Pathum Phanichphant by Vithi Phanichphant

Page 1



หนั งสืออนุ สรณ์

คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์ วันที่ 26 ธั นวาคม 2556


ประวัติย่อ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์ คุณปทุมเกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2466 นั กษั ตรปี กุน เป็ น บุตรคนแรกของนายชื่น และนางตุ่นแก้ว มหาวรรณ ที่บ้านในตลาดเก๊าจาว เขตสบตุ๋ย ใกล้กับสถานี รถไฟนครล�ำปาง เมื่อเยาว์ ได้รับการศึกษาชั้น ประถมและมัธยมต้นที่ โรงเรี ยนวิชชานารี ในตัวเมืองจังหวัดล�ำปาง ต่อมา บิดามารดาได้ส่งไปเรี ยนต่อมัธยมปลายในกรุ งเทพฯ ณ โรงเรี ยนเซนต์แมรี่ จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่ โรงเรี ยนวัฒนาวิทยาลัย และโรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษา โดยได้รับความอนุ เคราะห์พ�ำนั กอาศัยพร้ อมดูแลปกครองจากครอบครั ว ของพระยาอนุรักษ์ ราชมณเฑียรและท่านผู้หญิงพัว วัชโรทัย พร้ อมทายาท คุณแก้วขวัญ คุณขวัญแก้ว และคุณเฉลิมพร คุณปทุมได้ศึกษาระดับ อุดมศึกษาที่คณะพาณิ ชยศาสตร์ และการบัญชีของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จนถึงปี ท่ี 3 แต่เนื่ องจากเป็ นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความรุ นแรงมากขึ้น ที่กรุงเทพฯ บิดาจึงได้ ให้กลับมาอยู่บ้านที่ล�ำปางเพื่อความปลอดภัย คุณปทุมได้สมรสกับนายบุญเที่ยง พานิ ชพันธ์ ผู้จัดการใหญ่บริ ษัทล�ำปาง จังหวัดพาณิชย์ จ�ำกัด เมือ่ กลางปี พ.ศ. 2488 มีทายาท 2 คนคือ เด็กชายบุญทิวา (วิถี พานิ ชพันธ์ ) และเด็กหญิงผาสุข (น�้ ำเพชร พานิ ชพันธ์ ) ทั้งหมดได้พ�ำนั ก อยูก่ บั ตระกูลของนางแดง มารดาของคุณบุญเทีย่ งทีก่ าดกองต้าในบริเวณกลาง เมืองล�ำปาง และที่บ้านถนนพหลโยธิ นหน้ าโรงเรี ยนบุญวาทย์วิทยาลัย ประมาณปี 2492 คุณปทุมและคุณบุญเที่ยงได้ย้ายไปใช้ชีวิตในกรุ งเทพฯ พร้ อ มกั บ มิ ต รสหายชาวล� ำ ปางหลายท่ า น คุ ณบุ ญ เที่ย งท� ำ งานที่ บ ริ ษัท ปิ ยะมิตรที่เกี่ยวข้องกับการจัดจ�ำหน่ ายสลากกินแบ่งรั ฐบาล อีกทั้งมีต�ำแหน่ ง เป็นผู้จัดการบริ ษัทไทยเซฟวิ่งทรั สต์ และเป็นเลขานุ การส่วนตัวของท่าน จอมพลสฤษดิ์ ธนะรั ชต์ ส่วนคุณปทุมได้เคยท�ำงานเป็ น Ground Hostess ของ บริ ษัทเดินอากาศไทยและเป็ นผู้ช่วยปฏิบัติงานให้แก่ร้าน “วิจิตรมาลา” และ “วิจิตราไหมไทย” ของท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรั ชต์ 2


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

คุณบุญเที่ยงได้เข้ารั บแต่งตั้งในต�ำแหน่ งร้ อยตรี ในกรมทหารบก (แผนก กรองข่าว Economic Intelligence) พร้ อมปฏิบตั หิ น้าทีห่ ลายด้านให้ทา่ นจอมพล สฤษดิ์ รวมทัง้ ต�ำแหน่ งเลขานุ การในกระทรวงการคลัง เช่นเดียวกัน คุณปทุมก็ มีหน้าทีห่ ลายด้าน ปฏิบตั หิ น้าที่ ให้แก่ทา่ นผูห้ ญิงวิจติ ราบ้านสีเ่ สาเทเวศร์ จวบ จนปี พ.ศ. 2503 ทัง้ คู่ ได้ ไปปฏิบัติหน้ าที่เป็ นทูต (ข้าหลวง) พาณิ ชย์ ไทยและ คุณนาย ณ ฮ่องกง จนได้รับแต่งตัง้ เป็ นกงสุลใหญ่เมือ่ ปี พ.ศ. 2506 ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 คุณบุญเทีย่ งได้ ไปประจ�ำการ ณ กรุงไทเป ในต�ำแหน่ งอุปทูต ณ สถาน ทูตไทยประจ�ำประเทศไต้หวัน โดยมีคุณปทุมเป็ นผู้ติดตาม คุณบุญเที่ยงได้ ล้มป่ วยด้วยโรคมะเร็งหลอดอาหารและเสียชีวติ ทีก่ รุงเทพฯ เมือ่ ปี พ.ศ. 2514 คุณปทุมย้ายกลับมาอยู่ที่กรุงเทพฯ และใช้ชีวิตเป็ นแม่บ้านดูแลทรั พย์สิน ของครอบครั ว ยามว่างก็ ได้ทอ่ งเทีย่ วกับเพือ่ นๆ และญาติพน่ี ้ อง ช่วงสิบห้าปี สุดท้ายของชีวติ คุณปทุมมีปัญหาเกีย่ วกับความทรงจ�ำและสุขภาพ จนเสียชีวติ ลงเมือ่ วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2556 ด้วยโรคชรา มีอายุสิริรวมได้ 90 ปี 6 เดือน พี่น้องร่ วมบิดามารดาของคุณปทุมคือ 1. ปทุม สมรสกับ บุญเที่ยง พานิ ชพันธ์ 2. ประทวน (ธารทิพย์) มหาวรรณ 3. ประมวล (กมลทิพย์) สมรสกับ เรื อง ชุม่ อินทรจักร์ 4. บุญทัศน์ มหาวรรณ สมรสกับ ม.ล.ศรี ฟ้า ลดาวัลย์ 5. บุญเทียน (แสงเทียน) สมรสกับ ประเสริ ฐ รัติวนิ ช 6. บุญทัน (บุญธั นว์) มหาวรรณ 7. ดาริ กา สมรสกับ ดร.ปกรณ์ อดุลย์พันธ์ คุณปทุมกับคุณบุญเที่ยงมีทายาทคือ 1. บุตรชายชื่อ วิถี พานิ ชพันธ์ สมรสกับ สุคนธ์ พิริยกิติกุล มีหลาน 2 คนคือ ภูริน และภูเบ็ง พานิ ชพันธ์ 2. บุตรสาวชื่อ น�้ำเพชร พานิชพันธ์ สมรสกับ เดวิด ไมเคิลเซ่น มีหลาน 2 คนคือ มิเชล และทราวิส ไมเคิลเซ่น 3


นางกองแก้ว

นายน้อยหมู

ลูกหลานอุ๊ยค�ำปันและแม่ตุ่นแก้ว ถ่ายรูปที่บ้านป้าผัด แม่จัน เชียงราย 4


เรื่องเล่าเคล้าต�ำนานของคุณปทุม พานิชพันธ์ หนั งสืออนุ สรณ์ แด่คณ ุ แม่ปทุม พานิชพันธ์ เล่มนี้ เป็ นการบันทึกความทรงจ�ำ จากการบอกเล่าของบรรพชน ญาติมติ ร และลูกหลานทีเ่ กีย่ วพันกับคุณปทุม โดยกล่าวถึงเชื้อสายเครื อสกุลที่พอจ�ำความได้ พร้ อมเหตุการณ์ ท่ีจริ งบ้าง ไม่จริ งบ้าง ประกอบเข้าด้วยกันเป็นเรื่ องเล่าและต�ำนาน สะท้อนให้เห็น เหตุการณ์ แนวความคิดของยุคสมัย และสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวคุณปทุมผู้มี ตัวตนจริง กับการก้าวย่างอย่างสง่างามจากยุคหนึ่ งไปสู่อีกยุคหนึ่ งด้วยความ พิเศษและน่าสนใจ หลายคนอาจมีสว่ นร่ วมอยูด่ ว้ ย และหลายคนอาจนึ กภาพ ไม่ออก เพราะเกิดไม่ทันหรื อเป็ นจินตภาพที่เหมือนนิ ยายฝันเฟื่ องเกินจริง 

สายสกุลทางด้านบิดาของคุณปทุมเริ่มจากนายชื่น มหาวรรณ ชาวเชียงใหม่ เป็นบุตรของพ่อน้ อยหมูและแม่กองแก้วผู้มีเชื้อสายมาจากเชี ยงแสน ดัง ปรากฏหลักฐานอยูท่ ี่ ไม้แกะสลักบน “แป้นแล” ของอาคารอุโบสถ วัดพวกแต้ม เชียงใหม่ จวบถึงปัจจุบัน แม่กองแก้วผู้เป็ นมารดาของนายชื่นนั้ นคงเป็ น ชาวบ้านพวกแต้มมาแต่ดง้ั เดิม เพราะจากค�ำบอกเล่าของแม่คำ� ออน ชาวตลาด ประตูเชียงใหม่ ได้กล่าวว่า นางตุน่ แก้วภรรยาของนายชื่นจากล�ำปาง ได้มาร่ วม พิธีฟ้อนผีบรรพบุรุษของนายชื่นที่หอผีหน้ าก�ำแพงวัดอยู่หลายครั้ง ส่วน ตุล๊ ุงเขียว ขัตติโย เจ้าอาวาสองค์เดิม ผูเ้ ชี่ยวชาญการท�ำฉั ตรทองส�ำริดประดับ วิหารเจดีย์ และเป็ นช่างฝี มอื ส�ำคัญผูห้ นึ่ งของเมืองเชียงใหม่ มีศักดิเ์ ป็ นน้ าชาย ของนายชื่น จากค�ำบอกเล่าของญาติๆ บิดาของนายชื่นหรื อพ่อน้ อยหมู ท�ำ ธุรกิจค้าขายจนร�่ำรวยและได้เป็ นเจ้าของตลาดประตูเชียงใหม่ มีบตุ รธิดาหลาย คนดังต่อไปนี้ 1) นายถา 2) แม่ค�ำปัน 3) นายชื่น 4) นายบุญยืน แต่ โชคไม่ อ�ำนวย ด้วยครั้งหนึ่ งได้ ไปเล่นการพนันที่บ้านแม่บู่กลางเวียง ปรากฏว่าเล่น 5


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

รถเก๋งของพ่อเลี้ยงชื่น พร้อมครอบครัว บนถนนพหลโยธิน

ทางรถไฟสายเหนือช่วงบ้านทาชมพู ที่คุณปทุมชื่นชอบมาก 6


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ถัว่ (การพนันชนิ ดหนึ่ ง) อย่างเพลิดเพลินจนเสียตลาดประตูเชียงใหม่ทง้ั หมด ให้แก่เจ้ามือไป ด้วยความอับอายจึงพาครอบครัวอพยพกลับไปเมืองเชียงแสน ถิ่นเดิม แต่ปรากฏว่าเมืองเชียงแสนที่เคยมั่งคั่งในอดีตได้กลายเป็ นเมือง ร้ างไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย จึงถอยร่ นพร้ อมลูกหลานมาตั้งบ้านเรื อนที่อ�ำเภอ แม่จันเชียงรายแทน แม่ปันเป็ นพี่สาวของนายชื่นจึงมีครอบครั วและสืบสกุล ลูกหลานเป็นชาวแม่จันมาถึงปัจจุบันได้แก่ลูกๆ ของป้าผัด คือ ยุทธ น้ อย นิ ด หน่ อย จากค�ำบอกเล่าอีกปากหนึ่ ง พ่อน้ อยหมูมิ ได้เล่นการพนันแต่เป็ นผูค้ ำ�้ ประกัน ให้ ส่างโย เกีย่ วกับธุรกิจบางประการ หลังโดนส่างโยเบีย้ วเลยต้องสูญเสียตลาด ประตูเชียงใหม่จากการค�้ำประกัน จึงตัดสินใจพาครอบครั วไปอยู่แม่สายและ ย้อนกลับมาที่อ�ำเภอแม่จันภายหลัง ส่วนนายชื่นเดินทางไปแสวงโชคที่เมือง ล�ำปางได้สมัครเป็นต�ำรวจ และต่อมาได้สมรสกับนางตุ่นแก้ว ลูกสาวของ พ่อน้ อยเปิ้ นและแม่อุ๊ยหอม ชาวบ้านล�ำปางกลาง (คุณน�้ ำเพชรกล่าวว่าเป็ น เชื้อสายเจ้ามหาพรหมจากหลวงพระบาง เครื อพระญาติทา้ วลุงเจ้าสุวรรณราช นายกรั ฐมนตรี ลาวพลัดถิ่นที่ซานดิเอโก สหรั ฐอเมริ กา) นางตุ่นแก้วมาจาก ตระกูลทีท่ ำ� ธุรกิจค้าขายขนส่งทางน�้ำและทางบกด้วยระบบ ”ม้าต่างวัวต่าง” มา แต่ โบราณ นายชื่นจึงหันมาสร้ างฐานะตนเองทางด้านธุ รกิจการขนส่งสินค้า บนเส้นทางคมนาคมด้วยรถยนต์ท่เี พิ่งเกิดขึ้นใหม่ โดยมีล�ำปางเป็ นศูนย์กลาง โอกาสใหม่ๆ หลายด้านในการค้าการขนส่งเกิดขึ้นอย่างไม่ปรากฏมาก่อนใน อดีต เมื่อยุคต้นๆ ของ พ.ศ. 2400 การล่อง ”เรื อหางแมงป่ อง” และแพท่อน ซุงไม้สักของบริ ษัทฝรั่งยังคงด�ำเนิ นต่อไป น� ำมาซึ่งความเจริ ญให้แก่บริ เวณ ตลาดจีนริมน�้ ำที่รู้จักกันในนามของ “กาดกองต้า” แต่จุดหักเหที่เปลี่ยนโฉม ของสังคมล้านนาโบราณเข้าสู่ความร่ วมสมัยมีความชัดเจนขึ้นมาก เมื่อมีการ ก่อสร้ างทางหลวงหมายเลข 1 หรื อถนนพหลโยธิ น จากชานเมืองด้านเหนื อ ของกรุงเทพฯ ใกล้ๆ วังพญาไท ผ่านสระบุรี ปากน�้ ำโพ (นครสวรรค์) ผ่าน ระแหง (เมืองตาก) เข้าสู่นครล�ำปาง ต่อไปถึงเมืองพะเยา เมืองพาน แม่จัน 7


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

แม่สาย ปางวาด (ท่าขี้เหล็ก) เมืองโก เมืองเลน ไปสู่เมืองเชียงตุง ซึ่งในช่วง เวลาใกล้ชดิ กันนั้นคือการมาของทางรถไฟซึ่งเดิมปลายรางสิน้ สุดทีน่ ครสวรรค์ ได้ขยายเพิม่ ขึ้นมาถึงพิษณุ โลก ศิลาอาสน์ เด่นชัย ล�ำปาง และการวางรางเหล็ก มุ่งหน้ าเจาะทะลุดอยขุนตานไปสู่เชียงใหม่ ด้วยเส้นทางรถยนต์มาตัดกับรางรถไฟที่บ้านดอนปาน สบตุ๋ย ชานเมือง ล�ำปางประมาณปี พ.ศ. 2460 ท�ำให้ธุรกิจร้ านค้ารุ่ นใหม่ของมณฑลพายัพมา กระจุกตัวกันอยู่ที่รอบๆ สถานีรถไฟนครล�ำปาง ที่รู้จักกันในนามพื้นเมืองว่า ”สบตุ๋ยเก๊าจาว” ที่เลื่องลือไปด้วยสินค้าหลากหลายที่มา ไม่ว่าจะเป็ นของป่ า ของพืน้ เมือง สินค้าจากเมืองกรุง สินค้าจากเมืองนอก มีมากมายให้ซอื้ ขายแลก เปลีย่ นกัน ซ้อนทับกับภาพของคนพืน้ เมืองหาบกระบุงสวนทางกับรถม้า รถ จักรยาน เกวียนเทียมวัว ขบวนม้าต่างวัวต่างจอดพักกินหญ้าข้างรางรถไฟ พา กันแตกตืน่ เมือ่ หัวรถจักรไอน�้ำแล่นผ่าน ประกอบเข้ากับภาพของคนพืน้ เมือง ที่สวมใส่ผ้าผ่อนน้ อยชิ้นเทียบกับพ่อค้าต่างถิ่นต่างชาติและชาวฝรั่ งที่อยู่ ใน ชุดลินินสีขาวสวมหมวก ใส่ถุงน่ องรองเท้า กางร่มประดับผ้าลูกไม้จากยุโรป การใช้ฝิ่นเป็ นยาแก้ปวดและสูบเพื่อความเพลิดเพลินเป็ นวัฒนธรรมของ ชาวเอเชียกลางมาแต่ โบราณ เมื่อจักรวรรดิอังกฤษได้พื้นที่ดังกล่าวมาเป็ น เมืองขึ้น และค้นพบว่าฝิ่ นสามารถเป็ นสินค้าที่สร้ างก�ำไรสูงและรายได้ที่เป็ น กอบเป็นก�ำให้แก่จักรภพ หากมีการจัดการอย่างเป็นระบบ เมืองจีนซึ่งมี ประชากรทีห่ นาแน่นมาอย่างยาวนาน เป็ นตลาดส�ำคัญส�ำหรั บธุรกิจการค้าฝิ่ น ดังนั้น ฝิ่ นดิบจากเมืองชั้นในของเอเชียกลางจึงถูกล�ำเลียงขนส่งด้วยเรื อสินค้า ของบริ ษัทในเครื อจักรภพ สู่เมืองท่าต่างๆ ทางตอนใต้ของประเทศจีน คน จีนทัง้ ผูร้ ่� ำรวยและยากจนถูกชักน�ำและมอมเมาให้สบู ฝิ่ นจนติดงอมแงม สร้ าง รายได้ที่ส�ำคัญและอ�ำนาจให้แก่จักรภพอังกฤษ เพราะชาวจีนยังไม่รู้จักที่จะ ปลูกฝิ่ นด้วยตัวเอง ราชส�ำนั กจีนได้เล็งเห็นภัยพิบัติท่กี ัดกร่ อนเศรษฐกิจ ของประเทศชาติจึงออกกฎหมายห้ามคนจีนสูบฝิ่ น คนจีนที่ติดยาฝิ่ นหลาย ระดับจึงพากันย้ายหนี ออกจากภูมิล�ำเนาเดิมมาอยู่ตามเมืองท่าต่างๆ ในเอเชีย 8


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

อาคเนย์ท่สี ะดวกในการหาซื้อฝิ่ นจากเอเชียกลาง เช่นเมืองไซ่ง่อนในเวียดนาม ชาวบางกอกในสยาม สิงคโปร์ มาลัคกา ปัตตาเวีย สงครามฝิ่ นระเบิดขึ้น ระหว่างจักรภพอังกฤษกับจีน ท�ำให้จีนเสียเกาะฮ่ องกงให้กับอังกฤษเป็น เวลาถึง 100 ปี เพื่อชดเชยค่าเสียหาย อีกทัง้ ยังสร้างสถานการณ์ กลืนไม่เข้า คายไม่ออกระหว่างจักรภพอังกฤษ อินเดีย กับจีน อันมีผลต่อการขนส่งการ ค้าขายฝิ่ นจากตะวันออกกลาง ท�ำให้มีค่าใช้จ่ายสูงมากขึ้น ไม่คุ้มทุน ชาวจีน ในเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้คน้ พบว่าสามารถซื้อหาฝิ่ นคุณภาพเทียบเท่าได้จาก แหล่งปลูกใหม่คือพื้นที่ ในรั ฐฉานและฆณฑลยูนนานที่อยู่ภายใต้การควบคุม ของอังกฤษนอกเขตการดูแลของราชวงค์ชิง ฝิ่ นจากสามเหลี่ยมทองค�ำจึง เป็ นสินค้าใหม่ ไม่ผิดกฎหมายส�ำหรั บจ�ำหน่ ายให้แก่ โรงสูบฝิ่ นในเมืองส�ำคัญๆ ของเอเชียอาคเนย์จวบจนถึง พ.ศ. 2500 นายชื่น มหาวรรณ ได้ปรั บปรุ งธุ รกิจขนส่งด้วยรถยนต์บรรทุกจากที่ ใช้ เฉพาะขนส่งสินค้าพื้นเมืองเช่น ข้าวสาร ครั่งดิบ และสินค้าป่ าจากแม่สายสู่ สบตุ๋ยล�ำปาง มาเป็ นฝิ่ นดิบจากสามเหลี่ยมทองค�ำที่ ให้มีก�ำไรเป็ นกอบเป็ นก�ำ มากขึ้น ปกติฝิ่นดิบจะได้รับการบรรจุหีบห่อใหม่ที่สบตุ๋ยเพื่อขึ้นรถไฟไปยัง ตลาดกรุงเทพฯ และเมืองอื่นๆ ต่อไป ธุ รกิจนี้น�ำมาซึ่งผู้ร่วมงานหลากหลาย ทั้งญาติพี่น้องฝ่ ายภรรยาและคหบดี เจ้านายหลายตระกูล ตามเส้นทางขนส่ง ใหม่ ท�ำให้มีผู้คนเข้ามาเกี่ยวข้องกับการขนส่งฝิ่ นในยุคนั้นมากขึ้น นายชื่ นจึงมีสมญานามที่เปลี่ยนไปเป็ น ”พ่อเลี้ยงชื่ น” ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ผูจ้ ดั การใหญ่ธนาคารสยามกัมมาจล ธนาคารแห่งแรกในมณฑลพายัพ ยุคนั้นเคยกล่าวว่า ล�ำปางมีพ่อเลี้ยงอยู่ 2 ประเภท อันได้แก่พ่อเลี้ยงค้าฝิ่ น กับพ่อเลี้ยงค้าไม้ และพ่อเลี้ยงฝิ่ นนั้ นมักจะอายุไม่ค่อยยืนเทียบกับพ่อเลี้ยง ไม้ คุณชายคึกฤทธิ์มีความคุ้นเคยกับพ่อเลี้ยงชื่นมากซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิต ที่น่าสนใจของคุณปทุมในกรุงเทพฯ ในกาลต่อมา คุณชายคึกฤทธิ์ เคยเป็ น อาจารย์สอนอยู่ที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และ เคยไปเยี่ยมคุณปทุมเมื่อครั้งพ�ำนั กอยู่ท่ฮี ่องกง 9


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

(ขวา) พ่อเลี้ยงชื่นและลูกๆ ทั้ง 7 ปทุม ประทวน ประมวล บุญทัศน์ บุญเทียน บุญทัน และ ดาริกา 10


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

พ่อเลี้ยงชื่นย้ายบ้านพักอาศั ยบริ เวณตลาดเก๊าจาวไปสร้ างใหม่บนถนน พหลโยธิ น บริ เวณหน้ าส�ำนั กงานกรมทางหลวง บ้านไม้สักหลังนี้ เป็ นหลัง แรกของถนนพหลโยธิ นใกล้จุดตัดกับรางรถไฟกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ใช้เงิน ก่อสร้ างแพงมากประมาณ 4,000 บาท ยายตุ่นแก้วเล่าให้ฟัง ถัดจากนั้นมี บ้านหรู ของพ่อเลี้ยงค้าฝิ่ นอื่นๆ สร้ างตามมาในตอนหลังซึ่งส่วนใหญ่เป็ นบ้าน ตึกแนวทันสมัยสมฐานะของผู้อาศัย อาจเรี ยกได้ว่าเป็ นย่านของคนรวยใหม่ ของเมืองล�ำปางที่มักมีชื่อน� ำหน้ าว่า “พ่อเลี้ยง” เสมอ ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น ญีป่ ่ นุ รบกับพันธมิตรท�ำให้เกิดผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจสังคมไทยมากมาย แต่ธุรกิจค้าฝิ่ นของพ่อเลี้ยงชื่นยังด�ำเนิ น ต่อไปอย่างมั่นคง พ่อเลี้ยงชื่นเป็ นเจ้าของโรงแรมส�ำคัญรอบๆ สถานีรถไฟ ล�ำปาง เป็ นเจ้าของทีด่ นิ ทัง้ ในจังหวัดล�ำปางและจังหวัดเชียงใหม่ อีกทัง้ ยังสร้ าง บารมี ไว้รอบตัวด้วยความโอบอ้อมอารี ดังค�ำบอกเล่าของโชเฟอร์ ขับรถของ คณะมนุ ษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2519 ชื่อลุงจู ผู้ซ่ึงรั ก และเอาใจใส่อาจารย์วิถีเป็ นพิเศษในการเดินทางไปไหนมาไหน ลุงจูเป็ นเงี้ยว มีบ้านอยู่ข้างวัดป่าเป้า เล่าว่าแกเคย ”แบกฝิ่ น” ข้ามดอยให้พ่อเลี้ยงชื่นและได้ รั บความกรุ ณาปราณีจากพ่อเลี้ยงชื่นอยู่ตลอด ลุงจูเลยซาบซึ้งและขอดูแล อาจารย์วิถีเป็ นอย่างดี เพราะทราบว่าเป็ นหลานชายคนแรกของพ่อเลี้ยงชื่น พ่อเลี้ยงชื่ นเสี ยชี วิตลงจากการถูกสั งหารด้วยปืนในรถสเตชั่ นแวกอน บริ เวณเชิงดอยสุเทพเมื่อปี พ.ศ. 2496 ด้วยเหตุผลประการใดก็มิทราบได้ คาดว่าคงมีท่มี าจากธุ รกิจค้าฝิ่ นนั้นแหละตามที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ กล่าวเอาไว้ ส�ำหรั บผู้เขียนนี้ มีความทรงจ�ำอยู่น้อยนิ ดมากเกี่ยวกับพ่อเลี้ยง ชืน่ เมือ่ เป็ นเด็กอายุประมาณ 5 ขวบ พ่ออุย๊ ชืน่ เคยอุม้ ลงเล่นน�้ำทีน่ �้ำตกผาเงิบ ณ เชิงดอยสุเทพจ�ำได้ว่าน�้ ำเย็นมากๆ ส่วนคุณน�้ ำเพชรจ�ำได้ว่า คุณตาชื่น เคยพาขึ้นไปสักการะพระธาตุดอยสุเทพ ถนนทางขึ้นวัดนี้ สร้ างโดยครู บา ศรี วิชัย ผู้ต้งั ชื่อให้คุณปทุม  11


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

พี่สีมา ผู้ดูแลหอปู่ย่าบ้านล�ำปางกลาง

แม่อุ๊ยค�ำปัน พี่สาวของพ่อเลี้ยงชื่นและ อุ๊ยปันแก้ว ญาติสายบ้านพวกแต้ม

เครือญาติสายมหาวรรณ 12


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

สายสกุลทางด้านมารดาของคุณปทุมเริ่มจาก นางตุ่นแก้ว สุขรัตน์ เป็ นชาว ล�ำปาง บุตรสาวของพ่อน้ อยเปิ้ นและแม่อุ๊ยหอม ชาวบ้านล�ำปางกลางแต่ ดั้งเดิม ดังปรากฏหลักฐานที่เป็ นอาคาร “หอผีบรรพบุรุษ” อยู่บริ เวณบ้าน ข้างวัดล�ำปางกลางตะวันตกตราบปัจจุบนั พีน่ ้ องร่ วมมารดา คือ 1) นายกองค�ำ 2) นางตุ่นแก้ว 3) นางชื่น 4) นางจันทร์ สม เมื่อครั้งวัยเด็ก อายุ 6-7 ขวบ อาจารย์วิถีเคย “เหยียบ” หรื อนวดด้วย ฝ่ าเท้าตามจารีตพืน้ เมืองทีห่ ลานๆ จะปรนนิบตั ิ ให้ญาติผู้ ใหญ่แบบโบราณให้แก่ ยายตุ่นแก้ว ”เหยียบ” ไปฟังคุณยายเล่าเรื่ องต่างๆ มากมายไป ยายตุ่นแก้ว เล่าว่า หม่อนของเธอ (ทวด) เป็ นนายท้ายเรื อของเจ้านายองค์หนึ่ งของล�ำปาง เจ้าสั่งให้ทวดล่องเรื อไปส�ำรวจหมู่บ้านต่างๆ เพื่อสอดส่องล่าหาหญิงสาวมา บ�ำเรอเป็ นเมีย แต่ทวดปฏิเสธหน้ าที่ดังกล่าวพร้ อมหนี โทษด้วยการแขวนคอ ฆ่าตัวตายใกล้กบั ต้นยางแฝดริมน�้ำแม่วงั (ปัจจุบนั เป็ นบริเวณโรงเรียนเคนเน็ ต แม็คเคนซี) ยายตุน่ แก้วยังเดินทางไป ไหว้ผบี รรพชน ณ จุดนั้น ”ต้นยางแฝด” อยู่บ่อยครั้ง พร้ อมสั่งให้ลูกหลานช่วยกันจ�ำไว้และปรนนิ บัติสืบต่อให้ด้วย ยายตุ่นแก้วเล่าต่อไปอีกว่า ตอนที่เป็ นสาวอายุ 16 มีกองคาราวานวัวต่าง ของญาติสนิทก�ำลังจะออกเดินทางไปเชียงใหม่ ตนเองอยากไปเที่ยวเชียงใหม่ มากแต่พ่อแม่ก็ ไม่เห็นด้วย ด้วยความดื้อรั้ นของตัวเอง ในที่สุดพ่อน้ อยเปิ้ น แม่อยุ๊ หอมก็ยอมให้ลกู สาวเดินทางไปเชียงใหม่ ได้ หากต้องมีสนุ ัขชือ่ ”อีเขียว” เป็ น รปภ. ร่ วมเดินทางไปด้วย ในที่สุดยายตุ่นแก้วพร้ อมกระบุงหาบและ อี เขี ย วเดิ นทางด้ ว ยเท้ า รอนแรมไปถึ ง เชี ย งใหม่ ได้ เข้ า พั ก บริ เวณใกล้ วั ด พวกแต้ม ญาติๆ พายายตุ่นแก้วไปเที่ยวตลาดต่างๆ ในเชียงใหม่รวมทัง้ เดิน ทางขึ้นไป ไหว้พระธาตุดอยสุเทพ และบ่ายวันหนึ่ งยายตุน่ แก้วก็ ได้พบเจอกับ ชายหนุ่ มหน้ าตาดีก�ำลังเลี้ยงแพะอยู่บนก�ำแพงเมืองชื่อ ชื่น มหาวรรณ เป็ น ลูกหลานชาวบ้านพวกแต้ม ทัง้ คู่ ได้รู้จกั คุน้ เคยชอบพอกันตามอารมณ์วยั รุ่ น และวันเวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วยายตุน่ แก้วจ�ำต้องกลับล�ำปาง ด้วยความเร่งรีบ และหัวใจที่วาบหวิว 13


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

พ่อเลี้ยงชื่น และแม่เลี้ยงตุ่นแก้ว มหาวรรณ

14


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

เมื่อกลับถึงบ้านล�ำปางกลาง พ่อน้ อยเปิ้ นถามถึงอีเขียวผู้ท�ำหน้ าทีค่ ุ้มกันว่า ท�ำไมไม่กลับมาด้วย ยายตุ่นแก้วตอบสั้นๆ ว่าหมาไปเที่ยวเริงร่ าแล้วหายไป!!! (Who knows?) หลังจากนั้นหกเดือนอีเขียวในสภาพที่อดอยากไม่ ได้กินข้าว กินน�้ ำ อิดโรย เดินโซกลับมาถึงบ้านล�ำปางกลางแทบเอาชีวิตไม่รอด แต่มัน ก็มีชีวิตอยู่ยืนยาวต่อจนชราตายเมื่ออายุ 14 ปี ยายตุ่นแก้วเล่าต่อว่าคล้อย หลังการกลับมาบ้านของอีเขียวก็เป็ นการปรากฏกายของนายชื่น คุณปทุม เล่าให้คณ ุ น�้ำเพชรลูกสาวฟังว่า พ่อได้เดินเท้าตามรางรถไฟจากเชียงใหม่หลายวัน เพื่อมาขอสาวตุ่นแก้วแต่งงานถึงล�ำปาง ซึ่งน� ำมาสู่ความปิ ติยินดี ให้แก่ตนเอง และญาติๆ เมื่อปี พ.ศ. 2465 แม่ตุ่นแก้วได้สมรสกับพ่อน้ อยชื่น (“น้ อย” เป็ นค�ำน� ำ หน้ าของชายล้านนาที่ ได้ผา่ นการบวชเป็ นสามเณร และมีการศึกษาระดับหนึ่ ง สามารถอ่านออกเขียนได้ มีบุคลิกที่น่าเชื่อถือในสังคม) ทั้งคู่มีบุตรสาวคน แรกในปี ต่อมาและได้รับการตัง้ ชื่อให้ โดยครู บาศรี วิชัย นั กบุญแห่งล้านนาว่า “ปทุม” ในสังคมล้านนาโบราณการที่คู่สามีภรรยามีบุตรคนแรกเป็ นผู้หญิง ถือเป็ นความโชคดี ให้แก่ครอบครั ววงศ์ตระกูล ”อีเอ้ย” หรื อพี่เอ้ยจะได้ รั บการเลี้ยงดูอย่างดีจากพ่อแม่และตายาย เพื่อจะได้เป็ นผู้น�ำของครอบครั ว พร้ อมท�ำหน้ าทีส่ �ำคัญปรนนิ บตั ญ ิ าติผู้ ใหญ่และพิธีกรรมต่างๆ ทีเ่ กีย่ วกับการ เซ่นไหว้บรรพชน และเป็ นผู้รักษาก�ำกับข้อปฏิบัติข้อห้ามของจารีตประเพณี ดั้งเดิมสืบต่อไป พี่เอ้ยยังมีหน้ าที่ส่งเสริ มปกป้ อง ”อีหล้า” หรื อน้ องสาว คนเล็กสุด ผู้ซ่ึงมีสิทธิ แต่เพียงผู้เดียวในการจัดการเรื่ องมรดกบ้านช่อง เรื อก สวน ไร่ นาของพ่อแม่ คุณปทุมในต�ำแหน่ งของ “อีเอ้ย” จึงได้รับการเลี้ยงดูที่พิเศษต่างจากลูกที่ เกิดตามกันมา มีความสนิทสนมกับยาย (อุ๊ยหอม) มาก อีกทั้งยังได้รับ การเลี้ยงดูอบรมอย่างเข้มข้นตามแบบสตรี ล้านนา จนหลายคนบอกเล่าว่า คุณปทุมนั้นมีบุคคลิกเทียบเท่ากับการโคลนนิ่ งของอุ๊ยหอมเลยทีเดียว นาย ชื่นรั กลูกสาวคนนี้ มากและไม่เคยขัดใจเลย เป็ นหัวแก้วหัวแหวนของพ่ออยู่ 15


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

16


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ตลอดกาล จนพี่น้องคนอื่นๆ หมั่นไส้ ในความมั่นใจและดื้อรั้ นแม้กระทั่งกับ มารดาของเธอเอง ในช่วงการเริ่ มธุ รกิจขนส่งสินค้าด้วยรถโดยสารโครง ประทุนไม้ (ปัจจุบันเรี ยกว่ารถคอกหมู) นายชื่นและนางตุ่นแก้วมิค่อยมีเวลา เลีย้ งลูกๆ เองนั ก จึงยกหน้าทีน่ ี้ ให้อยุ๊ หอมรับผิดชอบ ปกตินายชืน่ เป็ นผูข้ บั รถ และควบคุมอยู่หน้ ารถบนเส้นทางที่ค่อนข้างเปลี่ยวและอันตรายของถนน พหลโยธิ น ส่วนนางตุ่นแก้วจะเป็นผู้ควบคุมผู้ โดยสารและสินค้าที่อยู่ ท้ายรถ นุ่ งซิ่นพื้นเมืองเหน็ บปิ่ นสั้นไว้ที่หัวซิ่นส�ำหรั บใช้ถ้าเกิดเหตุการณ์ ไม่ชอบมาพากลบนเส้นทางเดินรถสายนี้ แลดูก๋ากัน่ ไม่น้อยเลย นางตุ่นแก้วให้ก�ำเนิ ดบุตรหญิงและชายตามเมืองต่างๆ บนเส้นทางการ เดินรถขนส่ง คุณปทุมและคุณประทวนเกิดที่บ้านตลาดเก๊าจาว สบตุ๋ย ล�ำปาง คุณประมวลที่เมืองพะเยา คุณบุญทัศน์ และบุญเทียนที่อ�ำเภอแม่จัน คุณบุญทันและคุณดาริกาทีบ่ า้ นหน้ากรมทางหลวงแผ่นดินล�ำปาง ดังนั้นลูกๆ ทัง้ เจ็ดนี้น่าจะมีนามสกุลว่า “พหลโยธิ น” นางตุ่นแก้วไม่เคยเรี ยนหนั งสือจึง ไม่สามารถอ่านออกเขียนอะไรได้เฉกเดียวกับสตรี โบราณรุ่ นเดียวกัน แต่ คิดเลขและค�ำนวณรายได้รายจ่ายเก่งและแม่นย�ำมาก การที่ ได้เดินทางขึ้นล่อง ผ่านเมืองเล็กเมืองน้ อยบนเส้นทางธุ รกิจขนส่งท�ำให้นางตุ่นแก้วเป็ นผู้มีความ รั กและชอบกับการแวะซื้อของบนเส้นทางพหลโยธิ น ไม่มีตลาดเมืองไหนที่ เธอไม่เคยแวะ ถ้าไม่มีธุระหรื อซื้อของก็ขอให้ ได้สังสรรค์กับแม่ค้าชาวบ้าน ในตลาด จนเป็ นที่รู้จักของผู้คนเกือบทุกเมืองว่าเป็ นสตรี ห้าวๆ แต่ ใจสปอร์ต พร้ อมทีจ่ ะขูต่ ะคอกและยิม้ หวานให้เสมอ จึงไม่แปลกเลยทีน่ างตุน่ แก้วไม่ ได้ ลังเลใจที่จะมีแฟนหนุ่ มเป็ นลูกชายเจ้าของตลาดประตูเชียงใหม่เมื่อครั้งสมัย เป็ นสาว นางตุน่ แก้วปรารภอยูเ่ สมอว่าเธอชอบเครื่องดืม่ แอลกอฮอล์ทเ่ี รี ยก ว่า ”น�้ำโจ้” ซึ่งเป็ นเหล้าขาวจากการหมักข้าวเหนี ยวจนขึ้นฟองฟอด (ปวก) คล้าย เบียร์ สด เป็ นเครื่ องดื่มที่สตรี ล้านนายุคโบราณนิ ยมส�ำหรั บงานเฉลิมฉลอง ในโอกาสส�ำคัญ นางตุ่นแก้วมักมีอาการแพ้อากาศและจามอยู่บ่อยครั้งจน น่ าร� ำคาญ วิธีการแก้แพ้คือการสูบยานั ตถ์ด้วยกล้องหลอดสูบที่ท�ำด้วยเงิน 17


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ทางรถไฟลอดสะพานขาว ใกล้สถานีรถไฟทาชมพู ล�ำพูน

บ้านไม้สักของตระกูลมหาวรรณ บนถนนพหลโยธิน หน้ากรมทางหลวง ล�ำปาง 18


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

บริ สุทธิ์ แขวนต่างโซ่เล็กๆ และเหน็ บไว้ท่กี ระเป๋าเสื้อชั้นในหรื อ ”เสื้อบ่าฮ้อย” ซึ่งเป็ นเสื้อยกทรงสตรี ล้านนานิ ยมทั่วไปในล้านนา ยานั ตถ์ยอดฮิตที่เธอใช้ เป็ นประจ�ำคือ ”ยานั ตถ์หมอมี” ทีข่ ายทัว่ ไป น� ำเข้าจากกรุงเทพฯ นางตุน่ แก้ว ค่อนข้างจะมีกจิ กรรมหลายอย่างทีห่ ญิงเปรี้ ยวยุคนั้นท�ำกัน ยกเว้นอย่างเดียว ที่ ไม่ชอบคือการสูบบุหรี่ ขี้ โยหรื อบุหรี่ ยากาแร็ตฝรั่ง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านไปสถานภาพทางครอบครั วของตระกูล มหาวรรณเต็มไปด้วยความมัง่ คัง่ และอ�ำนาจ ชือ่ นายชืน่ ก็เปลีย่ นเป็ น ”พ่อเลีย้ ง ชื่น” นางตุ่นแก้วก็เปลี่ยนเป็ น ”แม่เลี้ยงตุ่นแก้ว” มีทรั พย์สินมากมายที่ช่วย เชิดหน้ าชูตาในสังคมเมืองเหนื อ ถึงแม้ ไม่ก้าวทันความเจริ ญอย่างเต็มที่แต่ ก็มีรสนิ ยมแบบเศรษฐี ใหม่ แม่เลี้ยงตุ่นแก้วชื่นชอบมากกับการนั่ งรถเก๋ง คันใหญ่ ไปโน่นมานี่ ในล�ำปางเสมอ ผู้เขียนพอจ�ำความได้ว่า ยายตุ่นแก้วพา หลานชายคนนี้นั่งรถเก๋งอเมริ กันยี่ห้อ Desoto คันใหญ่ โตประมาณเรื อยอร์ ช ไปเที่ยวเชียงใหม่ โดยมีลูกชายสุดหล่อชื่อบุญทัศน์ มหาวรรณ ขับรถดังกล่าว จากล�ำปาง ขับมาตามถนนพหลโยธิ นล่องไปถึงอ�ำเภอเถิน จากนั้ นเลี้ยวขึ้น ทางดอยที่วกวนเต็มไปด้วยฝุ่นแดงตลอดทางของเมืองลี้ ผู้เขียนยื่นคอออก จากหน้ าต่างรถคันที่ ใหญ่ โตเพื่ออ้วก จนเกิดลวดลายฝุ่นเกาะเป็ นริ้ วรอยตาม ปี กหางของรถอเมริ กันคันนั้น ผ่านป่ าดอยเข้าสู่ บ้านโฮ่ง และแวะเยี่ยมแฟน สาวสวยของคุณบุญทัศน์ที่บ้านธง ป่ าซาง ล�ำพูน ชื่อนวลสวาท ลังการ์ พินธุ์ ผูเ้ ป็ นนางสาวถิน่ ไทยงามทีม่ ชี อ่ื เสียงผูห้ นึ่ งของเมืองเหนื อ เราช่วยกันล้างรถให้ สะอาดทีบ่ า้ นน้ านวลก่อนเดินทางต่อสู่เชียงใหม่ น่ าเสียดายจัง บุพเพสันนิ วาส พาไป คุณบุญทัศน์ มิ ได้แต่งงานกับคุณนวลสวาท ทั้งที่รักกันอย่างมากมาย คิดว่าแม่ตุ่นแก้วคงคิดเช่นเดียวกัน เรื่ องนี้น้านวลสวาทร� ำพึงร� ำพันให้ผู้เขียน ฟังหลังจากห้าสิบปี ผ่านไป ก่อนการเสียชีวิตของน้ านวลเอง น้านวลสวาทเล่าว่า น้าพบรักแรกในชีวติ เมือ่ ตอนเป็ นสาวอายุ 18 ปี ตอนนั้น ติดตามคุณพ่อไปหาซื้อไม้สักทีล่ ำ� ปางโดยเดินทางโดยรถไฟจากล�ำพูนไปล�ำปาง น้านวลและเพือ่ นอยู่ ในโบกีส้ ดุ ท้าย กรี๊ดกร๊าดสนุ กสนานตามประสาสาวรุ่นหลัง 19


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

แม่เลี้ยงตุ่นแก้วพร้อมลูกหลานหน้าบ้านพักบนถนนพหลโยธิน หน้ากรมทางหลวง ล�ำปาง 20


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

หลังจากขบวนรถขบวนรถลอดถ�้ำขุนตาล แล้วตู้ โบกี้ทั้งห้าตู้ก็ตี โค้งไปตาม ราง สาวๆ ยื่นหน้ าออกจากหน้ าต่างเพื่อดูหุบเหวลึกน่ าตื่นเต้นหวาดเสียว และแล้วทุกคนก็พากันชี้ ไปยังชายหนุ่ มรู ปงามในชุดเสื้อและกางเกงขาว ผ้า ชาร์คสกิ้นยืนเกาะบันไดตู้ โบกี้แรกของขบวนรถโบกมือให้ เหมือนฝันยาม กลางวันที่ ไม่จริง น้ านวลอุทาน ในที่สุดภาพนั้นก็หายไปเมื่อขบวนรถไฟวิง่ เข้าสู่ทุง่ ราบของห้างฉั ตร เมือ่ ถึงสถานี ลำ� ปางทุกคนกุลกี ุจอลงจากตู้ โบกีต้ าม คุณพ่อไปพบคณะผู้มารั บ ณ จุดทางออก น้ านวลเผชิญหน้ ากับหนุ่ มในชุด ชาร์คสกิน้ คนนั้นอย่างจัง เขาไว้ผมทาน�้ำมันเรี ยบเงาและไว้หนวดด้วย เหมือน คลากเกเบิ้ลในภาพยนตร์ฮอลลีวูดอย่างไรอย่างนั้น หัวใจน้ าแทบหยุดเต้น เมื่อผู้มารั บแนะน� ำให้รู้จักว่านี้ คือ คุณบุญทัศน์ ลูกชายสุดหล่อของพ่อเลี้ยง ชื่น มหาวรรณ น้ านวลไม่เคยมีความรู้ สึกอะไรเช่นนั้นมาก่อน ล่องลอยอยู่ ในภวังค์วันแล้ววันเล่า ในที่สุดคุณบุญทัศน์ ได้แวะเวียนมาหามาเยี่ยมหลาย ่ ่ าซาง แต่ดว้ ยชะตาชีวติ ของเราสองคนจึงพลัดพรากจากกัน ครั้งหลายคราทีป และแต่งงานกับผู้อ่นื ไป น้ านวลเคยแอบฝากแจกันใส่ดอกกุหลาบสีกลีบบัว ไปตั้งหน้ าโลงศพคุณบุญทัศน์ ท่ีวัดพวกแต้มโดยไม่มีช่ือหรื อนามบัตร และ สั่งว่าอย่าบอกใครนะว่าดอกกุหลาบนี้ มาจากนวลสวาท ลังการ์ พินธุ์ รถเก๋ ง ส่ ว นตั ว ที่ ย ายตุ่ น แก้ ว ชื่ นชอบและน� ำ ออกมาใช้ บ่ อ ยมากในช่ ว ง บั้นปลายของชีวิตคือรถอเมริ กันที่ โอ่อ่าน่ าเกรงขาม และดูเป็ นสไตล์เหมาะ สมกับความเป็ นแม่เลี้ยงมากเป็ นรถยี่ห้อ Checker สีด�ำขลับ ซึ่งคุณบุญทัน ได้ซื้อต่อจากสถานทูตอเมริ กันที่กรุ งเทพฯ เพื่อให้แม่ของตนเองใช้ ไป ไหน มาไหนในเมืองล�ำปาง ช่วงทีน่ ่ั งของผู้ โดยสารมีพน้ื ทีแ่ ละเบาะโซฟากว้างขวาง มากและแลดูเป็ นห้องรั บแขกขนาดย่อม มีเก้าอี้สตูล 2 ตัวหันหน้ าเข้าด้าน โซฟาส�ำหรั บมือปื นคุ้มกันและผู้ติดตามนั่ ง มีหน้ าต่างกระจกใสบานเลื่อน กัน้ เก็บเสียงระหว่างโชเฟอร์ ขับและห้องผู้ โดยสาร รถใหญ่ โตมโหฬารเช่นนี้ เป็ นที่ถูกใจแม่เลี้ยงตุ่นแก้วมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาไปช็ อปปิ้ งตลาด บ้านนอก เพราะสามารถบรรทุ กสิ นค้าได้มากมายในพื้นที่ห้องผู้ โดยสาร 21


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

วิถี บุญเที่ยง น�้ำเพชร และ ปทุม พานิชพันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2507

22


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ใส่ของกันได้อย่างจุใจ ไม่ว่าจะเป็นผักไม้ ไส้เครื อ กระบุงตะกร้ า ฟักแฟง แตงกวา ขนกันไปมาระหว่างเชียงใหม่-ล�ำปางอยู่บ่อยๆ ผู้เขียนจ�ำได้ ครั้ งหนึ่ งแม่ตุ่นแก้วว่าเหงาจังเลย จึงบอกให้ โชเฟอร์ ขับรถ Checker คันนี้จากล�ำปางมาเที่ยวบ้านหน้ าวัดพันอ้นที่เชียงใหม่ เมื่อมาถึง เชี ยงใหม่เธอจ้างคนปั่นสามล้อที่จอดอยู่แถวประตูเชี ยงใหม่ ให้ปีนต้นขึ้น มะพร้ าว 6-7 ต้นที่ปลูกไว้ ในบ้านเพื่อเอามะพร้ าวสดประมาณสามสิบกว่าลูก ลงมาใส่ ในรถเก๋ง แล้วให้ขับรถกลับล�ำปาง บอกว่าเป็ นการประหยัดเงินซื้อ มะพร้ าวและได้ ใช้พ้ืนที่อันกว้างขวางของรถได้อย่างคุ้มค่า แต่ ไม่รู้ ว่าคุ้มทุน หรื อเปล่า เพราะรถคันนั้นซดน�้ ำมันเบนซินประมาณ 7 กิ โลต่อ 1 ลิตรเป็ น ว่าเล่น สรุ ปแล้วเป็ นความสุขและเหตุผลส่วนตัวของแม่เลี้ยงตุ่นแก้วเอง แม่เลีย้ งตุน่ แก้วในวัยเจ็ดสิบกว่าชอบอยูต่ ามล�ำพังทีบ่ า้ นหน้ ากรมทางหลวง สบตุย๋ ล�ำปาง แต่กม็ ญ ี าติๆ ลูกหลาน และมิตรสหายแวะเวียนมาเยีย่ มตลอด เวลา ดังนั้น ประตูหน้ าบ้านแทบไม่ค่อยปิ ดหรื อใส่กลอนล็อคเลย วันหนึ่ ง มีข่าวหนั งสือพิมพ์ ไทยรั ฐ ในคอลัมน์ ต่างจังหวัดกล่าวว่ามี 2 วัยรุ่ นบุกเข้าจี้ หญิงชราและท�ำร้ ายอย่างอุกอาจ แต่ โชคดีมิ ได้ทรั พย์สนิ อะไรมากนั ก หลบหนี ไป ปรากฏว่าเหยื่อโจรเป็ นคุณยายของผู้เขียนเอง ตกใจมาก เมื่อสอบถาม จากญาติๆ ทุกคนบอกว่าไม่ต้องห่วงคุณยายปลอดภัยดี ภายหลังได้ฟัง เรื่ องจากคุณยายตุ่นแก้วเองจึงได้ความว่า เป็ นเด็กวัยรุ่ นชายชาวบ้านฟ่ อนที่ คุณยายเคยจ้างมาท�ำงานที่สวนบริ เวณบ้าน เด็ก 2 คนถือมีดมาจี้ บอกให้ ส่งเงินสดมาให้ คุณยายวางตัวสงบนิ่ งและเอ่ยว่าให้รอเดี๋ยวจะน� ำเงินมาให้ จากนั้นแม่เลี้ยงตุ่นแก้วตัวจริงจึงเดินเข้าไป ในห้องนอนก่อนจะออกมาพร้ อม ปื นลูกซองแฝดยาวเล็งมาที่ผู้บุกรุ ก เด็กชาย 2 คนตกใจมากวิ่งสวนทาง เข้ามาแย่งปื นลูกซองยาวไปได้ แล้วพากันวิ่งหนี ออกจากบ้านไปอย่างรวดเร็ ว ส่วนคุณยายโดนแรงผลักหกล้ม โชคดี ไม่มีอะไรแตกหัก แค่ฟกช�้ำนิ ดหน่ อย คุณยายกล่าวตอนท้ายด้วยสีหน้ าเฉยๆ ว่าได้สั่งคนตามไป ”ฆ่ามันเสีย” … ไม่มี ใครรู้ ว่าชะตากรรมของเด็ก 2 คนนั้นเป็ นเช่นไรนั บจากนั้น 23


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

น�้ำพริกกบใส่มะแหลบ ในงานสวดศพท�ำบุญครบ 100 วัน ของคุณปทุม

เห็ดถอบส�ำหรับแกงกับ ยอดมะขามอ่อน 24


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ทับซ้อนกับบุคลิกทีค่ อ่ นข้างเหีย้ มห้าวของแม่เลีย้ งตุน่ แก้ว คือความสามารถ ที่ ไร้ เทียมทานทางด้านการปรุงอาหารรส “ล�ำปางหนา” อันแท้จริง ในบรรดา รสชาติอาหารพื้นล้านนาดั้งเดิมและเด็ดขาด ที่ ไม่ปรากฏว่ามีผู้ ใดสู้ฝีมือของ นางตุ่นแก้วคนนี้ ได้ เริ่ มตั้งแต่การจี่พริ กให้กรอบและหอมโดยไม่เกรี ยม เหม็นไหม้ ซึ่งเป็ นพืน้ ฐานของอาหารพืน้ เมืองทีเ่ ต็มไปด้วยเทคนิ คทีแ่ พรวพราว และมีความช�ำนาญการอย่างน่ าทึ่ง เมนู เด็ดของฝี มือการปรุงอาหารของแม่เลี้ยงตุ่นแก้วตามที่ผู้เขียนนึ กออก ได้ ณ ตอนนี้ คือ • น�้ ำพริ กด�ำส�ำหรั บจิ้มเนื้ อควายนึ่ งหรื อคลุกข้าวกินเฉยๆ • น�้ ำพริ กลาบเมืองใช้ ได้ส�ำหรั บลาบดิบและสุกและย�ำจิ้นไก่ • แหนบกุ้งน้ อยปลาน้ อยใส่ขมิ้น • แกงตูนปลาน�้ ำใสใส่ ใบแมงลักและขมิ้น • ต�ำมะขุน (ส้มซ่า) ใส่น้�ำปู๋ ตะไคร้ มะเขือเปราะ ทีฝั่ งตัวลึกลงใน DNA ของ นายบุญเทีย่ งลูกเขยคนแรกชนิ ดทีว่ า่ ชอบมากเป็ นชีวติ จิตใจจนขาดไม่ ได้ • หมูเค็มสามชั้นตะไคร้ กรอบที่กลายมาเป็นเมนู ข้ึนชื่อของบ้านอาจารย์ วิถีที่ล�ำปาง • น�้ ำพริ กกบใส่มะแหลบกินกับผักแว่นสดจากท้องนา • แกงเห็ดถอบใส่ปลาแห้งยอดมะขามอ่อน • แกงหน่ อไม้อ่อนใส่ยอดผักหละ (ชะอม) อาหารอร่ อยเหล่านี้ ต้องรั บประทานกับข้าวเหนี ยวร้ อนๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ แม่เลีย้ งตุน่ แก้วต้องทนทรมานด้วยโรคประจ�ำตัว “เบาหวาน” ในบัน้ ปลายชีวติ แม่เลี้ยงตุ่นแก้วมีชีวิตอยู่กับการเดินทางมาตั้งแต่แรกเริ่ มไม่ว่าจะเป็นการ ท่องเที่ยว หรื อท�ำธุ รกิจ หรื อเยี่ยมเยียนดูแลลูกหลานอย่างไม่เคยเหนื่ อยล้า เนื่ องจากการเสียชีวิตของพ่อเลี้ยงชื่นเกิดขึ้นกะทันหันในช่วงวัยกลางคน แม่เลี้ยงตุ่นแก้วจ�ำต้องสืบต่อความรั บผิดชอบต่อครอบครั วและความมั่นคง 25


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

แม่เลี้ยงตุ่นแก้วและลูกหลาน

ประมวล ปทุม เรือง และประทวน 26


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ของวงศ์ตระกูลอย่างไม่มีข้อบกพร่ อง แม้ตนเองไม่ ได้ศึกษาที่ท�ำให้อ่าน เขียนหนั งสือได้เลย แต่ลกู ๆ ทุกคนมีชีวติ ทีส่ ุขสบายมีหน้ าตามีตา และความ เป็ นอยูอ่ ย่างมีระดับในสังคม ตลอดจนได้รับการศึกษาสูงสุดอย่างไม่น้อยหน้า ตระกูลพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงอื่นๆ ในภาคเหนื อ แม่เลี้ยงตุ่นแก้วเดินทางไปกรุ งเทพฯ บ่อยครั้ง ต่างจากแม่เลี้ยงคนอื่นๆ ในล�ำปางในยุค พ.ศ. 2500 ต้นๆ ไปเฝ้ าบ้านให้ลูกสาวคนแรกและลูกเขย ขณะไปดูงานต่างประเทศ ไปเยี่ยมลูกสาวคนที่ 2 ขณะเป็ นพยาบาลอยู่ ใน วังจักรพงษ์ ไปควบคุมลูกชายสุดหล่อทีต่ ดั สินใจมีครอบครัวอยู่ ในกรุงเทพฯ ไปดูแลความมัน่ คงของครอบครั วลูกสาวสุดสวยชื่อบุญเทียนทีเ่ มืองเชียงใหม่ ส่งลูกชายไปศึกษาที่เยอรมันนี และลูกสาวคนเล็กที่สหรั ฐอเมริ กา รวม ถึงการกระชับความสัมพันธ์ กับญาติเชื้อเครื อตระกูลที่มีอยู่เกือบทุกภูมิภาค ของประเทศไทย ผู้เขียนยังจ�ำได้ว่าเมื่อ พ.ศ. 2508 แม่เลี้ยงได้เดินทางไป USA เพื่อเยี่ยมลูกสาวคนที่ 2 ที่เป็ นพยาบาลอยู่ท่ี โรงพยาบาลในแอลเอใกล้กับ ฮอลลีวูด ช่วงที่น้าสาวไปท�ำงานสองสามอาทิตย์ก่อนท่องเที่ยวข้ามประเทศ ด้วยรถยนต์ แม่เลี้ยงตุ่นแก้วบ่นถึงความน่ าเบื่อที่ออกไป ไหนมาไหนด้วย ตนเองไม่ ได้เลย ต้องจับเจ่าเฝ้ าคอนโดฯ ของน้าสาว ท�ำกับข้าวจนเบือ่ กินอาหาร ของตนเอง ในที่สุดก็แก้เซ็งด้วยการออกไปนั่ งที่ระเบียงคอนโดฯ แล้วนั บ จ�ำนวนรถยนต์ท่ีแล่นผ่านบนฟรี เวย์ ในดาวน์ทาวน์ แอลเอ โชคดีว่าฟรี เวย์ยุค นั้นมีรถวิ่งไม่มากนั ก น้ าสาวพาคุณแม่ตุ่นแก้วขับรถข้ามทวีปจากแอลเอไป ลาสเวกัส แกรนด์แคนยอน แคนซัส ชิคาโก้ น�้ ำตกไนแองการ่ า และนิ วยอร์ค ไม่แน่ ใจว่าแม่เลี้ยงตุ่นแก้วได้แอ่วม่วนอย่างที่เราคิดหรื อเปล่า เพราะบ่นใน ตอนหลังว่า เป็ นทัวร์ ทรมานมากพอสมควร แต่นึกถึงภาพสิ่งที่เกิดขึ้นว่า ในยุคนั้ น พ.ศ. นั้ นจะปรากฏมีสตรี สูงวัยจากบ้านล�ำปางกลางสักกี่คนที่ ได้ ลุยข้ามทวีปอเมริ กาไปแล้วกลับมาถึงบ้านโดยมิเจ็บไข้ ได้ป่วย แม่เลีย้ งตุน่ แก้วได้เป็ นหลักมัน่ ให้แก่ลกู ๆ และหลานจนเสียชีวติ ไปเมือ่ อายุ ได้ 85 ปี เธอได้ก�ำชับว่าให้เอาอัฐิของเธอพร้ อมของพ่อเลี้ยงชื่นไปก่อเจดีย์ 27


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ลูกหลานญาติพี่น้องในพิธีก่อเจดีย์ทรายลอยอัฐิพ่อเลี้ยงชื่น และแม่เลี้ยงตุ่นแก้ว ที่ดอนทรายกลางแม่น�้ำโขง เชียงแสน

คุณปทุมในพิธีลอยอัฐิพ่อเลี้ยงชื่น แม่เลี้ยงตุ่นแก้ว ที่ดอนทรายกลางแม่น�้ำโขง เชียงแสน 28


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ทรายลอยอังคารบนหาดทรายของแม่น้� ำโขงที่เมืองเชียงแสน ซึ่งลูกหลาน ทั้งหมดก็ ได้ปฏิบัติตามค�ำสั่งโดยการน� ำของลูกสาวคนโตซึ่งก็คือ คุณปทุม 

คุณปทุมเป็ นบุตรสาวคนแรกพ่อเลีย้ งชื่นกับแม่เลีย้ งตุน่ แก้วเกิดเมือ่ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2466 ณ บ้านพักอาศัยในตลาดเก๊าจาว ใกล้กับสะพานเหล็ก (ขัวด�ำ) ข้ามแม่น้� ำวังของการรถไฟ เนื่ องจากพ่อและแม่เพิ่งเริ่มต้นชีวิตใหม่ ตอนนั้นจึงยังไม่ค่อยมีเวลาดูแลลูกเต้าเท่าไรนั ก พ่อเลี้ยงชื่นเป็ นพลต�ำรวจ มาอยู่ช่วงหนึ่ งแล้วลาออกมาด�ำเนิ นธุ รกิจขนส่งสินค้าร่ วมกับภรรยา ด้วย รถบรรทุกวิ่งขึ้นล่องระหว่างสบตุ๋ย ล�ำปาง กับแม่สาย ท่าขี้เหล็ก (ปางวาด) ผู้ที่เลี้ยงดูคุณปทุมอย่างใกล้ชดิ ตั้งแต่เยาว์วัยคือคุณยายชื่อ อุ๊ยหอม วัฒนธรรมของคนพืน้ เมืองล้านนาดัง้ เดิมเป็ นวัฒนธรรมทีส่ ืบสกุลทางสาย แม่ ดังนั้นการมีบุตรคนแรกเป็ นหญิงจึงเป็ นนิ มติ หมายทีด่ ี ให้แก่วงศ์ตระกูล เป็ นสิริมงคลทีจ่ ะท�ำให้ครอบครั วมัง่ คัง่ สถาพร คุณปทุมจึงเป็ นลูกสาวทูลหัว สุดทีร่ ั กของพ่อเลีย้ งชืน่ และหลานสาวคนโปรดของอุย๊ หอมผู้ ให้การอบรมบ่ม นิ สยั ให้อย่างใกล้ชดิ เมือ่ สามีของอุย๊ หอมคือพ่อเลีย้ งเปิ้ นเสียชีวติ ลง อุย๊ หอม จึงย้ายเรื อนจากบ้านล�ำปางกลางมาปลูกเรื อนใหม่ ในบริ เวณเดียวกันกับเรื อน ของลูกสาวและลูกเขยเพื่อสะดวกแก่การดูแลหลานสาวคนโตและคนถัดๆ ไปคือ ประทวน (ธารทิพย์) และประมวล (กมลทิพย์) การควบคุมสามสาว นี้ เห็นเล่ากันว่าเป็ นหน้ าที่ๆ เหนื่ อยเอาการของอุ๊ยหอม เพราะแต่ละคนมีนิสัย มุทะลุดดุ นั ไม่คอ่ ยยอมกันง่ายๆ บางทีอยุ๊ หอมต้องยอมก้มลงกราบหลานของ ตนเองให้เลิกทะเลาะเบาะแว้งกัน คุณปทุมนั้นถือสิทธิ ของพี่ ใหญ่อยู่เสมอ เพราะเป็ นหลานคนแรกและได้นอนอยู่ที่บ้านอุ๊ยหอม ส่วนน้ องสาวน้ องชาย ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามล�ำดับอาวุโสไป ห้ามแซงคิว ในวัยเยาว์ คุณปทุมได้เข้ารั บการศึกษาที่ โรงเรี ยนวิชชานารี ซึ่งเป็ นโรงเรี ยน สตรี รุ่นแรกจัดตั้งขึ้นโดยอเมริ กาแบ๊บติสต์มิชชันนารี ได้เรี ยนตั้งแต่ชั้น 29


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ในงานครบรอบหกสิบปี (แซยิด) บนเรือ Oriental Queen พร้อม เพื่อนๆ รวมทั้งคุณแก้วขวัญ วัชโรทัย และภริยา คุณปทุมกับสหายรัก ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค

ในงานครบรอบหกสิบปี (แซยิด) บนเรือ Oriental Queen พร้อมเพื่อนๆ รวมทั้ง คุณขวัญแก้ว วัชโรทัย และภริยา 30


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ประถมจนถึงมัธยมต้น เพือ่ นๆ รุ่ นนั้นเล่าให้ฟังว่า คุณปทุมเป็ นคนสวย มี พ่อรวย จึงมีจักรยานขี่ ไปโรงเรี ยนขณะที่คนอื่นเดินเท้าไป มีเงินใช้จ่ายเป็ น เหรี ยญสตางค์ร้อยติดกันเป็ นพวงจ�ำนวนมากพอทีจ่ ะซื้อขนมเลีย้ งเพือ่ นบ่อย ครั้ง เมื่อจบมัธยมปี ที่ 6 พ่อเลี้ยงชื่นจึงส่งลูกสาวไปเรี ยนต่อที่กรุ งเทพฯ ณ โรงเรี ยนวัฒนาวิทยาลัย โรงเรี ยนเซนต์แมรี่ และโรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษา โดยคุณปทุมได้รับการดูแลและพักอยู่กับอาจารย์บุญยิ่ง ที่บ้านซอยอโศก จนจบชั้นมัธยมปี ที่ 8 จากนั้นได้สอบเข้าศึกษาในคณะพาณิ ชยศาสตร์ และ การบัญชีแห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พ่อเลี้ยงชื่นได้ฝากลูกสาวให้พ�ำนั ก พักพิงอยู่กับครอบครั วของท่านเจ้าคุณอนุรักษ์ ราชมณเฑียร และท่านผู้หญิง พัว วัชโรทัย ผู้เขียนหนั งสือส�ำคัญของชาติช่ือ สมบัติผู้ดี คุณปทุมจึงมีความ คุน้ เคยและสนิทกับครอบครัววัชโรทัยเป็ นอย่างมาก ช่วยควบคุมและท�ำหน้าที่ เป็ นพี่สาวฝาแฝดวัยรุ่ น 2 คน แก้วขวัญ–ขวัญแก้ว และน้ องสาว เฉลิมพร วัชโรทัย ช่วงเวลา 3 ปี ท่จี ุฬาฯ คุณปทุม เป็ นหนึ่ งในดาวจุฬาฯ มีเพื่อนฝูง มากมาย และที่สนิทสนมมากคือท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค คุณหญิงวลัย ลีลานุ ช คุณชุนฉวี จันทรวิ โรจน์ คุณบุญจันทร์ วงศ์สัวหลี เป็ นต้น ไม่รวม หนุ่ มๆ นิ สิตต่างคณะและสาขาอื่นในมหาวิทยาลัยอีกหลายคนที่ยอมเป็ นดาว ล้อมเดือนให้กับคุณปทุม ในปี พ.ศ. 2486 สถานการณ์ สงครามโลกครั้งที่ 2 ทวีความรุ นแรงมาก ขึ้น เมื่อกองทัพญี่ป่ ุนเข้ายึดครองพื้นที่เอเชียอาคเนย์ ได้เกือบทั้งหมด นั บ ตั้งแต่อินโดนี เซีย สิงคโปร์ แหลมมาลายู อินโดจีน ไทย และพม่า กองทัพ พันธมิตรโดยการน� ำของจักรวรรดิอังกฤษ ใช้ฐานทัพที่อินเดียเข้าจู่ โจมสกัด กัน้ การเข้ายึดพืน้ ทีข่ องญีป่ ่ นุ โดยการทิง้ ระเบิดอย่างรุ นแรง โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมืองส�ำคัญๆ เช่น กรุงเทพฯ กาญจนบุรี เมาะละแหม่ง ย่างกุ้ง ตลอดจน เมืองยุทธศาสตร์ เล็กๆ น้ อยๆ ที่อยู่บนจุดตัดส�ำคัญของการคมนาคม เช่น ลพบุรี นครสวรรค์ ตาก พิษณุ โลก สวรรคโลก เด่นชัย แพร่ ล�ำปาง เชียงใหม่ เชียงราย สถานีรถไฟล�ำปาง ตลาดเก๊าจาว สบตุ๋ย สะพานด�ำข้ามแม่น�้ำวัง 31


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

คุณบุญเที่ยง พานิชพันธ์ สมัยเป็นผู้จัดการบริษัทล�ำปางจังหวัดพาณิชย์ จ�ำกัด 32


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

โดนโจมตีหนั กกว่าแห่งอื่น ซึ่งเป็ นเหตุผลท�ำให้พ่อเลี้ยงชื่นย้ายบ้านพักอาศัย มาอยู่ท่ีถนนพหลโยธิ นตรงข้ามกรมทางหลวงแผ่นดิน ในขณะที่ผู้มีอัน จะกินในเมืองพากันมาอพยพไปอยู่นอกเมืองที่ค่อนข้างปลอดภัยจากการ โจมตีทางอากาศ ในช่วงนั้น คุณปทุมก�ำลังศึกษาอยู่ ในชั้นปี ที่ 3 คณะบัญชี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พ่อเลี้ยงชื่นเป็ นห่วงลูกสาวสุดที่รักเป็ นอย่างมากที่ ใช้ชีวิตอยู่ห่างไกลครอบครั ว จึงสั่งให้คุณปทุมกลับล�ำปาง การเดินทางจาก กรุ งเทพฯ สู่ล�ำปางตอนนั้ นที่สะดวกและปลอดภัยที่สุดคือโดยรถไฟ โดยมี ลูกน้ องของพ่อเลีย้ งเป็ นชุดคุม้ กัน การกลับล�ำปางครั้งนั้นคุณปทุมมิ ได้กลับ แต่ผเู้ ดียว ยังมีเพือ่ นสาวชาวจุฬาฯ ลูกล�ำปางร่วมเดินทางกลับมาด้วยหลายคน คุณหญิงวลัย ลีลานุ ช เป็ นคนหนึ่ งที่มาด้วย คุณหญิงวลัยเล่าให้ฟังว่า เพื่อนๆ มาด้วยกันหลายคน นั่ งรถไฟกันอย่าง สนุ กสนานตลอดทาง จนถึงอุตรดิตถ์ ปรากฏว่าสะพานรถไฟข้ามน�้ ำที่บ้าน ดาราโดนระเบิดจากฝ่ ายพันธมิตรช�ำรุดเสียหาย รถไฟไม่สามารถข้ามได้ เมือ่ พ่อเลี้ยงชื่นได้รับข่าวว่าลูกสาวมีอุปสรรค จึงตัดสินใจเอารถโยกของสถานี รถไฟล�ำปางที่ปกติ ใช้ส�ำหรั บการซ่อมแซมรางเหล็ก เดินทางอย่างเร็ วสุดด้วย แรงโยกไปยังสะพานบ้านดารา ซึ่งใช้เวลาเป็ นวัน เมื่อได้ตัวสาวๆ ครบแล้ว ก็ ให้ลูกน้ องโยกรถกลับล�ำปางในเวลากลางคืน เพื่อหลบเลี่ยงการปฏิบัติการ ของเครื่ องบินทิ้งระเบิด คุณหญิงวลัยบอกว่า กลัวก็กลัว สนุ กก็สนุ ก แต่ก็ อุ่นใจที่มีพ่อเลี้ยงชื่นเป็ นผู้ควบคุมการเดินทาง ทุลักทุเลมากกว่าจะถึงล�ำปาง มีการเล่าจากคุณบุญทันอีกมุมหนึ่ งว่า พ่อเลี้ยงชื่นไปรั บคุณปทุมและเพื่อนๆ จากอุตรดิตถ์ด้วยรถยนต์ โดยขับอ้อมไปทางจังหวัดแพร่ ผ่านอ�ำเภองาว แล้ว ต่อมาถึงล�ำปาง แต่ฟังดูแล้วคงเป็ นไปได้ยาก เพราะยังไม่มีถนนจากอุตรดิตถ์ ถึงเมืองแพร่ เช่นปัจจุบัน คงมีแค่ถนนจากสถานี รถไฟเด่นชัยเข้าแพร่ ต่อไป อ�ำเภองาว แล้ววกกลับมาล�ำปาง ซึ่งไกลมากคือประมาณ 200 กว่ากิ โลเมตร บนถนนป่ าที่ ใช้ส�ำหรั บลากซุงเท่านั้น

33


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

คุณบุญเที่ยง และ ท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

คุณแจ่มจิต เลาหวัฒน์ คุณปทุม คุณจรรยา และ คุณไกรศรี นิมมานเหมินท์ 34


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

คุณปทุมในวัยนั้ นเปล่งปลั่งงดงามตามวัยสาวทันสมัย สมกับเป็ นหัวแก้ว หัวแหวนของพ่อเลี้ยงชื่น เจ้าพ่อคนดังของเมืองล�ำปาง แม้จะเป็ นช่วงที่ บ้านเมืองอยู่ ในภาวะสงคราม แต่งานสังคมทีม่ รี ะดับของล�ำปางก็ยงั คงด�ำเนิน ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานเลี้ยงสังสรรค์ของกลุ่มผู้มีอันจะกิน ความงาม ของคุ ณปทุ มเป็นที่เล่าลือกันในสั งคมเมืองเล็กๆ ของเมืองล�ำปาง เป็นที่ หมายปองของหนุ่ มน้ อยใหญ่หลายต่อหลายคน แต่ ใครเล่าจะกล้าเข้ามา ใกล้รัศมีอันหน้ าเกรงขามของพ่อเลี้ยงชื่นแห่งสบตุ๋ย และแล้ว ในงานฉลอง มงคลสมรสระหว่างคุณสมบูรณ์ พานิ ชพันธ์ กับนายเสรี สุทธภักติ บุตรชาย ขุนนางใหญ่แห่งเมืองแพร่ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2487 คุณปทุมท�ำหน้ าที่เป็ น เพื่อนเจ้าสาวในงานนั้ น ได้รับการแนะน� ำให้รู้จักน้ าชายหนุ่ มโสดของเจ้าสาว ผูท้ แี่ ลดูสูงชลูด ผอมแห้ง ไม่คอ่ ยน่ าสนใจนั ก แต่เป็ นนั กเรี ยนทุนรั ฐบาลทีเ่ พิง่ ่ ่ นุ ใหม่ๆ เป็ นผูจ้ ดั การใหญ่บริ ษัทล�ำปางจังหวัดพาณิชย์ ส�ำนั กงาน กลับจากญีป ทีส่ บตุย๋ หลังจากนั้นไม่นานนั กก็มผี พู้ บเห็นรถเก๋งคันงามของผูจ้ ดั การบริ ษัท จังหวัดฯ มักไปจอดริ มร่ องน�้ ำเหมืองข้างถนนพหลโยธิ นใกล้กับรางรถไฟ ขนอ้อย ใกล้ส�ำนั กงานกรมทางหลวงแผ่นดินบ่อยครั้ง ผู้จัดการใหญ่มัก แต่งกายชุดขาวผูกเนคไทด�ำสวมหมวกปี กสีขาวไปยืนถือเบ็ดตกปลาในร่ องน�้ ำ ช่วงพักเทีย่ งอาหารกลางวัน พฤติกรรมแบบนี้ มกี ารยืนยันจากเลขานุ การสาว ชื่อบุญเจือ ของบริ ษัทจังหวัดฯ ส่วนข้อมูลของคุณปทุมเองไม่เคยกล่าวถึง อาจเป็ นเพราะว่าไม่เคยสังเกตคนแต่งตัวดีมายืนตกปลาอยูห่ น้าบ้านของตัวเอง ในยุคสร้ างชาติสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม รั ฐบาลไทยได้ส่งเสริ มให้มี การเปิ ดบริ ษัทการค้าขายโดยคนไทย โดยให้ทุกจังหวัดมีบริ ษัททีค่ า้ ขายสินค้า พืน้ ฐาน ซึ่งได้แก่ ข้าวสาร น�้ำตาล เหล็ก บุหรี่ วัสดุกอ่ สร้ าง เป็ นต้น เนื่ องจาก คุณบุญเที่ยงไม่มีเงินทองและอ�ำนาจพอแข่งกับผู้ ใดได้ จึงใช้ โควต้าของสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหล้า บุหรี่ ที่ตนเองควบคุม สร้ างมิตรไมตรี กับหัวหน้ า เหล่าทัพที่ประจ�ำการอยู่เมืองล�ำปางตอนนั้ น ท่านสฤษดิ์ ธนะรั ชต์ ท่าน ถนอม กิตติขจร ท่านประภาส จารุ เสถียร หรื อแม้กระทั่งนายธนาคารใหญ่ 35


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

คุณปทุม คุณบุญเที่ยง และลูกทั้งสอง

36


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

เช่น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช การคบค้ากับผู้ ใหญ่เหล่านี้ ช่วยเป็ นเกราะก�ำบัง กระสุนให้คุณบุญเที่ยงในการเข้าไปภายในอาณาจักรของพ่อเลี้ยงชื่น เล่ากัน ว่า ลุ้นจนหืดขึ้นคอ กว่าจะเอื้อมมือไปเด็ดคุณปทุมมาได้ คุณบุญเที่ยงต้อง ใช้กลเม็ดเด็ดพรายหลายด้านและเพื่อแสดงศักยภาพของตน จึงมีการดึงเอา ญาติ โกโหติกาสายกองต้าและในเวียงพร้ อมทั้งความมั่งคั่งมาผูกใจสาวชาว สบตุย๋ แรกๆ คุณปทุมก็บา่ ยเบีย่ งว่าต้องศึกษาต่อให้จบก่อน แต่คุณบุญเทีย่ ง ก็ช้ีน�ำว่า ถ้าไม่แต่งงานกันตอนนี้ กอ็ าจไม่ ได้แต่งงานไปตลอดชาติ เพราะความ รุ นแรงของสงครามทวีคณ ู ขึ้นไปเรื่อยๆ ในทีส่ ดุ ก็ยอมเข้าสูพ่ ธิ ีสมรสท่ามกลาง ภัยสงครามและระเบิดที่เพิ่มความรุ นแรงในปี พ.ศ. 2488 การแต่งงานของคุณบุญเที่ยง พานิ ชพันธ์ และคุณปทุม มหาวรรณ เป็ น การเชื่อมตระกูลชนชั้นน� ำที่มั่งคั่ง 2 ตระกูลเข้าด้วยกันในเมืองล�ำปาง ฝ่ าย หนึ่ งคือแม่เลีย้ งแดง (หรื อ เจ๊แดง) ผูม้ สี ามีเป็ นคนจีนแคะโพ้นทะเล แม่เลีย้ ง แดงร�่ ำรวยจากการเป็ นแม่คา้ ขายของแห่งชุมชนกาดกองต้า มี ไร่มนี ามากมาย จากการปล่อยเงินกู้ และขายของหลุดจ�ำน� ำจากเจ้านายโบราณ อีกฝ่ ายหนึ่ ง คือพ่อเลี้ยงชื่นและแม่เลี้ยงตุ่นแก้ว ผู้มีอิทธิ พลใหญ่ ในเขตเศรษฐกิจใหม่ ของล�ำปาง ซึ่งก็คอื สบตุย๋ เก๊าจาว ทีอ่ ยูร่ อบๆ บริ เวณสถานีรถไฟและต่อเนื่ อง บนเส้นทางขนส่งยาฝิ่ นดิบจากพื้นที่สามเหลี่ยมทองค�ำสู่กรุงเทพฯ เพื่อให้เป็นการสอดคล้องกับจารี ตแบบจีนของฝ่ ายสามีและดูดี ในสังคม ร่ วมสมัยแบบไทยภาคกลาง คุณปทุมจ�ำต้องย้ายเข้าไปอยู่ ในบ้านใหญ่ของ แม่เลี้ยงแดง ท่ามกลางเครื อญาติของคุณบุญเที่ยงนั บสิบกว่าคน แรกเริ่ม ก็รู้สึกอบอุ่นดีด้วยมีผู้คนมาพะเน้ าพะนอสะใภ้คนงาม สักพักใหญ่เริ่มเกิด อาการระหองระแหงจากความคาดหมายที่ ไม่ตรงกัน เช่น สะใภ้ที่ดีแบบจีน จ�ำต้องรั บใช้แม่ผัวและญาติๆ ฝ่ ายชายอย่างสงบเสงี่ยม มิ ใช่สาวสังคมชั้นสูง ดื้อดัน เก่งกาจ มั่นใจ อย่างที่คุณปทุมเคยได้รับการปลูกฝังมาจากอุ๊ยหอม แต่ทุกอย่างพอให้อภัยกันได้ เมื่อคุณปทุมได้ตั้งครรภ์และคลอดลูกคนแรก ออกมาเป็ นชายชื่อ ด.ช.บุญทิวา น� ำมาซึ่งความยินดีปรีดาให้กับแม่เลี้ยงแดง 37


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

คุณบุญเที่ยง คุณปทุม พร้อมเพื่อนๆ จากล�ำปาง

38


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

และเครื อญาติเชื้อสายคนจีนทั้งหลาย ในวัฒนธรรมสายพ่อของคนจีนและ คนไทยภาคกลาง การมีลูกคนแรกเป็ นชายถือว่าเป็ นสิริมงคล เพราะจะได้ มีผู้สืบสกุลและดูแลมรดกของบิดามารดาอย่างมั่นคง พร้ อมปรนนิ บัติป่ ูย่า ตายายและญาติพ่นี ้ องในยามแก่เฒ่า ตรงกันข้ามกับชาวพื้นเมืองล้านนาที่ ไม่ค่อยยินดียินร้ ายกับการมีบุตรชายเท่าใดนั ก และยิ่งมีบุตรชายคนแรกที่ เกิดวันเสาร์ เชื่อกันว่าเป็ นตัวอับโชค จะท�ำให้พ่อแม่และครอบครั วแตกแยก เป็ นตัวกาลกิณี บางครอบครั วรี บยกให้ผอู้ ื่นน� ำเอาไปเลีย้ งต่อ หรื อถวายทาน ให้เป็ นเด็กวัด เพือ่ จะได้ ไม่เป็ นส่วนหนึ่ งของครอบครั ว ด.ช.บุญทิวา จึงกลาย เป็ นหลานรั กหลานหวงของแม่เลี้ยงแดงและพี่น้องทางตระกูลพานิ ชพันธ์ ไป ด้วยความยินดีจากญาติๆ สายพื้นเมืองทางสบตุ๋ย สองปี ผ่านไป ในการใช้ชิวิตในบ้านแม่ผัวไม่มีอะไรดีข้ ึน มีแต่การกระทบ กระทั่งรุ นแรง กลั่นแกล้งมากขึ้น ถึงระดับตบตีคนรั บใช้และบริ วาร ประชด กันไปมา ในที่สุดแม่เลี้ยงแดงจึงอเปหิคุณบุญเที่ยงและคุณปทุมไปอยู่บ้าน ไม้ “สีฟ้า” ที่อยู่นอกก�ำแพงเวียงบนถนนพหลโยธิ น ตรงข้ามกับโรงเรี ยน บุญวาทย์เพื่อลดความเครี ยดในบ้านหลังใหญ่ แต่ก็ยึดตัว ด.ช.บุญทิวา เอาไว้ ก่อนหน้ านั้นคุณปทุมคลอดลูกคนที่ 2 ณ บ้านกองต้า เป็ นลูกสาวชื่อ น้ อย ด.ญ.ผาสุข พร้ อมน� ำเครื อญาติจากล�ำปางกลางมาเป็ นพี่เลี้ยง เพื่อมิ ให้ญาติ สามีมาจุ้นจ้านทะเลาะเบาะแว้งกัน ญาติพี่น้องทางสบตุ๋ยเหมือนจะให้ความ สนใจแก่หลานสาวมากกว่าหลานชาย จึงมีการยื้อแย่งกันไปมาระหว่างกองต้า กับสบตุ๋ย อักษรจีนที่อ่านว่า “โห” หรื อ “ห่าว” ประกอบด้วยค�ำว่าชายและ หญิง ดังนั้น การมีลูกชายและลูกสาวเป็ นคู่นั้นถือว่าเป็ นมงคลให้แก่ตระกูล และครอบครั วตามความเชื่อแบบคนจีน สองสามปี ผ่านไป ในที่สุดบ้านแม่เลี้ยงแดงก็ ได้หลานทั้ง 2 ไปเป็ นสมบัติ ซึ่งเป็ นช่วงเดียวกันกับมิตรสหายของคุณบุญเที่ยงหลายคนได้ ไปตั้งตัวและ มีอาชีพใหม่ ในกรุงเทพฯ พร้ อมทั้งมีการชักชวนคุณบุญเที่ยงและคุณปทุมไป ร่ วมก่อร่ างสร้ างชีวิตใหม่ท่ที ันสมัยกว่า น� ำโดยพ่อเลี้ยงพงษ์ สวัสดิ์ สุริ โยทัย 39


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

คุณปทุม และลูกชาย พร้อมฝูงสุนัขที่บ้านพระโขนง

คุณบุญเที่ยงเป็นเลขาส่วนตัวของท่านสฤษดิ์ ธนะรัชต์ 40


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

คุณบรรเจิด ชลวิจารณ์ และลุงสวงค์ เป็ นต้น ท่านสฤษดิ์ ธนะรั ชต์ ก็ยินดี โอบอุม้ คุณบุญเทีย่ งด้วยต�ำแหน่ งหน้ าทีก่ ารงานหลายด้าน แทบจะกล่าวได้วา่ เป็ นเลขาฯ ส่วนตัวของท่านสฤษดิ์ และคุณปทุมก็เป็ นผู้ช่วยคนส�ำคัญของ ท่านผู้หญิงวิจิตรา ณ บ้านสี่เสาเทเวศน์ ทั้งคู่ ได้พักที่อาคารอยู่อาศัยสามชั้น บนถนนราชด�ำเนินกลางใกล้กบั อนุ สาวรี ยป์ ระชาธิป ไตย ทีท่ นั สมัยคล้ายๆ กับ ยุโรป หรื อ Champ Elisé ของกรุงปารี ส ในช่วงเวลาเดียวกัน ด.ช.บุญทิวา ได้เรี ยนอยู่ชั้นประถมปี ท่ี 2 และ ด.ญ.ผาสุข (ทัศนี ย์) ได้เรี ยนอยู่ชั้นอนุ บาล ที่ โรงเรี ยนวิชชานารี ล�ำปาง ปกติแม่เลี้ยงแดงจะให้พี่เลี้ยงรั บส่งทัง้ 2 คนไป โรงเรี ยนโดยนั่ งรถสามล้อ จากความทรงจ�ำที่ค่อนข้างลางเลือน ด.ญ.ผาสุข ได้หายตัวไปจากโรงเรี ยนพร้ อมพี่เลี้ยงชื่อแก้วน้ อย เหลือแต่ ด.ช.บุญทิวา นั่ ง สามล้อกลับบ้านแต่เพียงผู้เดียว รู้ สึกว่าเกิดความโกลาหลมากพอสมควร ระหว่างบ้านกองต้ากับบ้านสบตุ๋ย ด.ช.บุญทิวา เลยถูกควบคุมตัวอย่างเข้ม ข้นด้วยญาติฝ่ายพ่อ ภายหลังต่อมาทราบข่าวว่า ด.ญ.ผาสุข ถูกคุณปทุมลักพา ตัวไปอยู่ กรุงเทพฯ และเข้าเป็ นนั กเรี ยนอยู่ โรงเรี ยนประจ�ำที่ โรงเรี ยนวัฒนา วิทยาลัย ใกล้ๆ ซอยอโศก (สุขุมวิท 21) และได้เปลี่ยนชื่อเป็ น ด.ญ.ทัศนี ย์ คุ ณบุ ญ เที่ ย งและคุ ณปทุ ม พั ก อาศั ย อยู่ ท่ี บ้ า นเช่ า แถบถนนสุ โขทั ย ใน กรุงเทพฯ ทั้งคู่พยายามปรั บตัวเองเข้ากับสังคมกรุงและชีวิตที่ซับซ้อนมาก ขึ้น คุณบุญเที่ยงมีกิจกรรมและออกงานสังคม ตามหน้ าที่การงานที่เป็ นการ ติดต่อประสานงานมากกว่าการนั่ งประจ�ำโต๊ะ มีการเข้าออกท�ำงานเป็ นเวลา ชีวิตเช่นนี้ท�ำให้เกิดการระหองระแหงระหว่างสามีภรรยา ในที่สุดคุณปทุม บันดาลโทสะคว้าปื นพกขึ้นมายิงหัวเข่าทั้ง 2 ข้างของคุณบุญเที่ยง เป็ นการ สั่งสอน แต่ผลลัพธ์คือคุณบุญเที่ยงต้องไปนอนซมอยู่ที่ โรงพยาบาลกลาง ให้ หมอผ่าตัดเอาลูกกระสุนออกจากหัวเข่าและไม่สามารถเดินได้ เรื่ องนี้ เป็ น ข่าวใหญ่ส�ำหรั บชาวล�ำปาง เดือดร้ อนแม่เลี้ยงแดงจ�ำต้องเดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อรั บลูกชายคนเดียวของเธอกลับมาพักฟื้ นรั กษาตัวที่ล�ำปาง คุณย่าเล่าว่า การเดินทางด้วยรถไฟโดยมีคุณบุญเที่ยงนอนเปลมาเป็ นการทุลักทุเลมากใน 41


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

คุณปทุม เมื่อครั้งไปฝึกงานที่ญี่ปุ่น

คุณปทุม ที่ร้านวิจิตรมาลา 42


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ช่วงกลางฤดูฝน โชคร้ ายซ�้ำเติม พอมาถึงอุตรดิตถ์ ฝนตกหนั ก เสาสะพาน รถไฟบ้านดาราทรุ ด รถไฟไม่สามารถข้ามได้ รางรถไฟห้อยต่องแต่ง คุณ ย่าแดงตัดสินใจจ้างชาวบ้านตัดไม้ ไผ่ข้างทางท�ำเป็ นแคร่ ใส่เปลนอนของคุณ บุญเที่ยงแล้วค่อยๆ คลานลากแคร่ตามรางรถไฟพร้ อมตัวคุณบุญเที่ยงผู้ร้อง ครวญครางตลอดทาง ข้ามล�ำน�้ ำเชี่ยวกราก กร� ำสายฝนไปจนถึงอีกฝั่งด้วย ความทุลักทุเล จากนั้ นก็ช่วยกันย้ายไปขึ้นรถโยกที่ ใช้ส�ำหรั บการซ่อมราง แล้วจ้างพนั กงานโยกรถไปส่งที่สถานี เด่นชัย เพื่อขึ้นรถไฟต่อไปล�ำปาง ใช้ เวลาทั้งหมดเกือบสามวัน คุณบุญเที่ยงมานอนรั กษาตัวบ้านแม่เลี้ยงแดง นานร่ วมหกเจ็ดเดือน โดยมีหมอยาคือเจ้าอาวาสวัดศรี บุญโยงมานวดน�้ ำมัน มนต์และเป่ าหัวเข่า จนกระทั่งพอเดินได้บ้างโดยใช้ ไม้ค�้ำช่วย ในที่สุดหัวเข่า ทัง้ 2 ข้างของคุณบุญเทีย่ งก็ ได้รับการเยียวยาจนกลับมาใช้ ได้เกือบปกติ แล้ว จึงเข้าอุปสมบท บวชแก้ซวยระยะสั้นๆ จากนั้ นคุณบุญเที่ยงก็หายตัวไปจาก ล�ำปางอีก ปรากฏว่าไปตามหาคุณปทุมที่กรุงเทพฯ แม่เลี้ยงแดงทราบเรื่ อง เข้าจึงโกรธแค้นมาก ห้ามญาติๆ กล่าวถึงคุณปทุมและคุณบุญเทีย่ งในบ้านของ เธออีก พร้ อมทั้งลบชื่อคุณบุญเที่ยงออกจากกองมรดกทั้งหมด ในบันทึก ส่วนตัวของคุณย่าแดงมีการใช้ค�ำกล่าวแทนชื่อคุณปทุมว่า “นางเสือร้ าย” ช่วงทีค่ ณ ุ บุญเทีย่ งเข้ารักษาตัวอยูล่ ำ� ปาง คุณปทุมก็ดำ� เนินจัดการชีวติ ตนเอง อย่างมั่นใจโดยเข้าท�ำงานในบริ ษัทเดินอากาศไทย ในต�ำแหน่ งกราวด์ โฮสเตส ประจ�ำอยู่ท่ีสนามบินดอนเมือง คุณปทุมแต่งตัวทันสมัยไปท�ำงานเสมอ พร้ อมขับรถเก๋งยี่ห้อไทรอัมพ์ รุ่ นเมย์ฟราวเวอร์ คันงามไปมาแบบสาวชาว กรุงในยุคนั้น ไม่รู้สึกอะไรกับการนินทาว่าร้ าย เพราะพ่อรวยและมีเพื่อนๆ คนรู้ จักอยู่ ในกรุงเทพฯ มากมายที่คอยให้ก�ำลังใจ พร้ อมกับส่ง ด.ญ.ทัศนี ย์ เรี ยนในโรงเรี ยนระดับแถวหน้ าของกรุงเทพฯ อย่างสุขสบาย ในทีส่ ุด คุณบุญเทีย่ งกับคุณปทุมได้คนื ดีกนั และได้ ใช้ชีวติ ร่ วมกันใหม่ โดย ซือ้ บ้านในโครงการบ้านจัดสรรรุ่นแรกๆ ของประเทศไทยชือ่ อาคารสงเคราะห์ พิบลู เวศม์ ทีต่ ง้ั อยู่ ในซอยคลองตัน พระโขนง (ปัจจุบนั คือซอยสุขมุ วิท 71) เป็ น 43


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

การสร้างบ้านซอยสวัสดี

44


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

บ้านชนชัน้ กลางทีห่ รู หรา ในยุค พ.ศ. 2500 บริ เวณนี้ เป็ นพืน้ ที่ ไกลสุดขอบฟ้ า ของกรุงเทพฯ แต่มคี วามสะดวกทันสมัย ถนนสายกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ (สุขมุ วิท) เป็ นถนนสายหลักลาดยางอย่างดี มีคลองขนานตลอดทางด้านใต้ของ ถนนจนถึงตลาดพระโขนง มีร้านอาหารฝรั่ง “ภรณี” และโรงงานผลิตขนมปัง สดชื่อร้ าน “ไซเลอร์ ” มี โรงภาพยนตร์ ฉายหนั งฝรั่งชื่อ “ศรี กรุง” อยู่ท่ซี อย ประสานมิตร “รถเมล์ขาวนายเลิศ” วิ่งจากปากคลองตลาดผ่านสนามหลวง ราชด�ำเนิ นกลาง เพชรบุรี ประตูน้� ำ ราชประสงค์ เพลินจิต มาเลี้ยวเข้า ซอยคลองตัน พระโขนง ก่อนสุดสายที่ประตูทางเข้าหมู่บ้านจัดสรรอาคาร พิบูลเวศม์ ซึ่งมีร้านค้าสหกรณ์ บริ การคล้ายซุปเปอร์ มาร์ เก็ตของฝรั่ง และ ร้ านบริ การอื่นๆ อยู่รอบวงเวียนและเสาธงชาติกลางหมู่บ้าน นอกจากนี้ ยัง มี โรงเรี ยนอนุ บาลที่ทันสมัยส�ำหรั บเยาวชนของผู้อยู่อาศัยอย่างสะดวกสบาย คุณบุญเที่ยงกลับมาเป็ นเลขาฯ ส่วนตัวของจอมพลสฤษดิ์อีกครั้ง พร้ อม กับเป็ นผู้บริ หารของบริ ษัทปิ ยมิตร ผู้จัดจ�ำหน่ ายสลากกินแบ่งรั ฐบาล และ เป็ นผูจ้ ดั การบริษัทไทยเซฟวิง่ ทรัสต์บนถนนเจริญกรุง เยือ้ งกับไปรษณี ยก์ ลาง คุ ณปทุ มมีหน้ าจัดการร้ านจ�ำหน่ ายและจัดดอกไม้สดที่วงเวียนอนุ สาวรี ย์ ประชาธิ ป ไตยชื่อ วิจิตรมาลา ได้เดินทางไปฝึ กงานและเรี ยนหลักสูตรการจัด ดอกไม้แบบอิเคบาน่าที่ โตเกียว และบางครั้งก็ดแู ลธุรกิจร้ านผ้าไหมไทยทีซ่ อย พัฒน์พงษ์ ซึ่งทั้ง 2 ร้ านเป็ นของท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรั ชต์ เนื่ องจากสภาพการเงินของครอบครัวดีข้ึน ดังนั้นคุณบุญเทีย่ งและคุณปทุม จึงคิดอยากมีบ้านในฝันเพื่อเป็ นหน้ าเป็ นตาในสังคมกรุงเทพฯ คุณบุญเที่ยง จึงได้ซอ้ื ทีด่ นิ หนึ่ งไร่ แปลงงามในซอยสวัสดี (สุขมุ วิท 31) ส�ำหรั บสร้ างบ้านใหม่ งานนี้น�ำมาซึ่งความสุขและความฝันในชีวติ ของคุณปทุม เพราะได้สวมบทบาท การเป็ นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้ างด้วยตนเอง เป็ นเวลา 2-3 ปี ท่ี คุณปทุมไม่ ใส่ ใจเรื่ องอื่นใดยกเว้นการก่อสร้ างเรื อนหลังนี้ ปรั บแบบ เปลี่ยน แบบ เลือกวัสดุ โคมไฟ ไม้ปพ ู ืน้ ตบตีกบั คุณสมชาย สถาปนิ กทหารอากาศจน โรคกระเพาะก�ำเริ บ และช่างก่อสร้ างเป็ นอาจิณ จ�ำได้วา่ หัวหน้าช่างเป็ นคนจีน 45


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

คุณบุญเที่ยงและคุณปทุม พานิชพันธ์ ในชุดออกงานแบบเป็นทางการ 46


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

งานเลี้ยงและงานต้อนรับต่างๆ ที่ฮ่องกง 47


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

งานเลี้ยงและงานต้อนรับต่างๆ ที่ฮ่องกง 48


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ชื่อนายจั๊วะ ผู้เป็ นคนหนุ่ มแน่นเมื่อเริ่มงานกลายเป็ นคนหัวหงอก เพราะเป็ น ผู้รับจ้างก่อสร้ างที่สร้ างอย่างไม่มีจุดสิ้นสุดของคุณปทุม แต่ก็ยอมรั บว่า เป็ นบ้านที่สวยมากและใช้ฝีมือชั้นเยี่ยมในการก่อสร้ าง ถึงแม้ ไม่ตรงกับการ ออกแบบเดิมโดยสถาปนิ กมากนั ก ในช่วงที่บ้านซอยสวัสดีก�ำลังใกล้จะเสร็ จ ปรากฏว่ามีนายหน้ ามาติดต่อ ให้ครอบครั วนั กธุ รกิจใหญ่เป็นผู้จัดการบริ ษัท Phillips ชาวฮอลแลนด์ Mr.&Mrs. Brandt ผูส้ นใจเช่าบ้านระยะยาว ประกอบกับคุณบุญเทีย่ งได้รับการ แต่งตัง้ เป็ นฑูตพาณิ ชย์ ณ เมืองฮ่องกงช่วงนั้นพอดี คุณปทุมจึงตัดสินใจให้ ฝรั่งเช่าบ้านสวัสดี ด้วยราคาที่สูงลิ่วสมกับความงดงามของตัวเรื อน และเริ่ม ด�ำเนิ นการออกแบบบ้านใหม่อีกหลังหนึ่ งส�ำหรั บครอบครั วซึ่งมีขนาดย่อม ลงมาในซอยศาสนา ถนนพระรามหก อย่างมีความสุข คุณปทุมได้ ใช้เวลา อีกสองสามปี ในการสร้างบ้านในซอยศาสนาในขณะทีค่ ณ ุ บุญเทีย่ งปฏิบตั หิ น้าที่ ทางการฑูตทีฮ่ ่องกง บางทีเธอก็บนิ ไปมาระหว่างกรุงเทพฯ-ฮ่องกง เพือ่ ก�ำกับ การสร้ างบ้านหลังที่ 2 บุตรชายและบุตรสาวได้ย้ายตามบิดาไปศึกษาต่อ ที่ฮ่องกง ในขณะที่คุณปทุมยังติดพันและเมามันอยู่กับการสร้ างบ้านซอย ศาสนาต่อไป ด.ช.บุญทิวา เป็ นชื่อเป็ น นายวิถี และ ด.ญ.น้ อย ทัศนี ย์ เปลีย่ น ชื่อเป็ น น�้ ำเพชร ที่ฮ่องกง ตามค�ำแนะน� ำของหลวงตาจากวัดบรมนิ วาสที่เป็ น ญาติห่างๆ จากล�ำปาง ในทีส่ ุดบ้านซอยศาสนาก็สร้ างเสร็ จและมีฝรั่งมาเช่าอีกครอบครั วหนึ่ ง เป็ น นั กบินสแกนดิเนเวียนแอร์ ไลน์ที่มาร่ วมก่อตั้งการบินไทย คุณปทุมจึงหยุด เรื่ องการก่อสร้ างงานสถาปัตยกรรมไปพักใหญ่ คุณปทุมพ�ำนั กอยู่ที่บ้านเช่า ที่ Causeway Bay ฮ่องกง พร้ อมกับครอบครั วไม่ถึงหนึ่ งปี คุณบุญเที่ยง ได้รับการเลื่อนต�ำแหน่ งเป็ นกงศุลใหญ่ของประเทศไทย ประจ�ำเมืองฮ่องกง ในยุคนั้ นเมืองฮ่องกงเป็ นจุดยุทธศาสตร์ ส�ำคัญของการเดินทางไปท่องเที่ยว หาซือ้ สินค้าฟุ่มเฟื อยของเหล่าข้าราชการชัน้ ผู้ ใหญ่และครอบครั วผูม้ อี ำ� นาจใน กรุงเทพฯ หรื อไปรั บประทานอาหารจีนชั้นดีที่คุ้นปาก คุณปทุมเกิดอาการ 49


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

กับท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์

กับคุณสมชาย ธนะรัชต์

กับท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์

50


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

เหงาเพราะไม่มีงานก่อสร้ างที่ตัวเองรั กและชอบ จึงด�ำริ ให้สามีซื้อคอนโดฯ ในตึกสูงบนถนน Tai Hang Road เพื่อจะได้มีบ้านหรู วิวดี เห็นอ่าวฮ่องกง และวิคตอเรี ยปาร์ค ให้เธอได้ด�ำเนินการตกแต่งเอาไว้รับแขก สังเกตจาก พฤติกรรมช่ วงนี้ ของชี วิต คุ ณปทุ มน่ าจะเป็นผู้ที่มีความสุ ขและพึงพอใจ ในตนเองมากกว่านี้ หากได้เข้าเรี ยนในคณะสถาปัตยกรรม จุฬาฯ เมื่อครั้ง ยังเยาว์วัย ช่วงที่เป็นคุณนายท่านกงสุลใหญ่ประจ�ำฮ่ องกง ดูเหมือนว่าเป็นระยะที่ ไม่ค่อยชื่นชอบกับชีวิตเท่ากับก่อสร้ างบ้านเรื อนที่กรุงเทพฯ ชีวิตที่ฮ่องกง ส่ ว นใหญ่ ห มดไปกั บ การรั บ รองแขกผู้ ใหญ่ ค นไทย ที่ เวี ย นมาใช้ บ ริ ก าร การพาไปช็อปปิ้ งอย่างไม่มีสิ้นสุด การสะสมของใช้ฟ่ มุ เฟื อยมีประปราย เช่น เฟอร์ นิเจอร์ จีน และเพชรพลอย เครื่ องประดับ คุณปทุมท�ำตัวขี้เกียจและ รวนๆ เมื่อจ�ำต้องออกงานสังคมของเมือง พฤติกรรมเช่นนี้ ค่อนข้างท�ำให้ คุณบุญเที่ยงล�ำบากใจในการปฏิบัติหน้ าที่ทางการฑูตบ่อยครั้ง คุณปทุมมัก แกล้งท�ำตัวล่าช้าเสมอส�ำหรั บการไปร่ วมงานเชิญ คิดว่าเป็ นการสร้ างความ เด่นเพื่อเรี ยกร้ องความน่ าสนใจให้แก่ตนเองในช่วงเข้างาน แต่ก็เป็ นแง่ลบให้ แก่ข้าราชการไทยในสายตาของคนต่างประเทศ หลังจากที่จอมพลสฤษดิ์ สิ้นบุญไป คุณบุญเทีย่ งก็ยา้ ยกลับมากรุงเทพฯ โดยพ�ำนั กอยูท่ บี่ า้ นซอยศาสนา ระยะหนึ่ ง ต�ำแหน่ งครั้งสุดท้ายของคุณบุญเที่ยงในกระทรวงต่างประเทศ คือ อุปทูตไทย ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไทเป ที่เตรี ยมพร้ อม เปิ ดสัมพันธไมตรี กับจีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่คุณปทุมเดินทางไปมาเพื่อ การซ่อมแซมต่อเติมดูแลบ้านหลังนั้นหลังนี้ที่กรุงเทพฯ คุณปทุมเป็ นผู้น�ำ ในการพาลูกทั้ง 2 เดินทางไปศึกษาต่อที่แคลิฟอร์ เนี ยตามความประสงค์ของ คุณบุญเที่ยง และกลับไปเยี่ยมเยียนอีกบ่อยครั้ ง ส่วนคุณบุญเที่ยงนั้ น มี โอกาสไปเยี่ยมลูกที่สหรั ฐฯ เพียงครั้ งเดียว ก่อนเริ่ มป่วยด้วยโรคมะเร็ ง ในหลอดอาหารและกลับมารั กษาตัวอยู่ที่กรุ งเทพฯ ณ บ้านซอยศาสนาอยู่ ประมาณหนึ่ งปี จนเสียชีวิตลงเมื่อปลายปี พ.ศ. 2514 สิริรวมอายุได้ 53 ปี 51


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

(5 ภาพบน) นายวิถี ที่ Queen’s College ฮ่องกง

(ล่างกลาง) ที่ญี่ปุ่น (ล่างขวา) ที่อเมริกา 52


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

คุณปทุมเป็ นหม้ายเมือ่ อายุ 50 ต้นๆ ได้พยายามเรียบเรียงสมบัตบิ า้ นช่องและ ชีวติ ของตนเองให้น่ิ งและมัน่ คงขึ้น โดยหลักๆ ของรายได้คอื ค่าเช่าจากการให้ ฝรั่งเช่าบ้านหลังใหญ่ทซี่ อยสวัสดี ส่วนบ้านพิบลู เวศม์ทพี่ ระโขนงเป็ นโกดังเก็บ รถยนต์เก่าคันโปรดและสมบัตทิ ส่ี ะสมมาแต่สมัย พ.ศ. 2500 คุณปทุมพ�ำนั ก อยู่ที่บ้านซอยศาสนา คลองประปา พร้ อมสารพัดเฟอร์ นิเจอร์ ของใช้เครื่ อง เรือนทีท่ ยอยขนกลับจากฮ่องกงและไทเป จนเต็มบ้านไปหมด โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเครื่ องแอร์ ตู้เย็น และสินค้าที่ซื้อจากร้ านพี่เอ็กซ์ อเมริ กันในยุคสงคราม เวียดนาม ท�ำให้บา้ นซอยศาสนาแลดูละม้ายท่าเรื อคลองเตย เพราะทุกอย่างอยู่ ในกล่องในลังและยังไม่ ได้แกะออก คุณปทุมหวงสมบัตเิ หล่านี้ มาก ห้ามมิ ให้ ผู้ ใดมาแตะต้อง อีกทัง้ ยังเลีย้ งสุนัขและลูกน้ องเก่าให้เฝ้ าสอดส่องดูแลตลอด เวลา คุณปทุมมีเวลาว่างมากขึ้น จึงใช้เวลาซ่อมบ้านต่อเติมโน่นนี่นั่น ใน บางโอกาสมีการเดินทางไปเที่ยวหรื อร่ วมงานสังสรรค์กับเพื่อนเก่าที่สมัยเป็ น นั กเรี ยนด้วยกัน เป็ นการเปลี่ยนบรรยากาศ เนื่ องจากเคยอยู่ต่างประเทศ มาก่อนจึงพูดภาษาอังกฤษได้ดีและพร้ อมที่จะสร้ างไมตรี กับฝรั่ งได้อย่าง คล่องมาก มีครั้งหนึ่ งในช่วง พ.ศ. 2522 ผู้เขียนได้รับโปสการ์ดของคุณปทุม ส่งมาจากเมือง Tashkent เพราะคุณเธอได้เดินทางติดตามฝรั่งฮิปปี้ และคณะ ครู ญป ี่ ่ นุ โดยรถไฟสาย Siberia ซึ่งยาวทีส่ ุดในโลกจาก Vladivostok ข้ามทวีปไป ถึง Moscow ในรั สเชียและต่อไปถึงยุโรปด้วยตนเอง เพื่อเยี่ยมเพื่อนสถาปนิ ก ชาวเยอรมัน Gunther และน้ าประดิษฐ์ ประจวบเหมาะ ภริ ยาท่านทูตไทยของ UN สาขา Atoms for Peace ที่กรุงเวียนนา เป็ นสิ่งที่น่าทึ่งน่ าอัศจรรย์ส�ำหรั บ อดีตคุณนายอุปทูตไทยที่กล้าเดินทางลุยๆ แบบนั้น กล่าวถึงสุนัขเลี้ยงของคุณปทุม ช่วงปี พ.ศ. 2500 คุณปทุมเริ่มเลี้ยงสุนัข พันธ์ุ ต่างประเทศที่แพงและยังไม่เป็นที่นิยมแพร่ หลายนั กที่บ้านพิบูลเวศม์ พระโขนง 2 ตัวแรกเป็ นพันธุ์ค๊อกเกอร์ สแปเนี ยล หูยาวห้อยลงสองข้าง พร้ อมขนสลวยคล้ายทรงผมผู้หญิงที่ดัดเป็ นลอนคลื่น ตัวผู้มีขนด�ำสนิทตั้ง ชื่อว่านิ กโก้ ตามชื่อเมืองทีส่ วยงามในญีป่ ่ นุ แห่งหนึ่ ง ส่วนตัวเมียมีชื่อให้วา่ ลูซี่ 53


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

งานรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ กรุงไทเป

54


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ซึ่งเป็ นตัวเอกในภาพยนตร์ โทรทัศน์ ขาวด�ำจากฮอลลิวู้ดชุด “I love lucy” ผู้มี ผมเป็ นลอนสีทองคล้ายกับขนสีทองของเจ้าหมาตัวนี้ นิ กโก้กบั ลูซ่ีผสมพันธ์ุ กันมีลูกออกมาหลายคอกน่ ารั กมากเลย จ�ำได้ว่ามีลูกหมาพันธ์ุค๊อกเกอร์ ท่ี คุณปทุมรักมากตัวหนึ่ ง ชือ่ มะลิ ผูม้ ขี นสีขาวสะอาดสลับกับจุดด่างสีทองหลาย จุดกระจายไปทัว่ ตัว พร้ อมมีลายตกกระบนใบหน้ าคล้ายเด็กฝรั่ง หมาฝรั่ง ยุคนั้ นอายุไม่ค่อยยืนยาวเท่าใดนั กเพราะกรุ งเทพฯ อากาศร้ อนอบอ้าวและ ยุงเยอะ เวลาหัวค�่ำหลังจากป้อนข้าวสุนัขแล้วต้องรี บต้อนเข้ากรงที่หุ้มด้วย มุง้ ลวด ซึ่งมักถูกพวกเจ้าตูบแทะเล่นจนหลุดลุย่ ใช้การไม่คอ่ ยดีนัก หมาพันธุ์ ค๊อกเกอร์ ชุดนั้นตายด้วยโรคหนอนในหัวใจ ทีเ่ กิดจากการโดนยุงกัดและแพร่ เชื้อโรคเข้าตัวสุนัข บ่อยครั้งที่ โดนยุงกัดตรงจมูกจนกลายเป็ นแผลน่ ากลัว แลดูเหมือนหมาข้างถนน ไม่น่ารั กสมกับเป็ นหมาฝรั่ง นั งมะลิ ได้รับการดูแล ดีกว่าตัวอื่นเพราะเป็นสุนัขที่เรี ยบร้ อยอยู่ ในโอวาทของคุณปทุม จึงมีอายุ ยืนยาวถึงเกือบถึงสิบปี นั งมะลิมีลูกตัวผู้ตัวหนึ่ งหน้ าตาหล่อเหลาพร้ อม ขนหูที่เป็ นลอนเงางามด�ำขลับ ชื่อบิง คงได้ช่ือมาจากดาราภาพยนตร์คนดัง ของฮอลลีวูดที่เป็ นนั กเต้นร� ำ Bing Cosby ในยุคนั้ น เมื่อทั้งครอบครั ว ย้ายไปอยู่ฮ่องกงกันหมด คุณปทุมได้น�ำเจ้าบิงสุนัขตัวโปรดติดตามไปฮ่องกง ด้วย เจ้าบิงก็ปรั บตัวเข้ากับการอยู่อาศัยแบบอะพาร์ ตเม้นต์ ในอาคารสูง เวลาเช้าเย็นต้องพาเจ้าบิงไปเดินเล่นนอกบ้านในซอยเล็กๆ และป่ าสนด้านบน ของ Happy Valley สุนัขตัวนี้ ฉลาดรู้ จักรอเข้าลิฟท์เพื่อไปเที่ยวข้างนอกบ้าน เจ้าบิงเป็นหมาที่บุคลิกประหลาดอย่างหนึ่ งคือชอบดูการจุดดอกไม้ ไฟและ ประทัด เวลาได้ยินเสียงตึงตังของดอกไม้ ไฟมันจะตื่นเต้นและวิ่งไปมา รอบคอนโดฯ พร้ อมตะกายจะขึ้นไปบนขอบหน้ าต่างหรื อระเบียงหน้ าบ้าน มันจะสงบนิ่ งพร้ อมครางอย่างมีความสุขถ้าได้นั่งเกาะขอบหน้ าต่างชมการ แตกของพลุทเี่ ขาจุดกันเหนื ออ่าวฮ่องกง จ�ำได้วา่ มีงานจุดพลุครั้งใหญ่ ในงาน รั บเสด็จเจ้าฟ้ าหญิง Alexandra ของอังกฤษ พลุแตกเป็ นระยะติดต่อกันร่ วม ชั่วโมง เจ้าบิงนั่ งอยูข่ อบหน้าต่างของคอนโดฯ ชมพลุไปน�้ำลายไหลยืดไปพร้ อม 55


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

รับแขกฝรั่งที่บ้านซอยศาสนา

กับสุนัขชื่อ บิง ที่ฮ่องกง

กับเพื่อนๆ โรงเรียนเซนต์แมรี่

งานโกนผมภูริน พานิชพันธ์

งานศพคุณย่าแดง พานิชพันธ์ 56


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ครางอย่างมีความสุข เมือ่ พลุหมดลงเจ้าบิงหงุดหงิดไม่พอใจเริ่มเห่าและวิ่ง ไปมารอบคอนโดฯ พร้ อมตะกุยประตูบา้ นขอออกไปข้างนอกเผือ่ จะมีพลุให้ดู อีก เป็ นสุนัขที่แปลกประหลาดตัวหนึ่ งของคุณปทุม มันแก่และตายที่ฮ่องกง จากนั้นคุณปทุมได้เว้นการเลีย้ งหมามาสักพักใหญ่จนกระทัง่ ได้ยา้ ยกลับมาอยู่ บ้านคลองประปาที่กรุงเทพฯ คุณบุญเที่ยงป่ วยด้วยโรคมะเร็งในปี พ.ศ. 2513–14 และเสียชีวิตลงเมื่อ เดือนธั นวาคม พ.ศ. 2514 มีพิธีฌาปนกิจที่วัดธาตุทอง จ�ำได้ว่าเป็นงาน ศพที่มีแขกมากมายหลายระดับ เพราะคุณบุญเที่ยงเป็ นผู้ที่มีคนรู้ จักมากใน กรุงเทพฯ และเสียชีวิตในช่วงที่เป็ นข้าราชการของกระทรวงต่างประเทศอีก ด้วยเมื่ออายุ 53 ปี เศษ หลังจากงานศพเสร็ จสักพักใหญ่ คุณปทุมได้เดินทาง ไปเก็บของทีบ่ า้ นพักทีก่ รุงไทเปเพือ่ น�ำกลับมากรุงเทพฯ คุณปทุมคงเพลิดเพลิน กับการแพ็คสมบัติต่างๆ และการช็อปปิ้ งเพิ่มเติม ปรากฏว่าใช้เวลาเกือบๆ สามเดือนกว่าจะเดินทางถึงกรุงเทพฯ คุณปทุมเป็นคนที่มีนิสัยไม่ค่อยตรงต่อเวลานั กเพราะคงเคยชินกับการ เป็นผู้ถูกเอาใจและตามใจมาเสมอนั บแต่เมื่ออยู่กับอุ๊ยหอมและพ่อเลี้ยงชื่น ดังนั้น คุณบุญเที่ยง สามีจึงต้องหงุดหงิดกับความไม่มีระบบระเบียบของการ ด�ำเนินชีวิต คุณปทุมชอบการมีบริ วารและคนรั บใช้ส�ำหรั บรองรั บอารมณ์ และงานสังสรรค์ สมกับเป็ นลูกสาวเจ้าพ่อรุ่ นโบราณ ประกอบกับการได้รับ การเลี้ยงดูให้เป็ นผู้หญิงล้านนาแบบดั้งเดิม คุณปทุมชอบมีบ่าวรั บใช้ที่เป็ น ชายนิ สัยเงียบๆ พร้ อมทีจ่ ะปฏิบตั ติ ามค�ำสั่งโดยที่ ไม่เถียงกลับ เช่นคนสวนชื่อ อรุ ณ ผูเ้ ป็ นช่างไม้ขเี้ หล้า ไปไหนไม่รอดเลยต้องเป็ นบ่าวเฝ้ าบ้านทีค่ ลองประปา หรื อนายแสน ลูกชายคนใช้จากล�ำปาง ก�ำพร้ าพ่อ ท�ำหน้ าที่เป็ นเลขาฯ ทุกเรื่ อง ไปหมด แต่ก็เชื่อถือไม่ ได้ มีสาวใช้หลายชุดหลายรุ่ นผู้คอยตอแหลเอาใจ ปรนนิ บัติพัดวีแต่ ไว้ ใจไม่ ได้สักคน ดังนั้ นทรั พย์สมบัติแก้วแหวนเครื่ อง ประดับดีๆ จึงอันตรธานไปกับคนใช้เหล่านั้น ของมีค่าบางชิ้นเช่น แหวน เพชรสีชมพูขนาด 5 กะรัตซื้อที่ฮ่องกงก็ ไม่รู้หายไปไหนเมื่อไร จนป่ านนี้ ก็ยัง 57


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

คุณปทุมที่เกาะฮาวาย คุณปทุมที่สถานีขนส่งเชียงใหม่

คุณปทุมที่กรุงมอสโค

คุณปทุมที่วัดพระธาตุล�ำปางหลวง คุณปทุมก่อนขึ้นรถไฟไปเลนินกราด 58


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

หาร่ องรอยไม่เจอ ขนาดรถยนต์ โบราณ Triumph รุ่ น May Flower ยังโดน คนใช้แอบยกไปขายให้ฝรั่งนั กเก็บรถโบราณหน้ าตาเฉย คุณปทุมในวัยเจ็ดสิบกว่าเริ่ มมีปัญหากับโรคระแวงและความจ�ำสับสน เพื่อนฝูงและคนคุ้ยเคยเลยทยอยเหินห่างออกไปกันหลายต่อหลาย หรื อขาด หายไปเลยก็มี เมื่อฝรั่งเช่าบ้านที่ซอยสวัสดีเลิกสัญญาเช่า คุณปทุมจึงย้าย เข้ามาอยู่ ในบ้านหลังใหญ่พร้ อมบริ วารคนรั บใช้ และสมบัติพัสดุที่สะสมมา นั บสิบๆ ปี คุณปทุมมีเรื่ องทะเลาะกับเพื่อนข้างบ้านเรื่ องแนวเขตรั้ วบ้าน จนน� ำไปสู่คดีความที่ยืดยาวอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะคุณปทุมจะไม่ยอมแพ้ อย่างเด็ดขาด รั้ วข้างบ้านยังเป็ นสังกะสีผๆุ ปุปะไม่สวยงามอย่างทีค่ วรจะเป็ น พร้ อมเลี้ยงสุนัขพันธ์ุ ข้างถนนไว้เป็ นทีมใหญ่พร้ อมจู่ โจมผู้บุกรุ กได้ทุกขณะ ในช่วงเวลาเดียวกันโครงการทางด่วนลอยฟ้ าของการทางพิเศษได้ด�ำเนิ น การเวนคืนที่ดินส�ำหรั บแยกยกระดับผ่านหลังบ้านซอยศาสนา คลองประปา การเวนคืนที่ดินท�ำให้ต้องรื้ อถอนบ้านออก คุณปทุมท�ำทุกวิถีทางที่จะไม่ ไห้ รื้ อบ้านแต่ก็ ไม่ส�ำเร็ จ ในที่สุดก็จ�ำเป็ นต้องรื้ อกลายมาเป็ นกองเศษไม้ประตู หน้ าต่างเต็มสนามหน้ าบ้าน รวมกับตู้เย็นเครื่ องแอร์ และเฟอร์ นิเจอร์ ที่ซื้อมา จากฮ่องกง ไทเป คุณปทุมได้ดดั แปลงบ้านยามประตูหน้ าเป็ นเรื อนขนาดเล็ก พร้อมใช้ ไม้เก่าประกอบเป็ นเรือนเก็บสมบัตขิ ้นึ อีกหลังหนึ่ ง แต่เนื่ องจากไม่มี การออกแบบอย่างจริงจังจึงท�ำให้กองไม้ท้ังหมดทั้งหมดแลดูเป็ นสลัมย่อมๆ ในซอยศาสนา ส�ำหรั บให้คนเฝ้ าสมบัตอิ าศัยอยู่ ในช่วงเวลาเดียวกันคุณปทุม ได้เดินทางไปมาเชียงใหม่-กรุ งเทพฯ บ่อยครั้งเพื่อย้ายสมบัติเก่าจากบ้านของ คุณยายตุ่นแก้วที่อยู่ข้างวัดพันอ้นมาติดตั้งต่อเติมบ้านเรื อนไม้พ้ืนเมืองหลัง เล็กๆ ข้างวัดพระสิงห์ที่เคยซื้อมาไว้หลายปี ก่อนหน้ า โดยหวังว่าจะให้ฝรั่งเช่า ซึ่งก็ ไม่ ได้เป็ นไปตามที่คาดหวังไว้ ช่วงปี พ.ศ. 2540 ครอบครั วและญาติสายสกุลมหาวรรณ ได้น�ำอัฐิของ คุณบุญทัศน์ มหาวรรณ น้ องชายคนกลางของคุณปทุมผู้ล่วงลับไปก่อน หน้ าหลายปี ไปประกอบพิธีก่อเจดีย์ทราย ลอยอังคารที่หาดทรายสามเหลี่ยม 59


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ความสุขในช่วงสูงอายุของคุณปทุม 60


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ทองค�ำริมแม่น้�ำโขง คุณปทุมได้ร่วมเดินทางไปด้วย แต่กม็ อี าการดือ้ ดันรุงรัง ไม่ปฏิบตั ติ นเรี ยบร้ อยนั ก ทุกคนมีความเห็นว่าคงไม่ปลอดภัยทีจ่ ะเอาไปบน เรื อข้ามน�้ ำข้ามท่าเพื่อประกอบพิธีดังกล่าว จึงน� ำคุณปทุมไปพักผ่อนที่บ้าน ป้าผัดผูเ้ ป็นลูกพีล่ กู น้ องทีอ่ ำ� เภอแม่จนั ช่วงทีท่ กุ คนไปลอยอังคารคุณบุญทัศน์ อยู่ ปรากฏว่าป้าผัดผู้ ใจดีน�ำภาพถ่ายเก่าสมัยที่เป็นสาวๆ ของทั้งสองคนมา ให้ดู คุณปทุมเกิดอาการสับสนและพยายามแย่งภาพถ่ายบอกว่าเป็ นสมบัตขิ อง เธอเอง กว่าจะหย่าศึกกันได้เหนื่ อยกันทัว่ หน้ า อาการดังกล่าวเป็ นสัญญาณ บอกให้ทุกคนตระหนั กว่าคุณปทุมไม่สมควรอยู่คนเดียวและด�ำเนิ นชีวิตโดย ไม่มีการดูแลอย่างใกล้ชดิ ลูกทั้งสองเลยลงมือด�ำเนินการปรั บปรุงบ้านไม้ ข้างวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ เพื่อย้ายคุณปทุมขึ้นมาอยู่ ใกล้ๆ กับอาจารย์วิถี ส�ำหรั บความสะดวกในการดูแลควบคุม อีกทั้งต้องค�ำนึ งถึงความปลอดภัย และการอยู่ ใกล้กับโรงพยาบาล กรณี ต้องการแพทย์ฉุกเฉิน การซ่อมแซมบ้านข้างวัดพระสิงห์ด�ำเนิ นไปหกเดือนกว่าเพื่อให้ดูดีและ เหมาะกับอาการชราและเลอะเลือนที่ทยอยมาอย่างต่อเนื่ องของคุณปทุม การอพยพจากบ้านซอยสวัสดีมาบ้านพระสิงห์เชียงใหม่มีความโกลาหลพอ สมควร คุณปทุมเป็ นแฟนพันธุ์ แท้ของการเดินทางโดยรถไฟและการปฏิเสธ การใช้เครื่ องบินโดยเด็ดขาด กว่าจะหลอกล่อให้ออกจากบ้านไปขึ้นรถไฟ โดย บอกว่าจะให้ ไปถ่ายรู ปวิวจากหน้ าต่างรถไฟตอนผ่านแก่งหลวงของแม่น�้ำยม ซึ่งเป็ นจุดทีค่ ณ ุ ปทุมรั กและชืน่ ชมมากๆ ในการเดินทางขึ้นเหนื อ ในทีส่ ุดก็มา ถึงบ้านพระสิงห์ทเี่ ชียงใหม่ดว้ ยการหว่านล้อมของทุกคนทีร่ ่ วมเดินทางมาด้วย สาวใช้ต้องใช้วาทะปลอบใจว่าไม่ต้องห่วงบ้านและสุนัขที่กรุ งเทพฯ เพราะมา ที่เชียงใหม่นี้เป็ นการนั่ งรถไฟไปเที่ยวเท่านั้นเสร็ จแล้วจะกลับบ้านกรุงเทพฯ เพื่อให้คุณปทุ มไม่เหงาเมื่อพ�ำนั กที่เชี ยงใหม่ และเป็นการเปิดช่ องการ ท�ำความสะอาดและซ่อมแซมบ้านที่ซอยสวัสดีเพื่อให้เกิดรายได้จากการเช่าที่ จะน� ำเอามาใช้ ในการเยียวยารั กษากับการใช้จ่ายดูแลคุณปทุมเอง ขั้นแรก จ�ำต้องขนย้ายสมุนสุดที่รักทั้ง 16 ตัวออกจากบ้าน บังเอิญรถบรรทุกหกล้อ 61


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

คุณปทุมในวัยชรา 62


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ของคณะวิจิตรศิลป์ จะวิ่งเปล่ากลับจากการส่งของที่กรุ งเทพฯ เลยฝากกรง สุนัขพร้ อมสุนัขทั้งหมดมาด้วย 8 กรง ต้องขอบคุณโซเฟอร์ ที่รู้ ใจและเข้าใจ วัตถุประสงค์ของการเดินทางในครั้งนั้น โดยช่วยแวะปั๊มน�้ำมันหรื อตลาดสด ต่างๆ ตามเส้นทางของกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เพื่อจ�ำหน่ ายสุนัขทีละตัวสองตัว ตามรายทาง ในพื้นที่ที่เหมาะสมหรื อพอให้มันสามารถเอาตัวรอดได้ เหลือ 6 ตัวทีน่ ิ สยั ดีและค่อนข้างจะสนิทสนมกับคุณปทุมได้มาถึงบ้านทีเ่ ชียงใหม่ การ มาของสุนัขชุดโปรดท�ำให้คณ ุ ปทุมลืมๆ เรื่องการกลับไปกรุงเทพฯ เกือบสิน้ เชิง ด้ ว ยเป็นคนที่ ไม่ อ้ ว น คุ ณปทุ ม จึ ง เป็นคนที่ มี สุ ข ภาพร่ า งกายแข็ ง แรง เดินเหินคล่องตัว เพียงแต่ความจ�ำเลอะเลือนและสั บสนเป็นบางจังหวะ หลายครั้งเปิ ดประตูบ้านออกไปทักทายผู้คนที่เดินผ่านไปมา โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งนั กท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เพราะยังสามารถสนทนาด้วยภาษาอังกฤษ ได้เป็นอย่างดี บางครั้งท�ำตัวเป็นครู เวร ตรวจเป้กระเป๋าของเด็กนั กเรี ยนที่ เดินผ่านหน้ าบ้าน บางทีข้ามถนนไปที่ โรงเรี ยนธรรมราชในวัดพระสิงห์ ไป ยกโต๊ะ เก้าอี้ของโรงอาหารกลับมาที่บ้าน พร้ อมบอกกับทุกคนว่าเป็ นสมบัติ ส่วนตัว ไม่ยอมให้ ใครน� ำไปใช้ บางที ไปเก็บผ้าเหลืองของสามเณรที่ตากอยู่ ในวัดกลับเข้าบ้าน มีครั้งหนึ่ งหิว้ ถุงขยะข้างก�ำแพงวัดมาแล้วโบกรถสี่ลอ้ แดง ไปส่งถึงบ้านทีซ่ อยสวัสดีทสี่ ุขุมวิท ปรากฏว่ารถสี่ลอ้ แดงรั บขึ้นไปจริงแต่คง สับสนพูดกันไม่รู้เรื่อง คนขับเลยปล่อยทิง้ ไว้ทส่ี แี่ ยกราชมรรคาไม่ ไกลจากบ้าน พระสิงห์นัก จึงเกิดการวุ่นวายตามหาตัวกันจ้าละหวั่น โชคดีที่สาวใช้ตามไป เจอยืนเงอะงะอยู่ ใกล้ๆ กับไปรษณี ย์พระสิงห์ ตั้งแต่เหตุการณ์ ครั้งนั้นจึง จ�ำต้องล็อคโซ่กุญแจประตูบ้านเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตัวคุณปทุมเอง และชาวบ้าน ทุกคนมีความเห็นว่า คุณปทุมป่ วยเป็ นโรคอัลไซเมอร์ แต่ ไม่ถึงขั้นรุ นแรง และเฉี ยบพลัน เหมือนคนส่วนใหญ่ที่ป่วยจากโรคนี้ ในบางโอกาสคุยกันได้ อย่างมีเหตุมีผล พร้ อมทั้งจ�ำสถานที่ต่างๆ ได้ดี เพื่อลดความน่ าเบื่อและจ�ำเจ อาจารย์วถิ จี งึ พานั่ งรถไปดูไฟประดับงานยีเ่ ป็ งบ้าง งานเฉลิมพระชนม์พรรษา 63


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

งานท�ำบุญ 100 วัน คุณปทุม ณ บ้านพระสิงห์ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2556

พิธีบังสุกุลในโอกาสท�ำบุญ 100 วันให้แก่คุณปทุม ณ บ้านพระสิงห์ 64


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

ปี ใหม่ ตรุ ษจีน ดูขบวนแห่ ไม้ดอกไม้ประดับหรือไปรับประทานอาหารในสถาน ที่ท่ี ไม่มีคนพลุกพล่านจนเกินไป คุณปทุมอยู่ที่บ้านพระสิงห์ ได้ยาวนานถึง กว่าสิบห้าปี ในช่วงหลังๆ มีอาการเจ็บป่ วยมากขึ้น เช่นเหงือกอักเสบ ฟันผุ เป็ นเนื้ องอกที่ทรวงอก จ�ำต้องผ่าตัดออก เมื่ออายุมากขึ้น เริ่มนอนมากขึ้น จึงต้องซื้อเตียงพยาบาลมาใช้ตามค�ำแนะน� ำของแพทย์ เมื่ออายุ 89 ปี ก็ ได้ แต่เพียงลุกนั่ งด้วยการประคองของพยาบาลผู้ดูแล ช่วงนี้ เข้าๆ ออกๆ โรง พยาบาลสวนดอกเป็ นประจ�ำ เมื่ออายุเข้าวัย 90 ปี จ�ำต้องเจาะท้องให้อาหาร เหลว เจาะคอให้ออกซิเจน ขณะที่ระบบต่างๆ ของร่ างกายทยอยหมดสภาพ ในที่สุด คุณปทุมได้เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 21 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 สิริ รวมอายุได้ 90 ปี 6 เดือน 

65


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

66


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์ TRIBUTE TO MY AMAZING MOTHER – dearest Mae (Pa) Toom Thank you for birthing me into this world. Thank you for being the best mother I could ever have. Thank you for all the love, understanding, generosity and compassion you’ve kindly given (especially as I was going through my Terrible Twos, Teens, Twenties, Pregnancies and Menopause!). From the day I was born and even before, You have given so much of yourself to nourish me and my brother Vithi … physically, emotionally and spiritually. You’ve taught us to be self-sufficient, determined, courageous, energetic, resourceful … a bit wild, individualistic and free-spirited like you and Best of All---dare to be ourselves, no matter what! You have passed on to your children and descendants your heritage of Grandma Patoom’s Huge Love of Life, including … world travel, learning, joy of sharing, exploring arts, cultures, cuisines, Thai massages, discriminating tastes, elegance and best of all STYLE!!! Your unique talents in architecture, creativity, eye for design and attention to details along with your passion for building provided us with a rich and diverse collection of family homes and conservation cottages which we will continue to cherish in your memory. Whenever we come near any wonderful old British Triumph car, trains, planes, IKEBANA floral arrangements, cocker spaniels, Christmas carols, mineral hot springs AND all things Japanese, Lanna … we will reminisce and always be reminded of you. Most of all, your appreciation for your family: brothers, sisters, son and daughter-in-law (David, Sukon).... Your special love and caring for your grandchildren: Michelle, Travis, Purin, Pubeng will be the force that carries them through life and generations to come. FOREVER IN OUR HEARTS … your daughter … NOI (NAMPET) 67


หนังสืออนุสรณ์ คุณแม่ปทุม พานิชพันธ์

คุณปทุมมีชีวิตที่น่าสนใจในยุคสมัยที่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงของ สังคมไทย มีน้อยคนที่สามารถเทียบเท่าได้ เริ่มต้นจากสังคมล้านนาโบราณ ผ่านกาละของการเปลี่ยนแปลงเส้นทางค้าขายและคมนาคมของเมืองล�ำปาง มีการศึกษาชัน้ แนวหน้าของผูห้ ญิงไทยในสถาบันและสังคมชัน้ น�ำของประเทศ ผ่านวิกฤตชีวิตที่ โลดโผน มีประสบการณ์ และมุมมองมากหลายทั้งในระดับ ท้องถิ่นและในระดับสากล สะสมรสนิ ยมและความมั่งคั่งของตนด้วยวัตถุ และโอกาสที่ ไม่ธรรมดา ทีส่ ำ� คัญมากก็คอื การมีชวี ติ ทีย่ นื ยาว ข้ามยุคข้ามสมัย มาได้อย่างสง่างาม ทั้งนั้นทั้งนี้ คงเป็ นเพราะบุญบารมีท่สี ะสมแต่ปางก่อน และคงมีต่อไปอีกหลายๆ ภพหลายๆ ชาติข้างหน้ า ลู ก หลานและญาติ ข องคุ ณปทุ ม ขอกราบขอบพระคุ ณ แขกผู้ มี เ กี ย รติ ทุ ก ท่ า น ตลอดจนลู ก ศิ ษ ย์ นั ก ศึ ก ษาของอาจารย์ วิ ถี ที่ ก รุ ณาช่ ว ยเหลื อ สนั บสนุ นการจัดพิธีศพของคุณปทุมให้ส�ำเร็ จลุล่วงไปได้อย่างดีและงดงาม อันจะน� ำไปสู่ความทรงจ�ำที่ดีและเป็ นเกียรติแด่ผู้วายชนม์ ดวงวิญญาณของ คุณปทุมคงรั บทราบและปลาบปลื้ม โสมนั สกับบุญคุณอันนี้ ตราบจนภพหน้ า 68




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.