Phrathatchao2016

Page 1



ประมวลภาพวันที่ 10 มิถุนายน 2559

วันที่ 10 มิถุนายน 2559 โดยพระธรรมมังคลาจารย์ วิ. (ทอง สิริมงฺคโล) พร้อมด้วยเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ นายก อบจ.เชียงใหม่ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ น�ำอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุออกจาก วัดพระธาตุศรีจอมทอง เข้าเวียงเชียงใหม่ เพื่อร่วมสมโภชเมืองเชียงใหม่ครบ 720 ปี ขบวนอัญเชิญผ่าน ชุมชน หมู่บ้าน และวัด ที่ประชาชนต่างออกมาร่วมกราบสักการะ โปรยข้าวตอกดอกไม้ จุดแวะแรกคือ วัดฟ้าหลั่ง ต่อไปแม่วาง และวัดต้นเกว๋น อินทราวาส บ้านหนองควาย ตั้งประดิษฐานคืนหนึ่ง

1


ประมวลภาพวันที่ 10 มิถุนายน 2559

2

ชาวบ้านต้นเกว๋น หนองควาย หางดง และประชาชนจากทั่วสารทิศ ถวายสักการะพระบรมธาตุ อย่างหนาแน่น ท่ามกลางการอารักขาของข้าพระธาตุ และทหาร ต�ำรวจที่มาช่วยเหลืองาน


ประมวลภาพวันที่ 10 มิถุนายน 2559

ณ ลานทรายนั้น มีการถวายประทีปหลายพันดวงเป็นพุทธบูชา พร้อมถวายมหรสพตลอดคืน ขณะที่ ภายในวิหารวัดต้นเกว๋น ศรัทธาบางส่วนและพระสงฆ์ก็สวดมนต์ตลอดเวลา ช่วงใกล้ฟ้าสาง พระสงฆ์ ก็ปฏิบัติท�ำวัตรเช้า โยงข้าวบาตร ถวายจังหัน กัลปนาเตรียมการอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าเวียงต่อไป

3


ประมวลภาพวันที่ 11 มิถุนายน 2559

4

วันที่ 11 มิถุนายน 2559 ช่วงเช้าตรู่ ท�ำการอัญเชิญพระบรมธาตุสู่มณฑป ประทับบนรถพร้อมเคลื่อน ขบวนต่อเข้าสู่วัดสวนดอก ที่วัดสวนดอกเจ้านายฝ่ายเหนือ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระเถระ รอถวาย การต้อนรับ


ประมวลภาพวันที่ 11 มิถุนายน 2559

หลังจากถวายภัตตาหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้จัดเตรียมรูปขบวนเดินเท้าเข้าสู่เวียงเชียงใหม่ โดย พระบรมธาตุและเครื่องสูงส�ำคัญประดิษฐานบนรถบุษบก ส่วนเครื่องสูงอื่นๆ ข้ากัลปนาเป็นผู้อัญเชิญ และเข้าร่วมขบวนเดินเท้าจากวัดสวนดอก พร้อมขบวนม้า ผ่านโรงพยาบาลมหาราช มีจุดรับขบวนที่วัด ปันเส่า และวัดโลกโมฬี ประชาชนพากันออกมาตั้งโต๊ะจัดวางเครื่องสักการะ โปรยข้าวตอกดอกไม้รับ พระบรมธาตุตลอดสองข้างถนน

5


ประมวลภาพวันที่ 11 มิถุนายน 2559

6

เมือ่ ขบวนหลักเคลือ่ นมาถึงประตูชา้ งเผือก ก็มรี าชรถ ขบวนพระเสตังคมณี ขบวนพระศิลา จากวัดเชียงมัน่ และขบวนช้างพร้อมต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง รอรับ เมือ่ ประกอบเข้าเป็นขบวนเดียวกันเรียบร้อยแล้ว จึงเคลือ่ น เข้าสู่ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ จึงได้อัญเชิญพระบรมธาตุขึ้นประดิษฐานบนบุษบกสรงน�้ำให้ประชาชน ถวายน�้ำสรงระยะหนึ่ง จึงย้ายเข้าสู่มณฑปที่ประทับหน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่น พระสงฆ์สวดมนต์ตลอดคืน ซึง่ ทุกความเคลือ่ นไหวล้วนอยูใ่ นสายพระเนตรของสามกษัตริย์ พระยามังราย พระยาง�ำเมือง พระยาร่วง


ประมวลภาพคืนวันที่ 11 ถึงเช้าวันที่ 12 มิถุนายน 2559

ประชาชนจากหลายทีต่ า่ งถวายการแสดง มหรสพถวายพระบรมธาตุ ซึง่ ได้รบั เมตตาจากศิลปิน นักแสดง ทั้งในภาคเหนือและกรุงเทพฯ เป็นการแสดงหลายชุดที่ออกแบบขึ้นใหม่ส�ำหรับถวายสักการะพระบรม ธาตุโดยเฉพาะ สร้างความตืน่ ตาตืน่ ใจแก่ประชาชนทีม่ าร่วมงาน ขณะทีท่ มี งานบางส่วนไปดูแลการกวน ข้าวทิพย์ที่มีอาสาสมัครมากมาย และผู้คนก็ให้ความสนใจในพิธีนี้อย่างล้นหลาม

7


ประมวลภาพวันที่ 12 มิถุนายน 2559

8

วันที​ี่ 12 มิถุนายน 2559 หลังจากท�ำวัตรเช้าแล้ว ประชาชนร่วมตักบาตรพระและเณร 721 รูปที่ข่วง อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ แล้วจึงอัญเชิญพระบรมธาตุกลับสู่วัดพระธาตุศรีจอมทองโดยใช้เส้นทางเดิม ผ่านวัด โรงเรียน ชุมชนก็ตา่ งออกมากราบนมัสการส่งพระบรมธาตุ โดยขบวนได้แวะเป็นระยะตลอดทาง อาทิ วัดโขงขาว แม่วาง และวัดฟ้าหลัง่ เพือ่ รับเพล จากนัน้ จึงได้เคลือ่ นเข้าสูม่ ณฑปจุมปูปราสาทในวิหาร จตุรมุข วัดพระธาตุศรีจอมทอง โดยมีขา้ วัด ข้าพระธาตุและประชาชน รอรับอย่างแน่นขนัด พร้อมเปล่ง ค�ำนมัสการ “สา... สา... สา...” อย่างอึงคะนึงกึกก้องไปทัว่


โครงการสืบฮีต สานฮอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ประเพณีล้านนา

พระธาตุเจ้าเข้าเวียง ขบวนแห่สักการะอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร มาประดิษฐาน (ชั่วคราว) ณ ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เพื่อร่วมสมโภชเมืองเชียงใหม่ 720 ปี และวัดพระบรมธาตุศรีจอมทองอายุครบ 550 ปี ระหว่างวันที่ 10–12 มิถุนายน 2559 โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ และ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


พระทักขิณโมลีธาตุ “นะโมพุทธายะ นะมามิ ติโลกะโมลี โลหะกูเฎ ปะติฎฐิตัง ปูชิตัง สัพพะโลเกหิ กิตติมันตัง มะโนหะรัง อะหังวันทามิ สัพพะทา อังคะวะเย ปุเรรัมเม โกวิลา รัคคะปัพเพเต สะหิเหมะคูหา คัพเภ ทักขิณะโมลี ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะทา”


สารบัญ ประมวลภาพวันที่ 10–12 มิถุนายน 2559

1

สารจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 12 สารจากคณบดี คณะวิจิตรศิลป์ ม.ช. 13 บทน�ำ 14 ล�ำดับพิธีการ ล�ำดับท�ำงาน 17 พระทักขิณโมลีธาตุ 24 พระธาตุเจ้าเข้าเวียง 26 พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในพิธีอัญเชิญพระธาตุเจ้าเข้าเวียง 38 วัดต้นเกว๋น (อินทราวาส) และพระพุทธรูปองค์ส�ำคัญ 52 พระพุทธรูปส�ำคัญในงานอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุ 59 กัลปนา: ข้าพระธาตุ ข้าวัด 65 ทิพยสุคันธา: น�้ำทิพย์สรงพระบรมธาตุ 67 กระบวนแหนแห่เฉลิมฉลองสมโภชเวียงเชียงใหม่ 720 ปี 68 รายนามคณะท�ำงาน กัลปนา ผู้ร่วมงาน และผู้สนับสนุน 74 ประกาศแต่งตั้งคณะท�ำงานอย่างเป็นทางการ และฎีกา 80 ประมวลภาพการเตรียมงาน

โครงการสืบฮีต สานฮอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ประเพณีล้านนา

พระธาตุเจ้าเข้าเวียง

ขบวนแห่สักการะอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร มาประดิษฐาน (ชั่วคราว) ณ วัดต้นเกว๋น อินทราวาส และข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ © สงวนลิขสิทธิ์, พ.ศ. 2559 (2016) ร่วมด�ำเนินการโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

83

ISBN 978-616-398-092-2 ออกแบบและจัดพิมพ์โดย “กลุ่มหน่อศิลป์” คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาพประกอบทั้งหมดได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์และเผยแพร่ในเอกสารนี้เท่านั้น, รายชื่อเจ้าของภาพในบัญชีผู้สนับสนุน, © สงวนลิขสิทธิ์, พ.ศ. 2559 (2016) พิมพ์ที่ โรงพิมพ์โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์ กรุงเทพ ที่ระลึกในวาระร่วมสมโภชเมืองเชียงใหม่ 720 ปี และวัดพระบรมธาตุศรีจอมทองอายุครบ 550 ปี


สารจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เชียงใหม่ในปีนี้มีอายุก้าวถึงขวบปีที่ 720 แล้ว ตลอด เวลาที่ผ่านมานี้แสดงให้เห็นความเป็นเมืองที่ไม่เคยหยุดนิ่ง เป็นเมืองที่มีการพัฒนาในหลายด้าน เป็นเมืองที่อยู่ในความ สนใจของผู้คนทุกทิศองศา ด้วยในความเคลื่อนไหวพัฒนา นั้น เมืองเชียงใหม่ยังสามารถคงเอกลักษณ์ที่ดี ที่งาม ไว้ได้ อย่างน่าชื่นชม ในปีอันเป็นมหามงคลนี้ กล่าวคือ เป็นปีที่เมืองเชียงใหม่ อายุครบ 720 ปี และวัดพระบรมธาตุศรีจอมทองมีอายุครบ 550 ปี นอกจากนี้ยังเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติ 70 ปี และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินนี าถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ จังหวัด เชียงใหม่ได้พากันจัดงานฉลองสมโภชอย่างยิง่ ใหญ่ นับแต่วนั สงกรานต์ปีใหม่ 12 เมษายน 2559 ที่มีการจัดงาน “สมโภช 60 รอบนักษัตร 720 ปี เมืองเชียงใหม่” และหลังจากนั้น เพียงไม่กี่วันก็จัดงาน “พระธาตุเจ้าเข้าเวียง” เป็นโครงการ สืบฮีต สานฮอย อนุรกั ษ์ ฟืน้ ฟู ประเพณีลา้ นนา ทีส่ ร้างความ ประทับใจ สร้างความสนใจ สร้างความปีตอิ มิ่ เอมใจแด่ทกุ คน ที่เข้าร่วมงาน ด้วยมีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ “พระ ทักขิณโมลีธาตุ” จากวัดพระธาตุศรีจอมทอง อ�ำเภอจอมทอง เข้าร่วมด้วย

การจัดงานนี้เป็นความร่วมมือกันอย่างดีที่สดุ จากองค์กร และบุคลากรที่เปี่ยมคุณภาพของจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งองค์ การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนต�ำบล คณะ วิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสงฆ์ในจังหวัด ต�ำรวจ ทหาร ข้าราชการ วัดส�ำคัญ หน่วยงานเอกชน หลายองค์กร และที่ขาดไม่ได้คือ ชุมชน ที่แสดงให้เห็นถึง พลังเล็กๆ ที่เปี่ยมล้นด้วยมิตรจิต มิตรใจ ที่ยากจะหาที่ใด เทียบเทียมได้ ศิลปวัฒนธรรมล้านนาเชียงใหม่จากการสร้างสรรค์ขึ้น ของบุคคลดังกล่าว จะคงธ�ำรงวัฒนาอีกยาวนาน ด้วยเป็นสิง่ ทีม่ คี ณ ุ ค่าต่อการศึกษาค้นคว้า ต่อประวัตศิ าสตร์ ต่อเยาวชน ในวันนี้ที่จะต้องสานแนวทางต่อไปในอนาคต กระผม ในฐานะผู้จัดงานร่วมครั้งนี้ ขอกราบนมัสการ พระเดชพระคุณ พระธรรมมังคลาจารย์ สิรมิ งฺคโล ทีอ่ นุญาต ให้อญ ั เชิญพระธาตุเจ้าเข้าเวียง ขอขอบพระคุณทุกหน่วยงาน ทุกคน ที่ร่วมแรง ร่วมใจ รวมก�ำลังความคิดรังสรรค์สิ่งดีงาม นี้ให้เกิดขึ้น และประสบความส�ำเร็จ กราบขอพระบารมี องค์ทักขิณโมลีธาตุได้โปรดประสาทความบริบูรณ์พูนสุขแก่ ทุกท่าน

บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่


สารจากคณบดี คณะวิจิตรศิลป์ ม.ช. เนือ่ งด้วยปี พ.ศ. 2559 เป็นปีมหามงคลทีพ่ ระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ 70 ปี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ ซึ่งนับเป็นมหามงคลสมัย พิเศษยิ่ง และเป็นปีที่เมืองเชียงใหม่มีอายุ 720 ปี รวมถึงวัด พระธาตุศรีจอมทองวรวิหารมีอายุครบ 550 ปี พี่ น ้ อ งประชาชนจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ อั น ประกอบด้ ว ย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ คณะ สงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ คณะสงฆ์อ�ำเภอจอมทอง แม่วาง สันป่าตอง หางดง อ�ำเภอเมือง เทศบาลนครเชียงใหม่ วัด พระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร วัดสวนดอกวรวิหาร วัดเชียงมัน่ วัดต้นเกว๋น วัดล่ามช้าง คณะวิจติ รศิลป์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เทศบาลต�ำบลหนองควาย มณฑล ทหารบก ต�ำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียนวชิรวิทย์ โรงเรียนอาชีวะศึกษา โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ สถาน ศึกษา ชุมชน 96 ชุมชนในเมืองเชียงใหม่ และทุกอ�ำเภอ ภาคเอกชนและศรัทธาประชาชน ได้พร้อมเพรียงกันจัดพิธี อัญเชิญ “พระธาตุเจ้าเข้าเวียง” โดยอัญเชิญมาประดิษฐาน (ชั่วคราว) ณ วัดต้นเกว๋น ในวันที่ 10 มิถุนายน และอัญเชิญ มาประดิษฐาน (ชัว่ คราว) ณ วัดสวนดอกวรวิหาร และมณฑล พิธีบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ในวันที่ 11 มิถุนายน และ อัญเชิญกลับยังวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ในวันที่ 12 มิถุนายน ตามหลั กฐานที่ป รากฏทั้ง จากบันทึก เเละจารึกต่างๆ ท�ำให้ทราบว่าการอัญเชิญพระบรมธาตุศรีจอมทองเข้ามา ประดิษฐานในเมืองเชียงใหม่ เป็นราชประเพณีที่มีมาหลาย คราวแล้ว ตั้งแต่ราชวงศ์มังรายในรัชสมัยมหาเทวีจิรประภา สมัยราชวงศ์เชื้อเจ็ดตน คือพระยากาวิละ พระยาค�ำฝั้น พระยากาวิโรรส และพระยาอินทวิชยานนท์ ตลอดจนในวาระ

เฉลิมฉลองเมืองเชียงใหม่อายุครบ 700 ปี โดยสมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชด�ำเนินมา เป็นประธาน และในปี 2559 นี้ที่ศรัทธาประชาชนทั้งชาว ไทยและต่างประเทศ ในเมืองเชียงใหม่และตามเส้นทางเสด็จ ได้มีโอกาสสักการะพระบรมธาตุอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้คณะวิจิตรศิลป์ ศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่า ที่รวมตัว กันในชื่อของ “กลุ่มหน่อศิลป์” ในฐานะผู้ประสานงาน ขอ กราบนมัสการพระธรรมมังคลาจารย์ และคณะสงฆ์ ศรัทธา ข้ารักษาพระธาตุของวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร คณะ สงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เทศบาล ต�ำบลหนองควาย ศรัทธาประชาชนของวัดต้นเกว๋น วัด สวนดอกวรวิหาร วัดเชียงมั่น วัดล่ามช้าง วัดพวกแต้ม วัด ดอนจัน่ วัดหมอค�ำตวง วัดสะดือเมือง มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ ศิษยานุศิษย์ของพระธรรมมังคลาจารย์ สถาน ศึกษา ชุมชนในทุกอ�ำเภอ เยาวชน ประชาชนชาวไทยและ ต่างประเทศ ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ ส�ำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์กรมหาชน) สื่อมวลชนทุก แขนง รวมถึงผูม้ จี ติ ศรัทธาจากทุกแห่งหน ทีม่ าร่วมเป็นส่วน หนึง่ ของงานครัง้ ประวัตศิ าสตร์ ในทุกด้าน ทัง้ เบือ้ งหน้าและ เบือ้ งหลัง อันแสดงให้เห็นถึงพลัง สายธารแห่งศรัทธาทีม่ มี า ตั้งแต่อดีตได้ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อเป็นการสืบต่ออายุ ของพระศาสนา และอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีโบราณอันดีงาม ของจังหวัดเชียงใหม่ การมีส่วนร่วมของภาครัฐ ศาสนา เอกชน ชุมชน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ สืบสานวัฒนธรรมควบคู่ ไปกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ อันเป็นมิ่งขวัญ ของพสกนิกรชาวไทยตลอดไป

รศ. ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ คณบดีคณะวิจิตรศิลป์


บทน�ำ

14

การสืบฮีต สานฮอย อนุรักษ์ ฟื้นฟู ประเพณีล้านนา ในรูป ของขบวนแห่สักการะอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุ จากวัด พระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร มาประดิษฐาน (ชั่วคราว) ณ ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เพื่อร่วมสมโภชเมืองเชียงใหม่ใน วาระสร้างมาถึง 720 ปี และวัดพระบรมธาตุศรีจอมทองอายุ ครบ 550 ปี ในระหว่างวันที่ 10–12 มิถุนายน 2559 นั้น เป็นกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในหลายรอบสิบปีที่ชาวเชียงใหม่ ทั้งหมดได้ร่วมมือกันจัดขึ้น นอกจากนี้ ปีที่จัดก็ยังถือเป็นปี แห่งมหามงคลของชาวไทย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จครองราชสมบัติอย่างยาวนานถึง 70 ปี และสมเด็จ พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ เดิมนัน้ การจะอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุมาประดิษฐาน ยังเมืองเชียงใหม่ถือเป็นการณ์เฉพาะโอกาสส�ำคัญของบ้าน เมือง ในอดีต เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่จะเป็นผู้อัญเชิญ บรมพระบรมธาตุจากวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร มา ประดิษฐานในเมืองเชียงใหม่ โดยมีการแต่งรูปขบวนด้วย เครื่องสูง เครื่องสักการะ ประกอบด้วยพัดพ้าว จามร บังวัน ช่อ ธงไชย จัดขบวนช้างขบวนม้าและการประโคมดนตรี นับเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมีสืบทอดกันมาหลายร้อยปี การอัญเชิญนี้ใช้ระยะเวลาแต่ละครั้งไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่ กับสถานการณ์ในสมัยนั้นๆ ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ ปรากฏว่ามีการอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าเวียงเชียงใหม่หลาย ครั้ง1 1 มีเอกสารมากมายกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวัดพระบรมธาตุศรี จอมทอง และพระทักขิณโมลีธาตุ ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้อีกจากเฟซบุ๊คแฟน เพจ “พระธาตุเจ้าเข้าเวียง” https://www.facebook.com/พระธาตุเจ้าเข้า เวียง-1058043177575419/?fref=ts และ “550 ปี๋ สะหรีจ๋อมตอง” https:// www.facebook.com/550-ปี๋-สะหรีจ๋อมตอง-1054674574607615/ ที่มี เนื้อหาทั้งด้านประวัติและภาพเหตุการณ์ปัจจุบันที่สุด

ทั้งนี้ก่อนการอัญเชิญเสด็จนั้น วัดจอมทองนั้นเป็นวัดที่มี ความส�ำคัญทีก่ ษัตริยล์ า้ นนาเชียงใหม่ให้ความส�ำคัญ มีความ ศรัทธามาตลอด โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระรัตนราช หรือ พระเมืองแก้ว ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง เมือ่ ได้ทราบความทีพ่ ระมหาพุทธฺ ญาโณ เจ้าอาวาสวัดฟ้าหลัง่ กราบทูลว่า มีพระบรมธาตุเจ้าได้เสด็จมาประดิษฐานอยู่ที่ วัดจอมทอง อันเป็นอาณาเขตแว่นแคว้นของพระองค์ ก็มี พระทัยปีติปราโมทย์ มีค�ำสั่งแก่พระมหาพุทฺธาญาโณเถระ ให้ปฏิสงั ขรณ์พระวิหารหลังหนึง่ เป็นทรงจตุรมุขเหมือนวิหาร ทีว่ ัดชัยศรีภมู ใิ นเมือง และให้กอ่ ปราสาทขึน้ หลังหนึง่ ในพระ วิหารนั้นให้เหมือนปราสาทในพระอุโบสถ วัดมหาโพธาราม หรือวัดเจ็ดยอด เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้า เพื่อ ให้เป็นอัครสถานอันประเสริฐต่อไป โดยทรงประทานเงิน หนึ่งหมื่นเป็นค่าวัสดุในการก่อสร้าง พระเถระ นักบุญ นายช่าง ร่วมกับเจ้าอาวาสวัดจอมทอง จึงเริม่ ปลูกสร้างพระวิหารและปราสาทในปีชวดอัฏฐศก พ.ศ. 2060 เมื่อการปลูกสร้างแล้วเสร็จ พระเมืองแก้วรับสั่งให้ ช่างทองสร้างโกศทองค�ำน�้ำหนักได้ 560 ค�ำ ขึ้นเพื่อเป็นที่ บรรจุพระบรมธาตุ ต่อจากนัน้ จึงได้จดั การฉลองสมโภชเป็น มหาปางใหญ่ อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าเข้าประดิษฐานในโกศ ทองค�ำทีต่ งั้ ไว้ภายในปราสาทนัน้ ทรงโปรดพระราชทานวัตถุ ไทยทานและเครื่องแห่ไว้กับพระบรมธาตุเจ้าเป็นอันมาก ทรงกัลปนาข้าคน ไร่นาตามเขตป่า ที่ดิน ย่านน�้ำ ไว้ส�ำหรับ ให้ปฏิบัติรักษาท�ำนุบ�ำรุงพระบรมธาตุ ให้เจริญถาวรสืบต่อ ไปตลอด 5000 พระวัสสา พระราชวงศ์และกัลปนาต่างก็ดูแลพระบรมธาตุมาด้วย ความเคารพศรัทธามาโดยตลอด กระทั่งถึง พ.ศ. 2099 ปลายราชวงศ์มังรายในรัชสมัยพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ หรือ


ท้าวเม่กุ มีศรัทธาอาราธนาพระบรมธาตุจอมทองเข้าเวียง เชียงใหม่ โดยให้ประดิษฐานที่หอบาตรในพระราชมณเฑียร ทัง้ ยังถวายไทยทานอีกเป็นอันมาก มีรบั สัง่ แก่เสนาบดีผใู้ หญ่ พระยาแสนหลวง พระยาสามล้าน พระยาจ่าบ้าน พระยา เด็กชาย ว่าให้ยกเว้นส่วยจากบรรดาข้าพระธาตุเจ้าจอมทอง1 “. . . ถึง พ.ศ. 2100 ปีมะโรง เดือน 5 (เดือน 7 เหนือ) ทายก ทายิกา ศรัทธาทั้งหลาย ได้ไปนิมนต์พระมหาสังฆราชา ญาณมงคละอยู่แคว้นทุ่งตุ๋มมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรี จอมทอง ในสมัยนี้พระนางมหาเทวีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยพระอัครราชมารดา ได้มจี ติ ศรัทธานิมนต์พระบรม ธาตุจอมทองเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ . . .”

นับเป็นครั้งแรกที่มีการอัญเชิญพระบรมธาตุออกนอก เขตจอมทอง เเละครัง้ เดียวในสมัยของราชวงศ์มงั ราย กระทัง่ ภายหลังการฟื้นม่านประมาณ พ.ศ. 2314 ก็เกิดเหตุการณ์ พระบรมธาตุอันตรธานจากที่ประดิษฐาน ในปี 2322 หลัง จากที่พระบรมธาตุหายไปจากมณฑปปราสาทนานกว่า 9 ปี พระยากาวิละต้องประกอบพิธีอาราธนาถึง 3 ครั้ง จึงเสด็จ กลับมาประดิษฐานในมณฑปเช่นเดิม พระเจ้ากาวิละจึงมี พระราชศรัทธาอย่างเเรงกล้า ประกอบการอัญเชิญพระบรม ธาตุเข้าเวียงเพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชาบ�ำรุงขวัญนาน ถึง 7 วันในพระราชมณเฑียร โดยมีหลักฐานบนจารึกหลัก หนึ่งที่ยังคงเก็บรักษาไว้ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง2 1 โปรดอ่านเพิ่มเติมที่ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย http://www.sac.or.th/ databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=1507 2 http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail. php?id=15611 อนึ่ง อาจมีความสับสนในเรื่องของชื่อและช่วงปีจากหลาย แหล่งอ้างอิงที่ปรากฏชื่อ พระยาวิเชียรปราการว่าหมายถึงพระยากาวิละ แต่หาก พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว เชียงใหม่ในสมัยของพระยาวิเชียรปราการ หรือพระยา

ครั้งที่ 3 นั้นไม่มีบันทึกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แต่ พบใน “จารึกสุวรรณปราสาท” ที่พุทธสถาน ว่า พ.ศ. 2347 “พญากาวีละ ราชบุตร ราชเทวี ได้สร้างสุวรรณปราสาท เพื่อประดิษฐานพระธาตุจากเมืองอัคครฐดอยทอง” ซึ่ง สันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึง เมืองอังครัฐดอยทอง หรือเมือง จอมทอง ครัง้ นัน้ ได้นำ� มาประดิษฐานยังกลางเมืองเชียงใหม่ นับว่าในสมัยพระเจ้ากาวิละได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรม ธาตุเจ้าเข้าเวียงถึง 2 ครั้ง ครัง้ ที่ 4 ในปี 2368 รัชสมัยพระเจ้าเชียงใหม่สภุ ทั ระ หรือ เจ้าหลวงเศรษฐีค�ำฝั้น เจ้าหลวงองค์ที่ 3 ของนครเชียงใหม่ ได้อาราธนาพระบรมธาตุเข้าเวียง ซึง่ ประดิษฐานนานถึง 1 ปี3 “. . . พระเป็นเจ้าสุภัทราค็ซ�้ำมีบุปผาคันธมาลาเข้าตอก ดอกไม้ธูปเทียน ใช้ไพนิมนต์พระมหาชินธาตุเจ้าจอมทองขึ้น มาเมตตา แล้วพระเป็นเจ้าค็ห้อื หาช่างค�ำมาริสสนาตีโกฎค�ำ ลูก1 น�้ำหนัก 222 ค�ำ แล้วค็ซ�้ำโกฎเงินลูก 1 น�้ำหนัก 800 เงินดี ถวายเป็นทานเปนที่สถิตส�ำราญพระมหาชินธาตุพระ พุทธะเจ้า แล้วค็ชักเชิญปล่าวเตือนปัชชานราษฎอรบ้าน เมืองทังหลาย สักการปูชาสระสรงพระธาตุเจ้า และกะท�ำ บุญหื้อทานมากนัก พระธาตุเจ้าได้ยังลาภสักการครั้งนั้น เป็นเงินธ็อก 8700 เงินเชียง 250 แลเครื่องมหาอัฏฐปริก ขารผ้าผ่อนเปนอันมาก แล้วค็นิมนต์พระธาตุเจ้าเสด็จเมือ วชิรปราการก�ำแพงเพชร หรืออีกชื่อหนึ่งคือพระยาจ่าบ้าน (บุญมา) เป็นผู้แทน พระองค์ที่พระเจ้าตากสินแต่งตั้งให้มาปกครองเชียงใหม่ อยู่จนถึงปี พ.ศ. 2319 แล้วเชียงใหม่ก็ว่างผู้ปกครอง 6 ปี จนพระยากาวิละย้ายจากล�ำปางมาปกครอง แทนในปี พ.ศ. 2325 และมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าพระยาวชิรปราการ พระราชทาน โดยรัชกาลที่ 1 ซึ่งใกล้เคียงกันมาก และบางต�ำนานยังกล่าวว่าพระยาจ่าบ้าน บุญมานี้เองที่เป็นผู้อาราธนาพระบรมธาตุถึง 3 ครั้ง 3 โปรดอ่าน “ต�ำนานพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง” ซึ่งแปลจากภาษาล้านนาและ เรียบเรียงโดย พระมหาหมืน่ วุฑฒิญาโณ ใน สงวน โชติสขุ รัตน์. ประชุมต�ำนาน ล้านนาไทยเล่ม 2. โอเดียนสโตร์, 2514, หน้า 219.

15


สู่ที่อยู่จอมทอง ดั่งเกล่า ในรดูหัวปลี เดือน 8 ปลีก่าเม็ด สกราช 1185 ตัว นัน้ แล”

16

ในคราวต่ อ มานี้ ยั ง ไม่ มี ค วามชั ด เจนว่ า จะเป็ น การ อาราธนาพระบรมธาตุเจ้าเข้าเวียงหรือไม่ แต่ได้สันนิษฐาน ว่าน่าจะใช่ เนือ่ งจากในปี พ.ศ. 2405 สมัยพระเจ้ากาวิโลรส หรือ เจ้าชีวิตอ้าว ได้มีงานปอยฉลองวัดหัวข่วง มีการถวาย เครือ่ งไทยทานจ�ำเพาะเเก่พระบรมธาตุเป็นจ�ำนวนมาก เเละ ต�ำนานวัดต้นเกว๋น ก็ได้ที่ระบุว่ามีการสร้างวิหารจตุรมุขขึ้น เพือ่ ประดิษฐานพระบรมธาตุขนึ้ ในช่วงนี้ จึงน่าจะอนุมานได้ อาจกล่าวได้ว่า ประเพณีการอาราธนานี้เป็นพระราชพิธี ที่มีระบียบแบบแผน มีรูปแบบของขบวนเครื่องสูง ขบวน ข้าพระธาตุ มีการออกแบบ มีการระดมก�ำลังความคิด มีการ การจัดการ กระทั่งเกิดมีการสร้างวัดเพิ่มขึ้นเพื่อให้ขบวนได้ แวะพ�ำนักชั่วคราวก่อนสู่ปลายทาง ดังนั้นวัดต้นเกว๋นหรือ วัดอินทราวาส จึงเป็นวัดส�ำคัญแห่งหนึง่ ทีส่ ร้างขึน้ เพือ่ การณ์ ดังกล่าว ครั้งที่ 6 ในปี พ.ศ. 2441 สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระบิดาพระราชายาเจ้าดารารัศมี มีงานปอยฉลองหอธรรม วัดเชียงยืน เเละมีการอัญเชิญพระบรมธาตุมาประดิษฐานใน เวียงด้วย1 ครั้งที่ 7 ในปี พ.ศ. 2539 เมืองเชียงใหม่เป็นจังหวัดหนึ่ง ของประเทศไทย ตรงสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จังหวัดเชียงใหม่มีอายุเมือง ได้ 700 ปี จึงมีการอัญเชิญพระบรมธาตุมาประดิษฐานไว้ที่ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ให้ประชาชนสรงน�้ำ สักการะ โดยมีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จสรงน�ำ้ พระบรมธาตุ ซึง่ ประดิษฐานเคียงข้างพระพุทธรูป ส�ำคัญอีก 2 องค์คอื พระศิลา เเละพระเสตังคมณี ทีไ่ ด้อญ ั เชิญ มาจากวัดเชียงมั่น ส�ำหรับพิธีอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าในชื่อว่า “พระธาตุ เจ้าเข้าเวียง” ที่จัดในปี พ.ศ. 2559 นี้ จึงนับเป็นครั้ง 8 โดย ผู้จัดหลักประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 1 เรื่องเดียวกัน

เทศบาลนครเชียงใหม่ วัดพระบรมธาตุศรีจอมทอง และ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นประโยชน์ ต่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีโบราณอันดีงามของจังหวัด เชียงใหม่ สร้างการมีส่วนร่วมของเอกชน ชุมชน และเกิด การเรียนรู้สืบสานวัฒนธรรมควบคู่ไปพร้อมกับการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ และสมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้รับความร่วมมือจากวัด ชุมชน ต�ำรวจ ทหาร ประชาชนอย่างน่าตื้นตันใจ การด�ำเนินงานในครัง้ นีม้ คี วามกระชัน้ มาก เหตุปจั จัยเร่ง ด่วนนัน้ เนือ่ งมาจากอีกไม่นานจะถึงวันเข้าพรรษาซึง่ พระบรม ธาตุต้องจ�ำพรรษา ไม่เสด็จออก และเมื่อถึงวันออกพรรษาก็ จะเลยปีสมโภช 550 ปีไป ตลอดจนช่วงเวลาในการสรงน�้ำ พระบรมธาตุที่กระท�ำได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น จึง มีเวลาเพียง 45 วันในการท�ำงานที่หนักหน่วง แต่ก็สามารถ ให้กระชับและครบถ้วนจารีต แสดงให้เห็นถึงความเป็นมือ อาชีพ ความมีนำ�้ จิตน�ำ้ ใจ น�ำ้ อดน�ำ้ ทนของชุมชนพลเรือน ที่ ต่างจดจ่อกับภาระพระบรมธาตุกระทัง่ งานส�ำเร็จอย่างยิง่ ใหญ่ สวยงาม ได้รบั ความสนใจในวงกว้าง เป็นงานประวัตศิ าสตร์ ทีม่ คี ณ ุ ค่าต่อการศึกษาของเยาวชนในอนาคต หลายขัน้ ตอน ของการเตรียมงาน หลายข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ได้เผย แพร่ หลายความคิดเห็นจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคยร่วมงานในอดีต ล้วนเป็นสมบัตลิ ำ�้ ค่าของแผ่นดินล้านนาทัง้ สิน้ ภายหลังการ จัดงาน ผู้จัดท�ำจึงได้ประมวลภาพและเหตุการณ์รวมๆ เป็น เอกสารฉบับนี้ เพื่อให้เป็นข้อมูลสืบลูกสืบหลานส�ำหรับการ จัดงานในโอกาสหน้า เอกสารฉบับนี้เป็นเสมือนจดหมายเหตุบอกกล่ า วถึ ง ประเพณีอัญเชิญพระธาตุเจ้าเข้าเวียงที่เคยปรากฏมี จนถึง ครัง้ ล่าสุด มีความครอบคลุมถึงเนือ้ หาทีเ่ กีย่ วข้องกับพิธกี าร องค์ประกอบเครื่องพิธีในการอัญเชิญ สถานที่ส�ำคัญ พร้อม ภาพถ่ายหลากมุมมองของหลายช่างภาพทีอ่ นุญาตให้ใช้ดว้ ย เจตนาถวายแด่พระบรมธาตุ จึงเป็นภาพทีอ่ มิ่ บุญอิม่ กุศล ใน ส่วนแรกเป็นการประมวลภาพของวันพิธี และส่วนท้ายเล่ม เป็นภาพการตระเตรียมงาน การประสานงานขอความช่วย


เหลือ ความร่วมมือกับหลายฝ่าย ทั้งนี้ เป็นภาพเพียงส่วน หนึ่งที่คัดเลือกมาเท่านั้น ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลจากสื่อ ออนไลน์ได้อีกมาก โดยเฉพาะเฟซบุ็คที่เปิดใช้ขึ้นเพื่องานนี้ ในชื่อว่า “พระธาตุเจ้าเข้าเวียง” [https://www.facebook.

com/พระธาตุเจ้าเข้าเวียง-1058043177575419/?fref=ts] และชื่อ “550 ปี๋ สะหรีจ๋อมตอง” [https://www.facebook. com/550-ปี-๋ สะหรีจอ๋ มตอง-1054674574607615/] รวมถึง

มีภาพวิดีโอบนยูทูปด้วย

ล�ำดับพิธีการ ล�ำดับท�ำงาน ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการอัญเชิญพระบรมธาตุนี้มีพิธีการ 09.00 น. พระบรมธาตุ เ สด็ จ ออกจากวั ด พระธาตุ ศ รี แบบโบราณที่ต้องยึดปฏิบัติให้ถูกครรลองจารีต รวมทั้ง จอมทองวรวิหาร โดยมีรถต�ำรวจน�ำขบวน และพระภิกษุ สงฆ์ สามเณร ข้าพระบรมธาตุตามอารักขา เป็ น การประสานงานกั บ บุ ค คลหลายฝ่ า ย เพื่ อ ให้ เ ห็ น เหตุการณ์ เห็นความเคลื่อนไหวของกระบวนการท�ำงาน จึง ขอน�ำล�ำดับขั้นตอนมากล่าวในที่นี้ ซึ่งคงจะเป็นบรรทัดฐาน ล�ำดับที่ 2 วัดฟ้าหลั่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ 09.30 น. พระบรมธาตุเสด็จถึงวัดฟ้าหลั่ง อ.ดอยหล่อ ของการจัดการในคราวต่อไปก็ได้ เจ้าคณะอ�ำเภอ พระสังฆาธิการ ภิกษุ สามเณร นาย อ�ำเภอ ข้าราชการ พุทธบริษัททุกหมู่เหล่า ถวายการ วันที่ 10 มิถุนายน 2559 ต้อนรับ โปรยข้าวตอก สวดค�ำนมัสการพระบรมธาตุ ล�ำดับที่ 1 วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ล�ำดับที่ 3 ทางแยก อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 07.30 น. คณะท�ำงานสักการะ พญาอังครัฎฐะ ผู้รักษา 10.20 น. พระบรมธาตุเสด็จถึงทางแยก อ.แม่วาง เจ้า คณะอ�ำเภอพระสังฆาธิการ ภิกษุสามเณร นายอ�ำเภอ พระบรมธาตุ ข้าราชการ พุทธบริษัททุกหมู่เหล่าถวายการต้อนรับ 08.00 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายปวิณ ชํานิต้อนรับ โปรยข้าวตอก สวดค�ำนมัสการพระบรมธาตุ ประศาสน์ นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ นายอ�ำเภอจอมทอง ประกอบพิธบี วงสรวงเทพยดาอารักษ์ ล�ำดับที่ 4 อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ 08.30 น. พระมหาประเสริฐ สิริปุญโญ จากวัดพระธาตุ 11.00 น. พระบรมธาตุเสด็จถึง อ.สันป่าตอง เจ้าคณะ อ� ำ เภอพระสั ง ฆาธิ ก าร ภิ ก ษุ ส ามเณร นายอ� ำ เภอ ศรีจอมทอง กล่าวค�ำอัญเชิญพระบรมธาตุเสด็จออกจาก ข้าราชการ พุทธบริษทั ทุกหมูเ่ หล่าถวายการต้อนรับโปรย โขงชมพู สู่ปราสาททองบนรถยนต์ที่จัดเตรียมไว้ ภาพในสองหน้านี้คือภาพการประกอบพิธีและขบวนเมื่อคราวสมโภชเมืองเชียงใหม่ 700 ปี พ.ศ. 2539 โดย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จสรงน�้ำพระบรมธาตุเจ้า พระเสตังคมณี เเละพระศิลา

17


ข้าวตอก สวดค�ำนมัสการพระบรมธาตุ ฟ้อนรับและส่ง เสด็จโดยกลุ่มศรัทธาอ�ำเภอสันป่าตอง

18

ล�ำดับที่ 5 วัดต้นเกว๋น (อินทราวาส) อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 13.00 น. พระบรมธาตุเสด็จถึงลานข้างวัดต้นเกว๋น นิมนต์ พระบรมธาตุเสด็จลงจากรถ คณะสงฆ์ ข้าพระธาตุตั้ง ขบวนอัญเชิญพระบรมธาตุ เสด็จสู่เสลี่ยงคานหาม น�ำ เข้าสู่วัดต้นเกว๋นศรัทธาสาธุชนตั้งขบวนรับพระธาตุ 13.15 น. คณะสงฆ์อ�ำเภอหางดง วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และภริยา นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายณรงค์ ธิลา นายกเทศมนตรีต�ำบลหนองควาย ส�ำนักงานพัฒนา พิงคนคร (องค์การมหาชน) มณฑลทหารบกที่ 33 กองพล ทหารราบที่ 7 กรมรบพิเศษที่ 5 กองบังคับการจังหวัด เชียงใหม่ ตลอดจนองค์กรเอกชนและภาคประชาชนชาว เชียงใหม่ ศรัทธาประชาชนวัดต้นเกว๋นและวัดพระธาตุศรี จอมทอง ฯลฯ อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าเข้าประดิษฐานใน ศาลาจตุรมุข ศรัทธาสาธุชนโปรยปรายข้าวตอกดอกไม้ ถวายการต้อนรับเมื่อพระบรมธาตุเสด็จผ่าน คณะสงฆ์อ�ำเภอหางดง เยาวชนและกลุ่มแม่บ้าน ศรัทธาของวัดต้นเกว๋น ฟ้อนและตีกลองต้อนรับ 14.00 น. เริม่ พิธอี ญ ั เชิญพระบรมธาตุเจ้าเสด็จออกสรงน�ำ้ • นายปวิ ณ ชํ า นิ ป ระศาสน์ จุ ด ธู ป เที ย นบู ช าพระ รัตนตรัย พร้อมกับนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เชียงใหม่ ตัวแทนเจ้านายฝ่ายเหนือ นายกเทศมนตรี ต�ำบลหนองควาย

• อาราธนาศีล รับศีล/พระสงฆ์ 9 รูป สวดชยันโต/ถวาย ไทยทานแก่พระสงฆ์ • พระสงฆ์อนุโมทนา กล่าวค�ำกรวดน�้ำและ ศรัทธา สาธุชนรับพร ล�ำดับพิธีการในการอัญเชิญพระบรมธาตุสรงน�้ำ • พระมหาประเสริ ฐ สิ ริ ปุ ญ โญ กล่ า วค� ำ อั ญ เชิ ญ พระบรมธาตุ • อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าเสด็จออกสรงน�้ำโดยรางริน แบบล้านนา • เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ คณะสงฆ์อ�ำเภอหางดง สันป่าตองและอ�ำเภอใกล้เคียง นายปวิณ ชํานิประศาสน์, นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายณรงค์ ธิลา นายกเทศมนตรีต�ำบลหนองควาย ส�ำนักงานพัฒนา พิ ง คนคร (องค์ ก ารมหาชน) มณฑลทหารบกที่ 33 กองพลทหารราบที่ 7 กรมรบพิเศษที่ 5 กอง บังคับการจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนองค์กรเอกชน และภาคประชาชนชาวเชียงใหม่ และศรัทธาสาธุชน สรงน�้ำเป็นเวลา 2 ชั่วโมง 16.00 น. นิมนต์พระบรมธาตุเจ้าเสด็จกลับสูม่ ณฑปจ�ำลอง (หอนอน) ยังวิหาร กล่าวค�ำขอขมาวันทาหลวง-วันทา น้อย 17.00 น. การแสดงมหรสพถวายพระบรมธาตุ ช่วงที่ 1 จ้อยซอ การฟ้อน 18.00 น. การแสดงมหรสพถวายพระบรมธาตุ ช่วงที่ 2 การฟ้อนเทียน ฟ้อนผางประทีปบูชา


20.00 น. ประธานพิธีสงฆ์ภาคกลางคืนจุดธูปเทียน บูชา พระสงฆ์ และเริ่มพิธีสวดมนต์ตั๋น พุทธาภิเษก สมโภช พระบรมธาตุโดยพระเถระ 35 รูป 21.00 น. แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ โดยมีคณ ุ สุปราณี คุปตาสา เป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์ ระหว่างนั้นมีการ จุดประทีป ถวายเป็นพุทธบูชา บูชากัณฑ์เทศน์ ดนตรี ประโคมฆ้องกลอง 22.00 น. เสร็จพิธีกรรมทางศาสนา มีมหรสพเฉลิมฉลอง บูชาพระธาตุเจ้า • ร�ำชุดรจนาเสี่ยงมาลัย โดยคณะละครอาภรณ์งาม • ร�ำพระลอเสี่ยงน�้ำ โดยครูธีระเดช กลิ่นจันทร์ • ร�ำสิบสิบสองนักษัตร โดยคณะคิดบวกสิปป์ • ร�ำโนห์ราคล้องหงส์ โดยโนห์รานัต • ฟ้อนเทวดาสยามล้านนา โดยครูไก่ เเละเกียรติก้อง ศิลปสนธยานนท์ • ขับกะโลงบูชาประทีปหมื่นดวง โดยอาจารย์ณัฐพงษ์ ปัญจบุรี 24.00 น. เสร็จพิธีกรรมภาคกลางคืน

พระบรมธาตุเสด็จสูว่ ดั สวนดอก (บุปผาราม) พระอาราม หลวง โดยพลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ล�ำพูน อัญเชิญ พระบรมธาตุเจ้าขึน้ สูร่ ถขบวนแห่ พร้อมทัง้ นายกเทศบาล ต�ำบลหนองควาย 07.30 น. ขบวนเคลื่อนออกจากวัดต้นเกว๋น ไปตามถนน เลียบคลองชลประทาน เลี้ยวขวาไปยังถนนสุเทพ ขบวน รถเลี้ยวขวาเข้าสู่วัดสวนดอก

ล�ำดับที่ 7 วัดสวนดอก (บุปผาราม) พระอารามหลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 08.30 น. เจ้ารัตนา ณ เชียงใหม่ ประธานกลุ่มเจ้าเจ็ดตน และตัวแทนเจ้านายฝ่ายเหนือ พร้อมด้วยคณะทายาท พร้อมเพรียงกันที่วิหารหลวง 09.00 น. พระบรมธาตุเสด็จถึงวัดสวนดอก 09.15 น. อัญเชิญพระธาตุเจ้าจากรถขบวนสู่เสลี่ยงแบก ปราสาทขึ้นสู่วิหารหลวง 09.30 น. เจ้ารัตนา ณ เชียงใหม่ เป็นตัวแทนเจ้านายฝ่าย เหนือประเคนภัตตะสะโตก น�้ำต้น ขันหมาก สีวิกายะ ถวายแด่องค์พระบรมธาตุ มัคทายก กล่าวค�ำเวนตานฯ อิทํ-วันทาหลวง–วันทาน้อย วันที่ 11 มิถุนายน 2559 10.00 น. เจ้ารัตนา ณ เชียงใหม่ เป็นตัวแทนเจ้านายฝ่าย เหนือ ท�ำบุญทักษิณานุปทาน ถวายบุรพกษัตริย์ ล�ำดับที่ 5 วัดต้นเกว๋น (อินทราวาส) อ.หางดง 11.00 น. ถวายเพลแด่คณะพระเถรานุเถระ พระภิกษุ จ.เชียงใหม่ สามเณร ผู้ที่ติดตามพระบรมธาตุ ศรัทธาข้าพระธาตุ 04.30 น. สวดมนต์เช้า 06.00 น. โยงข้าวบาตร ถวายพระบรมธาตุเจ้า ถวาย 12.30 น. หัวขบวนอัญเชิญพระบรมธาตุ ขบวนหลักเริ่ม ออกจากวัดสวนดอกไปตามถนนสุเทพ ผ่านโรงพยาบาล ภัตตาหารแด่พระภิกษุ สามเณร มหาราชนครเชียงใหม่ เข้าสู่ถนนบุญเรืองฤทธิ์ เลียบ 07.00 น. เริ่มพิธีนิมนต์พระบรมธาตุเสด็จออกจากมณฑป คูเมืองด้านนอก ผ่านวัดปันเส่า จ� ำ ลองขึ้ น สู ่ ม ณฑปบนรถยนต์ ออกจากวั ด ต้ น เกว๋ น

19


ล�ำดับที่ 8 วัดเชียงมั่น อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 12.00 น. นายสุนทร ยามศิริ รองนายกเทศมนตรีเทศบาล นครเชียงใหม่ คุณพรฤดี พุทธิศรี ประธานสภาเทศบาล นครเชียงใหม่ พร้อมผู้บริหาร พนักงานเทศบาล คณะ ศรัทธาชุมชนเชียงมั่น ท�ำพิธีอัญเชิญพระเสตังคมณีและ พระศิลา จากอุโบสถวัดเชียงมั่น แห่มายังวัดหม้อค�ำตวง โดยมีขบวนกลองจุมจากวัดพวกแต้มน�ำขบวน มีการ ฟ้อนเล็บอัญเชิญพระเสตังคมณีและพระศิลาจากคณะ ผูส้ งู อายุวดั ป่าแคโยง สารภี ศิษย์เก่านาฏศิลป์ และคุณครู จากอ�ำเภอต่างๆ ขบวนกลองจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ เพื่อรอเข้าขบวนหลัก ณ ประตูช้างเผือก

20

ล�ำดับที่ 9 ศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดปันเส่า อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เจ้าอาวาส คณะพระเถรานุเถระ พระภิกษุสามเณร และศรัทธาสาธุชนศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดปันเส่า ตั้งขบวนรับ พระบรมธาตุ ขบวนพระบรมธาตุชะลอขบวนให้ประชาชน ได้ร่วมสักการะด้วยข้าวตอกดอกไม้และการฟ้อนร�ำ ล�ำดับที่ 10 วัดโลกโมฬี อ.เมือง จ.เชียงใหม่ • ริ้วขบวนเคลื่อนต่อเลี้ยวขวาบริเวณแจ่งหัวริน เข้าสู่ ถนนมณีนพรัตน์ผ่านวัดโลกโมฬี • เจ้าอาวาส คณะพระเถรานุเถระ พระภิกษุสามเณร และศรัทธาสาธุชนวัดโลกโมฬี ตั้งขบวนรับขบวน พระบรมธาตุ ขบวนพระบรมธาตุชะลอขบวนให้ ประชาชนได้ร่วมสักการะด้วยข้าวตอกดอกไม้

ล�ำดับที่ 11 ประตูช้างเผือก (ราชรถส�ำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุ ตั้งรอรับตั้งแต่ 22.00 ของคืนวันที่ 10 มิถุนายน) 14.00 น. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ว่า ราชการจังหวัด นายสุรพล เกียรติไชยากร ตัวแทนเจ้า นายฝ่ายเหนือ และคณะทายาทพร้อมเพรียงกันในปะร�ำ/ จุดพักคอยประตูช้างเผือก 14.30 น. หัวขบวนพระบรมธาตุเจ้าเข้าเวียงขบวนหลัก จาก วัดสวนดอก ถึงประตูช้างเผือก • ขบวนอัญเชิญพระธาตุเข้าเวียง น�ำโดยนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และคณะ ตัง้ ขบวนรอรับ ณ ปากประตูช้างเผือก • ปู่อาจารย์ พ่อหนานศรีเลา เกษพรหม ท�ำพิธีอัญเชิญ พระบรมธาตุเข้าเวียง ณ ประตูช้างเผือก กล่าวค�ำ อาราธนาเชิญพระบรมธาตุเข้าเวียง (คร่าวฮ�่ำ) • นายกองค์บริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่และคณะเจ้า นายฝ่ายเหนือ น�ำขันเชิญทีมี่ ขี า้ วตอกดอกไม้ อัญเชิญ ขบวนอัญเชิญพระธาตุที่ประดิษฐานบนราชรถจาก ประตูช้างเผือกเพื่อเข้าเวียง • คณะนักแสดงกลุ่มนาฏยศิลปินสิปาน ฟ้อนโปรยข้าว ตอกดอกไม้และฟ้อนหางนกยูง • ขบวนเคลือ่ นไปตามถนนพระปกเกล้าเข้าสูม่ ณฑลพิธี หน้าพระบรมราชานุสาวีย์สามกษัตริย์ • กังสดาล ตีนำ� ช่อหลวง ช่างฟ้อน และหมูก่ ลอง เสลีย่ ง หมากสุ่ม หมากเบ็ง ต้นเทียน ต้นผึ้ง สุ่มดอกขบวน ปีเปิ้ง


• ตามด้วยขบวนแห่ พระเจ้าสามฝ่ายฟ้า (พระเจ้า ประจ�ำในปะร�ำใหญ่ หน้าอาคารศาลแขวงเดิม (พิพิธภัณฑ์ แก้วล้านนา/ พระเจ้าแก้วม่าน /พระเจ้าแก้วสยาม) พื้นถิ่นล้านนา) • พระสงฆ์ และผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยตรงในการอัญเชิญ ตัวแทนของช่วงประวัติศาสตร์ 720 ปีของเชียงใหม่ พระบรมธาตุจากมณฑปจ�ำลองสู่โกศแก้ว อยู่เฝ้า • กองเดินเท้าสะพายดาบถืออาวุธ บ้านสล่าเจิงล้านนา โดยรอบมณฑลปราสาท และคณะศรัทธาสาธุชน อารักขาพระเจ้าสามฝ่ายฟ้า ข้าพระบรมธาตุบางส่วนประจ�ำบริเวณหน้าพระบรม • ขบวนแห่พระเสตังคมณี (พระแก้วขาว) พระศิลา ราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ อัญเชิญจากวัดเชียงมั่น • ผู้วา่ ราชการจังหวัดเชียงใหม่ จุดธูปเทียนไหว้พระ • ขบวนช้างคู่อัญเชิญหม้อดอกไม้ต้นไม้เงิน-ดอกไม้ค�ำ • นายกองค์บริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ถวายเครื่อง • เสลี่ยงจุม มาลาบุปผาล้านดอกของคณะศรัทธาผู้ สักการะพระธาตุ สนับสนุนปิดท้าย • อาราธนาศีล รับศีล พิธีการตามจารีตโบราณของวัด พระธาตุศรีจอมทองในการอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้า ล�ำดับที่ 12 ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ออกสรงน�้ำ 15.00 น. ขบวนอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้า พระเสตังคมณี • พระมหาประเสริ ฐ สิ ริ ปุ ญ โญ กล่ า วค� ำ อั ญ เชิ ญ (พระแก้วขาว) พระศิลา และขบวนบริวารผ่านแยก พระบรมธาตุจากมณฑปจ�ำลอง สู่โกศแก้วสรงน�้ำ ยุพราช • มัคทายกวัดพระธาตุฯ กล่าวค�ำอัญเชิญน�้ำสรง • ขบวนฟ้อนเล็บถวายการต้อนรับพระบรมธาตุเจ้า โดย คณะนักเรียนโรงเรียนอาชีวะ วชิระวิทย์ และเครือ ล�ำดับที่ 14 ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ข่ายชุมชนรักษ์เวียงเชียงใหม่ • ขบวนอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง พระเสตัง 15.30 น. ประกอบพิธสี มโภชพระธาตุ สมโภชเมืองเชียงใหม่ อายุครบ 720 ปี และพระบรมธาตุเจ้าจอมทองอายุครบ คมณี (พระแก้วขาว) และพระศิลา และขบวนบริวาร 550 ปี เพือ่ ถวายเป็นพระราชกุศล แด่องค์พระบาทสมเด็จ ถึงยังมณฑลพิธีกลางข่วงลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้า • อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าขึ้นประดิษฐานบนปราสาท สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อันมีราชวัตรล้อมโดยรอบ ล�ำดับที่ 13 มณฑลพิธีหน้าพิพธิ ภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ล�ำดับการสรงน�้ำพระบรมธาตุ • พระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง สิริมังคโล) คณะพระเถรานุ เ ถระ พระภิ ก ษุ ส ามเณรที่ ติ ด ตาม • พระเทพปริยัติ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ วัดเจ็ดยอด พระบรมธาตุและคณะศรัทธาสาธุชนข้าพระบรมธาตุเข้า • ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่

21


• • • • • • • • • • •

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 ผู้บัญชาการมณฑลทหารราบที่ 7 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 7 ผู้บังคับการกองบิน 41 ผู้บัญชาการต�ำรวจภูธรภาค 5 ผู้บังคับการต�ำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 5 ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 ผู้บังคับการกองบังคับการต�ำรวจตระเวนชายแดน ภาค 3 • คณะศรัทธา พี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่

22

ล�ำดับที่ 17 มณฑลพิธีหน้าพิพธิ ภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา 20.00 น. พิธีสมโภชพระบรมธาตุ (พิธีสวดมนต์ และแสดง ธรรม) • ประธานพิธสี งฆ์ภาคกลางคืน จุดธูปเทียน บูชาพระสงฆ์ • พระสงฆ์จ�ำนวน 50 รูป สวดมนต์ตั๋น • เจ้าภาพพิธสี งฆ์ถวายกัณฑ์เทศน์จำ� นวน 4 กัณฑ์ และ กัณฑ์พระพุทธ 1 กัณฑ์ • สวดเบิก ล�ำดับที่ 18 ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ 24.00 น. พิธีกวนข้าวทิพย์มธุปายาส

ล�ำดับที่ 19 มณฑลพิธีหน้าพิพิธภัณฑ์พ้นื ถิ่นล้านนา 04.00 น. พระสงฆ์ 50 รูป สวดเบิกพระเนตร ล�ำดับที่ 15 มณฑลพิธีหน้าพิพธิ ภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา 05.00 น. เวนทานข้าวมธุปายาส 17.00 น. พิธอี ญ ั เชิญพระธาตุเสด็จเข้าสูป่ ราสาท (หอนอน) 06.00 น. ถวายไทยทานพระสงฆ์ 50 รูป • มัคทายกเวนทาน • บรรเลงสรรเสริญส่งพระบรมธาตุเสด็จมณฑปจ�ำลอง • พระสงฆ์อนุโมทนา ล�ำดับที่ 16 ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ 06.00 น. โยงข้าวบาตร ถวายพระบรมธาตุเจ้า ถวาย 17.30 น. มหรสพสมโภชพระบรมธาตุ ภัตตาหารแด่พระภิกษุ สามเณร • วงสตริงควอเต็ดโดย อาจารย์สมัคร กาใจค�ำ และวง ช้างสะตน วันที่ 12 มิถุนายน 2559 • คณะนาฏยศิลปิน ไหว้ฟ้าปูจาพระธาตุ (รณรงค์ ค�ำผา คณะอันดีอันงาม) ล�ำดับที่ 20 มณฑลพิธีลานบรมราชานุสาวรีย์สาม • การแสดงปูจาพระธาตุเจ้า “๗๒๐ ปี นพบุรี วันทามิ กษัตริย์ ทักขิณะโมลีธาตุเจ้า” โดยคณะวิจิตรศิลป์ มหา 06.30 น. ถวายภัตตาหารเช้าแก่สามเณร 721 รูป วิทยาลัยเชียงใหม่ 07.30 น. พิธีท�ำบุญตักบาตร เจ้าคณะจังหวัด ให้พรแก่ • ละครนอกคณะไก่แก้วการละคร เรือ่ ง “สุวรรณสังข์” ประชาชนก่อนการใส่บาตร


ล�ำดับที่ 21 มณฑลพิธีหน้าพิพธิ ภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา 09.00 น. นายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีเทศบาล นครเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีอัญเชิญพระบรมธาตุ เสด็จกลับยังวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ร่วมกับ เจ้าวัฒนันท์ ณ เชียงใหม่ ตัวแทนเจ้านายฝ่ายเหนือ รศ. ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ตัวแทนฝ่ายการศึกษา และอัญเชิญพระเสตังคมณี (พระแก้วขาว) และพระศิลา เสด็จกลับวัดเชียงมั่น อัญเชิญพระบรมธาตุขึ้นรถขบวน แห่ โดยใช้เส้นทางกลับ เริ่มขบวนจากถนนพระปกเกล้า ไปยังประตูช้างเผือก เลี้ยวขวาไปตามคูเมืองด้านในไป ตามถนนศรีภูมิ ขบวนพระเสตังคมณีและพระศิลาเสด็จ กลับสู่วัดเชียงมั่นโดยแยกจากขบวนตรงทางแยกถนน ราชภาคินัย เพื่อเสด็จกลับยังวัดเชียงมั่น ล�ำดับที่ 22 ข่วงประตูท่าแพ ขบวนพระบรมธาตุเสด็จต่อผ่านแจ่งศรีภูมิ ผ่านตลาด สมเพชร ผ่านโรงเรียนเทศบาลวัดดอกเงิน ผ่านประตูทา่ แพ คณะสงฆ์จากวัดมหาวัน เชตวันสวดมนต์ให้พร ขบวนผ่าน วัดทรายมูลเมือง เลี้ยวขวาที่แจ่งกะต�๊ำไปตามถนนบ�ำรุงบุรี ผ่านวัดทรายมูลเมืองพม่า ผ่านตลาดประตูเชียงใหม่ เลี้ยวสู่ คูเมืองด้านในผ่านสถานีดับเพลิงประตูเชียงใหม่ ผ่านประตู สวนปรุง ถึงแจ่งกู่เฮืองด้านใน เลี้ยวตามถนนคูเมืองด้านใน เลี้ยวกลับสู่ถนนอารักษ์ด้านหน้าโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ระหว่างทางเสด็จกลับ นักเรียนโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพฟ้อน และกราบนมัสการพระบรมธาตุ สาธุชนกล่าวค�ำนมัสการ พระบรมธาตุและโปรยข้าวตอกดอกไม้ สักการะบูชา

ล�ำดับที่ 23 หอจดหมายเหตุแห่งชาติเชียงใหม่ ถึงประตูสวนดอก ขบวนรถอัญเชิญพระบรมธาตุจะเลีย้ ว ซ้ายออกไปตามถนนสุเทพตรงประตูสวนดอก คณะนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โปรยข้าวตอกดอกไม้ ล�ำดับที่ 24 วัดสวนดอก ศรัทธาสาธุชนโปรยข้าวตอกดอกไม้ ขบวนผ่านถนน สุเทพ ผ่านวัดสวนดอก เลีย้ วซ้ายเข้าสูถ่ นนคลองชลประทาน แยกตลาดต้นพยอม แล้ววิ่งตามถนนคันคลองต่อเนื่อง ผ่าน อ.หางดง อ.สันป่าตอง อ.แม่วาง เลี้ยวขวาไปตาม ถนน เชียงใหม่–ฮอด เข้าสู่เขต อ.ดอยหล่อ และเข้าสู่เขต อ.จอมทอง จนถึงบริเวณวัดพระธาตุศรีจอมทอง (ระหว่างทางเสด็จกลับ ผ่านแต่ละอ�ำเภอ มีการตั้งปะร�ำ พิธีรอรับพระบรมธาตุเสด็จผ่านเช่นเดียวกับตอนพระบรม ธาตุเสด็จมา เช่น หน้าวัดโขงขาว อ�ำเภอหางดง สาธุชน กล่าวค�ำนมัสการพระบรมธาตุและโปรยข้าวตอกดอกไม้ สักการะบูชา และมีการถวายภัตตาหารเพลที่วัดฟ้าหลั่ง อ.ดอยหล่อ) ขบวนศรัทธาสาธุชนชาว อ.จอมทอง ตั้งแถว / ขบวนรับ พระธาตุเจ้าเสด็จกลับ อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าจากรถขบวน สู่ปราสาทเพื่อแห่ อัญเชิญกลับยังโขงปราสาทชมพูในพระวิหาร อัญเชิญพระ ธาตุเสด็จกลับเข้าสู่โขงชมพู เสร็จสิ้นพิธีอัญเชิญพระธาตุเจ้าเข้าเวียงในครั้งนี้

23


พระทักขิณโมลีธาตุ

24

นับเป็นสิ่งที่สร้างความปีติแก่ประชาชนที่สุดแห่งปี ที่ได้ มีโอกาสสร้างความอิ่มบุญและอานิสงส์แก่ตนเอง ในการ ได้กราบสักการะพระบรมธาตุและพระพุทธรูปส�ำคัญของ เชียงใหม่ ซึ่งแทบจะหาโอกาสไม่ได้อีกแล้ว ในพิธีอัญเชิญ พระธาตุเจ้าเข้าเวียงนี้ ได้อาราธนาพระพุทธรูปส�ำคัญของ เมืองเชียงใหม่ไว้ด้วย ทั้งพระบรมสารีริกธาตุคือ พระทักขิณ โมลีธาตุ หลวงพ่อเพชร [พระพุทธรูปคู่พระบรมธาตุ แม้จะ ไม่ได้น�ำออกร่วมพิธี แต่ก็มีความส�ำคัญไม่น้อย ประดิษฐาน อยูห่ น้าจุมปูปราสาทในพระวิหาร] ตลอดจนถึงพระแก้วขาว หรือพระเสตังคมณี และพระศิลาจากวัดเชียงมัน่ ซึง่ ได้รบั การ อัญเชิญออกมาในระยะหลัง พระทักขิณโมลีธาตุคอื กระดูกส่วนพระเศียรเบือ้ งขวาของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดประมาณเมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวล ตามต�ำนานกล่าวว่าพระเจ้า อโศกมหาราช เป็นผูอ้ ญ ั เชิญมาประดิษฐานไว้ทดี่ อยจอมทอง ปัจจุบนั พระบรมธาตุประดิษฐานไว้ในพระโกศ 5 ชัน้ อยู่ ภายในมณฑปปราสาทนามว่าชมพู หรือจุมปู ซึ่งตั้งอยู่กลาง วิหารจตุรมุข ที่สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 2060 พระบรมธาตุนม้ี ปี ระวัตอิ นั ยาวนานมาตัง้ แต่สมัยพุทธกาล ที่กล่าวถึง “เมืองอังครัฎฐะ” ดอยจอมทอง ว่ามีเจ้าเมือง นามว่า พระยาอังครัฎฐะ พระยาได้ข่าวจากพ่อค้าที่มาจาก อินเดียว่า พระพุทธเจ้าได้บังเกิดในโลกแล้ว เวลานี้ประทับ อยู่ที่เมืองราชคฤห์ในประเทศอินเดีย พระยาอังครัฎฐะ จึงตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด ซึ่งพระ พุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้ว เสด็จสูเ่ มืองอังครัฎฐะ พร้อมด้วยภิกษุสาวกมารับบิณฑบาตจากพระยาอังครัฎฐะ พร้อมแสดงธรรม ทั้งยังตรัสพยากรณ์ไว้ว่าหลังพระองค์ ภาพเก่าจากหนังสือสมโภชเชียงใหม่อายุครบ 700 ปี เป็น ภาพโกศส�ำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุที่มีทั้งสิ้น 7 ชั้น ท�ำ ด้วยเงิน ทองค�ำ และงาช้าง

เสด็จนิพพานแล้ว พระธาตุส่วนพระเศียรเบื้องขวาจะได้มา ประดิษฐานอยู่ที่ดอยจอมทอง พระยาอังครัฎฐะจึงได้สร้าง สถูปไว้บนยอดดอยจอมทอง ด้วยหวังจะให้เป็นทีป่ ระดิษฐาน พระบรมธาตุนั้นในอนาคต ภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว โทณ พราหมณ์ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่กษัตริย์ทั้ง 8 นคร ซึ่งในครั้งนั้น มัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราได้พระ ทักขิณโมลีธาตุไว้ พระมหากัสสปะเถระเจ้าประธานฝ่ายสงฆ์ ได้ทูลต่อมัลลกษัตริย์ถึงพุทธพยากรณ์ ซึ่งเมื่อรู้ดังนั้นแล้ว มัลลกษัตริย์จึงถวายพระบรมธาตุแด่พระมหากัสสปะๆ ก็ได้ อัญเชิญพระบรมธาตุวางไว้บนฝ่ามือ แล้วอธิษฐาน อาราธนา พระบรมธาตุให้เสด็จไปยังดอยจอมทองเพือ่ ประทับอยูใ่ นโกศ แก้วอินทนิลภายในเจดีย์ทองค�ำที่พระยาอังครัฎฐะได้สร้าง ถวาย ตามที่พระพุทธองค์ได้พยากรณ์ไว้ ในปีที่ 218 หลังเสด็จปรินิพพาน พระเจ้าอโศกมหาราช ได้เสด็จไปสู่ดอยจอมทอง สั่งให้ขุดเขาเป็นคูหาอุโมงค์ใต้พื้น ดอยจอมทอง แล้วให้สร้างสถูปทองค�ำไว้ภายในคูหาและยัง หล่อพระพุทธรูปทั้งเงินและทอง ตั้งไว้รอบสถูปนั้นแล้ว น�ำ พระบรมธาตุในสถูปที่พระยาอังครัฎฐะสร้างไว้บนยอดดอย นั้น ย้ายเข้าไปไว้ในสถูปที่สร้างใหม่ในคูหา แล้วรับสั่งให้เอา ก้อนหินปิดปากถ�้ำไว้ ทรงอธิษฐานว่า ‘ต่อไปข้างหน้า ถ้า มีพระเจ้าแผ่นดินและศรัทธาประชาชนที่มีความเลื่อมใสใน พระพุทธศาสนา ขอให้พระบรมธาตุเจ้าเสด็จออกมาปรากฏ แก่ผู้คนให้ได้กราบไหว้สักการะบูชา’ แล้วพระองค์จึงเสด็จ กลับเมืองปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 1994 มีผัวเมียคู่หนึ่งชื่อ นายสอยและนาง เม็ง มีบ้านเรือนอยู่ใกล้ดอยจอมทอง ทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา


เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ทั้งคู่ได้แผ้วถางบริเวณ ยอดดอยเพือ่ สร้างเจดียแ์ ละพระพุทธรูป 2 องค์ไว้บนดอย ซึง่ ผู้คนต่างก็เรียกว่า “วัดศรีจอมทอง” ต่อมาใน พ.ศ. 2009 มี ชายสองคนชื่อ สิบเงินและสิบถัว ได้ช่วยกันบูรณะก่อสร้าง วัดศรีจอมทองให้เป็นรูปเป็นร่าง พร้อมสร้างวิหารขึ้นหลัง หนึ่ง และได้นิมนต์พระภิกษุนามว่า สริปุตต์เถระ มาเป็นเจ้า อาวาสองค์แรก กาลล่วงมาถึง พ.ศ. 2042 สมัยพระธัมมปัญโญเถระ เป็น เจ้าอาวาส ก็มตี าปะขาวคนหนึง่ อาศัยอยูท่ วี่ ดั นัน้ เกิดนิมติ ฝัน ว่า มีเทวดามาบอกว่าใต้พื้นวิหารบนยอดดอยนี้มีพระบรม ธาตุของพระพุทธเจ้า และพระบรมธาตุนั้นจักเสด็จออกมา ให้ฝงู ชนได้กราบไหว้สกั การะบูชาต่อไป ตาปะขาวได้แจ้งเล่า ความฝันแก่เจ้าอาวาสๆ จึงได้อธิษฐานจิตว่า ‘หากเป็นจริง ดังความฝันนั้น ขอให้พระบรมธาตุจงได้เสด็จออกมาในเมื่อ ข้าพเจ้ายังมีชีวิตอยู่นี้เถิด ขอข้าพเจ้าจงได้ไหว้สักการะบูชา พระบรมธาตุนนั้ เมือ่ ข้าพเจ้ายังไม่ได้เห็นและได้สกั การะบูชา แล้ว ขออย่าให้ข้าพเจ้าสิ้นชีวิตไปเสียก่อนเลย’ ครั้นถึงวัน ขึ้น 14 ค�่ำ เดือน 4 พ.ศ. 2042 พระบรมธาตุเจ้าก็เสด็จออก จากพระสถูปทองค�ำ ได้แสดงปาฏิหาริยเ์ ป็นทีอ่ ศั จรรย์แก่คน ทัง้ หลาย ในวันรุง่ ขึน้ พระธัมมปัญโญเถระและตาปะขาวก็ได้ พบพระบรมธาตุอยู่ในรูพระเกศโมลีของพระพุทธรูปในพระ วิหาร จึงได้เก็บรักษากันไว้โดยเงียบๆ ล่วงมาถึง พ.ศ. 2057 สมัยของพระมหาสีลปัญโญเป็น เจ้าอาวาส มีพระเถระรูปหนึ่งชื่อ พระมหาพุทฺธญาโณ ได้ พิจารณาต�ำนานพระบรมธาตุที่ได้มาจากเมืองพุกาม คาด คะเนว่าพระบรมธาตุน่าจะตั้งอยู่ที่วัดศรีจอมทอง จึงได้ ขอพระอานันทะและปะขาวนักบุญทั้งหลายให้ไปที่วัดศรี

จอมทอง แล้วให้ทุกคนท�ำการสักการะบูชาด้วยดอกไม้ธูป เทียน พร้อมตั้งสัตยาธิษฐานว่า หากพระบรมธาตุต้ังอยู่ที่ นั้นจริงดังต�ำนานกล่าว ขอพระบรมธาตุจงแสดงปาฏิหาริย์ เป็นอัศจรรย์ตา่ งๆ ให้ปรากฏแก่คนทัง้ หลายด้วยเทอญ พระ มหาสีลปัญโญเจ้าอาวาสเมื่อได้เห็นการปฏิบัติที่น่าเลื่อมใส เช่นนั้นแล้ว จึงได้น�ำพระบรมธาตุซึ่งเก็บรักษาสืบต่อกันมา ออกแสดงแก่นักบุญทั้งหลาย ในสมัยราชวงศ์มังราย ตรงกับปีชวดอัฏฐศก พ.ศ. 2060 พระรัตนราช หรือพระเมืองแก้ว เจ้าผูค้ รองนครเชียงใหม่ ได้ รับแจ้งข่าวจากพระมหาพุทธฺ ญาโณ เจ้าอาวาสวัดฟ้าหลัง่ จึง ให้สร้างวิหารจตุรมุข มีมณฑปปราสาทอยู่กลางวิหารถวาย เพือ่ เป็นทีป่ ระดิษฐานพระบรมธาตุเจ้า สร้างโกศทองค�ำเพือ่ บรรจุพระบรมธาตุ กัลปนาวัตถุไทยทานและเครือ่ งแห่ พร้อม ข้าคน ไร่นาตามเขตป่า ที่ดิน ย่านน�้ำ ไว้ส�ำหรับให้ปฏิบัติ รักษาท�ำนุบ�ำรุงพระบรมธาตุ ซึ่งการกัลปนานี้ในรัชกาล ต่อมาก็ปฏิบัติเช่นกัน ประชาชนต่างจัดงานมหรสพถวายพระทักขิณโมลีธาตุ เป็นประเพณี แต่ก็มีช่วงหนึ่งระหว่าง พ.ศ. 2314–2322 อันตรธานไปที่จากประดิษฐาน เจ้าเมืองเชียงใหม่ในเวลา นั้น จึงได้ประกอบพิธอี ัญเชิญกลับถึง 3 ครั้ง และครั้งสุดท้าย ตรงกับวันแรม 4 ค�่ำ เวลาก๋องงาย (19.00 น.) พระบรมธาตุ เจ้าก็ได้เสด็จคืนคูหาปราสาท เจ้าเมืองเชียงใหม่ก็ได้จัดพิธี สมโภชใหญ่ อัญเชิญพระบรมธาตุเข้าเมืองเชียงใหม่ ท�ำการ สระสรง และถวายทานนาน 7 วัน 7 คืน แล้วอัญเชิญพระบรม ธาตุเจ้ากลับคืนประดิษฐานไว้ที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตาม เดิมมากระทั่งปัจจุบัน

25


พระธาตุเจ้าเข้าเวียง

26

ความมั่ น คงของบ้ า นเมื อ งในดิ น แดนล้ า นนาจากอดี ต สู ่ ปัจจุบนั มีองค์ประกอบส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เมืองยัง่ ยืนสืบมา คือน�ำ้ ที่นา หมู่บ้าน และศาสนา รวมตัวกันในพื้นที่แอ่งที่ราบลุ่ม เชิงเขา จากหมู่บ้านกลายเป็นเมืองขนาดใหญ่ มีระบบการ ปกครอง การจัดการพืน้ ทีเ่ พาะปลูกและระบบการจัดการน�ำ้ หล่อเลี้ยงพืชผลทางเกษตรและใช้น�้ำส�ำหรับอุปโภคบริโภค มีความเชื่อดั้งเดิมและการนับถือพระพุทธศาสนาเป็นแกน กลางทางสังคม องค์ประกอบหลักเช่นนี้เป็นลักษณ์แห่ง “บ้าน และเมือง” ในดินแดนล้านนา โดยปรากฏเป็นหมูบ่ า้ น ทีม่ ที นี่ าล้อมรอบ ตัง้ อยูบ่ ริเวณทีร่ าบลุม่ เชิงเขา มีระบบนาไร่ และนาด�ำ จัดการแหล่งน�้ำด้วยระบบเหมืองฝาย และ หลุกผัด หรือกังหันวิดน�้ำเข้าสู่นา ที่ดอนกลางหมู่บ้านหรือ เชิงเขาจะเป็นทีป่ ระดิษฐานพระธาตุเจดีย์ และวัดของหมูบ่ า้ น เป็นหลักไชยภูมิพื้นฐานที่คนโบราณได้สร้างบ้านแปลงเมือง สืบทอดตามกันมา “ความเป็นหมูบ่ า้ น เมือง และการนับถือ พระธาตุ” จึงเป็นปรากฏการณ์ทสี่ ะท้อนถึงสังคมทีม่ รี ากเหง้า ทางวัฒนธรรมสืบทอดกันมายาวนาน มีพลวัตที่เคลื่อนไหว

ไม่หยุดนิง่ เปลีย่ นแปลงไปพร้อมกับสังคม แต่ยงั คงอุดมการณ์ และความศรัทธาไว้ในรูปแบบทางพิธีกรรมความเชื่อ หมู่บ้าน เมือง และการนับถือพระธาตุ จึงมีรากเหง้าจาก ประวัตศิ าสตร์และพิธกี รรมความเชือ่ เป็นพลวัตส�ำคัญในการ สืบทอดจากคนรุน่ หนึง่ สูค่ นอีกรุน่ หนึง่ ซึง่ พิธกี รรมความเชือ่ เป็นดังสายเลือดที่ไหลเวียนไม่สิ้นสุด ซึ่งไหลเวียนท�ำให้บ้าน เมืองมีชีวิตยั่งยืนสืบต่อไป “พระธาตุเจ้าเข้าเวียง” เพื่อ ประดิษฐานชัว่ คราวให้คนสักการะบูชา หรือพระธาตุเจดียท์ ี่ ประดิษฐานอยูป่ ระจ�ำเมืองแล้วนัน้ เป็นบทสะท้อนส�ำคัญของ ความสัมพันธ์ของผูค้ นกับความเชือ่ ทางพระพุทธศาสนา และ ความมั่นคงของบ้านเมือง ประวัติศาสตร์ และการสักการะ บูชาพระธาตุ จึงเป็นเนื้อหาในการน�ำเสนอไว้ในครั้งนี้

สราวุธ รูปิน จากภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ ม.ช. ผู้ควบคุม วางแผน และประสานงานพิธีการงาน “พระธาตุเจ้าเข้าเวียง”


สร้างบ้านแปลงเมืองเชียงใหม่ การสถาปนาเมืองเชียงใหม่ขึ้นในปี พ.ศ. 1839 โดย พระยามังราย1 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายพร้อมพระ สหายสองพระองค์ คือพระยาร่วง2 (พ่อขุนรามค�ำแหง มหาราช) แห่งกรุงสุโขทัย และพระยาง�ำเมือง3 เมืองพะเยา พระยามังรายและพระสหายทั้งสองพระองค์ได้สร้างเมือง จากการขยายราชมณเทียรหอนอนเมื่อครั้งตั้งเวียงเชียงใหม่ ครั้งแรกก่อน ขุดคือ ก่อก�ำแพงเมือง โดยปรากฏค�ำว่า “ไชย ภูมิ” เป็นหมุดหมายในการสร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งพญา มังรายได้ขยายการสร้างเมืองเชียงใหม่จาก “การสร้างบ้าน สู่การแปลงเมือง” ดังปรากฏใน ต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ความว่า “. . . จักตั้งราชชมนเทียรแห่งตนที่อันเปนไชยภูมินั้นแล เจ้า พระญามังรายค็ย้ายเข้าตั้งที่ไชยภูมิ ในวันเดือน ๗ ออก ๘ ต�่ำ วันพรหัส ไทกดใจ้ ติถี ๘ ตัว อินทาติถี ๓๐ ตัว พระจันทร์ เสวิยนักขัตตฤกษ์ตัวถ้วน ๗ ชื่อปุณณัพพสุ ใน กรกฏะ อาโปราสี ยามแตรรุ่ง ๓ ลูกนาที ปลาย ๒ บาทน�้ำ ไว้ลคนา ในมีนอาโปราสี ยามสกราชขึ้นวันพระญาวัน สกราชขึ้นแถว ตัว ๑ เปน ๖๕๔ ปลีเต่าสี แลคันว่าเจ้ามังรายย้ายเข้าราช ชะวังที่ไชยภูมิแล้ว ค็หื้อตั้งบ้านน้อยบ้านใหย่ทังหลายมาก นัก ตามต�่ำตามสูง เขาร้องเรียกว่าบ้านต�่ำสูง ตามค�ำม่านว่า 1 พญามังราย พ.ศ. 1782–1854 2 พญาร่วง หรือพ่อขุนรามค�ำแหงมหาราช พ.ศ. 1822–1842 3 พญาง�ำเมือง พ.ศ. 1781–1861

เมียงซูยวา ว่าอั้นหั้นแลที่เจ้าพรญามังรายมายั้งอยู่นั้นมีหน วันออกซ้วยเหนือแห่งไชยภูมนิ นั้ เรียกชือ่ ว่า เชียงหมัน้ แล ทีอ่ นั นัน้ ซ้อมแตวบ พระญาหือ้ ขุดกุ่นเผีย้ วถางออกไพ่ทสิ สะหนวัน ออก ลวดได้ช่อื ว่า เชียงถาง ต่อเท้าบัดนี้แล . . .4

ภายหลังการก่อตั้งราชมณเทียร หอนอน และบ้ า น เรือนต่างๆ ไปตามสัณฐานความสูงต�่ำของภูมิประเทศแล้ว พระยามังรายจึงได้มีด�ำริก่อสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น โดยการ ตั้ง สนาม หรือสภาในการพิจารณาภูมิประเทศเพื่อก�ำหนด ขอบเขตความกว้างและยาวของเมืองที่สอดคล้องกับบ้าน เรือนภายในเขตเวียงเชียงใหม่ซึ่งใช้ค�ำว่า “ลวงขื่อ ลวงแป๋” มาเป็นเกณฑ์พิจารณาไชยภูมิที่ตั้งเมือง ความกว้าง และ ความยาวของเมืองเชียงใหม่ อีกทั้งยังได้เชิญพระสหาย คือ พระยาง�ำเมือง และพระยาร่วง มาร่วมเป็นผู้พิจารณาให้ ค�ำวินิจฉัยร่วมกับพระองค์และสภาที่ปรึกษา โดยพระองค์ ได้ขอให้พระยาทั้งสองได้เสนอความกว้างและความยาวใน การสร้างเมือง พร้อมกับข้อคิดเห็นร่วมกับสภาในการลงมติ ก�ำหนดขอบเขตเมืองเชียงใหม่ ดังปรากฏใน ต�ำนานพืน้ เมือง เชียงใหม่ ความว่า “. . . เจ้าพระญามังรายร�ำ่ เพิงว่าคูจกั ตัง้ เวียงในฐานะทีน่ ี้ ควร ระเมาเอาใจแท้แล ทิสสะวันออกแจ่งเหนือ ค็เปนหนองอันใหย่ 4 คณะอนุกรรมการตรวจสอบและช�ำระต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. ต�ำนาน พื้นเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏ เชียงใหม่, 2538. หน้า 33.

27


28

เปนทีช่ า้ ง มล้า งัว ควาย ลงอาบลงกินดีนกั เจ้าค็เรียกหามายัง ช่างไม้ทงั หลายมาแล้วค็หอื้ ถากแตะ ซ้อมไม้ทงั หลายมากนัก ค็หอื้ ส้างแปลงหอโรง โรงช้าง โรงมล้าแลหอปะตู จักส้างเวียง อันใหย่ จักเอาไชยภูมิไว้ท�่ำกลางสายคือเมือง ว่าอัน้ ค็หอื้ ขุด คือแลแปลงสนนจักตัง้ ก่อเวียง แลด้านแล ๓ พันวา ว่าอัน้ พระ ญาพ้อยร�ำ่ เพิงว่า คูจกั ส้างบ้านแปลงเมืองอันใหย่แท้ ควรคูใ่ ช้ ไพเชิญเอาพระญาง�ำเมือง พระญาร่วงอันเปนสหายคูมา ควร ชะแลว่าอั้น แล้วค็ใช้ไพเชิญเอาสหายตน คือพระญาง�ำเมือง พระญาร่วง มานัน้ แล คันพระญาทัง ๒ มาแล้ว ค็เอากันตั้งแปลงวินิจฉยะ คือ ว่าสนาม ที่ใกล้บ่ไกลแห่งไชยภูมิ เพื่อหือ้ เปนที่พร้อมเพียงกับ ด้วยกัน พระญามังรายค็มาพร้อมกับด้วยพระญาทัง ๒ แล้ว กล่าวว่า ในฐานะที่นี้มีฟานเผือก ๒ ตัวแม่ลูกอยู่ในลอมตาที่ นี้ แม่นหมาแลตนทังหลายบ่อาจจักท�ำร้ายได้ เปนไชยภูมอิ นั วิ เสสแท้แล ข้าค็มกั ใคร่สา้ งเวียงทีน่ ี้ เอาไชยภูมไิ ว้ทำ�่ กลางเวียง แล้วตั้งไชยภูมิไพทางใต้ ทางเหนือ วันตก วันออกแลพันวา เปนแลด้านแล ๒ พันวา ข้าร�่ำเพิงฉันนี้ จิ่งหาสหายเจ้าทัง ๒ มาเปนที่พิจจรณา ควรบ่ควรเปนฉันใด เอาสหายเจ้าทังสอง เปนที่พิจจรณา ว่าอัน้ พระญาง�ำเมืองว่า สหายจักตัง้ เวียงแลด้านแล ๒ พันวา บ่ ควรแล ว่าอัน้ พระญาร่วงว่า สหายเจ้าพระญาง�ำเมืองว่านัน้ ค็หากแม่นแล เท่าว่าเปนฉันฉันทาคติเสีย ควรร�่ำเพิงกาลสม ปัตติแลกาลวิปตั ติแล พายหน้าปุคละผู้มพี ระหญาจักดูแตวน ว่าบ่ร้รู ำ�่ เพิงพายหน้าพายหลังจักว่าอัน้ ชะแล พายหน้าหลอน

อมิตตะข้าเสิก็มาแวดวังขัง หาปุคละผู้จักเฝ้าแหนบ่ได้ บ่อ้วน บ่อเตม ค็จักยากแก่อนาคตกาละแล ข้ามักใคร่ตั้งแต่ไชยภูมิ ไพวันตก วันออก ใต้ เหนือ พุ่น ๕๐๐ วา แล ว่าอัน้ พระญามังรายกล่าวว่า สหายเจ้าพระญาร่วงว่านั้นค็ ดีแท้แล เท่าว่าเปนโทสาคติเสียหน้อย ๑ ค�ำสหายเจ้าทัง ๒ นี้ ค�ำผู้ใด ข้าค็บ่ละเสีย เท่าว่าขอหื้อเปนฉันทะด้วยชอม ธัมม์เทิอะ ว่าฉันนั้น เสนาอามาจจ์ทังหลายเพิงใจค�ำพระ ญาง�ำเมืองนั้น ๓ ปูน มีปูน ๑ เพิงใจ ค�ำพระญาร่วงแตวน มาก พระญาร่วงซ�้ำกล่าวว่า สุเทวรสีแลสุกกทันตรสี ค็ยัง ได้ฌานสมาปัตติอภิญญามีเตชอานุภาวะ แม่นจักหื้อกว้าง หมื่นโยชน์ แสนโยชน์ ค็ได้ดาย เพื่อเลงหันอนาคตภัย เมื่อพา ยลูนแล ส้างเวียงละพูนจิง่ เอาหน้าหอยตวบเอาเปน ประมาณ ดายว่าอัน้ พระญามังรายได้ยนิ อุปปเทสเจ้ารสีทงั ๒ ส้างเวียง ละพูน จิง่ ร�ำ่ เพิงดูกาลสัมปัตติตแิ ลกาวิปตั ติ จิง่ ว่า ข้าแก่สหาย เจ้าทัง ๒ ผิอั้น เราจักตั้งลวงแปพันวา ลวงขื่อ ๙ ร้อยวาเทิอะ ว่าอัน้ พระญาทัง 3 ค็มฉี นั ทาทีทดั แม่นกับด้วยกันหัน้ แล พระ ญามังราย ค็ชวนเอาพระญาทัง ๒ ไพสูท่ ไี่ ชยภูมเิ พือ่ จักแรกตัง้ หรอนอนแลตุ้มน้อยนัน้ แล . . .1

ในการสร้างเมืองเชียงใหม่นนั้ พระยามังรายยังใช้ “เชือก” ในการวัดระดับความสูงและต�่ำของแผ่นดินและพบว่าทิศ ตะวันตกของเมืองเชียงใหม่สงู่ ไปยังทิศตะวันออกจึงเป็นไชย 1 ต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. หน้า 33–34.


ภูมสิ ำ� คัญ โดยกล่าวไว้รว่ มกับไชยภูมทิ งั้ 7 ของเมืองเชียงใหม่ ดังปรากฏใน ต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ความว่า “. . . พระญาทัง ๓ หื้อกวาดเผี้ยวที่จักตั้งเวียง เอาเชือกเขิง เลงดู รู้ว่าแผ่นดินสูงวันตกหลิ่งไพวันออกมีเตชะเปนไชยมง คละมากนัก พระญาง�ำเมืองพระญาร่วงจาเซิงพระญามังราย ว่า ดูราเจ้าสหาย เราพร้อมกันส้างตัง้ เวียงที่นี้ เพื่อข้าหันเปน ไชยมังคละ ๗ ประการ ดั่งนี้ อัน ๑ ได้ยินสืบมาแต่ก่อนว่ากวางเผือกสองตัวแม่ลูก ลุก แต่ปา่ ใหย่หนเหนือมาอยูไ่ ชยภูมทีน่ ี้ ตนทังหลายย่อมมากะท�ำ ปูชา เปนไชยมังคละ เปนปฐมะก่อนแล อัน ๑ ว่าฟานเผือก ๒ ตัวแม่ลูกมาอยู่ไชยภูมทิ ี่นี้รบหมา หมาทังหลายพ่ายหนีบ่อาจจักจั้งได้สักตัว เปน ไชยมังคละ ถ้วนสอง อัน ๑ เราทังหลายได้หันหนูเผือกกับบริวาร ๔ ตัว ออก มาแต่ไชยภูมทิ ี่นี้ เปนไชยมังคละ อันถ้วน ๓ อัน ๑ ภูมฐิ านเราจักตัง้ เวียงนีส้ งู วันตกหลิง่ มาวันออก เปน ไชยมังคละ อันถ้วน ๔ แล อัน ๑ อยู่ที่นี้ หันน�้ำตกแต่อุจฉุปัพพตะดอยสุเทพ ไหลลง มาเปนแม่น�้ำ ไหลขึ้นไพหนเหนือ แล้วไหลกระหวัดไพหนวัน ออก แล้วไหลไพใต้ แล้วไหลไพวันตกเกี้ยวเวีงกุมกาม แม่น�้ำ นีเ้ ปนนครคุณเกีย้ วกระหวัดเมือง อันนีเ้ ปนไชยมังคละ ถ้วน ๕ แม่น�้ำอันนี้ไหลแต่ดอยลงมาที่ขุนน�้ำ ได้ชื่อว่าแม่ข่า ไหลเมือ วันออกแล้วไหลไพใต้เถียบ ข้างแม่พงิ ได้ชื่อว่าแม่โทร ต่อเท้า บัดนี้แล

อัน ๑ หนองใหย่มวี นั ออกซ้วยเหนือแห่งไชยภูมไิ ด้ชอื่ ว่า อี สาเนน สรา นรปูชา ว่าหนองใหย่มหี นอีสาน ท้าวพระญาต่าง ประเทสจักมาปูชาสักการะมากนัก เปนไชยมังคละถ้วน ๖ แล อัน ๑ แม่ระมิง ไหลมาแต่มหาสระ อันพระพุทธะเจ้าเมื่อ ยังธอรมาน ได้มาอาบในอ่างสรง ไหลออกมาเปนขุนน�้ำแม่ระ มิงพายวันออกเวียง เปนไชยมังคละถ้วน ๗ แล . . .1

ไชยภูมิ 7 ประการเกี่ยวกับกับการตั้งเมืองเชียงใหม่แฝง ไว้ซงึ่ การเลือกสถานทีส่ ร้างเมืองเชียงใหม่มภี มู ปิ ระเทศทีด่ อี ยู่ ระหว่างดอยสุเทพกับแม่นำ�้ ปิงจากทิศตะวันตกไปสูท่ ศิ ตะวัน ออกของเมือง มีธารน�ำ้ ไหลจากดอยสุเทพลงมายังเมืองด้าน ทิศเหนือพร้อมกับมีหนองน�้ำใหญ่รองรับน�้ำจากภูเขาและ แม่น�้ำไหลโอบเมืองทางทิศเหนืออ้อมไปทางทิศตะวันออก ล่องลงไปยังทิศใต้ของเมือง มีแม่นำ�้ สายใหญ่คอื แม่นำ�้ ปิงไหล จาก “อ่างสรง” ปัจจุบันคือดอยหลวงเชียงดาว ตามต�ำนาน พระเจ้าเลียบโลกที่ได้กล่าวไว้ว่าเป็นอ่างสรงน�้ำพระพุทธเจ้า แม่น�้ำสายนี้ได้ไหลหล่อเลี้ยงเมืองเชียงใหม่และแหล่งที่ราบ ลุ่มน�้ำตลอดสาย ต่อจากเรือ่ งการเลือกไชยภูมเิ มืองเป็นทีเ่ รียบร้อยพระยา มังราย พระยาง�ำเมือง และพระยาร่วงได้ให้เสนามอ�ำมาตย์ เกณฑ์ไพร่พลมาขุดคันน�้ำ ก่อปราการขึ้นสีด้าน สร้างประตู เมือง 5 แห่ง หอเทวดา หอเสื้อเมือง หอประตูเขื่อนบังคับน�้ำ 1 ต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. หน้า 34–35.

29


โรงช้าง โรงม้า คุ้ม หอค�ำ และตลาด พร้อมจัดไพร่พลตรวจ ตราและดูแลพิธีกรรมอยู่เนื่องๆ

30

“. . . พระญามังรายคระนิงใจว่า สหายคู เจ้าพระญาทัง ๒ มีค�ำรู้ค�ำหลวักสัพพสิปปาสาสตรเพทลักขณะอันเปนไชย มังคละยิ่งนักแท้ดาย สาสตรเพทอันคูรู้มีเท่าใด สหายคูทัง ๒ ค็รู้ดั่งคูชู่ประการดีหลีแล ว่าฉันนี้ พระญามังรายค็ชวน พระญาทังสองไพเลียบ ดู ที่จักตั้งขุด ฅือ เวียงทังสี่ด้าน กับที่ อันจักก่อปราการเวียงชูแ่ ห่งทันทีจ่ กั ควรแปลงประตู แล้วพระ ญาทังสามเอากันมานั่งอยู่หนอีสาน พระญามังรายค็หื้อพระ ญาทัง ๒ กินแกม แล้วค็เลี้ยงดูริพลสกุลเสนา อามาจจ์แห่ง เจ้าพระญาทัง ๒ หื้ออิ่มด้วยเข้าน�ำ้ อาหารพร้อมชู่ตน แล้ว เจ้าพระญาทัง ๒ หื้อแต่งเครื่องพลิกัมม์ปูชาเทวดาทังหลาย ฝูงรักษาเมือง กะท�ำพลิกัมม์ปูชาแต่งเปน ๓ โกฐาก ปูชาที่ ไชยภูมิอันตั้งหอนอน โกฐากถ้วน ๒ ปูชาเสื้อเมืองที่พระญา หนูเผือกอยู่ กลางเวียงโกฐาก ๑ มาแจกเปน ๕ ส่วนไพปูชา ทีจ่ กั แปลงปะตูทงั ๕ แห่ง เจ้าพระญามังรายหือ้ เสนาอามาจจ์ ผู้ฉลาดด้วยราชชกิจจการแห่งพ่อเวียกทังหลายพ่น ๕ หมื่น ตนหื้อเวียกที่ไชยภูมิ หื้อส้างแปลงราชชมนเทียรหรอนอน ราชชะวังตุ้มน้อย โรงคัล เส้มฉาง โรงช้าง โรงมล้าสัพพกิจจะ อันควรเวียกในตุ้มน้อยชู่ประการ ยังพ่อเวียก ๔ หมื่นตน หื้อ เขาดาขุดฅือก่อปราการเวียงทังสี่ด้าน หื้อดาแรกแปลง ปะตู เขื่อน หรอหริ่งหรอเลิอหื้อพร้อมชู่อัน เจ้าพระญามังรายหื้อ แต่งหมู่ชุมพ่อเวียกทังหลายส้างแปลงสรัพ ครบพร้อมแล้วชู่ ประการ ก่อแรกตัง้ ราชชมนเทียรตุ้มน้อย ขุดฅือ ก่อปราการ

ก�ำแพงเวียงทังมวลในสกราช ๖๕๘ ตัว ปลีรวายสัน เดือน แปดเพง เมงวันพรหัส ฤกษ์ ๑๖ ตัว ยามแตรใกล้รุ่งไว้ลคนา ในมีนอาโปราสี หื้อตั้งแรกส้างแปลงสัพพะทังมวล แรกขุด ฅือก่อปราการเวียงหนอีสานก่อนกระหวัดไพหนทักขิณะ แวดรอดทัง ๔ ด้านหือ้ พร้อมบ่กอ่ นบ่ลนู กัน แรกตัง้ กลาดเชียง ใหม่ค็ขณะยามเดียวนั้น เจ้าพระญาทัง ๓ ค็หื้อช่างแต่พลิกั มม์เปน ๖ โกฐาน อังคาสราทธนาเทพพดาทังหลายมาอยู่ รักษาไชยภูมคิ ือท�่ำกลางเวียงแลปะตูทัง ๕ วันนัน้ แล เจ้าพระญาทัง ๓ พร้อมกันส้างเวียง ทาดท้าวปราการ ตุ้มน้อยราชชมนเทียรสัพพะทังมวลนานได้ ๔ เดือนจิ่งแล้ว บัวรมวณชู่ประการ เจ้าพระญามังรายค็หื้อเหล้นมโหสรพ ๓ วัน ๓ ตืน เลี้ยงเสนาโยธาแลตนกะท�ำการพ่อเวียกทักหลาย หื้ออิ่มด้วยเข้า เหล้า ชิ้นปลา อาหารชู่ตน พระญาทัง ๓ จิ่ง พร้อมกันเบิกนามเมืองว่า นพพบุรีสรีนคระเชียงใหม่ แลใน ลอมตาอันเปนไชยภูมิตั้งหรอนอนกวมที่นั้น ลวดปรากฏว่า ราชชะวังหรอต�ำต่อเท้าบัดนี้แล . . .”1

พระยามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่โดยให้เมืองเชียงใหม่ตงั้ มัน่ ด้วยภูมปิ ระเทศทีเ่ รียกว่าไชยภูมิ ก�ำแพงเป็นรูปสีเ่ หลีย่ ม มีประตูเมือง 5 ประตู มีหนองน�้ำขนาดใหญ่ชื่อว่า หนองบัว ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง ภายใน เมืองมีคุ้ม หอนอน ราชมณเฑียร คันน�้ำ คูดิน ประตู โรง 1 ต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่. หน้า 35–36.


ช้าง โรงม้า หอบังคับน�้ำ หอพลีกรรม และตลาดไว้ในเมือง เชียงใหม่พรั่งพร้อมด้วยเสนามอ�ำมาตย์ พระสงฆ์ ช่าง ไพร่ และทาส หลากหลายความดูแลรับผิดชอบต่อเมืองเชียงใหม่ ไว้เป็นปฐมแห่งราชวงศ์มังรายบรรพกษัตริย์ เมื่อบ้านเมืองเชียงใหม่มั่นคงมีกษัตริย์สืบราชบัลลังก์ ต่อจากพระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย โดย เฉพาะอย่างยิ่งพระยากือนา (พ.ศ. 1898–1928) ผู้มีความ เลื่อมใสในพุทธศาสนาเป็นอย่างสูง ทรงอาราธนาพระสุมน เถระจากสุโขทัยมายังเมืองเชียงใหม่ พร้อมกับพระบรม สารีริกธาตุ ในปี พ.ศ. 1914 ทรงสร้างวัดบุปผารามหรือ วัดสวนดอกในอุทยานป่าไม้พะยอม เพื่อเป็นที่จ�ำพรรษา ของพระสุมนเถระ พร้อมสร้างเวียงสวนดอกให้เป็นเวียง พระธาตุเมื่อประมาณ พ.ศ. 1916 พร้อมสร้างเจดีย์บรรจุ พระบรมสารีริธาตุวัดบุปผาราม และอัญเชิญไปประดิษฐาน บนภูเขาทิศตะวันตกของเมืองซึง่ ต่อมามีชอื่ เรียกว่า พระบรม ธาตุดอยสุเทพ วัดปุบผารามจึงเป็นศูนย์กลางของพระ พุทธศาสนา “นิกายบุปผาวาสี” หรือสวนดอก อันเป็น นิกายที่สุมนเถระได้สืบมาเมื่อครั้งที่บวชเรียนในส�ำนักของ พระมหาสามีอุทุมพรเถระ ที่เมืองพัน (เมาะตะมะ) รามัญ ประเทศ พระยากือนาทรงสนับสนุนพุทธศาสนาให้กับพระ ภิกษุจากเมืองต่างๆ เช่น เชียงแสน เชียงตุง เดินทางมาศึกษา พุทธศาสนาที่วัดบุปผาราม (สรัสวดี อ๋องสกุล, 2539: 135) ดังปรากฏใน ต�ำนานมูลศาสนา ฉบับป่าแดง ความว่า

. . . ศักราชได้ 733 ตัว (พ.ศ. 1914) พระยากือนาก็หื้ออย่าง สวนดอกไม้ แต่งแปลงอารามขึน้ ถวาย ได้ชอื่ ว่า ปุบผาราม ใน ปีเต้าใจ้นั้นก็หื้อ พระทั้งหลายอันมีในชนบททั้งมวลตรามเถิง เชียงแสน เชียงตุง หื้อลงเรียนอักขระและระบ�ำ . . .1

ครั้นมาถึงสมัยพระยาสามฝั่งแกน (พ.ศ. 1945–1984) มีพระเถระจากเชียงใหม่จ�ำนวน 25 รูปเดินทางไปศึกษายัง เมืองลังกา และได้นำ� นิกายลังกาวงศ์ใหม่ หรือฝ่ายป่าแดงจาก ลังกามาถึงเชียงใหม่ พ.ศ. 1973 การน�ำเอานิกายลังกาวงศ์ ใหม่ หรือป่าแดงมายังเชียงใหม่ได้เกิดความขัดแย้งกับนิกาย สวนดอก ซึ่งเกิดจากมูลเหตุของการพระศาสนาในเวลานั้น “วิปลาสคลาดเคลื่อนมาก มีคติความเชื่อทั้งแบบมอญและ พม่าผสมผสานกันไปหมด การสวดอักขระเป็นไปด้วยความ ไม่ถูกต้อง ท�ำให้พระศาสนาไม่บริสุทธิ์”2 แต่ทว่าในขณะนั้นพระยาสามฝั่งแกนยังคงเลื่อมใสใน นิกายสวนดอก จึงให้พระสงฆ์นิกายป่าแดงไปอยู่เมืองต่างๆ เช่นเชียงราย เชียงแสน พะเยา ล�ำปาง และเชียงตุง พระ สงฆ์นิกายป่าแดงจากเชียงใหม่เมื่อได้ไปประกาศศาสนาใน เมืองเชียงตุงก็เกิดปัญหากับนิกายหนยางกวง อันเป็นนิกาย เดิมที่ฝ่ายนิกายสวนดอกที่ได้เข้ามาวางรากฐานเอาไว้ก่อน 1 ต�ำนานมูลสาสนา ฉบับวัดป่าแดง อ้างใน กรรณิการ์ วิมลเกษม. “อักษรฝัก ขามในศิลาจาลึกภาคเหนือ.” อักษรศาสตร์สาร: 32–34. 2 บ�ำเพ็ญ ระวิน. ต�ำนานวัดป่าแดง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2538. หน้า 7.

31


32

หน้านั้นแล้ว ความขัดแย้งของนิกายทางศาสนาระหว่าง ฝ่ายสวนดอกกับฝ่ายป่าแดงนั้นก็เป็นชนวนทางการเมืองอีก ประการหนึ่งที่ส�ำคัญของรอยต่อระหว่างยุคของพระยาสาม ฝั่งแกนกับพระยาติโลกราช (พ.ศ.1984–2030) พระโอรส ในขณะนั้น ทางบ้านเมืองมีความเจริญทั้งด้านการเมืองและ พระพุทธศาสนา พระองค์สามารถยับยัง้ ศึกระหว่างเชียงใหม่ กับอยุธยาได้ และแผ่พระราชอ�ำนาจไปจนถึงหัวเมืองรัฐฉาน ตะวันตกได้เมือง ไลคา เมืองนาย เมืองสีป้อ เมืองยองห้วย1 พระเจ้าติโลกราชทรงท�ำนุบ�ำรุงพระพุทธศาสนาให้มี ความเจริญรุ่งเรือง ทรงให้การสนับสนุนคณะสงฆ์นิกาย สีหล โดยได้อาราธนาพระมหาเมธังกร พระภิกษุนิกายสีหล จากเมืองล�ำพูนให้จำ� พรรษาทีว่ ดั มณเฑียร สถาปนาเป็นพระ มหาสวามี และทรงผนวชชัว่ คราว ณ วัดป่าแดงมหาวิหาร ทัง้ ให้การสนับสนุนคณะสงฆ์นกิ ายสีหลจึงท�ำให้นกิ ายลังกาวงศ์ ใหม่เจริญรุง่ เรืองอย่างมาก นิกายสีหลนีเ้ น้นการศึกษาภาษา บาลีและการปฏิบตั ติ ามหลักพระธรรมวินยั ทีถ่ กู ต้อง พระเจ้า ติโลกราชส่งเสริมการศึกษาเล่าเรียนทางปริยัติธรรม และ ยกย่องพระภิกษุที่มีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก พระ ภิกษุในสมัยนีจ้ งึ มีความรูส้ งู อาทิเช่น พระธรรมทิน พระญาณ กิตติเถระ พระสิริมังคลาจารย์ จึงเกิดการท�ำสังคายนาพระ ไตรปิฎกขึน้ ในปี พ.ศ. 2020 ณ วัดมหาโพธาราม โดยใช้เวลา 1 ปีจึงส�ำเร็จ นับว่าเป็นการสังคายนาไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของ 1 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2539. หน้า 143.

โลก และพระไตรปิฎกที่ถูกช�ำระในสมัยพระเจ้าติโลกราชนี้ ถือเป็นหลักธรรมปฏิบตั ขิ องพระนิกายต่างๆ ในล้านนาสืบมา ความขัดแย้งทางนิกายศาสนาที่มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2019– 2051 สิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายป่าแดง โดยพระ เมืองแก้ว (พ.ศ. 2030–2038) กษัตริย์เมืองเชียงใหม่เป็น ผู้ไกล่เกลี่ยปัญหาความขัดแย้งทั้งสองนิกาย ซึ่งทางพระ เมืองแก้วมีการประนีประนอมและ “จะให้การสนับสนุนทั้ง สองนิกาย เพื่อศาสนาของพระพุทธเจ้าจะไม่เสื่อมโทรม ขอ ให้พระนิกายป่าแดงหมดสิ้นความโกรธเคือง เพราะนิกาย ยางกวงได้รบั ค�ำสัง่ จากกษัตริยแ์ ห่งเชียงตุงผูเ้ ป็นหลานของข้า ให้อยูร่ ว่ มกับพระนิกายป่าแดงโดยสันติ”2 สงฆ์ทงั้ สองนิกาย ยอมรับในข้อยุติดังกล่าว และรักษาเอกลักษณ์ของนิกายตัว เองเอาไว้ แต่จะร่วมในพิธีกรรมส�ำคัญๆ ด้วยกันภายหลัง ความขัดแย้งได้ยตุ ลิ ง อาณาจักรได้ให้การอุปถัมภ์ตอ่ วัดและ พระสงฆ์อย่างเสมอภาค ยังผลให้สองนิกายร่วมกันสถาปนา ขึ้นเป็น สถาบันสงฆ์ ร่วมกันส่งเสริมและเกื้อกูลสังคมสืบมา ความสัมพันธ์เมืองเชียงใหม่ กับวัดพระธาตุศรีจอมทอง ในสมัยพระเมืองแก้ว (พ.ศ. 2038–2068) เป็นช่วงเวลา ที่บ้านเมืองมีความเฟื่องฟูด้านการพระศาสนา ภาษา และ 2 Griswold, A. B. and Prasert na Nagara. “An Inscription from Keng Tung (1451 A.D.)” Journal of the Siam Society, 1992. No. 19: 66–88.


วรรณกรรม พระองค์ได้ทรงท�ำนุบ�ำรุงพระพุทธศาสนา ส่งเสริมการศึกษาเล่าเรียนของของพระภิกษุสามเณรทั่ว อาณาจักร ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุศรีจอมทองสืบจาก เจ้าอาวาสและผู้อุปัฏฐากวัด โดยสร้างวิหารจตุรมุขเหมือน วัดชัยศรีภมู ิ ภายในก่อปราสาทเหมือนกับอุโบสถวัดเจ็ดยอด เพื่อประดิษฐานองค์พระบรมธาตุเจ้าที่เสด็จออกมาให้ผู้คน ได้สักการะบูชาก่อนหน้านั้น พระบรมธาตุองค์นี้ พระมหา พุทธญาโณ วัดป่าฟ้าหลั่ง ได้ไปที่เมืองพุกาม ค้นพบต�ำนาน พระบรมธาตุเจ้ามาที่เมืองพุกาม ในปี พ.ศ. 2058 จึงมา พิจารณาดูสถานที่ที่พระบรมธาตุเจ้าประดิษฐานอยู่ คือวัด ศรีจอมทอง ก็เห็นถูกต้องตรงตามต�ำนานทุกประการ พระ มหาพุทธญาโณจึงน�ำความไปทูลต่อพระเมืองแก้ว เมื่อพระรัตนราชเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ทรงทราบว่า พระบรมธาตุเจ้าได้เสด็จมาประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีจอมทอง ซึง่ อยูภ่ ายในอาณาเขตแว่นแคว้นของพระองค์เช่นนัน้ แล้ว ก็ มีความปลาบปลื้มยิ่งนัก จึงตรัสว่า “พระบรมธาตุเสด็จมา ประดิษฐานยังบ้านเมืองของเรา นับเป็นมหามงคลอันเป็น ประเสริฐ เราจะสร้างสถานทีน่ นั้ ให้เจริญรุง่ เรือง และอุปถัมภ์ ค�้ำชูพระพุทธศาสนาทุกประการ”1 ในปี พ.ศ. 2060 ได้มกี ารสร้างวิหารจตุรมุขพร้อมปราสาท เพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุ พร้อมทั้งเสนาสนะต่างๆ ทรง 1 พระสุพรหมยานเถร. ต�ำนานพระทักขิณโมลีธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า. เชียงใหม่: วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร, 2543. หน้า 38–39.

กัลปนาข้าพระธาตุมากมาย พร้อมทัง้ มีการจัดมหรสพสมโภช ถวายแด่องค์พระบรมธาตุเสด็จออก มีบันทึกต่อมาว่าในสมัยพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ (ท้าวเม่ กุ) (พ.ศ. 2094–2107) ได้อัญเชิญพระบรมธาตุศรีจอมทอง เข้ามายังเมืองเชียงใหม่ พร้อมวัตถุไทยทาน ที่ดิน ไร่นา ป่า ฯลฯ ประกาศยกการเก็บส่วย และเกณฑ์แรงงานให้แก่ข้า พระธาตุ “. . . ถึง พ.ศ. ๒๑๐๐ ปีมะโรง เดือน ๕ (เดือน ๖ เหนือ) ทายกทายิกา ศรัทธาทั้งหลาย ได้ไปนิมนต์พระมหาสังฆ ราชาญาณมงคละอยู่แคว้นทุ่งตุ๋มมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระ ธาตุศรีจอมทอง ในสมัยนี้พระนางมหาเทวีของเจ้าผู้ครอง นครเชียงใหม่ พร้อมด้วยพระอัครราชมารดา ได้มีจิตศรัทธา นิมนต์พระบรมธาตุจอมทองเข้าไปในเมืองเชียงใหม่ มีความ เลื่อมใสยินดีในพระบรมธาตุเจ้ายิ่งนัก จึงถวายไทยทานเป็น อันมาก คือ ข้าวของ เงินค�ำ ข้าคน ไร่นา ป่า ที่ดิน ย่านน�้ำ เครื่องทาน ขันสรงน�้ำ และสรรพเครื่องแห่ทั้งมวล โดยนัยดัง พระรัตนราชได้ถวายไว้แต่ภายหลังแล้ว จึงมีพระราชเสาวนีย์ รับสัง่ แก่เสนาบดีผใู้ หญ่ทงั้ ๔ คือ พระยาแสนหลวง ๑ พระยา สามล้าน ๑ พระยาจ่าบ้าน ๑ พระยาเด็กชาย ๑ ว่า ตั้งแต่ นี้เป็นต้นไป บรรดาข้าพระธาตุเจ้าจอมทอง ให้ยกเว้นอย่า ได้ใช้สอย เก็บส่วย และเกณฑ์ไปท�ำการบ้านเมือง ให้เข้าอยู่ อุปัฏฐากพระบรมธาตุเจ้าทุกวันคืนเป็นนิตย์อย่าได้ขาด ดังที่ พระรัตนราชหากได้ประทานไว้นนั้ ทุกประการ ส่วนเสนาบดีทงั้

33


ข้าทาสให้อุปัฏฐากพระบรมธาตุดังจารีตที่พระเมืองแก้วได้ ถวายไว้เป็นปฐม พระองค์ทรงอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าศรี จอมทองไปยังเมืองเชียงใหม่ เพือ่ ประกอบพิธสี รงน�ำ้ พระบรม ในระยะเวลาต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2110 พระยาสาม ธาตุนานถึง 7 วัน 7 คืน จึงอัญเชิญพระบรมธาตุกลับมา ล้านไชยสงคราม ได้สร้างช่อฟ้า ป้านลมวิหาร ถวายแก่วัด ประดิษฐานที่วัดพระธาตุศรีจอมทองดังเดิม ดังปรากฏใน พร้อมสร้างถนนจากหน้าวัดไปถึงฝัง่ แม่นำ�้ ปิง แล้วปลูกต้นไม้ ต�ำนานพระธาตุศรีจอมทอง มีข้อความว่า ไว้สองข้างทาง กัลปนาคนเป็นข้าพระธาตุ พร้อมลงอาชญา “พ.ศ. ๒๓๒๒ พระยาวิเชียรปราการ เจ้าผูค้ รองนครเชียงใหม่ ไว้ในหลาบเงิน หรือสุพรรณบัฏไว้เป็นหลักฐาน จวบจนถึงปี ได้มาค�ำนึงถึงพระบรมธาตุเจ้าจอมทององค์ประเสริฐ อันได้ พ.ศ. 2182 พระเจ้าสุทโธธรรมราชา แห่งพม่าเข้าครองเมือง อันตรธานสูญหายไปแต่ พ.ศ. ๒๓๑๔ นั้น นานประมาณได้ เชียงใหม่ พระองค์ได้ถวายวัตถุไทยทานและเครื่องสูงแด่ ๙ ปีแล้ว จึงได้ให้นายช่างทองสร้างโกศเงินและโกศทองค�ำ พระบรมธาตุศรีจอมทอง ได้แก่ เครื่องแห่ คือพัดพ้าว จามร เพือ่ จะน�ำไปเป็นบรรจุพระบรมธาตุเจ้า แล้วจึงรับสัง่ อ�ำมาตย์ บังตะวัน เกือก ทุงยู โคม ธงโชย ธงลาย ธงดอกค�ำ ธงช้าง ทั้งหลาย มีพระมหาพิเศษ พระมหาพิชัย และหาญม้างเมฆ ธงชัยเงิน2 เป็นต้น กับทั้งพระภิกษุสงฆ์ ๑๒ รูป มีท่านพุทธิมาวํโส ผู้ เมื่อถึงปี พ.ศ. 2314 พระบรมธาตุได้อันตรธานสูญหาย เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองเป็นประธาน ให้พร้อม ไป จวบจนถึงปี พ.ศ. 2322 พระยาวิเชียรปราการ เจ้าผู้ กันไปท�ำพิธีอาราธนาอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้า ตามโบราณ เมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น ได้ให้นายช่างทองสร้างโกศเงิน ประเพณีเป็นครัง้ แรกก่อน พระบรมธาตุก็ยังไม่เสด็จมา ต่อ และโกศทองค�ำเพื่อจะน�ำไปเป็นบรรจุพระบรมธาตุเจ้า และ มาเมื่อถึงเดือน ๕ (เดือน ๗ เหนือ) แรม ๑๓ ค�่ำ เจ้าผู้ครอง ได้ประกอบพิธีอาราธนาอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าที่สูญหาย นครเชียงใหม่ ได้น�ำโกศเงินโกศทองค�ำและเครื่องสักการะ ไปนั้น ซึ่งได้ตั้งสัตยาธิษฐาน 3 ครั้ง องค์พระบรมธาตุเจ้า บูชามาอาราธนา พระบรมธาตุเจ้าเป็นครัง้ ที่ ๒ พระบรมธาตุ จึงได้เสด็จคืนสู่คูหาปราสาท สร้างความปีติยินดีเป็นอย่าง เจ้าก็ยงั ไม่เสด็จมา ต่อมาถึงเดือน ๖ (เดือน ๘ เหนือ) แรม ๑๓ ยิ่ง พระองค์ทรงจัดถวายเครื่องไทยทานพร้อมกัลปนาผู้คน ค�่ำ ท่านพุทฺธิมาวํโสผู้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง ๔ รับพระราชเสาวนีย์แล้วก็จัดผู้คนไว้เป็นข้ารักษาพระบรม ธาตุที่รับสั่งต่อมา . . .”1

34

1 “พระติสสเถระ” แปลโดย ปรีชา ปริยะ. ต�ำนานพระบรมธาตุจอมทอง. เชียงใหม่: วัดพระธาตุศรีจอมทอง, 2507. หน้า 31. 2 “พระติสสเถระ”, เรื่องเดียวกัน. หน้า 34.

จึงได้ท�ำพิธีตั้งสัตยาธิษฐานว่า พระยาวิเชียรปราการ เจ้าผู้ ครองนครเชียงใหม่ได้ปรารถนาสัพญาณ ถ้าความปรารถนา นั้นจักส�ำเร็จดังมโนรถแล้ว ขออัญเชิญพระบรมธาตุเจ้า จึง


เสด็จมาปรากฏในคูหาปราสาททองเก่าเทอญ เมื่ออธิษฐาน แล้ว ถึงวันแรม ๔ ค�ำ่ เวลาก๋องงาย (๐๙.๐๐ น.) พระบรมธาตุ เจ้าก็ได้เสด็จออกมาปรากฏในคูหาปราสาทตามค�ำอธิษฐาน ของพระเถระเจ้านัน้ แล้ว พระเถระเจ้าจึงได้มีสมณสาส์นไป ถวายพรแด่พระยาวิเชียรปราการ เจ้าผู้ครองให้ทราบ ตาม ที่ตนได้อธิษฐานนั้นทุกประการ ฝ่ายเจ้าผู้ครองนครเมื่อได้ ทราบแล้วมีใจปีติยินดีซาบซ่านไปทั่วสรีระกาย จึงได้ตกแต่ง เครื่องวัตถุไทยทานนานาประการเป็นอันมาก น�ำไปถวาย บูชาแด่พระบรมธาตุเจ้า กับทั้งพระภิกษุสงฆ์ ในวันเดือน ๖ (เดือน ๘ เหนือ) แรม ๙ ค�่ำ เวลา ๕ โมงเย็นแล้ว ได้จักแจง คนไร่นาไว้เป็นช้าพระบรมธาตุเพือ่ ให้อยูป่ ฏิบตั ริ กั ษาพระบรม ธาตุเจ้าตามประเพณีที่พระรัตนราช (พระเมืองแก้ว) หากได้ กระท�ำการแต่หนหลัง ได้อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้าไปในเมือง เชียงใหม่ ท�ำการสระสรงและถวายทานต่างๆ นานได้ ๗ วัน ๗ คืนแล้ว จึงได้อญ ั เชิญพระบรมธาตุเจ้ากลับคืนไปประดิษฐาน ไว้ที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตามเดิม”

ทีเ่ คยปฏิบตั กิ นั มา ดังปรากฏใน ต�ำนานพระธาตุศรีจอมทอง มีข้อความว่า “. . . พ.ศ. ๒๓๖๑ เดือน ๔ (เดือน ๖ เหนือ) ขึน้ ๑๓ ค�ำ่ เจ้าเสต หัตถี (พระเจ้าช้างเผือก) เจ้าผูค้ รองนครเชียงใหม่ ได้มศี รัทธา ไปปฏิสังขรณ์พระวิหาร วัดพระธาตุศรีจอมทอง พร้อมด้วย เสนาอ�ำมาตย์ราชบริพาร และพระภิกษุสงฆ์เป็นจ�ำนวนมาก ถึงปี พ.ศ. ๒๓๖๓ พระเจ้าช้างเผือกนครเชียงใหม่ เสด็จไป ปิดทองเสาพระวิหารวัดพระธาตุศรีจอมทอง และก่อก�ำแพง วัด แล้วมีการถวายทานตามประเพณีนิยม ต่อมาถึงปี จุลศักราช ๑๓๘๕ (พ.ศ. ๒๓๖๗) เจ้า สุภทั ระค�ำฝัน้ ให้เอาทองออกสร้างโกศ ส�ำหรับบรรจุธาตุเจ้า จอมทองสิ้นทอง ๒๒๒ ค�ำ และสร้างโกษเงินบรรจุพระบรม ธาตุสนิ้ เงิน ๘๐๐ ดอก แล้วอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้า ให้เข้าไป โปรดเมตตาในเมืองเชียงใหม่ ในปีจุลศักราช ๑๑๘๖ (พ.ศ. ๒๓๖๘) และได้ชักชวนเสนามาตย์ชาวบ้านชาวเมืองทั้งมวล มาถวายวัตถุไทยทานบูชาพระบรมธาตุเจ้าเป็นอันมาก มีผู้ ศรัทธาได้นำ� ปัจจัยมาถวายบูชาพระบรมธาตุเจ้าคราวนัน้ คือ เงินเธาะ ๘๗๐๐ เงินเจียง ๒๕๐ แล้วอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้า กลับคืนไปที่วัดพระธาตุศรีจอมทองตามเดิม . . .”1

ต่อมาในปี พ.ศ. 2361 พระเจ้าช้างเผือกได้บูรณะ ปฏิสังขรณ์พระวิหาร ปิดทองเสา และสร้างก�ำแพงวัดพระ ธาตุศรีจอมทอง ซึ่งในเวลาต่อมา ปี พ.ศ. 2367 เจ้าสุภัทระ ค�ำฟัน้ ได้ถวายโกศทองค�ำเพือ่ บรรจุพระบรมธาตุศรีจอมทอง ในสมัยพญากาวิโรรส ปี พ.ศ. 2405 ได้ท�ำการฉลองหอ พร้อมอัญเชิญพระบรมธาตุศรีจอมทองเข้าเมืองเชียงใหม่เพือ่ พระไตรปิฎกวัดหัวข่วง ได้ไทยทานเป็นจ�ำนวนมาก พระองค์ ให้ผคู้ นได้ประกอบพิธสี รงน�ำ้ พระบรมธาตุดงั กษัตริยอ์ งค์กอ่ น 1 “พระติสสเถระ”, เรื่องเดียวกัน. หน้า 37.

35


จึงได้น�ำไปถวายแด่พระบรมธาตุศรีจอมทอง ดังมีปรากฏใน ครั้นถึงปี พ.ศ. 2465 เจ้าแก้วนวรัฐและพระราชายา ต�ำนานพระธาตุศรีจอมทอง ความว่า เจ้าดารารัศมีทรงบูรณะปฏิสังขรณ์พระวิหารวัดพระธาตุศรี “. . . พ.ศ. ๒๔๐๕ ปีระกา เดือน ๕ (เดือน ๗ เหนือ) วันพู จอมทอง พระองค์ทรงได้ถวายวัตถุไทยทานพร้องจัดงาน เจ้ากาวิโรรส เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ท�ำการฉลองหอพระ เฉลิมฉลองครั้งใหญ่ พร้อมประกอบพิธีสรงน�้ำพระบรมธาตุ ไตรปิฎก วัดหัวข่วง ได้มีไทยนานเป็นอันมาก ให้น�ำไปถวาย ปรากฏใน ต�ำนานวัดพระธาตุศรีจอมทอง ความว่า บูชาพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง คือช้างพระที่นั่งใส่เครื่องดาว เงินกูบค�ำ ม้าพระที่นั่ง ประดับดาวเงิน ดาบฝักทอง ๑ เล่ม ดาบหลูบเงิน ๑ เล่ม พระพุทธรูปทองค�ำ ๑ องค์ พระพุทธ รูปนาค ๑ องค์ พระพุทธรูปเงิน ๑ องค์ . . .”1

ในปี พ.ศ. 2441 เจ้าอินทวิชยานนท์ ได้ฉลองพระธรรม ที่สร้างถวายวัดเชียงยืน พระองค์ทรงอัญเชิญพระบรมธาตุ เจ้าศรีจอมทองมาเชียงใหม่ในการณ์ครัง้ นัน้ เพือ่ สักการะบูชา และสรงน�ำ้ ตามประเพณีทเี่ คยมีมา ปรากฏใน ต�ำนานวัดพระ ธาตุศรีจอมทอง ความว่า

36

“. . . พ.ศ. ๒๔๔๑ เจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผูค้ รองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ ได้มกี ารบ�ำเพ็ญกุศลถวายทานฉลองพระธรรมทีท่ รง สร้างทีว่ ดั เชียงยืนในจังหวัดเชียงใหม่ ได้อญ ั เชิญพระบรมธาตุ เจ้าศรีจอมทองเข้าไปในเมือง โปรดถวายช้างพระทีน่ งั่ ประดับ ด้วยดาวเงินกับทั้งเครื่อง . . . ศรีจอมทองตามเดิม . . .”2

1 “พระติสสเถระ”, เรื่องเดียวกัน. หน้า 37. 2 “พระติสสเถระ”, เรื่องเดียวกัน. หน้า 38.

“. . . พ.ศ. ๒๔๖๕ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยพระราชชายา (เจ้าดารารัศมี) ได้รับสั่งพระนายก คณานุการ ให้จัดการปฏิสังขรณ์พระวิหารวัดพระธาตุศรี จอมทอง อันเจ้าธรรมลังการช้างเผือกสร้างไว้นั้น (สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๑) ส�ำเร็จ . . . แล้ว ถึงเดือน ๗ (เดือน ๙ เหนือ) วันเพ็ญ จึงได้พร้อมกันท�ำบุญถวายทานฉลองพระวิหารเป็น มหาปางอันใหญ่ พร้อมทัง้ สระสรงพระบรมธาตุเจ้าด้วยสุคนั โธทกเป็นงานมโหฬารยิ่งในกาลนัน้ แล . . .”3

นับตั้งแต่ครั้งเมื่อสมัยเจ้าแก้วนวรัฐและพระราชายาเจ้า ดารารัศมี จบจนลุลวงมาถึงปี พ.ศ. 2539 ในวาระสมโภช เมืองเชียงใหม่ 700 ปี มีการอัญเชิญพระบรมธาตุศรีจอมทอง ขึ้นอีกครั้งเพื่อสมโภชเมืองเชียงใหม่ ประกอบพิธีทักษิณา นุ ป ระทานแด่ บู ร พกษั ต ริ ย ์ ล ้ า นนาและเจ้ า ผู ้ ค รองเมื อ ง เชี ย งใหม่ และพิ ธี บ ายศรี ทู น พระขวั ญ ถวายแด่ ส มเด็ จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ สามกษัตริย์ ในครั้งนี้พระอาจารย์ทอง สิริมังคโล เจ้าอาวาส 3 อ้างแล้ว, หน้าเดียวกัน.


วัดพระธาตุศรีจอมทอง ด�ำรงสมณะศักดิ์เป็น พระสุพรม ญาณเถระ ได้ประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมธาตุศรีจอมทอง มายังเมืองเชียงใหม่ในระว่างวันที่ 11–12 เมษายน 2539 โดยมีขบวนเสด็จจากวัดพระธาตุศรีจอมทอง หยุดพักขบวน ชั่วระยะหนึ่ง ณ วัดต้นเกว๋น อ.หางดง ขบวนแห่พระบรม ธาตุได้อัญเชิญสู่เมืองเชียงใหม่ โดยจัดให้เป็นขบวนเดินเท้า ตั้งแต่หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก และหอจดหมายเหตุ แห่งชาติจังหวัดเชียงใหม่ ขบวนแห่อัญเชิญพระบรมธาตุ ไปยั ง พระบรมราชานุ ส าวรี ย ์ ส ามกษั ต ริ ย ์ มี ข บวนพระ เสตังคมณี (พระแก้วขาว) และพระศิลา วัดเชียงมั่น พระคู่ บ้านคูเ่ มืองเชียงใหม่มารับเสร็จองค์พระบรมธาตุศรีจอมทอง เข้าสู่มณฑลพิธี มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ซึ่งสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จสรงน�้ำพระบรมธาตุศรี จอมทอง พระเสตังคมณี และพระศิลา1 ในปี พ.ศ. 2559 ศรัทธาประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระธาตุศรีจอมทอง เทศบาล

นครเชียงใหม่ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ เทศบาลต�ำบลหนองควาย ได้จดั พิธอี ญ ั เชิญพระบรมธาตุเจ้า เข้าเวียงเชียงใหม่ พิ ธี อั ญ เชิ ญ พระทั ก ขิ ณ โมลี ธ าตุ จ ากวั ด พระธาตุ ศ รี จอมทองมาประดิษฐานชั่วคราว ณ มณฑลพิธีข่วงอนุสาวรีย์ สามกษัตริย์ เพื่อสมโภชเมืองเชียงใหม่ในวาระที่มีอายุครบ 720 ปี และวัดพระธาตุศรีจอมทองอายุครบ 550 ปี เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราช สมบัติครบ 70 ปี และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ ระหว่าง วันที่ 10–12 มิถุนายน 2559 โดยเส้นทางอัญเชิญและ สักการะจากวัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง อาราธนา ขึ้นพักขบวน ณ วัดต้นเกว๋น (วัดอินทราวาส) อ.หางดง และ มณฑลพิธีข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้ประกอบพิธีสรงน�้ำพระธาตุ ถวาย เครื่องสักการะ และร่วมพิธีสมโภช 37

1 สูจิบัตร พิธีบวงสรวง เทพยดา บูรพกษัตริย์ล้านนา และเจ้าผู้ครองนคร เชียงใหม่ และพิธีบายศรีทูนพระขวัญ งานสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่: กลางเวียงการพิมพ์, 2539. หน้า 5–7.


พื้นที่ศักดิ์สทิ ธิ์ในพิธีอัญเชิญพระธาตุเจ้าเข้าเวียง

38

เมืองเชียงใหม่มีอายุมาบรรจบ 60 รอบนักษัตร ซึ่งถือเป็น วาระมหามงคลของเมือง 1 รอบนักษัตร จะหมายถึง 12 ปีที่หมุนเวียน จนมาครบเป็นครั้งที่ 60 ซึ่งหากเปรียบกับ วัฒนธรรมจีนที่มีระบบนับปีตาม “วัฏจักรฟ้า 10 (เทียน กาน) ราศีดิน 12 (ตี้จือ)” แล้ว ถือเป็นการวนบรรจบครบ รอบ “วัฏจักรฟ้า ราศีดิน” เดิมของการถือก�ำเนิดเมืองครั้ง แรก อันเป็นสิ่งส�ำคัญ ดังนั้น ปีนี้จึงเปรียบดังการเวียนมา บรรจบปฐมบทของเมืองเชียงใหม่ เพือ่ ทีจ่ ะด�ำเนินก้าวข้ามต่อ ไปยังบทที่ 2 ของเมืองต่อไป หากเปรียบเป็นคน วันเกิดครบ รอบ 60 ปี จะมีการฉลองแซยิดอย่างใหญ่โต แม้เชียงใหม่จะ มีวฒ ั นธรรมเป็นของตนเอง หากแต่หลายสิง่ หลายอย่างได้รบั และปรับมาจากวัฒนธรรมอื่นๆ ด้วย การนับปีแบบล้านนา ก็เช่นกัน เป็นการรับมาจากวัฒนธรรมจีนแล้วปรับเปลีย่ นให้ เป็นของตนเอง เมือ่ เป็นดังนัน้ จึงยังคงมีกลิน่ อายแบบดัง้ เดิม อยู่ ในปี 2559 นี้ จึงจัดให้มีพิธีเฉลิมฉลองเมืองเชียงใหม่ ที่ คณะวิจิตรศิลป์ ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ได้มีส่วนร่วมใน การจัดงานกับหน่วยงานราชการ ใน 3 วาระส�ำคัญ ได้แก่ 1. พิธสี มโภชเมืองเชียงใหม่ 720 ปีในวันที่ 12 เมษายน 2559 2. พิธอี ญ ั เชิญพระทักขิณโมลีธาตุ (จากวัดพระธาตุศรี จอมทอง) มาประดิษฐานชัว่ คราว ณ ศาลาจตุรมุขวัดต้นเกว๋น และ มณฑลพิธีบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ในระหว่าง วันที่ 10–12 มิถุนายน 2559

3. พิธีฟ้อนบวงสรวงบรรพกษัตริย์ อารักษ์หลวงนคร เชียงใหม่ ในวันที่ 25 มิถุนายน 2559 ซึง่ การท�ำงานทัง้ 3 งานนัน้ ได้รอ้ ยเรียงมิตขิ องการรือ้ ฟืน้ ของการผลิตซ�้ำ และผลิตใหม่ทางวัฒนธรรมล้านนา ภายใต้ สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ผนวกกับความคิด ความเชื่อ ที่ผสมผสานตั้งแต่เริ่มต้นของเมือง และต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน โดยมีการศึกษาประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ ล้านนา แล้วน�ำประเพณี พิธีกรรมแบบดั้งเดิมของเชียงใหม่ และล้านนามาน�ำเสนอผ่าน “พิธกี รรม” และ “การสักการะ” อันถือเป็น “การรื้อฟื้น” และ “สืบทอด” มรดกทาง วัฒนธรรมของเมืองมิให้สูญหาย ในที่นี้ขอกล่าวถึงเพียงพิธี อัญเชิญ “พระธาตุเจ้าเข้าเวียง” ซึ่งเป็นพิธีที่เกิดการรื้อฟื้น จิตวิญญาณของผู้คนใน 6 อ�ำเภอตามเส้นทางเสด็จ และ เป็นการแสดงถึง “ศรัทธา” ของมหาชนทุกเพศทุกวัยที่มี ต่อ “พระบรมสารีริกธาตุ” อันเปรียบประดุจพระพุทธเจ้า ที่เสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ตามทางจากอ�ำเภอจอมทองถึง อ�ำเภอเมืองเชียงใหม่ ระยะทาง 55 กิโลเมตร โดยมีความ เชื่อมโยงแกนงานในหลายมิติดังนี้ 1. มิติของช่วงเวลา 2. มิติเชื่อมโยงเรื่องกายภาพของเมือง 3. มิติของการรื้อฟิ้นประวัติศาสตร์ความทรงจ�ำร่วม 4. มิติของการร้อยเรียงผู้คนของเมืองเข้าด้วยกัน โดย มีรายละเอียดดังนี้

รศ. ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์. คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ผลักดัน ผู้ควบคุม วางแผนจัดการ และประสานงานโครงการ


1. มิติของช่วงเวลาผ่านความสัมพันธ์ของพิธีกรรม ในช่วงเดือน 9 ของล้านนา พิธอี ญ ั เชิญพระทักขิณโมลีธาตุ (พระธาตุศรีจอมทอง) มา ประดิษฐานชั่วคราว ณ ศาลาจตุรมุข วัดต้นเกว๋น อ.หางดง และมณฑลพิ ธี บ รมราชานุ ส าวรี ย ์ ส ามกษั ต ริ ย ์ ในเวี ย ง เชียงใหม่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 10–12 มิถุนายน 2559 โดย ได้พิจารณามิติของช่วงเวลา 2 เรื่อง คือ • ความเหมาะสมของปี พ.ศ. 2559 • ความสัมพันธ์ของจารีตแห่งพิธีกรรมเดือน 9 ของ ล้านนา

ฤดูกาลนัน้ ๆ ในการด�ำเนินพิธกี ารต่างๆ ในช่วงเดือน 9 เหนือ หรือเดือน 7 ภาคกลาง (ตรงกับเดือนมิถุนายน เพราะภาค เหนือนับเดือนเร็วกว่าภาคกลาง 2 เดือน) เป็นช่วงอากาศ ร้อนจัดก่อนที่ฝนจะตก ผู้คนว่างจากการท�ำการเกษตร จึง มีพิธีกรรมประเพณีไหว้พระธาตุ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ ใน เดือน 9 เพ็ญ เดือนนีห้ ากฟ้าฝนดีกเ็ ริม่ ท�ำนา - ท�ำพิธแี ฮกนา - หว่านกล้า ซึง่ ก่อนหน้านัน้ คือเดือนพฤษภาคม หรือเดือน 8 เหนือเป็นช่วงของการบวชเณร - ปอยหลวง (งานสมโภชทาน วิหาร โบสถ์ ก�ำแพง ฯลฯ) ขึ้นบ้านใหม่ - แต่งงาน - วิสาขะ บูชา - ไหว้พระธาตุ และหากดู ต ามช่ ว งเวลาของการประกอบพิ ธี ก รรมที่ ความเหมาะสมของ ปี พ.ศ. 2559 ที่มีการจัดงานครั้งนี้ ขึ้น เกี่ยวข้องกับความร่มเย็นและความอุดมสมบูรณ์ของเมือง เป็นครัง้ ที่ 8 ของประวัตศิ าสตร์เชียงใหม่ ซึง่ วัตถุประสงค์ของ เชียงใหม่แล้ว จะเห็นว่าช่วงเวลาดังกล่าวเมืองเชียงใหม่ได้ จัดให้มีพิธีส�ำคัญที่สอดคล้องกัน ดังนี้ งานเชื่อมโยงถึงวาระ “มหามงคลสมัย” 4 ประการ คือ • เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พิธีบูชาเสาอินทขิล ภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี เป็นพิธที แี่ สดงการเคารพเสาหลักแรกของเมือง ทีเ่ รียกว่า • สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรง เสาอินทขิล อันเป็นความเชือ่ ดัง้ เดิมของชาวลัวะ ผูท้ อี่ าศัยใน เจริญพระชนมพรรษาครบ 7 รอบ บริเวณนี้ก่อนการอพยพมาของคนเชื้อสายปัจจุบัน ต�ำนาน • เป็นปีที่เมืองเชียงใหม่ มีอายุครบ 720 ปี • เป็นปีที่วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร มีอายุครบ อินทขิล หรือที่รู้จักชื่อว่า “ต�ำนานสุวรรณค�ำแดง” เป็น ต�ำนานทีเ่ ล่าเรือ่ งราวการตัง้ ถิน่ ฐานของผูค้ นของล้านนา ฉบับ 550 ปี ตัวแทนพี่น้องประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ อันประกอบ ทีน่ ยิ มกล่าวถึงมากคือ ฉบับทีพ่ ระมหาหมืน่ วุฑฒิญาโณ แห่ง ด้วย จังหวัดเชียงใหม่ คณะสงฆ์จงั หวัดเชียงใหม่ วัดพระธาตุ วัดหอธรรม เชียงใหม่ (ปัจจุบนั ไม่ปรากฏวัดนีแ้ ล้ว เชือ่ ว่ารวม ศรีจอมทองวรวิหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อยู่กับวัดพันเตาปัจจุบัน) เล่าความเป็นมาของเสาอินทขิล เทศบาลนครเชียงใหม่ คณะวิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่า เสานี้เป็นเสาที่พระอินทร์น�ำลงมาจากสวรรค์ประทานให้ เทศบาลต�ำบลหนองควาย มณฑลทหารบก ต�ำรวจภูธร ด้วยเหตุวา่ เดิมบริเวณทีต่ งั้ เมืองเชียงใหม่นนั้ เคยเป็นทีต่ งั้ บ้าน จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเอกชนและศรัทธาประชาชน โดย เมืองของชาวลัวะมาก่อน ต่อมาชาวเมืองถูกรบกวนจาก เฉพาะใน 6 อ�ำเภอ ได้เห็นถึงมหามงคลสมัยนี้จึงได้ร่วมมือ วิญญาณทีห่ ลอกหลอน สร้างความเดือดร้อน ไม่เป็นอันท�ำมา หากิน พระอินทร์จึงได้ประทานความช่วยเหลือ บันดาลบ่อ กันจัดงานนี้ขึ้น โดยการเตรียมการทั้งสิ้น 45 วัน เงิน บ่อทอง และบ่อแก้ว ไว้ในเมือง ให้เศรษฐีลวั ะ 9 ตระกูล ความสัมพันธ์ของจารีตแห่งพิธกี รรมเดือน 9 ของล้านนา ซึง่ แบ่งกันดูแลบ่อทัง้ 3 บ่อละ 3 ตระกูล โดยชาวลัวะต้องถือศีล สภาพภูมอิ ากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือฤดูรอ้ น ฤดูฝน และฤดู รักษาค�ำสัตย์ ซึ่งหากปฏิบัติดีแล้วอธิษฐานสิ่งใดก็จะได้ดัง หนาว พิธกี รรมต่างๆ จึงมักเกีย่ วข้องกับวิถกี ารด�ำรงชีวติ ตาม สมปรารถนา ชาวลัวะจึงปฏิบตั ติ ามเป็นอย่างดี ท�ำให้เมืองมี

39


40

ความสุข อุดมสมบูรณ์ และรูจ้ กั ในนามเวียงนพบุรี ต่อมาข่าว นี้เลื่องลือไปไกลน�ำให้เมืองอื่นพากันมาขอแบ่งปัน ชาวลัวะ ตกใจจึงขอให้ฤๅษีนำ� ความไปกราบทูลพระอินทร์ พระอินทร์ จึงให้กมุ ภัณฑ์หรือยักษ์ 2 ตน น�ำเสาอินทขิลใส่สาแหรกเหล็ก หาบไปฝังไว้กลางเวียงนพบุรี เสาอินทขิลนี้มีฤทธิ์มาก ดล บันดาลให้ข้าศึกที่มา กลายร่างเป็นพ่อค้า พ่อค้าเหล่านั้น ซึ่งต่างตั้งใจมาขอสมบัติจากบ่อทั้ง 3 ชาวลัวะจึงแนะน�ำให้ พ่อค้าถือศีลรักษาค�ำสัตย์และอย่าละโมบ เมื่อขอสิ่งใดก็จะ ได้ พ่อค้าบางคนท�ำตาม บางคนไม่ท�ำตาม เมื่อบางคนละ โมบก็ท�ำให้กุมภัณฑ์ 2 ตนที่เฝ้าเสาอินทขิลโกรธ พากันหาม เสาอินทขิลกลับขึ้นสวรรค์ไป และบ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้ว ก็เสื่อมลง มีชาวลัวะผู้เฒ่าคนหนึ่งที่ไปบูชาเสาอินทขิลอยู่ เสมอ เมื่อทราบว่ายักษ์น�ำเสาอินทขิลกลับสวรรค์ไปแล้ว ก็ เสียใจมากจึงถือบวชนุ่งขาวห่มขาว บ�ำเพ็ญศีลภาวนาใต้ต้น ยางเป็นเวลานานถึง 3 ปี กระทั่งมีพระเถระรูปหนึ่งท�ำนาย ว่า ต่อไปบ้านเมืองจะถึงกาลวิบัติ ชาวลัวะจึงเกิดความกลัว ขอร้องให้พระเถระรูปนัน้ ช่วยเหลือ พระเถระบอกว่าให้ชาว ลัวะร่วมกันหล่ออ่างขางหรือกระทะขนาดใหญ่ แล้วใส่รปู ปัน้ ต่างๆ อย่างละ 1 คู่ ปัน้ รูปคนชายหญิงให้ครบร้อยเอ็ดภาษา ใส่กระทะใหญ่ลงฝังในหลุมแล้วท�ำเสาอินทขิลไว้เบื้องบนท�ำ พิธีสักการะบูชาจะท�ำให้บ้านเมืองพ้นภัยพิบัติ จึงท�ำให้เกิด การบูชาเสาอินทขิลเป็นประเพณีสืบมา เชื่อว่าในสมัยก่อนมีการท�ำพิธีสักการะบูชาเสาอินทขิล เป็นประจ�ำทุกปี โดยชาวเมืองจะพากันน�ำเอาดอกไม้ธูป

เทียน น�้ำขมิ้นส้มป่อยใส่ภาชนะที่เรียกว่า “สลุง” ไปท�ำการ สักการะบูชาเสาอินทขิล ที่แสดงถึงความตั้งมั่น มั่นคงของ บ้านเมือง เดิมนั้นเสาอินทขิลประดิษฐานอยู่ ณ วัดสะดือ เมือง หรือวัดอินทขิล ซึง่ ตัง้ อยู่ ณ กลางเวียงเชียงใหม่ ปัจจุบนั ก็คือ บริเวณหอประชุมติโลกราช ข้างหอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ (ศาลากลางจังหวัดเก่า) ในต�ำนานกล่าวว่า เสา อินทขิลเดิมนัน้ หล่อด้วยโลหะ จนกระทัง่ สมัยพระเจ้ากาวิละ ราวปี พ.ศ. 2343 ได้ย้ายเสาอินทขิลไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง โดยบูรณะปฏิสงั ขรณ์ขนึ้ ใหม่เป็นเสาปูน และท�ำพิธบี วงสรวง เป็นประเพณีสบื มา การท�ำพิธดี งั กล่าวจะท�ำในวันแรม 13 ค�ำ่ เดือน 8 เหนือ เรียกว่า “วันเข้าอินทขิล” และบูชาเป็นเวลา 7 วัน จึงเสร็จพิธี เรียกว่า “ออกอินทขิล” ซึ่งจะเป็นเดือน 9 พอดี จึงเป็นช่วงทีช่ าวเมืองเรียกกันว่า “เดือน 8 เข้า เดือน 9 ออก” ในปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1–7 มิถุนายน 2559 พิธีบูชาอินทขิลในสมัยเจ้าผู้ครองนครกับปัจจุบันนี้แตก ต่างกันมาก ในอดีตเจ้าผู้ครองนครจะเริ่มพิธีด้วยการเซ่น สังเวยเทพยดาอารักษ์ ผีบา้ น ผีเมือง และบูชากุมภัณฑ์ พร้อม กับเชิญผีเจ้านาย “เจ้าหลวงค�ำเขียว เจ้าหลวงค�ำแดง” ซึ่ง เป็นอารักษ์ประจ�ำเมืองลงทรง เพือ่ ถามความเป็นไปของบ้าน เมืองว่าจะดีจะร้าย ประการใด ฟ้าฝนจะตกต้องตามฤดูกาล หรือไม่ หากคนทรงท�ำนายว่าบ้านเมืองชะตาไม่ดี ก็จะท�ำ พิธีสืบชะตาเมือง เพื่อแก้ไขปัดเป่าให้เบาบางลง นอกจาก นี้ยังมีการซอและการฟ้อนดาบ เป็นเครื่องสักการะถวาย แด่วิญญาณบรรพบุรุษด้วย พิธีกรรมนี้ท�ำสืบต่อมาจนถึง


สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงหยุดไป ปัจจุบันเทศบาลนคร เชียงใหม่ได้รื้อฟื้นประเพณีนี้ขึ้นเมื่อปี 2511 และด�ำเนินการ โดยมีพธิ ที างพุทธศาสนาเข้ามาผสมผสาน ในวันแรกของการ เข้าอินทขิล มีการแห่พระเจ้าฝนแสนห่าจากวัดช่างแต้ม หรือ พระพุทธรูปคันธารราษฎร์รอบตัวเมือง เพื่อให้ประชาชน สรงน�ำ้ ทีว่ ดั เจดียห์ ลวงจะมีการใส่ขนั ดอกหน้าวิหารอินทขิล หรือที่คนเมืองเรียกกันว่า หออินทขิล เพื่อเป็นสิริมงคลกับ ชีวิต ที่นี่มีกฎห้ามผู้หญิงเข้าไปภายใน เพราะศักดิ์สิทธิ์ เฉก เช่นเดียวกับการห้ามผู้หญิงเข้าไปในเขตรั้วพระธาตุ ภายใน หออินทขิลพระสงฆ์ 9 รูป จะท�ำพิธีเจริญพระพุทธมนต์บูชา เสาอินทขิล ภายนอกจะมีผาม (ปะร�ำ) เพือ่ ให้ผทู้ สี่ บื เชือ้ สาย ตระกูลดูแลอารักษ์บ้าน อารักษ์เมืองดูแลงานตลอด 7 วัน ปัจจุบันสถานที่ประกอบพิธี คือที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ�ำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยของ พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์รัชกาลที่ 7 ราชวงศ์มังราย พระองค์ทรงสร้างพระธาตุเจดีย์หลวงขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1934 โดยต�ำแหน่งเยือ้ งด้านหน้าพระวิหารหลวง เป็นทีต่ งั้ ของเสา อินทขิลหรือเสาหลักเมือง ที่พระยากาวิละโปรดให้ย้ายเสา อินทขิลจากวัดสะดือเมืองมาตั้งไว้ที่วัดเจดีย์หลวง พร้อมทั้ง สร้างวิหารครอบไว้เมื่อปี พ.ศ. 2343 ต่อมาวิหารอินทขิล ช�ำรุดทรุดโทรมลง ในปี พ.ศ. 2496 ครูบาอภิชยั ขาวปี นักบุญ แห่งล้านนาไทย จึงได้สร้างวิหารอินทขิลขึ้นใหม่ดังที่เห็นอยู่ ในปัจจุบัน และท่านยังน�ำเอาพระพุทธรูปปางขอฝน หรือ พระคันธารราษฎร์มาประดิษฐานไว้บนเสาอินทขิลด้วย เพื่อ ให้ชาวเมืองได้กราบไหว้บูชาคู่กัน ต่อมาปี พ.ศ. 2514 นาง สุรางค์ เจริญบุญ ได้บริจาคทรัพย์ท�ำการซ่อมแซมวิหาร อินทขิลอีกครัง้ และครัง้ ล่าสุดคือทางวัดเจดีย์หลวงได้บูรณะ ขึ้นใหม่

วางในพาน (ขัน) จนครบ เหมือนกับการใส่บาตรดอกไม้ การ ถวายดอกไม้เป็นการแสดงความเคารพบูชาแก่เสาอินทขิล กุมภัณฑ์ ฤาษี และพระรัตนตรัย พานใส่ขันดอกไม้บูชาเสา อินทขิลนีม้ ถี งึ 28 พานใหญ่ นับว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ และยังมีพานของอารักษ์เมือง 1 พาน และยังมี ขันดอกไม้บชู าท้าวทัง้ สี่ คือท้าวจตุโลกบาลอีก 1 ใบ แตะไม้ไผ่ สานส�ำหรับวางดอกไม้รอบเสาอินทขิล รวมถึงรูปสัตว์ประจ�ำ ทิศ นอกจากนั้นยังมีที่บูชารอบเสาอินทขิลอีก 8 แห่ง คือ บูชาพระฤาษี 1 แห่ง บูชาตาปะขาวลัวะ 1 แห่ง บูชาต้นไม้ ยาง 1 แห่ง กุมภัณฑ์ 2 ตน ตนละแห่ง (ปัจจุบันน�ำมารวมกัน ไว้ที่ต้นยางหลวง จึงท�ำให้รวมเป็นที่บูชาเดียวกัน) บูชาพระ สังกัจจาย 2 แห่ง บูชาพระธาตุเจดีย์หลวง 1 แห่ง เสร็จจาก ใส่บาตรดอกไม้และบูชาดังกล่าวแล้ว ก็ไปสรงน�ำ้ พระพุทธรูป ฝนแสนห่าจากวัดช่างแต้ม ซึ่งอยู่ใกล้ๆ วัดเจดีย์หลวง ชาว เชียงใหม่เชือ่ ว่าพระพุทธรูปองค์นม้ี พี ทุ ธานุภาพบันดาลให้ฝน ตกต้องตามฤดูกาล เทศบาลนครเชียงใหม่ จึงอาราธนามา ประดิษฐานบนรถแห่ไปตามถนนส�ำคัญ ในเมืองให้ประชาชน สรงน�้ำในวันแรม 12 ค�่ำ เดือน 8 ซึ่งเป็นวันเริ่มงานประเพณี หลังจากนั้นก็น�ำมาประดิษฐานไว้วงเวียนหน้าพระวิหารวัด เจดียห์ ลวงทุกวันตลอดงานพิธเี ข้าอินทขิล เพือ่ ขอบันดาลให้ ฝนตกตลอดฤดู และบูชาพระพระอัฏฐารสภายในพระวิหาร เพื่อความเป็นสิริมงคลกับตนและครอบครัว เครื่องพิธีพลีกรรมบูชาในการบูชาอินทขิลมีข้าวตอก ดอกไม้ และเทียน 8 สวย พลู 8 สวย ดอกไม้เงิน 1 ผ้าขาว 1 ร�ำ ช่อขาว 8 ผืน มะพร้าว 2 แคนง กล้วย 2 หวี อ้อย 2 เล่ม ข้าว 4 ควัก (กระทง) แกงส้ม แกงหวานอย่างละ 4 โภชนะอาหาร 7 อย่าง ใส่ขันบูชา การบูชาต้นยางหลวง (ไม้หมายเมือง) ในวัดเจดีย์หลวง มีเครื่องบูชาประกอบด้วยเทียน 2 คู่ พลู 2 สวย ดอกไม้ พิธีใส่ขันดอก (ไม้) บูชาเสาอินทขิล 2 สวย หมาก 2 ขด 2 ก้อม ช่อขาว 4 ผืน หม้อใหม่ 1 พิธีใส่ขันดอก (ไม้) บูชาเสาอินทขิล เป็นพิธีที่กระท�ำต่อ ใบ กล้วย 1 หวี ข้าว 4 ควัก แกงส้มแกงหวานอย่างละ จากการจุดธูปเทียนบูชาอินทขิล ทางวัดจะเตรียมพานเรียงไว้ 4 โภชนะอาหาร 7 อย่าง การบูชากุมภัณฑ์ 2 ตน ในวัด เป็นจ�ำนวนมากเพือ่ ให้ประชาชนน�ำดอกไม้ทตี่ นเตรียมมาไป เจดีย์หลวง ให้แต่งหอไม้อ้อต้นละหอ เครื่องบูชามีเทียนเงิน

41


4 เล่ม เทียนค�ำ 4 เล่ม ช่อขาว 8 ผืน ช่อแดง 8 ผืน ฉัตร ขาว 2 ฉัตรแดง 2 มะพร้าว 4 แคนง กล้วย 4 หวี อ้อย 4 เล่ม ไหเหล้า 4 ไห ปลาปิ้ง 4 ตัว เนื้อสุก 4 ชิ้น เนื้อดิบ 4 แกงส้มแกงหวานอย่าง 4 เบี้ย 1300 หมก 1000 ผ้าขาว 1 ร�ำ อาสนะ 12 ที่ การบูชาช้าง 8 เชือกที่พระเจดีย์หลวง ซึ่งช้างแต่ละตัวมี เครื่องบูชาดังนี้ เทียนเงิน 1 คู่ เทียนค�ำ 1 คู่ ฉัตรแดง ช่อ แดง 1 มะพร้าว 1 แคนง กล้วย 1 หวี อ้อย 1 เล่ม หญ้า 1 หาบ หมาก 1 ขด 1 ก้อม พลู 1 เล่ม ข้าวตอกดอกไม้ แดง 7 อย่าง ใส่ขันบูชา ซึ่งการบูชานี้ก่อให้เกิดความรักและเคารพต่อบรรพบุรุษ ตั้งแต่แรกสร้างเวียง รวมถึงเป็นการบ�ำรุงหลักรวมใจของ เมืองคือ “เสาอินทขิล” โดยผู้คนจากทุกอ�ำเภอจะมีการเดิน ทางเข้ามาร่วมพิธีนี้อย่างเนืองแน่น

42

พิธีท�ำบุญเมือง พิธีท�ำบุญเมืองและสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ จัดขึ้นในวัน ที่ 9 มิถุนายน 2559 ตามธรรมเนียมปฏิบัติ พิธีท�ำบุญเมือง สืบเป็นพิธีที่กระท�ำหลังจากสิ้นสุดการบูชาเสาอิทขิลแล้ว ระยะหนึ่ง แต่ก็ยังคงอยู่ในช่วงครึ่งแรกของเดือน 9 เหนือ ประเพณี มี ขึ้ น เนื่ อ งจากเมื อ งเชี ย งใหม่ ส ร้ า งขึ้ น ตามหลั ก โหราศาสตร์ และการเลือกชัยภูมิ เพื่อให้ได้ชัยภูมิ เวลา และ ฤกษ์ท่ีเป็นมงคล อันเชื่อว่าจะบันดาลให้เมืองเจริญรุ่งเรือง สืบไป อย่างไรก็ตาม เมื่อวันเวลาผ่านไปย่อมมีบางช่วงที่

ดวงเมืองเบี่ยงเบนตามลัคนา ชาวล้านนาเชื่อว่าการท�ำบุญ สืบชะตาเมือง จะช่วยให้เคราะห์ร้ายลดลงและสถานการณ์ ต่างๆ กลับดีขึ้นไป ซึง่ พิธสี บื ชะตาของชาวล้านนา เป็นประเพณีสำ� คัญทีเ่ ชือ่ ม ต่อถึงการต่ออายุหรือต่อชีวิตของคน ของบ้าน และเมืองให้ ยืนยาว มีความสุข ความเจริญ ตลอดจนการขจัดปัดเป่า เหตุเภทภัยอันตรายต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นให้แคล้วคลาด ปลอดภัย พิธีสืบชะตาของชาวล้านนานี้แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ • สืบชะตาคน นิยมท�ำเมื่อถึงวันเกิดที่ครบรอบ 12 ปี อันเป็นการครบรอบปีนกั ษัตรทัง้ 12 ซึง่ ได้กล่าวมาข้างต้นว่า เป็นการวนบรรจบครบรอบ “วัฏจักรฟ้า ราศีดนิ ” เช่น 24 ปี 36 ปี 48 ปี 60 ปี 72 ปี หรือมีการเปลีย่ นสถานภาพใหม่ ทัง้ ทีด่ ขี นึ้ หรือทีไ่ ม่ดใี ห้กลับเป็นดี เช่น การขึน้ บ้านใหม่ การย้าย ทีอ่ ยูใ่ หม่ หรือได้รบั ยศหรือต�ำแหน่งสูงขึน้ เป็นต้น หรือการ กลับพลิกฟื้นให้ดีขึ้น เช่น ท�ำพิธีสืบชะตาเพื่อให้ฟื้นจากป่วย หนัก หรือมีผทู้ กั ทายว่าชะตาไม่ดจี ำ� เป็นต้องสะเดาะเคราะห์ และสืบชะตา เป็นต้น • สืบชะตาบ้าน นิยมท�ำเมื่อคนในหมู่บ้าน ประสบ ความเดือดร้อน หรือเจ็บไข้ได้ป่วยกันทั่วไปในหมู่บ้าน หรือ ตายติดต่อกันเกิน 3 คนขึ้นไป ถือเป็นเสนียดของหมู่บ้าน คนในหมูบ่ า้ นอาจพร้อมใจกันจัดในช่วงปีใหม่เมือง (เมษายน) ในวันปากปี ปากเดือน หรือปากวัน คือวันที่หนึ่ง สอง หรือ สามวันหลังวันเถลิงศก เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล


• สืบชะตาเมือง เดิมจะจัดขึ้นเมื่อบ้านเมืองเกิดความ เดือดร้อนจากอิทธิพลของดาวพระเคราะห์ตามความเชือ่ ทาง โหราศาสตร์ เพราะท�ำให้บ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย เกิดศึก เกิดการจราจล หรือเกิดโรคภัยแก่ประชาชน เจ้านาย ท้าว พระยาของบ้านเมือง จึงจัดพิธีสืบชะตาเมืองเพื่อให้อายุของ เมืองได้ด�ำเนินต่อเนื่องสืบไปเพื่อความผาสุข พิธีท�ำบุญเมืองเชียงใหม่ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นในปี 2511 โดย เทศบาลนครเชียงใหม่ และจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยได้ ผนวกพิธสี บื ชะตาเมืองเชียงใหม่เข้าไว้ดว้ ย พิธนี กี้ ระท�ำในตัว เมือง 10 แห่งคือทีก่ ลางเวียงอันเคยเป็นสะดือเมือง ประตูทงั้ 5 ประตู และแจ่งเวียง (มุมเมือง) ทัง้ 4 แจ่ง ต่อมาการท�ำพิธี ท�ำบุญเมืองตรงจุดกลางเวียง ได้เปลี่ยนเป็นบริเวณข่วงลาน พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ที่สร้างขึ้นใหม่และน�ำมา ประดิษฐานทีห่ น้าศาลากลางเก่า ตัง้ แต่ พ.ศ. 2526 ก็กระท�ำ ทีบ่ ริเวณนีม้ าโดยตลอด และยังมีจดุ ท�ำพิธนี อกเมืองที่ “แก่ง ปันเต๊า” อ�ำเภอเชียงดาว ซึง่ เป็นบริเวณหน้าด่านโบราณของ เมือง ในการเดินทางสู่ดอยอ่างสลุง หรือดอยหลวงเชียงดาว อันเป็นที่สิงสถิตย์ของ “เจ้าหลวงค�ำแดง” อารักษ์ของเวียง เชียงใหม่ ก่อนพิธีท�ำบุญเมือง จะมีการ “ฮอมสายสิญจน์” หรือน�ำ ปัจจัย สายสิญจน์ อาหาร มาร่วมบุญของชาวเมือง และมีการ โยงสายสิญจน์รอบเมืองเชียงใหม่ และผ่านไปยังบ้านแต่ละ หลังจนครบทุกชุมชน มีการท�ำตาแหลวมัดด้วยเชือกคาเขียว ที่บริเวณประตูเมืองเพื่อเป็นสัญลักษณ์ ในมณฑลพิธีกลางเวียง นิมนต์พระสงฆ์ 9 รูปเป็นผู้ ประกอบพิธี ส่วนมณฑลพิธีที่เหลืออีก 9 แห่ง มีพระสงฆ์ แห่งละ 11 รูปท�ำพิธี รวมทั้งสิ้นคือ 108 รูป เท่ากับจ�ำนวน 108 มงคลในลัทธิพราหมณ์ และเท่ากับคุณแห่งพระพุทธ คุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ รวม 108 ประการเช่น กัน พิธีสืบชะตาเมืองเชียงใหม่กระท�ำขึ้นพร้อมๆ กันทุกจุด ในเวลา 07.00 นาฬิกา พิธีเริ่มด้วยการจุดธูปเทียนบูชาพระ รัตนตรัย สมาทานเบญจศีล พระภิกษุสงฆ์ เจริญพระพุทธ

มนต์ แล้วแสดงธรรมเทศนากริกวิจารณสูตร ซึ่งเป็นคัมภีร์ ที่เป็นมงคล และการเทศน์ธรรมสืบชะตาพร้อมกันรูปละ 1 ผูก รวม 9 ผูก ได้แก่ มหาทิพย์มนต์ 1 ผูก อุณหัสสะวิไชย 1 ผูก โลกาวุฒิ 4 ผูก สะลาถะวิชชาสูตร 1 ผูก พุทธะสังคะ หะโลก 1 ผูก และมหาไชยมงคล 1 ผูก เมื่อจบมีพิธีถวายไทยทานพระสงฆ์อนุโมทนา กรวดน�้ำ อุทศิ ส่วนกุศลแก่เทพยดาอารักษ์ ตลอดจนดวงพระวิญญาณ พระยามังราย และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทุกพระองค์แล้ว จึงถวายภัตตาหารเพลแก่พระสงฆ์ หลังจากนัน้ ผูค้ นในพิธจี ะ แบ่งเส้นด้ายสายสิญจน์ทผี่ กู เป็นแผงตาข่ายในปะร�ำพิธมี ามัด ข้อมือ หรือน�ำน�ำ้ มนต์ในพิธกี ลับไปฝากคนทางบ้านทีไ่ ม่ได้มา ร่วมพิธีเพื่อเป็นสิริมงคลอีกด้วย พิธีอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุมาประดิษฐาน (ชั่วคราว) ณ วัดต้นเกว๋น และ มณฑลพิธีลาน พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ พิธีนี้เป็นพิธีที่จัดขึ้นเป็นการณ์เฉพาะโอกาสส�ำคัญของ บ้านเมือง ถือเป็น “ราชประเพณี” อันงดงามของเมือง ตาม หลักฐานที่ปรากฏ จากบันทึกเเละจารึกต่างๆ ท�ำให้ทราบว่า ในอดีตเจ้าผูค้ รองนครเชียงใหม่จะเป็นผูอ้ ญ ั เชิญบรมพระธาตุ จากวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารมาประดิษฐานในเมือง เชียงใหม่ในหลายวาระ โดยขึ้นเสลี่ยงหลังช้างเป็นกระบวน แห่เดินทางเข้าสู่เวียงเชียงใหม่ แต่ก่อนจะเข้าเวียงเชียงใหม่ ก็ได้แวะพักตามทาง เช่นที่วัดทุ่งอ้อ อ�ำเภอสันป่าตอง และ ที่วัดต้นเกว๋น อ�ำเภอหางดง เพื่อให้ประชาชนนอกเวียงแถบ นั้นได้สรงน�้ำสักการะ จากนั้นจึงอัญเชิญเข้าเวียงเชียงใหม่ เพื่อให้เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และชาวเมืองสรงน�้ำสักการะ ซึ่งจากการตรวจสอบปีอัญเชิญของต�ำนานแต่ละฉบับ บาง ครัง้ มีความคลาดเคลือ่ นกันบ้าง หากแต่สาระยังคงเดิม (อ่าน บทน�ำ) ดังในครั้งที่ 8 นี้ซึ่งเป็นพิธีที่เริ่มจากภาคประชาชน โดย ศรัทธาประชาชน คณะสงฆ์และภาคราชการ ได้ร่วมกัน อัญเชิญและสักการะพระทักขิณโมลีธาตุออกจากวัดพระธาตุ

43


44

ศรีจอมทองวรวิหารมายังจังหวัดเชียงใหม่ เพือ่ เป็นประโยชน์ ต่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีโบราณอันดีงามของจังหวัด เชียงใหม่ สร้างการมีส่วนร่วมของเอกชน ชุมชน และเกิด การเรียนรู้สืบสานวัฒนธรรมควบคู่ไปพร้อมกับการส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ และสมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยมีกระบวนการท�ำงานก่อนหน้าวันอัญเชิญพระบรม ธาตุเริ่มต้นเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2559 เวลา 16.00 น. ที่นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมสมาชิกสภาใน พื้นที่เดินทางมากราบขออนุญาตจากพระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง สิริมังคโล) เพื่อจัดงานอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้า ศรีจอมทองเข้าเมืองเชียงใหม่ตามแบบราชประเพณี ซึ่งจะ อัญเชิญเข้าเวียงเมือ่ มีเหตุการณ์สำ� คัญ เหตุแห่งการอัญเชิญ พระบรมธาตุในครัง้ นีค้ อื “เพือ่ สมโภชเมืองเชียงใหม่ ในวาระ ครบรอบ 720 ปี” ขณะเดียวกันได้ท�ำงานเพื่อสร้างความ เข้าใจกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเริ่มจากการขออนุญาตน�ำ พระทักขิณโมลีธาตุ ซึ่งประดิษฐานที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร จากคณะกรรมการวัดและพระภิกษุสงฆ์ และการ ประสานไปยังทุกสถานที่ที่จะเป็นที่ประดิษฐานพระทักขิณ โมลีธาตุ เส้นทางเสด็จ รวมถึงการประชุมทุกภาคส่วนใน 6 อ�ำเภอ เช่น ทหาร ต�ำรวจจราจร ข้าราชการปกครองส่วน ท้องถิ่น เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการการรื้อฟื้นประเพณี ซึ่ง จะมีการแสดงข้อกังวล ห่วงใย เพราะเดิมงานนี้คือ “ราช

ประเพณี” หากแต่เมื่อไม่มีการรื้อฟื้น ประเพณีนี้จะหลง เหลือเพียงความทรงจ�ำ ดังนัน้ จากการประชุมของคณะสงฆ์ ในหลายอ�ำเภอ ซึง่ ล้วนแต่เคยได้ยนิ มาว่าเคยมีประเพณีนี้ จึง ต่างหาวิธกี ารทีด่ ที สี่ ดุ ส�ำหรับการร่วมจัดการงานนีโ้ ดยเฉพาะ อันถือเป็นการรือ้ ฟืน้ ประวัตศิ าสตร์และความทรงจ�ำร่วมของ ผู้คนในสังคมล้านนา 2. มิติเชื่อมโยงเรื่องกายภาพของเมือง การด�ำเนินงานเรื่องอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุนี้มิได้ เป็นการด�ำเนินการแบบแยกส่วน หากแต่มีการมองภาพ รวมของเมืองเชียงใหม่ ที่ชาวเมืองเชื่อกันว่า “มีชีวิตและจิต วิญญาณ” ตั้งแต่ครั้งอดีต จุดก�ำเนิดของพิธีนี้มีความเกี่ยว พันกับวิธีคิดดั้งเดิมของที่วางแนวคิดไว้ว่าเมืองเชียงใหม่แห่ง นี้คือ “ร่างกาย” ทางกายภาพ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดที่ สัมพันธ์กับคัมภีร์ “วัสดุปุรุษมณฑล” ที่น�ำมาใช้ในการสร้าง ศาสนสถานในศาสนพราหมณ์และฮินดู ในอินเดียและกัมพูชา และพิธีกรรม คือกระแสเลือดหรือธาตุต่างๆ ที่ท�ำให้ร่างกาย สามารถด�ำรงได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ ในส่วนพิธีกรรมได้เริ่มจากอ�ำเภอจอมทอง ซึ่งเป็น ทางทิศใต้ของเมือง การออกแบบตราสัญลักษณ์ (logo) โดย นายอาณัฐพล ไชยศรี ศิษย์เก่าคณะวิจิตรศิลป์ จึงออกแบบ โดยเชื่อมโยงกับลวดลายของเครื่องเขินสายใต้ของเชียงใหม่ ที่ตกแต่งด้วยการเขียนลายที่เรียกว่าการ “ฮายดอก”


นอกจากนั้น ในส่วนของเส้นทางอัญเชิญพระธาตุ จะ เชือ่ มโยงกับองค์ประกอบของเมืองเชียงใหม่ ทีอ่ ญ ั เชิญจากวัด พระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อันเป็นทิศใต้ของเมือง ซึ่งเป็น ต�ำแหน่งทิศของ “มนตรีเมือง” หมายถึงผู้อุปถัมภ์ค้�ำชูตาม แนวทางเรือ่ งดวงดาวจะมีเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับ “ดวงเมือง” ที่ เรียกกันว่า “ทักษาเมือง” ซึ่งเป็นสิ่งที่เชื่อกันว่าถูกน�ำมาคิด ในการสร้างเมืองในสมัยพระยามังรายและพระยาติโลกราช แล้ว ยังเป็นเครื่องหมายก�ำหนดอาณาเขตของการประกอบ กิจกรรมหรือการแบ่งเขตทีอ่ ยูข่ องชนชัน้ ต่างๆ ภายในก�ำแพง เมืองเชียงใหม่อกี ด้วย แนวคิดเรือ่ งการตัง้ เวียงเชียงใหม่แบ่ง ออกเป็นเขตต่างๆ อาศัยความเชื่อเรื่องดวงเมืองตามคัมภีร์ มหาทักษา ทักษาเวียงเชียงใหม่ตามการค�ำนวณของดวง เมืองเวียงเชียงใหม่นั้นจะได้แก่ • อายุเมือง–ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ–พระเจ้าแผ่นดิน • เดชเมือง–ทิศเหนือ–การเมืองการปกครอง • ศรีเมือง–ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ–พระเจ้าแผ่นดิน • มูลเมือง–ทิศตะวันออก–การพาณิชยกรรม • อุตสาหะเมือง–ทิศตะวันออกเฉียงใต้–การอุตสาหกรรม • มนตรีเมือง–ทิศใต้–ที่พักอาศัยขุนนางเจ้าหน้าที่ • บริวารเมือง–ทิศตะวันตก–ที่พักอาศัยไพร่พลเมือง

กับการพบพระบรมธาตุ ดังว่า ในสมัยพระเมืองแก้ว (พ.ศ. 2038–2068) ที่มี “พระพุทธญาโณ” หรือครูบาวัดป่าฟ้า หลัง่ ได้นำ� ต�ำนานพระมหาธาตุเจ้ามาจากพุกาม แล้วสามารถ ก�ำหนดพบพระบรมธาตุองค์นี้] ตามเส้นทางสายเลี่ยง เมืองหางดง สันป่าตอง และสายคันคลองชลประทานและ ประดิษฐานทีว่ ดั ต้นเกว๋น 1 คืน (10 มิถนุ ายน) แล้วจึงอัญเชิญ เข้าเมืองในวันรุ่งขึ้น (11 มิถุนายน) ทั้งนี้โดยอัญเชิญผ่าน เข้าสูถ่ นนสุเทพ แล้วประทับ (ชัว่ คราว) ทีว่ ดั สวนดอกเพือ่ ท�ำ พิธีถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ ก่อนที่จะตั้งขบวนเพื่อ อัญเชิญเข้าเมืองโดยเดินจากวัดสวนดอกเข้าถนนคูเมืองด้าน นอก ผ่านวัดปันเส่า วัดโลกโมฬี และขบวนพระบรมธาตุเข้า สู่เมืองทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นทิศของเดชเมือง แล้วอัญเชิญให้ ประชาชนสรงน�ำ้ และท�ำพิธสี งฆ์ตลอดคืนทีบ่ ริเวณกลางเวียง ทั้งนี้ การอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าเวียงจะสัมพันธ์กับ วิธีคิดที่แสดงความมีตัวตนของเวียงหรือเมือง โดยแบ่งเป็น “หัว” “ตัว” (ปุ๋ม หรือท้องที่มีสะดือ หรือสายดือเวียง อยู่ ด้วย) และ “ตีน” หรือ ท้าย ดังปรากฏชื่อเรียกบริเวณทิศ ต่างๆ ของเมือง เช่น • ประตูทิศเหนือเรียกว่า “ประตูหัวเวียง” มาตั้งแต่ แรกสร้าง แล้วมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ประตูช้างเผือก” ตามชื่อ อนุสาวรีย์ช้างเผือก การอัญเชิญพระธาตุเริ่มมาจากทิศที่เป็นมนตรีเมืองขึ้น • กลางเวียงหรือส่วนท้อง ศูนย์กลางของเมือง คือ มาทางเหนือ ผ่านอ�ำเภอจอมทอง แม่วาง หยุดให้ประชาชน บริเวณของหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ พระบรมราชา สักการะที่หน้าวัดฟ้าหลั่ง [ซึ่งเป็นวัดที่มีประวัติเชื่อมโยง นุสาวรีย์สามกษัตริย์ (ปัจจุบัน)

45


46

• ประตูทิศใต้เรียกว่า “ประตูท้ายเวียง” แต่ต่อมา พระทักขิณโมลีธาตุ เช่นวัดฟ้าหลัง่ อ�ำเภอดอยหล่อ หรือผ่าน เปลี่ยนชื่อเป็นประตูเชียงใหม่ โดยยังไม่ทราบเหตุผล เวียงโบราณของล้านนา เช่นเวียงแม อ�ำเภอสันป่าตอง อีกทัง้ ถนนมีขอบทาง หรือเกาะกลางถนนทีส่ ะดวกต่อการตัง้ ปะร�ำ ซึ่งการท�ำพิธีกรรมต่างๆ จะสัมพันธ์กับต�ำแหน่งของ พิธีต่างๆ ได้ หัวเวียง หรือกลางเวียง แล้วจะจบกระบวนการที่ท้ายเวียง ทั้งนี้ แนวคิดที่คณะท�ำงานได้ประชุมหาแนวทางแก้ไข กล่าวคือ การอัญเชิญพระบรมธาตุออกจากเวียง โดยเปรียบ มีหลายรูปแบบ หากไม่สามารถหาทางเลี่ยงสะพานลอยได้ ดังการท�ำทักษิณาวัตร (เวียนขวา) ผ่านรอบเวียงด้านนอก เช่น การสร้างสะพานไม้ไผ่ ปูผ้าขาวเพื่อข้ามสะพานลอย โดยอัญเชิญพระบรมธาตุออกทางประตูหวั เวียง พร้อมขบวน หรือ การสร้างสะพานไม้ไผ่ดา้ นข้างสะพานลอย ซึง่ ท้ายทีส่ ดุ พระเสตังคมณีและพระศิลา ขบวนพระบรมธาตุเริ่มขบวน ขบวนอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุ ได้เลือกการเปลี่ยนขบวน จากกลางเวียงไปถนนพระปกเกล้า ออกไปยังทิศเหนือ ประตู อัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุเข้ารถตูโ้ ดยมีการอารักขา ขับรถ ช้างเผือก ซึ่งเป็นเดชเวียง เลี้ยวขวาไปตามคูเมืองด้านในไป อ้อมลัดเลาะเข้าไปในหมูบ่ า้ น เพือ่ หลีกเลีย่ งสะพานลอยปาก ตามถนนศรีภูมิ ขบวนพระเสตังคมณี และพระศิลา เสด็จ ทางเจริญ อ�ำเภอแม่วาง แล้วน�ำขึน้ บนรถประดิษฐานอีกครัง้ กลับสู่วัดเชียงมั่น โดยแยกจากขบวนตรงทางแยกถนนราช หนึ่ง เพื่อให้ศรัทธาประชาชนได้สักการะ ภาคินัย เพื่อเสด็จกลับยังวัดเชียงมั่น หรือการแก้ปัญหาเรื่องเส้นทางเสด็จที่ต้องผ่านสะพาน ขบวนพระบรมธาตุเสด็จต่อผ่านแจ่งศรีภมู ิ ผ่านตลาดสม ลอยบริเวณหน้าโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ จึงประชุมร่วมกับ เพชร ผ่านโรงเรียนเทศบาลวัดดอกเงิน ผ่านประตูทา่ แพ ผ่าน จราจรจังหวัดเชียงใหม่ และได้เลือกเส้นทางย้อนถนนวันเวย์ วัดทรายมูลเมือง เลี้ยวขวาที่แจ่งกะต�๊ำ ไปตามถนนบ�ำรุงบุรี ตัง้ แต่หน้าดับเพลิงประตูเชียงใหม่ ผ่านเข้าคูเมืองด้านในผ่าน ผ่านวัดทรายมูลเมืองพม่า ผ่านตลาดประตูเชียงใหม่ อันเป็น ประตูสวนปรุง สวนบวกหาด แล้วค่อยออกสูถ่ นนคูเมืองด้าน “ท้ายเวียง” แล้วเลี้ยวเข้าคูเมืองด้านใน เพื่อผ่านประตูสวน นอกบริเวณหน้าโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ แล้วเลีย้ วผ่านถนน ปรุง ถึงแจ่งกู่เฮือง เลี้ยวขวาตามถนนอารักษ์ แล้วจึงกลับสู่ สุเทพกลับตามเส้นทางเดิม ซึง่ ท�ำให้ขบวนอัญเชิญสามารถวน เส้นทางเดิมตามอ�ำเภอต่างๆ ได้รอบเมืองเชียงใหม่อย่างครบถ้วน นอกจากนั้นยังมีการพยายามในการรื้อฟื้นเส้นทางเสด็จ ในอดีต ซึ่งผลสรุปจากการประชุมหลายครั้ง พบข้อจ�ำกัด 3. มิตขิ องการรือ้ ฟืน้ ประวัตศิ าสตร์ความทรงจ�ำร่วม หลายเรือ่ งทีต่ อ้ งแก้ไขเส้นทางอัญเชิญพระบรมธาตุเสด็จ ซึง่ ความทรงจ�ำร่วมที่เกี่ยวข้องกับการอัญเชิญพระธาตุเข้า ในอดีตมีทงั้ เส้นทางบนบกและเส้นทางน�ำ้ โดยมีวตั ถุประสงค์ เมือง นั้นมี 4 เรื่องใหญ่ คือ คือ การจัดเส้นทางให้ศรัทธาสาธุชนได้มสี ว่ นร่วมในพิธใี ห้มาก ที่สุด จึงเลือกใช้เส้นทางทางบก ทั้งนี้พบว่า เส้นทางทางบก เรื่องของศาลาจตุรมุขที่วัดต้นเกว๋น (อินทราวาส) มี 2 เส้นทาง คือเส้นทางสายเก่าคือ ถนนเชียงใหม่-ฮอด และ เป็นสิ่งที่ทราบอยู่ในประวัติศาสตร์ความทรงจ�ำของผู้ เส้นทางตัดใหม่ เลียบคลองชลประทาน แต่สดุ ท้ายคณะสงฆ์ อาวุโสล้านนา และเป็นเพียงเรือ่ งทีเ่ ล่าขานกันมา โดยเฉพาะ ของวัดพระธาตุจอมทองวรวิหาร ได้เลือกเส้นทางเลียบคลอง ที่ “ชุมชนต้นเกว๋น” บ้านหนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ชลประทาน ทีส่ ามารถข้ามพ้นขีดจ�ำกัดของการอัญเชิญพระ ว่าเป็นที่พักของขบวนพระธาตุเสด็จ โดยประจักษ์พยานคือ ทักขิณโมลีธาตุที่ห้ามลอดใต้สะพานลอย ได้สะดวกกว่า อีก “ศาลาจตุรมุข” ที่เล่ากันว่าคือ “ศาลาสรงน�้ำพระธาตุ” ใน ทัง้ เป็นเส้นทางทีผ่ า่ นวัดโบราณทีม่ ปี ระวัตศิ าสตร์เชือ่ มโยงกับ การด�ำเนินการครั้งนี้จึงพยายามหาหลักฐานจากผู้คน โดย


ทางวัดต้นเกว๋นน�ำโดยนายก�ำจร สายวงศ์อินทร์ ที่ปรึกษา นายกเทศมนตรีเทศบาลหนองควาย ได้สอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ และได้พบเพียงรูปถ่ายของการน�ำขบวนอัญเชิญพระธาตุมา ประดิษฐานชัว่ ขณะ ทีบ่ นวิหารวัดต้นเกว๋นเมือ่ 20 ปีทผี่ า่ นมา คราวฉลองเมืองเชียงใหม่มอี ายุครบ 700 ปี และอัญเชิญพระ ธาตุมาให้สมเด็จพระบรมราชินีทรงสรงน�้ำ มีคณะศรัทธา หนุ่มสาววัดต้นเกว๋นฟ้อนต้อนรับ โดยมิได้มีการพักค้างคืน ทั้งนี้ในการจัดงานครั้งนี้ ชุมชน คณะสงฆ์และศรัทธา ของวัดต้นเกว๋น มีความต้องการที่จะรื้อฟื้นประวัติศาสตร์ ของชุมชนทีเ่ ล่าสืบต่อกันมา ว่าวัดต้นเกว๋นเป็นทีป่ ระดิษฐาน พระบรมธาตุ จึงได้อาราธนาพระบรมธาตุและขบวนพักทีว่ ดั ต้นเกว๋น 1 คืน โดยมีพิธีสรงน�้ำพระบรมธาตุในศาลาจตุรมุข เช่นในอดีต โดยในการเตรียมการได้ส�ำรวจในพิพิธภัณฑ์ ของวัดพบรางรินแบบโบราณ 2 ตัว ซึ่งสันนิษฐานว่าถูกน�ำ มาใช้เพื่อการสรงน�้ำพระธาตุ พบปราสาทไม้ขนาดเล็กขา สูง ซึง่ สันนิษฐานว่าเป็นทีป่ ระดิษฐานพระบรมธาตุในพิธสี รง น�้ำ จึงได้น�ำมาใช้ในการครั้งนี้ ขณะเดียวกันก็พบแท่นฐาน ไม้ที่ไม่ทราบว่าใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด แต่เมื่อมีการอัญเชิญ พระบรมธาตุขึ้นท�ำพิธีภาคกลางคืน จึงพบว่าแท่นฐานไม้ใน พิพิธภัณฑ์นั้นสามารถน�ำปราสาทหอนอนของพระบรมธาตุ ประดิษฐานได้อย่างเหมาะเจาะพอดี ในสมัยโบราณเมื่อครั้งที่เมืองเชียงใหม่ยังมีระบบเจ้าผู้ ครองนคร ในโอกาสวันสงกรานต์หรือเหตุการณ์ส�ำคัญของ เมืองนัน้ จะมีการอัญเชิญพระบรมสารีรกิ ธาตุศรีจอมทอง ขึน้ เสลี่ยงหลังช้างเป็นขบวนแห่เดินทางเข้าสู่เวียงเชียงใหม่ แต่ ก่อนจะเข้าเวียงเชียงใหม่ได้แวะพักทีว่ ดั ต้นเกว๋นคืนหนึง่ เพือ่ ให้ประชาชนนอกเวียงแถบนั้นได้สรงน�้ำสักการะ จากนั้นจึง อัญเชิญเข้าเวียงเชียงใหม่เพือ่ ให้เจ้าผูค้ รองนครเชียงใหม่และ ชาวเมืองสรงน�้ำสักการะ ด้วยเหตุนี้วัดต้นเกว๋นในอดีต จึง เป็นวัดส�ำคัญ ซึง่ ยังปรากฏร่องรอยของศิลปะสถาปัตยกรรม ล้านนาทีง่ ดงามตามแบบฝีมอื ช่างหลวง อาทิ พระวิหาร ศาลา จตุรมุขทีเ่ คยใช้เป็นทีป่ ระดิษฐานพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ทุก วันนีย้ งั มีมณฑปและรางรินสรงน�ำ้ พระบรมสารีรกิ ธาตุเจ้าอยู่

การอั ญ เชิ ญ พระธาตุ เ จ้ า ศรี จ อมทองเข้ า มายั ง เวี ย ง เชียงใหม่เพื่อความเป็นสิริมงคลดังกล่าว เป็นประเพณีที่มี มาแต่โบราณและยกเลิกไปเมื่อสิ้นระบบเจ้าผู้ครองนคร ต่อ มาในประมาณหลัง พ.ศ. 2477 จึงได้มีการอัญเชิญพระพุทธ สิหิงค์ วัดพระสิงห์ฯ ออกมาเพื่อสรงน�้ำสักการะในโอกาสปี ใหม่เมืองอีกครั้ง ตามแบบอย่างของกรุงเทพฯ ที่อัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานที่ท้องสนามหลวง ซึ่งริเริ่มขึ้น ในสมัยพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี เรื่องของ “ปีเปิ้ง” หรือพระธาตุประจ�ำปีเกิด ความเชือ่ เรือ่ งพระธาตุเจดียป์ ระจ�ำปีเกิดนัน้ ไม่ใช่ขอ้ วัตร ปฏิบัติหรือปรากฏในหลักธรรมค�ำสอนทางพระพุทธศาสนา แต่เป็นคติความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา ความเชื่อนี้จะมี มาตัง้ แต่เมือ่ ใดไม่ปรากฏ พบว่ามีบนั ทึกอยูใ่ นต�ำราพืน้ เมือง โบราณ สรุปใจความได้ว่า ก่อนที่วิญญาณจะมาปฏิสนธิใน ครรภ์ของผู้เป็นมารดานั้น วิญญาณจะลงมา “ชุธาตุ” ซึ่ง หมายถึงการทีด่ วงวิญญาณจะลงมาพักอยูท่ เี่ จดียแ์ ห่งใดแห่ง หนึง่ โดยมี “ตัว๋ เปิง้ ” (สัตว์ประจ�ำนักษัตร) พามาพักไว้ เมีอ่ ได้เวลาแล้ว ดวงวิญญาณก็จะเคลือ่ นจากพระเจดียไ์ ปสถิตอยู่ บนกระหม่อมของผู้เป็นบิดาเป็นเวลา 7 วัน ก่อนจะเคลื่อน เข้าสูค่ รรภ์ของมารดา และเมือ่ เสียชีวติ ลงแล้ว ดวงวิญญาณ ก็จะกลับไปพักอยูท่ เี่ จดียน์ นั้ ๆ ตามเดิม ซึง่ พระธาตุประจ�ำปี ชวดทีช่ าวล้านนาเคารพคือ พระบรมธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ดังนัน้ จึงเป็นกุศโลบายบุคคลซึง่ เกิดในปีนกั ษัตรใดก็ตาม สมควรที่จะหาโอกาสไปกราบไหว้พระธาตุประจ�ำปีเกิดของ ตนให้ได้อย่างน้อยครั้งหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นมงคลแก่ชีวิต มีอานิสงส์สูง และจะท�ำให้มีอายุยืนนาน รวมถึงเชื่อว่าหาก สิ้นชีพไป ดวงวิญญาณจะได้กลับไปยังพระธาตุองค์นั้น ไม่ ต้องเร่ร่อนไปในทุคคติภพอื่นๆ ความเชื่อเหล่านี้เองที่แพร่ หลายไปสู่หลายๆ พื้นที่ของประเทศ ก่อให้เกิดคติความเชื่อ เช่นเดียวกันนี้ แต่จะแตกต่างกันบ้าง ในส่วนของเจดียป์ ระจ�ำ ปีนักษัตรต่างๆ อีกทั้งยังพบว่ามีคติความเชื่อเรื่องพระธาตุ ประจ�ำวันเกิด ซึ่งเป็นเจดีย์ที่อยู่ในเขตจังหวัดนครพนมเพียง

47


จังหวัดเดียว เมื่อพิจารณาถึงความเชื่อเรื่องนี้แล้ว ถือได้ว่า เป็นความชาญฉลาดของบรรพชนชาวล้านนา ที่สอนให้ลูก หลานมีความเคารพในพระรัตนตรัย และเหตุทใี่ ห้นบั ถือพระ เจดียอ์ งค์ใดองค์หนึง่ เป็นพิเศษ อาจเป็นไปได้วา่ การเดินทาง ไปสักการะพระเจดียแ์ ต่ละองค์ในสมัยโบราณนัน้ ถือเป็นเรือ่ ง ใหญ่ เนือ่ งจากการเดินทางทีย่ ากล�ำบาก จ�ำเป็นต้องใช้ความ วิริยะและอุตสาหะอย่างสูง ดังนั้นการได้ไปกราบไหว้พระ ธาตุเจดียแ์ ม้เพียงองค์ใดองค์หนึง่ ย่อมก่อให้เกิดความชืน่ อก ชื่นใจแก่สาธุชนผู้มีความมุ่งมั่นในการเดินทางไปกราบไหว้ ภาพพระธาตุเจดีย์ที่ตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้า จะก่อให้เกิด ความปีตสิ ขุ และความอิม่ อกอิม่ ใจเอ่อท้น ประทับติดตรึงตรา อยู่ภายในใจ เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายถึงกาละแตกดับไปตาม ธรรมชาติ จิตก่อนตายจะไขว่คว้าหาบุญกุศลทีเ่ คยท�ำมา เมือ่ นั้น ภาพการไปกราบไหว้พระธาตุเจดีย์ และความรู้สึกสุขใจ ในบุญกุศลจะปรากฏสว่างไสวในจิต ซึ่งจะเป็นเหตุปัจจัยให้ ไปสู่สุคติภพได้โดยไม่ยากนัก

48

เรื่องของ “ข้าพระธาตุ” ของวัดพระธาตุจอมทอง วรวิหาร การกัลปนา ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการอุปถัมภ์ศาสนา ที่มีแนวคิดสัมพันธ์กับการอุทิศ สิ่งของ และแรงงานคนให้ กับศาสนา โดยมีจดุ เริม่ ต้นมาจากธรรมเนียมการปฏิบตั ขิ อง พราหมณ์ ท่ี่มีการถวายข้าคนสําหรับดูแลเทวสถาน หรือ เทวาลัยต่างๆ ซึ่งต่อมาพุทธศาสนาฝ่ายมหายานได้รับเอา แนวคิดดังกล่าวเข้ามาปฏิบตั ิ และพระสงฆ์ฝา่ ยนิกายเถรวาท ก็ได้สบื ทอดแนวคิดนีส้ บื ต่อมา จากการศึกษาของ ระวิวรรณ ภาคพรต ความหมายของคาํ ว่า “กัลปนา” หากพิจารณาตาม รูปศัพท์แล้ว กัลปนา (kalpana) ในภาษาสันสกฤตมีรากศัพท์ มาจากคาว่า “กฤปฺ” (klip อ่านว่า กริบ) มีความหมายว่า ถูกต้อง สมควร เหมาะสม ความสามารถ หรือความรอบรู้ ในหน้าที่ เม่ื่อ กฤปฺ + อน (klip + ana) ท�ำให้เกิดค�ำนาม กลฺปนา (kalpana) กับ กลฺปน (kalpana) ขึ้น

ในรัชสมัยของพระยากาวิละ (วชิรปราการ) ราว พ.ศ. 2322 ได้ เ ดิ น ทางไปนมั ส การพระธาตุ เ จ้ า ท่ี่ วั ด พระธาตุ จอมทอง และพบว่ามี “ข้าวัด” เดิมอาศัยอยู่ จึงได้สั่งการ ให้คนเหล่านั้นอยู่รักษาพระธาตุสืบต่อไป โดยในช่วงสมัย ท่ี่ปกครองโดยสยามนี้การกัลปนามักจะเป็นเพียงการสร้าง ศาสนวัตถุ ศาสนสถาน หรือการบริจาคเงินสิง่ ของเท่านัน้ ซึง่ ยังคงด�ำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่า การเป็นข้าวัด ข้าพระ ข้าพระธาตุ จะหมดไปจากระบบ สังคมล้านนาในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติศาสนสถาน สําคัญหลายแห่ง ท่ี่มีหลักฐานเกี่ยวกับการกัลปนาคนยังคง มีการใช้งานมาอย่างต่อเนือ่ ง และผูค้ นยังมีความทรงจ�ำเรือ่ ง แนวคิดของคนในชุมชนล้านนาเรื่องการกัลปนาคนในชุมชน รอบศาสนสถาน ที่สําคัญพบจารึกครั้งหลังสุดที่กล่าวถึงการ กัลปนาคนไว้เมือ่ พ.ศ. 2322 แต่จากการบันทึกทางราชการ ของสยามช่วงการปฏิรูปการเมืองการปกครอง พบข้อความ ที่กล่าวถึง ข้าวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารไว้ว่า “วัดนี้มี ข้าวัดราว 700 คน ส�ำหรับผลัดเปลี่ยนกันมาท�ำงาน ข้าวัด นี้ไม่ได้รับยกเว้นเงินค่าราชการ ท่ี่ได้ยกเว้นก็มีการเกณฑ์ จ้าง บางคราว พระครูเจ้าคณะแขวงปรารภว่าอยากจะให้ ได้ยกเว้น” กระนั้นก็ตาม มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจคือ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ระบบการจัดการแบบกองทหารตะวัน ตกก็ได้รับการปรับปรุง เช่นเดียวกับการประกาศ “พระราช บัญญัติการเกณฑ์ทหาร ร.ศ. 124” เป็นเหตุให้ข้าวัดไม่ต้อง เป็นสมบัติของวัดอีกต่อไป และไม่มีสิทธิพิเศษอ่ื่นใดในการ ยกเว้นการรับใช้ราชการ รวมถึงการสิ้นระบบเจ้าผู้ครอง นคร ชุมชนทีเ่ ป็นชุมชนของข้าวัดเดิมก็ได้กลายเป็น “ชุมชน ศรัทธาวัด” 12 ชุมชนรอบวัด ท่ี่คนในชุมชนต่างมีส�ำนึกร่วม กันในทางศาสนาว่า “ครอบครัวตนคือข้าพระธาตุ” แม้ว่า ปัจจุบนั จะไม่ได้มกี ารท�ำนาให้พระธาตุหรือรับใช้พระธาตุอกี ต่อไป รวมถึงการแต่งงานที่ท�ำให้ต้องย้ายถิ่นฐาน แต่เมื่อ มีการอัญเชิญพระธาตุเข้าเวียง ข้าพระธาตุทุกวัยต่างกลับ มารวมตัวกันเพื่อรักษาพระธาตุ ตั้งแต่การแห่เครื่องสูง แบก


ปราสาทประดิษฐานพระธาตุ รวมถึงการนอนเฝ้าพระธาตุ พุทธศาสนิกชนได้น�ำไปสรงองค์พระบรมธาตุ โดยได้จัด ในมณฑลพิธี เตรียมไว้ทั้งที่วัดต้นเกว๋น เเละลานพระบรมราชานุสาวรีย์ สามกษัตริย์ เรื่องธรรมเนียมปฏิบัติในการอัญเชิญน�้ำสรง ธรรมเนียมปฏิบัติเรื่องน�้ำสรงพระบรมธาตุศรีจอมทอง 4. มิติของการร้อยเรียงผู้คนของเมืองเข้าด้วยกัน คือ เมื่อถึงคราวอัญเชิญพระบรมธาตุออกสรง ก่อนวันงาน งานนีเ้ ป็นงานทีภ่ าคประชาชน คิดและริเริม่ ขึน้ ในจุดเริม่ จะมีเจ้าหน้าทีท่ ำ� หน้าทีข่ นึ้ ไปตักน�ำ้ บนตาน�ำ้ บนยอดดอยอ่าง ต้นโดยการคิดร่วมกันระหว่างทางฝ่ายสงฆ์ของวัดพระธาตุ กาน้อย บนดอยอินทนนท์ เพือ่ น�ำใช้เป็นน�ำ้ สรง ด้วยอนุโลม ศรีจอมทองวรวิหาร ได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหาร ตามต�ำนานพระเจ้าเลียบโลก ทีร่ ะบุวา่ เมือ่ ครัน้ พระพุทธเจ้า ส่ ว นจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ และเทศบาลนครเชี ย งใหม่ แ ละ เสด็จมาดินเเดนเเห่งนี้พระองค์ได้มาเสวยภัตตาหารที่ยอด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งต่อมาจังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้ว่า ดอยจอมทองเเล้วทรงสรงสนานน�้ำเเม่กลาง อันมีต้นก�ำเนิด ราชการจังหวัดเชียงใหม่และส่วนราชการอื่นๆ ได้ส่งเสริม จากตาน�้ำเเห่งนี้ เเล้วทรงมีพุทธท�ำนายว่าต่อไปในอนาคต ให้การสนับสนุน กาลที่เเห่งนี้จะเป็นที่รุ่งเรืองเเห่งพระศาสนา เเละจะเป็นที่ ในทางปฏิบัติการด�ำเนินงานและประสานงานส่วนใหญ่ ประดิษฐานพระบรมธาตุ ยังคงเป็นหน้าที่ของภาคประชาชน ประกอบด้วย คณะ การด� ำ เนิ น การครั้ ง นี้ จึ ง ได้ ด� ำ เนิ น การร่ ว มกั บ ทางวั ด วิจติ รศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทัง้ เจ้าหน้าที่ คณาจารย์ พระธาตุศรีจอมทองและคณะศรัทธา อุทยานแห่งชาติดอย กับนักศึกษาและศิษย์เก่าเป็นผูด้ ำ� เนินการหลัก และคุณก�ำจร อินทนนท์ ได้จัดขบวนขึ้นไป โดยตีกังสดาลน�ำขบวน พร้อม สายวงศ์อินทร์ ประสานงานภาครัฐและชุมชน เช่น เทศบาล กับการนิมนต์ท่านมหาประเสริฐ สิริปุณโณ กล่าวค�ำอัญเชิญ ต�ำบลหนองควาย กลุ่มสตรีแม่บ้านต�ำบลหนองควาย โดย น�ำ้ สรง ซึง่ ก่อนการอัญเชิญจะมีการน�ำน�ำ้ สรงพระธาตุในครัง้ เฉพาะที่วัดต้นเกว๋น จึงเป็นงานภาคประชาชนที่ต้องมีการ ที่ผ่านมาน�ำมารดที่ต้นตะเคียนใหญ่ อันเปรียบเสมือนการ วางแผน ด�ำเนินงาน และประสานงานร่วมกับหน่วยงานทั้ง แทนคุณทีร่ กั ษาต้นทางแห่งความอุดมสมบูรณ์ โดยมนุษย์มไิ ด้ ราชการและเอกชน ทั้งด้านพิธีการ ขบวนแห่ กิจกรรมอื่นๆ เป็นเพียงผูร้ บั ผลประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว หากแต่ยงั เป็นผู้ ตลอดจนโรงทาน ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยที่ได้รับ รักษาและรู้คุณแห่งธรรมชาติด้วย แล้วจึงตักน�้ำใส่สลุงและ บริจาคจากภาคประชาชน หม้อน�ำ้ ทีท่ ำ� จากเงิน ทีเ่ ก็บรักษาไว้ในพิพธิ ภัณฑ์ แบกกลับลง ศาสตราจารย์สุรพล ด�ำริห์กุล กล่าวไว้ว่า ปรากฏการณ์ มา ซึ่งในอดีตยังคงมีภาพเก่าที่มีชาย 2 คนช่วยกันหามหม้อ นี้จึงค่อนข้างแปลกใหม่ และไม่เข้าใจ ประชาชนส่วนมาก น�้ำท�ำจากเงินจากตาน�้ำบนดอยอ่างกาน้อย ยังยึดติดว่า งานใหญ่เช่นนี้จะต้องมีการสั่งการลงมา ภาค หากไม่มีน�้ำจากตาน�้ำบนดอยอ่างกาน้อย สามารถใช้น�้ำ ประชาชนเป็นเพียงผู้ปฏิบัติ แต่งานอัญเชิญ “พระธาตุเจ้า เจือด้วย “ดอกค�ำฝอย” ให้มีสีเหลือง เพื่อปรุงเป็น “ทิพย เข้าเวียง” ในโอกาสเฉลิมฉลองเมืองเชียงใหม่ 720 ปีนี้ ไม่ สุคันธา” แทนได้ โดยห้ามเจือ “ฝักส้มป่อย” ลงไปในน�้ำสรง ได้อยู่ในแผนงานของหน่วยงานฝ่ายรัฐใดๆ มาก่อน กลับ โดยเด็ดขาด เนื่องจากถือว่าส้มป่อยมีฤทธิ์เป็นกรดสามารถ เป็นการริเริ่มจากภาคประชาชนที่จะร่วมมือกันท�ำงานเพื่อ กัดกร่อนองค์พระบรมธาตุ ตลอดจนครอบโกศที่เป็นทองค�ำ บ้านเมืองตนเอง ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานท้อง ทางฝ่ายคณะผู้ปฏิบัติงานได้เตรียมน�้ำสรงองค์พระบรม ถิ่นที่มาจากภาคประชาชน จึงเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมที่ภาค ธาตุ ซึ่ ง ได้ ตั ก มาจากตาน�้ ำ บนดอยอ่ า งกาน้ อ ยเพื่ อ ให้ ประชาชนสามารถคิดเอง ท�ำเองได้ โดยไม่ต้องรอค�ำสั่ง ซึ่ง

49


50

เป็นเป้าหมายส�ำคัญของสังคมประชาธิปไตยทีป่ ระชาชนต้อง พึ่งพิงและช่วยเหลือตนเอง การด�ำเนินงานครัง้ นี้ ส�ำเร็จลงด้วยความสามัคคีของภาค ประชาชน คณะสงฆ์จงั หวัดเชียงใหม่ เจ้าคณะจังหวัด รวมถึง เจ้าคณะอ�ำเภอ 6 อ�ำเภอ คืออ�ำเภอจอมทอง ดอยหล่อ แม่ วาง สันป่าตอง หางดง และอ�ำเภอเมือง ศรัทธาวัด ชุมชน ข้าราชการ เอกชน อันเปรียบได้ดงั ค�ำว่า “บวร” ซึง่ สนับสนุน ด้านเครื่องมือ ก�ำลังคน อาหาร น�้ำ และปัจจัย นอกจากนั้น ยังได้รับการสนับสนุนด้านก�ำลังทหาร เพื่อ ร่วมอารักขาพระธาตุ และดูแลความสงบ จากมณฑลทหาร บกที่ 33 กองพลทหารราบที่ 7 กรมรบพิเศษที่ 5 และต�ำรวจ ของกองบังคับการจังหวัดเชียงใหม่ และข้าราชการ ต�ำรวจ ของ 6 อ�ำเภอ ตลอดจนองค์กรเอกชนและภาคประชาชน ชาวเชียงใหม่ โดยเฉพาะศรัทธา ข้าพระธาตุของวัดพระธาตุ ศรีจอมทองวรวิหาร วัดฟ้าหลั่ง วัดต้นเกว๋น (อินทราวาส) วัดสวนดอก วัดเชียงมั่น วัดล่ามช้าง วัดศรีโสดา วัดเชตุพน วั ด สะดื อ เมื อ ง วั ด ดงหาดนาค วั ด ผาลาด (สกิ ท าคามี ) วัดร้อยจันทร์ วัดปันเส่า วัดโลกโมฬี วัดหม้อค�ำตวง วัด มหาวัน วัดเชตวัน วัดพวกแต้ม วัดปงสนุก จังหวัดล�ำปาง วัดดอยแต จังหวัดล�ำพูน มูลนิธิญาณวิโมกข์ ส�ำนักวิปัสสนา นาวาวราราม ฯลฯ คณะครู อาจารย์ พนักงาน นักศึกษา ศิษย์เก่าและศิษย์ ปัจจุบนั ของหลายคณะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น คณะ วิจิตรศิลป์ ภาควิชาศิลปะไทย สาขาการจัดการศิลปะและ วัฒนธรรม ส�ำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เป็นทีมท�ำงาน ดูแล พิธีสงฆ์ กวนข้าวทิพย์ ตักบาตร อ�ำนวยความสะดวก คณะ ศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะ สังคมศาสตร์ คณะการสื่อสารมวลชน คณะแพทยศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมสนับสนุนส่งเสริมด้านต่างๆ โรงเรียน วชิรวิทย์ โรงเรียนอาชีวะศึกษา ทีม่ าร่วมฟ้อนต้อนรับพระธาตุ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งขบวนรับเสด็จพระ ธาตุ โรงเรียนวัฒนโนทัยตัง้ ขบวนส่งเสด็จพระธาตุ โรงเรียน เต็มใจท�ำบริรักษ์ ที่ร่วมขบวนพระธาตุ โรงเรียนจอมทองที่

น�ำนักเรียนร่วมแสดงเรือ่ ง “ต�ำนานพระทักขิณโมลีธาตุ” รวม ถึงนักแสดงจากเมืองน่าน กรุงเทพมหานคร อเมริกา ฯลฯ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงใหม่ ส�ำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ธนาคารไทย พาณิชย์จ�ำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จ�ำกัด (มหาชน) และทุ ก ท่ า นที่ อ�ำ นวยความสะดวกด้ า นการ ด�ำเนินงาน สถานที่แถลงข่าว สถานที่ในการประกอบพิธี งบประมาณ บริษทั ร่มบ่อสร้าง บริษทั น�ำ้ จิต น�ำ้ ใจ บ้านฟ้าไทย ศูนย์ วัฒนธรรมเชียงใหม่ ฯลฯ สนับสนุนน�้ำดื่ม สือ่ มวลชนต่างๆ เช่น สถานีโทรทัศน์ชอ่ ง 11 รายการมอง เมืองเหนือ ช่อง We TV สถานีวิทยุรายการต่างๆ รายการ วิทยุจราจร รายการ Voice of Art รวมถึงการน�ำเสนอข่าว ผ่าน Facebook เช่น Page “พระธาตุเจ้าเข้าเวียง” “550 ปี๋สะหลี๋จอมทอง” “CT We Love” “Chiang Mai City of Crafts and Folf Arts” “ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตร ศิลป์” “กลุ่มหน่อศิลป์” “Art Sprout” “กลุ่มนักดาบ” กลุ่มสล่าที่ท�ำราชรถประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กลุ่ม ลูกศิษย์พระธรรมมังคลาจารย์ แม่ค้าขายดอกไม้ กลุ่มจัด ดอกไม้ กลุ่มตกแต่งสถานที่ กลุ่มตกแต่งรถ กลุ่มแต่งตัวผู้ ร่วมขบวน กลุ่มท�ำความสะอาดทั้งก่อนเริ่มงานและเมือ่ งาน เสร็จ กลุม่ ท�ำจดหมาย กลุม่ ดูแลโรงทาน กลุม่ ออฟโรด น�ำ อาหารบิณฑบาตน�ำส่งวัด กลุม่ กวนข้าวทิพย์ กลุม่ ดูแลพระ สงฆ์ และอีกมากมายหลายภาคส่วนซึ่งไม่สามารถกล่าวได้ หมดทุกท่าน ฯลฯ ชุมชนทั้ง 6 อ�ำเภอและในเขตเมืองเชียงใหม่ รวมถึง อ�ำเภอต่างๆ และจากจังหวัดอื่นๆ ที่ต่างมาร่วมสละก�ำลังใจ ก�ำลังกาย ก�ำลังทรัพย์ ด้วยวิถีแห่งตน คนละไม้คนละมือ อัน เปรียบเสมือน “การท�ำงานหน้าหมู่” ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของ ชาวล้านนา ทีต่ า่ งถ้อยทีถอ้ ยอาศัย สานถักทอ ความสามารถ ของทุกคนให้เป็นหนึ่งเดียว ผ่านการจัดการทางศิลปะและ วัฒนธรรม อย่างไม่แบ่งเชือ้ ชาติ ศาสนา อายุ โดยมีจดุ ในการ


ด�ำเนินการที่ผสานความร่วมมือ ร้อยเรียงผู้คนของเมืองเข้า ด้วยกัน เพือ่ ให้ “บารมีของพระทักขิณโมลีธาตุ” แผ่ขยายไป ทั่วทิศ อันสร้างความปิติให้แก่ผู้คนที่ร่วมพิธีหรือรับชมผ่าน สือ่ ต่างๆ ซึง่ การด�ำเนินการงานทัง้ หมดมีการเตรียมการเพียง 45 วันในการด�ำเนินการทั้งหมด (โปรดดูที่บทน�ำ) จะเห็นได้ว่าพิธีอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุ วัดพระธาตุ ศรีจอมทอง มาประดิษฐาน (ชั่วคราว) ณ วัดต้นเกว๋น และ มณฑลพิธีบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ในครั้งนี้ เป็นพิธีที่ แสดงให้เห็นถึงพลังของประชาชนทีร่ ว่ มมือกันท�ำงานร่วมกับ คณะสงฆ์และฝ่ายราชการ อันจะเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้า หนึง่ ของเชียงใหม่และประเทศ ทีส่ ามารถร่วมมือก้าวข้ามข้อ

จ�ำกัดด้านเวลา คน งบประมาณ และสามารถพิสูจน์ให้เห็น ถึงพลังแห่งศรัทธา ที่ฝังรากลึกในจิตใจและยังคงหลงเหลือ อยู่ในผู้คนตลอดเวลา จึงขอฝากค�ำกล่าวบูชา องค์พระทักขิณโมลีธาตุ เพื่อให้ เป็นสิริมงคลต่อทุกท่าน “นะโมพุทธายะ นะมามิ ติโลกะโมลี โลหะกูเฎ ปะติฎฐิตัง ปูชิตัง สัพพะโลเกหิ กิตติมันตัง มะโนหะรัง อะหังวันทามิ สัพพะทา อังคะวะเย ปุเรรัมเม โกวิลา รัคคะปัพเพเต สะหิเหมะคูหา คัพเภ ทักขิณะโมลี ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะทา”

51

โปรดอ่านเพิ่มเติม

http://www.prapayneethai.com/พิธีสืบชะตา ข้อมูลจากศูนย์สนเทศภาคเหนือ ส�ำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สืบค้น ข้อมูลเพิม่ เติมที่ www.http://library.cmu.ac.th/ntic/knowledge_show. php?docid=12 https://rakthaitradition.wordpress.com/ประเพณีภาคเหนือ/ประเพณีเข้า อินทขิล/ คณะอนุกรรมการต�ำนานตรวจสอบและช�ำระต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ (ปริวรรต). ต�ำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่: สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2538. นิชนันท์ กลางวิเชียร, กัลปนา: ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลง แนวคิด ของคนในชุมชนล้านนาต่อการกัลปนาคน ใน ด�ำรงวิชาการ วารสารรวม บทความทางทางวิชาการ คณะโบราณคดี. พระธรรมดิลก (จันทร์ กุสโล). ต�ำนานอินทขิล (ฉบับสมโภช 600 ปี พระธาตุ เจดีย์หลวง). เชียงใหม่: บุณย์ศิริงานพิมพ์, 2538. ระวิวรรณ ภาคพรต, “การกัลปนาในลานนาไทยตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 20 ถึงต้นพุทธศตวรรษท่ี 22” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชา

ประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526. วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง, สุจิณณา พานิชกุล, ปัทมา จันทรวิโรจน์. เส้นทาง ท่องเที่ยวสถาปัตยกรรมเชิงประวัติศาสตร์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2547. สงวน โชติสุขรัตน์. ต�ำนานเมืองเหนือ.(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์, 2508. สุรพล ด�ำริห์กุล. ล้านนา สิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: รุ่งอรุณ พับลิชชิ่ง, 2542. สุรพล ด�ำริห์กุล. ข่วงเมืองและวัดหัวข่วง กับแบบแผนของเมืองในดินแดน ล้านนา. เชียงใหม่: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545. สํานักนายกรัฐมนตรี, ประชุมพระบรมราชูทิศเพ่ือการกัลปนา สมัยอยุธยา ภาค ที่ 1. พระนคร: โรงพิมพ์สํานักทําเนียบนายกรัฐมนตรี, 2510. สํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร, “เอกสารสมัยรัชกาลที่ 6 ศธ. 43/14 รายงาน ตรวจราชการของมณฑลพายัพของพระยาศึกสมบูรณ์ (วัน ที่ 6 พฤษภาคม–28 สิงหาคม 2456). สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา, พิมพ์คร้ังที่ 6. กรุงเทพฯ: อมรินทร์: 2544.


วัดต้นเกว๋น (อินทราวาส) และพระพุทธรูปองค์ส�ำคัญ กับความสัมพันธ์ต่องานอัญเชิญองค์พระทักขิณโมลีธาตุเจ้าศรีจอมทองเสด็จเข้าเวียง

52

ภูมิหลังทางสถาปัตยกรรม จากประวัติสร้างระบุว่าได้มีการสถาปนาขึ้นประมาณ จ.ศ. 1218 (พ.ศ. 2399–2412) สมัยพระเจ้ากาวิโลรส สุริยวงศ์ เป็นเจ้าหลวงปกครองนครเชียงใหม่ ต้นเกว๋น [ชื่อ ต้นตะขบป่า อันเป็นไม้ชนิดหนึ่งตามภาษาพื้นเมืองล้าน นา] ซึ่งมีอยู่ในบริเวณที่สร้างวัด จึงได้ชื่อวัดครั้งแรกว่า วัด ต้นเกว๋น ต่อมาได้เปลีย่ นชือ่ ใหม่วา่ วัดอินทราวาส อันมาจาก ชือ่ ของเจ้าอาวาสทีส่ ร้างวัด สมาสกับค�ำว่าเจ้าอาวาส (อินทร์ + อาวาส) โดยวัดต้นเกว๋น ต�ำบลหนองควาย อ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะขององค์ประกอบที่แสดงออกถึง แบบแผนทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมล้านนาที่งดงาม และทรงคุณค่ายิ่ง แม้จะได้รับการบูรณะซ่อมแซมแต่ยังคง ไว้ซงึ่ ศิลปะแบบดัง้ เดิม ซึง่ อาณาบริเวณของวัดมีการก�ำหนด พื้นที่การใช้สอยเอาไว้อย่างชัดเจน อันประกอบด้วยเขต พุทธาวาสและเขตสังฆาวาส ที่มีขอบเขตแบ่งด้วยแนวรั้ว และศาลาบาตรที่โอบล้อมตัวอาคารวิหารเอาไว้ทั้งสามด้าน เพื่อใช้เป็นพื้นที่รองรับผู้คนที่มาร่วมงานบุญส�ำคัญได้ใช้ พ�ำนักขณะประกอบศาสนกิจกันได้อย่างทั่วถึง โดยมีลาน ทรายละเอียดเชื่อมพื้นที่ภายในเขตสังฆาวาสทั้งหมดเอาไว้ อันหมายถึงนทีสีทันดรที่โอบล้อมเขาพระสุเมรุและเขาสัตต บริภัณฑ์ ตลอดจนทวีปทั้งสี่ตามหลักจักรวาลคติที่ปรากฏ อยู่ในคัมภีร์ส�ำคัญทางพุทธศาสนา ตัววิหารสร้างเมื่อ จ.ศ. 1220 (พ.ศ. 2401) ซึ่งได้บันทึก ไว้ที่ใต้เพดานด้านเหนือด้วยอักษรไทยวน (ตั๋วเมือง) โดย สล่า หรือนายช่างผู้สร้างวิหาร ผูม้ ีความสามารถและช�ำนาญ การแกะสลักไม้เป็นเครื่องประดับอาคาร เช่น ลวดลาย

เครือดอกพันธุ์พฤกษา ลายรูปสัตว์นานาที่หน้าจั่ว โก่งคิ้ว และหูช้าง หรือ นาคทันต์ ส่วนฐานชุกชีประดิษฐานพระ พุทธรูปประธานเป็นงานปูนปั้นลายเครือดอกพันธุ์พฤกษา และเทวดา ตกแต่งด้วยเทคนิคลงรักทาชาดปิดทองค�ำเปลว ประดับกระจกสี ส�ำหรับฝาผนังด้านหลังพระประธานเป็น ซุ้มและมีพระพิมพ์โลหะติดประดับฝาผนังอันหมายถึงอดีต พุทธะ โดยมีมกรคายนาคปูนปัน้ ประดับราวบันไดทีแ่ ลดูทรง พลังและน่าเกรงขาม ท�ำหน้าที่ปกปักรักษาศาสนสถานที่รับ ช่วงต่อมาจากต�ำแหน่งสิงห์คปู่ นู ปัน้ ประดับประตูทางเข้าด้าน หน้าทางด้านทิศตะวันออก มณฑปแบบจตุ ร มุ ข ถื อ ได้ ว ่ า เป็ น แบบแผนศิ ล ปกรรม ล้านนาที่ส�ำคัญ ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุชั่วคราว อาสน์ส�ำหรับตั้งบุษบกประดิษฐานโกศพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูป เพื่อให้ประชาชนสรงน�้ำผ่านรางรินไม้ รองน�้ำสุคนสินธุธารา คือน�้ำอบน�้ำหอมที่ประชาชนสรงน�้ำ พระธาตุ เสลี่ยงส�ำหรับหามบั้งไฟจุดบูชา สมัยก่อนเรียกว่า เขนีย กลองโยน หรือ ก๋องปูจ่ า ใช้สำ� หรับตีในวันพระซึง่ ได้ยนิ ทั่วต�ำบลหนองควาย ความส�ำคัญนับเนื่องจากอดีต จากบทน� ำ ที่ มี ก ารระบุ ก ารอั ญ เชิ ญ พระบรมธาตุ เ ข้ า เมืองเชียงใหม่มีหลายครั้งนับตั้งแต่ พ.ศ. 2099 แต่ครั้งที่ สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวเนื่องกับวัดต้นเกว๋นนี้ น่าจะเป็นครั้ง ที่ 5 ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (เจ้า ชีวิตอ้าว) ได้จัดงานสมโภชที่วัดหัวข่วง หรือวัดแสนเมืองมา ทั้งวัดต้นเกว๋นที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2399 ตามที่ต�ำนานวัด

ผศ.เธียรชาย อักษรดิษฐ์ จากภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ ม.ช. ผู้ออกแบบและสร้างสรรค์ซุ้มถวายการต้อนรับที่วัดต้นเกว๋น


ต้นเกว๋นระบุไว้ว่ามีการสร้างมณฑปจตุรมุขขึ้นเพื่อให้มีหน้า ที่ประดิษฐานพระบรมธาตุ ก็น่าจะอนุมานได้ว่า ในปี พ.ศ. 2372 มีการอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าเมืองเชียงใหม่อีกครั้ง หนึ่ง นับจากการอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุเจ้าศรีจอมทอง ครั้งนี้แล้ว จะเห็นถึงความส�ำคัญภายในวัดต้นเกว๋น โดย เฉพาะอาคารหลังพิเศษทรงจตุรมุขที่เชื่อกันว่าต้องเป็นที่ จัดพิธีสรงน�้ำพระทักขิณโมลีธาตุและเป็นที่ประทับค้างแรม ณ วัดต้นเกว๋นแห่งนี้ก่อนที่จะได้มีการอัญเชิญเข้าสู่เวียง เชียงใหม่ ได้สะท้อนถึงเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่าง “ระยะ ทาง–ทีต่ งั้ –องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม” ตลอดจนเครือ่ ง ใช้สำ� คัญในพิธกี รรมทีย่ งั คงหลงเหลืออยูจ่ วบจนถึงปัจจุบนั นี้ สิ่งส�ำคัญอันเนื่องในพิธีสระสรงองค์พระทักขิณโมลีธาตุ เจ้า • บุษบกอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุเสด็จ เป็นบุษบก ไม้แกะสลักปิดทองที่มีม่านปักแขวนกั้นตรงซุ้มทั้ง 4 ด้าน อย่างมิดชิด โดยได้นำ� มาจากวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร • บุษบกอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุในกระบวนแห่ เกียรติยศ เป็นบุษบกไม้แกะสลักปิดทองที่มีคลุมพระธาตุ ด้วยลักษณะของผ้าก�ำมะหยี่ปักดิ้นทองทรงกรวยสูงครอบ และคลุมรักษาโกศประดิษฐานพระทักขิณโมลีธาตุ โดยจะ มีหมอนหุม้ ผ้าตาดหนุนรองประคองคลุมผ้าปักเอาไว้ทกุ ด้าน ซึ่งก็ได้น�ำมาจากวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร • บุษบกอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุสรงน�ำ้ ซึง่ บุษบก ไม้หลังนี้อยู่วัดต้นเกว๋นมาอย่างยาวนานคู่กับศาลาจตุรมุข เลยก็ว่าได้ ซึ่งเป็นรูปทรงบุษบกแบบพื้นเมืองดูเรียบง่ายแต่ งดงามด้วยโครงสร้างและจังหวะของเครือ่ งประดับหางวันอัน

โดดเด่นตรงสันหลังคาที่ลาดลดลงมาทั้งสี่ด้าน โดยบุษบก หลังนี้เป็นของวัดต้นเกว๋น • บุษบกอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุขึ้นประทับแรม เป็นบุษบกไม้แกะสลักปิดทองประดับทีม่ ีลักษณะเป็นบุษบก ทรงสูงทึบมีช่องประตูปิดเปิดเพียงด้านเดียว ที่เรียกกันใน นาม “หอนอน” ซึ่งเป็นเครื่องพิธีหนึ่งในสามที่ต้องติดตาม องค์พระทักขิณโมลีธาตุเสมอ เมือ่ ยามทีต่ อ้ งประดิษฐานนอก โขงปราสาทชมพูในวิหารพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร น�้ำสรงองค์พระบรมธาตุ เนื่องด้วยธรรมเนียมการสรงน�้ำพระบรมธาตุน้ัน มีเเบบ เเผนทีส่ ำ� คัญมากคือ น�ำ้ สรง นอกจากจะต้องเชิญมาจากตาน�ำ้ บนดอยอ่างกาน้อย อันเป็นต้นก�ำเนิดของน�ำ้ เเม่กลางเเล้ว จะ ต้องมีการน�ำน�ำ้ นัน้ มาเจือด้วยดอกค�ำฝอยให้มสี เี หลืองใส เพือ่ ปรุงเป็น ทิพยสุคันธา อันกรุ่นอวลไปด้วยละอองเกสรของ ดอกไม้ทิพย์นั้น โดยห้ามเจือ “ฝักส้มป่อย” ลงไปในน�้ำสรง นั้น ด้วยนัยว่าส้มป่อยมีฤทธิ์เป็นกรดที่จะมีผลต่อการกร่อน ต่อองค์พระธาตุ ซึ่งในครั้งนี้คณะท�ำงานได้ถือธรรมเนียม ปฏิบัติจัดเตรียมเอาไว้สรงยังสองจุดพิธีส�ำคัญ ได้แก่ที่วัด ต้นเกว๋น ในวันที่ 10 มิถุนายน และที่ลานพระบรมราชานุ สาวรีย์สามกษัตริย์ในวันที่ 11 มิถุนายน นี้ด้วย การสระสรงองค์พระทักขิณโมลีธาตุ เวลาล่ว งเข้าสู่ยามเที่ยงวันภายหลังจากการรับเลี้ ย ง จากเหล่าบรรดาโรงทาน ที่หลากหลายรสชาติและฝีมือที่ ตั้งใจกันมาเอื้อเฟื้อบริจาคแก่สาธุชนทั้งหลายอย่างอบอุ่น และล้นหลามแล้ว เวลาของการเดินทางมาถึงของขบวน อัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุ ภายในบริเวณข่วงแก้วอารามก็

53


ภาพเก่าเมื่อครั้งเชียงใหม่อายุครบ 700 ปี

54

อุน่ งันด้วยเสียงบรรเลงขับกล่อมบรรยากาศ ด้านนอกก�ำแพง แก้วผูค้ นต่างออกไปตัง้ แถวรอรับขบวนอัญเชิญอย่างใจจดจ่อ ประกอบด้วยพระเถระคณะสงฆ์อำ� เภอหางดง ผูบ้ ริหารหน่วย งานเทศบาลต�ำบลหนองควายและสาธุชนทีม่ าร่วมงาน โดย เฉพาะคณะช่างฟ้อนทัง้ รุน่ เล็กและรุน่ ใหญ่ ต่างได้ตระเตรียม เอากรวยข้าวตอกดอกไม้ ตั้งแถวรอรับขบวนอัญเชิญพระ ทักขิณโมลีอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยงดงามอย่างยิ่ง เมื่ อ ขบวนอั ญ เชิ ญ พระทั ก ขิ ณ โมลี ธ าตุ ม าถึ ง บริ เ วณที่ เตรียมการ พิธีถวายการต้อน รับโดยมีประธานฝ่ายสงฆ์ อ�ำเภอหางดงเป็นผู้น�ำกล่าวอาราธนา พร้อมทั้งประธาน ฝ่ายฆราวาสน�ำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และภริยา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายกเทศมนตรีเทศบาลต�ำบลหนองควาย ได้อาราธนา อัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุลงจากบุษบกทีต่ งั้ อยูบ่ นรถลงมา ประดิษฐานยังบุษบกหลังทีส่ องส�ำหรับหามด้วยพลแบกจาก “ข้าพระธาตุ” คนกัลปนาในเครือ่ งแต่งกายสีแดงขลิบเหลือง ทัง้ ชุด พร้อมทัง้ พลศาสตราวุธอารักขาและกางกัน้ สัปทนด้าม เงินขนาบข้างจ�ำนวน 2 คัน ที่อาสามาจาก 8 ตระกูลส�ำคัญ ของจอมทอง ผู้ที่จะต้องอยู่ถวายการดูแลปรนนิบัติต่อองค์ พระทักขิณโมลีธาตุเจ้านับแต่โบราณกาลมาถึงรุ่นปัจจุบัน อย่างเคร่งครัด ขบวนเคลือ่ นสูข่ ว่ งแก้วอารามในระยะทางสัน้ ๆ ฝ่าฝูงชน ที่รอเฝ้าถวายการต้อนรับอย่างแน่นขนัดจึงท�ำให้การเคลื่อน ตัวของขบวนอัญเชิญขณะนั้นเป็นไปอย่างแช่มช้าแต่อุ่นงัน ด้วยความศรัทธาทั่วทั้งอาณาบริเวณ ฝูงชนและช่างฟ้อน ที่โปรยปรายข้าวตอกดอกไม้พร้อมเสียงแซ่ซร้องสาธุการ ดังอยูม่ ขิ าด ระหว่างทีข่ บวนอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุกำ� ลัง เคลือ่ นผ่านช่องประตูสงิ ห์คบู่ ริเวณหน้าวัด พลันอากาศทีม่ ดื

ครึ้มและมีเม็ดฝนโปรยปรายอยู่อย่างเบาบาง เมฆที่ปกทึบ พลันสว่างขึ้นเปิดให้แสงตะวันสาดส่องลงมาเพียงไม่กี่วินาที แล้วกลับครึ้มสลัวดังเดิมเป็นที่น่าอัศจรรย์ [ภาพล่างซ้ายสุด] เมื่อได้อัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุเจ้าศรีจอมทองมาถึง ยังบริเวณวัดต้นเกว๋น ราวประมาณ 12.30 น. โดยทางวัด ต้นเกว๋นและทางคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ จัดเตรียมและออกแบบพืน้ ทีป่ ระดิษฐานองค์พระบรมทักขิณ โมลีธาตุด้วยการน�ำบุษบกไม้พร้อม รางรดสรง ติดตั้งเอาไว้ ท่ามกลางราชวัตรขัดล้อม ณ ใจกลางศาลาจตุรมุข อันเคย เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาแต่ครั้งสมัยโบราณ ประดับประดา ตกแต่งงานดอกไม้สด ดารดาษอบอวลไปทั่วทั้งปริมณฑล ศาลาจตุรมุข ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์จากผู้มีจิตศรัทธาทั้ง ใกล้และไกล ต่างหลั่งไหลให้การถวายดอกกล้วยไม้สดที่ งดงามหลากสีและดอกไม้อื่นๆ นานาพันธุ์ โดยเฉพาะบริษัท ธรรมชาติกล้วยไม้ จ�ำกัด จากกรุงเทพมหานคร และมีนาย ภาณุวัฒน์ พรหมวาทย์ พร้อมทีมงานได้ระดมก�ำลังมารับ หน้าที่เป็นผู้จัดตกแต่งสถานที่และปริมณฑลได้อย่างสวยสด งดงาม นอกจากนี้ ทางคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยังได้มกี ารสร้างผ้าเพดานสีขาวขนาดความกว้าง 2.40 x 2.60 เมตร ผูกเข้ากับเสาสูง 5 เมตร ประดับประดาด้วยลวดลาย ฉลุสีขาวและสีเหลืองซ้อนชั้นเป็นชายระบายอยู่โดยรอบ พร้อมลวดลายกระดาษฉลุติดประดับเป็นระยะ เพื่อกางกั้น ถวายเป็นพุทธบูชาในคราทีพ่ ระทักขิณโมลีธาตุเจ้าได้เสด็จมา ประดิษฐานเพื่อการสระสรงน�้ำ โดยมีพระธรรมมังคลาจารย์ (หลวงปู่ทอง สิริมังคโล) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ขึ้นสรงน�้ำเป็น ล�ำดับแรก และนายประวิน ช�ำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายฆราวาสขึ้นสรงน�้ำ จาก


นัน้ ทัง้ คณะสงฆ์วดั พระธาตุศรีจอมทองวรวิหารและคณะสงฆ์ สสา สุทินฺนํ วตเมทานํ นิ อ�ำเภอหางดง พร้อมทั้งศรัทธาประชาชนที่เดินทางมาร่วม พฺพาน ปจฺจโย โหตุโน นิจฺจํ” งานในครั้งนี้ จึงได้ทะยอยร่วมสรงน�้ำจากดอยอ่างกาน้อย เจือดอกค�ำฝอย ที่ทางคณะจัดงานได้จัดเตรียมแจกจ่ายเอา สิ่งที่บ่งชี้ถึงการเป็น “หอนอน” ของพระทักขิณโมลีธาตุ ไว้ จนกระทั่งถึงเวลา 15.30 น. นับเป็นการเสร็จสิ้นพิธีการ เมือ่ ต้องประดิษฐานประทับค้างแรม จ�ำเป็นต้องมีเครือ่ งนอน ถวายน�ำ้ สรงแด่องค์พระทักขิณโมลีธาตุในวันทีม่ าประดิษฐาน พระธาตุประกอบติดตามมาด้วยอีกสองสิง่ อันได้แก่ สาดอ่อน ยังวัดต้นเกว๋น หรือสาดตองขาว และ สะลี หรือผ้าก๊อบ ซึง่ สาดอ่อนหรือสาด ตองขาว เป็นเครื่องสานจากต้นตองขาว เป็นพืชในตระกูล การประดิษฐานพระทักขิณโมลีขึ้นประทับแรม ขิงข่าที่นิยมมาใช้ในการจักสานเสื่อของชาวไทกลุ่มต่างๆ ใน ภายหลังจากพิธีสรงน�้ำพระทักขิณโมลีได้เสร็จสิ้นลง จึง ล้านนาและรัฐฉาน สานให้ได้ขนาดพอเหมาะส�ำหรับปูลาด ได้อัญเชิญเปลี่ยนถ่ายจากโกศแก้วมาเป็นโกศซ้อนชั้นที่ใช้ เพื่อใช้นั่งหรือนอนได้เพียงคนเดียว แล้วขลิบกุ๊นขอบด้วยผ้า เป็นที่ประดิษฐานพระทักขิณโมลีธาตุรูปแบบเป็นเจดีย์ทรง สีแดงโดยรอบ น�ำไปปูนั่งหรือนอนที่วัดในวันอุโบสถศีลช่วง กลม จากนั้นได้มีการใช้ “หอนอน” ทรงบุษบกหลังทึบที่ได้ ระหว่างเข้าพรรษาของผู้เฒ่าผู้แก่ ส�ำหรับสะลี หรือผ้าก๊อบ น�ำมาจากวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร พร้อมกับบุษบกอีก เป็นผืนผ้าสีแดงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดใกล้เคียงกับสาด สองหลัง ขึ้นไปจัดตั้งเอาไว้กลางพระวิหารหลวงวัดต้นเกว๋น อ่อน เย็บประกบสองด้านแล้วยัดนุ่นพอให้หนาและสามารถ พร้อมทั้งเครื่องบริขารพระทักขิณโมลีธาตุ อันประกอบด้วย ม้วนพับเก็บได้เข้าชุดกันกับสาดอ่อน เพื่อใช้ปูนอนเมื่อต้อง ตาลปัตรเงิน บาตรเงิน ขันหมากเงิน น�้ำต้นเงิน สลุงเงิน ขัน ค้างคืนภายนอกสถานที่ของผู้คนในสมัยโบราณ โดยเฉพาะ เงิน และโตกพร้อมสาแหรก เป็นต้น การไปนอนวัด ส�ำหรับเครื่องบริขารดังกล่าวขององค์พระ ส�ำหรับการใช้ “หอนอน” หรือบุษบกหลังทึบปิดทองทั้ง ทักขิณโมลีธาตุ ซึ่งประกอบด้วย ขันแก้วหลวง ขันโตกพร้อม หลังนี้ มีจารึกตัวเมือง ภาษาไทยวน ระบุถึงนามเจ้าภาพมูล สาแหรกหาบ น�้ำต้นเงิน ขันหมากเงิน สลุงเงิน ขันเอวเงิน ศรัทธา ว่า ตาลปัตรเงิน ตาลปัตรหางนกยูงและสัปทนไหมด้ามเงิน จะ เห็นได้วา่ มีการสร้างเครือ่ งใช้เหล่านีป้ ระกอบส�ำหรับพิธกี ารที่ “วันที่ 1 เมษายน พระพุทธสกราช ละเอียดอ่อนและซับซ้อนปลีกย่อยทีห่ าชมได้ยากในปัจจุบนั นี้ 2472 เปนจุลสกราช 1290 ตัว การประดิษฐานพระทักขิณโมลีธาตุเจ้าศรีจอมทองในการ ปีเปิกสี เดือน 6 ลง 8 ฅ�่ำ วันจันท์ มูลสัทธา มาประทับแรมที่ยังวัดต้นเกว๋นแห่งนี้ ได้มีการตั้ง “หอนอน” นายหนาน . . . และจ่านายสิบต�ำรวจฅ�ำแเหนือฐานไม้จำ� หลักลงรักทาชาดรองรับอยูภ่ ายในวิหารเบือ้ ง สน พร้อมภริยาลูกเต้าญาติชุฅน หน้าพระพุทธรูปประธานอย่างเหมาะสม งามสง่าอย่างยิ่ง ได้ส้างถวายเปนทานส�ำรับพระปรั ด้วยความบังเอิญในการจัดเตรียมพื้นที่ประดิษฐานในครั้งนี้ มมธาตุเจ้าจอมทอง 5000 พระวั

55


ได้พบว่าฐานไม้จำ� หลักลงรักและทาชาดรองรับหอนอนนัน้ มี ขนาด 100 x 100 เซนติเมตร สูง 120 เซนติเมตร เป็นสัดส่วน ทีร่ องรับกันอย่างพอเหมาะพอดีกบั หอนอนทีอ่ ญ ั เชิญมาจาก วัดพระบรมธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ซึ่งโดยปกติ ฐานไม้ชิ้น นีไ้ ด้ถกู ปล่อยปละละเลย ใช้งานเพียงตัง้ รูปเคารพอยูม่ มุ หนึง่ ของศาลาบาตรวัดต้นเกว๋นแห่งนี้มาอย่างช้านาน

56

ถวายประทีปหมื่นดวง: พิธีในวาระพิเศษ ในช่วงค�่ำวันที่ 10 มิถุนายนนี้ เมื่อเเสงอาทิตย์อัสดงลับ สิน้ ลงพร้อมๆ กับการแสดงพืน้ เมืองช่วงแรก จากเหล่าบรรดา กลุม่ ชุมชนทัง้ ในพืน้ ทีต่ ำ� บลหนองควายและใกล้เคียง ตลอด จนสถาบันการศึกษาที่ตั้งใจน�ำมาแสดงถวายเพื่อเป็นพุทธ บูชาเสร็จสิ้นลง จึงได้เริ่มพิธีสวดพุทธมนต์โดยคณะสงฆ์ อ�ำเภอหางดงจ�ำนวน 35 รูป ต่อด้วยการเทศน์ปฐมสมโพธิ โดย พระครูอาทรวิสุทธิคุณ วัดหนองตอง เจ้าคณะอ�ำเภอ หางดง และเมื่อพิธีถวายปัจจัยไทยทานแด่พระสงฆ์ได้เสร็จ สิน้ ความสว่างไสวจากเเสงประทีปตีนกากว่าหนึง่ หมืน่ ดวงก็ ถูกจุดขึน้ ทัว่ ทัง้ ข่วงเเก้วอารามวัดต้นเกว๋น “พิธถี วายประทีป หมื่นดวง” จัดขึ้นพิเศษเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเเด่พระบรม ธาตุ ทั้งยังมีการขับ “กะโลง” คือโคลงอย่างล้านนาโบราณ โดยนายณัฐพงษ์ ปัญจบุรี ขับกล่อมให้เป็นทีร่ นื่ รมย์แก่ศรัทธา ทั้งกับคนเเละเทวดาทั้งมวล มหรสพสมโภชพระทักขิณโมลี ณ วาลุกาวาสลานทราย ช่วงสายของวันที่ 10 มิถุนายน ณ ลานทรายเบื้องหน้า วิหารและศาลาจตุรมุขวัดต้นเกว๋น มีการเตรียมความพร้อม ในการต้อนรับองค์พระทักขิณโมลีธาตุ จากเหล่าบรรดา

พุทธศาสนิกชนที่ทราบข่าวโดยสื่อแขนงต่างๆ โดยเฉพาะ บรรดาศิลปินทัง้ จากพืน้ บ้านพืน้ ถิน่ และจากส่วนกลาง ทีม่ จี ติ ศรัทธาเลือ่ มใสและมุง่ หวังตัง้ ใจในการทีจ่ ะน้อมถวายการละ เล่นแสดง เพือ่ เป็นพุทธบูชากันอย่างมากหน้าหลายตานานา รูปแบบ นับตัง้ แต่การขับกล่อมด้วยซอพืน้ เมือง การบรรเลง วงปี่พาทย์พื้นเมืองของคณะก้องฟ้า และวงกลองตึ่งนงโดย คณะนักเรียนโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อปุ ถัมภ์ นอกจากนีย้ งั มีวงกลองปูจ่ าโดยกลุม่ ยุวชนบ้านต้นเกว๋น ต�ำบลหนองควาย มาบรรเลงสร้างบรรยากาศอุน่ งันและศักดิส์ ทิ ธิอ์ ยูต่ ลอดเวลา งานบุญครั้งนี้ เวลาล่วงเข้าสู่ยามเที่ยงวันจนคล้อยบ่ายที่การอัญเชิญ พระทักขิณโมลีธาตุมายังมณฑลพิธี ณ ศาลาจตุรมุขเพื่อ ท�ำการถวายน�ำ้ สระสรงและสักการะบูชา ล�ำดับแรกเป็นการ ถวายนาฏยบูชาโดยเหล่าช่างฟ้อนเล็บจากกลุ่มชุมชนบ้าน ต้นเกว๋น ต�ำบลหนองควาย ด้วยจ�ำนวนกว่า 50 คนอย่าง งดงามบนลานทราย จากนั้นจึงเข้าสู่พิธีการทางศาสนาใน การนมัสการและถวายน�้ำสรงแด่องค์พระทักขิณโมลีธาตุ โดยล�ำดับ จนกระทัง่ สิน้ สุดพิธแี ล้วมีการอัญเชิญพระทักขิณ โมลีธาตุขึ้นประดิษฐานยังบุษบก “หอนอน” ที่ตั้งเตรียมเอา ไว้อยูอ่ ย่างเหมาะสมบนวิหารเบือ้ งหน้าพระพุทธรูปประธาน ถึงเวลานัน้ ก็มกี ารแสดงมหรสพสมโภชช่วงแรกถวายแด่องค์ พระทักขิณโมลีธาตุดว้ ยการฟ้อนเล็บ “ฟ้อนล่องแม่ปงิ ” จาก ชมรมช่างฟ้อนต�ำบลหนองควายและชมรมช่างฟ้อนผูส้ งู อายุ ต�ำบลหนองควาย การฟ้อน “ต�ำนานพระธาตุเจ้าจอมทอง” จากโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ การฟ้อนเจิง การตบ มะผาบ การตีกลองปู่จา จากกลุ่มเยาวชนต�ำบลหนองควาย สลับสับเปลี่ยนกันไปกับการฟ้อนสาวไหมชายหญิง และการ ฟ้อนก๋ายลายจากนักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัย


เชียงใหม่ ทีม่ สี ตรีผสู้ งู อายุของบ้านต้นเกว๋น คือคุณยายจันทร์ สายค�ำวงศ์ อายุ 96 ปี ได้ออกมาร่วมฟ้อนถวายเพื่อเป็น พุทธบูชาในครัง้ นีด้ ว้ ย สร้างความชืน่ ชม ความปิตอิ ย่างยิง่ แก่ ทั้งผู้ชมและทั้งนักแสดงด้วยกันเอง เมื่ อ เสร็ จ สิ้ น พิ ธี ส วดเจริ ญ พุ ท ธมนต์ แ ละการเทศน์ ปฐมสมโพธิช่วงหัวค�่ำแล้ว การแสดงมหรสพสมโภชช่วงที่ 2 จึงได้เริม่ ขึน้ ด้วยการบรรเลงปีพ่ าทย์พนื้ เมืองสลับกันของ สองวงในช่วงนี้คือ คณะก้องฟ้า และคณะเทพประสิทธิ์ศิลป์ จากนั้นเป็นการแสดงชุด “ระบ�ำสิบสองนักษัตร” โดยคณะ คิดบวกสิบและอาภรณ์งาม ต่อเนื่องด้วยการแสดง “ฟ้อน

เทวดาสยามล้านนา” โดยศิลปินล้านนา นายเกียรติกอ้ ง ศิลป สนธยานนท์ และอาจารย์สรุ ตั น์ จงดา ศิลปินจากคณะไก่แก้ว การละคร การแสดงชุด “มโนราห์สิบสองท่า” และ “รจนา เสี่ยงพวงมาลัย” โดยศิลปินจากคณะอาภรณ์งาม การแสดง ชุด “พระลอเสี่ยงน�้ำ” โดยศิลปินจากคณะไก่แก้วการละคร ปิดท้ายของมหรสพสมโภชพระทักขิณโมลีธาตุในค�่ำคืนนั้น ด้วยการแสดงละครฟ้อนชุด “เจ้าคัทธนกุมาร” โดยนักแสดง จากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

57


58


พระพุทธรูปสำคัญในงานอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุ

ในอดีตนัน้ ธรรมเนียมการอัญเชิญพระพุทธรูปองค์สำ� คัญเข้า ร่วมสมโภชเมื่อมีการอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุเข้าเมืองไม่ ได้ระบุไว้ว่าต้องมีพระพุทธรูปองค์ใด เว้นแต่ในครั้งที่ 7 เมื่อ ปี พ.ศ. 2539 ที่เมืองเชียงใหม่มีอายุครบ 700 ปี ซึ่งสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จสรงน�้ำพระ ทักขิณโมลีธาตุนั้น ปรากฏว่ามีพระพุทธรูปส�ำคัญอีกสอง องค์คือ พระศิลา เเละพระเสตังคมณี จากวัดเชียงมั่น ออก

ประดิษฐานสมโภชด้วย เข้าใจว่า คณะจัดงานในขณะนั้น คงมีแนวความคิดที่จะหาสิ่งส�ำคัญเพื่อเชื่อมโยงกับความ หมายของการเฉลิมฉลองเมืองเชียงใหม่มีอายุครบ 700 ปี ซึง่ จะต้องผสานสัมพันธ์เกีย่ วข้องกับพระยามังรายผูเ้ ป็นปฐม กษัตริย์ เพื่อจะให้การจัดงานพระราชพิธีครั้งนั้นมีความ หมายมากที่สุดนั่นเอง และเช่นกันกับพิธีสมโภชของปีนี้

พระเสตังคมณี พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว เป็นพระพุทธรูปสลักจาก แก้วสีขาวใส มีขนาดหน้าตักกว้าง 4 นิ้ว สูง 6 นิ้ว กล่าวกัน ว่าเป็นศิลปะสกุลช่างละโว้ ปัจจุบนั ประดิษฐานคูก่ บั พระศิลา ซึง่ เป็นพระปางปราบช้างนาฬาคีรี อยูภ่ ายในมณฑปปราสาท ท้ายพระวิหารวัดเชียงมัน่ ต�ำบลศรีภมู ิ อ�ำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปส�ำคัญมากของเมืองเชียงใหม่ ที่พระยา มั ง รายอั ญ เชิ ญ มาจากเมื อ งหริ ภั ญ ชั ย ประดิ ษ ฐานใน พระราชวังซึง่ ภายหลังได้ตงั้ เป็นวัด ให้ชอื่ ว่าวัดเชียงมัน่ เกีย่ ว กับความเป็นมาของพระแก้วขาวนีม้ บี นั ทึกในต�ำนานว่า ในวัน เพ็ญเดือน 7 หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ไปแล้ว 700 ปี พระสุเทวฤๅษีได้น�ำดอกจ�ำปา 5 ดอกขึ้นไปบูชาพระธาตุ จุฬามณีบนสวรรค์ชนั้ ดาวดึงส์ ได้พบกับพระอินทร์ๆ บอกแก่ พระสุเทวฤๅษีว่า ปีนี้ในเดือนวิสาขะเพ็ญ ที่ลวะรัฏฐจะสร้าง พระพุทธปฏิมากรด้วยแก้วขาว พระสุเทวฤๅษีมีความสนใจ มากจึงเดินทางไปเมืองละโว้ ซึง่ มีพระยารามราชเป็นเจ้าเมือง ก�ำลังปรารภกับพระกัสสปเถระ ว่าต้องการสร้างพระพุทธรูป จากแก้วซึง่ ได้รบั มาจากพระอรหันต์องค์หนึง่ เป็น “แก้วขาว

บริสุทธิ์บุษยรัตน์” ซึ่งได้รับจากจันทเทวบุตรอีกทอดหนึ่ง การจ�ำหลักพระพุทธรูปได้พระแก้วที่งดงามมาก เชื่อว่าเป็น เพราะได้กล่าวขอพระวิษณุกรรมให้มาเนรมิต จากนั้นจึงได้ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 4 องค์ไว้ที่พระโมลี (กระหม่อม) 1 องค์ พระนลาต (หน้าผาก) 1 องค์ พระอุระ (หน้าอก) 1 องค์ และพระโอษฐ์ (ปาก) 1 องค์ รวม 4 แห่ง เมื่อพระสุเทวฤๅษีสร้างเมืองหริภุญชัยเสร็จแล้ว ก็ได้ทูล เชิญพระนางจามเทวี พระราชธิดาพระเจ้ากรุงละโว้มาปก ครองเมืองหริภุญชัย โดยพระนางได้อัญเชิญพระแก้วขาว มาเป็นพระพุทธรูปบูชาประจ�ำพระองค์ด้วย พระแก้วขาว ประดิ ษ ฐานในหอพระเมื อ งหริ ภุ ญ ชั ย มาเป็ น เวลาหลาย ร้อยปี [หอพระแก้วในปัจจุบันคือบริเวณหอระฆังวัดพระ ธาตุหริภุญชัย] จนกระทั่งเมื่อเมืองหริภุญชัยแพ้สงคราม แก่พระยามังรายเมื่อ พ.ศ. 1824 พระยามังรายพบว่าหอ พระในพระราชวังไม่ได้ถูกเพลิงไหม้ และพบพระแก้วขาว ประดิษฐานอยู่ในนั้นอย่างปลอดภัยเป็นที่น่าอัศจรรย์ จึง บั ง เกิ ด ศรั ท ธาขออั ญ เชิ ญ พระแก้ ว ขาวมาประดิ ษ ฐานยั ง ที่ประทับของพระองค์ และบูชาเป็นพระพุทธรูปประจ�ำ

59


60

พระองค์ด้วย ซึ่งภายหลังที่ประทับนี้คือวัดเชียงมั่น วัดแห่ง แรกของเมืองเชียงใหม่นั่นเอง ในสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ล�ำดับที่ 11 แห่ง ราชวงศ์มังราย มีการสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้งที่ 8 ที่ พระอารามราชกุฎาคารเจดีย์ หรือวัดเจดีย์หลวง พระเจ้า ติโลกราชให้หมื่นด้ามพร้าคตเป็นสล่าสร้างหอพระโดยมี แบบจากโลหะปราสาทและรัตนเจดีย์ของเมืองลังกา เพื่อ ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระแก้วขาว พระแก้วขาวประดิษฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงจนถึงสมัย พระยอดเชียงราย ก็มกี ารโขมยพระแก้วขาวไปถวายกษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยุธยา พระยอดเชียงรายซึง่ สร้างวัดตะโปทาราม เพื่อจะอัญเชิญพระแก้วขาวไปประดิษฐานรู้ข่าวจึงติดตาม ไปอัญเชิญพระแก้วขาวกลับมาประดิษฐานที่นครเชียงใหม่ ดังเดิม นับแต่ พ.ศ. 2089 พระแก้วขาวไปประดิษฐานอยู่ท่ี ล้านช้างนานกว่า 225 ปี โดยพระไชยเชษฐาได้อัญเชิญไป พร้อมกับพระแก้วมรกตและพระพุทธสิหงิ ค์ กระทัง่ พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ยกทัพไปปราบล้านช้างได้ ส�ำเร็จแล้ว จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสามกลับอาณาจักร สยาม และมอบพระแก้ ว ขาวกลั บ มาประดิ ษ ฐานยั ง วั ด เชียงมั่น พระแก้วขาวหรือพระเสตังคมณีจงึ เป็นศูนย์รวมจิตใจของ ชาวเชียงใหม่ ได้รับการดูแลรักษาอยู่อย่างสม�่ำเสมอ ในปี พ.ศ. 2416 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้เป็นประธานในการสร้างแท่นแกะสลักจากไม้แก่นจันทร์ หุ้มด้วยทองค�ำหนัก 300 บาท 3 ซีก เจ้าราชภาคินัยและ เจ้าอุบลวัณณาสร้างฉัตรทองค�ำหนัก 100 บาทถวาย พร้อม จารึกบนแผ่นทองค�ำใต้แท่นพระเป็นภาษาล้านนาไว้เป็น หลักฐาน ต่อมาฉัตรทองค�ำได้หายไปคงเหลือแต่ที่ปักแกน ก้านฉัตรเท่านั้น อย่ า งไรก็ ต าม ผลของอั ญ เชิ ญ พระแก้ ว ขาวออกให้ ประชาชนสรงน�้ำประจ�ำปี ท�ำให้เนื้อไม้แก่นจันทร์บวม ขยาย แผ่นทองค�ำที่หุ้มอยู่ก็ปริแตก ในปี พ.ศ. 2539 ที่นคร เชียงใหม่มีอายุครบ 700 ปี จึงได้มีการบูรณะฐานพระแก้ว


ขาว ทั้งยังสร้างฉัตรทองค�ำน�้ำหนัก 123 บาท ประดับเพชร 9 เม็ด และพลอยอีก 37 เม็ด ถวายแด่พระแก้วขาวด้วย

พระศิลา ภายในมณฑปปราสาทนัน้ ทีป่ ระดิษฐานคูก่ นั กับพระแก้วขาว คือ พระศิลา หรือศีลา เป็นพระพุทธรูปปางโปรดช้างนาฬา คีรี แกะสลักด้วยหินชนวน ลักษณะเป็นศิลปะแบบปาละ แกะสลักตามคติเดิมของอินเดีย พุทธลักษณะของพระศิลา คือ ประทับยืนทิ้งสะโพกแบบตริภังค์บนฐานบัวภายใต้ซุ้ม พระหัตถ์ขวาทอดลงเหนือหัวช้างซึ่งหมอบอยู่ พระหัตถ์ซ้าย ยกในท่าประทานอภัยหรือแสดงธรรม พระอานนท์ยืนถือ บาตรอยูด่ า้ นซ้าย องค์ประกอบทีป่ รากฏบนแผ่นศิลานัน้ เกิด จากการก�ำหนดโดยพระเจ้าอชาตศัตรู ตามที่ต�ำนานระบุว่า เมือ่ พระพุทธเจ้าปรินพิ พานไปได้ 7 ปี 7 เดือน 7 วัน พระ เจ้าอชาตศัตรูแห่งนครราชคฤห์ มีพระประสงค์ที่จะสร้าง พระพุทธรูป จึงทรงให้น�ำหินอ่อนจากท้องมหาสมุทรมาแกะ รูปส�ำคัญบนหินแผ่นเดียวกันคือ พระพุทธเจ้าโปรดช้างนาฬา คีรีขณะเสด็จบิณฑบาตในเวียงราชคฤห์ ให้มีรูปช้างนาฬา คีรีนอนหมอบอยู่ทางขวา และมีพระอานนท์ประคองบาตร อยู่ทางซ้าย เมื่อสร้างเสร็จ พระองค์พร้อมด้วยพระอรหันต์ ต่างพร้อมใจกันตั้งจิตอธิษฐาน กล่าวค�ำอาราธนาพระบรม สารีริกธาตุ 7 พระองค์ ให้เสด็จเข้าสถิตในองค์พระพุทธรูป ศิลา พลันเมื่อพระบรมสารีริกธาตุสถิตสู่องค์พระศิลา ก็ทรง ส�ำแดงอิทธิฤทธิเ์ สด็จขึน้ ไปในอากาศ พระเจ้าอชาตศัตรูเห็น เป็นอัศจรรย์ จึงทรงประดิษฐานพระศิลาในเงื้อมเขาที่สูงนั้น พร้อมท�ำแท่นบูชาไว้ด้านล่างส�ำหรับผู้ที่มาสักการะ เวลาผ่านมา มีพระเถระ 3 รูป นามว่าสีละวังโส เรวะโต และญานคัมภีรเถระ ไปนมัสการพระศิลาและปรารถนาจะ ให้ประชาชนในบ้านเมืองตนมีโอกาสนมัสการบ้าง จึงได้ขอ อนุญาตจากเจ้าเมือง พระเถระทั้งสามได้น�ำพระศิลาไปยัง เมืองหริภุญชัย โดยให้ประดิษฐานไว้ที่เมืองนคร (ล�ำปาง) ก่อน อนึ่ง ในจิตรกรรมฝาผนังวัดเชียงมั่นมีบานหนึ่งกล่าว ว่าพ่อค้าน�ำถวายพระยามังรายที่เวียงกุมกาม

61


62


ในสมั ย พระเจ้ า ติ โ ลกราช ได้ อ าราธนาพระศิ ล ามา ประดิษฐานไว้ ณ เมืองเชียงใหม่ โดยแรกอยู่ที่วัดป่าแดง ต่อ มาวัดหมืน่ สาร และวัดสวนดอก ตามล�ำดับ กระทัง่ ถึงปีมะแม จ.ศ. 837 (พ.ศ. 2019) อาราธนาขึ้นประดิษฐานในหอพระ แก้วในพระราชวังของพระองค์ ต่อมาได้ประดิษฐานคู่กับ พระแก้วขาว ที่วัดเชียงมั่น พระศิลาเป็นพระพุทธรูปที่ประทานความส�ำเร็จ ความ ชุ่มฉ�่ำ เมื่อมีภัยแล้ง ฝนขาดช่วง ก็จะท�ำการบวงสรวงสระ สรงสมโภชเพื่อขอฝนขอน�้ำ จนเป็นประเพณีปฏิบัติมาจน ทุกวันนี้ นอกจากนี้ ในวาระโอกาสพิเศษทีเ่ มืองเชียงใหม่ดำ� เนินมา ได้ 60 รอบนักษัตร 720 ปีในปี 2559 นี้ จึงเป็นโอกาสอันดี ทีไ่ ด้รบั การอนุเคราะห์จากพุทธบริษทั ให้อญ ั เชิญพระพุทธรูป

ส�ำคัญอันเป็นสมบัตลิ ำ�้ ค่าส่วนตัว ทีส่ ร้างจากแก้วผลึกจ�ำนวน 3 องค์ ทรงเครือ่ งด้วยศิลปะแบบล้านนา แบบพม่า และแบบ สยาม เข้าร่วมในขบวนแห่อัญเชิญน�้ำสรงพระยามังรายเมื่อ ครัง้ จัดงาน “เจ็ดร้อยซาววัสสา น้อมคารวะปูช่ า ต๋นเจ้าพญา เมืองพิงค์” เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2559 โดยใช้นามอันเป็น มงคลของพระพุทธรูปทรงเครื่องส�ำคัญจากสามรูปแบบ ศิลปะครัง้ นัน้ ว่า “พระเจ้าสามฝ่ายฟ้า” ดังนัน้ ในการอัญเชิญ พระทักขิณโมลีธาตุเจ้าเข้าเวียงในครั้งนี้ จึงได้มีการอัญเชิญ พระเจ้าสามฝ่ายฟ้าเข้าร่วมถวายการต้อนรับด้วย อันจะได้ หมายถึงการถวายความเคารพสักการะเป็นพุทธบูชาสูงสุด จากชาวเชียงใหม่ที่มีต่อการเสด็จมาของพระบรมศาสดาใน กาลอันเป็นมงคลที่สุดนี้ 63

เอกสารประกอบ ต�ำนานพระแก้วขาว (เสตังคมณี) กับพระศิลา (พระหินอ่อน), วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 5, 2533. ต�ำนานพระบรมธาตุศรีจอมทอง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร, 2531. https://th.wikipedia.org/wiki/


64


กัลปนา: ข้าพระธาตุ ข้าวัด การกัลปนาเป็นรูปแบบหนึง่ ของการอุปถัมภ์ศาสนาโดยคนที่ มีสถานภาพ วรรณะสูงเช่นเจ้านาย กษัตริย์ เศรษฐี ซึ่งมักจะ “อุทิศ” ทรัพย์สิน ข้าทาสของตนแก่วัดที่ศรัทธา บางครั้งก็ เป็นการกัลปนาตนเองก็ได้ ข้าวัด หรือข้าพระธาตุ ของวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหารก็มีมาแต่เริ่มสร้างวัด เป็นการกัลปนาโดยเจ้านายให้ สืบสาน รักษา ท�ำนุบ�ำรุงวัดและพระธาตุ โดยมีการบันทึก จารึกไว้ ดังเช่นสมัยพระเมืองแก้วทีม่ อบกัลปนาให้ดแู ลรักษา พระบรมธาตุและวัดไปตราบชั่วลูกหลาน โดยมีสิทธิพิเศษ ตอบแทนเช่นยกเว้นส่วย ยกเว้นการเกณฑ์ทหาร เป็นต้น ข้าวัดนีส้ ว่ นใหญ่จงึ ตัง้ บ้านเรือนใกล้วดั จ�ำนวนข้าวัดเพิม่ มาก ขึ้นในสมัยท้าวเมกุฎิที่รวมแล้วมีมากกว่า 40 ครัวเรือน ใน สมัยรัชกาลที่ 6 ได้ส�ำรวจพบว่ามีจ�ำนวนถึง 700 คน ซึง่ ในแต่ละปีขา้ วัดก็ยงิ่ เพิม่ มากขึน้ ด้วยการมีลกู หลาน จน ต้องมีพธิ เี ลีย้ งผีปยู่ า่ มีการรวมตัวกันเพือ่ ท�ำความรูจ้ กั กันเอง และให้รับรู้และแบ่งปันหน้าที่ของสายตระกูลของตนในการ ท�ำนุดูแลพระบรมธาตุและวัด ซึง่ เป็นหน้าทีท่ มี่ คี วามชัดเจนมาก หากไม่ปฏิบตั ติ ามกฎก็ จะต้องถูกปรับ ตัวอย่างหน้าที่อย่างหนึ่งที่ปรากฏในต�ำนาน พระบรมธาตุศรีจอมทองฉบับแปลโดย พระมหาหมื่นวุฒิ ญาโณ ที่ปัจจุบันก็ยังคงปฏิบัติกันอยู่ เช่น “ให้ข้าพระธาตุเจ้าปันเวรกันเฝ้ากลางวัน 5 คน กลางคืน 5 คน ถ้าผู้ใดขาดเมื่อคืน ปรับไหม 1000 เบี้ย เมื่อวัน 500 เบี้ย ปลงอาชญาไว้แก่ข้าพระธาตุ ให้อยู่รักษาเฝ้าแทน ปฏิบัติ กวาดทราย ดายหญ้า ปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมให้ดีอยู่เสมอ

เฝ้าทัง้ กลางวันกลางคืนแล ให้แห่พระธาตุเจ้าไปฉันเข้าทีแ่ ท่น แก้ว”

แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนตามการพัฒนาของสังคมเช่นการ เฝ้าเวรยามช่วงกลางคืนที่อาจจะจ้างต�ำรวจและยามมาแทน ข้าวัด หรือช่วงที่มีการบูรณะสร้างอาคารในวัด ก็ต้องมีการ ก�ำหนดเวรยามให้ผลัดกันมาหมู่บ้านละ 2 คนต่อคืน เป็นต้น ในช่วงเทศกาลสรงน�้ำพระบรมธาตุ ข้าวัดที่อยู่ในกลุ่ม แหนแห่ต้องแต่งชุดสีแดงประโคมเดินแห่ไปตามทางเสด็จ บางส่วนท�ำหน้าที่หามเสลี่ยงบุษบกอัญเชิญพระธาตุไปฉัน ข้าวที่โบสถ์ ข้าวัดส่วนใหญ่มเี ชือ้ สายลัวะ มีตระกูลใหญ่ๆ 8 ตระกูล คือ 1. แสนใจบาล 2. แสนสุรินทร์ 3. แสนค�ำลาว 4. อินต๊ะยศ 5. แสนสามก๋อง 6. อินทรสุภาพ 7. นามเทพ 8. ค�ำเวโล (ค�ำภิโล) ซึ่งได้ร่วมกันสร้างหอผีปู๋ย่า หรือพ่อหม่อน แม่ หม่อน ของแต่ละตระกูลไว้ มีผู้สืบตระกูล เฮือนเก๊า (เรือน ต้นตระกูล) เป็นผูไ้ หว้ผปี ยู่ า่ ต่อจากเลีย้ งเจ้าพ่อหลวง (พระยา อังคะรัฎฐะ) เดือน 9 แรม 6 ค�่ำแล้ว จึงจะมีการเลี้ยงผีปู่ย่า ทั้งหลาย ข้าวัดในปัจจุบันอาจจะมีจ�ำนวนลดลงตามโลกาภิวัตน์ แต่ส ่ว นที่ยังคงอยู่นี้ก็ส ามารถปฏิบัติห น้าที่ของตนอย่ า ง แข็งขันในงานพระธาตุเจ้าเข้าเวียงครั้งนี้ กลายเป็นจุดสนใจ ให้แก่ประชาชนและสื่อทั้งประเทศที่มาร่วมงาน และเป็นที่ สนใจของนักวิชาการที่กลับไปค้นหาข้อมูลของการกัลปนา ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น

บทความนี้ปรับและเรียบเรียงจากการการสัมภาษณ์ข้าพระธาตุและข้อความที่พระคุณเจ้าวัดพระธาตุศรีจอมทองได้โพสต์บนเฟซบุค โปรดอ่านเพิ่มเติมจาก https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1105318639543208&id=1054674574607615 ภาพเก่าเมื่อครั้งเชียงใหม่อายุครบ 700 ปี

65


66

วันที่ 6 มิถุนายน 2559 โดยพระมหาประเสริฐ สิริปุญฺโญ น�ำทีมงานขึ้นดอยอินทนนท์เพื่อเก็บน�้ำจาก ตาน�้ำอ่างกาน้อย ดอยหัวเสือ เพื่อน�ำมาใช้ในสรงพระบรมธาตุในวันพิธี โดยขึ้นไปเพื่อบอกกล่าวขอขมา เตรียมสถานที่ให้สะอาด แล้วขอน�้ำในเช้าวันที่ 7 มิถุนายน


ทิพยสุคันธา: น�้ำทิพย์สรงพระบรมธาตุ วันที่ 10–12 มิถุนายน 2559 ถูกก�ำหนดให้เป็นวันประกอบ พิธีอัญเชิญพระบรมธาตุเข้าเวียง โดยการตระเตรียมงานเริ่ม เมื่อ 45 วันก่อนหน้านั้น คือหลังจากประเพณีปีใหม่เมือง 12 เมษายน 2559 ที่เมืองเชียงใหม่มีอายุครบ 720 ปี การ เตรียมงานใหญ่นเี้ ริม่ จากการรวบรวมข้อมูลเอกสารทีม่ กี ล่าว ถึงเกี่ยวกับพิธีในอดีต ขั้นตอนการอัญเชิญพระบรมธาตุ ทีม่ คี วามละเอียดอ่อน เครือ่ งใช้ในพิธี การวางแผนกับหน่วย งานทีเ่ กีย่ วข้อง ชุมชน วัดบนเส้นทางทีพ่ ระบรมธาตุเสด็จ แต่ กิจกรรมสิ่งหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงก่อนก็คือ น�้ำทิพย์ส�ำหรับสรง พระบรมธาตุ น�้ำที่ใช้ส�ำหรับสรงพระบรมธาตุทักขิณโมลีธาตุ เป็นน�้ำ พิเศษที่มาจากตาน�้ำบนดอยอินทนนท์เท่านั้น บริเวณที่เกิด ตาน�้ำนี้เรียกว่าดอยอ่างกาน้อย เป็นยอดเขาหนึ่งของดอย อินทนนท์ ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตาน�้ำนี้ผุด อยู่ระหว่างโพรงหิน ให้น�้ำใสไหลรวมกันเป็นอ่างแอ่งย่อมๆ ละแวกใกล้เคียงห้อมล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ใบหนาทึบ มีพืช ป่าเกาะกุมทั้งเอื้องป่า กล้วยไม้ป่า มอส เฟิร์น ตะไคร่ ให้ ความรู้สึกสงบร่มเย็น ตาน�้ำนี้เป็นต้นน�้ำแม่กลาง ที่ชาว จอมทองใช้ประกอบการกสิกรรม วันจันทร์ที่ 6 มิถนุ ายน พระมหาประเสริฐ สิรปิ ณ ุ โญหรือ พระมหาบอย จากวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร พร้อมด้วย ทีมงานผู้จัดและเจ้าหน้าที่กรมอุทยานดอยอินทนนท์ ได้เดิน เท้าขึ้นไปที่ตาน�้ำ เพื่อบอกกล่าวเจ้าที่ ขอขมา และน�ำน�้ำที่ ได้สรงพระบรมธาตุจากครั้งล่าสุดที่เรียกว่าน�้ำสรงเก่า มา คืน โดยประพรมรดที่ต้นไม้ที่แวดล้อมนั้น ทีมงานได้ท�ำการ แต่งดาอาณาบริเวณให้สะอาดเรียบร้อย ประกอบผ้าเพดาน ก�ำหนดเป็นเขตบริสุทธิ์ ภาพเก่าเมื่อครั้งเชียงใหม่อายุครบ 700 ปี

วันที่ 7 มิถุนายน น�ำโดยพระมหาบอย ได้จัดเป็ น ขบวนแหนแห่ช่อหลวง น�ำหน้าภาชนะรองรับน�้ำ 3 ชิ้นคือ คณโฑเงิน โถน�้ำมนต์ และสลุงเงิน ประโคมดนตรีถวายแก่ รุกขเทวดา เมื่อได้เวลาที่เหมาะสม พระมหาฯ ได้กล่าวค�ำฮ�่ำ อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ เป็นตัวแทนผู้จัดท�ำวางพานดอกไม้ สักการะรุกขเทวดา จากนั้นพระมหาฯ จึงได้ใช้ขันเงินรอง น�ำ้ จากตาน�ำ้ บรรจุลงคณโฑเงินเป็นการเริม่ ต้น แล้วค่อยเติม ใส่ลงโถน�้ำมนต์ขนาดใหญ่ ส่วนเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ก็ ได้ค่อยๆ ตักน�้ำจากอ่างใส่สลุงเงิน เมื่อได้ปริมาณที่ต้องการ แล้วจึงกล่าวลา น�้ำสรงนี้ต้องน�ำไปเจือกับน�้ำดอกค�ำฝอยเสียก่อน ให้เป็น น�้ำที่มีสีเหลืองใสราวกับบุษราคัม กรุ่นกลิ่นหอมอ่อนๆ ของ ละอองเกสรนี้จึงท�ำให้เรียกน�้ำสรงนี้ว่า “ทิพยสุคันธา” ส� ำ หรั บ พระบรมธาตุ อ่ื น ในประเทศไทย ส่ ว นใหญ่ ประดิษฐานภายในสถูปเจดีย์หรือผอบปิด จึงใช้น�้ำที่ผสม ฝักส้มป่อย-ขมิ้น สรงถวายได้ แต่พระบรมธาตุทักขิณโมลี ธาตุน้ีเรียกว่าเป็นพระธาตุเปิด กล่าวคือ มีการเสด็จออกให้ ประชาชนสักการะและรับน�ำ้ สรงโดยตรงจากประชาชน เมือ่ มีน�้ำรินสู่ในโกศแก้วทองค�ำ พระบรมธาตุก็เสด็จเคลื่อนตาม แรงน�ำ้ หลายคนก็เรียกว่า “พระธาตุเล่นน�ำ้ ” แสดงให้เห็นว่า พระบรมธาตุสัมผัสกับน�้ำโดยตรง จึงก�ำหนดมีมาแต่โบราณ ว่าห้ามน�้ำนั้นผสมสิ่งอื่นใดเว้นแต่ดอกค�ำฝอย เพราะน�้ำที่มี สิ่งอื่นปะปนมักมีความเป็นกรด ท�ำให้ภาชนะและพระบรม ธาตุเสียหาย และแม้จะคัดสรรน�้ำแล้วก็ตาม ในขณะที่ถวาย น�้ำบนรางรินก็ยังต้องมีผ้าขาวกรองอีกถึง 2 ชั้น และเมื่อน�้ำ ผ่านปลายรางรินก่อนสูอ่ งค์พระบรมธาตุกต็ อ้ งมีผา้ ขาวกรอง รองอีกชัน้ หนึง่ น�ำ้ สรงนัน้ จึงเป็นทิพยสุคนั ธาอันบริสทุ ธิท์ สี่ ดุ

67


กระบวนแหนแห่เฉลิมฉลองสมโภชเวียงเชียงใหม่ 720 ปี

68

“ประเพณีการแหนแห่” เป็นรูปแบบวิธีการแสดงออกซึ่ง ตัวตน เป็นการสื่อความหมายในทางการออกหน้าออกตา อย่างหนึ่งของกลุ่มชนในสังคม ที่ถูกให้คุณค่าว่าการแหนแห่ และสิ่งที่จะน�ำมาแหนแห่น้ันเป็นสิ่งที่มีความละเอียดอ่อน ความปราณีต มีความหมาย และมีคุณค่าทางด้านจิตใจ อย่างสูงส่ง จึงได้จัดการแหนแห่ขึ้นเพื่อแสดงความเคารพ บูชาและการให้เกียรติ ซึ่งค่านิยมนี้ได้รับการปลูกฝังยึดถือ อยู่ในกระแสวัฒนธรรมของคนไทในดินแดนอุษาคเนย์มา อย่างช้านาน ในสังคมแบบบรรพกาล ซึ่งเป็นสังคมของการเกษตร ที่ มีความเชื่อถือเคารพย�ำเกรงและต้องพึ่งพาอาศัยกับปัจจัย ทางธรรมชาติดินฟ้าอากาศและสิ่งแวดล้อมต่างๆ อันเป็น ปัจจัยหลักในการด�ำเนินชีวิต การแหนแห่นั้นจึงเป็นการ แสดงออกให้เห็นถึงระบบความคิดเบื้องต้นคือความหวาด กลัวต่อภัยอันตราย การอ้อนวอน การร้องขอ การบูชาสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือให้ช่วยปกป้องคุ้มครอง ด้วยความ เชื่อที่ว่าพิธีกรรมการแหนแห่เช่นนั้น จะเป็นสิ่งที่น�ำความ ดีงาม ความเจริญงอกงาม และความผาสุขร่มเย็นมาสู้ผู้ที่ เข้าร่วมกิจกรรมการแหนแห่ตลอดจนถึงครอบครัว และผูค้ น ที่อยู่ในชุมชนและสังคมบ้านเมืองนั้นๆ จึงก่อให้เกิดรูปแบบ และแนวทางการประพฤติปฏิบัติในกิจกรรมและรูปแบบ การแหนแห่ต่างๆ ทั้งที่เป็นไปในด้านการแหนแห่เพื่อเอาอก

เอาใจสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ การแหนแห่เพือ่ ประกาศป่าวร้องให้ทราบ การแหนแห่เพื่อแสดงแสนยานุภาพ การแหนแห่เพื่อความ สนุกสนานบันเทิงประจ�ำวาระโอกาสหรือเทศกาลประเพณี หรื อ แม้ ก ระทั่ ง การแหนแห่ เ พื่ อ แสดงความเคารพอาลั ย ดังนั้นจึงอาจสังเกตุได้ว่า หนึ่งในอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม กลุ่มไทในอุษาคเนย์ของเรานั้นไม่ว่าจะกระท�ำการอะไร ทั้ง งานมงคลหรืองานอวมงคล ก็มักจะเริ่มต้นด้วยการแหนแห่ เสมอๆ เป็นสิง่ ทีแ่ สดงออกถึงการมีสว่ นร่วมในการจะกระท�ำ กิจกรรมหรือพิธกี ารอย่างใดอย่างหนึง่ จนกิจกรรมการแหน แห่นั้นเป็นเครื่องหมายเชิงสัญลักษณ์ว่าเป็นการเริ่มต้นเพื่อ เข้าสู่พิธีกรรมส�ำคัญที่ก�ำลังจะติดตามมา หากมองในแง่สังคม กิจกรรมการแหนแห่คือรูปแบบ การแสดงออกของมวลชนในองค์รวมในสังคมที่มีทั้งรูปแบบ ทีเ่ ป็นการจ�ำกัดเฉพาะกลุม่ หรือแหนแห่เฉพาะสายความเชือ่ เดียวกัน และการแหนแห่แบบทีเ่ ปิดกว้างให้กบั ทุกกลุม่ ความ เชือ่ ทุกเพศทุกวัย ทุกชนชัน้ ของผูค้ นในชุมชนหรือสังคมนัน้ ๆ ซึง่ ในประการหลังนีม้ กั จะให้ความหมายว่าเป็นการแสดงออก ถึงความพรักพร้อม มีความพร้อมอกพร้อมใจกันของกลุ่ม คนในสังคมนัน้ ๆ อันเป็นไปเพือ่ การเริม่ ต้นของกิจกรรมหรือ พิธีการส�ำคัญบางอย่าง

ธีรยุทธ นิลมูล. ผู้ออกแบบผังรูปขบวน เป็นภาพเก่าเมื่อครั้งเชียงใหม่อายุครบ 700 ปี


กระบวนพิธีในการเฉลิมฉลองสมโภชเวียงเชียงใหม่ กล่าวอ้างถึงช่วงพิธกี ารแหนแห่เพือ่ เฉลิมฉลองวาระครบรอบ 60 รอบนักษัตร 720 ปีเมืองเชียงใหม่เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2559 เป็นวาระแรกทีไ่ ด้มกี ารจัดริว้ ขบวนนีข้ นึ้ อย่าง “เฉพาะ กิจ” กล่าวคือขบวนแหนแห่เช่นนี้ ไม่ได้เป็นประเพณีการ แหนแห่ที่เคยมีหรือปรากฏมาก่อน หากแต่เป็นการตั้งใจ จัดขึ้นเพื่อแสดงออกว่าเป็นการเฉลิมฉลองในวาระโอกาส ส�ำคัญที่เมืองเชียงใหม่นั้นจะมีอายุครบรอบ 720 ปี โดยมี สาระส�ำคัญคือการอัญเชิญเครื่องสักการะบูชาที่ถูกรังสรรค์ อย่างปราณีตเข้าสูบ่ ริเวณพิธลี านพระบรมราชานุสาวรียส์ าม กษัตริย์ เพื่อน�ำเครื่องประกอบพิธีเหล่านั้นใช้ในพิธีกรรม ทางศาสนา ท�ำบุญทักษิณานุปทาน กัลปนาผลแด่ดวงพระ วิญญาณบูรพกษัตริย์ บูรพกษัตรี และทุกจิตวิญญาณที่ลับ ล่วงไปแล้วในช่วง 720 ปีทผี่ า่ นมาบนผืนแผ่นดินแห่งนี้ ก่อน ที่จะเข้าสู่พิธีการถวายน�้ำสรงเครื่องบูชาด้วยน�้ำขมิ้นส้มป่อย และพิธีการสระสรงน�้ำขอขมาคารวะที่เป็นรูปแบบประเพณี ปฏิบัติในช่วงประเพณีสงกรานต์ปีใหม่เมือง เมือ่ กล่าวถึงความเป็นมาของเมืองเชียงใหม่ในตลอดระยะ เวลา 720 ปีที่ผ่านมา ย่อมเห็นถึงช่วงเวลาที่เป็นช่วงการ ก่อตั้งอาณาจักร นครเชียงใหม่นี้ถูกยกระดับให้เป็นเมือง ศูนย์กลางความเจริญของล้านนา เมื่อมีความความรุ่งเรือง ก็ยอ่ มมีความล่มสลาย โดยการปกครองของพม่าทีแ่ ผ่อำ� นาจ อยูใ่ นเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองอืน่ ๆ กินระยะเวลายาวนาน หลายชัว่ อายุคน ตลอดจนถึงการฟืน้ ฟูและการเปลีย่ นสถานะ จากนครรัฐเข้ามาสู่การปกครองรูปแบบมณฑลภาคภายัพ ภายใต้อ�ำนาจของสยามประเทศ และกลายสภาพมาเป็น จังหวัดหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย

เหตุ ก ารณ์ ดั ง กล่ า วมานี้ ท� ำ ให้ เ กิ ด จุ ด ประกายความ คิดในการออกแบบรูปขบวน เพื่อให้สื่อความหมายให้มี สัญลักษณ์ที่ครอบคลุมถึงทุกดวงจิตวิญญาณที่ล่วงลับไปนับ ตั้งแต่ศักราชแรกแห่งการก่อตั้งและสถาปนาเมืองขึ้น และ ตลอดสามช่วงสมัยที่จะกล่าว คือ ในช่วงสมัยที่เริ่มก่อตั้ง อาณาจักร สมัยที่ถูกปกครองภายใต้อ�ำนาจของพม่า และ สมัยของการปกครองจากสยาม จึงเป็นปรากฏการณ์ให้ เกิดการสร้างสรรค์รปู แบบกระบวนการแหนแห่องค์ประกอบ หลักของริ้วขบวนดังกล่าวที่เรียกว่า “ขบวนแห่พระเจ้าสาม ฝ่ายฟ้า” ที่ได้อัญเชิญมาเป็นประธานส�ำคัญในการแหนแห่ ขบวนช่วงเครื่องพิธี พระเจ้าสามฝ่ายฟ้านี้เป็นพระพุทธรูป แก้วผลึกใสที่สลักเสลาขึ้นใหม่ 3 พระองค์ ให้มีลักษณะเป็น พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ ที่มีเครื่องทรงอันวิจิตรอลังการ เป็นเอกลักษณ์ของสามกลุ่มวัฒนธรรมคือ “พระเจ้าทรง เครื่องเมือง” “พระเจ้าทรงเครื่องม่าน” และ “พระเจ้าทรง เครื่องไทย” ประกอบกับเครื่องพิธีกรรมส�ำคัญ อาทิ เครื่อง สักการะล้านนา แท่นอาสนาหรือเตียงเบิก เครื่องสูง กกุธภัณฑ์ล้านนา เครื่องมหรรฆภัณฑ์ล้านนา และตลอด จนถึงเครื่องศาสตราอาวุธโบราณต่างๆ ประสานกับศิลปะ การแสดงระบ�ำร�ำฟ้อนที่ตั้งใจสร้างสรรค์ขึ้น ทั้งที่มาใน กระบวนแห่และตั้งรอรับริ้วกระบวน เพื่อให้สมพระเกียรติ ของบรรพกษัตริย์ผู้ก่อตั้งราชอาณาจักรแห่งนี้ การแหนแห่เพื่อสักการะดวงพระวิญญาณบูรพกษัตริย์ ในตอนนั้น เป็นผลให้เกิดกิจกรรมที่ต่อเนื่องกันมาถึงพิธีการ ส�ำคัญที่ตั้งใจมุ่งหมายจะจัดขึ้น เพื่อเป็นการสมโภชเมืองให้ ยิง่ ใหญ่ดงั เช่นโบราณประเพณีทเี่ คยปฏิบตั มิ า ตามหลักฐาน การบันทึกที่มีทางประวัติศาสตร์ ที่กล่าวถึงการเฉลิมฉลอง การสมโภชเมืองด้วยการให้เมืองมีความเอิกเกริกครึกครื้น

69


ภาพเก่าเมื่อครั้งเชียงใหม่อายุครบ 700 ปี

70

และการท�ำบุญเมืองครั้งยิ่งใหญ่ อาศัยแสงธรรมแห่งบวร พระพุทธศาสนาเป็นเครือ่ งผายแผ่บารมีผลแห่งบุญให้ไปค�ำ้ ชู อารักษ์เมือง เจนบ้านเจนเมือง เสื้อเมืองแสงเมือง ตลอด จนเทวาอารักษ์ผปู้ กปักรักษาเมืองและชาวเมืองผูท้ อี่ าศัยอยู่ ให้เกิดความสุขสงบร่มเย็นเกิดขวัญและก�ำลังใจแก่ชาวเมือง โดยจะกล่าวอ้างถึงอดีตเจ้าผู้ครองพระนครเชียงใหม่คือ พระเมกุฏสุทธิวงศ์ และพระนางวิสุทธิเทวี พระราชมารดา ที่ได้มีพระราชศรัทธาอัญเชิญพระธาตุเจ้าศรีจอมทองเข้า มายังหอบาตรภายในพระราชมณเฑียร และนับเนื่องจนถึง การอัญเชิญเพื่อกระท�ำพิธีการสมโภชเมืองในช่วงสมัยของ พระเจ้ากาวิละ จนเป็นประเพณีตกทอดไปยังเจ้าหลวงเมือง เชียงใหม่อีกหลายพระองค์สืบต่อกันมา เหตุการณ์ดังกล่าว นั้น ในยุคที่ยังไม่มีการบันทึกภาพ ก็จะหลงเหลือหลักฐาน เพียงข้อความจารึกที่เขียนจดบันทึกไว้ จนมาถึงครั้งล่าสุด ที่ได้มีพิธีการอัญเชิญพระธาตุเจ้าเข้าเวียงเพื่อร่วมพิธีสมโภช เมืองเชียงใหม่ทมี่ อี ายุครบ 700 ปีเมือ่ วันที่ 12 เมษายน 2539 ก็ได้จัดอย่างยิ่งใหญ่ และได้มีการอัญเชิญพระบรมธาตุเจ้า ศรีจอมทองเข้ามาประดิษฐานยังเวียงเชียงใหม่เพือ่ การนีโ้ ดย เฉพาะด้วย ในระยะเวลา 20 ปีท่ีล่วงผ่าน ส่วนของภาพที่บันทึก ไว้ และความทรงจ�ำเกี่ยวกับรูปกระบวนพิธีที่เคยจัดขึ้น ที่ ตั้งใจจะน�ำมาเป็นหลักฐานในการจัดการกระบวนแหนแห่ก็ ดูจะเลือนลางไปจากความทรงจ�ำของชาวเชียงใหม่เสียเต็มที ดังนั้น การรื้อฟื้นรูปแบบและพิธีกรรมการแหนแห่และการ จัดการนั้น จึงเป็นไปด้วยความยากล�ำบากในการติดตามหา แหล่งข้อมูลและตัวบุคคล ทีจ่ ะน�ำมาอ้างอิงเพือ่ ประกอบการ ออกแบบริว้ ขบวนพิธี แต่ดว้ ยความศรัทธาเป็นทีย่ งิ่ ของคณะ ศรัทธาทีจ่ ะขออาราธนาอัญเชิญพระธาตุเจ้าศรีจอมทองเสด็จ

โปรดในเวียงเชียงใหม่ มีความตั้งใจจะจัดรูปแบบริ้วขบวน เหล่านี้ข้ึนเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จึงมีมติร่วมกันโดยความ ยินยอมของคณะสงฆ์ ผู้ด�ำรงต�ำแหน่งหน้าที่ดูแลอุปัฏฐาก พระธาตุเจ้า ให้เกิดการออกแบบริ้วขบวนขึ้นใหม่และให้มี การจดบันทึกเป็นหลักฐาน ซึ่งปัจจัยเหตุอันเป็นที่มาของ การออกแบบริ้วกระบวนการแหนแห่นี้ เกิดจากในปีนี้เป็นปี ศุภวาระมหามงคลร่วมกันคือ ในวาระโอกาสทีเ่ มืองเชียงใหม่ มีอายุครบรอบ 60 รอบนักษัตร หรือจะนับเป็นจ�ำนวนปีก็ เท่ากับ 720 ปี และวัดพระธาตุศรีจอมทองมีอายุครบ 550 ปี อีกทั้งยังเป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองศิริราชสมบัติครบ 70 ปี และสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ โอกาสอันเป็นมิ่งมหามงคลนี้ คงจะไม่อาจมาบรรจบรวมกัน ได้โดยง่ายอีก จึงเป็นเหตุผลที่ท�ำให้คณะศรัทธาผู้มุ่งหมาย จะอาราธนาพระธาตุเจ้าเข้าเวียงได้จัดเตรียมงานพิธีอย่างดี ที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านพิธีการแหนแห่และพิธีการ สรงน�้ำพระธาตุ ที่ถือเป็นจุดโดดเด่นที่สุดของการจัดพิธีการ สมโภชเมืองในครั้งนี้ ขบวนพิธกี ารนัน้ มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายซึง่ ล้วน แล้วเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์และเปี่ยมไปด้วยพลังความ ศรัทธา นับตั้งแต่ขบวนพิธีตักและอัญเชิญน�้ำศักดิ์สิทธิ์จาก ตาน�ำ้ บนดอยหลวงอินทนนท์ ในจุดทีเ่ ป็นตาน�ำ้ แห่งดอยอ่าง กาน้อย เพือ่ รักษาไว้ซงึ่ ขนบประเพณีเดิมทีเ่ ชือ่ ถือสืบต่อกันมา ตามต�ำนาน “พระทักขิณโมลีธาตุ” ว่าเมือ่ สมัยพระพุทธองค์ ได้ทรงเสด็จมาโปรดพระยาอังครัฎฐะยังสถานที่นี้ หลังจาก ทรงภัตรกิจแล้ว ก็ได้สรงน�้ำยังน�้ำแม่ “สักการะนที” หรือที่ เชือ่ ถือสืบต่อกันมาว่าคือ “น�ำ้ ตกแม่กลาง” บนดอยอินทนนท์ ในปัจจุบัน นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าในการจัดพิธีการทูลเชิญ


เสด็จพระธาตุเข้าเวียงนี้ จ�ำเป็นต้องไปกระท�ำพิธีการตักน�้ำ และเชิญน�้ำศักดิ์สิทธิ์จากตาน�้ำตามพุทธต�ำนาน ให้ถูกต้อง ตามโบราณประเพณี เพื่อน�ำมาเจือกับกลีบ “ดอกค�ำฝอย” ให้เป็น “น�้ำทิพยสุคันธา” อาบสรงเท่านั้น และนั่นจึงเป็น เหตุที่ไม่อนุญาตให้ประชาชนใช้น�้ำจากแหล่งอื่น ไม่ว่าจะ เป็นน�้ำอบ น�้ำหอม หรือน�้ำใดๆ มาสรงลงยังพระธาตุเจ้าได้ พิธกี ารแหนแห่นำ�้ ศักดิส์ ทิ ธิจ์ ากตาน�ำ้ บนยอดดอยนีจ้ งึ เป็นอีก หนึ่งรูปแบบพิธีการแหนแห่ที่พยายามรักษาประเพณีดั้งเดิม ไว้ ให้ยังคงงดงามตามกรอบจารีตและวิถีประชาดังเดิมมาก ที่สุด ส่วนกระบวนการแหนแห่เพื่ออัญเชิญพระธาตุเสด็จออก จากวัดเพื่อเดินทางมายังวัดต้นเกว๋น ที่เป็นจุดพักขบวน ชั่วคราว ให้ประชาชนได้สักการะและสรงน�้ำนั้น มีการปรับ ใช้รูปแบบของการใช้รถยนต์พาหนะในการทูลเชิญบุษบก ปราสาทประดิษฐานพระธาตุเจ้า มาบนรถยนต์ขับเคลื่อน แทนการใช้กระบวนช้างอย่างโบราณ เป็นการปรับให้เหมาะ สมกับสภาพการจราจรและความสะดวกคล่องตัวตามยุค สมัย อีกทั้งยังพยายามรักษาความปลอดภัยมิให้เกิดขึ้นต่อ องค์พระธาตุ ด้วยมีมาตรการการรักษาความปลอดภัยอย่าง สูงสุด ทัง้ ในด้านจารีตและในด้านของบ้านเมือง กล่าวคือ ใน ทางจารีตนัน้ ตามประวัตศิ าสตร์ พระเจ้าแผ่นดินเชียงใหม่ได้ มีการกัลปนาผู้คนให้เข้ามาเป็นข้าวัด–ข้าพระธาตุ อันมีหน้า ที่เฝ้าดูแลรักษาความปลอดภัยต่อองค์พระธาตุ โดยหมาย เอา 8 ตระกูลใหญ่ที่สืบเชื้อสายต่อกันมา ผู้คนเหล่านี้จึงมี บทบาทในริว้ ขบวนแหนแห่ในการอัญเชิญพระธาตุ ท�ำหน้าที่ เชิญเครือ่ งศาสตราวุธโบราณมาคุม้ กันอารักขา แหนแห่ลอ้ ม รอบพระธาตุเจ้าเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับพระธาตุเจ้า ในทางจารีตประเพณี

ส่วนในทางบ้านเมือง มีการท�ำงานร่วมกันระหว่างฝ่าย รั ก ษาความปลอดภั ย ต่ า งๆ ไม่ ว ่ า จะเป็ น ต� ำ รวจ ทหาร พลเรือนและอาสาสมัคร ท�ำหน้าที่อ�ำนวยความสะดวกและ เฝ้าอารักขาให้การคุ้มกันความปลอดภัยในตลอดเส้นทางที่ พระธาตุเจ้าจะเสด็จเข้ามาโปรดในเวียงเป็นระยะเวลา 3 วัน การจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองสมโภชเมืองใน ปีที่ 720 นี้ จึงไม่ใช่เพียงการจัดกระบวนพิธีการยาตราเสด็จ ของพระบรมธาตุให้โอ่อา่ งดงาม อลังการ สมพระเกียรติเพียง เท่านั้น แต่ใจความส�ำคัญของพิธีการนี้คือ วาระอันเป็นมหา มงคลโอกาสทีไ่ ด้เชิญพระธาตุมาประดิษฐานชัว่ คราวยังพืน้ ที่ ใจกลางของเวียงเชียงใหม่ เป็นสถานที่มงคล เพื่อเป็นองค์ ประธานในฐานะที่เป็น “เจติยะ” ในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ แทนพระองค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือสิ่งที่พึงเคารพ บูชา คณะศรัทธาผู้ร่วมบุญการทูลเชิญเสด็จจึงต้องคิดและ กระท�ำด้วยความรอบคอบเพื่อให้สมพระเกียรติ โดยใน ระหว่างเส้นทางเสด็จนั้น มีการตั้งจุดรับและฟ้อนร�ำรวมถึง การโปรยปรายข้าวตอกดอกไม้ และสวดเจริญชัยมงคลคาถา รวมทั้งพระคาถาและพระสูตรบทอื่นๆ ถวาย เรื่อยมาจนถึง การแวะพักขบวนเสด็จที่วัดต้นเกว๋น อินทราวาส ซึ่งเป็นวัด ที่ถูกปลูกสร้างขึ้นส�ำหรับเป็นจุดแวะพักการเสด็จของพระ ธาตุมาแต่ครั้งอดีตกาลแล้วนั้น เมื่อเดินทางมาถึงจึงทูลเชิญ ปราสาทบุษบกประดิษฐานพระธาตุลงจากรถยนต์ ด�ำเนิน วิธีการเชิญพระธาตุเสด็จยาตราโดยการหามเสลี่ยงบุษบก ปราสาทพระธาตุเจ้าเข้าสู่มณฑลพิธีภายในบริเวณวัดและ ศาลาบาตรพลับพลาที่ประดิษฐาน ซึ่งได้เตรียมการไว้แล้ว อย่างดี อย่างสมพระเกียรติและเป็นไปอย่างโบราณประเพณี ปฏิบัติ

71


เมื่อพระธาตุเจ้าจักเสด็จเข้าวัดบุปผาราม ป่าไม้พยอมยงค์

72

ริ้วขบวนที่ถูกกลั่นกรองและออกแบบขึ้นเพื่อกาลอันเป็น เฉพาะกิจครั้งนี้ ถูกก�ำหนดจุดให้ตั้งขึ้นยังวัดบุปผาราม (สวน ดอก) พระอารามหลวง เพื่อแหนแห่เข้าสู่ตัวเวียงเชียงใหม่ ทางประตูช้างเผือก ก่อนจะจัดตั้งเป็นริ้วขบวนให้เกิดความ วิจิตร และยังเป็นการทูลเชิญพระธาตุเจ้าได้เสด็จโปรด บรรดาเจ้านายฝ่ายเหนือในสายตระกูลทิพยจักรทั้งที่ล่วง ลับไปแล้วในกู่ (พระสถูป) และเจ้านายที่เป็นลูกหลานสาย สกุลทีย่ งั มีชวี ติ อยู่ ตลอดจนเป็นโอกาสให้คณะเจ้าศรัทธาได้ ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ทตี่ ามเสด็จพระธาตุ มีความ พยายามที่จะรังสรรค์ให้กระบวนพิธีสอดคล้องกับรูปแบบ โบราณ ด้วยการเสด็จเข้าเวียงโดยเท้ายาตรา จึงเปลี่ยนจาก ยานพาหนะจากรถยนต์มาเป็นเสลีย่ งคานหามดังโบราณกาล ณ วัดสวนดอกบุปผารามแห่งนี้ เส้นทางเสด็จทีจ่ ะเวียนด้านขวาของล�ำเวียงมีความหมาย ในทางอุดมคติเกี่ยวกับความเป็นสวัสดิมงคล โดยหมายเชิญ ให้บรรดาหัววัดต่างๆ ทีข่ บวนเสด็จของพระธาตุเจ้าเสด็จผ่าน ได้ถวายการต้อนรับและบูชาด้วยการโปรยปรายข้าวตอก ดอกไม้ตลอดทั้งสองข้างทางของเวียงอาทิ วัดปันเส่า และ วัดโลกโมฬี เป็นต้น ช่วงต้นขบวนเป็นขันอัญเชิญที่พรั่งพร้อมไปด้วยเครื่อง สักการะมงคล ทั้งข้าวตอกดอกไม้ เป็นสัญลักษณ์ที่รู้โดย ทั่วกันในกลุ่มล้านนาว่าเป็นเครื่องหมายของการทูลเชิญ สิ่งส�ำคัญ ติดตามมาด้วยกังสดาล ตีให้เกิดเสียงอันกังวาล ประกาศให้ทราบการมาถึง เพือ่ การสงบจิตเข้าสูก่ ระบวนพิธี และเพื่อการแซ่ซ้องสาธุการ โดยมีช่อหลวงหูช้างติดตามมา

เป็นล�ำดับ เสนาะเสียงของวงดนตรีที่ประโคมในแต่ละช่วง ของขบวนอันเป็นทิพย์เทพดนตรีที่ใช้ประโคมขับกล่อมกับ เหล่าบรรดาช่างฟ้อนที่กรีดกรายร่ายร�ำด้วยใจอันปราโมทย์ ท�ำให้ยิ่งคล้ายกับต้องมนต์สะกดให้ตกอยู่ในภวังค์แห่งภาพ อันเป็นทิพย์ทพี่ ยายามจ�ำลองลงมาไว้ในลักษณะของกระบวน แหนแห่นี้ นอกจากพุ่มเครื่องสักการะล้านนาชั้นสูงที่ตั้งใจกระท�ำ ขึ้นด้วยการประดิษฐ์อย่างปราณีตจากช่างฝีมือชั้นสูงของ ล้านนาตามโบราณประเพณีแล้ว ระหว่างนั้นมีขบวนแห่รูป สัญลักษณ์ประจ�ำแต่ละนักษัตรและรูปจ�ำลองของพระธาตุ ปีเปิ้ง (พระธาตุปีเกิดตามนักษัตร) เพื่อให้สอดคล้องกับคติ การบูชาพระธาตุประจ�ำปีเกิด ซึง่ พระธาตุเจ้าศรีจอมทองนีอ้ ยู่ ในฐานะพระธาตุประจ�ำปีเปิง้ ไจ้ หรือปีชวด โดยพยายามสือ่ ความหมายของเสลี่ยงปีเปิ้งทั้ง 12 นักษัตรนี้ว่าหมายถึงรอบ แห่งนักษัตรที่ 1 รอบ มีจำ� นวน 12 ปี และบัดนีเ้ มืองเชียงใหม่ ได้มีอายุครบ 60 รอบแห่งนักษัตร คือ 720 ปี และในแต่ละ ช่วงของแท่นเสลีย่ งปีเปิง้ นัน้ ก�ำหนดให้มผี รู้ ว่ มขบวนแต่งกาย เป็นข้าพระธาตุอันเป็นสัญลักษณ์ของการกัลปนาข้าวของ ข้าคน ไว้เป็นข้าวัด–ข้าพระธาตุ ณ ที่พระธาตุเจ้าดวงนั้นๆ สถิตย์อยู่ในแต่ละภูมิภาคทั้ง 12 แห่ง ริ้วขบวนได้รับเมตตาอย่างสูงจากพระธรรมมังคลาจารย์ เจ้ า อาวาสวั ด พระธาตุ ศ รี จ อมทองวรวิ ห ารขึ้ น นั่ ง ราชรถ อัญเชิญเสด็จพระธาตุเจ้าเข้าเวียง พร้อมด้วยคณะพระเถระ ชั้นผู้ใหญ่ พระสงฆ์ สามเณร และเหล่าศรัทธาประสาทะ พุทธบริษัทที่เป็นข้าวัดพระธาตุศรีจอมทอง ทูลเชิญบุษบก ปราสาทที่ประดิษฐานพระบรมธาตุมาบนเสลี่ยงคานหาม ให้เลื่อนลอยมายังทิพยวิมาน ที่ชะลอลงมาจากอากาศเป็น ปริมณฑลแลดูงดงามเป็นที่น่าปีติยิ่ง และถือก�ำหนดให้มีริ้ว


ขบวนของเหล่าขุนหาญและเหล่าชายชาญล้านนาทัง้ หลายใน เครื่องแต่งกายนักรบโบราณประกอบกับม้าที่ใช้เป็นพาหนะ พร้อมกับศาสตราวุธแบบโบราณครบมือประจ�ำอยู่ น�ำขบวน ก่อนถึงช่วงที่เป็นขบวนเสด็จของพระธาตุ ที่จะมีเหล่าข้า พระธาตุทถี่ กู กัลปนาไว้ซงึ่ สืบสายเลือดกันมาทัง้ 8 ตระกูลนัน้ ถือศาสตราวุธและกางกั้นสัปทนให้กับเสลี่ยงบุษบกอัญเชิญ มาตามรูปแบบดั้งเดิม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปในเชิงสัญลักษณ์ ของการเฝ้าอารักขาและรักษาความปลอดภัยตามระบบจารีต ในอุดมคติ ข้าวของที่ใช้เข้าร่วมในริ้วขบวนแหนแห่ทุกสิ่งอันรวมถึง เครื่องมหรรฆภัณฑ์ ล้วนแต่เป็นเครื่องใช้ในพิธีกรรมส�ำคัญ ทางพระพุทธศาสนาที่มีความหมายโดยนัยยะศักดิ์สิทธิ์และ ความเป็นมงคลทั้งสิ้น อาทิ แท่นอาสนาหรือเตียงเบิก ที่จะ ใช้ในช่วงพิธีการสวดเบิกอบรมสมโภช และยังปิดท้ายด้วย เหล่าขุนหาญชายศึกที่อัญเชิญศาตราวุธโบราณโดยเฉพาะ อย่างยิง่ เสลีย่ งอัญเชิญ “ดาบฝักค�ำ” ประจ�ำตัวของเจ้าผูค้ รอง นครเชียงใหม่ในอดีต เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงออกให้เห็น ถึงพระราชศรัทธาของกษัตริย์และเจ้านายผู้ครองดินแดน ล้านนาในอดีต ที่พยายามปกป้องและท�ำนุบ�ำรุงพระพุทธ ศาสนาตลอดระยะเวลาที่ยาวนานสืบมา ติดตามมาด้วย ขบวนเสลี่ยงปราสาทบุษบกอัญเชิญ “พระเจ้าสามฝ่ายฟ้า” ซึง่ ถือเป็นองค์สญ ั ลักษณ์ของวาระโอกาสการเฉลิมฉลองอายุ เมืองครบรอบ 720 ปี ทีผ่ า่ นช่วงเวลาทัง้ สามยุคสมัย ปิดท้าย ริว้ ขบวนนีด้ ว้ ยการเชิญน�ำ้ ศักดิส์ ทิ ธิท์ กี่ ระท�ำพิธตี กั จากตาน�ำ้ บนดอยหลวงอินทนนท์ในภาชนะที่เป็นขันเงินใบใหญ่ เพื่อ ใช้ประกอบพิธีการสระสรงองค์พระบรมธาตุเจ้าในปะร�ำพิธี ในมณฑลพิธีดังที่ตั้งใจ

ณ ประตูหัวเวียง เมื่อพระธาตุเจ้าจักเสด็จเข้าเวียง เชียงใหม่ จุดนี้ถือเป็นประตูหัวเวียงอย่างแท้จริง การอัญเชิญพระธาตุ เข้าสู่เวียงทางประตูช้างเผือกนั้นจึงเป็นเส้นทางที่เป็นมหา มงคล โดยมีตัวแทนส่วนราชการ เจ้านายฝ่ายเหนือ และ กับทัง้ ประชาชนทัง้ หลายรอรับพระธาตุเสด็จเข้าเวียง ในการ พิธีนี้มีการอาราธนาอัญเชิญพระศิลา และพระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาวจากวัดเชียงมัน่ พระคูบ่ า้ นคูเ่ มืองเชียงใหม่ มาร่วมในพิธีการรับเสด็จพระธาตุศรีจอมทองเข้าเวียงนี้ โดยริ้วขบวนของพระพุทธรูปส�ำคัญนี้ประกอบไปด้วยการ ประโคมน�ำด้วยวงกลองจุม หรือกลองทัดรูปแบบพื้นเมือง ล้านนา ติดตามด้วยเครื่องสักการะทั้ง 5 ประการ แลคณะ ศรัทธาพ่อออกแม่ออกสาธุชนทั้งหลาย ถือขันข้าวตอก ดอกไม้ตามพระพุทธรูปส�ำคัญทั้งสองพระองค์ ปิดท้าย ด้วยช้างทั้ง 2 เชือก ทูลเชิญต้นไม้เงิน–ต้นไม้ทอง เพื่อแสดง สักการะบูชาซึ่งตั้งยั้งรออยู่ในก�ำแพงฝ่ายในประตูช้างเผือก แล้วเมื่อกระขบวนพระธาตุเจ้าเสด็จมาถึงเพื่อผลัดเปลี่ยน ขึ้นสู่ยังราชรถยานมาศที่ตั้งรอไว้ เหล่าคณะช่างฟ้อน พญา จ่าฟ้อนจึงได้ฟอ้ นหางนกยูงรับเสด็จ และทัง้ สองริว้ ขบวนจึง เคลือ่ นสมทบกันเป็นกระบวนยาตราทีย่ งิ่ ใหญ่เป็นทีเ่ อิกเกริก ใหญ่โตสุดประมาณ

73


รายนามคณะท�ำงาน กัลปนา ผู้ร่วมงาน และผู้สนับสนุน (ล�ำดับตามอักษร)

พระคุณเจ้าที่เข้าร่วมพิธี พระธรรมมังคลาจารย์ (ทอง สิริมงฺคโล) เป็นองค์ประธาน

74

พระราชเจติยาจารย์ (ธ.) พระราชวินัยโสภณ (ธ.) พระราชวิสุทธิญาณ (ธ.) พระครูกัลยาณกิตติรัต พระครูกิตติชัยโมลี พระครูจิตตภัทราภรณ์ (ธ.) พระครูธรรมวารีนุรักษ์ (ธ.) พระครูธรรมาภิรม พระครูธีรธรรมประกาศ พระครูบรมธาตุนุกูล พระครูบุญญากรวิโรจน์ พระครูประภัศร์ธรรมรังษี พระครูประภัศร์สุตกิจ พระครูปริยัติยานุศาสน์ พระครูปลัดภคิน ธมฺมชโย (ธ.) พระครูปลัดสุวัฒนเมตตาคุณ (ธ.) พระครูปลัดอาทิตย์ พระครูปัญญาพิลาส พระครูปัญญาพิสุทธิ์ พระครูปิยกิจปรีชา พระครูพัทธนาพิมุต พระครูพิทักษ์สิทธิคุณ พระครูพิพัฒนกิจโกศล พระครูพิพัฒน์สมาจารย์ พระครูพิพิธบุญญาภิรม พระครูพิศิษฏ์พิพิธการ พระครูไพบูลเจติยานุรักษ์ พระครูภาวนาวิรัช อาจิณฺณสีโล พระครูเมธาธรรมประยุต พระครูรัตนสุภาจาร พระครูวรกิจพิธาน พระครูวรญาณมงคล พระครูวิบุลกิตติรักษ์ พระครูวิภาตวรคุณ พระครูวิมลจันทรังษี พระครูวิมลธรรมรัต (ธ.) พระครูวิรุฬห์ธรรมวัฒน์ พระครูวิโรจน์สีลาภรณ์ พระครูวิสิทธิสารคุณ พระครูศรีปัญญาวิเชียร พระครูสถาพรเขมากิจ พระครูสถาพรพัฒนรังษี พระครูสมุห์บุญเรือง พระครูสังฆรักษ์ก�ำธน (ธ.) พระครูสังฆรักษ์สมศักดิ์ ฐานวโร พระครูสันติธรรมวัฒน์ พระครูสาธุกิจจานันท์ พระครูสิทธิจิตตาภิรัต พระครูสิทธิวรคุณ พระครูสิริบรมธาตุพิทักษ์ พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์ พระครูสิริพัฒนานุกุล พระครูสิริวุฒิกร พระครูสุคนธ์บุญญากร

พระครูสุจิตปัญญารัตน์ พระครูสุชาติธรรมาวุธ พระครูสุตกิจจาภิรม พระครูสุทธิญาณรังษี พระครูสุนทรขันติรัต พระครูสุนทรเจติญารักษ์ พระครูสุนทรธรรมโชติ พระครูสุนทรธรรมานุโยค พระครูสุนทรพรหมคุณ พระครูสุมงคลรัต พระครูสุเมธธรรมวงศ์ พระครูสุวรรณปริยัติโกวิท พระครูโสภณกิตติวัฒน์ พระครูโสภณสุวรรณาทร (เพชร) พระครูโสภิตชนาธิการ พระครูโสภิตบุญโญภาส พระครูโสภิตสีลาจาร พระครูอดุลปุญญาภิรัต พระครูอดุลสีลกิตติ์ พระครูอมรธรรมทัต พระครูอมรวีรคุณ พระครูอาทรสมาธิวัตร (สันติ) พระครูอินทคุโณภาส พระครูอินทญาณรังษี พระครูอินทวงศารักษ์ (ธ.) พระครูอุดมธรรมรักขิต พระครูอุเทนปัญญารังสี พระมหาเกรียงไกร กิจฺจวฑฺฒโน พระมหาเกษม เขมาภินนฺโท พระมหาโกสินทร์ กิตฺติปาโล (ธ.) พระมหาฉลอง อริยวํโส (ธ.) พระมหาประเสริฐ สิริปุญฺโญ พระมหาวิเศษ ปญฺญาวชิโร พระมหาวีรวัฒน์ พระมหาอภิชัย กิตฺติญาโน พระมหาอาทิตย์ อาทิจฺโจ (ธ.) พระมหาอาวรณ์ ภูริปัญฺโญ พระกิตติวิมล (ธ.) พระไกลนาค (ธ.) พระเทพปริยัติ พระเทพมังคลาจารย์ พระธรรมเสนาบดี พระปกรณ์ศิลป์ สิริโพธิ พระปฐม ปภสฺสโร พระประชานาถมุนี พระพัฒภ์ฒภูมม์ สิริเทวกิตฺติ พระภูริภัสร์ กลฺยาณปุตโต พระราชสิงหวนมุนี พระวรากร จิตฺตปุญฺโญ พระวีรทัย วีตราโค พระศรัณย์กร ปญญารตนวํโส พระศรีศิลปาจารย์ (ประมวล) พระศรีสิทธิเมธี พระสมุห์อานนท์ พระสุวรรณเมธี (แสวง ป.ธ.๗) พระอธิการสงกรานต์

พระอธิการสมชาย ธมฺมทินโน พระอธิการสมพงษ์ พระอธิการสมหมาย ชุตินธโร พระอธิการสุรสีห์ ญาณาสโย พระอมรเวที (อ๊อด ป.ธ.๘) พระอัมรินธร วิสิปฺปญาโณ พระอิศราวุฒ วรสงฺฆญาโณ พระใบฎีกาสงกรานต์ ญาณิสฺสโร สามเณรไพบูลย์ หัวยาว สามเณรรัชชานนท์ ค�ำแสง สามเณรวราวุฒิ ปันดวง สามเณรวิจิตร เวียงกุมภา สามเณรศุตชัย ชาวสวนแตง สามเณรสมบูรณ์ สิริลักษณ์มงคล สามเณรสุทัศน์ อ่วมสถิต สามเณรอนันตชัย งามฉลาด คณะสวดเบิกวัดศรีโสดา ตัวแทนเจ้านายฝ่ายเหนือ เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ เป็นประธาน เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง พลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ล�ำพูน เจ้าดารารัตน์ ณ ล�ำพูน เจ้ารัตนา ณ เชียงใหม่ เจ้าดารารัตน์ ณ ล�ำพูน เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เจ้าภาคินัย ณ เชียงใหม่ คณะกรรมการมูลนิธินวราชด�ำริอนุรักษ์ ฝ่ายเหนือ ตัวแทนหน่วยงานและประชาชน ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เชียงใหม่ นายกเทศบาลนครเชียงใหม่ คุณกัณธิมา สุภา คุณนิตยา ชมภูรัตน์ คุณภิวดี สิทธิสอน. คุณวาสนา บุญธรรม คุณศิรประภา ถีระแก้ว คุณหัสรากรณ์ เพชรล�้ำ คุณอุรารักษ์ พูลผล ผู้ติดตามพระธาตุ หมู่ที่ 3 ต.ข่วงเปา นายรัตน์ ค�ำภิโล นายสมบูรณ์ ค�ำภิโล นายสุวิทย์ ค�ำภิโล ผู้ติดตามพระธาตุ หมู่ที่ 4 ต.ข่วงเปา นางกมลรัตน์ รักดี นางก๋อง ค�ำสุการ์ประสิทธ์ นางแก้ว นันโต นางแก้วเรือน ปัญญายิ่ง นางทา เป็งกันทะ

นางฟอง พวงเงิน นางวรรณา สุริยพงศกร นางวันดี กันธิยะ นางอ�ำพร จาระนะ นางอ�ำพร ตราบุญ นายจิตร รุ่งแสง นายดวงแก้ว ใจค�ำ นายติ๊บ ค�ำมูล นายทองค�ำ ศรีบุญเรือง นายทัย ตราบุญ นายบุญ ค�ำดวง นายบุญ เตชะตา นายบุญ บุญตามล นายประพันธ์ พวงเงิน นายสมเดช แสนใจบาล นายสมนึก ปัญญาเรือน นายสวพล แสนใจบาล นายสหรัตน์ แสนใจบาล ผู้ติดตามพระธาตุ หมู่ที่ 5 ต.ข่วงเปา ร.ต.ท.วิลาศ ค�ำภิโร ร.ต.สมบูรณ์ ค�ำดวง ด.ต.เนตร แสนสามก๋อง นายแก้ว นาระต๊ะ นายค�ำอ้าย พุทธิมา นายตัน ปินทะยา นายทน วิจิตา นายทวี ใจมณี นายทอง นาระต๊ะ นายประวิช อุทัยทัศน์ นายประเสริฐ์ ค�ำวัน นายปี๋ ค�ำแปง นายพิษณุ จันแดง นายมนัส ค�ำก๋อง นายมานิตย์ สุริยะ นายมินทร์ กันทะใจ นายวรเทพ มหายาโน นายวสันต์ ไชยวงศ์หวั่นท๊อก นายวสันต์ ศรีวิทะ นายวิทยา กันยะ นายวิสุทธิ์ ทิพยะ นายสมบูรณ์ บุตต๊ะ นายสมพงษ์ แสนพรมมา นายสิงห์ค�ำ ดวงแก้ว นายอินทร์สน พรมมา นายอินทร์สม หล้านันตา นายอินทอน แก้วเขียว นายอินสน เกิดใหม่ นายอินสอน แสนใจบาน ผู้ติดตามพระธาตุ หมู่ที่ 6 ต.ข่วงเปา ร.ต.ท.อินใจ ชุมภูศรี น.ส.ณัฐพร ใจวงศ์ นางแก้วเรือน สุต๋าค�ำ นางจันทร์หอม ชุมภูศรี นางพิน เป็งใจยะ นางมูล อินทวงศ์ นางวันดี เสวิทะ


นางอารี สุต๋าค�ำ นางอ�ำพร เทพวงศ์ นางเฮือน ก้อนสุรินทร์ นายแก้ว เป็งสุยะ นายค�ำปัน สุปันตา นายจันทร์ กุณานัย นายฉัตรชัย ชุมภูศรี นายณรงค์ ใจวงศ์ นายณัฐพงษ์ ใจวงศ์ นายณัฐพล ใจวงศ์ นายเต้า ฟูนัน นายทอง ใจวงศ์ นายทอง สุปิโน นายนิคม ทิพย์กันทา นายปรีชา สุต๋าค�ำ นายภาคภูมิ กันทา นายยุทธ มะโนใจ นายเลิศ แก้วใจ นายสมบัติ แสนใจบาล นายสุมินทร์ จินใจ นายเหลา สุพรรณ นายอาทิตย์ สุธรรมทาน ผู้ติดตามพระธาตุ หมู่ที่ 9 ต.ข่วงเปา นายกมล แก้วกันใจ นายแก้ว บุญปั๋น นายค�ำ ตาละปิน นายจรัญ ค�ำตุ้ย นายจันทร์ ไชยวงค์ นายทองอินทร์ ค�ำวัน นายทอน แดงขาวเขียว นายทิม สิงห์ค�ำ นายบุญเป็ง สุติน นายปั๋น แก้วมงคล นายผล แรดสวนสี นายยุทธ นันต๊ะเสน นายฤทธิ์ สุภาอินทร์ นายวรวุฒิ ก้อนสุรินทร์ นายสมบุญ ศรีจอมทอง นายสิงห์แก้ว มหายาโน นายสิงห์ค�ำ เทพวงศ์ นายสุข แรดสวนสี นายหม่น นาระต๊ะ นายอรรถ สิงห์ค�ำ นายอินทร ถาค�ำ นายอินทร์ หมื่นใจ ผู้ติดตามพระธาตุ หมู่ที่ 11 ต.ข่วงเปา นายกมล อินธิสอน นายจรัล ปัญญายิ่ง นายจ�ำนงค์ กันทะวัง นายเจริญ ใจค�ำ นายเชาว์ ภูดอนตอง นายตัน กุณาธรรม นายทองอินทร์ ปัญญามี นายธวัชชัย เบญจวรรณ นายเนตร อภิชัย นายบุญเจริญ จ�ำปี นายประดิษฐ์ สุใจยา นายมี แปงถานี นายยุทธ ค�ำฟู นายรัตน์ ธนูชิต นายวัน สายฟ้าเรือง นายวิรัช กันทะวง นายสมคิด ใจมณี นายสมบูรณ์ ทาระนัด

นายสุรศักดิ์ วิชัย นายอินทร์ หนิ้วค�ำ นายอุทัย กันทะสอน ผู้ติดตามพระธาตุ หมู่ที่ 2 ต.บ้านหลวง ส.อ.พัฒนพงษ์ แสนสามก๋อง น.ส.นพพร ฝั้นเฟือนหา น.ส.เพ็ญจันทร์ แสนสามก๋อง นางแก้วตา หมื่นใจ นางค�ำผ่าน ชัยวุฒิ นางจันทร์ตา อุ่นใจจินต์ นางชูศรี จันทร์เจริญ นางบัวเร็ว เป็งโก นางบุณยอร ชัยวุฒ นางประครอง พุทธวงศ์ นางมาลี เรือนค�ำ นางวีรนุช ลดาลลิตสกุล นางศรีบุตร แสนเมืองมูล นางศรียืน ค�ำมา นางสมนา บุญมาเชย นางสวาท พงษ์ตา นางสายทอง อุ่นใจจิน นางสุนีย์ แสนใจเป็ง นางอารีย์ กันทะค�ำ นายเจริญ แสนใจเป็ง นายวัลลภ กันทะค�ำ นายสมบูรณ์ ชัยวุฒิ นายสุวิทย์ เรือนค�ำ นายอนันต์ มหายาโน นายอาวุธ บุญมายัง ผู้ติดตามพระธาตุ หมู่ที่ 3 ต.บ้านหลวง นายชัย ถามี นายณัฐวุฒิ บุตรต๊ะ นายดวงค�ำ ทิพย์กันทา นายดวงตั๋น แก้ววงศ์วาน นายบุญเร็ว บุตรต๊ะ นายประพันธ์ ค�ำภิโร นายประเสริฐ ตาละปิน นายปั๋น หมื่นใจ นายพงษ์จันทร์ กรัญญา นายวิชาญ แสนศรี นายวิทวัส บุตรต๊ะ นายศรีทน ทะวงค์ นายสม พรมกาวี นายสมจิตร ประปานา นายสมเด็จ อินต๊ะนา นายสมบูรณ์ อินทกุล นายสมศักดิ์ กรัญญา นายสุชาติ นันต๊ะเสน นายสุวิทย์ อภิชัย นายหมื่น อินทร์สุเทพ นายอดุลย์ ดวงเด่น นายอินแก้ว จูใจยา นายอินทร เชื้อหงษ์ นายอินทร์ เมืองมา ผู้ติดตามพระธาตุ หมู่ที่ 4 ต.บ้านหลวง นายกอนแก้ว ถาวงศ์ นายจันทร์ แสนใจมูล นายทอน อินทิสอน นายนพ อาริยะ นายนิคม กันทะวง นายนิรันด์ ปินตา นายประสิทธ์ อุทัยทัศน์ นายปั๋น อินต๊ะยศ

นายพันธ์มตร์ สุต๋าค�ำ นายพินิจ พรมมา นายมน อาริยะ นายมานัตร์ แสนสามก๋อง นายราม ขุนทอง นายสน ยศถามี นายสุชาติ อินต๊ะยศ นายเสริม ศรีวิทะ นายอ�ำนวย ธรรมใจ นายอินแก้ว สุริยะ ผู้ติดตามพระธาตุ หมู่ที่ 1 ต.ดอยแก้ว ส.ต.ท.วิรัช กันทะหลี นายแก้ว ชุมภูศรี นายค�ำ ค�ำวัน นายจงรักษ์ แก้ววงศ์วาน นายโชคชัย พรมเทพ นายประสงค์ ปินทะยา นายมนตรี อุ่นจินใจ นายรัตน ค�ำคุณา นายรุ่งณรงค์ พงษ์นุช นายวิทยา พรหมบ้านสังข์ นายสม นามเทพ ผู้ติดตามพระธาตุ หมู่ที่ 2 ต.ดอยแก้ว นางจิ๋ม กองใจ นางสมศรี สุภาอิน นายเฉลิมชาติ หลาดี นายนพพร นามเทพ นายมี หมื่นใจ นายรัตน์ แสนใจบาล นายล้วน ทะวงศ์ นายศรี วิระราช นายสม นามเทพ นายเอี่ยม เทพวงศ์ ศรัทธาหมู่บ้านต่างๆ รศ.ดร.ดลกร ขวัญค�ำ ด.ญ.พิชยา ทนันชัย น.ส.กัญชรี วงศ์ประเสริฐ น.ส.ฐิติรัตน์ ขวัญค�ำ น.ส.ณัทธามนรัตน์ วงศ์งามเมือง น.ส.นุชรี ป้องสมานค่ะ น.ส.บัวค�ำ กันทะหลี น.ส.ภัคสุณีย์ ดวงงา น.ส.สุทธิวรรณ พลช�ำนิ นางแก้วลา พรมเทพ นางจันทรา ค�ำภิโล นางบัวเขียว อินทรเทพ นางปิยพร อินทรเทพ นางพัชรมณฑ์ ใจมา นางพัชรินทร์ สามนคร นางฟองค�ำ ค�ำมาฟู นางรุ่งกาญจน์ ปูทอง นางวิลาสินี ศรีพลแท่น นางศิราทิพย์ ไชยแว่นตา นางสมบุญ นามเทพ นางสายสุรี ทนันชัย นางสุพร ค�ำแดง นางอัญชลินทร์ รัตนะเศรษฐากุล นายกฤติเดช อินทารส นายกิตติศักดิ์ ชูเมือง นายชายแก้ว อินทจัก นายตั๋น จันสองสี นายทิพย์เนตร มาวิน นายธงชัย ผลดี

นายนิต นามเทพ นายนิรันดร์ สุภาศรี นายปัน อินทรเทพ นายพลยุทธ ปิติพงษ์ นายพิชเยศ ทนันชัย นายระนอง ทนันชัย นายอนันต์ รัตนะเศรษฐากุล นายอานนท์ ศรีพลแท่น กรรมการวัดพระธาตุศรีจอมทอง ร.ต.มนูพันธ์ มากพงษ์ ด.ต.เนตร แสนสามก๋อง นางแก้วดี สิงห์แก้ว นางจันทร์หอม รักราษฎร์ นางจุรีย์ ธิกุณา นางนงลักษณ์ นวพรภักดี นางนวลศรี มากพงษ์ นางประทุม หน่อค�ำ นางมุกดา สิงห์แก้ว นางวาสนา พานิชกุล นายกฤษณะ อ๊อดต่อกัน นายกิจจาย ชัยอาจ นายเกษม บุญมายัง นายเกียรติศักดิ์ วิเจียนจม นายฉัตรบดินทร์ แสนค�ำ นายเฉลิมชัย อินต๊ะยศ นายเฉลิมพล อินต๊ะยศ นายณรงค์ เป็งเส้า นายณัชพล บุญติ๊บ นายณัฐพล วันลับแล นายดวงติ๊บ นันสุ นายทศพร เพี้ยงจันทร์ นายทอง จันทะวงศ์ นายธนากร นามเทพ นายธวัช วังใจชิด นายธีรภัทร อินธิมา นายนที กาละวิน นายนิพนธ์ แก้วไชยา นายบุญช่วย สุปินนะ นายบุญเรือง ปะปานา นายประเสริฐ แสนสุรินทร์ นายปราโมทย์ นามเทพ นายพงษ์ณรินทร์ อินต๊ะค�ำ นายพงษ์สนิท ปามาละ นายพรประชา ตันใจ นายพิรุณ ค�ำโต๊ะ นายพิรุณ รักราษฎร์ นายเพชร แสนใจบาล นายไพศาล จั่วทอง นายภานุพงษ์ ทานุตัน นายภูวนัตส์ ใจยะเลิศ นายรัตน์ ค�ำภิโล นายวรรณ ศรีวิทะ นายวิชชากร บัวเทพ นายวิชิต สายธารเมตตาจิต นายวิรัตน์ มณีรัตนชัยยง นายวิสุทธิ์ ทิพยะ นายศตวรรษ ทองไพวรรณ นายศรีทน ยศถามี นายศักดิ์ ยานะโส นายศิริวัฒน์ ศรีสองเมือง นายเศรษฐา กองระบาง นายสกล อินต๊ะยศ นายสมบูรณ์ ค�ำภิโล นายสมบูรณ์ บุตรต๊ะ นายสมศักดิ์ มังยะสุ

75


นายสราวุฒิ เซ็งเอ๊ก นายสวัสดิ์ เทพวงศ์ นายสว่างพงษ์ นามเทพ นายสัญญา พรหมชนะ นายสิงโต อุ่นใจจินต์ นายสิริวัฒน์ เรือนค�ำฟู นายสุจินต์ อินทรารัตน์ นายสุพล ชุมภูศรี นายสุวิทย์ ค�ำภิโล นายอิทธิกุล ศักดิ์บุญ นายอิทธิพันธ์ จันทร์แก้ว และ น.ส.ตรีสุคนธ์ นากาโมโต้ นางดวงพร อดิวรรณ นางศรีเพ็ญ สิงห์แก้ว นายณัฏฐชัย คูหิรัญญรัตน์ นายถิรวัฒน์ เจริญดี นายป้อม กองค�ำ นายลานบุญ พวกลัวะ

76

คณะที่ปรึกษา พระธรรมมังคลาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าคณะอ�ำเภอเมืองเชียงใหม่ เจ้าคณะอ�ำเภอหางดง เจ้าคณะอ�ำเภอสันป่าตอง เจ้าคณะอ�ำเภอแม่วาง เจ้าคณะอ�ำเภอดอยหล่อ เจ้าคณะอ�ำเภอจอมทอง เจ้าคณะต�ำบลหนองควาย เจ้าคณะต�ำบลนาแพร่ เจ้าอาวาสวัดเชียงมั่น เจ้าอาวาสวัดปันเส่า เจ้าอาวาสวัดโลกโมฬี เจ้าอาวาสวัดหม้อค�ำตวง เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ พระมหาชลัน ภูริวฑฺฒโน เจ้าอาวาส วัดต้นเกว๋น อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง พลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ลาพูน เจ้ารัตนา ณ เชียงใหม่ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เจ้าภาคินัย ณ เชียงใหม่ คณะกรรมการอ�ำนวยการ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เชียงใหม่ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เชียงใหม่ ปลัดองค์การบริการส่วนจังหวัด เชียงใหม่ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 7 ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 5 ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 ผู้บังคับการกองบิน 41 ผู้บัญชาการต�ำรวจภูธรภาค 5 ผู้บังคับการต�ำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ผู้อ�ำนวยการกองการศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม

ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ผู้บังคับการกองบังคับการต�ำรวจ ตระเวนชายแดนภาค 3 ผู้ก�ำกับการกลุ่มงานจราจรต�ำรวจภูธร จังหวัดเชียงใหม่ ผู้อ�ำนวยการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด เชียงใหม่ ผู้อ�ำนวยการการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดเชียงใหม่ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพัฒนาพิงค์นคร (องค์การมหาชน) ผู้อ�ำนวยการส�ำนักส่งเสริมศิลป วัฒนธรรม ม.ช. นายอ�ำเภอเมืองเชียงใหม่ ปลัดอ�ำเภอเมืองเชียงใหม่ วัฒนธรรมอ�ำเภอเมืองเชียงใหม่ นายอ�ำเภอหางดง ปลัดอ�ำเภออ�ำเภอหางดง วัฒนธรรมอ�ำเภออ�ำเภอหางดง นายอ�ำเภอสันป่าตอง ปลัดอ�ำเภออ�ำเภอสันป่าตอง วัฒนธรรมอ�ำเภอสันป่าตอง นายอ�ำเภอแม่วาง ปลัดอ�ำเภอแม่วาง วัฒนธรรมอ�ำเภอแม่วาง นายอ�ำเภอดอยหล่อ ปลัดอ�ำเภอดอยหล่อ วัฒนธรรมอ�ำเภอดอยหล่อ นายอ�ำเภอจอมทอง ปลัดอ�ำเภอจอมทอง วัฒนธรรมอ�ำเภอจอมทอง ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรเมือง เชียงใหม่ ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอ หางดง ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอ สันป่าตอง ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอ ดอยหล่อ ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอ จอมทอง ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ นายกเทศมนตรีเทศบาลต�ำบล หนองควาย ก�ำนันต�ำบลหนองควาย ผู้ใหญ่บ้านบ้านต้นเกว๋น คณะกรรมการฝ่ายสถานที่ คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ ปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่ คณะกรรมการวัดพระธาตุศรีจอมทอง คณะกรรมการวัดต้นเกว๋น คณะกรรมการวัดสวนดอก คณะกรรมการวัดเชียงมั่น นายก�ำจร สายวงศ์อินทร์ นายณรงค์ ธิลา นายอินถา หลวงใจ นายอุทร ศิริวัฒน์ นางสุวารี วงค์กองแก้ว ผู้ช่วยศาสตราจารย์มาณพ มานะแซม ผู้ช่วยศาสตราจารย์เธียรชาย อักษรดิษฐ์ น.ส.อุมาพร เสริฐพรรณึก

คณะกรรมการฝ่ายประสานงาน คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ ผู้อ�ำนวยการกองการศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์มาณพ มานะแซม ผู้ช่วยศาสตราจารย์เธียรชาย อักษรดิษฐ์ น.ส.จตุพร เรืองฤทธิ์ น.ส.โฉมหญิง ประจักร น.ส.เมวิกา หาญกล้า น.ส.ยุจเรศ สมนา น.ส.สุลาลักษณ์ ขาวผ่อง น.ส.อุมาพร เสริฐพรรณึก นายจิรกฤตย์ ศิริธนาวัตต์ นายบัณฑิตย์ วัฒนกสิวิชช์ นายสราวุธ รูปิน นายอาณัฐพล ชัยศรี คณะกรรมการฝ่ายการเงิน น.ส.สุลาลักษณ์ ขาวผ่อง นายรัตนะ ภู่สวาสดิ์ นายสราวุธ รูปิน คณะกรรมการฝ่ายจัดรูปขบวนแห่ พระบรมเจ้าธาตุศรีจอมทอง พระธรรมมังคลาจารย์ รองเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เชียงใหม่ ปลัดองค์การบริการส่วนจังหวัด เชียงใหม่ สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เชียงใหม่ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่ ผู้ก�ำกับการกลุ่มงานจราจรต�ำรวจภูธร จังหวัดเชียงใหม่ ผู้อ�ำนวยการกองการศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ผู้ก�ำกับการกลุ่มงานจราจรต�ำรวจภูธร จังหวัดเชียงใหม่ นายอ�ำเภอเมืองเชียงใหม่ ปลัดอ�ำเภอเมืองเชียงใหม่ วัฒนธรรมอ�ำเภอเมืองเชียงใหม่ นายอ�ำเภอหางดง ปลัดอ�ำเภอหางดง วัฒนธรรมอ�ำเภอหางดง นายอ�ำเภอสันป่าตอง ปลัดอ�ำเภอสันป่าตอง วัฒนธรรมอ�ำเภอสันป่าตอง นายอ�ำเภอแม่วาง ปลัดอ�ำเภอแม่วาง วัฒนธรรมอ�ำเภอแม่วาง นายอ�ำเภอดอยหล่อ ปลัดอ�ำเภอดอยหล่อ วัฒนธรรมอ�ำเภอดอยหล่อ นายอ�ำเภอจอมทอง ปลัดอ�ำเภอจอมทอง วัฒนธรรมอ�ำเภอจอมทอง ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรเมือง เชียงใหม่ ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอ หางดง ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอ สันป่าตอง

ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอ แม่วาง ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอ ดอยหล่อ ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอ จอมทอง ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ นายกเทศมนตรีเทศบาลต�ำบล หนองควาย ก�ำนันต�ำบลหนองควาย ผู้ใหญ่บ้านบ้านต้นเกว๋น นายธนรัตน์ อุทัยศรี นายธีรยุทธ นิลมูล นายรัตนะ ภู่สวาสดิ์ นายราเชน อินทวงศ์ คณะกรรมการฝ่ายจัดรูปขบวนแห่ พระพุทธรูป พระเสตังคมณีและพระศิลา เจ้าอาวาสวัดเชียงมั่น คณะกรรมการวัดเชียงมั่น ประธานชุมชน และชุมชน ผู้บัญชาการต�ำรวจภูธรภาค 5 ผู้ก�ำกับการกลุ่มงานจราจรต�ำรวจภูธร จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรเมือง เชียงใหม่ นายทศพร นันต๊ะ นายธนรัตน์ อุทัยศรี นายธีรยุทธ นิลมูล นายราเชน อินทวงศ์ ฝ่ายพิธีท�ำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และ สามเณรจ�ำนวน 721 รูป ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดเชียงใหม่ คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ น.ส.เกศสุดา วนาพงศากุล น.ส.โฉมหญิง ประจักร น.ส.ฐาปนีย์ เครือระยา น.ส.รัตนาภรณ์ ยศเวียง นายต่อพงษ์ เสมอใจ นายสุขธรรม โนบาง ประธานชุมชน คณะกรรมการฝ่ายพิธีการ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ รองเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง พระมหาประเสริฐ สิริปุญโญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เธียรชาย อักษรดิษฐ์ พ่อหนานศรีเลา เกษพรหม น.ส.ยุจเรศ สมนา น.ส.อารยา ปัญญานุวัฒน์ น.ส.อุมาพร เสริฐพรรณึก นายกิตติธัช จันทร์ชุม นายเกรียงไกร บุญธนา นายจรัญ ปัญญา นายธนกร สัมฤทธิ์ นายธนรัตน์ อุทัยศรี นายธวัชชัย ท�ำทอง นายธวัชชัย หินเดช นายสราวุธ รูปิน นายอาทิตย์ วงศ์สว่าง คณะกรรมการฝ่ายรักษาความสงบ เรียบร้อยและการจราจร ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 33


ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 7 ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 5 ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 ผู้บังคับการกองบิน 41 ผู้บัญชาการต�ำรวจภูธรภาค 5 ผู้ก�ำกับการกลุ่มงานจราจรต�ำรวจภูธร จังหวัดเชียงใหม่ ผู้บังคับการกองบังคับการต�ำรวจ ตระเวนชายแดนภาค 3 ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรเมือง เชียงใหม่ ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอ หางดง ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอ สันป่าตอง ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอ แม่วาง ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอ ดอยหล่อ ผู้ก�ำกับการสถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอ จอมทอง น.ส.เยาวภา เทพวงศ์ น.ส.วิไลวรรณ เมฆวงษ์ คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ ผู้อ�ำนวยการการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดเชียงใหม่ ผู้อ�ำนวยการการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย นายกสมาคมผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ ภาคเหนือ สื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ น.ส.อารยา ปัญญานุวัฒน์ นางฉฬภิญญา ตรีวิทย์ นายไชยณรงค์ วัฒนวรากุล คณะกรรมการฝ่ายปฐมพยาบาล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนคร เชียงใหม่ น.ส.ชญานิษฐ์ ถาดอก คณะกรรมการฝ่ายมหรสพสมโภช ผู้ช่วยศาสตราจารย์มาณพ มานะแซม ผู้ช่วยศาสตราจารย์เธียรชาย อักษรดิษฐ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติพล กันตีวงศ์ น.ส.ปวีณา ใจค�ำ น.ส.พรกรัณย์ กัณทา น.ส.ยุจเรศ สมนา นางกนกพันธ์ กุมุท นางฉฬภิญญา ตรีวิทย์ นายเกียรติก้อง ศิลปสนธยานนท์ นายดนัย วรพิศาล นายธีรยุทธ นิลมูล นายรณรงค์ ค�ำผา นายวิชวัธ ศรีสมุทรคา นายเอกอนันต์ โพธิ์สุยะ คณะกรรมการฝ่ายสวัสดิการ น.ส.ปวีณา ใจค�ำ นางเฉลียว ปวนกาศ นายจิรกฤตย์ ศิริธนาวัฒน์ ผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์ นายอาณัฐพล ชัยศรี

ผู้ประสานงานจากวัดต้นเกว๋น เชียงใหม่ ก�ำจร สายวงศ์อินทร์ ไวยาวัจกร วัดต้นเกว๋น อุทร ศิริวัฒน์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 บ้านต้นเกว๋น พระมหาชลัน ภูริวฑฺฒโน รักษาการเจ้าอาวาส วัดต้นเกว๋น พระอธิการดนัย นนฺทธมฺมิโก เจ้าอาวาสวัดร้อยจันทร์ ณรงค์ ธิลา นายยกเทศมนตรีเทศบาล ต�ำบลหนองควาย กลุ่มแม่บ้านหมู่ 4 บ้านต้นเกว๋น กลุ่มเยาวชนหมู่ 4 บ้านต้นเกว๋น ชมรมช่างฟ้อน ต�ำบลหนองควาย กลุ่มเยาวชนนักแสดง ต�ำบลหนองควาย ชมรมผู้สุงอายุต�ำบลหนองควาย เทศบาลต�ำบลหนองควาย คณะศัทธาวัดต้นเกว๋น ผู้ร่วมขบวนทหารโบราณ ผู้ก�ำกับดูแล และผู้ประสานงาน พระมหาอาทิตย์ อาทิจโจ พระสมพร ชินวโร ดร.ธนศักดิ์ ตันตินาคม น.ส.ถิราพร ชุมภูมิ่ง น.ส.พิมพิมล บุญยาน�ำ น.ส.ศรัญญา แซ่ก๊วย น.ส.ศศิมา สระทองเรือง นายเกรียงไกร กันทะวัง นายชาญณรงค์ อาดศรี นายณัฐสิทธิ์ เสนนันตา นายตรีภพ นาคปฐม นายธนุศ ฟองตา นายนาวี แสนแก้ว นายพรชัย ตุ้ยดง นายรวีวรรณ ต๋าน้อย นายเศรษฐวัธ เดือนเพ็ญ นายสุธี บุญเฉลิม นายเหมราชพงษ์ เทอดศักดิ์ นายอลงกรณ์ วัชรด�ำรงชัย จากสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขต เชียงใหม่ นายนนทกร อัมพุธ นายอรรถพล สิริรักษ์ จากชมรมคนรักดาบเชียงใหม่ นายเกียรติศักดิ์ ณ ล�ำปาง นายณัฐนภธัช ปัญญาฟอง นายธิวัฒ สีสด นายภาณุพงษ์ ก้อนแก้ว นายภูริวิทย์ ยะน่าน นายวรรณชัย สารใจ นายสันติสุข จินะโสต นายเสถียร นะวงศ์รักษ์ นายอภิชัย เวโรจน์กรณ์ จากคณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ หลักสูตรการตลาด (การจัดการธุรกิจค้า ปลีก) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่ นายกฤษณะ แสงท้าว นายกฤษดากุล ไชยวงศ์ นายเกริกชัย นะติกา นายโกศล กองราษฏร์ นายจักริน คล้ายจินดา

นายจิรเดช ภู่ปรางทอง นายจิรพัฒน์ ทัตโถมะ นายเจษฏา ดวงใน นายตะวัน โพธิ์เส็ง นายทวีศักดิ์ คิ้วดวงตา นายธนศิลป์ จอมแปง นายธวัชชัย โนรี นายธีรพงศ์ ติ๊บพรม นายบัญชา พันหมื่นกาศ นายพงษกร เกษร นายพยุภูมิ ยอดหาญ นายพันธกานต์ ปละมัย นายภาสกร ศิริตัน นายภูมิธนิศวร์ ปัญญาประเสริฐ นายภูวานนท์ สุวรรณมณี นายเริงศักดิ์ กองศรี นายวรพงศ์ วุฒิลักษณ์ นายวัชรชัย ใจรินทร์ นายศตคุณ ศตคุณากร นายศุภฤกษ์ พงหมู นายสิริพงศ์ จงถือกลาง นายอัศสิริ แก้วอินัง นายอาตี คณินวรากร นายเอกวัฒน์ ณ จันตา จากกลุ่มสล่ากลองหวาน นายจตุรยุทธ นาค�ำ นายชาย ชัยชนะ นายธนรักษ์ ค�ำสิงห์ นายปพนธีร์ ศรีจรรยา นายภัสส์ธณกฤษ์ วงศ์ฝั้น นายรัชพงศ์ พัฒนาพงศ์ทอง นายวรษิต จันทร์ศิริ นายวัชระ บริบูรณ์ นายสุทัศน์ สินธพทอง จากกลุ่มสรีปันช่าง นายกวิน นวลแก้ว นายชินดิศ กวีกรณ์ นายไตรรงค์ โปธา นายทวีศักดิ์ มาต๊ะ นายธนิตพงศ์ พุทธวงศ์ นายธีร์ธวัช แก้วอุด นายธีรยุทธ สายหยุด นายนนทชัย รินแก้ว นายพิทักษ์ ไชยหาญ นายพีระศิลป์ ใจโต นายภูริวัจน์ ยานะธรรม นายรัชพล จันทิมา นายวชิระ สุขถา นายวรนล จารณะ นายสุเมธ ใจระวัง นายหัตถชัย สุริยา นายอลงกรณ์ วัชรด�ำรงชัย Mr. Konno Yuichi นักแสดงคณะคุ้มดอกเอื้อง สาขาวิชาดนตรีและศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ควบคุม ว่าที่ ร.ต.สรายุทธ อ่องแสงคุณ อาจารย์เมธินี ตุ้ยสา อาจารย์สงกรานต์ สมจันทร์

ฟ้อนเล็บ น.ส.กนกพร โพธิเรือง น.ส.กัณฐสิทธิ์ โนต๊ะ น.ส.ขัตติภรณ์ มาหล้า น.ส.จรรญารัตน์ แก้วเฟย น.ส.พิชชากร นามวงศ์ น.ส.ภควรรณ อยู่เย็น น.ส.ภัทราภรณ์ ชูโฉม น.ส.ภัทราวดี สมผล น.ส.มอญ ยาเสน น.ส.ยุวธินันท์ โสภา น.ส.รุ่งทิวา ไชยสาร น.ส.วิไลลักษณ์ พานเรือง น.ส.วิวาพร สุทธิกุล น.ส.สุณัฐชา วงศ์ไชย น.ส.อังคณา ดวงปินตา น.ส.อัญชลี ฟูแสง ฟ้อนเงี้ยวเมือง นายคณิศร์ ฉกรรจ์ยิ่ง นายจักรกฤษ แสนใจ นายจันทร์จรินทร์ เอี่ยมละออ นายทนงศักดิ์ แดงเรืองรัมย์ นายนที นาระต๊ะ นายปริญญา ค�ำรินทร์ นายวรเทพ ค�ำวงษา นายวัชรพงษ์ โปธา นายอภิชิต คล้ามทุ้ง นายอัครเทพ ฟองแก้ว ทีมงาน น.ส.ขวัญจิรา ด้วงบาง นางเตชินี มากพันธุ์ นายชนินทร์ อินทนนท์ นายธงชัย จีนชาติ นายธนกร อ่องแสงคุณ นายพีระพล ใจปินตา นายภคนันท์ จันทร์พิสุ นายภิชาติ ใจปิน นายวรุฒ บุญชุม นายสมเพชร ไชยวงศ์ วงดนตรีตึ่งโนง น.ส.กุลธิดา มากุล น.ส.ชญานุช ไชยรัตน์ น.ส.มีนา จันทร์อิน น.ส.ยุพนันต์ พรหมมา นายกิตติ จันโย นายวรวิทย์ หมูปินนา นายวรากร วงค์เขียว นายวัฒนา อินทน้อย นายวีรพล ใจนาแก้ว ทีมครูไก่ ดร.สุรัตน์ จงดา นางเปรมใจ เพ็งสุข นายณัฐดนัย จันทร์เสมานนท์ นายธีรเดช กลิ่นจันทร์ นายพีรมณฑ์ ชมธวัช นายภวัต จันทร์ดารักษ์ นายยุทธนา อัมระรงค์ นายวรกฤติ เพ็งสุข นายวีระพงษ์ ดรละคร นายอภิวัฒน์ โควินทรานนท์ ว่าที่ ร.ต.ธนกร สุวรรณอ�ำภา

77


ทีมโปรแอ๊ด น.ส.พิภาพร ค�ำนวล น.ส.ศรีเรือน ปันแก้ว นายไชยเชษฐ สุใจยา นายธีระพงค์ จูหมื่น นายธีระพันธ์ จูหมื่น นายเอกมงคล ค�ำฟู ทีมสิปาน นายกิติศักดิ์ แก้วเสมอตา นายคงสวัสดิ์ ใจค�ำ นายณัฐพล ชูศรี นายธนากร ศรีสุรินทร์ นายธีรยุทธ นิลมูล นายธีระพงษ์ สายบุปผา นายธีระยุทธ ไชยชนะ นายผดุงเกียรติ ใหญ่ยิ่ง นายภาณุพงศ์ กองมณี นายวีรวัฒน์ กาญจนัษฐายี นายสรศักดิ์ พรหมระอางวัน ทีมงานเฮือนค�ำแก้ว นายกรกช แสนเขื่อน นายจรัสพงษ์ อุตเจริญ นายธนรัตน์ อุทัยศรี นายธีรภัทร จรรยา นายปัถวี สามสี นายวัชรากร ศรีสุข นายศรัณย์ภัทร ผ่านดอยแดน นายสันติภาพ ศรีสุข นายอัศม์เดช มาลัย 78

ทีมช่างฟ้อนป้าแคท น.ส.จุติรัฐ ชัยวงค์จักร น.ส.ธนภรณ์ พรปิติไพศาล น.ส.ปาริฉัตร กอนแก้ว น.ส.ภัทรพร พิเคราะห์ นายรณรงค์ ค�ำผา นายสุทธิพันธ์ เหรา ทีมครูปิ้ก ครูกฤศวัฒน์ อนันตนริศกุล ทีมส�ำนักหงสา นายกฤษณะ ดาวสวย หงษา นายธนรัชต์ เดชวงศ์ญา หงษา นายนฤเบศ ดอนแก้ว นายพิภูษณ กิจจันทรา นายสงกรานต์ ปัญญาดี นายอธิชนันท์ ขันเงิน นายอัครเดช สุระจินดา นายแบบ นายชยนนท์ ชัยอุปละ นายนนทกร อัมพุช นายบริภัทร แก้วใส นายภาณุพงศ์ นันตา นายสถาพร มูลลิสาร นายสุรเชษฐ์ ขันนาแล นายอนันตกิจ อุทธิยา นายอภิชาติ ฤกษ์เสน ที่ปรึกษา ผู้ประสานงาน จัดหาอุปกรณ์ เครื่องแต่งกาย ออกแบบ และควบคุม ขบวนทหารล้านนาโบราณ พระมหาอาทิตย์ อาทิจโจ

พระสมพร ชินวโร ดร.ธนศักดิ์ ตันตินาคม น.ส.ถิราพร ชุมภูมิ่ง น.ส.พิมพิมล บุญยาน�ำ น.ส.ศรัญญา แซ่ก๊วย น.ส.ศิริมา สระทองเรือง นายเกรียงไกร กันทะวัง นายชาญณรงค์ อาดศรี นายณัฐสิทธิ์ เสนนันตา นายตรีภพ นาคปฐม นายธนุศ ฟองตา นายนาวี แสนแก้ว นายพรชัย ตุ้ยดง นายรวีวรรณ ตาน้อย นายเศรษฐวัธ เดือนเพ็ญ นายสุธี บุญเฉลิม นายเหมราชพงษ์ เทอดศักดิ์ ทีมงานพิธีคืนโต้รุ่ง เกียงไกร บุญธนา จรัญ ปัญญา จีรศักดิ์ อินทะวิชัย ธวัชชัย หินเดช ธีระพงษ์ พวงดอกไม้ นรงค์ศักดิ์ ทองธาณี พัฒนพงค์ น้อยเทศ มงคล ศิริแสน รชต เชี่ยวชาญ วชรธร สิมกิ่ง อาณัฐชัย ชุ่มเชื้อ ผู้มีจิตศรัทธาในการสนับสนุน การจัดดอกไม้ ฝ่ายคณะวิจิตรศิลป์ ม.ช. น.ส.ชญานิษฐ์ ถาดอก น.ส.ปิยะขนิษฐ์ โรจน์ค�ำลือ นายกันตพงศ์ อัญญะ นายกานต์นิธิ จอมแปง นายชินาทร กายสันเทียะ นายโชคชัย ศิรินันท์ นายณรงค์ศักดิ์ ทองทาณี นายณัฐวัตร นงควาส นายดนัย วรพิศาล นายธนกร สุธีรศักดิ์ นายปรัชญา จี๋วิ นายแพทย์ณัฐพล พิณนิมิตร นายภานุวัฒน์ พรหมวาทย์ นายศรัญญา จันทกุล นายศุภกฤต โนศรี นายษัษฐพรรษ บุญสละ นายสมพงษ์ สุนันสา นายอมรศักดิ์ ภักหาญ ร้าน Chicruedoo MISS LI NINGMIN ฝ่ายกาดต้นล�ำใย ด.ช.คุณกร ชัยลอม ด.ช.ธีรพงศ์ สุขใจ น.ส.ณัฐพัชร์ ฑีฆาย น.ส.พิรดี ขาวสกุล น.ส.สุพัตรา บุญเรื่อง น.ส.สุพัตรา ศุภลักษณากร นางเกษร ไววาง นางทิพย์วรรณ ขุนด้วง นางพนิดา วงค์แสน นางรจนา (ป้านิด)

นางวิลาวรรณ ตันกูล นางอารีย์รัตน์ วงค์เสน นายเกียรติภูมิ หาลแยง นายอดุลย์ กาวิโล ร้านกลมลักษ์ ลุงยัง ป้านึก ร้านพรรณราย ออร์คิดส์ ร้านมะลิน�ำโชค ร้านสวนสายธาร ร้านสาครดาวเรืองดอกไม้สด กรองกาญจน์ แสงทับทิม เข็มเพชร มรรดาพิมพ์ ค�ำนวล อนันต์ เดือน เจิมจันทร์ ต่อกฤษ สุขใจ ต้อย เจิมจันทร์ ธนินท์รัฐ สิทธิพัฒน์ก�ำรอ ปราณี การงค์ ปรารถนา บรรดาพิมพ์ พงษ์ศักดิ์ มะโนปัน พรพรรณ มะโนปัน พิตดา ชอบดี เภาวดี เจริญใจ ศุภชัย คิ้มเฉี้ยง ศุภฤกษ์ บรรดาพิมพ์ เศษราวรรณ์ สิทธิพัฒน์ก�ำรอ สุคนธา คิ้มเฉี้ยง สุชาดา แสงแก้ว อรอนงค์ สุขใจ เอื้อมศิริ มรรดาพิมพ์ เทพบุตรอัญเชิญน�้ำสรง นายเจนนรินทร์ แดนดิน นายธีรยุทธ วงศ์อรินทร์ นายปริญญา งานดี นายปาณัสม์ โสฬสลิขิต นายภานุพงษ์ นันตา นายสงกรานต์ ปัญญาดี นายอนุสรณ์ โฆษิตานุชิต ผู้ร่วมขบวนแห่ ในนามส�ำนักบ้านสล่า เจิงล้านนา ด.ช.ต้นกล้า จินาจันทร์ ด.ช.พีรศิลป์ ธนากรสิทธิ์ น.ส.กอแก้ว แก้วมณี น.ส.สุรินทร วงค์ค�ำแดง นางน�้ำฝน รสจรรยา นายจิรายุ รักศีลสัจ นายชานนท์ สปีส นายธีรศักดิ์ แสนวังทอง นายพงษ์พา ลานุก นายภูสิทธิ์ รัตนาพล นายวรธน ธนากรสิทธิ์ นายสมบัติ ใจค�ำ นายสราวุธ กิติจิต นายสุรพล วิจารณ์ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ต.รุ่งเลิศ ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ปางช้างแม่แตง อาจารย์ผู้ให้การสนับสนุน ดร.บังอร ฉัตรรุ่งเรือง ผู้ช่วยศาสตราจารย์รณชิต แม้นมาลัย คุณครูปริยะ วัฒนศิริเสรีกุล อาจารย์ไกรลาส จิตร์กุล อาจารย์นิมิต วุฒิอินทร์ อาจารย์ภาสกร โทณะวณิก อาจารย์วาทินี บัวชุม

นักแสดงจากโรงเรียนวชิรวิทย์ เชียงใหม่ ด.ญ.กัญญาณัฐ สีวัน ด.ญ.แจเนลล์ โรเมอร์ ด.ญ.ฉันท์สินี อินหลี ด.ญ.ชญานิน สุจันทร์ทา ด.ญ.ชาริณี โรจนพานิชย์กิจ ด.ญ.ณัฐวดี ลิ้มประดิษฐานนท์ ด.ญ.ตุลยา พวงนาค ด.ญ.ทิพย์ธิตา จันทร์สิทธิชัย ด.ญ.ธรณ์ธัรย์ ศรีสุภา ด.ญ.นันท์นภัส พูนชัย ด.ญ.ปาณิชา งามมีศรี ด.ญ.ปิยธิดา ดีเจริญสกุล ด.ญ.พลอยชมพู จันทร์ตา ด.ญ.ภูริณี โรจนพานิชย์กิจ ด.ญ.รดา ไชยวรรณ ด.ญ.รัตนกาญจน์ จันทร์สิทธิชัย ด.ญ.ศมากร ดวงทรง ด.ญ.ศรีริต้า สุวรรณสิงห์ ด.ญ.ศุภสุดา ดีเจริญสกุล ด.ญ.ไอโกะ อิการาชิ ผู้ร่วมขบวนแห่ ในนามโรงเรียนเต็มใจ ท�ำบริรักษ์ ครู อาจารย์ น.ส.วรรณธิดา สูนปัน น.ส.สุนิษา จ�ำปาศรี น.ส.อภิชญา ปวนค�ำ นางรวีรัตน์ ดูหิรัญญรัตน์ นางอาจริณีย์ พลอยชิตกุล นายพิสุทธิศักดิ์ พลอยชิตกุล นายวรชาติ ดูหิรัญญรัตน์ นักเรียน น.ส.กชมน นุชจังหรีด น.ส.กติกา ผ่องร�ำไพอ�ำพรรณ น.ส.กฤติมา นันตา น.ส.กัลยา ค�ำหล้า น.ส.กาญจนา ชาติแจ่มจรัส น.ส.กาญจนา ลาวโช้ง น.ส.จันทร์นวล ใจจักร น.ส.จิดาภา โหม่โยแต่ น.ส.จิราพร แสนสุข น.ส.ชื่นฤดี นฤนาทขัณฑสีมา น.ส.ณัญวรา ชัยนทีนาวิน น.ส.ณัฐกมล แสนวังทอง น.ส.ดารา ลาวะ น.ส.ดารารัตน์ นฤนาทขัณฑสีมา น.ส.ดาว กิติศัพท์โตมร น.ส.ธรรมธิดา ปองรัตนสิริ น.ส.นงนภัส ศรีสุขสันต์คีรี น.ส.นรมล กุลไพรสนธิ์ น.ส.นฤมล ภูงาม น.ส.นิตยา เวียงวทัญญู น.ส.ใบบัว มาลากุลค�ำ น.ส.ปราณี จ่อมแฮเกล น.ส.ปรายฟ้า นามจาย น.ส.ปวิตรา สียะ น.ส.พรฤดี พฤกษาไพรกุล น.ส.พัชรรินทร์ ผ่องศรี น.ส.พัชราภรณ์ นิธิโสภา น.ส.พิชญา สายพันธ์ น.ส.พิม น.ส.มาลัย กอบกุลปิยการ น.ส.มุยรี กานต์ศรีสมบูรณ์ น.ส.รุ่งนภา อินทะปัญญา


น.ส.รุจิรดา อะโนราช น.ส.ลักขณา สายชลศรีกนก น.ส.วชิรญา ต้นฤทธิ์ น.ส.วดี สาริธร น.ส.วนิดา วงศ์ไชย น.ส.วรรณกวี นามแฮด น.ส.วรัญญา ปัญญาฟู น.ส.วราพร กุณะ น.ส.วราภรณ์ ปัญญาวิไลศักดิ์ น.ส.ศรีกัลยา เลิศชัชวาล น.ส.ศันศนีย์ แก้วศิริพณิชย์ น.ส.ศิญาภรณ์ ไพรวัฒนคีรี น.ส.ศิริพรรณ พฤกษาไพรกุล น.ส.ศิริรัตน์ ราตรีอ�ำไพ น.ส.ศิริลักษณ์ ทรัพย์สวรรยา น.ส.สายใจ ปูตุ้ย น.ส.สิรินทรา อุ่นเรือน น.ส.สุกัญญา ชมดาวประการ น.ส.สุชญา ไชยรินทร์ น.ส.สุชญา พนาก�ำเนิดสกุล น.ส.สุดสวาท ขวัญใจยอดคีรี น.ส.สุธาทิพย์ สุวรรณชลธี น.ส.สุธิดา ไชยรินทร์ น.ส.สุธิดา ปัญญาประวัติศรี น.ส.สุธีรพร ขุนคีรีไพร น.ส.สุธีรพร เลิศธรรมอุดม น.ส.สุภัสสร อวดหาญ น.ส.สุมิตรา วรรณปัน น.ส.สุวิมล สงวนพนา น.ส.เสาวนีย์ น.ส.แสงดาว นายโมง น.ส.แสงทิพย์ มาเยอะ น.ส.แสงสุ น.ส.อรพิมล พรมค�ำ น.ส.อลีนา กติกาชีวิน น.ส.อ้อมบุญ บัตรตะคุ น.ส.อัจฉราภรณ์ ปัญญา น.ส.อุไรวรรณ ตระหง่านกุลชัย นายเกียรติศักดิ์ พงษ์พยัคเลิศ นายชัยรัตน์ อาญาไพร นายชินณาวุฒิ บุรพลธานี นายทวี วิเชียรยอดกุล นายนัท ลุงจันทร์ นายประสงค์ ชมพูนุทกันทร

นายพงษ์ศกร รัตนสรณ์ นายสามชาย นายเสกข์ พะลึ ผู้ร่วมขบวนแห่ ในนามโรงพยาบาล เซ็นทรัลเชียงใหม่ คุณวรัญญา เลิศวรกิจพิพัฒน์ นายแพทย์จีรยุทธ ศิลปจิตต์ คุณกมลภัตร นันตา คุณกานตินันท์ ฉาวเกียรติ คุณการเกต กันติพิพัฒน์กุล คุณคมสันต์ ใจกล้า คุณจ�ำนงค์ สุวรรณ์ คุณจิราพร เต็งทา คุณจิราพร ทรัพย์ประเสริฐ คุณชัชวาลย์ ปันทะวัน คุณฐิติมา อตัญที คุณณัฐธิดา มณีศักดิ์ คุณธนกาญจน์ สนประเสริฐ คุณธนพร สุกมลสกุล คุณนวน แก้วใส คุณนิตยา เทพมาลัย คุณนิตยา เลิศวิลัย คุณปิยารี อาจวาริน คุณปุณณสา มีโม คุณพวงเพชร รัตนเวโรจน์วิไล คุณพวงรัตน์ ไวยวิฬา คุณระพีพร ฟักเงิน คุณวรรณภา อยู่อินทร์ คุณวรรณวิภา วงค์เชื้อ คุณศรัญญา สมบูรณ์ คุณศิริชัย ลิ้มมหาลาภ คุณศิริพร ระหงษ์ คุณสลักจิต ค�ำอิน คุณสุกัลยา ปัญญาทา คุณสุชาวดี เมาลี ช่างฟ้อนจากชุมชน จากชมรมผู้สูงอายุ วัดป่าแคโยง สารภี และจากชมรม ท่องเที่ยวเชียงใหม่ คุณณัฐรินีย์ สุปรียาพร คุณเมษยา เสมอเชื้อ คุณสายฝน สิทธิปราณี น.ส.ฐิตินันท์ สุปรียาพร

น.ส.ดวงใจ อาฤทธิ์ น.ส.สรินทร์ดา เดชพิทักษ์มีสร นางเตือนใจ กุลศิริ นางทัศนีย์ จิตประจง นางประทุมรัตน์ นอรีส นางปัทมา ลือวรรณ์ นางพวงแก้ว บุญมูล นางยุพินณ์ ทองผจง นางระเบียบ รังแก้ว นางศรีบุศย์ มงคล นางสายพินพล์ รัชตานนท์ นางสุดสงวน ทีเจริญวารี นางอัมภา จรุงวิทยกิจ ทีมกวนข้าวทิพย์ จตุพร วิชัยยา ปิ่นทอง ไชยเทพ พรรณงาม สมณา รัตนา ชูเกษ สายฝน สิทธิปราณี เสาวคนธ์ ศรีบุญเรือง อาณัติ คลังวิเชียร อุมาพร ทองเพ็ญ อุษณีย์ แก้วค�ำมูล ขออนุโมทนาผู้สนับสนุน กลุ่มพี่น้องร้านเชียงใหม่พลาสติก กลุ่มหน่อศิลป์ (ศิษย์เก่าภาควิชา ศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ ม.ช.) คุณแก้ว วิไลเมธานันท์ คุณครูวิมลศรี ศุษิลวรณ์ โรงเรียนเพลินพัฒนา กรุงเทพฯ คุณทิพธิรา ปทุมวิทย์ และเพื่อน คุณประสิฒ คงคาเจริญ และครอบครัว คุณปัญญาและคุณอนุรัตน์ พิรกุลวานิช พร้อมครอบครัว คุณพิเชษฐ์และคุณลดาวดี วนวิทย์ คุณภานุวัฒน์ พรหมวาทย์ วิจิตรศิลป์ ม.ช. รุ่น 25 คุณมนตรี และคุณปรีชญา เหมือนแม้น พร้อมครอบครัว คุณมยุเรจ เตชะพงษ์ คุณมานพ ศิลปี

กราบอนุโมทนาผู้ให้การสนับสนุนทุกท่าน ทั้งก�ำลังทรัพย์ ก�ำลังกาย ก�ำลังความคิด ผู้ตานน�้ำ ผู้ตานอาหาร ซึ่งมีมากล้นจนไม่สามารถบรรจุรายชื่อได้หมด จึงขอกราบ อาราธนาอ้างในบารมีของพระทักขิณโมลีธาตุ ได้โปรดประทานความร่มเย็นเป็นสุข แก่ทุกท่าน ตลอดจนถึงครอบครัว ด้วยเทอญ ๛

คุณแม่รัชนี, คุณประสิฒ, และคุณณัฐมณ คงคาเจริญ พร้อมครอบครัว คุณรุจ จ่างตระกูล คุณเรืองศักดิ์ และคุณอัจฉริยา ยุทธศักดิ์ชาตรี พร้อมครอบครัว คุณวรลัญจก์, คุณวันชัย, คุณวิไลลักษณ์, คุณวรัศมน และคุณชลศัย บุณยสุรัตน์ คุณเวนิก และคุณแม่สม หงอสกุล คุณสราวุธ อยู่วิทยา คุณสุปราณี คุปตาสา คุณอนุรักษ์ อินชื่น บริษัท Indeed Creation บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จ�ำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จ�ำกัด (มหาชน) นายแพทย์ณัฐพล พิณนิมิตร และครอบครัว ผศ.วิลาวัณย์ เศวตเศรณี และคุณชนินทร์ อุรพีพัฒนพงศ์ ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ส�ำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) อาจารย์จุลทัศน์ กิติบุตร อาจารย์วิถี พานิชพันธ์ คุณอนุรักษ์ อินชื่น นายแพทย์ณัฐพล พิณนิมิตร และครอบครัว คุณพีระวัฒน์ สิทธิกุลมงคล ผู้ออกแบบ โปสเตอร์เชิญชวนตักบาตร ขอขอบคุณเจ้าของภาพถ่าย บริษัทไซม่อนเอเจนซี่ คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด ทีมงานฟายน์เดย์ ทีมงานเฮือนค�ำแก้ว ทีมงานพระธาตุเจ้าเข้าเวียงทั้งหมด พระชินเวทย์ ชินวโร คุณกนกพันธ์ กุมุท คุณนุวัฒน์ จันทาจันทึก อาจารย์บัณฑิตย์ วัฒนกสิวิชช์ และ นักศึกษาสาขาวิชาภาพถ่าย คณะวิจิตรศิลป์ ม.ช. คุณอุมาพร เสริฐพรรณึก

79


ประกาศแต่งตัง้ คณะท�ำงานอย่างเป็นทางการ และฎีกา !

ฎีกาอาราธนา ในการสมโภชพระทักขิณโมลีธาตุเจ้าศรีจอมทอง ! กราบอาราธนา ได้โปรดเมตตา ในการ กำหนดการ สถานที่

เจริญพระพุทธมนต์ สมโภชพระทักขิณโมลีธาตุเจ้าศรีจอมทอง วัน ศุกร์ ที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ (ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ) เวลา ๒๐.๐๐ นาฬิกา มณฑลพิธี วัดอินทราวาส (ต้นเกว๋น) ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

ขอได้โปรดเมตตาตามที่ได้กราบอาราธนาตามวันและเวลาดังกล่าว กราบอาราธนามาด้วยความนับถือ (พระครูอาทรวิสุทธิคุณ) เจ้าคณะอำเภอหางดง เจ้าอาวาสวัดหนองตอง ในนามคณะสงฆ์อำเภอหางดง หมายเหตุ กราบนิมนต์เป็นการเจาะจง ขัดข้องประการใดโปรดแจ้ง ๐๘ ๑๙๕๐ ๓๔๗๑, ๐๖ ๑๒๖๗ ๘๙๘๙ เพื่อความพร้อมเพรียงได้โปรดมาถึงก่อนเวลากำหนด ประมาณ ๑๕-๓๐ นาที กราบนิมนต์จัดพาหนะไป-กลับเอง เพื่อความสะดวก

80 -๒-

ประกาศจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการ “พระธาตุเจ้าเข้าเวียงเชียงใหม่” พิธีอญ ั เชิญพระทักขิณโมลีธาตุ จากวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร มาประดิษฐาน (ชั่วคราว) ณ มณฑลพิธีข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ................................................. เนื่องในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๗๐ ปี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๗ รอบ และเป็นปีที่เมืองเชียงใหม่มีอายุครบ ๗๒๐ ปี จังหวัดเชียงใหม่ คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระธาตุ ศรี จ อมทองวรวิ ห าร องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ เทศบาลนครเชี ย งใหม่ คณะวิ จิ ต รศิ ล ป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเทศบาลตําบลหนองควาย จะจัดพิธีอัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุ จากวัดพระธาตุ ศรีจอมทองวรวิหาร มาประดิษฐาน(ชั่วคราว) ณ มณฑลพิธีข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ สมโภชเมืองเชียงใหม่ ๗๒๐ ปี และวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อายุครบ ๕๕๐ ปี ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๙ และ บนเส้นทางอัญเชิญพระธาตุจอมทอง จากวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จะอาราธนาขึ้นพักขบวน ณ วัดต้นเกว๋น (วัดอินทราวาส) อําเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนที่จะมาประดิษฐาน (ชั่วคราว) ณ มณฑลพิธีข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่ อให้ พิ ธี อั ญเชิ ญพระทั กขิ ณโมลี ธาตุ จากวั ดพระธาตุ ศรี จอมทองวรวิ หาร มายั งมณฑลพิ ธี ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จังหวัดเชียงใหม่จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการฯ ดังนี้ ๑ .ทีป่ รึกษา ๑. พระธรรมมังคลาจารย์ ๒. พระธรรมเสนาบดี ๓. พระเทพโกศล ๔. พระเทพปริยัติ ๕. พระเทพมังคลาจารย์ ๖. พระราชสิงหวรมุนี ๗. เจ้าคณะอําเภอหางดง ๘. เจ้าคณะอําเภอสันป่าตอง ๙. เจ้าคณะอําเภอแม่วาง ๑๐.เจ้าคณะอําเภอดอยหล่อ ๑๑.เจ้าคณะอําเภอจอมทอง ๑๒.เจ้าคณะตําบลหนองควาย ๑๓.เจ้าคณะตําบลน้ําแพร่ ๑๔.เจ้าอาวาสวัดเชียงมั่น ๑๕.เจ้าอาวาสวัดศรีโสดา ๑๖.เจ้าอาวาสวัดโลกโมฬี

ที่ปรึกษาเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ รองเจ้าคณะภาค ๗ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๗ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงไหม่ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่

/17. เจ้าอาวาส...

๑๗.เจ้าอาวาสวัดหม้อคําตวง ๑๘.เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ๑๙.รักษาการเจ้าอาวาสวัดปันเสา ๒๐.รักษาการเจ้าอาวาสวัดโชติกุนสุวรรณาราม 21. เจ้าอาวาสวัดต้นเกว๋น 22.อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 23.เจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ 24.เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง 25.พลอากาศตรี เจ้าวัฒนัน ณ ลําพูน 26.เจ้าดารารัตน์ ณ ลําพูน 27.เจ้ารัตนา ณ เชียงใหม่ 28.เจ้าดารารัตน์ ณ ลําพูน 29.เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ 30.เจ้าภาคินัย ณ เชียงใหม่ 31.คณะกรรมการมูลนิธินวราชดําริอนุรักษ์ฝ่ายเหนือ ๒. คณะกรรมการอํานวยการ ๒.๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ๒.2 ผู้บญ ั ชาการมณฑลทหารบกที่ 33 ๒.3 ผู้บญ ั ชาการกองพลทหารราบที่ 7 ๒.4 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 7 ๒.5 ผู้บังคับการกองบิน 41 ๒.6 ผู้บญ ั ชาการตํารวจภูธรภาค 5 ๒.7 ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ๒.8 นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ๒.9 นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ๒.๑๐ ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 5 ๒.๑๑ ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 ๒.๑2 ผู้บังคับการกองบังคับการตํารวจตระเวนชายแดนภาค 3 ๒.13 รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ๒.14 ปลัดองค์การบริการส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ๒.15 ปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่ ๒.๑6 ผู้อํานวยการสํานักการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 2.17 ผู้อํานวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ๒.๑8 ผู้อํานวยการโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ ๒.19 ผูก้ ํากับการกลุ่มงานจราจรตํารวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ /๒.20 ท่องเทีย่ ว...


-๔-

-๓๒.๒0 ท่องเทีย่ วและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ กรรมการ ๒.๒1 ผู้อํานวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สํานักงานเชียงใหม่ กรรมการ ๒.๒2 ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ กรรมการ ๒.๒3 ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) กรรมการ ๒.๒4 ผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรรมการ ๒.๒5 วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ กรรมการ ๒.๒6 นายอําเภอเมืองเชียงใหม่ กรรมการ ๒.๒7 นายอําเภอหางดง กรรมการ ๒.๒8 นายอําเภอสันป่าตอง กรรมการ ๒.29 นายอําเภอแม่วาง กรรมการ ๒.๓0 นายอําเภอดอยหล่อ กรรมการ ๒.๓1 นายอําเภอจอมทอง กรรมการ ๒.๓2 วัฒนธรรมอําเภออําเภอหางดง กรรมการ ๒.๓3 วัฒนธรรมอําเภอสันป่าตอง กรรมการ ๒.๓4 วัฒนธรรมอําเภอแม่วาง กรรมการ ๒.๓5 วัฒนธรรมอําเภอดอยหล่อ กรรมการ ๒.๓6 วัฒนธรรมอําเภอจอมทอง กรรมการ ๒.๓7 ผูก้ ํากับการสถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงใหม่ กรรมการ ๒.๓8 ผูก้ ํากับการสถานีตํารวจภูธรหางดง กรรมการ ๒.39 ผูก้ ํากับการสถานีตํารวจภูธรสันป่าตอง กรรมการ 2.40 ผูก้ ํากับการสถานีตํารวจภูธรแม่วาง กรรมการ ๒.๔1 ผูก้ ํากับการสถานีตํารวจภูธรดอยหล่อ กรรมการ ๒.๔2 ผูก้ ํากับการสถานีตํารวจภูธรจอมทอง กรรมการ ๒.๔3 ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ กรรมการ ๒.๔4 นายกเทศมนตรีตําบลหนองควาย กรรมการ ๒.๔5 กํานันตําบลหนองควาย กรรมการ ๒.๔6 ผูใ้ หญ่บา้ นบ้านต้นเกว๋น กรรมการ 2.47 หัวหน้าสํานักงานจังหวัดเชียงใหม่ กรรมการ 2.48 หัวหน้ากลุ่มงานอํานวยการสํานักงานจังหวัดเชียงใหม่ กรรมการ ๒.49 คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่อํานวยความสะดวกในการจัดงาน การประสานงาน การตัดสินใจ และการพิจารณาแก้ไข ปัญหาต่างๆ ให้ดําเนินไปด้วยความเรียบร้อย

/3. คณะกรรมการ...

๓. คณะกรรมการฝ่ายสถานที่ ๓.๑ คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๓.๒ ปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่ ๓.๓ คณะกรรมการวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ๓.๔ คณะกรรมการวัดต้นเกว๋น ๓.๕ คณะกรรมการวัดสวนดอก ๓.๖ คณะกรรมการวัดเชียงมั่น 3.7 คณะกรรมการวัดหม้อคําตวง ๓.8 นายกําจร สายวงศ์อินทร์ ๓.9 นายณรงค์ ธิลา ๓.10 นายอินถา หลวงใจ ๓.๑1 นายอุทร ศิริวัฒน์ ๓.๑2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์มานพ มานะแซม ๓.๑3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เธียรชาย อักษรดิษฐ์ ๓.๑4 นางสาวอุมาพร เสริฐพรรณึก ๓.๑5 นางสุวารี วงศ์กองแก้ว

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ

มีหน้าที่ จัดเตรียมสถานที่ประกอบพิธีอัญเชิญพระธาตุศรีจอมทองจากวัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร อัญเชิญพระธาตุขึ้นพักขบวน ณ วัดต้นเกว๋นและพิธีพุทธาภิเษก และสรงน้ําพระธาตุ ณ ข่วงอนุสาวรีย์ สามกษัตริย์ และส่งเสด็จพระธาตุกลับสู่วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ๔. คณะกรรมการจัดรูปขบวนแห่พระบรมธาตุศรีจอมทอง ๔.๑ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ๔.๒ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ๔.๓ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ๔.๔ สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ๔.๕ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ๔.๖ ปลัดเทศบาลนครเชียงใหม่ ๔.๗ ผู้กํากับการกลุ่มงานจราจรตํารวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ ๔.๘ ผู้อํานวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย 4.9 ผู้อํานวยการโรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ 4.10 นายอําเภอเมืองเชียงใหม่ 4.11 นายอําเภอหางดง 4.12 นายอําเภอสันป่าตอง 4.13 นายอําเภอแม่วาง 4.14 นายอําเภอดอยหล่อ

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมกร กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ /4.15 นายอําเภอ...

81 -54.15 นายอําเภอจอมทอง 4.16 วัฒนธรรมอําเภอเมืองเชียงใหม่ 4.17 วัฒนธรรมอําเภอหางดง 4.18 วัฒนธรรมอําเภอสันป่าตอง 4.19 วัฒนธรรมอําเภอแม่วาง 4.20 วัฒนธรรมอําเภอดอยหล่อ 4.21 วัฒนธรรมอําเภอจอมทอง 4.22 ผูก้ ํากับการสถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงใหม่ 4.23 ผูก้ ํากับการสถานีตํารวจภูธรหางดง 4.24 ผูก้ ํากับการสถานีตํารวจภูธรสันป่าตอง 4.25 ผูก้ ํากับการสถานีตํารวจภูธรแม่วาง 4.26 ผูก้ ํากับการสถานีตํารวจภูธรดอยหล่อ 4.27 ผูก้ ํากับการสถานีตํารวจภูธรจอมทอง 4.28 นายกเทศมนตรีเทศบาลตําบลหนองควาย 4.29 กํานันตําบลหนองควาย 4.30 ผูใ้ หญ่บา้ นบ้านต้นเกว๋น 4.31 นายราเชน อินทวงศ์ 4.32 นายรัตนะ ภู่สวาสดิ์ 4.33 นายธนรัตน์ อุทัยศรี 4.34 นายธีรยุทธ นิลมูล 4.35 นายสุทธิพันธ์ เหรา 4.36 ผู้อํานวยการสํานักการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เลขานุการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

-6กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและ

มี ห น้ า ที่ จั ด ทํ า ตกแต่ ง รู ป แบบขบวน และจั ด เตรี ย มคนเข้ า ร่ ว มขบวนแห่ ตั้ ง แต่ วั ด พระธาตุ ศรีจอมทองวรวิหาร ไปตามถนนเชียงใหม่ – ฮอด ถึง อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ 5. คณะกรรมการฝ่ายจัดรูปขบวนแห่พระพุทธรูปพระเสตังคมณีและพระศิลา 5.1 เจ้าอาวาสวัดเชียงมั่น ประธานกรรมการ 5.2 เจ้าอาวาสวัดหม้อคําตวง รองประธานกรรมการ 5.3 คณะกรรมการวัดเชียงมั่น กรรมการ 5.4 ผู้บญ ั ชาการตํารวจภูธรภาค 5 กรรมการ 5.5 ผู้กํากับการกลุ่มงานจราจรตํารวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ กรรมการ 5.6 ผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงใหม่ กรรมการ 5.7 นายราเชน อินทวงศ์ กรรมการ 5.8 นายธนรัตน์ อุทัยศรี กรรมการ 5.9 นายทศพร นันต๊ะ กรรมการ

5.10 นายธีรยุทธ นิลมูล 5.11 ประธานชุมชน และกรรมการชุมชนเชียงมั่น

/5.10 นาย... กรรมการ กรรมการและเลขานุการ

มีห น้ าที่ จัดทํ า ตกแต่ งรู ปแบบขบวน และจัดเตรี ยมคนเข้าร่ วมขบวนแห่ ตั้ ง แต่ วัดเชี ยงมั่ น ไปยังวัดหม้อคําตวงเพื่อรอสมทบขบวนหลัก ณ ประตูช้างเผือก 6. ฝ่ายพิธกี ารทําบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์และสามเณรจํานวน 721 รูป 6.1 ผู้อํานวยการสํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ 6.2 คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ 6.3 นายเมธี เมธาสิทธิ์ สุขสําเร็จ 6.4 นางสาวฐาปนีย์ เครือระยา 6.5 นายฐาปกรณ์ เครือระยา 6.6 นางสาวเมธาพร ผมขาว 6.7 นายต่อพงษ์ เสมอใจ 6.8 นายสุขธรรม โนบาง 6.9 นางสาวโฉมหญิง ประจักร 6.10 นางสาวเกศสุดา วนาพงศากุล 6.11 นางสาวรัตนาภรณ์ ยศเวียง 6.12 ประธานชุมชนในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ 6.13 ผู้อํานวยการสํานักการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ

มี ห น้ า ที่ นิ ม นต์ พ ระภิ ก ษุ สามเณร จํ า นวน 721 รู ป รั บ บิ ณ ฑบาตร และจั ด ลํ า ดั บ พิ ธี ก าร ตักบาตร จัดสถานที่ตักบาตร ในวันที่ 12 มิถุนายน 2559 ณ ลานเอนกประสงค์ข่วงประตูท่าแพ 7. คณะกรรมการฝ่ายพิธีการ ประกอบด้วย 7.1 เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ 7.2 รองเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร 7.3 พระมหาประเสริฐ สิริปุญโญ 7.4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เธียรชาย อักษรดิษฐ์ 7.5 นายอนุกูล ศิริพันธ์ 7.6 นางสาวอุมาพร เสริฐพรรณึก 7.7 นายอาทิตย์ วงศ์สว่าง 7.8 นายสราวุธ รูปิน 7.9 นายธวัชชัย ทําทอง 7.10 นายธนกร สัมฤทธิ์ 7.11 นายเกรียงไกร บุญธนา 7.12 นายจรัญ ปัญญา

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ


/7.13 นาย...

-77.13 นายธวัชชัย หินเดช 7.14 นางสาวอารยา ปัญญานุวัฒน์ 7.15 นายธนรัตน์ อุทัยศรี 7.16 นายกิตติธัช จันทร์ชุม 7.17 นางสาวยุจเรศ สมนา 7.18 นายศรีเลา เกษพรหม

-8กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ

มีหน้าที่จัดลําดับพิธีการอัญเชิญพระธาตุ ตั้งแต่วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร วัดต้นเกว๋น วัดสวนดอก จนถึงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์และส่งพระธาตุกลับวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร 8. คณะกรรมการฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยและการจราจร ประกอบด้วย 8.1 ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ 8.2 ผู้บังคับการกองบังคับการตํารวจตระเวนชายแดนภาค 3 8.3 ผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงใหม่ 8.4 ผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธรหางดง 8.5 ผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธรสันป่าตอง 8.6 ผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธรแม่วาง 8.7 ผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธรดอยหล่อ 8.8 ผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธรจอมทอง 8.9 ผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธรภูพิงคราชนิเวศน์ 8.10 สารวัตรทหารมณฑลทหารบกที่ 33 8.11 สารวัตรทหารกองพลทหารราบที่ 7 8.12 สารวัตรทหารกรมทหารราบที่ 7 8.13 สารวัตรทหารกรมรบพิเศษที่ 5 8.14 สารวัตรทหารกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 8.15 สารวัตรทหารกองบิน 41 8.16 นางสาววิไลวรรณ เมฆวงษ์ 8.17 นางสาวเยาวภา เทพวงศ์ 8.18 ผู้กํากับการกลุ่มงานจราจรตํารวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ

มีหน้าที่จัดระเบียบการจราจรตามเส้นทางที่ขบวนแห่ผ่านคือ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ไปตามถนนเชี ย งใหม่ –ฮอด ถึ ง อํ า เภอดอยหล่ อ สี่ แ ยกตั ด ใหม่ ถ นนเลี่ ย งเมื อ งสั น ป่ า ตอง-หางดง เลี้ ย วซ้ า ย ไปตามถนน ผ่านอําเภอแม่วาง อําเภอสันป่าตอง และอําเภอหางดง เข้าสู่วัดต้นเกว๋น และจากวัดต้นเกว๋นไปตาม ถนนคลองชลประทาน เลี้ ย วขวาไปยั ง ถนนสุ เ ทพ เข้ า สู่ วั ด สวนดอก จากวั ด สวนดอกไปตามถนนสุ เ ทพ ผ่านโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เข้าสู่ถนนบุญเรืองฤทธิ์เลียบคูเมืองด้านนอกผ่านวัดปันเสา ไปตามถนน บุญเรืองฤทธิ์ เลี้ยวขวาบริเวณแจ่งหัวลิน เข้าสู่ถนนมณีนพรัตน์ ผ่านวัดโลกโมฬีถึงประตูช้างเผือก ไปตามถนน พระปกเกล้า เข้าสู่มณฑลพิธีข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ /9. คณะกรรมการ...

82 /11.9 นาย...

-911.9 นายรณรงค์ คําผา 11.10 นางสาวยุจเรศ สมนา 11.11 นายเกียรติก้อง ศิลปสนธยานนท์ 11.12 นางสาวพรกรัณย์ กัณทา 11.13 นายเอกอนันต์ โพธิ์สุยะ 11.14 นายวิชวัธ ศรีสมุทรคํา 11.15 นายพรบัญชา ใหม่กนั ทะ 11.16 นายปรัชญา ยะบุญ 11.17 นายโชคชัย ศิรินันท์ 11.18 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติพล กันตีวงศ์

กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ

มีหน้าที่จัดเตรียมงานมหรสพแบบล้านนาตลอดระยะเวลาการจัดงาน 12. คณะกรรมการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม ประกอบด้วย 12.1 เจ้าคณะอําเภอจอมทอง 12.2 เจ้าคณะอําเภอดอยหล่อ 12.3 เจ้าคณะอําเภอสันป่าตอง 12.4 เจ้าคณะอําเภอแม่วาง 12.5 เจ้าคณะอําเภอหางดง 12.6 เจ้าอาวาสวัดต้นเกว๋น 12.7 รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 12.8 กํานันตําบลหนองควาย อําเภอหางดง 12.9 กํานันตําบลน้ําแพร่ อําเภอหางดง 12.10 นายจิรกฤตย์ ศิริธนาวัฒน์ 12.11 นางเฉลียว ปวนกาศ 12.12 นางสาวปวีณา ใจคํา 12.13 นายธนกร สัมฤทธิ์ 12.14 ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ

มีหน้าที่จัดเตรียมอาหารสําหรับพระเถระ พระภิกษุ สามเณร แขกผู้มีเกียรติ และจัดตัง้ โรงทาน รวมทั้งจัดบริการน้ําดื่มสําหรับแขกผู้มาร่วมงาน 13. คณะกรรมการฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วย 13.1 คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 13.2 ผู้อํานวยการสํานักการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 13.3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์มาณพ มานะแซม 13.4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เธียรชาย อักษรดิษฐ์

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ

9. คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ประกอบด้วย 9.1 ผู้อํานวยการสํานักประชาสัมพันธ์เขต 3 9.2 ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ 9.3 ผู้อํานวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สํานักงานเชียงใหม่ 9.4 นายกสมาคมผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ภาคเหนือ 9.5 สื่อมวลชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 9.6 นายไชยณรงค์ วัฒนวรากุล 9.7 นางฉฬภิญญา ตรีวิทย์ 9.8 นางสาวอารยา ปัญญานุวัฒน์ 9.9 นายภีรวัฒน์ สิทธิกุลมงคล 9.10 ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ

มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้พุทธศาสนิกชนทราบและเข้าร่วมงานพิธี 10. คณะกรรมการฝ่ายปฐมพยาบาล ประกอบด้วย 10.1 นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ 10.2 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ 10.3 สาธารณสุขอําเภอจอมทอง 10.4 สาธารณสุขอําเภอดอยหล่อ 10.5 สาธารณสุขอําเภอสันป่าตอง 10.6 สาธารณสุขอําเภอแม่วาง 10.7 สาธารณสุขอําเภอหางดง 10.8 สาธารณสุขอําเภอเมืองเชียงใหม่ 10.9 นางสาวชญานิษฐ์ ถาดอก

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและเลขานุการ

มีหน้าที่ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้แก่พุทธศาสนิกชนที่มาร่วมงานตั้งแต่อําเภอจอมทอง อําเภอดอยหล่อ อําเภอสันป่าตอง อําเภอแม่วาง อําเภอหางดง และอําเภอเมืองเชียงใหม่ 11. คณะกรรมการฝ่ายมหรสพสมโภช ประกอบด้วย 11.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์มาณพ มานะแซม 11.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์เธียรชาย อักษรดิษฐ์ 11.3 นายอนุกูล ศิริพันธ์ 11.4 นางฉฬภิญญา ตรีวิทย์ 11.5 นางกนกพันธ์ กุมุท 11.6 นายธีรยุทธ นิลมูล 11.7 นายดนัย วรพิศาล 11.8 นางสาวปวีณา ใจคํา

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ


ประมวลภาพการเตรียมงาน

นับแต่เกิดโครงการพิธีนี้ ทีมงานได้แบ่งหน้าที่กันท�ำงานเป็นหลายฝ่าย ทั้งติดต่อ ประสานงานบุคคล สถานที่ พิธีการ ติดตั้งป้าย และสื่อประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งต้องมีการท�ำความเข้าใจและขอความร่วม มือจากหลายพืน้ ทีท่ เี่ กีย่ วข้อง หน้าทีแ่ ละเวลาส่วนใหญ่คอื การประชุมชีแ้ จง ตกลงเจรจา ปรานีประนอม แต่ก็ท�ำให้เกิดความความสมานฉันท์ เกิดความร่วมมืออย่างที่ยากจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ เพราะทุกฝ่ายมีองค์ พระบรมธาตุเป็นเป้าหมายนั่นเอง

83


ประมวลภาพการเตรียมงาน

84

ทีมงานแต่ละฝ่ายเริ่มต้นงานเกือบพร้อมๆ กัน ตั้งแต่การซ่อมแซมเครื่องพิธี การท�ำใหม่ตามจารีต การ นัดแนะซักซ้อมเพื่อการสมโภช มีการออกแบบตราสัญลักษณ์เพื่อใช้ตลอดงาน ทีมงานส่วนหนึ่งต้อง ไปค้างอ้างแรมบนดอยท�ำการแผ้วถางสถานที่รับน�้ำศักดิ์สิทธิ์ส�ำหรับสระสรง บางส่วนก็เริ่มติดตั้งป้าย ประชาสัมพันธ์ตามแหล่งสัญจรแจ้งข่าวแก่ประชาชน


ประมวลภาพการเตรียมงาน

มีการจัดแถลงข่าวแจ้งสื่อมวลชน จัดเตรียมสิ่งต่างๆ ให้พร้อมและมากพอ ทั้งน�้ำสรง ข้าวตอก ดอกไม้ ก�ำหนดเส้นทางซึง่ มีขอ้ ก�ำหนดไม่ลอดสะพานลอยหรืออุโมงค์ จัดท�ำป้ายประกาศ ในระหว่างนัน้ โรงเรียน และชุมชนก็ยนิ ดีปรีดากับการซ้อมต้อนรับ แม้แต่การซ้อมจุดประทีป ทีมงานได้รบั ความเมตตาจากทุกที่ ที่ไปขอความช่วยเหลือ เด็กๆ ต่างก็เพลิดเพลินกับการฟ้อนร�ำอย่างไม่รจู้ ักเบื่อหน่าย เป็นการปลูกความ รักในศิลปวัฒนธรรมจากครู สิง่ ดีงามนีจ้ งึ ไม่สญ ู หายไปไหน แต่ยงั คงสืบทอดอยูต่ อ่ ไปได้ดว้ ยเยาวชนรุน่ นี้

85


ประมวลภาพการเตรียมงาน

86

หลวงปู่หลวงทอง สิริมังคโล และท่านเจ้าคุณ พระศรีศิลปาจารย์ ได้เยี่ยมชมการสร้างราชรถที่ใช้แห่ พระธาตุเจ้า ณ เฮือนสล่าแดง ทุ่งเสี้ยว มีหลายสิ่งที่ช�ำรุดผุพังไปตามอายุขัยจึงต้องสร้างขึ้นใหม่ ดังเช่น ราชรถ บุษบก เป็นอาทิ นอกจากนีก้ ย็ งั มีอกี หลายสิง่ ทีป่ ระชาชนพร้อมกันท�ำ และสร้างถวายใช้ในการณ์


ประมวลภาพการเตรียมงาน

สิ่งละอันพันละน้อยที่ต้องคอยช่วยกันดูแลกันทุกคน ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นการพบเห็นเครื่องพิธีหลุดห้อย จากการถูกเหวีย่ ง กระแทก หรือน�ำ้ ฝน ทีมงานก็ตอ้ งหูตาไวคอยเข้าซ่อมแซมทันที บทสวดมนต์ทมี่ คี วาม เฉพาะตัวของพระบรมธาตุซง่ึ ประชาชนทัว่ ไปไม่เคยทราบ ก็ได้ตระเตรียมขึน้ ด้วยความร่วมมือจากหลาย ฝ่าย การเอ่ยปากขอให้ชว่ ยล้วนได้รบั ค�ำตกลงอย่างเต็มใจ ทัง้ ผูห้ ลักผูใ้ หญ่ ผูน้ อ้ ย ทีช่ ว่ ยเป็นทีป่ รึกษา คอย ดูแลงานออกแบบตลอดช่วงการจัดงาน

87


ประมวลภาพการเตรียมงาน

88

การจัดงานเมือ่ ได้เสร็จสิน้ แล้ว ภารกิจสุดท้ายก็คอื การถอนขัน กล่าวกราบต่อเทพเทวาอารักษ์ทไี่ ด้อำ� นวย ความราบรื่นให้การพิธี ประชาชนที่ได้ร่วมพิธีต่างก็ได้เห็นนิมิตจากท้องฟ้า ในวันจัดงานทั้งที่เป็นฤดูฝน แทบจะไม่มีแสงแดด แต่ก็เกิดป่องฟ้าเป็นอัศจรรย์ทุกที่ที่พระบรมธาตุเสด็จไปถึง ทั้งที่วัดต้นเกว๋นและ ลานอนุสาวรีย์ เป็นสิง่ หนึง่ ทีห่ มายเหตุถงึ การรับรูจ้ ากเบือ้ งบน ประชาชนต่างพร้อมใจกล่าว “สา สา สา” ก้มกราบกับพื้นโดยไม่สนใจต่อความเฉอะแฉะใดใด




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.