หนังสือชุด ไขปริศนานอนไม่หลับ

Page 1

หนังสือชุด

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

ตํ า าน

กรมการแพทย

DEPARTMENT OF MEDICAL SERVICES

Tales to be Told

ที่เลาขาน

น.พ.ธานินทร สนธิรักษ


บทน�ำ

ความจาก ใจจริง ของ...ผู้เขียน ชีวิตของเราวนเวียนอยู่กับช่วงเวลาที่ตื่น ... ที่หลับ ... และที่ฝัน ขณะตื่น ... เรามักรู้ตัวดี ... เป็นกลางวันที่มีแสงสว่างสาดส่อง ให้เรามองเห็นทุกสิง่ อย่างได้กระจ่างชัด มนุษย์สามารถอธิบาย ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ยามหลับ ... เหมือนสิ่งที่เคยมี เคยเป็น เคยปรากฏอยู่ ได้หายไป ... เหมือนว่าเราไม่รู้สึกตัว ในความฝั น ... แน่ ใ จหรื อ ว่ า เรารู ้ สึ ก ตั ว ... แน่ ใ จหรื อ ว่ า สิ่งในฝันจะมีอยู่ในโลกที่เราตื่น รอข้อมูล

หนังสือชุด “ไขปริศนา นอนไม่หลับ” ตอนที่ ๑ จะพาท่านผูอ้ า่ น ย้อนเวลากลับไปในอดีต ค้นหาประวัตศิ าสตร์ ที่มนุษยชาติได้เสาะแสวงหาความจริงเบื้องหลังชีวิตขณะไม่รู้ สึกตัวทั้งยามหลับและในความฝัน


การแพทย์ที่สืบสานส่งต่อมาแต่อดีตนั้น มุ่งหมายขจัดโรค หรือการบาดเจ็บเป็นหลัก การแพทย์ซึ่งเกี่ยวกับการนอนหลับ ก็เช่นกัน ได้พฒ ั นาผ่านแนวทางทีจ่ ะช่วยผูไ้ ด้รบั ทุกขเวทนาจาก การนอนซึ่งผิดปกติให้กลับเป็นปกติให้มากที่สุด ... หนังสือชุด “ไขปริศนา นอนไม่หลับ” วางแนวน�ำเสนอในรูปแบบ Medical Wellness หรือ “การแพทย์เพื่อสุขภาพดี” ส�ำหรับ เรื่องการนอนนี้ หนังสือตอนต่าง ๆ ต่อจากนี้ จะ “ไขปริศนา” ไปสู่เป้าหมายที่ว่า “นอนหลับอย่างมีความสุข”

หนั ง สื อ ชุ ด นี้ เ กิ ด จากการหลอมรวมระหว่ า งวิ ท ยาการ

ทางการแพทย์และสุนทรียภาพทางวรรณกรรม หวังไว้ให้ อ่านได้ในทุกพื้นฐานความรู้ ตั้งแต่บุคลากรการแพทย์ไปถึง บุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่อง ความสุขและสุขภาพ ข้อคิดเห็นและ ค�ำแนะน�ำของท่านผู้อ่านทุกท่านจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อทีมงานผู้จัดท�ำทุกคน นายแพทย์ธานินทร์ สนธิรักษ์

สารบัญ นอนไม่หลับ "นอนไม่หลับ" ในยุคอารยธรรมกรีกโบราณ ดาราศาสตร์ เกี่ยวกับชีววิทยาอย่างไร ? ยานอนหลับ ก้าวที่สอง ของยานอนหลับ บันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองได้ส�ำเร็จ แต่ที่สุดต้องฆ่าตัวตายเพราะนาซี ?

4 6 8 12 14 18

ค้นพบความแตกต่างในการท�ำงานของสมอง อย่างมีแบบแผนระหว่างที่เราก�ำลังหลับ

22

เหมียวน้อย...ไขปริศนา

26 28 32 36 38

คนจนผู้ยิ่งใหญ่...ผู้ไขปริศนาแห่ง ความฝัน ก้าวที่สามของยานอนหลับ หนูน้อยไขปริศนา ภาวะตื่นตัว กับ คุณภาพของการนอนหลับ


หนังสือชุด...

4

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

ตอน...

5

“ตำ�นานที่เล่าขาน” Tales to be Told

"นอนไม่ ห ลั บ "

เป็ น ปั ญ หาที่ อ ยู ่ กั บ มนุ ษ ย์ ม ายาวนาน คนในอดี ต ล้ ว นเคย พยายามจะค้ น หา ป ริ ศ น า แ ห ่ ง ก า ร นอนไม่หลับนี้

ครั้งแรกที่มีการบันทึกถึงปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นระหว่าง "ตื่ น นอน" แต่ เ ป็ น ปั ญ หาขณะก� ำ ลั ง นอนหลั บ อยู ่ คื อ เมื่ อ พ.ศ. 143 หรื อ 400 ปี ก ่ อ นคริ ส ตกาล โดยฮิปโปเครติสได้เขียนบันทึกเอาไว้วา่ เขาได้รจู้ กั ผูค้ น มากมายที่ มี อ าการร้ อ งครวญครางในขณะที่ ยั ง หลั บ อยู่ บ้างอยูใ่ นสภาพทุรนทุรายเหมือนขาดอากาศหายใจ บ้ า งกระโดดลุ ก ขึ้ น แล้ ว หนี อ อกทางประตู อ ย่ า งไม่ มี เหตุผล แต่เมื่อตื่นขึ้นแล้ว คนเหล่านั้นก็กลับเป็นปรกติ คืนสู่สภาพเดิม แม้ว่าอาจดูล้าอ่อนแรงไปบ้าง; สิ่งที่เกิด ดังกล่าวนีไ้ ม่ได้เป็นแค่ครัง้ เดียวในชีวติ แต่เกิดขึน้ บ่อย ๆ


หนังสือชุด...

6

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

"นอนไม่หลับ"

ในยุคอารยธรรมกรีกโบราณ พ.ศ. 193 หรือ 350 ปี ก่อนคริสตกาล ในเวลานั้ น อริสโตเติลเป็นคนทีม่ ชี อื่ เสียงโด่งดังทีส่ ดุ และได้ชอื่ ว่าเป็น สัพพัญญูผู้รอบรู้ไปทุกศาสตร์วิชาแห่งยุค เป็นศิษย์เอก ของเปลโต ก่อนจะก้าวขึ้นสู่หน้าที่ พระอาจารย์ของ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และยังเป็นผู้บุกเบิก แนวคิดตรรกศาสตร์ที่ว่า ถ้า A=B และ B=C แล้ว ดังนั้น A=C ซึ่งยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ตอน...

7

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

อริสโตเติลได้เขียนถึง "การตื่ น " และ "การหลับ" ซึ่งเขาเชื่อว่ามันอาจเป็นการ ท�ำงานของร่างกายหรือวิญญาณ เขาให้ ความส�ำคัญอย่างมากกับ "ความฝัน" ทั้ ง ยั ง สั ง เกตเห็ น อี ก ด้ ว ยว่ า สั ต ว์ อื่ น ๆ นอกเหนือไปจากมนุษย์ ไม่ว่าจะอาศัย อยูบ่ นบก ในน�ำ้ หรือในอากาศ ล้วนมีการ นอนหลับ ทั้งนั้น


หนังสือชุด...

8

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

ดาราศาสตร์

เกี่ยวกับชีววิทยาอย่างไร ?

เวลาบนโลก - หนึง่ วัน คือ เวลาทีโ่ ลกใช้ในการหมุนรอบตัวเอง  หนึ่ ง เดื อ น คือ เวลาที่ดวงจันทร์ ใช้ในการหมุนรอบโลก

 หนึ่ ง ปี คื อ เวลาที่ โ ลกใช้ ใ นการ หมุนรอบดวงอาทิตย์

ตอน...

9

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

แล้วชีวิตก�ำหนดเวลา ของมันเองได้ไหม? เมื่อประมาณ 300 ปีก่อน ตรงกับ พ.ศ. 2272 หรือ ค.ศ. 1729 ... Jean-Jacques d'Ortous de Mairan ก็มีความสงสัยในเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน เ ข า สั ง เ ก ต เ ห็ น ว ่ า ต ้ น ไมยราบจะกางใบในช่ ว ง เวลาที่แดดออก (อาจเพื่อ สังเคราะห์แสง) และหุบใบ เมื่ อ ไม่ มี แ ดด (อาจเพื่ อ ป้ อ งกั น การสู ญ เสี ย น�้ ำ ) ซึ่งก็เพื่อให้ชีวิตด�ำรงอยู่ได้


หนังสือชุด...

10

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

อย่ า งไรก็ ต ามเมื่ อ เขาน� ำ ต้นไมยราบไปไว้ในกล่อง ซึ่งท�ำให้ไม่ได้รับแดดเลย เมื่ อ ถึ ง ตามเวลาที่ จ ะได้ รับแดด แม้ไม่มีแสงแดด ไมยราบก็ ยั ง คงสามารถ กางใบได้เอง

ตอน...

11

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

การทดลองนี้เองที่น�ำไปสู่ก้าวส�ำคัญ แห่ ง การไขปริ ศ นา "นอนไม่ ห ลั บ " เพราะน�ำไปสู่ข้อสงสัยใหม่ซึ่งไม่เคยมี มาก่อนว่า ... หรือ ... ต้นไมยราบมีเวลา กางใบที่ก�ำหนดด้วยตัวเอง โดยไม่ต้อง อาศัยสภาพแวดล้อมภายนอก (ในที่นี้ คือ กลางวัน-กลางคืน) ... อันน�ำมาสู่ ... Biological Clock หรือ นาฬิกาชีวิต


หนังสือชุด...

12

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

เมื่อพูดถึง "ยานอนหลั บ " ผู้คนต่างพากันว่า "อันตรายนัก", "ระวั ง ติ ด ยา" ฯลฯ และสุ ด ท้ า ย ก็มกั จบลงด้วยค�ำแนะน�ำทีค่ นุ้ ชินว่า "ห้าม", "อย่า" กินนะ

ตอน...

13

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

มีหลายคืนที่เราจ�ำเป็นต้องหลับ แต่เราก็ต้อง ทนกับการไม่หลับในคืนนัน้ โดยไม่ทำ� อะไรเลย ถ้าวันนีเ้ รากลัวว่าจะติดโทรศัพท์มอื ถือ จะขาดมันไม่ได้ เราคงจะแย่แล้ว ... เทคโนโลยีมีไว้ใช้อย่างฉลาด ซึ่งแน่นอนว่าถ้าใช้แบบไม่ฉลาด ก็เป็นอันตรายได้มากทีเดียว

ยานอนหลับขนานแรกในโลกเกิดขึน้ มา ได้เกือบ 200 ปี มาแล้ว (พ.ศ. 2375) Justus von Liebig เป็ น ผู ้ ค ้ น พบ ยา "คลอราลไฮเดรต" ซึ่งแน่นอนว่า ยาขนานนี้ มี ค นน� ำ มาใช้ อ ย่ า งกว้ า ง ขวางเพื่อแก้ปัญหาภาวะนอนไม่หลับ แต่กแ็ น่นอนว่ามีคนน�ำยาขนานนีไ้ ปใช้ ในทางที่ผิดด้วยเหมือนกัน


หนังสือชุด...

14

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

ตอน...

15

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

... ก้าวทีส่ อง

ของยานอนหลับ ...

ในปี พ.ศ. 2407 หรือ ค.ศ. 1864 นักเคมีรางวัลโนเบลชาวเยอรมัน ชื่ อ Adolf von Baeyer ค้ น พบ กรดบาร์บิทูริก ซึ่งเป็นสารตั้งต้น ของสารประกอบ บาร์บิทูเรต


หนังสือชุด...

16

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

ตอน...

In search of Insomnia Mysteries

พ.ศ. 2447 หรือ ค.ศ. 1904 บริษัทไบเออร์ได้น�ำยานอนหลับ กลุ่มบาร์บิทูเรตเข้าสู่ตลาด เป็นครั้งแรก ในชื่อยา

Veronal

Veronal

17

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told


หนังสือชุด...

18

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

...บันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองได้ส�ำเร็จ

แต่ที่สุดต้องฆ่าตัวตายเพราะนาซี ?...

ตอน...

19

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

ถึ ง แม้ ผู ้ แ ต่ ง จะไม่ ยุ ่ ง เกี่ ย วกั บ การเมื อ ง แต่ก็ยังคงขอพื้นที่ที่จะจารึกเกียรติประวัติ ของ แฮนส์ เบอร์เกอร์ ไว้ ณ ที่นี้ เพราะ เขาเป็นบุคคลหนึ่งที่ส�ำคัญอย่างยิ่งต่อการ ไขปริศนา "นอนไม่หลับ" และมีวรี ประวัติ ที่ควรค่าต่อการยกย่อง แฮนส์ เป็นลูกชายของหัวหน้าแพทย์ใน โรงพยาบาลจิตเวชเมืองโคบวก เยอรมัน เขาพยายามจะตรวจคลืน่ ไฟฟ้าทีเ่ กิดขึน้ จาก สมองโดยดัดแปลงเครื่องกัลวานอมิเตอร์ ที่ เ คยใช้ ใ นการตรวจจั บ คลื่ น ไฟฟ้ า หั ว ใจ เขาใช้ความพยายามเป็นแรมปี ผ่านความ ล้มเหลวนับร้อยครั้ง


หนังสือชุด...

20

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

ตอน...

In search of Insomnia Mysteries

พ.ศ. 2472 หรือ ค.ศ. 1929 เป็น ปี ที่ แ ฮนส์ แ สดงให้ ส าธารณชน ได้เห็นถึงการตรวจจับคลื่นไฟฟ้า ทีเ่ กิดจากการท�ำงานของสมองจาก ผิวหนังศีรษะ เป็นเวลาถึง 6 ปีกว่า ที่สังคมโลกจะได้รับรู้งานชิ้นนี้ ในปี พ.ศ. 2477 หรือ ค.ศ. 1934 เป็นเวลาที่ฮิตเลอร์ ขึ้นเรืองอ�ำนาจ ชีวิตของแฮนส์ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ในปี พ.ศ. 2481 หรือ ค.ศ. 1938 แฮนส์ได้รับค�ำสั่ง จากนาซีให้เผาคนยิวที่ท�ำงานอยู่ในห้องทดลองของเขา ทั้งหมด ซึ่งเขาปฏิเสธ และด้วยอายุ 65 ปีในขณะนั้น เขาจึงตัดสินใจที่จะเกษียณอายุตัวเอง

21

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

ในช่วงเวลานั้นมีการบันทึกเอาไว้ต่าง ๆ นานา ว่าเขาใช้เวลาหลังเกษียณท�ำอะไร แต่หลักฐาน ที่แน่ชัดที่สุดคือช่วงท้ายของชีวิตเขาต้องตก อยู่ในภาวะซึมเศร้าอย่างหนัก และในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2484 หรือ ค.ศ. 1941 เขาก็จบ ชีวิตตัวเองด้วยการแขวนคอฆ่าตัวตาย การค้ น พบความแตกต่ า ง ของคลืน่ ไฟฟ้าสมองในขณะ ที่เราหลับกับในขณะที่เราตื่น เป็นรากฐานส�ำคัญ ซึง่ น�ำไปสู่ การไขปริศนาของ

"นอนไม่หลับ"


หนังสือชุด...

22

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

ตอน...

23

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

ค้นพบความแตกต่าง ในการท�ำงานของสมอง อย่างมีแบบแผน ระหว่างทีเ่ ราก�ำลังหลับ ถัดจากความส�ำเร็จของแฮนส์ เบอร์เกอร์ มาอีกเกือบสิบปี จากเยอรมันมาสู่อเมริกา อัลเฟรด ลูมิสและเพื่อน ๆ ของเขาได้ใช้ ห้องทดลองส่วนตัวน�ำเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้า สมองมาใช้ตรวจจับคลื่นไฟฟ้าที่เกิดจากการ ท�ำงานของสมองระหว่างที่คนเรานอนหลับ

และแล้ ว ... ความส� ำ เร็ จ ของการไขปริ ศ นา "นอนไม่หลับ" ก็บงั เกิดขึน้ อีกครัง้ เมือ่ พบว่า แบบแผนของคลืน่ ไฟฟ้าสมองท�ำให้เราสามารถ แบ่ง "ระยะ" ของการนอนหลับ ได้เป็น 5 ระยะ


หนังสือชุด...

24

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

ไขปริศนา ... ผ่าสมอง

หลังการระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปน หลังสงครามโลกครัง้ ทีห่ นึง่ หรือเมือ่ ร้อยปี ที่ผ่านมา มีการชันสูตรศพผู้เสียชีวิตจาก โรคนีโ้ ดยแยกเป็น 2 กลุม่ ตามอาการรูส้ กึ ตัวก่อนตาย คือ กลุม่ แรกก่อนตายเซือ่ งซึม จนถึ ง หมดสติ ไ ม่ รู ้ ตั ว ตรงข้ า มกั น กั บ กลุ่มสองที่ก่อนตายไม่หลับไม่นอน

ตอน...

25

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

กลุ่มที่ซึมและโคม่าก่อนตายนั้นมีความ ผิดปกติของสมองทีก่ า้ นสมองในบริเวณ ทีร่ ะบายสีชมพูหรือทีเ่ รียกว่า "เรติคลู า่ " ส่วนกลุ่มที่ก่อนตายไม่หลับไม่นอนนั้น มีความผิดปกติของสมองไฮโปทาลามัส ทางด้านหน้าที่ระบายด้วยสีเขียว

การไขปริศนาครั้งนี้ ท�ำโดยนักประสาทวิทยา ชาวเวียนนาชื่อ

Constantin von Economo


หนังสือชุด...

26

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

เหมียวน้อย ...

ไขปริศนา

ตอน...

27

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

ในการทดลองครัง้ ต่อ ๆ มา นักวิจยั ทัง้ สอง ท่านได้พบว่าการการกระตุ้นสมองส่วน เรติคูล่านี้สามารถปลุกสัตว์ทดลองจาก สภาวะที่ยังหลับอยู่ได้

แมว ถูกน� ำ มาใช้ เป็นสั ตว์ทดลองในการค้นคว้า

ทางระบบประสาทที่เกี่ยวกับการนอน เมื่อ พ.ศ. 2492 หรือ ค.ศ. 1949 นักวิจัยชาวอิตาลีชื่ อ Giuseppe Moruzzi และนั ก วิ จั ย ชาวอเมริ กั น ชื่ อ Horace Magoun ร่วมกันท�ำให้แมวโคม่าไม่รู้สึกตัวโดยการ ท�ำลายบริเวณตรงกลางของก้านสมองหรือ ส่วนทีเ่ รียกว่า เรติคูล่า (Reticular Formation) ซึ่งทั้งสองคนสรุปว่า สมองส่ ว นนี้ แ หละที่ ท� ำ ให้ แ มวตื่ น เมื่ อ ถู ก ท� ำ ลายลง แมวจึงไม่ตื่นอีกและเข้าสู่ภาวะไม่รู้สึกตัว

สมองส่วนเรติคูล่านี้รับสัญญาณมาได้จาก หลายช่องทาง ช่องทางทีส่ ำ� คัญช่องทางหนึง่ คือ การรับความรู้สึกหรือ sensory pathway ซึ่งการไขปริศนาครั้งนี้น�ำไปสู่แนวคิดหลัก ที่เป็นพื้นฐานความรู้ส�ำคัญ เรียกว่า RAS หรือ Reticular Activating System


หนังสือชุด...

28

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

ตอน...

29

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

คนจนผูย้ งิ่ ใหญ่ ... ผูไ้ ขปริศนาแห่ง ความฝัน ในชีวิตมนุษย์เรา เวียนวนอยู่ในช่วงเวลา 3 ระยะ คือ ระยะที่ตื่น ระยะที่หลับ ... และ ระยะที่ฝัน

ยูจนี แอสเซอรินสกี้ (Eugene Aserinsky) ชายผู้คนพบ "ชี วิ ต ในระยะที่ ฝ ั น " ผู้มีชีวิต

อยู ่ ใ นฝั น ร้ า ย ชี วิ ต ของยู จี น ก� ำ พร้ า แม่ ตั้ ง แต่ เ ด็ ก พ่ อ ก็ ติ ด การพนั น เมื่ อ แต่ ง งานแล้ ว ภริ ย าก็ ม าป่ ว ย ด้วยโรคจิตไบโพล่าอีก เขาต้องเลี้ยงลูก 2 คน พร้อมกับ ท� ำ งานในห้ อ งทดลองเกี่ ย วกั บ การนอนหลั บ ... ซึ่งนั่นท�ำให้เขาไม่ได้นอนเหมือนคนอื่น

ระยะที่ฝัน นั้น เหมือนกับกายเราไม่ขยับ แต่ใจเรานั้นเขยื้อนไม่สิ้นสุด


หนังสือชุด...

30

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

ตอน...

31

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

การค้นพบครัง้ ส�ำคัญนีถ้ กู ตีพมิ พ์เผยแพร่เมือ่ พ.ศ. 2496 หรือ ค.ศ. 1953 แต่กว่าทีโ่ ลกจะได้ตระหนักถึงคุณค่าของ ผลงานชิ้นนี้เวลาก็ผ่านไป อีกเกือบ 50 ปี ซึ่งในเวลานั้น เขาก็ไม่ได้ท�ำงานกับเรื่องการนอนหลับมาเป็นสิบปีแล้ว

ยูจีน พิสูจน์ให้เห็นได้ว่า ระหว่างที่เราฝันนั้น

มั น ไม่ เ หมื อ นกั บ ระหว่ า งที่ เ ราหลั บ และก็ ไม่เหมือนกับที่เราตื่น ในระยะที่เราฝันนี้ ลูกตา ของเราจะกลอกไปมาอย่างรวดเร็ว (Rapid Eye Movements, REM) โดยมีความสัมพันธ์กนั กับ ความเร็วของชีพจรและการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ของร่ า งกาย หลายคนเรี ย กระยะเวลานี้ ของชีวิตเราว่า third state of being

เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 ชีวิตเขาอยู่ในฝันก่อนที่ยูจีน จะขับรถชนต้นไม้และเสียชีวติ ในที่เกิดเหตุที่แคลิฟอร์เนีย


หนังสือชุด...

32

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

... ก้าวทีส่ าม

ของยานอนหลับ ...

ตอน...

33

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

ผู้ที่ค้นพบตัวยานี้คือ ลีโอ สเทิร์นบาค (Leo Sternbach) หนึ่งในชาวยิวที่อพยพ หนี ภั ย นาซี ใ นช่ ว งสงครามโลกครั้ ง สอง จากบาเซล สวิตเซอร์แลนด์ ไปสู่เมืองเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา โดยท�ำงานอยู่กับบริษัทโรช (Roche)

ในแวดวงคนนอนไม่หลับอย่างพวกเรา คงรู้จัก

ยาแวเลีย่ มกันเป็นอย่างดี ยาแวเลีย่ มนัน้ ได้ชอื่ ว่าเป็นยา ที่ได้รับใบสั่งแพทย์ให้ใช้มากที่สุดในโลกในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2512 ถึง 2525 แวเลี่ยมเป็นยาในก้าวที่สามของ ยานอนหลับกลุม่ ทีเ่ รียกกันทางเคมีวา่ เบนโซไดอะซีปน ี (Benzodiazepines)

ในช่ ว งปี พ.ศ. 2484 เป็ น ช่ ว งเวลาที่ โ ลก ถูกปกคลุมไปด้วยความเครียด ยาคลายเครียด ที่ มี อ ยู ่ ใ นเวลานั้ น เป็ น กลุ ่ ม บาร์ บิ ทู เ รตซึ่ ง มี ผลข้างเคียงมาก มีอันตรายจากการใช้สูงมาก


หนังสือชุด...

34

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

ยาในกลุ่ม เบนโซไดอะซีปีนส์ ที่ลีโอค้นพบเป็นตัว แรก คือ คลอร์ไดอะซิปอกไซด์ (Chlordiazepoxide) หรือ ลิเบรียม (Librium) ที่เรารู้จัก ต่อจากนั้นเขา ก็สามารถสกัดยาแวเลี่ยม(Valium) หรือ ไดอะซีแปม (Diazepam) ทีม่ ฤี ทธ์ลดความวิตกกังวลได้มากกว่าเดิม มาก และในไม่ช้ายาขนานนี้ก็ได้รับความนิยมมากที่สุด อั น ที่ จ ริ ง แล้ ว แวเลี่ ย มถู ก ออกแบบให้ มี ฤ ทธิ์ โ ดยตรง ในการท�ำให้กล้ามเนื้อคลายตัวแต่มันยังมีผลในการ ท� ำ ให้ จิ ต ใจสงบและผ่ อ นคลายซึ่ ง ตรงนี้ เ องที่ ท� ำ ให้ ยาตัวนี้ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง

ตอน...

35

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

ในปี พ.ศ. 2523 เริม่ มีรายงานวิจยั ว่า แวเลีย่ ม มีผลเสพติด เริ่มมีการควบคุมการใช้ และในที่ สุ ด ก็ ถู ก ดึ ง ออกจากตลาด ในปี พ.ศ. 2545 มี ด าราที่ มี ชื่ อ เสี ย ง หลายคนติดยาตัวนี้ ไม่วา่ จะเป็น อลิซาเบต เทย์เลอร์ หรือ แม้แต่ เอ็ลวิส เพรสลีย์


หนังสือชุด...

36

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

ตอน...

In search of Insomnia Mysteries

... หนูน้อยไขปริศนา ... เมือ่ พ.ศ. 2492 มนุษย์เคยใช้ แมว มาคลีค่ ลายปมปริศนา "นอนไม่หลับ" ที่เกี่ยวกับระบบสมองและประสาท ถัดมาอีกสิบกว่าปี คือ พ.ศ. 2506 คราวนี้มนุษย์เปลี่ยน จากแมวมาเป็นหนู แต่ปมปริศนาปมใหม่ไปอยู่ที่ ระบบต่อมไร้ท่อ

37

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

คุณหมอเวิรธ์ แมนและผูช้ ว่ ย จับเจ้าหนูนอ้ ยไปขังไว้

ในที่มืดไร้แสงสว่างอยู่ 6 วัน แล้วคุณหมอก็พบว่าต่อม ไพเนียลของเจ้าหนูเหล่านัน้ มีการสร้างฮอร์โมนเมลาโตนิน เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้เพิ่มเติมต่อ ๆ มา ท� ำ ให้ ท ้ า ยที่ สุ ด แล้ ว คุ ณ หมอสรุ ป ว่ า "แสงสว่ า ง

สามารถยับยั้งการสร้างเมลาโตนินได้"

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เราพบว่า กลไกการท�ำงาน ระหว่างต่อมไพเนียลและแสงสว่างโดยผ่านเมลาโตนินนัน้ ไม่ได้ตรงไปตรงมา ง่าย ๆ อย่างนั้น สิ่งที่ควบคุมการผลิตเมลาโตนินของต่อมไพเนียล ที่ แ ท้ จ ริ ง แล้ ว คื อ เวลาที่ สิ่ ง มี ชี วิ ต นั้ น ก� ำ หนดขึ้ น เอง ซึ่ ง ส� ำ ห รั บ ม นุ ษ ย ์ แ ล ้ ว ส่วนของสมองเล็กๆ ที่ชื่อ

Suprachiasmatic Nuclei เป็นผู้กุมเวลาชีวภาพนี้ไว้


หนังสือชุด...

38

ไขปริศนา นอนไม่หลับ

In search of Insomnia Mysteries

... ภาวะตืน่ ตัว

กับ คุณภาพของการนอนหลับ ... พ.ศ. 2510 ดร.ลอเรนซ์ มอนโร ได้เริ่มบุกเบิก ไขปริ ศ นาเกี่ ย วกั บ คุณภาพของการนอนหลับ เป็ น ครั้ ง แรก โดยศึ ก ษาเปรี ย บเที ย บระหว่ า งกลุ ่ ม ที่ นอนหลับได้ดี (Good Sleepers) กับ กลุ่มที่มีปัญหา นอนไม่หลับขั้นปานกลาง (Poor Sleepers)

ตอน...

39

“ตำ�นานที่เล่าขาน”

Tales to be Told

ดร.มอนโร ได้ ร ายงานถึ ง ความแตกต่ า งที่ ชั ด เจน ทางบุคลิกภาพและสรีรวิทยาของคนสองกลุ่มนี้

กลุม่ ทีม่ ปี ญ ั หาการนอนหลับ (Poor Sleepers)

มักมีความหวั่นไหวทางอารมณ์ ซึ่งเป็นบุคลิกภาพ ประเภท Neuroticism สูงกว่าอีกกลุ่ม

ในทางกิจกรรมทางสรีรวิทยา (Physiological Activity) ทัง้ ก่อนนอนและระหว่างทีน่ อน กลุม่ นอนไม่หลับ (Poor Sleepers) ก็มีระดับที่สูงกว่าอีกกลุ่ม

บทรายงานนี้เองที่เป็นจุดตั้งต้น การเปิดประตูสู่ ... ภาวะตื่นตัวสูงกว่าปกติ ... หรือ Hyperarousal State


ติดตาม เล่มหน้า . . .

ความสุขในยามพักผ่อนนอนหลับ ณ จุดก�ำเนิด นั้น Sleep Medicine หรือ การนอนหลับ

ในทางการแพทย์ เรามั ก พู ด ถึ ง ความผิ ด ปกติ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ซึ่งเกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เวลาผ่านมาครึ่งทาง เราเริ่มศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ระหว่าง “คนที่นอนหลับได้ดี หรือ Good Sleepers” กับ “คนที่นอนหลับได้ไม่ดี หรือ Poor Sleepers” ว่าพวกเขา มีอะไรทีต่ า่ งกัน ท�ำให้เราเริม่ รูว้ า่ ความสนใจไม่ได้อยูเ่ พียงแค่ ความลึ ก ของการหลั บ หรื อ ปริ ม าณของการหลั บ เท่ า นั้ น ยังมีคุณภาพการนอนหลับบางอย่างที่แต่ละคนอาจมีความ คาดหวังที่ต่างกัน เล่ ม หน้ า เราไม่ ไ ด้ พู ด ถึ ง แค่ คุ ณ ภาพ การนอนหลับ แต่เราจะเลยไปถึง ความสุข ... ความสุขในยามพักผ่อนนอนหลับ


Book Book series series mnia o s n I f o h c r a e s In es

i r e t Mys

กรมการแพทย

DEPARTMENT OF MEDICAL SERVICES


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.