ดีไซน์ความคิด ชีวิตเรืองแสง

Page 1


กรกฎาคม 2557 พิมพ์ครั้งแรก เลขมาตรฐานประจำ�หนังสือ.......... ที่ปรึกษา

นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.เบญจลักษณ์ นํ าฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางพจมาน พงษ์ไพบูลย์ ผู้อำ�นวยการสำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

บรรณาธิการอำ�นวยการ ผู้เขียน ภาพประกอบ จัดหน้ากระดาษ ออกแบบปกและรูปเล่ม ภาพประกอบหน้าปก

นางพนิดา วิชัยดิษฐ์ นางสาวโอปอล์ ประภาวดี นางปาหนัน หีมมิน๊ะ อกนิษฐ์ ศรีสุทธิวงศ์ มณีรัตน์ นานาประเสริฐ อกนิษฐ์ ศรีสุทธิวงศ์ สุรัติ โตมรศักดิ์ (www.try2benice.com) สุรัติ โตมรศักดิ์ (www.try2benice.com)


จัดพิมพ์โดย สำ�นักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาคาร สพฐ.5 ชั้น 10 กระทรวงศึกษาธิการ เลขที่ 319 วังจันทร์เกษม ถนนราชดำ�เนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท 02 2885895 โทรสาร 02 2815216 เว็บไซต์ http://www.obec.go.th/


สารบัญ ก็ไม่รู้สินะ...ของเจ้าหนูจำ�ไม

7

เมล็ดพันธุ์พิเศษ

33

ของฝากจากพ่อ

55

แรงบันดาลใจคือพลังงานอย่างหนึ่ง

77

เครื่องทิ้งสิ่งปฏิกูลทางความคิด

103

สิ่งประดิษฐ์ : ไม้เท้าสารพัดประโยชน์ Magic cane โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ จ.เชียงใหม่ สิ่งประดิษฐ์ : ปิ่นโตอเนกประสงค์ 3 in 1 โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน จ.เชียงใหม่

สิ่งประดิษฐ์ : เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์สำ�หรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน อ.เมือง จ.ขอนแก่น สิ่งประดิษฐ์ : เครื่องแยกเหรียญ โรงเรียนบ้านปอบิด จ.นครราชสีมา

สิ่งประดิษฐ์ : อุปกรณ์ดูดสิ่งปฏิกูลในบ่อปลาสวยงาม โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จ.หนองคาย


สิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้น คือเครื่องมือ สร้างคน สร้างชีวิต

129

ทางสายเปลี่ยน

165

ฝันและหวัง

209

มองให้ง่าย แล้วจะเห็น ปั้นให้เป็นแล้วจะเจอ

243

(เปิด) กะลา (ออกก็) พอ

281

สิ่งประดิษฐ์ : เครื่องแยกเยื่อหุ้มเมล็ดถั่วลิสง โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย สิ่งประดิษฐ์ : เครื่องปอกเปลือกไข่ต้ม โรงเรียนสตรีวิทยา สิ่งประดิษฐ์ : อุปกรณ์ช่วยเจาะแนวตั้ง โรงเรียนวัดสังวรพิมลไพบูลย์ (จันทานุกูล) สพป.นนทบุรี สิ่งประดิษฐ์ : งับล๊อค (Ngub Lock) โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์

สิ่งประดิษฐ์ : อุปกรณ์ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน (Test Lamp) โรงเรียนบ้านกะลาพอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี



1

ก็ไม่รู้สินะ...ของเจ้าหนูจำ�ไม กลับมาจากการคว้ารางวัลเป็นกระบุง จากงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI-2013) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย แล้ว สองหนุ่มก็กลายเป็นซุปตาร์ และ ดิ ไอดอล สำ�หรับเพื่อนๆ และน้องๆ โรงเรียน นวมินทราชูทิศ พายัพ ไปในบัดดล

7


สิ่งประดิษฐ์ : ไม้เท้าสารพัดประโยชน์ Magic cane โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ จ.เชียงใหม่ 8


นอกจากเพื่อนๆ และน้องๆ จะชื่นชมในความเป็นนักประดิษฐ์ที่มุ่งมั่นของ สองหนุ่มแล้ว เหตุและปัจจัยอีกอย่างที่สองหนุ่มมี FC (แฟนคลับ) จำ�นวนมากคือ คนเหล่านั้นรู้สึกปลาบปลื้มที่ ได้เห็น (และเอ่อ...แหะๆ ได้เห่อด้วย) ที่สองหนุ่มได้ ออกสื่อเป็นว่าเล่น ทั้งในทีวีบ้าง หนังสือบ้าง เด็กวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่กำ�ลังอยากมีตัวตนอย่างคนอื่นๆ ไม่กรี๊ดและอิจฉาได้ อย่างไร เปากับปลื้ม หรือ ปวเรศ พรหมมาลา กับ ปัณณวิชญ์ สามแก้ว เป็นเด็ก หนุ่มที่คลั่งไคล้วิทยาศาสตร์ และชอบการประดิษฐ์คิดค้นมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก การชอบของพวกเขาไม่ได้เกิดขึ้นอย่างลอยๆ ไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย แต่มีเหตุ ปัจจัย มาจากการกระตุ้นและสร้างวิธีคิด มุมมองแบบนักวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นกับ พวกเขา “ก่อนนี้เขาเป็นเจ้าหนูจำ�ไม (หัวเราะลั่น) เจออะไรก็จะทำ�ไมๆๆๆ ถามๆๆๆ อยู่นั่นล่ะ ผมคิดว่าไอ้คำ�ถาม “ทำ�ไม” นี่ล่ะ สำ�คัญ ผมจะใช้วิธีไม่ตอบในทันที

9


นั้นจำ�ไม? นี่จำ�ไม?

โน้นจำ�ไม?

10


แต่จะบอกกลับไปว่าให้เขาไปค้นเอง บางทีพ่อก็ไม่รู้เหมือนลูก ลูกไปดู ซิมันเกิดจากอะไร ไปดู ไปค้นด้วยตัวเองได้แล้วมาบอกพ่อด้วยนะ อะไรอย่างนี้” อาจารย์บุญเลิศ สามแก้ว พ่อของน้องปลื้มเล่า “ส่วนพ่อผมก็ไม่ต่างจากพ่อปลื้มเลยครับ ผมจะชอบสงสัยและถามพ่ออยู่ เสมอว่า ไอ้นั่นไอ้นี่ทำ�งานอย่างไร พ่อก็จะไม่ตอบและจะถามกลับเช่นกัน นอกจากนี้บางทีที่ผมเกิดปัญหา เช่น ผมเคยขี่เวสป้าไปกับพ่อ แล้วรถ ดับ ผมก็ทันทีเลย สงสัยนํ ามันหมดนะพ่อนะ แต่พ่อเอ็ดว่าอย่าเพิ่งด่วนสรุปสิ และ ลองไปดูซิว่าเกิดจากอะไร นักวิทยาศาสตร์ต้องแก้ปัญหาเองเป็น พ่อพูดอย่างนี้เลย ลองตั้งสมมติฐานไว้หลายๆ สาเหตุ พ่อสอนอย่างนี้เสมอ สรุปงานนั้นเกิดจากนํ ามัน รั่ว คาบูเรเตอร์ เลยไม่ทำ�งานฮะ...” เปาเล่าจ๋อยๆ “สองหนุ่มนี่เขาจะเหมือนเด็ก “เนิร์ด” น่ะคะ คือชอบค้นคว้า ชอบทดลอง ยิ่งอยู่ในวัยรุ่นอย่างนี้ด้วยแล้ว อยากรู้อะไรต้องรู้ให้ได้ อยากทำ�อะไรต้องทำ�ให้ได้ กระตือรือร้นตลอดเวลา เราก็ได้รับไฟจากเขาด้วย”

11


“นักวิทยาศาสตร์ ต้องแก้ปัญหาเองเป็น” พ่อพูดอย่างนี้เลย

12


อาจารย์สุพิชสิณี โรจน์จันทร์ดา อาจารย์ที่ปรึกษาของหนุ่มทั้งสองกล่าว ใครๆ ในโรงเรียนนวมินทราชูทิศฯ แห่งนี้ต่างก็รู้ดีว่าอาจารย์สุพิชสิณี โรจน์จันทร์ดา เป็นอาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ และชอบชักชวนเด็กๆ ให้ทำ�งานประดิษฐ์ เปากับปลื้มพอทราบข่าวปุ๊บก็รีบมาสมัครเป็นสมาชิกชมรมก่อนใคร จนอา จารย์สุพิชสิณี แซวว่านอกจากเป็นสมชิกธรรมดาแล้วสองหนุ่มยังเป็นสมาชิก VIP กล่าวคือ ยังตามติดอาจารย์ไปที่บ้านเสมอๆ คล้ายๆ กับว่าอุ่นใจซะเหลือเกินที่ได้อยู่ ใกล้ๆ ครู “…เขาว่าที่ตามติดเพราะพอมีปัญหาอะไรเขาจะได้ถามได้ทันที (หัวเราะ) แต่ เราจะไม่ตอบเขาในทันทีนะ เราจะเน้นให้เขาคิดเอง ทำ�เอง จะบอกเขาว่า เธอว่าดีไหม ล่ะ ทำ�แล้วมันจะเป็นอย่างไรต่อ จะให้เขาคิดเอง แต่คอยช่วย คอยชี้แนะอยู่ใกล้ๆ "อันที่จริงครูว่าครูไม่ใช่สอนเรื่องสิ่งประดิษฐ์อย่างเดียว สอนเรื่องอื่นๆ ด้วย สอนการใช้ชีวิต สอนเรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่น ครูถือว่าโชคดีที่เด็กๆ ชอบคุยกับ ครู ไม่เคยรู้สึกรำ�คาญเลย เพราะสิ่งที่น่ากลัวคือเด็กสมัยนี้ชอบคุยกับคอมพิวเตอร์

13


มากกว่าคุยกับคน เด็กบางคนกับพ่อแม่ยังไม่ยอมคุยเลย นี่จะเป็นปัญหาตามมา" ได้ยินอย่างนี้แล้ว พ่อแม่ ผู้ปกครองท่านใดอยากฝึกให้ลูกมีใจรักใน วิทยาศาสตร์ หรือการประดิษฐ์คิดค้น คงพอมองเห็นทางเลาๆ แล้วละมังว่าต้อง สร้างบรรยากาศรอบตัวลูกให้เป็นอย่างไรบ้าง

14


2

“ยาย คุณยาย!!!!” เปาร้องตะโกนลั่น เมื่อเห็นภาพเบื้องหน้า

ทันทีที่เขาเปิดประตูห้องนํ าออกมาเห็นคุณยายนอนเป็นลมอยู่ ซึ่งมาทราบ ทีหลังว่า เป็นเพราะคุณยายหน้ามืด ด้วยพยายามก้มลงเก็บของ หลังจากที่ปฐมพยาบาลคุณยายจนฟื้นแล้ว เปาก็รู้สึกหวั่นใจ หลายเดือน มานี้คุณยายสุขภาพทรุดโทรมลงมาก เห็นทีเขาคงต้องชวนคุณยายออกกำ�ลังกายยืด เส้นยืดสายมากกว่านี้

15


16


แต่กระนั้นก็ตาม เขาก็นึกพะวงว่าแล้วตอนที่เขาไม่อยู่ หรือเวลายายต้องอยู่ ลำ�พัง หากเกิดเหตุอย่างนี้ขึ้นมาอีกจะทำ�อย่างไร เปาคิดไปสะระตะ ใช่เพียงแต่คุณยายเขาเท่านั้น เมื่อได้ติดตามข่าวสารบ้าน เมือง มีข้อมูล รายงานว่าอีกไม่นานสังคมไทยก็จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว นั่นคือจะ มีจำ�นวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันสังคมไทยยังไม่มีมาตรการหรือสิ่งอำ�นวยความสะดวกใดๆ รองรับปัญหานี้อย่างจริงจังเลย “...จะทำ�อย่างไรดีน้าาาาา” เปาคิดวนเวียน เพราะเขาทั้งรักทั้งห่วงคุณยาย “...เฮ้อ...อยากให้มีใครทำ�อะไรเพื่อผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นกว่านี้จังเลย...” เปาได้แต่เก็บงำ�ความคิดนี้ไว้ “เอาล่ะ กลับไปคิดได้แล้วว่าจะประดิษฐ์อะไร ที่สำ�คัญขอให้ตั้งคำ�ถามว่าสิ่ง

17


ประดิษฐ์นั้นตอบสนองอะไร ทำ�แล้วขอให้สิ่งประดิษฐ์นั้นเกิดประโยชน์กับคนอื่นๆ ไม่ใช่คิดแต่เรื่องความแปลกความเจ๋งอย่างเดียว” อาจารย์สุพิชสิณี ยํ า “...เอาไงดีล่ะเปา เราจะทำ�อะไรกันดีล่ะ ยิ่งอาจารย์ยํ ามาด้วยว่าต้องเร่ง แล้ว เวลางวดเข้ามาทุกที เฮ้อ แถมช่วงนี้เราเองก็ไม่ค่อยว่างด้วย เพราะต้องคอย ดูแลคุณปู่ ท่านไม่ค่อยแข็งแรง ปวดเข่า เกือบขมำ�หลายรอบแล้ว...” “อ้าว แล้วปู่ไม่มีไม้เท้าช่วยพยุงเหรอปลื้ม” เปาถามกลับ “มี แต่นั่นแหละบางทีท่านก็ต้องก้มลงเก็บของ หนำ�ซํ าบางทีตาก็ไม่ดี เดิน ไปก็ชนโน่นนี่นั่นอยู่เรื่อยเลย...เฮ้อ...สงสาร...” เปาเงียบไปสักพักหนึ่ง หันมาทางปลื้ม จากนั้น ดีดนิ้วเป๊าะ !! เลย”

“ปลื้ม เรารู้แล้วว่าจะประดิษฐ์อะไร ตรง ตอบโจทย์ และโคตรมีประโยชน์

18


หลังจากนั้น สิ่งประดิษฐ์ Magic cane หรือไม้เท้าสารพัดประโยชน์ ก็ค่อยๆ ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น พวกเขาพากันแยกย้ายไปคุยกับคุณยาย คุณปู่ เพื่อถาม ถึงปัญหาที่พบเจอระหว่างที่ใช้ไม้เท้า และอยากให้ไม้เท้านั้นมีหน้าที่เพิ่มขึ้นอย่างไร บ้าง ฟังแล้วก็จดๆๆ จากนั้นก็นำ�ปัญหาที่ได้ประมวลร่วมกัน แล้วจึงนำ�ไปเสนอกับ อาจารย์สุพิชสิณี พวกเขาพบว่าไม่ใช่เฉพาะแค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่ต้องพบกับปัญหาในการ ทรงตัว คนทั่วไปที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพ ก็มักมีปัญหาเรื่องการทรงตัวเช่นกัน ไม่ว่าจะ เป็นคนพิการทางขา คนที่เป็นอัมพฤกษ์ คนที่เจ็บข้อเท้า ปวดเข่า คนอ้วน คนเป็น โรคเก๊าท์ ล้วนต้องอาศัยไม้เท้าช่วยพยุงในการเดิน และพบอีกปัญหาที่เหมือนๆ กันอีกอย่างหนึ่งคือ เวลาของตกลงพื้นแล้ว ต้องก้มลงเก็บมักทำ�ให้มีอาการหน้ามืดหรือล้มคะมำ�ได้ ไม้เท้าที่มีขายในท้องตลาดก็ มีหน้าที่แค่ช่วยพยุง รับนํ าหนักในการเดินทางเท่านั้น ยังไม่สามารถตอบสนองความ ต้องการได้ในอีกหลายๆ หน้าที่

19


เปาและปลื้มจึงคิดทำ�ไม้เท้าที่ครอบคลุมการใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด โดย เพิ่มชุดเตือนภัย เซ็นเซอร์ สำ�หรับคนตาบอดหรือคนที่บกพร่องทางการมองเห็น ทั้งยังช่วยส่งสัญญาณเตือนภัยได้อีกทางหนึ่ง เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุล้ม ลง สัญญาณจากเซ็นเซอร์จะส่งเสียงดัง ส่วนคีมคีบจะช่วยคีบของโดยไม่ต้องก้มตัว ลงเก็บ มีไฟฉายไว้สำ�หรับส่องสว่างในตอนกลางคืน มีกริ่งสัญญาณขอทาง พร้อม กันนี้ยังสามารถปรับระดับสูงตํ่าได้อีกด้วย อ๊ะๆ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าทั้งหมดทั้งมวลนี้หาได้ใช้เงินในการทำ�เป็นเรือน หมื่นเรือนแสน หากพวกเขาบอกว่า ใช้เงินไปกับการนี้เพียง 400 บาท!! เพราะอุปกรณ์ที่นำ�มาทำ�นั้น ประกอบด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ราคาไม่แพง หา ได้ง่ายในท้องถิ่น ไม่ว่าะเป็น ท่อพีวีซี เซนเซอร์ตรวจจับวัสดุ คีมคีบของ ไฟฉาย เบรกรถจักรยาน กริ่งสัญญาณ สวิทซ์ไฟขนาดเล็ก ลำ�โพงขนาดเล็ก ฯ

เรียกว่าราคาเรือนร้อยแต่คุณประโยชน์เรือนล้านกันทีเดียวเชียว

20


21


22


3

สองหนุ่มน้อยเล่าว่า พวกเขาไม่เพียงพบเจอเรื่องราวและประสบการณ์ดีๆ จากการทุ่มเทเพื่อทำ�สิ่งประดิษฐ์เพียงเท่านั้น หากยังได้พานพบประสบการณ์ดีๆจากการเดินทางไปร่วมงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI-2013) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มากกว่ามาก “มันไม่ใช่แค่ประสบการณ์จากการได้เดินทางไกลนะครับ ระหว่างเดินทาง เรา ยังได้เรียนรู้อะไรมากมาย แม้กระทั่งการนั่งรถ ทานข้าว ที่พัก คุณครูจะคอยบอกว่าให้

23


พวกเราสังเกตอาหารตึกรามบ้านช่องชองบ้านเขาว่าเป็นอย่างไร เทียบกับประเทศ เราแล้ว เป็นอย่างไร อันไหนเหมือน อันไหนต่าง สิ่งเหล่านี้มันมีความสำ�คัญกับเราไม่ น้อยนะครับ” เปาเล่า “ผมเคยกลัวคนมุสลิม เคยคิดว่าประเทศมาเลเซียคงน่ากลัว บ้านเราคง พัฒนากว่า แต่ที่ไหนได้ ผมว่าของขาพัฒนากว่าเรานะครับ ไปแล้วก็ฮึกเหิมกลับมา อยากขยันเรียน อยากทำ�ตัวมีประโยชน์ จะได้เป็นคนที่มีคุณภาพ พัฒนาบ้านเมือง ของเราบ้าง” ปลื้มสำ�ทับ “...โอโห ปลื้มพูดเหมือนผู้แทนเลย ต่อไปถ้านายสมัคร สส.เราจะเลือกนาย” เปาแซวเพื่อนรักจากนั้นทั้งวงก็หัวเราะกันครืน อย่างไรก็ตามเด็กๆ เล่าว่า การทำ�สิ่งประดิษฐ์ในโรงเรียนนั้น ยังไม่น่ากลัว เท่ากับการออกไปนำ�เสนอผลงานในเวทีต่างๆ ทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับประเทศ

24


และอาจถือเป็นความโชคดี เพราะหนุ่มเปา หรือ ปวเรศ นั้น ค่อนข้างจะ เจนเวทีหน่อย เนื่องด้วยในปีที่แล้วก็สามารถส่งผลงานประกวดชนะเลิศมาแล้วเช่น กัน จึงมีประสบการณ์และความเจนเวทีระดับหนึ่ง เปาได้ช่วยฝึกซ้อมการนำ�เสนอ ให้เพื่อนปลื้มไปในตัว “ถึงอย่างไรๆ ผมก็ยังเขินอยู่ดีล่ะฮะ ผมว่าการนำ�เสนอยากกว่าการคิดสิ่ง ประดิษฐ์อีก โดยเฉพาะการต้องพยายามพูดภาษาอังกฤษให้ถนัด โอ...ไม่ง่ายเลย ครับ” เปาเล่าไปหัวเราะไป อย่างไรก็ตามทั้งครูและศิษย์ผลัดกันเล่าว่า ที่นี่ให้ความสำ�คัญกับการฝึก ซ้อมการนำ�เสนอ และ การสื่อสารมาก พวกเขาสามารถถอดบทเรียนและสรุปออก มาเป็นข้อๆ เพื่อทำ�เป็นแนวทางไว้สำ�หรับน้องๆ รุ่นต่อไป ทั้งนี้พวกเขาบอกว่าไม่หวงวิชาแต่อย่างใด เพราะอยากเห็นคนไทยคน อื่นๆ รับโอกาสเหมือนตัวเอง

25


แต่กระนั้นก็เถอะ คณะครูและหนุ่มน้อยนักประดิษฐ์บอกว่าพวกมีหลัก ในการนำ�เสนอไว้ง่ายๆ ดังนี้ ต้องเข้าใจเรื่องราวอย่างถ่องแท้ อย่าท่องจำ� ความเข้าใจจะทำ�ให้เล่าเรื่อง ได้อย่างไม่ติดขัด สามารถเดินเรื่องได้ต่อเนื่อง ทั้งๆที่มีคำ�ถามจากผู้ฟัง ในทางตรง กันข้าม การท่องจำ�อาจทำ�ให้ตกม้าตายได้เพราะความตื่นเต้น ลีลาของการนำ�เสนอที่ดีคือทำ�ตัวผ่อนคลาย แสดงออกอย่างชัดเจนถึง ลักษณะเฉพาะตัวของผู้นำ�เสนอ หัวใจของการนำ�เสนอไม่ใช่อยู่ที่ “สาระ” แต่อยู่ ที่ “ตัวผู้นำ�เสนอ” การทำ�ตัวตามสบายทำ�ให้ความเป็นตัวเองถูกฉายแสงออกมา วิธีการนำ�เสนอมีความสำ�คัญกว่าเนื้อหาในการนำ�เสนอ เคยมีการวิจัยว่า การตัดสินใจของผู้ฟังเป็นผลพวงมาจากวิธีในการนำ�เสนอ ซึ่งข้อมูลนี้กลับหัวกลับ หางกับสิ่งที่คนทั่วไปรู้ ผลการวิจัยบอกว่าถ้ามีความมั่นใจในการนำ�เสนอ จะแสดง ถึงความมุ่งมั่น และจะทำ�ให้ผู้ฟังเลือกข้อเสนอของเรา เพราะเราจะเป็นคนที่เขา เชื่อใจ

26


การนำ�เสนอที่มีพลังเกิดจากสามปัจจัยหลักคือ หนึ่ง ความชัดเจน สองความ สามารถในการโน้มน้าวผู้ฟังให้คล้อยตาม สุดท้ายคือเสน่ห์ของการนำ�เสนอ ซึ่งเป็น เป็นความสามารถเฉพาะตัวที่แต่ละคนต้องไปพัฒนากันเอาเอง ระหว่างที่มีการนำ�เสนอต้องทำ�ให้เกิดช่องว่างในการนำ�เสนอ เพื่อให้ผู้ฟังมี เวลาคิดและประมวลผล ความเงียบสร้างให้เกิดความคล้อยตาม ข้อสุดท้ายคือ จงซ้อม ซ้อม และซ้อม ไม่ว่าจะเก่งสักแค่ไหนก็ตาม หนุ่มเปาและหนุ่มปลื้มทิ้งท้ายไว้อย่างหนักแน่น พวกเขามีรางวัลต่างๆ เป็นตัวการันตีดังนี้ 1. ชนะเลิศเหรียญทองอันดับหนึ่ง สาขา safety and help 2. โล่ International Exhibition for Young Inventors 2013 BEST INVENTION Technology for special needs 3. Certificate of Award the GOLD MEDAL International Exhibition for Young Inventors 2013 4. เหรียญรางวัล Leading Innovation Award 2013 ( คะแนนรวมสูงสุด) INTERNATIONAL INTELLECTUAL PROPERTY NETWORK FORUM 27


ทั้งหมดนี้คือประจักษ์พยานที่ยืนยันว่า ความเป็นหนูน้อยจำ�ไมของพวกเขา ไม่เปล่าดาย

ประโยคว่าจำ�ไมๆๆๆ ในวัยเยาว์พาเขาก้าวมาไกลจนถึงทุกวันนี้ได้ เชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามแต่ ก็ไม่รู้สินะ...

28



ผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ไม้เท้าสารพัดประโยชน์ Magic cane จัดทำ�ขึ้นเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาการทรงตัว คนแก่ชรา คนพิการทางสายตา และบุคคลที่ประสบอุบัติเหตุที่ต้องไม้เท้าช่วยในการพยุงในการเดิน ให้สะดวกในการ เดินที่ปลอดภัยมากขึ้น เพราะการก้มหยิบของต่างๆ ของคนที่มีการทรงตัวที่ไม่ดี หรือ ก้มลงยาก หลังไม่สามารถโค้งงอได้ตามปกติ เนื่องจากความชราของคนแก่ บางครั้ง ก้มๆ เงยๆ อาจทำ�ให้หน้ามืดได้


ทางกลุ่มจึงคิดประดิษฐ์ไม้เท้าชนิดนี้ขึ้นมาโดยอาศัยการทำ�งานที่ไม่ซับซ้อน แต่ได้ผลทางการปฏิบัติใช้ได้ดีจริง โดยได้ประดิษฐ์จากวัสดุที่เหลือใช้จากจักรยาน (เบรกจักรยาน) เซ็นเซอร์ถอยหลังรถยนต์ และท่อพีวีซี นำ�มาประกอบกันเป็นไม้เท้า สารพัดประโยชน์ ซึ่งสามารถช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาดังกล่าวได้จริง



1

เมล็ดพันธุ์พิเศษ อาจเป็นเพราะไมโครเวฟเป็นที่นิยมเพราะร้านสะดวกซื้อ หรือเพราะการ จราจรที่แสนติดขัดทั่วทุกเมืองทำ�ให้ปิ่นโตเถาน้อยที่มีอาหารรสมือแม่ของพวกเรา พากันหายไปจากชีวิตประจำ�วัน

33


สิ่งประดิษฐ์ : ปิ่นโตอเนกประสงค์ 3 in 1 โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน จ.เชียงใหม่ 34


ก่อนนี้เด็กนักเรียน คนทำ�งาน ไปทำ�บุญที่วัด ต่างก็หิ้วปิ่นโตกันไปทั้งนั้น และสิ่งประดิษฐ์คิดค้นของน้องเอกและน้องสมพงษ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่หนึ่ง แห่งโรงเรียนวัดช่างเคี่ยน อาจทำ�ให้ปิ่นโตกลับมาได้รับความนิยมอีกหนก็เป็นได้ ใครจะรู้... เพราะหากสิ่งประดิษฐ์ ปิ่นโตอเนกประสงค์ 3 in 1 เถานี้ ถูกพัฒนาต่อยอด ไปเป็นสินค้าที่สะดวกใช้ พวกเราจะได้ทานข้าวหรืออาหารอร่อยๆ จากฝีมือคนที่เรา รัก ยิ่งหากใครนำ�สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ไปต่อยอดให้สามารถชาร์จความอุ่นเข้ากับรถยนต์ เหมือนชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ละก็ ยิ่งใช้ง่ายเข้าไปใหญ่ ช่วงเวลาที่รถติดก็อาจเป็นช่วงเวลาของการทานอาหารที่อิ่มอร่อย อุ่นในรัก ฉํ่าในความเย็น จากฝีมือของผู้ทำ�อาหารและการตระเตรียมมาใส่ในปิ่นโตเถานั้นมา ให้ก็เป็นได้ ใครจะรู้... เด็กชาย เอก ติยะ เล่าว่าตอนแรกที่อาจารย์นารีย์ หมื่นแจ่ม รองผู้อำ�นวยการโรงเรียน และ อาจารย์สุพจน์ สุรีย์ติ๊บ อาจารย์ที่ปรึกษาในโครงการฯ ตั้งโจทย์

35


ทำ�เล็กๆ แต่คนทั่วไปได้ใช้จริงๆ ดีกว่าทำ�ใหญ่ๆ แล้วอยู่บนหิ้งไม่มีใครได้ใช้

36


มาว่าให้พวกเขาไปคิดค้นสิ่งประดิษฐ์มานั้น เขากับสมพงษ์คิดจนหัวจะแตกก็คิดไม่ ออก เนื่องด้วยพวกเขามักจะคิดแต่สิ่งประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ซับซ้อน “ทำ�แล้วอยาก ทำ�ให้โลกลือ” สองหนุ่มน้อยว่าพลางปล่อยเสียงหัวเราะเบาๆ “แต่แล้วอาจารย์สุพจน์ก็เตือนสติให้ได้คิดครับ ท่านยํ าว่าสิ่งประดิษฐ์ที่ ทำ�นั้น ควรประกอบด้วยหลักสำ�คัญคือ 1. คนทั่วไปใช้ได้ 2. ควรเป็นเครื่องมือที่ ประหยัด และ 3. ช่วยลดโลกร้อน "ท่านว่าทำ�เล็กๆ แต่คนทั่วไปได้ใช้จริงๆ ดีกว่าทำ�ใหญ่ๆ แล้วอยู่บนหิ้งไม่มี ใครได้ใช้ฮะ พวกเราฟังแล้วก็ อือ จริงแฮะ อยากทำ�ตอบโจทย์นี้มากกว่า...” สองหนุ่มเห็นด้วยกับสิ่งที่อาจารย์สุพจน์แนะนำ� โดยที่อาจไม่รู้จักปรัชญา “ง่ายคืองาม น้อยคือดี” ที่นักประดิษฐ์รุ่นก่อนๆ ถือกันมาด้วยซํ า

37


แต่ที่เลือกปรัชญานี้ เพราะพวกเขาคิดว่ามันเหมาะกับสิ่งแวดล้อมที่รายรอบ ชีวิตของพวกเขามากกว่า ไม่ว่าจะเป็นวัสดุอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายในการผลิต

38


39


2

ได้โจทย์จากอาจารย์สุพจน์มาพักใหญ่แล้ว สองหนุ่มน้อยก็ยังคงคิดไม่ออกว่า จะประดิษฐ์อะไรดี เวลาก็ล่วงผ่านไปวันแล้ววันเล่า กำ�หนดวันส่งหัวข้อก็ใกล้เข้ามาๆ ขณะที่สองหนุ่มกำ�ลังหมดอาลัยตายอยากกับชีวิต อารมณ์หน้าโรงเรียน นั่งมองคนผ่านไปผ่านมาแก้เบื่อ

จึงชวนกันไปนั่งทอด

ฝั่งตรงข้ามกับโรงเรียนช่างเคี่ยนคือวัด ถัดจากละแวกวัดและโรงเรียนเป็น ย่านชุมชนมีร้านรวงขายอาหารเต็มไปหมด คนที่ผ่านไปมาจะแวะจับจ่ายใช้สอย และ ซื้อกับข้าวใส่ถุงพลาสติกกันคนละถุงสองถุง

40


วันที่สองหนุ่มออกมานั่งทอดอาลัยนั้นเป็นวันพระ มีอุ๊ยๆ พากันเดินไปวัด สองหนุ่มสังเกตเห็นว่าในมือของพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยไม่ยักมีถุงพลาสติกมีแต่ปิ่นโต ทันใดนั้นเอกก็หายอาการซึมเซา และหันไปเขย่าตัวสมพงษ์คู่หู “สมพงษ์ๆ เราคิดออกแล้วๆๆๆ เราจะทำ�ปิ่นโตที่อุ่นอาหารได้!!!” เมื่อทั้งคู่นำ�ไอเดียมาหารือกับอาจารย์สุพจน์ อาจารย์สุพจน์ก็นิ่งฟังอย่าง ตั้งใจ ไม่ทั้งเออออห่อหมก และไม่ทั้งคัดค้าน หากใช้วิธีกระตุ้นให้เด็กๆ ได้คิดเอง โดยการนั่งซักถามถึงเหตุผลและที่มาที่ ไปในการประดิษฐ์ครั้งนี้ ถามด้วยคำ�ถามง่ายๆ ว่า ทำ�แล้วได้อะไร สู้ความยากไหว หรือไม่ เป็นการสอนให้ให้เด็กๆ ได้ฝึกความคิด และหัดประเมินสถานการณ์ด้วยตัว เอง หนุ่มน้อยทั้งสอง ผลัดกันเล่า ผลัดกันพูด พวกเขาดูจะพออกพอใจ และมั่น ออกมั่นใจกับเหตุผลในการคิดทำ�สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้มาก

41


พวกเขาเล่าเหตุผลอันหนักแน่นให้อาจารย์ได้ฟังว่า สภาพสังคมเศรษฐกิจ ของ เมืองเชียงใหม่ในปัจจุบันนั้นไม่ต่างจากรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ๆ ในภูมิภาค อื่นๆ นั่นคือ มีปัญหาการจราจรติดขัด คนเร่งรีบออกไปทำ�งาน และมักจะพกพาอาหารไว้รับ ประทานในรถ แต่อุปกรณ์ที่ใช้เก็บอาหารในปัจจุบันนั้น มักจะใช้งานได้ประโยชน์เพียงอย่าง เดียว เช่น ปิ่นโตทั่วไปก็ใช้เก็บอาหาร กระติกนํ าร้อน กระติกนํ าเย็น แยกกันไป ไม่ สามารถใช้งานได้สามอย่างในเวลาเดียวกัน นี่เป็นเหตุผลที่ทำ�ให้พวกเขาคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่นามว่า “ปิ่นโตอเนกประสงค์ 3 in 1” เพื่อความสะดวกในการใช้งาน สะดวกในการพกพา ทั้งยังประหยัด พลังงาน และประหยัดเวลา อีกต่างหาก พวกเขาเล่าให้ฟังว่าสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ได้รับความสนใจมาก โดยเฉพาะตอนที่ไป ประกวด ในงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI-2013) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย นั้น มีเอเจนซี่จากบริษัทที่ไต้หวันมา พูดคุยและ

42


43


สอบถามรายละเอียดการใช้งาน อย่างสนอกวนใจพร้อมทั้งทิ้งนามบัตรไว้ให้พวกเขา เผื่อพวกเขาจะสนใจต่อยอดผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ในเชิงธุรกิจ แต่คุณครูและเด็กๆ ไม่ได้คิดไกลไปขนาดนั้น พวกเขาคิดแค่ว่าวันนี้สิ่งที่ พวกเขาฝ่าฟัน บุกบั่น และทุ่มเทลงแรงลงใจไปนั้นได้ถึงจุดหมายแล้ว

44


3

หากมีปรัชญาว่าองค์ประกอบหลักของคนในชุมชนไทยชุมชนใดชุมชนหนึ่ง นั้น หากจะขับเคลื่อนและพัฒนาได้ดี ต้องอาศัยการทำ�งานของก้อนเส้าทั้งสามส่วน คือ วัด บ้าน โรงเรียน แล้วนั้น สิ่งประดิษฐ์ปิ่นโตอเนกประสงค์ 3 in 1 ก็เข้าเกณฑ์ตามหลักนี้เป๊ะ แม้จะ ไม่ได้เป็นการร่วมมือกันอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีที่มาจากองค์ประกอบเหล่านี้ กล่าวคือ วัด เป็นส่วนช่วยจุดประกายความคิด เพราะเอกเห็นอุ๊ยๆ เดินถือ

45


ปิ่นโตไปวัด ส่วนโรงเรียนก็คือศูนย์บัญชาการในการสนับสนุนห้องทดลองให้เด็กๆ สำ�หรับบ้านนั้น ก็สำ�คัญไม่น้อยกว่าส่วนใดๆ เพราะมีบ้านของช่างท่านหนึ่งอยู่ใกล้โรงเรียน เป็นช่างที่มีความรอบรู้ สารพัดช่าง ทั้งเรื่องเครื่องไฟฟ้า เรื่องเครื่องยนต์กลไก และการใช้เครื่องไม้เครื่อง มือเชิงช่างแทบทุกชนิด “น้าณัฐพงษ์ แก้วเทพ เป็นที่ปรึกษากิติมศักดิ์ก็ว่าได้ ทุกเรื่องทุกปัญหา ถามน้า น้ามีทางออก นี่ถ้าไม่ได้น้าเขามาช่วยแนะนำ�นะ งานนี้ไม่มีทางแจ่มแจ๋ว อย่างนี้เลยครับ” เอกเล่า ณัฐพงษ์ที่เอกเล่านั้นเป็นช่างหรือสล่าที่เปิดร้านซ่อมอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์อยู่ละแวกโรงเรียน เขามีความเชี่ยวชาญในงานช่างแทบทุกด้าน จึงสามารถ แนะนำ�เด็กๆ ได้เป็นอย่างดี “ผมชอบมาขลุกกับพวกเขา ได้ประโยชน์เยอะเลยฮะ ผมไม่ได้มาเป็น

46


ฝ่ายให้อย่างเดียวนะ เขาก็ให้ผมด้วย ผมได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ก็จากพวกเขา ด้วย เด็กๆ สมัยนี้เก่ง เขาหูตากว้างไกลกว่าเรา เขาหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตแป๊บ เดียวรู้หมดอะไรอยู่ตรงไหน เรียกว่า win win ดีกว่าฮะ ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่ง กันและกัน” ถือเป็นความโชคดีของโรงเรียนช่างเคี่ยนก็ว่าได้ เพราะโรงเรียนได้รับการ สนับสนุน ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานและองค์กรภายนอกโรงเรียนหลายๆ ทางด้วยกัน ประกอบกับเด็กๆ ในชมรมวิทยาศาสตร์ของที่นี่ได้มีโอกาสไปเข้าค่ายกับ พี่ๆ คณะวิศวะของเทคโนโลยีราชมงคลทุกปี พี่ๆ กลุ่มนี้จะทำ�ค่ายหุ่นยนต์บ้าง ค่าย วิทยาศาสตร์บ้าง เครื่องบินเล็ก เครื่องร่อน เป็นต้น การไปอย่างนั้นได้ช่วยให้เขาชอบวิทยาศาสตร์ ชอบคิดค้นทดลอง อีกส่วนก็ คือช่างนอกโรงเรียน หรือภูมิปัญญานอกโรงเรียนอย่างคุณณัฐพงษ์ แก้วเทพ มาคอย เป็นโค้ชให้เด็กๆตลอดทาง

47


"เรียกได้ว่าปัจจัยภายนอกก็มีส่วนอุดหนุนเรามากเลยทีเดียวค่ะ” อาจารย์ นารีย์ หมื่นแจ่ม รองผู้อำ�นวยการโรงเรียนเล่าเสริม สิ่งที่น่าตื่นเต้นในการทำ�สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ของโรงเรียนช่างเคี่ยน ไม่ได้อยู่ที่ การค้นคว้าทดลองสิ่งประดิษฐ์เพียงเท่านั้น แต่ความหฤหรรษ์ (เอ่อ...หรืออาจรวม ถึงความหฤโหด) อยู่ที่กระบวนการเดินทางไปประกวดในแต่ละระดับด้วย ทั้งระดับ จังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ เลยทีเดียว เรื่องของเรื่องก็คือ ทั้งสองนักประดิษฐ์หนุ่มน้อย มีสัญชาติเป็นชาวไทใหญ่ การเดินทางไปนอกประเทศต้องทำ�วีซ่า และต้องไปขออนุญาตสถานทูต หากทว่า ด้วยความขลุกขลักทางด้านการประสานหน่วยงานราชการ ทำ�ให้เอก เกือบไม่ได้ เดินทางไป จนคณะครูและโรงเรียนต้องลุ้นกันจนใจหายใจควํ่า “โอย อุปสรรคเยอะแยะมากมายเลยครับ สรุปสั้นๆ ได้ว่าเราแทบถอดใจ แล้วว่าเอกไม่ได้ไปแน่ๆ แต่เหมือนโชคช่วยฮะ นาทีสุดท้ายเราได้เอกสารให้เอกจน ครบ สามารถเดินทางไปมาเลเซียได้

48


ไฟแห่งความสร้างสรรค์ ที่ถูกจุดติดขึ้นมาแล้ว จะไม่มีวันมอด

49


50


"ยิ่งไปกว่านั้น คือก่อนที่เด็กทั้งสองจะขึ้นนำ�เสนอ ไฟในห้องเกิดดับ เรียกว่า ทดสอบกันจนหยดสุดท้ายเลยทีเดียวครับ” ฉะนั้น เมื่อไปถึงฝั่งฝัน ทั้งครูและศิษย์ต่างก็ตักตวงช่วงเวลาอันมีค่าของการได้ อยู่ในงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI-2013) ณ กรุง กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย อย่างเต็มที่ บู๊ททุกบู๊ท ซุ้มทุกซุ้ม เป็นที่สนอกสนใจ ของพวกเขาอย่างยิ่ง ต่างพากันเดินดู ตักตวง จด บันทึก ถ่ายภาพ ทำ�ทุกอย่างที่ สามารถทำ�ได้ พวกเขาไม่ละเว้น พวกเขาบอกว่าไฟแห่งความสร้างสรรค์ที่ถูกจุดติดขึ้นมาแล้วจะไม่มีวันมอด กลับมาจากงานครั้งนั้นแล้ว แต่ละคนต่างมุ่งมั่นที่จะยืนยันความเป็นนักประดิษฐ์ต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังปวารณาตัวเองคนต้นแบบที่ดีในการเป็นนักประดิษฐ์ ให้รุ่นน้องๆ ด้วย เวลาใครคิดจะทำ�สิ่งประดิษฐ์หรืออย่าว่าแต่สิ่งประดิษฐ์เลย คิดจะทำ�อะไร ใหม่ๆ ที่ยากๆ ที่ไม่เคยมีใครทำ�มาก่อน มักพ่ายแพ้ต่อคำ�ว่า อย่าเลย ไม่เอาดีกว่า เดี๋ยว

51


มีปัญหา เดี๋ยวยุ่งยาก มีเหตุผลร้อยแปดพันประการที่จะล้มเลิก หรือไม่แม้กระทั่งคิด จะทำ� หากสำ�หรับนักประดิษฐ์แล้ว พวกเขาเปรียบเสมือนนักบุกเบิก ที่ไม่เคยสน ว่า ทางข้างหน้าจะยากเย็นเพียงใด กลุ่มนักประดิษฐ์จากโรงเรียนวัดช่างเคี่ยนกลุ่มนี้ทำ�ให้เราเห็นแล้วใช่ไหมว่า บางคนอาจเลือกเกิดไม่ได้ บางคนมีเงื่อนไขเต็มไปหมดที่ทำ�ให้ชีวิตต้องลำ�บากยาก แค้น แต่จินตนาการ ความฝัน ความหวัง ของมนุษย์นั้น เหมือนเมล็ดพันธุ์ของต้นไม้ วิเศษที่งอกงามได้เสมอ แม้ชีวิตนั้นจะเป็นเสมือนผืนดินที่ไร้ซึ่งความสมบูรณ์พูนสุข เพียงใดก็ตาม ปิ่นโตเถานั้น นอกจากจะช่วยบรรจุอาหารให้อุ่น สร้างความฉํ่าเย็นแล้วยัง อัดแน่นไปด้วยเมล็ดพันธุ์ที่มีชื่อว่า จินตนาการ ความฝัน ความหวัง ไว้อีกด้วย หรือ ใครจะเถียงว่าไม่จริง

52


ปิ่นโตอเนกประสงค์ 3 in 1 เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ที่ช่วยอำ�นวย ความสะดวกในการใช้งาน สามารถประหยัดเวลาและประหยัดพลังงาน ซึ่งประกอบ ด้วยแผ่นความร้อน (Thermoelectric Module) โดยด้านหนึ่งให้ความร้อน อีกด้าน หนึ่งให้ความเย็น สามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ได้ 3 อย่าง ในเวลาเดียวกันคือใช้บรรจุ สิ่งของเหมือนปิ่นโตทั่วไป ขณะเดียวกันด้านร้อน ใช้อุ่นอาหาร ส่วนด้านเย็นใช้แช่ อาหาร ผลไม้หรือนํ าเย็น



1

ของฝากจากพ่อ กลับมาจากการไปให้กำ�ลังใจลูกชายได้เพียงประมาณหนึ่งเดือนให้หลัง พ่อ ก็สิ้นลมหายใจ ราวกับว่าสิ่งที่พ่อห่วงได้คลายลงแล้ว สิ่งที่พ่อฝันจะเห็นก็ได้เห็นแล้ว ลูกชายสามารถคว้ารางวัลจากงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI-2013) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มาครองสมดังที่พ่อ อยากจะเห็น

55


สิ่งประดิษฐ์ : เครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์สำ�หรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน จ.ขอนแก่น 56


พ่อจากไปอย่างสงบ เงียบ และเรียบง่าย ด้วยโรคหัวใจ ทิ้งเพียงความ อาวรณ์ไว้กับลูกชาย แม้วันนี้จะไม่มีพ่ออยู่ข้างๆ แต่ ด.ช.ภัทร์ นิกร หรือปุ๊ก บอกว่าเขาจะยังคง มุ่งมั่นตั้งใจ กับการประดิษฐ์คิดค้นต่อไปเหมือนกับตอนที่พ่อยังอยู่ เพราะเขารู้ว่า นี่ คือสิ่งที่พ่อของเขาปรารถนาจะเห็นและอยากให้เขาเป็น และที่เขาได้ชอบการประดิษฐ์คิดค้นมาตั้งแต่เด็กๆ นั่นเป็นเพราะเขาได้เห็น แบบอย่างจากพ่อ พ่อของเขาเป็นนักประดิษฐ์ ภาพที่พ่อประดิษฐ์โน่นนั่นนี่ คิดทำ�โน่นทำ�นี่ เป็นสิ่งที่เขาคุ้นตามาตั้งแต่อ้อนแต่ออก “พี่เคยเห็นเครื่องระบายอากาศ ระบายความร้อนที่เป็นกลมๆ หมุนๆ ติด บนหลังคาพวกโรงเรือน โรงอาหารใหญ่ๆ ไหม นั่นล่ะพ่อผมประดิษฐ์สิ่งนี้ขายล่ะ” น้องปุ๊กเล่าด้วยความภาคภูมิใจ

57


“ปุ๊กเขาได้รับอิทธิพลจากพ่อมาเต็มๆ เพราะคุณพ่อเขาเป็นนักประดิษฐ์ แต่ ด้วยเกิดต่างยุคต่างสมัยกัน พ่อของปุ๊กอาจจะคิดเครื่องไม้เครื่องมือในเชิงช่าง ตาม ยุคสมัยที่พ่อคุ้นเคย “แต่เด็กยุคไอทีอย่างปุ๊ก สิ่งที่เขาลุ่มหลงคือคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ไอที ต่างๆ” อาจารย์อาริศสา อรรคษร หรือครูแจนของเด็กๆ เล่าบ้าง อีกหนึ่งหนุ่มที่ร่วมที่มาร่วมแก๊งประดิษฐ์ครั้งนี้คือธนิยะ บุญบุตร หรือ นนท์ นนท์เป็นเด็กขี้อาย ค่อนข้างเงียบถึงเงียบมาก ครูแจนบอกว่านนท์ก็เป็นคนลุ่มหลงในคอมพ์พิวเตอร์ไม่ต่างจากปุ๊ก ยิ่งกว่า นั้นคุณสมบัติอีกอย่างที่นนท์อาจจะมีมากกว่าเพื่อนในวัยเดียวกันคือ ความมีวินัย ความรับผิดชอบ และความมุ่งหวังตั้งใจจะทำ�สิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์กับคนอื่น เมื่อหนุ่มเนิร์ดและหนุ่มมีวินัย มุ่งมั่น มาเจอกัน ความไม่ธรรมดาย่อมบังเกิด ขึ้นมาอย่างแน่นอน

58


59


2

เมื่อคนสามคน อันหมายถึงครูแจน ปุ๊ก และนนท์ ซึ่งคลั่งใคล้ใหลหลงใน เรื่องราวของวิทยาศาสตร์ ผนวกกับคุณสมบัติเฉพาะตัวต่างๆ ที่คนสามคนนี้มี มา หลอมรวมกัน จึงเกิดเป็นที่มาของสิ่งประดิษฐ์ไม่ธรรมดา นามว่าเครื่องมือวัดทาง วิทยาศาสตร์ สำ�หรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น “เพราะเราเรียนสายวิทย์ครับ และในห้องเรียนของผมมีนักเรียนเรียนร่วม ที่เป็นคนพิการเขามีสายตาเลือนราง หรือ LOW VISION ผมก็เลยเกิดปิ๊งขึ้นมา ว่า น่าจะมีเครื่องมือที่ ALL IN ONE สำ�หรับเพื่อนจะได้ใช้สะดวกๆ” ปุ๊กบอกที่มา

60


“เมื่อปุ๊กว่างั้น ผมรีบสนับสนุนเลย เพราะผมอยากทำ�สิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ ต่อคนอื่นอยู่แล้ว อาจารย์แจนก็สนับสนุนเพราะท่านยํ าเสมอว่า ถ้าเรารู้จักคิดจะทำ� อะไรเพื่อคนอื่น เราจะไม่เหนื่อยและยอมแพ้ง่ายๆ หรอก...” นนท์กล่าวเสริม “...เราชอบอะไรที่ดูแล้วสะดวกใช้ ชอบไปร้านโดโซะ (ร้านสินค้าที่เน้นขาย ของใช้ในชีวิตประจำ�วัน ราคาย่อมเยาของญี่ปุ่น ที่มาเปิดในเมืองไทย) และบางทีก็ชอบ ซื้อของร้านนี้มาเป็นตัวอย่างให้เด็กๆ ดู เพื่อให้เขาเกิดไอเดีย เราจะกระตุ้นให้เขาเห็นว่าสิ่งประดิษฐ์ไม่จำ�เป็นต้องยิ่งใหญ่อลังการ ไม่จำ�เป็น ต้อง ซับซ้อน แต่เน้นให้มีไอเดีย เน้นความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสินค้าในร้านไดโซะจะมี ตัวอย่าง ของสิ่งประดิษฐ์ มีรายละเอียดปลีกย่อยให้สะดวกกับการใช้งาน ซื้อมาแล้วเรา มักจะรำ�พึง กับตัวเองเสมอว่า คิดได้ไงวะเนี่ย (หัวเราะร่วน)...” ครูแจนกล่าว ทว่ากว่าสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้จะออกมาเป็นรูปเป็นร่างอย่างนี้ แก๊งเด็กเนิร์ด และ หัวหน้าแก๊งค์ก็ต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจกันแทบกระอักเลือด

“ดีนะคะว่าบ้านเราทั้งสามคนอยู่ใกล้กัน เลยง่ายหน่อย บางทีสามสี่ทุ่มก็ยัง

61


ถ้าเรารู้จักคิด จะทำ�อะไรเพื่อคนอื่น เราจะไม่เหนื่อย และยอมแพ้ง่ายๆ หรอก...

62


สุมหัวกันอยู่บ้านคนใดคนหนึ่ง” อาจารย์แจนซึ่งจะว่าไปก็เหมือนหัวหน้าแก๊งค์เด็ก เนิร์ดไปโดยปริยาย กล่าวกลั้วหัวเราะ “ปัญหาเยอะฮะ คือบางทีแค่แสงเปลี่ยน ค่าเฉดสีมันก็ต่างไป ทำ�ให้เฉดสีซึ่ง เป็นตัววัดและเป็นเซ็นเซอร์ที่จะส่งไปยังเสียงที่ตั้งไว้แปรผัน วุ่นกันไปอีก ต้องแก้แล้ว แก้เล่า กว่าจะได้ “ที่สำ�คัญเราไม่ได้แก้แล้ววัดความสมบูรณ์แบบจากเราเอง ซึ่งไม่ได้เป็นคน พิการนะฮะ พวกเราเอาไปเทสต์ เอาไปทดลองใช้จริงกับศูนย์พัฒนาคนตาบอดที่ เพชรบุรีเลยนะฮะ เพราะพ่อผมเป็นคนแนะนำ�ว่า ทำ�อะไรแล้วต้องวัดว่ามันดีจริง และใช้ได้จริงกับผู้ใช้โดยตรง” พ่อปุ๊ก ตัวปุ๊ก ครูแจน และนนท์ อาจไม่รู้ว่าสิ่งที่พวกเขากำ�ลังทำ�อยู่นั้น เป็นผลงาน ประดิษฐ์ที่เข้าข่ายตามแนวคิดที่นักออกแบบ หรือกระแสการออกแบบ ของโลกกำ�ลังรณรงค์อยู่

แนวคิดที่เรียกว่า Universal Design หรือ UD อันหมายถึง การออกแบบ

63


64


เพื่อมวลชน เป็นแนวคิดในการออกแบบที่คํานึงถึงการใช้งาน มีความคุ้มค่า สม ประโยชน์ ครอบคลุมสําหรับทุกคน และไม่ต้องดัดแปลงพิเศษหรือเฉพาะเจาะจง เพื่อบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การออกแบบเพื่อมวลชนเป็นการออกแบบโดยเริ่มต้นจากการคิดว่า ทํา อย่างไรคนประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะตาบอด หูหนวก แขนขาร่างกายพิการ คนพิการ ทางปัญญา คนที่อ่านหนังสือไม่ออก เป็นต้น เพื่อให้เขาสามารถอยู่ในสังคมร่วม กับบุคคลทั่วไปได้อย่างเป็นปกติสุข (Nicole Del Castillo, 2009) แต่ต่อมาแนวคิดนี้ถูกพัฒนาต่อไปว่าแทนที่จะออกแบบเฉพาะเพื่อกลุ่ม คนประเภทใดควรออกแบบแล้วสามารถใช้ได้ครอบคลุมกับคนทุกกลุ่มจะเหมาะ สม และประหยัดกว่า อีกทั้งยังไม่เป็นการเลือกปฏิบัติด้วย ในขณะที่นักออกแบบชั้นนำ�ในประเทศนี้ยังไม่รู้ ไม่สนใจ และละเลย แนวคิดนี้ด้วยซํ า

แต่จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตามแต่

แนวคิดนี้ถูกนำ�มาใช้จริงแล้วบนแผ่นดิน

65


ที่ราบสูงของประเทศไทย แผ่นดินที่ถูกประทับตราว่าเป็นพื้นที่ของคนที่มักจะ “โง่ จน เจ็บ”

แก๊งเด็กเนิร์ดกลุ่มนี้กำ�ลังทลายมายาคติเหล่านั้นด้วยสิ่งประดิษฐ์เล็กๆ ชิ้นนี้

66


3

ปุ๊กและนนท์เล่าว่าการจัดงานประกวด International Exhibition for Young Inventors (IEYI-2013) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย สร้างความ เปลี่ยนแปลงให้กับชีวิตหลายประการ เพราะลำ�พังแค่การนั่งเครื่องบินไปกรุงเทพฯ ก็เป็นเรื่องตื่นเต้นนักหนาแล้ว สำ�หรับเด็กต่างจังหวัดในวัยนี้ แต่คราวนี้หนักกว่านั้น เพราะมันเป็นการนั่งเครื่องบิน ข้ามนํ าข้ามทะเลไปต่างประเทศเป็นครั้งแรก แม้จะเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างมาเลเซียก็ตามทีเถอะ การได้ไป ต่างบ้านต่างเมืองอย่างนั้นช่วยเปิดโลกทัศน์ให้พวกเขาได้มากกว่ามาก

67


“โธ่พี่ แค่ได้เดินทางก็ตื่นเต้นแล้ว นี่ได้ไปเห็นไปดูว่าเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน กับเรา เขาคิดอะไรออกมา สิ่งที่เขาประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นอย่างไรบ้าง ความคิดเขาไปถึง ไหน และสิ่งประดิษฐ์ที่แต่ละประเทศนำ�มาเป็นอย่างไร แค่นี้ผมก็ตื่นเต้นจะแย่แล้ว” ปุ๊กเล่าเสียงตื่นเต้น “ไม่เพียงตื่นเต้นนะครับ การได้เห็นบางชิ้นทำ�ให้เรารู้ว่าสิ่งประดิษฐ์ที่ดีไม่ ต้องยาก ขอให้ง่าย ใช้ได้จริง และมีไอเดียที่เจ๋งๆ ก็พอแล้ว “สำ�หรับผมการได้เห็นแนวคิดของสิ่งประดิษฐ์จากประเทศญี่ปุ่นน่าทึ่ง มาก สิ่งละอันพันละน้อย เรื่องนิดๆ หน่อยๆ เขาก็เก็บรายละเอียดและนำ�มาคิดเป็น เครื่องมือเครื่องใช้ ที่ล้วนแล้วแต่ทำ�ให้ใช้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น “ผมดูแล้วก็ได้แต่ทึ่งและสงสัยว่าประเทศเขาทำ�อย่างไรนะถึงผลิตคนที่มี ความคิดสร้างสรรค์อย่างนี้ออกมาได้ เขาเลี้ยงกันมาอย่างไร กินอะไรจะได้กินตาม มั่ง” นนท์พูดจบเสียงหัวเราะก็ดังลั่นห้อง

“...การที่เด็กๆ ได้ไปอย่างนี้ถือเป็นเรื่องดีมากเลยค่ะ ไม่เฉพาะเด็กเท่านั้น ดี

68


กับครูด้วยค่ะ เพราะมันช่วยเปิดโลกทัศน์ทั้งครูและเด็ก “ยิ่งไปกว่านั้นมันฝึกให้เด็กโตขึ้นแบบก้าวกระโดดเลยทั้งเรื่องการต้องใช้ภาษา เรื่องความรับผิดชอบตัวเอง และเรื่องของการได้ไปเห็นไอเดีย เห็นความสร้างสรรค์จาก ผลงานประเทศอื่นๆ ปุ๊ก นนท์ ทั้งสองคนพอกลับมาแล้วก็พูดแต่ว่าปีหน้าจะทำ�อีก จะ คิดอะไรใหม่ๆ ออกมาอีก เพราะอยากไปต่างประเทศอีก...” ครูแจนกล่าวเสียงใส ผลจากการประกาศศักดาของสองหนุ่มน้อย ทำ�ให้มีเพื่อนๆ และเด็กรุ่นน้อง ฝันใฝ่อยากจะเป็นนักประดิษฐ์อย่างสองหนุ่มบ้าง แม้จะเข้าสู่ช่วงปิดเทอมแล้วก็ตาม ยามนี้สมาชิกบางคนในชมรมวิทยาศาสตร์ ต่างพากันคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ไว้แต่เนิ่นๆ พวกเขาบอกว่า “เตรียมตัวก่อนได้เปรียบก่อน” ไม่แน่นะ ในปีหน้าเด็กที่ราบสูงกลุ่มนี้อาจสร้างชื่อให้ประเทศอีกก็เป็นได้

69


4

วันนี้... หนุ่มปุ๊กผ่านพ้นมรสุมครั้งหนักหน่วงของชีวิตจากการสูญเสียพ่อมาได้แล้ว

กระนั้นก็ตามในบางครั้งที่ได้เอ่ยถึงพ่อผู้เป็นที่รัก ผู้สนทนาแอบเห็นเด็ก หนุ่มหลบตาวูบ เพื่อบดบังความเศร้า แต่ไม่เพียงชั่ววินาทีจากนั้น เขาก็จะส่งสายตา มุ่งมั่น จากดวงตาคมกริบนั้นคืนมาดังเดิม เรามิอาจล่วงรู้ว่าในใจหนุ่มน้อยคิดอะไร เขามีวิธีรับมือกับความสูญเสียแบบไหน

70


ความช่างประดิษฐ์คิดค้น ความมุ่งมั่นกล้าทำ�ตามความฝัน ความกล้าผิดแผกแตกต่าง ความมุ่งมั่น ตั้งใจ อดทนคุณสมบัติ เหล่านี้ของพ่อ ถูกส่งผ่าน และสะสมไว้ในตัวลูกชายแล้ว

71


แต่สำ�หรับคนที่ได้ผ่านพบ รู้จักเขา อาจได้ตระหนักว่าบางสิ่งที่จากไปแต่ไม่ สูญสลายไปไหน พ่อยังอยู่ในปุ๊ก ปุ๊กยังคงมีพ่อ ความช่างประดิษฐ์คิดค้น ความมุ่งมั่นกล้าทำ�ตามความฝัน ความกล้า ผิดแผกแตกต่าง ความมุ่งมั่น ตั้งใจ อดทน คุณสมบัติเหล่านี้ของพ่อ ถูกส่งผ่านและ สะสมไว้ในตัวลูกชายแล้ว จากการเป็นนักประดิษฐ์ และสามารถฝ่าด่านความกดดัน ตลอดจนเงื่อนไขต่างๆ นานามาได้อย่างสง่างาม ปุ๊กยังคงเก็บของฝากอันหมายถึงคุณสมบัติเหล่านี้จากพ่อไว้อย่างครบถ้วน

ทุกอย่างที่พ่อสอนอยู่ในกาย ในใจ และแม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ปุ๊กยืนยันว่า “โตขึ้นผมอยากเป็นนักประดิษฐ์เหมือนพ่อผมครับ”

72



เครื่ อ งมื อ วั ด ทางวิ ท ยาศาสตร์ สำ � หรั บ ผู้ ที่ มี ค วามบกพร่ อ งทางการมอง เห็น เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำ�ขึ้นเพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นนั้น มีความ สะดวกในการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยเป็นเครื่องมือที่สามารถวัดอุณหภูมิของน้ำ� อุณหภูมิของอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity ; RH) และวิเคราะห์สี ของวัตถุ


เมื่อนำ�สิ่งประดิษฐ์ไปทดสอบกับผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น พบว่า อุปกรณ์มีความสะดวกในการใช้งาน สามารถบอกค่าอุณหภูมิของนํ า อุณหภูมิของ อากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ และวิเคราะห์สีของวัตถุได้อย่างถูกต้อง ทำ�ให้ผู้ที่ใช้อุปกรณ์ สามารถทราบข้อมูลจากการทดลองทางวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตัวเอง



1

แรงบันดาลใจคือพลังงานอย่างหนึ่ง ถ้าอยู่ในเมือง ร้านสะดวกซื้อชื่อดังคงไม่กลายเป็นเหยื่อ เอ้ย ห้องทดลอง เหมือนมินิมาร์ทละแวกโรงเรียนบ้านปอบิดเช่นนี้ เพราะร้านสะดวกซื้อเหล่านั้น ไม่มีสายสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ เหมือนร้านที่นี่ ผู้ขายเป็นเจ๊ เฮีย พี่ ป้า น้า อา ที่อยากเห็น ผู้ซื้อ คือเด็กๆ โรงเรียน บ้านปอบิดสนุกกับการเรียน มีความรู้

77


สิ่งประดิษฐ์ : เครื่องแยกเหรียญ โรงเรียนบ้านปอบิด จ.นครราชสีมา 78


และมากกว่านั้นคือ พวกเขาต่างคิดตรงกันว่า การสร้างพื้นที่ที่เอื้อต่อการ เรียนรู้ให้เด็กๆ เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ที่นั้น จะเกิดประโยชน์มากกว่า ปล่อยให้พวกเขาไป หมกมุ่นกับปัญหาและยาเสพติด “…(หัวเราะ)…ไม่รู้จะถือเป็นความโชคดีหรือโชคร้ายนะฮะ ที่เราอยู่ในพื้นที่ ไกลปืนเที่ยง 7-11 ยังมาไม่ถึง “ฉะนั้นเวลาเราคิดสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาได้ โดยเฉพาะเครื่องแยกเหรีญญเนี่ยฮะ เราเอาไปให้มินิมาร์ทรอบๆ ชุมชน ทดลองใช้จริง เพื่อจะได้รู้ว่าสิ่งที่เราคิดขึ้นมาดีไม่ดี อย่างไร สะดวกใช้หรือมีข้อติดขัดประการใดบ้างครับ”...” อาจารย์ไพโรจน์ เดชโนนสังข์ อาจารย์ประจำ�ชมรมวิทยาศาสตร์ และยังมี ตำ�แหน่ง กิติมศักดิ์เป็นที่ปรึกษา ในการทำ�ผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ของ เด็กๆ บ้านปอบิด กล่าวอย่างอารมณ์ดี ต้นกำ�เนิดของสิ่งประดิษฐ์ชนิดนี้ มีอยู่ว่า โรงเรียนบ้านปอบิด เป็นโรงเรียน ขนาดเล็ก เด็กๆ ส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ทางโรงเรียนจึงได้สนับสนุนให้เด็กๆ ทำ�

79


การสร้างพื้นที่ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้เด็กๆ เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ที่นั้น จะเกิดประโยชน์มากกว่า ปล่อยให้พวกเขาไปหมกมุ่น กับปัญหา และยาเสพติด

80


สหกรณ์ร้านค้าขึ้นมา เพื่อเป็นการออมทรัพย์ให้นักเรียน อีกทั้งยังฝึกให้รู้จักรับผิด ชอบและการทำ�ธุรกิจเบื้องต้น เด็กๆ ก็ยินดีปรีดา สนับสนุนกิจการในสหกรณ์เป็นอย่างดี หากทว่า ด้วยปริมาณของลูกค้าที่ล้นหลาม ด้วยสภาพฐานะของสมาชิก ซึ่ง ส่วนใหญ่แล้วถือเงินเหรียญมาซื้อสินค้ากันเป็นส่วนใหญ่ น้อยคนหรอกที่จะมีเงินแบงก์มาจับจ่ายใช้สอย ฉะนั้น กว่าจะหยิบเหรียญทอนเงิน กว่าจะนับเงินเหรียญหมดในแต่ละวัน เล่นเอาผู้จัดการสหกรณ์แต่ละอาทิตย์ปวดเศียรเวียนเกล้าไม่ใช่น้อย “...เฮ้อ...เฮ้อ...เฮ้อ...” เปล่านะ สามสาวน้อยนัท (นภัสสร ยิ่งนอก), บึ๋น (กมลพรรณ จิราณุวัฒน์) และ มีน (ธิดา ชนะชัย) ไม่ได้กำ�ลังซ้อมเพลง “หายใจเป็นเธอ” ของโฟร์ มด แต่กำ�ลัง หนักใจกับปัญหาเรื่องการแยกเหรียญในสหกรณ์ต่างหากเล่า “เฮ้อ เฮ้อ เฮ้อ...” สามสาวถอนหายใจพร้อมกันอีกหลายๆ ครั้ง...

81


82


2

แต่ถ้าหากใครมีโอกาสไปเยือนโรงเรียนบ้านปอบิดตอนนี้ คงหมดโอกาสจะ ได้ยินท่อน “เฮ้อ” ในเพลงหายใจเป็นเธอ โฟร์-มด แล้วล่ะ เพราะจะมีเสียงดังสนั่น ของเครื่องร่อนตะแกรงและเหรียญที่ร่วงหล่นไปตามชั้นแยกมาแทนที่ นั่นเอง

เสียงนี้ดังขึ้นเพราะการทำ�งานของสิ่งประดิษฐ์นามว่า “เครื่องแยกเหรียญ”

เครื่องแยกเหรียญที่ นัท บึ๋น มีน เป็นคนคิดค้นขึ้นมา โดยมีหัวโจกคือ อาจารย์ไพโรจน์ และอาจารย์จันทร์เพ็ญ เดชโนนสังข์ อาจารย์สองสามีภรรยาที่

83


ทุ่มเทชีวิตไว้กับการสอนงานประดิษฐ์ ทั้งยังเป็นผู้ปลุกปั้น และกระตุ้นให้เด็กๆ ช่วยกันประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญ นี้ขึ้นมาจนเป็นรูปเป็นร่าง และได้รับรางวัลจนเป็นที่กล่าวขวัญ ขจร ขจายไปทั่วทั้ง อำ�เภอคงกันเลยทีเดียว “พอกลับมา มีการรับขวัญเด็กๆ ทำ�บายศรีสู่ขวัญผูกข้อไม้ข้อมือกันยกใหญ่ เลย และ เอ่อ ที่สำ�คัญเด็กๆ ได้เงินไปหยอดกระปุกกันคนละไม่น้อย กลายเป็นเถ้า แก่เนี้ยกันไปเลยใช่มั้ย...” กล่าวจบอาจารย์จันทร์เพ็ญกับอาจารย์ไพโรจน์ก็พาหัวเราะและหันไปถาม สองสาวที่นั่งอยู่ตรงหน้าแบบล้อๆ เด็กน้อยสองคนก็ยิมอายๆ ประสาเด็กต่างจังหวัด ที่ไม่ชินกับการแสดงออกต่อหน้าแขกแปลกหน้า “การอุดหนุนให้เงินทองก็เป็นเรื่องดีนะฮะ เราไม่ได้รังเกียจหรือปฏิเสธ แต่ผมว่าจะดีกว่ามาก ถ้าเราสามารถทำ�ให้มีพื้นที่สำ�หรับงานประดิษฐ์อย่างนี้เปิด กว้าง มีเวทีให้เด็กๆ ได้แสดงศักยภาพของเขา เพราะเด็กของเราลำ�บากยากจน สิ่ง ประดิษฐ์นี้สามารถนำ�ทางไปเขาเข้าสู่โอกาสด้านอื่นๆ” 84


คราวนี้อาจารย์ไพโรจน์พูดจริงจัง และสิ่งที่อาจารย์ไพโรจน์กล่าวคงไม่ไกลจากความจริงเลย เพราะทั้งนัท บึ๋น และมีน บอกว่าหลังจากที่พวกเธอได้รับรางวัลทำ�ให้รู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ที่สำ�คัญที่บ้านซึ่งไม่ใคร่ให้ความสำ�คัญกับการเรียนเท่าใดนัก ก็เริ่มตระหนัก ว่า การเรียน การศึกษานั้น หาได้สูญเปล่าหรือไร้ค่าอย่างที่เคยคิด นัก

แต่มันสามารถทำ�ให้ลูกหลานของพวกเขาก้าวไปไกลกว่าที่พวกเขาฝันมาก

“...ตอนที่ได้ไปนำ�เสนอผลงานและประกวดระดับประเทศที่กรุงเทพฯ พวก หนูก็ตื่นเต้นจะแย่แล้วค่ะ ตื่นเต้นมากกกกก (ลากเสียงยาว) “กว่าจะเจอโรงแรมที่พักเราหลงกันหลายรอบ อาจารย์ต้องจ้างมอเตอร์ไซค์ นำ�หน้ารถที่เราเช่าไปเลยค่ะ...” บึ๋นเล่าแจ๋วๆ ด้วยแววตาใสซื่อ จนคนในวงสนทนา หัวเราะร่วนไปตามๆ กัน

85


ถ้าเราสามารถทำ�ให้มีพื้นที่ สำ�หรับงานประดิษฐ์อย่างนี้ เปิดกว้าง มีเวทีให้เด็กๆ ได้แสดงศักยภาพของเขา เพราะเด็กของเราลำ�บากยากจน สิ่งประดิษฐ์นี้สามารถนำ�ทางเขา เข้าสู่โอกาสด้านอื่นๆ

86


“ยิ่งพอได้ไปต่างประเทศ แม้จะเป็นประเทศไม่ไกลอย่างมาเลเซียก็ตาม ตื่น เต้นกันทั้งครูทั้งเด็กเลยครับ ไม่ใช่เฉพาะเด็กนะครับที่เพิ่งนั่งเครื่องบินครั้งแรก แต่ครู ก็ครั้งแรกเหมือนกัน โอ้โห เสร็จงาน IEYI 2013 นี่ สำ�หรับผมชีวิตเปลี่ยนเลยนะครับ” ไม่ต่าง คุณครูเท่าใดนัก เด็กๆ บอกว่าการได้ไปงานประกวดสิ่งประดิษฐ์ ทั้ง ในระดับประเทศและในระดับชาตินั้น เปลี่ยนชีวิตของพวกเขา ได้สัมผัสการเดินทาง ทางอากาศที่รวดเร็ว ได้เห็นโลกอื่นๆ ที่พ้นไปจากทุ่งนา ทุ่งข้าวโพด และภูมิทัศน์ โลก ทัศน์เดิมๆ ในละแวกบ้าน “ขณะที่ไปที่นั่น เราได้เห็นความคิดและสิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนๆ จากประเทศ อื่นๆ ที่ทำ�ให้เราทึ่งมากเลยค่ะ คุณครูก็พาเราไปดูแทบทุกบู๊ทเลย ถ่ายรูปกลับมาด้วย” คุณครูไพโรจน์เล่าว่าเขาทำ�อย่างนั้นเพราะการไปงาน IEYI 2013 ถือเป็น โอกาสสำ�คัญยิ่งของชีวิต ไม่ใช่เพียงแค่การได้เดินทางทางอากาศครั้งแรกแต่การได้ไปเห็นสิ่งประดิษฐ์ จากหลากหลายประเทศทำ�ให้รู้สึกทึ่ง การได้เห็นแนวคิดต่างๆ ในการปลูกฝังให้เด็กๆ

87


โตขึ้นเป็นนักประดิษฐ์ หลายๆ แนวคิด ก็เป็นประสบการณ์ที่แสนพิเศษของอาจารย์ ในชนบทอย่างเขา “อย่างเช่นสิ่งประดิษฐ์จากประเทศญี่ปุ่นน่ะครับ ส่วนใหญ่จะเรียบง่ายๆ ไม่ ซับซ้อน แต่เป็นเรื่องสำ�คัญใกล้ๆ ตัว เป็นความไม่สะดวกในชีวิตประจำ�วัน และยัง เน้นการเก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ไม่น่าแปลกใจเลยครับว่าเหตุใดประเทศเขาจึง เป็นมหาอำ�นาจทางการประดิษฐ์คิดค้น เพราะแนวคิดนี้มันมีมาตั้งแต่เด็กตัวน้อยๆ นั่นเอง” “หนูฝันอยากให้เมืองไทยมีงานอย่างนี้บ้าง และมีทุกๆ ปีเลย และไม่ใช่จัด เฉพาะในกรุงเทพฯ แต่จัดแต่ละภาคไปเลย รุ่นน้องๆ คงจะสนุกไม่น้อย” มีนกล่าวจบทำ�ตาลอย

88



3

หลายคนอาจคิดว่า ไม่น่าประหลาดใจหากเด็กๆ จากประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือเด็กในโรงเรียนดังๆ ที่มีความพร้อมจะได้รับรางวัลจากการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ เพราะความพร้อมน่าจะเป็นส่วนสำ�คัญที่ทำ�ให้พวกเขาสามารถคิดสร้างสรรค์ได้

แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป

หลายๆ โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในแดนกันดาร และเด็กที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ได้ กลับเป็นเด็กที่ลำ�บากยากจน เช่นเดียวกับเด็กๆ ที่โรงเรียนบ้านปอบิด และเช่น

90


เดียวกับ ชีวิตของนักประดิษฐ์สาวน้อยทั้งสามคน พวกเธอล้วนมีสถานะไม่ต่างกันคืออยู่ ในครอบครัวที่ลำ�บากยากจน ครอบครัวไม่สมบูรณ์ บ้างพ่อแม่หย่าร้าง บ้างเกิดมาไม่เคย เห็นหน้าแม่ บ้างมีพ่อป่วยด้วยอัมพาตที่ต้องดูแล บ้างไม่มีเงินมาโรงเรียน ทั้งหมดนี้คือความไม่พร้อมทั้งสิ้น แต่เงื่อนไขดังกล่าวกลับไม่เป็นอุปสรรคใดๆ ที่จะมาขัดขวางความคิดสร้างสรรค์ ของพวกเธอ เพราะเธอมีคุณสมบัติสำ�คัญอยู่ในตัว นั่นคือความช่างสังเกต การชอบ ค้นคว้าทดลอง และความไม่กลัวกับความยากลำ�บาก สามสิ่งนี้ต่างหากเล่าที่เป็นส่วนสำ�คัญ ผลักดันให้คนคน หนึ่งจะเป็นนักประดิษฐ์ ได้หรือไม่ ความจนความรวยไม่ใช่เงื่อนไขที่จะมีผลต่อการชี้วัด “คิดๆ ดูเครื่องร่อนเหรียญนี่มีที่มาจากความไม่ทันสมัยของเราเหมือนกันนะคะ คือในชุมชนของเรายังใช้โรงสีข้าวแบบโบราณเป็นที่สีข้าวประจำ�ชุมชน “เกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว เด็กๆมักจะมีหน้าที่นำ�ข้าวไปสีในโรงสีนั้น หนูก็เหมือน

91


กัน ถูกที่บ้านมอบหมาย ให้เป็นคนเอาข้าวไปสีเสมอ วันนั้นขณะที่หนูคิดไม่ออก ว่า จะทำ�เครื่องแยกเหรียญอย่างไรดี ขณะกำ�ลังยืนเหม่อลอย คิดๆๆๆ ตาก็มองไปที่ เครื่องร่อนข้าว ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของโรงสี “เครื่องนี้สามรถแยกรำ�หยาบ รำ�ละเอียด ที่มีขนาดต่างกันออกจากกัน หนู ก็เลยนำ�หลักการนั้นมาใช้กับการประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญบ้าง ก็เลยนำ�ความคิดนี้ มาเล่าให้ครูฟังค่ะ…” มีนเล่าจ๋อยๆ “เมื่อเขาตั้งต้นความคิดมาได้แล้ว ผมกับครูจันทร์เพ็ญก็มีหน้าที่กระตุ้นต่อ หน้าที่นักกระตุ้นทำ�อย่างไร คือทำ�โดยการคอยป้อนคำ�ถาม ดึงความคิดเขาออกมา ถามเขาว่าทำ�ไมถึงคิดอย่างนั้น อย่างนี้ และเราจะไม่มีคำ�ตอบให้ว่าดีหรือไม่ดี แต่ตั้ง คำ�ถามให้เขาคิดต่อไปเรื่อยๆ ให้เขาได้รู้จักสังเคราะห์ความคิดที่กลั่นออกมาจากเขา จริงๆ” เด็กๆ เล่าต่อว่าเมื่อเครื่องแยกเหรียญชิ้นแรกออกมาเป็นรูปร่างแล้ว ก็พบ จุดบกพร่องมากมายที่ทำ�ให้พวกเขาต้องแก้ไขปรับปรุงต่ออีกหลายครั้งหลายหน

92


บางอย่างที่เป็นอุปสรรค เช่นการใช้เครื่องมือช่างบางชนิดไม่มีในแดน กันดารอย่างบ้านปอบิดแห่งนี้ ต้องประยุกต์ใช้จากเครื่องมือที่มีอยู่ ต้องไปตามช่าง ฝีมือในชุมชนมาช่วย มาออกความเห็นกัน ตอนนี้สาวๆ อย่างพวกเธอสามารถใช้ เครื่องมือช่างได้คล่องแคล่ว ไม่แพ้ผู้ชายอกสามศอกเลยทีเดียว “น้องบึ๋นน่ะค่ะ เขามีทักษะในการใช้เครื่องมืออย่างน่าทึ่ง เขาชอบเล่น เครื่องมือช่าง เขาชอบประดิษฐ์โน่นนี่นั่นของเขาเอง เวลาได้ทำ�ได้เล่นนะ เขาจะมี ความสุขมากกกก” อาจารย์จันทร์เพ็ญกล่าวจบลากเสียงยาว “ผมว่าครูก็เหมือนโค้ชนะครับ เด็กแต่ละคนถนัดไม่เหมือนกัน มีทักษะต่อ วิชาแต่ละวิชาไม่เหมือนกัน เรามีหน้าที่กระตุ้น ดึง ศักยภาพที่เขามีอยู่ออกมา จน ทำ�ให้เขาเกิดความรู้สึกเชื่อมั่นในตัวเอง เมื่อก้าวข้ามความหวาดกลัวไปได้ จากนั้น อะไรๆ ก็ไม่ยากแล้วล่ะครับ”

93


94


4

อาจารย์ไพโรจน์บอกเคล็ดลับการเป็นทั้งครูและโค้ชของตัวเองอย่างภาคภูมิใจ แดดฤดูร้อนส่องให้ท้องฟ้ามีสีชัดสดใส ผืนนาในอำ�เภอคงยามนี้เหมือนผืนผ้าใบสีนํ าตาลผืนใหญ่ตัดกับฟ้าสีครามเข้ม โรงเรียนบ้านปอบิดตั้งโดดเด่นมองเห็นชัดมาแต่ไกล

95


คนละแวกนี้รู้ดีว่า อาคารไม้หลังสีฟ้าหลังนั้นมีเสียงแว่วเจี๊ยวจ๊าวอยู่เสมอ ไม่ว่า โรงเรียนจะปิดเทอมหรือเปิดเทอม เพราะชั้นบนของอาคารหลังนั้น เป็นที่ตั้งของชมรม วิทยาศาสตร์ และเป็นชมรมที่เปิดกว้างอยู่เสมอสำ�หรับเด็กๆ ภายในห้องเล็กๆ เต็มไปด้วยสิ่งประดิษฐ์มากมาย และยังมีหนังสือตำ�รา วิทยาศาสตร์ที่อาจารย์ไพโรจน์ทำ�ขึ้นมาด้วยตัวเอง 6 เล่ม ประหนึ่งเป็นคู่มือเบื้องต้น สำ�หรับนักประดิษฐ์ตัวน้อยๆ เนื้อหาในนั้นจะประกอบไปด้วยวิชาต่างๆ อาทิ ทักษะของนักประดิษฐ์ แหล่ง พลังงานที่ใช้ทำ�งานประดิษฐ์ หลักการใช้เครื่องมือช่าง เป็นต้น ตำ�ราเหล่านี้วางอยู่ในห้องของชมรม ใครใคร่อ่าน อ่าน ใครอยากพากลับบ้านก็ เชิญ อาจารย์ไพโรจน์ท่านไม่หวง เพราะหลังจากที่เด็กประกวดจนได้รับรางวัลแล้วคุณครูคิดว่าการถอดบทเรียน จากประสบการณ์ดังกล่าวสำ�คัญและจำ�เป็นมาก เพราะจะช่วยย่นย่อประสบการณ์ที่นัก ประดิษฐ์เบื้องต้นจำ�เป็นต้องรู้ อีกทั้งยังเป็นคู่มือในการฝึกคิดและฝึกทำ�

96


ทั้งนี้เมื่อได้อ่านแล้ว อาจารย์ยังมุ่งหวังให้เด็กๆ ได้เกิดแรงบันดาลใจที่จะเป็น นักประดิษฐ์เหมือนอย่างรุ่นพี่ๆ บ้าง “...เมื่อมีเด็กสนใจแล้ว ผมจะพยายามดึงความคิดของพวกเขาออกมา โดย การตั้งคำ�ถาม และให้เด็กๆ ลองหันไปมองสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัว แล้วตั้งคำ�ถามง่ายๆ ว่า สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง และถ้าแก้ได้อยากแก้อะไร แต่ละกลุ่มอาจเลือกมาสักหนึ่งปัญหาผ่านกระบวนการทำ� Mind Map เมื่อได้ แล้ว ก็ลองสเก็ตช์เป็นภาพวาด เมื่อได้ภาพร่างคร่าวๆ ที่คล้ายพิมพ์เขียวแล้วก็แยกย้ายกันไปค้นคว้าข้อมูล เรื่องทฤษฎีหลักการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงต่างๆ พร้อมทั้งหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ว่า สิ่งที่ตนคิดจะประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมานั้น มีคนทำ�หรือยัง และถ้าทำ�แล้วมีจุดบกพร่อง อะไรบ้าง จากนั้นจึงสร้างสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาจากกระดาษ ไม้ หรือวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น เพื่อทดลอง ก่อนจะสร้างสิ่งประดิษฐ์โดยใช้วัสดุจริง”

97


อาจารย์ไพโรจน์เล่าด้วยเสียงดังฟังชัด อาจารย์ไพโรจน์ยํ าว่ากระบวนการเหล่านี้มิได้เคร่งเครียด แต่ปล่อยให้เด็กๆ ทำ�ไปอย่างสนุกสนานเป็นธรรมชาติ ทุกอย่างถูกซึมเข้าไปในใจเด็กโดยที่เขาอาจไม่รู้ ตัวว่า สิ่งประดิษฐ์นั้น ไม่ได้ยากเกิน และไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว ใครๆ ก็สามารถทำ�ได้ ห้องเรียนเล็กๆ ชั้นสองบนอาคารไม้หลังสีฟ้า จึงมีหัวบันไดไม่แห้ง มีเด็กๆ วนเข้าวนออกตลอดเวลา ยิ่งหลังจากที่ได้เห็นพี่ๆ ไปต่างประเทศมาด้วยแล้ว ความฝันของน้องรุ่นต่อๆ มาก็คุโชนขึ้นด้วยแรงบันดาลใจถูกส่งผ่านเป็นทอดๆ กระเพื่อมเหมือนวงนํ า “แรงบันดาลใจ” อาจไม่ได้รวมอยู่ในชนิดของพลังงานที่อาจารย์ไพโรจน์บอกไว้ในคู่มือการ เป็นนักประดิษฐ์เบื้องต้น

98


แต่สำ�หรับเด็กๆ แห่งโรงเรียนบ้านปอบิด แรงบันดาลใจที่ได้เห็นความสำ�เร็จ จากการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเหรียญนั้น น่าจะเป็นพลังงานที่ทรงพลานุภาพ

ประหนึ่งนิวเคลียร์ในใจ ระเบิดส่งต่อไปจากพี่สู่น้อง จากรุ่นสู่รุ่น มิรู้จบ...

99


จากการจัดกิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน กิจกรรมออมทรัพย์นักเรียน หรือ แม้แต่ร้านค้าในชุมชนเอง เมื่อสิ้นสุดการขายในแต่ละวัน จะต้องทำ�การนับเงิน เหรียญเป็นส่วนมาก และจากการสังเกต ก่อนทำ�การนับจะต้องแยกเหรียญ ทำ�ให้เสียเวลาใน การนับซึ่งในบางครั้งถ้าแยกเหรียญผิดก็จะทำ�ให้การนับผิดพลาดด้วย


ถ้าจะซื้อเครื่องแยกเหรียญมาใช้ก็ไม่คุ้มค่าเพราะราคาแพง จากการเรียนรู้ใน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ในเรื่องการแยกสารทำ�ให้ทราบว่า สารที่มีขนาดแตกต่างกัน สามารถแยกกันได้ด้วยตะแกรงร่อน แต่ต้องมีแรงมาช่วยในการเขย่า ผู้จัดทำ�ได้เห็นปัญหาของการแยกเหรียญดังกล่าว และจากการเรียนรู้ในกลุ่ม สาระวิทยาศาสตร์ ทำ�ให้ผู้จัดทำ�ประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ขึ้นมา ซึ่งทำ�ให้สามารถแยก เหรียญได้อย่างแม่นยำ� รวดเร็ว และสามารถประดิษฐ์จากวัสดุที่มีในท้องถิ่นและมี ราคาถูก



1

เครื่องทิ้งสิ่งปฏิกูลทางความคิด บรรยากาศในร้านแหนมเนืองชื่อดังของจังหวัดหนองคาย กำ�ลังมีเสียงดัง อึกทึก คึกคัก และคลาคลํ่าไปด้วยผู้คน ทว่าเด็กๆ กลุ่มนั้นก็ไม่ยี่หระต่อคนที่โต๊ะ อื่นๆ ต่างพากันนั่งคุยนั่งเม้าท์มอย อย่างสนุกสนาน คล้ายกับว่าบรรยากาศรอบตัวหาได้มีผลใดๆ ต่อพวกเขาไม่

103


สิ่งประดิษฐ์ : อุปกรณ์ดูดสิ่งปฏิกูลในบ่อปลาสวยงาม โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร จ.หนองคาย 104


ละครทีวีซีรีส์ชื่อดัง “ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น” ยังคงเป็นประเด็นในการเม้าท์ มอย ถึงอย่างสนุกสนาน พวกเขาบอกว่าละครเวทีเรื่องนี้เหมือนจะเป็นตัวแทนเรื่องเล่าของคนใน วัยเดียวกันกับพวกเขาได้ใกล้เคียงความจริงที่ตรงใจ จนทำ�ให้อดที่จะเอามาเม้าท์ ถึงไม่ได้ เสียงหัวเราะ รอยยิ้มที่สดใส การแซวกันไปมา เพื่อน การสอบ ดูเหมือน จะเป็นส่วนประกอบที่สำ�คัญของเด็กในวัยนี้แทบทุกคน มัลลิกา ตั้งตรง (ฝ้าย) กับ วรวัฒน์ รูปงาม (แบงค์) ก็ไม่ต่างจากเด็กคน อื่นๆ ในวัยเดียวกัน ในยามนี้พวกเขาเหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วไป แต่ใครเลยจะคิดว่าช่วงปีที่ผ่านมา ความมุ่งมั่น ตั้งใจ และจดจ่อกับสิ่ง ประดิษฐ์ ที่พวกเขาทำ�นั้น ส่งผลให้ความนึกคิดและวุฒิภาวะของพวกเขาเปลี่ยน ไปไม่เหมือนเดิม

105


“โอ้โห…เรียกว่าที่สุดของที่สุดเลยค่ะ ตอนที่ได้รับรางวัลระดับจังหวัด ระดับ ประเทศนี่ยังสนุกอยู่ แต่พอต้องไปแข่งระดับนานาชาติที่มาเลเซียนี่สิคะ หนูยอมรับ เลยว่ามันทำ�ให้หนูเครียดมาก ร้องไห้บ่อยเลย ทะเลาะกันกับแบงค์ก็มี “เพราะนอกจากจะต้องคิดค้นหาทางทำ�ให้สิ่งประดิษฐ์ของเราสมบูรณ์แบบ ที่สุดแล้ว ยังต้องมาเครียดกับการใช้ภาษาอังกฤษอีก โอ้โห สำ�หรับหนูเรียกว่าช่วง เวลานั้น ทำ�ให้หนูโตขึ้นมากเลย เพราะหนูได้เรียนรู้การอดทนต่อแรงกดดัน เรียนรู้ที่ จะเอาชนะความขี้เกียจ เรียนรู้ที่จะชนะตัวเอง เรียนรู้ที่จะคิดถึงใจคนอื่น ครบทุกรส เลยค่ะ...” ฝ้าย สาวหน้าใสคนเดิมกล่าว “สำ�หรับผม ผมคิดว่าการทำ�งานประดิษฐ์นี้ปีเดียว ทำ�เอาผมแก่ไปถึง 3 ปี (หัวเราะร่วน) แก่ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงหน้าแก่นะครับ แต่หมายถึงการได้โตเป็นผู้ใหญ่ ขึ้นต่างหาก” พูดจบ แบงค์ หนุ่มเนิร์ด ยิ้มอย่างอารมณ์ดี ทั้งสองเป็นนักเรียนแผนกวิทยาศาสตร์ และต่างก็ชอบเรียนวิทยาศาสตร์

106


ผมคิดว่า การทำ�งานประดิษฐ์ นี้ปีเดียว ทำ�เอาผมแก่ ไปถึง 3 ปี

107


ฝ้ายให้เหตุผลว่า เธอชอบวิทยาศาสตร์เพราะมันเป็นเหตุเป็นผลหนักแน่นดี ส่วน แบงค์บอกว่าเขาชอบทดลอง ชอบเรียนรู้ ชอบพิสูจน์ และวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีสิ่ง เหล่านั้นให้กับเขา “ทั้งคู่มีบุคลิกของความเป็นนักวิทยาศาสตร์อยู่ในตัวอยู่แล้ว อย่างฝ้ายนี่เธอ เป็นคนช่างสังเกต ชอบตั้งคำ�ถามโน่นนี่นั่น ส่วนแบงค์ชอบประดิษฐ์ ชอบทดลอง เก่ง ทางช่าง เมื่อทั้งคู่มาเจอกันจึงลงตัวมาก” อาจารย์วิไลรัตน์ ประทุมชาติ หรืออาจารย์ ตุ้มของเด็กๆ กล่าว อย่างไรก็ตาม นอกจากอาจารย์ตุ้มแล้ว บุคคลสำ�คัญที่เรียกได้ว่าเป็นผู้ทำ�ให้ วิชาวิทยาศาสตร์ที่ดูขมๆ นั้น มีรสหวานล่อตายวนใจเด็กๆ ให้เข้าหาคืออาจารย์ ศรี ธร มูลมณี อาจารย์ฟิสิกส์ ผู้สอนฟิสิกส์ที่นี่มาตั้งแต่ครั้งอาจารย์ตุ้มยังเป็นนักเรียน และมีกลวิธีในการสอนที่สนุกสนานจนทำ�ให้อาจารย์ตุ้มหลงรักและชอบวิทยาศาสตร์ สอนฟิสิกส์ที่นี่มาตั้งแต่รุ่นครูมาจนถึงรุ่นศิษย์อาจารย์ศรีธร ยังคงมีวิธีการ สอนฟิสิกส์หรือวิชาวิทยาศาสตร์ได้สนุกสนานเสมอมา

108


“ผมเน้นให้เขาเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริงๆ ทดลองจริงๆ ถ้าเอาแต่ให้ท่อง สูตรจำ�ทฤษฎี และทดลองอยู่ในห้องเรียนตามหนังสือบอก เขาก็จะเบื่อ ไม่สนุก แต่นี่ ส่วนใหญ่ผมจะเน้นให้ทำ�จริง ทดลองจริง มีการเชิญชวนให้เด็กๆ เข้ามาในชมรมิทยา ศาสตร์ และให้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ โดยบอกว่าถ้าใครสามารถคิดค้น สิ่งประดิษฐ์ได้จะ ได้คะแนนเพิ่ม” อาจารย์ศรีธรเล่าไปยิ้มไป “ใช่ครับ อาจารย์เอาคะแนนมาล่อ (หัวเราะกันครื้นเครงทั้งวง) นี่แหละเป็น ไฮไลท์สำ�คัญ ที่ทำ�ให้พวกผมเข้ามาทำ�สิ่งประดิษฐ์ ” แบงค์เสริม “จริงค่ะที่ทำ�สิ่งประดิษฐ์แล้วได้ค่ะแนนเพิ่ม แต่อย่านึกว่าอาจารย์ให้คะแนน ตามอำ�เภอใจนะคะ นี่เป็นอุบายมากกว่าค่ะ

109


“เรื่องของเรื่องก็คือ เมื่อเราเข้ามาทำ�สิ่งประดิษฐ์แล้ว เวลามีการทดลอง ทำ�โน่นนี่นั่น อาจารย์จะเหมือนทวนวิชาให้เราไปในตัว สอนเราเรื่องแรง เรื่องอะไร ต่างๆ อย่างที่กำ�ลังเรียนในชั้นเรียนนั่นแหละค่ะ “แต่ทีนี้พอได้มาทดลอง มาทำ� มันทำ�ให้เราจดได้แม่นกว่าการนั่งท่องจำ�อยู่ ในห้อง เลยสอบได้คะแนนดีกว่าเดิม คะแนนเพิ่มขึ้นที่ว่านั้น ที่จริงแล้วก็มาจากเรา เองนี่แหละค่ะ นี่เป็นกุศโลบายในการใช้หลอกล่อเราอย่างหนึ่งค่ะ” ฝ้ายพูดจบเสียงหัวเราะจากวงสนทนาก็ดังขึ้นพร้อมๆ กัน

110


111


2

นอกจากชมรมวิทยาศาสตร์แล้ว อีกเงื่อนไขหนึ่งที่สิ่งที่ทำ�ให้เด็กๆ สนใจ ทดลองทำ�สิ่งประดิษฐ์คือ งานในสัปดาห์วิทยาศาสตร์ประจำ�ปีที่โรงเรียนจัดขึ้นนั้น จะเน้นให้เด็กๆ ได้ชม ได้เล่น และได้สนุกกับวิทยาศาสตร์ ใครทำ�สิ่งประดิษฐ์อะไรขึ้นมาหากทำ�จนสำ�เร็จก็จะนำ�มาโชว์กันในงานนี้ สิ่ง ประดิษฐ์ของใครเป็นที่ตื่นตาตื่นใจของเพื่อนๆ นักประดิษฐ์คนนั้นจะกลายเป็นฮีโร่ ที่บรรดาวัยว้าวุ่นให้ความชื่นชม

112


ฉะนั้น ประสาวัยนี้ ที่ทุกคนอยากโดดเด่นในสายตาเพื่อนๆ แต่ละปี จึงมีสิ่ง ประดิษฐ์ โครงงานวิทยาศาสตร์ต่างๆ ที่ถูกคิดค้นขึ้น มาโชว์ มาแสดงศักยภาพ ทาง วิทยาศาสตร์กันไม่หวาดไม่ไหว ที่มาของ “อุปกรณ์ดูดสิ่งปฏิกูลในบ่อปลาสวยงาม” ก็เช่นกัน มาจากการที่ เด็กๆ อยากคิดค้นสิ่งประดิษฐ์มาประกวดในงานนี้ “ครูตุ้มก็ให้โจทย์ในการคิดไป บอกว่าให้ทำ�สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นนวัตกรรม ออกมาใหม่ ยิ่งถ้าเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ยังไม่เคยมีใครทำ�มาก่อนเลยได้ยิ่งดี เพราะส่วนใหญ่สิ่งประดิษฐ์อื่นๆ ที่โรงเรียนอื่นทำ�กัน มักจะเป็นการต่อยอด ปรับปรุงจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว แต่สำ�หรับเรา อาจารย์ตุ้มยํ าว่าอยากให้ทำ�สิ่งใหม่ขึ้นมา เลย มันท้าทายดี...” น้องฝ้ายเล่าจ๋อยๆ เมื่อได้รับโจทย์จากคุณครูคนสวยแล้ว เด็กๆ ก็พยายามไปคิดสิ่งประดิษฐ์ แต่ระหว่างที่เข้าตาจน คิดเท่าไรก็คิดไม่ออกว่าจะประดิษฐ์อะไรดี ฝ้ายไปบ้านแบงค์ เพื่อที่จะปรับทุกข์ ถอดใจ

113


เมื่อไปถึงบ้านก็เจอแบงค์กำ�ลังหน้างํ าอยู่เช่นกัน แต่ที่ง ํ านั่นไม่ใช่เพราะคิด สิ่งประดิษฐ์ไม่ออกอย่างเดียว งํ าเพราะโดนพ่อวานให้ล้างบ่อปลาหน้าบ้านด้วย อันเป็นงานที่แบงค์อิดหนาระอาใจ เพราะต้องใช้เวลานาน แถมยังทำ�ให้ ปลาที่เขาเลี้ยงไว้ต้องตื่นตกใจ และส่งผลให้ปลาตัวน้อยๆ หรือตัวที่ไม่แข็งแรง ถึงกับ ตายได้เลยทีเดียว นี่ถ้ามีใครนำ�กล้องบันทึกภาพมาบันทึกหน้าตาของทั้งคู่ไว้แล้วละก็ คงดูไม่ จืดเลยทีเดียว ขณะที่กำ�ลังทดท้อ กลัดกลุ้มกันอยู่ทั้งคู่นั้น ฝ้ายก็ส่งเสียงดังลั่น ทำ�เอา แบงค์สะดุ้ง “ยูเรก้า!! แบงค์ เราคิดได้แล้วว่าเราจะทำ�อะไรดี แบงค์เราคิดได้เแล้ว!! ๆๆๆ” ฝ้ายส่งเสียงดังลั่น

แล้วสิ่งประดิษฐ์ชินนี้ก็ถือกำ�เนิดขึ้นบนโลก!!

114


3

“คิดว่าจุดเด่นที่สำ�คัญของสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้คือมันเป็นนวัตกรรมใหม่ ยังไม่ เคยมีใครทำ�เครื่องมือแบบนี้ออกมาเลย “เด็กๆ เขาก็คิด ก็ทำ�ตามที่เราแนะแนวไปว่าให้คิดสิ่งใหม่มาเลย ซึ่งจะต่าง จากหลายๆ โรงเรียนที่แนะนำ�ให้เด็กๆ คิดประยุกต์จากอุปกรณ์เดิมที่มีอยู่แล้ว “ซึ่งทำ�ใหม่กับต่อยอดจากของเดิมสองอย่างนี้ ไม่มีสิ่งไหนผิดสิ่งไหน ถูกนะ คะ แต่สำ�หรับเรา เราเน้นทำ�ใหม่ เพราะคิดว่ามันท้าทายดีค่ะ” ครูตุ้มกล่าว

115


ปัจจุบันมีการนิยมเลี้ยงปลาสวยงามเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย และมีธุรกิจต่อ เนื่องเพิ่มตามไปด้วย เช่นการปลูกไม้นํ าขาย การเพาะพันธุ์ปลาขาย แต่ยังไม่เคย มีใครทำ�เครื่องดูดตะกอนสิ่งปฏิกูลในบ่อหรือตู้ปลาเลย ทั้งๆ ที่การล้างตู้ปลา การ ดูแลความสะอาดของนํ า เป็นปัญหาหรือภาระอันดับหนึ่งสำ�หรับคนเลี้ยงปลา ฉะนั้น สิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อว่า “อุปกรณ์ดูดสิ่งปฏิกูลในบ่อปลาสวยงาม” ที่ ครูและนักเรียนโรงเรียนปทุมเทพวิยาคารได้คิดขึ้นมานี้ จึงเป็นที่สนใจจากคนใน ชุมชนยิ่งนัก “ตอนทำ�ออกมาใหม่ๆ มีเยอะนะครับที่มาถามว่าทำ�ออกมาขายบ้างหรือ เปล่า จะขอซื้อ (หัวเราะ) แต่บังเอิญเราไม่ได้คิดไกลขนาดนั้น คิดแค่ว่าสิ่งประดิษฐ์ นี้จะทำ�ให้เด็กๆ มีใจรักในวิทยาศาสตร์มากขึ้น รักการประดิษฐ์คิดค้นมากขึ้น และมี ความคิดสร้างสรรค์ ไม่จับเจ่าอยู่แต่กับโซเชียลมีเดีย เท่านั้นก็พอแล้วครับ “เราไม่ได้จดลิขสิทธิ์ด้วยนะครับ อาจจะมีคนที่มาดูมาเห็น เอาไปต่อยอด พัฒนาเป็นสินค้า ก็ไม่ว่าเลยครับ...”

116


117


อย่างไรก็ตาม กว่าที่เจ้าสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้จะออกมาเป็นรูปเป็นร่างอย่างที่ ปรากฏนั้น ต้องผ่านการแก้ไขปรับปรุงมานับสิบๆ ครั้ง โดยเฉพาะจากคำ�แนะนำ� และติติงจากคณะกรรมการในแต่ละระดับ แต่พวกเขาไม่เคยมองว่าการวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นคืออุปสรรค และ ไม่มีความสำ�คัญ ตรงกันข้าม พวกเขากลับเอาคำ�วิพากษ์วิจารณ์และคำ�แนะนำ�มา ปรับปรุงอย่างไม่ย่อท้อ “ตอนแรกก็โดนวิจารณ์ว่าถังเก็บตะกอนทึบ เวลาดูดไปแล้วมองไม่เห็น ส่ง ผลให้นํ าตีกลับ เราก็กลับมาแก้ มาหาอุปกรณ์กันใหม่ ที่ใสมองเห็นได้ แต่เลือกไปเลือกมามันเป็นพลาสติกที่บาง พอสูบอากาศออกนี่มันยุบแบบ บุบบี้เลย ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนได้ที่เหมาะ ใส และมีความหนาลงตัว” แบงค์เล่า “ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของวัสดุที่เรานำ�มาใช้ แต่ทางคณะกรรมการในระดับ จังหวัดยังแนะนำ�ว่าควรมีทฤษฎีต่างๆ มารองรับและอธิบายส่วนประกอบได้อย่าง ถี่ถ้วน ถูกต้อง

118


อาทิเช่น ท่อที่ใช้ต่อก็ต้องมีการทดลองรองรับว่าขนาดมีความสำ�คัญต่อการ ทำ�งานหรือไม่เพียงใด ให้เราอธิบายเรื่องมวล เรื่องแรงดัน ให้ได้ด้วย โอ้โห เรียกว่า เก็บกันทุกเม็ดเลยค่ะ...” ฝ้ายกล่าวเสริม

119


4

การลองผิดลองถูกครั้งแล้วครั้งเล่า และใช้เวลายาวนาน ไหนจะเรื่องของ การต้องฝึกฝน ความเชี่ยวชาญทางภาษา สิ่งเหล่านี้สร้างความกดดันให้เด็กวัยว้าวุ่น สองรายมากเอาการ แทนที่พวกเขาจะได้ใช้เวลาไปกับเพื่อนฝูง แทนที่พวกเขาจะไปหมกมุ่น กับการสร้างตัวตนในโลกโซเชียลมีเดีย แทนที่จะใช้เวลาไปกับการติววิชาอื่นๆ แต่ โลกของเด็กน้อย กลับต้องหมกมุ่นอยู่กับการทดลอง อยู่กับการใช้เครื่องมือช่าง อยู่ กับการฝึกฝนภาษาอังกฤษ

120


หนอ

ให้นึกสงสัยว่านี่เป็นเพราะพวกเขามีความอดทนเหนือคนอื่นๆ หรือเปล่า

เปล่าเลย ทั้งสองบอกว่าพวกเขาไม่ได้เป็นเด็กที่มีวุฒิภาวะต่างๆ เลอเลิศ กว่าเพื่อนๆ วัยเดียวกัน “ตอนนั้นหนูก็มีท้อ ทำ�ไมต้องมาทำ�อะไรอย่างนี้ เรื่องสิ่งประดิษฐ์ว่ายาก แล้วยังมีอีกเรื่องมาท้าทายเราอีก คือเรื่องการพรีเซนต์งานเป็นภาษาอังกฤษ ตอน นั้นหนูร้องไห้หลายรอบมาก...” “...เด็กน่ะครับ ถึงเขาจะเก่งกาจแค่ไหน บางคราวเราต้องไม่ลืมว่าเขาอาจมี วุฒิภาวะไม่เท่าผู้ใหญ่ แต่ผมพยายามทุกทางที่จะให้กำ�ลังใจ และทำ�ให้เขารู้สึกเสมอ ว่าอย่าไปเครียด อย่าไปพะวง มองหาความสนุกๆ เข้าไว้ เขาถึงจะทำ�ได้ครับ...” อาจารย์ศรีธร มูลมณี เล่าต่อ “อย่างที่บอกน่ะค่ะ เราต้องตั้งโจทย์ใหญ่ไว้แต่ต้น ว่าสิ่งที่จะประดิษฐ์ขึ้นมา นั้น ต้องมาจากความคิดของเด็กๆ อย่างแท้จริง สิ่งที่เขาคิดจะทำ�คือเขาเลือกแล้ว ว่า

121


สิ่งที่จะประดิษฐ์ขึ้นมานั้น ต้องมาจากความคิดของเด็กๆ อย่างแท้จริง สิ่งที่เขาคิดจะทำ�คือเขาเลือกแล้ว ว่าเขาจะร่วมหัวจมท้าย ไปกับสิ่งนั้น จะทุกข์จะสุขไปกับมัน

122


เขาจะร่วมหัวจมท้ายไปกับสิ่งนั้น จะทุกข์จะสุขไปกับมัน “เวลาเกิดอะไรขึ้น เขาจะได้ไม่ลืมว่านี่คือทางเลือกที่พวกเขาเลือกเอง ไม่ได้ มีใครไปบังคับ...” ครูตุ้มเสริมบ้าง “ใช่ครับ ฉะนั้นถึงผมจะกลัวเพียงใดผมก็ต้องตีหน้าชื่นอยู่เสมอ...” แบงค์พูดจบทั้งวงสนทนาก็ปล่อยเสียงหัวเราะมาพร้อมๆ กัน อาจกล่าวได้ว่าในการทำ�สิ่งประดิษฐ์แต่ละชิ้นนั้น ไม่ได้เป็นการทุ่มเทกายใจ ของนักเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึงการทุ่มเทของครูที่ปรึกษาด้วย บริหาร”

อาจกล่าวได้ว่า ครูที่ปรึกษาของโครงการ เป็นเสมือน “ผู้นำ�” ไม่ใช่ “ผู้

เพราะผู้นำ�และผู้บริหารนั้นต่างกันมากในการปฏิบัติ ผู้บริหารอาจมีความ รับผิดชอบเพียงแค่จัดการให้สิ่งที่เป็นอยู่ดำ�เนินไปถึงเป้าหมาย

123


แต่ผู้นำ�นั้น ต้องสร้างความเปลี่ยนแปลง สร้างสิ่งที่ไม่เคยมีให้เกิดขึ้น ทำ� เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้1

ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ เด็กๆ บอกว่า คุณครูของพวกเขามีอย่างเต็มเปี่ยม

1น.22 คิดสวนทาง ประเสริฐ เอี่ยมรุ่งโรจน์ แกะดำ�ทำ�ธุรกิจ

124


5

เย็นยา บทสนทนาเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์จบลง นักการภารโรงมาเก็บอุปกรณ์ทดลอง และปิดห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ส่วนสิ่งประดิษฐ์นั้น เด็กๆ ช่วยกันนำ�ไปเก็บในตู้กระจกอย่างทะนุถนอม เพราะเมื่อเด็กๆ ที่รักและสนใจวิทยาศาสตร์แห่งโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร ผ่านไปมา ได้มองเห็นและได้รับรู้ที่มาที่ไปของมันจะได้เกิดเป็นแรงบันดาลใจ และ

125


ฮึกเหิมที่จะคิดค้นประดิษฐ์ หรือกระทั่งมีนำ�ความคิดสร้างสรรค์มาใช้กับทุกๆ เรื่อง ของชีวิต ในนํ า

วันนี้ หน้าที่ของสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เปลี่ยนไป มันไม่ได้ทำ�หน้าที่ดูดสิ่งปฏิกูล แต่ดูดสิ่งปฏิกูลทางความคิดของชาวปทุมเทพวิทยาคารทิ้งไป

สิ่งปฏิกูลทางความคิดที่ว่านั้น เราต่างรู้จักและคุ้นเคยกันดีในชื่อว่า “ความ หวาดกลัว”

126



อุปกรณ์ดูดสิ่งปฏิกูลในบ่อปลาสวยงาม ทำ�ขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์ในการบำ�รุง รักษา ทำ�ความสะอาดบ่อปลาสวยงาม หรือกำ�จัดสิ่งปฏิกูลในนํ า โดยอาศัยหลัก การทำ�งานจากความแตกต่างระหว่างความดันบรรยากาศกับสุญญากาศ ด้วยปั๊ม สุญญากาศแบบสูบชัก โครงสร้างของอุปกรณ์ดูดสิ่งปฏิกูลในบ่อปลาสวยงามประกอบด้วย กระปุก เก็บสิ่งปฏิกูล ใช้เหยือกนํ าพลาสติกแข็งใสรูปกรวยผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 12 ซม. สูง 21 ซม. ความจุ 2 ลิตร โดยมีปั๊มสุญญากาศแบบสูบชักด้วยแรงคนทำ�ด้วยท่อพีวีซี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 2.54 ซม. ยาว 30 ซม. ทำ�หน้าที่เปลี่ยนพลังงานกล จากแรงคนเป็นความดันสุญญากาศ สำ�หรับใช้ดูดสิ่งปฏิกูลในนํ า


ท่อดูดทำ�ด้วยท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 ซม. ยาว 50 ซม. ทำ� หน้าที่เป็นท่อดูดลำ�เลียงสิ่งปฏิกูลในนํ าขึ้นไปที่ถังเก็บ และโครงอุปกรณ์ทำ�ด้วย ข้อต่อโค้ง 90 องศา ข้อต่อ 3 ทาง และท่อพีวีซีขนาด ¾ นิ้ว ทำ�หน้าที่ยึดชิ้นส่วน ต่างๆ เข้าด้วยกัน อีกทั้งทำ�หน้าที่เป็นท่อนำ�อากาศจากกระปุกเก็บสิ่งปฏิกูลไปยัง ปั๊มสูญญากาศด้วย จากการทดลองหาประสิท ธิ ภาพของอุ ปกรณ์ ดู ด สิ่ ง ปฏิ กู ล ในบ่ อ ปลา สวยงาม พบว่าสามารถดูดสิ่งปฏิกูลที่ตกตะกอนอิ่มตัวในนํ าได้ ในอัตราส่วนสิ่ง ปฏิกูล 0.312 ลิตร ต่อนํ า 1 ลิตร มีประสิทธิภาพการใช้งานดี สามารถใช้งานได้ จริง



1

สิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้น คือเครื่องมือ สร้างคน สร้างชีวิต “เป็นไปไม่ได้” คำ�ๆ นี้กระมังที่สามารถนำ�มาใช้แยกแยะว่าใครคือนักประดิษฐ์ ตัวจริง และนักประดิษฐ์มือสมัครเล่น สำ�หรับนักประดิษฐ์ตัวจริงแล้ว คำ�ว่า “เป็นไปไม่ได้” นั้น ไม่เคยย่างกรายมา ในหัวของพวกเขา เพราะคำ�ๆ นี้ คือตัวสกัดกั้นความฝันและการลงมือทำ�

131


สิ่งประดิษฐ์ : เครื่องแยกเยื่อหุ้มเมล็ดถั่วลิสง โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย 132


“เป็นความคิดที่ดีหรือเป็นความคิดที่ถ้านำ�มาลงมือทำ�แล้วยากเกินไป” นี่ต่างหากคือมนต์คาถาสำ�หรับพวกเขา ส่วนนักประดิษฐ์มือสมัครเล่นจำ�นวนมาก ทำ�ๆ ไปได้ครึ่งทาง หรือไม่ทันได้ ลงมือทำ� ก็ปล่อยให้คำ�ว่า “เป็นไปไม่ได้” มาหยุดยั้งสิ่งที่พวกเขากำ�ลังลงมือคิด ลงมือ ทำ� แต่ระหว่างที่พูดคุยกับนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ตัวจริงเสียงจริงแห่งโรงเรียน อยุธยาวิทยาลัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยานั้น เราไม่เคยได้ยินคำ�ว่า “เป็นไปไม่ได้” หลุดลอดมาจากปากของพวกเขาแม้สักครั้งเดียว ปัญจรักษ์ จันทร์สุวรรณ (นุ่น) และ ธิมาภรณ์ สังข์ทอง (แพร) เจ้าของ ผลงานเครื่องแยกเยื่อหุ้มเมล็ดถั่วลิสง ซึ่งได้รับรางวัลเหรียญเงินจากการประกวดผล งานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในเวทีนานาชาติในงาน International Exhibition for Young Inventors 2013 (IEYI) และ Asian Young Inventors Exhibition 2013 (AYIE) ระหว่างวันที่ 8 – 12 พฤษภาคม 2556 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศ มาเลเซีย คือตัวอย่างของนักเรียนที่สามารถพิสูจน์ความจริงเรื่องนี้

133


สำ�หรับนักประดิษฐ์ตัวจริง แล้วคำ�ว่า “เป็นไปไม่ได้” นั้น ไม่เคยย่างกรายมาในหัว ของพวกเขา เพราะคำ�ๆ นี้ คือตัวสะกัดกั้นความฝัน และการลงมือทำ�

134


“เราสองคนชอบติดตามข่าวเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ค่ะ บ่อยครั้งที่ เราจะมาเล่ากันว่ามีคนคิดเรื่องโน้น เรื่องนี้นะ แต่ก็ไม่ได้คิดว่าเราจะเป็นคนที่ลงมือ ประดิษฐ์อะไร ทั้งๆ ที่เรารู้สึกว่าหลายสิ่งหลายอย่างเราน่าจะทำ�ได้ หรือพอเห็น อะไรติดขัดก็คิดแต่ว่า น่าจะมีเครื่องมือชนิดนั้นชนิดนี้นะ น่าจะมีคนทำ�ๆ คิดๆๆๆว่า ทำ�ได้ๆๆๆ แต่เอาแต่คิดไม่เคยได้ลงมือทำ�อะไรจริงจังเลย” แพรเล่า กระนั้นก็เถอะ การแค่ได้เริ่มต้นคิดว่าจะทำ�โน่นทำ�นี่ และคิดว่าหลายสิ่ง หลายอย่างที่คิดนั้นสามารถทำ�ได้ ก็ยังดีกว่าปล่อยให้คำ�ว่า “เป็นไปไม่ได้” มาเป็น เพชฌพฆาตกำ�จัดสิ่งที่เธอคิดไม่ใช่หรือ เอาล่ะ อย่างน้อยที่สุดแพรก็ทำ�ให้เราเห็นว่าเธอมีคุณสมบัติเบื้องต้น ในการ เป็นนักประดิษฐ์ตัวจริงแล้ว

135


136


2

เมื่อขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนสายวิทยาศาสตร์ต่างรู้ว่าทุกคนมี ภาระหน้าที่ต้องทำ�โครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อนำ�ไปจัดแสดงผลงานในสัปดาห์ วิทยาศาสตร์ที่จะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี นักเรียนทุกคนต่างเฝ้ารอ วันนี้ เพราะเป็นงานใหญ่ และเพื่อนๆ จากต่างโรงเรียนก็จะมาศึกษาดูผลงานกัน มากมาย ใช่ คุณกำ�ลังอ่านไม่ผิด เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงกับโรงเรียนในต่างจังหวัดที่ งานวันวิทยาศาสตร์ เป็นวันที่นักเรียนรอคอย

137


และเอ่อ...ที่คุณไม่เชื่อหรือทำ�ท่าคลางแคลงใจนั่นอาจเพราะเห็นแต่ภาพ ที่นักเรียนมัธยมแห่แหน รอคอยนักร้อง ศิลปินคนโปรดไปเล่นโชว์ที่โรงเรียน ตาม ที่ฝ่ายการตลาดของบริษัทเพลงเหล่านั้นจัดสรรให้กันซะเป็นส่วนใหญ่ใช่ไหมเล่า รู้นะ คิดอะไรอยู่... โธ่...เมืองไทยก็เป็นซะอย่างนี้ ใครมีสื่อในมือก็ประโคมโหมข่าวให้เรื่อง ราวของตัวเอง มีพื้นที่สื่อปรากฏอยู่แทบทุกวัน ในขณะที่เรื่องราวดีๆ จำ�นวนมาก ของเยาวชนไทย กลับเงียบเหมือนเป่าสาก โดยเฉพาะเรื่องการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ความเก่งกาจอย่างน่าชื่นชมของ นักเรียนไทย เมื่อได้ลองเล่าให้ใครๆ ฟังว่ามีเรื่องนี้เกิดขึ้น ทุกคนต่างทึ่ง อึ้ง แต่ ประโยคที่ตามมาก็คือ “ไม่เห็นรู้เรื่องเลย” เฮ้อ อยากจะเอาหัวเดินต่างเท้าให้มันรู้แล้วรู้รอดกับพื้นที่สื่อในประเทศ นี้เสียจริงๆ

“งานวันวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนเราสนุกมากค่ะ เด็กโรงเรียนเราอยู่กับ

138


โครงงานวิทยาศาสตร์กันมาอย่างน้อยคนละ 2 - 3 ปี ตั้งแต่เข้า ม.4 เราก็เห็นพี่ ม.6 เขา ทำ�โครงงานสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ พี่ ม. 5 ก็จะทำ�การทดลองมาแสดง น้องๆ ก็จะมาเที่ยว ดู พวกเราก็ทึ่งว่า พี่เขาทำ�ได้อย่างไร” นุ่น คู่หูของแพร ในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ เล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไป แรงบันดาลใจ ที่เป็นสาเหตุให้พวกเธอสนใจในการประดิษฐ์คิดค้น โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย มุ่งเน้นการศึกษาด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยเด็ก นักเรียนชั้น ม.2 – ม.3 จะมีวิชาโครงงานฯ เรียนในห้องเรียน ส่วน ม.6 กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์ จะกำ�หนดให้คุณครูผู้สอนวิชาเคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ รับผิด-ชอบใน การจัดสรรเวลาเรียนในวิชาของตน กระตุ้นให้เด็กๆ คิดโครงงาน โดยครูจะทำ�หน้าที่ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน รวมทั้งเปิดเวทีให้เด็กนำ�เสนอหัวข้อวิจัยต่อเพื่อนๆ ในห้อง “โรงเรียนเราให้ความสำ�คัญกับกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองมาก ฝ่ายบริหาร ก็ทุ่มเทงบประมาณเต็มที่ มีการเชิญโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ มาศึกษาดูงาน มีการ ให้รางวัล ประกาศนียบัตร เพื่อเป็นแรงเสริมให้เกิดการแข่งขัน ขั้นตอนนี้จะเป็นการ ปลูกฝังการวิจัยให้กับเด็ก” อาจารย์ฉัตรชัย อรรถปักษ์ หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการกล่าว 139


นี่เป็นอีกข้อค้นพบที่สำ�คัญข้อหนึ่งว่าเหตุใดโรงเรียนแห่งนี้ถึงได้เป็นเบ้า หลอมให้ความคิดของนักประดิษฐ์งอกงาม นั่นเป็นเพราะเขารู้จักสร้างบรรยากาศให้เด็กชอบวิทยาศาสตร์ สนใจการ ประดิษฐ์คิดค้น แทนที่จะมุ่งเน้นแต่การกวดขันทางวิชาการเพื่ออัดให้เด็กสอบเข้า เรียนต่อหรือทำ�คะแนนได้สูงตามมาตรฐานเพื่อชี้วัดผลงานกันอย่างง่ายๆ แต่สำ�หรับผู้บริหารและคณะครูที่นี่เขาไม่คิดอย่างนั้น เขากลับคิดว่าการ สร้างเด็กให้โตและมีวุฒิภาวะได้นั้น ต้องฝึกให้เขาลงมือทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจริงจัง และแน่นอน การประดิษฐ์คิดค้น การทำ�โครงงานวิทยาศาสตร์ คือหนึ่งในเครื่องมือ อันเยี่ยมยอดที่จะพาลูกศิษย์ไห้ค้นพบตัวเอง และเติบโตด้วยการฝึกคิดฝึกทำ�อะไรๆ ด้วยตัวเอง “พวกเธอทุกวันนี้อยู่สุขสบายเหมือนเทวดา เพราะคนรุ่นก่อนสร้างสรรค์ สิ่งประดิษฐ์คอยอำ�นวย ความสะดวกมากมาย ในฐานะที่เธอเป็นคนรุ่นต่อไป เธอ ต้องทำ�หน้าที่สร้างสรรค์ต่อไป เพื่อตอบแทนคนรุ่นก่อน” นี่เป็นคำ�พูดที่ อาจารย์มณฑา ธัชประมุข หนึ่งในคุณครูแผนกวิทยาศาสตร์

140


พูดกับเด็กเสมอ เพื่อกระตุ้นให้เด็กๆ คิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ขึ้นมา ไม่ต่างจากอาจารย์วิทยาศาสตร์ท่านอื่น อาจารย์มณฑา นำ�คลิปวิดีโอสิ่ง ประดิษฐ์และการทดลองของรุ่นพี่ปีก่อนๆ มาให้นักเรียนศึกษา “นักเรียนดูสิ่งประดิษฐ์นี้แล้วเห็นข้อบกพร่องอะไรบ้าง ถ้าเป็นนักเรียน จะ แก้ไขปัญหาอย่างไร” สิ่งประดิษฐ์ที่อาจารย์นำ�มาให้นักเรียนดู มีทั้งผลงานที่ได้รับรางวัล และ ผลงานที่มีข้อผิดพลาด หรือบางครั้งก็เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ จากต่างประเทศ เพื่อ ให้นักเรียนได้ศึกษาเป็นต้นแบบ “ไม่จำ�เป็นจะต้องคิดค้นสิ่งใหม่ตลอดก็ได้ บางทีก็เป็นการคิดต่อยอดจาก สิ่งประดิษฐ์เดิมๆ คุณครูวิทยาศาสตร์ทุกคนต้องกระตุ้นให้เขาอยากลองทำ�ค่ะ แต่ สิ่งสำ�คัญคือเน้นให้เขาคิดจากสิ่งใกล้ตัว แล้วเชื่อมโยงว่าจะแก้ปัญหาให้กับชุมชน อย่างไร” อ.มณฑา กล่าวพร้อมรอยยิ้ม

141


ระยะเวลาเพียงสามเดือนสำ�หรับสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ขึ้นหนึ่งชิ้น นับเป็น ช่วงเวลาที่ บีบคั้นหัวใจนักเรียนอย่างยิ่ง พวกเขาต้องเค้นความสามารถทั้งหมดที่มี เพื่อพิสูจน์ตนเอง และโรงเรียนก็จริงจังกับโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง อาจารย์ที่ปรึกษาทุกคนจะไม่ยอมอ่อนข้อให้คำ�ครํ่าครวญใดๆ ในการผัดวัน ประกันพรุ่งของนักเรียน กฎเหล็กคือกฎเหล็ก นั่นคือทุกคนต้องมีผลงานส่งหนึ่งชิ้น “พวกเราจะทำ�อะไรกันดี มีเวลาเสนอหัวข้อวิจัยแค่สามอาทิตย์เท่านั้น” แพร นุ่น แอม ปุ้ย ตุ๋ม ปรึกษากันอย่างครํ่าเครียด เราจะทำ�อะไรกันดี เราจะทำ�อะไรกันดี เราจะทำ�อะไรกันดี เราจะทำ�อะไรกัน ดี เราจะทำ�อะไรกันดี เราจะทำ�อะไรกันดี เราจะทำ�อะไรกันดี เราจะทำ�อะไรกันดี เราจะทำ�อะไรกัน ดี เราจะทำ�อะไรกันดี

ประโยคนี้กำ�ลังอึงอลอยู่ในหัวของวัยว้าวุ่นกลุ่มนี้พร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย

142


3

“อยุธยาเรามีนํ าท่วมทุกปี เรามาทำ�เครื่องตรวจสอบไฟรั่วดีไหม โครงการ นี้แก้ปัญหาให้กับชุมชนได้ด้วย” เป็นหัวข้อแรกที่เด็กๆ กลุ่มนี้นำ�เสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาในชั่วโมงเรียน วิชาเคมีมีคาบปฏิบัติการสองชั่วโมง อาจารย์มณฑา จะใช้เวลาสามสิบนาทีแรกให้ นักเรียนนำ�เสนอหัวข้อวิจัย

143


“ตอนนั้นนํ าท่วมค่ะ พวกเราคิดจะทำ�เครื่องมือวัดไฟรั่ว อาจารย์ก็ติงว่า ทำ�น่ะทำ�ได้ แต่มันเสี่ยงชีวิตมาก พวกหนูจะไปวัดไฟได้อย่างไร แล้วใครจะยอม ทดลอง พวกเราก็เลยเปลี่ยนหัวข้อค่ะ” จุ๊ๆๆๆๆ สังเกตเห็นมั้ยว่า ครูที่ปรึกษาก็จะไม่พูดคำ�ว่า “เป็นไปไม่ได้” กับ เด็กๆ เช่นกัน หลังจากข้อเสนอแรกไม่ผ่าน เด็กๆ ก็เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง คราวนี้ทุกคนหยิบยกปัญหาของที่บ้านมาปรึกษาหารือกัน เพื่อหาหนทาง นำ�วิทยาศาสตร์มาแก้ไข เพราะอยุธยาเป็นเมืองนํ า ปัญหาเรื่องนํ าท่วมจึงเป็นหัวข้อ ที่เด็กๆ ให้ความสำ�คัญเป็นลำ�ดับแรกเสมอ ที่สำ�คัญกว่านั้นคือพวกเขาตกลงกันว่าในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์นั้น ต้อง ตอบสนองความต้องการ ของคนในถิ่นฐานบ้านเกิดของพวกเขาเป็นสำ�คัญ “แต่นอกจากปัญหานํ าท่วมแล้ว บ้านตุ๋มยังมีปัญหาเรื่องฝุ่นด้วย เพราะที่ บ้านต้องคั่วถั่วลิสงทำ�ส้มตำ�ทุกวัน” ตุ๋มเสนอขึ้น

144


“พูดถึงส้มตำ� ไหนๆ เราก็คิดไม่ออก พวกเราไปหาแรงบันดาลใจต่อที่บ้าน ตุ๋มกันดีกว่า” นุ่นพูดด้วยนํ าเสียงเจ้าเล่ห์เพราะมีแผน และเป็นที่รู้กันว่ายามใดที่พวกเธอ ไปบ้านตุ๋ม ยามนั้นจะได้ทานส้มตำ�รสนัวจากฝีมือแม่ตุ๋มเสมอๆ

“โอเค!” ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน เพราะมีแผนซ่อนเร้นความตะกละไม่ต่างจากนุ่น เอ่อ...ขออนุญาตสรุปว่า ส้มตำ�เป็นเหตุผลหลักของแรงบันดาลใจในครั้งนี้!!

145


4

...ที่บ้านตุ๋ม... “ลูกๆ มากันเช้าไปหน่อย แม่ยังเตรียมเครื่องไม่เสร็จเลย ตุ๋มช่วยแม่ร่อน เปลือกถั่วลิงสงออกก่อนนะลูก แม่คั่วถั่วไว้เสร็จแล้ว ถั่วลิสงถ้าซื้อเขามามันจะไม่ หอมอร่อย ไม่เหมือนคั่วเอง แต่ก็ต้องเสียเวลาทุกวัน” แม่บ่นยาวยืดจนตุ๋มแซวว่าหากเอาคำ�บ่นของแม่แต่ละชั่วโมงมาเรียงกันคง ได้ระยะทางจากอยุธยาถึงอ่างทอง

146


เด็กๆ ทุกคนจึงได้ลองแยกเยื่อหุ้มเมล็ดถั่วลิสงดู วิธีการคือนำ�ถั่วใส่ตระ แกรงแบนๆ จากนั้นใช้มือเสียดสีถั่วกับตระแกรง เมื่อเยื่อหุ้มเมล็ดหลุดออก ก็นำ� ไปฝัดให้ลมพัดเยื่อถั่วปลิวออกไป ทุกคนได้ลองทำ�กันอย่างสนุกสนาน

“ตุ๋มต้องทำ�อย่างนี้เองทุกวันเลยเหรอ” เพื่อนๆ ถามตุ๋ม “อือใช่ แต่ถ้าวันไหนเราไปโรงเรียนแม่ก็ต้องทำ�เอง” ตุ๋มตอบ

“ยูเรก้า!!! คิดออกแล้ว งั้นพวกเราทำ�เครื่องแยกเยื่อหุ้มถั่วลิสงกันดีกว่ามั้ย จะได้ช่วยให้แม่ทำ�งานเร็วขึ้น และเอ่อ เราจะได้กินส้มตำ�เร็วขึ้นด้วยยังไงล่ะ ฮ่าฮ่า ฮ่า” นุ่นเสนอพลางหัวเราะเจ้าเล่ห์ตามเคย ได้ยินดังนั้นทุกคนรีบเห็นด้วยกับ ความคิดนี้

147


ทั้ ง กลุ่ ม จึ ง นำ � ความคิ ด เรื่ อ งเครื่ อ งแยกเยื่ อ หุ้ ม ถั่ ว ลิ ส งไปนำ � เสนอใน ห้องเรียน อาจารย์มณฑา ให้เด็กๆ ลองออกแบบสิ่งประดิษฐ์ดู พวกเขาคิดกันง่ายๆ ว่าแค่มีพัดลมเป่าผ่าน เยื่อถั่วลิสงจะปลิวกระจาย อย่างง่ายดาย เด็กๆ ขอให้พ่อของแพรติดตั้งพัดลมขนาดเล็กไว้บนกล่องทรงยาวที่ ทำ�จากฟิวเจอร์บอร์ด “พ่อหนูเป็นช่างไฟฟ้าค่ะ พวกเราก็เลยขอให้พ่อติดพัดลมซีพียูให้ 3 ตัว กะว่ายังไงต้องออกแน่ๆ แต่พอเทเมล็ดถั่วลิสงคั่วลงมา มันก็ไม่ได้ผลค่ะ พวกเราคิด ว่าเป็นเพราะถั่วมันตกเร็วเกินไป เราก็เลยลองเอียงกล่องดู แต่ก็ไม่ได้ผลค่ะ” แพรเล่า เมื่อนำ�ผลการทดลองไปนำ�เสนอความคืบหน้าในห้องเรียน อาจารย์มณฑา ก็แนะนำ�ว่าให้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการทดลอง และให้เพิ่มกระบวนการขัดสี เพื่อทำ�ให้ เครื่องมือมีประสิทธิภาพมากขึ้น

“เราก็ไปเปิดดูในยูทูบ ก็ไปเห็นเครื่องแยกขัดสีถั่วลิสง มันเป็นเครื่องใหญ่

148


มาก พวกเราทำ�ไม่ได้แน่ ก็เลยคิดกันว่าเราทำ�แบบที่พอทำ�ใช้ได้ในครัวเรือนดีกว่า” นุ่นเล่า เด็กๆ ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร พวกเขาคิดว่าปัญหาแรกจะต้องชะลอความเร็ว ของถั่วที่ตกก่อน เพื่อจะได้ขัดและเป่าลมได้ทัน นุ่นจึงอาสานำ�ปัญหาที่เกิดขึ้นไป ปรึกษากับพ่อซึ่งเป็นวิศวกร “หนูไปปรึกษากับพ่อระหว่างรอน้องเรียนพิเศษ ก็วาดรูปให้พ่อดูว่ามันเป็น อย่างนี้นะ พ่อก็แนะนำ�ว่าให้เริ่มต้นจากวัสดุใกล้ตัว พอนำ�มาปรึกษาเพื่อนๆ ก็คิดว่า จะให้ถั่วไหลผ่านท่อ เพราะขนาดมันใกล้เคียงกับเมล็ดถั่ว มันจะได้ค่อยๆ ไหลไปที ละเม็ด” นุ่นเล่าถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นด้วยเสียงชัดเจน เมื่อความคิดเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น พวกเขาจึงนำ�ความรู้จากการสังเกตเรื่องการ ขัดสีว่า เยื่อหุ้มเมล็ดถั่วจะร่อนออกได้เพราะการเสียดสีของวัสดุเนื้อหยาบสองชนิด

149


150


พวกเขาจึงเลือกล้อรถเด็กเล่น กับแถบเทปตีนตุ๊กแกมาเป็นวัสดุขัดสี แล้วติดมอเตอร์ ที่ล้อเพื่อเพิ่มความเร็วรอบในการขัด ชุดขัดสี ชุดเครื่องมือเป่า ซึ่งติดตั้งอยู่บนระบบท่อจะต้องมีตัววาง ตัวหนุน เสริม และต้องจัดให้อยู่ในระนาบเอียง เด็กจึงมองหาวัสดุใกล้ตัวเพื่อเป็นโครงสร้าง รองรับ กล่องใส่แฟ้มเอกสารสามารถตอบโจทย์นี้ได้อย่างลงตัว เมื่อติดตั้งชุดขัดสีและชุดเป่าลมเสร็จเรียบร้อยแล้วทดลองเดินเครื่องดู พวก เขาก็มั่นใจที่จะนำ�เสนอผลงานในห้องเรียน “ตอนนำ�เสนอผลงาน ถั่วมันติดตอนนั้นเลยค่ะ พวกเราหงุดหงิดมาก เลย ขอเวลาอาจารย์หนึ่งอาทิตย์เพื่อกลับมาแก้ไขใหม่” แพรเล่า แต่อย่านึกนะว่าพวกเธอจะท้อแท้กับการแก้ไขสิ่งประดิษฐ์ครั้งแล้วครั้งเล่า “โธ่พี่ พี่เคยได้ยินไหมที่โทมัส อัลวา เอดิสัน ตอบคนที่ถามเขาเรื่องที่เขา

151


I have not failed, I’ve just found 10,000 ways that won’t work ผมไม่ได้ล้มเหลว ผมแค่ค้นพบ 10,000 วิธี ที่ทำ�แล้วไม่ได้ผลแค่นั้น

152


ประดิษฐ์คิดค้นหลอดไฟครั้งแล้วครั้งเล่าแล้วใช้ไม่ได้สักที ว่ารู้สึกอย่างไรกับความล้ม เหลวน่ะ นี่คือคำ�คมในใจหนูเลยนะ เอดิสันบอกว่า... I have not failed, I’ve just found 10,000 ways that won’t work ผมไม่ได้ล้มเหลวผมแค่ค้นพบ 10,000 วิธีที่ทำ�แล้วไม่ได้ผลแค่นั้น คิดดู เอดิสันทดลองเป็นหมื่นๆ ครั้ง แล้วหนูแค่ครั้งสองครั้งเอง จะให้เลิก ง่ายๆ น่ะหรือ ไม่มีทาง” แม่นักประดิษฐ์ตัวน้อยจอมทะโมนออกเสียงภาษาอังกฤษสำ�เนียงชัดเจน ทำ�เอาคนถามเงิบไปเลย

153


5

ตลอดระยะเวลาของการคิดสิ่งประดิษฐ์ เด็กๆ ได้รับกำ�ลังใจจากครอบครัว เสมอ “แม่ก็บอกเขาไปว่าให้ใจเย็นๆ ค่อยๆ คิด ค่อยๆ ทำ�ไป ชีวิตมันก็ต้องล้มลุก คลุกคลานอย่างนี้ ก่อนจะเดินได้ทุกคนก็ต้องคลานไปก่อน” คุณแม่จิรภา สังข์ทองเล่า นุ่นนำ�ปัญหาไปปรึกษาคุณพ่ออีกครั้ง พ่อแนะนำ�ว่าให้หาอุปกรณ์ที่ทำ�หน้าที่ เขี่ยถั่วแทนมือ ถ้าเป็นระบบอุตสาหกรรมก็จะมีสายพานลำ�เลียงทำ�หน้าที่นี้

154


“ตอนเด็กๆ หนูเคยเล่นของเล่นที่เป็นเฟืองต่อกันเป็นชิงช้า เป็นกังหัน แล้วมี มอเตอร์ 1 ตัวทำ�หน้าที่หมุนแล้วเฟืองทุกตัวก็จะหมุนต่อกันไปเรื่อยๆ น่ะค่ะ ก็เลยได้ ความคิดว่าใช้เฟืองต่อกับมอเตอร์มาทำ�หน้าที่ผลักถั่วให้เคลื่อนที่น่าจะดีค่ะ” นุ่นเล่าเสียงเจื้อยแจ้ว “พอเราเริ่มนึกถึงของเล่น มันก็ได้ความคิดมาเรื่อยๆ ค่ะ เราเอาเครื่องสั่นที่มี ในของเล่นมาติดที่กรวย กรวยจะได้สั่นเหมือนมีคนคอยเขย่าให้ถั่วมันค่อยๆ ตกลงไป ในท่อนะค่ะ” แพรเล่าบ้าง “เวลาทำ�มันเกิดความคิดต่อกันไปเรื่อยๆ พอเรานึกถึงปัญหาที่ถั่วติดแล้วต้อง เขี่ย เราก็คิดกันว่า งั้นเราต้องออกแบบให้ชุดบดยกขึ้นได้ จะได้เขี่ยเม็ดถั่วที่ติดอยู่ออก ทำ�งานนี้เราได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา และไม่ล้มเลิกค่ะ” นุ่นเล่าต่อ เมื่อถึงสัปดาห์วิทยาศาสตร์ของโรงเรียน ซุ้มของนุ่นและแพรจึงเป็นซุ้มป๊อบปู ล่าร์อีกซุ้มหนึ่ง เพราะน้องๆ มักแวะเวียนมาลองเล่นสิ่งประดิษฐ์ และได้กินถั่วลิงสงคั่ว

155


กันอย่างเอร็ดอร่อย “เราก็ไปดูสิ่งประดิษฐ์ของเพื่อนๆ ห้องอื่นด้วยค่ะ บางกลุ่มก็ไม่น่าเชื่อว่าเพื่อน เขาจะทำ�ได้ น่าทึ่งมากค่ะ แล้วทุกคนก็ต้องนำ�เสนอผลงานของตัวเองที่ห้องประชุม ด้วย” ไม่น่าเชื่อว่าที่โรงเรียนในเขตภูธรแห่งนี้ มีสิ่งประดิษฐ์เจ๋งๆ จากความคิดของ เด็กๆ เกิดขึ้นมากมาย บ้างสามารถประดิษฐ์เครื่องมือใหม่ที่น่าทึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเจาะมะพร้าวเพื่อเสียบหลอดดูดได้โดยไม่ต้องปาดเปลือก มะพร้าวออกก่อน เครื่องปอกสับปะรด ที่ตักไอติมทรงสี่เหลี่ยม เครื่องหยอดทอง หยอด บางคนนำ�สิ่งประดิษฐ์เดิมมาปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่นที่เก็บปิงปองที่เก็บได้ครั้งละ หลายลูก ซึ่งออกแบบจากถังพลาสติกและยางยืดขอบกางเกงเท่านั้น ช่วงเวลา 2 - 3 วันของสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ เป็นเหมือนงานแสดงนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ของนักเรียน เป็นวันที่เด็กๆ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยภาคภูมิใจกับความ พยายามฟันฝ่าอุปสรรคไปสู่จุดหมายของทุกคน

156


“มีอยู่กลุ่มหนึ่งอิดออดไม่ยอมทำ�นะคะ แต่พอเวลาใกล้ถึงเส้นตายขึ้นมา ก็สามารถระเบิดความคิดสร้างเครื่องมือผ่าไม้ไผ่ออกมาได้ พลังของเด็กๆ พวกนี้ เหลือเชื่อจริงๆ ค่ะ” อาจารย์มณฑา เล่า เครื่องมือแยกเยื่อหุ้มเมล็ดถั่วลิสงได้รางวัลในงานประกวดสิ่งประดิษฐ์ ในสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน จากนั้นคุณครูจึงนำ�ผลงานนี้ส่งประกวด ในระดับภาคและระดับประเทศต่อไป และยังมีผลงานสิ่งประดิษฐ์ชิ้นอื่นๆ ที่ได้ รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนเข้าประกวดสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ที่หน่วยงาน ต่างๆ จัดเวทีประกวด เพื่อสนับสนุนให้นักเรียนประดิษฐ์คิดค้นสิ่งประดิษฐ์เช่นกัน อาจารย์เอกชัย วิลามาศ เป็นอาจารย์วิทยาศาสตร์อีกคนหนึ่งที่ได้เข้า มารับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการทำ�สิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเยื่อหุ้มเมล็ดถั่วลิสงให้ เด็กๆ เพิ่มเติม “ผมเข้ามาเติมเต็มให้เด็กคิดถึงการออกแบบวัดผลเชิงประสิทธิภาพ เพื่อ สามารถอธิบายให้คณะกรรมการเข้าใจได้ว่าเครื่องมือของเราดีอย่างไร เด็กๆ เขา

157


เก่งครับ เราแนะนำ�ไปนิดเดียว เขาก็คิดต่อได้ว่าเขาจะต้องเปรียบเทียบการทดลอง ว่าเครื่องมือของเขามันมีประสิทธิภาพกว่าการทำ�ด้วยมือได้อย่างไร อันนี้คือการเอา คณิตศาสตร์เข้ามาช่วยครับ” ในภาวะที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้อง ครํ่าเคร่งกับการสอบแข่งขันเพื่อ แย่งชิงคณะดีๆ ในมหาวิทยาลัยดังๆ พลังความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอาจถูกกลบทับ ด้วยความกลัวจะพลาดจากการสอบเข้า จนไม่อาจนำ�ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่ น่าทึ่งเหล่านี้ได้ “พ่อแม่ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนช่วยอย่างมากค่ะที่สนับสนุนนโยบายให้เด็กๆ ทำ�โครงงาน ถ้าพ่อแม่ไม่เห็นด้วยโรงเรียนก็ไม่สามารถดำ�เนินโครงการเหล่านี้ได้” อาจารย์ทิพภา ผดุงวงศ์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กล่าว “ถึงลูกทำ�โครงการนี้แล้วไม่ได้รางวัลก็ไม่เป็นไร ประสบการณ์ที่เขาได้ การ ทำ�งานร่วมกับคนอื่น ความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ประสบการณ์เหล่านี้จะหา จากที่อื่นไม่ได้อีกแล้วค่ะ” คุณแม่จิรภา สังข์ทองกล่าวด้วยรอยยิ้ม

158


เราไม่ได้ใช้คน สร้างสิ่งประดิษฐ์ แต่ใช้สิ่งประดิษฐ์สร้างคน

159


“เราไม่ได้ใช้คนสร้างสิ่งประดิษฐ์ แต่ใช้สิ่งประดิษฐ์สร้างคน เราจึงเห็นด้วย กับการใช้โครงงานวิทยาศาสตร์ในการสร้างคน และคนจะสร้างชาติต่อไป เรามั่นใจ กับการเรียน การสอนแบบนี้ค่ะ” อาจารย์ทิพภา ผดุงวงศ์ กล่าวอย่างเชื่อมั่น จากวันอันแสนสนุกสานในสัปดาห์วิทยาศาสตร์ จากการทำ�ส้มตำ� จากของ เล่นสิ่งละอันพันละน้อย เหล่านี้ กลายมาเป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้นระดับนานาชาติ

จากเรื่องที่อาจดูเหมือนไม่เป็นเรื่อง กลายเป็นเรื่องขึ้นมา จากสิ่งที่คนอื่นมองว่าเป็นไปไม่ได้ ถูกทำ�ให้เป็นไปได้และเกิดขึ้นจริง

ในวันนี้ เด็กๆ กลุ่มนี้จบการศึกษาจากโรงเรียนอยุธยาราชวิทยาลัยไปแล้ว แต่ละคนล้วนแต่ได้เรียนต่อในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยชั้นนำ�ของประเทศ แม้ในวันนี้ เครื่องร่อนเปลือกถั่วที่พวกเขาคิดค้นจะยังไม่ถูกพัฒนานำ�ไปต่อย อดใช้ในระดับอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย

160


แท้ที่จริงแล้ว ชีวิตคือกระบวนการทดลองมิรู้จบ ขอเพียงอย่าคิดว่า “เป็นไปไม่ได้” เป้าหมายก็คงมาถึงเข้าสักวัน...

161


ไม่ถูกนำ�ไปใช้ในชุมชนอย่างจริงจังดังที่พวกเด็กๆ คาดคิดไว้ มันยังวางเด่นในห้องวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนอยู่อย่างนั้น แต่ทุกครั้งที่มีคนมาทดลองทำ� ทดลองใช้ เมื่อมีเปลือกถั่วลิสงปลิวหลุดออกไป ครั้งแล้วครั้งเล่า ใช่หรือไม่ว่า มันได้ร่อนเอาความคิดที่ว่า “เป็นไปไม่ได้” ทิ้งออกไปจากใจเด็กๆ ด้วย และเมื่อไม่มีคำ�ว่าเป็นไปไม่ได้ ก็มีแต่คำ�ว่าทดลองใหม่ซํ าๆ ครั้งแล้วครั้งเล่า และในกระบวนการทดลองใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่านี้เอง ที่พาให้ชีวิตของพวกเขาได้ เรียนรู้ว่า กระบวนการมีความสำ�คัญไม่แพ้จุดหมาย และแท้ที่จริงแล้ว ชีวิตคือกระบวนการทดลองมิรู้จบ ขอเพียงอย่าคิดว่า “เป็นไปไม่ได้” เป้าหมายก็คงมาถึงเข้าสักวัน...

162


163


สิ่งประดิษฐ์เครื่องแยกเยื่อหุ้มเมล็ดถั่วลิสง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ช่วยลดระยะ เวลาในการแยกเยื่อหุ้มเมล็ดออกจากเมล็ดถั่วลิสง โดยเครื่องแยกเยื่อหุ้มเมล็ดถั่วลิสงที่ทำ�ขึ้นนี้จะกะเทาะให้เยื่อหุ้มเมล็ดถั่ว ลิสงหลุดออกจากเมล็ดถั่วลิสง จากนั้นเมล็ดและเยื่อหุ้มจะแยกออกจากกัน และจะ ร่วงลงสู่แกนกลางของเครื่อง ในระหว่างท่อแกนกลางจะมีใบพัดลมขนาดเล็กติดอยู่กับแกนกลางของ เครื่องแล้วใช้ลมจากพัดลม พัดเยื่อหุ้มเมล็ดแยกออกจากเมล็ดถั่วให้ปลิวเข้าไปในท่อ สำ�หรับคัดแยกเยื่อหุ้มเมล็ด เพราะเยื่อหุ้มของเมล็ดถั่วนั้น มี นํ าหนักเบาจึงสามารถ ถูกพัดพาไปกับลมได้


โดยที่ปลายท่อคัดแยกเยื่อหุ้มเมล็ดจะมีถุงสำ�หรับรองรับ ส่วนเมล็ดถั่วลิสง จะร่วง ลงสู่ด้านล่างของเครื่องที่มีถุงรองรับเมล็ดถั่วลิสงที่ถูกแยกเอาเยื่อหุ้มออก เรียบร้อยแล้ว จากการศึกษาพบว่าที่ความเร็วรอบมอเตอร์ 300 รอบ/นาที มีประสิทธิภาพ ในการคัดแยกเยื่อหุ้มเมล็ดถั่วลิสงได้ดีที่สุด และเมื่อนำ�มาเปรียบเทียบกับการแยก ด้วยมือแล้วพบว่าสิ่งประดิษฐ์สามารถแยกเมล็ดถั่วได้เร็วกว่าประมาณ 34%



1

ทางสายเปลี่ยน หากใครมีโอกาสเข้าไปในโรงเรียนสตรีวิทยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อย่าพลาดโอกาสสำ�คัญที่จะเข้าไปที่โถงทางเดินหน้าห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ รั บ รองว่ า ที่ แ ห่ ง นี้ จ ะสร้ า งความตื่ น ตาตื่ น ใจเหมื อ นหลงเข้ า ไปในพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วิทยาศาสตร์ เพราะทางเดินแคบๆ ของโถงเล็กๆ นี้ อัดแน่นไปด้วยสิ่งประดิษฐ์และ สื่อการสอนด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ รวมถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากมาย

167


สิ่งประดิษฐ์ : เครื่องปอกเปลือกไข่ต้ม โรงเรียนสตรีวิทยา 168


ที่แห่งนี้จัดทำ�ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ให้นักเรียนเห็นภาพ จับต้อง ลอง เล่นได้ ไม่ใช่เพียงจินตนาการลอยๆ จากทฤษฎีเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ ไม่ได้เป็นฝีมือของนักประดิษฐ์อันเอกอุ หรือเกิดจากการจัดทำ�ขึ้นของคุณครู แต่เกิดจากฝีมือของนักเรียนรุ่นต่างๆ ฝาก ผลงานเอาไว้ เมื่อมีนิทรรศการวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนเมื่อใดก็จะนำ�ไปจัดแสดง พร้อมกับผลงานชิ้นใหม่ๆ ได้ทันที จุ๊ๆๆๆ ที่เด็ดไปกว่านั้น โรงเรียนสตรีวิทยาแห่งนี้ ยังทำ�เก๋ไม่เหมือนใคร โดยทุกครั้งที่มีงานกีฬาสี ทางโรงเรียนจะมีกุศโลบายสอดแทรกให้เด็กๆ สนุกกับ การเป็นนักประดิษฐ์คิดค้นและรักในวิทยาศาสตร์โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนชั้น ม. 6 ได้สำ�แดงฝีมือสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ของพวกเขาเอง โดยประยุกต์ใช้หลักการ วิทยาศาสตร์ คิดค้นงานประดิษฐ์ที่ใช้ในพิธีเปิดกีฬาสีอันยิ่งใหญ่ ฉะนั้น นี่คือหมุดหมายของเวลาที่ “คนมีของ” จะสำ�แดง แผลงฤทธิ์เดช ทางการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อแข่งขันกันว่ารุ่นใครจะ “ปล่อยของ” ให้รุ่น น้องเล่าขานรํ่าลือกันไปจากรุ่นสู่รุ่น

169


ด้วยความที่สตรีวิทยาเป็นโรงเรียนผู้หญิงล้วน และใครๆ ก็มักมีภาพตีตรา ประทับว่าเด็กผู้หญิงไม่สามารถมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ ทางช่าง หรือการคิดค้น สิ่งประดิษฐ์เท่าเด็กผู้ชาย สาวๆ ชาวสตรีวิทยาจึงมุ่งมั่นว่าพวกเธอจะลดทอนความ เชื่อความเข้าใจผิดๆ และเจือจางภาพประทับนั้น โดยการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ กลไก อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ให้โดดเด่นไม่แพ้โรงเรียนผู้ชาย “เด็ ก สตรี วิ ท ย์ มี ค วามท้ า ทายว่ า เด็ ก ผู้ ห ญิ ง ก็ มี ทั ก ษะทางการประดิ ษ ฐ์ คิดค้น มีความสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ไม่ต่างอะไรจากเด็กผู้ชาย ดังนั้นถ้าเขา ไปแสดงนิทรรศการร่วมกับสวนกุหลาบแล้วทำ�ให้สวนกุหลาบทึ่งได้ นั่นคือพาวเวอร์ ของเขา แล้ว ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ พอไปสวนกุหลาบเด็กสวนกุหลาบก็งง เฮ้ย ทำ�ไมสตรีวิทยามีแต่เครื่องอย่างนี้ ทำ�ไมของเขาไม่มี เขาก็ตื่นเต้น” อ.ชูเกียรติ ชัยชนะดารา เล่า อาจกล่ า วได้ ว่ า หนึ่ ง ในบุ ค คลสำ � คั ญ ผู้ อ ยู่ เ บื้ อ งหลั ง งานประดิ ษ ฐ์ ท าง วิทยาศาสตร์ต่างๆ และพยายามลดทอนมายาคติเรื่องดังกล่าวคือ อ.ชูเกียรติ ชัยชนะ ดารา อาจารย์ผู้สอนวิชาฟิสิกส์ และมีทักษะงานช่าง อาจารย์ยืนยันว่านักเรียนหญิง ก็มีทักษะทางวิทยาศาสตร์ไม่ต่างจากเด็กผู้ชาย สำ�คัญคือในกระบวนการสอนต้อง

170


เน้นการทดลองให้เห็นของจริง แล้วสามารถอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ อาจารย์ชูเกียรติจึงพยายามออกแบบการสอนโดยเน้นการทดลอง และใช้สื่อ การสอนที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง มาใช้อธิบายให้นักเรียนเห็นภาพแรง คลื่น การเคลื่อนที่ ไฟฟ้าแสง เสียง เทคนิคการสอนแบบนี้มีส่วนให้นักเรียนโรงเรียนสตรีวิทยาสร้างสรรค์ สิ่งประดิษฐ์ที่ไม่ธรรมดา ส่งเข้าแข่งขันและได้รางวัลมาแทบทุกปี

171


เด็กผู้หญิงก็มีทักษะ ทางการประดิษฐ์คิดค้น มีความสร้างสรรค์ ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ต่างอะไรจากเด็กผู้ชาย

172


2

ว่าแต่ว่าแล้วทำ�ไมและเพราะเหตุใดบรรดา“สาวน้อยมหัศจรรย์” เหล่านั้น หันมาคิดค้นเครื่องปอกเปลือกไข่ต้มจนได้รับรางวัลเหรียญทองจากงาน International Exhibitionfor Young Inventors (IEYI-2013) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และรางวัล Speac Award จากฮ่องกงกันเลยทีเดียว ทั้งๆ ที่ เมื่อลองเมื่อลองสืบสาวราวเรื่องดูแล้ว ก็ไม่มีใครสักรายที่เป็นทายาทฟาร์มไก่ หรือ ที่บ้านทำ�ผลิตภัณฑ์ไข่ต้มส่งออกสักหน่อย เพื่อไม่ให้ความสงสัยค้างคา เราไปฟังกลุ่มสาวน้อยหน้าใส 6 คน ได้แก่ ปัจฉิมา ชัยชนะดารา (เดลต้า) วิภาวี วาณิชยชาติ (แพร) ญาณิศา เพ็ญโรจน์

173


(พีช) ณัฐวิภา พงศ์สุธางค์ (ณัฐ) ปวีณา นัทธีศรี (ติ๊ก) และ (อริสรา ชาญพิชัย (ไอซ์) เจ้าของสิ่งประดิษฐ์เครื่องปอกเปลือกไข่ต้ม ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองการ ประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติจากประเทศมาเลเซียกันโดยตรงดีกว่า “จริงๆ เรารู้สึกว่าวิชาวิทยาศาสตร์มันสนุกท้าทายตั้งแต่ตอนที่เราเข้า ม.1 เลยค่ะ โดยเฉพาะวันงานวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน มีของเล่นวิทยาศาสตร์ที่พวกพี่ๆ ทำ�เยอะมาก อย่างเกมปาเป้าแล้วมีกลไกฉีดนํ าจากข้างหลังเรา ตุ๊กตาที่ห้ามโยกแต่ พอเราแอบโยกมันก็ฉีดนํ าใส่เราอีก บ่อนํ าลึกสุดหยั่งที่ใช้หลักการสะท้อนของกระจก ภาพลวงตาจุดเทียนใต้นํ า กล่องหัวขาด รูปภาพที่มองตามเราได้ การแยกสีของแสง สีขาวจากเลนส์โพลาไรซ์ เราตื่นเต้นมากค่ะ ไม่คิดว่าเทคนิคกลไกแบบนี้ พวกพี่ๆ จะ ทำ�เองได้” เดลต้า เล่าอย่างออกรสชาติ เห็นไหมเล่าว่าเมื่อมีมนุษย์เรืองแสงเกิดขึ้น คนที่ได้สัมผัสกับแสงเรืองๆ นั้น จะเกิดแรงบันดาลใจ มุ่งมั่น อยากเปล่งแสงมาสู้บ้าง

174


175


นี่แหละหนาที่เขาว่า “แรงบันดาลใจ” มันมีพลานุภาพที่จะนำ�พาให้มนุษย์ใช้ สมองของตน เกิดการเลียนแบบ ปรับเปลี่ยน แข่งขันที่จะทำ�ให้ดีกว่าเดิม เหนือกว่าเดิม ส่งผลให้โลกนี้มีการพัฒนาต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อขึ้นชั้นมัธยมปีที่ 3 นักเรียนทุกคนต้องมีภารกิจจัดทำ�โครงงานวิทยาศาสตร์ ส่งคุณครู สาวน้อยกลุ่มนี้จึงมีอาการที่พวกเธอเรียกกันว่า “ของขึ้น” กล่าวคืออยากจะ ฝากผลงานทิ้งไว้ให้รุ่นน้องตะลึงพรึงเพริศและรํ่าลือสืบต่อไปเช่นกัน “พวกเรา 6 คน จับกลุ่มทำ�โครงงานด้วยกันค่ะ ก็ถกเถียงกัน ว่าจะทำ�อะไรดี” ติ๊กเล่า “คิดเท่าไรก็คิดไม่ออก จับต้นชนปลายไม่ถูกว่าจะเริ่มต้นทำ�อะไรดี เวลาก็ผ่าน ไปเรื่อยๆ วันส่งงานก็งวดเข้ามาเรื่อยๆ จนวันที่ 5 ธันวาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา โรงเรียนของเราตั้งโรงทาน ทำ�อาหารแจกจ่ายให้คนทั่วไปทานฟรีเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล พวกเราต้องไปช่วยแม่ครัวทำ�ไข่พะโล้ โดยมีหน้าที่หลักคือการปอกไข่ค่ะ” แพรเสริม

176


“ไข่มันเยอะมาก ขนาดช่วยกันหลายคนยังปอกกันจนเหนื่อยค่ะ พวกเราก็ เลยเกิดไอเดียสว่างวาบขึ้นมาว่าจะทำ�เครื่องปอกเปลือกไข่ต้ม เพราะคนที่จะทำ�ไข่ พะโล้ขาย เขาก็ต้องปอกไข่เยอะมากๆ แล้วเป็นขั้นตอนที่เสียเวลามากค่ะ ถ้ามีเครื่อง ปอกไข่ช่วย แม่ค้าก็จะได้ไม่ต้องเหนื่อยเหมือนเราค่ะ” เดลต้าเล่าต่อ

177


178


“จะว่าไปแรงบันดาลใจมาจากความขี้เกียจของพวกเรานี่ล่ะค่ะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า” ไอซ์สรุป เรียกเสียงหัวเราะจากทุกคน

หัวข้อวิจัยของเด็กๆ ได้รับคัดเลือกให้เป็นโครงงานที่จะส่งประกวดสิ่งประดิษฐ์ ทางวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียน โดยมี อ.รัตนวดี โมรากุล และ อ.ชูเกียรติ ชัยชนะดารา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ เด็กๆ ทุกคนตั้งความหวังไว้แค่ว่าจะทำ�การทดลองนี้ให้ สำ�เร็จ แต่สิ่งที่พวกเขาไม่รู้คือ สิ่งที่พวกเขาหวังจะให้สำ�เร็จนั้นมันไม่ง่าย และมันต้อง ผ่านความยากลำ�บากอย่างไรบ้างกว่าจะสมหวัง “เด็กก็คือเด็กนะครับ บางเวลาเขาก็ไม่สนุกด้วย ไม่มีความอดทนพอ จะให้ เขามีวุฒิภาวะแบบผู้ใหญ่คงไม่ใช่ บางคราวเขาก็เบื่อ บางคราวก็พาลจะขี้เกียจ การ ทำ�อะไรยาวนาน และต้องคิดต้องแก้ตลอดเวลา มันอาจเป็นเรื่องยากสำ�หรับเด็กวัยนี้ ฉะนั้น ครูต้องทำ�ตัวเหมือนโค้ช ต้องทำ�หน้าที่ดึงศักยภาพของเด็กๆ ออกมาให้เต็มที่” อ.ชูเกียรติ ซึ่งเปรียบเสมือนหางเสือคอยปรับทิศทางงานวิจัยของเด็กๆ เล่า

“ทุกครั้งเวลาทำ�สิ่งประดิษฐ์อะไรต่างๆ มันเพิ่มความรู้ของตัวเราเองด้วยค่ะ

179


ครูต้องทำ�ตัวเหมือนโค้ช ต้องทำ�หน้าที่ ดึงศักยภาพของเด็กๆ ออกมาให้เต็มที่

180


บางอย่างเราต้องเรียนรู้ไปพร้อมกันกับเด็ก” อ.รัตนวดี โมรากุล หรือ อ.เน้ย ครูที่ ปรึกษาผู้ใจดีของเด็กเล่า ทุกเย็น ในขณะที่เพื่อนคนอื่นๆ ไปเที่ยวประสาวัยรุ่น ไปเรียนพิเศษตาม สถาบันกวดวิชาต่างๆ แต่เด็กๆ และคุณครูกลุ่มนี้กลับใช้ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เป็นกองบัญชาการค้นคว้าวิจัยการปอกไข่ “ตอนนั้นหนูบอกกับเพื่อนๆ ว่า ฐานที่มั่นของพวกเราคือที่นี่ และนักรบทุก คนจะย่อท้อไม่ได้” เดลต้าเล่าด้วยนํ าเสียงจริงจัง

181


ฐานที่มั่น ของพวกเราคือที่นี่ และนักรบทุกคน จะย่อท้อไม่ได้

182


183


3

การทดลองนี้มีจุดตั้งต้นจากการอยากเอาชนะความไม่รู้ แต่ความไม่รู้ของ เด็กสมัยนี้อาจไม่หนักหน่วงเท่าคนรุ่นเก่า เพราะสามารถสืบค้นข้อมูลได้ง่ายดาย ผ่าน อินเทอร์เน็ท หลังจากต่างคนต่างพยายามรวบรวมข้อมูลสิ่งประดิษฐ์คิดค้นอันเกี่ยวกับ เครื่องปอกไข่ให้มากที่สุด และนำ�ข้อมูลที่ได้มาระดมแลกเปลี่ยนความเห็นกัน สาวๆ ก็สะดุดกับวิธีการปอกไข่ด้วยการใช้ปากเป่า วิธีการก็คือปอกเปลือก ทางด้านหัวนิดหนึ่ง แล้วปอกไข่ทางด้านท้ายให้กว้างกว่า จากนั้นใช้ปากเป่าจากด้าน

184


หัว ไข่ก็จะหลุดพรวดออกมา คะเนดูแล้วน่าจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดทุกคนจึงตกลงใจจะ ทำ�การทดลองด้วยวิธีนี้ พวกเธอเล่าว่า ณ ตอนนั้นพวกเธอพากันจินตนาการ (กันไปเอง) ว่าเวลา เป่าแรงลม จะดันเนื้อไข่ออกจากเปลือกได้อย่างง่ายดาย โดยที่เปลือกไข่ก็ไม่เสียรูป ทรง ค่ะ”

“แต่ไม่ง่ายอย่างที่คิดเลยค่ะ เพราะพวกเราเป่ายังไงเปลือกไข่ก็ไม่หลุดออก พีชเล่า

“โดยเฉพาะ ไอซ์ เขาเป่าจนนํ าลายยืดออกมา พวกเราก็ว้าย สกปรก เอา ไข่ต้ม ที่ไอซ์เป่ามาวิ่งไล่แกล้งกัน ก็วิ่งหนีกันสนุกสนานค่ะ เลยสรุปว่าถ้าเป็นอย่างนี้ คงไม่มีใครกล้ากินไข่ที่ปอกด้วยวิธีนี้แน่” ติ๊กเล่าวีรกรรมที่ผ่านมาอย่างขำ�ขัน

“วิธีเริ่มโครงงานมันไม่ได้เกิดจากการประมวลความรู้จากวิชาอะไรเข้มข้น

185


มากมายหรอกครับ จริงๆ แล้วมันเกิดจากปัญหาอย่างนี้แหละ เช่นต้องหาวิธีการทำ� อุปกรณ์เป็นเบ้าสำ�หรับล็อกไข่ต้มแทนที่จะใช้มือจับ มันก็ไล่ไปทีละปัญหา เปลี่ยน ตัวปัญหาไปเรื่อยๆ” อ.ชูเกียรติเล่า ทั้งนี้อาจารย์ชูเกียรติมีกฏเหล็กอย่างหนึ่งสำ�หรับการทำ�งานคือ ต้องเรียนรู้ และลงมือทำ�ด้วยตัวเองทุกขั้นตอน สาวน้อยทั้งกลุ่มจึงต้องถึงขนาดไปเริ่มต้นศึกษาวิธีหล่อยางพาราเพื่อมาทำ� เป็นเบ้าใส่ใข่ พวกเธอไปซื้ออุปกรณ์ยางพาราจากร้านศึกษาภัณฑ์ใกล้โรงเรียน ศึกษาวิธี การหล่อแบบจากคำ�แนะนำ�ข้างกล่อง โดยใช้ไข่เป็นต้นแบบ มีท่อเหล็กสำ�หรับเป่า ลม แต่ผลปรากฏว่าเมื่อนำ�มาจับยึดกับไข่แล้วทดลองเป่าอีกครั้งเปลือกไข่ก็ไม่หลุด อยู่ดี

จะแก้ปัญหานี้ต่ออย่างไรดีน้า... คือสิ่งที่สาวๆ วัยว้าวุ่นกลุ่มนี้คิดไม่ตกกันไปหลายวัน หัวเดียวกระเทียมลีบ

186


ทั้งหมดจึงชวนกันมาระดมความคิดอีกครั้ง การระดมความคิดนี่เรียกว่าเป็นจุดเด่นของการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ทาง วิทยาศาสตร์ของโรงเรียนสตรีวิทย์ก็ว่าได้ เพราะเวลาที่พวกเธอคิดไม่ออก ทางเลือก ที่คุณครูแนะนำ�ให้พวกเธอทำ�คือ “ระดมสมอง” “จะมัวแต่ไปนั่งใช้หมองนั่งมาธิคนเดียวคงคิดไม่ออก เพราะพวกเราไม่ได้ เก่งเหมือนอิคคิวซังน่ะค่ะ...” พีชกล่าวขำ�ๆ ตามสไตล์ ฉะนั้น ทั้งอาจารย์และนักเรียนจึงร่วมวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น เด็กๆ ตั้ง สมมติฐานต่อว่าปัญหาอาจอยู่ที่การต้มไข่ จึงศึกษาวิธีการต้มแบบต่างๆ ทั้งวิธีเติม เกลือ เติมนํ าส้มสายชู เติมนํ ามะนาว ใช้ใข่ไปวันละกว่า 100 ฟอง ได้ข้อสรุปว่า ไข่ที่ ต้มด้วยวิธีเติมเกลือ ต้มนาน 30 นาทีปอกได้ง่ายที่สุด แต่เมื่อนำ�มาทดลองเป่า กลับ ยังเป่ายากเหมือนเดิม

“ช่วงที่ยังไม่โอเคนะคะ พวกเราต้องถือถุงใส่ไข่ต้มกลับบ้านวันละถุงใหญ่

187


เลยค่ะ ตอนนี้ก็ยังเบื่อไข่ต้มอยู่เลย” แพรเล่าพลางทำ�หน้าเหยเกเมื่อนึกถึงไข่ต้มเจ้าปัญหา

แก้ปัญหาเรื่องหนึ่งผ่านไป ก็ต้องพยายามคิด วิเคราะห์ ตั้งสมมติฐานใหม่ต่อไป

“เราก็มาสันนิษฐานต่อว่าลมอาจจะแรงไม่พอ ก็เลยหาเครื่องอัดลมที่มีกำ�ลังลม มากขึ้น ก็ไปค้นมา 3 วิธี คือที่สูบลมลูกโป่ง ที่สูบลมรถจักรยาน และคอมเพรสเซอร์ ก็ สรุปว่าใช้ที่สูบลมลูกโป่งดีที่สุด แต่ก็ยังปอกไข่ได้ไม่ดีค่ะ”เดลต้าเล่า ทดลองมาหลากหลายวิธี ทุ่มเททุกวัน เจออุปสรรคและทางตันขนาดนี้ สาวๆ ก็ยังไม่ยอมแพ้ “เราทดลองมาเยอะแล้ว เลยคิดว่าทำ�ต่อไปข้างหน้าให้เสร็จจะดีกว่า ถ้าจะหา วิธีปอกไข่แบบอื่น ก็ต้องเริ่มกระบวนการศึกษาใหม่อยู่ดี” ติ๊กเล่าด้วยเสียงหนักแน่น จากปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งครูและศิษย์ก็มาวิเคราะห์ร่วมกัน อ.ชูเกียรติ ตั้งคำ�ถาม ให้เด็กๆ คิดว่าสาเหตุเกิดเพราะอะไร

188


จากนั้นพวกเขานำ�ชิ้นงานมาพิจารณาแล้วตั้งสมมติฐานว่า ปัญหาก็คือแม้ แรงดันลมจะมาก แต่เมื่อผ่านท่อขนาดเล็ก ก็จะมีลมเข้ามาสัมผัสพื้นผิวไข่เพียงเล็ก น้อย ทำ�ให้แรงดันน้อยเกินไป จึงไม่สามารถเป่าไข่ออกมาจากเปลือกได้ นำ�มาสู่การเลิกใช้ตัวจับชิ้นบน แล้วให้แรงดันลมสัมผัสกับไข่โดยตรง โดย จะใช้ครอบแก้วทำ�หน้าที่กักอากาศไว้ ส่วนด้านล่างยังคงมียางพารายึดจับไข่ไว้ และ ออกแบบแท่นวางไข่ให้เป็นแผ่นไม้มีช่องกลมเพื่อให้วางไข่ได้ โดยพวกเขาจินตนาการว่าเมื่อเพิ่มแรงดันลมในขวดแก้ว แรงดันที่เพิ่มนี้จะ ผลักให้เนื้อไข่หลุดลื่นออกจากเปลือกไข่ทางด้านล่าง โดยที่เปลือกไข่ยังคงค้างอยู่ใน ครอบแก้ว แต่ปัญหาตามมาคือไม่สามารถหาซื้อครอบแก้วสำ�เร็จรูปได้ ทางออกคือ ต้องตัดขวดมาทำ�ครอบแก้วใช้เอง วันเวลาผ่านไป เด็กๆ ยังครํ่าเคร่งกับการประดิษฐ์หนแล้วหนเล่า อย่างที่เดลต้าเคยยืนยัน ฐานที่มั่นของพวกเธอคือที่นี่ และนักรบทุกคนจะ ย่อท้อไม่ได้!

189


190


ศูนย์พัฒนาโครงงานและสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ ของ อ.ชูเกียรติ คือฐานที่มั่นที่ พวกเธอใช้เป็นที่ผลิตผลงาน ห้องเล็กๆ ห้องนี้เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์เชิงช่างสารพัดชนิด ทั้งเครื่องมือ ตัด พับ เลื่อยไฟฟ้า แท่นสว่าน ตู้เชื่อมไฟฟ้า แบตเตอรี่ กระดานอัด รวมทั้งวัสดุเหลือ ใช้ต่างๆ กองสุมทับถมกัน เบียดแทรกด้วยผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียนรุ่นก่อน จน เหลือเพียงทางเดินแคบๆ เท่านั้น ด้วยความที่อาจารย์เป็นนักประดิษฐ์ อีกทั้งยังช่างเก็บ ช่างสะสมวัสดุอุปกรณ์ ทุกอย่างเอาไว้ ให้เด็กๆ ได้เลือกใช้เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานของตัวเอง สาวๆ ที่เข้ามาในฐานที่มั่นทุกคนจึงต้องฝึกเลื่อย ตัด ขัด เจาะ ประกอบงาน ไม้ด้วยตนเอง ได้แผลกันไปคนละเล็กน้อย เพื่อเรียนรู้วิธีตัดขวดแก้วเพื่อนำ�มาทำ� ครอบแก้วกักอากาศ “เราก็บอกวิธีใช้เครื่องมือ อ้าวนักเรียนระวังนะ หัวแร้งมันร้อนนะ ยังไม่ทัน จะอะไรเลย อาจารย์ขามือพอง โดนไปครั้งเดียวเขาก็จำ�ไปตลอดล่ะ”

191


อ.ชูเกียรติเล่าพลางยิ้มสดใสเมื่อได้นึกถึงบรรยากาศความวุ่นวายที่เกิดขึ้นใน ครั้งกระนั้น “ครูมองว่าสมองของผู้หญิงและผู้ชายมีการรับรู้ได้เท่าๆ กันแหละ แต่สรีระ ต่างกัน ผู้ชายมีเรี่ยวแรงมากกว่าจึงอาจทำ�งานช่างที่ต้องใช้แรงสะดวกกว่าเพียงเท่านั้น แต่รับรองว่าถ้าผู้หญิงมีเครื่องทุ่นแรง มีเครื่องมือ และฝึกการใช้เครื่องมือจนคล่อง ก็ สามารถประดิษฐ์ชิ้นงานต่างๆ ได้ไม่แพ้ผู้ชาย ผู้หญิงได้เปรียบด้วยซํ า เพราะเขาค่อน ข้างละเอียดกว่า” อ.ชูเกียรติยืนยัน เมื่อประดิษฐ์เครื่องปอกไข่ต้นแบบได้แล้ว นำ�มาทดลองดูผลปรากฏว่าลม สามารถดันเนื้อไข่ออกจากเปลือกได้ แต่คุณภาพที่ได้ยังไม่สมํ่าเสมอ ไข่หลายลูกแตก เสียรูป จึงนำ�ไปสู่สมมติฐานต่อมาคือลักษณะหนาบาง สั้นยาวของเบ้ายางมีผลต่อ การบีบรัดไข่ต้มให้แตกหรือไม่ พวกเขาต้องหล่อเบ้ายางแบบต่างๆ ขึ้นใหม่นับสิบอัน เพื่อทดสอบสมมติฐานนี้

192


“พอทดลองก็สรุปว่าสมมติฐานนี้ไม่ใช่ เพราะเบ้ายางมันยืดหยุ่นได้ จึงมา วิเคราะห์ดูใหม่ว่ามันต้องเป็นที่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของช่องบนแผ่นไม้ เพราะฉะนั้น ต้องทำ�ไม้หลายๆ แผ่นที่มีขนาดช่องแตกต่างกัน” ติ๊กเล่าบ้าง “นักเรียนต้องเรียนรู้ที่จะตั้งสมมติฐานใหม่ ต้องไม่กลัวผิด เพราะเวลาเรียนใน ห้องมันเป็นการพิสูจน์สมมติฐานของทฤษฎี แล้วทำ�การทดลองไปตามหนังสือ มันก็ต้อง ได้คำ�ตอบที่คาดการณ์ได้อยู่แล้ว แต่การทดลองทำ�สิ่งประดิษฐ์นี่มันยากกว่าตรงที่เด็กๆ ไม่รู้เลยว่าคำ�ตอบของการทดลองมันจะออกมายังไง สมมติฐานที่ตั้งมันจะใช่หรือไม่” อาจารย์ชูเกียรติสาธยายอย่างออกรสออกชาติ

หลังจากนั้นก็มาสู่การกระบวนการอีกขั้นคือการปรับรูปแบบเบ้ายางที่รองรับไข่

“เมื่อก่อนเราตั้งสมมติฐานว่าถ้าเบ้าเป็นรูปไข่ จะช่วยรั้งเปลือกไข่ไม่ให้หลุดตาม มา แต่ตอนหลังก็ค้นพบว่า เปลือกไข่อยู่ได้ด้วยความฝืดของผิวสัมผัสระหว่างยางพารา กับเปลือกไข่ เพราะฉะนั้นจึงทำ�เบ้าเป็นท่อตรงก็ได้ง่ายกว่า” แพรอธิบาย

193


“สมมติฐานมันเยอะ ตอนแรกกลัวว่าครอบแก้วจะปิดไม่สนิท ก็ทำ�ยางหุ้ม ขอบครอบแก้วอีก แต่ความจริงแล้วเราสามารถกดครอบแก้วให้แน่นได้โดยไม่ต้อง ใช้ขอบยาง เพราะเราสามารถเจียรขอบครอบแก้วให้เรียบได้ ซีลยางรอบขอบแก้ว ก็เป็นอันยกเลิกไป” ไอซ์เล่าบ้าง ไม่เพียงเท่านี้ เด็กๆ ยังออกแบบคานกดครอบแก้ว เพื่อช่วยกดให้แน่นผ่อน แรงกว่าการใช้มือจับ ผลงานในรอบแรกเป็นที่พออกพอใจของทุกคนในโรงเรียน แต่พวกเธอ ตระหนักดีว่ามันยังไม่ใช่คำ�ตอบสุดท้าย เพราะยังไม่ใช่เครื่องปอกไข่ที่สมบูรณ์แบบ ไร้ที่ติ ยังมีข้อควรต้องปรับปรุงอื่นๆ ตามมา การรีบพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ย่อมไม่ส่ง ผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาใดๆ พวกเธอตระหนักถึงความจริงข้อนี้ดี เท่าๆกับ ที่รู้ว่าการจะเปลี่ยนแปลงพัฒนาใดๆ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในวันสองวัน แต่ความท้าทายที่รออยู่เบื้องหน้ามันสนุกน้อยซะเมื่อไหร่ล่ะ ฉะนั้น ต้องยืนยันที่จะ นำ�พาสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ให้ก้าวไกลต่อไป ณ เวลานั้น พวกเธอเห็นตรงกันเช่นนั้น...

194


4

เมื่อนำ�พาสิ่งประดิษฐ์ชิ้นเอกผ่านการประกวดในแต่ละระดับ พวกเธอก็รับคำ� แนะนำ�ที่มีประโยชน์จากกรรมการมาปรับปรุงแก้ไขเครื่องปอกไข่ต้มให้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น และได้เปลี่ยนเบ้าจากยางพาราเป็นซิลิโคน เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งหมายถึง ต้องใช้ความบากบั่นพยายามเพิ่มเติมมากขึ้นไปอีก เพื่อเรียนรู้วิธีหล่อซิลิ โคนขึ้นมา จากปัญหาที่เกิดขึ้น นำ�ไปสู่การแก้ไขทีละจุด ผ่านไปทีละเปลาะ หลาย สมมติฐานอาจผิดพลาด ต้องหลงทิศทางไปบ้าง แต่เวลาไม่เคยสูญเปล่า เพราะแท้จริง

195


196


แล้วเด็กๆ ได้เรียนรู้ว่าพวกเขาได้ขจัดหนทางที่ผิดพลาดออกไปมากมาย และเข้าใกล้ ความสำ�เร็จไปอีกก้าว “อย่างที่บอกครับ ปัญหาของเด็กๆ ก็คือความรับผิดชอบ ความจดจ่อ เพราะความรู้ที่ใช้มันไม่เกินที่เขาเรียน แรงดัน คาน เรียนมาตั้งแต่ดึกดำ�บรรพ์แล้ว แต่ว่าพอเขาเห็นปัญหา เขาตั้งสมมติฐานเป็นไหม คิดวิธีแก้ปัญหาเป็นไหม คาด การณ์ข้างหน้าเป็นไหม ความรู้จากครูกูเกิ้ลบอกได้หมด แต่เราจินตนาการออกไปได้ ไหมว่ามันเป็นเพราะเหตุใด ครูอย่างเรามีหน้าที่ต้องกระตุ้นและชี้ช่องให้เขานำ�ความ รู้ในทฤษฎีบนหิ้งลงมาคลุกฝุ่นใช้จริงในเชิงปฏิบัติ” อ.ชูเกียรติกล่าวถึงวิธีการสอนที่ตนเองนำ�มาใช้ กว่าจะผ่านการทดลองไปแต่ละขั้นตอนจนเสร็จสมบูรณ์ ใช้เวลานับแรมปี ใช้ไข่ไปนับพันลูก ตลอดเส้นทางมีความทดท้อเกิดขึ้นมากมาย บางครั้งกดดันจนเสีย นํ าตา แต่พวกเขาก็อดทนฟันฝ่ามาได้อย่างน่าชื่นชม “เราให้กำ�ลังใจกัน พอคนนึงท้อ อีกคนก็บอกว่า อีกนิดนะ อีกนิดนึง จะ สำ�เร็จแล้ว เราสู้ไปด้วยกันค่ะ”

197


พีชเล่าพร้อมกับหันไปยิ้มกับเพื่อนๆ

“อาจารย์ทั้งสองท่านก็อยู่เคียงข้างเราตลอดค่ะ คอยตั้งคำ�ถามให้เราคิด อาจารย์เน้ยก็ปลอบใจให้เราไม่ท้อ กดดันให้เราต้องหาวิธีการมาให้ได้” ไอซ์เล่าบ้าง “ระหว่างทำ�มันมีความสนุกท้าทาย เราจะตั้งสมมติฐานถูกไหม ลุ้นว่าผล จะเป็นอย่างไร พอเวลาใกล้เข้ามาเราก็บอกตัวเองว่าเราต้องสำ�เร็จให้ได้” แพรนึกถึงความหลังด้วยดวงตามุ่งมั่น “คุณครูเขาบอกว่าทุกปัญหามันมีทางแก้ ลองใหม่ ลองดู ลองสังเกต ตั้ง สมมติฐานใหม่ แล้วมันก็มีทางแก้จริงๆ ค่ะ” เดลต้ากล่าวทิ้งท้าย และแล้วสิ่งที่คุณครูและสาวๆ แห่งสตรีวิทยาทุ่มกายเทใจลงไปไม่สูญเปล่า ผลงานสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ของพวกเธอก็สามารถคว้ารางวัลเหรียญทองนวัตกรรมสิ่ง ประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติจากงาน International Exhibition for

198


ระหว่างทำ� มันมีความสนุกท้าทาย เราจะตั้งสมมติฐานถูกไหม ลุ้นว่าผลจะเป็นอย่างไร พอเวลาใกล้เข้ามา เราก็บอกตัวเองว่า เราต้องสำ�เร็จให้ได้ 199


Young Inventors (IEYI-2013) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มาครอบ ครองสมใจปรารถนา อาจารย์ชูเกียรติ กล่าวว่า รางวัลไม่ใช่สิ่งสำ�คัญสูงสุดของการทำ�สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียน แต่เป็นหลุมพรางที่ขุดล่อให้ก้าวไปเท่านั้น รางวัลจริงๆ ที่เด็กๆ ได้ รับ อยู่ในกระบวนการ ระหว่างทางของความสำ�เร็จ ที่เด็กๆ ได้ซึมซับไว้ เมื่อวันใด ที่เจอปัญหา เด็กๆ กลุ่มนี้จะสามารถ นึกย้อนกลับมาว่าทุกปัญหามีสมมติฐาน และ มีวิธีการที่จะแก้ไข ขอเพียงอย่าล้มเลิก ย่อมเจอคำ�ตอบไม่ทางใดก็ทางหนึ่งให้ตัวเอง แน่นอน “ประเทศอื่นตอนนี้เขาเน้นสอนเนื้อหา ทฤษฎีทางวิชาการต่างๆ ผ่าน การทดลองทั้งนั้น เขาเน้นให้เด็กต้องได้ลงมือทำ� ได้จับ ได้คิด วิเคราะห์ เห็นจริง ประเทศไทยต้องหันกลับมาเน้นทักษะ เหล่านี้อย่างจริงๆ จังๆ ให้สามารถเรียนรู้ แล้วนำ�ไปปรับใช้ในชีวิตประจำ�วันได้” อาจารย์ชูเกียรติกล่าวทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจ

200


เราจะจัดการ กับปัญหาได้ดีที่สุด ก็คือ การทดลองลงมือทำ�

201


202


5

ยํ าอีกครั้งว่า ใครมีโอกาสเข้าไปในโรงเรียนสตรีวิทยา อย่าลืมแวะไปที่โถง ทางเดินเล็กๆ หน้าห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์

ไม่ต้องสนใจสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ ไม่ต้องเป็นคนที่ชื่นชอบเครื่องไม้เครื่องมือในเชิงช่างก็ได้ แต่รับรองว่าจะได้บางอย่างกลับมา บางอย่างที่ว่านั้นอาจมีค่าถึงขั้นเปลี่ยนทัศนคติให้เราไปทั้งชีวิต

203


ทัศนคติที่ว่าปัญหาไม่ใช่สิ่งแปลกปลอมของชีวิตและเราต้องวิ่งหนีหรือ รังเกียจมัน หากทว่า เราจะจัดการกับปัญหาได้ดีที่สุดก็คือการทดลองลงมือทำ� ทางเดินสายสั้นๆ เล็กๆ และแสนธรรมดานั้น อาจเปลี่ยนชีวิตเราไปทั้งชีวิต ก็เป็นได้ เหมือนที่มันได้เปลี่ยนชีวิตและทัศนคติให้สาวๆ หน้าใสกลุ่มนั้นมาแล้วนั่น อย่างไรเล่า

204


205


ปัจจุบันร้านอาหารขนาดเล็กหรือร้านอาหารที่ให้บริการตนเอง นิยมประกอบ อาหารที่ใช้ไข่ต้มปอกเปลือก ทั้งไข่ไก่และไข่เป็ด ซึ่งต้องใช้เวลามาก อีกทั้งการจำ�หน่ายอาหารบางชนิดจะต้องปอกเปือกไข่ทิ้ง ไว้นาน เมื่อไข่ที่ปอกเปลือกแล้วมาสัมผัสกับอากาศโดยตรง จะทำ�ให้ไข่ต้ม นั้นสกปรก มีสีคลํ้าไม่น่ารับประทาน และเน่าเสียง่าย


ดังนั้นทางคณะผู้ประดิษฐ์จึงมีแนวคิดที่จะประดิษฐ์เครื่องปอกไข่ต้ม โดย อาศัยความแตกต่างระหว่างความดันอากาศระหว่างภายในกับภายนอกตัวเครื่อง โดยผู้ประดิษฐ์ได้เพิ่มความดันในตัวเครื่อง ด้านที่มีความดันอากาศมากกว่าจะดันไข่ ต้มออกจากเปลือกผ่านเบ้ายาง ซึ่งเบ้ายางจะทำ�หน้าที่กันเปลือกไข่ไว้ หลังจากที่มีการทดสอบประสิทธิภาพโดยการเปรียบเทียบเวลาและสภาพ ของไข่ที่ปอกกับเครื่องปอกเปลือกไข่และปอกด้วยมือ โดยจับเวลาในการปอกแล้ว นับจำ�นวนไข่ที่ได้ ผลทดลองพบว่า เมื่อปอกเปลือกไข่ต้มจะได้ไข่ต้มเฉลี่ย 11 ฟอง ซึ่งใกล้เคียงกับการปอกด้วยมือ ได้สภาพสมบูรณ์และสะอาด



1

ฝันและหวัง คุณภาพของเด็กไม่ได้ขึ้นกับขนาดของโรงเรียน แต่ขึ้นอยู่กับขนาดของหัวใจ ของผู้ใหญ่ที่เข้าไปสัมผัสสัมพันธ์กับชีวิตพวกเขา ว่ามีขนาดกว้างขวางพอสำ�หรับจะ บรรจุความรัก ความใส่ใจ ความเชื่อมั่นในตัวเด็กคนนั้นได้มากน้อยแค่ไหน โรงเรียนวัดสังวรพิมลไพบูลย์ (จันทรานุกูล) อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี และคณะ ครูโรงเรียนนี้คือรูปธรรมที่ช่วยยืนยันความคิดนี้ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพราะโรงเรียนแห่ง

209


สิ่งประดิษฐ์ : อุปกรณ์ช่วยเจาะแนวตั้ง โรงเรียนวัดสังวรพิมลไพบูลย์ (จันทานุกูล) สพป.นนทบุรี 210


นี้เป็นโรงเรียนที่มีขนาดเล็กมาก มีนักเรียนเพียง 140 คน มีระดับชั้นการศึกษา เพียงระดับละ 1 ห้องเรียน หากทว่าสามารถสร้างผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกเสียง ฮือฮาได้ทุกครั้งไป โรงเรียนวัดสังวรฯ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไม่ถึงห้าสิบกิโลเมตร แต่แค่ ข้ามมาอีกฟากของแม่นํ าเจ้าพระยา ก็เหมือนได้เดินทางไปยังต่างจังหวัดที่อยู่ ไกลแสนไกล

ไกลไปจากความขวักไขว่ของรถรา ไกลไปจากตึกรามบ้านช่องที่แน่นขนัด ไกลจากมลพิษของฝุ่นควัน

เป็นเพียงโรงเรียนขนาดเล็กที่แทรกตัวอยู่ท่ามกลางสวนมะพร้าวเก่าแก่ ของเมืองนนทบุรี ที่พื้นที่รายรอบโรงเรียนยังคงสภาพชุมชนคล้ายกับชุมชนใน ชนบทดั้งเดิม ผู้คนที่อิงอาศัยอยู่ก็มีทั้งคนสวนที่เป็นคนท้องถิ่นดั้งเดิม และคน ต่างถิ่นที่อพยพเข้ามาขายแรงงานในกรุงเทพฯ

211


212


ชาวชุมชนยังนิยมใช้เรือเป็นพาหนะหลักในการสัญจรเข้าสู่เมือง โดยการนั่ง เรือจากคลองสาขา ไปสู่ท่านํ านนท์ อันเป็นท่านํ าที่ใหญ่สุดของจังหวัดนนทบุรีแห่งนี้ เด็กๆ ที่มาเรียนโรงเรียนวัดสังวรฯ ส่วนใหญ่ เป็นลูกของคนเล็กคนน้อย มีผู้ ปกครองหาเช้ากินคํ่า เพราะพ่อแม่ผู้ปกครองที่พอมีฐานะ มีทางเลือก มักจะมองข้าม โรงเรียนเล็กๆ ไร้ชื่อเสียงเรียงนามอุโฆษใดๆ ผู้ปกครองที่พอมีกำ�ลังทางเศรษฐกิจจึง หาทางสร้างโอกาสทางการศึกษาให้ลูก โดยส่งไปเรียนโรงเรียนดังๆ ในกรุงเทพฯ เป็น ส่วนใหญ่ เดือนฉาย และสุธิดา นักประดิษฐ์รุ่นเยาว์สองคนที่สามารถคว้ารางวัลเหรียญ ทองจากการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในเวทีนานาชาติในงาน International Exhibition for Young Inventors 2013 (IEYI) และ Asian Young Inventors Exhibition 2013 (AYIE) ระหว่างวันที่ 8 – 12 พฤษภาคม 2556 ณ กรุง กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย สาวน้อยทั้งคู่ก็มีฐานะทางบ้านไม่ได้ดีเด่ มีผู้ปกครองหาเช้ากินคํ่าเช่นเดียวกับ เพื่อนๆ ส่วนใหญ่ในโรงเรียน

213


หากทว่าเด็กธรรมดาๆ สามัญที่มีบ้านและครอบครัวค่อนไปทางชนชั้นล่าง กลับมีความเก่งกาจในทางวิทยาศาสตร์ และสามารถสร้างสิ่งประดิษฐ์ได้รางวัลใน ระดับอาเซียนได้อย่างไร สิ่งใดกันหนอที่หล่อและหลอมให้พวกเธอมาถึงวันนี้ วิธีคิดแบบไหนกันที่ส่งเสริมให้เด็กน้อยสองคนกลายเป็นนักประดิษฐ์ตั้งแต่ เยาว์วัย มิควรปล่อยให้ความสงสัยค้างคา กว่า

ข้ามฟากเจ้าพระยาไปเรียนรู้คุณค่าการเป็นนักประดิษฐ์จากพวกเธอกันดี

214


2

หนึ่งสาวนักประดิษฐ์มีนามว่า เดือนฉาย อิสรเสนา ณ อยุธยา นักเรียนชั้น ป.4 ซึ่งมี บุคลิกรับผิดชอบสูง มีความมั่นใจ และพูดจาฉลาดเกินวัย ส่วนอีกหนึ่งมี นามว่าเด็กหญิงสุธิดา ยอดบุตร์ หรือน้องแจมนักเรียนชั้น ป.5 สาวน้อยตัวเล็ก กล้า หาญ กล้าแสดงออก น้องแจมและเดือนฉายออกตัวว่า ผลงานนี้เป็นของสมาชิกทุกคนในชมรม นักประดิษฐ์ จิตอาสา พวกเธอเป็นเพียงผู้อยู่เบื้องหน้านำ�เสนอผลงาน ส่วนเบื้อง หลังยังมีเพื่อนๆ พี่ๆ และคณะครูอีกกลุ่มใหญ่ที่ช่วยกันทำ�และช่วยกันลุ้น

215


216


คนที่เป็นทั้งครูและโค้ชของชีวิตให้ยุวชนนักประดิษฐ์กลุ่มนี้คือ อ.กัลยา จุล เดชะ ครูแนะแนว ผู้มีความเชื่อมั่นเสมอมาว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพ และครูมีหน้าที่ หาวิธีส่งเสริมให้เด็กแสดงศักยภาพของตนเองออกมา “ตอนเด็กๆ พี่ก็เรียนโรงเรียนนี้ เลยมีความต้องการที่จะทำ�อะไรให้กับ โรงเรียนนี้บ้าง แล้วแฟนพี่ อ.ประพจน์ จุลเดชะ (ครูหมู) เขาเป็นครูช่างอยู่ที่วิทยาลัย เทคนิคดอนเมือง เขาจะมีเด็กโรงเรียนของเขามาคลุกคลี ทำ�งานงานประดิษฐ์ส่ง ประกวดตลอด เราก็ไปดูเวลาประกวด ครูหมูก็บอกว่าเด็กประถมอย่างโรงเรียนเธอ ก็ทำ�ได้” อาจารย์กัลยาเล่าด้วยนํ าเสียงร่าเริง เมื่อถูกกระตุ้นและสนับสนุนโดยคู่ชีวิต อาจารย์กัลยาก็นำ�ความคิดดังกล่าว มาหารือกับผู้บริหารโรงเรียนซึ่งเห็นด้วยกับความคิดนี้ แต่โรงเรียนก็มีเงื่อนไขจำ�กัด ตรงที่ไม่สามารถบรรจุเป็นวิชาสอนโดยตรงได้

217


เด็กๆ น่ะ มีความเป็นนักประดิษฐ์ อยู่ในตัวทุกคนอยู่แล้ว เพราะเขาชอบเล่น ชอบลอง และมีความซนอันเป็นธรรมชาติ ของเขา เราก็อย่าไปสกัดกั้น แปรเปลี่ยนให้มันเป็นศักยภาพ ที่สร้างสรรค์

218


จึงหาทางออกโดยการก่อตั้งชมรมนักประดิษฐ์จิตอาสาขึ้นในปี 2552 และ มีครูหมูซึ่งเกษียณอายุราชการอาสามาเป็นวิทยากร นำ�เรื่องสนุกๆ มาให้เด็กๆ เรียน รู้สัปดาห์ละ 1 วัน “เด็กๆ น่ะมีความเป็นนักประดิษฐ์อยู่ในตัวทุกคนอยู่แล้ว เพราะเขาชอบ เล่น ชอบลอง และมีความซนอันเป็นธรรมชาติของเขา เราก็อย่าไปสกัดกั้น แปร เปลี่ยนให้มันเป็นศักยภาพที่สร้างสรรค์ เราก็ให้เขาประดิษฐ์อะไรก็ได้จากวัสดุใกล้ตัว เขา ฝึกให้เขามีใจรักก่อน ให้เขานำ�เสนอผลงาน คิดอะไร ทำ�ไมถึงทำ� วัสดุเป็นอะไร ทำ�อย่างไร มีประโยชน์อะไรบ้าง คอยตั้งคำ�ถาม คอยกระตุ้นให้เขาคิด เด็กก็จะได้ ทั้งเรื่องความคิดสร้างสรรค์ และกล้าแสดงออก จากนั้นก็หากิจกรรมที่เขาสามารถ ทำ�ได้มาให้ลอง เช่น ฝึกทำ�ผ้าบาติก เด็กก็ถามว่าทำ�ผ้าบาติกแล้วจะเกิดสิ่งประดิษฐ์ ได้ยังไง เราก็ถามเขากลับว่า ทำ�ผ้าบาติกยากตรงขั้นตอนไหน เขาก็บอกว่า ลงเทียน เวลาใช้จันติ้งตักเทียนจากหม้อต้ม มือก็ชนกัน หกเลอะเทอะ เราก็บอกว่าตรงไหน ยากก็ประดิษฐ์เครื่องมือมาช่วย” ครูหมู โค้ชและครู ผู้ใหญ่ใจดีของเด็กๆ เล่าให้ฟังด้วยนํ าเสียงเปี่ยมเมตตา

219


220


3

เด็กๆ น่ะ มีความเป็นนักประดิษฐ์อยู่ในตัวทุกคนอยู่แล้ว เพราะเขาชอบเล่น ชอบลอง และความซนอันเป็นธรรมชาติของเขา เราก็อย่าไปสกัดกั้น แปรเปลี่ยนให้ มันเป็นศักยภาพที่สร้างสรรค์ หากทว่าจุดเด่นของที่นี่ไม่ได้มีเพียงการมีสิ่งประดิษฐ์หลากหลายแค่นั้น หากมีกระบวนการที่น่าสนใจ ยิ่งยวดที่วิธีการ ในการกระตุ้นให้เด็กๆ รู้จักสรุปความ คิด สังเคราะห์ความคิด และมีความกล้าหาญ กล้าแสดงออก โดยให้เด็กๆ มีการนำ� เสนอผลงานที่ตนเองประดิษฐ์ต่อหน้าเพื่อนๆ

221


คนที่ออกไปนำ�เสนอจะต้องอธิบายให้เห็นถึงกลไกการทำ�งาน ประโยชน์ ข้อดี ข้อด้อย รวมทั้งประสบการณ์ ความรู้สึกที่ได้จากการทำ�งานแต่ชิ้น แม้เป็นเพียงวิธีการธรรมดาๆ ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือที่ซับซ้อน แต่นี่เป็นก ระบวนการสำ�คัญอย่างยิ่งยวดที่ช่วยฝึกให้เด็กๆ สามารถสังเคราะห์ความคิดได้ อธิบายสิ่งที่ตนเองรู้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังช่วยฝึกบุคลิกภาพให้กล้าแสดงออก และมีความเชื่อมั่นในตนเองอีกด้วย “ครูจะไม่ทิ้งผลงานของเขาเลยนะ เก็บทุกชิ้น ให้เขาเห็นว่าผลงานของ เขามีค่า” ครูกัลยาอวดผลงานประดิษฐ์สารพัดอย่างของนักเรียน “เราเห็นพัฒนาการของเด็ก เช่นเด็กบางคนไม่ค่อยพูด แต่พอได้นำ�เสนอ ก็พูดเก่งขึ้น เด็กบางคนมองไม่ออกเลยว่ามีทักษะเชิงช่าง พอเห็นเขาทำ�งานสัก ระยะหนึ่งก็เห็นว่ามีทักษะเรื่องการใช้เครื่องมือ” ครูหมูเล่าเสริม

นักเรียนบางกลุ่มที่พลังเหลือเฟือ ก็สามารถคิดประดิษฐ์ผลงานชิ้นใหญ่ ที่

222


สามารถประกวดแข่งขันสิ่งประดิษฐ์ได้ เช่น จักรยานเครื่องซักผ้า ตู้อบพลังงานแสง อาทิตย์ โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ อุปกรณ์เก็บลูกปิงปอง จันติ้งไฟฟ้า และอุปกรณ์ ช่วยเจาะแนวตั้ง ชิ้นงานแต่ละชิ้นเกิดจากความคิดอยากทำ�ของเด็ก โดยมีครูหมูเป็น ผู้ช่วยสานฝัน และเป็นโค้ชประคับประคองให้เป็นจริง ส่วนผลงานชิ้นเอกอุที่ได้รับรางวัล คืออุปกรณ์ช่วยเจาะแนวตั้งนั้น หาได้มี กระบวนการวางแผนที่มาที่ไปซับซ้อนแต่อย่างใดไม่

ตรงข้าม มันมีที่มาจากความบังเอิญแท้ๆ

หากทว่าจุดเด่นของที่นี่ไม่ได้มีเพียบการมีสิ่งประดิษฐ์หลากหลายแค่นั้น แต่มีกระบวนการที่น่าสนใจยิ่งยวดที่วิธีการ ในการกระตุ้นให้เด็กๆ รู้จักสรุปความ คิด สังเคราะห์ความคิด และมีความกล้าหาญ กล้าแสดงออก โดยให้เด็กๆ มีการนำ� เสนอผลงานที่ตนเองประดิษฐ์ต่อหน้าเพื่อนๆ

223


224


สิ่งที่โรงเรียนเล็กๆ กลางดงมะพร้าว แห่งนี้กำ�ลังทำ� จึงถือเป็นนวัตกรรม และวิธีการเรียนการสอนที่ทันสมัย กว่าโรงเรียนหรูหราติดแอร์เย็นฉํ่า เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์การเรียน การสอนที่ทันสมัย แต่นักเรียนกลับ มีความทรงจำ�และอธิบายการเรียน การสอนแบบท่องจำ�ซะด้วยซา 225


4

มากกว่าอื่นใด ในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียนไม่ได้เป็นเรื่องเฉพาะ ตัวของภาควิชาวิทยาศาสตร์ หรือชมรมนักประดิษฐ์จิตอาสาเท่านั้น ทว่าคุณครูทั้ง โรงเรียนต่างก็ยินดีและเต็มใจช่วยเหลือนักประดิษฐ์ตัวน้อยอย่างเต็มที่ อาทิ กลุ่มสาระภาษาไทยช่วยตรวจสอบขัดเกลารายงาน ฝ่ายภาษาต่าง ประเทศช่วยฝึกปรือภาษา และแปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ ฝ่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยออกแบบจัดทำ�เอกสารและบอร์ดนำ�เสนอผลงาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ติว เข้มการตอบคำ�ถาม

226


ถ้าเปรียบเป็นบุญละก็เรียกว่าการทำ�สิ่งประดิษฐ์ของนักเรียนเป็นงานบุญที่ทุก คนยินดีมาร่วมลงแขกกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งเลยทีเดียว “คุณครูทุกกลุ่มสาระมาช่วยตั้งคำ�ถาม นั่งกันเป็นวงเลยครับ ส่วนผมก็ถามให้ เขาคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ว่าผลงานของเขาใช้หลักการวิทยาศาสตร์ตรงไหนบ้าง ให้เขา คิดไปหาตอบมาในสิ่งที่เขาทำ�นั่นแหละ คำ�ถามของเรามีหลากหลายมากครับ” คุณครูปรีชา ขำ�วงศ์ คุณครูวิทยาศาสตร์เล่า ส่วนเดือนฉายและน้องแจมก็ทุ่มเทฝึกซ้อมนำ�เสนอผลงาน ฝึกพูดโต้ตอบ ภาษาอังกฤษ แม้จะเป็นเด็กๆ แต่พวกเขาก็มีความรับผิดชอบเกินวัย ไม่ได้คิดว่านี่งาน ตัวเอง แต่กลับคิดว่ากำ�ลังแบกเอาความหวังความฝันของทุกคนในโรงเรียนไว้กับตัวเอง ดังนั้นเธอทั้งคู่คือตัวแทนที่จะนำ�พาสิ่งที่ทุกคนหวังไปให้ถึงฝั่งฝันให้ได้ “เดือนฉายเขาพูดเก่ง จำ�ง่ายอยู่แล้ว เราไม่ห่วงเลย แต่แจมเขาเป็นเด็กเงียบๆ ไม่ค่อยพูด เขาต้องใช้ความพยายามมากกว่าเดือนฉายหลายเท่า แต่เขาอยากเก่ง เขาก็ ทุ่มเท ปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือเขาขาดโรงเรียนบ่อยเพราะทางบ้านไม่พร้อม เราก็บอก เขาว่า หนูต้องมาโรงเรียนนะ หนูจะได้ฝึกซ้อมให้เก่งๆ โครงการนี้ก็เลยเป็นตัวกระตุ้น

227


ให้เขาอยากมาโรงเรียนด้วย และการที่เขาได้ไปแสดงความสามารถ ได้นั่งเครื่องบินไป ต่างประเทศ มันเปลี่ยนชีวิตเด็กที่อาจจะมีโอกาสน้อยคนหนึ่งได้มากค่ะ” ครูกัลยาเล่า เด็กๆ วัดสังวรฯ หลายคนเล่าให้ฟังว่า เขารักโรงเรียนแห่งนี้มาก เพราะมา โรงเรียนแล้วเขารู้สึกสบายตัว สบายใจ ในการอยู่ในโรงเรียนมากกว่าอยู่ในบ้านด้วย ซํ าเพราะคุณครูที่นี่ทำ�ให้พวกเขารู้สึกได้ว่า ไม่ว่าฐานะที่บ้านจะเป็นอย่างไร จะเรียนดี เรียนด้อยเพียงไหน พวกเขาจะเป็นคนสำ�คัญของคุณครูเสมอ ยิ่งเป็นนักเรียนในโครงการประดิษฐ์ฯ ด้วยแล้ว เรียกได้ว่ามีกำ�ลังใจกอง พะเนินที่พวกเขานึกถึงทีไรก็ซาบซึ้งใจทุกครั้ง พวกเขาเล่าว่าในวันแข่งแต่ละรอบ ดร.ขัตติยา ด้วงสำ�ราญ ผู้อำ�นวยการ โรงเรียน จะปิดโรงเรียนเพื่อนำ�เพื่อนนักเรียนและคุณครูทุกคนไปร่วมเชียร์ “เราต้องสร้างวัฒนธรรมชื่นชมให้กำ�ลังใจกันค่ะ เวลาคุณครูของเราได้รางวัล เราก็ไปให้กำ�ลังใจกันทั้งโรงเรียน แล้วเวลานำ�เด็กเขาไปดูเพื่อนแข่งขันแบบนี้ มันก็

228


เป็นตัวอย่างให้เขาอยากพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นเหมือนพี่ๆ ชดเชยก็ได้” ดร.ขัตตติยาเล่าอย่างภาคภูมิใจ

หลังจากนั้นเราค่อยมาเรียน

นอกจากนี้โรงเรียนยังได้รับกำ�ลังใจ และถูกให้ความสำ�คัญจากหัวหน้าสำ�นักงาน เขตพื้นที่และจากชุมชนเสมอ ทั้งการไปร่วมเชียร์นักเรียน ให้โอกาสนำ�ผลงานไปจัดแสดง ร่วมกับหน่วยงาน การมอบรางวัลให้กับนักเรียน และให้งบประมาณในการนำ�เด็กๆ ไป แข่งขัน หลังจากผ่านเวทีการประกวดในรอบต่างๆ เด็กจะได้รับคำ�แนะนำ�ที่มีประโยชน์ จากคณะกรรมการแข่งขัน พวกเขานำ�มาปรึกษาครูหมู เพื่อปรับปรุงผลงานของตนเอง เสมอ เช่นเพิ่มสเกลวัดบนชิ้นงาน เพิ่มอุปกรณ์ช่วยกดสว่านแทนการใช้มือกด ซึ่งเด็กๆ ดัดแปลงจากลูกกลิ้งลอกลายของเพื่อนที่มีแม่รับจ้างเย็บผ้า แล้วผลงานอุปกรณ์ช่วยเจาะแนวตั้งของพวกเขาก็ได้เป็นตัวแทนระดับชาติไป ประกวดระดับนานาชาติ และได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองมาฝากทุกคน

229


“หนูภูมิใจมากค่ะถึงเราจะเป็นโรงเรียนเล็กๆ ก็สามารถทำ�ผลงานที่ยิ่งใหญ่ได้” เดือนฉายยิ้มอย่างภาคภูมิใจ

“มีอยู่ครั้งหนึ่ง กรรมการเขาเห็นน้องอธิบายอยู่คนเดียว เขาก็เลยบอกให้น้อง หยุดพูดบ้าง แล้วชี้มาที่หนูบอกว่าเอ้าเธอพูดซิ หนูก็ตื่นเต้นมากค่ะ พอหนูพูดอธิบายได้ หนูก็ภูมิใจมากค่ะ” น้องแจมยิ้มแก้มปริ “ดิฉันอยากให้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมเด็กที่มีความสามารถเหล่านี้ ไม่ใช่แข่ง เสร็จรับรางวัลแล้วจบกันไป อย่างในชมรมนักประดิษฐ์ เด็กเขาเก่งด้านวิทยาศาสตร์ มาก แต่เขายากจน เขาไม่มีโอกาสได้เรียน อยากให้รัฐบาลส่งเสริมคนที่เก่งด้านอื่นๆ ที่ ไม่จำ�เป็นต้องเก่งวิชาการ เรียนได้เกรดสูงๆ อย่างเดียว แต่คนที่มีทักษะทางด้านอื่นก็ ควรดูแลเขาบ้าง สนับสนุนส่งเสริมให้เป็นรูปธรรม เช่นการให้ทุนการศึกษาให้เขาได้ เรียนจนจบปริญญาตรี” ดร.ขัตติยาพูดถึงลูกศิษย์อย่างห่วงใย

230


5

ช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา โรงเรียนวัดสังวรฯ มีเรื่องตื่นเต้นเริ่มต้นขึ้นอีกแล้ว

“ผอ.คะ ร่มหนูหายอีกแล้วค่ะ เป็นเพราะ ผอ. นั่นแหละไม่ยอมให้พวกหนู เอาร่มขึ้นไปบนห้องเรียน พอตากข้างล่างลมก็พัดปลิว บางคันเจ้าหมาก็คาบไปเล่น พังหมดเลย” ลูกศิษย์ตัวน้อยโอดครวญกับ ผอ.ขัตติยา ในวันฝนตกวันหนึ่ง “อ้าวก็ร่มพวกหนูมันเปียกนี่ค่ะ ถ้าเอาขึ้นไป ห้องเรียนก็เปียกเลอะเทอะ หมด ดีไม่ดีลื่นหกล้มเกิดอันตรายได้” ผอ.ชี้แจง

231


“แล้วหนูคิดว่าเราจะแก้ปัญหาอย่างไรดีคะ” ผอ.สบตากับลูกศิษย์

“ทำ�ยังไงดี....เดี๋ยวหนูจะไปปรึกษากับเพื่อนชมรมนักประดิษฐ์จิตอาสาดูค่ะ” เด็กๆ วิ่งจี๋ออกไป

วันรุ่งขึ้น...

“ผอ.ขา” เสียงใสๆ ดังขึ้นอีกแล้ว

“หนูปรึกษากันแล้ว พวกเราจะประดิษฐ์เครื่องสะบัดร่มให้แห้งค่ะ เดี๋ยวผอ.รอ ดูนะคะ” เด็กๆ ยิ้มนัยน์ตาเป็นประกาย ผอ.ยิ้มอย่างเชื่อมั่น และรอคอยผลงานของศิษย์รักของตนเอง

232


“ดิฉันอยากจะบอกว่าครูหรือผู้ใหญ่ทุกคนอย่าคิดให้เด็กเอง เพราะถ้าเราบอก เขา เราห้ามเขา เขาจะไม่คิด ไม่ค้นหา เขาจะรอคำ�ตอบอย่างเดียว ขอให้ผู้ใหญ่ อดทน ถามคำ�ถามให้เขาคิด รับฟังสิ่งที่เขาพูดอย่างตั้งอกตั้งใจ คอยกระตุ้นให้เขาคิดต่อ หยุด รอเขา อย่าใจร้อน แล้วเราจะเห็นผลลัพธ์ว่าเด็กเขาจะฉลาดแหลมคมขึ้นค่ะ” ดร.ขัตติยา ด้วงสำ�ราญ กล่าว นี่คือผลงานจากความรัก ความใส่ใจที่ผู้ใหญ่และครูมีให้กับเด็กๆ แม้เด็กจะมี พื้นฐานธรรมดา มาจากครอบครัวที่ไม่มีความพร้อมใดๆ มีก็เพียงความฝันและความมุ่ง มั่น

เด็กมีความฝัน ครูก็มีความหวัง แม้เพียงหวังเล็กๆ จากชีวิตน้อยๆ จากโรงเรียนกระจ้อยร่อย

แต่เมื่อพลังแห่งฝันและหวังมาบรรจบกัน พลานุภาพที่เกิดขึ้นจะสร้างสรรค์ผล งานและเปลี่ยนชีวิตให้คนคนหนึ่งได้รับรู้ว่าตัวเองมีคุณค่าและมีความหมายต่อชีวิตอื่นๆ มากเพียงได

233


จากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง สู่อีกคนหนึ่ง สู่อีกคนหนึ่ง ความฝันและความหวัง เหมือนกระเพื่อมและริ้วคลื่นในนํ า แผ่ขยายต่อไป เรื่อยๆ ไม่รู้จบ

234



สิ่งประดิษฐ์ อุปกรณ์ช่องเจาะแนวตั้ง (Vertical Drilling Equipment) ที่จัดทำ�ขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์อำ�นวยความสะดวกในการใช้งาน และความปลอดภัย ของผู้ที่ปฏิบัติงาน ลักษณะการทำ�งานมีเสาสองเสาที่สามารถปรับระดับขึ้นลงได้ มีระบบราง เลื่อนปรับตัวสว่านให้เคลื่อนที่ในแนวแกน X Y Z ตามตำ�แหน่งต้องการ


การเจาะของสว่านมีสปริงเป็นตัวดึงสว่านขึ้นลงขณะทำ�การเจาะ มีคาน รองรับด้วยเสาเป็นตัวรับอุปกรณ์ทั้งหมดผลจากการสร้างอุปกรณ์ช่วยเจาะแนวตั้ง ที่สร้างขึ้นสามารถช่วยเจาะอย่างแม่นยำ� เจาะได้ในพื้นที่กว้าง และไม่ต้องใช้กำ�ลัง ในการประคองตัวสว่าน ทำ�ให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับความปลอดภัย



1

มองให้ง่าย แล้วจะเห็น ปั้นให้เป็นแล้วจะเจอ ถ้ามีเด็กจอมซนอยู่ใกล้ๆ เราจะมีวิธีจัดการอย่างไรดี ก. ดุ และบอกให้เขานั่งนิ่งๆ เรียบร้อยตามที่ผู้ใหญ่อยากให้เป็น ข. แสดงท่าทีรังเกียจ เพื่อให้เขารู้ว่าเขากำ�ลังสร้างความรำ�คาญให้กับคนอื่น ค. ซักถามและร่วมเล่นสนุกไปกับพวกเขาเพื่อล้วงลึกไปในจินตนาการของพวกเขา ว่ากำ�ลังคิดอะไรอยู่ ง. ปล่อยให้เขาซนให้เต็มที่ ไม่ต้องไปใส่ใจ เพียงแต่ทำ�ความเข้าใจว่านั่นคือธรรมชาติของเด็ก

239


สิ่งประดิษฐ์ : งับล็อค (Ngub Lock) โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ 240


เมื่อลองโยนคำ�ถามนี้ไปกับผู้ปกครองที่อยู่ในสังคมตะวันออก เช่น ชาวเอเชีย หรือสังคมไทย ส่วนใหญ่มักจะเลือกข้อ ก. และ ข. ส่วนสังคมตะวันตก หรือสังคมที่มี นักประดิษฐ์เยอะๆ พบว่าผู้ปกครองมักเลือกข้อ ค. และ ง . เอ...งั้ น ก็ น่ า จะพอเป็ น สมมติ ฐ านได้ น ะว่ า ความซนมี ผ ลกั บ การสร้ า งนั ก ประดิษฐ์หรือนักวิทยาศาสตร์ ทั้งยังมีคำ�กล่าวอยู่เนืองๆ ว่า “เด็กซนคือเด็กฉลาด” ที่ช่วยสำ�ทับว่าสมมติฐาน ดังกล่าวไม่น่าจะผิดจากความจริง ยิ่งเมื่อลองอ่านค้นข้อมูลต้นกำ�เนิดของสิ่งประดิษฐ์และอุปกรณ์ต่างๆ ในโลก ใบนี้ ล้วนเกิดมาจากความช่างคิด ความซน ของคนที่ไม่ยอมปล่อยให้สมองไหลเอื่อย เฉื่อยทิ้งขว้างไปวันๆ มนุษย์ต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นก็ตรงนี้แหละ เพราะสิ่งมีชีวิตอื่นๆ มีชีวิตไป ตามสัญชาตญาณ ไม่มีฝัน ไม่มีจินตนาการ และไร้ซึ่งความซน

241


ฉะนั้นเพราะ ความซน ความช่างคิด ความกล้าท้าทายข้อจำ�กัดต่างๆ นี่เอง ที่ทำ�ให้มนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์โลกไร้ปีกแต่สามารถบินได้เร็วกว่านก ไม่มีเหงือกแต่ดำ�ดิ่งลงสู่ใต้นํ าลึกในมหาสมุทรได้เป็นเวลานานๆ มนุษย์สามารถก้าวข้ามข้อจำ�กัดทางสรีระเหล่านี้ได้ มิใช่ด้วยเวทย์มนตร์ หรือพลังพิเศษอื่นใด มีอยู่

แต่เป็นพลังของจินตนาการและความกล้าหาญ ที่จะท้าทายข้อจำ�กัดที่ตนเอง

และบ่อยครั้งที่ความช่างคิด ความซน ในเรื่องเล็กๆ กลายเป็นจุดเริ่มต้นสำ�คัญ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรรมใหม่ๆ ที่ทำ�ให้มนุษย์ใช้ชีวิตได้ง่ายและสะดวกสบายมาก ขึ้น ดังเช่นในปี 2479 มาร์วิน สโตน คุณพ่อผู้น่ารักได้ประดิษฐ์หลอดดูดที่งอ ได้เพื่อให้ลูกสาวตัวน้อยของเขาดูดนํ าได้สะดวกขึ้น หลอดงอได้ยังช่วยให้ผู้ป่วยที่ไม่ สามารถลุกขึ้นจากเตียง สามารถดื่มนํ าได้โดยไม่ต้องลุกขึ้นนั่ง

242


เพราะความอยากสนุกทำ�ให้ เจมส์ พลิมป์ตัน ผลิตรองเท้าสเก็ตติดล้อสี่ล้อ ทำ�ให้เขาสามารถรู้สึกเหมือนได้เล่นสกีตลอดเวลา โดยไม่ต้องรอหน้าหนาว.... เหล่านี้คือตัวอย่างของสิ่งประดิษฐ์ที่มองการแก้ปัญหาด้วยวิธีง่ายๆ ซึ่งหลาย คนอาจคาดไม่ถึง เอาล่ะๆ อย่าไปมองอื่นมองไกลคนละฟากโลกเลย เพราะความคิดของคน ซนๆ และอยากแก้ปัญหาจากเรื่องราวง่ายๆ ใกล้ๆ ตัวในชีวิตประจำ�วันเช่นนี้ ได้ บังเกิดขึ้นในประเทศไทย ของเราเช่นกัน ความซน และคนช่างคิดวัยเยาว์ที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์บางอย่างขึ้นตั้งแต่ครั้ง ยังเรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่สองเท่านั้น

อ๊ะๆๆๆ ชักสนล่ะสิ ว่าจอมซนกลุ่มนี้คิดอะไร งั้นอย่ารีรอ ล่องใต้ตามหน้ากระดาษมาเลย

243


2

...เปิดเทอมใหม่ต้นพะยอมผลิดอกบานต้อนรับนักเรียนโรงเรียนหาดใหญ่ รัฐประชาสรรค์ หรือ ญ.ร.ส. โรงเรียนที่ตั้งอยู่ชานเมือง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา กลับสู่ รั้วโรงเรียนเหมือนปกติ นักเรียนส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ในช่วงวัยรุ่น ก็มักจะให้ความสำ�คัญกับการเล่าเรียน หนังสือในหลักสูตร หรือไม่ก็ให้นํ าหนักไปกับการเล่นหัว หยอกล้อ พูดคุย กับเพื่อนๆ ประสาวัยที่จัดให้เพื่อนเป็นความสำ�คัญอันดับหนึ่งของชีวิต

244


ทว่าสำ�หรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สองกลุ่มหนึ่งแล้ว พวกเขากลับต้อง ครุ่นคิดและให้ความสำ�คัญกับโจทย์ที่ท้าทาย จากการคิดโครงงานวิทยาศาสตร์ส่ง คุณครู “ทุกคนลองคิดดูนะ มีอะไรรอบตัวที่พวกเธออยากปรับปรุงให้ดีขึ้น อาจ เป็นสิ่งที่ช่วยคนด้อยโอกาส หรือเปลี่ยนวัสดุ ลดค่าใช้จ่าย หรือคิดวิธีทุ่นแรง ทุ่น เวลา ลองไปใช้เวลาคิดดูนะ ” อาจารย์วรัทยา สุวัฒนะ หรือครูดวง กระตุ้นให้เด็กๆ คิดสิ่งประดิษฐ์ โดย เน้นจากจากเรื่องราวใกล้ๆ ตัว เพราะคิดว่าหากตั้งโจทย์ที่ยากและไกลตัว ไกลจาก ชีวิตประจำ�วันเกินไปจะเป็นยาขมสำ�หรับเด็กๆ นอกจากจะช่วยแนะวิธีคิดเบื้องต้น แล้ว อาจารย์ยังค้นข้อมูลสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่มีที่มาจากเรื่องง่ายๆ ใกล้ๆ ตัว ให้เด็กๆ ดูเป็นตัวอย่าง และเกิดแรงบันดาลใจในการคิดค้น “บางคนเขาก็คิดได้เร็ว บางคนก็คิดได้ช้า เราคอยทำ�หน้าที่กระตุ้น จุด ประกายให้เขาอยากรู้ อยากลอง อยากทำ� ที่โรงเรียนก็มีเครื่องมือพร้อมให้เขาค้นหา อยู่แล้ว”

245


คุณครูดวงบอกเคล็ดลับนักปั้นมือทองไม่น้อยหน้าพี่เอ ศุภชัย ของตนเอง

โจทย์ใหม่นี้สะกิดต่อมซนของเด็กชายฟันดี้ หะเต๊ะ ให้ลุกโชนขึ้นอีกครั้ง ความซนอยู่คู่กับเขามานาน และพ่อแม่ผู้ปกครองก็มิเคยดุหรือขัด ซนไปซนมา หาได้ ซนเปล่าๆ ปลี้ๆ หากก่อให้เกิดอุปนิสัยชอบคิด ชอบทดลอง มีวีรกรรมจากความช่างซนช่างคิดมากมาย อาทิ เคยทดลองปลูกเห็ดแครง บนขอนไม้ เคยนำ�ลูกหว้าซึ่งผลไม้พื้นบ้านที่กินแล้วปากดำ�ฟันดำ�มาทำ�เป็นนํ ายาขัด รองเท้า แม้การคิดค้นเหล่านั้นไม่ได้ผลเป็นรูปธรรม แต่เด็กชายตัวไม่เล็กคนนี้ก็มีใจ ที่ใหญ่พอที่จะไม่ท้อถอย

“ท้อได้แต่อย่าถอย”

คำ�ขวัญท้ายรถประจำ�ทาง อาจผ่านตาคนหลายคน แต่สำ�หรับฟันดี้เขาไม่ ปล่อยให้ผ่านตาเฉยๆ หากยึดถือเป็นคาถาไว้สร้างความเพียรให้ตนเอง เด็กชายจึงไม่เคยหยุดคิดทดลองโน่นนี่นั่น ทั้งยังตั้งมั่นกับตัวเองว่าสักวันรั้วโรงเรียน แห่งนี้จะต้องขึ้นป้ายประกาศเกียรติคุณผลงานที่เขาคิดค้นขึ้นมา

246


ท้อได้ แต่ อย่าถอย

247


“สักวันเถอะ สักวัน...” เดินผ่านรั้วโรงเรียนทีไร ฟันดี้เกิดฮึกเหิมขึ้นมาทีนั้น

คู่หูอีกคนหนึ่งของฟันดี้คือเด็กหญิงกฤติพร เชื้อบุญ หรือ ปิงปอง ซึ่งเป็นเด็ก เรียนเก่งและชอบวิชาวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่เด็ก ปิงปองชอบดูสารคดี อ่านการ์ตูน โดเรมอน ชอบค้นคว้าข้อมูล เรียกง่ายๆ ประสาศัพท์ของวัยจ๊าบได้ว่า “เด็กเนิร์ด” เมื่อได้รับโจทย์จากอาจารย์สองสหายร่วมกันคิดโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยกัน “จะทำ�อะไรดีน้า” ทั้งสองคิดวนเวียนเรื่องนี้ตลอดเวลา และมองหาจาก เรื่องใกล้ๆ ตัวดังที่อาจารย์ดวงแนะนำ� แต่ละวันผ่านไปๆ ทั้งสองก็ยังคงนึกไม่ออกว่าจะทำ�อะไรดี ทำ�ได้เพียงบ่น กันเองว่า “เซ็งจุงเบย” และเช่นกัน วันนี้ก็กำ�ลังจะผ่านไปอีกเช้า โดยที่พวกเขายัง ไม่มีอะไรคืบหน้า พวกเขามาโรงเรียนตามปกติ ทุกเช้าที่โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ จะคลาคลํ่าไปด้วยมอเตอร์ไซค์ ที่นักเรียนใช้เดินทางมาโรงเรียน ไม่ต่างจากโรงเรียนมัธยมในต่างจังหวัดทั่วๆ ไป

248


มอเตอร์ไซค์หลายยี่ห้อ หลายรุ่น จึงจอดเรียงรายอยู่ภายในรั้วโรงเรียน ปิงปองก็เป็น คนหนึ่งที่ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์พ่อมาโรงเรียนตั้งแต่ครั้งยังเรียนอนุบาลจนถึงทุกวันนี้ โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์มีพื้นที่กว้างขวาง ร่มรื่น ช่วงเวลาว่างเว้น จากคาบเรียน เด็กๆ มักพากันนั่งเล่นกัน เม้าท์มอยกันที่ลานใต้ต้นพะยอม อันเป็นต้น ไม้สัญลักษณ์ของโรงเรียน และระหว่ า งที่ ส องสหายกำ � ลั ง นั่ ง ปรั บ ทุ ก ข์ อ ยู่ ใ ต้ ต้ น พยอมเพราะคิ ด สิ่ ง ประดิษฐ์ไปเสนออาจารย์ดวงไม่ออกนั้น วันนี้ฟันดี้และปิงปองได้ยินข่าวร้ายของเพื่อน ในห้องอีกครั้ง “มอเตอร์ไซค์ของเราหาย เราจอดซื้อของที่เซเว่นในตลาดแป๊บเดียวเอง ทั้งๆ ที่จอดตอนเย็นไม่ใช่คํ่า คนก็เยอะแยะ ที่ก็ไม่ได้เปลี่ยวเลย” นัทเล่าด้วยเสียงเศร้าสร้อย

“แล้วนัทไม่ได้ล็อครถเหรอ” เพื่อนอีกคนถาม “ตอนนั้นรถจอดกันแน่น มันล็อคล้อยาก เราก็เลยล็อคคออย่างเดียว ไม่ได้

249


เริ่มต้น เรื่องง่ายๆ ใกล้ๆ ตัว

250


ล็อคล้อ เราประมาทด้วย ไม่คิดว่ามันจะหายได้ เสียดายจังเลย คงไม่ได้คืนแน่ๆ” นัทพูดไปนํ าตาเริ่มคลอเบ้า “อีกแล้วเหรอ..นี่เดือนนี้เราได้ยินข่าวร้ายแบบนี้มาเป็นรายที่เท่าไรแล้วนะ” ฟันดี้คิด เขาว่าปัญหารถมอเตอร์ไซค์หายกำ�ลังเป็นปัญหาใหญ่ในชุมชนของเขา จะให้ไปไล่จับโจรรึ โธ่ เขาไม่ใช่เจมส์บอนด์และเกินกำ�ลังเด็กน้อยๆ อย่างเขา นึกไม่ ออกว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไร นอกจากว่าแต่ละคนคงต้องหาวิธีป้องกันตัวเองอย่าง รัดกุม วันหนึ่งฟันดี้เห็นเป๊าะชาย (เป็นคำ�เรียก ตาหรือปู่ ในภาษามุสลิม) ก้มๆ เงยๆ ล็อคมอเตอร์ไซค์ก็ถามด้วยความสงสัย นี่เป็นนิสัยอย่างหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์เขา ล่ะ “รถก็เก่าแล้ว จะล็อคทำ�ไมล่ะเป๊าะชาย” “ไม่ล็อคได้ไงล่ะ.เมื่อเช้ารถข้างบ้านเก่ากว่าของเป๊าะอีก จอดที่ตลาดไม่ล็อค แป๊บเดียวหายไปเลย แต่ก้มล็อคแบบนี้ มันปวดเข่าจริงๆ” เป๊าะชายบ่นอย่างระอา

251


แรงบันดาลใจ จากความรัก

252


“...ปิ๊ง....” เหมือนบังเกิดแสงไฟสว่างวาบในหัวที่มืดมนมานานของฟันดี้ ถ้า มีอุปกรณ์ล็อคมอเตอร์ไซค์แบบไม่ต้องก้มก็คงจะดี และจะแก้ปัญหาให้ทุกคนที่เขารัก ได้ “ความรักเป็นบ่อเกิดของสิ่งประดิษฐ์ทั้งมวล” คือคำ�กล่าวของ ดร.โยชิโร นากามัตสึ นักวิทยาศาสตร์แดนปลาดิบผู้ให้กำ�เนิด ฟลอปปี้ ดิสก์ และสิ่งประดิษฐ์กว่า 3,200 รายการ คุณครูดวงเคยนำ�ตัวอย่างที่มาของสิ่งประดิษฐ์ชิ้นหนึ่งจากโยชิโรมาเล่าให้ พวกเขาฟังว่า ครั้งหนึ่งโยชิโร่เห็นแม่ค่อยๆ รินซีอิ๊วขาวจากขวดใหญ่ลงในขวดเล็ก ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นจนมือสั่น ทำ�ให้ต้องรินอย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้หกเลอะเทอะ เขาจึงประดิษฐ์ที่สูบซีอิ๊วเพื่อช่วยให้แม่มีชีวิตที่ง่ายขึ้น อือ สิ่งประดิษฐ์มักจะเริ่มต้นจากปัญหาใกล้ๆ ตัวและความรัก อย่างที่ครูดวง ว่าจริงๆ แฮะ จากนั้น โยชิโรก็เข้ามาในดวงใจ และกลายเป็นฮีโร่คนใหม่ของปิงปอง และฟันดี้ไปโดยปริยาย

253


ฟันดี้รีบเล่าความคิดนี้ให้กับปิงปองทันที ปิงปองได้ฟังแล้วก็ตื่นเต้นไม่แพ้กัน เธอเห็นด้วยกับการคิดค้นสิ่งนี้สุดฤทธิ์ และบอกฟันดี้ว่า

“เราจะช่วยเธอคิดค้นอย่างสุดลิ่มทิ่มประตูเลย”

นั่นอาจเป็นเพราะครอบครัวของเธอก็เป็นหนึ่งที่มีรถมอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะ ประจำ�ครอบครัวเช่นกัน

“ปัญหาใกล้ๆ ตัว” “ความรัก” เพียงแค่นั้นยังไม่พอ สิ่งที่นักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ต้องการคือ “ข้อมูล”

ปิงปองคนเก่งจึงไปสืบค้นข้อมูลสถิติรถหาย พบว่าระหว่างเดือนตุลาคม 2554 – กุมภาพันธ์ 2555 มีเหตุการณ์โจรกรรมรถจักรยานยนต์ทั่วประเทศถึง 1,143 คัน ส่วนมากเกิดจากการจอดรถบริเวณที่สาธารณะ เช่น ถนน ตรอก ซอย ลานจอดรถ เคหสถาน และตลาด ในช่วงเวลาตั้งแต่ 12.00 -18.00 น.ของทุกวัน ซึ่งเป็นเวลาที่คน

254


ส่วนใหญ่จอดรถแบบชั่วคราว โดยระมัดระวังเพียงพอ สองสหายคิดตรงกันส่วนหนึ่ง คืออาจเป็นเพราะกุญแจล็อคมอเตอร์ไซค์แบบ เดิมซึ่งต้องก้มลงไปล็อคที่ล้อ ไม่สะดวกในการใช้งาน

“เอ แต่ถ้าไม่ล็อคที่ล้อแล้วจะล็อคที่ไหนเล่า...”

เป็นปรัศนีย์คำ�ถามที่วนเวียนอยู่ในใจของทั้งสองต่อไป

255


3

เมื่อคิดออกแล้วว่าจะประดิษฐ์อะไร สองสหายก็ทุ่มแรง ทุ่มใจ ใช้เวลาดิ่งลึกไป กับสิ่งที่พวกเขาปรารถนาให้เกิดขึ้น พวกเขาค่อยๆ ทำ�ความเข้าใจกลไกการทำ�งานของรถมอเตอร์ไซค์อย่างละเอียด หากเป็นช่างตัดเย็บเสื้อผ้า เรียกได้ว่าแกะตะเข็บทีละส่วนๆ ก็ว่าได้ เริ่มจากค่อยๆ เรียนรู้ระบบขับเคลื่อนรถ เริ่มจากสตาร์ต บิดคันเร่ง เกียร์ ล้อ หมุน และเบรก การจะไม่ให้มอเตอร์ไซค์เคลื่อนที่ได้เท่ากับว่าพวกเขาต้องหาทางขัด

256


ขวางกระบวนการใดกระบวนการหนึ่ง และการขัดขวางกระบวนการนั้นต้องทำ�ง่าย สะดวก ไม่ต้องใช้พื้นที่เยอะ หรือก้มลง เพราะผู้สูงวัยจะไม่สะดวก วันหนึ่งฟันดี้นั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ป๊ะไปร้านขายวัสดุก่อสร้าง ทันใดนั้นสายตาก็ปะทะกับข้อต่อพีวีซีรูปตัวที ซึ่งมีหลายขนาด ฟันดี้เหมือนต้องมนต์สะกด เขาลองหยิบท่อพีวีซีไปสวมกับแฮนด์รถ พระเจ้าช่วยกล้วยทอด!!! มันสวมได้พอดี.... “เย้...คิดออกแล้ว คิดออกแล้ว!!” ฟันดี้ตะโกนโห่ร้องด้วยความดีใจจนคนในร้านหันมามองเป็นตาเดียว แหะๆ...เข้าใจกันบ้างสิว่า นักวิทยาศาสตร์มักจดจ่อกับสิ่งประดิษฐ์ของ ตนเอง จนลืมตัวเสมอ... ฟันดี้จึงซื้อข้อต่อ 3 ทาง กลับมาบ้าน แล้วให้ป๊ะมีตำ�แหน่งเป็นนายช่าง (จำ�เป็น) ประจำ�โครงการสิ่งประดิษฐ์อันน่าทึ่งนี้

257


258


เมื่อผ่าท่อพีวีซีแล้วติดบานพับ นำ�ไปประกบกับคันเร่ง เสร็จแล้วลองเห นี่ยวคันเบรกมือให้เข้ามา บากร่องให้สวมคันเบรคมือได้ จากนั้นเจาะรูแล้วคล้อง กุญแจ ต้นแบบกุญแจล็อคมอเตอไซค์ แบบล็อคคันเร่งและเบรคมืออันแรกของโลกก็ กำ�เนิดขึ้น !! “ตอนเขาให้ทำ� ไม่ได้ถามอะไร คิดว่าเป็นชิ้นงานของลูก แต่ก็คิดว่าเอ๊ะ สิ่งประดิษฐ์ของเขาง่ายดี ก็ดีใจนะที่มีคนเห็นความสำ�คัญของความคิดลูกเรา” คุณพ่อดลร่อหมาน หะเต๊ะ เล่าอย่างอารมณ์ดี เมื่อไปถึงโรงเรียน และนำ�สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวไปให้ปิงปองดู ปิงปองกรี๊ด สลบและตื่นเต้นไปกับความคิดของคู่หู ใช่เลยๆๆๆๆ งับล็อคนี่แหละสามารถตอบ โจทย์ปัญหาวิธีล็อคมอเตอร์ไซค์แบบไม่ต้องก้ม “ดีจังเลยฟันดี้ ต่อไปนี้ผู้สูงอายุ คนท้อง ผู้หญิงที่นุ่งสั้นก็สามารถล็อค มอเตอร์ไซค์ได้ง่ายขึ้น” ปิงปองพูดด้วยความดีใจ

259


“นอกจากนี้ เวลาที่เจอที่จอดรถมีพื้นที่แคบแม้จะจอดรถชิดกัน ก็สามารถ ล็อครถได้อย่างไม่มีปัญหา” ฟันดี้เสริม ล็อคที่เบรกมือและคันเร่งแบบนี้ ทำ�ได้รวดเร็ว สะดวก พกพาง่าย พวกเรา จะเรียกเจ้าสิ่งนี้ว่า... “ งับล็อค” ทั้งสองพูดพร้อมกันและหันมาหัวเราะร่ากับความบังเอิญแล้วแปะมือกัน ด้วยความยินดีและนำ� “งับล็อค” ไปส่งคุณครูดวง

260


261


4

เมื่อได้เห็นและทราบถึงที่มาที่ไปของสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ คุณครูรู้สึกทึ่งกับผล งานของลูกศิษย์ และให้กำ�ลังใจว่าจะส่งผลงานของพวกเขาประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ ทางวิทยาศาสตร์ในเวทีนานาชาติในงาน International Exhibition for Young Inventors 2013 (IEYI) และ Asian Young Inventors Exhibition 2013 (AYIE) ระหว่างวันที่ 8 – 12 พฤษภาคม 2556 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย แต่ควร ปรับปรุงรูปแบบให้แข็งแรงขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้น ให้คิดบนพื้นฐานของมืออาชีพเลยว่าถ้าสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ถูกส่งขายไปใช้ในชีวิต ประจำ�วัน ต้องมีคุณภาพตามมาตรฐานสินค้าเลยทีเดียว

262


ว้าววววววว...นี่งานของเราไปได้ไกลถึงขนาดนั้นเลยเหรอ เด็กๆ ถามกันไป มาซํ าแล้วซํ าเล่าอย่างลิงโลดใจ ก่อนที่จะกลับมาสุมหัวกันคิดอีกครั้ง และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง อ่อ จุดเด่นของทั้งคู่คือ ถึงแม้เขาจะเป็นนักคิด แต่เขาไม่ได้คิดทิ้งคิดขว้าง เก๋ๆ ไปวันๆ พวกเขามีคุณสมบัติที่สำ�คัญอีกอย่างที่นักประดิษฐ์ที่ดีพึงมีคือ “ทดลองทำ�!!” ถึงวันหยุดสองสหายชวนกันไปสำ�รวจที่ร้านวัสดุก่อสร้างอีกหน และพบว่า มีท่อเหล็กที่มีขนาดเท่ากับพีวีซี จึงทดลองเปลี่ยนวัสดุมาเป็นท่อเหล็ก แต่ปัญหาคือ พวกเขาไม่มีทักษะทางช่าง การเปลี่ยนไอเดียมาเป็นผลิตภัณฑ์ให้เป็นจริงจึงยากยิ่ง แต่โชคดีที่พวกเขามีคุณครูผู้ทุ่มเทคอยประคับประคองความฝันอยู่เคียง ข้างเสมอ

263


แม้จะเป็นงานชิ้นเล็ก แต่มันคือความฝัน และจินตนาการก้อนใหญ่ๆ ของเด็กๆ เลยนะ จะทิ้งขว้างเพราะ อุปสรรคแค่นี้ไม่ได้ 264


จึงเป็นหน้าที่ของคุณครูวรัทยาที่หอบหิ้วงับล็อคต้นแบบของเด็กๆ ไปตระเวนหา ร้านเชื่อมเหล็ก เพื่อผลิตเป็นชิ้นงาน แต่ก็ถูกปฏิเสธจากหลายร้าน เพราะถือเป็นงานชิ้น เล็ก ไม่คุ้มค่าที่จะทำ� ซึ่งคุณครูก็ไม่ย่อท้อ “ใช่ แม้จะเป็นงานชิ้นเล็ก แต่มันคือความฝันและจินตนาการก้อนใหญ่ๆของ เด็กๆ เลยนะ จะทิ้งขว้างเพราะอุปสรรคแค่นี้ไม่ได้” คุณครูที่ ณ เวลานี้ อาจกลายเป็น “หัวโจก” ในการทำ�สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ร่วมกับ เด็กๆ คิดเสียงดัง ครูดวงพาเด็กๆ ตระเวนไปหาร้านรับทำ�ทั่วหาดใหญ่ จนเจอร้านที่ยินดีทำ�ให้ “ตอนนั้นต้องไปขอร้องร้านที่พอมีนํ าใจกับเรา บอกว่าเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ ของเด็กๆ ช่วยทำ�ให้หน่อย” คุณครูดวงย้อนความหลังให้ฟัง

265


ปัญหา คือ บิดาของนักประดิษฐ์

266


“ได้ต้นแบบมาก็นำ�มาลอง บางครั้งช่างไม่ละเอียด ชิ้นงานไม่พอดี ต้อง ทิ้งไปก็หลายอัน แล้วต้องปรับแบบให้ใช้ได้กับมอเตอร์ไซค์ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ ดังนั้นการ วัดต้องเป๊ะ กว่าจะได้อย่างที่เห็นอยู่นี้ไม่ง่ายเลย” ฟันดี้และปิงปองเล่าประสบการณ์ อย่างออกรส (แทรกภาพสิ่งประดิษฐ์ที่สมบูรณ์) “หากเป็นเด็กคนอื่นๆ คงท้อใจและเลิกล้มไปกลางคัน แต่สำ�หรับสองคนนี้ แล้ว พวกเขากลับคิดว่ายิ่งมีปัญหา ยิ่งน่าลิ้มลอง ยิ่งต้องเอาชนะ อาจกล่าวได้ว่าคือ คุณสมบัติที่พิเศษของนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์สองคนนี้” ครูดวงกล่าวชมศิษย์รักอย่างภาคภูมิใจ พวกเขาไม่รู้ว่า พวกเขามีคุณสมบัติเดียวกันกับนักประดิษฐ์ผู้ผลิตล็อครถมือ อาชีพ จนได้รับการยอมรับว่าล็อครถจากบริษัทของเขามีคุณภาพ และเป็นที่นิยม อย่างแพร่หลาย และชายคนนั้นถือคติสั้นๆ ง่ายๆ ในการประดิษฐ์ว่า “ปัญหาคือบิดาของนักประดิษฐ์”

267


ดังที่ “หนุ่มเมืองจันทน์” เจ้าของหนังสือขายดี ชุด ฟาสต์ฟู้ดธุรกิจ เขียนไว้ ในหนังสือ “คำ�ถามสำ�คัญกว่าคำ�ตอบ” ในบท “กานํ าจิ้ม” ว่าเพราะสิ่งประดิษฐ์ใน โลกนี้ ล้วนเกิดจากปัญหาทั้งสิ้น แต่เวลาเราพูดถึงสิ่งประดิษฐ์ ส่วนใหญ่เราจะนึกถึง สิ่งประดิษฐ์ระดับ “เอดิสัน” เท่านั้น จึงจะคิดได้

ทั้งที่ความจริงทุกคนสามารถคิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ได้ทุกวัน

268


5

เมื่อพัฒนาจนคิดว่าได้รูปแบบที่โอเคที่สุดแล้ว พวกเขาก็ส่ง “งับล็อค” เข้า ประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในเวทีนานาชาติและจากนั้นผลงาน งับล็อคของพวกเขาก็ผ่านเข้ารอบจากระดับเขตสู่ระดับชาติ โดยมีเพื่อนๆ คอยลุ้น คุณครูคอยเชียร์ ทั้งคู่ปรับปรุงผลิตภัณฑ์เป็นสเตนเลส รวมทั้งพัฒนารูปแบบการนำ�เสนอทั้ง ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีอาจารย์จากทุกสาระวิชาในโรงเรียนสนับสนุน

269


“ก็มาช่วยเด็กๆ ช่วยเขาพัฒนาวิธีการนำ�เสนอให้น่าสนใจ ทางกลุ่มสาระ ภาษาอังกฤษ ก็มาช่วยแปล เรียกว่าช่วยกันทั้งโรงเรียนค่ะ” อ.เดือนเพ็ญ ดุษฎีอภิชน ครูที่ปรึกษาอีกคนกล่าวเสริมด้วยดวงตาแห่ง ความสุข เมื่อนึกย้อนถึงคืนวันที่เคยพาเด็กๆ ฝ่าฝัน อาจกล่าวได้ว่าสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กรเช่นนี้ของ ญ.ร.ส. เป็น กำ�ลังใจสำ�คัญที่ทำ�ให้เยาวชนนักประดิษฐ์อย่างพวกเขาไม่ท้อ และพร้อมสู้ต่อไป “เพื่อนๆ คุณครูก็ช่วยเชียร์ พ่อแม่ก็ทุ่มเทไปรับไปส่ง สิ่งนี้เป็นแรงทำ�ให้ไม่ ล้มเลิก พอมีเกียรติบัตรมาให้พ่อแม่ก็ภูมิใจ” ฟันดี้ยิ้มหน้าบาน พลางทำ�สัญญาณหลิ่วตาไปทางป้ายประกาศ ซึ่งติดรูป เขาและปิงปองเด่นหรา โดดเด่นเป็นสง่าอยู่ตรงรั้วโรงเรียน เรียกว่าใครผ่านไปมา ทางนั้นก็ต้องเห็น ไม่แพ้ป้ายหาเสียงของนักการเมืองท้องถิ่นเลยทีเดียว

270


“เราพยายามเน้นสร้างครูพันธุ์ใหม่ที่มีความร่วมมือร่วมใจกัน ครูต้องปรับ วิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน ให้เด็กๆ เน้นการคิด วิเคราะห์ นำ�ไปใช้ และให้พวกเขาสรุป องค์ความรู้ด้วยตนเอง” อ.เจ๊ะหมัน บิลหร่อหีม รองผู้อำ�นวยการโรงเรียนกล่าวถึงแนวทางการสอน ของโรงเรียน “เราจะไปถึงระดับชาติ เป็นตัวแทนของประเทศ และเราจะติดปีกบินไป” นี่คือคำ�ประกาศชัดเจนของรองผู้อำ�นวยการโรงเรียน เพื่อปักธงให้เด็กๆ กล้าฝัน ใหญ่ๆ และมองเห็นเป้าหมายที่ชัดเจนของพวกเขาตั้งแต่ยังเยาว์วัย

271


6

วั น ที่ ไ ปถึ ง สนามแข่ ง ขั น สิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ท างวิ ท ยาศาสตร์ ร ะดั บ นานาชาติ ที่ ประเทศมาเลเซีย เด็กๆ หอบสิ่งประดิษฐ์ชิ้นเล็กๆ ของเขาไปประกวดด้วยความตื่นเต้น “ตอนแรกเห็นของเราชิ้นเล็กๆ ก็เขิน ของคนอื่นเขาชิ้นใหญ่ๆ แต่เราก็มั่นใจใน แนวคิดที่แตกต่างของเรา เราเน้นที่ความคิดไม่ได้เน้นที่ขนาด” ปิงปองเล่าอย่างภาคภูมิใจ

272


ควมฝันของสองสหายไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น โธ่ ก็บอกแล้วว่านักประดิษฐ์สองคนนี้เขามีคุณสมบัติชอบ “คิดซนๆ” ไม่

หยุดนิ่ง จาก งับล็อค” ชิ้นนี้ พวกเขายังมีความฝันต่อไปอีกว่า อยากให้งับล็อคของ พวกเขา เป็นวัสดุโพลีเมอร์ รูปลักษณ์ทันสมัย มีพาสเวิร์ดเป็นคีย์การ์ดส่วนตัว เพื่อ ป้องกันการโจรกรรม

“ถ้าเป็นที่ประเทศญี่ปุ่น เขามีหน่วยงานที่เอาสิ่งที่เด็กๆ คิดเด็กๆ นำ�เสนอ ไปทำ�เป็นผลิตภัณฑ์วางขายในตลาดได้เลย ได้ทั้งเงิน ได้ทั้งการเห็นสิ่งที่เราคิดถูก แพร่หลายและใช้ประโยชน์ได้จริง ผมว่าถ้าสังคมเราเป็นอย่างนั้นบ้าง เด็กๆ อย่าง พวกผมจะคิดได้สนุกกว่านี้นะครับ” ฟันดี้ยิ้มนัยน์ตาเป็นประกาย ............ ............

273


จากวันนั้นถึงวันนี้ ฟันดี้มีรูปตัวเองขึ้นป้ายที่รั้วโรงเรียนสมดังที่เขาเคยฝันไว้ แล้ว เขากล่าวว่าเหลือบไปเห็นป้ายใหญ่ๆ แผ่นนั้นตอนไหนหัวใจของเขาก็พองโตเท่า ป้ายทู้กกกกกกกทีไป ส่วนสาวเนิร์ดปิงปองนั้น เธอก็แสนภูมิใจที่ได้เป็นนักประดิษฐ์เหมือนคุณพ่อ ผู้เป็นวิศวกรฮีโร่ของเธอ การมองปัญหาแล้วคิดแก้ไขด้วยวิธีง่ายๆ กล้าที่จะแตกต่าง กล้าลองผิด ลองถูก บวกกับสิ่งแวดล้อมที่ชื่นชมให้กำ�ลังใจกัน คือที่มาของความสำ�เร็จของนัก ประดิษฐ์น้อยนามฟันดี้และปิงปอง เอ...ว่าแต่ว่า หากผู้ใหญ่หรือพี่ๆ ท่านใด อ่านมาถึงตอนนี้ ถ้าถูกถามด้วย คำ�ถามข้างต้นอีกครั้ง ถ้ามีเด็กจอมซนอยู่ใกล้ๆ เราจะมีวิธีจัดการอย่างไรดี? คำ�ตอบที่เคยเลือก ข้อ ก หรือ ข จะเปลี่ยนใจมาเลือกเป็นข้อ ค หรือ ง แทนกันบ้างมั้ยน้า

274


คุณได้สิทธิ์ในการเปลี่ยนแผ่นป้ายนะฮ๊าว์ฟฟฟฟฟ เปลี่ยนใจยังทัน เผลอๆ เมืองไทยเราอาจจะได้มีนักปั้นมือทองมาแข่งกับอาจารย์ดวงและพี่ เอ ศุภชัย อีกหลายคนเลยทีเดียว แฮ่มๆ!!

275


งับล็อค (Ngub Lock) เป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในหัวข้อความ ปลอดภัยและสุขภาพ (Safety and Health) ที่ช่วยสร้างความมั่นใจและปลอดภัย แก่ทรัพย์สิน โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีค่า งับล็อค (Ngub Lock) จึงสามารถป้องกันการโจรกรรมรถจักรยานยนต์ได้ เมื่อติดตั้งอุปกรณ์ที่ล็อคระบบมือจับคันเร่งของรถจักรยานยนต์กับระบบเบรกหน้า ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้รถถูกสตาร์ตออกไป


ทั้งยังเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มนํ าหนักเบา สะดวกต่อการใช้ ต้นทุนตํ่า ปลอดภัย เหมาะอย่างยิ่งสำ�หรับการใช้งานจริง นอกจากนี้ยังสามาถนำ�ไปพัฒนาต่อยอด หรือพัฒนาการใช้งานอื่นๆ ได้อย่าง กว้างขวาง



1

(เปิด) กะลา (ออกก็) พอ “เดี๋ยวนี้เด็กๆ เขาไม่ถามแล้วว่าได้ไปกรุงเทพฯ มั้ย แต่ถามว่า หลังจาก มาเลเซียแล้ว ปีหน้าจะได้ไปประเทศอะไร” อาจารย์อานีซะห์ อาแวปูเตะ ครูวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ไฟแรง แห่งโรงเรียน บ้านกะลาพอ ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เล่าให้ฟังด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม

279


สิ่งประดิษฐ์ : อุปกรณ์ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน (Test Lamp) โรงเรียนบ้านกะลาพอ จ.ปัตตานี 280


คำ�ถามดังกล่าวเป็นคำ�ถามที่เด็กๆ ในชมรมวิทยาศาสตร์มักจะถามเธอ หลังจากที่รุ่นพี่ได้ฝากผลงานอันลือลั่นไว้ด้วยการคว้าเหรียญเงินและรางวัล Speac จากงาน International Exhibition for Young Inventors (IEYI-2013) ณ กรุง กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มาครอง กะลาพอ เป็นโรงเรียนไกลปืนเที่ยง ทั้งยังมีรถถัง ปืน ทหาร เสียงปืนดังแข่ง กับเสียงอาซาน และข่าวคราวเกี่ยวกับการเข่นฆ่า ความตาย ในพื้นที่ ก็มีรายงานอยู่ ทุกวัน แค่ได้รับรู้ว่าอยู่ในพื้นที่เช่นนี้ก็ส่งผลให้หลายคนหวาดระแวง ไม่กล้าเดินทาง มาเยือน โอกาสทางการศึ ก ษาเพราะความห่ า งไกลจากศู น ย์ ก ลางประเทศนั้ น ก็ มากพออยู่แล้ว แต่สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นยิ่งทำ�ให้โรงเรียนต่างๆ ในสาม จังหวัดชายแดนใต้ ยิ่งกลายเป็นพื้นที่ชายขอบในการเข้าถึงโอกาสต่างๆ มากเข้าไป อีก อะไรๆ ที่เป็นเรื่องแสนธรรมดาสามัญของเด็กๆ ที่อื่น อาจกลายเป็นเรื่อง แสนพิเศษ สำ�หรับเด็กที่นี่ เช่น การเดินทางไปยังเมืองหลวงนามกรุงเทพมหานคร

281


อาจารย์สาวเล่าต่อว่า “...ก่อนนี้แค่ได้ทราบข่าวว่าหากใครสามารถประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์จนได้รับ รางวัล จะมีโอกาสเดินทางไปกรุงเทพฯ เด็กๆ ก็ตาลุกวาวแล้ว แต่เดี๋ยวนี้พอเขาเห็น พี่ๆ ได้ไปต่างประเทศเขามองข้ามช็อตเลย...” การได้เดินทางไปกรุงเทพฯ ที่เคยดูเหมือนช่วยเปิดพรมแดนแห่งความรู้ และ ประสบการณ์ให้เด็กๆ โรงเรียนไกลปืนเที่ยงอย่างกะลาพอให้กว้างกว่าเคย ดูจะยังไม่ กว้างพอเสียแล้ว ต่อจากนี้ดินแดนในฝันของพวกเขาก้าวข้ามพรมแดนของรัฐชาติกัน ไปแล้ว กล่าวได้ว่าผลงานสิ่งประดิษฐ์เล็กๆ ที่มีนามว่า อุปกรณ์ตรวจสอบวงจรไฟฟ้า ภายในบ้าน หรือที่พวกเขาเรียกกันสั้นๆ ว่า Test Lamp นั้น นอกจากจะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยตรวจสอบไฟฟ้าแล้ว ยังช่วยกระตุ้นและขยาย วิสัยทัศน์ของชาวชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ให้เชื่อมั่นและภาคภูมิใจในศักยภาพที่ตนมี ตน เป็น ครั้งใหญ่เลยทีเดียว

282


Test Lamp จึงไม่ได้เป็นเพียงอุปกรณ์ที่สร้างความสว่างไสวให้กับไฟฟ้า แต่สร้างความสว่างไสว ให้กับวงการการศึกษาของชาวชุมชนบ้านกะลาพอทั้งชุมชน

283


Test Lamp จึงไม่ได้เป็นเพียงอุปกรณ์ ที่สร้างความสว่างไสวให้กับไฟฟ้า แต่สร้างความสว่างไสว ให้กับวงการการศึกษา ของชาวชุมชนบ้านกะลาพอ ทั้งชุมชน

284


285


2

“สังเกตได้ว่าอุปกรณ์ที่เด็กๆ ในโรงเรียนเราคิดนั้น เป็นอุปกรณ์ขั้นเบสิกพื้น ฐานง่ายๆ ในขณะที่เด็กๆ ที่อื่นอาจคิดเครื่องมือเกี่ยวกับการทำ�ความสะอาด อะไรที่ พัฒนาไปไกลกว่าเครื่องดูดฝุ่น กว่าไมโครเวฟ แต่เด็กของเรายังคิดเครื่องมืออะไรที่ เกี่ยวกับการติดดับของไฟอยู่เลย (หัวเราะอารมณ์ดี) นั่นเป็นเพราะชุมชนท้องถิ่นเรายังค่อนข้างเป็นชุมชนที่ยากจน ห่างไกลจาก สิ่งอำ�นวยความสะดวกใดๆ เด็กๆ คิดอะไรก็คิดมาจากบริบทรอบๆ ตัวของสิ่งที่เขา สัมพันธ์ด้วย เช่น ปีก่อนนี้ก็คิดเครื่องช่วยแก้ปัญหารถติดหล่มนั้น เป็นเพราะถนนใน

286


ชุมชนเรายังเป็นถนนลูกรัง เด็กเขามักจะเห็นรถติดหล่มอยู่เสมอไงครับ ฉะนั้น อย่ามองข้ามจินตนาการของเด็กนะครับ อะไรรอบตัวที่เขาคิดไม่ถึง นี่เด็กๆ เขาสามารถคิดไปไกล จินตนาการของเขา ความไม่ติดกรอบของเขา เหล่านี้ ผู้ใหญ่อย่างเราๆ สู้เขาไม่ได้เลยนะครับ…” สงกรานต์ จริยเพียรพันธุ์ ผู้อำ�นวยการโรงเรียนบ้านกะลาพอ กล่าวด้วย เสียงสุขุม บางคนอาจจะเคยคิดว่า สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ในโลกนี้มักจะเกิดจากบริษัท ยักษ์ใหญ่ หรือนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ และมักเป็นผู้ชาย หากทว่าในความเป็นจริง สิ่ง ประดิษฐ์สิ่งละอันพันละน้อยในโลกนี้ เกิดมาจากปัญหาเล็กๆ ในชีวิตประจำ�วัน และ ไม่จำ�เป็นต้องมาจากนักประดิษฐ์ผู้ชำ�นาญการแต่อย่างใด อาทิเช่น แม่บ้านชาวญี่ปุ่นรายหนึ่งเจอปัญหาว่าเวลาตากผ้าแล้ว ลมมักพัด เอาไม้แขวนไปรวมกันอยู่ที่เดียวทำ�ให้ผ้าไม่แห้งเพราะบางชิ้นไม่ถูกแสงแดด เธอจึง คิดสิ่งประดิษฐ์ที่มีลักษณะคล้ายกำ�ไลพลาสติก ที่ใช้หนีบกับราวตากผ้า และมีร่อง

287


อยู่ตรงกลางเพื่อไม่ให้ไม้แขวนเสื้อปลิวไปตามลม ค่าลิขสิทธิ์สินค้าชิ้นนี้ สูงถึง 370 ล้านเยน แต่ละปีเธอได้ส่วนแบ่งลิขสิทธิ์อีก 50 ล้านเยน เธอเล่าว่าตอนที่เธอคิดได้ตอนแรกนั้น เธอนำ�ไอเดียนี้ไปเสนอขายกับหลาย บริษัท แต่ไม่มีใครซื้อเลย เพราะเจ้าหน้าที่ที่พิจารณาเป็นผู้ชาย จึงไม่เข้าใจปัญหาผู้ หญิง เธอจึงนำ�ไอเดียนี้มาทำ�สิ่งประดิษฐ์ด้วยตัวเอง ที่ยกตัวอย่างมาเช่นนี้ ก็เพื่อสะท้อนให้เห้นว่า ความคิด ไอเดียต่างๆ จากแม่ บ้าน เด็ก หรือกระทั่งคนเดินดินกินข้าวแกงมักถูกมองข้าม เพราะเข้าใจว่าเป็นเรื่อง ไร้สาระ ต่างจากที่ รร.บ้านกะลาพอ ไม่ว่าเด็กๆ เสนอไอเดียเกี่ยวกับเรื่องอะไรสิ่งใด มา ทั้งครูใหญ่และครูน้อย ครูวิทยาศาสตร์ ครูวิชาอื่นๆ ต่างก็ไม่มองข้าม และไม่เคย เย้ยหยัน หากทว่ากลับมองด้วยความทึ่ง และชื่นชมในจินตนาการของลูกศิษย์ “หนูว่าการทำ�สิ่งประดิษฐ์นี้นะ ทำ�ให้เราน่ะได้เรียนรู้จากเด็กๆ มากกว่า เด็กๆ เรียนรู้จากเราด้วยซํ า เราได้เห็นจินตนาการที่ไร้ขีดจำ�กัดของเขา เห็นความ

288


ละเอียดลออและช่างสังเกตสิ่งรอบตัวของเขา ยิ่งเด็กๆ ในท้องถิ่นที่นี่ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีฐานะยากจน ต้องช่วยที่บ้าน ทำ�งาน เครื่องมือเครื่องใช้อะไรชำ�รุดเสียหาย เขาก็เรียนรู้ที่จะซ่อมเองทำ�เอง หรือ บางคนมีพ่อเป็นช่าง มีคนที่ทำ�งานช่างในบ้านกันแทบทุกคน ทำ�ให้เขามีทักษะใน การใช้เครื่องมือ และการคิดถึงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ สูงมาก บางครั้งบางหนเราเห็นแล้ว ทึ่งไปเลย” ครูสาวคนสวยกล่าว ฟังอาจารย์อานีซะห์กล่าวแล้วก็ให้คิดถึงนิทรรศการที่แสนสุดประทับใจที่ จัดขึ้นโดย TCDC (Thailand Creative & Design Center) หรือศูนย์สร้างสรรค์ งานออกแบบเมื่อหลายปีก่อน ที่มีนามว่า อีสาน : กันดารคือสินทรัพย์ ที่ทำ�ให้ผู้ไป ชมรู้สึกตื่นตาตื่นใจ และทึ่งในความยิ่งใหญ่ของคนอีสานที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน ต่างๆ ทั้งวัฒนธรรมและสิ่งประดิษฐ์ รวมไปถึงการต่อสู้ชีวิตโดยบ่มเพาะมาจาก ความขาดแคลน แห้งแล้ง ด้วยความอดทน นี่ถ้าชุมชนเล็กๆ เช่นกะลาพอจะจัดนิทรรรศการเช่นนี้มาบ้าง เชื่อว่ามีหลาย

289


สิ่งหลายอย่าง ให้น่าตื่นตาตื่นใจเช่นกัน ไม่วาจะเป็นเรื่องวัฒนธรรมอันเกี่ยวกับคน สิ่งของ และความเชื่อ อาทิเช่น ที่นี่มีความรุ่มรวยทางภาษา เด็กๆ ที่นี่สามารถพูดได้ทั้งภาษาไทย ภาษามลายู และมีทั้งภูมิปัญญาจากงานช่างอยู่แทบทุกหลังคาเรือน สิ่งเหล่านี้ก็บ่มเพาะมาจากความอดทน อาจไม่ใช่อดทนจากความกันดาร เหมือนอีสาน แต่อดทนจากสถานการณ์อันรุนแรงที่รุมเร้าอยู่ทุกวี่วัน “ตอนทำ�สิ่งประดิษฐ์ เวลาเราติดขัด เรียกได้ว่าไปถามช่างบ้านไหนก็จะได้ ทางออก ทางแก้ และข้อแนะนำ�ที่ดีๆ มีประโยชน์มาให้เราทุกทีไป ที่สำ�คัญคือเรา ได้สอนเด็กๆ ด้วย เด็กๆ จะได้เรียนรู้ภูมิปัญญาจากคนเฒ่าคนแก่ ยังบอกเขาเลยว่า เธอคิดดูนะ เป๊าะๆ (ปู่ ตา) เหล่านั้น เขาสั่งสมความรู้มานาน ถ้าเขาอายุประมาณ 70 แล้วพวกเธออายุ 15 ปี ความรู้ที่เอามารวมกันนั้นก็เท่ากับ 85 ปีเชียวนะ จะทำ�ให้ รอยหยักในสมองเธอเพิ่มขึ้นอีกมากมายแน่ๆ...” อาจารย์อานีซะห์ เล่าเจื้อยแจ้ว

290


เราได้สอนเด็กๆ ด้วย เด็กๆ จะได้เรียนรู้ภูมิปัญญาจากคนเฒ่าคนแก่ ยังบอกเขาเลยว่า เธอคิดดูนะ เป๊าะๆ (ปู่ ตา) เหล่านั้น เขาสั่งสม ความรู้มานาน ถ้าเขาอายุ ประมาณ 70 แล้วพวกเธออายุ 15 ปี ความรู้ที่ เอามารวมกันนั้นก็เท่ากับ 85 ปีเชียวนะ

291


3

อย่างที่อาจารย์สงกรานต์ จริยเพียรพันธุ์ ผู้อำ�นวยการโรงเรียน ได้กล่าวไป แล้วว่า สิ่งประดิษฐ์ที่นักประดิษฐ์ตัวน้อยแห่งโรงเรียนบ้านกะลาพอคิดค้นนั้น ส่วน ใหญ่มักเป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องใช้ขั้นพื้นฐาน

อุปกรณ์ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน (Test Lamp) ก็เช่นเดียวกัน

อาจกล่าวได้อย่างสั้นๆ ง่ายๆ ว่าเครื่องมือชนิดนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเช็กดูว่า ไฟดับไฟติดหรือไม่อย่างไรเท่านั้น ต่างจากสิ่งประดิษฐ์ที่เด็กๆ ที่อยู่ในเมืองมักคิดค้น

292


ซึ่งอาจจะอาจเป็นเครื่องไม้เครื่องมือ ที่อำ�นวยความสะดวกมากกว่าจะมาคิดถึง เรื่อง ไฟดับ ไฟติดไปแล้ว เผลอๆ เด็กๆ ในเมืองที่มีความสะดวกสบายอาจลืมไปด้วยซํ าว่าความมืด ความสว่าง ที่กำ�หนดไม่ได้ด้วยตัวเองนั้นเป็นอย่างไร เพราะทั้งชีวิตไม่เคยเจอไฟดับ ต่างจากหนุ่มน้อยนักประดิษฐ์นาม ติพลัน มะแซ และ ด.ช. ซอลาฮูดิน สกุล มะเกะ อย่างสิ้นเชิง สองหนุ่มน้อยชินกับการเห็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่บ้านหรือกระทั่งบ้านใกล้เรือน เคียงในชุมชนติดๆ ดับๆ และต้องมานั่งเสียเวลาหาว่าสาเหตุว่ามาจากอุปกรณ์ตัว ไหนกันแน่ นี่เป็นสาเหตุที่ทำ�ให้สองหนุ่มคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวขึ้นมา “วันนั้นเหมือนพระเจ้าช่วย ขณะที่ผมกำ�ลังคิดไม่ออกว่าจะประดิษฐ์อะไรดี ให้่ตรงตามโจทย์ที่ครูอานีซะห์ให้มาว่า ต้องตอบโจทย์การใช้งานของคนในชุมชน ค่า ใช้จ่ายไม่สูง และมีขนาดกะทัดรัด ผมก็ได้แต่คิดๆ ๆ อยู่หลายวัน

293


วันนั้นพอดีไปช่วยพ่อทำ�งาน พ่อผมทำ�งานรับเหมาก่อสร้าง และเดินไฟตาม บ้านด้วย ขณะที่ทำ�งานอยู่นั้น เพื่อนพ่อก็ต้องคอยเช็กไฟว่าเดินดีหรือไม่ ก็ต้องเช็กด้ว ยอุปกรณ์หลายๆ ชิ้น เช็กแล้วถ้าทราบว่าไฟไม่เดินก็ไม่รู้ว่าอุปกรณ์ตรงไหนชำ�รุด ผมก็เลยคิดว่าถ้ามีอุปกรณ์ที่บอกเราได้ครบทั้งเช็กว่าไฟเดินหรือไม่ และถ้า ไม่เดิน มีจุดไหนชำ�รุดเสียหาย อยู่ ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวกัน เช็กได้ทีเดียวจบเลย น่าจะ ดีไม่น้อย เลยนำ�เรื่องนี้มาปรึกษากับอาจารย์ คิดไปคิดมาก็ลงเอยที่เจ้าสิ่งประดิษฐ์ชิ้น นี้ โดยมีซอล่า (ด.ช.ซอลาฮูดิน) ช่วยคิดช่วยค้นครับ” ติพลันหนุ่มน้อยขี้อายเล่าให้ฟังถึงที่มาที่ไป “ก็พยายามยํ ากับพวกเขาเสมอว่า ให้เน้นความเรียบง่าย เน้น ALL IN ONE ทุกอย่างให้จบลงในเครื่องมือชิ้นเดียว ทำ�อะไรก็ได้ที่คนใช้ สามารถใช้ได้ง่ายกว่าเดิม จะยํ าเขาในจุดนี้ค่ะ” อาจารย์อานีซะห์ กล่าวเสริม แต่สองหนุ่มบอกว่าการทำ�สิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายอย่างที่อาจารย์แนะนำ�นั้น อาจยากกว่าการทำ�สิ่งประดิษฐ์ที่ซับซ้อนเสียด้วยซํ า

294


ผู้ที่ขัดเกลาตนเอง ย่อมบรรลุความสำ�เร็จ

295


บางครั้งบางหน พวกเขาก็ท้อแท้กับการทดลองทำ�สิ่งประดิษฐ์ครั้งแล้วครั้ง เล่า เพื่อให้ได้รูปแบบและใช้ประโยชน์ได้จริงอย่างที่เขาต้องการ ติพลันและซอลาฮูดินบอกว่า พวกเขามักจะคิดถึงข้อความที่ติดที่ผนังห้อง ทดลองแผ่นนั้น “ผู้ที่ขัดเกลาตนเอง ย่อมบรรลุความสำ�เร็จ” (อัลอะอ์ลา : 14)

296


297


4

อาจกล่าวได้ว่าสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เป็นผลงานที่มีที่มาจากการ “ลงแขก” ก็ว่า ได้ เพราะทุกคนในชุมชนต่างก็มีส่วนร่วมให้การช่วยเหลือ ทำ�สิ่งใดติดขัดก็ไปถามช่าง ในหมู่บ้านได้ ดังที่อาจารย์อาจารย์อานีซะห์ได้เล่าให้ฟัง หากทว่าที่มากไปกว่าคนในชุมชนคือบุคลากรในแวดวงการศึกษา เรียกได้ว่า มากันทุกระดับประทับใจเลยทีเดียว “ต้องบอกว่างานเราประสบความสำ�เร็จเพราะมีผู้หลักผู้ใหญ่ คอยลุ้น คอย ช่วยด้วยทุกอย่างไม่ว่าอะไร ทั้งเรื่องเงินทองที่ระดมกันมาเป็นค่าเดินทาง และต่างก็

298


สละเวลากันไปเป็นกองเชียร์คอยสนับสนุน คอยให้กำ�ลังใจให้เด็กๆ ได้อุ่นใจ” ผู้อำ�นวยการกล่าว “มีอยู่ครั้งหนึ่ง เกิดเหตุการณ์ที่เราลุ้นกันสุดขีด เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า dead air...” อาจารย์อานีซะห์พูดจบวงสนทนาทั้งวงก็ปล่อยเสียงหัวเราะมาพร้อมกัน โดยไม่ได้นัดหมาย ราวกับว่าเหตุการณ์ที่กำ�ลังจะถูกกล่าวถึงนั้นเป็นที่ฝังอกฝังใจเสีย เหลือเกิน “เหตุการณ์ที่ว่าคือวันที่ไปพรีเซนต์งานที่อิมแพค ซอล่าเขาเกิดประหม่า จู่ๆ ก็พูดไม่ออก เราก็ลุ้นกันสุดๆ แต่โชคดีที่ท่านสิริกาญจน์ ขุนทอง ศึกษานิเทศก์ สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปัตตานี เขต 3 ไปด้วย จากประสบการณ์ของท่าน ทำ�ให้ท่านรู้วิธีที่จะช่วยเขาได้ ท่านบอกพี่จัดการเอง จากนั้นหายไปพักซอล่าก็พูดต่อ ได้เลย...” เอ...สงสัยกันแล้วใช้มั้ยว่าท่าน ทำ�อย่างไร ไปฟังคำ�เฉลยกันดีกว่า...

299


“(หัวเราะ)...ก็ไม่มีอะไรมากหรอกค่ะ ก็ไปสัมผัสเขาไปให้กำ�ลังใจ ปลอบโยน เท่านี้ล่ะค่ะ เขาอาจจะช็อกที่คนเยอะ และปกติเขาเป็นเด็กเงียบขรึมอยู่แล้ว ก็เลยไป ปลอบ ไปสัมผัส สร้างความมั่นใจให้เขาน่ะค่ะ...” อาจารย์สิริกาญจน์เล่าอย่างใจดี ใช่เพียงเฉพาะเวทีในประเทศ เมื่อถึงคราวที่สองหนุ่มต้องไปนำ�เสนอผลงาน ที่มาเลเซีย คณะครูโรงเรียนบ้านกะลาพอต่างพากันยกขบวนไปให้กำ�ลังใจกันถึงที่ ไม่ว่าจะเป็นผู้อำ�นวยการโรงเรียน คณาจารย์หลายๆ ท่าน และที่พลาดไม่ได้เลยคือ อาจารย์รุสลี บินนุดีน ผู้เป็นเสมือนโค้ชฝึกซ้อมวิชาภาษาอังกฤษให้กับหนุ่มน้อยทั้ง สอง “ทั้งสนุก ทั้งเครียด ทั้งตื่นเต้น มีทุกอารมณ์เลยครับตอนนั้น ผมกลัวว่าขึ้น เวทีแล้วจะพูดภาาาอังกฤษไม่ได้ดีที่อาจารย์ต่างพากันมาให้กำ�ลังใจ” ติพลันเล่า “ผมว่าเรานี่โชคดีสุดๆ เลยนะครับ ถือเป็นข้อได้เปรียบที่เราอยู่ในพื้นที่ สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ภาษามลายูเป็นหนึ่งในภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตประจำ� วัน และเมื่อมีการประกวดสิ่งประดิษฐ์ที่มาเลเซีย ซึ่งเขาก็ใช้ภาษามลายูเหมือนกัน

300


เหตุการณ์มันเลยเหมือนพระเจ้าเข้าข้างเรา (หัวเราะ) เพราะพอกรรมการถามแล้วเด็กๆ เขาตอบเป็นภาษาอังกฤษไม่ถนัด เขาก็ ตัดสินใจ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการตอบเป็นภาษามลายูไป ทำ�ให้สามารถอธิบาย อะไรๆ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ความคล่อยตัวในการสื่อสารหลายๆ ภาษาอาจเป็น กำ�ไรอย่างหนึ่งที่ทำ�ให้เราได้รางวัลมาครองทั้งสองรางวัลเลยคือทั้งรางวัลเหรียญ เงิน และรางวัลพิเศษจาก Indonesian institute of sciences (LIPI)” อาจารย์รุสลี บินนุดีน ผู้เปรียบเสมือนคอมเมนเทเตอร์แห่งบ้านเอเอฟ เพราะ ในช่วงก่อนที่เด็กๆ จะไปแข่งขันที่มาเลเซีย อาจารย์ได้พาเด็กๆ มากินอยู่หลับนอนที่ บ้านของตนเพื่อฝึกภาษาอังกฤษกันอย่างจริงจัง “ตอนนั้นเรียกได้ว่าเป็นบ้านเอเอฟจริงๆ เพราะทั้งครูทั้งเด็กกินอยู่หลับนอน ด้วยกัน โดยเฉพาะสี่คนนี้ อาจารย์อานีซะห์ อาจารย์รุสลี บินนุดิน ติพลัน และ ซอ ลาฮูดิน เรียกว่าเก็บตัวกันยังกับนักมวยจะขึ้นชกเลย...” ผู้อำ�นวยการกล่าวด้วยเสียงกลั้วหัวเราะ

301


302


5

ผ่านการประกวดครั้งนั้นมาพร้อมด้วยรางวัลแล้วส่งผลให้การเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ของ รร.บ้านกะลาพอ คึกคักกว่าที่เคย โดยเฉพาะชุมนุมวิทยาศาสตร์นั้นเนื้อหอมยิ่งนัก เด็กๆ ต่างก็สนใจสมัครเข้า ร่วม ใช่เฉพาะเด็ก ครูก็ไม่แพ้กัน ต่างพยายามคิดหาโครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุน การทำ�สิ่งประดิษฐ์ แต่เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่การล่ารางวัล หากอยู่ที่การพยายามนำ�สิ่งประดิษฐ์นั้นมาเป็นกุญแจที่ไขสู่โอกาสด้านอื่นๆ ของเด็กๆ ตามมา

303


“อย่างที่บอก เด็กๆ ที่นี่มีฐานะยากจน เมื่อเรียนจบ ม.3 จากที่นี่แล้วพ่อแม่ผู้ ปกครองไม่กระตือรือร้นที่จะให้ลูกเรียนต่อ ส่วนใหญ่จะสนับสนุนให้ไปทำ�งานรับจ้างที่ มาเลเซียมากกว่า “จึงมีความคิดว่าอยากจะให้เด็กๆ ทำ�สิ่งประดิษฐ์อะไรที่ขายได้ สร้างรายได้ เพื่อเป็นทุนรอนไว้ใช้สำ�หรับการเรียนต่อ “ตอนนี้กำ�ลังคิดเรื่องการเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษเพราะมีตลาดชัดเจน ร้าน ขนมจีนร้านดังในชุมชนยินดีที่จะรับซื้อ และเราก็ลองไปคุยกับชาวบ้าน เขาบอกว่าถ้า เพาะถั่วงอกนั้นจะได้สิ่งประดิษฐ์ที่จะเป็นผลพวงตามมาอีกเพียบ ก็กำ�ลังคิดอยู่ค่ะ” อาจารย์อานีซะห์กล่าวด้วยแววตาเป็นประกาย “...ตอนนี้มีบ้านพักครูหลังหนึ่งว่าง เราว่าจะเอาบ้านหลังนี้เป็นพื้นที่สำ�หรับ เหล่าผู้ประกวดเอเอฟเลย” (หัวเราะกันทั้งวง) “พูดเล่นครับ คือผมกำ�ลังจะให้อาจารย์ใช้บ้านหลังนี้เป็นที่สำ�หรับนักประดิษฐ์ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อใดที่ต้องทำ�งานประดิษฐ์ ต้องส่งผลงานประกวดที่ไหน จะ

304


ได้ไม่ต้องเดินทางลำ�บาก หรือไปรบกวนบ้านพักของรุสลีอีก ให้เด็กๆ มาพักอยู่ที่ นั่นเลย อีกอย่างในสถานการณ์ตอนนี้ หากไม่ต้องเดินทางได้จะดีที่สุด เพราะมัน หมายถึงความปลอดภัย จะได้ปลอดภัยของทั้งครูและเด็ก “ผมหวังไว้อย่างนี้นะครับ และแอบตั้งชื่อไว้ในใจว่า บ้าน Test Lamp เพื่อ เป็นทั้งที่ระลึกจากการที่สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ทำ�ให้เราได้รางวัล และอีกความหมายคือ เป็นบ้านที่มีไว้เพื่อที่ทดสอบแสงสว่าง แสงสว่างอันเปรียบเสมือนปัญญาหรือวิชา ความรู้ ผมหวังไว้อย่างนี้ครับ กำ�ลังพยายามจัดสรรงบประมาณอยู่” อาจารย์สงกรานต์ ผู้อำ�นวยการกล่าว

305


6

การประกวดผ่านไปเป็นแรมปีแล้ว ทุกอย่างจบแล้ว เด็กๆ กำ�ลังจะจบการ ศึกษา ติพลัน ไปเรียนต่อในระดับชั้น ม.4 ในโรงเรียนอื่นไม่ไกลกันนัก ซอล่าขยับมา เรียนชั้น ม.3 ถึงอะไรๆ จะเปลี่ยนไปแต่ข้างหน้าโรงเรียนบ้านกะลาพอยังคงมีป้อมทหาร และบังเกอร์ดังเดิม ความรุนแรงที่เกิดขึ้นยังคงมีดังเดิม โลกของคนในชุมชนกะพลาพอยังคงหมุนไปอย่างนั้น ชาวบ้านยังคงเลือก (หรือไม่ได้เลือก?) จะอยู่ที่นี่ที่เดิม แม้จะมีเหตุการณ์ความรุนแรงรอบตัว

306


ยังคงเลือกที่จะดำ�รงชีวิตไปตามแบบมุสลิมที่ดี หากอะไรจะเกิดก็เกิด “อินชาอัลเลาะห์” แล้วแต่ความประสงค์ของพระเจ้า พวกเขาเชื่ออย่างนั้น หลังจากการประกววดคราวนั้นแล้ว ทัศนคติต่องานประดิษฐ์ ต่อ วิทยาศาสตร์ ต่อการค้นคว้าของนักเรียน ครู ตลอดจนชาวบ้านที่นี่เปลี่ยนไปไม่ เหมือนเดิมอีกแล้ว นั่นคือพวกเขาตระหนักว่า วิทยาศาสตร์ และความช่างคิดค้น ไม่ได้ลอย มาจากสวรรค์ชั้นฟ้า ไม่ได้ได้มาง่ายๆ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ยากเกินกว่าจะทดลองทำ� ศักยภาพที่ตนมี

ขอเพียงเชื่อมั่นใน

และที่สำ�คัญ ต้องหัดเปิดกะลาทางความคิด แล้วมองหาทางเลือกใหม่ที่ดี กว่าอยู่เสมอ ทำ�อะไรก็ได้ที่ง่ายกว่าเดิมและซับซ้อนน้อยกว่าเดิม ดีกว่าเดิม

307


อัลเลาะห์ไม่เคยปฏิเสธ ความมุ่งมั่นและตั้งใจของมนุษย์ มนุษย์ควรใช้สมอง และร่างกายที่อัลเลาะห์ สร้างขึ้นมานี้ให้เต็มที่

308


พวกเขาบอกว่าอัลเลาะห์ไม่เคยปฏิเสธความมุ่งมั่นและตั้งใจของมนุษย์ มนุษย์ควรใช้สมองและร่างกายที่อัลเลาะห์สร้างขึ้นมานี้ให้เต็มที่ ใช้เพื่อการค้นคว้า เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

พวกเขาเชื่อและศรัทธาอย่างนั้น...

309


ปัญหาไฟฟ้าขัดข้องภายในบ้านหรือใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ได้ มักมีที่มา จากการชำ�รุดของอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด เช่น ปลั๊กไฟ สายไฟ สะพานไฟ เป็นต้น โดยอาจเกิดจากบริเวณจุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังกล่าวขาด หลุด หรือหลวม ไม่แน่น จะทำ�ให้ไม่สามารถใช้งานไฟฟ้าได้ หากปล่อยทิ้งไว้โดยปราศจากการแก้ไข อาจเป็นต้นเหตุของไฟฟ้าลัดวงจรที่สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินในเวลา ต่อมาได้ อุปกรณ์ตรวจสอบวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน (Test Lamp) ทำ�ให้การตรวจ สอบและวิเคราะห์ความผิดปกติของวงจรไฟฟ้าง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยหาสาเหตุและ ทำ�การแก้ไขได้ถูกต้อง


จากการทดสอบพบว่าอุปกรณ์ที่ประดิษฐ์สามารถใช้ตรวจสอบอุปกรณ์ ไฟฟ้าภายในบ้านหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ปลั๊กไฟ สายไฟ สะพานไฟ สวิตซ์ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งมีวิธีการใช้งานสะดวกรวดเร็ว ให้ผลชัดเจน ตลอดจน สามารถระบุชนิดความเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้น เพื่อจะนำ�ไปสู่การแก้ไข ที่ถูกต้องต่อไป โดยสิ่ ง ประดิ ษ ฐ์ ช นิ ด นี้ อ าศั ย หลั ก การทำ � งานของวงจรไฟฟ้ า กระแส สลับ แรงเคลื่อนไฟฟ้าและการต่อวงจรไฟฟ้า ทำ�ให้สิ่งประดิษฐ์มีคุณสมบัตในการ แยกแยะความผิดปกติได้อย่างชัดเจน


จากการทดลองพบว่าหากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการทดสอบเป็นปกติ จะ ทำ�ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านสิ่งประดิษฐ์ได้ครบวงจรกลายเป็นวงจรปิด สิ่งประดิษฐ์ จะแสดงผลคือหลอดไฟควบคุมแผงวงจรสว่าง แต่หลอดนีออนสัมผัสจะสว่างเมื่อ ต่อเข้ากับสายมีไฟ (สาย Line) เท่านั้น กรณีที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น เมื่อทดสอบกับสิ่งประดิษฐ์แล้วได้ผล คือ หลอดไฟควบคุมแผงวงจรและหลอดนีออนดับ แสดงว่าสายมีไฟ (สาย Line) ขาด หรือหลวมจึงจ่ายไฟฟ้ามาไม่ได้


แต่ถ้าผลทดสอบคือหลอดไฟควบคุมแผงวงจรไม่สว่าง แต่เมื่อใช้มือแตะ จุดสัมผัสจะมีไฟหรี่อย่างเห็นได้ชัดและหลอดนีออนสว่างทั้งสองด้าน แสดงว่าเกิด การหลวมของจุดเชื่อมต่อไฟฟ้าภายในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทดสอบ ซึ่งเมื่อต้องการทราบ ว่าสายมีไฟ (สาย Line) คือเส้นใด ในกรณีนี้ให้สังเกตหลอดไฟ ควบคุมแผงวงจรที่ ปรากฏอาการหรี่เมื่อแตะจุดสัมผัสของหลอดนีออน แล้วดูว่าด้านที่มีเครื่องหมาย (-) บนสิ่งประดิษฐ์ต่อกับด้านใดของอุปกรณ์ไฟฟ้า แสดงว่าด้านนั้น คือสายมีไฟ (สาย Line) ดังนั้นสิ่งประดิษฐ์นี้จึงช่วยให้วิเคราะห์ความเสียหายตรงจุดอย่างรวดเร็ว และประหยัดเวลามากยิ่งขึ้น




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.