Republic book i

Page 1



รีพบั ลิก Republic Book I

ฉบับตัวอย่างเพื่อการทดลองอ่าน

เพลโต เขียน เวธัส โพธารามิก แปล



เล่ม1 1

โสคราตีส2: ข้าฯลงไปเพเรอัส3มาเมื่อวานนี้กับกลาวคอน บุตรแห่งอริสตอน4 เพราะ ต้องการร่วมสวดบูชาเทพีองค์ใหม่5กับเขาเสียหน่อย งานฉลองเทพีองค์นเี้ พิง่ เริม่ จัดกัน เป็นหนแรก ข้าฯจึงอยากรู้ว่าพวกเขาท�ำอะไรกันบ้าง อันที่จริง ตามทัศนะของข้าฯ แค่ขบวนแห่ของคนท้องถิน่ อย่างเดียวก็งดงามมากแล้วนะ แต่ปรากฏว่าขบวนแห่ของ ชาวธราเคียน6ก็โดดเด่นตระการตาไม่แพ้กัน หลังจากพวกเราได้ถวายค�ำบูชาและ ชมขบวนแห่กันครบหมดแล้ว เราทั้งสองก็เดินทางกลับ ระหว่างทางเผอิญได้พบกับ โพเลมาร์คัส บุตรแห่งเคฟาลัส7 เขามองเห็นพวกเราเดินอยู่ไกลๆ จึงสั่งทาสให้รีบวิ่ง มาเรียกเรา บอกพวกเราสองคนให้รอก่อน ทาสผู้นั้นตรงเข้ามาจับเสื้อคลุมของข้าฯ จากข้างหลัง แล้วแจ้งโดยพลัน “นายท่านโพเลมาร์คัสประสงค์ให้ท่านทั้งสองหยุด รอเขาสักครู่” ข้าฯจึงหันหลังกลับไปถามว่าเวลานี้เขาอยู่ที่ไหน “นายท่านก�ำลังเดินตามมา” เขากล่าว “โปรดรอสักครู่เถิด” “ตกลง พวกเราจะรอ” กลาวคอนพูด ไม่ช้าโพเลมาร์คัสก็เดินมาถึง เขามาพร้อมกับอเดมันทัส พี่ชายของกลาวคอน นิเคราทัส บุตรแห่งนิคอิ สั และคนอืน่ ๆอีกจ�ำนวนหนึง่ ทีเ่ พิง่ กลับจากการชมขบวนแห่ ก็อยู่ตรงนั้นด้วย “ข้าฯเดาว่าพวกท่านคงก�ำลังจะเดินทางกลับบ้าน ใช่หรือเปล่า โสคราตีส?” โพเลมาร์คัสพูด “เดาได้ไม่เลวนี่” ข้าฯพูด “แต่ว่า” เขากล่าว “พวกเรามีกันตั้งหลายคนนะ ท่านเห็นหรือเปล่า?” “ก็เห็นอยู่” “งัน้ ท่านก็ตอ้ งล้มพวกเราทัง้ หมดนีใ่ ห้ได้เสียก่อน” เขาพูด “เพราะพวกเราแข็งแกร่ง กว่าท่าน หรือไม่อย่างนั้น ท่านก็ต้องอยู่ต่อกับพวกเราที่นี่”8 เพลโต : 5

[327a]

[327b]

[327c]


[328a]

[328b]

[328c]

[328d]

“ยังมีอกี ทางเลือกหนึง่ มิใช่หรือ” ข้าฯกล่าว “นัน่ คือให้เราสองคนร่วมมือกันโน้มน้าว พวกเจ้าให้ปล่อยเราไป?” “แต่ถ้าพวกเราปฏิเสธที่จะฟังล่ะ” เขาพูด “ท่านยังคิดว่าจะโน้มน้าวพวกเราได้ อยู่อีกหรือเปล่า?” “ก็ต้องไม่ได้อยู่แล้ว” กลาวคอนพูด “ถ้าเช่นนั้น พวกเราก็จะไม่ยอมฟังท่านพูด ท่านเตรียมใจไว้ก่อนได้เลย” พลันอเดมันทัสก็พูดแทรกขึ้นมา “พวกท่านไม่รู้หรอกหรือว่าจะมีการแข่งวิ่งผลัด คบไฟในตอนค�่ำ? แข่งวิ่งผลัดคบเพลิงบนหลังม้า เพื่อถวายแด่องค์เทพี” “โอ้! บนหลังม้างั้นหรือ?” ข้าฯพูด “แปลกใหม่ดีนี่ พวกเขาจะแข่งขันควบม้าและ ส่งต่อคบเพลิงกันเป็นผลัดใช่ไหม?” “ใช่แล้ว” โพเลมาร์คัสกล่าว “นอกจากนั้นยังมีงานฉลองต่ออีกจนถึงเช้า เราจะ เดินชมกันหลังอาหารค�่ำ ในงานจะต้องมีพวกคนหนุ่มไฟแรงให้พวกเราได้สนทนา แลกเปลีย่ นด้วยมากมายแน่ๆ งานฉลองนีจ้ งึ ควรค่าแก่การเยีย่ มชมอย่างยิง่ พวกท่าน อย่าเพิ่งกลับเลยน่า อยู่ต่อกับพวกเราเถอะ” กลาวคอนจึงกล่าวว่า “ดูเหมือนเราจ�ำเป็นต้องอยู่ต่ออีกสักหน่อยนะ” “ดูท่า เราคงต้องอยู่ต่อกันจริงๆ” ข้าฯพูด ด้วยเหตุนี้ พวกเราจึงพากันเดินกลับไปยังบ้านของโพเลมาร์คสั และได้พบกับน้อง ชายทัง้ สองของเขา คือ ลิสอิ สั 9 กับยูธเิ ดมัส นอกจากนัน้ ธราซิมาคัสแห่งเมืองคาลซิดอน10 คาร์มนั ทิดสี แห่งไพอาเนีย และคเลโตฟอน บุตรแห่งอริสโตนิมสั ก็อยูท่ นี่ นั่ ด้วย บิดาของ โพเลมาร์คสั นาม เคฟาลัส11 ก็อยูด่ ว้ ยเช่นกัน ข้าฯไม่ได้เจอเขามาสักพักหนึง่ แล้ว และ พบว่าเขาดูชราลงไปมาก เขานั่งอยู่บนเก้าอี้บุนวมตัวหนึ่ง บนศีรษะสวมมงกุฎร้อย ดอกไม้จากพิธบี ชู าทีล่ านบูชา รอบๆตัวเรียงรายเก้าอีไ้ ว้จำ� นวนหนึง่ เป็นรูปครึง่ วงกลม พวกเราจึงตรงเข้าไปนัง่ ใกล้ๆ และทันทีทเี่ ห็นข้าฯ เคฟาลัสก็เอ่ยค�ำต้อนรับอย่างเป็น กันเอง จากนั้นจึงพูดกับข้าฯว่า “โสคราตีส ไยไม่เดินทางมาเยี่ยมพวกเราที่เพเรอัสให้บ่อยกว่านี้หน่อย นี่ถ้าข้าฯ ยังเดินเหินได้สะดวกเหมือนแต่ก่อนนะ ข้าฯคงเป็นฝ่ายพาลูกพาหลานไปเยี่ยมเยือน เจ้าเองแล้ว แต่กอ็ ย่างทีเ่ ห็น เจ้านัน่ แหละควรจะมาให้บอ่ ยขึน้ กว่านี้ ข้าฯอยากให้เจ้า รูไ้ ว้วา่ เมือ่ ความสุขส�ำราญทางกายได้หลุดโรยไปแล้วจากตัวของข้าฯ ความปรารถนา 6 : รีพับลิก


และสุขส�ำราญในการสนทนาก็กลับเจริญงอกงามขึ้นมาแทนที่ ฉะนั้นแล้ว เจ้ามาให้ บ่อยหน่อยสิ มาอยู่เป็นเพื่อนเด็กๆพวกนี้ก็ได้ พวกเรามันคนกันเองทั้งนั้นแหละ” “ได้อยู่แล้ว เคฟาลัส ข้าฯชอบสนทนาแลกเปลี่ยนกับคนเฒ่าคนแก่เสมอล่ะ” ข้าฯ พูด “เพราะตามทัศนะของข้าฯ คนชรานั้นเปรียบได้กับนักเดินทางไกล ผู้เคยผจญภัย บนเส้นทาง ซึ่งพวกเราทุกคนต้องเดินไปถึงสักวัน การสนทนากับคนเฒ่าคนแก่ย่อม ช่วยให้เราได้รู้ไว้ล่วงหน้า ว่าเส้นทางสายนั้นขรุขระขนาดไหน ลาดชันเพียงใด และ ในเมื่อท่านได้ก้าวพ้นสิ่งที่พวกกวีเรียกว่า ‘ธรณีประตูแห่งความชรา’12 มาแล้ว ข้าฯก็ ประสงค์จะขอค�ำชีแ้ นะจากท่านเสียหน่อย ข้าฯอยากรูว้ า่ ชีวติ ในช่วงเวลาบัน้ ปลายนัน้ มีความยากล�ำบากเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ ท่านช่วยเฉลยให้ข้าฯทราบทีเถอะ” “ในนามแห่งซุส ข้าฯจะตอบให้ว่าข้าฯรู้สึกอย่างไร โสคราตีส” เขาพูด “ก็อย่าง ที่สุภาษิตว่าไว้นั่นล่ะ – ‘คนรุ่นราวคราวเดียวกัน มักถูกดึงดูดเข้าหากันเสมอ’ – คน รุน่ ข้าฯพอได้จบั กลุม่ คุยกัน ส่วนมากก็มกั บ่นถึงเรือ่ งความสุขส�ำราญทีไ่ ด้ทำ� หล่นหาย ไปเสียแล้ว ไม่ได้มีเหลือเฟือเหมือนตอนยังหนุ่มแน่นอีกแล้ว ทั้งเรื่องเพศ เรื่องสุรา เรือ่ งงานรืน่ เริงต่างๆนาๆ อันเคยสร้างความหรรษาให้ในวัยเยาว์ มันหายไปหมดแล้ว และพวกเขาก็มกั รูส้ กึ เป็นทุกข์ รูส้ กึ แย่กบั มัน รูส้ กึ แย่กบั ชีวติ อันสนุกสนานทีอ่ นั ตรธานไป รู้สึกแย่กับชีวิตในปัจจุบันที่อยู่ไปก็เหมือนไร้ชีวิต และนอกจากนั้นก็ยังมีพวกที่ โอดครวญกับเรือ่ งลูกหลานไม่ให้ความเคารพตัวเองเท่าทีค่ วรอีกด้วย เรือ่ งพวกนีน้ ลี่ ะ่ พวกคนแก่คนเฒ่าส่วนมากจึงมักบอกว่าความชรานั้นคือต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย ทั้งหลายทั้งปวง กระนั้น ตามทัศนะของข้าฯ ข้าฯกลับไม่คิดว่าการกล่าวหาว่าร้าย ความชราเช่นนี้เป็นสิ่งถูกต้องนะ โสคราตีส เพราะถ้าความชรามันเป็นเหตุแห่งความ ชั่วร้ายจริงดังว่า ข้าฯและคนในวัยเดียวกับข้าฯทุกคนก็ควรจะต้องรู้สึกทุกข์ร้อนไป ด้วยเหมือนกันหมดสิ แต่จากประสบการณ์ ข้าฯพบว่ามีคนชราจ�ำนวนไม่น้อยที่ไม่ ได้รู้สึกเจ็บปวดไปกับเรื่องบ้าบอพวกนี้เลยสักนิด หนึ่งในจ�ำนวนนั้นก็คือโซโฟคลีส13 ข้าฯเคยเห็นคนถามกวีผนู้ วี้ า่ ‘โซโฟคลีส เรือ่ งเพศของท่านเป็นอย่างไร? ยังขึน้ เตียงกับ ผูห้ ญิงไหวอยูห่ รือเปล่า?’ ‘ไม่จำ� เป็นต้องพูดถึงมันหรอก สหาย’ เขาตอบ ‘ข้าฯรูส้ กึ โล่งใจ เหลือเกินที่หลุดพ้นจากมันมาได้ รู้สึกเหมือนทาสที่เพิ่งหนีรอดจากนายผู้ป่าเถื่อน และชั่วร้ายมาได้อย่างไรอย่างนั้นเลย’ ข้าฯว่า โซโฟคลีสกล่าวได้ดีทีเดียวนะ และข้าฯ ก็ยังคงคิดเช่นนั้นมาจนบัดนี้ ความชรานั้นน�ำสันติสุขมาให้ต่างหากเล่า มันช่วยปลด เพลโต : 7

[328e]

[329a]

[329b]

[329c]

[329d]


[329e]

[330a]

[330b]

ปล่อยเราจากความปรารถนาอันบ้าคลัง่ ทัง้ ปวง ทันทีทคี่ วามโหยหาในสิง่ ยัว่ ยุทงั้ หลาย คลายก�ำลังลง เราก็จะเป็นอิสระจากบรรดานายทาสผู้บ้าคลั่งดังที่โซโฟคลีสได้กล่าว ไว้นั่นเอง ส่วนไอ้เรื่องที่ว่าลูกหลานไม่ให้ความเคารพนี่นะ โสคราตีส ข้าฯว่าสาเหตุ จริงๆมันไม่ได้อยูท่ คี่ วามชราหรอก แต่มนั เป็นเรือ่ งบุคลิกลักษณะของมนุษย์แต่ละคน มากกว่า คนที่ใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบเรียบง่าย และอารมณ์ดีอยู่เสมอ ก็มักจะไม่รู้สึก กดดันจากความชราเสียเท่าไร แต่ถ้าคนไหนใช้ชีวิตตรงข้ามไปจากนี้ ทั้งความชราทั้ง ลูกหลานต่างก็จะกลายเป็นภาระที่ยากจะทนทานไปในทันทีเช่นกัน” ข้าฯรูส้ กึ ชืน่ ชมในสิง่ ทีเ่ ขาพูด และยังอยากจะฟังต่ออีก จึงยุให้เขาพูดต่อ ด้วยการ กล่าวว่า “เคฟาลัส ข้าฯว่าคนหมูม่ ากคงไม่เห็นด้วยกับสิง่ ทีท่ า่ นพูดมาเสียเท่าไร พวก เขาย่อมมองว่า เหตุที่ท่านรับความชราได้นั้นไม่น่าจะเกิดจากบุคลิกลักษณะหรอก กระมัง มันน่าจะเกิดจากความมั่งมีในทรัพย์สินเงินทองของท่านเสียมากกว่า เขาว่า กันว่า คนรวยย่อมมีเครื่องปลอบประโลมใจมากกว่าคนจนอยู่แล้วมิใช่หรือ?” “เป็นเช่นนั้นจริง พวกเขาย่อมไม่เห็นด้วยกับข้าฯหรอก” เขากล่าว “แต่สิ่งที่พวก เขาพูดก็มีส่วนถูก ถึงแม้จะไม่ได้ถูกไปเสียทั้งหมดก็ตาม ข้าฯว่าในประเด็นนี้ค�ำพูด ของเธมิสโทคลีส14 น่าจะยังน�ำมาใช้ได้ดีอยู่ ครั้งหนึ่ง เธมิสโทคลีสเคยถูกชาวเซริฟัส คนหนึง่ แขวะเอาว่า ชือ่ เสียงอันดีของเขานัน้ หาได้มาจากความสามารถของตนเองไม่ หากแต่มาจากเมืองทีเ่ ขาอยูต่ า่ งหาก เขาถึงมีชอื่ ขึน้ มาได้ เธมิสโทคลีสได้ฟงั ก็ตอบกลับ ไปว่า จริงอยู่ ถ้าเขาเป็นชาวเซริฟัส เขาก็คงไม่มีชื่อเสียงเหมือนทุกวันนี้ อย่างไรเสีย ต่อให้ชาวเซริฟัสผู้นั้นเปลี่ยนเป็นชาวเอเธนส์ เขาก็คงไม่สามารถสร้างชื่อให้ตัวเองได้ เช่นกัน15 ข้าฯว่า ตรรกะนี้ยังน�ำมาใช้กับกรณีของคนแก่ที่ไม่ได้ร�่ำรวยและไม่อาจทน ความชราของตนได้ด้วย กล่าวคือ จริงอยู่ว่า คนชราผู้ยากไร้นั้น ถึงแม้จะพอใจในสิ่ง ที่มี แต่ก็คงไม่สามารถจะใช้ชีวิตในวัยชราได้อย่างราบรื่นเท่าใดนัก กระนั้น คนชรา ผู้หนึ่ง ต่อให้มีเงินทองมากมาย แต่ถ้าไม่เคยพอใจในสิ่งที่มี ก็คงยากจะอารมณ์ดีอยู่ เสมอได้เช่นกัน” “ทรัพย์สินส่วนใหญ่ของท่านมาจากมรดกหรือเปล่า เคฟาลัส?” ข้าฯกล่าว “หรือ ว่าท่านหามาได้ด้วยมือตัวเอง?” “ก็ต้องหามาได้ด้วยตัวเองสิ โสคราตีส” เขาตอบ “ข้าฯเป็นคนท�ำมาค้าขาย และ ฝีมอื ของข้าฯก็นา่ จะอยูก่ งึ่ กลางระหว่างพ่อกับตา ชือ่ ของข้าฯมาจากชือ่ ตานะ ตอนทีต่ า 8 : รีพับลิก


ได้รับมรดกมา ทรัพย์สินโดยรวมก็พอๆกับข้าฯในเวลานี้แหละ แต่ถึงอย่างนั้น ตาก็ทำ� ให้มนั เพิม่ ขึน้ มาได้อกี เป็นเท่าทวี แต่พอมาถึงรุน่ ของลิซานิอสั พ่อของข้าฯนีซ่ ี ทรัพย์สนิ ทีไ่ ด้รบั ตกทอดมาจากตานัน้ ร่อยหรอลงจนเหลือน้อยกว่าทีข่ า้ ฯมีเวลานีเ้ สียอีก ส�ำหรับข้าฯนะ โสคราตีส ขอเพียงข้าฯส่งทอดมรดกแก่ลกู หลานให้ได้มากกว่าจ�ำนวน ที่ได้รับมาสักเล็กน้อย ข้าฯก็นอนตายตาหลับแล้วล่ะ” “อืม อันที่จริง สาเหตุที่ข้าฯถามท่านเช่นนั้น” ข้าฯพูด “เพราะดูเหมือนท่านจะ มิได้รกั ใคร่ในเงินทองเสียเท่าไรเลย และคนส่วนใหญ่ทไี่ ม่จำ� เป็นต้องหาเงินเองก็มกั มี ลักษณะเช่นเดียวกับท่าน เท่าทีข่ า้ ฯเห็น คนทีต่ อ้ งสร้างความมัง่ มีขนึ้ มาด้วยตัวเองนัน้ มักจะยึดติดกับทรัพย์สมบัตมิ ากกว่าคนทีไ่ ม่ตอ้ งสร้างเองอยูเ่ ป็นเท่าตัวทีเดียว เหมือน กวีทหี่ ลงรักบทกลอนของตัวเอง หรือเหมือนบิดาทีห่ ลงรักบุตรนัน่ ล่ะ คนท�ำมาค้าขาย ที่สร้างความมั่งมีขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ย่อมมิได้รักเงินทองเพียงเพราะว่ามันน�ำไปใช้ ประโยชน์ได้ เหมือนที่คนทั่วไปเข้าใจกันเท่านั้น หากแต่พวกเขายังรักมันเพราะเป็น สิง่ ซึง่ พวกเขาสร้างขึน้ มาเองกับมืออีกด้วย และนีก่ ค็ อื สาเหตุทที่ ำ� ให้คนพวกนีไ้ ม่คอ่ ย น่าคบเสียเท่าไร เพราะพวกเขามักไม่ยินดีสรรเสริญสิ่งใดนอกจากเงิน” “เป็นจริงตามนั้น” เขากล่าว “แน่ละ่ แต่ทา่ นช่วยตอบข้าฯอีกเรือ่ งหนึง่ ได้ไหม” ข้าฯพูด “ท่านคิดว่าความร�ำ่ รวย นั้นให้คุณความดีแก่ชีวิตของท่านด้านใดมากที่สุด?” “ค�ำตอบของข้าฯคงโน้มน้าวคนหมู่มากไม่ได้นะ” เขากล่าว “แต่เจ้ารู้อะไรไหม โสคราตีส คนเราพอมันเริ่มตระหนักได้ว่าจุดจบของชีวิตใกล้จะมาถึง ทั้งความกลัว ความกังวลต่างๆนาๆก็จะประเดประดังเข้ามาอย่างทีไ่ ม่เคยเป็นมาก่อน ช่วงเวลานีแ้ หละ ทั้งต�ำนานของดินแดนฮาดีส16 ทั้งเรื่องราวของโทษทัณฑ์ซึ่งผู้ไร้ความเที่ยงธรรมจะ ต้องได้รับในโลกหน้า และอีกสารพัดเรื่องราวที่ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยหัวเราะเยาะ สิง่ เหล่านีจ้ ะแล่นตรงเข้ามากัดกร่อนจิตวิญญาณของพวกเขา ด้วยความกลัวว่ามันจะ กลายเป็นความจริงเข้าสักวัน และไม่ว่าจะเป็นเพราะความอ่อนไหวของวัยชรา หรือ เพราะความหวาดกลัวแดนนรกทีเ่ คลือ่ นใกล้เข้ามาทุกที หรือจะเพราะสาเหตุใดก็ตาม คนเหล่านี้จะมีแต่ความตื่นตระหนก พวกเขาจะเริ่มหันมาส�ำรวจตัวเอง ว่าชีวิตนี้เคย ได้กอ่ ความไม่เทีย่ งธรรมอะไรกับใครเอาไว้บา้ งหรือเปล่าหนอ และถ้าบังเอิญพวกเขา พบความไม่เทีย่ งธรรมในชีวติ ของตัวเองทีผ่ า่ นมาเข้าล่ะก็ ฝันร้ายก็จะคอยตามหลอก เพลโต : 9

[330c]

[330d]

[330e]


[331a]

หลอนพวกเขาไปทุกค�ำ่ คืน พวกเขาจะสะดุง้ ตืน่ ขึน้ กลางดึกด้วยความหวาดหวัน่ อย่าง กับเด็กเล็กๆยังไงยังงัน้ วันๆจะเอาแต่ตงั้ ตาคอยว่าเมือ่ ใดจะมีสงิ่ ชัว่ ร้ายเกิดขึน้ อีกหนอ อย่างไรก็ตาม ส�ำหรับคนทีใ่ ช้ชวี ติ อย่างเทีย่ งธรรมมาโดยตลอด พวกเขาจะมีแต่ความหวัง หวานชืน่ แสนงดงามคอยยืนอยูเ่ คียงข้าง เป็นพยาบาลคอยดูแลยามชรา อย่างทีพ่ นิ ดารัส16 ได้รจนาไว้นนั่ อย่างไร โอ้! กวีผนู้ กี้ ล่าวได้ตรึงใจมากทีเดียวนะ โสคราตีส เขาว่า ผูใ้ ดใช้ชวี ติ เปี่ยมด้วยความเที่ยงธรรมและสุทธิธรรม...17 คนผู้นั้นย่อมมีความหวังหวานชื่นในหัวใจ เฝ้าอยู่เคียงข้างเป็นพยาบาลยามชราภาพ ความหวังเอย เจ้าเป็นดั่งต้นหนคอยน�ำทาง ดวงวิญญาณในวังวนแห่งความเหนื่อยล้า19

[331b]

[331c]

พินดารัสกล่าวไว้ได้เยี่ยมมาก เจ้าว่าไหม ความมั่งมีนั้นมอบคุณความดีให้แก่ข้าฯ ตรงนี้ล่ะ ข้าฯคิดว่า เงินทองนั้น มันสร้างประโยชน์สูงสุดให้ได้แต่เฉพาะกับคนที่มี ระเบียบเรียบง่าย และพอใจในสิง่ ทีต่ วั เองมีความร�ำ่ รวยช่วยคุม้ ครองเราให้รอดพ้นจาก การต้องโกหกคดโกงหรือลวงหลอกบุรุษอื่นๆโดยเราไม่เต็มใจได้ และนอกจากนี้ มัน ยังช่วยรักษาเราให้หายขาดจากอาการหวาดกลัวโลกหลังความตายด้วย เพราะเราจะ ไม่ตดิ หนีเ้ งินทองกับมนุษย์คนไหน และไม่ตดิ ค้างการถวายบูชากับเทพเจ้าองค์ใดอีก แน่นอนว่าเงินทองนัน้ ยังมีประโยชน์อนื่ ๆอีกมากมาย แต่เมือ่ ได้นำ� มาชัง่ น�ำ้ หนักเปรียบ เทียบกันดูแล้ว ข้าฯเห็นว่า คุณประโยชน์ของความมัง่ มีนนั้ น่ะ มันจะเกิดขึน้ ได้ตอ่ เมือ่ อยู่ในมือของบุรุษผู้มีความเข้าใจเท่านั้น โสคราตีส” “ท่านพูดได้ยอดเยี่ยมมาก เคฟาลัส” ข้าฯพูด “เมื่อครู่ข้าฯได้ยินท่านพูดถึงความ เทีย่ งธรรม20 ท่านบอกว่ามันหมายถึง การพูดแต่ความจริงตามทีเ่ ป็น และชดใช้ในสิง่ ที่ เราติดค้าง ใช่ไหม? แต่มนั จะเป็นเช่นนัน้ เสมอไปหรือเปล่า หรือบางครัง้ มันก็เป็นความ เที่ยงธรรม แต่บางคราก็ไร้เที่ยงธรรม? ข้าฯหมายความว่าอย่างนี้นะ ยกตัวอย่างเช่น มีชายสติดผี หู้ นึง่ ให้เพือ่ นของตนยืมอาวุธไปใช้ แต่ตอ่ มาชายผูน้ เี้ กิดเป็นบ้าไป และทวง อาวุธของตนคืนจากเพื่อน ข้าฯว่าเราทุกคนคงเห็นด้วยแน่ๆว่า เพื่อนของเขาย่อมไม่ ควรคืนอาวุธให้แก่ชายเสียสติ และการคืนอาวุธให้แก่เขาในกรณีนี้ก็ย่อมไม่ใช่ความ 10 : รีพับลิก


เที่ยงธรรมด้วย นอกจากนั้น การพูดแต่ความจริงตามที่เป็นเสียทั้งหมดโดยไม่ปิดบัง กับชายผู้นี้ก็คงไม่ใช่สิ่งที่ควรท�ำเท่าไรเช่นกัน ใช่ไหม?” “ใช่ ที่เจ้าว่ามาก็ถูก” เขาพูด “เมือ่ เป็นเช่นนี้ ค�ำจ�ำกัดความ21ของความเทีย่ งธรรมก็ยอ่ มไม่ใช่การพูดแต่ความจริง ตามที่เป็น และใช้คืนในสิ่งที่เราได้หยิบยืมมาเป็นแน่” “ค�ำจ�ำกัดความนั้นถูกต้องแน่นอน โสคราตีส!” โพเลมาร์คัสพูดแทรกขึ้น “ถ้าเรา เชื่อในค�ำกล่าวของซิโมนิดีส22นะ” “โอ้! พอดีเลย” เคฟาลัสพูด “ข้าฯขอยกการสนทนาให้เจ้าต่อเลยแล้วกัน เพราะ ข้าฯจะต้องไปดูแลงานพิธีต่อแล้ว” “แหม ก็ขา้ ฯเป็นผูส้ บื ทอดทุกอย่างของท่านอยูแ่ ล้วไม่ใช่หรือ?” โพเลมาร์คสั กล่าว “ใช่ ใช่ แน่อยู่แล้ว” เขาพูดพลางหัวเราะ จากนั้นจึงลุกเดินออกไปยังลานพิธีบูชา “เอาล่ะ เจ้าเป็นผู้รับช่วงต่อการสนทนาสินะ งั้นก็ถึงตาเจ้าแล้ว” ข้าฯกล่าว “ไหน บอกมาซิว่า ซิโมนิดีสพูดถึงความเที่ยงธรรมเอาไว้ว่าอย่างไร อันที่เจ้าบอกว่ามันถูก ต้องน่ะ?” “เขากล่าวว่า ความเที่ยงธรรมก็คือ การจ่ายคืนทุกสิ่งที่เราติดค้าง”23 เขาตอบ “และในทัศนะของข้าฯ เขาก็อธิบายมันได้อย่างยอดเยี่ยม” “อืม การจะปฏิเสธคนอย่างซิโมนิดสี ย่อมไม่ใช่เรือ่ งง่ายเสียเท่าไร” ข้าฯพูด “เพราะ เขาเป็นถึงผู้มีปัญญาทัดเทียมเทพเจ้านี่นะ แต่ว่าก็ว่าเถอะ ที่เขาพูดมานั่นน่ะมัน หมายความว่าอะไรกันแน่? ข้าฯเองก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรเหมือนกัน บางทีเจ้าอาจจะ เข้าใจมันดีกว่าข้าฯก็ได้นะ โพเลมาร์คสั แต่ทเี่ ห็นได้ชดั อย่างหนึง่ ก็คอื เขาคงไม่ได้ตงั้ ใจ ให้มนั หมายถึงสิง่ ทีเ่ ราเพิง่ พูดกันไปเมือ่ ตะกีแ้ น่ ทีว่ า่ ความเทีย่ งธรรมคือการให้คนื ใน สิ่งที่เราขอยืมมา ถึงแม้ว่าคนที่ให้เรายืมจะกลายเป็นคนเสียสติไปแล้วก็ตาม คงไม่ใช่ ความหมายนีแ้ น่ แต่ถงึ อย่างนัน้ สิง่ ของทีค่ นเขาให้เรายืมมาก็ยอ่ มต้องกลายเป็นสิง่ ที่ เราจะต้องใช้คืนอยู่ดี ใช่ไหมล่ะ?” “ใช่” “แต่กแ็ น่นอนว่า ถ้าเขามาทวงคืนตอนสติไม่ดี เราก็ไม่สมควรจะคืนให้เขาเหมือน กัน จริงไหม?” “ย่อมเป็นจริงตามนั้น” เขาพูด เพลโต : 11

[331d]

[331e]

[332a]


[332b]

[332c]

[332d]

“ถ้าเช่นนัน้ ก็ดเู หมือนว่า ตอนซิโมนิดสี บอกว่า ความเทีย่ งธรรมคือการจ่ายคืนทุก สิ่งที่เราติดค้างนั้น เขาก็น่าจะตั้งใจสื่อความหมายที่ต่างไปจากนี้น่ะสิ” “ก็ตอ้ งเป็นคนละความหมายกันแหงอยูแ่ ล้วล่ะ เทพซุสเป็นพยานได้เลย” เขากล่าว “เพราะซิโมนิดสี มองว่า เพือ่ นกันย่อมมีพนั ธะติดค้างต้องมอบคุณความดีแก่กนั และกัน ไม่ใช่มอบความเลวร้ายให้กัน” “อ้อ! เป็นเช่นนั้นหรอกรึ” ข้าฯพูด “งั้นสมมติว่าเรายืมทองค�ำของเพื่อนไปใช้ แล้ว ต่อมาพบว่า หากเราน�ำทองค�ำจ�ำนวนนีไ้ ปคืน ผลร้ายบางประการก็จะเกิดขึน้ แก่เขาได้ ในกรณีเช่นนี้ การไม่น�ำทองค�ำไปคืนย่อมนับเป็นเรื่องสมควรอยู่ เจ้าก�ำลังจะบอกว่า ซิโมนิดีสหมายความว่าอย่างนี้ใช่ไหม?” “ใช่แล้ว” “แล้วในกรณีของศัตรูล่ะ? เราควรจ่ายชดใช้สิ่งที่เราติดค้างศัตรูด้วยหรือเปล่า?” “ควรต้องจ่ายสิ” เขาพูด “เราควรชดใช้สิ่งที่ติดค้างกับศัตรูด้วยเช่นกัน และข้าฯก็ เห็นว่า สิ่งที่พวกศัตรูจะชดใช้แก่กันอย่างสาสมได้นั้นมีอยู่เพียงอย่างเดียว นั่นก็คือ การประทุษร้ายอย่างไรล่ะ” “ถ้าเช่นนั้นก็ดูเหมือนว่า” ข้าฯพูด “ซิโมนิดีสคงต้องการให้นิยามความเที่ยงธรรม ของตัวเองฟังดูเป็นปริศนาสินะ ตามแบบฉบับของพวกกวีนั่นเอง เพราะไปๆมาๆ ก็ดูราวกับว่า ในความคิดของเขานั้น ความเที่ยงธรรมน่าจะหมายถึงการให้ในสิ่งที่ สาสม หรือในสิ่งที่สมควร แก่คนรอบๆตัวเสียมากกว่า และเขาก็เรียกเจ้าสิ่งนี้ว่า ‘สิ่ง ที่เราติดค้าง’” “โธ่เอ๋ย! ก็แล้วท่านคิดว่าเขาหมายความอย่างไรได้อีกล่ะ?” เขากล่าว “อ้อ! ในนามของเทพซุส” ข้าฯพูด “งั้นเจ้าว่าเขาจะตอบอย่างไร หากมีคนถามว่า ‘ซิโมนิดสี ศิลปะเฉพาะทาง24ทีเ่ รียกว่าการแพทย์นนั้ ติดค้างอะไรต่อสิง่ ใด หรือสมควร ต้องให้อะไรแก่สิ่งใด?’” “มันก็ชดั เจนอยูแ่ ล้วนี”่ เขาพูด “มันก็สมควรต้องให้ยารักษาโรค อาหาร และเครือ่ ง ดื่มเสริมสุขภาพแก่ร่างกายอย่างไรล่ะ” “แล้วศิลปะที่เรียกว่าการปรุงอาหารล่ะ มันสมควรต้องให้อะไรแก่สิ่งใด?” “ให้เครื่องปรุงแก่อาหาร” “งั้นถ้าเป็นศิลปะเฉพาะทางด้านความเที่ยงธรรมล่ะ? มันติดค้างอะไรต่อใคร 12 : รีพับลิก


หรือสมควรต้องให้อะไรแก่ผู้ใด?” “ก็ถา้ จะว่ากันตามทีต่ อบๆไปเมือ่ กีน้ ะ โสคราตีส” เขาพูด “ก็คงต้องบอกว่า มันให้ ประโยชน์แก่สหาย และให้อันตรายแก่ศัตรู” “อ้อ! งั้นซิโมนิดีสก็มองว่า ความเที่ยงธรรมหมายถึงการให้คุณความดีแก่สหาย และให้ความฉิบหายแก่ศัตรูสินะ อย่างนั้นใช่ไหม?” “ใช่ ตามทัศนะของข้าฯ” “แล้วถ้าเปลี่ยนเป็นเรื่องสุขภาพกับโรคภัยไข้เจ็บ เจ้าคิดว่าใครจะมอบคุณความ ดีแก่มติ รสหายผูเ้ จ็บไข้ และให้ความฉิบหายให้แก่ศตั รูได้อย่างมีประสิทธิภาพทีส่ ดุ ?” “แพทย์ไง” “แล้วถ้าทั้งสหายและศัตรูต่างก็ก�ำลังเผชิญภยันตรายท่ามกลางเกลียวคลื่นล่ะ? เจ้าคิดว่าใครจัดการเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด?” “ต้นหนเรือ” “แล้วถ้าเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญด้านความเทีย่ งธรรมล่ะ? เจ้าคิดว่า ในสถานการณ์ลกั ษณะ ไหนและในหน้าที่แบบใด เขาจึงจะสร้างคุณประโยชน์แก่มิตรสหายและสร้างความ ฉิบหายแก่ศัตรูได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด?” “ก็คงเป็นในสถานการณ์สงคราม แล้วก็ท�ำหน้าที่สร้างกองทัพพันธมิตรกระมัง ตามทัศนะของข้าฯนะ” “อืม แต่อย่างไรก็ดีนะ โพเลมาร์คัส ส�ำหรับคนที่ไม่ได้เจ็บป่วยอะไร แพทย์ก็ไม่ได้ มีประโยชน์เสียเท่าไหร่ต่อพวกเขา จริงไหม?” “จริงตามนั้น” “และส�ำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการจะลงเรือ ต้นหนเรือก็ยังไม่มีประโยชน์เช่นกัน” “ใช่” “งั้นถ้าไม่ได้มีสงคราม ความเที่ยงธรรมก็ไร้ประโยชน์? อย่างนั้นหรือเปล่า?” “เฮ้ย! ดูเหมือนจะไม่ใช่แล้ว” “ความเที่ยงธรรมยังคงมีประโยชน์แม้ในยามสงบใช่ไหม?” “ใช่ มันมีประโยชน์” “ศิลปะการกสิกรรมก็มีประโยชน์เหมือนกันใช่ไหม?” “ใช่” เพลโต : 13

[332e]

[333a]


[333b]

[333c]

“และประโยชน์ที่ว่าก็คือการผลิตพืชผักผลไม้จากผืนดินใช่ไหม?” “ใช่” “ศิลปะการท�ำรองเท้าก็มีประโยชน์เช่นกันใช่ไหม?” “ใช่” “และประโยชน์ของมันก็คือการผลิตรองเท้า เจ้าเห็นว่าอย่างนั้นไหม?” “แน่นอน” “เอ้า! ถ้างั้น แล้วความเที่ยงธรรมล่ะ? มันมีประโยชน์อย่างไรบ้างในยามสงบ? มันให้ผลผลิตอะไรหรือ?” “มันก็ให้ประโยชน์ในการท�ำสัญญาต่างๆไง โสคราตีส” “หืม? สัญญาที่เจ้าว่านี่หมายถึงการจับมือเป็นหุ้นส่วนใช่ไหม?” “ใช่ ข้าฯหมายถึงหุ้นส่วน” “ถ้างั้นระหว่างหุ้นส่วนที่เป็นคนเที่ยงธรรม กับหุ้นส่วนที่เป็นนักเล่นหมากรุก25 คนไหนมีประโยชน์และคุณความดีในเกมหมากรุกมากกว่ากัน?” “ก็ต้องนักเล่นหมากรุกสิ” “แล้วถ้าเปลี่ยนเป็นเรื่องก่ออิฐฉาบปูนล่ะ คนเที่ยงธรรมมีคุณประโยชน์มากกว่า นายช่างผู้ช�ำนาญการก่ออิฐหรือเปล่า?” “เปล่าเลย” “งัน้ ในท�ำนองเดียวกัน หุน้ ส่วนทีช่ ำ� นาญการดีดไลร์26ก็ยอ่ มต้องดีดตัวโน้ตได้ดกี ว่า หุ้นส่วนที่มีแต่ความเที่ยงธรรม ใช่ไหม? เมื่อเป็นเช่นนี้ คนเที่ยงธรรมจะท�ำประโยชน์ ได้มากกว่านักดีดไลร์หรือช่างก่ออิฐในด้านใดบ้างล่ะ?” “ดูเหมือนจะเป็นด้านการเงินนะ” “แต่กค็ งไม่ใช่เรือ่ งการใช้เงินแน่ๆล่ะ สหายโพเลมาร์คสั เพราะถ้าเจ้าต้องการร่วมทุน กับหุ้นส่วนเพื่อซื้อหรือขายม้า ข้าฯว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุ์ม้าก็น่าจะเป็นหุ้นส่วนที่ ดีกว่านะ ใช่ไหม?” “ก็น่าจะใช่นะ” “และในท�ำนองเดียวกัน ถ้าเจ้าต้องการร่วมหุ้นซื้อเรือสักล�ำ ช่างต่อเรือหรือไม่ก็ ต้นหนน่าจะเป็นหุ้นส่วนที่ดีกว่า?” “ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น” 14 : รีพับลิก


“ถ้าอย่างนั้นยังมีการใช้เงินในลักษณะใดบ้าง ที่คนเที่ยงธรรมจะเป็นหุ่นส่วนผู้มี ประโยชน์มากกว่าบุคคลอื่น?” “คงเป็นการเก็บรักษาเงินไว้ในที่ปลอดภัยที่สุดล่ะมั้ง โสคราตีส” “เจ้าหมายถึง ในเวลาที่ไม่ต้องการน�ำเงินมาใช้ และวางทิ้งมันไว้เฉยๆอย่างนั้น ใช่ไหม?” “ใช่แล้ว” “ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่า ความเที่ยงธรรมจะมีประโยชน์ที่สุดในเวลาที่เงินทองไร้ ประโยชน์ที่สุด?” “ข้าฯเกรงว่าคงเป็นอย่างนั้น” “งัน้ ถ้าเปลีย่ นจากเงินเป็นมีดตอนกิง่ ในยามทีเ่ จ้าเก็บรักษามันเอาไว้ ไม่ได้ใช้งาน ความเที่ยงธรรมก็จะมีประโยชน์ ทั้งต่อส่วนตัวและส่วนรวม แต่เมื่อไรก็ตามเจ้า ต้องการจะหยิบมีดเล่มนีม้ าใช้ ตอนนัน้ ล่ะ ศิลปะด้านการตัดแต่งต้นไม้กจ็ ะมีประโยชน์ มากกว่าขึ้นมาทันที ใช่หรือเปล่า?” “ก็น่าจะใช่” “งั้นในท�ำนองเดียวกัน เจ้าคงเห็นด้วยว่า เวลาเจ้าต้องการเก็บรักษาโล่หรือไลร์ เอาไว้ในที่ปลอดภัย และยังไม่อยากน�ำมันมาใช้ ตอนนั้นล่ะ ความเที่ยงธรรมถึงจะ มีประโยชน์ แต่ถ้าเจ้าต้องการจะน�ำพวกมันมาใช้เมื่อไร ศิลปะด้านการทหารกับ การดนตรีก็จะมีประโยชน์มากกว่า?” “นั่นย่อมเลี่ยงไม่ได้” “และสิง่ ของอื่นๆก็เป็นเช่นนีใ้ ช่ไหม? ความเทีย่ งธรรมจะไร้ประโยชน์ขึ้นมาทันใด หากสิง่ เหล่านัน้ ถูกน�ำมาใช้งาน แต่มนั กลับจะมีประโยชน์ขนึ้ มาในบัดดล หากสิง่ เหล่านัน้ ถูกน�ำไปเก็บ?” “ก็คงอย่างนั้น” “ถ้าอย่างนั้นนะ สหาย ความเที่ยงธรรมก็ไม่ได้มีคุณค่าอะไรเท่าไรเลย เพราะมัน จะมีประโยชน์ได้แต่ในเวลาที่สิ่งอื่นๆไร้ประโยชน์เท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็เถอะ เจ้า ลองมองมุมนีด้ บู า้ ง ไม่วา่ จะเป็นศิลปะการชกมวยหรือศิลปะการต่อสูอ้ นื่ ใด ผูเ้ ก่งกาจ ด้านการออกหมัดมากทีส่ ดุ นัน้ ย่อมต้องเป็นผูเ้ ยีย่ มยุทธ์ดา้ นการตัง้ รับด้วย ถูกไหม?” “แน่นอน” เพลโต : 15

[333d]

[333e]


[334a]

[334b]

[334c]

“และผูเ้ ชีย่ วชาญการป้องกันโรคทีส่ ดุ ก็ยอ่ มต้องแพร่กระจายโรคเหล่านัน้ ได้อย่าง แนบเนียนที่สุดด้วย?” “อย่างน้อยก็ตามทัศนะของข้าฯล่ะ” “และผู้มีความเป็นเลิศด้านการพิทักษ์ค่ายทัพ ก็ย่อมต้องรู้จักล้วงความลับ แผนการของข้าศึกและอื่นๆได้อย่างดีที่สุดด้วย?” “แน่นอน” “งั้นผู้พิทักษ์อันเก่งกาจ ก็ย่อมต้องเป็นหัวขโมยผู้ช�่ำชองช�ำนาญด้วยเช่นกัน?” “ก็ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น” “และท�ำนองเดียวกัน หากคนผู้หนึ่งช�ำนาญด้านการเก็บรักษาเงิน เขาก็ย่อมต้อง เก่งกาจด้านการลักขโมยงัดแงะด้วย?” “ถ้าว่ากันตามตรรกะนี้ ก็คงใช่” เขาพูด “ถ้าอย่างนั้นก็ดูเหมือนว่า คนเที่ยงธรรมมันก็คือโจรดีๆนี่เองน่ะสิ หึ! เจ้าคงได้ ความคิดประเภทนี้มาจากโฮเมอร์แหงๆ โฮเมอร์น่ะ สรรเสริญอาวโทลิคัส ผู้เป็นตา ของโอดิสซิอัส เขาบอกว่า อาวโทลิคัสนั้นเก่งกาจเหนือคนทั้งปวง ‘ทั้งด้านโจรกรรม และค�ำสบถ’27 เอาล่ะ งั้นทั้งเจ้า ทั้งโฮเมอร์ และทั้งซิโมนิดีส ต่างก็มีทัศนะตรงกัน สินะว่า ความเที่ยงธรรมนั้นเป็นศิลปะด้านการลักขโมยแขนงหนึ่ง ซึ่งสร้างประโยชน์ แก่มิตรสหายและสร้างความฉิบหายแก่ศัตรู เจ้าหมายความว่าอย่างนี้ใช่ไหม?” “เฮ้ย! ไม่ใช่ ไม่ใช่ เทพซุสเป็นพยานที” เขาพูด “เอาเป็นว่าข้าฯไม่รู้แล้วว่าสิ่ง ที่ข้าฯพูดๆไปมันหมายความว่าอย่างไรบ้าง ข้าฯก็ไม่รู้แล้ว แต่ข้าฯก็ยังคงมีทัศนะ เช่นเดิมอยู่นะ ว่าความเที่ยงธรรมนั้นคือการให้ความช่วยเหลือแก่มิตรสหายและ ก่ออันตรายแก่ศัตรู” “พูดถึงมิตรสหาย ค�ำว่ามิตรสหายของเจ้าหมายถึง คนที่ดูเหมือนจะดีต่อเรา หรือคนที่ดีต่อเราจริงๆ แต่เราอาจไม่รู้กันแน่? และความหมายของศัตรูก็ต้องถาม ในท�ำนองเดียวกันนี้ด้วย” “ข้าฯว่า” เขาพูด “เราย่อมรักคนที่เราเชื่อว่าดีต่อเรา และเกลียดคนที่เราพิจารณา แล้วว่าจะน�ำความเลวร้ายมาให้” “แต่มนุษย์กท็ ำ� พลาดในเรือ่ งท�ำนองนีอ้ ยูบ่ อ่ ยๆนะ คนจ�ำนวนมากมักมีทศั นคติวา่ คนนัน้ คนนีท้ ำ� ดีกบั ตน แต่พอเอาเข้าจริงก็ไม่ได้เป็นอย่างนัน้ และในทางกลับกันก็ดว้ ย 16 : รีพับลิก


พวกเขามักมองศัตรูพลาดไปเช่นกัน” “พวกเขาก็พลาดจริงๆนั่นแหละ” “พอเป็นอย่างนี้ พวกเขาก็มักจะได้คนดีเป็นมาศัตรู และได้คนเลวมาเป็นมิตร ใช่ ไหม?” “ใช่” “และเมือ่ เป็นเช่นนี้ ความเทีย่ งธรรมก็จะกลายเป็นการสร้างประโยชน์แก่คนเลวร้าย และสร้างฉิบหายแก่คนดีไปในทันที ใช่ไหม?” “ก็น่าจะใช่นะ” “แต่คนดียอ่ มมีความเทีย่ งธรรมเสมอ และจะไม่กระท�ำสิง่ ทีป่ ราศจากความเทีย่ งธรรม เป็นอันขาด จริงไหม?” “จริงตามนั้น” “อ้าว! งัน้ ถ้าว่ากันตามตรรกะของเจ้า การสร้างความฉิบหายแก่ผไู้ ม่เคยก่อการไม่ เที่ยงธรรมเลย ก็นับเป็นการกระท�ำอันเที่ยงธรรมอย่างหนึ่งน่ะสิ?” “โอ๊ย! ใช่เสียทีไหนเล่า โสคราตีส” เขาพูด “ดูเหมือนตรรกะของข้าฯจะยังไม่ดี พอสินะ” “งั้นเอาอย่างนี้” ข้าฯกล่าว “เจ้ามองว่า การก่ออันตรายแก่ผู้ไร้ความเที่ยงธรรม และมอบประโยชน์แก่ผู้เที่ยงธรรมนั้น นับเป็นความเที่ยงธรรมหรือเปล่า?” “อย่างน้อยมันก็ฟังดูเข้าท่ากว่าอันเมื่อตะกี้” “ถ้าเช่นนัน้ นะ โพเลมาร์คสั ส�ำหรับคนหมูม่ าก28 – ซึง่ เป็นมนุษย์ผทู้ ำ� ผิดพลาดกัน อยูเ่ สมอ – การก่ออันตรายแก่สหายทีต่ นเห็นว่าเลวย่อมเป็นความเทีย่ งธรรม และการ สร้างประโยชน์แก่ศตั รูทตี่ นเห็นว่าดีนนั้ ก็ตอ้ งเป็นความเทีย่ งธรรมด้วย เป็นอย่างไรล่ะ ข้อสรุปนี้ตรงกันข้ามกับนิยามของซิโมนิดีสโดยสิ้นเชิงเลยทีเดียว” “เป็นเช่นนั้นจริงๆนั่นแหละ” เขากล่าว “แต่ข้าฯว่า เราน่าจะกลับไปแก้นิยาม ของมิตรสหายกับศัตรูเสียใหม่นะ เพราะดูทา่ นิยามของมันจะยังไม่ถกู ต้องเสียเท่าไร” “เจ้าจะแก้มันว่าอย่างไรล่ะ โพเลมาร์คัส?” “เมื่อกี้เราบอกว่า มิตรสหายคือคนทีด่ ูเหมือนว่าดีต่อเรา ใช่ไหม?” “อืม แล้วเราควรจะเปลี่ยนมันเป็นอะไร?” ข้าฯพูด “นอกจากจะดูเหมือนว่าดีแล้ว เขายังต้องดีจริงๆด้วย อย่างนีถ้ งึ จะเรียกว่าสหาย” เพลโต : 17

[334d]

[334e]


[335a]

[335b]

[335c]

เขาพูด “ส่วนคนที่ดูเหมือนว่าดี แต่กลับไม่ได้ดีต่อเราจริงๆนั้น ก็เป็นได้แค่คนที่ ดูเหมือนจะเป็นสหายเท่านัน้ เอง ไม่ใช่สหายจริงๆหรอก และนิยามของศัตรูกท็ ำ� นอง เดียวกัน” “งั้นถ้าว่ากันด้วยตรรกะนี้ ก็ดูเหมือนว่า สหายย่อมต้องเป็นคนที่ดีต่อเราเสมอ และศัตรูก็ย่อมต้องเป็นคนที่ไม่เคยดีต่อเราเลย ใช่ไหม?” “ใช่” “นัน่ ก็คอื เจ้าต้องการจะปรับแก้นยิ ามของความเทีย่ งธรรมทีเ่ พิง่ ว่าไปกันเมือ่ ตะกี้ – หยิบยื่นคุณความดีแก่มวลมิตรและส่งมอบความฉิบหายแก่ศัตรู – โดยต้องการ แก้ใหม่ว่า ความเที่ยงธรรมนั้น คือการหยิบยื่นคุณความดีแก่สหายที่ดี และส่งมอบ อันตรายแก่ศัตรูที่เลว อย่างนี้ใช่ไหม?” “ใช่เลย” เขาพูด “อย่างนี้ล่ะ ค่อยฟังดูเข้าท่าขึ้นมาหน่อย อย่างน้อยก็ตามทัศนะ ของข้าฯนะ” “แล้วบุรุษผู้มีความเที่ยงธรรม” ข้าฯกล่าว “ยังมีหน้าที่ต้องสร้างความฉิบหายให้ แก่มนุษย์ผู้ใดบ้างหรือเปล่า?” “มีสิ” เขาพูด “เขาต้องท�ำลายล้างคนเลวและศัตรูของเขาไง” “เหรอ แล้วถ้าเราท�ำร้ายม้า ม้าตัวนั้นจะดีขึ้นหรือเลวลง?” “ก็ต้องเลวลงสิ” “เลวลงที่ว่านี่วัดด้วยความดีงาม29ของม้าหรือของหมาล่ะ?” “ของม้าสิ” “ในท�ำนองเดียวกัน ถ้าหมาโดนท�ำร้าย มันก็ย่อมต้องเลวลงเช่นเดียวกัน โดยวัด จากความดีงามของหมา ไม่ใช่ม้า?” “นั่นย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้” “และเราก็พูดอะไรท�ำนองนี้กับมนุษย์ด้วยใช่หรือเปล่า สหาย? เมื่อคนผู้หนึ่งถูก ท�ำร้าย เขาย่อมต้องแย่ลงโดยวัดจากความดีงามของมนุษย์” “ถูกต้อง” “ความเที่ยงธรรมก็เป็นความดีงามของมนุษย์ใช่ไหม?” “นี่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกเช่นกัน” “สหายน้อย ถ้าเช่นนั้นนะ ยิ่งมนุษย์เราถูกท�ำร้ายมากเท่าไร เขาก็จะยิ่งมีความ 18 : รีพับลิก


เที่ยงธรรมน้อยลงเท่านั้น อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้30 อย่างงั้นซิ?” “ก็ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น” “อืม แล้วเจ้าว่านักดนตรีสามารถใช้ดนตรีทำ� ให้คนๆหนึง่ มีความช�ำนาญทางดนตรี ลดลงได้หรือเปล่า?” “ไม่ได้หรอก” “แล้วนักขี่ม้าล่ะ? พวกเขาสามารถใช้วิชาขี่ม้า ท�ำให้คนที่ข่ีม้าเป็นกลายเป็นคนขี่ ไม่เป็นได้หรือเปล่า?” “ก็ไม่ได้เหมือนกัน” “ถ้าอย่างนัน้ คนทีม่ คี วามเทีย่ งธรรมจะสามารถใช้ความเทีย่ งธรรมของตนท�ำให้ผู้ อืน่ กลายเป็นคนไร้ความเทีย่ งธรรมได้หรือเปล่า? หรือพูดง่ายๆก็คอื คนดีสามารถใช้ ความดีงามของตนเปลี่ยนผู้อื่นให้กลายเป็นคนเลวได้หรือเปล่า?” “เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด” “อืม ความร้อนย่อมไม่มหี น้าทีใ่ นการผลิตความเย็น เพราะการผลิตความเย็นนัน้ เป็นหน้าที่ของสิ่งซึ่งตรงข้ามกับความร้อน ใช่ไหม?” “ใช่” “ความแห้งก็ไม่มีหน้าที่ในการสร้างความชื้น เพราะการสร้างความชื้นนั้นเป็น หน้าที่ของสิ่งตรงข้าม ใช่ไหม?” “แน่ล่ะ” “ในท�ำนองเดียวกัน ความดีก็ย่อมไม่มีหน้าที่ในการท�ำร้ายสิ่งใด การท�ำร้ายนั้น เป็นหน้าที่ของสิ่งตรงข้าม” “ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น” “และคนเที่ยงธรรมก็เป็นคนดี?” “แน่นอน” “ถ้าเป็นไปตามนี้นะ โพเลมาร์คัส คนเที่ยงธรรมก็ย่อมไม่มีหน้าที่ในการท�ำร้าย สหายหรือท�ำร้ายใครทัง้ นัน้ แหละ การท�ำร้ายผูอ้ นื่ ย่อมเป็นหน้าทีข่ องคนประเภทตรง ข้าม นั่นก็คือคนไม่เที่ยงธรรม ถูกไหม?” “ตามทัศนะของข้าฯนะ โสคราตีส” เขากล่าว “ท่านพูดได้จริงตามที่มันเป็นมากๆ เลยเชียว” เพลโต : 19

[335d]


[335a]

[336a]

[336b]

[336c]

“งัน้ ต่อไปถ้ามีใครสักคนบอกเราว่า ความเทีย่ งธรรมคือการจ่ายคืนทุกสิง่ ทีเ่ ราติด ค้าง และบุรุษผู้มีความเที่ยงธรรมนั้น ย่อมสร้างประโยชน์แก่มิตรสหายและหยิบยื่น ความฉิบหายแก่ศัตรู คนผู้นี้ก็คงไม่ใช่ผู้มีปัญญาเสียเท่าไร นั่นไม่ใช่ความจริงตามที่ มันเป็น เพราะพวกเราได้พิสูจน์กันเรียบร้อยแล้วว่า การท�ำร้ายผู้อื่นนั้น ไม่ใช่ความ เที่ยงธรรมอย่างแน่นอน เจ้าเห็นด้วยไหม?” “อืม ข้าฯเห็นด้วย” เขากล่าว “งัน้ เจ้าก็ตอ้ งร่วมมือกับข้าฯ” ข้าฯพูด “ช่วยกันต่อกรกับพวกทีช่ อบอ้างว่า ซิโมนิดสี บิอัส พิททาคัส หรือบรรดาบุรุษผู้มีปัญญาและจิตใจสูงล�้ำทั้งหลาย เป็นผู้ให้ค�ำจ�ำกัด ความผิดๆพวกนี้” “ข้าฯคนหนึ่งล่ะ” เขาพูด “พร้อมจะร่วมมือกับท่านในการต่อสู้ครั้งนี้เสมอ”32 “เจ้ารูไ้ หม” ข้าฯกล่าว “ตามทัศนะของข้าฯ ค�ำนิยามความเทีย่ งธรรมดังกล่าว – ให้ ประโยชน์แก่สหาย สร้างความฉิบหายแก่ศัตรู – สมควรจะตกเป็นของใคร?” “ใครล่ะ?” “ข้าฯเห็นว่ามันควรเป็นของเพริอันดรัส หรือเพร์ดิคคัส ไม่ก็ของเซอรค์ซีส หรือ ของอิสเมนิอัสแห่งธีบส์33 หรือไม่งั้นก็น่าจะเป็นของบุรุษบ้าอ�ำนาจคนอื่นๆที่มักคิด ว่าตัวเองนั้นแกร่งกล้ากว่าใคร” “นั่นเป็นความจริงแท้ทีเดียว” เขาพูด “งั้นเอาล่ะ” ข้าฯกล่าว “ในเมื่อชัดเจนแล้วว่า ความเที่ยงธรรมและคนเที่ยงธรรม นั้นไม่ได้มีนิยามตามที่คนเหล่านี้ว่ามา ถ้าอย่างนั้น แล้วมันคืออะไรกันแน่ล่ะ?” ขณะที่พวกเราก�ำลังพูดคุยกันอยู่นั้น ธราซิมาคัสได้พยายามกล่าวแทรกขึ้นมา หลายครั้ง เพื่อจะเสนอตรรกะของตนเข้ามากลางวงสนทนาแลกเปลี่ยนของพวกเรา แต่ทุกๆครั้ง คนนั่งข้างๆก็จะรั้งตัวเขาเอาไว้ได้ทันเสมอ เพราะพวกเขาอยากฟังการ สนทนาของพวกเราให้จบก่อน ทว่าหลังจากพวกเราเงียบลงไปได้เพียงครูเ่ ดียวเท่านัน้ เขาก็ทนนิง่ อยูต่ อ่ ไปไม่ไหว ดีดตัวผึง ราวสัตว์รา้ ยพร้อมจะพุง่ เข้าตะครุบเหยือ่ ปรีต่ รง เข้าใส่ด้วยท่าทางราวกับจะฉีกทึ้งพวกเราออกเป็นชิ้น โพเลมาร์คัสกับข้าฯตกใจจน แทบท�ำอะไรไม่ถูก เมื่อได้ยินเสียงค�ำรามของเขาดังขึ้นว่า “โสคราตีส! พวกท่านสองคนพูดอะไรไร้สาระกันอยูไ่ ด้ตงั้ นาน? ท�ำตัวอย่างกับพวก ไร้สมอง ยอมกันไปยอมกันมาอยูไ่ ด้! ถ้าท่านอยากรูจ้ ริงๆว่าความเทีย่ งธรรมคืออะไร 20 : รีพับลิก


ล่ะก็ ท่านก็ควรจะเลิกใช้วธิ ตี งั้ ค�ำถามแล้วหักล้างค�ำตอบเช่นนีเ้ สียที การท�ำอย่างนีม้ นั อาจตอบสนองต่อความรักในเกียรติยศของท่านได้ แต่ทา่ นก็รแู้ ก่ใจดีไม่ใช่หรือว่า การ ถามน่ะ มันง่ายกว่าการตอบ ไหนท่านลองตอบค�ำถามตัวเองดูซิ บอกพวกเราทุกคน ตรงนี้หน่อยซิ ว่าความเที่ยงธรรมมันคืออะไร ไม่ใช่มัวแต่ไล่เรียงกันอยู่นั่น อ้อ! ท่าน ไม่ต้องบอกข้าฯหรอกนะว่ามันคือความมีประโยชน์ ความจ�ำเป็น การท�ำก�ำไร หรือ ความได้เปรียบของชีวิต ท่านจงบอกออกมาให้มันละเอียด และก็ชี้ให้ชัดลงไปเลยว่า ท่านหมายถึงอะไรกันแน่ วิธีการไร้สาระของท่านน่ะข้าฯรับไม่ได้!” ค�ำพูดของเขาท�ำเอาข้าฯผงะ ขณะมองดูเขาตาไม่กะพริบ รูส้ กึ กลัวอยูบ่ า้ ง ตอนนัน้ ข้าฯคิดว่า ถ้าข้าฯไม่บังเอิญหันไปเห็นเขาเข้าก่อนที่เขาจะจ้องมาทางนี้ล่ะก็ ตัวข้าฯ คงต้องนิ่งอึ้งพูดอะไรไม่ออกเป็นแน่34 แต่ก็อย่างที่ว่านั่นล่ะ ข้าฯหันไปเห็นเขาตั้งแต่ การพูดคุยของเราเริ่มสร้างความร�ำคาญใจให้ ด้วยเหตุนี้ ข้าฯจึงยังมีแรงอ้าปากตอบ ค�ำถาม ถึงแม้จะสั่นอยู่บ้างเล็กน้อยก็ตาม “อย่าได้โกรธเคืองพวกเราเลย ธราซิมาคัส” ข้าฯกล่าว “ถ้าตรรกะของข้าฯกับ โพเลมาร์คสั มีการคิดพิจารณาอะไรทีผ่ ดิ พลาดไปบ้าง พวกเราก็ไม่ได้ตงั้ ใจหรอก ขนาด เวลาที่เราออกค้นหาขุมทอง เรายังไม่ยอมใครเลย เพราะถ้ายอมก็เท่ากับเป็นการ ท�ำลายโอกาสอันโอชาของตัวเอง แต่ความเที่ยงธรรมน่ะมีค่ามากกว่าขุมทองอีกนะ เราจะยอมกันไปกันมาโดยสะเพร่าอย่างที่เจ้าว่าได้หรือ พวกเราย่อมต้องจริงจังใน การค้นหาไม่น้อยไปกว่าสิ่งใดๆอยู่แล้ว ขอเจ้าอย่าได้คิดอะไรไปอย่างนั้นเลยสหาย ข้าฯอยากให้เจ้ามองว่าพวกเราต่างหากทีย่ งั มีความสามารถไม่พอ ฉะนัน้ คนเก่งอย่าง เจ้าจึงสมควรจะสงสารพวกเรามากกว่าจะมาโกรธเคืองกันนะ” เมื่อได้ยินดังนั้น เขาก็ส่งเสียงหัวร่อเยาะออกมาดังสนั่น ก่อนจะกล่าวว่า “โอ้ ใน นามแห่งเฮราคลีส! นี่คือวาจาย้อนแย้งตามแบบฉบับโสคราตีส35สินะ! กะแล้วเชียว กะแล้วเชียว ข้าฯเพิ่งจะบอกสหายพวกนี้อยู่หยกๆ ว่าท่านต้องไม่ยอมตอบค�ำถาม แน่ๆ เพราะเวลามีใครตั้งค�ำถามกับท่านทีไร ท่านก็จะเอาแต่พูดวกไปวนมา ใช้วาจา ย้อนแย้ง แทนที่จะให้ค�ำตอบกันดีๆ” “นัน่ เป็นเพราะเจ้าเป็นผูม้ ปี ญ ั ญาต่างหากล่ะ สหายธราซิมาคัส” ข้าฯพูด “หากเจ้า ถามคนผู้หนึ่ง ว่า ‘เลขสิบสองนั้นมีค่าเท่าไรได้บ้าง’ แต่ก่อนที่เขาจะได้ตอบ เจ้ากลับ เตือนเขาล่วงหน้าอย่างรู้ทันว่า ‘มนุษย์เอ๋ยมนุษย์ นี่อย่าบอกนะ ว่าเจ้าจะตอบข้าฯว่า เพลโต : 21

[336d]

[336e]

[337a]

[337b]


[337c]

[337d]

[337e]

สองคูณหก สามคูณสี่ หกคูณสอง หรือสี่คูณสามน่ะ ค�ำตอบไร้สาระพวกนี้ ข้าฯรับไม่ ได้หรอก’ เจ้าเองก็รู้ดีว่า เมื่อเจ้าตั้งกรอบเอาไว้ก่อนเช่นนี้ ก็คงจะไม่มีใครตอบอะไร เจ้าได้อีกแน่36 แต่ว่าถ้าคนผู้นั้นเกิดถามเจ้ากลับมาว่า ‘เจ้าพูดอะไรน่ะ ธราซิมาคัส เจ้าก�ำลังจะบอกว่า ข้าฯไม่สามารถหยิบเอาค�ำตอบเหล่านั้นมาใช้ได้ ต่อให้หนึ่งนั้น จะเป็นค�ำตอบที่ถูกต้องก็ตามน่ะหรือ? โอ้! ช่างน่าทึ่งจริงๆ! นี่แสดงว่าเจ้าต้องการ จะให้ขา้ ฯตอบค�ำตอบอืน่ นอกเหนือไปจากความจริงตามทีเ่ ป็นสินะ? หรือว่าเจ้าก�ำลัง จะพูดถึงสิ่งใดนอกเหนือไปจากนี้?’ เอาล่ะ ถ้าเจออย่างนี้เข้า เจ้าจะตอบว่าอะไร?” “ให้ตายสิ” เขาพูด “อย่างกับว่าทัง้ สองกรณีนมี้ นั มีอะไรคล้ายกันอย่างนัน้ แหละ”37 “ก็แล้วท�ำไมมันจะไม่คล้ายกันล่ะ?” ข้าฯกล่าว “หรือต่อให้สมมติว่ามันไม่มีอะไร คล้ายกันจริงๆ แต่ถ้าไอ้คนที่ถูกถามเห็นว่ามันคล้ายล่ะ38 เจ้าคิดว่า เราจะห้ามไม่ให้ เขาตอบในสิ่งที่เขาเห็นว่าถูกต้องได้หรือ ไม่ว่าเราจะอนุญาตหรือไม่ก็ตาม?” “โอ้! ท่านจะเอาอย่างนั้นหรือ?” เขาพูด “ท่านจะหยิบเอาค�ำตอบที่ข้าฯห้ามไว้มา ตอบอย่างนั้นหรือ?”39 “ก็ถ้าเกิดว่าหนึ่งในค�ำตอบพวกนั้น เป็นทัศนคติ อันเกิดจากการพิจารณาอย่าง ถี่ถ้วนแล้ว” ข้าฯพูด “ข้าฯก็ไม่เห็นว่ามันจะน่าประหลาดใจตรงไหนเลยนี่” “ได้! งัน้ ถ้าข้าฯสามารถให้คำ� ตอบเรือ่ งความเทีย่ งธรรมทีต่ า่ งออกไปจากของพวก ท่านได้ล่ะ และยังเป็นค�ำตอบที่ชัดเจนกว่าอีกด้วย ถ้าข้าฯท�ำได้ ท่านคิดว่าตนเอง สมควรได้รับโทษอย่างไรจึงจะสาสม ท่านว่ามา”40 “การลงทัณฑ์ใดเล่าจะสาสมแก่ผไู้ ม่รไู้ ด้มากไปกว่าการให้เขาได้เรียนจากผูร้ ”ู้ ข้าพูด “แน่นอน ข้าฯสมควรได้รับสิ่งนี้ล่ะ” “พูดพล่อยๆเป็นคนเอาแต่ได้!” เขากล่าว “ไม่ได้หรอก นอกจากการได้เรียนรูแ้ ล้ว ท่านยังต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงินด้วย” “มีเมื่อไรข้าฯก็จ่ายให้เมื่อนั้น” ข้าฯพูด “เงินน่ะ เขาต้องมีอยูแ่ ล้ว” กลาวคอนพูดแทรกขึน้ “ถ้าเป็นเรือ่ งเงินนะ ขอให้บอก มาได้เลย ธราซิมาคัส พวกเราจะเป็นคนจ่ายให้โสคราตีสเอง” “ให้ตายสิ เชื่อเขาเลย” ธราซิมาคัสพูด “ทีนี้โสคราตีสก็จะท�ำเหมือนเดิมได้อีก เขาจะไม่ยอมตอบค�ำถามอะไรทัง้ สิน้ แต่พอมีใครโยนค�ำตอบมาให้สกั ข้อนะ เขาก็จะ ดึงเอาตรรกะของมันออกมา จากนั้นก็จะพูดจาหักล้างมันเสีย” 22 : รีพับลิก


“โธ่เอ๋ย! พ่อคนเก่ง” ข้าฯพูด “คนเรามันจะตอบอะไรได้ละ่ ถ้ามันไม่รคู้ ำ� ตอบ หรือ ไม่ได้ตอ้ งการจะอวดอ้างว่าตัวเองรู้ (แถมยังถูกชายไม่ธรรมดาบางคนห้ามไม่ให้แสดง ความเห็นอีก)? การโยนให้เจ้าเป็นคนตอบ มันถึงได้ดูเหมาะสมกว่าไง เพราะเจ้าพูด ออกมาเองว่าเจ้ารู้ และพูดได้ เมือ่ เป็นอย่างนีก้ ช็ ว่ ยสงเคราะห์ขา้ ฯด้วยค�ำสอนของเจ้า หน่อยแล้วกันนะ กลาวคอนกับคนอื่นๆจะได้ฟังด้วย อย่าหวงวิชานักเลย” ขณะข้าฯพูดอยู่นั้น กลาวคอนและคนอื่นๆก็พากันร้องขอให้เขาช่วยอธิบาย มันออกมาเสียที เห็นได้ชัดว่าธราซิมาคัสคิดว่าตนเองถือค�ำตอบอันเลิศล�้ำไว้ในมือ และเขาก็ปรารถนาจะพูดจนตัวสั่น เพื่อว่าคนรอบข้างจะได้มีทัศนะอันดีต่อตัวเขา กระนั้นเขากลับแสร้งท�ำเป็นบีบบังคับให้ข้าฯเป็นฝ่ายตอบออกมาก่อนอยู่นั่น มันจะ ได้ดูราวกับว่าตนเองนั้นได้รับชัยชนะนี้มาอย่างขาดลอย อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดเขา ก็ยอมตอบตกลง และกล่าวว่า “อ้อ! นีค่ อื ระดับปัญญาของโสคราตีสสินะ ตัวเขาเองไม่ยนิ ดีจะสอนสิง่ ใดต่อใครทัง้ นัน้ เอาแต่วิ่งแจ้นขอเรียนจากคนอื่นไปทั่ว แถมยังไม่เคยมีส�ำนึกจะขอบคุณใครอีก” “เรือ่ งว่าข้าฯไปขอเรียนจากผูอ้ นื่ น่ะ เจ้าพูดจริงตามทีม่ นั เป็น ธราซิมาคัส” ข้าฯพูด “แต่ที่บอกว่าข้าฯไม่เคยส�ำนึกในบุญคุณใครน่ะ มันไม่ใช่เรื่องจริงเลย ข้าฯตอบแทน ทุกคนด้วยทุกอย่างที่ข้าฯมี แต่ในเมื่อข้าฯไม่มีเงินทองติดตัว ข้าฯจึงท�ำได้แค่กล่าวค�ำ สรรเสริญเท่านัน้ ถ้าใครพูดได้ดี ข้าฯย่อมมีความประสงค์จะมอบค�ำชืน่ ชมให้ เมือ่ เจ้า ได้แสดงค�ำตอบนั้นออกมาแล้วก็จะรู้เองนั่นล่ะ ข้าฯหวังว่าเจ้าคงพูดได้ดีนะ” “ได้ งั้นก็ฟังให้ดีล่ะ” เขากล่าว “ข้าฯขอบอกเลยว่า ความเที่ยงธรรมนั้น ไม่ใช่สิ่ง อื่นใด นอกเหนือไปจากผลประโยชน์ของฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า41... ว่าอย่างไร? ท�ำไม ไม่สรรเสริญข้าฯเสียหน่อยล่ะ? อ้อ! เดี๋ยวท่านก็คงจะหาเรื่องหลบเลี่ยงไปอยู่ดีสินะ” “อันดันแรกก็ให้ข้าฯได้เข้าใจความหมายของเจ้าเสียก่อนซี เพราะข้าฯยังไม่เข้าใจ อะไรเลย” ข้าฯพูด “เจ้าบอกว่าผลประโยชน์ของฝ่ายทีแ่ ข็งแกร่งกว่าคือความเทีย่ งธรรม อย่างนั้นใช่ไหม? เจ้าหมายความว่าอย่างไรล่ะ ธราซิมาคัส? สมมติว่าโพลิดามัส42 แข็งแกร่งกว่าเรา และการได้กินเนื้อสัตว์มากๆเพื่อเสริมสร้างก�ำลังร่างกายก็ถือเป็น ผลประโยชน์ของเขา เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อสัตว์ย่อมถือเป็นผลประโยชน์และเป็นความ เที่ยงธรรมต่อพวกเราผู้อ่อนแอกว่าด้วยหรือเปล่า?” “ท่านช่างน่ารังเกียจจริงๆ โสคราตีส” เขาพูด “ท่านเอาตรรกะของข้าฯไปวางไว้ เพลโต : 23

[338a]

[338b]

[338c]

[338d]


[338e]

[339a]

[339b]

ในจุดที่จะให้ร้ายข้าฯได้มากที่สุด” “เปล่าเสียหน่อย พ่อคนเก่ง” ข้าฯว่า “ไหนเจ้าช่วยอธิบายความหมายของเจ้าให้ ชัดเจนทีซิ?” “ท่านไม่รู้รึยังไง ว่าเมืองบางเมืองนั้น43ถูกปกครองโดยทรราช แต่บางเมืองก็ ประชาธิปไตย และบางเมืองก็อภิชนาธิปไตย?” “ใช่ ข้าฯรู้” “และในแต่ละเมือง เหล่าผู้ถืออ�ำนาจปกครองนั้นก็เป็นนายเหนือคนอื่นๆ?” “ใช่” “และผู้ถืออ�ำนาจปกครองเหล่านั้นก็ย่อมต้องออกกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของ ตนเองทั้งสิ้น ประชาธิปไตยย่อมออกกฎหมายเพื่อประชาธิปไตย ทุชนาธิปไตยย่อม ออกกฎหมายเพือ่ ทรราช และระบอบอืน่ ๆก็เป็นเช่นเดียวกันนี้ พวกเขาทุกคนย่อมต้อง ประกาศว่ากฎหมายของตนนัน้ (นัน่ ก็คอื ผลประโยชน์ของตนเองนัน้ ) มีความเทีย่ งธรรม ต่อทุกๆคนที่อยู่ใต้อาณัติ และแน่นอน พวกเขาย่อมคาดโทษแก่ผู้ไม่ยอมปฏิบัติตาม โดยกล่าวว่าคนเหล่านี้เป็นพวกนอกกฎหมาย เป็นพวกขาดความเที่ยงธรรมนี่ล่ะ ความเทีย่ งธรรมมันเป็นอย่างนี้ ไม่วา่ เมืองไหนๆก็เป็นอย่างนี้ มันคือผลประโยชน์ของ ผูถ้ อื อ�ำนาจออกกฎ เพราะผูถ้ อื อ�ำนาจออกกฎย่อมเป็นผูแ้ ข็งแกร่งกว่าใครเสมอ และ ไม่ว่าใครหากรู้จักคิดด้วยตรรกะ ก็ย่อมต้องได้ข้อสรุปเช่นนี้ ความเที่ยงธรรมนั้นเป็น เช่นเดียวกันหมดทุกที่ทุกสถาน มันคือผลประโยชน์ของฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า” “อืม ตอนนีข้ า้ ฯเข้าใจความหมายของเจ้าแล้ว” ข้าฯกล่าว “ข้าฯคงต้องขอพิจารณา เสียหน่อย ว่ามันเป็นจริงตามนั้นหรือไม่ แต่ว่าก็ว่าเถอะนะ ธราซิมาคัส ขนาดเจ้าเอง ยังบอกว่าการเป็นคนเทีย่ งธรรมนัน้ คือผลประโยชน์อย่างหนึง่ เลยไม่ใช่รึ แล้วท�ำไมเมือ่ ตะกีเ้ จ้ากลับห้ามไม่ให้ขา้ ฯตอบอะไรท�ำนองนีล้ ะ่ แต่เอาเถอะ ยังไงเสียเจ้าก็เพิม่ ค�ำว่า ‘แก่ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า’ เข้าไปด้วยนี่นะ” “ข้าฯเติมเข้าไปนิดเดียวเท่านั้นแหละ” เขาพูด “มันนิดเดียวจริงหรือเปล่านัน้ ยังไม่แน่ แต่ทแี่ น่ๆคือเราต้องลองตรวจสอบความจริง ของมันดูเสียหน่อย” ข้าฯพูด “ข้าฯเห็นด้วยนะว่า ความเที่ยงธรรมเป็นสิ่งซึ่งจะน�ำผล ประโยชน์มาให้ แต่เจ้ากลับเติมค�ำว่า ‘แก่ฝ่ายที่แข็งแกร่งกว่า’ ต่อท้ายเข้าไปด้วยนี่สิ ข้าฯก็เลยชักไม่แน่ใจ เราคงต้องลองพิจารณามันดูแล้วล่ะ” 24 : รีพับลิก


“เอาสิ เอาเลย” เขากล่าว “แน่อยู่แล้ว” ข้าฯพูด “ไหนตอบข้าฯหน่อยซิ เจ้าคิดว่า การเชื่อฟังผู้ปกครองนั้น นับเป็นความเที่ยงธรรมหรือเปล่า?” “ใช่ ข้าฯคิดอย่างนั้น” “แล้วผูป้ กครองของเมืองต่างๆนัน้ ท�ำพลาดได้บา้ งไหม หรือว่าพวกเขาไม่มวี นั ท�ำ ผิดพลาดได้เลย?” “พวกเขาย่อมพลาดได้อยู่แล้ว” เขาพูด “ไม่ต้องสงสัย” “งั้นตอนพวกเขาลงมือร่างกฎหมาย มันก็ต้องมีทั้งส่วนที่ถูกบ้างและผิดบ้าง?” “ข้าฯก็เห็นว่าอย่างนั้น” “กฎหมายที่ร่างออกมาอย่างถูกต้องย่อมมอบผลประโยชน์ให้แก่ตัวของพวก เขา แต่ถ้าร่างออกมาผิด มันก็ย่อมต้องลิดรอนผลประโยชน์ของพวกเขาด้วย เจ้า หมายความอย่างนี้ใช่ไหม?” “ก็อย่างท่านว่านั่นล่ะ” “และไม่วา่ พวกเขาจะร่างอะไรออกมา ผูอ้ ยูใ่ ต้อาณัตกิ จ็ ำ� เป็นต้องเชือ่ ฟังผูป้ กครอง เสมอ อย่างนี้จึงเป็นความเที่ยงธรรม ใช่ไหม?” “แหงอยู่แล้ว” “อ้าว! งั้นถ้าว่ากันตามตรรกะของเจ้า ความเที่ยงธรรมก็ไม่ได้กินความเพียงการ กระท�ำที่ให้ผลประโยชน์แก่ผู้แข็งแกร่งกว่าเท่านั้นน่ะสิ แต่มันยังต้องรวมการกระท�ำ ตรงข้ามเข้าไปด้วย นั่นก็คือมันต้องรวมการกระท�ำซึ่งลิดรอนผลประโยชน์ของ ผู้แข็งแกร่งกว่าเข้าไปด้วย” “ท่านหมายความว่าไง?” เขาพูด “ข้าฯก็หมายความตามทีเ่ จ้าว่ามานัน่ แหละ” ข้าฯพูด “ลองพิจารณามันดูดๆ ี สิ เจ้า มิได้เห็นด้วยกับข้าฯหรอกหรือว่า เมือ่ ผูถ้ อื อ�ำนาจปกครองออกค�ำสัง่ อะไรสักอย่างขึน้ มาบังคับผูอ้ ยูใ่ ต้อำ� นาจ บางครัง้ พวกเขาก็ทำ� พลาด บางครัง้ พวกเขาก็หลงคิดไปว่าค�ำ สัง่ เหล่านัน้ จะสร้างผลประโยชน์สงู สุดแก่ตวั เองได้จริงๆ แต่แน่นอน ผูอ้ ยูใ่ ต้อาณัตจิ ะ ต้องเชื่อฟังกฎของผู้ปกครองเสมอ เพราะนั่นคือความเที่ยงธรรม เรื่องพวกนี้เราเห็น พ้องกันไปแล้วมิใช่หรือ? “ข้าฯก็เห็นอย่างนั้นนี่” เขากล่าว เพลโต : 25

[339c]

[339d]


[339e]

[340a]

[340b]

[340c]

“งั้นเจ้าก็ต้องเห็นด้วยว่า” ข้าฯพูด “การกระท�ำซึ่งลิดรอนผลประโยชน์ของ ผูป้ กครอง – หรือผูแ้ ข็งแกร่งกว่า – เวลาพวกเขาพลาดพลัง้ ออกค�ำสัง่ ซึง่ ส่งผลเลวร้าย ต่อตัวเองออกมานัน้ นัน่ ก็ยอ่ มเป็นความเทีย่ งธรรมด้วยน่ะสิ เพราะเจ้าพูดเองใช่ไหมว่า การเชื่อฟังคนเหล่านี้เป็นการกระท�ำอันเที่ยงธรรมเสมอ ธราซิมาคัส เจ้าน่ะมันโคตร มีปัญญาเลย แต่ถ้าว่ากันตามความเห็นของเจ้านะ การกระท�ำตรงข้ามกับสิ่งเจ้าเพิ่ง พูดก็จ�ำเป็นต้องนับเป็นความเที่ยงธรรมด้วย เพราะผู้อ่อนแอกว่าจะถูกสั่งให้ต้องท�ำ ตามค�ำสั่งซึ่งลิดรอนผลประโยชน์ของผู้แข็งแกร่ง ใช่ไหมล่ะ?” “ว้าว! เทพซุสเป็นพยาน!” โพเลมาร์คัสพูดขึ้น “ชัดเจนมาก โสคราตีส” “ให้เจ้านั่นแหละเป็นพยาน โพเลมาร์คัส” และคเลโตฟอนก็พูดขึ้นมาบ้าง “ยังจะต้องการพยานไปท�ำไมอีกเล่า?” โพเลมาร์คัสพูด “ก็ในเมื่อธราซิมาคัส ยอมรับออกมาเองว่า ผู้ปกครองน่ะ บางครั้งก็ออกค�ำสั่งซึ่งส่งผลเลวร้ายแก่ตัวเอง และการปฏิบัติตามค�ำสั่งที่ว่านี้ก็ถือเป็นความเที่ยงธรรมเสียด้วย” “ใช่แล้ว โพเลมาร์คสั และนัน่ ก็เป็นเพราะธราซิมาคัสได้ยนื กรานไว้วา่ การเชือ่ ฟัง ค�ำสั่งของผู้ถืออ�ำนาจปกครองนั้นนับเป็นความเที่ยงธรรม” “ใช่ คเลโตฟอน หน�ำซ�้ำเขายังยืนกรานเอาไว้อีกด้วยนะว่า ผลประโยชน์ของ ผู้แข็งแกร่งกว่าคือความเที่ยงธรรม ตัวเองเป็นคนยืนกรานหลักสองข้อนี้ออกมาเอง แท้ๆ แต่ไปๆมาๆก็กลับเห็นด้วยเสียอย่างนัน้ ว่า บางครัง้ บางคราผูแ้ ข็งแกร่งกว่าก็ตงั้ กฎลิดรอนผลประโยชน์ตวั เองขึน้ มาให้ผอู้ อ่ นแอกว่า (ซึง่ ก็คอื ผูอ้ ยูใ่ ต้อาณัตนิ นั่ แหละ) ต้องท�ำตามได้เหมือนกัน เมือ่ เห็นพ้องกันอย่างนีแ้ ล้ว ผลประโยชน์ของผูแ้ ข็งแกร่งกว่า ก็ดูท่าจะไม่ได้เที่ยงธรรมไปกว่าการเสียผลประโยชน์เท่าไรเลย” “แต่เมื่อตะกี้เขาพูดว่า” คเลโตฟอนกล่าว “ผลประโยชน์ของผู้แข็งแกร่งกว่าก็คือ สิ่งที่ผู้ที่แข็งแกร่งกว่าเชื่อว่าเป็น ผลประโยชน์ของตน มิไม่ใช่หรือ? และสิ่งนี้ก็คือสิ่ง ที่ผู้อ่อนแอกว่าต้องปฏิบัติตาม นี่คือความเที่ยงธรรมในความหมายที่ธราซิมาคัสได้ ยืนกรานเอาไว้ไม่ใช่หรือ?” “เขาไม่ได้พูดอย่างนั้นเสียหน่อย”44 โพเลมาร์คัสกล่าว “มันก็ไม่ต่างกันเท่าไรหรอก โพเลมาร์คัส” ข้าฯพูด “หากธราซิมาคัสต้องการจะ หมายความอย่างนัน้ จริง เราก็มาว่ากันตามนัน้ ก็ได้ ว่ายังไง ธราซิมาคัส ความเทีย่ งธรรม ในความหมายของเจ้าคือสิ่งที่ผู้แข็งแกร่งกว่าเชื่อว่าเป็นผลประโยชน์ของตน ไม่ว่าใน 26 : รีพับลิก


ความเป็นจริงมันจะให้ผลประโยชน์หรือไม่ก็ตาม อย่างนี้ใช่ไหม? เจ้าจะเอาอย่างนี้ หรือเปล่า?” “ไม่มีทางเสียล่ะ” ธราซิมาคัสพูด “ท่านคิดจะให้ข้าฯเรียกผู้มีความบกพร่อง และ ก�ำลังท�ำเรื่องผิดพลาด ว่าเป็น ‘ผู้แข็งแกร่งกว่า’ อย่างนั้นหรือไง?” “อ้าว! ข้าฯก็นึกว่าเจ้าหมายความอย่างนั้นจริงๆเสียอีก” ข้าฯพูด “ก็ในเมื่อเจ้า ยอมรับออกมาเองว่า ผู้ถืออ�ำนาจปกครองนั้น ไม่ใช่ว่าจะสมบูรณ์แบบท�ำผิดพลาด ไม่ได้ พวกเขาเองก็พลาดพลั้งได้ในบางเรื่องเหมือนกันนี่” “นั่นเป็นเพราะท่านใช้ตรรกะอย่างพวกพยานเท็จในศาลต่างหากล่ะ โสคราตีส” เขากล่าว “ยกตัวอย่างง่ายๆนะ ถ้ามีใครสักคนเกิดพลาดพลั้งรักษาคนไข้ผิดวิธี ท่าน จะเรียกเขาว่า ‘แพทย์’ โดยใช้ความผิดพลาดนี้เป็นมาตรฐานตัดสินหรือ? หรือถ้า มีใครสักคนเกิดค�ำนวณเลขผิดพลาดขึ้นมา ท่านจะเรียกเขาว่า ‘นักค�ำนวณ’ โดยใช้ ความผิดพลาดนีเ้ ป็นมาตรฐานหรือ? จริงอยูเ่ รามักพูดว่า แพทย์ หรือนักค�ำนวณ หรือ นักอักษรศาสตร์นั้น สามารถท�ำผิดพลาดกันได้เป็นเรื่องธรรมดา แต่ทว่า ถ้าเราพูด ถึงแต่ในกรอบของสิ่งที่พวกเขาฝึกฝนแล้วล่ะก็ พวกเขาย่อมไม่เคยผิดพลาดแน่นอน หรือถ้าจะสนทนากันให้ละเอียดขึ้นกว่านี้อีกหน่อย (เพราะข้าฯรู้ว่าท่านเป็นคนละ เอียดลออ) ก็คงต้องกล่าวว่า ช่างฝีมอื ทุกแขนงนัน้ ไม่มวี นั ท�ำผิดพลาดได้ เพราะเมือ่ ไร ที่พวกเขาท�ำพลาด ความผิดพลาดนั้นๆก็ย่อมมิได้เกิดจากองค์ความรู้ ซึ่งท�ำให้พวก เขาถูกเรียกด้วยชื่อของช่างฝีมือแขนงนั้นๆแน่45 ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีปัญญาชนคนใด หรือช่างฝีมือแขนงไหน หรือผู้ปกครองคนใด ท�ำผิดพลาดได้ขณะก�ำลังปฏิบัติหน้าที่ ปกครองของตน ต่อให้ทุกๆคนจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า แพทย์หรือผู้ปกครองนั้น พลาดพลั้งได้อยู่เสมอก็ตาม ท่านเองก็ใช้วิธีคิดหลวมๆแบบนี้ในการพิจารณาค�ำ ตอบของข้าฯเมื่อครู่เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อมองอย่างละเอียดถี่ถ้วนถึงที่สุดแล้ว ค�ำตอบของข้าฯย่อมเป็นดังนี้ – ผู้ถืออ�ำนาจปกครองนั้น – ตราบใดเขายังด�ำรงตน อยู่ในฐานะของผู้ปกครอง – ย่อมไม่มีวันท�ำผิดพลาดได้ และย่อมไม่มีวันออกค�ำสั่ง ใดที่ขัดต่อผลประโยชน์สูงสุดของตนเองได้ และนี่ล่ะ คือสิ่งที่ผู้ใต้อาณัติจ�ำเป็นต้อง ปฏิบัติตาม เพราะฉะนั้น ดังที่ข้าฯได้กล่าวไปแล้วแต่ต้น ความเที่ยงธรรมจึงหมาย ถึงผลประโยชน์ของผู้แข็งแกร่งกว่า” “อ้อ! อย่างนี้เองสินะ ธราซิมาคัส” ข้าฯกล่าว “เจ้ามีทัศนะว่า ข้าฯก�ำลังใช้วิธีของ เพลโต : 27

[340d]

[341a]


[341b]

[341c]

[341d]

พวกพยานเท็จใช่ไหม?” “ก็ท่านท�ำอย่างนั้นจริงๆนี่” เขาพูด “นั่นก็คือเจ้าเห็นว่า ข้าฯตั้งค�ำถามเหล่านั้นขึ้น เพื่อจะให้ร้ายเจ้าในการสนทนา ครั้งนี้?” “ข้าฯไม่ได้เห็นว่า แต่ข้าฯรู้ดีเลยต่างหากล่ะ” เขาพูด “แต่นั่นก็ไม่ท�ำให้ท่านได้ ประโยชน์อะไรขึ้นมาหรอกนะ ข้าฯไม่มีวันยอมให้ท่านมาหลอกได้ง่ายๆ และจะไม่มี วันยอมให้ท่านมาใส่ร้ายกันเนียนๆอย่างนี้ได้ด้วย ข้าฯอยากจะรู้นัก ถ้าไม่มีลูกไม้ ตุกติกประเภทนี้ ท่านจะยังเอาชนะข้าฯในการถกเถียงด้วยตรรกะได้อยู่อีกไหม” “ข้าฯก็ไม่ได้ต้องการจะเอาชนะเจ้าเสียหน่อย พ่อคนเก่ง” ข้าฯกล่าว “เอาเป็น ว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เรื่องท�ำนองนี้เกิดขึ้นซ�้ำ เจ้าช่วยนิยามให้ชัดเจนอีกทีได้ไหม ว่า จริงๆแล้วความเที่ยงธรรมนั้น คือการที่ผู้อ่อนแอกว่า ต้องปฏิบัติตามผลประโยชน์ ของผู้แข็งแกร่งและผู้ถืออ�ำนาจปกครองในตรรกะลักษณะไหน? ในลักษณะทั่วๆไป หรือว่าลักษณะอันละเอียดลอออย่างที่เจ้าเพิ่งว่ามา?” “ข้าฯย่อมหมายถึงผู้ปกครองในความหมายอันละเอียดที่สุด” เขาพูด “เอาล่ะ แน่ จริงท่านลองใช้วิธีให้ร้ายอย่างพวกพยานเท็จกับข้าฯดูอีกทีสิ ข้าฯไม่ได้สนับสนุนนะ แต่ข้าฯรู้ว่าท่านท�ำไม่ได้หรอก” “แหม! เจ้าคิดว่าข้าฯบ้าบิ่นพอจะโกนขนพญาสิงห์เชียวหรือ?” ข้าฯพูด “คนอย่าง ข้าฯน่ะหรือ บ้าบิ่นพอจะเล่นบทพยานเท็จกับธราซิมาคัส?” “ก็ทา่ นเพิง่ ท�ำไปเมือ่ ตะกี”้ เขากล่าว “แต่กด็ ทู า่ จะไร้ความสามารถพอๆกันนัน่ ล่ะ” “พอได้แล้ว” ข้าฯพูด “ไหนเจ้าตอบข้าฯหน่อยซิว่า ในความหมายอย่างละเอียด ตามที่เจ้าว่ามาเนี่ย แพทย์คือผู้ท�ำหน้าที่หาเงินหรือผู้ท�ำหน้าที่ดูแลคนป่วย? ตอบ มาซิว่าคนไหนคือแพทย์?” “เขาก็ต้องเป็นผู้ดูแลรักษาคนป่วยสิ” เขาพูด “แล้วต้นหนเรือล่ะ? ต้นหนในความหมายอันถูกต้องนัน้ หมายถึงใคร? ลูกเรือหรือ ผู้ปกครองลูกเรือ?” “ผู้ปกครองลูกเรือ” “และถึงแม้วา่ เขาจะเป็นผูโ้ ดยสารคนหนึง่ บนเรือ แต่เราก็จะไม่บอกว่าเขาเป็นต้น หนโดยใช้สาเหตุนี้ กล่าวคือ เขาไม่ได้เป็นต้นหนเพียงเพราะเขาโดยสารมาบนเรือ แต่ 28 : รีพับลิก


เป็นเพราะศิลปะเฉพาะทางของเขาและอ�ำนาจปกครองลูกเรือต่างหาก ที่ท�ำให้เรา เรียกเขาว่าต้นหน” “ก็จริงตามนั้นนี่” เขาพูด “และทั้งแพทย์และต้นหนต่างก็ให้ผลประโยชน์แก่บางสิ่งเสมอ ใช่ไหม?” “แน่นอน” “และโดยธรรมชาติแล้ว” ข้าฯพูด “ศิลปะเฉพาะทางก็ยอ่ มมีเป้าหมายอยูท่ กี่ ารให้ ผลประโยชน์แก่บางสิ่งบางอย่างเสมอ?”46 “ใช่ มันย่อมมีเป้าหมายเช่นนั้นเสมอ” “แล้วศิลปะแต่ละแขนงเนี่ย นอกจากจะต้องฝึกฝนมันให้สมบูรณ์แบบที่สุดเท่า ที่จะเป็นไปได้แล้ว มันยังต้องการผลประโยชน์อื่นใดมาเติมเต็มตัวมันเองอีกไหม?” “หืม? ข้าฯไม่เข้าใจค�ำถามของท่าน” “ข้าฯหมายความว่าอย่างนี”้ ข้าฯพูด “สมมติถา้ เจ้าถามข้าว่า ‘ร่างกายของเรานัน้ มี ความสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้วหรือไม่ หรือว่ามันยังต้องการสิ่งอื่นใดมาเพิ่มเติมอีก’ ข้าฯ ก็จะตอบว่า ‘มันย่อมต้องการสิ่งอื่นมาเติมให้สมบูรณ์ เพราะร่างกายของเรานั้นย่อม มีความเลวร้ายบางประการซ่อนอยู่เสมอ มันไม่ได้สมบูรณ์ในตัวเอง และด้วยเหตุนี้ ศิลปะเฉพาะทางด้านการแพทย์จงึ ถือก�ำเนิดขึน้ เพือ่ มอบผลประโยชน์ให้แก่รา่ งกาย’ ข้าฯพูดถูกไหม ตามทัศนะของเจ้า?” “ท่านพูดถูก” เขาพูด “แล้วศิลปะทางการแพทย์โดยตัวของมันเองล่ะ มีความเลวร้ายอย่างที่ว่านี้ซ่อน อยู่เหมือนกันหรือเปล่า? ศิลปะเฉพาะทางทั้งหลายนั้นยังต้องการความดีงามใดมา เสริมเติมอีกหรือไม่? เหมือนดวงตาต้องการการมองเห็น หรือหูต้องการการได้ยิน ศิลปะเฉพาะทางเกิดขึ้นเพื่อค้นหาและส่งมอบผลประโยชน์ให้แก่สิ่งเหล่านี้ แล้ว ศิลปะเฉพาะทางโดยตัวของมันเองล่ะ มีความเลวร้ายใดซ่อนอยูใ่ นตัวด้วยหรือเปล่า? ศิลปะแต่ละแขนงยังต้องการศิลปะอืน่ ใดมาช่วยตามหาผลประโยชน์เพิม่ เติมแก่ตวั มัน ด้วยไหม? และศิลปะดังกล่าวนีย้ งั ต้องการศิลปะแขนงอืน่ ๆมาเติมเต็มตัวเองอีกทอด หนึ่งด้วยหรือเปล่า? ศิลปะแขนงหนึ่งเติมเต็มอีกแขนงหนึ่ง ต่อเนื่องยาวออกไปเรื่อย โดยไม่มีสิ้นสุดเลยน่ะหรือ? หรือว่าศิลปะแต่ละแขนงล้วนสร้างผลประโยชน์ขึ้นมา เติมเต็มตนเองได้? หรือว่ามันไม่ต้องการผลประโยชน์จากทั้งตัวเองและจากศิลปะ เพลโต : 29

[341e]

[342a]

[342b]


[342c]

[342d]

อื่นใดทั้งสิ้นมาแก้ไขความบกพร่องของตน? หรือจริงๆศิลปะทุกแขนงล้วนสมบูรณ์ อยูแ่ ล้ว ไม่มที งั้ ความบกพร่องหรือความผิดพลาด และสมควรจะน�ำมันมาใช้แสวงหา ผลประโยชน์แก่เป้าหมายเฉพาะทางของตนเท่านัน้ ? เพราะเมือ่ มันมีความถูกต้องใน ตัวเองอยูแ่ ล้ว ตราบใดมันยังคงความสมบูรณ์และความถีถ่ ว้ นในตัวเองเอาไว้ได้ มันก็ ย่อมไร้รอยด่างพร้อย ไร้ข้อผิดพลาด ถ้าเราได้พิจารณาด้วยความหมายโดยละเอียด อย่างที่เจ้าว่า มันจะได้ผลลัพธ์อย่างที่ข้าฯพูดมาหรือเปล่า?” “ก็คงต้องเป็นเช่นนั้น” เขาพูด “ถ้าอย่างนั้น” ข้าฯพูด “ศิลปะการแพทย์ก็ย่อมไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์แก่ตัว เอง มันแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ร่างกายต่างหาก?” “ใช่” เขาพูด “เช่นเดียวกัน ศิลปะการดูแลม้าย่อมไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์เพือ่ ตนเอง แต่เพือ่ ม้าต่างหากใช่ไหม? ด้วยเหตุนจี้ งึ ไม่มศี ลิ ปะแขนงใดแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตวั เอง เพราะมันไม่จำ� เป็นต้องมีอะไรมาเติมเต็มอีก มันเพียงแสวงหาผลผลประโยชน์แก่เป้า หมายเฉพาะทางของตนเท่านั้น อย่างนี้ใช่ไหม?” “ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น” เขากล่าว “กล่าวคือ ศิลปะทุกแขนงย่อมปกครองและมีอ�ำนาจเหนือเป้าหมายเฉพาะทาง ของตัวมัน ใช่ไหม ธราซิมาคัส?” เขาเปิดปากยอมรับอย่างไม่เต็มใจนัก “เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่มีองค์ความรู้47 ใดแสวงหาผลประโยชน์เพื่อขึ้นเป็นนาย เหนือตัวเอง มันมีแต่จะแสวงหาผลประโยชน์แก่ผู้อ่อนแอกว่าและอยู่ใต้อาณัติของ ตนเท่านั้น” เขาพยายามจะโต้แย้งข้อสรุปนีข้ องข้าฯให้ได้ แต่ในทีส่ ดุ เขาก็ตอ้ งยอมรับอยูด่ ี และ เมื่อเห็นว่าเขายอมรับแล้ว ข้าฯจึงกล่าวต่อไปอีกว่า “เมื่อเป็นเช่นนี้จึงแน่นอนว่า ไม่มีแพทย์คนใดแสวงหาผลประโยชน์แก่ตัวเอง ในฐานะแพทย์ เขาย่อมแสวงหาผลประโยชน์แก่คนไข้เท่านัน้ เพราะเราก็เห็นพ้องกัน ไปแล้วเมื่อครู่ว่า ในความหมายอันละเอียดถี่ถ้วนที่สุดนั้น แพทย์ต้องเป็นผู้ปกครอง ของร่างกาย ไม่ใช่คนท�ำมาหาเงิน48 ใช่ไหม?” เขายอมรับเช่นนั้น 30 : รีพับลิก


“และท�ำนองเดียวกัน ในความหมายอันละเอียดถี่ถ้วนที่สุดนั้น ต้นหนเรือก็ไม่ใช่ ลูกเรือ แต่เป็นผู้ปกครองของลูกเรือต่างหาก?” “อืม เราเห็นพ้องกันว่าอย่างนั้น” “ถ้าอย่างนัน้ ไม่วา่ จะเป็นต้นหน หรือเป็นนักปกครอง พวกเขาย่อมไม่มวี นั แสวงหา ผลประโยชน์เพือ่ ตัวเองเด็ดขาด พวกเขาจะแสวงหาเพียงผลประโยชน์เพือ่ ลูกเรือและ เพื่อผู้ใต้อาณัติของตนเท่านั้น” เขายอมรับโดยไม่เต็มใจเท่าไร “อ้าว! ธราซิมาคัส” ข้าฯพูด “เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ย่อมไม่มีผู้ด�ำรงต�ำแหน่งปกครอง คนใดแสวงหาผลประโยชน์แก่ตัวเองน่ะสิ เพราะในฐานะของผู้ปกครองแล้ว เขาย่อม แสวงหาแต่ผลประโยชน์ของผู้ใต้อาณัติ หรือผลประโยชน์ของเป้าหมายเฉพาะทาง ตามแนวทางที่ช่างฝีมือในสาขาเดียวกับเขาฝึกฝนกันเท่านั้น ทุกสิ่งที่เขาพูดออกมา ทุกอย่างที่เขาต้องมองหาและปฏิบัติ ทั้งหมดจะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม เพื่อผล ประโยชน์ของผู้อยู่ใต้อาณัติแต่เพียงอย่างเดียว” เมื่อการสนทนาของเราด�ำเนินมาถึงจุดนี้ มันก็เป็นที่แน่ชัดแก่ทุกฝ่ายแล้วว่า ตรรกะเกี่ยวกับความเที่ยงธรรมทุกข้อของธราซิมาคัสนั้นกลับกลายเป็นตรงกันข้าม ไปเสียหมด ทว่า แทนที่เขาจะให้ค�ำตอบอะไรออกมา เขากลับกล่าวว่า “โสคราตีส ท่านยังต้องให้แม่นมมาคอยประคบประหงมอยู่อีกหรือ หืม?” “อะไรกันอีกเล่า?” ข้าฯพูด “เจ้าน่าจะตอบค�ำถามข้าฯดีๆมากกว่าจะมาถามอะไร พรรค์นี้นะ” “นางยอมปล่อยให้ท่านออกมาวิ่งเล่นไปทั่ว หน�ำซ�้ำยังปล่อยให้ท่านขี้มูกเกรอะ กัง ไม่ยอมเช็ดล้างท�ำความสะอาดให้อีกต่างหาก” เขากล่าวต่อ “อ้อ! นี่คงเป็นเพราะ นางรู้ตัวว่าผิดที่ไม่เคยสอนท่านให้รู้จักแยกแยะความแตกต่างระหว่างฝูงแกะกับคน ดูแลแกะสินะ” “เจ้าพูดเรื่องอะไรกันนี่ ข้าฯไม่เห็นจะเข้าใจ” “ก็ท่านมันคิดเองเออเองว่า ทั้งคนเลี้ยงแกะและคนเลี้ยงวัวต่างก็แสวงหาคุณ ความดีให้แก่ฝูงแกะและฝูงวัวของตนเท่านั้น ขุนพวกมันให้อ้วน ดูแลพวกมันให้ เติบโตแข็งแรง มองหาสิ่งดีๆให้แก่พวกมัน โดยไม่สนใจตัวเอง และไม่สนใจว่าก�ำลัง อยูใ่ ต้อาณัตขิ องใคร ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงหลงเชือ่ ต่อไปอีกว่า ผูถ้ อื อ�ำนาจปกครองของ เพลโต : 31

[342e]

[343a]

[343b]


[343c]

[343d]

[343e]

[344a]

เมืองต่างๆ – โดยเฉพาะผู้ปกครองอันจริงแท้ – ย่อมต้องค�ำนึงถึงผู้ใต้อาณัติของตน คนละวิธีกับที่คนทั่วไปคิดถึงเนื้อแกะ กล่าวคือ เขาจะคะนึงถึงแต่ผลประโยชน์ของผู้ ใต้ปกครองอยู่ทุกเช้าค�่ำ โดยมิได้สนใจผลประโยชน์ของตนเองเลยแม้แต่น้อย อันที่ จริง ท่านไม่ได้เข้าใจอะไรเกี่ยวกับคนเที่ยงธรรมหรือความเที่ยงธรรมเลย เช่นเดียว กับคนไม่เที่ยงธรรมและความไม่เที่ยงธรรม ท่านไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับมันเลยแม้แต่ น้อย ท่านไม่เคยคิดจะท�ำความเข้าใจว่า แท้จริงแล้วความเที่ยงธรรมนั้น มันก็คือ ผลประโยชน์ของผู้ปกครอง ผู้แข็งแกร่งกว่าคนอื่น มันเป็นคุณความดีของคนที่ต่าง จากพวก49 นอกจากนั้น ผลเสียหายทั้งหลายทั้งปวงยังไปตกอยู่กับบรรดาผู้รับใช้ และผู้ใต้บัญชาโดยตรงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ความไม่เที่ยงธรรมนั้นกลับให้ผลตรง กันข้าม มันถืออ�ำนาจปกครองเหนือผู้เที่ยงธรรมผู้มีความคิดเรียบง่ายอยู่เสมอ ผู้ใต้ อาณัติของมันต้องกระท�ำแต่สิ่งซึ่งก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ผู้แข็งแกร่งกว่า พวกเขา ต้องมอบความสุขสมบูรณ์ให้แก่นายเหนือหัวของตัวอยู่ตลอดเวลา โดยมิอาจคะนึง ถึงตนเองได้เลย ท่านต้องมองมันอย่างนีน้ ะ โสคราตีส อย่าคิดอะไรตืน้ ๆ บุรษุ ผูเ้ ทีย่ ง ธรรมย่อมได้รับประโยชน์น้อยกว่าคนไม่เที่ยงธรรมเสมอ ตัวอย่างแรกเลยนะ ท่าน จะเห็นว่า ในการท�ำสัญญาใดๆก็ตาม เมื่อความเป็นหุ้นส่วนนั้นสิ้นสุดลง คนเที่ยง ธรรมจะไม่มีวันได้ก�ำไรมากกว่าคนไม่เที่ยงธรรมหรอก มันมีแต่จะได้น้อยกว่าทั้งนั้น เอ้า! ตัวอย่างที่สอง เรื่องการบ้านการเมือง เมื่อถึงเวลาต้องจ่ายภาษีแก่กองทัพ คน เที่ยงธรรมก็มักจะต้องจ่ายมากกว่าคนไม่เที่ยงธรรมทั้งนั้น ทั้งๆที่ทั้งสองครอบครอง ทรัพย์สินพอๆกัน แต่เวลามีการคืนภาษีนะ คนเที่ยงธรรมก็มักจะไม่ได้คืนมาเลยสัก แดงเดียว ในขณะทีค่ นไม่เทีย่ งธรรมมักท�ำก�ำไรได้เป็นกอบเป็นก�ำ และตัวอย่างสุดท้าย เมือ่ ถึงเวลาทีพ่ วกเขาได้ดำ� รงต�ำแหน่งปกครองใดๆก็ตาม คนเทีย่ งธรรมก็มกั จะพบว่า สถานะทางการเงินของตัวเองนั้นร่อยหรอลงเรื่อยๆ50 เพราะเขาไม่มีเวลาจะไปใส่ใจ มัน ต่อให้เขาไม่เคยต้องโทษอะไรในหน้าที่เลยก็ตาม นอกจากนี้ สืบเนื่องจากการที่ เขาเป็นคนเที่ยงธรรมมากเหลือเกิน เขาก็เลยไม่ได้รับผลประโยชน์อะไรเลยจากเงิน กองคลัง และเผลอๆยังจะถูกญาติพี่น้องและคนรู้จักเกลียดชังเอาอีกด้วย เพราะไม่ ยอมกระท�ำเรื่องไม่เที่ยงธรรมเสียบ้าง แต่แน่นอนล่ะว่า ในกรณีของคนไม่เที่ยงธรรม นั้น เหตุการณ์ทั้งหมดย่อมเป็นไปในทางตรงข้าม ข้าฯจะขอย�้ำอีกทีนะ ‘ผู้มีอ�ำนาจ มากกว่า ย่อมได้มากกว่า’ ท่านลองพิจารณาดูดีๆสิ ท่านจะเห็นว่าคนไม่เที่ยงธรรม 32 : รีพับลิก


ได้ผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าคนเที่ยงธรรมเป็นไหนๆ และถ้าท่านลองคิดจากมุม ของความไม่เทีย่ งธรรมอย่างสมบูรณ์ดู ท่านก็จะเข้าใจอะไรๆได้งา่ ยขึน้ ท่านจะเข้าใจ ว่าเพราะเหตุใดคนไม่เที่ยงธรรมจึงเป็นคนที่มีความสุขสมบูรณ์ที่สุด และเพราะเหตุ ใดผู้ไม่ยินยอมกระท�ำเรื่องไม่เที่ยงธรรมจึงต้องพบแต่ความทุกข์โดยสมบูรณ์เท่านั้น ใช่แล้ว ข้าฯก�ำลังพูดถึงทุชนาธิปไตยนั่นล่ะ ทรราชสามารถฉกฉวยและบีบบังคับเอา สินทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสามานย์ ของส่วนตัว หรือสาธารณะ ซ�้ำยังไม่ได้ฉวยมาทีละอย่างสองอย่างด้วยนะ หากแต่ยึดเอามาได้ ทัง้ หมดในคราวเดียว จริงอยูว่ า่ ถ้าใครสักคนหนึง่ ก่อความไม่เทีย่ งธรรมแล้วถูกจับได้ เขาย่อมโดนลงโทษและถูกหยามเหยียดอย่างสาหัส คนประเภทนี้มักเป็นพวกปล้น วิหาร โจรลักพาตัว นักชิงทรัพย์ โจรงัดแงะ และพวกลักเล็กขโมยน้อยทั้งนั้น และ เราก็เรียกคนชั่วร้ายเหล่านี้ว่าเป็นคนไม่เที่ยงธรรมแต่เพียงกึ่งเดียวเท่านั้น ทว่า ท่าน ลองคิดถึงคนอีกประเภทหนึง่ ซึง่ นอกจากจะเอาทรัพย์สมบัตขิ องผูอ้ นื่ มาเป็นของตน ได้แล้ว เขายังลอบลักพาตัวและตีตรวนพลเมืองทัง้ หลายให้กลายเป็นทาสอีกด้วย แต่ แทนทีเ่ ขาจะถูกเหยียดหยาม เขากลับได้รบั การเรียกขานว่าเป็นคนมีความสุขสมบูรณ์ และได้รับพรจากเทพเจ้า ไม่เพียงจากพลเมืองของตนเท่านั้น แต่ยังมาจากผู้ที่ได้ยิน ได้ฟังกิตติศักดิ์ของความไม่เที่ยงธรรมอันสมบูรณ์แบบนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม ส่วนคน ที่เหยียดหยามความไม่เที่ยงธรรมนั้น ย่อมมิใช่คนไม่กล้ากระท�ำไม่เที่ยงธรรม หาก แต่เป็นคนที่จ�ำต้องทุกข์ทรมานจากมันต่างหาก เป็นอย่างไรล่ะ โสคราตีส ท่านก็เห็น แล้วว่า ความเที่ยงธรรมนั้น หากมันปรากฏขึ้นมาได้บนฐานอันมั่นคงเพียงพอ มันก็ ย่อมแข็งแกร่งกว่า เสรีกว่า และมีความเป็นผูน้ ำ� เหนือกว่าความเทีย่ งธรรมเป็นไหนๆ และอย่างทีข่ า้ ฯได้กล่าวไปแล้วเมือ่ ตอนต้น ความเทีย่ งธรรมก็คอื ผลประโยชน์ของผูท้ ี่ แข็งแกร่งกว่า ส่วนความไม่เทีย่ งธรรมนัน้ ก็คอื สิง่ ซึง่ จะสร้างผลประโยชน์และผลก�ำไร ทั้งหลายแหล่แก่เรานั่นเอง” ธราซิมาคัสได้ราดรดตรรกะสารพันของเขา กรอกลงในหูของพวกเรารวดเดียวจบ เหมือนพวกพนักงานในโรงอาบน�้ำไม่มีผิด51 เมื่อพูดจบ เขาก็ประสงค์จะเดินจากไป แต่ผู้คนรอบๆกลับไม่ยอมและรั้งตัวเขาไว้ เพื่อให้เขากล่าวขยายความสิ่งที่เพิ่งพูดไป ให้ได้ฟังก่อน ข้าฯเองก็ร้องขอให้เขาอยู่ต่อเช่นกัน ข้าฯกล่าวว่า “โธ่! ธราซิมาคัส พ่อคนฉลาด เจ้าเป็นคนโยนตรรกะพวกนีใ้ ส่พวกเราเองแท้ๆ แต่ เพลโต : 33

[344b]

[344c]

[344d]


[344e]

[345a]

[345b]

[345c]

กลับคิดจะจากไปทัง้ ๆทีย่ งั ไม่ได้สงั่ สอนอะไรแก่พวกเราอย่างเป็นชิน้ เป็นอัน และก็ยงั ไม่ได้พสิ จู น์กนั เลยด้วยซ�ำ้ ว่ามันถูกหรือผิด เจ้าเห็นว่า การตัดสินว่าการใช้ชวี ติ แบบใด จึงจะมีคุณค่าสูงสุดแก่ด�ำรงอยู่นั้นเป็นเรื่องเล่นๆหรือ?” “ท่านคิดว่าข้าฯเห็นเช่นนั้นหรือ?” ธราซิมาคัสพูด “ก็มันดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้นจริงๆนี่” ข้าฯพูด “หรือถ้ามันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เจ้าก็คงไม่สนใจอะไรกับมันเลย ไม่รสู้ กึ กังวลใจอะไรด้วยซ�ำ้ กระมัง ว่าถ้าเกิดพวกเรา ยังหลงงมงายในความไม่รู้ และไม่ยอมน�ำเอาสิ่งซึ่งเจ้าอ้างว่ารู้มาใช้ ชีวิตของพวกเรา จะดีขึ้นหรือไม่ หรือว่าจะแย่ลง โธ่ถัง! คนดีของข้าฯ เจ้าควรแสดงความประสงค์จะ ชี้แนะออกมาบ้าง การให้ค�ำแนะน�ำดีๆแก่คนจ�ำนวนไม่น้อยตรงนี้คงไม่เลวร้ายถึงขั้น ท�ำให้เจ้าต้องขาดทุนหรอกน่า แต่ส�ำหรับข้าฯนะ ข้าฯบอกเจ้าไว้เลย เจ้ายังโน้มน้าว ข้าฯไม่ได้หรอก ข้าฯไม่เชื่อหรอกว่าความไม่เที่ยงธรรมจะให้ประโยชน์มากกว่าความ เที่ยงธรรม ต่อให้เราปล่อยให้มันกุมอ�ำนาจอย่างเสรี โดยไม่มีอุปสรรคกีดขวางใดๆ เลยก็ตาม คนดีของข้าฯ สมมติว่ามีคนไม่เที่ยงธรรมอย่างสมบูรณ์อยู่คนหนึ่ง และ สมมติวา่ เขามีอำ� นาจจะก่อความเทีย่ งธรรมได้อย่างอิสระ ไม่วา่ จะเป็นการหลอกหลวง หรือการเปิดสงคราม ต่อให้ถึงขั้นนั้นนะ คนๆนี้ก็ยังไม่มีทางโน้มน้าวข้าฯได้หรอกว่า ความไม่เทีย่ งธรรมนัน้ ก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าความเทีย่ งธรรม บางทีคนอืน่ ๆใน ที่นี้ก็อาจจะรู้สึกเช่นเดียวกันกับข้าฯก็ได้นะ เจ้าจะว่าอย่างไรล่ะ เอาเลยสิ พ่อคนเก่ง ลองโน้มน้าวพวกเราดู ท�ำให้พวกเราเปลีย่ นใจมาคิดว่าตัวเองผิด ทีไ่ ปนิยมชมชืน่ ชีวติ ที่เที่ยงธรรมมากกว่าชีวิตที่ไม่เที่ยงธรรม” “เฮอะ! ข้าฯจะไปโน้มน้าวท่านได้อย่างไร” เขากล่าว “ในเมื่อข้าฯพูดไปถึงขนาด นั้นแล้ว แต่ก็ยังเปลี่ยนใจท่านไม่ได้ ข้าฯจะท�ำอะไรได้อีกล่ะ? หรือจะต้องให้ข้าฯอุ้ม ท่านขึ้นมาป้อน52ตรรกะพวกนี้ลงไปในจิตวิญญาณโดยตรง?” “โอ๊ย! ในนามของเทพซุส ไม่ต้องเลย” ข้าฯพูด “เรามาพูดถึงเรื่องของเจ้ากันก่อน ดีกว่า หลังจากนั้นถ้าเจ้าต้องการจะเปลี่ยนจุดยืนของตัวเอง ก็ขอให้ท�ำโดยเปิดเผย และอย่าได้เล่นตุกติกกับพวกเราอีก เอาล่ะ ธราซิมาคัส เรามาตรวจสอบสิ่งที่เจ้า พูดกันดูอีกที เจ้าเริ่มจากการเสนอว่า นิยามของแพทย์อันจริงแท้นั้นเป็นอย่างไร53 แต่ต่อมาเจ้ากลับไม่ได้รักษาความเคร่งครัดในการนิยามคนดูแลแกะอันจริงแท้ด้วย ความละเอียดลออเสียเท่าไร เจ้ากลับมองว่า ตราบใดเขายังคงเป็นคนเลี้ยงแกะ 34 : รีพับลิก


เขาก็ตอ้ งขุนแกะให้อว้ น แต่นนั่ ไม่ได้เป็นไปเพือ่ ฝูงแกะแต่อย่างใด เขาดูแลแกะของตน อย่างดีทสี่ ดุ ก็เพือ่ จะเอาไปท�ำอาหารให้แขกได้ลมิ้ รสกันในงานเลีย้ ง หรือไม่กเ็ พือ่ เอา ไปขาย และนัน่ ก็จะท�ำให้เขากลายเป็นคนค้าขายแทนทีจ่ ะเป็นคนเลีย้ งแกะ แต่จริงๆ แล้ว ศิลปะการดูแลแกะนัน้ ย่อมมิได้คำ� นึงถึงสิง่ ใดนอกเหนือไปจากความเป็นเลิศของ เป้าหมายเฉพาะทาง ซึ่งเป็นเหตุให้มนั ต้องถือก�ำเนิดขึน้ มาเลย และแน่นอนว่าศิลปะ การเลี้ยงแกะนั้น จะมีความสมบูรณ์ในตัวเองได้ก็ต่อเมื่อเงื่อนไขทุกประการเกี่ยวกับ การดูแลแกะได้รบั การปฏิบตั แิ ล้วอย่างครบถ้วน ไม่ขาดตกบกพร่อง นีค่ อื สาเหตุทขี่ า้ ฯ เห็นว่าเราจ�ำเป็นต้องเห็นพ้องต้องกันก่อน ว่าการปกครองทุกชนิดนัน้ – ตราบใดทีม่ นั ยังถูกน�ำมาใช้ในฐานะของการปกครอง – มันย่อมแสวงหาเพียงความเป็นเลิศแก่ผอู้ ยู่ ใต้การดูแลและใต้การปกครองเท่านัน้ ไม่วา่ จะเป็นการปกครองทางการเมืองหรือเรือ่ ง ส่วนตัวก็ตาม เจ้าคิดว่าบรรดาผู้ปกครองของเมืองต่างๆ – เอาเฉพาะผู้ปกครองอัน จริงแท้เท่านั้นนะ –ปกครองบ้านเมืองของตนด้วยความเต็มใจหรือเปล่าล่ะ?” “‘คิดว่า’ อย่างนั้นหรือ?” เขากล่าว “ในนามของเทพซุส! ข้าฯไม่ได้คิด แต่ข้าฯรู้ว่า มันต้องเป็นอย่างนั้นแน่อยู่แล้ว” “แล้วถ้าเป็นการปกครองชนิดอืน่ ๆล่ะ ธราซิมาคัส?” ข้าฯพูด “เจ้าไม่สงั เกตบ้างเลย หรือว่า ไม่มใี ครเขาอยากจะปกครองสิง่ ใดโดยสมัครใจหรอก คนเหล่านัน้ ต่างก็อยากได้ ค่าแรงกันทัง้ นัน้ แต่ถงึ อย่างนัน้ ก็ยงั ท�ำตัวราวกับว่าผลประโยชน์จากการปกครองนัน้ ๆ ไม่ได้ตกอยู่กับตนเองเลย หากแต่อยู่กับผู้ใต้ปกครองต่างหาก ไหนเจ้าลองตอบข้าฯซิ ศิลปะเฉพาะทางแต่ละแขนงย่อมแตกต่างกัน เพราะมันให้อ�ำนาจ54ที่แตกต่างกัน แก่ผู้ฝึกฝนมันใช่ไหม? ตอบอย่างตรงไปตรงมาตามทัศนะของตัวเจ้าเองนะ พวกเรา จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเสียที” “ใช่” เขาพูด “มันต่างกันตรงนั้น” “และศิลปะเฉพาะทางแต่ละแขนงก็ให้ประโยชน์แก่เราในลักษณะเฉพาะตัวของ มันเอง ไม่มศี ลิ ปะแขนงไหนให้อะไรร่วมกันกับศิลปะแขนงๆอืน่ ๆทัง้ หมด ยกตัวอย่าง เช่น ศิลปะการแพทย์ให้ประโยชน์ด้านสุขภาพ ศิลปะการเดินเรือให้ประโยชน์ด้าน ความปลอดภัยในการโดยสารเรือ และศิลปะแขนงอื่นๆก็เป็นลักษณะเดียวกันนี้?” “ใช่แล้ว” “งั้นศิลปะการรับค่าแรง55ก็ต้องให้ประโยชน์เป็นค่าแรงใช่ไหม? เพราะนั่นคือ เพลโต : 35

[345d]

[345e]

[346a]

[346b]


[346c]

[346d]

อ�ำนาจของมัน หรือยังไง? หรือเจ้าจะบอกว่าศิลปะการแพทย์กับศิลปะการเดินเรือ นัน้ ไม่ตา่ งกัน? ถ้าเจ้าต้องการจะนิยามมันโดยละเอียดอย่างทีไ่ ด้พดู ไว้ ต่อให้มตี น้ หน คนไหนสุขภาพดีขนึ้ มาได้จากการแล่นเรือ และการท่องนาวานัน้ ก็ให้ผลประโยชน์แก่ ร่างกายของเขาจริงๆ เจ้าก็คงจะไม่อา้ งว่า ศิลปะซึง่ เขาฝึกปรือมานัน้ คือศิลปะทางการ แพทย์หรอกใช่ไหม?” “อืม ข้าฯไม่อ้างอย่างนั้นแน่” เขาพูด “และข้าฯก็เห็นว่า เจ้าคงไม่เรียกศิลปะการรับค่าแรงว่าเป็นอย่างเดียวกันกับการ แพทย์ ต่อมีใครบางคนสุขภาพดีขึ้นเพราะได้ค่าแรงก็ตาม?” “อืม ข้าฯไม่พูดเช่นนั้นหรอก” เขากล่าว “และเจ้าก็จะไม่เรียกการแพทย์ว่าเป็นอย่างเดียวกับศิลปะการรับค่าแรงด้วย ต่อ ให้มีใครบางคนได้รับค่าแรงจากการรักษาคนไข้?” เขายอมรับว่าตัวเองจะไม่พูดอย่างนั้นแน่ “งั้นเราก็เห็นตรงกันแล้วสินะว่า ศิลปะแต่ละแขนงย่อมสร้างประโยชน์เฉพาะตัว ของตนเองน่ะ?” “อืม มันก็คงต้องเป็นเช่นนั้นแหละ” “ดังนั้น ถ้ามีผลประโยชน์ใดที่ช่างฝีมือแขนงต่างๆได้รับร่วมกัน มันก็ต้องเป็นผล มาจากการฝึกฝนศิลปะอีกแขนงหนึ่งเพิ่มเติมเข้าไป จึงจะท�ำให้พวกเขาเหล่านั้นดึง เอาประโยชน์ออกมาจากศิลปะแขนงนั้นๆร่วมกันได้?” “ก็ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น” เขากล่าว “และศิลปะเพิม่ เติมทีเ่ ราก�ำลังพูดถึงกันอยูน่ ี้ มันก็ศลิ ปะด้านการรับค่าแรงนัน่ เอง ด้วยเหตุนี้ช่างฝีมือแขนงต่างๆจึงได้รับประโยชน์จากการได้รับค่าแรงเหมือนกัน ใช่ หรือเปล่า?” เขายอมรับอย่างไม่เต็มใจนัก “เมื่อเป็นเช่นนี้ผลประโยชน์จากการได้รับค่าแรงจึงไม่ได้มาจากศิลปะเฉพาะทาง ที่พวกเขาแต่ละคนช�ำนาญ ถ้าเราพิจารณาเรื่องนี้ด้วยความละเอียดถี่ถ้วน เราก็จะ เห็นว่า ศิลปะการแพทย์นั้นให้สุขภาพ และต่อจากนั้นศิลปะการรับค่าแรงก็จะให้ ค่าแรงตามมา และเช่นเดียวกัน ศิลปะการสร้างบ้านย่อมให้บ้าน และศิลปะการรับ ค่าแรงก็จะให้ค่าแรงไปด้วย ควบคู่กันไป ศิลปะแขนงอื่นๆอีกมากมายก็เป็นไปใน 36 : รีพับลิก


ลักษณะนี้ ศิลปะแต่ละแขนงจึงท�ำหน้าทีแ่ ละให้ประโยชน์แต่กบั เป้าหมายเฉพาะของ ตนเท่านัน้ ด้วยเหตุนี้ ถ้าค่าแรงไม่ได้ถกู เพิม่ เข้าไป ช่างฝีมอื คนหนึง่ จะได้รบั อะไรจาก ศิลปะการรับค่าแรงหรือไม่?” “ก็คงจะไม่ได้” เขากล่าว “งั้นถ้าเขาท�ำหน้าที่ของตนโดยไม่หวังผลตอบแทนใดเลย เขาก็ย่อมไม่ได้รับผล ประโยชน์ใดๆตอบแทนเลยเช่นกัน?” “ข้าฯก็ว่าอย่างนั้น” “เมื่อเป็นเช่นนี้ มันก็คงชัดเจนแล้วสินะ ธราซิมาคัส ไม่มีศิลปะแขนงไหนหรือการ ปกครองชนิดใดให้ผลประโยชน์แก่ตัวมันเอง (และเราก็พูดเรื่องนี้กันมาได้สักพักแล้ว ด้วย) มันมีแต่จะออกค�ำสัง่ โดยคะนึงถึงแต่ผลประโยชน์ของผูใ้ ต้อาณัตเิ ท่านัน้ ซึง่ นัน่ ก็ คือผูอ้ อ่ นแอกว่า ไม่ใช่ผแู้ ข็งแกร่งกว่าเป็นแน่ ธราซิมาคัสทีร่ กั และนีก่ ค็ อื สาเหตุทเี่ มือ่ ตะกี้ข้าฯกล่าวว่า ไม่มีใครหรอก จะเลือกปกครองและรับปัญหาของผู้อื่นเข้ามาไว้ใน มือโดยสมัครใจ คนเหล่านั้นท�ำไปเพื่อค่าแรงทั้งนั้น เพราะผู้ประสงค์จะฝึกฝนศิลปะ ของตนจนเกิดความเป็นเลิศ ย่อมไม่ยอมกระท�ำการใดหรือออกค�ำสัง่ ใดเพือ่ แสวงหา สิง่ ทีด่ ที สี่ ดุ แก่ตวั เองแน่ ตราบใดทีก่ ารกระท�ำของเขายังถูกขับเคลือ่ นด้วยค�ำบัญชาจาก ศิลปะของตน เขาก็จะแสวงหาเพียงสิ่งซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้ใต้อาณัติของตนเท่านั้น และมันก็ดเู หมือนว่าจะเป็นเพราะเหตุนเี้ อง ทีเ่ รายังต้องจ่ายค่าตอบแทนเพือ่ จูงใจคน ให้เข้ามาถืออ�ำนาจปกครองด้วยใจสมัคร ไม่วา่ ค่าตอบแทนดังกล่าวจะจ่ายในรูปของ เงินทอง เกียรติยศ หรือโทษทัณฑ์ หากเขาปฏิเสธจะรับต�ำแหน่งปกครองนั้นก็ตาม” “ท่านหมายความว่าอย่างไรหรือ โสคราตีส?” กลาวคอนพูดขึน้ “ค่าแรงสองอย่าง แรกน่ะข้าฯพอเข้าใจได้ แต่คา่ ตอบแทนทีจ่ า่ ยเป็นโทษทัณฑ์นขี่ า้ ฯไม่เข้าใจ ท่านหมาย ถึงอะไร และท�ำไมท่านถึงจัดมันไว้เป็นค่าแรงชนิดหนึ่งด้วยล่ะ?” “อืม เจ้าคงไม่เคยได้ยินค�ำว่า ‘ค่าตอบแทนของผู้เป็นเลิศ’ สินะ” ข้าฯกล่าว “ผู้มี คุณสมบัตเิ หมาะสมทัง้ หลายนัน้ เข้ามารับต�ำแหน่งปกครองและท�ำหน้าทีป่ กครองโดย สมัครใจได้ ก็เพราะมันนีแ่ หละ หรือเจ้าไม่รวู้ า่ ตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั ผูค้ นทัง้ หลาย นั้นมักดูแคลนความรักในเงินทองกับความรักในเกียรติยศอยู่เสมอ” “ใช่ ข้าฯรู้” เขาพูด “ด้วยเหตุนี้” ข้าฯกล่าว “คนดีจึงมักไม่ค่อยเต็มใจจะปกครองเพื่อเงินทองหรือ เพลโต : 37

[346e]

[347a]

[347b]


[347c]

[347d]

[347e]

[348a]

เกียรติยศ พวกเขาไม่อยากให้ใครมาเรียกตัวเองว่าลูกจ้างหรือโจร จึงมักไม่หวังค่าแรง เป็นเงินทองจากการท�ำหน้าที่ปกครอง ไม่ว่าจะแบบเปิดเผยหรือแบบใต้โต๊ะ และ พวกเขาก็ไม่อยากได้ชื่อเสียงเกียรติยศจากการปกครองด้วยเช่นเดียวกัน และนั่นก็ เป็นเพราะพวกเขาไม่ใช่ผู้รักในเกียรติยศ ดังนั้น หากต้องการจะท�ำให้คนประเภทนี้ เข้ามารับต�ำแหน่งปกครองโดยสมัครใจได้ เราก็ต้องเพิ่มความจ�ำเป็นและโทษทัณฑ์ บางประการเข้าไป และแน่นอน โทษทัณฑ์ที่ร้ายแรงที่สุดส�ำหรับพวกเขา – หากไม่ ยอมรับหน้าที่ปกครองด้วยตัวเอง – ก็คือ การต้องอยู่ใต้อาณัติของคนที่เลวร้ายกว่า ตนนัน่ เอง และนีก่ เ็ ป็นสาเหตุทที่ ำ� ให้ การขวนขวายจะขึน้ ไปนัง่ เก้าอีป้ กครองให้ได้โดย ไม่มีความจ�ำเป็นใดๆ บีบคั้นก่อนนั้น มักดูเป็นเรื่องน่าละอาย ข้าฯว่า ความกลัวจะ ตกต้องตกอยูใ่ นสถานการณ์เช่นนัน้ นัน่ เอง เป็นแรงผลักดันให้ผมู้ คี ณ ุ สมบัตเิ หมาะสม ต้องลุกขึ้นมารับหน้าทีป่ กครองเมือ่ มีโอกาส ซึง่ แน่นอนล่ะว่า พวกเขาจะไม่รบั หน้าที่ นี้เพราะหวังคุณความดีแก่ตัวเอง หรือเพราะหวังความก้าวหน้า พวกเขารับหน้าที่นี้ เพราะความจ�ำเป็นบีบบังคับ เนื่องจากไม่สามารถฝากความหวังให้แก่ใครที่ดีไปกว่า ตน หรือดีเท่ากับตนได้อกี ถ้าเมืองของคนดีอย่างทีว่ า่ นีเ้ กิดขึน้ มาได้จริงล่ะก็ พวกชาว เมืองก็คงจะทะเลาะกันด้วยเหตุว่าตนนั้นไม่อยากขึ้นไปถืออ�ำนาจปกครอง และก็คง ต่างจากบ้านเมืองเราทุกวันนีท้ คี่ นทะเลาะกันเพียงเพราะอยากได้อำ� นาจปกครอง ทีนี้ เจ้าคงเข้าใจแล้วกระมัง ว่าโดยธรรมชาติแล้วนัน้ ผูป้ กครองอันจริงแท้ยอ่ มแสวงเพียง ผลประโยชน์ของผู้ใต้อาณัติ ไม่ใช่ผลประโยชน์ส่วนตน และเพราะรู้อย่างนี้นี่เอง คน ส่วนใหญ่จงึ เลือกจะเป็นฝ่ายรับประโยชน์มากกว่าจะเป็นฝ่ายให้ประโยชน์ดว้ ยการเอา ปัญหาของผู้อื่นมาเป็นของตน ดังนั้น ข้าฯจึงไม่เห็นด้วยกับธราซิมาคัสอย่างเด็ดขาด ข้าฯไม่ยอมรับว่าความเทีย่ งธรรมคือผลประโยชน์ของผูแ้ ข็งแกร่งกว่า แต่เรือ่ งนีเ้ อาไว้ ค่อยว่ากันใหม่ครั้งหน้านะ เพราะตามทัศนะของข้าฯ ข้าฯว่าสิ่งที่ธราซิมาคัสเพิ่งพูด มานัน้ ดูจะมีความส�ำคัญใหญ่หลวงกว่ามาก เขาบอกเราว่า วิถชี วี ติ ของผูไ้ ม่เทีย่ งธรรม ย่อมแข็งแกร่งกว่าวิถีชีวิตของผู้เที่ยงธรรมเสมอ เอาล่ะ กลาวคอน” ข้าฯพูด “ตาม ทัศนะของเจ้าแล้ว ตรรกะข้างไหนมีความจริงแท้มากกว่ากัน?” “ข้าฯย่อมเลือกชีวิตของผู้เที่ยงธรรม เพราะมันต้องให้ผลประโยชน์มากกว่า อยู่แล้ว” “เจ้าได้ยินคุณความดีต่างๆนาๆของชีวิตอันไม่เที่ยงธรรม” ข้าฯกล่าว “ดังที่ 38 : รีพับลิก


ธราซิมาคัสได้ไล่ให้เราฟังเมื่อตะกี้หรือเปล่า?” “ข้าฯได้ยิน” เขาพูด “แต่ยังไม่รู้สึกว่ามันจะโน้มน้าวข้าฯได้” “ถ้าอย่างนั้นเจ้าอยากให้พวกเราเปลี่ยนเป็นฝ่ายโน้มน้าวเขาดูบ้างไหม?” ข้าฯ พูด “เผื่อเขาอาจจะค้นพบได้บ้างว่า สิ่งที่เขาพูดมานั้นไม่ได้เข้าใกล้ความจริงตามที่ มันเป็นเลย” “ก็แล้วท�ำไมข้าฯจะไม่อยากล่ะ?” เขากล่าว “งั้นถ้าเราอยากจะฉะกับเขารวดเดียวชนิดตรรกะต่อตรรกะ” ข้าฯพูด “เราก็อาจ จะเริ่มต้นด้วยการบอกเขาถึงคุณความดีต่างๆของการเป็นคนเที่ยงธรรมก่อน จาก นั้นก็เปลี่ยนให้เขาเป็นฝ่ายแย้งบ้าง และท้ายที่สุดก็ให้เราแย้งเขาอีกรอบหนึ่ง ถ้าท�ำ ตามนี้ได้ เราย่อมนับและเปรียบเทียบคุณความดีแต่ละข้อในตรรกะของแต่ละฝ่าย ได้ ว่ามีจ�ำนวนมากน้อยต่างกันเท่าไร ต่อจากนั้น เราก็จัดตั้งฝ่ายตัดสินความขึ้นมา เป็นขั้นตอนสุดท้าย56 อืม... แต่ถ้าเราใช้วิธีสร้างความเห็นพ้องจากสองฝ่าย – ซึ่งนั่น ก็วิธีการเดิมเหมือนที่ผ่านมา – เราก็จะได้เป็นทั้งฝ่ายแก้ต่างและฝ่ายตัดสินความไป ได้ด้วยในเวลาเดียวกัน” “แน่นอนที่สุด” เขากล่าว “แล้วเจ้าชอบวิธีไหนมากกว่ากันล่ะ?” ข้าฯพูด “ข้าฯชอบวิธีหลัง” เขากล่าว “เอาล่ะ ธราซิมาคัส” ข้าฯพูด “เจ้าช่วยตอบพวกเราใหม่ตั้งแต่ต้นเลยนะ เจ้าบอก ว่า ความไม่เที่ยงธรรมโดยสมบูรณ์นั้นให้ผลประโยชน์มากกว่าความเที่ยงธรรมโดย สมบูรณ์ใช่ไหม?” “ใช่ ข้าฯพูดว่าอย่างนั้น” ธราซิมาคัสกล่าว “และข้าฯก็บอกสาเหตุไปแล้วด้วย” “อืม แล้วถ้าข้าฯพูดถึงมันในมุมนี้ล่ะ? หนึ่งในสองด้านนั้น ด้านหนึ่งย่อมเป็น ความดีงาม ส่วนอีกด้านเป็นความเลวทราม เจ้าก็เห็นอย่างนี้ใช่ไหม?” “แน่นอน” “และเจ้าจะเรียกความเที่ยงธรรมเป็นความดีงาม และความไม่เที่ยงธรรมเป็น ความเลวทรามด้วยหรือเปล่า?” “โอ้! ท่านช่างเป็นคนน่าคบจริงๆ” เขาพูด “มันเป็นเช่นนัน้ หรือ? ก็ในเมือ่ ข้าฯเพิง่ จะ บอกไปอยูห่ ยกๆว่า ความไม่เทีย่ งธรรมต่างหากให้ผลประโยชน์ ส่วนความเทีย่ งธรรม เพลโต : 39

[348b]

[348c]


[348d]

[348e]

[349a]

นั้นไม่ได้ให้อะไรเลย” “แล้วไง?” “มันก็ตรงกันข้ามกับที่ท่านพูดมาน่ะสิ” เขากล่าว “งั้นความเที่ยงธรรมก็จัดเป็นความเลวทราม?” “เปล่า ข้าฯเรียกมันว่าความใสซื่ออันสูงส่งต่างหาก” “งั้นเจ้าก็คงเรียกความไม่เที่ยงธรรมว่าเป็นสันดานชั่วงั้นสิ?”57 “เปล่า ข้าฯเรียกมันว่าตัดสินใจได้ดตี ่างหาก” “อ้อ! งัน้ ในทัศนะของเจ้า คนไม่เทีย่ งธรรมก็ยอ่ มเป็นทัง้ คนดีและมีปฏิภาณ58สินะ ธราซิมาคัส?” “ใช่แล้ว พวกเขาก็คอื ผูไ้ ร้ความเทีย่ งธรรมอย่างสมบูรณ์” เขากล่าว “ผูส้ ามารถรวม เอาเมืองต่างๆและชนชาติทั้งหลายเข้ามาไว้ในก�ำมือ อ้อ! บางทีท่านอาจก�ำลังนึกว่า ข้าฯพูดถึงพวกโจรล้วงกระเป๋า” เขาพูดเสริม “ไม่ผิดหรอก การลักเล็กขโมยน้อยก็ให้ ผลประโยชน์เช่นกัน (ถ้าพวกเขาไม่เผอิญถูกจับได้เสียก่อนนะ) แต่อย่างไรก็ตาม มัน ก็ยังเทียบไม่ได้กับสิ่งที่ข้าฯเพิ่งพูดถึงไปอยู่ดี” “ข้าฯก็ไม่ถึงกับไม่รู้หรอกนะ ว่าเจ้าต้องการจะพูดอะไร” ข้าฯกล่าว “แต่ข้าฯก�ำลัง สงสัยอีกเรื่องหนึ่งมากกว่า เจ้าต้องการจะรวมความไม่เที่ยงธรรมเข้าไว้ในกลุ่มเดียว กับความดีงามและปัญญาจริงๆใช่ไหม? ส่วนความเทีย่ งธรรมก็รวมเข้าไว้ในกลุม่ ตรง กันข้าม ใช่หรือเปล่า?” “แน่นอน ข้าฯย่อมต้องจัดมันไว้อย่างนั้น” “โฮ่! ความเห็นของเจ้านั้นฉกรรจ์มากทีเดียว สหาย” ข้าฯกล่าว “และมันก็หาทาง ตอบโต้ไม่ได้ง่ายๆเสียด้วย ถ้าเจ้าตอบว่าความไม่เที่ยงธรรมนั้นให้ประโยชน์ แต่ก็ยัง เป็นความเลวทรามและน่าละอาย – เหมือนที่คนทั่วๆไปเขาเข้าใจกัน – เราก็คงยัง สามารถพูดถึงปัญหานี้กันบนฐานของธรรมเนียมยึดถือทั่วไปได้บ้าง ทว่า เจ้ากลับ ประกาศออกมาอย่างโจ่งแจ้งว่า ความไม่เที่ยงธรรมนั้นเป็นสิ่งงดงามและแข็งแกร่ง อืม และถ้าเจ้าถึงขั้นจัดมันไว้ในกลุ่มเดียวกับความดีงามและปัญญาอย่างนี้แล้ว ประเดี๋ยวเจ้าก็คงจะจับมันรวมเข้ากับลักษณะอื่นๆที่เราเคยจัดไว้ในกลุ่มเดียวกับ ความเที่ยงธรรมอีกแหงๆ” “วิชาเทพพยากรณ์ของท่านท�ำนายได้ตรงตามความจริงแทบทุกประการ” เขาพูด 40 : รีพับลิก


“แต่อย่างไรก็ตาม” ข้าฯพูด “ข้าฯคิดว่าเรายังไม่สมควรจะหยุดการสนทนาเอาไว้แค่ ตรงนี้ เพราะตราบใดที่ข้าฯยังเห็นว่าเจ้าได้พูดในสิ่งที่ตัวเองคิดจริงๆ เราก็ยังสมควร ต้องพิจารณาเรื่องนี้กันต่อ และที่ส�ำคัญ ตอนนี้ข้าฯเชื่อแล้วว่าเจ้าไม่ได้ก�ำลังล้อพวก เราเล่น ธราซิมาคัส เจ้าก�ำลังพูดในสิ่งที่เจ้าเชื่อว่าเป็นจริงตามที่เป็น” “ไม่วา่ ข้าฯจะเชือ่ มันจริงๆหรือไม่ แล้วมันมีอะไรแตกต่างกันหรือ?” เขากล่าว “ไม่ ว่าอย่างไร ท่านก็ต้องหักล้างตรรกะของข้าฯให้ได้เท่านั้น” “มันก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันหรอก” ข้าฯพูด “ไหนเจ้าลองตอบค�ำถามข้อนี้ซิ ตาม ทัศนะของเจ้า คนเที่ยงธรรมนั้นต้องการอยู่เหนือกว่าคนเที่ยงธรรมคนอื่นๆในเรื่อง ใดบ้างหรือเปล่า?” “ไม่มีทาง” เขากล่าว “ไม่เช่นนั้นเขาก็รักษาความสุภาพใสซื่อเอาไว้ไม่ได้น่ะสิ” “แล้วถ้าเป็นเรื่องการกระท�ำเที่ยงธรรมล่ะ เขาอยากอยู่เหนือกว่าใครบ้างไหม?” “ไม่ แม้แต่การกระท�ำเที่ยงธรรมเขาก็ยังไม่อยากจะอยู่เหนือกว่าใคร” เขาพูด “แล้วเขาจะอ้างว่าตนเองสมควรได้อยูเ่ หนือคนไม่เทีย่ งธรรม พร้อมกับเชือ่ ว่าการ อ้างเช่นนั้นเป็นความเที่ยงธรรมอยู่แล้วหรือเปล่า หรือว่าเขาจะไม่เชื่อเช่นนั้น?” “เขาก็คงเชื่อว่ามันเที่ยงธรรม และก็คงจะอ้างด้วยว่าตนสมควรได้อยู่เหนือกว่า” เขาพูด “แต่เขาไม่มีวันท�ำได้หรอก” “นั่นไม่ใช่ส่ิงข้าฯอยากรู้” ข้าฯพูด “ข้าฯถามแค่ว่า คนเที่ยงธรรมนั้น ต้องการจะ อยู่เหนือกว่า – และอ้างว่าเป็นสิ่งสมควรกระท�ำ – คนไม่เที่ยงธรรมเท่านั้น ไม่รวม คนเที่ยงธรรมด้วยกันเข้าไปด้วย ใช่หรือเปล่า?” “ใช่ เขาต้องการอย่างนั้น” เขาพูด “แล้วคนไม่เที่ยงธรรมล่ะ? เขาจะอ้างว่าตนสมควรได้อยู่เหนือกว่าคนเที่ยงธรรม และการกระท�ำอันเที่ยงธรรมทั้งหลายด้วยหรือเปล่า?” “มันคงเป็นอื่นไปไม่ได้” เขาพูด “เขาย่อมมองว่าตนนั้นสมควรอยู่เหนือกว่าทุก คนให้ได้อยู่แล้ว” “ถ้าอย่างนัน้ คนไม่เทีย่ งธรรมก็คงอยากจะอยูเ่ หนือกว่ามนุษย์ผไู้ ม่เทีย่ งธรรมและ การกระท�ำอันไร้ความเที่ยงธรรมทั้งหลายด้วยใช่ไหม? นั่นก็คือ เขาพยายามดิ้นรน อย่างสุดความสามารถเพื่อกอบโกยทุกอย่างเข้าตัวให้ได้มากที่สุด ถูกไหม?” “ถูกแล้ว” เพลโต : 41

[349b]

[349c]


[349c]

[349e]

[331c]

“งั้นเราเปลี่ยนมาพูดอย่างนี้แทนได้ไหม?” ข้าฯกล่าว “คนเที่ยงธรรมย่อมไม่คิด จะอยู่เหนือกว่าคนที่เหมือนกับตัวเอง เขาเพียงต้องการอยู่เหนือว่าคนที่ต่างจากตน เท่านั้น ในขณะที่คนไม่เที่ยงธรรมนั้น ต้องการอยู่เหนือกว่าทั้งคนที่เหมือนและคน ที่ต่างจากตน” “พูดได้ดีนี่” เขากล่าว “และคนไม่เทีย่ งธรรมก็มที งั้ ความดีและปฏิภาณ” ข้าฯพูด “ส่วนคนเทีย่ งธรรมไม่มี ทั้งสองอย่าง เจ้าว่าอย่างนี้ใช่ไหม?” “นี่ก็พูดได้ดีอีก” เขาพูด “ถ้าอย่างนั้น” ข้าฯกล่าว “คนไม่เที่ยงธรรมก็ย่อมต้องเหมือนกับทั้งคนดีและคนมี ปฏิภาณ ส่วนคนเที่ยงธรรมนั้นไม่เหมือน?” “แน่นอน” เขากล่าว “เขาจะไม่เหมือนคนเหล่านัน้ ได้อย่างไร ก็ในเมือ่ เขาเองก็เป็น เช่นเดียวกับคนเหล่านั้น ส่วนฝ่ายหลังก็ย่อมต้องแตกต่างออกไป” “เยี่ยม! แต่ละฝ่ายย่อมต้องเป็นเช่นเดียวกับคนที่เหมือนกับตนเสมอ ใช่ไหม?” “แหงอยู่แล้ว” เขาพูด “ธราซิมาคัส” ข้าฯกล่าว “เจ้าย่อมเรียกคนบางคนว่าเป็นผูช้ �ำนาญทางดนตรี และ เรียกคนอีกบางคนว่าเป็นผู้ไม่มีความช�ำนาญทางดนตรี ใช่ไหม?” “ใช่” “แล้วคนไหนมีปฏิภาณทางดนตรี คนไหนไร้ปฏิภาณ?” “ผูช้ ำ� นาญทางดนตรียอ่ มมีปฏิภาณ ส่วนผูไ้ ม่มคี วามช�ำนาญทางดนตรีกย็ อ่ มต้อง ไร้ปฏิภาณ” “นั่นก็คือ ถ้าเขามีปฏิภาณด้านไหน เขาก็ต้องดีในด้านนั้นด้วย และเช่นเดียวกัน ถ้าเขาไร้ปฏิภาณด้านไหน เขาก็จะเลวในด้านนั้นด้วยเช่นกัน?” “ใช่” “และคนที่ฝึกฝนศิลปะการแพทย์ก็เป็นเช่นเดียวกันนี้?” “เป็นเช่นเดียวกัน” “พ่อคนเก่ง ตามทัศนะของเจ้าแล้ว นักดนตรีผู้ช�ำนาญด้านการปรับเสียงไลร์ จะ อยากอยูเ่ หนือกว่านักดนตรีคนอืน่ ๆในด้านการปรับความตึงความหย่อนของสายไลร์ โดยอ้างว่าตนสมควรต้องท�ำเช่นนั้นอยู่แล้วหรือเปล่า?” 42 : รีพับลิก


“ตามทัศนะของข้าฯ ข้าฯว่าไม่นะ”59 “กระนั้น เขาก็ยังต้องการอยู่เหนือกว่าผู้ไร้ความช�ำนาญทางดนตรี?” “นั่นย่อมเลี่ยงไม่ได้” เขากล่าว “แล้วถ้าเปลี่ยนเป็นแพทย์ล่ะ? คนเป็นแพทย์นั้นต้องการอยู่เหนือกว่าแพทย์คน อื่นๆ หรือใครก็ตามที่ฝึกฝนศิลปะการแพทย์ในด้านการสั่งอาหารและเครื่องดื่มเพื่อ สุขภาพหรือเปล่า?” “ไม่ต้องการแน่นอน” “แต่แน่ล่ะ เขาคงต้องอยากอยู่เหนือกว่าคนไม่มีความช�ำนาญทางการแพทย์?” “ใช่” “อืม องค์ความรู้ทุกด้านย่อมต้องมีทั้งคนที่รู้และไม่รู้อยู่แล้วใช่ไหม? ถ้าอย่างนั้น ตามทัศนะของเจ้า คนมีองค์ความรู้ในแขนงหนึ่งๆ ยังจะสมัครใจเลือกกระท�ำสิ่งใด – ไม่ว่าจะเป็นด้านการพูดหรือการปฏิบัติ – ให้ได้เหนือกว่าคนอีกคนหนึ่ง ซึ่งมีองค์ ความรู้ในแขนงเดียวกับตนอีกหรือ? ในเมื่อหากต้องเผชิญกับสถานการณ์ใดๆก็ตาม คนๆหนึง่ ย่อมต้องมีวธิ รี บั มือกับสถานการณ์นนั้ ๆในลักษณะเดียวกันกับคนอีกคน ซึง่ มีองค์ความรู้เหมือนกับตน มิใช่หรือ?” “นั่นก็อาจจะเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เช่นกัน” เขาพูด “แล้วถ้าเป็นคนไม่รู้ล่ะ? คนไม่รู้ย่อมต้องการอยู่เหนือกว่าทั้งคนที่รู้และคนที่ไม่รู้ แน่ๆ ใช่หรือเปล่า?” “ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น” “และผู้มีความรู้ก็ย่อมมีปัญญา?”60 “อืม” “และผู้มีปัญญาก็ย่อมกอปรด้วยคุณความดี?” “อืม” “งั้นคนที่ทั้งดีและมีปัญญาก็ย่อมไม่ต้องการอยู่เหนือกว่าคนที่เหมือนกับตน เขา ย่อมต้องการอยู่เหนือคนที่ต่างจากตนหรือไม่ก็ตรงกันข้ามกับตนเท่านั้น?” “ก็ดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น” เขาพูด “แต่คนเลวและขาดการเรียนรู้ย่อมอยากอยู่เหนือกว่าทั้งคนที่เหมือนกับตนและ ตรงข้ามกับตน” เพลโต : 43

[350a]

[350b]


[350c]

[350d]

[350e]

“ก็คงเป็นเช่นนั้น” “เอาล่ะ ธราซิมาคัส” ข้าฯกล่าว “เมื่อตะกี้เราคุยกันว่า คนไม่เที่ยงธรรมนั้น อยากอยู่เหนือกว่าทั้งคนที่เหมือนและต่างจากตน ใช่ไหม? เจ้าเป็นคนพูดเองเลยนี่ ใช่หรือเปล่า?” “ใช่ ข้าฯพูดเอง” “ส่วนคนเทีย่ งธรรมก็ไม่ตอ้ งการอยูเ่ หนือกว่าคนทีเ่ หมือนกับตน เขาต้องการเหนือ กว่าเพียงคนที่ต่างจากตนเท่านั้น ใช่ไหม?” “ใช่” “ถ้าอย่างนั้น” ข้าฯพูด “คนเที่ยงธรรมก็เหมือนกับคนที่ดีและมีปัญญา ส่วนคน ไม่เที่ยงธรรมก็ย่อมเหมือนกับคนเลวและขาดการเรียนรู61้ ใช่ไหม?” “ข้าฯเกรงว่าคงเป็นเช่นนั้น” “นอกจากนี้แล้ว เรายังเห็นพ้องกันด้วยใช่ไหมว่า คนแต่ละฝ่ายย่อมต้องเป็นเช่น เดียวกับคนที่เหมือนกับตนเสมอ”62 “ใช่” “อ้าว! ถ้าอย่างนัน้ ก็แสดงว่า คนเทีย่ งธรรมก็จะต้องทัง้ ดีและมีปญ ั ญาน่ะสิ ส่วนคน ไม่เที่ยงธรรมก็ต้องเลวและขาดการเรียนรู้ ใช่ไหมล่ะ?” ข้าฯท�ำให้ธราซิมาคัสเห็นพ้องกับข้าฯได้ทกุ ข้อก็จริง แต่มนั ก็ไม่ใช่เรือ่ งง่ายๆเหมือน อย่างทีข่ า้ ฯเล่าหรอกนะ เพราะเขาเองก็ไม่ได้เต็มใจจะยอมรับมันเท่าไร ดิน้ รนต่อต้าน อย่างสุดก�ำลังเหมือนกัน ท่ามกลางความร้อนอบอ้าวแห่งคิมหันตฤดู เขาถึงกับต้อง อาบเหงื่อต่างน�้ำ ในช่วงเวลานั้นเองที่ข้าฯได้เห็นบางสิ่งแปลกใหม่ โอ... ธราซิมาคัส ก�ำลังหน้าแดงได้ที่เลยทีเดียว และเหนือสิ่งอื่นใด หลังจากเราเห็นพ้องต้องกันแล้ว ว่าความเที่ยงธรรมนั้นคือความดีงามและปัญญา ส่วนความไม่เที่ยงธรรมก็คือความ เลวทรามและการขาดการเรียนรู้ ข้าฯก็กล่าวขึ้นว่า “เอาล่ะ ถือว่าเราได้ตัดสินเสร็จ สิ้นกันไปแล้วเรื่องหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อตะกี้เรายังได้กล่าวกันเอาไว้ด้วยไม่ใช่หรือ ว่า ความไม่เที่ยงธรรมก็เป็นความแข็งแกร่งชนิดหนึ่งเช่นกัน คงยังไม่ลืมใช่หรือเปล่า ธราซิมาคัส?” “ข้าฯยังไม่ลมื หรอกน่า” เขาพูด “แต่ขา้ ฯก็ยงั ไม่พอใจกับค�ำพูดของท่านอยูด่ ี ถ้าจะ ให้ข้าฯแย้ง ข้าฯก็แย้งได้นะ แต่อย่างไรเสีย ท่านก็คงจะกล่าวหาว่าข้าฯเล่นวาทศิลป์ 44 : รีพับลิก


ชวนเชื่ออยู่วันยันค�่ำ เมื่อเป็นอย่างนี้ ไม่ว่าท่านจะยอมให้ข้าฯพูด หรือจะถามอะไร ข้าฯอีกก็เชิญได้เลย เพราะข้าฯจะตอบแค่ ‘อืม’ แล้วก็พยักหน้าหรือไม่ก็ส่ายหัว เหมือนตอนต้องนั่งฟังนิทานของบรรดาเมียแก่ๆนั่นแหละ” “ไม่เอาน่า” ข้าฯพูด “อย่าตอบอะไรที่มันตรงกันข้ามกับทัศนคติของตัวเองเลย” “ข้าฯจะตอบแต่สิ่งที่มันถูกใจท่านก็แล้วกัน” เขากล่าว “ก็ในเมื่อท่านห้ามไม่ให้ ข้าฯพูดเองนี64่ ท่านจะเอาอะไรอีกล่ะ?” “ในนามของเทพซุส! ข้าฯไม่เอาอะไรทั้งนั้นแหละ” ข้าฯพูด “แต่ถ้าเจ้าอยากจะ ตอบอย่างนั้นก็ตามใจ เอาเลย ข้าฯจะถามค�ำถามของข้าฯก็แล้วกัน” “เอ้า! ก็ว่ามาสิ” “ข้าฯจะถามสิ่งที่ข้าฯได้ถามไปแล้วนั่นล่ะ เราจะได้ถกเถียงตรรกะเกี่ยวกับความ เที่ยงธรรมและความไม่เที่ยงธรรมกันต่อได้อย่างตามล�ำดับหน่อย เอาล่ะ ผู้คนมัก กล่าวกันว่า ความไม่เที่ยงธรรมนั้น ทั้งแข็งแกร่งกว่าและมีพลังอ�ำนาจมากกว่าความ เทีย่ งธรรม อย่างไรก็ตาม” ข้าฯพูด “เมือ่ เราได้พสิ จู น์กนั ออกมาแล้วว่า ความเทีย่ งธรรม นั้นเป็นทั้งปัญญาและความดีงาม ส่วนความไม่เที่ยงธรรมก็คือการขาดการเรียนรู้ เราทุกคนต่างก็รถู้ งึ จุดนีก้ นั หมดแล้ว ดังนัน้ การจะพิสจู น์ให้เห็นว่าความเทีย่ งธรรมนัน้ แข็งแกร่งกว่าความไม่เที่ยงธรรม ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ธราซิมาคัส ข้าฯไม่ปรารถนาข้อพิสูจน์อะไรที่มันง่ายจนเกินไปหรอกนะ ข้าฯจึงอยากจะลอง พิจารณามันจากอีกมุมหนึง่ เจ้าว่า หากเมืองๆหนึง่ ยึดครองเมืองอืน่ ๆโดยปราศจาก ความเที่ยงธรรม ล่ามตรวนพวกเขาและเมืองอื่นๆอีกจ�ำนวนมากให้เป็นทาสของตน เจ้าเห็นว่า เมืองๆนั้นจะต้องไร้ความเที่ยงธรรมโดยสิ้นเชิงหรือเปล่า? “แน่อยู่แล้ว” เขาพูด “เมืองที่มีความเป็นเลิศที่สุดย่อมต้องท�ำเช่นนี้ และแน่นอน เมืองๆนั้นจะต้องไร้ความเที่ยงธรรมโดยสมบูรณ์” “นั่นคือตรรกะของเจ้า ข้าฯเข้าใจ แต่สิ่งที่ข้าฯต้องการจะตรวจสอบคือเรื่องนี้ต่าง หาก ข้าฯอยากรู้ว่า เมืองที่แข็งแกร่งกว่าเมืองอื่นๆนั้น จะบรรลุถึงอ�ำนาจเช่นนี้โดย ไม่มีความเที่ยงธรรมอยู่เลยได้หรือเปล่า? หรือมันจ�ำเป็นต้องมีความเที่ยงธรรมอยู่ ด้วยจึงจะได้อ�ำนาจเช่นนี้มา?” “ก็ถ้าว่ากันตามสิ่งที่ท่านพูดเมื่อตะกี้ – ความเที่ยงธรรมคือปัญญา – มันก็ต้อง มีความเที่ยงธรรมอยู่ด้วย” เขาพูด “แต่ถ้าเป็นไปตามที่ข้าฯเสนอ มันก็ใช้เพียงความ เพลโต : 45

[351a]

[351b]

[351c]


[351d]

[351e]

ไม่เที่ยงธรรมเท่านั้น” “น่าประทับใจจริงๆ สหายธราซิมาคัส” ข้าฯพูด “อย่างน้อยเจ้าก็ไม่ได้เอาแต่พยัก หน้าส่ายหน้า แถมเจ้ายังตอบค�ำถามข้าฯได้งดงามมากอีกด้วย” “เฮอะ! ข้าฯแค่พยายามท�ำให้ท่านพอใจเท่านั้นแหละ” เขาพูด “งั้นเจ้าก็ท�ำได้ดีมากเลย เจ้าจะช่วยท�ำให้ข้าฯพอใจยิ่งขึ้นด้วยการตอบค�ำถามนี้ หน่อยได้ไหม? เจ้าคิดว่า ไม่ว่าจะเป็นเมือง เป็นกองทัพ เป็นกองโจร หรือเป็นชนเผ่า ใดๆก็ตามทีม่ เี ป้าหมายอันไม่เทีย่ งธรรมร่วมกัน พวกเขาจะร่วมมือกันบรรลุเป้าหมาย นั้นได้ไหม หากแต่ละฝ่ายยังคงปฏิบัติต่อกันด้วยความไม่เที่ยงธรรมอยู่?” “ไม่มีทาง” เขาพูด “แล้วถ้าพวกเขาไม่ได้ปฏิบัติต่อกันอย่างไร้ความเที่ยงธรรมล่ะ? พวกเขาจะบรรลุ เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นไหม?” “แน่นอน” เขาพูด “งั้นความไม่เที่ยงธรรมก็ย่อมก่อให้เกิดความแยกแตก ความเกลียดชัง และการ ทะเลาะเบาะแว้ง ส่วนความเทีย่ งธรรมย่อมก่อให้เกิดมิตรภาพและความสามัคคี เป็น อย่างนี้หรือเปล่า ธราซิมาคัส?” “ให้มันเป็นอย่างนั้นก็ดีนะ ข้าฯจะได้ไม่ต้องเห็นต่างจากท่านไง” “พ่อคนเก่ง เจ้าท�ำตัวดีมากเลย ไหนบอกข้าฯอีกหน่อยซิวา่ ถ้าหน้าทีข่ องความไม่ เที่ยงธรรมคือการบ่มเพาะความเกลียดชังแล้วล่ะก็ เมื่อไรก็ตามที่มันปรากฏออกมา ไม่ว่าจะในหมู่ทาสหรือเสรีชน มันย่อมสร้างแต่ความเกลียดชังและความแตกแยกใน หมู่คณะ จนท�ำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายใดร่วมกันได้เลย ใช่หรือเปล่า?” “ใช่” “แล้วถ้าความไม่เทีย่ งธรรมปรากฏขึน้ ระหว่างคนสองคนล่ะ? พวกเขาทัง้ สองย่อม ไม่ลงรอยกัน เกลียดกัน เป็นศัตรูต่อกันและต่อคนเที่ยงธรรมทั้งหลายด้วย ใช่ไหม?” “ใช่” “แล้วความไม่เที่ยงธรรมจะสูญอ�ำนาจในการสร้างความแตกแยกลงไปหรือเปล่า หากมันปรากฏขึ้นกับคนเพียงคนเดียว? หรือว่ามันจะยังรักษาความสมบูรณ์เอาไว้ ได้?” “มันไม่มีวันเสื่อมลงไปหรอก” เขาพูด 46 : รีพับลิก


“ถ้าเป็นเช่นนี้ เมือ่ ไรก็ตามความไม่เทีย่ งธรรมปรากฏขึน้ อ�ำนาจของมันอย่างแรก เลยก็คือ การท�ำให้เมือง วงศ์ตระกูล กองทัพ หรืออะไรก็ตามแต่ ขาดความสามารถ ในการรวมตัว เนื่องจากมันเป็นเหตุแห่งความแตกแยกและความแตกต่าง และสิ่งซึ่ง ตามมาเป็นอย่างทีส่ องก็คอื มันจะท�ำให้สงิ่ ๆหนึง่ ต้องเป็นศัตรูกบั ทัง้ ตัวมันเอง และกับ ทุกสิง่ ซึง่ อยูฝ่ ง่ั ตรงข้ามกับมัน และนัน่ ก็ยงั รวมถึงความเทีย่ งธรรมด้วย ใช่หรือเปล่า?” “ใช่” “และต่อให้เป็นกรณีที่มันปรากฏขึ้นในตัวคนเพียงคนเดียว ข้าฯก็ยังเห็นว่า โดย ธรรมชาติของมันแล้ว มันย่อมให้ผลดุจเดียวกัน กล่าวคือ ประการแรก มันจะท�ำให้ คนผูน้ นั้ ขาดความสามารถในการบรรลุเป้าหมายทุกๆอย่าง เพราะเขาจะอยูใ่ นสภาวะ ของความแตกแยก ไม่เป็นตัวของตัวเอง และต่อมาประการที่สอง มันย่อมท�ำให้เขา เป็นศัตรูทั้งกับตนเอง และกับคนเที่ยงธรรม เจ้าว่าอย่างนั้นไหม?” “แน่นอน” “เทพเจ้านั้นเที่ยงธรรมหรือเปล่า สหาย?” “ให้มันเป็นอย่างนั้นเถอะ”65 เขากล่าว “ถ้าอย่างนัน้ คนไม่เทีย่ งธรรมก็ตอ้ งเป็นศัตรูกบั เหล่าทวยเทพด้วยน่ะสิ ธราซิมาคัส ส่วนคนเที่ยงธรรมนั้นย่อมเป็นมิตรกับเทพเจ้า ใช่ไหม?” “เชิญท่านจัดงานฉลองแก่ตรรกะห่ามๆของตัวเองไปคนเดียวเถอะ” เขาพูด “เอาเลยสิ ข้าฯไม่แย้งท่านหรอก เดี๋ยวคนแถวนี้จะพาลโมโหข้าฯเอาเสียเปล่าๆ” “เอาน่า ยังไงก็มาร่วมปิดงานฉลองกับข้าฯหน่อยเถอะ เจ้าช่วยข้าฯตอบค�ำถามต่อ ไปอย่างนี้แหละดีแล้ว” ข้าฯพูด “เอ... เมื่อตะกี้เราพิสูจน์กันไปแล้วว่า คนเที่ยงธรรม นั้นย่อมดีกว่า มีปัญญามากกว่า และมีความสามารถในการบรรลุเป้าหมายต่างๆได้ มากกว่า ส่วนคนไม่เที่ยงธรรมนั้น ขนาดจะท�ำงานร่วมกันยังล�ำบากเลย และหากมี เป้าหมายยิง่ ใหญ่ใดทีค่ นไม่เทีย่ งธรรมร่วมมือกันท�ำได้สำ� เร็จ ผลส�ำเร็จนัน้ ก็ยอ่ มต้อง มีวาระซ่อนเร้น ไม่ได้จริงแท้อย่างที่เราเห็นเป็นแน่ เพราะถ้าพวกเขาเป็นคนไร้ความ เทีย่ งธรรมโดยสมบูรณ์แล้วล่ะก็ พวกเขาย่อมไม่มวี นั ผละตัวเองออกจากความขัดแย้ง ระหว่างกันได้แน่ ความส�ำเร็จที่เราเห็นจากภายนอกนั้น บ่งชี้ว่าจะต้องมีความเที่ยง ธรรมบางประการปรากฏอยูบ่ า้ งภายใน มันจึงช่วยสกัดยับยัง้ การกระท�ำไม่เทีย่ งธรรม ระหว่างกันได้บา้ ง การร่วมมือกันจึงเกิดขึน้ มาได้ นีจ่ งึ เป็นสาเหตุแห่งความส�ำเร็จทีเ่ รา เพลโต : 47

[352a]

[352b]

[352c]


[352d]

[352e]

[353a]

เห็น กล่าวคือ พวกเขาก่อความไม่เที่ยงธรรม โดยมีความเลวร้ายและความไม่เที่ยง ธรรมอยูภ่ ายในเพียงกึง่ เดียวเท่านัน้ เพราะหากเป็นคนเลวร้ายหรือไม่เทีย่ งธรรมโดย สมบูรณ์แล้วล่ะก็ พวกเขาย่อมไม่มีวันบรรลุถึงความส�ำเร็จใดๆได้อีก ข้าฯบอกเลย ว่าข้าฯเข้าใจมันอย่างนี้ ซึ่งก็แน่ล่ะ มันย่อมเป็นคนละเรื่องกับสิ่งที่เจ้าได้เสนอไว้ใน ตอนแรก เอาล่ะ ตอนนีข้ า้ ฯว่าเราต้องกลับมาพิจารณาประเด็นทีเ่ ราเพิง่ พูดถึงไปเมือ่ ตะกี้กันอีกครั้ง – คนเที่ยงธรรมมีชีวิตที่ดีกว่าและสุขสมบูรณ์ยิ่งกว่าคนไม่เที่ยงธรรม หรือไม่66 – อันที่จริง ตามทัศนะของข้าฯ มันก็ดูท่าจะเป็นเช่นนั้นนะ กระนั้น เรายัง จ�ำเป็นต้องตรวจสอบมันให้ถี่ถ้วนก่อน เพราะมันไม่ใช่การพูดคุยกันธรรมดาๆ มัน เป็นถึงเรื่องของการด�ำรงชีวิตอย่างเหมาะสมทีเดียว”67 “ก็เอาสิ เริ่มเลย” เขาพูด “ได้เลย” ข้าฯกล่าว “ไหนเจ้าบอกข้าฯซิ ตามทัศนะของเจ้า ม้าต้องมีหน้าที่ของ ตัวมันเองใช่ไหม?” “ใช่” “และเราก็นิยาม ‘หน้าที่’ ของม้า หรือของอะไรก็ตามแต่ ว่าหมายถึง งานซึ่งมี เพียงสิง่ ๆนัน้ เท่านัน้ จึงท�ำได้ หรือมีเพียงสิง่ ๆนัน้ เท่านัน้ จึงท�ำได้อย่างดีทสี่ ดุ ใช่ไหม?” “ข้าฯไม่เข้าใจที่ท่านพูด” เขากล่าว “งั้นเอาอย่างนี้ เจ้าใช้สิ่งอื่นใดมองเห็นแทนดวงตาได้ไหม? “ย่อมไม่ได้แน่” “แล้วการได้ยินล่ะ? เจ้าใช้อวัยวะส่วนอื่นฟังแทนหูทั้งสองได้ไหม?” “ไม่ได้” “เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงกล่าวได้อย่างชอบธรรมว่า ทั้งการมองเห็นและการฟัง ต่าง ก็เป็นหน้าที่ของอวัยวะทั้งสอง ใช่ไหม?” “แน่นอน” “แล้วถ้าเป็นกรณีนลี้ ะ่ ? เจ้าสามารถตอนกิง่ ต้นองุน่ โดยใช้มดี สัน้ หรือใช้มดี แกะสลัก หรือใช้สิ่งของอะไรก็ได้อีกตั้งหลายประเภทเลยใช่ไหม?” “แน่อยู่แล้ว” “แต่ข้าฯว่า คงไม่มีมีดชนิดใดท�ำงานนี้ได้งดงามไปกว่ามีดตอนกิ่ง ซึ่งถูกออกแบบ มาเพื่อจุดมุ่งหมายนี้โดยเฉพาะอีกแล้ว ใช่ไหม?” 48 : รีพับลิก


“เป็นจริงตามนั้น” “หรือเราจะพูดว่าการตอนกิ่งเป็นหน้าที่ของมีดด้ามนี้ก็ได้ใช่ไหม?” “ก็ต้องได้สิ” “เอาล่ะ ข้าฯว่าเจ้าคงเข้าใจประเด็นเมื่อครู่ของข้าฯแล้ว – หน้าที่ของสิ่งๆหนึ่ง ย่อมหมายถึง งานซึง่ มีเพียงสิง่ ๆนัน้ เท่านัน้ จึงจะท�ำได้ หรือไม่กท็ ำ� ได้อย่างยอดเยีย่ ม กว่าสิ่งอื่นๆ” “อืม ข้าฯเข้าใจแล้ว” เขาพูด “และตามทัศนะของข้าฯ หน้าที่ของสิ่งของแต่ละ อย่างก็เป็นเช่นนี้จริงๆ” “และยังดูเหมือนว่า” ข้าฯพูด “ของแต่ละสิง่ ยังต้องมีความดีงาม อันเป็นเป้าหมาย ของหน้าทีเ่ หล่านัน้ อีกด้วย68 ใช่หรือเปล่า? เรามาลองทบทวนจากตัวอย่างเดิมกันอีก ที เมื่อตะกี้เรากล่าวว่า ดวงตาย่อมมีหน้าที่บางประการเป็นของตัวมันเองใช่ไหม?” “ใช่” “ถ้าเช่นนั้น มันก็ต้องมีความดีงามของดวงตา69ด้วย ใช่หรือเปล่า?” “มันย่อมมีความดีงามเช่นนั้น” “แล้วหูล่ะ เมื่อตะกี้เราก็กล่าวว่ามันมีหน้าที่ของตัวมัน ใช่ไหม?” “ใช่” “งั้นมันก็ต้องมีความดีงามของหูด้วย?” “อืม มันก็ต้องมีอยู่แล้ว” “และสิ่งอื่นๆก็ล้วนแต่เป็นเช่นนี้ทั้งนั้น ใช่ไหม?” “ใช่” “เดีย๋ วก่อนนะ เจ้าว่า ดวงตาจะยังท�ำหน้าทีข่ องมันได้อย่างยอดเยีย่ มอยูไ่ หม หาก มันสูญเสียความดีงามอันเหมาะสมกับตัวมันไป กล่าวคือ แทนที่จะมีความดีงาม มัน กลับหลงเหลือเพียงความเลวทรามเท่านั้น?” “อืม... ท่านก�ำลังพูดถึงความมืดบอด ซึง่ เข้ามาแทนทีก่ ารมองเห็น ใช่ไหม?” เขาพูด “อย่างนั้นหรือเปล่า?” “ข้าฯไม่ได้ถามว่าความดีงามของมันคืออะไรเสียหน่อย” ข้าฯพูด “ข้าฯถามเพียง ว่า สิ่งๆหนึ่งจะท�ำหน้าที่ของมัน – ซึ่งมีเพียงมันเท่านั้นที่ท�ำได้ – ได้ดี หากมันกอปร ด้วยความดีงามอันเหมาะสมกับตัวมัน ใช่ไหม? และก็จะท�ำหน้าทีน่ นั้ ๆได้เลวลง หาก เพลโต : 49

[353b]

[353c]


[353d]

[353e]

มันกอปรด้วยความเลวทราม ใช่หรือเปล่า?” “ท่านพูดได้จริงตามที่มันเป็นแล้ว” เขาพูด “เช่น ถ้าหูของเราถูกยึดเอาความดีงามของมันไป มันก็ย่อมท�ำหน้าที่ของตัวได้ เลวลง?” “ใช่แล้ว” “และสิ่งอื่นๆก็อธิบายด้วยตรรกะเดียวกันนี้ได้เช่นกัน?” “อย่างน้อยทัศนะของข้าฯก็เป็นเช่นนั้น” “งั้นเจ้าลองพิจารณาค�ำถามนี้ดูนะ เจ้าว่า มีงานใดบ้างหรือไม่ที่ต้องอาศัยหน้าที่ ของจิตวิญญาณเท่านั้นจึงจะลุล่วงได้? เจ้าลองนึกถึงการปกครอง การคิดใคร่ครวญ การดูแลเอาใจใส่สิ่งต่างๆ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีเพียงจิตวิญญาณเท่านั้นจึงจัดการได้70 ใช่ไหม? และเราก็ควรจัดสิ่งเหล่านี้ให้เป็นหน้าที่เฉพาะของจิตวิญญาณเท่านั้นอีก ด้วย ใช่หรือเปล่า?” “ย่อมไม่ใช่หน้าที่ของสิ่งอื่นใดอีก” “แล้วการใช้ชีวิตล่ะ? การใช้ชีวิตก็เป็นหน้าที่หนึ่งของจิตวิญญาณด้วย?” “แน่นอน” เขากล่าว “และจิตวิญญาณก็ตอ้ งมีความดีงามบางประการเป็นของตัวเองด้วย เราย่อมกล่าว เช่นนั้นใช่หรือเปล่า?” “ใช่ เราย่อมว่าอย่างนั้น” “ธราซิมาคัส เมือ่ เป็นเช่นนี้ หากจิตวิญญาณถูกยึดเอาความดีงามของตัวมันออกไป มันจะยังท�ำหน้าที่ของมันได้ดีอยู่ไหม หรือว่าเป็นไปไม่ได้อีกแล้ว?” “ย่อมเป็นไปไม่ได้อีก” “ถ้าเช่นนั้น จิตวิญญาณอันเลวทรามก็ย่อมปกครองและจัดการกับสิ่งต่างๆอย่าง เลวทรามและหลีกเลีย่ งไม่ได้ ส่วนจิตวิญญาณทีด่ กี ย็ อ่ มกระท�ำสิง่ ต่างๆเหล่านีไ้ ด้ดว้ ย ดี ใช่หรือเปล่า?” “ย่อมเลี่ยงไม่ได้” “และเราก็เห็นพ้องกันไปแล้วใช่ไหมว่า71 ความเที่ยงธรรมคือความดีงามของจิต วิญญาณ ส่วนความไม่เที่ยงธรรมนั้นคือความเลวทราม?” “อืม เราเห็นพ้องกันแล้ว” 50 : รีพับลิก


“จากทั้งหมดนี้ เราจึงสรุปได้ว่า จิตวิญญาณอันเที่ยงธรรมและผู้ที่ใช้ชีวิตอย่าง เที่ยงธรรมนั้น ย่อมต้องได้พบกับชีวิตที่ดี ส่วนผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างไม่เที่ยงธรรมก็ย่อม ต้องพบกับชีวิตที่เลวร้าย” “มันก็คงต้องเป็นเช่นนั้นแหละ ถ้าว่ากันตามตรรกะของท่านน่ะนะ” เขาพูด “และผู้มีชีวิตที่ดีก็ย่อมต้องพบกับความสุขสมบูรณ์และได้รับพรจากเทพเจ้า ส่วนผู้มีชีวิตต่างออกไปจากนี้ก็ต้องเผชิญกับสิ่งตรงข้าม” “ใช่” “เพราะฉะนั้น คนเที่ยงธรรมจึงสุขสมบูรณ์ และคนไม่เที่ยงธรรมก็ทุกข์โดย สมบูรณ์” “จะว่าอย่างนั้นก็ได้” เขากล่าว “และความทุกข์โดยสมบูรณ์ก็ไม่มีวันให้ผลประโยชน์แก่ใครได้ ความสุขสมบูรณ์ เท่านั้นจึงจะให้ประโยชน์” “แน่นอนล่ะ” “เมือ่ เป็นเช่นนีน้ ะ ธราซิมาคัสคนดี ความไม่เทีย่ งธรรมก็ไม่มวี นั จะให้ผลประโยชน์ มากกว่าความเที่ยงธรรมไปได้” “เอาอย่างนีน้ ะ โสคราตีส” เขาพูด “ข้าฯจะถือว่างานฉลองของท่าน72ในวันนี้ จัดขึน้ เพื่อถวายแด่เทพีเบนดิส73ก็แล้วกัน” “ข้าฯถวายมันให้เจ้านั่นแหละ ธราซิมาคัส” ข้าฯกล่าว “เพราะเจ้าดูอ่อนโยนขึ้น มาก แถมยังเลิกโวยวายใส่ข้าฯแล้วอีกด้วย กระนั้น ข้าฯก็รู้ตัวดีว่า ‘งานฉลอง’ ครั้ง นี้ยังไม่งดงามเท่าไร74 และมันก็เป็นความผิดของข้าฯเอง ไม่ใช่ความผิดของเจ้าเลย เพราะตามทัศนะของข้าฯ ข้าฯเหมือนคนตะกละ กินไม่เลือก อาหารจานไหนอยู่ ตรงหน้าก็ต้องคว้าขึ้นมาลองลิ้ม อาหารที่เพิ่งกินไปก่อนหน้ายังไม่ย่อยดีก็สวาปาม จานใหม่เข้าไปอีกแล้ว เช่นเดียวกับการสนทนาของเราเมื่อครู่ นิยามของความเที่ยง ธรรมยังไม่ทันได้ค�ำตอบดีเลย แต่ข้าฯกลับไม่ใส่ใจ มัวแต่ไปค้นหาว่ามันเป็นความดี งามหรือเป็นความเลวทราม เป็นปัญญาหรือเป็นเพียงการขาดการเรียนรู้ชนิดหนึ่ง กันแน่ จากนั้นการสนทนาก็เปลี่ยนมาเป็นเรื่องของความไม่เที่ยงธรรม ว่ามันให้ผล ประโยชน์มากกว่าความเที่ยงธรรมหรือไม่ ประเด็นใหม่นี้ท�ำให้ข้าฯตื่นเต้นจนทนไม่ ไหว ถึงกับยอมละทิ้งประเด็นก่อนหน้าไป แล้วหันมาสนใจมันแทน สุดท้าย ผลลัพธ์ เพลโต : 51

[354a]

[354b]

[354c]


ของการสนทนาแลกเปลี่ยนก็คือ ข้าฯยังไม่ทันได้รู้อะไรเลย ถึงตอนนี้ข้าฯก็ยังไม่รู้ เลยว่า ความเทีย่ งธรรมคืออะไร ยังไม่แน่ใจเสียด้วยซ�ำ้ ว่ามันเป็นความดีงามประเภท หนึง่ หรือไม่ มันจะน�ำพาเราไปสูว่ งั วนแห่งความทุกข์หรือความสุขสมบูรณ์กนั แน่นะ?

52 : รีพับลิก


เชิงอรรถ เล่ม 1 1. ในปัจจุบัน เราแบ่ง Republic ของเพลโต ออกเป็น 10 “เล่ม” เพราะผลงานต้นฉบับทีห่ ลง เหลือมาจนถึงทุกวันนี้ เขียนแยกไว้บนกระดาษ ปาปิรุส 10 ม้วน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูล แน่ชัดว่าเพลโตนั้นต้องการจะแบ่งมันออกเป็น 10 “เล่ม” อย่างทีใ่ ช้กนั ในปัจจุบนั หรือไม่ เพราะ การแบ่งเป็น 10 ม้วนดังกล่าวอาจเกิดจากการ ล�ำดับขึน้ ของผูเ้ รียบเรียงบางคนในภายหลังก็ได้ 2. โดยทั่วไป ผลงานของเพลโตจะเขียนในรูป บทสนทนาถามตอบ (dialogue) ระหว่างโสคราตีส (ผู้เป็นอาจารย์ของเพลโต) กับตัวละครอื่นๆ อย่างไรก็ตาม มีผลงานของเพลโตบางชิ้นที่ก�ำ หนดให้โสคราตีสเป็นสรรพนามบุรษุ ทีห่ นึง่ ผูเ้ ล่า เรื่อง และหนึ่งในนั้นก็คือ Republic วิธีการดัง กล่าวเรียกว่า internal narrative หรือ “การเล่า เรื่องจากภายใน” ซึ่งหมายถึงการที่ผู้เล่าเป็นตัว ละครตัวหนึง่ ในเรือ่ งทีต่ นก�ำลังเล่าด้วย วิธกี ารนี้ ท�ำให้เราได้เห็นกระบวนการคิด บุคลิกภาพ และ การมองโลกของผูเ้ ล่า ในปัจจุบัน เรื่องราวเกี่ยว กับโสคราตีส ซึ่งมีตัวตนจริงตามประวัติศาสตร์ นั้น โดยมากได้มาจากงานประพันธ์ของเพลโต เกือบทั้งสิ้น เพราะโสคราตีสตัวจริงไม่ได้เขียน หนังสือเล่มใดๆ เอาไว้เลย (หรือหากเขียนก็ สูญหายไปหมดแล้ว) ผลงานขนาดยาว เรื่อง Republic หรือ Πολιτεία (/Politeia/; แปลตรง ตัวว่า “ระบอบการปกครอง”) ซึ่งอยู่ในมือของ ทุกท่านจึงเป็นหลักฐานชิ้นส�ำคัญที่ท�ำให้เราได้ ศึกษาโลกทัศน์ของโสคราตีส ผ่านความคิดของ เพลโต หรือกระทั่งในทางกลับกัน

ประชาธิปไตย ในห้วงเวลาทีเ่ อเธนส์ถกู ปกครอง โดยระบอบเผด็จการของสปาร์ตา ดังนั้น การที่ เพลโตเลือกเมืองนี้ขึ้นมาเป็นฉากหลังจึงส่อ ความถึ ง ค� ำ ถามที่ เ พลโตตั้ ง ใจจะตอบในบท สนทนาเล่มนี้ว่า “ประชาธิปไตยนั้นมีคุณ ค่า แค่ ไ หน?” เพราะชาวเมื อ งเพเรอั ส เองก็ เ คย ต่อสู้และล้มตายเพื่อปกป้องประชาธิปไตยจาก การรุกรานของสปาร์ตามาก่อน และขณะนั้น เอเธนส์กป็ กครองด้วยประชาธิปไตย นอกจากนี้ เนือ่ งจากเพเรอัสเป็นเมืองท่า ประชากรในเมือง จึงเต็มไปด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติ ตัว ละครต่างๆในบทสนทนาเล่มนี้ส่วนใหญ่ก็เป็น คนต่ า งถิ่ น ที่ เ ดิ น ทางมาท่ อ งเที่ ย วหรื อ มาตั้ ง รกรากในเมืองนี้ทั้งสิ้น ขณะเดียวกัน การเลือก เพเรอัสมาเป็นฉากหลังจึงส่อความถึงค�ำถามอีก ข้อหนึง่ ทีว่ า่ “ความหลากหลายนัน้ จ�ำเป็นต่อการ เป็นเมืองที่ดีหรือเปล่า?” 4. กลาวคอน (Glaucon) เป็นพี่ชายแท้ๆของ เพลโต เกิดก่อนเพลโตประมาณ 15 – 20 ปี บิดาชือ่ อริสตอน (Ariston) มารดาชือ่ เพริคทิโอเน (Periktione) เพลโตยังมีพชี่ ายอีกคนชือ่ อเดมันทัส (Adeimantus) ซึ่งปรากฏในบทสนทนาเล่ม นี้ด้วย 5. เรารู้จากหน้า 354a ว่า เทพีองค์นี้มีนามว่า เบนดิส (Bendis) ซึ่งเป็นเทพีที่ชาวธราเคียนน�ำ เข้ามายังเมืองเพเรอัส

6. ธราเคียน (Thracian) เป็นชื่อที่ชาวกรีก โบราณใช้ เ รี ย กดิ น แดนทางตะวั น ออกเฉี ย ง 3. เพเรอัส (Piraeus) เป็นเมืองท่าส�ำคัญของ เหนือ ทิศตะวันตกติดกับมาซิโดเนีย ทิศใต้เป็น เอเธนส์ ในช่วงราวปี 410 ก่อนคริสตศักราช ทะเลอีเจียน (Aegean) ทิศเหนือมีแม่น�้ำดานูบ เมื อ งนี้ ถื อ เป็ น ฐานที่ มั่ น ส� ำ คั ญ ของระบอบ (Danube) ไหลผ่าน


7. โพเลมาร์คัส (Polemarchus) เป็นลูกหลาน ตระกูลร�ำ่ รวยในเมืองเพเรอัส สิง่ ทีน่ า่ สนใจก็คอื โพเลมาร์ คั ส ถู ก ประหารชี วิ ต โดยระบอบ การปกครองแบบเผด็ จ การคณาธิ ป ไตยในปี 404 ก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นปีท่ีเอเธนส์เพิ่งแพ้ สงคราม และชาวสปาร์ตาก็เข้ามาปกครองแทนที่ ระบอบประชาธิปไตย การน�ำโพเลมาร์คัสมาใช้ เป็นตัวละครในบทสนทนาเล่มนี้ จึงยิ่งเป็นการ ตอกย�้ำแก่นค�ำถามส�ำคัญในใจของเพลโตที่ว่า ประชาธิปไตยนั้นมีคุณค่าเพียงพอต่อการต่อสู้ เพื่อมันหรือไม่ 8. แม้โพเลมาร์คัสจะกล่าวล้อเล่นกับโสคราตีส แต่ ค� ำ พู ด นี้ ข องเขาก็ ส ่ อ ความถึ ง ค� ำ ถามทาง การเมืองอย่างหนึ่งที่ปรากฏอยู่อย่างแพร่หลาย ในบทสนทนาเล่มนี้ นั่นก็คือ “การใช้ก�ำลังของ คนกลุม่ หนึง่ เข้าบังคับคนอีกกลุม่ หนึง่ นัน้ เป็นสิง่ ที่มีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน” เช่น รัฐบาล ควรใช้กำ� ลังเข้าจับกุมประชาชนได้ในกรณีใดบ้าง เป็นต้น นอกจากนี้ ค�ำหยอกล้อนีข้ องโพเลมาร์คสั ยังมีความย้อนแย้งในตัวของมันเองด้วย เพราะ อย่างที่เราทราบ ในปี 404 ก่อนคริสตกาล โพเลมาร์คัสถูกรัฐบาลสปาร์ตาใช้ก�ำลังคนหมู่ มากเข้าจับกุมและประหารชีวิต

อิตาเลียนว่า ‘ซิราคูซ่า’) ซึ่งเป็นเมืองท่าเล็กๆ ทางตะวันออกของเกาะซิซิลี (Sicily) มีลูกชาย 3 คนกับลูกสาวอีก 1 คน โดยลูกชายทั้งสาม คนคือ โพเลมาร์คัส ลิสิอัส และยูธิเดมัส ต่างก็ ปรากฏตัวในบทสนทนาเล่มนี้ทั้งสิ้น 12. นีเ่ ป็นส�ำนวนทีพ่ บในมหากาพย์ของโฮเมอร์ การก้าวพ้น “ธรณีประตูแห่งความชรา” ก็คือ การก้าวเท้าเข้าสู่ประตูแห่งความตาย ค�ำถามนี้ ของโสคราตีสจึงมีลกั ษณะทีค่ อ่ นข้าง “หยาบคาย” และท้าทายต่อขนบทางสังคม ในหนังสือเรื่อง Apologia ซึ่ ง เป็ นวาทะแก้ ค ดี ข องโสคราตี ส โสคราตี ส เปรี ย บเที ย บตั ว เองเอาไว้ ว ่ า เป็ น เหมือน “ตัวเหลือบ” ทีค่ อยบินอยูร่ อบๆม้า ม้าจึง ต้ อ งตื่ น ตั ว อยู ่ ต ลอดเวลาเพื่ อ ป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ ตัวเหลือบเข้ามาดูดเลือดมันได้ (Apologia, 30e) โสคราตี ส มองว่ า หน้ า ที่ ข องเขาในฐานะนั ก ปรัชญาก็เป็นเช่นนี้ เขามีหน้าที่ตั้งค�ำถามต่อสิ่ง ต่างๆเพือ่ กระตุน้ ให้คนไม่เฉือ่ ยชาทางความคิด ไม่ปล่อยตัวไปกับกระแสสังคมเพียงเพราะมัน เป็นความเห็นของคนหมูม่ าก มนุษย์จำ� เป็นต้อง ส�ำรวจตรวจสอบความคิดของตนอยูเ่ สมอ เพราะ “ชีวติ ทีไ่ ร้การตรวจสอบย่อมเป็นชีวติ ทีห่ าคุณค่า มิได้” (Apologia, 38a)

9. ลิสิอัส (Lysias) เป็นนักพูดคนหนึ่ง ที่มีส่วน 13. โซโฟคลีส (Sophocles; ประมาณปี 496 – ส�ำคัญในการล้มล้างระบบเผด็จการของสปาร์ตา 406 ก่อนคริสตกาล) เป็นผูป้ ระพันธ์บทละครเรือ่ ง และสถาปนาประชาธิปไตยขึ้นมาอีกครั้ง Oedipus the King หรือ “อิดิปุสจอมราชันย์” 10. ธราซิมาคัส (Thrasymachus) เป็นหนึ่ง 14. เธมิสโทคลีส (Themistocles) เป็นแม่ทัพ ในอาจารย์สอนกลยุทธ์การพูดโน้มน้าวทางการ และผู้น�ำทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เมืองและทางกฎหมาย หรือทีเ่ ราเรียกกันว่าพวก ของเอเธนส์ มีชีวิตอยู่ในช่วงราวปี 524 – 459 “โซฟิสท์” (sophist) ก่อนคริสตกาล 11. เคฟาลัส (Cephalus) เป็นเศรษฐีผู้ร�่ำรวย 15. ในสมัยโบราณ เอเธนส์เป็นเมืองทีม่ ชี อื่ เสียง จากการค้าอาวุธแถบเอเธนส์ เดิมเป็นชาวซูราโค ในศิลปะแทบทุกแขนง ใครทีไ่ ด้เดินทางมาศึกษา ซาย (Syrakousai; ปัจจุบนั ออกเสียงเป็นภาษา ที่นี่ก็มักจะดูมีหน้าตามีตาในสังคมขึ้นมาทันที


ส่วนเซริฟัสเป็นเพียงเกาะขนาดเล็กเกาะหนึ่ง และในระดับสังคม การกล่าวถึง “คนเทีย่ งธรรม” ในทะเลอีเจียนเท่านั้น จึงหมายถึงคนที่รู้จักใช้ชีวิตอย่างถูกต้องตาม หลักจริยธรรม และกอปรด้วยความดีงามต่างๆ 16. ฮาดีส (Άδης; /Hadēs/) หรือ Hades เป็น อย่างครบถ้วน ในหนังสือเล่มนี้ เพลโตพยายาม เทพผูด้ แู ลนรก และชือ่ ของเขายังถูกน�ำมาใช้เป็น จะอธิ บ ายว่ า ความเที่ ย งธรรมนั้ น ส� ำ คั ญ ต่ อ บุคลาธิษฐานของนรกด้วย ดังนัน้ ในหนังสือเล่ม นักปรัชญาอย่างไร และมันจะน�ำเราไปสู่ความ นี้จะแปลสลับกันระหว่าง “นรก” กับ “ฮาดีส” ส�ำเร็จของชีวิตได้อย่างไร 17. พินดารัส (Pindar) เป็นหนึง่ ในกวีทมี่ ชี อื่ เสียง มากในยุคกรีกโบราณ เขาเป็นหนึง่ ในเก้ามหากวี ที่มีการจัดอันดับไว้ในสมัยนั้น มีชีวิตอยู่ในช่วง ราวปี 522 – 443 ก่อนคริสตกาล 18. “สุ ท ธิ ธ รรม” แปลจากค� ำ ว่ า ὅσιος (/hosios/) สุทธิธรรมเป็นความดีงามชนิดหนึ่ง ในสมัยกรีกโบราณ โดยทัว่ ไปหมายถึง หน้าทีร่ บั ผิดชอบทีม่ นุษย์มตี อ่ สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ งั้ หลาย เพลโต เขียนถึงหัวข้อนี้ในบทสนทนาชื่อ Euthyphro 19. กวีบทนี้หลงเหลือมาถึงปัจจุบันเพียงบาง ส่วนเท่านั้น

21. ค�ำถามที่เป็นแกนส�ำคัญในปรัชญาของ เพลโตก็คือ “สิ่งนี้คืออะไร” เช่น ความรักคือ อะไร ความเที่ยงธรรมคืออะไร ฯลฯ การที่เรา จะถามใครสักคนอย่างจริงจังว่า “สิ่งนี้คืออะไร” นั้น เราย่อมถามมันโดยวางอยู่บนพื้นฐานที่ว่า สิ่งๆนั้นด�ำรงอยู่จริง และเมื่อสิ่งนั้นๆด�ำรงอยู่ จริง ค�ำตอบที่ถูกต้องที่สุดของค�ำถามว่า “สิ่ง นี้คืออะไร” ก็ย่อมต้องเป็น “นิยาม” หรือ “ค�ำ จ�ำกัดความ” อันเป็นสากลของสิ่งนั้นๆ กล่าว คือ ส�ำหรับเพลโตแล้ว ค�ำจ�ำกัดความของสิ่ง หนึ่งๆย่อมมีเพียงหนึ่งเดียว แต่ต้องสามารถ ครอบคลุมถึงความหลากหลายในรูปลักษณ์ของ สิง่ นัน้ ๆได้หมด เช่น ค�ำจ�ำกัดความอันเป็นสากล ของเก้าอีย้ อ่ มมีอยูห่ นึง่ เดียว แต่คำ� จ�ำกัดความนี้ ต้องครอบคลุมถึงลักษณะทีแ่ ตกต่างหลากหลาย ของเก้าอีท้ กุ ตัวในโลกได้หมด เป็นต้น การจะหา ค�ำจ�ำกัดความของสิง่ สิง่ หนึง่ จึงไม่เรือ่ งง่ายอย่าง ทีค่ ดิ มันจ�ำเป็นต้องใช้การตัง้ ค�ำถาม การสนทนา แลกเปลีย่ น การเสนอและการหักล้างตรรกะของ กันและกัน ฯลฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งค�ำจ�ำกัดความ อันเป็นสากลของสิง่ ๆหนึง่ โดยทัว่ ไปแล้ว ในบท สนทนาแต่ละเล่มของเพลโต ก็จะมีการตามหา ค� ำ จ� ำ กั ด ความของสิ่ ง ต่ า งๆแตกต่ า งกั น ไป เป็นต้นว่าในบทสนทนาเล่มนี้ ประเด็นใหญ่ของ เรื่องก็คือการตามหาค�ำจ�ำกัดความของความ เที่ยงธรรม

20. “ความเที่ยงธรรม” และ “ความไม่เที่ยง ธรรม” เป็นประเด็นหลักในหนังสือเล่มนี้ และนี่ เป็นครั้งแรกที่มีการกล่าวถึง “ความเที่ยงธรรม” เมื่อครู่เราจะเห็นว่าเคฟาลัสเอ่ยถึงค�ำว่า “ผู้ไร้ ความเที่ ย งธรรม” ขึ้ น มาโดยบั ง เอิ ญ เท่ า นั้ น (330d) แต่ความบังเอิญครั้งนี้ก็ส่งผลเป็นห่วง โซ่ ข องเหตุ ก ารณ์ ต ่ อ มาที่ ท� ำ ให้ “ความเที่ ย ง ธรรม” กลายมาเป็นแกนเรื่องหลักไปในที่สุด ค�ำว่า “ความเที่ยงธรรม” ในหนังสือเล่มนี้แปล มาจากค�ำว่า δικαιοσύνη (/dikaiosynē/) ซึ่ง ภาษาอังกฤษมักแปลว่า justice กระนั้น ค�ำว่า δικαιοσύνη นัน ้ มีความหมายทีค่ อ่ นไปทางด้าน จริยธรรม มากกว่าด้านของกฎหมาย กล่าวคือ มันหมายถึง “การกระท�ำในสิ่งที่ถูกต้อง” หรือ 22. ซิโมนิดีส (Simonides; ประมาณ 556 – “การใช้ชีวิตอย่างถูกต้อง” ทั้งในระดับตัวบุคคล 468 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นหนึ่งในเก้ามหากวี


เป็นคู่แข่งในเชิงกวีคนส�ำคัญของกวีพินดารัส 23. เนื่องจากผลงานของซิโมนิดีสหลงเหลือ มาถึงมือเราน้อยมาก เราจึงไม่รู้ว่าข้อความนี้ ปรากฏอยู่ในบทกวีบทใด 24. ค�ำว่า “ศิลปะเฉพาะทาง” หรือ “ศิลปะ” แปล จากภาษากรีกว่า τέχνη (/tekhnē/;/เทคเน่/) อันเป็นรากศัพท์ของค�ำว่า technique หรือ technology อย่างไรก็ตาม ค�ำว่า “เทคเน่” นี้ มี ค วามหมายคล้ า ยๆกั บ ค� ำ ภาษาไทยว่ า “เทคนิค” อย่างในชือ่ โรงเรียน “เทคนิคกรุงเทพฯ” กล่าวคือ มันมีความหมายค่อนไปทางเรื่องของ “อาชีพ” และ “ความช�ำนาญเฉพาะทาง” อย่างไร ก็ตาม ค�ำว่า τέχνη (/tekhnē/; /เทคเน่/) ในภาษา กรีกนั้น กินความหมายที่กว้างกว่า “เทคนิคฯ” ในภาษาไทยอยู่หน่อย เพราะมันหมายถึง “ชุด ของหลักการและวิธกี าร” อันจะน�ำพาเราไปสูเ่ ป้า หมายทีห่ วังไว้ ผ่านการเรียนและการปฏิบตั เิ ช่น ถ้าจะเป็นแพทย์ เราก็ต้องเรียนรู้หลักการและ ฝึกปฏิบัติ “เทคเน่” ของแพทย์ เพื่อจะไปถึงเป้า หมาย คือการเป็นแพทย์ เป็นต้น ดังนั้น ค�ำว่า “เทคเน่” จึงสามารถน�ำมาใช้ผสมกับค�ำอื่นๆ อีกมากเพื่อให้ได้ความหมายในท�ำนองนี้ เช่น “ศิลปะการรับค่าแรง” ซึ่งเป็นค�ำที่โสคราตีส ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เองในหน้า 346b เป็นต้น ในที่นี้เลือกผมเลือกที่จะแปลค�ำว่า “เทคเน่” เป็น “ศิลปะ” แทนที่จะแปลว่า “อาชีพ” เพราะ ค�ำว่า “ศิลปะ” นั้นมีลักษณะที่ค่อนไปทาง “ชุด ของหลักการและการปฏิบัติ” ซึ่งต่างจากค�ำว่า “อาชีพ” ที่มีความหมายค่อนไปทางเรื่องของ “สถานะทางสังคม” มากกว่า

โกะมากกว่า คือ จะเล่นบนกระดานสีเหลี่ยมตี ตาราง 8x8 แต่ละฝ่ายจะมีเบี้ยวางเรียงกันอยู่ คนละ 8 ตัว ฝ่ายหนึง่ สีขาว อีกฝ่ายสีดำ� ผลัดกัน เดินหมากเพื่อกินเบี้ยของอีกฝ่ายให้ได้ โดยการ ประกบ 2 ด้าน ในที่นี้ผมแปลเป็น “หมากรุก” เพราะมั น ฟั ง เข้ า กั บ บริ บ ทปั จ จุ บั น มากกว่ า เท่านั้นเอง นอกจากนั้น บางครั้งเพลโตยังใช้ การผลัดกันเดินหมากเช่นนี้เป็นสัญลักษณ์ของ การสนทนาแลกเปลี่ยน หรือวิภาษวิธีอีกด้วย 26. ไลร์ (lyre) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่อง สายชนิดหนึ่งในยุคกรีกโบราณ มีแขนสองข้าง ยึดกับกล่องเสียง ระหว่างแขนทั้งสองขึงสาย ส�ำหรับดีด 27. มาจากมหากาพย์ Odyssey เล่ม 19 อาว โทลิคัส (Autolycus) เป็นคนเจ้าเล่ห์ ชื่อของ เขาแปลตามตัวอักษรว่า “ตัวตนแห่งหมาป่า” นอกจากนี้ ถ้ายังจ�ำได้ ในวรรคที่ 330b เราก็ เพิ่งจะได้ฟังเรื่องตาของเคฟาลัสไป ว่าเป็นคน หาเงินเก่ง โสคราตีสก�ำลังเปรียบเทียบอะไร ให้เราดูอยู่หรือเปล่านะ? ไม่รู้เหมือนกัน อนึ่ง ควรทราบว่า โอดิสซิอัส ตัวเอกของมหากาพย์ Odysseus นั้น มักถูกน�ำมาใช้เป็นตัวแทนของ ผู้มีปัญญา ตรงกันข้ามกับ อาคิลลีส ตัวเอก จากมหากาพย์ Iliad ที่เป็นตัวแทนของการใช้ แต่อารมณ์ (เพราะเรื่องราวในมหากาพย์ Iliad นั้นเริ่มต้นจาก “ความพิโรธของอาคิลลีส” และ จบลงเมื่อความพิโรธนี้หมดสิ้นลง)

28. “คนหมู่มาก” หรือ “คนจ�ำนวนมาก” แปล จาก οἱ πολλοί (/hoi polloi/) ส�ำหรับเพลโต “คนหมู่มาก” นั้นเป็นเหมือน “ช่วงชั้น” หนึ่งของ 25. “หมากรุก” ในทีนี้ แปลจากค�ำว่า πεττεία สังคม ซึ่งตรงข้ามกับคนหมู่น้อย เพลโตไม่ชอบ (/ petteia/) ซึ่ ง อั น ที่ จริ ง วิ ธี ก ารเล่ น ของมั น ทัศนะของคนหมู่มาก เพราะทัศนะของคนหมู่ เหมือนกับหมากฮอสบวกกับหมากล้อมหรือ มากมักเป็นสิ่งที่ยึดถือตามๆกันมาโดยไม่ผ่าน


การตรวจสอบ หรือกล่าวคือ คนหมูม่ ากมักมอง แต่เปลือกนอกเท่านั้น ไม่ใช้ตรรกะพิจารณาลึก ลงไปข้างใน ดังนั้น ส�ำหรับเพลโตแล้ว ทัศนะ ของคนจ�ำนวนน้อย (ที่รู้จักคิด) ย่อมส�ำคัญกว่า ทัศนะของคนหมู่มาก (ที่มักไม่รู้จักคิด) และ ส�ำหรับเพลโตแล้ว นักปรัชญาก็เป็นคนหมู่น้อย เสมอ เพราะนักปรัชญาพิจารณาความจริงตามที่ เป็น ถึงแม้วา่ มันจะเจ็บปวดก็ตาม เพลโตได้เล่า นิทานเปรียบเทียบถึงประเด็นนี้ให้เราฟังอย่าง ละเอียดในเล่ม 7

อย่างไรจึงจะดี” ดังนั้น ค�ำว่าดีในความหมายที่ สองนี้ (ἀρετή (/aretē/)) เมือ่ น�ำมาใช้กบั มนุษย์ มันจะให้ความหมายทางจริยธรรมสูงกว่าดีใน ความหมายแรกมาก เพราะมันจะหมายถึง “วิถี ปฏิบตั ”ิ อันจะดึงเอาความเป็นคนออกมาได้มาก ที่สุด (นั่นก็คือ “หน้าที่” ของคนนั่นเอง) เช่น ใน สมัยกรีกโบราณ ความเที่ยงธรรม การมีปัญญา การรูจ้ กั สงบใจตนเอง และความกล้าหาญ ทัง้ 4 อย่างนี้เป็น ἀρετή (/aretē/) ทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อ ให้ต่างจากความดีแบบแรก ผมจึงแปล ἀρετή (/aretē/) ทุกค�ำในหนังสือเล่มนี้ว่า “ความดี 29. ค�ำที่เกี่ยวกับ “ความดี” ในหนังสือเล่มนี้มี งาม” โดยผู้อ่านต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า “ความ อยูด่ ว้ ยกัน 2 ค�ำหลักๆ คือ ἀγαθός (/agathos/) ดีงาม” ในความหมายกรีกโบราณนั้น กินความ กับ ἀρετή (/aretē/) เพือ่ ความเข้าใจ ลองพิจารณา กว้างไปถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มี “หน้าที่” เฉพาะ ประโยคค�ำถาม 2 ประโยคนี้ดู: ตัวของมัน ตั้งสัตว์และสิ่งของไปจนถึงมนุษย์ 1) มันเป็นมีดทีด่ ไี หม? 2) มีดเล่มนี้ใช้ยังไงดี? ค�ำว่า “ดี” จากทั้ง 2 ประโยคนี้ มีความหมาย ต่างกันเล็กน้อย ค�ำว่า “ดี” ในประโยคแรกมี ความหมายบ่งชีไ้ ปทาง “คุณภาพ” ของมีด กล่าว คือ มันบ่งชี้ว่า มีดแต่ละเล่มนั้นมีความดีโดยตัว ของมันเองอยู่ มีดทีด่ ที สี่ ดุ ย่อมหมายถึงมีดทีเ่ ข้า ใกล้ความดีของมีดได้มากที่สุด ค�ำว่าดีในความ หมายแรกนี้ เมื่อน�ำมาใช้กับมนุษย์ มันย่อมกิน ความกว้างกว่าความหมายทางจริยธรรมมาก เพราะ “คนดี” อย่างสมบูรณ์แบบย่อมหมาย ถึง “คนดีที่เข้าใกล้ความเป็นคนมากที่สุด” ค�ำ ว่า ἀγαθός (/agathos/) นี้ ผมแปลเป็น “คุณ ความดี” และ “ความดี” (เช่น ค�ำถามของโส คราตีสในหน้า 330d ด้านบน เป็นต้น) ส่วน ค�ำว่า “ดี” ในประโยคที่ 2 มีความหมายบ่งชี้ไป ถึง “หน้าที่” ของสิ่งๆหนึ่ง หรือคนๆหนึ่ง กล่าว คือ ค�ำถามที่สองนั้นถามใหม่ได้ว่า “มีดเล่มนี้ใช้ งานอย่างไรจึงจะท�ำให้หน้าที่ของมันแสดงผลอ อกมาได้อย่างเป็นเลิศที่สุด?” หรือ “มีดเล่มนี้ใช้

30. ตรรกะของโสคราตีสตรงนี้มีความก�ำกวม และสมควรจะตั้งข้อกังขาเป็นอย่างยิ่ง ความ ก�ำกวมดังกล่าวอยู่ตรงค�ำถามว่า “ความเที่ยง ธรรมก็ เ ป็ น ความดี ง ามของมนุ ษ ย์ ใ ช่ ไ หม?” ค�ำถามนี้ตีความได้อย่างน้อย 2 แบบ แบบแรก คือ “ความเที่ยงธรรมนั้นเป็นหมวดหมู่หนึ่งของ ความดีงาม” และแบบที่สองคือ “ความเที่ยง ธรรมกับความดีงามนั้นเป็นสิ่งที่เหมือนกันทุก ประการ เหมือน 1 = 1 อย่างไรอย่างนั้น” ใน ความหมายโดยทัว่ ไป ไม่วา่ จะในยุคกรีกโบราณ หรือในยุคปัจจุบัน เราย่อมเข้าใจความเที่ยง ธรรมด้วยความหมายแบบแรกมากกว่าแบบ ที่สอง และขนาดเพลโตเอง (ดังจะได้เห็นต่อ ไป) ก็ยังจัดความเที่ยงธรรมว่าเป็นความดีงาม ลักษณะหนึ่ง ดังนั้น ตรงนี้โสคราตีสจึงก�ำลัง “ลักไก่” อยู่ โดยเลือกตีความแบบที่สองแทนที่ จะเป็นแบบทีห่ นึง่ (เพราะถ้าความเทีย่ งธรรม = ความดีงาม เป๊ะๆ และถ้าความดีงามของมนุษย์ ลดลงจากการถูกท�ำร้าย ความเที่ยงธรรมก็จะ ต้องลดลงด้วย)


31. ทั้งบิอัส (Bias) และพิททาคัส (Pittacus) (ดูเชิงอรรถที่ 21 ประกอบ) เมื่อฝ่ายตรงข้าม ต่างก็เป็นหนึ่งใน “7 ผู้มีปัญญา” (Seven Wise เสนอค�ำจ�ำกัดความใดๆออกมา โสคราตีสก็จะ Men) แห่งยุคกรีกโบราณ ตอบโต้โดยการตั้งค�ำถามไปมาเพื่อจะท�ำให้อีก ฝ่ายเห็นว่า ค�ำจ�ำกัดความนัน้ ๆมันมีตรรกะทีข่ ดั 32. ทั้ ง โพเลมาร์ คั ส และโสคราตี ส ต่ า งก็ ถู ก กันเองอยู่ นอกจากวาจาย้อนแย้งจะเป็นเทคนิค ประหารชีวิตในเวลาต่อมาด้วยการให้ดื่มยาพิษ ในการพูดของโสคราตีสแล้ว บุคลิกของเขาก็มกั โพเลมาร์คัส “ต่อสู้” เพื่อประชาธิปไตย ส่วนโส จะแสดงลักษณะย้อนแย้งและเสียดสีได้อย่าง คราตีส “ต่อสู้” เพื่ออุดมการณ์ทางปรัชญาของ แนบเนียนสนิทอยูต่ ลอด เช่น ในหน้า 331e เรา ตน ทว่า การ “ต่อสู้” เหล่านี้เป็นทางเดินที่ถูก จะเห็นว่าโสคราตีสพูดจาชืน่ ชมกวีซโิ มนิดสี ก่อน ต้องส�ำหรับมนุษย์หรือเปล่านะ? เลยว่าเป็นผูม้ ี “ปัญญาทัดเทียมเทพเจ้า” แต่หลัง จากนั้นก็จะค่อยๆยิงค�ำถามใส่โพเลมาร์คัสจน 33. เพริอนั ดรัส (Periandrus) เป็นทรราชแห่งคอ สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่านิยามของเขานั้นมี รินธ์ และเป็นหนึ่งใน “7 ผู้มีปัญญา” (แต่โสครา ความขัดแย้งกันในตัวเอง แล้วก็ลงท้ายด้วยการ ตีสไม่ยอมรับ [Protagoras, 343a]) เพร์ดิคคัส บอกว่า คนอย่างกวีซโิ มนิดสี นัน้ “ไม่ใช่ผมู้ ปี ญ ั ญา ในที่นี้หมายถึง เพร์ดิคคัสที่ 2 (Perdiccas II) เสียเท่าไร” (หน้า 335e) กษัตริยแ์ ห่งมาซิโดเนีย เซอรค์ซสี (Xerxes) เป็น กษัตริย์เปอร์เซียที่ยกกองทัพมาบุกกรีก (ดังที่ 36. โสคราตีสพูดเช่นนี้เพื่อเปิดโปงเทคนิคการ ปรากฏในภาพยนตร์เรือ่ ง 300) ส่วนอิสเมนิอสั พูดของธราซิมาคัสที่เขาเพิ่งจะน�ำมาใช้กันตน (Ismenias) ยังไม่รู้ว่าเป็นใคร (336c - d) ซึ่งนั่นก็คือการท�ำให้ค�ำตอบของ อี ก ฝ่ า ยดู งี่ เ ง่ า ได้ ก ่ อ นที่ เ จ้ า ตั ว จะทั น ได้ ต อบ 34. สมัยโบราณมีความเชื่อกันว่า ถ้าปล่อยให้ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่พนักงานไปท�ำงานสาย สัตว์ร้ายเป็นฝ่ายหันมาจ้องเราได้ก่อนล่ะก็ เรา แล้วเจ้านายขึ้นเสียงใส่ว่า “ท�ำไมถึงมาสาย?” ก็จะตัวแข็งกับที่พูดอะไรไม่ออก แต่ก่อนที่พนักงานคนนั้นจะมีโอกาสตอบเขา ก็ตะคอกซ�้ำเข้าไปอีกว่า “คุณจะบอกว่าวันนี้ 35. การใช้ถ้อยค�ำย้อนแย้ง หรือ irony เป็น รถติดใช่ไหม? ฟังไม่ขึ้นหรอก! ผมจะหักเงิน เทคนิคทางการพูดและการเขียนชนิดหนึง่ ซึง่ จะ เดือนคุณ!” ในกรณีนี้ถึงแม้ว่า พนักงานคนนั้น น�ำเอาค�ำสองค�ำหรือสิ่งสองสิ่งที่มีความหมาย จะมาสายเพราะรถติดจริงๆ แต่เขาก็จะไม่กล้า ขัดแย้งกันหรือตรงข้ามกันมาไว้ด้วยกัน โดยไม่ ตอบเช่นนัน้ อีก เพราะค�ำตอบว่า “รถติด” จะฟัง จ�ำเป็นต้องเป็นการเสียดสีหรือถากถางก็ได้ วิธี ดูงี่เง่าไปโดยปริยาย ถึงแม้มันจะเป็นความจริง การใช้วาจาย้อนแย้งของโสคราตีส หรือที่เรียก ก็ ต าม เราจะเห็ นว่ า ธราซิ ม าคั ส น� ำ เทคนิ ค นี้ ว่า Socratic irony นั้น ก็คือการหยิบเอาข้อ มาใช้ต่อหน้าธารก�ำนัลอย่างถูกจังหวะและมี เสนอ นิยาม หรือตรรกะของฝ่ายตรงข้ามมา ประสิทธิภาพมาก เพราะสิ่งที่ธราซิมาคัสโจมตี พิสูจน์ให้เห็นว่ามันมีความขัดแย้งหรือย้อนแย้ง นั้น ไม่ใช่เพียงแค่ค�ำตอบของโสคราตีสเท่านั้น กันในตัว โดยที่ตัวโสคราตีสเองก็ไม่จ�ำเป็นจะ แต่ยังโจมตีไปถึงแก่นของวิธีการตอบค�ำถาม ต้องรู้ค�ำตอบที่ถูกจริงๆก็ได้ ดังนั้น ค�ำถามเริ่ม อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของเขาด้วย (นั่นก็คือ ต้นของโสคราตีสจึงมักจะเป็น “สิ่งนี้คืออะไร” การใช้วาจาย้อนแย้ง หน้า 337a) ไม่ว่าจะเป็น


ค�ำพูดค�ำจา การท�ำทีเป็นโมโห และจากนั้นก็ เปลี่ยนอารมณ์เป็นหัวเราะ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่มี ผลสนับสนุนเทคนิคการพูดของตนทั้งสิ้น จุดนี้ จึงแสดงให้เห็นว่าธราซิมาคัสเป็นตัวละครที่ไม่ ได้กระจอก แต่มีความสามารถด้านการพูดใน ระดับที่ฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ทว่า การที่โสครา ตีสสามารถอ่านเกมออกและแก้ลำ� กลับได้อย่าง แยบยลนั้น ก็บ่งบอกถึงความสามารถทางการ พูดในระดับสูงเช่นกัน (ถึงแม้ทั้งโสคราตีสและ เพลโตจะประกาศตัวว่าไม่ชอบเทคนิคของพวก โซฟิสท์เท่าไรนักก็ตาม)

แตกต่างจากความเที่ยงธรรมในอีกเมืองหนึ่ง ซึ่งปกครองโดยคนอีกพวกหนึ่งเสมอ เมื่อเป็น เช่นนี้ นิยามของความเทีย่ งธรรมจึงเปลีย่ นแปลง ไปตามช่วงเวลาและสถานที่ หรือ “สัมพัทธ์” (relative) นั่นเอง แน่นอนว่านิยามแบบนี้ โส คราตีส ผูแ้ สวงหาความจริงแท้อนั เป็นหนึง่ เดียว ย่อมรับไม่ได้ 42) โพลิดามัส (Polydamus) เป็นนักกีฬามวย ปล�้ำ ผู้ชนะเลิศในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 93 ใน ปี 408 ก่อนคริสตกาล 43)

37. หมายถึงตัวอย่างของโสคราตีส กับค�ำพูด 43) ค�ำว่า πόλις (/polis/) ในหนังสือเล่ม ของธราซิมาคัสในหน้า 336c – d นี้จะแปลเป็น “เมือง” (ไม่ใช่ “รัฐ”) ในสมัย กรีกโบราณ กรีกเป็นดินแดนที่ประกอบขึ้นจาก 38. “ไอ้คนที่ถูกถาม” โสคราตีสหมายถึงตัวเอง เมืองหลายๆเมืองรวมกัน (บางต�ำราก็เรียกเป็น “นครรัฐ” หรือ “รัฐ”) ไม่ได้เป็นประเทศเดี่ยวๆ 39. หมายถึ ง ค� ำ ตอบที่ ธ ราซิ ม าคั ส ห้ า มไว้ เหมือนทุกวันนี้ 45) ในหน้า 336d 40) 44. นิยามความเที่ยงธรรมที่คเลโตฟอนเสนอ 40. ในระบบไต่สวนคดีของเอเธนส์ หากพบ นัน้ เป็นสัมพัทธนิยมแบบสุดโต่ง ไม่เหมือนของ ว่าจ�ำเลยมีความผิดจริง เขาจะได้รับโอกาสให้ ธราซิมาคัส (ดูเชิงอรรถที่ 41 ประกอบ)นิยาม เสนอบทลงโทษแก่ตัวเองซึ่งต่างออกไปจากที่ ของธราซิมาคัสนั้น เป็นสัมพัทธนิยมก็จริง แต่ ฝ่ายโจทก์เรียกร้องมาได้ ค�ำพูดของธราซิมาคัส มันก็ยังอยู่ในระดับที่น�ำมาถกเถียงกันได้ แต่นิ นั้นล้อไปกับระบบนี้ ยามของคเลโตฟอนนั้นไปไกลจนสุดโต่งจนไม่ สามารถถกเถียงกันได้อีก มันเหมือนกับการ 41. ค�ำตอบของธราซิมาคัสเป็นรูปแบบเฉพาะ พูดว่า “เธอชอบกินข้าว แต่ฉนั ชอบกินก๋วยเตีย๋ ว ตัวของพวกโซฟิสท์ ซึ่งมักถูกท�ำมาใช้โต้เถียง คนแต่ละคนย่อมมีรสนิยมการกินที่ต่างกัน ใคร กันในทางการเมือง ค�ำตอบเช่ นนี้ ว างอยู ่ บน จะท�ำไมเหรอ?” ส่วนนิยามของธราซิมาคัสนั้น ฐานความคิดที่ว่า ไม่มีนิยามใดๆในโลกนี้ที่เป็น เหมือนกับการพูดว่า “รสนิยมการกินของแต่ละ สากล หรือทีเ่ รียกว่า “สัมพัทธนิยม” หรือ relativ- คนนั้นถูกก�ำหนดจากการปลูกฝังของพ่อแม่” ism (กล่าวคือ อยู่คนละขั้วกับนักปรัชญาอย่าง มันจึงยังสามารถถกเถียงกันต่อได้ โสคราตีสที่แสวงหานิยามอันเป็นสากล) เพราะ เมื่อความเที่ยงธรรมคือผลประโยชน์ของฝ่ายที่ 45. เช่น ความรู้ทางการค�ำนวณไม่เคยสอนว่า แข็งแกร่งกว่า นั่นก็แปลว่า ความเที่ยงธรรมใน “2+2 = 5” ถ้านักค�ำนวณบังเอิญไปบวกเลขผิด เมืองๆหนึ่ง โดยผู้ปกครองชุดหนึ่ง ย่อมต้อง พลาดให้ 2+2 = 5 ความผิดพลาดนีก้ ไ็ ม่ได้มาก


จากความรู้ทางการค�ำนวณ เพราะการค�ำนวณ ไม่เคยสอนว่า “2+2 = 5” เพราะฉะนั้น ต่อให้ นักค�ำนวณคิดเลขผิด ก็ไม่ได้แปลว่าเขาก�ำลัง ท�ำพลาดในฐานะของนักค�ำนวณ แต่มันมาจาก ความผิดพลาดอันเป็นสามัญของมนุษย์ต่าง หาก กล่าวคือ ธราซิมาคัสก�ำลังจะอ้างว่า การ ออกกฎหมายผิดพลาดของนักปกครองนั้น ไม่ ได้เกิดขึน้ ในฐานะของนักปกครอง เพราะศิลปะ การปกครองย่อมไม่เคยสอนให้ออกกฎหมาย พลาดนั่นเอง

49. ค� ำ ว่ า “คนที่ ต ่ า งจากพวก” หรื อ “คน ไม่ เ ข้ า พวก” แปลจากค� ำ ว่ า ἀλλότριον (/allotrion/) ซึง่ เป็นค�ำตรงกันข้ามกับ οικείον (/oikeion/) ซึ่งแปลว่า “สมาชิกในครอบครัว” หรื อ “พวกเดี ย วกั น ” (มาจากค� ำ ว่ า οἶκος [/oikos/] ซึง่ แปลว่า “บ้าน” หรือ “ครอบครัว” ค�ำนี้ เป็นค�ำส�ำคัญในปรัชญาสโตอิก [stoicism] ใน ยุคต่อมา) ดังนัน้ ค�ำว่า “คนทีต่ า่ งจากพวก” ของ ธราซิมาคัสในที่นี้ จึงหมายถึง “คนที่แข็งแกร่ง กว่าคนอื่นๆทั้งหมดไม่อยู่ในพวกเดียวกับใคร” กล่าวคือเป็นผูน้ ำ� แบบเผด็จการอ�ำนาจเบ็ดเสร็จ 46. เช่ น ศิ ล ปะเฉพาะทางการแพทย์ ย ่ อ ม นั่นเอง เกิดขึ้นเพื่อให้ประโยชน์แก่คนเจ็บป่วย ไม่ใช่ ประโยชน์แก่ตัวแพทย์เอง 50. ต�ำแหน่งราชการในกรุงเอเธนส์โบราณมัก จะเป็ น หน้ า ที่ ที่ ถู ก เลื อ กขึ้ น มาโดยประชาชน 47. ค�ำว่า “องค์ความรู้” หรือ “วิชชา” แปล เพื่อให้ท�ำงานสาธารณะ พวกเขามักจะได้ค่า จากค�ำว่า ἐπιστήμη (/epistēmē/) หมายถึงชุด ตอบแทนต�่ำมาก หรือบางครั้งก็ไม่ได้อะไรเลย ของความรู้ ซึ่งมีระบบสมบูรณ์อยู่ในตัวของมัน ค�ำๆนี้คล้ายกับค�ำว่า “ศิลปะเฉพาะทาง” อยู่ 51. เข้าใจว่า พนักงานในโรงอาบน�้ำสาธารณะ พอสมควร (กล่าวคือ ไม่ได้แยกขาดจากกันเป็น ของเอเธนส์สมัยนั้นน่าจะเป็นคนพูดมากและ “ความรู้” กับ “การปฏิบัติ” อย่างชัดเจนเหมือน หยาบคาย ทุกวันนี้) ดังจะเห็นได้ว่า ในงานของเพลโตนั้น ค�ำว่า “ศิลปะเฉพาะทาง” กับ “องค์ความรู”้ เป็น 52. ต้นฉบับใช้ค�ำว่า φέρω ซึ่งในที่นี้หมายถึง สองค�ำทีเ่ พลโตน�ำมาใช้รว่ มกันอยูบ่ อ่ ยๆ เช่น ใน การอุม้ ประคองเหมือนเวลาอุม้ เด็กทารกเพือ่ จะ บทสนทนาชื่อ Ion โสคราตีสกล่าวว่าการร่าย ให้นม ธราซิมาคัสพูดล้อไปกับหน้า 343a โดย กลอนนั้น “ไม่ได้อาศัยความศิลปะเฉพาะทาง จะบอกตัวเองเป็นแม่นมของโสคราตีส หรือองค์ความรู้อะไรเลย” (Ion, 532c) 53. หมายถึงหน้า 342a – c 48. กล่าวคือ ถ้ามีแพทย์คนไหนที่รักษาคนไข้ เพื่อหาก�ำไร การหาก�ำไรนั้นย่อมเกิดขึ้นจาก 54. “อ�ำนาจ” หรือ “พลังอ�ำนาจ” (และบาง ศิลปะการหาเงิน ไม่ใช่ศิลปะการแพทย์ เพราะ ครั้งก็แปลเป็น “ความสามารถ”) แปลจากค�ำ ศิลปะการแพทย์ไม่ได้สอนการหาเงิน แต่สอน ว่า δύναμις (/dynamis/) ซึ่งกินความกว้าง การรักษาคนไข้ นี่เป็นตรรกะแบบเดียวกันกับที่ กว่า “อ�ำนาจ” ในความหมายปัจจุบัน กล่าวคือ ธราซิมาคัสใช้ในหน้า 340d – 341a โสคราตี มันกินความถึงความสามารถในการใช้งานของ สก�ำลังใช้ตรรกะของธราซิมาคัสย้อนกลับมาเล่น สิ่งต่างๆด้วย เช่น “อ�ำนาจของดวงตา” คือการ งานตัวธราซิมาคัสเอง มองเห็น เป็นต้น


55. “ศิลปะการรับค่าแรง” หรือ “μισθωτικὴ” เป็นค�ำศัพท์ที่โสคราตีสร้างขึ้นมาเอง โดยเอา μισθόν (ค่าแรง, ค่าตอบแทน) + τέχνη (ศิลปะ) ผมคิดว่า ค�ำๆนี้แม้แต่คนในสมัยของโสคราตี สมาฟังเข้าก็คงต้องรู้สึกแปลกๆเช่นเดียวกัน 56. ในงานเขียนเรื่อง Apologia โสคราตีส แพ้คดี เพราะไม่สามารถสู้กับความเห็นของคน หมู่มากได้ วิธีการโต้เถียงที่โสคราตีสเสนอมา ตรงนี้จึงเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถการันตีชัยชนะ ของตนเองในศาล หากฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถ เอาชนะ “ความย้อนแย้ง” ของเขาได้ 57. ค�ำว่า “ความใสซือ่ ” ทีธ่ ราซิมาคัสพูด คือค�ำ ว่า εὐήθεια (/euētheia/) แปลตามรากศัพท์วา่ “สันดานดี” (εὐ + ἦθος) ส่วน “สันดานชั่ว” ที่ โสคราตีสพูดคือ κακοήθεια (/kakoētheia/; κακία + ἦθος) กล่าวคือ ถ้าความเที่ยงธรรม ส�ำหรับธราซิมาคัสคือ “สันดานดี” (εὐήθεια) ความไม่ เ ที่ ย งธรรมก็ ต ้ อ งเป็ น สั น ดานชั่ ว (κακοήθεια) ใช่ไหม? นี่เป็นอีกครั้งที่โสครา ตีสแสดงบุคลิกอันย้อนแย้งตามแบบฉบับของ ตนออกมาได้อย่างชัดเจนมาก นัน่ ก็คอื เขาก�ำลัง “ตีหน้าซือ่ ” ท�ำราวกับว่าตัวเองไม่เข้าใจการเล่น ส�ำนวนของธราซิมาคัส และแปลค�ำว่า εὐήθεια ของธราซิมาคัสตามรากศัพท์ แทนทีจ่ ะแปลตาม ความหมายปกตินั่นเอง (โสคราตีส: “อะไรนะ ธราซิมาคัส เจ้าบอกว่าคนเที่ ยงธรรมคื อ คน ‘สันดานดี’ ใช่ไหม?”) 58. “ปฏิ ภ าณ” แปลจากค� ำ ว่ า φρόνησις (/phronēsis/) ค�ำๆนีเ้ ป็นค�ำคล้ายกับ “ปัญญา” หรือ “σοφία” (/sophia/; /โซเฟีย/) ต่างกันเล็ก น้อยตรงที่ “ปฏิภาณ” นัน้ เป็นเป็นเหมือนปัญญา ปฏิบตั ิ ซึง่ น�ำมาใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน แต่ “ปัญญา” เป็นปัญญาที่ใช้ในการท�ำความเข้าใจความจริง

แท้ ถ้าจะเปรียบเทียบเป็นภาษาไทยง่ายๆ ก็ อาจจะกล่าวว่า ค�ำแรกนั้นเป็น “ปัญญาทาง โลก” ส่วนค�ำหลังเป็น “ปัญญาทางธรรม” นัน่ เอง 59. เพราะถ้าพูดกันแบบ “ละเอียด” ที่สุดตาม ตรรกะของธราซิมาคัส นักดนตรียอ่ มหมายถึงผู้ ฝึกปรือศิลปะเฉพาะทางดนตรีและมีองค์ความรู้ ทางดนตรีครบถ้วน ดังนั้น ทุกๆคนที่เคยฝึกฝน ศิลปะแขนงนี้ย่อมต้องกลายเป็นนักดนตรีที่มี ความสามารถเท่ากัน แต่ถ้ามีนักดนตรีคนใด เล่นดนตรีได้แย่กว่าคนอื่นๆ มันก็ย่อมมิได้เกิด จากความผิดพลาดขององค์ความรู้ทางดนตรี เพราะองค์ความรู้ทางดนตรีย่อมไม่เคยสอน ให้เล่นเพี้ยน แต่อาจจะเกิดจากความสามารถ ทางการเรียนรู้หรือความสามารถทางกายภาพ ที่มีไม่เท่ากัน ไม่ใช่ความผิดขององค์ความรู้ ทางดนตรี ด้วยเหตุนี้ นักดนตรีคนหนึ่งจึงไม่ ต้องการและไม่จ�ำเป็นจะต้องมีความสามารถ เชิงดนตรีที่เหนือกว่านักดนตรีคนอื่นๆ เพราะ การเล่นได้แย่ ไม่มีอยู่ในหลักสูตรดนตรีนั่นเอง (ดู 340e – 341a) 60. “ผู ้ มี ค วามรู ้ ” ในที่ นี้ คื อ ἐπιστήμων (/epistēmōn/) ซึ่งหมายถึงองค์ความรู้ที่ยึดโยง กับศิลปะเฉพาะทาง (ดูเชิงอรรถที่ 47) ส่วนการ “มีปญ ั ญา” ในทีน่ คี้ อื σοφός (/sophos/) ซึง่ เป็น หนึง่ ในความดีงามตามทัศนะของชาวกรีกโบราณ การไขว่คว้า “ปัญญา” มาไว้กบั ตัวให้ได้ เป็นเป้า หมายอย่างหนึ่งของปรัชญากรีกโบราณ เพราะ มันจะน�ำไปสู่การประสบความส�ำเร็จในชีวิต 61. ข้อสรุปบรรทัดนีเ้ กิดจากการคิดตามตรรกะ ดังต่อไปนี้ – 1) คนมีความรู้ย่อมไม่ต้องการอยู่ เหนือว่าคนที่เหมือนกับตน (349e – 350a) และ 2) คนมีความรู้ก็มีปัญญาและเป็นคนดี (350b) เพราะฉะนั้น 3) คนมีปัญญาและคน


ดีจึงไม่ต้องการอยู่เหนือกว่าที่เหมือนกับตน (350b) และในเมือ่ 4) คนเทีย่ งธรรมไม่ตอ้ งการ อยู่เหนือกว่าคนที่เหมือนกับตน (349b – c) เพราะฉะนัน้ จึงได้ขอ้ สรุปตรงนีว้ า่ คนเทีย่ งธรรม ย่อมเหมือนกับคนมีปัญญาและคนดี และคนไม่ เที่ยงธรรมก็เป็นตรงกันข้ามทุกประการ 62. จากหน้า 349d

เขายังต้องการ “สอน” พวกนัน้ ด้วยว่า การน�ำเอา เทคนิคการพูดมาใช้สอน “ในทางที่ถูก” นั้นเป็น อย่างไร (สังเกตว่าในหน้า 338a โสคราตีสใช้คำ� ว่า “ค�ำสอน” กับนิยามของธราซิมาคัส) 65. ธราซิมาคัสผู้น่าสงสาร ถ้าเขาขืนตอบว่า เทพเจ้าไม่เทีย่ งธรรม หรืออะไรท�ำนองนัน้ เขาจะ ไม่เพียงเป็นศัตรูกับโสคราตีส หากแต่จะเป็น ศัตรูกับเมืองทั้งเมืองเลยล่ะ

63. หมายถึงหน้า 344c 66. หมายถึงหน้า 347e 64. ถ้ า ยั ง จ� ำ ได้ ธราซิ ม าคั ส ปรากฏตั ว ขึ้ น พร้อมกับใช้เทคนิคของตน “ห้าม” โสคราตีส ไม่ให้พดู (336b – 337c) และตอนนัน้ โสคราตีส เองก็พูดในท�ำนองเดียวกันว่าตนนั้นถูกห้ามไม่ ให้พูดในสิ่งที่ต้องการจะพูด (337e) ตอนนี้ สถานการณ์กลับตาลปัตรแล้ว ธราซิมาคัสมา อยู่ในต�ำแหน่งที่โสคราตีสเคยอยู่ และต้องเป็น ฝ่ายต้องพูดอย่างเดียวกับทีโ่ สคราตีสเคยพูด เขา ไม่ได้แพ้โดยราบคาบเท่านั้น เขายังแพ้ในฐานะ ของโซฟิสท์ดว้ ย จริงอยู่ ทัง้ เพลโตและโสคราตีส ต่ า งก็ ว างตั ว ว่ า เป็ น ปฏิ ป ั ก ษ์ กั บ พวกโซฟิ ส ท์ ตลอดมา แต่ลองคิดดูให้ดวี า่ หากมีโซฟิสท์คนใด หยิบบทสนทนาของเพลโตขึน้ มา มันจะท�ำให้เขา พูดว่า “เออ เลิกเป็นโซฟิสท์ดกี ว่า” อย่างนัน้ หรือ? คิดว่าคงไม่มโี ซฟิสท์คนไหนยอมเลิกอาชีพโซฟิสท์ เพียงเพราะได้อา่ นงานของเพลโตเป็นแน่ และผม ก็คดิ ว่า เพลโตเองก็นา่ จะรูถ้ งึ ข้อนีด้ ี นอกจากนัน้ เราจะเห็นว่า ถึงแม้จะออกปากว่าไม่ชอบโซฟิสท์ แต่โสคราตีสก็ยงั น�ำเอาเทคนิคของโซฟิสท์มาใช้ ได้อย่างดีเลิศ จนแทบเรียกได้ว่า ถ้าไม่เห็นเป็น ชือ่ ของโสคราตีส เราก็คงคิดว่าหมอนีเ่ ป็นโซฟิสท์ อี ก คนหนึ่ ง ไปแล้ ว ด้ ว ยเหตุ นี้ ผมจึ ง คิ ด ว่ า เป้าหมายของเพลโตในการเขียนงานเหล่านี้ นอกจากจะเป็นการตอบโต้พวกโซฟิสท์แล้ว

67. ในปรัชญากรีกโบราณหลายส�ำนัก เป้าหมาย สูงสุดของชีวิตมนุษย์ คือการไขว่คว้า “ความสุข สมบูรณ์” หรือ εὐδαιμονία (/eudaimonia/; /ยู ไดโมเนีย/) “ยูไดโมเนีย” นัน้ เป็นมากกว่าความสุข ทางกาย เพราะมันหมายถึง “การประสบความ ส�ำเร็จ” ของชีวติ มนุษย์ดว้ ย (ดังนัน้ ผูศ้ กึ ษาเพลโต บางคนจึงแปลมันว่า “การประสบความส�ำเร็จ” แต่ส่วนใหญ่มักจะแปลห้วนๆว่า “Happiness” หรือ “ความสุข”) ทีนี้ การจะไปถึง “ยูไดโมเนีย” ได้นนั้ ก็จำ� เป็นจะต้องไขว่คว้า “ปัญญา” (wisdom) บางชุ ด มาไว้ กั บ ตั ว ให้ ไ ด้ เพื่ อว่ า จะได้ น� ำ มา ปฏิบตั ิ และส�ำนักปรัชญาแต่ละส�ำนักในสมัยนัน้ ก็จะให้แนวทางอันแตกต่างกัน เช่น บางส�ำนัก กล่ า วว่ า ความสุ ข สมบู ร ณ์ นั้ น เกิ ด จากการใช้ ชีวิตอย่างมีความสุขกายให้ได้มากที่สุดก็เพียง พอแล้ ว เพราะพวกเขาไม่ เ ชื่ อว่ า มี โ ลกหลั ง ความตาย เป็นต้น ในบทสนทนาเรือ่ ง Republic เพลโตเองก็พยายามจะน�ำ “ความเที่ยงธรรม” เข้ามาเชื่อมโยงกับ “ยูไดโมเนีย” เช่นกัน ดังนั้น การตอบค�ำถามทีว่ า่ “คนเทีย่ งธรรมมีชวี ติ ทีด่ กี ว่า และสุขสมบูรณ์ยิ่งกว่าคนไม่เที่ยงธรรมหรือไม่” จึงเป็นค�ำถามส�ำคัญมาก และเกีย่ วพันกับ “การ ด�ำรงชีวิตอย่างเหมาะสม” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


68. ดูเชิงอรรถที่ 29 ประกอบ – โดยเฉพาะ ในส่ ว นที่ ผ มอธิ บ ายว่ า “ความดี ง าม” นั้ น สัมพันธ์กับ “หน้าที่” อย่างไร 69. กล่าวคือ ต้องมี ความดีงามของดวงตา “ซึง่ หน้าที่ของดวงตาจะต้องบรรลุถึงให้ได้” 70. ค�ำว่า “จิตวิญญาณ” แปลจาก “ψυχή” (/psychē/; /ซูเค่/) นอกจากค�ำๆนี้จะหมายถึง “วิญญาณ” (soul) และ “จิตใจ” (mind) ตาม ความหมายทางศาสนาและความหมายทาง จิตวิทยาแล้ว ในสมัยกรีกโบราณ มันยังมีความ หมายทีก่ ว้างออกไปถึง “ทุกสิง่ ทุกอย่างทีข่ องเรา ที่ต้องอาศัยการคิด” อีกด้วย เช่น หลักในการ ด�ำเนินชีวิต วิถีชีวิต การปกครอง ฯลฯ ด้วยเหตุ นี้ การเป็นคนเที่ยงธรรมหรือไม่นั้น จึงเป็นเรื่อง ทีเ่ กีย่ วข้องกับจิตวิญญาณโดยตรง เพราะมันเป็น เรื่องการใช้ชีวิตด้วยความถูกต้อง 71. นั่นคือหน้า 350c



ร่วมสนับสนุนโครงการคืนวรรณกรรมให้ประชาชน Republic ฉบับสาธารณะ

วรรณกรรมไม่จ�ำกัด http://unlimitedliterature.org https://www.facebook.com/unlimitedliterature



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.