Vice Versa vol. 1

Page 1

vice versa


Essay 10

22

44

56

112

โลกที่ไร้พระเจ้า: ศาสนา ความดีและวิทยาศาสตร์ พิพัฒน์ สุยะ

Editor’s note

พระเจ้า: “ความเป็นอื่นของความเป็นอื่น” ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย

6

เคียร์เคอการ์ด :มนุษย์เบื้องหน้าพระเจ้า รชฎ สาตราวุธ เสียงครวญจากใต้ถุนของปราสาทแก้วฯ สุริยาพร เอี่ยมวิจิตร์ เอมมานูเอล เลวีนาสกับใบหน้าคนอื่น คงกฤช ไตรยวงค์

124

172

188

194

ว่าด้วยการตีความปฐมกาล ของ ลีโอ สเตร๊าส์ ธีรวัฒน์ อธิการโกวิทย์ แปล ชีวติ : Gilles Deleuze กับฐานคิดของโพสฮิวแมนนิสม์ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ อะควีนัสกับคนขี้เมา พรวิภา ลิ้มใช้ พันธมิตรระหว่างม็อบกับทุน ฮานน่า อาเร็นดท์ พุทธพล มงคลวรวรรณ แปล

298 ฮินดูกับลึงค์คดี คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง 310

vice versa

Mr. Grey (50 Shades of Grey) ชวิศา มณีโกศล และ ปรีชภักดิ์ ทีคาสุข


Interview 74

เอ็กซิสฯมาจากไหน? สุชาติ สวัสดิ์ศรี

Criticism 266

อสรพิษ :ความง่อนแง่นบนเส้นด้าย ของคุณค่าวรรณกรรมซีไรต์ อาทิตย์ ศรีจันทร์

Fiction 212

234

Poem 295 กระบอกปืนลั่นเป็นเสียงพระเจ้า... อนุชา วรรณาสุนทรไชย 296 Fairy Tale - เทพนิยาย Robert Desnos ภาคิน นิมมานนรวงศ์ แปล 316

ผู้ร่อนเร่พเนจร ซะการีย์ยา อมตยา

242

254

ชิ้นสุดท้าย เขียนเงียบ

น่าจะใช่ กามูส์คือชื่อร้าน เขนน�้ำ หลังเทา อีก-ฝั่ง วยากร พึ่งเงิน ฝั่งที่สามของล�ำน�้ำ João Guimarães Rosa จิรวัฒน์ แสงทอง แปล

Incipit 322

318

เตรายัวเพลิงเยี้ยะ หรือไปเอาดวงไฟมาจากยักษ์ ภู กระดาษ

The Savage Detectives ของ Roberto Bolaño พิชญ์พงศ์ เพ็งสกุล แปล


4

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ที่ปรึกษา: บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ พิพัฒน์ สุยะ, เกษม เพ็ญภินันท์, พิพัฒน์ พสุธารชาติ vice versa

บรรณาธิการ : กิตติพล สรัคคานนท์ กองบรรณาธิการ: คงกฤช ไตรยวงศ์ ภาณุพงศ์ เชยชื่น, พลอยรุ้ง สุวรรณดี ฝ่ายศิลป์: Ideogram Creative

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

5



vice versa vice versa เป็นถ้อยความในภาษาละตินทีแ่ ปลเป็นไทยอย่างลาํ ลองคือ “ในทาง กลับกัน” ตรวจพบว่ามีการใช้ตงั้ แต่ศตวรรษที่ 1600 เป็นต้นมา และมันได้กลายเป็น ชื่อนวนิยาย vice versa (1882) ยอดนิยมของ Thomas Anstey Guthrie ที่ได้ เขียนไว้ตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อันเป็นเรื่องราวของพ่อลูกคู่หนึ่งที่ดูไม่ลง รอยกัน จวบจนเกิดเหตุอศั จรรย์ในวัน หนึง่ ‘หินวิเศษ’ จากอินเดียได้เปลีย่ นสลับ วิญญาณพ่อสูร่ า่ งลูก วิญญาณลูกสูร่ า่ งพ่อ ลูกได้เริม่ เรียนรูบ้ ทบาทความรับผิดชอบ ของพ่อ พ่อได้เริ่มเรียนรู้บทบาทของลูกในโรงเรียน และเมื่อวิญญาณทั้งสอง สลับกลับสู่ตัวเองอีกครั้ง ทั้งคู่ก็เริ่มเข้าอกเข้าใจกัน มันได้กลายเป็นต้นเรื่องของ ภาพยนตร์ประเภทสลับร่างนับจากต้นศตวรรษที่ 20 เรื่อยมา นอกจากนั้นแล้ว vice versa ก็ยังเป็นทั้งชื่อวงดนตรี บทเพลง อัลบั้ม ภาพยนตร์ และช็อคโกแล็ต ซึ่ ง แน่ น อนที่ สุ ด ว่ า บั ด นี้ ไ ด้ ก ลายเป็ น วารสาร ปรั ช ญาและวรรณกรรมใน ภาคภาษาไทย กระนั้น vice versa ก็มิใช่หนังสือหัวใหม่ เพราะก่อนหน้านั้นไม่นาน มัน เคยเป็นวารสารของคนรุ่นใหม่ในรั้วมหาวิทยาลัย (ที่คิดชื่อโดยอาจารย์พิพัฒน์ สุยะ) ซึ่งนําเสนอภาพด้านกลับและวิพากษ์วิจารณ์การรับน้องได้อย่างแหลมคม vice versa เล่มปัจจุบันนี้จึงนับว่าเป็นการรับช่วงต่อ และมุ่งมาดปรารถนาไปสู่ การเป็นวารสารรายครึ่งปีที่สามารถผลักดันให้ออกมาอย่างต่อเนื่องขึ้น ในเล่มนี้ เราได้ให้ชื่อไว้อย่างกว้างๆ ว่า ‘โลก-มนุษย์-พระเจ้า’ โดยเนื้อหา ส่วนหนึ่งนั้น เรายกให้แก่การน้อมนําทําความรู้จัก นักเทววิทยา-นักปรัชญา

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

7


เดนมาร์ก Søren Kierkegaard ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดา หรือต้นกําเนิดสายหนึ่งของ ปรัชญา Existentialism หรือใครจะเรียกอย่างไทยๆ ตามทีอ่ าจารย์กรี ติ บุญเจือ บัญญัติไว้ว่า ‘อัตถิภาวนิยม’ ก็สุดแท้ Existentialism คืออะไร? กล่าวอย่างกว้างๆ Existentialism คือความ เคลื่ อ นไหวทางความคิ ด หนึ่ ง ที่ ริ เ ริ่ ม ขึ้ น ในทวี ป ยุ โ รป ตั้ ง แต่ ป ลายศตวรรษ ที่ 19 และแผ่ ข ยายอิ ท ธิ พ ลต่ อ ทั้ ง โลกผ่ า นปรั ช ญา จิ ต วิ ท ยา วรรณกรรม การละคร ดนตรี หรือภาพยนตร์จวบจนปลายศตวรรษที่ 20 แม้มีความแตกต่าง หลากหลายในชนิ ด รายละเอี ย ด และคงยั ง ถกเถี ย งกั น อยู ่ ใ นหมู ่ ผู ้ ศึ ก ษา ประวัตศิ าสตร์ความคิดจนถึงปัจจุบนั ทว่า Existentialist นัน้ มีจดุ ยืนทางความคิด ร่วมกันในเรือ่ งของการให้คา่ ความสาํ คัญกับการดาํ รงอยู่ (existence) ด้วยเชือ่ ว่า ระบบปรัชญาความคิดที่มุ่งแสวงหาสารัตถะ (essence) นั้นทําให้มนุษย์หนีห่าง ออกไปจาก ‘ความจริง’ ซึ่งที่แท้แล้วอยู่ใน ‘การดํารงอยู่’ หรือ ‘อัตถิภาวะ’ ของ คนแต่ละคน เหมือนดังคาํ กล่าวอันโด่ง ดังของ Jean-Paul Sartre ทีว่ า่ “การดาํ รง อยูม่ าก่อนสารัตถะ” ฉะนัน้ Existentialism ในความหมายอย่างกว้างทีส่ ดุ จึงให้ ความสําคัญกับเสรีภาพ (freedom) การเลือก (choice) และคงรวมให้อารมณ์ (emotions) การกระทํา (actions) ต่างๆ ด้วยเช่นกัน แม้บา้ นเราจะไม่มงี านแปลทางปรัชญาของ Kierkegaard, Heidegger หรือ Sartre เล่มสําคัญออกมาในภาคภาษาไทย แต่ก็ต้องกล่าวว่า Existentialism เป็นกประแสธารความคิดที่สนิทแนบกับสังคมไทยนับตั้งแต่ พ.ศ. 2511 หรือ ค.ศ. 1968 เรื่อย มาผ่านทางวรรณกรรมและบทละครเป็นหลักใหญ่ ในสมัยนั้น มักปรากฏตามหน้าวารสาร หรือสิง่ ตีพมิ พ์ชนิดทีเ่ รียกกันว่า ‘หนังสือเล่มละบาท’ ทีก่ ลุม่ นักศึกษาในชมรมต่างๆ ได้จดั ทาํ ขึน้ และจาํ หน่ายหน้าประตูรวั้ มหาวิทยาลัย ซึ่งนอกจากบทกวี

8

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เรื่องสั้น บทความที่นําเสนอความคิดแบบซ้ายเก่า หรือซ้ายใหม่ ก็เริ่มมี Existentialism แทรกแซมเข้าไป โดยบุคคลหนึ่งผู้ แนะนําให้นักอ่านเริ่มรู้จัก ชื่อ Sartre ก็คือ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ในวัยหนุ่ม บทความว่าด้วย Jean-Paul Sartre ของเขา ทําให้ ใครหลายคนสนอกสนใจผลงานและความความคิดของ Sartre ที่ ถือกันว่าเป็นประกาศกสําคัญของ ‘เอ็กซิสต็องเซียลลิสม์’ ด้วยเหตุนี้เองกระมัง เพื่อนสนิทมิตรสหายทั้งหลายจึงให้ฉายาเขาว่า “สุซาร์ตร์” หรือ “ฌ็อง-ปอล ชาติ” ในกาลต่อมา แต่ในอีกทางก็ไม่อาจปฏิเสธได้วา่ กระแสธารความคิดแบบ Existentialism ได้เริ่มสถาปนาตนในการรับรู้ของหมู่นักอ่าน ชาวไทยก่อนแล้วจากงาน คนนอก (L’Étranger) ของ Albert Camus ที่อําพรรณ โอตระกูลได้แปลออกมา “ฉัน ไม่ใช่คนที่นี่ และไม่ใช่คนที่อื่นใดด้วย โลกเป็นเพียงทัศนียภาพแปลกตาซึ่งใจฉัน ไม่อาจยึดอิงเป็นที่พํานักพักพิงได้” คํากล่าวของกามูส์เกี่ยวแก่นวนิยายเล่มนี้ (ซึ่งอําพรรณได้แปลและบรรจุไว้ในเล่ม) ประทับอยู่ในความจําได้หมายรู้ของ ผู้อ่านมากมาย นับจากนั้น vice versa ฉบับนี้ ย่อมเกิดขึน้ ไม่ได้เลยหากปราศจากความริเริม่ และทุม่ เท ทํ า งานของ อาจารย์ ค งกฤช ไตรยวงค์ ที่ ทํา การติ ด ต่ อ นั ก เขี ย น-นั ก แปล นักวิชาการ กวีมากมายให้เข้ามาร่วมในกิจกรรมแบ่งบันปัญญาความรู้ แม้ไม่มี อามิสสินจ้างเป็นการตอบแทน สุดท้ายผมในฐานะบรรณาธิการต้องขอขอบคุณ ทุกท่านทีส่ นับสนุนบทความ เรื่องสั้น บทกวี และบทวิจารณ์ พร้อมน้อมรับข้อติชมในทุกเรื่อง เพื่อนําไป ปรับปรุงแก้ไขในคราวต่อไป กิตติพล สรัคคานนทฺ์

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

9



/ Essay /

โลกที่ไร้พระเจ้า

ศาสนา ความดีเเละวิทยาศาสตร์ พิพัฒน์ สุยะ

ค�ำ

Albrecht Dürer: The Trinity 1511

vice versa

ถามหนึ่งที่มีมาตลอดทุกยุคทุกสมัยของประวัติศาสตร์ของ มนุษย์ก็คือ พระเจ้ามีอยู่หรือไม่ และแน่นอนว่าค�ำถามดัง กล่าวเป็นที่สนใจในทางปรัชญาและศาสนา ข้อถกเถียงเรื่องพระเจ้า มีอยู่หรือไม่นั้นก็เป็นหัวข้อส�ำคัญในปรัชญาและมีพรมแดนแผ่กว้าง ออกไปไม่รู้จบสิ้น ซึ่งหลายคนก็ทราบกันดีอยู่แล้ว และบทความนี้ก็ มิได้มีเป้าหมายในการเข้าไปส�ำรวจข้อถกเถียงต่างๆ เกี่ยวกับการมี อยู่ของพระเจ้า แต่ผู้เขียนแค่ประสงค์ที่จะแนะน�ำแนวคิดๆ หนึ่งเข้า มาเพิ่มเติมในการถกเถียงเรื่องนี้ ซึ่งแนวคิดนี้ก็ไม่ใช่แนวคิดใหม่แต่ อย่างใด หลายคนก็รู้จักเป็นอย่างดี แต่เป็นแนวคิดที่เมื่อเราเอ่ยถึง ศาสนาแล้วมักจะมีความคิดนี้ติดตามมาราวกับเป็นเงาตามตัว นั่นก็ คือ แนวคิดแบบ อเทวนิยม (Atheism) และ อเทวนิยม ในที่นี้กิน ความหมายกว้างที่สุด คือ พวกที่ไม่เชื่อในพระเจ้า หรือโลกของคน พวกนี้ก็คือ “โลกที่ไร้พระเจ้า” เมื่อเราเอ่ยถึงแนวคิดแบบ อเทวนิยม แน่นอนว่าย่อมได้รับเสียง

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

พิ พั ฒ น ์ สุ ย ะ นั ก เ ขี ย น บรรณาธิการ ผูก ้ อ ่ ตัง ้ วารสาร vice versa หัวหน้าภาควิชา ปรั ช ญา คณะอั ก ษรศาสตร์ มห า วิ ท ย า ลั ย ศิ ลปา ก ร ผู ้ เ ชี่ ย ว ช า ญ อ ภิ ป รั ช ญ า ญาณวิ ท ยา ปรั ช ญาภาษา ปรัชญาวิทยาศาสตร์ ปรัชญา เทคโนโลยี ประวัติปรัชญา

11


วิพากษ์วิจารณ์ไป ตั้งข้อสงสัย ไม่อาจไว้วางใจ ถูกมองว่าเป็นพวกที่ หมิน่ เหม่ศลี ธรรม ตลอดจนเป็นพวกทีม่ คี วามคิดอันตราย และมักจะถูก เรียกร้องให้หาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดว่าเหตุใดถึงคิดว่าไม่มี พระเจ้า นักปรัชญาคนหนึง่ 1เห็นว่า อันทีจ่ ริงแนวคิดแบบเทวนิยม (theism) ต่างหากที่ต้องให้เหตุผลว่าเหตุใดถึงเชื่อว่ามีพระเจ้าอยู่ เพราะ ความคิดแบบอเทวนิยมน่าจะเป็นต�ำแหน่งเริม่ ต้น (default position) มากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม นักอเทวนิยมหลายคนก็ยนิ ดีและพร้อมจะ ให้ความเห็นและเหตุผลสนับสนุนความคิดอเทวนิยมเสมอ ในหนังสือ The God Delusion2 ของริชาร์ด ดอว์กินส์ (Richard Dawkins) ก็ได้ตั้งค�ำถามส�ำคัญต่อพระเจ้าว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า พระเจ้ามีอยู่หรือไม่ ประเด็นคงไม่ได้อยู่ที่พระเจ้ามีอยู่หรือไม่ แต่เรา จะมัน่ ใจได้อย่างไรว่าเรารูว้ า่ พระเจ้ามีอยู่ หรือไม่มอี ยูต่ า่ งหาก เพราะ คนทีเ่ ชือ่ ว่ามีพระเจ้าส่วนใหญ่มักจะคิดว่า ต้องมีสิ่งทีเ่ หนือขึน้ ไปกว่า มนุษย์ทงั้ หลาย เป็นสิง่ ทีม่ สี ติปญ ั ญาเหนือกว่าธรรมชาติทวั่ ไป และสิง่ นัน้ ได้ออกแบบและสรรค์สร้างจักรวาล สรรพสิง่ รวมทัง้ มนุษย์เองขึน้ มาอย่างตั้งใจและสิ่งๆ นั้นก็คือ พระเจ้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นไป Antony Flew in Antony Flew and Roy Abraham Varghese. There Is God: How the World’s Most Notorious Atheist Changed His Mind. USA: Harper Collins e-books, 2009  1

2

12

Richard Dawkins. The God Delusion. USA: Transworld Publishers, 2007.

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ของมนุษย์อย่างลึกซึ้ง ให้คุณให้โทษแก่มนุษย์ได้ สามารถแทรกแซง โลกใบนี้ด้วปาฏิหาริย์ ดอว์กินส์เห็นว่า พระเจ้าแบบนี้เป็นมายาภาพ ที่อันตรายยิ่ง เพราะเราจะสามารถเข้าถึงพระเจ้าในลักษณะเช่นนี้ ได้ก็ด้วยศรัทธา (faith) แต่ถ้าศรัทธานั้นมันไม่จริงหรือหลงผิดก็อาจ จะท�ำให้เรา “มืดบอด” (blind) ได้ ซึ่งดอว์กินส์เห็นว่า วิทยาศาสตร์ ต่างหากที่จะท�ำให้เราสามารถ “เห็นชัด” (sight) ถึงหลักฐานอย่าง เป็นเหตุเป็นผลว่ามีบางสิ่งบางอย่างมีอยู่ และหากไม่มีหลักฐานว่า บางสิ่งบางอย่างนั้นมีอยู่ นักวิทยาศาสตร์ก็จะไม่อ้างถึงการมีอยู่ของ มันเลยแม้แต่น้อย หนึง่ ในการให้เหตุผลสนับสนุนการมีอยูข่ องพระเจ้าก็คอื ความคิด เรือ่ งการออกแบบ (Design) กล่าวคือโลกธรรมชาติดเู หมือนว่าจะถูก ออกแบบมาเป็นอย่างดี เมือ่ มีการออกแบบก็ยอ่ มต้องมีผอู้ อกแบบ ซึง่ ก็คือพระเจ้านั่นเอง แต่ดอว์กินส์เห็นว่า นอกจากปัญหาที่ใหญ่ที่สุด แล้วคือการที่เราต้องอธิบายว่าใครเป็นคนออกแบบผู้ออกแบบแล้ว การวิวัฒนาการผ่านการคัดสรรตามธรรมชาติ (natural selection) ตามทัศนะแบบดาร์วนิ (Darwinism) ก็ได้แสดงหลักฐานถึงการปฏิเสธ การสรรค์สร้างโดยการออกแบบและความบังเอิญจากพระเจ้าอยูแ่ ล้ว นอกจากนีค้ นทีเ่ ชือ่ ในพระเจ้ายังคิดว่า มนุษย์เราอาศัยในโลกทีเ่ หมาะ สมกับสิง่ มีชวี ติ ประเภทของเรา เพราะว่าชีวติ มนุษย์ได้ววิ ฒ ั นาการไป สู่ความเจริญงอกงามในสภาวะที่มีอยู่ในโลกนี้ ซึ่งในจักรวาลของเรา มีดวงดาวอยู่เป็นพันล้านดวง แต่โลกของเราเป็นหนึ่งในไม่กี่ดวงที่

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

13


เหมาะสมกับการวิวัฒนาการ กฎและค่าคงที่ทางฟิสิกส์นั้นเหมาะสม เพี ย งพอที่ จ ะท� ำ ให้ ชี วิ ต ถื อ ก� ำ เนิ ด ขึ้ น ได้ นั้ น คงไม่ ใ ช่ เ หตุ บั ง เอิ ญ จ�ำต้องมีผอู้ อกแบบและวางแผนไว้แล้ว ซึง่ จะเป็นใครไม่ได้ ตามทัศนะ ของพวกเทวนิยมก็คอื พระเจ้านัน่ เอง แต่สำ� หรับนักฟิสกิ ส์สว่ นใหญ่จะ เห็นว่ากฎและค่าคงทีท่ างฟิสกิ ส์นนั้ เป็นค่าเฉพาะค่าใดๆ ก็ตามทีใ่ ช้ได้ กับทุกจักรวาล นัยยะของค�ำตอบลักษณะนี้ก็คือ โลกของเราไม่ได้ถูก ออกแบบเป็นพิเศษแต่อย่างใดและไม่ว่าจากใครก็ตาม จะเห็นว่านักคิดแบบอเทวนิยมใช้สมมติฐานทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Hypothesis) มาแทนสมมติฐานพระเจ้า (The God Hypothesis) เรียกร้องหลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุนความคิด เรื่องการมีอยู่ของพระเจ้า หากไม่มีพระเจ้าแล้ว ศาสนาจะมีได้หรือไม่?

นักอเทวนิยมส่วนใหญ่เห็นว่าไม่จ�ำเป็นที่ว่าเมื่อไม่มีพระเจ้าแล้วจะ ต้องไม่มีศาสนาไปด้วย แม้ว่าพวกอเทวนิยมจะเห็นว่ามนุษย์เสีย ทั้งเวลาและทรัพยากรมากเกินไปแล้วส�ำหรับพิธีกรรมทางศาสนา แต่ประโยชน์ที่พอจะมีอยู่บ้างของศาสนาส�ำหรับพวกอเทวนิยมก็ คือ ความเชื่อทางศาสนานั้นช่วยเยียวยาอาการป่วยไข้จากความ ตึงเครียดทางอารมณ์ความรูส้ กึ คล้ายกับความคิดเรือ่ ง “ยาแป้ง หรือ

14

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


Albrecht Dürer: Father’s robe God


ยาหลอก” (placebo)3 ทีท่ ำ� ให้ผปู้ ว่ ยมีอาการดีขนึ้ หรือลดความเครียด ได้นั่นเอง นอกจากนี้ยังเห็นว่า ศาสนาเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงดูลูกๆ ของเรา เพราะมันมีประโยชน์ส�ำหรับการเลี้ยงดูเด็กๆ ให้เติบโตขึ้น มา โดยจะเชื่ออย่างปราศจากข้อสงสัยหรือค�ำถามเพื่อที่จะให้พวก เขาหลีกเลีย่ งสิง่ ทีเ่ ป็นอันตราย ถึงแม้จะท�ำให้เด็กๆ อ่อนแอหรือได้รบั ข้อมูลผิดๆ หรือติดเชื้อไวรัสความคิด (mind viruses) เช่น ศาสนา ก็ตาม แล้วศาสนาถือก�ำเนิดขึน้ มาได้อย่างไรในทัศนะของพวกอเทวนิยม นักคิดกลุม่ นีจ้ ะอ้างว่านักจิตวิทยาได้ชใี้ ห้เราเห็นว่า เด็กมีแนวโน้มตาม ธรรมชาติที่จะ 1) แยกแยะความแตกต่างขั้นพื้นฐานระหว่างจิตกับ สสาร และ 2) คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีหรือเป็นไปเพื่อจุดประสงค์หรือ หน้าที่อะไรบางอย่าง ยกตัวอย่างเช่น เมฆ มีไว้ส�ำหรับท�ำให้ฝนตก จากสองแนวโน้ม นี้จะน�ำเราไปสู่การมีศาสนา นอกจากนี้หากอธิบายจากมุมมองของ

ยาหลอก (placebo) คือ ยาที่ไม่มีตัวยาเป็นส่วนประกอบอยู่เลย แต่มีแป้งหรือน�้ำตาลเป็น ส่วนประกอบ จึงไม่มีผลต่อการรักษาทางกายภาพจริงๆ แต่มีผลต่อจิตใจผู้ป่วยก่อให้เกิด ความสบายใจว่าได้รับการรักษาจากตัวยานั้นแล้ว แต่บางกรณีการใช้ “ยาแป้ง” นี้ก็ท�ำให้ ผู้ป่วยหายจากอาการป่วยไข้ต่างๆ ได้ แม้ยาที่รักษานั้นเป็น “ยาแป้ง” ก็ตาม กรณีนี้รู้จักกัน ในนาม “ผลกระทบจากยาแป้ง” (placebo effect)  3

16

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


นั ก ทฤษฎี วิ วั ฒ นาการแล้ ว จะพบว่ า มนุ ษ ย์ เ ราประกอบไปด้ ว ย ยี น (gene) ซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ทางกายภาพอั น เป็ น ส่ ว นท� ำ ให้ เ กิ ด การ สื บ พั น ธุ ์ ท างชี ว วิ ท ยา แต่ น อกจากยี น แล้ ว มนุ ษ ย์ ยั ง มี สิ่ ง ที่ เ รี ย ก ว่ า มีม (meme) ซึ่งเป็น ส่ว นท�ำให้เกิ ด การถ่ า ยทอดวั ฒ นธรรม ในสั ง คมของมนุ ษ ย์ เมื่ อ มี ก ารคั ด ลอกพั น ธุ ์ ผิ ด พลาด หรื อ กลาย พันธุ์ (mutation) ในยีน ก็จะมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นในมีมด้วย เช่ น กั น ซึ่ ง ศาสนาอาจจะเป็ น การกลายพั น ธุ ์ แ บบหนึ่ ง ของการ ถ่ายทอดวัฒนธรรมในสังคม เมื่อมีการรับนับถือศาสนา ลักษณะ หนึ่งของศาสนาที่ต่อต้านเหตุผลก็ช่วยให้ศาสนาเองนั้นด�ำรงอยู่ ต่ อ มาจนถึงปัจจุบัน นัก ปรัช ญาที่มีความคิ ด แบบ อเทวนิ ย มที่ มี ชื่อเสียงอีกคนหนึ่งก็คือ แดเนียล เด็นเน็ตต์ (Daniel Dennett) ก็เห็นด้วยกับแนวคิดของ ดอว์กินส์ ซึ่งคิดเช่นเดียวกันว่า ศาสนา เป็นมีมแบบหนึ่ง และเขายังเห็นต่อไปว่า ศาสนาก็คือปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ (Natural phenomenon) 4และเหตุ ที่ ศ าสนา ยังคงด�ำรงอยู่ในทุกวันนี้ก็เพราะกระบวนการท�ำซ�้ำหรือคัดลอก โครงสร้างของมีม

Daniel Dennett. Breaking the spell: Religion as a Natural Phenomenon. NY: Viking, 2006  4

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

17


แล้วความดีต้องมาจากศาสนาเท่านั้นจริงหรือ?

แม้ว่า ยีน จะมีลักษณะที่ “เห็นแก่ตัว” (selfish) ในการเป็นตัวกรอง การคัดสรรตามธรรมชาติเพื่อให้ตัวเองอยู่รอดจากความสูญเสีย ของคู่แข่ง แต่ลักษณะ “การเห็นแก่ตัว” ของยีนนี้ไม่ได้ท�ำให้มนุษย์ เราเห็นแก่ตัวอย่างจ�ำเป็น เพราะมีเหตุผลจากทัศนะแบบดาร์วิน 4 ข้อ ที่สนับสนุนว่ามนุษย์เราแต่ละคนนั้นสามารถท�ำเพื่อคนอื่นได้ (altruism) 1. ความคล้ายกันทางสายพันธุ์ (Genetic kinship) จะท�ำให้ ห่วงใยใส่ใจกับคนที่มีส่วนประกอบทางพันธุกรรมร่วมกัน 2. การแลกเปลี่ยน (Reciprocating) การให้ความกรุณาหรือ ช่วยเหลือเพื่อหวังในการตอบแทนหรือใช้คืน 3. การมีชื่อเสียงที่ดีในเรื่องการเป็นคนใจกว้างและมีเมตตา 4. ความใจกว้างอันโดดเด่นจะแสดงถึงความเหนือกว่าหรือดีกว่า พวกอเทวนิยมส่วนใหญ่จงึ มักเห็นว่า พระเจ้าหรือศาสนาไม่ได้มคี วาม เกี่ยวข้องอย่างจ�ำเป็นในการที่จะเป็นคนดีมีศีลธรรม มีแต่ศีลธรรม ความดีจากศาสนาต่างหากที่เป็นปัญหาในยุคปัจจุบัน เพราะหลัก ศีลธรรมส่วนใหญ่ของศาสนามักจะเป็นแบบสัมบูรณนิยม (Absolutism) ในยุคสมัยนี้ยังมีคนกี่มากน้อยที่เชื่อว่ามีหลักการเดียวแล้ว

18

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


สามารถตัดสินปัญหาได้ทุกสถานการณ์ นอกจากนี้ในประวัติศาสตร์ ที่ผ่านมาหรือข้อเท็จจริงในปัจจุบันก็ท�ำให้เราเห็นได้ชัดว่า ปัญหา ต่างๆ สงคราม ความขัดแย้ง หลายอย่างมีพื้นฐานมากจากศาสนา แนวคิดแบบอเทวนิยมเห็นว่าความดีนั้นแยกออกจากศาสนา หรือพระเจ้าได้ เพราะมนุษย์มกี ลไกบางอย่างทัง้ ในแง่ของยีนและมีม ทีจ่ ะท�ำให้กระท�ำสิง่ ทีด่ ไี ด้ และคุณค่าบางอย่างเป็นสิง่ ทีม่ นุษย์กำ� หนด ยึดถือร่วมกันในสังคม และคุณค่าเหล่านี้ก็เปลี่ยนแปลงมาตลอด ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ จะเห็นว่าในปัจจุบันเราให้ค่ากับเรื่อง สิทธิ ความเสมอภาค ความยุตธิ รรม ความหลากหลาย ฯลฯ ซึง่ ครัง้ หนึง่ สิ่งเหล่านี้มิอาจนับได้ว่าเป็น “ความดี” ศาสนาชี้ทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบ

อันที่จริง ในปัจจุบันแนวคิดแบบอเทวนิยมก็ได้รับการโต้แย้งจาก นักปรัชญาศาสนาแนววิเคราะห์มาตลอด โดยการโจมตีความคิด เรือ่ งการพิสจู น์การมีอยูข่ องพระเจ้าตามแนวคิดแบบปฏิฐานนิยมเชิง ตรรกะ (Logical Positivism) ซึง่ เป็นทีท่ ราบกันดีวา่ เกณฑ์การพิสจู น์ ข้อความที่มีความหมายว่าจริงโดยเทียบกับประสบการณ์ (the verification theory of meaning) กล่าวคือ ข้อความใดจะเป็นจริงได้ ก็ตอ้ งสามารถตรวจสอบจากประสบการณ์หรือมีหลักฐานเกีย่ วข้องกับ สิง่ เชิงประจักษ์เท่านัน้ ซึง่ หลักการดังกล่าวนีก้ พ็ บปัญหามากมาย รวม

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

19


ถึงปัญหาทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ก็คอื ปัญหาเรือ่ งการแพ้ภยั ตัวเอง (self-defeat) คือ มีคนโต้แย้งว่า หลักการดังกล่าวของปฏิฐานนิยมเชิงตรรกะ ได้มา จากไหน เพราะเห็นได้ชัดเจนว่า ไม่ได้มาจากประสบการณ์ ฉะนั้น แนวคิดพวกอเทวนิยม แบบดอว์กินส์ หรือ เด็นเน็ตต์ ที่ถูกเรียกว่า อเทวนิ ย มใหม่ (New Atheism) นั้ น จะยื น ยั น ถึ ง การไม่ มี อ ยู ่ ของพระเจ้าอาจจะต้องให้เหตุผลมากกว่าการอ้างหลักฐานทาง วิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว เพราะแม้กระทั่งตัววิทยาศาสตร์ เอง มโนทัศน์หรือทฤษฎีบางอย่างของวิทยาศาสตร์เองก็ไม่สามารถ หาหลักฐานเชิงประจักษ์มาสนับสนุนได้เช่นเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่า แนวทางการตอบค�ำถามแบบ “อเทวนิยมแบบใหม่” หรือ “อเทวนิยมแบบวิทยาศาสตร์” นั้น ยังคงเป็นแนวทางทีน่ า่ เลือกทีส่ ดุ ในการอธิบายถึงสถานะของพระเจ้า ศาสนาและความดี เพราะผู้เขียนเห็นว่าแนวคิดลักษณะนี้ยังคงเป็น ความพยายามทีม่ นุษย์จะพึง่ พาตัวเองมากทีส่ ดุ โดยไม่ฝากความหวังไว้ กับสิ่งใดที่เรามิอาจมั่นใจได้ วิทยาศาสตร์อาจจะดูอหังการไปบ้างที่ ประกาศข้อความเชือ่ ใหม่ทไี่ ปขัดกับความเชือ่ ทีม่ าแต่เดิม ทัง้ ๆ ทีต่ วั เอง ก็ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนมากพอ แต่บางทีอาจจะเป็นอย่างที่ นักปรัชญาคนหนึ่งกล่าวไว้ข้างต้นก็ได้ว่า ภาระของการพิสูจน์ ต้อง เป็นของนักเทวนิยม หาใช่หน้าที่ของอเทวนิยม เพราะความคิดแบบ อเทวนิยมควรจะเป็นต�ำแหน่งตั้งต้น (default position) ให้ฝ่าย เทวนิยมเสนอความคิดและเหตุผลมา ฝ่ายนักอเทวนิยมมีหน้าที่

20

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ตรวจสอบก็น่าจะเป็นความร่วมมือกันที่น่าสนใจมิใช่น้อยไม่ใช่หรือ อย่างไรก็ตาม บางทีความคิดของทัง้ สองฝ่ายคือเทวนิยมกับอเทวนิยม อาจจะแตกต่างกันสุดขั้วจริงๆ ก็เป็นได้ เมื่อมาถึงจุดนี้ท�ำให้ผมนึกถึง ค�ำตอบติดตลกของเด็นเน็ตต์ทใี่ ห้สมั ภาษณ์รายการวิทยุ และเรือ่ งเล่า เรื่องนี้อาจบอกอะไรบางอย่างถึงความแตกต่างของทั้งสองแนวคิดนี้ ก็เป็นได้ ลองพิจารณาดูจากบทสนทนาข้างล่างนี้กันดูเอง ผู้ด�ำเนินรายการ ถามจริงๆ ว่าคุณไม่เชื่อว่ามีอะไรบางสิ่งที่ควบคุมจักรวาล มีอะไรบางอย่างปกป้องชีวิตเราให้อยู่อย่างสงบสุขงั้นหรือ เด็นเน็ตต์ เชื่อสิๆ ผู้ด�ำเนินรายการ คุณเชื่อเหรอ? เด็นเน็ตต์ เชื่อสิๆ ผมเรียกสิ่งนั้นว่า แรงโน้มถ่วงไง5

5

vice versa

https://www.youtube.com/watch?v=0iVCxx-GkMg นาทีที่ 13.57 เป็นต้นไป

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

21



/ Essay /

พระเจ้า “ความเป็นอื่นของความเป็นอื่น” ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย

Caravaggio Sacrifice of Isaac 1603

vice versa

ทความชิน้ นี้ สรุปย่อจากบทความ “God: “The Other of the Other” and the Religion of the Political” ซึ่งผมส่งร่วม น�ำเสนอ ในงานสัมมนา Psychoanalysis, Culture, and Society ที่จัดขึ้นที่ Middlesex University ประเทศสหราชอาณาจักร งาน สัมมนา แม้มุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายที่ผู้เชี่ยวชาญจิตวิเคราะห์รวมถึง นักจิตวิทยามืออาชีพ แต่กเ็ ปิดโอกาสให้นกั วิชาการสายสังคมศาสตร์ เข้าร่วมส่งบทความได้ ผมลองส่งบทความเข้าร่วม โดยทดลอง วิเคราะห์พระเจ้าผ่านทัศนะแบบจิตวิเคราะห์สายลาก็อง (Lacanian Psychoanalysis) โดยเริ่มจากการลองผูกประเด็นปัญหาความ สัมพันธ์ ระหว่าง ผู้ศรัทธาพระเจ้า ทั้งที่เป็นพวกคริสเตียนและเป็น พวกผู้ก่อการร้าย โดยเชื่อมโยงกับการมโนความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า ของทัง้ สองกลุม่ อันปวงปัญหานัน้ เริม่ ต้นจากพระเจ้าทีม่ นุษย์กำ� หนด ภาพลักษณ์อันงดงาม ด้วยการถวายลักษณ์ให้เป็นพระบิดา รวมถึง พระเจ้าในฐานะข้ออ้างของการฆ่า ร่วมด้วยจินตนาการฝันหวาน

ช ญ า น ์ ทั ต ศุ ภ ช ล า ศั ย นั ก วิ ช า ก า ร แ ล ะ อ า จ า ร ย ์ ประจ� ำ ภาควิ ช ารั ฐ ศาสตร์ ค ณ ะ ม นุ ษ ย ศ า ส ต ร ์ แ ล ะ สั ง คมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ราชภัฎสวนดุสิต ผู้เชี่ยวชาญ ท ฤ ษ ฎี ห ลั ง อ า ณ า นิ ค ม ศึ ก ษ า , จั ก ร ว ร ร ดิ นิ ย ม , สั ง ค ม วิ ท ย า ร ่ ว ม ส มั ย , ปรั ช ญาหลั ง สมั ย ใหม่ โ ดย เ ฉ พ า ะ ข อ ง มิ เ ช ล ฟู โ ก ต ์ (Michel Foucault), จิ ต วิ เ คราะห์ ส ายลากองเนี่ ย น (Lacanian), ทฤษฎีการเมือง, วัฒนธรรมศึกษา (Cultural Studies), ทฤษฎีภาพยนตร์ ก า ร เ มื อ ง แ ล ะ ศิ ล ป ะ ข อ ง สลาวอย ซิเซ็ก (Slavoj Zizek) แ ล ะ ก า ร ตี ค ว า ม ใ น ส า ย จิ ต วิ เ ค ร า ะ ห ์ แ น ว ฟ ร อ ย เ ดี่ ย น (Freudian)

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

23


ทีพ่ ยายามกดทับและสกัดกัน้ ความจริงเกีย่ วกับตัวพระผูเ้ ป็นเจ้า และ จบบทความด้วยความเป็นการเมืองของมนุษยชาติทไี่ ม่องิ กับพระเจ้า ผมเริ่มพูดถึงงานสัมมนา The Name of the Father หนึ่งใน งานสัมมนาของนักจิตวิเคราะห์ชาวฝรัง่ เศส ฌาคส์ ลาก็อง (Jacques Lacan) ที่ทางส�ำนักพิมพ์ Verso คัดมาแปลและตีพิมพ์เมื่อปี 2014 งานชิ้นนี้ เป็นงานที่ลาก็องย้อนกลับไปอ่านพระคัมภีร์เก่าโดยมอง ความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับอับราฮัม ลาก็องสรุปว่าธรรมชาติ ของพระเจ้า ในยามที่พระเจ้าสัมพันธ์กับอับราฮัม คือความรุนแรง พระเจ้าไม่เคยเมตตาต่ออับราฮัมเลย อับราฮัมคือผู้ที่พระเจ้าสั่งให้ สังเวยชีวติ ลูกๆ ของตนเองให้พระเจ้า อับราฮัมเชือ่ อย่างปักใจว่าการ สังเวยชีวิตลูกๆ ของตนเองให้พระเจ้า คือเงื่อนไขที่ ‘พระผู้เป็นพ่อ’ จะทรงประทานความรักเมตตาต่อมวลมนุษย์ แต่การคิดเช่นนัน้ ทีส่ ดุ แล้วก็เป็นฝันหวานสูญเปล่าของอับราฮัมเอง เพราะ ‘พระผู้เป็นพ่อ’ เพียงแค่ปรารถนาให้อบั ราฮัมสังเวยชีวติ ลูกๆ ตนเองเพือ่ พิสจู น์ความ จงรักภักดีของอับราฮัมในฐานะ ‘แกะน้อย’ ตัวหนึ่งบนโลกเท่านั้น การสังเวยชีวิตลูกๆ ของอับราฮัมจึงเหมือนเป็นแค่การสนองความ ปรารถนาเชิงตัณหา (libido desire) บางอย่างแก่พระเจ้า ซึ่งไม่ใช่ เงือ่ นไขแห่งการบรรลุซงึ่ ความส�ำราญใจยิง่ (jouissance) ของพระเจ้า ความส�ำราญใจยิง่ ของพระเจ้าทีม่ แี ต่ความว่างเปล่า สภาวะไร้คำ� ตอบ ผมพูดต่อไปว่า ถ้าหาก jouissance ของพระเจ้าคือสภาพไร้ ค�ำตอบและว่างเปล่า ตามที่ลาก็องอภิปราย และหากเรายึดแนว

24

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


วิเคราะห์ตามลาก็องว่า jouissance ของพระเจ้าคือ สิ่งที่เราไม่รู้ว่า คืออะไร ถ้าเช่นนัน้ ก็ไม่ควรมีจะมนุษย์คนใดทีจ่ ะสวมอ้างนามพระเจ้า เพื่อกระท�ำการบางอย่าง แต่แล้ว โลกแห่งความเป็นจริงคือ โลก ทุกวันนี้ยังมีกลุ่มคนที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้ล่วงรู้ถึงจิตใจของพระเจ้า และ ล่วงรู้ว่าพระเจ้าจะทรงส�ำราญใจในเรื่องใด ทุกวันนี้ คนที่อ้าง ตนเองว่ามีความสัมพันธ์กับพระเจ้าไม่ได้มีแค่นักบวชเท่านั้น เพราะ แม้แต่คนวิกลจริต คนไม่มีบ้านอาศัย รวมถึงพวกผู้ก่อการร้าย ก็เป็น ผู้สวมอ้างว่าล่วงรู้ความส�ำราญใจของพระเจ้าเช่นกัน แต่ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ที่ร้ายแรงกว่ากลุ่มใดๆ ก็คือ กลุ่มผู้ก่อการร้ายที่มักอ้างการ กระท�ำทางการเมืองในนามของพระเจ้า เพื่อสนองตอบต่อการใช้ ความรุนแรงของตน การกระท�ำเช่นนั้น ที่สุดแล้ว ก็คือการอ้างนาม พระเจ้า โดยหยิบยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อสนองต่อความรุนแรง หาก เราค�ำนึงประเด็นนี้ ก็จะน�ำมาสู่ข้อค�ำนึงใหม่ ว่าจริงๆ แล้ว เราไม่รู้ ว่าธรรมชาติของพระเจ้าคืออะไรจริงๆ หากแต่มีมนุษย์บางจ�ำพวก ที่ ‘ใช้’ ชื่อพระเจ้า เป็นข้ออ้างเพื่อสนองความรุนแรงของพวกตน จนดูเผินๆ เหมือนว่าพระเจ้าจะเข้าข้างพวกหัวรุนแรงเท่านั้น และดู เหมือนว่าพระเจ้าโน้มเอียงไปทางความรุนแรง แต่ผมเลือกที่จะสรุป ไม่ เ หมือนลาก็องที่ว ่าพระเจ้าโดยธรรมชาติ คื อ ความรุ น แรง ผม พยายามเลี่ยงข้อสรุปที่ว่าพระเจ้าโดยธรรมชาติคือความรุนแรง ผมเสนอว่าความจริงแล้วโจทย์ส�ำคัญของโลกทุกวันนี้ มิได้ขึ้นกับ ว่าพระเจ้าโดยพื้นเพ ท่านจะเป็นความรุนแรงหรือท่านเป็นความรัก

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

25


มิได้อยู่ที่ว่าพระเจ้าจะอยู่ข้างพวกกลุ่มคนและองค์กรหัวรุนแรงหรือ ไม่ ไ ด้อยู่ มิไ ด้อยู่ที่ว ่าพระเจ้าท่านจะเป็ น เพศหญิ ง หรื อ เพศชาย ฯลฯ แต่ ผ มเลื อ กที่ จ ะกลั บ ไปตั้ ง ต้ น เรื่ อ ง ‘ความเป็ น อื่ น ’ (the Other) ของลาก็อง ผมมีสมมติฐานว่าพระเจ้าในความคิดแบบ ลาก็อง สัมพันธ์กับหน่อความคิดเรื่องความเป็นอื่น ในสารนิพนธ์ ความคิ ด แบบลาก็ อ งเนี่ ย น ผมสรุ ป ว่ า ความเป็ น อื่ น ในความคิ ด ของลาก็อง มิได้หมายถึงคน สัตว์ สิ่งของ ฯลฯ ที่เป็นสิ่งนอกกาย เรา เช่น ถ้าก�ำหนดให้เราเป็น ‘self’ คน สัตว์ สิ่งของ ที่อยู่นอก กายนั้น ถือว่าเป็น ‘Other’ ไปเสียหมด แบบนี้ ไม่ใช่ความคิดของ ลาก็อง ผมสรุปว่าความเป็นอื่นในความคิดของลาก็อง มิได้หมายถึง สิ่งที่อยู่นอกเหนือกายเรา หากแต่ความเป็นอื่นของลาก็อง เป็นการ มองในระดับภววิทยา ซึ่งหมายถึง ‘อะไรก็ตาม’ ที่ธ�ำรงตั้งอยู่อย่าง ที่ เ ป็ น จริ ง ในตั ว มั น เอง แต่ ต ่ อ มากลั บ เผชิ ญ กั บ การบิ ด เบื อ นต่ อ ความจริงที่เป็นอยู่และตั้งอยู่จริงของมัน ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการ บิดเบือนนั้น ก็ไม่ใช่อื่นใด นอกจากจะเป็นฝีมือมนุษย์ด้วยกันเอง ฉะนัน้ เมือ่ สิง่ ๆหนึง่ เคยตัง้ อยู่ เป็นจริง และถูกมนุษย์ดว้ ยกันบิดเบือน ไป ก็เท่ากับว่าสิ่งๆ นั้น ‘เป็นอื่น’ นั่นเอง ตรงนี้จึงจะถือเป็นความ เป็นอื่นในความคิดของลาก็อง ซึ่งลาก็องดูดซับอิทธิพลความคิด เรื่อง “alienation” ที่แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “ความแปลกแยก” ของมาร์กซ์ (Marx) เข้ามาผสมในเรื่องนี้ด้วย หากผมจะขออนุญาต กล่าวเป็นภาษาปรัชญานิดหนึ่ง เพื่อกระชับสั้น ‘ความเป็นอื่น’

26

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ในความคิดแบบลาก็อง ก็อาจกล่าวได้ว่า ความเป็นอื่นของลาก็อง หมายถึง being ที่ตั้งอยู่ ที่เป็นจริง ที่ต่อมา ถูกท�ำให้แปลกแยก (alienated) และ/หรื อ บิ ด เบื อ นไป ความเป็ น อื่ น ของลาก็ อ ง จึงหมายถึง “being-towards-being-alienated” อันเกิดจากฝีมือ ของมนุษย์ด้วยกันเอง อย่างไรก็ตาม สมมติฐานของลาก็องมิได้จบลงที่ว่า ความเป็นอื่น หมายถึงความแปลกแยกของสรรพสิง่ ต่างๆ ในระดับภววิทยา ลาก็อง มิได้เสนอว่าหน้าที่ของพวกเรา คือต้องพยายามเหมือนกับว่าย้อน เวลากลับไป เพื่อตรวจสอบดูให้ถี่ถ้วน ว่าสภาพก่อนที่สรรพสิ่งจะ ถูกบิดเบือนไปนั้นแท้จริงเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่เราควรรู้จักลาก็อง คือ ลาก็องไม่เชื่อเรื่อง ‘การหวนย้อน’ ค้นหาความเป็นจริงที่ตั้งอยู่จริง ของสรรพสิ่ง ลาก็องแตกต่างกับแดริดา (Derrida) และ ไฮเดกเกอร์ (Heidegger) อย่างชัดเจนก็เรื่องนี้ เพราะแดริดาและไฮเดกเกอร์ยัง เชื่อเรื่องมิติเวลาและสถานที่ๆ ย้อนสภาพเพื่อตรวจสอบความจริงที่ ตัง้ อยูจ่ ริงได้ แต่ลาก็องอภิปรายว่าการทีส่ งิ่ ๆ หนึง่ ถูกท�ำให้บดิ เบือนไป มีความสัมพันธ์กับการที่มันกลายมาเป็นสิ่งพึงปรารถนา (object of desire) ของมนุษย์ สิ่งๆ หนึ่งที่ถูกบิดเบือนไปด้วยน�้ำมือมนุษย์ด้วยกันเอง กลับ กลายมาเป็นสิ่งที่มนุษย์เราพึงปรารถนาต่อมัน และ ที่น่ากลัวคือ ดู เหมือนว่ามนุษย์จะฝันหวานและหลงใหลไปกับมัน โดยไม่ระวังถึง ความบิดเบือนที่เกิดขึ้นภายในตัวมัน จนเป็นบ่อเกิดของความยึดติด

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

27


แถมเป็นการสกัดกั้นตนเองต่อความปรารถนาที่เป็นทางเลือกอื่นๆ โดยสรุป ความเป็นอื่นของลาก็องสัมพันธ์กับการที่ตัวมันเป็นสิ่งที่ ทั้งบิดเบือน ทั้งแปลกแยก ฯลฯ แต่ทว่าที่น่าเป็นห่วงคือ มนุษย์กลับ มองมันว่ามันเป็นสิ่งน่าปรารถนา ผมเชื่อว่าใครก็ตามที่คุ้นเคยกับ ลาก็อง จะเคยได้ยนิ ค�ำว่า “ความปรารถนาคือความปรารถนาต่อความ เป็นอื่น” หรือที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า “desire is the desire of the Other” ความจริงแล้ว “desire is the desire of the Other” มิได้หมายถึงความปรารถนาทีผ่ อู้ นื่ คาดหวังอะไรบางอย่างต่อเรา ส่วน เราต้องพยายามตอบสนองต่อความคาดหวังของผูอ้ นื่ ให้จงได้ จนการ ตอบสนองต่อความคาดหวังของผูอ้ นื่ ของเรากลายเป็นสิง่ พึงปรารถนา ของผู้อื่น แต่ “desire is the desire of the Other” หมายถึง เรา ในฐานะผู้มีความปรารถนาที่ก�ำลังมีความปรารถนาต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ทว่าประเด็นที่เป็นปัญหาอย่างมาก ก็คือ สิ่งที่เราก�ำลังปรารถนา คือความเป็นอืน่ เราก�ำลังปรารถนาต่อสิง่ บิดเบือน เราก�ำลังปรารถนา ต่อสิง่ แปลกแยก โดยทีเ่ ราไม่รตู้ วั ว่าเราไม่ควรปรารถนาต่อสิง่ ทีไ่ ม่ควร ปรารถนา เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่น่าพึงปรารถนาเลยแต่ต้น จากตรรกะเรื่องความเป็นอื่นของลาก็องข้างต้น ผมอภิปราย ประเด็นต่อเนื่องกันในที่ประชุมว่า หนึ่งในฟังชั่นการท�ำงานของ จิตไร้ส�ำนึก (unconscious) คือ การที่มนุษย์เราไม่รู้ตัวว่าเราก�ำลัง ปรารถนาต่อสิ่งที่ไม่น่าพึงปรารถนา มนุษย์เราไม่รู้ตัวเลยว่าสิ่งที่เรา พึงปรารถนาอยูน่ นั้ เป็นสิง่ ทีท่ งั้ บิดเบือนและทัง้ แปลกแยก แต่กระนัน้

28

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ความยึดติดของมนุษย์ต่อสิ่งที่ไม่น่าพึงปรารถนาเหล่านั้น กลับกลาย มาเป็นความหวัง กลับกลายมาเป็นน�้ำหล่อเลี้ยงหัวใจและเป็นความ ปรารถนาเพื่อชุบเลี้ยงชีวิต ราวกับว่าสิ่งเหล่านั้น คือหนทางเดียว ทีจ่ ะสร้างความเบิกบานใจให้กบั พวกเขา ฉะนัน้ ความยึดติดของมนุษย์ จึงเป็นที่มาของจิตฝันหวานเคลิบเคลิ้ม หรือที่เรียกว่า ‘แฟนตาซี’ (fantasy) นั่นเอง ผมอภิปรายว่า แฟนตาซีเป็นที่มาของ ‘ความ เป็นอื่นของความเป็นอื่น’ (the Other of the Other) เหตุเป็น เพราะ สิ่งพึงปรารถนานั้น แต่เริ่มแรก ก็มีความเป็นอื่นอยู่ก่อนแล้ว แต่แทนที่มนุษย์เราจะส�ำนึกถึงความบิดเบือน ส�ำนึกถึงความเป็นอื่น ภายในตัวมัน แทนที่มนุษย์จะละเลิก พร้อมยอมถอนความปรารถนา ต่อสิ่งที่ไม่ควรปรารถนา มนุษย์บางกลุ่มกลับยิ่งพยายามยืนยันว่า สิ่งที่ตนเองเชื่ออย่างบิดเบือนคือความเป็นจริง แถมพยายามบอก บังคับให้คนอื่นๆ เชื่อว่าสิ่งที่ตนเองเชื่ออยู่นั้น (ทั้งๆ ที่เป็นความเชื่อ ที่มีปัญหา) เป็นความจริง จนความเป็นอื่นที่เป็นอื่นอยู่แล้ว กลับยิ่ง ทวีความเป็นอื่นยิ่งขึ้นไปอีก มนุษย์กลุ่มนี้จะไม่กล้าเผชิญกับ ‘ความ จริงที่เป็นจริง’ (the Real) เกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ เหตุผลเพราะความจริง ที่เป็นจริงเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ อาจส่งผลให้แฟนตาซีหรือความยึดติดใน ฝันหวานบางอย่างของพวกเขา ต้องพังทลายลง ฉะนั้น ผมพยายาม สร้างความเชื่อมั่นว่าความคิดจิตวิเคราะห์ของลาก็องมีความเป็น ระบบ ที่ไล่เลียงตั้งแต่ 1 ความเป็นอื่น 2 การท�ำให้แปลกแยก 3 การ เป็นสิ่งพึงปรารถนา 4 ความไม่รู้ตัว 5 จิตยึดติด 6 แฟนตาซี และ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

29


7 ความจริงทีเ่ ป็นจริงทีค่ ดั ง้างและทลายแฟนตาซี จาก 1-7 ทีก่ ล่าวมา ผมจึงคิดว่า การพูดถึงลาก็องต้องเป็นการพูดอย่างละเอียด ต้องล�ำดับ ความคิดอย่างใจเย็น และไม่ควรอย่างยิ่งที่เราจะขโมยความคิดของ ลาก็อง เพียงแค่ประยุกต์ใช้ ณ จุดใดจุดหนึ่งเป็นการเฉพาะ (ราวกับ ว่าอ้างอิงถึงลาก็อง เพื่อเป็นความเท่เท่านั้น) ผมอภิปรายเสริมในที่ประชุมว่า ผมไม่เชื่อว่า the Other ของ ลาก็อง จะเหมือนกัน หรือจะมีความคล้ายคลึงกันเลยกับความคิด เรื่อง the Other ของปราชญ์ท่านอื่นๆ เช่น คานท์ (Kant) เลวีนาส (Levinas) และ ปงตี (Ponty) ผมขออนุญาตกล่าวตามจริง ด้วยความ เคารพกับท่านผูอ้ า่ น ผูอ้ าจเป็นแฟนนานุแฟนของปราชญ์ทงั้ สามท่าน นี้ ว่าในโปรเจคทางปรัชญาของผม ผมจะไม่เสียเวลากับการพยายาม เชือ่ มโยงความคิดของลาก็องเข้ากับนักปรัชญากลุม่ นี้ ส่วนเหตุผลของ ผม คือผมเชื่อว่า คานท์ เลวีนาส และปงตี สมาทานตนเองเป็นนัก ปรัชญา ทัง้ สามท่านไม่ใช่นกั จิตวิเคราะห์โดยธรรมชาติ ทีส่ ำ� คัญคือ ทัง้ สามท่าน ไม่เคยเชือ่ มโยงสารนิพนธ์ the Other ของตนเอง เข้ากับ 1 การยึดติด 2 การเป็นความฝันหวาน 3 การเป็นสิ่งพึงปรารถนา และ 4 การเป็นจิตไร้ส�ำนึก อย่างเข้มข้นและจริงจัง แบบเดียวกับที่ลาก็อง พยายามกระท�ำดังทีผ่ มอภิปรายแล้วข้างต้น ผมยอมรับว่านักปรัชญา ทั้งสามท่าน เป็นนักปรัชญาที่สร้างหัวเลี้ยวหัวต่อส�ำคัญอย่างมากแก่ แวดวงปรัชญาตะวันตก ซึ่งผมไม่มีอคติใดๆ กับนักปรัชญาทั้งสาม หนึ่งในประเด็นที่ผมอภิปรายในที่ประชุม ซึ่งผมอาจจะผิด แต่

30

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ผมยืนยันว่านักปรัชญาทั้งสามท่าน อันได้แก่ คานท์ เลวีนาส และ ปงตี ยังมีฐานความคิดเรื่อง “perception” ซึ่งสัมพันธ์กับ “lack of knowledge” เป็นองค์ประกอบส�ำคัญในสารนิพนธ์ความคิด ซึ่ง เมื่อตัว lack of knowledge ท�ำงาน เมื่อนั้น ก็จะเป็นการสะท้อนถึง ความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ของ perception โดยสรุปแล้ว ทัง้ สามท่าน ก็ยังวางฐานคิดที่ perception เป็นหลัก เพียงแต่เพิ่มเติมประเด็นว่า perception ประสบกับความขาด ฉะนั้น การที่จะต้องระมัดระวัง ถึงความขาดภายในตัวองค์ความรู้ จึงเป็นที่มาของการขยายผัสสะ การรับรู้ ทั้งที่เป็นไปได้และที่เป็นไปไม่ได้ เช่น คานท์ ท่านพูดถึง อุตรภาวะ เลวีนาส ท่านกล่าวถึง การตระหนักถึงความเป็นอื่น เพื่อ ขยายฐานการรับรู้ของความรู้ และ ปงตี ท่านกล่าวถึงความลักลั่น ของการรับรู้ที่เกิดขึ้นจากภายในตัวสิ่ง เป็นต้น กล่าวถึงตรงนี้ ผม คิดว่าจึงเป็นการง่ายที่คนที่จะสับสนกับเรื่อง the Real ของลาก็อง เหตุเพราะความคิดเรื่อง the Real ของลาก็องเปิดโอกาสให้เกิดการ ขบคิด ถึงสิ่งที่ยังไม่ได้รับการขบคิด (unthinkable) ดังนั้น สิ่งที่เป็น ความขาด สูค่ วามเป็นไปได้ของการขบคิด สิง่ ทีเ่ ป็น unthinkable จึง ต้องขับเคลื่อนจาก lack of knowledge สู่ความเป็นไปได้ของการ รับรู้ (perceptible) ทว่า ผมมีโอกาสอภิปรายกับคนที่เชี่ยวชาญลาก็องกว่าผมในโลก ตะวันตก ท่านผูน้ นั้ แลกเปลีย่ นความคิดกับผมว่า ความคิดของลาก็อง เป็น ‘beyond perception’ นั่นคือเป็นฐานความคิดที่ ‘มากกว่า

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

31


การรับรู้’ ซึ่งตอนแรกผมฟังด้วยความชั่งใจ ต่อมาไม่นาน ผมจึงพบ ค�ำตอบว่า ‘ใช่’ ความคิดของลาก็องมีความเป็น ‘beyond perception’ จริงๆ ฉะนั้น ถ้าหากผมเชื่อว่าความคิดของลาก็องมีความ เป็น ‘beyond perception’ ก็คงไม่มีเหตุผลอันใดที่ผมจะพยายาม เชื่อมโยงความคิดของลาก็องเข้ากับกลุ่มปราชญ์ ผู้ยังวนเวียนอยู่กับ ฐานคิดเรื่อง perception ส่วนการที่ผม ตกผลึกความคิดว่าลาก็อง มีความเป็น ‘beyond perception’ เป็นเพราะผมส�ำนึกว่า ‘the Other’ ในความคิดของลาก็อง สัมพันธ์กับความปรารถนาต่อสิ่งอื่น ที่เป็นสิ่งที่ทั้งบิดเบือนและแปลกแยก แต่ทว่า ปัญหาคือมนุษย์เรา มักยึดติดคลั่งไคล้กับมัน ว่ามันเป็นเรื่องจริง ซึ่งความคลั่งไคล้ ดูจะ เป็นมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก และดูจะเป็นมากกว่าแค่ผัสสะการ รับรู้ธรรมดาๆ ส่วนตัวผม เชื่อว่า 1 การยึดติด กับ 2 การรับรู้ สิ่งใด สิ่งหนึ่งด้วยอารมณ์ความรู้สึก เป็นคนละเรื่องกัน เพราะการยึดติด คือ ความคลั่งและศรัทธาที่รุนแรง ว่าสิ่งๆ นั้นเป็นเรื่องจริง เป็นของ จริง ส่วนการรับรู้ คือการตระหนักและเข้าใจความหมายของสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าย่อมประสบกับความขาดและประสบกับความ เป็นอื่นภายในการรับรู้ ผมอนุมานว่าระดับการวิเคราะห์ของลาก็อง คือมองที่ปัญหาเรื่องความคลั่งไคล้ต่อสิ่งพึงปรารถนา ซึ่งเชื่อมโยง กับการยึดติดของคน โดยปมปัญหาที่ลาก็องผูกขึ้นคือ คนเข้าใจว่า สิ่งที่ตนเองยึดติดนั้นเป็นของจริง จนฝันหวานเพ้อพกไปกับมัน และ ปฏิเสธที่จะมองถึงความจริงที่เป็นจริง จริงๆ ภายในตัวสิ่งนั้น ส่วน

32

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ระดับการวิเคราะห์ของนักปรัชญาทั้งสาม อันได้แก่ คานท์ เลวีนาส และปงตี คือการมองแต่ระดับปัญหาของการรับรู้ และ ความเป็น อื่นที่แทรกซึมภายในการรับรู้ ซึ่งน�ำมาสู่การขยายผัสสะการรับรู้เพื่อ ให้สมบูรณ์แบบขึ้นเท่านั้น แน่นอนว่าประเด็นที่ผมกล่าวนี้ ยังไม่อาจ เป็นที่สมบูรณ์ 100% เพราะย่อมเป็นข้อสรุปที่ยังต้องการการพิสูจน์ และการอภิปรายเชิงลึกมากขึ้น ผมอภิปรายประเด็นถัดไปในที่ประชุมว่า จริงๆ แล้วทั้งพวก คริสเตียนและพวกมุสลิมไม่ควรที่จะขัดแย้งกันเลยในเรื่องพระเจ้า เพราะไม่ว่าจะเป็นพวกคริสเตียนที่เชื่อว่า พระเจ้าเป็นพระบิดาแห่ง ความรัก และ ไม่ว่าจะเป็นพวกมุสลิมบางสายที่เป็นพวกกลุ่มก่อ การร้ายที่กระท�ำความรุนแรงต่อผู้อื่นบนความคิดว่า ‘พระเจ้าสั่งให้ ฆ่า’ ทั้งสองตรรกะ ของทั้งสองกลุ่ม คือไม่ว่าจะมองไปทางไหน คือ การปฏิบัติกับ God ในฐานะ ‘ความเป็นอื่นของความเป็นอื่น’ ทั้งนั้น เหตุผลเพราะพระเจ้าที่ปรากฏเป็นภาพลักษณ์แห่งความรักของพวก คริสเตียน และพระเจ้าทีป่ รากฏเป็นเหตุผลในการฆ่าคนอืน่ ๆ ของพวก ผู้ก่อการร้าย คือพระเจ้าที่ปรุงแต่งขึ้นด้วยฝีมือมนุษย์ เป็นพระเจ้าที่ ภาพลักษณ์ไม่วา่ ท่านจะได้รบั การสมาทานให้เป็นพระบิดาแห่งความ รัก และไม่ว่าท่านจะได้รับการสมาทานให้เป็นข้ออ้าง เพื่อสนอง ต่อการใช้ความรุนแรง ล้วนแล้วแต่ผ่านการอุปโลกน์ขึ้นโดยมนุษย์ ทั้งสิ้น พระเจ้าลักษณะนี้ จึงเป็นพระเจ้าที่แปลกแยกกับพระเจ้าที่ตั้ง อยู่จริงๆ ซึ่ง(ยัง)เป็นความไม่ล่วงรู้ของมนุษย์ว่าพระเจ้าที่เป็นจริงคือ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

33


อะไรกันแน่ ฉะนั้น พระเจ้าที่คริสเตียนสร้างภาพลักษณ์ขึ้น รวมถึงที่ มุสลิมบางกลุม่ สร้างภาพลักษณ์ขนึ้ จึงเป็นพระเจ้าทีน่ อกจากจะแปลก แยกต่อตัวพระเจ้าทีต่ งั้ อยูจ่ ริงๆ แล้ว ยังเป็นพระเจ้าทีก่ ลุม่ ตนสร้างขึน้ เพื่อสนองตอบต่อความปรารถนาลมๆ แล้งๆ ของตนเอง เช่น สนอง ความคิดว่า ‘พระเจ้ายังคงรักเรา’ และสนองความคิดว่า ‘พระเจ้า สั่งให้พวกเรากระท�ำการฆ่าล้างศัตรูของเรา’ เหล่านี้ถือเป็นพระเจ้า ที่ ‘เป็นอื่นของความเป็นอื่น’ เป็นพระเจ้าเชิงฝันหวาน และเป็น เพียงพระเจ้าที่มีฟังชั่นเป็นแฟนตาซีเท่านั้น ไม่ใช่พระเจ้าที่เป็นจริง ตั้งอยู่จริง ข้อโต้แย้งหลักของผม คือ พระเจ้าที่ทั้งพวกคริสเตียนและที่ พวกผู้ก่อการร้าย ‘มโน’ ขึ้นเช่นนี้ ถึงที่สุดแล้วก็เป็นพระเจ้าที่น่า พึงปรารถนาที่ทั้งสองฝั่งอุปโลกน์ขึ้น ฉะนั้น พระเจ้าในฐานะสิ่งพึง ปรารถนา ถ้าเป็นในแง่ของพวกคริสเตียน ก็คือ ความรัก ส่วนในแง่ ของพวกผู้ก่อการร้าย ก็คือ การอาศัยนามพระเจ้าเพื่อกระท�ำความ รุนแรง แต่กระนั้นภาพลักษณ์พระเจ้าเช่นนี้เท่ากับเป็นการกดทับ ความคิดเกี่ยวกับพระเจ้าที่เป็นจริง ที่ตั้งอยู่จริงๆ ซึ่งพระเจ้าที่เป็น จริง อาจไม่ใช่ทั้งพระบิดาแห่งความรักและอาจไม่ใช่ทั้งซาตานผู้คลั่ง ความรุนแรงเลยก็เป็นได้ พวกคริสเตียนคงไม่อยากรูว้ า่ พระเจ้าทีเ่ ป็น จริง จริงๆ เป็นเยี่ยงไร เพราะพระเจ้าที่เป็นจริง อาจจะไม่ใช่พระเจ้า ที่รักมนุษย์ (อย่างที่อับราฮัมต้องเผชิญตามความในพระคัมภีร์เก่า) เช่นเดียวกันกับที่พวกผู้ก่อการร้าย ก็คงไม่อยากรู้เช่นกันว่าพระเจ้า

34

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ที่เป็นจริง จริงๆ เป็นเยี่ยงไร เพราะพระเจ้าที่เป็นจริง อาจจะไม่เคย ให้การสนับสนุนการฆ่าตัดหัวและอาจไม่เคยสนับสนุนให้จบั เพือ่ นร่วม โลกมาขังในกรงเหล็กและเอาไฟเผาครอกทั้งเป็น อย่างที่ตกเป็นข่าว ผมเสนอว่าทั้งสองกลุ่มไม่กล้าที่จะรู้หรอกว่าพระเจ้าจริงๆ เป็น อย่างไร เพราะพระเจ้าจริงๆ อาจไม่ใช่พระเจ้าตามทีพ่ วกตนเชือ่ พระ เจ้าจริงๆ อาจไม่ใช่ทงั้ เทวาและซาตาน พระเจ้าจริงๆ คือความไม่ลว่ ง รู้ของพวกเราทุกคน โดยไม่เกี่ยงว่าเราจะนับถือศาสนาที่มีพระเจ้า หรือไม่มีพระเจ้าก็ตาม พระเจ้าจริงๆ อาจไม่ใช่ทั้งพระบิดา ความรัก ความเกลียด ความรุนแรง หรืออะไรเลยทั้งสิ้น พระเจ้าจริงๆ อาจ ไม่ใช่พระเจ้าตามที่พวกคริสเตียนและมุสลิมหัวรุนแรง หยิบยกขึ้น มาเพื่อสนับสนุนความเชื่อเรื่องความรักและเพื่อสนับสนุนต่อการใช้ ความรุนแรงของพวกตนเอง ซึง่ ถ้าหากวันใดก็ตาม เกิดพวกตนรูค้ วาม จริงว่าพระเจ้าไม่เป็นอย่างที่พวกตนเชื่อเช่นนั้น ศรัทธาต่อพระเจ้า ของพวกตนก็จะเสื่อมถอยเช่นกัน ฉะนั้น จึงนับเป็นการดีกว่า ที่ทั้ง สองกลุ่มจะยึดติดกับพระเจ้าตามที่กลุ่มตนเองอุปโลกน์ภาพลักษณ์ ขึ้น เพราะนั่น แม้จะเป็นภาพลักษณ์ที่บิดเบือนและเป็นความแปลก แยกต่อพระเจ้าที่เป็นจริง แต่ก็ถือเป็นเงื่อนไขที่ยังคงให้ศรัทธาของ พวกตนต่อพระเจ้า ต่อทั้งศาสนาคริสต์ ต่อทั้งศาสนาอิสลาม ยังคง เจริญงอกงามต่อไป แม้จะเป็นศรัทธาแบบแปลกๆ เพราะเจือปนด้วย ฝันหวานของตนเอง แต่ก็เป็นศรัทธาที่ไม่สูญสิ้น ผมเสนอต่อไปในทีป่ ระชุมว่า ความคิดทีค่ วรเป็นคือ มนุษย์เราต้อง

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

35


อยูก่ บั สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ จริง ณ ปัจจุบนั ให้ได้ มากกว่าจะขบคิดเรือ่ งพระเจ้า มากกว่าจะคาดหวังลมแรงๆต่อ mysticism และมนุษย์เราควรเลิก หมกมุ่นกับความคิดจ�ำพวกมายาคติทั้งหลาย ผมพูดกับชาวต่างชาติ ในทีป่ ระชุมว่า เรือ่ งนีไ้ ม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย ประเทศทีผ่ มเติบโต ขึน้ มา ผมไม่เคยเชือ่ ว่าจะมีพระเจ้าองค์ใด ทีจ่ ะเสกคาถาเปลีย่ นแปลง อ� ำ นาจอั น มิ ช อบของผู ้ มี อ� ำ นาจทางการเมื อ งในประเทศไทยได้ ประเทศไทยเป็นประเทศทีผ่ มยืนยันว่าในระหว่างกลุม่ มวลชนทางการ เมืองในประเทศไทย ไม่เคยมีม็อบใดในประเทศไทย ที่ประกาศออก มาเลยว่า ‘นี่คือม็อบในนามพระเจ้า’ ที่เป็นเช่นนั้น เพราะพระเจ้า ไม่เคยมีอยูจ่ ริงในความคิดของทุกม็อบการเมืองในประเทศไทย เพราะ ความเป็นการเมืองของคนไทย ซึ่งคนส่วนใหญ่เป็น ‘คนพุทธ’ เป็น การเมืองทีไ่ ม่องิ กับพระเจ้าโดยธรรมชาติ ไม่วา่ จะเป็น ม็อบพันธมิตร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.) ม็อบแนวร่วมประชาธิปไตยต่อ ต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และม็อบคณะกรรมการประชาชน เพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ทั้งสามม็อบมหาชนนี้ แม้ตา่ งกันในเชิงอุดมการณ์ แต่เรือ่ งหนึง่ ทีเ่ หมือนกัน คือ ทัง้ สามม็อบ ไม่เคยมีพระเจ้าอยู่ในหัวเลย ชาวไทยอาจมีมายาคติหลายมายาคติ ที่เข้ามาช่วยในการด�ำเนินชีวิตให้ได้อย่างมีความสุข แต่ที่แน่ๆ คือ มายาคติของคนไทย ไม่ใช่เรื่องพระเจ้า ผมเล่าให้ชาวต่างชาติฟังว่า เรือ่ งนีก้ ป็ ระยุกต์เข้ามาอธิบายความเป็นการเมืองของคนไทยเช่นกัน

36

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ผมเล่าว่าถ้าหากคนไทยจะมีม ายาคติเ ชิ ง ความคิ ด ทางการเมื อ ง มายาคติของคนไทยจะเป็นเรื่องอื่นๆ มากกว่า เช่น โชคชะตา ดวง ชะตา บุญท�ำกรรมแต่ง อ�ำนาจวาสนา พยากรณ์ประเทศไทย ผ่าดวง เมือง เทพอารักษ์ผู้รักษาเมือง ฯลฯ ซึ่งไม่ใช่เรื่องพระเจ้า จากตรงนี้ ผมจึงลองเสนอค�ำว่า ‘ศาสนาแห่งความเป็นการเมือง’ โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ศาสนาแห่ง ความเป็นการเมือง เป็นเพียงแค่ข้อเสนอคร่าวๆ ของผม ว่าศาสนา นี้มีไม้กางเขน แต่ไม่ได้เป็นไม้กางเขนแบบเดียวกันกับพวกคริสเตียน ที่ภาวนาเป็นรูปไม้กางเขน ว่า “เดชะพระนาม พระบิดา พระบุตร พระจิต” แต่กางเขนของศาสนาแห่งความเป็นการเมือง คือการที่ ผมลองเสนอให้ภาวนาว่า “เดชะเหล่าผู้มีอ�ำนาจ ผู้ข่มเหง ราษฎร สปิริต” ซึ่งแน่นอนว่ากางเขนของศาสนาแห่งความเป็นการเมือง ที่ว่านี้ ปราศจากอิทธิพลของทั้งศาสนาพุทธ ทั้งศาสนาคริสต์ และ ทั้งศาสนาอิสลาม แต่เป็นศาสนาทางการเมืองที่เปิดออกเพื่อคน ทุกคน ซึ่งไม่ว่าอุดมการณ์ของเขาจะอิงอยู่กับม็อบฝ่ายใดก็ตาม พวกเขาคือผูท้ คี่ ดิ ว่าตนเองก�ำลังประสบกับชะตากรรมในแง่ของความ ไม่ชอบธรรมทางการเมือง ศาสนาแห่งความเป็นการเมือง จะมีแต่ มนุษย์ผเู้ สียสละตัวเองเป็นสัตว์การเมืองเท่านัน้ ทีจ่ ะเป็นสมาชิกพรรค ได้ มันเป็นศาสนาของมนุษย์ผมู้ คี วามคิดเข้มข้นทางการเมือง ทีจ่ ะไม่ อิงศาสนาสามศาสนาหลัก นัน่ คือ ไม่องิ กับทัง้ พุทธ คริสต์ และอิสลาม กางเขนการเมืองของ ‘ศาสนาแห่งความเป็นการเมือง’ ตามข้อ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

37


เสนอในทางทฤษฎี เป็นข้อเสนอที่แน่นอนว่าเปิดออกเพื่อการโต้แย้ง และการถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์ได้ในสังคมภูมปิ ญ ั ญา เริม่ ต้นด้วย การเดชะถึงพวก ‘ผู้มีอ�ำนาจ’ ทั้งหลาย ว่าพวกเขาคือ ๑ ‘ผู้ข่มเหง’ ต่อมาเป็นการเดชะ ถึง ๒ เหล่า ‘ราษฎร’ คือ ประชาชนทั้งหลาย ที่ ถูกกดขี่ข่มเหง และต่อมาเป็นการเดชะถึง ๓ ‘สปิริต’ ว่าราษฎรที่ ถูกกดขี่ข่มเหงทั้งหลาย พึงควรมี ‘สปิริต’ มีจิตวิญญาณ เพื่อต่อต้าน ระบบการเมืองที่กดขี่ข่มเหงทวยราษฎร์ อย่างพวกเขา ผมอธิบายว่า ‘สปิริต’ ในที่น้ี ผมเชื่อมโยง การเมืองจากด้านล่างสู่บน นั่นคือจาก ประชาชนผู้ถูกกดขี่ผู้ต่อต้านอ�ำนาจไม่ชอบธรรม เข้ากับจริยศาสตร์ ผมเชื่อว่า ‘สปิริต’ ทางการเมืองเกี่ยวข้องกับการที่พลเมืองในสังคม การเมืองมีความรับผิดชอบทางศีลธรรม เพื่อยืนหยัดต่อต้านความ ไม่ชอบธรรมทางการเมืองตามแต่ทพี่ วกเขาจะนิยาม ว่าความไม่ชอบ ธรรมทางการเมืองในความคิดของพวกเขาคืออะไร ฉะนั้น ศาสนานี้ เป็นศาสนาทีเ่ กิดจากการเมือง เกิดขึน้ โดยมนุษย์ และการเคลือ่ นไหว ทางการเมืองในโลกแห่งความเป็นจริงของมนุษย์ ไม่มีพระเจ้า ไม่มี มายาคติเข้าเกี่ยวข้อง ผมปิดท้ายการสัมมนา ด้วยสรุปความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า ที่ เชื่อมโยงมาสู่ความเป็นการเมือง ด้วยอาศัยแนวคิดสามแนวคิดของ ลาก็อง Imaginary, Symbolic, Real โดยผมดัดแปลงใหม่ให้เข้ากับ เรื่องพระเจ้า สามแนวคิดที่ผมดัดแปลงขึ้นมาใหม่ ได้แก่ Imaginary God, Symbolic God และ the Real God ซึ่งผมแค่เสนอขึ้น เพื่อ

38

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ที่จะท�ำลายทิ้ง เพราะทั้งสามแนวคิดนี้ สกัดกั้นการเมืองและความ เป็นการเมืองของมนุษย์ Imaginary God หมายถึง พระเจ้าที่ปัจเจกคนทั้งหลายคิดขึ้น อย่างมีอิสระเสรี เป็นพระเจ้าที่แต่ละคนปรุงแต่งขึ้นในใจ และเป็น ไปตามทีแ่ ต่ละคนจินตนาการขึน้ ซึง่ แต่ละปัจเจกคนย่อมจินตนาการ พระเจ้าต่างกันออกไป บางคนอาจจินตนาการว่าพระเจ้าคือเสียง บางคนอาจจินตนาการว่าพระเจ้าคือแสง บางคนอาจจินตนาการว่า พระเจ้าคือผู้ชาย บางคนจินตนาการว่าพระเจ้าคือผู้หญิง รวมถึงว่า พระเจ้าไม่มีจริงก็คือการจินตนาการเกี่ยวกับพระเจ้า กระนั้นก็ดี จินตนาการก็คือจินตนาการ เป็นสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ Symbolic God หมายถึ ง พระเจ้ า ที่ เ ข้ า สู ่ ร ะบบสั ญ ลั ก ษณ์ เป็นพระเจ้าที่สังคมของผู้นับถือศาสนาที่มีพระเจ้า ยินยอมให้เป็น มาตรฐาน เป็นพระเจ้าที่ผู้ศรัทธา “supposed to know” เป็น พระเจ้าที่ศาสนาที่เชื่อในพระเจ้า ให้การรับรองและยอมรับ ซึ่ง เป็นการหยุดภาพลักษณ์พระเจ้าให้คงที่ ไม่ใช่เป็นพระเจ้าที่คนจะ จินตนาการได้อย่างอิสรเสรีได้อีกต่อไป พระเจ้าในระบบสัญลักษณ์ เป็นพระเจ้าตามกระแสนิยม หรือทีเรียกว่าเป็น “popular God” นั่นเอง เป็นพระเจ้าที่ปรากฏในระบบภาษาของมนุษย์ เช่น ปรากฏ ทั้งในพระคัมภีร์เก่าและใหม่ พระเจ้าในระบบสัญลักษณ์ ถ้าจะยก ตัวอย่าง ก็เช่น พระเจ้าผู้สร้างโลกในเจ็ดวัน พระเจ้าผู้มีพระเยซูเป็น บุตร พระเจ้าในฐานะพระบิดาผู้ทรงเมตตาและทรงเป็นที่รักของ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

39


มนุษย์ พระเจ้าในฐานะข้ออ้างในการฆ่าคนไม่เชื่อฟังพระเจ้า ฯลฯ พระเจ้าที่เข้าข่ายกระแสนิยม (popular) เช่นนี้ เป็นภาพลักษณ์ พระเจ้าที่อยู่ในระบบสัญลักษณ์ ถ่ายทอดผ่านศาสนา และเป็น พระเจ้าที่ให้ความหวังมวลมนุษย์ เป็นพระเจ้าที่ชวนน่าเคลิบเคลิ้ม น่าหลงใหล เป็น ‘แฟนตาซี’ ที่คนส่วนใหญ่มีต่อพระเจ้า พระเจ้า แบบนี้เป็นพระเจ้าที่ ‘มีความเป็นอื่น’ เพราะเป็นพระเจ้าที่ถูกมนุษย์ อุปโลกน์ให้เป็น มากกว่าจะเป็นพระเจ้าที่ตั้งอยู่จริง The Real God หมายถึง พระเจ้าที่ไม่เข้าสู่ระบบสัญลักษณ์ เป็น พระเจ้าที่ไม่เข้าสู่ศาสนาใดๆ ทั้งสิ้น เป็นพระเจ้าที่ไม่ใช่พระเจ้าตาม กระแสนิยม เพราะเป็นพระเจ้าที่จินตนาการของมนุษย์ไม่ว่าอย่างไร ก็จับไม่ได้ ไปไม่ถึง พระเจ้าที่เป็นจริง จริงๆ คือพระเจ้าที่ตั้งอยู่จริง ทั้งที่มีพระเจ้าจริงและไม่มีพระเจ้าอยู่จริงเลยก็ได้ พระเจ้าที่เป็นจริง จริงๆ เป็นพระเจ้าที่อาจไม่มีเพศ ไม่ใช่แสง ไม่ใช่เสียง ไม่ใช่ความ รัก ไม่ใช่ความเกลียด ไม่ใช่ทั้งสันติภาพ ไม่ใช่ทั้งความรุนแรง ไม่ใช่ พระบิดา ไม่ใช่พระมารดา ไม่ใช่อะไรเลย จนถึงไม่มีพระเจ้าอยู่จริง เลย ฉะนั้น พระเจ้าที่เป็นจริง จริงๆ เป็นพระเจ้าที่พวกนับถือศาสนา ที่เชื่อในพระเจ้าไม่อยากรู้ ว่าพระเจ้าจริงๆ คืออะไร เหตุเพราะกลัว ผิดหวัง ว่าพระเจ้าที่ตนเองเชื่อมาตลอดว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ เช่น เป็นพระบิดา เป็นความรัก ฯลฯ แท้จริงแล้วพระเจ้า กลับไม่ได้ เป็ น อย่ า งที่ ต นคิ ด เลย ซ�้ ำ ร้ า ยที่ สุ ด ก็ คื อ พระเจ้ า อาจจะไม่ ไ ด้ มีอยู่จริงเลย

40

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ผมเรียนในเบือ้ งต้นแล้วว่า ผมแต่งแนวคิดเรือ่ ง Imaginary God, Symbolic God, the Real God ขึ้นจากแนวคิดเรื่อง Imaginary, Symbolic, Real ของลาก็อง โดยมุง่ ทีจ่ ะคิดขึน้ เขียนขึน้ และก็ทำ� ลาย แนวคิดที่ตัวเองแต่งขึ้นเอง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะแนวคิดที่แต่งขึ้น ทั้งสามนี้ แม้จะมีท่ีมาจากทฤษฎีลาก็อง แต่ผมประเมินตัวเองว่า ทฤษฎีที่ผมแต่งขึ้น ก็ยังเป็นมุมมองที่หมกมุ่นกับพระเจ้า แทนที่ จะพิจารณาตามความเป็นจริงถึงการต่อสู้เคลื่อนไหวทางการเมือง ของประเทศต่างๆบนโลก เช่น ประเทศไทย ที่การเคลื่อนไหวทาง การเมือง เป็นคนละเรือ่ งกับมุสลิมบางกลุม่ บนโลก ทีอ่ า้ งนามพระเจ้า มาสวมทับการใช้ความรุนแรงตนเอง เพราะของไทย เป็นอุดมการณ์ ทางการเมืองที่ความรุนแรงเกิดขึ้น เพราะ ฝ่ายที่ใช้ความรุนแรง มักอ้างว่าความรุนแรงของตน เป็นการอาศัยอ�ำนาจตามรัฐธรรมนูญ ผมขออนุญาตฝากประเด็นสักประเด็นหนึ่งกับท่านผู้อ่านด้วยว่า ผมคิ ด ว่ า หนึ่ ง ในปั ญ หาความรุ น แรงทางการเมื อ งไทย คื อ การที่ ฝ่ายที่ใช้ความรุนแรงมักเคลมหรืออ้างการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แบบที่ไม่เคารพสิทธิของผู้อื่นนี่ล่ะ ซึ่งเราควรเปิดอภิปรายเรื่องนี้ อย่างจริงจัง นอกจากเรื่องการเลือกตั้งเพื่อให้มาซึ่งผู้น�ำที่มีความ ชอบธรรม ซึ่งผมว่ามันเป็นประเด็นดีเบตที่เก่าไปแล้ว อย่างไรก็ดี กลับมาเรื่องส�ำคัญ คือ รัฐธรรมนูญในไทยไม่ว่าจะถูกเขียนขึ้นโดย กลุ่มใด ถูกระงับโดยอ�ำนาจของใคร และที่ตามความเป็นจริง คือมัน ถูกท�ำลายและบิดเบือนกันมานักต่อนักในประเทศไทย แต่อย่างหนึ่ง

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

41


ที่สะท้อนจากประสบการณ์ของคนไทย ก็คือ มันเป็นการสะท้อนให้ เห็นถึงธรรมนูญของโลกมนุษย์ ที่ไม่เคยหมกมุ่นกับพระเจ้า ส่วนหนึ่ง ก็คือไทยเราเป็นประเทศที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เลยส่งผล ให้ความคิดทางการเมืองของคนไทยเป็น ‘เขตปลอดพระเจ้า’ โดย ธรรมชาติ การเมืองและความเป็นการเมืองจากประสบการณ์ที่เรา พบเผชิญกันในประเทศไทย ไม่ว่าจะด้วยอารมณ์พอใจและไม่พอใจ (เสียส่วนใหญ่) ก็ตาม มันคือ ‘เขตปลอดพระเจ้า’ ผมเคยลองคิด แบบไม่จริงจังว่า สมมติว่าถ้าประเทศไทยมีคน ส่วนใหญ่นับถือพระเจ้า และถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ผมเดาว่าการ เคลื่อนไหวทางการเมืองของคนไทยคงมีการอ้างนามพระเจ้าเป็นแน่ และกลุม่ ต่างๆ ในไทยอาจอ้างอุดมการณ์การเมืองของตน ว่าเป็นการ เคลื่อนไหวปฏิบัติการทางการเมืองในนามพระผู้เป็นเจ้า ที่ส�ำคัญ ต้องไม่ลืมก�ำหนดสีให้พระเจ้าท่านด้วย นอกจาก ‘สีเหลือง’ ‘สีแดง’ ‘หลากสี’ แล้ว ถ้าสมมติวา่ ประเทศไทย เป็นประเทศนับถือพระเจ้า ก็ คงมีคนไทยบางคนหา ‘สีเสือ้ ’ เพือ่ พระเจ้า และก�ำหนดขึน้ เป็น ‘ม็อบ พระเจ้า’ กันเลยทีเดียว ซึง่ ผมคิดว่า ถ้าเป็นแบบนัน้ จริงก็ดี เพราะฝรัง่ คริสเตียนและแขกมุสลิม คงอ้าปากค้างแน่ๆ ซึ่งผมว่ามันมีความเป็น ไปได้ด้วย เพราะอะไรแปลกๆ มักเกิดขึ้นในประเทศไทย (จริงไหม) ผมขออนุญาตทิ้งท้ายว่า ฌาคส์ ลาก็อง แม้จะเป็นนักคิดและ นักทฤษฎีทผี่ มชืน่ ชอบมากทีส่ ดุ คนหนึง่ ส่วนแนวคิดทัง้ สามทีผ่ มสร้าง ขึ้นก็เกิดมาจากฐานคิดแบบลาก็อง แต่ผมยืนยันอีกครั้งว่า ผมสร้าง

42

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ทฤษฎีขนึ้ ไม่ใช่ตอ้ งการทีจ่ ะสถาปนามัน และ ไม่ใช่ตอ้ งการทีจ่ ะอวด อ้างความเป็น Lacanian ของตนเอง แต่เพือ่ ทีจ่ ะท�ำลายมัน เพือ่ ทีจ่ ะ อยูก่ บั ปัจจุบนั ว่าความเป็นการเมือง ถ้าจะมีศาสนาเข้าเกีย่ วข้องจริงๆ ก็ขอให้เป็นศาสนาที่ศาสนิกชนเป็นผู้ไม่ศรัทธาพระเจ้า แต่เลือกที่จะ มองว่าตนเองคือผู้ก�ำหนดความคิดทางการเมืองให้ตนเอง ก่อนจบ บทความนี้ ผมอยากฝากว่า มีค�ำพูดๆ หนึ่งจากปราชญ์ชื่อสปิโนซา (Spinoza) ท่านกล่าวว่า “Man is a God in Man” ซึง่ หมายถึง “มนุษย์ ก็คอื พระเจ้าในตัวมนุษย์เอง” ซึง่ ในทางการเมืองแล้ว มนุษย์ทงั้ หลาย ก็คอื พระเจ้าในตัวเองอยูแ่ ล้ว ไม่จำ� เป็นต้องแสวงหาพระเจ้าจากทีอ่ นื่ ไม่จำ� เป็นต้องจินตนาการว่าเป็นพระบิดาผูม้ อบความรักดัง่ มหาสมุทร ไม่จ�ำเป็นต้องคิดจินตนาการขึ้นเพื่อเป็นข้ออ้างสร้างความรุนแรง อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะในเชิงการเมือง ท่านทั้งหลายคือพระเจ้า ในตัวท่าน เหล่าศาสนิกชนแห่ง ‘ศาสนาแห่งความเป็นการเมือง’ ซึ่งแน่นอน ท่านจงสบายใจได้ว่า ศาสนานี้ ไม่ได้มีผมเป็นศาสดา “เดชะเหล่าผู้มีอ�ำนาจ ผู้ข่มเหง ราษฎร สปิริต”

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

43


44

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/ Essay /

เคียร์เคอการ์ด

มนุษย์เบื้องหน้าพระเจ้า รชฎ สาตราวุธ

เป็

Léon Spilliaert: Self–Portrait 1907

vice versa

นที่ทราบกันดีในวงการปรัชญาครับว่าเคียร์เคอการ์ดคือบิดา ของกระแสทางปรัชญาตะวันตกที่เรียกว่าอัตถิภาวนิยม ผมขอ อนุญาตไม่ตอบค�ำถามนะครับว่าอัตถิภาวนิยมตรงนี้คืออะไร และ เคียร์เคอการ์ดเป็นบิดาของกระแสทางความคิดนี้จริงหรือไม่ แต่ สิ่งที่ไม่น่าปฏิเสธได้คือเคียร์เคอการ์ดได้ท�ำในสิ่งที่ยิ่งใหญ่สิ่งหนึ่งใน ประวัตศิ าสตร์ปรัชญาก็คอื การท�ำให้อตั วิสยั (subjectivity) มีพนื้ ทีใ่ น การพูดถึงความจริง หรือกล่าวให้ชดั ไปเลยก็คอื ประโยคทีน่ กั วิชาการ ปรัชญาตะวันตกถือได้วา่ เป็นประโยคเด็ดดวงของเคียร์เคอการ์ดก็คง ไม่พ้นประโยคที่ว่า “ความจริงคืออัตวิสัย” หน้าที่ของผมในบทความ กึ่งวิชาการชิ้นนี้ก็คือแสดงให้เห็นว่าอัตวิสัยเป็นความจริงได้อย่างไร หากคุณเคยอ่านปรัชญามาบ้างก็คงทราบนะครับว่าความจริง ที่ปรัชญาต้องการหาคือความจริงที่มีลักษณะเป็นวัตถุวิสัย ในบท สนทนาอย่างอุตมรัฐของเพลโต โสกราติสอธิบายชัดเจนครับว่าความ จริงนัน้ อยูห่ ลุดพ้นไปจากวิสยั พืน้ ๆ ของมนุษย์ มนุษย์จำ� ต้องออกจาก

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

รชฎ สาตราวุ ธ หลั ง จาก เรี ย นปริ ญ ญาโทจบจากที่ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ก็ ยึ ด อ า ชี พ ส อ น ภ า ษ า ไ ท ย ให้ ช าวต่ า งชาติ ไปเรี ย นต่ อ ที่ ม ห า วิ ท ย า ลั ป า รี ส 4 ซอร์บอนน์ แล้วกลับมาเป็นครู สอนปรั ช ญาที่ มอ. ปั ต ตานี ถนั ด ปรั ช ญายุ โ รปร่ ว มสมั ย กับปรัชญาจีนโบราณ

45


ถ�ำ้ ทีพ่ นั ธนาการตนเองไว้เพือ่ ค้นหาว่าความจริงได้แก่อะไร และความ จริงแบบเพลโตก็คอื แบบนัน่ เอง แบบในฐานะความจริงนีก้ า้ วล่วงพ้น ผัสสะ บริบทสังคมวัฒนธรรม และมีลักษณะเป็นวัตถุวิสัยและสากล อย่างเด่นชัด ลักษณะเช่นนี้ปรากฏเรื่อยมาในยุคกลาง (ความจริง สูงสุดได้แก่พระเจ้า) และสมัยใหม่ (วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เป็นพื้นที่ ของความจริง) ในสถานการณ์เช่นนีเ้ องทีอ่ ตั วิสยั ไม่สามารถเป็นพืน้ ที่ ของความจริงได้ เป้าหมายทางปรัชญาของเคียร์เคอการ์ดก็คงหนีไม่พน้ การวิพากษ์ วิจารณ์จุดยืนที่ว่าความจริงมีลักษณะเป็นวัตถุวิสัยนั่นเอง ถึงตรงนี้ หลายคนคงงงว่าอะไรคือวัตถุวิสัยและมันเกี่ยวอะไรกับความจริง ผมยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างนี้ครับว่า สมมติว่าตอนนี้เราอยู่กรุงเทพฯ และเราตัง้ ใจว่าเราจะไปพัทยาและระยะทางนัน้ ห่างกันประมาณ 100 กิโลเมตร ถามว่าระยะทางนีไ้ กลไหม หลายคนคงตอบว่า “ไกล” และอีก หลายคนคงตอบว่า “ใกล้” การตอบว่าไกลหรือใกล้นเี้ องมีลกั ษณะอัต วิสยั (หมายความว่าไกลหรือใกล้เป็น “วิสยั ”ของเราล้วนๆ ครับ) แต่ใน ทางวิทยาศาสตร์อาจจะตอบว่าในทีส่ ดุ เราไม่อาจตัดสินได้วา่ ไกลหรือ ใกล้ เพราะมันเป็นเรื่องส่วนบุคคล สิ่งที่ส�ำคัญคือมันมีระยะทาง 100 กิโลเมตร และนี่เองที่เราทุกคนเห็นพ้องต้องกัน ที่ส�ำคัญระยะทางนี้ เป็นวัตถุวสิ ยั (อันหมายความว่ามันเป็น “วิสยั ” ของวัตถุ ไม่ใช่วสิ ยั ของ เรานั่นเองครับ) ที่ผ่านการคิดค�ำนวณตัวเลขจนเป็นหลักการอันเป็น สากล เพราะฉะนั้นอัตวิสัยย่อมพูดถึงความจริงไม่ได้เลยในกรอบ

46

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ความคิดแบบนี้ และนีเ่ องคือข้อท้าทายของเคียร์เคอการ์ดทีพ่ ยายาม จะบอกว่า อัตวิสัยเป็นพื้นที่ของความจริงนั่นเอง ก่อนที่เราจะไปดูว่าเคียร์เคอการ์ดตอบค�ำถามว่าอัตวิสัยเป็น ความจริงได้อย่างไรนัน้ ผมอยากให้เราดูเสียก่อนว่าดอสโตยเยียฟสกี1้ (ซึ่ ง ในวัฒนธรรมตะวัน ตกถือได้ว ่าเป็น นั ก คิ ด นั ก เขี ย นในกระแส อั ต ถิ ภ าวนิ ย มเช่ น กั น ) กล่ า วถึ ง ความจริ ง แบบวั ต ถุ วิ สั ย อย่ า งไร นักเขียนท่านนี้กล่าวว่า หลักการทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นหลักการทีไ่ ม่สามารถปฏิเสธได้อนั หมายความต่อไปว่าผูท้ ปี่ ฏิเสธ หลักการเหล่านี้ก็จะกลายเป็นคนเสียสติไป ผมอยากให้พวกคุณลอง นึกถึงคนที่ปฏิเสธหลักการที่ว่า สองบวกสองเท่ากับสี่ดูนะครับว่า คนเหล่านีบ้ า้ ขนาดไหน ดอสโตยเยียฟสกีอ้ ธิบายต่อไปว่าด้วยฐานของ คณิตศาสตร์ทไี่ ม่สามารถปฏิเสธได้มนุษย์จงึ ถูกอธิบายภายใต้ตารางค่า ต่างๆ ตารางเหล่านี้เองที่เป็นตัวปิดกั้นความเป็นมนุษย์ ผมอยากให้ เราลองคิดถึงการประเมินอาจารย์ทมี่ กี ารคิดค�ำนวณมาอย่างดีแล้วว่า อาจารย์ทดี่ คี วรท�ำอะไรบ้างตามค่าตารางทีไ่ ด้ระบุไว้อย่างขัดเจนแล้ว หากอาจารย์ทา่ นใดไม่ทำ� ตามตารางนีจ้ ะมีคำ� อธิบายทีน่ า่ สนใจตามมา อีกหลายประการอย่างเช่นค�ำว่าไม่มีคุณภาพเป็นอาทิ จากแนวคิ ด แบบนี้ เ องที่ ท� ำ ให้ ก ารมี อ ยู ่ ข องมนุ ษ ย์ อ ยู ่ ภ ายใต้ ผูเ้ ขียนสรุปความจาก ดอสโตยเยียฟสกี,้ บันทึกจากใต้ถนุ สังคม, ศ.ศุภศิลป์ (แปล) (กรุงเทพฯ :ส�ำนักพิมพ์วลี, 2554), หน้า 50-99. 1

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

47


หลักการที่เป็นวัตถุวิสัย กล่าวให้ชัดก็คือเวลาที่มนุษย์ผนวกตัวเอง เข้ากับหลักการเราไม่อาจกล่าวได้วา่ มนุษย์นนั้ มีอยูแ่ ต่หลักการนัน้ ต่าง หากทีม่ อี ยู่ ผมอยากให้เราลองนึกถึงอาจารย์ทมี่ คี ณ ุ ภาพอย่างถึงทีส่ ดุ ตามอย่างแบบประเมินนะครับ หากอาจารย์ทั้งประเทศเป็นไปตาม เกณฑ์นจี้ ะเกิดอะไรขึน้ ค�ำตอบก็คอื ในทีส่ ดุ แล้วหลักการแห่งคุณภาพ ต่ า งหากที่ ด� ำ รงอยู ่ แ ต่ ตั ว ตนเฉพาะของอาจารย์ นั้ น เองที่ ห ายไป การที่เราท�ำตามหลักการใดหลักการหนึ่งที่มีลักษณะวัตถุวิสัยนั้น อาจลงเอยด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าตัวเราหายไปแต่หลักการกลับด�ำรง อยู่นั่นเอง พูดอีกแบบหนึ่งก็คืออารมณ์ความรู้สึก ตัวตนเฉพาะ ไม่ได้ ปรากฏและด�ำรงอยูภ่ ายใต้ตารางการประเมินของอาจารย์ทมี่ คี ณ ุ ภาพ แต่เหตุผล การค�ำนวณ และตารางนั้นต่างหากที่มีอยู่ ปรากฏ และ อธิบายสิ่งที่ควรจะเป็นได้อย่างไร้ที่ติ ถึงตรงนี้ ดอสโตยเยียฟสกี้ก็เรียกของทั้งหมดทั้งมวลที่มีค่าเป็น วัตถุวสิ ยั และผ่านการค�ำนวณว่าเป็น “ปราสาทแก้วผลึก” ทีส่ วยงาม ถูกต้องและปราศจากการโต้แย้งใดๆ การตั้งค�ำถามกับปราสาท แก้ ว ผลึ ก ดู เ ป็ น เรื่ อ งงี่ เ ง่ า สุ ด ทน เพราะปราสาทแก้ ว ผลึ ก รั บ รอง ความถูกต้อง ความดีงามและความสุขเอาไว้แล้ว มนุษย์จึงไม่กล้าที่ จะท�ำอะไรนอกเหนือไปจากเกณฑ์ของปราสาทแก้วผลึกนี้ ผมลอง นึกไปนึกมาก็พบว่าในประเทศไทยเรานี้มีปราสาทแก้วผลึกอยู่หลาย หลังเลยทีเดียว แต่นั่นอาจเป็นหน้าที่ของคุณๆแล้วละครับว่าอะไร บ้างเป็นปราสาทแก้วผลึกของประเทศนี้ แต่ไม่ว่ามันจะได้แก่อะไร

48

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เราคงต้องยอมรับกันละครับว่าของแบบนีม้ คี า่ เป็น “วัตถุวสิ ยั ” ทีย่ าก แก่การท้าทายและตั้งค�ำถาม โจทย์เรือ่ งความจริงแบบวัตถุวสิ ยั ยังคงเป็นประเด็นปัญหาทีเ่ คียร์ เคอการ์ดสนใจไม่ต่างอะไรกับดอสโตยเยียฟสกี้นะครับ ในงานอย่าง Concluding Unscientific Postscript2 เคียร์เคอการ์ดสมมติตวั อย่าง โต้แย้งวิธคี ดิ แบบวัตถุวสิ ยั ได้อย่างแสบอทีเดียว เคียร์เคอการ์ดสมมติ ตัวอย่างคนบ้าที่เพิ่งหนีออกจากโรงพยาบาลบ้า แน่นอนครับคน ที่หนีออกจากโรงพยาบาลโรคจิตย่อมพยายามท�ำสิ่งที่ส�ำคัญเพียง สิ่งเดียวคือการท�ำให้คนอื่นเชื่อว่าตัวเองไม่บ้า และสิ่งที่ท�ำให้มนุษย์ อย่างเราๆ ไม่บ้าก็คือการพูดความจริงแบบวัตถุวิสัยนั่นเอง คนบ้า ที่เคียร์เคอการ์ดสมมติขึ้นก็บังเอิญไปเจอลูกบอลลูกหนึ่ง เขาจึงเก็บ ลูกบอลนี้ใส่กระเป๋าเสื้อโค้ทไว้ ทุกครั้งที่เขาเดินลูกบอลก็จะสัมผัส ต้นขาของเขาท�ำให้ทุกครั้งที่เขาเจอผู้คนระหว่างทางเขาก็จะพูดว่า “นี่เธอ! โลกมันกลม” สิ่งที่เคียร์เคอการ์ดก�ำลังท้าทายในที่นี้คือความเชื่อที่ว่าการที่เรา ไม่เชื่อความจริงแบบ “วัตถุวิสัย” ถือได้ว่าบ้าและโง่ แต่ส�ำหรับเคียร์ เคอการ์ดการพูดถึงวัตถุวสิ ยั โดยปราศจากท่าทีภายในต่างหากทีถ่ อื ว่า ผู้เขียนสรุปความจาก Kierkegaard, s., Concluding Unscientific Postscript to Philosophical Fragments, trans. Howard V. Hong and Edna H. Hong (Princeton: Princeton University Press, 1992), pp. 194-203. 2

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

49


บ้าและโง่ ก็เหมือนกับคนบ้าทีไ่ ม่รวู้ า่ โลกกลมจริงไหม แต่เพือ่ ป้องกัน ตัวเองจากความบ้าก็เลยต้องพูดความจริงแบบวัตถุวสิ ยั แต่แท้จริงแล้ว ตัวเองก็บ้าอยู่วันยันค�่ำนั่นละครับ ประเด็นที่ผมคิดว่าน่าสนใจตรงนี้ ก็คอื ถ้าเราขาดท่าทีภายในอะไรบ้างจะถือได้วา่ จริง ก็เหมือนกับคนที่ พูดว่ากตัญญูเป็นคุณธรรมสูงส่งแต่พอกลับไปบ้านก็ดา่ ทอพ่อแม่ หรือ คนที่นั่งสมาธิแต่พอออกจากวัดก็เตะหมาอะไรท�ำนองนี้แหละครับ เพราะฉะนัน้ ท่าทีภายในนีล่ ะครับทีส่ ำ� คัญเหลือเกิน มันท�ำให้ความจริง มีมติ อิ ตั วิสยั ของมนุษย์ตวั เป็นๆ พูดง่ายๆ ก็คอื สิง่ ทีจ่ ริงต้องจริงส�ำหรับ ชีวิตเป็นส�ำคัญ คนที่อ้างพระเจ้าแล้วก่อการร้ายท�ำได้อย่างมากก็แค่ อ้างหลักการทางศาสนาทีเ่ ป็นวัตถุวสิ ยั เท่านัน้ ละครับ จริงๆ แล้วก็แค่ คนบ้าจ�ำพวกหนึ่งเท่านั้น เผด็จการที่อ้างประชาธิปไตยก็คงเป็นคน เสียอีกเช่นกัน นี่ยังไม่ต้องกล่าวถึงพวกอ้างประชาธิปไตยแต่เอามัน มาโกงกินจนฉิบหายนะครับ ของเหล่านีท้ งั้ หมดก็คอื การอ้างวัตถุวสิ ยั ที่ไม่มีอัตวิสัยเลยก็เท่านั้นเอง ของแบบนี้ละครับที่เคียร์เคอการ์ด บอกว่า “ความจริงได้แก่อัตวิสัย” ที นี้ ทั้ ง หมดนี้ เ กี่ ย วอะไรกั บ พระเจ้ า เคี ย ร์ เ คอการ์ ด กล่ า วใน หนังสือเล่มเดียวกันว่าในที่สุดท่าทีภายในนั้นเองที่ส�ำคัญที่สุดแล้ว เคียร์เคอการ์ดสมมติตวั อย่างสองตัวอย่างทีข่ ดั แย้งกันโดยสิน้ เชิงโดย ตัวอย่างแรกเป็นคนทีส่ วดมนต์ถงึ พระเจ้าภายในโบสถ์แต่ใจกลับคิดถึง เรื่องอื่นกับคนอีกคนหนึ่งที่สวดมนต์ในที่ที่มีรูปเคารพอื่นอยู่เต็มไป หมด ในที่สุดแล้วสองคนนี้ใครที่เชื่อถือพระเจ้ามากที่สุด แน่นอนค�ำ

50

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ตอบได้แก่คนที่สองและข้อเด่นของคนที่สองก็คือท่าทีภายในที่มีต่อ พระเจ้า ในขณะทีส่ ำ� หรับคนแรกท่าทีทมี่ ตี อ่ พระเจ้าเป็นท่าทีภายนอก ล้วนๆ ทั้งหมดนี้ก็กลับมาที่ประเด็นปัญหาเดิมนั่นละครับคือตกลง แล้วความจริงต้องมีทา่ ทีภายในหรืออัตวิสยั หรือว่าความจริงมีแค่ทา่ ที ภายนอกหรือวัตถุวสิ ยั ก็พอ ส�ำรับเคียร์เคอการ์ดท่าทีภายในนีล่ ะครับ ส�ำคัญอย่างยิ่งแล้ว และประเด็นปัญหาเรื่องวัตถุวิสัยนี้เองที่จะเป็น สิ่งที่เคียร์เคอการ์ดต้องการจะต่อสู้ด้วย หนังสืออันลือชือ่ ของเคียร์เคอการ์ดทีช่ อื่ ว่า Fear and trembling3 ก็พยายามทีจ่ ะโต้เถียงกับความจริงแบบวัตถุวสิ ยั อยูน่ นั่ เอง แต่เนือ้ หา ของประเด็นนี้ไปอยู่ที่เรื่องศรัทธา โดยหนังสือเล่มนี้ถือเอาตัวอย่าง ของอับราฮัมในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลมาอธิบายเพื่อโต้แย้งกับค�ำอธิบาย เรื่องศรัทธาที่มีลักษณะเป็นวัตถุวิสัย เรื่องราวในพระคัมภีร์มีอยู่ว่า พระเจ้าทดสอบศรัทธาของอับราฮัมโดยรับสั่งให้อับราฮัมบูชายัญ อิสอัคบุตรของตนเอง อับราฮัมตัดสินใจบูชายัญจริงแต่เมื่อเงื้อมมีด เพือ่ ทีจ่ ะสังหารบุตรของตน ก็มที ตู สวรรค์มาห้ามไว้และพระเจ้าก็เชือ่ ในความภักดีของอับราฮัมและบันดาลแกะมาให้อบั ราฮัมบูชา เนือ้ เรือ่ ง ในพระคัมภีร์นี้เองที่เคียร์เคอการ์ดใช้เพื่อแสดงให้เห็นว่าศรัทธาเป็น เรือ่ งทีเ่ ข้าใจได้ยากและต้องพึง่ อัตวิสยั ในการท�ำความเข้าใจอับราฮัม โปรดดู Kierkegaard, S., Fear and Trembling, trans. Alastair Hannay (Hormondsworth: Penguin Press, 1985), pp.83-95. 3

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

51


แล้วเรื่องนี้เป็นประเด็นได้อย่างไร ผมก�ำลังจะบอกแบบนี้ครับว่า เนื้อเรื่องนี้ถูกอธิบายจากนักปรัชญาสมัยใหม่ที่เคียร์เคอการ์ดดูจะ ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง ส�ำหรับคานท์ตัวอย่างเรื่องอับราฮัมถือได้ว่า เป็นตัวอย่างที่ไม่เข้าท่าในการเข้าใจพระเจ้า ส�ำหรับคานท์ศาสนา พระเจ้า รวมถึงตัวอย่างเรือ่ งอับราฮัมต้องถูกเข้าใจด้วยเหตุผลเท่านัน้ ในงานอย่าง the Conflict of the Faculties4 คานท์อธิบายชัดเจน ครับว่า พระเจ้าคือสิ่งที่ดีงามดังนั้นหากมีค�ำสั่งใดค�ำสั่งหนึ่งที่ขัดแย้ง กับศีลธรรมเราจึงพึงสงสัยไว้ก่อน ซึ่งก็เดาไม่ยากนะครับว่าคานท์จะ รู้สึกอย่างไรกับอับราฮัม แน่นอนครับคานท์บอกว่ากรณีนี้อับราฮัม ไม่ควรต้องเชื่อฟังพระเจ้าเพราะด้วยเหตุผลเราไม่สามารถยืนยันได้ ว่าเสียงที่สั่งนั้นเป็นเสียงของพระเจ้าจริงหรือไม่ แต่การท�ำความดี โดยไม่ฆ่าบุตรของตนนั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่พึงกระท�ำกันโดยทั่วไป ไม่วา่ ใครๆ ก็รดู้ ว้ ยเหตุผลของเราเอง เพราะฉะนัน้ เหตุการณ์นจี้ งึ ถือได้ ว่ารับได้ยากส�ำหรับคานท์นะครับ เพราะมันผิดหลักการทางศีลธรรม ที่มาจากเหตุผลนั่นเอง คานท์ไม่ใช่คนเดียวหรอกครับที่อธิบายเรื่องราวของอับราฮัม เฮเกลเองก็อธิบายเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน เฮเกลอธิบายว่าในที่สุดความ ดีไมใช่กฎที่เป็นนามธรรมแต่ความดีส�ำแสดงตัวออกผ่านวัฒนธรรม Kant,Emmanuel, The Conflict of the faculties, trans. Mary Gregory (University of Nebraska Press, 1992), p. 155 4

52

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ความดี ใ นยุ ค กรี ก โบราณและความดี ใ นยุ ค ใหม่ ร วมถึ ง ความดี ยุคประชาธิปไตยล้วนแต่เป็นความดีทงั้ สิน้ แต่ความดีนนั้ ต้องเดินทาง ผ่านกาลเวลาไปจนถึงทีส่ ดุ มนุษย์จงึ จะสามารถรูไ้ ด้วา่ แท้จริงแล้วคือ อะไร ในทีน่ กี้ ารเข้าใจอับราฮัมจึงต้องอาศัยบรรยากาศทางวัฒนธรรม เพื่อเข้าใจว่าความดี พระเจ้า ศาสนาคืออะไร กล่าวคือการที่เราจะ สามารถเข้าใจอับราฮัมได้ย่อมต้องเข้าใจว่าในบริบทของฮิบรูโบราณ การบูชาบุตรต่อพระเจ้าเป็นเรื่องที่สามารถกระท�ำได้และนี่คือสิ่งที่ เฮเกลเสนอให้เรามอง นักปรัชญาทั้งสองนี้มีปัญหาส�ำหรับเคียร์เคอการ์ดอย่างมากนะ ครับ โดยเคียร์เคอการ์ดมองว่าวิธีมองทั้งสองแบบนี้มีปัญหาอย่าง มากเพราะเราก�ำลังอนุญาตให้วัตถุวิสัยอธิบายได้ทุกสิ่งรวมถึงกรณี ของอับราฮัมด้วย พูดง่ายนะครับคือกรณีของอับราฮัมถูกอธิบายด้วย กฎศีลธรรมและหลักการที่ว่าบริบทอธิบายได้ทุกสิ่ง และหลักการทั้ง สองมีลักษณะวัตถุวิสัย ส�ำหรับคานท์สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดคือความดี คน ต้องท�ำหน้าที่พ่อคือปกป้องลูกนั่นเองครับดังนั้นอับราฮัมเลยผิด ใน ขณะที่หลักการที่ว่าบริบทอธิบายได้ทุกสิ่งท�ำให้เราไม่เห็นถึงความ กดดันของอับราฮัมทีต่ อ้ งเสียลูกไป บริบทบอกแต่เพียงว่า “ก็เป็นเรือ่ ง ธรรมดา”นะ แต่สำ� หรับอับราฮัมมันไม่ธรรมดาไงครับ ลูกก็รกั พระเจ้า ก็เทิดทูน ของแบบนีม้ นั เป็นเรือ่ งเจ็บทัง้ ขึน้ ทัง้ ร่อง จากความรูส้ กึ ของ อับราฮัมนี้คุณคงเห็นแล้วนะครับว่าสิ่งที่หายไปคือความเฉพาะของ อับราฮัมนัน่ แหละ พูดอีกแบบก็คอื อับราฮัมมีลกั ษณะเฉพาะทีผ่ กู พัน

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

53


บรรณานุกรม ภาษาไทย ดอสโตยเยี ย ฟสกี้ . บันทึกจากใต้ถุนสังคม. ศ . ศุ ภ ศิ ล ป ์ ( แ ป ล ) . กรุ ง เทพฯ: ส� ำ นั ก พิ ม พ์ วลี, 2554. ภาษาอังกฤษ Kant, Emmanuel. The Conflict of the faculties, Mary Gregory (trans.), Nebraska: University of Nebraska Press, 1992. Kierkegaard, S., Fear and Trembling, Alastair Hannay (trans.), Hormondsworth: Penguin Press, 1985. Kierkegaard, s., Concluding Unscientific Postscript to Philosophical Fragments, Howard V. Hong and Edna H. Hong (trans.), Princeton: Princeton University Press, 1992.

54

กับพระเจ้า และสิ่งนี้แหละครับที่ต้องเคารพกัน ถ้าเราเอากฎศีลธรรมมาจับ อับราฮัมก็กลายเป็นฆาตกร ถ้าเอา บริบทมาจับอับราฮัมเป็นอณูของเรือ่ งเล่าทีไ่ ม่มคี วามศักดิส์ ทิ ธิ์ แต่การ เอาความรูส้ กึ มาพิจารณาท�ำให้อบั ราฮัมมีความเฉพาะตัว อับราฮัมรัก ลูกมากดังนั้นการบูชายัญเลยส�ำคัญ แต่กระนั้นอับราฮัมก็แอบเสียใจ ไม่ได้ที่ต้องเสียลูกไป ทั้งนี้ก็ยังมีความหวังว่าจะได้ลูกกลับมาในวิธีใด วิธหี นึง่ นีแ่ หละครับทีศ่ รัทธาส�ำคัญ เพราะศรัทธาจะท�ำให้เราทุกต่าง มีความหวังที่ลึกลับบางอย่าง คุณจะสังเกตได้ว่าเมื่อคุณเชื่อพระเจ้า คุณจะทุกข์ทันที อับราฮัมทุกข์เพราะบอกใครไม่ได้เพราะไม่มีใคร เข้าใจความสัมพันธ์ทเี่ ขามีตอ่ พระเจ้า อับราฮัมต้องทุกข์อย่างเชือ่ มัน่ อับราฮัมต้องเผชิญกับสิง่ ไม่แน่นอนนีเ่ องคือความสัมพันธ์กบั พระเจ้า ตรงกันข้ามกับศาสนาหรือกฎเกณฑ์ของสังคมที่ทุกคนเห็นว่าถูกเมื่อ เราท�ำตามเกณฑ์ของสังคมทุกคนจะเห็นว่าดีงามน่ายกย่องนี่เองเป็น พลังของวัตถุวสิ ยั เมือ่ คุณท�ำอะไรตามๆ เขาไปคุณก็ปลอดภัยและมีคน ยกย่อง แต่ถา้ คุณท�ำตามพระเจ้าหรือมีศรัทธาคุณจะต้องแย้งกับสังคม ตลอดเวลาและสังคมไม่มวี นั เข้าใจคุณนัน่ เองแหละครับ ดังนัน้ เมือ่ คุณ เชื่อพระเจ้าสิ่งที่คุณท�ำได้คืออยู่ในมุมเล็กๆ ของตนเอง แปลกแยก จากคนอื่นเพราะคุณผูกพันกับพระเจ้าเดี่ยวๆ และแน่นอนสังคมจะ ประณามคุณ เพราะคุณถืออัตวิสัยของตนเองเป็นหลัก ในขณะที่ ถ้าคุณเชื่อศาสนาเชิงสังคมคนจะยกย่องคุณแต่นั่นคือศาสนาแบบ วัตถุวิสัยไงครับ

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ถึงตรงนี้คุณคงเดาได้แล้วว่าเคียร์เคอการ์ดเสนอให้เรากบฏต่อ สังคมในนามความผูกพันกับพระเจ้า มนุษย์จะเข้าใจพระเจ้าได้อย่าง ส่วนตัวเท่านั้น (เหมือนอับราฮัมนั่นไงครับ) ซึ่งท้ายที่สุดเราเป็นตัว ของตัวเองผ่านพระเจ้า สิ่งนี้จะขัดแย้งกับพวกศาสนาเชิงสถาบัน เพราะเราไม่เคยเป็นตัวเราเองเลย เราเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสถาบัน เท่านั้นเองครับ ผมขอจบบทความนี้ด้วยตัวอย่างจาก สถานการณ์ ของสามีภรรยาคู่หนึ่งใน Concluding Unscientific Postscript ที่ สามีสงสัยว่าตนเองเป็นชาวคริสต์หรือไม่ ภรรยาตอบว่าสามีของตน เป็นชาวคริสต์อย่างแน่นอนเพราะเกิดในเดนมาร์กอันเป็นประเทศที่ มีศาสนาคริสต์เป็นศาสนาหลัก มีประวัติศาสตร์อันยาวนานเกี่ยวกับ ชาวคริสต์ แล้วอย่างนี้สามีของตนจะไม่เป็นชาวคริสต์ได้อย่างไร บท สนทนานี้ชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมทางศาสนาของสังคมและชุมชนนั้น เองที่เป็นตัวก�ำหนดความเป็นศาสนา แต่คนไม่ได้รู้สึกรู้สาอะไรเกี่ยว กับมันเลย ผมตั้งข้อสังเกตว่าทุกวันนี้คนในสังคมไทยก็คงคล้ายกับ สามีภรรยาคูน่ ลี้ ะครับทีเ่ ชือ่ ว่าตนเองเป็นพุทธ ประชาธิปไตย และรัก ในหลวง โดยเรายังคงท�ำบาปทุกชนิด ชอบเผด็จการและจ้องเล่นงาน คนอื่นด้วย 112 ก็เท่านั้นเอง

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

55


56

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/ Essay /

เสียงครวญจากใต้ถุนของปราสาทแก้ว

ศรัทธา เหตุผล และวิกฤติตัวตนของมนุษย์สมัยใหม่นวนิยาย Notes from Underground โดย ฟีโอดอร์ ดอสโตเยฟสกี สุริยาพร เอี่ยมวิจิตร์

Xavier Mellery: My Hallway, Light Effect 1889

vice versa

The Grand Hotel และสังคมในอุดมคติ(?)

รรดาคอภาพยนตร์ แ ละผู ้ ที่ ติ ด ตามข่ า วงานประกาศ ผลรางวั ล Academy Awards เมื่ อ เดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ที่ ผ่ า นมาคงไม่ มี ใ ครที่ ไ ม่ เ คยได้ ยิ น ชื่ อ The Grand Budapest Hotel ผลงานล่ า สุ ด ของ Wes Anderson ภาพของโรงแรม ที่ ส ะท้ อ นการจั ด ระเบี ย บสั ง คมไม่ ไ ด้ ป รากฏในภาพยนตร์ The Grand Budapest Hotel เท่ า นั้ น ในศตวรรษที่ 19 ชาร์ลส์ ฟูร์ริเยร์ (Charles Fourier) นักคิดสายสังคมนิยมยูโทเปีย (Utopian socialism) ชาวฝรั่งเศส เสนอแนวคิดสังคมในอุดมคติ ที่มีลักษณะคล้ายโรงแรมขนาดใหญ่ (The Grand Hotel) โดยเรียก ว่า Phalanstère ในชุมชน Phalanstère ฟูร์ริเยร์ค�ำนวณอาณาเขต ชุมชนประมาณ 5000 เอเคอร์ต่อประชากรจ�ำนวน 1600-1800 คน มีอาคารหลังใหญ่สี่ชั้นเรียงตามล�ำดับชนชั้นของคนในชุมชนจากชั้น

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

สุ ริ ย าพร เอี่ ย มวิ จิ ต ร์ นั ก เ ขี ย น - นั ก วิ ช า ก า ร ด ้ า น วรรณกรรม ผู ้ เ ชี่ ย วชาญ ด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ รั ฐ ชาติ วรรณกรรมรั ส เซี ย เยอรมั น และแนวคิดหลังอาณานิคม

57


บนลงล่าง ในชุมชนมีการแบ่งงานกันท�ำโดยแยกประเภทงานชัดเจน คนในสังคมสามารถเลือกงานที่ตนชอบ สามารถเปลี่ยนงานได้ตาม ปรารถนา และมีการปันส่วนเกิน (surplus) ลดหลั่นตามงานที่ท�ำ1 แนวคิดสังคมอุดมคติแบบฟูร์ริเยร์ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดเรื่อง ธรรมชาติมนุษย์ในยุคเรืองปัญญาในศตวรรษที่ 17 (The Enlightenment) ซึ่งพัฒนามาจากฐานคิดที่หลุดจากอิทธิพลของศาสนา และเชือ่ มัน่ ในศักยภาพของมนุษย์ในการใช้เหตุผลเพือ่ ได้มาซึง่ ความรู้ ฟูร์ริเยร์ผู้เชื่อว่ามนุษย์นั้นดีโดยธรรมชาติคิดว่าระบบสังคมที่อาศัย ความร่วมมือของคนในสังคมโดยไม่มีการบีบบังคับจะท�ำให้สังคม เกิดความสงบสุขผลผลิตในสังคมเยอะมากขึ้นเพราะคนใน Phalanstère สามารถเลือกท�ำงานที่ตนชอบได้ แนวคิดสังคมนิยมยูโทเปีย ของฟูรร์ เิ ยร์เป็นทีส่ นใจของสังคมยุโรปในศตวรรษที1่ 9 รวมถึงรัสเซีย Phalanstère เป็ น ประเด็ น ที่ มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ใน นวนิ ย าย Notes from Underground ในฐานะเป็นผลผลิตจากแนวคิดยุค เรืองปัญญาของยุโรปตะวันตกที่ดอสโตเยฟสกีคิดว่าไม่สามารถ มาปรั บ ใช้ กั บ รั ส เซี ย ได้ อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น อั น ตรายต่ อ สั ง คมมนุ ษ ย์ โดยรวมอี ก ด้ ว ย Notes from Underground เป็ น นวนิ ย าย ขนาดสั้ น ชิ้ น เอกของฟี โ ยดอร์ ดอสโตเยฟสกี (Fyodor DosLoubere, Leo. Utopian Socialism: Its History since 1800. Cambridgee: Schenkman, 1974 Print. 1

58

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


toevsky)ได้รับ การตีพิม พ์เป็น ครั้งแรกเมื่ อ ปี 1864 ในวารสาร ชื่อ Epoch งานเขียนชิ้นนี้ถือได้ว่าเป็นนวนิยายเชิงจิตวิทยาเล่ม แรกๆ และได้ รั บ การขนานนามเป็ น นวนิ ย ายแนวอั ต ถิ ภ าวนิ ย ม (Existentialist novel) เล่มแรกเพราะหนึ่งในประเด็นส�ำคัญของ นวนิยายเรื่องนี้คือค�ำถามเกี่ยวกับความหมายของชีวิตและการด�ำรง อยู่ของมนุษย์ มีงานศึกษาเกี่ยวกับ Notes from Underground ผ่านมุมมองของนักคิดสายอัตถิภาวนิยมเช่นโซเรน เคียร์เคอร์การ์ด (Søren Kierkegaard) ฟรีดริช นีทเชอ เป็นจ�ำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ผูเ้ ขียนคิดว่าการศึกษาประวัตขิ องดอสโตเยฟสกีควบคูไ่ ปกับการอ่าน ตัวบทอาจช่วยให้ผอู้ า่ นเห็นร่องรอยของความเชือ่ ทางจิตวิญญาณของ ดอสโตเยสกีที่ปรากฎในงานชิ้นนี้และเห็นภาพของนวนิยายเรื่องนี้ ในมุมมองทีก่ ว้างขึน้ ในงาน Notes from Underground ดอสโตเยฟสกี ไม่ได้ต้องการเสนอว่าพระเจ้ามีอยู่จริงหรือไม่ แต่เสนอภาพของ ศรัทธาและสภาวะขาดศรัทธาในโลกสมัยใหม่ การอ่านประวัติของ ดอสโตเยฟสกีอาจท�ำให้ผู้อ่านเห็นประเด็นในนวนิยาย Notes from Underground ที่วิพากษ์สังคมสมัยใหม่ที่ความมั่นใจในตัวมนุษย์ และเหตุผลของมนุษย์ถูกสั่นคลอนได้มากขึ้น และเข้าใจประวัติของ ดอสโตเยฟสกีได้มากขึ้นผ่านการอ่านนวนิยายเล่มนี้

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

59


โลก มนุษย์ พระเจ้า: รัสเซีย ดอสโตเยฟสกี และศรัทธา

ชีวติ ของฟีโอดอร์ มิคาอิลโลวิช ดอสโตเยฟสกี (Fyodor Mikhailovich Dostoevsky) ผูกพันอย่างลึกซึ้งกับศาสนาคริสต์ Orthodox นิกาย หลักของรัสเซีย เขาเกิดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 1821 ณ กรุงมอสโคว์ ดอสโตเยฟสกีเติบโตมากับครอบครัวเคร่งศาสนา หนังสือเล่มหนึ่ง ที่มารดาของดอสโตเยฟสกีสอนให้เขาอ่านตั้งแต่ยังเด็กคือหนังสือ หนึ่งร้อยสี่เรื่องเล่าอันศักดิ์สิทธิ์ส�ำหรับเด็กจากพันธสัญญาเก่าและ ใหม่ (One Hundred and Four Sacred Stories from the Old and New Testaments Selected for Children) โดยนักเขียน ชาวเยอรมัน โยฮันเนส ฮุบเนอร์ (Johannes Hübner) เรื่องเล่าใน หนังสือเล่มนี้ในภายหลังมีบทบาทส�ำคัญในนวนิยายหลายเล่มของ ดอสโตเยฟสกี เช่นเรื่องการตกในบาปของอดัมและอีฟ เรื่องของ โยบ และเรื่องลาซารัสผู้ฟื้นจากตวามตาย ในบรรดาเรื่องเหล่านี้ เรื่องของโยบและความทุกข์ทรมานของเขาเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบ

60

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ต่อจิตใจดอสโตเยฟสกีมากที่สุด เมื่อเขาอายุ 15 ปี บิดาให้เขาเรียน วิทยาลัยทหารช่างในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ต่อมาเขาได้เข้าร่วมกลุ่ม เพตราเชฟสกี (Petrashevsky Circle) ซึ่งเป็นขบวนการปัญญาชน น�ำโดย Mikhail Petrashevsky ผู้นิยมความคิดสังคมนิยมยูโทเปีย ของฟูรร์ เี ยร์ สมาชิกในกลุม่ นีต้ อ้ งการล้มระบอบซาร์และระบอบทาส ที่ดินให้หมดไปจากรัสเซีย ในปี 1849 สมาชิกกลุ่มเพตราเชฟสกีโดน จับ ดอสโตเยฟสกีถูกตัดสินโทษให้เนรเทศไปเป็นนักโทษใช้แรงงาน หนักที่ไซบีเรียเป็นเวลา 4 ปี ช่วงเวลาอันยากล�ำบากในไซบีเรีย ส่งผลต่อความคิดและจิตใจของดอสโตเยฟสกีเป็นอย่างยิ่ง เขาเริ่ม พินจิ พิจารณาศรัทธาของตัวเอง และตัง้ ค�ำถามกับอุดมคติเสรีนยิ มฝ่าย ซ้ายที่เขาเคยยึดมั่นสมัยอยู่ในกลุ่มเพตราเชฟสกี หลังจากที่เขาได้รับ การปล่อยตัวออกมาจากคุกในปี 1854 เขาได้เขียนจดหมายหานาตา เลีย ฟอนวิซินา (Natalia Fonvizina) เพื่อนผู้มอบคัมภีร์พันธสัญญา ใหม่ให้ดอสโตเยฟสกี จดหมายฉบับนี้ในภายหลังกลายเป็นหนึ่งใน จดหมายที่เป็นที่กล่าวถึงมากที่สุดของดอสโตเยฟสกี “ส� ำ หรั บ ตั ว ฉั น เอง ฉั น ขอสารภาพว่ า ฉั น ยั ง เหมื อ นเด็ ก น้ อ ย

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

Victor Considérant: ภาพภูมิทัศน์ของ Phalanstère

61


เด็กน้อยผู้เต็มไปด้วยความสงสัยจนถึงตอนนี้ และ(คงจะเป็นเช่นนี้) จนตราบสิ้นลมหายใจ ความกระหายในศรัทธาของฉันมันมีค่าราคา แพงเสียเหลือเกิน ยิ่งข้อสงสัยเพิ่มพูนมากเท่าไหร่มันก็ยิ่งแผดเผา จิตวิญญาณของฉันมากไปเท่านัน้ อย่างไรเสีย ฉันพบว่าบางครัง้ พระเจ้า ได้ส่งช่วงเวลาอันแสนสงบสุขมาให้ฉัน ในช่วงเวลาเหล่านั้นฉันพบว่า ฉันได้รักและเป็นที่รักของคนอื่นๆ และในห้วงเวลานั้นเองที่ฉันพบ ว่าฉันกลายเป็นสัญลักษณ์ของความจริงแท้ที่ทุกๆ อย่างกระจ่างแจ้ง และศักด์สทิ ธิไ์ ปเสียหมด สัญลักษณ์ของความจริงแท้ของฉันคือความ เชื่อที่ว่าไม่มีและจะไม่มีสิ่งใดงดงาม ลึกล�้ำ น่าหลงใหล เหมาะสม แข็งแกร่ง และสมบูรณ์แบบยิง่ ไปกว่าพระคริสต์ ถ้ามีใครจะมาพิสจู น์ กับฉันว่าความจริงแท้อยูน่ อกพระคริสต์ ฉันเลือกทีจ่ ะอยูก่ บั พระคริสต์ มากกว่าอยู่กับความจริงแท้เช่นนั้นเสียดีกว่า”2 จากเนื้อความข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ส�ำหรับดอสโตเยฟสกีแล้ว ศรัทธายังมีอิทธิพลทางความรู้สึกของดอสโตเยฟสกีเสมอ เขาไม่อาจ ตัดขาดจากศาสนาอยู่ในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยวัตถุและหลักเหตุผล แบบยุคเรืองปัญญาเพียงอย่างเดียว ยิ่งไปกว่านั้น ชีวิตในไซบีเรีย ท� ำ ให้ เ ขาหลุ ด จากภาพฝั น หวานของสั ง คมอุ ด มคติ แ บบฟู ร ์ ริ เ ยร์ อี ก ด้ ว ย ดอสโตเยฟสกี ผู ้ ผู ก ความเป็ น รั ส เซี ย กั บ วั ฒ นธรรมที่ มี Dostoyevsky, Fyodor, and Ethel Colburn Mayne. Letters of Fyodor Michailovitch Dostoevsky. New York: McGraw-Hill, 1964. Print. แปลและเรียบเรียงโดยผูเ้ ขียน 2

62

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เอกลักษณ์เฉพาะตัวและสังคมแบบออร์ธอร์ดอกซ์มองว่าแนวคิด แบบตะวันตกไม่สามารถน�ำมาใช้กับผืนดินรัสเซียที่มีลักษณะเฉพาะ ตัวได้ เขาเริ่มตั้งแนวคิดชาติยมแบบรัสเซีย (Pochvennichestvo) จากรากศัพท์ค�ำว่า pochva ที่แปลว่าดิน ดอสโตเยฟสกีตั้งค�ำถาม กับแนวคิดการจัดระเบียบสังคมแบบฟูร์ริเยร์ ตลอดจนถึงแนวคิดยุค เรืองปัญญาจากตะวันตกที่มั่นใจในเหตุผลของมนุษย์ในฐานะเครื่อง มือสูค่ วามจริงแท้ และแนวคิดต่อธรรมชาติมนุษย์วา่ เป็นสิง่ มีชวี ติ ทีใ่ ช้ เหตุผล สามารถค�ำนวณ และจัดระเบียบผ่านการสนองความต้องการ ทางวัตถุเพียงอย่างเดียว วิกฤติตัวตนของมนุษย์อันเปล่าดายในโลกสมัยใหม่

นวนิยาย Notes from Underground เป็นบันทึกของชายนิรนามผู้ หนึ่งที่อาศัยอยู่ชานเมืองปีเตอร์สเบิร์ก ตัวบทแบ่งเป็นสองส่วน ส่วน แรกเป็นส่วนที่ชายนิรนามแนะน�ำตัวเองและหลักปรัชญาของตนใน การใช้ชีวิตและอธิบายสังคมมนุษย์ เขากล่าวบ่อยครั้งว่าตนมาจาก ใต้ถุน (Underground) Underground Man ผู้นี้เริ่มต้นเล่าเรื่อง ของตนเองที่มีลักษณะเพี้ยนประหลาดและย้อนแย้ง “ข้าพเจ้าเป็น คนป่วย เป็นชายผู้เต็มไปด้วยความเคียดแค้น ไม่มีเสน่ห์ ข้าพเจ้าคิด ว่าตับของข้าพเจ้าเป็นพิษ อันทีจ่ ริง ข้าพเจ้าเจ็บป่วยเป็นอะไรข้าพเจ้า

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

63


ก็ไม่รู้ ข้าพเจ้าไม่รดู้ ว้ ยซ�ำ้ ว่าข้าพเจ้าเจ็บตรงไหนบ้าง”3นอกจากความ ย้อนแย้งในตนเองแล้ว underground man ยังพูดเรือ่ งความย้อนแย้ง ของมนุษย์ทวั่ ไป และวิพากษ์หลักเหตุผลและกฎธรรมชาติทเี่ ป็นส่วน ส�ำคัญในฐานคิดของสังคมมนุษย์สมัยใหม่ เขาโจมตีแนวคิดเรื่องกฎ ธรรมชาติ (Natural law) แนวคิดอัตนิยมเชิงเหตุผล (Rational egoism) ที่น�ำไปสู่แนวคิดสังคมนิยมยูโทเปียของฟูร์ริเยร์ ส่วนที่สองของ นวนิยายเล่าเรือ่ งย้อนกลับไปสมัย underground man อายุยสี่ บิ สีป่ ี และความสัมพันธ์อันล้มเหลวของเขากับคนรอบตัว รวมถึงความ สัมพันธ์ระหว่างเขาและโสเภณีชื่อลิซา ดอสโตเยฟสกี ใ ช้ น วนิ ย ายเล่ ม นี้ โ ต้ ก ลั บ นวนิ ย ายของนิ โ คไล เชอนีเชฟสกี (Nikolai Chernyshevsky) เรื่อง What is to be Done? นวนิยายเรือ่ งดังกล่าวเป็นนวนิยายทีไ่ ด้รบั อิทธิพลจากกระแส วัตถุนิยม (Materialism) ซึ่งเป็นแนวคิดที่เป็นนิยมในบรรดาปัญญา ชนรัสเซียขณะนั้น ใน What is to be Done? เชอนีเชฟสกีใช้ภาพ ของปราสาทแก้ว (Crystal Palace) แทนสัญลักษณ์ของแนวคิด Phalanstère ของฟูร์ริเยร์ ปราสาทแก้วเป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ กินพื้นที่ 92,000 ตารางเมตร ท�ำด้วยกระจกและโครงเหล็ก สร้างขึ้น เมื่ อ ปี 1851 เพื่ อ จั ด นิ ท รรศการใหญ่ ที่ ก รุ ง ลอนดอน ปราสาท Dostoyevsky, Fyodor, Richard Pevear, and Larissa Volokhonsky. Notes from Underground. New York: Vintage, 2006. Print. แปลและเรียบเรียงโดยผู้เขียน 3

64

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


แก้ ว กลายเป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องความเจริ ญ ก้ า วหน้ า สู ง สุ ด ทาง วั ต ถุ ข องมนุ ษ ย์ ในแต่ ล ะวั น มี ผู ้ เ ข้ า ชมปราสาทแก้ ว จ� ำ นวนมาก ปราสาทแก้ ว นอกจากจะเป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องความก้ า วหน้ า ทาง วั ต ถุ แ ล้ ว ยั ง เชื่ อ มโยงถึ ง สั ง คม Phalanstère ของฟู ร ์ ริ เ ยร์ ที่ สร้างสังคมอุดมคติจากฐานคิดว่ามนุษย์เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่สามารถ ค�ำนวณอธิบายด้วยหลักเหตุผลได้ ขับเคลื่อนด้วยความต้องการ ทางวั ต ถุ และจะเลื อ กสิ่ ง ที่ ดี สุ ด ให้ กั บ ตนเสมอ underground manเชื่ อ ว่ า เมื่ อ ใดที่ ก ารกระท� ำ ทุ ก อย่ า งของมนุ ษ ย์ ส ามารถ ค�ำนวณได้ด้วยตัวเลขที่แน่นอน เมื่อนั้นปราสาทแก้วจะถูกสร้างขึ้น สังคมที่มีแต่ความสุขจะก�ำเนิดขึ้น อย่างไรก็ตามดอสโตเยฟสกีเห็น ว่าปราสาทแก้วและสังคมอุดมคติเช่นนี้เป็นสัญลักษณ์ของความ หยิ่งผยองและความมืดบอด ความพยายามสร้างสังคมอุดมคติด้วย น�้ำมือของมนุษย์เองสะท้อนหลักมนุษยนิยมที่เชื่อในอ�ำนาจของ มนุษย์ที่จะสร้างสังคมสมบูรณ์แบบที่มีความสุข โดยไม่ต้องเฝ้ารอถึง อาณาจักรของพระเจ้า ดอสโตเยฟสกีผไู้ ม่เห็นด้วยกับแนวคิดวัตถุนยิ ม และสังคมนิยมยูโทเปีย เขียนไว้ในจดหมายถึงพี่ชายของเขาว่า เขา ตั้งใจให้นวนิยาย Notes from Underground พูดถึงพระเจ้าผ่าน การปฏิเสธพระเจ้าในเรือ่ งและใช้ศรัทธาในศาสนาคริสต์ในฐานะเป็น เครื่องมือทางออก แต่เนื้อความส่วนนั้นไม่ผ่านกองเซนเซอร์ “ฉันมีเรือ่ งบ่นเกีย่ วกับงานเขียนของในวารสาร[Epoch]ด้วย มัน มีคำ� สะกดผิดเต็มไปหมด หน�ำซ�ำ้ ฉันคิดว่าถ้าเขาจะตีพมิ พ์งานของฉัน

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

65


มาเช่นนี้ ตัดบางประโยคทิ้งแล้วท�ำให้ความหมายเปลี่ยนไปหมดเสีย แบบนี้ (โดยเฉพาะบทที่ส�ำคัญที่สุด [บทที่สิบของส่วนแรก]ที่เป็นใจ ความหลักของนวนิยายของฉัน) ฉันว่าอย่าตีพมิ พ์ตงั้ แต่แรกเสียดีกว่า แต่บ่นไปก็คงไม่ได้อะไรนัก พวกเจ้าหน้าที่คัดกรองเนื้อหาเป็นพวก หมูสกปรกกันทั้งนั้น ส่วนไหนของนวนิยายที่ฉันยั่วล้อหยาบคายไป ทั่วพวกเขาก็ปล่อยผ่าน แต่ส่วนที่ฉันต้องการพูดถึงความส�ำคัญของ ศรัทธาและพระคริสต์เขาก็ตัดทิ้งไปเสียอย่างนั้น พวกหน่วยคัดกรอง ท�ำบ้าอะไรของพวกเขา นี่เป็นแผนการสบคบคิดอะไรกันหรือเปล่า” แม้ประเด็นเรื่องศาสนาคริสต์จะถูกตัดทิ้งไป แต่ผู้อ่านยังคงเห็น ร่องรอยของความพยายามของดอสโตเยฟสกีที่จะเสนอว่าศรัทธา เป็นส่วนประกอบส�ำคัญในการด�ำรงอยูอ่ ย่างมีความหมายของมนุษย์ เหตุผลเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอส�ำหรับการด�ำรงอยู่ของมนุษย์ ดัง จะเห็นได้จากตัวละคร underground man ในบทที่สิบที่เรียกร้อง ต้องการอยู่ในที่อื่นที่ไม่ใช่ปราสาทแก้วแต่เป็นคฤหาสน์ (Mansion) “ข้าพเจ้าจะท�ำเช่นไร หากข้าพเจ้าคิดว่ามนุษย์ไม่ได้ด�ำรงอยู่เพื่อ ปราสาทแก้ว ถ้ามนุษย์จะมีชีวิตอยู่ คฤหาสน์น่าจะเป็นที่ที่เหมาะ สมกว่าไม่ใช่หรือ” แม้ดอสโตเยฟสกีไม่ได้อธิบายต่อในส่วนที่เหลือ ของนวนิยายว่าคฤหาสน์ที่ Underground man พูดถึงคืออะไร แต่จากประวัติของดอสโตเยฟสกีและส่วนอื่นของนวนิยาย อาจม องได้ว่าคฤหาสน์อาจเป็นภาพแทนของสังคมอื่นที่ดอสโตเยฟสกี ฝันหา เป็นภาพของสังคมที่ไม่ได้ขับเคลื่อนด้วยเหตุผลและปัจจัย

66

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ทางวัตถุอย่างเดียวเช่นสังคมปราสาทแก้ว4 ส�ำหรับ Underground man ปราสาทแก้วถูกเปรียบเทียบกับเล้าไก่และรังมดมากกว่าสิ่ง ก่อสร้างอันวิจิตร และเป็นจุดเริ่มต้นของความตายของมนุษยชาติ เพราะถ้ า ยึ ด ตามหลั ก เหตุ ผ ลและวั ต ถุ นิ ย มสุ ด โต่ ง ว่ า มนุ ษ ย์ เ ป็ น เพี ย งสิ่ ง มี ชี วิ ต ที่ ขั บ เคลื่ อ นด้ ว ยเหตุ ผ ลและปั จ จั ย ทางวั ต ถุ เ พี ย ง อย่างเดียว เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถค�ำนวณด้วยหลักคณิตศาสตร์ได้ ทั้งหมด ก่อนที่จะสามารถน�ำมาจัดระบบระเบียบให้อยู่ในสังคมปิด ที่ถูกควบคุมให้คิดเหมือนกัน มีความสุขเหมือนกันทุกคน เป็นสังคม ที่มีแต่ความปรองดองเพียงอย่างเดียว ในที่สุดความเป็นปัจเจก ของมนุษย์จะถูกท�ำลายลง ส�ำหรับ underground man แล้ว สภาพสังคมแบบนั้นท�ำให้มนุษย์จะกลายเป็นแค่แป้นเปียโน หรือ ฝูงแกะที่ไม่มีเจตจ�ำนงของตัวเอง ได้แต่ใช้ชีวิตเพื่อท�ำหน้าที่เสมือน ฟันเฟืองหนึ่งในสังคมเท่านั้น ส�ำหรับดอสโตเยฟสกี มนุษย์ไม่ได้ เป็นเพียงแค่สิ่งมีชีวิตที่มีแต่ร่างกายเพียงเท่านั้น แต่ยังประกอบ ไปด้วยจิตวิญญาณที่ไม่สามารถใช้เหตุผลหรือหลักตรรกะอธิบาย ได้ จิตวิญญาณเป็นเครื่องหมายของความเป็นปัจเจกและเจตจ�ำนง อิสระที่จะเลือกสิ่งใดก็ได้แม้สิ่งนั้นจะน�ำมาซึ่งความทุกข์ของตน ดังนั้น Underground man จึงมองว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะ Flath A. Carol, “Fear of Faith: The Hidden Religious Message of Notes from Underground.” The Slavic and East European Journal 37.4(1993): 510-529 4

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

67


เลือกสิ่งที่ผิดพลาดถือเป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่ง “และแม้ชีวิตของ พวกเราบ่อยครั้งจะยุ่งเหยิงต�่ำตมเหมือนขยะ แต่นั่นยังคงเป็นชีวิต ไม่ใช่เพียงตัวเลขผลลัพธ์ของรากทีส่ อง ข้าพเจ้าเองต้องการจะใช้ชวี ติ เพื่อสนองความสามารถในการด�ำรงอยู่ของข้าพเจ้า ไม่ใช่แค่ความ สามารถในการใช้เหตุผลเพียงอย่างเดียว ซึง่ นับเป็นแค่ความสามารถ ที่ยี่สิบเท่านั้นจากความสามารถในการด�ำรงอยู่ของข้าพเจ้า” ดังนั้น เหตุผลที่ดูเหมือนจะเป็นแนวคิดที่สนับสนุนพลังความสามารถของ มนุษย์ในการเข้าใจกลายเป็นโซ่ตรวนจองจ�ำความเป็นปัจเจกส�ำหรับ Underground man และดอสโตเยฟสกี นอกจากนีด้ อสโตเยฟสกียงั เห็นว่ามนุษย์เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่ไม่สามารถด�ำรงอยู่เพียงล�ำพัง หากแต่ ประกอบสร้างตัวตนจากปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นรอบตัวเรา ดังนั้นสังคม ที่ทุกคนคิดเหมือนกันหมดจึงเป็นสังคมที่ปฏิสัมพันธ์และการโต้ตอบ ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ดอสโตเยฟสกีกล่าวไว้ในหมายเหตุของนวนิยายเล่มนี้ว่าเขา ต้องการให้ underground man ผู้นี้เป็นตัวแทนของมนุษย์สมัยใหม่ ทุกคน “ทัง้ ผูบ้ นั ทึกและบันทึกนีเ้ ป็นเรือ่ งแต่งขึน้ ทัง้ สิน้ อย่างไรก็ตาม บุคคลเช่นผู้เขียนบันทึกนี้ไม่เพียงอาจจะมีตัวตน แต่จักต้องมีตัวตน จริงๆในสังคมเมื่อพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ที่ก่อร่างสร้างสังคม ของเราขึ้นมา ข้าพเจ้าต้องการแสดงให้สังคมเห็นตัวแทนของคนรุ่น ปัจจุบันอย่างชัดเจนมากกว่าที่เคยท�ำมา” Underground man เป็นชายที่สมาทานกระแสธารความคิดสองกระแสที่เป็นที่นิยมใน

68

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


กลุ่มปัญญาชนรัสเซียชณะนั้นอย่างสุดโต่ง ได้แก่ แนวคิดวัตถุนิยม และแนวคิดโรแมนติค ความสุดโต่งและความย้อนแย้งของตัวละคร Underground man เป็นเสมือนภาพล้อของแนวคิดเหล่านีซ้ งึ่ เป็นผล มาจากแนวคิดยุคเรืองปัญญาที่เชื่อมั่นในความสามารถมนุษย์อย่าง เต็มที่ในขณะที่หันหลังให้กับศรัทธาในพระเจ้า Underground man เป็นตัวละครที่ติดอยู่ในสภาพติดกับอยู่ในวังวนความคิดของ ตัวเอง เขาไม่สามารถหันหลังกลับไปหาโลกสมัยก่อนที่พระเจ้า เป็นศูนย์กลางของความหมาย และไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความ หมายได้ในโลกสมัยใหม่ที่ไม่เหลือสิ่งใดให้เชื่อแม้กระทั่งเหตุผล ของตนเอง เหตุผลสุดโต่งของ Underground man ท�ำให้เขาไม่ สามารถตัดสินใจท�ำอะไรได้เลย เขาไม่สามารถแก้แค้น ลืม หรือ ให้อภัยผู้ที่ท�ำผิดต่อเขาได้ เพราะเขาติดอยู่กฎธรรมชาติและความ เชื่อที่ว่าธรรมชาติมนุษย์ดีเสมอ “ความใจกว้างขัดขวางข้าพเจ้า ไม่ให้ท�ำสิ่งใดได้เลย ไม่ว่าจะเป็นการแก้แค้น เพราะผู้ที่ท�ำร้าย ข้าพเจ้าอาจท�ำร้ายข้าพเจ้าด้วยกฎของธรรมชาติ และไม่เคยมี ค�ำว่าให้อภัยในกฎธรรมชาติ แต่ข้าพเจ้าก็ไม่สามารถลืมได้ เพราะถึง แม้การกระท�ำนั้นจะเป็นการกระท�ำจากกฎของธรรมชาติ ข้าพเจ้า ยังคงรู้สึกแค้นใจอยู่ดี” นอกจากนี้ ความเชื่อในกฎธรรมชาติอย่าง สุดโต่งของ Underground man ท�ำให้เขารู้สึกว่าตนไม่ต้องมีความ รับผิดชอบทางศีลธรรมต่อมนุษย์รอบข้างเพราะว่ากฎธรรมชาติ เป็นตัวก�ำหนดพฤติกรรมทั้งหมดของมนุษย์เรียบร้อยแล้ว “ไม่ใช่

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

69


แค่ชั่วช้าเท่านั้น ไม่เลย ข้าพเจ้าไม่สามารถเป็นอะไรได้ทั้งนั้น ไม่ว่า จะดีช่ัว คนบาปหรือคนซื่อ พระเอกหรือแมลงสกปรก” ความคิด เช่นนี้ท�ำให้ Underground man ไม่สามารถมีความสัมพันธ์กับคน รอบตัวได้เลย ความคิดเรื่องกฎธรรมชาติท�ำให้เขาไม่รู้สึกผิด และ ไม่ตอ้ งการค�ำขอโทษใดๆทัง้ สิน้ แม้วา่ นวนิยายเล่มนีจ้ ะมีขนบการเขียน เหมือนค�ำสารภาพก็ตาม ในนวนิยายเรื่องนี้ดอสโตเยฟสกีใช้กลวิธี การเขียนเพือ่ ล้องานเขียนเชิงอัตชีวประวัตชิ นิ้ ส�ำคัญของฌ็อง ฌาคส์ รุสโซ (Jean-Jacque Rousseau) ชื่อ ค�ำสารภาพ (Confessions) Underground man วิพากษ์ขนบการเขียนของรุสโซว่าเต็มไปด้วย ค�ำโกหกหลอกลวง “ไฮน์กล่าวว่าการเขียนอัตชีวประวัติที่จริงใจเป็น เรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ เพราะมนุษย์เรามักสร้างค�ำโกหกเกี่ยวกับตัว เองเสมอ ในความเห็นของไฮน์ เขาเชื่อว่ารุสโซจงใจเขียนเรื่องโกหก เกี่ยวกับตัวเองไปเยอะเหมือนกันในงานค�ำสารภาพเพราะความหลง ตัวเองของเขา ข้าพเจ้าเชื่อว่าไฮน์กล่าวไว้ถูกต้องแล้ว” นอกจากจะ วิพากษ์งานค�ำสารภาพของรุสโซแล้ว แม้แต่ Underground man เองก็ยอมรับกับผูอ้ า่ นเช่นกันว่าเขาโกหก “เมือ่ ครูท่ ขี่ า้ พเจ้าบอกท่าน ว่าข้าพเจ้าเป็นข้าราชการทีเ่ ลวทรามนัน้ เป็นเรือ่ งโกหกทัง้ นัน้ ข้าพเจ้า โกหกลงไปด้วยความชัว่ ช้าของข้าพเจ้าเอง” ด้วยชุดความคิดของโลก สมัยใหม่ที่เต็มไปด้วยตรรกะและเหตุผลท�ำให้ Underground man ผู้ขาดซึ่งศรัทธาและใช้ชีวิตตามกรอบคิดยุคเรืองปัญญาอย่างสุดโต่ง ไม่สามารถสารภาพบาป (confess) ไม่ว่าจะกับพระเจ้าหรือเพื่อน

70

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


มนุษย์ก็ตามเพราะหลักเหตุผลสุดโต่งของเขาท�ำให้เขาไม่สามารถ รู้สึกผิดบาป หรือมีความรับผิดชอบทางศีลธรรมต่อการกระท�ำของ ตน “แต่ท่านสุภาพบุรุษ ข้าพเจ้าหวังว่าท่านคงจะไม่คิดว่าข้าพเจ้า ก�ำลังส�ำนึกผิดบาปหรือร้องขออภัยต่อหน้าพวกท่าน ข้าพเจ้ามั่นใจ ว่าพวกท่านก�ำลังคิดเช่นนั้น แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ข้าพเจ้าไม่ใส่ใจ” ความล้มเหลวของ Underground Man ในการเชื่อมตัวเองเข้า กับมนุษย์ผู้อื่นเห็นได้ชัดในส่วนที่สองของนวนิยาย Underground man ติดอยู่ในความย้อนแย้งภายในใจระหว่างความชิงชังเพื่อน มนุษย์ด้วยความรู้สึกว่าตนเหนือกว่า กับความต้องการที่จะสร้าง ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง แม้ Underground man จะชิงชัง เพื่อนสมัยเรียนมากแค่ไหน แต่เขาตัดสินใจไปหาซีโมนอฟที่ห้องพัก และไปงานเลี้ยงกับพวกเขา Underground man กล่าวถึงความ พยายามในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเขากับผู้อื่นว่าเป็นความ ล้มเหลว “ข้าพเจ้าเคยพยายามจะผูกมิตรกับผู้อื่น แต่ความพยายาม นัน้ ช่างดูเสแสร้งและมักจะจบลงด้วยความล้มเหลว ข้าพเจ้าเคยมีมติ ร สหายกับเขาบ้างเช่นกัน แต่ข้าพเจ้าเป็นทรราชจากส่วนลึกของจิต วิญญาณ ข้าพเจ้าต้องการควบคุมและมีอำ� นาจเหนือจิตวิญญาณของ มิตรสหายข้าพเจ้าอย่างไม่มที สี่ นิ้ สุด” ความสัมพันธ์ทลี่ ม้ เหลวอันเกิด จากความต้องการมีอำ� นาจเบ็ดเสร็จเหนืออีกฝ่ายของ Underground man จะเห็นได้จากความสัมพันธ์ระหว่างเขาและโสเภณีชื่อลิซา ใน ส่วนที่สองของนวนิยาย ดอสโตเยฟสกีขึ้นต้นด้วยบทกวีของ เอ็น เอ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

71


เนกราซอฟ (N.A. Nekrasov) เกี่ยวกับโสเภณีที่ถูกช่วยให้รอด ภาพ ของหญิงสาวผูไ้ ด้รบั การช่วยเหลือเป็นขนบยอดนิยมของวรรณกรรม ในยุคนั้น อย่างไรก็ตาม ผู้อ่านจะเห็นว่า Underground man ไม่อาจช่วยลิซาตามกลอนของเนกราซอฟ เขาไม่อาจช่วยเหลือตัวเอง ลิซาเองก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ Underground man กลายเป็นคน ที่เกินเยียวยาและไม่สามารถจะได้รับการช่วยให้รอด (salvation) อีกต่อไป Underground man ผู้มั่นใจในเหตุผลและอัตตาของตน อย่างสุดโต่งไม่สามารถรักลิซาได้ เพราะเขาต้องการมีอ�ำนาจเหนือ จิตวิญญาณของเธอ “ข้าพเจ้าขอย�ำ้ ว่าข้าพเจ้าไม่อาจรักใครได้ เพราะ ส�ำหรับข้าพเจ้าความรักหมายถึงการกดขี่ การยกตนข่มในเชิงศีลธรรม ส�ำหรับข้าพเจ้า ความรักมีเพียงแค่รปู แบบนีแ้ บบเดียวเท่านัน้ ความรัก เกิดขึน้ จากอีกฝ่ายสยบยอมให้อกี ฝ่ายควบคุม” แม้วา่ ลิซาจะพยายาม เปิดใจรับ Underground man เขาไม่สามารถตอบรับความรู้สึก ลิซาและมอบความรักกลับให้ลซิ าได้เพราะเขาไม่อาจลดอัตตาของตัว เอง อันเป็นสิ่งส�ำคัญส�ำหรับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และส�ำหรับ การถูกช่วยให้รอดจากพระเจ้า ในตอนท้ายของเรื่อง Underground man ดุด่าลิซาอย่างรุนแรง ก่อนที่จะวางเงินไว้บนโต๊ะเป็นค่าจ้าง ให้เธอ ซึ่งนับเป็นการเหยียดหยามอย่างที่สุด ลิซาผู้ลดอัตตาของ ตน ยอมให้ Underground man ดูถูก และพยายามเข้าใจความ ทุกข์ระทมของ Underground man ในที่สุดเลือกที่จะหันหลังให้ Underground man และตัดสินจากเขาไปตลอดกาล Underground

72

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


man ผู้ปราศจากทั้งศรัทธา ความสามารถในการละอัตตา ความรัก หรือความสามารถที่จะให้อภัยจึงไม่สามารถมีความสัมพันธ์กับทั้ง มนุษย์และพระเจ้า ไม่สามารถหันหลังไปหาศรัทธา หรือมองโลกไป ข้างหน้าด้วยสายตาแห่งหลักเหตุผลได้ นวนิยาย Notes from Underground เป็นนวนิยายที่อธิบาย ภาพของมนุษย์สมัยใหม่ที่ไม่ได้มีอัตลักษณ์หนึ่งเดียวคงที่ แต่ไหลลื่น และหลากเลื่อนตลอดเวลา นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงสภาวะ ของมนุษย์สมัยใหม่ทไี่ ม่เหลือสิง่ ใดให้ยดึ เหนีย่ ว ทุกสิง่ สลายกลายเป็น อากาศ ทุกอย่างถูกลบหลูแ่ ละตัง้ ค�ำถาม รวมไปถึงความสามารถและ หลักเหตุผลของมนุษย์เอง

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

บรรณานุกรม Dostoyevsky, Fyodor, and Ethel Colburn Mayne. Letters of Fyodor Michailovitch Dostoevsky. New York: McGraw-Hill, 1964. Print. Loubere, Leo. Utopian Socialism: Its History since 1800. Cambridgee: Schenkman, 1974 Print. Frank, Joseph, and Mary Petrusewicz. Dostoevsky: A Writer in His Time. Princeton: Princeton UP, 2010. Print. Flath A. Carol, “Fear of Faith: The Hidden Religious Message of Notes from Underground.” The Slavic and East European Journal 37.4 (1993): 510-529.

73


เอ็กซิสฯมาจากไหน? - สุชาติ สวัสดิ์ศรี -

เรื่อง: คงกฤช ไตรยวงศ์ และ รัตน์ระวี อรุณภู่ ภาพ: เบญจวรรณ เจริญปฐมตระกูล

74

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/ Interview /

เมือ่ ปลายเดือนเมษายนทีผ่ า่ นมา Vice Versa ได้รบั เกียรติจากคุณสุชาติ สวัสดิศ์ รี บรรณาธิการอาวุโสและศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ มา พูดคุยกับเราเรื่องที่มาที่ไปของแนวคิดเอ็กซิสเทนเชียลิสม์ (Existentailism) หรือที่เรียกย่อๆ ว่า เอ็กซิสฯ จุดนัดพบคือสถาบันปรีดี ซึง่ ก�ำลังมีการแสดงผลงานศิลปะ แต่เพือ่ จะได้มีอาหารและกาแฟทานระหว่างพูดคุยกัน เราจึงเชิญคุณสุชาติ ไปนั่งพูดคุยที่ร้านกาแฟเปิดใหม่บริเวณนั้น กระแสความคิดที่เรียกว่าเอ็กซิสเทนเชียลิสม์นี้ เราคงคุ้นชื่อ ฌอง-ปอล ซาร์ตร์ (Jean-Paul Sartre) และ อัลแบร์ต์ กามูส์ (Albert Camus) ประเด็นสนทนาคือ เอ็กซิสฯมาจากไหน? และมาอย่างไร? คุณ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ซึ่งมีส่วนที่เริ่มน�ำแนวคิดของซาร์ตร์เข้ามาในสังคม ไทย ด้วยการแปลบทความบางชิ้น กระทั่งได้รับฉายาว่า “สุซาร์ตร์” ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าไม่ชอบชื่อนี้เลย การสนทนาด�ำเนินไปกว่าสองชั่วโมง จนถึงเที่ยงแล้ว คุณสุชาติ บอกว่า “ไม่รู้สึกหิว” เพราะ “พวกคุณท�ำให้ผมคิดไปถึงอดีต” นัน่ หมายความว่าเป็นการเดินทางย้อนกลับไปต้นเค้าของเอ็กซิสเทนเชียลิสม์ที่เกิดขึ้นในบริบทของสังคมการเมืองไทยแบบหนึ่ง เกิด อะไรขึ้นกับบรรยากาศสังคมไทยในช่วงนั้น ปัญญาชนไทยเขียนหรือ อ่านอะไร ย่อมน่าจะช่วยไขความกระจ่างให้กบั เส้นทางทีป่ รัชญาแห่ง ลุม่ น�ำ้ แซนทีเ่ ข้ามาสูว่ งปัญญาชนแห่งลุม่ แม่นำ�้ เจ้าพระยาได้ชดั เจนขึน้

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

75


Q : มีอยู่ช่วงหนึ่งวงวรรณกรรมไทยที่ได้รับอิทธิพลความคิดของนัก คิดฝรั่งเศสที่เรียกกันว่าเอ็กซิสเทนเชียลิสม์ (Existentialism) และ แปลกันว่า อัตถิภาวนิยม ในเชิงวรรณกรรมวิจารณ์ พอเห็นอยู่บ้าง ว่าเอาแนวคิดของซาร์ตร์ หรือกามูสม์ าวิจารณ์งานเอ็กซิสฯหรืออะไร อย่างนี้ แต่ในทางการสร้างสรรค์มไี หมครับ อย่างกลุม่ พระจันทร์เสีย้ ว ก็เลยอยากจะถามคุณสุชาติวา่ ในช่วงนัน้ อิทธิพลของความคิดเอ็กซิสเทนเชียลิสม์ที่เข้ามาในสังคมไทย มันท�ำให้วงการนักเขียนได้รับผล กระทบทางความคิดอย่างไรบ้าง A : ถ้าพูดเกีย่ วข้องกับพระจันทร์เสีย้ วผมคงตอบไม่ได้ เพราะ แต่ละคนเขาก็มีปัจเจกของเขา อาจจะเป็นลักษณะเอ็กซิสเทนเชียลิสม์แบบหนึ่งก็ได้ พระจันทร์เสี้ยวก็ถือว่าสนใจร่วม กันในบางเรื่อง บางเรื่องก็แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นการ คิดประเภทที่คุณว่ามา และที่บัญญัติศัพท์เป็นไทยว่า อัตถิภาวนิยม ผมไม่ชอบค�ำแปลนี้เลย ตอนนั้นยังไม่มีค�ำที่เป็น ภาษาไทย แล้ว อ.กีรติ บุญเจือก็มาบัญญัติข้ึน คือผมรู้สึก ไปเองว่า มันพ้องเสียงกับค�ำว่า “อัฐ” ที่แปลว่าเงิน กับ “อัฐิ” แปลว่ากระดูก แต่เมื่อเข้าใจตรงกันว่าเป็นเอ็กซิสเทน เชียลิสม์ก็ไม่ว่าอะไร คือผมเองก็ไม่ได้มีความชัดเจนมาตั้งแต่ ต้น ถ้าเรียกว่าเป็นความสนใจก็เป็นความสนใจทั่วไป แล้วก็ สนใจในเชิงวรรณกรรมมากกว่าในเชิงปรัชญา อาจเรียกว่า

76

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


โดยบังเอิญก็ได้ เพราะที่ใครเรียกว่า “สุซาร์ตร์” หรืออะไร แบบนี้ ก็ไม่ชอบใจนัก แล้วผมเคยเล่าไว้แล้วว่าครั้งหนึ่งเคย ท�ำหนังสือเล่มละบาทกัน ราวๆปี 2510-2511 พวกกลุ่ม พระจันทร์เสีย้ วท�ำหนังสือเล่มละบาท มันขายในมหาวิทยาลัย เล่มละบาท แต่ขายข้างนอกเล่มละ 2 บาท 3 บาทอะไรแบบ นี้ นี่คือบรรยากาศแรกๆ ของการท�ำหนังสือในสมัยเผด็จการ “สฤษดิ์-ถนอม-ประภาส” คือประเภทที่เปลี่ยนหัวหนังสือ ไปเรื่อย พระจันทร์เสี้ยวก็มีกลุ่มที่ท�ำหนังสือพวกนี้ และเล่ม แรกที่ท�ำในฐานะของกลุ่มพระจันทร์เสี้ยวก็คือเล่มที่ผมไป เขียนเรื่องซาร์ตร์ หนังสือใช้ชื่อว่า ธุลี:รวมข้อเขียนของชาว มหาวิทยาลัย ถ้าผมจ�ำไม่ผิดก็ พ.ศ.2510 ผมเพิ่งจบมาใหม่ๆ ตอนนัน้ ไปเป็นครูโรงเรียนราษฎร์ แต่กย็ งั แวะเวียนเข้ามาอ่าน หนังสือทีห่ อสมุดกลางธรรมศาสตร์ แล้วไปเจอกลุม่ พวกนี้ ผม รุน่ ใกล้เคียงกับเขา แต่ผมเรียนไวจบก่อน เพราะผมสอบควบ ม.7- ม.8 แล้วก็เรียนจบภายใน 4 ปี ผมอยูป่ ี 4 วิทยากร เชียง กูลเพิง่ เข้ามาอยูป่ 1ี หรือปี 2 เพราะฉะนัน้ ก็รนุ่ ใกล้เคียงกัน แต่ ผมจบไปก่อน จบแล้วก็ยังแวะเวียนมาที่ธรรมศาสตร์ ก็เลย มาเจอพวกนี้ ความฝันของคนหนุม่ ตอนนัน้ ก็คอื อยากเป็นนัก เขียน อยากจะเขียนบทกวี เขียนเรือ่ งสัน้ อะไรแบบนี้ แล้วการ ท�ำหนังสือมันเหมือนเป็นจุดแสดงออกบางอย่าง ตอนนั้นมัน ก็มกี ลุม่ อิสระต่างๆอยูห่ ลายกลุม่ ด้วยกัน แต่ในธรรมศาสตร์ที่

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

77


เป็นกลุม่ อิสระทีไ่ ม่ขนึ้ ต่อกลุม่ ทีอ่ ยูใ่ นก�ำกับของมหาวิทยาลัย ยังมีไม่มากและไม่ค่อยมีบทบาทอะไรนัก ต้องเข้าใจว่าตอน นั้นมันยังเป็นช่วงถนอม-ประภาส เป็นช่วงกึ่งเผด็จการ หรือ จะเรียกว่าเผด็จการก็ได้ บรรยากาศในมหาวิทยาลัยยังเป็น บรรยากาศน่าเบื่อว่างเปล่า การพบปะกันในกลุ่มท�ำให้เกิด สีสัน แล้วการท�ำหนังสือมันก็เหมือนเป็นทางออกอย่างหนึ่ง เวลาพบกันส่วนใหญ่ก็คุยกันเรื่องหนังสือ แล้วก็พัฒนาไปสู่ การท�ำหนังสือ ผมออกมามีเงินเดือนแล้ว เป็นครูโรงเรียน ราษฎร์ เพราะฉะนั้นก็เลยรับหน้าที่เป็นคนเริ่มต้นตรงนี้ ก็ ช่วยกันท�ำมากกว่า หนังสือชือ่ “ธุล”ี เป็นเล่มแรก เล่มละบาท ของพระจันทร์เสีย้ วยังมีตอ่ มาอีกหลายเล่ม ธุลี ตะวัน ปัญญา นาคร มณี สัญญาณ นี่เป็นชื่อที่เปลี่ยนไปตามลักษณะที่เรียก กันว่าเล่มละบาท แต่ในความเป็นจริงก็ขายกัน 3 บาท 5 บาท แล้ว กฎหมายเผด็จการมาตรา 17 ตอนนั้นห้ามไม่ให้มีการ ออกหนังสือหัวใหม่มาตั้งแต่สมัยสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใครออก หนังสือชือ่ ใหม่ หัวใหม่ โดยมีเจตนาว่าจะออกต่อเนือ่ งถือเป็น เรือ่ งผิดกฎหมาย ดังนัน้ ก็ตอ้ งท�ำแบบเปลีย่ นชือ่ หัวหนังสือไป เรือ่ ย หรือไม่กไ็ ปเอาหัวหนังสือเก่าทีไ่ ด้รบั อนุญาตแล้วมาท�ำ สมัยนั้นถ้าคุณจะออกหนังสือหัวใหม่ที่แสดงเจตนาต่อเนื่อง คุณต้องไปขออนุญาตสันติบาล ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ มันไม่ให้ ออกหรอก ตอนนั้นใครจะออกหนังสือก็มักจะไปเอาหนังสือ

78

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


หัวเก่า ไปซื้อหัวหนังสือหัวเก่ามาท�ำ พวกหนังสือหัวใหม่ที่ อยูใ่ นบรรยากาศของกลุม่ นักศึกษา ส่วนใหญ่ทเี่ ขาออกได้เป็น ทางการก็จะมีพวกกลุม่ วรรณศิลป์ พวกชมรมปาฐกถาโต้วาที แต่กลุ่มที่จะออกกันแบบอิสระจริงๆ ผมว่ามันมาเริ่มขึ้นช่วง หลังสฤษดิ์ตาย 1-2 ปี เช่น“เจ็ดสถาบัน”พระจันทร์เสี้ยว หนุ่มเหน้าสาวสวย นี่ทีหลัง พระจันทร์เสี้ยวเริ่มประมาณ ช่วงปี 2510 -2511 อะไรแบบนี้ แต่ก่อนหน้านี้มันมีออกมา แล้ว เจ็ดสถาบัน ออกปี 2507 ถ้าผมจ�ำไม่ผิด เขาใช้เลข 7 เป็นตัวตั้ง แล้วก็เปลี่ยนชื่อไปเรื่อย เจ็ดเกลียว เจ็ดคลื่น อะไร ก็วา่ ไป เจ็ดสถาบันก็มปี ญ ั หา ในทีส่ ดุ ก็เลิกไปหลังจากออกมา 4-5 เล่ม ความคิดที่จะออกหนังสือสักเล่มหนึ่งของกลุ่มต่างๆ ก็คงไม่ต่างกันนะครับ คือต้องไปหาโรงพิมพ์ ต้องคุ้นเคยกับ เรื่องโรงพิมพ์ ท�ำหนังสือเป็น ตรวจปรูฟเป็น ผมก็เติบโตมา จากการท�ำหนังสือนอกมหาวิทยาลัยอะไรพวกนี้แหละครับ ไม่ได้เรียนมาทางวารสารโดยตรง ก็ไปเจอพรรคพวกกันแถว ร้านเหล้า หรือไม่ก็ไปเจอกันที่โรงพิมพ์ ก็คุยเรื่องหนังสือ หนังหาอะไรแบบนี้ ดื่มกันบ้าง ทะเลาะกันบ้าง คุยเรื่องหนัง เรื่องเพลง เรื่องจีบช่างเรียงสาวที่โรงพิมพ์บ้าง แล้วก็มีงาน เขียนออกมา เป็นบทกวี เรื่องสั้นคนละชิ้นสองชิ้น

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

79


Q : แล้วเอ็กซิสเทนเชียลิสม์นมี่ าเจอกันได้อย่างไร ปี 2510 ถึงปี 2511 ทีค่ ณ ุ สุชาติไปเขียนเรือ่ งซาร์ตร์ มันเป็นการขอร้องของเพือ่ นหรืออะไร A : ไม่ พวกนี้ไม่มีใครรู้จักเอ็กซิสฯ เขาคงจะเห็นว่าผมพอ อ่านหนังสือภาษาอังกฤษออกบ้าง และ สนใจพวกวรรณกรรม ฝรัง่ อะไรแบบนี้ ผมก็ไม่ได้เชีย่ วชาญอะไรในเรือ่ งนี้ สอบภาษา อังกฤษก็ตกด้วย ในช่วงเทอมแรกสมัยที่เข้ามาใหม่ๆ การ ได้ยินชื่อเอ็กซิสเทนเชียลิสม์เป็นครั้งแรกๆ ก็คงจะมาจาก การบรรยาย ผมนึกย้อนหลัง เขาก็มาบรรยายแบบผ่านๆ เท่านั้น เจ้าส�ำนักเอ็กซิสฯมีใครบ้าง ซาร์ตร์ กามูส์ อะไรแบบ นี้ เป็นการบรรยายผ่านโดยไม่ได้พดู รายละเอียด คนทีม่ าสอน ตอนเรียนวิชาแยกมาแล้ว คนสอนวิชาปรัชญาช่วงสั้นๆ ที่ บรรยายพิเศษทัง้ เทอมมีอยูค่ นเดียว คือ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แต่เขาก็มาบรรยายเรือ่ งปรัชญาของ เรอเน่ เดการ์ตส์เสียส่วน ใหญ่ “ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงมีอยู่ “ ก็เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง แต่เรื่องซาร์ตร์ กามูส์นี่ไม่มีใครพูดถึงจริงจังในรายละเอียด ส่วนใหญ่เป็นการพูดผ่านในวิชาพื้นฐานมนุษยศาสตร์ คือ มันไม่มีการสอนเรื่องนี้โดยตรง สิ่งที่อาจารย์คึกฤทธิ์มาพูด นัน้ ก็เป็นการเชิญมาเป็นอาจารย์พเิ ศษ เขาก็ยงั เชิญอีกหลาย คน ให้มาพูดเรื่องดนตรี เรื่องตรรกะ เรื่องศาสนา คล้ายเป็น ส่วนประกอบของวิชาพื้นฐาน มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์

80

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


วิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้นต้องเรียกว่าสนใจเรื่องเอ็กซิสด้วย ตัวเอง เรื่องนี้ก็ต้องให้เครดิตว่าอาจเป็นเพราะวิชาพื้นฐาน มนุษยศาสตร์ หรือที่เดี๋ยวนี้เรียกว่าอารยธรรมตะวันตก เขา ก็มาบรรยายถึงกลุม่ ก้อนทางความคิดเชิงประวัตแิ บบสัน้ ๆ ใน รุน่ ผมคือ อ.มัทนี รัตนิน และ อ.นิออน สนิทวงศ์ วิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ ผู้บรรยายคือ อ.อรุณ รัชตะนาวิน ภาษาไทย คือ อ.มล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ส่วนทางปรัชญาการเมืองตะวัน ตก - ตะวันออกก็มี อ.ธวัช มกรพงศ์ อ.เสน่ห์ จามริก อ.เพ็ชรี สุมิตร อ.เขียน ธีรวิทย์ อ.เสถียร โพธินันทะ อ.จ�ำนงค์ ทอง ประเสริฐ ซึง่ คนหลังตอนนัน้ ยังห่มผ้าเหลืองมาสอน สอนวิชา ตรรกวิทยา – ปรัชญา ผมฟังไม่รเู้ รือ่ งเลย แต่กว็ า่ มันน่าสนใจ เพราะพืน้ ฐานของมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ อย่างน้อยทีส่ ดุ ก็เอ่ยไปถึงชื่อนักเขียนคนนั้นคนนี้ ผมก็คงได้ยินชื่อนักเขียน และงานเขียนของโลกตะวันตกมาจากวิชาพวกนี้ หรือพอพูด ถึงเรือ่ งศิลปะ ผมก็พอได้รจู้ กั กับค�ำว่า คลาสสิก โรแมนติก โร โกโก้ บาโร้ค อิมเพรสชัน่ นิสม์ เด็กมาจากบ้านนอกนะคุณ จะ ไปเข้าใจอะไร อันนี้คือช่วงปีแรก 2505 ที่เข้าธรรมศาสตร์

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

81


Q : แสดงว่าวิชาพื้นฐานเข้มข้นมากเลยใช่ไหมครับ A : ตอนนี้ธรรมศาสตร์เขาเลิกแล้วนะ ไม่รู้คิดอะไรอยู่ถึงเลิก ไป เข้าใจว่าน่าจะมีเหตุผลทางการเมือง เพราะการปูพนื้ ฐาน เรือ่ งมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ มันช่วยสร้างข้อมูลให้คนรูจ้ กั คิดและมีทัศนะในเรื่องรสนิยม ผมมารู้จักฟังเพลงคลาสสิก บีโธเฟน โมซาร์ต บ๊าค วิวาลดี้ ก็เพราะได้รสนิยมฝรั่งมาจาก วิชาพืน้ ฐานเหล่านีท้ งั้ นัน้ แต่ในช่วงนัน้ ช่วงทีเ่ รียนวิชาพืน้ ฐาน ปี 2505- 2506 ผมเข้าปี 2505 เป็นศิลปศาสตร์รนุ่ แรก ผมว่า วิชาพืน้ ฐานทีเ่ รียนมันเป็นเชิงประวัตทิ คี่ อ่ นข้างเห็นภาพรวม สังคมศาสตร์ก็มีเรื่องปรัชญาการเมือง เรื่องอะไรต่างๆ เพล โต อริสโตเติล อะไรก็ว่าไป แล้วก็เรื่องวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หัดรูจ้ กั การมองดูดาวบนท้องฟ้า คือเรือ่ งดาราศาสตร์ ทฤษฎี สัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ เรียนรู้จักค�ำว่า Ecology ก็จาก ที่นี่ แล้วก็มาเรื่องภาษาไทย คืออาจจะเพราะวิชาพื้นฐาน บวกกับการที่ผมได้พบโลกใหม่ทางการอ่านที่หอสมุดกลาง ธรรมศาสตร์ หอสมุด ที่นี่มัน เปลี่ ย นรสนิ ย มการอ่ า นของ ผม จากรสนิยมป๊อปๆ ประเภทตลาดล่าง ก็ผมโตทางการ อ่านมาแบบนั้น คือพวก pulp fiction ทั้งหลายมันสร้าง จินตนาการให้ผมสนุกจนเกิดเป็นนิสัยทางการอ่าน ผมโตมา จากเรื่องอย่าง พล นิกร กิมหงวน เสือใบ เสือด�ำ น�้ำตาแม่ค้า

82

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เหยี่ยวราตรี อะไรก็ช่างมัน แต่มันสร้างนิสัยการอ่านให้ผม ติดใจการอ่าน คือเป็น habit of reading ดังนั้นพอมีโอกาส เรียกว่าพอมีโอกาส คือผมก็ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะเข้ามาเป็น นักศึกษามหาวิทยาลัย คิดว่าจบ ม.6 แล้วก็จะหางานท�ำใกล้ๆ บ้านแถวดอนเมือง ก็คิดง่ายๆ แค่ว่าไปสมัครเข้าโรงเรียนจ่า อากาศ ออกมาติดยศจ่าอากาศ มีงานท�ำเลย ที่คิดแบบนี้ก็ เพราะฐานะทางบ้านไม่ค่อยดี คิดอยู่แค่จบ ม.6 แล้วออก มาหางานท�ำ แต่เพราะผมเรียนไว ไปสมัครที่ไหนเขาก็ไม่รับ เพราะอายุยงั ไม่เต็ม 15 ก็เหมือนโชคชะตานัน่ แหละ ไปสมัคร ศุลกากรเขาก็บอกรับไม่ได้ เกือบจะสมัครเข้าเตรียมทหาร ไป สมัครทีศ่ ลุ กากรแถวคลองเตย ขากลับรถประจ�ำทางผ่านหน้า โรงเรียนเตรียมทหารแถวสวนลุมฯ ก็เกือบจะเข้าไปสมัคร แล้ว คือผมเป็นลูกทหาร บรรยากาศแถวดอนเมืองมันเป็น บรรยากาศแบบทหาร คิดว่าถ้าเข้าเตรียมทหาร แล้วก็ไปเรียน นายร้อยนายเรือต่อไป แต่ผมก็ไม่ได้จริงจังอะไรนัก ไม่ได้คิด ด้วยว่าจะมีโอกาสมาพบโลกใหม่ คือสอบติดเข้ามหาวิทยาลัย ตอนนัน้ พีช่ ายเรียนอยูธ่ รรมศาสตร์ยคุ ตลาดวิชา เขาก็แนะน�ำ ให้ลองสอบควบ 7-8 ในปีเดียว ก็ไปเรียนกวดวิชาสอบเข้า 7-8 ที่โรงเรียนเตรียมอุดม เรียนสายที่ผมสนใจคือสายอักษร ศาสตร์ เพราะมันเป็นเรื่องอ่านหนังสือ พอสู้ไหว แล้วผมก็ ออกจากบ้านมาอาศัยวัดมหาธาตุอยูก่ บั พีช่ ายทีน่ เี้ ลย ผมสอบ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

83


ควบ ม.7-8 ได้ปเี ดียว เพราะฉะนัน้ ตอนเข้าธรรมศาสตร์กอ็ ายุ ประมาณ 16 ปลายๆ ย่าง 17 เป็นโลกใหม่แบบไม่คาดฝันโดย สิน้ เชิง ไม่ได้คดิ ว่าตัวเองจะมาเป็นนักศึกษา และเป็นนักศึกษา มหาวิทยาลัยเสียด้วย ตอนนั้นสอบเข้าแล้วนะครับ เป็นรุ่นที่ 3 ที่สอบเข้า คือ สอบควบได้แล้วก็สอบเข้าได้ด้วย ทุกอย่าง ก็แปลกใหม่ไปหมด เริ่มต้นก็เป็นเด็กว่านอนสอนง่าย ตอน ปี 1 ปี 2 ก็ไม่มีอะไร ยุคนั้นเขาเรียกว่ายุคสายลมแสงแดด อะไรแบบนี้ เป็นโลกใหม่ที่ยังไม่แปลกแยก แต่ส�ำหรับผมที่ ติดเนื้อต้องใจมากที่สุดในชีวิตมหาวิทยาลัยก็คือ การเข้าหอ สมุดอ่านหนังสือ ธรรมศาสตร์เขาเริ่มเปลี่ยนจากที่เคยเป็น ตลาดวิชามาเป็นสอบเข้า เพราะฉะนั้นพอมีวิชาพื้นฐาน มี การเรียนแบบบรรยายแล้วก็ชักจูงให้นักศึกษาเข้าห้องสมุด ท�ำให้จงึ ระบบของห้องสมุดก็เปลีย่ นไปด้วย ผมเข้าใจว่าเรือ่ ง นี้ต้องให้เครดิตหอสมุดกลางธรรมศาสตร์ในตอนนั้น คณบดี ผูก้ อ่ ตัง้ คณะศิลปศาสตร์เวลานัน้ คือ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ผม เข้าใจว่าทีห่ อสมุดกลางธรรมศาสตร์มหี นังสือใหม่ๆ ทัง้ ภาษา ไทย ภาษาอังกฤษ มากมายในรุ่นตั้งแต่นั้น ก็เพราะการปรับ วิธีให้นักศึกษารู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ภาษาไทยนี่ไม่มี ปัญหากับผม ทัง้ ๆ ทีเ่ ป็นโลกใหม่ คือเป็นโลกใหม่จริงๆ ครับ จาก เหยี่ยวราตรี ก็มาหา “ส.ธรรมยศ” เลย ถือเป็นโลกใหม่ ทางการอ่านทัง้ นัน้ นักเขียนพวกนีเ้ ป็นกลุม่ นักเขียนไทยร่วม

84

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


สมัยทั้งนั้น แต่หนังสือมันไม่ไปถึงแถวบ้านชานเมืองของผม ตอนเรียนอยู่ชั้นมัธยม โลกใหม่ทางการอ่านท�ำให้ผมเปลี่ยน การรับรู้ไปโดยสิ้นเชิง รวมทั้งการที่เขามีกฎว่าถ้าสอบภาษา อังกฤษตก 2 ครัง้ ติดต่อกัน ถ้าซ่อมไม่ผา่ นก็ตอ้ งถูกรีไทร์ แล้ว เรื่องอะไรผมจะยอมให้ถูกรีไทร์ ผมมาจากโรงเรียนวัดบ้าน นอก ภาษาอังกฤษจึงอ่อน ก็มามุเอาตอนเรียนมหาวิทยาลัย เพราะกลัวถูกรีไทร์ทงั้ นัน้ ส่วนใหญ่เป็นการอ่านมากกว่าการ พูด การเขียน พอเขาบรรยายบอกชื่อ คือเล็คเชอร์ว่าคนนั้น คนนี้น่าสนใจ ผมก็จะไปหาดูในหอสมุดทันที ก็เห็นมีหนังสือ พวกนี้แต่ไม่มีใครยืมเลย เพราะมันเป็นหนังสือที่เพิงสั่งมา ใหม่ๆ หอสมุดกลางธรรมศาสตร์เพิ่งปรับระบบให้นักศึกษา รู้จักการช่วยตัวเองด้วยการเข้าไปอ่านหนังสือ ก่อนหน้าสมัย ตลาดวิชายังไม่เป็นในลักษณะนี้ เพราะฉะนั้นมันก็เหมือน โลกใหม่ของผม ตรงที่ว่านอกจากหนังสือภาษาไทยแล้วก็ยัง ได้พบหนังสือภาษาอังกฤษที่อ้างอยู่ในวิชาพื้นฐาน มนุษย์ ศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ไปพร้อมกันด้วยwจ�ำได้ ว่าหนังสือเล่มหนึ่งที่ท�ำให้ผมสนใจเรื่องเอ็กซิส ไม่ใช่จากซาร์ ตร์ หรือจากกามูสโ์ ดยตรง เป็นหนังสือแนวคิดทางวรรณกรรม เรื่อง The Outsider ของคอลลิน วิลสัน ( Colin Wilson) เป็นหนังสือที่พูดถึงนักคิดนักเขียนประเภทเอ็กซิสทั้งหลาย ที่ถือเป็น Outsider คอลลิน วิลสัน เขียนหนังสือในลักษณะ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

85


นี้หลายเล่มที่ผมไปเจอ นับเป็นการเปิดโลกการอ่านแนวคิด วรรณกรรมวิจารณ์ตะวันตกครั้งแรกของผมเลย แต่ก็ไม่ใช่ ในเชิงทฤษฎี Colin Wilson เป็นนักเขียนที่เรียกตัวเองว่า Angry Young Man เป็นกลุ่มนักเขียนของอังกฤษในช่วง ทศวรรษ 1950 นอกจากคอลลิน วิลสัน แล้วก็มีนักเขียนบท ละครเช่น จอห์น ออสบอน และ ฮาโรลด์ พินเตอร์ คอลลิน วิลสัน เขียนนิยายเขียนไว้หลายแบบด้วย ตั้งแต่แนวรหัส คดี แนวอีโรติก จนถึงนิยายวิทยาศาสตร์ แต่ก็เขียนหนังสือ เชิงปรัชญาเชิงวิจารณ์วรรณกรรมเอาไว้ดว้ ย ในหมูป่ ญ ั ญาชน นักวิชาการไม่ค่อยยอมรับแกนัก แต่ผมว่าภาษาของแกอ่าน ง่าย เหมาะแก่เด็กวัดอย่างผม คือคล้ายๆ ย่อยมาให้อ่านอีก ทีหนึง่ ว่าความคิดของนักคิด นักเขียน นักปรัชญา คนนัน้ คนนี้ เป็นอย่างไร อาจจะเป็นเพราะเรือ่ งนีก้ ไ็ ด้ทที่ ำ� ให้ผมรูส้ กึ สนใจ อยากไปหาตัวบทมาอ่านจริงๆ หนังสือชุดนีม้ หี ลายเล่ม The Outsider, Beyond the Outsider แล้วก็ยงั มีเล่มอืน่ ๆ ในชุด แบบนีข้ องแกอีกหลายชุด ส�ำหรับผม คอลลิน วิลสัน สามารถ ท�ำให้เรือ่ งวรรณกรรม ปรัชญา จิตวิทยา จิตรกรรม ดนตรี มา รวมกันได้แบบง่ายๆ เวลาผมไปหาหนังสือตามร้านหนังสือ เก่า พอเห็นชื่อคอลลิน วิลสัน ก็ต้องซื้อทันที รายละเอียด ของ The Outsider มันจะพูดถึง Outsider Circle ต่างๆ ของกลุม่ พวกนักคิด นักเขียน กวี นักปรัชญา และแนวศิลปิน

86

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ประเภทนี้ คือพูดมาตั้งแต่ เพลโต, อริสโตเติ้ล, เซร์บันเตส, ฟรอยด์, ไฮเด็กเกอร์, ดอสโตเยฟสกี้, ตอลสตอย, โกโกล, คาฟคา, มูซิล, บาร์บุสส์, เฮสเสะ, เจมส์ จอยซ์, เบ็คเกตต์ จนกระทัง่ มาถึงพวกศิลปินเช่นแวนโก๊ะ อะไรแบบนี้ คือรวม อยูใ่ นลักษณะทีเ่ ป็น Existential Hero หรือจะเรียกว่า Anti hero และ Absurd – hero ทั้งหลายก็คงได้ เพราะฉะนั้น มันก็เป็นเหมือนหนังสือเบือ้ งต้นทีท่ ำ� ให้พอไปพบหนังสือของ คนนัน้ คนนีก้ จ็ ะซือ้ เก็บไว้ทนั ที ทัง้ ทีอ่ า่ นบ้างไม่อา่ นบ้าง แต่ก็ ซื้อไว้ก่อน แล้วอาจจะเป็นเพราะพวกพระจันทร์เสี้ยวมันมา เห็นผมชอบทางนี้ ชอบเข้าห้องสมุดอ่านหนังสืออะไรพวกนี้ เขาก็บอกว่ามีพวกเขียนบทกวี เรือ่ งสัน้ พอสมควรแล้ว แต่ขาด บทความ ช่วยเขียนเป็นบทความวรรณกรรมอะไรท�ำนองนีใ้ ห้ ได้มยั้ ผมก็เลยเขียนเรือ่ งซาร์ตร์ โดยการรวมมาจากการอ่าน เล่มนั้นเล่มนี้ ถ้าใครไปเจอหนังสือเล่มละบาท “ธุลี” ก็คงจะ เห็นว่ามันไม่ได้ลึกซึ้งอะไรเลย หนังสือเล่มนี้ก็ไปกับน�้ำแล้ว พวกหนังสือเล่มละบาทของผมไปหมดเลย หนังสือก็ขนาด เท่า โลกหนังสือ นีแ่ หละ บางๆ ออกมาในนามกลุม่ พระจันทร์ เสี้ยว ผมนึกอย่างไรก็นึกไม่ออกว่าท�ำไมจึงเขียนเรื่องซาร์ตร์ ให้เขา บางทีเพราะอาจไปเจอนิยายเรือ่ ง La Nausea ของเขา ที่ร้านหนังสือเก่าเข้าก็ได้

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

87


Q : บทความสมัยนัน้ คุณสุชาติเขียนสักกีห่ น้าถ้าเป็นฟูลสแก๊ป หรือ เอ4 A : ผมว่าก็ประมาณ 4-5 หน้า อาจเป็นเพราะคนทีเ่ อาไปพิมพ์ หรือพรรคพวกกันมันรู้สึกแปลก ส่วนใหญ่เขาก็มีแต่เขียน บทกวี เรื่องสั้นอะไรแบบนั้น ส่วนผมกลับมาเขียนถึงซาร์ตร์ ปรัชญาเกี่ยวกับซาร์ตร์คงเป็นของแปลกส�ำหรับเขา และที่ เขียนนี้ผมก็ไม่ได้ใส่ชื่อผมลงไปด้วย คือมันอายๆ เขียนแบบ สู่รู้งูๆ ปลาๆ ผมไม่ได้ใส่ชื่อ แต่ก็เป็นที่รู้กันวงในว่าใครเขียน

Q : บทความชื่ออะไรครับ

A : ฌอง ปอล ซาร์ตร์ ชื่ออย่างนี้เลย ไม่ได้ใส่ชื่อ แต่มันก็พูด กันว่าเป็นงานเขียนของผม จนกระทัง่ มีคนบอกว่า “สุซาร์ตร์” ก็เริ่มต้นมาจากตรงนี้แหละผมไม่ได้ฝักใฝ่เป็นสาวกของซาร์ ตร์เลย โมโหมันด้วยซ�้ำ คนเรียกผมก็คือเสถียร จันทิมาธร ตอนเขาเขียนคอลัมน์แนะน�ำงานเขียนของพวกนักศึกษา มหาวิทยาลัย ค�ำนีก้ เ็ ลยเป็นชือ่ เรียกทัง้ ๆ ทีผ่ มไม่คอ่ ยเต็มใจนัก เพราะผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องซาร์ตส์

88

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


Q : เห็นคุณสุชาติเขียนใน Facebook เมื่อไม่นานมานี้ว่าชอบงาน เขียนวรรณกรรมของกามูส์มากกว่า A : แน่นอน หลายเรื่องหลายประเด็นด้วย อันที่จริงผมเข้าใจ ว่ากามูส์ก็มาพร้อมกับซาร์ตร์นั่นแหละ แต่เขามาแยกกันตรง ประเด็นเรื่อง จุดหมาย [ends] และวิธีการ [mean] ผมไม่ ได้เขียนถึงกามูสต์ อนนัน้ ความสนใจเกีย่ วกับกามูส์ ผมคิดว่า มาชัดเจนตอนทีม่ าเป็นผูช้ ว่ ยอาจารย์สลุ กั ษณ์ที่ สังคมศาสตร์ ปริทัศน์ แล้วมันมีนิยายแปลของอ�ำพรรณ โอตระกูล เรื่อง คนนอก ก็ได้อ่านจากที่อ�ำพรรณแปลราวๆ ปี 2510 แล้ว ก็ชอบทันที ความสนใจเกี่ยวกับกามูส์ของผมแน่นอนกว่า พวกนักคิดเอ็กซิสทั้งหลายนี่เวลาเขาจะน�ำเสนอผลงานเขา จะสะท้อนผ่านทางงานวรรณกรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้น นวนิยาย หรือบทละคร เพราะฉะนั้นมันก็จะต่อยอดให้ผม มาถึงอีกหลายคนในเวลาต่อมา แม้จะไม่ได้เป็นนักปรัชญา ในส�ำนักนี้โดยตรงก็ตาม เช่น ดอสโตเยฟสกี้, คาฟกา, มูซิล, เฮสเสะ, เบ็คเก็ต, พินเทอร์ แต่กามูสอ์ าจเป็นเพราะเสน่หข์ อง งานแปลเรื่อง คนนอก ก็ได้ แล้วความรู้สึกเกี่ยวกับตัวละคร แบบเอ็กซิสทีม่ าจากนิยายของกามูสท์ ฉี่ บับแปลภาษาอังกฤษ ใช้ชื่อว่า Outsider ที่แปลว่า “คนนอก” นี่ก็ได้ เมื่อผมเขียน บทความชิน้ หนึง่ เข้าใจว่าอยูใ่ นหนังสือเรือ่ ง คนเขียนหนังสือ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

89


ของเสถียร จันทิมาธร ชื่อบทความว่า นักเขียนบ้านเรา หรือ อะไรนี่แหละ ผมจะพูดถึงนักเขียนบ้านเรากับนักเขียนต่าง ประเทศในเวลานั้น ว่ามันห่างไกลกันทางความคิด บทความ นี้ตอนนี้ยังหาต้นฉบับไม่ได้ แต่จ�ำได้ว่ามีนักเขียนผู้ใหญ่ น�้ำเน่าน�้ำนิ่งหลายคนไม่ชอบขี้หน้าผมมาตั้งแต่นั้น ถ้าจ�ำ ไม่ผิดก็คือในช่วงปี 2512 นั่นแหละ Q : อยากจะทราบนิดหนึ่งครับ มันมีหนังสือเรื่อง ความบันดาลใจ นักเขียนหนุ่ม ที่คุณสุชาติแปลข้อเขียนของซาร์ตร์สั้นๆ เรื่องเสรีภาพ หรืออะไรอย่างนั้น คืออยากจะทราบว่า บรรยากาศของปรัชญาแบบ นี้ มีความคิดของใครเป็นตัวน�ำอย่างไรบ้างครับ คือผมลองคิดดูมนั น่า จะคล้ายๆ กับว่าเสรีภาพก�ำลังเฟื่องฟู หรือไม่ก็ก�ำลังเป็นสิ่งที่ก�ำลัง แสวงหาตามหากันอยู่หรือเปล่า บรรยากาศของวงการปัญญาชน นักศึกษาในตอนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง A : ผมคิดว่าบรรยากาศของนักศึกษา-ปัญญาชนช่วงนั้น เป็นช่วงประชาธิปไตยครึ่งใบ กึ่งเผด็จการ มีการเลือกตั้งก็ จริง แต่จู่ๆ จอมพลถนอมก็ยึดอ�ำนาจตัวเองในช่วงปลายปี 2514 บรรยากาศข้างนอก ในทศวรรษ 1960-1970 มันเป็น บรรยากาศการเรียกร้องหาความหมาย ความหมายที่เห็น ชัดก็คือเรื่องเสรีภาพ แล้วสิ่งนี้มันมาสัมพันธ์กับสภาพของ

90

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


สังคมไทยอยูใ่ นยุคเผด็จการทหาร แต่แม้จะอยูใ่ นบรรยากาศ เผด็จการ กึ่งเผด็จการในช่ว งนั้ น มั น ก็ มีห นั ง สื อ ที่ อ อกมา ท้าทายแล้ว สังคมศาสตร์ปริทัศน์ เป็นหนึ่งในจ�ำนวนนั้น ตามมาด้วย ลอมฟาง ชาวบ้าน อนาคต วิทยาสารปริทัศน์ ชัยพฤกษ์ฉบับนักศึกษา-ประชาชน ในช่วงก่อน 14 ตุลาก็จะ มีหนังสือแนวประเภทภัยเหลือง ภัยขาว ภัยเขียว ภัยเหลือง คือญีป่ นุ่ ภัยขาวคือจักรวรรดินยิ มอเมริกา ภัยเขียวคือทหาร ก็หมายถึงทหารไทยนี่แหละ ช่วงก่อน 14 ตุลา บรรยากาศ เรียกร้องประชาธิปไตยมันก็ยังพอมี ผมคิดว่ามันก่อตัวมา ตั้งแต่ช่วงความคิดอิสระของกลุ่มนักศึกษา ที่เริ่มท�ำหนังสือ เล่มละบาท ช่วงตัง้ แต่ 2507-2514 หนังสือพวกนีบ้ างเล่มเช่น ลอมฟางมีความแหลมคมในแง่การน�ำเสนอความคิดทางการ เมือง แนะน�ำความคิดสังคมนิยมและพวกขบวนการปฎิวัติ กลายๆ “สังคมศาสตร์ปริทัศน์”ในยุคของผมก็เอาความคิด เรือ่ ง”ซ้ายใหม่”เข้ามาแล้ว แล้วการเรียกร้องเพือ่ เป็นตัวของ ตัวเอง ไม่ตามก้นอเมริกาในเรื่องนโยบายต่างประเทศ และ การต่อต้านฐานทัพอเมริกาก็ตามมา คือเริ่มมีการต่อต้าน สงครามเวียดนาม ต่อต้านซีไอเอในเมืองไทย ผมว่าความคิด เรือ่ งการต่อต้านสงครามเวียดนามนีม่ นั ตีกระทบไปถึงการต่อ ต้านเผด็จการทหารในบ้านเราเองด้วย ต่อต้านเผด็จการทีม่ า จากการสืบทอดอ�ำนาจของถนอม–ประภาส–ณรงค์ ที่ต่อมา

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

91


จากสฤษดิ์ แล้วความคิดเอ็กซิสอย่างน้อยทีส่ ดุ ผมคิดว่ามันพูด ถึงเรือ่ งเสรีภาพ เรือ่ งอ�ำนาจนักศึกษา มันพูดว่าเสรีภาพทีค่ ณ ุ จะต้อง take action อะไรสักอย่างที่คุณเลือก คุณจะต้องมี พันธะผูกพันอะไรท�ำนองนี้ แล้วตรงนีผ้ มคิดว่ามันมาพร้อมกับ คลื่นการเปลี่ยนแปลงในช่วงทศวรรษ 1970 ก็ช่วงเดียวกับที่ เกิดกลุ่มความคิดอิสระ เช่น พระจันทร์เสี้ยว หนุ่มเหน้าสาว สวย ศิลปะและวรรณลักษณ์ ปริทัศน์เสวนา หรือนิตยสาร อย่างเช่น สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ชัยพฤกษ์ฉบับนักศึกษาประชาชน วรรณกรรมเพื่อชีวิต คือเป็นช่วงที่มีการลุกขึ้น แสดงจุดยืนทางสังคมการเมือง ทั้งขบวนการของนักศึกษา ต่ า งประเทศ และนั ก ศึ ก ษาไทย เช่ น การเกิ ด ขบวนการ นักศึกษาในฝรั่งเศส ที่เรียกว่า French Revolution 1968 ปีเดียวกับทีผ่ มมาท�ำงานอยูท่ ี่ สังคมศาสตร์ปริทศั น์ ความคิด แบบ “ซ้ายใหม่”อย่าง เช กูเวร่า, ฟรันซ์ ฟานอน, เฮอร์เบิร์ต มาร์คิวส์ เริ่มเข้ามา อัลแบร์ กามูส์ ก็ถือเป็นหนึ่งในหัวขบวน ของ “ซ้ายใหม่”จากตะวันตกด้วย Q : แสดงว่าความส�ำนึกในเรื่องของปัจเจกบุคคลมีมากขึ้น ขณะ เดียวกันมันมีความคิดหลายกระแสเข้ามาในช่วงนัน้ ด้วยใช่ไหมครับ ไม่ ว่าจะเป็นสังคมนิยม เสรีนยิ ม หรืออะไรพวกนัน้ คือผมสังเกตว่ามีชว่ ง ทีม่ กี ารแปลงานของทัง้ นักคิดตะวันตก ตะวันออกอะไรอย่างนีร้ วมทัง้

92

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


การแปลงานวรรณกรรมด้วย อย่างทีเ่ ราคุยกัน วรรณกรรมของเฮสเส (Hermann Hesse) ที่พูดถึงเรื่องความเป็นปัจเจก ผมเข้าใจว่ามัน น่าจะมาเป็นบรรยากาศคล้ายๆ กัน อีกอันหนึ่งคือจิตส�ำนึกเรื่อง engagement เพือ่ สังคม มันคือบรรยากาศทีม่ อี ยูใ่ นช่วงนัน้ ใช่ไหมครับ A : ใช่ครับ เพราะฉะนั้นงานของนักเขียนไทยที่เคยถูกตัดต่อ ความคิดในช่วงทศวรรษ 2490 และ 2500 มันจึงกลับมา ใหม่ เช่น ปีศาจ ความรักของวัลยา แลไปข้างหน้า ลักษณะ ก้าวหน้าของงานเขียนในยุคทศวรรษ 2490 มันหายไปภาย หลังทศวรรษ 2500 คือมันเป็นสภาพที่ผมรู้สึกว่า เพื่อที่จะ ท�ำให้คุณรู้สึกว่าคุณเป็นเอ็กซิสเทนเชียลิสต์ ก็คือคุณต้อง เลือกที่จะ take action อะไรสักอย่าง แล้วสิ่งนี้ในแง่ของ คนเขียนหนังสือ คนท�ำงานศิลปะ หรืออะไรก็ตามมันคือการ ปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตั้งแต่ความคิดทางการเมือง จนถึงความคิดทางศิลปะทางการเมือง ก็เช่นต้องการให้มกี าร เลือกตั้ง ต้องการให้มีประชาธิปไตยเต็มใบ ในทางศิลปะก็ เอนเอียงไปทางเรือ่ งศิลปะเพือ่ ชีวติ เพือ่ ประชาชน กลุม่ ความ คิดอิสระต่างๆที่ก่อเกิดมาจากพวกหนังสือเล่มละบาท มัน เกิดขึ้นในแทบทุกมหาวิทยาลัย ทั้งในเมืองและหัวเมือง เรา เคยเรียกกันเล่นๆ ว่ามันเป็น“ต้นหญ้าแห่งความคิดอิสระ” นี่เป็นค�ำที่อยู่ในหนังสือเล่มละบาทของกลุ่มพระจันทร์เสี้ยว

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015


พวกเราเรียกตัวเองว่าเป็นต้นหญ้าแห่งความคิดอิสระ ก็คือ ปัจเจก ก็คือการแสดงออกในเชิงเสรีภาพ ว่าไม่เอาเผด็จการ ทหารและลัทธิทุนนิยม กลุ่มพระจันทร์เสี้ยวไม่ใช่กลุ่มจัด ตั้ง มันเกิดมาตามธรรมชาติ มีความสนใจร่วมกันเรื่องศิลปะ วรรณกรรม ก็มาสุมหัวกันอยากท�ำหนังสือ อยากเขียนหนังสือ อะไรแบบนี้ แน่นอนความสนใจตอนนั้นมันก็เอาไปผูกพัน กับเรื่องปัญหาทางการเมืองด้วย ทางสังคมและ แนวความ คิดเพื่อชีวิตจากหนังสือ ศิลปะเพื่อชีวิต ของ “ทีปกร”ก็เข้า มาในตอนนั้น แต่กลุ่มพระจันทร์เสี้ยวผมคิดว่าไม่ใช่กลุ่มที่มี ลักษณะความคิดเพื่อชีวิต แม้จะมีบางคนสนใจความคิดไป ทางสังคมนิยม(socialism)อยูบ่ า้ งก็ตาม พระจันทร์เสีย้ วมันมี ลักษณะเป็นปัจเจก กว้างๆ ก็คอื เป็นเสรีนยิ มก้าวหน้ามากกว่า จะเป็นสังคมนิยม-คอมมิวนิสต์ แต่พอความแหลมคมมีมากขึน้ มันก็คอ่ ยๆ เคลือ่ นไปสูค่ วามคิดสังคมนิยมแบบความคิดจัดตัง้ เพราะช่วงนั้นมันเป็นการต่อสู้กับอ�ำนาจนิยมเผด็จการ แล้ว เป็นการต่อต้านจักรวรรดินิยมอเมริกาที่เข้ามาก่อสงคราม ในเวียดนามด้วย ดังนัน้ ก็จะเห็นใจการต่อสูข้ องคนเวียดนาม สนับสนุนกองทัพปลดแอกของโฮจิมินห์ ผมแปลบทกวีของ โฮจิมินห์ลงในหนังสือเล่มละบาทเป็นคนแรกๆ ก็ว่าได้ ต่อมา ก็เขียนประวัติการต่อสู้ของโฮจิมินห์ลงในหนังสือที่ชื่อ วีรชน เอเซีย เขียนบทความเรื่อง“เช กูเวรา”ลงใน”วิทยาสาร

94

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ปริทัศน์”เป็นคนแรก เขียนบทความว่าด้วย”ซ้ายใหม่”ของ เฮอร์เบิรต์ มาร์ควิ ส์ การเคลือ่ นไหวของความคิดทางการเมือง ล้วนมีส่วนเข้ามาสัมพันธ์กับความเคลื่อนไหวในเรื่องศิลปะ วรรณกรรม อย่างซาร์ตร์หรือกามูส์ ผมเข้าใจว่าเขาก็ให้ความ สนใจมาทางนีด้ ว้ ย เช่นเรือ่ งสงครามปลดแอกในอัลจีเรีย กามูส์ เองก็มถี นิ่ เกิดอยูใ่ นอัลจีเรีย คือความคิดเรือ่ งเอ็กซิสก็เหมือน เกิดมาพร้อมกับการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยอะไรสักอย่างในช่วง สงครามโลกครัง้ ที่ 2 และหลังจากนัน้ แม้จะอยูเ่ ป็นขบวนการ ต่อต้านนาซี ต่อต้านกองทัพฝรั่งเศสในอัลจีเรีย แต่ซาร์ตร์กับ กามูส์ก็มีปัญหาทางความคิดที่ขัดแย้งกันในความคิดส่วนตัว ผมว่าซาร์ตร์เป็นกลไกมากกว่ากามูส์ แม้ในแง่ของการน�ำ เสนองานวรรณกรรมก็เช่นกัน ซาร์ตร์น่าเบื่อมากกว่ากามูส์ ส�ำหรับซาร์ตร์ผมคิดว่าก็มีเรื่องสั้นของเขาไม่กี่เรื่องกับนิยาย เรื่อง La Nausea เท่านั้นที่ผมรู้สึกโอเค แต่งานของกามูส์ ผมว่ามันให้ความเป็นมนุษย์ชดั เจนมากกว่า มีความเป็นกลไก น้อยกว่า แล้วลักษณะของซาร์ตร์ในยุคหลัง เขาเป็นเหมาอิสต์ (Maoist) เป็นซ้ายจัด แต่เราไม่รู้ทางกามูส์มากพอ เพราะ เขาตายไว กามูส์อาจจะโชคดีกว่าซาร์ตร์ก็ได้ที่ตายก่อน ใน ช่วงที่เขาถกเถียงกัน ผมว่ามันก็เข้ามามีส่วนกับขบวนการ นั ก ศึ ก ษาไม่ ม ากก็ น ้ อ ย เช่ น ข้ อ ถกเถี ย งระหว่ า งซาร์ ต ร์ กับกามูส์ ซาร์ตร์บอกว่ามือมันก็ต้องสกปรก คือเปื้อนเลือด

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

95


เพื่อเป้าหมายสูงสุดร่วมกัน ดังนั้นจะใช้วิธีการอย่างไรก็ได้ แต่กามูส์ไม่เห็นด้วย อันนี้คล้ายๆ เขาจะโต้แย้งกันผ่านบท ละครเรื่อง ผู้บริสุทธิ์ ของกามูส และบทละครเรื่อง“มือที่ สกปรก”ของซาร์ตส์ ผมเข้าใจว่าผมเอนเอียงมาทางกามูส์ คือคิดว่าวิธีการมันน่าจะมีความส�ำคัญกว่าเป้าหมาย เพราะ เราไม่รวู้ า่ เมือ่ ไปถึงเป้าหมายนัน้ แล้วมันจะเป็นไปอย่างทีค่ ดิ ไว้ ตามอุดมการณ์หรือไม่ ฆ่าคนตายไป 1 ล้านคนแล้ว แต่กลับ ได้เผด็จการตัวใหม่มา มันไม่คุ้มค่าอะไรทั้งนั้น แต่ 1 ล้านคน ก็ถกู สังเวยไปแล้วจากการทีซ่ าร์ตส์บอกว่ามือมันก็ตอ้ งสกปรก ถ้าจะปฏิวตั ิ ซาร์ตส์บอกว่าใช้วธิ กี ารอะไรก็ได้ ให้มนั ไปถึงเป้า หมายแล้วกัน แต่กามูส์ไม่เชื่อตรงนี้ ผมก็ไม่เชื่อเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม แม้กามูสจ์ ะอายุสนั้ แต่ผมคิดว่าเขามีความเป็น มนุษยภาพมากกว่าซาร์ตร์ ทัง้ ๆ ทีซ่ าร์ตร์เองก็เขียนบทความ เรือ่ ง Existentialism is Humanism แต่เขาก็เหมือนจะกลาย เป็นซ้ายจัดไปเพราะความเป็นเหมาอิสม์ในระยะหลัง อย่างไร ก็ตาม ผมเห็นด้วยที่ซาร์ตส์บอกว่า เอ็กซิสเทนเชียลิสม์ คือมนุษยนิยม เดี๋ยวนี้ผมก็ยังเชื่อเช่นนี้ ซาร์ตร์โน้มเอียงไป ทางซ้ายจัด เป็นเหมาอิสต์ แต่เราไม่มีโอกาสได้รับรู้ว่ากามูส์ จะมีความคลี่คลายอย่างไรเพราะเขาตายก่อน ถ้ากามูส์ยัง อยู่เขาอาจจะเห็นด้วย หรืออาจจะเห็นแย้งมากขึ้นก็ได้ และ ตรงนี้แหละที่ผมเข้าใจว่า มันท�ำให้ผมโดนมองไปในลักษณะ

96

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ที่แม้จะอยู่ในขบวน แต่ก็ค่อนข้างลังเล ค่อนข้างไม่ชัดเจน เป็น“พวกน�้ำค้าง”เขาเคยวิจารณ์ว่าผมเป็นเหมือนพวก น�ำ้ ค้าง ผมมองศิลปะเป็นปัจเจกในแง่ของการแสดงออก การ ท�ำงานศิลปะไม่ว่าจะเอาไปรับใช้อะไร มันต้องไม่เป็นกลไก ต้องไม่เป็นสูตรส�ำเร็จเชิงสั่งสอน ส่วนขบวนการเคลื่อนไหว เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ก็ต้องแยกไปเขียนเป็นบทความ เขียนเป็น แถลงการณ์อะไรอีกเรือ่ งหนึง่ ไปต้องแยกไป ศิลปะนัน้ จะเพือ่ อะไรผมไม่รู้ แต่มันต้องมีชีวิตก่อนเพื่อนั่นเพื่อนี่ แถลงการณ์ ไม่ใช่งานศิลปะ แต่เป็นงานต่อสูท้ างประเด็นสังคม–การเมือง เมื่อมาท�ำงานศิลปะ ผมคิดว่าศิลปะมันวางตัวอยู่ในที่ซ่อน ก็ แ ล้ ว แต่ ว ่ า คุ ณ จะค้ น หาแสวงหามั น ออกมาได้ ม ากน้ อ ย แค่ไหน ด้วยเหตุนผี้ มจึงให้ความสนใจไปทางประเด็นปัจเจก ในแง่ Outsider Circle ของบรรดา Existential hero ทั้ง หลาย คือสนใจมาตั้งแต่ตั้งแต่ช่วงที่เจอหนังสือของ คอลลิน วิลสัน แล้วมันช่วยต่อยอดให้ผมไปอ่านงานของซาร์ตร์ กับ กามูส์ จนกระทั่งสนใจคนอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น คาฟคา (Franz Kafka) ตัวละครของเขาพูดถึงความคลุมเครือของ คนในสังคมทีม่ นั มีความซับซ้อนขัดแย้ง และตรงนีเ้ องทีผ่ มคิด ค�ำว่า “แปลกแยก” ขึ้นมาในภาษาไทย โดยเอาความหมาย กว้างๆ มาจากค�ำว่า Alienation แล้วก็มีผู้เอาไปใช้นะ อาจารย์บุญสนอง บุณโยทยาน ก็เคยคุยกันเรื่องนี้ก่อนแก

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

97


ถูกลอบสังหาร แล้วต่อมาก็เห็นแกเอาค�ำนี้ไปใช้ ก็ใช้ค�ำนี้ กันเรื่อยมา ผมมองว่า ในค�ำว่า Alienation นั้นมันมีความ แปลกหน้ามาผสมกับความแตกแยก ผมก็เอาสองค�ำนี้มา ผสมกันกลายเป็นค�ำใหม่วา่ ความแปลกแยก คุณทวีป วรดิลก ไม่ชอบค�ำนี้จึงไปบัญญัติค�ำใหม่ของแกขึ้นมาว่า“ความผิด แปลกสภาวะ” ส�ำหรับความแปลกแยกที่ผมตั้งใจหมายถึงนี้ ผมคิดว่า ไม่ว่าคุณจะอยู่ในสถานะของสภาพสังคมแบบไหน ทุนนิยม สังคมนิยม มันมีภาวะของความแปลกแยกในระดับ ต่างๆ ของมันตลอดเวลา เช่นแม้แต่เดี๋ยวนี้การรัฐประหาร ของ คสช.ก็ท�ำให้รู้สึกแปลกแยกไปในหลายแวดวง ผิดกัน ก็แต่ว่า เมื่อสมัยก่อน การรัฐประหารท�ำให้นักคิด นักเขียน ศิลปิน มันมารวมกันเป็นเอกภาพที่จะต่อสู้ ต่อต้านร่วมกัน แต่เดี๋ยวนี้มันไม่ใช่เช่นนั้นอีกต่อไป รัฐประหารของ คสช.ที่ ว่านี้ คุณก็เห็นว่ามันท�ำให้นักคิด นักเขียน ศิลปิน แตกแยก ไม่เป็นเอกภาพ ดังนั้นเขาจึงไม่จับพวกนักคิด นักเขียน นัก หนังสือพิมพ์ที่มีความเห็นต่อต้านรัฐประหารเข้าคุก หรือเอา ไปยิงทิง้ เหมือนอย่างในยุคสฤษดิไ์ ง แปลกเหมือนกันนะทีย่ คุ นี้ มีกวี นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ศิลปิน นักวิชาการ มีแนวโน้ม ที่เห็นด้วยกับการท�ำรัฐประหารครั้งล่าสุด แปลกนะ ซาร์ตส์ และกามูสเ์ ห็นแล้วคงอาจนึกอยากจะอ้วกก็ได้ สภาพการแต่ง วรรณกรรมประเภทแปลกแยกมันก็คล้ายๆ คือตัวละครเป็น

98

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ประเภท Anti-hero เป็น the loser มากกว่า the winner คือผมสนใจภาวะของตัวละครแบบนี้มาตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว มี ความรูส้ กึ ว่าการท�ำงานศิลปะมันต้องมีจติ ส�ำนึกขบถ คือก้าว ไปก่อนหน้าสังคม คล้ายเป็นการน�ำทางให้เห็นความถูกต้อง เป็นธรรม ตอนนัน้ มันจึงมีการเรียกร้องในท�ำนองความคิดซ้าย จัด Social Realism ไม่พอะ มันต้อง Socialist Realism อัน นี้ก็มาจากแนวทางสตาลินบวกกับแนวทางเหมาอิสต์ เอาล่ะ ก็ไม่ว่ากัน แต่พอมาถึงในช่วงที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะที่ เรียกว่าแหลมคมมากขึ้น งานเขียนของผมก็เลยโดนมองว่า เหมือนน�ำ้ ค้าง ไม่ใช่นำ�้ เน่าก็จริง แต่กไ็ ม่ใช่นำ�้ ฝน แล้วก็มคี นใช้ นามปากกาวิจารณ์ผม ลงในหนังสือของเพือ่ นผม นีค่ อื ต้นเหตุ ของค�ำว่าโรคประจ�ำศตวรรษ คือเขาวิจารณ์หนังสือเรื่องสั้น ชุด ความเงียบ ว่าผมนั้นตกอยู่ในภาวะน่าสงสาร คือเป็น ศิลปินทีก่ ำ� ลังเผชิญกับโรคร้าย เขาเรียกว่าโรคประจ�ำศตวรรษ ความหมายของค�ำๆนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ เคยใช้วิจารณ์ความคิด ของกลุ่มกวีเชิงสัญลักษณ์ เช่นโบเดอแลร์, แรงโบ, อองเดร เบรอตง อะไรพวกนี้ แล้วก็มีคนเอาค�ำๆ นี้ของจิตรมาใช้ วิจารณ์เรือ่ งสัน้ และบทกวีชดุ ความเงียบของผมว่าเป็นเหมือน พวกศิลปินที่ก�ำลังเผชิญกับโรคร้าย-โรคประจ�ำศตวรรษ คือ เป็นโรคเหงา เศร้า เบือ่ หมกมุน่ กับตัวเอง มองไม่เห็นชัยชนะ ของประชาชน คือเป็นปัจเจกนั่นแหละ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

99


Q : “ความเงียบ”พิมพ์ครั้งแรกออกมาตอนปี 2500 ? A : กระจัดกระจายไปตามหนังสือเล่มละบาทของกลุ่มต่างๆ เรื่องสั้นเรื่องแรก “สงคราม” ก็เมื่อปี 2511 พิมพ์ครั้งแรกใน สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ แล้วมารวมพิมพ์ครั้งแรกในปี 2515 คือก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา แต่กโ็ ดนวิจารณ์วา่ เป็นโรคประจ�ำ ศตวรรษมาตั้งแต่ก่อน“14 ตุลา”แล้ว ทั้งๆ ที่ผมก็ร่วมอยู่ใน ขบวนการ ท�ำตัวเป็นเหมือนโฆษกให้จิตร ภูมิศักดิ์ด้วยซ�้ำ Q : ผมก�ำลังจะถามเลยว่าคุณสุชาติเคยวิจารณ์จิตร ภูมิศักดิ์ด้วย หรือเปล่า ที่เขามีมุมมองด้านศิลปะตรงกันข้าม A : ถ้าว่าไปแล้วเริม่ ต้นหนังสือเรือ่ ง ศิลปเพือ่ ชีวติ ทีเ่ ขียนโดย “ทีปกร” ผมซื้อได้เล่มละ 2.50 บาท จากร้านหนังสือเก่าที่ สนามหลวง ตอนซื้อก็ไม่รู้ว่า “ทีปกร” คือใคร ซื้อเพราะเห็น มีค�ำว่าศิลปะ คือชื่อ “ศิลปเพื่อชีวิต” แต่ยังไม่เข้าใจความ หมายของมันเลย ซื้อเก็บไว้ตั้งแต่ปี 2506 ตอนอยู่ปีสอง เทอมแรก ที่ธรรมศาสตร์ ต่อมาก็มีคนบอกว่าหนังสือเล่มนี้ เขาหากันนานแล้ว เพราะเป็นหนังสือทีห่ ายไปช่วงหลัง2500 ก็มีคนมายืมหนังสือเล่มนี้ของผมไป ก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะ

100

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015


หนังสือของผมโดนยืมไปเล่มนีห้ รือเปล่า ทีต่ อ่ มามีการน�ำเอา มาพิมพ์ซ�้ำเป็นครั้งที่สอง โดยส�ำนักพิมพ์หนังสือ ในปี 2514 และก็เป็นส�ำนักพิมพ์เดียวกับทีพ่ มิ พ์หนังสือชุด ความเงียบ ให้ ผม เป็นส�ำนักพิมพ์ในกลุ่มของกมล กมลตระกูล, พิรุณ ฉัตร วณิชกุล ซึ่งต่อมาเขาก็เข้ามาเคลื่อนไหว จนกลายเป็นกลุ่ม วรรณกรรมเพือ่ ชีวติ ท�ำหนังสือ วรรณกรรมเพือ่ ชีวติ ในช่วง ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา ออกมา 4-5 เล่ม ค�ำว่าวรรณกรรม เพือ่ ชีวติ ผมเข้าใจว่ามันคือการต่อยอดแนวคิดมาจากหนังสือ ศิลปเพือ่ ชีวติ ของจิตร ภูมศิ กั ดิ์ ค�ำว่า “เพือ่ ชีวติ ” เป็นค�ำทีใ่ ห้ ความเร้าใจส�ำหรับคนหนุม่ สาวในตอนนัน้ มาก พวกนักศึกษา อะไรต่างๆ รวมทัง้ ผมเองอยูใ่ นมนต์ขลังของมันพอสมควร แต่ ต่อมาผมกลับมีความรูส้ กึ แตกต่างออกไป ตรงทีค่ ดิ ว่ามันเป็น แนวทางแบบสูตรส�ำเร็จ เป็นการท�ำงานศิลปะแบบกลไก และ ความคิดฝ่ายซ้ายในบางส่วนนีม่ นั กลไกมากๆ เลย เช่นพอพูด ถึงศิลปะมันก็เถียงกันท�ำนองว่า ต้องเพื่อประชาชน ถ้าคุณ ไม่มีปาร์ตี้ สปิริต (Party Spirit) คุณก็ท�ำงานเพื่อประชาชน ไม่ได้ คุณไม่สุดจิตสุดใจกับพรรคกับการปฏิวัติ คุณใช้ไม่ได้ เลย ไม่ว่าคุณจะท�ำอะไรก็ตาม คือมันเหมือนมีสูตรมาบังคับ ตอนนั้นถ้าคุณเพื่อชีวิต คุณก็จะต้อง 1 2 3 แล้วหนังสือของ จิตรมันกลายเป็นเหมือนคัมภีรไ์ ป ใครแตะต้องไม่ได้ แต่ตอ่ มา ผมกลับรู้สึกว่าหนังสือเรื่อง “ศิลปะเพื่อชีวิต” ของ “ทีปกร”

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

101


มีปัญหากับผมมากที่สุด หนังสือเล่มอื่นของจิตรผมเข้าใจว่า ยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะความเป็นอัจฉริยะในทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และนิรกุ ติศาสตร์ ต้องยกจิตรเอาไว้ในแง่ของ Thai Studies รุ่นบุกเบิกก้าวหน้า มุมมองในเรื่องประวัติศาสตร์ อะไรต่างๆ ของแกชัดเจน และก็เร้าใจไปด้วยในตัว แต่เรื่อง ศิลปเพื่อชีวิต ผมรับได้เพียงบางเรื่อง ก็เคยคุยกันในกลุ่มว่า จิตรได้ความคิดเรื่องศิลปะมารจากไหน และผมเข้าใจว่าเขา เอาแนวทางบางอย่างมาจากหนังสือเรือ่ ง What Is Art ? ของ ลีโอ ตอลสตอย แล้วตอลสตอยก็โดนวิจารณ์จากพวกซ้ายจัด บอลเชวิค ว่ายังไม่ก้าวหน้าทางชนชั้น หรืออะไรท�ำนองนั้น ดังนั้นพอเขาเอาค�ำว่า เพื่อชีวิต ของจิตร ภูมิศักดิ์มาใช้ตรง นี้ มันก็เลยเป็นการใช้ในลักษณะของแนวทางแบบนี้เท่านั้น ที่ก้าวหน้า โดยไม่มองวิธีการอื่นๆ ทางศิลปะแนวทางศิลปะ อย่างอื่น ถ้าผิดไปจากที่จิตร ภูมิศักดิ์ และ”นายผี”พูดไว้เป็น มีปัญหาเรื่องยังไม่ก้าวหน้าทางชนชั้นทันที ทั้งที่คนพูดพ่อ มันเป็นลูกเจ๊กคนชั้นกลางที่เป็นเศรษฐีระดับย่อมๆ คือใน กลุ่มเคลื่อนไหวตอนนั้น ความคิดเรื่องเอ็กซิสเทนเชียลิสม์นี่ ใช้ไม่ได้เลย เป็นความคิดที่ปฏิปักษ์กับความคิดปฏิวัติ คือให้ ความสนใจกับเรือ่ งปัจเจก เรือ่ งเสรีภาพ เรือ่ งมนุษยนิยมอะไร แบบนี้ ในเวลานั้นแนวคิดแบบเอ็กซิส ก็คือแนวคิดของพวก มีปัญหาทางความคิด เขาเรียกกันอย่างนั้นครับ คือมีความ

102

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


คลุมเครือ ไม่ชัดเจน ถ้าคุณจะอยู่ในขบวนปฏิวัติ คุณต้องมี ความชัดเจน เป็นเหมือนน�้ำฝนที่หลั่งลงมาให้ประชาชนได้ ดื่มกิน เขาลืมคิดไปว่าน�้ำฝนที่หลั่งลงมามันอาจเป็นฝนกรด ได้ น�้ำฝนเดี๋ยวนี้มันไม่สะอาดนักหรอก Q : ตรงนี้มันมีเส้นแบ่ง คุณสุชาติบอกว่าเอ็กซิสเทนเชียลิสม์เป็น ปฏิปักษ์กับฝ่ายซ้ายไทย ซึ่งผมไม่รู้ว่าซ้ายไทยอ่านปรัชญาฝ่ายซ้าย เช่นอ่านมาร์กซ์ระดับไหน เขามองว่าอย่างเป็นแค่น�้ำค้าง มันไม่พอ A : เขามองในลักษณะเป็นกลไกที่ต่อมาผมเรียกว่าหล่ม คุณ บอกอีกฝ่ายว่าเป็นน�้ำเน่า โอเค แต่คุณก็มีหล่มของตัวเอง เหมือนกัน ผมเอามาเขียนในช่วงหลังตอนท�ำโลกหนังสือ คือ ฝ่ายซ้าย ถ้าเพื่อชีวิตแบบกลไกมันก็น�้ำเน่าได้เหมือนกัน คือ ความคิดเรื่องศิลปะที่ไม่เข้าใจกันในกลุ่มก้อนเดียวกันมันมี มาตัง้ แต่ชว่ งก่อน 14 ตุลาแล้ว ผมก็ไม่ทราบว่าเป็นตรงนีห้ รือ เปล่าที่ท�ำให้ผมตัดสินใจไม่เข้าป่า แต่มาท�ำโลกหนังสือ แทน คื อ หนั ง สื อ ความเงี ย บ ของผม บางที มั น ก็ ป ฏิ ท รรศน์ (paradox) เหมือนกันนะ ต้องไปดูที่ฉบับ First edition เมื่อปี 2515 ที่เวียง-วชิระ บัวสนธิ์เอามาพิมพ์ครั้งใหม่ เขา ไม่เอาบทกวี บทละคร ไม่เอาบทความ ไม่เอาบทสัมภาษณ์ เอาแต่เฉพาะเรื่องสั้น ที่เขาเอามาพิมพ์ครั้งหลัง ถือเป็นอีก

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

103


แบบ ความเงียบ ฉบับพิมพ์ครั้งแรกปี 2515 ผมมีเหลืออยู่ 1 เล่ม ในนั้นมันมีบทสัมภาษณ์ของผมอยู่ 2 เรื่อง เขาเอา มารวมกันด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่ทราบเหมือนกัน อาจเพราะ ต้องการท�ำให้หนังสือมันหนาขึ้นก็ได้ ในบทสัมภาษณ์มีอยู่ บทหนึ่ง ที่พูดถึงทรรศนะของผมเกี่ยวกับเรื่อง Sex เรื่อง Free Love อะไรแบบนี้ เพราะตอนนั้นมันมีขบวนการ Free Love มีบุปผาชน มีฮิปปี้ อะไรพวกนี้ ก็คุยกันเรื่องความรัก กามารมณ์ นั่นเป็นบทสัมภาษณ์ชิ้นแรกๆ ของผม คุยที่ไหน ก็ไม่รู้ แล้วอีกชิ้นคือคุยเรื่องวรรณกรรม เพื่อชีวิต ตอนนั้น ผมใช้ค�ำว่า สัจจะสังคม (Social-realism) ผมเป็นคนแรก ที่ใช้ค�ำนี้เมื่อปี 14,15 แต่เดิมมันมีค�ำว่าสัจนิยม ซ้ายเก่าแต่ ก่อนมีใช้ค�ำนี้ คุณเสนีย์ เสาวพงศ์ เคยเขียนบทความเรื่อง หนึ่งบอกว่า คนรุ่นก่อนเขาก็ถกเถียงกัน คือเรื่อง Realism พี่เส (เสนีย์ เสาวพงศ์–กอง บก.) บอกว่าควรใช้เป็นค�ำไทย ว่า อัตถนิยม เพราะถ้าใช้ สัจจนิยม แล้ว สัจจะมันหมายถึง Truth ส่วน“อัตถ” คือ Real ส่วน “อัตถนิยม” ก็หมายถึง Realism ในความเห็นของพีเ่ ส ค�ำว่า Real น่าจะใช้วา่ “อัตถ” แต่ผมใช้ค�ำว่าสัจจะนิยม-สัจจะสังคม-สัจจะสังคมนิยม ต่อ มาผมเห็นด้วยจึงเปลี่ยนจาก “สัจจะ” เป็น “อัตถ” คือก็ เห็นด้วยว่าระหว่าง Truth กับ Real มันมีลักษณะต่างกัน เหตุผลของพี่เสฟังขึ้น ค�ำว่า Truth ก็คือ Truth คือสัจจะ มัน

104

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


แตกต่างจากค�ำว่า Real ทีห่ มายถึงแค่”ความเป็นจริง” ซึง่ ใน ความเป็นจริงนัน้ อาจไม่ใช่สจั จะก็ได้ อย่างไรก็ตาม นักเขียน ก้าวหน้ารุ่นก่อนนั้น ผมคิดว่าน�ำเสนอเรื่องราวที่สอดคล้อง ไปกั บ การเคลื่ อ นไหวทางการเมื อ งในช่ ว งสงครามเย็ น ดังนั้นความคิดเรื่องสังคมนิยมจึงเข้ามามีส่วน มีบทบาทใน การเคลื่อนไหวรวมทั้งความคิดในเชิงทฤษฎีสังคมนิยมที่เข้า มาถึงสังคมไทยด้วย ผมก็แปลกใจว่าส่วนใหญ่ในทางทฤษฎีมันเข้ามาแบบบาง ส่วน มันไม่ได้เข้ามาแบบมีความหลากหลาย ส่วนใหญ่จะ เอียงไปทางโซเวียต- สตาลิน และเหมาอิสม์มากกว่าโซเวียต– ทร็อตสกี้ และนักทฤษฎีสังคมนิยมของยุโรปตะวันออก ด้วย เหตุผลนี้ก็ได้ที่ท�ำให้ความคิดของขบวนการซ้ายไทยค่อน ข้างแคบ พูดปัญหาเรื่องเกี่ยวกับมาร์กซิสต์ เกี่ยวกับทฤษฎี สังคมนิยมก็มักจะเอนเอียงไปในทางเลนิน-สตาลิน หรือช่วง หลังเมือ่ เอียงมาทางจีนก็จะไปทางเหมาอิสม์ แต่ทางสายยุโรป ตะวันออก ยุโรปเหนือ สายละตินอเมริกา มันไม่มาเลย ความคิด เกี่ยวกับศิลปกรรมแบบ Social Realism ส่วนใหญ่มันผ่าน ตรงมาจากระบบโซเวียต คือระบบที่ค่อนข้างเป็นทางการ แล้ว ได้อ�ำนาจรัฐมาแล้ว และมีความลงตัวในทางทฤษฎีที่ ค่อนข้างเป็นทางการแล้ว หนังสือของพวกนักคิดฝ่ายซ้าย ที่เข้ามา ส่วนหนึ่งเป็นนักคิดทางทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

105


แบบทางการของรัฐโซเวียตแล้ว รวมทั้งศิลปวรรณกรรมทาง จีนสายเหมาอิสม์ทเี่ ข้ามามีอทิ ธิพลกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย สุภา ศิริมานนท์ นายผี จิตร ภูมิศักดิ์ก็อาจจะได้ อิทธิพลทางทฤษฎีศิลปเพื่อชีวิตมาจากเบ้าเดียวกัน คือจิตร ส่วนหนึ่งมาจาก What Is Art ? ของตอลสตอย และหรือทาง สายสตาลินมากกว่าทางสายทร็อตสกี้ เป็นความคิดด้านเดียว อีก หนังสือทฤษฎีศิลปะวรรณกรรมเรื่อง Revolution and Literature ของทร็อตสกี้ จิตร ภูมศิ กั ดิไ์ ม่รจู้ กั พีเ่ สเองก็เขียน ถึงชีวติ และงานของสตาลินแบบค่อนข้างชืน่ ชมเป็นคนแรกๆ ในช่วงหลังสงคราม สิ่งเหล่านี้ผมว่ามันสะท้อนให้เห็นความ คับแคบทางทฤษฎีศิลปะวรรณกรรมของฝ่ายซ้ายรุ่นเก่าของ ไทยว่ามีจ�ำกัด การเคลื่อนไหวทางศิลปะวรรณกรรมในกลุ่ม ก้าวหน้ารุ่นใหม่ช่วงทศวรรษ 2510 จึงพลอยค่อนข้างแคบ ไปด้วย คือค่อนข้างมองศิลปะวรรณกรรมไปในทางเดียว มีตัวแบบแคบๆ อยู่แค่โซเวียตกับจีน ด้วยเหตุนี้ก็ได้กระมัง การเคลื่อนไหวทางศิลปะวรรณกรรมของขบวนการซ้ายไทย จึงค่อนข้างเป็นกลไก และเรื่องนี้ผมคิดว่าพวกเขาค่อนข้าง ชัดเจนกับผมมาตั้งแต่ก่อน14 ตุลาแล้ว ที่บอกว่าผมเป็น พวกน�้ำค้าง เป็นโรคประจ�ำศตวรรษ เป็นปัจเจก มองไม่เห็น ชัยชนะของประชาชน อะไรแบบนี้ แต่ความหมายของเขาก็ คือคุณไม่มาสมาทานอย่างสุดจิตสุดใจกับพรรค หรือที่เรียก

106

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ว่า Party Spirit ขึ้นต่อหน่วยการน�ำที่จัดตั้ง คือเวลานั้นถ้า ใครจะเขียนเรื่องแบบเพื่อชีวิตก็จะมีตัวแบบท�ำนองว่า หนึ่ง ตัวละครต้องมีความคิดปฏิวตั ิ Revolutionary Hero สอง ตัว ละครต้อง Positive Thinking จะท้อถอยไม่ได้ จะคิดฆ่าตัว ตายก็ไม่ได้ ต้องหาทางออกให้ได้ เพราะฉะนั้นจึงมักมีเสียง สะท้อนออกมาว่า วรรณกรรมต้องรับผิดชอบกับการเสนอ ทางออก ส�ำหรับผมการท�ำงานศิลปะไม่จำ� เป็นต้องเป็นแบบ นั้นก็ได้ ตอนนั้นก็มีการจัดประเภทกันว่าศิลปะวรรณกรรมมี อยู่ 2 ลักษณะ คือ สะท้อน เป็นกระจก ส่องทาง เป็นโคมไฟ เขาบอกว่าพวกสะท้อนมันก็คล้ายๆ พวกปัจเจก-เสรีนิยม เป็นพวกศิลปินทั่วไปที่มีปัจเจกสูง แต่ถ้าเป็นศิลปินปฏิวัติก็ จะต้องสุดจิตสุดใจเป็นแบบโคมไฟส่องทาง มันจะต้องเป็น “วรรณกรรมโคมไฟ” ไม่ใช่ “วรรณกรรมกระจก” แต่พอมา มองในปัจจุบัน คนที่ว่า “จัดๆ” เหล่านี้เดี๋ยวมันเปลี่ยนไป อย่างแทบไม่นา่ เชือ่ เช่นเป่านกหวีด เอากับรัฐประหาร คือไม่ เป็นทัง้ โคมไฟ ไม่เป็นทัง้ กระจก แต่กลายเป็นอะไรไม่รู้ เห็นมี อยูใ่ นแทบทุกพรรคการเมือง ผมคงไม่ตอ้ งเอ่ยชือ่ ว่ามีใครบ้าง Q: มันมีค�ำหนึ่งที่คุณสุชาติพูด ผมอยากรู้บริบทของการพูดค�ำนี้ คุณ สุชาติชอบพูดว่า เทศนาในสิง่ ทีต่ วั เองไม่เชือ่ อันนีเ้ ป็นค�ำด่า หรือแปล

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

107


ว่าอะไรในยุคนั้น พอดีได้ยินกระจกกับโคมไฟเลยท�ำให้นึกถึงค�ำนี้ A: อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจว่าผมเอามาจากคานธีหรือกอร์กี้ แต่ เห็นภาพชัดว่าเวลาคนเราจะไปด่าใคร เขาต้องชัดเจนก่อน ว่าเขาจะท�ำได้เหมือนอย่างเช่นที่เขาด่า คุณต้องพร้อมถึงจะ ไปวิจารณ์คนอื่นได้ คือถ้าคุณเทศนาแล้วคุณไม่เชื่อ คุณไป ท�ำอีกแบบหนึ่งที่ตรงข้ามกับสิ่งที่คุณเทศนา เรื่องนี้ก็เท่ากับ คุณหน้าไหว้หลังหลอก แต่เวลาต่อมาผมคิดว่าสิง่ นีม้ นั ยังเห็น ชัดเจนมากขึน้ บางทีสงิ่ ทีเ่ คยมีปญ ั หากับผม เคยวิจารณ์วา่ ผม มองไม่เห็นชัยชนะของประชาชน แต่ผมก็เห็นว่าประชาชนยัง ถูกใช้เป็นเครื่องมืออยู่ตลอดเวลา แม้จะอุดมการณ์ในแบบ เดิมก็ตาม ทัง้ ทีผ่ มยังคิดว่าเขาอาจจะถูกก็ได้ทเี่ คยวิจารณ์ผม แต่ปจั จุบนั เขากลับเปลีย่ นไปแบบพลิกฝ่ามือ เขาก็เทศนาใน สิ่งที่เขาไม่เชื่อ พวกที่ด่าผมว่าเป็นโรคประจ�ำศตวรรษ หรือ เป็นน�้ำค้าง ไม่ใช่น�้ำฝนอะไรแบบนี้ ขอประทานโทษเดี๋ยวนี้ เขากลายเป็นอะไรไปแล้วก็ไม่ทราบ เช่นขึ้นไปเป่านกหวีด และเห็นด้วยกับการท�ำรัฐประหารได้อย่างไม่น่าเชื่อ ผมไม่ อยากเอ่ยชื่อ ตอนนั้นสิ่งนี้เคยมีผลกระทบกับผมตรงที่ว่ามัน ท�ำให้ผมมีความรูส้ กึ แย่ เพราะเขาเคยเรียกว่าผมเป็นพวก...ใช้ ค�ำหลวงนะ ฝ่ายซ้ายเขาเรียกว่าค�ำหลวง คือเขาเห็นว่าผมเป็น พวกแปลกแยก เป็นหญ้าพิษ เป็นเสือจร เป็นปัจเจกนิยม เป็น

108

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ชนชั้นนายทุนน้อย อะไรแบบนั้น คือเป็นประเภทไม่ยอมรับ การน�ำ เป็นพวกเสรี คือเสรีในความหมายทีแ่ ตกต่างจากค�ำว่า Liberalism ทีเ่ ขาเคยวิจารณ์ผมเมือ่ 40 กว่าปีกอ่ น อันนีเ้ ป็น ค�ำหลวงของพวกพรรคจีนทัง้ นัน้ รวมทัง้ ค�ำว่า “โคมไฟ”และ ค�ำว่า “กระจก” นี่เป็นวิธีคิดเวลาเขามองศิลปะวรรณกรรม ในภาพรวม เพราะฉะนั้นงานเขียนอย่าง ความเงียบ ของผม จึงสรุปได้อย่างเดียวว่าอ่านไม่รู้เรื่อง เนื่องจากเต็มไปด้วย สั ญ ลั ก ษณ์ เป็ น เกมทางปั ญ ญาของปั ญ ญาชนที่ ห ่ า งไกล ประชาชน มันจะเป็นไปได้ยังไงที่เปิดลิ้นชักออกมาแล้วพบ ศพอะไรแบบนี้ Q: ถ้าไม่มีคณะละคร พระจันทร์เสี้ยว ถ้าไม่มีคุณสุชาติ คุณสุชาติคิด ว่า เอ็กซิสมันจะเข้ามาอยู่ในสังคมไทยแบบไหน ผ่านอาจารย์ภาค วิชาปรัชญาแบบนี้หรือเปล่า หรือว่ามันอาจต้องใช้เวลานานขึ้นถ้า มันไม่มีวรรณกรรมแบบคุณสุชาติน�ำร่องมาก่อน หรือว่ามันมีกลุ่ม อื่นอีกมั้ยที่ท�ำแบบนี้ แล้วก็เหนียวแน่น เช่นว่ามีอาจารย์อ�ำพรรณ โอตระกูล อีกคนหนึ่ง A: คุณอ�ำพรรณเป็นนักแปล ก็ให้ตัวแบบในแง่วรรณกรรม แปล ว่าไปแล้ว ผมก็ไม่ทราบว่าอาจารย์เจตนา นาควัชระ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

109


อาจารย์พินิจ รัตนกุล เขาจริงจังตรงนี้แค่ไหน อาจารย์พินิจ นั้นสอนเรื่องปรัชญาโดยตรง แล้วต่อมาก็มีอาจารย์กีรติ บุญเจือ ผมไม่ได้สนิทสนมกับพวกเขามากพอ เลยไม่ทราบว่า เขามีอทิ ธิพลมากน้อยแค่ไหนกับแวดวง ผมเองไม่ได้จริงจังใน ฐานะคนที่ศึกษางานวิชาการทางปรัชญา ผมสนใจในแง่ของ ความคิดที่มันน�ำเสนอผ่านทางตัวแบบวรรณกรรมมากกว่า แล้วสิ่งนี้ผมคิดว่า ไม่รู้สินะ เขาก็บอกว่าเป็นเรื่องใหม่ แต่ ก่อนหน้านีน้ กั เขียนทีส่ นใจทางวิชาปรัชญาก็มมี าก่อนนะ เช่น ส.ธรรมยศ เพราะเขาเคยไปเรียนปรัชญาของฝรัง่ เศสทีฮ่ านอย Q: แล้วเขาพูดถึงเรื่องพวกนี้ในหนังสือของเขามั้ย A: เข้าใจว่าไม่ได้พูดในเชิงทฤษฎี คือในแง่ปรัชญา ความคิด ทางปรัชญามันควรมาแสดงผ่านทางงานวรรณกรรมได้ หรือ แม้แต่เสนีย์ เสาวพงศ์ ท่านก็เอ่ยถึงค�ำว่าเอ็กซิสเทนเชียลิสม์ ไว้ในเรือ่ ง ความรักของวัลยา แต่กเ็ อ่ยถึงแต่เอ่ยถึงแบบผ่านๆ ในลักษณะการพูดถึงปรากฏการณ์ของสังคมฝรั่งเศสในช่วง เวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เข้าใจว่าท่านคงไม่ได้สนใจ ตรงนีจ้ ริงจัง ผมเชือ่ นะครับ ในแง่ของการเป็นวรรณกรรมเพือ่ ชีวิต ศิลปะเพื่อชีวิต รุ่นบุกเบิกในความหมายที่เข้าใจกันอยู่ มันน่าจะมีตวั แบบของ Social Realism ทีม่ ากกว่ากอร์กี้ หรือ

110

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


หลู่ซิ่น แต่มันแทบไม่มี เช่น Social Realism แบบ ชาร์ลส์ ดิ๊กเก้นส์ เอมิล โซล่า ไม่เคยมาถึงสังคมไทย หรือของวิคตอร์ อูโกก็ต้องใช้เวลาอยู่นานกว่าจะแปลเป็นภาษาไทยครบถ้วน สมบูรณ์ และแม้เวลาจะผ่านไป 40 - 50 ปี แล้ว แต่เราก็ยงั อ้าง ถึงคนพวกนีอ้ ยู่ ศรีบรู พา นายผี เสนีย์ เสาวพงศ์ จิตร ภูมศิ กั ดิ์ ทวีป วรดิลก ส่วนสุวัฒน์ วรดิลกนั้นมี 2 แบบ คือเป็นทั้งเพื่อ ชีวติ และน�ำ้ เน่า ก็ไม่วา่ กัน นักเขียนนักประพันธ์กลุม่ นีจ้ ะเป็น กลุม่ ทีเ่ ข้ามามีอทิ ธิพลกับการเคลือ่ นไหวของกระแสความคิด ก้าวหน้าในช่วงก่อนและหลัง 14 ตุลา 2516 คือความคิดใน ลักษณะซ้ายๆ ของบ้านเรา แต่มนั กลับไม่มตี วั แบบทางทฤษฎี ทีห่ ลากหลายให้ถกเถียงกันทางวิชาการ มันไม่เห็นรูปธรรมใน เรื่องนี้มากพอ เพราะฉะนั้นหลัง 14 ตุลา ความคิดซ้ายจัดจึง เข้าครอบง�ำได้ง่ายหมู่นักคิด นักเขียนฝ่ายก้าวหน้า และมันก็ มาก่อนหน้าตั้งแต่ช่วงปลายๆ ปี 2515 ที่เขาวิจารณ์งานของ ผมว่าเป็นโรคประจ�ำศตวรรษ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

111


112

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/

Essay

/

เอมมานูเอล เลวีนาส กับใบหน้าคนอื่น คงกฤช ไตรยวงค์

เมื่

Daumier: Orchestra Seat 1856

vice versa

อสามปีกว่าล่วงมาแล้ว ผมได้มีโอกาสแบกเป้ไปเที่ยวเวียดนาม ระหว่างทริปนี้ได้เจอนักท่องเที่ยวสาวชาวฝรั่งเศสตรงจุดผ่าน แดนเวียดนาม-ลาว คุยไปคุยมาก็รู้ว่าเธอเป็นนักศึกษามาเดินทาง ท่องเทีย่ วกับเพือ่ น เธอท�ำวิทยานิพนธ์ปริญญาตรีดา้ นวรรณคดีเปรียบ เทียบ เธอถามผมว่า ผมเชี่ยวชาญเรื่องอะไร ผมอ�้ำอึ้ง เลยตอบว่าไม่ ได้เชี่ยวชาญอะไรเป็นพิเศษ แต่ก�ำลังสนใจแนวคิดของนักปรัชญา ฝรั่งเศสคนหนึ่ง เธอท�ำหน้าประหลาดใจมาก ถึงกับพูดว่าเป็นเรื่อง พิลึกที่เจอคนไทยสนใจปรัชญาฝรั่งเศสตรงชายแดนเวียดนาม-ลาว นักศึกษาสาวชาวฝรัง่ เศสยังบอกว่า งานเขียนของนักปรัชญาทีผ่ ม บอกว่าสนใจอยูน่ นั้ ซับซ้อนเอาการอยู่ กระทัง่ คนฝรัง่ เศสเองก็อา่ นไม่ ค่อยเข้าใจ ก็จริงอย่างที่เธอว่า การจะเข้าใจแนวคิดของนักปรัชญา ฝรั่งเศสคนที่เราพูดถึงนี้อย่างลึกซึ้งจะต้องเข้าใจปรากฏการณ์วิทยา และแนวคิดของยิว กระนั้นผมคิดว่าถ้าจะให้ปรัชญาเป็นสิ่งที่จับต้อง ได้ ก็คงจ�ำเป็นต้องพูดเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อนให้คนทั่วไปเข้าใจได้

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

คงกฤช ไตรยวงค์ อาจารย์ ประจ�ำภาควิชาปรัชญา คณะ อั ก ษรศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ศิลปากร สนใจปรากฏการณ์ วิทยา ศาสตร์แห่งการตีความ จริยศาสตร์ และสุนทรียศาสตร์

113


นักปรัชญาคนนัน้ คือ เอมมานูเอล เลวีนาส (Emmanuel Levinas) เขาเป็นคนฝรัง่ เศสเชือ้ สายยิว ข้อเสนอส�ำคัญของเขาก็คอื จริยศาสตร์ (Ethics) ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดทางจริยศาสตร์ที่ผ่านมา เลวีนาสให้ ความส�ำคัญกับจริยศาสตร์ในความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างคน กับคน จริงอยูท่ จี่ ริยศาสตร์กเ็ ป็นเรือ่ งของความสัมพันธ์ระหว่างตัวเรา กับคนอืน่ อยูแ่ ล้ว แต่กย็ งั สัมพันธ์กบั คนอืน่ ผ่านกรอบเกณฑ์ชดุ หนึง่ ที่ จะมาตัดสินว่า อะไรคือสิ่งที่ดีที่พึงกระท�ำ อะไรคือการกระท�ำที่ผิด นักปรัชญาบางส�ำนักใช้ประโยชน์ที่จะตกแก่คนส่วนมากเป็น เกณฑ์วัด เราเรียกความคิดแบบนี้ว่าประโยชน์นิยมนั่นเอง บางคน เห็นว่าจะต้องท�ำตามหน้าที่ โดยไม่ใช้คนอืน่ เป็นเครือ่ งมือ จริยศาสตร์ ตามทีเ่ ข้าใจกันทัว่ ไปมีลกั ษณะเชิงบรรทัดฐานอยูใ่ นตัว คือมีสงิ่ ทีร่ ะบุ ว่าเราควรกระท�ำอะไร แล้วทีนี้จริยศาสตร์แบบเลวีนาสแตกต่างจาก จริยศาสตร์เหล่านี้อย่างไร ก่อนอื่นเราจ�ำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่า มนุษย์เป็นอยู่ในโลกอย่างไร เลวีนาสเห็นว่าเรามักจะยึดอัตตาเป็นศูนย์กลาง (ค�ำเชิงเทคนิคคือ egology) คนเราชอบที่จะย่อยสลายสิ่งต่างๆ ในโลกรอบตัวให้กลาย เป็นส่วนหนึ่งของตัวเอง ง่ายๆ เลยคือเราจับคว้าขนมปังมากินเพราะ ต้องการย่อยสลายมันให้กลายเป็นพลังงานของเรา ถ้าจะมองในระดับ ความรู้ มนุษย์กช็ อบทีจ่ ะศึกษาสิง่ ต่างๆ เพือ่ ย่อยสลายให้กลายมาอยู่ ในกรอบความรู้ของเรา อดีตอันไกลโพ้นก็ไม่ใช่ความมืดด�ำเร้นลับ เพราะมีประวัตศิ าสตร์

114

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ลึกลงไปในจิตมนุษย์ที่เคยเชื่อกันว่าลึกสุดหยั่ง ก็ยังมีจิตวิทยามา ศึกษา แม้แต่การมีอยู่ของพระเจ้าก็ยังถูกมนุษย์ตั้งค�ำถามเพื่อศึกษา เราสร้างความกระจ่างในเรื่องต่างๆ โดยอาศัยการสร้างเป็นแก่นคิด หรือกรอบความรู้ จึงไม่นา่ แปลกใจทีป่ รัชญาตะวันตกตกเกีย่ วโยงกับ อุปลักษณ์ของ “แสง” การยึดอัตตาเป็นศูนย์กลางท�ำให้สรรพสิ่งถูกความคิดย่อยสลาย ให้กลายเป็นเตาหลอมแห่งความรู้องค์รวมหนึ่งเดียว แม้แต่ปรัชญา ตะวันตก ซึ่งตกทอดจากมรดกทางภูมิปัญญาของกรีกก็ตกอยู่ภายใต้ สิ่งที่เรียกว่าการยึดอัตตาเป็นศูนย์กลางนี้เอง เมือ่ เราเผชิญกับสิง่ อืน่ ๆ ทีเ่ ป็นสิง่ ของก็อาจจะไม่สมู้ ปี ญ ั หานัก แต่ ปัญหาเกิดขึน้ เมือ่ เราเผชิญกับ “คนอืน่ ” สังเกตหรือไม่วา่ เรามักจะไม่ สบายใจเวลาเจอคนแปลกหน้า แปลกวัฒนธรรม นั่นเป็นเพราะเรา ไม่รู้หรือไม่เข้าใจว่าเขาคือ “ใคร” สิ่งที่คนเราท�ำเวลาเจอคนแปลก หน้าก็คอื การจับพวกเขาใส่กล่องความเข้าใจของเรา ว่าเขาเป็นอย่าง นั้นอย่างนี้ เราใช้ความรู้ที่เริ่มต้นจากอัตตาของเราไปนิยามคนอื่น หรือจ�ำแนกประเภทคน จากนั้นก็ปฏิบัติต่อพวกเขาตามกรอบความ เข้าใจของเรา ซึ่งสิ่งนี้น�ำไปสู่ “ความรุนแรง” ได้ ค�ำถามคือมันเป็น ไปได้อย่างไร? นักปรัชญาสายวิเคราะห์อย่างฮิลลารี พัทนัม (Hilary Putnam) ยกตัวอย่างไว้อย่างน่าสนใจว่า หากเราเชื่อว่ามีค�ำสั่งทางศีลธรรมที่มี ความเป็นสากล คือสามารถเข้าใจได้โดยมนุษย์ทกุ ผูท้ กุ นาม และเป็น

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

115


หลักที่ใช้ได้กับทุกคนแล้วละก็ เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังหลักศีลธรรมนี้ ก็คอื เราถือว่าทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกันกับเรา ฟังดูอย่างนีก้ ด็ จู ะไม่ เห็นเป็นปัญหาอะไร แต่จริงๆ แล้วพัทนัมเห็นว่ามันอาจจะเป็นปัญหา ใหญ่พอที่จะท�ำให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในช่วงนาซีเถลิง อ�ำนาจได้เลยทีเดียว จริงอยู่ ถ้าหากเราถือว่ามนุษย์ทุกคนเหมือนกัน นั่นหมายความต่อไปว่าเราควรเกื้อกูลในฐานะเพื่อนมนุษย์ แต่ในอีก แง่หนึ่ง การนิยามความเป็นมนุษย์ว่ามีลักษณะอย่างนั้นอย่างนี้ เปิด โอกาสให้กีดกันคนที่ขาดลักษณะเหล่านี้ว่าไม่ใช่มนุษย์ ยกตัวอย่างเช่นเวลาเราบอกว่า “จงบรรเทาทุกข์ของคนอื่น” ค�ำถามต่อไปก็คือ ท�ำไมต้องช่วยล่ะ ค�ำอธิบายที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือ ก็เพราะพวกเขาเป็นมนุษย์เหมือนกับเราน่ะสิ พัทนัมเห็นว่าปัญหาอยู่ ตรงที่เมื่อมีคนอื่นที่เหมือนเรา ก็ย่อมมีคนอื่นที่ไม่ได้มีคุณสมบัติการ เป็นคนเหมือนเรา อย่างที่พวกนาซีใช้อ้างตอนฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว เรือ่ งนีเ้ ห็นได้ชดั มากในกรณีของนักปรัชญาผูย้ งิ่ ใหญ่ชาวเยอรมันอย่าง มาร์ติน ไฮเด็กเกอร์ (Martin Heidegger) ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าสนับสนุน พรรคนาซี ในสมุดบันทึกสีด�ำ (Black Notebook) ที่ได้รับการเปิด เผยในภายหลังยิ่งเห็นชัดว่าเขามีท่าทีต่อต้านชาวยิว โดยมองว่าพวก ยิว “ไม่มอี นาคต” ไม่ตา่ งจากสัตว์ทที่ ำ� ไปตามสัญชาตญาณในปัจจุบนั เท่านั้น ต่างจากมนุษย์ที่ค�ำนึงถึงอนาคต เลวีนาสเสนอว่าเราอยูร่ ว่ มกับคนอืน่ โดยทีค่ นอืน่ มีความเฉพาะตัว นั่นคือเป็นคนคนหนึ่งที่แตกต่างจากเรา พูดอีกอย่างหนึ่งการยอมรับ

116

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


หรือเปิดรับคนอื่นอย่างที่เขาเป็นจริงๆ เลวีนาสเห็นว่าความสัมพันธ์ แบบนีค้ อื ความสัมพันธ์แบบพบหน้าค่าตา (face-to-face relation) เรา สัมพันธ์กบั คนอืน่ ผ่าน “ใบหน้า” ของเขา (ภาษาฝรัง่ เศสคือ la visage) ซึง่ เป็นลักษณะเฉพาะของปรัชญาของเลวีนาส ถ้าหากเราอ่านแนวคิด ทางปรัชญาทีพ่ ดู ถึงคนอืน่ เราจะเจอค�ำว่าตัวตน อัตลักษณ์ ความเป็น บุคคล เหล่านีล้ ว้ นเป็นค�ำเชิงเทคนิคทีม่ คี วามเป็นนามธรรม แต่เลวีนาส กลับใช้ค�ำว่า “ใบหน้า” ซึ่งมีลักษณะรูปธรรม นั่นคือใบหน้าเป็น เสมือนสิ่งที่แทนตัวบุคคลนั้นเอง จึงไม่น่าแปลกใจที่เราใช้รูปใบหน้า ติดบัตรประจ�ำตัวประชาชน กระนั้นก็ตาม สิ่งที่เรียกว่า “ใบหน้า” นั้นค่อนข้างจะยุ่งอยู่ สักหน่อย เพราะเลวีนาสพูดอยู่หลายคราว่าเราตระหนักรับรู้ถึง “ใบหน้า” คนอื่น โดยมิพักต้องเห็นสีหน้าแววตาของเขาด้วยซ�้ำไป ผมตีความเรื่องนี้ว่าการที่เรารู้ว่ามีคนอื่นอยู่ร่วมโลกกับเรานั้น ไม่ จ�ำเป็นต้องเห็นหน้าจริงๆ ก็ได้ ถ้าพูดภาษาเฉพาะเชิงปรัชญาหน่อยก็ คือ “ใบหน้า” ที่ว่านี้ไม่ได้มีลักษณะเชิงประจักษ์ (empirical) เพราะ เราไม่จ�ำเป็นต้องมองเห็นใบหน้าคนจริงๆ เลยก็รู้ว่ามีคนอื่นอยู่ร่วม โลกกับเรา แต่เป็นรูปธรรม (concrete) ที่เกิดขึ้นจริง ตัวอย่างง่ายๆ เห็นได้จากมารยาทสังคมที่เรามักจะบอกว่า “เชิญคุณก่อน” นั่นคือ การตระหนักถึงการมีอยู่ของคนอื่น และการให้ความส�ำคัญกับคน อื่นมาก่อนตัวเอง ที นี้ ค� ำ ถามคื อ เราสั ม พั น ธ์ กั บ คนอื่ น อย่ า งไร เลวี น าสบอกว่ า

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

117


“ใบหน้า” คนอื่นมีความเปราะบาง อ่อนแอ ยั่วเย้าให้เราท�ำความ รุนแรง ขณะเดียวกันก็ห้ามเราท�ำความรุนแรง (ลองนึกถึงคนที่ชอบ แกล้งขอทาน หรือคนอ่อนแอ) เลวีนาสเห็นว่าการเสรีภาพในการ เลือกกระท�ำของเราเกิดขึน้ ณ จุดนี้ นัน่ คือการตัดสินใจว่าจะท�ำความ รุนแรงต่อคนอื่นหรือไม่ นี่คือความหมายของจริยศาสตร์ตามความ หมายของเลวีนาส นั่นคือ มันพร้อมกับ “ความรุนแรง” ที่เราจะ กระท�ำต่อคนอื่นได้ คนอืน่ ทีเ่ ปราะบางและอ่อนแอนีเ้ องทีม่ าเรียกร้องเอากับเรา สิง่ ที่ เกิดขึ้นตามมาก็คือการที่เราจะเลือกตอบสนอง (respond) ต่อเสียง เรียกนั้นหรือไม่ นี่คือที่มาของ “ความรับผิดชอบ” (responsibility) ในจริยศาสตร์ของเลวีนาส โดยปกติเราจะบอกว่าคนคนหนึ่งจะ รับผิดชอบต่อการกระท�ำที่เกิดจากการเลือกกระท�ำโดยอิสระอย่าง มีเหตุผล แต่ความรับผิดชอบตามความคิดของเลวีนาสกลับแปลก เพราะมันหมายความว่า “ความสามารถในการตอบสนอง” (an ability to respond) ด้วย จะเห็นได้ว่าเลวีนาสหันเหจากการใช้อุป ลักษณ์ของ “แสง” มาให้ความส�ำคัญกับ “เสียง” ซึ่งก็เป็นอิทธิพล ของขนบยิวที่ให้ความส�ำคัญต่อ “เสียงเรียก” จากภายนอก ตัวอย่าง คือพระเจ้าทรงเรียกโมเสส และโมเสสก็ตอบสนองต่อเสียงเรียกนั้น จริงๆ แล้วเลวีนาสไม่คอ่ ยยกตัวอย่างของสถานการณ์นเี้ ท่าใดนัก แต่ตัวอย่างที่เขายกมาอ้างประจ�ำคือตัวอย่างจากวรรณกรรมเรื่อง Life and Fate ของ Vissaly Grossman ผมเองชอบตอนที่ผู้แต่ง

118

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


พรรณนาถึงผู้หญิงชาวรัสเซียที่ตกเป็นเชลยของทหารนาซี พวกเธอ ตกอยู่ในสภาพหวาดกลัว ด้วยไม่รู้ว่าวันรุ่งขึ้นจะถึงคราวตายของตน หรือไม่ วันรุง่ ขึน้ ผูห้ ญิงรัสเซียคนหนึง่ ถูกปล่อยออกมา และถูกขอร้อง ให้ดูแลผู้คุมเยอรมันที่กำ� ลังบาดเจ็บอยู่ ด้วยความคุมแค้นเธอจึงตรง ไปจะบีบคอเขาเสียให้ตาย แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจและงดงามก็เกิด ขึ้น เมื่อทหารนาซีนายนั้นร้องขอน�้ำดื่ม ทันใดนั้นผู้หญิงรัสเซียก็ยื่น น�้ำดื่มทั้งหมดที่ตนมีให้เขา แน่นอนว่าสิง่ ทีผ่ หู้ ญิงคนนีก้ ระท�ำนัน้ เป็น “ความดี” แต่เป็นความ ดีทแี่ ปลก เพราะมันเป็นความดีทที่ ำ� ลงไปโดยไม่คดิ ในชัว่ ขณะนัน้ เธอ ไม่ได้ใช้ความคิดตัวเองไปตัดสินว่าคนที่อยู่เบื้องหน้าเป็นนาซี เป็น ศัตรู หรืออะไรก็ตาม แต่เป็น “การตอบสนอง” ต่อเสียงเรียก ที่มา จากนอกตัวเธอ นั่นคือ คนอื่น ซึ่งมีความเป็นอื่น ที่ไม่อาจจะไปจ�ำกัด กรอบได้ ความดีแบบนี้จึงเป็น “ความดีเล็กๆ” (little goodness) ที่ท�ำให้คนอยู่กับคนได้ หากพิจารณาบริบทที่เลวีนาสเสนอความคิดของเขา ความโหด เหี้ยมของนาซีเยอรมันท�ำให้ยุโรปตกอยู่ในคามสิ้นหวัง อุดมการณ์ ทีด่ จู ะเป็นความหวังในการปลดปล่อยมนุษย์อย่างลัทธิมาร์กซ์กก็ ลาย รูปไปเป็นลัทธิสตาลิน หลังจากอุดมการณ์ทางการเมือง สถาบันทาง สังคมถึงจุดอับปาง สิง่ ทีย่ งั หลงเหลือเป็นพืน้ ฐานอยูก่ ค็ อื ความสัมพันธ์ ระหว่าง “ฉัน” กับ “เธอ” ระหว่างคนกับคน ไม่ใช่ความสัมพันธ์กับ ลัทธิการเมือง หรือแนวคิดทางปรัชญาใดๆ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

119


จริยศาสตร์ของเลวีนาสก็คอื จริยศาสตร์แห่งไม่ความเพิกเฉย การ ไม่ปล่อยให้คนอื่นตายคนเดียว เรียกว่าเป็นจริยศาสตร์ที่พยายามจะ ข้ามพ้นจาก “ตัวฉัน” เพื่อให้ความส�ำคัญกับ “คนอื่น” มาเป็นอันดับ แรก และไม่ท�ำความรุนแรงด้วยการใช้ตัวเองเป็นศูนย์กลางในการ นิยามคนอื่นนั่นเอง นักปรัชญาฝรั่งเศสที่น�ำแนวคิดของเลวีนาสมาคิดต่อก็คือ ฌาคส์ แดร์ริดา (Jacques Derrida) ซึ่งเห็นว่าจริยศาสตร์ของเลวีนาส คือจริยศาสตร์แห่งความโอบอ้อมอารี (ethics of hospitality) หมายความว่าเวลาทีเ่ ราเผชิญหน้ากับคนอืน่ ทีเ่ ราไม่รจู้ กั ไม่เข้าใจ เรา จะท�ำอย่างไร เราจะเปิดรับหรือต้อนรับเขาหรือไม่ จริยศาสตร์แบบนี้ จึงมีนัยของการต้อนรับขับสู้ เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าแขกหรือคนที่เรา เจอจะมาดีหรือมาร้าย เพราะเขาเป็นคนอื่น หากพูดในแง่ความโอบอ้อมอารีแบบบริสทุ ธิ์ (pure hospitality) แล้วล่ะก็ เราจ�ำเป็นต้องต้อนรับหรือเปิดรับทุกคนแบบไม่มีเงื่อนไข แน่นอนว่าสิ่งที่อาจเกิดขึ้นคือความประหลาดใจ บางทีคนอื่นที่ว่า นี้อาจจะมาดี หรืออาจจะมายึดครองบ้านหรือประเทศของเราก็ได้ หรือหากพูดในแง่ปัจเจกบุคคล ความเป็นคนอื่นของคนอื่นอาจจะ มาท�ำลายหรือท�ำร้ายตัวตนของเราก็ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราจะ พบเห็นไม่ใช่ความโอบอ้อมอารีแบบนี้ แต่เป็นความโอบอ้อมอารีแบบ มีเงือ่ นไข (conditional hospitality) นัน่ คือแขกต้องยอมรับเงือ่ นไข กฎเกณฑ์บางอย่างของเจ้าบ้าน เช่น ในกรณีของผู้ลี้ภัย ก็จะได้สิทธิ

120

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


แค่การอยู่อาศัยชั่วคราว จริยศาสตร์แห่งความโอบอ้อมอารีคือการที่เราสัมพันธ์กับคน อื่นอย่างที่เขาเป็นเขาจริงๆ แม้ว่าความเป็นเขานั้นเราอาจจะไม่รู้ไม่ เข้าใจก็ได้ นั่นคือการตระหนักในความเฉพาะตัวของคนอื่นแต่ละ คน แดร์ริดาเห็นว่าข้อพิจารณาเรื่องความโอบอ้อมอารีทั้ง 2 แบบ ข้างต้น จะท�ำให้เราเข้าใจประเด็นทางสังคมการเมืองในปัจจุบันได้ นั่นคือ ความโอบอ้อมอารีแบบไม่มีเงื่อนไขเป็นสุดขั้วของสิ่งที่เราจะ คิดได้เกีย่ วกับการต้อนรับ และเป็นเงือ่ นไขให้เราคิดถึงความโอบอ้อม อารีแบบมีเงื่อนไขได้ ย้อนกลับมาที่ทริปเวียดนามของผม ตลอดเวลาหนึ่งสัปดาห์ ทีผ่ มตะลอนจากฮานอย ฮอยอัน เว้ ความรูส้ กึ แปลกถิน่ หรือรูส้ กึ เป็น คนอื่นก็มีอยู่พอสมควร แม้พอจะใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้ก็ตาม แต่ ก็ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากคนเวียดนาม ณ สถานที่ที่ผมไปเยือน จนกระทั่งผมนั่งรถโดยสารจากเว้ไปสะหวันนะเขต และคนขับเป็น คนลาว ผมจึงรู้สึกผ่อนคลายขึ้นมาก สามารถแวะลงซื้อของโดย ใช้ภาษาอีสานพูดได้ เมื่อถึงปลายทางสะหวันนะเขต ผมก็ร�่ำลานักศึกษาสาวชาว ฝรั่งเศสคนนั้น เธออวยพรให้ผมโชคดีในการวิชาการปรัชญา แล้วเรา ก็ต่างคนต่างไปยังจุดมุ่งหมายของตัวเอง ที่พูดมาทั้งหมดก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่า เรื่อง “ความเป็นอื่น” หรือ “คนอืน่ ” ทีแ่ ตกต่างจากเรา เป็นสิง่ ทีเ่ ห็นได้ในโลกปัจจุบนั ทีม่ กี ารข้าม

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

121


พรมแดน การอพยพ การลีภ้ ยั นักท่องเทีย่ ว จากความสัมพันธ์แบบพบ หน้าค่าตาที่เราอาจจะไม่ต้องเห็นหน้าคนอื่นเลย มาสู่ความโอบอ้อม อารี ก็เป็นข้อพิจารณาทีน่ า่ คิดส�ำหรับโลกทีเ่ ต็มไปด้วยความแตกต่าง หลากหลายนีท้ เี่ ราจะต้องตระหนักรับรูก้ ารด�ำรงอยูข่ อง “ใบหน้าอืน่ ” ที่อยู่ร่วมโลกกับเรา ดังนั้น เราจะอยู่ร่วมกับคนอื่นที่แตกต่างจากเราโดยสิ้นเชิงได้ อย่างไร นี่น่าจะเป็นค�ำถามส�ำคัญ เป็นสิ่งที่จริยศาสตร์แบบเลวีนาส กระตุ้นเตือนให้เราคิด

122

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


Vilhelm Hammershøi: Moonlight, Strandgade 30 1900–1906

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

123


124

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/ Essay /

ว่าด้วยการตีความปฐมกาล ลีโอ สเตร๊าส์1 / ธีรวัฒน์ อธิการโกวิทย์ แปล

ตั

วบทจากค�ำบรรยายชุดนีไ้ ด้รบั มาจากลีโอ สเตร๊าส์ ในชุดค�ำบรรยาย “Works of the Mind” ที่ University College ของมหาวิทยาลัยชิคาโก เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ.1957 และได้รบั การตีพมิ พ์เป็นครัง้ แรกในวารสารฉบับนี้ ทางเรา ขอขอบคุณศาสตราจารย์โจเซฟ คร็อปซีย์ (Joseph Cropsey) แห่งมหาวิทยาลัย ชิคาโก ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการทรัพย์สินทางวรรณกรรมของลีโอ สเตร๊าส์ ที่ได้ อนุญาตให้ทางเราตีพิมพ์งานชิ้นนี้ และได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผมเล็กๆน้อยๆ ในการปรับปรุงแก้ไขงานให้ถูกต้อง ท่านผู้อ่านที่มีวิธีคิดมาทางด้านมานุษยวิทยาอาจรู้สึกถึงความคล้ายคลึงกัน ระหว่างวิธีการอ่านพระคัมภีร์ไบเบิลของสเตร๊าส์ กับ วิธีการวิเคราะห์ต�ำนาน (myth) ของโคล้ด เลวี-สโตรส (Claude Lévi-Strauss)—ซึ่งยิ่งคุ้นเคยกับงาน ชิ้นนี้มากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งรู้สึกว่าเป็นงานที่ร่วมสมัยกันกับผลงานชิ้นแรกๆ

ธี ร วั ฒ น ์ อ ธิ ก า ร โ ก วิ ท ย ์ ปัจจุบันก�ำลังเตรียมตัวเรียน ต่ อ ในระดั บ ปริ ญ ญาโทด้ า น ป รั ช ญ า มี ค ว า ม ส น ใ จ ใ น ปรัชญาลัทธิขงจือ ่ ในเกาหลีกบ ั ญี่ปุ่นก่อนสมัยใหม่ และสนใจ ในด้านเอเชียตะวันออกศึกษา

ต้นฉบับภาษาอังกฤษ โปรดดู Leo Strauss, “On the Interpretation of Genesis”, L’Homme, janu.-mars 1981, XXI (I), pp.5-20 1

Gustav Doré Creation of Light 1866

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

125


ของเลวี่-สโตรสในเรื่องของต�ำนาน บางทีนี่คงไม่ใช่ที่ๆ เราจะมาถกเถียงกันเรื่อง ความคล้ายคลึงของงานสองแบบตลอดจนถึงความแตกต่างทีเ่ ป็นไปได้ระหว่างวิธี การทั้งสองแบบกระมัง เอาเป็นผมขอพูดแค่ว่า ลีโอ สเตร๊าส์น้ันเป็นนักปรัชญา (ผมว่า ประโยคแรกของงานชิ้นนี้นั้น เราควรอ่านอย่างระมัดระวังแบบฟังหู ไว้หจู ะดีกว่า) จุดประสงค์สงู สุดของสเตร๊าส์จงึ อาจแตกต่างจากจุดประสงค์สงู สุด ของเลวี่-สโตรสนั่นเอง ส่วนนี่ก็คือแหล่งอ้างอิงบรรณานุกรมงานเขียนของสเตร๊าส์ที่อาจช่วยท่าน ผูอ้ า่ นให้ได้เข้าใจถึงต�ำแหน่งแห่งทีข่ องงานชิน้ นีว้ า่ ด�ำรงอยูต่ รงส่วนไหนในความ คิดของสเตร๊าส์ครับ งานทีส่ ามารถแนะน�ำความคิดของสเตร๊าส์ให้เรารูจ้ กั ได้อย่าง ดีนั้นอาจหาอ่านได้จาก Allan Bloom, “Leo Strauss”, Political Theory, 1974, 2 (4): 373-392, และในส่วนน�ำเสนอให้เราได้รู้จักสเตร๊าส์แบบที่สั้น กว่า พร้อมด้วยรายชื่องานเขียนแบบเกือบจะครบสมบูรณ์ของสเตร๊าส์ หาอ่าน ได้ใน Joseph Cropsey, “Leo Strauss. A Bibliography and Memorial”, Interpretation, 1975, 5 (2) (Queen’s College, NY): 133-147. มีบทความ อีกสองชิ้นที่ควรอ่านประกอบเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ได้แก่ “Jerusalem and Athens. Some Preliminary Reflections”, The City College Papers, 1967, 43 (6): 45-57 —และอีกชิ้นคือ “The Mutual Influence of Theology and Philosophy”, The Independent Journal of Philosophy, 1979, 3: 111-118 (ซึ่งเป็นค�ำบรรยายที่ชิคาโกในช่วงทศวรรษที่ 50s เช่นกัน) ท้ายสุด ทางเราขอ กล่าวถึงคุณโรเบิร์ต แซ็กส์ (Robert Sacks) ผู้เป็นลูกศิษย์เก่าของสเตร๊าส์ ซึ่ง เริ่มตีพิมพ์ค�ำอธิบายหนังสือปฐมกาลอย่างครอบคลุม โดยในงานเขียนชิ้นนั้น

126

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เขาได้พัฒนามาจากข้อเสนออันยืดยาวของสเตร๊าส์ไว้ [โดย Nicolas Ruwet] โปรดดู Robert Sacks, “The lion and the Ass. A Commentary on the Book of Genesis”, Interpretation, 1980, 8 (2-3): 29-101 (ch. 1-10 of Genesis; to be continued) (Queen’s College, NY).

มอยากจะขอเริม่ ต้นด้วยการออกตัวไว้กอ่ นนะครับว่า ตัวผมเอง ไม่ได้เป็นนักวิชาการด้านพระคัมภีร์ไบเบิล แต่เป็นนักรัฐศาสตร์ ที่เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีการเมืองเสียมากกว่า ทฤษฎีทางการเมืองนั้น มักจะถูกกล่าวถึงอยูเ่ สมอๆ ว่ายึดโยงอยูก่ บั ค่านิยมแบบโลกตะวันตก และค่านิยมเหล่านีเ้ ป็นทีร่ จู้ กั กันดีวา่ ส่วนหนึง่ นัน้ มีตน้ ก�ำเนิดจากพระ คัมภีร์ไบเบิลและอีกส่วนจากความคิดของพวกกรีก ดังนั้นนักทฤษฎี การเมืองจึงต้องรู้จักเฉลียวใจในการที่จะเห็นความลงรอยหรือตลอด จนเห็นความไม่ลงรอยกันระหว่างมรดกทางพระคัมภีรแ์ ละมรดกแบบ กรีกให้ได้ และทุกๆ คนที่ท�ำงานวิชาการในสายนี้ย่อมต้องใช้เวลา ส่วนใหญ่ไปกับเรือ่ งของสิง่ ทีท่ งั้ นักปราชญ์ในโลกพระคัมภีรไ์ บเบิลกับ นักปราชญ์ในโลกคลาสสิกได้บอกไว้ในแต่ละอย่าง กระนัน้ ผมก็คดิ ว่า มันจะปลอดภัยกว่า หากผมพยายามมองว่า ผมจะไม่สามารถท�ำความ เข้าใจบางสิ่งบางอย่างจากพระคัมภีร์ได้โดยที่ไม่อาศัยสิ่งที่ผู้รอบรู้ทั้ง สายจารีตเดิมและผู้รอบรู้ในสายร่วมสมัยได้บอกเราเอาไว้ ที่ผมเริ่ม ต้นไปอย่างนัน้ เพราะอย่างน้อยมันก็ดจู ะไร้เหตุผลน้อยทีส่ ดุ นัน่ แหละ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

127


ครับ วันนี้ผมถูกขอให้มาพูดเรื่องปฐมกาล (Genesis) หรือค่อนข้าง เกี่ยวกับเรื่องจุดเริ่มต้นของปฐมกาล (the beginning of Genesis) บริบทของงานรวมค�ำบรรยายชุด Works of the Mind นั้นได้ทำ� ให้ เกิดค�ำถามทีส่ ำ� คัญมากขึน้ มาทันที เพราะ Works of the Mind ก็คอื งานเขียนที่มาจากความคิดของมนุษย์ แล้วพระคัมภีรไ์ บเบิลล่ะครับ เป็นงานเขียนที่มาจากความคิดของมนุษย์กระนั้นหรือ ? มันไม่ได้ เป็นงานเขียนของพระเจ้าหรอกหรือ ? งานเขียนของพระเจ้านี่คือ มาจากความคิดของพระเจ้าหรือ ? เพราะมุมมองอย่างหลังนี่ได้รับ การยอมรับโดยทั่วไปในโลกยุคก่อนๆมาแล้ว ซึ่งเราต้องค�ำนึงถึง วิธีการอ่านแบบทางเลือก (alternative approach) ในการอ่าน พระคั ม ภี ร ์ ไ บเบิ ล เพราะทางเลื อ กอั น นี้ เ ป็ น การชี้ ข าดในเรื่ อ ง หนทางที่เราจะอ่านพระคัมภีร์ไบเบิลนั่นเอง หากว่าพระคัมภีร์เป็น งานเขียนที่ถูกเขียนขึ้นจากความคิดของมนุษย์แล้วล่ะก็ มันก็ย่อม จะต้องถูกอ่านเหมือนหนังสือเล่มอื่นๆ คือเหมือนกับ งานเขียนของ โฮเมอร์ เพลโต หรือ เชคสเปียร์ ซึ่งก็คืออ่านด้วยความเคารพแต่ ก็ด้วยความตั้งใจที่จะโต้แย้งได้ ไม่เห็นด้วยได้ และวิพากษ์วิจารณ์ ผู้เขียนได้ แต่หากว่าพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นงานเขียนของพระเจ้า แล้ ว ล่ ะ ก็ มั น จะต้ อ งถู ก อ่ า นโดยแตกต่ า งไปจากการที่ เ ราอ่ า น งานเขี ย นทั่ ว ๆ ไปของมนุ ษ ย์ พระคั ม ภี ร ์ จ ะต้ อ งถู ก อ่ า นอย่ า ง นอบน้ อ มด้ ว ยศรั ท ธาปสาทะ และด้ ว ยการสดั บ ตรั บ ฟั ง อย่ า ง นอบน้อมนับถือ ถ้าเอาตามนี้ก็คงมีเพียงผู้ที่มีความเชื่อหรือเคร่ง

128

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ศาสนาเท่านั้นจึงจะเข้าใจพระคัมภีร์หรือแก่นของพระคัมภีร์ได้ ผู้ที่ไม่มีความเชื่อ ซึ่งมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ที่จ�ำเป็น หรือมีไหวพริบ ย่อมสามารถเข้าใจพระคัมภีร์ไบเบิลได้เหมือนๆ กับ บรรดาคนที่มีความเชื่อศรัทธานั่นเอง ข้อแตกต่างระหว่างวิธีการ อ่านทั้งสองแบบนั้น อาจสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้ครับว่า ในอดีต นัน้ พระคัมภีรไ์ บเบิลได้รบั การอ่านกันโดยทัว่ ไปในฐานะเอกสารแห่ง เทววิวรณ์ (Document of Revelation) ส่วนทุกนี้นั้นมันถูกอ่านใน ฐานะเอกสารงานเขียนอันยิ่งใหญ่ที่มนุษย์คิดขึ้นเอง เหมือนๆ กับ เอกสารงานเขียนอื่นๆ เทววิวรณ์คือเรื่องของปาฏิหาริย์ (Miracles) ดังนั้น นี่จึงหมายความว่า ก่อนที่เราจะเปิดอ่านพระคัมภีร์นั้นเรา ต้องคิดเสียก่อนว่า เราเชื่อว่ามันมีความเป็นไปได้ที่จะมีปาฏิหาริย์ อยู ่ ก็ ชั ด เจนว่ า เราอ่ า นเรื่ อ งราวของพุ ่ ม ไม้ ที่ ติ ด ไฟ 2 หรื อ การ

หมายเหตุผู้แปล: พุ่มไม้ติดไฟ คือ เรื่องราวในพระคัมภีร์ของชาวยิว ดังนี้ บัดนั้น โมเสสได้ต้อนฝูงแกะของปุโรหิตเยโธรชาวมีเดียนผู้เป็นพ่อตาของตนไปยังสุดขอบ ทะเลทราย และมาถึงภูเขาโฮเรบ อันเป็นภูเขาของพระเจ้า ทูตสวรรค์ของพระยาห์เวห์ผู้เป็น เจ้าได้ปรากฏกายต่อหน้าเขาเป็นไฟลุกโชนจากกลางบพุ่มไม้ เขามองไปและเห็นว่า แม้พุ่มไม้ นั้นจะมีไฟลุกติดอยู่ แต่กลับไม่มอดไหม้เลย โมเสสจึงกล่าวว่า “ข้าจะไปดูว่าสิ่งน่าอัศจรรย์นี้ คืออะไรและท�ำไมพุม่ ไม้จงึ ไม่มอดไหม้ไป” เมือ่ พระยาห์เวห์ทรงทอดพระเนตรเห็นโมเสสเดิน เข้ามามอง พระเจ้าได้ตรัสเรียกเขาจากกลางพุ่มไม้นั้นว่า “โมเสส! โมเสสเอ๋ย!” เขาตอบไปว่า “ข้าอยู่นี่” พระเจ้าตรัสว่า “จงอย่าเข้ามาใกล้! ถอดรองเท้าของเจ้าออกเสีย เพราะที่ๆเจ้ายืน อยู่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์” (Exodus 3:1-5) 2

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

129


ข้ามทะเลแดง3 ได้ดว้ ยวิธกี ารทีต่ า่ งกันโดยสิน้ เชิง โดยสอดคล้องไปกับ วิธีที่เราตัดสินเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของปาฏิหาริย์ ไม่ว่าเราจะมอง ว่ามันเป็นไปไม่ได้ หรือ เป็นไปได้ทจี่ ะมีปาฏิหาริยท์ งั้ หลาย หรืออะไร ก็ตามแต่ เราก็ไม่อาจรู้ได้ว่าปาฏิหาริย์ที่ว่านั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริง หรือไม่จริง มุมมองอันท้ายนี่เองที่แวบแรกก็ดูจะพอเหมาะพอเจาะ กับความไม่รู้ของเรา หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือมันดูใจกว้างที่สุดแล้ว ผมต้ อ งขออธิ บ ายเรื่ อ งนี้ อ ย่ า งย่ อ นะครั บ ค� ำ ถามในเรื่ อ งที่ ว ่ า ปาฏิหาริย์เป็นสิ่งที่เป็นไปได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับค�ำถามก่อนหน้าว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าในฐานะผู้ทรงมหิทธานุภาพนั้นด�ำรงอยู่จริงหรือ ไม่ ผู้คนร่วมสมัยของเราจ�ำนวนมากได้ตั้งสมมติฐานอย่างแฝงเร้น หรือกระทั่งอย่างชัดแจ้งว่า เรารู้ว่าพระเจ้าผู้ทรงมหิทธานุภาพนั้นไม่ ได้ดำ� รงอยูจ่ ริง ผมเชือ่ ว่าพวกเขาเหล่านัน้ คิดผิด เพราะเราจะไปรูไ้ ด้ อย่างไรล่ะครับว่าพระเจ้าผูท้ รงมหิทธานุภาพนัน้ ไม่ได้มอี ยูจ่ ริง ? ไม่ได้ รูจ้ ากประสบการณ์แน่ๆ เพราะประสบการณ์นนั้ ไม่สามารถแสดงให้ เห็นได้มากไปกว่าข้อสรุปจากโลกใบนี้ จากระเบียบทีป่ ระจักษ์ชดั และ จากท่วงท�ำนองที่ประจักษ์ชัดของมันว่า การด�ำรงอยู่ของพระเจ้าผู้ ทรงมหิทธานุภาพนัน้ ไม่สมเหตุสมผล ประสบการณ์สามารถแสดงให้ หมายเหตุผแู้ ปล: เหตุการณ์ขา้ มทะเลแดงซึง่ โมเสสได้นำ� พาชาวอิสราเอลหลบหนีจากฟาโรห์ แห่งอียิปต์ และใช้อ�ำนาจวิเศษจากพระเจ้าเพื่อแยกทะเลแดง ออกจากการกันเป็นสองฝั่งเพื่อ ให้ชาวอิสราเอลข้ามหนีไปได้ โปรดดู Exodus 14:1-29 3

130

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เราเห็นได้อย่างมากก็แค่ว่าข้อยืนยันโต้เถียงของศรัทธาในพระคัมภีร์ นั้นเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่คุณลักษณะที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ ของศรัทธาในพระคัมภีร์นั้นได้รับการยอมรับและยืนยันโดยตัวความ ศรัทธาเอง เพราะความศรัทธานัน้ ไม่อาจเป็นสิง่ ทีน่ า่ ยกย่องสรรเสริญ หากว่ามันไม่ได้เป็นศรัทธาทีส่ ามารถปะทะกับสิง่ ซึง่ ได้เปรียบกว่าและ หนักแน่นกว่า ก้าวต่อไปของการวิพากษ์วจิ ารณ์ศรัทธาในพระคัมภีร์ ไบเบิลนั้นจะถูกชี้น�ำโดยหลักการของความขัดแย้งกันเองล้วนๆ ยก ตัวอย่างเช่น ผูค้ นอาจพูดกันได้วา่ พระสัพพัญญุตญาณของพระเจ้า— ซึ่ ง ไม่ มี พ ระผู ้ ท รงมหิ ท ธานุ ภ าพที่ ไ หนจะไม่ ท รงความสั พ พั ญ ญู นะครับ—นั้นเป็นสิ่งที่เข้ากันไม่ได้กับเสรีภาพของมนุษย์ เพราะ มันขัดแย้งกันเอง แต่การวิพากษ์วิจารณ์ในท�ำนองนี้ทั้งหมดนั้นมี สมมติฐานล่วงหน้าเช่นกันว่า ย่อมจะเป็นไปได้ที่จะพูดถึงพระเจ้า โดยไม่สร้างข้อเสนอที่ขัดกันเอง ด้วยถ้าหากว่าพระเจ้าเป็นสิ่งซึ่งยาก เกินกว่าจะเข้าใจได้และยังคงเป็นสิ่งซึ่งไม่มีใครรู้ได้ ซึ่งก็บอกเป็นนัย ในแนวคิดเรื่องพระมหิทธานุภาพของพระเจ้าอยู่แล้วนะครับ ก็ย่อม เป็นไปไม่ได้ทจี่ ะพูดถึงพระเจ้าโดยไม่สร้างข้อเสนอทีข่ ดั กันเองในเรือ่ ง ของพระองค์ด้วย เพราะพระเจ้าที่เราสามารถเข้าใจได้หรือพระเจ้า ผูท้ เี่ ราสามารถทีจ่ ะพูดถึงได้โดยไม่มอี ะไรขัดกันเองนัน้ ก็คอื พระเจ้า

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

131


ของอริสโตเติล ไม่ใช่พระเจ้าของอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ4 ดังนั้น เราก็จะเหลือแค่ทางเดียวทีค่ วามเชือ่ เรือ่ งพระเจ้าผูท้ รงมหิทธานุภาพ นั้นสามารถถูกหักล้างลงได้ โดยการแสดงให้เห็นว่ามันไม่มีสิ่งลึกลับ อะไรทัง้ นัน้ เรามีองค์ความรูท้ กี่ ระจ่างชัดและโดดเด่นหรือความรูด้ า้ น วิทยาศาสตร์ เรามีความรู้ในหลักการของทุกสิ่ง เราสามารถให้เรื่อง ราวสาระที่เพียงพอและกระจ่างชัดในเรื่องสรรพสิ่งได้ และเราตอบ ค�ำถามพืน้ ฐาน ได้หมดทุกข้ออย่างน่าพอใจอย่างทีส่ ดุ แล้ว พูดอีกอย่าง ก็คอื บัดนีม้ สี ง่ิ ทีเ่ ราอาจเรียกได้วา่ เป็นระบบปรัชญาทีส่ มั บูรณ์และเป็น ระบบขั้นสุดท้าย (absolute and final philosophic system) กัน แล้ว และหากว่ากันตามระบบปรัชญานี้แล้ว (มันเคยมีระบบปรัชญา แบบนี้อยู่ครับ และคนที่เคยพูดเรื่องนี้ก็คือ เฮเกล) ล่ะก็ พระเจ้า ผู้ล้ีลับในกาลก่อน พระเจ้าผู้ซึ่งเราไม่อาจหยั่งรู้ได้ในกาลก่อนนั้น บัดนีไ้ ด้ถกู เปิดเผยอย่างหมดเปลือกเสียแล้ว เราสามารถรูจ้ กั พระองค์ ได้อย่างหมดเปลือกกันแล้ว ผมถือว่าการด�ำรงอยู่ของระบบปรัชญา แบบนี้อย่างน้อยที่สุดแล้วก็ไม่น่าจะเป็นไปได้พอๆ กับสัจธรรมของ พระคัมภีร์นั่นล่ะครับ แต่ก็ชัดเจนว่า ความไม่น่าจะเป็นไปได้ของ หมายเหตุผู้แปล: อับราฮัม อิสอัค และยาโคบ คือ บรรพบุรุษสามรุ่นแรกของชาวอิสราเอล ตามเนือ้ หาในพระคัมภีร์ พระเจ้าทรงเรียกตนเองด้วยว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าของอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ (The God of Abraham, Isaac and Jacob) พระเจ้าของอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ ก็คือ พระเจ้าของชาวยิว คริสต์ และมุสลิม ในความเข้าใจปัจจุบันนั่นเอง 4

132

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


สัจธรรมของพระคัมภีร์ก็คือ ข้อถกเถียงของพระคัมภีร์ไบเบิลนั่นเอง แต่ความไม่นา่ จะเป็นไปได้ของความจริงของระบบปรัชญาอันสมบูรณ์ แบบนั้นได้สร้างปัญหาหนักให้ตัวมันเอง ดังนั้นแล้ว ถ้าเป็นเรื่องจริง ที่ว่าเหตุผลของมนุษย์ไม่สามารถพิสูจน์การไม่ด�ำรงอยู่ของพระเจ้า ในฐานะผูท้ รงมหิทธานุภาพได้ ผมก็เชือ่ ว่ามันก็จริงด้วยเหมือนกันว่า เหตุผลของมนุษย์ก็ไม่สามารถก�ำหนดเรื่องการด�ำรงอยู่ของพระเจ้า ในฐานะผู้ทรงมหิทธานุภาพได้เช่นกัน จากจุดนี้ ความสามารถของ พวกเราซึง่ เป็นนักวิชาการหรือนักวิทยาศาสตร์กด็ ี เราก็ได้ถกู ลดทอน ลงให้อยูใ่ นภาวะกังขาต่อค�ำถามทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ซึง่ เราไม่มที างเลือก แต่ ต้องเข้าถึงพระคัมภีร์ไบเบิลไปทั้งที่กังขาอยู่แบบนี้ตราบเท่าที่เรายัง อ้างตัวว่าเป็นนักวิชาการหรือบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ จึงยังคงเป็น ไปได้เพียงแค่เข้าปะทะกับภูมิหลังของความรู้เท่านั้น แล้วทีนี้เรารู้อะไรอีกบ้าง ? ผมไม่สนใจข้อเท็จจริงนับไม่ถ้วน ที่เราก็รู้ๆ กัน เพราะความรู้ในข้อเท็จจริงล้วนๆ แล้วนั้นไม่ใช่ความรู้ และไม่ใช่ ความรู้ที่แท้จริง5 และผมยังไม่สนใจต่อความรู้ของเราใน กฎทางวิทยาศาสตร์อีกด้วยครับ เพราะว่ากฎเหล่านี้เป็นที่ยอมรับ กันว่ามันปรับแก้ใหม่ในอนาคตได้ เราอาจพูดได้ว่า สิ่งที่เรารู้จริงๆ หมายเหตุผู้แปล: ในจุดนี้ สเตร๊าส์น่าจะต้องการค่อนแคะกับวิธีการศึกษาไบเบิลแบบที่ นักคิดนักวิจารณ์ยุคสมัยใหม่กระท�ำผ่านการศึกษา ข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นปกติที่กระท�ำกันในวง วิชาการของยุคนั้นด้วย 5

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

133


นั้ น ย่ อ มไม่ ใ ช่ ค� ำ ตอบต่ อ ค� ำ ถามที่ ค รอบคลุ ม กว้ า งขวาง แต่ เ ป็ น ค�ำตอบต่อค�ำถามที่ก�ำหนดมาให้เราในฐานะมนุษย์ โดยเงื่อนไขของ เราที่เป็นมนุษย์นี่แหละ นี่จึงถือเป็นสมมติฐานได้ว่ามันมีเงื่อนไข ขั้นมูลฐานของมนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์ ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบ จากความเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือสิ่งที่เรียก กันว่าความเปลีย่ นแปลงทางประวัตศิ าสตร์นนั่ เอง นีแ่ หละคือเงือ่ นไข ขั้นมูลฐานของมนุษย์ในฐานะส่วนหนึ่ง (part) ของทั้งหมด (the whole) — หมายถึงในฐานะส่วนหนึ่งของทั้งหมดซึ่งเป็นเพียงเรื่อง เล็กน้อยต่อการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ อันเป็นเงื่อนไขของ ทุกๆ การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ที่สามารถเป็นไปได้นั่นเอง แต่เรารู้ได้อย่างไรกันล่ะครับว่ามันมีทั้งหมดที่ว่านี้อยู่ ? ถ้าเราจะรู้ เรื่องนี้ เราก็รู้มันได้เพียงจากการการเริ่มต้นรู้ผ่านสิ่งที่เราเรียกได้ว่า เป็นโลกปรากฏการณ์ (phenomenal world) เท่านั้นแหละ ซึ่งเป็น ทัง้ หมดทีถ่ กู ก�ำหนดมาให้ (the given whole) เป็นทัง้ หมดทีเ่ ราเองก็ ถูกก�ำหนดให้มาแล้วอย่างถาวร (permanently given) ซึง่ มันก็ถาวร ตราบเท่าทีย่ งั มีมนุษยชาติอยูน่ นั่ แหละครับ เป็นทัง้ หมดซึง่ ยึดรวมไว้ ด้วยกันและเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นฟ้าสวรรค์ และประกอบไปด้วยฟ้า สวรรค์และแผ่นดินโลก รวมทัง้ สรรพสิง่ ซึง่ อยูใ่ นฟ้าสวรรค์และบนแผ่น ดินโลก รวมทัง้ สิง่ ทีอ่ ยูร่ ะหว่างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลกเข้าด้วยกันไว้ ทุกๆ ความคิดของมนุษย์ กระทั่งเป็นความคิดที่เป็นเรื่องของมนุษย์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ด้วย ซึ่งถูกก�ำหนดมาให้เป็นที่เข้าใจได้โดยมนุษย์

134

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ได้เริ่มต้นด้วยทั้งหมดที่ว่านี้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตามทีเป็นทั้งหมด ที่เราได้รับมาอย่างถาวร ซึ่งเราทุกคนก็รู้จักกันดีและมนุษย์หน้าไหน ก็รู้อยู่เสมอ พระคัมภีร์ไบเบิลได้เริ่มต้นขึ้นด้วยการพูดถึงทั้งหมดที่ เราได้รับมาอย่างถาวรนี้แหละครับ นี่เป็นหนึ่งในการพูดถึงทั้งหมด ที่ถูกก�ำหนดมาให้เราอย่างถาวรท่ามกลางการพูดถึงเรื่องอื่นๆ อีก มากมาย มาดูกันซิว่าเราสามารถท�ำความเข้าใจการพูดถึงทั้งหมดที่ เราได้รับนี้ในพระคัมภีร์ได้ไหม พระคัมภีร์ไบเบิลได้เริ่มต้น ณ ปฐมกาลครับ พระคัมภีร์พูดบาง อย่างเรื่องจุดเริ่มต้นนี่แหละ ใครกันที่กล่าวว่า ในปฐมกาล พระเจ้า ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก ? ไม่มีบอกไว้ครับว่าใครเป็นคน พูดประโยคนี้ ดังนั้นเราก็เลยไม่อาจทราบได้ การนิ่งเงียบไม่พูดถึง ผู้ที่พูดถึงปฐมกาลนี้ในพระคัมภีร์ไบเบิลนั้นจะเป็นเพราะจริงๆ แล้ว มันไม่คอ่ ยต่างกันเท่าไหร่วา่ ใครเป็นคนพูดหรือเปล่าครับ? นีน่ า่ จะเป็น เหตุผลของนักปรัชญา แล้วมันเป็นเหตุผลทางพระคัมภีร์ (Biblical reason)ด้วยหรือเปล่า? มันไม่ได้บอกเราไว้ ดังนัน้ เราจึงไม่อาจทราบได้ เช่นกัน โดยมุมมองแบบจารีตนิยมแล้วเป็นอันว่าพระเจ้าทรงเป็น ผู้ตรัสเอง กระนั้นพระคัมภีร์ไบเบิลก็น�ำเรื่องด้วยค�ำตรัสของพระเจ้า ที่ว่า “แล้วพระเจ้าตรัสว่า” เพียงแต่ค�ำพูดนี้ไม่ได้พูดตั้งแต่ตอน เริ่มต้นปฐมกาล ดังนั้นเราจึงอาจเชื่อได้ว่าบทที่หนึ่ง ของหนังสือ ปฐมกาล นั้นถูกพูดถึงโดยบุรุษนิรนาม กระนั้นเขาก็ไม่ได้เป็นพยาน ผู้เห็นเหตุการณ์ในสิ่งที่เขาพูดแน่ๆ ไม่มีมนุษย์คนใดเป็นพยานเห็น

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

135


เหตุการณ์ในเรื่องการทรงสร้าง(The Creation) เพราะพยานผู้เห็น เหตุการณ์มีเพียงผู้เดียวซึ่งก็คือพระเจ้าเอง ดังนั้นเรื่องที่อ้างกันว่า พระเจ้าเป็นผู้พูดประโยคนั้นจึงต้องยังไม่จบใช่ไหมครับ? แต่เราไม่มี สิทธิที่จะยืนกรานในเรื่องนี้อย่างเด็ดขาดได้ พระคัมภีร์ไบเบิลไม่ใช่ สิ่งซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ง่ายนัก มันเป็นสิ่งซึ่งแปลกมาก แต่ความเหมือน ที่น�ำมาใช้ได้เหมือนกันในเนื้อหาของเรื่องราวนี้คือที่ว่า “ในปฐมกาล พระเจ้าทรงสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก แผ่นดินโลกยังไร้รูปทรง และว่างเปล่าอยู่ ความมืดปกคลุมอยู่เหนือห้วงลึก และพระวิญญาณ ของพระเจ้าทรงปกอยู่เหนือพื้นผิวของห้วงน�้ำ” ถ้าเราตีความตาม ตัวอักษร เราก็จะได้ว่า โลกเมื่อครั้งบรรพกาลนั้นไร้รูปทรงและว่าง เปล่า ยังไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมา การทรงสร้างจึงเป็นการก่อรูปก่อร่าง ขึ้นมา (formation) มากกว่าจะเป็นการสร้างจากความไม่มีอะไร เลย แล้วทีว่ า่ พระวิญญาณของพระเจ้าทรงปกอยูเ่ หนือผิวของห้วงน�ำ้ นัน้ มันหมายความว่าอย่างไรกัน? แล้วอะไรคือความหมายของ “ห้วง ลึก” ทีว่ า่ กันล่ะครับ บางทีนอี่ าจจะมาจากเศษตกค้างของต�ำนานของ พวกบาบิโลนก็ได้กระมัง ? มิหน�ำซ�้ำแล้ว หากว่า ในปฐมกาลพระเจ้า ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลกและสรรพสิง่ ในหกวันนัน้ บรรดา วันที่ว่ามานี่ก็ย่อมจะไม่ใช่วันในความเข้าใจทั่วๆ ไปได้ เพราะวันที่ เข้าใจกันทั่วไปนั้นถูกก�ำหนดโดยการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ แต่ ดวงอาทิตย์กลับถูกสร้างในวันที่สี่ของการทรงสร้าง ว่าโดยย่อก็คือ เรื่องราวอันยุ่งยากทั้งหมดนี้ซึ่งเราจะท�ำให้ยุ่งขึ้นอีกก็ได้นั้น ได้ก่อให้

136

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เกิดความรู้สึกนึกคิดที่คนทั่วไปในยุคนี้พากันเรียกว่าค�ำอธิบายเชิง เทพปกรณัม (mythical account) ขึ้นมา ซึ่งนี่หมายความว่าในข้อ เท็จจริงแล้ว ตามที่คนทั่วไปเข้าใจอยู่นั้น เราเองก็ได้ละเลยที่จะ พยายามเข้าใจเรื่องพวกนี้ไปด้วยเช่นกัน ผมเชื่อว่าเราต้องใช้วิธีการอ่านที่ต่างออกไป ซึ่งก็เคราะห์ดีที่ ไม่ใช่ว่าทุกอย่างในเรื่องราวนี้จะแปลกพิลึกไปเสียทั้งหมด บางเรื่อง ก็ถูกพูดถึงมาแล้วและเราก็รู้จักมันด้วย เราอาจเริ่มต้นด้วยส่วนที่ว่า จากบทแรกของหนังสือปฐมกาลที่เราสามารถท�ำความเข้าใจได้ครับ ค�ำในภาษาฮีบรูที่หมายถึงการทรงสร้างนั้นถูกน�ำมาใช้ในพระคัมภีร์ แต่กับพระเจ้าเท่านั้น กระนั้นค�ำว่า บารา (bara) ก็ถูกใช้โดยมีความ หมายตรงกันกับค�ำในภาษาฮีบรูว่า อาซาห์ (asah) ที่หมายถึงการท�ำ (doing) หรือ การสร้าง (making) ในทั้งกรณีแรกและในกรณีที่สอง ซึง่ เป็นกรณีพเิ ศษนัน้ ค�ำว่า การท�ำ (doing) หรือ การสร้าง (making) นัน้ ถูกใช้กบั อย่างอืน่ มากกว่าจะใช้กบั พระเจ้า ถ้าจะแปลแบบตรงตัว แล้วล่ะก็เช่นว่า ไม้ผลก็ยอ่ มสร้างผลไม้ (the fruit tree making the fruit) มาจุดนี้เรามีอีกกรณีหนึ่งของการทรงสร้างครับ ค�ำว่า บารา นัน้ ถูกน�ำมาใช้กบั พระเจ้าเท่านัน้ ซึง่ จะเพราะอะไรก็ไม่ได้อธิบายไว้ใน พระคัมภีรไ์ บเบิลเหมือนกัน แต่คำ� ทีค่ ล้ายกัน (ค�ำว่า อาซาห์) ทีแ่ ปลว่า การรังสรรค์ (creating) การสร้าง (making) นั้นถูกน�ำไปใช้กับการ สร้างสิ่งอื่นๆ ได้ แต่ไม่ใช้กับการสร้างมนุษย์ เช่น จะปลูกสร้างต้นไม้ (to trees) เป็นต้น ดังนั้นให้เรามาดูกันว่าค�ำว่า สร้าง (making) นั้น

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

137


หมายความว่าอย่างไรในกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบทแรกของหนังสือ ปฐมกาลด้วยกัน ประการแรก ต้นไม้ที่ให้ผลย่อมสร้างผลไม้ให้ (the fruit tree making fruit) นี่เป็นการการสร้าง (making) แบบไหน กัน ล่ะ ? ผลไม้นั้นย่อมก�ำเนิดมาโดย (by) ต้น ไม้ หรื อจะบอกว่า ใน (within) ต้นไม้แทบจะโดยสิ้นเชิง ประการที่สอง ตัวผลไม้เองนั้น ไม่ได้มีรูปร่างเหมือนกันกับต้นไม้ ประการที่สาม ผลไม้คือผลิตผล ที่สมบูรณ์และเสร็จสิ้นของต้นไม้แล้ว และประการสุดท้าย ผลไม้ สามารถแยกหลุดออกมาจากต้นไม้ได้ บางทีการทรงสร้าง (creation) อาจมีความเกี่ยวดองที่แน่นอนกับชนิดของการสร้าง (kind of making) โดยแยกจากชนิดของการสร้างดังต่อไปนี้เลย ชนิดแรกคือการ สร้างอะไรบางอย่าง โดยแทบไม่ได้ก�ำเนิดมาจากผู้สร้าง (maker) อย่างสิ้นเชิง เช่น สิ่งประดิษฐ์ (artifacts) ซึ่งต้องการส่วนประกอบ และอื่นๆนอกเหนือไปจากตัวผู้สร้างนั้น ชนิดที่สองคือการสร้างสิ่งที่ เหมือนกับตัวผู้สร้างเอง เช่นสัตว์แต่ละชนิดที่เกิดมาแต่ละรุ่น ชนิด ที่สามคือการสร้างสิ่งซึ่งยังไม่เสร็จสมบูรณ์แต่ยังต้องการการสร้าง (making) หรือท�ำ (doing) เสริมเพิ่มเติมอีก เช่น ไข่ (eggs) และ การสร้างชนิดสุดท้าย คือการสร้างสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากตัว ผู้สร้างเองได้ เช่น การกระท�ำต่างๆ ของมนุษย์ (human deeds) ซึ่งไม่สามารถแยกออกไปจากตัวมนุษย์ผู้กระท�ำสิ่งเหล่านั้นได้ (ค�ำ ว่า deeds และ making นั้นใช้ภาษาฮีบรูค�ำเดียวกัน) ให้เราจ�ำสิ่ง หนึง่ ไว้ครับว่า การทรงสร้าง (creation) นัน้ ดูเหมือนจะเป็นการสร้าง

138

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


สิ่งที่แยกออกไปได้ (separable things) เหมือนอย่างที่ผลไม้แยก หลุดไปจากต้นไม้ทสี่ ร้างมันขึน้ มาได้นนั่ เอง การทรงสร้างยังดูเหมือน จะเกี่ยวข้องกับการแยกออกไป (separation) ด้วย บทที่หนึ่งใน พระคัมภีร์ไบเบิลกล่าวถึงการแยกออกไปอยู่บ่อยครั้ง—ผมหมายถึง ค�ำว่าแยกนัน่ แหละครับ มีอยูห่ า้ ครัง้ ทีค่ ำ� นีถ้ กู พูดถึงอย่างชัดเจน และ มีอยู่สิบครั้งที่มีการพูดถึงค�ำอย่าง “ตามอย่างชนิดของมัน” (after its kind) ซึ่งแน่นอนว่าหมายถึง การแบ่งแยก (distinction) หรือ การแยกออก (separation) ของชนิดหนึ่งออกจากชนิดอื่นๆ การ ทรงสร้างจึงหมายถึงการสร้างสิ่งต่างๆที่ถูกแยกไปแล้ว (separated things) การสร้างสายพันธุ์ต่างๆ (species) ของพวกพืช สัตว์ และ อื่นๆ การทรงสร้างยังหมายความถึงแม้กระทั่ง การสร้างสิ่งซึ่งก�ำลัง แยกตัวอยู่ (separating things) เช่น ฟ้าสวรรค์ได้แยกผืนน�ำ้ ออกจาก ผืนน�้ำด้วยกัน ชั้นฟ้าต่างๆ (the heavenly bodies) ได้แยกกลางวัน (day) ออกจากกลางคืน (night) เป็นต้นครับ ที นี้ ใ ห้ เ รามาพิ จ ารณาความยุ ่ ง ยากที่ เ ห็ น ได้ ชั ด ที่ สุ ด กั น กล่าวคือความยุ่งยากนี้ได้ถูกสร้างขึ้นจากข้อเท็จจริงซึ่งพระคัมภีร์ ได้ พู ด ถึ ง วั น เวลาช่ ว งก่ อ นที่ จ ะเกิ ด การทรงสร้ า งดวงอาทิ ต ย์ ขึ้ น มาดวงอาทิ ต ย์ ถู ก สร้ า งเฉพาะในวั น ที่ ส่ี แ ห่ ง การทรงสร้ า ง เท่ า นั้ น เราไม่ มี ป ั ญ หาที่ จ ะยอมรั บ ว่ า ดวงอาทิ ต ย์ นั้ น ถู ก สร้ า ง มาที ห ลั ง นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ธ รรมชาติ ทุ ก ท่ า นอาจจะพู ด เช่ น นี้ ไ ด้ ใ นทุ ก วั น นี้ น ะ แต่ พ ระคั ม ภี ร ์ ไ บเบิ ล กลั บ บอกเราไว้ ว ่ า

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

139


ดวงอาทิ ต ย์ ถู ก สร้ า งหลั ง จากพวกพื ช และเหล่ า ต้ น ไม้ เ สี ย อี ก ซึ่ ง เป็นโลกของบรรดาพฤกษชาติโลกของบรรดาพฤกษชาตินั้นได้รับ การทรงสร้างขึ้นมาในวันที่สาม ส่วนดวงอาทิตย์นั้นได้รับการทรง สร้างขึน้ มาในวันทีส่ ี่ นัน่ คือปัญหาทีย่ งุ่ ยากมากทีส่ ดุ ในเรือ่ งราวทีเ่ รา ได้รับมาจากบทที่หนึ่งของพระคัมภีร์ เราจะเข้าใจได้อย่างไรว่าโลก พฤกษชาติควรจะมาก่อนด้วยอาทิตย์ หรือกล่าวอีกนัยหนึง่ ก็คอื เราจะ เข้าใจโลกของเหล่าพฤกษชาติ ดวงอาทิตย์ และสิง่ อืน่ ๆ นัน้ กันอย่างไร ถึงจะให้ฟังดูมีเหตุผลให้พูดได้ว่าโลกของบรรดาพฤกษชาตินั้นมามี มาก่อนดวงอาทิตย์? การทรงสร้างโลกของบรรดาพฤกษชาติที่อุบัติ ขึ้นในวันที่สามนั้น เป็นวันเดียวกันนี่เองที่ผืนแผ่นดินโลกและท้อง ทะเลได้รับการทรงสร้างขึ้นมาเป็นครั้งแรกเช่นกัน โลกของบรรดา พฤกษชาตินนั้ ได้รบั การกล่าวถึงอย่างชัดแจ้งว่าถูกน�ำออกมาจากแผ่น ดินโลก (earth) โลกของพวกพืชผักนัน้ เป็นของผืนแผ่นดินโลก ดังนัน้ พระคัมภีรจ์ งึ ไม่ได้กล่าวถึงการสร้างอันศักดิส์ ทิ ธิ์ (Divine Making) ใน การทรงสร้างโลกของบรรดาพฤกษชาติแต่อย่างใดเลย แผ่นดินโลก นัน้ ถูกตรัสถึงโดยพระเจ้าเพือ่ น�ำเหล่าพฤกษชาติออกมา แล้วแผ่นดิน โลกก็ผลิตพืชต่างๆ ออกมา แต่กระนั้นพระเจ้าได้ทรงสร้างโลกของ ฟากฟ้าสวรรค์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาราด้วย และเหนือ อืน่ ใดคือพระเจ้าทรงบัญชาให้แผ่นดินโลกสร้างสรรพสัตว์ทงั้ ปวงออก มาจากมันอีกด้วย และพระเจ้าก็ได้ทรงสร้างสรรพสัตว์เหล่านั้นขึ้น โดยที่แผ่นดินโลกนั้นไม่สามารถสร้างเหล่าสัตว์ได้เอง เพราะแผ่นดิน

140

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


โลกก็คอื โลกของเหล่าพฤกษชาตินนั่ เอง เราอาจพูดได้วา่ มันคือเปลือก ของแผ่นดินโลก จะพูดว่าเป็นผิวของโลกก็ได้ ถ้าหากโลกสามารถ สร้างผิวพรรณได้เองล่ะก็ ผิวที่ว่านี้ไม่ได้แยกตัวออกจากแผ่นดินโลก โลกของเหล่าพฤกษชาติได้รับการทรงสร้างขึ้นในวันเดียวกันกับที่ แผ่นดินโลกและท้องทะเลได้รบั การทรงสร้างเช่นกัน วันทีส่ ามจึงเป็น วันแห่งการทรงสร้างถึงสองเท่า (double creation) ในบรรดากรณีทงั้ หกวันแห่งการทรงสร้างนี้ มีสงิ่ หนึง่ หรือชุดของสิง่ (a set of things) ถูกสร้างขึ้นมา มีเฉพาะในวันที่สามและวันที่หกเท่านั้นที่มีการทรง สร้างถึงสองเท่า โดยในวันที่หกนัน้ สัตว์ที่อาศัยบนผืนดินและมนุษย์ ถูกสร้างขึ้นมา จึงดูเหมือนตอนนี้มีการเปรียบความคล้ายคลึงกัน (parallelism) ในเรื่องราวจากพระคัมภีร์ว่า มันมีล�ำดับการทรง สร้าง (series of creation) อยู่สองชุด แต่ละชุดมีสามวัน ชุดแรก เริม่ ต้นด้วยการสร้างแสงสว่าง และชุดทีส่ องเริม่ ต้นด้วยการสร้างดวง อาทิตย์ และทั้งสองชุดก็จบลงด้วยการสร้างถึงสองเท่า ล�ำดับชุดแรก จบด้วยการสร้างโลกของพวกพืชผัก ส่วนล�ำดับชุดหลังจบด้วยการ ทรงสร้างมนุษย์ โลกของเหล่าพฤกษชาติถูกอธิบายลักษณะโดยข้อ เท็จจริงไว้ว่ามันไม่ได้แยกออกมาจากผืนแผ่นดินโลกเลย ความแตก ต่างกันระหว่างการไม่สามารถแยกออกมาได้ (the non-separable) และการสามารถแยกออกมาได้ (the separable) จะสามารถเป็น หลักการขั้นมูลฐานของการแยก (division) ได้หรือไม่ ? นี่ยังไม่พอ นะครับ เพราะพืชแต่ละชนิดนั้นแบ่งแยกออกมาจากกันได้ แม้ว่ามัน

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

141


จะไม่ถูกแยกออกมาจากผืนแผ่นดินโลกก็ตาม การทรงสร้างทั้งหมด จึงเป็นการแยกออกจากกันชนิดหนึ่ง (kind of separation) นั่นเอง การทรงสร้างก็คือการสร้างสรรพสิ่งที่ถูกแยกออกจากกัน เป็นการ สร้างสิ่งต่างๆ (things) หรือแต่ละกลุ่มของสิ่งต่างๆ (groups of things) ที่ถูกแยกออกมาจากกันและกัน (separated) ถูกแบ่งแยก จากกันและกัน (distinguished) เพราะสามารถแยกออกจากกันได้ (distinguishable) และเป็นสิง่ ซึง่ มองเห็นกันได้ (discernible) แต่สงิ่ ทีท่ ำ� ให้การแบ่งแยกและการมองเห็นนีเ้ ป็นไปได้กค็ อื แสงสว่าง ดังนัน้ สิ่ ง แรกที่ ไ ด้ รั บ การทรงสร้ า งขึ้ น มาเป็ น อย่ า งแรกก็ คื อ แสงสว่ า ง นี่เอง แสงสว่างคือจุดเริ่มต้น และเป็นหลักการของการแบ่งแยกหรือ การแยกออกจากกัน แสงสว่างจึงเป็นงานในวันแรกของพระเจ้า พวก เรารู้จักแสงสว่างได้ขั้นแรกก็จากแสงของดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ คือแหล่งที่มาที่ส�ำคัญที่สุดของแสงสว่างส�ำหรับเรา แต่ดวงอาทิตย์ เป็นงานของพระเจ้าในวันที่สี่ มันมีความเกี่ยวดอง (kinship) อย่าง ใกล้ชิดระหว่างแสงสว่างและดวงอาทิตย์ เป็นความเกี่ยวดองซึ่งถูก อธิบายผ่านข้อเท็จจริงที่ว่า แสงสว่างคือจุดเริ่มต้นของครึ่งแรกของ การทรงสร้าง และดวงอาทิตย์คือจุดเริ่มต้นของครึ่งหลังของการทรง สร้างนั่นเองครับ ถ้าเป็นเช่นนี้ เราก็ถกู เค้นให้ตงั้ ค�ำถามนีข้ นึ้ มาว่า ครึง่ หลังของการ ทรงสร้างนั้นสามารถมีหลักการของมันเองโดยเป็นหลักการที่แตก ต่างจากแสงสว่าง (light) หรือ การแยกออกจากกัน (separation)

142

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


หรือ การแบ่งแยก (distinction) ได้หรือไม่? เราต้องเข้าใจค�ำถามนี้ ให้ถกู ต้องนะครับ การแยกสิง่ ต่างๆ ออกจากกันหรือการแบ่งแยกนัน้ ถูกสงวนไว้ในการทรงสร้างครึ่งหลังอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่น มนุษย์นั้นถูกแบ่งแยกจากสัตว์เดรัจฉาน ดังนั้นหลักการที่แตกต่าง จากแสงสว่าง การแยกออก หรือการแบ่งแยกนั้น จะต้องเป็นสิ่งหนึ่ง ที่ขึ้นอยู่กับหรือมีมาก่อนการแยกออกกับการแบ่งแยก แต่ไม่อาจ ลดทอนตัวเองจากการแยกออกหรือการแบ่งแยกนีไ้ ด้แต่อย่างใด ดวง อาทิตย์นั้นมีมาก่อนแสงสว่าง แต่ตัวดวงอาทิตย์เองไม่ใช่แสงสว่าง นะครับ ตอนนี้ให้เรามองไปที่การทรงสร้างในวันที่สี่ถึงวันที่หกกัน โดยในวันที่สี่นั้นได้ทรงสร้างดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และดวงดารา ส่วนวันที่ห้านั้นได้ทรงสร้างบรรดาสัตว์น�้ำและเหล่าสกุณา และใน วันที่หกได้ทรงสร้างสัตว์บนผืนดินและมนุษย์ ทีน้ีอะไรคือสิ่งที่มี ร่วมกันของบรรดาการทรงสร้างแต่ละอย่างในครึ่งหลังล่ะครับ ? ผม ขอพูดว่ามันก็คือการเคลื่อนที่ในบริเวณ (local motion) นั่นเอง6 ฉะนั้นผมจะแนะน�ำอย่างง่ายๆ นะครับว่า หลักการของการทรง สร้างในครึ่งแรกก็คือการแยกออกหรือการแบ่งแยก ส่วนหลักการ ของการทรงสร้างในครึ่งหลัง คือวันที่สี่ถึงวันที่หกนั้น เป็นเรื่องของ การเคลื่อนที่ในบริเวณ ด้วยเหตุผลอันส�ำคัญมากๆ นี้เองที่โลกของ

6

vice versa

ศัพท์ของอริสโตเติล

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

143


บรรดาพฤกษชาติจึงมีมาก่อนดวงอาทิตย์ นั่นเพราะโลกของพวกพืช ผักนัน้ ไม่อาจเคลือ่ นทีใ่ นบริเวณได้นนั่ เอง ดวงอาทิตย์เป็นดวงอาทิตย์ ได้กเ็ พราะมีการขึน้ และการตก มีการโคจรเข้ามาและโคจรออกไป มี การเคลือ่ นทีใ่ นบริเวณของมัน ความยุง่ ยากทีผ่ มเริม่ เอาไว้คงถูกแก้ไข แล้วหรือเกือบจะแก้ได้เมื่อเราตระหนักได้ว่า มีเรื่องราวของการทรง สร้างซึ่งประกอบไปด้วยสองส่วนใหญ่ๆ ที่คล้ายคลึงกัน ส่วนแรกนั้น เริ่มต้นด้วยแสงสว่าง และส่วนที่สองเริ่มต้นด้วยดวงอาทิตย์ เสมือน ว่ามีความคล้ายคลึงเช่นกันนีใ้ นตอนท้ายของทัง้ สองส่วนด้วย เพราะมี เฉพาะในวันทีส่ ามและวันทีห่ กเท่านัน้ ทีม่ กี ารกระท�ำเช่นนีใ้ นการทรง สร้าง ถ้าจะให้กล่าวซ�้ำคือ ในวันที่สามนั้น มีการทรงสร้างแผ่นดิน โลก ทะเล และเหล่าพฤกษชาติ ส่วนในวันที่หกนั้นทรงสร้างสัตว์บน ผืนดินและมนุษย์ ผมพูดไปแล้วว่าหลักการของครึง่ แรกของการทรง สร้างก็คือการแยกออกหรือการแบ่งแยก ส่วนหลักการของครึ่งหลัง ของการทรงสร้างก็คอื การเคลือ่ นทีใ่ นบริเวณ แต่ดว้ ยวิธเี ช่นนัน้ เองที่ การแยกออกหรือการแบ่งแยกนัน้ ถูกสงวนไว้ในแนวคิดทีเ่ ป็นมูลแห่ง การทรงสร้างในครึง่ หลัง ซึง่ ก็คอื การเคลือ่ นทีใ่ นบริเวณ พูดอีกอย่างก็ คือ การเคลือ่ นทีใ่ นบริเวณนัน้ จะต้องเป็นทีเ่ ข้าใจในฐานะของรูปแบบ ที่สูงส่งกว่าของการแยกออก (higher form of separation) การเค ลื่อนที่ในบริเวณก็คือการแยกออกของระเบียบที่สูงส่งกว่า (higher order) เพราะการเคลื่อนที่ในบริเวณนั้นไม่ได้หมายถึงการที่สิ่งๆ หนึ่งจะถูกแยกออกจากสิ่งอื่นๆ อย่างที่ต้นโอ๊คถูกแยกหรือแตกต่าง

144

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ออกจากต้นแอปเปิ้ลนะครับ การเคลื่อนที่ในบริเวณจึงเป็นการแยก ออกของระเบียบที่สูงส่งกว่า เพราะมันไม่ได้หมายอย่างถึงการที่ สิ่งๆ หนึ่งถูกแยกออกจากสิ่งอื่นๆ แต่หมายถึงสิ่งๆ หนึ่งจะสามารถ แยกตัวมันเองออกจากสถานที่ๆ มันอยู่ หรือสามารถจะออกมาจาก ภูมิหลัง (set off against a background) ที่ปรากฏขึ้นเป็นภูมิหลัง จากความสามารถ (virtue) ในการเคลื่อนที่ของสิ่งนั้นๆ ได้ การทรง สร้างชั้นฟ้าสวรรค์ (heavenly bodies) ในวันที่สี่นั้นตามมาอย่าง ฉับพลันด้วยการทรงสร้างบรรดาสัตว์น�้ำและเหล่าสกุณา สรรพสัตว์ เหล่านีค้ อื สิง่ ทีพ่ ระเจ้าทรงสร้างขึน้ โดยได้รบั การอวยพรจากพระองค์ เป็นพวกแรก และพระองค์ทรงอวยพรพวกมันโดยทรงตรัสกับพวก มันว่า “จงมีลูกดกและทวีมากขึ้น” พวกมันจึงเป็นสิ่งทรงสร้างพวก แรกที่พระเจ้าตรัสด้วย โดยเป็นสิ่งที่ถูกพูดด้วยในฐานะบุรุษที่สอง —แต่ผืนแผ่นดินโลก (earth) นั้นไม่เหมือนกัน เพราะทรงตรัสว่า “แผ่นดินโลกจงปรากฏออกมา” แม้ว่าแผ่นดินและแผ่นน�้ำนั้นต่าง ก็ได้รับการตรัสถึงด้วย แต่พวกมันก็ไม่ได้ถูกพูดด้วยในฐานะบุรุษที่ สอง บรรดาสัตว์น�้ำและเหล่าสกุณานั้นได้ขึ้นอยู่กับประเภท (class) หรือสายพันธุ์ (genus) ของสิ่งมีชีวิตแต่ละสิ่ง (อันนี้ผมได้พยายาม แปลจากศัพท์ฮีบรูนะครับ) มันหมายความว่าอย่างไรกันที่ว่าในวันที่ สี่นั้นเรามีสิ่งซึ่งสามารถที่จะเคลื่อนที่ได้ในบริเวณเป็นครั้งแรก ซึ่งก็ คือ ชั้นต่างๆ ของฟากฟ้าสวรรค์ และในวันที่ห้าเราก็มีบรรดาสัตว์ ? เพราะการมีชีวิตจึงท�ำให้เคลื่อนที่ในบริเวณได้ ชีวิตจึงจะต้องถูก

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

145


ท�ำความเข้าใจในฐานะรูปแบบของการแยกออกด้วยเช่นกัน ในขั้น แรกนั้น ชีวิตถูกอธิบายลักษณะว่าเป็นความสามารถในการถูกตรัส ด้วยได้ มีความสามารถในการได้ยินได้ฟัง และมีประสาทสัมผัสได้ นี่เป็นสิ่งที่ส�ำคัญมากที่สุดที่พระคัมภีร์ไบเบิลเลือกเฟ้นเอาเฉพาะ “การได้ยิน” เท่านั้นที่เป็นลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่ความ สามารถในการเห็นหรือสัมผัส แต่เพราะเป้าหมายของเราในตอนนี้ นั้น มันจึงส�ำคัญกว่าในการสังเกตว่าชีวิตของสัตว์นั้นปรากฏขึ้นใน บริบทของทั้งบทในพระคัมภีร์ว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงระดับที่ยัง คงสูงส่งกว่าในการแยกออกมา (higher degree of separation) ยิ่ง กว่าที่ปรากฏในชั้นฟ้าสวรรค์เสียอีก พวกสัตว์สามารถเปลี่ยนแปลง ได้ไม่เฉพาะเปลีย่ นทีอ่ ยูเ่ ท่านัน้ แต่ยงั สามารถเปลีย่ นวิถที างของพวก มันได้อีกด้วย ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์และเหล่าดวงดารานั้น ไม่ สามารถเปลีย่ นแปลงวิถที างโคจรได้ เว้นเสียแต่จะมีปาฏิหาริยเ์ กิดขึน้ แต่มันก็เหมือนกับเวลาที่ท่านเห็นสุนัขกันนั่นแหละครับ ยกตัวอย่าง เช่น เวลาที่สุนัขวิ่งออกไปนั้น มันสามารถเปลี่ยนวิถีทางการวิ่งของ มันได้ แม้ว่าจริงๆ แล้วนั้น มันไม่มีแม้แต่วิถีทางที่ว่าด้วยซ�้ำ พวกสัตว์ ไม่ได้ถกู จ�ำกัดในการเปลีย่ นทีอ่ ยูข่ องพวกมันครับ จากจุดนี้ ต่อมาก็คอื มนุษย์นนั่ เอง มนุษย์ซงึ่ เป็นสิง่ มีชวี ติ ทีไ่ ด้รบั การทรงสร้างมาเป็นอย่าง สุดท้าย ถูกก�ำหนดลักษณะโดยข้อเท็จจริงที่ว่าเขาคือสิ่งทรงสร้างที่ ถูกแยกออกมาจากระดับทีส่ งู ทีส่ ดุ เพราะมนุษย์คอื สิง่ ทรงสร้างชนิด เดียวที่ถูกสร้างตามพระฉายาของพระเจ้า ถ้าเราลองพิจารณาดูการ

146

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เปรียบเทียบความคล้ายคลึงกันของมนุษย์และพืชแล้ว จะเห็นว่าพืช คือสิ่งทรงสร้างชนิดเดียวที่ถูกอ้างถึงโดยใช้ค�ำว่า “สร้าง” (making) อย่างชัดเจน เราอาจพอนึกออกด้วยว่ามนุษย์นั้นมีความสามารถที่ จะกระท�ำ (doing) สร้างการกระท�ำ (making deeds)ในระดับที่สูง ที่สุดในบรรดาสิ่งทรงสร้างทั้งหมดได้ ดังนั้น ดูเหมือนว่าล�ำดับของการทรงสร้างในบทแรกของพระ คัมภีร์ไบเบิลสามารถถูกกล่าวไว้ดังต่อไปนี้ได้ว่า จากหลักการของ การแยกออกจากกัน คือ แสงสว่าง ผ่านสิ่งที่เป็นตัวแบ่งแยก เช่น ฟ้าสวรรค์ ไปสูส่ งิ่ ทีถ่ กู แบ่งแยกเช่น แผ่นดินโลกและท้องทะเล และถึง สรรพสิ่งที่สามารถให้ผลผลิตที่สามารถถูกแยกออกไปได้ ยกตัวอย่าง เช่น ต้นไม้ จากนั้นก็ถึงสิ่งที่สามารถแยกตัวมันเองออกจากพื้นที่ของ มัน เช่น ชั้นต่างๆ ของฟ้าสวรรค์ ต่อด้วยสิ่งที่สามารถแยกตัวมันเอง ออกจากวิถที างของมันได้ เช่น เหล่าสัตว์เดรัจฉาน และสุดท้ายคือ สิง่ มีชวี ติ ทีส่ ามารถแยกตัวเองออกจากครรลองทีถ่ กู ต้องของตนได้ ผมขอ พูดซ�ำ้ นะครับว่า เงือ่ นง�ำของบทแรกนีด้ เู หมือนจะเป็นข้อเท็จจริงตรง ที่ว่าเรื่องราวของการทรงสร้างนั้นประกอบไปด้วยสองส่วนใหญ่ๆ นี่ จึงบอกเป็นนัยว่าโลกที่ถูกสร้างมานี้นั้นถูกเข้าใจโดยถูกวางลักษณะ ไว้แบบทวินิยมมูลฐาน (fundamental dualism) ว่า สรรพสิ่ง ที่แตกต่างจากกันและกัน โดยไม่มีความสามารถของการเคลื่อนไหว ในบริเวณ กับสรรพสิ่งที่แตกต่างจากกันโดยที่มีความสามารถใน การเคลื่อนไหวในบริเวณได้นี่แหละ นี่จึงหมายความว่าบทแรกของ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

147


พระคัมภีร์นั้นดูเหมือนจะวางอยู่บนสมมติฐานว่า ทวินิยมมูลฐานคือ ความแตกต่าง (distinctness) ความเป็นอื่น (otherness) และการ เคลื่อนไหวในบริเวณ (local motion) เหมือนอย่างที่เพลโต (Plato) อาจกล่าวไว้นั่นแหละครับ เพื่อจะเข้าใจลักษณะของทวินิยม ความ เป็นอื่น และการเคลื่อนไหวในบริเวณที่ว่ามานี้นั้น ให้เราเผชิญหน้า กับมันด้วยทวินิยมมูลฐานอีกแบบหนึ่งซึ่งอ้างอิงไว้ในบทแรกของ พระคั ม ภี ร ์ กั น ครั บ ผมขอยกข้ อ ที่ ยี่ สิ บ หกในพระคั ม ภี ร ์ ม าดั ง นี้ ว่ า “ดั ง นั้ น พระเจ้ า ได้ ท รงสร้ า งมนุ ษ ย์ ต ามแบบพระฉายาของ พระองค์ พระองค์ได้ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นตามแบบพระฉายาของ พระเจ้ า พระองค์ ไ ด้ ท รงสร้ า งพวกเขาให้ เ ป็ น ชายและหญิ ง ” ช่ า งเป็ น ประโยคที่ ย ากเหลื อ เกิ น นะครั บ แนวคิ ด ทวิ นิ ย มว่ า ด้ ว ยเรื่ อ งเพศชายและเพศหญิ ง สามารถถู ก ใช้ เ พื่ อ การอธิ บ าย ขั้ น มู ล ฐานเรื่ อ งโลกได้ เ ป็ น อย่ า งดี และมั น เคยถู ก ใช้ แ บบนี้ ใ น วิ ช าจั ก รวาลศึ ก ษา (cosmogonies) ด้ ว ย—นั่ น ก็ คื อ เพศ ชายและเพศหญิ ง ของค� ำ นามต่ า งๆ ดู เ หมื อ นจะสอดคล้ อ งกั บ เพศสภาพชายและหญิงของสิ่งต่างๆ และนี่อาจจะน�ำไปสู่สมมติฐาน เรื่องสองหลักการที่ว่ามีเพศชายและหญิง หรือมีเทพเจ้าและเทพี นัน่ เอง พระคัมภีรไ์ บเบิลได้ปฏิเสธความเป็นไปได้นจี้ ากการให้เหตุผล เรือ่ งทวิลกั ษณะของเพศชายและเพศหญิง คือจะเปรียบอย่างนัน้ ก็ได้ นะครับ ถึงพระเจ้าผ่านการจัดวางรากของทวิลักษณะของมนุษย์ไว้ อยู่ภายในองค์พระผู้เป็นเจ้าเอง ซึ่งจะพูดอย่างนั้นก็ได้นะครับ ดังนั้น

148

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


พระเจ้าจึงทรงสร้างมนุษย์ตามอย่างพระฉายาของพระองค์ และสร้าง ให้เป็นชายและหญิง และพระคัมภีรไ์ ด้กล่าวถึงการแบ่งแยกเพศชาย และเพศหญิงเช่นนีใ้ นกรณีของมนุษย์เท่านัน้ ดังนัน้ จึงพูดอย่างนีก้ ไ็ ด้ ว่า เพศชายและหญิงไม่ใช่ลกั ษณะแบบสากลทีต่ อ้ งใช้กบั ทุกสิง่ มันมี ตัง้ หลายอย่างทีไ่ ม่ได้เป็นทัง้ เพศชายหรือหญิง หากแต่สงิ่ ต่างๆ นัน้ เป็น อย่างทีม่ นั เป็นก็จากการถูกแบ่งแยกจากกันต่างหาก และแต่ละสิง่ ก็มี ทั้งที่ถูกก�ำหนดให้อยู่ในพื้นที่แบบตายตัว และแบบที่มีความสามารถ ทีจ่ ะเคลือ่ นไหวในบริเวณได้ เพราะฉะนัน้ แนวคิดทวินยิ มขัน้ มูลฐาน ที่ว่าด้วยเรื่องเพศชายและเพศหญิง จึงถูกแทนที่ด้วยแนวคิดทวิ นิยมขั้นมูลฐานที่ว่าด้วย ความแตกต่าง (distinctness) ความเป็น อื่น (otherness) และการเคลื่อนไหวในบริเวณ (local motion) นั่นเอง จะพูดอย่างนี้ก็ได้ว่า พวกแนวคิดทวินิยม,ความแตกต่างการเคลื่อนไหวในบริเวณแบบหลังนี้ไม่ได้ให้เราหยิบยืมตัวมันไปเป็น สมมติฐานเรื่องเทพเจ้าสององค์ หรือเป็นเทพเจ้าที่แบ่งแยกได้ หรือ เป็นเทพเจ้าที่เคลื่อนไหวได้ นอกจากนี้แนวคิดอย่างหลังยังได้กีดกัน ความเป็นไปได้ในการคิดเรื่องการก�ำเนิดของโลกใบนี้ว่าเป็นการ กระท�ำของโลกทีถ่ กู ให้กำ� เนิดมา โดยมีบดิ ามารดาของโลกเป็นเทพเจ้า สององค์ รวมทั้งมันได้ปฏิเสธความเป็นไปได้ของความเป็นไปได้ใน การคิดเรื่องการก�ำเนิดของโลกใบนี้ โดยที่มีโลกเองเป็นลูกหลาน ของเทพเจ้าชายและเทพเจ้าหญิง แนวคิดทวินยิ มทีถ่ กู เลือกจากพระ คัมภีร์จึงเป็นแนวคิดทวินิยมที่ถูกแยกออกมาจากทวินิยมแบบเพศ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

149


ชายและหญิง มันไม่ได้เป็นเรื่องทางโลกีย์ (sensual) หากแต่เป็น เรื่องทางพุทธิปัญญา (intellectual) เหตุผล (noetic) ต่างหากล่ะ ครับ และนี่อาจช่วยอธิบายความย้อนแย้งที่ว่าท�ำไมเหล่าพฤกษชาติ ถึงก�ำเนิดก่อนดวงอาทิตย์ก็เป็นได้ อีกจุดหนึ่งที่ผมเคยพูดไว้ ซึ่งผม จะต้องน�ำมาใช้ก็คือ สิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างซึ่งถูกกล่าวถึงในพระคัมภีร์ ไบเบิลนั้นไม่ใช่สิ่งมีชีวิตเชิงปกรณัม (non-mythical beings) ใน เหตุผลแบบหยาบๆ แต่อย่างใดเลย ผมหมายความว่าพวกมันเป็น สิ่งมีชีวิตที่พวกเราก็รู้ได้จากประสาทสัมผัสทั่วๆ ไปในชีวิตประจ�ำ วันนี่เอง เมื่อมาถึงจุดนี้ เราจึงย้อนพิจารณาถึงระเบียบของการทรง สร้างได้ว่า สิ่งแรกที่ได้รับการทรงสร้างก็คือแสงสว่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ ไม่มีที่อยู่ แต่สรรพสิ่งที่ถูกสร้างตามมาภายหลังล้วนแต่มีที่อยู่ทั้งสิ้น สิ่งซึ่งมีที่อยู่นั้นไม่ได้ทั้งประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ที่ต่างกัน เช่น ฟ้า สวรรค์,แผ่นดินโลก,ท้องทะเล หรือทั้งประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ ที่ ต่างกันด้วย กล่าวก็คือ ส่วนของสายพันธุ์ต่างๆ (species) หรือส่วน ที่เป็นปัจเจกต่างๆ (individuals) เช่นกัน หรือเราอาจชอบพูดแบบ นี้มากกว่าว่า สิ่งซึ่งมีที่อยู่นั้น ทั้งไม่ได้มีที่อยู่ที่แน่นอน แต่มักจะเป็น ฝ่ายเติมเต็มอาณาเขตเสียมากกว่า หรือไม่ก็เป็นสิ่งที่ถูกท�ำให้เต็ม เช่น ฟ้าสวรรค์,แผ่นดินโลก,ท้องทะเล กับทัง้ ส่วนอืน่ ๆ ทีป่ ระกอบไป ด้วยส่วนทีแ่ ตกต่างกัน ประกอบด้วยสายพันธุต์ า่ งๆ หรือปัจเจกต่างๆ หรือเป็นสิ่งที่ไม่ได้เติมเต็มอาณาเขตทั้งหมด แต่เป็นเพียงบางที่ใน อาณาเขต ,บางส่วนในท้องทะเล, บางส่วนบนฟ้าสวรรค์ และบาง

150

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ส่วนบนแผ่นดินโลก สิง่ ซึง่ เติมเต็มพืน้ ทีบ่ างส่วนภายในอาณาเขตนัน้ ก็มีทั้งที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ในอาณาบริเวณได้ เช่น พืช กับทั้งพวก ที่สามารถเคลื่อนไหวในอาณาบริเวณได้ สิ่งที่สามารถเคลื่อนไหวใน บริเวณได้ก็มีทั้งสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ชั้นต่างๆ ของฟ้าสวรรค์ กับทั้งที่มี ชีวิต สิ่งที่มีชีวิตนั้นมีทั้งพวกสิ่งมีชีวิตบนบกกับพวกที่ไม่ได้อยู่บนบก เช่น สัตว์นำ�้ หรือสัตว์ปีก สิ่งมีชีวิตบนบกนั้นมีทั้งพวกที่ไม่ได้ถูกสร้าง ตามพระฉายาของพระเจ้า เช่น พวกสัตว์เดรัจฉาน กับทั้งพวกที่ถูก สร้างตามพระฉายาของพระเจ้า ซึ่งก็คือ มนุษย์ ว่าโดยย่อก็คือ บท แรกของหนังสือปฐมกาลนัน้ วางอยูบ่ นการแบ่งออกเป็นสองส่วน หรือ ก็คือสิ่งที่เพลโตเรียกว่า diairsis (การหารด้วยสอง) นั่นเอง ผมมองว่าข้อพิจารณาเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นว่า มันไร้เหตุผล แค่ไหนที่จะพูดว่าแนวคิดในพระคัมภีร์ไบเบิลนั้นเป็นลักษณะแบบ ปรัมปราหรือเป็นเรื่องที่มีมาก่อนตรรกะ(pre-logical) เรื่องราวของ โลกซึ่งเราได้รับมาจากบทแรกของพระคัมภีร์ไบเบิลนั้น ไม่ได้แตก ต่างในขั้นมูลฐานไปจากเรื่องราวทางปรัชญาแต่อย่างใดเลย นั่นก็ คือ เป็นเรื่องราวที่วางอยู่บนลักษณะเด่นชัดเจนซึ่งพวกเราสามารถ เข้าถึงได้พอๆ กับทีผ่ เู้ ขียนพระคัมภีรเ์ ข้าถึงได้ ดังนัน้ เราจึงเข้าใจเรือ่ ง ราวเหล่านี้ได้ว่า มนุษย์สามารถเข้าถึงลักษณะเด่นพวกนี้ได้ในฐานะ มนุษย์นเี่ อง เราสามารถเข้าใจได้อย่างง่ายๆ ว่าท�ำไมเราจึงควรค้นหา บางสิง่ บางอย่างจากลักษณะเช่นนีใ้ นพระคัมภีรไ์ บเบิล เรือ่ งราวของ การทรงสร้างโลกนั้น หรือถ้าจะให้พูดแบบที่เข้าใจกันทั่วไปสักหน่อย

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

151


ก็คือ เรื่องจักรวาลศึกษา (cosmogony) นั้น ได้วางสมมติฐานไว้ล่วง หน้าอย่างจ�ำเป็นถึงการก่อก�ำเนิดเป็นโลกที่เสร็จสมบูรณ์ในจักรวาล ขึ้นมา หรือจะให้เรียกว่าเป็นวิชาจักรวาลวิทยา (cosmology) ก็ได้ เรื่องราวการทรงสร้างในพระคัมภีร์จึงวางอยู่บนฐานคิดทางจักรวาล วิทยานั่นเอง มนุษย์สามารถเข้าถึงสรรพสิ่งที่ทรงสร้างซึ่งถูกกล่าว ถึงในพระคัมภีร์ได้ในฐานะมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ในภูมิอากาศแบบไหน เทือกเถาเหล่ากอมาจากไหน นับถือศาสนาอะไร หรือจะอะไรอื่น ก็ตามครับ บางคนอาจพูดว่า งัน้ ก็เยีย่ มไปเลยสิ เพราะเราทุกคนรูว้ า่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดารา ผลหมากรากไม้ และบรรดาพืชพันธุ์ ต่างๆว่าคืออะไร แต่เจ้าแสงสว่างทีแ่ ตกต่างจากแสงดวงอาทิตย์ละ่ ? ใครรูบ้ า้ งครับว่าคืออะไร ? เราทุกคนไม่ได้รจู้ กั แสงสว่างทีม่ องเห็นกัน ได้ ซึง่ ไม่ได้มาจากดวงอาทิตย์กนั เป็นปกติอยูแ่ ล้วหรอกหรือครับ? ผม ขอบอกเลยครับว่าใช่ เรารู้จักอยู่ สิ่งนั้นก็คือ ฟ้าแลบ ไงล่ะครับ และ บางทีอาจมีความเกี่ยวข้องกันระหว่างสิ่งที่พระคัมภีร์กล่าวถึงแสง สว่าง กับความเข้าใจของพระคัมภีร์เกี่ยวกับฟ้าแลบด้วย พระคัมภีร์ ไบเบิลได้เริ่มเรื่องจากโลกใบนี้อย่างที่เรารู้จัก และเป็นโลกที่มนุษย์ก็ รู้จักมาตลอด และจะรู้จักมันต่อไปอีก เป็นโลกแบบที่รู้จักมาก่อนค�ำ อธิบายทุกรูปแบบครับ ไม่ว่าจะแบบปรัมปราหรือแบบวิทยาศาสตร์ เสียอีก ผมขอตั้งข้อสังเกตไว้เพียงจุดเดียว คือค�ำว่า “โลก” (world) นะครับ ในพระคัมภีรไ์ บเบิลไม่มคี ำ� ว่า “โลก” อยูน่ ะครับ ในพระคัมภีร์ ฉบับภาษาฮีบรูนนั้ พูดว่า “สวรรค์และแผ่นดิน” (heaven and earth)

152

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ซึง่ เรามักพูดกันโดยทัว่ ไปว่า “โลก” (world) ค�ำฮีบรูซงึ่ มักจะแปลกัน บ่อยๆ มาจากค�ำว่า “โลก” นัน้ มีความหมายต่างออกไปครับ แรกสุด เลย มันหมายถึงอดีตอันยาวไกล เช่น “ครัง้ หนึง่ นานมาแล้ว” (once) ในความหมายของ “ครั้งกระนั้น” (then) ซึ่งก็คือในช่วงเวลาแรกๆ (early time) หรือนับจากช่วงเวลาแรกๆ นั่นเอง ประการที่สอง มัน ยังหมายความว่า “ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว” (once) หรือ “ต่อจากนั้น” (then) ทีใ่ ช้ในอนาคตด้วย และท้ายสุดคือมันยังหมายความว่า “เป็น ครั้งสุดท้าย” (once and for all) ซึ่งหมายถึง ตลอดกาล (for all times) ไม่มีวันสิ้นสุด (never ceasing) ถาวร (permanent) นั่นเอง ครับ ดังนั้นค�ำๆ นี้จึงหมายความถึงสิ่งที่ถาวรตลอดกาลนั่นเอง ด้วย เหตุนคี้ ำ� ภาษาฮีบรูทใี่ ช้หมายถึงโลกในอีกอย่างหนึง่ โดยส่วนมากแล้ว จึงเป็นบางสิง่ ทีเ่ ชือ่ มต่อกับกาลเวลา (time) เป็นคุณลักษณะของกาล เวลามากกว่าจะเป็นสิง่ ทีเ่ รามองเห็นด้วยตา ถ้าหากว่ามีการพูดถึงสิง่ อื่นๆ ที่ด�ำรงอยู่ในวิชาจักรวาลศึกษาอื่นๆ ซึ่งเป็นจักรวาลศึกษาแบบ ที่พูดถึงพวกสิ่งมีชีวิตปรัมปรา ยกตัวอย่างเช่น ในต�ำนานของพวก บาบิโลนแล้วล่ะก็ เราก็ต้องมองย้อนกลับไปที่เบื้องหลังของพวก มังกรหรือตัวอะไรที่คล้ายๆ อย่างนั้น และอย่างน้อยๆ ก็โดยสงสัย ไปว่าสิ่งเหล่านี้ด�ำรงอยู่ และเราต้องมองย้อนกลับไปยังสิ่งต่างๆ ที่ มีกล่าวถึงไว้ในบทแรกของพระคัมภีร์ไบเบิลซึ่งตอนนี้ก็เป็นสิ่งที่เรา ทุกคนและมนุษย์ทกุ ๆ คนทุกๆ สมัยคุน้ เคยกันนะครับ ในความหมาย นี้ด้วยนี่เอง ที่พระคัมภีร์จึงได้เริ่มต้นจริงๆ ที่ปฐมกาล

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

153


แต่พวกท่านอาจจะพูดได้อย่างค่อนข้างถูกต้องทีเดียวว่า สิ่ง ที่ผมได้ถกเถียงไปนั้นเป็นส่วนที่หรือแง่มุมที่ส�ำคัญน้อยที่สุดของ บทแรกเลย จักรวาลวิทยาที่ถูกน�ำไปใช้โดยผู้เขียนพระคัมภีร์นั้น ไม่ใช่หัวข้อหลัก (theme) ของผู้เขียนพระคัมภีร์เลย จักรวาล วิทยาอันนั้น ซึ่งเป็นการก่อก�ำเนิดจักรวาลที่มองเห็นกันได้ เป็น สมมติฐานที่ไม่ใช่ใจความหลัก (unthematic presupposition) ของผู้เขียนพระคัมภีร์ครับ เพราะหัวข้อหลักของผู้เขียนก็คือว่า โลกนั้นได้ถูกสร้างมาโดยพระเจ้าในระยะนี้ๆ ขั้นนี้ๆ เราจึงตระ เตรี ย มข้ อ ค� ำ นึ ง (reflection) ของเราจากหั ว ข้ อ หลั ก อั น นี้ ด ้ ว ย การพิจารณาอีกคุณลักษณะของเรื่องราวซึ่งเราไม่เคยค�ำนึงถึงมา ก่อนจนบัดนี้ บทแรกในพระคัมภีร์ไบเบิลได้สร้างความแตกต่าง ระหว่างสิ่งที่ได้รับการตั้งชื่อโดยพระเจ้ากับสิ่งที่ไม่ได้รับการตั้งชื่อ โดยพระเจ้า และความแตกต่างระหว่างสิ่งที่พระเจ้าทรงเห็นว่าดี กับสิ่งที่พระเจ้าไม่ได้ทรงเห็นว่าดี สิ่งที่พระเจ้าทรงตั้งชื่อให้ก็ได้ แก่ กลางวัน ซึ่งเป็นชื่อของแสงสว่าง และ กลางคืน ซึ่งเป็นชื่อของ ความมืด และนอกจากนั้นก็มี ฟ้าสวรรค์ แผ่นดินโลก และท้องทะเล สิ่งอื่นๆ ที่เหลือล้วนไม่ได้รับการตั้งชื่อโดยพระเจ้า คงมีเพียงสิ่งธรรม ดาๆ เหล่านี้เท่านั้นครับ มีเพียงสิ่งเหล่านี้เท่านั้นที่ปราศจากการชี้ชัด เจาะจง (particularization) เป็นสิง่ ทีไ่ ม่มสี ถานทีเ่ ฉพาะเจาะจง จะพูด ให้ถกู ก็คอื มีเพียงสิง่ เหล่านีเ้ ท่านัน้ ทีไ่ ด้รบั การตัง้ ชือ่ โดยพระเจ้า สิง่ ที่ เหลืออยูน่ นั้ ถูกตัง้ ชือ่ โดยมนุษย์ แทบจะทุกสิง่ ทีพ่ ระเจ้าทรงสร้างนัน้

154

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ทรงเห็นว่าดี ยกเว้นก็แต่ ฟ้าสวรรค์และมนุษย์ แต่อาจมีคนพูดได้วา่ ก็ ไม่จ�ำเป็นที่จะต้องทรงเรียกมนุษย์อย่างชัดเจนว่าดี เพราะมนุษย์เป็น สิ่งเดียวที่ถูกสร้างตามพระฉายาของพระเจ้า และเพราะมนุษย์ได้รับ การอวยพรจากพระเจ้า อย่างไรก็ตาม อาจจะพูดอย่างนี้ก็ได้ครับว่า มีอยูส่ งิ่ เดียวทีไ่ ม่ได้ถกู เรียกว่าดีโดยไม่ได้รบั การไถ่บาป (redeemed) ผ่านการได้รบั การอวยพรจากพระเจ้าและไม่ได้ถกู สร้างตามพระฉายา ของพระเจ้าแน่ๆ ก็คือ ฟ้าสวรรค์ เราอาจพูดได้ว่าข้อครุ่นคิดของ ผู้เขียนพระคัมภีร์ในบทนี้ก็คือการลดความส�ำคัญหรือลดต�ำแหน่ง ของฟ้าสวรรค์ลงไป ว่ากันตามนี้แล้ว การทรงสร้างนั้นปรากฏขึ้นมา ก่อนโดยตามมาด้วยชนิดของแผ่นดินโลกขั้นแรกเริ่ม (rudimentary earth) เลยทีเดียวว่า “ในปฐมกาล พระเจ้าทรงสร้างฟ้าสวรรค์ และแผ่นดินโลก และแผ่นดินโลกนั้น...” ไม่มีชนิดของฟ้าสวรรค์ขั้น แรกเริ่ม ไม่มีชั้นต่างๆ ของท้องฟ้า ดวงจันทร์ และดวงดาราเลย ตาม บทแรกแล้ว ไม่มีสิ่งใดเลยยกเว้นแต่เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้แสง สว่างแก่แผ่นดินโลก และที่ส�ำคัญที่สุดก็คือ ชั้นต่างๆ ของฟ้าสวรรค์ นัน้ ไม่มชี วี ติ และพวกมันก็ไม่ใช่เหล่าทวยเทพ ฟ้าสวรรค์ถกู ลดความ ส�ำคัญลงด้วยความโปรดปรานของพระเจ้าต่อแผ่นดินโลก ต่อชีวิต ที่อยู่บนโลกซึ่งก็คือมนุษย์ นี่หมายความว่าอะไรกัน ? ส�ำหรับวิชา จักรวาลวิทยา หรือทีเ่ ข้าใจกันอย่างเข้มงวดว่าเป็นจักรวาลวิทยาของ กรีกแล้วนั้น ฟ้าสวรรค์เป็นหัวเรื่องส�ำคัญกว่าแผ่นดินโลกหรือชีวิต บนแผ่นดินโลกเสียอีกครับ ในความคิดของนักคิดชาวกรีกแล้วนั้น

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

155


ฟ้าสวรรค์เหมือนกันกับแผ่นดินโลกหรือจักรวาล จักรวาลนั้นหมาย ถึงทั้งหมด ( whole) เป็นโถงใหญ่ซึ่งบรรจุสิ่งอื่นๆ เอาไว้ ชีวิตบน แผ่นดินโลกนั้นต้องการฟ้าสวรรค์ ต้องการหยาดฝน และขาดของ เหล่านี้ไม่ได้ และถ้าหากนักจักรวาลวิทยาชาวกรีกที่ชอบครุ่นคิดซับ ซ้อนตระหนักมากขึ้นได้ว่าไม่มีใครสามารถละทิ้งชั้นแรกสุดของฟ้า สวรรค์ไปได้ ก็จะเป็นอย่างที่เพลโตกล่าวว่า นักจักรวาลวิทยากรีก เหล่านี้ก็จะไปได้ไกลโพ้นกว่าฟ้าสวรรค์ สู่ที่ๆ เหนือไปกว่าฟ้าสวรรค์ (a super-heavenly place) เรื่องของมนุษย์ (human thing) จึง เป็นค�ำของการลดความส�ำคัญลงในปรัชญากรีก ดังนั้น จึงมีการตรงข้ามกันระดับลึกระหว่างพระคัมภีร์ไบเบิล และวิชาจักรวาลวิทยา และระหว่างพระคัมภีร์กับปรัชญา เนื่องจาก ในที่สุดแล้ว ทุกๆ ระบบปรัชญานั้นเป็นเรื่องของจักรวาลวิทยา พระ คัมภีร์ได้ประกาศว่า จักรวาลวิทยาก็คือการบอกเป็นนัยแบบไม่ได้ เน้นเป็นหัวเรื่องหลัก (non-thematic implication) ถึงเรื่องราวใน การทรงสร้างโลก มันจ�ำเป็นที่จะต้องก่อก�ำเนิดจักรวาลที่สามารถ มองเห็นได้ (visible universe) แล้วท�ำความเข้าใจคุณลักษณะ ของมันเพื่อประโยชน์ในการกล่าวว่าจักรวาลที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือก็คือโลกใบนี้นั้น ได้ถูกสร้างโดยพระเจ้า พระคัมภีร์ถูกแยกออก จากปรัชญาทุกประเภทก็เพราะมันได้ยืนกรานอย่างง่ายๆ ว่าโลก ถูกสร้างโดยพระเจ้านี่แหละ โดยไม่มีการสืบสาวข้อสนับสนุนการ ยืนกรานที่ว่ามานี้แต่อย่างใด แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรกันล่ะครับว่า

156

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


โลกนี้นั้นถูกสร้างมา ? พระคัมภีร์ได้บอกไว้แบบนั้นเหมือนกันครับ ว่า ในที่สุดแล้ว เราก็รู้ได้จากพระปรีชาในการประกาศ (virtue of declaration)ที่แสนพิสุทธิ์และเรียบง่าย โดยการเอ่ยพระวาจาของ พระเจ้า (Divine Utterance) นั่นเอง ดังนั้นความรู้ทั้งปวงของการ สร้างโลกจึงมีคุณลักษณะที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับความรู้ของเรา ในเรื่องโครงสร้างหรือการก่อก�ำเนิดโลกนี้ เราสามารถเข้าถึงการ ก่อก�ำเนิดโลก ซึ่งก็คือความแตกต่างกันโดยสารัตถะระหว่างพืช สัตว์ และอืน่ ๆ อีกมากมายได้ในฐานะมนุษย์นแี่ หละ แต่ความรูข้ องเราใน เรือ่ งการสร้างโลกนัน้ ไม่ใช่ความรูท้ ปี่ ระจักษ์ชดั นัก ผมจะอ่านบางข้อ จากหนังสือเฉลยธรรมบัญญัต ิ (Deuteronomy) บทที4่ ข้อที่ 15-19 ให้พวกท่านได้ฟังดังนี้นะครับว่า “เหตุฉะนั้นท่านทั้งหลายจงระวัง ตั ว ให้ ดี เพราะในวั น นั้ น พวกท่ า นจะไม่ เ ห็ น สั ณ ฐานอั น ใด เมื่ อ องค์ พ ระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ตรั ส กั บ ท่ า นทั้ ง หลายที่ โ ฮเรบจากท่ า มกลาง เพลิง เกรงว่าท่านทั้งหลายจะหลงท�ำรูปเคารพแกะสลักส�ำหรับ ตั ว ท่ า นทั้ ง หลาย เป็ น สั ณ ฐานสิ่ ง หนึ่ ง สิ่ ง ใด เป็ น รู ป ตั ว ผู ้ ห รื อ ตั ว เมี ย เหมื อ นสั ต ว์ เ ดรั จ ฉานอย่ า งใดในโลก เหมื อ นนกที่ มี ป ี ก บิ น ไปในอากาศ เหมื อ นสิ่ ง ใดๆ ที่ ค ลานอยู ่ บ นดิ น เหมื อ นปลา อย่ า งใดที่ อ ยู ่ ใ นน�้ ำ ใต้ แ ผ่ น ดิ น โลก เกรงว่ า พวกท่ า นเงยหน้ า ขึ้ น ดู ท ้ อ งฟ้ า และเมื่ อ ท่ า นเห็ น ดวงอาทิ ต ย์ ดวงจั น ทร์ และดวง ดารา คือบริวารของท้องฟ้าสวรรค์นั้น พวกท่านจะถูกเหนี่ยวรั้ง ให้นมัสการและปรนนิบัติสิ่งเหล่านั้น อันเป็นสิ่งซึ่งองค์พระผู้เป็น

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

157


เจ้า พระเจ้าของพวกท่านทรงแบ่งให้แก่ชนชาติทั้งหลายทั่วใต้ฟ้าทั้ง สิ้น”7 ซึ่งหมายความว่าสิ่งที่องค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่านได้ ทรงก�ำหนดเอาไว้นนั้ โดยทรงให้เหตุผลว่าทรงแบ่งแก่ชนชาติทงั้ หลาย ทัว่ ใต้ฟา้ ทัง้ สิน้ ถ้าหากว่าพวกเขาไม่กา้ วพ้นไปจากสิง่ ทรงสร้างเหล่า นี้ ก็ช่วยไม่ได้ที่ชนชาติทั้งหลาย ซึ่งก็คือมนุษย์ทั้งปวงนี้แหละ ย่อม ล้วนถูกชักน�ำไปสู่การนับถือสิ่งต่างๆ ในจักรวาล (cosmic religion) นั่นเอง “แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเลือกท่านทั้งหลายและน�ำท่าน ออกมาจากเตาเหล็ก คือจากอียปิ ต์ ให้เป็นประชากรในกรรมสิทธิข์ อง พระองค์ อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้” พูดอีกอย่างก็คือว่า มนุษย์ในฐานะ ที่เป็นมนุษย์ก็รู้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่าโลกนี้มีโครงสร้างที่แน่นอน ว่าโลก ที่ถูกสร้างมานั้นเป็นที่รู้ได้โดยข้อเท็จจริงว่าพระเจ้าทรงตรัสกับชาว อิสราเอลที่ภูเขาโฮเรบ นั่นล่ะครับคือเหตุผลว่าท�ำไมชาวอิสราเอล จึงทราบว่าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาราทั้งปวงนั้นไม่ควร ค่าแก่การนมัสการบูชา และในท้ายที่สุดแล้ว ชาวอิสราเอลก็ทราบ ว่าฟ้าสวรรค์ย่อมต้องถูกลดค่าลงมาในความนิยมชมชอบของชีวิต มนุษย์บนแผ่นดินโลก และยังทราบว่าต้นก�ำเนิดของโลกนั้นมาจาก การทรงสร้างของพระเจ้า จึงไม่มขี อ้ โต้แย้งเพือ่ สนับสนุนเรือ่ งการทรง สร้างอืน่ ใด เว้นแต่ทพี่ ระเจ้าได้ทรงตรัสกับชาวอิสราเอล ผูท้ ไี่ ม่ได้ยนิ หมายเหตุผแู้ ปล: ในบริบทนีข้ องพระคัมภีร์ เป็นตอนทีพ่ ระเจ้าตรัสกับชาวอิสราเอลหรือชาว ยิวหลังจากที่ออกมากอียิปต์ได้ ชาติอื่นๆทั่วใต้ฟ้าจึงหมายถึงคนอื่นๆที่ไม่ใช่ยิว 7

158

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


พระด�ำรัสนั้นไม่ว่าจะได้ยินโดยตรงหรือได้ยินมาโดยจารีตประเพณี ย่อมจะไปกราบไหว้บชู าสวรรค์ชนั้ ฟ้าต่างๆ พูดอีกอย่างก็คอื เขาย่อม จะยังคงอยู่ภายในขอบฟ้าของจักรวาลวิทยานั่นเอง ผมอยากพูดอีกสักเล็กน้อยเกี่ยวกับบทที่สองในพระคัมภีร์นะ ครับ นัน่ ก็เพราะว่าปัญหายุง่ ยากมากปัญหาหนึง่ ของปฐมกาลในพระ คัมภีร์ก็คือมันเป็นเรื่องการทรงสร้างถึงสองขั้น (two-fold account of creation) โดยขั้นแรกนั้นก็อยู่ในบทที่หนึ่ง และอีกขั้นนั้นอยู่ใน บทที่สองถึงบทที่สามครับ บทที่หนึ่งในพระคัมภีร์นั้นบรรจุเรื่องราว จักรวาลวิทยาไว้ซึ่งครอบคลุมไปด้วยเรื่องราวการทรงสร้างโลก อัน เป็นจักรวาลวิทยาซึง่ ประสานเข้ากับเรือ่ งราวการทรงสร้างโลกไว้ การ ประสานรวมจักรวาลวิทยาเข้ากับเรือ่ งราวการทรงสร้างโลกทีว่ า่ นีบ้ ง่ บอกเป็นนัยถึงการลดความส�ำคัญของฟ้าสวรรค์ลงมาว่า ฟ้าสวรรค์ไม่ ได้ศักดิ์สิทธิ์ ฟ้าสวรรค์จัดอยู่ล�ำดับรองจากแผ่นดินโลก รองจากชีวิต บนโลก แต่จักรวาลวิทยานี้ถูกใช้โดยพระคัมภีร์โดยแยกต่างหากจาก การยืนยันถึงการสร้างโลก ผมหมายถึงว่าการก่อก�ำเนิดสร้างโลกที่ มองเห็นกันได้นี้น่ันเอง จักรวาลวิทยาแบบนี้แหละที่วางอยู่บนหลัก ฐานซึ่งมนุษย์สามารถเข้าถึงได้ในฐานะมนุษย์นี่เอง แต่การยืนกราน เรือ่ งว่าการทีโ่ ลกถูกรังสรรค์ขนึ้ มานัน้ นัน่ ไม่ได้วางอยูบ่ นหลักฐานเช่น ว่านัน้ เลย ดังนัน้ จึงเกิดค�ำถามขึน้ มาว่า ขอบฟ้าของวิชาจักรวาลวิทยา หรือขอบฟ้าของสรรพสิ่งที่เราเห็น ที่เราอธิบายได้และเข้าใจได้ ว่า อยูเ่ หนือขึน้ ไปนัน้ มันถูกต้องตรงไหน ? หรือพูดอีกอย่างก็คอื จักรวาล

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

159


วิทยานี้ผิดตรงไหน ? ปัญหาของความพยายามของมนุษย์ที่จะค้นหา วิถที างของตนโดยอาศัยความกระจ่างจากสิง่ ทีป่ ระจักษ์ชดั ต่อมนุษย์ ในฐานะมนุษย์คืออะไร? อะไรคือบุคลิกลักษณะที่แท้จริงของชีวิต มนุษย์กันล่ะ ? อะไรคือชีวิตที่ถูกต้องของมนุษย์กันล่ะ ? ค�ำถามนี้คือ จุดเริ่มต้นของเรื่องราวขั้นที่สองของการทรงสร้างในบทที่สอง เรื่อง ราวการทรงสร้างขั้นแรกนั้นจบลงที่มนุษย์ ส่วนเรื่องราวในขั้นที่สอง นั้นเริ่มต้นที่มนุษย์ ดูเหมือนว่าเรื่องราวซึ่งจบลงที่มนุษย์นั้นยังไม่ เพียงพอ ท�ำไมล่ะ ? ในเรื่องราวขั้นแรกนั้น มนุษย์ถูกสร้างมาในวัน เดียวกันกับพวกสัตว์บนแผ่นดินเลย มนุษย์ถกู มองว่าเป็นส่วนหนึง่ ของ ทัง้ หมด—ซึง่ ก็คอื เป็นส่วนทีส่ งู ส่งทีส่ ดุ ในมุมมองอันนีเ้ อง ทีข่ อ้ แตก ต่างแท้จริงระหว่างมนุษย์และสรรพสิ่งอื่นๆ ที่ถูกสร้างนั้นยังไม่เพียง พอทีจ่ ะเข้าใจได้ มีปรากฏอยูใ่ นเรือ่ งราวขัน้ แรกนะครับว่ามนุษย์นนั้ ถูกแยกออกสู่ระดับที่สูงที่สุด (highest degree) อันเป็นระดับที่เขา สามารถที่จะเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนสถานะเดิมของตนไปสู่ระดับที่ สูงที่สุดได้ แม้กระทั่งในความหมายเชิงอุปลักษณ์ก็ด้วย แต่เอกสิทธิ์ อันนี้หรือเสรีภาพอันนี้ อิสรภาพอันนี้ ก็เป็นสิ่งที่อันตรายมากเช่นกัน เพราะมนุษย์คือสิ่งทรงสร้างที่คลุมเครือที่สุด ดังนั้นมนุษย์จึงไม่ ถูกตรัสถึงว่าเป็นสิ่งดี เหมือนที่ฟ้าสวรรค์เองก็ไม่ได้ถูกตรัสถึงว่าดี เช่นกัน มันมีความเชื่อมโยงระหว่างความคลุมเครือของมนุษย์ ซึ่ง เป็นอันตรายที่มนุษย์จ�ำต้องประสบพบเจอ กับฟ้าสวรรค์ พร้อมทั้ง เป้าหมายของการมีฟ้าสวรรค์ซึ่งก็คือ ความพยายามที่จะเข้าครอง

160

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ความรู้เกี่ยวกับความดีความชั่วเฉกเช่นเดียวกับทวยเทพนั่นเอง ทีนี้ หากว่ามนุษย์คือสิ่งทรงสร้างที่คลุมเครือที่สุด โดยข้อเท็จจริงที่ว่า มนุษย์เป็นเพียงสิ่งทรงสร้างชนิดเดียวที่คลุมเครือแล้วล่ะก็ เราก็ ต้องการส่วนช่วยเพิม่ เติมของเรือ่ งราวซึง่ มนุษย์เองก็ปรากฏขึน้ มาเป็น ส่วนหนึ่งของทั้งหมดด้วย เราต้องการเรื่องราวที่เพ่งความส�ำคัญไป ที่มนุษย์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น พูดให้ตรงกว่านั้นก็คือ เนื่องจาก ความคลุมเครือที่ว่านั้นหมายถึงความคลุมเครือเกี่ยวกับความดีและ ความชั่ว เราจึงต้องการเรื่องราวเพิ่มเติมในเรื่องต�ำแหน่งแห่งที่ของ มนุษย์ที่ถูกก�ำหนดนิยามไว้ ไม่ใช่แต่เพียงในเรื่องราวขั้นแรกจาก พระบัญชาของพระเจ้าทีว่ า่ “จงมีลกู ดกและทวีมากขึน้ ” แบบธรรมดา เท่านั้น แต่เรายังต้องการดูจากพระบัญชาในทางลบ ซึ่งก็คือ ข้อห้าม ที่ทรงสั่งไว้อีกด้วย เพราะข้อห้ามนั้นได้ก�ำหนดไว้อย่างชัดเจนถึง ขีดจ�ำกัดของมนุษย์—ซึ่งขึ้นอยู่กับจุดนี้และไม่เกินไปกว่านั้นครับ! —ซึ่งเป็นขีดจ�ำกัดที่แบ่งแยกความดีออกจากความชั่วนั่นเอง บทที่ สองในพระคัมภีร์ไม่ได้ให้ค�ำตอบต่อค�ำถามที่ว่าโลกนั้นก�ำเนิดมาได้ อย่างไร แต่ได้ตอบค�ำถามว่าชีวติ มนุษย์อย่างทีเ่ รารูๆ้ กันนีน้ นั้ ก�ำเนิด มาได้อย่างไรต่างหาก เป็นเพราะค�ำตอบต่อค�ำถามนั้นเกี่ยวข้อง กับโลกในในฐานะทั้งหมด (whole) โดยเป็นค�ำตอบที่ต้องการเรื่อง การก่อก�ำเนิดสร้างโลก ค�ำตอบต่อค�ำถามที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ จึงต้องการเรื่องการก่อก�ำเนิดสร้างชีวิตของมนุษย์นั่นเอง ชีวิตของ มนุษย์ อันเป็นชีวิตของมนุษย์ส่วนใหญ่นั้น คือชีวิตที่ต้องเพาะปลูก

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

161


พรวนดินหรืออย่างน้อยที่สุดก็วางอยู่บนฐานชีวิตเช่นนั้น ถ้าท่านไม่ เชื่อพระคัมภีร์ไบเบิล ท่านอาจเชื่อในต�ำรา Politics ของอริสโตเติล ก็ได้ครับ ดังนั้น ชีวิตของมนุษย์จึงถูกก�ำหนดลักษณะให้เห็นชัด ผ่าน ความจ�ำเป็นที่จะต้องมีฝนฟ้าอากาศหรือจ�ำเป็นต้องท�ำงานหนัก นั่นเอง ซึ่งนี่ไม่ใช่ลักษณะของชีวิตมนุษย์เมื่อแรกเริ่มเดิมที เพราะ ถ้ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ขัดสนมาตั้งแต่แรกโดยเนื้อแท้แล้วล่ะก็ มนุษย์ก็ย่อมถูกบังคับหรืออย่างน้อยๆ ก็ถูกล่อลวงอย่างจริงจังให้ ต้องก้าวร้าว (harsh) ไร้ซึ่งความเมตตาปราณี (uncharitable) และ ไม่เที่ยงธรรม (unjust) มนุษย์จึงไม่ต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อก ารขาดหายไปของความกรุณา (charity) หรือความยุติธรรมนี้แต่ อย่างใด เพราะพวกเขาเองจ�ำเป็นต้องท�ำเช่นนี้อยู่แล้ว แต่อย่างไร ก็ตาม เรารูว้ า่ มนุษย์นนั้ ต้องรับผิดชอบต่อการขาดหายไปของความรัก เอื้ออาทรและความยุติธรรมที่ว่า ดังนั้น สภาวะดั้งเดิมของมนุษย์ จึงจะต้องไม่ถูกบังคับหรือถูกล่อลวงอย่างจริงจังให้กลายเป็นผู้ไร้ ความเมตตาและไร้ความยุติธรรม ฉะนั้น เงื่อนไขดั้งเดิมของมนุษย์ก็ คือ สวนสวรรค์ (garden) ที่ล้อมรอบด้วยแม่น�้ำล�ำธาร เดิมทีมนุษย์ นั้นไม่ได้จ�ำเป็นต้องมีฝนฟ้าอากาศหรือต้องท�ำงานหนักเลย นั่นคือ สภาวะที่มั่งคั่งและเต็มไปด้วยความสะดวกสบาย ส่วนสภาวะของ มนุษย์ในปัจจุบันนั้นเนื่องมาจากความผิดพลาดของมนุษย์เอง นั่น เพราะการไปละเมิดฝ่าฝืนข้อห้ามซึ่งง่ายที่มนุษย์จะปฏิบัติตาม แต่ มนุษย์ถูกสร้างตามพระฉายาของพระเจ้า เป็นเหมือนพระเจ้า ดัง

162

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


นั้น มนุษย์ไม่ได้ถูกล่อลวงให้ฝ่าฝืนข้อห้ามใดๆ หรือข้อจ�ำกัดใดๆ มา ตั้งแต่ต้นแล้วหรอกหรือ? ไม่ใช่ว่าความละม้ายคล้ายกับพระเจ้า นี้ เป็นการล่อลวงเพื่อจะเป็นเหมือนพระองค์เป๊ะๆ หรอกหรือ? เพื่อที่ จะจัดการปัญหายุ่งยากอันนี้ เรื่องราวการทรงสร้างขั้นที่สองจึงได้ กระจายจุดเน้นต่างๆ (accents) นานัปการกว่าทีม่ ใี นเรือ่ งราวการทรง สร้างขัน้ แรก บัดนี้ มนุษย์ได้ถกู กล่าวถึงว่าไม่ได้เป็นสิง่ ถูกสร้างขึน้ มา ตามพระฉายาของพระเจ้าอีก แต่เป็นเพียงธุลดี นิ จากผืนแผ่นดินโลก แทน นอกจากนี้ในเรื่องราวขั้นแรกนั้น มนุษย์ได้ถูกสร้างมาให้เป็น ผูป้ กครองสรรพสัตว์ดว้ ย ส่วนในเรือ่ งราวขัน้ ทีส่ องนัน้ สรรพสัตว์กลาย มาเป็นผูช้ ว่ ยเหลือหรือเป็นเพือ่ นกันกับมนุษย์ไปแล้ว มนุษย์ถกู สร้าง มาในความต�ำ่ ต้อย ดังนัน้ เขาจึงไม่เคยถูกล่อลวงให้ไม่เชือ่ ฟังพระเจ้า ไม่ว่าจะเพราะความจ�ำเป็นหรือโดยฐานะใดๆก็ตาม นอกจากนี้ ใน เรื่องราวการทรงสร้างขั้นแรกนั้น ผู้ชายและผู้หญิงนั้นถูกสร้างมาใน พระราชกิจเดียวกัน ส่วนในเรือ่ งราวขัน้ ทีส่ องนัน้ ผูช้ ายได้รบั การทรง สร้างขึ้นมาก่อน ต่อมาภายหลังก็เป็นพวกสัตว์ และท้ายสุด มีเพียง ผู้หญิงเท่านั้นที่ถูกสร้างออกมาจากกระดูกซี่โครงของผู้ชาย โดยข้อ สันนิษฐานแล้ว ผู้หญิงนั้นต�่ำกว่าผู้ชาย ผมต้องขอโทษด้วยนะครับ ว่า ผู้หญิงซึ่งเป็นสิ่งทรงสร้างที่ต�่ำนี้ หมายถึงยังคงต�่ำกว่าผู้ชายนั้น เป็นผู้เริ่มต้นการละเมิดฝ่าฝืนด้วยครับ การไม่เชื่อฟังนั้นเป็นการ เริ่มป่วยไข้อย่างน่าหวาดผวา พึงสังเกตนะครับว่านอกจากนี้ แม้ว่า จะมีความแตกต่างเหล่านี้ เรื่องราวขั้นที่สองยังได้เอาแนวโน้มจาก

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

163


เรื่องราวในขั้นแรกมาด�ำเนินต่อไปอย่างเป็นพื้นอยู่สองจุด จุดแรก ก็คือ ไม่มีความจ�ำเป็นที่จะมีฝนฟ้าอากาศเมื่อแรกเริ่มต้น ซึ่งเป็นการ หมายความอีกครั้งถึงการลดความส�ำคัญของฟ้าสวรรค์ในฐานะเป็น ที่มาของฝนไป และจุดที่สองคือ บุคลิกลักษณะที่แยกออกมาของ ผู้หญิงนั้นบ่งบอกเป็นนัยถึงการยิ่งลดความส�ำคัญของทวินิยมของ เพศชาย/เพศหญิง ซึ่งมีบทบาทในเรื่องราวขั้นแรก ขอผมกล่าวอีก เพียงนิดเดียวในบทที่สองของพระคัมภีร์ว่า บาปก�ำเนิดของมนุษย์ อันเป็นการละเมิดฝ่าฝืนครั้งแรกของมนุษย์นั้น เกิดจากการกินผลไม้ จากต้นไม้แห่งความรู้ในความดีและความชั่วเข้าไป เราไม่มีเหตุผลที่ จะไปคาดการณ์เกี่ยวกับรากฐานของเรื่องราวนี้ในพระคัมภีร์ได้ ซึ่ง ต่างจากค�ำอธิบายในยุคหลังๆ ว่ามนุษย์ถูกชี้น�ำโดยแรงปรารถนา จะได้ความรู้ในความดีและความชั่ว เพราะเขาต้องมีแรงปรารถนา แบบนั้นเพื่อที่จะมีความรู้บางอย่างในเรื่องดีและชั่วเพื่อที่จะได้มีแรง ปรารถนาเช่นนัน้ มันยากแม้กระทัง่ จะพูดว่ามนุษย์ปรารถนาจะฝ่าฝืน พระบัญชาอันศักดิ์สิทธิ์ มันเกิดขึ้นอย่างค่อนข้างจะโดยบังเอิญเสีย มากกว่า การละเมิดฝ่าฝืนของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องปริศนา แต่กระนั้น เขาก็ได้ฝา่ ฝืนและเขาก็รวู้ า่ เขาได้ฝา่ ฝืนลงไปแล้ว มนุษย์ได้เลือกอย่าง แน่นอนแล้วว่าจะไม่เชื่อฟังพระเจ้า ดังนั้นเขาจึงเลือกหลักการแห่ง การไม่เชือ่ ฟัง หลักการนีแ้ หละถูกเรียกว่าความรูใ้ นความดีและความ ชั่ว เราอาจพูดว่าการไม่เชื่อฟังนั้นหมายถึงการมีความรู้อันอิสระใน ความดีและความชั่วของเราเอง เป็นความรู้ที่มนุษย์ได้มีไว้เป็นของ

164

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ตนเอง สิ่งนี้บ่งบอกเป็นนัยว่าความรู้ที่ถูกต้องแท้จริงนั้นไม่เป็นอิสระ ให้ถกู ครอบครองได้ และในมุมมองของพัฒนาการทางเทววิทยาในยุค หลังแล้ว เราอาจพูดได้ว่า ความรู้ที่แท้จริงในความดีและความชั่วนั้น ถูกประทานให้ผา่ นเทววิวรณ์ (Revelation) ได้เพียงอย่างเดียวเท่านัน้ ดังนั้นสิ่งที่ผมก�ำลังจะแนะน�ำท่านก็คือว่า ข้อเสนอที่รุนแรงของ บทแรกในพระคัมภีรน์ นั้ ถ้าเราเข้าถึงมันจากมุมมองของแนวคิดโลก ตะวันตกอย่างทั่วๆ ไปแล้วล่ะก็ ข้อเสนอที่ว่าก็คือการลดทอนความ ส�ำคัญของฟ้าสวรรค์ลงไปนั่นเอง ฟ้าสวรรค์เป็นหัวข้อหลักแรกของ วิชาจักรวาลวิทยาและวิชาปรัชญาเลยครับ บทที่สองในพระคัมภีร์ ได้บรรจุเรื่องของการลดทอนความส�ำคัญของความรู้ในความดีและ ความชั่วอันชัดเจนนี้ ซึ่งเป็นอีกรูปหนึ่งของแนวคิดที่ถูกพูดถึงอยู่ใน บทแรก แล้วความรู้ต้องห้ามในความดีและความชั่วนี้หมายความว่า อะไรกันครับ? มันก็หมายความอย่างทีส่ ดุ แล้วน่ะสิครับว่า ความรูใ้ น ความดีและความชั่วเช่นว่านั้นถูกวางอยู่บนความเข้าใจในธรรมชาติ ของสรรพสิ่ง เหมือนที่นักปรัชญาเมธีอาจกล่าวไว้นั่นแหละ แต่ออก จะพูดกันง่ายดายกว่าว่า นั่นหมายถึงความรู้ในความดีและความชั่ว ซึ่งถูกวางอยู่บนฐานของการใคร่ครวญตรึกตรองเรื่องสวรรค์ (Contemplation of Heaven) นั่นเอง พูดอีกอย่างคือ บทแรกของพระ คัมภีร์นั้นได้ตั้งค�ำถามถึงหัวข้อหลักแรกสุดของปรัชญา ส่วนในบท ที่สองนั้นได้ตั้งค�ำถามถึงเจตนารมณ์ของปรัชญาครับ เรียกกันอย่าง เคร่งครัดแล้ว เท่าที่เรารู้มานั้น เหล่าบรรดาผู้เขียนพระคัมภีร์ นั้นไม่

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

165


ได้รอู้ ะไรเกีย่ วกับปรัชญาเลยนะครับ แต่เราต้องไม่ลมื ว่าพวกเขาอาจ คุน้ เคยและต้องคุน้ เคยอย่างแน่นอนกับหลายสิง่ ซึง่ เป็นรูปแบบดัง้ เดิม ของปรัชญา (primitive forms of philosophy) อยู่หลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น ในบาบิโลนนั้น ก็คือการใคร่ครวญเรื่องเกี่ยวกับฟ้า สวรรค์และการมีปญ ั ญาเปรือ่ งปราดในความประพฤติของมนุษย์ผา่ น ทางการใคร่ครวญเรือ่ งเกีย่ วกับฟ้าสวรรค์นนั่ เอง แนวคิดขัน้ มูลฐานนี้ นัน้ เหมือนกันกับปรัชญาในความหมายดัง้ เดิมนัน่ แหละครับ ส่วนบท ทีส่ องและสามของหนังสือปฐมกาลนัน้ ถูกท�ำให้มชี วี ติ ด้วยจิตวิญญาณ เดียวกันกับในบทแรกครับ สิ่งที่พระคัมภีร์ได้น�ำเสนอก็คือทางเลือก ไปสู่การล่อลวง (temptation) และไอ้เจ้าการล่อลวงนี้ จากมุมมอง ของสิ่งที่ท�ำให้เรารู้ขึ้นมาได้นั้น เราอาจเรียกได้ว่าคือปรัชญานั่นเอง ดังนัน้ พระคัมภีรจ์ งึ เผชิญหน้ากับเราอย่างกระจ่างชัดกว่าหนังสือเล่ม อื่นใดด้วยไอ้เจ้าทางเลือกขั้นมูลฐานนี้ว่า ชีวิตที่อยู่ในการเชื่อฟังต่อ เทววิวรณ์ ซึ่งคือชีวิตในการนอบน้อมเชื่อฟัง กับชีวิตในเสรีภาพของ มนุษย์นั้น อย่างหลังนี้มีพวกนักปรัชญากรีกเป็นตัวแทนนั่นเอง ทาง เลือกนี้ไม่เคยถูกก�ำจัดออกไปเลย แม้ว่าจะมีผู้คนมากมายเชื่อว่า สามารถมีข้อสังเคราะห์ที่ลงตัวอย่างมีความสุข (happy synthesis) ซึง่ อยูเ่ หนือกว่าองค์ประกอบในการสังเคราะห์อย่างใดอย่างหนึง่ เพียง อย่างเดียวเสียอีก องค์ประกอบทีว่ า่ ก็คอื พระคัมภีรไ์ บเบิลกับปรัชญา นั่นเอง นี่เป็นไปไม่ได้หรอกครับ เพราะว่าข้อสังเคราะห์มักจะต้อง สังเวยด้วยข้อเรียกร้องทีช่ วี้ ดั แตกหักกันไปเพียงแค่องค์ประกอบเดียว

166

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


จากสององค์ประกอบนัน่ เอง และผมจะยินดีมาก หากว่าเราสามารถ ถกเถียงประเด็นนี้ต่อไปได้นะครับ ผมอยากจะตัง้ ข้อสังเกตเป็นการสรุปแล้วล่ะครับ เพราะผมเข้าใจ ว่าในกลุ่มผู้ฟังนี้ พวกท่านมีความสนใจในหนังสือกันเป็นพิเศษ และ ดังนั้นผมจึงอยากจะพูดบางอย่างเกี่ยวกับปัญหาของหนังสือเท่า ที่มีผลกระทบต่อพระคัมภีร์ไบเบิลอย่างหนึ่ง และต่อปรัชญาอีก อย่างหนึ่งครับ มุมมองแบบปรัชญากรีกนั้นมีรากฐานขั้นแรกสุดเป็น แนวคิดง่ายๆ ว่าการใคร่ครวญเรื่องราวเกี่ยวกับฟ้าสวรรค์ หรือการ ท�ำความเข้าใจสวรรค์นั้น คือพื้นเพที่เราถูกน�ำไปสู่จริยวัตรที่ถูกต้อง เหล่านักปรัชญากรีกกล่าวว่า ความรู้ที่แท้จริง คือ ความรู้ในเรื่องสิ่ง ซึ่งถาวรเสมอไป ส่วนความรู้ในบรรดาสิ่งที่ไม่ถาวรเสมอไปนั้น โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้ในเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตไปแล้ว ถือเป็นความ รู้ของคุณลักษณะที่ต�่ำต้อยกว่าอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ว่า ด้วยเรื่องความรู้ที่เกิดขึ้นในอดีตอันห่างไกลแล้วนั้น มันถูกถือว่าเป็น อะไรที่ไม่คงทนถาวรเอาเสียเลย เมื่อเฮโรโดตัส (Herodotus) พูด ถึงนักประดิษฐ์คนแรก (the first inventor) ที่ได้ประดิษฐ์ศิลปะ แขนงต่างๆ ขึ้นมานั้น เขาไม่ได้พูดเลยว่า X คือนักประดิษฐ์คนแรก ของศิลปะแขนงนั้นแขนงนี้ แต่พระคัมภีร์ไบเบิลเองกลับพูดถึงไว้ เท่าที่เรารู้มานั้น เฮโรโดตัสได้กล่าวว่าตัวเขาคือนักประดิษฐ์คนแรก นัน่ เอง ตอนนีแ้ นวคิดเช่นนี้ ซึง่ เป็นรากฐานให้กบั แนวคิดแบบกรีกทุก อันนัน้ ได้สร้างหนังสือขึน้ มาในฐานะพาหนะของมันเอง ในความหมาย

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

167


ที่เคร่งครัดของค�ำๆ นี้แล้วนั้น หนังสือจึงเป็นงานศิลปะแขนงหนึ่ง นั่นเอง ในความหมายนี้ หนังสือจึงเป็นการลอกเลียนแบบจากสิ่งที่มี ชีวติ จริงๆ นัน่ แหละครับ อย่างไรก็ตาม แม้วา่ หนังสือจะเป็นสิง่ เล็กๆ และดูราวกับว่าไม่ยงิ่ ใหญ่ แต่กไ็ ม่มสี ว่ นใดส่วนหนึง่ ในหนังสือเลยทีไ่ ม่ จ�ำเป็น เพือ่ ทีท่ งั้ เล่มจะได้สามารถเติมเต็มฟังก์ชนั่ ของหนังสือได้อย่าง ดีนนั่ เอง เมือ่ ช่างฝีมอื หรือศิลปินทีส่ ร้างมันขึน้ มาเกิดหายไปหรือตาย จากไปแล้ว หนังสือก็ยงั คงมีชวี ติ อยูใ่ นความหมายนีน้ นั่ เองครับ ฟังก์ชนั่ ของมันก็คือกระตุ้นให้ผู้ที่สามารถอ่านหนังสือออกได้ใช้ความคิด กระตุ้นให้เกิดการคิดอย่างอิสระ ส่วนตัวผู้เขียนหนังสือนั้น ในความ หมายที่สูงสุดแล้ว ก็คือองค์อธิปัตย์ (sovereign) ของหนังสือนั้น นั่นเอง ผู้เขียนก�ำหนดได้ว่าอะไรควรจะเป็นจุดเริ่มต้น ส่วนตรงกลาง และตอนจบของหนังสือ เขาเป็นผูป้ ฏิเสธทีจ่ ะยอมรับเอาแนวคิดใดๆ ภาพใดๆ ความรู้สึกใดๆ ที่ไม่จ�ำเป็นอย่างชัดเจนพอต่อวัตถุประสงค์ หรื อ ฟั ง ก์ ชั่ น ของหนั ง สื อ นั้ น ความเหมาะสม (aptness) และ พระคุณ (grace) ไม่ได้เป็นอะไรอืน่ นอกจากบ่าวรับใช้ของปรีชาญาณ (wisdom) เลย หนังสือที่สมบูรณ์แบบที่สุดคือภาพหรือการเลียน แบบสิ่งที่ครอบคลุมกว้างขวางทั้งหมด และคือภาพของหลักฐานที่ สมบูรณ์แบบทีส่ ดุ ของความรูอ้ นั น่าปรารถนาแต่มอิ าจเข้าถึงได้ ฉะนัน้ หนังสือทีส่ มบูรณ์แบบจึงท�ำหน้าทีเ่ หมือนตัวท�ำลายเสน่หใ์ ห้กบั เสน่ห์ ของความสิ้นหวังที่การแสวงหาความรู้อันสมบูรณ์ซึ่งไม่รู้จักพอนั้น จ�ำเป็นต้องท�ำให้เกิดขึน้ นีค่ อื เหตุผลทีว่ า่ ท�ำไมปรัชญากรีกจึงไม่อาจ

168

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


แยกออกมาจากงานกวีนพิ นธ์กรีกได้ ส่วนอีกด้านหนึง่ นัน้ บัดนีใ้ ห้เรา ดูพระคัมภีร์ไบเบิลกันครับ พระคัมภีร์ไบเบิลได้ผลักไสหลักการของ ความรู้ในตนเองและทุกๆ สิ่งที่ไปด้วยกันกับความรู้เช่นนี้ พระเจ้า ผู้ทรงลึกลับนั้น คือ หัวข้อหลักสุดท้าย (last theme) และเป็นหัวข้อ หลักสูงสุด (highest theme) ของพระคัมภีร์ครับ หลักฐานจากพระ คัมภีร์ที่เราได้รับมาก็คือ มันไม่อาจมีหนังสือในความหมายแบบกรีก ได้เลย เพราะว่าไม่อาจมีผู้เขียนที่เป็นมนุษย์คนใดที่เป็นผู้ตัดสินใจ ตามแบบองค์อธิปัตย์ของหนังสือได้ว่าอะไรคือจุดเริ่มต้น อะไรคือ ตอนจบของหนังสือ แล้วปฏิเสธที่จะรับเอาทุกสิ่งที่จะเข้ามาเพิ่มใน หนังสือหากว่ามันไม่ได้จ�ำเป็นอย่างประจักษ์ชัดต่อจุดประสงค์ของ หนังสือนั้นๆ พูดอีกอย่างก็คือ จุดประสงค์ของพระคัมภีร์ไบเบิลใน ฐานะหนังสือเล่มหนึ่งนั้น มีคุณสมบัติเป็นคุณลักษณะอันลึกลับตาม พระประสงค์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้านั่นเอง มนุษย์ไม่ได้เชี่ยวชาญ ว่าจะเริม่ ต้นเขียนพระคัมภีรอ์ ย่างไร ก่อนทีเ่ ขาจะเริม่ ต้นเขียนนัน้ เขา ก็ตอ้ งเผชิญหน้ากับงานเขียนต่างๆ อันเป็นงานเขียนศักดิส์ ทิ ธิ์ ซึง่ ก็ได้ ก�ำหนดบทบัญญัตแิ ก่ตวั เขาไว้ เขาอาจจะดัดแปลงแก้ไขงานเขียนอัน ศักดิส์ ทิ ธิเ์ หล่านี้ ท�ำการรวบรวมงานเขียนศักดิส์ ทิ ธิเ์ หล่านีเ้ ข้าด้วยกัน เป็นเล่มเดียว เหมือนอย่างทีเ่ หล่าผูท้ รี่ วมเล่มเป็นพระคัมภีรภ์ าคพันธ สัญญาเดิมคงได้ทำ� มาแล้วนัน่ เอง แต่ผทู้ ที่ ำ� เช่นนีย้ อ่ มจะท�ำได้กด็ ว้ ยมี จิตวิญญาณแห่งความถ่อมสุภาพและความเคารพเท่านั้นแหละครับ ความมีศาสนธรรม (piety) อย่างมากของเขาอาจบังคับให้เขาปรับ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

169


เปลี่ยนตัวบทในพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ที่มีมาถึงเขาก็ได้ เขาอาจจะ ท�ำอย่างนี้ด้วยเหตุผลของศาสนธรรม ด้วยเหตุว่าข้อความจากแหล่ง เดิมทีเ่ ก่าแก่กว่าอาจพาให้ตวั บทเหล่านีเ้ องถูกเข้าใจผิดๆ ซึง่ เป็นสิง่ ที่ ร้ายแรง ดังนัน้ แม้วา่ เขาอาจจะแก้ไขเปลีย่ นแปลงงานเขียนศักดิส์ ทิ ธิ์ เหล่านี้ แต่หลักการของเขาก็คือจะแก้ไขมันเพียงเล็กน้อยเท่าที่ท�ำได้ เสมอ เขาจะไม่กดี กันทุกสิง่ ทีไ่ ม่ได้มคี วามจ�ำเป็นอย่างประจักษ์ชดั ต่อ จุดประสงค์ที่ชัดเจนออกไป แต่จะกีดกันแค่สิ่งที่ไม่ลงรอยกันอย่าง เห็นได้ชัดกับจุดประสงค์ของพระคัมภีร์ซึ่งมีพื้นเพที่ถูกซ่อนไว้ ดังนั้น หนังสืออันศักดิ์สิทธิ์ หรือพระคัมภีร์ไบเบิล จึงอาจเต็มไปด้วยสิ่งที่ขัด กันเองและมีหลายตอนที่ซ�้ำไปซ�้ำมา ซึ่งอาจไม่ได้เกิดขึ้นอย่างตั้งใจ นะครับ แต่หนังสือของพวกกรีก ซึ่งตัวอย่างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือบท สนทนาของเพลโตนั้น ได้สะท้อนให้เห็นหลักฐานที่สมบูรณ์แบบอัน เป็นสิ่งที่เพลโตเองปรารถนา ไม่มีสิ่งใดในงานเขียนนี้ที่ไม่มีพื้นเพที่ สามารถรูไ้ ด้ เพราะเพลโตมีพนื้ เพเช่นว่านัน้ ส่วนพระคัมภีรไ์ บเบิลนัน้ ได้สะท้อนให้เห็นในรูปแบบทางวรรณกรรมของมันเอง ถึงความลึกลับ ที่ไม่อาจหยั่งรู้ได้ของวิถีทางต่างๆ ของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งมันอาจไม่น่า เลื่อมใสนัก แม้กระทั่งพยายามจะเข้าใจมันก็ตาม Leo Strauss นักปรัชญาการเมือง ชาวเยอรมัน-อเมริกัน คนส�ำคัญของศตวรรษ ที่ 20

170

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa



172

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/ Essay /

“ชีวิต”

Gilles Deleuze กับฐานคิดของโพสฮิวแมนนิสม์ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

ภา

ยหลังจากที่ Michel Foucault เสียชีวติ ในปี 1984 Gilles Deleuze เขียนงานที่ชื่อว่า Foucault 1 เพื่อทบทวน มโนทัศน์พื้นฐานและคุณูปการของ Foucault โดยเฉพาะมโนทัศน์ เรื่องอ�ำนาจ ชีวิต และการต่อต้าน Deleuze เสนอว่า งานเขียน ของ Foucault มีคุณูปการส�ำคัญต่อการพัฒนามโนทัศน์ “อ�ำนาจ” (power) และ “ชีวิต” (life) โดยเฉพาะที่ Foucault เรียกรวมๆว่า “การเมืองชีวิต” หรือ biopolitics ไปให้ไกลมากขึ้นกว่าทฤษฎีว่า ด้วยอ�ำนาจในงานสังคมวิทยาแบบคลาสลิกของ Marx และ Weber ที่ส�ำหรับ Marxist อ�ำนาจถือเป็นเรื่องสังกัดชนชั้นและขึ้นกับการ ถือครองปัจจัยการผลิต ส่วน Weber แล้ว อ�ำนาจคือโครงสร้างการ

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ ประจ� ำ ภาควิ ช าสั ง คมวิ ท ยา แ ล ะ ม า นุ ษ ย วิ ท ย า ค ณ ะ สั ง คมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ สนใจทฤษฎี ม าร์ ก ซิสต์ร่วมสมัย และประเด็นการ เปลีย ่ นแปลงของแรงงาน งาน และการผลิตในระบบทุนนิยม

Gilles Deleuze, Foucault (Minneapolis and London: University of Minnesota Press, 1988) 1

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

173


บริหารงานแบบองค์กรขนาดใหญ่ที่ผูกขาดทรัพยากรต่าง Deleuze เริม่ ต้นโดยเสนอว่า ในทรรศนะของ Foucault อ�ำนาจ ไม่ได้เป็นวัตถุสิ่งของที่จะมีใครหรือกลุ่มใดสามารถถือครองได้ แต่ ส�ำหรับ Foucault แล้ว เขาจ�ำแนกอ�ำนาจออกเป็นสองระดับ ระดับ แรก คือ พลัง (force) และระดับที่สอง คือ อ�ำนาจ (power) ที่เกิด ขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างพลังต่างๆหรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ทุกๆ ความสัมพันธ์ระหว่างพลัง (force) คือ “ความสัมพันธ์เชิงอ�ำนาจ” (power relation) พลังไม่ใช่สิ่งที่สามารถด�ำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง หากแต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างพลังต่างๆที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันไม่ ว่าการเชื่อมต่อนั้นจะเป็นความสัมพันธ์เชิงบวกหรือเชิงลบ และพลัง นั้นไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ประธาน” (subject) หรือ “กรรม” (object) เนือ่ งจากเป็นความสัมพันธ์ทที่ กุ ฝ่ายต่างก็เป็นผูก้ ระท�ำหรือผูถ้ กู กระท�ำ พลังจึงเป็นเพียงพลังบริสุทธิ์ (pure force) เท่านั้น และ “อ�ำนาจคือ ความสัมพันธ์ระหว่างพลังต่างๆ หรือให้ชดั กว่านัน้ ทุกๆความสัมพันธ์ ระหว่างพลังต่างๆก็คือ ‘ความสัมพันธ์ทางอ�ำนาจ’”2 Deleuze ชี้ว่า เราต้องเข้าใจอ�ำนาจในความหมายที่แตกต่าง ออกไปจากทฤษฎีสังคมศาสตร์ก่อนหน้านี้ใน 3 ประเด็น คือ หนึ่ง อ�ำนาจไม่ใช่รปู แบบหนึง่ ของความสัมพันธ์ แต่อำ� นาจด�ำรงอยูใ่ นทุกๆ 2

174

Gilles Deleuze, Foucault, p. 70.

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ความสัมพันธ์ระหว่างสิง่ ต่างๆ สอง พลังหนึง่ ๆไม่ได้ดำ� รงอยูอ่ ย่างเป็น เอกเทศเฉพาะในตัวเอง แต่ “มันด�ำรงอยู่ในความสัมพันธ์กับพลัง อื่นๆ”3และสาม พลังไม่มีประธาน (subject) และกรรม (object) สิง่ ทีด่ ำ� รงอยูม่ เี พียงศักยภาพของพลังทีไ่ ปสัมพันธ์กบั พลังอืน่ ๆ “พลัง จึงไม่มวี ตั ถุแห่งการกระท�ำของตัวมันเองทีแ่ ยกขาดออกจากพลังอืน่ ๆ แต่มันเป็นหรือขึ้นต่อความสัมพันธ์กับพลังอื่นๆเท่านั้น”4 ในแง่นี้ อ�ำนาจและความสัมพันธ์ทางอ�ำนาจจึงไม่ได้อยู่ลอยๆในสุญญากาศ แต่หนึง่ กระจายตัวอยูใ่ นพืน้ ที่ สอง ถูกจัดระเบียบผ่านเวลา และสาม ประกอบขึ้นในกาละและเทศะบางอย่าง5 ส�ำหรับ Deleuze แล้ว อ�ำนาจมีลกั ษณะทีส่ ำ� คัญ6 ดังนี้ 1) อ�ำนาจ ไม่ใช่การควบคุมหรือการกดทับ (repression) ทีม่ คี วามหมายเฉพาะ การกดทับหรือปิดกั้นเท่านั้น แต่อ�ำนาจเป็นสิ่งที่สั่งสม สร้างขึ้น และ ขยับขยายออกไปได้ 2) อ�ำนาจนั้นเป็นปฏิบัติการ (practice) หรือ เป็นการกระท�ำ (action) และอ�ำนาจวิง่ ไล่ตามเพือ่ ยึดจับและควบคุม จัดการการด�ำรงอยู่และเคลื่อนที่ไปของพลังอยู่เสมอ อ�ำนาจจึงเป็น

vice versa

3

Gilles Deleuze, Foucault, p. 70.

4

Gilles Deleuze, Foucault, p. 70.

5

Gilles Deleuze, Foucault, p. 71.

6

Gilles Deleuze, Foucault, p. 71.

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

175


สิ่งที่มาทีหลังพลังเสมอ ในแง่นี้ อ�ำนาจจึงไม่ได้มีลักษณะเป็นกลุ่ม ก้อนหรือทรัพยากรที่ชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งจะยึดครองได้ แต่อ�ำนาจ เป็นเรื่องของการปฏิบัติ/ปฏิบัติการ หรือพูดอย่างถึงที่สุด อ�ำนาจคือ ชุดของความสัมพันธ์ระหว่างพลังต่างๆ และ 3) อ�ำนาจนั้นอยู่ในมือผู้ ปกครองพอๆกับทีอ่ ยูใ่ นมือของผูถ้ กู ปกครอง อ�ำนาจไม่ใช่สงิ่ ของหรือ ทรัพยากรที่รวมเป็นหนึ่งเดียว อ�ำนาจสร้างจากการยินยอม/ต่อรอง/ ขัดขืนหรือปฏิบัติการ (practice) ที่ท�ำให้คนอื่นหรือสิ่งอื่นเกิดมีหรือ แม้แต่ดูเหมือนมีอ�ำนาจ ในอีกด้านหนึ่ง อ�ำนาจเกิดขึ้นจากการเชื่อม ต่อของพลังต่างๆทีช่ ว่ ยเพิม่ อ�ำนาจให้แก่กนั และกัน ในขณะทีห่ ากพลัง ต่างๆไม่สามารถเชื่อมต่อกับพลังอื่นๆได้ อ�ำนาจก็จะลดลง คุณสมบัติส�ำคัญของพลังก็คือ มันมีศักยภาพที่ทั้งสามารถสร้าง แรงกระทบ (to affect) ต่อพลังอื่นๆ และทั้งที่เป็นศักยภาพที่จะได้ รับหรือรับรู้ถึงการถูกกระทบ (to be affected) จากพลังอื่นๆ สิ่ง ใดก็ตามที่ถูกสิ่งอื่นมากระทบให้เกิดความเปลี่ยนแปลง แสดงว่าสิ่ง นั้นมีศักยภาพในการเชื่อมต่อกับพลังอื่นหรือสิ่งอื่นอันจะน�ำไปสู่การ เปลีย่ นแปลงตัวเอง7อ�ำนาจทีเ่ กิดจากความสัมพันธ์ระหว่างพลังต่างๆ จึงไม่ได้เป็นเชิงลบหรือกดทับเท่านัน้ แต่อำ� นาจเป็นเรือ่ งของการสร้าง ผ่านปฏิสมั พันธ์ทพี่ ลังต่างๆมาเชือ่ มต่อกระทบและถูกกระทบด้วย ใน

7

176

Gilles Deleuze, Foucault, p. t.

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


แง่นี้อ�ำนาจจึงมีลักษณะที่เป็นเชิงบวกไม่น้อยไปกว่าเชิงลบ การมอง อ�ำนาจแบบนี้แตกต่างจากการมองอ�ำนาจในทฤษฎีสังคมศาสตร์เดิม ที่เห็นว่า สิ่งใดก็ตามที่ถูกกระทบหรือถูกเปลี่ยนแปลงเป็นเพราะสิ่ง นั้นมีอ�ำนาจน้อย แต่ในทรรศนะของ Deleuze แล้ว Foucault มอง ว่าการเปลี่ยนแปลงตัวเองเมื่อกระทบและถูกกระทบจากพลังอื่นๆ นัน้ เป็นเพราะพลังนัน้ มีศกั ยภาพทีจ่ ะก่อให้เกิดความเปลีย่ นแปลงทัง้ ต่อสิ่งอื่นและต่อตัวเอง ความสัมพันธ์ทางอ�ำนาจจึงไม่ได้เป็นเรื่องที่เป็นทางการหรือเป็น เรื่องของสถาบันเท่านั้น แต่ยังด�ำรงอยู่ในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ ด้วย และหากจะมีความสัมพันธ์ที่เป็นสถาบันหรือเป็นทางการ มัน ก็ย่อมมาทีหลังจากความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ หรือพูดอย่างถึงที่ สุด ความสัมพันธ์ทางอ�ำนาจเป็นเรือ่ งทีไ่ ม่เป็นทางการในแง่ทมี่ นั เป็น ความสัมพันธ์ของพลังต่างๆนอกโครงสร้างของอ�ำนาจที่เป็นทางการ ซึ่งหากความสัมพันธ์ไม่สามารถถูกรองรับด้วยความเป็นสถาบันที่ เป็นทางการ อ�ำนาจก็ไม่ใช่สิ่งที่เสถียร หยุดนิ่ง หรือมีขอบเขตตายตัว ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวแบบของอ�ำนาจแบบ “ชีวะอ�ำนาจ” (biopower) ที่ Foucault เสนอว่าเป็นตัวแบบทีแ่ ตกต่างจากอ�ำนาจ แบบอธิปัตย์ (sovereign power) ซึ่งเป็นตัวแบบของการใช้อ�ำนาจ ที่มีศูนย์กลาง แต่ชีวะอ�ำนาจเป็นปฏิบัติการของอ�ำนาจที่เคลื่อนที่อยู่ ตลอดเวลา โดยเฉพาะการเคลือ่ นไปในสนามของพลังต่างๆทีอ่ ยูน่ อก/ ห่างจากศูนย์กลางอ�ำนาจ การวิเคราะห์ชีวะอ�ำนาจจึงไม่ได้เรียกร้อง

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

177


ให้เราสนใจรัฐหรือสถาบันที่เป็นทางการแต่เพียงด้านเดียว แต่เรียก ร้องให้เราสนใจปฏิบัติการของอ�ำนาจในปริมณฑลต่างๆที่ดูเสมือน ว่าไม่มีเป็นการเมืองหรือไม่มีอ�ำนาจ นั่นคือ ปริมณฑลของชีวิตที่อยู่ ในสนามพลังต่างๆ8 ในล�ำดับต่อมา Deleuze กลับมาตีความความสัมพันธ์ระหว่าง อ�ำนาจกับความรูใ้ นงานของ Foucault โดยชีว้ า่ เป้าหมายของอ�ำนาจ ก็คอื การเข้ามาจัดการกับพลังต่างๆผ่านการสร้างความรู้ ทีใ่ นตัวความ รู้เองกลายเป็นสถาบันแบบหนึ่ง ซึ่งอาจไม่ได้ขึ้นต่อหรือเป็นกลไกที่ เป็นทางการของรัฐ แต่ความรู้กลายมาเป็นปฏิบัติการ ซึ่ง “ไม่จ�ำเป็น ต้องมีรัฐ มันเป็นกลไกการควบคุมของรัฐ และมันก็เป็นเช่นนี้ในทุกๆ กรณี”9 ในทรรศนะของ Deleuze รัฐจึงไม่ได้มีความหมายแคบแบบ ที่ Marx เรียกว่าเป็นโครงสร้างส่วนบน หรือแบบที่ Weber พูดถึงรัฐ ในฐานะสถาบันทีผ่ กู ขาดความรุนแรง แต่รฐั หมายถึง กลไกการยึดจับ และควบคุมความสัมพันธ์ของพลังต่างๆทีเ่ คลือ่ นทีอ่ ยู่ (apparatus of capture and control) ซึ่ง Foucault แทนที่ค�ำว่า “รัฐ” (state) ด้วยค�ำว่า “การปกครอง” (government) ซึง่ มีความหมายกว้างกว่า เป้าหมายของการปกครองก็คือ การเปลี่ยนพลังและศักยภาพของ

178

8

Gilles Deleuze, Foucault, p. 73.

9

Gilles Deleuze, Foucault, p. 75.

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


พลังที่ยังไม่มีรูปร่าง ไร้ที่ทาง และอยู่นอกกลไกของมันให้กลายมา เป็นสิ่งที่ก�ำหนดรูปร่างได้ มีที่มีทาง และอยู่ภายในการจัดล�ำดับช่วง ชั้นของโครงสร้างอ�ำนาจ ซึ่งการยึดจับสิ่งที่ไร้ที่ทาง ไร้รูปร่าง อยู่สิ่ง ที่อยู่ภายนอกให้เข้ามาเป็นการเปลี่ยนสิ่งที่ไร้ระบบระเบียบให้มาอยู่ ใน “ระบบของการจัดการความแตกต่างทีเ่ ป็นทางการ” (system of formal differentiation)10 พูดอีกอย่างก็คอื อ�ำนาจจะท�ำงานบนการ เชือ่ มความสัมพันธ์ระหว่างรหัสทีม่ รี ปู แบบตายตัวและเป็นทางการกับ สิ่งที่ยังไม่ถูกนับว่าเป็นรหัสซึ่งเคลื่อนไหวอย่างอิสระ และนี่คือความ ส�ำคัญของความรูใ้ นฐานะทีเ่ ป็นเครือ่ งมือหรือกลไกในการยึดจับหรือ แปลสิง่ ทีย่ งั ไม่มรี หัสให้เข้ามาอยูใ่ นระบบระเบียบของความรูท้ จี่ ดั การ ได้ และเมื่อมันถูกจัดการได้ มันก็ย่อมถูกควบคุมได้ ในแง่นี้ อ�ำนาจจึงเป็นสิ่งที่มาก่อนความรู้เสมอ เพราะล�ำพัง ความรู้โดยตัวมันเองไม่สามารถผนวกหรือยึดจับเอาสิ่งใดเข้ามาได้ หากปราศจากความสัมพันธ์ทางอ�ำนาจระหว่างพลังต่างๆ ความรู้ มีท้ังที่อยู่ในรูปของการจัดระเบียบสิ่งย่อยๆให้อยู่ภายในโครงสร้าง ขนาดใหญ่ในฐานะที่เป็นระบบความรู้ กับความรู้ในฐานะที่เป็น เครื่องก�ำหนดขอบเขตของความเป็นไปได้ในการท�ำความเข้าใจสิ่ง ใดสิ่งหนึ่ง (curve) โดยเฉพาะในมิติของภาษา ความรู้เป็นเครื่องมือ

10

vice versa

Gilles Deleuze, Foucault, p. 76.

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

179


ที่ท�ำให้สิ่งต่างๆสามารถถูกพูดถึงได้ในฐานะที่เป็นประโยคและวลี ในแง่นี้ภาษาก็คือชุดของอ�ำนาจที่เข้ามาจัดการกับสิ่งที่ยังไม่ถูกพูด ถึงและการจัดการกับสิ่งที่ถูกพูดถึงได้ให้อยู่ในที่ในทาง11 กล่าวโดย สรุปแล้ว ความรู้ก็คือเครื่องมือของอ�ำนาจในการเข้าไปจัดระเบียบ และโครงสร้างที่เป็นล�ำดับชั้นเพื่อยึดจับศักยภาพและการเคลื่อนที่ ของพลังต่างๆที่ไหลเวียนอยู่ หากจะเทียบแล้ว พลังเป็นสิ่งที่มาก่อน ตามมาด้วยอ�ำนาจซึ่งหมายถึงกลไกการยึดจับควบคุม และผลผลิต อ�ำนาจก็คือความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อยึดจับและสร้างที่ทางให้แก่พลัง ต่างๆภายในโครงสร้างของอ�ำนาจ ส�ำหรับ Deleuze พลังเป็นการเคลื่อนที่และเปลี่ยนรูปไปอย่าง ไม่หยุดยั้ง “การก�ำเนิดขึ้นของพลังใหม่ๆจึงเท่ากับการสร้างและ เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ให้ก้าวกระโดดทวีคูณ”12การเคลื่อนที่ ของพลังจึงมีลักษณะคล้ายไดอะแกรม (diagram) คือ อยู่ในแนว ระนาบแบบหาจุดเริ่มต้นและจุดจบไม่ได้ พื้นที่แบบไดอะแกรมจึง เป็นพื้นที่แบบไร้สถานที่ (non-place) คือ เป็นพื้นที่ที่ยังไม่กลายมา เป็นสิ่งที่ถูกให้ความหมายในฐานะที่เป็น (place) ในมุมของอ�ำนาจ พื้นที่แบบไร้สถานที่เช่นนี้จึงเป็นพื้นที่ที่เปิดให้เกิดการเปลี่ยนความ

180

11

Gilles Deleuze, Foucault, pp. 78-83.

12

Gilles Deleuze, Foucault, p. 85.

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


หมายและกลายเป็นสิ่งอื่นได้อยู่ตลอดเวลา พื้นที่ที่ไร้สถานที่ซึ่งเป็น พื้นที่เอกพจน์เฉพาะตัวเองและเป็นพื้นที่ที่อยู่ในโลกเช่นนี้เป็นสิ่ง ที่อยู่สิ่งที่อยู่ภายนอก (outside) ของอ�ำนาจ เป็นพื้นที่ที่ไม่ถูกจัด ล�ำดับช่วงชั้นโดยอ�ำนาจ ไม่มีรูปร่าง ไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดจบ มีแต่ สภาวะระหว่าง (interstices) ที่เปิดให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้นได้และเป็นไป ได้ และเมื่อสิ่งที่เป็นไปได้ซึ่งอยู่สิ่งที่อยู่ภายนอกเคลื่อนที่ มันจะเข้า มาก่อกวนและยกสลายองค์ประกอบของภายในที่มีระเบียบให้ขยับ เคลื่อนออกไปจากเดิม13 การกลายเป็นสิ่งอื่น (becoming) ที่เกิดขึ้นใหม่จากการเชื่อม ต่อของพลังต่างๆจึงไม่ใช่ความต่อเนื่องของตัวตนหรืออัตลักษณ์ แต่ เป็นการก้าวกระโดดและเปลี่ยนแปลงตัวเองจากภายใน14 ลักษณะ ของการเชื่อมต่อกันของพลังต่างๆที่อยู่ภายนอกจากโครงสร้างของ อ�ำนาจจึงมีสภาวะทีเ่ ป็นเอกพจน์ในแง่ทมี่ นั มีกฎเกณฑ์ของตัวมันเอง (singularity) พร้อมๆกับทีม่ นั ก็ไม่ขนึ้ ต่ออะไรอย่างอืน่ ทีอ่ ยูน่ อกตัวมัน หรือที่เรียกว่า “สภาวะในโลก” (immanence) สิ่งที่ Deleuze สนใจจึงไม่ใช่มนุษย์ และความรู้ก็ไม่ใช่เรื่องของ ศาสตร์แห่งมนุษย์แบบมนุษยศาสตร์หรือสังคมศาสตร์ มโนทัศน์เรือ่ ง

Gilles Deleuze, Foucault, p. 87.

13  14

vice versa

Gilles Deleuze, Foucault, p. 85.

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

181


พลัง อ�ำนาจ และความรูด้ งั กล่าวไม่เกีย่ วข้องอะไรกับความเป็นมนุษย์ ในเชิงอภิปรัชญา แต่มโนทัศน์ต่างเหล่านี้ในความคิดของ Deleuze เป็นการท�ำความเข้าใจและเปิดให้เห็นการเชื่อมต่อของความหลาก หลายของพลังต่างๆที่หลากหลายและเป็นอนันต์ที่เข้ามาประกอบ กันเป็นรูปร่างต่างๆ ไม่ว่ารูปร่างนั้นจะเป็นมนุษย์ สัตว์ หรือรูปร่างที่ ไม่สามารถจัดประเภทว่าเป็นอะไรได้จากระบบความรู้ที่มีอยู่ ความ รู้แบบ Deleuzean จึงเป็นการศึกษาการประกอบกันเข้าและการ เคลื่อนไปอย่างไม่สิ้นสุดของพลังซึ่งเป็นสสารพื้นฐานของการเคลื่อน ไปและด�ำรงอยู่ของสรรพสิ่งมากกว่าจะเป็นการศึกษาตัวมนุษย์ที่มี แก่นแท้และเป็นสากลแบบมนุษยนิยม การข้ามให้พ้นมนุษยนิยมจึง เป็นความพยายามที่จะเปิดให้เราเห็นสิ่งใหม่และความเป็นไปได้ของ การเกิดสิ่งใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของความสัมพันธ์แบบอนันต์ ของพลังต่างๆมากกว่า วัตถุแห่งการศึกษาแบบ Deleuzean จึงไม่ใช่ มนุษย์ แต่เป็นการประกอบกันข้าวของพลัง ซึง่ ข้ามพ้นการศึกษาแบบ เทววิทยาที่สนใจพระเจ้า และข้ามพ้นความรู้แบบสมัยใหม่ที่ยึดกับ ความเป็นมนุษย์แบบมนุษยนิยม15 การที่พลังเคลื่อนที่แบบไร้สถานที่หรือเคลื่อนที่ในพื้นที่แบบ ไดอะแกรม ศักยภาพของมันจึงไม่ใช่การผลิตสร้างความหมายที่มีอยู่

15

182

15 Gilles Deleuze, Foucault, p. 88.

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


แล้ว แต่เป็นการผลิตสร้างสิง่ ทีไ่ ม่ถกู นับว่ามีความหมาย (non-sense) ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอก การสร้างสิ่งที่ไร้ความหมายจ�ำนวนมากจาก ศักยภาพของพลังในตัวมันเองจึงเป็นการต่อต้านอ�ำนาจที่ยึดอยู่กับ ระบบความหมายและภาษาที่ตายตัว รวมถึงการสร้างสิ่งที่ไร้ความ หมายยังสะท้อนว่า เราไม่สามารถนิยามมนุษย์ว่าเป็นมนุษย์คือผู้มี ความสามารถในการพูดภาษาและการใช้เหตุผล เพราะศักยภาพ ไม่ใช่การสร้างสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล แต่เป็นการผลิตสร้างสิ่งที่เลยพ้น จากกรอบของเหตุผลปกติ และเราไม่สามารถนิยามสังคมว่าเป็น ชุมชนของมนุษย์ที่เชื่อมโยงกันด้วยกฎเกณฑ์กติกาที่เป็นเหตุผลผ่าน ภาษาได้ แต่สังคมคือการเคลื่อนไปอย่างไม่สิ้นสุดของศักยภาพของ พลังต่างๆที่สร้างสิ่งใหม่อยู่เสมอ สิ่งที่น่าสนใจส�ำหรับ Deleuze จึง ไม่ใช่ระบบภาษาและเหตุผล หรือแม้แต่ความเป็นมนุษย์ แต่กลับเป็น ความสัมพันธ์ของพลังต่างๆที่ประกอบกันเข้าเป็นสิ่งต่างๆ ซึ่งล้วน แล้วแต่ผลิตสร้างสิ่งที่ไร้ความหมาย รวมถึงการสร้างกฎเกณฑ์กติกา ของตัวเองแบบไม่มีระบบระเบียบ และไม่สามารถถูกเข้าใจได้ด้วย เหตุผล Deleuze แทนที่การศึกษามนุษย์แบบมนุษยนิยมด้วยมโนทัศน์ ที่เรียกว่าพลัง ซึ่งในงานอื่นๆเขาเรียกหน่วยวิเคราะห์นี้แตกต่างกัน ออกไป เช่น ไรโซม (rhizome) เครื่องจักรที่สร้างความปรารถนา (desiring-machine) สิ่งที่ไม่ปรากฏเป็นความจริง (virtual) และ “ชีวิต” (life) มโนทัศน์ชีวิตของ Deleuze (และมโนทัศน์อื่นๆในงาน

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

183


ที่เขาเขียนร่วมกับ Félix Guattari) ถือเป็นการเปิดพรมแดนใหม่ให้ กับการศึกษาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเคลื่อนจากการศึกษามนุษย์ (human) ไปสู่การศึกษาสิ่งที่ไม่ใช่ มนุษย์ (non-human) ซึง่ เป็นกระแสคิดทีเ่ ราเรียกกันว่า “หลังมนุษย นิยม” (post-humanism) สิง่ ที่ Deleuze สนใจและเรียกว่าชีวติ เป็น สิง่ ทีเ่ ล็กกว่าและใหญ่กว่ามนุษย์ในเวลาเดียวกัน สิง่ ทีเ่ ล็กกว่าหมายถึง การด�ำรงอยู่ การเชือ่ มต่อ และการเคลือ่ นทีข่ ององค์ประกอบย่อยๆที่ เขาเรียกว่าเป็นศักยภาพขององค์ประกอบต่างๆที่เป็นพลังแห่งชีวิต ในภาษาของ Henri Bergson ซึ่ง Deleuze ชี้ว่า “ภายในมนุษย์ พลังแห่งชีวิต (the vital forces) ก�ำลังเดินเข้าสู่ชุดความสัมพันธ์ที่ ประกอบขึน้ ใหม่ และก�ำลังก่อรูปร่างใหม่”16และส�ำหรับสิง่ ทีใ่ หญ่กว่า ก็คือ การเชื่อมต่อในหลายระดับของส่วนย่อยๆที่เป็นพลังแห่งชีวิต จ�ำนวนมหาศาลกับสิ่งอื่นๆทั้งที่เป็นมนุษย์และไม่ใช่มนุษย์ ดังนั้น ภววิทยาของ Deleuze จึงไม่ใช่ภววิทยาแบบมนุษยนิยมทีม่ องมนุษย์ แบบมีสารัตถะในตัวเอง แต่เป็นองค์ประกอบหรือพลังอันเป็นอนันต์ และหลากหลายอยู่ภายในตัวเองซึ่งมีศักยภาพออกไปเชื่อมต่อกับสิ่ง อื่นๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ชุดใหม่อยู่ตลอดเวลา ชีวิตจึงไม่ได้หมายถึงมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียว เพราะสิ่งที่เรียก

16

184

Gilles Deleuze, Foucault, p. 91.

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ว่ามนุษย์เป็นเพียงการประกอบสร้างของอ�ำนาจและความรู้ชุดหนึ่ง ในยุคสมัยหนึ่งเท่านั้น17 และนี่คือความตายของมนุษย์ (the death of man) ในความรู้ทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์หลังทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา ที่ “เมื่อเทคนิคแบบไดอะแกรมของอ�ำนาจปฏิเสธ ตัวแบบองค์อธิปัตย์ และหันไปใช้ตัวแบบของสังคมวินัย และเมื่อมัน กลายมาเป็น ‘ชีวะอ�ำนาจ’ หรือ ‘ชีวะการเมือง’ แห่งการบริหาร จัดการประชากร รวมถึงการควบคุมและการจัดการชีวิตแล้ว ชีวิต นั่นเองที่กลายมาเป็นวัตถุใหม่ของการใช้อ�ำนาจ”18และผลของการ ที่ชีวะอ�ำนาจเปลี่ยนชีวิตให้กลายมาเป็นวัตถุของอ�ำนาจ “การต่อ ต้านต่ออ�ำนาจจะวางตัวเองอยู่บนด้านของชีวิตและการมีชีวิต และ จะเปลี่ยนชีวิตทั้งหมดให้กลายมาเป็นปฏิปักษ์ต่ออ�ำนาจ”19 นัยส�ำคัญของการเคลือ่ นจากมนุษย์มาสูช่ วี ติ ทัง้ ทีม่ องจากมุมของ อ�ำนาจและมุมของการต่อต้านก็คือ ในขณะที่มนุษย์เป็นสภาวะแบบ หนึ่งเดียวสากล ชีวิตก็คือสภาวะของความหลากหลาย เป็นอนันต์ และเป็นเอกพจน์ที่ขึ้นกับตัวมันเองภายในผ่านการสร้างตัวเองและ   ดูที่ Foucault วิวาทะกับ Noam Chomsky ใน Noam Chomsky and Michel Foucault, The Chomsky-Foucault Debate: On Human Nature (New York: The New Press, 2006)18 Gilles Deleuze, Foucault, p. 92. 17

vice versa

18

Gilles Deleuze, Foucault, p. 92.t

19

Gilles Deleuze, Foucault, p. 92.

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

185


กลายเป็นสิ่งอื่นๆในทุกๆครั้งที่เชื่อมต่อกับสิ่งอื่น ความหลากหลาย จึงกลายมาเป็นอาวุธของการต่อต้าน ส่วนความเป็นหนึ่งเดียวกลับ กลายมาเป็นกรงขังทีค่ รอบและจ�ำกัดศักยภาพของชีวติ ยิง่ ชีวติ มีความ หลากหลายและขยายความหลากหลายผ่านการเชือ่ มต่อออกไปมาก เท่าไร กรงขังแห่งความเป็นมนุษย์ยิ่งพร่าเลือนมากเท่านั้น ในช่วงท้ายของหนังสือเล่มนี้ Deleuze น�ำมโนทัศน์ส�ำคัญของ Friedrich Nietzsche คือ “อภิมนุษย์” (superman) เข้ามาช่วย อธิบายชีวิต โดย “อภิมนุษย์ไม่ได้หมายถึงอะไรอย่างอื่น แต่หมาย ถึงว่า เราต้องปลดปล่อยชีวิตจากภายในความเป็นมนุษย์เอง เมื่อ ความเป็นมนุษย์คือรูปแบบหนึ่งที่ใช้คุมขังมนุษย์ ชีวิตจะกลายมา เป็นการต่อต้านต่ออ�ำนาจ เมื่ออ�ำนาจท�ำให้ชีวิตทั้งหมดกลายมา เป็นวัตถุหรือเป้าหมายแห่งการใช้อ�ำนาจ”20การมองเป้าหมายของ ชีวิตแบบอภิมนุษย์ที่ปฏิเสธและต่อต้านความเป็นมนุษย์เช่นนี้ก็คือ การปลดปล่อยมนุษย์ออกจากความเป็นมนุษย์ ที่ซึ่งเป้าหมายของ การต่อต้านก็คือการสร้างความสัมพันธ์ชุดใหม่ระหว่างพลังต่างๆ ที่ ซึ่ง “มนุษย์มุ่งไปสู่การปลดปล่อยชีวิต แรงงาน และภาษาภายในตัว เอง อภิมนุษย์.. ก็คือ มนุษย์ที่อาจกลายเป็นสัตว์ อภิมนุษย์จึงไม่ใช่ การหายไปของชีวิตของมนุษย์ และก็ไม่ใช่แค่เพียงการเปลี่ยนแปลง

20

186

Gilles Deleuze, Foucault, p. 92.

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ แต่มันคือการเผชิญหน้าของรูปแบบของชีวิต แบบใหม่ที่ไม่ได้เป็นทั้งพระเจ้าและก็ไม่ใช่มนุษย์ แต่เราต้องหวังว่า เราจะกลายเป็นสิ่งอื่นที่ไม่แย่ไปกว่ารูปแบบที่เราเคยเชื่อว่าเราเป็น นั่นคือ พระเจ้าและมนุษย์”21 ทั้งหมดนี้คือคุณูปการของมโนทัศน์การเมืองชีวิตของ Foucault และการตีความการเมืองชีวติ ใหม่โดย Deleuze ในฐานะทีเ่ ป็นจุดตัด ส�ำคัญของการย้ายฐานคิดทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จากฐาน คิดแบบมนุษยนิยมมาสูห่ ลังมนุษยนิยม ซึง่ จะเปิดพรมแดนการคิดและ การศึกษาของเราให้ไปไกลกว่าความเป็นมนุษย์และตัวมนุษย์ที่อาจ จะไม่มีอยู่จริงหรือพร่าเลือนลงไปเรื่อยๆในปัจจุบัน แต่มุ่งให้เราเห็น ความเชือ่ มต่อของสิง่ ต่างๆ โดยเฉพาะการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ สัตว์ พืช เทคโนโลยี โดยที่ไม่มีมนุษย์ในฐานะศูนย์กลางหรือ รากเพียงหนึ่งเดียวของความรู้ความเข้าใจโลกอีกต่อไป

21

vice versa

Gilles Deleuze, Foucault, p. 92.

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

187


188

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


อะควีนัสกับคนขี้เมา

ศาสนา ความดีเเละวิทยาศาสตร์ พรวิภา ลิ้มใช้

Henri de Toulouse Lautrect:The Last Crumbs, 1866

vice versa

การเมานัน้ บาปหรือไม่? ค�ำถามนีเ้ คยดังขึน้ ในใจคุณหรือเปล่า ณ ขณะที่คุณก�ำลังจะยกแก้วเหล้านั้นขึ้นดื่ม แน่ล่ะ ผู้คนส่วนมากคงไม่ ได้ใส่ใจกับค�ำถามนี้สักเท่าไหร่ เพราะในขณะที่สิ่งล่อตาล่อใจ แสงสี เสียงดนตรีที่มันก�ำลังบรรเลงกระทบโสตประสาทของเรา มันคงจะ ดังกลบเสียงความคิดของเราไปเป็นที่เรียบร้อย เราคงไม่มีเวลามา นั่งคิดเรื่องศีลธรรมตอนเราก�ำลังท�ำผิดศีลธรรมอยู่ ว่าไหม? แต่หาก ค�ำถามนั้นมันเกิดดังขึ้นมาจริงๆ ล่ะ เราจะตอบว่าอย่างไร แน่นอน เราต้องตอบว่ามันเป็นบาปเพราะในหลายๆ ศาสนาก็มขี อ้ บัญญัตเิ กีย่ ว กับเรื่องการดื่มว่ามันเป็นเรื่องผิดศีลธรรม แต่มันเป็นบาปอย่างไรล่ะ แล้วมันร้ายแรงหรือไม่? เมือ่ มีการกระท�ำผิด แน่นอนย่อมก็ตอ้ งมีการกระท�ำทีถ่ กู ต้อง แต่ ถ้าบอกว่าถูกนัน้ ถูกอย่างไร ค�ำถามแบบนีเ้ รียกว่าเป็นเรือ่ งจริยศาสตร์ ซึง่ พูดถึงการกระท�ำของมนุษย์ ว่าอย่างไหนถูกอย่างไหนผิด เราอาจจะ ย้อนไปในสมัยกรีก ในบทสนทนาที่ชื่อยูไทรโฟ (Euthyphro) เพลโต

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

พรวิภา ลิ้มใช้ นักศึกษาภาค วิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิชาโท ทั ศ น ศิ ล ป ์ น อ ก จ า ก เ รี ย น ปรัชญาแล้วยังท�ำงานศิลปะ

189


ได้เขียนขึน้ จากบทสนทนาระหว่างโสเครติสและยูไทรโฟ เกีย่ วกับเรือ่ ง สุทธิธรรม สุทธิธรรมก็คือการกระท�ำที่ดีงามและถูกต้อง ซึ่งมันแยก การกระท�ำที่ดีได้เป็นสองอย่างคือ ข้อแรก มันมีความดีที่มันด�ำรงอยู่ ก่อนแล้วเทพเจ้าก�ำหนดให้เรากระท�ำตามความดีนั้น ข้อสอง เพราะ เทพเจ้าพอใจการกระท�ำนั้นๆ มันจึงเป็นการกระท�ำที่ดี พูดง่ายๆ คือ จะดีจะชั่วขึ้นอยู่กับความพอใจของเทพเจ้า เมื่อน�ำมาโยงกับศาสนาคริสต์ก็จะมีค�ำถามในท�ำนองเดียวกัน ว่าการกระท�ำที่ถูกต้องและหลักเกณฑ์ในทางศีลธรรม มันจะถูกต้อง เพราะมันถูกต้องของมันอยู่แล้วพระเจ้าจึงสั่งให้เราปฏิบัติตาม หรือ เพราะพระเจ้าสั่งให้ท�ำมันจึงถูกต้องกันแน่ หากเราเชื่อในกรณีแรก ก็หมายความว่าศีลธรรมความดีด�ำรงอยู่เองโดยตัวมันอยู่แล้วใน ธรรมชาติ หมายความว่าถึงแม้ไม่มีพระเจ้าความดีและกฎศีลธรรมก็ สามารถด�ำรงอยู่ด้วยตัวมันเอง ในกรณีที่สองก็คือ หากพระเจ้าเป็นผู้ ก�ำหนดความดีขึ้นด้วยพระองค์เอง ตัวอย่างที่ดูจะสุดขั้วคือกรณีของ การพิสูจน์ศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าของอับราฮัม โดยให้เขาพิสูจน์ด้วย การฆ่าลูกชายของเขาเอง ท�ำไมจึงจะต้องให้เขาพิสจู น์ดว้ ยวิธนี ใี้ นเมือ่ มันขัดค�ำสั่งที่ก�ำหนดว่าห้ามฆ่าคน ค�ำสั่งนี้จึงดูขัดแย้งในตัวเอง พวก ที่เชื่อในกรณีท่ีสองนี้ให้เหตุผลว่า หลักศีลธรรมสากลที่เข้าใจได้ด้วย เหตุผลไม่มีอยู่จริง แท้จริงแล้วการที่เราจะเข้าใจพระประสงค์ของ พระเจ้านัน้ ไม่มที างเป็นไปได้ เหตุผลของมนุษย์นนั้ ไม่มคี วามสามารถ ที่เพียงพอที่จะเข้าใจเหตุผลของพระเจ้าได้ เราจึงต้องท�ำตามที่องค์

190

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


พระประสงค์ของพระเจ้า ในช่วงปลายของยุคตะวันตกสมัยกลาง คือ เซนต์ โทมัส อะควีนาส ได้บรรยายถึงกฎธรรมชาติในทฤษฎีจริยศาสตร์ของเข้าได้ใกล้เคียง กับกรณีแรก เขาเชื่อว่าแท้จริงแล้วธรรมชาติมันมีกฎเกณฑ์ของมัน ด�ำรงอยูแ่ ล้วด้วยตัวมันเอง ซึง่ มนุษย์เราจะสามารถพบความแตกต่าง ระหว่างการกระท�ำที่ถูกและผิดโดยอาศัยการสังเกต ทั้งการด�ำเนิน ไปของธรรมชาติรอบตัวและโลกของเรา อะควีนาสได้รับอิทธิพล นักปรัชญากรีกผูย้ งิ่ ใหญ่คอื อริสโตเติล ซึง่ นักปรัชญาสมัยกลางขนาน นามว่า the Philosopher อริสโตเติลไม่ได้พิจารณาสิ่งต่างๆ จาก เหตุผลเพียงอย่างเดียว การรับรูต้ อ้ งเกิดจากการสังเกตสิง่ รอบตัวด้วย อะควีนาสเห็นว่าหากสังเกตโลกธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างมีจุดมุ่ง หมายเพื่อไปสู่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเสมอ สรรพชีวิต “มุ่งไปสู่สิ่งที่ดี” สังเกต เห็นได้จากสัตว์หากินเพือ่ มีชวี ติ ทีด่ ใี นการด�ำรงอยู่ และสิง่ นัน้ เป็นสิง่ ดี และส�ำหรับมนุษย์ สิ่งที่ดีดังกล่าวก็คือ “ความสุข” มนุษย์เราปกป้อง ตนเอง ครอบครัว รวมไปถึงสังคมก็เพือ่ ให้ทกุ อย่างมุง่ ไปสูส่ งิ่ ทีด่ ี หรือ เพื่อความสุขนั่นเอง จากที่ได้อธิบายมาผู้เขียนคิดว่าผู้อ่านความพอจะเข้าใจแล้วกับ การกระท�ำทีด่ แี ละถูกต้องแล้วว่ามันเป็นเช่นไร เราจะกลับมาสูค่ ำ� ถาม ที่เราทิ้งไว้ตั้งแต่ต้นว่า การเมานั้นเป็นบาปหรือไม่ ได้มีการอธิบายไว้ ในสังเขปเทววิทยาของอะควีนาสเกี่ยวกับการเมานี้ ภายใต้ค�ำถามที่ เป็นหัวข้อหลักมีข้อแยกย่อยได้อีกสี่ข้อ คือ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

191


1) ความเมานั้นเป็นบาปหรือไม่? ในข้อนี้อาจจะบอกได้เป็นสองทางคือ การเมานั้นอาจจะไม่เป็น บาปหากคุณไม่รู้ว่าเหล้าที่คุณดื่มนั้นมันจะมีฤทธิ์ที่แรงมากจนท�ำให้ ขาดการควบคุมตัวเองและไม่อาจใช้เหตุผลได้ อีกทางหนึ่งคือ หาก คุณนัน้ ตระหนักรูด้ วี า่ เหล้าทีด่ มื่ นัน้ ท�ำให้เมา แต่คณ ุ ก็ยงั จะดืม่ มันด้วย ความตะกละโดยขาดความยับยัง้ ชัง่ ใจ สิง่ นีเ้ องทีจ่ ะเรียกได้วา่ การเมา ของคุณนั้นเป็นบาป 2) ความเมานั้นเป็นบาปที่ร้ายแรง (mortal sin) หรือไม่? อย่างที่ได้อธิบายไปตั้งแต่ตอนต้นแล้วว่าบาปที่ร้ายแรงนั้นเกิด จากการตั้งใจที่จะกระท�ำเรื่องที่มันเป็นบาป ถ้าคุณยอมปล่อยให้ กิเลสนั้นครอบง�ำเหตุผลของคุณจนไม่สามารถตระหนักรู้ถึงการกระ ท�ำที่พอดีและเหมาะสม ซึ่งสิ่งนี้เองที่เป็นบาปที่ร้ายแรงไม่สามารถ ให้อภัยได้ เมื่อน�ำมาเทียบกับการดื่มที่เราดื่มเพียงแค่ความจ�ำเป็น แล้วคุณเมา บาปก็ลดเป็นเพียงแค่บาปเล็กน้อย (venial sin) เท่านั้น สามารถให้อภัยได้ 3) การเมานั้นเป็นบาปร้ายแรงหรือไม่? ความร้ายแรงของการเมาเป็นเพียงแค่บาปที่เกิดจากการตั้งใจ คุณเมาเพราะเรานัน้ ไม่รวู้ า่ เหล้านัน้ มันมีแอลกอฮอล์อยูม่ าก คุณอาจ จะไม่รู้ตัวเมาคุณเมาไปแล้ว จนท�ำให้คุณขาดสติ หรือคุณตั้งใจจะดื่ม มันด้วยความตะกละ การกระท�ำอย่างหลังนีเ่ องเรียกว่าเป็นบาปทีร่ า้ ย แรง เพราะความดีและเหตุผลของคุณได้ถูกท�ำให้หายไปเพราะความ ชั่ว การสารภาพบาปอาจช่วยให้บาปที่ร้ายแรงนั้นทุเลาลง

192

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


4) บาปที่เกิดจากการเมานั้นให้อภัยได้หรือไม่? ดูเหมือนกับว่าการเมานั้นจะเป็นบาปที่สามารถให้อภัยได้ หาก การเมาเกิดจากการที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งมันท�ำให้การใช้เหตุผลของ เราบกพร่องกระท�ำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ มันจึงเป็นเรื่องที่สามารถอภัย ให้กันได้ จากสี่ข้อที่กล่าวมานี้ผู้อ่านคงจะเห็นแล้วว่า ถ้าว่ากันตามทัศนะ ของอะควีนาส นักปรัชญาสมัยกลางแล้ว บาปที่มันเกิดจากการเมา ว่าที่แท้แล้ว มันจะเป็นบาปหรือไม่ บาปนั้นจะเป็นบาปหนักร้ายแรง ทีส่ ดุ และให้อภัยกันได้หรือเปล่านัน้ ทุกอย่างมันก็ลว้ นแล้วแต่เจตนา ของเราทั้งสิ้น หากเรามองในด้านอื่นที่ไม่ใช่เรื่องศีลธรรม การดื่มแล้วเมาโดยที่ เราขาดสติ ผลที่ตามมาก็ไม่ได้เป็นผลที่ดีอยู่แล้ว ร่างกายของเราเมื่อ รับแอลกอฮอล์มากๆ สะสมเรือ่ ยๆ วันหนึง่ โรคภัยก็จะถามหา สติการ ควบคุมพฤติกรรมตนเองก็ลดลง ไม่มีใครสามารถที่จะยับยั้งคุณได้ เมื่อคุณคิดจะดื่มมัน แต่ ณ ขณะที่คุณก�ำลังจะยกแก้วเหล้าแก้วนั้น ขึ้นดื่มขอให้คุณตั้งสติ และอย่าให้ความตะกละตะกรามมันเข้ามากัด กินเหตุผลและความรับผิดชอบของคุณก็พอ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

193


194

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/ Essay /

พันธมิตรระหว่างม็อบกับทุน

ฮานน่า อาเร็นดท์   /  พุทธพล มงคลวรวรรณ แปล

เมื่

J. Jordaens : A king sits drinking at a table, 1640.

vice versa

อจักรวรรดินยิ มทีเ่ ข้าสูก่ ารเมืองด้วยการเข้ารุมแย่งชิงดินแดนใน แอฟริกาในทศวรรษ 1880 ได้รับการสนับสนุนโดยนักธุรกิจ ใน ขณะทีร่ ฐั บาลทีค่ รองอ�ำนาจอยูใ่ นนัน้ ต่อต้านอย่างขันแข็ง กลุม่ ชนชัน้ ผูม้ กี ารศึกษากลับยอมรับอย่างน่าประหลาดใจ ด้วยถือว่าการเข้าไปใน แอฟริการาวกับเป็นเรื่องสวรรค์โปรด เป็นการรักษาความชั่วร้ายทั้ง ปวงและสามารถสยบความขัดแย้งทั้งปวง จักรวรรดินิยมถูกมองใน แง่เป็นความหวัง มันจะท�ำให้ชีวิตทางการเมืองและโครงสร้างสังคม ซึ่งขณะนั้นถูกคุกคามโดยชนชั้นใหม่และพลังทางการเมืองต่างๆ ให้ ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง จักรวรรดินิยมจะแก้ไขปัญหาต่างๆ และสร้างความมั่นคงเป็น ความรู้สึกนึกคิดของคนโดยทั่วไปในยุโรปยุคก่อนสงคราม ก่อนที่ทุก อย่างจะพังทลาย ความมีเสถียรภาพเริ่มสั่นคลอน ทางแก้ของภาวะ เช่นนั้นคือ จักรวรรดินิยม เพื่อตอบค�ำถามที่ว่า ท�ำไมชาติยุโรปจึง ยินยอมให้ความชัว่ ร้ายแพร่กระจายท�ำลายล้างทุกสิง่ ทุกอย่าง รัฐบาล

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

พุ ท ธ พ ล ม ง ค ล ว ร ว ร ร ณ เกิ ด ที่ บ างกอกน้ อ ย สอน ประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขต ปัตตานี นอกจากสนใจเกี่ยว กั บ ประวั ติ ศ าสตร์ ก ารเมื อ ง ไทยสมัยใหม่แล้ว ยังมีควาาม สนใจเกีย ่ วกับสมัยอาณานิคม และอิ ท ธิ พ ลของมั น ที่ มี ต ่ อ สังคมไทยและเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ด้วย

195


ต่างๆ รู้ดีถึงสิ่งที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นแต่ท�ำไมจึงท�ำแค่เพียงซื้อเวลา คงเป็นการไร้เดียงสาเกินไปที่จะกล่าวว่า การขยายอ�ำนาจดู เหมือนจะเป็นการกระจายสินค้าจากการผลิตแบบทุนนิยมและการ ส่งออกทุน ความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นจากการผลิตแบบทุนนิยมภายใต้ ระบบสังคมที่มีการกระจายทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกันท�ำให้เกิด ภาวะการออมมากเกินไป (oversaving) ซึ่งมักกล่าวหาว่ามาจาก การสะสมทุนภายในขอบเขตที่จ�ำกัดของการผลิตและบริโภคภายใน ชาติ วิกฤตการณ์และปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นท�ำให้นายทุนตัดสิน ใจว่า ต่อจากนีไ้ ปอุปสงค์และอุปทานของระบบเศรษฐกิจต้องมาจาก “นอกสังคมทุนนิยม” ซึ่งก่อนหน้านี้ ที่ท�ำอยู่บนฐานของชาติตัวเอง ได้เพราะระบบทุนนิยมยังไม่สามารถครอบง�ำทุกชนชั้นให้เข้ามาอยู่ ภายใต้ความสามารถในการผลิตได้ แต่เมื่อทุนนิยมได้เข้าไปครอบง�ำ โครงสร้างทางเศรษฐกิจและชนชั้นทางสังคมทั้งหมดให้เข้ามาอยู่ใน วงโคจรของการผลิตและการบริโภค นายทุนจึงมีทางเลือกสองทาง คือปล่อยให้ระบบทั้งหมดพังหรือหาตลาดใหม่ ซึ่งก็คือการเข้าไปยัง ประเทศใหม่ๆ ทีย่ งั ไม่ได้อยูภ่ ายใต้ระบบทุนนิยมและท�ำให้เกิดอุปสงค์ และอุปทานใหม่นอกทุนนิยมขึ้นมา จุดเปลี่ยนส�ำคัญเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจในทศวรรษ 1860 ถึง 1870 อันเป็นบ่อเกิดของยุคจักรวรรดินิยม ที่ท�ำให้ชนชั้นกระฎุมพี ตระหนักเป็นครั้งแรกว่าบาปก�ำเนิดของการปล้นทรัพย์ธรรมดาๆ ซึ่ง เคยเกิดขึน้ เมือ่ หลายศตวรรษมาแล้ว “การสะสมทุนแบบดัง้ เดิม” อัน

196

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เป็นจุดเริม่ ต้นของการสะสมทุนทัง้ ปวงจะต้องกลับมาอีกครัง้ เมือ่ การ สะสมทุนแบบทุนนิยมค่อยๆ หมดความสามารถลง ในการเผชิญกับ ภยันตรายนี้ไม่เพียงแต่คุกคามแต่ชนชั้นกระฎุมพี หากการล่มสลาย อย่างหายนะในการผลิตส่งผลต่อทั้งประชาชาติด้วย ผู้ผลิตทุนนิยมรู้ ดีว่ารูปแบบและกฎของระบบการผลิตของพวกเขา “ตั้งแต่เริ่มต้นได้ ค�ำนวณเอาไว้ส�ำหรับโลกทั้งโลก” ปฏิ กิ ริ ย าแรกต่ อ การอิ่ ม ตั ว ของตลาดภายในประเทศ การ ขาดแคลนวัตถุดิบและภาวะวิกฤติที่ก�ำลังก่อตัว คือการส่งออกทุน เจ้าของความมั่งคั่งอันมหาศาลพยายามที่จะลงทุนในต่างประเทศ โดยปราศจากการขยายอ�ำนาจและการควบคุมทางการเมือง ซึ่ง ผลที่ได้ไม่ประสบความส�ำเร็จ เนื่องจากความไม่แน่นอนและเรื่อง อื้อฉาวทางการเงิน อย่างเช่นกรณีปานามาในฝรั่งเศส และกรณี Grundungsschwindel ในเยอรมนีและออสเตรีย กลายเป็นตัวอย่าง คลาสสิก การส่ ง ออกเงิ น และการลงทุ น ในต่ า งประเทศดั ง กล่ า วไม่ ใ ช่ จักรวรรดินิยมและไม่จ�ำเป็นที่จะน�ำไปสู่การขยายดินแดนในฐานะ เครื่องมือทางการเมือง ตราบเท่าที่เจ้าของความมั่งคั่งอันมหาศาล ยังพอใจในการลงทุน “ทรัพย์สินจ�ำนวนมากในดินแดนต่างด้าว” หากเพียงพวกเขาต้องการให้รัฐบาลคุ้มครองการลงทุน (หลังจาก ช่วงแปรปรวนซึ่งท�ำให้ตระหนักถึงความเป็นไปได้ที่จะใช้การเมือง ในการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงสูง) ได้ท�ำให้พวกเขากลับเข้าสู่ชีวิต

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

197


ของประชาชาติ ในแรงดึงดูดนี้พวกเขาได้ด�ำเนินรอยตามจารีตของ สังคมกระฎุมพี ที่ถือว่าสถาบันทางการเมืองเป็นเครื่องมือส�ำหรับ การปกป้องทรัพย์สินส่วนบุคคลเสมอ เพียงแค่ความสอดคล้องอัน น่าอัศจรรย์ของการเรืองอ�ำนาจของชนชั้นผู้ถือครองทรัพย์สินใหม่ และการปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมได้ทำ� ให้เกิดผูผ้ ลิตกระฎุมพีและผูก้ ระตุน้ การผลิต ตราบเท่าที่ความมั่งคั่งนั้นตอบสนองหน้าที่พื้นฐานในสังคม สมัยใหม่ ซึง่ เนือ้ แท้แล้วคือชุมชนของผูผ้ ลิต ความมัง่ คัง่ ก็จะมีบทบาท ส�ำคัญส�ำหรับชาติโดยรวม เจ้าของทุนอันมหาศาลคือส่วนแรกสุดของ ชนชั้นนี้ที่ต้องการก�ำไรโดยไม่ต้องตอบสนองต่อหน้าที่อันแท้จริงทาง สังคมซึง่ ผลทีต่ ามมาก็คอื แม้กระทัง่ ต�ำรวจก็ไม่สามารถช่วยให้รอดพ้น จากความโกรธแค้นของประชาชนได้ การขยายอ�ำนาจจึงไม่ใช่เพียงทางออกส�ำหรับทุนอันมหาศาล ยิง่ ไปกว่านัน้ มันยังปกป้องเจ้าของทุนจากภัยคุกคามความมัง่ คัง่ ทีย่ งั คง เหลืออยู่และการเป็นกาฝาก การขยายอ�ำนาจช่วยกระฎุมพีรอดพ้น จากผลของการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรมและท�ำให้แนวคิดเกี่ยว กับกรรมสิทธิ์ในช่วงเวลาที่ความมั่งคั่งไม่ได้ถูกใช้ในฐานปัจจัยในการ ผลิตภายในกรอบของรัฐชาติและได้กลายเป็นความขัดแย้งกับอุดมคติ ของการผลิตของชุมชนโดยรวมกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ สิ่งที่มีมาก่อนความมั่งคั่งอันมหาศาลเป็นผลอีกประการของ การผลิตแบบทุนนิยม คือ ซากสลักหักพังของมนุษย์ที่การเติบโต ทางอุตสาหกรรมได้ท�ำลายไปอย่างถาวรจากสังคมที่ท�ำการผลิต

198

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกครั้งหลังวิกฤต คนที่กลายเป็นผู้ไร้ประโยชน์ อย่ า งถาวรมี จ� ำ นวนมากมหาศาลในชุ ม ชนเท่ า กั บ ผู ้ เ ป็ น เจ้ า ของ ความมั่งคั่งอันมหาศาล ซึ่งนั่นได้กลายเป็นสิ่งที่คุกคามต่อสังคมซึ่ง เป็นที่ยอมรับกันตลอดศตวรรษที่สิบเก้าและการส่งออกได้ช่วยเพิ่ม ประชากรให้กับแคนาดา ออสเตรเลียและสหรัฐฯ ข้อเท็จจริงใหม่ที่ ว่ายุคจักรวรรดินิยมคือพลัง 2 อย่างได้แก่ ทุนและก�ำลังแรงงานได้ จับมือกันและออกนอกประเทศทั้งคู่ ความคิดเรื่องการขยายอ�ำนาจ การส่งออกอ�ำนาจของรัฐบาลและผนวกดินแดนต่างๆ ที่คนในชาติ ได้ลงทุนทั้งเพื่อความมั่งคั่งและการท�ำงาน ดูจะเป็นทางออกส�ำหรับ การสูญเสียความมั่งคั่งและประชากร จักรวรรดินิยมและความคิด ขยายอ�ำนาจอย่างไม่จ�ำกัดดูจะเสนอทางออกอันถาวรส�ำหรับความ ชั่วร้ายที่ถาวรเช่นกัน นับเป็นเรื่องตลกร้ายประเทศแรกที่ความมั่งคั่งและคนถูกน�ำมา รวมกันและได้แพร่กระจายออกไป คือ แอฟริกาใต้ ซึง่ บริเตนได้ครอบ ครองมาตัง้ แต่ตน้ ศตวรรษเนือ่ งจากอยูใ่ นเส้นทางเดินเรือไปอินเดีย แต่ การเปิดคลองสุเอสและการมีชัยชนะเหนืออียิปต์ท�ำให้ความส�ำคัญ ของสถานการค้าเก่าอย่างเคปทาวน์ลดความส�ำคัญลง บริเตนควร จะถอนตัวจากแอฟริกาเพราะชาติยุโรปอื่นๆ ได้หมดผลประโยชน์ ทางการค้าและดินแดนในอินเดียไปแล้ว ความตลกร้ายอยู่ที่ว่า เมื่อมีการค้นพบเหมืองเพชรในทศวรรษ 1870 และเหมืองทองในทศวรรษ 1880 ความปรารถนาในผลก�ำไร

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

199


อันใหม่นี้ได้มาบรรจบกับการแสวงหาโชคเป็นครั้งแรก นักแสวงโชค นักผจญภัยและอันธพาลในเมืองใหญ่อพยพไปยังกาฬทวีปพร้อมด้วย ทุนจากประเทศที่พัฒนาอุตสาหกรรมแล้ว แต่นั้นเป็นต้นมา ม็อบกับ ทุนก็ได้มารวมตัวกัน เจ้าของความมั่งคั่งมหาศาลเป็นผู้ที่สามารถ ใช้คนจ�ำนวนมหาศาลจากสี่มุมโลก ร่วมกันสร้างสวรรค์แห่งปรสิตที่ สูบเลือดแห่งชีวิต อันได้แก่ ทอง จักรวรรดินิยม ผลผลิตของเงินและ คนจ�ำนวนมหาศาล เริ่มขึ้นโดยการผลิตสินค้าที่ไม่จริงและฟุ่มเฟือย อาจยังเป็นที่สงสัยว่าท�ำไมความคิดการขยายอ�ำนาจเป็นทาง แก้ปัญหาทั้งหมดจึงเป็นที่ดึงดูดใจคนที่ไม่ใช่จักรวรรดินิยม ความ สลับซับซ้อนของพรรคการเมืองในระบบรัฐสภาเกี่ยวกับนโยบาย จั ก รวรรดิ นิ ย มควรเป็ น สิ่ ง ที่ ต ้ อ งบั น ทึ ก ไว้ ประวั ติ พ รรคแรงงาน บริเตนดูเหมือนจะเป็นการยืนยันค�ำท�ำนายของ Cecil Rhodes ที่ ว่า คนงานที่อื่นๆ ก็ท�ำงานแบบเดียวกันตน ถ้าพวกเขาไม่มองออก ไปข้างนอก ก็คงไม่มีที่ที่จะท�ำการค้าในโลกนี้อีกต่อไป ดังนั้นคนงาน จึงเป็นจักรวรรดินิยมและพรรคเสรีนิยมเป็นผู้ตาม ในเยอรมนี พวก เสรีนิยมเป็นผู้สนับสนุนหลักของนโยบายทางทะเลที่เป็นสาเหตุหลัก ของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พรรคสังคมนิยมร่วมสนับสนุนนโยบาย ทางทะเลและนโยบายต่ า งประเทศแบบจั ก รวรรดิ นิ ย ม ถ้ า มอง แบบมาร์กซิสต์ ปรากฏการณ์พันธมิตรระหว่างม็อบกับทุนนี้ ไม่ใช่ ลักษณะที่เป็นธรรมชาติ และขัดแย้งกับทฤษฎีว่าด้วยการต่อสู้ทาง ชนชั้น ภัยอันตรายที่แท้จริงของความพยายามของจักรวรรดินิยมที่

200

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


จะแบ่งมนุษย์เป็นเชื้อชาติต่างๆ ที่มีความสูงต�่ำไม่เท่ากัน โดยรวม ประชาชนเหล่านั้นให้เป็นม็อบ เป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามไป แม้กระทั่ง เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่สมานฉันท์กรรมกรทั่วโลกสิ้นสุดลง นักสังคมนิยมก็ยังดูไม่ออกถึงต้นตอของปัญหาดังกล่าว ความอ่ อ นแออย่ า งน่ า สงสั ย ของกระแสมวลชนที่ ต ่ อ ต้ า น จักรวรรดินิยม ความไม่สมเหตุสมผลและการไม่รักษาค�ำมั่นสัญญา ของรัฐบุรุษเสรีนิยม บ่อยครั้งก็อธิบายด้วยสาเหตุของการสุ่มเสี่ยง ฉวยโอกาสหรือการติดสินบน แต่ยงั มีสาเหตุจากอย่างอืน่ อีกและเป็น สาเหตุทลี่ กึ ไปกว่านัน้ การฉวยโอกาสหรือการติดสินบนคงไม่สามารถ ชักจูงคนอย่าง Gladstone หัวหน้าพรรคเสรีนยิ มให้ละทิง้ ค�ำมัน่ สัญญา ได้ คนเหล่านี้ตระหนักร่วมกับประชาชนว่าชาติก�ำลังแตกออกเป็น ชนชั้นอย่างชัดเจน การต่อสูท้ างชนชั้นเป็นเรื่องทั่วไปในชีวิตทางการ เมืองสมัยใหม่ ซึ่งนั่นหมายความว่าการหลอมรวมกันขึ้นเป็นชาติ ก็จะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ การขยายอ�ำนาจเกิดขึ้นในฐานะผู้ช่วยชีวิต อย่างน้อยมันก็ท�ำให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันของชาติโดยรวม และ นี่เป็นสาเหตุหลักของที่นักจักรวรรดินิยมได้กลายเป็น “กาฝากของ ลัทธิรักชาติบ้านเมือง” แน่นอนว่าส่วนหนึง่ ของความหวังนีเ้ ป็นแบบวิถปี ฏิบตั เิ ก่าๆ ทีท่ ำ� กันมา การรักษาความขัดแย้งภายในด้วยการออกไปเผชิญศึกในต่าง แดน แต่ความต่างอยู่ตรงที่การแสวงหาดินแดนโดยธรรมชาติแล้ว มีเวลาและพื้นที่ท่ีจ�ำกัด ซึ่งหมายถึงสามารถเอาชนะความขัดแย้ง

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

201


ภายในได้เพียงชั่วคราว ตั้งแต่เริ่มต้นการแสวงหาดินแดนของการ ขยายอ�ำนาจแบบจักรวรรดินิยมดูจะเป็นแนวทางที่ถาวร เพราะการ ขยายอ�ำนาจถูกมองว่าไม่มีขีดจ�ำกัด ยิ่งกว่านั้นจักรวรรดินิยมไม่ได้ ออกผจญภัยแสวงหาในแบบทัว่ ไป เพราะมันไม่ได้ขนึ้ ต่อค�ำขวัญแบบ เดิมที่เน้นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ในสังคมที่มีการขัดกันของผล ประโยชน์ ที่ความดีร่วมกันถูกนิยามเท่ากับผลรวมของผลประโยชน์ ส่วนบุคคล การขยายอ�ำนาจดังกล่าวจึงดูเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ของประชาชาติโดยรวม เนื่องจากชนชั้นเจ้าของสมบัติและชนชั้นที่ มีอ�ำนาจได้ท�ำให้ทุกคนเชื่อว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความ ต้องการเป็นเจ้าของเป็นพื้นฐานส�ำหรับการเมือง ดังนั้นแม้กระทั่ง รัฐบุรษุ ทีไ่ ม่ใช่นกั จักรวรรดินยิ มก็ยงั ถูกลวงให้เชือ่ ในผลประโยชน์รว่ ม กันทางเศรษฐกิจที่ปรากฏอยู่ข้างหน้า สิง่ เหล่านีเ้ ป็นเหตุผลว่าท�ำไมชาตินยิ มจึงพัฒนาไปสูจ่ กั รวรรดินยิ ม ความขัดแย้งภายในของสองหลักการนีเ้ ป็นทีเ่ ห็นเด่นชัด ชาติทไี่ ม่แข็ง แรงส�ำหรับการรวมเอาชนต่างชาติเข้ามา (ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญของ ตนเอง) ก็ยิ่งจะมีแนวโน้มที่จะกดขี่คนเหล่านั้น ในทางทฤษฎีแล้ว นี่คือหุบเหวที่อยู่ระหว่างชาตินิยมและจักรวรรดินิยม ในทางปฏิบัติ มันสามารถและได้เป็นสะพานระหว่างชาตินิยมชนเผ่าและฟาสซิสม์ สุดโต่ง ตั้งแต่เริ่มต้น นักจักรวรรดินิยมในทุกประเทศเทศนาและ สนับสนุนการอยู่ “เหนือพรรคการเมือง” ของพวกตนและเป็นพวก เดียวที่กล่าวในนามของประชาชาติทั้งหมดได้ สิ่งนี้เป็นเรื่องจริงใน

202

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ประเทศยุโรปกลางและตะวันออกที่ไม่มีหรือมีดินแดนต่างประเทศ ในครอบครองน้อยมาก ที่พันธมิตรระหว่างม็อบกับทุนได้เกิดขึ้นและ สร้างผลกระทบอย่างรุนแรง (และโจมตีดว้ ยความรุนแรง) ต่อสถาบัน ต่างๆ ของชาติและทุกพรรคการเมือง นักการเมืองจักรวรรดินิยมในประเทศต่างๆ ไม่มีความแตกต่าง อย่างชัดเจนในประเด็นการเมืองภายใน โดยเฉพาะทีอ่ งั กฤษ ในขณะ ที่ “พรรคการเมืองเหนือพรรคการเมือง” อย่าง Primrose League มี อิทธิพลในระดับรองๆ แต่ จักรวรรดินยิ มเป็นสาเหตุหลักของการสลาย ตัวของระบบสองพรรคและกลายเป็นระบบแถวหน้า (Front Bench system) ซึง่ น�ำไปสู่ “การลดอ�ำนาจของฝ่ายค้าน” ในรัฐสภาและการ เติบโตของ “อ�ำนาจของคณะรัฐมนตรีเหนืออ�ำนาจของสภาผู้แทน” แน่นอนว่าสิ่งนี้ยังน�ำถูกน�ำเข้าไปในสภาในฐานะนโยบายที่อยู่เหนือ ความขัดแย้งระหว่างพรรคและผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม และน�ำขึ้น ไปโดยกลุ่มคนที่อ้างว่าพูดในนามของประชาชาติทั้งหมด ภาษาดัง กล่าวเป็นทีจ่ งู ใจบุคคลผูท้ ย่ี งั อยูใ่ นอุดมคตินยิ มทางการเมือง การเรียก ร้องหาความสามัคคีเป็นสิง่ เดียวกับการเรียกร้องท�ำศึกซึง่ ก็มกั เท่ากับ การน�ำประชาชนเข้าสู่สงคราม และกระนั้นก็ไม่มีใครจับได้ว่านี่เป็น เครื่องมือทั่วไปและถาวรของความสามัคคีและเชื้อมูลของสงครามที่ เป็นสากลและนิรันดร์ ข้าราชการเป็นกลุม่ คนทีเ่ ข้าไปเกีย่ วข้องอย่างแข็งขันมากทีส่ ดุ ใน กลุ่มจักรวรรดินิยมแบบชาตินิยมและมีความรับผิดชอบหลักในการ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

203


ผสานเอาจักรวรรดินิยมและชาตินิยมเอาไว้ด้วยกัน รัฐประชาชาติได้ สร้างและขึน้ กับระบบราชการในฐานะตัวตนถาวรของข้าราชการผูท้ ำ� หน้าทีอ่ ย่างไม่ยดึ ติดกับผลประโยชน์ทางชนชัน้ และการเปลีย่ นแปลง รัฐบาล ความเป็นมืออาชีพ เกียรติยศและการเคารพตัวเอง โดยเฉพาะ ในอังกฤษและเยอรมนี เกิดขึ้นจากการท�ำงานรับใช้ประเทศชาติเป็น ส่วนรวม พวกเขาเป็นคนกลุ่มเดียวที่มีผลประโยชน์โดยตรงในการ สนับสนุนข้ออ้างพื้นฐานของรัฐที่เป็นอิสระจากชนชั้นและการแบ่ง พรรคพวก อ�ำนาจของรัฐประชาติโดยตัวมันเองแล้วขึ้นอยู่กับความ เป็นอิสระทางเศรษฐกิจและความเป็นกลางทางการเมืองของระบบ ราชการเป็นสิง่ ทีช่ ดั เจนในสมัยของเรา การเสือ่ มคลายของชาติเลีย่ งไม่ ได้เลยทีม่ กั เริม่ จากการคอรัปชัน่ ในระบบบริหารถาวรและข้อกล่าวหา ทัว่ ไปคือข้าราชการได้รบั ค่าจ้าง ไม่ใช่จากรัฐ แต่มาจากชนชัน้ เจ้าของ สมบัติ ในช่วงปลายศตวรรษ ชนชัน้ เจ้าของสมบัตไิ ด้กลายมามีบทบาท ส�ำคัญ ซึ่งนั่นจะเป็นเรื่องประหลาดมากส�ำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่จะยัง คงแสร้งท�ำหน้าที่รับใช้ชาติ การแบ่งแยกทางชนชั้นท�ำให้พวกเขาอยู่ นอกตัวตนของสังคมและบังคับให้ตอ้ งรวมกลุม่ ของพวกเขาขึน้ มา ใน ระบบราชการอาณานิคมพวกเขาหนีออกจากความเป็นจริงของการ สลายตัวของตัวตนแห่งชาติ คนผู้ปกครองดินแดนต่างชาติที่ไกลโพ้น ออกไป พวกเขาสามารถแสร้งท�ำเป็นข้าราชการอันวีระอาจหาญทีท่ ำ� หน้าทีเ่ พือ่ ชาติได้มากกว่าถ้าอยูใ่ นประเทศบ้านเกิดตนเอง อาณานิคม ไม่ได้เป็นอะไรมากกว่า “ระบบท่อระบายน�้ำเสียนอกอาคารส�ำหรับ

204

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ชนชั้นสูง” พวกเขาได้กลายเป็นกระดูกสันหลังของชาตินิยมอังกฤษ ซึ่งค้นพบในดินแดนภายใต้การปกครองที่ไกลออกไปและปกครอง คนแปลกหน้าซึ่งเป็นทางเดียวที่จะรับใช้บริเตนและไม่ใช่สิ่งอื่นใด นอกเสียจาก ผลประโยชน์ของบริเตน ระบบราชการเชือ่ กันจริงจังว่า “ความอัจฉริยะของแต่ละชาติแสดงตัวออกมาได้อย่างชัดเจนทีส่ ดุ ใน ระบบที่จะจัดการชนชาติที่ภายใต้การปกครองของพวกเขา” เป็นความจริงที่ว่าไกลออกจากบ้านเป็นทางเดียวที่พลเมืองของ อังกฤษ เยอรมนี หรือฝรัง่ เศสจะได้เป็นชาวอังกฤษ ชาวเยอรมัน หรือ คนฝรัง่ เศส ในประเทศของตนพวกเขาถูกผูกมัดด้วยผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจหรือความภักดีทางสังคม ซึ่งเขารู้สึกใกล้ชิดกับสมาชิกของ ชนชั้นของเขาในต่างประเทศมากกว่าคนต่างชนชั้นในบ้านตนเอง การขยายอ�ำนาจมอบชีวิตใหม่ให้กับชาตินิยมและได้กลายเป็นที่ ยอมรับว่าเป็นเครื่องมือของการเมืองแห่งชาติ สมาชิกของสมาคม อาณานิคมและสันนิบาตจักรวรรดินิยมรู้สึก “ไกลจากความขัดแย้ง ระหว่างพรรค” และยิ่งกว่านั้นพวกเขามีความเชื่ออย่างแรงกล้าขึ้น ทุกวันๆ ว่าพวกเขา “เป็นคนกลุ่มเดียวที่เป็นตัวแทนเจตจ�ำนงของ ชาติ” สิง่ นีแ้ สดงให้เห็นภาวะอันน่าหดหูใ่ จของชาติตา่ งๆ ในยุโรปก่อน จักรวรรดินยิ ม ว่าสถาบันทีพ่ วกเขาได้สร้างขึน้ เปราะบางเพียงไรและ ได้พสิ จู น์ให้เห็นว่าระบบสังคมมันล้าสมัยเช่นไรเมือ่ ต้องเผชิญหน้ากับ ความสามารถในการผลิตทีเ่ พิม่ มากขึน้ ของคน วิถที างทีจ่ ะรักษามันไว้ ก็น่าหดหู่เช่นกัน และเรื่องน่าเศร้าก็คือ ในตอนท้ายมันพิสูจน์แล้วว่า

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

205


สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ แย่ยงิ่ กว่าความชัว่ ร้ายทีม่ นั ก่อเพราะมันไม่ได้ชว่ ยอะไรเลย พันธมิตรระหว่างทุนและม็อบพบว่าเป็นจุดก�ำเนิดของนโยบาย จั ก รวรรดิ นิ ย มทั้ ง ปวง ในบางประเทศ โดยเฉพาะบริ เ ตนใหญ่ พันธมิตรใหม่ระหว่างรวยเกินไปกับจนเกินไปอยู่และยังคงอยู่ในดิน แดนในครอบครองโพ้นทะเล สิ่งที่เรียกว่าความหน้าไหว้หลังหลอก (hypocrisy) ของนโยบายบริเตนเป็นผลของเจตนาอันดีของรัฐบุรุษ อังกฤษ ผูล้ ากเส้นไว้ชดั เจนระหว่างวิธกี ารในอาณานิคมและนโยบาย ปกติภายในประเทศ ทัง้ นีเ้ พือ่ หลีกเลีย่ งความส�ำเร็จอันเป็นทีย่ อมรับที่ เกิดผลสะท้อนกลับของจักรวรรดินยิ มมายังบ้านเกิดตัวเอง ในประเทศ อื่น เช่น เยอรมนีและออสเตรีย พันธมิตรส่งผลสะเทือนที่บ้านในรูป ของขบวนการแนวร่วมและส่งผลในบางลักษณะในฝรั่งเศสที่เรียกว่า นโยบายอาณานิคม วัตถุประสงค์ของขบวนการเหล่านี้ คือ ท�ำให้เป็น จักรวรรดิทงั้ ประชาชาติ (และไม่เฉพาะในส่วนทีม่ งั่ คัง่ ร�ำ่ รวย) รวมเอา นโยบายภายในและต่างประเทศเข้าไว้ด้วยกันในวิธีการเดียวกับ การจัดการประเทศส�ำหรับการปล้นสะดมดินแดนต่างประเทศและ ลดชั้นคนต่างชาติอย่างถาวร การเกิดขึ้นของม็อบที่อยู่นอกองค์กรแบบทุนนิยมที่เป็นสิ่งที่เคย ส�ำรวจมาก่อนและการเติบโตของมันได้รับการบันทึกเอาไว้อย่าง ระมัดระวังและกระวนกระวายโดยนักประวัติศาสตร์ส�ำคัญทั้งหลาย ในศตวรรษที่สิบเก้า การมองโลกในแง่ร้ายทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ Burckhardt จนถึง Spengler เกิดขึ้นเพราะสิ่งเหล่านี้ แต่สิ่งที่นัก

206

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ประวัตศิ าสตร์พลาดคือม็อบไม่ได้เป็นสิง่ เดียวกับการเพิม่ มากขึน้ ของ ชนชั้นคนงานอุตสาหกรรมและยิ่งไม่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งหมด ส่วนประกอบนี้ท�ำให้ดูเหมือนว่าม็อบและตัวแทนได้ท�ำลายความ แตกต่างทางชนชัน้ ลงไป และแสดงตัวตนแยกออกมาจากชาติทมี่ กี าร แบ่งชนชัน้ ในฐานะประชาชนทีแ่ ท้จริงมากกว่าทีจ่ ะเป็นภาพบิดเบือน หรือภาพล้อแสดงแทน ผู้มองโลกในแง่ลบทางประวัติศาสตร์เข้าใจ ลักษณะพืน้ ฐานอันไม่ตอบสนองตอบสถานะทางสังคมอันใหม่นี้ และ พวกเขายังคาดการณ์ไว้อย่างถูกต้องถึงความเป็นไปได้ของการเปลีย่ น ประชาธิปไตยให้กลายเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จทีท่ รราชจะเรืองอ�ำนาจ ขึ้นมาจากและมีฐานสนับสนุนจากม็อบ สิ่งที่พวกเขาผิดพลาดในการ ท�ำความเข้าใจคือ ม็อบไม่เพียงจะปฏิเสธแต่เป็นผลผลิตของสังคม กระฎุมพี เป็นผลผลิตโดยตรงและไม่ได้แยกออกจากมันเลย ด้วย เหตุผลนี้พวกเขาพลาดที่จะตั้งข้อสังเกตว่าชนชั้นสูงค่อยๆ ให้ความ นิยมโลกใต้ดิน ซึ่งเกิดขึ้นตลอดในศตวรรษที่สิบเก้า ทั้งค่อยๆ ละทิ้ง การตั้งค�ำถามอย่างค่อยเป็นค่อยไปกับคุณธรรมและมีค่อยๆ เกิด ความนิยมกับความไม่เชือ่ มันแบบอนาธิปไตย ในช่วงเปลีย่ นศตวรรษ กรณี Dreyfus แสดงให้เห็นว่าโลกใต้ดินและสังคมชั้นสูงในฝรั่งเศสมี ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันจนยากที่จะบอกว่าใครเป็นวีรบุรุษในหมู่ผู้ ต่อต้าน Dreyfus ในความรูส้ กึ เป็นญาติกนั นี้ การร่วมกันถือก�ำเนิดขึน้ มานีไ้ ด้เคยถูก ถ่ายทอดในนิยายของ Balzac ที่เขียนมาก่อนที่จะมีบริบททางสังคม

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

207


การเมืองหรือเศรษฐกิจแบบนี้ และท�ำให้นึกถึงลักษณะทางจิตวิทยา พื้นฐานของคนตะวันตกแบบใหม่ที่ Hobbes เขียนเอาไว้ก่อนหน้า แล้วถึงสามร้อยปี สาเหตุหลักทีจ่ ริงแล้วก็เกิดขึน้ โดยพวกกระฎุมพีใน ช่วงวิกฤติและความถดถอยที่เกิดก่อนหน้าจักรวรรดินิยม ซึ่งในท้าย ที่สุดสังคมชั้นสูงก็พร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างหน้ามือ เป็นหลังมือในมาตรฐานทางศีลธรรม ซึ่ง “สัจนิยม” ของ Hobbes ได้เสนอไว้แล้ว และเป็นสิ่งที่ม็อบและผู้น�ำได้น�ำเสนอใหม่ในเวลานั้น เป็นข้อเท็จจริงว่า “บาปก�ำเนิด” ของ “การสะสมทุนแบบดั้งเดิม” จ�ำเป็นต้องมีบาปเพิ่มเติมเพื่อให้ระบบด�ำเนินต่อไปตราบเท่าที่จะ จูงใจให้กระฎุมพีซึ่งมีประสิทธิภาพในการสั่นคลอนจารีตตะวันตกได้ มากกว่านักปรัชญาหรือโลกใต้ดิน ในท้ายที่สุด กระฎุมพีเยอรมันก็ ขว้างหน้ากากแบบหน้าไหว้หลังหลอกทิ้งและเปิดเผยความสัมพันธ์ ที่มีกับม็อบ ซึ่งก็เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ในทรัพย์สิน ประเด็นส�ำคัญอยู่ที่ว่าสิ่งนี้ควรจะเกิดในเยอรมนีมากกว่าใน อังกฤษและฮอลแลนด์ พัฒนาการของสังคมกระฎุมพีมคี วามก้าวหน้า กว่าและกระฎุมพีในประเทศเหล่านี้มีความมั่นคงและเสรีภาพจาก ความกลัวมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษ การเกิดขึ้นในฝรั่งเศสถูก ขัดขวางโดยการปฏิวัติมวลชนซึ่งมีลักษณะต่อต้านการมีอ�ำนาจน�ำ ของพวกกระฎุมพี ในเยอรมนีทพี่ วกกระฎุมพียงั ไม่พฒ ั นาถึงจุดสูงสุด จนกระทั่งครึ่งหลังของศตวรรษที่สิบเก้า ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเข้ม แข็งขึ้นของขบวนการกรรมกรที่ปฏิวัติ ซึ่งมีจารีตที่เก่าแก่เท่าเทียม

208

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


กัน ซึ่งก็เป็นประเด็นว่าชนชั้นกระฎุมพีที่นั่นมีความรู้สึกมั่นคงน้อย กว่า ท�ำให้มีแนวโน้มที่จะท�ำลายภาระอันหนักอึ้งของความหน้าไหว้ หลังหลอกอันนั้น สังคมชั้นสูงที่ผูกติดกับม็อบเกิดขึ้นในฝรั่งเศสก่อน เยอรมนี ทั้งสองประเทศมีความเข้มแข็งเท่ากันในตอนท้าย ส�ำหรับ ฝรั่งเศสเพราะจารีตการปฏิวัติของที่นั่นและโดยเปรียบเทียบแล้ว ขาดซึง่ การท�ำให้เป็นอุตสาหกรรม จึงผลิตได้แค่มอ็ บเล็กๆ ดังนัน้ พวก กระฎุมพีพวกนีจ้ งึ ต้องหันไปหาความช่วยเหลือจากเพือ่ นบ้าน ซึง่ ก็คอื เยอรมนีของฮิตเลอร์ อาจกล่าวได้ว่า ความไม่เท่ากันระหว่างสาเหตุและผลซึ่งก�ำหนด ลักษณะการเกิดขึ้นของจักรวรรดินิยมมีเหตุผลโดยตัวมันเอง โอกาส คือ ความมั่งคั่งอันมหาศาลสร้างขึ้นโดยการสะสมทุนที่มากเกินไป ซึ่งต้องใช้ม็อบช่วยในการรักษาและท�ำก�ำไรให้กับการลงทุน ถูกสร้าง ขึ้นมาอยู่บนฐานของโครงสร้างพื้นฐานของสังคมกระฎุมพี แม้ว่ามัน จะถูกซ่อนไว้โดยจารีตของชนชั้นสูงและโดยการหน้าไหว้หลังหลอก ก็ตาม ในเวลาเดียวกัน การเมืองที่ไม่มีหลักการไม่สามารถท�ำงานได้ จนกระทั่งจะมีมวลชนที่เป็นอิสระจากหลักการทั้งปวงและมีจ�ำนวน มากจนเอาชนะความสามารถของรัฐและสังคมทีด่ แู ลพวกเขาเหล่านัน้ เป็นความจริงที่ว่าม็อบนี้ถูกใช้โดยนักการเมืองจักรวรรดินิยมโดย เฉพาะและได้รับแรงบันดาลใจจากหลักการเชื้อชาติที่ปรากฎผ่าน จักรวรรดินิยมล้วนๆ ซึี่งจะสามารถจะก�ำจัดปัญหาภายในประเทศ สังคมและเศรษฐกิจของยุคสมัยใหม่ได้

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

209


ปรัชญาของ Hobbes จริงทีว่ า่ ไม่ได้กล่าวถึงแนวคิดเชือ้ ชาติสมัย ใหม่ ซึ่งไม่สามารถปลุกม็อบได้ แต่ในรูปแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ (totalitarian) ท�ำให้เห็นอย่างชัดเจนถึงรูปแบบขององค์กรซึง่ มนุษยชาติ สามารถด�ำเนินกระบวนการสะสมทุนและอ�ำนาจอย่างไม่รู้จบที่น�ำ ไปสู่จุดจบเชิงตรรกะที่เป็นการท�ำลายล้างตัวเอง แต่ Hobbes ได้ ให้ความคิดทางการเมืองที่เป็นจุดตั้งต้นให้กับแนวคิดเชื้อชาติทั้ง ปวง คือ การยกเว้นหลักการของมนุษยนิยมซึ่งเป็นหลักการเบื้อง ต้นของแนวคิดกฎหมายระหว่างประเทศ ด้วยสมมติฐานที่ว่าการ เมืองระหว่างประเทศจ�ำเป็นต้องอยู่นอกเหนือสัญญาของมนุษย์ การสู้รบในสงครามระหว่างกันอยู่ภายใต้กฎของ “ภาวะธรรมชาติ” Hobbes พยายามทีส่ ดุ ทีจ่ ะวางรากฐานทางทฤษฎีสำ� หรับอุดมการณ์ ธรรมชาตินยิ มนี้ ซึง่ ท�ำให้ประชาชาติกลายเป็นชนเผ่า ทีแ่ ยกออกจาก กันโดยธรรมชาติ โดยปราศจากความเชื่อมโยงกันไม่ว่าจะเป็นส�ำนึก ถึงความเป็นมนุษยชาติร่วมกัน และมีสิ่งเดียวที่มนุษย์มีร่วมกันคือ สัญชาตญาณในการเอาตัวรอดซึ่งมนุษย์มีร่วมกับสัตว์ ถ้าความคิด เรื่องมนุษยชาติ อันเป็นสัญลักษณ์ที่หลอมรวมทุกสิ่งภายใต้ก�ำเนิด ร่วมกันของมนุษย์ใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ก็คงไม่มีอะไรที่จะเป็นไปได้ มากไปกว่าทฤษฎีที่บอกว่าเชื้อชาติผิวสีน�้ำตาล เหลืองและด�ำสืบเชื้อ สายมาจากสายพันธ์ุอื่นของเอป (Apes) ซึ่งต่างจากเชื้อชาติคนขาว และทั้งหมดก็ถูกก�ำหนดโดยธรรมชาติที่จะท�ำสงครามระหว่างกันจะ กระทั่งอีกฝ่ายหายไปจากโลกนี้

210

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ถ้าจะต้องพิสูจน์ว่าเราอยู่ในกระบวนการของการสะสมอ�ำนาจ อย่างไม่รู้จบอย่างที่ Hobbes กล่าว องค์กรของม็อบเลี่ยงไม่ได้ที่ จะเปลี่ยนชาติให้กลายเป็นเชื้อชาติ ส�ำหรับและภายใต้สภาพของ สังคมที่ก�ำลังสะสมอ�ำนาจ ไม่มีพันธะผูกพันอื่นใดระหว่างบุคคลผู้อยู่ ในกระบวนการสะสมอ�ำนาจและขยายอ�ำนาจที่ก�ำลังสูญเสียความ สัมพันธ์ทางธรรมชาติกับเพื่อนมนุษย์คนอื่น เชื้อชาตินิยมอาจน�ำไปสู่การล่มสลายของโลกตะวันตก และอาจ หมายถึงอารยธรรมโลกทั้งปวง เมื่อรัสเซียกลายเป็นสลาฟ เมื่อชาว ฝรั่งเศสต้องเล่นบทบาทผู้บัญชาการกองก�ำลังคนด�ำ (force noire) เมื่อชาวอังกฤษกลายเป็นคนขาวและชาวเยอรมันกลายเป็นอารยัน เมื่อนั้นความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้กลายเป็นจุดจบของชาวตะวัน ตก ไม่ว่านักวิทยาศาสตร์จะเรียนมาอย่างไรก็ตาม เชื้อชาติ ว่ากัน ในเชิงการเมืองแล้ว ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของมนุษยชาติ แต่เป็นจุดจบ ไม่ใช่ก�ำเนิดของประชาชนแต่เป็นการเสื่อมสลาย ไม่ใช่การเกิดโดย ธรรมชาติของมนุษย์แต่เป็นการตายอย่างผิดธรรมชาติต่างหาก

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

แปลจาก Hannah Arendt, “The Alliance Between Mob and Capital,” The Origins of Totalitarianism (Cleveland and New York: The World Publishing, 1962), pp. 147-157.

211


เตรายัวเพลิงเยี้ยะ หรือไปเอาดวงไฟมาจากยักษ์ ภู กระดาษ

212

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/ Fiction /

ใคร

จะพูดอะไรออกมาก็จะกลับสู่ภาวะเดิมที่เป็นมาก่อนแต่ ปางนั้น ไม่จ�ำเป็นต้องผลิตตัวอักษร ถ้อยค�ำของตนเองขึ้น มาใหม่อีกแต่อย่างใด ไม่จ�ำเป็นต้องมีค�ำลักษณะต่างๆ ไม่จ�ำเป็นต้อง มีประธาน กริยา กรรม ไม่จ�ำเป็นต้องมีประโยคเริ่มต้น กลาง ท้าย เรียงตามล�ำดับ ไม่จำ� เป็นต้องเขียน-อ่านจากซ้ายไปขวาแบบเดียวกัน ทัง้ หมด ไม่จำ� เป็นต้องใช้ความพยายามท�ำความเข้าใจ แม้จะไม่คล้อย ตามกัน เห็นต่าง เห็นแย้งกันสุดกู่ แต่กจ็ ะยังสามารถพูดคุยแลกเปลีย่ น กันได้โดยทีไ่ ม่ตอ้ งลงไม้ลงมือลงอาวุธต่อกัน ก่อนเข้าไปอยูใ่ นช่องโยนี ของนางโยนีใหญ่ ภาษาที่เป็นภาษาเดียวกัน เขียน และพูดแบบไหน ก็ได้ก็เข้าใจกันได้อย่างไม่ตกหล่นและคล้อยตามกันได้อย่างโดยง่าย โต้แย้งแจงเหตุผลต่อกันได้ดุเดือดโดยง่าย แถนจึงได้บอกกล่าวไป ว่า ให้ไปแย่งชิงดวงไฟจากยักษ์มาก่อน แสงไฟนั้นจะน�ำมาซึ่งความ สว่างไสวและความอบอุน่ ซึง่ จะท�ำให้ทกุ คนกลับมาระลึกและจดจ�ำได้ ถึงภาษาดั้งเดิมที่เคยสื่อสารกันแต่ปางก่อน และไม่เฉพาะแต่หมู่บ้าน ของยศกับหลายหมูบ่ า้ นทีม่ กี ารรบพุง่ กัน แต่หมูบ่ า้ นทัว่ ทัง้ โลกก็ตกอยู่ ในสภาพที่ไม่แตกต่างกันนั้น ในวันหนึ่งที่การรบราฆ่าฟันกันกับหมู่ บ้านอื่นๆ ไม่จ�ำเพาะแต่หมู่บ้านเดียวได้ลุกลามใหญ่โตไปทั่วโขงเขต การไปน�ำเอาไฟจากยักษ์ของไทบ้านแต่ปางนั้นนั้นเกิดจากการที่ใน วันหนึ่งของฤดูฝนที่แถนบนฟ้าผู้อ้างตัวว่าเป็นท้าวเจืองได้ลงมาบอก กล่าวไทบ้านคนหนึ่ง

ภู กระดาษ นักเขียน-กวี ไทย อี ส า น เ จ ้ า ข อ ง ผ ล ง า น บ ท กวี ไม่ปรากฏ และ นวนิยาย เนรเทศ ที่เข้ารอบลองลิสต์ ของซีไรต์ในปีนี้

Francisco de Goya: The Colossus, 1814-1818

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

213


แต่เขาก็มิอาจจะรอคอยได้อีกต่อไปแล้ว เขาจึงค่อยตะลูดตู้ดก้น พาร่างตนเองไปตามสายทางทีร่ กครึม้ นัน้ มุง่ หน้าไปโดยทีไ่ ม่รวู้ า่ จะไป ทีแ่ ห่งหนใด และไม่รวู้ า่ จะฝ่าป่าหนาดงทึบทีข่ นึ้ มาปกคลุมทางเคยใช้ เคยเทียวนัน้ ไปได้อย่างไร นกจึงได้เงียบเสียงลง บ่ ยศสวนทันควัน ให้กู รูด้ ว้ ยบ้างบ่ได้หรือ นกจึงว่า มึงอยากรูไ้ ปท�ำไม จะไปไหนมันก็เรือ่ งของ กู เขาหันไปมองแว่บหนึง่ พร้อมตอบกับไปว่า จะไปไหนนัน่ นกทีเ่ กาะ งอยคอนร้องทัก เขาพยายามพาร่างด้วยแขนทั้งสองลงจากบ้าน เส้น ทางเคยเดินเคยเทียวของไทบ้านก็รกครึม้ ไปหมดแล้วด้วยวัชพืชน้อย ใหญ่นานาชนิด เขาชะเง้อมองทางภรรยาของเขาและไทบ้านทีไ่ ปเอา ดวงไฟจากยักษ์ ชะเง้อทุกครัง้ ก็มแี ต่ความว่างเปล่าในสายทางทุกครัง้ ยศตะโกนลัน่ บ้านเพียงล�ำพังจนจิง้ จกร่วมชายคาปรามออกมาให้เบาๆ หน่อย อย่ารบกวนพวกมันให้มากนัก แต่ยศก็ยงั ตะโกนลัน่ อยูเ่ ช่นเดิม และยศก็ต้องกลายเป็นคนพิการท่อนล่างมานับตั้งแต่ปางนั้น แต่เขาก็สามารถให้ก�ำเนิดลูกชายกับลูกสาวออกมาอย่างละคน และ นั่นเองจึงท�ำให้เกิดการรบรากันยาวนานนับอีกร้อยปีต่อมาจนคนทั้ง สองหมู่บ้านแทบจะไม่เหลือหรอ เดี๋ยวจัดให้ แต่ถ้าอยากจะมีเรื่องก็ บ่ว่ากัน ได้ยังไงก็ต้องได้ หัวหน้าหมู่บ้านของยศจึงตอบโต้ออกไปว่า และถ้ายืนยันว่าจะท�ำอย่างนั้นเราจะได้เห็นดีกัน ไม่ได้โดยเด็ดขาด ทว่าในทันทีหัวหน้าหมู่บ้านนั้นก็ตอบโต้ออกมาว่า พวกมันก็ต้องรับ ผิดชอบ ก็งัวฝูงนี้มันไปกินข้าวกินน�้ำของหมู่บ้านตูข้าจนหมด เมื่อ ได้ยนิ แบบนัน้ หัวหน้าหมูบ่ า้ นของยศก็อธิบายออกมา หัวหน้าหมูบ่ า้ น

214

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


นั้นว่า จะมาเอางัวของหมู่บ้านอื่นไปเป็นของตนได้อย่างไร หัวหน้า หมูบ่ า้ นและไทบ้านหมูบ่ า้ นนัน้ พอได้ทราบความเป็นไปก็เกิดความไม่ พอใจขึ้นมาทันที และไม่ลืมที่จะเดินข้ามทุ่งไปแจ้งให้หัวหน้าหมู่บ้าน นั้นทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ข้าวที่ก�ำลังสุกเหลืองในนาส่วนกลาง ของหมู่บ้านหายวับเหลือแต่ตอลงกับตาเมื่อฝูงงัวของอีกหมู่บ้านได้ กระโจนเข้าใส่ หัวหน้าหมู่บ้านและไทบ้านส่วนหนึ่งรวมทั้งยศด้วยก็ จึงได้จับเอางัวฝูงนั้นมาเป็นของตน กินแต่หญ้าค้าแต่ฟางก็คงไม่ได้มี ปัญหาอะไร แต่ทว่างัวฝูงนั้นกลับไปกินต้นกล้วย กินต้นข้าวที่ก�ำลัง สุกเหลืองของคนในหมู่บ้านของยศด้วย วันนั้นฝูงงัวจากหมู่บ้านใกล้ เคียงได้ข้ามถิ่นมาหากินในหมู่บ้านของยศ การพิพาทกันในครั้งนั้น เกิดขึ้นในฤดูหนาวอันทุรน หนาวจนห�ำหดนมแข็ง ครั้งรุนแรงต่อมา ก็ตอนที่หมู่บ้านของยศเกิดข้อพิพาทกับหมู่บ้านใกล้เคียงที่พูดคนละ ภาษา แต่สามารถสื่อสารกันพอให้เข้าใจได้ ครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนฤดูแล้งที่แล้งและร้อนจนกะโหลกศีรษะ ปริแตกหากยืนอยู่กลางแจ้งสักชั่วโมงหนึ่ง วันนั้นอากาศอันอูดอ้าว ได้ราญยศและภรรยาจนไม่เป็นอันต้องท�ำอะไรอื่นนอกจากอยู่นิ่งๆ ให้ลมโชยพัด แต่คนต้องกินต้องขับถ่าย เมื่ออยู่กันนิ่งได้เพียงครึ่งวัน ยศก็รสู้ กึ หิวจึงได้บอกภรรยาออกไปว่า “เจ้าๆ ไปหาแนวอยากแนวกิน มากินหน่อยสิ” ได้ยินดังนั้นภรรยาของเขาที่เหงื่อท่วมกายก็หน้าตา บึ้งตึงราวกับพื้นคอนกรีตขัดมันและถลึงตาใส่ยศ ก่อนที่จะพูดออก ไปว่า “เจ้าว่าอะไรนะ?”

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

215


“ไปหาอะไรมากินหน่อย ข้อยหิว” ยศย�้ำ “เจ้าว่าอะไรนะ?” ภรรยาถามย�้ำ “ข้อยหิว เจ้าไปหาอะไรมารองท้องหน่อยสิ” “เจ้าว่าอะไรนะ บ่เห็นหรือว่าข้อยท�ำอะไรอยู่?” “ข้อยหิว ก็ยังว่า” “เจ้าบ่เห็นหรือว่าข้อยท�ำอะ...” ไม่ทันที่ภรรยาของเขาจะพูด จบความยศก็ลุกขึ้นเตะเปรี้ยงเข้ากกหูของภรรยา และสลบเหมือด ลงคาแข้งในทันที ผลจากแข้งมหาประลัยในวันนั้นนั่นเองที่ท�ำให้ ภรรยาของยศหนีไปกลับไปยังบ้านของพ่อแม่ของเธอ และกว่าที่ยศ จะตามไปง้องอนให้กลับคืนมาอยู่ร่วมชายคาเดียวกันได้อีกครั้งก็กิน เวลายาวนานหลายสิบปี ถึ ง แม้ ว ่ า จะพอรู ้ เ รื่ อ งกั น บ้ า ง สื่ อ สารพอเข้ า ใจ มี ก ฎเกณฑ์ มาตรฐานในการเขียนจากซ้ายไปขวา พูด มีข้อก�ำหนดหน้าที่ต่างๆ ของค�ำ มีรูปแบบประโยคไวยากรณ์แบบเดียวกัน แต่ทว่าที่เคยเข้าใจ กันอย่างทะลุปรุโปร่งอย่างแต่ปางก่อนก็ไม่ปรากฏอีกแล้ว พูด เขียน ง่ายๆ และไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจยากอะไรก็ไม่สามารถท�ำให้เกิดความ เข้าใจได้ง่ายอีกต่อไป จึงน�ำไปสู่การเกิดข้อพิพาท รบราฆ่าฟันกัน ขนานใหญ่ บางแห่งรบพุ่งเพื่อเพียงจะบอกให้คนอื่นรู้จักตนเองว่า เป็นใคร บางแห่งรบราฆ่าฟันเพื่อจะน�ำเอาหัวใจไปบูชาอารามใหม่ ของพระเจ้า บางแห่งรบราฆ่าฟันเพื่อจะยาดชิงเอาสาวงามมาเป็น คู่รักของตน และหมู่บ้านของยศเองก็ไม่ได้รับการยกเว้น ข้อพิพาท

216

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เล็กๆ น้อยๆ จนถึงใหญ่โตเกิดขึน้ ไม่เว้นในแต่ละวัน ในครอบครัวของ ยศก็บ่อยครั้งที่เป็นแบบนั้น อย่างในครั้งสองครั้งที่เกิดขึ้นและรุนแรง นั้นก็เริ่มจากเรื่องธรรมดาสามัญทั้งสิ้น ทาสีทาสาของทั้งท้าวลึงค์ยักษ์และนางโยนีใหญ่จึงหวนกลับไป ยังบ้านเมืองของตน และแจ้งข่าวให้ทั้งท้าวและนางรับทราบ ซึ่งเมื่อ ได้ยินได้ฟังอย่างนั้นแล้วก็วิบวับในแววตา ปวดหน่วงในหัวหน่าว จูบ จ้าวอยากพบเจอจนมิอาจยับยั้งใจได้อีกต่อไป ทาสีทาสาจึงพากัน ยกแบกทั้งท้าวลึงค์ยักษ์และนางโยนีใหญ่ออกเดินทางเพื่อจะได้มา พบกัน และเมื่อแบกหามกันมาพบกันถึงกลางป่ากลางทางแล้ว ด้วย ความกระสันต่อกันทั้งท้าวและนางก็เกิดแรงดึงดูดราวกับแรงลมดูด จากเครื่องดูดฝุ่น ดูดดึงเข้าหากันในทันทีโดยที่ทาสีทาสาของทั้งคู่ยัง มิทนั ได้ผละออกจากการแบกหามมานัน้ จึงเป็นว่าแรงดึงดูดทีเ่ กิดจาก การสอดใส่นั้นได้ดูดเอาทาสีทาสาให้หลุบหายเข้าไปในช่องโยนีของ นางด้วยโดยในทันที ทาสีทาสาจึงเข้าไปมีชีวิตอยู่ในช่องโยนีนั้น และ เป็นเวลาอันแสนเนิ่นนานมิอาจประมาณได้ จนเป็นที่พอใจของท้าว และนาง คลายกระสันแล้วจึงได้ถอดถอยออกจากกัน เมื่อถอดถอย ออกจากกันแล้วก็จึงพบว่า ทาสีทาสานั้นได้มีรูปร่าง สีผิว และภาษา สื่อสารแตกต่างกันออกไปโดยสิ้นเชิง และกว่าจะพอรู้เรื่องสื่อสารใน ภาษาที่แตกต่างกันก็ต้องใช้เวลานับนานต่อจากนั้น แต่ปางนั้นยังมีท้าวลึงค์ยักษ์ที่ต้องถักปลอกครอบลึงค์เอาไว้ด้วย ไม้ไผ่เป็นกอๆ และยังมีนางโยนีใหญ่ที่ต้องคลายก�ำหนัดด้วยท่อนซุง

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

217


ขนาดยี่สิบคนโอบกอด ยามที่ทั้งคู่มีก�ำหนัดจะโอดครวญจนแก้วหู แทบระเบิด จึงต้องรีบไปหาไม้ไผ่มาถักครอบไว้ จึงต้องรีบไปหาท่อน ซุงมายัดโยกให้ อยูม่ าในวันหนึง่ ฟ้าครึม้ มัวหมอก ลมพัดเย็นวอนวอย ไม่อบอ้าว บรรยากาศเย็นสบายเหมาะแก่การกกกอดกันอยู่ในห้อง หับ ท้าวลึงค์ยักษ์ก็เกิดก�ำหนัดขึ้นมาทาสีทาสาจึงต้องออกไปหาตัด ไม้ไผ่มาท�ำปลอก ในจังหวะเดียวกันนั้นนางโยนีใหญ่ก็เกิดก�ำหนัด และสั่งให้ทาสีทาสาออกมาหาท่อนซุงเช่นเดียวกัน อาจจะเป็นแถน ก็เป็นได้ที่ท�ำให้ทาสีของทั้งสองคนได้มาพบเจอกันและได้ถามไถ่กัน เป็นหัวหน้าทาสีทาสาของนางโยนีใหญ่นั่นเองที่สอบถามขึ้นก่อนว่า “พวกเจ้ามาท�ำอะไรแถวนี้ มาหาอะไรหรือ?” หัวหน้าทาสีทาสา ของท้าวลึงค์ยักษ์จึงตอบกลับไปว่า “มาหาไม้ไผ่น่ะสิพ่ออาว” “เอาไม้ไผ่ไปท�ำอะไรหรือพ่ออาว?” “เอาไปถักปลอกครอบโค็ยให้ท้าวโค็ยใหญ่น่ะ” “อ้าว ท้าวโค็ยใหญ่นี่ใหญ่เพียงใดหรือ?” “สิบ ยี่สิบคนโอบกอดนู้นแหละ” เมื่อได้ฟังดังนั้นหัวหน้าทาสีทา สาของนางโยนีใหญ่กต็ าลุกวาว และก็วา่ ออกไปทันทีวา่ “บ๊ะ..มาพอดี กันแท้ เมืองบ้านเราก็มีนางหีใหญ่คือกัน” “ยังงั้นหรือ ใหญ่เพียงใดหรือ?” “ใหญ่บ่ใหญ่ก็ต้องใช้ท่อนซุงช่วยนั่นแหละ” “บา..มันดียิ่งแท้ แบบนี้” “นั่นสิ เอาอย่างนี้ดีไหม พวกเราบ่ต้องหาไม้ไผ่หรือท่อนซุงกัน

218

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


แล้ว เอาทั้งนางทั้งท้าวมาเจอกันเลยดีกว่า” หัวหน้าทาสีทาสาของ นางโยนีใหญ่ไม่ลงั เลทีจ่ ะยืน่ ข้อเสนอ และก็ได้รบั การตอบสนองทันที ความเลื่อนลอยคลาดเคลื่อน ขาด เกิน และเข้าใจผิด เข้าใจถูก จึงเต็มไปหมด ทุกอย่างมิได้ง่ายดายอีกต่อไปแล้ว คนที่เคยชินหรือ ถนัดแบบเก่า ที่อ่าน ที่เขียนแบบใดก็ได้จึงประสบกับปัญหาอันแสน ยากเย็นนี้ จ�ำต้องปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบมาตรฐานใหม่นี้ แต่จะ ต้องเขียนและอ่านจากซ้ายไปขวาเป็นมาตรฐานเดียวกันเท่านั้นจึง จะสามารถสื่อสารได้ ได้แค่พอรู้เรื่อง หรือพอเข้าใจอยู่บ้าง คนทั่วทั้ง โขงเขตนี้พูดคนละภาษา หรือแม้จะรู้ภาษาของกันและกัน มีภาษา เดียวกัน ใกล้เคียงกัน ทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง แต่ทว่า พอรอดหลุดออกมาจากช่องโยนีของนางโยนีใหญ่ในปางนั้นแล้ว หา อยู่หากินรวมกันสนุกรื่นยิ่งนักในแต่ละวัน ความเข้าใจผิดจนเกิดข้อ พิพาทกันจึงไม่เคยปรากฏสักครัง้ แต่กอ่ นปางนัน้ คนทุกคนในโขงเขต ใกล้เคียงกันนี้มีภาษาพูดเดียวกัน ภาษาเขียนเดียวกัน เขียนจากขวา ไปซ้ายหรือจากซ้ายไปขวา อ่านจากขวาไปซ้ายหรือจากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง จากล่างขึน้ บน จะทะแยงซ้าย ทะแยงขวา ทะแยงจาก บนหรือล่างก็สามารถอ่านได้ในความหมายเดียว อ่านได้สะดวกสบาย ลื่นไหลไม่มีติดขัดหรืออึดอัดคับข้องใจอันใด ภรรยาของยศและไทบ้านเกือบทั้งหมู่บ้านออกจากบ้านไปตั้งแต่ ปางนั้น ปางที่ผู้คนได้หลุดรอดออกมาจากนางโยนีใหญ่และท้าวลึงค์ ยักษ์แล้วส่งผลให้คนแตกต่างกันไปโดยสิ้นเชิงทั้งรูปร่าง หน้าตา สีผิว

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

219


และทีส่ ำ� คัญไปกว่านัน้ ก็คอื ภาษาทีใ่ ช้กแ็ ตกต่างกันไปด้วย และแม้จะ มีภาษาเดียวกัน ใกล้เคียงกัน หรือพยายามเรียนรูภ้ าษาของกันและกัน จนเป็นทีพ่ อเข้าใจ จนมีหลักการใกล้เคียงกัน เขียนไปทางเดียวกัน พูด ค�ำหรือความเดียวกันก็ไม่สามารถสือ่ สารกันได้อย่างเข้าใจง่ายๆ ได้อกี ต่อไปแล้ว มีการพลัดหายของถ้อยค�ำในระหว่างบรรทัด ในระหว่าง ถ้อยความที่เปล่งออกมา มีการเพิ่มเติมเข้ามาในระหว่างบรรทัดและ ในระหว่างถ้อยความ ซึ่งแตกต่างไปจากแต่ก่อนปางนั้นที่คนทุกคน เคยมีภาษาสือ่ สารทัง้ ภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นภาษาเดียวกัน ไม่มี การเพิม่ หรือพลัดหายไปในระหว่างบรรทัดหรือถ้อยความแต่อย่างใด และมีเพียงการไปน�ำเอาดวงไฟจากยักษ์มาเท่านัน้ ทีจ่ ะท�ำให้คนทุกคน ได้กลับมาใช้ภาษาเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง โดยทีไ่ ม่รหู้ รอกว่าจะไปอย่างไร และในทิศทางใด จนเขาได้ตดั สิน ใจในบ่ายนัน้ ทีจ่ ะออกตามหาไทบ้านและภรรยาของเขาทีอ่ อกไปเอา ดวงไฟจากยักษ์เมือ่ แสนนานมาแล้ว และเพือ่ ให้การรอคอยไม่ได้อยูใ่ น ความใส่ใจมากนัก ทว่ามันก็ไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง สนทนากันอย่าง ออกรสออกชาติเพือ่ ลดความพลุง่ พล่าน เขาสนทนากับต้นไม้ใบหญ้า ทีอ่ อกหน่อกอแนวทดแทนใหม่อยูเ่ รือ่ ยๆ อย่างไม่มที สี่ น้ิ สุด กับนกหนู ปูปีกที่พานผ่านมาในแต่ละคืนแต่ละวัน กับขื่อคานเฮือนชานอาศัย เสียงสบถกึกก้องและสนัน่ สะเนือนเฟือนฟ้งไปทัง้ โขงเขต ดวงตาแดงก�ำ่ โปนปูดออกมาจนแทบทะลักออกจากเบ้า ทั้งหมู่บ้านจึงเหลือแต่ยศ เท่านัน้ ทีร่ อคอยอยูเ่ พียงล�ำพัง เขาตัง้ หน้าตัง้ ตารอคอยด้วยโทสะพลุง่

220

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


พล่านขึ้นจุกใจ การรอคอยอันแสนเนิ่นนาน นานจนยศที่เคยเส้นผม ดกด�ำแปรเปลีย่ นเป็นผมหงอกทัง้ ศีรษะและร่วงหล่นจนหัวล้านเลีย่ น ร่างกายส่วนบนที่เคยแข็งบึกบึนก็หย่อนยานเหี่ยวย่น ท่อนล่างตั้งแต่ ช่วงเอวลงมาทีพ่ กิ ารก็เลือนหายไปอย่างอวัยวะทีไ่ ม่ได้ใช้งานของสัตว์ ดึกด�ำบรรพ์ ใบหน้ารูปเหลีย่ มเคยเต่งตึงก็ตอบต้อม โดดเด่นก็ยงั เหลือ แต่กราม สายตาฟ้าฟางมองอะไรก็พร่ามัวไปหมด ลูกชายและลูกสาว ของเขามิอาจทนรอคอยได้ไหวร่างจึงแห้งเหีย่ วและค่อยๆ ผุปน่ สลาย และปลิวไปกับสายลมพัดพาน พีน่ อ้ งป้องปายคนอืน่ ๆ ทีร่ อคอยอยูใ่ น หมู่บ้านก็ล้มหายตายจากไปจนสิ้นแล้ว ปางทีก่ ารรอคอยการกลับมาของภรรยาทีไ่ ด้ออกเดินทางไปกับไท บ้านเกือบทั้งหมู่บ้านเพื่อจะไปเอาดวงไฟจากยักษ์ ยศรอคอยอยู่กับ ลูกชายและลูกสาววัยอ่อนน้อยด้วยความกระวนกระวาย ปางที่ท้าวบายียกกองทัพออกจากภูยวน เชียงขวางเพื่อตีเมือง ใกล้เคียงขยายอ�ำนาจ จากยูนนาน ห้วยทราย ต้นผึ้ง ก่อนจะข้ามไป ตีเมืองเชียงแสน หรือเมืองเงินยาง ตีไปถึงเชียงรายและเมืองพะเยา ก่อนจะได้ล้อมเมืองยาดชิงเอานางง้อมลูกสาวเจ้าเมืองพะเยามาเป็น ภรรยา และได้เดินทางกลับเมืองกัดหรือโพนสะหวัน แล้วประกาศ ตัวเป็นท้าวเจืองหรือขุนเจือง ปางที่ทหารรับจ้างของแอซเท็กจากทางตอนเหนืออันแห้งแล้ง ของเม็กซิโกเคลื่อนพลลงใต้มาจนถึงเตนอชติตลันเพื่อขยายอ�ำนาจ และสังเวยชีวิตคนถึงสองหมื่นคนด้วยการควักหัวใจเพื่อบูชาพระเจ้า

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

221


222

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ในการเฉลิมฉลองอารามแห่งใหม่ ปางที่กษัตริย์มูโตตาละทิ้งพระราชวังเดอะเกรทซิมบัฟเวเพื่อไป สถาปนาเมืองหลวงแห่งใหม่และเริ่มรุกรานดินแดนใกล้เคียงเพียง เพื่อให้ทุกคนรู้จักว่าพระองค์คือ มวานา-ปูตาฟา หรือ เจ้าเหนือหัว ของดินแดนที่ถูกปล้นสะดม นับตั้งแต่ปางนั้น บทส่งท้าย: เตรายัวเพลิงเยี้ยะ

Francisco de Goya The Colossus, 1818-1825

vice versa

นับตั้งแต่ปางนั้น ปางที่กษัตริย์มูโตตาละทิ้งพระราชวังเดอะเกรทซิมบัฟเวเพื่อไป สถาปนาเมืองหลวงแห่งใหม่และเริ่มรุกรานดินแดนใกล้เคียงเพียง เพื่อให้ทุกคนรู้จักว่าพระองค์คือ มวานา-ปูตาฟา หรือ เจ้าเหนือหัว ของดินแดนที่ถูกปล้นสะดม ปางที่ทหารรับจ้างของแอซเท็กจากทางตอนเหนืออันแห้งแล้ง ของเม็กซิโกเคลื่อนพลลงใต้มาจนถึงเตนอชติตลันเพื่อขยายอ�ำนาจ และสังเวยชีวิตคนถึงสองหมื่นคนด้วยการควักหัวใจเพื่อบูชาพระเจ้า ในการเฉลิมฉลองอารามแห่งใหม่ ปางที่ท้าวบายียกกองทัพออกจากภูยวน เชียงขวางเพื่อตีเมือง ใกล้เคียงขยายอ�ำนาจ จากยูนนาน ห้วยทราย ต้นผึ้ง ก่อนจะข้ามไป ตีเมืองเชียงแสน หรือเมืองเงินยาง ตีไปถึงเชียงรายและเมืองพะเยา

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

223


ก่อนจะได้ล้อมเมืองยาดชิงเอานางง้อมลูกสาวเจ้าเมืองพะเยามาเป็น ภรรยา และได้เดินทางกลับเมืองกัดหรือโพนสะหวัน แล้วประกาศตัว เป็นท้าวเจืองหรือขุนเจือง ปางที่การรอคอยการกลับมาของภรรยาที่ได้ออกเดินทางไปกับ ไทบ้านเกือบทัง้ หมูบ่ า้ นเพือ่ จะไปเอาดวงไฟจากยักษ์ ยศรอคอยอยูก่ บั ลูกชายและลูกสาววัยอ่อนน้อยด้วยความกระวนกระวาย การรอคอยอันแสนเนิ่นนาน นานจนยศที่เคยเส้นผมดกด�ำแปร เปลี่ยนเป็นผมหงอกทั้งศีรษะและร่วงหล่นจนหัวล้านเลี่ยน ร่างกาย ส่วนบนที่เคยแข็งบึกบึนก็หย่อนยานเหี่ยวย่น ท่อนล่างตั้งแต่ช่วง เอวลงมาที่พิการก็เลือนหายไปอย่างอวัยวะที่ไม่ได้ใช้งานของสัตว์ ดึกด�ำบรรพ์ ใบหน้ารูปเหลีย่ มเคยเต่งตึงก็ตอบต้อม โดดเด่นก็ยงั เหลือ แต่กราม สายตาฟ้าฟางมองอะไรก็พร่ามัวไปหมด ลูกชายและลูกสาว ของเขามิอาจทนรอคอยได้ไหวร่างจึงแห้งเหีย่ วและค่อยๆ ผุปน่ สลาย และปลิวไปกับสายลมพัดพาน พี่น้องป้องปายคนอื่นๆ ที่รอคอยอยู่ ในหมู่บ้านก็ล้มหายตายจากไปจนสิ้นแล้ว ทั้งหมู่บ้านจึงเหลือแต่ยศ เท่านั้นที่รอคอยอยู่เพียงล�ำพัง เขาตั้งหน้าตั้งตารอคอยด้วยโทสะ พลุ่งพล่านขึ้นจุกใจ เสียงสบถกึกก้องและสนั่นสะเนือนเฟือนฟ้งไป ทั้งโขงเขต ดวงตาแดงก�่ำ โปนปูดออกมาจนแทบทะลักออกจากเบ้า เขาสนทนากับต้นไม้ใบหญ้าทีอ่ อกหน่อกอแนวทดแทนใหม่อยูเ่ รือ่ ยๆ อย่างไม่มีที่ส้ินสุด กับนกหนูปูปีกที่พานผ่านมาในแต่ละคืนแต่ละวัน กับขื่อคานเฮือนชานอาศัย สนทนากันอย่างออกรสออกชาติเพื่อลด

224

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ความพลุ่งพล่าน และเพื่อให้การรอคอยไม่ได้อยู่ในความใส่ใจมาก นัก ทว่ามันก็ไร้ประโยชน์โดยสิ้นเชิง จนเขาได้ตัดสินใจในบ่ายนั้นที่ จะออกตามหาไทบ้านและภรรยาของเขาทีอ่ อกไปเอาดวงไฟจากยักษ์ เมือ่ แสนนานมาแล้ว โดยทีไ่ ม่รหู้ รอกว่าจะไปอย่างไร และในทิศทางใด ภรรยาของยศและไทบ้านเกือบทั้งหมู่บ้านออกจากบ้านไปตั้งแต่ ปางนั้น ปางที่ผู้คนได้หลุดรอดออกมาจากนางโยนีใหญ่และท้าวลึงค์ ยักษ์แล้วส่งผลให้คนแตกต่างกันไปโดยสิ้นเชิงทั้งรูปร่าง หน้าตา สีผิว และทีส่ ำ� คัญไปกว่านัน้ ก็คอื ภาษาทีใ่ ช้กแ็ ตกต่างกันไปด้วย และแม้จะมี ภาษาเดียวกัน ใกล้เคียงกัน หรือพยายามเรียนรูภ้ าษาของกันและกัน จนเป็นทีพ่ อเข้าใจ จนมีหลักการใกล้เคียงกัน เขียนไปทางเดียวกัน พูด ค�ำหรือความเดียวกันก็ไม่สามารถสือ่ สารกันได้อย่างเข้าใจง่ายๆ ได้อกี ต่อไปแล้ว มีการพลัดหายของถ้อยค�ำในระหว่างบรรทัด ในระหว่าง ถ้อยความที่เปล่งออกมา มีการเพิ่มเติมเข้ามาในระหว่างบรรทัดและ ในระหว่างถ้อยความ ซึ่งแตกต่างไปจากแต่ก่อนปางนั้นที่คนทุกคน เคยมีภาษาสือ่ สารทัง้ ภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นภาษาเดียวกัน ไม่มี การเพิม่ หรือพลัดหายไปในระหว่างบรรทัดหรือถ้อยความแต่อย่างใด และมีเพียงการไปน�ำเอาดวงไฟจากยักษ์มาเท่านัน้ ทีจ่ ะท�ำให้คนทุกคน ได้กลับมาใช้ภาษาเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง แต่ก่อนปางนั้นคนทุกคนในโขงเขตใกล้เคียงกันนี้มีภาษาพูด เดียวกัน ภาษาเขียนเดียวกัน เขียนจากขวาไปซ้ายหรือจากซ้ายไป ขวา อ่านจากขวาไปซ้ายหรือจากซ้ายไปขวา จากบนลงล่าง จากล่าง

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

225


ขึ้นบน จะทะแยงซ้าย ทะแยงขวา ทะแยงจากบนหรือล่างก็สามารถ อ่านได้ในความหมายเดียว อ่านได้สะดวกสบาย ลื่นไหลไม่มีติดขัด หรืออึดอัดคับข้องใจอันใด ความเข้าใจผิดจนเกิดข้อพิพาทกันจึงไม่ เคยปรากฏสักครั้ง หาอยู่หากินรวมกันสนุกรื่นยิ่งนักในแต่ละวัน แต่ ทว่าพอรอดหลุดออกมาจากช่องโยนีของนางโยนีใหญ่ในปางนั้นแล้ว ทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง คนทั่วทั้งโขงเขตนี้พูดคนละ ภาษา หรือแม้จะรู้ภาษาของกันและกัน มีภาษาเดียวกัน ใกล้เคียง กัน แต่จะต้องเขียนและอ่านจากซ้ายไปขวาเป็นมาตรฐานเดียวกัน เท่านั้นจึงจะสามารถสื่อสารได้ ได้แค่พอรู้เรื่อง หรือพอเข้าใจอยู่บ้าง คนทีเ่ คยชินหรือถนัดแบบเก่า ทีอ่ า่ น ทีเ่ ขียนแบบใดก็ได้จงึ ประสบกับ ปัญหาอันแสนยากเย็นนี้ จ�ำต้องปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบมาตรฐาน ใหม่นี้ ทุกอย่างมิได้งา่ ยดายอีกต่อไปแล้ว ความเลือ่ นลอยคลาดเคลือ่ น ขาด เกิน และเข้าใจผิด เข้าใจถูกจึงเต็มไปหมด แต่ปางนั้นยังมีท้าวลึงค์ยักษ์ที่ต้องถักปลอกครอบลึงค์เอาไว้ด้วย ไม้ไผ่เป็นกอๆ และยังมีนางโยนีใหญ่ที่ต้องคลายก�ำหนัดด้วยท่อนซุง ขนาดยี่สิบคนโอบกอด ยามที่ทั้งคู่มีก�ำหนัดจะโอดครวญจนแก้วหู แทบระเบิด จึงต้องรีบไปหาไม้ไผ่มาถักครอบไว้ จึงต้องรีบไปหาท่อน ซุงมายัดโยกให้ อยูม่ าในวันหนึง่ ฟ้าครึม้ มัวหมอก ลมพัดเย็นวอนวอย ไม่อบอ้าว บรรยากาศเย็นสบายเหมาะแก่การกกกอดกันอยู่ในห้อง หับ ท้าวลึงค์ยักษ์ก็เกิดก�ำหนัดขึ้นมาทาสีทาสาจึงต้องออกไปหาตัด ไม้ไผ่มาท�ำปลอก ในจังหวะเดียวกันนั้นนางโยนีใหญ่ก็เกิดก�ำหนัด

226

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


และสั่งให้ทาสีทาสาออกมาหาท่อนซุงเช่นเดียวกัน อาจจะเป็นแถน ก็เป็นได้ที่ท�ำให้ทาสีของทั้งสองคนได้มาพบเจอกันและได้ถามไถ่กัน เป็นหัวหน้าทาสีทาสาของนางโยนีใหญ่นั่นเองที่สอบถามขึ้นก่อนว่า “พวกเจ้ามาท�ำอะไรแถวนี้ มาหาอะไรหรือ?” หัวหน้าทาสีทาสา ของท้าวลึงค์ยักษ์จึงตอบกลับไปว่า “มาหาไม้ไผ่น่ะสิพ่ออาว” “เอาไม้ไผ่ไปท�ำอะไรหรือพ่ออาว?” “เอาไปถักปลอกครอบโค็ยให้ท้าวโค็ยใหญ่น่ะ” “อ้าว ท้าวโค็ยใหญ่นี่ใหญ่เพียงใดหรือ?” “สิบ ยี่สิบคนโอบกอดนู้นแหละ” เมื่อได้ฟังดังนั้นหัวหน้าทาสีทา สาของนางโยนีใหญ่กต็ าลุกวาว และก็วา่ ออกไปทันทีวา่ “บ๊ะ..มาพอดี กันแท้ เมืองบ้านเราก็มีนางหีใหญ่คือกัน” “ยังงั้นหรือ ใหญ่เพียงใดหรือ?” “ใหญ่บ่ใหญ่ก็ต้องใช้ท่อนซุงช่วยนั่นแหละ” “บา..มันดียิ่งแท้แบบนี้” “นั่นสิ เอาอย่างนี้ดีไหม พวกเราบ่ต้องหาไม้ไผ่หรือท่อนซุงกัน แล้ว เอาทั้งนางทั้งท้าวมาเจอกันเลยดีกว่า” หัวหน้าทาสีทาสาของ นางโยนีใหญ่ไม่ลงั เลทีจ่ ะยืน่ ข้อเสนอ และก็ได้รบั การตอบสนองทันที ทาสีทาสาของทั้งท้าวลึงค์ยักษ์และนางโยนีใหญ่จึงหวนกลับไป ยังบ้านเมืองของตน และแจ้งข่าวให้ทั้งท้าวและนางรับทราบ ซึ่งเมื่อ ได้ยินได้ฟังอย่างนั้นแล้วก็วิบวับในแววตา ปวดหน่วงในหัวหน่าว จูบ จ้าวอยากพบเจอจนมิอาจยับยั้งใจได้อีกต่อไป ทาสีทาสาจึงพากัน

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

227


ยกแบกทั้งท้าวลึงค์ยักษ์และนางโยนีใหญ่ออกเดินทางเพื่อจะได้มา พบกัน และเมื่อแบกหามกันมาพบกันถึงกลางป่ากลางทางแล้ว ด้วย ความกระสันต่อกันทั้งท้าวและนางก็เกิดแรงดึงดูดราวกับแรงลมดูด จากเครื่องดูดฝุ่น ดูดดึงเข้าหากันในทันทีโดยที่ทาสีทาสาของทั้งคู่ยัง มิทนั ได้ผละออกจากการแบกหามมานัน้ จึงเป็นว่าแรงดึงดูดทีเ่ กิดจาก การสอดใส่นั้นได้ดูดเอาทาสีทาสาให้หลุบหายเข้าไปในช่องโยนีของ นางด้วยโดยในทันที ทาสีทาสาจึงเข้าไปมีชีวิตอยู่ในช่องโยนีนั้น และ เป็นเวลาอันแสนเนิ่นนานมิอาจประมาณได้ จนเป็นที่พอใจของท้าว และนาง คลายกระสันแล้วจึงได้ถอดถอยออกจากกัน เมื่อถอดถอย ออกจากกันแล้วก็จึงพบว่า ทาสีทาสานั้นได้มีรูปร่าง สีผิว และภาษา สื่อสารแตกต่างกันออกไปโดยสิ้นเชิง และกว่าจะพอรู้เรื่องสื่อสารใน ภาษาที่แตกต่างกันก็ต้องใช้เวลานับนานต่อจากนั้น ถึ ง แม้ ว ่ า จะพอรู ้ เ รื่ อ งกั น บ้ า ง สื่ อ สารพอเข้ า ใจ มี ก ฎเกณฑ์ มาตรฐานในการเขียนจากซ้ายไปขวา พูด มีข้อก�ำหนดหน้าที่ต่างๆ ของค�ำ มีรูปแบบประโยคไวยากรณ์แบบเดียวกัน แต่ทว่าที่เคยเข้าใจ กันอย่างทะลุปรุโปร่งอย่างแต่ปางก่อนก็ไม่ปรากฏอีกแล้ว พูด เขียน ง่ายๆ และไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจยากอะไรก็ไม่สามารถท�ำให้เกิดความ เข้าใจได้ง่ายอีกต่อไป จึงน�ำไปสู่การเกิดข้อพิพาท รบราฆ่าฟันกัน ขนานใหญ่ บางแห่งรบพุ่งเพื่อเพียงจะบอกให้คนอื่นรู้จักตนเองว่า เป็นใคร บางแห่งรบราฆ่าฟันเพื่อจะน�ำเอาหัวใจไปบูชาอารามใหม่ ของพระเจ้า บางแห่งรบราฆ่าฟันเพื่อจะยาดชิงเอาสาวงามมาเป็น

228

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


คู่รักของตน และหมู่บ้านของยศเองก็ไม่ได้รับการยกเว้น ข้อพิพาท เล็กๆ น้อยๆ จนถึงใหญ่โตเกิดขึน้ ไม่เว้นในแต่ละวัน ในครอบครัวของ ยศก็บ่อยครั้งที่เป็นแบบนั้น อย่างในครั้งสองครั้งที่เกิดขึ้นและรุนแรง นั้นก็เริ่มจากเรื่องธรรมดาสามัญทั้งสิ้น ครั้งแรกเกิดขึ้นในเดือนฤดูแล้งที่แล้งและร้อนจนกะโหลกศีรษะ ปริแตกหากยืนอยู่กลางแจ้งสักชั่วโมงหนึ่ง วันนั้นอากาศอันอูดอ้าว ได้ราญยศและภรรยาจนไม่เป็นอันต้องท�ำอะไรอื่นนอกจากอยู่นิ่งๆ ให้ลมโชยพัด แต่คนต้องกินต้องขับถ่าย เมื่ออยู่กันนิ่งได้เพียงครึ่งวัน ยศก็รสู้ กึ หิวจึงได้บอกภรรยาออกไปว่า “เจ้าๆ ไปหาแนวอยากแนวกิน มากินหน่อยสิ” ได้ยินดังนั้นภรรยาของเขาที่เหงื่อท่วมกายก็หน้าตา บึ้งตึงราวกับพื้นคอนกรีตขัดมันและถลึงตาใส่ยศ ก่อนที่จะพูดออก ไปว่า “เจ้าว่าอะไรนะ?” “ไปหาอะไรมากินหน่อย ข้อยหิว” ยศย�้ำ “เจ้าว่าอะไรนะ?” ภรรยาถามย�้ำ “ข้อยหิว เจ้าไปหาอะไรมารองท้องหน่อยสิ” “เจ้าว่าอะไรนะ บ่เห็นหรือว่าข้อยท�ำอะไรอยู่?” “ข้อยหิวก็ยังว่า” “เจ้าบ่เห็นหรือว่าข้อยท�ำอะ...” ไม่ทันที่ภรรยาของเขาจะพูดจบ ความยศก็ลกุ ขึน้ เตะเปรีย้ งเข้ากกหูของภรรยา และสลบเหมือดลงคา แข้งในทันที ผลจากแข้งมหาประลัยในวันนั้นนั่นเองที่ท�ำให้ภรรยา ของยศหนีไปกลับไปยังบ้านของพ่อแม่ของเธอ และกว่าที่ยศจะตาม

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

229


ไปง้องอนให้กลับคืนมาอยู่ร่วมชายคาเดียวกันได้อีกครั้งก็กินเวลา ยาวนานหลายสิบปี ครัง้ รุนแรงต่อมาก็ตอนทีห่ มูบ่ า้ นของยศเกิดข้อพิพาทกับหมูบ่ า้ น ใกล้เคียงที่พูดคนละภาษา แต่สามารถสื่อสารกันพอให้เข้าใจได้ การ พิพาทกันในครั้งนั้นเกิดขึ้นในฤดูหนาวอันทุรน หนาวจนห�ำหดนม แข็ง วันนั้นฝูงงัวจากหมู่บ้านใกล้เคียงได้ข้ามถิ่นมาหากินในหมู่บ้าน ของยศ กินแต่หญ้าค้าแต่ฟางก็คงไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ทว่างัวฝูง นัน้ กลับไปกินต้นกล้วย กินต้นข้าวทีก่ ำ� ลังสุกเหลืองของคนในหมูบ่ า้ น ของยศด้วย ข้าวที่ก�ำลังสุกเหลืองในนาส่วนกลางของหมู่บ้านหายวับ เหลือแต่ตอลงกับตาเมือ่ ฝูงงัวของอีกหมูบ่ า้ นได้กระโจนเข้าใส่ หัวหน้า หมู่บ้านและไทบ้านส่วนหนึ่งรวมทั้งยศด้วยก็จึงได้จับเอางัวฝูงนั้นมา เป็นของตน และไม่ลืมที่จะเดินข้ามทุ่งไปแจ้งให้หัวหน้าหมู่บ้านนั้น ทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หัวหน้าหมู่บ้านและไทบ้านหมู่บ้านนั้น พอได้ทราบความเป็นไปก็เกิดความไม่พอใจขึ้นมาทันที จะมาเอางัว ของหมู่บ้านอื่นไปเป็นของตนได้อย่างไร หัวหน้าหมู่บ้านนั้นว่า เมื่อ ได้ยินแบบนั้นหัวหน้าหมู่บ้านของยศก็อธิบายออกไปว่า ก็งัวฝูงนี้มัน ไปกินข้าวกินน�้ำของหมู่บ้านตูข้าจนหมด พวกมันก็ต้องรับผิดชอบ ทว่าในทันทีหัวหน้าหมู่บ้านนั้นก็ตอบโต้ออกมาว่า ไม่ได้โดยเด็ดขาด และถ้ายืนยันว่าจะท�ำอย่างนัน้ เราจะได้เห็นดีกนั หัวหน้าหมูบ่ า้ นของ ยศจึงตอบโต้ออกไปว่า ได้ยังไงก็ต้องได้ แต่ถ้าอยากจะมีเรื่องก็บ่ว่า กัน เดี๋ยวจัดให้ และนั่นเองจึงท�ำให้เกิดการรบรากันยาวนานนับอีก

230

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ร้อยปีต่อมาจนคนทั้งสองหมู่บ้านแทบจะไม่เหลือหรอ และยศก็ต้อง กลายเป็นคนพิการท่อนล่างมานับตั้งแต่ปางนั้น แต่เขาก็สามารถให้ ก�ำเนิดลูกชายกับลูกสาวออกมาอย่างละคน ยศตะโกนลัน่ บ้านเพียงล�ำพังจนจิง้ จกร่วมชายคาปราบออกมาให้ เบาๆ หน่อย อย่ารบกวนพวกมันให้มากนัก แต่ยศก็ยังตะโกนลั่นอยู่ เช่นเดิม เขาชะเง้อมองทางภรรยาของเขาและไทบ้านที่ไปเอาดวงไฟ จากยักษ์ ชะเง้อทุกครั้งก็มีแต่ความว่างเปล่าในสายทางทุกครั้ง เส้น ทางเคยเดินเคยเทียวของไทบ้านก็รกครึม้ ไปหมดแล้วด้วยวัชพืชน้อย ใหญ่นานาชนิด เขาพยายามพาร่างด้วยแขนทั้งสองลงจากบ้าน นก ที่เกาะงอยคอนร้องทัก จะไปไหนนั่น เขาหันไปมองแว่บหนึ่งพร้อม ตอบกับไปว่า จะไปไหนมันก็เรื่องของกู มึงอยากรู้ไปท�ำไม นกจึงว่า ให้กูรู้ด้วยบ้างบ่ได้หรือ ยศสวนทันควัน บ่ นกจึงได้เงียบเสียงลง เขา จึงค่อยตะลูดตูด้ ก้นพาร่างตนเองไปตามสายทางทีร่ กครึม้ นัน้ มุง่ หน้า ไปโดยที่ไม่รู้ว่าจะไปที่แห่งหนใด และไม่รู้ว่าจะฝ่าป่าหนาดงทึบที่ขึ้น มาปกคลุมทางเคยใช้เคยเทียวนั้นไปได้อย่างไร แต่เขาก็มิอาจจะรอ คอยได้อีกต่อไปแล้ว การไปน�ำเอาไฟจากยักษ์ของไทบ้านแต่ปางนั้นนั้นเกิดจากการ ที่ในวันหนึ่งของฤดูฝนที่แถนบนฟ้าที่อ้างตัวว่าเป็นท้าวเจืองได้ลง มาบอกกล่าวไทบ้านคนหนึ่ง ในวันหนึ่งที่การรบราฆ่าฟันกันกับหมู่ บ้านอื่นๆ ไม่จ�ำเพาะแต่หมู่บ้านเดียวได้ลุกลามใหญ่โตไปทั่วโขงเขต และไม่เฉพาะแต่หมูบ่ า้ นของยศกับหลายหมูบ่ า้ นทีม่ กี ารรบพุง่ กัน แต่

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

231


หมูบ่ า้ นทัว่ ทัง้ โลกก็ตกอยูใ่ นสภาพทีไ่ ม่แตกต่างกันนัน้ แถนจึงได้บอก กล่าวไปว่า ให้ไปแย่งชิงดวงไฟจากยักษ์มาก่อน แสงไฟนัน้ จะน�ำมาซึง่ ความสว่างไสวและความอบอุ่นซึ่งจะท�ำให้ทุกคนกลับมาระลึกและ จดจ�ำได้ถึงภาษาดั้งเดิมที่เคยสื่อสารกันแต่ปางก่อน ก่อนเข้าไปอยู่ ในช่องโยนีของนางโยนีใหญ่ ภาษาที่เป็นภาษาเดียวกัน เขียน และ พูดแบบไหนก็ได้ก็เข้าใจกันได้อย่างไม่ตกหล่นและคล้อยตามกันได้ อย่างโดยง่าย แม้จะไม่คล้อยตามกัน เห็นต่าง เห็นแย้งกันสุดกู่ แต่ ก็จะยังสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้โดยที่ไม่ต้องลงไม้ลงมือลง อาวุธต่อกัน ไม่จ�ำเป็นต้องใช้ความพยายามท�ำความเข้าใจ ไม่จ�ำเป็น ต้องเขียน-อ่านจากซ้ายไปขวาแบบเดียวกันทั้งหมด ไม่จ�ำเป็นต้องมี ประโยคเริม่ ต้น กลาง ท้าย เรียงตามล�ำดับ ไม่จำ� เป็นต้องมีคำ� ลักษณะ ต่างๆ ไม่จำ� เป็นต้องมีประธาน กริยา กรรม ไม่จำ� เป็นต้องผลิตตัวอักษร ถ้อยค�ำของตนเองขึน้ มาใหม่อกี แต่อย่างใด ใครจะพูดอะไรออกมาก็จะ กลับสู่ภาวะเดิมที่เป็นมาก่อนแต่ปางนั้น “มีแต่ดวงไฟจากยักษ์เท่านัน้ ทีจ่ ะแก้ไขอะไรต่างๆ ทีเ่ ป็นอยูน่ ไี้ ด้” แถนย�ำ้ ในตอนท้ายก่อนจะเดินลับหายไปในอากาศ ไทบ้านทุกคนรวม ทัง้ ยศและภรรยาได้แต่ตอบรับ “โดยข่ะน่อย” ก่อนจะรวมกันออกไป เอาดวงไฟจากยักษ์ ทั้งหมู่บ้านจึงเหลือแต่เด็ก คนแก่ที่เดินเหินไม่ได้ และคนพิการจากรบพุ่งกันอย่างยศเท่านั้นที่อยู่เฝ้าหมู่บ้าน ยศกระดึบ กระดึบพาร่างลุยเข้าไปในป่าวัชพืชน้อยใหญ่นานาชนิด ทีข่ นึ้ รกปกคลุมทางเคยเดินเคยเทียว เขายังไม่รหู้ รอกว่า จะไปทิศทาง

232

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ไหน จะตามพวกไทบ้านและภรรยาของเขาทีไ่ ปเอาดวงไฟจากยักษ์ได้ ถูกที่ถูกทางหรือไม่ แต่การรอคอยก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่างกันนัก เขามิ อาจรอคอยได้อกี ต่อไปแม้แต่เพียงชัว่ วินาทีเดียว การรอคอยแต่เพียง ล�ำพังอย่างยาวนานเกินนับจ�ำนวนปีเดือนได้และสนทนากับสิง่ มีชวี ติ และไม่มชี วี ติ ทีไ่ ม่ใช่คนนัน้ ไม่ได้ทำ� ให้อะไรดีขนึ้ มาเลย ยศพาร่างเหีย่ ว ย่นหย่อนยานบุกลุยเข้าไปในป่าวัชพืชด้วยเรี่ยวแรงของสองแขนอัน น้อยนิด เขาต้องตามไทบ้านและภรรยาของเขาให้พบเจอและต้องน�ำ เอาดวงไฟจากยักษ์กลับมาด้วยให้ได้ แม้เขาจะไม่รวู้ า่ จะไปในทิศทาง ใดก็ตาม แต่กระนั้นในปางนั้นยศก็ได้ตัดสินใจแล้ว การรอคอยเพียง ล�ำพังอันแสนยาวนานจึงสิ้นสุดลงนับตั้งแต่ปางนั้น

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

233


น่าจะใช่ กามูส์คือชื่อร้าน เขนน้ำ� หลังเทา

234

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/ Fiction /

ไห

นๆ ก็ไหนๆ แล้วนะคะ ผมขออธิบายในส่วนของชื่อเรื่องเสีย ก่อนจะดีกว่า ความจริง ผมก็แค่ตั้งเอาไว้ให้ดูประหลาดๆ แปลกๆ ไปเช่นนั้นเอง ไม่ได้มีอะไรในกอไผ่ให้คุณต้องสงสัยแต่อย่าง ใดเลย (?) เพราะมันก็เหมือนๆ เช่นในทุกครั้งที่ผมลงมือเขียนงาน ชื่อเรื่องคือส่วนหนึ่งที่จ�ำเป็น (อย่าเชื่อเลย ผมแค่จมอยู่ในหล่มของ เรื่องสั้นที่เคยอ่านผ่านตามา มันมีชื่อเรื่องก�ำกับอยู่ทุกเรื่องแหละค่ะ หากคุณสนใจสร้างงานที่ไม่แยแสชื่อเรื่อง ผมก็เห็นดีเห็นงามด้วย ล่ะน่า) มันอาจจะโผล่มาในช่วงแรกเริ่มก่อนที่เนื้อเรื่องจะถือก�ำเนิด หรือบางทีอาจจะไปตั้งเอาในระหว่างการเขียนในช่วงหนึ่งช่วงใดก็ แล้วแต่ หรืออาจจะเป็นช่วงที่เราเพิ่งเขียนจบลงไปสดๆ ร้อนๆ ก็ได้ ไม่มีถูกผิด แล้วแต่สถานการณ์จะน�ำพาเราไป และเรื่องนี้ ชื่อเรื่องก็ มาก่อนตัวละคร เอาเป็นว่า ผมรู้สึกสบายใจขึ้นมามากแล้ว คงไม่มีเรื่องอะไรให้ คุณต้องแปลกใจอีกต่อไปด้วยล่ะมั้ง นับต่อจากนี้ ผมก็จะขานอาสา จูงมือผู้อ่านล่องลอยไปยังเรื่องราวที่ผมก�ำลังจะด้นสดๆ บรรทัดต่อ บรรทัด วินาทีต่อวินาที ราวกับนั่งฟัง จอนนี กรีนวูด อิมโพรไวส์ไป ตามสไตล์เอ็กซ์เพอริเมนทอลมิวสิค โดยจะถือวิสาสะน�ำพาตัวเอง เข้าไปอยู่ในเรื่องสั้นเรื่องนี้ร่วมกันกับคุณแบบทะเล่อทะล่าเสียด้วย เลยเพื่อความสะดวกสบาย แบบว่าตั้งใจไว้นานแล้ว ที่อยากจะเป็น ส่วนหนึ่งแม้สักเล็กน้อยก็ยังดี ก่อนอื่น เคยเป็นกันบ้างมั้ย ผมว่าคุณสักคนคงต้องเคยเป็นเคย

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

เขนน�ำ้ หลังเทา นักเขียนเรือ ่ ง สัน ้ หนุม ่ ผูม ้ ง ี านทัง ้ ในนิตยสาร ฟุ้ง และบางชิ้นงานมาร์แซล บารังส์ นักแปลชาวฝรั่งเศส ยั ง หยิ บ เรื่ อ งสั้ น ของเขาไป แปล พร้อมทั้งยังชมเสียด้วย ว่าเป็นเรือ ่ งสัน ้ ขนาดสัน ้ แปลก ใหม่และเป็นนวัตกรรม

235


ลองกันมาบ้างไม่มากก็น้อย (ขอโทษ ส�ำหรับผู้ไม่เคย) กับการเสิร์ช ชื่อตัวเองในกูเกิล (หยุดอ่าน แล้วลองดูก่อนก็ได้ค่ะ) แล้วรอผลลัพธ์ ปรากฏ มันเป็นความสุขที่ฉาบด้วยความหวังเล็กๆ น้อยๆ ในการได้ พบชื่อของตนเอง ในที่นี้ ผมเสิร์ชทั้งชื่อจริง นามปากกา ทั้งไทย ทั้ง อังกฤษ ลองดู บางคนอาจจะพบชือ่ ตัวเองเยอะแยะ บางคนอาจจะพบ แค่รายชือ่ ลงทะเบียนเรียนสมัยมหาลัย บางคนอาจจะเห็นชือ่ เข้าร่วม กิจกรรมในกระทู้เก่าๆ ในบอร์ดสัพเพเหระ พอนึกภาพออกกันบ้าง แล้วใช่มั้ย หรือยัง ถ้าเช่นนั้น ผมจะยกตัวอย่างใกล้ๆ ตัวคุณในขณะ นี้ก็แล้วกัน ไม่ใช่ใครที่ไหน ก็ผมนี่ไงเล่า แม้ผมจะเป็นนักเขียน (โอ้ ผมไม่กล้าใช้ค�ำๆ นี้เลยจริงๆ อายฉิบ) ประเภทโนเนมโคตรๆ ทว่า ในความโคตรๆ ของมัน ผมก็มีนามปากกาปรากฏอยู่ในเสิร์ชเอนจิน เหมือนเวลาเราเสิร์ชชื่อของซาร์ตร์ ของมาร์กซ ของดูราส ของใคร ต่อใคร แล้วมันก็มีข้อมูลมีภาพโผล่มามากมายก่ายกอง แต่มันก็ดูจะ โอ้อวดจนเกินไป หากจะน�ำตัวเองไปเปรียบกับเขาหรือเธอ ทว่าอย่าง น้อยๆ ผมก็มชี อื่ ปรากฏ มีสองลิงค์ในสองหน้าให้คลิกเข้าไปดูได้ทกุ วัน หากต้องการ หนึ่งในนั้นเป็นงานเขียนที่ผมภูมิอกภูมิใจ สามารถอ่าน ได้ฟรีๆ (หากเห็นใจผม เรื่องอีกเรื่องที่อยู่ใกล้ๆ กัน อย่าเสียเวลาไป อ่านมันเลยค่ะ สถานะความคิดความอ่านของผมได้เปลี่ยนแปลงไป หมดแล้ว หากมีโอกาสได้แก้ไข เนื้อหาก็คงจะไม่ใช่อย่างที่เห็นแทบ ร้อยเปอร์เซ็นต์ พูดให้ชัดเจนกว่านี้ ขย�ำมันทิ้งเถอะว่ะ ห่า จะขย�ำ ยังไงดีคะ ?)

236

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ช่างเถอะ ผมเดาๆ เอาว่าคุณๆ คงจะเริม่ เมินหน้าหนีไปท�ำกิจกรรม อย่างอื่นกันบ้างแล้ว อะไรบ้างล่ะ ที่คุณเลือก เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ฯลฯ ผมก็ได้แต่หวังว่าหูของคุณจะยังเปิดรับฟังอยู่หรอก นะ หวังว่าคงจะไม่เสียบหูฟังปิดล็อคประตูไม่ให้ผมเข้า สงสารผม เถอะนะ ผมถล�ำลึกตามตื๊อพวกคุณมาตั้งหลายย่อหน้าแล้ว หันมา เห็นอกเห็นใจกันหน่อย หลับตาฟังผมอ่านเรื่องราวจากงานที่ผมมัก จะเสิร์ชเข้าไปอ่านอยู่บ่อยๆ ให้คุณฟังก็ได้ ฟังเถอะ แม้หากเบื่อหรือ ง่วงเสียก่อน จะลุกไปเข้าห้องน�้ำ ทานผัดกระเพราไข่ดาว สูบบุหรี่ เย็นๆ ดื่มเบียร์ไอพีเอ จิบฮิบิกิสิบเจ็ดปี ก็ตามสบายเลยค่ะ ผมไม่ว่า ไม่งอนไม่งอแง เครมั้ย หรือจะเสิร์ชเข้าไปดูพร้อมๆ กัน ก็ได้ ไม่ยาว นักหรอก เป็นแฟลชฟิคชั่น เริ่มเลยแล้วกันค่ะ “หากวิเวียน ไมเออร์ คือเซลฟี่ที่เธอชอบ ภาพเสมือนเซลฟี่ของ กามูส์ คงเป็นภาพทีผ่ มหลงใหล แม้จะไม่ใช่เซลฟี่แท้ๆ ในความหมาย ของการเซลฟีแ่ ห่งยุคสมัยทีใ่ ครต่อใครต่างก็พากันเซลฟีอ่ ย่างง่ายดาย แทบจะตลอดเวลานาทีเคลื่อนไหว” ไม่ต้องงงค่ะ ไม่ต้องงง มันเป็น เพียงบทเปิดเรื่องสั้นๆ ของผม ผมเขียนไว้นานแล้ว แรงบันดาลใจมา จากการที่ผมชื่นชอบกามูส์ ไม่ใช่เพียงงานอย่างมนุษย์สองหน้าหรือ คนนอก แต่ยงั มีภาพถ่ายขาวด�ำของเขาอีกทีผ่ มเห็นทีไรเป็นอดยิม้ ไม่ได้ ผมจึงเกิดไอเดีย ว่าหากจะมีรา้ นอะไรสักร้านเป็นของตัวเอง ร้านเหล้า ร้านกาแฟ ร้านหนังสือ หรือบาร์เล็กๆ เหล่านั้นจะต้องมีชื่อร้านว่า

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

237


camus – กามูส์ และในร้าน จะต้องมีภาพของเขาแขวนเรียงรายตาม มุมแคบมุมกว้างมุมลึก และขณะทีผ่ มจินตนาการถึงร้านกามูสท์ เี่ ต็มไป ด้วยภาพกามูสท์ หี่ าได้มาจากการเสิรช์ ภาพในกูเกิล ก็ทำ� ให้เรือ่ งสัน้ ๆ เรื่องนี้ถือก�ำเนิดลงในเว็บไซด์ โดยได้ผ่านการพิจารณาจากสายตา บรรณาธิการผู้ก่อตั้งจุลสารออนไลน์ที่ผมเสิร์ชให้คุณดู แล้วเซลฟี่เกี่ยวอะไรด้วย ไม่ต้องแปลกใจในข้อสงสัยนี้ เรื่องสั้นๆ เรื่องนี้มีตัวละครอยู่เพียงสองคนชายหญิง มันง่ายต่อการจดจ�ำใน ชั่วโมงเร่งรีบ ฝ่ายชายคือนักเขียนที่เพิ่งลาออกจากงานประจ�ำ เขา ใช้เวลาสองเดือนหลังลาออก อ่านหนังสือและอ่านหนังสือ หลังจาก นั้น เขาจะเริ่มต้นเขียนนวนิยายที่กลั่นมาจากชีวิตจริงล้วนๆ เปิด เปลือยความระย�ำในจิตใจตัวเอง เขาสบถสาบานเงียบๆ ในใจแทบ ทุกวัน ว่าอย่าไปอายต่อความจริง จงซื่อสัตย์ต่อความรู้สึก และมึง อย่าโกหก โดยมีงานชั้นครูอย่างดับลินเนอร์เป็นแรงบันดาลใจ และ หากดับลินเนอร์ฉายภาพอันหลากหลายของมหานครดับลินในวันที่ เจมส์ จอยซ์ยังมีชีวิต นวนิยายชื่อแปลกของเขา ก็จะต้องฉายภาพ ความแหลกเละ ความเศร้าระทม ของมนุษย์สองคนในมหานครห้อง เช่าภายใต้บรรยากาศการเมืองที่เละตุ้มเป๊ะ ตัวละครอีกคนทีจ่ ะไม่พดู ถึงไปไม่ได้เลยก็คอื เธอ เธอคือใคร ผมไม่ อาจทราบ แต่ทั้งสองต่างก็ยืนเลือกซื้อหนังสืออยู่ในร้านเล็กๆ ที่มีชื่อ ว่า กามูส์ อย่างบังเอิญ เขาหยิบงานเล่มใหม่ของวรพจน์ พันธุ์พงศ์ มาถือค้างไว้ในมือ แล้วพูดถึงเรือ่ งเซลฟีอ่ ย่างเบาเสียงทีส่ ดุ เซลฟีก่ อ่ น

238

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ยุคสมัยที่พวกเขาถือก�ำเนิดมีชีวิต และการสนทนาในครั้งนั้น ไม่ได้ จบอยู่เพียงแค่ร้านกามูส์เหมือนในฉากจบเรื่องสั้นๆ ของผม หากทั้ง สองยังคงกลับไปนอนสนทนากันต่อที่ห้องเช่าในสภาพเปลือยเปล่า ด้วยกันทั้งคู่ แล้วเซลฟี่คืออะไรเล่า คุณคงชักสงสัยและเริ่มหมั่นไส้ ใช่เซลฟี่ ก็คือเซลฟี่ในความหมายที่คุณกับผมต่างเข้าใจกันอยู่นี่ล่ะคะ และ ทั้งสอง ก็สนทนากันด้วยเรื่องเซลฟี่เหมือนอย่างเราๆ ต่างตรงที่ บรรยากาศรอบๆ เต็มไปด้วยภาพของกามูส์ แต่เซลฟี่ที่ประทับใจ นั้นมีน้อย ส�ำหรับเขากามูส์คือเบอร์หนึ่งตลอดกาล เขาพูดเช่นนั้น เอง ก่อนวางหนังสือลงที่เดิม สันของมันโผล่ออกมาให้เห็นตามปกติ พลางอธิบายว่าหากสังเกตดีๆ ภาพทุกภาพของกามูส์ เราจะเห็นรอย ยิ้มเล็กๆ ที่มุมปากของเขาเสมอ แต่ส�ำหรับวิเวียนมันไม่ใช่ เซลฟี่ของ เธอเต็มไปด้วยความเคร่งขรึมลึกลับ จินตนาการของเขาคือ หลังการ กดชัตเตอร์โดยใครสักคน ในไม่กี่วินาทีถัดมา กามูส์ คงข�ำก๊าก หลัง แน่นงิ่ เก๊กท่าเหมือนทีค่ ณ ุ เคยเซลฟีก่ บั ใครบางคนทีส่ นิทสนม ต่างจาก วิเวียน ที่คงไม่ใช่แน่ๆ เขาวาดภาพฉากเปิดเรือ่ งของนวนิยายใส่สมุดโน้ต ตัวละครชือ่ ผม จะนอนอ่านหนังสืออยูบ่ นเตียง เขาเพิง่ จบคอลัมน์ของมุกหอม วงษ์เทศ และก�ำลังอ่านงานของชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ว่าด้วยสันติศึกษาของ โยฮัน กัลตุง สลับกับควงปากกาเรียกสมาธิ ทว่าก็หวังว่าเธอจะหันมา มองสนใจ และแอบทึ่งในความสามารถเล็กๆ น้อยๆ เขาควงไปได้แค่

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

239


ทางเดียว ภาพการควงจึงไม่ไหลลื่นเหมือนคนที่ควงได้ทั้งไปทั้งกลับ แต่มนั ก็สร้างสมาธิได้ดี เขานึกพล็อตเรือ่ งสัน้ ๆ ควบคูไ่ ปด้วย เรือ่ งสัน้ ที่ มีกล้องโรลไลเฟล็กซ์ของวิเวียน ไมเออร์เป็นกล้องคูก่ ายตัวละครหลัก ในเรือ่ ง เขาก�ำลังหนีจากความโดดเดีย่ วทีป่ ระสบไปสูค่ วามโดดเดีย่ วที่ ใหญ่ยิ่งกว่า เขานอนคว�่ำ หันปลายเท้าไปยังหัวเตียง ด้านหน้ามีโน้ต บุ๊ค ไอโฟน สายชาร์จ ส่วนเธอนั่งอยู่บนพื้นกระเบื้อง กึ่งกลางพอ ดิบพอดีกับเอวของเขา ด้านหน้าวางหนังสือติวสอบครูผู้ช่วยวิชาเอก ภาษาอังกฤษ สงบนิ่งบนขอบเตียง มือถือดินสอแบบเปลี่ยนไส้ที่เขา เคยใช้เมื่อสมัยเด็กๆ ดิกชินนารี กระเป๋าเครื่องเขียน ไอโฟนวางข้าง กายไม่หา่ ง เธออายุมากกว่าสามปี ทัง้ สองรูจ้ กั กันมาหกเดือน แต่หนึง่ เดือนที่ผ่านมา ทั้งสองอยู่ด้วยกันทุกวันในห้องเช่า เธอเคยโพสต์อะไรบางอย่างพร้อมภาพถ่ายในเฟซบุ๊ก “ฉันเป็น เพียงแรงบันดาลใจในงานของคุณเท่านั้น” ค�ำๆ นี้ สร้างอารมณ์บาด ลึกสวนทาง ต่างฝ่ายต่างกระชากลากถู เขารูส้ กึ คล้ายอยูก่ งึ่ กลาง แล้ว มีภาพและข้อความทีเ่ ธอโพสต์ทงั้ ดึงและห่มคลุมไปพร้อมกัน ฉากแรก คงเริ่มต้นเพียงเท่านี้ นวนิยายที่มีฉากๆ เดียว นั่นก็คือห้องเช่าของทั้ง สอง นวนิยายที่คล้ายบันทึกประจ�ำวัน ชื่อแต่ละบทจะเป็นวันเดือน ปี ระบุเวลานาที เขาจะเขียนนวนิยายเรื่องนี้ให้เหมือนการจดบันทึก ประจ�ำวัน เขียนทุกอย่างที่สัมผัสในกันและกัน มันคงเป็นนวนิยาย ที่น่าเบื่อสุดๆ และผู้อ่านที่ชอบมันคงไม่ใช่ บรรณาธิการ นักวิจารณ์ แฟนขาจร หากแต่เป็นเขากับเธอ แล้วบทแรกก็จบลง ด้วยการที่เขา

240

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ก�ำลังจะเอีย้ วตัวไปจูบเธอ ทว่าเธอลุกขึน้ มาหอมแก้มตัดหน้าเสียก่อน กามูสไ์ ม่ได้เซลฟีส่ กั หน่อย เธอแย้ง ทว่าเธอก็เข้าใจว่าเขาก�ำลังใช้ มโนทัศน์วา่ กามูสก์ ำ� ลังถือไอโฟนปากคาบบุหรี่ พลางกดชัตเตอร์แบบ ไม่มองกล้องบ้างมองบ้าง แต่ถึงยังไง กามูส์ก็เขียนงานเป็นหลัก หาก ใช่เซลฟีจ่ ริง มันก็เป็นเพียงงานอดิเรกเหมือนคุณ ภาพของวิเวียนต่าง หากคือเบอร์หนึง่ เธอบอกเขา แม้จะไม่มคี ำ� พิพากษาใดมาตัดสิน และ เธอก็ไม่ได้หวังผลตัดสินอย่างทีแ่ สดงออกมาตามความรูส้ กึ และขณะ วางงานขององอาจ ชัยชาญชีพลงบนชัน้ วาง เธอก็เปิดภาพจากไอโฟน ภาพวิเวียนเซลฟี่โดยใช้กระจกเป็นตัวสะท้อน ภาพนี้ถ่ายที่เมืองไทย น่าจะเป็นร้านรับซ่อมนาฬิกากลางกรุง เขายิ้มรับ สารภาพว่าชอบ กามูสม์ ากกว่าอยูด่ ี อาจในความหมายว่าคือนักเขียนทีช่ อบ และภาพ ของเขาก็ตา่ งจากภาพบุคคลส�ำคัญขาวด�ำในอดีตมาก ตรงทีม่ คี วามขี้ เล่นเป็นกันเองแอบแฝงอยูบ่ นใบหน้าแทบทุกรูป แล้วเขาก็เริม่ สับสน ว่าเธอที่ชอบวิเวียน ไมเออร์ กับเธอที่ก�ำลังนั่งอ่านหนังสือติวสอบ น่า จะใช่คนๆ เดียวกัน มันน่าจะใช่

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

241


อีก-ฝั่ง วยากร พึ่งเงิน

242

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/ Fiction /

ผู้

โดยสารทยอยขนสัมภาระของตนลงบนเรือ ลัดเลาะไปตามเรือ ต่างๆ ข้ามผ่านล�ำใหญ่ไปสู่ล�ำเล็กที่จอดเทียบรออยู่ห่างออกไป พวกเขาเดินแถวเรียงตามกันมา บางครั้งก็หันมาอ�ำนวยความ สะดวกให้แก่กัน ในกลุ่มหัวแถวมีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ พวก เขามาถึงเรือก่อน สัมภาระถูกส่งผ่านมือต่อมือ ไปกับพวกเขา ไป ถึงที่นั่ง ผู้โดยสารคนอื่นๆ ก�ำลังตามมา ทางที่ล�ำบากและมีระยะยาว ท�ำให้พวกเขาทิ้งช่วงห่างกันไป มองย้อนไปแถวนั้นก็ดูยืดยาว หย่อน ยาน ดูเบา อ่อนไหวในแรงลมอ่อนๆ ธงผืนบางปลิวไสวบนหลังคา เรือ ลมโหมขึ้น แถวก็ดูกระจัดกระจายไปไกลลิบลับ พวกเขาที่หาก ถูกรวบทั้งหมดเข้าด้วยกันก็จะได้เพียงแถวสั้นๆ แดดโรยแรงลงแล้ว พวกเขาได้น่ังลง ในแสงอ่อนๆ มองออกไปแล้วนึกคิด ก�ำลังมีเรือล�ำ หนึ่งจะเข้าเทียบท่า ใกล้เข้ามา เรือเราก�ำลังจะไปเรือเขาก�ำลังจะมา เวลาเย็นหวนคืน ย�้ำเตือนให้รู้ว่าเราก�ำลังย้อนกลับมาที่เดิมทุกครั้ง ด้วยเสียงประกาศก้องถึงกาลใกล้จะสิน้ สุดลง ผูโ้ ดยสารต่างลุกขึน้ ยืน และค่อยๆ เคลื่อนมาอออยู่ที่ทางขึ้น เรือเอียงแต่น้อย เคลื่อนล�ำช้าๆ เข้าเทียบท่า ถอยหลังแล้วเดินหน้าเข้าเทียบใหม่ให้พอดี พวกเขาดู กระวนกระวาย เชือกถูกส่งไปคล้องกับหลัก เรือยังเข้าเทียบได้ไม่ดี นัก แต่ช่วงจังหวะที่ชิดและห่างออกนั้นผู้โดยสารคนหนึ่งก็กระโดด

วยากร พึ่ ง เงิ น นั ก เขี ย นที่ ได้รับการประดับช่อการะเกด ส�ำเร็จการศึกษาปริญญาโท ด้ า นวรรณคดี เ ปรี ย บเที ย บ วิ ท ยานิ พ นธ์ อั น ลื อ ลั่ น ของ เขาว่าด้วย เรื่องเล่าและตัวตน ใน เงาสี ข าว ของแดนอรั ญ แสงทอง

อีก-ฝั่ง

Léon Spilliaert: Tempête sur la mer 1908

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

243


ขึน้ ฝัง่ โดยมีนำ�้ หนักจากสัมภาระเทียมบ่าถ่วงรัง้ ให้แอ่นและโซเซอย่าง ยากล�ำบากอยู่ อีกคนหนึ่งจะตามมาแต่แล้วก็เสียจังหวะไป เรือถอย ออกมาอีก แต่ได้เพียงชั่วระยะเชือก เหนี่ยวแล้วเหวี่ยงเข้าเทียบใหม่ ในช่วงที่ง่ายกว่าเดิม เรามองไปยังพวกเขาแล้วนึกถึงตัวเราเอง ก�ำลัง ทยอยกันขึ้นมาจากเรือ แล้วเดินไปข้างหน้า บางคนรีรอสมาชิกใน กลุ่มจากนั้นก็พากันไป หลังจากเฝ้ารอมานานก็รู้สึกสุขใจที่ได้มาถึง จิตใจล่วงหน้าไปก่อนแล้ว ความพะวงใดถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง เวลาเย็น ผ่านเวลากลางคืน ทีน่ ปี่ ากทางเข้าแล้วเราจะกลับมาอีกครัง้ จากนีเ้ รา จะได้มีครั้งหนึ่ง นี่จะเป็นครั้งหนึ่ง และต่อไป กลับมาเป็นอีกครั้งหนึ่ง และ-แล้ว-อีกครั้งหนึ่ง และตลอดไป คนเรือออกมาจากห้อง เราหันกลับมามองกันในเรือ สังเกตเห็น ว่าพวกเขามีกันอยู่หลายคน คนเรือคนหนึ่งท�ำให้เห็นคนเรืออีกคน หนึ่ง ไม่น้อยเลย ออกมาจากจุดต่างๆ ของเรือ พวกเขาเฝ้าคอยอยู่ ตั้งแต่แรกแล้ว ตอนนี้ก็แค่ออกมาแสดงให้เห็น ให้เรานับเพื่อจดจ�ำ เพื่อที่จะได้รู้เอาไว้ เรามองไปรอบๆ เรือ มองดู พยายามเห็นให้หมด พวกเขาบางคนหายไป แต่แล้วก็เพิ่มเข้ามา เราจ้องมองติดตาม แต่ก็ ไม่ได้ใส่ใจนัก เขาคนหนึ่งตะโกนออกไปนอกเรือ เสียงขานรับจากคน เรือในเรืออีกล�ำหนึ่ง เขานอนเหยียดยาวเอกเขนก หากไม่สังเกตก็จะ ไม่เห็นเลย เรือดูเหมือนทีอ่ ยูม่ ากกว่ายานพาหนะ คนเรือและเรือต่าง กลมกลืนกัน และมากไปกว่านั้น เหมือนว่าทั้งสองคืออย่างเดียวกัน อะไรอย่างสัตว์ที่เป็นเรือ จะอย่างไรเราก็เป็นผู้โดยสาร เราต่างมอง

244

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ไปยังเรือล�ำอืน่ ทีอ่ ยูร่ ายรอบ คนเรือกระจายอยูต่ ามล�ำเรือต่างๆ พวก เขาคุยกัน เงียบกัน แล้วพูดกันในเรื่องที่เราเข้าใจไม่ได้เลย ดูเหมือน พวกเขาจะพากันมองดูหญิงสาวในเรือล�ำนี้ เสียงกระซิบกระซาบและ โห่ร้อง เรื่องนี้มีความบันเทิง พวกเขาจึงย้อนกลับมาพูดอีกซ�้ำแล้วซ�้ำ เล่า จากเสียงหัวเราะกระทั่งกลายมาเป็นความชินชา แต่ก็ยินดีที่จะ อยู่กับเรื่องเดิมอีกต่อไป เราไม่เข้าใจเรื่องราวเหล่านี้เลยก็จริง แต่ไม่ นานเราก็หมดสิ้นความสนใจ เราจึงหวนกลับมาคุยกันเอง และเรายังคงรอต่อไป ผู้โดยสารที่ตกค้างอาจมาถึงอีกในไม่ช้า พวกเขาคงก�ำลังเร่งรุดมาสู่ เรือเที่ยวสุดท้ายก�ำลังเฝ้าคอย รอคอย— มันยาวนาน เป็นการไม่ไปถึง จนเกือบจะเป็นการกักขังให้เวียนวน ก�ำลังถ่วงรั้งเอาไว้ เพื่อรั้งรออะไรบางอย่าง อะไรที่อาจไม่มีวันมาถึง เวลาที่ล่วงไป บางทีเราก็ลืมไปแล้วว่าก�ำลังรออะไรหรือใคร มีเพียง การรอ-ที่ตรึงเราไว้-ที่ท�ำให้รู้สึกว่าต้องรอ มันจึงยาวนาน แม้ความ จริงมันจะยาวนาน แต่ระยะ-ไม่รู้ถึงปลายสิ้นสุด สิ่งที่อยู่ไกลลับตา มี แต่ระยะที่ทอดยาวออกไป ก�ำลังไกลออกไป—เหลือเกิน-ก็เกือบจะ เสมอกัน บางทีตอนนีเ้ มือ่ กว่าจะรูไ้ ด้มนั ก็ลว่ งเลยไปแล้ว แล้วเราก�ำลัง รออะไร รอสิ่งที่ล่วงไป ก�ำลังท�ำเพื่อการรอที่ไม่มีขึ้นได้ เหลือแต่การ กระท�ำทีอ่ ยูก่ บั ที่ ไม่ไป เคลือ่ นไหว ท่าทางคล้องจองทีน่ า่ มองดู ยับยัง้ เราเอาไว้ พวกเขาไม่ยอมปล่อยเรือ เรามีเรือ่ งราวมากมาย มีวนั นี้ วันนีข้ องเมือ่ วาน เรือ่ งราวของเราที่ แล้วมา เราอยู่ด้วยกันเสมอ อยู่ด้วยกันตลอด เพื่อน เราอยู่เป็นเพื่อน

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

245


กัน เราผูกพันไว้ดว้ ยวันทีม่ ดี ว้ ยกันและวันนัน้ เราก�ำลังจะไปแล้ว เดิน ทางกลับไปจากที่นี่ กลับคืนจากที่มา เราพูดคุยเรื่องการจากไป ฆ่า เวลา รอจนถึงกว่าทีจ่ ะไป เรือยังคงรอต่อไป จนกว่าผูโ้ ดยสารทีต่ กค้าง จะมาถึง พวกเขาที่อาจล่วงเลยไปแล้ว พวกเขาที่สุดท้ายอาจ-ไม่มี วัน-กลายมาเป็นเรา ตอนนี้ เราที่นี่ เรารอคอย อีกหน่อย ก่อนที่จะ รู้ว่า คอยไปก่อน รอต่อไป อีก ยังอีก—ยัง ไม่ ปล่อยเราไป ได้โปรด ใครว่าเราไม่เคยจากไปไหน แต่แล้วเราก็จากไป เครื่องยนต์ลั่น ดังขึ้น เราเหมือนตื่นจากฝันสะดุ้งกลัวที่การรอคอยสิ้นสุดลงอย่างไม่ คาดฝัน ไม่ทันได้ตั้งตัวที่เรือจะออกไปเสียที เรายังคงพูดคุยกัน ยิ้ม หัวเราะให้กับเรื่องราวของเรา เรื่องราวที่เรามีด้วยกันที่นี่ ก่อนที่มัน จะกลายเป็นแค่ครั้งหนึ่ง และดีกว่าที่จะปล่อยให้ตกอยู่ในความเงียบ ต่อกัน เราไม่มีวันและคงจะในอีกไม่ช้า ท่ามกลางเสียงเครื่องยนต์ดัง กระหึ่มส่งแรงสะเทือนอ่อนๆ เราก็ตะเบ็งกันบ้าง หวังให้เสียงได้ผุด ขึ้นไปพ้นความอื้ออึงได้บ้าง และให้เหมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น เรา คุยกัน แต่ใจเราไปอยู่ที่อื่น ออกห่างไปเรื่อยๆ ลาไกล ติดไปกับภาพ ทิวทัศน์ แล้วเราก็เอามาหลอกตัวเองให้เชื่อว่าภาพนั้นกลับมาติดตา ข้ออ้างที่ฟังขึ้นหูและดูจ�ำเป็น แล้วก็อาจจะแว่วเสียงคลื่นไกลๆ อาจ จะก้องมาจากชายฝัง่ เราจึงจ�ำเป็นต้องไป แต่เราก็ไม่เคยหลอกตัวเอง ได้สนิทใจ เรารู้แค่ว่าเราอยากจะไปแล้ว ให้พ้นไปจากตรงนี้ กลับไป จมอยู่กับความหลัง แล้วก็นึกหวังไปต่างๆ นานาถึงวันข้างหน้า ทั้งๆ ที่วันนี้จะไม่มีใครเหลือรอดชีวิตกลับไป

246

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เรือมุง่ หน้าไปทึม่ ๆ เดินเครือ่ งเหมือนกลไกไขลาน ปีนลูกคลืน่ แล้ว โจนฮวบลงระหว่างระลอกคลื่น กระเพื่อมไหว ซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า จนนิ่ง สถิตเป็นจังหวะทีม่ นั่ คง จังหวะทีเ่ ราจับได้และคุน้ ชิน เสียงเครือ่ งยนต์ ดังอยู่สม�่ำเสมอ บางทีเราก็เผลอร้องคลอไปตามเสียงนั้น ไหลไปตาม ท่วงท�ำนองไหวเอน ขับเห่ ไกวกล่อม เนิ่นนาน ตกอยู่ในภวังค์เลือน รางจนเหมือนจวนจะจมลงไปในอะไรทีใ่ ช่หว้ งลึก เราร้องฮัมในล�ำคอ ตามไป เรา-ผูร้ ว่ มทางไม่กคี่ น-ทีต่ า่ งเป็นคนอืน่ เรือเล็กอ่อนไหวต่อแรง คลื่น เปราะบาง โคลงเคลง ซวนเซจะล้มคว�่ำอยู่ทุกชั่ววินาที และไม่ ว่าจะอะไรก็ตาม ต่อจากนี้ก็คงจะเป็นอะไรก็ได้ หรืออาจจะเป็นอะไร ที่ฟังดูคล้ายค�ำบรรยายที่สมจริง เพราะถึงยังไงที่ว่ามาทั้งหมดนี้มันก็ เรื่องโกหกทั้งเพ เรือตะกายปีนขึ้นสู่หลังคลื่น ละอองน�้ำกระเซ็น เราเริ่มรู้สึกถึง ความเย็นเยียบที่ซึมซาบเข้ามาโดยละเอียด รู้สึกกลัวที่ร่างกายจะ ต้องสั่นสะท้าน และตอนนี้หากเหลียวหลังกลับไปเกาะก็ลับตาไป เสียแล้ว เรามาช้าเกินไป เรือเล็กบอบบางเกินไป และอาจจะสาย เกินไป เสียดาย อยากจะย้อนเวลากลับไป หากท�ำได้ก็คงจะไม่ปล่อย ให้ถล�ำลึกมาขนาดนี้ พลาดไปแล้ว ประมาทเกินไปทุกที ทั้งที่รู้ว่า ไม่ควร ก็ได้แต่คิดว่าไม่เป็นไร แล้วตอนนี้ก็เพิ่งมาคิดได้ว่า... อาจจะ เป็นครั้งสุดท้าย เรายังคงรอคอย เหมือนที่เคยเป็นเสมอมา จะรอ อะไร ดูเหมือนว่าเราจะรออะไร ให้มันจบสิ้นเสียที—นั่นแหละที่เรา ไม่กล้าบอก

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

247


คงอาจจะเป็นพระหัตถ์ของพระองค์ทที่ รงยืน่ เข้ามา วันจึงถูกคว้า เอาไป แสงแห่งวันหรุบหรู่ โรยแรงและอ่อนล้า วาบหายและคืนมา ก�ำลังกระเสือกกระสนให้มชี วี ติ รอดต่อไป การดิน้ รนเฮือกสุดท้ายของ แสงระบายลงบนผิวน�ำ้ ไหลผ่านการมองเห็นของเราไปชัว่ แล่น ทัง้ หมด นี้เหมือนเราจะเห็นรู้ แต่มันก็เร็วเกินกว่า ขอให้ดวงตาคู่น้ีเป็นพยาน แสงกลายเปลีย่ นจากสว่างโปร่งใสไปเป็นสีคราม เป็นสีดำ� เป็นสีเขียว เป็นสีแสด เป็นสีแดง เป็นสีเหลือง เป็นสีทอง เป็นสีขาว สีแก้วผลึก ในไม่ช้าแสงจะร่วงโรยลงเป็นตะกอนของค�ำ่ คืน ก่อนที่วันจะสิ้น สุดลงเป็นความมืด อีกไม่นานเงาบนฟากฟ้าก็จะแผ่ขยายลุกลามมา ทาบทับเราเสียจนหมดสิ้น ค�่ำคืนที่จะฟื้นตื่นคืนมา โลกที่จะคืนไปสู่ หลังเปลือกตา เราจะให้ดวงตาเป็นพยาน และหากเราจะมีดวงตาที่ เหนือไปกว่านี้แล้วละก็ เปล่าประโยชน์ มันเปล่าประโยชน์ เราลอย คว้างอยู่กลางความเวิ้งว้างสลัวราง ระหกระเหินไป ได้แต่หวังว่า คงจะมีอกี ฝัง่ ให้ไปถึง เราเหนือ่ ยล้า ไม่มคี ำ� พูดต่อกัน เหม่อมองไปไกล นึกออกไป ผู้หญิงพูด ผู้ชายพูด คนพูด แล้วคนก็นึก: คงอีกไกล ไม่แน่ใจเลย เหมือนไกลกว่าเดิม ครั้งนี้มันไกลเหลือ เกิน ไม่เหมือนเคย บางทีอาจจะดีที่ไม่ต้องกลับไปอีกแล้ว แต่ก็คงได้ แค่ประวิงเวลา เพราะสุดท้ายก็หนีไม่พน้ อยูด่ ี ไม่วา่ จะเร็วจะช้า พอกัน ที อยากจะหนีไปเหมือนอย่างนี้ ไปให้ไกล เสียดาย ไม่ทนั แล้ว เด็กคน นั้นดูมีความสุข หัวเราะคึ่ก เป็นเด็กก็ดี ไม่ต้องนึกถึงวันพรุ่งนี้ เด็กมัน เปลีย่ นถึงเจ็ดหน้ากว่าจะอยูก่ บั ที่ ไม่ตอ้ งหนี หัวเราะไม่หยุด โผไปซบ

248

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


พ่อแม่ เด็กตลก เรื่องของเพื่อน เด็กตลก อะไรนะ ขอให้ผีมาหักคอ เย็นแล้ว ทุกคนดูเหมือนจะหลับกันหมด เพื่อนเราก็เหมือนกัน คงจะล้ามาทั้งวัน ไม่รู้สิ วันนี้ลมมันเย็นเยือก เหมือนจะสายเกินไป นึกถึงครั้งนั้น เราย�่ำลึกเข้าไปในป่าชื้น เปรอะเปื้อนไปด้วยโคลนจาก การลื่นล้มตะเกียกตะกาย ตัวเราชุ่มไปด้วยทั้งฝนทั้งเหงื่อ หนามไหน่ และกิง่ ก้านไม้เกีย่ วเข้าเป็นแผลถลอกปอกเปิก เราเหนือ่ ย หอบหายใจ แรง กลิน่ สาบของเราก็ชดั เจนขึน้ มา กลิน่ ทีเ่ ราพยายามก�ำจัดมันไป แม้ แขนจะล้า แต่เราหยุดถางทางไม่ได้ มือยิง่ โรยแรงยิง่ ต้องก�ำมีดพร้าให้ แน่นขึ้น แรงบีบและความแม่นย�ำไม่เหลืออีกแล้ว เราเพียงแต่เหวี่ยง มีดหวือๆ ไปมา ห้วงการหวดนัน้ หลายครัง้ มีดก็จวนเจียนจะหลุดมือไป หาก-ผีผลัก-เราพลาดมีดก็คงหมุนคว้างเข้าใส่เราสักคนหนึง่ พุง่ เข้าฟัน ในแนวเฉียงของใบหน้า โดยเฉพาะ-ซึง่ ชัดเจนเหลือเกินในห้วงคิด-ล�ำ คอ ฟันฉับเข้าหลอดลม และทีเดียวเท่านั้นก็ถึงแก่ชีวิต เราคงฝังศพ ไว้ตรงนั้นเลย นี่เป็นอุบัติเหตุเก่าแก่ดั้งเดิม นึกถึงงูพิษ ไม่รู้ว่าอยู่ไหน เผลอเหยียบเข้าก็ฉกกลับทันที คมเขีย้ วร้อนผ่าว พิษแล่นเข้าสูร่ า่ งกาย พุง่ ตรงเข้าเอาชีวติ แบบดัง้ เดิม ไม่มที างรอดพ้น ได้แต่ทนทุกข์ทรมาน พิษยิง่ ก�ำเริบรุนแรง กายทีไ่ ม่อาจทนได้กอ็ อกอาการทุรนทุราย สุดท้าย ก็ตายไป เธอยื้อฉันไว้ไม่ได้ ฉันตายไปจากร่างที่แปดเปื้อน โรงหมอ นั้นไกลเกินไป ดีเหลือเกินที่ไม่ต้องถูกฆ่าเชื้อ ไม่ต้องถูกท�ำให้สะอาด หมดจด และไม่ต้องถูกรักษาอีกต่อไป จากนั้นก็มีการคร�่ำครวญ อย่า เลย มันไม่ได้มคี วามแน่วแน่อะไรแล้ว รักกันมากนักก็จบั งูตวั นัน้ ให้กดั

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

249


เข้าที่ทรวงอกของเธอสิ ส�ำเร็จโทษตัวเธอเอง โทษฐานที่ยังมีชีวิตอยู่ เด็กๆ นี่ยังไงก็น่ารัก เด็กคนนี้ก�ำลังจะหลับแล้ว คงเล่นซนมาทั้ง วัน เรี่ยวแรงก็คงจะหมดไป แม้เด็กจะพยศ ยังไงก็น่ารัก สุดท้ายก็ จ�ำนนอยู่ในอ้อมแขนเรา มีใครไม่ชอบเด็กๆ ที่เรียกร้องเอาอะไรด้วย หรือ หนูคนนี้ถูกจับแต่งตัวสวยเชียว ลูกของฉันฉันจะแต่งให้ยังไง... คงเป็นสิ่งนี้แหละที่ท�ำให้เรายังรู้สึกว่าขาดอะไรไปบางอย่าง ที่จริง เราก็พร้อมตั้งนานแล้ว เขาคิดมากเกินไป ลูกของเรา ฉันว่ามันน่าจะ ท�ำให้เรามีความสุข เราจะได้ไม่เงียบกันเกินไป เสียงหัวเราะใสๆ หรือ แม้แต่เสียงร้องไห้ อย่างน้อยก็จะได้ไม่เงียบกันจนเกินไป จะได้อุ้ม ได้ กอด ได้หอม ได้รักกัน เด็กๆ นั้นใสซื่อ แค่ได้เห็นพวกเขาก็สุขใจแล้ว เด็กๆ ที่พูดเจื้อยแจ้วไม่เดียงสา ฉันจะเอาใจพวกเขายังไงดี ฉันจะมี ความรักให้พวกเขา พวกเขาจะเติบโตขึ้นทุกวัน แล้ววันหนึ่งพวกเขา ก็จะไม่เป็นเด็กอีกต่อไป แต่เขาก็เป็นลูกของเรา น่าเสียดาย เด็กๆ โต ขึน้ มาแล้วน่าจะตายไป ไม่ได้ เขาน่าจะโตขึน้ มาแล้วยังเป็นเด็ก แต่แล้ว วันหนึ่งเขาก็จะจากไป ฉันจะกลายเป็นพ่อแม่ของผู้ใหญ่คนหนึ่ง คน ที่เท่ากับฉัน เด็กของฉันจะไม่ใช่เด็กคนนั้นอีกต่อไป แต่เป็นผู้ใหญ่คน นี้ พวกเขาจะรักฉันอย่างมารดาผู้ให้ก�ำเนิด ตอนนั้นฉันจะกลายเป็น ใคร แม่ของพ่อแม่คนหนึ่ง ลูกหลานที่กลับมาหา เติบโตขึ้นมา แล้ว วันหนึง่ ก็จะจากไป เขาก็คงคิดอย่างนี้ แม้เราจะมีเขาอยูไ่ ด้แค่ชวั่ เวลา หนึ่ง แต่มันก็เกินจะหักห้ามใจจริงๆ หนูคนนี้หลับแล้ว เด็กได้หลับไป แล้วจริงๆ หลับไปในเวลาเย็น คงก�ำลังฝันเหมือนดอกไม้ยามเย็นที่รุ่ง

250

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เช้าจะคืนมาด้วยการแย้มบาน วัยเยาว์อนั หอมหวาน ความงามอันน่า ดื่มด�่ำ ฉันควรจะได้บ้างใช่ไหม ฉันอยากมีความสุขบ้าง ทุกคนเหมือนหลับ แต่เหมือนเราต่างก็แอบลอบมองกัน ผู้หญิง คนนัน้ หลับแล้ว สวยนะ คงมากับเพือ่ น คนกรุงเทพ แปลกดี หลับไปก็ ยังยิม้ อยู่ เห็นคุยโทรศัพท์ตลอดเลย คงจะเป็นแฟน วางหูแล้วก็ยงั ยิม้ เหม่อมองก็ยิ้ม จนผล็อยหลับไปก็ไม่คลาย แปลกดี สุขท�ำไมจึงมี สุข ที่ล้นจนเผยออกมาในกิริยาอาการ สุขใดกันหนอ สุขเล็กๆ หรือทุกข์ เล็กๆ แล้ว สุขที่เกิดขึ้นยามตื่น แต่ยังยืนยงอยู่แม้ยามหลับฝัน ผ่าน เลยเข้าไป-ประทับ-แล้วเผยออกมา สุขเจืออยู่ริมฝีปาก อาจจะใช่ก็ได้ ส�ำหรับเธอ นี่เป็นเรื่องน่าสนใจ ความรักในงาน ประดิดประดอย ส�ำหรับความสะสวย นี่เป็นวิธีการประทินความงาม ในการรับรู้ของใครๆ บางครั้งเธอก็ตามใจความงามของตัวเธอเองไม่ ได้ เอามือลูบไล้ไปตามแขนขา เริ่มรู้สึกหนาว นิ้วมือขาวซีด ผิวหนัง เหีย่ วย่น หมอกลอยเรีย่ บนผืนน�ำ้ มืดแล้ว สายเกินไป ทีน่ ที่ ไี่ หน ตอนนี้ เงียบเกินไป ซุกมือและกอดอกไว้ มาดูลมหายใจยังอุน่ หนาว กลัน้ เนือ้ ตัวทีเ่ ริม่ สัน่ สะท้าน ทรมาน ก็แค่ชอบใจไม่ชอบใจ จะหนาวก็หนาวไป ถึงจะอุ่นก็อุ่นไป ไม่ว่าอะไร เหล่านี้คือความเงียบ เหล่านี้คือฝันละเมอหรือไร หมอกบางลอย คลุง้ โชยอบอวลไปทัว่ ผืนน�ำ้ เราลอยคว้างอยูก่ ลางสมุทร มองออกไปมี แต่ความโล่ง เวิง้ ว้าง มัวหม่น โลกใบเดิมทีเ่ รารูส้ กึ หวาดหวัน่ เราอยาก จะเอือ้ นเอ่ยอะไรบางอย่างออกมา แต่แล้วเราก็เปลีย่ นใจ เหมือนจวน

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

251


จะข้ามผ่านไปยังอีกที่หนึ่ง เราต่างสงบลง รู้ดีว่าก�ำลังจะลืมอะไรบาง อย่างไป เหมือนกับว่ามันนานมาแล้ว ผืนน�้ำนิ่งสงบ เรียบสนิท เรือ เลื่อนไหลลงไปข้างใต้ มันคงถึงเวลา ดิ่งลงไปจมลงไป ดูดกลืนเข้าไป ช้าๆ จนสะดุดถล�ำ ผลุบหายวับไปเบื้องใต้ ตาเบิกโพลง กายหดเกร็ง เตลิดกระเจิง กระอักท่วมฟองอากาศพลั่กๆ หวีด: ประลัย นี่เป็นอุบัติเหตุเล็กๆ ทั่วไป ไม่มีการสูญเสีย พอเรือจมลงไปผู้ โดยสารก็ลอยคอเท้งเต้งด้วยเสื้อชูชีพ และแน่นอนว่าก็ได้รับการช่วย เหลืออย่างทันท่วงทีจากชายฝัง่ แสงไซเรนของเรือกูช้ พี แลบแปลบมา แต่ไกล คนเรือและผู้โดยสารถูกฉุดขึ้นมา ร่างกายที่สั่นเทิ้มได้รับการ ปลอบประโลมด้วยผ้าคลุมกายให้อบอุน่ ชีวติ มันช่างง่ายดายเหลือเกิน ไม่มอี ะไรทีต่ กค้าง ไม่มบี าดแผลให้จดจ�ำ แม้ชวั่ ขณะหนึง่ จะรูส้ กึ หวาด กลัวเมือ่ เข้าประชิดมัจจุราช เหมือนแว่วเสียงโห่รอ้ งของศัตรูทโี่ หมเข้า ใส่หมายจะฆ่าฟันเราให้ตายอย่างคลั่งบ้า แล้วเราก็รอดตาย มันง่าย เสียจนเราลืมชัว่ ขณะทีล่ มหายใจจะขาดห้วงไป พายุรา้ ยพัดผ่านไปไม่ หลงเหลือร่องรอย ผูโ้ ดยสารจึงได้หนั มาพะวงกับสัมภาระทีจ่ มอยูใ่ ต้นำ�้ แม้จะมืดค�่ำแล้ว แต่ที่ท่าเรือก็มีชาวบ้านพากันมามุงดูอยู่บ้าง มา ช่วยพยุงผูเ้ คราะห์รา้ ยกลับขึน้ ฝัง่ และคล้ายๆ ว่าจะเป็นการปลอบโยน แต่เปล่า พวกเขาแค่มาดู และถามไถ่พอเป็นพิธีเท่านั้นเอง อาจจะ รู้สึกเสียดายบ้างที่ไม่มีเหตุการณ์เร้าอารมณ์เวทนา เพราะแม้แต่เด็ก คนนั้นก็ยังไม่ตายเลย และในที่สุดผู้โดยสารคนหนึ่งก็เอ่ยถึงสัมภาระ

252

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ที่จมอยู่ขึ้นมาจนได้ ลูกหลานชาวเรือได้ยินเข้า เจ้าเด็กคะนองพวกนี้ ไม่คิดอะไรมาก ข้อเสนอใดก็รับไว้หมด รับอาสาจะไปกู้คืน จึงตะบึง กันไปเดี๋ยวนั้น กระโดดลงเรือแล้วแล่นออกไป ทั้งที่ยังไม่แน่ใจเลยว่า จริงๆ แล้วอยากจะไปหรือไม่ ท่ามกลางความมืดมนและรวนเร เราจ้าง ให้พวกเธอไป เรา-เจ้าของสัมภาระ-จะคอยอยู่ที่นี่ และจากนี้ก็สุดแท้ แต่โชคชะตาจะน�ำพาเราไป.

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

253


ฝั่งที่สามของลำ�น้ำ� João Guimarães Rosa จิรวัฒน์ แสงทอง แปล

254

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/ Fiction /

พ่

Gusareva-Aleksey Savrasov : Pine 1850

vice versa

อของผมเป็นคนซือ่ ตรง ยึดถือวินยั และรับผิดชอบต่อหน้าทีอ่ ย่าง สูง จากถ้อยค�ำของหลายคนทีเ่ ชือ่ ถือได้ พ่อมีนสิ ยั เช่นนีม้ าตัง้ แต่ ยังวัยรุน่ หรืออาจจะตัง้ แต่ยงั เป็นเด็กเลยเสียด้วยซ�ำ้ จากความทรงจ�ำ ของผมเอง พ่อหาได้เป็นคนรื่นเริงหรือซึมเศร้ามากไปกว่าผู้ชายอื่นที่ พวกเรารูจ้ กั แม้ดเู หมือนว่าพ่อออกจะเงียบขรึมมากอยูส่ กั หน่อยก็ตาม ไม่ใช่พ่อ แต่เป็นแม่ต่างหากซึ่งปกครองบ้านของเรา แม่จะดุด่าพวก เราซึ่งประกอบไปด้วยพี่สาว พี่ชาย และผมอยู่แทบทุกวัน เรื่องราว เกิดขึ้นในวันซึ่งพ่อได้สั่งต่อเรือขึ้นมาล�ำหนึ่ง พ่อจริงจังกับมันอย่างมาก เรือล�ำนั้นซึ่งท�ำจากไม้มิโมซาเหมือน จะต่อขึน้ มาเพือ่ พ่อโดยเฉพาะ มันแข็งแรงทนทานให้ใช้งานไปได้ยสี่ บิ หรือสามสิบปี มีขนาดพอตัวส�ำหรับคนเดียว แม่วุ่นวายใจกับมันมาก โข จู่ๆ สามีของเธอคิดจะหันไปท�ำประมงหรืออย่างไร? หรือจะล่า สัตว์? พ่อไม่เอ่ยสิ่งใดตอบกลับมา บ้านของพวกเราห่างจากแม่น�้ำไม่ ถึงหนึ่งไมล์ แม่น�้ำนั้นลึกสุดหยั่ง เงียบสงัด และกว้างขวางจนคุณมิ อาจมองเห็นอีกฟากฝั่งได้เลย ผมมิอาจลืมวันนั้นซึ่งเรือพายล�ำเล็กถูกชักลากออกไป พ่อมิได้ แสดงอาการดีอกดีใจหรือแม้แต่อารมณ์อื่นใดออกมา ท่านเพียงแค่ สวมหมวกใบเดิมอย่างที่เคยท�ำเสมอมาและบอกลาพวกเรา ไม่ได้น�ำ อาหารหรือห่อของใดติดตัวไป พวกเราหวังให้แม่โกรธเกรี้ยวโวยวาย แต่แม่หาได้ท�ำเช่นนั้น แม่ดูหมองหม่นและกัดริมฝีปาก ทั้งหมดที่แม่ พูดคือ:

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

จิรวัฒน์ แสงทอง อาจารย์ ประจ� ำ หลั ก สู ต รเอเชี ย ศึ ก ษา ส� ำ นั ก วิ ช า ศิ ล ป ศ า ส ต ร ์ มหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลั ก ษณ์ เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ไทย ป๊ อ บคั ล เจอร์ ใ นเอเชี ย ตะวั น ออกเฉียงใต้

255


“ถ้าคุณจะไป ก็อยู่มันเสียที่นั่น อย่ากลับมาให้ฉันเห็นหน้าอีก!” พ่อมิได้เอ่ยต่อแม่ ท่านมองอย่างอ่อนโยนมายังผมและคล้ายจะ ชวนให้ผมเดินไปด้วยกัน ผมนัน้ แสนจะกลัวแม่โกรธแต่กต็ ดั สินใจยอม ตามพ่อ เราสองคนออกเดินไปยังแม่น�้ำด้วยกัน ผมกระตุ้นตัวเองให้ดู มีชีวิตชีวาและกล้าขึ้น แล้วจึงเอ่ย: “พ่อครับ พ่อจะพาผมไปกับเรือของพ่อด้วยได้ไหม?” พ่อเพียงนิ่งมองผม อวยพรให้ และด้วยอากัปกิริยาเป็นการบอก ให้ผมกลับไป ผมแสร้งว่าจะท�ำเช่นนั้น แต่เมื่อพ่อหันหลัง ผมหลบลง หลังพุม่ ไม้เพือ่ แอบมอง พ่อก้าวลงไปในเรือและเริม่ พาย เงานัน้ ค่อยๆ เคลื่อนผ่านล�ำน�้ำไปราวกับจระเข้ เชื่องช้าและเงียบเชียบ พ่อไม่ได้กลับมา ขณะเดียวกันก็ไม่ได้จากไปไหน ท่านเพียงแต่ พายเรือลอยละล่องตัดผ่านและวนไปรอบๆ ล�ำน�้ำนั้น ทุกคนเริ่ม รู้สึกหวั่นเกรง สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สิ่งที่แทบเหลือเชื่อว่าจะ เกิด ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว ญาติๆ ของเรา เพื่อนบ้าน และมิตรสหาย ต่าง พากันพูดถึงเรื่องนี้ แม่รู้สึกอับอายจนสุดจะทน ท่านพูดจาน้อยลง และด�ำรงตนด้วย ท่าทีสงบอย่างยิ่ง ในท้ายที่สุด เกือบทุกคนต่างคิด (แม้จะไม่มีใครพูด ออกมา) ว่าพ่อได้เสียสติไปเสียแล้ว อย่างไรก็ตาม มีบางคนกล่าวว่า พ่ออาจจะก�ำลังท�ำตามค�ำสัญญาบนบานทีไ่ ด้กระท�ำไว้กบั พระเป็นเจ้า หรือนักบุญท่านใดท่านหนึง่ หรือไม่กพ็ อ่ รูต้ วั ว่าก�ำลังเป็นโรคร้าย อาจ จะเป็นโรคเรื้อน และนั่นท�ำให้พ่อออกไปจากบ้านเช่นนั้นเพื่อเห็นแก่

256

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ครอบครัว แต่กระนั้นก็ยังปรารถนาจะอยู่ใกล้ๆ ทุกคนด้วยเช่นกัน บรรดาผู้คนที่เดินทางอยู่ตลอดล�ำน�้ำ และผู้ซึ่งอาศัยอยู่สองฝั่ง แม่น�้ำกล่าวว่าพ่อไม่เคยย่างเท้าลงบนผืนดิน ไม่ว่าจะเป็นตอนกลาง วันหรือกลางคืน พ่อเพียงแต่ล่องอยู่ในแม่น�้ำ โดดเดี่ยว ไร้จุดหมาย ราวกับเรือร้างที่ถูกทิ้งให้ลอยล�ำ แม่และญาติๆ ของเราคิดเห็นตรง กันว่าข้าวปลาอาหารซึ่งมิต้องสงสัยเลยว่าพ่อได้ซ่อนเอาไว้ในเรือนั้น ไม่ช้าคงจะหมดลง เมื่อถึงเวลานั้นพ่อก็จะขึ้นจากน�้ำและออกเดิน ทางไปที่ไหนสักแห่ง (ซึ่งอย่างน้อยแล้ววิธีนี้คงไม่ท�ำรู้สึกอับอายมาก นัก) หรือไม่พ่อก็อาจส�ำนึกผิดและกลับมาบ้าน แต่นั่นช่างห่างไกลกับความเป็นจริงเสียเหลือเกิน! พ่อมีแหล่ง เสบียงอาหารที่เป็นความลับส�ำหรับทุกคน นั่นคือผมเอง ทุกๆ วัน ผมจะขโมยอาหารและแอบน�ำไปให้พ่อ ในค�่ำคืนแรกที่พ่อออกไป พวกเราทุกคนจุดไฟขึ้นที่ริมฝั่ง สวดภาวนาและร้องเรียกพ่อ ผมเศร้า อย่างทีส่ ดุ และรูส้ กึ ว่าจ�ำเป็นต้องท�ำอะไรบางอย่างมากกว่านี้ ในวันต่อ มา ผมเดินลงไปยังฝั่งแม่น�้ำพร้อมกับขนมปังข้าวโพดหนึ่งแถว กล้วย หนึ่งหวี และน�้ำตาลก้อนหยาบๆ จ�ำนวนหนึ่ง ผมกระสับกระส่ายเฝ้า รอผ่านช่วงชัว่ โมงทีน่ านแสนนาน แล้วในทันใดนัน้ ผมก็เห็นเรือล�ำนัน้ ไกลออกไป โดดเดี่ยว เคลื่อนที่แผ่วเบาจนแทบไม่อาจสังเกตอยู่บน ผิวน�ำ้ อันเรียบสงบ พ่อนัง่ อยูท่ ที่ อ้ งเรือ ท่านมองเห็นผมแต่กไ็ ม่ได้พาย เรือเข้ามาหาหรือแม้แต่จะส่งสัญญาณทักทาย ผมยกอาหารให้พ่อดู จากนั้นก็วางมันไว้ในโพรงหินริมน�้ำ ณ ที่ตรงนั้นอาหารจะปลอดภัย

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

257


จากพวกสัตว์ ฝน และน�้ำค้าง ผมท�ำเช่นนี้ทุกวันไม่หยุดหย่อน ต่อมา ผมแสนประหลาดใจเมื่อพบว่าแม่รู้ดีว่าผมก�ำลังท�ำอะไรอยู่ ท่านจะ วางอาหารไว้ในทีซ่ งึ่ ง่ายส�ำหรับผมจะขโมย แม่มคี วามรูส้ กึ อีกมากมาย ที่ไม่ได้แสดงออกมา แม่ส่งจดหมายเรียกน้าชายให้มาช่วยงานฟาร์มและธุรกิจ ให้ครู จากโรงเรียนมาสอนพิเศษให้พวกเราเด็กๆ เพือ่ ชดเชยเวลาทีพ่ วกเรา ขาดเรียน ในวันหนึ่ง จากการวอนขอของแม่ด้วยเช่นกัน บาทหลวง สวมชุดคลุมในพิธีกรรมเดินลงไปยังฝั่งน�้ำ และพยายามขับไล่ภูตผีที่ เข้าสิงสู่พ่อ บาทหลวงตะโกนว่าพ่อต้องพาตนให้หลุดพ้นจากการถูก ครอบง�ำโดยสิ่งชั่วร้าย ในอีกวันหนึ่ง แม่จัดการให้ทหารสองคนมา ข่มขู่ให้พ่อกลัว ทั้งหมดนี้ต่างไร้ผล พ่อพายเรือออกห่างไป บางครา ไกลจนแทบมองไม่เห็น พ่อไม่เคยกล่าวตอบผูใ้ ดและไม่เคยมีใครได้เข้า ใกล้ทา่ น ในครัง้ ทีน่ กั หนังสือพิมพ์มากับเรือยนต์เพือ่ ถ่ายภาพ พ่อบ่าย เรือไปยังอีกฟากของแม่นำ�้ เข้าไปในลุม่ หนองซึง่ ท่านรูจ้ กั มันดีราวกับ ลายมือของตัวเอง แต่ส�ำหรับคนอื่นเข้าไปไม่นานก็จะหลงทางอยู่ใน เขาวงกตของพ่อซึ่งแผ่กว้างไปหลายไมล์ เต็มไปด้วยใบพืชสูงท่วมตัว ขึ้นแทรกอยู่ทุกทิศทาง พ่อจะปลอดภัยอยู่ในนั้น พวกเราเพียรคิดถึงวิธีการที่จะให้พ่อขึ้นจากแม่น้�ำ เราพยายาม แต่ไร้ผล ไม่เคยส�ำเร็จเลยสักครั้ง ผมคิดว่ามีผมเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่รู้ว่าพ่อต้องการอะไร และอะไรที่พ่อไม่ปรารถนา แต่ที่ผมไม่เข้าใจ เลยแม้สักเพียงนิดก็คือพ่ออดทนยืนหยัดอยู่ในความยากล�ำบากเช่น

258

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


นั้นได้อย่างไร ทั้งวันและคืน ท่ามกลางแสงแดดและสายฝน ในความ ร้อนแผดเผาและอากาศหนาวเหน็บทรมานช่วงกลางปี ด้วยหมวกเก่า คร�ำ่ คร่าบนศีรษะและเสือ้ ผ้าน้อยชิน้ เพียงนัน้ ผ่านสัปดาห์ตอ่ สัปดาห์ เดือนต่อเดือน ปีต่อปี โดยไม่ใส่ใจต่อการสูญเสียและความว่างเปล่า ของชีวิตซึ่งพ่อปล่อยให้ผ่านเลยไป ท่านไม่เคยย่างเท้าสัมผัสแผ่นดิน หรือผืนหญ้า แม้แต่บนเกาะเล็กๆ หรือจะฟากฝั่งของแผ่นดินใหญ่ แน่นอนว่าในบางครั้งพ่อคงจะจอดเรืออยู่ ณ สถานที่เร้นลับสักแห่ง อาจเป็นที่ปลายแหลมของสักเกาะ เพื่อจะได้นอนหลับสักงีบ พ่อไม่ เคยก่อไฟขึ้นหรือแม้แต่จะจุดไม้ขีดไฟ และไม่มีกระทั่งไฟฉาย ท่าน หยิบฉวยไปเพียงแค่บางส่วนเล็กน้อยของอาหารที่ผมซุกไว้ในโพรง หิน ซึ่งผมคิดว่ามันไม่น่าจะเพียงพอต่อการด�ำรงชีวิต แล้วสุขภาพ ของพ่อเป็นอยู่เช่นไร? พละก�ำลังที่ไหลหลั่งเหือดหายไปไม่ขาดสาย ยามจ้วงพายควบคุมเรือล่ะเป็นอย่างไรกัน? ท่านรอดพ้นช่วงน�้ำท่วม ประจ�ำปี ซึ่งสายน�้ำเอ่อสูงและถะถั่งไปด้วยประดาสิ่งอันตรายอย่าง โคนไม้ ซากสัตว์ ซึ่งอาจปะทะเข้ากับเรือล�ำเล็กๆ ของท่านอย่างจัง นั้นมาได้อย่างไร? พ่อไม่เคยพูดจากับมนุษย์ผู้ใดอีกเลย และเราเองก็ไม่เอ่ยถึงท่าน หากแต่เรานั้นก็ยังคิด ไม่เลย เราไม่อาจจะละลืมพ่อได้ หากว่าเรา จะเป็นเช่นนั้น ก็เพียงแค่ระยะเวลาชั่วอึดใจ ซึ่งพวกเรานิ่งงันไปยาม ตระหนักขึ้นฉับพลันว่าพ่อก�ำลังอยู่ในสภาวะทุกข์ยากเลวร้ายเช่นใด พี่สาวของผมแต่งงาน แต่แม่ไม่ต้องการให้มีการจัดงานเลี้ยง มัน

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

259


ช่างแสนเศร้าเมือ่ เราต่างคิดถึงพ่อในทุกๆ ครัง้ ทีพ่ วกเราได้ทานอาหาร อันอร่อยเป็นพิเศษ เฉกเช่นเดียวกับยามเราอยูบ่ นเตียงอบอุน่ ในค�ำ่ คืน เหน็บหนาวพายุกระหน�่ำ แต่ข้างนอกนั่น พ่อเดียวดายและไร้สิ่งคุ้ม กาย พยายามวิดน�้ำออกจากเรือด้วยเฉพาะสองมือกับชามน�้ำเต้า ใน บางคราที่ใครบางคนกล่าวว่าผมยิ่งดูละม้ายคล้ายพ่อมากขึ้นๆ ผมรู้ ดีว่ายามนั้นผมเผ้าและหนวดเคราของพ่อต้องรกรุกรัง ขณะที่เล็บก็ คงจะยาวมาก ผมนึกเห็นภาพพ่อซึ่งผ่ายผอมและโรครุมเร้า ผมด�ำ แต่ถูกแดดเผาจนเกรียม ร่างกายเกือบเปลือยเปล่าแม้ว่าจะมีเสื้อผ้า ซึ่งผมทิ้งไว้ให้ในบ้างในบางที แม้นดูเหมือนว่าพ่อไม่ใส่ใจพวกเราเลยแม้แต่นอ้ ย แต่ผมก็ยงั รูส้ กึ รักและเคารพท่าน เมือ่ ใดทีม่ คี นยกย่องยามผมท�ำสิง่ ดี ผมจะบอกว่า: “พ่อสอนผมให้ท�ำเช่นนั้น” มันหาได้เป็นเช่นนั้นจริงๆ หรอก ออกจะเป็นการโกหกเสียด้วย ซ�้ำ ก็ดังที่ผมว่า พ่อไม่ได้สนใจพวกเราเลยสักนิด แต่ไยท่านถึงยังคง วนเวียนอยู่ตรงนั้น? ท�ำไมท่านไม่ขึ้นหรือล่องไปเสียตามล�ำน�้ำ ไปให้ พ้นจนไม่อาจเห็นพวกเรา หรือเราไม่อาจเห็นท่านได้อกี ต่อไป? พ่อคน เดียวเท่านั้นที่รู้ค�ำตอบ จากนั้นพี่สาวของผมก็มีลูกน้อย หล่อนยืนกรานจะน�ำหลานไป ให้พ่อดู ในวันอากาศแจ่มใสหนึ่ง พวกเราทุกคนเดินลงไปยังฝั่งแม่น�้ำ พี่สาวอยู่ในชุดแต่งงานสีขาว หล่อนยกเจ้าหนูน้อยชูขึ้นสูง สามีของ หล่อนกางร่มกันแดดเล็กๆ เหนือพวกเขา พวกเราตะโกนเรียกพ่อและ

260

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


คร่าวรอ พ่อไม่ปรากฏตัว พี่สาวของผมร้องไห้ พวกเราทุกคนร้องไห้ อยู่ในอ้อมกอดของกันและกัน พี่สาวและสามีของหล่อนจากไปอยู่ไกลแสนไกล ส่วนพี่ชายย้าย เข้าไปในเมือง วันเวลาผันเปลี่ยนอย่างรวดเร็วตามครรลองของมัน แทบไม่ทนั รูต้ วั ในทีส่ ดุ แม่กเ็ ป็นอีกคนทีเ่ ดินทางจากไป ท่านชราและ จะไปพักอาศัยอยูก่ บั ลูกสาวของท่าน ผมยังคงอยูท่ นี่ ี่ เป็นสิง่ เดียวของ ครอบครัวเราที่เหลือค้างอยู่ ผมไม่เคยคิดจะแต่งงาน ยังอยู่นี่พร้อม บางอย่างทีย่ ดึ รัง้ หน่วงเหนีย่ วชีวติ ของผมไว้ พ่อซึง่ ลอยล่องอย่างโดด เดี่ยวและถูกทอดทิ้งอยู่ในแม่น�้ำนั้นต้องการผม ผมรู้ว่าท่านต้องการ ผม แม้ว่าท่านไม่เคยเอ่ยปากบอกว่าท่านท�ำเช่นนั้นท�ำไม เมื่อผมรุก เร้ายืนกรานถามค�ำถามนี้กับคนอื่นๆ คนเหล่านั้นบอกว่าพวกเขา เคยได้ยินพ่ออธิบายให้ชายผู้ซึ่งต่อเรือให้ท่านได้ฟัง แต่ถึงตอนนี้ชาย คนนั้นก็ได้ตายจากไป จึงไม่มีใครรู้หรือจ�ำมันได้อีกต่อไป เมื่อเกิดฝน ตกต่อเนื่องรุนแรงเกินปกติธรรมดา มีการสนทนาล้อเลียนว่าพ่อคาด การณ์เฉลียวฉลาดราวกับโนอาห์ เรือล�ำนั้นก็ต่อขึ้นจากการท�ำนาย ถึงน�้ำท่วมครั้งใหญ่ ผมจ�ำได้เลือนรางว่าผู้คนพูดกันเยี่ยงนี้ แต่ไม่ว่า อย่างไรผมก็ไม่เคยต�ำหนิพ่อต่อสิ่งที่ท่านก�ำลังท�ำอยู่ และแล้วเส้นผม ของผมก็เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเทา ผมมีแต่เพียงเรื่องเศร้าให้พูดถึง เฝ้าคิดแต่ว่าสิ่งเลวร้ายใดที่ผม ได้กระท�ำ อะไรที่เป็นความผิดมหันต์ของตน? พ่อยังคงจากไป และ การจากไปนั้นยังเฝ้ารบกวนผม สายน�้ำยังคงเป็นสายน�้ำ ที่เสริมเติม

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

261


ทดแทนตัวมันเองตลอดเวลา สายน�้ำยังคงเป็นเช่นนั้นตลอดกาล ผม เริม่ ทุกข์ทรมานกับความชรา ชีวติ เป็นเพียงแค่สงิ่ อืดอาดเชือ่ งช้าทีห่ ลง เหลืออยู่ ผมถูกคุกคามด้วยการป่วยไข้และทุกข์กงั วล ถูกรบกวนด้วย โรคไขข้อ แล้วพ่อล่ะ? ท�ำไมกัน ท�ำไมท่านถึงยังคงท�ำเช่นนั้น? ท่านก็ อาจก�ำลังทุกข์ทนจนสุดทาน ท่านแก่ชรามากแล้ว ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ซึง่ หมดสิน้ เรีย่ วแรง ท่านอาจจะปล่อยให้เรือพลิกคว�ำ่ หรือไม่กป็ ล่อย ให้กระแสน�ำ้ พัดพาไป ล่องไหลไป จนกระทัง่ ร่วงไหลจากน�ำ้ ตก ลงไป สู่มวลน�้ำเดือดดาลคลุ้มคลั่งเบื้องล่าง สิ่งนี้เฝ้าแต่รบกวนจิตใจผม พ่อ อยู่ที่นั่นและผมไม่อาจสงบได้ตลอดกาล ผมรู้สึกละอายใจที่ไม่รู้อะไร เลยแม้เพียงนิด และความเจ็บปวดก็มาจากบาดแผลที่เปิดกว้างอยู่ ภายในตัวผมเอง บางทีผมอาจจะรูค้ วามจริงหากว่าทุกสิง่ มันต่างออก ไป ผมเริ่มคิดว่าอะไรที่ผิดพลาดไป นี่ผมคิดจะท�ำอะไรกัน! เสียสติไปแล้วหรือไร? ไม่หรอก ในบ้าน ของเราซึง่ ค�ำพูดไม่เคยได้ถกู เอือ้ นเอ่ยออกมา ไม่เคยตลอดเวลาหลาย ปี ไม่มีใครสักคนจะพูดว่าคนอื่นก�ำลังเสียสติ เพราะไม่มีใครสักคน หรือทุกๆ คนที่จะเป็นเช่นนั้น ทั้งหมดที่ผมท�ำคือไปที่นั่นและโบก ผ้าเช็ดหน้าเพื่อให้ท่านสังเกตเห็น ผมควบคุมตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ รอคอย ในที่สุดพ่อก็ปรากฏอยู่ไกลๆ ที่นั่น จากนั้นก็ที่โน่น เรือนร่าง ซึง่ เห็นเลือนรางนัน้ นัง่ อยูท่ า้ ยเรือ ผมร้องเรียกท่านหลายครัง้ และผม ก็พูดสิ่งที่ผมอยากจะพูด กล่าวจริงจังพร้อมสาบาน ตะโกนออกไปดัง ที่สุดเท่าที่จะท�ำได้:

262

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


“พ่อ พ่ออยู่ที่น่ันมานานพอแล้ว พ่อแก่แล้ว... กลับมาเถอะ พ่อ ไม่ต้องท�ำเช่นนั้นอีกแล้วล่ะ... กลับมา แล้วผมจะไปแทน ตอนนี้เลย หากว่าพ่อต้องการ หรือตอนไหนก็ได้ ผมจะลงไปในเรือ ผมจะแทนที่ พ่อ” เมื่อได้พูดออกไป จิตใจของผมเต้นอย่างสงบมั่นคงขึ้น พ่อได้ยิน ผม ท่านยืนขึ้น เริ่มขยับพายและบ่ายหัวเรือมายังผม ท่านตอบรับ ข้อเสนอของผม แต่ทันใดนั้น ผมตัวสั่นเทาหวั่นกลัวลงไปสุดขั้ว เมื่อ พ่อยกแขนขึ้นและโบกไปมา เป็นครั้งแรกในรอบหลายต่อหลายปี แต่ผมกลับไม่อาจ... ด้วยความหวาดหวั่น ผมวิ่งหนีมาราวคนเสียสติ ราวกับว่าพ่อก้าวออกมาจากโลกอื่น ผมได้แต่ภาวนาให้ท่านอภัยแก่ ผม ได้แต่ภาวนา ภาวนา ผมได้รสู้ กึ ถึงความหนาวยะเยือกซึง่ เกิดจากความหวาดกลัวอย่าง ที่สุด และก็ล้มป่วยลง ไม่มีใครเห็นหรือได้ยินเรื่องราวของพ่ออีกเลย ผมยังคงความเป็นมนุษย์ที่มีเลือดเนื้อชีวิตอยู่ได้อีกหรือหลังความล้ม เหลวครั้งนั้น? ผมได้กลายเป็นอะไรบางสิ่งที่ตัวเองไม่เคยเป็นมาก่อน เป็นอะไรบางอย่างทีจ่ ำ� ต้องอยูใ่ นความเงียบงัน ผมรูด้ วี า่ มันสายเกินไป เสียแล้ว ผมจ�ำต้องอยู่ในท้องทุ่งแห่งชีวิตที่ถูกละทิ้งและอ้างว้าง กลัว ว่าผมได้ท�ำให้ชีวิตนั้นหดสั้นลง แต่เมื่อความตายย่างกรายเข้ามา ผม ปรารถนาให้พวกเขาน�ำผมลงไปในเรือซึง่ ลอยล�ำในสายน�ำ้ ทีไ่ หลหลัง่ ต่อเนื่องตลอดกาลอยู่ระหว่างฟากฝั่งที่แสนยาวไกลสายนี้ และตาม สายน�้ำลงไป ผมจะจมหายไปในล�ำน�้ำ จมร่างลงในล�ำน�้ำ... ล�ำน�้ำ...

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

263


เกี่ยวกับผู้เขียน João Guimarães Rosa (ค.ศ. 1908-1967) เกิดในเมืองปศุสัตว์เล็กๆ ของ แคว้นมีนาสเกอเรส ประเทศบราซิล โดยสืบเชื้อสายมาจากตระกูลชนชั้นสูงเก่า แก่ ศึกษาและท�ำงานการแพทย์ในท้องถิ่นล้าหลังห่างไกล แต่หลังจากนั้นก็ได้ กลายมาเป็นนักการทูตจนถึงช่วงสองสามปีสุดท้ายของชีวิต Guimarães Rosa เริม่ งานประพันธ์ตงั้ แต่ยงั วัยรุน่ และเคยชนะรางวัลประกวดบทกวีระดับประเทศ ตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1936 สิบปีตอ่ มาได้ตพี มิ พ์งานประพันธ์เล่มแรกคือ Sagarana และ ตีพิมพ์ นวนิยายเล่มส�ำคัญเรื่อง Grande Sertao: Veredas (The Devil to Pay in the Backlands) ในปี 1956 งานประพันธ์ของเขามักจะเป็นการหลอม รวมวัตถุดิบจากบรรดาคนไข้ช่วงท�ำงานการแพทย์ และจากนักเล่าเรื่องท้องถิ่น ผ่านการสร้างสรรค์รูปแบบโดยการค้นคว้าวรรณกรรมมุขปาฐะ และความสนใจ ศึกษาทางด้านศาสนา ปรัชญา และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ มีการกล่าวว่าหาก ยอมรับกันถึงคุณูปการที่ Joaquim Maria Machado de Assis นักประพันธ์ คนส�ำคัญของบราซิล มีต่อรูปแบบวรรณกรรมของคริสต์ศตวรรษที่ 19 Guimarães Rosa ได้ท�ำเช่นเดียวกันต่อคริสต์ศตวรรษที่ 20 และทั้งสองต่างมีสถานะ เป็นนักเขียนยิ่งใหญ่ ผู้ท�ำการปฏิวัติ แบบแผนการพรรณนาวรรณกรรมประเภท ร้อยแก้วของละตินอเมริกา

264

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


Jo達o Guimar達es Rosa (1908-1967)


266

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/ Critcism /

อสรพิษ

ความง่อนแง่นบนเส้นด้ายของคุณค่าวรรณกรรมซีไรต์* อาทิตย์ ศรีจันทร์

ส�ำ

หรับนักอ่านวรรณกรรมสายแข็งชาวไทยแล้ว คงน้อยคนนัก ที่จะไม่รู้จัก “แดนอรัญ แสงทอง” ผลงานของเขาหลายชิ้น การันตีดว้ ยการแปลออกเป็นภาษาต่างๆ มากมาย อีกทัง้ ยังได้รบั การ ยกย่องจากฝรั่งเศสให้เป็น “อัศวินทางวรรณกรรม” อีกด้วย หลาย คนรู้จักผลงาน “เงาสีขาว” นวนิยายขนาดยาวมหึมาสุดระห�่ำเล่ม หนึ่งในโลกภาษาไทย และเรื่องสั้นขนาดยาวอีกเรื่องที่สร้างชื่อให้กับ แดนอรัญ แสงทองก็คือ “อสรพิษ” เรือ่ งสัน้ “อสรพิษ” ของแดนอรัญ แสงทอง นัน้ น่าสนใจตรง ที่เรื่องสั้นชิ้นนี้ปรากฏตัวในโลกภาษาอื่นๆ ก่อนที่จะแปลเป็นภาษา ไทยในปี 2545 ในค�ำน�ำฉบับพิมพ์ปี 2545 และในค�ำน�ำฉบับพิมพ์ ล่าสุดของส�ำนักพิมพ์สามัญชน แดนอรัญ ได้เล่าถึงประสบการณ์อัน

อาทิตย์ ศรีจันทร์ นักเขียนนั ก วิ จ ารณ์ ว รรณกรรมไทย อ า จ า ร ย ์ ป ร ะ จ� ำ ส า ข า วิ ช า ภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนคร

* บทความชิ้นนี้เรียบเรียงจากการเสวนาวรรณกรรม "Book Talk: อสรพิษและเรื่องอื่นๆ" ณ ร้านร�่ำเปิงกาแฟ จ.เชียงใหม่ วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2557 John William: Snake Skeleton-Orr, 1856e

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

267


ปวดร้าวจากวงการวรรณกรรมไทยทีไ่ ม่มใี ครพิมพ์เรือ่ งสัน้ ชิน้ นีใ้ ห้ จน กระทั่ง มาแซล บารัง นักแปลชาวฝรั่งเศสสนใจและแปลเรื่องนี้ออก เป็นภาษาฝรั่งเศส ความร้าวรานในครั้งดูเหมือนจะเป็นบาดแผลใน จิตใจของแดนอรัญมากกับวงการวรรณกรรมไทยมากทีเดียว ในปี 2557 ส�ำนักพิมพ์สามัญชน ได้นำ� เอาเรือ่ งสัน้ “อสรพิษ” และ เรือ่ งสัน้ อืน่ ๆ ทีเ่ คยตีพมิ พ์เป็นพ็อกเกตบุก๊ เล่มเล็กและทีอ่ นื่ ๆ รวมทัง้ สิน้ 12 เรื่องมารวมพิมพ์เป็นเล่มเดียวกันในชื่อ “อสรพิษและเรื่องอื่นๆ” ซึง่ รวมเรือ่ งสัน้ เล่มนีก้ ไ็ ด้รบั รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งอาเซียน หรือรางวัล “ซีไรต์” ประจ�ำปี 2557 หลังจากได้รับรางวัลซีไรต์ “อสรพิษและเรื่องอื่นๆ” ก็ได้รับทั้ง ก้อนหินและดอกไม้ แต่หากพิจารณาในเรือ่ งภาษาและตัววรรณกรรม แล้ว เราคงปฏิเสธได้ยากว่าฝีไม้ลายมือของแดนอรัญ แสงทองนั้นไม่ เป็นที่กังขาแต่อย่างใด เพราะโดยมากที่รวมเรื่องสั้นเล่มนี้ถูกวิจารณ์ จะเป็นในประเด็นการตีพิมพ์ของเรื่องสั้นซึ่งเกี่ยวข้องกับกติกาของ รางวัลไม่ใช่เรื่องเนื้อหา ในการจัดพิมพ์ครั้งล่าสุดนั้น นอกเหนือจากจะเป็นการรวบรวม เอาเรือ่ งสัน้ ทีแ่ ดนอรัญเคยเขียนเอาไว้ในทีต่ า่ งๆ แล้ว ยังได้มกี ารแทรก “ส่วนเพิ่มเติม” เข้ามา นั่นก็คือ “ค�ำตาม” และนี่เองเป็นปัญหาเริ่ม ต้นและคิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของผู้วิจารณ์ซึ่งจะได้แสดงให้เห็น ในบทวิจารณ์ชิ้นนี้ ในบทวิ จ ารณ์ ชิ้ น นี้ เ ป็ น การพยายามแสดงให้ เ ห็ น ปั ญ หาบาง

268

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ประการที่เกิดขึ้นใน “อสรพิษและเรื่องอื่นๆ” ปัญหาดังกล่าวที่ผู้ วิจารณ์ต้องการเสนอไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากตัวบทวรรณกรรมเอง หรือความหมาย, อุดมการณ์ตา่ งๆ ในเรือ่ งสัน้ แต่ละเรือ่ ง แต่บทวิจารณ์ ชิ้นนี้ต้องการจะอ่าน “ค�ำตาม” ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือ “ตัวบท” ในฐานะทีเ่ ป็น ตัวบทอีกชิน้ หนึง่ ของวรรณกรรมและมีสว่ นส�ำคัญอย่าง ยิ่งในการ “ลดทอน” คุณค่าบางประการของตัววรรณกรรมทิ้งไป และยังแสดงให้เห็นถึงความไม่เสถียรภาพของตัวบทวรรณกรรมจึง ต้องใช้ประโยชน์จาก “ค�ำตาม” เพือ่ รักษาความหมายหรือคุณค่าบาง ประการหรือแม้กระทั่งเป็นแนวทางในการอ่าน ด้วยเหตุดังกล่าวค�ำถามที่ส�ำคัญของบทวิจารณ์ชิ้นนี้ก็คือ “ค�ำ ตาม” นั้นจ�ำเป็นแค่ไหนในตัวบทวรรณกรรม ค�ำน�ำและค�ำตามของตัวบท

ในหนังสือแต่ละเล่ม องค์ประกอบที่ส�ำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของหนังสือ ก็คือ “ค�ำน�ำ” เพราะ “ค�ำน�ำ” เป็นสิ่งแรกๆ ที่ผู้อ่านจะได้ส�ำรวจ เนื้อหาหรือสิ่งที่หนังสือเล่มนั้นๆ ต้องการจะบอกอย่างคร่าวๆ ค�ำน�ำ เปรียบเสมือน “แผนที่” ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจในเบื้องต้นว่า หนังสือเล่มนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้างและตรงตามความสนใจ หรือความต้องการของผู้อ่านหรือไม่อย่างไร? ดังนั้นความส�ำคัญของ ค�ำน�ำจึงอาจเป็นสิ่งที่ช่วยย่นย่อระยะเวลาในการอ่านหนังสือทั้งเล่ม

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

269


ให้แก่ผู้อ่านก็ได้ ค�ำน�ำของหนังสือหลายครั้งท�ำหน้าที่เล่าประวัติความเป็นมา ของหนังสือ อธิบายและขยายความข้อความหรือเนื้อหาบางส่วนใน หนังสือ เพือ่ ท�ำให้ผอู้ า่ นได้เข้าใจเนือ้ หาบางส่วนซึง่ อาจมีความยากได้ ง่ายขึ้นหรือเห็นภาพได้ชัดขึ้น โดยเฉพาะในหนังสือประเภทวิชาการ นั้น ค�ำน�ำเป็นสิ่งที่ส�ำคัญมากๆ เพราะค�ำน�ำอาจเป็นสิ่งที่อธิบายภูมิ หลังหรือที่มาของทฤษฎีหรือแนวคิดที่ใช้เป็นกรอบในการอธิบายใน หนังสือเล่มนั้นๆ ส�ำหรับหนังสือประเภทวรรณกรรม โดยมาก ค�ำน�ำ จะเป็นการ อธิ บ ายหรื อ กล่ า วถึ ง ภู มิ ห ลั ง ของนั ก เขี ย นหรื อ เป็ น ข้ อ มู ล ของ วรรณกรรมชิ้นนั้นเพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้อ่านได้เข้าใจที่มาหรือภาพ รวมของวรรณกรรมได้ดีขึ้น ในบางครั้งบรรณาธิการผู้จัดพิมพ์อาจ อธิบายกระบวนการวิธีการท�ำงานของขั้นตอนในการจัดท�ำหนังสือ เพือ่ ให้ผอู้ า่ นได้เข้าใจว่ามีการตกแต่งต้นฉบับจากเดิมอย่างไรบ้าง และ หากอธิบายในทางธุรกิจ ค�ำน�ำอาจเป็นสิง่ ทีช่ ว่ ยให้ผอู้ า่ นตัดสินใจได้วา่ จะซื้อหรือไม่ซื้อหนังสือเล่มนั้นหรือไม่ได้อีกด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าว ได้ว่า “ค�ำน�ำ” เป็นส่วนที่ท�ำให้หนังสือ (ไม่ว่าจะเป็นวิชาการหรือ วรรณกรรม) มีความน่าสนใจยิ่งขึ้นนั่นเอง ส�ำหรับ “ค�ำตาม” ในหนังสือนั้น โดยมากจะเป็นส่วนท้ายของ หนังสือและมักจะเป็นการวิจารณ์เนือ้ หาหรือข้อความทีอ่ ยูใ่ นหนังสือ เล่มนั้นๆ การเพิ่มเติมในส่วนนี้ขึ้นมาเป็นการท�ำให้ผู้อ่านได้เห็นว่า

270

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


หลังจากที่ได้อ่านหนังสือและท�ำความเข้าใจหนังสือทั้งหมดแล้ว มี ใครแสดงความคิดเห็นหรือมีประเด็นบางอย่างซึ่งอาจเห็นด้วยหรือ ขัดแย้งกับเนื้อหาในหนังสือเล่มนั้นๆ หรือไม่ ท�ำให้ผู้อ่านได้เห็นแง่ มุมที่หลากหลายของหนังสือเล่มนั้นๆ ได้ดีขึ้นจนอาจน�ำไปปะติดปะ ต่อประเด็นต่างๆ ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม ค�ำตามในลักษณะนี้อาจสร้างปัญหาให้แก่ผู้อ่าน ได้เช่นกันโดยเฉพาะในกรณีของหนังสือประเภทวรรณกรรมเพราะ การเพิ่มเติมส่วนที่เป็นข้อวิจารณ์เข้ามานั้นอาจเป็นการเฉลยหรือ เปิดเผยให้เห็นเนื้อหาส�ำคัญบางส่วนที่ควรจะสงวนไว้ให้ผู้อ่านได้คิด และใช้จินตนาการเอง ซึ่งถือว่าเป็นจุดที่ส�ำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการ อ่านวรรณกรรม ดังนั้น “ค�ำตาม” จึงต้องเขียนด้วยความระมัดระวัง มากที่จะไม่ไปปิดกั้นความคิดและจินตนาการของผู้อ่านที่มีต่อสิ่งที่ ได้อ่านไปแล้ว ถ้าหากในหนังสือเล่มหนึ่งๆ นั้นสิ่งที่ส�ำคัญของหนังสือคือเนื้อหา หรือข้อความใดๆ ก็ตามทีห่ นังสือต้องการจะสือ่ ออกมา “ค�ำน�ำ” และ “ค�ำตาม” ก็เป็น “ส่วนเติมเต็ม” อย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ ในทีน่ ผี้ วู้ จิ ารณ์ ใช้ค�ำว่า “ส่วนเติมเต็ม” เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า ทั้ง “ค�ำน�ำ” และ “ค�ำตาม” เป็นสิง่ ทีท่ ำ� ให้เนือ้ หาในหนังสือมีความสมบูรณ์มากขึน้ สิง่ ที่ชวนให้ตั้งค�ำถามอย่างหนึ่งก็คือ หากพิจารณาแต่เพียงเนื้อหาของ หนังสือเล่มนั้นๆ เองโดยไม่สนใจ “ค�ำน�ำ” และ “ค�ำตาม” เนื้อหา จะมีความไม่สมบูรณ์ได้อย่างไร?

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

271


สมเกียรติ ตั้งนะโม (2541) ได้เรียบเรียงบทความของ James E. Faulconer ที่ว่าด้วยการรื้อสร้าง (Deconstrcution) ของแดร์ริดา โดยฟาวโคเนอร์ได้แสดงวิธีการรื้อสร้างของแดร์ริดามาใช้กับหนังสือ โดยยกตั ว อย่ า งว่ า เมื่ อ ผู ้ เ ขี ย นได้ เ ขี ย นหนั ง สื อ เล่ ม หนึ่ ง จบลงไป และก�ำลังจะได้พิมพ์นั้นสิ่งที่ผู้เขียนต้องท�ำคือการ “เขียนค�ำน�ำ” ฟาวโคเนอร์กล่าวว่า “ค�ำน�ำต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ประหลาด. ถ้าเผื่อ ว่ามันสามารถบอกได้ว่าหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงอะไร, ถ้าเช่นนั้น อะไร ล่ะซึ่งเป็นที่ต้องการให้อยู่ที่นั่น ส�ำหรับหนังสือเล่มนี้? แต่ถ้ามันไม่ สามารถท�ำอย่างนั้นได้, แล้วอะไรล่ะซึ่งเป็นที่ต้องการให้อยู่ที่นั่น ส�ำหรับค�ำน�ำ?” กล่าวคือ ค�ำน�ำของหนังสือเป็นสิง่ ทีแ่ ปลกประหลาด เพราะเป็นส่วนทีแ่ สดงให้เห็นว่า “หนังสือเล่มนีก้ ล่าวถึงอะไร” แสดง ให้เห็นว่า แท้จริงแล้วสิง่ ทีห่ นังสือเล่มนัน้ ต้องจะกล่าวเป็นสิง่ ทีไ่ ม่อาจ สื่อความหมายที่ต้องการได้โดยตัวมันเองจึงต้องการ “ค�ำน�ำ” เพื่อ ช่วยขยายความ ตั ว เนื้ อ หาของหนั ง สื อ เองนั้ น กลายเป็ น สิ่ ง ที่ ถู ก ตั้ ง ค� ำ ถามว่ า สามารถ “บอก” หรือ “กล่าว” ทุกสิ่งทุกอย่างที่หนังสือเล่มนั้น ต้องการโดยสมบูรณ์หรือไม่ ถ้าภารกิจดังกล่าวส�ำเร็จลุล่วงในตัวเอง อยู่แล้วเหตุใดหนังสือจึงยังต้องการค�ำน�ำ? ฟาวโคเนอร์กล่าวต่อไป ว่า “แม้ว่าโดยนัยะหนังสือดังกล่าวอ้างว่า ได้พูดถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ ต้องการ, ดังในส่วนที่ผนวกเข้ามา, ค�ำน�ำจะท�ำหน้าที่กล่าวถึง “สิ่งๆ หนึง่ เพิม่ เติมขึน้ ”หรือ “สิง่ เดียวกันอย่างสัน้ ๆ”, การ deconstructing

272

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


(รื้อโครงสร้าง) ค�ำอ้างของหนังสือเล่มนั้น ก็เพื่อสร้างความสมบูรณ์ และความครอบคลุมเพียงพอของตัวเองขึ้นมา.” อย่างไรก็ตาม หนังสือก็ยงั จ�ำเป็นจะต้องมี “ค�ำน�ำ” อยูเ่ พราะเป็น ส่วนทีส่ ำ� คัญของหนังสือ ในแง่หนึง่ เราอาจจะเห็นว่าการวิเคราะห์ของ ฟาวโคเนอร์นั้นแสดงให้เห็นความไม่สอดคล้องบางประการระหว่าง ตัวค�ำน�ำกับตัวเนื้อหาในหนังสือ หรือเราอาจเห็นว่าหนังสือเล่มนั้นๆ ไร้ความหมายเนื่องจากส่วนของค�ำน�ำได้อธิบายความหมายแทนตัว เนือ้ หา แต่การวิเคราะห์ในเชิงรือ้ สร้างของฟาวโคเนอร์ ท�ำให้เราเห็นว่า “ (แม้ว่า) หนังสือเล่มนี้อ้างอะไรที่มันสามารถถ่ายทอด, มันมีบางสิ่ง บางอย่างที่ตกไป แม้ว่ามันจะอ้างว่าสมบูรณ์ก็ตาม.” มโนทัศน์ดงั กล่าวเกีย่ วกับค�ำน�ำทีย่ กมาอภิปรายไว้ในเบือ้ งต้นนัน้ เป็นลักษณะเทคนิคของการการอ่านแบบรือ้ สร้าง (Deconstruction) ในประเด็นของ “ส่วนเพิม่ เติม” (Supplement) ซึง่ เป็นแนวคิดส�ำคัญ ของแดร์รดิ า ทัง้ นีค้ วรท�ำความเข้าใจก่อนว่า การอ่านแบบรือ้ สร้างนัน้ มีจดุ ประสงค์ทสี่ ำ� คัญคือการเผยให้เห็นถึงความขัดแย้งภายในตัวบทที่ ตัวโครงสร้างหรือตัวระบบกดทับเอาไว้ด้วยเงื่อนไขบางอย่างโดยไม่รู้ ตัว และความขัดแย้งดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่สามารถตัดสินชี้ชัดไปได้อีก ด้วย วิธกี ารรือ้ สร้างแบบแดร์รดิ านัน้ อาจอธิบายเบือ้ งต้นได้วา่ เป็นการ “รื้อ” แล้วน�ำไป “แทนที่” ด้วยสิ่งอื่นแต่การแทนที่นั้นก็ไม่ได้เป็นไป ในลักษณะถาวร เพราะแนวคิดของแดร์รดิ าเป็นแนวคิดทีป่ ฏิเสธการมี อยูศ่ นู ย์กลางของสิง่ ใดสิง่ หนึง่ ความขัดแย้งทีแ่ ดร์รดิ ามุง่ แสดงให้เห็น

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

273


จึงเป็นความขัดแย้งทีอ่ ยูใ่ นรูปของ “ร่องรอย” (Trace) ของโครงสร้าง หรือระบบอย่างใดอย่างหนึ่ง ในค�ำน�ำหนังสือ “รัฐศาสตร์แนววิพากษ์” (2544) ไชยรัตน์ เจริญ สินโอฬารอธิบายแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับ “ส่วนเพิ่ม” ของแดร์ริดา เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจคือ วิธีการวิพากษ์ของแดร์ริดาที่เรียกว่า “การรื้อสร้าง” (Deconstruction) นั้นเป็นการวิพากษ์ในสองระดับ กล่าวคือ ในระดับแรกเป็นการกลับหัวกลับหาง สลับที่ หรือล้มล้าง บรรดาระเบียบ และการจัดล�ำดับชั้นต่างๆ ของสิ่งที่มีอยู่ เนื่องจาก สิ่งเหล่านี้คือแหล่งอ�ำนาจที่ส�ำคัญในสังคม ดังนั้นการตั้งค�ำถามหรือ ท�ำให้กลับหัวกลับหางของสิง่ เหล่านีค้ อื การปะทะกับอ�ำนาจในระดับ รากฐานเลยทีเดียว เมื่อสลายและสั่นคลอน ระบบ ระเบียบต่างๆ ใน โครงสร้างเหล่านั้นแล้ว ระดับที่สองของการวิพากษ์คือการเข้าไป แทนที่/สวมรอย (Supplement) ระบบ ระเบียบ และการจัดล�ำดับ ชัน้ ทีเ่ ป็นอยูด่ ว้ ยสิง่ อืน่ ทีไ่ ม่เก็บกดหรือกดทับความเป็นอืน่ การเข้าไป แทนที่นี้เอง แดร์ริดาเรียกว่า Différance (สะกดด้วย a) เพื่อหลีก เลี่ยงระบบที่เน้นเรื่องความเป็นศูนย์กลาง รากเหง้า ต้นตอที่แน่นอน ตายตัวของสรรพสิ่ง หากน�ำมโนทัศน์ดังกล่าวไปวิเคราะห์ “ค�ำน�ำ” แล้ว จะพบว่า หน้าที่หรือการมีอยู่ของ “ค�ำน�ำ” นั้น แท้จริงคือการเข้าไปสวมรอย/ แทนที่ ในลักษณะของการรื้อสร้าง ในประเด็นนี้ พิพัฒน์ พสุธารชาติ (2553) ได้อภิปรายว่า “ค�ำน�ำ” นั้นมีความส�ำคัญและไม่ใช่เป็นเพียง

274

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ส่วนประกอบของหนังสือ เพราะเราไม่สามารถท�ำการจัดล�ำดับชั้น เพื่อเปรียบเทียบความส�ำคัญระหว่าง “ค�ำน�ำ” กับ “เนื้อหาเดิมของ หนังสือ” โดยให้คำ� น�ำมีความส�ำคัญน้อยกว่าเนือ้ หาเดิมของหนังสือได้ การรื้อสร้างท�ำให้เราพบว่า ไม่ว่าหนังสือจะมีความส�ำคัญเพียงใด (หรือมีเนือ้ หาทีส่ มบูรณ์เพียงใด) มันก็ยงั ต้องการส่วนทีเ่ ป็นค�ำน�ำ และ ถ้าหนังสือ (ทีป่ ราศจากค�ำน�ำ) ไม่สามารถมีความสมบูรณ์ในตัวเองได้ เราจึงสรุปได้ว่าเราไม่สามารถหาความหมายที่เป็นแก่แท้ ศูนย์กลาง และแน่นอนตายตัวของหนังสือได้ ดังนั้น “ค�ำน�ำ” จึงเป็นการเข้าไป แทนที่/สวมรอยหนังสือตามความหมายของแดร์ริดา เพราะเป็นทั้ง การเพิ่มไปจากของเดิมและการคงเค้าของเดิมเอาไว้ จากที่อภิปรายเกี่ยวกับ “ค�ำน�ำ” และการรื้อสร้างมาในเบื้องต้น นั้นเพื่อจะแสดงให้เห็นว่าอะไรคือความแตกต่างระหว่าง “ค�ำน�ำ” และ “เนื้อหาในหนังสือ” หากพิจารณาว่าหนังสือต้องการที่จะสื่อ ความหมายบางอย่างและมีความสมบูรณ์ในตัวเองอยู่แล้ว เหตุใดจึง ต้องมีค�ำน�ำอยู่ด้วย การมีค�ำน�ำท�ำให้เราเห็นว่าตัวหนังสือเองนั้นก็ไม่ ได้มีความสมบูรณ์ในตัวเอง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะท�ำให้ตัวเนื้อหาของ หนังสือมีความด้อยลงไป เพราะท้ายทีส่ ดุ ค�ำน�ำเองก็เป็นส่วนประกอบ ที่ส�ำคัญซึ่งท�ำให้หนังสือมีความสมบูรณ์มากขึ้น การด�ำรงอยู่ของค�ำน�ำ จึงเป็นสิ่งที่ส�ำคัญและไม่สามารถหลีก เลี่ยงได้ เพราะบางครั้งเนื้อหาในหนังสือก็ต้องการการขยายความ เนื่องจากพื้นที่และกรอบการอธิบายบางอย่างในหนังสือไม่สามารถ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

275


ท�ำได้จนลุล่วงหรือไม่สามารถอธิบายได้ทั้งหมดเนื่องจากอาจจะไม่ จ�ำเป็นต่อเนื้อหาในขณะนั้น จึงต้องยกมาไว้ในส่วนของค�ำน�ำอย่างไร ก็ตาม หน้าที่ของค�ำน�ำก็ควรจะจบสิ้นลงเมื่อสามารถท�ำให้ตัวเนื้อหา ของหนังสือมีความสมบูรณ์ชัดเจนขึ้น ส่วน “ค�ำตาม” นั้น ถ้าหาก หนังสือเล่มใดจะมี “ค�ำตาม” ก็ควรเป็นการแสดงให้เห็นแง่มุมต่างๆ ที่มีต่อตัวหนังสือหรือเนื้อหาในหนังสือเล่มนั้นๆ แต่ก็ควรเขียนอย่าง ระมัดระวังเพื่อไม่ให้เป็นการ “บังคับ” ผู้อ่านให้ตีความหมายตามที่ ผู้เขียน “ค�ำตาม” ได้กล่าวไว้ และโดยมาก “ค�ำตาม” มักจะเป็น ความเห็นของผู้อื่นที่ไม่ใช่ผู้เขียนหนังสือเล่มนั้น ข้อวิจารณ์ทงั้ หมดของผูว้ จิ ารณ์ทพี่ ยายามจะอภิปรายในบทความ นี้ อาจโต้แย้งได้ด้วยประเด็นที่ว่า “เราไม่จ�ำเป็นต้องอ่านค�ำตามหรือ แม้กระทั่งค�ำน�ำของหนังสือเล่มนี้ก็ได้” กล่าวคือโดยมาก “ค�ำน�ำ” นั้นเป็นส่วนประกอบที่มักจะถูกละเลยในการอ่านหนังสืออยู่แล้ว เนื่องจากไม่จ�ำเป็นต้องรู้หรือเข้าใจก็ได้ เพราะเนื้อหาของหนังสือ แต่ ล ะเล่ ม นั้ น ก็ ส ามารถบอกใจความส� ำ คั ญ หรื อ บอกสิ่ ง ที่ ผู ้ อ ่ า น ต้ อ งการได้ อ ย่ า งเพี ย งพอ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง หนั ง สื อ ประเภท วรรณกรรมทีผ่ อู้ า่ นต้องการเสพสุนทรียรสของตัวบทวรรณกรรมแล้ว “ค�ำน�ำ” ก็ดูจะไม่จ�ำเป็นต่อการอ่านแต่อย่างใด โดยมิพักต้องพูดถึง “ค�ำตาม” ที่ผู้อ่านแทบไม่จ�ำเป็นใดๆ เลยที่จะต้องใส่ใจ หากพิจารณาว่าส่วนประกอบ “ค�ำน�ำ” ของหนังสือแต่ละเล่มเป็น สิ่งที่ “เติมเต็ม” ให้แก่ตัวบทและแสดงให้เห็นถึงความถึงความเป็น

276

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


อันหนึ่งอันเดียวกันของตัวบทอย่างแยกไม่ได้ดังที่ได้แสดงให้เห็นใน ข้างต้นแล้ว “ค�ำตาม” ก็เป็นส่วนทีส่ ำ� คัญไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่า “ค�ำน�ำ” หน้าทีข่ อง “ค�ำตาม” ดังทีไ่ ด้กล่าวไปแล้วว่าควรเป็นส่วนประกอบ ทีเ่ ขียนขึน้ โดยผูอ้ นื่ ทีไ่ ม่ใช่ผเู้ ขียนเพือ่ เปิดให้เห็นมุมมองหรือข้อวิจารณ์ บางประการที่หลากหลาย กระนั้นก็ตาม “ค�ำตาม” อาจจะจ�ำเป็น น้อยกว่า “ค�ำน�ำ” อยู่ดี เพราะไม่ว่าอย่างไร “ค�ำตาม” ก็เสมือน การก�ำหนดความหมายหรือบางครั้งก็เปิดเผยให้เห็นส่วนส�ำคัญของ หนังสือเล่มนั้นซึ่งอาจท�ำให้เสียอรรถรสในการอ่านไป ใน “อสรพิษและเรื่องอื่นๆ “ “ค�ำตาม” ที่เขียนขึ้นโดยผู้เขียนคือ แดนอรัญ แสงทอง นั้น ได้ท�ำหน้าที่เหมือน “ค�ำน�ำ” แปะท้ายในทุก เรื่องสั้นที่พิมพ์อยู่ในเล่ม นี่เป็นปัญหาใหญ่ที่ผู้เขียนต้องการจะชี้ให้ เห็นและอภิปรายในบทวิจารณ์ชิ้นนี้ ข้อวิจารณ์ในเบื้องต้นของผู้วิจารณ์ก็คือ การปรากฏ “ค�ำน�ำ” ซ้อนกันถึงสองส่วนในหนังสือ (คือเป็นค�ำตามด้วย) นั้นได้ลดทอน คุณค่าของวรรณกรรมโดยไม่จ�ำเป็น เพราะหาก “ค�ำน�ำ” ได้แสดง ให้เห็นถึงความไม่มั่นคงของตัวบทซึ่งต้องอาศัยการอธิบายเพิ่มเติม ด้วย “ค�ำน�ำ” แล้ว การเขียน “ค�ำตาม” ในลักษณะเดียวกันกับ “ค�ำน�ำ” จึงเป็นการอธิบายที่ซ�้ำซ้อนและยิ่งท�ำให้เห็นว่า “อสรพิษ และเรื่องอื่นๆ “ นั้นเป็นรวมเรื่องสั้นไม่มีความเสถียรภาพในการน�ำ เสนอเอาเสียเลย เป็นเรื่องสั้นที่แสดงให้เห็นถึงความ “ง่อนแง่น” ของความหมายขาดน�้ำหนักและความชัดเจนในการน�ำเสนอ ดังนั้น

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

277


“ค�ำตาม” ใน “อสรพิษและเรื่องอื่นๆ “ จึงแทบไม่จ�ำเป็นใดๆ เลย ที่จะต้องมีมันขึ้นมา จากที่กล่าวมาในส่วนนี้ทั้งหมด ผู้วิจารณ์พยายามอภิปรายความ หมายและหน้าที่รวมถึงข้อวิจารณ์เกี่ยวกับ “ค�ำน�ำ” และ “ค�ำตาม” เพื่อที่จะชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง “ค�ำน�ำ” และ “ค�ำตาม” กับ “ตัวหนังสือ” หรือ “เนื้อหาในหนังสือ” ในส่วนต่อไป ผู้วิจารณ์จะ แสดงให้เห็นว่าในหนังสือ “อสรพิษและเรื่องอื่นๆ “ ในฉบับพิมพ์ปี 2557 นั้นมีปัญหาอย่างไรกับ “ค�ำน�ำ” และ “ค�ำตาม” อสรพิษบนความง่อนแง่นของความหมาย

“อสรพิษและเรือ่ งอืน่ ๆ “ ฉบับพิมพ์ปี 2557 ของส�ำนักพิมพ์สามัญชน นอกเหนือจาก “ค�ำน�ำ” ของผู้เขียนในส่วนต้นของหนังสือแล้ว สิ่งที่ พิเศษซึ่งเพิ่มเติมมาก็คือการเขียน “ค�ำตาม” โดยผู้เขียนแดนอรัญ แสงทอง ตามเรื่องสั้นทุกเรื่องที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ แดนอรัญ กล่าวไว้ในส่วนของค�ำน�ำว่า “...แรกเริ่มเดิมทีน่ะ เรื่องสั้นของฉันมัน ไม่มีค�ำตงค�ำตามทุกเรื่องไปหรอก แต่บรรณาธิการของฉัน...กับพวก น้องนุ่ง… ได้บอกฉันว่า ไอ้ค�ำตามน่ะอ่านสนุกดีกว่าตัวเรืี่องเสียอีกมั้ง เขาเลยก�ำชับให้ฉันเขียนค�ำตามให้ครบทุกเรื่อง ฉันจึงท�ำตามก็เขา ล้วนแต่เป็นผู้ปรารถนาดีต่อฉันทั้งนั้นนี่” (5) “ออกตัว” ไว้เช่นนี้เกี่ยวกับค�ำตามในรวมเรื่องสั้น “ อสรพิษและ

278

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เรื่องอื่นๆ” ของแดนอรัญนั้น เป็นปัญหามากกว่าจะเป็นจุดเด่นของ เรื่อง เพราะแสดงให้เห็นว่า “ค�ำตาม” ที่ตามประกบเรื่องสั้นทุกเรื่อง นัน้ เป็นเจตจ�ำนงของคนอืน่ มากกว่าจะเป็นความประสงค์ของตนเอง กล่าวคือ “ค�ำตาม” นั้นไม่ใช่ “ความรับผิดชอบ” ของผู้เขียน ไม่ว่า จะดีหรือไม่ก็ตาม ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงผู้เขียนควรแสดงความรับ ผิดชอบกับสิ่งที่เขียนออกมามากกว่านี้ (ซึ่งจริงๆ แล้วแดนอรัญเอง ไม่จ�ำเป็นต้องเขียนเลยก็ได้ด้วยซ�้ำ) “ค�ำตาม” ในเรือ่ งสัน้ แต่ละเรือ่ งนัน้ หากพิจารณาถึงความจ�ำเป็น แล้วก็แทบจะไม่จ�ำเป็นหรือมีผลอะไรเลยกับการอ่านตัวเรื่อง เพราะ สิ่งที่ปรากฏเป็น “ค�ำตาม” ในรวมเรื่องสั้นชุดนี้ เต็มไปด้วย “เรื่อง ส่วนตัว” ของแดนอรัญ ที่มีต่อเรื่องสั้นแต่ละเรื่อง สิ่งที่น่าสนใจก็คือ “เรือ่ งส่วนตัว” เหล่านัน้ ล้วนแล้วแต่ไม่มคี วามจ�ำเป็นใดๆ กับตัวเรือ่ ง สัน้ แต่ละเรือ่ งเลย เช่น ความปวดร้าวส่วนตัวของแดนอรัญทีม่ ตี อ่ การ ตีพิมพ์ “อสรพิษ” เรื่องสั้นเรื่องแรกของเล่ม ‘อสรพิษ’ มันก็แค่เพียงเรือ่ งสัน้ เรือ่ งหนึง่ เท่านัน้ เอง ฉันไม่ได้มาด หมายอะไรกับมันนักหนา มันเป็นเรือ่ งทีถ่ กู ขังอยูใ่ นกะโหลกของฉันมา นานครัน...คิดว่าชะรอยไอ้เจ้า ‘อสรพิษ’ นี้มันอาจ เ ป็ น เรื่ อ งที่ พ อมี ฤทธิม์ เี ดชอยูบ่ า้ งกระมังหว่า อย่ากระนัน้ เลย เราควรจะส่งมันไปลงตี พิมพ์ในหน้านิตยสารฉบับใดฉบับหนึง่ ในเมืองไทยเผือ่ จะได้กะตังค์มา ใช้บา้ งสักหนึง่ พันบาทสองพันบาท...ในการส่งต้นฉบับแต่ละครัง้ นี้ ฉัน กระท�ำไปด้วยความเจียมเนื้อเจียมตัวและอกสั่นขวัญแขวน ข้อนี้เจ้า

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

279


หน้าทีท่ ที่ ำ� งานอยูไ่ ปรษณียเ์ ขายืนยันได้ และก็เช่นเดียวกับประพันธกร ระดับปลายแถวทั้งหลาย หลังจากส่งต้นฉบับแต่ละครั้ง ฉันก็ตั้งตา รอคอย ในระหว่างรอคอย ฉันก็ฝันเฟื่องไปร้อยแปดพันเก้า กระหยิ่ม ยิ้มย่องว่า ถ้าได้เงินค่าเรื่องหนึ่งพันบาทสองพันบาทนั้น จะใช้มันท�ำ อะไรมั่งดีหนอ แต่คอยแล้วคอยเล่า (นี่เป็นการลงเอยแบบคลาสสิก) ก็ไม่เคยได้รบั ข่าวคราวจากนิตยสารฉบับใดเลย...เป็นอันว่า ‘อสรพิษ’ ภาคภาษาไทยยังคงเป็น ‘ต้นฉบับที่ไม่ เคยได้รบั การตีพมิ พ์มาก่อน’ ยังคงรักษาพรหมจารีของมันไว้ได้โดยผุดผ่อง มันกลับมาอยู่กับ ฉันเหมือนลูกสาวทีถ่ งึ วัยแต่งงานแต่งการได้เสียทีแล้ว แต่กลับต้องมา จมปลักอยู่กับพ่อของมัน... (54) จาก “ค�ำตาม” ของแดนอรัญข้างต้น เราจะเห็นความขัดแย้งกันเอง ของสิ่งที่แดนอรัญคิด คือ ในตอนแรก แดนอรัญบอกว่า “ มันก็แค่ เพียงเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งเท่านั้นเอง ฉันไม่ได้มาดหมายอะไรกับมัน นักหนา” แต่ถดั มา ความ “ไม่ได้มาดหมายอะไรกับมันนักหนา” ก็กลาย เป็น “ เราควรจะส่งมันไปลงตีพิมพ์ในหน้านิตยสารฉบับใดฉบับหนึ่ง ในเมืองไทยเผื่อจะได้กะตังค์มาใช้บ้างสักหนึ่งพันบาทสองพันบาท” จากนัน้ “ ฉันก็ฝนั เฟือ่ งไปร้อยแปดพันเก้า กระหยิม่ ยิม้ ย่องว่า ถ้าได้เงิน ค่าเรื่องหนึ่งพันบาทสองพันบาทนั้น จะใช้มันท�ำอะไรมั่งดีหนอ” ค�ำถามก็คือ สรุปแล้ว แดนอรัญ ไม่ได้มาดหมายอะไรกับเรื่องสั้น “อสรพิษ” เลยหรือ? ความคาดหวังของนักเขียนคนหนึง่ ทีจ่ ะได้มผี ลงานตีพมิ พ์นนั้ เป็น

280

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เรื่องที่เข้าใจได้อย่างดี เพราะมันหมายถึงชื่อเสียงและค่าตอบแทนที่ จะได้อย่างสมน�ำ้ สมเนือ้ นัน้ เป็นสิง่ ถูกต้องแล้ว แต่การบรรยายถึงความ รู้สึกดังกล่าวของแดนอรัญนั้น หากกลับไปอ่านที่ค�ำน�ำของหนังสือ เล่มนี้ แดนอรัญกล่าวว่า “’อสรพิษ’ เขียนตอนก�ำลังจนกรอบเต็มที” ดังนั้นความรู้สึกที่แดนอรัญบรรยายไว้ใน “ค�ำตาม” ของเรื่องสั้น “อสรพิษ” เราจะเห็นได้วา่ มันคือการขยายความของอารมณ์อนั ปวด ร้าวทีเ่ รือ่ งสัน้ เรือ่ งนีไ้ ม่ได้รบั การตีพมิ พ์ซงึ่ หมายถึงคุณค่าของงานชิน้ นี้ ถูกปฏิเสธในโลกภาษาไทย เพราะเรื่องสั้นเรื่องนี้ตีพิมพ์ในภาษาอื่นๆ ก่อนนั่นเอง ความปวดร้าวดังกล่าวจึงหมายถึงในวงการวรรณกรรม ไทยนั้นไม่ยอมรับคุณค่าของเรื่องสั้นเรื่องนี้ทั้งๆ ที่แดนอรัญมีความ ตั้งใจมากในการเขียนเรื่องนี้มาก เมื่อพิจารณาข้อความที่แดนอรัญ กล่าวไว้ในค�ำตามว่า “ฉันไม่ได้มาดหมายอะไรกับมันนักหนา” จึง เป็นการออกตัวไม่จริง “ค�ำตาม” ของแดนอรัญในเรื่อง “อสรพิษ” จึงเป็นการขยายความเจ็บปวดรวดร้าวที่มีต่อวงการวรรณกรรมไทย มากกว่าอย่างอื่น ปัญหาที่น่าพิจารณาก็คือ “ค�ำตาม” โดยผู้เขียนนั้นจ�ำเป็นหรือ ไม่ที่ต้องตามประกบตัวเรื่องทุกเรื่องในหนังสือ ส�ำหรับผู้วิจารณ์แล้ว การมีอยู่ “ค�ำตาม” ในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ “เกินจ�ำเป็น” เพราะเป็น เหมือน “บังคับ” ให้ผอู้ า่ นคิดตามไปในทิศทางเดียวกับผูเ้ ขียน ดังเช่น ตัวอย่างที่ผู้วิจารณ์ยกไว้ข้างต้นที่กล่าวว่า “‘อสรพิษ’ มันก็แค่เพียง เรือ่ งสัน้ เรือ่ งหนึง่ เท่านัน้ เอง” ไม่วา่ อสรพิษจะเป็นอะไร ผูเ้ ขียนก็ไม่มี

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

281


สิทธิ์ในการก�ำกับว่าสิ่งที่ตัวเองก�ำลังเขียนนั้นคืออะไร การน�ำเรือ่ ง “ส่วนตัว” มาเขียนก�ำกับไว้ในตอนท้ายเป็น “ค�ำตาม” นั้นท�ำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเรื่องสั้นหรือตัวงานที่ก�ำลังอ่านอยู่นั้นเป็น “กรรมสิทธิ”์ ของผูเ้ ขียน เพราะมันตบท้าย “ความเป็นส่วนตัว” ของ ผู้เขียน ทั้งๆ ที่จริงแล้ว การอ่านวรรณกรรมควรเป็นสิทธิ์อันเสรีของ ผู้อ่านที่จะอ่านมันอย่างไรก็ได้ และถือว่าเป็นเรื่องอัน “ชอบธรรม” ของผู้อ่านได้ด้วยซ�้ำ ผู้เขียนไม่มีสิทธิ์น�ำเอา “เรื่องส่วนตัว” หรือ “ความเป็นส่วนตัว” ของผูเ้ ขียนทีม่ ตี อ่ เรือ่ งสัน้ หรือผลงานของตัวเอง มาก�ำกับไว้ท้ายเรื่องเช่นนี้ ผูว้ จิ ารณ์ได้อภิปรายถึงหน้าทีแ่ ละการด�ำรงอยูข่ อง “ค�ำน�ำ” ผ่าน แนวคิดของการ “รื้อสร้าง” ในข้างต้นเพื่อแสดงให้เห็นว่า “ค�ำน�ำ” กับ “ตัวหนังสือ” หรือ “ตัวเรื่องนั้น” แม้จะเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน แต่ก็ เป็นสิง่ ทีท่ ำ� ให้เราเห็นถึงความขัดแย้งทีด่ ำ� รงอยูค่ วบคูก่ นั ดังทีก่ ล่าวไว้ ว่าการด�ำรงอยู่ของค�ำน�ำเป็นสิ่งที่จ�ำเป็นกับหนังสือ เพราะมันแสดง ให้เห็นถึง “ร่องรอย” และการเข้าไปสวมรอย “ตัวเรื่อง” ของค�ำน�ำ อย่างไรก็ตามทั้งหมดทั้งปวงที่ผู้วิจารณ์พยายามจะเสนอก็คือ การ ด�ำรงอยู่ของ “ค�ำน�ำ” นั้นเพียงพออยู่แล้วส�ำหรับหนังสือเล่มหนึ่ง ในค�ำตามเรือ่ ง “ฝันค้าง” นัน้ ร้ายแรงทีส่ ดุ ในบรรดาค�ำตามทีม่ อี ยู่ ในหนังสือเล่มนี้ แดนอรัญกล่าวว่า แม้วา่ ฉันจะเป็นนักเขียนทีย่ งั ไม่เคยมีลกู มีเต้ากับใครเขาก็จริงอยู่ แหล่ แต่ในบางทีฉันก็อดคิดไปไม่ได้ว่า ก็ไอ้บรรดาเรื่องต่างๆ ที่ฉันได้

282

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เขียนไปแล้วนั่นน่ะคือลูกๆ ของฉัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ ห มายความว่ า เวลามีใครมาวิพากษ์วจิ ารณ์ลกู ๆ ของฉันอย่างอยุตธิ รรม ฉันก็จะเคือง ก็ฉนั เป็นพ่อมันนีห่ ว่าหรือถ้าหากว่าฉันพูดว่าฉันไม่เคืองหรอก ฉันรับได้ ก็แสดงว่าฉันเสแสร้งแกล้งพูดไปอย่างนั้นเอง (132) การอุปมาผลงานของตัวเองเป็นประหนึ่ง “ลูก” ของตัวผู้สร้าง งานนั้น แสดงให้เห็นถึงความคับแคบและอคติอย่างยิ่ง เนื่องจากผล งานศิลปะใดๆ ก็ตาม เมื่อออกมาจากอ้อมกอดของผู้สร้างแล้วก็ย่อม ไม่ใช่ผลงานของผู้สร้างอีกต่อไป แต่เป็นสมบัติสาธารณะของผู้อ่าน หรือผู้เสพงานอีกด้วย การใช้ “ความเป็นส่วนตัว” หรือ “เรือ่ งส่วนตัว” ของผูเ้ ขียนหรือ ผู้สร้างงานมาก�ำกับตัวงานแทบทุกชิ้นนั้น ท�ำให้ผู้อ่านหรือผู้เสพงาน นั้น “เป็นอีกส่วนหนึ่ง” ต่องานชิ้นนั้นๆ หรือเกิดความแปลกแยกกับ ตัวงาน เพราะไม่สามารถคิดหรือจินตนาการอะไรก็ตามทีต่ ่างออกไป จากผู้เขียนหรือผู้สร้างงานได้ เนื่องจากสิ่งที่ก�ำลังอ่านหรือเสพอยู่นั้น มันเป็น “สมบัติส่วนตัว” ของผู้เขียนหรือผู้สร้างงานนั่นเอง ความน่าเศร้าใจก็คอื เรายังต้องมานัง่ อภิปรายแนวคิดทีว่ า่ “ประ พันธกรตายแล้ว” (The Death of author) ซึ่งเป็นแนวคิดในช่วง ศ. 20 ส�ำคัญอย่างไรในยุคสมัยปัจจุบันคือ ศ. 21 นี่เป็นสิ่งที่แสดงให้ เห็นว่า วรรณกรรมไทย โดยเฉพาะวรรณกรรมทีร่ บั การยกย่องว่าเป็น วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งภูมิภาคนั้นยังไปไม่พ้น ศ.ที่ 20 (หรือร้ายที่สุดอาจจะก่อนหน้านั้น)

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

283


หนังสือประเภทวรรณกรรมนัน้ หากจะพิเศษกว่าหนังสือประเภท อื่นๆ ก็น่าจะหมายถึงเป็นหนังสือที่เปิดพื้นที่ให้กับการตีความหรือ ใช้จิตนาการได้ทุกรูปแบบ โดยไม่มีการจ�ำกัดหรือไม่มีขีดจ�ำกัดของ การใช้ความคิด แสดงว่าหนังสือประเภทวรรณกรรมนั้นเมื่ออกมา จากผู้เขียนและผู้สร้างนั้นย่อมที่ปราศจากความคิดเห็นใดๆ ก็ตามที่ เป็นของผู้เขียนและผู้อ่าน ทั้งนี้เราไม่ปฏิเสธเลยว่าในวรรณกรรมชิ้น หนึ่งๆ นั้นมีความคิดหรือความเห็นใดๆ ก็ตามที่เป็นของผู้เขียนหรือ ผู้สร้างงาน แต่ความคิดความเห็นเหล่านั้นต้องไม่แสดงออกมาใน ลักษณะ “เรี่ยราด” ให้แก่ผู้อ่าน เพราะมันคือปิดกั้นจินตนาการและ การตีความใดๆ ทัง้ ปวงทีเ่ กิดขึน้ หลังจากการอ่านวรรณกรรมชิน้ นัน้ ๆ หากแดนอรัญ แสงทอง จะรักผลงานของตนเหมือนลูกในไส้ แท้ๆ และไม่ต้องการที่จะเห็นลูกๆ ของตนถูกวิจารณ์ถูกว่าร้ายใดๆ ก็ไม่ควรปล่อยผลงานนั้นๆ ออกมาจากตนเองควรเก็บไว้อ่านเองแต่ เพียงผู้เดียว หรือเก็บไว้ให้มิตรสหายของตนได้อ่าน ผู้วิจารณ์อยาก อุปมาบ้างว่า หากรักเด็กๆ ไม่อยากให้เด็กหกล้มหรือมีบาดแผลใด ก็ ไม่ควรปล่อยเด็กๆ ออกมาวิ่งเล่นนอกบ้าน เพราะพื้นที่นอกบ้านนั้น เราไม่สามารถก�ำหนดได้วา่ ใครจะมาดีหรือมาร้ายกับลูกๆ ของเรา ดัง นั้นถ้าอยากปลอดภัยควรอยู่แต่ในบ้าน ในค�ำตามเรื่องสั้นบางเรื่องนั้นก็เปรียบเสมือนการวิจารณ์ตนเอง ของผู้เขียน เช่นในเรื่อง “ดวงตาที่สาม” ที่กล่าวว่า “นี่เป็นการงาน อันว่างโหวงโปร่งเบาโดยแท้ มุ่งหมายเพียงให้เป็นความบันเทิง

284

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เบ็ดเตล็ด เป็นทีน่ า่ เสียดายว่าในทีส่ ดุ ก็วกวนอ้อมค้อมและพิรพี้ ไิ รเกิน งาม” (113) การวิจารณ์ตนเองเช่นนี้แม้จะเป็นเสมือนการออกตัวใน ลักษณะของการ “ถ่อมตัว” แต่การถ่อมตัวในลักษณะนี้ก็เป็นไปเพื่อ ลดแรงเสียดทานจากการถูกวิจารณ์ในทางลบมากกว่า เพราะการ ออกตัวไว้ว่างานของตนเองนั้นเป็นงานที่ “ว่างโหวงโปร่งเบาโดย แท้” นั่นหมายถึงว่าถ้ามันจะเป็นงานดังที่ผู้เขียนได้ออกตัวไว้เช่นนั้น แล้วก็ไม่ใช่ความผิดหวังอะไรมากนัก กล่าวคือเป็นการบอกผู้อ่านไว้ ว่ามันเป็นงานที่ไม่มีแก่นสารอะไรให้คิดแต่เป็นงานที่ “ให้เป็นความ บันเทิงเบ็ดเตล็ด” ดังนั้นอย่าไปตั้งความหวังว่างานที่อ่านไปแล้วจะ ตอบปัญหาทางอภิปรัชญา แก่นสารของมนุษย์ หรือตลอดจนเราจะ แก้ปัญหาสังคมอย่างไร ฯลฯ แต่หากผู้อ่านคนไหนอ่านแล้วสามารถ ตอบปัญหาดังกล่าวได้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องเกินความคาดหมายหรือเกิน ความตั้งใจของผู้เขียน อันที่จริงไม่ว่าผู้อ่านจะได้อะไรจากการอ่านนั้นก็ไม่ใช่หน้าที่ของ ผู้เขียนที่จะมาออกตัวหรือถ่อมตัวใดๆ ไว้ท้ายเรื่อง ต่อให้เรื่องนั้นๆ ผูเ้ ขียนตัง้ ใจจะให้ความบันเทิงเบ็ดเตล็ด ไม่ตอ้ งการจะตอบปัญหาใดๆ บนโลกใบนีแ้ ล้วผูอ้ า่ นสามารถตีความหรือไปได้ไกลกว่าความหมายที่ ผูเ้ ขียนตัง้ ใจเอาไว้กต็ าม ก็ควรปล่อยให้เป็นเรือ่ งของผูอ้ า่ นเท่านัน้ ก็พอ ผูเ้ ขียนควรเชือ่ วิจารณาญาณของผูอ้ า่ นว่าสามารถแยกแยะได้วา่ เรือ่ ง ใดเป็นเรื่อง “จริงจัง” หรือเรื่อง “เบ็ดเตล็ด” กล่าวให้ถึงที่สุด ผู้เขียน ไม่ควรต้องกังวลด้วยว่าผูอ้ า่ นจะตีความผลงานของตนไปในลักษณะใด

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

285


เพราะมันไม่ใช่สมบัติของผู้เขียนอีกต่อไปแล้ว การวิจารณ์ตนเองในลักษณะของการถ่อมตัวเช่นนี้ แท้จริงควร เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในส่วนของ “ค�ำน�ำ” มากกว่า “ค�ำตาม” ก็น่าจะ เพียงพอแล้ว ไม่ตอ้ งมาตามบอกกันท้ายเรือ่ งแบบนีท้ กุ เรือ่ งในผลงาน ของของตนเองเช่นนี้ และหากพิจารณา “ค�ำตาม” หรือแม้กระทัง่ “ค�ำ สัมภาษณ์” ของแดนอรัญ แสงทองที่ปรากฏในสื่อหลังจาก “อสรพิษ และเรื่องอื่นๆ “ ได้รับรางวัลซีไรต์แล้ว “ความถ่อมตัว” ที่ปรากฏใน ข้างต้นนัน้ ดูจะไม่มนี ำ�้ หนักหรือไม่มเี ค้ามูลทีน่ า่ เชือ่ ถือเลยว่าแดนอรัญ แสงทองเป็นนักเขียนผู้ถ่อมตัวจริงๆ ในเบื้องต้น ที่สุด ของการอ่านวรรณกรรมนั้ น “ความหมาย” ของตัวบทเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากผู้อ่านมากกว่าผู้เขียน ผู้เขียนเองก็มี ความหมายที่ต้องการจะสื่อสารแต่ไม่ได้หมายความความหมายของ ผู้เขียนจะต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องและควรยึดถือเป็นสรณะในการอ่าน วรรณกรรม ในยุคปัจจุบันการอ่านวรรณกรรมเพื่อค้นหาความหมาย ของผู้เขียนนั้นเป็นสิ่งที่ตกสมัยไปแล้ว วรรณกรรมเมื่อออกจากนักเขียนมาสู่พื้นที่สาธารณะแล้วย่อม ไม่ใช่สมบัตขิ องผูเ้ ขียนอีกต่อไป ในแง่นมี้ ไิ ด้หมายความถึงลิขสิทธิต์ าม กฎหมาย แต่เป็นเรื่องของการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม เจตนา เปรียบเทียบวรรณกรรมกับค�ำพูดว่า เมื่อเราเปล่งเสียงที่เป็นค�ำพูด ออกไปแล้วเราไม่สามารถเรียกคืนหรือแก้ไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการ รับผิดชอบกับค�ำพูดของตน เช่นเดียวกับงานเขียนเมื่อปล่อยออกสู่

286

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


สาธารณะแล้วก็ย่อมเป็นอ�ำนาจของผู้อ่านว่าจะประเมินค่าอย่างไร ส่วนเสรีภาพในการตีความ ในประเด็นนี้นับว่าเป็นประเด็นที่ ส�ำคัญมากในการศึกษาวรรณกรรม วรรณกรรมเป็นสิ่งที่มากระทบ อารมณ์เรา ท�ำให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ อารมณ์นี้เป็นอารมณ์ของ ปัจเจกบุคคล วรรณกรรมเรื่องเดียวไปถึงมือผู้อ่านร้อยคนก็อาจจะ กล่าวได้ว่าเป็นสมบัติของคนร้อยคนไป แต่ละคนก็เข้าครอบครอง สมบัติทางวรรณศิลป์ชิ้นนี้ด้วยวิธีการของตนเอง ผู้เขียนจะทึกทัก ว่าเป็นสมบัติของตนมิได้ แม้จะมีผู้อ่านตีความผิดก็มิใช่หน้าที่ของ ผู้เขียนต้องแก้ไขความเข้าใจผิดเหล่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของผู้อ่าน และผู้วิจารณ์ ที่จะต้องแก้ไขกันเอง นี่ถือเป็นกติกาสากลในการอ่าน วรรณกรรม เมื่อผู้เขียนไม่มีสิทธิ์ในการควบคุมความหมายของวรรณกรรม ที่อยู่ในมือของผู้อ่านแล้ว ค�ำถามก็คือใครเป็นผู้ให้ความหมายของ วรรณกรรม Hans-Georg Gadamer นักปรัชญาชาวเยอรมัน ได้ ประยุกต์เอาแนวคิดทางปรัชญาศาสตร์ของการตีความมาใช้ในการ วิจารณ์วรรณกรรม โดยกล่าวว่า ความหมายงานวรรณกรรมไม่ได้ ด�ำรงอยูใ่ นโลกอย่างสมบูรณ์และชัดเจน แต่ความหมายเป็นสิง่ ทีข่ นึ้ อยู่ กับบริบททางสังคม ประวัตศิ าสตร์ของผูต้ คี วาม (หรือผูอ้ า่ น) นอกจาก นีเ้ ขายังกล่าวอีกว่าการตีความวรรณกรรมโบราณนั้นเป็นการ “สร้าง บทสนทนา” ระหว่าง อดีตกับปัจจุบันอีกด้วย (Raman Selden, Peter Widdowson and Peter Brooker: 2005)

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

287


Wolfgang Iser นักวรรณกรรมเยอรมันก็ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ การตีความวรรณกรรมของผูอ้ า่ นได้นา่ สนใจว่า ตัวบทวรรณกรรมนัน้ เต็มไปด้วยช่องว่างซึ่งรอให้ผู้อ่านเป็นผู้เติมเต็มความหมายเหล่านั้น เพราะวรรณกรรมไม่ใช่ภาพแทนของวัตถุและไม่ได้อ้างอิงไปถึงโลก พิเศษในวรรณกรรมซึ่งเกิดจากการคัดเลือกของบรรทัดฐานที่ชัดเจน ระบบคุณค่าหรือโลกทัศน์แบบใดแบบหนึ่ง กล่าวคือความหมายใน ตัวบทวรรณกรรมนั้นจะไม่ปรากฏตัวเลยหากไม่มีผู้อ่านมาให้ความ หมายกับมัน (Raman Selden, Peter Widdowson and Peter Brooker: 2005) นอกจากนี้วรรณกรรมยังมีลักษณะของการสื่อความหมายแต่ ความหมายที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมย่อมไม่เกี่ยวข้องกับผู้แต่ง เพราะในวิชาวรรณกรรมศึกษาสมัยใหม่นั้นผู้อ่านเท่านั้นที่เป็นผู้ให้ ความหมายของวรรณกรรม ฉะนัน้ ความหมายทีเ่ กิดขึน้ จากการอ่าน วรรณกรรมจึงไม่ใช่เรือ่ งของการค้นพบความหมายทีอ่ ยูใ่ นวรรณกรรม เฉกเช่นวิธีในการวิจารณ์วรรณกรรมในสมัยก่อนพึงปฏิบัติ แต่เป็น เรือ่ งของการ “สร้าง” ความหมายทีไ่ ด้จากการอ่านวรรณกรรมชิน้ นัน้ ซะการีย์ยา อมตยา (2556: 5) กวีซีไรต์ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้อย่าง น่าสนใจในงานของเขาว่า

288

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ถึงผู้อ่าน บทกวีที่คุณก�ำลังอ่าน ความหมายมีเพียงครึ่งเดียว ส่วนอีกครึ่งอยู่ในหัวคุณแล้ว ผู้เขียน จากข้อความดังกล่าวเราอาจกล่าวได้ว่า ผู้ที่มีอำ� นาจในการให้ความ หมายในงานวรรณกรรมนั้นมิได้อยู่ที่ผู้เขียนอีกต่อไป แต่แท้จริงแล้ว ผู้อ่านต่างหากที่เป็นคนให้ความหมาย ผู้เขียนเพียงแต่ท�ำหน้าที่คัด เลือกค�ำในระบบภาษาที่ก�ำกับระบบความชุดใดชุดหนึ่งอยู่ให้ออก มาเป็นงานวรรณกรรม หากเปรียบเทียบกับการท�ำอาหารผู้เขียน นั้นเป็นแค่เพียงผู้ตระเตรียมส่วนประกอบของอาหารเท่านั้น แต่ใน เรื่องของรสชาติควรให้ผู้รับประทานอาหารเป็นผู้บอกว่ามีรสชาติ อย่างไร ดังนั้นความหมายที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมจึงเป็นเรื่อง ของผู้อ่านโดยแท้ “ค�ำตาม” ของแดนอรัญ แสงทองในรวมเรือ่ งสัน้ ชุดนีจ้ งึ เป็นสิง่ ที่ “เกินจ�ำเป็น” อย่างยิ่ง การไม่ปล่อยให้ผู้อ่านได้ตีความและเปิด จินตนาการของตัวเองนั้นถือว่าเป็นการท�ำลายเสน่ห์ของวรรณกรรม ไปโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้สิ่งที่น่าสนใจก็คือ “ค�ำตาม” นั้นเป็นสิ่งที่ตอกย�้ำให้ เห็นอย่างชัดเจนว่า “ความหมาย” ใดๆ ก็ตามทีแ่ ดนอรัญ ต้องการสือ่

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

289


ออกมาผ่านรวมเรื่องสั้นชุดนี้เป็นสิ่งที่อ่อนแออย่างยิ่ง คือเต็มไปด้วย ความคลุมเครือและไม่มีเสถียรภาพที่มากพอในการสื่อความหมาย เพราะถ้าหากความหมายต่างๆ หรือประเด็นที่ “อสรพิษและเรือ่ งอืน่ ๆ “ ต้องการจะน�ำเสนอมีความเสถียรภาพแล้ว “ค�ำตาม” ก็ดูจะไม่จ�ำ เป็นใดๆ เลย ค�ำถามก็คอื ท�ำไมแดนอรัญ แสงทอง จึง “กลัว” ทีผ่ อู้ า่ น จะขบคิด ตีความหรือจินตนาการในด้านต่างๆ กับผลงานตัวเองถึง ขนาดต้องเขียน “ค�ำตาม” มาคอยก�ำกับในเรือ่ งสัน้ ทุกเรือ่ งภายในเล่ม กล่าวให้ถึงที่สุด “อสรพิษและเรื่องอื่นๆ “ จึงเป็นเรื่องสั้นที่เต็ม ไปด้วยความง่อนแง่นของความหมาย ขาดความเสถียรภาพ หรือเป็น เรือ่ งสัน้ ทีไ่ ม่อาจสือ่ ความหมายได้ดว้ ยตัวมันเอง การเขียน “ค�ำตาม” จึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้ความหมายของเรื่องสั้นทุกเรื่องมีความชัดมากขึ้น เพราะหากต้องการจะอธิบายเรื่องอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวข้อง กับตัวงานแล้ว ล�ำพังเพียง “ค�ำน�ำ” ก็เพียงพอแล้วที่จะท�ำหน้าที่นั้น คุ ณ ค่ า ของการอ่ า นวรรณกรรมคื อ การได้ ตี ค วามหรื อ ใช้ จินตนาการในการอ่าน ดังที่ผู้วิจารณ์ได้กล่าวไว้ว่า “ค�ำตาม” นั้น ควรจะเขียนด้วยความระมัดระวังและควรเป็นความเห็นของผู้อื่นที่ ได้อ่านเพื่อท�ำให้เห็นมุมมองอื่นๆ ที่มีต่อวรรณกรรมชิ้นนั้น แต่ “ค�ำ ตาม” ของแดนอรัญ แสงทอง นัน้ กลับให้ผลทีต่ รงกันข้ามคือ นอกจาก จะตีความเป็นอืน่ ไม่ได้แล้ว (เพราะมีความเป็นส่วนตัวมาก) และยังไป “ลดทอน” คุณค่าของการอ่านวรรณกรรมอีกด้วย หากรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนเป็น

290

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


รางวัลที่การันตีความดีงามหรือคุณค่าใดๆ ของวรรณกรรมที่ได้รับ รางวัลแล้ว สิ่งที่น่าพิจารณาก็คือวรรณกรรมชิ้นนั้นควรจะมี “ความ หนักแน่น” ในเรื่องของความหมายที่ต้องการจะสื่อหรือไม่ “อสรพิษและเรือ่ งอืน่ ๆ” ชิน้ นีจ้ งึ น่าสนใจทีจ่ ะพิจารณาว่าแท้จริง แล้วความหมายทีต่ วั บทเองต้องการจะสือ่ นัน้ มีความชัดเจนหนักแน่น มากน้อยเพียงใด เพราะการมี “ค�ำตาม” แปะท้ายในทุกเรือ่ งสัน้ ทีอ่ ยูใ่ น หนังสือเล่มนีเ้ ป็นสิง่ ทีฟ่ อ้ งอย่างชัดเจนว่าตัวบทเรือ่ งสัน้ แต่ละชิน้ ไม่มี เสถียรภาพมากพอที่จะสื่อความหมายได้ด้วยตัวมันเอง จึงต้องเขียน “ค�ำตาม” ขึ้นมาเพื่ออธิบายผลงานของตัวเอง ปกป้องตัวเองหรือ ตลอดจนวิจารณ์ตัวเอง อัตตาที่ตัดไม่ขาด

หากพิจารณาตัวเรื่องสั้นที่ปรากฏใน “อสรพิษและเรื่องอื่นๆ “ แล้ว เราจะเห็นถึงพัฒนาการบางอย่างของแดนอรัญ แสงทองในแง่ของ เนื้อหา และหากพิจารณาผลงานชิ้นอื่นๆ ที่ร่วมสมัยของแดนอรัญ เราก็จะเห็นชัดเจนว่าความสนใจของแดนอรัญในปัจจุบันนั้นเขาให้ ความส�ำคัญกับความรู้ความเข้าใจเรื่องพุทธศาสนามาก จากผลงานและการให้สัมภาษณ์ในระยะหลังนั้น แดนอรัญกล่าว ว่าเขาหันมาศึกษาพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ทั้งในเชิงปรัชญาและค�ำ สอนของพุทธศาสนา ผลงานของเขาก็บ่งชี้อย่างชัดเจนว่าแดนอรัญ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

291


ทุ่มเทกับพุทธศาสนาอย่างไร ผลงานหลายชิน้ ของแดนอรัญหลังจากสนใจเรือ่ งพุทธศาสนานัน้ บางชิ้นจัดได้ว่าอ่านยากมาก เข้าใจได้ยากมากเนื่องจากเป็นการน�ำ เอาหลักธรรมขั้นสูงของพุทธศาสนามาเขียนเป็นวรรณกรรม นี่เป็น ความรูค้ วามสามารถของแดนอรัญทีค่ วรได้รบั การยกย่องอย่างแท้จริง สิ่งที่น่าสนใจก็คือ แก่นของพุทธศาสนานั้นหัวใจส�ำคัญที่สุดก็คือ การละวางอัตตาหรือตัวตนทิ้งไปเพื่อขจัดกิเลสใดๆ ทั้งปวงที่ตกค้าง อยู่ในจิตใจของมนุษย์ซึ่งจะน�ำไปสู่หนทางของการหลุดพ้นตามหลัก ของพุทธศาสนา ถึงแม้กระนั้นก็ตาม ใน “อสรพิษและเรื่องอื่นๆ “ ก็ได้แสดงให้ เห็นถึงความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงของแดนอรัญ กล่าวคือ แดนอรัญ แสงทอง ก็ยังคงเป็นนักเขียนที่มีความเป็นมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ แบบ เนื่องจากมนุษย์ธรรมดาสามัญนั้นย่อมที่จะข้องแวะกับกิเลส หรือความอยากใดๆ ทั้งปวง หรือแม้กระทั่งการยืนยัน “ตัวตน” ของ ตัวเองนี่ก็เป็นคุณสมบัติของปุถุชนอย่างหนึ่ง “ค�ำตาม” ที่ปรากฏในทุกเรื่องสั้นของ “อสรพิษและเรื่องอื่นๆ “ นั้น หากจะเปรียบเทียบกับแก่นของพุทธศาสนานั้น ก็เปรียบได้กับ “อัตตา” ของทั้งผู้เขียนและของตัวบทนั่นเอง เนื่องจากตัวบทและ ผู้เขียนยังคงยึดมั่นในความหมายที่แท้จริงของตัวบทที่ต้องการจะสื่อ ไม่ปล่อยให้ความหมายที่สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายในตัวบทนั้น ท�ำงานอย่างเต็มที่และเป็นอิสระ และสิ่งนี้เองที่ท�ำให้ “พลัง” และ

292

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


“คุณค่า” ของวรรณกรรมที่พึงมีนั้นมลายหายสิ้นไปกับตา หากแดนอรัญ แสงทอง ผู้คร�่ำเคร่งและจริงจังกับการศึกษาพุทธ ศาสนาชนิดหาตัวจับยากแล้ว ก็นา่ เสียดายว่าเขาเองนัน่ แหละทีแ่ สดง ให้เห็นว่า “อัตตา” ของเขานั้นแรงกล้าเพียงใด และการทุ่มเทศึกษา เรือ่ งพุทธศาสนาของเขานัน้ ท้ายทีส่ ดุ อาจกลายเป็นความ “สูญเปล่า” ดังนั้น “ค�ำตาม” นอกจากจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึง “อัตตา” ของตัวบทและตัวแดนอรัญเองแล้ว ก็ยังแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้ง กันเองในตัวแดนอรัญอีกด้วย ที่ไม่สามารถละอัตตาอันเป็นแก่นสาร ส�ำคัญของพุทธศาสนาลงได้ สรุป

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า “อสรพิษและเรื่องอื่นๆ “ เป็นการรวมเรื่องสั้น ที่เคยตีพิมพ์ต่างกรรมต่างวาระเข้าไว้ด้วยกัน และก่อนหน้านี้เรื่อง สั้นแต่ละเรื่องก็ไม่เคยมีค�ำตามใดๆ เลย แต่ค�ำตามเป็นสิ่งที่ปรากฏ ขึ้นเฉพาะในการรวมพิมพ์ครั้งนี้เท่านั้น สิ่งที่น่าเสียดายใน “อสรพิษและเรื่องอื่นๆ “ เล่มนี้ในทัศนะของ ผู้วิจารณ์ก็คือ การมี “ค�ำตาม” ประกบเรื่องสั้นทุกเรื่องในหนังสือ เพราะมันท�ำให้คุณค่าของวรรณกรรม โดยเฉพาะในเรื่องการตีความ นั้นหายไปอย่างสิ้นเชิง มันแสดงให้เห็นความอ่อนแอและความไม่ เสถียรภาพในการสือ่ ความหมายของตัวบทได้อย่างชัดเจน เพราะต้อง

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

บรรณานุกรม ภาษาไทย ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. 2544. รัฐศาสตร์ แนววิพากษ์. พิมพ์ครั้ง ที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยา ลัธรรมศาสตร์. ซะการียย์ า อมตยา. 2556. หากภายในเรา ร้ า วลึ ก ราวมหาสมุ ท ร. กรุงเทพฯ: หนึง่ พันราตรี. พิพฒ ั น์ พสุธารชาติ. 2553. ความจริ ง ใน ภาพวาด บทวิจารณ์ว่า ด้วยสุนทรียศาสตร์ของ ไฮแดกเกอร์และแดร์รดิ า. กรุงเทพฯ: วิภาษา. สมเกียรติ ตั้งนะโม (เรียบเรียง). 2541. ความ เรียงทางปรัชญา เกีย่ วกับ ศัพท์คำ� ว่า deconstruction. (ออนไลน์). www. midnightuniv.org. เข้า ถึงข้อมูลเมือ่ 25 มีนาคม 2558.

293


ภาษาอังกฤษ Raman Selden, Peter Widdowson and Peter Brooker. 2005. A Reader’s Guide to Contemporary Literary Theory. Fifth edition. Harlow: Pearson Education Limited.

294

อาศัย “ค�ำตาม” เป็นสิ่งที่ก�ำกับความรับรู้และความเข้าใจของผู้อ่าน ในการอ่านเรือ่ งสัน้ แต่ละเรือ่ ง การเขียนค�ำตามในรวมเรือ่ งสัน้ ชิน้ นีจ้ งึ เป็นการเยียวยาความอ่อนแอที่ปรากฏภายในตัวบทเอง นอกจากน่าเสียดายแล้ว ความง่อนแง่นของความหมายอันเกิด จากการเขียนค�ำตามนั้นก็เป็นสิ่งที่น่าเสียใจ เพราะวรรณกรรมชิ้นนี้ ได้รบั รางวัล “วรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยีย่ มแห่งอาเซียน” อันเป็น เครือ่ งการันตีได้อย่างหนึง่ ว่าวรรณกรรมชิน้ นีน้ า่ จะมีคณ ุ ค่าบางอย่าง ไม่ว่าจะในเชิงสังคมหรืองานศิลปะนั้น งานในระดับนี้ควรจะมีความ หนักแน่นหรือชัดเจนในตัวมันเองเสียหน่อยก็คงจะดีกว่าที่ปล่อยให้ นักเขียนต้องมาตามอธิบายกันทุกเรื่อง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าหนังสือเล่มนี้จะได้รางวัลหรือไม่ ข้อวิจารณ์ เรือ่ ง “ค�ำตาม” ก็ควรจะต้องเกิดขึน้ อยูด่ ี เพราะนีค่ อื ข้อผิดพลาดของ วรรณกรรมที่ลดทอนคุณค่าของตัวเองโดยไม่จ�ำเป็น

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/

Poem

/

กระบอกปืนลั่นเป็นเสียงพระเจ้า ... / อนุชา วรรณาสุนทรไชย / สงครามก่อเกิดพระเจ้า พระเจ้าสร้างดอกไม้และกระบอกปืน กระบอกปืนลั่นเป็นเสียงพระเจ้า เสียงพระเจ้าในอากาศอันแสนว่างเปล่า อากาศอันแสนว่างเปล่าดึงฝูงตั๊กแตนอพยพกลับถิ่น เสียงพระเจ้า เสียงดอกไม้ เสียงกระบอกปืน เสียงอากาศอันแสนว่างเปล่า เสียงฝูงตั๊กแตนอพยพกลับถิ่น เสียงทุกเสียงจุกคอหอยผมอยู่ ...

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

295


/ Poem /

เทพนิยาย โดย โรแบรต์ เดสโนส1

/ ถอดความโดย ภาคิน นิมมานนรวงศ์ / เทพนิยาย โดย โรแบรต์ เดสโนส ถอดความโดย ภาคิน นิมมานนรวงศ์ หลายต่อหลายครั้งนานมาแล้ว มีชายหนุ่มคนหนึ่งรักหญิงสาวคนหนึ่ง หลายต่อหลายครั้งนานมาแล้ว มีหญิงสาวคนหนึ่งรักชายหนุ่มคนหนึ่ง หลายต่อหลายครั้งนานมาแล้ว มีชายหนุ่มและมีหญิงสาว ผู้ที่ไม่ได้รักคนที่รักพวกเขา กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว บางทีอาจเพียงครั้งเดียวเท่านั้น มีชายหนุ่มและหญิงสาวที่รักกันและกัน

1

296

โรแบรต์ เดสโนส (Robert Desnos, 1900-1945) กวีเซอร์เรียลลิสม์ชาวฝรั่งเศส

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


Fairy Tale by Robert Desnos Many times upon a time There was a man who loved a woman. Many times upon a time There was a woman who loved a man. Many times upon a time There was a man and there was a woman Who did not love the ones who loved them. Once upon a time Perhaps only once A man and a woman who loved each other.

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

297


298

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/ Essay /

ฮินดูกับลึงค์คดี

คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง

ศาส

นาในอินเดียล้วนเป็นศาสนาแห่งสัญลักษณ์ ที่จริง ไม่ใช่แค่ในอินเดียเท่านั้น ศาสนาทั้งหลายในโลกล้วน ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ กันมากน้อยแตกต่างกันออกไป แต่ในอินเดียการศึกษาสัญลักษณ์ทงั้ หลายล้วนน่าสนใจ เนือ่ งด้วย เหตุผลหลายประการ กล่าวคือ ศาสนาในอินเดีย โดยเฉพาะศาสนาฮินดู ได้รับเอาสัญลักษณ์ทั้ง หลายจากศาสนาโบราณ หรือศาสนาก่อนประวัติศาสตร์เข้ามาไว้ ในสารบบฮินดู โดยสร้างความหมายขึ้นใหม่ซ้อนทับความหมายเดิม หรือสร้างความหมายเพือ่ จะปกปิดซ่อนเร้นความหมายทีแ่ ท้จริงไว้กม็ ี กระบวนการดังกล่าวมีทั้งการใช้เทวต�ำนานหรือการใช้ความเชื่อ และพิธีกรรมต่างๆ กระนั้นสัญลักษณ์เหล่านี้ยังคงสดใหม่ ส่งทอด มายั ง ปั จ จุ บั น คนฮิ น ดู ยั ง คงมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ กั บ สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ ม นุ ษ ย์ ก่อนประวัติศาสตร์ใช้อย่างไม่แตกต่างกันนัก รอเพียงให้เราไป

คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ ประจ�ำภาควิชาปรัชญา คณะ อั ก ษรศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ศิลปากร เชี่ยวชาญปรัชญา อิ น เดี ย และฮิ น ดู โดยเฉพาะ เวทานตะ นอกจากนี้ ยังเป็น ศิ ษ ย์ พ ราหมณ์ อิ น เดี ย และ “เชฟหมี” แห่ง “ครัวกากๆ”

Bernard Picart, Shiva worshipped as a lingam. 1722.

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

299


ค้นพบและตีความ นอกจากนี้ ก ารใช้ สั ญ ลั ก ษณ์ ต ่ า งๆ ในอิ น เดี ย ยั ง มี ก ารปะทะ สังสรรค์กัน ในระหว่างศาสนาหรือความเชื่อเดียวกันและศาสนา ที่ต่างกันด้วย การปะทะสังสรรค์กันของสัญลักษณ์นี้สะท้อนความ เปลี่ยนแปลงของอ�ำนาจทางสังคมและทางเพศ และความเข้าใจต่อ ชีวิตและเป้าหมายสูงสุดของมัน สัญลักษณ์ที่ส�ำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือสัญลักษณ์ทางเพศ ถ้า จะนับว่ากิจกรรมใดเป็นกิจกรรมของมนุษย์ที่มีความหมายและมีนัย ทางจิตวิญญาณและศีลธรรม ดูเหมือนว่า กิจกรรมทางเพศจะเป็น กิจกรรมที่นัยนี้มากที่สุด เนื่องด้วยมันต้องเกี่ยวข้องกับผู้อื่นอย่าง จ�ำเป็น มันเกี่ยวกับอ�ำนาจของการก่อก�ำเนิดสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นอ�ำนาจ ในการสรรค์สร้างดุจเดียวกับของพระเจ้า และมันก่อให้เกิดความสุข หฤหรรษ์และความทุกข์มากล้น ศาสนาโบราณจึงมองเรื่องเพศเป็นเรื่องราว “ศักดิ์สิทธิ์” ใน ศาสนาอินเดียโบราณ มีกิจกรรมสองอย่างที่ท�ำให้มนุษย์ดูคล้ายเทพ คือการร่วมเพศ(และก่อก�ำเนิดชีวติ )และการท�ำงานศิลปะเช่นร�ำฟ้อน และดนตรี (ซึ่งท�ำให้มนุษย์ได้เสพทิพยสุขที่เหนือกว่าสัตว์) การร่วม เพศจึงไม่ใช่กิจกรรมตามสัญชาตญานเท่านั้น แต่มันอาจเปิดเผยให้ เราเข้าใจเกีย่ วกับความลึกลับนานาประการของตัวเราและธรรมชาติ เครือ่ งเพศทัง้ ชายหญิงจึงเป็นของสูงส่ง มันไม่เพียงอยูท่ ตี่ วั มนุษย์ เท่าทีเ่ ราจะสังเกตมันได้ แต่สำ� หรับคนโบราณแล้วมันได้ปรากฏอยูใ่ น

300

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


โลกธรรมชาติด้วย แผ่นดิน เถื่อนถ�้ำ หลุมด�ำมืด แม่น�้ำและท้องสมุทร จึงเป็นครรโภทร โยนี หรือ มดลูกของ “เจ้าแม่” แห่งจักรวาลที่จะ ก่อเกิดสิ่งมีชีวิตทั้งต้นไม้และส�่ำสัตว์นานา รวมทั้งแร่ธาตุและอาหาร ทั้งปวง ในขณะที่ท้องฟ้า คือ “เจ้าพ่อ” แห่งจักรวาล ที่จะต้องหลั่ง ฝน หรือเชือ้ ชีวติ (ในคัมภีรพ์ ระเวทเรียกว่า เรตัส ซึง่ หมายถึงเชือ้ ชีวติ หรืออสุจ)ิ ลงมายังให้เจ้าแม่ทรงครรภ์ พืชพรรณทัง้ ปวงจึงจะงอกงาม และสัตว์ทงั้ หลายจึงจะเกิดได้ กระบวนการตามธรรมชาติจงึ ถูกเข้าใจ ในฐานะ “การร่วมเพศระดับจักรวาล” ของเจ้าพ่อฟ้าและเจ้าแม่ดิน ความคิดนีเ้ ป็นความคิดทัว่ ไปของมนุษย์โบราณทัง้ หลาย แต่ในอินเดีย ความคิดดังกล่าวได้รับการถ่ายทอดจดจารในคัมภีร์พระเวทอีกด้วย การบูชา “เสา” หรือ “หินตั้ง” จึงเกิดขึ้นเพื่อย่นย่อเอารูปลึงค์ แห่งเจ้าพ่อฟ้าไว้เพื่อบูชาโดยใกล้ชิด การบูชาเสา หินตั้ง หรือรูปลึงค์ นี้จึงพบได้ทั่วไปในอินเดีย และในที่สุดเสานี้จะพัฒนามาเป็น การ บูชา “ศิวลึงค์” ศิวลึงค์ ลึงค์ที่ตั้งขึ้น

ศิวลึงค์เข้าใจกันโดยทัว่ ไปว่า คือรูปลึงค์ของพระศิวะ ซึง่ ประกอบด้วย สองส่วนที่ส�ำคัญ คือส่วนของลึงค์ และโยนี หรือส่วนฐานที่หมายถึง อวัยวะเพศหญิง นักวิชาการบางท่านว่า เดิมคือการบูชาเสาพระจันทร์ (พระศิวะมักเกี่ยวข้องกับพระจันทร์ ในขณะที่พระวิษณุเกี่ยวกับ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

301


ภาพ เทวรูป ลกุลิศ (Lakulisha) หรืออวตาร หนึ่งของพระศิวะ ผู้ตั้ง นิกายปศุปตั โปรดสังเกต อวั ย วะเพศที่ “ถอก” และตั้ ง ขึ้ น รู ป สลั ก หิ น ค ริ ส ต ศ ต ว ร ร ษ ที่ 7 ปัจจุบนั อยูใ่ นความครอบ ครองของ บริตชิ มิวเซียม (ภาพจากhttp://dharma-beads.net/lakulisha-shiva-sculpture )

302

พระอาทิตย์) กระนั้นก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า ศิวลึงค์นั้น จ�ำลอง ทั้งรูปอวัยวะเพศชายและหญิงเข้าไว้ด้วยกัน ส่วนพระศิวะในฐานะ เทพเจ้าส�ำคัญมีความน่าสนใจคือ พระองค์เป็นโยคี พระองค์มักจะ เปลือยกายหรือนุ่งห่มหนังสัตว์ มักท�ำสมาธิและใช้ขี้เถ้าจากการเผา ศพทาตัว เร่ร่อนไปตามป่าช้า พระองค์มีพระนามหนึ่งที่น่าสนใจ คือ อูรฺธวลิงคํ แปลว่า “ผู้มี ลึงค์ชี้ข้ึน” หากเราดูจากการศิวลึงค์ และรูปเคารพที่เกี่ยวเนื่องด้วย พระศิวะ เช่น พระไภรวะ(พระศิวะในปางที่ดุร้าย) หรือ ลกุลิศ (เชื่อ กันว่าเป็นก่อตั้งนิกายปศุปัต และเป็นพระศิวะอวตาร) จะเห็นรูป เหล่านี้มีลึงค์ที่ “ตั้งขึ้น” คือชี้ขึ้นบนฟ้า ลึงค์ที่ตั้งขึ้นนี้น่าจะหมายถึง อวัยวะเพศที่ “แข็งตัว”แล้ว นั่นเอง และหากสังเกตดูจากรูปเคารพ และศิวลึงค์ จะเห็นว่า ไม่เพียงแต่แข็งตัวเท่านั้น ยัง “ถอก” หรือ ไม่มีหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศด้วย การแข็งตัวตั้งขึ้นและถอก มีนัย ของความพร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์ หรือความพร้อมที่จะสัมพันธ์กับ พลังงานของเพศหญิง ศิวลึงค์ทั้งหมด ที่หมายถึงทั้งส่วนศิวลึงค์และฐานโยนิ จึงเป็นรูป อวัยเพศทีแ่ ข็งตัวตัง้ ขึน้ เสียบแทงเข้าไปในอวัยวะเพศหญิงในลักษณะ ทีเ่ พศชายนอนหงายลง ส่วนเพศหญิงอยูด่ า้ นบน ทีเ่ รียกกันในท่าร่วม เพศว่า wot หรือ women on top ห้องที่ประดิษฐานศิวลึงค์นี้จึงถูก เรียกว่า ห้องครรภคฤหะ ซึ่งหมายถึง ห้องท้องหรือ ครรภ์หรือมดลูก นั่นเอง ห้องนี้จึงนับถือกันว่าเป็นส่วนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของเทวสถาน

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


แม้จะไม่ได้ประดิษฐานศิวลึงค์ แต่ประดิษฐานเทวะอื่นๆ ก็ยังเรียกว่า ครรภคฤหะเช่นเดิม การเข้าไปสักการะภายในครรภคฤหะทีม่ กั จะมืด มิด จึงเปรียบดังการกลับเข้าไปสูค่ รรภ์แห่งมารดาของจักรวาลในขณะ ที่ก�ำลังปฏิสนธิ และกลับออกมาสู่ชีวิตใหม่ ในศาสนาโบราณ สัญลักษณ์ของการขึ้นอยู่ด้านบนยังมีนัยถึง ความเหนือกว่า การควบคุมหรือการมีอำ� นาจเหนือ แม้การบูชาศิวลึงค์ จะดูเหมือนกับการบูชาเพศชาย แต่จริงๆ แล้วเป็นการบูชาทัง้ สองเพศ รวมกัน ศาสนาโบราณของอินเดียได้ให้ความส�ำคัญกับ เพศหญิง หรือ มีลกั ษณะแบบศาสนาของผูห้ ญิง เพศหญิงจึงเปีย่ มไปด้วยพลังอ�ำนาจ (ศักติ) และความลึกลับนานาประการ รูปเคารพของพระเทวีพนื้ เมือง เช่น กาลี จึงมักอยู่ในรูปขึ้นคร่อมพระศิวะในท่าร่วมเพศ (ท่า wot) หรือ ยืนเหยียบเหนือพระศิวะอย่างมีชยั (ซึง่ จะถูกเทวต�ำนานบิดเบือน ความหมายไปเป็นอืน่ ) ในเวลาต่อมาเมือ่ ศาสนาของเพศชายก่อตัวขึน้ ก็จะสร้างรูปพระศิวะร่ายร�ำเหนือยักษ์แคระเรียกว่า อปัสมารา ซึง่ นัก วิชาการบางท่านอย่าง ไมเคิล ไรท์ เห็นว่า นี่คือ รูปเคารพปลอมของ รูปเจ้าแม่นั่นเอง เพื่อสะท้อนภาวะที่มีชัยเหนือเพศหญิง ในทัศนะอินเดียโบราณ ศาสนาฮินดู (ซึง่ ได้รบั อิทธิพลของศาสนา พื้นเมืองหรือศาสนาก่อนประวัติศาสตร์) เป็นศาสนาที่เน้นชีวิตทาง โลก ความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ ปศุสัตว์และลูกหลาน ในพระเวท ยุคแรกๆ ยังไม่ค่อยมีการเน้นความส�ำคัญของการหลุดพ้น แต่เน้น ความส�ำคัญของชีวิตในโลกนี้ เป้าหมายของชีวิตมนุษย์จึงมีเพียง

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

ศิ ว ลึ ง ค์ ป ระดิ ษ ฐาน ใน “ครรภคฤหะ” หรือห้อง มดลูก ซึ่งถือเป็นส่วนที่ ส�ำคัญที่สุดของเทวสถาน ดุ จ เพศชายนอนหงาย ช� ำ แรกอวั ย วะเข้ า ไปใน มดลูกของเพศหญิง ภาพ จาก www.columbia. edu

303


อรรถะ –ทรัพย์สินเงินทองข้าวของ กามะ- ความสุขทางประสาท สัมผัสและเรือ่ งเพศ และธรรมะหรือหน้าทีต่ ามศาสนา แม้กระแสของ การสละโลกจะมีอยูบ่ า้ งแล้วมาแต่โบราณ แต่เมือ่ เกิดศาสนาแบบพรต นิยม โดยเฉพาะพุทธศาสนาอิทธิพลความคิดเรื่องการสละโลก จะ กลายเป็นแนวคิดหลักของทุกศาสนาในอินเดีย รู ป แ ก ะ ส ลั ก พ ร ะ ชิ น เ จ ้ า อ ง ค ์ ห นึ่ ง ข อ ง ศาสนาไชนะ พระนาม “โคตเมศวร” แสดง “พระคุยหะ” แบบเดียว กับที่ระบุในมหาปุริสลัก ษณะของพระพุ ท ธเจ้ า คื อ อยู ่ ใ นฝั ก อายุ ร าว คริสตศตวรรษที่ 10 รูป นี้อยู่ที่เมืองศราวณเพลา โคลา ห่างจากบังกาลอร์ 142 กิ โ ลเมตร (ภาพ จากen.wikipedia.org)

304

ชินลึงค์และพุทธคุยหะ ลึงค์ที่โน้มลง

ศาสนาพุทธและศาสนาไชนะหรือเชน ก่อก�ำเนิดในเวลาไล่เลี่ยกัน มี ความคล้ายคลึงกันตรงที่เป็นศาสนาที่มาจากกระแส “สมณะ” ซึ่งเป็น กลุม่ ทีใ่ ห้ความส�ำคัญของการบวชสละโลก เป็นศาสนาแบบ “พรตนิยม” ทั้งพระพุทธเจ้าและพระชินเจ้า (พระตีรถังกร) ของไชนะต่างพยายาม เอาชนะอ�ำนาจของความเชื่อเดิมที่มี “เจ้าแม่” แห่งธรรมชาติและเจ้า พ่อเป็นศูนย์กลาง ไปสู่การย้อนคืนสู่มนุษยนิยม มองเห็นวัฏของการ เวียนเกิดตาย และการสยบยอมต่ออ�ำนาจนอกตัวเช่นนัน้ ว่าเป็นเรือ่ งพึง หลีกเลี่ยง การร่วมเพศระดับจักรวาลที่น�ำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ ไม่ใช่สิ่งที่พึงสักการะและยกย่องอีกต่อไป ดังนั้นทั้งพระพุทธเจ้าและ พระชินเจ้า จึงปฏิเสธทีจ่ ะให้มนุษย์ใช้ชวี ติ ทางโลกทีส่ มั พันธ์กบั เรือ่ งเพศ เพื่อมุ่งไปสู่ความหลุดพ้นอันเป็นเป้าหมายสูงสุด สั ญ ลั ก ษณ์ ที่ ป รากฏในรู ป เคารพของทั้ ง พระพุ ท ธเจ้ า และ พระชินเจ้า จึงตรงกันข้ามกับสัญลักษณ์เดิมในศาสนาโบราณและ

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ศาสนาฮิ น ดู ข องอิ น เดี ย ในพระสู ต รบ่ ง ถึ ง พระมหาปุ ริ ส ลั ก ษณะ ประการหนึ่งใน 32 ประการของพระพุทธเจ้า คือมี “พระคุยหะอยู่ ในฝัก” หมายถึงมีอวัยวะเพศที่มีหนังหุ้มอยู่ “ไม่ถอก” ถ้าไปดูใน รูปเคารพทั้งหลายของพระชินเจ้า (ที่มีความคล้ายคลึงพระพุทธรูป มาก) จะเห็นลักษณะแบบเดียวกับที่บรรยายไว้ในมหาปุริสลักษณะ นอกจากจะอยูใ่ นฝัก แล้วยังน้อมลงด้วย ซึง่ เข้าใจแบบง่ายๆ ว่า การที่ ไม่ถอกและน้อมลงนัน้ ก็คอื อวัยวะเพศทีไ่ ม่ “แข็งตัว” นัน่ เอง สะท้อน ความไม่ไยดีต่อโลก ตัณหาราคะ และละทิ้งการร่วมเพศ เท่ากับได้ ละทิ้งเป้าหมายของชีวิตเดิมของฮินดูคือกามะ (ซึ่งเป็นส่วนที่ขาดไม่ ได้ของการมีชีวิตที่พรั่งพร้อมด้วยความสุขทางเพศ ความสมบูรณ์ ของพืชพรรณ ลูกหลาน ปศุสัตว์) อันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ดี สัญญะแห่งพุทธคุยหะและชินลึงค์จึงแตกต่างกับที่ปรากฏในศิวลึงค์ ในศาสนาฮินดู เพราะมีเป้าหมายของชีวติ และการเข้าใจโลกทีต่ า่ งกัน อูรธวเรตัส ชูขึ้นเพื่อจะไม่หลั่ง และความสับสนของเพศชาย

ย้อนกลับมาที่ศาสนาโบราณของอินเดีย แม้ว่าศาสนาดั้งเดิมของ อินเดียจะมุ่งเน้นความอุดมสมบูรณ์ จึงใช้สัญญะทางเพศดังที่กล่าว มาแล้วข้างต้น ที่จริงแล้วศาสนาแบบนี้มักเป็น “ศาสนาของผู้หญิง” หรือศาสนา “เจ้าแม่” ตัว ศิวลึงค์แม้จะสะท้อนการรวมกันของทั้ง เพศชายและหญิง แต่อันที่จริง ในศาสนาโบราณบทบาทของพระเจ้า

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

305


พระศิ ว ะ ศิ ล ปะเนปาล คริ ส ตศตวรรษที่ 17 ก า ฏ มั ณ ฑุ ป ร ะ เ ท ศ เนปาล สังเกตอวัยวะที่ชี้ ขึ้น ภาพจาก creative. sulekha.com

306

ผู้สรรค์สร้างคือเพศหญิงมากกว่า เทพแห่งความสมบูรณ์จึงเป็นเพศ หญิง แม่น้�ำและแผ่นดินจึงเป็น “แม่” แม้ว่าเรตัสหรือเชื้อชีวิตเป็น ของเพศชายก็จริง แต่การก่อก�ำเนิดเป็นสิทธิขาดของผูห้ ญิงเท่านัน้ ใน บทความนีไ้ ม่ได้กล่าวถึงความส�ำคัญของสัญญะเพศหญิงมากนัก (ด้วย ไม่ใช่วัตถุประสงค์ส�ำคัญของงานชิ้นนี้) ทั้งๆ ที่มีบทบาทและมีความ ซับซ้อนมากกว่าสัญญะในฝ่ายชายเสียอีก ในทางหนึง่ การกลับไปกลับ มาของความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆในศาสนา จึงสะท้อนความ พยายามเปลี่ยนแปลงอ�ำนาจจากเพศหนึ่งสู่เพศหนึ่ง สะท้อนความ สับสนของเป้าหมายชีวติ และสะท้อนความเปลีย่ นแปลงแห่งยุคสมัย การที่สัญลักษณ์อวัยเพศชายที่ชี้ขึ้น นอกจากจะสะท้อนความ สนใจและเป้าหมายของชีวิตทางโลกแล้ว บางครั้งยังมีการตีความ หมายถึง “การไม่ยอมหลั่ง” อีกด้วย เมื่อเพศชายปรารถนาจะเลิกอยู่ใต้อาณัติของศาสนาแบบที่มี ผูห้ ญิงเป็นใหญ่ ความคิดแบบพรต ทีห่ มายถึงการงดเว้นกิจกรรมทาง เพศจึงเกิดขึ้น ศาสนาแบบผู้หญิงไม่สอนให้งดเว้นทางเพศ เพราะ ขัดกับธรรมชาติ นักวิเคราะห์เห็นว่า เพราะเพศหญิง มีการตกไข่ที่ สม�่ำเสมอ มีประจ�ำเดือนที่หลั่งออกอย่างสม�่ำเสมอ ไม่สามารถห้าม หรือกลั้นไม่ให้ตกไข่และมีประจ�ำเดือนได้ พลังงานทางเพศของผู้ หญิงจึงเป็นไปตามธรรมชาติ ตามโลกภายนอก เพศหญิงจึงผูกพันกับ แผ่นดินและชีวิตทางโลก พลังงานของเพศหญิงจึงเป็นอิสระ ในขณะ เดียวกันเมื่อไม่สามารถปิดกั้นได้จึงขยายไปทุกทิศทาง เป็นสิ่งที่ทรง

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


พลังและน่ากลัวไปพร้อมๆ กัน พระแม่ในศาสนาโบราณจึงสะท้อน ภาวะตามธรรมชาติเช่นนี้ ในขณะที่เพศชายกลับเป็นเพศที่สามารถ บังคับไม่ให้อสุจิหลั่งได้ ถ้าไม่ประกอบกิจกรรมทางเพศหรืออดกลั้น ไว้ การบังคับพลังงานทางเพศจึงเป็นสิง่ ทีเ่ พศชายเท่านัน้ กระท�ำ การ งดเว้นกิจกรรมทางเพศจึงถือก�ำเนิดจากศาสนาแบบผูช้ าย พระศิวะจึง มีพระวรกายทาด้วยขี้เถ้า ซึ่งหมายถึงความตายของสิ่งต่างๆ ในขณะ ทีเ่ จ้าแม่ถกู แต้มเจิมด้วยสีแดง ซึง่ หมายถึงเลือด ประจ�ำเดือน คือชีวติ นักบวชชายได้สถาปนาสถาบันนักบวชทีส่ ละกิจกรรมทางเพศ ในขณะ ทีน่ กั บวชหญิงในศาสนาโบราณยังคงอยูก่ บั พลังงานทางเพศและความ สมบูรณ์ (นักบวชหญิงที่สละโลก เกิดจากการยอมรับผู้หญิงเข้าไปใน สถาบันนักบวชผู้ชายที่มีอยู่แล้ว) ลึงค์ทชี่ ขู นึ้ นัน้ ในทางกลับกันอาจตีความถึงการไม่ยอมให้อสุจหิ ลัง่ หรือเรียกว่า “อูรธฺ วเรตสฺ” แปลว่า เรตัสหรือเชือ้ ชีวติ ที่ (เคลือ่ นที)่ ขึน้ ด้านบน หมายถึงการอดกลัน้ และท�ำให้อสุจไิ ม่ไหลนัน่ เอง การอดกลัน้ ทางเพศในศาสนาแบบผูช้ าย จึงเป็นการหนีออกจากการครอบง�ำของ ศาสนาแบบผู้หญิง การอดกลั้นทางเพศจึงกลายเป็นความหมายหลัก ของชีวิตทางศาสนาของผู้ชายทั้งหมดในปัจจุบัน ในทางหนึง่ เพศชายอยากจะสัมพันธ์กบั โลกและเพศหญิง ลึงค์อนั แข็งตัวนัน้ อยากจะช�ำแรกไปในครรโภทรแห่งเจ้าแม่ ในขณะเดียวกัน ก็อยากจะทะยานขึ้นสู่ฟ้า เป็นอิสระเหนือเจ้าแม่ และสละโลกนี้ไป อย่างไม่ไยดี พระศิวะจึงเป็นบรมโยคีที่เข้าสมาธิอย่างเงียบเชียบ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

ภาพเจ้าแม่กาลีขึ้นคร่อม อยู ่ เ หนื อ พระศิ ว ะในท่ า ร่ ว มเพศ ภาพเขี ย นสี ค ริ ส ต ศ ต ว ร ร ษ ที่ 1 8 ปัจจุบนั อยูใ่ นความครอบ ครองของมหาวิ ท ยาลั ย มิชิแกน ภาพจาก https://artstor. wordpress.com /2014/05/28/findingthe-phenomenalwomen-in-fine-art/

307


เป็นผู้ฆ่ากามเทพ ในขณะเดียวกันพระองค์คือ พระ “กาเมศวร” พระเป็นเจ้าแห่งความปรารถนา ผู้เริงกรีฑาแห่งความรักอยู่เสมอ ยับยุม วัชรยานกับความเท่าเทียม

ภาพพุทธวัชรธรในปาง “ยั บ ยุ ม ” ศิ ล ปะพุ ท ธ ศาสนาวั ช รยานแบบ ทิเบต ภาพจาก fineartamerica.com

308

พุทธศาสนาสายวัชรยาน ได้ใช้เทคนิคที่เรียกว่า “ตันตระ” ตันตระ เป็นวิถดี งั้ เดิมของชาวบ้านก่อนการก่อรูปของศาสนาต่างๆ ในปัจจุบนั ตันตระมีในทัง้ ฮินดูและพุทธศาสนา เป็นวิธกี ารเพือ่ จะน�ำไปสูพ่ ลังตาม ธรรมชาติแบบดัง้ เดิมทีส่ ดุ ของมนุษย์ จึงส�ำแดงออกในรูปเทคนิคเพือ่ เข้าถึงพลังทีม่ คี ณ ุ สมบัตติ า่ งๆ และธรรมชาติของจิต เช่นการใช้ปราณ กระตุน้ จักระ การใช้จนิ ตภาพ มนตร์ อุปกรณ์ศาสนพิธี หรือแม้แต่การ ใช้ “เพศสัมพันธ์” เข้ามาเกี่ยวข้อง สัญลักษณ์ของตันตระจึงมีความหมายหลายนัยหรือมีลักษณะ ที่ดูจะ “ล่อแหลม” ชวนสับสนส�ำหรับคนทั่วไป เช่นในพุทธศาสนา ฝ่ายวัชรยานมีการใช้สัญลักษณ์การรวมกันหรือท่า “ร่วมเพศ”ของ พระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์บุรุษและสตรีที่เรียกว่า “ยับยุม” แบบ เดียวกับทีใ่ ช้ในฮินดูตนั ตระ ยับบยุมนีถ้ กู อธิบายในทางธรรมในฐานะ การรวมกันระหว่างปัญญาและกรุณา เป็นต้นธารต้นธรรมคืออาทิ พุทธและอาทิธรรม และยังมีความหมายในทางลับที่เกี่ยวข้องกับ ประสบการณ์ในสมาธิขั้นสูง แม้วา่ ยับยุมจะมีลกั ษณะคล้ายท่าการร่วมเพศของเทวะและศักติ

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ในศาสนาฮินดู แต่ผู้เขียนมีข้อสังเกตเล็กๆ เกี่ยวกับรูปยับยุมในพุทธ ศาสนาวัชรยานอยูต่ รงทีท่ า่ ทางของการรวมกันของพระพุทธเจ้าและ พระโพธิสตั ว์สตรีนนั้ อยูใ่ นลักษณะ ต่างก็นงั่ ขัดสมาธิกอดกระหวัดกัน โดยร่างกายตัง้ ตรงและหันหน้าเข้าหากันทัง้ คู่ ซึง่ น่าจะแสดงถึงความ “เท่าเทียมกัน” (แม้ว่าถ้าสังเกตโดยละเอียดจะเห็นว่า พระโพธิสัตว์ สตรีนั่งบนตักพระโพธิสัตว์บุรุษเล็กน้อย แต่โดยการวางท่าแล้วทั้ง สองต่างก็นั่งหลังตรงทั้งคู่) อาจมีค�ำอธิบายอย่างอื่นเช่น ท่าเหล่านี้ อาจแสดงถึงหลักโยคะลึกลับที่เมื่อบ�ำเพ็ญภาวนาหรือประกอบกิจ ทางเพศ พลังต่างๆ จะเคลื่อนจากจักระล่างสุดบริเวณก้นกบ ขึ้นไป สู่จักระบนสุด คือบริเวณเหนือกระหม่อม ท่าของพระพุทธเจ้าจึงต้อง เป็นเช่นนัน้ แต่อาจเป็นไปได้วา่ โดยหลักของพุทธศาสนาแล้ว การจะ บรรลุความจริงขัน้ สูงสุดจะต้องผสานภาวะคูใ่ ห้เข้ากัน สนิทแนบแน่น เป็นเนื้อเดียวกัน ผู้ชายจึงไม่ได้ยิ่งใหญ่กว่าหญิง และหญิงก็ไม่ได้เหนือกว่าชาย ไม่ มี พ ระเจ้ า ข้ า งนอกที่ แ บ่ ง ออกเป็ น แผ่ น ดิ น และท้ อ งฟ้ า ทุ ก ๆ ประสบการณ์ลว้ นน�ำไปสูค่ วามหลุดพ้น พระโพธิสตั ว์สตรีคอื ผูช้ ว่ ยให้ บุรุษตรัสรู้ ท่า wot หญิงเหนือบุรุษแบบเดียวกับที่ปรากฏในเทวรูป ตันตระของฮินดูจงึ ไม่ใช่ทา่ ทีส่ ะท้อนภาวะค�ำสอนทีแ่ ท้จริงของตันตระ แบบพุทธศาสนา

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

309


310

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/ Essay /

Mr. Grey (50 Shades of Grey)

กับการเป็นภาพตัวแทนแก่มวลมนุษยชาติที่ถูกกักขังภายในกรงที่มองไม่เห็น

ชวิศา มณีโกศล ปรีชภักดิ์ ทีคาสุขวิทย์

ใน

ช่วงของกระแสความโรแมนติกภายใต้ความสุขทางกามารมณ์ จากภาพยนตร์ชื่อดัง Fifty Shades of Grey (2015) ที่มีข่าว เกีย่ วกับผลกระทบด้านลบตามออกมา หลากหลายกรณี จนเกิดเสียง วิพากษ์วิจารณ์ขึ้น ถึงเนื้อหาของภาพยนตร์ดังกล่าว ที่ได้เสนอภาพ และฉากอันไม่เหมาะสม ที่เหล่าผู้ใหญ่หลายๆ คนได้พยายามจะปิด กั้นหรือพยายามป้องกันมิให้บุตรหลานของตนที่ยังอยู่ในสถานะของ ความเป็นเยาวชนได้รับชมกัน ด้วยสาเหตุของวิธีคิดแบบจารีตนิยม ที่ถูกปลูกฝังมาสมัยก่อตั้งรัฐชาติสมัยใหม่ไทย ทว่าสิ่งที่เหล่าผู้ใหญ่หรือกลุ่มคนที่พยายามกล่าวอ้างว่าตนนั้น เป็นผู้มีวุฒิภาวะและเป็นผู้อยู่ในจารีตเพียงพอที่จะไม่หลงเข้าไปดู ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าว (ซึ่งบางรายก็อาจจะไม่ชอบใจ หรืออาจเห็น ว่าเป็นภาพยนตร์ทมี่ เี นือ้ หาอีโรติก ไร้สาระ) นัน้ ในอีกแง่มมุ หนึง่ อาจ เป็นภาพยนตร์ทเี่ ป็นการฉายภาพสะท้อนกลับมาให้เห็นถึงความเป็น จริงของสังคมของมนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่คนทั่วไปมองว่าไร้

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

311


สาระก็เป็นได้ จากเนือ้ เรือ่ งทีภ่ าพยนตร์กำ� ลังพยายามสือ่ ออกมาถึงรูป แบบชีวิตของ Mr. Grey หรือ Christian Grey เป็นหลักที่ได้มีโอกาส ไปเชื่อมต่อมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับ Anastasia หรือ Anastasia Steele นักศึกษาสาขาวิชาวรรณกรรมศึกษา ที่มาขอสัมภาษณ์กับ Mr Grey ถึงสถานที่ท�ำงาน และเรื่องราวความโรแมนติกและกิจกรรมแห่ง กามารมณ์ของทั้งสองก็ได้เริ่มบรรเลงขึ้น ในไม่กี่ฉากถัดมา เพื่อไม่ให้เป็นการเปิดเผยถึงเนื้อเรื่องของภาพยนตร์(Spoil) ส�ำหรับคนที่ยังไม่ได้รับชม จึงขออนุญาตพยายามจ�ำกัดการกล่าวถึง ตัวเนื้อเรื่องให้มากที่สุด หลังจากที่ทางผู้เขียนได้รับชมภาพยนตร์ดังกล่าวไป ก็เกิดเอะใจ ขึ้นมาถึงเนื้อเรื่องและความเป็นไปของกิจกรรมภายในชีวิตของ Mr. Grey ผู้ร�่ำรวยและมีงานอดิเรกที่ค่อนข้างแปลกและไม่เหมือนใคร สักเท่าไรนัน้ ช่างเหมือนกับค�ำอธิบายของ Lacan (Jacques Lacan) ที่เป็นนักคิดสายจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ชื่อดัง ที่เสนอถึง การถูกกักขังอยู่ในโลกของภาษา หรือ สัญญะของมนุษย์จากการ ถูกตอน (Castration) ออกจากภาวะของความสมบูรณ์แบบในวัย เด็ก (Dissolution of Identity) ซึ่งการตอน (การตอนในที่นี้ไม่ใช่ การ ‘ตอน’ แบบทีค่ นทัว่ ไปเข้าใจกัน แต่เป็นการตอนในลักษณะของ นามธรรม) คือกรรมวิธสี ำ� คัญทีจ่ ะท�ำให้มนุษย์ นัน้ สูญเสียตัวตนดัง้ เดิม ของตนเองไปในช่วงทีย่ งั ไม่ได้เข้าสูร่ ะบบสัญญะ เนือ่ งจากในวันเวลา ที่มนุษย์ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบสัญญะ หรือ ภาษา เช่น วัยของทารกนั้น

312

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


มนุษย์จะสามารถท�ำการสือ่ สารได้อย่างเต็มที่ และสามารถทีจ่ ะแสดง ความปรารถนาของตนออกมาได้อย่างไร้ขีดจ�ำกัด แต่เมื่อมนุษย์เริ่มเข้าสู่ระบบสัญญะ หรือ ภาษา (หรือก็คือ การ ขัดเกลาทางสังคมจนสามารถมีการตระหนักรู้ในข้อห้าม ในสิ่งต่างๆ รอบตัวแล้ว ก็จะเกิดการยับยัง้ ชัง่ ใจ และละทิง้ ความคิดดัง้ เดิมในช่วง ทีป่ ล่อยให้จติ ไร้สำ� นึกควบคุมในขณะอยูใ่ นวัยเด็กไป) ซึง่ Lacan เรียก มันว่า การตอนให้เข้าสู่ระบบสัญญะ (Symbolic Castration) กล่าว คือ เป็นการตอนที่ลดทอนสภาวะอันสมบูรณ์ของมนุษย์ในช่วงทารก ให้ไปสู่ความเป็นมนุษย์ธรรมดาในโลกของระบบสัญญะและภาษา เพื่อให้สามารถที่จะเข้าไปอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ และเมื่อมนุษย์เข้ามาอยู่ในโลกแห่งสัญญะและภาษาแล้ว หรือ พูดตามปกติก็คือ การเข้ามาอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ในโลกที่จะต้อง มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในพื้นที่สาธารณะแล้ว มนุษย์ก็จะไม่ สามารถออกจากระบบสัญญะและภาษาได้ เนือ่ งจากภาษาและระบบ สัญญะ ทีม่ นุษย์ได้เข้าไปอาศัยอยูน่ ี้ จะกลายมาเป็นกรงขังทีม่ นุษย์ไม่ สามารถจะหลุดออกไปได้อีก ขอให้ลองจินตนาการดูถึงเวลาที่มนุษย์ เราได้เติบโตขึ้นมาแบบมนุษย์แล้ว (มิใช่แบบเมาคลี ลูกหมาป่า) เมื่อ มนุษย์เรียนรูท้ จี่ ะใช้ภาษามนุษย์ เรียนรูท้ จี่ ะใช้ชวี ติ แบบมนุษย์จนเกิด ความเคยชินแล้ว การที่เราจะกลับไปมีพฤติกรรมคล้ายเด็กทารกใน สภาวะแรกเกิดนั้น จะท�ำได้หรือไม่ มนุษย์ที่เจริญเติบโตมาในสังคม มนุษย์ สังคมอารยธรรม สังคมวัฒนธรรม จนเห็นทุกสิ่งเป็นความ

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

313


เคยชินแล้ว จะสามารถกลับไปใช้การร้อง การใช้เสียง เพื่อเรียกร้อง ความสนใจคล้ายทารก ที่ไร้ซึ่งภาษา หรือ ระบบสัญญะ ได้หรือไม่ ด้วยความที่มนุษย์ถูกกักขังอยู่ในกรงของภาษาเช่นนี้ สิ่งที่ตาม มนุษย์มาด้วยคือ ความรู้สึกในการขาดอะไรบางอย่างไป อันจ�ำเป็น จะต้องสรรหาวัตถุแห่งความปรารถนามาเพือ่ ปรนเปรอ หรือเติมเต็ม ให้แก่จิตไร้ส�ำนึกของตนเอง (ซึ่งไม่มีวันจะเต็มได้) และความขาดกับ ความปรารถนาก็จะน�ำมนุษย์ไปสู่การสร้างโลกแฟนตาซี หรือโลก สมมติขึ้นมา ที่ตนจะท�ำสิ่งใดก็ได้ เพื่อเติมเต็มให้แก่ความขาดของ ตน จากสาเหตุที่พวกเขา [มนุษย์] ไม่สามารถที่จะหลุดออกไปจาก กรงขังของระบบสัญญะและภาษาได้ การสร้างโลกแฟนตาซีจึงเป็น หนทางสุดท้ายที่พวกเขาจะท�ำได้ เพื่อลดพลังและแรงปรารถนาอัน มาจากความรู้สึกขาด (lack) ของตน หากย้อนกลับมาดูที่ Mr. Grey แล้ว จะเห็นได้ว่าเขานั้น มิได้ แตกต่างไปจากมนุษย์ธรรมดาทั่วไป แต่อย่างใดเลย แม้ว่าเขาจะมี ลักษณะนิสัย และพฤติกรรมบางอย่างที่ผิดแผกไปจากคนส่วนใหญ่ ตามทีห่ ลายๆ คนเข้าใจ แต่นนั้ ก็คอื รสนิยมของเขา หรือถ้าพูดในแนว ของ Lacan ก็คือ เขามีโลกแฟนตาซีที่แตกต่างจากผู้อื่น ผันแปรไป ตามลักษณะความปรารถนาของเขา และการถูกกระท�ำในวัยเด็ก ด้วย ‘พฤติกรรมบางอย่าง’ จากคนใกล้ชิดนั้นเองที่หมายถึงการถูก ตอนเพื่อเข้าไปสู่ระบบสัญญะ และภาษา ของมนุษย์ ซึ่งส�ำหรับ Mr. Grey เมื่อเขาเข้าสู่โลกของสัญญะ เขาก็ไม่สามารถที่จะกลับไปเป็น

314

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


คนเดิมในวัยเด็กได้อีก จากกรงขังที่กักขังจองจ�ำตัวเขาไว้ เหมือนดั่ง การที่เรา [มนุษย์ปกติทั่วไป] นั้นไม่สามารถที่จะปลดแอกตนเองออก จากพันธนาการให้ไปสูก่ ารเป็น Ubermensch หรือ Superman หรือ Overman ได้ จากการถูกกักขังอยู่ในสถานะของความเป็นมนุษย์ที่ จะคอยออกค�ำสั่งหรือคอยบอก คอยเตือนว่าเราสามารถท�ำอะไรได้ บ้าง และไม่สามารถท�ำอะไรที่มันเกินขอบเขตได้บ้าง ซึ่งก็ไม่ต่างจาก พฤติกรรมของ Mr. Grey ในฐานะที่ถูกจองจ�ำอยู่ในงานอดิเรกสุด แปลกของเขา (จากมุมมองของ Anastasia) ก็ไม่สามารถปลดแอก ตนเองออกจากระบบสัญญะหรือภาษา ทีค่ อยเป็นกรงขังทีไ่ ม่สามารถ มองเห็นได้ให้แก่ Mr. Grey นั่นเอง จะเห็นว่าความคิดส�ำคัญที่ภาพยนตร์ 50 Shades of Grey สามารถสื่ อ ออกมาได้ นี้ ถื อ เป็ น คุ ณ สมบั ติ ที่ น ่ า ค้ น หาชิ้ น หนึ่ ง ที่ ภาพยนตร์แนวอีโรติคเรือ่ งหนึง่ จะสามารถสือ่ ออกมาได้ ซึง่ ถือเป็นการ สามารถลบค�ำครหาต่างๆ ทีส่ อื่ หรือเหล่าผูท้ ยี่ นื ยันว่าตนเองเป็นผูใ้ หญ่ เคยกล่าวไว้อย่างเสียๆ หายๆ ก่อนหน้า เกี่ยวกับตัวเนื้อหาและรูป แบบของภาพยนตร์

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

315


/ Poem /

ผู้ร่อนเร่พเนจร / ซะการีย์ยา อมตยา / ข้ามิอาจยืนเบื้องหน้าท่าน และอ้างว่าข้าไร้ซึ่งบาป ข้ามิปรารถนาสิ่งใดจากท่าน นอกจากให้ท่านรับฟัง เรื่องราวเล่าเรื่องชีวิตของข้า ผู้ร่อนเร่พเนจรในโลกของท่าน ข้าต่อสู้กับตัวข้าเอง เพื่อข้าจะได้เป็นตนเอง ไม่เป็นเหมือนท่าน หรือเป็นมนุษย์สมบูรณ์ อย่างที่ท่านอยากให้ข้าเป็น ข้ามีสิทธิ์ในตัวเองหรือเปล่า ข้าไม่รู้ เพียงรู้ว่า เมื่อข้าก�ำเนิดมา ท่านได้มอบเจตจ�ำนงเสรี ให้ความคิดอ่าน

316

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ให้ข้าได้โลดแล่น เดินทางท่องเที่ยวไปในโลกกว้าง วิ่งเล่นเหมือนสายลมในทุ่งหญ้า อิสระดั่งสายน�้ำในล�ำธาร ไหลไปบรรจบกับแม่น�้ำ เพื่อกลายเป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทร ข้าไม่รู้ กาลเวลาคืออันใด ไม่ใช่นาฬิกาที่ข้อมือหรือที่ผนัง และไม่ใช่ปฏิทินข้างฝา ทว่าข้ารู้สึกถึงการมีอยู่ของเวลา เหมือนที่ข้ารู้ถึงการด�ำรงอยู่ของท่าน แม้ข้ามิอาจจินตนาการถึงท่านได้ ข้ามิอาจยืนเบื้องหน้าท่าน และอ้างว่าข้าไร้ซึ่งบาป


/

Poem

/

ชิ้นสุดท้าย / เขียนเงียบ / ต้องเริ่มต้นอย่างไร เมื่อการปิดฉากต้องสง่างาม การลาจากต้องน่าระลึกถึง แต่ที่ส�ำคัญที่สุด การจากไปต้องหมดจด ไม่ให้มีสิ่งใดค้างคา คงจะดี ถ้าสิ่งที่ตกค้างในหัวของคนที่อ่านมาจนถึงชิ้นสุดท้าย จนถึงบรรทัดนี้ จนถึงวินาทีนี้ หลงเหลือเพียงความว่างเปล่า ไม่อาลัยอาวรณ์ หวนไห้โหยหา หรือฟูมฟายถึงบทกวีชิ้นก่อนหน้า ถ้อยค�ำทั้งหลายกลายเป็นอดีตที่พร้อมจะถูกลืม

318

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ความหมายถูกกลบฝังโดยสมบูรณ์ แหลกละเอียดในอุ้งมือของความตาย เป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องยาก จะท�ำอย่างไรให้ความยิ่งใหญ่ ความสมบูรณ์แบบ หรือความเฉียบขาดทั้งหลายแหล่ ไม่ตามมาฉุดรั้งแข้งขาตัวหนังสือที่ก�ำลังก้าวลงมาในหน้ากระดาษ ไม่ตามมาตอกตรึงนิ้วมือที่ก�ำลังเคาะแป้นคีย์บอร์ด ไม่ตามมาหันเหความรูส้ กึ นึกคิดของคนทีก่ ำ� ลังเตาะไต่สายตามาถึงประโยคนี้ ราวกับว่าเป็นไปไม่ได้ จะขุดรากถอนโคนสิ่งที่แทงรากลึกในความทรงจ�ำ อดีตที่ก�ำลังแฝงตัวอยู่ในปัจจุบันและอนาคต ทุกอย่างกลมกลึงราวกับเป็นผลึกที่ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีจุดสิ้นสุด ไม่มีช่องว่าง ไม่มีช่องว่าง ไม่แน่

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

319


มันอาจจะมีทาง สักทางสองทาง แต่เป็นเพราะความอ่อนด้อยของเราเอง หรืออาจไม่ใช่ความอ่อนด้อย แต่เป็นความขี้ขลาด ทั้งคนเขียน คนอ่าน หวาดกลัวที่จะเผชิญหน้ากับความจริง ไม่เด็ดขาดพอที่จะยอมรับว่ามันจบลงไปแล้ว

320

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

321


322

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


/ Incipit /

โร

แบร์โต โบลาโญ่ (Roberto Bolaño) นักเขียน-กวี นักหนังสือพิมพ์ และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชาวชิลีเจ้าของรางวัลวรรณ กรรรม Rómulo Gallegos Prize ส�ำหรับนวนิยาย The Savage Detectives (Los detectives salvajes) และ National Book Critics Circle Award ส�ำหรับ 2666 นวนิยายเรื่องสุดสุดท้ายที่เขา เขียนทิ้งไว้ก่อนเสียชีวิตไม่นาน ความตายที่พรากชีวิตของโบลาโญ่ในวัย 50 ปีท�ำให้โลกวรรณกร รมหันสปอตไลท์สอ่ งไปทีผ่ ลงานจ�ำนวนมากของเขา ซึง่ นอกจากเรือ่ ง สั้นและนวนิยาย ก็ยังมีทั้งความเรียง และบทกวีอีกเป็นจ�ำนวนมาก โบลาโญ่ เป็นนักเขียนที่เกิดในครอบครัวที่มีพ่อเป็นคนขับรถ บรรทุก นักมวย และครูสอนหนังสือ เขาได้รบั การศึกษาเหมือนอย่าง ชนชัน้ กลางระดับล่างทัว่ ไป ด้วยทัง้ สายตาสัน้ อ่านออกเขียนได้ชา้ กว่า เด็กปกติ เขาจึงถูกเพือ่ นรังแกอยูบ่ อ่ ยครัง้ ด้วยความจ�ำเป็นบางอย่าง เขาและครอบครัวย้ายไปตัง้ ถิน่ ฐานทีเ่ ม็กซิโก หากไม่ทนั ทีเ่ ขาจะเรียน

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

323


จบมหาวิทยาลัย เขาก็สมัครเข้าท�ำงานในส�ำนักหนังสือพิมพ์ฝา่ ยซ้าย ฉบับหนึง่ งานข่าวท�ำให้เขาเข้าไปยุง่ ขิงกับกิจกรรมเคลือ่ นไหวทางการ เมืองเต็มตัว เล่ากันว่า โบลาโญ่เดินทางออกจากแม็กซิโกกลับมายัง บ้านเกิดชิลี เพื่อช่วย ซัลวาดอร์ อัลเยนเด (Salvador Allende) ที่เป็นประธานาธิบดีเคลื่อนไหวทางการเมือง จนกระทั่งนายพล ออกุส ปิโนเช่ต์ (Augusto Pinochet) ท�ำการรัฐประหาร โบลาโญ่ จึงถูกจับกุมคุมขังข้อหาก่อการร้าย โชคดีทเี่ จ้าหน้าทีท่ คี่ วบคุมตัวเขา เคยเป็นเพื่อนเก่าของเขา โบลาโญ่จึงสามารถหลบหนีไปได้ ซึ่งเขา ได้บรรยายถึงเหตุการณ์ดังกล่าวไว้อย่างมีสีสัน ในเรื่องสั้น Dance Card ซึง่ ก็เป็นทีถ่ กเถียงกันในเวลาต่อมาว่า เหตุการณ์นอี้ าจเป็นเรือ่ ง ทีโ่ บลาโญ่แต่งขึน้ และดีไม่ดี โบลาโญ่อาจไม่เคยกลับเข้าชิลเี ลยด้วยซ�ำ้ และเพื่อให้เราได้รู้จักกับนักขียนมากฝีมือ ผู้เอกอุกับการเล่า เรื่องมากขึ้น จึงขออนุญาตลงบทเปิดของนวนิยาย The Savage Detectives ฉบับที่แปลโดย พิชญ์พงศ์ เพ็งสกุล ไว้ให้ผู้อ่านได้พิสูจน์ รสชาติกัน

324

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


The Savage Detectives opener คู่สืบคนเถื่อน

โรแบร์โต โบลาโญ / พิชญ์พงศ์ เพ็งสกุล  แปล

“แกอยากให้เม็กซิโกได้รับการโปรดงั้นหรือ? แกอยากให้ไครสต์ เป็นราชาชาวเรางั้นหรือ?” “ไม่” มัลคอล์ม ลอว์รี

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

325


I เม็กซิกันหลงในเม็กซิโก (1975) 2 พฤศจิกายน ผมถูกชวนเข้ากลุม่ พวกวิสเซอรัลเรียลลิสต์อย่างอบอุน่ ผมยินยอม อยูแ่ ล้วไม่ตอ้ งถาม ไม่มพี ธิ รี บั น้องใหม่ให้มากความ ซึง่ อย่างนัน้ แหละ ดีแล้ว 3 พฤศจิกายน ผมไม่รหู้ รอกว่าไอ้วสิ เซอรัลเรียลลิสม์นมี่ นั คืออะไร ผมอายุสบิ เจ็ด ปี ชื่อตัวคือฮวน การ์เซีย มาเดโร เรียนอยู่ชั้นปีแรกโรงเรียนกฎหมาย ผมเคยนึกอยากเรียนวรรณคดี ไม่ได้อยากเรียนกฎหมาย แต่ลุงผม แกยืนยันเสียงแข็ง ผมก็เลยตามเลย ผมเป็นเด็กก�ำพร้าและวันหนึ่ง ก็จะเป็นนักกฎหมาย ผมบอกลุงกับป้าอย่างนั้นแล้วขังตัวเองอยู่ใน ห้องร้องไห้ทั้งคืน หรือเอาเป็นว่านานพอดูละกัน จากนั้นก็ราวกับ ทุกอย่างถูกจัดวางไว้หมดแล้ว ผมเข้าเรียนคลาสแรกในโถงโล่งเตียน ของโรงเรียนกฎหมาย แต่หนึ่งเดือนต่อมาผมก็สมัครเข้าเวิร์คช็อป กวีนิพนธ์ของคูลิโอ เซซาร์ อลาโมในคณะวรรณคดี และนั่นท�ำให้ผม ได้พบกับพวกวิสเซอรัลเรียลลิสต์ หรือวิเซอร์เรียลลิสต์ หรือแม้กระทัง่

326

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ไวซ์เรียลลิสต์ อย่างที่พวกเขาชอบเรียกตัวเองในบางครั้ง จนถึงตอน นัน้ ผมก็เข้าร่วมเวิรค์ ช็อปไปสีห่ นและไม่มอี นั ใดเกิดขึน้ แม้แต่ครัง้ เดียว ถึงจะเป็นการพูดไปงั้นก็เถอะ เพราะแหงล่ะ โดยธรรมดามันก็ต้องมี อะไรเกิดขึ้นบ้างตลอดเวลาอยู่แล้ว คือพวกเราจะอ่านบทกวีสารพัด แล้วอลาโมจะชืน่ ชมหรือจะฉีกมันเป็นชิน้ ๆ ก็ขนึ้ อยูก่ บั อารมณ์เขา คน หนึง่ จะยืนอ่านอ่านบทกวี อลาโมจะวิจารณ์ อีกคนหนึง่ จะอ่านบทกวี อลาโมก็จะวิจารณ์ ใครคนอื่นจะอ่านบทกวี อลาโมก็จะวิจารณ์ บาง ครัง้ อลาโมจะเบือ่ หน่ายแล้วสัง่ ให้พวกเรา (คนทีไ่ ม่ได้อา่ น) วิจารณ์บา้ ง จากนั้นพวกเราก็จะวิจารณ์และอลาโมก็จะนั่งอ่านบทความ เป็นวิธีการในอุดมคติเพื่อท�ำให้ไม่มีใครได้เป็นเพื่อนกับใคร หรือ ไม่อย่างนั้น หากเกิดมีมิตรภาพระหว่างพวกเราขึ้น มันก็จะป่วยไข้ และวางอยู่บนความขุ่นเคืองหมองใจ และจะให้ผมบอกว่าอลาโมเป็นมือฉมังของนักวิจารณ์มันก็ไม่ได้ ถึงหมอนั่นจะพูดถึงการวิจารณ์บ่อยๆ ก็เถอะ จริงๆ แล้วผมว่าหมอ นั่นมันพูดเพื่อให้ได้พูดเท่านั้นแหละ หมอนั่นรู้ว่าเพริเฟรสิสคืออะไร ไม่ค่อยดีนักแต่มันก็รู้จักอยู่หรอก แต่หมอนั่นกลับไม่รู้จักว่าเพนตา โพดีคอื อะไร (บรรทัดทีม่ หี า้ ฟีตในมีเทอร์แบบคลาสสิค อย่างทีใ่ ครก็รู้ กัน) และยังไม่รวู้ า่ นิคาร์เคียนคืออะไรด้วย (บรรทัดแบบหนึง่ ทีค่ ล้ายๆ กับฟาลาเอเคียนน่ะ) หรือเทตราสติคคืออะไร (สแตนซาทีม่ สี บี่ รรทัด) ถามว่าผมรู้ได้ไงว่าหมอนั่นไม่รู้? ก็เพราะว่าผมดันพลาดไปถามมัน เข้าตั้งแต่วันแรกของเวิร์คช็อปน่ะสิ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าตัวเองคิด

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

327


อะไรอยู่ นักกวีเม็กซิกันที่จ�ำเรื่องพรรค์นี้ขึ้นใจก็มีแต่อ็อคตาวิโอ ปาซ คนเดียว (ศัตรูตัวฉกาจของพวกเรา) ไอ้คนอื่นๆ น่ะใบ้แดกกันหมด แหละ อย่างน้อยนั่นก็เป็นสิ่งที่ยูลิสิส ลีมาบอกผมหลังจากเข้าร่วม กับพวกวิสเซอรัลเรียลลิสต์และพวกเขาก็โอบรับผมเป็นพวกเดียวกัน แล้ว ผมรู้ในเวลาต่อมาว่าการถามอลาโมด้วยค�ำถามพวกนี้แสดงให้ เห็นความไร้ไหวพริบของตัวเอง ตอนแรกผมก็นึกว่าเขายิ้มให้ด้วย ความชื่นชมอยู่หรอก ต่อมาผมถึงได้ตระหนักว่าจริงๆ แล้วนั่นคือ อาการเหยียดหยาม พวกนักกวีเม็กซิกัน (หรือนักกวีโดยทั่วไปก็ว่า ได้ล่ะมั้ง) มันเกลียดการถูกประจานความโง่เง่าของตัวเองน่ะ แต่ผม ก็ยังไม่ถอย และหลังจากที่หมอนั่นได้สับแหลกบทกวีสามสี่ชิ้นของ ผมในเวิร์คช็อปหนที่สอง ผมก็ถามมันว่าริสเปตโตคืออะไร อลาโม มันคิดว่าผมก�ำลังเรียกหาความเคารพให้บทกวีของตัวเอง แล้วมันก็ ลากยาวไปเรื่องวัตถุวิสัยของการวิจารณ์ (เพื่อเปลี่ยนประเด็น) เรื่อง สนามทุ่นระเบิดที่นักกวีวัยเยาว์ทุกคนต้องเผชิญ ฯลฯ แต่ผมก็ขัดมัน หัวคว�่ำ และหลังจากเพียรอธิบายว่าไม่เคยเลยในช่วงชีวิตอันแสนสั้น ทีผ่ า่ นมาทีผ่ มจะเรียกร้องหาความเคารพให้กบั งานสร้างสรรค์ตำ�่ ต้อย ของตัวเอง ผมก็ถามค�ำถามเดิมกับมันอีกครัง้ คราวนีอ้ ย่างชัดเจนทีส่ ดุ เท่าที่จะเป็นไปได้ “อย่ามางี่เง่าน่า การ์เซีย มาเดโร” อลาโมพูด “ริสเปตโตครับ, ศาสตราจารย์, คือกวีรลี คิ คัลประเภทหนึง่ เปีย่ ม ด้วยความโรแมนติคถ้าจะพูดอย่างชี้ชัด ลักษณะคล้ายสตรัมบอตโต

328

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


มีเฮนเดคาซิลลาบิคจ�ำนวนหกถึงแปดบรรทัด สี่บรรทัดแรกอยู่ใน รูปของเซอเวนเตสิโอและที่เหลือประกอบด้วยท่อนคล้องสัมผัส ยก ตัวอย่างเช่น...” และขณะที่ผมก�ำลังจะยกตัวอย่างอันหรือสองอันให้ มันฟัง อลาโมก็โผขึน้ ขัดผมหัวคว�ำ่ เรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ ต่อมาดูพร่ามัว (แม้วา่ ความจ�ำผมมันจะดีกเ็ ถอะ) ผมจ�ำได้วา่ อลาโมหัวร่องอหายกับอีกสีห่ า้ คนที่เข้าร่วมเวิร์คช็อป ผมคิดว่าพวกมันคงก�ำลังเห็นผมเป็นตัวตลก เป็นคนอื่นก็คงขอลาทีไม่คิดกลับมาอีก แต่ถึงความทรงจ�ำของ ผมมันจะแสนเศร้าเพียงใด (หรือความผิดพลาดอันแสนเศร้าที่ผมจ�ำ ไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น อย่างน้อยที่สุดก็คงโชคร้ายพอกันกับหากจ�ำได้ ว่าอาจจะเกิดอะไรขึ้น) สัปดาห์ต่อมาผมก็โผล่หัวเสนอหน้าตรงตาม เวลาอย่างเคย ผมคิดว่าเป็นโชคชะตาที่น�ำพาให้ผมกลับมา คราวนี้เป็นหนที่ ห้าที่ผมเข้าร่วมเวิร์คช็อปของอลาโม (แต่มันอาจเป็นหนที่แปดหรือ เก้าก็ได้ เพราะช่วงหลังมานี้ผมเริ่มเห็นว่าเวลาสามารถยืดขยายหรือ เชื่อมต่อเอาตามแต่ใจ) และความตึงเครียดกับกระแสสลับของบท โศกก็ลอยคลุ้งให้คว้าจับได้ในอากาศ แม้ว่าจะไม่มีใครจะอธิบายได้ ว่าท�ำไมก็ตาม เรื่องมันเริ่มจากพวกเราทั้งหมดอยู่ที่นั่น กวีฝึกหัดรวม สุทธิเจ็ดคนที่ลงชื่อเข้าร่วมเวิร์คช็อปตั้งแต่แรก เรื่องที่จะเกิดขึ้นนี้ไม่ เคยเกิดขึน้ กับการสัมมนาครัง้ ใดๆ แน่ๆ แล้วพวกเราต่างก็ลกุ ลีล้ กุ ลน แม้แต่อลาโมเองก็ไม่ได้นงิ่ สงบตามแบบทีเ่ คยเป็น ชัว่ นาทีหนึง่ ผมเผลอ คิดไปว่าอาจจะมีบางอย่างเกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัย อาจมีการยิงกันที่

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

329


ผมไม่ได้ขา่ วเกิดขึน้ ในวิทยาเขต หรือมีการประท้วงหยุดงานกะทันหัน หรือดีนของมหาวิทยาลัยถูกลอบสังหาร หรือมีใครลักพาตัวอาจารย์ สอนปรัชญาไปแล้ว แต่ที่ว่ามาไม่มีอะไรเป็นจริงสักอย่าง ไม่มีเหตุผล อะไรให้ลนลานตื่นเต้น คือไม่มีเหตุผลที่เป็นกลางใดๆ น่ะนะ แต่กวี (หมายถึงกวีที่แท้น่ะ) มันเป็นอย่างนั้นแหละ คุณสัมผัสมันได้ คุณ รู้สึกถึงมันได้ในอากาศ แบบเดียวกับที่เขาว่ากันว่าพวกสัตว์ที่สัมผัส แหลมคม (อย่างงู หนอน หนู หรือนกบางประเภท) มันสามารถรู้สึก ถึงแผ่นดินไหวล่วงหน้านัน่ แหละ เรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ ต่อมามันเลือนราง แต่ ถ้าให้ผมพูดแบบเชยระเบิดเลยก็ต้องบอกว่ามันมีสิ่งที่เป็นปาฏิหาริย์ อยู่ในนั้น นักกวีวิสเซอรัลเรียลลิสต์สองคนเดินเข้ามาในห้อง และ อลาโมก็แนะน�ำพวกนั้นอย่างไม่เต็มใจนัก แม้ว่าตัวเขาจะรู้จักเพียง หนึ่งในสองเป็นการส่วนตัวก็เถอะ เพราะเขาคงรู้จักอีกคนผ่านเสียง เล่าลือเท่านั้น หรือบางทีอาจรู้จักชื่อหรือได้ยินคนอื่นพูดถึง แต่เขาก็ แนะน�ำพวกเราให้คนๆ นั้นรู้จักอยู่ดี ผมไม่มั่นใจว่าสองคนนั้นไปที่นั่นท�ำไม ดูก็รู้ว่าไม่ได้มาดีแน่ๆ แต่ก็เป็นการมาร้ายที่มีลักษณะของการป่าวประกาศและชักชวน ด้วยเหมือนกัน ตอนแรกพวกวิสเซอรัลเรียลลิสต์ก็จับกลุ่มอยู่กันเอง ก่อน อลาโมพยายามท�ำท่าทีเชื่อมสัมพันธ์และเยาะเย้ยหน่อยๆ ใน ขณะที่รอดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น จากนั้นเขาก็เริ่มผ่อนคลายลง เพราะ ได้ก�ำลังใจจากความเขินอายของคนแปลกหน้าที่มาเยือน ผ่านไป ครึ่งชั่วโมงเวิร์คช็อปก็กลับสู่ภาวะปกติ ตอนนั้นเองที่การฟาดฟัน

330

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


เริม่ ต้นขึน้ พวกวิสเซอรัลเรียลลิสต์ตงั้ แง่แย้งกับระบบการวิจารณ์ของ อลาโม และหมอนัน่ ก็สวนกลับโดยการเรียกพวกนัน้ ว่าเป็นพวกเซอร์ เรียลลิสต์เลหลังและมาร์กซิสต์ก�ำมะลอ ผู้เข้าร่วมเวิร์คช็อปห้าคน ออกตัวหนุนหลังอลาโม พูดอีกอย่างก็คือคนอื่นทั้งหมดเว้นแต่ตัว ผมกับเด็กร่างผอมกะหร่องที่ถือหนังสือของลูว์อิส แคโรลเดินไปเดิน มาไม่เคยพูดไม่เคยจา นี่ท�ำผมแปลกใจมาก ด้วยความสัตย์จริงเลย เพราะพวกนักศึกษาที่ออกตัวหนุนอลาโมอย่างรุนแรงนี่เป็นพวก เดียวกับที่หมอนั่นเคยวิจารณ์ย่อยยับมาแล้วทั้งนั้น มาตอนนี้พวก มันกลับเผยตัวออกมาในฐานะผูส้ นับสนุนตัวยงของหมอนัน่ เสียอย่าง นั้น ตอนนั้นเองที่ผมตกลงใจโยนสลึงลงสนามและกล่าวหาว่าอลาโม ไม่รู้สักนิดเดียวว่าริสเปตโตคืออะไร พวกวิสเซอรัลเรียลลิสต์ยอมรับ อย่างผ่าเผยว่าพวกเขาเองก็ไม่รู้เช่นกันแต่ข้อสังเกตของผมนั้นตรง ประเด็นอยู่ พวกเขาว่าเช่นนั้น หนึ่งในสองคนถามว่าผมอายุเท่าไร และผมตอบไปว่าสิบเจ็ดและพยายามอธิบายอีกครั้งว่าริสเปตโต คืออะไร อลาโมหน้าแดงด้วยฤทธิ์โมโห พวกในเวิร์คช็อปหาว่าผม เป็นพวกชอบโชว์ภูมิ (หนึ่งในนั้นเรียกผมว่านักวิชาการคลั่งต�ำรา) พวกวิสเซอรัลเรียลลิสต์เถียงต่างผม จู่ๆ ด้วยความอดไม่ไหว ผมลุก ขึ้นถามอลาโมกับพวกในเวิร์คช็อปว่าจ�ำได้บ้างไหมว่านิคาร์เคียน หรือเทตราสติคคืออะไร และไม่มีใครตอบอะไรได้แม้แต่คนเดียว ตรงกันข้ามกับที่ผมคาดเอาไว้ การโต้เถียงกลับไม่ได้น�ำไปสู่การ ตะลุมบอนเหยียบหน้ากันอย่างถ้วนทั่ว คงต้องยอมรับว่าผมจะยินดี

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

331


อย่างยิง่ หากมันจะเป็นอย่างนัน้ และถึงแม้สมาชิกคนหนึง่ ในเวิรค์ ช็อป จะฝากเอาไว้กบั ยูลสิ สิ ลีมาว่าสักวันมันจะกระทืบเขาให้ยบั แต่สดุ ท้าย แล้วก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผมหมายถึงไม่มีเรื่องรุนแรงเกิดขึ้นน่ะนะ ถึงแม้ผมจะตอบรับค�ำขู่ (ที่ต้องย�้ำไว้ก่อนว่าไม่ได้มีกับตัวผม) โดย ท�ำให้ไอ้ตัวที่ขู่ได้รู้ว่ามันจะมาเก็บดอกเอากับผมในมหาลัยได้ทุกที่ ทุกวัน ทุกเวลาก็ตามที ตอนจบคาบนัน้ ก็ยงั มีเซอร์ไพรส์ อลาโมท้าให้ยลู สิ สิ ลีมาอ่านบทกวี ของเขา ลีมาไม่รอให้ขอซ�้ำสอง เขาชักกระดาษยับยู่ยี่ชุ่มไปด้วยรอย เปื้อนออกจากกระเป๋าเสื้อแจ็กเก็ต โอ ไม่นะ, ผมคิด. ไอ้ทึ่มนั่นมัน เดินตรงเข้าหากับดักของพวกมันเลยนี่หว่า ผมคิดว่าตอนนั้นตัวเอง หลับตาลงด้วยความอับอายขายขีห้ น้าอย่างเห็นอกเห็นใจ เวลาทีต่ อ้ ง แข่งขันประชันเชิงกลอนมันก็มี เวลาที่ต้องประเคนก�ำปั้นยัดปากกัน มันก็มี และตราบเท่าที่ผมเห็น ตอนนี้มันเวลาของอย่างหลังชัดๆ แต่ ในขณะที่ผมก�ำลังพูด ผมหลับตาลง และได้ยินเสียงลีมากระแอมล้าง ล�ำคอ จากนัน้ ก็ตามมาด้วยความเงียบชวนกระอักกระอ่วน (ถ้ามันเป็น ไปได้ที่จะได้ยินไอ้ของพรรค์นั้นน่ะนะ ซึ่งผมเองก็สงสัยอยู่) ที่โรยตัว ลงรอบตัวเขา และในที่สุดผมก็ได้ยินเสียงของเขา ก�ำลังอ่านบทกวีที่ ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยได้ยินมา จากนั้นอาร์ตูโร เบลาโนก็ยืนขึ้นแล้วพูด ว่าพวกเขาก�ำลังมองหานักกวีที่อยากจะมีส่วนร่วมในนิตยสารที่พวก วิสเซอรัลเรียลลิสต์ก�ำลังจะท�ำออกมา ทุกคนในห้องต่างหวังว่าจะ อาสาตัวเองได้ แต่หลังจากการฟาดฟันแล้วพวกเขาก็หัวหดและไม่มี

332

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ใครพ่นค�ำใดๆ ออกมา เมื่อเวิร์กช็อปจบลง (ช้ากว่าปกติ) ผมเดินไป ป้ายรถบัสพร้อมกับลีมาและเบลาโน ดึกดื่นเกินไป ไม่เหลือรถบัสวิ่ง อีกแล้ว พวกเราจึงตัดสินใจขึ้นเปเซโรไปรีฟอร์มา และจากที่นั่นพวก เราก็เดินไปยังบาร์แห่งหนึง่ บนถนนบูคาเรลลีและนัง่ กันจนเกือบสว่าง คุยจ้อกันเรื่องบทกวี ผมก็ยังคงไม่เข้าใจอะไรจริงๆ หรอก ในความหมายหนึ่ง ชื่อของ กลุ่มเป็นเพียงเรื่องตลกโปกฮา แต่ในขณะเดียวกันมันก็แสดงความ ทุ่มเทอย่างเอาเป็นเอาตายด้วย หลายปีก่อนมีกลุ่มอาว็องการ์ด เม็กซิกันที่ชื่อว่าวิสเซอรัลเรียลลิสต์อยู่ ผมคิดว่านะ แต่ก็ไม่รู้หรอกว่า พวกนัน้ มันเป็นนักเขียนหรือเป็นจิตรกรหรือเป็นนักหนังสือพิมพ์หรือ เป็นนักปฏิวัติ พวกเขาเคลื่อนไหวในช่วงทศวรรษที่ยี่สิบหรืออาจจะ สามสิบ เรื่องนี้ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน เห็นได้ชัดว่าผมไม่เคยได้ยิน เรือ่ งของกลุม่ นีม้ าก่อน ต้องโทษความโง่เขลาเกีย่ วกับเรือ่ งวรรณกรรม ของผมล่ะนะ (หนังสือทุกเล่มบนโลกมันรออยู่ข้างนอกนั้นเพื่อให้ผม ไปอ่านน่ะ) ตามที่อาร์ตูโร เบลาโนว่าไว้ พวกวิสเซอรัลเรียลลิสต์หาย สาบสูญไปในทะเลทรายโซนอรา แล้วเบลาโนกับลีมาก็พูดถึงคนๆ หนึ่งที่ชื่อเซซาเรีย ทินาเคโร หรือ ทินาคา ผมจ�ำไม่ได้เหมือนกันว่า ชื่อไหน (คิดว่าน่าจะเป็นตอนที่ผมตะโกนเรียกให้พนักงานเอาเบียร์ มาเพิ่ม) แล้วพวกเขาก็คุยกันถึงโพเอมส์ของกองต์ เดอ โลเตรอามงด์ พูดถึงบางอย่างในโพเอมส์ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงที่ชื่อทินาเคโรคนนี้ และจู่ๆ ลีมาก็ประกาศออกมาอย่างน่าฉงน เอาตามที่หมอนี่ว่า

vice versa

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

333


วิสเซอรัลเรียลลิสต์ยุคปัจจุบันนี้เดินถอยหลัง หมายความว่าอย่างไร, ถอยหลัง? ผมถาม “ถอยหลัง คือ มองไปยังจุดไกลลิบตา แต่เดินออกห่างจากมัน เดินตรงไปยังที่ที่ไม่วันรู้จัก ผมบอกไปว่าฟังดูเหมือนเป็นวิธีเดินที่เด็ดดวงมากๆ ความจริง ก็คือผมไม่มีอะไรในหัวเกี่ยวกับสิ่งที่หมอนี่ก�ำลังพูดอยู่เลย ถ้าคุณได้ ลองหยุดคิดดูจะรู้ได้ว่านี่ไม่ใช่วิธีเดินแม้แต่น้อย นักกวีคนอื่นๆ ปรากฏตัวในเวลาต่อมา บางคนก็เป็นวิสเซอรัล เรียลลิสต์ หลายคนก็ไม่ใช่ เป็นความโกลาหลสมบูรณ์แบบเลยล่ะ ในแว่บแรก ผมกังวลว่าเบลาโนกับลีมาจะวุ่นคุยจ้อกับพวกคนเพี้ยน ทั้งหลายที่เดินมาที่โต๊ะของเราจนลืมผมไปหมดสิ้น แต่ในขณะที่ฟ้า เริ่มจะสาง พวกเขาก็ชวนผมเข้าแก๊งค์ พวกเขาไม่ได้ใช้ค�ำว่า “กลุ่ม” หรือ “กลุ่มเคลื่อนไหว” พวกเขาพูดว่า “แก๊งค์” ผมชอบตรงนั้นแฮะ ก็แน่ล่ะว่าผมตอบตกลง ง่ายดายอย่างนั้นเลยทีเดียว เบลาโนเขย่า มือผมแล้วบอกว่าตอนนี้ผมเป็นหนึ่งในพวกเขาแล้ว แล้วจากนั้นเรา ก็พากันร้องรันเคราหนึ่งเพลง แค่นั้นแหละ เป็นเพลงเกี่ยวกับเมือง ที่หายสาบสูญไปทางตอนเหนือและดวงตาของผู้หญิง ก่อนที่ผมจะ เดินออกไปอ้วกข้างนอก ผมถามพวกเขาว่าดวงตาในเพลงนี่มันเป็น ของเซซาเรีย ทินาเคโรหรือเปล่า เบลาโนกับลีมามองหน้าผมแล้วพูด ว่าผมกลายเป็นวิสเซอรัลเรียลลิสต์เต็มตัวแล้วอย่างชัดเจน และพวก เราทัง้ หมดรวมกันจะเปลีย่ นแปลงกวีนพิ นธ์ละตินอเมริกา หกโมงเช้า

334

The Journal of Philosophy and Literature vol. I, 2015

vice versa


ผมขึน้ เปเซโรอีกคัน คราวนีม้ ผี มคนเดียว เพือ่ มุง่ ไปยังโคโลเนีย ลินดา วิสตาทีท่ พี่ กั ของผมตัง้ อยู่ วันนีผ้ มไม่ได้ไปเรียน ผมใช้เวลาทัง้ วันหมก อยู่ในห้องเขียนบทกวี



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.