PROJECT-BASED: TOYA SOY MILK BRANDING

Page 1



DESIGN BUSINESS IDENTITY OF TOYA SOYMILK FRANCHINE



คณะกรรมการตรวจและตัดสินศิลปนิพนธ์ ประจำปีการศึกษา 2554 อาจารย์นพดล ยุทธมนตรี ประธานกรรมการ อาจารย์ธนาทร เจียรกุล กรรมการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัฒนพันธ์ุ ครุฑะเสน กรรมการ อาจารย์วิรัตน์ พงษ์ทอง กรรมการ อาจารย์จำรัส มหิโคต กรรมการ อาจารย์ธีรพล งามสินจำรัส กรรมการ อาจารย์ไทปิดา มุทิตาภรณ์ กรรมการ อาจารย์สุภัทรา บุญปัญญโรจน์ กรรมการ อาจารย์ปวีณา วาสนาเรืองศุกร์ กรรมการ อาจารย์ยอดขวัญ สวัสดี กรรมการ อาจารย์นฤมล โหราเรือง กรรมการและเลขานุการ



กิตติกรรมประกาศ จากการศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในที่สุดศิลปนิพนธ์โครงการออกแบบ อัตตลักษณ์ธุรกิจแฟรนไชส์นำ้เต้าหู้โทยาฉบับนี้สำเร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์ ของบุคคลหลายท่านซึ่งไม่อาจจะนำมากล่าวได้ทั้งหมดซึ่งผู้มีพระคุณที่ข้าพ เจ้าขอกราบขอบพระคุณคืออาจารย์ประจำภาควิชามัณฑณศิลป์ทุกๆท่าน ตั้งแต่อาจารย์สมัย ปี 1 ที่แสนอดทนและอบรมข้าพเจ้าและเพื่อนร่วมห้อง ให้เข้าทีเ่ ข้าทางและอาจารย์ใน ปี 2 ทีอ่ ดทนอดกลัน้ และให้โอกาสต่อข้าพเจ้าและ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคืออาจารย์ธีรพล งามสินจำรัสซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาศิลป นิพนธ์นี้และท่านอาจารย์นพดล ยุทธมนตรี และที่ขาดไม่ได้คืออาจารย์ นฤมล โหราเรือง อาจารย์ทั้งสามท่านนี้ให้คำแนะนำตรวจทานและแก้ไขข้อบกพร่อง ต่างๆด้วยความเอาใจใส่ทุกขั้นทุกตอนเพื่อให้ศิลปนิพนธ์ฉบับนี้สมบูรณ์ที่สุด ข้าพเจ้าต้องใคร่ขอกราบขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้นอกจากนี้ข้าพเจ้าขอขอบพระ คุณคุณพ่อและคุณแม่ผู้ที่ซึ่งเป็นเบื้องหลังแห่งกำลังใจที่ทำให้ข้าพเจ้าอดทน พร้อมฝ่าฟันอุปสรรคทุกอย่างจนประสบความสำเร็จในวันนี้และที่สำคัญไม่แพ้ กันคือเพื่อนๆน้องๆร่วมชั้นทุกคนที่เดินบนถนนเส้นนี้มาด้วยกันสุขบ้างทุกข์บ้าง แต่ในที่สุดเราก็ได้มีวันนี้ร่วมกันและผู้มีพระคุณท่านอื่นๆอีกมากมายที่ข้าพเจ้า ไม่ได้เอ่ยถึงที่มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและเป็นที่ปรึกษาในการทำศิลปนิพนธ์ ฉบับนี้จนเสร็จสมบูรณ์ซึ่งข้าพเจ้าขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ตรีนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร



บทคัดย่อ

การออกแบบอัตตลักษณ์องค์กรร้านแฟรนไชส์น้ำเต้าหู้โทยามีวัตถุประสงค์ เพื่อการนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ร้านค้านำ้เต้าหู้ของไทยให้มีความงามและ น่าสนใจและยกระดับรูปแบบร้านที่ดูดีมีมาตรฐานมากขึ้นอีกทั้งยังสามารถส่งเสริม การขายและส่งเสริมค่านิยมที่ดีในการรับประทานนำ้เต้าหู้สิ่งแรกที่เป็นสิ่งจูงใจ ในการออกแบบมาจากการชอบรับประทานนำ้เต้าหู้ตั้งแต่เด็กก็จะสังเกตว่าร้านนำ้ เต้าหู้มักมีลักษณะคล้ายคลึงกันโดยเฉพาะร้านรถเข็นคือมักจะมีแค่หม้อต้มนำ้เต้าหู้ กระบอกถังใส่เต้าฮวยและตู้ใสใส่ขนมปังสังขยาหรือปาท่องโก๋อัดแน่นกันอยู่ในตู้ไม่ ว่าจะเป็นร้านจังหวัดใดในประเทศไทยก็ไม่มีร้านใดที่สามารถสร้างเอกลักษณ์เฉพาะ ของรูปแบบร้านให้ผู้คนได้จดจำนอกจากรสชาดที่ถูกปากต่างกันและขายต่างพื้นที่ กันอีกทั้งร้านนำ้เต้าหู้ยังไม่มีระบบการขายแบบแฟรนไชส์อย่างเช่นร้านกาแฟรถเข็น ทั่วไปที่ปัจจุบันนี้ต่างพากันปรับทั้งระบบและรูปแบบร้านเป็นแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐาน และความสวยงามเป็นทีจ่ ดจำได้งา่ ยเป็นจำนวนมากและนีค่ อื สิง่ ทีเ่ ป็นการจุดประกาย ความคิดของการออกแบบอัตตลักษณ์องค์กรร้านแฟรนไชส์​์น้ำเต้าหู้ที่มีเอกลักณ์ที่ดี จดจำง่ายและดูสะอาดมีมาตรฐานโดยเริ่มจากการสังเกตและหาข้อมูลจากแหล่ง ต่างๆและศึกษาเกี่ยวกับกรรมวิธีการผลิตนำ้เต้าหู้ทั้งแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่จน ได้มาลงตัวที่เต้าหู้คินุของญี่ปุ่นจึงนำมาเป็นส่วนผสมหลักที่สำคัญและตั้งชื่อใหม่ว่า โทยา ซึ่งขายนำ้เต้าหู้ที่มีส่วนผสมของเต้าหู้คินุแบบณี่ปุ่นดั้งเดิมจึงออกแบบให้ ลักษณะของแฟรนไชส์รถเข็นมีความเป็นญี่ปุ่นในแบบเซนตามประวัติของนำ้เต้าหู้ ในประเทศญี่ปุ่นที่มีลักษณะเรียบงานและมั่นคงด้วยสีนำ้เงินตัดเหลืองสรุปรูปแบบ การออกแบบสามารถยกระดับทั้งค่านิยมในการดื่มนำเต้าหู้และเพิ่มความงามและ ความภูมิใจในการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ดีและมีมาตรฐานให้กับผู้บริโภคเป็นได้เป็นอย่างดี



สารบัญ

คณะกรรมการตรวจและตัดสินศิลปนิพนธ์ ประจำ ปีการศึกษา 2554 กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ สารบัญ

ก ข ค ง

บทที่ 1 บทนำ 1 ที่มาและความสำคัญของโครงการ 2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา 3 ขอบเขตของการศึกษา 4 ขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษา 6 บทที​ี่ 2 วรรณกรรม/เอกสารที่เกี่ยวข้อง 7 ประวัติเต้าหู้ญี่ปุ่นและนำ้เต้าหู้ 8 ประวัติพระญี่ปุ่นโดยย่อ 9 วิธีการทำเต้าหู้ญี่ปุ่นและน้ำต้าหู้ 12 เต้าหู้ญี่ปุ่นชนิดต่างๆ 15 ประโยชน์จากน้ำเต้าหู้ 17 ความเป็นมาของธุรกิจแฟรนไชส์ 18 ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ถูกต้องคืออย่างไร? 22


สารบัญ

อัตลักษณ์องค์กร วัตถุประสงค์ทางอัตลักษณ์องค์กรขององค์กร ความสำคัญของการออกแบบเอกลักษณ์ขององค์กร

24 26 28

บทที่ 3

การพัฒนาการออกแบบและขั้นตอนการดำเนินงาน แนวทางการออกแบบ การตรวจครั้งที่ 1 (ต.1) การตรวจครั้งที่ 2 (ต.2) การตรวจครั้งที่ 3 (ต.3)

31 32 34 36 38

บทที่ 4

ผลงานออกแบบ ผลงานการออกแบบ

43 44

บทที่ 5

สรุปผลโครงการและข้อเสนอแนะ

64

บรรณานุกรม ประวัติผู้จัดทำศิลปนิพนธ์

68 74


บทที่ 1 บทนำ


2

ชื่อโครงการ โครงการออกแบบอัตตลักษณ์ ร้านแฟรนไชส์น้ำเต้าหู้โทยา

ที่มาและความสำคัญของโครงการ

สิ่งแรกที่เป็นสิ่งจูงใจในการออกแบบมาจากการชอบรับประทานนำ้เต้าหู้ตั้งแต่ เด็กก็จะสังเกตว่าร้านนำ้เต้าหู้มักมีลักษณะคล้ายคลึงกันโดยเฉพาะร้านรถเข็นคือมัก จะมีแค่หม้อต้มนำ้เต้าหู้กระบอกถังใส่เต้าฮวยและตู้ใสใส่ขนมปังสังขยาหรือปาท่องโก๋ อัดแน่นกันอยู่ในตู้ไม่ว่าจะเป็นร้านจังหวัดใดในประเทศไทยก็ไม่มีร้านใดที่สามารถ สร้างเอกลักษณ์เฉพาะของรูปแบบร้านให้ผู้คนได้จดจำนอกจากรสชาดที่ถูกปากต่าง กันและขายต่างพื้นที่กันอีกทั้งร้านนำ้เต้าหู้ยังไม่มีระบบการขายแบบแฟรนไชส์อย่าง เช่น ร้านกาแฟรถเข็นทั่วไปที่ปัจจุบันนี้ต่างพากันปรับทั้งระบบและรูปแบบร้านเป็น แฟรนไชส์ที่มีมาตรฐานและความสวยงามเป็นที่จดจำได้ง่ายเป็นจำนวนมากและนี่คือ สิ่งที่เป็นการจุดประกายความคิดของการออกแบบอัตตลักษณ์องค์กรร้านแฟรนไชส์​์น้ำ เต้าหู้ที่มีเอกลักณ์ที่ดีจดจำง่ายและดูสะอาดมีมาตรฐาน

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

การออกแบบอัตลักษณ์ให้กับองค์กรธุรกิจที่ใช้ได้จริงและมีคุณค่าในสังคม และส่งเสริมค่านิยมที่ดีเกี่ยวกับร้านนำ้เต้าหู้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและทันสมัยให้ เป็นที่ยอมรับของสากลแก่รูปลักษณ์ของนมถั่วเหลืองและสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ดื่ม นมถั่วเหลืองมากๆ


3

กลุ่มเป้าหมาย • •

บุคคลทุกเพศ อายุ 12 - 80 ปี บุคคลที่สนใจดูแลสุขภาพและชอบบริโภคเครื่องดื่มที่มีประโยชน์

สนับสนุนแนวความคิด

MOOD AND TONE

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

การออกแบบอัตลักษณ์องค์กรร้านแฟรนไชส์น้ำเต้าหู้ โทยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อการนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ร้านค้านำ้เต้าหู้ของไทยให้มีความงามน่าสนใจ และยกระดับรูปแบบร้านทีด่ ดู มี มี าตรฐานมากขึน้ อีกทัง้ ยังสามารถส่งเสริมการขายและ ส่งเสริมค่านิยมทีด่ ใี นการรับประทานนำ้เต้าหู้ ดังเช่น แฟรนไชส์รา้ นกาแฟและการออก แบบรูปลักษณ์ดั้งเดิมแบบญี่ปุ่นเพื่อนำเสนอความเป็นของแท้ที่เกี่ยวเนื่องจากเต้าหู้ ญี่ปุ่นด้วยสีนำ้เงินแข้มตัดสีเหลืองสะดุดตา

ลักษณะโดเด่นแต่เรียบง่ายและดูดนี า่ เชือ่ ถือในแบบเซนด้วยสีนำ้เงินเข้มตัดกับสี ของถั่วเหลือง

• •

ค่านิยมที่ดีที่เพิ่มขึ้นในการบริโภคนำ้เต้าหู้ สร้างทัศนวิสัยที่ดีขึ้นจากร้านน้ำเต้าหู้ทั่วไป


4

• • • • • • • • •

ขอบเขตของการศึกษา

ออกแบบโลโก้ของชื่อร้าน - กำหนดแบบสี และ ตัวอักษร ตัวอย่างออกแบบบรรจุภัณฑ์ - แก้วน้ำ ขนาด 16 ออนซ์ 1 แบบ - กล่องบรรจุภาชนะสำหรับกลับบ้าน 1 แบบ ตัวอย่างรูปแบบของร้านและทำตัวอย่างหน้าร้าน - ธงญี่ปุ่น ขนาด 9.5 นิ้ว X 12 นิ้ว จำนวน 4 ชิ้น สกรีนโลโก้ ตัวอย่างออกแบบอัตลักษณสิ่งพิมพ์ต่างๆที่ใช้ในการติดต่อธุรกิจ - กระดาษหัวจดหมาย / ซองจดหมาย / นามบัตร อย่างละ 1 แบบ ตัวอย่างใบปลิวขนาด - POST CARD 5 นิ้ว X 7 นิ้ว ตัวอย่างออกแบบเมนู 1 แบบและป้ายเมนู 1 แบบ - ขนาด A5 เคลือบพลาสติก ตัวอย่างออกแบบชุดพนักงาน (UNIFORM) - เสื้อยืด 1 แบบ - ผ้ากันเปื้อน (APRON) 1 แบบ - ผ้าโพกหัว 1 แบบ ตราปั้มโลโก้และบัตรสะสม - ตราปั้มขนาด 1.5 ซม. X 1.5 ซม. - บัตรขนาด 5.5 นิ้ว X 9 นิ้ว หน้า-หลัง ตัวอย่างหน้าโฆษณาแม็กกาซีน (AVERTISING MAGAZINE) - นิตยสาร “คิด” ขนาด 21 ซม. X 27 ซม. โปสเตอร์โฆษณา - ขนาด 20 นิ้ว X 30 นิ้ว จำนวน 3 ใบ


5

ระยะเวลา/ ขั้นตอนการดำเนินงาน

หาข้อมูลในการนำเสนอหัวข้อโครงการ(ระหว่างปิดภาคการศึกษา) สัปดาห์ที่ 1 เสนอหัวข้อศิลปนิพนธ์ และนำมาปรับแก้ สัปดาห์ที่ 2 ลงมือปฏิบัติการ ขั้นแบบร่าง สัปดาห์ที่ 3 ลงมือปฏิบัติการ ขั้นแบบร่าง สัปดาห์ที่ 4 นำเสนอผลงานศิลปนิพนธ์ ครั้งที่ 1 สัปดาห์ที่ 5 แก้ไขงาน ลงมือปฏิบัติแบบร่างที่สมบูรณ์เพิ่มเติม สัปดาห์ที่ 6 แก้ไขงาน ลงมือปฏิบัติแบบร่างที่สมบูรณ์เพิ่มเติม สัปดาห์ที่ 7 แก้ไขงาน ลงมือปฏิบัติแบบร่างที่สมบูรณ์เพิ่มเติม สัปดาห์ที่ 8 นำเสนอผลงานศิลปนิพนธ์ ครั้งที่ 2 สัปดาห์ที่ 9 ลงมือปฏิบัติงานขั้นตอนงานจริง 50% สัปดาห์ที่ 10 ลงมือปฏิบัติงานขั้นตอนงานจริง 50% สรุปผลโครงการ สัปดาห์ที่ 11 ลงมือปฏิบัติงานขั้นตอนงานจริง 50% สัปดาห์ที่ 12 นำเสนอผลงานศิลปนิพนธ์ ครั้งที่ 3 สัปดาห์ที่ 13 ลงมือปฏิบัติงานขั้นตอนงานจริงทั้งหมด สัปดาห์ที่ 14 ลงมือปฏิบัติงานขั้นตอนงานจริงทั้งหมด สัปดาห์ที่ 15 ลงมือปฏิบัติงานขั้นตอนงานจริงทั้งหมด สัปดาห์ที่ 16 นำเสนอผลงานศิลปนิพนธ์ ครั้งที่ 4 สัปดาห์ที่ 17 ส่งเอกสารฉบับร่าง ให้อาจารย์ที่ปรึกษา สัปดาห์ที่ 18 ทำเล่มภาคเอกสาร สัปดาห์ที่ 19 ทำเล่มภาคเอกสาร สัปดาห์ที่ 20 ส่งภาคเอกสารเล่มสมบูรณ์



บทที่ 2

เอกสารและ ข้อมูลเกี่ยวข้อง


8

อ้างอิง เต้าหู้ จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี หมวดหมู่: ผลิตภัณฑ์จาก ถั่วเหลือง อาหารจีน เข้าถึงจากออนไลน์ http://th.wikipedia.org/wiki/เต้าหู้ อ้างอิง กระทู้ Hiyayakko Tofu ต้าหู้เย็น และ เต้าหู้ญี่ปุ่น (ฮิยายักโกะ โทฝุ) โดย Onishi เข้าถึงจากออนไลน์ http://www.pantown.com/board.php?id=13261&area=4&name=board1&topic=6&action

ประวัติเต้าหู้ เต้าหู้ กำเนิดมากว่า 2,000 ปีในจีนแผ่นดินใหญ่ คนจีนบางกลุ่มถือว่าเต้าหู้เป็น อาหารทีม่ คี ณ ุ ค่าสูงทีอ่ ยูใ่ นความธรรมดาสามัญคนไทยเรียกเต้าหูเ้ พีย้ นมาจากภาษาจีน อ่านว่า โตวฟู คนฮกเกี้ยนเรียกว่า ต้าวหู้ คนญี่ปุ่นเรียกกันว่า โทฟุ (tofu) คนอังกฤษเรียก ฺBean Curd หรือบางครั้งก็เรียกทับศัพท์ว่า Tofu เช่นกัน ส่วนชาวฝรั่งเศสเรียกว่า Fromage de soja (ชีสถั่วเหลือง) เต้าหูก้ อ้ นแรกเกิดขึน้ ในประเทศจีนเล่าขานกันว่าเจ้าชายหลิวอัน (พระนัดดาของ จักรพรรดิหลิวปาง กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์ฮั่น) สั่งให้พ่อครัวบดถั่วเหลืองให้เป็น ผงแล้วนำไปต้มเป็นน้ำซุปด้วยเกรงว่ารสจะจืดเกินไป จึงโปรดให้พ่อครัวเติมเกลือลง ไปปรุงรส เพื่อถวายพระมารดาซึ่งประชวรหนักจนไม่มีแรงที่จะเคี้ยวอาหารได้น้ำซุป ถัวเหลืองนั้นค่อยๆ จับตัวค้นเป็นก้อนสีขาวนุ่มๆ เมื่อพระมารดาเสวยแล้วถึงกับรับสั่ง ว่า “อร่อย” เจ้าชายจึงให้เหล่าพ่อครัวค้นหาสาเหตุ จึงพบว่าเกลือบางชนิดมีผลทำให้ ผงถั่วเหลืองผสมน้ำเกิดการเกาะตัวขึ้นเป็นเต้าหู้

รูปที่ 1 ชื่อภาพ : how-its-made จาก www.cauldronfoods.com/wp-content/themes/cauldron/images/ui/ how-its-made.jpg

รูปที่ 2 ชื่อภาพ : 153 small จาก http://1.bp.blogspot.com/_OPKpPIV_46E/Sp6I2kJOs6I/AAAAAAAAH4Y/ qGk8IJ6rtGk/s400/153+small.jpg


9

อ้างอิง: น้ำเต้าหู้ จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี หมวดหมู่: ผลิตภัณฑ์จาก ถั่วเหลือง เครื่องดื่ม เข้าถึงจากออนไลน์ http://th.wikipedia.org/wiki/น้ำเต้าหู้ อ้างอิง: บทความเรื่อง ประวัติของเต้าหู้ เข้าถึงจากออนไลน์ http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=586&sid=c65cc89f0d38562258c129d48771a0bd

ประวัติเต้าหู้ญี่ปุนและนำ้เต้าหู้ญี่ปุน เต้าหูเ้ ป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากการแปรรูปของ ถั่วเหลือง (ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “ไดซึ (Daizu)” ชาวญี่ปุ่นรู้จักการปลูกถั่วเหลืองมานานแล้วเต้าหู้เดินทางเข้ามาใน ญี่ปุ่นในสมัยนารา มีการบันทึกว่า เคนโตะ พระญี่ปุ่นนำเต้าหู้มาเผยแพร่หลังจาก กลับมาจากการศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศจีนแต่ยังเป็นอาหารที่รับประทานกัน ในหมู่พระญี่ปุ่นร้อยปีถัดมาเต้าหู้จึงได้มาเป็นส่วนหนึ่งในเมนูของชนชั้นขุนนางและ ซามูไรส่วนประชาชนได้ลม้ิ รสในสมัยเอโดะแต่พวกเขาเพิง่ รูจ้ กั วิธดี ดั แปลงถัว่ เหลืองนำไป ปรุงเป็นเต้าหู้เมื่อพุทธศตวรรษที่ 7 โดยทางพุทธศาสนา แต่ศาสนาพุทธในสังคมญี่ปุ่น สมัยนัน้ เป็นศาสนาของชนชัน้ กลางและชนชัน้ สูงบทบาทเต้าหูใ้ นอาหารญีป่ นุ่ จึงจำกัด ไว้กับคนเฉพาะกลุ่มซึ่งแตกต่างจากจีนที่ไม่มีการแบ่งชนชั้นวิธีการเตรียมอาหารจีน และญี่ปุ่นต่างกัน คือ คนจีนพยายามดัดแปลงเต้าหู้ในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น อาจเปลี่ยนรูปทรงหรือรสชาติไปในขณะที่คนญี่ปุ่นกลับพยายามรักษาความเรียบ ง่ายรวมทั้งรสชาติ รูปทรงและสีสันของเต้าหู้ให้คงไว้อย่างเดิมให้มากที่สุด พร้อมกับ เสิร์ฟในจานหรือถ้วยที่สวยงามจนถือว่าเป็นศิลปะขั้นสูงแขนงหนึ่ง

รูปที่ 3 (บน-ซ้าย ) ชื่อภาพ : 6a00d8341c509553ef0120a847bce1970b-800wi.jpg จาก http://eatingasia.typepad.com/6a00d8341c509553ef0120a847bce1970b-800wi รูปที่ 4 (ล่าง-ซ้าย ) ชื่อภาพ : 362967695_66fe9fc8d2.jpg จาก http://farm1.static.flickr.com/134/362967695_66fe9fc8d2.jpg

รูปที่ 5 (บน-ขวา ) ชื่อภาพ : 2228.1.1287730425110.gif จาก http://s3.wokai.org/blog/2228.1.1287730425110.gif รูปที่ 6 (ล่าง-ขวา ) ชื่อภาพ : 702px-Japanese_SilkyTofu_(Kinugoshi_Tofu)จาก http://upload. wikimedia.org/wikipedia/commons/0/03/Japanese_SilkyTofu_%28Kinugoshi_Tofu%29. JPG?uselang=th

รูปที่ 7 ชื่อภาพ : soy milk จาก http://soulflame-zine.blogspot.com/2011/05/content-and-benefit-of-soy-milkfor.html


10

ยุคแรก ๆนั้น เต้าหู้ จะมีราคาแพงมาก ถือ เป็นอาหารของ ชนชัน้ สูงคนในราชสำนัก และ พระสงฆ์( ผูน้ ำศาสนาพุทธ) โดย ว่ากันว่าพระสงฆ์ในสมัยแรกเริม่ ทีน่ ำคำสอนของ พระพุทธเจ้ามาจากประเทศอินเดีย (ผ่านเส้นทาง สายไหม) เข้าสู่ประเทศจีน และ ได้ รับการถ่ายทอดต่อมาถึงประเทศญีปุ่นนั้นเกิดการเข้าใจผิดกันว่า“พระสงฆ์ห้ามทาน เนื้อสัตว์ทุกชนิด” ทานได้แต่พืชผัก เท่านัน้ จากคำสอนทีว่ า่ ห้ามพระสงฆ์เกีย่ วข้องกับ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ( ศีล 5 ) จึงทำให้เกิดความเชื่อกันไปต่างๆนาๆ ว่า หมายความว่า พระสงฆ์ก็ทานเนื้อไม่ได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระสงฆ์ ยุคสมัยมูโรมาฉิ (13931572) แต่พระสงฆ์จำเป็นต้องได้รับโปรตีน จึงมีอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง และ เต้าหู้ มากมาย เกิดขึ้นในญี่ปุ่น เมื่อ 400-200 ปีที่แล้วนี่เอง ตรงกับสมัย เอโดะ จากการจัดพิมพ์ตำรา รวบรวมสูตรอาหารที่มาจากเต้าหู้ 100 ชนิด (ชื่อ หนังสือ Tofu Hyaku Chin) ได้รับความนิยมเป็นที่แพร่หลาย ทั่วประเทศ หลังจากนัน้ การบริโภค เต้าหูก้ เ็ ป็นทีน่ ยิ มมากขึน้ เรือ่ ยๆ โดยชาวญีป่ นุ่ ถือว่า เต้าหูเ้ ป็นอาหารเพือ่ สุขภาพ และ เหมาะกับภูมอิ ากาศ น้ำ และ นิสยั ของคนญีป่ นุ่ เป็นอย่างยิง่ อ้างอิง บทความเรื่อง พระพุทธศาสนามหายานในญี่ปุ่น เข้าถึงจากออนไลน์ http://www.watpaknam.org/knowledge32-พระพุทธศาสนามหายานในญี่ปุ่น.html

ประวัติพระญี่ปุ่นโดยย่อ

หลักศรัทธาดัง้ เดิมของญีป่ นุ่ คือศรัทธาในบรรพบุรษุ (FilialPiety)ในธรรมชาติศรัทธา ทัง้ 2 อย่างรวมกันเป็นความเชือ่ แต่ดง้ั เดิมของญีป่ นุ่ บริเวณทีเ่ ป็นประเทศญีป่ นุ่ ใน ปัจจุบนั ถือว่าเป็นดินแดนแห่งรุง่ อรุณ (Land of rising sun) มีเทพนิยายอยูใ่ นคัมภีรโ์ คยิกิ และนิฮอนงิ ของญีป่ นุ่ (ของชินโต) เป็นตำนานเกีย่ วกับการสร้างเกาะญีป่ นุ่ ตัวละครทีม่ บี ทบาทในการสร้างเกาะญีป่ นุ่ เทพอิซานางิ กับ อิซานามิ อิซานางิ คือ ปฐมเทพทีเ่ ป็นพลังฝ่ายบวก เทียบได้กบั หยางของจีน (เพศชาย) เป็นฝ่ายจิต (นามธรรม) อิซานามิ คือ ปฐมเทพี เป็นพลังฝ่ายลบ เทียบได้กบั หยินของจีน (เพศหญิง) เป็นพลังฝ่ายวัตถุ ทัง้ อิซานางิและอิซานามิ มีปฐมธาตุเป็นตัวควบคุมอยูอ่ กี ทอดหนึง่


11

เส้นทางทีพ่ ระพุทธศาสนาแผ่จากเมืองจีนเข้าไปสูญ ่ ป่ี นุ่ อาจมี 2 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 จากจีน (ปัจจุบนั คือบริเวณเซินหยาง) ผ่านเกาหลีแล้วเข้าสูญ ่ ป่ี นุ่ ซึง่ น่าจะ เป็นบริเวณเกาะฮอนชูและกิวชิว เขตพืน้ ทีภ่ าคกลาง เส้นทางที่ 2 จากจีนผ่านรัสเซียแล้ว เข้าสูญ ่ ป่ี นุ่ ซึง่ น่าจะเป็นบริเวณเกาะฮ็อกไกโด เขตพืน้ ทีภ่ าคเหนือของญีป่ นุ่ พระพุทธศาสนาแผ่จากอินเดียเข้าจีนประมาณ พ.ศ. 600 แผ่จากจีนเข้าสูเ่ กาหลี ประมาณ พ.ศ. 900 จากเกาหลีเข้าสูญ ่ ป่ี นุ่ พ.ศ. 1000 พระพุทธศาสนาก่อนที่จะเข้าไปสู่ญี่ปุ่น ต้องผ่านเกาหลี โดยพระญี่ปุ่นไป ศึกษาพระพุทธศาสนาในจีนแล้วกลับมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในบ้านเมืองของตน แต่เดินทางจากเมืองจีนไปญีป่ นุ่ ต้องผ่านเกาหลีกอ่ น สันนิษฐานว่า พระภิกษุทเ่ี ผยแผ่ พระพุทธศาสนาในเกาหลีเป็นพระญีป่ นุ่ เพราะมีชอ่ื เหมือนชาวญีป่ นุ่ เช่น พระเอโดะ

รูปที่ 8 ชื่อภาพ : Japan: Buddhist monk จากhttp://www.flickr.com/search/?page=3&q=japanese+monk&z=m by PhotoBoy_00

รูปที่ 9 ชื่อภาพ : Japanese_buddhist_monk_by_Arashiyama_cut.jpg จาก http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/74/Japanese_buddhist_monk_by_Arashiyama_cut.jpg


12

อ้างอิง บทความเรื่อง รวมสูตรน้ำเต้าหู้ (นมถั่วเหลือง) เข้าถึงจากออนไลน์ http://www.kroobannok.com/blog/11291

วิธีการทำเต้าหู้ญี่ปุ่นและนำ้เต้าหู้

ก่อนที่จะได้เต้าหู้นั้นก็จำเป็นที่จะต้องแปรรูปถั่วเหลืองให้เป็นน้ำนมถั่วเหลือง หรือ น้ำเต้าหู้ ภาษาญีป่ นุ่ เรียกว่า โทนิว (Tonyu) อันดับแรกคนญีป่ นุ่ ส่วนใหญ่ ไม่ค่อยนิยมนำมาดื่ม(แบบนมสด)กันเท่าไหร่ส่วนใหญ่มักจะนำไปส่วนประกอบใน การทำขนม, อาหารประเภทหม้อไฟ (นาเบะ หรือ ชาบู ชาบู (สุกห้ี ม้อไฟ - Shabu Shabu) การทำเต้าหู้เป็นกระบวนการผลิตที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนมากดั้งนั้นจึงมีผู้ ที่ดูแลการผลิตเรียกว่า “เถ่าชิ่ว” หรือพ่อครัวเป็นผู้ที่มีความชำนาญและสมาธิอย่าง สูง เริ่มด้วยการตวงถั่วเหลืองแล้วแช่ถั่วในน้ำพร้อมทั้งล้างน้ำจนกระทั้งสะอาด จาก นั้นจึงนำไปบดด้วยเครื่องโม่เสร็จแล้วจึงกรองกากถั่วเหลืองออกจนได้น้ำเต้าหู้ดิบ แล้วนำไปต้ม (ขั้นตอนตรงนี้จะเป็นน้ำเต้าหู้สุกพร้อมดื่ม) นำน้ำเต้าหู้ที่ได้ผ่านการต้ม แล้วแยกจะนำไปผ่านขั้นตอนการทำเป็นเต้าหู้ชนิดต่างๆ ต่อไปซึ่งการทำเต้าหู้แต่ละ ชนิดวิธีการก็จะแตกต่างกันออกไป หลังจากนั้นก็จะนำ น้ำเต้าหู้ ไปผ่านกรรมวิธีการผลิต โดยนำไปผสมกับ นิงะริ (Nigari) ซึ่งก็คือ ดีเกลือ (แมกนีเซียมซัลเฟต) นั่นเอง จนได้เป็น เต้าหู้ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า โทฝุ / โทฟุ (Tofu )

รูปที่ 10 ชื่อภาพ : 148 small จาก: http://3.bp.blogspot.com/_OPKpPIV_46E/Sp6I2NL-MTI/AAAAAAAAH4Q/oyDGj60PYu4/s400/148+small.jpg

รูปที่ 11 ชื่อภาพ : 078 small จาก: http://3.bp.blogspot.com/_OPKpPIV_46E/Sp6I2NL-MTI/AAAAAAAAH4Q/oyDGj60PYu4/s400/078+small.jpg


13

วิธีการทำน้ำเต้าหู้ ส่วนผสมโดยประมาณ : ถั่วเหลือง 1 กิโลกรัม เลาะเปลือกแยกกากและเศษผงออก น้ำสะอาด 32 ถ้วย ( ประมาณ 8 ลิตร ) เกลือเสริมไอโอดีน ป่น 1 ช้อนชา น้ำตาลทรายขาวละเอียด 360 กรัม ขั้นตอนการทำ : 1. เลือกเมล็ดถัว่ ทีเ่ สียออกล้างน้ำแล้วแช่ น้ำ 3 ชัว่ โมง จนเมล็ดถัว่ พองและอมน้ำเต็มทีบ่ ี้ เอาเปลือกออกให้หมด(ควรใช้ถว่ั เหลืองซีก) การแช่ถั่วเหลืองไม่ควรนานเกิน 2-3 ชม. ให้สังเกตว่าพอเม็ดถั่วเริ่มพองอมน้ำเต็มที่ ก็จะใช้ได้ถ้าเราแช่เมล็ดถั่วเหลืองในนาน เกินไปจะทำให้โปรตีนในถั่วจับตัวกันได้ไม่ ดีเท่าที่ควร

รูปที่ 12 ชื่อภาพ : 6-20050825221957 จาก: http://www4.pantown.com/data/13261/board/6-20050825221957.jpg

รูปที่ 13 ชื่อภาพ : canadian-non-gmo-soya-beans จาก: http://3.bp.blogspot.com/_OPKpPIV_46E/Sp6I2NL-MTI/AAA/canadian-non-gmo-soya-beansl.jpg

2. แบ่งถัว่ เหลืองพอประมาณใส่ในเครือ่ ง ปัน่ น้ำผลไม้ แล้วใส่นำ้ ให้พอปริม่ ๆถัว่ เหลือง ปั่นให้ละเอียดแบ่งปั่นไปเรื่อยๆหรือบดด้วย โม่หิน จนถั่วเหลืองหมด รูปที่ 14 ชื่อภาพ : 053 small จาก: http://1.bp.blogspot.com/_OPKpPIV_46E/Sp5_Y-Oxa4I/AAAAAAAAH1A/LwRczqa-xac/s1600-h/053+small.jpg


14

3. ตวงน้ำ 2 ลิตร นำไปต้มจนเดือดจัด 4. กรองส่วนผสมด้วยผ้าขาวบางนำขึ้น ตั้งไฟ ตอนใกล้ๆ เดือดต้องคอยคนอยู่ เสมอเพื่อไม่ให้ไหม้ 5. บีบเอาน้ำนมถั่วเหลืองออกให้หมด แยกน้ำออกเพื่อเป็นน้ำเต้าหู้สด

รูปที่ 15 ชื่อภาพ : 065 small จาก: http://4.bp.blogspot.com/_OPKpPIV_46E/Sp5_aANfOzI/AAAAAAAAH1Y/sECt9-FGSzo/s400/065+small.jpg

6. เทน้ำลงในหม้อทีละน้อยคนให้เข้า กั น จนโปรตี น ถั่ ว เหลื อ งจั บ ตั ว เป็ น ก้ อ น “คล้ายกะทิแตกมัน” 7. ตั้ ง หม้ อ ทิ้ ง ไว้ สั ก ครู่ ใ ห้ โ ปรตี น ตก ตะกอน เคี่ยวต่ออีกประมาณ 5 นาที ปิดไฟหรือยกลง เติมน้ำตาลและเกลือป่น ชิมรสตามชอบ

รูปที่ 16 ชื่อภาพ : 080 small จาก: http://3.bp.blogspot.com/_OPKpPIV_46E/Sp6I2NL-MTI/AAAAAAAAH4Q/oyDGj60PYu4/s400/080+small.jpg

8. ตักโปรตีนถั่วเหลืองใส่พิมพ์ไม้ที่รองด้วย ผ้าขาวบางจนเต็ม ห่อให้เรียบร้อย 9. ทับด้วยเขียงหรือของหนักๆ ประมาณ 30 นาที จะได้เต้าหู้ (ถ้าไม่ชอบแข็งมาก ไม่ต้องทับก็ได้) รูปที่ 17 ชื่อภาพ : pressing the tofu collage copy.jpg จาก: http://4.bp.blogspot.com/_OPKpPIV_46E/Sp6JRL33-mI/AAAAAAAAH5A/U9Gxvs5Nfn8/s1600-h/pour+into+tofu+mold+collage +2+copy.jpg


15

อ้างอิง บทความเรื่อง ประวัติของเต้าหู้, เข้าถึงจากออนไลน์ http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=586&sid=c65cc89f0d38562258c129d48771a0bd อ้างอิง กระทู้ Hiyayakko Tofu ต้าหู้เย็น และ เต้าหู้ญี่ปุ่น (ฮิยายักโกะ โทฝุ) โดย Onishi เข้าถึงจากออนไลน์ http://www.pantown.com/board.php?id=13261&area=4&name=board1&topic=6&action

เต้าหู้ญี่ปุ่นชนิดต่างๆ เต้าหู้ชนิดอ่อน เต้าหู้ชนิดเหลืองนิ่ม วิธีการทำต่างจากเต้าหู้ขาวแข็งเพราะต้องนำแคลเซียม ชนิดหนึ่งมาใส่เพิ่ม ภาษาจีนเรียกว่า “เจียะกอ” ซึ่งช่วยให้น้ำเต้าหู้ตกตะกอนและเนื้อ เนียนไม่แข็งเท่าเต้าหู้ขาวแข็ง เมื่อตกตะกอนแล้วนำมาใส่ผ้าขาวบางห่อในบล็อกให้ เป็นก้อนแล้วนำไปต้ม ใส่ขมิ้นให้ได้สีเหลืองคุณสมบัติเด่นของเต้าหู้เหลืองนิ่มคือ เมื่อ นำไปทอดแล้วจะทำให้ได้เต้าหู้ที่กรอบนอกนุ่มใน เต้าหู้ชนิดนี้เหมาะที่จะนำไปผัดกับ กุยช่ายขาว ทอดจิ้มน้ำจิ้มเปรี้ยวหวาน ทอดกินกับน้ำพริกกะปิหรือทอดจิ้มกับน้ำจิ้ม ซีฟู้ดก็ได้ เต้าหู้ชนิดขาวอ่อน ลั ก ษณะอ่ อ นนุ่ ม กว่ า เต้ า หู้ เ หลื อ งนิ่ ม กรรมวิ ธี ก ารผลิ ต เหมื อ นกั บ เต้ า หู้ เหลื อ งนิ่ ม จะต่ า งกั น เพี ย งเวลาในการทำน้ อ ยกว่ า เต้ า หู้ ช นิ ด นี้ นิ ย มนำไปทำ เป็นแกงจืดเต้าหู้นึ่งหรือสเต๊กเต้าหู้ เต้าหู้ชนิดห่อผ้า วิ ธี ก ารทำเหมื อ นกั บ เต้ า หู้ ช นิ ด ขาวอ่ อ นต่ า งกั น เพี ย งการบรรจุ หี บ ห่ อ ที่ นำมาห่ อ ผ้ า แล้ ว มั ด ทำให้ แ ข็ ง และคงรู ป ร่ า งได้ ดี ม ากขึ้ น เมื่ อ นำไปทำอาหาร ส่วนใหญ่จะนำไปทำเต้าหู้ทรงเครื่องหรือแกงจืด เต้าหู้ชนิดแข็ง เต้าหู้ชนิดขาวแข็ง ทำจากน้ำเต้าหู้ผสมกับดีเกลือ (แมกนีเซียมซัลเฟต) ที่ช่วย ทำให้เกิดการตกตะกอนเมื่อตกตะกอนแล้วจึงนำไปใส่ในผ้าขาวที่ปูอยู่ในบล็อกพอ สะเด็ดน้ำแล้วจึงห่อให้เป็นก้อนแล้วทำให้สะเด็ดน้ำอีกครั้งก็จะได้เป็นเต้าหู้ขาวแข็ง


16

ชนิดนี้แข็งและมีความยืดหยุ่นกว่าชนิดขาวแข็ง ส่วนใหญ่นำไปทำผัดไทย หมี่กะทิ ผัดถั่วงอก ผัดขลุกขลิกน้ำพริกเผาหรือนำไปผสมเป็นเครื่องก๋วยเตี๋ยวหลอด เต้าหู้ชนิดทอด มีส่วนประกอบคล้ายกับเต้าหู้ขาวแข็งแต่มีสัดส่วนและเทคนิคที่แตกโดยมากจะใส่ ในอาหารประเภทต้ม (พะโล้ ต้มผัดจับฉ่าย แกงต่างๆ และลูกชิ้นแคะ) เต้าหู้ชนิดซีอิ๊วดำ วิธีทำนำเต้าหู้ชนิดเหลืองแข็งไปเคี่ยวกับซีอิ๊วดำและเครื่องเทศสมุนไพรต่างๆ เพื่อให้เกิดกลิ่นหอมและรสชาติที่แตกต่างโดยใส่น้ำตาลทรายแดงทำให้มีรสชาติที่ กลมกล่อมสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าเต้าหู้ชนิดอื่นๆเพราะมีความชื้นน้อย ถ้าเก็บใส่ ช่องฟรีซจะเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เต้าหู้หลอด เป็นเต้าหูเ้ นือ้ นิม่ มีสองชนิดคือชนิดทีท่ ำมาจากถัว่ เหลืองล้วนและชนิดทีผ่ สมไข่ไก่ (เรียกว่าเต้าหูไ้ ข่) นิยมนำมาใส่ในแกงจืด สุกยี ากี้ ทำเต้าหูอ้ บ เต้าหู้ ตุน๋ หรือนำมาคลุก กับแป้งข้าวโพดแล้วทอด เต้าหู้พวง เป็นเต้าหู้หั่นเป็นชิ้นแล้วทอดร้อยเชือกขายเป็นพวงใช้ใส่ในก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ และพะโล้ เต้าหู้โมเมน เต้าหู้ชนิดนี้เนื้อค่อนข้างแข็งแน่นสมัยก่อนจะมีการนำเอาผ้าฝ้ายมากรองด้วย ตอนวางใส่แม่พิมพ์น้ำเต้าหู้จะไหลผ่านผ้ากรองได้เร็วกว่าผ้าไหมก็ จะได้เต้าหู้เนื้อนิ่ม


17

อ้างอิง บทความเรื่อง เต้าหู้แบบต่าง ๆ เข้าถึงจากออนไลน์ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=tao-yiipun&month=06-06-2008&group=4&gblog=3

เต้าหู้คินุ เป็นการผลิตแบบญี่ปุ่นเช่นกัน เนื้อเหมือนเต้าหู้ขาวอ่อนสามารถนำ ไปประกอบอาหารได้เช่นเดียวกับเต้าหู้ขาวอ่อนต่างกัน เนื้อสัมผัสที่ได้จากเต้าหู้ชนิด นี้มีความอ่อนนุ่มกว่าเต้าหู้ขาวแข็ง เมื่อนำไปทอดแล้วจะพองตัวมากกว่าและภายใน แต่จะมีเนื้อเต้าหู้อยู่ไม่พองหรือกลวง คินุ โทฝุ (Kinu Tofu -絹豆腐) เป็น เต้าหูอ้ อ่ น เนือ้ ละเอียด เรียบ ลักษณะค่อนข้างนิม่ อ่อน (คล้ายเต้าฮวย แต่แข็งกว่านิดหน่อย) บรรจุใส่พิมพ์ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม หรือทรงกลม หรือตามความชอบของผู้ผลิตได้ ข้อควรระวัง คือแหลก และเละได้ง่าย จากลักษณะของเนื้อเต้าหู้ชนิดนี้แล้วคล้ายๆกับเต้าหู้ขาวที่บรรจุใส่หลอด คำว่า คินุ ( Kinu - 絹) แปลว่า ผ้าไหม ซึ่งกรรมวิธีการผลิตในสมัยก่อนนั้น จะใช้ผ้าไหมเนื้อละเอียด มากรองน้ำเต้าหู้ เพื่อให้ได้เนื้อเต้าหู้ที่มีคุณสมบัติ เนื้อนิ่ม เรียบ ละเอียด และอุ้มน้ำได้มากขึ้น คินุ โทฝุ เนื้อค่อนข้างนุ่มนิ่ม นิยมนำมาทานกันแบบสด ๆวิธีการก็แสนจะง่าย เพียงแค่หน่ั เป็นก้อนขนาดรับประทานจัดใส่ชามโรยหน้าด้วยเครือ่ งเคียงตามชอบ เป็น เต้าหูช้ นิดทีค่ นญีป่ นุ่ ทุกเพศทุกวัยนิยมรับประทานมากทีส่ ดุ

รูปที่ 18 ชื่อภาพ : freshtofu-1 จาก: http://www.japanesefoodreport.com/photos/freshtofu-1.JPG

รูปที่ 19 ชื่อภาพ : 899px-Japanese_SilkyTofu_(Kinugoshi_Tofu) จาก: http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/03/Japanese_SilkyTofu_(Kinugoshi_Tofu).JPG/1199px-Japanese_ SilkyTofu_(Kinugoshi_Tofu).JPG&imgrefurl=http://en.wikipedia.org/wiki/File:Japanese_SilkyTofu_(Kinugoshi_Tofu).JPG&


18

ประโยชน์จากน้ำเต้่าหู้ เต้าหู้ เป็นผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองซึ่งให้คุณค่าทางโภชนาการสูงนั่นคือโปรตีน ซึ่งให้โปรตีนมากกว่าเนื้อสัตว์บางชนิดถึง 2 เท่าในปริมาณที่เท่ากันและมีราคาถูกอีก ด้วยถั่วเหลืองซึ่งนำมาผลิตเป็นเต้าหู้ยังมีเลซิทินซึ่งมีผลในการลดส่งเสริมการทำงาน ของระบบประสาทที่เกี่ยวกับความทรงจำรวมทั้งฮอร์โมนจากพืชที่เรียกว่า ไฟโตเอสโทรเจน ที่มีการวิจัยพบว่ามีผลในการป้องกันมะเร็งและมีผลดีต่อผู้หญิงวัยทองคือ ช่วยชะลอภาวะหมดประจำเดือนและลดความเสีย่ งในการเป็นมะเร็งเต้านมสารอาหาร จำพวกคาร์โบไฮเดรตในถั่วเหลืองไม่มีแป้งจึงทำให้ถั่วเหลืองเป็นอาหารที่เหมาะ สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน, คนที่ต้องการลดน้ำตาล หรือผู้หญิงที่ย่างเข้าสู่วัยทอง ในถั่วเหลืองอุดมไปด้วยเกลือแร่ต่าง ๆ เช่น เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการ เจริญเติบโตของกระดูก และที่สำคัญก็คือ ธาตุเหล็กช่วยในการบำรุงโลหิต ถั่วเหลือง ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ ,บี 1, บี 2 , ดี, อี, เค และไนอะซีน ยังพบได้ว่าในถั่วเหลืองมี วิตามินบี 2 มากกว่าพืชชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าถั่วเหลือง ประกอบด้วยไบโอติน โคลิน และอิโนซิทอล ที่ทำหน้าคล้ายวิตามินได้อีกด้วย นอกจากนี้ ถั่วเหลือง มีโปรตีนมากที่สุด แต่เป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจาก ขาดกรดอะมิโนทีจ่ ำเป็นบางตัว คือเมทไทออนีนและซีสตีนสูง แต่ไลซีนต่ำ ถ้าคิดเทียบ น้ำหนักกับอาหารประเภทอื่น ๆ จะพบว่ามีปริมาณโปรตีนสูง เช่น สูงกว่าเนื้อสัตว์ 2 เท่า , สูงกว่าไข่ไก่และข้าวสาลี 4 เท่า , สูงกว่าขนมปัง 5-6 เท่า และสูงกว่านมวัว 12 เท่า จึงสรุปได้ว่า เต้าหู้เหมาะกับทุกคนในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไปเพราะเต้าหู้จะช่วยให้ระบบการย่อยทำงานได้ดีขึ้น


19

อ้างอิง บทความเรื่อง แฟรนไชส์ คืออะไร? เข้าถึงจากออนไลน์ http://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php?docuID=48

ความเป็นมาของธุรกิจแฟรนไชส์ ธุรกิจแฟรนไชส์ คือ วิธีการหนึ่งในการขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย ของธุรกิจ โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระที่เรียกว่า แฟรนไชส์ซี ส่วนทางบริษัทให้สิทธิ เครื่องหมายการค้า ซึ่งถ้ายังไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิถือว่าไม่ถูกต้อง ต้องไปจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เพราะถ้าไม่มีเครื่องหมายการค้าจะไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้ รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญหรือ Know How อาจจะเป็นวิธีการในการทำธุรกิจที่จะถ่าย ทอดให้แฟรนไชส์ซีในรูปแบบของการทำงานทั้งหมดเช่นระบบการผลิตระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาดเพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจในทุกๆสาขาให้อยู่ใน มาตรฐานเดียวกันการจัดธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์จะต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียม ต่างๆกับผู้ที่ต้องการมาลงทุนซึ่งเป็นธรรมดาเมื่อเป็นธุรกิจก็ต้องมีกิจกรรมที่เกี่ยว ข้องกับ เงินๆ ทองๆ มาเกี่ยวข้อง ในระบบแฟรนไชส์ก็จะมีชื่อเรียกเฉพาะเช่น คำว่า ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น Initial Franchise Fee บางที่เรียกว่า ค่าสิทธิ์แรกเข้า หรือ Entrance Fee เป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นของระบบแฟรนไชส์ที่แฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายให้ แก่ แฟรนไชส์ซอร์ เป็นค่าสิทธิในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตราสินค้าหรือบริการหรือ เครื่องหมายการค้าหนึ่ง ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด โดยแฟรนไชส์ซอร์ส่วนใหญ่จะ เสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนกับรายจ่ายนี้เป็นการอำนวยความสะดวกต่อ การทำธุรกิจรวมถึงการอบรมบริการต่างๆ ที่ทางแฟรนไชส์ซอร์จัดให้แก่แฟรนไชส์ซี สิ่งที่เป็นค่าใช้จ่ายระบบแฟรนไชส์อีกอย่างก็คือเงินรายงวดค่าธรรมเนียมการ จัดการ หรือเรียกว่า ค่ารอยัลตี้ (Royalty Fee) ซึ่งเป็นค่าสิทธิต่อเนื่องบนรายได้ที่ แฟรนไชส์ซีได้ จากการดำเนินธุรกิจที่ได้รับสิทธิ เสมือนหนึ่งเป็นภาษีทางธุรกิจ หรือ ค่าสมาชิกสโมสรที่ทุกคนที่เป็นสมาชิกต้องช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนำไปพัฒนานั่นเอง


20

แฟรนไชส์ซีจะจ่ายให้แก่แฟรนไชส์ซอร์เป็นรายเดือนโดยคิดคำนวณจากสัดส่วนของ ยอดขายสุทธิในแต่ละเดือนทั้งนี้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจจะถูกกำหนดให้คงที่หรือผัน แปรก็ได้หรืออาจจะเป็นทั้ง 2 แบบรวมกัน แฟรนไชส์ซอร์ อาจแลกเปลี่ยนด้วนการให้ บริการต่างๆ เช่น จัดรายการโฆษณาและสนับสนุนการขาย ให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขั้น ตอนต่างๆอย่างสม่ำเสมอและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนือ่ ง ทั้งค่า Royalty และค่าการตลาดในธุรกิจแต่ละประเภทมักจะมีความแตกต่าง กันไปการตัง้ ระดับทีเ่ หมาะสมของค่าRoyaltyนีจ้ ะขึน้ อยูก่ บั ความเข้มข้นของการบริการ และการสนับสนุน รวมถึงการพัฒนาต่างๆ ซึ่งค่า Royalty จะต้องครอบคลุมค่าใช้จ่าย เหล่านี้ และเพิม่ เติมด้วยผลกำไรของแฟรนไชส์ซอร์ ยิง่ การบริการต่างๆ มีมากอัตราค่า Royalty จะยิ่งสูงขึ้น ในธุรกิจอาหารและร้านค้าปลีกต่างๆ อัตราเปอร์เซ็นต์ของค่า Royalty บนยอดขายมักจะมีค่าประมาณ 4-6 % ขณะที่ธุรกิจประเภทการบริการมัก อยู่ที่ 8-10 %

รูปที่ 20 ชื่อภาพ : 01_7eleven_front02 ที่มา: http://www.thaifranchisecenter.com/images/Directory/franchisethai/07store/01_7eleven_front02.jpg

รูปที่ 21 ชื่อภาพ : starbucks-740160 ที่มา: http://cache.gawker.com/assets/images/7/2011/03/starbucks-740160.jpg


21

ค่าใช้จ่ายข้างต้นเป็นสิ่งที่แตกต่างกับการทำธุรกิจทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายที่จะช่วย ลดความเสี่ยง ของการล้มเหลวในธุรกิจและช่วยให้เถ้าแก่ใหม่เรียนลัดได้เร็วขึ้นกว่า ปกติ เหมือนกับการจ่ายค่าติวเข้มทางธุรกิจและจ้างพี่เลี้ยงช่วยเหลือ นอกจากนี้ยังมี ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในระบบธุรกิจแฟรนไชส์อีก เช่น การลงทุนตกแต่งร้าน เพื่อให้มีรูป ลักษณ์เหมือนกับของแฟรนไชส์ซอร์ ซึ่งต้นทุนนี้จะเกิดขึ้นในระยะแรกของการตกลง ใจที่จะทำแฟรนไชส์ ดังนั้นแฟรนไชส์ซี จำเป็นจะต้องมีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับค่า ใช้จา่ ยล่วงหน้าส่วนนี้ พร้อมทัง้ ต้องแบ่งสรรเงินทุนส่วนหนึง่ ให้เพียงพอกับการดำเนินงาน ธุรกิจตามปกติ เช่น ค่าใช้จ่ายทั่วไป เงินเดือนพนักงาน การสั่งซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น ระบบแฟรนไชส์เริ่มที่เมืองไทยเมื่อใด ถ้าจะมองธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยที่มีการริเริ่มมากกว่า 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ต้องยอมรับว่าระบบแฟรนไชส์ของคนไทยมีการเติบโตช้า ธุรกิจแรกๆ ที่ พยายามผลักดันการขยายงานโดยใช้รปู แบบแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจด้านอาหารและร้านค้า แบบมินิมาร์ท แต่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องของทั้งแฟรนไชส์ เซอร์ที่เป็น เจ้าของสิทธิและแฟรนไชส์ซีที่เข้ามาซื้อสิทธิ ที่มักจะพบว่าแฟรนไชส์ซีทำ ตัวเป็นผูล้ งทุน ทีเ่ น้นทำธุรกิจแบบซือ้ เพือ่ การลงทุน ไม่มกี ารมองถึงการสร้างธุรกิจของ ตนเอง บางครั้งยังใช้การบริหารแบบเก่าที่เน้นความเป็นระบบครอบครัว ทำให้อัตรา ความล้มเหลวธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยในภาพรวมเพิ่มขึ้น

รูปที่ 22 ชื่อภาพ : s-ชายสี่หมี่เกี๊ยว-ปากซอยนวมินทร์-42 ที่มา: http://m.wongnai.com/photos/ff8080813238062a01323a2988d40b21/s-ชายสี่หมี่เกี๊ยว-ปากซอยนวมินทร์-42.jpg

รูปที่ 23 ชื่อภาพ : 000GTD7A3B7C349B7AD525l ที่มา: http://th.openrice.com/UserPhoto/photo/0/2D/000GTD7A3B7C349B7AD525l.jpg


22

แฟรนไชส์ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร?

ความเข้าใจในระบบแฟรนไชส์ที่ผิดอีกอย่างคือการสร้างแฟรนไชส์ที่มองเพียง แค่เม็ดเงินทีเ่ ข้ามาหมุนเวียน ไม่ได้มองถึงฐานของระบบธุรกิจจริงๆขาดระบบการควบ คุมการจัดการที่ดี ขาดแฟรนไชส์ซีที่มีความเข้าใจการดำเนินการในรูปแบบสาขาซึ่ง สาเหตุหลักก็มาจากการที่ไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ในแนวที่ถูกต้อง ไม่ได้วิเคราะห์ ความต้องการทางการตลาด ความเป็นไปได้ของการสรรหาทำเลของร้านสาขา หรือ การศึกษาผูบ้ ริโภคในแต่ละพืน้ ที่ แฟรนไชส์ซอร์เร่งกระจายขายแฟรนไชส์โดยมองผล ของการรับสิทธิค่าธรรมเนียมเป็นเหตุให้แฟรนไชส์ยากที่จะประสบผลสำเร็จและล้ม เหลวต่อเนื่องการที่สร้างระบบงานแบบแฟรนไชส์นั้น สภาพการบริหารงานจะเป็น เสมือนหนึ่งเป็นการสร้างสาขาของบริษัทเอง ดังนั้นการบริหารจัดการจะต้องเหมือน เป็นร้านค้าของบริษัทด้วย เพียงแต่การลงทุนเป็นของแฟรนไชส์ซี เท่านั้น ดังนั้นการ ทำรูปแบบแฟรนไชส์ที่ต้องการดูแลที่ดีจึงต้องมีค่าใช้จ่าย และทีมงานที่เพียงพอ รวมถึงผลกำไรของบริษัทแม่ในการดูแลธุรกิจทั้งหมด ถ้าจะต้องมีการทำงานดังกล่าว โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆก็มีความเป็นไปได้น้อยมาก ดังนั้น ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลัก 5 ประการคือ • มีผู้ซื้อและผู้ขายแฟรนไชส์ เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่าย ก็คือ แฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี ซึง่ มีการตกลงร่วมในการทำธุรกิจร่วมกันทัง้ มีสญ ั ญา และไม่มีสัญญา แต่ในอนาคตรูปแบบข้อตกลงจะปรับรูปสู่ระบบการสร้างสัญญา ทั้งหมด เพื่อให้ทั้งระบบแฟรนไชส์ในตลาดจะต้องถูกระบบ เพราะไม่เช่นนั้นแฟรนไชส์ เซอร์ที่ไม่ดีจะทำลายระบบด้วย


23

• เครื่องหมายการค้า หรือบริการ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบ ธุรกิจ และใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกันระบบการจัดการธุรกิจอาจจะเป็นเครื่องมือ • หรือสูตรที่คิดค้นขึ้นมาเองในการผลิตสินค้าหรือบริการโดยมีมาตรฐานที่ อยู่ในตราสินค้า Brand เดียวกัน • มีการจ่ายค่าตอบแทนอย่างน้อย 2 อย่างคือค่าแรกเข้าในการใช้เครื่อง หมายการค้า (Franchise Fee) และค่าตอบแทนผลดำเนินการ (Royalty Fee) • การทำระบบธุ ร กิ จ ในรู ป แบบแฟรนไชส์ ส ามารถสร้ า งระบบการจั ด จำหน่ายได้ยืนยาวในรูปแบบธุรกิจจะสร้างองค์กรการบริหารงานซับซ้อนมากขึ้น ธุรกิจที่ดำเนินการเห็นชัดเจน

ร้านขายน้ำเต้าหู้ในไทย

ยังไม่มีการยืนยันหลักฐานชัดเจนว่า นำ้เต้าหู้ได้เข้ามาในประเทศไทยเช่นไรนอก จากการสันนิษฐานว่ามาจากชาวจีนทีอ่ พยพ มาอยู่ในประเทศไทยสมัยแรกๆ น้ำเต้าหู้ สูตรคนไทยนิยมรับประทานเป็นมื้อเช้าหรือ ของว่างมักทานคู่ กับ ปาท่องโก๋ หรือเป็น น้ำเต้าหู้ ทรงเครื่อง โดยใส่ สาค ู ข้าวบาร์เลย ์ ถั่วแดง วุ้น หรือ ธัญพืชชนิดอื่นๆ ตามชอบ อ้างอิง บทความเรื่อง เต้าหู้ และอาหารจากถั่วเหลืองอื่นๆ เข้าถึงจากออนไลน์ http://http://www.horapa.com/content.php?Category=Healthy&No=262 รูปที่ 23 ชื่อภาพ : 10764_9639360073_big ที่มา: www.holidaythai.com/ 10764_9639360073_big.jpeg


24

อ้างอิง ความหมายของคำว่า อัตลักษณ์ เข้าถึงจากออนไลน์ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/450615

อัตลักษณ์องค์กร (Corporate Identity)

ความหมายของคำว่า อัตลักษณ์

อัตลักษณ์ ตามความหมายของคณะกรรมการบัญญัติศัพท์ของราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติ

คำว่า อัตลักษณ์ (อ่านว่า อัด-ตะ-ลัก) ประกอบด้วยคำว่า อัต (อัด-ตะ) ซึ่งหมายถึง ตน หรือ ตัวเอง กับ ลักษณ์ ซึ่งหมายถึง สมบัติเฉพาะตัว. คำว่า อัตลักษณ์ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Identity (อ่านว่า ไอ-เด็น-ติ-ตี)้ หมายถึง ผลรวมของลักษณะ เฉพาะของสิง่ ใดสิง่ หนึง่ ซึง่ ทำให้สง่ิ นัน้ เป็นทีร่ จู้ กั หรือ จำได้ เช่น นักร้องกลุม่ นีม้ อี ตั ลักษณ์ ทางด้านเสียงที่เด่นมาก ใครได้ยินก็จำได้ทันที สังคมแต่ละสังคมมีอัตลักษณ์ทาง วัฒนธรรมของตนเอง โลกาภิวัตน์ทำให้อัตลักษณ์ของสังคมไทยเปลี่ยนไป ตำราหลายเล่มให้ความหมายคำว่า “อัตลักษณ์” ไว้ว่าคุณลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของลักษณะเฉพาะของบุคคล องค์กร สังคม ชุมชน หรือประเทศนั้นๆ เช่น เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่น และศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีคุณลักษณะที่ไม่ทั่วไป หรือสากลกับสังคม อื่นๆ พูดง่ายๆ คือลักษณะที่ไม่เหมือนกับของคนอื่นๆ ในด้านการตลาด อัตลักษณองค์กร หรือ เอกลักษณ์กลุ่มบริษัท (อังกฤษ: corporate identity) เป็นรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของหน่วยงานหรือองค์กรซึ่งถูก ออกแบบ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ ซึ่งแสดงออกมาทางในรูปแบบของ แบรนด์และการใช้งานเครื่องหมายการค้าแม้ว่าเรื่องของเอกลักษณ์ จะไม่ใช่สิ่ง เดียวที่เกี่ยวกับแบรนด์ (เพราะแบรนด์ประกอบด้วยหลายองค์ประกอบ) แต่เรื่องของ แบรนด์กบั เอกลักษณ์ เป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งเกิดขึน้ ควบคูก่ นั อยูเ่ สมอ เราสามารถสร้างแบรนด์ ให้โดดเด่นได้ด้วยกานสร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ ซึ่งสามารถสื่อสารออกมาได้ 3 ส่วนด้วยกัน คือ


25

Visual Identity) การสร้างเอกลักษณ์ผ่านทางพฤติกรรม (Behavioral Identity) (และการสร้างเอกลักษณ์ผ่านการพูด (Verbal Identity เช่น การใช้สโลแกน จิงเกิ้ล เป็นต้น)

การสร้างเอกลักษณ์ผ่านทางภาพ การออกแบบสร้าง “เอกลักษณ์” ให้กับ องค์กรหรือแบรนด์เป็นงานที่ยากยิ่ง เพราะไม่ใช่เป็นเพียงการออกแบบ “โลโก้” ให้สวยงามแล้วจบ แต่สิ่งที่เราต้องการคือ เอกลักษณ์ด้นภาพที่จะสื่อสารถึง จุดยืน + บุคลิกภาพ รวมถึงวิสัยทัศน์ของแบรนด์ จากนั้นค่อยพัฒนาต่อในเรื่องระบบการใช้ โลโก้ + การใช้ตัวอักษร + การใช้สี + การใช้ภาพ อื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กร มีเอกลักษณ์ตามที่ต้องการ

รูปที่ 24 (บน) ชื่อภาพ : 16Colour01.jpg ที่มา: http://bp0.blogger.com/_5vpWvd7VtJ0/RegL6vqAHCIAAAAAAAAAJI/7CAhU1ZMFw8/s1600-h/16Colour01.jpg

รูปที่ 26 (บน-ขวา) ชื่อภาพ : logo-shell.jpg ที่มา: http://3.bp.blogspot.com/_ySCIT3KO9Zc/SJTAAYtYhI/AAAAAAAAJx4/UM6EeKvF3h0/s400/logo-shell.jpg

รูปที่ 25 (ล่าง) ชื่อภาพ : 104Mobil02.jpg ที่มา: http://bp0.blogger.com/_5vpWvd7VtJ0/RegLLvqAHBI/AAAAAAAAAI8/5TEUjkhzb0o/s1600-h/04Mobil02.jpg

รูปที่ 27 (ล่าง-ขวา) ชื่อภาพ : logo-pepsi.jpg ที่มา: http://bp0.blogger.com/_5vpWvd7VtJ0/RegLLvqAHBI/AAAAAAAAAI8/5TEUjkhzb0o/s1600-h/logo_pepsi.jpg


26

อ้างอิง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี บทความเรื่อง เอกลักษณ์องค์กร (เปลี่ยนทางมาจาก Corporate Identity) เข้าถึงจากออนไลน์ http://th.wikipedia.org/wiki/Corporate_identity

วัตถุประสงค์ทางอัตลักษณองค์กรขององค์กร 1. วัตถุประสงค์ทางด้านจิตวิทยา (PsychologyObjective) วัตถุประสงค์ทางด้านจิตวิทยาคือ การต้องการให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึก ความเชือ่ มัน่ เกิดความเข้าใจในตัวสินค้าและยอมรับในตัวสินค้า และในการเอกลักษณ์ขององค์กร ปัจจุบันวัตถุประสงค์ทางจิตวิทยาที่สำคัญคือความต้องการที่จะสร้างให้ผู้บริโภค เกิดความรู้สึกประทับใจในร้านที่เข้า 2. วัตถุประสงค์ทางด้านพฤติกรรม (Action Objective) วัตถุประสงค์ทางด้านพฤติกรรมคือ การที่ต้องการให้ผู้บริโภคแสดงพฤติกรรมตอบ สนองการจูงใจของเอกลักษณ์ขององค์กรเช่น กระตุ้นให้เกิดการเข้าร้านตลอดจนการ กระตุ้นให้ผู้บริโภคแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดในตัวร้าน การมีภาพพจน์ที่ดี ต่อร้านอาหารแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็จะมีผลต่อยอดขายของร้านนั้น เป็นต้น 3. วัตถุประสงค์ทางด้านภาพพจน์ (Corporate Objective) วั ต ถุ ป ระสงค์ ท างด้ า นภาพพจน์ ข องร้ า นเพื่ อ ให้ ผู้ บ ริ โ ภคเกิ ด ทั ศ นคติ ที่ ดี มี ค วาม นิยม ชมชอบต่อร้านอาหาร เช่น ให้ผู้บริโภคเห็นว่าร้านมีความห่วงใยต่อสังคมมี ความรับผิดชอบต่อลูกค้า เป็นต้น ซึ่งเมื่อผู้บริโภคเกิดทัศนคติที่ดี เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ (Logo)

เป็นผลของการออกแบบกราฟิกที่เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ (Symbolism) อัน ได้แก่ภาพสัญลักษณ์และเครื่องหมายต่างๆที่ช่วยสร้างเอกลักษณ์ได้แก่สินค้าและ บริษทั ผูผ้ ลิตเช่นการออกแบบตราสัญลักษณ์ของสินค้าและบริษทั ให้มเี อกลักษณ์และ


27

แบบเฉพาะตนเอง เพื่อการจดจำ ความเชื่อถือ และตราตรึงผู้บริโภคตลอดไป ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันดังนี้ 1. สัญลักษณ์ (Symbol) มีลักษณะเป็นเครื่องมือที่ไม่ ใช้ตัว ใช้สำหรับแสดงบอกถึงการร่วมกัน เช่น บริษัท องค์กรสถาบันที่ก่อตั้งขึ้นโดยกฎหมาย 2. ภาษาภาพ (Pictograph) ไม่ ใ ช้ ภ าษาทางตั ว อั ก ษรประกอบแต่ ใ ช้ ภ าพบอกแทนหรื อ สื่ อ ความให้ ท ราบถึ ง หมายด้วยภาพ ทิศทาง กิจกรรม หรือแทนสิ่งเฉพาะเช่นเครื่องหมายบอกทิศทาง ความปลอดภัย การคมนาคม 3. เครื่องหมายตัวอักษร (Letter Marks) มั ก อยู่ ใ นรู ป ตั ว อั ก ษรที่ เ กิ ด จากการย่ อ เอาตั ว อั ก ษรออกมาจากคำเต็ ม หรือชื่อเต็มขององค์กร บริษัท สถาบันต่างๆ ออกมาใช้เป็นเครื่องหมายแสดงแทน 4. ชื่อหรือคำเต็มที่เป็นตัวอักษร (Logo) และอ่านออกเสียงได้ตามหลักไวยากรณ์ของภาษาโดยใช้ตัวอักษรเพียงเท่านั้น 5. เป็นการผสมผสานระหว่างภาพและตัวอักษร (Combination Marks) เข้ามาใช้ร่วมกัน และสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสม 6. เครื่องหมายการค้า (Trademarks) ซึ่งอาจจะมิได้หลายลักษณะที่ได้กล่าวไว้ทั้ง 5 ประการ ขึ้นอยู่กับว่าเจ้าของกิจการ ต้องการให้เครื่องหมายของตนเองอยู่ในลักษณะใด ก็เลือกใช้ตามความเหมาะสม


28

ความสำคัญของการออกแบบเอกลักษณ์ขององค์กร 1. การออกแบบเอกลักษณ์ขององค์กรมีส่วนสร้างสรรค์สัญลักษณ์และ ตกลงร่วมกันของคนในสังคมโดยเข้ามามีส่วนช่วยเสริมการรับรู้ทางการมองเห็นเป็น ลู่ทางหรือสื่อกลางช่วยการรับรู้แห่งข้อตกลงต่างๆให้มีประสิทธิภาพ มีความชัดเจน มีผลกระทบทางด้านจิตวิทยาในอันทีจ่ ะระลึกถึงและเป็นเครือ่ งหมายแห่งความทรงจำ ข้อเตือนใจข้อควรระวังในระบบระเบียบของกฎเกณฑ์และความเชือ่ ทีจ่ ะปฏิบตั ติ อ่ กันไป เพื่อความคงอยู่ของสังคมที่สงบร่มเย็นดังเช่นที่ปรากฏอยู่เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ และข้อตกลงต่างๆ เช่น สัญลักษณ์แทนศาสนา ลัทธิ เครือ่ งหมายจราจร เป็นต้น ซึง่ เครือ่ งหมาย สัญลักษณ์ตา่ งๆ ทางเอกลักษณ์ขององค์กรนี้จำเป็นต้องอาศัยการออก แบบให้มีขนาดรูปทรงที่ชัดเจนเรียบร้อยสวยงามและเหมาะสมกับอำนาจทางการ มอง (Visual Percertion) ของมนุษย์ 2. การออกแบบเอกลักษณ์ขององค์กรเป็นสื่อแสดงแห่งพลังการสร้างสรรค์ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการทั้งหลายที่คิดค้นขึ้นล้วนแต่เกิดจากการถ่ายทอด ความคิดสร้างสรรค์กอ็ อกมาผ่านการขีดเขียนหรือการสร้างภาพ (Image) ทางลักษณะ ของงานเอกลักษณ์ขององค์กรด้วยกันทัง้ นัน้ เพราะเป็นลูท่ างทีส่ ามารถรองรับความคิด ฉับพลันและการกระทำของมนุษย์ได้รวดเร็วที่สุด แม้กระทั่งมีการขัดเกลาแก้ไขดัด แปลงและนำเสนอ (Presentation) รูปร่างของความคิดหรือการประกอบเพื่อสร้างต้ นแบบและคำอธิบายที่เป็นสื่อแสดงให้ผู้ดูได้รู้ได้เห็นเกิดความสนใจเข้าใจและคล้อย ตามในความคิดสร้างสรรค์ทไ่ี ด้เพียรพยายามขึน้ มาดังเช่นการเขียนแบบทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม เครื่องจักรกลต่างๆ ตลอดจนงานสร้างสรรค์ศิลปกรรมแขนงอื่นๆ


29

3. การออกแบบเอกลักษณ์ขององค์กรเป็นการเสริมสร้างแต่งข่าวสารให้ดงึ ดูด สายตาและน่าสนใจขึ้นโดยการปรับปรุงเพิ่มเติมเสริมแต่งด้วยทักษะทางศิลปะและ ให้หลักจิตวิทยาการรับรู้เข้าช่วย เช่น การจัดวางรูปแบบของข้อความ รูปภาพ เปลี่ยนขนาด การเสนอข้อความที่กระทัดรัดได้ใจความ เป็นต้น 4. การออกแบบเอกลักษณ์ขององค์กร ช่วยส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทาง ธุรกิจการค้าและวงการอุตสาหกรรม

รูปที่ 28 ชื่อภาพ : apple_02.jpg ที่มา: http://blog.girvin.com/wp-content/uploads/2009/09/apple_02.jpg



บทที่ 3

การพัฒนาการออกแบบ และขั้นตอนการดำเนินงาน


32

แนวทางการออกแบบ เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับร้านนำ้เต้าหูในประเทศไทยในสถานที่ ต่างๆและศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกีย่ วกับสูตรต่างๆของเต้าหูแ้ ละนำ้เต้าหูท้ ม่ี ขี ายทัว่ ไปตาม ท้องตลาดรวมทัง้ สังเกตลักษณะของการจัดร้านและข้าวของเครือ่ งใช้ตา่ งๆภายในร้าน เพื่อเป็นแนวทางของการนำมาออกแบบและปรับปรุงแก้ไขต่อไป

ข้อมูลอ้างอิง | REFERENCES การศึกษาสูตรของน้ำเต้าหู้ต่างๆทำให้ทราบว่าน้ำเต้าหู้สูตรเฉพาะของประเทศ ญี่ป่นุ นั้นน่าสนใจและไม่เหมือนใครด้วยการคงความดั้งเดิมของรสชาติด้วยกรรมวิธี การผลิตที่ใส่ใจทุกขั้นตอนด้วยการคัดสรรถั่วเหลืองคุณภาพดี 100% ไม่ผสมแป้ง และทีพ่ เิ ศษสุดคือ การใส่สว่ นผสมของ “คินุ โทฟุ” (Kinu-Tofu) เต้าหูแ้ ท้สญ ั ชาติญป่ี นุ่ มี ลักษณะเนื้อที่ละเอียดดุจผ้าไหมที่เป็นส่วนผสมสำคัญในการทำให้รสชาติของน้ำ เต้าหู้สูตรญี่ปุ่น เข้มข้น และไม่เหม็นหืนและมีรสชาติที่กลมกล่อมไม่เหมือนใครและ จึงศึกษาประวัติความเป็นมาของน้ำเต้าหู้จากต้นกำเนิดในประเทศจีนจนถึงประเทศ ญี่ปุ่นจากในเวปไซต์ทั้งในและนอกประเทศรวมทั้งศึกษาคุณประโยชน์ที่มีมากมาย มหาศาลต่อมนุษย์ในถั่วเหลืองและน้ำเต้าหู้ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ สรุปได้คอื เต้าหู้ “คินุ โทฟุ” (Kinu-Tofu) จะเป็นจุดขายทีส่ ำคัญของสูตรน้ำเต้าหู้ แฟรนไชส์ยหี อ้ นีแ้ ละการคงความดัง้ เดิมและเรียบง่ายแบบ เซน เอกลักษณ์ของญีป่ นุ่ คือจุดเริ่มต้นของการออกแบบที่สำคัญ


33 ภาพร่างการออกแบบโลโก้ด้วยมือ


34

การตรวจครั้งที่ 1 (ต. 1)

- เสนอหัวข้อและ Design Brief - นำเสนอรายละเอียดโดยรวมของการออกแบบทั้งหมด

รูปแบบร่างของงาน

- ออกแบบโลโก้ที่ ต้องการเสนอความรู้สึก Homemade และสะท้อนความ เรียบง่ายด้วยการใช้ Fonts เหมือนเขียนลายมือ (Hand Writting) - ใช้โทนสีที่ใกล้เคียงหรือทำให้นึกถึงสีของน้ำเต้าหู้ แต่คุมโทนจริงจังด้วย สี เหลือง เทา ดำ - คำว่า “Tonyu” เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า น้ำเต้าหู้ นำมาใช้เป็นชื่อแฟรนไชส์

คำแนะนำจากคณะกรรมการ

- ควรออกแบบโลโก้ให้มคี วามรูส้ กึ ถึงความเป็นญีป่ นุ่ และถัว่ เหลืองหรือน้ำเต้าหู้ - ศึกษาความเป็นมาของน้ำเต้าหู้ในเชิงลึกโดยเฉพาะสูตรญี่ปุ่น - คำว่า “Tonyu” เห็นแล้วอ่านยาก อีกทัง้ มีความหมายเฉพาะเจาะจง ไม่ควรใช้ - ควรมีสโลแกน ที่บ่งบอกถึงตัวผลิตภัณฑ์หรือสินค้าในทางที่ดีและจดจำง่าย - ควรศึกษาเพิม่ เติมเกีย่ วกับประวัตคิ วามเป็นมาของตัวสินค้าและผลิตภัณฑ์ คูแ่ ข่งนำ้เต้าหูใ้ นท้องตลาด - ควรดึงความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นญีป่ นุ่ ให้ชดั เจนมากขึน้


35

แบบร่างโลโก้ครั้งที่ 1 (ต. 1)

- ร่างแบบโลโก้หลายๆแบบแต่ใช้โทนสีเดิม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

- ตั้งใจออกแบบให้มีความดิบ ด้วย Font ลายมือ ที่สื่อถึงความเป็น Homemade และใช้เพียงแค่ 2 คู่สี เรียบง่ายแต่โดดเด่น


36

การตรวจครั้งที่ 2 (ต. 2)

- ออกแบบโลโก้ให้ใหม่ให้ดูทันสมัยมากขึ้น - ปรับจากรูปแบบเดิมให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

- ออกแบบโลโก้ให้มีความเป็นญี่ปุนโดยมีสัญลักษณ์วงกลมของธงญี่ปุ่น - ใช้สีเหลืองอ่อนเป็นสีแทนถั่วเหลือง และ สีแดง ขาว ของธงญี่ปุ่น - เปลี่ยนคำว่า “Tonyu” เป็น “To-Ya” มาจากคำว่า “To-Fu” แปลว่าเต้าหู้ และคำว่า “Soy” หรือ “Soya” แปลว่า ถั่วเหลืองมารวมกัน - ใช้รูปทรงของถั่วเหลืองเป็น background และขยายชื่อยี่ห้อให้ใหญ่ขึ้น - ใช้คู่สีที่ตัดกันเช่น ฟ้า กับ เหลือง แดงกับดำมาเป็นคำของชื่อยี่ห้อ รูปแบบร่างของงาน

คำแนะนำจากคณะกรรมการ

รูปแบบร่างของงาน

- ไม่มคี วามน่าสนใจและดูคอ่ นข้างหาได้ทว่ั ไปตามท้องตลาด - ดูแล้วทำให้นกึ ถึงสินค้ายีห่ อ้ อืน่ ๆแทน - ตัวอักษรดูแข็งเกินไป - ควรให้โลโก้และการนำเสนอสินค้ามีทม่ี าทีไ่ ปทีส่ อดคล้องกับตัวสินค้า - ขาดเอกลักษณ์ของการนำเสนอสินค้าและควรคำนึงถึงการสือ่ สารต่อผูบ้ ริโภค ของตัวสินค้า


37

แบบร่างโลโก้ครั้งที่ 2 (ต. 2)

-แบบร่าง 2.1

- ลองออกแบบใหม่โดยเพิ่มสีแดงเข้าไป โดยการนำเอาสีจากธงญี่ปุ่น แล้วแตกแบบร่างออกมาเป็น 3 แบบ ซ้าย: ออกแบบให้ดูค่อนข้างคลาสสิค ลักษณะคล้ายยี่ห้อ เต้าหู้ ญี่ปุ่น บน-ขวา: ออกแบบโดยใช้ Shape ของถั่วเหลือง ค่อยๆพองตัวเหมือนตอนถั่วเหลืองแช่น้ำ ล่าง-ขวา: ลองออกแบบโดยเปลี่ยนโทนสี เป็นสีฟ้า เพื่อความสดใส

-แบบร่าง 2.2

- ลองนำแบบร่าง 2.1 ทั้งหมดมารวมกันและปรับปรุงรูป โดยการผสมโทนสีเข้าด้วยกัน ทำให้ออกแบบมาได้ 2 แบบ และเปลี่ยนแบคกราวด์เป็น Shape เมล็ดถั่วเหลืองทั้ง 2 แบบ



39

การตรวจครั้งที่ 3 (ต. 3)

ปรับปรุงออกแบบโลโก้ใหม่ทงั้ หมดจากทีเ่ สนอไปโดยกลับไปศึกษาค้นคว้า ประวัตนิ ำ้เต้าหูใ้ นเชิงลึกและพบว่านำ้เต้าหูถ้ กู นำเข้าประเทศญีป่ นุ่ โดยพระญีป่ นุ่ สมัยนาราจึงเกิดเป็นทีม่ าทีไ่ ปโดยการนำพระญีป่ นุ มาเป็นโลโก้อกี ทัง้ ยังสามารถ ตอบโจทย์ของ Concept แรกเริ่มที่จะนำเสนอทั้ง ความเรียบง่าย ดั้งเดิม แบบเซน

รูปแบบร่างของงาน

- ออกแบบโลโก้ให้มีความเป็นญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมโดยใช้ลายเส้นคล้ายพู่กันที่ให้ ความรู้ถึงความเหมือนการเขียนภาษาญี่ปุ่นและการวาดรูปในสมัยโบราณ และนำ shape ของก้อนเต้าหู้ก่อนนำมาสไลซ์แบ่งขายเป็นชิ้นเล็กๆ

คำแนะนำจากคณะกรรมการ

- รูปแบบน่าสนใจขึน้ มาก - สามารถสะท้อนความรูส้ กึ ถึงความเป็นญีป่ นุ่ ดัง้ เดิมได้อย่างดี - เลือกสีในการออกแบบได้ค่อนข้างลงตัว - อาจจะต้องระวังเรื่องของการใช้ Gimmick ของตัวเต้าหู้กับตัวโลโก้ โทยา ไม่ให้เกิดความสับสน แต่โดยรวมถือว่า ดี ค่อนข้างชัดเจน


40

แบบร่างโลโก้ครั้งที่ 3 (ต. 3) -แบบร่าง โลโก้ 3.1

รูปที่ 29 ชื่อภาพ : Monk with a paddy hat, Japan ที่มา: http://www.flickr.com/photos/mytripsmypics/101217267/in/photostream/ Monk with a paddy hat.jpeg © Eric Lafforgue www.ericlafforgue.com

- เริ่มจากหารูปพระญี่ปุ่นแล้วเลือกรูปที่เหมาะสมและร่างลายเส้นตามแบบ - หลังจากนั้นดัดแปลงแบบตรงช่วงมือที่ถือให้ ถือเต้าหู้ คินุ ที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมสีขาว - สีที่เลือกใช้ได้แรงบันดาลใจมาจากสีของชุด พระญี่ปุ่นที่มี สีน้ำเงินเข้ม สีเทา ที่เป็นสีของการตัดเย็บผ้าแบบโบราณที่ ใช้สีฟ้านำ้เงินแทน สีนำ้ทะล และท้องฟ้า ส่วนสีเหลือง ซึ่งสื่อถึงสีจีวรและถั่วเหลือง - จากนั้นเพิ่มอักษรภาษาญี่ปุ่นคำว่า 絹豆腐 คินุ โทฟุ (Kinu-Tofu) เพื่อเพิ่มความเป็นญี่ปุ่นเข้าไปในตราสัญลักษณ์

รูปที่ 29 ชื่อภาพ : 2228.1.1287730425110.gif จาก http://s3.wokai.org/blog/2228.1.1287730425110.gif


41

แบบร่างโลโก้ครั้งที่ 3 (ต. 3)

-แบบร่าง โลโก้ 3.2

TOYA soymilk

- เริ่มจากหารูปพระญี่ปุ่นแล้วเลือกรูปที่เหมาะสมและร่างลายเส้นตามแบบ - หลังจากนั้นดัดแปลงแบบตรงช่วงมือที่ถือให้ ถือเต้าหู้ คินุ ที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมสีขาว - สีที่เลือกใช้ได้แรงบันดาลใจมาจากสีของชุด พระญี่ปุ่นที่มี สีน้ำเงินเข้ม สีเทา ที่เป็นสีของการตัดเย็บผ้าแบบโบราณที่ ใช้สีฟ้านำ้เงินแทน สีนำ้ทะล และท้องฟ้า ส่วนสีเหลือง ซึ่งสื่อถึงสีจีวรและถั่วเหลือง - จากนั้นเพิ่มอักษรภาษาญี่ปุ่นคำว่า 絹豆腐 คินุ โทฟุ (Kinu-Tofu) เพื่อเพิ่มความเป็นญี่ปุ่นเข้าไปในตราสัญลักษณ์


42

แบบร่างโลโก้ครั้งที่ 3 (ต. 3)

- สรุปแบบร่าง โลโก้ 3.3 1. 2. 3.

4.

5.

1. 2. 3. 4. 5.

ตราสัญลักษณ์ยี่ห้อภาษาไทย “นำ้เต้าหู้โทยา” รูปแบบตัวอักษรเลียนแบบอักษรพู่กันญี่ปุ่น สีพื้นหลังเป็นสีเหลืองเหมือนสีของถั่วเหลือง ลายเส้นพระญี่ปุ่นถือเต้าหู้ ตามประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นกล่าวว่าการนำน้ำเต้าหู้มาเผยแพร่เป็นครั้งแรกนำ โดยพระญี่ปุ่นในสมัยนาระ หลังจากกลับมาจากการศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศจีนใช้สีฟ้านำ้เงิน แทน สีนำ้ทะลและท้องฟ้า ส่วนสีเหลือง ซึ่งสื่อถึงสีจีวรและถั่วเหลือง จากนั้นเพิ่มอักษรภาษาญี่ปุ่นคำว่า 絹豆腐 คินุ โทฟุ (Kinu-Tofu) เพื่อเพิ่มความเป็นญี่ปุ่นเข้าไป ตราโลโก้ยี่ห้อภาษาอังกฤษ “นำ้เต้าหู้โทยา” ที่มา จาก TO=Tofu และ YA=Soya รวมเป็น TOYA ให้มี รูปแบบตัวอักษรเลียน แบบอักษรพู่กันญี่ปุ่น


บทที่ 4

ผลงานการออกแบบ


44

ผลงานการออกแบบ - ปรับปรุงรูปแบบของโลโก้ให้โดดเด่นชัดเจน - ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของนำ้เต้าหู้ในประเทศญี่ปุ่น - ดึงเอกลักษณ์ของสินค้านำมาเสนอให้เป็นจุดขายต่อผู้บริโภค - ศึกษาส่วนผสมต่างๆของนำ้เต้าหู้ในท้องตลาดรวมทั้งตามรถเข็นตามที่ ต่างๆ - ศึกษาเรื่องราวของศิลปะและการทำเต้าหู้แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น สรุปการออกแบบโลโก้ลงตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงนำมาต่อยอด การออกแบบอัตลักษณ์ให้กับร้านแฟรนไชส์นำ้เต้าหู้ โทยา ดังนี้

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

โลโก้ของชื่อร้าน ตัวอักษร บรรจุภัณฑ์ รูปแบบของร้านโดยสังเขป อัตลักษณ์สิ่งพิมพ์ต่างๆที่ใช้ติดต่อทางธุรกิจ ใบปลิว ชุดพนักงานขาย ตรายางปั้มและบัตรสะสมแต้ม โฆษณานิตยสาร ผลงานจัดนทรรศการ


45

1. โลโก้ร้าน 1.1 ออกแบบกำหนดโลโก แ้ บบสีและตัวอักษรเพือ่ การใช้งาน

PANTONE 282 M NAVY PRIORITY C 100 M 68 Y 0 K 54

PANTONE 100 UP LIGHT YELLOW C 100 M 68 Y 0 K 54

PANTONE WARM GREY 1 UP WHITE C2 M3 Y7 K8


46

1. โลโก้ร้าน 1.2 ออกแบบกำหนดโลโก แ้ บบสีพน้ื หลัง

โลโก้หรือตราสัญลักษณ์ โทยาแบบหลัก (Toya Soymilk Primary Logo) - โลโก้บนพื้นสีนำ้เงินหลัก - ตัวอักษรภาษาไทยด้านบนสีขาว

โลโก้หรือตราสัญลักษณ์ โทยาแบบรอง (Toya Soymilk Secondary Logo) - โลโก้บนพื้นสีขาว - ตัวอักษรภาษาไทยด้านบนสนำ้เงินหลัก


47

2. ตัวอักษร 2.1 กำหนดการใช้ตวั อักษรภายในร้าน

JAPANESE BRUSH REGULAR

A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 012345678910 !@$%^&*()_+=:;?/


48

3. บรรจุภัณฑ์ 3.1 ออกแบบแก้วกระดาษและฝาครอบ

Matcha

RedBean

Sesame

FRONT

BACK

แก้ว: ทำจากกระดาษเคลือบสารกันความร้อนพิมพ์ลายด้วยหมึกจากถั่วเหลือง สีน้ำเงินหลัก ลดเฉด 70% ลายเต้าหู้ คินุ ขนาด 16 ออนซ์ ฝาครอบ: ทำจากขวดพลาสติกรีไซเคิล 50% (ด้านหน้า) ลายก้อนเต้าหู้ 3 แบบ: แบ่งเป็น 3 ก้อนแรกเป็นรสชาเขียว ก้อนที่ 2 รสถั่วแดง ก้อนที่ 3 รสงาดำ ไว้สำหรับวงบอกรสชาดนำ้เต้าหู้ (ด้านหลัง) คำเตือน: เรื่องความร้อนของเครื่องดื่ม


49

3. บรรจุภัณฑ์ 3.2 ออกแบบทีค่ รอบแก้วกันความร้อน


50

3. บรรจุภัณฑ์ 3.3 ออกแบบลวดลายแบบต่างๆทีใ่ ช้ในการพิมพ์หรือสกรีนลงบนผลิตภัณฑ์ และบรรจุภณ ั ฑ์ตา่ งๆ

: PANTONE 282 M NAVY PRIORITY

: PANTONE 282 M NAVY PRIORITY

: PANTONE 282 M NAVY PRIORIT FADED 70 %

: MATCHA GREEN TEA TOFU COLOUR ANPA 702-4 AD PRO/ C 29 M 0 Y 28 K 0 : RED BEAN TOFU COLOUR DIC 2915/ C 15 M 52 Y 38 K 0 : SESAME TOFU COLOUR FOCOLTONE 6059/ C 0 M 0 Y 0 K 75


51

3. บรรจุภัณฑ์ 3.3 ออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์นำกลับบ้าน


52

4. รูปแบบของร้านโดยสังเขป 4.1 ออกแบบร้านรถเข็นและสถานทีจ่ ำหน่าย

รถเข็นสีน้ำเงินหลักขนาดกระทัดรัด พับเก็บได้ทำจากไฟเบอร์กันนำ้อย่างดี ขนาด สูง 2.20 เมตร X หน้ากว้าง 2.00 เมตร ลึก 0.70 เมตร บรรจุหม้อต้มนำ้ ขนาด 6 กิโลกรัม


53

5. อัตลักษณ์สิ่งพิมพ์ต่างๆที่ใช้ติดต่อทางธุรกิจ 5.1 ออกแบบกระดาษหัวจดหมายและซองจดหมาย

8 . 10400 TOYA SOYMILK FRANCHISE COMPANY 8 SUTTHISARN ROAD DINDEANG BANGKOK THAILAND 10400

8 . 10400 TOYA SOYMILK FRANCHISE COMPANY 8 SUTTHISARN ROAD DINDEANG BANGKOK THAILAND 10400

ซองจดหมายขนาด A4 : ขนาด กว้าง 23 ซม X สูง 32 ซม. ขนาดโลโก้บนซอง 3 ซม. X 4 ซม. (ตามสเกล) ขนาดตัวอักษรสำหรับที่อยู่ ขนาด 7.5 PT. ทำจากกระดาษรีไซเคิล ซองจดหมายขนาด A5 : ขนาด กว้าง 23 ซม X สูง 16 ซม. ขนาดโลโก้บนซอง 3 ซม. X 4 ซม. (ตามสเกล) ขนาดตัวอักษรสำหรับที่อยู่ ขนาด 6 PT. ทำจากกระดาษรีไซเคิลสีเนื้อ


54

5. อัตลักษณ์สิ่งพิมพ์ต่างๆที่ใช้ติดต่อทางธุรกิจ 5.2 ออกแบบนามบัตรสำหรับการติดต่อธุรกิจ 9 CM LOGO ON NAVY BLUE COLOUR 5 CM

BRAND MANAGER

CORDIA NEW BOLD/ITALIC 10 PT.

PANTONE WARM GREY 1 UP WHITE C2 M3 Y7 K8

5.5 CM

NAME CARD นามบัตรขนาด : พิมพ์จากหมึ กถั่วเหลือง 4SIDE สีหน้าเดียว ขนาด กว้าง 5.5 ซม X สูง 32 ซม. ขนาดโลโก้บนซอง 1 FRONT 5 ซม. X 6 ซม. (ตามสเกล) ขนาดตัวอักษรสำหรับที่อยู่ ขนาด 7.5 PT. ทำจากกระดาษรีไซเคิล


55

6. ใบปลิว

6.1 ออกแบบใบปลิวเป็นโปสการ์ด (ด้านหน้า)

Matcha

RedBean

Sesame

FRONT ใบปลิวโปสการ์ด : พิมพ์จากหมึกถั่วเหลือง 4 สี 2 หน้า ขนาด กว้าง 10.5 ซม X สูง 14 ซม. ทำจากกระดาษอาร์ต การ์ด รีไซเคิล หนา 200 แกรม 4 ชุดมี 1 เซต


56

6. ใบปลิว

6.1 ออกแบบใบปลิวเป็นโปสการ์ด (ด้านหลัง)

ใบปลิวโปสการ์ด : พิมพ์จากหมึกถั่วเหลือง 4 สี 2 หน้า ขนาด กว้าง 10.5 ซม X สูง 14 ซม. ทำจากกระดาษอาร์ต การ์ด รีไซเคิล หนา 200 แกรม 4 ชุดมี 1 เซต


57

7. ชุดพนักงานขาย

7.1 ออกแบบชุดพนักงาน (Uniform) ผ้าโพกหัว /กางเกง /เสือ้ /รองเท้า/ผ้ากันเปือ้ น

ผ้าโพกหัว: สีน้ำเงินเหมือนตราสัญลักษณ์ทำด้วยผ้าฝ้ายอย่างดี 100% สกรีนตราสัญลักษณ์หนึ่งจุด ความยาวของผ้า 50 ซม. X 9 ซม. เสื้อ: สีเทาอ่อนตามแบบ คอปาดเหมือนเสื้อยูโด ทับกัน เนื้อผ้าฝ้ายอย่างดี100% แขนสั้น ฟรีไซส์ สกรีน ชื่อร้านสีน้ำเงินที่แขนเสื้อด้านขวา กางเกง: กางเกงผ้าฝ้ายสีน้ำเงินเข้มเดียวกับสีหลัก ความยาวคลุมเข่า ฟรีไซส์ รองเท้าแตะ: สีขาวหรือสีดำ รองเท้าแตะ พื้นหนา ทนทาน สวมใส่สบาย มีหลายไซส์


58

8. ตราปั้มและบัตรสะสมแต้ม 8.1 ออกแบบบัตรสะสมแต้มและที่ปั้มตรายาง

1 8

1 1

_____/______/______

FRONT

Free

BACK

1.2 CM STAMPER

ใบสะสมแต้ม : พิมพ์จากหมึกถั่วเหลือง 4 สี 2 หน้า ขนาด กว้าง 5.5 ซม X สูง 9 ซม. ทำจากกระดาษอาร์ต การ์ด รีไซเคิล หนา 200 แกรม ที่ปั้มตรายาง : ขนาด กว้าง 1.2 ซม X สูง 1.2 ซม. ทำจากยาง PVC สำหรับ : สำหรับ ซื้อเครื่องดื่ม 1 แก้ว จะได้รับประทับตรา 1 ดวงซื้อครบ 8 แก้ว รับฟรีเครื่องดื่ม 1 แก้ว และระบุวันหมดอาย


59

9. โฆษณานิตยสาร

9.1 ออกแบบเพื่อโฆษณาลงนิตยสาร

ออกแบบเพื่อโฆษณาลงนิตยสาร (Advertisment Magazine) : นิตยสาร คิด หน้าเต็ม ขนาด กว้าง 21 ซม. X สูง 27 ซม.


60

10. ผลงานจัดนิทรรศการ

10.1 ก่อนการจัดแสดง


61

10. ผลงานจัดนิทรรศการ

10.1 การจัดแสดงแสดงนิทรรศการ ณ หอศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร วันที่ 8 - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555




บทที่ 5

สรุปผลโครงการและ ข้อเสนอแนะ


65

สรุปผลโครงการ โครงการการออกแบบอั ต ลั ก ษณ์ อ งค์ ก รร้ า นแฟรนไชส์ น้ ำ เต้ า หู้ โ ทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อการนำเสนอภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ร้านค้านำ้เต้าหู้ของไทยให้มี ความงามและน่าสนใจและยกระดับรูปแบบร้านที่ดูดีมีมาตรฐานมากขึ้นอีกทั้งยัง สามารถส่งเสริมการขายและส่งเสริมค่านิยมทีด่ ใี นการรับประทานนำ้เต้าหูข้ องคนไทย การจัดทำโครงการในครัง้ นี้ได้ผา่ นการศึกษาข้อมูลค้นคว้าเอกสารและบทความ ทางอินเตอร์เน็ท เพื่อนำมาเป็นแนวทางหาข้อสรุปผลการออกแบบให้มีความเหมาะ สม ถูกต้อง และน่าสนใจมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง รวมถึงการออกแบบนี้สามารถยกระดับทั้งค่านิยมในการดื่มนำเต้าหู้และเพิ่มความ งามและความภูมใิ จในการซือ้ ผลิตภัณฑ์ทดี่ แี ละมีมาตรฐานให้กบั ผูบ้ ริโภคได้เป็นอย่างดี ด้วยฝีมือการออกแบบอัตลักษณ์แฟรนไชส์ฝีมือคนไทยและที่สำคัญการออกแบบที่ ดึงดูดและน่าสนใจของตัวผลิตภัณฑ์ ยังสามารถทำให้ผู้บริโภคหันมาสนใจในตัวสิน ค้าและผลิตภัณฑ์ ทำให้เกิดการสร้างกระแสการดูแลรักษาสุขภาพด้วยประโยชน์ของ น้ำเต้าหู้ ได้เป็นอย่างดี ในการออกแบบผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูลในเชิงลึกตั้งแต่ในเรื่องของการศึกษา เรื่องของ แฟรนไชส์ ในประเทศไทย และสำรวจดู รถเข็นนำ้เต้าหู้ต่างๆตามตลาดและ ประวัติความเป็นมาของน้ำเต้าหู้และเต้าหู้จากแรกเริ่มในประเทศจีนจนมาถึงประเทศ ญี่ ปุ่ น และศึ ก ษาสู ต รวิ ธี ก ารทำนำ้ เ ต้ า หู้ ต่ า งๆจากหลายๆแหล่ ง ข้ อ มู ล รวมทั้ ง ค้นคว้าหาข้อมูลของเต้าหู้ต่างๆ จนสรุปได้ที่เต้าหู้ คินุ (Kinu Tofu) ของญี่ปุ่น จากนั้นจึงคิดว่าถ้าผสมเต้าหู้ คินุ ลงไปในนำ้เต้าหู้ จะยิ่งทำให้มีรสชาดที่เข้มข้น มากขึน้ อีกทัง้ ยังรักษาความเป็นดัง้ เดิมของน้ำเต้าหูไ้ ด้เป็นอย่างดี และนี่คือต้นกำเนิดConcept ของการออกแบบตอัตลักษณ์องค์กรร้านแฟรนไชส์น้ำเต้าหู้โทยา


66

โดยสรุปรูปแบบการออกแบบคือ การนำเสนอความดัง้ เดิมของนำ้เต้าหูแ้ ละสามารถสื่อ ถึงประวัตคิ วามเป็นมาในความรูส้ กึ เมือ่ มองเห็น อีกทัง้ ยังคงความ เรียบง่าย นิง่ แต่ทว่า สวยงาม ในแบบ เซน ของ ญี่ปุ่น ดังนั้นจึงเลือกใช้ พระญี่ปุนในการสร้างโลโก้ ขั้นแรกจึงใช้ลายเส้นคล้ายพู่กันวาดพระญี่ปุน ด้วย โปรแกรม Adobe Photoshop หลังจากนั้น นำมาตกแต่งเพิ่ม ด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator หลังจากนั้นจึงเลือกสี และ ตัวอักษร ตามลำดับ จากนั้น สรุปการออกแบบโลโก้ลงตัว เป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงนำมาต่อยอด การออกแบบอัตลักษณ์ให้กับร้านแฟรนไชส์นำ้ เต้าหู้ โทยา ได้ทั้งหมด 10 อย่าง ดังนี้ 1. โลโก้ของชื่อร้าน 2. ตัวอักษร 3. บรรจุภัณฑ์ต่าง 4. รูปแบบของร้านโดยสังเขป 5. อัตลักษณ์สิ่งพิมพ์ ต่างๆที่ใช้ติดต่อทางธุรกิจ 6. ใบปลิว 7. ชุดพนักงานขาย 8. ตรายางปัม้ และบัตรสะสมแต้ม 9. โฆษณานิตยสาร 10. ผลงานจัดนทรรศการ ข้อเสนอแนะ ในการจัดทำโครงการการออกแบบอัตลักษณ์องค์กรร้านแฟรนไชส์น้ำเต้าหู้ โทยาได้มีการปรึกษาเรื่องสูตรการทำนำ้เต้าหู้จากผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เพิ่มความรู้มาก ขึ้นเกี่ยวกับธุรกิจนำ้เต้าหู้และทำให้ผู้จัดทำทราบว่านำ้เต้าหู้ทั่วไปใน ท้องตลาดยังมีที่ ผสมแป้งอยู่มาก ส่วนในแง่ของการออกแบบอัตลักษณ์องค์กรร้านแฟรนไชส์ต้อง คำนึงถึงเรื่อง ต้นทุน และ วัตถุดิบทางเลือกที่รักษาสิ่งแวดล้อมด้วย



บรรณานุกรม


69

บรรณานุกรม

อ้่างอิงจากบทความและข้อมูล

กระทู้ Hiyayakko Tofu เต้าหู้เย็น และ เต้าหู้ญี่ปุ่น (ฮิยายักโกะ โทฝุ) โดย Onishi (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://www.pantown.com/board.php (6 ตุลาคม 2554)

ความหมายของคำว่า อัตลักษณ์ (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/450615.php (20 ธันวาคม 2554)

เต้าหู้ จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/เต้าหู้.php (30 พฤศจิกายน 2554)

เต้าหู้แบบต่าง ๆ ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://www.bloggang.com/mainblog.php (30 พฤศจิกายน 2554)

น้ำเต้าหู้ จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/น้ำเต้าหู้.php (30 เมษายน 2554)

บทความเรื่อง เต้าหู้ และอาหารจากถั่วเหลืองอื่นๆ (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://http://www.horapa.comcontent.php (20 ธันวาคม 2554)

ประวัติของเต้าหู้ (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php (30 พฤศจิกายน 2554)

ประวัติของเต้าหู้ (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php (6 ตุลาคม 2554)

พระพุทธศาสนามหายานในญี่ปุ่น (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://www.watpaknam.org/knowledge32-พระพุทธศาสนามหายานในญี่ปุ่น.html ( 6 สิงหาคม 2554)

แฟรนไชส์ คืออะไร? (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://www.thaifranchisecenter.com/document/show.php (30 พฤศจิกายน 2554)

รวมสูตรน้ำเต้าหู้ (นมถั่วเหลือง) (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://www.kroobannok.com/blog/11291.html (30 พฤศจิกายน 2554)

เอกลักษณ์องค์กร (เปลี่ยนมาจาก Corporate Identity) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/Corporate_identity.php (20 ธันวาคม 2554)


70

บรรณานุกรม

อ้่างอิงจากข้อมูลรูปภาพ

รูปที่ 1 how-its-made (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก www.cauldronfoods.com/wp-content/themes/cauldron/ images/ui/ how-its-made.jpg (25 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 3 6a00d8341c509553ef0120a847bce1970b-800wi(ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://eatingasia.type pad.com/6a00d8341c509553ef0120a847bce1970b-800wi (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 4 362967695_66fe9fc8d2.jpg (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://farm1.static.flickrcom/134/36296769 5_66fe9fc8d2.jpg (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 5 2228.1.1287730425110.gif (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://s3.wokaiorgblog/2228.1.128773042 5110.gif (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 6 702px-Japanese_SilkyTofu_(Kinugoshi_Tofu) (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://upload.wikimedia. org/wikipedia/commons/0/03/Japanese_SilkyTofu_%28Kinugoshi_Tofu%29.JPG (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 7 soy milk (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://soulflame-zine.blogspot.com/2011/05/content- and-benefit-of-soy-milk-for.html (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 8 Japan: Buddhist monk (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://www.flickr.com/search/?page=3 &q=japanese+monk&z=m by PhotoBoy_00 (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 9 Japanese_buddhist_monk_by_Arashiyama_cut.(ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://upload.wikime dia.org/wikipedia/commons/7/74/Japanese_buddhist_monk_by_Arashiyama_cut.jpg (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 10 148 small (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://3.bp.blogspot.com/_OPKpPIV_46E/Sp6I2NL-MTI/ AAAAAAAAH4Q/oyDGj60PYu4/s400/148+small.jpg (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 11 078 small (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://3.bp.blogspot.com/_OPKpPIV_46E/Sp6I2NL-MTI/ AAAAAAAAH4Q/oyDGj60PYu4/s400/078+small.jpg (25 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 12 ชื่อภาพ : canadian-non-gmo-soya-beans (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://3.bp.blogspot.com/_ OPKpPIV_46E/Sp6I2NL-MTI/AAA/canadian-non-gmo-soya-beansl.jpg (25 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 2 153 small (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://1.bp.blogspot.com/_OPKpPIV_46E/Sp6I2kJOs6I/ AAAAAAAAH4Y/qGk8IJ6rtGk/s400/153+small.jpg (30 พฤศจิกายน 2554)


71

บรรณานุกรม

อ้่างอิงจากข้อมูลรูปภาพ

รูปที่ 13 053 small (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://1.bp.blogspot.com/_OPKpPIV_46E/Sp5_Y-Oxa4I/ AAAAAAAAH1A/LwRczqa-xac/s1600-h/053+small.jpg (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 15 080 small (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://3.bp.blogspot.com/_OPKpPIV_46E/Sp6I2NL-MTI/ AAAAAAAAH4Q/oyDGj60PYu4/s400/080+small.jpg (25 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 16 pressing the tofu collage copy.jpg (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://4bp.blogspot comOPKpPIV_46E/Sp6JRL33-mI/AAAAAAAAH5A/U9Gxvs5Nfn8/s1600-h/pour+into+tofu+mold+collage+ 2+copy.jpg (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 17 freshtofu-1 (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://www.japanesefoodreport.com/photos/freshtofu1.JPG (25 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 18 899px-Japanese_SilkyTofu_(Kinugoshi_Tofu) (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://upload.wikime dia.org/wikipedia/commons/thumb/0/03/Japanese_SilkyTofu_(Kinugoshi_Tofu).JPG (25 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 19 01_7eleven_front02 (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://www.thaifranchisecenter.com/images/Di rectory/franchisethai/07store/01_7eleven_front02.jpg (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 20 starbucks-740160 (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://cache.gawker.com/assets/ images/7/2011/03/starbucks-740160.jpg (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 21 s-ชายสี่หมี่เกี๊ยว-ปากซอยนวมินทร์-42 (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://m.wongnai.com/photosff80 80813238062a01323a2988d40b21/s-ชายสี่หมี่เกี๊ยว-ปากซอยนวมินทร์-42.jpg (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 22 000GTD7A3B7C349B7AD525l (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://th.openrice.com/UserPhoto/phot o/0/2D/000GTD7A3B7C349B7AD525l.jpg (30 พฤศจิกายน 2554)

รูปที่ 23 10764_9639360073_big (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก www.holidaythai.com/ 10764_9639360073_ big.jpeg (30 พฤศจิกายน 2554)

รูปที่ 24 16Colour01.jpg (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://bp0.blogger.com/_5vpWvd7VtJ0/RegL6vqAH CIAAAAAAAAAJI/7CAhU1ZMFw8/s1600-h/16Colour01.jpg

รูปที่ 14 065 small (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://4.bp.blogspot.com/_OPKpPIV_46E/Sp5_aANfOzI/ AAAAAAAAH1Y/sECt9-FGSzo/s400/065+small.jpg (25 ธันวาคม 2554)


72

บรรณานุกรม

อ้่างอิงจากข้อมูลรูปภาพ

รูปที่ 25 104Mobil02.jpg (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://bp0.blogger.com/_5vpWvd7VtJ0/RegLLvqAH BI/AAAAAAAAAI8/5TEUjkhzb0o/s1600-h/04Mobil02.jpg (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 26 logo-shell.jpg (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://3.bp.blogspot.com/_ySCIT3KO9Zc/SJTAA-YtY hI/AAAAAAAAJx4/UM6EeKvF3h0/s400/logo-shell.jpg (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 27 logo-pepsi.jpg (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://bp0.blogger.com/_5vpWvd7VtJ0/RegLLvqAHBI/ AAAAAAAAAI8/5TEUjkhzb0o/s1600-h/logo_pepsi.jpg (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 28 ple_02.jpg (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://blog.girvin.com/wpcontentuploads/2009/09apple_0 2.jpg (20 ธันวาคม 2554)

รูปที่ 29 Monk with a paddy hat, Japan (ออนไลน์). (2554) เข้าถึงได้จาก http://www.flickr.com/photos/ mytripsmypics/101217267/in/photostream/ Monk with a paddy hat.jpeg © Eric Lafforgue (20 ธันวาคม 2554)



74

ประวัติผู้จัดทำศิลปนิพนธ์

ประวัติผู้ทำโครงการ

ชื่อ-สกุล นางสาวตรีนุช พรหมสาขา ณ สกลนคร วันที่เกิด 22 กันยายน พ.ศ. 2523 สถานที่เกิด กรุงเทพมหานคร ประวัติการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มหาวิทยาลัยราชมงคล วิทยาเขต เพาะช่าง ปริญญาตรี คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ติดต่ออีเมล์ tukki.treenut@gmail.com




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.