกียบที่เคยใช้กัน
จากช้อนรูปแบบที่ใช้กันอยู่ หากคิดนอกกรอบ ช้อนเปลี่ยนรูปแบบ ใหม่ได้ ภาพจากงาน AYIE 2013 กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาพจากผลงานนักเรียนในกิจกรรมส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์
ร่มที่เมื่อใช้งาน เคยต้องจับถือไว้ “ไอเดียใหม่” ที่คิด นอกกรอบ ทำ�ให้ผู้ใช้ร่มไม่ต้องถือเองอีกแล้ว และเมื่อใช้ เสร็จ ก็พับลงในซองร่มที่ติดกับสายกระเป๋าสะพายหลัง ทำ�ให้การใช้ร่มสะดวกไม่ต้องถือเอง ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2012 กรุงเทพมหานคร 40
หมวกธรรมดาๆ กลายเป็น “หมวกร่ม” เป็นการคิดนอกกรอบของเด็กชาย Haruki Sasawatari นักเรียน ญี่ปุ่น ที่ต้องการทำ�สิ่งประดิษฐ์ให้กับพี่สาว เพื่อให้สวมใส่ไว้กันแดดเวลาออกไปนอกบ้าน แต่เมื่อฝนตกลง มา หมวกที่สวมใส่จะถูกเปลี่ยนเป็นร่มได้ง่ายๆ เพื่อกางกันฝน ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI2014 กรุงจาการ์ต้า
41
ความคิดสร้างสรรค์ มีหนทางในการมองปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ ในมุมมองใหม่ เพื่อนำ�เสนอ การแก้ปัญหาในรูปแบบใหม่ ซึ่งการคิดสร้างสรรค์อาจเกิดขึ้นจากคนๆ เดียวคิดหรืออาจเกิดขึ้น จากการรวมกลุ่มคิด “ไอเดียใหม่” จากการระดมความคิดที่เปิดเสรี – เป็นการนำ�เสนอแนวคิด สร้างสรรค์และไอเดียใหม่ๆ รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาในมิติคิดใหม่ๆ โดยเป็นการดึงความ คิดสร้างสรรค์จากกลุ่มมาเป็นไอเดียใหม่ๆ ในการทำ�สิ่งต่างๆ รวมทั้งการแก้ปัญหาต่างๆ สมาชิก ในกลุ่มแต่ละคนนำ�เสนอไอเดียออกมาให้ได้มากที่สุด แล้วกลุ่มนำ�ไอเดียทั้งหมดนั้นมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อหาคำ�ตอบ คือ “ไอเดียใหม่” ที่ต้องการ “ไอเดียใหม่” จากหลักการ “หมวกหลากสี” – เป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดจาก หลักการ “หมวกหลายสี” ของ เอ็ดเวิร์ด โบโน (Edward Bono) ในการมองหลากหลายมิติคิด ดังตัวอย่าง การใช้ “หมวก 6 ใบ” หมวกสีฟ้า – เป็นมิติคิดจากมุมมอง “กำ�ลังคิดเรื่องอะไรอยู่” “เป้าหมายคืออะไร” หมวกสีขาว – เป็นมิติคิดจากมุมมอง “มีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง” “อะไรคือปัญหา” “สถานการณ์จริงที่เป็นอยู่คืออะไร” หมวกสีแดง – เป็นมิติคิดจากมุมมอง “รู้สึกอย่างไรกับปัญหานี้” “อะไรเป็นข้อกังวล” หมวกสีดำ� – เป็นมิติคิดจากมุมมอง “อะไรเป็นสิ่งที่ต้องคำ�นึงถึง อะไรคือความห่วงใย” หมวกสีเหลือง – เป็นมิติคิดจากมุมมอง “อะไรคือประโยชน์หรือข้อดีจากแนวคิดนี้” หมวกสีเขียว – เป็นมิติคิดจากมุมมอง “จะเดินไปสู่แนวคิดได้อย่างไร” จากมุมมองหลายมิติคิด กลุ่มวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อหา “ไอเดียใหม่” ที่ต้องการ “ไอเดียใหม่” จากผังความคิด– เป็นแนวทางหาความเชื่อมโยงเพื่อหา “ไอเดียใหม่” ข้อควรรู้: ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากสมอง ซึ่งเริ่มต้นจากสิ่งที่มีอยู่ มิใช่เริ่มต้นจากศูนย์ เพียงแต่ผู้ มีจิตคิดสร้างสรรค์มองเห็นความเป็นไปได้ในหนทางและทางเลือกที่หลากหลาย สามารถเชื่อมโยง ในสิ่งที่ผู้อื่นมองไม่เห็นหรือมองข้าม และสามารถสร้างโอกาสทำ�สิ่งใหม่ๆ 42
บทที่
๓
การออกแบบกับ ความคิดสร้างสรรค์
43
ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ ทว่า ความสามารถคิดสร้างสรรค์อาจ มากน้อยไม่เท่ากัน อยู่ที่องค์ประกอบหลายอย่าง การฝึกฝนทักษะการใช้ ความคิดสร้างสรรค์ ช่วยให้ความสามารถคิดสร้างสรรค์พัฒนาขึ้นได้ การออกแบบก็เช่นกัน ทุกคนสามารถออกแบบได้ และพัฒนาความ สามารถในการออกแบบให้ดีขึ้นได้ การออกแบบทำ�ได้หลายแนวทาง
• พัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่ จักรยานสองล้อที่ใช้แรงคน
เมื่อเอาเครื่องยนต์มาใส่ช่วยให้ประหยัดแรงและเดินทาง ได้เร็วขึ้น
• แก้ปัญหาที่มี การควบคุม
• ออกแบบขึ้นใหม่เลย โทรศัพท์เป็น
เครื่องไฟฟ้าที่ไม่อยู่ในระยะที่จะกด ปุ่มสั่ง ทำ�ได้จากการสร้างรีโมทไร้ สาย เพื่อให้การควบคุมทำ�ได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างที่ดีของสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นใหม่ จากเทคโนโลยีที่มี
• รวมหลายอย่างเป็นสิ่งใหม่ แทปเล็ตที่ใช้กันอยู่
44
ออกแบบมาจากเทคโนโลยีดิจิตัลหลายๆ อย่างรวมกัน คือ จอ สัมผัส อินเทอร์เน็ต การเชื่อมต่อแบบต่างๆ กล้องถ่ายรูป วีดิ โอ เครื่องเล่นมีเดียต่างๆ
รูปแบบมาทีหลังการใช้งาน FORM follows FUNCTION การออกแบบคำ�นึงถึงการใช้งานก่อนเสมอ เก้าอี้ชนิดต่างๆ การใช้งาน คือ เพื่อให้คนนั่ง การออกแบบให้มีขนาด วัสดุ อุปกรณ์ประกอบเพิ่มเข้ามา ก็เพื่อให้มีการใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ประเด็นนี้ชี้ให้เห็นว่า การออกแบบสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือสิ่งประดิษฐ์ จำ�เป็นต้องรู้กลุ่มเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของการนำ�ไปใช้งาน ขนาด สัดส่วน วัสดุ หรือ แม้แต่งบประมาณ
45
การออกแบบช่วยให้การสร้างสรรค์ชิ้นงานดีขึ้น การคิดผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ การออกแบบช่วยให้ชิ้นงานสร้างสรรค์ดีขึ้น ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ของ Apple เป็นตัวอย่างของการออกแบบที่นำ�เทคโนโลยีมาใช้ โดยการออกแบบ ในแต่ละรุ่นจะเป็นตัวกำ�หนดรูปร่างและขนาด คอมพิวเตอร์ของ Apple มีแนวทางการออกแบบที่ชัดเจน คือ การเน้นการออกแบบที่เรียบง่าย การใช้ งานที่สะดวก และการใช้วัสดุที่นำ�สมัย วิวัฒนาการการออกแบบคอมพิวเตอร์ของ Apple
เครดิตภาพและข้อมูล: m.cdn.blog.hu
46
การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) การออกแบบที่คำ�นึงถึงการใช้งานของผู้ใช้ทุกคน เพื่อไม่ให้มีข้อจำ�กัดหรืออุปสรรคสำ�หรับบางคน เช่น เด็ก คนสูงอายุ คนพิการ ฯลฯ
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เพื่อทุกคน ของ SCG
ปลั๊กไฟที่ถอดออกได้ง่าย ออกแบบโดย Kim Seung Woo โดยไอเดียง่ายๆ ว่า ปลั๊กไฟที่ออกแบบต้องใช้ได้ กับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ทุกแบบ การดึงปลั๊กไฟออกอาจไม่ใช่เรื่องยาก แต่บางทีก็ไม่ได้ ดึงออกได้ง่าย ปลั๊กไฟของ Kim Seung Woo มีช่อง กลมที่สอดนิ้วลงไป ช่วยให้ดึงออกมาได้ง่าย และการ เครดิตภาพและข้อมูล: freshhome.com, www. ถอดปลั๊กออกได้ง่ายเช่นนี้ ช่วยประหยัดพลังงานด้วย bloggang.com เพราะ ปลั๊กถูกดึงออกเมื่อไม่ได้ใช้งานทุกครั้ง 47
การออกแบบที่ยั่งยืน หรือ การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม สิ่งที่นักออกแบบยุคใหม่ให้ความสนใจ การออกแบบที่ยั่งยืน เป็นการออกแบบที่คำ�นึงถึงสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากร เพื่อให้สิ่งแวดล้อมมี ความยั่งยืน ซึ่งต้องคำ�นึงถึงทั้งวงจร การออกแบบ วัสดุหรือชิ้นส่วนที่ใช้ ทรัพยากรที่ใช้ การผลิต การใช้ งานและการซ่อม และหลังการใช้งาน รวมถึงการใช้พลังงานอย่างประหยัด และการมีของเสียน้อยที่สุด วัสดุและชิ้นส่วนอกแบบ
การออกแบบ
การผลิต ทรัพยากรที่ใช้ออกแบบ
หลังการใช้งาน
การใช้และซ่อม
ตัวอย่างการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
ผลิตภัณฑ์ SCG Paper Life Style Product 48
บรรจุภัณฑ์ทำ�จากวัสดุทางธรรมชาติ
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ใหม่จากความสามารถคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานความรู้ที่ให้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ผลิตภัณฑ์ เปลี่ยนแปลงแตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์ที่มีใช้อยู่เดิมและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมในการดำ�เนินชีวิต ตัวอย่างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์
แทบเบล็ตคอมพิวเตอร์ที่ใช้หน้าจอแบบสัมผัส
หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
เครดิตภาพ: www.theeasterntribune.com
เครดิตภาพ: www.businessinsider.com.au
หุ่นยนต์เช็ดกระจก
ไม้ Selfie กับ Remote control เครดิตภาพ: www.ebay.in
เครดิตภาพ: www.robots-and-androids.com
คีย์บอร์ดเลเซอร์แบบพกพา เครดิตภาพ: www.wonderfulengineering.com
49
การเขียนแบบเพื่อสร้างต้นแบบสิ่งประดิษฐ์มีมาแต่ครั้งอดีต ขั้นตอนการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่สำ�คัญอย่างหนึ่ง คือ การสเก็ตซแบบ และการเขียนแบบ ภาพสเก็ตซของเลโอนาร์โด ดา วินชี เกี่ยวกับการบิน ที่เขียนไว้เมื่อกว่า 500 ปีมาแล้ว
ภาพการเขียนแบบของออตโต ลิเลียนทาล ที่เขียน ขึ้นเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ด้านต่างๆ ก่อนการ ลงมือทำ�สิ่งประดิษฐ์
www.flyingmachines.org
50
ตัวอย่างภาพการเขียนแบบกับสิ่งประดิษฐ์
เครดิตภาพ: Deutsches Museum 51
ทำ�อย่างไรถึงจะออกแบบได้ - ตั้งโจทย์ และกำ�หนดขอบเขตปัญหา o ทำ�ไมต้องออกแบบ - พิจารณาปัญหาที่มีอยู่ วิเคราะห์จุดที่ต้องการแก้ปัญหา o ออกแบบเพื่ออะไร – เพื่อแก้ปัญหาในจุดที่วิเคราะห์เห็นถึงปัญหา อันจะเป็นแนวทางในการ ออกแบบและพัฒนางานออกแบบ และตั้งจุดมุ่งหมายของงานที่ออกแบบ. o ออกแบบให้ใคร – กำ�หนดกลุ่มเป้าหมายของงานออกแบบ - ระดมความคิด เพื่อให้เห็นมุมมองที่หลากหลายมิติคิด - ศึกษากลุ่มเป้าหมาย – สำ�รวจข้อมูล พูดคุย สัมภาษณ์ ทำ�แบบทดสอบ (เช่น ช่วงอายุ เพศ สุขภาพ สภาพร่างกาย การใช้ชีวิต สภาพความเป็นอยู่ ฯลฯ) - เข้าใจขั้นตอนการใช้งาน - วางข้อกำ�หนดในการออกแบบ – จับถนัดมือ ใช้ง่าย ทำ�ความสะอาดได้ง่าย พกพาสะดวก เก็บได้เป็น ระเบียบ ไม่ต้องใช้แรงมาก ประหยัดพลังงาน ประหยัดวัสดุ ฯลฯ - ระดมความคิด เพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อพัฒนาต่อ โดยทำ�เป็นภาพร่าง - พัฒนาแบบร่าง - พัฒนาแบบจำ�ลอง 3 มิติ - ทำ�ต้นแบบและทดลองการใช้งาน - พัฒนางานออกแบบ
52
บทที่
๔
แรงบันดาลใจ กับ ความคิดสร้างสรรค์
53
“... ที่บ้านทำ�ยาง ตอนกรีดยาง รางรับน้ำ�ยาง เป็นเหลี่ยม คนกรีดยางมักได้รับบาดเจ็บ จึงอยากแก้ปัญหา อยาก คิดทำ�เครื่องมือที่ช่วยไม่ให้คนกรีดยางได้รับบาดเจ็บ วัน หนึ่ง...เห็นคุณครูยิงตัวยิงกระดาษ ทำ�ให้เกิดความคิดขึ้น มาว่าน่าจะเอาไปเชื่อมโยงทำ�กับงานที่กำ�ลังคิดจะทำ�อยู่ ได้...” แรงบันดาลใจของเด็กหญิงเอฟานา มาหามะ และเด็กหญิงมุนซีเราะ เจะบู ในการทำ� “ เครื่อง ยิงรางรับน้ำ�ยาง”
ผลงาน “เครื่องยิงรางรับน้ำ�ยาง” ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง ในงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า
54
ชัยพัชร์ เล่าว่า “... ทางบ้านทำ�ลูกชิ้นขาย แต่ใช้มีดบาก บางทีเกิด บาดแผล และทำ�ไม่ทันขายด้วย ทำ�ให้อยากคิดเครื่องมือที่ช่วย ครอบครัวให้ทำ�ลูกชิ้นได้เร็วขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นด้วย โดยเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย พกพาสะดวก มีขนาดเล็ก น้ำ�หนัก เบา...”
เด็กชายชัยพัชร์ สระทองมืด และ เด็กหญิงศรารัตน์ เหรียญแจ้ง ผู้ สร้าง “เครื่องบากลูกชิ้น” จากแรง บันดาลใจ
ชัยพัชร์เล่าว่า “... เกิดไอเดียในการทำ�เครื่องบากลูกชิ้นที่มีต้นรูปแบบมาจาก กระบอกฉีกตัวรถเมล์ ก็เพราะนั่งรถเมล์ไปลพบุรีบ่อยๆ วันหนึ่ง เห็นพนักงานขายตั๋วทำ�หน้าที่อยู่ เกิดไอเดียขึ้นมา เลยคิดเชื่อม โยงไปถึงเครื่องบากลูกชิ้นที่อยากจะทำ�... ส่วนรางบังคับเสียบเพื่อ บาก ก็เกิดไอเดียมาจากการมองเห็นการเคลื่อนที่เข้า-ออกของลิ้น ชัก จึงเกิดความคิดที่จะทำ�รางบังคับให้เคลื่อนที่เข้า-ออกได้ มีสกรู ยึดให้แน่นเวลาใช้งาน...”
ชัยพัชร์และศรารัตน์ได้นำ�แรงบันดาลใจมาช่วยกันคิดทำ�สิ่งประดิษฐ์เพื่อแก้ปัญหา ทดลอง การใช้งาน ปรับปรุงและพัฒนา จนเครื่องบากลูกชิ้นสามารถบากได้ทั้งลูกชิ้น ไส้กรอกยาว และไส้กรอก ค๊อกเทล
55
“... เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของเราทั้งสองคน กว่าจะมาเป็น เครื่องมือนี้ เราทำ�เครื่องบากลูกชิ้นหลายรุ่น เครื่องรุ่นแรก คล้าย ที่ทับกล้วยปิ้ง ซึ่งมีปัญหาตรงใบมีดที่ใช้บากฝังอยู่กับเนื้อไม้ ทำ�ให้ อาจมีเชื้อโรคติดอยู่กับเนื้อไม้ และทำ�ความสะอาดยาก จึงได้ปรึกษา กันว่า จะทำ�เครื่องมืออย่างไรดีที่จะไม่ให้มีดบากติดกับเนื้อไม้ จึง ช่วยกันออกแบบรางใบมีดบากที่ถอดเข้า-ออกได้ ทดลองดู พบว่า ทำ�งานไม่สะดวก เพราะเครื่องใหญ่มากเป็นทรงสี่เหลี่ยม จึงช่วย กันออกแบบใหม่ให้มีขนาดกระทัดรัดใช้งานง่าย เปลี่ยนรูปร่างจาก ทรงสี่เหลี่ยม เป็นรูปทรงกระบอกคล้ายกระบอกฉีกตั๋วรถเมล์ แล้ว ติดใบมีดติดกับเครื่องมือเป็นช่วง ทดลองดูพบว่าบากลูกชิ้นกลมๆ ได้ แต่บากได้เฉพาะลูกชิ้นอย่างเดียว อยากให้เครื่องมือบากได้ทั้ง ลูกชิ้นและไส้กรอกยาวๆ จึงสร้างรางบังคับเสียบให้ตรงช่อง เพื่อ บากได้ทั้งลูกชิ้น ไส้กรอกยาว และไส้กรอกค๊อกเทล...” ความสำ�เร็จในการทำ�สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรก เป็นแรง บันดาลใจให้ชัยพัชร์อยากทำ�สิ่งประดิษฐ์ชิ้นต่อๆ ไป...
“... เครื่องบากลูกชิ้นที่ทำ� เป็นสิ่ง ประดิษฐ์ที่ช่วยอำ�นวยความสะดวก ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำ�วัน พกพาง่าย การทำ�เครื่องบากลูก ชิ้น ทำ�ให้ได้รู้จักการออกแบบ และ การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้เป็นรุ่น ใหม่ออกมาเรื่อยๆ ผมอยากจะ พัฒาจนได้สิ่งประดิษฐ์ที่ตอบโจทย์ มากขึ้น เอาไปใช้งานได้มากขึ้น มี ประสิทธิภาพดีขึ้น...”
“... ผมอยากทำ�สิ่งประดิษฐ์ต่อไปเรื่อยๆ อยาก เปลี่ยนเป็นชิ้นอื่น จากชิ้นงานที่ทำ�สำ�เร็จ ได้สร้าง แรงบันดาลใจให้ผมอยากทำ�งานชิ้นต่อไป ผมอยากรู้ว่า ถ้าทำ�ชิ้นต่อไป จะทำ�ได้สำ�เร็จเช่นนี้อีก ไหม...” ศรารัตน์เรียนรู้มากขึ้นจากการทำ�สิ่งประดิษฐ์ และอยากให้สิ่งที่ทำ�เป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อนๆ... “... การได้ทำ�เครื่องบากลูกชิ้นได้สำ�เร็จ ทำ�ให้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้มาก ขึ้น ได้มีและใช้ความคิดสร้างสรรค์ อยากทำ�ต่อไปเรื่อยๆ สิ่งประดิษฐ์แต่ละ ชิ้นมีหลักการทำ�งานไม่เหมือนกัน ถ้าทำ�มากขึ้นก็จะทำ�ให้มีวิชาการมากขึ้น และยิ่งฝึกฝนทำ�มากขึ้น ก็จะยิ่งมีทั้งวิชาการและประสบการณ์มากขึ้น...” “... การได้มาแข่งขันของหนู หนูอยากให้สิ่งนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อนคนอื่นอยากคิด ประดิษฐ์บ้าง หนูมีเพื่อนหลายคนสนใจ อยากทำ� แต่ยังไม่เข้ามา เพราะฉะนั้น ความสำ�เร็จของหนู จึงน่าจะทำ�ให้เพื่อนๆ เข้ามามากขึ้น...” ผลงาน “เครื่องบากลูกชิ้น” ได้รับรางวัลเหรียญเงินในงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า 56
ปิณณวัฒน์เล่าว่า “... ตอนเด็กๆ สมัยเรียนชั้นประถม อยู่กับพ่อแม่ อยู่ในชุมชน เลยรู้ว่าชุมชนใช้ชีวิตอย่างไร มีปัญหาอะไร บ้าง จึงคิดว่าน่าจะทำ�อะไรให้ชีวิตสบายมากกว่านี้ได้ เลยเกิดแรงบันดาลใจ เริ่มจับโน่น จับนี่มาปะติดปะต่อ ลองทำ�ดูว่า ถ้าทำ�อย่างนี้ แล้วจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ยังไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ...พอ อยู่ชั้น ม.ต้น เห็นเพื่อนนักเรียนทำ�สิ่งประดิษฐ์ในโรงเรียน ทำ�ให้คิดว่า ทำ�ไมเขาจึงเอาความคิดมาทำ�สิ่ง ประดิษฐ์ได้ ก็เลยเริ่มเข้ามาทำ�โครงงานสิ่งประดิษฐ์...”
นายปิณณวัฒน์ เพียรจัด และนางสาวอรวรรณ ทัศนเบญจกุล
ไบโอพลาสติกที่เลี้ยงด้วยน้ำ�ทิ้ง จากการทำ�ยางแผ่นดิบ
ผลงานได้รับรางวัลเหรียญเงินจากงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า
57
อรวรรณเล่าว่า “... เริ่มสนใจตั้งแต่อยู่ชั้นประถม แต่เพิ่งมีโอกาส ที่สนใจก็เพราะต้องการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดย เฉพาะเวลาปิดเทอม จึงเลือกทำ�โครงงานเพราะชอบวิทยาศาสตร์ ...เวลาทำ�งานสิ่งประดิษฐ์ ทดลองทำ� แล้วล้มเหลว ผิดพลาด ก็ตรวจสอบหาจุดบกพร่องผิดพลาด แล้วปรับปรุง” “... ชอบดูรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับการทดลองค้นคว้า การค้นพบ จึงเกิดแรงบันดาลใจอยากทำ� โครงงาน และคิดว่า เวลาทำ�งานศึกษาวิจัยแล้วไม่อยากให้ขึ้นหิ้ง อยากที่จะนำ�ข้อมูลและสิ่งที่ได้มาใช้ ในชีวิตจริง...” ปิณณวัฒน์ เล่าว่า “... เมื่อมาทำ�โครงงานสิ่งประดิษฐ์ ก็จะดูปัญหาใกล้ตัว โดยคุณครูให้พูดความคิด ให้เอาความคิดออกมา แล้วหาหนทางทำ�ให้เป็นจริงโดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ การออกแบบสิ่งประดิษฐ์ ต้องใช้หลักทางวิชาการจึงจะทำ�งานได้สำ�เร็จ” “... เริ่มต้นทำ�ชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ ก็เพราะอยากแก้ปัญหา แล้วก็ออกแบบสิ่งประดิษฐ์โดยใช้หลักทาง วิทยาศาสตร์ แต่ต้องทำ�การทดลองดูก่อนการออกแบบ เพื่อจะได้ปรับให้เข้ากับชิ้นงาน ตอนออกแบบจะ ปรึกษาคุณครูว่า สิ่งที่ออกแบบมาจะเป็นไปได้ไหม คุณครูก็จะถามลักษณะการทำ�งานว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ จะ เป็นอย่างไร ถ้าเป็นอีกอย่าง จะเป็นอย่างไร ก็ต้องคิด แล้วทดลองดู และแก้ไขเพื่อทำ�ให้งานดีขึ้น ...ต้อง คิดทุกทาง จนทำ�งานได้จริง ก็ประดิษฐ์ออกมา ประดิษฐ์แล้วทดลองใช้งาน ตรวจดูว่า มีจุดไหนที่ต้องการ แก้ไข ก็แก้ไข ถ้าใช้งานแล้ว ไม่เหมาะสม ก็เอามาแก้ไข ทำ�ใหม่ให้ดีขึ้น...” “... ส่วนใหญ่แล้ว สิ่งประดิษฐ์ที่ทำ�มีแรงบันดาลใจจากงานของคนอื่น แล้วเอามาดัดแปลง โดย การสังเกตงานที่มีอยู่แล้ว มองปัญหา ตั้งคำ�ถาม แล้วหาสมมุติฐานหรือหนทางหลายๆ แบบ...” ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า 58
เทปเวลโคร หรือ เทปตีนตุ๊กแก (Velcro) ที่รู้จักกัน มีต้นแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ
เครดิตภาพ: en.wikipedia.org
George de Mestral วิศวกรชาวสวิส ผู้ประดิษฐ์เทปเวลโคร ผู้ที่เชื่อว่า ธรรมชาติ คือ วิศวกรที่ดีที่สุด วันหนึ่ง George de Mestral พาสุนัขไปเดินเล่นในธรรมชาติ บริเวณเทือกเขาแอลป์ เมื่อกลับมาถึงบ้านพัก สังเกตเห็นว่าขา กางเกงขนสัตว์และขนสุนัขมีเมล็ดเบอร์ (Burrs) ติดอยู่ และมัก เห็นเมล็ดเบอร์ติดบนขนสุนัขยู่บ่อยๆ ด้วยความอยากรู้ว่าเกิดขึ้น ได้อย่างไร จึงนำ�ไปส่องกล้องจุลทรรศน์ดู และค้นพบว่าเมล็ด เบอร์มีขอเกี่ยวเล็กๆ นับร้อยอัน ทำ�ให้เกาะยึดกับห่วงเล็กๆ จาก เส้นด้ายของกางเกงขนสัตว์หรือของขนสุนัขได้
เครดิตภาพ:team.pain.com
เครดิตภาพและข้อมูล: www.aps.org เครดิตภาพและข้อมูล: en.wikipedia.org
การค้นพบนี้ เป็นแรงบันดาลใจในการ คิดทำ�เทป 2 แถบที่ติดกันได้ โดยแถบ หนึ่งเป็นเส้นขอเกี่ยว อีกแถบเป็นเส้น ห่วง งานประดิษฐ์ระยะแรกใช้แถบผ้า ฝ้ายเรียกว่า “เทปขอเกี่ยวและห่วง” ต่อมาเปลี่ยนเป็นไนลอน ชิ้นงานสร้างสรรค์ของ George de Mestral มีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ จน เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายในชีวิต ประจำ�วัน
59
คนเรามีแรงบันดาลใจจากธรรมชาติมาแต่อดีตกาล
ภาพถ่ายจากนิทรรศการใน Technoseum, Mannheim, Germany ธรรมชาติ คือ แม่แบบของเทคโนโลยี ผ่านกาลเวลานับร้อยล้านพันล้านปีของวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวเพื่อการดำ�รงอยู่รอด การปรับ ตัวของสิ่งมีชีวิตผ่านกระบวนการวิวัฒนาการ ทำ�ให้เกิดเทคโนโลยีทางธรรมชาติที่มีความเหมาะสมกับโลก ที่เราอยู่นี้ และเทคโนโลยีทางธรรมชาตินี้จึงเป็นแรงบันดาลใจ เป็นแม่แบบที่ดีที่สุดของเทคโนโลยีที่มนุษย์ จะสร้างขึ้น
เครดิตภาพ: imgkid.com
เครดิตภาพ: www.standard.co.uk
ประกาย “ตาแมว” คือ แม่แบบทาง ธรรมชาติของ ไฟนำ�เส้นทางบนถนนไฮเวย์
เครดิตภาพ: www.skyscrapercity.com 60
โครงสร้างกระดูกที่พรุน นำ�สู่นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาโครงสร้างกระดูกเทียม
โครงสร้างทางธรรมชาติ สู่นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาโครงสร้างที่แข็งแรงขึ้น
ภาพถ่ายจากนิทรรศการใน Technoseum. Mannheim, Germany แรงบันดาลใจจากรวงผึ้ง
เครดิตภาพ: fastcoexist.com
เครดิตภาพ: www.pleatform.com เครดิตภาพ: www.youtube.com 61
แรงบันดาลใจในการทำ�สิ่งต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นจาก ที่ไหน แท้จริงแล้วเกิดขึ้นจากข้างในตัว โดยการมองเห็น
สังเกตสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา สิ่งของ ผู้คน... และโลกที่ล้อม รอบตัวเรา คือ ธรรมชาติ... เครดิตภาพ: www.kingsgalleries.com
เลโอนาร์โด ดา วินชี ต้นแบบของผู้มีอัจฉริยภาพความคิดสร้างสรรค์ในด้านศิลปะ และการสร้างสรรค์สิ่ง ประดิษฐ์และเทคโนโลยี เลโอนาร์โด ดา วินชี สนใจใคร่รู้สิ่งต่างๆ ของโลก ทำ�ความเข้าใจและบันทึกเกี่ยวกับโลกที่อยู่รอบตัว ทำ�การผ่าตัดศึกษาร่างกายจำ�นวนมากเพื่อที่จะวาดภาพอย่างละเอียด และมีแรงบันดาลใจในการมองเห็น ร่างกายเปรียบดั่งเครื่องจักรกล เลโอนาร์โด ดา วินชี ศึกษาเรียนรู้ค้นพบและทำ�ความเข้าใจในศาสตร์ต่างๆ หลายศาสตร์ เป็นนักคิดที่ เชื่อมโยงระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ และเชื่อมโยงความคิดจากการศึกษาพืชและสัตว์ไปสู่งานทาง สถาปัตยกรรม และเชื่อมโยงศาสตร์หลายศาสตร์เพื่อการคิดชิ้นงานสร้างสรรค์... โทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้มีอัจฉริยภาพสร้าง สิ่งประดิษฐ์ของโลกกล่าวว่า แรงบันดาลใจเพียงอย่างเดียว ไม่อาจสร้างอัจฉริยภาพได้
เครดิตภาพ: www.notable-quotes.com
“อัจฉริยภาพได้มาจากแรงบันดาลใจ 1% กับ หยาดเหงื่อ 99%” 62
บทที่
๕
ความคิดนวัตกรรม กับสิ่งประดิษฐ์
63
IEYI ชื่อเต็ม International Exhibition for Young Inventors IEYI เป็นงานจัดแสดงผลงานของนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์จากนานา ประเทศ ริเริ่มขึ้นและมีการจัดงานครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) โดยสถาบันสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่ง ประเทศญี่ปุ่น หรือ Japan Institute of Invention and Innovation (JIII) และปีต่อๆ มา ประเทศต่างๆ ผล้ดเปลี่ยนหมุนเวียนเป็น เจ้าภาพ ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ IEYI 2012 ในปี พ.ศ. 2555 มิสเตอร์ Takao Ogiya ผู้อำ�นวยการบริหาร JIII มิสเตอร์ Takao Ogiya ให้ข้อมูลว่า จุดประสงค์ของ IEYI มี 3 ประการ คือ • ส่งเสริมจิตคิดนวัตกรรม (Innovative Mind) • ส่งเสริมมิตรภาพของผู้ที่มาร่วมจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์ในงาน • ส่งเสริมการคิดถึงโลกใบเดียวที่อยู่ร่วมกัน (Global One World)
การดำ�เนินงาน IEYI จึงเป็นการจัดงานเพื่อส่งเสริมให้กำ�ลังใจในการคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ของเด็ก ระดับโรงเรียนด้วยการให้รางวัล และเป็นเวทีการสื่อสารของนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์
64
จากจุดมุ่งหมายในการจัดงาน IEYI เพื่อส่งเสริมจิตคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมของเด็ก ผลงานสิ่งประดิษฐ์ใน งาน IEYI จึงสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถคิดสร้างสรรค์และความสามารถคิดนวัตกรรมของเด็ก ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเด็กญี่ปุ่นในงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย สิ่งประดิษฐ์ - Moving Handle for Grandpa to Grab Shouki Sakai เล่าว่า “... ปู่ของผมสายตาเสียจากผลของการ เกิด Stroke ทำ�ให้ต้องใช้ไม้เท้าเดิน บางทีเวลาเดินไม้เท้าปู่มัก หลุดจากมือ ทำ�ให้เกิดอันตราย และปู่เคยล้มในห้องน้ำ� ทำ�ให้ เวลาเข้าห้องน้ำ� ปู่เข้าลำ�พังไม่ได้...” Shouki Sakai กับต้นแบบ (Prototype) สิ่งประดิษฐ์
Shouki Sakai เกิดไอเดียในการออกแบบมือจับช่วยเดิน ด้วยการทำ�ให้มือจับมีแกนขึ้นไปติดเกาะกับราง ที่ติดกับเพดานห้องและเคลื่อนที่ไปตามราง ช่วยให้ผู้จับเดินไปตามรางได้ และออกแบบมือจับให้ทำ�งาน คล้ายที่คีบอาหาร (tongs) สามารถเปิดกางออกและหุบปิดได้ หากขณะเดินอยู่แล้วลื่น มือจับจะหุบปิด ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า
65
สิ่งประดิษฐ์ – Shoelace Securer Shouki Ueno เล่าว่า “...เวลาผมใส่รองเท้าไปเล่น ฟุตบอลหรือเข้าแข่งขันฟุตบอล เชือกรองเท้าของผมมัก จะหลุดออกมาเสมอ แม้นว่าผมจะตั้งใจผูกเชือกรองเท้า มาก แต่เชือกรองเท้าก็ยังหลุด ทำ�ให้ผมหงุดหงิดมาก ผม จึงอยากเกิดไอเดียว่า ต้องหาวิธีทำ�ให้เชือกผูกรองเท้ายัง แน่นอยู่ได้ไม่หลุดออกมาเวลาสวมใส่..”
Shouki Ueno เกิดไอเดียในการนำ�ท่อ ไวนิลมาออกแบบให้สอดใส่เชือกผูกรองเท้า ที่เวลาผูกเสร็จแล้วจะติดแน่นอยู่กับรองเท้า เวลาสวมใส่รองเท้าไม่หลุด “... การผูกเชือกรองเท้าด้วยการสอดใส่ ในท่อไวนิลที่ออกแบบนี้ ทำ�ได้ง่าย ทำ�ให้ เชือกผูกรองเท้าติดแน่นกับรองเท้า เวลา เล่นฟุตบอลผู้สวมใส่รองเท้าก็ไม่รู้สึกอะไร เพราะวัสดุที่ใช้เป็นไวนิล...”
ข้อมูลและภาพจากงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า
66
มิสเตอร์ Shiro Maeno เจ้าหน้าที่สถาบันสิ่งประดิษฐ์และ นวัตกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น (JIII) กล่าวว่า การฝึกเด็กให้คิดไอเดียใหม่หรือมีความคิดนวัตกรรมในการ ทำ�สิ่งประดิษฐ์ มี 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ให้เด็กค้นหาปัญหาจากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ขั้นตอนที่ 2 ให้เด็กคิดไอเดียแก้ปัญหาด้วยตัวของเด็กเอง ขั้นตอนที่ 3 ให้เด็กทำ�ไอเดียที่คิดจะแก้ปัญหาให้เกิดเป็น ชิ้นงานจริงด้วยตัวเด็กเอง ขั้นตอนที่ 4 ให้เด็กทดลองชิ้นงาน ทำ�ให้ดีขึ้น และทำ�ให้ดี ที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ด้วยตัวเอง
สถาบันสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ตั้งชมรมสิ่งประดิษฐ์ขึ้นในชุมชนทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยแต่ละชุมชนจะจัดการกันเอง เด็กญี่ปุ่นที่สนใจก็เข้าเป็นสมาชิกชมรมในชุมชนที่เด็กอยู่ 67
มิสเตอร์ Takao Ogiya ผู้อำ�นวยการบริหาร สถาบันสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม แห่งประเทศญี่ปุ่น (JIII) พูดถึง “ความสามารถคิดสร้างสรรค์” กับ “ความสามารถคิด นวัตกรรม” ของเด็ก ไว้ว่า “ความสามารถคิดสร้างสรรค์ คือ ความสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ออกมา จากสมอง ซึ่งเด็กมีอยู่แล้วในตัวและก็ใช้อยู่แล้วในชีวิตประจำ�วัน” “การส่งเสริมความสามารถคิดสร้างสรรค์ สิ่งที่ผู้ใหญ่ควรทำ� จึงเป็นเพียงการทำ�ให้เด็ก ดึงศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ออกมาผ่านการทำ�กิจกรรม การให้กำ�ลังใจเด็ก ในการคิดสร้างสรรค์ และการทำ�ให้เด็กมีแรงบันดาลใจเกิดขึ้นในสมอง ทำ�ให้อยากคิด สร้างสรรค์และทำ�สิ่งต่างๆ ออกมา” “ความสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เด็กอาจไม่จำ�เป็นต้องเป็นต้นคิดสิ่งนั้น เด็กอาจคิดสร้างสรรค์จากชิ้นงานที่มีอยู่แล้ว หรือดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว” “ความสามารถคิดนวัตกรรม คือ ความสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่ง ใหม่ที่แตกต่างจากไอเดียที่มีอยู่เดิม สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้อื่นทำ� ความ สามารถคิดสิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม เปลี่ยนรูปแบบไปจากที่เคยมี อยู่เป็นอยู่” “ความสามารถคิดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เด็กที่คิดสิ่งประดิษฐ์จะ เป็นต้นคิดสิ่งประดิษฐ์นั้น (originality) เช่น คิดอุปกรณ์หรือเครื่องมือ ใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดหรือเคยทำ� หรือ คิดสิ่งประดิษฐ์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว ในรูปแบบใหม่หรือด้วยระบบใหม่ที่ยังไม่มีใครคิดหรือใครทำ� ฯลฯ”
68
มิสเตอร์ Takao Ogiya ให้แนวทางในการบ่มเพาะความสามารถคิดสร้างสรรค์และความสามารถคิด นวัตกรรมในเด็กระดับโรงเรียน การบ่มเพาะความสามารถคิดสร้างสรรค์ในเด็กระดับประถมศึกษา
การจัดกิจกรรมให้เด็กสนุกกับการคิดสร้างสรรค์สิ่งใดก็ได้ เด็กรู้สึกสนุกที่จะทำ� เช่น • ให้ไม้ 1 ชิ้น กับ ยางรัด 2-3 เส้น บอกเด็กให้สร้างอะไรก็ได้ • ให้คลิปหนีบกระดาษ 1-3 อัน บอกให้เด็กยืดคลิปออกและทำ�อะไรก็ได้ มิสเตอร์ Takao Ogiya กล่าวว่า “... การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เด็กระดับประถม จะไม่มีการประเมินผลงานของเด็ก และจะไม่มี การทำ�ให้เด็กเสียกำ�ลังใจจากการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน การส่งเสริมเด็กระดับประถมศึกษาให้สร้างสรรค์ ชิ้นงาน ผู้ใหญ่ต้องให้กำ�ลังใจเด็ก เมื่อเด็กสร้างสรรค์ผลงานเสร็จ สิ่งที่ควรทำ� คือ พูดชมเชยว่า ดี ดีมาก เท่านั้น ...” การบ่มเพาะความสามารถคิดสร้างสรรค์ในเด็กระดับมัธยมต้น
1 ทีม มี 4-5 คน
• การจัดกิจกรรมนอกเวลาให้นักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงและผู้ก่อตั้งองค์กร ภาคเอกชนของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีอยู่จำ�นวนมาก มาเล่าให้เด็กๆ ฟังถึง ประวัติการจัดตั้ง การจัดกิจกรรมนี้สร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก การจัดกิจกรรมใช้เวลาเพียงครั้งละ 1 ชั่วโมง • การจัดกิจกรรมแข่งขันเล็กๆ เช่น การจัดกิจกรรมการแข่งขันใน โรงเรียน โดยแต่ละโรงเรียนจัดตั้งทีมแข่งขันประมาณ 6-8 ทีม
การทำ�กิจกรรมแข่งขัน จะให้เด็กทำ�กิจกรรมท้าทายความคิดสร้างสรรค์ภายในเวลาที่กำ�หนด โดยสิ่งที่แต่ละกลุ่มต้องทำ� คือ o ระดมความคิดของกลุ่ม เพื่อให้ได้ไอเดียของกลุ่ม โดยเด็กบางคนอาจแสดงภาวะผู้นำ�เป็นหัวหน้า ทีม บางคนเป็นคนร่างไอเดียให้เห็นเป็นรูปธรรม บางคนสร้างโมเดล หรือ ทำ�งานอื่นๆ o สื่อสารผลงานที่ทำ� ตัวอย่างกิจกรรมการแข่งขัน แต่ละทีมสร้าง “หอคอยสูงที่สุด” จากสิ่งที่ได้รับ กติกา: แต่ละทีมทำ�งาน ในเวลา 30 นาที การทำ�กิจกรรมแข่งขันที่สนุกและท้าทายความคิด และมีการสื่อสาร จะทำ�ให้ความสามารถคิดสร้างสรรค์ ในตัวเด็กเติบโต และเป็นการฝังความคิดสร้างสรรค์ให้อยู่ในสมองของเด็ก 69
การบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์เด็กระดับมัธยมปลาย
• การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบของทรัพย์สินทางปัญญา เช่น สิทธิบัตรประเภทการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ (Design Patent) เครื่องหมายการค้า (Trademark) และลิขสิทธิ์ (Copyright) เพราะการส่ง เสริมความคิดสร้างสรรค์เด็กระดับมัธยมปลาย จำ�เป็นต้องให้เด็กเป็นต้นคิดชิ้นงาน เด็กจึงควรมีความรู้ ระบบของทรัพย์สินทางปัญญา • การจัดกิจกรรมประกวดแข่งขันในระดับสูงขึ้น เช่น - การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น - ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น แตงโมรูปสี่เหลี่ยม ... - ผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม เช่น อุปกรณ์/เครื่องมืออำ�นวยความสะดวกในการขับรถ... - ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ เช่น ผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งอาจมีภาคเอกชนมารับไปทำ�เชิงพาณิชย์ และ ให้เงินกับเด็ก • ผลิตภัณฑ์ทางไอที เช่น สร้าง app ใหม่ สร้างเกมสำ�หรับสมาร์ทโฟน...
ตัวอย่างทรัพย์สินทางปัญญา
ตัวอย่างเครื่องหมายการค้า
ตัวอย่างลิขสิทธิ์ ตัวอย่างสิทธิบัตรประเภท การออกแบบผลิตภัณฑ์ 70
มิสเตอร์ Takao Ogiya ให้ความเห็นว่า “... การส่งเสริมความสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ในเด็กระดับประถมศึกษา ต้องการเพียงฝึกเด็กให้ คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน ผลงานอาจเหมือนของคนอื่น มีรูปร่างเหมือนกัน ก็ไม่เป็นไร แต่การส่งเสริมความ สามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ในเด็กระดับมัธยมต้นหรือมัธยมปลาย ความเป็นคนต้นคิดเป็นสิ่งสำ�คัญ เด็กต้องสร้างสรรค์ชิ้นงานที่แตกต่างจากที่คนอื่นทำ� เด็กต้องเรียนรู้ในการใช้ประโยชน์จากไอเดียใหม่ที่คิด การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา...” มิสเตอร์ Takao Ogiya ให้ “ข้อคิดสำ�หรับเด็ก” 1. คิดบวก ซึ่งหมายถึง คิดบวก พูดบวก ทำ�บวก และแสดงออกได้อย่างชัดเจน 2. ค้นพบคุณค่าในตัวเอง (ซึ่งไม่ใช่ความสามารถ) คิดถึงความสุขของตัวเอง สุขภาพของตัวเอง และความสำ�เร็จของตัวเอง และรักในคุณค่าของความเป็นตัวเอง ไม่ต้องเปรียบเทียบตัวเองกับ ผู้อื่น เชื่อตัวเองในสิ่งที่ทำ� สิ่งที่ตัวเองเป็น (ตัวเด็กนั้นมีคุณค่ามากนัก) 3. ตามความฝันของตัวเอง เติบโตไปกับความฝันของตัวเอง คิดเกี่ยวกับอนาคต วาดภาพใน อนาคตโดยไม่มีข้อจำ�กัด และคิดว่า “ฉันสามารถทำ�อะไรก็ได้ในอนาคต” คำ�พูดทิ้งท้ายสำ�หรับเด็กไทย “Your possibility is no limit. Please draw a big dream. Don’t hesitate. Don’t make a barrier. Don’t set a limitation. You can do everything. Your dream is your future.”
“ความเป็นไปได้ที่ท่านคิด ไม่มีข้อจำ�กัด ขอจงวาดความฝันอันยิ่งใหญ่ อย่ารีรอลังเล อย่าสร้างกำ�แพงกั้น อย่าตั้งข้อจำ�กัด ท่านสามารถทำ�ได้ทุกสิ่ง ความฝันของท่าน คือ อนาคตของท่าน”
Takao Ogiya, 30th October 2014
71
ผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเด็กไต้หวันในงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า
สิ่งประดิษฐ์ – Rotation-Screwdriver Chen, Yen-Ting และ Chen, Yen-Jung เล่า ว่า “... อุปกรณ์ไขสกรูที่ใช้กันอยู่ อาจเป็น แบบใช้มือหมุนสกรูที่ต้องใช้แรงและเวลา หรือ อาจเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้หมุนสกรู...”
Chen, Yen-Ting และ Chen, Yen-Jung คิดไอเดียในการทำ�อุปกรณ์ไขสกรูที่มีรูปแบบใหม่ในการ ทำ�งาน โดยการใช้มือจับอุปกรณ์ไขสกรู กดขึ้น-ลง อุปกรณ์จะหมุนสกรูหรือคลายสกรูได้อย่างรวดเร็ว ง่าย เบามือเพราะอุปกรณ์ออกแบบให้ทุ่นแรง อุปกรณ์ทำ�งานโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า และสามารถเปลี่ยนหัวไข สกรูขนาดต่างๆ ได้ หลังการใช้งาน ก็สามารถถอดเกลียวหมุนสกรูออก ใส่ที่ครอบอุปกรณ์ หมุนปิดให้ แน่น ทำ�ให้สะดวกในการเก็บอุปกรณ์หลังการใช้งาน และพกพาไปได้สะดวก 72
สิ่งประดิษฐ์: Security Nanny – Accident Prevention Sensors for Children Tsai, Ding-Ying, Lin, Jung-Sheng และ Lai, Yen-Hsi นักเรียนไต้หวันระดับประถม เล่าว่า “... ครอบครัวคนไต้หวันอยู่บนตึกสูง บางที เด็กเล็กๆ ชอบเดินออกไปที่ระเบียง ทำ�ให้ไม่ ปลอดภัย ถ้าเดินออกไปที่ระเบียงคนเดียว ...” Tsai, Ding-Ying, Lin, Jung-Sheng และ Lai, Yen-Hsi เกิดไอ เดียที่จะใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวถ้าเด็กเล็กเดินผ่าน แล้วมีเสียงเตือนผู้ใหญ่ เพื่อช่วยให้เกิดความปลอดภัย การติดตั้งเซ็นเซอร์ทำ�ใน 2 ระดับ ตัวล่างติดที่ระดับ 60 เซ็นติเมตร และตัวบนติดที่ระดับ 145 เซ็นติเมตร หากมีเด็กเล็กเดินผ่านเซ็นเซอร์ตัวล่างตัวเดียว เสียงเตือนจะดัง ออกมา เพื่อเตือนผู้ใหญ่ให้มาดู แต่ถ้ามีผู้ใหญ่เดินผ่านเซ็นเซอร์ทั้ง 2 ตัว เสียงเตือนจะไม่ดังออกมา
Tsai, Ding-Ying, Lin, Jung-Sheng และ Lai, Yen-His จำ�ลองสถานการณ์การติดตั้ง เซ็นเซอร์ 2 ตัวที่ต่างระดับกัน และสาธิตโดย ใช้ตุ๊กตาหมี 2 ตัวที่มีขนาดต่างกันเคลื่อนที่ ผ่านเซ็นเซอร์ 73
ศาสตราจารย์ Jon-Chao Hong, National Taiwan Normal University ให้ข้อคิดเห็นว่า ความสามารถคิดสร้างสรรค์ คือ การทำ�สิ่งใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม โดยสิ่งที่สร้างสรรค์นั้นต้องเป็น ประโยชน์ต่อสังคม ต่อชีวิตของตัวเองหรือคนใกล้ชิด ความสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ มี 2 แบบ
แบบแรก คือ ความสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่ดัดแปลงมาจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว ดัดแปลงจากสิ่ง ประดิษฐ์ของคนอื่น หรือจากผลิตภัณฑ์อื่น เรียกว่า Adaptive Creativity แบบที่สอง คือ ความสามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่ไม่เคยมีอยู่ เช่น คิดเครื่องจักรใหม่ เครื่องมือ ใหม่ อุปกรณ์ใหม่ หรือ คิดสิ่งใหม่ที่มีรูปแบบแตกต่างไปจากที่เคยมีอยู่เดิม เรียกว่า Innovative Creativity ผู้ที่สามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์แบบแรก จะขึ้นอยู่กับองค์ความรู้และประสบการณ์ว่ามีมากน้อย เพียงใด โดยผู้คิดสิ่งประดิษฐ์จะเดินไปหาสิ่งที่อยู่รอบๆ จนเกิดไอเดียที่จะทำ�สิ่งประดิษฐ์ ผู้สามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์แบบที่สอง จะเกิดไอเดียใหม่ขึ้นมาบนพื้นฐานที่มีหรือไม่มีองค์ความ รู้อยู่ก่อน แต่เกิดไอเดียใหม่ที่จะทำ�สิ่งประดิษฐ์ขึ้นเอง โดยไม่ได้มีอิทธิพลจากสิ่งอื่นมาครอบความคิด คือ เกิดไอเดียใหม่ขึ้นเอง ทำ�สิ่งใหม่ขึ้นด้วยตัวเอง แบบ “ฉันต้องการทำ�สิ่งนี้ ฉันต้องการให้เป็นแบบนี้...” 74
ศาสตราจารย์ Jon-Chao Hong ให้ข้อคิดเห็นว่า การบ่มเพาะความสามารถคิดสร้างสรรค์ ทำ�ได้โดย • เสริมต่อความรู้ที่มีอยู่ให้มากขึ้น การคิดสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ต้องการองค์ความรู้ ยิ่งมี ความรู้มากขึ้น ยิ่งคิดได้ดีมากขึ้น • ขยายความคิดให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆ • ขายไอเดียกับคนอื่น เพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ • ทดสอบไอเดียให้เป็นรูปธรรม เพื่อดูว่าเป็นไปได้หรือไม่ การตั้งคำ�ถาม > การคิดสิ่งท้าทาย > ความยืดหยุ่นในความคิด >
นำ�ไปสู่สิ่งที่ท้าทาย ทำ�ให้เกิดความยืดหยุ่นในความคิด ทำ�ให้มีทางเลือกมากขึ้น
ศาสตราจารย์ Jon-Chao Hong มีข้อคิดที่น่าสนใจ “...บางที การที่เด็กรู้สึกกดดันในการทำ�งาน ก็ให้ผลดีที่จะทำ�ให้เด็กคิดมากขึ้น ลงลึก มากขึ้น มองรายละเอียดมากขึ้น และพิจารณาไตร่ตรองมากขึ้น...”
ศาสตราจารย์ Jon-Chao Hong กล่าวว่า “... ไม่เผชิญความยากลำ�บาก ไม่เกิดปัญญา (No Hardship No Wisdom) ...” “... เมื่อเด็กทำ�สิ่งประดิษฐ์ ถ้าเด็กยิ่งคิดมากขึ้น ผลงานสิ่งประดิษฐ์ก็จะยิ่งดีมากขึ้น...”
คำ�พูดทิ้งท้ายจาก ศาสราจารย์ Jon-Chao Hong “... ในการทำ�สิ่งประดิษฐ์ ความเพียรพยายามทดสอบหลายครั้ง บางทีความล้มเหลว ที่เกิดขึ้น ทำ�ให้เด็กคิดหนักขึ้น คิดมากขึ้น และถ้าเด็กไม่ย่อท้อ ความสำ�เร็จย่อมเกิดขึ้น ตามมา” 75
สิ่งประดิษฐ์: อุปกรณ์แกะเปลือกกุ้ง ผลงานรางวัลเหรียญทองในงาน IEYI 2014 กรุงจาการ์ต้า “... เวลาทำ�อาหารที่ต้องแกะเปลือกกุ้ง บางทีเปลือกกุ้งลื่นหลุดมือ บางทีก็บาดนิ้ว ทำ�ให้อยากทำ�อุปกรณ์ที่ช่วยแกะเปลือก กุ้ง...” โชษิตา ตอนปัญญา และ วรพรรณ บรรเจิดศิลป์ เกิดไอเดีย ในการทำ�อุปกรณ์แกะเปลือกกุ้ง โดยมีต้นรูปแบบมาจาก ที่หนีบกระดาษ และได้ลงมือทำ�ไอเดียให้เป็นจริง ทดลอง การใช้งาน ปรับปรุงและพัฒนาถึง 13 รุ่น กว่าจะได้อุปกรณ์ แกะเปลือกกุ้งที่ใช้งานได้ดีมีประสิทธิภาพ รูปแบบอุปกรณ์ที่ เรียบเนียนสวยงามน่าใช้ โชษิตาและวรพรรณเล่าว่า ทั้งสองคนเริ่มต้นทำ�สิ่งประดิษฐ์ นี้ตั้งแต่อยู่ชั้น ม.2 และส่งเข้าประกวดตอนอยู่ชั้น ม.3 และ เล่าถึงขั้นตอนในการทำ�งานที่ยาวนานกว่าจะประสบความ สำ�เร็จ • เริ่มต้นจาก เลือกกุ้งก่อน โดยเลือกทำ�กุ้งขาวและกุ้ง แชบ๊วย เพราะคนพิจิตรนิยมกินกัน จากนั้นก็ศึกษาลักษณะ กุ้ง พอรู้ลักษณะกุ้งแล้ว ก็เริ่มคิดออกแบบอุปกรณ์ โดยคิด ว่า ทำ�อย่างไรจะแกะเปลือกกุ้งออกมาได้ • ความคิดสร้างสรรค์อยู่ตรงที่ สังเกตดูเปลือกกุ้ง จะเห็น เปลือกกุ้งมีแง่งออกมาติดกับขา จึงคิดว่าน่าจะหาอะไร ไปเกี่ยวแล้วดึงออกมา วันหนึ่งสังเกตเห็นการทำ�งานของ ที่หนีบกระดาษ ทำ�ให้เกิดไอเดียว่า ถ้าเอาหลักที่หนีบ กระดาษมาใช้ช่วยผ่อนแรงทำ�อุปกรณ์แกะกุ้ง น่าจะดี จึงเอา ไอเดียที่คิดมาลงมือทำ�อุปกรณ์ออกมา 76
การทดลอง ปรับปรุงและพัฒนาอุปกรณ์ จนได้อุปกรณ์ที่มี ประสิทธิภาพในการใช้งาน รุ่นที่ 1-4 ทดลองใช้งาน พบว่าแกะไม่ได้ งานที่ทำ�ล้มเหลว รุ่นที่ 5 ออกแบบอุปกรณ์ให้มีซี่แหลมๆ เพราะคิดว่าน่าจะช่วย เกี่ยวได้ดีกว่า แต่เมื่อทดลองใช้งาน แกะออกมาได้เนื้อกุ้งนิด เดียว เนื้อกุ้งเละ งานที่ทำ�จึงล้มเหลว รุ่นที่ 6 ออกแบบอุปกรณ์คล้ายรุ่นทื่ 5 แต่ทำ�ให้เรียบไม่มีที่ เกี่ยว ทดลองใช้งาน ก็ยังมาได้ผลดี รุ่นที่ 7- 9 ออกแบบอุปกรณ์ให้ปลายตัวหนีบโค้งมน และ มีขนาดใหญ่ กลาง เล็ก เพื่อใช้งาน โดยปรับขนาดเอาเอง ทดลองใช้งานแกะกุ้งได้ แต่ใช้เวลานาน เพราะอุปกรณ์แข็ง เพราะสปริงที่ใช้ใหญ่ จึงต้องใช้แรงมาก รุ่นที่ 10-12 ออกแบบคล้ายรุ่น 7-9 ต่างกันที่ขนาดใบมีด มี 3 ขนาด คือ 6 เซ็นติเมตร 5 เซ็นติเมตร และ 4 เซ็นติเมตร ทดลองใช้งาน พบรุ่นที่ 11 ที่มีขนาด 5 เซ็นติเมตร ใช้งานได้ ดี แกะเปลือกกุ้งออกใช้เวลาน้อย (5 วินาที) และแกะกุ้งได้ ทุกขนาด(กุ้งขาวและกุ้งแชบ๊วย) แต่อุปกรณ์ยังไม่เรียบสวย อุปกรณ์มีตัวหนีบและแผ่นใบมีดเป็น 2 ชิ้นเชื่อมกัน รุ่นที่ 13 ออกแบบอุปกรณ์ให้ตัวหนีบและใบมีดเป็นชิ้น เดียวกัน มีขนาด 5 เซ็นติเมตร เนื้อวัสดุเรียบ ทดลองใช้งาน พบว่า ผ่อนแรงดีขึ้น มีความแข็งแรงมากขึ้น ใช้งานได้เร็วขึ้น สามารถแกะเปลือกกุ้งออกได้ใน 2-3 วินาที และแกะเปลือก กุ้งได้ทั้งกุ้งสดและกุ้งต้ม (กุ้งขาวและกุ้งแชบ๊วย) แต่ทดลอง แกะกุ้งต้ม ใช้เวลาแกะเปลือกกุ้งนานกว่า โชษิตาและวรพรรณภูมิใจในสิ่งประดิษฐ์ที่ทำ� “... รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีอุปกรณ์ไว้ใช้เอง และคนอื่นก็สามารถใช้ได้ด้วย และถ้ามีร้านอาหารหรือ ภัตตาคารเอาอุปกรณ์นี้ไปใช้ จะยิ่งดีใจ...”
77
เรียนรู้การสร้างนวัตกรรมจาก โทมัส อัลวา เอดิสัน โทมัส อัลวา เอดิสัน นักประดิษฐ์อเมริกันที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น“บิดาแห่งสิ่ง ประดิษฐ์” ผู้ได้รับสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา 1,093 ใบ อัจฉริยบุคคลที่ใช้ศักยภาพทางเทคนิค... หลอดไฟเอดิสัน
เครดิตภาพ: www.newworldencyclopedia.org
เครดิตภาพ: inventors.about.com
โทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้วางรากฐานให้โลกนี้สว่างไสวจากแสงไฟฟ้า มีผู้กล่าวว่า เอดิสัน คือ ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟไส้ร้อน (Incandescent Light Bulb) ขึ้นเป็นคนแรก แต่ แท้จริงแล้วมีนักประดิษฐ์อื่นทำ�มาก่อนหน้านี้ ปี ค.ศ. 1801 แฮมฟรี้ เดวี่ นักเคมีอังกฤษสาธิตแสงที่เรือง จากเส้นแพลตินัมที่มีกระแสไฟฟ้าผ่าน โจเซฟ สวอน (Joseph Swan) นักเคมีอังกฤษก็คิดประดิษฐ์หลอด ไฟที่ใช้ไส้คาร์บอน แต่เอดิสัน ผู้มีความคิดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เพื่อการผลิตจำ�นวนมาก ได้ประกาศที่จะ ประดิษฐ์หลอดไฟเพื่อใช้ในบ้านที่ปลอดภัยและราคาไม่แพง จากนั้นเอดิสันและทีมงานได้ทำ�การทดลอง ถึง 1,200 ครั้ง เพื่อค้นหาไส้ที่ให้แสงสว่างได้ยาวนาน และได้ค้นพบว่าไส้ที่ทำ�จากเส้นฝ้ายชุบคาร์บอนใน สุญญากาศให้แสงสว่างได้ยาวนาน และได้สาธิตให้เห็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1879 โดยหลอดไฟไส้คาร์บอน ของเอดิสันสว่างได้นานถึง 150 ชั่วโมง ต่อมาในปี ค.ศ. 1880 เอดิสันและทีมงานสามารถทำ�ให้หลอดไฟ ไส้คาร์บอนของเขามีอายุการใช้งานได้นานถึง 1,100 ชั่วโมง และในเวลาต่อมา สวอนและเอดิสัน ได้ร่วม มือกันทำ�งาน ความร่วมมือของเอดิสันและสวอนทำ�ให้หลอดไฟได้รับการพัฒนาขึ้น ไส้ทังสเตนถูกนำ�มาใช้ งานแทนไส้คาร์บอน และไส้เปลี่ยนรูปร่างเป็นขดลวด และมีการเติมแก๊สเฉื่อยไนโตรเจนในหลอดไฟ จากจุดเริ่มต้นความคิดนวัตกรรมของเอดิสันที่ตัองการสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อการผลิตจำ�นวนมาก และจาก ความร่วมมือกันของเอดิสันและสวอน หลอดไฟฟ้าที่มีความสะอาดกว่า สว่างกว่า และมีความปลอดภัย กว่า ทำ�ให้หลอดไฟฟ้าถูกนำ�มาใช้งานให้แสงสว่างในบ้านอย่างแพร่หลายทดแทนการใช้แสงสว่างจาก ระบบแก๊สก่อนหน้านี้ เครดิตข้อมูล: “James Dyson’s History of Great Inventions”, edited by Robert Uhlig 78
เครดิตภาพ: en.wikipedia.org
เอดิสันเคยเป็นช่างโทรเลข ขณะทำ�งานเอดิสันคิดอยากหาหนทางเก็บข้อความรหัสมอสไว้ และจากความ คิดนี้เองที่นำ�ไปสู่การสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า เครื่องเล่นโฟโนกราฟ ขึ้น ในปี ค.ศ. 1877 เครื่องเล่นโฟโนกราฟของเอดิสัน เป็นสิ่งประดิษฐ์แรกที่สามารถบันทึกเสียงไว้ได้ และทำ�ให้เสียงที่ถูก บันทึกไว้ถูกปล่อยออกมาในภายหลังได้ แม้นว่าในช่วงเวลานั้นก็มีนักประดิษฐ์อื่นที่ประดิษฐ์เครื่องเล่น ที่บันทึกเสียงได้ แต่ก็ยังไม่มีสิ่งประดิษฐ์ใดที่ทำ�ให้เสียงที่บันทึกไว้ถูกปล่อยออกมาได้นอกจากเครื่องเล่น ของเอดิสัน แม้นว่าเครื่องเล่นโฟโนกราฟของเอดิสันไม่ได้รับการนำ�มาใช้งานแพร่หลาย แต่ความคิดนวัตกรรมของ เอดิสันในการคิดประดิษฐ์เครื่องเล่นโฟโนกราฟก็เป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมเครื่องเล่นบันเทิงในบ้าน ในเวลาต่อมา เครดิตข้อมูล: “James Dyson’s History of Great Inventions”, edited by Robert Uhlig
โทมัส อัลวา เอดิสัน เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ไปได้ไกลกว่าคนในยุคเดียวกัน และเป็นผู้ที่คิด สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการใช้งานของคนจำ�นวนมาก ความคิดสร้างสรรค์ของเอดิสันเป็นจุดเริ่มต้นให้มี การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและปฏิรูปการดำ�เนินชีวิตของคนในศตวรรษที่ 20
79
Sakichi Toyoda “ราชาของนักประดิษฐ์ญี่ปุ่น” ผู้ใช้ศักยภาพทางเทคนิคผนวกกับความคิดสร้างสรรค์ ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมสิ่งทอในประเทศญี่ปุ่น Sakichi Toyoda นักประดิษฐ์และนักอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เกิดที่ Kosai, Shizuoka ประเทศญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1867 (เมื่อประมาณเกือบ 150 ปีมาแล้ว)
Sakichi Toyoda ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ไว้มากมาย สิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียง คือ เครื่องทอผ้า ไม้ (Wooden Hand Loom) และเครื่องทอผ้าอัตโนมัติพลังไอน้ำ� (Automatic Power Loom) จากการคิดนวัตกรรมหลักการเครื่องทอผ้าอัตโนมัติ ทำ�ให้เกิดการค้นพบวิธีการบังคับเครื่องจักรให้หยุด ทำ�งานโดยอัตโนมัติเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในการทำ�งานของเครื่อง นวัตกรรมความคิดที่เป็นต้นแบบที่นำ�สู่ การพัฒนาระบบอัตโนมัติในเวลาต่อมา Sakichi Toyoda ได้ชื่อว่า เป็น “เอดิสันแห่งประเทศญี่ปุ่น” เครดิตข้อมูลและภาพ: en.wikipedia.org
80
เรียนรู้การสร้างนวัตกรรมจาก สตีฟ จ๊อบส์ Steve Jobs design & creativities
www.techmynd.com
81
เทคโนโลยีในปัจจุบันมีความก้าวหน้ามาก และมีความซับซ้อนในระดับ ที่คนธรรมดาหรือเครื่องมือทั่วไปไม่สามารถทำ�ได้ ต้องทำ�ในห้องแล็บ เท่านั้น เช่น เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการคิดค้น หรือสร้างสรรสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆโดยคนธรรมดาๆ แทบไม่มีโอกาส ต้อง เป็นคนที่เข้าใจเทคโนโลยีอย่างลึกซึ้ง มองเห็นแนวโน้มความเป็นไปได้ มี วิสัยทัศน์ที่ก้าวหน้า และเข้าใจผู้บริโภคอย่างดี ทั้งหมดนี้ สตีฟ จ๊อบส์ เป็นตัวอย่างที่ดีทีสุด
techland.time.com
www.apple.com
82
คงจำ�กันได้ว่า เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว Apple เคยวางขายอุปกรณ์ ที่ใกล้เคียง ไอโฟน (I-Phone) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน Newton คอมพิวเตอร์มือถือรุ่นแรกๆ มีเทคโนโลยีจอสีในสมัยนั้นที่ราคาแพง แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้น ขนาดยังเทอะทะ ซอฟท์แวร์ยังไม่ถูก ออกแบบให้ตอบสนองและเหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งานทั่วไป ราคาสูง และเป็นเพียงการเลือกเอาฟังก์ชั่นที่จำ�เป็นมาใส่ไว้เท่านั้น (ยกเว้น การเขียนลงบนหน้าจอด้วยปากกา Stylus และการจดจำ� ลายมือ แต่ก็ยังมีการทำ�งานได้ไม่ถูกต้องนัก) Apple ปล่อยให้ค่ายอื่นๆ พัฒนาอุปกรณ์ที่ล้ำ�หน้าไปนาน แต่เมื่อถึง เวลาที่เทคโนโลยีก้าวหน้า ราคาของอุปกรณ์เหมาะสมขึ้น สตีฟ จ๊อบส์ ได้นำ�เอาเทคโนโลยีหลายๆ ด้านในช่วงเวลานั้น เอาวิสัยทัศน์ที่ จินตนาการว่า ผู้ใช้ควรจะต้องใช้ในอนาคต และได้ออกแบบอุปกรณ์ใหม่ ่ที่เป็น ไอโฟน โดยการรวมเอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน - โทรศัพท์ - การเชื่อมต่อไร้สายต่างๆ (GPRS, 3G, WiFi, Bluetooth) ที่ทำ�ให้เชื่อม ต่อทั้งระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต และคอมพิวเตอร์ต่างๆ - คอมพิวเตอร์พกพาที่มีขนาดเล็ก - ระบบการทำ�งาน (IOS) ที่ออกแบบเฉพาะ ไม่ใช่เป็นการเอาซอฟท์แวร์ จากคอมพิวเตอร์มาย่อลงเท่านั้น วิธีการสั่งงานและอินเทอร์เฟสใหม่ หมดที่ต่างไปจากการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบเก่า การสั่งงานและการ ป้อนข้อมูลผ่านหน้าจอ โดยเฉพาะการออกแบบคีย์บอร์ดให้เหมาะกับ ขนาดของหน้าจอที่มีพื้นที่จำ�กัด - หน้าจอระบบสัมผัส (Touch Screen) และการสั่งงานผ่านแบบหลาย จุด (Multiple Touch)
- เครื่องเล่นเพลง MP3 และวีดิโอ (ที่มาจาก I-Pad เดิมของ Apple) - เทคนิคใหม่ที่จับทิศทางและปรับหน้าจอให้หมุนตามการถือทางตั้งและตามนอน (Accelerometer) - กล้องดิจิตัล และวีดิโอแบบปรับโฟกัสเอง และการสั่งงานเลือกจุดโฟกัสด้วยการสัมผัสที่หน้าจอ - พื้นที่เก็บข้อมูลที่เล็กลง กินไฟน้อย และจุได้มากขึ้น - เครื่องเล่นเกมส์ สรุปได้ว่า การออกแบบไม่จำ�เป็นต้องสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา แต่เป็นการหยิบจับเอาสิ่งที่มีอยู่แล้ว มาสานต่อ และคิดนวัตกรรมรวมเป็นสิ่งใหม่ขึ้นมาได้ การออกแบบสิ่งประดิษฐ์จึงอาจเริ่มต้นจากสิ่งที่ยังขาด เพื่อหาสิ่งมาเติมเต็มหรือตอบสนองความต้องการ ที่อุปกรณ์ที่มีใช้อยู่ไม่สามารถตอบสนองหรือทำ�ได้ ไอแพด (I-Pad) เป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีไอ แพด หรือ แทบเล็ตที่ใช้กันอยู่ ก็มีเพียงแค่สมาร์ทโฟน ไอพอด(I-Pod) โน๊ตบุ๊คและคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่ ใช้งานนอกสถานที่ได้ จากข้อจำ�กัดที่ว่า • สมาร์ทโฟนมีขนาดหน้าจอที่เล็ก • โน๊ตบุ๊คที่เล็กและเบา ราคาถูก แต่ก็ทำ�งานได้ช้า จอแสดงผลไม่สวย • โน๊ตบุ๊คที่หนัก ราคาแพง มีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้สั้น การสั่งงานยังต้องใช้เม้าส์และคีย์บอร์ด ที่ต้องการทักษะการใช้งานคอมพิวเตอร์ ไม่สะดวกในแก่ผู้ใช้งานทั่วไป ผู้สูงอายุ และคนที่ไม่มี ความรู้ในการใช้งานคอมพิวเตอร์
media.idownloadblog.com
ไอแพด (I-Pad) ถูกออกแบบมาให้อยู่ตรงกลางระหว่างข้อ จำ�กัดข้างต้น • การสั่งงานผ่านจอระบบสัมผัส • ซอฟท์แวร์และระบบทำ�งาน (OS) แบบเดียวกับ ไอโฟน ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจและสั่งงานได้ง่ายขึ้น แม้นว่าอาจ ไม่มีทักษะหรือความรู้พื้นฐานในการใช้งานคอมพิวเตอร์ มาก่อน • จอที่ใหญ่ขึ้นแต่กินไฟน้อยลง • แบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานยาวขึ้น ในการใช้งานปกติ สามารถใช้งานได้ถึง 10 ชั่วโมง นานกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปมาก • มีอินเทอร์เน็ต อีเมล์ และ E-Book ที่สะดวกและเข้าถึง ได้ง่ายขึ้น • การจัดการมีเดียส่วนบุคคลที่นับวันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ให้ทำ�ได้ดีขึ้น ทั้งภาพถ่ายและวีดิโอ 83
Milestone นวัตกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์
www.pocketables.com/ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีการพัฒนามาโดยตลอด - เริ่มจากจอที่แสดงได้แต่ตัวอักษร มีสีเดียว มาเป็นจอสี มีการ แสดงผลแบบกราฟิก มีเม๊าส์เพื่อการควบคุมการใช้และสั่งงาน ที่มีขนาดเล็กลง บางลง หน่วยความจำ�ที่มีมากขึ้น การประมวล ผลเร็วขึ้น - ต่อมามีการพัฒนาซอฟท์แวร์ที่ใช้งานง่าย เร็ว และสะดวก มากขึ้น ทำ�ให้เหมาะกับการใช้งานสำ�หรับบุคคลทั่วไปมากขึ้น
เครื่องคอมพิวเตอร์มีพัฒนาการในรูปแบบ จากแบบตั้งโต๊ะมาเป็นโน๊ตบุ๊ค และล่าสุดมาเป็นแทบเล็ตที่มีการสั่งงานระบบสัมผัสและการสัมผัสหลาย จุดพร้อมกัน อนาคตนวัตกรรมเครื่องคอมพิวเตอร์จะเป็นเช่นไร ? 84
บทที่
๖
จินตนาการ
85
มีตำ�นานเก่าที่เล่าขานกันเสมอมา คือ ... เห็นนกบินผ่านไปผ่านมาอยู่ทุกเมื่อเชื่อว้น เกิดจินตนาการอยากบินได้ดั่งนก จากจินตนาการ สู่แรงบันดาลใจ สู่การประดิษฐ์ “เครื่องร่อน” ที่ทำ�ให้คนสามารถขึ้นไปล่องลอยอยู่บน อากาศได้ดั่งนก
และจากจินตนาการนี้เอง ตามมาด้วยสิ่งประดิษฐ์มากมาย พัฒนาต่อเนื่องกันมา จนเกิดเป็นอากาศยาน ให้คนเราได้เดินทางไปรอบโลกได้ในเวลาอันรวดเร็ว จนถึงยานอวกาศที่พาคนเราเดินทางไปนอกโลก เกิด การเรียนรู้และค้นพบสิ่งต่างๆ มากมาย หากปราศจากจินตนาการนี้แต่อดีตกาล จะมีการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีการบินและเทคโนโลยีอวกาศ จนถึงทุกวันนี้ และต่อไปในอนาคตหรือ? เครดิตภาพ: Deutches Museum เมืองมิวนิค
86
เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เกิดใน เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ปี ค.ศ. 1452 เมื่อ กว่า 550 ปีมาแล้ว อัจฉริยบุคคลชองโลกที่มีอัจฉริย ภาพความคิดสร้างสรรค์ และมีจินตนาการสูง เลโอนาร์โด ดา วินชี มีวิสัยทัศน์และจินตนาการ ไกลกว่าคนในสมัยเดียวกัน จินตนาการสร้างสรรค์ ในด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และสิ่งประดิษฐ์ ทางเทคโนโลยี มีความล้ำ�หน้ามากกว่าความคิด ของคนในสมัยนั้น อาทิ จินตนาการหลักการสร้าง เฮลิคอปเตอร์ เครื่องคิดเลข ฯลฯ ...
ภาพสเก็ตซ์จินตนาการของ เลโอนาร์โด ดา วินชี (เมื่อกว่า 550 ปีมาแล้ว))
ภาพสเก็ตซ์เครื่องกลบิน
ภาพสเก็ตซ์เครื่องร่อน 87
ภาพสเก๊ตซ์รถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง
ภาพสเก็ตซ์อุปกรณ์เครื่องมือยกน้ำ� แม้นว่าผลงานจากจินตนาการสร้างสรรค์มีจำ�นวนเพียงไม่กี่ชิ้นที่ได้รับการสร้างขึ้นในสมัยนั้น ทว่าแนวคิด สร้างสรรค์และหลักการยังคงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และมีผู้นำ�ผลงานหลายชิ้นที่ไม่ได้สร้างขึ้นในสมัยนั้น มาสร้างขึ้นในภายหลัง เช่น จินตนาการสะพานเลโอนาร์โดที่ได้รับการสร้างขึ้นจริงเมื่อเวลาผ่านไปกว่า 500 ปี เครดิตข้อมูลและภาพ: www.leonardoda-vinci.org
88
จากจินตนาการกว่า 500 ปี สู่ความเป็นจริง สะพานเลโอนาร์โด
แบบสะพานเลโอนาร์โดที่ออกแบบในปี ค.ศ. 1502 เลโอนาร์โด ดา วินชี ออกแบบสะพานให้กับ Ottoman Sultan Beyazid II แห่งเมืองอีสตันบูล เมื่อ ปี ค.ศ. 1502 เพื่อข้ามปากแม่น้ำ� Bosphorus แต่ไม่ได้มีการสร้างสะพานขึ้นในสมัยนั้นเนื่องจากไม่มี เทคโนโลยีรองรับ จวบจนเวลาผ่านไปถึง 500 ปี ศิลปิน Vebjorn Sand ได้นำ�ร่างสะพานเลโอนาร์โดใน สมุดบันทึกของดา วินชี มาสร้างขึ้นในประเทศนอร์เวย์ ในปี ค.ศ. 2001
ปี ค.ศ. 2006 สะพานเลโอนาร์โดถูกสร้างขึ้นโดยรัฐบาลตุรกี ที่แม่น้ำ�โกลเดน ฮอร์น ในปัจจุบัน มีการนำ�ต้นแบบสะพานเลโอนาร์โดไปสร้างในประเทศต่างๆ หลายแห่ง นับได้ว่าจินตนาการ ของเลโอนาร์โด ดา วินชี เมื่อกว่า 500 ปี เป็นความคิดที่เป็นสากลสืบมายาวนานถึงปัจจุบัน เครดิตภาพ: www.leonardobridgeproject.org/Sands-Leonardo-Bridge-Project.htm เครดิต: www.leonardobridgeproject.org/leonardo-design.htm
89
จินตนาการสำ�คัญกว่าองค์ความรู้ อัลเบิรต ไอสไตน์
เครดิตภาพ: www.presentationzen.com
อัลเบิรต ไอสไตน์ กล่าวว่า “Logic will get you from A to B. Imagination will take you everywhere” “การคิดแบบมีตรรกะนำ�ท่านจาก เอ ไป บี จินตนาการจะพาท่านไปทุกหนแห่ง” – Albert Einstein ฝึกเด็กให้มีจินตนาการ...ภาพอนาคต เด็กระดับโรงเรียนควรได้รับการฝึกให้มีวิสัยทัศน์และมีจินตนาการคิด คือ ... ฝึกเด็กให้รู้จักคิดไกลออกไป จากความเป็นจริงที่มีอยู่... การส่งเสริมให้เด็กฝึกคิดจินตนาการภาพอนาคต เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจโลกในมิติคิดที่กว้างไกลไป ในอนาคต และสะท้อนมิติคิดในตัวเด็กที่มีต่อโลกในอนาคต การสร้างภาพอนาคต
เป็นการจินตนการสร้างสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้จริงในอนาคต โดยมองไปที่แรงผลักดันหลักที่จะทำ�ให้ อนาคตเป็นดังที่จินตนาการคิด ซึ่งจะทำ�ให้ส่งผลกระทบหรือผลลัพธ์ต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ การดำ�เนิน ชีวิต การอุปโภคบริโภค ที่อยู่อาศัย ฯลฯ ตัวอย่างแรงผลักดัน เช่น สภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภค การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ฯลฯ ) การสร้างภาพอนาคต อาจสร้างขึ้นจากแนวโน้มต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น สิ่งแวดล้อมที่เสียไป การย้าย ถิ่นที่อยู่อาศัย ภัยพิบัติที่รุนแรง ฯลฯ หรือ ความไม่แน่นอนของสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เช่น โรคอุบัติ ใหม่ ฯลฯ 90
ตัวอย่าง “จินตนาการภาพอนาคตใน 10 ปี ข้างหน้า”
จักรวาลในโลกอวกาศ ฟองอากาศที่ลอย โลกเกิดภาวะน้ำ�ท่วม การดำ�เนินชีวิตที่เร่งรีบ และการจราจร เคลื่อนที่ไปได้ทุกแห่งในท้องฟ้าและไปได้ ที่ติดขัด ทำ�ให้มีเรือดำ�น้ำ�ขนส่งมวลชน ในอวกาศ เด็กหญิงณิชาพัชร์ นำ�ผล อายุ 12 ปี เด็กหญิงสุมิตรา แสนทวีสุข อายุ 12 ปี
รถดำ�น้ำ�ที่ขับพาไปทัศนศึกษาใต้น้ำ�ในท้องทะเลได้ เด็กหญิงทิพย์ธารา ชิมรัมย์ อายุ 9 ปี
รองเท้าที่เดินบนน้ำ�ได้และวิ่งบนน้ำ�ได้ ผลงาน: เด็กหญิงจุฑาศิณี ธิถา อายุ 10 ปี
91
กระเป๋าที่เดินตามเซ็นเซอร์ที่ติดขาไปด้วยกันได้ และยัง บังคับกระเป๋าให้ทำ�ตามคำ�สั่งได้ เด็กหญิงวณัฐภาณ์ เทศทอง อายุ 10 ปี เด็กหญิงฉัตรวิไล คล่องแคล่ว อายุ 10 ปี เสื้อที่ปรับอากาศตอนหนาวให้เป็นอากาศ ธรรมดาได้ และปรับอากาศตอนร้อนให้เป็น อากาศเย็นได้ เด็กหญิงอุลัยลักษณ์ ขำ�ปลอดภัย อายุ 10 ปี
ตู้ลองเสื้อผ้าที่เพียงนำ�ชุดที่ต้องการลองมาแขวนไว้ในตู้ โลกที่ร้อนรุนแรงมากขึ้น มลพิษทางอากาศเกิด มากขึน้ มนุษย์จำ�เป็นต้องมีอ๊อกซิเจนกระป๋อง ด้านซ้าย ก็สามารถมองเห็นการลองเสื้อในกระจกได้ เอาไว้หายใจเวลาออกจากบ้าน นางสาวสุนิสา ไทยกาญจน์ อายุ 15 ปี เด็กชายพงษ์ศักดิ์ ศรีคำ� อายุ 11 ปี เด็กชายภานุพงษ์ พุ่มเปลี่ยน อายุ 10 ปี 92
บท
ทิ้งท้าย
93
โชษิตา ตอนปัญญา มีหลักคิดในการทำ�สิ่งประดิษฐ์ว่า ... • ศึกษาทางวิชาการ เพื่อจะได้คิดว่า ทำ�อย่างไรจะให้สิ่งประดิษฐ์ ออกมาดี • เวลาคิดออกแบบ ก็ต้องดูตัวอย่างอื่นๆ รอบตัว เอามาเทียบเคียง ว่าอันไหนเอามาใช้กับของที่เราคิดจะทำ�ใหม่ได้ และก็ต้องคิดถึง รูปร่าง วัสดุ และกระบวนการทำ�งาน
“... ตอนเรียนอยู่ชั้น ม.2 คุณครูให้คิดว่า จะเลือกทำ�โครงงานแบบไหน ได้เลือกทำ�สิ่งประดิษฐ์ เพราะคิด ว่า ถ้าทำ�ออกมาเสร็จ คนอื่นใช้ได้ ตัวเองก็ใช้ได้ การทำ�สิ่งประดิษฐ์ช่วยเพิ่มความคิด และท้าทายความคิด ว่า จะออกแบบอย่างไรให้สิ่งประดิษฐ์ออกมาแล้วดี...” “... เคยทำ�แล้ว เวลามองเห็นสิ่งท้าทายอื่นๆ ก็อยากจะทำ�ให้ประสบความสำ�เร็จเหมือนสิ่งที่ผ่านมา...” “... สิ่งสำ�คัญในการทำ�สิ่งประดิษฐ์ของตัวเอง คือ ไอเดียของตัวเอง เอกลักษณ์ของตัวเอง และเป็นสิ่ง ประดิษฐ์ที่ดูเรียบง่าย แต่ใช้ได้จริง...” ข้อคิดในการทำ�สิ่งประดิษฐ์: “ต้องมองสิ่งรอบตัว ในมุมมองใหม่ๆ ก็จะได้คิดสิ่ง ประดิษฐ์ที่ออกมาเป็นของตัวเอง”
วรพรรณ บรรเจิดศิลป์ เลือกทำ�สิ่งประดิษฐ์ เพราะ... - มีประโยชน์ และได้ฝึกคิด มีกระบวนการคิดที่มีขั้นมีตอน จนได้สิ่ง ประดิษฐ์ออกมาชิ้นหนึ่ง เมื่อได้แล้วก็ใช้ประโยชน์ได้จริงๆ “... เวลาทำ�งาน เหนื่อย ต้องพยายามไปเรื่อยๆ เมื่อผิดพลาด ก็เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้นๆ จนมาสู่ ความสำ�เร็จ การทำ�งานทำ�ให้รู้จักการยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น ของเพื่อนที่ทำ�ด้วยกัน...” “... ทำ�งานสิ่งประดิษฐ์แล้ว คิดเก่งขึ้น มีระบบการแก้ปัญหาที่ดีขึ้น ได้ฝึกการคิด รู้จักทำ�งานร่วมกัน แลก เปลี่ยนความคิดกัน ช่วยกันหาข้อผิดพลาด ช่วยกันแก้ไข และได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองมาก ขึ้น เพราะไม่เคยคิดมาก่อนว่า จากหลักของตัวหนีบธรรมดาๆ จะใช้แกะเปลือกกุ้งได้...” ข้อคิดในการทำ�สิ่งประดิษฐ์ของวรพรรณ: “การทำ�สิ่งประดิษฐ์ต้องมีความอดทน มี ความพยายามในการแก้ปัญหา และยอมรับความผิดพลาด จึงจะไปสู่ความสำ�เร็จได้” 94
เดือนฉายสนใจและเริ่มเข้าชมรม “นักประดิษฐ์จิตอาสา” ของ โรงเรียน ตอนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพราะคิดว่าการทำ�สิ่ง ประดิษฐ์ เป็นสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยได้ลองทำ�มาก่อน จึงอยากจะ ลองทำ�ดูว่าจะได้ผลออกมาอย่างไร การสังเกตเห็นปัญหาจากสิ่งใกล้ตัว คือ แรงบันดาลใจ “...การสังเกตสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ ตัว การ มองเห็นปัญหาจากสิ่งใกล้ ตัว ทำ�ให้อยากคิดหาหนทางแก้ปัญหา โดยลองคิดไปเรื่อยๆ และ ลองทำ�ดูว่าสามารถแก้ปัญหาได้ไหม แล้วค่อยๆ ปรับปรุงไปด้วย เช่น ปรับเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ ปรับเปลี่ยนรูปทรง เพื่อให้ใช้งานได้ดี มากขึ้น...” “... ปัญหาที่หลายคนมองข้ามในชีวิตประจำ�วันของเรา สิ่งที่อาจ ดูไม่มีปัญหาอะไรมาก แต่อาจมีปัญหากับการดำ�เนินชีวิตประจำ� วันของเรา และคนอื่นไม่สนใจ คือ แรงบันดาลใจที่ทำ�ให้ทำ� และ พอเราทำ� คนอื่นๆ ที่เคยมองข้าม ก็สนใจ และคิดว่าเป็นไอเดีย ใหม่ “ เดือนฉาย อิศรเสนา ณ อยุธยา
“... การได้ทำ�สิ่งประดิษฐ์ ทำ�ให้ได้ฝึกฝนตนเองตลอด เป็นการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง พัฒนาศักยภาพของตัวเอง ในการคิดสร้างสรรค์ รู้จักเปรียบเทียบสิ่งโน้นกับสิ่งนี้ ทำ�ให้เป็น คนช่างสังเกต โดยเฉพาะการสังเกตสิ่งใกล้ๆ ตัว สิ่งรอบตัว....” “... การทำ�งานสิ่งประดิษฐ์ ไม่ได้คิดอย่างเดียว ต้อง มีเนื้อหาวิชาการด้วย โดยอาจถามคุณครู ถามผู้เชี่ยวชาญ
หรือ ค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต เพราะว่า ความรู้ไม่ได้มีอยู่แค่ ที่เรารู้เท่านั้น ความรู้มีอีกมากมายที่เรายังไม่รู้ จึงต้องพยายาม ที่จะค้นคว้า ขยันพากเพียร เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้มาช่วยคิดใน การทำ�งาน...”
95
ชลธิญาเริ่มเข้าชมรม “นักประดิษฐ์จิตอาสา” ของโรงเรียน ตอนอยู่ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 “...ต้องการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ อยากลองทำ� อยากลองฝึกฝนความ คิดสร้างสรรค์ตนเองทำ�สิ่งประดิษฐ์” “... การมองและสังเกตเห็นปัญหาที่โรงเรียน เป็นแรงบันดาลใจที่ทำ�ให้ เริ่มต้นคิดหาหนทางแก้ปัญหา โดยคิดว่า ปัญหาเกิดจากอะไร แล้วคิดว่า เราจะแก้ปัญหาได้อย่างไร ลองคิดหาหนทางดู แล้วไปปรึกษาคุณครูที่ ปรึกษาชมรม จนคิดได้ถึงทางแก้ปัญหา พอคิดได้ ก็เอามาคิดสร้างสรรค์ ชลธิญา ภิญโญโชค สิ่งประดิษฐ์เพื่อแก้ไขปัญหา...” “...การดูปัญหาที่คนอื่นไม่สนใจ บางทีเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวที่อาจเป็นเรื่อง เล็กๆ แต่ถ้าเรานำ�ปัญหานั้นมาเริ่มต้นคิดสร้างสรรค์ทำ�สิ่งประดิษฐ์ ก็ เท่ากับว่า เราคิดแก้ปัญหาด้วย และเราได้คิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ไม่ เหมือนใคร...” “... บางทีความคิดของเราที่จะทำ�สิ่งใหม่ๆ เราต้องค้นดูจากตรงอื่นด้วย ว่า มีใครทำ�บ้าง ถ้ามีใครทำ�แล้ว เราก็คิดไปในแนวทางอื่นในการแก้ ปัญหาที่ไม่เหมือนกัน...” “...การได้ทำ�สิ่งประดิษฐ์ ทำ�ให้เป็นคนมีความเพียรพยายาม มากขึ้น รู้จักแบ่งเวลา มีประสบการณ์มากขึ้น มีความ คิดมากขึ้น ทำ�ให้เพิ่มทักษะตัวเอง...” “...การใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทำ�ให้ตัวเองพัฒนา และการ ฝึกฝนทำ�ให้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง เพราะ เมื่อได้สร้างสิ่งหนึ่งขึ้นแล้ว ก็ทำ�ให้คิดสร้างชิ้นอื่นๆ ได้...”
96
คุณครูกัลยา จุลเดชะ โรงเรียนวัดสังวรพิมลไพบูลย์ ครูผู้จัดตั้งชมรม “นักประดิษฐ์จิตอาสา” เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียน
“.... นักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน นักเรียนถนัดด้านไหนก็ส่งเสริม ด้านนั้น เช่น จัดตั้งชมรม “นักประดิษฐ์ จิตอาสา” ขึ้น เพื่อส่งเสริมเด็กที่มี ความคิดสร้างสรรค์”
การดำ�เนินกิจกรรมของชมรม - เริ่มจากการหาความรู้ก่อน โดยดูข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ แบบ รายบุคคลหรือแบบกลุ่ม เพื่อเอามาเป็นแบบฝึกเด็ก เช่น การระดมสมองโดยมีโมเดลให้ นักเรียนคิด เป้าหมายเพื่อให้เด็กออกแบบเป็น o ให้นักเรียนมาคุยว่า ในชีวิตประจำ�วันเจอปัญหาอะไร ให้เด็กดึงปัญหาออกมาให้ได้ แล้วตะล่อมให้เด็กหาทางแก้ โดยช่วยกันแก้ไปพร้อมๆ กัน - ชมรมมีที่ปรึกษาของชมรม ที่เชิญมาเป็นวิทยากรจากภายนอก เพื่อให้มาพูดในวันเสาร์อาทิตย์ หรือตอนเย็น หรือบางทีก็เชิญมาเข้าชมรม สิ่งที่ขอให้พูด ก็เกี่ยวกับ การออกแบบ สิ่งประดิษฐ์ หรือ ถ้าเป็นช่าง ก็ขอให้วิทยากรให้ความรู้เรื่องช่าง องค์ประกอบที่ทำ�ให้ชมรมทำ�งานได้สำ�เร็จ o มีวิทยากรภายนอก โดยเป็นความร่วมมือ o มีครูหลายด้านให้ความร่วมมือ เช่น มีครูสายวิทย์ หรือ สาขาอื่น มาช่วยแนะนำ� o มีครูภาษาอังกฤษช่วยเรื่องการนำ�เสนอเป็นภาษาอังกฤษ o มีครูการงาน กลุ่ม การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วยแนะนำ�เทคโนโลยีต่างๆ
97
คุณครูเฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา แรงจูงใจให้ส่งเสริมเด็กทำ�สิ่งประดิษฐ์ - มองสิ่งประดิษฐ์ คือ ประเทศไทยไม่ค่อยมีสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นของคนไทยนัก ส่วนใหญ่ต้องซื้อจากต่าง ประเทศ ทำ�ให้คิดว่า ทำ�ไมเราจึงไม่ทำ�อะไรเองบ้าง เราควรพึ่งพาตนเอง จึงยกตัวอย่างให้นักเรียนฟังว่า ประเทศญี่ปุ่นมีพื้นที่ทางเกษตรน้อย แต่เค้าสามารถผลิตอุปกรณ์มาช่วยทางการเกษตรมาขายบ้านเรา มาก เครื่องจักร เครื่องกลทางการเกษตร เช่น รถไถ รถเกี่ยว การทำ�งานกับเด็ก - ชวนนักเรียนเข้ามาร่วมกันคิดว่า ในบ้านเรามีเครื่องไม้เครื่องมืออะไรบ้างที่น่าจะทำ�ให้ทันสมัย มาช่วย กันคิดประดิษฐ์ โดยให้นักเรียนเริ่มต้นจากของใช้ในบ้านและที่ใช้ในชีวิตประจำ�วัน อุปกรณ์ที่ใช้ในการ ประกอบอาชีพของผู้ปกครอง เช่น ถ้าที่บ้านทำ�ขนมขาย ก็ควรคิดว่าควรทำ�อะไรที่ช่วยทุ่นแรง ถ้าทำ�นา ทำ�สวน ควรมีอุปกรณ์อะไรที่ใช้ช่วยในการประกอบอาชีพได้ - ฝึกเด็กคิด โดยบอกนักเรียนว่า ให้เริ่มต้นจากดูจากของเก่า เพราะการคิดของใหม่เลยอาจจะยากสำ�หรับ เด็ก ให้เด็กคิดต่อยอดของที่มีอยู่ แล้วพัฒนาให้ดีขึ้น จะทำ�ให้สิ่งนั้นดีขึ้นได้อย่างไร เช่น ถ้าที่บ้านทำ�ขนม หวานที่ต้องแยกไข่แดงออกจากไข่ขาวโดยใช้มือช้อนไข่แดงขึ้นมา ก็ให้คิดว่า จะทำ�อุปกรณ์อะไรได้บ้างที่ ช่วยช้อนไข่แดงออกจากไข่ขาว ให้คิดอุปกรณ์ง่ายๆ การยกตัวอย่างง่ายๆ เช่นนี้ เด็กมองเห็น สิ่งประดิษฐ์ ที่นักเรียนคิดออกมาได้ จะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้งานได้จริง ไม่เป็นสิ่งไกลตัว - เมื่อนักเรียนคิดสิ่งที่จะประดิษฐ์ขึ้นมาแล้ว ก็จะถามว่า สิ่งที่นักเรียนคิดทำ�หรือประดิษฐ์ขึ้นมานั้น จะ รู้ได้อย่างไรว่าเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ซึ่งก็แนะนำ�ว่าต้องพิสูจน์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นักเรียน ก็ต้องทำ�การทดลองโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็ต้องทำ�ให้เด็กมีความรู้และมีกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนสามารถทำ�สิ่งประดิษฐ์ได้
98
ในการทำ�สิ่งประดิษฐ์ ก็ให้นักเรียนคิดเรื่องที่ตัวเองสนใจ แล้วมาเสนอครูที่ปรึกษา ครูที่ปรึกษาก็ทำ� หน้าที่ให้คำ�ปรึกษากับนักเรียนในสิ่งต่างๆ ตั้งแต่ข้อเสนอของนักเรียน จะซักถามว่า นักเรียนจะทำ�อย่างไร มีอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมืออะไร ราคาแพงไหม ถามทุกอย่างเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนจะทำ� ครูที่ปรึกษาจะ ดูด้วยว่า นักเรียนมีองค์ความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำ�อย่างไร นักเรียนมีที่ปรึกษาพิเศษไหม เพราะบาง เรื่องนักเรียนต้องมีที่ปรึกษาพิเศษที่ครูไม่รู้เรื่องนั้น เพื่อให้ครูที่ปรึกษาพิเศษให้คำ�ปรึกษา เมื่อนักเรียนพร้อมเมื่อไร ก็ให้ลงมือทำ�เลย o เริ่มจากการทำ�โมเดลตั้งต้นด้วยกระบวนทางวิทยาศาสตร์ เพื่อทดลองว่า สิ่งที่คิดทำ� ใช้ได้ ไหม เป็นไปได้ไหม o จากนั้น ให้พัฒนาจากโมเดลตั้งต้นให้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้งานได้จริง ด้วยกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ o ตรวจสอบสิ่งประดิษฐ์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ว่า ใช้งานได้จริง และดีอย่างไร โดยมีตัวเลขยืนยัน o ให้นักเรียนพัฒนาชิ้นงานไปเรื่อยๆ จนนักเรียนพอใจในสิ่งประดิษฐ์ที่ทำ� o ระหว่างทำ�งาน แนะนำ�ให้นักเรียนมีสมุดจดบันทึก เพื่อบันทึกทุกอย่างที่ทำ� รวมถึงผลการ ทดลองต่างๆ ซึ่งสำ�คัญมาก เพราะใช้เป็นหลักฐาน/ร่องรอยการทำ�งานตั้งแต่ต้นจนจบ และใช้ ประกอบในการเขียนรายงาน o ในระหว่างทำ�งาน นักเรียนอาจทำ�งานล้มเหลวบ้าง สำ�เร็จบ้าง ครูที่ปรึกษาต้องให้กำ�ลังใจ นักเรียน มิฉะนั้นนักเรียนอาจทิ้งงานได้ และครูที่ปรึกษาต้องให้คำ�ปรึกษา ช่วยแนะนำ� เพื่อ ช่วยให้นักเรียนหาทางแก้ไขได้ การให้เด็กคิดสร้างสรรค์... เมื่อเด็กมาเสนองาน ครูที่ปรึกษาจะแนะนำ�ให้นักเรียนไปลองค้นคว้าข้อมูลดู ว่า มีใครทำ�อะไรไว้บ้าง ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ และให้นักเรียนพิจารณาจุด เด่น-จุดด้อยของสิ่งที่มีอยู่เดิมหรือสิ่งที่คนอื่นทำ�ไว้ว่า มีอะไรบ้างที่นักเรียนสามารถ คิดพัฒนาต่อยอดได้ และจะพัฒนาได้อย่างไร
การทำ�เช่นนี้ ผลงานของนักเรียนแต่ละชิ้นจะไม่ซ้ำ�แบบกับใคร แต่ถ้านักเรียนยังคิดซ้ำ�กับของ เดิมๆ ก็ไม่ควรให้นักเรียนทำ� เพราะนักเรียนไม่สามารถคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ ไม่สามารถคิดต่อยอดทำ� สิ่งใหม่ได้
99
ข้อคิดเห็น... • การทำ�สิ่งประดิษฐ์เป็นวิขาเรียน มีข้อจำ�กัดด้านเวลาที่ใช้ในการทำ�งาน ทำ�ให้ผลงานสร้างสรรค์ ทำ�ได้ยาก • นักเรียนทำ�สิ่งประดิษฐ์เป็นชมรม คิดสร้างสรรค์ได้มาก (ได้เริ่มทำ�ชมรมของโรงเรียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533) • เด็กไทยมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ระบบการศึกษาไม่สร้างโอกาสให้นักเรียนที่มีผลงาน ได้รับการ ยอมรับในการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย มีเพียงบางมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ให้การยอมรับ • นักเรียนไม่สนใจใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพราะห่วงเรียนและห่วงการสอบเข้ามหาวิทยาลัย • โดยทั่วไป เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ไม่มีสิ่งช่วยสร้างแรงบันดาลใจหรือแรงจูงใจให้เด็กอยากทำ� และยังไม่มีระบบรองรับที่ทำ�ให้เด็กอยากทำ�และมีผลต่ออนาคตของเด็ก ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอาจมีข้อจำ�กัด ครูต้องเปิดโลกให้เด็ก อาจเริ่มจากงานสร้างสรรค์ง่ายๆก่อน และฝึกให้เด็กทำ�งานสร้างสรรค์ต่อเนื่อง มีความลุ่มหลงในงานที่ทำ� มีความอดทน ไม่ล้มเลิกง่าย
พนิดา วิชัยดิษฐ หัวหน้าโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ “...ด้วยเห็นความสำ�คัญในการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ จึง ผลักดันงานมาอย่างต่อเนื่อง”
• งานการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ จะไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ได้เลย ถ้าเด็ก และเยาวชนไม่เป็นนักคิดสร้างสรรค์ • การเป็นนักคิดสร้างสรรค์จะไม่เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรม หากไม่มีผู้ผลักดันและเครือข่าย ความร่วมมือ • การผลักดันจะไม่เกิดผล หากไม่มีผู้สานต่อหรือผู้เชื่อมโยงผลงานความคิดสร้างสรรค์ไปสู่การ ปฏิบัติ ภารกิจสำ�คัญของครู ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ การสร้างโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้ลงมือ 100
เครดิตภาพ: www.vebidoo.de
“I haven’t failed. I just found 10,000 ways that don’t work.” “ฉันไม่ได้ล้มเหลว ฉันเพียงได้พบ 10,000 หนทาง ที่ทำ�งานไม่ได้” Thomas Edison โทมัส เอดิสัน http://pixel.nymag.com/
101