วิถีสู่ พอเพียงเคียงธรรม 20 แหล่งเรียนรู้สู่ความพอเพียง

Page 1


“เศรษฐกิจพอเพียง จะช่วยให้โลก พ้นจากวิกฤตได้” พระราชดำ�รัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔

20 �������������.indd 1

11/28/16 11:00 AM


วิถีสู่...พอเพียงเคียงธรรม ๒๐ แหล่งเรียนรู้สู่ความพอเพียง ยุพิน ประเสริฐพรศรี • พรชัย บริบูรณ์ตระกูล • ธวัชชัย จันจุฬา จัดท�ำโดย : โครงการพัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ พุทธชยันตี พอเพียง เคียงธรรม วัดสร้างเสริมสุขภาวะวิถีพุทธ สนับสนุนโดย : ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ปรึกษา : พระครูอมรชัยคุณ • พระไพศาล วิสาโล • ถนอมสิงห์ โกศลนาวิน บรรณาธิการบริหาร : พระวินย์ สิริวฑฺฒโน บรรณาธิการ : พรชัย บริบูรณ์ตระกูล พิสูจน์อักษร : วรพงษ์ เวชมาลีนนาท์ • เพ็ชรลดา ซึ้งจิตสิริโรจน์ รูปประกอบ : จากแหล่งเรียนรู้ฯ และนักเขียน ออกแบบปก : Catzaa Coolmon จัดพิมพ์โดย : เครือข่ายพุทธชยันตี สังฆะเพื่อสังคม ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนงานบริหารจัดการโดยกลุ่มเสขิยธรรม มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป อาคารภัทรานุสรณ์ วัดทองนพคุณ ๑๐๓ ซอยสมเด็จเจ้าพระยา ๑๗ ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐ โทร. ๐๙๙ ๕๙๘ ๙๖๔๐, ๐๘๕ ๕๕๓ ๔๑๑๑ email: win@volunteerspirit.org และ kaodern@gmail.com Website: www.sangha4society.com • Facebook: Buddhajayanti พิมพ์ที่ : สาละพิมพการ ๙/๖๐๙ ซอยกระทุ่มล้ม ๖ ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ต�ำบลกระทุ่มล้ม อ�ำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๗๓๒๒๐ โทร. ๐-๒๔๒๙๒๔๕๒, ๐๘๕-๔๒๙๔๘๗๑ • email: salapimpakarn@gmail.com วิถีสู่...พอเพียงเคียงธรรม ๒๐ แหล่งเรียนรู้สู่ความพอเพียง เครือข่ายพุทธชยันตี สังฆะเพื่อสังคม กลุ่มเสขิยธรรม ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ISBN : 978-616-393-079-8

20 �������������.p.2.indd 2

12/22/16 1:45 PM


วิถีสู่...พอเพียงเคียงธรรม ๒๐ แหล่งเรียนรู้สู่ความพอเพียง

20 �������������.indd 3

11/28/16 11:00 AM


ค�ำนิยม

ในอดีตวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนในทุกด้าน ทั้งทางธรรมและทางโลก กล่าวคือ นอกจากการเผยแผ่ธรรมและการเป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณของผู้คนแล้ว วัดยังมีบทบาท สงเคราะห์ชุมชนนานัปการ เป็นทั้งสถานศึกษา สถานสงเคราะห์ผู้ยากไร้ สถานพยาบาล พิพิธภัณฑ์ เวลาชาวบ้านทะเลาะเบาะแว้งกัน ก็มาที่วัดเพื่อให้หลวงพ่อหรือหลวงตาช่วย ไกล่เกลี่ย บ่อยครั้งการพัฒนาหมู่บ้าน เช่น ตัดถนน สร้างสะพาน ก็อาศัยเจ้าอาวาสเป็น ผู้น�ำ แม้ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจเกือบร้อยปีที่ผ่านมาท�ำให้วัดสูญเสีย บทบาทดังกล่าวไปมาก แต่วัดและพระภิกษุสงฆ์ก็ยังเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาของชาวบ้าน อีกทั้งยังมีศักยภาพอีกมากในการเกื้อกูลชุมชนทั้งทางธรรมและทางโลก ดังเห็นได้จากวัด จ�ำนวนมากที่ริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อสงเคราะห์ชุมชนโดยอาศัยคุณลักษณะ อันโดดเด่นเฉพาะตัวของเจ้าอาวาสและพระลูกวัด สะท้อนถึงการปรับตัวเพื่อตอบสนอง กับความเปลี่ยนแปลงของสังคม ประสบการณ์ในอดีตชี้ว่า วัดและพระภิกษุสงฆ์เหล่านี้จะมีความเข้มแข็งมากขึ้น และก่อผลกระทบต่อสังคมได้อย่างกว้างไกล เมื่อมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย เพื่อ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิด รวมทั้งช่วยเหลือเกื้อกูลทั้งในด้านทรัพยากรและ ก�ำลังใจ แม้ปัจจุบันเครือข่ายดังกล่าวจะมีจ�ำนวนน้อยลง แต่พลังของเครือข่ายดังกล่าว ก็เป็นสิ่งที่มิอาจปฏิเสธได้ และควรฟื้นฟูขึ้นใหม่

20 �������������.indd 4

11/28/16 11:00 AM


เป็นนิมิตดีที่ปัจจุบันมีเครือข่ายพุทธชยันตี สังฆะเพื่อสังคม เกิดขึ้นและด�ำเนินการ ต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว ล่าสุดได้จัดท�ำโครงการเสริมสร้างและสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ พอเพียง เคียงธรรม ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายวัดและพระสงฆ์ที่มีความโดดเด่นในการ น�ำธรรมะสู่ชุมชน ผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ครอบคลุมพื้นที่ ๔ ภาคทั่วประเทศ แต่ละวัดที่อยู่ในเครือข่ายนี้มีแนวคิดและประสบการณ์ที่น่าสนใจ ล้วนเป็นประโยชน์ ต่อวัดอื่นๆ ที่ต้องการน�ำพุทธธรรมกลับมาเป็นแกนกลางของชีวิตและสังคม สิ่งส�ำคัญที่สุด ไม่ได้อยู่ที่ความส�ำเร็จของแต่ละวัดซึ่งมีรูปธรรมที่หลากหลายแตกต่างกันมาก แต่น่าจะ เป็นความรู้ที่สั่งสมจากประสบการณ์อันยาวนานของแต่ละวัด รวมทั้งความรู้ที่ผู้คนอีก มากหลายจะได้รับจากการประสบสัมผัสกับวัดดังกล่าวทั้งทางตรงและทางอ้อม ความรู้ เหล่านี้มีคุณค่าและความส�ำคัญยิ่งกว่าผลส�ำเร็จที่เป็นรูปธรรมต่างๆ เนื่องจากสามารถ เผยแพร่ได้อย่างกว้างขวาง ไม่ติดอยู่กับพื้นที่ อีกทั้งยังสามารถต่อยอดขึ้นได้เรื่อยๆ ไม่สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้การน�ำเรื่องราวของวัดเหล่านี้มาเผยแพร่ ด้วยการถอดบทเรียนไปพร้อมๆ กัน จนปรากฏเป็นหนังสือเล่มนี้จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ขออนุโมทนาทุกท่านที่มีส่วน ในการจัดท�ำโครงการดังกล่าวและจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้จนส�ำเร็จด้วยดี เชื่อว่าเรื่องราว ของแต่ละวัดทีป่ รากฏในหนังสือเล่มนีจ้ ะให้แนวคิดและสร้างแรงบันดาลใจแก่พระภิกษุสงฆ์ และประชาชนทั่วไป ในการฟื้นฟูบทบาทของวัดและน�ำพุทธธรรมกลับมามีความหมาย ต่อชีวิต ชุมชนและสังคมยิ่งๆ ขึ้นไป

20 �������������.indd 5

พระไพศาล วิสาโล วันมหาปวารณา ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๙

11/28/16 11:00 AM


ค�ำนิยม

ในคณะผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ ผมรู้จัก พรชัย บริบูรณ์ตระกูล และยุพิน ประเสริฐพรศรี มาเป็นเวลานาน ด้วยการที่เราร่วมเดินทางกันไปบนวิถีแห่งธรรม และจากการเดินทางใน วิถีแห่งธรรมร่วมกันนี้ ที่ท�ำให้ผมรู้สึกว่า ผมก�ำลังเดินทางไปสัมผัสรู้ความหมายอันงดงาม ณ แหล่งเรียนรู้ทั้ง ๒๐ พร้อมไปกับผู้เขียน ขณะที่นั่งอ่านต้นฉบับของหนังสือเล่มนี้ แหล่งเรียนรู้ทั้ง ๒๐ แห่ง ที่ถูกบอกเล่าผ่านหนังสือเล่มนี้ จะท�ำให้ผู้อ่านสัมผัสกับ ความหมายอันงดงามของการศึกษาธรรม ผ่านวิถชี วี ติ ในชุมชนอันเป็นทีต่ งั้ ของแหล่งเรียนรู้ ในแต่ละแห่ง แหล่งเรียนรู้ทั้ง ๒๐ แห่งนี้มีวัดในพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์กลาง มีพระภิกษุเป็น แกนน�ำในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมในวิถีชีวิตปกติของชุมชน แต่ละแห่ง “บทเรียน” ที่ผู้เขียนถอดออกมาจากการได้ไปสัมผัสรู้กิจกรรม ณ แหล่งเรียนรู้ แต่ละแห่ง เป็นบทเรียนที่มีคุณค่าต่อสังคมชาวพุทธไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นบทเรียน ที่บอกให้เรารู้ว่า การศึกษาธรรมที่ทรงคุณค่านั้นสามารถเกิดขึ้นได้ ผ่านการกระท�ำ กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจ�ำวัน บทเรียนจากหนังสือเล่มนี้ ท�ำให้ระลึกนึกถึง การศึกษาธรรมในสังคมไทยในช่วง ศตวรรษที่ผ่านมา ในช่วง ๑๐๐ ปีที่ผ่านมานี้ ชาวพุทธไทยใช้ความคิดเพื่อการเรียนรู้ธรรม และผล จากการเรียนรู้เช่นนี้ท�ำให้ความคิดคือความรู้ หรือความรู้คือความคิด และผลที่ตามมาคือ การเผยแพร่ธรรมก็คือ การเผยแพร่ความคิดเกี่ยวกับหัวข้อธรรม ผ่านถ้อยค�ำ

20 �������������.indd 6

11/28/16 11:00 AM


“ถ้อยค�ำแห่งธรรม” ยึดครองพื้นที่แห่งการศึกษาธรรมไปเกือบทั้งหมดทั้งสิ้น จน กลายเป็นว่า การแสดงธรรม (ธรรมเทศนา) มีความหมายเพียงแค่การพูดเกี่ยวกับหัวข้อธรรม การศึกษาธรรมก็คือ การรับฟังพระภิกษุท่านกล่าวถ้อยค�ำแห่งธรรม “บทเรียน” ที่เราได้จากหนังสือเล่มนี้ ท�ำให้ได้รู้ว่า การแสดงธรรมหรือธรรมเทศนา ที่พระอาจารย์ของแหล่งเรียนรู้ทั้ง ๒๐ แห่ง แสดงแก่ประชาชนในชุมชนของท่านนั้น ไม่ใช่เพียงแค่ถ้อยค�ำ หากแต่เป็นการกระท�ำ กิจกรรมต่างๆ อันประกอบด้วยธรรม เพื่อให้ ประชาชนในถิ่นนั้นๆ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมคือ ทาน ศีล จาคะ วิริยะ สัจจะ เมตตา ปัญญา ฯลฯ “ธรรมเทศนา” ที่พระอาจารย์ของแหล่งเรียนรู้ทั้ง ๒๐ แห่ง แสดงต่อประชาชน ช่างหมดจดงดงาม เป็นธรรมเทศนาไม่ต้องใช้ใจคิดให้ซับซ้อน เพียงแค่ลงมือท�ำ จิตก็ รู้แจ้งธรรมได้โดยไม่ยุ่งยาก ศึ ก ษาธรรมจากคั ม ภี ร ์ ต ้ อ งใช้ ค วามคิ ด แต่ ศึ ก ษาธรรมจากชี วิ ต ของตนเอง จิ ต สามารถรู้แจ้งธรรมได้โดยไม่ยาก เพราะใจที่ประกอบด้วยกุศลธรรมนั่นแหละ คือวิถีแห่ง การศึกษาธรรมที่วิเศษที่สุด “วิถีสู่...พอเพียงเคียงธรรม ๒๐ แหล่งเรียนรู้สู่ความพอเพียง” เป็นหนังสือที่น่าอ่าน ไม่ ใ ช่ เ พี ย งเพราะผู ้ เ ขี ย นน�ำผู ้ อ ่ า นไปท่ อ งเที่ ย วแหล่ ง เรี ย นรู ้ ที่ น ่ า สนใจถึ ง ๒๐ แห่ ง ทั่วประเทศไทยเท่านั้น หากแต่ยังท�ำให้เราผู้อ่านได้รับรู้ความหมายแห่งชีวิต และชุมชนที่ งดงามในสังคมไทย เป็นชีวิตและชุมชนที่ความหมายของความพอเพียง ถูกแสดงให้ ปรากฏผ่านการกระท�ำ “ความพอเพียง” เมื่อถูกสื่อสารผ่านถ้อยค�ำน�ำมาซึ่งความคิด ซึ่งเต็มไปด้วยความ เคลือบแคลงสงสัยว่าคืออะไร? จะเป็นไปได้อย่างไรในสังคมปัจจุบัน? แต่เมื่อถูกสื่อสาร ผ่านการกระท�ำของผู้คนในสังคม ความหมายของความพอเพียงช่างงดงาม ขอชื่นชมและขอบคุณ พรชัย บริบูรณ์ตระกูล ยุพิน ประเสริฐพรศรี และธวัชชัย จันจุฬา ที่น�ำบทเรียนอันงดงามนี้มาเปิดเผยให้พวกเราได้เรียนรู้

20 �������������.indd 7

ประมวล เพ็งจันทร์ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๙

11/28/16 11:00 AM


ค�ำนิยม

ด้วยเล็งเห็นบทบาทขององค์กรพระพุทธศาสนา และตระหนักว่า พระสงฆ์เป็น “ทุนทางสังคม” ที่ส�ำคัญและยิ่งใหญ่ในการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมของคน ในสังคมได้ ส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะในองค์กร ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุ ข ภาพ (สสส.) จึ ง ได้ ร ่ ว มมื อ สนั บ สนุ น การด�ำเนิ น งานพั ฒ นาเครื อ ข่ า ยแหล่ ง เรี ย นรู ้ พุทธชยันตี พอเพียง เคียงธรรม เพื่อขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพ อันน�ำไปสู่การท�ำให้ คนทุกคนบนพืน้ แผ่นดินไทยมีสขุ ภาวะ แผนการสร้างเสริมสุขภาวะในองค์กรให้ความส�ำคัญ กับการใช้องค์กรเป็นเป้าหมายที่ส�ำคัญในการด�ำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ อันหมายรวมถึง องค์กรทางพระพุทธศาสนาด้วย ซึ่งวัดในพระพุทธศาสนามีความเกี่ยวพันอย่างแน่นแฟ้น ต่อวิถีชีวิตของคนและชุมชน ประหนึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจและศูนย์กลางกิจกรรมต่างๆ ทาง สังคมทัง้ ในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท โดยวัดมีบทบาทเป็นพืน้ ทีส่ าธารณะ ทีแ่ ลกเปลีย่ น เรียนรู้ในสังคม ทั้งทางด้านการส่งเสริมคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จิตวิญญาณ รวมถึง องค์ความรู้ แก่ผู้คนในสังคม

20 �������������.indd 8

11/28/16 11:00 AM


แหล่งเรียนรู้พุทธชยันตี พอเพียง เคียงธรรมที่มีการถอดบทเรียนนั้น เป็นเรื่องที่ น่ า ปิ ติ ที่ มี ก ารด�ำเนิ น งานโดยน้ อ มน�ำปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชฯ มาใช้ในการด�ำเนินงานโดยพระคุณเจ้าน�ำองค์ความรู้นี้ มาให้ชาวบ้านได้มีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์พระราชา มรรควิธีที่สามารถฟื้นฟู หมู่บ้าน ชุมชน สังคม ประเทศ ให้อยู่เย็นเป็นสุข เจริญ รุ่งเรือง มั่งคั่ง ยั่งยืนได้ ในนามส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กระผมขอกราบขอบพระคุณ พระคุณเจ้าทุกรูปในที่ให้ความเมตตาด�ำเนินงานโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ถ่ายทอด ช่วยพัฒนาสังคมสุขภาวะ สร้างความร่วมมือกันในชาติที่ร่วมพัฒนาประเทศไทยส่งเสริม ให้เกิดการเรียนรู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอันจะน�ำไปสู่สังคมที่มีความสุข และเป็น ประโยชน์ตอ่ คนไทยโดยรวม นับเป็นคุณค่าอเนกอนันต์และเป็นบทเรียนทีส่ ามารถอ่านและ ศึกษาเรียนรู้ได้จริง

20 �������������.indd 9

นายแพทย์ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๙

11/28/16 11:00 AM


ค�ำน�ำ

คณะท�ำงานเครือข่าย “พุทธชยันตี สังฆะเพื่อสังคม” ได้รับแรงบันดาลใจ จากการ ด�ำเนินโครงการ “พัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ พุทธชยันตี พอเพียง เคียงธรรม” ในการ เข้ามาร่วมกันจากคณะพระสงฆ์นักพัฒนาเครือข่าย ๔ ภาค ที่ร่วมกันคิดต่อยอดการพัฒนา ระบบเครือข่ายให้มีความมั่นคงเข้มแข็งในด้านกิจกรรมการพัฒนาเพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือ ชุมชน การจัดการบริหารองค์กรสู่ความเข้มแข็ง และการพัฒนาสู่การเป็น “แหล่งเรียนรู้ ของชุมชน และภาคประชาสังคม” หนังสือเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางลงพื้นที่สัมภาษณ์ และถอดประสบการณ์ ในการท�ำงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชน-สังคม ของแหล่งเรียนรู้ ๒๐ ศูนย์ฯ ทั้ง ๔ ภาค ทั่วประเทศ ท�ำให้เราได้พบผลงานอันล�้ำค่า ในการสร้างกระบวนการให้เกิดความพออยู่ พอกินอย่างเกื้อกูลกัน และเข้าถึงความสุขโดยที่ธรรมะได้กลายเป็นการเรียนรู้ฝึกฝนใน ชีวิตและการท�ำงาน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการด�ำเนินงานพัฒนาชุมชน เป็นที่พึ่ง ของชาวบ้านและชุมชนเป็นอย่างดี ทั้งในด้านเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ สุขภาวะชุมชน น�ำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ และเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สามารถขยายผลน�ำสู่ การพัฒนาได้ทั้งปัจจุบันและอนาคต

20 �������������.indd 10

11/28/16 11:00 AM


มี เ รื่ อ งราวการท�ำงานของพระนั ก พั ฒ นาในพื้ น ที่ ทั้ ง ๔ ภาค โดยคณะท�ำงาน พยายามถอดบทเรียน น�ำเสนอผู้อ่านท่านผู้สนใจในแนวทางของการบอกเล่า-เรื่องราว ต่างๆ อ่านเพลิดเพลินได้ทั้งสาระความรู้ ประสบการณ์ไปในตัว และสามารถท�ำให้ท่านที่ สนใจได้ศึกษาต่อไปโดยเฉพาะเรื่องได้อีก สุดท้ายนี้ต้องขอเจริญพรขอบคุณส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้สนับสนุนงบประมาณ เพื่อให้คณะท�ำงานได้ด�ำเนินงานจนเป็นที่เรียบร้อย และได้น�ำผลงานชิ้นนี้น�ำเสนอสู่เวทีสาธารณชน และที่ส�ำคัญที่สุด คือ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทุกแห่งท่านได้ให้ความร่วมมือร่วมใจ ในการด�ำเนินงานตามโครงการจนส�ำเร็จเรียบร้อย หากมีข้อผิดพลาดบกพร่องบางสิ่งบางประการ คณะท�ำงานต้องขออภัยต่อพระคุณเจ้า ทั้งหลายไว้ ณ ที่นี้ด้วย หวังว่าแหล่งเรียนรู้ทั้ง ๒๐ ศูนย์ฯ นี้ จะเป็นที่พึ่งของชาวบ้านและ ชุมชนอย่างยั่งยืนตลอดไป

20 �������������.indd 11

พระครูอมรชัยคุณ (หลวงตาแชร์) ประธานโครงการพัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ พุทธชยันตี พอเพียง เคียงธรรม

11/28/16 11:00 AM


“ดวงใจบันทึก” จากผู้เขียน

หนังสือเล่มนี้เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของการเดินทางที่เข้าไปสัมผัสพูดคุยกับ ๒๐ พื้นที่วัดหรือศูนย์เรียนรู้ โดยมีพระสงฆ์นักท�ำงานสังคมเป็นผู้น�ำการรวมชุมชนและท้องถิ่น ในการขับเคลื่อนให้ผลของการท�ำงานชุมชนนั้นให้อยู่ดีมีสุขในชีวิต มีความเรียบง่ายและ พึ่งพากันของชุมชนในมิติต่างๆ ด้วยพลังความสร้างสรรค์ และยังมีกระบวนการให้เกิด การฝึกฝนพัฒนาตน และสัมผัสได้ถึงคุณค่าและความหมายของความเป็นมนุษย์ที่แท้ กระบวนการที่เกิดขึ้นของแต่ละพื้นที่เป็นผลผลิตที่ช่วยเผยให้ผู้คน ชุมชนและ สังคมได้หวนกลับมาอยู่บนหลักพื้นฐานง่ายๆ ของการด�ำรงอยู่ของชีวิตด้วยการมีชีวิตที่ดี และสมบูรณ์ พอประมาณ ท�ำหลายๆ อย่างให้ประสานกันระหว่างกาย จิต สิ่งแวดล้อม และการเรียนรู้จิตวิญญาณเพื่อเป็นทางหลักส�ำคัญในการปูทางไปสู่ความมั่นคง การเห็น คุณภาพของความงาม เรียนรู้ที่จะสดใสและเบิกบานจากชีวิตด้านในและชีวิตด้านนอกให้ เคลื่อนตัวไปพร้อมกัน เช่นเดียวกันกับการเข้าใจความหมายของธรรมชาติ ดอกไม้บานได้ ในทุกที่และทุกเวลา ความหมายนี้เราก�ำลังบอกว่า แม้ในบางเวลาที่ต้องเผชิญกับภาวะ ของความทุกข์ยาก ความไม่เป็นธรรมทางสังคม ดวงใจก็ยังยืนหยัดและมั่นคงมิหวั่นไหว จนไม่ปรกติสุข และลงมือสร้างสรรค์รูปธรรมการพึ่งพาตนเองได้อย่างต่อเนื่องจนก่อเกิด เป็นกระบวนการท�ำงานที่น�ำมาถ่ายทอดไว้ในหนังสือเล่มนี้ ในระหว่างการเดินทางของเราสู่การสัมผัสและพูดคุยกับแต่ละพื้นที่นั้น เราได้ เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างมากมาย บางทีถ้านับแล้วอาจนับไม่ถ้วนด้วยซ�้ำไป แต่ “เวลา” กับ “บันทึก” และ “การเดินทาง” ช่วยให้หลายๆ สิ่งหลายอย่างของการเรียนรู้มาร้อย รวมกันให้เข้าใจความหมายของการเรียนรู้เพื่อการฝึกฝน การทลายมุมมองความเข้าใจ เดิมๆ ก็พลันเปลี่ยนไปเมื่อเข้าไปเรียนรู้คุณค่าของการฝึกฝน และเป็นพื้นฐานที่ส�ำคัญช่วย ให้เราเข้าใกล้ความหมายจนหยั่งถึงว่า การอยู่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อโลกและเพื่อคนอื่น เป็นเช่นไร “ภาวนา” จะเป็นเครื่องคอยให้ “สติ” และก�ำลังส�ำคัญในการบ่มเพาะคุณค่า ความหมายของการรับรู้ควบคู่กับการเรียนรู้ผ่านการกระท�ำของค�ำว่า “พอเพียง เคียงธรรม” อีกทั้งยังคอยเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงการสร้างรูปธรรมการพึ่งพาตนเอง สังคมให้มี “ปัญญา”

20 �������������.indd 12

11/28/16 11:00 AM


“ความรัก” และ “ความสุข” เป็นอานุภาพทีส่ �ำคัญในตัวเราและขยายความสัมพันธ์กบั ผูค้ น ชุมชน และสังคมให้เติบโตอย่างงอกงาม หมุดหมายปลายทางกับดวงใจที่ไหลริน ช่วงเวลาของแต่ละวันในการเดินทางแห่ง หนังเล่มนี้ ความสุขได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ความรักในการเขียนได้อยู่ในทุกตัวอักษร และ เรายังคงจ�ำความงามที่เป็นภาพที่ธรรมชาติส่งมอบให้เป็นของขวัญอันเป็นเวลาเดียวกัน กับการสิ้นสุดงานจากการลงพื้นที่การเดินทางใน จ.ระยอง บันทึกจากสมุด ณ บ้านสวน อ่าวไข่ ขอน้อมน�ำข้อความในบันทึกนั้นมาไว้ ณ ที่นี้ว่า “เส้นขอบฟ้าคราม ตัดระหว่างท้องทะเลและท้องฟ้าก่อนตะวันจะลาลับ เสียงคลื่น ซัดมา พร้อมกับสายลมอันเย็นฉ�่ำ หาดทรายก�ำลังโอบอุ้มผืนทะเล ความรู้สึกจากดวงใจ ที่ตั้งจิตภาวนาไปยังท้องทะเล ขอบคุณทุกสรรพสิ่งที่ช่วยให้ลูกเดินทางมาเรียนรู้และมี ความหมายที่ได้พบเห็น งานคือธรรมของพระอาจารย์ทั้งหลาย” ผู้เขียนขอขอบคุณพระอาจารย์ทุกรูปที่ส่งมอบเรื่องราวด้วยความมีเมตตา และ ทุกๆ ท่านที่เข้ามาเป็นทั้งเพื่อนทั้งก�ำลังใจและก�ำลังแรงจนงานบรรลุแม้จะไม่ได้เอ่ยไว้ ณ ที่นี้ ก็ขอให้รู้ว่าความปลื้มปิติและความรู้สึกดีๆ ยังไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา ขอบคุณคนของฟ้าที่ก้าวเข้ามาช่วยโอบอุ้มในเวลาที่ต้องการความช่วยเหลือหรือ ติดขัด มาเติมเต็มบางอย่างให้กับหนังสือได้สมบูรณ์ขึ้น โดยเฉพาะ ทิดต่อ (ถนอมสิงห์ โกศลนาวิน) ที่ท�ำให้เรื่องราวในเล่มค่อยๆ ถ่ายทอดได้อย่างงดงาม ขอบคุณสถานที่มูลนิธิหยดธรรม และ บ้านนครสวรรค์ ที่ช่วยเป็นพื้นที่อันแสนสงบ มีธรรมชาติและความรักคอยเติมพลังในการเขียนให้กับเราอยู่เสมอมา ส�ำหรับพวกเราคือ อ้อมกอดแห่งขุนเขา สายน�้ำและพงไพร ที่ช่วยสร้างบรรยากาศอันอบอุ่น ท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนดวงใจบันทึก (ข้าพเจ้ายุพิน ประเสริฐพรศรี และพรชัย บริบูรณ์ ตระกูล) ขอน้อมจิตขอบพระคุณ พลังคุณงามความดี ครูบาอาจารย์ที่คอยส่งผ่านพลังแห่ง ความสร้างสรรค์ พลานุภาพแห่งพุทธะ คุรุ ที่น�ำพาให้เราเกิดมหัศจรรย์แห่งการเรียนรู้ใน ทุกย่างก้าว

20 �������������.indd 13

ด้วยมิตรไมตรีจิต

11/28/16 11:00 AM


สารบัญ ค�ำนิยม ค�ำน�ำ จากผู้เขียน

๔ ๑๐ ๑๒

เรื่องเล่า ๒๐ แหล่งเรียนรู้ฯ พอเพียง เคียงธรรม ๑. ต�ำราพระมหาชนก สร้างชุมชนคุณธรรม ๑๙ ศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณป่าดงใหญ่วังอ้อ ต.หัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี พระครูสุขุมวรรโณภาส ๒. วงล้อ “หมุนโลก หมุนธรรม” ๒๙ วัดป่าลานหินตัด ต.ปราสาท อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ พระปลัดสมบูรณ์ สุมังคโล ๓. เสียงแห่งดินแดนธรรม ๓๙ วัดเทพมงคล ต.บุ่ง อ.เมือง จ.อ�ำนาจเจริญ พระครูมงคลวรวัฒน์ ๔. ฮ่มโพธิ์ ฮ่มไทร เติมใจชุมชน ๔๙ วัดโพธิการาม ต.โพนสูง อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด พระครูโพธิวีรคุณ ๕. กุญแจแห่งความรู้สึกตัว ๕๙ วัดภูเขาทอง ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ พระอธิการตงหมิง ถาวโร ๖๙ ๖. “ขุมทรัพย์” วัฒนธรรมชุมชน วัดคลองแห ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พระครูวาปีธรรมอุดม

20 �������������.indd 14

11/28/16 11:00 AM


๗. “โอกาส” ของขวัญล�้ำค่าแด่ชีวิต ๗๙ วัดคลองเปล ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พระครูโสภณคุณาทร ๘. วัดสหกรณ์ “ช่วยกันท�ำ ปันกันกิน” ๘๙ วัดป่ายาง ต.ท่างิ้ว อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช พระอธิการเสรี คเวสโก ๙. ห้องเรียนกลางไพร วิถีแห่งป่าชุมชน ๙๙ วัดตะโหมด ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง พระครูประยุตธรรมธัช ๑๐. รหัสแห่งธรรมจากสรรพสิ่ง ๑๐๙ วัดสวนสมบูรณ์ ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร พระครูปริยัติกิจวิธาน ๑๑. จิตอาสา..เปิดใจแห่งการให้ ๑๑๙ วัดป่าพระเจ้า ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี พระมหาสมัย สมโย ๑๒. แปรเปลี่ยนเงินเป็นญาติมิตร ๑๒๙ เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์ ต.บางพระ อ.เมือง จ.ตราด พระอาจารย์สุบิน ปณีโต ๑๓. เกษตรกรรม “พออยู่ พอที่ใจ” ๑๓๙ วัดมงคลชัยพัฒนา ต.ห้วยบง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี พระวิสิฐคณาภรณ์ ๑๔๙ ๑๔. การศึกษาสู่อิสรภาพในการพึ่งพาตน ศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้อง ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี พระสังคม ธนปัญโญ ขุนศิริ

20 �������������.indd 15

11/28/16 11:00 AM


๑๕. ลมหายใจแห่งไพร สายใยแห่งพุทธะ วัดวังศิลาธรรมาราม ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง พระครูประโชตธรรมาภิรม ๑๖. รู้เรียนใต้ร่มธรรม สถานธรรมปลีกวิเวก ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ พระ ดร.ฐานี ฐิตวิริโย ๑๗. “บ้าน” น�ำทางชีวิต วัดสวนร่มบารมี ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก พระครูโฆสิตธรรมสุนทร ๑๘. พื้นที่ใจของชุมชนเมือง วัดพระบรมธาตุนครชุม ต.นครชุม อ.เมือง จ.ก�ำแพงเพชร พระราชวชิรเมธี ๑๙. ธรรมะรักษาธรรมชาติ วัดอรัญญาวาส ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน พระครูพิทักษ์นันทคุณ ๒๐. ศูนย์เรียนรู้ชุมชนคนต้นน�้ำ วัดโป่งค�ำ ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน พระครูสุจิณนันทกิจ

๑๕๙

ถอดบทเรียน “แหล่งเรียนรู้ฯ พอเพียง เคียงธรรม” แนะน�ำรายชื่อวัดที่เป็นแหล่งเรียนรู้ฯ ทั่วประเทศ โครงการพัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ฯ พอเพียง เคียงธรรม รายชื่อคณะท�ำงานผู้รับผิดชอบโครงการฯ

๒๒๕ ๒๓๑ ๒๔๙ ๒๕๓

20 �������������.indd 16

๑๖๙ ๑๗๙ ๑๘๙ ๑๙๙ ๒๐๙

11/28/16 11:00 AM


เรื่องเล่า ๒๐ แหล่งเรียนรู้ฯ พอเพียงเคียงธรรม

20 �������������.indd 17

11/28/16 11:00 AM


20 �������������.indd 18

11/28/16 11:00 AM


ยุพิน ประเสริฐพรศรี

ศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณป่าดงใหญ่วังอ้อ ต.หัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี พระครูสุขุมวรรโณภาส / ผู้อ�ำนวยการศูนย์ เจ้าคณะต�ำบลหัวดอน หากว่าโลกนี้มีวิชา ต�ำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า ต�ำราชีวิต น�ำมาซึ่ง วิธีการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เยียวยาโลกธรรมชาติและโลกทางวัฒนธรรม ให้ เราหวนคืนสู่วิถีชีวิตความเรียบง่ายและมีความสุข ก็จะช่วยให้สายใยบ้าน วัด ชุมชน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การก้าวเข้าไปสัมพันธ์กับศูนย์ พุทธธรรมพรหมวชิรญาณป่าดงใหญ่วังอ้อ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี โดยมีพระครูสุขุมวรรโณภาส ผู้อ�ำนวยการศูนย์หรือที่เราเรียกท่านว่า “หลวงลุงสุขุม” ท่านมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ออกแบบ บริหาร และจัดการ ทรัพยากร ทุนทางสังคม ให้มาพบกับทุนทางวัฒนธรรม สานสัมพันธ์ภาคี หลายภาคส่วนเข้ามาร่วมไม้ร่วมมือ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างศูนย์การเรียนรู้ โคก หนอง นา โมเดล ศูนย์เรียนรู้ปูทะเลย์ มหาวิชชาลัยมีอะไรบ้าง มีที่มาอย่างไรถึงมีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นในศูนย์ แห่งนี้ แล้วมาดูกันว่า ต้นมะม่วงจะเดินทางมาสู่มรรควิธีบันได ๙ ขั้น ได้อย่างไรบ้าง

20 �������������.indd 19

11/28/16 11:00 AM


20

เปิดตำ�ราตามหาเจ้าต้นมะม่วง เข้าจังหวะ และมีความเรียบร้อยปนมากับ เช้าวันใหม่ ตะวันโผล่ขึ้นบนท้องฟ้า เป็ น เวลาสายๆ เราสองคนเดิ น ทางจาก ตัวเมืองอุบลฯ มายังศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิ ร ญาณป่ า ดงใหญ่ วั ง อ้ อ อ.เขื่ อ งใน จ.อุบลราชธานี ศูนย์แห่งนี้ห่างจากที่พัก ของเราเป็นระยะทางประมาณ ๓๖ กม. การเดิ น ทางครั้ ง นี้ ไ ด้ รั บ ความเมตตาจาก หลวงลุง (พระครูสุขุม) ไม่นานนักเรามาถึง ยังพื้นที่แห่งนี้มีประมาณ ๑,๘๑๐ ไร่ เป็น เวลาที่อากาศก�ำลังเย็นสบาย เงียบสงัด ป่าดงใหญ่ เสียงไพร พัดผ่านมายัง กายและความรู้สึกเย็นใจทันควันอยู่รอบๆ ตัวเรา สักครู่เราได้พบกับท่านที่กุฏิ ท่าน ต้อนรับเราด้วยรอยยิม้ และความเป็นกันเอง ย่ า งก้ า วแรกของการเรี ย นรู ้ เวลานี้ เ ป็ น เวลาทีก่ �ำลังจัดกิจกรรมค่ายพัฒนาคุณธรรม มีเด็กและเยาวชนประมาณ ๔๐๐ กว่าคน ก�ำลังจะปิดการฝึกอบรม ท่านต้องไปปิดพิธี พร้ อ มกั บ การมอบเกี ย รติ บั ต ร เรามิ รี ร อ ขออนุญาตเข้าร่วมสังเกตการณ์ที่นี่ ศาลา สุธัมมานุสรณ์เป็นบริเวณที่ติดกับล�ำเซบาย (แม่น�้ำ)

ความรู้สึกตื่นตัว น่าแกะรอยว่า ๒ วันที่ ผ่ า นมา พวกเขาได้ เ รี ย นรู ้ กิ จ กรรมและ บทเรียนอะไรบ้างจากการเข้าค่าย

หลั ง จากเสร็ จ พิ ธี ม อบเกี ย รติ บั ต ร ท่านพาเราสองคนมาหยุดยังบริเวณ โคก หนอง นา โมเดล ศู น ย์ เ รี ย นรู ้ ปู ท ะเลย์ มหาวิชชาลัย โอ้โห! เสียงเราดังขึ้น สายตา มองมายังหัวปลีกล้วย ใหญ่จัง เดินเข้ามาดู ใกล้ๆ เพื่อชม แล้วหลวงลุงสุขุมท่านเล่าว่า พื้ น ที่ แ ห่ ง นี้ เ ป็ น บริ เ วณที่ ใ ช้ เ ป็ น ต้ น แบบ ในการเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนว เศรษฐกิจพอเพียง โดยมีโคก คือพื้นที่เนิน ส�ำหรั บ ปลู ก ไม้ ผ ล ไม้ ยื น ต้ น มี ห นองน�้ ำ โดยรอบๆ หนองนั้นปลูกต้นกล้วย พืชผัก และมีการห่มดินด้วยฟาง แถมยังมีกระท่อม หลังคามุงแฝก ท�ำให้นึกถึงเวลาแห่งการ พักผ่อนอันแสนสุขเลย

ถัดมา เดินตรงมายังป้ายไวนิล ท่าน หยุดยืน แนะน�ำวิธีการน�ำมรรควิธี ๙ ขั้น ในการประยุกต์ใช้ในงานพัฒนาชุมชนและ สังคมให้พวกเราฟัง จังหวะของท่านที่แนะน�ำ และบอกเล่าเรื่องราววิธีการนั้นเต็มไปด้วย ผลของการสั ง เกตการณ์ เ บื้ อ งต้ น พลังงานที่ชื่นชอบ “ฟื้นฟูต้นมะม่วง” จาก เราพบว่านักเรียนมีความพร้อมเพรียงในการ พระราชนิพนธ์เรือ่ ง “พระมหาชนก” สูว่ ธิ กี าร สวดมนต์และสนุกสนานกับกิจกรรมยกมือ “ฟื้นฟูชีวิตและสังคมไทย”

20 �������������.indd 20

11/28/16 11:00 AM


21

ถนอมรากเหง้าแห่งความดีของสังคมไทย คือการแบ่งปัน การให้ ไม่ให้สูญหาย สาม ปั ก ช� ำ กิ่ ง กิ่ ง ที่ ดี ค วรได้ รั บ เลื อ กมาปั ก ช�ำ ฉั น ใด คนที่ ดี ก็ ค วรได้ รั บ การส่ ง เสริ ม สนับสนุน ให้เป็นแบบอย่างฉันนั้น สี่ เสียบ ยอด เอาแนวคิดแห่งความพอเพียง ความ ดีงาม มาต่อเติมเข้ากับพื้นฐานเดิมที่ยังมี ปัญหา ห้า ต่อตา เอาความรู้ใหม่ๆ ความคิดใหม่ๆ ที่ดี มาใส่เพิ่มเติม ให้ กั บ คนที่ ยั ง หลงงมงาย หก ทาบกิ่ ง น�ำคนดี ม าพบกั น น�ำ องค์กรดีๆ มาเจอกัน น�ำคนที่มี ทิฏฐิสามัญญตามาเจอกัน เพื่อ เชื่อมร้อยให้กลายเป็นเครือข่าย ที่มีพลัง และสามารถสร้างสิ่งดีๆ ให้ แ ก่ สั ง คม เจ็ ด ตอนกิ่ ง ให้ ออกราก น�ำคนดีมาฝึก มาเสริมสร้างให้มั่นคงแข็งแรง และสามารถขยายผล ออกไปสร้างฐานในที่ใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง แปด รมควัน ใช้วิกฤตเพื่อ บีบบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เก้า ท�ำชีวาณูสงเคราะห์ (การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ) ใช้สื่อมวลชนในการ เผยแพร่สิ่งดีๆ ความคิดดีๆ ให้กระจายออกไปในวงกว้าง

ในแง่ของการถอดรหัสปริศนาธรรมสู่ แนวทางการพัฒนาสังคม จากวิธีการฟื้นฟู ต้นมะม่วงสูว่ ธิ กี ารฟืน้ ฟูสงั คมให้ลงผืนแผ่นดิน มรรควิธี ๙ ขั้น วิธีการมีอยู่ว่า หนึ่ง เพาะ เมล็ ด เพาะเมล็ ดแห่ งความดี ลงในสังคม ปลูกความพอเพียงลงในจิตใจคน ให้ความ พอเพียงเอาชนะความโลภ สอง ถนอมราก

พอฟังแล้วท�ำให้จินตนาการว่า การออกดอกออกผลของมะม่วงให้ แข็งแรงนั้น ไม่ต่างไปจากการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคน ชุมชน และสังคม ได้หวนกลับมาใช้ชีวิต พออยู่ พอกิน พึ่งตัวเองได้ยืนยาวต่อไป การเดินดู ศูนย์ฯ ยังคงด�ำเนินไป เราผ่านมายังลานกว้างมีต้นโพธิ์หลายต้น หรืออีก ชือ่ ทีเ่ รียกว่า “ต้นศรีมหาโพธิ”์ ท่านบอกว่า โพธิร์ อบๆ เรานี้ ท่านได้เอาพันธุ์

20 �������������.indd 21

11/28/16 11:00 AM


22

เนือ้ เยือ่ บินลัดฟ้ามาจากพุทธคยาเลยทีเดียว หลั ง จากนั้ น เราก็ เ ดิ น มาเรื่ อ ยๆ ดู พื้ น ที่ แปลงเกษตร ไม้ยืนต้น และแวะทักทาย แม่วัวกับลูกยืนเล็มหญ้า ชื่อเจ้าถุงเงิน ท่าน และเราสองคนทักทายก่อนจะจบการชมวัด

เล่ากันว่า เดิมประวัติศาสตร์ชุมชน ที่ผ่านมา พื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นป่าและมี ชาวบ้านชุมชนวังอ้ออาศัยอยู่รอบนอกป่า (ครอบคลุ ม ถึ ง พื้ น ที่ บ ริ เ วณบ้ า นวั ง ถ�้ ำ ) มี แหล่งน�้ำที่ชื่อว่า ล�ำน�้ำเซบาย ไหลผ่าน อุดม สมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรป่าไม้และแม่น�้ำ พอผ่านมายุคหนึ่ง เมื่อความต้องการของ มนุษย์มีมากขึ้น การตัดไม้ท�ำลายป่า เผาป่า เผาถ่าน เพื่อต้องการทรัพยากรก็มีมากขึ้น ตามล�ำดับ ๑๕ ปีที่ผ่านมา (ปี ๒๕๔๕) ภายหลัง จากชาวบ้านและชุมชนวังอ้อได้รบั พระราชทาน

20 �������������.indd 22

“ธงฟื้นป่า รักษาชีวิต” พวกเขาหวนกลับมา อนุ รั ก ษ์ ผื น ป่ า อี ก ครั้ ง ท�ำแนวกั น ไฟและ ลาดตระเวน ส่วนทางศูนย์ฯ ท่านเล่าให้ เราฟังว่า “ลงมือท�ำเป็นป่าเปือกกันไฟตาม แนวทางพระเจ้าอยู่หัว หญ้าแฝกที่ใช้ยึด หน้าดิน เริ่มปลูกต้นไม้ และปีที่สอง ขยับมา ท�ำเรื่ อ งเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง” จนสามารถ พลิกฟื้นฟูผืนป่าชุมชนแห่งนี้ให้กลายเป็น พื้นที่แหล่งเรียนรู้ “ป่าชุมชน” รักษาความ อุ ด มสมบู ร ณ์ แ ละความหลากหลายของ ระบบนิเวศได้อย่างยั่งยืน รู้คุณค่าของป่าแห่งนี้นั้นคือชีวิตของ พวกเขา ผืนป่าช่วยสร้างความมั่นคงทาง พืชอาหารท้องถิ่น ของป่า สมุนไพร และมี รายได้จากการขายของป่า การท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ตลอดจนการฝึกอบรม ปลูกฝัง ลูกหลานให้รู้คุณค่าของทรัพยากร (การฝึก ยุวมัคคุเทศก์ในการอนุรักษ์ป่าชุมชนและ ดูแลธรรมชาติ) และที่ส�ำคัญยังเป็นต้นแบบ ในด้านการท�ำงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ จังหวัดอุบลราชธานี จนปี ๒๕๕๒ ได้รับ รางวัลการอนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูทรัพยากรป่าไม้ จากกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่ ง แวดล้ อ ม โดยนายสุ วิ ท ย์ คุ ณ กิ ต ติ รั ฐ มนตรี ว ่ า การฯ และ ปี ๒๕๕๔ ได้ รั บ รางวัลลูกโลกสีเขียวอีกด้วย

11/28/16 11:00 AM


23

ความมุ่งมั่นในการจัดการทรัพยากร ผืนป่าของชุมชนวังอ้อ ควบคู่กับการพัฒนา คนและการให้โอกาสผู้ที่ก้าวพลาดในชีวิต (ผู้บ�ำบัดยาเสพติด) และยังเป็นที่มาของ การฝึกอบรมคุณธรรม การเรียนรู้เกษตร พอเพียง และการพึ่งพาตนเอง โดยผ่าน ศูนย์พัฒนาคุณธรรมป่าดงใหญ่วังอ้อ จัดตั้ง สถานีวิทยุชุมชนเพื่อพระพุทธศาสนา จัดท�ำ ฐานเรียนรู้ถาวร ๗ ฐาน และพัฒนาระบบ สาธารณูปโภคในเขตพื้นที่ป่าชุมชน พอมาถึงยุคสมัยของการเกิดขึ้นของ ศูนย์พัฒนาคุณธรรมแห่งนี้ หลวงลุงเล่าถึง บทบาทอาสาในช่วงนั้นว่า ท่านเคยเป็นผู้ช่วย อาสาในการพัฒนาวัด สร้างโบสถ์ สร้าง ก�ำแพงโบสถ์ ก�ำแพงวัดวังอ้อ ปลูกต้นไม้ ในวัดวังอ้อ ปลูกจิตส�ำนึกของคนในชุมชน จนค่อยๆ ร่วมกันพัฒนาป่าดงใหญ่วังอ้อ เป็นแหล่งเรียนรู้ เปิดให้ชาวบ้าน ชุมชน ครู นักเรียนหรือผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาเรียนรู้ถึง การพึ่งตนเอง เกษตรกรรมตามวิถีเศรษฐกิจ พอเพี ย ง ควบคู ่ กั บ การปลู ก ฝั ง เรี ย นรู ้ คุณธรรมและจริยธรรม ท่านกล่าวกับเราว่า “การจั ด บริ บ ทให้ มี ฐ านทรั พ ยากร มี ป ่ า พอกิ น อะไรที่ กิ น ได้ ก็ ป ลู ก ทั้ ง หมด ปลู ก ไปก่อน มีป่า มีพืชสมุนไพรต้นไม้เราก็มีอยู่ เยอะ พวกยู ง ยาง ต้ น แดง ต้ น สะแบง พอกิน พออยู่ มีสามป่ามันเกิดความร่มเย็น

20 �������������.indd 23

แล้ว ก็เลยเริ่มเห็นผลขึ้นมา เริ่มจับจริงๆ จังๆ คือเราพูดศาสตร์ของพระเจ้าอยูห่ วั เรือ่ งการ อนุรักษ์ดิน น�้ำ ป่า มานาน ตั้งแต่จัดค่าย อบรม พูดทุกวัน ทุกค่าย ก็เลยตัดสินใจ น�ำศาสตร์พระราชามาเขียนเป็นต�ำราลงบน แผ่นดินให้ได้”

ฟื้นฟูต้นมะม่วง สร้างชุมชนคุณธรรม เท่าที่เราเข้ามาสัมผัสเรียนรู้ เดินชม และพูดคุยกับหลวงลุงสุขุมนั้น งานที่ท่าน ด�ำเนิ น การและเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู ้ ที่ นี่ มี หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เชิงพื้นที่ ธรรมะ หรืออยู่ในรูปแบบของโครงการ แต่ หั ว ใจหลั ก ของการท�ำงานคื อ การเชื่ อ ม ประสานวัด บ้าน โรงเรียน ราชการ (บวร) เข้ า ด้ ว ยกั น เราหยิ บ ยกขึ้ น มาเล่ า เฉพาะ ในเรื่องงานที่มีความโดดเด่น คือ หนึ่ง งาน อบรมคุณธรรมจริยธรรม สอง ศูนย์เรียนรู้

11/28/16 11:00 AM


24

เศรษฐกิจพอเพียง สาม งานอนุรักษ์ป่าชุมชน และสี่ งานปลูกคุณธรรมในบุคคล สร้างชุมชนคุณธรรม งานอบรมคุณธรรม จริยธรรม ในงานที่สอดคล้องกับการ “เพาะเมล็ด” ที่นี่ริเริ่มโครงการตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ ณ ปัจจุบัน มีผู้เข้ารับการอบรมตามหลักสูตร ๕ ดี คือ การเป็นลูกที่ดี การเป็นศิษย์ที่ดี การเป็นเพื่อนที่ดี การเป็นพลเมืองที่ดี การ เป็นศาสนิกที่ดี และหลักธรรมโลกุตตระธรรม ปีหนึ่งๆ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน งานศูนย์เรียนรูเ้ ศรษฐกิจพอเพียง เน้นไปทีท่ ฤษฎีบนั ได ๙ ขัน้ สูค่ วามพอ เพียง คือ (๔ พ. และ ๕ ม.) แก่คนในหมู่บ้านชุมชน คือ พอร่ ม เย็ น ด้ ว ยการจั ด ถนนสาย พอกิ น ด้ ว ยการมี ค วามมั่ น คงทาง อาหาร อาทิ พื ช ผั ก ไม้ ผ ล ไม้ กิ น ดอก วั ฒ นธรรม น�ำคนในชุ ม ชนสู ่ ท าน ศี ล ไม้กินใบ ไม้กินล�ำ ไม้กินหน่อ ไม้กินต้น ภาวนา เกิดผลดีด้านกายภาพ สังคม สติ กินหัวเผือก มัน กินลูก กล้วย ถั่ว ข้าว เห็ด ปัญญา จิตใจ ท�ำให้ชุมชนร่มเย็น กบ ปลา ปศุสัตว์อื่นๆ ท�ำให้ชุมชนพอกิน มีบุญ ด้วยการน�ำพืชพันธุ์ธัญญาหาร พอใช้ ด้วยการมีผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ ข้ า ว ปลา อาหาร สิ่ ง ของ เครื่ อ งใช้ ใน อาทิ ผลิ ต น�้ ำ ยาอเนกประสงค์ เช่ น สบู ่ ศูนย์เรียนรู้ ไปท�ำบุญแก่สมณะ พระสงฆ์ แชมพู น�้ำยาล้างจาน น�้ำยาซักผ้า มีคลินิก สามเณร พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ท�ำให้ ข้างบ้านคือ สวนสมุนไพร มีปุ๋ยหมัก น�้ำหมัก ชุมชนได้บุญ ชี ว ภาพ ถ่ า นชี ว มวล ก๊ า ซชี ว ภาพจาก มีทาน ด้วยการน�ำพืชพันธุ์ธัญญาหาร มูลสัตว์ จากเศษอาหาร ท�ำให้ชุมชนพอใช้ ข้ า ว ปลา อาหาร สิ่ ง ของ เครื่ อ งใช้ ใน

พออยู ่ ด้ ว ยการมี บ ้ า นดิ น บ้ า น ศูนย์เรียนรู้ ไปแบ่งปัน ไปเกื้อกูลแก่เด็ก พอเพียง หรือมีภูมิทัศน์ที่สะอาด สวยงาม เยาวชน ผู ้ สู ง อายุ คนชรา ผู ้ ด ้ อ ยโอกาส มี พื้ น ที่ ป ลอดภั ย สร้ า งสรรค์ ส�ำหรั บ ท�ำ ท�ำให้ชุมชนเอื้ออาทร กิจกรรมร่วมกัน

20 �������������.indd 24

11/28/16 11:00 AM


25

มีเก็บ ด้วยการเก็บ การแปรรูปข้าว อาหาร ให้ มี มู ล ค่ า เพิ่ ม มากขึ้ น นานขึ้ น แม้ ฝ นแล้ ง น�้ ำ ท่ ว ม หรื อ เกิ ด ภั ย พิ บั ติ ก็ มีกิน มีใช้ ไม่ขาดแคลน ท�ำให้ชุมชนมีการ เก็บสะสมอาหารได้มากขึ้น นานขึ้น

มี เ ครื อ ข่ า ย ด้ ว ยการเชื่ อ มโยง เครือข่ายทั้งภายใน ภายนอก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกัน คิดเรื่องดีๆ ท�ำสิ่งดีๆ แก่หมู่บ้าน ชุมชน สังคม ประเทศ

มี ข าย ด้ ว ยการมี ต ลาดในชุ ม ชน และในห้างสรรพสินค้ารองรับพืช ผัก ผลไม้ ธั ญ ญาหาร ข้ า ว ปลา อาหารของชุ ม ชน ท�ำให้ชุมชนมีรายได้

ไม่น่าเชื่อเลยว่า ๔ พ. และ ๕ ม. จะเป็นที่มาของแหล่งเรียนรู้ส�ำคัญ โดยมี ผู้เข้าอบรมศึกษาดูงานประมาณ ๑๐,๐๐๐ คนต่อปีเลยทีเดียว ส�ำหรับวิธีการ ด�ำเนินงานด้านปลูกคุณธรรมในบุคคล สร้างชุมชนคุณธรรมนั้น (เริ่มต้นมาตั้งแต่ ปี ๒๕๔๘–ปัจจุบัน) ในปี ๒๕๕๕ มีการสร้างชุมชนสวัสดิการจ�ำนวน ๖๐ ชุมชน มีกิจกรรมอบรมหลักสูตรเด็กและเยาวชนคุณธรรมต้นแบบ ครูคุณธรรมต้นแบบ ประชาชนคุณธรรมต้นแบบ ครอบครัวต้นแบบ วัดต้นแบบ องค์กรต้นแบบ ด้วย วิธีกระบวนทัศน์สู่ความส�ำเร็จคือ สร้างความตระหนัก ความเข้าใจกับคนในพื้นที่ ในชุมชน ท�ำการบันทึกความร่วมมือ (MOU) สร้างหลักสูตรน�ำวิถี เช่น หลักสูตร ครอบครัว พ่อแม่มีทักษะอันชาญฉลาดในการเลี้ยงลูกให้โตทั้งด้านร่างกายและ จิตใจ ครูจะต้องมีหลักสูตรครูปูชนียบุคคล ครูจิตอาสา ครูกัลยาณมิตร พระสงฆ์ ต้องเข้ามาช่วยอบรมสั่งสอนแนะแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง เป็นต้น

20 �������������.indd 25

11/28/16 11:00 AM


26

และประเมิ น ผล ขั้ น ตอนของการท�ำงาน มีอยู่ว่า

งานอนุรักษ์ป่าชุมชน จะมีการจัด ฐานเรียนรู้ไว้ในป่าตามเส้นทางเดินป่าคือ ฐานแผนที่เป็นการบอกที่ตั้งของป่า แนว เขตอนุรักษ์ แนวกันไฟ และพื้นที่ใช้สอย ฐานไก่ป่าให้รู้ลักษณะและวิถีชีวิตของไก่ป่า ฐานเถาวัลย์ให้รู้ถึงเถาวัลย์ต่างในป่าที่ใช้สอย ได้ กิ น ได้ ฐานสมุ น ไพรให้ รู ้ ถึ ง สมุ น ไพร ต่างๆ ที่ใช้รักษาโรคต่างๆ ตามภูมิปัญญา ฐานอนุรักษ์ ให้รู้ถึงกระบวนการขั้นตอน การอนุรักษ์ป่าที่ผ่านมา ฐานล�ำเซบายให้รู้ ถึ ง สายน�้ ำ ที่ ห ล่ อ เลี้ ย งชี วิ ต คนในชุ ม ชน สร้ า งจิ ต ส�ำนึ ก ให้ รู ้ ถึ ง คุ ณ ค่ า ของสายน�้ ำ เปรียบเสมือนสายเลือดของตน ด้านนี้จะมี ผู้เข้าอบรมศึกษาดูงานประมาณ ๑๕,๐๐๐ คนต่อปี งานสืบสานวัฒนธรรมและประเพณี ท้องถิ่น มีการจัดถนนสายวัฒนธรรม น�ำเด็ก เยาวชน คนในชุมชนเข้าสู่ทาน ศีล ภาวนา และความพอเพี ย ง โดยขั้ น ตอนของการ เตรียมงาน การลงมือพัฒนา การติดตาม

20 �������������.indd 26

ขั้ น เตรี ย ม เป็ น การประชุ ม สร้ า ง ความเข้าใจ สร้างแรงบันดาลใจระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน หรือราชการ (บวร) ให้ ก�ำหนดวิธกี ารและพิธกี ารต่างๆ ทีเ่ หมาะสม กับบริบทของชุมชน เช่น การใส่บาตร การ แต่งกาย วัตถุทานอันเหมาะสม เป็นผลดี ต่ อ สุ ข ภาพอนามั ย ของผู ้ รั บ และตกลง บทบาทหน้าที่ของบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) หรือราชการ น�ำไปสู่การท�ำงานประสาน ร่วมกันอย่างเกิดผล ขั้นพัฒนา เป็นการลงมือปฏิบัติร่วม กันในการท�ำความสะอาดสถานที่ที่ก�ำหนด ประดับธงชาติ ธงธรรมจักร ธงทิว ปลูกพืช ผัก สวนครัว ไม้ดอก ไม้ประดับ ติดคติธรรม ข้อคิด ค�ำคม ผญา ที่เกี่ยวกับบุญ-บาป และ ข้อปฏิบตั หิ รือวัฒนธรรมการท�ำบุญตักบาตร ขั้นติดตาม เป็นการสร้างการประเมิน ผลที่เกิดขึ้นด้วยการสังเกตถนน/คน ก่อนท�ำ และหลังท�ำ หรือการใช้แบบสอบถามเพื่อ ให้ได้ข้อมูลในการมาประเมิน โดยชี้วัดทั้ง ในเชิ ง ปริ ม าณและด้ า นคุ ณ ภาพ ที่ ดู จ าก ทางกายภาพ ความสัมพันธ์ สติปัญญา และ จิ ต วิ ญ ญาณ และค�ำนึ ง ถึ ง ความต่ อ เนื่ อ ง ยั่งยืนที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชน

11/28/16 11:00 AM


27

ภาพความส�ำเร็จทีไ่ ด้รบั หลวงลุงสุขมุ ได้ชี้ให้เห็นว่า กิจกรรมมีแนวโน้มขยายขึ้น เรื่ อ ยๆ โดยสั ง เกตจากจ�ำนวนหน่ ว ยงาน และผูเ้ ข้ารับการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรม เข้ารับการศึกษาเรียนรู้ ดูงาน เข้ารับการ บ�ำบัด ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง และส่วนราชการ ต่างๆ มีการส่งคนมาเข้ารับการฝึกอบรม ส่งคนมาศึกษาดูงาน และบางแห่งได้น�ำไป เป็นต้นแบบในการด�ำเนินงานด้วย นอกจากนี้ ยังให้การสนับสนุนโดยการรับรองสิทธิและ โดยการจั ด สรรงบประมาณมาช่ ว ยเป็ น จ�ำนวนมากอีกด้วย ส่วนเด็ก เยาวชน บุคคล ทั่ ว ไปที่ เ ข้ า มารั บ การฝึ ก อบรมในศู น ย์ ฯ และผู้ติดยาเสพติดที่เข้ามารับการบ�ำบัดใน ศูนย์ฯ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง สามารถกลับสูส่ งั คมได้เหมือนคนปกติทวั่ ไป คนในชุมชนเองก็ได้รบั การปลูกฝังและเข้าถึง ธรรมะ มีความรัก ความสามัคคี มีความ เอื้ออาทรต่อกัน เข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น มีงานท�ำ มีรายได้จากการประกอบอาหาร ให้ผู้เข้ารับการอบรม ศึกษา ดูงาน และการ เป็นวิทยากรประจ�ำฐานฝึกอบรม ที่ส�ำคัญ คณะท�ำงานในศู น ย์ ฯ ก็ ไ ด้ รั บ การเรี ย นรู ้ และพัฒนาทักษะในการท�ำงานด้านต่างๆ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง จนได้ รั บ การยอมรั บ จาก ชุมชนและสังคมภายนอกอย่างกว้างขวาง

20 �������������.indd 27

แม้ว่าผลงานการสร้างสรรค์ชุมชน พัฒนาสังคมของศูนย์แห่งนี้เดินทางมาจาก น�้ำพัก น�้ำแรง แรงกาย แรงใจของหลวงลุง และอี ก หลายภาคส่ ว นที่ เ ข้ า มาร่ ว มปลู ก คุ ณ ธรรมน�ำสั ง คม ภายใต้ ก ารน้ อ มน�ำ ศาสตร์ของพระราชาเขียนเป็นต�ำราลงสู่ ผื น ดิ น หรื อ แม้ แ ต่ ก ารเดิ น ทางในส่ ว นที่ ขาดหายไปของต้ น มะม่ ว งผ่ า นเจ้ า ต�ำรา “พระมหาชนก” (ฉบับพระราชนิพนธ์ของ พระเจ้าอยู่หัว) ตอนฟื้นฟูต้นมะม่วงสู่การ ฟื้นฟูสังคม จักเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีปฏิบัติ การทางชุ ม ชน สั ง คม ซึ่ ง ใครเลยจะรู ้ ว ่ า จากจุดเล็กๆ เมล็ดพันธุ์แห่งความเมตตา ความสุขเล็กๆ เป็นบุญจากการภาวนา จะ กลายเป็น “รากแก้ว” แผ่แขนงลงสู่ผืนแผ่น ดินให้ค่อยๆ ฟื้นฟูและมั่นคง ส่งผ่านความ งอกงาม ความพอเพียง พออยู่ พอกิน พึ่ง ตัวเอง ให้เติบโตเดินขึ้นสู่บันไดมรรคาแห่ง ความสุขได้อย่างยั่งยืน ดังปณิธานของศูนย์ แห่งนี้ก�ำลังแผ่ขยายกระจายในทุกอณูของ ชีวาที่ว่า “ปลูกความดี ปลูกความพอเพียง ลงในบุคคล สร้างชุมชนคุณธรรม น�ำศาสตร์ พระราชาเขียนเป็นต�ำราลงสู่แผ่นดิน”

11/28/16 11:00 AM


20 �������������.indd 28

11/28/16 11:00 AM


ยุพิน ประเสริฐพรศรี

วัดป่าลานหินตัด ต.ปราสาท อ.ปราสาท จ.บุรีรัมย์ พระปลัดสมบูรณ์ สุมังคโล / เจ้าอาวาสวัดป่าลานหินตัด ใครเลยจะรู้ว่า วงล้อของจักรยานจะก้าวเข้าไปสัมพันธ์กับธรรมะ ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีมาเนิ่นนานกว่า ๒,๖๐๐ กว่าปีแล้ว “วงล้อ ของจักรยาน” เกี่ยวข้องอย่างไรกับการเรียนรู้และเผยแพร่ธรรมะ การ เคลื่อนไปของวงล้อจักรยาน กิจกรรมการเรียนรู้ที่ท�ำให้มีประสบการณ์ ตรง สนุ ก และมี ค วามสุ ข เป็ น พลั ง ในการขั บ เคลื่ อ นพลั ง การเรี ย นรู ้ ทุกๆ กิโลเมตรอาจท�ำให้เรามั่นใจถึงก�ำลังและพลังในการเรียนรู้ของเรา ก็เป็นได้ สิ่งส�ำคัญที่เราก�ำลังค้นหาค�ำตอบคือ ช่วงเวลาที่เราก้าวเข้ามาเรียนรู้ กับพระปลัดสมบูรณ์ สุมังคโล เจ้าอาวาส หรือที่เราเรียกว่า “หลวงพ่อ สมบูรณ์” วัดป่าลานหินตัด ต.ปราสาท อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ จนกลาย เป็นต้นแบบของการเรียนรู้ผ่านการปั่นจักรยานไปแล้ว “พึ่งตัวเอง พอเพียง และเรียบง่าย” นั้นเป็นหัวใจแห่งการเรียนรู้ และการท�ำงานที่นี่เลยทีเดียว กิจกรรมแหล่งเรียนรู้ที่เรียบง่ายในปัจจุบัน ของวัดแห่งนี้ บนวิถีแห่งความพอเพียง เคียงธรรม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม ปั่นเก็บลูกยางนา รวมพลเพาะยางนา ปั่นพบปราชญ์เกษตรอินทรีย์ ซ่อมจักรยานเพื่อน้อง (อาสาสอน อาสาซ่อม) จักรยาตรา จักรยาตรา

20 �������������.indd 29

11/28/16 11:00 AM


30

โซล่าเซลล์ (เรียนรู้พลังงานพอเพียง) และ บ้านดิน แถมยังมีแหล่งเรียนรู้เชิงประวัติศาสตร์โบราณคดีที่ชื่อว่า “แหล่งหินตัด” หรือ “หินทรายสีชมพู” ให้เราได้ลองไป สัมผัสและเรียนรู้ในพื้นที่วัดอีกด้วย

ลัดเลาะรอบพื้นที่วัด เราสองคนมิรีรอ จัดกระเป๋า สะพาย เป้ รองเท้าผ้าใบ รวบรวมดวงใจใสๆ แล้ว ออกเดินทางไปยังวัดแห่งนี้ โดยรถไฟจาก สถานีต้นทางหัวล�ำโพง ปลายทางคือสถานี บุรีรัมย์ แล้วหลังจากนั้นก็ไปต่อรถตู้เพื่อ ไปลงยังอ�ำเภอบ้านกรวด ท้องฟ้ามีเมฆครึ้ม สายลมพัดผ่าน สายฝนเทลงมาปรอยๆ เราสองคนก�ำลัง เดินทางเข้ามาใกล้สู่วัดแล้ว หัวใจนั้นตื่นเต้น ท�ำงานควบคู่มากับสายตา มองดูบรรยากาศ รอบๆ หาป้ายบอกทางเข้าวัด อยู่ทางไหน หนอ เจอแล้ว เจอจักรยานก่อนป้ายเสียอีก

20 �������������.indd 30

ไม่นึกเลยว่า ก่อนเข้าถึงประตูวัด เจ้าจักรยาน โบราณคันเก่า จะห้อยสูงกลางอากาศใกล้ๆ กับก้อนหิน หรือนี่อาจเป็นแผนที่น�ำทาง เข้าสู่วัดก็เป็นได้ ผ่านพ้นเข้ามายังประตูวัด เราเห็น ป้ายลานหินขนาดใหญ่ปรากฏเด่นชัด มี แผงโซล่าเซลล์แผ่นใหญ่จ�ำนวน ๓-๔ แผ่น วางเรี ย งกั น เป็ น แถว ส่ ว นด้ า นขวาเป็ น “บ้ า นดิ น ” แต่ สิ่ ง ที่ ท�ำให้ ส ะดุ ด สายตา ออกไปก็ คื อ จั ก รยานติ ด แผงโซล่ า เซลล์ บริเวณด้านหน้าบ้านดิน มองถัดมาก็พบ หลวงพ่อนั่งอยู่ใกล้ๆ เลยท�ำให้เรารู้สึกเลย ว่ า นี่ อ าจเป็ น จั ก รยานคู ่ ใ จของหลวงพ่ อ เป็นแน่ เราเดินเข้าไปใกล้เพื่อกราบนมัสการ หลวงพ่ อ ใบหน้ า และท่ า ทางของท่ า น เต็ ม เปี ่ ย มไปด้ ว ยรอยยิ้ ม ร ่ า เ ริ ง แ จ ่ ม ใ ส สัมผัสได้ถึง ความอบอุน่

11/28/16 11:00 AM


31

เวลานี้ ฝนก็ยังตกอยู่ แต่สิ่งแวดล้อม รอบตัวเราเปลี่ยนไป โดยมีพลังของต้นไม้ ใหญ่ ป กคลุ ม หนาทึ บ เสี ย งแมลงแว่ ว ๆ ก้องกังวาน ความร่มรื่นน�ำพาบรรยากาศ ความเงียบและความสงบเข้ามาใกล้ความ รู้สึก ทันใดนั้น เราสองคนก็เริ่มขยับฝีเท้า ตามหลวงพ่อสมบูรณ์ ท่านใส่ใจเราสองคน ด้วยการท�ำหน้าที่เป็นไกด์อาสาพาเดินดู รอบๆ แรกเริ่ ม ท่ า นอธิ บ ายให้ เ ราฟั ง ว่ า สิ่งปลูกสร้างเล็กๆ ภายในวัดมีศาลาดิน ศาลา น�้ำ ศาลาลม และศาลาไฟ มีความหมาย และการใช้ประโยชน์กบั กิจกรรมอย่างไรบ้าง ศาลาแต่ละหลังมีความหมาย ท่าน เล่าให้เราฟังว่า ศาลาดิน คือ หนักแน่น พิธีกรรม พระพุทธรูปองค์ใหญ่ นวดสปาเท้า จงกรมสุขภาพกายผสานภาวนา ศาลาน�้ำ คือ อ่อนไหว แทรกซึม ปรับตัว เก็บจักรยาน ศาลาลม คือ โปร่งโล่งเบาสบาย ไร้ตัวตน กิ จ กรรมกลางแจ้ ง สวดมนต์ ข ้ า มปี ที่ นี่ สรงน�้ำพระ สงกรานต์สืบสานประเพณี และ ศาลาไฟ คื อ ร้ อ นแรง เผาผลาญ ศาลา พิธีศพ หอระฆัง หอสมุด เท่าที่เราสังเกต รูปแบบของการสร้างศาลาออกแนวผสมผสานดินกับวัสดุเหลือใช้ นี่คงเป็นแหล่ง เรียนรู้ “บ้านดิน” สีโทนอ่อน มองดูแล้ว สบายตา ตามสไตล์ ค วามเรี ย บง่ า ยและ ความพอเพียง

20 �������������.indd 31

ถัดมาอีกมุม เราเหลือบไปเห็นต้นกล้า ไม้เล็กๆ กระจุกกันอยู่เรียงราย เจ้าความ สงสัยของเราก็เริ่มต้นทันที เอ๊ะ! หลวงพ่อ เก็บกล้าไม้เล็กๆ มาไว้ท�ำอะไรตั้งมากมาย ขนาดนี้ จนรู้ว่านี่คือ “กล้าเบี้ยไม้” เป็น เมล็ดพันธุ์พื้นบ้านที่ได้มาจากกิจกรรมการ ปั่นจักรยาน การเรียนรู้นอกห้องเรียนของ เด็กๆ หลังจากนั้น เมล็ดพันธุ์จะถูกน�ำมา เพาะเป็นกล้าไม้ก่อนน�ำไปปลูกให้เติบโต ภายหลัง แล้วถ้าใครสนใจก็มาเอาไปปลูก เพื่ อ การขยายพั น ธุ ์ ต ่ อ ไปได้ ใครจะรู ้ ว ่ า เพียงแค่ปั่นจักรยาน สนุก มีความสุข แถม ยังได้เรียนรู้เรื่องต้นไม้ สมุนไพร ธรรมะ แล้วยังก่อเกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมผ่าน การเก็บเมล็ดพันธุ์เล็กๆ ของพวกเขา ไม่ ธรรมดาเลยทีเดียว ลัดเลาะลงมาเรือ่ ยๆ เราเดินผ่านป้าย ชื่อว่า “แหล่งหินตัด” กองโบราณคดี กรม ศิลปากร ได้ติดป้ายไว้เป็นสัญลักษณ์ของ แหล่งการเรียนรู้โบราณคดี หลวงพ่อสมบูรณ์ ท่านเล่าให้เราฟังว่า ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เคย เป็ น แหล่ ง ของการตั ด หิ น ทรายเพื่ อ น�ำไป ก่อสร้างปราสาทหินพนมรุ้ง และที่ปราสาท อื่ น ๆ บริ เ วณใกล้ เ คี ย ง ตอนนี้ ล านหิ น มี ร่องรอยของการตัด เซาะ ยังคงมีให้เราได้ ศึกษา

11/28/16 11:00 AM


32

การเดิ น ทางเท้ า ยั ง คงเดิ น หน้ า ต่ อ ระหว่างทางตรงพื้นที่ที่เราเดินอยู่ รายรอบ ด้วยก้อนหินใหญ่ที่มีร่องรอยของการถูกตัด เหมือนที่ผ่านมา แต่สภาพป่าไม้ดูโปร่งโล่ง ไม่ทึบมากนัก อากาศชื้น พื้นดิน และทางเท้า เปียกปอน ภายหลังฝนเทลงมา เราแวะมา ยื น อยู ่ บ นเนิ น มองเห็ น บริ เ วณด้ า นล่ า ง รอบๆ ที่ไกลออกไป สิ่งที่เราพบคือ บริเวณ รอบนอกมี ก ารใช้ พื้ น ที่ ป ลู ก พื ช เชิ ง เดี่ ย ว ต้นยูคาลิปตัสอยู่พอสมควร ท�ำให้เรารับรู้ ถึ ง การเปลี่ ย นแปลงของเศรษฐกิ จ ชุ ม ชน วิถชี วี ติ ในการด�ำรงอยูใ่ นปัจจุบนั ทีร่ ายได้แลก มาด้วยการสลายผืนป่า เราอดนึกเสียดาย

ภาพป่าไม้ สิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ ป่าใหญ่ เขียวขจี ล�ำธาร ภาพธรรมชาติของพื้นที่ แห่งนี้หายไปจากคนรุ่นหลัง หมดเวลาแล้วสิ! ปิดทริปการเดินทาง กลับหลวงพ่อแล้ว แม้ว่าสิ่งที่เราเห็นด้วย สายตา สิ่งที่เราได้ยินจากหลวงพ่อ และ สิ่ ง ที่ เ ราสั ม ผั ส กั บ บรรยากาศ แม้ ใ นแง่ ของเวลาจะจบลง แต่ในแง่เชิงความรู้สึก ภาพของความประทับใจกับการได้มาเยือน พร้อมกับภาพการเรียนรู้ วัด ป่า และลาน หินตัด ท�ำให้ถูกบันทึกไว้ในความทรงจ�ำดีๆ ในชือ่ “วัดป่าลานหินตัด” ทีไ่ ม่เพียงแค่ภาพ ของ “หลวงพ่อปั่นจักรยาน”

หมุนล้อ หมุนโลก หมุนธรรม รุ่งขึ้นเช้าวันต่อมา วันที่สองของการมาเยือนที่นี่ “มาๆ ปั่นจักรยานกันดีกว่า” เสียงของหลวงพ่อสมบูรณ์ ส่งผ่านมายังเราสองคนอยู่บ่อยครั้ง ประสบการณ์ดีๆ ก็ได้ เริ่มต้นขึ้น ปั่นจักรยานตามหลวงพ่อ แม้จะเป็นเวลา จวนเจียนฝนก�ำลังจะเทลงมา เราก็มิได้หวาดหวั่นและ สนใจแต่ประการใด จิตมุ่งมั่น เหตุผลง่ายๆ คือ อยากออก ไปเที่ยวเล่น กินลม ชมวิว สัมผัสชุมชน เหตุผลท�ำงาน น้อยกว่าความรู้สึกและความต้องการ เราสองคนเลยได้ ออกไปชมปราสาทหินเล็กๆ ใกล้กับตลาดบ้านกรวด

20 �������������.indd 32

11/28/16 11:00 AM


33

ศูนย์กิโลเมตรเริ่มต้นจากวัดป่าลานหินตัด เรียบๆ มาเรื่อยๆ ตามไหล่ทาง ของท้องถนน ท่วงท�ำนองของชีวิตเริ่มช้าลง เราก�ำลังจดจ่ออยู่กับสิ่งแวดล้อม รอบตัว ท้องถนน ผู้คน และมองเห็นภูเขา สายลมปะทะมายังตัวเราอยู่ต่อเนื่อง หลวงพ่อน�ำทัพ แม่ชีต๋อย และลุง จักรยานเคลื่อนไปเป็นกลุ่ม ผ่านมายังตลาด ชุมชน อ.บ้านกรวด และมาหยุดยังปราสาทเล็กๆ เก็บภาพและเดินเข้าไปเรียนรู้ ค่อยออกเดินทางต่อไป ระหว่างทาง เราได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชุมชนและ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ หลวงพ่อพาเราผ่านมายังป่าต้นยูคาลิปตัส และบอกเล่า เรื่องราวของการพาเด็กๆ มาปั่นจักรยานเพื่อเรียนรู้ตามเส้นทางนี้ ระหว่างการปั่น หลวงพ่อแวะทักทายชาวบ้าน ถามไถ่ความเป็นอยู่ด้วย ความใส่ใจว่า สภาพอากาศและน�้ำที่ชาวบ้านได้มาสู่ไร่พืชมันส�ำปะหลังจาก ทางไหน เพียงพอไหม เรารู้สึกว่า ชุมชนมีความเป็นกันเองและสนิทมักคุ้นกับ หลวงพ่ออยู่ไม่น้อย พอกลับมาถึงยังวัด รู้สึกเมื่อยมาก แต่ก็ดีใจที่ได้ปั่นจักรยาน สนุก ได้เรียนรู้จากหลวงพ่อ เราบันทึกสิ่งเล็กๆ จากการปั่นจักรยานไว้ในความ ทรงจ�ำครั้งนี้ว่า หัวใจเราพองโตที่สามารถปั่นจักรยานไป-กลับกว่า ๒๐ กิโลเมตร เป็นครั้งแรก นี่เป็นระยะทางที่ไกลที่สุดในชีวิตของเราเลยทีเดียว เล่าเรื่องย้อนความหลังกับจักรยานเด็ก ใจวิเศษ หากย้อนไปเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว หลวงพ่อ สมบูรณ์ได้ใช้จักรยานสร้างสัมพันธ์กับกลุ่มเด็กๆ จนเกิดการก่อตั้ง “ชมรมจักรยานเด็กใจวิเศษ” ขึ้นทุกๆ วันเสาร์ ภาพของเด็กๆ ภายหลังจาก เลิกเรียนก็จะมารวมตัวกันปั่นจักรยาน ท่านเป็น ผู้น�ำทีมจักรยาน พาเด็กๆ ในชุมชนไปปั่นจักรยาน จิตอาสา ท�ำกิจกรรม เช่น การเก็บขยะ พาเรียนรู้ ป่า สมุนไพร ทอเสื่อ ฯลฯ เพื่อเรียนรู้วิถีวัฒนธรรม ชุมชน พร้อมกับการสอดแทรกการเรียนรู้ธรรมะ

20 �������������.indd 33

11/28/16 11:00 AM


34

เป็นที่มาของการท�ำงานโดยเราไม่ต้องรู้สึก ว่ามันแปลกแยก ก็คือตัวเรา ชุมชน สังคม ด้วย ก็คือไปด้วยกัน”

ท่านบอกกับเราว่า “การเรียนรู้ก็ เหมือนกับจักรวาล โลกหมุนรอบตัวเอง โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ ตัวเราเปรียบดัง โลก เราต้องหมุนรอบโลกด้วย” การเรียนรูก้ เ็ หมือนกับจักรวาล “โลก หมุนรอบตัวเองวันละ ๒๔ ชั่วโมง หนึ่งรอบ เกิ ด กลางคื น กลางวั น ในขณะเดี ย วกั น โลกมันไม่ได้หมุนรอบตัวเองอย่างเดียว มัน ก็ ยั ง หมุ น รอบดวงอาทิ ต ย์ ด ้ ว ย ตั ว เรา หมายถึงโลก ศูนย์กลางของจักรวาลหมายถึง ดวงอาทิตย์ ก็คือชุมชน คือโลก และเรา ต้องหมุนรอบโลกด้วย ไม่ใช่ว่าเอาแต่ตัวเอง รอด แล้วไม่มองสังคม ชุมชนเลย ไม่มอง ผู้อื่นเลย มันก็เห็นแก่ตัวเกินไป ไม่ต้องรอ อะไร ตรงกับพระพุทธเจ้าที่ว่า เธอจงจาริก ไปยังประโยชน์ตนประโยชน์ทา่ นให้ถงึ พร้อม ก็คือท�ำตัวเองและผู้อื่น ขณะเดียวกัน เลย

20 �������������.indd 34

จักรยานสัมพันธ์กบั โลกกว้าง จักรยาน ยังเป็นที่มาของความสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ รอบตั ว การหมุ น วงล้ อ หนึ่ ง ครั้ ง ก็ เ ท่ า กั บ ความกล้าหาญที่ท�ำให้เราออกไปเผชิญ ไป เรียนรู้สัมผัสชีวิต โลกกว้าง และผู้คน ชุมชน สั ง คม รวมถึ ง โลกธรรมชาติ ใ นแบบฉบั บ ของความเป็นมิตรไมตรี มีธรรมชาติ ป่าไม้ แม่น�้ำ ภูเขา ฯลฯ ช่วยเป็นครูของเราให้ เรียนรู้ สิ่งเหล่านี้ท�ำให้เราอดนึกถึงข้อความ ทีห่ ลวงพ่อเขียนไว้บนป้ายทีว่ ดั ว่า “ธรรมชาติ คือครูผยู้ งิ่ ใหญ่” ดังนัน้ จักรยานไม่เป็นเพียง แค่ “พาหนะ” เท่านัน้ มันยังมีอะไรมากกว่า “พาหนะ” การเรียนรูต้ อ้ งมีชวี ติ ชีวา สนุก และ มีความสุข หนึ่งในเป้าหมายของหลวงพ่อ ในการสร้างพลังความรักในการเรียนรู้ “การ เรียนรู้มันต้องมีชีวิต มันต้องสนุก และมัน ต้องมีความสุข อันนี้คือเป้าหมายของเรา ทั้ ง ผู ้ ส อนและผู ้ เ รี ย น แต่ เ ดี๋ ย วนี้ มั น ไม่ ใ ช่ ท�ำไมเด็กถึงไม่อยากไปโรงเรียน เพราะมัน เจอแต่เรื่องเก่าๆ เจอแต่ห้องสี่เหลี่ยม เรา รูส้ กึ ว่าอย่างนัน้ เหมือนกับตัวเราตอนเป็นเด็ก เราเรียนรู้อย่างมีความสุขเมื่อเราเรียนอยู่ ในระบบ รู้หรือเปล่าว่าตอนไหน ก็คือเมื่อตอน

11/28/16 11:00 AM


35

เราออกไปค้างแรมค่ายลูกเสือ รู้สึกชอบ การเรียนแบบนั้น มันชอบ คือ มันได้ท�ำ กับข้าวให้เพื่อนและให้ครูกิน แบบนั้นมัน รู ้ สึ ก มี ค วามสุ ข ก็ คื อ ไปท�ำเอง ตั ก น�้ำ เอง มันรู้สึก ใช่ คือ มันเป็นการเรียนรู้วิถีชีวิต ด้วยการอยู่ด้วยตัวเองอย่างนี้ อันนั้นคือมี ความสุขมากที่สุดเลย” หลวงพ่อเล่าให้เรา ฟังด้วยท่วงท่าที่สนุกและมีความสุข จักรยาตรา เดินทางจาริก “จักรยาตรา คือการเคลื่อนธรรมะด้วยจักรยาน” เกิดขึน้ จากรอยต่อของธรรมยาตรา (การเดิน) ที่ ท ่ า นเห็ น ว่ า ธรรมยาตราก็ คื อ การเดิ น ประกาศธรรมในสมัยของพุทธกาล สมัยนี้ ก็มาใช้เครื่องทุ่นแรงคือจักรยาน แต่เป็น การเดินบนอาน และสามารถย่นระยะทาง ไปไกลได้กว่าครึ่ง จั ก รยาตราเป็ น พลั ง แห่ ง ความ ภาคภูมิใจและความสุขในการท�ำงาน ท�ำให้ เรารู้ว่าความสุขมิได้อยู่ไกลตัว เพียงเรารู้จัก ประมาณและความพอดี ท่านได้ขยายผล เมล็ดพันธุ์ของการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมและ พลังงานทางเลือกในทุกรูปแบบที่ยังคงเป็น สายป่ า นให้ ห ลวงพ่ อ ต่ อ เติ ม เชื้ อ ไฟของ การเรียนรู้อยู่รอบๆ ตัวเสมอ และยังเป็น สายธารหล่อเลี้ยงให้ “การเดินทาง ความ หวัง ความศรัทธา” ออกมาสู่โลกของการ เรียนรู้ ด้วยรูปแบบกิจกรรมอย่างไม่ขาดสาย

20 �������������.indd 35

ด้วยแรงใจแห่งความศรัทธาและเชื่อมั่นใน การเรียนรู้ หากย้ อ นเวลากลั บ ไปช่ ว งหนึ่ ง กั บ ประสบการณ์การเลือกปั่นจักรยานทางไกล ที่ สุ ด ในชี วิ ต ของหลวงพ่ อ ท�ำให้ พ วกเรา ทราบถึงความเป็นมาเป็นไปของการตัดสินใจ ท�ำกิจกรรมนี้ ท่านเล่าให้ฟังว่า ช่วงสมัยที่ หลวงพ่ อ อยู ่ ใ นกลุ ่ ม พระสงฆ์ นั ก พั ฒ นา ภายใต้ชื่อ “เสขิยธรรม” ในกลุ่มได้มีการ ประชุ ม หารื อ และออกแบบกิ จ กรรมเพื่ อ ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี หลวงพ่อเลย ตั้งใจว่าจะปั่นจักรยานให้ได้ระยะทาง ๒,๖๐๐ กิโลเมตร เรื่องราวต่อไปของหลวงพ่อกับ การปั่นจักรยานระยะทางไกล จึงเกิดกิจกรรม จักรยาตรา ๒,๖๐๐ กม. ฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ เมื่อปี ๒๕๕๓– ๒๕๕๔ แม้ในช่วงเวลานั้น หลวงพ่อยังคง ต้องกลับมาทบทวนตน ท�ำการบ้านเรื่อง สุขภาพ ระยะทาง แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรค ต่อการเดินทางเพื่อการปั่นในครั้งนี้ จักรยาตราโซล่าเซลล์ คืนสู่ธรรมชาติ ต่อมาหลวงพ่อเริ่มมาสนใจเรื่องพลังงาน ทางเลื อ ก โซล่ า เซลล์ จนเกิ ด กิ จ กรรม “จักรยาตราโซล่าเซลล์” การตระหนักรูถ้ งึ ความส�ำคัญเรือ่ งพลังงานทางเลือกกับความ ยั่งยืน เป็นสิ่งจ�ำเป็น และเร่งด่วนกับชีวิต ประจ�ำวัน หลวงพ่อย�้ำให้พวกเราฟังว่า มัน

11/28/16 11:00 AM


36

เป็นสิ่งใกล้ตัวและเราใช้มันบ่อยที่สุด คือไฟฟ้าและแสงสว่าง หลังจากนั้น ปฏิบัติการของหลวงพ่อก็เริ่มต้นด้วยการแสวงหาความรู้และเรียนรู้เกี่ยวกับ พลังงานโซล่าเซลล์ การเรียนรู้ค่อยเป็นค่อยไป เกิดจากการท�ำซ�้ำหลายๆ ครั้ง จนเป็นรูปธรรม

ปั่นเปลี่ยนชีวิต พลังแห่งการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ กับความหมายของค�ำว่า “ปฏิบัติธรรมบน อานจักรยาน” นัน้ อาจเป็นเครือ่ งมือของการ เรียนรู้ ฝึกฝน ด้วยการมีสติอยู่กับทุกช่วง เวลาของปัจจุบันขณะ ท่านได้เล่าให้เราฟัง ว่า “การปฏิบตั ธิ รรมบนอานจักรยานคือการ สร้างสติ เหมือนกับที่เราท�ำอยู่ เหมือนกับ การหายใจกับการเคลื่อนไหวไปด้วยกันคือ ต้องมีตัวรู้ คือการปฏิบัติธรรม แต่ถ้าคุณ ไม่รู้ แม้แต่ปฏิบัติธรรมอยู่ก็ไม่ใช่ รูปแบบ คือการภาวนา เดินจงกรมไปโน้นมานี่ก็ไม่ใช่ มันก็ได้แต่รูปแบบ แต่ว่าถ้าอยู่ตรงไหนก็ได้ แค่มีตัวรู้ อย่างคอยรถเมล์ ล้างจาน เข้า ห้ อ งน�้ ำ ก็ คื อ การมี ส ติ การมี ส ติ ก็ คื อ การ ปฏิ บั ติ ธ รรม ถ้ า คุ ณ อยู ่ ใ นรู ป แบบชุ ด ขาว ใจคุณยังว้าวุ่น ใจคุณยังขุ่นมัวอยู่ ตรงโน้น ท�ำไง ตรงนี้ท�ำไง นั่งภาวนายังคิดถึงบ้าน มันก็ได้แต่รูปแบบ”

เจาะจงไปที่อันใดอันหนึ่ง มันเฉพาะอยู่ใน วิถีชีวิตของเรานี่ อะไรก็ได้ คือเรามีฉันทะ ชอบพอในสิ่งไหนก็ท�ำให้มันแจ้งๆ ไปเลย รักสิ่งไหน เรียนรู้สิ่งไหน ให้มันเป็นฉันทะ พูดง่ายๆ มีความรักความพอใจในสิ่งที่เราท�ำ มันก็เกิดความสุข ถ้ามันเกิดในสิ่งที่เราชอบ”

สติ ป ั ฏ ฐาน ๔ บนอานจั ก รยาน “สติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเป็นหัวใจทางการบรรลุธรรม ๔ อย่าง ก็คือกายกับจิตมันแยกเป็นสองคู่นี้ จิตธรรม กายกับใจมันไปด้วยกันกับจักรยาน แต่เป็น พาหนะอื่นล่ะ กายอย่างเดียว ใจไม่มีส่วน เกี่ยวข้องเท่าไหร่ หมายถึงคนพิการก็ขับได้ รถ ถูกไหม หรือว่าแม้แต่เมามันยังขับเลย แหล่ ง เรี ย นรู ้ เ พื่ อ การฝึ ก ตนบนวิ ถี แต่ จั ก รยานเมาแล้ ว มั น ถี บ ไม่ ไ ด้ ล้ ม เลย ภาวนา “การปฏิบัติธรรมมันไม่ใช่เฉพาะ ส่วนรถยนต์มันมีตัวช่วย ๔ ล้อไง ๒ ล้อแล้ว

20 �������������.indd 36

11/28/16 11:00 AM


37

มันประคองไม่ได้ สติต้องพร้อมแล้วอย่าง น้อย กายใจไปด้วยกันถึงพร้อม กายพร้อม ใจพร้อม ไปกันเลย” การปฏิบัติตรง รู้เองและเห็นเอง หลวงพ่ อ บอกกั บ เราว่ า การเรี ย นรู ้ ต ้ อ ง อาศัยการปฏิบัติและไปสู่การเปลี่ยนแปลง เมื่อเราลงมือปฏิบัติแล้วเราก็จะได้ค�ำตอบ และที่ ส�ำคั ญ การเรี ย นรู ้ ต ้ อ งมี ค วามสุ ข ในทุกขณะ “การเรียนรู้ต้องเกิดจากลงมือ ปฏิบัติท�ำ รู้เอง เห็นเอง กระบวนการของ เสมสิกขาลัยนี่ก็ใช่ อันนี้เป็นกระบวนการ เปลี่ยนแปลงจากภายในของเราที่ว่า การ เรียนรู้หรือการสอนธรรมะนี่มันไม่ต้องไป เทศน์สอนอย่างเดียว ก็คือถ้าเราจะต้องการ เปลี่ยนแปลงมนุษย์ มันต้องเปลี่ยนแปลง จากข้างใน ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเพราะเขาเชื่อ หรือเขาฟังเรา ต้องเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง เลย ศรัทธา มั่นใจว่า การสอนด้วยวิธีการนี้ เป็ น เนื้ อ เป็ น ตั ว ในแบบวิ ธี ข องเรา ก็ เ ลย มี ค วามสุ ข ผู ้ ใ ห้ ก็ มี ค วามสุ ข ด้ ว ย ก็ มั น ทันสมัย ฉับพลัน เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ผู้เรียน ก็เป็นของใหม่ ไม่ต้องไปเอายกต�ำรับต�ำรา อะไรมามากเกินไป เอาเฉพาะหน้า การ เรียนรู้มันเกิดเอาข้างหน้า มันเกิดปัจจุบัน ก็เลยเราท�ำงานทุกอย่าง ถ้าเราพึงพอใจ แล้วรู้ค�ำตอบว่าเราจะไปทิศทางไหน ก็ท�ำให้ เรามีความสุข ผลสุดท้ายการเปลี่ยนแปลง ของเราก็คือมีความสุขทุกวัน”

20 �������������.indd 37

หมุนล้อ หมุนโลก หมุนธรรม เป็น การหมุนเพื่อให้เกิดการเคลื่อนตัวของการ เรี ย นรู ้ ใ นทุ ก จั ง หวะ ไม่ เ พี ย งแต่ เ ป็ น การ ปั่นจักรยานเพียงแค่โลกภายนอก จักรยาน ยังเป็นอุบายของการปัน่ กลับเข้าสูก่ ารเรียนรู้ โลกด้านในให้เติบโตไปกับการเรียนรูอ้ กี ด้วย ในจังหวะของการรับฟังเรื่องราวของชีวิต กิจกรรมการเรียนรู้ของหลวงพ่อท�ำให้เรา ค้นพบความหมายของการปั่นจักรยานกับ การภาวนา ท้ายที่สุด หากพวกเราจะเรียนรู้จาก หลวงพ่อ คงมีเรื่องราวที่น่าสนุกสนาน ตื่นเต้น ประทับใจ มีความสุขกับการปั่นจักรยาน กับหลวงพ่อ กับทุกๆ การเดินทางของการ หมุนล้อ หมุนโลก ธรรมะก็จักบังเกิดสู่โลก ของการเรียนรู้ ทุกๆ วงล้อกับระยะทางที่ เคลื่อนไปพร้อมกับหลวงพ่อ คือการประยุกต์ ธรรมะมาในวิถีชีวิต หมุนโลกรอบๆ ตัวให้ มี ชี วิ ต ชี ว า มองเห็ น โลกธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อม หมั่นฝึกฝน แสวงหา ทดลอง ลงมือ เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ ไปพร้อมกับ เส้นทางของความพอดี ความพอเพียง และ การพึ่งตนเอง

11/28/16 11:00 AM


20 �������������.indd 38

11/28/16 11:00 AM


ยุพิน ประเสริฐพรศรี

วัดเทพมงคล ต.บุ่ง อ.เมือง จ.อ�ำนาจเจริญ พระครูมงคลวรวัฒน์ (สวัสดิ์ วัฑฒโน) รักษาการเจ้าคณะอ�ำเภอเมืองอ�ำนาจเจริญ “งานเผยแพร่ธรรมะของพระพุทธเจ้า” นั้น คือหัวใจในการท�ำงาน เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา เสียงเพรียกดังกังวาน ดั่งฆ้องระฆังใบใหญ่ ก�ำลังถูกตีบ่อยๆ ครั้งทุกมื่นชื่นวัน ลงสู่ผืนแผ่นดินโลก และโปรยหยาดฝน ไอเย็น เข้าสู่สายธารแห่งชีวิต เป็นบ่อน�้ำดับกระหายให้แก่ชุมชนและ สังคมได้ดื่มกินทุกวี่วัน และนี่คือความหมายของวัดเทพมงคล รวมถึง การท�ำงานของพระครูมงคลวรวัฒน์ หรือที่เราเรียกว่า “หลวงพ่อ” ต.บุ่ง อ.เมือง จ.อ�ำนาจเจริญ ที่ผ่านมา ท่านเป็นพระสงฆ์นักพัฒนารุ่นแรกๆ ที่มีความรักในการเรียนรู้ มุ่งมั่น ออกเดินทางเป็นพระธรรมทูตเผยแผ่ พระพุ ท ธศาสนาในหลายๆ พื้ น ที่ ข องแผนที่ โ ลก ไม่ ว ่ า จะเป็ น อิ น เดี ย ศรีลังกา ไต้หวัน ทิเบต เป็นต้น รวมทั้งแผนที่ประเทศไทยกว่า ๗๔ จังหวัด ความมุ่งหมายของท่านต่อการปฏิบัติภารกิจเผยแพร่พระพุทธศาสนา หนึ่งในความหมายที่ส�ำคัญ ท่านบอกว่า “การเป็นกระบอกเสียงของ พระพุทธเจ้า” ด้วยการพัฒนาคน ให้คุณธรรมน�ำความรู้ ปลูกฝังอบรม จิตใจชาวบ้านและชุมชน หมู่บ้านให้เป็นวิถีธรรมะอยู่คู่กับชีวิต

20 �������������.indd 39

11/28/16 11:00 AM


40

คุณยายพาชมรอบๆ วัด เวลาสายๆ หลังเก้าโมงเช้า เราสองคนเดินทางมายัง วัดเทพมงคล อ.เมือง จ.อ�ำนาจเจริญ บนถนนก่อนเข้าถึงยัง ประตูวัด แลดูสงบ มีความเรียบง่าย สองข้างทางมีร้านค้า อาหารการกิ น และห้ า งสรรพสิ น ค้ า ขนาดไม่ ใ หญ่ นั ก ใน ละแวกนี้ เราสองคนค่อยๆ เดินจากต�ำแหน่งที่ลงรถใกล้ ย่านชุมชนเมืองบริเวณตลาดชุมชน เดินเท้าเข้ามายังวัด ก่อนเข้าวัดเราได้ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสาร ความรู้ ทั่วไปว่า วัดแห่งนี้อะไรเป็น “จุดเด่น” และความน่าสนใจ ให้เราเข้าไปเรียนรู้บ้าง เราสองคนนั่งศึกษารายละเอียด พูดคุย เรียนรู้ร่วมกันเบื้องต้น ก่อนเข้าพบกับพระครูมงคล เราพบเนือ้ หาสาระว่า “พระครูมงคล ผู ้ อุ ทิ ศ ตนเพื่ อ ศาสนา บนเส้ น ทางพระ นั ก พั ฒ นาสั ง คมไทย” ท่ า นปรารภไว้ ว ่ า การเสียสละประโยชน์สว่ นตนเพือ่ ประโยชน์ ส่ ว นรวมนั้ น ส�ำคั ญ ยวดยิ่ ง การบวชของ ท่ า นมี เ ป้ า หมายเพื่ อ ดั บ ทุ ก ข์ ถึ ง กระแส พระนิ พ พาน เราควรเร่ ง สร้ า งบารมี เ พื่ อ เข้าถึงพระนิพพานด้วยการสร้างประโยชน์ ต่อสังคม ส่วนเป้าหมายของเราคือ การ เดิ น ตามทางของเรา เราไม่ ห ลง ควรท�ำ ควบคู ่ ไ ปเท่ า ที่ ท�ำได้ โดยการใช้ “หลั ก ธรรมะ” เคลื่อนไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม ตามแนวทางของการศึกษาธรรมะ

20 �������������.indd 40

ข้อความบอกกล่าวแก่เราว่า วัดแห่งนี้ คือ “วัดเชิงปฏิบัติการธรรมะ การเรียนรู้ น้อมน�ำการพัฒนาเข้ามาเป็นหัวใจ” ที่นี่ เอกลักษณ์ความเป็นสังคมแห่งการเรียนรูค้ อื ผู้น�ำเป็นนักพัฒนา มีวิสัยทัศน์ คือ อนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม พร้อมเผยแพร่หลักธรรม มุ่ง น�ำสืบสานประเพณี มีสุขภาพอนามัย ใส่ใจ สุขภาพ พัฒนาแบบมีส่วนร่วม อีกทั้งท่าน ยังมีความมุ่งมั่นและตั้งใจว่า ต้องการพัฒนา วัดควบคู่กับการพัฒนาชุมชน เน้นพลังการ มีส่วนร่วม สร้างคนให้มีคุณธรรมน�ำความรู้ เท่าทัน ปรับตัวได้กับยุคสมัย สอดคล้อง กับความเป็นอยู่ของผู้คนที่นี่ ซึ่งชาวบ้าน ส่วนใหญ่ยังคงท�ำอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป

11/28/16 11:00 AM


41

ภายหลังจากนั้น เราสองคนก็พอจะ เริ่ ม เข้ า ใจการท�ำงานเพื่ อ ชุ ม ชนเบื้ อ งต้ น แล้วสองมือก็หยิบกระเป๋า คว้าแก้วกาแฟ ย่างเท้าต่อมายังถนนสายเล็กๆ ผ่านมายัง ประตู วั ด ภาพที่ ป รากฏต่ อ สายตาอย่ า ง เด่นชัดของพื้นที่บริเวณวัดแห่งนี้ สิ่งแรกคือ เสาอโศก (เสาสิงโตทราย) ตั้งสูงตระหง่าน ระหว่างทางสามแยกภายในบริเวณวัด ระหว่าง รอเวลานัน้ เราเดินเล่นและสังเกตสิง่ แวดล้อม รอบตัว สัมผัสกับบรรยากาศว่าเป็นเช่นใด ความเงียบ สงบ เดินเข้ามาใกล้กับประตูศาลา ด้านหน้าที่ปิดไว้ ท�ำให้เราเริ่มรู้สึกขึ้นมา ทันควันว่า วัดแห่งนี้เงียบและร่มรื่นจริงๆ โดยเฉพาะมองมายังขวามือของเสาอโศก ป้าย “ลานธรรม” บริเวณนีย้ งิ่ เงียบเข้าไปใหญ่

เวลาตามเข็มนาฬิกาในห้องรับรอง เดินผ่านไปอย่างรวดเร็ว เป็นเวลาเดียวกับ ที่ ผู ้ สู ง อายุ อาสาสมั ค รในชุ ม ชน เข้ า มา พบกับหลวงพ่อ ท่านเลยให้คุณยายผู้เป็น อาสาสมั ค รสามคน ชื่ อ ว่ า คุ ณ ยายสนิ ท คุณยายเติมศรี และคุณยายอุทัย เป็นผู้พา เราสองคนเดินชมบริเวณรอบๆ วัดให้ทั่ว เพื่อดูภาพรวมของวัด บุคลิกของคุณยาย ทั้ ง สามยิ้ ม แย้ ม แจ่ ม ใส ยิ น ดี เ ป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่จะพาเราทั้งคู่เรียนรู้พื้นที่วัด การเดินดูวัด ได้ เ ริ่ ม ต้ น ขึ้ น ผ่ า นสั ม พั น ธภาพอั น งดงาม ของคุ ณ ยายทั้ ง สาม เราสองคนรี บ กราบ ขอบคุณ ยกมือไหว้ แล้วปล่อยเวลานี้ให้ไกด์ สามท่าน (คุณยาย) เป็นผู้น�ำทาง โดยเรา จะมีหน้าที่เดินตามแล้วถามในสิ่งที่สงสัย ไม่นานนัก เราสองคนเดินตรงมายัง ใคร่รู้ถึงความเป็นวัดและภาพของชุมชน กุฏิของหลวงพ่อหรือเรือนรับรองส�ำหรับ เรารับรูว้ า่ พืน้ ทีบ่ ริเวณภายในวัดแบ่ง แขกที่มาเยือน เรากราบนมัสการหลวงพ่อ การใช้ประโยชน์เป็น ๕ เขต โดยมีอาณา แจ้งวัตถุประสงค์ของการมาครั้งนี้ ก่อนที่ บริ เ วณถนนตั ด อย่ า งชั ด เจน ได้ แ ก่ เขต จะร่ ว มประชุ ม เสวนาอย่ า งเป็ น ทางการ พุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตสวนป่าและ พี่ช่างกล้องดูท่าทาคุ้นเคยกับหลวงพ่อมาก ไม้ผลไม้ประดับ เขตสุสานฌาปนกิจสถาน พูดคุยกับท่านอย่างไม่เป็นทางการในเรื่อง ต่างๆ นานาถึงการมาเยือนอีสานเมื่อครั้ง และเขตบริการสังคม จุดโดดเด่นของสถานที่ นานมาแล้ว ทิศทางงานของพระสงฆ์นัก ในการเป็นแหล่งเรียนรู้คือ หอวัฒนธรรม พั ฒ นา และงานโครงการแผ่ น ดิ น ธรรม นิ ทั ศ น์ สวนเกษตรตามแนวเศรษฐกิ จ แผ่นดินทอง เท่าที่เราพอจับประเด็นการ พอเพียง (เด็กเล็กและระดับประถม) ฮ้านค้า กองบุญสงฆ์ ร้านตัดผมเสริมสวยเทพมงคล พูดคุยได้

20 �������������.indd 41

11/28/16 11:00 AM


42

บาร์เบอร์ บ้านโบราณอีสาน สนามเด็กเล่น ศู น ย์ อ บรมเด็ ก ก่ อ นเกณฑ์ ธรรมภาษิ ต ต้นไม้พูดได้ เรือนาวาน�ำพาสุขภาวะ ฯลฯ และแล้ ว จุ ด แรกที่ ค ณะฯ เรามาหยุ ด คื อ หอวั ฒ นธรรมนิ ทั ศ น์ เดิ น เข้ า มาภายใน เต็มไปด้วยข้าวของเครือ่ งใช้ทเี่ คยมีมาในอดีต ของชุมชนอีสาน มีป้ายเขียนติดเพื่อบอก ความรู้ว่า สิ่งนี้คืออะไรในกาลครั้งหนึ่ง เป็น สิง่ ของทีห่ ายากมากขึน้ หรือกลายร่างมาเป็น ของทันสมัยมากขึ้น หรือไม่ก็บางทีอาจไม่ได้ อยู่ในวิถีชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่นของที่นี่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน อาวุธโบราณ หัตถกรรมพืน้ บ้าน นิทรรศการ ฮี ต สิ บ สอง ธนบั ต รโบราณ หรื อ แม้ แ ต่ ตู ้ ห นั ง สื อ ที่ ส�ำคั ญ เราใช้ เ วลาอยู ่ ใ นหอ วัฒนธรรมแห่งนี้เพื่อศึกษาความรู้ ภูมิปัญญา พอควร สิ่งที่น่าสนใจคือ เรื่องราวของวิถีชีวิต ความเป็ น อยู ่ อ าชี พ ที่ เ ปลี่ ย นไป ยุ ค สมั ย กาลเวลา เปลี่ยนผ่านมา เราอาจไม่ค่อยได้ พบเห็น เช่น ไซดักปลาขนาดใหญ่ ซึ้งนึ่งข้าว เหนียว เงินตราแบบโบราณ เบี้ย หอย ก่อน จะมาเป็นเงินกระดาษแบบยุคสมัยปัจจุบัน เป็นต้น

20 �������������.indd 42

ผจญภัย ท่องแดนกาลเวลา สัมผัส ธรรมะถิ่นอีสาน ด้วยความรักและความ สนใจเป็นพิเศษในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ ของเรา ก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกว่า ห้วงเวลานี้ เหมือนได้ท่องโลกแห่งกาลเวลา แม้สิ่งของ จะถูกน�ำมาเรียงและจั ดเก็บ บอกการใช้ ประโยชน์ แต่เราก็อดไม่ได้ที่ให้จินตนาการ เข้ามาท�ำงาน ฉายภาพในหัวใจให้ปรากฏ ถึ ง ภาพวิ ถี ชี วิ ต ของใช้ ทั้ ง หลาย เครื่ อ งใช้ ในครั ว เรื อ นก�ำลั ง เคลื่ อ นที่ แม่ ญิ ง ต�่ ำ หู ก (หญิงสาวทอผ้า) ตุก๊ ตาจ�ำลองจิว๋ ก�ำลังมีชวี ติ เราก็สนุกสนาน เพลิดเพลิน ผจญภัยไปยัง ยุคหนึ่งของชุมชนภาคอีสาน หากย้อนเวลาไป หอวัฒนธรรมแห่ง นี้สร้างขึ้นในปี ๒๕๓๙ โดยหลวงพ่อท่าน ด�ำริที่จะรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็น ประเพณีดีงามของชุมชนชาวอ�ำนาจเจริญ ไว้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้แก่คนรุ่นหลัง เลยชวนบอกบุญกับชาวบ้าน ชุมชน ซึ่งผู้ที่ มีจิตศรัทธาได้น�ำข้าวของเครื่องใช้มาบริจาค ด้วยความตั้งใจว่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้มรดก ทางวัฒนธรรม และเก็บรวบรวมศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน รวมทั้งรางวัล ใบประกาศ ต่างๆ ในการท�ำกิจกรรมหรือการแลกเปลี่ยน ทางวัฒนธรรม เราเห็นของฝาก ของที่ระลึก จากประเทศเกาหลี จีน อินเดีย ศรีลังกา เนปาล ที่หลวงพ่อได้เดินทางช่วงยุคพระธรรมทูตอีกด้วย

11/28/16 11:00 AM


43

ต่อมา คุณยายพาพวกเรามาหยุดยังบริเวณ “ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและ สนามเด็กเล่น” เราสองคนเดินไปทักทายครูและเด็กเล็ก เป็นเวลาใกล้จะ เลิกเรียน มีผู้ปกครองมาคอยรอรับกันชุลมุน คุณยาย ๓ ท่าน ชวนเดินต่อ มาเรื่อยๆ ผ่านลานปฏิบัติธรรมและพวกเรามาหยุดยังฮ้านค้ากองบุญสงฆ์ที่มี ของใช้จ�ำเป็นในชีวิตประจ�ำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก และอืน่ ๆ รวมถึงของทีไ่ ด้จากสังฆทานมาช่วยเหลือชาวบ้าน มีระบบการซื้อเอง ขายเอง หรือบางทีก็บริจาค ภายหลัง จากนั้น เราสองคนก็เดินกลับมายังศาลาสงฆ์ จบเวลาการ เดินชมวัดของวันนี้แล้วโดยปริยาย

วิถีชีวิต วิถีแห่งธรรม หกโมงเช้ารุ่งขึ้น ละอองน�้ำบนผิวใบไม้ แสงตะวันสาดส่องร�ำไร ก�ำลังเป็นเครื่องเตือน เวลาให้เราสองคนเคลือ่ นย้ายมายังวัดแห่งนี้ รถมารับเราแต่เช้าให้มายัง “งานบุญช่วง เช้า” การสังเกตการณ์ทเี่ ป็นไปแบบธรรมชาติ ด้วยการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับชาวบ้าน ชุมชน และวัดแห่งนี้ก็เริ่มต้นขึ้น กิจวัตร ปฏิบัติที่น่ี มนต์พิธี ด�ำเนินไป มีผู้สูงอายุ อาสาสมั ค รคอยน�ำสวดมนต์ ล�ำดั บ เวลา แผ่เมตตา นั่งกรรมฐาน แต่สิ่งที่น่าสนใจที่ เราสังเกตคือ เหตุใด ผู้สูงอายุ ชาวบ้าน และเด็ ก น้ อ ยนั บ รวม ๓๐ กว่ า คน ยั ง คง เข้ามาวัดท�ำบุญอย่างต่อเนื่อง มีการปรึกษา หารือ สื่อสารประชุมระหว่างกันว่า วัดของ

20 �������������.indd 43

เรามีอะไรเข้ามา ให้ทุกคนได้รับทราบ รณรงค์ พลังร่วมกัน ถ้าใครอยากออกความคิดเห็น หรือเสนอแนะอะไรอันเป็นประโยชน์ก็ยินดี หลวงพ่ อ ให้ เ วลาเราสองคนส�ำหรั บ การ พูดคุยอย่างได้รับความใส่ใจ ถามไถ่สารทุกข์ สุขดิบกับวาระงานที่เข้ามาขอศึกษาเรียนรู้ ในการเชื่ อ มประสานความรู ้ สึ ก โยงใยให้ เข้ามาวัดอย่างต่อเนือ่ ง มาเป็นพืน้ ทีศ่ นู ย์กลาง ของชุมชน หลังจากงานบุญเสร็จ เราสองคน ก็ ไ ด้ ร ่ ว มวงอาหารที่ ทุ ก คนตระเตรี ย มมา ส�ำหรับท�ำบุญ อาหารท้องถิ่น ทั้งคาวและ หวาน ใส่จานเรียงรายแบบตระการตาเลย ทีเดียว สิ่งที่เราเห็นและสัมผัสท�ำให้รู้สึกถึง ความหมายของวัด อันเป็นวิถีคู่กับชุมชน

11/28/16 11:00 AM


44

ภาพวัดที่นี่ พอเราได้ร่วมกิจกรรมงานบุญช่วงเช้า แยกไม่ออกเลยว่า นี่เป็นวัด ชุมชนล้อมเมืองที่ยังคงมีประเพณีการท�ำบุญใส่บาตรตอนเช้า ฟังเทศน์ ฟัง ธรรม คล้ายกับวันพระในชุมชนชนบทที่เราเคยร่วมมาเลย เราสองคนมีเวลาและโอกาสในการพูดคุยกับหลวงพ่อเป็นวันที่สอง งานที่ท่านท�ำและเป็นพระสงฆ์พัฒนารุ่นแรกๆ คือ โครงการฯ แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ขับเคลื่อนพัฒนาคนในสามด้านคือ ด้านจิตใจ ด้าน สังคม และด้านเศรษฐกิจ จนที่ผ่านมาท่านได้สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างคนมามากมาย ท่านบอกให้เราฟังว่า งานหลักของท่าน คือการอบรมสร้างจิตส�ำนึก หมู่บ้านแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง หมายความว่า ต้องเป็นหมู่บ้านที่ชาวบ้าน ชุมชน ปลอดอบายมุข รักษาศีล ๕ และเป็นหมู่บ้านที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างกัน ถนนสะอาด โรงเรียนสะอาด มีคุณธรรมเป็นเครื่องน�ำทาง มาบัดนี้ ท่านบอกกับเราว่า ยุคสมัยเปลี่ยน วิถีชีวิตเปลี่ยน ชุมชนก็เปลี่ยน การเรียนรู้ก็เปลี่ยนตามด้วย วัดกลายเป็นแหล่ง เรียนรู้ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชน ให้ลูกหลานหรือคนรุ่นหลังเข้ามา เรียน รู้ความเป็นไปของบรรพบุรุษ โดยส่วนใหญ่แล้วการเข้ามาเรียนรู้ ในวัดแห่งนี้ จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่าเด็กและเยาวชนรุ่นหลังๆ ภาพสะท้อนจากหลวงพ่อกับระยะห่างระหว่างบ้านกับวัด หลวงพ่อเล่าว่า “สภาพชุมชนทั่วไปกลายจากชุมชนชนบทกลายมาเป็นชุมชน เมืองต่างคนต่างอยู่ การพึ่งพาอาศัยในปัจจุบันจะยาก บ้านใกล้กันก็ไม่รู้จักกัน ชาวบ้านหาปลา หาผัก หาหญ้าที่ไหนไม่มี สมัยก่อนในน�้ำมีปลา ในนามีข้าว พอมายุคสมัยนี้การท�ำงานระหว่างวัดและบ้านเริ่มห่างไป ความเห็นแก่ตัวของ พระของโยมมากขึ้น สมัยก่อนพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน” วัดส่งเสริมสุขภาพชุมชน สิ่งส�ำคัญที่ท่านเน้นย�้ำคือ เรื่องของการ บริโภคอาหาร สุขภาพอนามัย เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต “การบริโภค อาหารที่ก่อให้เกิดเป็นสารพิษ ปัจจุบันนี้เรารู้แล้วว่า คนในบ้านเมืองเราเป็น

20 �������������.indd 44

11/28/16 11:00 AM


45

โรคภัยไข้เจ็บ เราจึงเน้นเกี่ยวกับการส่งเสริม ญาติ โ ยม อุ บ าสก อุ บ าสิ ก าทั้ ง หลายจะ บริโภคอาหารหรือปรุงอาหารมาถวายพระ ให้เข้าใจว่า อาหารอย่างไรถึงได้บุญกุศล มาก เป็นอาหารที่ปลอดโรค ท�ำให้พระสงฆ์ มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ ตามหลักค�ำสอน ในทางพระพุทธศาสนา” ภายใต้ โครงการ “วั ด ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ” ที่ เ ริ่ ม ต้ น ตั้ ง แต่ ป ี ๒๕๔๘ ได้พัฒนาเป็นวัดต้นแบบที่มีชมรม ผู ้ สู ง อายุ มี ส มาชิ ก กว่ า ๗,๐๐๐ คน มี กิ จ กรรมการออกก�ำลั ง กายทุ ก วั น พระ มี การดูแลกลุ่มผู้พิการให้ได้รับการอบรมการ นวดเพื่ อ เป็ น วิ ช าไปประกอบอาชี พ และ ยังเป็นที่บ�ำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติด แบบ บังคับบ�ำบัด โดยน�ำภูมิปัญญาของท้องถิ่น ภาคอีสานมาใช้บ�ำบัดฟื้นฟูและปรับเปลี่ยน พฤติ ก รรม แล้ ว ฝึ ก อาชี พ หลั ง การบ�ำบั ด เช่น เกษตรกรรม การผลิตน�้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น ซึ่งการดูแลสุขภาพด้วยวิธีทางเลือก ด้วยสมุนไพร ธรรมะบ�ำบัด ได้รับรางวัลวัด ส่งเสริมสุขภาพชุมชน จนกลายเป็นแหล่ง เรียนรู้ ต้นแบบด้านสุขภาพ

ขวนขวาย เรียนรู้ มีประสบการณ์ ท่องโลก กว้างและบ่มเพาะชีวติ ด้านในให้เรียนรูค้ วบคู่ กั บ ชี วิ ต ด้ า นนอกคู ่ เ คี ย งกั น พื้ น ฐานโดย ส่วนตัว

“สิง่ ทีต่ นได้กระท�ำมาก็จะเล่าให้พวก เราทั้งหลายได้ฟังว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากการ ศึ ก ษาเรี ย นรู ้ ประสบการณ์ โดยเฉพาะ อาตมาเป็นคนที่ชอบเสาะแสวงหาความรู้ ใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะ ในช่วงที่เป็นพระหนุ่ม อายุยังไม่มาก เคย ท่องเที่ยวไปทั่วทั้งประเทศไทย ไม่ได้ไปอยู่ สองจังหวัดคือ จังหวัดนราธิวาสและจังหวัด สตูล นอกจากนั้นได้ไปทุกจังหวัดเลย เพื่อ ไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติจากครูบาอาจารย์ที่ ท่านมีภูมิธรรม มีคุณธรรม มีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักของสังคมและพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เกื อ บจะเรี ย กว่ า ทุ ก อาจารย์ ทั้ ง ธรรมยุ ต มหานิ ก าย และมหายานด้ ว ย ก็ เ คยไป ศึกษาเรียนรู้ เมื่อศึกษาเรียนรู้แล้ว สิ่งไหน ที่เป็นสิ่งดี เราก็สามารถน�ำมาประยุกต์ใน การพัฒนาตนเอง พัฒนาวัด ชุมชน สังคม ของเรา หลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นที่วัดเทพมงคล พระธรรมทูตแห่งกาลเวลา แม้ว่า แห่งนี้ อาตมาว่าประมาณ ๘๐ เปอร์เซนต์ ภาพความส�ำเร็จ กิจกรรมมากมายที่เกิดขึ้น นี่เกิดจากไปทัศนศึกษาดูงานทั้งหมด” ภายในวั ด แห่ ง นี้ ใ ห้ เ ป็ น ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู ้ ข้อวัตรปฏิบัติคือการฝึกฝน เรียนรู้ ต้นแบบเชิงประจักษ์ แต่สิ่งทั้งหมดที่เรา หรือที่เราเรียกว่า กิจวัตรประจ�ำวัน “การ เล่ามานี้จักบังเกิดมิได้ ถ้าท่านมิได้เป็นผู้ที่ สวดมนต์ ท�ำวัตร ฟังธรรมเทศนา ถวาย

20 �������������.indd 45

11/28/16 11:00 AM


46

สังฆทาน” เลยเป็นหนึง่ ในวิถกี ารฝึกฝนเรียน รู้ของวัดแห่งนี้ “ฝึกฝน อบรม” หัวใจส�ำคัญ ของการเรี ย นรู ้ การหล่ อ หลอมสายธาร ธรรมะผ่านการอบรมคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม จึงนับเป็นหนึ่งในวิชาความรู้ ที่ต้องการบ่มเพาะความดี การเป็นคนดีให้ สังคม การปลูกฝังสู่ลูกหลานและเยาวชนจึง เป็นอีกภารกิจของหลวงพ่อที่จะสร้างสรรค์ ชุมชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางใจให้แข็งแรง ส่วนเรื่องการแก้ไขปัญหาของชุมชน และชาวบ้าน ท่านบอกวิธีการหนุนเสริม และเป็นพลังให้กับชาวบ้านในชุมชนว่า สิ่ง ที่ท่านท�ำคือ การใช้หลักอริยสัจ ๔ วิถีทาง ในการช่ ว ยประคองและรั บ ฟั ง ปั ญ หากั บ ชาวบ้ า นในชุ ม ชน คอยรั บ ฟั ง ปั ญ หา ให้ ค�ำแนะน�ำ ให้เวลาส�ำหรับการพูดคุย ส่งผ่าน หลักธรรมค�ำสอนแล้ว ให้ชาวบ้านเป็นผู้เลือก

และตัดสินใจในการรับผิดชอบชีวิต ท่าน เกื้ อ หนุ น บางอย่ า งที่ ค อยช่ ว ยเหลื อ ได้ โดยเฉพาะด้านจิตใจและสติปัญญาที่สามารถ มองหาทางเลือก ทางออกในการแก้ไขปัญหา “วิธกี ารทีเ่ ราจะหาทางออกให้เขานัน้ มีสองวิธีคือ ฝ่ายบวกหรือฝ่ายลบ เราก็จะ เอาบุ ค คลที่ ป ระกอบด้ ว ยอบายมุ ข เอา บุคคลตัวอย่างที่เคยผ่านประสบการณ์การ เลิ ก เสพ มาเล่ า ประสบการณ์ ชี วิ ต ท�ำ อย่างไรเขาถึงเลิกได้ วิทยากรเขาพยายาม กระตุ้น และก็ให้เขาไปศึกษาดูงาน ท�ำการ เกษตรแบบผสมผสาน เช่น พ่อสมร เขามี ฟาร์มจากความยากจน ก็มีอยู่มีเงินมีทอง แก้ไขปัญหาตัวเอง สิ่งที่ท�ำให้เขาดีที่สุดคือ ละความชั่ว อุดรอยรั่ว ตักน�้ำ ต้องชี้ให้เขา เห็น เป็นหนี้เป็นสิน ชี้ประเด็นให้เขาดู คิ ด และเห็ น ภาพ เขาก็ เ ริ่ ม มองเห็ น ทุ ก ข์ เห็นปัญหา กับการตั้งอธิษฐานใจ เราไม่ได้ บังคับเขานะ ก็ให้เขาละเลิกใจ” ปากกระบอกเสียงของพระพุทธเจ้า ทางด้านงานพุทธศาสนาเพือ่ การพัฒนาชุมชน และสังคม ท่านเน้นย�้ำและถ่ายทอดเรื่อง ราวกับเราว่า งานเผยแผ่ธรรมะ คืองาน หลั ก และเป็ น งานอั น ดั บ แรกที่ จ ะเป็ น กระบอกเสียงให้แก่พระพุทธเจ้า “อาตมานี่ ชอบสนใจ ตั้งใจ และรักในงานเผยแผ่พระ พุทธศาสนา ตลอด ๔๕ พรรษา พระพุทธเจ้า

20 �������������.indd 46

11/28/16 11:00 AM


47

ไม่ได้ท�ำเรื่องอื่นมากนัก ๔๕ พรรษาก็คือ งานเผยแผ่ ถือว่าเป็นงานหลักเลย มาเป็น อั น ดั บ หนึ่ ง งานปกครอง งานการศึ ก ษา งานสาธารณูปการ งานการสงเคราะห์ การ สาธารณสงเคราะห์ เป็นเรื่องรองลงมา” โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง งาน “สร้ า งพระให้ มี จิ ต วิ ญ ญาณในการเป็ น ปากเสี ย ง เป็ น กระบอกเสี ย งแทนพระพุ ท ธเจ้ า แทน พระธรรมได้ ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ปั ญ หาของคณะสงฆ์ จ ะไม่ เ กิ ด ขึ้ น นะ ถ้ า ให้งานเผยแผ่เป็นงานหลัก และพัฒนาให้ ยาวนาน” ความโดดเด่ น ของงานโครงการฯ และกิจกรรมของท่านในการพัฒนาชุมชน และสังคมที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันคือ จัดตั้ง ธนาคารข้าวสารเพื่อคนยากจน ธนาคาร โคกระบื อ ธนาคารเสื้ อ เพื่ อ คนยากจน โครงการปลู ก ป่ า ต้ น ไม้ เ พื่ อ ชี วิ ต และ เพาะกล้าแจกจ่ายแก่คนทั่วไป จัดตั้งศูนย์ ส่งเสริมพุทธศาสนาอ�ำนาจเจริญ เปิดศูนย์ บริการเครือข่ายแหล่งความรู้คู่กับ กศน. อ�ำนาจเจริญ จัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต วัดเทพมงคล (ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด) จัดตั้ง หอวัฒนธรรมนิทัศน์

กระบอกเสียงของพระพุทธเจ้าในการเผยแผ่ ธรรมะ หรืออีกนัยหนึ่งคือ การมุ่งเน้นงาน เผยแพร่หลักธรรมค�ำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นงานหลัก ด้วยวิธีการใช้กิจวัตรของวัด เป็นอุบายในการช่วยให้ชาวบ้านและชุมชน เข้ามาสัมผัสกับธรรมะควบคู่กับการพัฒนา ตน และที่ ส�ำคั ญ การคงไว้ ซึ่ ง วั ฒ นธรรม ของท้ อ งถิ่ น อี ส าน อ�ำนาจเจริ ญ ของหอ วัฒนธรรมนิทัศน์ อันช่วยเป็นแหล่งเรียนรู้ เรื่องราววิถีชีวิตของบรรพบุรุษได้เป็นอย่าง ดีในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมที่ วั ด เชื่ อ มโยงกั บ หมู ่ บ ้ า นมายาวนาน การ ด�ำรงในวิ ถี ข องเกษตรกรรม ความอุ ด ม สมบู ร ณ์ ข องทรั พ ยากรทางสิ่ ง แวดล้ อ ม ตามที่ท่านกล่าวว่า “แต่ก่อน ในน�้ำมีปลา ในนามี ข ้ า ว จะเก็ บ ผั ก เก็ บ หญ้ า ก็ ไ ด้ ไ ม่ มี ปัญหาเหมือนกับยุคสมัยปัจจุบัน”

ก่อนจบเรือ่ งราวของหลวงพ่อและวัด แห่งนี้ อดไม่ได้ท่ีหัวใจเราจะเริ่มต้นท�ำงาน กั บ ความชุ ่ ม ฉ�่ ำ ในห้ ว งนที แ ห่ ง ความหวั ง อันจะผลิตบ่อน�้ำเล็กๆ ช่วยบ�ำบัดกระหาย หล่ อ เลี้ ย งดวงใจและร่ า งกายให้ ชุ ่ ม ชื่ น เพราะ ณ บัดนี้ เรามีกระบอกเสียงขององค์ พุทธะ ปลุกให้เราตื่นในทุกๆ วัน ทุกเวลา รวมความว่า งานพัฒนาชุมชนและ ทุกนาที หากแม้นใจเจ้าเอยปรารถนาที่จะ สั ง คมที่ วั ด แห่ ง นี้ ไ ด้ เ คยท�ำมาตั้ ง แต่ อ ดี ต หยุดฟัง ถึ ง ปั จ จุ บั น ยั ง คงยื น หยั ด ท�ำหน้ า ที่ เ ป็ น

20 �������������.indd 47

11/28/16 11:00 AM


20 �������������.indd 48

11/28/16 11:00 AM


ยุพิน ประเสริฐพรศรี

วัดโพธิการาม ต.โพนสูง อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด พระครูโพธิวีรคุณ / เจ้าอาวาสวัดโพธิการาม เจ้าคณะอ�ำเภอปทุมรัตต์ ในวันที่แสงแดดอ่อนๆ สาดส่องจากฟากฟ้าลงมายังพื้นโลก มี ต้นโพธิ์ต้นหนึ่งก�ำลังเติบโต แผ่กิ่ง ก้าน ใบ ให้ร่มเงาได้พักพิง ยามใด ลมแรงพัดผ่านมา ใบโพธิ์พลิ้วตามก�ำลังลม แต่ใจดวงหนึ่งเปรียบดั่งโพธิ มิได้เอนไหวตาม ยังคงเป็นก�ำลังส�ำคัญในการท�ำหน้าที่ให้ร่มเงา เป็น ร่มโพธิ์ ร่มไทร (ฮ่มโพธิ์ ฮ่มไทร) ให้วัดและชุมชนได้พักพิงอาศัย พึ่งพา ระหว่างกัน โดยร่วมกันหมั่นดูแล เอาใจใส่ รดน�้ำ พรวนดิน คอยเติม พลังใจสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกัน และยังให้จังหวะก้าวแห่งการพัฒนา เคลื่อนไปอย่างช้าๆ ด้วยความแข็งแรงและมั่นคง เช่นเดียวกันกับเรื่องราว แห่งการเรียนรู้ ณ วัดโพธิการาม บ้านโพธิ์น้อย ต.โพนสูง อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด กับหน้าที่ในการปฏิบัติการเพื่อชุมชน ดวงใจนั้นคือ พระครู โพธิวีรคุณ หรือที่เราเรียกท่านว่า “พระครูโพธิ์” ท่านเป็นหนึ่งในพระนัก พัฒนาที่เป็นผู้เชื่อมร้อย ประสานชุมชน ใช้ต้นทุนเดิมที่มีอยู่ในบ้าน วัด โรงเรียน ให้สานสัมพันธ์กัน ฟังเสียง ใส่ใจ ดูแล ต่อเติมใจระหว่างกัน และกัน มิเคยหยุดหย่อน ท่านท�ำอะไรบ้าง เราลองมาดูกัน

20 �������������.indd 49

11/28/16 11:00 AM


50

ย่างไปใต้ฮ่มโพธิ์ เช้าวันรุง่ ขึน้ ช่วงเวลาสายๆ เราสองคน ออกเดินทางมายังวัดโพธิการาม อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด รถแล่นมาเรื่อยๆ ใกล้เข้ามายัง วัด ถนนสายลูกรัง ต้นไม้สองข้างทางและ ควายก�ำลังกินหญ้าอยูต่ ามท้องทุง่ หญ้ากว้าง ยังคงมีให้เราเห็นตามรายทางก่อนที่รถจะ มาถึงวัด แล้วเราก็เข้ามาถึงยังวัด บรรยากาศ ร่มรื่น แต่ครึกครื้นไปด้วยผู้คน เด็ก เยาวชน ครู และชาวบ้านที่เข้ามาร่วมกิจกรรมการ อบรมค่ายเยาวชน ในขณะที่บางคนที่เข้ามานี้ อาจมาด้วยความมุ่งหมายอื่น ไม่ว่าจะมา ท�ำบุ ญ มาเรี ย น มาอบรม มาซื้ อ ของที่ สหกรณ์ ความมุ่งหมายต่างกัน แต่อยู่ใน พื้นที่และเวลาเดียวกันคือ วัด

การย่างเท้า ก้าวดูวัด สัมพันธ์กับ สิ่งต่างๆ รอบตัว ผู้คน สถานที่ และการ ท�ำความรู ้ จั ก สร้ า งสั ม พั น ธ์ ยั ง คงเป็ น กิจกรรมแรกที่เราสองคนมาผจญภัยเรียนรู้ พระครูโพธิท์ า่ นอาสาน�ำชมและเดินดูบริเวณ รอบๆ วัด เรามิรีรอ หยิบสมุดบันทึก ออก เดินไปพร้อมกับท่าน ไปกันเลย งานสนุกๆ ที่เราต้องท�ำระหว่างการ เดินเที่ยวเล่นนั้น คือ การวาดแผนที่เดินดิน ลงจุดสังเกตหลักและเส้นทางทีเ่ ราเดินรอบๆ ภายในวัด และแล้วเราก็บันทึกลงเฉพาะ จุ ด ที่ โ ดดเด่ น คื อ สถาบั น การเงิ น ชุ ม ชน โพธิ์น้อยศรีสวัสดิ์ ร้านค้าชุมชน “เซาเซ็น” ลานและเวที ก ารแสดง ศู น ย์ วั ฒ นธรรม เฉลิ ม ราชวั ด โพธิ ก าราม ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู ้ ICT ชุมชนเฉลิมพระเกียรติวัดโพธิการาม ศูนย์ดิจิทัลชุมชนเฉลิมพระเกียรติวัดโพธิการาม ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพี ย ง ศู น ย์ ส าธารณสุ ข มู ล ฐานชุ ม ชน ศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยชุมชนเครือข่าย มหาวิทยาลัยชีวิต หอกระจายข่าวในชุมชน เตือนภัยธรรมชาติและร้านกาแฟโพธิการาม ๑๐๑ (โพธิการามคาเฟ่)

ไม่ น านนั ก เราสองคนได้ เ ข้ า กราบ นมัสการพระครูโพธิ์ ท่านต้อนรับเราสองคน ด้วยความอบอุ่นและเป็นมิตรไมตรี ใบหน้า ยิ้มแย้มแจ่มใส จนท�ำให้ความรู้สึกในดวงใจ ของเราเหมือนได้หวนกลับมาเยือนบ้าน เรา สองคนนั่งลงใกล้ๆ กับร้านกาแฟโพธิการาม ๑๐๑ พู ด คุ ย และสอบถามความเป็ น อยู ่ การขับเคลื่อนงาน และมิติงานพุทธศาสนา เท่ า ที่ เ ราได้ สั ม ผั ส และวาดรู ป ป้ า ย เพื่อการพัฒนาชุมชนและอื่นๆ บรรยากาศ สัญลักษณ์ เส้นทางเดิน ท�ำให้เริ่มพบว่า ที่ เต็ ม ไปด้ ว ยความเรี ย บง่ า ยและสั ม ผั ส ถึ ง วัดแห่งนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้แบบครบวงจร พลังความใส่ใจและความเมตตาจากท่านอยู่ มี ห ลายอย่ า งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ชุ ม ชนและ มิใช่น้อย

20 �������������.indd 50

11/28/16 11:00 AM


51

ชาวบ้าน ตอบโจทย์สวัสดิการขั้นพื้นฐาน ของชุมชนได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบ การเงิ น การศึ ก ษาหรื อ ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู ้ ร้านค้า ร้านกาแฟ ที่พักพิงทางกายภาพ และใกล้ชิดกับการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นที่ คอยบ่มเพาะหล่อเลี้ยงคุณธรรม จริยธรรม ให้ แ ก่ เ ด็ ก เยาวชน หรื อ ผู ้ ที่ ส นใจเข้ า มา ท�ำบุ ญ ปฏิ บั ติ ธ รรมและมี จิ ต ใจในการ เอื้อเฟื้อเกื้อกูลช่วยงานในชุมชนและสังคม ก้าวย่างมาเรื่อยๆ มองออกนอกรั้ว ก�ำแพงวัดเป็นคันนา ต้นตาลสูงใหญ่หลาย สิบต้น กอไผ่ พืชผักสมุนไพร บรรยากาศดี มากมาย เงียบสงัด แต่พอเคลื่อนมาอีกฝั่ง เราก็พบกับเสียงเพลงดัง มีเสียงวิทยากร บอกกล่าว เป็นเวลาเดียวกับเด็กและเยาวชน ก�ำลังท�ำกิจกรรมค่ายพุทธบุตรกว่า ๓๐๐ คน ถัดมาเราเดินเข้ามายังร้าน “เซาเซ็น” ร้านค้าชุมชนที่มีไว้บริการซื้อเอง ขายเอง เราสงสัยชือ่ นีห้ มายความว่าอะไร “เซาเซ็น” ไม่เคยรู้จัก พระครูโพธิ์บอกกับเราว่า เซา เป็นภาษาอีสาน แปลว่า หยุด เซ็น (มาจาก ลายเซ็ น ) ลงลายมื อ เซาเซ็ น ของที่ นี่ จึ ง หมายความว่ า หยุ ด เชื่ อ จ่ า ยสด คื อ ให้ ชุมชนรู้จักความพอเพียง ไม่ใช้จ่ายเกินตัว เป็นการใช้คุณธรรมน�ำความรู้สู่เศรษฐกิจ พอเพี ย ง นอกจากนั้ น เราพบกั บ ศู น ย์ วัฒนธรรมเฉลิมราชวัดโพธิการาม ภายใน มีพระราชประวัติของพ่อหลวง พระราช-

20 �������������.indd 51

กรณียกิจ พระอัจฉริยภาพ ประวัติความ เป็นมาของอ�ำเภอปทุมรัตต์ วัดโพธิการาม ชุมชน รวมถึงแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม ท้องถิ่น ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัด ร้อยเอ็ดที่ส�ำคัญ มุมมองจากมิติชุมชน เล่ากันว่า ผล ส�ำเร็จและความภาคภูมใิ จของชุมชนโพธิน์ อ้ ย ชุมชนโพธิสวัสดิ์ ในเรื่องของการมีส่วนร่วม ของชุ ม ชนกั บ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ในระดับชุมชนมีอยู่ว่า กิจกรรมต่างๆ เช่น การศึกษานอกโรงเรียน คุณธรรมน�ำความรู้ สถาบันการเงินชุมชน ร้านค้าชุมชน และ มหาวิทยาลัยชีวิต เป็นผลลัพธ์แห่งความ ภาคภูมิใจ ใครจะรู้ว่า ปณิธานที่ว่า “บริการ ด้วยใจ ท�ำงานด้วยศรัทธา” ของวัดแห่งนี้ เป็นความมุง่ มัน่ และตัง้ ใจด�ำเนินงานสร้างสรรค์ ชุมชนด้วยกิจกรรมต่างๆ จนวัดยังประโยชน์ ต่ อ ชุ ม ชนของพวกเขาได้ อ ย่ า งมากมาย ลองฟังแผนการพัฒนาชุมชนทีท่ า่ นท�ำให้เกิด

11/28/16 11:00 AM


52

ผลนั้ น มี “จั ด เวที แ ลกเปลี่ ย นการเรี ย นรู ้ เกิดประสบการณ์ร่วมกัน เกิดความเข้าใจ ชุ ม ชนเห็ น ความส�ำคั ญ ของการออมเงิ น และร่ ว มกั น จั ด ตั้ ง สถาบั น การเงิ น ชุ ม ชน สหกรณ์ เ ซาเซ็ น ” ซึ่ ง สิ่ ง เหล่ า นี้ ล ้ ว นเป็ น ผลผลิตของความร่วมมือระหว่างชุมชนและ วัด โดยการร่วมประสานงานของพระครูโพธิ์ เสียงสะท้อนจากกลุ่ม กศน. เพื่อน เรียนรู้สู่ชุมชนพอเพียง ยังบันทึกไว้อีกว่า ท่านเป็นผู้มีความพร้อมในการด�ำเนินงาน มีวิสัยทัศน์ มีความมุ่งมั่น ร่วมคิด ร่วมท�ำ ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน นับเป็นผู้น�ำ การเปลี่ยนแปลง เป็น “ตัวอย่าง” ของการ พัฒนาให้ชาวบ้านได้เห็นผ่านศูนย์การเรียนรู้ ชุมชน โดยด�ำเนินการ “สร้างความรู้ ความ เข้าใจ สร้างจิตส�ำนึก อุดมการณ์ร่วมกัน ก�ำหนดเป้าหมาย และแนวทางในกระบวนการ ประชาคม” และยังมีการบริหารจัดการแบบ ชุมชนมีส่วนร่วม เห็นแบบนี้แล้ว เราเริ่ม เด่นชัดเข้ามาว่า มุมมองและภาพสะท้อน ของท่านเป็นแบบอย่างให้ชุมชนก้าวเข้ามา มีส่วนร่วมเรียนรู้ พัฒนา และเป็นศูนย์กลาง ให้ ช าวบ้ า นและชุ ม ชนได้ เ รี ย นรู ้ ร ่ ว มกั น ถือเป็น “ฮ่มโพธิ์ ฮ่มไทร” ของชาวบ้านและ ชุมชน ได้จุดประกายความคิด ออกแบบ ริ เ ริ่ ม ปฏิ บั ติ ก ารในสิ่ ง พื้ น ฐานจ�ำเป็ น ของ ชุมชน เชื่อมร้อยประสานงาน ด�ำเนินการ มาจนเป็นที่ประจักษ์ เป็นทั้งราก แตกกิ่ง

20 �������������.indd 52

ออกใบให้ชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกันกับท่าน ก้าวย่างด้วยความรู้จักออม ออมเงิน ออมใจ ออมวิถีชีวิตสู่ความเข้มแข็งและพึ่งตัวเอง ผ่านมาแล้วกับภาพแห่งความส�ำเร็จ และความภาคภูมิใจในชุมชนแห่งนี้ สิ่งที่ เราสนใจต่ อ มาคื อ ประวั ติ ศ าสตร์ ชุ ม ชน เดิ ม ที พื้ น ที่ แ ห่ ง นี้ มี ค วามเป็ น มาอย่ า งไร เล่ากันว่า (โดยย่อ) เดิมชุมชนแห่งนีม้ ปี ระมาณ ๑๐ ครัวเรือน ชาวบ้านได้น�ำลูกหลานมา ตั้งถิ่นฐานบริเวณล�ำน�้ำเสียว ให้ช่ือว่า บ้าน ท่าม่วง ต่อมาบ้านท่าม่วงเกิดไฟไหม้สามครั้ง ด้วยกัน ชาวบ้านทนไม่ไหว เลยย้ายหมู่บ้าน มาชื่ อ บ้ า นโพธิ์ น ้ อ ย ส่ ว นภู มิ ป ระเทศ เป็นที่ราบริมฝั่งล�ำน�้ำเสียว รูปแอ่งกระทะ ล�ำน�้ำเสียวจะอยู่ทางตอนเหนือของหมู่บ้าน ฤดูแล้งน�้ำจะน้อยมาก บางช่วงน�้ำแห้งขอด แต่ในฤดูฝนน�้ำจะท่วมฝั่งทุกปี ชาวบ้านใน ชุมชนส่วนใหญ่ด�ำรงชีพด้วยเกษตรกรรม รองลงมาคือรับราชการ รับจ้าง

ปฏิบัติการเติมใจให้ชุมชน บ้าน ชุมชน และวัด เติมใจระหว่าง กั น ต้ น แบบของแหล่ ง เรี ย นรู ้ ที่ วั ด แห่ ง นี้ ส�ำเร็จได้ด้วยความร่วมแรงร่วมใจที่อาศัย การเกื้อกูลกันระหว่างชาวบ้าน ชุมชน และ ผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงที่ช่วยริเริ่ม สร้างสรรค์ พัฒนาในแบบชุมชนวิถีดั้งเดิม มีคนเล่าไว้

11/28/16 11:00 AM


53

แล้วว่า ท่านมีวิสัยทัศน์ การบริหารจัดการ หรือยุทธศาสตร์ตามแบบโลกของนักบริหาร จัดการเขาท�ำกัน แต่ท่าทีของท่านกับการ สื่อสาร บอกความหมายกับเราสองคนว่า ท่านไม่ได้ใช้กรอบของการบริหารจัดการ แบบนั้นเข้ามาท�ำงาน แต่วิธีของท่านขึ้นอยู่ กับว่า “เหตุ ปัจจัย โอกาส และการก้าว เข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนและชาวบ้าน บริบทของชุมชนกับบทบาทของวัดชนบท มากกว่า” สานความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน หากย้อนเวลากลับไป แต่ครั้งโบราณกาล มาแล้ ว วั ด คื อ ศู น ย์ ก ลางในการเผยแผ่ ธรรมะและการศึกษาเรียนรูใ้ ห้แก่ประชาชน ชุมชน ตลอดจนงานสงเคราะห์ ช่วยเหลือ งานบุญ สืบสานประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น สู่รุ่นต่อรุ่น เป็นต้นทุนเดิมของวัดที่มีหน้าที่ เอื้อประโยชน์ต่อกันอยู่แล้ว ท่านบอกว่า งานพัฒนาชุมชนที่ท่านท�ำ คือการสานต่อ บูรณาการให้เกิดความเป็นน�ำ้ หนึง่ ใจเดียวกัน คิดและมองเห็นภาพร่วมกัน จนเกิดความ เข้าใจระหว่างกัน ก็จะท�ำให้งานพัฒนาชุมชน เกิ ด การขั บ เคลื่ อ นแบบทุ ก คนมี สิ ท ธิ มี ต้นทุนความรักในการช่วยเหลือระหว่างกัน

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาวะของชุมชน ศาสนา วัฒนธรรม การศึกษา สุขภาพ วัดสามารถ ท�ำได้ ห มด ขอเพี ย งให้ เ ราได้ ใ ช้ วั ด เป็ น ศูนย์กลางและก็ใช้สิ่งที่มีอยู่ จะสังเกตได้ว่า ถ้าเราจัดกิจกรรมแล้วมีผู้น�ำ มีแนวความคิด แบบเดียวกัน และก็ขับเคลื่อนงานโดยใช้ สถานที่ในชุมชน เป็นสถานที่ที่รวมจิตใจ ของคนได้ มันจะท�ำงานได้อย่างยั่งยืน ท�ำ ได้อย่างต่อเนื่องและก็ใช้งบประมาณน้อย ที่สุด ได้ประโยชน์มากที่สุด ซึ่งก็สามารถ ช่ ว ยให้ สั ง คมชุ ม ชนนั้ น ลดค่ า ใช้ จ ่ า ยได้ สามารถเพิ่ ม แนวความคิ ด ได้ สามารถ ท�ำงานร่ ว มกั น ได้ และก็ มี ก ารระดมแนว ความคิ ด ระดมสมอง มี ก ารคิ ด และก็ ท�ำ แก้ไขปัญหาร่วมกัน อยู่ร่วมกัน และก็จะ เกิดความสันติสุข มีความสามัคคี มีความ ปรองดอง สมานฉันท์ขึ้นในชุมชนนั้นๆ”

ทุนทางสังคม พลิกสู่หน้าที่ ความ รับผิดชอบ นับเป็นจุดแข็งของการท�ำงาน การมีส่วนร่วม การตัดสินใจร่วมกัน ชุ ม ชน ด้ ว ยเหตุ ผ ลที่ ว ่ า พลั ง และการ และร่วมจัดเวทีระดมความคิด พระครูโพธิ์ ขับเคลื่อนชุมชนเป็นสิ่งที่ต้องด�ำเนินการ เล่ า ว่ า “สิ่ ง ที่ ท�ำ สามารถท�ำได้ ทุ ก เรื่ อ ง ขับเคลื่อนได้เร็ว ต้องด�ำเนินงานด้วยการ

20 �������������.indd 53

11/28/16 11:00 AM


54

เตรียมความพร้อมของชุมชน พระครูโพธิ์ เล่าสู่เราด้วยน�้ำเสียงของความเชื่อมั่นว่า “บ้าน วัด โรงเรียน หากจะขับเคลื่อนได้เร็ว แบบวิ่ ง ได้ เ ลย ไม่ ต ้ อ งนั บ หนึ่ ง ...สอง... สาม ...คือ การเตรียมความพร้อม เหมือน กับเราท�ำอาหาร เรามีอุปกรณ์ครัวครบหมด แล้ว มีเตา มีไฟ มีหม้อ ถ้าบอกว่าจะกิน ต้ม ย�ำ แกง ท�ำได้เลย เพราะอุปกรณ์ครบ อยู่แล้ว อุปกรณ์นี่คือ ทุนทางสังคมที่เรา มี อย่างเช่น มีชุมชน มีชาวบ้าน มีบุคลากร มีคนที่จะช่วยงานอยู่แล้ว ใครเก่งด้านใด รับผิดชอบเรื่องอะไร มีหน้าที่ของแต่ละคน เมื่อเรารู้ เราก็สามารถปรับให้เข้ากับความ สามารถ ความถนัดได้เลย ก็จะเกิดทักษะ และขั บ เคลื่ อ นงานไปเลย ก็ ใ ช้ ตั ว นี้ เ ป็ น จุดแข็ง”

โพธิ์แล้ว ท่านกล่าวกับเราอย่างน่าสนใจว่า วัดแห่งนี้ สิ่งที่ท่านมุ่งหมายคือ “พลังงาน แห่งความอบอุน่ ” ให้ผคู้ นทีเ่ ข้ามาเยีย่ มเยือน วัดรู้สึกถึงพลังของครอบครัว บ้านอันคอย เติมความอบอุ่น ความรัก เวลากลับมาถึง ก็มีความสุข คอยดูแลซึ่งกันและกัน ให้รู้สึก ได้ว่า อบอุ่นใจทุกครั้งที่เราอยู่ กลับมาวัด ก็เหมือนกับมาบ้าน เราเป็นผู้เติม “คอย เติมรัก เติมความอบอุ่น เติมความสุข” ให้ อยู ่ เ สมอ ก็ เ หมื อ นกั บ รถหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรืออื่นๆ ที่ต้องแวะมาเติมน�้ำมันที่ปั๊ม เบนซินหรือ โซล่าก็ตามที แต่ต้องอาศัยพลังงานในการ ขับเคลื่อนต่อไปเช่นกัน “เหมือนปั๊มน�้ำมัน คนที่เข้าไปในปั๊มน�้ำมัน เค้าต้องการอะไร เค้าได้หมด ถ้ามันมีบริการ อยากเติมลม ก็ได้ อยากเติมน�้ำมันก็ได้ อยากเข้าห้องน�้ำ ก็ได้ ไปเซเว่นฯ ก็ได้ ไปร้านอาหาร ไปร้าน สะดวกซื้ อ ซื้ อ ของฝาก ซื้ อ อะไรได้ ห มด หรือจะไปพักผ่อน ไปอาบน�้ำได้ไหม อะไร ต่างๆ ได้หมด มันตอบเราได้หมดเลยถ้า เราต้องการ”

ไม่เพียงเท่านี้ โดยส่วนตัว ท่านเชื่อว่า คนที่เข้ามาวัดมีความประสงค์หลายอย่าง และจิ ต ของคนโดยส่ ว นมากเขาน้ อ มถึ ง พระรั ต นตรั ย เป็ น ต้ น ทุ น ก่ อ นมาถึ ง ยั ง วั ด “ความสงบ ร่มเย็น ความนึกคิด นึกท�ำ คือ เข้ามาวัด ๕๐ เปอร์เซ็นต์ คนคิดไปทาง “วั ด ในสมั ย ก่ อ นเขามี ลั ก ษณะคื อ กุศลอยู่แล้ว เราไม่ได้บอกเขาว่าคุณมาแล้ว คุณได้อะไร แต่สิ่งที่เราได้นั่นคือ การท�ำให้ มาเติมปัญญากับคนที่อยู่ในชุมชน เติมสิ่งที่ คนเข้ามารับและสัมผัสกับสิ่งดีๆ ที่สามารถ เป็นความต้องการของคนในชุมชน อย่างที่ เล่าว่า หากเขา (ชาวบ้าน) ต้องการให้ลูกมี จะให้ได้” พระครูโพธิ์กล่าว “ปั๊มน�้ำมัน เติมใจ” สิ่งที่ท่านท�ำ การศึกษา ที่นี่รองรับลูกเขาได้ไหม ความรู้ หากเราได้เรียนรู้ในความหมายของพระครู เรื่องของพัฒนาทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ

20 �������������.indd 54

11/28/16 11:00 AM


55

ด้านสังคมให้เด็กได้ไหม อยากจะมาซื้อของ มาเรี ย นนอกระบบ อยากมานวด อยาก อบรมเรื่องดิจิทัลชุมชนเพื่อพัฒนาค้าขาย ผ่ า นสื่ อ การเพิ่ ม พู น ความรู ้ จ ากสื่ อ ต่ า งๆ เรียนรู้ ICT อยากกินชาเขียวบ้าง ไม่มีเงิน มายืม มากู้ มาฝาก มาออม มาวัดได้ไหม งานบุญ งานศพ มาร่วมกิจกรรม มาประชุม รับเบี้ยยังชีพ ได้หมด”

สิง่ ส�ำคัญคือการจัดวางและจัดจังหวะพร้อม กับการละวางมากกว่า ปฏิบัติการด้านพัฒนาชุมชนแห่งนี้ พระครูโพธิท์ า่ นสร้างวัดกลับมาเป็นศูนย์กลาง ของชุมชน เราสนใจว่า ท่านมีวิธีการปฏิบัติ หรื อ ใช้ เ หตุ อั น ใด ในการโยงสายใยบ้ า น (ครอบครัว) ชุมชน และวัดเข้าหากันอย่าง ไว้เนื้อเชื่อใจต่อภารกิจที่ว่า “วัดแห่งนี้” เท่ากับศูนย์กลางของการเรียนรู้ของชุมชน ท่านเล่าเรื่องถึงภารกิจพิชิตใจของตนและ ชุ ม ชนไว้ อ ย่ า งน่ า สนใจเรี ย นรู ้ เพื่ อ ที่ จ ะ น้อมน�ำไปฝึกฝนและเกิดผลลัพธ์ว่า สิ่งแรก ทีท่ า่ นท�ำคือ “หัวใจแห่งความเสียสละและ การเป็นผู้ให้” หรือ “ทาน” เป็นคุณธรรม ข้ อ แรกที่ ช ่ ว ยขั บ เคลื่ อ นงานชุ ม ชน การ แบ่งปัน “อย่างน้อยที่สุดที่เราเสียสละอยู่ ตรงนี้ คื อ พั ฒ นาบ้ า นเกิ ด และการให้ ประโยชน์กับชุมชน เป็นการเตรียมความ พร้อมให้กับชุมชนและการฝึกตน”

พลั ง งาน...กั บ ช่ อ งว่ า งของกอไผ่ ส�ำหรับตัวท่านแล้วก็จะใช้ “พลังงานชาร์จ แบตเตอรี่” ท่านบอกกับเราด้วยพลังงาน ของความสนุกปนน�้ำเสียงแบบง่ายๆ แต่ ทรงพลังว่า “ถ้าเหนื่อยก็ชาร์จแบต ก็พัก เวลาพักเรามีอยู่ในตัว มันมีเวลาส่วนตัวของ เราอยู่ การนอนหลับนั่นแหละคือการชาร์จ แบต ถามว่าเวลาท�ำงานหนักๆ ไปดูแค่งาน ก็มีงานสิ ในตัวที่ไม่ได้ท�ำงานก็มีช่องว่างอยู่ ในกอไผ่ยังมีช่องว่าง หมายถึงมีตอเยอะๆ มันมีหนาม บางทีคนวิ่งทะลุได้ใช่ไหม มันมี ช่องว่างของมัน” เสียงเล่าแฝงด้วยวิธีคิด เหตุนี้ การรดเมล็ดพันธุ์ภายในให้ ที่ฟังแล้ว ท�ำให้เรารู้สึกถึงว่า “ช่องว่างของ ค่ อ ยๆ ชุ ่ ม ฉ�่ ำ ไหลผ่ า นไปยั ง ชี วิ ต ด้ า นใน เวลา” มีอยู่โดยธรรมชาติอยู่กับตัวเรา แต่ สม�ำ่ เสมอ ก่อนจะถ่ายทอดออกสู่สิ่งแวดล้อม ภายนอกเป็นสิ่งส�ำคัญ พระครูโพธิ์ท่านเป็น ผู้เรียนรู้จักการให้ ธรรมะอีกหนึ่งข้อที่บอก แก่เราคือ “ททมาโน ปิโย โหติ. ผู้ให้ ย่อม เป็นที่รัก” โดยเป็นการให้แบบปราศจาก อคติและไม่ยึดมั่นในอัตตาหรือตัวตน แต่ กระท�ำการด้วยใจที่เสียสละ ประกอบกับ

20 �������������.indd 55

11/28/16 11:00 AM


56

ปัญญาที่เข้าใจ ถึงพร้อมเรียนรู้และเข้าถึง ปัญหาในสถานการณ์นนั้ ๆ ซึง่ สิง่ ทีท่ า่ นท�ำอยู่ บ่อยครั้งเพื่อหว่านเมล็ดพันธุ์และคอยเป็น ร่มโพธิ์ ร่มไทรให้แก่ชุมชนหรือผู้คนที่เข้ามา สัมพันธ์คือ “การให้โอกาสกับผู้อื่น การให้ ความดี การให้การศึกษา” เป็นเครือ่ งน�ำทาง ของทุกอย่าง “พัฒนาตนก่อนพัฒนาวัดและชุมชน” สิ่งส�ำคัญประการถัดมาที่พระครูโพธิ์ส่งผ่าน ค�ำบอกเล่ามายังเราคือ การฝึกฝนพัฒนา ตนให้เกิดขึ้นในใจเราก่อน โดยใช้หลักของ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ควบคู่กับการให้ เป็นสายพานหล่อเลี้ยงจิตและสร้างเสริม ความสัมพันธ์กับผู้คนรอบๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะ เป็นเพื่อน ชาวบ้านหรือชุมชนก็ตาม ใส่ใจ เขาด้วยการประพฤติปฏิบัติด้วยภาษาพูด ภาษาท่าทาง (อวัจนภาษา) ตามแต่อริ ยิ าบถ กับการท�ำกิจวัตรประจ�ำวัน ไม่ว่าจะเป็น การนั่งทานอาหาร การประชุม การเดิน การสื่ อ สาร เป็ น ต้ น เป็ น ไปด้ ว ยจิ ต อั น บริสุทธิ์ ความซื่อสัตย์ เที่ยงตรง เป็นธรรม ไม่คิดเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น รู้จักการวางตัว และสัมพันธ์กบั ผูอ้ น่ื ด้วยไมตรีจติ แห่งความ มี “น�้ำใจ”

แบบเดิมๆ ก็เรียนรู้จักวิธีการมองโลก มอง แบบเป็ น เรื่ อ งง่ า ยๆ ธรรมดา รู ้ ทั้ ง รู ้ ว ่ า มี ปัญหา แต่ก็ปรับทางความคิด ปรับตัว ไม่ มองว่านั่นคือปัญหา แต่เรียนรู้วิธีการแก้ไข ปัญหา เรียนรู้วิธีการเชื่อมประสานที่ท�ำให้ แก้ปัญหาได้ งานส�ำเร็จ เพราะยุคนี้เป็น ยุคไร้พรมแดนของการสื่อสาร เราสามารถ เชื่อมโยง สื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเรา เชื่อม รักษาใจเราดั่งกาวประสานใจได้ เรา ก็จะผ่านพ้นและมองเห็นทางออกของปัญหา ตลอดจนเรียนรู้เข้าใจวัฒนธรรมของสังคม นั้นๆ ด้วย

เชื้ อ ผี เ สื้ อ ...ในงานพั ฒ นา หลั ก ประการถัดมาของการเรียนรู้ในงานพัฒนา และเป็นองค์ประกอบในส่วนผสมหนึ่งของ การขับเคลื่อนงานคือ การปฏิบัติเสมือนกับ ว่าคนนัน้ เป็นญาติเรา “เพราะว่าคนทีเ่ ข้ามา ในชุ ม ชนเรา หรื อ ว่ า แม้ แ ต่ อ ยู ่ ใ นชุ ม ชน ล้ ว นแต่ เ ป็ น ญาติ พี่ น ้ อ ง ก็ ใ ช้ ห ลั ก ภาษา อีสานเขาเรียกว่าผีเสื้อ ก็คือเชื้อ เป็นเชื้อ แบบว่าคนนั้นเป็นญาติเรา คนนี้เป็นพี่น้อง เรา ก็จะท�ำงานง่าย ก็จะเกิดการเอื้อต่อ การท�ำงาน เกิดความขัดแย้งน้อยลง และก็ สานไปสู่งานพัฒนาที่ต่อเนื่อง เพราะฉะนั้น ถึงแม้วา่ ในบางเวลาทีพ่ บกับความยาก เวลาท�ำงาน เราอาศัยวัดเป็นศูนย์กลาง มี ในการท�ำงาน จิตเราประสบกับนิสัยหรือ คนเข้ามาอยู่แล้ว ก็หากิจกรรมเพิ่มในส่วน ความเคยชินบางอย่างจากโลกทัศน์ความเชือ่ ที่เขามาในระยะเวลาชั่วโมงหนึ่ง แทนที่เขา จะนั่งเฉยๆ แต่ว่าเราท�ำอย่างไรให้ชั่วโมงหนึ่ง

20 �������������.indd 56

11/28/16 11:00 AM


57

มีกิจกรรมหลายๆ อย่างเกิดขึ้น แต่ไม่ได้ เอาชั่วโมงงานที่เรามีไปเพิ่มเป็นชั่วโมงครึ่ง สองชั่ ว โมง แต่ ว ่ า เอาชั่ ว โมงที่ เ ขาจะท�ำ กิจกรรมของเขาอยู่แล้ว ที่เขาว่างๆ ช่วง รอเวลา เราจะท�ำอย่างไรให้ชั่วโมงนั้นเกิด ประโยชน์ โดยที่ เ ราแทรกเข้ า ไปโดยไม่ เสียเวลาที่เค้ามีอยู่ นั่นคือหลักการคิดที่นี่ และวิธีท�ำที่นี่” พระครูโพธิ์กล่าว “รอ...งอ งู กิ น หาง กิ น กลาง ตลอดตั ว ” ก้ า วแห่ ง การพั ฒ นาที่ ดี ขึ้ น บทบาทที่ ส�ำคั ญ ของท่ า นคื อ “แรกเริ่ ม การเรียนรู้ที่จะรู้จักกับแนวความคิด ความ ศรัทธาในตัวเรา การวางตัวและอยู่ในบทบาท ของการให้ค�ำปรึกษา มองเขาโดยใช้หลัก ของศีลธรรม ความเห็นใจ ก็จะเกิดวิธีการ ในการแลกเปลี่ ย นกั บ ชุ ม ชน ท�ำอะไรให้ เป็นกลางๆ มอบหน้าที่ ต�ำแหน่ง และความ รับผิดชอบ เขาก็เริ่มเดินได้เอง แต่ค่อยท�ำ เป็นค่อยไป เคยเห็นงูกินเขียดไหม งูกินกบ ไหม งู กิ น หนู มั น ฉกครั้ ง เดี ย วแล้ ว กลื น มีไหม ไม่ค่อยมีนะ แต่งูมันจะค่อยๆ บด เคี้ยวไป รัดให้ตายก่อน ลักษณะก็เหมือน กัน การท�ำงานพัฒนา การท�ำอะไรต่างๆ ก็ดี เราอย่าใจร้อน ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม การท�ำ อะไรก็ตาม เราค่อยๆ ท�ำ ท�ำไปก่อน ตั้งใจ ก็ ท�ำ แล้ ว มั น จะค่ อ ยๆ เป็ น ไปตามกลไก ของมันเอง ค่อยๆ ปรับของมันไปเรื่อยๆ ”

20 �������������.indd 57

มาถึงบรรทัดนี้แล้ว เราก็จบเรื่องราว ของแหล่งเรียนรู้ ณ วัดแห่งนี้ และเรื่องราว ของพระครู โ พธิ์ อี ก หนึ่ ง ร่ ม โพธิ์ ร่ ม ไทร ของชุมชนโพธิ์น้อย โพธิ์ศรีสวัสดิ์ มีความ ส�ำเร็จ ความภาคภูมิใจในการพัฒนาแบบ ค่อยเป็นค่อยไป แต่มาบัดนี้ก่อรูปก่อร่างให้ ชุมชนได้พงึ่ พาอาศัย แอบอิงร่มเงา พักพิงใต้ ต้นโพธิการาม ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงิน ชุ ม ชน ร้ า นค้ า การศึ ก ษานอกโรงเรี ย น ศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ บริการแบบครบวงจร ที่พระครูโพธิวีรคุณ ท่านช่วยต่อเติมต้นทุน บ้าน โรงเรียน ชุมชน มาสู่วัดโยงใยเข้าหากัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ผ่านต้นทุนคุณธรรมแห่ง จาคะ อันเป็นความเสียสละจากภายในสู่ การให้ แล้วค่อยๆ แผ่ขยายใบมิตรน�้ำใจนี้ เติมใจให้แก่ผู้คน ชุมชน และสังคมในงาน พั ฒ นาชุ ม ชน สร้ า งกิ จ กรรมการเรี ย นรู ้ สานสายใยรักวัดดั่งบ้าน เติมพลังงานแห่ง ความอบอุ่น หล่อเลี้ยงสายป่านแห่งปัญญา แก้ไขปัญหาของชุมชน งานและกิจที่ท่าน ท�ำเป็น “ฮ่มโพธิ์ ฮ่มไทร” ที่ประทับในใจ ของใครหลายๆ คนที่เข้ามาสัมผัส เรียนรู้ และใกล้ชิด ไม่ต่างกัน ความสัมพันธ์ที่ท่านมอบให้ เรา ดูแล ใส่ใจ จากช่วงเวลาเพียงไม่นานที่ ได้เข้ามาอยู่ พูดคุย เดินชมกิจกรรมของวัด กับการได้ฟังเรื่องราวของการท�ำงานเพื่อ ชุมชนและสังคมนั้น เป็นพลังงานความรู้สึก ดีๆ อยู่ในใจเราสองคนเช่นกัน

11/28/16 11:00 AM


20 �������������.indd 58

11/28/16 11:00 AM


ยุพิน ประเสริฐพรศรี

วัดภูเขาทอง ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ พระอธิการตงหมิง ถาวโร / เจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง การค้นหา “กุญแจดอกส�ำคัญ” ในการเปิดประตูสู่โลกแห่งการ เรียนรู้ ตั้งแต่ประตูบ้าน สู่ประตูวัด ชุมชน หรือประตูสู่ธรรมชาตินั้น เป็นความท้าทายในตนและประสบการณ์ใหม่ๆ ให้เราเรียนรู้ ได้ค้นหา ความหมายจากสิ่งที่เรารับรู้ สัมผัส ตระหนัก หยั่งถึง และสู่ความเข้าใจ ในเวลาเดียวกัน เราก็ต้องค้นหากุญแจอีกหนึ่งดอก เพื่อเปิดประตูใจให้ เราได้สัมผัสกับความหมายและคุณค่าของค�ำว่า “พอเพียง พึ่งตัวเอง พออยู่ พอกิน พอประมาณ” ๕ พ. พาน ที่อาจพาเราไปพานพบกับความ น่าอัศจรรย์ในตัวเรา ผู้อื่น และโลกก็เป็นได้ ส�ำหรับเราแล้ว เวลานี้ เราได้กุญแจหนึ่งดอกส�ำหรับการเดินทาง มาเยือน สัมผัสกับวัดภูเขาทอง ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ วัดพี่วัดน้องกับวัดป่าสุคะโตและวัดป่ามหาวัน ที่จะพาเราไปสัมผัสเรียนรู้ ความเป็นมา วัดกับงานพัฒนาชุมชน วัดกับการจัดกิจกรรมฐานการ เรียนรู้ และวัดกับการคงไว้ซึ่งสายใยแห่งจิตวิญญาณในการรักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ภายใต้การน�ำของหลวงพ่อค�ำเขียน สุวณฺโณ ที่ผ่านมา จน ส่งต่อสู่พระอธิการตงหมิง ถาวโร เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน และเราก�ำลัง

20 �������������.indd 59

11/28/16 11:00 AM


60

ตามหากุญแจดอกส�ำคัญที่ซ่อนอยู่ ณ ที่แห่งนี้ สิ่งนั้นคืออะไร อยู่ตรงไหน ท�ำอะไร ได้บ้าง นับจากนี้คงได้เรียนรู้ร่วมกัน

ไขกุญแจกลางใจชุมชน ภายหลังเสร็จจากการประชุมเครือข่ายแหล่งเรียนรู้พอเพียงเคียงธรรม ครั้งที่ ๔ เราสองคนก็ได้ออกเดินทางจาก จ.สระบุรี มายัง จ.ชัยภูมิ เพื่อมุ่งหน้า มายังวัดภูเขาทองโดยรถประจ�ำทาง เป็นเวลาบ่าย เรามาถึงยังส�ำนักงานขนส่ง แห่งที่สอง ไม่นานนักพี่ฉัตร จากบ้านวิถีไทเป็นผู้มารับและบริการเราสองคน ไปยังวัด และคืนนี้ เราสองคนพักที่บ้านวิถีไทหรือบ้านของพี่ฉัตรนั่นเอง เรา ทั้งสองรู้สึกขอบคุณพี่ฉัตรกับแฟนของพี่ฉัตรมาก ฝนตกลงมาปรอยๆ ล้อรถยนต์ หมุนเพื่อมุ่งไปยังบ้านของพี่ฉัตรและวัด ระหว่างทาง เราสังเกตเส้นทาง ถนน และบรรยากาศรอบๆ ตัว ภูเขาปนด้วยเมฆหมอกอยู่ไกลตา ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ และช่วงหนึ่งไหล่ทางของถนนมีการปลูกพืชมันส�ำปะหลัง มองแล้วท�ำให้รู้สึกว่า พื้นที่ป่าถูกแบ่งมาใช้สอยเป็นพื้นที่ท�ำกินมากมายขนาดนี้เชียวหรือ จนเข้ามา ใกล้ๆ หมู่บ้านท่ามะไฟหวาน ถนนดินลูกรังสีแดง ที่นี่แลดูเงียบสงบ มีร้านค้า ขายของช�ำของชุมชนเปิดให้บริการ แตกต่างไปจากยุคหนึ่งจนแทบไม่น่าเชื่อเลย ว่าหมู่บ้านแห่งนี้ในครั้งก่อนที่วัดจะเกิดขึ้น เคยเป็น “ดงเลือด”๑ เดิมทีวัดแห่งนี้เคยเป็นวัดร้าง ต่อมาในปี ๒๕๑๒ หลวงพ่อค�ำเขียน ท่าน ได้รับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาส การเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้นในวัดแห่งนี้และชุมชน ย้อนไป ๒๕ ปีก่อน เล่ากันว่า ชุมชนท่ามะไฟหวานเป็นชุมชนอยู่หลังเขาภูโค้ง หรือชื่อที่เป็นทางการว่า “ภูแลนคา” แต่ก่อนมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นเขตป่าทึบ มีสัตว์ป่าน้อยใหญ่นับไม่ถ้วน ชาวบ้านกว่า ๔๐ หมู่บ้านอาศัยอยู่นับเป็นยุคแรกๆ ครั้งนั้น การเข้าไปบุกรุกพื้นที่ป่ายังมีไม่มาก วิถีการด�ำรงชีวิตแบบเรียบง่าย พอ อยู่ พอกิน ผ่านพ้นมาช่วงราวปี ๒๕๑๗ – ๒๕๑๘ ชาวบ้านทุกสารทิศเริ่มเข้ามา ๑

บทความพระไพศาล วิสาโล (๒๕๒๘). หว่านพันธุ์แห่งโพธิ ประวัติ ชีวิตและผลงานของ หลวงพ่อค�ำเขียน สุวณฺโณ หลวงพ่อค�ำเขียนกับการเปลี่ยนแปลงที่บ้านท่ามะไฟหวาน

20 �������������.indd 60

11/28/16 11:00 AM


61

หักร้าง ถางป่า จับจองพื้นที่ท�ำกินและปลูก พืชเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมันส�ำปะหลัง เป็นจ�ำนวนมาก ส่วนวัดแห่งนี้นั้นยังไม่มี ความหมายมากพอที่ชาวบ้านจะตระหนัก เห็นความส�ำคัญและมีคุณค่าต่อการพัฒนา ชุมชน แต่ภายหลังที่หลวงพ่อค�ำเขียนเข้ามา เป็นเจ้าอาวาส ท่านวางเงื่อนไขไว้สองข้อ ข้อแรก จะต้องล้อมรั้ววัด และข้อที่สอง ห้ า มไม่ ใ ห้ มี ม หรสพ เล่ น การพนั น หรื อ กินเหล้าในวัด ไม่น่าเชื่อว่า ตลอดระยะเวลากว่า ๖ ปี การเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้านก็เกิดขึ้น และสร้างศรัทธาให้แก่ชุมชนและชาวบ้าน ท่ามะไฟหวานจนวัดเข้าไปมีพลังในชุมชน นับตั้งแต่เรื่องงานพัฒนาชุมชน (แก้ไขปัญหา เศรษฐกิจให้แก่ชาวบ้าน ก่อตั้งศูนย์พัฒนา เด็กเล็กวัดภูเขาทอง และจัดตั้งสหกรณ์ข้าว ขึ้นในปี ๒๕๒๑) งานสิ่งแวดล้อม (การปลูก ต้นไม้ในวัด) และงานสอนธรรมที่มุ่งเน้น การเจริญสติแนวการเคลื่อนไหวกับความ รู ้ สึ ก ตั ว ตามแนวทางของหลวงเที ย น จิตฺตสุโภ) งานฟื้นฟูภายในวัด (สร้างกุฏิ ขุดบ่อน�้ำดื่ม ขุดสระน�้ำแร่หลังวัด) และแล้ว วั ด แห่ ง นี้ ก็ ก ลายเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง หลวงพ่ อ ค�ำเขียนได้ “ปันน�้ำใจ สร้างภูมิคุ้มกัน สอน ธรรม และพัฒนา” ให้แก่ชมุ ชนและธรรมชาติ อย่างไม่ขาดสาย ดั่งสายน�้ำไหลรินรดต้นไม้ ทุกมื่นชื่นวัน เรารู้สึกเช่นนั้น

20 �������������.indd 61

ความประทับใจเมื่อเรารับรู้ว่าสิ่งที่ ท่าน (หลวงพ่อค�ำเขียน) ปรารถนาไว้ คือ “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” หากเหตุปัจจัย เอื้ออ�ำนวย ปรากฏตามข้อความที่พระไพศาล บันทึกให้เรารับรู้ว่า “การน�ำกรรมฐานไป ผสานกับงานพัฒนาอย่างจริงจังที่ท่ามะไฟ หวาน แผ่ น ดิ น ธรรม แผ่ น ดิ น ทอง มิ ไ ด้ หมายถึงหมู่บ้านพัฒนาตามรูปแบบที่ทางการ ชี้น�ำหรือโฆษณาในปัจจุบัน หากแต่หมายถึง หมู่บ้านพัฒนาพ้นภาวะขัดสน ปลดเปลื้อง หนี้สิน มีวิถีชีวิตเรียบง่าย สันโดษ พออยู่ พอกิน มีปัจจัยที่จ�ำเป็นต่อการด�ำเนินชีวิต อาทิ น�้ำสะอาดบริโภคตลอดปี ประชาชนมี น�้ำใจไมตรีต่อกัน พ้นจากอบายมุขทั้งหลาย ที่ ส�ำคั ญ คื อ มุ ่ ง ผลิ ต เพื่ อ กิ น เพื่ อ ใช้ มิ ใ ช่ ผลิตเพื่อขาย ทั้งหมดนี้” “เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาสิ ของจริง” วรรคทองของ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร อาจเป็ น เหมื อ นดั่ ง กระจกที่ ช ่ ว ยสะท้ อ น และเป็นเพื่อนคอยเตือนใจ ให้ชุมชนแห่งนี้ หวนกลับมาพึ่งตนเอง พอเพียง พออยู่ และ พอกิ น วิ ถี ชี วิ ต ความเป็ น อยู ่ ที่ เ รี ย บง่ า ย

11/28/16 11:00 AM


62

การไม่หลงเชื่อเงินตราเพื่อปลูกมันส�ำปะหลัง การรักและใส่ใจ ในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ นับเป็นคุณค่าและความหมาย ของการมีชีวิตอยู่เพื่อน�ำพาการเรียนรู้ในแต่ละวัน ให้หยั่งรู้ ถึงคุณค่าของทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนขุมทรัพย์ภายในกับการพัฒนาชีวิตด้านในให้เติบโต ขึ้น เพื่อผลิบานสู่พื้นแผ่นดินธรรม ไม่นานนัก เราเชื่อว่า แผ่นดินทองก็จะเติบโตเป็นพืชผลให้เราได้เก็บเกี่ยว กิน อยู่ ใช้ อย่างพอเพียง

เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความรู้สึกตัว เช้าวันใหม่ ภายใต้ฟ้าหลังฝน เรา สองคนออกเดินทางจากบ้านวิถีไท พร้อมกับ พี่ฉัตร พี่กุ้ง เมื่อมาถึงยังวัด เราได้พบกับ พี่มหา การเรียนรู้ของเราสองคนเริ่มต้นขึ้น ณ ประตูวัด จุดแรกที่สะดุดตา สะกดใจเรา ดั่งต้องมนต์ เราพบกับต้นไม้ใหญ่หรือที่นี่ เรียกว่า “ต้นนิโครธ” สูงตระหง่านตา เรา ไม่รรี อเดินเข้าไปใกล้ๆ เพือ่ ยืนสงบนิง่ ตรงนัน้ และเงยหน้าไปยังท้องฟ้า ด้วยความรู้สึก ตะลึงและเย็นสบายกาย ชื่นฉ�่ำใจ มองมายังมาซ้ายมือ เราเห็นพิพธิ ภัณฑ์ หลวงพ่อค�ำเขียน สุวณฺโณ เราสองคนเข้า กราบนมัสการหลวงพ่อภายในกุฏิของท่าน ก่อนทีจ่ ะมีการรวมตัวกลุม่ และรอพระอธิการ ตงหมิง เจ้าอาวาสองค์ใหม่ของวัดแห่งนี้ที่ ท่านสืบทอดเจตนารมณ์และงานต่างๆ ต่อ จากหลวงพ่อ โดยกิจกรรมแรก คณะเราฯ

20 �������������.indd 62

เริ่มต้นจากการเดินชมรอบๆ บริเวณวัด ซึ่ง มีพี่ฉัตร พี่กุ้ง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่อง สมุนไพรและเป็นหมอพื้นบ้าน และพี่มหา ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องผักพื้นบ้าน หลวงพี่ ตงหมิงและหลวงพี่นพ เป็นคณะฯ ที่พาเรา สองคนศึกษาเรียนรู้และเดินเที่ยวรอบๆ วัด กลับมามองยังป้ายทีต่ ดิ กับต้นนิโครธ และพูดคุยถึงเรื่องต้นไม้ควบคู่มากับเรื่อง จุดเด่นของพื้นที่วัด เรากวาดสายตามอง บริเวณรอบๆ และมาหยุดตรงป้าย ด้วย ความตั้งใจมองและฟังเรื่องราว จนเรารู้ว่า วัดแห่งนี้แบ่งเป็น ๖ เขต ได้แก่ ๑) เขต พุทธาวาส ๒) เขตสังฆาวาส ๓) เขตภาวนา ๔) เขตศาสนสงเคราะห์ ๕) เขตลานกิจกรรม และ ๖) เขตฌาปนสถาน เราเลือกตั้งหลัก กันที่จุดแรกคือ บริเวณติดยังประตูวัดด้าน ขวามือ นั่นคือ รั้วผัก รั้วผักเป็นพื้นที่การ

11/28/16 11:00 AM


63

เรียนรู้ที่เด็กๆ ได้มาลงเมล็ดพันธุ์ผักอย่าง ถั่วฝักยาว ผักพื้นบ้าน มีหลากหลาย และมี เครื่องเล่น พร้อมกับซุ้มบ้านดินเล็กๆ เป็น พืน้ ทีใ่ ห้เด็กได้เข้ามานัง่ พักผ่อนหรือเล่นตาม อัธยาศัย บริเวณนี้เดิมเคยเป็นศูนย์พัฒนา เด็ ก เล็ ก ที่ มี ม าแต่ ดั้ ง เดิ ม ตามที่ ห ลวงพ่ อ ค�ำเขียนเคยตั้งใจไว้

ย่างเท้าต่อมาเรื่อยๆ ผ่านมาทางเดิน ต้ น ไม้ สู ง ใหญ่ อุ ณ หภู มิ เ วลานี้ เ ย็ น สบาย จนถึงชื้น เราผ่านมายังประตูเพื่อตรงไปยัง สวนสมุนไพร ทางผ่านก่อนไปถึง เราก็อด ส่งเสียงทักทายแม่ไก่และลูกไก่สามตัวทีก่ �ำลัง เดินจิกอะไรสักอย่างบนดินอยู่ แล้วเราก็เดิน ผ่านไป ตามคณะฯ มาถึงยังสวนสมุนไพร

เราสงสัยว่าท�ำไมหลวงพ่อถึงริเริม่ งาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในวัดแห่งนี้ ซึ่งถือเป็น การบุกเบิกตั้งศูนย์แห่งแรกๆ ของประเทศ ก็ว่าได้ จากการพูดคุย เราทราบจากพี่ฉัตร ในเบื้องต้นว่า แต่ก่อนเมื่อชาวบ้านต้องไป ท�ำงานก็ น�ำพาลู ก ไปด้ ว ยเวลาท�ำงานนั้ น ระหว่างให้เด็กรอก็ขุดหลุมเพื่อให้เด็ก ลูก หลาน ที่ตามไปด้วยอยู่ พอหลวงพ่อทราบ ก็เลยเป็นทีม่ าของการเอาเด็กมาไว้ทวี่ ดั เพือ่ ให้หลวงพ่อช่วยดูแล ส่วนข้อมูลทางด้าน เอกสารให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ช่วงยุคนั้นเป็น ช่วงทีช่ าวบ้านท่ามะไฟหวานบางหลังคาเรือน ยังติดการพนัน อบายมุข และการเลีย้ งดูเด็ก ยังไม่ได้รับการดูแลมากนัก ถัดมาเป็นเรือน คนชรา ภูมิปัญญาชาวบ้าน เข้าใจว่าที่นี่ เป็นบริเวณเดียวกับเขตสถานสงเคราะห์ เป็นศาลาไม้สองชั้น แลดูร่มรื่น และเป็น บริ เ วณที่ เ ราเห็ น ผู ้ สู ง อายุ ชาวบ้ า น มา พร้อมเพรียง พบปะกัน ถือตะกร้า อาหาร ส�ำรับ มาท�ำบุญ

สวนสมุ น ไพร มี ห ลากหลายชนิ ด ด้วยความรู้แบบเล็กๆ ชนิดที่ไม่ได้มากนัก เราจดบางอย่างลงบนสมุดบันทึกว่า ที่นี่มี สมุนไพรรางจืด มะขามป้อม อบเชยเทศ ค�ำไท ธรณี ส าร ส้ ม โอมื อ มะม่ ว งหาว มะนาวโห่ และอื่ น ๆ อี ก มากมายชนิ ด ที่ เรียกว่าคอสมุนไพรห้ามพลาดเลยทีเดียว คงได้รับประโยชน์คุณอนันต์หากมาถึงยัง สวนนี้ แถมยังปรับภูมิทัศน์ทางเดินปูด้วย หินสีฟ้าและจัดตารางเป็นแถวแนว แลดู เป็นระเบียบไว้พร้อมส�ำหรับเด็กๆ ชาวบ้าน พระสงฆ์ หรือผู้ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้และ ใช้ประโยชน์ได้ มีป้ายและข้อความอธิบาย สรรพคุณติดไว้ที่สมุนไพรแต่ละชนิดด้วย

20 �������������.indd 63

พี่กุ้ง หรือเราแอบคิดในใจว่า เธอคือ “หมอกุ ้ ง ” หมอสมุ น ไพรที่ มี อ งค์ ค วามรู ้ และให้ความรู้กับเราสองคนถึงสรรพคุณ และการเลือกส่วนไหนมาใช้ประโยชน์ใน การรักษาโรค บ�ำรุงร่างกาย เธอเด็ดใบจาก ต้นเขยตายแม่ยายชักปรก มาให้เราขยี้แล้ว ดมกลิ่น พร้อมเล่าเรื่องความเป็นมาให้ฟัง

11/28/16 11:00 AM


64

เอ่อชื่อแปลก ประหลาด เป็นธรรมดาที่ไม่ คุน้ เลยส�ำหรับการรับรูข้ องเรา “จดดีกว่าจ�ำ” เราจดชื่อสมุนไพร พร้อมสรรพคุณบางอย่าง ทีเ่ ราสนใจเรียนรูไ้ ว้ลงสมุดบันทึกสัน้ ๆ ส�ำหรับ พี่กุ้ง เราทราบว่าเธอได้รวมกลุ่มชาวบ้าน ตั้งชมรมสมุนไพรท่ามะไฟหวานขึ้น เป็น การชวนกันกลับมาดูแลสุขภาพตนเองด้วย สมุนไพร และเธอเล็งเห็นความส�ำคัญของ การที่พระสงฆ์ส่วนใหญ่ได้รับถวายและดื่ม เครื่องดื่มชูก�ำลังอย่าง M150 เป็นเครื่องดื่ม ที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เลยเป็นที่มา ของการต้มนำ�้ ยาสมุนไพรถวายพระสงฆ์และ ผูค้ นทีส่ นใจในการดืม่ นำ�้ สมุนไพรเพือ่ สุขภาพ เช่นเดียวกับพี่มหายุทธ ที่ตั้งชมรมผักพื้นบ้าน ขึ้น เน้นให้กลุ่มเด็กและเยาวชนกลับมากิน ผักที่หากินได้ในท้องถิ่น ปลูกกินได้เอง เป็น การประหยัดรายจ่ายและดีตอ่ สุขภาพร่างกาย

ว่า ทุกอย่างรอบตัวเวลานี้เป็นสิ่งที่ชีวิตเรา หรื อ คนทั่ ว ไปยั ง คงต้ อ งจั บ จ่ า ยใช้ ส อยใน ชีวิตประจ�ำวันเกือบทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นพืช ผักสวนครัว มะเขือพวง มะเขือยาว ตะไคร้ ใบมะกรู ด มะนาว ฯลฯ ไม้ ยื น ต้ น เช่ น กล้วย ต้นทุเรียนและไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ยอดยาหยี รักแรกพบ ดอกบานเช้า ฯลฯ พืชสมุนไพร บ่อปลาดุก บ่อปลาหมอ แหล่ง เรียนรู้ที่ท�ำให้เราตื่นตาตื่นใจไปกับการท�ำ เกษตรกรรมธรรมชาติ เพราะที่นี่ไม่มีสารเคมี เราสังเกตเห็นว่า ต้นดอกดาวเรืองหรือตะไคร้ ถู ก ตั ด มาวางรอบๆ ผั ก เพื่ อ กั น แมลง ไม่ ธรรมดาเลยทีเดียว เวลา ณ ตรงนี้เลยเป็น เวลาเก็ บ เกี่ ย วความรู ้ สอบถามลุ ง และ คณะฯ เราต่างก็สนใจมิใช่น้อย ดูท่าทาง และแววตาของทุกๆ คนแล้ว เดินไปถาม ลุงไป และตื่นเต้นกับชื่อใหม่ๆ ของดอกไม้ ต้นพืช ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน และไม่น่าเชื่อว่า สิ่งที่เราได้เดินสัมผัสจนเห็นกับตาว่า พร้อม กับการอยู่กิน จะเป็นสวนที่ลุงสุวรรณเริ่ม ลงมือเมื่อประมาณ ๗ เดือนที่ผ่านมา

ถั่วฝักยาวสีม่วง เขียว ร้อยเรียงตาม แผงเป็นแนวยาว เหมือนกับว่าเป็นรั้วผัก แนวก�ำแพงวัด ทางวัดท�ำขึ้นไว้เพื่อกิน และ ระหว่างทางก็มีการลงไม้ต้น เช่น ไม้ยาง ไว้ เป็นแนว ใกล้กับต้นไผ่กอสูงตะหง่าน เรา กลับมาจากการเดินดูฐานกิจกรรม เดินทางเรื่อยๆ พร้อมหมู่คณะฯ จนมาพบ เรียนรู้ที่เป็นการใช้ชีวิตความเป็นอยู่รอบรั้ว กับอ่างเก็บน�้ำล�ำปะทาว วัด ซึง่ ยังมีอกี ๒-๓ กลุม่ ทีป่ กติเป็นเครือข่าย รั้วบ้านหลังนี้ กินได้ทุกอย่าง ผ่าน ลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อค�ำเขียน และ มายังบ้านลุงสุวรรณ ทางคณะฯ เราเดิน เป็นฐานการเรียนรู้ร่วมกันด้วย ก็มี ชมรม เข้าไปเรียนรู้กับสวนที่ปลูกแบบผสมผสาน เด็กรักนก บ้านสายรุ้ง และบ้านดินไท เรา รัว้ บ้านหลังนีข้ า้ งในกินได้ทกุ อย่าง หมายความ มานัง่ พักยังศาลาพร้อมกับการรับฟังเรือ่ งราว

20 �������������.indd 64

11/28/16 11:00 AM


65

ของกิจกรรมฐานทีผ่ า่ นมา คือการท�ำกิจกรรม ฐานการเรียนรู้ พอเพียง เคียงธรรม และ พู ด คุ ย ถึ ง เป้ า ประสงค์ ใ นการด�ำเนิ น งาน พร้ อ มกั บ การเสวนาความเข้ า ใจต่ อ การ ประสานบ้าน วัด ชุมชน

และมีภาพของการถ่ายทอด ฐานกิจกรรม ด้วยการจัดนิทรรศการที่ผ่านมา ปรากฏอยู่ ทางด้านหลังและด้านข้างให้เราได้รับรู้

“การพึ่งตัวเอง ชีวิตพอประมาณ มี ภูมิคุ้มกัน น�ำสู่หลักธรรม” หมายความว่า การใช้ ต ้ น ทุ น หรื อ ทรั พ ยากร เช่ น กลุ ่ ม สมุ น ไพรพื้ น บ้ า น กลุ ่ ม ผั ก พื้ น บ้ า น เป็ น ต้ น ทุ น เดิ ม ของชุ ม ชนให้ ห วนกลั บ มาพึ่ ง ตัวเองในแบบที่ท�ำกินได้ หาเองได้ ไม่ว่าจะ เป็นอาหาร ผักพื้นบ้าน ยารักษาโรค เน้น การบริโภคแบบพอเพียง ค่อยๆ ผันวิถีชีวิต เด็กและเยาวชนยุคปัจจุบันกลับมาเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีวิถีชีวิตความเรียบง่าย และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเชิงคุณธรรม มุ่งเน้น กลุม่ เด็กและเยาวชนให้ได้เรียนรูธ้ รรมะด้วย พื้นฐานของการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นการเจริญสติการปฏิบตั ธิ รรมตามแนวทาง ของหลวงพ่อเทียน สอดแทรกเข้าไปให้ได้ เรียนรู้และสนุกกับการเชื่อมโยง สัมพันธ์ กับผู้คนรอบๆ ตัว ให้เป็นการเรียนรู้”

ฐานแรก “สมุนไพร แช่มือ แช่เท้า” คือ มีการน�ำสมุนไพรมาต้ม พอกหน้าและ บรรยายความรูเ้ รือ่ งสมุนไพรในชีวติ ประจ�ำวัน

นับว่าเป็นหนึง่ ในเป้าหมายของวัดแห่ง นี้กับการสร้างฐานกิจกรรมการเรียนรู้ และ เป็นต้นแบบในการเชื่อมร้อยบ้าน (เด็กและ เยาวชน) ชุมชน และวัดมาเรียนรู้ร่วมกัน โดยการขับเคลื่อนภายใต้โครงการฯ แหล่ง เรียนรู้ พอเพียง เคียงธรรม นั้นมีอยู่ ๗ ฐาน

20 �������������.indd 65

ฐานของกิจกรรมการเรียนรูม้ อี ยูด่ ว้ ย กันเจ็ดฐาน นั่นคือ

ฐานที่สอง “ไอติม สมุนไพร” คิดบนพื้นฐาน ที่เด็กๆ ชอบไอศกรีม มี รสชาติ ค วามอร่ อ ยของ ไอศกรีมเป็นรสชาติของ การเรียนรู้เรื่องสมุนไพรแบบฉบับ กินด้วย อร่อยด้วย และเรียนรู้ด้วยไปในตัว เช่น ไอติ ม ค�ำไทย ไอติ ม ฝาง ไอติ ม อั ญ ชั น เป็ น ต้ น แล้ ว โยงไปสู ่ เ รื่ อ งต้ น ไม้ ใ นบ้ า น ตั้งค�ำถามและสรุปผลการเรียนรู้ ฐานทีส่ าม “มหัศจรรย์นำ�้ ยาสมุนไพร ๔ สูตร” โดยสามสูตรใช้วัตถุดิบในหมู่บ้าน และอี ก หนึ่ ง สู ต รซื้ อ วั ต ถุ ดิ บ วิ ท ยาศาสตร์ เน้นเนือ้ หาให้วเิ คราะห์คณ ุ ค่าแท้และคุณค่า เทียม มองหาความพอดีที่เหมาะสมกับชีวิต เรา ผ่านสูตรของการท�ำน�้ำยาซันไลต์และ น�้ำยาซักผ้า ทั้งสองสูตรมีการท�ำเหมือนกัน แต่ ที่ ต ่ า งกั น คื อ สี กั บ กลิ่ น กิ จ กรรมนี้ จ ะ ท�ำให้เด็กค่อยๆ วิเคราะห์และแยกแยะ “เรา

11/28/16 11:00 AM


66

โดนหลอก เราโดนหลอกจากโฆษณา” คง ตลาดนัดศูนย์การเรียนรู้ มีการตั้งร้านและ เป็นอีกสโลแกนที่ช่วยเปิดโลกการรับรู้ของ สาธิตวิธกี ารต่างๆ ของกิจกรรมการเรียนรูท้ ี่ ผ่านมา ตั้งแต่การกิน การประดิษฐ์ดอกไม้ เราใหม่ได้ไปอีกขั้น ฐานที่ สี่ “ผั ก พื้ น บ้ า น” ให้ เ ด็ ก ได้ เหรียญโปรยทาน ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน เรียนรู้พืชผักพื้นบ้านตามรั้วตามสวน จดชื่อ มาร่วมกันมากมาย ปิดท้ายด้วย “คาถา สามัญ หาวิธีการจ�ำ วิธีการท�ำกิน สรรพคุณ ชีวิต พอเพียง ขยันท�ำกิน เก็บรักษาเป็น” เช่น เมื่อเจอกับส้มป่อย บอกชื่อ แล้วให้ชิม รสว่า รสเปรี้ยว มีสรรพคุณการต้านอนุมูล อิสระ ท�ำกินด้วยการต้มย�ำ และมีวิธีการใน การสอดแทรกการภาวนาและสรุปผลการ เรียนรู้ ซึ่งถ้าเด็กเจอ ๒๐ ชนิดขึ้นไป “ข้าว ไรซ์เบอร์รี่” ก็จะตกเป็นของเขาโดยปริยาย ฐานที่ห้า “อบรมการดูแลสุขภาพ วัยกลางคนถึงผู้สูงอายุ” เน้นวิธีการดูแล สุขภาพให้แก่วยั กลางคนและช่วงวัยผูส้ งู อายุ ว่ า มี อ ะไรบ้ า ง กิ น อะไร ออกก�ำลั ง กาย อย่างไร ฐานทีห่ ก “อบรมค่ายแกนน�ำเยาวชน พอเพี ย ง เคี ย งธรรม” จุ ด ประสงค์ ข อง กิจกรรมนี้คือ มุ่งเน้นการสร้างคนรุ่นใหม่ ให้เป็นผู้น�ำต้นแบบ และการปลูกจิตส�ำนึก เรือ่ งจิตอาสา และฐานทีเ่ จ็ด “การปรับปรุง แปลงสมุนไพร” เน้นมาตรฐานและการ ใช้งานในระยะยาว

นอกจากงานสร้างการเรียนรูท้ จี่ ดั ขึน้ ที่วัดภูเขาทอง ยังมีกิจกรรม “ธรรมยาตรา ลุ่มน�้ำล�ำปะทาว” ที่ สามวัดพี่วัดน้องได้จัด ร่ ว มกั น เป็ น ประจ�ำทุ ก ปี เ ป็ น ครั้ ง ที่ ๑๖ แล้ว ตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ โดยทางวัดป่าสุคะโต พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ได้เป็นผู้น�ำใน การสร้างความร่วมมือในการจัดกิจกรรมนี้ ซึ่งระดมความร่วมมือภาคีทุกๆ ภาคส่วนมา ร่วมกันเดินเท้าบนเส้นทางเทือกเขาภูแลนคา ที่เป็นแหล่งต้นน�้ำล�ำปะทาว การจาริกของ รอยเท้าเล็กๆ หลายร้อยคน ตลอดช่วงเวลา ๘ วัน ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติใน การบอกเล่ า ให้ ผู ้ ค นบนสายธารต้ น น�้ ำ นี้ ได้ร่วมกันตระหนักและดูแลผืนน�้ำ ผืนดิน ผืนป่า ถิ่นที่ก�ำลังอาศัยอยู่ให้มีความยั่งยืน และพึ่ ง พาตนเองได้ อ ย่ า งแท้ จ ริ ง ดั ง นั้ น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ๑๖ ปี จึงได้มี กิจกรรมและโครงการต่างๆ เกิดขึ้นติดตาม มา ดังเช่นโครงการชมรมสมุนไพรพื้นบ้าน ชมชนผักพื้นบ้าน เป็นต้น ฯลฯ

ภายหลังจากการเสร็จกิจกรรมฐาน เรี ย นรู ้ ทั้ ง เจ็ ด แล้ ว ทางวั ด ได้ จั ด กิ จ กรรม เท่าที่เรารับฟังเรื่องราวและพลังงาน “มหกรรมพอเพี ย ง เคี ย งธรรม” เป็ น ของการพูดคุยบอกเล่าของกลุม่ ทีม่ ารวมพล

20 �������������.indd 66

11/28/16 11:00 AM


67

ทุกท่านล้วนทุ่มเทแรงกาย แรงใจให้แก่การ ท�ำงานของวัดแห่งนี้ ด้วยแรงแห่งศรัทธา อุดมการณ์ของหลวงพ่อค�ำเขียนที่ หว่าน เมล็ดพันธุ์แห่งโพธิกับความปรารถนาจะ แลไปข้างหน้าให้ชุมชนแห่งนี้เป็น “แผ่นดิน ธรรม แผ่นดินทอง” ตามที่ท่านตั้งใจ มา บัดนี้ มีหลายอย่างที่เกิดขึ้น อาทิ กลุ่มผัก พื้นบ้าน กลุ่มสมุนไพรพื้นบ้าน ลุงสุวรรณ กั บ การเลื อ กด�ำเนิ น วิ ถี ชี วิ ต แบบพอเพี ย ง ปลูกผัก พออยู่ พอกิน หรือแม้แต่งานสร้าง ภูมิคุ้มกันเด็กและเยาวชน กับการสร้างฐาน กิจกรรมการเรียนรู้พอเพียง เคียงธรรม ที่ พระตงหมิงสานต่อ เป็นผลงานแห่งความ ภาคภูมิใจที่วัดแห่งนี้เป็นฐานให้กับชุมชน ได้เป็นอย่างดี สามงานหลั ก ในการพั ฒ นาชุ ม ชน สัมพันธ์ระหว่าง วัด บ้าน ชุมชน คือ งาน อนุ รั ก ษ์ ธ รรมชาติ (ธรรมยาตราลุ ่ ม น�้ ำ ล�ำปะทาว) งานฝึกอบรมเยาวชน และงาน บุญประเพณีทุกฮีต เป็นงานของวัดแห่งนี้ ที่จะมีไปอย่างต่อเนื่อง อี ก สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ส�ำคั ญ ของการมาอยู ่ และมีส่วนร่วมกับวัดและผลักดันงานต่อไป เสียงสะท้อนจากพี่ฉัตรบอกกับเราว่า เพราะ ค�ำกล่ า วหนึ่ ง ของหลวงพ่ อ ค�ำเขี ย นที่ ว ่ า “อุดมการณ์ของหลวงพ่อคือ สิ่งที่อยู่ในใจ เรา การเป็นผู้อนุรักษ์พลิกฟื้น เราจะคืน ความสดใสได้ อ ย่ า งไร ตามค�ำกล่ า วของ

20 �������������.indd 67

หลวงพ่ออยู่เสมอว่า แม่น�้ำล้มป่วย ป่าไม้ ร้องไห้ แผ่นดินเป็นอัมพาต อากาศเป็นพิษ เราขอเป็นตัวแทนของต้นไม้ สายน�้ำ สัตว์ป่า และธรรมชาติ" ส่วนพีม่ หากล่าวว่า “หลวงพ่อ จะพูดถึงเรื่องผัก เรื่องน�้ำ น�้ำมาจากไหนถ้า ไม่มีต้นไม้ จะส่งเสริมให้ชาวบ้านมากินพืช ผักสมุนไพร ไม่กินผักจัดการ หลวงพ่อจะ ปลูกฝังเรื่องนี้มานานมาก คือสิ่งที่ฝังอยู่ใน หัวเราตลอดเวลาว่า จะต้องรักธรรมชาติ ไม่เบียดเบียนธรรมชาติ” หลายสิ่ ง หลายอย่ า ง และหลาย เรื่องราวอาจเป็นเรื่องธรรมดาส�ำหรับใคร หลายคนที่ความสนใจยังไม่ได้มุ่งเน้นแนว วิถขี องความเรียบง่าย พอเพียง เรียนธรรมะ พึ่งตัวเอง รักธรรมชาติ แต่ส�ำหรับวัดแห่งนี้ และชุมชนบ้านท่ามะไฟหวาน มีความหมาย มากส�ำหรับพวกเขา และคงมีความหมาย ไม่ต่างกันกับผู้คนที่เลือกด�ำเนินตามแนวทาง ดังกล่าว แม้ว่า วันนี้ร่างกายของหลวงพ่อ ค�ำเขี ย นไม่ อ ยู ่ แ ล้ ว แต่ จิ ต วิ ญ ญาณและ เมล็ดพันธุข์ องท่านยังคงอยูท่ กุ ทีแ่ ละทุกแห่ง ท่านยังคงเป็นครูในดวงใจ และเป็นพระ นักพัฒนาในสายตาของคนอีกหลายคน ธรรมะง่ายๆ กับความรู้สึกตัว “รู้ซื่อๆ” และ “ไม่เป็นอะไรกับอะไร” ที่ปรากฏบน แผ่ น ไม้ ข ้ า งๆ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ คงเป็ น กุ ญ แจ ดอกส�ำคัญที่ท�ำให้เราเดินทางเข้าสู่ธรรม ธรรมชาติ ที่หลวงพ่อค�ำเขียนทิ้งไว้ให้เรา ก็เป็นได้

11/28/16 11:00 AM


20 �������������.indd 68

11/28/16 11:00 AM


ยุพิน ประเสริฐพรศรี

วัดคลองแห ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พระครูวาปีธรรมอุดม / เจ้าอาวาสวัดคลองแห คลองสายเล็กๆ ทางทิศตะวันตก มีนามว่า คลองลาน และคลอง สายเล็กๆ ทางทิศใต้ มีนามว่า คลองเตย ไหลมาบรรจบกันบริเวณเนินดิน หรือป่าครึ้มที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “โคกนกคุ่ม” ก่อก�ำเนิดเป็นคลอง สายใหญ่อนั มีชอื่ ว่า “คลองแห” สายนำ�้ ทีก่ ลายเป็นเส้นเลือดใหญ่ของชุมชน ได้หล่อเลี้ยงสรรพชีวิตน้อยใหญ่ เกิดเป็นประเพณีวัฒนธรรมอันหลากหลาย ที่มีความหมายกับชุมชนและวัด ได้พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและนี่คือที่มาในการ ก้าวเข้าไปเรียนรู้กับพระครูวาปีธรรมอุดม แห่งวัดคลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พระผู้น�ำให้ชุมชนแห่งนี้หวนกลับมาสู่การสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ที่มีมนต์ขลัง และสร้างเส้นทางของการเรียนรู้ที่ท่องไปในขุมทรัพย์ของ เจ้ า นกคุ ่ ม รวมถึ ง การกู ้ คื น คลองแห่ ง นี้ ใ ห้ ชุ ม ชนกลั บ มาพึ่ ง พิ ง อาศั ย โดยเฉพาะการเปิดเป็นตลาดน�้ำคลองแห ที่ผู้คนต่างถิ่นต่างแดนต่างมา เยี่ยมเยือน

20 �������������.indd 69

11/28/16 11:00 AM


70

ตะลุยหาขุมทรัพย์ สะพานสีขาวทอดยาว สองฝั่งคลอง มาบรรจบกัน แมวน้อยตัวหนึ่งเดินเที่ยวเล่น อยู ่ บ นสะพาน หนู น ้ อ ยก�ำลั ง เล่ น ดนตรี บรรเลงเพื่อหารายได้ ตุ๊กตาหญิงสาวดวงตา กลมโตห้ อ ยเป็ น ตั ว แทนของการต้ อ นรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วอยู ่ บ นสะพาน ผู ้ ค นสั ญ จร ไปมา ณ ที่ นี่ คื อ ตลาดน�้ ำ คลองแห ฝั ่ ง ทางโน้ น มี เ รื อ นั บ ๔๐-๕๐ ล�ำก�ำลั ง ลอย เรี ย บอยู ่ ริ ม ตลิ่ ง เป็ น แถวแนวยาวดู เ ป็ น ระเบียบเรียบร้อยสุดสายตา มีแม่ค้า พ่อค้า สวมหมวกสาน ส่ อ งร่ ม ขึ้ น สู ง บนล�ำเรื อ เต็มไปด้วยอาหารคาวหวาน อาหารพื้นบ้าน ผลหมากรากไม้ พื ช พั น ธุ ์ ธั ญ ญาหาร ผั ก ใบเขียว น�้ำเย็นหวานในกระบอกไม้ไผ่ ส่วน ฝั่งบนบกมุงด้วยแฝก มีร้านค้าหลากหลาย ทั้งเสื้อผ้า สินค้าพื้นเมือง ท้องถิ่น แถมยังมี ลานเพลง เตรี ย มไว้ ส�ำหรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว ได้เพลิดเพลินจ�ำเริญใจ ผู้คนเร่เข้ามาจากหลายถิ่นบ้านใกล้ ไกล หลายเชื้ อ ชาติ หลายภาษา หลาย ศาสนา ต่างก็สนใจมาแวะเวียน มาจับจ่าย ใช้สอย ท่องเที่ยวอย่างคึกคักและหนาแน่น มีสินค้ามากมายให้เลือกซื้อตามๆ กัน แต่เอ๊ะ! เราก�ำลังสงสัยว่า ผู้คนเหล่านี้มาจากหลาย ท้ อ งที่ ก็ จ ริ ง อยู ่ แต่ จุ ด หมายของการมา

20 �������������.indd 70

ตลาดเป็นเรื่อง เดินกิน เที่ยว และบางคน ก�ำลั ง มองหาสิ่ ง ของที่ ถู ก ต้ อ งตาต้ อ งใจ กลับบ้านไปเชยชม แต่พวกเขาเหล่านั้นจะ มีใครรู้บ้างไหมว่า คลองสายนี้มีความหมาย ทั้ ง ในแง่ ป ระวั ติ ศ าสตร์ วั ฒ นธรรมและ เรื่องเล่า ที่เคยเป็นที่พักของ “ชาวกลันตัน” และ “ฆ้องแห่จมลงที่นี่” และยังมีขุมทรัพย์ ที่ถูกซ่อนไว้กับ “เจ้านกคุ่ม” นกที่ได้รับการ ขนานนามว่าเป็นนกแห่งโชคลาภ มีสมบัติ ล�้ ำ ค่ า ซ่ อ นอยู ่ หรื อ ในชื่ อ นกคุ ่ ม เงิ น นก คุ่มทอง พวกเขาจะรู้ไหมหนอ ถ้าหากว่า พวกเขาเหล่านั้นรู้เรื่องราวเหล่านี้ คงสนุก ไม่น้อย ได้เพลิดเพลินไปกับการก้าวเท้า เปลี่ยนสายตาใหม่จากเดิมเป็นสายตาแห่ง การจับจ่ายใช้สอย เลือกๆ แล้วซื้อนั่นไซร้ ก็อาจเปลี่ยนมุมมองใหม่มาเป็นสายตาของ การเรียนรู้ ท่องโลกวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นใน แบบฉบับ “ตามหา ตามล่า ตามค้น ตามรู้” หมายความว่า ตามหาชาวเมืองกลันตันคือ ใคร ตามล่าขุมทรัพย์กับเจ้านกคุ่มว่าอยู่ ที่ไหน ตามค้นความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน แหล่ ง เรี ย นรู ้ ต ้ น ต�ำรั บ ตามรู ้ แ หล่ ง วิ ถี ประเพณี แ ละวั ฒ นธรรมของวั ด แห่ ง นี้ ก็ เป็นได้

11/28/16 11:00 AM


71

ย้อนรอยต�ำนานยุคฆ้องแห่ผันสู่ยุคคลองแห เมื่อครั้งบรรพกาล เนิ่นนานมาแล้ว มีต�ำนานเล่าขานเล่าสืบต่อๆ กันมาว่า กาลครั้งหนึ่ง นครเมื อ งกลั น ตั น ชาวกลั น ตั น อาศั ย อยู ่ กั น พลุ ก พล่ า น อยู ่ ม าวั น หนึ่ ง ชาวเมืองกลันตันผู้หนึ่งได้ทราบข่าวถึงการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จาก เมืองตะมะลิงหรือเมืองตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราชในปัจจุบัน) ที่ได้ป่าวประกาศ ก็เกิดแรงศรัทธามีความต้องการเดินทางไปยังเมือง ตะมะลิงเพื่อร่วมงาน รีบเก็บข้าวของมีขุมทรัพย์ติดตัวไป แก้ว แหวน เงิน ทอง และฆ้องหนึ่งใบ ออกเดินทางไปมิรีรอ พอเวลาผ่านมา โมงยาม เริ่มค�่ำมืดลง ก็ได้พบกับพื้นที่ที่เป็นเนินสูง มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุม คุ้งคลองน�้ำ ใสสะอาด แลดูเหมาะแก่การพักผ่อน จึงได้นอนค้างอ้างแรมที่นี่เป็นเวลา หนึ่งคืน พอเช้าวันรุ่งขึ้นก็เก็บข้าวของออกเดินทางต่อด้วยเรือ ระหว่าง เตรียมตัวอยู่นั้น ก็ได้พบเห็นกับผู้คนจ�ำนวนมากเดินขบวนม้าลากเกวียน จากทิศเหนือ บ่ายหน้าลงใต้ผ่านมา เสร็จแล้วสอบถามได้ความว่า งาน บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เมืองตะมะลิงนั้น ได้ปิดลงแล้ว ก็ไม่คิดที่จะเดินทางกลับไปยัง บ้านเมืองของตน มาคิดว่าสิ่งของต่างๆ ที่ เตรี ย มมาเพื่ อ จะน�ำไปบรรจุ ใ นเจดี ย ์ เ ป็ น พุทธบูชา เช่น แก้วแหวนเงินทอง ไหนๆ ก็ ตั้งใจจะถวายเป็นพุทธบูชาแล้ว จึงไม่น�ำกลับ เลยได้ ร วบรวมสิ่ ง ของเหล่ า นั้ น มากองไว้ แล้วอธิษฐานเป็นพุทธบูชา ขุดหลุมฝังไว้ตรง พื้นที่สามเหลี่ยมที่คลองสองสายมาบรรจบกัน แล้วตรงนี้ก็เป็นชื่อของ คลองแห ชื่อบ้านนามเมือง ซึ่งแต่เดิมเขาเรียกว่า คลองฆ้องแห่ เหตุเพราะ ชาวกลันตันเอาฆ้องจมลงในคลอง แต่พอนานเข้าการเรียกชื่อก็สั้นลงตาม ภาษาใต้ กลายมาเป็น “คลองแห” ชื่อบ้านนามเมืองของชุมชนในปัจจุบัน เราเดินเลียบๆ มายัง “คลองแห” รู้มาแล้วว่าที่นี่เป็น “ตลาดน�้ำคลองแห” ตลาดน�้ำแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้

20 �������������.indd 71

11/28/16 11:00 AM


72

ตามค้น “วัฒนธรรมชุมชน” แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญา การศึกษาแบบรวมมิตร -- ตามล่าขุมทรัพย์กับ เจ้านกคุ่มเงิน นกคุ่มทอง ตามต�ำนานบอกเล่าของชุมชน เราทราบว่า ที่นี่มีความเป็นมาเชื่อมโยง ระหว่างต�ำนานชาวเมืองกลันตันกับพื้นที่ “โคกนกคุ่ม” อันเป็นขุมทรัพย์ที่ถูก ซ่อนไว้ เลยเป็นที่มาในการชวนผู้คนก้าวเข้ามาสู่โลกแห่งการศึกษาแบบรวมมิตร หมายความว่า เป็นการศึกษาแบบองค์รวม โดยเชื่อมโยงการเรียนรู้กับวัฒนธรรม ท้องถิ่น สืบทอดศิลปวัฒนธรรม และรักษาสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน จนเป็น เอกลักษณ์อนั โดดเด่นของการสร้างวัดทีน่ ใี่ ห้เป็นต้นแบบของการเรียนรูแ้ ก่ชมุ ชน และยังเป็นที่มาของการช่วยเหลือ เกื้อกูล ด้วยการประสานศาสนาและวัฒนธรรม จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ส่งเสริมอาชีพ ให้ หวนกลับสู่วิถีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เคยมีมาแต่กาลครั้งก่อน เคียงคู่กับวิถีชีวิตอัน สอดคล้องกับวิถีทางของธรรมชาติ แหล่งเรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์ชมุ ชน ปรากฏ ในขุมทรัพย์ของเจ้านกคุ่ม จุดน่าสนใจของวัด แห่งนี้ที่จะให้ภาพบอกเล่าเรื่องราวความเป็น มาของวัด ชุมชน เมื่อครั้งโบราณกาลได้เป็น อย่ า งดี เห็ น ที ว ่ า นอกจากแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว ตลาดน�้ ำ แล้ ว ก็ ไ ม่ ค วรพลาดที่ จ ะเดิ น ไปยั ง “พิพธิ ภัณฑ์พนื้ บ้าน” หรือปัจจุบนั มีชอื่ เรียกว่า “ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชคลองแห” เป็นการ แสดงเรื่ อ งราวผ่ า นห้ อ งแสดง ๗ ห้ อ งคื อ ห้องเฉลิมราชา ธาราเล่าขาน ต�ำนานฆ้องแห่ ผั น แปรสู ่ เ มื อ ง รุ ่ ง เรื อ งวั ด คลองแห เผยแผ่ วัฒนธรรม น�ำสู่อนาคต นี่คงเป็นแผนที่ปริศนา ลายแทงขุมทรัพย์ของหลวงพ่อที่ท่านให้เรา

20 �������������.indd 72

11/28/16 11:00 AM


73

หลวงพ่อท่านได้จัดพื้นที่ให้มีลานวัด ลานกี ฬ า และลานวั ฒ นธรรม เป็ น พื้ น ที่ ในการถ่ า ยทอดความรู ้ ภู มิ ป ั ญ ญาไทย และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยให้ชาวบ้านที่มี ความรู้และช�ำนาญ มาเป็นวิทยากรในการ ถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น การแทงหยวกกล้ ว ย น�้ ำ หมั ก ชี ว ภาพ แกะสลักหนังตะลุง เป็นต้น นอกจากนั้น ที่นี่ยังมีการจัดกิจกรรม ค่ายคุณธรรม น�ำพา “คลังเชาว์ปญ ั ญา” เปิดกล่องความรู้ เด็กและเยาวชนได้สัมผัสเรียนรู้ วัฒนธรรม ท้องถิ่น ให้สามารถน�ำกลับไปใช้ในวิถีการ ดีๆ -- ตามค้นความรู้ของนักปราชญ์ ด�ำเนินชีวิตและมีแนวทางในการพึ่งพาตน ไหนๆ หากเราเจอแผนที่ปริศนาแล้ว พร้ อ มกั บ มี วิ ธี ก ารสร้ า งรายได้ แ ละฟื ้ น ฟู ก้าวต่อมาระหว่างช่วงเวลาของการผจญภัย สิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชน ของการเรียนรู้ที่วัดแห่งนี้ก็ยังไม่จบสิ้นเสีย สวนสมุนไพร แหล่งเรียนรู้ วิถีแห่ง ทีเดียว เราก�ำลังเดินค้นหาคลังความรู้ของ นักปราชญ์ หลายคนมักคุ้นว่า นักปราชญ์ ความพอเพียง การพึ่งตัวเอง การหาองค์ อาจเป็นอัจฉริยะหรือผู้คงแก่เรียนหัวฟูๆ ความรู้เรื่องพืชสมุนไพรให้ชาวบ้านได้รู้จัก ท�ำการทดลองอยู ่ มื่ น ชื่ น วั น แต่ ที่ นี่ ผิ ด ไป เรียนรู้ เผื่อที่ว่าจะได้เป็นยาพื้นบ้านในการ จากนั้น การเรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้านต้อง ฟื้นฟู เยียวยาโรคเบื้องต้น บ�ำรุงสุขภาพกาย อาศัยความช�ำนาญจากการฝึกหัด ฝึกฝน และยังน�ำไปใช้ในการเป็นส่วนผสมของการ ให้มปี ระสบการณ์การเรียนรูใ้ นด้านการศึกษา กวนข้าวมธุปายาส ท้องถิ่นเพื่อวิถีชีวิต แห่งชีวิต และถักทอ สายใย “น�้ำใจ” ให้คงอยู่กับวิถีชีวิตชุมชน ภาคใต้ วัด ชุมชน บ้านใกล้เรือนเคียงต่างก็ พึ่งพาอาศัยระหว่างกันในการสืบทอดรุ่น ต่อรุ่น เฝ้ า ติ ด ตาม ค้ น หา ร่ ว มผจญภั ย ไปกั บ เส้นทางการเปลี่ยนผ่านตามมิติเวลาของ วัดและชุมชนแห่งนี้ เราอาจมิพบเจอสร้อย แหวน ก�ำไลข้อมือ หรือทองค�ำในหีบสมบัติ แต่ “แผนทีป่ ริศนา” อาจเป็นเครือ่ งมือส�ำคัญ และ “ขุ ม ทรั พ ย์ ชุ ม ชน” ให้ เ ราแกะลอย หาเข็มทิศมุ่งหน้าเดินทางไปยังการเรียนรู้ แบบบู ร ณาการวั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น มี ชี วิ ต นับจากนี้ก็เป็นได้

20 �������������.indd 73

11/28/16 11:00 AM


74

ปล่อยปลากลับสู่ล�ำคลอง กิจกรรม ที่ใช้หลักการของศาสนาในเรื่องของความ เชื่ อ กั บ การท�ำบุ ญ เป็ น กุ ศ โลบายหนึ่ ง ที่ นอกจากชาวบ้ า นหรื อ ผู ้ ค นจะได้ ท�ำบุ ญ สะเดาะเคราะห์แล้ว ยังเป็นการได้อนุรักษ์ พั น ธุ ์ ป ลา เพิ่ ม ปริ ม าณปลาในคลอง ให้ ชาวบ้านได้น�ำปลาในคลองไปรับประทาน และหวงแหนแม่น�้ำ ซึ่งเป็นแหล่งที่ท�ำมา หากินของชาวบ้านบางรายอีกด้วย นอกจากนี้ แหล่งเรียนรู้เพื่อพิทักษ์ สิง่ แวดล้อมทีส่ �ำคัญของทีน่ ี่ คือ “ฝายขยะ” การจัดการขยะเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมในการ ตระหนั ก ถึ ง คุ ณ ค่ า และส�ำนึ ก เพื่ อ ช่ ว ยกั น รั ก ษาสิ่ ง แวดล้ อ ม ไม่ ว ่ า จะเป็ น โฟม ถุงพลาสติค ถุงขนม ขวดน�้ำ และขยะ หรือ แม้กระทัง่ ขยะจ�ำพวกโลหะ จากขยะหนึง่ ชิน้ อาจส่งผลสะเทือนต่อหลายชีวิต แล้วยิ่งถ้า เราไม่รว่ มมือกันในการสร้างจิตส�ำนึกสาธารณะ ก่อนทิ้งขยะลงสู่ล�ำคลองแล้วล่ะก็ ระบบ นิ เ วศธรรมชาติ ค งถู ก กระทบจากขยะที่ เพิ่ ม พู น มหาศาล และชี วิ ต อี ก หลายชี วิ ต ก็คงเจ็บป่วยล้มตายก็เป็นได้ หากเรารู้ว่า แต่เดิมเมื่อปี ๒๕๔๒ ก่อนการเกิดขึ้นของฝายแห่งนี้ เราคงสะดุ้ง ไปพร้อมกับหลวงพ่อ ท่านเล่าให้เราฟังว่า ในยุ ค นั้ น ท่ า นเห็ น ภาพของคลองแหนั้ น

20 �������������.indd 74

เต็มไปด้วยขยะ ผักตบชวา ซากสุนัข ซากหมู ล�ำคลองเน่าเสียไม่มีใครมาสนใจ สิ่งที่ท่าน เห็นและสะดุ้งต่อมา เกรงว่า โรคภัยไข้เจ็บ โรคระบาด จะตามมา เลยเป็ น ที่ ม าของ ความมุมานะพยายามของท่านในการสร้าง ฝายดั ก ขยะ ความงดงามของล�ำคลองที่ ซ่อนอยู่ท�ำให้ท่านสัมผัสได้ถึงทุนเดิมของ ธรรมชาติ แ ละคลองแหแห่ ง นี้ แม้ ว ่ า จะ ลองผิ ด ลองถู ก อยู ่ บ ่ อ ยครั้ ง เพื่ อ ตั้ ง รั บ กั บ ขยะ แรงดันน�้ำ หลังจากนั้น ท่านค่อยๆ มี ประสบการณ์สร้างฝายดักขยะทีแ่ ข็งแรงขึน้ โดยพั ฒ นาการใช้ ไ ม้ ม าปั ก กั้ น ต่ อ มาใช้ กระสอบทราย และจนสุดท้ายใช้เสาไฟฟ้า (เสาซีเมนต์) ฝายคราวนี้ถาวร มีการตอก เสาเข็ ม วางเหล็ ก ออกแบบโดยวิ ศ วกร แข็งแรง ทนทาน เอาอยู่จนมาถึงปัจจุบัน “วัฒนธรรมพูดได้ คุยได้” -- ตามรู้ แหล่งวิถี ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม เคยมีคนบอกเราว่า ถ้าเราหยุดเดิน หยุ ด คิ ด ในบางเวลา เราก็ จ ะค้ น พบอะไร หลายๆ อย่ า งกั บ การเรี ย นรู ้ แ ละเข้ า ใจ สิ่ ง ต่ า งๆ รอบตั ว ได้ อ ย่ า งไม่ มี ท่ี สิ้ น สุ ด ทุกๆ วันเราได้ยินเสียงของตัวเอง เสียงของ คนรอบตัวและเสียงการคุยของผู้อื่นเข้ามา สั ม ผั ส ผ่ า นประสาทสั ม ผั ส หู หู อ าจเป็ น เพื่อนอวัยวะแรกที่ท�ำงานส่งผ่านเสียงแปล

11/28/16 11:00 AM


75

เป็นภาษาความหมายให้เราได้เข้าใจและรับรู้ ภายใต้ผืนวัฒนธรรมแห่งนี้ “วัฒนธรรมพูด ได้ คุยได้” ของวัดกับการเรียนรู้ที่นี่แล้วล่ะก็ คงเพลิดเพลินและเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่น แบบชุมชนได้อย่างลึกซึ้งกับที่มาของการ สรรสร้างวิถีแห่งวัฒนธรรม วิถีท้องถิ่น ชุมชน คืนสู่ท้องธรรมชาติ ไม่เคยรู้เลยว่า คลอง แห่งนี้ที่หลวงพ่อท่านกอบกู้และฟื้นฟูทุนเดิม มา จะถูกเรียกขนานนามว่า “เส้นเลือดใหญ่ ในการหล่อเลีย้ งสรรพชีวติ ” จนเป็นทีม่ าของ การย้อนรอยต�ำนานคลองแห

การจัดแข่งเรือยาว เรือกว่า ๒๐ ล�ำ ลอยขบวนอยู่บนผิวน�้ำ กีฬาเพื่อการแข่งขัน หลวงพ่อกล่าวว่า “เรือแต่ละล�ำ ต้องล่อง มาจากแม่น�้ำ พอเขาพบเจอขยะ เขาก็ต้อง เก็บขยะ ไม่อย่างนั้นแข่งเรือไม่ได้” การแข่ง เรือยาวมีผู้คนในชุมชนให้ความสนใจและ ทั้งสองศาสนาก็มาร่วมกิจกรรมกัน

วัฒนธรรมพูดได้ คุยได้ ของที่แห่งนี้ เรือพระ ด้วยความมุ่งหมายว่า เรือ หลวงพ่อท่านสร้างอะไรไว้ให้เราเข้าไปเรียนรู้ พระหรือการลากพระเป็นส่วนหนึ่งในการ ได้บ้าง ช่วยรักษาไม่ให้โลกร้อน เหตุที่ว่า การใช้ กิจกรรมทางน�้ำ ก�ำลังพูดอะไร บอก หยวกกล้วยหรือเป็นหนึง่ ในทีม่ าของกิจกรรม อะไรให้เราเรียนรู้ผ่านศาสนา ความเชื่อ การแทงหยวกกล้วย นอกจากจะได้ออกแรง ประเพณี วัฒนธรรม หลวงพ่อบอกกับเรา ออกก�ำลังกายกับการแทงหยวกกล้วยแล้ว ว่า การมีกจิ กรรมทางนำ�้ ขึน้ มาก็เพือ่ เป็นการ ยังเป็นที่มาของการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่ ม ออกซิ เ จนทางน�้ ำ ให้ กั บ คลองแห่ ง นี้ เพราะวัสดุที่ท�ำเน้นวัสดุจากธรรมชาติ ไม่ ว ่ า จะเป็ น กิ จ กรรมจั ด แข่ ง เรื อ ยาว กิจกรรมทางบกที่หลวงพ่อสร้างเป็น มวยทะเล ล่ อ งเรื อ จั ก รยานถี บ จั ด งาน ลอยกระทง แห่ เ ที ย นทางน�้ ำ กิ จ กรรม แหล่งเรียนรู้ก�ำลังบอกเล่าเรื่องราว ความ เหล่านีเ้ ป็นสิง่ ทีห่ ลวงพ่อท่านเป็นผูส้ รรสร้าง หมายผ่านเราว่ากิจกรรมมิได้เป็นเพียงความ ยุทธวิธีในการหมุนเวียน การใช้ประโยชน์ เพลิดเพลิน สนุกสนาน เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการสอดแทรกเรื่องราวความเป็นมา ทางน�้ำ ของกลิ่นไอวัฒนธรรมพื้นบ้าน สร้างกรอบ

20 �������������.indd 75

11/28/16 11:00 AM


76

วัฒนธรรมให้ลูกหลาน เยาวชนได้เรียนรู้ ผ่านศิลปวัฒนธรรมการแสดง สะท้อนผ่านแง่มุมของวิถีชีวิต ต�ำนานค�ำ บอกเล่า การขัดเกลาทางสังคม การสืบสานสายใยทรัพยากร ให้คงอยู่คู่วิถีท้องถิ่น วิถีไทย สู่วิถีชีวิต เช่น การร�ำมโนราห์ การแกะหนังตะลุง การกวนข้าววิเศษ ก่อปราสาททราย ทองค�ำ เป็นต้น การร�ำมโนราห์ เป็นที่มาของพิธี โนราห์ โรงครู ศาสตร์ โ บราณในการรั ก ษาสุ ข ภาพ และช่วยให้ร่างกายแข็งแรง เพราะก่อนที่จะ ร�ำมโนราห์ได้นั้น เด็กๆ จะต้องฝึกหัดดัดกาย ให้อ่อนช้อยจนช�ำนาญก่อนท�ำการแสดงอัน ประดับประดาไปด้วยชุดลูกปัด หลากหลาย สีสนั และเป็นทีม่ าในการสร้างรายได้ให้แก่ชมุ ชน กวนข้าวทิพย์ กิจกรรมการกวนข้าวมธุปายาส เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่น�ำหลักความเชื่อทางศาสนา เข้ามาเป็นแนวทางในการเรียนรู้ ข้าวที่มีความวิเศษนี้ อาจเป็นขุมทรัพย์อีกชิ้นที่ช่วยบอกให้เราทราบถึงที่มา ของการใช้พืชสมุนไพร ธัญพืช ๖๒ อย่าง แล้วหากกวน ต้องใช้เวลาถึง ๔ ชั่วโมง นับว่าเป็นการออกก�ำลังกาย ไปในตัวเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และยังเป็นที่มาของ ความเชือ่ เรือ่ งความบริสทุ ธิก์ บั การสอนเรือ่ งพรหมจรรย์ ให้แก่เด็กและเยาวชนในการรักนวลสงวนตัว เพื่อที่ จะมาเป็ น สาวบริ สุ ท ธิ์ ใ นการกวนข้ า ววิ เ ศษนี้ และ ภายหลังการกวนข้าวเสร็จแล้ว หญิงนี้ก็จะเป็นสาว บริสุทธิ์และอาจจะเป็นที่หมายปองต้องตาชาย

20 �������������.indd 76

11/28/16 11:00 AM


77

ก่อปราสาททราย หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “ก่อเจดีย์ทราย” เป็นกลยุทธ์ ในการช�ำระหนี้สงฆ์ หลวงพ่อบอกกับเราว่า กิจกรรมการก่อเจดีย์ทรายนั้นก็ อาศัยวิธีการที่ว่า ช่วยกันน�ำทรายเข้าวัดเป็นเหมือนการช�ำระหนี้สงฆ์ เพราะว่า เวลาเราเข้าวัดแล้วออกจากวัด เท้าของเราก็จะติดทรายออกมาด้วยแบบไม่รู้ตัว กิจกรรมนีเ้ ลยเป็นทีม่ าของการขนทรายเข้าวัดเพือ่ เป็นการช�ำระหนีใ้ ห้แก่พระสงฆ์ แถมยังเป็น แหล่งในการสร้างความร่วมมือระหว่างครอบครัว ระหว่างพ่อแม่ เด็กๆ ชุมชน ให้มาท�ำกิจกรรมร่วมกันอีกด้วย รวมความว่ า กิ จ กรรมสรรสร้ า ง ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นทั้งกิจกรรมด้านการ เรียนรู้และแฝงไปด้วยคติ ความเชื่อด้าน ศาสนาและจิ ต วิ ญ ญาณแห่ ง การสื บ สาน วัฒนธรรม และคงไว้ซึ่งวิถีธรรมชาติ เป็น กุศโลบายของหลวงพ่อ ท่านมุ่งเน้นให้วัด เป็นศูนย์กลางและเป็นแหล่งเรียนรูร้ วบรวม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การพึ่งพาระหว่างกัน ความรัก ความสามัคคี การมีความสุขแบบ ยั่งยืน เป็นอีกวิถีแห่งความพอเพียง ด�ำรง อยู่เคียงธรรม สุ ด ท้ า ยนี้ แม้ ว ่ า การผจญภั ย การ เรียนรู้ ตามล่า ตามหา ตามค้น และพบกับ ขุ ม ทรั พ ย์ ม ากมาย ณ วั ด แห่ ง นี้ กั บ สิ่ ง ที่ หลวงพ่อได้สรรสร้างขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น “แผนที่ ป ริ ศ นาลายแทงกั บ นกคุ ่ ม คลั ง เชาว์ปัญญาของนักปราชญ์ กวนข้าววิเศษ ก่อปราสาททองค�ำ” หรืออื่นๆ อีกมากมาย ใกล้จะถึงตอนจบ แต่เรายังคงไม่ลืมภาพ

20 �������������.indd 77

คลองแห วิถีเศรษฐกิจแห่งการพึ่งตัวเอง วิ ถี ชี วิ ต เกษตรกรรม พื ช ผั ก ธั ญ ญาหาร สวนสมุนไพร คลองใสๆ น�้ำไหลผ่าน ปลา ว่ายน�้ำเริงร่า ความอุดมสมบูรณ์กลับมาสู่ เส้นเลือดใหญ่ สายธารแห่งการหล่อเลี้ยง ทุกชีวิตริมคลอง และสิ่งมีชีวิตในล�ำคลอง ให้อยู่รอดปลอดภัย สมดั่งเป็น “ขุมทรัพย์” ลายแทงอันล�้ำค่าในการก่อเกิดชีวิต แม่น�้ำ และจิ ต วิ ญ ญาณของผู ้ ค นในชุ ม ชน ให้ วัฒนธรรมท้องถิน่ เดินทางส่งต่อเจ้านกคุม่ เงิน นกคุ่มทองให้กับอีกหลายๆ คนได้รับรู้อย่าง น่ามหัศจรรย์

11/28/16 11:00 AM


20 �������������.indd 78

11/28/16 11:00 AM


ยุพิน ประเสริฐพรศรี

วัดคลองเปล ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา พระครูโสภณคุณาทร / เจ้าอาวาสวัดคลองแปล หลายคนมักรู้สึกว่า การได้รับของขวัญสักชิ้นจากใครสักคนนั้น อาจเกิดในช่วงเวลาพิเศษหรือวันส�ำคัญของชีวิต ของขวัญชิ้นนั้นก็จะ มาถึงเราด้วยความรู้สึกตื่นเต้นและดีใจ ครั้นเมื่อเปิดของขวัญ ใจก็จะรู้สึก ว่า เอ๊ะ! ภายในคืออะไร ตุ๊กตาหมี กระปุกออมสินหรือช็อกโกแลต ลุ้น จนใจเต้นตุ๊บ-ตั๊บ และหากเราก้าวเข้ามาเรียนรู้ เราจะได้พบกับ “โอกาส” ที่เป็นหนึ่งในความหมายของชีวิตที่ท�ำให้เราได้เรียนรู้และสัมผัส เรา สองคนเดินทางไปพบกับ พระครูโสภณคุณาทร เจ้าอาวาสวัดคลองเปล ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หรือที่เราเรียกท่านว่า “หลวงพ่อสมปอง” ท่านคือพระนักพัฒนาสังคมและผู้สร้างผลงานช่วยเหลือชุมชน สร้างคน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาสทางสังคม อย่าง “เด็กเกเร” กว่า หนึ่งร้อยชีวิตให้เติบโตมาเป็นพันธุ์ข้าวที่ดีของชุมชน สังคม ท่านได้มุ่งเน้น ให้คนทุกเพศทุกวัยมาปฏิบัติธรรมกรรมฐานในวิถีชีวิตประจ�ำวัน ในวัด ยั ง มี บ ริ ก ารสาธารณสุ ข ชุ ม ชนส�ำหรั บ ผู ้ สู ง อายุ ตลอดจนการส่ ง เสริ ม ศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ (มโนราห์) เรื่อยมา ทั้งหมดท่านได้ให้โอกาสในการ สร้างคน สร้างวัดคลองเปลแห่งนี้ ให้เป็นพื้นที่ชุมนุมผู้คนทุกวัย เป็น

20 �������������.indd 79

11/28/16 11:00 AM


80

แหล่งเรียนรู้ แหล่งปฏิบัติภาวนา มีสิ่งเดียวที่ท่านย�้ำและบอกผ่านมายังเราตลอด ความสัมพันธ์เสมอว่า “ฉันไม่ได้ท�ำอะไร ฉันท�ำเพียงมอบโอกาส” เสียงที่เด่นชัด ของหลวงพ่อ เปี่ยมด้วยรอยยิ้ม และมีความหมายให้เราได้เรียนรู้และก้าวเข้าไป สัมพันธ์กับพื้นที่วัดแห่งนี้ รวมถึงงานแหล่งเรียนรู้ที่ท่านได้สร้างสรรค์ประโยชน์ เพื่อชุมชนและสังคม

เดินทาง--มิตรภาพที่งดงาม การเดินทางครั้งนี้เริ่มต้นจากที่พัก ใกล้ๆ กับตลาดน�้ำคลองแห มายังวัดคลอง เปล ระยะทางประมาณ ๑๒ กม. ระหว่าง การเดินทาง เราสองคนได้สัมผัสกับชุมชน และความเป็นมิตรไมตรี ด้วยความช่วยเหลือ ของเจ้าหน้าที่ต�ำรวจใกล้ๆ กับวัดคลองแห มาส่งเรายังวัดคลองเปล ไม่นึกเลยว่าจะ โชคดี อ ะไรเช่ น นี้ เราสองคนรู ้ สึ ก ซาบซึ้ ง ในน�้ำใจและขอบคุณจากดวงใจ ก่อนที่จะ เริ่มต้นภารกิจ

ยอด ลอยลงมาตรงศาลาทางทิ ศ ใต้ ข อง วัดคลองเปล เมื่อปี ๒๕๓๑ เริ่มสร้างเจดีย์ บรรจุพระธาตุจากบุคคลและสถานที่ต่างๆ รวม ๑๙,๙๙๙ องค์ พระธาตุแห่งเทพนิมิต เป็ น ทั้ ง สถานที่ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แรงบั น ดาลใจ ปณิธานและความหวังของหลวงพ่อ ส�ำหรับ ท�ำโครงการพั ฒ นาศาสนกิ จ สงเคราะห์ จนสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน เรามาถึงยังวัดแห่งนี้ หลวงพ่อสมปอง ท่านออกมาต้อนรับเราอย่างอบอุ่น ท�ำให้ นึกถึงภาพความทรงจ�ำเมือ่ ครัง้ ทีเ่ ราเจอท่าน ครั้งแรก ณ ตลาดน�้ำคลองแห ท่านทักทาย พวกเราสองคน ขณะที่ ท ่ า นนั่ ง ดื่ ม น�้ ำ ชา บนโต๊ะมีกาต้มน�้ำแบบใช้เตาถ่าน พบท่าน ในครั้งนี้ท่านยิ้มแย้มแจ่มใสไม่ต่างไปจาก ครั้งก่อนเลย

เวลาบ่ายๆ แสงแดดจ้า ท้องฟ้าสีคราม ก้อนเมฆสีขาว ฟูๆ แลดูเหมือนก้อนสายไหม เป็นฉากหลังให้กับเจดีย์ขาวสูง ๙ ชั้น ดู สวยงาม เงาเจดีย์ทอดตกลงบนลานพื้นปูน ของวัด ต้นไม้ล้อมรอบเจดีย์ นี่คงคือ เจดีย์ แห่งเทพนิมิต (พระบรมธาตุทักษิณ เจดีย์ ศรีโสภณ) ที่ใครต่อใครเล่าว่า เป็นเจดีย์ ขนมวุ้น มะยมดอง น�้ำผลไม้ ถูกจัด ศักดิ์สิทธิ์ ที่หลวงพ่อได้นิมิตเห็นเจดีย์ ๙ มาต้ อ นรั บ เราอย่ า งดู น ่ า รั บ ประทานจาก

20 �������������.indd 80

11/28/16 11:00 AM


81

แม่ครัว เราสองคนได้กราบนมัสการและพูดคุยกับหลวงพ่อในห้องท�ำงาน เล็กๆ ที่ห้องรับแขก บรรยากาศค่อนข้างเงียบและเรียบง่าย ระหว่างรอ ท่านจัดแจงธุระอยู่นั้น เราขออนุญาตท่านเดินชมบริเวณวัด เรากวาดดู รอบๆ สังเกตสิ่งรอบตัว นอกจากเจดีย์แห่งเทพนิมิตแล้ว เราก็พบกับ ลานหินโค้ง ด้านซ้ายมือเราเป็นรูปปั้นพระบัวเข็มสีทองขนาดใหญ่ ถัดมา เป็นห้องวิทยุกระจายเสียงของวัด ห้องพยาบาลชุมชน (อสม.) ห้องน�้ำ รูปฟักทองประหลาดตา อันเป็นความโดดเด่นของพื้นที่วัด นอกจากสถานที่บริเวณรอบๆ วัดให้ เราเจอด้วยสายตาและสัมผัสจากหัวใจแล้ว เสียงวิทยุตามสายก็ส่งเสียงเรื่องราวธรรมะ มาอยู่เรื่อยๆ ท่วงท�ำนองได้ฟังกับเดินแล้วก็ รู้สึกผ่อนคลาย สบายจิต กิจกรรมต่อมา ที่หลวงพ่อบอกให้เราเดินเข้ามาเยี่ยมชม คือ การฝึกเด็กซ้อมมโนราห์ของครูสายใจ ก่ อ นที่ เ ด็ ก ๆ จะเลิ ก ซ้ อ มร�ำ เราสองคน เดินมายังที่นี่ ภายในศาลามีเด็กผู้หญิงกว่า ๒๐-๓๐ คน มีผู้ปกครองนั่งรอคอยอยู่บริเวณด้านนอก การร่ายร�ำเป็น ไปด้วยจังหวะความพร้อมเพรียง การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กๆ ดู อ่อนช้อย แต่ละท่าอยู่ภายใต้การดูแลและก�ำกับของครูสายใจเป็นอย่างดี บอกเล่าต�ำนานคลองเปล มีต�ำนานเล่าว่า บ้านคลองเปล (น�้ำผุด) เดิมเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ พระยาวิเชียร เจ้าเมืองสงขลา เลี้ยงช้าง วัว ควาย มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีล�ำคลองเล็กๆ ไหลผ่าน มีชาวบ้านละแวก ใกล้เคียงมาจับจองพื้นที่ท�ำกิน เพราะพื้นที่เหมาะสมแก่การท�ำเกษตรกรรม ตามต�ำนานยังเล่าต่ออีกว่า “สมัยนั้นมีหญิงสาวคนหนึ่งชื่อว่า นางเลือดขาว หรือนางผมหอม เธออาศัยอยู่ในถ�้ำเชิงเขาบันไดนาง ถ�้ำอยู่ห่างจากวัด ประมาณ ๑ กิโลเมตร ทุกๆ เช้าเธอจะออกจากถ�้ำมาใส่บาตรพระสงฆ์

20 �������������.indd 81

11/28/16 11:00 AM


82

เป็นประจ�ำ พอเทีย่ งวันเธอจะไปอาบน�ำ้ ทีส่ ระนางอยูท่ ศิ ตะวันตกของวัด หลังจากนั้น เธอจะเดินทางกลับมานั่งเล่นที่เปล ซึ่งผูกไว้ที่ริมคลอง” เลยกลายเป็นที่มาของชื่อวัดคลองเปล พอเราได้ฟังต�ำนานของที่นี่แล้ว ท�ำให้เรารู้สึกถึงแรงศรัทธา บ้านคลองเปลผูกโยงกับวิถีชีวิต บ้าน และ ผูกพันกับวัดมีมายาวนาน ตะวันก�ำลังจะลาลับขอบฟ้า ก่อนทีเ่ ราสองคนจะเดินทางออกมา จากวั ด คลองเปลและกราบลา หลวงพ่ อ เราสองคนได้ มี โ อกาส ในการเข้าร่วมสัมภาษณ์พูดคุยกับ พี่ ที่ จั ด รายการวิ ท ยุ แ ละเด็ ก น้ อ ย สองคน เป็ น ช่ ว งเวลาประมาณ ๑๖.๓๐- ๑๗.๐๐ น. ความสนใจใน การเข้ามาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ภายในวัดทุกๆ วันอาทิตย์ ความ ประทับใจวัดแห่งนี้ ผลจากที่เราได้รับฟังเรื่องราวนั้น พบว่า การปรับตัว การปรับพฤติกรรมนิสัยของตนให้อยู่ง่ายขึ้น ค่อยลดละกิเลสบางอย่าง ความกลัวภายในใจเบาบางลง มีวินัยในการฝึกฝนตนเองเพิ่มขึ้น หลัง หมดเวลาของคลื่นวิทยุกระจายเสียง รายการต่อไปก็เป็นดีเจชาวพม่า ที่มาต่อเวลาหลังจากนี้ นึกในใจว่า ความต่างทางวัฒนธรรมไม่ได้ปิดกั้น โอกาสและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันเลย ระหว่างนั่งรออยู่บริเวณโต๊ะม้านั่งหิน และเป็นเวลาก�ำลังจะ ออกจากวัด ก็มีเด็กน้อยเข้ามาพูดคุยกับเรา รู้จักกันตั้งแต่ที่ห้องอัดเสียง เราสัมพันธ์กันมากขึ้นจากการคุยเรื่องของแม่หมาและลูกหมา เธอ เล่าเรื่องกิจกรรมในโรงเรียนที่ชอบท�ำและกิจกรรมในวัดที่เธอชื่นชอบ เธอบอกว่า “หนูชอบมาวัดเพราะได้ความเงียบ เดินจงกรม มีเพื่อน

20 �������������.indd 82

11/28/16 11:00 AM


83

อาทิตย์หน้าพี่มาไหม” เป็นช่วงเวลาที่รู้สึกถึงมิตรภาพ รอยยิ้มและความผูกผัน และยังเป็นภาพสะท้อนของเด็กน้อยที่สนใจในการเข้าวัดมากับพ่อแม่ ค่อยๆ ได้ ปลูกฝังเมล็ดพันธุ์ที่ดีงามให้แก่สังคม แม้จะเป็นเพียงจุดเล็กๆ ก็ตาม

เจ้า “โอกาส” มาเยือนแล้ว เป็นเจ้าอาวาสและอะไรต่ออะไรทุกวันนี้ เพราะท่านมอบหมายให้ฉนั เป็นหัวหน้าทีพ่ กั สงฆ์ (ป่าช้า) ฉันจึงมีโอกาส โอกาสเท่านั้นที่ ท�ำให้คนขึ้นมาได้ ไม่มีโอกาส เก่งขนาดไหน อย่าหวังเลย เพราะฉะนั้น เราจึงสร้างโอกาส ให้ ทุ ก คนที่ มี ทุ ก อย่ า งที่ มี ใ นวั ด นี้ จึ ง มอบหมายให้แต่ละคนได้มีโอกาสท�ำงาน เขาจะได้เห็นว่าเขามีศักยภาพ เราจะเห็น ศั ก ยภาพ จึ ง มอบหมายให้ เ ขาเชื่ อ มั่ น ใน ตัวเขา เขาจึงท�ำงานให้เราได้ ที่ท�ำทุกวันนี้ ฉันไม่อยู่ก็ท�ำได้ กลับมาคุยกันหน่อยเท่านั้น เอง ให้ก�ำลังใจ ดีจัง ท�ำงานส�ำเร็จได้ต้องมี “เพราะนึกถึงฉันไง ฉันโดนทอดทิ้ง อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการ” ไม่มีใครแนะน�ำเอาใจใส่ เมื่อฉันมีโอกาส ในการช่วยเหลือเกื้อกูล “เด็กเกเร” ท�ำไมไม่ช่วย ฉันเคยนึกมาตลอดว่า ท�ำไม หรือเด็กที่ถูกเรียกจากคนบางกลุ่มว่าเป็น เขาไม่ ช ่ ว ยเหลื อ เรา ไม่ ส ่ ง เสริ ม เรา เรา “กากข้าว” แต่ดว้ ยความมุมานะของหลวงพ่อ กระเสือกกระสนมาด้วยตัวเอง แต่ยังนึกถึง สมปอง กับการเชื่อมั่นในเมล็ดพันธุ์ความดี บุญคุณที่ครูบาอาจารย์ส่วนหนึ่งท่านเป็น ของเพื่ อ นมนุ ษ ย์ ม าโดยตลอดว่ า คนเรา พระหลวงตาจริง (พระปลัดจวน ปัญญาธโร) สามารถเรียนรู้และพัฒนา ท่านเล่าให้เรา แต่ท่านสนใจ ท่านช่วยเรา นี่ตอนนี้ฉันได้ ฟังพร้อมเสียงที่มีพลังแห่งความหวังว่า “มี งานที่ท่านกระท�ำเสมอมาคือ ท่าน เป็ น ผู ้ ส ่ ง มอบโอกาสให้ โ อกาสแก่ ทุ ก คน ทุกเพศ ทุกวัย การให้โอกาสและเชื่อมั่นใน เมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามในใจของมนุษย์ ทุกคน แม้ว่าบรรทัดฐานของสังคม จะวัด พวกเขาเหล่านัน้ และบอกว่าเป็น “เด็กเกเร” ที่ประพฤติปฏิบัติไม่ดี อยู่นอกกรอบ แต่ ส�ำหรับหลวงพ่อสมปองแล้ว เด็กเกเรจะ กลับมาเป็นคนดีของสังคมได้ เพียงแค่ให้ โอกาส ประสบการณ์ ใ นช่ ว งวั ย เด็ ก เป็ น แรงบันดาลใจให้ท่านช่วยเหลือและพัฒนา เด็ก เยาวชนที่ขาดโอกาส ท่านเล่าว่า

20 �������������.indd 83

11/28/16 11:00 AM


84

คนประนามเยอะแยะเลยว่ า เอาเศษเด็ ก กากเด็ก เขาว่ากากเด็กนะ เราก็เลยอธิบาย ค�ำว่ากากเด็กให้เขาฟัง บอกว่าลูกจ�ำไว้นะ ค�ำนี้เขาบอกกาก บอกลูกทุกคนจ�ำไว้ อย่า เสียใจ ข้าวสารนั้นเวลาเขาจะหุง เขาเลือก ฟัดแล้วเขาก็เลือก ที่เอาออกเขาเรียกว่า กาก แต่มันเป็นข้าวที่เป็นเมล็ดอยู่ ไม่ได้ ถูกซ้อมให้มันออกมานะ ยังเป็นเมล็ดอยู่

ยังมีเปลือกอยู่ แช่น�้ำแล้วไปหุง แต่ถ้ากาก พอเอาไปแช่น�้ำมันจะพองออกมาได้ มัน แตกกี่ต้นก็ตาม แต่หนึ่งกอหนึ่งต้น มันแตก ออกมาแล้ ว เป็ น รวง เป็ น รวงในรวงหนึ่ ง แล้วเป็นร้อยๆ เพราะฉะนั้น ฉันจะท�ำกากนี้ ให้ เ ป็ น ข้ า วที่ มี คุ ณ ค่ า ให้ ไ ด้ ลู ก จ�ำไว้ น ะ ทุกคน” จึงเป็นที่มาของการสร้างกิจกรรม และการให้โอกาสเพื่อการฝึกฝนและพัฒนา คนอย่างต่อเนื่อง

20 �������������.indd 84

11/28/16 11:00 AM


85

คุณค่าของงานคือของขวัญของใจ

“อุดมการณ์ของฉันคือการสอนธรรม” ค�ำกล่าวที่หนักแน่นของหลวงพ่อท่านเล่า ให้ เ ราฟั ง ว่ า ความมุ ่ ง มั่ น และความตั้ ง ใจ เน้นให้คนมาฝึกปฏิบัติธรรมด้วยกรรมฐาน อาจเป็ น หั ว ใจหลั ก ของที่ นี่ ด้ ว ยการหา แนวทางในการให้คนทุกเพศ ทุกวัย ทั้งใน และนอกชุมชนให้วนเวียนเข้ามาท�ำบุญในวัด และหลวงพ่อยังอาศัยกลยุทธ์ของโครงการ ในการพาคนเข้ามาฝึกฝนเรียนรู้ สร้างคน สร้างงาน และเชื่อมโยงกับพื้นที่ลานวัดให้ มี ชี วิ ต ยิ่ ง ขึ้ น ความหมายในการสอนของ หลวงพ่ อ สมปองนั้ น ท่ า นบอกว่ า “สอน เหมื อ นกั บ ว่ า ไม่ ไ ด้ ส อน ฉั น ก็ พู ด ของฉั น เรื่อยๆ ให้เขาคิดไปเอง น�ำไปปฏิบัติเอง” แล้วการพัฒนาก็เกิดขึน้ เรือ่ ยๆ ทัง้ การพัฒนา คนและการพัฒนาวัตถุ โดยเฉพาะงานใน วันอาทิตย์

20 �������������.indd 85

หลักการง่ายๆ ของการเรียนรู้ในการ สอนธรรมของหลวงพ่อถึงวิธีการแสวงหา ความรู ้ อย่ า งเรื่ อ งของความทุ ก ข์ ท่ า น เน้นย�้ำว่า การใช้หลักพระพุทธเจ้า ผู้หมด จากกิเลส แล้วหลักของพระองค์ก็มีอยู่เยอะ หากเวลาให้ค�ำปรึกษาหรือต้องการแนะน�ำ ให้ ค นออกจากความทุ ก ข์ แ ล้ ว ล่ ะ ก็ การ ค้นหาความรู้จากกูเกิล ทุกข์อย่างไร เข้าไป สืบค้นและหาดู สมัยนี้ก็ไม่ยากแล้ว โดย ไม่ต้องรอว่าจะมีคนมาบอกกล่าวว่าต้องท�ำ อย่างไร ความรู้รอบตัวอยู่ที่ว่าจะสนใจเข้าไป หยิบจับมาเรียนรู้ให้เป็นแก่นสารให้แก่ชีวิต ความโดดเด่นในงานพัฒนาคน ชุมชน และสังคมของวัดแห่งนี้คือ การปฏิบัติธรรม กรรมฐาน (สอนธรรม) สนับสนุนส่งเสริม การปฏิบัติธรรมกรรมฐานให้แก่บุคคลทุก เพศ ทุ ก วั ย (โครงการเข้ า วั ด วั น อาทิ ต ย์ โครงการเปิ ด วั ด อ่ า นพระไตรปิ ฎ ก) งาน ด้านการสงเคราะห์เด็กและเยาวชน (เริ่ม ตั้งแต่โครงการพัฒนาศาสนกิจสงเคราะห์ โครงการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน) งาน สืบสานศิลปวัฒนธรรม (โครงการมโนราห์)

11/28/16 11:00 AM


86

เพื่อสืบสานอยู่คู่ชุมชนและวัฒนธรรมภาคใต้ และยังมีพื้นที่ไว้บริการสาธารณสุข ชุมชนส�ำหรับผู้สูงอายุด้วย โอกาสที่เราจะก้าวเข้าไปเรียนรู้กับการรู้จักตนเอง รู้จักชีวิต เท่าทันสังคม คือสิ่งที่เราก�ำลังจะเล่าต่อไป ถวายพรพระ รูปแบบของการสวดมนต์ทั้ง ๗ วันก็จะสวดไม่เหมือนกันในแต่ละบท

โครงการเปิ ด วั ด วั น อาทิ ต ย์ เป็ น กิจกรรมทีเ่ ปิดวัดเชิญชวนให้คนเข้ามาปฏิบตั ิ ธรรม สวดมนต์ อ่านพระไตรปิฎก โดยใช้ เจดีย์แห่งเทพนิมิตเป็นพื้นที่ในการรองรับ ผู้คน เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๑ สืบเนื่องมาจาก ท�ำบุญวันอาทิตย์ แต่เดิมมีชาวบ้านเข้ามา ท�ำวัตรสวดมนต์เย็น ๓๐-๔๐ คน บางวันก็ ๒๐ คน ในเวลา ๖ โมงกว่า เสียงสวดมนต์ ภายในวัดก้องกังวาน สวดเมตตาใหญ่ สวด

20 �������������.indd 86

งานบุญเช้าทุกวันอาทิตย์ ๘ โมงเช้า วั น อาทิ ต ย์ คุ ณ ยายและชาวบ้ า นต่ า งก็ น�ำอาหารคาว อาหารหวานมาจัดใส่จาน เรียงแถวสวยงามดูน่ารับประทาน พระสงฆ์ หลายรูปพร้อมเพรียงกับการอาราธนาศีล (ศีล ๕) เจริญพุทธมนต์ เสียงสวดมนต์พิธี ดังขึ้น พอเสร็จพิธีประมาณ ๑๐ โมงเช้า ฟังธรรม ถวายสังฆทาน จากนั้น ก็มีการ ฟังธรรม นั่งสมาธิ กรรมฐาน ๕-๑๐ นาที และรับพรก่อนกลับบ้าน การปฏิบัติหมุน เวียนวนอยูแ่ บบนีใ้ นวันอาทิตย์จนกลายเป็น กิจวัตรและกิจกรรม วิถีชีวิตเรียบง่าย จนเกิด กิจกรรมทีผ่ ปู้ ฏิบตั ธิ รรมมานัง่ อ่านพระไตรปิฎก เป็นความรู้ภายหลังการมาวัด กิจกรรมนี้ มุ่งเน้น “การท�ำบุญ” ให้ทุกๆ คนในชุมชน ได้มีพื้นที่ร่วมกัน มาเจอกัน ใกล้ชิดกับวัด มากยิ่งขึ้น

11/28/16 11:00 AM


87

รำ�มโนราห์ สืบสานผ่านเด็กๆ แหล่งเรียนรู้ต่อมา เป็นเรื่องของการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมด้วยโครงการ มโนราห์ ด้วยเจตนารมณ์ที่ว่า ต้องการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่ คู่ชุมชน การมีส่วนช่วยให้เด็กๆ ได้มีกิจกรรมท�ำ หลวงพ่อกล่าวว่า “เด็กๆ จะได้ ออกก�ำลังกาย แล้วก็ได้วิชาติดตัวเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ไปไหนรับรอง ไม่อดตาย พาชุดไป หมายถึงการร่ายร�ำ การได้เที่ยว เบี้ยเขาก็ให้ เขาเรียกว่าไปได้” ช่วงเวลาเล็กๆ ที่เราได้เข้าไปคุยกับแม่ครู สายใจ ครูผู้ฝึกสอนการร่ายร�ำมโนราห์ให้แก่เด็กๆ ในชุมชน ท�ำให้รู้ว่าการร�ำมโนราห์นั้นมิได้เป็น เพียงแค่ศิลปะการแสดง หากแต่ว่ายังเป็นเรื่อง ของการฝึกฝน “สมาธิ” และ “ความงาม” จากท่า ที่ร่ายร�ำ หรือแม้แต่ชุดมโนราห์ที่สีสันสวยงาม ลูกปัดเม็ดเล็กหลากสีสัน ถูกร้อยเรียงให้ เป็นชุดมโนราห์ ต้องอาศัยสมาธิและความรักใน การเป็ น ครู ฝ ึ ก สอนเด็ ก ๆ และมี ป ณิ ธ าน ความ มุ่งมั่น และความตั้งใจในการสืบทอดของดีของบรรพบุรุษ อนุรักษ์รักษาให้คน รุ่นหลัง ให้คงอยู่กับวัฒนธรรมท้องถิ่นของภาคใต้ การฝึกซ้อมร�ำมโนราห์มี ท่าหลัก ๑๒ ท่า ซึ่งต้องอาศัยใจรัก สมาธิ และความอดทน ความเอาใจใส่และ ให้เวลาในการฝึกซ้อมอยู่สม�่ำเสมอ พื้นที่วัดแห่งนี้เลยเป็นพื้นที่ในการเปิดโอกาส ให้ครูสายใจได้สืบสานวัฒนธรรมการร�ำมโนราห์ตามที่ตั้งใจ และยังเป็นพื้นที่ให้ เด็กๆ ในชุมชนได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่รุ่นต่อรุ่น เมือ่ เป็นเช่นนีแ้ ล้ว “โอกาส” เป็นสิง่ ทีไ่ ม่ธรรมดากับการเรียนรูเ้ พือ่ จะพัฒนา ตนไปสู่การมองเห็นคุณค่าและความดีงามในใจของเพื่อนมนุษย์ ให้เราสานสัมพันธ์ เอื้อให้ผู้อื่นได้เติบโต บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ความดีงามให้สมบูรณ์ สิ่งนี้จะกลายเป็น ของขวัญของการเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ กับการส่งมอบโอกาสที่ดีและความสุขให้แก่ผู้อื่น

20 �������������.indd 87

11/28/16 11:00 AM


20 �������������.indd 88

11/28/16 11:00 AM


พรชัย บริบูรณ์ตระกูล

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ วัดป่ายาง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช พระอธิการเสรี คเวสโก (สุวรรณ) เจ้าอาวาสวัดป่ายาง วัดคือสหกรณ์ ค�ำที่น�ำเราไปรู้จักกับวัดและชาวชุมชนที่มีความ ร่วมมือออกแรงกายออกแรงใจ สร้างให้ชีวิตและชุมชนได้เกิดสุข ด้วยการ มีรายได้ในการด�ำรงชีพ มีสวัสดิการดูแลชีวิตและเข้าถึงความรู้จักพอ บนพื้ น ฐานความสั ม พั น ธ์ แ บบเกื้ อ กู ล ระหว่ า งกั น วั ด ป่ า ยาง ต.ท่ า งิ้ ว อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โดย พระอธิการเสรี คเวสโก หรือที่เราเรียก ท่านว่าหลวงพ่อสุวรรณ ท่านมีรูปธรรมงานต่างๆ อย่างเด่นชัดที่ท�ำให้วัด เป็นดังสหกรณ์ของชุมชน น่าสนใจและเรียนรู้ว่า ท่านท�ำให้ชาวบ้านมี ศรัทธาร่วมมือกันคิดและท�ำอย่างไรให้เกิดความเป็นเจ้าของโดยชุมชน ซึ่งมีกิจกรรม “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ วัดป่ายาง” เครือข่ายสัจจะสะสม ทรัพย์ โรงปุ๋ยชีวภาพ โรงผลิตน�้ำดื่ม ร้านค้าสวัสดิการ อโรคยาอาลาภา ฯลฯ แถมยังมีการจัดฝึกอบรมสร้างคนให้มีความเป็นผู้น�ำและท�ำเกษตร ผสมผสาน มีทักษะและวิชาชีวิตที่ร่วมสร้างชุมชนไปสู่ความเข้มแข็ง

20 �������������.indd 89

11/28/16 11:00 AM


90

เห็นสิ่งที่ทำ� ปันสิ่งที่กิน เราสองคนมองดูผู้คนรอบๆ ณ บริเวณจุดจอดรถขนส่งผู้โดยสาร ตัวเมืองนครศรีธรรมราชด้วยความตื่นเต้นเป็นพิเศษ เพราะเรามาเยือน จังหวัดนี้เป็นครั้งแรก ไม่นานนัก หลวงพ่อสุวรรณก็น�ำรถมารับเราสองคน ท่านเมตตาและใส่ใจเราสองคนด้วยการมารับเราถึงที่นี่ ล้อรถเคลื่อนมา เปลี่ยนสองข้างทางจากตึกรามบ้านช่องเป็นท้องทุ่งและกลายเป็นดงสวน เรามารู้ตัวอีกทีรถก็วิ่งไปถึงวัดป่ายางแล้ว หลวงพ่อพาเราไปวนรถดูจุดที่เป็น ที่ตั้งของโรงผลิตน�้ำ แล้วกลับมาผ่านศาลาอีกสองสามแห่ง ผ่านโบสถ์สีขาว และมาหยุดจอดที่หน้าร้านค้าที่ตั้งอยู่ใกล้ทางสัญจรเข้าออกวัด เราใช้เวลาช่วงแรกเดินเข้าไปส�ำรวจ ในร้านค้า มองไปรอบๆ ภายในร้านเพื่อดู สินค้าข้าวของที่น�ำมาวางขายอยู่ตามชั้น สายตาเราสะดุดกับสินค้าหลายชิ้นที่ห่อหุ้ม ดูแปลกตากว่าร้านค้าทั่วไป จนได้เอื้อมมือ ไปหยิบเจ้าก้อนสี่เหลี่ยมขนาดย่อมๆ เท่า ฝ่ า มื อ ขึ้ น มาดู มี ข ้ อ ความเขี ย นว่ า “สบู ่ สมุนไพรจากธรรมชาติ โดยศูนย์กสิกรรม ธรรมชาติ วัดป่ายาง” พร้อมกับรายละเอียด ของสรรพคุณ และเราก็วางก้อนสบู่ลงเดิน ดูต่อ และได้หยุดทักทายกับพี่ประเวียงที่ ดูแลร้านค้า จนรู้ว่า “ร้านค้าสวัสดิการ ของเครือข่ายสัจจะฯ” ที่ใช้เป็นแหล่งวาง จ�ำหน่ายสินค้าทีเ่ ป็นผลผลิตของศูนย์ฯ อาทิ สบู่สมุนไพร น�้ำยาสระผม น�้ำยาล้างจาน ปุ๋ยน�้ำชีวภาพ กากน�้ำตาล รวมไปถึงสินค้า

20 �������������.indd 90

และเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ ที่จ�ำเป็นจาก ภายนอก รายรับที่เข้ามาจากร้านค้าแห่งนี้ เป็น ส่วนหนึ่งของงานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ซึง่ ยังได้มาจากการขายนำ�้ จากโรงนำ�้ ดืม่ ตรา “บ้านเรา” การขายปุ๋ยตรา “ดอกล�ำดวน” จากโรงสีข้าว และจากการจัดงานฝึกอบรม โดยจะถู ก น�ำมาใช้ ใ นการบริ ห ารจั ด การ ศูนย์ฯ ส่วนรายจ่ายจะถูกน�ำไปเป็นค่าดูแล วัด ค่าตอบแทนส�ำหรับคนท�ำงานประจ�ำ ในศูนย์ฯ จ�ำนวน ๑๑ คน ที่เกือบทั้งหมด เป็นคนในท้องถิ่น โดยหลายคนท�ำงานเติบโต มากับศูนย์ฯ นับสิบปี หลวงพ่อสุวรรณเรียก วิธีการบริหารการอยู่ร่วมกันนี้ว่า “ช่วยกัน ท�ำ ปันกันกิน” เป็นการสร้างพืน้ ทีว่ ดั ให้เกิด ความเป็ น ชุ ม ชนที่ พ่ึ ง พาอาศั ย กั น หรื อ ที่

11/28/16 11:00 AM


91

เรียกว่า “สังฆะ” โดยค�ำนี้ก็คือความหมาย แยกเป็นห้องชายและห้องหญิง เปิดให้บริการ เดียวกับค�ำว่า “สหกรณ์” ที่หมายถึงความ ทุกวัน มีป้ายเขียนก�ำกับไว้ว่า “ไม่เก็บเงิน เป็นชุมชน ไม่ เ ก็ บ ทอง ท�ำบุ ญ ปี ล ะครั้ ง (ทอดกฐิ น ) เช้าวันต่อมา เราค่อยๆ ได้เรียนรู้ใน สมุนไพรและไม้ฟืนเอามาเอง” และมีการ พื้นที่วัด จุดแรกคือ “อโรคยาอาลาภา” อธิบายถึงประโยชน์ ข้อควรระวัง และข้อ หรือโรงอบสมุนไพร ที่นี่เป็นศาลาหลังใหญ่ ปฏิบัติ เราสนใจอ่านข้อความและลองเข้าไป ที่ให้บริการทางสุขภาพด้วยหลักสมุนไพร อยู่ในห้องอบช่วงสั้นๆ ห้องอบมีมาตรฐาน โดยมีห้องอบสมุนไพรอยู่สองด้านของศาลา และความสะอาดพร้อมมากกับการใช้งาน จากนัน้ เราก็ลองมาดืม่ น�ำ้ ต้มสมุนไพร ได้รสชาติหอมเข้มข้น สดชื่นและสบายตัว และยั ง มี จุ ด แช่ มื อ แช่ เ ท้ า น�้ ำ มั น ทานวด หลวงตาชื่น อาทโร ได้พูดคุยกับเราเบื้องต้น เป็นการแนะน�ำหลักการสมุนไพรกับการดูแล รักษาตัวเอง นอกจากนั้น เห็นมี “โครงการ ปฏิบัติธรรม ล้างพิษกาย สลายพิษใจ” จัด อบรม ๕ วัน หลวงพ่อสุวรรณท่านบอกกับ เราว่า โรงอบฯ ที่เปิดขึ้น ได้มีชาวบ้านทั้ง ในถิ่ น และต่ า งถิ่ น มากั น ทุ ก วั น อย่ า งน้ อ ย ๕๐-๗๐ คน จนกลายเป็ น กลุ ่ ม ผู ้ รั ก ใน สุขภาพได้มาพบปะทักทายกัน

โรงปุ๋ย เป็นศาลาพื้นปูนที่มีขนาด กว้าง อยู่ถัดจากโรงสมุนไพรมาเล็กน้อย เราเข้าไปเดินดูดา้ นในเห็นถุงปุย๋ ทีบ่ รรจุเสร็จ แล้ ว วางซ้ อ นกั น อยู ่ ร ่ ว มร้ อ ยถุ ง ปุ ๋ ย ที่ ป ั ้ น เป็นเม็ดแล้วถูกตากไว้ที่ลานพื้นปูน รอให้ แห้งสนิท ส่วนด้านในโรงปุ๋ยตั้งเครื่องที่เป็น

20 �������������.indd 91

11/28/16 11:00 AM


92

จานปั้นปุ๋ยขนาดใหญ่สองเครื่อง โรงปุ๋ยนี้ได้ ใช้เป็นฐานเรียนรู้ในช่วงอบรมของศูนย์ฯ เพือ่ ให้เกษตรกรรูว้ ธิ ที �ำปุย๋ ชีวภิ าพด้วยตนเอง หรือการเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยชีวภาพด้วยการ ซื้ อ ส�ำเร็ จ รู ป ซึ่ ง เป็ น ส่ ว นส�ำคั ญ ที่ ช ่ ว ยให้ เกษตรกรที่สนใจท�ำเกษตรผสมผสานหรือ เกษตรอินทรีย์ได้เริ่มต้นทดลอง โดยลดการ ใช้ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงและต้องเพิ่มจ�ำนวน การใช้มากขึ้นๆ เมื่อดินเสื่อมสภาพลง

โรงสีข้าว เป็นโรงสีขนาดย่อมตั้งอยู่ ติดกับโรงอบสมุนไพรเช่นกัน คอยให้บริการ สีข้าวเปลือกให้ชาวบ้าน ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็วมาก และท�ำให้ทางศูนย์ฯ นอกจาก ได้รายได้แล้ว ยังได้ร�ำข้าวและแกลบมาใช้ ในการท�ำปุ๋ยอีกด้วย ส่วนโรงน�้ำ ปัจจุบัน นอกจากจะผลิ ต น�้ ำ ขายแล้ ว ยั ง น�ำน�้ ำ ถั ง บางส่วนไปช่วยในกองทุนสวัสดิการยามเมือ่ จัดงานศพให้สมาชิกกลุ่มสัจจะฯ

โรงปุ ๋ ย ยั ง เป็ น แหล่ ง สร้ า งรายได้ ที่ ส�ำคั ญ ของศู น ย์ ฯ สมั ย ที่ ปุ ๋ ย ชี ว ภาพหรื อ ปุ๋ยจุลินทรีย์เริ่มผลิตขายกันใหม่ๆ ช่วงปี ๒๕๔๗-๒๕๔๘ ทางภาคใต้ถือว่าวัดป่ายาง เป็นแห่งแรกๆ ที่มีจ�ำหน่าย ซึ่งขายปุ๋ยได้ ปีละกว่า ๙ ล้านบาท ส่วนผสมหลักอย่าง หนึง่ ของการท�ำปุย๋ ชีวภาพคือ “กากนำ�้ ตาล” เราเห็นถังขนาดใหญ่มากเท่าถังขนส่งน�ำ้ มัน ตามปัม๊ ตัง้ อยูใ่ กล้ๆ กับร้านค้าจ�ำนวนสองใบ หลวงพ่อสุวรรณเล่าว่า เริ่มต้นเพราะคุณ อาคม ภูติภัทร์ อาสาสมัครในกลุ่มสัจจะ สะสมทรัพย์ จ.ตราด ได้ถวายกากน�้ำตาล มาให้ ๕๐ แกลลอน ตอนนั้น จึงได้น�ำมา จ�ำหน่ายจนได้ก�ำไร ก็สั่งมาต่อเนื่องมาตลอด

20 �������������.indd 92

11/28/16 11:00 AM


93

สร้างพลังร่วมมือจากการสร้างคน งานฝึกอบรม สร้างคนให้เป็นนักสร้างชุมชน ระหว่างที่เดินดู กิจกรรม เราสังเกตว่ามีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กลุ่มใหญ่เดินทางมาศึกษาดูงานที่นี่ เรานึกในใจว่าก็คงจะดีมิใช่น้อย ถ้าคนรุ่นใหม่มีแรงบันดาลใจน�ำทักษะวิชาความรู้เหล่านี้ไปใช้ในครอบครัว หรือชุมชนตนเอง หลวงพ่อบอกว่า ที่ผ่านมามีคนผ่านการอบรมที่ ศูนย์ฯ แห่งนี้รวมแล้วกว่าหมื่นคน เรื่องที่ศูนย์ฯ จัดอบรมให้ โดยทั่วไป เป็นเรื่องกสิกรรมและทักษะต่างๆ ในการกลับไปพึ่งพาตนเองให้ได้ เช่น ก๊าซชีวภาพ เผาถ่าน ท�ำปุ๋ย ท�ำสบู่ ท�ำถั่วงอก และหลวงพ่อก็ชี้ไป ที่ถังถั่วงอกที่แช่ไว้ “พรุ่งนี้และมะรืนนี้ก็มาอีก เขามาดูงานก็จะท�ำ ถั่วงอกให้เขาดู คนที่เป็นวิทยากรก็คนท�ำงานในศูนย์ฯ นี่แหละ ท�ำเอง หมด” แต่ทั้งหมดเน้นน�ำไปสู่การพัฒนาคุณธรรม ปัจจุบันทางศูนย์ฯ ได้เน้นจัดอบรมให้กลุ่มสมาชิกเครือข่ายสัจจะฯ ที่ยังมีจ�ำนวนเป็นหมื่น คน ซึ่งท่านเห็นว่าเป็นกลุ่มที่จัดอบรมแล้วมีความต่อเนื่องและได้ผล

20 �������������.indd 93

11/28/16 11:00 AM


94

เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์ บ่มเพาะปัญญาจากการรวมคน สิ่งที่ โดดเด่นน่าสนใจในการเรียนรู้จากหลวงพ่อสุวรรณก็คือ การเน้นให้เกิด “กระบวนการทางปัญญา” ขึ้นในการรวมกลุ่มสัจจะฯ เพื่อเป็นรากฐาน ของความมีคุณธรรม ซึ่งเป็นการที่เน้นให้ชาวบ้านได้เห็นว่า “การออมเพื่อ เป็นบุญ พอออมบุญแล้ว คนที่กู้ไป ให้ถือว่ากู้เงินบุญไป เมื่อกู้ไปแล้วก็ต้อง ท�ำบุญคืน คือเสียเป็นดอกเบี้ยมา กลุ่มก็น�ำมาจัดการแบ่ง ส่วนหนึ่งเป็นการ ปันผลให้สมาชิกเจ้าของเงิน อีกส่วนหนึ่งก็เข้ากองทุนสวัสดิการ เพื่อช่วยคน เกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เป็นการให้เป็นบุญเป็นทาน แล้วพอสุดท้าย คนที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องท�ำบุญด้วยการลดละเลิกสิ่งชั่วร้าย ท�ำดีไว้ฝาก ลูก ท�ำถูกไว้ฝากหลาน สร้างรากฐานไว้กับชุมชน นี่คือเป้าหมายสูงสุด”

เราได้ นึ ก ภาพตามแนวคิ ด ที่ ท�ำให้ ตั ว เงิ น ที่ มี อ ยู ่ ก ลายเป็ น สิ่ ง ที่ เ อาไว้ ค อย ช่วยเหลือระหว่างกัน หรือ “เป็นบุญ” ซึ่ง ยังมีกระบวนการในช่วงการพิจารณาปล่อย เงินกู้ ท่านบอกว่าต้องดูเป้าหมายของผู้กู้ให้ ชัดเจนว่าน�ำไปใช้เพื่ออะไร ช่วงที่คุย คนค�้ำ ก็ ต ้ อ งมารั บ รู ้ พ ร้ อ มกั น และหลั ง จากนั้ น เมื่อกรรมการท�ำบัญชีทั้งหมดแล้ว ก็ต้องมา

20 �������������.indd 94

ถอดบทเรียนร่วมกัน ตลอดกระบวนการ ต้องท�ำให้เกิดเป้าหมายในการสร้างคุณภาพ ชีวิตที่ปลอดจากอบายมุข ส�ำหรั บ เรื่ อ งกองทุ น สวั ส ดิ ก าร หลวงพ่อเล่าว่า ทุกกลุ่มจ่ายเหมือนกันหมด ดูแลตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย คือ พอเด็กเกิด ปั๊บให้ ๑,๐๐๐ แล้วก็เอามาเป็นสมาชิกเลย คนแก่ เ ดื อ นละ ๑๐๐, ๑๓๐, ๑๔๐ ต่ อ

11/28/16 11:00 AM


95

เดือน นอนโรงพยาบาลคืนละ ๗๐๐ บาท สูงสุด ๑๘ คืน ส่วนเรื่องตาย มีสองระบบ ถ้ า ท�ำศพที่ บ ้ า น ๑๓,๐๐๐ บาทต่ อ ศพ แต่ถ้ามาท�ำที่วัด ๒๕,๐๐๐ บาท และได้ น�้ำฟรีหมด ที่ก�ำหนดให้จ่ายค่าท�ำศพที่วัด สู ง กว่ า เป็ น เพราะต้ อ งการให้ ง านศพได้ งดเว้นอบายมุขและการพนัน ส่วนในระดับกลุ่มใหญ่ที่มีการประชุม ทุกครึ่งปีและประจ�ำปี นอกจะมีการรายงาน ผลการด�ำเนินงานแล้ว จะมีการตั้งประเด็น ที่กลุ่มสนใจให้สมาชิกแบ่งกลุ่มอภิปรายกัน เช่น กู้ไปแล้วเราจะท�ำอย่างไรให้มีอนาคต ไปสร้างงาน ไปสร้างรายได้ เพื่อเป็นการ กระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์และได้แง่มุม จากการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ซึ่งหลวงพ่อ จะลงไปเตรี ย มประชุ ม กั บ กรรมการก่ อ น หนึ่งวัน ไปวางแผนว่าจะท�ำอะไร จะจัดการ อย่างไรทั้งหมด เพื่อให้สมาชิกและกรรมการ คึกคักมากที่สุด พอเช้าขึ้นมา “โอ๊ย สนุก การประชุมแบบนี้สนุกมากเลย ลองคิดดู เริ่ ม ตั้ ง แต่ ๙ โมงเช้ า พอเลิ ก อี ก ที ๔-๕ โมงเย็ น อย่ า คิ ด ว่ า สมาชิ ก เขาเบื่ อ เขา ไม่ เ บื่ อ เลย สนุ ก ให้ เ ขาพู ด กั น เอง เขา จั ด กลุ ่ ม กั น เอง เขาพู ด อภิ ป รายกั น เอง อภิปรายในหัวข้อที่กลุ่มต้องการให้พูด”

20 �������������.indd 95

เมื่อถามไปถึงความเป็นมาของงาน สัจจะฯ ที่เกิดขึ้น ก็ได้รู้ว่าเริ่มต้นหลังจากที่ หลวงพ่อได้เข้ามาบวชและท�ำงานพัฒนาวัด ตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ โดยปรับปรุงอาคารสถานที่ สร้างโบสถ์ สร้างศาลา เพื่อเป็นการท�ำให้ ชุ ม ชนได้ เ ห็ น และเกิ ด การยอมรั บ ศรั ท ธา จากนั้ น จึ ง คิ ด ตั้ ง กลุ ่ ม สั จ จะฯ เป็ น การ ท�ำงานเชิงองค์กรขึ้น โดยเริ่มแรกหลวงพ่อ สุวรรณได้ทดสอบศรัทธาที่มีกับชาวบ้าน ก่อน ด้วยการขอเงินชาวบ้านคนละ ๑๐๐ บาท ไม่ให้ชาวบ้านถามว่าจะเอาไปท�ำอะไร ท่านตั้งเป้าหมายว่าให้ได้ ๓,๐๐๐ บาท แต่ เก็บเงินจริงได้ถึง ๘,๐๐๐ กว่าบาท จึงได้ เชิ ญ คนรู ้ จั ก จากบ้ า นคี รี ว งมาช่ ว ยก่ อ ตั้ ง ซึ่งช่วงนั้นตั้งเป็นกองทุนขึ้นชื่อว่า “กลุ่ม เมตตาธรรม”

11/28/16 11:00 AM


96

เข้าปลายปี ๒๕๔๑ ทางธนาคารออมสินมีโครงการจัดอบรมสัจจะ สะสมทรัพย์ โดยเชิญพระสงฆ์จากทั่วประเทศ หลวงพ่อเป็นผู้หนึ่งที่มี โอกาสไปเข้าร่วม และขณะเดินทางอยู่บนเครื่องบิน ก็ได้ฟังพระรูปอื่น เล่าถึงงานสัจจะฯ ตอนนั้น ท่านก็ปิ๊งเลยกลางอากาศ เมื่อได้กลับมาที่ ชุมชนก็เริ่มต้นตั้งกลุ่มสัจจะฯ และปรับเงินกองทุนที่มีอยู่ตั้งเป็นกองทุน สวั ส ดิ ก าร ๑๘,๐๐๐ กว่ า บาท ซึ่ ง วั น นี้ มี เ งิ น ถึ ง ๘ ล้ า น หลั ง จากนั้ น พระอาจารย์สุบิน ปณีโต ได้แนะน�ำว่าควรตั้งหลายๆ กลุ่ม จึงได้ขยายกลุ่ม ต่อเนื่องจนมีถึง ๒๓ กลุ่ม และตั้งเป็น “เครือข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต จังหวัด นครศรีธรรมราช” ช่ ว งระยะสองปี ห ลั ง นี้ หลั ง จากที่ หลวงพ่อป่วย ต้องพักรักษาตัวและสุขภาพ ดีขึ้น ได้มาศึกษาธรรมะและปฏิบัติเข้มข้น ขึ้น น�ำมาสู่การปรับวิธีคิด วิธีการท�ำงาน โดยใช้หลัก “ความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือ สัมมาทิฐิ” มาเป็นกระบวนการขับเคลื่อน ทางปัญญาในกลุ่มสัจจะฯ คือ การปล่อย เงินแบบสัมมาทิฐิ การจัดสวัสดิการแบบสัมมาทิฐิ การรับสมาชิกแบบ สัมมาทิฐิ และใช้วิธี “การบริหารแบบอริยะ” หมายถึงบริหารแบบไม่ เห็นแก่ตัว โดยเป็นงานหลักที่ท�ำต่อเนื่องตลอดทั้งปี จนเกิดเห็นผลที่ชัดเจน กับสมาชิก กลุ่มไหนที่มีปัญหาก็มีวิธีแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น มีก�ำลังใจและ ความเชื่อมั่น เราได้ย้อนถามหลวงพ่อไปถึงจุดเปลี่ยนที่ส�ำคัญของชีวิตที่ท�ำให้มา เป็นพระสงฆ์เพื่อสังคม หลวงพ่อเล่าว่า เพราะเป็นอดีต “สหายเก่า” ตอนที่ รู้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์พ่ายแพ้ รู้สึกคิดหนัก เพราะตัวเองประกาศอุดมการณ์ ในการต่อสู้ไว้อย่างหนักแน่น และได้ทุ่มเทอย่างมาก เมื่อถอยออกจากป่า

20 �������������.indd 96

11/28/16 11:00 AM


97

ก็มาออกรถตระเวนค้าขายเล็กๆ และผลไม้ ก็เห็นว่าชาวบ้านยังยากจนล�ำบาก ยังถูก ขูดรีดถูกเอารัดเอาเปรียบเหมือนเดิม ส่วน สหายบางคนก็ไปเป็นโจรบ้าง มือปืนบ้าง ท่านจึงรู้สึกว่าจะนั่งเฉยอยู่ได้อย่างไร และ ได้กลับมาตรึกตรองถึงสิ่งที่เคยมีอุดมการณ์ ในการรับใช้ประชาชน “ภารกิจเรายังไม่ เสร็จ” ท่านบอกถึงสิ่งที่ยังค้างอยู่ในใจ จึง เดินทางกลับมายังวัดป่ายางซึ่งเคยเป็นฐาน ที่ตั้งสมัยยังอยู่ป่า และได้มีโอกาสพูดคุย ธรรมะกับท่านเจ้าอาวาส และได้รับหนังสือ “คู่มือมนุษย์” ติดตัวมา จากนั้น ก็เก็บไว้ ผ่านมา ๔ ปี จึงมีโอกาสหยิบขึ้นมาอ่าน “โยมเอ๋ย เหมือนกับหัวอกถูกระเบิดเลย กว้ า งขวางที่ สุ ด เลย โอ้ ว นี่ แ หละ” เป็ น ความเข้ า ใจที่ ท ่ า นได้ ค ้ น พบจากหนั ง สื อ แล้วท่านก็ออกเดินทางไปสวนโมกข์ทันที ได้ ศึ ก ษาปฏิ บั ติ ธ รรม และที่ ส�ำคั ญ ได้ ฟ ั ง จากท่านอาจารย์พุทธทาสที่บอกว่า “นัก ปฏิ วั ติ ส ่ ว นใหญ่ นั้ น ของเก๊ ของจริ ง คื อ พระพุทธเจ้า คือนักปฏิวัติ แต่ฆ่าคนนะ เราก็สงสัยว่าฆ่าคน ท่านก็บอกว่าฆ่าอัตตา ฆ่าตัวตน โอ้โห! มันบานแจ๋เลย” หลังจาก นั้น หลวงพ่อสุวรรณก็มาฝึกฝนปฏิบัติต่อ เพราะเห็นว่านี่คือทางรอดของมนุษย์ จน ตัดสินใจออกบวชมาอยู่ที่วัดป่ายาง

20 �������������.indd 97

เมื่อท่านได้มาเข้าบวชโดยใช้ธรรมะ เป็นแนวทางในการท�ำงานชุมชน หลวงพ่อ บอกว่ า ก็ ไ ด้ ใ ช้ ป ระโยชน์ จ ากหลั ก คิ ด ที่ เรียกว่า วิธีคิดวิภาษวิธีมาวิเคราะห์สังคม การบริหารจัดการและการท�ำงาน และพอ มารู้จักวิธีคิดทางพุทธศาสนา ท�ำให้เหมือน ได้จบถึงสองศาสตร์ มีข้อได้เปรียบในการ เป็นนักเรียนรู้และค้นคว้า ถือเป็นก�ำไรที่ ชีวิตได้รับ ทั้งนี้ได้เห็นว่า แต่ก่อนสมัยที่ยัง เป็นคอมมิวนิสต์มีเป้าหมายคือ ต้องการ รวมมวลชนเพื่อไปต่อสู้เพื่อการปลดปล่อย แต่ตอนนี้สิ่งที่ท�ำเป็นการรวมมวลชนเพื่อ มาต่ อ สู ้ กั บ ตั ว เอง พั ฒ นาตั ว เองให้ เ ป็ น อริ ย บุ ค คล ซึ่ ง เป็ น เป้ า หมายที่ ห ลวงพ่ อ ต้องการเห็น “หมู่บ้านอริยะ คือหมู่บ้านที่ ปลอดจากสิ่งชั่วร้าย ไม่มีเล่น ไม่มีเหล้า ไม่มีลักขโมย ไม่มีหมด” ด้วยการเดินทางของศรัทธาและหลัก คิดที่ตั้งอยู่บนฐานแห่งความเข้าใจ ได้สาน กั น เป็ น กระบวนการทางปั ญ ญาและการ บริ ห ารโดยมุ ่ ง ประโยชน์ ส ่ ว นรวม งาน กิจกรรมต่างๆ แห่งวัดป่ายางในวันนีจ้ งึ กลาย เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของความเป็ น ชุ ม ชน เป็ น พืน้ ทีข่ องหลายชีวติ ทีเ่ ข้ามาพึง่ พาเกือ้ กูลกัน และเติบโตงอกงามเท่าที่มนุษย์ในชีวิตหนึ่ง จักท�ำได้ ดังในหนังสือ “คู่มือมนุษย์”

11/28/16 11:00 AM


20 �������������.indd 98

11/28/16 11:00 AM


ยุพิน ประเสริฐพรศรี

วัดตะโหมด ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง พระครูประยุตธรรมธัช ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดตะโหมด / เจ้าคณะต�ำบลตะโหมด หากย้อนเวลาไปประมาณ ๑๐๐ ปี ธรรมชาติและวิถีวัฒนธรรมของ ชุมชนบ้านตะโหมดและบ้านเขาหัวช้าง ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เดิมเป็นชุมชนเล็กๆ อยู่ริมเทือกเขาบรรทัด และตลอดเส้นทางสายป่าบอนโหล๊ะจันกระ-กงหรา วิถีชีวิตชุมชนมีความเรียบง่าย ด�ำรงชีพด้วยเกษตร เป็ น ป่ า ดิ บ ชื้ น ทรั พ ยากรธรรมชาติ ยั ง อุ ด มสมบู ร ณ์ แต่ เ มื่ อ กาลเวลา ผันเปลี่ยน การเปลี่ยนทางสังคมและเศรษฐกิจ ประชากรเพิ่มขึ้น วัฒนธรรม ความเชื่ อ ดั้ ง เดิ ม และการด�ำรงชี พ ก็ เ ปลี่ ย นไป มี ตั ด ถนนเข้ า สู ่ ชุ ม ชน มีการตัดไม้ท�ำลายป่า รุกพื้นที่ป่าเข้าไปเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีมากเข้า ทรัพยากรธรรมชาติก็เริ่มลดน้อยลง ที่นี่ พระครูประยุตธรรมธัช รอง เจ้าอาวาสวัดตะโหมด ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง หรือที่เราเรียก ท่านว่า “หลวงพ่อเผี้ยง” ท่านเป็นพระนักพัฒนาป่าชุมชนเขาหัวช้าง สร้างฝาย และสนใจเรื่องเกษตรอินทรีย์ พาเด็กๆ ในชุมชนเข้าไปเรียนรู้ ศึกษาระบบนิเวศ วิถีคนป่า หาของป่า สมุนไพร ฯลฯ ให้กลับมาสู่วิถี ความพอเพียง พออยู่และพอกิน ตลอดจนร่วมกันอนุรักษ์ผืนป่าเขาหัวช้าง ให้คงความอุดมสมบูรณ์ และเป็นฐานของทรัพยากรทางอาหาร

20 �������������.indd 99

11/28/16 11:00 AM


100

วิถีป่าต้นน้ำ� สู่ป่าชุมชน ในช่วงเดือนกรกฎาคม เราสองคนเดินทางมาถึงวัดแห่งนี้ ที่นี่ถูก โอบล้อมด้วยภูเขา บริเวณรอบๆ วัดแลดูสะอาดตา มีต้นไม้สูงใหญ่เต็มไป ด้วยความร่มรื่น ต้นไม้เล็กถูกประดับตกแต่งตามเรือนไม้และกุฏิ พื้นที่ ส่วนลานวัดเป็นพื้นทราย ถอดรองเท้าเดินได้อย่างสบาย ก้อนเมฆตั้งเค้าฝน เราสองคนกราบนมัสการหลวงพ่อ เผี้ยง ณ กุฏิหลังเล็กๆ ของท่าน ศาลาไม้สีขาวสองชั้น เรา มาอยู่กันบริเวณชั้นสองตรงที่รับแขก หลวงพ่อเผี้ยงท่านเป็น พระที่มีบุคลิกเรียบง่าย มีความเป็นกันเอง และมีระเบียบ เรียบร้อย เวลานี้ผู้คนก�ำลังพลุกพล่านภายในวัด แต่เรา สองคนก�ำลังนั่งลงพูดคุยกับท่าน แรงบันดาลใจที่สนใจก้าวเข้ามาท�ำงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนที่ท่านจะมาท�ำงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ป่าชุมชนเขาหัวช้าง ธนาคารน�้ำ นิเวศศึกษา และเกษตรอินทรีย์ ฯลฯ แรงบันดาลใจของท่าน ที่ส�ำคัญก็คือ เมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นเด็ก ท่านเคยเห็นป่ามีความอุดมสมบูรณ์ ฝนตกต้องตามฤดูกาล หากคราใดลมหนาวพัดมาเยือน ก็จะได้เห็นวิถีชีวิต ชาวบ้านตื่นมาผิงไฟ ผู้หญิงนวดข้าวอยู่บนลอมข้าว ส่วนผู้ชายและเด็ก ก็เผาฟาง เมื่อผิงไฟหมดแล้ว อาบน�้ำกินข้าวไปโรงเรียนตามประสาเด็ก ในหน้าฝน แม้ว่าฝนจะตกหนักจนน�้ำท่วมแค่ไหน ชาวบ้านก็ไม่เคยได้รับ ผลกระทบเลย ทุกคนมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เพลงลูกทุ่ง การกินของป่า พืชผักสวนครัว ประกอบกับความรักในธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ นี่คือ หนึ่งเหตุผล พลังความรักในธรรมชาติกับวิถีชีวิตความเรียบง่ายเป็นปัจจัย หนึ่งที่ท�ำให้ท่านก้าวเข้ามาท�ำงานด้านการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม ท่านเล่าว่า เดิมที ในอดีตเขาหัวช้างเป็นพื้นที่ป่าดิบชื้น มีต้นไม้ สู ง ใหญ่ มี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ แม่ น�้ ำ ล�ำธารและภู เ ขายั ง คงมี ค วามสงบ

20 �������������.indd 100

11/28/16 11:00 AM


101

วิถีชีวิตชุมชนเรียบง่าย ต่อมายุคหนึ่ง เริ่มมีการจัดทรัพยากรและแบ่งพื้นที่ โดยแบ่งออกเป็นสามโซนคือ ๑. โซนที่อยู่อาศัย ซึ่งอยู่บริเวณด้านใน หมู่บ้าน ๒. โซนที่ดินท�ำกินอยู่บริเวณรอบนอกของบ้าน ปลูกยางพารา และ ๓. โซนต้นน�้ำ (โซนอุทยาน) ก็คือป่าต้นน�้ำทั้งหมด แรงบันดาลใจต่อมา งานพัฒนาชุมชน ช่วยเหลือชาวบ้านในวัดแห่งนี้ เติบโตมากขึ้น โดยเริ่มมาจากท่านเจ้าอาวาสองค์ก่อนคือ ท่านพระครู อุ ทิ ต กิ จ จาทร ซึ่ ง เป็ น พระผู ้ อุ ทิ ศ ตนเพื่ อ ชุ ม ชนและเป็ น ต้ น แบบให้ แ ก่ หลวงพ่อเผี้ยง ในการส่งเสริมการพัฒนาด้านการศึกษาและสาธารณูปโภค (ถนน น�้ ำ ประปา ไฟฟ้ า ) ท่ า นเล่ า ให้ เ ราฟั ง ว่ า เมื่ อ ครั้ ง ตามหลวงพ่ อ เจ้าอาวาสองค์ก่อนไปท�ำงาน ประสบการณ์ที่ได้รับจากการติดตามนั้น ส่ ง ผลให้ ท ่ า นมี ค วามสนใจและสื บ สานงานต่ อ จากหลวงพ่ อ เจ้ า อาวาส องค์ก่อน ซึ่งท่านเน้นเรื่องของการรักษาความสะอาดและอนามัย พัฒนา ระบบสุขาภิบาลขึ้นช่วยชาวบ้าน เข้มงวดเรื่องความสะอาด และช่วยเหลือ งานด้ า นการศึ ก ษาในโรงเรี ย น หลวงพ่ อ เผี้ ย งเลยสื บ สานและน้ อ มน�ำ แนวความคิดมาพัฒนางานต่อ ความส�ำเร็จและความภาคภูมิใจในการจัดการฝายเหมืองน�้ำให้แก่ ชุมชนที่ท่านบอกเล่าว่า “สิบแปดห้วย สองคลอง สองร้อยกว่าฝาย” เป็นอีกหนึง่ ในผลงานด้านการจัดการ ทรั พ ยากรทางธรรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมของท่าน และยังเป็น แหล่งเรียนรูท้ หี่ ลวงพ่อสร้างไว้ให้แก่ ชาวชุมชนแห่งนี้ ยังคงเป็นดอกผล ให้สรรพชีวติ ในทีแ่ ห่งนีไ้ ด้ใช้ประโยชน์ จากแหล่งน�้ำของป่าที่อุดมสมบูรณ์

20 �������������.indd 101

11/28/16 11:00 AM


102

ตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ มีกิจกรรม “สภาลาน วัดตะโหมด” อันเป็นการรวมตัวเครือข่าย ของชุมชนบริเวณป่าต้นน�้ำ โดยน�ำวิธีคิด ของเจ้าอาวาสองค์ก่อนเข้ามาเชื่อมสัมพันธ์ ในรูปแบบ บ้าน วัด โรงเรียน (บวร) มีการ รวมตัวของผู้น�ำ วัด ข้าราชการ จัดเป็น ๔ ฝ่ายคือ สังคม การศึกษาศาสนาวัฒนธรรม เศรษฐกิ จ และสิ่ ง แวดล้ อ ม เพื่ อ แก้ ไ ข ปั ญ หาต่ า งๆ ให้ แ ก่ ชุ ม ชน ภาพของการ นั่ ง ล้ อ มวงประชุ ม ใต้ ต ้ น ประดู ่ ใ หญ่ ด้ ว ย เป้าหมายเดียวกันว่า สภาลานวัดจะเป็น เวที ใ นการด�ำเนิ น งานจั ด การทรั พ ยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่ชุมชนนี้ ท�ำประตูปดิ -เปิดเหมืองน�ำ้ สูธ่ นาคาร น�้ำ เป็นการท�ำงานกับทรัพยากรธรรมชาติ และชุมชนตะโหมด เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และตื่ น ตั ว ต่ อ คุ ณ ค่ า ผื น ป่ า ดิ บ ชื้ น แห่ ง นี้

20 �������������.indd 102

โดยเริ่มจากท�ำฝายน�้ำเล็กๆ ให้ชุมชนในปี ๒๕๔๓ จากภูมิปัญญาฝายกั้นน�้ำเล็กๆ ของ ชาวบ้าน ท�ำให้สามารถเก็บกักน�้ำไว้ใช้ได้ ตลอดปี ใช้วัสดุท้องถิ่นชะลอการไหลของ น�้ำลงสู่ทะเลสาบ ซึ่งจวบจนวันนี้ยังคงต้อง ดู แ ล ออกแบบ ลงแรง ลงมื อ ซ่ อ มแซม บ�ำรุงรักษาอยู่ต่อเนื่อง รูปแบบการท�ำฝายน�ำ้ เริม่ ต้นจากการ ท�ำประตูปิด-เปิดเหมืองน�้ำ เทคอนกรีต ใน ยุ ค นั้ น น�้ ำ อุ ด มสมบู ร ณ์ แต่ พ อผ่ า นฤดู เก็ บ เกี่ ย ว น�้ ำ ก็ จ ะถู ก ปล่ อ ยลงมาอย่ า ง รวดเร็ ว ระบบปิ ด -เปิ ด น�้ ำ จึ ง เป็ น ตั ว ช่ ว ย ส�ำคั ญ ในการชะลอน�้ำ สู ่ ชุ ม ชนและพื ช ผล ทางการเกษตร จนพัฒนามาเป็นธนาคารน�้ำ ในปี ๒๕๕๘ ด้วยการมุ่งหวังว่า ธนาคารน�้ำ จะเป็ น แนวทางในการด�ำเนิ น ตามแนว พระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั

11/28/16 11:00 AM


103

รักษาต้นทุนน�้ำ ปล่อยดอกเบี้ยเป็นน�้ำให้แก่ ชุมชนอย่างไม่ขาดสาย แม้ว่าในช่วงนั้นน�้ำ จะแล้ ง ในช่ ว งน�้ ำ หลากก็ ช ่ ว ยการชะลอ ไม่ให้น�้ำไหลผ่านมายังชุมชนอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเป็นที่เก็บปุ๋ยชีวภาพตามธรรมชาติ เมื่ อ ถึ ง ฤดู ฝ น ปุ ๋ ย ถู ก น�้ำ ชะล้ า งลงสู ่ ค ลอง กระจายสู ่ พื้ น ที่ เ กษตรคื น สู ่ ชุ ม ชนอย่ า ง เพิ่ ม จิ ต ส�ำนึ ก ให้ ต ระหนั ก เห็ น คุ ณ ค่ า ใน เป็ น ธรรมชาติ รั ก ษาความชุ ่ ม ชื้ น ของป่ า การรั ก ษ์ น�้ำ รั ก ษ์ ป ่ า รั ก ษ์ ดิ น ลดปั ญ หา ตลอดจนรักษาระบบนิเวศของป่า สัตว์น�้ำ การขาดแคลนน�้ำและน�้ำป่าไหลหลาก และ และสัตว์บกอีกด้วย “เส้นทางการศึกษาธรรมชาติ” ได้ ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความรักความ ผู ก พั น ระหว่ า งบ้ า น วั ด โรงเรี ย น ความ เกิดจากเส้นทางจากเหมืองน�้ำสู่ธนาคารน�้ำ ท้าทายของการสร้างฝายอยูท่ กี่ ารให้ชาวบ้าน อั น เป็ น ที่ ม าของกิ จ กรรมสร้ า งสรรค์ ก าร มารวมตัวกันเป็นกลุ่ม และเกิดการตระหนัก เรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อร่วมกัน เห็นความส�ำคัญของสิ่งที่จะก�ำลังท�ำร่วมกัน พิทักษ์รักษาสายใยแห่งชีวิตของชุมชนให้ ก่อน ให้ชุมชนรู้ว่าจะได้ประโยชน์อะไรจาก อยู่คู่กับคนรุ่นปัจจุบันจวบจนรุ่นลูกหลาน การสร้างฝายน�้ำ ท�ำให้คนอยากจะลงแรง ได้เรียนรู้ และมีทรัพยากรไว้สานต่อการ ด�ำเนิ น ชี วิ ต การกิ น อยู ่ มี ก ารใช้ ชี วิ ต แบบ ใส่ใจ และต้องการเข้ามาดูแลเพิ่มมากขึ้น ภายหลั ง จากการมี ฝ ายกั้ น น�้ ำ กุ ้ ง พอเพียงและเรียบง่าย มีกุ้ง หอย ปู ปลา หอย ปู ปลา ก็เพิ่มจ�ำนวนขึ้น กระสอบที่ ที่อุดมสมบูรณ์ไว้บริโภค หลวงพ่อต้องการ วางทับถมกันเป็นแนวยาว สร้างประโยชน์ เพียงว่า มาชนบทก็ควรได้เห็นชนบท คือ ให้ ช าวบ้ า นและชุ ม ชน โดยเฉพาะการ ให้ ชุ ม ชนมี ท รั พ ยากรที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ แ ละ ท�ำมาหากิ น สภาพวิ ถี ชี วิ ต ดั้ ง เดิ ม หวน คงไว้ ซึ่ ง วิ ถี ค วามเรี ย บง่ า ย หากมาเยื อ น กลับมา จากฝายเล็กๆ จึงมาเป็นชื่อใหม่คือ ตะโหมดแล้วมีข้าวกิน ข้าวอร่อย แล้วมี “ธนาคารน�้ำ” เป็นดั่งธนาคารในชุมชนที่ กับข้าว มีถิ่นอยู่ มีอู่นอน มีสิ่งแวดล้อมดี คอยท�ำหน้าที่กักเก็บน�้ำ ออมน�้ำ ออมดิน อาหารไม่เป็นอันตราย เป็นยา แค่นี้ก็พอแล้ว

20 �������������.indd 103

11/28/16 11:00 AM


104

ห้องเรียนธรรมชาติกลางไพร นอกจากจุ ด เด่ น ของหลวงพ่ อ เผี้ ย งจะเป็ น เรื่ อ งของการจั ด การ ทรัพยากรน�้ำแล้ว แหล่งเรียนรู้ที่ส�ำคัญของชาวบ้าน มีเอกลักษณ์โดดเด่น บนวิถีธรรมชาติของเขาหัวช้าง ป่าชุมชนตะโหมด ให้ก้าวเข้ามาสัมผัส เรียนรู้ไปพร้อมกับธรรมชาติในป่าใหญ่ ห้องเรียนธรรมชาติที่จะพาเราไป เรียนรู้ ผ่านกิจกรรมที่เรียกว่า การศึกษาเส้นทางธรรมชาติ วิถีคนป่า สมุนไพร การผูกผ้ารุกขเทวดา ซึ่งเริ่มต้นในปี ๒๕๔๓ ด้วยวิธีการออก ส�ำรวจลาดตระเวนเพื่อรักษาป่าเดิมและบอกเขตแนวป่า เพื่อป้องกัน ไม่ให้ชาวบ้านบุกรุก แม้ว่ายังไม่ประสบความส�ำเร็จในช่วงแรก แต่ความ มุมานะพยายามของท่านยังมีมาอยู่ต่อเนื่องจนส�ำเร็จในปี ๒๕๕๓ ห้องเรียนธรรมชาติ ต้นไม้พูดได้ ป่าเป็นคุณครู อากาศคือชีวิต ก้าวแรก ของกิ จ กรรม “เดิ น ป่ า ศึ ก ษาธรรมชาติ ป่ า ชุ ม ชนเขาหั ว ช้ า ง” หลวงพ่ อ เล่ า ประสบการณ์ ใ ห้ เ ราฟั ง ด้ ว ยความ น่ า ตื่ น ตาตื่ น ใจของเรื่ อ งราวการเรี ย นรู ้ ที่ พ าเด็ ก ๆ เดิ น ศึ ก ษาธรรมชาติ จนได้ ถ่ายทอดบทเรียนมาสู่เราอย่างมีชีวิตว่า “วันแรกเราศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของป่า ดิบชื้น การพึ่งพาอาศัยกันของป่า จะเห็น ว่าระหว่างต้นไม้ใหญ่กับต้นไม้เล็กๆ ที่อยู่ ใต้ต้นไม้ใหญ่มันอยู่กันได้อย่างไร ที่จริง ต้นไม้ใหญ่มนั อาจจะไม่ตอ้ งมีตน้ ไม้เล็กอยู่

20 �������������.indd 104

11/28/16 11:00 AM


105

ข้างใต้ได้ แต่ท�ำไมมันอยู่ได้ เพราะต้นไม้ใหญ่มันไม่ละโมบโลภมาก ไม่เหมือนกับมนุษย์ ยิ่งใหญ่ ยิ่งโต มือใครยาวสาวได้สาวเอา ต้นไม้ ยิ่งโตเท่าไหร่ มันยิ่งคายน�้ำให้เกิดความเย็นให้แก่ต้นไม้เล็กๆ ที่อยู่ โคนต้นไม้ใหญ่” ท่านยังสอดแทรกวิธีการเรียนรู้ ให้ภาพของต้นไม้ใบหญ้า แห่ง ความมีชีวิต หลวงพ่อเล่าให้เราฟังว่า “ให้รู้จักตน การอยู่ร่วมกันในวิถี ชุมชนและวิถีของโลกธรรมชาติ ความหลากหลายของวัฒนธรรมพหุภาคี” หลวงพ่อได้ตั้งค�ำถามชวนให้เราคิดว่า พืชก็มีสังคมของพืชที่มีความ หลากหลาย ลองดูซิว่า ท�ำไมพืชต้นใหญ่ถึงไม่รังแกพืชต้นเล็ก แล้ว สังคมมนุษย์ก็มีความหลากหลาย พุทธ คริสต์ อิสลาม ก็เหมือนกัน ท�ำไมไม่รู้จักสังคม ไม่รู้จักตนเอง พอใหญ่ขึ้นก็เอาเปรียบตัวเล็ก หลวงพ่อยังเป็นผูร้ เิ ริม่ “โครงการผูกผ้าบูชารุกขเทวดาเทือกเขา บรรทัด” ด้วยการน�ำผ้าสีแดง สีขาว ไปผูกกับต้นไม้ จัดพิธีบูชารุกขเทวดา ขึ ง สายสิ ญ จน์ นิ ม นต์ พ ระไปสวดธั ม มจั ก กั ป ปวั ต ตนสู ต ร อั ญ เชิ ญ รุ ก ขเทวดา ๑๖ ชั้ น ฟ้ า มา แล้ ว หลั ง จากนั้ น ก็ ผู ก ผ้ า เพื่ อ สร้ า งความ ตระหนัก เพื่อให้เด็กๆ ได้ท�ำการบันทึกและร่วมกันปกป้องต่อไป

20 �������������.indd 105

11/28/16 11:00 AM


106

“ความสัมพันธ์แห่งความสามัคคี” ธรรมะในวิถชี วี ติ บนท่ามกลางความแตกต่าง กับวิถีของวัฒนธรรม ท่านได้สร้างกิจกรรม การเรียนรู้ให้เกิดขึ้น โดยไม่มีข้อจ�ำกัดทาง ความเชื่อและศาสนา กิจกรรมการมีส่วนร่วม ทั้งพุทธและมุสลิม ไม่ว่าจะเป็นการเดินป่า ศึ ก ษาธรรมชาติ เ ขาหั ว ช้ า ง ผู ก ผ้ า บู ช า รุกขเทวดา เป็นส่วนเชื่อมสัมพันธ์ท่ีพาเด็ก เยาวชนและชาวบ้านที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ เส้ น ทางการศึ ก ษาธรรมชาติ การส�ำรวจ สมุนไพร เรียนรู้วิถีคนป่า นอกจากชุมชน จะได้สัมผัสวิถีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย แล้ ว ยั ง ท�ำให้ วิ ถี ข องพุ ท ธและมุ ส ลิ ม ใน หมู ่ บ ้ า นอยู ่ ร ่ ว มกั น โดยไม่ มี เ งื่ อ นไขทาง ศาสนาเข้ามาเป็นข้อจ�ำกัด เกษตรอิ น ทรี ย ์ การปลู ก พื ช ผั ก อิ น ทรี ย ์ ข้ า ว ปุ ๋ ย จุ ลิ น ทรี ย ์ และน�้ ำ หมั ก ชีวภาพ ก็เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรของหลวงพ่อ ที่มุ่งหวังอยากขยายพืชผลทางการเกษตร อินทรีย์ให้เพิ่มมากขึ้น แรกเริ่มในยุคของ การบุกเบิกเรื่องเกษตรอินทรีย์ ท่านเริ่มมา ตั้ ง แต่ ป ี ๒๕๓๘ แต่ ช ่ ว งนั้ น ยั ง ไม่ ป ระสบ ความส�ำเร็จนัก คือ เน้นการปลูกผักสวนครัว กินเป็นหลัก จากนั้นก็เริ่มไปศึกษาดูงานที่ ศูนย์พิกุลทอง จ.นราธิวาส กับศูนย์ศึกษา สิรินธรป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส และพา

20 �������������.indd 106

ชาวบ้านไปศึกษาเรียนรู้ จนมาถึงปี ๒๕๔๓ จากที่ผู้คนในชุมชนเริ่มศึกษาเส้นทางเดินป่า ศึ ก ษาธรรมชาติ ม ากขึ้ น ก็ ท�ำให้ ทุ ก คนที่ เดิ น ผ่ า นหลงรั ก ป่ า อย่ า งจริ ง จั ง ท�ำให้ ขยายผลต่อเนือ่ งมาถึงการเรียนรูท้ จี่ ะอยูก่ บั ป่า และใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยจากสารเคมี ก็เริ่มเกิดขึ้น การปลูกพืชผัก ท�ำปุ๋ยหมัก ปลูกข้าว และผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ ก็เริ่มไม่ใช้เคมีตามมาด้วย การตอบโจทย์เรื่องของการอยู่ด้วย วิถีของความพอเพียง ความเรียบง่าย และ ผั ก ปลอดสารพิ ษ ยั ง คงมี โ ครงการใหม่ ๆ ผุดขึ้นมาเรื่อยๆ จนท�ำให้เรารู้สึกว่า ความ ฝันของท่านกับการเลือก การด�ำรงอยู่บน วิถีความเรียบง่าย ความพอเพียง และการ พึ่งตนเอง การกินง่ายๆ หาของป่า รักใน

11/28/16 11:00 AM


107

เพลงลูกทุ่ง สืบเนื่องมาเป็นพลังให้ชุมชน ได้เรียนรู้และเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นได้อย่าง สั ม ฤทธิ์ ผ ล การด�ำรงอยู ่ เ พื่ อ ให้ เ กิ ด การ เกื้อกูลระหว่างทรัพยากรทุนธรรมชาติกับ ทุ น สั ง คม วั ฒ นธรรม ทุ น ชุ ม ชน ค�ำตอบ เหล่านี้อยู่ในความเป็นเนื้อตัวและเนื้องาน ที่ท่านปฏิบัติให้เราเห็นด้วย ความรักและ ความใส่ใจในการพัฒนางานชุมชนทั้งหมด มาโดยตลอด สุดท้ายนี้ ดูเหมือนว่าโลกของการ เรียนรู้ที่เราได้สัมผัสและฟังเรื่องราวของ แหล่ ง เรี ย นรู ้ วั ด ตะโหมดใกล้ จ ะจบการ เล่ า เรื่ อ งลง แต่ สิ่ ง ที่ ห ลวงพ่ อ เผี้ ย งท่ า น สร้างสรรค์งานชุมชน ทั้งการสร้างแหล่ง เรียนรู้ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ ป่าชุมชนเขาหัวช้าง

20 �������������.indd 107

ธนาคารน�้ ำ เกษตรอิ น ทรี ย ์ การเชื่ อ ม ประสานสั ง คม หรื อ แม้ แ ต่ ง านด้ า นการ สอนศาสนาให้แก่ชุมชนคนไทยพุทธมุสลิม ทุกอย่างล้วนสัมพันธ์และเชื่อมโยงพึ่งพา อาศัยระหว่างกันและกัน ไม่มีสิ่งใดที่อยู่ได้ โดยอิสระ แม้ ก ระทั่ ง สิ่ ง ที่ ห ลวงพ่ อ พยายาม เน้นย�้ำให้ความส�ำคัญกับการรู้จักตน การ พึ่งตนเอง ค่อยๆ ก้าวเรียนรู้เชื่อมโยงกับ ธรรมชาติ เดินสัมพันธ์ ดูวิถีคนป่า ศึกษา สมุนไพร รักในต้นไม้ เป็นสิ่งที่ค่อยๆ สาน สายใยตนสู่สายใยโลก กลับมาคงอยู่กับวิถี ชุมชน ความเรียบง่าย พอเพียง ไม่ไปตาม กระแสบริโภคนิยม จึงนับเป็นก้าวที่ส�ำคัญ ยิ่งของการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ความ เข้มแข็งและความยั่งยืนในตัวเอง

11/28/16 11:00 AM


20 �������������.indd 108

11/28/16 11:00 AM


ยุพิน ประเสริฐพรศรี

วัดสวนสมบูรณ์ ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร พระครูปริยัติกิจวิธาน / เจ้าอาวาสวัดสวนสมบูรณ์ มีคนเคยบอกแก่เราว่า สิ่งส�ำคัญที่สุดของการเรียนรู้อีกมุมหนึ่งคือ สิ่งที่เรามองไม่เห็นจนบางเวลาท�ำให้เรามักมองข้ามพ้นไป เรามักจะคุ้นเคย กับการใช้ชีวิตและการรับรู้โลกใบเดิมของเรา แม้บางทีเวลาความท้าทาย เรียกร้องให้เราต้องก้าวออกไปข้างนอกเพื่อไปเผชิญหน้าและเรียนรู้ เรือ่ งเดียวกันอาจเป็นเรือ่ งน่ากลัวส�ำหรับบางคน แต่อาจเป็นความกล้าหาญ ของใครอีกหลายคน สองสิ่งนี้การรับรู้โลกนั้นต่างกันสิ้นเชิงและเราก�ำลัง บอกว่า “รหัส” อาจเป็นอีกหนึ่งอาวุธที่เราใช้เป็นเครื่องมือในการรับรู้ การมองโลกชีวิตด้านนอก เพื่อใช้เป็นชุดค�ำในการอธิบายความหมายของ สิ่งหนึ่งและอีกหลายสิ่งเพื่อย้อนกลับมาอธิบายให้โลกชีวิตด้านในของเรา ได้เกิดการตระหนักรู้และเข้าใจสรรพสิ่งนั้นๆ ทีน่ กี่ เ็ ช่นเดียวกันเราได้ฟงั มาว่า “วัดพูดได้” แรกเริม่ ก็นกึ ไม่ออกว่า วัดพูดได้นั้นมีความหมายเป็นเช่นใดบ้าง แต่พอค่อยๆ ก้าวออกไปเรียนรู้ ความหมายจากพระครูปริยัติกิจวิธาน ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร หรือ ที่เราเรียกว่า “หลวงพ่อหีต” ที่วัดสวนสมบูรณ์แห่งนี้ เราก็ค่อยๆ รู้ว่า ทุกสิง่ ทุกอย่างทีท่ า่ นท�ำนัน้ คือ “รหัสธรรม” อันมุง่ ไปยังสายธารแห่งความ

20 �������������.indd 109

11/28/16 11:00 AM


110

สงบ เย็น สะอาด ร่มรื่น และยังคงความ ตามแต่ ก�ำลั ง ความเข้ า ใจเราจั ก ท�ำงาน เรี ย บง่ า ย สร้ า งสรรค์ นั บ ตั้ ง แต่ ก ้ า วแรก ณ ตอนนี้ เ รารู ้ ไ ด้ เ พี ย งแค่ ค�ำ จดจ�ำไว้ ใ น ที่เราได้มาเยือน สมอง หากแต่ลองฝึกฝนบ่อยครั้ง สภาวะ วาง...ว่างนั้นอาจจะประจักษ์ให้เราเรียนรู้ ครั้นเมื่อมีประสบการณ์มากเข้า สิ่งนี้อาจ เส้นทางของรหัสธรรม เป็นเครือ่ งช่วยทลายก�ำแพงบางสิง่ บางอย่าง สายวั น นี้ ฝนลงมาปรอยๆ ตลอด จากตัวเรา จนกลายเป็นสะพานส่งต่อการ การเดินทาง เราสองคนออกเดินทางจาก เรียนรู้ของกระแสจิตได้อย่างทรงคุณอนันต์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีมุ่งหน้ามาสู่ จ.ชุมพร ก็เป็นได้ เพื่ อ มายั ง วั ด สวนสมบู ร ณ์ ต.สวนแตง ที่นี่เดี๋ยวนี้ จะรออะไรเล่า แล้วเราก็ อ.ละแม จ.ชุมพร ปากทางเข้าวัดไม่ไกลนัก ลองเรียนรู้ด้วยการวางเรื่องราวนั้นลง เดิน เรามาถึงยังวัด ก่อนเข้ามากราบนมัสการ ตรงไปข้างหน้ามารอยังจุดที่สามารถนั่งรอ พระครูปริยัติกิจวิธาน หรือ หลวงพ่อหีต หลวงพ่ อ ได้ เราสองคนมาถึ ง ยั ง ซุ ้ ม ไม้ ไ ผ่ ป้ายประตูก่อนเข้าไปยังภายในวัด ปรากฏ โอ้โห! สวยจัง เราเปล่งอุทานพร้อมกับมอง ข้อความ “วาง” และ “ว่าง” ตรงกลางมี รอบๆ บริเวณเดินดูด้วยความรู้สึกตื่นเต้น ตราธรรมจักร เป็นจุดเด่นของที่นี่ที่ท�ำให้ รอบๆ นี้ก�ำลังลงต้นกล้าเล็กๆ เป็นต้นผัก สะดุดตา สะกดใจว่า วัดแห่งนี้แปลกตาไป เหมียงหรือผักเหลียง แต่ถ้าเป็นชาวปักษ์ใต้ จากความคุ ้ น ชิ น วั ด ในความหมายที่ เ รา แท้ๆ จะเรียกผักเขรียง เป็นผักกินใบ ว่า รูจ้ กั ท�ำให้เรารับรูค้ วามหมายในแบบวัดเซน กันว่า ใบเขียวเข้มของต้นผักเหลียงนี้ นั้น หรือไม่ก็นึกถึงหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุกับ มีสารเบต้าแคโรทีนสูงมาก ช่วยบ�ำรุงสายตา ค�ำสอนของท่านในเรื่อง “สุญญตา” อัน และคนที่ต้องการวิตามินเอได้เป็นอย่างดี หมายถึง ความว่างเปล่า ความเป็นศูนย์ โอ้! เย็นสบายจัง ลมพัดโชยมาโชยไป ดูด้านหน้านั่นซิ อุโบสถสีขาว พระพุทธรูป ปั ้ น ก็ สี ข าว โทนเดี ย วกั น ไม่ มี ก�ำแพงกั้ น ช่ อ ฟ้ า ใบระกา หางหงส์ สี ข าวสู ง สง่ า ท่ า มกลางท้ อ งฟ้ า ตั ด ด้ ว ยสี ข าวของเมฆา เหมือนกับภาพเขียนสีน�้ำในโปสการ์ดที่เรา

20 �������������.indd 110

11/28/16 11:00 AM


111

สวนผลไม้ ผืนดินอุดมสมบูรณ์ ใกล้ๆ กับ อุโบสถและศาลาที่เราก�ำลังนั่งอยู่นี้ ก็มีผัก ริมรั้วสามารถเก็บทานได้ ในแบบของการ พออยู่และพอกินได้เลยล่ะ

เคยเห็ น เลย ส่ ว นบริ เ วณพื้ น เต็ ม ไปด้ ว ย ต้ น ปาล์ ม รายรอบและต้ น หญ้ า สี เ ขี ย ว มี ลูกนิมิตใบใหญ่สีขาว ตั้งตรงกลาง มองดู แล้วแปลกตาไปจากการรับรู้ของเราอีกแล้ว ไม่นานนัก หลวงพ่อหีตเดินเข้ามา หาเรา ในมือนั้นเต็มไปด้วยน�้ำเปล่า และ ถาดเงาะ สีหน้า ท่าทางเต็มไปด้วยรอยยิ้ม มาต้อนรับเราสองคนเป็นอย่างดี ก่อนที่ จะหาที่ เ พื่ อ นั่ ง สนทนา พู ด คุ ย เรื่ อ งราว ความเป็นมาเป็นไปของแหล่งเรียนรู้ ว่า มีโครงการฯ กิจกรรมหรือกิจวัตรอะไรบ้าง ให้เราได้รู้จักและเรียนรู้ร่วมกับหลวงพ่อ และวัดแห่งนี้ ฝัง่ ทางด้านซ้ายมือก็เต็มไปด้วยส�ำรับ อาหาร ท่ า นเก็ บ อาหารกลางวั น จากที่ ญาติโยมมาถวายเยอะพอควร ไว้ส�ำหรับ เราสองคนด้วย ไม่นานนักเราพบกับพี่ปุ้ย ป้าถาวร และป้าอุสา พวกเราแนะน�ำตัว สวัสดีป้า ก่อนเริ่มต้นรับประทานอาหาร กลางวั น ลื ม บอกไปว่ า ที่ นี่ เ ต็ ม ไปด้ ว ย

20 �������������.indd 111

ความมีน�้ำใจของหลวงพ่อและพี่ปุ้ย และป้ า ทั้ ง สองท�ำให้ เ ราสองคนได้ ลิ้ ม รส ผลไม้อันโอชะจริงๆ เราบอกแบบนี้เพราะ ได้ ท านราชาผลไม้ คื อ ทุ เ รี ย น และราชิ นี ผลไม้ มังคุด พร้อมกันเลย แถมยังมีเงาะ ขนมหวานเข้ า เรี ย งรายแลดู น ่ า กิ น จั ง ระหว่างวงสนทนาเริ่มขึ้นไปสักพัก ผู้เข้า ร่ ว มพู ด คุ ย มี ทั้ ง หลวงพ่ อ หี ต พี่ ห ยี พี่ ปุ ้ ย ป้าถาวรและป้าอุสาอยู่นั้น ใครจะรู้ว่า อยู่ๆ ทุ เ รี ย น ผลไม้ อั น เป็ น ของโปรดของใคร หลายคน มีชาวบ้านน�ำมาถวาย ๒-๓ ลูก แลดูแล้วเหมือนทุเรียนเพิ่งหลุดมาจากขั้ว ของต้นเลย เห็นแบบนี้ ได้ทานแบบนี้แล้ว ไม่ต้องบอกว่าว่าละแวกนี้อุดมสมบูรณ์ด้วย ผลหมากรากไม้แค่ไหน ว่าด้วยเรื่องผลไม้ อาหารการกิน กับ ความเอาใจใส่ การดูแลของท่านและพี่ๆ ป้าๆ อาสาสมัครในชุมชนแห่งนี้แล้ว ต่อมา เราลองมาค้นความหมายของอาสาสมัคร เหล่านี้ ว่าพวกเขาท�ำไมมารวมตัวกันและ ร่วมมือช่วยเหลือวัดและหลวงพ่อหีตมาอยู่ สม�่ำเสมอ พี่ๆ และป้าๆ เหล่านี้เป็นอีกหนึ่ง ภาพสะท้อนความศรัทธาที่มีต่อวัดแห่งนี้

11/28/16 11:00 AM


112

และอาจจะเป็นงานที่ท่านท�ำเพื่อวัด ชุมชน และสังคม อีกทั้งยังเป็นการ มองเห็นความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างวัดและชุมชนบ้านสวนแตง และ ในแง่ของจิตใจที่เอื้อเฟื้อเกื้อกูลระหว่างกัน พี่อาสาสมัครเล่าให้เราฟังว่า วัดแห่งนี้เปรียบเหมือนบ้านของพวกเขา ไม่ว่าจะมีงานบุญ งานปฏิบัติ ธรรม หรื อ แม้ แ ต่ ง านอบรมเด็ ก และเยาวชน พวกเขาเหล่ า นี้ จ ะคอย มาเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง คอยดูแล บริการผู้คน จัดข้าวปลาอาหาร คอย เป็นหูเป็นตา คอยช่วยประสานงานให้กับวัด และยังคอยลงแรงเก็บกวาด ท�ำความสะอาดวัดอย่างมิต้องเอ่ยปากเอ่ยค�ำขอความช่วยเหลือเลย ส่วน ในอีกมุมมองของหลวงพ่อท่านกล่าวว่า “คนกลุ่มนี้มาเติมเต็ม มาเป็น พลังให้เรา” เสียงแฝงด้วยความรู้สึกถึงพลังน�้ำใจกับสิ่งที่ท่านได้รับจาก พวกเขา เราสองคนก�ำลังสนใจว่า หลวงพ่อเชื่อมโยงวัดแห่งนี้ให้เข้าถึง ความรู้สึกเป็นเจ้าของ ให้พี่ๆ อาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไรบ้าง อะไรเป็นเหตุและที่มาของความสัมพันธ์และความรู้สึกดังกล่าว หลวงพ่อ บอกกับเราว่า แรกเริ่มท่านก็ไม่ได้คิดว่าจะมีชาวบ้านหรืออาสาสมัคร เข้ามาท�ำบุญหรือร่วมกิจกรรมด้วยเลย ท่านมีแต่ความคิดที่ว่า ต้องการ สร้างวัดในฝัน อันมีความสงบร่มเย็น มีกลิ่นไอธรรมเป็นที่ตั้ง เป็น “วัด พูดได้” หมายความว่า ให้สถานที่วัดเป็นพื้นที่ในการสื่อธรรมะได้ โดย ไม่ต้องบอกกล่าวด้วยค�ำพูด ไม่ต้องมากด้วยเงื่อนไข ไม่ต้องเข้ามาแล้ว รู ้ สึ ก ว่ า จะต้ อ งควั ก เงิ น จากกระเป๋ า มาท�ำบุ ญ ไม่ มี เสียงดังอึกทึกครึกโครม แต่เป็นความหมายวัดในแบบ ความรู้สึกอยากจะมา มานั่ง มานอน มาเดิน ตรงไหน ก็มีความสุข เพียงเท่านี้ก็เป็นความสุขของหลวงพ่อ ท่านปรารภเช่นนั้น จนท�ำให้เราค่อยๆ เกิดการเรียนรู้ ว่าความฝัน พลังบันดาลใจกับปีติแห่งสุขจากดวงใจ ท่าน จะไหลวนเวียนเป็นกระแสแห่งความตั้งมั่นใน สายธารแห่ ง ความ สงบ เย็ น สะอาด และร่ ม รื่ น

20 �������������.indd 112

11/28/16 11:00 AM


113

ตามความหมายของท่าน และอาจเป็นอีก ส่วนในความหมายของการร่วมแรงร่วมใจ ที่น�ำพาพี่ๆ อาสาสมัครเหล่านี้ในการเข้ามา เป็นก�ำลังส�ำคัญของวัดแห่งนี้อีกด้วย วัดพูดได้เป็นเช่นไร ภูมิทัศน์ การ ตกแต่งอาคารสถานที่ของวัดแห่งนี้กับที่เรา เล่าไปแล้วว่า ความใฝ่ฝันของหลวงพ่อหีต ในการน�ำธรรมะ เคลื่อนด้วยสถานที่เป็น แหล่งเรียนรู้ สื่อความหมายธรรม เรามัก จะพบเห็นป้ายรอบๆ วัดเขียนข้อความว่า “สะอาด สว่าง สงบ” “ไปวัด ไม่ถึงวัด” สะท้อนความเป็นวัดพูดได้ ตามแบบที่ท่าน มุ่งหวัง และให้ข้อความเป็นสื่อกลาง “รหัส ธรรม” ช่วยขัดเกลาจิตใจผูค้ นทีเ่ ข้ามาสัมผัส เบื้องแรกโดยไม่ต้องพูดอะไรให้มาก ส�ำหรับ มิตใิ นงานพัฒนาชุมชนโดยใช้วดั เป็นสือ่ กลาง นั้น หลักคิดของท่านบอกกับเราว่า ต้องมี กิจกรรมเป็นสื่ออีกทางในการช่วยบ่มเพาะ ธรรมะภายในจิตใจ หลักที่ว่า “ท�ำให้ดู อยู่ ให้เห็น เย็นให้สัมผัส”

20 �������������.indd 113

ลานโพธิ์ ล านปั ญ ญา กับฐานการ เรียนรู้เป็นอีกหนึ่งใน “สัญลักษณ์” ความหมายของหลวงพ่อ ท่านปรารภให้เราฟังว่า “ลานโล่ง โปร่งความคิด มิตรคือพุทธะ” ลานธรรมกับลานโพธิ์ คือสถานที่การเรียนรู้ ที่เปิดใจ ใส่ธรรม ฝึกผู้น�ำ สร้างผู้น�ำ น�ำ พุทธะ โดยให้คนเข้ามาวัดแล้วมีการเปิดใจ เป็ น อั น ดั บ แรก ให้ สั ญ ลั ก ษณ์ แ ห่ ง พุ ท ธะ เป็นเครื่องน�ำทางแทนธรรมะ ข้อความที่ เขียนว่า “วาง ว่าง” คือ สุญญตา เหมือน คล้ายๆ ของชินโต ญี่ปุ่น อันสื่อว่า “สงบ เย็น และเรียบง่าย” โดยไม่ต้องบอกพูดว่า ศีลคืออะไร สมาธิคืออะไร วิถีทางพุทธที่ ตอบค�ำถามได้ว่า วัดจะพาโยมไปทางไหน แล้วโยมจะพาวัดไปทางไหน ความเรียบง่าย กับความสงบเย็นนั้นจะเป็นการสื่อธรรมะที่ สมบูรณ์ เดิมที วัดแห่งนี้ก่อนที่หลวงพ่อหีต จะเข้ามาพัฒนาบริเวณ ภูมิทัศน์ของวัดนั้น ท่านบอกว่า วัดแห่งนี้เคยเป็นวัดร้าง ขาด การดูแล พื้นที่วัดเต็มไปด้วยขยะ พลาสติค หางปลา และสิ่งปฏิกูล เลยรู้สึก สงสารวัด วั ด ควรจะเป็ น ที่ พึ่ ง ของชุ ม ชน หากเป็ น เช่นนี้ วัดคงไม่สามารถเป็นหลักให้ชุมชนได้ หลวงพ่อเลยเริ่มลงมือท�ำความสะอาดวัด ค่อยๆ พัฒนาสถานที่วัดเรื่อยมา ปรับปรุง ตกแต่งภูมิทัศน์จนให้วัดกลายมาเป็นที่พึ่ง

11/28/16 11:00 AM


114

ของชุมชนอย่างที่เราเห็นใน ณ ขณะนี้ และ ได้ตั้งแนวพัฒนาวัดไว้ ๕ ประการคือ “หนึ่ง ภูมิทัศน์ดี สอง มีระบบ สาม ครบบริการ สี่ บริหารเยี่ยม และห้า เปี่ยมด้วยพุทธธรรม ยุ ท ธศาสตร์ ๕ หลั ก ในการพั ฒ นา ส่ ว น แนวความคิ ด เพื่ อ การพั ฒ นาชุ ม ชน ๔ ประการคือ “หนึ่ง เงินทุกบาทมีค่า สอง เจ็บไข้มีที่รักษา สาม ลูกเกิดมามีที่เรียน สี่ จุดเปลี่ยนชีวิตมีวัดเป็นที่พึ่ง” ถ้าเป็นเช่นนั้น เราสองคนขอเวลา ขออนุญาตหลวงพ่อเดินดูรอบๆ วัด แล้ว ค่อยกลับมาเรียนรูง้ านและหรือกิจกรรมต่างๆ ของท่านที่อุทิศเพื่อชุมชนและสังคมในเวลา ต่อไป วาดแผนที่เดินดิน สัมผัสวัด เวลานี้ อากาศไม่ค่อยเป็นใจกับเรานัก แสงของ แดดร้อนเปรี้ยงๆ เราสองคนค่อยๆ ย่างเท้า มายังบริเวณด้านหน้าของวัด เป็นช่วงเวลา ของการชมวัด บรรยากาศและจุดเด่นๆ ของ วัดแห่งนี้ เพื่อเรียนรู้ตามภารกิจ ค�ำบอกเล่า และความฝันใฝ่ “วัดพูดได้” ของหลวงพ่อหีต “มาวั ด ถึ ง วั ด ” ความรู ้ สึ ก ตั้ ง ต้ น จุ ด ประกายพลั ง แห่ ง การส�ำรวจภู มิ ทั ศ น์ และแหล่งเรียนรู้ที่เป็นหลักของที่นี่ แม้ว่า อากาศจักร้อนยิ่งนัก มาถึงป้าย ณ ประตูวัด ภารกิ จ ของพวกเราก็ เ ริ่ ม ต้ น ขึ้ น พี่ อี ก คน จั บ กล้ อ งและเตรี ย มเก็ บ ภาพ เดิ น หามุ ม

20 �������������.indd 114

มองนั่ น มองโน่ น ท่ า ทางกระฉั บ กระเฉง ทะมัดทะแมง ส่วนเราแล้วความสุขเล็กๆ บังเกิดกับการทีม่ อื ได้ถอื สมุดบันทึกกระดาษ เปล่า พร้อมดินสอ ค่อยๆ เดินส�ำรวจ โดย เริ่มจากบริเวณร่มไม้ใหญ่ด้านหน้าของวัด ใกล้ๆ กับอักษร “วาง ว่าง” ใกล้สระน�ำ้ เล็กๆ และแล้วเราเริ่มเปลี่ยนสายตาเป็น มุมมอง การสังเกต และใจก็เริ่มปฏิบัติการกับการ ตื่นตัวกับการเรียนรู้ จุดแรกทางซ้ายมือคือ อาคารศูนย์เรียนรู้และแสดงสินค้าบ้านนา จีนซิ้ว ระฆังใบใหญ่ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (ศูนย์ปฏิบัติธรรมอมร เบิ ก ฟ้ า ) ลานโพธิ์ ล านปั ญ ญา และที่ น ่ า ตื่นเต้นคือ พระพุทธรูป หุ่นยนต์ต่างๆ ที่มี ไอเดี ย เอาน็ อ ตมาท�ำ เรี ย กได้ ว ่ า วั ส ดุ เหลือใช้ท�ำให้มีคุณค่า มีประโยชน์ขึ้นมา ท่านบอกเราว่าทุกอย่างเริ่มต้นที่ความง่าย เหมือนองค์ประกอบจากน็อตเหล่านี้ที่เริ่ม มาจากรูปทรงคล้ายเลขศูนย์ วางและว่าง หากมองอย่างเข้าใจ จบการเดินเท้าส�ำรวจ เราได้แผนที่ เดินดินหนึ่งแผ่น เป็นเครื่องมือรู้จัก สัมพันธ์ วัด วาดเขียนเพียงเล็กน้อยก็สุขใจจริงเอย ชื่ น ชมผลงานตั ว เองสั ก พั ก ก็ หั น มามอง นาฬิกา เวลาเหลือเพียงเล็กน้อย เราสองคน มานั่งนิ่งๆ กราบพระพุทธรูปในอุโบสถสีขาว และลุ ก มาเข้ า ร่ ว มวงการสนทนาพู ด คุ ย อีกครั้ง

11/28/16 11:00 AM


115

แปรเปลี่ยนรหัสเป็นความหมาย กิจกรรมการเรียนรู้ หรือโครงการฯ เป็นสะพานวัดที่ทอดยาวไปถึง ชุมชน ชาวบ้าน และกลุ่มเด็กและเยาวชนแห่งนี้ ให้เข้ามาสัมพันธ์และกลาย เป็นที่มาของความรู้สึกที่หลวงพ่อเน้นย�้ำให้เราฟังว่า “วัดเป็นของพวกเขา” นอกจากท่านได้พัฒนาวัตถุ ภูมิทัศน์ของวัดแล้วนั้น ยังให้ความส�ำคัญกับการ พัฒนาคนและชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ความส�ำเร็จที่ผ่านมาของวัดแห่งนี้คือ รางวัลส้วมสะอาด เมื่อปี ๒๕๔๑ มาจนถึงปัจจุบัน ห้องน�้ำที่นี่ก็ยังคงความสะอาด มีทางเท้า สวนหย่อม ติด ป้ายข้อความธรรมะให้เราช�ำเลืองตามองและอ่าน ซึ่งไม่ผิดไปจากเดิมเลย แต่นั่นก็มิใช่ผลส�ำเร็จในการเป็นวัดแห่งการเรียนรู้เพียงประการเดียว ท่าน ยังสรรสร้างกิจกรรม เช่น การอบรมค่ายพุทธบุตร กิจกรรมเดินเท้าสวดมนต์ สร้างปัญญา และมีหลักสูตร ๔ ประการคือ หลักสูตรสรีรธรรม ภายใน ก�ำหนดภายนอก วิทยาศาสตร์กับธรรมะจิต ทักษะการสร้างเครือข่ายพระ การอบรมค่ายพุทธบุตร ท่านเล่าให้เราฟังถึงประสบการณ์ในการ ถ่ายทอดธรรมะกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กๆ ในชุมชน โดยมีบทบาท เป็นครูพระในการสอนศีลธรรม เรื่องราวการเรียนรู้ที่มีความน่าสนใจจาก หลวงพ่อทีโ่ ดดเด่น เราขอหยิบยกมาสองตัวอย่างคือ “ธรรมะสรีระ” และ “เสียง ธรรมะกับเสียงก้อนหิน” ที่บรรจุไว้ในหลักสูตร ๓ วัน ๒ คืนในค่ายพุทธบุตร ซึ่งการเรียนรู้รูปแบบเป็นเช่นใดนั้น เราขอเล่าให้เห็นภาพโดยคร่าว “ธรรมะสรีระ” หลักคิดของท่านคือ การมุ่ง เรียนรู้เรื่องความเมตตากับผู้อื่นด้วยความจริงใจ สันทนาการเริ่มต้นขึ้นเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ส�ำหรับ เด็กและเยาวชน หลวงพ่อบอกว่า “ธรรมะกับสรีระ ไม่ต้องลงทุนเยอะ แล้วพาเด็กๆ รู้จักกับแขนและขา เด็กๆ นี่คืออะไร คือแขน คือขา แล้วแขนขาของเรา

20 �������������.indd 115

11/28/16 11:00 AM


116

มาจากไหน” เสียงของเด็กๆ ตอบต่างกัน ออกไป เช่น “นี่คือแขนคือขา...ได้มาจาก พระเจ้า” “นี่คือแขนคือขา บัฟฟาโล่ให้มา ไม่ ใ ช่ นี่ คื อ แขนคื อ ขา...พ่ อ แม่ ใ ห้ ม าใช้ ประโยชน์” ปล่อยการเรียนรูใ้ ห้เด็กๆ ค่อยๆ เรียนรู้และวิเคราะห์ด้วยตัวเขาเอง

นะโม จ�ำยาก แต่การเรียนรู้แบบนี้ช่วยให้ เขาค่ อ ยๆ เข้ า ใจความหมายของศี ล ได้ มากขึ้น จากการเรียงก้อนหิน ๕ ก้อน และ เคาะก้ อ นหิ น ให้ ไ ด้ ยิ น เสี ย งของก้ อ นหิ น มาสู ่ เ สี ย งของธรรมะ แล้ ว สองสิ่ ง นี้ จ ะมา เจอกันโดยปริยาย

“เสี ย งธรรมะกั บ เสี ย งก้ อ นหิ น ” หลวงพ่อบอกกับเราว่า ธรรมะกับการเข้าถึง เด็กต้องเริ่ม ณ บัดนาว (หมายถึงที่นี่และ เดี๋ยวนี้) ให้ถึงพร้อมเรื่องของศีล รูปแบบ ของท่านคือน�ำก้อนหิน ๕ ก้อนมาเรียงกัน ให้สื่อไปถึง ศีล ๕ ข้อ ธรรมะ ๕ อย่าง ที่ ทุกคนรู้แล้วน�ำปฏิบัติ ศีลในที่นี้หมายความ ว่า “ศีลก็ถือ ความสงบเย็น เคาะที่ไหนก็ เย็ น เสี ย งธรรมะก็ เ หมื อ นกั บ เสี ย งของ ก้อนหิน” ท่านสะท้อนว่า เด็กบางคนเข้าใจ ว่ า เรื่ อ งของศี ล เป็ น เรื่ อ งที่ ย าก ต้ อ งท่ อ ง

กิ จ กรรมเดิ น เท้ า สวดมนต์ ส ร้ า ง ปัญญา...สู่สุขภาวะ ระยะทาง ๙๐ กิโลเมตร เป็ น เวลา ๔๕ วั น อ.ละแม อ.หลั ง สวน อ.พะโต๊ ะ หลวงพ่ อ บอกเล่ า เรื่ อ งราวไว้ อย่างน่าสนใจในการเริม่ เปลีย่ นตัวเองว่า “เรา ได้เรียนแต่ทฤษฎี ปฏิบัติไม่มี ฉันเป็นนัก ทฤษฎี พอได้ปฏิบัติ มันปล่อยวาง เบา เรา มี อิ ส ระในชี วิ ต ” ผลของการเดิ น ทางเท้ า ท�ำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างท่าน บทบาทของวัดและชาวบ้านในชุมชน เช่น เดินรณรงค์สวดมนต์สร้างปัญญา ณ ตลาด เทศบาล อ.หลังสวนกับคณะครู นักเรียน โรงเรียนวัดประสาทนิกร จ�ำนวน ๕๐๐ คน โรงเรียนชุมชนวัดหาดส�ำราญ ต.หาดตายาย (ระยะทางเดิน ๖ กม.) คณะศรัทธาบ้าน ตรัง หมู่ ๑๒ ต.พระรักษ์ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร (ระยะทางเดิน ๑๑ กม.) โรงเรียนสามัคคี ธรรม ต.ละแม อ.หลังสวน (ระยะทางเดิน ๕ กม.) เป็นต้น ความตั้งใจแรกในการริเริ่มกิจกรรม ท่านเล่าว่า “เริ่มต้นอยากให้วัดเชื่อมโยงกับ

20 �������������.indd 116

11/28/16 11:00 AM


117

ชาวบ้าน เดี๋ยวนี้เขามองอีกแบบหนึ่ง พอ เขาเห็นพระแล้วเสียตังค์ เราไปเปิดพื้นที่ใสๆ ให้ กั บ เขา แต่ เ ราเป็ น ห่ ว งเป็ น ใยว่ า พื้ น ที่ ส่วนหนึ่งมันหายไป ความหมายคือมีจิตที่ ปรารถนาดีต่อวัด โยมถ่ายทอดสิ่งที่ดีงาม ได้ เรามี เ จตนาดี ท�ำในสิ่ ง ที่ ม องเห็ น ได้ สัมผัสได้” บันได ๙ ขั้น เสริมสุขภาวะวิถีพุทธ เจตนารมณ์ของหลวงพ่อในการสร้างวัดมิ เพียงต้องการ “วัดพูดได้” แต่ประการเดียว แต่ ท ่ า นมุ ่ ง หวั ง ให้ วั ด แห่ ง นี้ เ ป็ น วิ ถี พุ ท ธ วิ ถี ชี วิ ต กาย ใจ ปั ญ ญา ศี ล และสมาธิ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการเดินเท้าสวดมนต์ สร้ า งปั ญ ญา สร้ า งเครื อ ข่ า ย กิ จ กรรม เสี ย งสวรรค์ ที่ บ รรพชนรอคอย ลานโพธิ์ ลานปั ญ ญา สวดมนต์ ข ้ า มปี และอบรม ค่ายจริยธรรมต่างๆ โดยมีเป้าหมายในการ ด�ำเนินงานด้วยการวางทิศทางเป็นบันได ๙ ขั้น ขั้นแรกคือ พัฒนาพื้นที่สิ่งแวดล้อมของ วัด ขั้นที่สองคือ การสร้างพัฒนาคนให้มี จิตอาสาและรักชุมชนของตนเอง ขั้นที่สาม คือ การสร้างระบบการท�ำงานแบบมีส่วนร่วม กับภาคีความร่วมมือและทุกภาคส่วนที่มี ส่วนได้เสีย ขั้นที่สี่คือ สร้างองค์ความรู้และ แหล่งเรียนรู้ ขั้นที่ห้าคือ สร้างและขยาย เครือข่าย ขั้นที่หกคือ การขยายผลความ ดีงามและความงดงาม ขั้นที่เจ็ดคือ การสร้าง

20 �������������.indd 117

กติกาและมีมติร่วมกับชุมชน ขั้นที่แปดคือ มีการท�ำซ�้ำจนกว่าจะเห็นผลจริง ขั้นที่เก้า คือ มีแผนแม่บทชุมชนร่วมกันในการพัฒนา ด้ ว ยประการฉะนี้ เราสองคนได้ เรี ย นรู ้ อ ะไรมากมายในวั ด แห่ ง นี้ ทั้ ง ทาง ด้านภูมิทัศน์ของหลวงพ่อ ที่ต้องการสร้าง ให้พื้นที่วัดเป็นพื้นที่สื่อธรรมะหรือที่ท่าน เรียกบ่อยครัง้ ว่า “วัดพูดได้” เพือ่ ใช้ชาวบ้าน ชุมชน หรือผู้คนที่สนใจเข้ามาปฏิบัติธรรม ได้มีความสุข เดินตรงไหน นั่งตรงไหน ก็ สามารถสัมผัสได้กบั การออกแบบสิง่ ก่อสร้าง ภายในวัดที่มีความเรียบง่าย เน้นวัสดุจาก ไม้ไผ่ ล้วนเป็นที่มาของความหมาย ความ พอเพียง อีกทั้งได้เรียนรู้ถึงความเป็นมิตร ไมตรีของพี่ๆ อาสาสมัคร อาหาร ผลไม้ ขนมหวานต่างๆ ที่ถูกจัดมาดูแลเราสองคน นั้ น นั บ เป็ น อี ก หนึ่ ง บทเรี ย นที่ มี คุ ณ ค่ า มิตรภาพอันดีงาม ส�ำหรับเรา แม้ว่าการเรียนรู้จากวัดแห่งนี้ ใกล้จบ เรื่องราวลงแล้ว แต่คุณค่าความหมาย กับสิ่ง ทีเ่ ราได้สมั ผัสจากโลกด้านนอกยังคงปรากฏ ชัดอยู่ในใจเรา กับการรับรู้ว่า วัดสวนสมบูรณ์ แห่งนี้อุดมไปด้วยสวนผลไม้ มีต้นไม้ร่มรื่น มีซุ้มไม้ไผ่ให้หลบร้อนเย็นสบายกาย อุโบสถ สีขาวส�ำหรับส่องมองแสงจันทร์ในยามคำ�่ คืน และต้อนรับม่านแสงอรุณเบิกฟ้าในวันใหม่

11/28/16 11:00 AM


20 �������������.indd 118

11/28/16 11:00 AM


ยุพิน ประเสริฐพรศรี

วัดป่าพระเจ้า ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี พระมหาสมัย สมโย / เจ้าอาวาสวัดป่าพระเจ้า เคยได้ยินมาว่า “การให้” คือ พลังให้ศานติเกิดขึ้นในเรือนใจ เมื่อ เราทุ่มเทความตั้งใจของเราไปที่การให้แล้ว การให้จะน�ำพาเราไปสู่ความ สงบภายใน จนบังเกิดความสุข ความสุขที่เกิดมาจาก “บุญ” ที่เราได้รับ จากการให้ในทุกๆ ครั้ง เรารู้สึกค่อยๆ เป็นส่วนหนึ่งในการโอบอ้อมอารี ผู้อื่นและตัวเรา เรามาเรียนรู้ยังที่นี่ เราได้เรียนรู้และสัมผัสว่า “การให้” เป็นพลังในการช่วยประสานเครือข่ายของการเรียนรู้และความร่วมมือ มีการปรึกษาหารือ ร่วมแรงใจในการท�ำกิจให้บรรลุตามเป้าประสงค์ พลังความดีจากดวงใจหนึ่งดวง จากมือสองมือ และหนึ่งความคิด สู่หลาย เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ ทั้งหมดนี้คือที่มาของการเป็นแหล่งเรียนรู้ของ วัดป่าพระเจ้า ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี พระมหาสมัย สมโย หรือที่เราเรียกท่านว่า “หลวงพี่มหาสมัย” ท่านด�ำเนินกิจกรรมการ เรียนรู้ด้วย “จิตอาสา” ที่โดดเด่นจนเชื่อมสัมพันธ์กลายเป็นหลักสูตรการ เรียนรู้ภายใต้โครงการรัตนโมเดล ให้ตอบโจทย์ความสัมพันธ์ วัด บ้าน โรงเรียน และชุมชน ทุกอย่างที่บอกเล่ามานี้ จะเชื่อมประสาน เกี่ยวโยง

20 �������������.indd 119

11/28/16 11:00 AM


120

กันอย่างไร เราคงค้นค�ำตอบไปพร้อมกัน จากการเริ่มต้นออกเดินทาง เตรียมเสบียงแห่งการให้ ใส่กระเป๋าเป้แบกไปท่องโลกการเรียนรู้ที่นี่ ตามมาเลย ถิ่นสุพรรณ รออยู่!

ส่งผ่านช่วงเวลา การรับ – การให้ ตะวันโผล่ขึ้นขอบฟ้า แสงกระทบกับพื้นโลกตาม ปกติเช่นเคย เราสองคนออกเดินทางจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้า สู่ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี รถมาจอดลงยังขนส่ง สุพรรณบุรี และเราสองคนก็รอรถมารับเพื่อเดินทางต่อไป ยังวัดป่าพระเจ้า รถมารับเราแล้ว พร้อมกับหลวงพี่มหาสมัย ท่านมา พร้อมกับพี่โต ท่านพาเราสองคนมาหยุดยังวัดป่าเลไลยก์ วรวิหาร วัดแห่งนี้ว่ากันว่า หากใครได้เข้ามาเยือนสุพรรณ แล้วต้องมากราบไหว้หลวงพ่อโต เพื่อขอพรให้เป็นสิริมงคล เพราะทีน่ เี่ ชือ่ มโยงกับวิถวี ฒ ั นธรรมของชาวบ้านคนสุพรรณ แถมยังเกีย่ วข้องกับวรรณคดี “ขุนช้างขุนแผน” สมัยอูท่ อง อีกด้วย ณ วัดพยัคฆาราม ต้นไม้ใหญ่ บ้านเรือนไทยยกสูง กุฏิเจ้าอาวาส รถยนต์มาหยุดตรงนี้ เราสองคนได้เข้า กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าอาวาสที่วัดแห่งนี้ ก่อนที่หลวงพี่ มหาสมั ย ไปท�ำหน้ า ที่ จั ด อบรมนั ก เรี ย นกว่ า ๑๐๐ คน ก�ำลังรอท่านอยูท่ ศี่ าลาไม้หอ้ งเรียนอาคารไม้ใหญ่อยูไ่ ม่ไกล กันนัก

20 �������������.indd 120

11/28/16 11:00 AM


121

ภายหลังจากทีเ่ รากินอาหารกลางวัน เสร็จ เราสองคนก็เดินตามไปสังเกตการณ์ เสียงเด็กๆ ก�ำลังสนุกสนานกับการเล่นเกม นันทนาการ ยกมือตามจังหวะกับการเรียน รู้ในข้อความที่ว่า “สะอาด สว่าง สงบ” ไม่นานนักก็มีการแบ่งกลุ่มย่อย ท่านชวน เด็กๆ วาดรูป ระดมความคิดให้รู้จักหน้าที่ ความรับผิด และการดูแลจัดแจงห้องแต่ละ ห้องในชีวติ ประจ�ำวันของเด็กๆ ตัง้ แต่ตนื่ นอน เรานอนห้องนอน เราอยู่ในห้องครัว เราใช้ ห้องน�้ำ เราพักผ่อนห้องนั่งเล่น ฯลฯ ต้อง ดูแล ท�ำความสะอาดห้องต่างๆ ผ่านกิจวัตร ในชี วิ ต เรื่ อ งง่ า ยๆ ผ่ า นห้ อ งแต่ ล ะห้ อ ง กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ที่ท�ำให้เด็กเรียนรู้และ รู้จักอุปนิสัยของตัวเอง แล้วมายืนน�ำเสนอ ให้กลุ่มแต่ละกลุ่มฟัง

20 �������������.indd 121

เรานั่งสังเกตการณ์และสนุกไปกับ การฟังอย่างตั้งใจ เรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กๆ กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งภายใต้การโครงการ อบรมหลักสูตรอารยชน (คนดีศรีแผ่นดิน) หลักสูตร ๓ วัน ๒ คืน หนึ่งในการออกแบบ เพื่อการเรียนรู้สู่ชุมชนของวัดแห่งนี้ อีกทั้ง ยังเป็นโครงการทีไ่ ด้รบั แรงบันดาลใจมาจาก การสานต่อแนวความคิดของท่านเจ้าคุณ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) บ่ายสองโมง เป็นเวลาของเราสองคน ได้เข้าร่วมท�ำกิจกรรมกับเด็กๆ แต่ครั้งนี้ หลวงพีม่ หาสมัยให้เราสองคนร่วมออกแบบ กระบวนการเรี ย นรู ้ และมี บ ทบาทเป็ น วิทยากรกระบวนการให้แก่เด็กๆ

11/28/16 11:00 AM


122

การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม “วาดรูป สิ่ ง ของ หรื อ สิ่ ง ที่ สื่ อ ถึ ง ความภู มิ ใ จของ ตัวเรา” โจทย์การเรียนรู้ภายใต้หัวข้อ ทุน ของชีวิต มีการเปิดใจและใช้นันทนาการ เป็นตัวกระตุ้นการเรียนรู้ กับการเช็คอิน (check in - ส�ำรวจสภาวะภายใน) อารมณ์ และความรู้สึกในช่วงบ่าย เด็กๆ มีความ กล้ า แสดงออก กิ จ กรรมด�ำเนิ น ต่ อ ไปจน เวลาคื บ คลานเข้ า มาถึ ง สี่ โ มงครึ่ ง ความ สนุ ก สนานมาพร้ อ มกั บ ความสร้ า งสรรค์ ความประทั บ ใจจากรู ป วาดแทนตั ว เอง ไม่ว่าจะเป็นรูปตุ๊กตาหมี ฟุตบอล แผนที่ ประเทศไทย ภาพเล็กๆ ที่ขีดเขียนด้วยมือ พร้อมกับข้อความสั้นๆ ส่งผ่านให้ทุกๆ คน ได้รับฟัง ค�ำพูด รอยยิ้ม ความภูมิใจที่ได้ บอกเพื่ อ นๆ และบอกครู พ ลั ง ดี ๆ และ เติมเต็มความรู้สึกดีๆ ระหว่างกัน ทั้งผู้ให้ – ผู้รับ ในการเรียนรู้ เป็นการเพิ่มพูนพลังงาน ชีวิตให้หล่อเลี้ยง เวลาท�ำให้เรามาพบกัน คือพรที่ได้รับดั่งสายน�้ำเย็นไหลผ่านดวงใจ การเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นส่วนหนึง่ ของการเรียนรู้กับเด็กๆ ท�ำให้เราสองคน เริ่มเข้าใจหลวงพี่มหาสมัยมากขึ้น ทั้งในแง่ ความสนใจและความรู้สึกที่ได้รับจากการ ท�ำงานกั บ เด็ ก และเยาวชน วิ ธี ก ารที่ วั ด

20 �������������.indd 122

แห่งนี้สร้าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดฝึกอบรม งานจิตอาสา เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา คนให้เต็มคน สานสัมพันธ์ “วัด บ้าน โรงเรียน” มาถึงยังวัดป่าพระเจ้า พื้นที่บริเวณรอบๆ วัดหลวงพี่มหาสมัย ท่านพาเราสองคนเดิน สัมผัสและบอกเล่าเรือ่ งราวความเป็นมาสัน้ ๆ ภายในวัด ศาลากิจกรรม และสวนสมุนไพร รอบๆ เช่น ไม้ประดู่ แสงจันทน์ ถัดมาเป็น ล�ำคลอง มีถนนตัดระหว่า งวัดและคลอง โรงทาน และซุ้มเรือนเล็กๆ นวดแผนไทย ตรงข้ามกับกุฏิของท่าน

11/28/16 11:00 AM


123

บริเวณด้านหน้ากุฏิหรือเป็นห้องรับรองแขก ภายในห้องโถง ปูพื้นกระเบื้อง โซฟา ชั้นวางแฟ้ม คอมพิวเตอร์ ข้าวเครื่องใช้บางอย่าง มีพร้อมครบครัน ท่านก�ำลังจัดแจงเตรียมตัวส�ำหรับการสัมภาษณ์ พูดคุย ส่วนพี่อีกคนก�ำลังจัดเตรียมกล้อง เครื่องอัดเสียง ขะมักเขม้น ส�ำหรับเราแล้ว เริ่มต้นด้วยการนั่งนิ่งๆ ที่ชิงช้าไม้ ช�ำแลตาไปเห็นป้าย บนชิงช้าไม้ปรากฏข้อความว่า “รัตนโมเดล” แม้เรารู้มาเบื้องต้นแล้วว่า ที่วัดแห่งนี้และการท�ำงานพัฒนาชุมชนที่นี่มีความโดดเด่นในชื่อว่า “โครงการรัตนโมเดล” แต่ภาพการรับรู้นั้นก็ยังไม่เด่นชัดเพียงพอจะ ตอบค�ำถามของใครหลายๆ คนว่า โครงการมีความหมายอย่างไร และ งานพัฒนาชุมชน แหล่งเรียนรู้ อะไรบ้างที่เราจะเก็บเกี่ยวเรียนรู้และ พัฒนา เราตั้งค�ำถามและความสนใจเพื่อหาค�ำตอบจากท่านเพิ่มเติม ภายหลังจากนี้ ส�ำหรั บ เปิ ด วงการสนทนาพู ด คุ ย ถึ ง โครงการฯ และ ความเป็นมาของการริเริ่มสร้างสรรค์งานสานสัมพันธ์ บ้าน วัด ชุมชน จับมือ ร่วมงานกัน และความรูเ้ กีย่ วกับเรือ่ ง “รัตนโมเดล” และเท่าที่รู้จัก สัมผัสกับท่านผ่านมาสองวัน เรารับรู้และรู้สึกว่า ท่านเป็นพระนักพัฒนาที่ท�ำให้เรารู้ว่า การให้นั้นส�ำคัญในการ ปฏิบัติการเพื่อชุมชนเป็นอย่างมาก การให้เป็นที่มาของจุด เริ่มต้นความรู้สึกดีๆ ของกันและกัน การให้เป็นส่วนหนึ่งของ การเรียนรู้และความใส่ใจ ท�ำให้ลบเส้นกั้นพรมแดนระหว่าง ตัวเราและเปิดโลกแห่งการเรียนรู้ง่ายขึ้น หรือนี่อาจเป็น “การเปิดบ้านจิต” ที่ท่านพยายามสื่อสารให้เรารับรู้ สัมผัส ก็เป็นได้

20 �������������.indd 123

11/28/16 11:01 AM


124

“การให้” ย้อนกลับมาไม่รู้จบ

“รัตนโมเดล” โครงการพัฒนาแหล่ง เรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา ๕ ปีของที่นี่ หลั ก ประการส�ำคั ญ สามประการมี อ ยู ่ ว ่ า หนึ่ ง การเน้ น พั ฒ นาคน หลวงพี่ บ อกว่ า “การพัฒนาคนเราจะเอาตัวเองเป็นหลัก ไม่ได้เลยน้อมไปที่หลักพระรัตนตรัย ค�ำว่า รัตนโมเดลคือ เราพยายามให้คนมาท�ำงาน อย่ายึดมาที่ตัวเรา ให้คุณพยายามพัฒนา ตั ว เองให้ มี ค วามสามารถเหมื อ นกั บ เรา พระพุทธเจ้าตอนที่ท่านจะสอนคนอื่น ท่าน ไม่ได้เอาเรื่องวิชาการอะไร ก่อนอื่นท่าน บอกว่าตัวเองต้องตรัสรู้ก่อน ถ้าตัวเองไม่ได้ ไปตรัสรู้ก็ไม่ไปสอนใคร อาตมาจึงบอกโยม ว่า เราต้องสามัคคีกันก่อนเบื้องต้น พัฒนา ตั ว เองก่ อ นที่ จ ะพั ฒ นา อาตมาก็ พั ฒ นา

20 �������������.indd 124

คุณครูก็พัฒนา เด็กก็พัฒนา พัฒนาตัวเอง ตามหลักพุทธะ” สองคือ ธรรมะคือความรู้ ความรู้ให้ถูกต้องด้วย รูปแบบของความ ร่วมมือ โรงเรียน วัด เทศบาล จะต้องมีตัว ความรู้และมาเชื่อมโยง การวางตัว ความ เข้าใจ ต่างคนต่างศึกษาให้มีความรู้แล้วน�ำ มาแลกเปลี่ยนกัน และสามคือ สังฆะคือ ท�ำงานให้เป็นทีม ด้วยความสามัคคี หาก แม้ว่าจะมีกิจวัตรประจ�ำวันที่เหมือนและ ไม่ เ หมื อ นกั น ก็ ต าม แต่ ห น้ า ที่ กั บ ความ รับผิดชอบนัน้ ส�ำคัญ การประชุม หารือ การ พูดคุย การรับรู้ และเข้าใจ ต้องมาพร้อม การเคารพระหว่ า งกั น รู ้ น โยบาย รู ้ แ ละ เข้าใจกัน

11/28/16 11:01 AM


125

รัตนโมเดล แนวความคิดสู่รูปธรรม งาน งานพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดดเด่นขึ้นมา ของวั ด แห่ ง นี้ คื อ งานจิ ต อาสา และ แนวทางนี้ จ ะมุ ่ ง สู ่ ก ารสร้ า งคนแบบเน้ น การช่วยเหลือ สงเคราะห์ระหว่างกัน บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน ภายใต้การสร้างงาน โครงการของหลวงพี่ พร้อมกับการลงแรง อย่างแข็งขันในหลายๆ งานที่เรารับรู้ผ่าน การพูดคุยนั้น เช่น งานฝึกอบรมเด็กและ เยาวชน งานตั ด หญ้ า ช่ ว ยในโรงเรี ย น ช่วยลงแรงขุดถนน งานแนะแนวและให้ ค�ำปรึกษา จิตอาสาส�ำหรับเด็กด้วยการ พาเก็ บ ขยะให้ ชุ ม ชน ท� ำ ความสะอาด เป็นต้น เป็นงานร่วมแรงและอาสาเข้าไป ท�ำร่วมกับชุมชน มาถึงจุดนี้ เท่าที่เราฟัง ช่ ว ยให้ ภ าพการเชื่ อ มโยงเครื อ ข่ า ยพื้ น ที่ ระหว่างวัดเป็นสหายกับโรงเรียน วัดเป็น ญาติฉันท์มิตรกับชุมชน มาทีน่ ี่ หากเราร่วมท�ำกิจกรรมอาสา กับจิตอาสาของหลวงพี่แล้ว รับรองว่าเรา จะรับรู้พลังการให้นั้นย้อนกลับมาหาเรา แบบไม่มีที่สิ้นสุด เราจะได้เรียนรู้อะไรเพื่อ การเติบโตของเราหนึ่งวัน หนึ่งชั่วโมงหรือ เพียงแค่หนึ่งนาที หลังจากการได้ส่งผ่าน ความรู้สึกดีๆ นั้น ก็เกิดความเบิกบานใจ และความสุขได้จากดวงใจแห่งการให้

20 �������������.indd 125

ภายใต้ตะวัน-พระจันทร์ดวงเดียวกัน โอกาสและความไว้วางใจที่ท�ำให้เราสองคน ก้าวเข้ามาสัมพันธ์เรียนรูก้ บั หลวงพีม่ หาสมัย ปั จ จุ บั น ที่ วั ด แห่ ง นี้ มี ก ารสร้ า งเด็ ก และ เยาวชนด้วยการฝึกอบรม โครงการบรรพชา สามเณรภาคฤดูร้อน การฝึกเข้มงวดเรื่อง ของวิ นั ย ให้ แ ก่ ส ามเณร กั บ การท�ำความ สะอาดวัด เป็นรูปธรรมงานที่เด่นชัด หาก เราย้อนกลับไปฟังเรื่องราวชีวิตการท�ำงาน

11/28/16 11:01 AM


126

ของท่าน แรงบันดาลใจ ที่ได้รับจากหลวงพ่อวัดพยัคฆาราม (พระครูโสภณ สิทธิการ) นั้น ช่วยสร้างสรรค์งานจิตอาสาให้ชุมชนตลอดมา ภารกิจ “การให้” ท�ำให้เราได้เรียนรู้ถึงความมุ่งมานะ ความพยายาม เรียนรู้ ฝึกฝนอย่างมิหยุดหย่อน ทั้งในส่วนของความสนใจในการพัฒนาเด็ก และเยาวชน จนจับประเด็นความส�ำคัญของการเรียนรู้กับพัฒนาการ จิตวิทยา เด็กว่า “พลังการเรียนรู้ของเด็กนั้นจะเคลื่อนไปอย่างไม่หยุด หากเราสอน อย่างเดียวคงไม่พอ ต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรมกับการเรียนรู้ มีกลยุทธ์ใน การประยุกต์อิริยาบถมาเป็นแนวทางการเคลื่อนไหวให้สัมพันธ์กับเด็ก” เป็น อีกด้านที่ท่านได้เกิดการเรียนรู้ของท่านที่มาพร้อมกับการฝึกกรรมฐาน (หรือ การฝึกภาวนา) “ความอดทน” หนึง่ ในต้นทุนทีท่ �ำให้เรารูว้ า่ ท่านมีความเพียรและเคียงคู่ กับงานมาก ท่านบอกเราว่า “เราต้องฝึกตัวเองด้วยว่า ต้องอดทน ท�ำงาน ๘ ชั่วโมงไม่ได้ ต้อง ๑๐ ชั่วโมง ๑๒ ชั่วโมง ท�ำอย่างไรให้ได้ท�ำงาน ๑๒ ชั่วโมง ต่อวัน เราอยู่ง่ายๆ ธรรมดา ฉันข้าวมื้อเดียว เดือนหนึ่งเดือนเจอนมกล่องครั้ง สองครั้ง นอกนั้นฉันใบเตย สมุนไพร” แล้ว ๑๐ ชั่วโมง ๑๒ ชั่วโมง หรือ ๑ ชั่วโมงของเราก�ำลังท�ำอะไรอยู่ ค�ำถามที่ไม่ต้องตอบให้ใครฟัง แต่ได้ยินด้วย เสียงค�ำตอบของตัวเรา คงไม่มีการงานใดๆ ที่ไม่ติดขัด ส�ำหรับหลวงพี่แล้ว การเดินพลังต่อมีอีก สิ่งหนึ่งที่เป็นพลังในการขับเคลื่อน ก็คือการให้ในรูปของ “น�้ำใจ” “การเอาใจใส่” และ “การมีส่วนร่วม” เป็นต้นทุนส�ำคัญที่ช่วยพัฒนาตนมาสู่งานด้วยความรัก อย่างมีคุณค่า สมกับการเป็น ต้ น แบบของการเรี ย นรู ้ แ บบ ไม่สุดสิ้น

20 �������������.indd 126

11/28/16 11:01 AM


127

๕ ทุ่มถึงเที่ยงคืน แสงไฟจ้าในห้องพระ ทุกๆ วัน ท่านเล่าให้เราฟังว่า ท่านให้เวลาเดินทางไปพร้อมกับการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับ พุทธสาวกของพระพุทธเจ้าแต่ละรูปประมาณ ๔๐ รูป พุทธสาวกที่ท่านชอบ เป็นพิเศษคือ พระมหากัสสปะ แล้วน�ำมาถ่ายทอดเป็นนิทานเล่าเทศนาธรรม สู่ประชาชน และเป็นนักเทศน์ ช่วงชีวิตกับครอบครัว ต้นแบบการเรียนรู้ของหลวงพี่กับคุณค่าและ ความหมายมาจากพ่อ ผู้ที่รักความสะอาดและความกตัญญูกตเวที ที่ส่งผลให้ ท่านก้าวหน้า มีฉันทะ-วิริยะ เป็นพลังจากต้นทุนของครอบครัว มาจนถึงทุน ที่ท่านสร้างในวันนี้ มาถึงตรงนี้ เป็นช่วงเวลาของการสิ้นสุด จบการ เดินทางแล้ว แต่ยังไม่สิ้นสุดของค�ำว่า “การให้” ที่ยัง ปกคลุมทุกอณูในบ้านของศูนย์รวมจิตอาสาแต่ละหลัง โลกแห่งการเรียนรู้ของเรากับวัดแห่งนี้และกับหลวงพี่ ยังคงหมุนต่อด้วยจากการส่งต่อให้กัน ความศรัทธา จากงานที่ท่านท�ำให้แก่ชุมชน มาพร้อมกับการเรียนรู้ ในแบบใช้ชอ่ งทางของ “สือ่ ” เป็นเส้นทางของการสือ่ สาร เฟซบุ๊ก ไลน์ หรืออื่นๆ อันเป็นเครือข่าย เป็นเครื่องมือ โยงใยเชื่อมประสานให้โลกกิจกรรมเข้ามาใกล้ๆ กัน โลกแห่งการเรียนรู้ หลักสูตร มากมายที่สร้าง การเรียนรู้จากวัดสู่โรงเรียน ชุมชน คงมิส�ำคัญมากไปกว่า การเรียนรู้จากตัวเรา หากพลังแห่งการให้เข้ามากระทบ ผ่านมาถึงยังประตู บ้านเรา แล้ววันนั้นหรือวันนี้เราพร้อมเปิดประตูบ้าน ส�ำรวจตรวจสอบความ สะอาดภายในห้องไปพร้อมกับหลวงพ่อ สิ่งนี้อาจเป็นความพิเศษที่หลั่งไหล เข้ามาอย่างพรั่งพรูและน่าอัศจรรย์ใจ เหมือนที่เราสองคนได้รับในวัดแห่งนี้ ณ ใต้ท้องฟ้า ถิ่นปลายนา เมืองสุพรรณ

20 �������������.indd 127

11/28/16 11:01 AM


20 �������������.indd 128

11/28/16 11:01 AM


พรชัย บริบูรณ์ตระกูล

“เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์” วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.ตราด พระอาจารย์สุบิน ปณีโต ประธานที่ปรึกษา ศูนย์การเรียนรู้เครือข่ายกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ รองเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม “โลกทั้งผองพี่น้องกัน” วาทะของมหาตมะ คานธี มหาบุรุษผู้ ประสานใจคนอินเดียหลายร้อยล้านให้กลับมาหลอมรวมเป็นพลังสร้าง การเปลี่ยนแปลง เป็นการ “สานสายใย” ที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่คงมีอยู่ ให้เรารู้พึ่งพิงและแบ่งปัน สวนทางกับโลกที่ก�ำลังหมุนไปด้วยพลังแห่ง เงินตรา ตีมูลค่าให้ราคากับทุกๆ สิ่ง แยกให้เราเหินห่างและตัดขาดกับ สรรพสิ่ง คนในชุมชนก็เลยแตกกันจากการเงิน พาให้ชุมชนอ่อนแอลง และเป็นหนี้สิน ในขณะที่พระอาจารย์สุบิน ปณีโต ได้มองเห็นว่า สังคม ก�ำลังถูกผ่าตัดด้วยทางการเงิน จึงคิดสร้างวิธีการกลับมาสู่ความเป็นพี่ เป็นน้องที่พึ่งพิงกัน ด้วยการเอา “เงินผสมกับธรรมะ” ท่านเปรียบเหมือน กับปูน หิน ทราย ซึ่งเป็นของแห้งๆ จะติดกันได้ก็ต้องอาศัยน�้ำ เมื่อน�้ำไป ผสมก็เกิดการเชื่อมกัน โดยการจัดตั้ง “เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์ เพื่อ พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต” จ.ตราด เป็นกระบวนการฟื้นการพึ่งพา

20 �������������.indd 129

11/28/16 11:01 AM


130

อาศั ย กั น ของชุ ม ชน สร้ า งให้ เ กิ ด ความมี คุณธรรมและแบ่งปันด้วยสวัสดิการที่ดูแล ตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ และตาย

ล้อมวงแบ่งปัน พี่ อ าคม อาสาสมั ค รกลุ ่ ม สั จ จะฯ มารับเราสองคนยังทีพ่ กั ในตัวเมืองตราด มุง่ หน้ า เดิ น ทางไปดู ก ารประชุ ม กลุ ่ ม สั จ จะ สะสมทรัพย์ฯ ที่วัดคลองขวาง ต.ท่ากุ่ม ซึ่ง ห่างไปจากตัวเมืองตราด ประมาณ ๑๐ กิโล ที่นี่เป็นหนึ่งในเครือข่ายสัจจะฯ ในจ�ำนวน ๑๖๓ กลุ ่ ม วั น นี้ มี ก ารประชุ ม สรุ ป งาน ประจ�ำปี และได้นิมนต์พระอาจารย์สุบิน ปณีโต มาร่วมพูดคุยและให้ก�ำลังใจแก่สมาชิก “การซื้ อ เป็ น การปั น กั น ” เรา กวาดสายตามองดูบรรยากาศโดยรอบใน ศาลาวัดที่ใช้เป็นสถานที่ประชุม ได้ฟังเสียง พูดคุยของกลุ่มชาวบ้านที่นั่งอยู่ราว ๔๐ คน เป็นช่วงขณะที่รอพระอาจารย์สุบิน เดินทาง

20 �������������.indd 130

มาถึง มุมด้านหนึ่งเป็นคณะกรรมการที่นั่ง ล้อมวงเตรียมเอกสารสรุปบัญชีที่มีอยู่ ๔-๕ เล่ม ส�ำหรับให้พระอาจารย์สบุ นิ ช่วยตรวจทาน ก่อนน�ำเสนอ อีกมุมหนึ่ง ชาวบ้านก�ำลัง ช่วยกันจัดเรียงข้าวของ มีน�้ำปลา น�้ำตาล ข้าวสาร ฯลฯ เป็นร้านค้าเคลื่อนที่เร็วของ กลุ่ม ที่พร้อมเปิดขายให้เพื่อนสมาชิกถึงที่ ในราคาประหยัด ในนั้นเราเห็นถุงข้าวสาร ทีพ่ มิ พ์ตรายีห่ อ้ ว่า “สัจจะสะสมทรัพย์” และ ข้ อ ความที่ ว ่ า “ข้ า วสารคั ด พิ เ ศษอย่ า งดี หอม สะอาด อร่อย” ส่วนข้างถุงสองด้านมี ข้อความ “เมตตาธรรม ค�้ำจุนโลก” กับ “อิม่ ท้อง อิม่ บุญ อิม่ ใจ” ข้าวสารนีเ้ ป็นสินค้า หลักบางรายการที่ทางเครือข่ายได้ผลิตขาย โดยตรง ซึง่ นอกจากจะซือ้ ได้ในราคาประหยัด และมีคุณภาพแล้ว ก�ำไรยังเป็นการ “ปัน” กลับเข้าสู่กลุ่มสัจจะฯ ส�ำหรับเป็นทุนใน การด�ำเนินงาน และทุนสวัสดิการอีกด้วย ไม่นานจากนั้น เราเริ่มขยับตัวเข้าไป นัง่ อยูใ่ กล้ๆ กับโต๊ะท�ำงานของคณะกรรมการ ที่ก�ำลังขีดๆ เขียนๆ กดเครื่องคิดเลข ตรวจ ดูสมุดบัญชี พอเราสบโอกาสก็ชวนบางคน เริ่ ม คุ ย เริ่ ม ถามเรื่ อ งราวของกลุ ่ ม แรกๆ เราก็เกรงใจอยู่บ้าง แต่พอเริ่มเปิดค�ำถาม นิ ด หน่ อ ย ทุ ก ๆ คนก็ ส นุ ก เล่ า สนุ ก ตอบ ช่วยให้เราได้รู้เรื่องราวของกลุ่มว่า กลุ่มฯ เริ่มตั้งขึ้นปี ๒๕๓๘ ในช่วงที่รุ่งเรืองมากๆ มีเงินเข้ากลุ่มเดือนละกว่า ๘-๙ แสนบาท

11/28/16 11:01 AM


131

ตอนนั้ น มี เ งิ น รวม ๑๓-๑๔ ล้ า น คณะ เงินของกลุ่มเอง เริ่มจากจ�ำนวนน้อยโดย กรรมการมาร่วมกันท�ำงานหามรุ่งหามค�่ำ ยังไม่รับคนนอกชุมชน ดังนั้น กลุ่มสัจจะ สะสมทรัพย์ จึงใช้วิธีการ “น�ำร่อง” เน้นที่ สมาชิกครึกครื้นรวมกว่า ๗๐๐ คน “จุดเริ่มต้น คนกลุ่มเล็กๆ” พ่อจเร คนสนใจจริ ง ๆ ก่ อ น แล้ ว ท�ำให้ ช าวบ้ า น โถรัถ หนึ่งในกรรมการชุดก่อตั้ง เล่าด้วย คนอื่นๆ เห็น สร้างวัฒนธรรมของกลุ่มขึ้นมา เสี ย งที่ บ อกถึ ง ความภาคภู มิ ใ จกั บ เราว่ า จากนั้น เมื่อเปิดรับรุ่นต่อมา สมาชิกก็ต้อง วันแรกที่ตั้งกลุ่มกัน พ่อจเรก็อยู่ด้วย ตอนนั้น เดินตามแนวทางที่รุ่นแรกได้สร้างเอาไว้ พระอาจารย์สุบินมาเริ่มต้นก็ยังไม่ได้เข้าใจ อะไรมาก ได้เงินก้อนแรก ๕ พันบาทกว่า ท่านก็บอกให้กรรมการช่วยกันกู้วันนั้นเลย ก็คิดว่าไม่ได้ขัดสนอะไรจะกู้ไปท�ำไม ท่านก็ แนะน�ำว่า ถ้าโยมไม่ลองกู้กัน จะรู้วิธีท�ำงาน ได้อย่างไร

กระบวนการตัง้ กลุม่ สัจจะฯ ทีเ่ ริม่ จาก จุดเล็กๆ เช่นนี้ เป็นวิธีการที่พระอาจารย์ สุบินได้ใช้ตั้งกลุ่มสัจจะฯ ตั้งแต่เริ่มต้น โดย อาศัยช่วงเวลาเข้าพรรษา และวันส�ำคัญ เช่น วันแม่ โดยใช้ช่วงวันพระที่มีชาวบ้าน มาท�ำบุญที่วัดเป็นจ�ำนวนมาก หลังจากที่ ถวายอาหารเช้า และพระสงฆ์ก�ำลังฉันอยู่ ท่านก็จะขออนุญาตเจ้าอาวาสพูดถึงเรื่อง กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ พูดจบก็ชวนชาวบ้าน ที่ เ ห็ น ประโยชน์ ตั้ ง กลุ ่ ม ขึ้ น ทั น ที ตั้ ง กฎ ระเบียบตามกฎที่มีร่างไว้ จากนั้น ก็กล่าว ค�ำปฏิญาณตน ซึ่งเป็นการใช้คติความเชื่อ ของชาวบ้านในเรื่องบาปบุญคุณโทษ แล้วก็ น�ำเงินที่มีการออมไว้ในวันแรกนั้น ปล่อยกู้ ให้หมดไม่ต้องเก็บไว้ เป็นการเริ่มต้นจาก

20 �������������.indd 131

“สะสมเงิน ช่วยเหลือกัน เป็นบุญ” พ่อจเรเล่าต่อว่า ได้เริ่มฝากทีแรกไม่ได้มาก อะไร เดือนละ ๕๐ บาท บอกว่าถือเป็น การให้ลูกให้หลาน พอรายได้เพิ่มมากขึ้นก็ ฝากเพิ่มเป็นเดือนละ ๑๐๐ ตอนนั้นไม่ได้ คิ ด ใส่ ใ จอะไรในตั ว เลข แต่ พ อตอนหลั ง ได้มาเห็นตัวเลขเงินอีกที “อุ๊ย!” เสียงของ พ่อดังขึน้ “ครอบครัวเรามีเงินตัง้ แสน” เป็น เหมื อ นความดี ใ จที่ ผุ ด ขึ้ น จากความไม่ ไ ด้ คาดหวั ง เอาไว้ ที่ เ ห็ น เงิ น ก้ อ นเล็ ก ได้ ถู ก เก็บเล็กผสมน้อยจนกลายเป็นเงินก้อนโต และที่ส�ำคัญ ขณะที่ได้น�ำเงินมาสะสมร่วม กันอยู่นั้น ได้ถูกน�ำไปใช้เพื่อให้สมาชิกที่ เดือดร้อนได้กู้น�ำไปใช้แก้ทุกข์หรือปัญหา ทางการเงิน

พระอาจารย์ สุ บิ น ได้ เ น้ น ว่ า กลุ ่ ม สัจจะฯ ได้ใช้ธรรมะน�ำเงิน โดยชี้ให้เห็นว่า “การท�ำบุญ” นั้น สามารถท�ำได้โดยการน�ำ เงินมาฝากรวมกัน แล้วให้คนกู้ คนมากู้เงิน ที่เราฝากกันไว้ ไปช่วยเรื่องเจ็บป่วย เรื่อง การศึกษา เรื่องหนี้สิน หรือไปลงทุน ก็เป็น

11/28/16 11:01 AM


132

การสงเคราะห์เขา เป็นการสร้างประโยชน์ ร่วมที่ให้ความรู้สึกว่า “ช่วยเหลือกัน” และ “ช่วยผ่อนคลายความทุกข์ยาก” เพราะการ ที่คนตกทุกข์ เผชิญกับปัญหา เขาต้องการ ที่ พึ่ ง ซึ่ ง เมื่ อ เราสามารถให้ เ ขาพึ่ ง ได้ จึ ง เรียกว่า “ได้บุญ”

มี ก ารก�ำหนดอั ต ราจ�ำนวนเงิ น ที่ แ ตกต่ า ง กันไป “ฝ่ า อุ ป สรรค หล่ อ หลอมความ เข้มแข็ง” การด�ำเนินงานของกลุ่มสัจจะฯ แห่งนี้ที่ดูมีความมั่นคงเข้มแข็ง เพราะได้ เคยผ่านเหตุการณ์ที่กลุ่มแทบล้มลงเมื่อช่วง ปี ๒๕๕๔ โดยคณะกรรมการบางคนใน ช่วงนั้น ได้ร่วมกันโกงเงินไปกว่า ๖ ล้าน โชคยังดีที่พลังสายใยหลอมรวมเพื่อชุมชน ยังคงยึดเหนี่ยวกันไว้ได้ โดยมีพระอาจารย์ สุบินเข้ามาให้ก�ำลังใจและแนวทางในการ ฟื้นฟูกลุ่มกับคณะกรรมการที่ยังคงเหลือ ให้ยนื หยัดช่วยกันประคับประคองรวมตัวกัน อย่าทิ้งกลุ่ม ท�ำให้สมาชิกที่ยังรวมกันอยู่ต่อ ๑๓๓ คนร่วมกันฝ่าฟัน คงสะสมเงินทีละเล็ก ทีละน้อย และติดตามเงินที่ถูกโกงไปกลับมา ใช้หนี้สมาชิกที่ถอนหุ้นออกไปได้จนครบ จนตอนนี้กลุ่มกลับมามีเงินเงินหมุนเวียน ๙.๔ ล้านบาท

“กองทุนสวัสดิการ ในครรภ์มารดา ถึ ง เชิ ง ตะกอน” พี่ อ บเชย แสงศั ก ดิ์ ด า กรรมการอีกคนเล่าให้เราฟังถึงการท�ำงาน กลุ่มสัจจะฯ ได้มีการปันรายได้ส่วนหนึ่งใน ทุกๆ ปีเข้ามาจัดตัง้ เป็น “กองทุนสวัสดิการ” ซึง่ ทางกลุม่ ได้ใช้เป็นกองทุนในการช่วยเหลือ สมาชิ ก เมื่ อ ยามเจ็ บ ป่ ว ยหรื อ เดื อ ดร้ อ น เช่น บ้านไปติดจ�ำนอง โดยที่ผ่านมาช่วย ถ่ายถอนบ้านติดจ�ำนองไปสองหลัง เพราะ บ้านที่ติดจ�ำนองเสียดอกเบี้ยแพงมาก มีแต่ เสียดอกเบี้ยทุกเดือนๆ เงินต้นไม่ได้ผ่อนจน บ้านใกล้จะถูกยึด เจ้าของบ้านก็วิ่งมาหา กลุ่มฯ จึงได้พิจารณาเงินกู้ เอาเงินที่ต้องไป จ่ า ยค่ า ดอกแพงๆ มาผ่ อ นที่ ก ลุ ่ ม สั จ จะฯ พี่ อ บเชยพู ด ปิ ด ท้ า ยด้ ว ยรอยยิ้ ม ที่ แทน ท�ำให้มีโอกาสได้ผ่อนเงินกู้บ้านจนครบ เต็มเปี่ยม ถึงประสบการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “ดีใจ กองทุนสวัสดิการที่จัดตั้งขึ้นนี้ เป็น ทีย่ งั ได้คงความเป็นกลุม่ และได้ชว่ ยชาวบ้าน เงินที่ได้มาจากการปันผลก�ำไรจากการกู้ยืม ที่ มี เ งิ น อยู ่ ใ นกลุ ่ ม ไม่ ใ ห้ สู ญ หายไป เรามี แบ่ ง ออกเป็ น สองส่ ว นเท่ า กั น ส่ ว นหนึ่ ง ความภูมิใจในความสามารถ ถึงเราจะจบต�่ำ ปั น ผลคื น อี ก ส่ ว นหนึ่ ง จั ด เป็ น กองทุ น ความรู้ไม่สูง เรายังสามารถช่วยให้ชาวบ้าน สวัสดิการที่ครอบคลุมตั้งแต่ เกิด แก่ เจ็บ มี เ งิ น กองนี้ อ ยู ่ เมื่ อ ชาวบ้ า นเดื อ ดร้ อ น ตาย หรือที่พระอาจารย์สุบินเรียกว่า “ใน ก็ยังมีที่พ่ึง ตรงนี้เป็นที่พึ่งของชาวบ้านได้ดี ครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน” ซึ่งแต่ละกลุ่ม เลยนะ มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือคนตรงนี้”

20 �������������.indd 132

11/28/16 11:01 AM


133

และบอกเล่าถึงความรูส้ กึ ทีม่ ตี อ่ พระอาจารย์ สุบินด้วยความปลาบปลื้มและมีความสุขว่า “วั น นี้ ภู มิ ใ จมากเมื่ อ นึ ก ถึ ง พระอาจารย์ ท่านให้แนวคิดเราดีมาก เพราะถ้าเราไม่มี พระอาจารย์ เราไม่สามารถมาถึงจุดนี้ได้ เลย แม้จะล้มไปแล้ว เรายังพยุงขึ้นมาได้ อีก เรานับถือพระอาจารย์มากเลย” จบการพู ด คุ ย กั บ คณะกรรมการ พระอาจารย์ สุ บิ น ก็ เ ดิ น ทางมาถึ ง ค่ อ ยๆ ก้ า วด้ ว ยท่ า ที ส งบ ยิ้ ม ใส่ ใ จทั ก ทายกั บ ทุกๆ คนที่ท่านเดินผ่าน รวมถึงเราสองคน โดยท่านถามไถ่เล็กๆ ว่าได้พูดคุยกับใคร ไปถึงไหนแล้ว จากนั้น ก็เดินไปนั่งยังโต๊ะนั่ง ทีจ่ ดั ไว้ดา้ นหน้าของศาลา และคณะกรรมการ สองสามคน ก็เริ่มทยอยหยิบแฟ้มเข้าไป ปรึกษาหารือกับท่านอยู่เป็นเวลานาน ก่อน จะเริ่มการประชุม เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ชาวบ้านเริ่ม ทยอยเข้ามาล้อมวงฟังตัวแทนคณะกรรมการ ขึ้ น ชี้ แ จงผลการด�ำเนิ น งานในรอบ ๑ ปี เราเห็ น ความเป็ น ผู ้ น�ำในการอธิ บ ายที่ มี อย่างฉะฉานทุกรายการและทุกตัวเลข ดู คล่องแคล่วเป็นนักบริหารจัดการที่ช�ำนาญ โดยมีรายการฝั่งรายรับ ที่เป็น รับเงินออม เงิ น กู ้ ส ่ ง คื น ค่ า บ�ำรุ ง รั บ วั น ละบาท รั บ ค่าประกัน และฝั่งรายการที่เป็นรายจ่าย ที่ เ ป็ น จ่ า ยเงิ น ปั น ผล จ่ า ยค่ า สวั ส ดิ ก าร เจ็บป่วย ท�ำศพ ค่าอุปกรณ์ ค่าน�้ำมัน ค่า

20 �������������.indd 133

ตอบแทนกรรมการฯ และสรุปด้วยรายรับ หักลบรายจ่ายเป็นเงินคงเหลือทีเ่ กิดขึน้ ของปี จบการรายงานผลก็เปิดโอกาสให้สมาชิก ซักถามในข้อที่ไม่เข้าใจหรือสงสัย “วงสนทนาผสมธรรมะกับเงินตรา” เสร็จจากนัน้ ชาวบ้านได้ขยับมาล้อมวงรอบ พระอาจารย์สุบิน โดยท่านเริ่มพูดคุยจาก เรื่องผลการด�ำเนินงานเป็นการชวนกันคิด ชวนกั น ตอบ เช่ น ในขณะที่ เ งิ น กลุ ่ ม ยั ง มีเหลือติดบัญชี ถ้าจะปรับให้สมาชิกเพิ่ม วงเงินกู้ได้มากขึ้น ควรพิจารณาถึงความ เป็ น คนดี โดยไม่ ขี้ เ หล้ า เมายา ไม่ เ ล่ น การพนัน และเป็นคนท�ำมาหากิน พวกเรา เห็นเป็นอย่างไร ในกลุ่มก็จะรวมกันออก ความเห็น จากนั้น ก็มาสู่การทบทวนถึง ข้ อ ตกลงหลั ก เกณฑ์ ส วั ส ดิ ก าร เช่ น การ จ่ายค่าตอบแทนยามเจ็บป่วย ยามเสียชีวิต จนจบรายการ

11/28/16 11:01 AM


134

สุดท้ายเป็นการพิจารณาเรื่องผู้ขอ กู้เงินก้อนใหญ่ ซึ่งในวันนั้นมีสองกรณี โดย หลั ง จากอธิ บ ายถึ ง เหตุ ผ ลของการกู ้ แ ล้ ว สิง่ แรกทีพ่ ระอาจารย์สบุ นิ ชวนกลุม่ พิจารณา คือ ผู้กู้เป็นคนที่เสียสละช่วยเหลืองานกลุ่ม ไหม เป็ น คนขยั น ตั้ ง ใจท�ำมาหากิ น ไหม เป็นคนไม่กินขี้เหล้าเมายาไหม ถ้าในกลุ่ม ส่วนใหญ่ยืนยันว่าใช่ พระอาจารย์ก็จะถาม ต่อว่า ดังนั้น สมควรให้กู้หรือไม่ ถ้าในกลุ่ม ก็ร่วมกันยกมือเห็นด้วยว่าควรให้กู้ ก็ถือ เป็ น การตั ด สิ น สรุ ป ร่ ว มกั น และจั ด ท�ำ รายละเอียดการให้กู้ตามความเหมาะสม “สัจจะสะสมทรัพย์ พัฒนาคุณธรรม ครบวงจรชีวิต” ถือเป็นค�ำที่เป็นชื่อกลุ่ม และเป็ น ค�ำที่ แ ทนความหมายตลอด กระบวนการของวันนี้ที่เราได้มาเข้าร่วมกับ กลุ่ม ภาพบรรยากาศของการใส่ใจฟัง ร่วม กันคิด ร่วมกันตัดสินใจ ช่วยให้เราได้ซึมซับ พลั ง ความเป็ น กลุ ่ ม ที่ อ บอุ ่ น รั บ รู ้ ถึ ง พลั ง ปัญญาร่วมกัน ได้ท�ำให้เราขยับเข้าไปใกล้ กับความเข้าใจความหมายที่พระอาจารย์ สุบินบอกไว้ว่า “สัจจะ” เป็นประสบการณ์ ความจริงที่ “ใจ” ที่แต่ละคนได้เข้าถึง อาจ จะเป็นช่วงเวลาของการได้เป็นผู้ให้ หรือ การได้เป็นผู้รับ ส่วนค�ำว่า “สะสม” ได้เป็น กระบวนการที่สอดแทรกความเป็นธรรมะ ให้เกิดความอดทน เพียรพยายาม ฝึกฝน ฯลฯ และสุดท้ายค�ำว่า “ทรัพย์” นั้น ซึ่งมี

20 �������������.indd 134

รากศัพท์มาจากภาษาบาลี มีความหมาย ว่า “เครื่องปลื้มใจ” การสะสมทรัพย์นั้น จึง มิใช่การสะสม “เงิน” แต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสะสมความภาคภูมิใจ สะสม บุญ สะสมความดีงาม เป็นต้น เรียกว่าเป็น การ “พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต” ที่ มุ่งเป้าหมายการพัฒนาคุณธรรมเป็นหลัก โดยมี “เงิน” เป็นเครื่องมือ จึงเป็นคุณธรรม ที่กินได้ เรากลับมายังทีพ่ กั ก่อนจะเดินทางไป วัดไผ่ล้อมเพื่อสัมภาษณ์พระอาจารย์สุบิน ในช่วงค�่ำ ระหว่างนั่งรถและช่วงที่อยู่ด้วยกัน พี่อาคมมักชวนพูดคุยด้วยความมีอัธยาศัย เหมือนเป็นไกด์ช่วยบอกเล่าและน�ำทางเรา ให้เข้าใจถึงงานกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์มาก ยิ่ ง ขึ้ น พี่ อ าคมบอกว่ า ตั้ ง แต่ ไ ด้ ม ารู ้ จั ก พระอาจารย์เมื่อปี ๒๕๔๐ ท่านจะเดินทาง ไปร่วมประชุมกับกลุ่มต่างๆ ในเครือข่าย สัจจะฯ และท�ำกระบวนการแบบนีม้ าตลอด ไม่เคยหยุด โดยเฉพาะในช่วงเข้าพรรษาที่ แต่ ล ะกลุ ่ ม จะจั ด ประชุ ม สรุ ป งานรอบปี บางครั้งท่านกลับมาถึงกุฏิก็จะมีกรรมการ บางกลุ่มถือแฟ้มบัญชีมารอขอค�ำปรึกษา ท่านก็ต้องท�ำงานต่อถึงมืดถึงค�่ำ ให้เวลากับ ชาวบ้านอย่างไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย สิ่งนี้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้พี่อาคมก้าวเข้ามา ช่ ว ยเป็ น อาสาสมั ค รให้ เ ครื อ ข่ า ยสั จ จะฯ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

11/28/16 11:01 AM


135

กลับสู่ความเป็นญาติมิตร การท�ำงานของพระอาจารย์สุบินที่ เราได้เห็น ได้รับรู้รับฟัง ได้มีที่มาที่ไปใน การก่อร่างสร้างแนวทางจนพัฒนาขึ้นเป็น “เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์” ซึ่งเราได้ ข้อมูลต่างๆ มาว่า พระอาจารย์สุบิน ปณีโต สมัยยังเดินธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะ ที่ภาคใต้ ได้พบเห็นปัญหาต่างๆ ที่เกิดกับ ชนบทในทุกๆ ด้าน ท�ำให้เริ่มต้นคิดหาการ แก้ปัญหาด้วยการใช้เงินเป็นเครื่องมือ และ ได้พฒ ั นาวิธกี ารขึน้ จากการสนทนากับครูชบ ยอดแก้ว ในการใช้ “ธรรมะผสมกับเงิน” จนได้ ริ เ ริ่ ม จั ด ตั้ ง กลุ ่ ม สั จ จะสะสมทรั พ ย์ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๓๓ ณ บ้าน เกาะขวาง ต.ห้วยแร้ง อ.เมือง จ.ตราด ที่ เป็นบ้านเกิดของท่าน จากกลุ่มแรกเริ่มสมาชิก ๒๐๐ กว่าคน รวมเงิน ๒,๗๐๐ กว่าบาท จากนั้ น การตั้ ง กลุ ่ ม ก็ ข ยายอย่ า ง ต่อเนื่องจนเริ่มเป็นที่รู้จัก และได้เชื่อมโยง ท�ำงานกับภาคประชาสังคมหลายองค์กร โดยเฉพาะสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จน มีการตัง้ “ศูนย์ประสานงานกลุม่ สัจจะสะสม ทรัพย์” โดยมี “คณะกรรมการอุดมการณ์ กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ วัดไผ่ล้อม จังหวัด ตราด” เป็นผู้ด�ำเนินการประสานงาน ซึ่งมา จากการรวม “คนวัด” ซึ่งเป็นข้าราชการ ข้าราชการเกษียณ นักธุรกิจ แกนน�ำชาวบ้าน

20 �������������.indd 135

เข้ามาท�ำงานแบบอาสาสมัคร นัดประชุม อย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ทุกค�่ำวันอังคาร ปี ๒๕๔๒ ทางธนาคารออมสินได้ เข้ามาร่วมให้มีการจัดอบรมถวายความรู้แก่ พระภิกษุสงฆ์ทั่วประเทศ จ�ำนวน ๑๑๕ รูป ท�ำให้ ง านสั จ จะได้ มี เ มล็ ด พั น ธุ ์ ที่ ข ยายไป เติบโตยังจังหวัดอื่นๆ อย่างกว้างขวาง หลัง จบงาน ทางศูนย์ประสานงาน จึงได้เชิญ แกนน�ำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ประมาณ ๕๐ กลุ่ม มาพบปะกัน ในชื่องาน “มงคล เสวนา” เป็นการมาร่วมกันพบปะท�ำบุญใหญ่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ แลกเปลี่ยน สินค้า จึงถือเอาเป็นงานประจ�ำทุกปีร่วมกัน ของกลุ่มสัจจะฯ และปี ๒๕๔๔ ได้จัดเป็น การพบปะร่วมกันทุกวันที่ ๑๕ ของเดือน เรียกว่า “วันเครือข่าย” ต่อมานั้นกองทุน เพื่อสังคม (SIF) เห็นว่าพระอาจารย์สุบิน ควรมีศูนย์การเรียนรู้ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา ดูงานของกลุ่ม จึงได้จัดสร้างอาคาร “ศูนย์ การเรี ย นรู ้ เ ครื อ ข่ า ยกลุ ่ ม สั จ จะฯ” เป็ น สถานที่สาธารณประโยชน์ ใช้งานอย่างคุ้มค่า เพื่อรองรับกลุ่มต่างๆ ที่มาศึกษาดูงาน ขบวนการของกลุม่ สัจจะสะสมทรัพย์ มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งอยู่บน ฐานการเรียนรู้ร่วมกัน บนหลักการธรรมะ ในพระพุ ท ธศาสนา โดยยึ ด หลั ก การพึ่ ง ตนเองของชาวบ้านให้ได้อย่างแท้จริง ถึง

11/28/16 11:01 AM


136

วันนี้ได้ขยายเครือข่ายออกไปกว้างขวาง ๑๖๓ กลุ่ม สมาชิกรวมกว่า ๖๐,๐๐๐ คน และเงินสะสมกว่า ๒,๐๐๐ ล้านบาท ในช่ ว งที่ เ ราได้ มี โ อกาสสั ม ภาษณ์ พระอาจารย์สุบินที่วัดไผ่ล้อม ท่านดูสุขุม รอบคอบ และให้ เ วลากั บ ความเงี ย บใน การค่ อ ยๆ บอกเล่ า จากความเข้ า ใจเชิ ง ประสบการณ์ ท่านได้ฉายภาพสะท้อนให้ เราเข้าใจถึงชุมชนชนบทไทยส่วนใหญ่ ซึ่ง เป็นที่มาของความคิดริเริ่มงานสัจจะฯ มา แก้ไขปัญหา โดยมองว่าคนฐานรากที่อยู่ใน ชุมชนตอนนี้ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการศึกษา เป็นผู้สูงอายุ คนที่ไปไหนไม่รอด คนเกเร คนพิการ ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ในชุมชน และ ชุมชนเหล่านี้ก็กลายเป็นเหมือนกับชุมชน ที่ค่อนข้างอ่อนแอ นอกจากนี้ความเป็นพี่ เป็นน้องได้ถกู ท�ำลายโดยวัฒนธรรมทางการ เงิน เพราะถ้าถามว่าเมื่อพี่มีเงินเอาไปไว้ไหน ก็ฝากที่สถาบันการเงิน ถ้าน้องไม่มีไปเอา ที่ไหน ก็ไปเอาที่สถาบันการเงิน แต่เวลา ป่ ว ยไข้ เวลาแก่ เวลาตกทุ ก ข์ ไ ด้ ย าก ก็ บากหน้ามาหาพี่หาน้อง แต่เวลามีทุนนึกถึง คนอื่ น ชุ ม ชนไม่ ห วั ง พึ่ ง ตนเอง มุ ่ ง หวั ง รั ฐ บาล มุ ่ ง หวั ง สถาบั น การเงิ น ข้ า งนอก เพราะระบบวัฒนธรรมสังคมทีม่ งุ่ แข่งขันกับ บริโภค ไม่แข่งขันกันบริหาร จัดการทุนของ ตัวเองอย่างมีระบบ จึงเป็นสังคมที่ถูกผ่าตัด ด้ ว ยการเงิ น ฉะนั้ น คนในชุ ม ชนก็ เ ลย แตกกันจากการเงิน

20 �������������.indd 136

“เงิ น ผสมธรรมะ เป็ น พี่ เ ป็ น น้ อ ง ช่วยเหลือกัน” จากสภาพปัญหาความทุกข์ ยากในชุมชน น�ำให้ท่านมาสนใจแนวทาง ของพระพุทธศาสนาที่น�ำมาใช้หาทางออก อย่างเป็นรูปธรรม เป็นที่มาของการจัดตั้ง กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ โดยท่านได้เน้นให้ เกิดการพึ่งพาตนเองตามหลักธรรมะ “ตน เป็นที่พึ่งแห่งตน” ตนในที่นี้ท่านหมายถึง พึง่ กันเองในชุมชนให้ได้มากทีส่ ดุ และอีกส่วน หนึง่ ทีท่ า่ นให้เห็นคือ พระพุทธเจ้าสอนให้ใช้ ความเป็ น พี่ เ ป็ น น้ อ ง ที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า บอกว่าการสงเคราะห์เป็นมงคลอย่างยิ่ง สงเคราะห์ญาติหรือสงเคราะห์สงั คม “ฉะนัน้ ท�ำอย่างไรให้เกิดการเชื่อมกันได้ แนวทางหนึ่ง คือเอาเงินผสมกับธรรมะ เหมือนกับปูน หิน ทรายซึ่งเป็นของแห้งๆ จะติดกันได้ก็ต้อง อาศัยน�้ำ เมื่อน�้ำไปผสมก็เกิดการเชื่อม” แนวทางของพระอาจารย์สบุ นิ จึงเน้น ที่การช่วยเองกันในชุมชน พัฒนาชุมชนเอง สร้างฐานในชุมชนเอง พึ่งพาตนเอง ทางทุน ทางการจัดการ แล้วบริหารจัดการ ก�ำไร กลับมาดูแลยามแก่ ยามป่วย ด้วยหลักสูตร

11/28/16 11:01 AM


137

ที่พระพุทธเจ้าวางไว้ว่า “การบริหารจัดการ การเงิน” ให้แบ่งเป็นสัดส่วน เพื่อแก้ปัญหา ความยากจน ว่าทรัพย์ส่วนหนึ่งให้เอามา กินใช้เลี้ยงตัวเอง ครอบครัว พ่อแม่ ให้เกิด สุข ส่วนที่สองต้องลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อหาก�ำไร ส่วนที่สามเสียภาษี บ�ำเพ็ญ การกุศล ส่วนที่สี่เก็บไว้ยามแก่ชรา มีภัยพิบัติ หรือมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งท่านเห็นว่าตรงกับ ในหลวงท่าน ทีใ่ ช้ค�ำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ก็คือให้รู้ประมาณในการใช้จ่าย ทีนี้การรู้ ประมาณในการใช้จ่ายได้ ภายในครอบครัว ควรจะมีการท�ำระบบในการจดบันทึกรายรับ รายจ่าย เพราะถ้าเราไม่มีการท�ำ เราจะ ไม่ รู ้ ว ่ า เงิ น ออกมาไปทางไหนบ้ า ง ท�ำให้ ไม่ ส ามารถคิ ด วางแผนตั ว เองได้ และถ้ า ยากจน เราก็ไม่รู้ว่าจนเพราะอะไร ดังน�้ำที่ รั่วซึมไปจากตุ่ม เปรียบเทียบว่า บริษัททุก บริษัทถ้าไม่มีบัญชี บริษัทนั้นต้องเจ๊งแน่ๆ “ธรรมะบันดาลใจ วิจยั เชิงปฏิบตั กิ าร” วิธีการท�ำงานของพระอาจารย์สุบิน ที่ใช้ กระบวนการสร้างให้เกิดการเรียนรู้ เปลีย่ นแปลงในชุมชน และขยายกลุ่มสัจจะสะสม ทรัพย์ออกไปเป็นเครือข่ายอย่างกว้างขวาง โดยท่านกล่าวว่าอย่างเรียบง่ายว่า เป็นการ ท�ำตามธรรมะ เพราะธรรมะคือตัวบันดาลใจ ที่จริงตัวหลักค�ำสอนมีอยู่แล้วทั้งหมด แต่ เป็นแค่ทฤษฎี ไม่ได้พาสู่การกระท�ำ ดังนั้น สิ่งที่ท่านท�ำก็คือ การเอาปัญหาที่เห็นไป

20 �������������.indd 137

บอกกับชุมชน พอแก้ปัญหาชุมชนหนึ่งได้ แล้ว ก็เอาความรู้และประสบการณ์ที่เกิดขึ้น ไปบอกกับชุมชนอื่นๆ ต่อๆ ไป ท่านเรียกว่า “วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบไม่มีลายลักษณ์อักษร” วิเคราะห์แล้วก็รวมกลุม่ ชุมชนลงมือ ท�ำ ท�ำแล้ ว ไม่ ดี ก็ ป รั บ ปรุ ง ใหม่ โดยการ ลงมือท�ำก็เน้นให้ชาวบ้านได้มองว่า สิ่งที่คิด จะท�ำนั้ น จะไปถึ ง จุ ด นั้ น ได้ ไ หม ตั ว อย่ า ง หมู ่ บ ้ า นของคุ ณ ต้ อ งการจะมี เ บี้ ย ยั ง ชี พ ผู้สูงอายุส�ำหรับเลี้ยงดูกันเองยามแก่เฒ่า คุณก็ต้องท�ำเงินกองกลางให้ได้ ฉะนั้น คุณ ต้องอย่าเกเร อย่าโกงกัน สอง คุณต้องเอา ส่วนต่างนั้นมาตั้งเป็นกองทุนในการเลี้ยงดู ยามแก่ ถ้าอยากไปถึงจุดนัน้ ก็ชว่ ยกันท�ำให้เกิด เมื่อคนในชุมชนกลับมาสัมพันธ์กัน ด้วยคุณธรรม มีความรักและเห็นอกเห็นใจ ช่ ว ยเหลื อ กั น ในชุ ม ชน พั ฒ นาชุ ม ชนเอง สร้างฐานชุมชนเอง จนค่อยๆ พึ่งพาตนเอง ได้ ม ากขึ้ น ด้ ว ยหลั ก สู ต รที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า วางไว้ ธรรมะจึ ง ได้ ผ สมผสานเข้ า อยู ่ ใ น ความมีชีวิต ความเป็นเครือข่ายสัจจะสะสม ทรั พ ย์ จึ ง ได้ เ อื้ อ ให้ เ งิ น เป็ น สายใยร้ อ ยใจ ชาวบ้านไว้ร่วมกัน ออมกันเอง กู้กันเอง บริ ห ารกั น เอง เอาก�ำไรมาปั น ผลกั น เอง ป่วยไข้ก็ดูแล ตายก็ช่วยท�ำศพ มีทุนการ ศึกษาของลูกหลาน ท�ำให้มีบ้านอยู่ มีที่ดิน ท�ำมาหากินเอง เป็นการอยู่ได้ด้วย “การ ปันกัน เป็นบุญร่วมกัน”

11/28/16 11:01 AM


20 �������������.indd 138

11/28/16 11:01 AM


ยุพิน ประเสริฐพรศรี

วัดมงคลชัยพัฒนา ต.ห้วยบง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี พระวิสิฐคณาภรณ์ / เจ้าอาวาสวัดมงคลชัยพัฒนา รองเจ้าคณะจังหวัดสระบุรี “มนุษย์เราคือสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ ที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ ไยอหังการ ใดเล่า ธรรมชาติคือคุรุผู้ยิ่งใหญ่ คือมหาสมุทร ภูผา ดงไพรให้เราได้ศึกษา หากเติบใหญ่ครั้นเมื่อเรามีวิชา ไยมิกลับมาสู่ห้วงจักรวาล” บันทึกในสมุด เล่มเล็กกับพลังบันดาลใจ ธรรมชาติคือครู แล้วเราก็นึกถึงหนังสือเล่มหนึ่ง ที่ชื่อว่า “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว” ของลุงมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เกษตรกรรมพอเพียง พอทีใ่ จ หากแนวคิดนีค้ อื ค�ำตอบในการกลับมาสร้าง โลกสีเขียว เราอยากเก็บเกี่ยวความรู้ตามแนวคิดของลุงฟูกูโอกะที่เชื่อมั่น ว่าในการอยู่แบบธรรมชาติ ลุงฟูจะไม่ยอมกระท�ำการใดๆ ที่ผิดแปลกไป จากโลกสร้างมา ไม่ว่าจะการไถพรวนดิน ไม่จ�ำกัดวัชพืช สารเคมีไม่เคย เล็ดลอดเข้ามา ทุกสรรพสิ่งล้วนพึ่งพาอาศัยระหว่างกัน ความเรียบง่าย สอดแทรกในวิถีชีวิตเกษตรกรรม และเราคิดว่าใจของลุงฟูคงเป็นหนึ่งเดียว กับธรรมชาติ เรารู้สึกเช่นนั้น ไม่ต่างกับที่เราชื่นชมพระวิสิฐคณาภรณ์ หรือเราเรียกท่านว่า “หลวงตาโม่ง” ณ วัดมงคลชัยพัฒนา จ.สระบุรี พระ

20 �������������.indd 139

11/28/16 11:01 AM


140

นักพัฒนา นักปฏิบัติการ “เกษตรทฤษฎีใหม่” น�ำพาชาวบ้านและผู้ที่สนใจ ในเกษตรอินทรีย์ มาเรียนรู้วิถีแห่งความพอประมาณ การอยู่แบบเรียบง่าย และพึ่งพาตน โดยที่วัดนี้ได้ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นแหล่งเรียนรู้ใน เรื่องเกษตรตามแนว “ทฤษฎีใหม่” ด�ำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณ วัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๓๑ ซึ่ง ถือเป็นจุดก�ำเนิดของ เกษตรทฤษฎีใหม่แห่งแรกในประเทศไทยอีกด้วย

บันทึกจุดเริ่มต้น “ทฤษฎีใหม่” เรามาถึงยังวัดแห่งนี้ พื้นที่แถบภาคกลางของประเทศไทย เป็นแหล่ง ส�ำคั ญ ในการเพาะปลู ก ข้ า วและเป็ น ผลผลิ ต ส�ำคั ญ ในการค้ า ส่ ง ออกจาก ตลาดไทยสู่ตลาดโลกด้วยการคมนาคมรวดเร็วดีด่วน แต่ ณ เวลานี้ ทุกสิ่ง รอบตัวเราก�ำลังช้าลงเรื่อยๆ เรายืนอยู่ตรงกลางพื้นที่ลานวัด รายรอบด้วย ต้นไม้ใบหญ้า พื้นลานปูน เช้าวันนี้กับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ก�ำลังคืบคลาน เข้ามา หัวใจใสๆ เตรียมเปิดไว้ส�ำหรับการเรียนรู้ การศึกษาดูงานเริ่มต้นขึ้น เราเดินดูงานพร้อมกับหมู่คณะสงฆ์จาก ๒๐ แห่ง ที่มาประชุมเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ พอเพียง เคียงธรรม การเดิน พร้อมกับคณะเรียนรู้เป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นไปอีกแบบ ทุ่งข้าวเขียวขจีเป็น แนวยาวชูรวงขึ้นสู่ฟ้า แสงแดดสาดจ้าเป็นเวลาที่เรามาหยุดยังป้าย “ทฤษฎี ใหม่” เรานึกย้อนความหมายในการรู้จักกับ “ทฤษฎีใหม่” พื้นที่ในความทรงจ�ำ บอกเราว่า สมัยเมื่อครั้งเรียนมัธยม ครูสอนให้วาดรูปแบ่งพื้นที่ ๓ ใน ๑๐ ส่วน ส�ำหรับปลูกข้าว ๓ ใน ๑๐ ส่วนส�ำหรับขุดสระ ๓ ใน ๑๐ ส่วนส�ำหรับปลูก พืชผักผลไม้ และ ๑ ใน ๑๐ ส่วนคือบ้าน ที่ส�ำคัญ ครูย�้ำว่าทฤษฎีใหม่ไม่ใช่ แค่ท�ำนา ปลูกข้าว แต่ยังคงหมายถึงใจเราที่รู้จักพอ ให้อยู่คู่กับวิถีชีวิตของเรา ด้วยความพอใจ พอประมาณ เก็บหอบรอมริบ ออมเงิน ในสิ่งที่เป็นอยู่ และ ไม่นานนัก เราก็รู้จักธนาคารออมสินกับสมุดเงินออมเล่มเล็กๆ เป็นครั้งแรก ที่เราเริ่มรู้จักและมีสมุดบัญชีเงินฝากในยุคนั้น

20 �������������.indd 140

11/28/16 11:01 AM


141

ลงมือทำ�เกษตรกรรม “พอเพียง พอที่ใจ” เก็บเกี่ยวเวลาดีๆ ที่ได้เดินคุยและ “อยู่” กับ สิ่งแวดล้อมรอบตัว เราเดินมาเรื่อยๆ พร้อมหมู่คณะ ผ่านสระน�้ำใหญ่ และลึกเข้าไปเจอไม้ยืนต้น ภายหลัง จากนั้น เราพบกับสวนสมุนไพร มีห้องเรียนรู้อยู่ ใกล้ ๆ มองเข้ า มามี เ ก้ า อี้ ไ ม่ ต�่ ำ กว่ า ๕๐ กว่ า ตั ว พร้อมกับกระดานด�ำขึน้ ป้ายว่า “โครงการพัฒนาพืน้ ที่ บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ” หมู่คณะนั่งลง ไม่นานนัก วิทยากรก็เริ่มการบรรยาย ส่วนเราจดบันทึกการเรียนรู้จากป้ายที่เดิน ผ่านมาว่า พื้นที่ส่วนที่ ๑ ร้อยละ ๑๖ หรือพื้นที่ ประมาณ ๒.๕ ไร่ ขุดเป็นสระกักเก็บน�้ำขนาด ๕๕ เมตร X ๗๕ เมตร ความจุประมาณ ๑๘,๐๐๐ ลบ.ม. พื้นที่ส่วนที่ ๒ ร้อยละ ๓๕ หรือพื้นที่ประมาณ ๕.๕

20 �������������.indd 141

11/28/16 11:01 AM


142

ไร่ ส�ำหรับปลูกข้าว หลังจากการเก็บเกี่ยวก็ปลูกพืช พื้นที่ส่วนที่ ๓ ร้อยละ ๒๔.๕ หรือพื้นที่ประมาณ ๓.๘ ไร่ ได้จัดท�ำสวนในที่ดอน โดยปลูกกล้วย มะขามเทศ น้อยหน่า แล้วแซมด้วยถั่วพร้าเพื่อปรับปรุงดินในระยะยาว ถั ด มาเป็ น อาคารแปรรู ป และจ�ำหน่ า ยผลผลิ ต ทางการเกษตร โรงสีข้าวขนาดเล็ก ย่างเท้ากลับย้อนมา เราเดินต่อไปยังพื้นที่แหล่งเรียนรู้ แผงโซล่าเซลล์ ระหว่างทางเดินเราพบกับแม่ครัวสองสามคน ก�ำลังนั่ง ต�ำน�้ำพริก ป๊อกๆ แป๊กๆ ก่อนมาถึงยังกอตะไคร้เรียงรายต่อๆ กันมาเป็นแถบ อีกฝั่งเป็นต้นมะกรูดเรียงราย วิทยากรบอกเราว่า วัดแห่งนี้มีทั้งต้นตะไคร้ หอม (ไว้ไล่แมลง) และตะไคร้แกง (พืชสมุนไพร - กิน)

20 �������������.indd 142

11/28/16 11:01 AM


143

“โคก หนอง นา หลวงตาโมเดล” เป็นแนวคิดรูปแบบตามเกษตร ทฤษฎีใหม่ของในหลวงที่ได้น�ำมาพัฒนาในวัดแห่งนี้ โคก เป็นพื้นที่ที่เนินน�้ำไม่ท่วม โดยอาจจะมาจากดินที่ขุดท�ำหนองน�้ำ ในพื้นที่นั้น ใช้ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและ ภูมิอากาศ และปลูก “ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง” ที่ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ และไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ท�ำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้าคือ ท�ำบุญ ท�ำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย หนอง เป็นส่วนที่พัฒนาแหล่งน�้ำใน พื้ น ที่ ทั้ ง การขุ ด ลอก หนอง คู คลอง เพื่ อ กักเก็บน�้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจ�ำเป็น และ เป็นที่รับน�้ำยามน�้ำท่วม (หลุมขนมครก) ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน�้ำรอบพื้นที่ ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยว ไปตามพื้นที่เพื่อให้น�้ำกระจายเต็มพื้นที่ เพิ่ม ความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน�้ำต้นไม้ และท�ำ “ฝายทดนำ�้ ” เพือ่ เก็บนำ�้ เข้าไว้ในพืน้ ที่ ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน�้ำ น�้ำจะหลาก ลงมายังหนองน�้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ท�ำฝายทดน�้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง นา พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟู ดิน ด้วยการท�ำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืน แผ่นดิน ใช้การควบคุมปริมาณน�้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ท�ำให้ปลอดสารเคมี ได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน โดยยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อ ใช้เป็นที่รับน�้ำยามน�้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา

20 �������������.indd 143

11/28/16 11:01 AM


144

เกษตรทฤษฎีใหม่ที่หลวงตาได้สร้าง ฐานการเรียนรู้ สิ่งส�ำคัญท่านบอกกับเราว่า การท�ำเกษตรกรรมตามแนวธรรมชาตินั้น หัวใจส�ำคัญคือ น�้ำ เราต้องมีแหล่งน�้ำ ซึ่งใน ปี ๒๕๔๒ ท่านริเริ่มศึกษาเกษตรทฤษฎีใหม่ ค้นคว้า ทดลอง มาอย่างต่อเนื่อง ผ่านมา สองปี แม้ว่าจะไม่ประสบความส�ำเร็จเท่าที่ ควร แต่ด้วยความมุมานะพยายามของท่าน ก็ช่วยค่อยๆ ท�ำให้ค้นพบวิธีการกักเก็บน�้ำ มากว่า ๔ ปีแล้ว เป็นรูปแบบแม่น�้ำธรรมชาติ จากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่ว่า “อ่างใหญ่เติม อ่างเล็ก มาเติมเต็มบ่อเก็บน�้ำไว้ใช้ดึงน�้ำ” แม้ยังไม่สมบูรณ์มากนัก แต่ก็สามารถดึงน�้ำ มาช่ ว ยเหลื อ ชาวบ้ า นตามครั ว เรื อ น มา รดผักได้ ๔ ครัวเรือน ในปี ๒๕๕๘ ตาม ค�ำกล่าวที่ท่านเน้นย�้ำว่า “บ้านพึ่งวัด วัด พึ่งบ้าน” เป็นการอุปถัมภ์ระหว่างกัน เมื่อ ชาวบ้านเดือดร้อนก็ชว่ ยเหลือบรรเทาความ ทุกข์ ในขณะที่บ้านท�ำบุญก็มายังวัด

20 �������������.indd 144

“บ้านพึ่งวัด วัดพึ่งบ้าน” เป็นอีก วิ ธี ก ารหนึ่ ง ที่ ห ลวงตาริ เ ริ่ ม ให้ วั ด เป็ น ศู น ย์ ก ลางของการรวมกลุ ่ ม และการเป็ น เครือข่าย เพื่อโยงกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน ในชุ ม ชน หวนกลั บ มาฉลาดท�ำบุ ญ ใน รูปแบบใหม่ ที่ไม่ใช่เงินตรา เช่น น�ำมูลสัตว์ มาที่ วั ด ให้ วั ด ช่ ว ยท�ำปุ ๋ ย หมั ก ธรรมชาติ โดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยยูเรีย ส่วนทางวัดก็ช่วย ออกแบบหาวิธีการให้ชาวบ้าน (ท�ำนา) ได้ ตระหนักรู้ถึงแนวคิดที่ว่า ขายส่วนหนึ่ง กิน ส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นการท�ำบัญชีครัวเรือน และ วิธกี ารเข้าถึงกลไกการตลาดทีเ่ กษตรกรเป็น ผู้ขายโดยตรง หลักการค�ำนวณปริมาณการกินข้าว ต่อครอบครัว สูตรตามแบบฉบับของหลวงตา โมเดล มีอยู่ว่า สมมติครัวเรือนหนึ่ง ๕-๖ คน กินข้าวสาร ๑ ถัง/เดือน หรือเท่ากับ ข้าวเปลือก ๒ ถัง/เดือน ฉะนั้น ๑๒ เดือน คู ณ ๒ ถั ง ข้ า วเปลื อ ก เท่ า กั บ ๒๔ ถั ง ข้าวเปลือก/ปี เท่านี้ เกษตรกรก็สามารถ คาดการณ์ถึงการกินการใช้ของตนเอง ท�ำนา แล้วท�ำเองกินเอง ไม่ซื้อเขากิน ไม่ใช่ขาย ทั้งหมด ข้าวที่เหลือก็ส่งขาย ด้วยการตัด พ่อค้าคนกลางออกไป ก็จะท�ำให้ชาวบ้าน ได้ ร าคาขายเอง โดยเป็ น ตลาดที่ ม าจาก ลู ก ศิ ษ ย์ ข องหลวงตาโม่ ง ที่ เ ป็ น เครื อ ข่ า ย

11/28/16 11:01 AM


145

แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลง ฆ่าวัชพืช แต่จะใช้สาร ที่เราท�ำเองโดยใช้พืชสมุนไพร วิธีนี้จะช่วยให้ชาวบ้านพึ่งพาตนเองได้ ผ่านการทดลองและท�ำบัญชีครัวเรือน หลวงตาได้น�ำวิธีการค�ำนวณนี้ ทดลองกับ ๕ ครัวเรือนต้นแบบ โดยมีเป้าหมายไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง สุขภาพดี พึ่งตัวเอง ผักกางมุ้งยกแคร่บนดิน ความสงสัย ก็เริ่มต้นขึ้น เอ๊ะ! ผักกางมุ้งได้ด้วยเหรอ แล้วมันรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร แปลกใจ ชอบกล เรามุ ่ ง ถามหลวงตาอย่ า งมิ รี ร อ ท่านตอบให้เราฟังว่า ผักกางมุ้งบนแคร่ดิน เป็นการยกแปลงผักขึ้นบนแคร่ดิน โดยเป็น การปลูกพืชใบเขียว ผักพืชใบ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดแก้ว ผักสลัด มีหน้าที่ช่วย ป้ อ งกั น โรค อย่ า งฉี่ ห นู และพยาธิ ใ นดิ น อ๋อ เริ่มเห็นภาพผักกางมุ้งในความหมาย ของหลวงตาแล้วล่ะ “พยาธิ บ างที เ ป็ น สิ่ ง ที่ เ รามองไม่ เ ห็ น แล้ ว ท� ำ ให้ เ กิ ด โรค” หลวงตากล่าวขึ้นพร้อมกับบอกเราต่อว่า ที่วัดแห่งนี้ก�ำลังมีโครงการ “สมุนไพรในร่างกายมนุษย์” น่ามหัศจรรย์ไม่ใช่น้อย มนุษย์มีความรู้ จากศาสตร์โบราณ สมุนไพรตามแต่ละจุดของเซลล์อวัยวะว่า ส่วนไหน สมุนไพรตัวไหนจะท�ำหน้าที่มาเป็นเพื่อนในการเยียวยารักษาแก่เรา ได้บ้าง หลวงตาเล่าต่ออย่างมีพลังแห่งความสนุกว่า “สมมติเราปวดหัว เจ็บตา มีน�้ำมูกเชิงหู สมุนไพรที่ออกแบบเป็นรูปคนก็จะรู้ว่า เป็นการ หยิบยาตัวไหนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในร่างกายของเรา

20 �������������.indd 145

11/28/16 11:01 AM


146

สมุนไพรในร่างกาย แบบจ�ำลองรูปคนขึ้นมาตามจุด เราตื่นเต้น พร้อมกับนึกต่อไปว่า ถ้าทุกๆ คนหวนกลับมาเชื่อมั่นในสมุนไพร วิถีธรรมชาติ มากไปกว่ า นั้ น เชื่ อ มั่ น ในพลั ง แห่ ง ธรรมชาติ บ�ำบั ด พื ช น�้ำ ดิ น อากาศ เป็นมิตรเพื่อนกายและเพื่อนใจที่เติมพลังอากาศให้เรา โลกนี้คงได้ขยาย เพื่อนเครือข่ายออกซิเจนยกก�ำลังสองมากกว่า คาร์บอนไดออกไซด์ยกก�ำลัง สอง ที่จะพาโลกป่วย... ก็จะช่วยให้เราสูดหายใจได้เต็มก�ำลังปอด สดชื่น สมอง เติมพลังใจ แล้วนี่คือที่มาของความหมาย “เธอคือโลก”

20 �������������.indd 146

11/28/16 11:01 AM


147

ผลงานทั้งหมดที่ท่านสร้างเป็นแหล่ง เรี ย นรู ้ “เกษตรทฤษฎี ใ หม่ ” พอเพี ย ง พอที่ใจ เบื้องหลังการสร้างให้ชาวบ้านท�ำ เกษตรแบบพออยู่ พอกิน และพอที่ใจนั้น หลวงตาโม่งท่านเล่าให้ฟังว่า “เดิมทีเป็น ลู ก ชาวนาโดยก�ำเนิ ด เป็ น คนอี ส านอยู ่ ทุ่งกุลาร้องไห้ หน้าฝนน�้ำก็แห้ง ยิ่งหน้าแล้ง ก็แห้งแล้งลงไปอีก บ้านพ่อแม่ท�ำงานไม่ ร�่ำรวยซักที จนลงๆ ชุดนักเรียนไม่เคยได้ใส่ รองเท้าผ้าใบไม่เคยได้ใส่ ใส่รองเท้าแตะ เดินเท้าเปล่า ตอน ป.๑-ป.๔ ไม่เคยได้รับ เงินแม้แต่บาทเดียว เดินไปโรงเรียนกว่า สองกิโลเมตร อาศัยอยู่กับยาย กินปลาบ้าง

20 �������������.indd 147

ปลาร้าบ้าง จนได้เข้าบวชให้ยายเมื่อตอน ยายเสีย” มาบัดนี้ หลวงตาโม่งท่านเป็นพระ นั ก พั ฒ นาที่ มี จิ ต ในการช่ ว ยเหลื อ ชุ ม ชน ชาวนา ได้ ห วนกลั บ เรี ย นรู ้ ก ารอยู ่ แ บบ พอเพียง ไม่ท�ำลายธรรมชาติ ค่อยๆ ลด ภาระหนี้สิน สามารถวิเคราะห์ให้เท่าทัน ระบบกลไกการตลาด เข้าใจระบบเศรษฐกิจ และสังคม มียารักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร นั บ เป็ น งานเกษตรที่ มี หั ว ใจการท�ำงานที่ เชื่อมสัมพันธ์กับทุกส่วนของ “ชีวิต” และ “การอยู่รอด”

11/28/16 11:01 AM


20 �������������.indd 148

11/28/16 11:01 AM


ยุพิน ประเสริฐพรศรี

ศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้อง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี พระสังคม ธนปฺญโญ ประธานศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้อง “เศรษฐกิจ จิตใจ ต้องแก้ไขพร้อมกัน” ค�ำนีเ้ ราได้ยนิ จากพระสังคม ธนปัญโญ ผู้อ�ำนวยการศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้อง หรือที่เราเรียกท่านว่า “หลวงพ่อสังคม” ท่านบอกกับเราว่า ท่านได้เรียนรู้แนวทางนี้มาจาก หลวงปู่จันทร์ กุสโล อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ ได้น้อมน�ำ มาปฏิบัติให้เกิดผลในรูปธรรมกับการพัฒนาชุมชนให้มั่นคงและยั่งยืน การปฏิบัติการขับเคลื่อนที่ศูนย์ฯ แห่งนี้ มุ่งมั่นและมีเป้าหมายอย่างชัดเจน ว่า น้อมน�ำ “เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทฤษฎีใหม่” ของพ่อหลวงมาเป็น แนวทางส�ำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจน ปลดภาระหนี้สินของ เกษตรกร เชิญชวนผู้ที่สนใจในวิถีธรรมชาติ ผู้ที่ใส่ใจในสุขภาพแบบ องค์รวม มาเรียนรู้ ฝึกฝนปฏิบัติ ให้กิน-อยู่ แบบเรียบง่าย ที่นี่มี “โรงเรียน ปูทะเลย์มหาวิชชาลัยมาบเอื้อง” การศึกษาที่มุ่งเน้นการประสานความ ร่วมมือระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน และราชการ (บวร) ให้เรียนรู้ ใน เรื่องของการพึ่งตนเอง การพัฒนาเศรษฐกิจ และจิตใจไปพร้อมกัน

20 �������������.indd 149

11/28/16 11:01 AM


150

รอบรั้วโรงเรียนปูน้อยฯ เช้าวันใหม่ ฟ้าสดใส สายๆ วันอาทิตย์ เราสองคนออกเดินทาง จากกรุงเทพฯ มุ่งหน้ามายังศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้อง เพื่อเศรษฐกิจ พอเพียง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ล้อรถหมุนมาหยุดยังป้ายของศูนย์ฯ เรา สองคนเดินตรงเข้ามากราบนมัสการหลวงพ่อสังคม ณ ศาลาดิน ศาลา แห่งนี้มีชื่อว่า ศาลาดินอเนกประสงค์ “Earth save รักษ์โลก” เป็น อาคารหลังแรกที่ร่วมกันสร้างขึ้น ด้วยการย�่ำดินท�ำเป็นก้อน ก่อและ ฉาบด้วยดินล้วนๆ จากการร่วมแรงร่วมใจของชาวจิตอาสา กว่าสองปี ภายใต้ความร่วมมือของ บวร ในหลายภาคส่วน ศูนย์แห่งนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๔ ภายหลังวิกฤตน�้ำท่วมกรุงเทพฯ ต่อมา ปี ๒๕๕๖ ดร.วิ วั ฒ น์ ศั ล ยก�ำธร หรื อ อาจารย์ยักษ์ ก็ได้ไปนิมนต์หลวงพ่อสังคม รองเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ให้มา ช่วยสร้างโรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย มาบเอื้อง ที่ได้สร้างหลักสูตรการศึกษาทาง เลือกตามมาตรา ๑๒ และมาตรา ๑๘ (๓) การมาจั ด การศึ ก ษาที่ โ รงเรี ย น ปู ท ะเลย์ ม หาวิ ช ชาลั ย มาบเอื้ อ ง ได้ ว าง เป้าหมายของการศึกษาไว้ ๔ ข้อ คือ

20 �������������.indd 150

11/28/16 11:01 AM


151

๑. ให้เด็กเป็นคนดีมีวินัย ๒. ให้เด็ก พึง่ พาตัวเองได้ดว้ ยศาสตร์ของพระราชาตาม หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๓. ให้เด็ก เป็นคนเก่งหรือมีความเป็นเลิศอย่างใดอย่าง หนึ่งตามสิ่งที่เขารัก และ ๔. ปลูกฝังให้เด็ก กตัญญูกตเวที หลวงพ่อสังคมยังเล่าให้ฟัง อีกว่า กระบวนการหรือรูปแบบที่จะใช้ให้ การอบรม บ่มเพาะให้เด็กไปถึงเป้าหมาย ทั้ง ๔ ข้อที่กล่าวมา ท่านได้รับแรงบันดาลใจ จากการอ่านหนังสือ “โรงเรียนวิถพี ทุ ธ” ของ ท่านเจ้าคุณปยุตฺโต หรือพระพรหมคุณาภรณ์ ว่า การจะท�ำให้เด็กเป็นคนดีมีวินัยนั้น ต้อง ท�ำเป็นวิถีของชาวพุทธให้เกิดขึ้นให้ได้ โดย ดูสามเณรเป็นตัวอย่าง เลยเป็นที่มาให้เด็กๆ ในโรงเรียนและครูทุกคนตื่นแต่เช้า ท�ำวัตร สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินตามบาตร ท�ำบุญ กิริยาวัตถุ ๑๐ ในทุกๆ วัน

เวลานี้ใกล้จะพลบค�่ำแล้ว เราสองคน ได้รบั ความเมตตาจากหลวงพ่อสังคมพาเดิน ชมวัด จุดแรกที่เรามาถึงคือ พระมหาธาตุ เจดีย์ ๒๖๐๐ ปี พุทธชยันตีเฉลิมราช หรือ อีกชื่อหนึ่งที่เรียกว่า พระมหาธาตุ เ จดี ย ์ พอเพียง เจดีย์แห่งนี้ได้ถอดแบบมาจาก สถูปสาญจี ประเทศอินเดีย ท่านบอกกับเรา ว่าเจดีย์แห่งนี้ต้องการสร้างสื่อความหมาย “ประโยชน์สงู ประหยัดสุด” โดยเป็นการใช้ พื้นที่ให้คุ้มค่าและพอเพียง หรือเป็นไปตาม เป้าประสงค์ของศูนย์แห่งนี้ ที่ได้ชื่อว่า เป็น Eco-Temple อี ก แห่ ง หนึ่ ง ของโลกด้ า น การออกแบบสถาปัตยกรรม ได้สอดแทรก ความหมายของพุทธธรรม หลักค�ำสอนไว้ ให้เรียนรู้ ตั้งอยู่ในน�้ำ ๓ ส่วน ดิน ๑ ส่วน ตามธรรมชาติของโลก เสาภายใน ๕๖ ต้น เป็ น ความหมายพลั ง แห่ ง พุ ท ธะ เจดี ย ์ หลวงพ่อเล่าให้เราฟังว่า ที่นี่ มีพื้นที่ ออกแบบเป็นรูปทรงโดม คานและสัดส่วน เรียนรู้สามส่วนใหญ่ๆ คือหนึ่ง ที่วัด คือ ศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้อง เป็นแหล่งอบรม บ่ ม นิ สั ย ด้ า นศี ล ธรรมจริ ย ธรรม สอง ที่ โรงเรี ย น คื อ ศู น ย์ ก สิ ก รรมธรรมชาติ มาบเอื้อง ซึ่งมีพื้นที่กว้างขวาง เป็นธรรมชาติ สับปายะอย่างยิ่งในการเรียนรู้ และสาม คือ เขตชุมชนและส่วนที่อยู่ในศูนย์กสิกรรม ธรรมชาติฯ ด้วย

20 �������������.indd 151

11/28/16 11:01 AM


152

จะเป็นแนวโค้งที่ป้องกันแผ่นดินไหวได้เป็นอย่างดี โดยท�ำเป็นสองชั้น ชั้นแรก ใช้เป็นที่ประชุมอเนกประสงค์และเป็นชั้นเรียนของนักเรียนนักศึกษาปูทะเลย์ มหาวิชชาลัยทุกระดับชั้น ชั้นที่สอง ใช้เป็นห้องสวดมนต์ภาวนา เจริญสติ อบรม ธรรมะ และจัดนิทรรศการ ๓ มหาบุรุษคือ พระพุทธเจ้า สมเด็จพระสังฆราช และบูรพมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ส่วนยอดฉัตรมี ๘ แท่ง แฝงความหมาย ถึง มรรค ๘ โดยบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ยอดสุด และฐานฉัตรสามเหลี่ยม คือ ไตรลักษณ์ และมุมสี่เหลี่ยม อันหมายถึง อริยสัจ ๔ และได้รับรางวัลการ ออกแบบอาคารดีเด่น ถึงสองรางวัลจากประเทศเบลเยี่ยม ท่านพาเราเดินเข้าไปภายใน เดินขึ้นบันไดทางซ้ายมากราบพระประธาน ใหญ่ โดยน�ำดินมาจากทั่วโลกและดินจากทุกจังหวัดของไทย ปั้นเป็น “พระ พลังแผ่นดิน” ตั้งตระหง่านสวยงามอยู่บนชั้นสอง และพื้นไม้กันเกรา ไม้หอม สิริมงคล และท่านก็ชวนเราสองคนมาหาจุดโฟกัสของพลังเสียงแห่งจักรวาล ตรงบริเวณด้านหน้าพระประธาน ก่อนที่จะเอ่ยเสียงขึ้นมาว่า “พระพลังแผ่นดิน พระพลังแผ่นดิน...” ให้ก้องกังวาน เดินชม สัมผัสลม โดยรอบบริเวณฐาน ของยอดพระมหาธาตุเจดีย์ มีระบบน�้ำหมุนวน ภาพฝันระยะใกล้ รอบๆ ฐาน จะห่อหุ้ม ปกคลุมด้วยธรรมชาติ และปลูกต้นไม้สูง ป่า ต้นไม้นานาพรรณ อุดม สมบูรณ์ “อีกไม่นาน สัตว์ตัวเล็กตัวน้อย กบเขียด แมลง แม้แต่งู ก็จะมาอยู่กับ เรา เพราะเราจะปลูกป่าบนพระมหาธาตุเจดีย์” ท่านกล่าวพร้อมกับหัวเราะ เล็กน้อย อารมณ์เบิกบานอย่างขบขัน นอกจากจะมีศาลาดิน พระเจ้าทันใจดิน ที่นี่ยังมีกุฏิดิน ห้องน�้ำดิน อัน บ่งบอกถึงความประหยัดและสันโดษ ไม่ต้องใช้แอร์ เพราะแค่ดินก็ช่วยรักษา อุณหภูมิได้ สิ่งทั้งหลายนี้ส�ำเร็จลุล่วงเพราะความสามัคคี ในการสร้างเสนาสนะ ศาสนสถาน ผู้ใฝ่ศรัทธาศาสนามาร่วมสร้างด้วยพลังกาย พลังใจ อันก่อเป็นปีติ ร่วมกันคนละไม้คนละมือ ย�่ำดิน ก่อและฉาบก�ำแพงดิน สะท้อนให้เห็นถึงความ เป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน ท่านสอนให้เห็นคุณค่าแห่งธรรมชาติ ดั่งค�ำขวัญของ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติฯ ของท่านว่า “คืนชีวิตให้แผ่นดิน” นั่นหมายความว่า เคารพและดูแลพระแม่ธรณีให้ดีที่สุด

20 �������������.indd 152

11/28/16 11:01 AM


153

ฝึกฝนตนผ่านวิถีพึ่งพาตน ฐานเรียนรูใ้ นศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง แล้วท่านก็พาเราข้ามมาสัมผัส พื้นที่ส่วนศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จ�ำนวนกว่า ๖๐ ไร่ ที่ อ.ยักษ์ หรือ ดร.วิวัฒน์ ศัลยก�ำธร เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งให้เป็นศูนย์การ เรี ย นรู ้ เ กษตรกรรมธรรมชาติ เศรษฐกิ จ พอเพียงตามแนวพระราชด�ำริ เดิมที อ.ยักษ์ ได้ รั บ ราชการใกล้ ชิ ด กั บ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวมาก่อน ในหน่วยงานส�ำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพือ่ ประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ (กปร.) เป็น เวลากว่า ๑๖ ปี ปฏิบตั กิ ารฐานเรียนรู้ ๙ ฐาน ภายใน ศูนย์กสิกรรมฯ เป็นพื้นกว้างของฐานเรียนรู้ ที่ เ รี ย นกั น ตามธรรมชาติ เล่ น เป็ น เรี ย น ท�ำงานเป็นการเรียนรู้ และมีส่วนอาคาร ที่ พั ก ของนั ก เรี ย น ครู และเจ้ า หน้ า ที่ ที่ กินอยู่หลับนอน เป็นวิถีชุมชนร่วมกัน ซึ่งมี ฐานเรียนรู้ให้เห็นเป็นรูปธรรมอยู่ ๙ ฐาน ได้ แ ก่ ๑) ฐานคนรั ก ษ์ แ ม่ ธ รณี เป็ น การ ฟื้นฟูสภาพดินให้มีชีวิต ด้วยการห่มดิน ท�ำ ปุ๋ยหมักชีวภาพ และจุลินทรีย์ต่างๆ เพื่อ บ�ำรุงแม่ธรณีอนั เป็นผูใ้ ห้ก�ำเนิดและหล่อเลีย้ ง สรรพชีวิตให้สมบูรณ์ ๒) ฐานคนรักษ์ป่า ให้ความรู้เรื่องป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔

20 �������������.indd 153

อย่ า งและเป็ น ที่ ตั้ ง ของธนาคารต้ น ไม้ ชูแนวคิดเรื่องการมีต้นไม้เป็นทุนของชีวิต เพราะป่าไม้ให้ปัจจัยส�ำคัญแก่ชีวิตมนุษย์ และสัตว์อย่างแท้จริง ๓) ฐานคนรักษ์น�้ำ ให้ ค วามรู ้ เ รื่ อ งการรั ก ษาป่ า ต้ น น�้ ำ ฝาย ต้นน�้ำล�ำธาร การใช้หญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ ดินและน�้ำ ๔) ฐานคนรักษ์แม่โพสพ หรือ ฐานคนท�ำนา ให้ ค วามรู ้ เ รื่ อ งการท�ำนา อิ น ทรี ย ์ ปุ ๋ ย พื ช สดร่ ว มกั บ นา ๕) ฐาน คนเอาถ่าน ให้ความรู้เรื่องถ่านและน�้ำส้ม ควันไม้ ๖) ฐานคนเลี้ยงสัตว์ เป็นเรื่องของ การเลี้ยงหมูหลุม เลี้ยงแพะนม เป็ดไข่ และ ไก่ไข่ ๗) ฐานคนมีไฟ เป็นเนื้อหาของเรื่อง ก๊าซชีวภาพและไบโอดีเซล ๘) ฐานคนมีน�้ำยา ให้ความรู้เรื่องการท�ำน�้ำยาอเนกประสงค์ เช่น สบู่ แชมพู ต่างๆ ๙) ฐานคนติดดิน ให้ ความรู้เรื่องเกษตรผสมผสาน การเพาะเห็ด ต่ า งๆ และการขยายพั น ธุ ์ พื ช ทั้ ง หมดนี้ เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของชีวิต โดยแท้

11/28/16 11:01 AM


154

ไม่ธรรมดาเลย ภายในศูนย์แห่งนี้กับสิ่งที่ดีๆ “เรียนรู้ที่จะอยู่ ด้วย ความเป็นกสิกรรมวิถี” มีความหมายแห่งการเรียนรู้ ฝึกทักษะ หาความรู้ สั่งสมประสบการณ์ในการพึ่งตนเองให้มีวิชา “อยู่” กับสิ่งรอบตัวไล่ตั้งแต่ ระบบนิเวศ แปลงผัก มือจับจอบ เสียม เฝ้าสังเกตตัวเรา จิตเรา ไป พร้อมกับเกษตรกรรม บ่มเพาะวิถีธรรมชาติและวิถีแห่งความพอเพียง สู่วิถีสุขภาพภายใน ค่อยๆ ผสมผสานก�ำลังกาย พลังใจ และพลังการ เรียนรู้ควบคู่กัน ตลอดจนส่วนผสมของคุณค่าและความหมายของการ ตระหนักรู้ต่อวิถีแห่งการด�ำรงชีพ ภายใต้ยุคกระแสวิถีวัฒนธรรมแห่งการ บริโภคนิยมที่เร่งความเร็ว และกระตุ้นสายป่านแห่งการบริโภคมากกว่า การผลิต ที่ดึงสติ สตางค์ ให้เสพกับข้าว ปลา หมาก ยา ราคาสูงลิ่วตาม กลไกของท้องตลาดรายวัน...ที่นี่ มาบเอื้องจึงเป็นค�ำตอบแห่งความพอเพียง ที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างช้า ไม่บ้าตามกระแส... เรากลับมาสู่การเดินเท้าอีกครา เวลาใกล้ค�่ำ ย�่ำเข้ามาทุกที ตะวันก�ำลังจะลาลับขอบฟ้า แต่การ เรียนรู้ของเราทั้งสองยังคงเดินต่อไปเรื่อยๆ ท่านพา เรามายังพืน้ ทีฐ่ านการจัดการ “ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง” หมายความว่า ให้ใช้วิธีการปลูกไม้ ๓ อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กิน ไม้เศรษฐกิจ แต่มีประโยชน์ ๔ อย่าง เวลานี้รอบๆ ตัวเราเป็นแหล่งของกินได้ เต็มไปด้วย กล้วย อ้อย แปลงผัก ไม้ยืนต้น กระถิน ฯลฯ ภายหลังจากนั้น ท่านพาเรามาเยี่ยมยังหอพัก นักเรียนชาย ระหว่างรอหลวงพ่อเยี่ยมเยือนทักทาย นักเรียนบนชั้นสองอยู่นั้น เราสังเกตบริเวณด้านล่าง มี จ อบวางเรี ย งแถวเป็ น ระเบี ย บเรี ย บร้ อ ย เป็ น เครื่องมือในการศึกษา สลักชื่อเจ้าของแต่ละคน มองดูแล้วเรารู้สึกต่างไปจากโลกที่เราคุ้นเคยมาก เพราะยุคนี้การเรียนของเราจับแต่คอมพิวเตอร์เสีย

20 �������������.indd 154

11/28/16 11:01 AM


155

เป็นส่วนใหญ่ เสียดายเวลาดีๆ ที่ใกล้ชิด จับจอบจับเสียมอยู่กับธรรมชาติ ปลูกพืช ผั ก สวนครั ว ตามรั้ ว กิ น เอง ไม่ ต ้ อ งให้ เ งิ น เดินออกนอกกระเป๋าวันละนิดวันละหน่อย แถมยังได้พืชผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพ ของเราอีกด้วย แหมดีจัง จบการเดิ น ทางของเย็ น วั น นี้ เย้ ! ดีใจจัง ได้เวลาอาหารเย็นแล้ว หลังเหมื่อยล้า จากการเดินเพราะที่นี่กว้างมากจริงๆ เรา สองคนกิ น อาหารเย็ น ณ โรงอาหารที่ นี่ โรงครั ว ที่ อ ยู ่ ท ่ า มกลางป่ า อย่ า งสงบเย็ น เมนูแกงขี้เหล็ก บวชมันเทศ ไข่เจียว เป็น อาหารที่แสนอร่อย นั่งลงสักพัก อยู่ๆ พี่คน ที่ช่วยดูแลครัวก็เอ่ยขึ้นมาว่า “ที่นี่ต้องพึ่ง ตัวเอง กินเสร็จแล้วล้างจานทางด้านหลัง” โอ๊ะโอ ที่นี่เขาพึ่งตนเองใกล้เพียงจานข้าว และถ้วยขนมเลยหรือนี่ พระจันทร์เคลื่อนเข้ามาท�ำงาน เป็น เวลาประมาณสองทุ่ม เราเห็นนักเรียนชาย และหญิงปูทะเลย์น้อย จ�ำนวนกว่า ๓๐ คน ก�ำลังสวดมนต์ดังกังวานอยู่ภายในศาลาดิน พร้อมคณะสงฆ์ เราค่อยๆ เดินแบบเบาๆ แล้วขยับตัวออกมาท่ามกลางฝนที่เทลงมา ปรอยๆ ด้านนอก จบการเดินทางของวันนี้ แต่ยังไม่จบเรื่องราว เราเข้านอน ณ กุฏิดิน สองชั้น ที่เป็นกุฏิรับรอง วันใหม่ก�ำลังรออยู่

20 �������������.indd 155

เศรษฐกิจ จิตใจ ต้องแก้ไขพร้อมกัน นับเป็นหัวใจของการเรียนรู้ที่นี่ เราได้ยิน หลวงพ่อสังคมท่านพูดอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็น คติพจน์ที่หลวงปู่จันทร์ กุสโล อดีตเจ้าอาวาส วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร และเป็นผู้อุปถัมภ์ พระบรมธาตุ ด อยผาส้ ม เมื่ อ ครั้ ง ที่ ท ่ า น จ�ำพรรษาอยู่ที่นั่น วันนี้ ณ ศูนย์แห่งนี้ ท่าน มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจว่าด้วย “เกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชด�ำริ โดยใช้ชื่อเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า โคก หนอง นา โมเดล” พร้อมกับการปรับแก้ไขปัญหา ตรงหัวใจ คือ จิตใจต้องได้รับการพัฒนาไป พร้อมๆ กันด้วยการภาวนา ปฏิบัติธรรม จนเกิ ด ปั ญ ญาเห็ น ความจริ ง ของชี วิ ต ว่ า ในโลกนี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มี ปัญญาสัมมาทิฐิ บ่มเพาะวิถีแห่งความ “พอเพียง” ส่งผ่านแนวคิดวัดที่มีความพอเพียง ใช้ฐาน เศรษฐกิ จ พอเพี ย ง พื้ น ที่ ใ ช้ ส อย ใช้ ห ลั ก “โคก หนอง นา โมเดล” มีเจตนารมณ์เพื่อ สื บ สานวิ ถี ไ ทยและวิ ถี พุ ท ธ น�ำเศรษฐกิ จ พอเพียงมาใช้ให้เกิดเป็นรูปธรรมได้จริง ตาม พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อให้วัดได้อยู่ร่วมกับวิถีกสิกรรม ธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน แม้ว่าจะเป็นการ สร้างออกแบบอาคารหรือแม้แต่พระมหาธาตุ

11/28/16 11:01 AM


156

โรงเรียนสามเณร โดยเป็นการวางรากฐาน ความคิด ความเชื่อ ด้วยจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ สืบทอดพระพุทธศาสนาให้มั่นคง อยู่คู่ ประเทศไทยสืบไป”

เจดีย์พอเพียง มุ่งเน้นตอบโจทย์ด้วยการ เน้นหลักกสิกรรมธรรมชาติ ที่สร้างขึ้นด้วย ดิ น เพื่ อ ให้ รั ก ษาอุ ณ หภู มิ แ ละไม่ ท�ำลาย สิ่งแวดล้อม ท่านจึงได้รับรางวัลดีเด่นใน การพัฒนาชุมชนด้วยเศรษฐกิจพอเพียง บ้าน วัด โรงเรียน และราชการ (บวร) ต้องขับเคลื่อนพร้อมกันเหมือนดั่งกังหันลม ศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้อง ในนามของ “วัด” เป็นส่วนส�ำคัญในการขับเคลื่อนโรงเรียน ปูทะเลย์มหาวิชชาลัยและชุมชนให้ยั่งยืน หลวงพ่อสังคม ท่านกล่าวกับเราว่า “บ้าน กับวัดต้องก่อเกิดควบคูก่ นั อย่างเหนียวแน่น โดยวัดท�ำหน้าที่บ่มเพาะคุณธรรม จริยธรรม ผ่ า นการขั ด เกลาและฝึ ก ฝนตามแบบที่ พระพุ ท ธเจ้ า วางไว้ และสาวกถื อ ปฏิ บั ติ สืบต่อกันมา ที่เรียกว่า ศีลาจารวัตร ทุกเช้า เย็ น ครู แ ละนั ก เรี ย นจะได้ ส วดมนต์ ฟั ง ธรรมะ และปฏิบัติภาวนา คล้ายกับวิถีของ

20 �������������.indd 156

จุดมุ่งหมายหลักของศูนย์แห่งนี้คือ เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของทุกคน ทุกชนชาติ ทุกศาสนา ที่ปรารถนาการเรียนรู้ธรรมะ และแนวทางเศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ซึ่ ง เป็ น ทางเลือกและทางรอดของมวลมนุษยชาติ โดยมีการจัดเป็นการเรียนการสอนแนวทาง เลือกในรูปแบบของผสานจิตใจและเศรษฐกิจ ควบคู่กัน เพื่อให้พึ่งพาตนเองได้อย่างถูกวิธี ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงระดับปริญญา และเปิดกว้างเป็นสถานที่เรียนรู้และปฏิบัติ ธรรมของทุกๆ คนทั่วโลก ทุกชาติทุกภาษา ทุกเช้าเย็น ครูและนักเรียนจะได้ สวดมนต์ ฟังธรรมะ และปฏิบัติภาวนา คล้ายกับโรงเรียนของสามเณร อันเป็น การวางรากฐานความคิด ความเชื่อ และ สามารถมีความมั่นคงของชีวิต ครอบครัว นักเรียนในโรงเรียนจะได้เรียนรู้จากศูนย์ กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ศูนย์ปฏิบัติ ธรรมมาบเอื้อง และชุมชนผสมผสานวิถี ชีวิตให้เรียนรู้จักการพึ่งพาตน ช่วยเหลือ ตัวเอง และฝึกหัดท�ำแปลงเกษตร ปลูกผัก เรี ย นรู ้ ต ามฐานต่ า งๆ ตามศาสตร์ ข อง พระราชา ที่ ไ ด้ รั บ รางวั ล สู ง สุ ด ในการ

11/28/16 11:01 AM


157

พั ฒ นามนุ ษ ย์ จ ากโครงการพั ฒ นาแห่ ง สหประชาชาติ (UNDP) และการจัดการ ศึกษาที่นี่ ได้รับค�ำชื่นชมจากคณะศาสตราจารย์ ผู ้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นการศึ ก ษาจาก ประเทศฟิ น แลนด์ ว ่ า เป็ น การจั ด การ ศึกษาที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก (หลวงพ่อ สั ง คมเล่ า ให้ เ ราฟั ง ) และที่ น ่ า สนใจคื อ ที่นี่ หลวงพ่อสังคมบอกเราว่า “นักเรียน เรียนฟรีทุกระดับชั้น ไม่เสียเงินมาเรียน แถมยังได้รายได้จากการฝึกลองวิชาความรู้ อี ก ด้ ว ย การขายของจากที่ ผ ลิ ต เองได้ ไม่ว่าจะเป็นถ่าน ปุ๋ยชีวภาพ หรือแม้แต่ น�้ำยาอเนกประสงค์ ฯลฯ” ท่านเล่าถึงแรงบันดาลใจของท่านใน การมาท�ำงานด้านการศึกษา เพราะความที่ เป็ น ลู ก อี ส านที่ ย ากจน อดทน และต่ อ สู ้ ทั้งเรียนและท�ำงานจนได้ทุนไปเรียนต่ออยู่ ต่างประเทศจนจบปริญญาโทด้านบริหาร การศึกษา หลังจากได้บวชแล้ว ท่านถวายตัว เป็นศิษย์หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ เจ้าอาวาส วัดป่าบ้านค้อ จ.อุดรธานี ที่เดินทางไปเผยแผ่ ธรรมะที่อเมริกา และกลับมาเริ่มการอบรม เด็กและเยาวชน ตั้งแต่พรรษาแรกเป็นต้นมา ภาวนาและท�ำงานด้านการศึกษาควบคู่กัน กว่ า ๑๗ ปี เริ่ ม ตั้ ง แต่ วั ด ป่ า ตาดน�้ ำ พุ วัดป่าบ้านค้อ วัดป่าหลวง จ.อุดรธานี และ หลังสุดก็ได้ท�ำดอยผาส้ม โฮมสคูล ณ วัด

20 �������������.indd 157

พระบรมธาตุดอยผาส้ม อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ จนถือว่าประสบความส�ำเร็จในการสร้าง ชุมชนให้มั่นคง เข้มแข็งและยั่งยืน จนท�ำให้ ดอยผาส้ ม โฮมสคู ล เป็ น ที่ รู ้ จั ก อย่ า ง กว้ า งขวาง และเอื้ อ ให้ เ ด็ ก สามารถฝึ ก พัฒนาตัวเองจนเป็นคนดี เก่ง และพึ่งพา ตนเองได้ ท�ำให้ ท ่ า นเชื่ อ มั่ น ถึ ง การมา จัดการศึกษาที่โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย มาบเอื้อง แม้ว่าการท�ำงานที่ผ่านมาเพื่อช่วย ฟื้นฟูเศรษฐกิจ กอบกู้วิกฤตอาหาร สังคม การศึ ก ษาทางเลื อ ก ในสายตาของใคร หลายๆ คนอาจมองว่า ท่านเป็นพระนัก พั ฒ นาและขั บ เคลื่ อ นแนวทางของการ เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชด�ำริ หนุ น ฐานแหล่ ง เรี ย นรู ้ ใ ห้ เ ป็ น การ ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต ต่อเติมพลัง ธรรมะให้มาผนึกรวมกัน บ้าน วัด โรงเรียน ราชการ (บวร) เปรียบดั่งกังหันลม อันเป็น พลังทางสังคมที่คอยหนุนเสริมและเคลื่อน พลังแห่งการเรียนรู้ สร้างจิตตปัญญา แก้ ปั ญ หาเศรษฐกิ จ จากปากท้ อ งเรื่ อ งกิ น ๆ เรื่องดินๆ มาสู่เรื่องของจิตใจ ปรับตัวให้ เข้ า กั บ ยุ ค สมั ย แห่ ง การบริ โ ภคนิ ย ม น�ำ ปัญญาพิจารณาตามหลักอริยสัจ ๔ แก้ไข วิ ถี ค วามยากจนของชุ ม ชน และสั ง คมได้ อย่างยั่งยืน

11/28/16 11:01 AM


20 �������������.indd 158

11/28/16 11:01 AM


ยุพิน ประเสริฐพรศรี

วัดวังศิลาธรรมาราม ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง พระครูประโชตธรรมาภิรม / เจ้าอาวาสวัดศิลาธรรมาราม “การปลูกป่า” ส�ำคัญไฉน หลายคนอาจมองว่าการปลูกป่า คือ กิจกรรมร่วมมือกันเพื่อช่วยกันปกป้องรักษาและสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม คืนผืนป่าทุ่งหญ้าที่แสนแห้งแล้งกลับมาสู่ป่าไม้เขียวขจีและกลายเป็นโลก สีเขียวเพียงเท่านั้น แต่ฉากหลังของใต้ผืนป่าที่มองไม่เห็น ยังมีเรื่องราว ของ “การปลูกป่า” มากมายที่เรายังค้นไม่พบ ใครจะรู้ว่า ปลูกป่าแล้วเผอิญ มารู้จักความหมาย พอเพียง ความสันโดษ ความเรียบง่าย การบ้านต้นไม้ และเถาวัลย์ให้บทเรียนอะไรแก่เรา เราจักสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ รอบตัว จนรู้จักสภาวะและได้สัมผัสกับ “ลมหายใจแห่งไพร สายใยแห่งพุทธะ” เรื่องราวมาพร้อมกับเรื่องเล่าของการเรียนรู้ บทเรียน การบ้าน และแบบฝึกหัดจากผืนป่าใหญ่ ประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชนและ สังคมมามากกว่ายี่สิบปี เป็นที่มาของการเดินทางเข้ามาสัมผัส เรียนรู้ และรับฟังพระครูประโชตธรรมาภิรม หรือที่เราเรียกท่านว่า “หลวงตาสาย” วัดวังศิลาธรรมาราม ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง พระสงฆ์ที่ชาวบ้าน หรือใครต่อใครได้รู้จัก ก็จะนึกถึงภาพป่าเข้ามาทันควัน จนบางทีท่านถูก

20 �������������.indd 159

11/28/16 11:01 AM


160

เรียกว่าเป็น “พระป่า” ที่ท�ำหน้าที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรณรงค์ เรื่องการปลูกป่า แต่ส�ำหรับเราสองคน ท่านเป็นพระที่คอยท�ำหน้าที่คืน “ลมหายใจแห่งไพร ต่อสายใยให้สรรพชีวิต” ในอีกหลายชีวิตด้วย

ตามรู้ลมหายใจแห่งไพร การเข้ามาสัมผัสกับวัดแห่งนี้และงานของ ท่าน เราทราบมาว่า ท่านได้รับขนานนาม ว่า “ภิกษุผู้คืนชีวิตให้ผืนป่า” กล่าวโดย ย่อความว่า ท่านเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดเชื่อม ระบบนิเวศผืนป่าตะวันออกระหว่างบริเวณ อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา และเขตรักษา พันธุส์ ตั ว์ปา่ เขาอ่างฤาไนให้หวนกลับมาอุดม สมบู ร ณ์ อี ก ครั้ ง จนเกิ ด ผลส�ำเร็ จ ในการ ฟื้นคืนป่ากว่า ๑.๐๐๐ ไร่ โดยมีการจัดแบ่ง พื้นที่เป็นสามโซนคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตป่าชุมชน และพื้นที่เขตที่พักสงฆ์ จาก ทุ่งหญ้ากลายมาเป็นผืนป่าอันเขียวขจี ต้นไม้ หลากหลายพันธุ์ บรรดาสัตว์นอ้ ยใหญ่ขยาย ลมหายใจได้ทั่วปอด อาหารป่า สมุนไพร ไม่ ว ่ า จะเป็ น เห็ ด หน่ อ ไม้ สะตอ ฯลฯ หวนกลับมาอีกครั้ง

ณ สถานีขนส่งผู้โดยสาร รถแล่นต่อ จากอ�ำเภอบ้านบึงมายังวัดวังศิลาธรรมาราม ท่ามกลางสายฝนที่ก�ำลังเทลงมาอย่างไม่ ขาดสาย เป็นเวลาบ่ายแก่ๆ ที่เราสองคน เข้ามาถึงยังวัดแห่งนี้ พอมาถึงวัด เราสองคน ได้ เ ข้ า กราบนมั ส การหลวงตาสายที่ กุ ฏิ ศาลาไม้สองชั้นดูกว้างขวางและบรรยากาศ ทางช้างผ่าน เป็นโครงการหนึ่งที่ เงี ย บสงบ เหมื อ นกั บ ไม่ มี ผู ้ ค นอยู ่ เ ลย เกิ ด ขึ้ น ในปี ๒๕๔๐ เป็ น การจุ ด ชนวน ไม่นานนัก วงสนทนาก็เริ่มต้นขึ้น เชื่ อ มประสานและสร้ า งความร่ ว มมื อ กั บ ลมหายใจแห่งไพรคนสู่ชีวิต เราค้น ชุมชนและชาวบ้านได้เป็นอย่างดี จากเดิม ข้อมูลเบื้องต้นส�ำหรับเป็นพื้นฐานความรู้ใน มีวิกฤตช้างป่าเข้ารุกพื้นที่ชาวบ้านในชุมชน

20 �������������.indd 160

11/28/16 11:01 AM


161

ละแวกนั้น ท�ำให้พืชผลในเรือกสวนไร่นาได้รับผลกระทบ แต่กลับเป็นโอกาส อันดีที่ท�ำให้ท่านใช้กุศโลบาย “พลังแห่งความเมตตา” เป็นการบ่มเพาะความ เมตตาให้เกิดภายในใจของชาวบ้านและชุมชน ผ่านการสร้างพระพุทธรูปใน ป่าและเชิญชวนให้หยุดการล่าสัตว์ “ลมหายใจแห่งไพร” เป็นส่วนหนึ่งเดียวกันกับหลวงตาสาย ท่านมุ่งมั่น ตั้งใจปฏิบัติงานในบทบาทพระสงฆ์ผู้อนุรักษ์และพัฒนาผืนป่า ภาพที่เคยฝันว่า อยากพลิกฟื้นพื้นที่ทุ่งหญ้าโล่งกว้างแห้งแล้ง ให้กลับมาเป็น “สวนป่าธรรมชาติ” ก็เกิดขึ้นในปี ๒๕๓๖ ท่านได้ริเริ่มสร้างโครงการสวนป่าอรัญปิยวงศ์ ปลูกป่า เฉลิมพระเกียรติ มีหน่วยงานองค์กรมาร่วมกันขยายพื้นที่ปลูกป่าจนประสบ ผลส�ำเร็จ ปลงคืนถิ่น ในแง่ของการขับเคลื่อน ปลูกป่า สร้างป่า รักษาสิ่งแวดล้อม ท่านได้ เริ่มทดลองจากการพื้นที่ ๒๐ ไร่ และขยาย ไปสู่การด�ำเนินโครงการฯ และจัดกิจกรรม เพื่ อ เชื่ อ มโยงวั ด ชุ ม ชน หน่ ว ยงานและ องค์กรต่างๆ เข้ามาร่วมเรียนรูแ้ ละตระหนัก ถึงคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ ควบคู่กับการ ปลูกความเมตตาในสรรพชีวิต ยกตัวอย่าง เช่น โครงการจัดงานบุญ ปลูกป่า “ปลง คืนถิ่น” โครงการปลูกป่าถาวร ๕๐ แปลง เขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ เขาอ่างฤาไน โครงการ เชื่อมป่าตะวันออก (ทางช้างผ่าน) การจัด อบรมส่ ง เสริ ม การอนุ รั ก ษ์ ธ รรมชาติ แ ละ สิ่งแวดล้อมให้เยาวชนรอบป่า และการจัด กิจกรรมส่งเสริมเครือข่ายเกษตรอินทรียแ์ ละ เครือข่ายวนเกษตร ต.พวา อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี เป็นต้น

20 �������������.indd 161

11/28/16 11:01 AM


162

ท�ำบุญสร้างป่า เท่าทีเ่ ราลองย้อนรอย ปฏิบัติการเพื่อชุมชนและฟื้นฟูทรัพยากร ป่ า ไม้ ค วบคู ่ ม ากั บ การเรี ย นรู ้ ธ รรมะนั้ น หลวงตาสายท่านสร้างความเข้าใจใหม่ของ ทางเลือกในการท�ำบุญว่า การสร้างศาสนสถานหรือศาสนวัตถุจ�ำนวนมาก แต่ไม่ค่อย มีใครอยู่อาศัย ขาดคนดูแล ควรปรับเปลี่ยน วิธีท�ำบุญจากการสร้างวัด มาเป็น “ท�ำบุญ สร้างป่า” เพราะป่าคือบ้านของบรรดาสรรพชีวิตอีกหลายๆ ชีวิตทั้งแมลง มด ไส้เดือน ไปจนถึงสัตว์ใหญ่อย่างช้าง ฉะนั้น ป่าก็คือ เพื่อนของดิน พืชก็คือเพื่อนของสัตว์ สัตว์ ก็เป็นเพื่อนของเรา และเราก็เป็นเพื่อนกับ ลมหายใจ ให้เป็นเพื่อนกับออกซิเจนของ ต้นไม้ ทุกสิ่งคือเพื่อนของกันและกัน เพื่อ การด�ำรงอยู่ ในพื้ น ที่ ข องการอยู ่ ร ่ ว มกั น ความ เป็นมนุษย์กับความเป็นกัลยาณมิตรเป็นสิ่ง ส�ำคัญของการเรียนรู้ ส�ำหรับหลวงตาสาย แล้ว ท่านกล่าวว่า “ถ้าเราสร้างมิติใหม่ ใช้ ความเป็นกัลยาณมิตรเป็นหัวใจในการด�ำรง ชีวิต เรียนรู้ว่าสัตว์ทุกชนิดสามารถอยู่ด้วย กันได้ รับรู้ว่าสัตว์ทุกชนิดคิดอยากท�ำร้าย ผู้อื่นก็เพียงเพราะมันหิวแล้วก็โกรธ พูดง่ายๆ ก็ คื อ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเกิดขึ้นก็เลยปะทุมาทางใจ แล้วท�ำให้ เบี ย ดเบี ย นแย่ ง กั น เพราะฉะนั้ น ถ้ า เรา

20 �������������.indd 162

ผู้เป็นมนุษย์รู้จักควบคุมแล้วเรียนรู้ร่วมกัน พวกเราคนกับสัตว์กส็ ามารถอยูร่ ว่ มกันได้ใน โลกใบเดียวกัน” การส่งผ่านเรื่องราว ลมหายใจของ เราสู่การหายใจของป่า สู่สายใยแห่งชีวิต ของสัตว์อีกหลายชีวิต การอนุรักษ์ป่าและ ทรัพยากรให้กับชุมชนเข้ามาเรียนรู้ตั้งแต่ รู้จักปลูก ใช้ประโยชน์ มีอาหารป่า สร้าง รายได้ให้กับครอบครัว ชุมชน และผสาน การเรียนรู้ควบคู่กับธรรมะ เป็นแนวทาง การด�ำเนินงานจากสายใยป่าที่ขยายพลัง แห่งการเรียนรู้ ความเมตตา น้อมกลับมาสู่ ใจเรา ขยายปอดธรรมชาติ แ ละธรรมะสู ่ บ้านหลังใหญ่ที่เราเรียกว่า “ชีวิต” เพราะ ชีวิตก็คือ ลมหายใจ

คืนชีวิตสู่ธรรมชาติ เราเริ่มรับรู้และเข้าใจแล้วว่า การ ผ่านช่วงเวลาแห่งการท�ำงานและเส้นทางชีวติ ของหลวงพ่ อ สายตลอดระยะเวลากว่ า ๒๐ ปี รางวัลและความภูมิใจเป็นตัวชี้วัด สะท้อนการปฏิบัติเพื่อชุมชน/สังคม หรือ แผ่ ข ยายไปยั ง ผื น ป่ า ท่ า นถึ ง พร้ อ มด้ ว ย ประสบการณ์และบ่มเพาะการเรียนรู้ควบคู่ กับการคิด วิเคราะห์ให้เข้าใจปัญหาและ สานพลั ง ให้ ชุ ม ชนหวนกลั บ มารั ก ษาป่ า

11/28/16 11:01 AM


163

เรียนรู้คุณค่าของป่าด้วยการน้อมน�ำพลัง กลับไปประมาณปี ๒๕๓๕-๒๕๓๖ “ช่วงนัน้ เกิดภัยแล้งมาก อยู่ๆ มาต้องใช้น�้ำบ่อบาดาล จากตัวเราเชื่อมต่อการรับรู้ของสรรพสิ่ง มายังบัดนี้ แหล่งเรียนรู้ส�ำคัญของที่ ก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า เราได้เจาะสายน�้ำ นี่ ยังคงเป็น “สวนป่าอรัญปิยวงศ์” เราทราบ สายเลือดของแม่ธรณีมากินมาใช้แล้ว แล้ว ความหมายของชื่ อ จากหลวงตาสายว่ า แม่ธรณีจะบอบซ�้ำขนาดไหน ถ้าขืนจะไป “อรัญ” แปลว่า ป่า “ปิย” แปลว่า ทีร่ กั และ เรื่อยๆ ก็คงหมด เราก็เลยไปหาพื้นที่เล็กๆ “วงศ์” แปลว่า ตระกูล เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ มาดู ว ่ า เราจะหล่ อ เลี้ ย งสรรพสั ต ว์ ไ ด้ ไ หม สวนป่าแห่งนี้แต่เดิมเคยเป็นพื้นที่แห้งแล้ง เดิ ม มี แ ต่ ก ารปลู ก มั น แห้ ง แล้ ง เจอกั บ กลายมาเป็ น พื้ น ป่ า ที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ คื น ไฟป่า เราเลยลองซื้อประมาณ ๕๐-๖๐ ไร่ ลมหายใจและหล่อเลี้ยงสรรพชีวิต เราถาม อยากให้ เ ป็ น พื้ น ที่ ข องการหล่ อ เลี้ ย งของ ท่านว่าอะไรเป็นพลังที่จุดประกายความคิด สรรพสิ่ ง ได้ ไ หม แม้ ว ่ า เราจะเจอปั ญ หา ในการก้ า วเข้ า มาริ เ ริ่ ม การปลู ก ป่ า ท่ า น ชาวบ้านจุดไฟป่า เราก็พยายามใช้ความคิด ตอบเราด้ ว ยค�ำสั้ น ๆ ก่ อ นว่ า “ก็ เ พราะ ว่า เราใช้น�้ำจากแม่ธรณีแล้ว เราเคยท�ำ ภัยแล้ง” ภายหลังจากนั้นเราได้ย้อนเวลา อะไรให้พระแม่ธรณีบ้างไหม ขายความคิด แบบนี้” ปลูกป่าอรัญปิยวงศ์ สู่ปลูกชีวิต กิจกรรมสานต่อเนื่องกันมาเป็น ระยะเวลา ๒๐ ปีแล้ว ทุกๆ วันที่ ๑๑ ของทุกเดือน สมาชิกจ�ำนวน ๗-๘ คน จากกลุ่มวนเกษตร เทศบาลต�ำบลพวา อ.แก่งหางแมว จะมีการประชุมเพื่อ ปรึกษาหารือการท�ำงานร่วมกันอย่างมิหยุดหย่อนที่ศาลาที่พักสงฆ์ สวนป่า อรัญปิยวงศ์ เพื่อเรียนรู้ทรัพยากรในพื้นที่ มีการขยายผลเรื่องการปลูกต้นไม้ สมุนไพร อาหารการกิน ที่พึ่งตัวเอง แล้วกลับไปปลูกที่สวนของเขา เช่น บ้านบุญเลิศ บ้านเทพ บ้านสมัคร เป็นต้น “เราท�ำงานร่วมกัน เราจะท�ำอะไร เดือนหน้า มาเจอกัน วางแผน ประชุม พาศึกษาดูงาน เรามีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา” เสียงบอกกล่าว จากหลวงพ่อสาย

20 �������������.indd 163

11/28/16 11:01 AM


164

กุศโลบายการมีส่วนร่วม หลวงตาสายเล่าเรื่องให้เราฟังถึงวิธีการที่ ท่านใช้ในการปลูกป่าทีผ่ า่ นมาว่า “เราต้องมีนโยบายให้คา่ แรงบางคนในสมัยนัน้ ๖๐ บาทเราก็ช่วยเหลือ ท�ำกันมาอย่างนั้น ๑๕ ปีแรกก็ใช้ความอดทนอดกลั้น มาก ท�ำอย่างไรถึงจะเชื่อมพื้นที่ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานได้ วิธีต่อมาคือ การ ท�ำบุญใช้ “ต้นปลง” เป็นไม้ที่มาจากยอดเขา เมื่อก่อนคนเอามาขายไม่ค่อยโต เท่าไร ก็เลยใช้ประเพณี ปลงคืนถิ่น ก็จะให้กุศโลบายว่า เราอาศัยทรัพยากร ของแผ่นดิน เราก็ต้องปลงเสียก่อน ปีหนึ่งเราจะท�ำหนหนึ่ง แล้วยังมีกิจกรรม ร่วมกับเครือข่ายป่าภาคตะวันออก นอกจากนั้น ยังมีวิธีการเดินธรรมยาตรา ๑๐ วัน เดินจากต้นน�้ำมาสู่ปลายน�้ำ ระหว่างเดินก็มีการคุยกัน คนต้นน�้ำมา เจอกับคนปลายน�้ำ เป็นกระบวนการและเวทีการเรียนรู้ร่วมกัน” กระบวนการเรียนรู้ พอเพียง สู่เด็กและเยาวชน ในชุมชน โครงการฯ และกิจกรรมที่ท่านด�ำเนินงานส�ำหรับ เด็กและเยาวชนในชุมชนด้วยรูปแบบของการเข้าค่ายเยาวชน สืบชะตาป่า (มีมากว่า ๑๐ ปี–ปัจจุบัน) ใช้ฐานการเรียนรู้ ของสวนป่าอรัญปิยวงศ์เป็นพื้นที่การเรียนรู้ ปัจจุบันมี เด็กในต�ำบลวังหว้า ๕-๖ โรงเรียน มากกว่า ๓๐๐ คน เข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งยังมีการเพาะกล้าไม้ขายกันอีกด้วย

ปลูกสายใยแห่งพุทธะ กิจกรรมร่วมกันของการปลูกป่า สร้างป่า รักษาสิ่งแวดล้อม เป็นหัวใจ การเรียนรู้ของที่นี่ ภาพของหลวงพ่อสายที่ปรากฏต่อสายตาชาวบ้าน ชุมชน หรือแม้แต่เด็กและเยาวชน หากได้ยินชื่อท่านแล้ว หลายคนก็จะนึกถึง “ป่า” ในทันที ท่านกลายเป็นตัวแทนของป่าไม้และความเข้าใจในการรับรู้ของใคร อีกหลายคน แต่ส�ำหรับหลวงตาสายแล้ว ท่านบอกกับเราว่า สิ่งที่ต้องท�ำเป็น อันดับแรกก่อนการปลูกป่า ก็คือ “การปลูกส�ำนึกเรา การใช้ชีวิต เรียบง่าย และมีความสุข” การพอมี พอกิน การด�ำเนินชีวิตด้วยการอยู่อย่างสันโดษ

20 �������������.indd 164

11/28/16 11:01 AM


165

เป็นสิ่งที่มีคุณค่าส�ำหรับชีวิต หากเราอยู่ พุ ท ธชยั น ตี ห รื อ ชั ย ชนะของพระ อย่างสันโดษได้แล้ว เราจะ “เบาตัว เบา พุทธเจ้า ความหมายของค�ำว่า ชัยชนะของ กาย สบายใจ” พระพุ ท ธเจ้ า ในแบบของหลวงตาสายคื อ “คือเรือ่ งการปลูกป่าสามารถเชือ่ มโยง ชัยชนะทุกสิ่งทุกอย่าง ท่านเล่าด้วยความ ไปหลายๆ มิติได้ เราใช้เรื่องของการปลูกป่า เคารพ ประกอบด้ ว ยพลั ง แห่ ง ศรั ท ธา นั้นเป็นข้อมูลเบื้องต้น หามิติไปเชื่อมโยง องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ในฐานะที่ทรงเป็น อย่างอื่น อย่างในแต่ละกลุ่มเขาก็มีหน้าที่ “บรมครูของโลก” ท่านอธิบายให้เราฟังว่า ของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ของเขา พัฒนา ในทางปฏิบตั แิ ละการเรียนรูน้ นั้ “ถ้าพูดแบบ ชุ ม ชน จั ด ตั้ ง กองทุ น หมู ่ บ ้ า น สหกรณ์ เราคื อ ต้ อ งชนะทุ ก เรื่ อ ง ต้ อ งรู ้ จั ก ความ ออมทรัพย์ ร้านค้าชุมชน กลุ่มฌาปนกิจ พอเพียง ต้องถูกต้อง เมื่อถูกต้องก็ต้องเกิด งานเกษตร เราก็มาดูว่าความจ�ำเป็นของ ความดี ไม่ตกเป็นทาสของรูป เสียง กลิ่น หมู ่ บ ้ า นเรามี อ ะไรบ้ า ง พื้ น ฐานปั จ จั ย ๔ รส คือ อายตนะ ให้รับรู้ในสิ่งที่เรารับรู้ ที่ อาหาร เครื่ อ งนุ ่ ง ห่ ม ที่ อ ยู ่ ยารั ก ษาโรค บางคราวการรับรู้ของเราก็จะเป็นสองขั้ว อย่างเรื่องอาหาร เราจะเรียนรู้อย่างไร อย่าง ทั้งดีใจ เสียใจ หรือเฉย ก็ไม่ต้องหลงไป ประชุมกันเราก็เอาพืชผักมากินกัน” เสียใจ” ท่านตั้งใจและมุ่งมั่นว่าท่านจะใช้ “การปลูกป่าต้นไม้ เป็นเครื่องมือหนึ่ง อายตนะของธรรมชาติ เ พื่ อ การศึ ก ษา ในการเชื่ อ มทางอารมณ์ แ ละการเรี ย นรู ้ และการเรียนรู้ รวมทั้งบ่มเพาะการศึกษา ร่วมกันในพื้นที่ การจัดกิจกรรมพาเรียนรู้ ส�ำหรับเด็กและเยาวชน ชาวบ้านหรือผู้ที่ ที่เกิดจากความถนัดของตัวเอง ให้ความรู้นั้น สนใจ ค่อยๆ ก้าวเข้ามาเปลี่ยนความคิด ขยายผลให้เกิดประสิทธิภาพ ไม่เป็นทาส” (ทัศนคติ) ให้เป็นโปรแกรมใหม่ ไม่ใช่เพื่อ หลวงตาสายท่ า นบอกกั บ เราภายใต้ ก าร การใช้อายตนะเสพตามสัญชาตญาณ ซ่อนกุศโลบาย ฉากหลังของการปลูกป่าให้ องค์ความรู้ตามธรรมชาติ “เรามี เป็นการช่วยบ่มเพาะการปลูกส�ำนึกในตัวเรา องค์ความรู้อย่างไร ขอให้เอาองค์ความรู้มา แล้วสิ่งที่ลึกลงไปกว่านั้นคือ การน้อมน�ำ รับใช้สิ่งที่ดีงามในการพัฒนาคุณภาพชีวิต กิจกรรมการเรียนรูเ้ รือ่ งการปลูกป่ามาสูก่ าร เราไม่ตอ้ งไปยึดติดความรูใ้ หม่ๆ ทีจ่ ะเกิดขึน้ รู้จักตน การเชื่อมต่ออารมณ์และอายตนะ เรานึกถึงความรูด้ งั้ เดิมทีม่ นั มีอยูใ่ นธรรมชาติ สะพานในการรับรู้โลกของเรา ก่อนที่เราจะ ถึงบางคราวต้นไม้มันตาย เราก็ไม่ได้มองว่า เชื่อมโยงกับระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมรอบตัว

20 �������������.indd 165

11/28/16 11:01 AM


166

ต้นไม้มันตาย ต้นไม้มันแปรสภาพ ที่มัน หลายคนอาจตอบว่าเพราะการตัดไม้ ตายนี่ เราอย่าคิดว่ามันตาย เพียงแค่สสาร ท�ำลายป่า การใช้ผลประโยชน์ การบุกรุก และพลังงานมันสลายลงไปเพื่อช่วยให้ลูก พื้นที่ แต่หลวงตาท่านตอบกลับว่า “เพราะ หลานรุ่นอื่นได้ขึ้นมา เราประเมิ น การมองในมุ ม ที่ แ ตกต่ า งกั น มุมมองชีวิต “มูลค่าหรือคุณค่า” เราใช้คุณค่าหรือมูลค่าเป็นตัวตัดสิน แล้ว ไม่เพียงเท่านี้ การปลูกป่ายังเป็นเครื่องมือ เราก็จัดการกับป่าไม้ในแบบนั้น” และนี่คือ สะท้อนการเรียนรู้ความเป็น “มูลค่ากับ อีกหนึ่งบทเรียนรู้กับบทบาท “เจ้าป่า” ที่ คุณค่า” ท่านย�้ำอยู่เสมอว่า การมองเรื่อง ท่านเล่าให้เราฟังแบบแฝงด้วยธรรมะและ ป่าไม้แม้เป็นเรื่องที่ต้องดูแลและร่วมใจกัน ความเป็ น ธรรมชาติ ข องความต้ อ งการ ปลูกให้ผืนป่ากลับมาอีกครั้งในการหล่อเลี้ยง ทรัพยากรและการจัดการป่าของมนุษย์ สรรพชี วิ ต ทั้ ง หลาย แต่ สิ่ ง ที่ ข าดไม่ ไ ด้ การมาพบกันระหว่างเถาวัลย์กับ นอกเหนือจากการใช้สมองด้านบนกับความ ความขั ด แย้ ง ข้ อ สั ง เกตในป่ า ใหญ่ ข อง เป็นมนุษย์สัมพันธ์กับสิ่งรอบตัวแล้วนั้น คือ หลวงตาท่ า น ยั ง สะท้ อ นเรื่ อ งราวผ่ า น “สายตาหรือมุมมอง” สายตาหรือมุมมอง ประสบการณ์ มุมมอง และความขัดแย้งใน ต่อการคิดให้คุณค่ากับการให้มูลค่ามีความ สังคมมนุษย์ ท่านเล่าเรื่องราวกับพลังงาน แตกต่างกันมาก ถ้าเรารู้ว่า ป่าไม้มีคุณค่า ที่เปี่ยมด้วยการตั้งค�ำถามปนความสงสัย เราจะปฏิบัติต่อป่าแบบความใส่ใจ รักษา ใคร่รู้ ระหว่างการอาศัยเกื้อกูลระหว่างกัน และรู้คุณ กตัญญู แต่ถ้าเมื่อใดแล้วสายตา ของต้นไม้และความสมานสามัคคีในสังคม เราตั ด สิ น และมองด้ ว ยมู ล ค่ า ป่ า ก็ คื อ มนุษย์ว่า “บางทีเรา เอ๊ะ! เราอยู่ป่า ต้นไม้ ทรัพยากรที่สร้างผลประโยชน์และมีมูลค่า มันต่างชนิดกัน ไม่เคยทะเลาะกัน แล้วท�ำไม ราคา ส�ำหรับการอยู่บนความสัมพันธ์แบบ คนเราถึงทะเลาะกัน เราท�ำวิธีการอาศัย ซื้อขาย ท่านเล่าแบบให้เราสองคนฉุกคิดว่า เกื้อกูลได้ไหม เถาวัลย์ เศษต้นไม้ใหญ่ๆ ที่ ประสบการณ์ของท่านที่เข้าไปสัมพันธ์กับ สลายแล้ว ต้นไม้เล็กๆ ก็ไปอยู่อาศัยกินได้ เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ แล้วท่านโยนค�ำถาม บางทีเราเรียกมันว่าความสมานสามัคคี” ให้ลองตอบดูวา่ “ถามก่อนว่า รูไ้ หมว่าป่าไม้ “มนุ ษ ย์ ที่ เ ข้ า ไปท�ำแล้ ว ขั ด แย้ ง นี่ ที่ สู ญ และเหลื อ น้ อ ย เพราะอะไร มู ล ค่ า คุ ณ ค่ า และความเป็ น มนุ ษ ย์ เป็ น การ เป็นเพราะผลประโยชน์ที่ต้องการ แต่ไม่ สอดคล้องกับความเป็นจริง ถ้าให้สอดคล้อง ท�ำร้ายตัวเองไหม”

20 �������������.indd 166

11/28/16 11:01 AM


167

กับความเป็นจริง ถึงมันจะได้ผลประโยชน์บ้าง ความขัดแย้งก็ไม่มีอยู่ ทีนี้ความ ต้องการมันล�้ำเส้นที่มีอยู่ เราก็ยกเลยว่า ท�ำอย่างไรถึงจะพอเพียงหรือว่าพอดี แล้วใช้ความรู้ที่ถูกต้องคือ ธรรมะ เราใช้วิธีของการพูดคุย ใช้ธรรมะนะ ไม่ใช้ อัตตาหรือตัวเราเป็นตัวคุย เราใช้มิติของต้นไม้ต้นหนึ่ง มันมีหลายสิ่งอยู่รอบๆ เราชอบแบบไหน เราจะใช้แบบไหน แล้วเราจะอยู่แบบไหนไม่ให้ขัดแย้ง แต่ เรายังได้ผลประโยชน์ เรายังมีกินมีใช้” แล้วการเดินทางเล่าเรื่องกับหลวงตาสายในมิติ ของการเรียนรู้ ประสบการณ์ตา่ งๆ “ลมหายใจแห่งไพร สายใยแห่งพุทธะ” เป็นลมหายใจที่โยงใยประสานกัน ระหว่า งความเป็ นหลวงตาสายกับ การปลูก ป่า เพื่ อ หล่อเลี้ยงสายใยของสรรพชีวิต โดยให้บทเรียนกับเรา ว่า เถาวัลย์ป่าและต้นไม้ เป็นแบบฝึกหัดส�ำหรับตั้ง ข้อสังเกตของการเรียนรู้ ธรรมะกับธรรมชาติ ชัยชนะ กับการรูค้ วามหมายของค�ำว่า “พอเพียง” การร้อยเรือ่ งราว ของการปลู ก ป่ า มาสู ่ ห ลั ง ฉากของการรู ้ จั ก อารมณ์ อายตนะ การปลูกส�ำนึกในตัวเรา เส้นขอบของความ พอดี มาสู่การเลือกวิถีของการปลูกพืชผักสวนครัว สวนผลไม้ การเอื้อเฟื้อ ความมีเมตตาต่อสรรพสิ่ง ทั้งหลาย ล้วนเป็นพลัง “ลมหายใจ” ที่ถักทอด้วยสายใย แห่งพุทธะ อันหมายถึงการตื่นขึ้นเพื่อตระหนักรู้ถึง สรรพสิ่งรอบตัวเรา และเคลื่อนไปปกป้องพิทักษ์รักษา ผืนป่าที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ป่าอย่างเดียว แต่นั้นคือสายใย แห่งชีวิตที่ต่อลมหายใจให้อีกหลายสิ่งด�ำรงชีวิต เราสองคนจบเรื่องราวลงด้วยความประทับใจค�ำกล่าวของหลวงพ่อสาย ที่ว่า “ความสุขที่ไม่หวาดระแวง เป็นภาวะที่เรียบง่ายและพอดีของชีวิต” ธรรมะอยู่ในศิลปะคือความงาม และศาสตร์คือความรู้ ถ้ารู้จักน�ำมาใช้ก็จะท�ำให้ ทั้งสองตัวนี้เคลื่อนไปพร้อมกัน...

20 �������������.indd 167

11/28/16 11:01 AM


20 �������������.indd 168

11/28/16 11:01 AM


ธวัชชัย จันจุฬา

สถานธรรมปลีกวิเวก ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ พระ ดร.ฐานี ฐิตวิริโย เจ้าส�ำนักสถานธรรมปลีกวิเวก

บ้านหลังที่สองของเด็กเยาวชนชายแดน เวียงแหง เมืองชายแดน เส้นทางเดินทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เส้นทางการค้าการคมนาคมขนส่ง เส้นทางล�ำเลียงยาเสพติด เส้นทาง การอพยพหนีภัยสงครามของชุมชนในเขตพม่าเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐาน บนผืนแผ่นดินไทย ขาดที่อยู่อาศัยไร้ที่ท�ำกิน กลายเป็นแรงงานอพยพ กลายเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ลูกหลานที่ตามมากับพ่อแม่ขาดโอกาสทาง การศึกษา ไม่มีพื้นที่ให้ได้รับการเรียนรู้ บางครอบครัวมาตั้งถิ่นฐานอยู่ นานนับสิบปี แต่สถานะยังคงเป็นบุคคลต่างด้าว บางครอบครัวอพยพ เข้ามาพึ่งพิงประเทศไทยเพื่อให้รอดจากภัยสงคราม หวังเพียงเพื่อจะให้ ลู ก หลานได้ เ รี ย นหนั ง สื อ รู ้ ภ าษาไทย ด้ ว ยสถานะทางบุ ค คลที่ ไ ม่ ใ ช่ สัญชาติไทย อยู่บนผืนแผ่นดินไทยแต่ไม่มีโอกาสดังเช่นเด็กทั่วๆ ไป แม้จะ มีโอกาสบ้าง สภาวะการอยู่ การกิน ความยากจน ไม่สามารถส่งลูกเรียน หนังสือได้ ในขณะเดียวกันผู้คนที่ตั้งรกรากถิ่นฐานเดิมจนได้รับสถานะเป็น

20 �������������.indd 169

11/28/16 11:01 AM


170

คนไทย ยังเผชิญกับความยากจน พ่อแม่ แยกทางกั น เด็ ก เยาวชนแม้ จ ะได้ เ รี ย น หนังสือแต่ก็ไม่จบระดับประถมศึกษาด้วย ซ�้ำไป “วัด” จึงเป็นพื้นที่สร้างการเรียนรู้ การศึกษาให้กบั เด็กเยาวชนเหล่านีไ้ ด้เข้ามา ศึ ก ษาเล่ า เรี ย นทางสายพระปริ ยั ติ ธ รรม (นักธรรมตรี-เอก) ทางสายสามัญ (ชัน้ มัธยม ศึกษาปีท่ี ๑ – มัธยมศึกษาปีที่ ๖) ท�ำให้ โรงเรียนปริยัติธรรมฯ แห่งนี้ไม่ใช่เพียงแค่ สถานศึกษาทางธรรมและทางโลกเท่านั้น แต่ยังเปรียบเสมือนบ้านหลังที่สองของเด็ก หลายๆ คนทีไ่ ม่มโี อกาสโดยการเพาะบ่มของ พระอาจารย์ ดร.ฐานี ฐิ ต วิ ริ โ ยที่ เ ป็ น ทั้ ง

พ่อ แม่ ผู้ปกครองของเด็ก เยาวชน ผ่าน กิจกรรมในโรงเรียน เช่น การจั ด ค่ า ยคุ ณ ธรรมให้ แ ก่ เ ด็ ก เยาวชนลูกหลานอ�ำเภอเวียงแหง ที่ศูนย์ เรียนรูต้ ามแนวทางพระราชด�ำริเศรษฐกิจ พอเพียงแห่งนี้ ใช้หลักการ “คนสร้างค่าย ค่ายสร้างคน” จัดอบรมบ่มเพาะเมล็ดกล้า ทางความคิดให้แก่เยาวชนตามตะเข็บชายแดน ในแต่ละปีมีนักเรียนตามโรงเรียนต่างๆ มา เข้าค่าย ฝึกฝนพัฒนาตน โดยได้ใช้หลัก เศรษฐกิจพอเพียง กับหลักพุทธธรรม น�ำสู่ การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เช่น การท�ำบ้ า นดิ น การท�ำนา การปลู ก พื ช ปลอดสารพิษ เป็นต้น ถือว่าเป็น คนสร้าง ค่าย ส่วนวิทยากรในแต่ละฐาน เป็นสามเณร พี่เลี้ยง ที่พัฒนาตนขึ้นมาเป็นวิทยากรให้ ความรู ้ แ ละแลกเปลี่ ย นกั บ ผู ้ เ ข้ า รั บ การ อบรม ดังนั้นจึงเป็นการใช้ค่ายสร้างคน ฝึก สามเณร เป็ น ผู ้ ถ ่ า ยทอด ผู ้ ผ ลิ ต สื่ อ เพื่ อ สื่อสารกับเยาวชนที่มาค่าย

การจัดกิจกรรมก่อตั้งเยาวชนคนเข้าวัด พัฒนาเป็นเยาวชนแกนน�ำ คุณธรรม โดยปกติส่วนใหญ่ของชุมชนไทใหญ่ทุกวันพระ ผู้เฒ่าผู้แก่จะมา นอนวัดกัน แต่หากจะให้เด็กนักเรียน เยาวชนมานอนวัด หากไม่ตรงกับเสาร์ หรืออาทิตย์แล้ว เด็กก็จะไม่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรม ฉะนั้น จึงได้จัดให้เยาวชน มานอนวัดทุกวันเสาร์ พร้อมกับจัดตั้งเป็นกลุ่มเยาวชนที่เรียกตัวเองว่า “เยาวชน คนเข้าวัด” ภายใต้สโลแกนที่ว่า “วันนี้เป็นต้นกล้า วันหน้าจะเป็นต้นไม้ใหญ่”

20 �������������.indd 170

11/28/16 11:01 AM


171

และร่วมกันท�ำกิจกรรมที่กลุ่มอยากท�ำ เช่น การท�ำเสื้อรณรงค์ การจัดทัวร์ ท่องเที่ยวโบราณสถาน วัดวาอาราม ที่ ส�ำคั ญ ใน อ.เวี ย งแหง เรี ย นรู ้ ไ ป ด้วยจัดเก็บขยะไปด้วย จัดกิจกรรม ระดมทุนหางบประมาณเข้ากองทุน เช่ น การจั ด กิ จ กรรมสอยดาวเมื่ อ มีงานประเพณีในหมู่บ้าน และการ เข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมตามวั ฒ นธรรม ประเพณี ส�ำคั ญ ๆ เพื่ อ ร่ ว มแสดง ศิลปะ วัฒนธรรม นั่นเป็นกิจกรรมที่ท�ำอยู่หลายปี นับแต่นั้นมาเยาวชนคน เข้าวัดถูกพัฒนาเป็นเครือข่ายนักเรียนแกนน�ำคุณธรรม โดยมีการฝึกพัฒนา ทักษะชีวิต และจิตอาสา ส�ำนึกรักษ์บ้านเกิด เป็นต้น หลักคิดจิตอาสา ร่วมกับ หลักเมตตาธรรม น�ำสู่การร่วมมือระหว่าง สามเณรชายแดน กับเยาวชนออสเตรเรีย ศูนย์แห่งนี้ ได้ท�ำข้อตกลงความ ร่วมมือที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วัฒนธรรมประเพณี และการฝึกปฏิบัติภาวนา และภาษาอังกฤษ ระหว่าง สามเณรที่อยู่ประจ�ำสถานธรรม กับนักเรียนจาก คาร์ดิเนียสัมพันธ์ ประเทศออสเตรเรีย โดยในแต่ละปีจะส่งนักเรียนมาอยู่ แลกเปลี่ยน ๖ ค่าย ตลอดระยะเวลา ๗ ปีที่ผ่านมา ท�ำให้หลักพุทธธรรม กับความเมตตาธรรม จิตอาสาน�ำสู่ความสัมพันธ์ระหว่างสามเณรกับชาว ต่างชาติอย่างไม่ขาดสาย ศูนย์เผยแพร่คุณธรรมเพื่อชุมชน ฝึกฝนให้สามเณรได้เรียนรู้ผ่าน การปฏิบัติงานจริง พัฒนาขีดความสามารถ ความถนัดของแต่ละคน โดย การให้สามเณรได้เป็นวิทยากรผ่านการบรรยาย ฝึกเทศน์ในกิจกรรมการ จัดค่ายคุณธรรม การฝึกฝนสามเณรเทศน์เมื่อมีนิมนต์ไปร่วมงานพิธีต่างๆ ของ ชาวบ้าน รวมทั้งการฝึกเทศน์ไปตามสถานศึกษาต่างๆ ในพื้นที่อ�ำเภอเวียงแหง

20 �������������.indd 171

11/28/16 11:01 AM


172

นอกจากนี้ จะเป็นวิทยากรฝึกอบรมค่ายคุณธรรมในสถานธรรม และใน แต่ละฐานการเรียนรู้ รวมถึง การผลิตสื่อธรรมะเพื่อการสื่อสารกับเยาวชน สามเณร ทุบรั้วก�ำแพง สร้างศูนย์บริการคุณธรรม เกิดขึ้นจาก หลักคิดที่ว่า “โรงเรียนไม่มีรั้ว ความรู้ไม่มีก�ำแพง” ทุบก�ำแพงเพื่อที่จะพา สามเณรออกไปเทศน์ บรรยายข้างนอก ด้วยการท�ำกิจกรรมทีเ่ รียกว่า “ธรรมะ สัญจร” ไปเทศน์ในตอนกลางคืนของวันพระให้คนนอนวัด และเทศน์ตอน กลางวันเมื่อโรงเรียนปริยัติธรรมเปิดเรียน จึงได้รับความสนใจจากผู้ใหญ่ นายอ�ำเภอ ผู้ใหญ่บ้าน และให้การสนับสนุนกิจกรรม จึงเป็นที่มาของ “สภาสามเณร” เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของสามเณรในการท�ำงานจาก การปฏิบัติจริง ไม่ใช่เพียงธรรมโอวาทเพียงอย่างเดียว แต่จะให้สามเณร เทศน์เป็น ฝึกฝนเป็นผู้ให้ ไม่ใช่ผู้รับอย่างเดียว ปัจจุบนั มีศนู ย์ทเี่ รียกว่า “ศูนย์บริการ คุ ณ ธรรม” ทั้ ง นี้ กิ จ กรรมของสภาจะถู ก ประเมิ น เป็ น รายบุ ค คลจากสมุ ด ความดี เมื่ อ มี ก ารจั ด กิ จ กรรมครั้ ง ใด ทั้ ง งานค่ า ย งานออกไปเทศน์ข้างนอก การจัดรายการ วิทยุชุมชน ทุกครั้งจะบันทึกความดีไว้ใน สมุ ด ดั ง กล่ า ว ส่ ว นการบริ ห ารจั ด การฯ มีทุนการสนับสนุนกิจกรรมส่วนหนึ่ง อีก ส่วนหนึ่งได้มาจากการออกไปเทศน์ ไปจัด กิจกรรมบรรยาย เมื่อได้ปัจจัยมาจะรวมเข้า กองกลาง จัดตั้งเป็นกองทุนสภาเพื่อใช้ใน กิจกรรมของคณะกรรมการสภาฯ เป็นหลัก

20 �������������.indd 172

จัดตั้งวิทยุชุมชน ช่องทางการสื่อสาร ของคนชายแดนที่ห่างไกล เวียงแหงเป็น เมืองที่ห่างไกลทั้งด้านการคมนาคมขนส่ง การสื่ อ สาร จึ ง เป็ น อุ ป สรรคต่ อ การรั บ รู ้ ข่าวสารของชุมชนเป็นอย่างยิ่ง วิทยุชุมชน จึงเป็นช่องทางของการเปิดพืน้ ทีก่ ารสือ่ สาร ภายในของชุมชนเวียงแหง พระอาจารย์ฐานี จึงร่วมกับเครือข่ายองค์กรชาวบ้านในนาม เครือข่ายทรัพยากรลุ่มน�้ำแม่แตง ร่วมกัน จัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนขึ้นมาในปี ๒๕๔๗ คลื่น FM ๘๙ Mhz เป็นสถานีวิทยุชุมชน สถานีแรกของอ�ำเภอเวียงแหง เปิดพื้นที่

11/28/16 11:01 AM


173

การสื่ อ สารและการฝึ ก ฝนพั ฒ นานั ก จั ด รายการวิทยุทั้งเด็ก เยาวชน สามเณร กลุ่ม องค์กรชาวบ้าน หรือหน่วยงานราชการใน พื้นที่ มาร่วมกันจัดรายการ โดยมีหลักคิด ส�ำคัญ “การสื่อสารสร้างสุข” ช่วงแรก ทั้งผู้ฟังและผู้จัดการรายการ มีจ�ำนวนมาก เป็นประโยชน์ยิ่งต่อการเรียก พลั ง การต่ อ สู ้ การเคลื่ อ นไหวของชุ ม ชน เวียงแหงกับการต้านเหมืองลิกไนต์แต่เมื่อ

ท�ำไปได้ระยะหนึ่ง ปัจจัยการสนับสนุนการ บริหารจัดการสถานีวิทยุชุมชนโดยเฉพาะ กับผู้จัดรายการที่ทางสถานีไม่ได้ช่วยเหลือ เรื่องการเดินทางแต่อย่างใด เนื่องจากเป็น สถานีวิทยุชุมชนที่ไม่แสวงหาก�ำไร ไม่มีการ โฆษณา จึงต้องพึ่งตนเอง ใช้จิตอาสาในการ เข้ามาร่วมจัดรายการ จึงท�ำให้นักจัดรายการ เริ่มถอยห่างไป ปัจจุบันมีนักจัดรายการที่ เป็นฆราวาสสองคน และเป็นห้องเรียนวิชา ชมรมของโรงเรียนปริยัติธรรมฯ ฝึกฝนพระ ให้เป็นนักพูด สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันร่วม จัดรายการ “ข่าวสารบนฐานพุทธธรรม”

แสงแห่งธรรมนำ�ทาง ในปี ๒๕๔๙ สถานปฏิ บั ติ ธ รรม ปลีกวิเวก ก็ได้ถูกสร้างขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ แก่พระศาสนา ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านกองลม หมู่ที่ ๒ ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ บนพื้ น ที่ ก ว่ า ๗๐ ไร่ โดยแบ่ ง เป็ น พื้ น ที่ ส�ำหรั บ กุ ฏิ ที่ พั ก สงฆ์ ส ามเณร และผู ้ ม า ปฏิ บั ติ ธ รรมเป็ น ศู น ย์ บู ร ณาการร่ ว มด้ ว ย ช่วยกันของวัด บ้าน โรงเรียน ชุมชน ให้ ผู้ด้อยโอกาส ในขณะเดียวกันยังเป็นแหล่ง พัฒนาขีดความสามารถของสามเณรเยาวชน ให้เรียนรู้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ควบคู่

20 �������������.indd 173

11/28/16 11:01 AM


174

ไปกับการยกระดับความคิด พัฒนาจิตใจให้เป็นศาสนทายาทที่ดี เป็น ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ทางการเกษตร ปลูกดอกไม้ ไม้ยืนต้น ท�ำสมุนไพร โดยรวบรวมพันธุ์พืชในพื้นที่อ�ำเภอเวียงแหง และเป็น พื้นที่ในการท�ำบ้านดิน กุฏิดิน ท�ำนา และท�ำการเกษตร จนเกิดเป็น โครงการ “อาหารมื้อเพลให้เณรได้ศึกษาธรรม” โดยสอนให้พระเณร ปลูกทุกอย่างที่ฉัน ฉันทุกอย่างที่ปลูกให้ได้ ศึกษาวิจัยเรื่องกระเทียม เก็บข้อมูลผู้ปลูกกระเทียมในพื้นที่ อ�ำเภอเวียงแหง เพราะเห็นถึงศักยภาพ ต้นทุนการผลิต และรายได้ ของชุมชนอ�ำเภอเวียงแหงโดยส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาผลผลิต “กระเทียม” การศึกษาวิจัยเรื่องอาหารไตศึกษา บรรจุให้เป็นวิชาการเรียน การสอนโรงเรี ย นปริ ยั ติ ธ รรมศึ ก ษา ในวิ ช า ศึ ก ษาชุ ม ชน พั ฒ นา เป็ น หลั ก สู ต รท้ อ งถิ่ น ในระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาตอนปลาย ม.๕–ม.๖ โดยกระบวนการวิ จั ย ลงพื้ น ที่ ดู ก ารท�ำอาหารไตแต่ ล ะอย่ า งว่ า มี ส่วนประกอบอะไรบ้าง ท�ำอย่างไร และมีความส�ำคัญอย่างไร พร้อม ภาพประกอบ เนื่ อ งจากอาหารไตแต่ ล ะอย่ า งนั้ น ล้ ว นแล้ ว แต่ เ ป็ น อาหารเฉพาะถิ่น โดยมีส่วนประกอบที่ส�ำคัญ คือ ถั่วเน่า๑ เป็นอาหาร หลักที่ขึ้นชื่อของอ�ำเภอเวียงแหง สิ่ ง ส�ำคั ญ ของการจั ด ตั้ ง สถานปฏิ บั ติ ธ รรม “ปลี ก วิ เ วก” มี วัตถุประสงค์คือ

ถั่วเน่า หมายถึง ถั่วเหลืองที่น�ำมาต้มจนสุก ผ่านกระบวนการต�ำ บดให้ละเอียด แล้วน�ำมาแปรรูปเป็นแผ่นกลมๆ คล้ายแผ่น ซีดี น�ำไปเป็นเครื่องประกอบอาหาร ของคนไต ทั้งแกง ผัด น�้ำพริก และต้ม

20 �������������.indd 174

11/28/16 11:01 AM


175

แหล่ ง เรี ย นรู ้ แ นวทางเศรษฐกิ จ พอเพียง เป็นวิถีที่สามเณรท�ำเป็นกิจวัตร ประจ�ำวัน ทั้งท�ำนาท�ำสวน ท�ำฝาย ปลูก พืชผักสวนครัวไว้กินเรียนรู้ไปด้วย เรียนรู้ ปฏิบัติจนเป็นชุดความรู้ที่สามเณรสามารถ ถ่ า ยทอด แลกเปลี่ ย นหรื อ ปฏิ บั ติ ก ารกั บ ๒. เป็นศูนย์ปฏิบตั ธิ รรมแก่พระภิกษุ ผู ้ ม าเยี่ ย มเยื อ น ในเรื่ อ งต่ า งๆ ที่ เ รี ย กว่ า สามเณร นักเรียน เยาวชน ประชาชนทั่วไป “ฐานการเรียนรู้” ประกอบไปด้วย ฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับการท�ำนา ๓. เป็ น สถานที่ อ บรม เข้ า ค่ า ย คุณธรรมแก่เยาวชน สถานศึกษา ตลอดจน “กว่าจะมาเป็นข้าวก้นบาตร” มีต้นทุนที่นา แหล่งน�้ำ ที่สามารถผลิตข้าวได้ทั้งปี ร่วม พระภิกษุสามเณรประชาชนทั่วไป เรียนรูก้ บั ชาวนามาถ่ายทอดจนกลายเป็นวิถี ๔. เป็นที่พักสงฆ์ ปฏิบัติ เพียงเพื่อหวังให้ลูกเณรได้ตระหนัก ๑. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ตามแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นที่รวบรวมภูมิปัญญา ท้องถิ่น สวนสมุนไพร สวนผักปลอดสารพิษ การท�ำนาตลอดปี เผยแพร่สร้างการเรียนรู้ ให้แก่ชุมชน สถานศึกษาและหน่วยงานที่ สนใจ

20 �������������.indd 175

11/28/16 11:01 AM


176

ถึงความทุกข์ยากล�ำบากกว่าจะได้ขา้ วมาฉัน จากนั้นสามเณรรุ่นพี่ สภาสามเณร เป็นผู้ ถ่ายทอดต่อรุ่นน้อง และเผยแพร่ความรู้ กับเยาวชน จิตอาสา และผู้มาเยี่ยมเยือน ส�ำนักปฏิบัติธรรม ฐานการเรียนรู้การปลูกผักปลอด สารพิษ เป็นการใช้พื้นที่ว่างๆ บริเวณส�ำนัก ปฏิบัติธรรม เป็นพื้นที่ที่สามเณรได้ร่วมกัน ปลู ก พื ช ผั ก สวนครั ว โดยเฉพาะพื ช ผั ก อาหารท้องถิ่น แต่ละคนมีหน้าที่ตั้งแต่ปลูก ดู แ ล รั ก ษา อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ขึ้ น แปลงคั น ดิ น ลองผิ ด ลองถู ก ก่ อ เกิ ด บ้ า นดิ น ขึ้ น มา ปลู ก พื ช ตามฤดู ก าล ไว้ เ ป็ น อาหารเพล โอบล้อมสระนำ�้ ทีอ่ ยูก่ ลางส�ำนักปฏิบตั ธิ รรม ส�ำหรับสามเณรได้ศึกษาธรรม ทั้งเป็นที่พ�ำนักสามเณรที่พักญาติโยมที่มา ฐานการเรียนรู้บ้านดิน บ้านดินถูก เยี่ยมเยือน ที่พักบุคคลที่เข้ามาหนุนเสริม สร้างขึ้นบริเวณส�ำนักปฏิบัติธรรม ผ่านการ ช่วยเหลือส�ำนักปฏิบัติธรรม และการสร้าง เรี ย นรู ้ ข องสามเณรที่ ส ่ ง ไปอบรมกั บ ผู ้ รู ้ บ้านดินถูกบรรจุเป็นหลักสูตรการเรียนการ บ้านดิน เมื่อกลับมาจึงร่วมกันทดลองสร้าง สอนของโรงเรียนปริยัติฯ

20 �������������.indd 176

11/28/16 11:01 AM


177

ฐานการเรียนรู้การจัดท�ำน�้ำยา EM ปุ๋ยหมักชีวภาพ แปลงผัก ที่นา ที่สวนหลีก เลี่ยงการใช้สารเคมีโดยสามเณรได้รับการ เรียนรู้จากอาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มา สอนการท�ำน�้ำยา EM และน�้ำปุ๋ยหมักชีวภาพ เศษอาหาร พืชผัก จะถูกหมักเพื่อใช้ทดแทน สารเคมี ฐานการเรียนรู้สมุนไพร สร้างการ เรียนรู้ถึงความส�ำคัญของป่า ที่ให้พืชสมุนไพร หลากหลายชนิดโดยเฉพาะสมุนไพรดั้งเดิม ที่ ห มอยาพื้ น บ้ า นเวี ย งแหงน�ำมาเป็ น ยา รักษาโรค จึงต้องรักษาพันธุกรรมสมุนไพร ด้วยการน�ำมาปลูกบริเวณส�ำนักปฏิบตั ธิ รรม ให้สามเณรได้รู้จัก เรียนรู้ในคุณค่าสรรพคุณ ของสมุนไพรแต่ละชนิด ณ วันนี้ สถานธรรม ปลีกวิเวก เป็น ทั้งศูนย์การเรียนรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม ประจ�ำอ�ำเภอเวียงแหงและพื้นที่ใกล้เคียง และยังยึดหลัก “ทางโลกไม่ให้ช�้ำ ทางธรรม ไม่ ใ ห้ เ สี ย ”เป็ น ค�ำพู ด ที่ พ ระอาจารย์ ฐ านี มักย�้ำอยู่เสมอหมายความว่าทางโลกไม่ให้ช�้ำ เป็นการเรียนรู้ สืบทอด และถ่ายทอด ทั้ง ในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านกิจกรรมการ

20 �������������.indd 177

เรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติการจริง ทั้ง ท�ำนา ท�ำสวนปลู ก ผั ก ปลอดสารพิ ษ ท�ำ บ้านดิน ท�ำสวนสมุนไพร รวมทั้งสถานศึกษา โรงเรียนปริยัติธรรมฯ ยังเป็นศูนย์เรียนรู้ การผลิตไฟฟ้าด้วยระบบแสงอาทิตย์ ใน ทางธรรมไม่ให้เสียเป็นการเรียนรู้โดยการ จัดอบรมค่ายคุณธรรมแก่เยาวชนในพื้นที่ ผ่านกิจกรรมทั้งการเทศน์ การอบรมตาม สถานศึกษาต่างๆ ของอ�ำเภอเวียงแหง จัด กิจกรรมค่ายพุทธบุตร หลักสูตร ๒ คืน ๓ วัน ถ่ายทอดส่งเสียงธรรมะผ่านวิทยุชุมชน การร่วมแลกเปลีย่ นกับคณะทีม่ าศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยน เช่นคณะสงฆ์จากภูฏาน จาก ประเทศพม่า หรือพระสงฆ์ในประเทศ รวมถึง สถานศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย ต่ า งๆ เช่ น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา และยังเป็นที่ตั้งของการ จัดการเรียนการสอนให้กับผู้สูงวัย ภายใต้ ชื่อโรงเรียนผู้สูงวัยต�ำบลเมืองแหง จึงกล่าว ได้ว่า สถานธรรมแห่งนี้ มีวิถีธรรมที่น�ำการ พัฒนาทั้งเยาวชน นักเรียนนักศึกษา พระ สงฆ์สามเณร ผูส้ งู อายุ ครบครันบนแนวทาง แห่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พอเพียง เคียงธรรมอย่างแท้จริง

11/28/16 11:01 AM


20 �������������.indd 178

11/28/16 11:01 AM


ธวัชชัย จันจุฬา

วัดสวนร่มบารมี ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก พระครูโฆสิตธรรมสุนทร / เจ้าอาวาสวัดสวนร่มบารมี เจ้าคณะอ�ำเภอพรหมพิราม วัดสวนร่มบารมีในอดีตนั้น เป็นเพียงพื้นที่ว่างเปล่า เป็นป่าลุ่มๆ ดอนๆ จนกระทั่งพระครูโฆสิตธรรมสุนทรได้ถูกส่งมาจ�ำพรรษาที่นี่ ท่าน ได้พัฒนาพื้นที่วัดให้พร้อมส�ำหรับการมาท�ำบุญของญาติโยม ไปพร้อมๆ กับการเป็นวิทยากรอบรมผู้ติดยาเสพติด ซึ่งเป็นสิ่งที่ท่านเคยท�ำอยู่มา ตั้งแต่สมัยเป็นฆราวาส ถึงขนาดว่าผู้ปกครองของเด็กติดยาที่ทราบข่าว ท่านได้บวชอยู่ที่วัดแห่งนี้ ก็ยังพาเด็กมาให้ท่านช่วยบ�ำบัดรักษา จนวัด สวนร่มบารมีกลายเป็นสถานที่บ�ำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ด้วยเทคนิคที่ ท่านแนะว่า “ครั้งแรกดูแลร่างกายของเขา สุขภาพของเขามันเป็นทาส ของยาเสพติดไปทั้งหมด เราก็ให้ยารักษาให้หมดพิษยาเสพติดก่อน แต่ พิษทางใจเราต้องรักษาด้วยสมาธิภาวนา เราต้องอบรมสั่งสอนเขาว่าอะไร ควรอะไรไม่ควร” ท่านอธิบายถึงกระบวนการท�ำงาน การบ�ำบัดผู้ติดยา เสพติดไม่ใช่ว่าอบรมเพียงข้ามคืนแล้วปล่อยเขากลับไป แต่กระบวนการ ที่ท่านท�ำนั้น เป็นกระบวนการต่อเนื่อง ซึ่งใช้รูปแบบของกองทัพธรรม กองทัพไทย นั่นก็คือ “บ้านเปลี่ยนวิถี”

20 �������������.indd 179

11/28/16 11:01 AM


180

เปิดประตูเยี่ยมบ้าน ท่านเล่าให้ฟงั ว่า การได้ท�ำงานบ�ำบัดผูต้ ดิ ยาเสพติดหลายๆ รุน่ ท�ำให้ พบว่า ล�ำพังการอบรมให้ความรู้อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของผู้ติดยาเสพติดได้ เพราะการติดยาเสพติดนั้นไม่เพียงแต่ เกี่ยวข้องกับผู้เสพเพียงอย่างเดียว แต่มันสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง ชุมชน และสังคมที่เขาด�ำรงอยู่ การใช้วิถีเกษตรพอเพียงจึงถูกประยุกต์มาใช้ใน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เสพ เราก็มีโครงการบ้าน ๑ ไร่ ให้เขา เอาลูกเอาเมียมาอยู่ด้วยถ้าเขามี แล้วก็ด�ำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียง ปลูกผัก ปลูกหญ้า ขายไป ท�ำไป ให้มีชีวิตอยู่ได้ นี่คือบ้าน เปลี่ยนวิถี บ้ า นเปลี่ ย นวิ ถี ใช้ ห ลั ก คิ ด ส�ำคั ญ ก็ คื อ การเข้ า มาอาศั ย อยู ่ ที่ นี่ เหมือนกับอยู่บ้านของตนเอง และด�ำเนินชีวิตไปตามปกติ ไม่มีจ�ำกัดเวลา ว่าจะอยู่มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่าผู้บ�ำบัดรายนั้นแข็งแรงทั้งสภาพ ร่างกายและจิตใจจนพร้อมจะช่วยตัวเองหรือยัง เมื่อเขาประเมินตนเอง แล้วว่าสามารถที่จะกลับไปอยู่ในชุมชนเดิมได้โดยที่ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับ ยาเสพติดแล้ว เขาก็สามารถไปได้ตลอดเวลา

20 �������������.indd 180

11/28/16 11:01 AM


181

นัน่ ก็หมายความว่าเขามีภมู คิ มุ้ กันทีด่ ี ท�ำให้สามารถเลิกได้อย่าง ถาวร ปัจจุบนั วัดสวนร่มบารมี มีหลายครอบครัวทีม่ าอยูว่ ดั และด�ำเนิน ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากถึง ๒๐ คน หรือประมาณ ๕-๖ ครอบครัว หลวงพ่อเล่าด้วยความปลื้มปีติว่า “สิ่งที่ภาคภูมิใจมาก ที่สุดก็คือ เวลาที่อาตมาไปห้างโลตัส บิ๊กซี มีเด็กเข้ามากราบเรากับพื้น หลวงพ่อจ�ำผมได้ไหมครับ ที่เข้าอบรมกับหลวงพ่อตอนนั้น ตอนนี้ ถ้า ไม่มีหลวงพ่อผมคงไม่มีวันนี้ นี่คือสิ่งที่เราภูมิใจมากที่สุด” จนปัจจุบัน วัดสวนร่มบารมีมีพื้นที่กว่า ๖๐ ไร่ สภาพโดยส่วน ใหญ่เป็นป่าชื้น แบ่งพื้นที่ในการใช้สอยเป็นสามส่วน ประกอบไปด้วย ส่วนที่เป็นอาคารสถานที่ส�ำหรับใช้อบรมเด็กเยาวชน และประกอบ ศาสนกิจของพระสงฆ์ ส่วนที่สอง เป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ โดยพระครู ท่านปล่อยให้เติบโตแบบธรรมชาติ แต่ก็มีการปลูกเพิ่มเติมมาเรื่อยๆ ส่วนที่สาม เป็นพื้นที่ส�ำหรับการเพาะปลูกและทดลองพันธุ์พืชผักต่างๆ

20 �������������.indd 181

11/28/16 11:01 AM


182

หล่อเลี้ยงการใช้ชีวิตอยู่ ผมเดิ น ลั ด เลาะไปตามท่ า นพระครู ฯ โดยมีถนนเส้นเล็กๆ ข้างทางเต็มไปด้วยป่าและ สมุนไพรต่างๆ พระครูทา่ นเล่าให้ฟงั ว่า “อาตมา ก็พอจะมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรอยู่บ้าง ที่นี่ เลยมี ส มุ น ไพรหลายชนิ ด ครั้ ง หนึ่ ง มี โ ยมที่ กรุงเทพฯ ที่รู้จักโทรมาบอกว่า มีคนถูกงูกัด แต่ตอนนี้มาโรงพยาบาลแล้ว ทางโรงพยาบาล อยู่ระหว่างการรักษา แต่อาการไม่ดีขึ้น หลวงพ่อ พอจะมีทางช่วยเหลือได้หรือเปล่า อาตมาก็ บอกว่า ลองดึงเส้นผมของเขาดูว่า ยังมียางติด ในรากผมหรือเปล่า ถ้ายังมียางติดบนรากผม การท�ำงานเรื่ อ งยาสมุ น ไพร ให้รีบพามาที่นี่ด่วน พอมาถึงอาตมาก็ให้กินยา ไม่เพียงแต่อนุรักษ์ยาสมุนไพรเท่านั้น สมุนไพร อาการก็ดีขึ้นตามล�ำดับ” ท่านเล่า ท่านได้มีการพัฒนาตัวยามาเรื่อยๆ โดย พลางก็เดินน�ำหน้าไป ส่งลูกศิษย์ไปเรียนเฉพาะทาง จนกระทั่ง จบมาก็มาช่วยงานที่นี่ อันนี้ก็ถือว่าเป็น เกราะอันหนึง่ ทีจ่ ะช่วยให้ทา่ นได้มาตรฐาน ตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศไว้ และในแง่การเผยแพร่ความรูใ้ ห้คนทีส่ นใจ เข้ามาศึกษาเรื่องยาสมุนไพรนั้น ท่าน ได้เขียนสูตรยาสมุนไพรชนิดต่างๆ ไว้ ข้างก�ำแพงพระอุโบสถ พร้อมกับต�ำรา ชนิดต่างๆ รอบพระอุโบสถ เพื่อให้ผู้ที่ เข้ามาภายในวัดได้เรียนรู้ ช่วยให้คนใน ชุมชนประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษา และสามารถดูแลตัวเองในเบื้องต้นเป็น

20 �������������.indd 182

11/28/16 11:01 AM


183

ผ่านป่าทึบออกมา เป็นพื้นที่โล่ง แสงแดดส่องลงมา แปลงผักเรียงกัน อยู่ประมาณ ๑๐ กว่าแปลง ซึ่งก�ำลัง เตรียมที่ลงผัก และบ่อซีเมนต์ส�ำหรับ การปลูกต้นกล้า สิ่งที่ท�ำให้ผมตื่นเต้น มากกว่านั้นก็คือ สวนกล้วยที่มีเนื้อที่ ขนาดไร่กว่า หลวงพ่อท่านชี้ให้ดูและ บอกว่า ในสวนกล้วยแห่งนี้เราจะปลูก พั น ธุ ์ ล ะต้ น นั่ น ก็ ห มายความว่ า ต้ น กล้วยที่เห็นนั้นมีหลากหลายพันธุ์ สวนกล้วย เป็นส่วนพระครูฯ ได้ใช้ส�ำหรับศึกษาดูงาน เรียนรู้ และ ทดลองพันธุ์ใหม่ๆ บางต้นก็ประสบ ความส�ำเร็จ บางต้นก็ยังไม่เจริญเติบโต ได้เต็มที่ พันธุ์กล้วยในประเทศไทยมี มากกว่า ๒๐๐ ชนิด แต่ที่นี่สามารถ รวบรวมได้ประมาณ ๑๒๐ สายพันธุ์ ไม่เพียงเท่านั้น ท่านยังสามารถแต่ง กลิน่ ได้ตามชอบใจ “ใช้มดี เฉาะไปจนถึง แก่นของต้นกล้วย แล้วใช้ไซริงค์ฉีดน�้ำ กลิ่นสตรอเบอรี่เข้าไป เพราะล�ำต้นจะ เอาไปเลี้ยง ลูกของมัน” ท่านอธิบาย กระบวนการให้ฟังอย่างผู้ช�ำนาญการ

20 �������������.indd 183

11/28/16 11:01 AM


184

เดินผ่านจากสวนกล้วย จะพบป้ายไวนิลอธิบาย “การท�ำเกษตร แบบบันได ๙ ขั้น” เพื่อให้คนที่เข้ามาศึกษาดูงานได้เรียนรู้ ซึ่งบันได ๙ ขั้นประกอบไปด้วย ๔ ขั้นแรกคือขั้นพื้นฐาน ๔ พอ พออยู่ พอกิน พอใช้ พอมีอากาศหายใจร่มเย็นสบาย สภาพแวดล้อมน่าอยู่อันเป็น พื้นฐานปัจจัยในการด�ำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ

พอที่ ๕ คือการด�ำรงอยูข่ องธรรมชาติ พอในขั้นที่ ๖ คือทาน ความเอื้อเฟื้อ ฝ่ายสูงของมนุษย์ด้วยการท�ำ “บุญ” ความ เผื่อแผ่ต่อคนเจ็บ คนป่วย คนพิการ เด็ก เจริญก้าวหน้าของพวกเราจึงไม่ได้วัดด้วย รวมทัง้ ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม GDP ที่เป็นตัวเงิน แต่เป็นบุญที่ปฏิบัติต่อ ผู ้ มี พ ระคุ ณ เช่ น พ่ อ แม่ ครู บ าอาจารย์ พระสงฆ์องค์เจ้า รวมถึงพระเจ้าแผ่นดิน

20 �������������.indd 184

11/28/16 11:01 AM


185

พอในขั้นที่ ๗ คือ รู้จัก เก็บ แปรรูป สะสมไว้ใช้ใน ยามจ�ำเป็น เช่น การแปรรูป อาหาร การเก็บรักษา สมุนไพร แห้งมาเป็นยา การรู้จักคิดค้น เครื่องมือ อุปกรณ์ สร้างสรรค์ เทคโนโลยีต่างๆ พอในขัน้ ที่ ๘ เมือ่ มีของ เหลือกิน เหลือใช้ หลังจากที่ ท�ำบุ ญ แจกจ่ า ยเป็ น ทาน เก็บสะสมไว้ใช้ยามจ�ำเป็นแล้ว จึง “ขาย” การค้า การพาณิชย์ การบั ญ ชี เป็ น ส่ ว นส�ำคั ญ ของเศรษฐกิจพอเพียง พอในขั้ น สุ ด ท้ า ยคื อ กองก�ำลั ง เกษตรโยธิ น คื อ หมู่คนที่ก�ำลังด�ำเนินชีวิตไป ตามบันไดสู่ความพอเพียง

20 �������������.indd 185

11/28/16 11:01 AM


186

การท�ำนา เป็นแนวทางหนึ่งที่วัด สวนร่มบารมีแบ่งพื้นที่ส�ำหรับท�ำกิจกรรม โดยใช้ ก ารท�ำนาแบบนาโยน ก็ คื อ เมื่ อ เพาะต้ น กล้ า เสร็ จ เรี ย บร้ อ ยแล้ ว จะโยน ต้ น กล้ า ลงไปในที่ น าที่ มี ก ารเตรี ย มดิ น มี การไถคราดเรียบร้อย เมื่อก่อนจะใช้การ โยนหรือการเหวี่ยงแรงๆ ให้ลงตามจุดต่างๆ ในที่นา แต่สมัยนี้มีการน�ำเครื่องจักรมาใช้ โดยเพียงแต่ป้อนต้นกล้าเข้าไป เครื่องก็จะ ดันออกมาและกระจายไปตามที่นา ไม่ต้อง เปลืองแรงคน

20 �������������.indd 186

11/28/16 11:01 AM


187

แม้ว่ากิจกรรมของวัดแห่งนี้จะมีมากมายจนไม่สามารถที่จะรวบรวม และสรุปออกมาได้ แต่หัวใจส�ำคัญอยู่ที่ค�ำว่า “เรียนรู้” หลวงพ่อท่านได้ พยายามอธิ บ ายตลอดเวลาว่ า วั ด แห่ ง นี้ ไ ม่ มี อ ะไรที่ ส มบู ร ณ์ แต่ ค ่ อ ยๆ เรียนรู้และส่งเสริมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม การเรียนรู้คือหัวใจส�ำคัญ เพราะการเรียนรู้ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง คน จะเกิดปัญญาได้ต้องมีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ซึ่งอีกสิ่งหนึ่งที่ท่านเน้นย�้ำ เสมอก็คือ การตั้งค�ำถาม เพราะค�ำถามน�ำไปสู่การเกิดปัญญาและได้ค�ำตอบ ที่ดีที่สุด ท่านบอกว่า “ส่วนใหญ่คนเรามักจะไม่ค่อยกล้าถามกัน กลัวว่า ค�ำถามของตัวเองโง่ กลัวจะอายเขา แต่โลกเจริญด้วยค�ำถามโง่ พัฒนาจาก ค�ำถามโง่เยอะมากมายทีเดียว เพราะฉะนั้น ถามตัวเองก่อนว่าอยากได้ อะไร ถ้าไม่รู้ให้ถามผู้รู้แล้วเอาไปพัฒนาตัวเอง” แม้วา่ วัดสวนร่มบารมีจะมีการพัฒนาและ ยกระดับความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่นี่ด้วยการ ฝึ ก อาชี พ โดยหลวงพ่ อ เป็ น ผู ้ ส นั บ สนุ น และ ส่งเสริมให้เกิดตามความต้องการของชาวบ้าน แต่สิ่งที่ยังเป็นหัวใจส�ำคัญก็คือการเป็นอยู่อย่าง พอเพียง โดยทุกอาชีพจะต้องมีหลักธรรมก�ำกับ อยู่เสมอ มีชีวิตอยู่ได้อย่างสมถะตามหลักพระ พุทธศาสนา ท�ำอะไรให้ใช้สามัคคีธรรมที่สุด ร่วมกันคิด ร่วมกันท�ำ มีความเห็นเป้าหมาย ตรงกั น หากเปรี ย บเที ย บที่ น่ี คื อ สถาบั น การ ศึกษาแล้ว โรงเรียนแห่งนี้มีทุกวิชาที่สามารถ ให้คนเข้ามาเรียนรูเ้ พือ่ ตอบโจทย์ชวี ติ ของตัวเอง ให้มีความเป็นอยู่ที่ดี ท�ำให้วัดแห่งนี้มีฐานการ เรียนรู้มากมาย ที่นี่จึงได้ชื่อว่าเป็นบ้านที่สร้าง ทั้งความเป็นอยู่และจิตใจได้

20 �������������.indd 187

11/28/16 11:01 AM


20 �������������.indd 188

11/28/16 11:01 AM


ธวัชชัย จันจุฬา

วัดพระบรมธาตุนครชุม ต.นครชุม อ.เมือง จ.ก�ำแพงเพชร พระราชวชิรเมธี / เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุนครชุม รองเจ้าคณะจังหวัดก�ำแพงเพชร “โน้นหลวงพ่อท่านก�ำลังประชุมกับชาวบ้านอยู่หลังวัดนะโยม ได้นัดท่านไว้หรือเปล่า” พระสงฆ์วัยกลางคนพูดพลางชี้นิ้วไปทางหลังวัด หลังจากที่ผมได้แจ้งความประสงค์ว่าต้องการพบเจ้าอาวาส ท่านเป็น พระสงฆ์ท�ำหน้าที่คอยให้การต้อนรับญาติโยมที่เข้ามาท�ำบุญยังวัดแห่งนี้ เพราะมีประชาชนเขามากราบสักการะพระบรมธาตุทุกวัน ยิ่งถ้าเป็น วันพระหรือวันส�ำคัญทางพุทธศาสนา ประชาชนทั่วสารทิศจะเข้ามา กราบสักการะไหว้พระบรมธาตุอย่างเนืองแน่น ท่านได้ถามอีกครั้งว่าได้นัดหลวงพ่อไว้หรือเปล่า ผมก็ตอบว่าไม่ได้ นัด ท่านก็ยิ้มด้วยความเมตตาและให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ตอนนี้ท่าน ประชุ ม อยู ่ กั บ ชาวบ้ า น อาจจะต้ อ งนั่ ง รอถ้ า ไม่ ไ ด้ นั ด ท่ า นไว้ เพราะ หลวงพ่อท่านมีภารกิจมาก ท่านไม่เพียงแต่ท�ำงานกับวัด แต่ท�ำงานกับ ชุมชนชาวบ้านอีกด้วย” ผมนั่งฟังท่านเล่าอย่างเงียบๆ เมื่อถึงจังหวะพอควร เลยขอตัวออกไปหาหลวงพ่อตามค�ำแนะน�ำของท่าน เดินลัดเลาะไป ข้างหลังพระบรมธาตุที่มีรูปทรงสวยงามและสีเหลืองอร่าม แสงทองของ พระธาตุสะท้อนเข้าตา ท�ำให้ผมต้องหรี่ตาลงโดยอัตโนมัติ

20 �������������.indd 189

11/28/16 11:01 AM


190

พบพื้นที่ของชุมชนเมือง พระบรมธาตุเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงไทยประยุกต์มอญ เนื่องจากการ บูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น พระยาตะก่าและพะโป้คหบดีพ่อค้าไม้ ชาวกะเหรี่ยงได้สร้างพระเจดีย์ทรงมอญครอบไว้บนฐานเดิม เนื่องจากใช้ ช่างชาวกะเหรี่ยง ลักษณะองค์จึงออกไปทางศิลปะพม่า พระเจดีย์จึงมีรูป อย่างที่เห็นในปัจจุบัน และได้บูรณะใหม่อีกครั้งในปี ๒๕๓๓ โดยท�ำเป็น สีทองทั้งองค์ มีซุ้มจรทั้งสี่ทิศประดิษฐานพระพุทธรูปประจ�ำซุ้ม ตั้งอยู่บน ฐานสูงประมาณ ๑ เมตร มีก�ำแพงล้อมรอบ เป็นองค์เจดีย์ขนาดใหญ่ที่มี ความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง เพราะภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๙ องค์ ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของ ประชาชนมาเป็นเวลาช้านาน ผมเดิ น ทางมาถึ ง หลั ง วั ด พบศาลา หลังใหญ่เปิดโล่งทั้ง ๔ ด้าน มีชาวบ้านมา ร่วมประชุมประมาณ ๓๐ คน มีพระสงฆ์วัย ห้าสิบต้นๆ นั่งเป็นประธานการประชุม และ ชวนชาวบ้ า นคุ ย แลกเปลี่ ย นซั ก ถาม เป็ น บรรยากาศที่ทุกคนมีส่วนร่วม น�ำเสนอความ คิดเห็นได้อย่างเท่าเทียม แตกต่างจากการ ประชุมของหน่วยงานราชการทั่วไป

20 �������������.indd 190

11/28/16 11:01 AM


191

ระหว่างที่นั่งรอท่าน ผมก็แอบเดิน ส�ำรวจบริเวณหลังวัด ที่นี่มีบริเวณกว้างขวาง ไม่มสี งิ่ ปลูกสร้างใดๆ ระหว่างศาลาทีป่ ระชุม กั บ ก�ำแพงวั ด อี ก ด้ า นหนึ่ ง มี ถ นนเล็ ก กั้ น ตรงกลาง มีบ้านดินหลังเล็กๆ เขียนไว้ว่า ห้ อ งสมุ ด ประชาชน ภายหลั ง จากที่ ผ ม มีโอกาสพูดคุยกับหลวงพ่อ ท่านได้แนะน�ำ ว่ า “ตรงนี้ เ ราท� ำ สาธิ ต เพื่ อ ให้ ค นเห็ น ว่ า การใช้ชีวิตไม่จ�ำเป็นต้องหรูหรา บ้านดินก็ สามารถอยู ่ ไ ด้ อากาศเย็ น ดี ตรงนั้ น เขา เรียกว่าสวนป่า อาตมาจะเอาไม้สำ� คัญๆ ลง รอบๆ บริเวณนี้” ไม่เพียงแต่หลังวัดเท่านั้น ที่ท่านท�ำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง แต่ท่าน ได้ใช้ทุกพื้นที่ภายในบริเวณวัด ท�ำแปลง สาธิตและให้ผลผลิตได้จริง หากใครที่มีโอกาสเข้ามาที่วัดแห่งนี้ จะพบว่า รอบพระอุโบสถมีการน�ำวงบ่อมา วางรอบๆ พระอุโบสถ และท�ำเป็นพื้นที่ ปลูกมะนาว แทนที่จะเห็นก�ำแพงสวยงาม กลับมีต้นมะนาวเป็นแนวรอบพระอุโบสถ “อยากให้ญาติโยมเห็นว่า แม้เราไม่มีที่ปลูก แต่ ก็ ส ามารถน� ำ ดิ น มาใส่ ว งบ่ อ แล้ ว ปลู ก มะนาวได้กินจริงๆ ท�ำมา ๔-๕ ปีก็สามารถ เลี้ยงดูพระภิกษุสามเณรภายในวัด ที่ดิน รอบๆ วั ด อาตมาไม่ นิ ย มจั ด สวนหย่ อ ม

20 �������������.indd 191

11/28/16 11:01 AM


192

ญี่ปุ่นราคาแพงๆ แต่จัดเป็นสวนไทยๆ ตรงไหนมีที่ว่าง เอาผัก ผลไม้มาลงและก็สามารถกินได้ตลอดทั้งปี ค�ำว่าพอเพียง เคียง ธรรมนั้น ใช้หลักพุทธศาสนาเข้ามาประพฤติปฏิบัติ ใช้ในการ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต โดยมี ห ลั ก ธรรมทางพุ ท ธศาสนา เช่ น เราพู ด ถึ ง ค�ำว่าสันโดษ ก็คือ พออยู่ พอได้ พอกิน ได้เท่าไหร่กใ็ ช้เท่านัน้ ” ท่านทิง้ ท้ายก่อน ที่จะพาเดินรอบๆ วัด วัดพระบรมธาตุนครชุม นอกจาก จะมี ส ถานที่ ส�ำคั ญ หลายอย่ า งแล้ ว ภายในวัดก็มีแหล่งความรู้ที่ส�ำคัญคือ ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนต�ำบล นครชุม โดยจัดแสดงเป็นอาคารทรงไทย สวยงาม ท�ำด้ ว ยไม้ สั ก ทองทั้ ง หลั ง ภายในจัดแสดงวัตถุโบราณและข้าวของ เครื่ อ งใช้ ใ นอดี ต มากมาย และแสดง เรือ่ งราวทางประวัตศิ าสตร์อกี หลายอย่าง แสดงวิถีชีวิตของชาวเมือง เป็นศูนย์รวบรวมวัตถุโบราณและ เรื่องราวต่างๆ ของเมืองนครชุมเอาไว้มากมาย เพื่อให้เป็นแหล่ง การเรียนรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต เพื่อน�ำมาประยุกต์ใช้ในการ พัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ชุมชนและสังคมในยุคปัจจุบัน เพื่อให้ ยั่งยืนสืบไป

20 �������������.indd 192

11/28/16 11:01 AM


193

พื้นที่ทางสังคม พื้นที่ทางธรรม ไม่เพียงแต่เป็นพระสงฆ์นักปกครองที่ท�ำหน้าที่ดูแลคณะสงฆ์ในฐานะ รองเจ้าคณะจังหวัดเท่านั้น แต่หลวงพ่อท่านยังเป็นพระสงฆ์นักพัฒนาที่มองเห็น ปัญหาต่างๆ ได้ทะลุปรุโปร่ง

20 �������������.indd 193

11/28/16 11:01 AM


194

ที่นี่จึงเป็นพื้นที่อีกแห่งหนึ่งที่เครือข่ายภาคประชาสังคมในจังหวัด ก�ำแพงเพชรเข้ามาใช้สถานที่ในการท�ำกิจกรรมหรือจัดงานต่างๆ เพราะ ท่านมีความเมตตาสูง ท�ำให้มีเครือข่ายต่างๆ เข้ามาอาศัยบารมีของท่าน แต่ ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในการท�ำกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ใน จังหวัดก�ำแพงเพชรก็คือ ตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียง “ตอนนั้นต่างคนต่างท�ำ เขาหาที่ประชุมไม่ได้ก็มาใช้ที่วัด เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร ตอนนั้นไม่มีใคร เป็นหลัก เขาเลยขออาตมาเป็นหลักในการจัดงาน จนมีการท�ำต่อเนื่อง มาเรื่อยๆ ต่อมาตั้งเครือข่ายตลาดนัดเศรษฐกิจพอเพียง ในปัจจุบันนี้ ค�ำว่า อาหารปลอดภัย แพงเท่าไหร่คนก็ซื้อ แต่บางทีเขาไม่รู้ว่าปลอดภัยจริงหรือ เปล่า แต่กลุ่มเราเป็นกลุ่มที่น่าเชื่อถือกว่าตลาดทั่วไป ขายทุกวันเสาร์ของ เดือน ตอนนี้ชาวบ้านท�ำทุกอาทิตย์”

20 �������������.indd 194

11/28/16 11:01 AM


195

“แทนที่คนจะป่วยเข้าโรงพยาบาล เราก็ให้เขาดูแลตัวเองก่อน ช่วยประหยัด เงิ น ประหยั ด เวลา ประหยั ด ทรั พ ยากร ที่จะต้องรักษา คนเป็นโรคไต ฟอกครั้งหนึ่ง ๔,๐๐๐ กว่าบาท โครงการนี้จึงใช้ชื่อว่า สุ ข ภาพดี วิ ถี ธ รรม วิ ถี ไ ทย โดยใช้ ห ลั ก ปรัชญาดังนี้ ๓ อ คืออาหาร อารมณ์ อากาศ ต่ อ มา ๓ ส คื อ สวดมนต์ สนทนาธรรม นั่งสมาธิ และ ๑ น คือนาฬิกาชีวิต เริ่ม อบรมวิ ท ยากรแกนน� ำ โดยอาตมาเป็ น ประธานฝ่ า ยพระสงฆ์ มี ส าธารณสุ ข เชิญแต่ละอ�ำเภอเข้ารับการอบรม ๗ รุ่น เพื่อขยายหลักการศีล ๕ อีกทางหนึ่ง จน นายอ�ำเภอก็สั่งให้ท�ำทุกต�ำบล” การท�ำตลาดผักปลอดสารเคมี ได้รับ ความสนใจจากประชาชนจ�ำนวนมาก ซึ่งใน แต่ละครั้งที่จัดก็จะมีชาวบ้านมาสนับสนุน และเข้ า มาเรี ย นรู ้ จนกลายเป็ น แหล่ ง ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง นอกจากชาวบ้าน จะได้มาไหว้พระบรมธาตุนครชุมแล้ว ยังได้ ซื้ อ ผั ก ปลอดสารพิ ษ กลั บ บ้ า น ไม่ เ ป็ น อันตรายต่อร่างกาย นอกจากนี้ ท่านยังเล่า เพิ่มเติมว่า

20 �������������.indd 195

ไม่เพียงเท่านี้ ท่านยังให้ข้อคิดส�ำคัญ ส�ำหรับพระสงฆ์ทที่ �ำงานพัฒนาว่า “พระสงฆ์ มีทุนทางสังคมมากกว่า ถ้าเราพูดประชาชน ก็ จ ะเชื่ อ แต่ พ ระสงฆ์ ก็ ต ้ อ งประพฤติ ดี ปฏิบตั ชิ อบเป็นทุนเดิมก่อน ใจรักอย่างเดียว มีความรูค้ วามสามารถอย่างเดียวไม่สามารถ ท�ำงานได้ เพราะไม่มีน�้ำหนักในการพูดใน การท�ำงาน ให้ท�ำงานดีเก่งแค่ไหน ถ้าไม่ ตั้งอยู่ในศีลในธรรมก็ไม่สามารถน�ำสังคม ได้เลย”

11/28/16 11:01 AM


196

ถ้าพูดถึงเป้าหมายในการท�ำงานของท่านแล้ว ท่านต้องการเห็น ชาวบ้านใช้พื้นที่ในการท�ำกินที่ตัวเองมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อเพิ่ม รายได้ให้แก่ครอบครัว เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่มีพื้นที่ในการท�ำกินน้อย ดังนั้น จึงมีความคิดที่จะให้ชาวบ้านในชุมชนรู้วิธีในการใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้ เกิดประโยชน์สูงสุด โดยวิธีการ “ใช้วัดสอนคน” ท่านมีแนวคิดและวิธี การท�ำงานพัฒนาส�ำคัญสองด้าน ๑. ด้านเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชด�ำริขององค์พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แนวคิดนี้จะเริ่มโดยการท�ำกิจกรรมต่างๆ จากเล็ก ไปหาใหญ่ เช่น กิจกรรมการเกษตรโดยท�ำแต่น้อย เพียงพอที่จะด�ำรงชีวิต อยู่ได้อย่างพอเพียง แล้วจึงค่อยขยายวงกว้างสู่ท้องตลาด ๒. ไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างเปล่าโดยการใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด เช่น การท�ำนาข้าวบนพื้นปูน ปลูกพืชสวนครัวในกระถาง โดยการใช้พื้นที่ ภายในวั ด เช่ น มี ก ารจั ด ท�ำแปลงสาธิ ต การปลู ก ข้ า วและพื ช สวนครั ว รอบอุโบสถ เป็นต้น

20 �������������.indd 196

11/28/16 11:01 AM


197

ส�ำหรับแนวทางการประยุกต์ให้หลักธรรมต่อการท�ำงานแล้ว ท่านบอกว่า ทุกอย่างล้วนเป็นหลักธรรมทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองเห็นได้มากน้อยแค่ไหน หากพอจะประมวลหลักธรรมที่ท่านใช้แล้วสามารถสรุปหัวข้อส�ำคัญๆ ได้ดังนี้ หลักอุ อา กะ สะ คือให้ชาวบ้านขยันหา รักษาดี คบคนดีเป็นมิตร ใช้ชีวิต อย่างเหมาะสม โดยอาศัยหลักและวิธีการของเศรษฐกิจพอเพียง และจัดกิจกรรม สร้างอุปนิสัยให้เกิดขึ้นแก่ชาวบ้านและชุมชน พิธีกรรม ใช้ลักษณะการสวดมนต์ และกุศโลบายของความเชื่อและศรัทธา ของชาวบ้านภายในชุมชนให้เกิดประโยชน์ เช่น การสวดมนต์ไหว้พระ ท�ำน�้ำมนต์ ก็ให้น�ำน�้ำมนต์ไปรดต้นไม้ พืชการเกษตรต่างๆ ให้เกิดความเป็นสิริมงคล ซึ่งจะ เกิดผลท�ำให้พืชนั้นงอกงามดี อย่างนี้เป็นต้น นี่แหละครับพระสงฆ์ที่ผมได้มีโอกาสมากราบและเรียนรู้กับท่านในวันนี้ พระราชวชิรเมธี ท่านไม่เพียงแต่เป็นผู้น�ำทางศาสนพิธีกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นพระ สงฆ์นักคิด นักพัฒนา ไม่เพียงแต่รอให้ญาติโยมเข้ามาถวายอาหารการกินเท่านั้น แต่ท่านลุกขึ้นมาท�ำเป็นตัวอย่างให้ชาวบ้านได้เห็นว่า “พระสงฆ์ไม่ได้หมายถึงผู้ขอ เพียงอย่างเดียว แต่คือผู้ให้ชีวิต ให้แนวทางการใช้ชีวิตที่ถูกต้องอย่างแท้จริง”

20 �������������.indd 197

11/28/16 11:01 AM


20 �������������.indd 198

11/28/16 11:01 AM


ธวัชชัย จันจุฬา

วัดอรัญญาวาส อ.เมือง จ.น่าน พระครูพิทักษ์นันทคุณ / เจ้าอาวาสวัดอรัญญาวาส ที่ปรึกษามูลนิธิฮักเมืองน่าน “น่าน” เมืองเล็กๆ ที่สมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ บ่ายแก่ๆ ในช่วงหน้าฝน แม้แดดจะร้อนจนทะลุเสื้อผ้า แต่บน ท้องฟ้าก็มีเมฆจับกลุ่มเป็นก้อนขนาดใหญ่ เพื่อกลั่นเป็นเม็ดฝนให้ความ ชุ่มชื่นกับคนที่นี่ เมืองเล็กๆ ที่เงียบสงบ มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย กระจายตามหุบเขาต่างๆ

ร่วมกลุ่มรักษาธรรมชาติ เราได้มาถึงวัดอรัญญาวาส น�ำโดยพระครูพิทักษ์นันทคุณ อดีต เจ้าคณะอ�ำเภอสันติสุขและที่ปรึกษากลุ่มฮักเมืองน่าน คือพระสงฆ์ผู้ บุกเบิกงานอนุรักษ์ ดิน น�้ำ ป่า ของจังหวัดน่าน ด้วยแนวคิดในสมัยนั้น ที่จะให้มีไม้ยูคาลิปตัสเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยส่งผลกระทบไปทั่วและต้องการ ให้วัดตัดต้นไม้และปลูกไม้ยูคาฯ แทน ท�ำให้พระครูพิทักษ์นันทคุณได้

20 �������������.indd 199

11/28/16 11:01 AM


200

เข้าไปพูดคุยกับชาวบ้านหลายกลุ่ม เพื่อ หาทางออก ใช้ทุกช่องทางในการสื่อสารถึง ความหายนะที่จะเกิดขึ้นกับคนเมืองน่าน การค้นหาวิธีแก้ไขด้านเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กับการอนุรักษ์ป่าจึงเกิดขึ้นผ่านกิจกรรม มากมาย ซึ่งหลายต่อหลายครั้งก็ประสบ ความล้มเหลว แต่ทงั้ หมดนัน้ ก็คอื ประสบการณ์ ที่ท�ำให้งานทั้งหมดได้ก้าวหน้าไปในวันนี้ ภายใต้กลุ่มที่เรียกว่า “กลุ่มฮักเมืองน่าน”

ทุกอย่างล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย การ แก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมก็ต้องอาศัยการ วิเคราะห์ถงึ รากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง กิจกรรมที่ด�ำเนินในนามกลุ่มฮักเมืองน่าน ที่ พ ระครู ท ่ า นเป็ น ประธานที่ ป รึ ก ษานั้ น พอประมวลได้ดังนี้

การบวชป่า คือการน�ำผ้าเหลืองที่พระภิกษุสงฆ์ใช้มาบวชต้นไม้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ต้นไม้ต้นนี้เป็นต้นไม้ของพุทธศาสนา ถ้าผู้ใดท�ำลาย หรือน�ำไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวนั้น ถือว่าเป็นผู้ท�ำลายพระพุทธศาสนาไป ด้วย มิติการบวชป่าที่แท้จริง คือการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการ รั ก และหวงแหนป่ า ชุ ม ชนที่ อ าศั ย อยู ่ ท�ำให้ เ ขาตระหนั ก ว่ า ป่ า นั้ น มี คุณประโยชน์มหาศาลมากกว่าเงินทองมาล่อประเดี๋ยวประด๋าว ที่ใช้ไปก็ หมด บรรยากาศการบวชป่าที่เครือข่ายคนฮักเมืองน่านด�ำเนินงาน มักจะ เห็ น เวที เ สวนาให้ ค วามรู ้ กั บ กลุ ่ ม ที่ ม าร่ ว มงาน และเทศนาของพระครู พิทักษ์นันทคุณที่เน้นความเชื่อมโยงระหว่างป่ากับชีวิตของคนในชุมชน

20 �������������.indd 200

11/28/16 11:01 AM


201

โครงการฮักแม่น�้ำน่าน เริ่มในช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๕ มีเป้าหมายเพื่อรวบรวม ข้อมูล น�ำความจริงมาเปิดเผยสู่สาธารณะ สร้างจิตส�ำนึกความตื่นตัวเพื่อกอบกู้ ล�ำน�้ำน่าน โดยประกาศรับอาสาสมัครในการส�ำรวจแม่น�้ำน่าน ตั้งต้นจากขุนน�้ำ น่านไปจนถึงอ่างเก็บน�้ำเหนือเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งถือว่าอยู่ใต้สุดของล�ำน�้ำน่านใน เขตจังหวัดน่าน ขณะนั้น ได้อาสาสมัครเข้าร่วมส�ำรวจทั้งสิ้น ๒๐ คน จัดอบรม ท�ำความเข้าใจและแบ่งหน้าที่ในการเก็บข้อมูล ๕ หมวด คือ ๑. ป่าไม้ เก็บข้อมูลป่าที่หลงเหลืออยู่ของชุมชนตลอดฝั่งแม่น�้ำน่าน แยกเป็นป่าต้นน�้ำที่ต้องอนุรักษ์ ป่าชุมชน ป่าในเขตอุทยาน ป่าในพื้นที่ลาดชัน อัตราการตัดไม้ท�ำลายป่า รวมถึงโอกาสและความเป็นไปได้ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูป่า ๒. ปฏิกูลและของเน่าเสีย ส�ำรวจวิธีระบายของเสียของชุมชน เทศบาล สถานที่ราชการ สถานศึกษา โรงพยาบาล ที่ตั้งริมน�้ำน่าน เก็บข้อมูลของเน่าเสีย ตลอดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น

20 �������������.indd 201

11/28/16 11:01 AM


202

๓. ความเปลี่ยนแปลงของสายน�้ำ โดยศึกษาความเปลี่ยนแปลง ของพฤติ ก รรมและพั น ธุ ก รรมของปลา สั ต ว์ น�้ ำ สั ต ว์ ค รึ่ ง บกครึ่ ง น�้ ำ รวมทั้งพันธุ์พืช จากที่เคยพบเห็นในอดีต ปริมาณที่ลดลง และสาบสูญ ไปจากแม่น�้ำ ด้วยการสอบถามผู้สูงอายุตามริมแม่น�้ำน่าน ๔. อาชี พ ศึ ก ษาข้ อ มู ล เกษตรพื ช ไร่ ข องแต่ ล ะชุ ม ชน พื้ น ที่เพาะปลูก ชนิดของพืชไร่ ต้นทุนและก�ำไร ชนิดและปริมาณของ สารเคมีที่เกษตรกรใช้ ๕. วัฒนธรรม เก็บข้อมูลชุมชนที่ยังคงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม เกี่ยวเนื่องด้วยล�ำน�้ำน่าน ร่วมทั้งวัฒนธรรมพื้นถิ่น ชนเผ่า หมอยา พื้นบ้าน เรือขุดโบราณที่หลงเหลือ รวมถึงประเพณีการแข่งเรือที่ถือว่า เป็นอัตลักษณ์ของคนเมืองน่าน

เมื่อเห็นข้อมูลดังกล่าวแล้ว คณะท�ำงานสรุปกันว่า ล�ำพังวัดอรัญญาวาส ไม่เหมาะที่จะเก็บข้อมูลไว้เพียงอย่างเดียว แต่ควรสร้างกระบวนการรับรู้ให้แก่ คนเมืองน่านทั้งจังหวัดด้วย จึงได้ค้นหารูปแบบที่จะท�ำให้คนเมืองน่านเข้ามา มีส่วนร่วมและศึกษาข้อมูลต่างๆ เพื่อที่จะช่วยต่อลมหายใจแม่น�้ำน่าน จน น�ำไปสู่การจัดกิจกรรม “สืบชะตาแม่น�้ำน่าน” ในเวลาต่อมา

20 �������������.indd 202

11/28/16 11:01 AM


203

การปลูกพืชผักสวนครัวในพื้นที่รอบวัด ภายในวัดอรัญญาวาส มี ศิ ษ ย์ วั ด ที่ อ าศั ย อยู ่ เ พื่ อ เรี ย นหนั ง สื อ และท�ำงานกว่ า ๒๐ คน การ เลี้ยงเด็กจ�ำนวนมากขนาดนี้ก็ต้องมีงบประมาณเพียงพอ ท่านจึงได้มี แนวคิดปลูกผักผลไม้เพื่อลดรายจ่ายในการเลี้ยงดูเด็ก ให้สามารถอยู่ได้ ด้วยตัวเอง เอาตัวรอดได้ หลักการขั้นพื้นฐานที่พระครูท่านได้สอนให้แก่ ลูกศิษย์และประชาชนทั่วไปก็คือ ท�ำให้ดู อยู่ให้เห็น เย็นให้สัมผัส ท่าน ลงมือปลูกแปลงสาธิตให้ญาติโยมได้เรียนรู้การด�ำเนินงานด้วยตัวเอง เพื่อให้คนส่วนใหญ่ในเมืองเข้าใจว่าในเมืองก็สามารถปลูกพืชผักได้ และ เป็นผักปลอดสารเคมีเสียด้วย พอประมวลขั้นตอนดังนี้

20 �������������.indd 203

11/28/16 11:01 AM


204

ขั้นที่ ๑ การคัดเมล็ดพันธุ์ผักที่เหมาะสมตามความต้องการ โดย เมล็ดพันธุ์นั้นมีทั้งจากการสะสมและซื้อตามท้องตลาดทั่วไป เช่น ผักบุ้ง ผักกาด ต้นหอม ผักชี ขั้นที่ ๒ การเตรียมแปลงผัก การขุดดินเพื่อจัดท�ำเป็นรูปทรงแปลงผัก ยกร่องให้เหมาะต่อการปลูกพืชผักนั้นๆ ปัจจุบันใช้พื้นที่ข้างๆ พระอุโบสถ ซึ่งในขั้นนี้ก็จะระดมสามเณร เด็กวัด และพระสงฆ์มาช่วยกัน

ขั้นที่ ๓ การน�ำเมล็ดผักลงแปลง ซึ่งจะต้องรอให้ดินชุ่มชื้นและทิ้งไว้สักระยะ เพื่อให้หญ้าและวัชพืชต่างๆ ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย ขั้นที่ ๔ การดูแลรักษา ปัจจัยส�ำคัญคือการรดน�้ำให้ทั่วถึงและทุกวัน เพราะ ผักบางประเภทต้องการน�้ำมากเป็นพิเศษ โดยเด็กวัดและสามเณรจะช่วยกัน รดน�้ำทุกๆ เย็น

20 �������������.indd 204

11/28/16 11:01 AM


205

เพียงเท่านี้ ก็รอดูการเจริญเติบโต พร้อมดูแลรักษาด้วยการใช้ปุ๋ยหมัก และรดน�้ำทุกๆ วัน จนผักเติบโตพร้อมส�ำหรับการเก็บไปรับประทาน ซึ่งโครงการ แปลงผักปลอดสารเคมีนั้น ไม่เพียงช่วยทางวัดประหยัดค่าอาหาร ยังเป็น เครื่องมือส�ำหรับการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ และผู้ที่เข้ามาในวัดอีกด้วย

20 �������������.indd 205

11/28/16 11:01 AM


206

การท�ำงานของพระครูพิทักษ์นันทคุณด้านสิ่งแวดล้อม หลายครั้ง ต้องเผชิญกับอุปสรรคทั้งจากหน่วยงานรัฐและนายทุน แต่ท่านก็ไม่เคยท้อ ด้วยเห็นความส�ำคัญของสิ่งแวดล้อม เพื่อความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน การท�ำงานอย่างจริงจังและสร้างแนวร่วมทั้งชาวบ้าน ผู้น�ำชุมชน นักวิชาการ เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชน พระครูพิทักษ์นันทคุณท่านโหมงานอย่าง หนักและพักผ่อนไม่เพียงพอ ท�ำให้ปัจจุบันท่านป่วยด้วยโรคเส้นเลือดใน สมองโป่งพอง หมอที่ถวายการรักษาสั่งให้ท่านหยุดท�ำกิจกรรมทุกอย่าง ลดความเครียด ทานอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น ผัก ยาสมุนไพร พักผ่อนให้ เพียงพอ

20 �������������.indd 206

11/28/16 11:01 AM


207

พระครูพิทักษ์นันทคุณท่านจึงใช้โอกาสนี้พักผ่อน ดูแลตนเอง และได้ลาออกจากต�ำแหน่งเจ้าคณะอ�ำเภอสันติสุข พร้อมทุกต�ำแหน่ง เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน แม้สุขภาพของท่านจะอยู่ในภาวะที่ต้องดูแลตัวเองอย่างใกล้ชิด แต่การวางต�ำแหน่งงานและผู้รับผิดชอบต่างๆ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย นั่นเพราะท่านคิดเรื่องนี้มานานพอสมควร ไม่เพียงเท่านั้นท่านพระครู ยังมองทิศทางในอนาคตได้อย่างทะลุปรุโปร่ง กลุ่มฮักเมืองน่าน ปัจจุบัน ได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิฮักเมืองน่าน โดยมีพระครูพิทักษ์นันทคุณเป็น ศูนย์รวมจิตใจของคนท�ำงาน ซึ่งถือได้ว่าท่านอุทิศตนท�ำงานให้ประโยชน์ ของชุมชนมากกว่าประโยชน์ตน และสร้างเครือข่ายแนวร่วมตลอดมา ท�ำให้ปัจจุบันเครือข่ายฮักเมืองน่านถูกพูดถึงมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ขององค์กรที่ท�ำงานด้านสิ่งแวดล้อม

20 �������������.indd 207

11/28/16 11:01 AM


20 �������������.indd 208

11/28/16 11:01 AM


ธวัชชัย จันจุฬา

วัดโป่งค�ำ ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน พระครูสุจิณนันทกิจ เจ้าอาวาสวัดโป่งค�ำ / เจ้าคณะอ�ำเภอสันติสุข ถนนสายน่าน – สันติสขุ เป็นถนนเส้นหนึง่ ทีส่ วยและเงียบสงบมาก นานๆ จะมีรถมาผ่านให้เห็น ถนนสีขาวยาวเลื้อยไปตามภูเขา คล้ายๆ ลูกคลื่นทะเล หากอยู่ในจุดที่สูงที่สุดของภูเขาลูกนั้นๆ สามารถมองเห็น ทิวทัศน์สวยงามดังภาพวาดของจิตรกรชั้นเอก ปลายทางวันนี้คือ วัดโป่งค�ำ ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน วัดที่เรามาเพราะค�ำพูดของพระภิกษุรูปหนึ่ง ที่เคยกล่าวไว้ในเวทีเสวนาว่า “อาตมาก�ำลังจัดท�ำโครงการสวมหมวกให้ ภูเขา สวมรองเท้าให้ตีนดอย”

เหลียวหลังชุมชนคนต้นน้ำ� วัดโป่งค�ำมีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมทั่วบริเวณ แซมด้วยต้นไม้ขนาดเล็ก บางช่วงมีต้นสมุนไพร วัดแห่งนี้ซุ้มประตูอาจไม่สวยงามมากนัก ไม่มี ก�ำแพงแน่นหนา เผลอๆ อาจจะแยกไม่ออกด้วยซ�้ำว่าเขตวัดและชุมชน สิ้นสุดตรงไหน ดูกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ข้างวัดเป็นโรงเรียน

20 �������������.indd 209

11/28/16 11:01 AM


210

ระดับประถมศึกษา มีเพียงอุโบสถ คัน่ ตรงกลางระหว่างโรงเรียนและ วัด ชาวบ้านที่นี่จึงสามารถเข้า ออกได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง หากเราเดิ น ลั ด เลาะมา ตามถนนเส้นเล็กๆ ในวัด ก็จะเห็น ศาลาขนาดใหญ่ยกพื้นขึ้นเล็กน้อย สร้างแบบเรียบง่าย มีเพียงหลังคา คอยคุ้มแดดคุ้มฝน ผนังเปิดโล่ง ทั้ง ๔ ด้าน มีโต๊ะยาวต่อกันคล้าย โต๊ะกลมส�ำหรับให้คนมาพูดคุย และปรึกษาหารือ ข้างๆ ศาลา เขียนไว้ว่า “ศูนย์เรียนรู้ชุมชน วัดโป่งค�ำ” พระครู สุ จิ ณ นั น ทกิ จ ผู ้ เป็นทั้งเจ้าอาวาส เจ้าคณะอ�ำเภอ สันติสุข และประธานศูนย์เรียนรู้ ชุมชนวัดโป่งค�ำ เกิดและเติบโต ที่นี่ ด้วยส�ำนึกรักบ้านเกิด ท่าน จึ ง ไม่ ย ้ า ยไปที่ ไ หน เพี ย งแต่ เดิ น ทางไปเรี ย นหนั ง สื อ และ กลั บ มาที่ วั ด แห่ ง นี้ ด้ ว ยความ ผูกพันกับที่นี่ ท่านจึงได้อุทิศตน เพื่อบ้านเกิดของตนเอง ท่านได้ ย้อนอดีตให้ฟังว่า

20 �������������.indd 210

11/28/16 11:01 AM


211

“สมัยก่อนที่นี่ถือว่าเป็นชุมชนห่างไกลความเจริญ ป่าไม้ อุดมสมบูรณ์ บ้านอาตมาอยู่ใกล้ๆ วัด สมัยเด็กได้วิ่งเล่นตามศาลา บ่ อ น�้ ำ ได้ กิ น ผลหมากรากไม้ ท ้ อ งถิ่ น อาศั ย ข้ า วก้ น บาตรจาก หลวงพ่อเจ้าอาวาส ท�ำให้ได้เรียนรู้วิถีความเป็นสมณะของพระเณร ภายในวัดตั้งแต่ยังไม่ได้บวช ตอนนั้นเห็นท่านได้เรียนหนังสือ รู้สึก อิจฉาเพราะไม่ได้เรียนอย่างท่าน พูดถึงการศึกษาสมัยก่อน คน ดิ้นรนหาที่เรียน ไม่เหมือนสมัยนี้ สถานที่เรียนแสวงหาผู้เรียน” ช่ ว งที่ เ รี ย นหนั ง สื อ ในระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย ท่ า นคิ ด เสมอว่ า อยากจะท�ำอะไรเพื่ อ ชุ ม ชนบ้ า น โป่งค�ำบ้าง เมื่อบ้านโป่งค�ำเคยมีอดีตที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านอยู่กันอย่างสงบ สันติ และพอเพียง ถึงจะ มี ค วามล�ำบากบ้ า งแต่ ก็ เ ข้ า ท�ำนองทุ ก ข์ ก าย ไม่ ทุกข์ใจ จนถึงยุคสมัยแห่งการแย่งมวลชนระหว่าง รั ฐ บาลกั บ พรรคคอมมิ ว นิ ส ต์ ถนนหนทางเข้ า สู ่ หมู่บ้านตามนโยบายการพัฒนาของรัฐบาล ที่มุ่งเน้น การเติ บ โตทางเศรษฐกิ จ มี ก ารส่ ง เสริ ม ชาวบ้ า น ปลูกพืชเศรษฐกิจนานาชนิดเพื่อการส่งออก ความ อุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติถูกท�ำลายลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ผืนป่าหลายพันไร่ถูกถากถางจนเตียนโล่ง เพื่อแปรสภาพเป็นไร่ ข้าวโพดสุดลูกหูลูกตา ถนนถูกตัดเข้าถึงหมู่บ้าน น�ำพาพ่อค้าพร้อม สั ม ปทานไม้ ม าช่ ว ยกั น ขนความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข องผื น ป่ า ออกไป ตลอดสองปี จนความแห้งแล้งเข้ามาแทนที่

20 �������������.indd 211

11/28/16 11:01 AM


212

จากสภาพป่าในอดีตที่มีความอุดม สมบูรณ์ กลายเป็นภาพป่าถูกท�ำลายเพราะ สั ม ปทานไม้ บ วกกั บ การถางท�ำไร่ เห็ น ผลกระทบที่ตามมามากมาย ด้วยจิตส�ำนึก ความเป็ น พระที่ ด�ำรงชี พ อยู ่ ด ้ ว ยปั จ จั ย สี่ จากชาวบ้ า น เมื่ อ ชาวบ้ า นมี ค วามทุ ก ข์ เดื อ ดร้ อ น ก็ ไ ม่ อ าจนิ่ ง เฉยอยู ่ ไ ด้ อี ก ทั้ ง ความเป็นคนบ้านนี้ ก็ยิ่งอยากท�ำ ท่านเล่าให้ฟังว่า แรกๆ ก็เข้าไปคุย กับชาวบ้านให้หยุดตัดไม้ หยุดบุกป่าแผ้วถาง ท�ำไร่ ข ้ า วโพด เพราะนอกจากท�ำให้ ป ่ า เสื่อมโทรม ห้วยล�ำธารแล้งน�้ำแล้ว ยิ่งท�ำ ก็ยิ่งเป็นหนี้ แต่ชาวบ้านกลับย้อนถามว่า ถ้าไม่ให้ท�ำไร่แล้วจะท�ำอะไรกิน บางคน ยังตบท้ายว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ การเข้าไปพูดคุยกับชาวบ้านไม่เพียง แต่ ไ ม่ ท�ำให้ ช าวบ้ า นหยุ ด บุ ก รุ ก ป่ า ผล ตรงกันข้ามกลับท�ำให้ชาวบ้านมองท่านว่า ท่านเป็นพระสงฆ์ที่ไม่อยู่ในพระธรรมวินัย ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลก ภาพพระสงฆ์เดิน ตามท้องไร่ท้องนาเพื่อพูดคุยกับชาวบ้าน แม้จะได้รบั การต้อนรับขับสูใ้ นฐานะพระสงฆ์ ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ แต่ก็ไม่อาจท�ำให้

20 �������������.indd 212

ชาวบ้ า นหยุ ด แผ้ ว ถางและตั ด ต้ น ไม้ ไ ด้ เพราะสิ่งที่ชาวบ้านได้รับจากการบุกรุกป่า คื อ เงิ น ทองที่ ส ามารถจั บ ต้ อ งได้ ขณะที่ ค�ำสั่ ง สอนของท่ า นไม่ ส ามารถแปรเป็ น ทรั พ ย์ สิ น ได้ พระครู สุ จิ ณ นั น ทกิ จ จึ ง ได้ เปลี่ยนยุทธวิถีการท�ำงาน ครั้งนี้มุ่งเป้าไปที่ เด็กและเยาวชนในชุมชนแทน ท่านนิยามตัวเองเป็นนักเล่านิทาน คนหนึ่ ง การเล่ า นิ ท านจึ ง เป็ น อุ ป กรณ์ ที่ ท่านใช้ในการเข้าถึงชุมชนในครั้งนี้ จนเป็น ที่รู้กันว่า เมื่อเสียงระฆังดังขึ้นในตอนเย็น เด็กๆ บ้านโป่งค�ำจะทยอยเดินทางมาที่วัด เพื่อฟังนิทานจากท่าน และเนื่องจากสมัยนั้น โทรทั ศ น์ อิ น เทอร์ เ น็ ต ยั ง ไม่ เ ข้ า มา การ เล่ า นิ ท านของท่ า นจึ ง ไม่ เ พี ย งท�ำให้ เ ด็ ก สนุก สนาน แต่ ยั ง ได้ ส าระความรู ้ อี ก ด้ ว ย โดยท่านจะสอดแทรกเรื่องป่า ต้นไม้ แม่น�้ำ เป็ น ฉากส�ำคั ญ ในเรื่ อ ง กุ ศ โลบายของ พระครูขณะนั้นไม่เพียงแต่ได้รับความสนใจ จากเด็ก แต่ผู้ใหญ่หลายคนเริ่มเข้ามาฟัง จนกลายเป็ น ที่ รั บ รู ้ กั น ว่ า ท่ า นพระครู คื อ นักเล่านิทานตัวยง

11/28/16 11:01 AM


213

ต่อจากกิจกรรมเล่านิทาน ท่านก็เริ่มชักชวนเด็กๆ ไปร่วม เดินส�ำรวจป่าในวันเสาร์–อาทิตย์ และวันหยุด เมื่อถึงเวลานัดหมาย เด็ ก ๆ ก็ จ ะมารวมกลุ ่ ม ที่ วั ด ช่วงแรกๆ ก็เดินศึกษารอบๆ วัด จนขยายออกไปรอบชุ ม ชน ระหว่างทาง ท่านก็อธิบายเรื่อง ยาสมุนไพรชนิดต่างๆ ประโยชน์ จากต้ น ไม้ สั ต ว์ ป ่ า ให้ เ ขาได้ เรี ย นรู ้ ข องจริ ง ที่ อ ยู ่ ใ กล้ ตั ว สัมผัสได้จริง พร้อมทั้งประวัติ ชุมชนตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านพระครูได้ชี้ให้เห็นถึงความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการ ท�ำลายป่าของชาวบ้าน “อาตมา พาเด็ ก ศึ ก ษาดู ป ่ า รอบบริ เ วณ หมู่บ้าน เด็กเขาสนุก ได้ความรู้ กลับไปก็ไปเล่าให้กับพ่อแม่ฟัง ในที่สุด ไม่น่าเชื่อว่ามีผู้ปกครอง เด็ ก หลายคนเอาขวาน เอา เลื่อยมาถวายที่วัด และปวารณา หยุดการท�ำลายป่า” พระครูทา่ น เล่าถึงกระบวนการท�ำงานกับเด็ก และเยาวชนในอดีตให้ฟังอย่าง ไม่เคยลืม

20 �������������.indd 213

11/28/16 11:01 AM


214

แม้จะมีผู้ปกครองบางคนเข้ามาพูดคุยและยุติการบุกรุกป่าแล้ว ก็ ต าม แต่ ส ่ ว นใหญ่ ยั ง มี ก ารตั ด ต้ น ไม้ ยั ง ไม่ ต ระหนั ก ถึ ง ปั ญ หาที่ จ ะ ตามมา พระครูเริ่มมองหาแนวทางในการท�ำงานให้กว้างขวางมากขึ้น ท่านวิเคราะห์การท�ำงานของตนเองแล้ว พบว่ายังขาดการปฏิบัติที่เป็น รูปธรรม จึงได้เริ่มลงมือท�ำแปลงปลูกป่าสาธิต ๓ แปลงดังนี้

๑. ป่าเชิงเดี่ยว จ�ำนวน ๒ ไร่ ปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือต้นไม้เข้าแถว เน้นต้นสักจ�ำนวน ๖๐๐ ต้น ๒. ป่าปลูกแบบคละเคล้าผสมผสาน เนื้อที่ ๑๕ ไร่ ส่วนนี้เป็นพื้นที่ เสื่อมโทรมจากการท�ำไร่ข้าวโพด แปลงนี้ปลูกต้นไม้หลายอย่าง ใครมา ท�ำบุญก็ให้มาปลูกต้นไม้แปลงนี้เพื่อเป็นกุศลแก่ชีวิต ๓. ป่ า ธรรมชาติ เนื้ อ ที่ ๓ ไร่ แปลงทดลองนี้ ไ ม่ มี ก ารแตะต้ อ ง ปล่อยให้มีการฟื้นฟูตามธรรมชาติ

20 �������������.indd 214

11/28/16 11:01 AM


215

ท่านบอกว่า “แปลงป่าทดลองทั้ง ๓ ผืนนี้ช่วยตอบค�ำถามชาวบ้านได้ เพราะเมื่อเริ่มท�ำงาน ก็มีค�ำถามมากมาย...ท�ำไปเพื่ออะไร ท�ำแล้วได้อะไร ท�ำอย่างไร...อธิบายไม่ไหว ท�ำให้ดูเลยดีกว่า” ท�ำให้ชาวบ้านเรียนรู้เข้าใจจากแปลงสาธิตทั้งสามว่า การปลูกป่าเชิง เดี่ยว (ต้นสัก) ท�ำให้ระบบนิเวศไม่เกิดสภาพสมดุล เกิดความแห้งแล้ง เพราะ ไม่มีต้นไม้หรือพืชที่เป็นอาหาร แม้แต่เห็ดซึ่งปกติจะออกในช่วงฤดูฝน เมื่อ ต้นสักโต พืชอื่นไม่สามารถขึ้นได้ เพราะต้นสักจะคุมแสงแดดในฤดูฝนและ จะทิ้งใบในช่วงฤดูแล้ง ท�ำให้ต้นไม้หรือพืชอื่นหมดโอกาสที่จะเจริญเติบโต

20 �������������.indd 215

11/28/16 11:01 AM


216

ส่วนป่าผสมผสาน เป็นการสาธิตให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ต้นไม้ที่มีอยู่ในธรรมชาติกับพืชการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์ ซึ่งประกอบไปด้วยป่ายืนต้นประเภทสูงให้ผลระยะยาว ชั้นที่สองเป็น พืชพุ่มให้ผลระยะกลาง เช่น ล�ำไย ขนุน ส้มโอ มะม่วง ลิ้นจี่ ฯลฯ ชั้นที่ สามเป็นพืชอาหารและพืชในครัว เช่น ข่า ตะไคร้ ขมิ้น หวาย ไม้ไผ่ ไพร ต�ำลึง ฯลฯ

20 �������������.indd 216

11/28/16 11:01 AM


217

ศูนย์เรียนรู้เพื่อชุมชน โดยชุมชน ทรัพยากรดิน น�้ำ ป่า ชุมชนที่เปลี่ยนแปลงจากนโยบายของรัฐ สนับสนุนให้ชาวบ้านปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว แม้จะเป็นปัญหาระดับ ประเทศที่ป่าส่วนใหญ่ถูกบุกรุกท�ำลายลงภายในระยะเพียงไม่กี่ปี ล�ำพัง การท�ำงานภายในวัดเพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถตอบโจทย์ให้แก่ชาวบ้าน ได้ เพราะสังคม ชุมชน มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การจัดตั้งศูนย์ เรียนรูช้ มุ ชนวัดโป่งค�ำคือค�ำตอบผ่านการทดลองปฏิบตั จิ ากการศึกษาวิจยั รื้อฟื้นให้วัดกลับมาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนเช่นอดีตที่เคยเป็นมา เพียงท�ำรูปแบบให้สอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน อันมีเป้าหมายเพื่อให้ ชาวบ้านสามารถปรับตัวและรู้จักเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ อย่างยั่งยืน หากมีสถานการณ์ใหม่ๆ เข้ามาก็รับมือได้ ไม่ตกเป็นเหยื่อ หรือเครื่องมือให้แก่ระบบทุนหรือกระแสภายนอก นี่คือทางออกที่จะช่วย สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ชุมชนเป็นอย่างดี แหล่งเรียนรูช้ มุ ชนวัดโป่งค�ำเป็นศูนย์ รวมความรู้ที่ส�ำคัญส�ำหรับชุมชน ความรู้ที่ เมื่อเรียนแล้วสามารถน�ำไปใช้ในการท�ำมา หากินได้ ไม่เพียงแต่รู้เพื่อประดับไว้แล้ว เอาไปอวดคนอื่นเท่านั้น แต่ที่นี่เป็นศูนย์ เรี ย นรู ้ ที่ มี ชี วิ ต ชาวบ้ า นในชุ ม ชนแห่ ง นี้ นอกจากมีพื้นที่ในการเรียนรู้แล้ว ยังมีพื้นที่ ส�ำหรับท�ำกิจกรรมอื่นๆ เกี่ยวกับการดูแล สุขภาพของตนเอง เช่น การท�ำกิจกรรม ทางด้ า นศาสนาเพื่ อ จรรโลงใจ มี น�้ ำ ยา สมุนไพรส�ำหรับบริการชาวบ้านหรือแขก ที่มาเยี่ยมอีกด้วย

20 �������������.indd 217

11/28/16 11:01 AM


218

นอกจากนี้ ยังท�ำกิจกรรมฟื้นฟูป่า ในนามโครงการ “สวมหมวกให้ภูเขา สวม รองเท้าให้ตีนดอย” ซึ่งประสบความส�ำเร็จ และมีภาคีเข้ารวมท�ำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง คนทีเ่ ข้าร่วมโครงการต้องปล่อยเรือ่ งเกษตร เชิงเดี่ยว ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เราใช้ค�ำว่าปล่อย ป่า เพราะมองว่าการปลูกป่าเป็นเพียงแค่ ส่วนหนึ่งเท่านั้น เราจึงท�ำ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ คือปล่อยป่า อีก ๓๐ เปอร์เซ็นต์ที่ปลูกเชิง เดี่ยวมาเป็นปลูกพืชแบบผสมผสาน ส่วน อีก ๒๐ เปอร์เซ็นต์ปรับให้เป็นการท�ำเกษตร บนฐานวิถีวัฒนธรรม เช่น เอาข้าวออกแล้ว ปลูกพืชหลังนา อะไรก็ได้ที่ใส่ไปแล้วส่งเสริม วิถีพี่น้องเกษตร เราใช้ค�ำว่าเกษตรประณีต จะปลูกพืชกี่ชนิดก็ได้ เลี้ยงสัตว์อะไรก็ได้ โดยคนยุคใหม่นั้นมักมีความคิดเร็ว ใส่อะไร ลงไปก็ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ท�ำแล้วก็ เห็นผลว่าชาวบ้านปล่อยป่าได้หลายร้อยพัน ไร่ แต่ ส�ำคั ญ ที่ สุ ด คื อ เกษตรประณี ต นั้ น ต้องใช้ธรรมเป็นฐาน-งานเป็นทุน-บุญคือ เป้าหมาย นั่นคือการร่วมมือกันไม่ให้คนเล็ก คนน้อยขาดโอกาส โดยพิจารณาว่าจะท�ำ อย่างไรให้คนเห็นคุณค่าบุญ-บาปได้ ก็ต้อง ท�ำให้บุญจับต้องได้ เช่น เมื่อลดเลิกสารเคมี แล้วมีสุขภาพที่ดีขึ้น ไม่สิ้นเปลืองเงินรักษา

20 �������������.indd 218

หรื อ เวลาที่ พื ช โตแล้ ว น�ำไปจ�ำหน่ า ยให้ ผู้บริโภค ช่วยให้สุขภาพเขาดีขึ้น เราก็ได้ บุ ญ ด้ ว ย เริ่ ม จากกลุ ่ ม เล็ ก กลุ ่ ม น้ อ ยก่ อ น กลายเป็นกลุ่มใหญ่ โดยพยายามดึงความรู้ ภูมิปัญญาคนกลุ่มต่างๆ มาร่วมกัน กระตุ้น ให้เขาเห็นประโยชน์” หากจะกล่าวถึงผลส�ำเร็จที่เกิดขึ้น ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา คงมีหลายปัจจัย ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นท่านพระครูสุจิณนันทกิจ ที่อุทิศตนท�ำงานอย่างจริงจัง เครือข่ายคน เมืองน่านที่ลุกขึ้นมาจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยตัวเอง ไม่เพียงแต่รอเจ้าหน้าที่รัฐ ศูนย์เรียนรู้วัดโป่งค�ำมีองค์ความรู้ที่ เป็นเฉพาะของที่นี่ว่า “ศูนย์เรียนรู้ที่มีชีวิต” หมายถึ ง ผู ้ เ รี ย นสามารถจั บ ต้ อ ง สั ม ผั ส และน�ำไปประยุกต์ในพืน้ ทีข่ องตนเองได้จริง พอแบ่งองค์ความรู้ประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ การฟื ้ น ฟู ป ่ า แบบไม่ ต ้ อ งปลู ก มี แหล่ ง เรี ย นรู ้ ป ่ า ชุ ม ชนประมาณ ๖,๐๐๐ กว่าไร่ แล้วก็เรียนรู้เรื่องแนวกันไฟ ซึ่งท่าน พระครูบอกว่าจะท�ำแนวกันไฟได้ เราจะ ต้องสร้างแนวกันใจให้แก่ชุมชน ต้องสร้าง แนวกันชนไม่ให้คนรุกล�้ำเขตป่าอีก

11/28/16 11:01 AM


219

การจัดการน�้ำแบบยั่งยืน โดยการจัดท�ำฝายชะลอน�้ำแบบกึ่งถาวร ในพื้นที่เกษตรกรประมาณ ๓๖ แห่ง เป็นการจัดการน�้ำอย่างเป็นระบบ การจัดการน�้ำอย่างรู้คุณค่า นอกจากนี้ ยังได้เรียนรู้การแบ่งปันน�้ำจาก ที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งอีกด้วย การท�ำเกษตรเชิงประณีต มีความแตกต่างจากเกษตรเชิงผสมผสาน เล็กน้อย เพราะการท�ำเกษตรเชิงประณีตมีฐานคิดจากเกษตรกร ไม่ได้ ปลูกเพื่อกินอย่างเดียว แต่ไปสัมพันธ์กับเรื่องของตลาด เชื่อมกับเศรษฐกิจ ของเกษตรกร เช่น ตั้งเป้าหมายว่าจะต้องมีรายได้วันละ ๓๐๐ บาท คน ปลูกก็ต้องคิดค�ำนวณว่าปลูกอะไรถึงจะได้วันละ ๓๐๐ บาท

20 �������������.indd 219

11/28/16 11:01 AM


220

การใช้ฐานธรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นการพัฒนา คุณภาพชีวิตมิติจิตวิญญาณ ที่นี่มีกลุ่มคนต่างๆ ที่พร้อมส�ำหรับการ แลกเปลี่ยน ปรึกษา และหนุนเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ แต่ละคน โดยมีการเรียนรู้ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เช่น กลุ่ม ย้อมสีทอผ้าจากธรรมชาติ กลุ่มหมอเมืองยาสมุนไพร กลุ่มเกษตร ปลอดสารเคมี ฯลฯ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนวัดโป่งค�ำ ทุกคนสามารถเป็นได้ทั้งผู้เรียน และเป็ น ครู ใ นขณะเดี ย วกั น เพราะองค์ ค วามรู ้ แ ต่ ล ะอย่ า งล้ ว น กระจายในตัวบุคคลทั่วไป แต่ละคนมีทักษะแต่ละด้านแตกต่างกัน การรวมกลุ่มเพื่อเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการที่สร้างการมีส่วนร่วมกับ ทุกคนทั้งในและนอกชุมชน ซึ่งมีหลักคิดส�ำคัญดังนี้

20 �������������.indd 220

11/28/16 11:01 AM


221

ใช้ ธ รรมเป็ น ฐาน ให้ ค น เข้าถึงธรรมในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับดิน น�้ำ ป่า ไม่เพียงแต่ในพุทธศาสนา เท่านั้น ทุกคนควรต้องเข้าถึงหลัก ธรรมแต่ละศาสนาได้อย่างแท้จริง องค์ความรู้ภูมิปัญญาของที่นี่ต้อง สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ ใช้ ง านเป็ น ทุ น สอนให้ พึ่ ง ตนเองและพึ่งคนใกล้ชิด สู่กระบวน การท�ำงานเป็นกลุ่ม ฝึกให้ชาวบ้าน เป็นผู้ประกอบการ ชักชวนเครือข่าย ต่างๆ มาร่วมคิดวางแผน เอาข้อมูล มาแบ่งกัน โดยงานแต่ละอย่างนั้น บุ ญ คื อ เป้ า หมาย ค�ำว่ า บุ ญ ก็ คื อ ความ ต้องเป็นงานที่ชาวบ้านได้ด�ำเนินมา เสียสละ ให้นึกถึงคนอื่น นึกถึงตนเอง กิจกรรม เมื่อครั้งอดีตถึงปัจจุบัน ภาคเกษตรท�ำอย่ า งไรให้ ป ลอดสารเคมี ปลอด สารพิษ เมื่อใช้แล้วไม่มีผลกระทบต่อคน สิ่งแวดล้อม สังคมโดยรวม คนในชุมชนกินต้องปลอดภัย เมื่อ คนอื่นปลอดภัยสุขภาพดี เขาก็จะคิดดี พูดดี ท�ำดี สังคมเราก็จะร่มเย็น

20 �������������.indd 221

11/28/16 11:01 AM


222

แลหน้าเครือข่ายเรียนรู้ชุมชน ก้อนเมฆเคลื่อนย้าย ท้องฟ้าโปร่งใส ดูเหมือนว่าฟ้าหลังฝน จะดูสวยงาม กว่าจะก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ล้วนต้องอาศัยความ อดทนและจิตที่ยึดประโยชน์ของบ้านเกิดเมืองนอนเป็นส�ำคัญ ป่าชุมชนที่เคยเสื่อมโทรมก็กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ชาวบ้าน ได้เข้าไปเก็บหน่อไม้ เห็ด ของป่า ใช้ยาสมุนไพรรักษาอาการ เจ็บป่วย น�ำเปลือกไม้มาย้อมสีผ้า เกิดกลุ่มต่างๆ อีกมากมาย ไม่เพียงแต่ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรเท่านั้น แต่หมายรวม ถึงความอุดมสมบูรณ์ทางด้านจิตใจ ท�ำให้ความสัมพันธ์ระหว่าง คนกับธรรมชาติ และระหว่างคนกับคน ทุกอย่างกลายเป็นความ สัมพันธ์แบบเชื่อมโยงกัน ต้นไม้ใหญ่นับวันจะร่วงโรยตามกาลเวลา ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น กับทุกสรรพสิ่งในโลก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม จ�ำเป็นที่จะต้องเพาะต้นกล้ารุ่นใหม่ให้ค่อยๆ เติบโตมาแทนที่ อนาคต ของชุมชนต้องฝากไว้กับเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่จึงจะเกิดความ ยั่งยืน ท่านจึงได้เชื่อมโยงกลุ่มเยาวชนจาก ๘ อ�ำเภอในจังหวัด น่าน รวมกลุ่มท�ำงานกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสังคมน่าน ในฐานะ เยาวชนรุน่ ใหม่ทไี่ ม่นงิ่ ดูดายต่อปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในชุมชนของตนเอง การได้เข้ามามีส่วนร่วมในลักษณะเครือข่ายนั้น ท�ำให้เด็กแต่ละ อ�ำเภอได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แต่ละท้องถิ่น การได้แบ่งปัน บทเรียนท�ำให้เครือข่ายเยาวชนเมืองน่านเติบโตแบบค่อยเป็น ค่อยไป แต่รากฐานแข็งแรง โดยเฉพาะการตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม ของจังหวัดน่าน มีการท�ำงานในประเด็นต่างๆ อาทิเช่น การ จัดการทรัพยากร ดิน น�้ำ ป่า การจัดการขยะ และสืบทอด ศิ ล ปวั ฒ นธรรมของเมื อ งน่ า น แม้ จ ะเป็ น เพี ย งแค่ เ ยาวชน

20 �������������.indd 222

11/28/16 11:01 AM


223

จ�ำนวนหนึ่ง แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จะขยายทั้งจังหวัด “เยาวชนเมืองน่าน มีศักยภาพและเป็นพลังส�ำคัญในการพัฒนาสังคมชุมชนท้องถิ่น เพียงผู้ใหญ่ เปิดโอกาส เปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนได้แสดงศักยภาพของ ตนเองที่สร้างสรรค์ในการคิด ศึกษาความรู้ วิเคราะห์ ออกแบบ วางแผน และลงมือท�ำกิจกรรมเพื่อชุมชนท้องถิ่นบนฐานความรู้และการสรุปบทเรียน ร่วมกัน” เมื่ อ เห็ น อย่ า งนี้ ก็ พ อจะวางใจได้ ว ่ า แม้ สั ง คมภายนอกจะมี ก าร เปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใดก็ตาม การเรียนรู้ และการปรับตัวต่อเนื่อง ของชุมชน คือทางออกที่จะช่วยให้ชุมชนมีภูมิคุ้มกัน และสามารถแก้ไข ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้อย่างแน่นอน

20 �������������.indd 223

11/28/16 11:01 AM


20 �������������.indd 224

11/28/16 11:01 AM


ถอดบทเรียน “แหล่งเรียนรู้ฯ พอเพียง เคียงธรรม” พรชัย บริบูรณ์ตระกูล

“แหล่งเรียนรู้” พอเพียง เคียงธรรม ในหนังสือเล่มนี้ นับเป็น แหล่งเรียนรู้ที่ได้น�ำคุณค่าในศาสนาธรรมมาสู่การสร้างสรรค์รูปธรรม และการขับเคลื่อนปฏิบัติการในชุมชนและสังคมต่างๆ อย่างเด่นชัด เช่น งานเศรษฐกิจพึ่งตนเอง ผ่าน เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์ จ.ตราด และวัดป่ายาง จ.นครศรีธรรมราช งานสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ผ่ า นวั ด คลองแห จ.สงขลา งานป่ า ชุ ม ชนต้ น น�้ ำ ผ่ า น วั ด ตะโหมด จ.พั ท ลุ ง และ วั ด โป่ ง ค�ำ จ.น่ า น งานการอบรมคุ ณ ธรรม ผ่ า น วัดคลองเปล จ.สงขลา และศูนย์พุทธธรรมฯ จ.อุบลราชธานี งาน เกษตรผสมผสานทฤษฎีใหม่ ผ่าน วัดมงคลชัยพัฒนา จ.สระบุรี งาน การศึกษาวิถีพุทธ ผ่าน โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย จ.ชลบุรี และ สถานธรรมปลีกวิเวก จ.เชียงใหม่ การรักษาสุขภาพด้วยสมุนไพร ผ่าน วัดภูเขาทอง จ.ชัยภูมิ เป็นต้น โดยแต่ละแห่งได้มีชุดประสบการณ์และ กระบวนการท�ำงานที่มีพลังบันดาลใจ ความมีชีวิตชีวา ความสุข และ เป็นส่วนส�ำคัญในการฝึกฝนและสร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตและ ชุมชน สังคม อย่างเด่นชัด

20 �������������.indd 225

11/28/16 11:01 AM


226

ช่วงเวลาทีผ่ า่ นมา พวกเราก้าวเข้าไป รั บ รู ้ แ ละสั ม ผั ส แหล่ ง เรี ย นรู ้ ต ่ า งๆ ตั้ ง แต่ ก้ า วแรกที่ ไ ด้ ตั ด สิ น ใจนั้ น เป็ น โอกาสที่ มี คุณค่าและมีแรงบันดาลใจที่เป็นส่วนหนึ่งที่ ได้เห็นการท�ำงาน และการได้รับฟังเรื่องราว ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในด้านบทบาทวัด ชุมชน และพระสงฆ์แต่ละท่าน กระบวนการ ท�ำงานที่เกิดขึ้นเป็นสาระส�ำคัญของการสร้าง การเรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยเฉพาะใน ด้านของการฝึกฝนพัฒนาตามความหมาย ของค�ำว่า “พอเพียง เคียงธรรม” ที่ขยาย หยั่ ง รากลงลึ ก ไปถึ ง จิ ต ใจ โดยใช้ ธ รรมะ หรือสภาวะความเป็นกลางแห่งธรรมชาติ เป็นตัวก�ำหนดและอธิบาย และเป็นแนวทาง แห่งการฝึกฝน เป็นวิถีของการอยู่บนความ พอดี เรียบง่าย พอประมาณ แล้วถูกน�ำมา เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาชีวิต หรื อ ชุ ม ชน จนเป็ น ปั ญ ญาในการเข้ า ถึ ง ความจริงของความทุกข์ เพื่อรู้เท่าทันทุกข์ ในระดับต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระดับของบุคคล ชุมชน ตลอดจนสังคม กระบวนการในการ ท�ำงานที่เป็นการสร้างการเรียนรู้ที่มีพลังนี้ ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์อันมีความหมาย ซึ่งเราสามารถประมวลถอดเป็นบทเรียน อันมีคุณค่าของการเป็นแหล่งเรียนรู้ฯ โดย บทบาทของวัดและพระสงฆ์ ได้ดังนี้

20 �������������.indd 226

ฉั น ทะและแรงบั น ดาลใจ แหล่ ง เรียนรู้แต่ละแห่งได้มีพระสงฆ์เป็นก�ำลังส�ำคัญ ท่ า นเหล่ า นี้ เ ริ่ ม ต้ น ความสนใจจากชี วิ ต ด้านใน โดยมีพื้นฐานการเติบโตที่หล่อหลอม เข้าถึงความหมายและความลึกซึ้งในชีวิต หลายท่ า นเติ บ โตจากชี วิ ต กลางทุ ่ ง นาอั น อบอุ่น เติบโตจากหมู่บ้านรอบป่าใหญ่อัน อุดม บางท่านผ่านสัมผัสความปีติสุขจาก สมาธิ ภ าวนา บางท่ า นผ่ า นจากการเห็ น ความทุกข์ยากเดือดร้อนที่บีบคั้นชาวบ้าน หรื อ แม้ แ ต่ ป ระสบการณ์ ชี วิ ต ตั ว ท่ า นเอง สิ่งส�ำคัญคือการสัมผัสเข้าใจถึงทุกข์อย่าง ตระหนั ก ชั ด ตลอดจนการเข้ า ถึ ง ความดี ความงาม ความสุข เป็นต้นทุนแห่งเมล็ดพันธุ์ ทีท่ �ำให้ทา่ นตืน่ รูใ้ นการหาแนวทางแก้ไขความ ทุกข์ยากนั้นๆ และสรรสร้างประโยชน์สุข เพื่อชุมชนและสังคม นอกจากนีเ้ รือ่ งราวประสบการณ์ของ แต่ละท่าน ยังเป็นภาพสะท้อนถึงการด�ำรง อยู ่ บ นวิ ถี แ ห่ ง การฝึ ก ตนอย่ า งมั่ น คง โดยเฉพาะจากการภาวนาในรู ป แบบที่ เหมาะสมกั บ ตน ซึ่ ง เอื้ อ ให้ เ กิ ด การรู ้ จั ก ตนเอง มีปัญญารู้เท่าทันสังคม สนุก เบิกบาน และมีความสุข เป็นการบ่มเพาะชีวิตแห่ง ความเมตตาและกรุ ณ าในการเผชิ ญ กั บ ความจริงของชีวิตและสังคม

11/28/16 11:01 AM


227

สร้างความอยู่ดีมีสุขของผู้คนและ ชุ ม ชน กระบวนการเรี ย นรู ้ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน แต่ละพื้นที่นั้น เป็นการเอื้อให้คนในชุมชน และท้องถิ่นได้กลับมาแก้ไขปัญหาที่เป็น โจทย์ของชีวิตจริง ด้วยรูปธรรมการพัฒนา ต่างๆ เช่น การท�ำนาและปลูกผักอินทรีย์ การท�ำกลุ่มออมทรัพย์ การปลูกป่า สร้าง ฝายรั ก ษาต้ น น�้ ำ เป็ น ต้ น ท�ำให้ ค นและ ชุมชนฟื้นความสามารถในการพึ่งพากันเอง ทั้ ง ในแง่ ป ากท้ อ ง การมี มิ ต รไมตรี ต ่ อ กั น และสร้างการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ จนน�ำ ไปสู ่ ชี วิ ต ความเป็ น อยู ่ ที่ เ รี ย บง่ า ย พออยู ่ พอกิน และมีความสุข

รู้...เรียน เพื่อเข้าถึงมิติด้านในให้เกิด ความรัก ความเมตตา ความปรารถนาดีต่อ ผู ้ อื่ น การมี ด วงจิ ต เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ เกื้ อ กู ล ระหว่างกัน มีความพร้อมในการลงแรงกาย และแรงใจเพื่ อ ผู ้ อื่ น เรี ย นรู ้ ที่ จ ะเคารพ ความเป็นมนุษย์และความแตกต่างหลาก หลายทางวัฒนธรรม หรือแม้แต่เคารพคน ที่อยู่ตรงหน้าเราด้วยใจที่เปิดกว้าง เรียนรู้ เพื่อจะให้ตัวเราได้ตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่ กั บ สภาวะความสดชื่ น และเบิ ก บาน มี ความพอ เป็นการเข้าถึงความสุขสงบและ การมองโลกด้วยคุณค่าความหมายของชีวิต รูจ้ กั . . . เรียนรูเ้ พือ่ ขอบคุณทุกสภาวะ ของสรรพสิ่งที่เอื้อให้เรามีชีวิตอยู่ ขอบคุณ ลมหายใจ ท้ อ งฟ้ า มวลก้ อ นเมฆ ต้ น ไม้ ก้อนหิน และสัตว์ทั้งหลาย ขอบคุณความ เป็นเพื่อนที่มอบแด่เราให้เป็นเวลาอีกหนึ่ง วันในการมีชีวิตอยู่เพื่อฝึกฝนตนบน “วิถี ภาวนา” และเพือ่ ก้าวออกไปเรียนรูช้ ว่ ยเหลือ สิ่งดีงามในเพื่อนมนุษย์ สังคม และเยียวยา โลกธรรมชาติ

เอื้ อ ให้ เ กิ ด ความเป็ น คนเต็ ม คน กระบวนการเรี ย นรู ้ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ได้ เ อื้ อ ให้ ชาวบ้ า นและชุ ม ชนได้ ดึ ง ศั ก ยภาพความ สามารถภายในตนเองออกมาใช้ อ ย่ า ง เต็มก�ำลัง เพื่อตื่นรู้เท่าทันปัญหา คิดได้เอง ลงมือเป็น เช่น การที่วัดคลองแหได้เชิญ พ่อครูแม่ครูกลับมาสืบสานศิลปวัฒนธรรม ของภาคใต้ ทั้งหลายทั้งปวงนี้ ได้เป็นการ พัฒนาความเจริญงอกงามทั้งในทาง กาย เรียนรูเ้ พือ่ เข้าใจ “ความเป็นธรรมดา” ความสัมพันธ์ จิตใจ และปัญญา นั้นเป็น ของชี วิ ต มากยิ่ ง ขึ้ น เฉกเช่ น การเรี ย นรู ้ ที่ หัวใจส�ำคัญของหลักทางพุทธศาสนาที่มุ่ง พวกเราได้เข้าไปรู้จัก เกี่ยวข้อง กับเครือข่าย พัฒนาคนอย่างเต็มคน การเรียนรู้ทั้งหมดที่กล่าวไปแล้ว เรียนรู้ที่

20 �������������.indd 227

11/28/16 11:01 AM


228

จะประคองความรู้สึกด้านในที่เป็นด้านลบ ของตั ว เอง (ความโกรธ ความกลั ว หรื อ กิเลส ความต้องการมากๆ) ให้อยู่บนเส้น ของการรู ้ จั ก ค�ำว่ า “อิ่ ม ” และพอที่ ใ จ เรียนรู้ที่จะเข้าใจในสิ่งตรงหน้าอย่างมีสติ และใส่ใจสิ่งรอบตัว บนความสัมพันธ์กับ ความเป็นมนุษย์ หากสิ่งเหล่านี้มีอยู่ “การ ศึ ก ษาก็ จ ะเคลื่ อ นไปสู ่ ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ ที่ สมบู ร ณ์ แ ละสั ม ผั ส ได้ ถึ ง ความเป็ น พุ ท ธะ จากชี วิ ต ด้ า นใน” การอธิ บ ายโลกจาก ด้านนอกก็จักงดงามมากยิ่งขึ้น องค์ความรู้จากภูมิธรรมภูมิปัญญา ครั้งที่เราได้ฟังเรื่องการรักษาป่าต้นน�้ำจาก พระครูประยุตธรรมธัช วัดตะโหมด ท่าน ได้หาวิธกี ารรวมคนมาเป็นประกาศเจตนาใน การรักษาป่าร่วมกันของป่าชุมชนเขาหัวช้าง โดยคิ ด วิ ธี ก ารเอาผ้ า หลากสี ม ารวมคน ร่วมกันผูกต้นไม้เป็นการบูชารุกขเทวดา นับ จากวันนั้นท่านบอกว่าการบุกรุกและตัดป่า ค่อยๆ ลดลง นับเป็นอีกตัวอย่างในบทบาท วัดและศูนย์เรียนรู้ต่างๆ ได้น�ำองค์ความรู้ที่ เป็ น ขุ ม ทรั พ ย์ จ ากภู มิ ธ รรมภู มิ ป ั ญ ญามา บูรณาการขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่มีพลังความ หมายต่อการรับรู้และสื่อสาร เช่น การจัด บวชป่ า การสื บ ชะตาแม่ น�้ ำ ธนาคารน�้ ำ

20 �������������.indd 228

การเดิ น ธรรมยาตรา สั จ จะสะสมทรั พ ย์ เป็นต้น ชุ ด องค์ ค วามรู ้ ที่ เ กิ ด ขึ้ น นี้ อ ยู ่ บ น พื้ น ฐานของความคิ ด ความเชื่ อ ความ ศรัทธาและโยงใยอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของผู้คนในชุมชนหรือพื้นที่นั้นๆ นอกจากนี้ หลายท่ า นได้ เ ชื่ อ มโยงฐานองค์ ค วามรู ้ ภูมิธรรมภูมิปัญญากับองค์ความรู้กระบวน ทัศน์ใหม่ทเี่ ป็นขบวนท�ำงานภาคประชาสังคม ซึ่งเห็นถึงคุณค่าความหมายในความยั่งยืน การสร้ า งความแข็ ง ของชุ ม เช่ น เกษตร ทฤษฎีใหม่ ป่าชุมชน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จิตอาสา เป็นต้น ซึ่งท�ำให้วัดและศูนย์ฯ ต่างๆ ขยายขอบเขตของการสื่อสารไปสู่ การเชือ่ มโยงกับภาคประชาสังคมและสังคม วงกว้างยิ่งขึ้น กระบวนเรียนรูบ้ นรูปธรรมการท�ำงาน เป็นการเรียนรูท้ ที่ �ำให้เกิดกระบวนการแก้ไข ปัญหาและการริเริ่มสร้างสรรค์ต่างๆ เช่น การแก้ไขการท�ำลายป่าไม้ การท�ำให้เด็กมี โอกาสทางการศึกษา การเดินธรรมยาตรา เพื่อฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ เป็นต้น กระบวน การเหล่านี้เอื้อให้เกิดประสบการณ์ในการ ลงมือ เกิดความรู้สึก การใช้ความนึกคิด และมีกระบวนการกลุ่มในการแลกเปลี่ยน

11/28/16 11:01 AM


229

ความคิดเห็นจากการลงมือท�ำระหว่างกัน อาจเรี ย กได้ ว ่ า เป็ น วงจรการเรี ย นรู ้ แ บบ ไตรสิ ก ขาคื อ “ศี ล สมาธิ ปั ญ ญา” ให้ กลับมามีคุณค่าอยู่ในชีวิตจริง ท�ำให้เกิด หั ว ใจของการเป็ น นั ก เรี ย นรู ้ แ ละที่ ส�ำคั ญ เป็นการเรียนที่สร้างให้เกิดความเข้าใจหรือ ความรู้เชิงประจักษ์ที่เรียกได้ว่าเป็น “ความรู้ มือหนึง่ ” คือความรูท้ ผี่ า่ นจากการหลอมรวม ของบริบทกับการลงมือปฏิบัติที่ผสาน กาย ใจ และความคิด ขึ้นพร้อมกัน จนเป็นความ เข้าใจ ณ ขณะนั้น กระบวนการเรียนรูท้ สี่ ามัญชนธรรมดา สามารถเข้าถึงได้ กระบวนการเรียนรู้ที่ เป็นมากกว่าห้องเรียน ได้ท�ำให้โอกาสของ การเรียนรู้เปิดกว้างในทุกๆ ขณะ โดยที่ คนธรรมดาในชุ ม ชนหรื อ ผู ้ ส นใจเข้ า มามี ส่วนร่วมได้เสมอ ตั้งแต่กระบวนการท�ำงาน และการฝึกฝนอบรมที่จัดขึ้นอย่างประหยัด รวมไปถึงโรงเรียนอย่างปูทะเลย์มหาวิชชาลัย จ.ชลบุ รี ที่ ไ ม่ เ ก็ บ เงิ น เด็ ก ที่ เ ข้ า มาเรี ย น เหตุ ผ ลเพราะเด็ ก ที่ ม าเรี ย นที่ นี่ ส ามารถ ปลู ก กิ น ท�ำกิ น สร้ า งรายได้ ด ้ ว ยตั ว เอง กระบวนการเช่ น นี้ ไ ด้ ท�ำให้ ผู ้ ค นที่ เ ป็ น รากฐานของสั ง คมได้ เ ข้ า ถึ ง การยกระดั บ ศักยภาพตนเองให้กา้ วหน้าหรือพัฒนายิง่ ขึน้

20 �������������.indd 229

รวมความว่าคุณค่าและความหมาย ของพื้นที่ที่ท�ำให้เกิดการเรียนรู้บนฐานพลัง ศาสนธรรมที่ยังคงมีอยู่ เป็นเครื่องมือใน การช่วยแก้ไขปัญหาเพื่อให้ผู้คน ชาวบ้าน ชุมชน ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ ที่ดี ตลอดจนเข้าถึงความหมายของความ เป็นมนุษย์ยิ่งขึ้น เพื่อการพัฒนาความเป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์และเจริญงอกงามในมิติ ทางด้ า นจิ ต ใจ จนสามารถตระหนั ก รู ้ ถึ ง สภาวะของสรรพสิ่ ง ทั้ ง หลาย เป็ น แหล่ ง เรียนรู้ที่ทรงพลังในการประคองการเรียนรู้ ให้ “อยู่” กับสติและความรู้สึกตัวเป็นที่ตั้ง รู้จักโลก เท่าทันสังคม มีความเบิกบานได้ ท่ า มกลางพายุ ฝ น หรื อ เราเรี ย กสิ่ ง นี้ ว ่ า “ภาวนา” อันจะเป็นรากฐานประการส�ำคัญ ของการเรียนรูเ้ พือ่ ก้าวไปถึง “ความปีตสิ ขุ ” คื อ สุ ข สงบ สิ่ ง นี้ เ ป็ น ประสบการณ์ ก าร เรียนรู้ที่ส�ำคัญของชีวิต และการด�ำรงอยู่กับ ปัจจุบันขณะที่ทุกอย่างรอบๆ ตัว จนสามารถ เกิด “แก่น” การเรียนรูท้ จี่ ะให้เกิดการพัฒนา อย่ า งแท้ จ ริ ง พร้ อ มเปิ ด ประตู ต ้ อ นรั บ ผู้สนใจน�ำพาตนเองไปเรียนรู้ ฝึกฝน และ บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ภายในให้ชีวิตได้เข้าถึง ความเจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป

11/28/16 11:01 AM


20 �������������.indd 230

11/28/16 11:01 AM


แนะน�ำรายชื่อวัด ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทั่วประเทศ มีการส่งเสริมในด้านต่างๆ ดังนี้

๑. ด้านการภาวนาและศีลธรรม การจัดอบรมและฝึกฝนปฏิบัติ หรือใช้สื่อเผยแพร่ ต่างๆ ให้เข้าถึงคุณค่าในทางจิตวิญญาณที่มีความสุขสงบและปัญญาจากภายใน การใช้ใน ชีวิตและสังคม เช่น การจัดอบรมค่ายคุณธรรม ส�ำนักปฏิบัติธรรม เป็นต้น ๒. ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม การเสริมสร้างให้บุคคลหรือชุมชนเข้าถึงการ พัฒนาศักยภาพ ความเจริญงอกงาม และสร้างการเรียนรู้ ทั้งในทางกาย จิตใจ และปัญญา รวมถึงทักษะอาชีพ เช่น โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย โรงเรียนสามเณร กลุ่มมโนราห์ เป็นต้น ๓. ด้านเศรษฐกิจและสวัสดิการชุมชน การท�ำให้ชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน กองทุน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และการเลี้ยงชีพได้อย่าง พึ่งพาตนเอง เช่น การท�ำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ กลุ่มสหกรณ์ เกษตรผสมผสาน เป็นต้น ๔. ด้านสุขภาพ การดูแลและปรับเปลี่ยนวิถีการดูแลสุขภาพ อาหาร ยา และ ค่านิยม ให้สามารถป้องกัน และรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ด้วยภูมิปัญญาที่พ่ึงพาตนเองและ ชุมชน เช่น ชมรมหมอยาพื้นฐาน การใช้ยาสมุนไพร นวดไทย การกินผักพื้นบ้าน เป็นต้น ๕. ด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างพลังชุมชนหรือท้องถิ่นให้มีส�ำนึกรัก และการรักษา ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน เช่น บวชป่า สืบชะตาแม่น�้ำ ป่าชุมชน ปลูกป่า เป็นต้น

20 �������������.indd 231

11/28/16 11:01 AM


232

ภาคเหนือ ๑. วัดโป่งค�ำ ต.ดู่พงษ์ อ.สันติสุข จ.น่าน ๕๕๒๑๐ พระครูสุจิณนันทกิจ การสร้างวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน�้ำที่ยั่งยืน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชน ในการน�ำหลักธรรมะประยุกต์กับภูมิปัญญาชุมชนด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ใน การจัดการทรัพยากรดิน น�้ำ ป่า และท�ำการเกษตรเชิงอนุรักษ์ โดยการจัดให้มีเขตป่า ชุมชนกว่า ๒,๕๐๐ ไร่ ด้วยการ “บิณฑบาตป่า” ซึ่งองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นได้จัดเป็นหลักสูตร ท้องถิ่นสอนในโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ ๒. วัดอรัญญาวาส ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน ๕๕๐๐๐ พระครูพิทักษ์นันทคุณ การส่งเสริมวิถีชุมชนเมืองแบบพออยู่พอกิน “อยู่ดี กินดี ลดหนี้ มีสุข” ท�ำวัดให้เป็น แบบอย่างด้านวิถีพุทธเกษตรและการเจริญจิตภาวนา ปลูกพืชผักสวนครัวแบบปลอดสารพิษ มีตลาดนัดให้น�ำผักพื้นบ้านและอาหารพื้นเมืองมาจ�ำหน่าย และจัดสวดมนต์และปฏิบัติ ธรรมที่มีประจ�ำตลอดทั้งปี โดยใช้ฐาน “เครือข่ายฮักเมืองน่าน” ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๐ ๓. โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดนิโครธาราม วัดนิโครธาราม ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน ๕๕๑๔๐ พระปลัดคงศิลป์ ภัททราวุโธ การจัดการศึกษาให้กับสามเณรที่สร้างเป็นหลักสูตร “อาศรมสามเณร” โดยฟื้นการ เรียนรู้ทางพุทธศาสตร์ที่อยู่ในประเพณีและภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้สามเณรได้ศึกษาและ ฝึกฝน เช่น การฝึกเทศน์มหาชาติ สวดแบบพื้นเมือง แกะพระไม้ ต้องตุง เป็นต้น ๔. วัดสวนร่มบารมี ต.วงฆ้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ๖๕๑๘๐ พระครูโฆสิตธรรมสุนทร การปลูกป่าจากที่ลุ่มๆ ดอนๆ เป็นป่าซุปเปอร์มาร์เก็ตของชาวบ้านในพื้นที่ ๕๐ กว่าไร่ ต้นกล้วยกว่า ๑๒๐ สายพันธุ์ และที่นี้ยังเป็นโรงพยาบาลบ�ำบัดผู้ติดยาเสพติด

20 �������������.indd 232

11/28/16 11:01 AM


233

ภายใต้แนวคิด “บ้านเปลี่ยนวิถี” ที่รักษาด้วยยาสมุนไพร และสร้างภูมิคุ้มกันทางใจด้วย หลักธรรมทางศาสนา ๕. วัดพระบรมธาตุนครชุม ต.นครชุม อ.เมือง จ.ก�ำแพงเพชร ๖๒๐๐๐ พระราชวชิรเมธี พระบรมธาตุนครชุมถือเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวจังหวัดก�ำแพงเพชร “ธรรมจักร ซันเดย์” เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ดึงดูดให้คนเข้ามาสวดมนต์ในทุกวันอาทิตย์ และทุกๆ เย็นจะ มีชาวบ้านเข้ามาอ่านหนังสือในห้องสมุดบ้านดิน และหอคัมภีร์โบราณ และยังใช้พื้นที่ ภายในวัดท�ำนาข้าวบนพื้นปูน ปลูกพืชสวนครัวในกระถาง ๖. สถานธรรมปลีกวิเวก ต.เมืองแหง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ๕๐๓๕๐ พระ ดร.ฐานี ฐิตวิริโย ที่นี่เป็นสถานปฏิบัติธรรมที่มีชีวิต ประกอบด้วยฐานการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง “ฉันทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่ฉัน” สร้างบ้านดินเป็นที่อยู่อาศัย พลิกฟื้น ผืนป่าด้วยการบวชป่า อบรมให้ความรู้กับคนรุ่นใหม่รวมถึงชาวต่างชาติจ�ำนวนมาก และ ขยายไปถึงเด็กที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา ๗. วัดสวนดอก ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๒๐๐ พระครูพิพิธสุตาทร (พระมหา ดร. บุญช่วย สิรินธโร) การส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์รุ่นใหม่ในการท�ำงานชุมชนและขับเคลื่อนสังคม โดย สร้างโครงการ/กิจกรรมที่จะท�ำร่วมกัน การสร้างเวทีการเรียนรู้ และปลูกฝังกระบวนการ ที่น�ำไปสู่วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้แบบพุทธ โดยไม่เน้นพิธีกรรม โดยตั้งศูนย์ประสานงาน การวิจัยเพื่อท้องถิ่นโพธิยาลัย เป็นศูนย์ประสานงานการวิจัย ๘. วัดเจดีย์แม่ครัว ต.แม่แฝกใหม่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ๕๐๒๙๐ พระครูสมุห์วิเชียร คุณธัมโม พัฒนาสวัสดิการชุมชนที่อยู่บนฐานพุทธธรรม เน้นพัฒนาคนโดยพัฒนากิจกรรม ทางสังคมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการท�ำงานกับเด็กและเยาวชน การพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ผู้ติดเชื้อในชุมชน การจัดตั้งองค์กรการเงินและสวัสดิการ ชุมชน การพัฒนาอาชีพ การฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าชุมชน

20 �������������.indd 233

11/28/16 11:01 AM


234

๙. วัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม ต.แม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ๕๐๒๕๐ พระสรยุทธ ชยปัญโญ การส่งเสริมให้ชุมชนชนบทมีวิถีการพึ่งพาตนเอง โดยน�ำพาชาวบ้าน “รักป่า รักน�้ำ” สร้างคนสร้างอาชีพ ด้วย “โฮมสคูล” ดอยผาส้ม และแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ให้คน ท�ำเกษตรผสมผสานปลดหนี้สินและมีรายได้พออยู่พอกิน ๑๐. วัดแม่ห่าง ต.เวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ๕๗๒๖๐ พระอธิการสมชาติ ฐิติปัญโญ การส่งเสริมและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วัฒนธรรมและแนวการศึกษาวิถีพุทธ ด้วย การใช้สื่อสมัยใหม่และวิธีการสื่อสาร การเรียนการสอน และกิจกรรมที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่ ๑๑. วัดกิ่วพร้าว ต.จันจว้าใต้ อ.แม่จัน จ.เชียงราย ๕๗๒๗๐ พระครูประสิทธิ์บุญญาคม (สมหมาย ปุญญาคโม) การเป็นครูพระผู้สืบสานภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา โดยจัดให้มีงานศาสนาพิธี พิธีกรรมความเชื่อ และการส่งเสริมด้านการศึกษาให้เด็กเยาวชน รวมถึงการเรียนภาษา ล้านนาและฝึกฝนศิลปวัฒนธรรมโบราญ ๑๒. ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน ต.ห้วยสัก อ.เมือง จ.เชียงราย ๕๗๐๐๐ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี การสร้างสถานที่ให้คนเมืองที่มีเวลาน้อยได้มีที่ปฏิบัติธรรม ให้ความสงบ ช่วยเสริม เติมพลังแล้วกลับไปท�ำงานใหม่ สร้างโดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือ ว.วชิรเมธี เป็น พระนักวิชาการ นักคิดนักเขียน และนักบรรยายธรรม และตั้งสถาบันวิมุตตยาลัยเพื่อ งานค้นคว้าวิชาการ ๑๓. ธรรมสถานสถาบันธรรมาภิวัฒน์ ต.สบป้าด อ.แม่เมาะ จ.ล�ำปาง ๕๒๒๒๐ พระสาธิต ธีรปัญโญ (โปธาเศษ) ส่งเสริมและรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กิจกรรมรณรงค์งดเหล้า ด้วยการตั้งเครือข่ายเยาวชนคนใฝ่ดี และเป็นสถานที่ส�ำหรับเผยแผ่พระพุทธศาสนา ส่งเสริมการศึกษา และพัฒนาสังคม

20 �������������.indd 234

11/28/16 11:01 AM


235

๑๔. วัดจองค�ำ ต.บ้านหวด อ.งาว จ.ล�ำปาง ๕๒๑๑๐ พระราชปริยัตโยดม (โอภาส โอภาโส) การศึกษาเพื่อค�้ำจุนพระศาสนา โดยเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ที่มี จ�ำนวนสามเณรสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค (ป.ธ.๙) มากถึง ๑๗ รูป นับได้ว่ามีจ�ำนวน มากที่สุดของประเทศไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยส่วนใหญ่เป็นลูกหลานชาวไร่ชาวนาผู้ที่ มีฐานะยากจน ซึ่งหลักในการดูแลสามเณรคือ จะให้ความเมตตาเหมือนเป็นลูกเป็นหลาน ๑๕. วัดปางงุ้น ต.สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ ๕๔๑๖๐ พระยงยุทธ ทีปโก ส่งเสริมฟื้นฟูให้ชาวบ้านอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่ป่าลุ่มน�้ำแม่สรอยซึ่งเป็นต้นน�้ำ แม่ยม โดยสร้างเครือข่ายเยาวชน “กลุม่ เยาวชนคนฮักถิน่ ” ส่งเสริมให้เกิดสือ่ ท้องถิน่ “วารสาร คนต้นน�้ำ” ปลุกจิตส�ำนึกชาวบ้าน เกิดพลังสามประสาน ต่อต้านสัมปทานเหมืองในพื้นที่ ป่าลุ่มน�้ำแม่สรอย ๑๖. วัดทุ่งศรี ต.ทุ่งศรี อ.ร้องกวาง จ.แพร่ ๕๔๑๔๐ พระครูวิสาลวรานุรักษ์ การใช้ภูมิปัญญาในการพึ่งพาตนเองของวิถีเกษตรกรรม โดยตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านชุมชนวัดทุ่งศรี” เป็นการน�ำภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้านมาใช้ในการ ด�ำรงชีวิตในชุมชน ให้เกิดมีความสุข อาทิ ด้านสุขภาพ โดยใช้ภูมิปัญญาและสมุนไพรใน ท้องถิ่น ด้านอาหารประจ�ำวัน ด้านการท�ำการเกษตร และงานด้านแปรรูปผลิตผลเกษตร รวมทั้งการท�ำปุ๋ยใช้เอง ๑๗. วัดถ�้ำพระธาตุเมืองเทพ ต.ทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ๖๑๑๔๐ พระอมรมิตร คัมภีรธัมโม การสร้างเครือข่ายพระสงฆ์ในการท�ำงานภาคประชาสังคมในมิติต่างๆ ทั้งในเรื่อง การอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก โครงการบทบาทพระสงฆ์กับการช่วยลดปัจจัยเสี่ยงฯ โครงการ สวดมนต์สร้างปัญญาฯ ฯลฯ

20 �������������.indd 235

11/28/16 11:01 AM


236

๑๘. วัดแท่นค�ำ ต.ห้วยลาน อ.ดอกค�ำใต้ จ.พะเยา ๕๖๑๒๐ พระครูสุวรรณธรรมนิวิฐ การเป็นศูนย์กลางทางด้านการเรียนรู้และการศึกษาของต�ำบลห้วยลาน โดยเป็น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพของชุมชน (ไม้กวาดดอกหญ้า) และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจัดทั้งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ๑๙. วัดโพธาราม ต.ศรีถ้อย อ.แม่ใจ จ.พะเยา ๕๖๑๓๐ พระโสภณพัฒโนดม (พระครูมนัสนทีพิทักษ์) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เริ่มจากป่าขุนน�้ำ แหล่งต้นน�้ำล�ำธาร “ห้วยขุนน�้ำแม่ใจ” โดยตั้ง “กลุ่มฮักป่าแม่ใจ” ริเริ่มพิธี “บวชป่า” และ “สืบชะตาแม่น�้ำ” ซึ่งเป็นกุศโลบายในการน�ำความเชื่อทางพุทธศาสนามาประยุกต์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมพื้นเมืองของภาคเหนือ สร้างจิตส�ำนึกให้คนเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ

ภาคกลาง และตะวันออก ๒๐. เครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์ จ.ตราด วัดไผ่ล้อม ต.บางพระ อ.เมือง จ.ตราด ๒๓๐๐๐ พระสุบิน ปณีโต การสร้างสวัสดิการชุมชน ด้วยวิธีการ “เงินผสมกับธรรมะ” ให้ชาวบ้านและชุมชน กลับมาพึ่งตนเองและบ่มเพาะคุณธรรม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๓ ปัจจุบันมี ๑๖๓ กลุ่ม สมาชิก รวมกว่า ๖๐,๐๐๐ คน ช่วยชาวบ้านและชุมชนปลดหนี้สินและการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ๒๑. วัดโพธิ์ทอง ต.แสลง อ.เมือง จ.จันทบุรี ๒๒๐๐๐ พระครูสุวรรณโพธิวรธรรม (มนัส ขันติธัมโม) จั ด ตั้ ง กลุ ่ ม สั จ จะสะสมทรั พ ย์ จ.จั น ทบุ รี พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ชุ ม ชนให้ มี ร ะบบ สวัสดิการพื้นฐาน มีการออมเงินและสร้างกองทุนกู้ยืมแบบช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกัน เป็น การลดปัญหาหนี้สิน

20 �������������.indd 236

11/28/16 11:01 AM


237

๒๒. วัดวังศิลาธรรมาราม ต.วังหว้า อ.แกลง จ.ระยอง ๒๑๑๒๐ พระครูประโชตธรรมาภิรม การใช้ธรรมะมาพลิกฟื้นคืนชีวิตให้ผืนป่าภาคตะวันออกกลับสู่ความสมบูรณ์ขึ้น นับแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๖ ด้วยการปลูกและรักษาป่า เช่น ปลูกป่าในพื้นที่วัดวังศิลาธรรมราม ๒๐ ไร่ โครงการสวนป่าอรัญปิยวงศ์ โครงการจัดงานท�ำบุญปลูกป่า “ปลงคืนถิ่น” โครงการ ปลูกป่าถาวร ๕๐ แปลง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน โครงการเชื่อมป่าตะวันออก (ทางช้างผ่าน) ๒๓. วัดมงคลสามัคคีธัมโมทัย (วัดเขาสาป) ต.เพ อ.เมือง จ.ระยอง ๒๑๑๐๐ พระอธิการวิทยา จิตตธัมโม ส่งเสริมการศึกษาเยาวชน ให้สามารถพัฒนาโดยใช้คุณธรรมน�ำการศึกษา ให้โอกาส เด็กยากจน หรือด้อยโอกาสได้มีทางเลือกมากขึ้น เป็นคนที่มีความรู้ทั้งทางโลกและทาง ธรรม ที่ส�ำคัญคือเป็นคนดี มีคุณภาพและคุณธรรม ช่วยพัฒนาชาติและศาสนาให้เจริญ ยิ่งขึ้นไป ๒๔. ศูนย์ปฏิบัติธรรมมาบเอื้อง ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ๒๐๑๗๐ พระสังคม ธนปัญโญ ขุนศิริ การจัดกระบวนการศึกษาแนวพุทธ ด้วยแนวทางบ้าน วัด โรงเรียน หรือ “บวร” มาบูรณาการจัดตั้งเป็น “โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย” ในปี พ.ศ.๒๕๕๔ ด้วยหลักสูตร ผสานวิถีแห่งการฝึกฝนตนบ่มเพาะตามแบบพระพุทธเจ้า พร้อมกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ รูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” ท�ำให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้อย่างถูกวิธีตั้งแต่ ระดับประถมศึกษาถึงระดับปริญญาตรี ๒๕. วัดศรีวนาราม ต.ทุ่งสุขขา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ๒๐๑๕๐ พระมหาสีไพร อาภาธโร การรักษาสุขภาพทางเลือกด้วยสมาธิเพื่อการผ่อนคลาย รักษาสุขภาพกายและจิต โดยองค์รวม อันเป็นการคิดค้นวิธีรักษามาจากการประยุกต์หลักธรรมทางพุทธศาสนา มาใช้ตามแนวทางมหาสติปัฎฐาน ควบคู่กับภูมิปัญญาพื้นบ้านแผนโบราณและภูมิปัญญา ร่วมสมัย

20 �������������.indd 237

11/28/16 11:01 AM


238

๒๖. วัดมงคลชัยพัฒนา ต.ห้วยบง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี ๑๘๐๐๐ พระวิสิฐคณาภรณ์ ส่งเสริมเกษตรตามแนว “ทฤษฎีใหม่” ซึ่งถือเป็นจุดก�ำเนิดแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๑ โดยด�ำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่อง มาจากพระราชด�ำริ ในการเป็นศูนย์สาธิตอย่างเป็นรูปธรรม ให้วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจและ ศรัทธาในการประสานงานพัฒนา พร้อมกับเป็นสถานที่ให้ความรู้ อบรม แลกเปลี่ยน ทางวิทยาการด้านเกษตรกรรม ๒๗. วัดป่าพระเจ้า ต.ปลายนา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ๗๒๑๔๐ พระมหาสมัย สมโย การท�ำงานเครือข่ายความร่วมมือในท้องถิ่น โดยเฉพาะความร่วมมือของคณะสงฆ์ ระดับอ�ำเภอกับองค์การบริหารส่วนต�ำบล ด้วยโครงการ “รัตนโมเดล” ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๕ โดยสร้างคณะพระวิทยากรท�ำงานด้านการเรียนรู้และเผยแพร่ ควบคู่กับการสร้างชุมชน จิตอาสา เช่น การซ่อมแซมถนน ตัดหญ้าริมทาง เครือข่ายเยาวชนเพื่อชุมชน ๒๘. วัดไกลกังวล (เขาสารพัดดีศรีเจริญธรรม) ต.บ้านเชี่ยน อ.หันคา จ.ชัยนาท ๑๗๑๓๐ พระอธิการส�ำรวม สิริภัทโท การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการรักษาสัตว์ป่า โดยได้จัดปลูกป่า ท�ำแนว ก�ำแพงป้องกันไฟ อนุรักษ์พันธุ์ไม้ และปล่อยให้สัตว์ป่าอยู่อาศัยตามธรรมชาติ เช่น เก้ง กวาง นกยูงและสัตว์อื่นๆ เป็นจ�ำนวนมาก ในพื้นที่กว่า ๒,๔๐๐ ไร่ ซึ่งมีความสงบ สงัด และสัปปายะ ๒๙. วัดกลางราชครูธาราม ต.หัวตะพาน อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ๑๔๑๑๐ พระเจษฎา สมาหิโต การจั ด กระบวนการเรี ย นรู ้ แ นวการศึ ก ษาวิ ถี พุ ท ธ ด้ ว ยการบู ร ณาการความรู ้ คุ ณ ธรรม และความสนุ ก สนานน่ า สนใจ เหมาะสมกั บ กลุ ่ ม เยาวชนรุ ่ น ใหม่ ภายใต้ “โครงการโรงเรียนวิถีพุทธอ่างทอง”

20 �������������.indd 238

11/28/16 11:01 AM


239

๓๐. วัดพระบาทน�้ำพุ ต.เขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี ๑๕๐๐๐ พระราชวิสุทธิประชานาถ (อลงกต ติกขปัญโญ) การอุปการะช่วยเหลือผู้ป่วยรวมถึงเด็กเล็กที่ติดเชื้อเอชไอวี-เอดส์ ด้วยโครงการ ธรรมรักษ์นิเวศน์ บ้านพักผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตั้งขึ้นปี พ.ศ.๒๕๓๕ บนพื้นฐานของการอยู่ ร่วมเป็นชุมชน ด้วยความมีเมตตา และมีมนุษยธรรม ตามวิถีทางของชาวพุทธ ๓๑. วัดสุทัศน์เทพวราราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐ พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวังโส การศึกษาที่ผสมผสานหลักคิดวิถีพุทธกับการพัฒนาและความเป็นวิทยาศาสตร์ สร้างเป็นโครงการเพื่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในกลุ่มเยาวชน โรงเรียน ฯลฯ เช่น ประกวด โครงงานคุณธรรม สร้างคุณธรรมกับการมีส่วนร่วมให้แก่เยาวชน ๓๒. วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก พระราม ๙ ซอย ๑๙ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ พระราชญาณกวี(สุวิทย์ ปิยวิชโช) การสืบทอดพุทธศาสนา ด้วยการใช้สื่อและการสื่อสารที่ดี ชัดเจน ให้พุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทย และต่างชาติ ได้รับรู้ และการสร้างศาสนทายาท โดยเฉพาะโครงการ “รากแก้ว ศาสนทายาท” แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพา่ ย กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐ ๓๓. พระมหานภันต์ สันติภัทโท กลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร การออกแบบและจัดกระบวนการฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม วิทยากรกระบวนการ การศึกษาวิถีพุทธ บนฐานไตรสิกขา และกระบวนการให้คําปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม มุ่งให้เกิดการพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลง เช่น หลักสูตรค่ายธรรมศึกษาภิวัฒน์ โครงการ สามเณรปลูกปัญญาธรรม ๓๔. กลุ่มเสขิยธรรม มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป เขตคลองสาน กรุงเทพฯ ๑๐๖๐๐ พระวินย์ สิริวัฑฒโน การสร้างเครือข่ายบทบาทพระสงฆ์และแม่ชีเพื่อสังคม ในนาม “กลุ่มเสขิยธรรม” โดยเน้ น การเสริ ม ศั ก ยภาพ และสนั บ สนุ น งานพุ ท ธเพื่ อ สั ง คมในโครงการต่ า งๆ เช่ น โครงการพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โครงการพัฒนา เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ฯ พอเพียง เคียงธรรม เป็นต้น

20 �������������.indd 239

11/28/16 11:01 AM


240

๓๕. กลุ่มคิลานธรรม Facebook: คิลานธรรม E-mail: gilanadhamma@gmail.com Website: http://gilanadhamma.com พระมหาสุเทพ สุทธิญาโณ การสร้างเครือข่ายพระสงฆ์และอาสาสมัคร “ธรรมะข้างเตียง” น�ำธรรมะเพื่อผู้ป่วย ให้มองเห็นความเป็นจริงทางธรรมชาติของกระบวนการแห่งชีวิต ที่ “เกิด แก่ เจ็บ และ ตาย” เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับทุกชีวิต โดยริเริ่มจากพระนิสิตจิตอาสา สาขาวิชาชีวิตและความ ตาย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๓๖. วัดจากแดง ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ๑๐๑๓๐ พระมหาประนอม ธัมมาลังกาโร การพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ สามเณร ด้วยโครงการ “พระพูดได้” โดยใช้กลยุทธ์ เทคนิควิธีการ และเครื่องมือต่างๆ ทั้งการศึกษาพระอภิธรรม นักธรรมบาลี ฝึกให้พระ และสามเณรเป็นนักพูด นักเทศน์ บรรยาย โดยการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง และยัง เปิดสอนพระอภิธรรม สอนภาษาบาลีไวยากรณ์ชั้นสูง สอนภาษาพม่า สอนพระไตรปิฏก ๓๗. วัดปลักไม้ลาย ต.ทุ่งขวาง อ.ก�ำแพงแสน จ.นครปฐม ๗๓๑๔๐ พระครูสุธรรมนาถ (สมนึก นาโถ) การใช้สมุนไพรในการดูแลรักษาโรค โดยจัดท�ำเป็นสวนป่าสมุนไพร มีประมาณ ๕๐๐ ชนิด ในเนื้อที่ประมาณ ๙๒ ไร่ บรรยากาศภายในร่มรื่นเหมาะส�ำหรับพักผ่อนกับ ธรรมชาติในป่าสมุนไพร นอกจากนั้น ภายในวัดยังมีการนวดแผนโบราณ การนวดแผนไทย การอบสมุนไพร การรับประทานอาหารประเภทสมุนไพร ตลอดจนการอบรมจิต และ การปฏิบัติธรรม ๓๘. วัดวังขนายทายิการาม ต.วังขนาย อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ๗๑๑๑๐ พระครูกาญจนสุตาคม การดู แ ลและบ�ำบั ด ผู ้ สู ง อายุ แ ละผู ้ ป ่ ว ยคนพิ ก ารที่ ม าอาศั ย อยู ่ ป ระมาณเกื อ บ ๑๐๐ คน โดยทางวัดได้เปิด “ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ” เพื่อช่วยรักษาและฟื้นฟู สมรรถภาพของผู้ป่วย

20 �������������.indd 240

11/28/16 11:01 AM


241

๓๙. จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว วัดโขลงสุวรรณคีรี ต.คูบัว อ.เมือง จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐ ดร.อุดม สมพร พิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของชาวไทยวนโบราณ แห่งราชบุรี โดยรวบรวมสิ่งของ และข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ มาจัดแสดงเป็น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ให้มาศึกษาหาความรู้ และร�ำลึกถึงสมัยอดีต เพื่อให้ส่งต่อไปยังรุ่นลูก รุ่นหลาน ๔๐. วัดป่าศรีถาวรนิมิต ต.หนองแสง อ.ปากพลี จ.นครนายก ๒๖๑๓๐ พระครูสรพาจน์พิไล (ช�ำนาญ ปิยสีโล) ส�ำนักปฏิบัติธรรมที่มีต้นไม้ร่มรื่นและเงียบสงบ เหมาะสมกับกิจกรรมการปฏิบัติธรรม เป็นอย่างดี และมีการท�ำสวน ปลูกผักปลอดสารพิษ และนาข้าวในระบบเกษตรธรรมชาติ ๔๑. วัดเพชรพลี (วัดพริบพลี) ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี ๗๖๐๐๐ พิพิธภัณฑ์วชิรปราสาท การจัดท�ำพิพิธภัณฑ์สร้างเป็นอาคาร “วชิรปราสาท” น�ำจัดแสดงพระพุทธรูป ส�ำคัญปางต่างๆ มาจากหลายยุค เครื่องถ้วยชามสังคโลก เครื่องเบญจรงค์ ตั้งแต่ก่อนหน้า สมั ย สุ ว รรณภู มิ จ นถึ ง สมั ย รั ต นโกสิ น ทร์ จุ ด เด่ น ของอาคารพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ คื อ บุ ษ บกที่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่สามารถยกขึ้น-ลง ในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ลงมากราบนมัสการในช่วงวันส�ำคัญต่างๆ

ภาคอีสาน ๔๒. ศูนย์พุทธธรรมพรหมวชิรญาณป่าดงใหญ่วังอ้อ ต.หัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ๓๔๑๕๐ พระครูสุขุมวรรโณภาส การท�ำงานอย่างบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย ด้วยงานด้านป่าชุมชนให้คงผืนป่า ดงใหญ่วงั อ้อให้มคี วามสมบูรณ์ เนือ้ ทีก่ ว่า ๑,๘๐๐ ไร่ งานด้านฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม

20 �������������.indd 241

11/28/16 11:01 AM


242

ปีละกว่า ๒ หมื่นคน และงานด้านฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ตามทฤษฎีบันได ๙ ขั้น เพื่อเป็นการฝึกฝนแนวทางชีวิตและอาชีพให้กับชุมชน และโครงการต่างๆ อีกหลากหลาย ๔๓. วัดโนนมะเขือ ต.กาบิน อ.กุดข้าวปุ้น จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๗๐ พระครูสุภกิจมงคล ส่งเสริมให้งานบุญทุกชนิดและวัดปลอดเหล้า และจัดตั้งเครือข่ายสัจจะสะสมทรัพย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิตโนนมะเขือ และบ้านโนนดอกแก้ว ที่เน้นให้สมาชิก งดเหล้ า ละอบายมุ ข น�ำเงิ น มาสะสมและกู ้ ยื ม ไปประกอบอาชี พ น�ำดอกผลมาจั ด สวัสดิการดูแลตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต ๔๔. วัดป่าศรีแสงธรรม ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๒๐ พระครูวิมลปัญญาคุณ โรงเรียนศรีแสงธรรม การเป็นโรงเรียนที่ใช้ระบบโซล่าเซลล์ ผลิตไฟฟ้าใช้เองจนลดค่าไฟเดือนละ ๖,๐๐๐ บาท เหลือแค่ ๔๐ บาท เพื่อรักษาค่ามิเตอร์ ท�ำให้เป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการด้าน พลังงานทางเลือกให้กับภาคส่วนต่างๆ นอกจากนี้ นักเรียนยังรวมกับสร้างอาคารเรียนแบบ บ้านดิน ๑๑๒ ตารางเมตร และยังปลูกพืชผักและท�ำนาข้าวอินทรีย์เป็นอาหารกลางวัน ๔๕. วัดป่าลานหินตัด ต.ปราสาท อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ๓๑๑๘๐ พระปลัดสมบูรณ์ สุมังคโล จักรยานสร้างวิถีการเรียนรู้และการปฏิบัติธรรม ผ่านการเรียนรู้ที่มีชีวิต ชีวา สนุก และมีความสุข สร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ เพื่อชุมชน/สังคม เช่น ชมรมจักรยานเด็กใจวิเศษ โครงการจักรยาตราฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ กม. โครงการจักรยาตราโซล่าเซลล์ และ การสร้างบ้านด้วยดิน ซึ่งเป็นการพึ่งพาตนเองและช่วยรักษาธรรมชาติให้ยั่งยืน ๔๖. วัดเทพมงคล ต.บุ่ง อ.เมือง จ.อ�ำนาจเจริญ ๓๗๐๐๐ พระครูมงคลวรวัฒน์ (สวัสดิ์ วัฑฒโน) การให้วัดเป็นศูนย์กลางพลังศรัทธาของชุมชน ให้ประชาชนและภาคส่วนต่างๆ เข้ามาใช้พื้นที่วัด ในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต การมีคุณธรรมน�ำใจควบคู่กับปัญญา และความดีงาม โดยมีกิจกรรมภายในวัดกว่า ๓๐ กิจกรรม อาทิ หอวัฒนธรรมนิทัศน์

20 �������������.indd 242

11/28/16 11:01 AM


243

อั น เป็ น แหล่ ง ศึ ก ษาวิ ถี ภู มิ ป ั ญ ญาของชุ ม ชน โครงการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพปลอดสารพิ ษ โครงการเข้าวัดสวดมนต์ เป็นต้น ๔๗. วัดโพธิการาม ต.โพนสูง อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด ๔๕๑๙๐ พระครูโพธิวีรคุณ การบูรณาการการท�ำงานร่วมกันของหน่วยงานในชุมชน เน้นให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ของสังคม ผ่านความสัมพันธ์เชิงวัฒนธรรม การปรึกษาหารือ ช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัย จนก่อเป็นการสานข่ายใยในการท�ำงานและหนุนเสริมพลังในการพัฒนาชุมชนให้เกิด ความเข้มแข็งร่วมกัน อาทิ สถาบันการเงินชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ ICT สหกรณ์ชุมชน เซาเซ็น ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน เป็นต้น ๔๘. วัดสระเกษ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ๔๕๑๕๐ พระอธิการวิเชียร ผาสุโก การผสานรวมทุกแนวคิดเผยแผ่ศาสนา โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน โครงการยุวชนไอทีท�ำดีเพื่อสังคม เว็บไซต์คณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด www.roietmonk.org เผยแพร่ข้อมูลของคณะสงฆ์ไทย ๔๙. ต.เกษตรวิสัย อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ๔๕๑๕๐ พระครูสุตเจติยาภิบาล โรงเรียนมัธยมวัดธาตุ (รัตนวิมลอนุสรณ์) การศึกษาเพื่อสงเคราะห์เด็กในชนบทให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ดี โดยเปิด เป็นโรงเรียนสามัญศึกษา มัธยมวัดธาตุระดับ ม.๑-๖ ให้นักเรียนมาเรียนฟรีกว่า ๕๐๐ คน และได้พัฒนาหลักสูตรให้มีกระบวนการสอนแบบบูรณาการที่ส่งเสริมให้เยาวชนมีศีลธรรม และคุณธรรม ๕๐. วัดป่าสุคะโต ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ๓๖๑๕๐ พระไพศาล วิสาโล วัดป่าสุคะโต และวัดป่ามหาวัน เป็นส�ำนักฝึกฝนสติปัฏฐาน ที่น�ำการภาวนาและ กระบวนการสื่อสารธรรมให้กลับมาเชื่อมโยงกับชีวิตและสังคม พร้อมกับการรักษาและฟื้นฟู ป่าธรรมชาติ จ�ำนวนกว่า ๒,๘๐๐ ไร่ โดยจัด “ธรรมยาตราลุ่มน�้ำล�ำปะทาว” เป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่สร้างความมีส�ำนึกร่วมในท้องถิ่นให้ตื่นตัวในการฟื้นฟูชีวิตและรักษาธรรมชาติร่วมกัน

20 �������������.indd 243

11/28/16 11:01 AM


244

๕๑. วัดภูเขาทอง ต.ท่ามะไฟหวาน อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ๓๖๑๕๐ พระอธิการตงหมิง ถาวโร วัดภูเขาทองเป็นเครือข่ายร่วมกับวัดป่าสุคะโตและวัดป่ามหาวัน เป็นส�ำนักฝึกฝน สติปัฏฐานเริ่มต้นโดยหลวงพ่อค�ำเขียน สุวัณโณ ที่มุ่งให้การภาวนากลับมาเป็นวิถีที่เรียบง่าย ของชาวพุทธ และการพึ่งพาตนเองของชุมชน โดยเฉพาะการร่วมกันดูแลรักษาธรรมชาติ ๕๒. วัดป่ากุดฉนวนอุดมพร ต.บ้านเขว้า อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ ๓๖๑๗๐ พระธาตรี อุปปลวัณโณ การรักษาโรคภัยไข้เจ็บและการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาโบราญ โดยตั้ง “อโรคยา ศาล” ใช้สมุนไพร การฝังเข็ม การสวดมนต์ ฯลฯ มาช่วยอนุเคราะห์เกื้อกูลชาวบ้านที่ เจ็บป่วย ให้กลับมารู้จักดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ๕๓. วัดป่าสันติธรรม ต.ท่าหินโงม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ๓๖๐๐๐ พระอธิการครรชิต อกิญจโน โครงการ “ธรรมะเพือ่ การเยียวยาและให้ก�ำลังใจผูป้ ว่ ย” ภายใต้แนวคิดทีว่ า่ ชวนคิด “ชีวิตที่เหลืออยู่” เพื่อเป็นกุศลให้กับผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่มีแรงยืนหยัดอดทน ต่อสู้กับ ความตาย ด้วยความเข้าใจและจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยธรรมะ ๕๔. วัดนาหลวง (อภิญญาเทสิตธรรม) ต.ค�ำด้วง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ๔๑๑๖๐ พระราชสิทธาจารย์ (ทองใบ ปภัสสโร) การเผยแผ่พระพุทธศาสนา และให้วัดเป็นแหล่งศึกษาภาวนาเพื่อการพ้นทุกข์ การ สอนคนให้รับรู้ และเข้าใจในธรรมะอย่างถ่องแท้ จึงเป็นแนวทางหลักในการพัฒนา และ ท�ำนุบ�ำรุงศาสนา ๕๕. วัดป่าหนองคู ต.หนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ๔๔๑๗๐ พระศรีวรญาณ (ไหล โฆสโก) การใช้หลักธรรมอบรมสั่งสอน คณะศรัทธาญาติโยม ให้มุ่งเน้นการปฏิบัติเป็นหลัก เพื่อการฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน ให้เกิดการสร้างสติ สร้างก�ำลังใจ ให้เกิดความเข้มแข็ง

20 �������������.indd 244

11/28/16 11:01 AM


245

๕๖. วัดค�ำประมง ต.สว่าง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ๔๗๑๓๐ พระปพนพัชร์ จิรธัมโม การรักษามะเร็งโดยตัง้ “อโรคยศาล” เป็นวิถกี ารรักษาโรคมะเร็งแบบธรรมชาติบ�ำบัด และผสมผสานแบบองค์รวม เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากมะเร็งโรคร้ายด้วยธรรมชาติบ�ำบัด ๕๗. วัดป่าอาเจียง ต.กระโพ อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ๓๒๑๒๐ พระครูสมุห์ค�ำหาญ ปัญญาธโร แหล่งศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตคนกับช้าง โดยได้จัดท�ำ “สุสานช้าง” เน้นมุ่งสอนให้คน ได้เห็นคุณค่าของช้าง และคิดตอบแทนบุญคุณของช้างที่มีบทบาทและความส�ำคัญผูกพัน กับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่พุทธกาล มีความส�ำคัญต่อประเทศชาติบ้านเมือง ๕๘. วัดโนนเมือง ต.โนนเมือง อ.ขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา ๓๐๒๙๐ พระครูศีลวราภรณ์ (เฉลิม ฐิติสีโล) การอนุ เ คราะห์ แ ละให้ ก ารศึ ก ษาส�ำหรั บ เด็ ก และเยาวชนที่ ข าดโอกาส โดยตั้ ง “โรงเรียนมัธยมพุทธเกษตร” เป็นที่เรียนหนังสือ โดยเริ่มต้นจากไม่กี่สิบคนจนเป็นหลาย ร้อยคน เด็กทุกคนที่มาอยู่ล้วนแล้วเป็นเด็กที่มีปัญหาทั้งสิ้น มีทั้งเด็กก�ำพร้า เด็กติดยา ๕๙. วัดอาศรมธรรมทายาท ต.สี่คิ้ว อ.สี่คิ้ว จ.นครราชสีมา ๓๐๑๔๐ พระครูอมรชัยคุณ (หลวงตาแชร์ พเนจร) การสร้างเครือข่ายการท�ำงานของพระสงฆ์นักพัฒนา “เครือข่ายพระสังฆพัฒนา โคราช” ให้เกิดการมารวมพลังกันสร้างความสามัคคีกันในหมู่พระสงฆ์ เพื่อผลักดันงานให้ ไปสู่ความส�ำเร็จ ซึ่งพระสงฆ์น้ันมีความเชื่อความศรัทธาเป็นทุน มีบุญเป็นก�ำไร มีปัญหา เป็นตัวแก้ไข และมีเงินเป็นผลพลอยได้ โดยเป้าหมายสูงสุดเพื่อความยั่งยืนและความ เข้มแข็งในชุมชน ๖๐. วัดท่าลาด ต.นาโส่ อ.กุดชุม จ.ยโสธร ๓๕๑๔๐ พระครูสุภาจารวัฒน์ (สีหา ทองน้อย) การรวมกลุม่ ชาวบ้านในการพึง่ ตนเองในเรือ่ งยาสมุนไพรและการท�ำเกษตรธรรมชาติ โดยร่วมตั้ง กองทุนพันธุ์ไม้ กลุ่มหมอยาพื้นบ้าน โรงผลิตยาสมุนไพร โรงสีข้าวปลอดสารเคมี

20 �������������.indd 245

11/28/16 11:01 AM


246

โดยรับซื้อผลผลิตจากสมาชิกในราคายุติธรรม ให้สมาชิกมีรายได้จากการท�ำนาปลูกข้าว ปลอดสารเคมี ๖๑. วัดถ�้ำผาสวรรค์ ต.บ้านเพิ่ม อ.ผาขาว จ.เลย ๔๒๒๔๐ พระครูสัจจญาณประสุต การสร้างหัวใจจิตอาสาในเด็กและเยาวชน โดยชวนเด็กๆ ออกมาท�ำภารกิจแผ่นดิน สะอาด คือ ช่วยกันเก็บขยะในชุมชน ถนนของหมู่บ้านจึงกลายเป็นสนามให้เด็กตัวเล็ก ได้ วิ่ ง แข่ ง ช่ ว ยกั น สอดส่ อ ง และเก็ บ สิ่ ง ที่ ท�ำให้ บ ้ า นไม่ ส ะอาด กิ จ กรรมง่ า ยๆ นี้ ช ่ ว ย พัฒนาการเรียนรู้ทั้งร่างกายและจิตใจ คือ ฝึกฝนการท�ำงานเพื่อส่วนรวมด้วยจิตอาสา นอกจากนี้ พระทุกรูปในวัดที่มาเป็นพี่เลี้ยงก็ได้ฝึกฝนการลดทิฐิ ลดตัวตน และท�ำความดี เป็นแบบอย่างให้เด็กๆ และคนในชุมชนด้วย ๖๒. วัดเชรษฐพล ภูลังกาเหนือ ต.ดงบัง อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ ๔๓๒๒๐ พระประจักษ์ ธัมมปทีโป การท�ำงานปกป้องผืนป่าและฟื้นฟูธรรมชาติ หลวงพ่อประจักษ์ได้ปกป้องผืนป่า ดงใหญ่ พื้นที่กว่า ๖ แสนไร่ เป็นต้นก�ำเนิดแม่น�้ำมูลจากกลุ่มทุน หลังลาสิกขาและมาบวช ใหม่ ได้มาฟื้นฟูผืนป่าที่วัดเชรษฐพล และรอบเชิงเทือกเขาภูลังกา โดยร่วมมือกับชาวบ้าน หลายหมู่บ้านและเครือข่ายวัดและส�ำนักสงฆ์ในบริเวณเทือกเขาภูลังกานี้มากกว่า ๔๐ แห่ง

ภาคใต้ ๖๓. วัดคลองเปล ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ๙๐๑๑๐ พระครูโสภณคุณาทร (สมปอง อชิโต) การน�ำพาชาวพุทธให้เข้าถึงหน้าที่การฝึกฝนตนและมีจิตสาธารณะ จัดให้ฟังธรรมะ อย่ า งใกล้ ชิ ด และปฏิ บั ติ ทุ ก อาทิ ต ย์ และมี ก ลุ ่ ม ศึ ก ษาปฏิ บั ติ ธ รรมที่ เ ข้ า วั ด ทุ ก วั น พระ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และเป็นพื้นที่ตั้งของห้องพยาบาลชุมชน การส่งเสริมการ ฝึกสอนมโนราห์ให้แก่เด็กและเยาวชน การมีสถานีวิทยุชุมชนในการเผยแพร่ธรรมะ ข่าวสาร และงานสาธารณะประโยชน์

20 �������������.indd 246

11/28/16 11:01 AM


247

๖๔. วัดคลองแห ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ๙๐๑๑๐ พระครูวาปีธรรมอุดม (สมพร ฐานธัมโม) ศูนย์กลางการส่งเสริมและสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น มุ่งเน้นการอยู่ร่วมกัน อย่างสมานฉันท์ ระหว่างพี่น้องไทยพุทธและไทยมุสลิม ด้วยกิจกรรมและการแสดงออก ทางประเพณีวัฒนธรรมในพื้นที่ลานวัดอย่างต่อเนื่อง อาทิ การฝึกและแสดงมโนราห์ การ แข่งเรือยาว การกวนข้าวมธุปายาส การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ การมีสมาคมศิลปินพื้นบ้าน และ “ตลาดน�้ำคลองแห” ๖๕. ส�ำนักปฏิบัติธรรม “ที่พักสงฆ์เกาะบก” อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ๙๐๑๘๐ พระครูสิริญาณวิมล (มหาวิริโย) การสร้างสื่อสาธารณะแหล่งเรียนรู้ชุมชน โดยการเชื่อมชุมชนกับวัดผ่านสถานีวิทยุ ชุ ม ชนคนรั ก ษ์ ธั ม ม์ สถานี วิ ท ยุ พ ระพุ ท ธศาสนาแห่ ง ชาติ ๑๐๑ Mhz เชื่ อ มกั บ สั ง คม ภายนอกผ่านเว็บไซต์ www.siriyan.com ๖๖. วัดดอน ต.คูเต่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ๙๐๑๑๐ พระครูพิพัฒนโชติ จัดท�ำระบบสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือให้ชุมชนเป็นคนดี มีรายได้เลี้ยงครอบครัว โดย ตัง้ ธนาคารทีเ่ รียกว่า “ธนาคารชีวติ ” หรือ “กลุม่ สัจจะออมทรัพย์” ขึน้ เน้นเรือ่ ง “เบญจศีล” ให้สมาชิกรู้จักควบคุมตนเอง ส�ำนึกในบทบาทกติกาทางสังคม มั่นใจในพลังสัจจะของตน ละเว้นความชั่ว กระท�ำแต่ความดี มีจิตใจผ่องใส ๖๗. วัดหาดใหญ่สิตาราม (วัดสมเด็จ) ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ๙๐๑๑๐ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี การศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีเพื่อพัฒนาคุณภาพของพระภิกษุ สามเณร รวมทั้ง เผยแผ่พุทธธรรมที่ศึกษาดีแล้วแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ให้รอบรู้ เชี่ยวชาญแตกฉานในพระพุทธวจนะคือ พระไตรปิฎก ปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย เป็น พระภิกษุสามเณรตามพระพุทธประสงค์ เป็นศาสนทายาทสืบทอดเผยแผ่ศาสนธรรมสู่ มหาชน

20 �������������.indd 247

11/28/16 11:01 AM


248

๖๘. วัดป่ายาง ต.ท่างิ้ว อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ๘๐๒๘๐ พระอธิการเสรี คเวสโก (สุวรรณ) การพัฒนาชุมชนแนวพุทธ ด้วยการตั้ง “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ” พึ่งพาตนเอง อย่างรอบด้านตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง รวมกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เป็นเครือข่าย ๒๓ แห่ง และการส่งเสริมจัดฝึกอบรม และสร้างรูปธรรมการพึ่งพาตนเอง ทั้งในเรื่องเกษตร อินทรีย์ และด้านสุขภาพ ๖๙. วัดตะโหมด ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง ๙๓๑๖๐ พระครูประยุตธรรมธัช การสร้างพลังของท้องถิ่นในการดูแลรักษาป่าของชุมชน บริเวณป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาหัวช้าง ป่าเขาตีนป่า ป่าเขาหลักไก่ และป่าเขาพระ เนื้อที่ประมาณ ๑๙.๑๐ ตารางกิโลเมตร ด้วย “สภาลานวัด” ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ มีการสร้างฝายขนาดเล็ก คอยเป็น “ธนาคารน�้ำ” กว่า ๒๐๐ แห่ง การสร้างเส้นทางศึกษาเชิงนิเวศวิทยา และ ส�ำนึกชุมชนในการร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติ ๗๐. วัดสวนสมบูรณ์ ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร ๘๖๑๗๐ พระครูปริยัติกิจวิธาน การท�ำให้พื้นที่วัดมีความหมายในการสื่อถึงธรรมะ มีภูมิทัศน์และสถานที่ที่เปรียบดั่ง พุทธอุทยานธรรม ที่มีความสงบร่มรื่น สะอาดตา มีสวนหย่อมเป็นลานโพธิ์ลานปัญญา มี อุโบสถแห่งความพอเพียงที่เรียบง่ายแต่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ จนท�ำให้ชาวบ้านและ ชุมชนรวมถึงผู้เดินทางต่างแวะเวียนเข้ามาพักกายพักใจ และการจัดฝึกอบรมให้เยาวชน ๗๑. วัดทุ่งไผ่ ต.บางหมาก อ.เมือง จ.ชุมพร ๘๖๐๐๐ พระดุษฎี เมธังกุโร การฝึกอบรมการปฏิบัติธรรม “อานาปานสติภาวนา” ตามแนวทางสวนโมกขพลาราม และการเป็นพระนักคิดนักเขียนในการเผยแพร่ธรรมะเพื่อชีวิตและสังคม ๗๒. ส�ำนักสงฆ์นิคามธรรมาวาส ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฏร์ธานี ๘๔๐๐๐ พระครูวินัยธรองค์การ (สิริปัญโญ) การพัฒนาหลักสูตร กระบวนการท�ำงานกับเยาวชนให้พร้อมกลับไปสู่สังคมได้อย่าง มั่นใจ ผ่านกระบวนการ “กวาด เก็บ และล้าง” “กวาด” คือ วัดความเสี่ยงของเด็ก

20 �������������.indd 248

11/28/16 11:01 AM


249

“เก็บ” คือ เด็กจะมาสารภาพ ติดยา เพื่อมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม “ล้าง” คือการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมเด็ก จนท�ำให้ผ้าเปื้อนสีได้กลับเข้าไปสู่สังคมอย่างมีภูมิคุ้มกันและมั่นใจ ๗๓. วัดศานติ-ไมตรี ต.ขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๐๐๐ พระครูภาวนาสันติคุณ (วิสุทธิ์ วิสุทธิจารี) การใช้พุทธศาสนามุ่งไปยังเยาวชนผู้เป็นเหมือนดังเมล็ดกล้า ต้องเพาะเมล็ดกล้าให้ แข็งแรง และรักษารากเดิมคือ วัฒนธรรม ธรรมชาติ ป่าไม้ โดยท�ำให้เยาวชนมีความ รับผิดชอบ ให้เกิดสัมมาทิฐิ มีความเห็นชอบที่ถูกต้อง มีความรู้ที่ถูกต้อง ได้รับในสิ่งที่ ถูกต้อง ใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ๗๔. สวนโมกขพลาราม ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๑๑๐ พระอาจารย์ถวิล สุญญธาตุ การเผยแพร่ธรรมะในกลุ่มเด็กและเยาวชนด้วยการใช้สื่อที่เรียบง่ายเป็นเอกลักษณ์ โดยใช้ “หนังกระดาษ” ๗๕. วัดสุทธาวาส ต.โมถ่าย อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ๘๔๑๑๐ พระครูเกษมธรรมรังษี (ถาวร เขมรังสิโย) การปลูกป่าและรักษาป่าดั้งเดิมในพื้นที่ส�ำนักสงฆ์ทุกแห่งในต�ำบลโมถ่ายและต�ำบล ปากหมาก อ�ำเภอไชยา จ�ำนวน ๔,๐๔๓ ไร่ ท�ำให้ได้อาศัยเป็นร่มเงา แหล่งอาหาร แหล่ง ที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นแหล่งซับน�้ำให้แก่แหล่งน�้ำต่างๆ ของลุ่มน�้ำไชยา และได้นิมนต์ สามเณรจากวัดต่างๆ ในพื้นที่มาร่วมเดินธรรมยาตราศึกษาระบบนิเวศในป่าต่างๆ เป็น การสร้างศีลธรรมควบคู่ไปกับรักษาป่า ๗๖. วัดสวนเทศ ต.แป-ระ อ.ท่าแพ จ.สตูล ๙๑๑๕๐ พระครูปลัดวรพล ฐิติคุโณ การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีในการเผยแผ่และสื่อธรรมะให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยมี การจัดตั้งสถานีวิทยุ และตั้งสถานปฏิบัติธรรม ๗๗. สวนป่าเฉลิมพระเกียรติบ้านนา ต.เขาต่อ อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ ๘๑๑๖๐ หลวงพ่อผาด อติพโล การฟื้นฟูป่าด้วยการปลูกต้นไม้ในบริเวณสวนป่ากว้าง ๓๐๐ ไร่ ด้วยการเทศนาธรรม ให้ชาวบ้านตระหนักถึงความผูกพันระหว่างศาสนากับธรรมชาติ เพาะพันธุ์กล้าไม้แจกจ่าย ชาวบ้าน วัดรอบๆ สวนป่า และโรงเรียน จัดให้สวนป่าเป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนต่างๆ

20 �������������.indd 249

11/28/16 11:01 AM


250

โครงการพัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ พุทธชยันตี พอเพียง เคียงธรรม หลักการและเหตุผล จากการทีเ่ ครือข่ายพุทธชยันตี สังฆะ เพื่อสังคม อันมีความหมายถึงการรวมกลุ่ม กั น ของพุ ท ธบริ ษั ท อย่ า งเข้ ม แข็ ง สามั ค คี โดยธรรม ประดุจดั่งสังฆะ ที่ออกมาท�ำงาน สร้างสรรค์ธัมมิกสังคม หรือท�ำให้เกิดสังคม ที่เป็นไปในครรลองแห่งพุทธธรรม อันถือ เป็นการร่วมประกาศชัยชนะแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในการตรัสรู้อริยสัจธัมม์ให้เป็น ที่ ป ระจั ก ษ์ แ ก่ ช าวโลกได้ ขั บ เคลื่ อ นงาน โครงการพุทธชยันตี พอเพียง เคียงธรรม: สู่สังฆะแห่งความสุข ซึ่งได้รับการสนับสนุน จากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม

20 �������������.indd 250

สุขภาพ (สสส.) ในมหาอภิสมัย พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้มีการเฉลิมฉลองปฏิบัติบูชาใน ช่วงระหว่างวิสาขบูชา ๒๕๕๓ – วิสาขบูชา ๒๕๕๖ เป็นเวลา ๓ ปีเต็ม มีวัตถุประสงค์ หลั ก คื อ การพั ฒ นาความเป็ น เครื อ ข่ า ย พระสงฆ์ทั้งระดับภาค และระดับประเทศ ให้มีความเข้มแข็ง เครือข่ายได้น้อมน�ำหลัก พุทธธรรม มาปฏิบัติผ่านปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง สื่อสารแนวคิดไปสู่สังฆะ พุทธบริษัทประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับ ครอบครั ว ระดั บ ชุ ม ชน ให้ ด�ำเนิ น ไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะความพอเพี ย ง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล

11/28/16 11:01 AM


251

โดยเครือข่ายพุทธชยันตี สังฆะเพื่อ สังคม ได้เล็งเห็นร่วมกันว่าทั้งในประเทศไทย นับวันสังคมได้เกิดวิกฤตศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในตัวของพระสงฆ์ ซึ่ง มี ห น้ า ที่ เ ป็ น ผู ้ สื่ อ สารธรรมสู ่ ป ระชาชน โดยเฉพาะบทบาทของพระสงฆ์และวัดทีจ่ ะ ตอบโจทย์การมีสว่ นร่วมในการพัฒนาชุมชน ให้เข้มแข็งและยั่งยืนอย่างไร ทั้งที่มีพระ นักพัฒนาที่ท�ำงานมาอย่างยาวนานไม่น้อย อยู่ตามชนบทมีรูปแบบการบริหารจัดการ พอเพียง เคียงธรรม ที่ถือเป็นต้นแบบระดับ ประเทศ แต่สังคมไม่ได้รับทราบตลอดจน ไม่ได้มีการสานต่อพระรุ่นใหม่ที่มักเข้ามา ศึ ก ษาในเมื อ งให้ มี ส�ำนึ ก กลั บ ไปแทนคุ ณ แผ่นดินหรือสานงานของพระนักพัฒนารุน่ พี่ ต่อ พระบางรูปเป็นสายปฏิบัติกรรมฐาน ดูเหมือนจะไม่ได้สนใจปัญหาสังคมเท่าไร แต่พอได้มีโอกาสเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกระบวนการท�ำงานด้วยกัน กลับมี ศักยภาพ มีพลังมากกว่าพระนักพัฒนาที่ ท�ำมานานเสียอีก บางรูปเลิกท�ำไปแล้ว แต่ พอได้ พ บกั ล ยาณมิ ต รที่ ท�ำงานประเด็ น เดียวกัน หรือมีอุดมการณ์ร่วมกัน ก็กลับมี ก�ำลังใจที่จะท�ำต่อไป พระบางรูปไม่เคย ท�ำงานพัฒนาอะไรมาเลย แต่พอได้เข้าร่วม เวที ได้พบเห็นตัวอย่างที่ดี ก็ปรับเปลี่ยน ทัศนคติ มีอุดมการณ์ มีก�ำลังใจที่จะท�ำงาน

20 �������������.indd 251

เผยแผ่เชิงรุกเพื่อประโยชน์แก่พระศาสนา และเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน/สังคม ด้วยเหตุดังกล่าวเครือข่ายพุทธชยันตี สังฆะเพือ่ สังคมจึงมีความเห็นร่วมกันในการ ต่อยอดพอเพียง เคียงธรรม สู่สังฆะแห่ง ความสุขที่ได้จุดประกายริเริ่มไว้ในปี ๒๕๕๕ ไปสู่การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจต่อยอด ต้นแบบพระนักพัฒนา เป็นแหล่งเรียนรู้ พุทธชยันตี พอเพียง เคียงธรรม ๑๐๐ วัด สร้างเสริมสุขภาวะวิธีพุทธ โดยในระยะแรก ของโครงการเน้นที่การยกระดับแหล่งเรียนรู้ พอเพี ย งเคี ย งธรรม ๒๐ วั ด ต้ น แบบทั่ ว ประเทศ โดยเสริมหนุนยกระดับพระ/วัด พั ฒ นาต้ น แบบที่ มี ผ ลงานเป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ เป็นต้นแบบ ให้มีความเข้มแข็งเป็นองค์รวม มี ฐ านการเรี ย นรู ้ เ ศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ตาม ความเชี่ยวชาญและเป็นองค์รวมผ่านศูนย์ เรี ย นรู ้ สู ่ ก ารปฏิ บั ติ เ ศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ที่ พระสงฆ์ แ ละวั ด เข้ า ไปมี ส ่ ว นร่ ว มชุ ม ชน ในการแก้ไขปัญหา ฟื้นคืนชีวิตให้แผ่นดิน ด้วยประสบการณ์จากความรูส้ ปู่ ญ ั ญาปฏิบตั ิ เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การ พัฒนาประเทศไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๕๒๕๕๙) เน้ น การส่ ง เสริ ม การขั บ เคลื่ อ น เศรษฐกิ จ พอเพี ย งในสถาบั น ศาสนาและ

11/28/16 11:01 AM


252

การสร้างแนวทางความสุขและประโยชน์สขุ ร่วมกันของประชาชนไทยเพื่อให้สามารถ ประยุ ก ต์ ไ ด้ อ ย่ า งเป็ น รู ป ธรรม โดยใน ยุทธศาสตร์ที่ ๖ คือการส่งเสริมงานวิจัย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในสถาบัน ศาสนาโดยมีจดุ เน้นทีว่ ดั ในพระพุทธศาสนา เพื่ อ การสร้ า งฐานข้ อ มู ล ของวั ด ที่ ด�ำเนิ น กิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อ ขับเคลือ่ นวัดให้ด�ำเนินกิจกรรมไปในแนวทาง ตามค�ำสอนในพุทธศาสนา และการส่งเสริม สถาบันทางศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดใน พระพุทธศาสนา เป็นแกนในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในชุมชน โดยมีพระสงฆ์เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในการปฏิ บั ติ ต ามวิ ถี เ ศรษฐกิ จ พอเพี ย ง ทั้งยังสนองงานคณะสงฆ์ไทยด้านสาธารณสงเคราะห์ตามที่ระบุงานเกี่ยวกับคณะสงฆ์ ๖ ประเภทในพระราชบั ญ ญั ติ ค ณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๘๔ พร้ อ มทั้ ง เป็ น การสนั บ สนุ น โครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ปฏิบัติบูชา

วัตถุประสงค์ของโครงการ • เพื่อให้มีพื้นที่/วัดพัฒนา หรือพระ สงฆ์ นั ก พั ฒ นาต้ น แบบ มี ค วามเข้ ม แข็ ง ยั่งยืน เป็นต้นแบบ เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ดูงาน ควบคู่กับวัดที่ต้องการเรียนรู้กับวัด

20 �������������.indd 252

ต้ น แบบ โดยการขยายผลทั้ ง เชิ ง ปริ ม าณ และคุณภาพ • เพื่อให้เกิดพระนักพัฒนารุ่นใหม่ ที่มีความรู้ประสบการณ์ มีอุดมการณ์ ใน การท�ำงานพัฒนา หรือการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก และสืบทอดเจตนารมณ์ของ การท�ำงานพัฒนาโดยใช้หลักพุทธธรรมเป็น เครื่องมือ • เพือ่ ให้เกิดเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ ระหว่างพระนักพัฒนา ในการใช้เศรษฐกิจ พอเพียงเป็นเครื่องมือ ช่วยกันขับเคลื่อน งานพั ฒ นา บนหลั ก พุ ท ธธรรม ในการ ป้ อ งกั น แก้ ไ ขปั ญ หา และการพั ฒ นา ประเทศชาติ/สังคมทุกระดับ ทั้งแก่ภาครัฐ ภาคศาสนา ภาคประชาชน และภาค ประชาสังคม • เพื่อให้การประสานงานเครือข่าย พุทธชยันตี สังฆะเพื่อสังคมระดับประเทศ ได้การเสริมหนุน เป็นกลไกส�ำคัญในการ ขับเคลื่อนเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ และ ความร่วมมือที่มีความหลากหลาย รวมทั้ง ผลั ก ดั น พลิ ก ฟื ้ น วิ ถี พุ ท ธ ความพอเพี ย ง เคียงธรรม การพัฒนาสุขภาวะของชุมชน/ สังคม เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันชุมชนอย่าง ยั่ ง ยื น ไปสู ่ แ ก้ ไ ขปั ญ หา และการพั ฒ นา ประเทศชาติ/สังคมทุกระดับ

11/28/16 11:01 AM


253

รายชื่อคณะท�ำงาน ผู้รับผิดชอบโครงการฯ ๑. พระครูวิสิฐคณาภรณ์ ๒. พระครูอมรชัยคุณ ๓. พระครูสมุห์วิเชียร คุณธัมโม ๔. พระครูมงคลวรวัฒน์ ๕. พระครูโสภณคุณาทร ๖. พระครูวิมลธรรมานุศาสน์ ๗. พระไพศาล วิสาโล ๘. ดร.วิวัฒน์ ศัลยก�ำธร ๙. พระครูศีลวราภรณ์ ๑๐. พระสังคม ธนปัญโญ ๑๑. พระครูสุขุมวรรโณภาส ๑๒. พระครูโพธิวีรคุณ ๑๓. พระอมรมิตร คัมภีรธัมโม ๑๔. พระวินย์ สิริวัฑฒโน ๑๕. ธวัชชัย จันจุฬา ๑๖. พรชัย บริบูรณ์ตระกูล ๑๗. ดิษณุลักษณ์ ไพฑูรย์ ๑๘. นันนภัส วชิรสมบูรณ์ ๑๙. ปนัดดา ปรักกะมะกุล

20 �������������.indd 253

ประธานที่ปรึกษาโครงการ ประธานโครงการ รองประธานโครงการ ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา ที่ปรึกษา กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ผู้รับผิดชอบและผู้จัดการโครงการ เลขานุการโครงการ คณะท�ำงาน คณะท�ำงาน คณะท�ำงาน คณะท�ำงาน

11/28/16 11:01 AM


20 �������������.indd 254

11/28/16 11:01 AM


“เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ พอเพียงเคียงธรรม”

20 �������������.indd 255

11/28/16 11:01 AM


เ กี่ ย ว กั บ ผู้ เ ขี ย น

ยุพิน ประเสริฐพรศรี

สนใจงานด้ า นวิ ถี วั ฒ นธรรมชุ ม ชน รั ก การเรี ย นรู ้ แ ละ ฝึกฝนตนในด้านต่างๆ ไปสู่ความเจริญงอกงามและการเติบโตทาง ด้านจิตวิญญาณ บนพื้นฐานของศาสตร์และศิลป์ในทางศาสนธรรม เพื่อบ่มเพาะเมตตากรุณาในดวงใจ รวมทั้งการเจริญสติในการ ด�ำรง ”อยู่„ ของชีวิต และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม มาสู่วิถี ในการท�ำงานและความสัมพันธ์กับสรรพสิ่งรอบๆ ตัว กับห้วงเวลา แห่งปัจจุบันขณะ ท�ำงานเป็นนักวิจัยอิสระทางด้านสังคมศาสตร์ จบปริญญาโทสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พรชัย บริบูรณ์ตระกูล ศรัทธาและรักในงานกระบวนการเรียนรู้ ที่เอื้อให้เกิด แรงบันดาลใจในการกลับมาฝึกฝนตนและสร้างชุมชนพึ่งตนเอง โดยเฉพาะการน�ำวิถีแห่งธรรมและภูมิปัญญามาก่อให้เกิดพลังใน การเปลี่ยนแปลง ท�ำงานอยู่ภายใต้มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป มาร่วม ๒๐ ปี มุ่งงานเสริมศักยภาพให้กับนักท�ำงานเพื่อสังคม โดยเฉพาะเครือข่ายพระสงฆ์และแม่ชีเพื่อสังคม ทั้งในประเทศไทย และ สปป.ลาว

ธวัชชัย จันจุฬา ชื่นชอบการเดินทางเป็นชีวิตจิตใจ และรักการเรียนรู้ จบ ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชีวติ ด้านการท�ำงานคลุกคลี กับงานภาคประชาสังคม ๑๐ กว่าปี โดยเฉพาะด้านการใช้หลัก พุทธธรรมกับการแก้ไขปัญหาสังคม ก่อนที่จะผันตัวเองมาเป็น นั ก วิ ช าการอิ ส ระ ผลงานเขี ย นหนั ง สื อ ที่ ผ ่ า นมาได้ แ ก่ วั ด เพื่ อ พัฒนาเยาวชนและครอบครัว, ๑๐ กลวิธี ลดบุหรี่ในพระสงฆ์ และ บทความที่เผยแพร่ใน Blog GotoKnow

20 �������������.indd 256

11/28/16 11:01 AM



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.