แปดสิบพรรษามหาราช แปดทศวรรษมิ่งมงคลสมัย เสมอภูมิแผ่นไผทพิชัยเฉลิม ฉลองราชชาติประชาปรีดาประเดิม ประดับพรขจรเจิมพระจริยา จริยวัตรฉัตรธรรมธำรงราษฎร์ ธำรงรัฐฉัตรชาติพระศาสนา พระศาสนูปถัมภกยกบูชา บูชิตฝ่าบาทบงสุ์ทรงพระเจริญ
เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ : ร้อยกรอง บทขับร้องประกวดงานประลองเพลงประเลงมโหรี ประจำปีพ.ศ. ๒๕๕๐
๒
ภูมิหลัง
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช พิสิฐ เจริญวงศ์ สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา โชติ กัลยาณมิตร
คณะผู้จัดทำ เจ้าของโครงการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ริเริ่ม บุญชู โรจนเสถียร ดำรงค์ กฤษณามระ ชาตรี โสภณพนิช บรรณาธิการ ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช พันเอกหญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้ช่วยบรรณาธิการ ศิรินันท์ บุญศิริ ผู้เขียน ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา ดร.พิสิฐ เจริญวงศ์ ศาสตราจารย์โชติ กัลยาณมิตร ช่างภาพ หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ ชูศักดิ์ วรพิทักษ์ ทอม เชื้อวิวัฒน์ เผ่าทอง ทองเจือ ศักดิ์ชัย พฤฒรังสี สุวิชัย ตรีกิจจา แสงอรุณ รัตกสิกร อวบ สาณะเสน จัดทำโดย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ออกแบบรูปเล่ม บริษัท เดอะ คีย์ พับลิชเชอร์ จำกัด พิมพ์ต้นฉบับ บริษัท เยส วี ดู จำกัด พิมพ์ที่ บริษัท โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด ISBN. 978-974-8106-32-8 พิมพ์ครั้งที่ ๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑
(๔)
เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร พระวาลวิชนีและพระแส้จามรี และฉลองพระบาท
คำปรารภ
(ในการพิมพ์ครั้งแรก) เมื่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด ได้ลงมือก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ ทีถ่ นนสีลมในปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ นายบุญชู โรจนเสถียร กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ ธนาคารในขณะนั้น ได้ดำริว่าในโอกาสประกอบพิธีเปิดสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ซึ่งเป็น อาคารที่สูงสง่าที่สุดของกรุงเทพมหานครนั้น ธนาคารควรจะมีงานทางวิชาการอุทิศให้ แก่การศึกษาของชาติสักชิ้นหนึ่ง และจัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในอภิลักขิตสมัยนั้นด้วย ซึ่งในที่สุดก็เห็นว่า เรื่องราวและความเป็นมาของชนชาติไทยที่แสดงออกในรูปของศิลปวัตถุ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปดนตรี ตลอดจนศาสนาและพิธีกรรมต่างๆ อันเป็นมรดกต่อเนื่อง ทางวัฒนธรรมและอารยธรรมที่ก่อประโยชน์ในด้านการใช้สอยการสนองอารมณ์และอำนวยความสุข สบายแก่ชีวิตประจำวันของคนไทยตั้งแต่เกิดจนตายนั้น ประกอบกันเป็น “ลักษณะไทย” ที่ควรแก่การ ศึกษา และน่ารู้น่าติดตามอย่างยิ่ง สมควรประมวลเข้าเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของชาติ ไทยได้อกี ทางหนึง่ ประกอบกับการสร้างสำนักงานใหญ่ของธนาคารจะแล้วเสร็จในปีพทุ ธศักราช ๒๕๒๕ อันเป็นปีที่ ๒๐๐ แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์และพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งรัฐบาลและประชาชน ชาวไทยจะพร้อมใจกันจัดงานสมโภชเป็นมหกรรมสำคัญของชาติ ธนาคารจึงเห็นเป็นโอกาสที่จะให้ ผลงานชิ้นนี้เป็นบรรณปฎิการะร่วมงานสมโภชอันยิ่งใหญ่นี้ด้วย ด้วยความเห็นชอบในดำริของกรรมการผู้จัดการใหญ่ครั้งนั้นธนาคารจึงได้เรียนเชิญศาสตราจารย์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชเป็นบรรณาธิการศึกษาค้นคว้าและจัดทำเอกสารดังกล่าวขึ้น ซึ่งท่านก็ ได้กรุณาและให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง โดยได้รับเป็นแม่งานทั้งในการจัดหานักวิชาการเข้ารวมโครงการ และรับผิดชอบในความถูกต้อง คณะทำงานได้ลงมือดำเนินการตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ เป็นต้นมา โดยธนาคารสนับสนุนด้านงบประมาณการศึกษาค้นคว้าทั้งหมด โครงการนี้จึงนับเป็นผลงานของนักวิชาการไทยทุกสาขาวิชาชีพ รวมทั้งสถาบันการศึกษาหลายแห่งในประเทศก็ได้ให้ความร่วมมือแก่โครง การนี้อย่างดียิ่ง เป็นผลให้งานการศึกษาวัฒนธรรมแตกกิ่งก้านสาขาออกไปมากมายซึ่งนับเป็นการ สร้่างนักวิจัยโดยปริยายไปพร้อมๆ กันอีกโสดหนึ่งด้วย ในด้านจัดพิมพ์ ธนาคารได้มอบหมายให้บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด เป็นผู้ดำเนิน การตีพิมพ์และเผยแพร่ ซึ่งทางสำนักพิมพ์ก็ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีทั้งได้ช่วยกำหนดแนวทาง และประสานงานการออกแบบรูปเล่มและการจัดพิมพ์ด้วยความประณีตสวยงาม ตลอดจนรับเป็นธุระ ด้านการจัดจำหน่ายให้ด้วยความเต็มใจ ซึ่งทางธนาคารขอขอบพระคุณอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ด้วย หนังสือชุดนี้เป็นความพยายามและความปราถนาอันเป็นปณิธานของธนาคารซึ่งจะมีส่วนสร้าง สรรค์งานอันก่อประโยชน์แก่ส่วนรวมและชาติบ้านเมืองเนื่ิองอภิลักขิตสมัยอันเป็นมงคล ๒ วาระซึ่ง เกิดพร้อมกันในปีนี้ คือ ในวาระแห่งการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์และพระบรมราชจักรีวงศ์ครบ ๒๐๐ ปี และในวาระเปิดสำนักงานใหญ่ของธนาคาร บัดนี้ ปณิธานของธนาคารได้บรรลุผลสำเร็จดีทุกประการแล้ว ธนาคารจึงขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช และนักวิชาการร่วมโครงการทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดร.นิออน สนิทวงศ์ ผู้เป็นกำลังสำคัญแห่งความสำเร็จในครั้งนี้ ธนาคารหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ “ลักษณะไทย” ชุดนี้ จะอำนวยประโยชน์แก่สิกขกามบุคคลอย่างกว้างขวางสืบไปตลอดกาลนาน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๕
(๖)
วัตถุประสงค์ สืบเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ นับเป็นมหามิ่งมงคลสมัยอันประเสริฐ บรรดาพสกนิกรชาวไทย ต่ า งสำนึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ที่ ไ ด้ ท รงบำเพ็ ญ พระราชกรณี ย กิ จ อั น เป็ น หิ ต านุ หิ ต ประโยชน์ แก่อาณาประชาราษฎร์อย่างกว้างขวาง
ดังจะเห็นได้จากการพัฒนาชีวิตที่ดีจนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลกที่ต่างกล่าวขานถึงพระองค์ว่า ทรงเป็น “พระมหากษัตริย์นักพัฒนา” ทรงมีพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นไปด้วยพระเมตตาต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส โดยไม่ทรงแบ่งแยกสถานะ ศาสนา ชาติพันธ์ุหรือหมู่เหล่า ทรงสดับตรับฟังปัญหาความทุกข์ ยากของราษฎรและพระราชทานแนวทางดำรงชีวิต เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในห้วงที่ผ่านมา เป็นเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็วและกว้าง ไกลมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ สำหรับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่ได้รับพระราชทานตราตั้งให้เป็น ธนาคารพาณิชย์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ นับเป็นศิริมงคล อย่างยิ่ง ยังผลให้การประกอบธุรกิจของธนาคารเจริญรุ่งเรืองรอดพ้นจากวิบัตินานาจนเป็นธนาคารชั้นนำ และดำรงอยู่ในสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ และด้วยเดชะพระบารมีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง เป็นผู้นำในการพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตผู้ยากไร้ในชนบทดังกล่าว ตลอดจนเป็นสิ่งที่ประจักษ์ชัดทุกด้าน ด้วยเหตุนี้ พสกนิกรไทยจึงจงรักภักดีและเทิดทูนพระองค์ไว้เหนือเกล้าฯ ในฐานะที่ทรงเป็นศูนย์รวมแห่ง ความรัก ความภักดีและทรงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยทั้งมวลมาช้านานและนี่คือมูลเหตุที่ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ดำริจัดพิมพ์หนังสือชุด ลักษณะไทย อันเป็นผลงานที่ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อม ราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี และศิลปินแห่งชาติ ร่วมกับนักวิชาการชั้นนำของเมืองไทย ร่วมกันคิดและเขียนขึ้นไว้ทั้งชุด (๔ เล่ม) เพื่อให้เป็นบรรณานุสรณ์ของบรรพชนไทยเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายใน โอกาสอันเป็นมหามิ่งมงคลในครั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธันวาคม ๒๕๕๑
(๗)
คำนำของหนังสือชุด ลักษณะไทย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
หนังสือชุดนี้จัดทำขึ้น ด้วยเจตนาที่จะให้ผู้อ่านได้รู้ถึงลักษณะไทย ด้วยการมอง เมืองไทยและคนไทยโดยผ่านทางวัฒนธรรม คำว่าวัฒนธรรมนั้นเป็นศัพท์ที่แสดงความหมายด้วยคำพูดอันเป็นนามธรรมได้ยาก อย่างดีที่สุดก็ พอจะอธิบายได้ว่าวัฒนธรรมเป็นธรรมที่มนุษย์ได้ปลูกฝังลงไว้ แล้วได้เจริญงอกงามเติบโตขึ้นมากับ อารยธรรมหรือความเจริญของมนุษย์ แต่เมื่อได้อธิบายอย่างนี้ปัญหาก็เกิดขึ้นมาอีกว่าอารยธรรมนั้นคือ อะไร แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อเราได้แลเห็นวัฒนธรรม เราก็รู้ได้ว่าสิ่งนั้นเป็นวัฒนธรรม ตลอดจนเป็นอารยธรรม และศิลปะของคนแต่ละสมัย คนที่เข้าไปนั่งอยู่ในโบสถ์พระพุทธชินราชที่จังหวัดพิษณุโลก จะได้เห็นด้วยตาของตนเองว่า อารยธรรมของสุโขทัยตอนปลายคืออะไร การสร้างโบสถ์วิหารและเทคโนโลยีในการหล่อพระพุทธรูป สำริดขนาดใหญ่ถึงเพียงนั้นได้ทั้งองค์เป็นอารยธรรม ความประณีตงดงามในการปั้นองค์พระพุทธรูปนั้น
เป็นศิลปะและความเชื่อถือ ความดลบันดาลใจ และระเบียบแบบแผนทั้งหมดที่ทำให้สร้างพระพุทธรูปอัน งดงามขึ้นนั้นเป็นวัฒนธรรมของสุโขทัย องค์พระพุทธชินราชและโบสถ์ที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชนั้นจึงเป็นลักษณะไทยอย่างหนึ่งที่ยัง
เห็นได้อยู่ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นจากวัฒนธรรมไทยประกอบกับอารยธรรมในสมัยหนึ่ง และศิลปกรรรม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไทยโดยสมบูรณ์ ไม่มีอย่างอื่นเข้ามาเจือปน เป็นลักษณะไทยซึ่งเราอาจมองดูได้โดย ผ่านวัฒนธรรมเช่นเดียวกับลักษณะไทยอื่นๆ ในหนังสือชุดนี้ วัฒนธรรมนั้นเป็นเรื่องของการปลูกฝังในขั้นแรก และเป็นเรื่องของความเจริญเติบโตในขั้น
ต่อมา ในขั้นแรกธรรมที่ปลูกฝังลงในผืนแผ่นดินไทยนี้อาจมิใช่ของไทยแท้ แต่เป็นธรรมของชนชาติอื่นที่ เคยอยู่อาศัยในแผ่นดินนี้มาก่อน หรือเป็นธรรมของชนชาติอื่นที่เคยผ่านแผ่นดินนี้ไปสู่ที่อื่น แต่ธรรมที ่
ชนชาติอื่นได้ปลูกฝังลงไว้ในแผ่นดินนี้ก็ได้เจริญงอกเงยต่อมา และได้รับการอุปถัมภ์บำรุงจากคนไทยจน คงเหลือยั่งยืนสืบมาจนทุกวันนี้ วัฒนธรรมของชนชาติอื่นที่คนไทยรับมาอุปถัมภ์นั้น น่าจะได้ผ่านการเลือกเฟ้นของคนไทยมาแล้ว
ในอดีต สิ่งใดที่เห็นว่าดีงามหรือเห็นชอบหรือตรงกับความเชื่อถือที่เป็นพื้นฐานดั้งเดิมก็รับเอาไว้แล้วทำให้
งอกเงยต่อมา สิ่งใดที่ได้ปลูกลงไว้ด้วยมือของคนอื่น เมื่อคนไทยได้รับเอามาแล้วก็จะฟักฟูมให้เจริญงอก เงยด้วยน้ำมือและด้วยน้ำใจของคนไทย ทำให้สิ่งนั้นมีลักษณะเป็นไทยขึ้นมาเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ได้กลาย เป็นวัฒนธรรมไทยโดยสมบูรณ์คงอยู่เป็นลักษณะไทยต่างๆ ซึ่งจะได้นำมาแสดงให้เห็นในหนังสือชุดนี้ การปลูกฝังวัฒนธรรมนั้นจะต้องกระทำด้วยความเชื่อถือ และด้วยความเห็นว่าสิ่งที่กระทำนั้น
ถูกต้อง มิฉะนั้นก็จะไม่กระทำ ศาสนาทั้งปวงเป็นเรื่องของความเชื่อและความเห็นถูกเห็นผิด วัฒนธรรม จึงมีความผูกพันอยู่กับศาสนาเป็นใหญ่ ศาสนาใหญ่ๆ ในโลกนี้ เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ต่างก็มีวัฒนธรรมของตนเอง แม้แต่วัฒนธรรมของชนชาติกรีกและโรมันในสมัยโบราณ นั้นก็มีความผูกพันอยู่กับศาสนาที่ชนชาติทั้งสองนั้นนับถืออยู่และกับปรัชญาที่ชนชาติทั้งสองนั้นเชื่อถืออยู่ ในทวีปเอเชียนั้นพอจะแบ่งวัฒนธรรมออกได้เป็นสองภาค คือวัฒนธรรมที่ขึ้นอยู่กับศาสนาที่นับ
ถือเทพยดาฟ้าดิน และลัทธิขงจื๊อ ซึ่งกลมกลืนกันได้เป็นวัฒนธรรมของจีนอันเดียวกัน ส่วนอีกภาคหนึ่ง คืออินเดียนั้นมีวัฒนธรรมของศาสนาพุทธและวัฒนธรรมของศาสนาฮินดู ซึ่งถึงจะมีความแตกต่างกันอยู ่
มากก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ในที่เดียวกันโดยปราศจากความขัดแย้ง ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่กลางวัฒนธรรมของจีนซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออก และวัฒนธรรม ของอินเดียซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตก จะเป็นด้วยเหตุผลกลใดก็หาทราบไม่ที่คนไทยยอมรับเอาวัฒนธรรม จากตะวันตก คือวัฒนธรรมของศาสนาพุทธและวัฒนธรรมของศาสนาฮินดูมากกว่าวัฒนธรรมจาก ตะวันออกคือวัฒนธรรมของจีน
(๙)
“พระภูมิเจ้าที่เป็นวัฒนธรรมของไทยอย่างหนึ่งที่ไม่มีใคร ปฏิเสธได้ และเป็นตัวอย่างอันดีที่แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมของไทยหลายอย่างนั้นมีความเป็นมาในลักษณะใด มีการผสมผสานระหว่างสิง่ ใดบ้าง และผ่านการเลือกเฟ้น ของคนไทยมาอย่างไร”
(๑๐)
ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของจีนและวัฒนธรรมของอินเดียขั้นพื้นฐานนั้นเห็นได้ชัดจาก วิธีการรับประทานอาหาร คนที่ตกอยู่ใต้วัฒนธรรมของจีนนั้นกินด้วยตะเกียบ ส่วนคนที่ตกอยู่ใต้วัฒนธรรม ของอินเดียนั้นเปิบข้าวด้วยมือเป็นพื้น จากความแตกต่างขั้นพื้นฐานนี้ก็บังเกิดความแตกต่างในขั้นอื่นๆ ขึ้นไป โดยตลอด และยังฝังอยู่ในจิตใจของคนมาจนทุกวันนี้ คนจีน คนญี่ปุ่น ตลอดจนเกาหลีและเวียดนามนั้น หากไม่ได้กินข้าวด้วยตะเกียบก็คงกินไม่อร่อย ส่วนทางประเทศอินเดียนั้นเคยมีคนถามท่านศรี ยาวหราล เนห์รู รัฐบุรุษคนสำคัญของอินเดียว่า เหตุใดท่านจึงชอบเปิบข้าวด้วยมือมากกว่ารับประทานด้วยช้อนส้อม ท่านก็ตอบว่า “การกินข้าวด้วยช้อนส้อมนั้นเปรียบเสมือนการเกี้ยวผู้หญิงโดยต้องใช้ล่าม ที่ไหนจะมีรสชาติ เหมือนกับการเกี้ยวผู้หญิงด้วยวาจาของตนเอง ซึ่งเหมือนกับการเปิบข้าวด้วยมือ ?” คนไทยนั้นเปิบข้าวด้วยมือมาแต่โบราณกาล เพิ่งจะมากินข้าวด้วยช้อนส้อมในรัชกาลที่ ๕ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นเวลาที่วัฒนธรรมจากตะวันตกที่ไกลออกไปอีก คือ ยุโรปเริ่มจะไหลบ่าเข้ามาสู่ เมืองไทย ความจำเป็นในทางการเมืองทำให้เราต้องรับวัฒนธรรมจากยุโรปหลายอย่าง ตลอดลงมาจน ถึงชีวิตส่วนตัว เช่น การอยู่กิน การแต่งกายและการไว้เผ้าผม การใช้ช้อนส้อมในการรับประทานอาหาร นั้นเป็นตัวอย่างอันดีในการเลือกเฟ้นวัฒนธรรมของเมืองไทย เพราะเครื่องโต๊ะฝรั่งสำหรับแต่ละคนต่อ
อาหารหนึ่งมื้อนั้นประกอบด้วยเครื่องมือมากชิ้น เช่น มีดขนาดต่างๆ หลายเล่ม ช้อนส้อมหลายคัน สำหรับรับประทานอาหารแต่ละอย่างที่ต่างกัน แต่คนไทยนั้นยังรับประทานอาหารไทย คือข้าวและกับ จึงเลือกไว้ใช้แต่เพียงส้อมและช้อนที่มีขนาดเหมาะสำหรับกินข้าวไทยอย่างละคันก็พอแก่ความประสงค์ เครื่องมืออย่างอื่นๆ ก็ปล่อยไปไม่ยอมรับไว้ให้เกินกว่าเหตุ มีข้อสังเกตว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวนั้น แม้จะประทับโต๊ะเสวยแบบฝรั่งก็ตามที แต่ในที่รโหฐานและเป็นโอกาสส่วนพระองค์แล้วก็ โปรดเสวยพระกระยาหารด้วยพระราชหัตถ์มากกว่าช้อนส้อมมาจนตลอดรัชกาล ได้กล่าวมาแล้วว่าวัฒนธรรมอินเดียนั้น แบ่งออกได้เป็นวัฒนธรรมพุทธและวัฒนธรรมฮินดู คนไทย ได้รับวัฒนธรรมนั้นมาเป็นของตนทั้งสองอย่าง และวัฒนธรรมทั้งสองอย่างนั้นก็อยู่ร่วมกันมาได้ในคนไทย และในเมืองไทยมาจนถึงทุกวันนี้ ในบางกรณีก็ปะปนกันจนสับสนอย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ยกตัวอย่างเช่น การตั้งศาลพระภูมิและการสังเวยพระภูมิเจ้าที่ ซึ่งออกจะเห็นกันทั่วไปว่าเป็น
เรื่องที่สำคัญอยู่ในปัจจุบันนี้ สังเกตได้จากศาลพระภูมิที่สร้างกันอย่างวิจิตรและมีราคาแพงมาก ซึ่งมี คนทำขายทั่วไปเป็นจำนวนมาก เพราะเห็นกันว่าเป็นนิมิตที่แสดงฐานะของเจ้าของบ้าน ยิ่งเจ้าของบ้านมี ฐานะดีเท่าไร ศาลพระภูมิก็จะต้องใหญ่โตหรูหราขึ้นไปตามนั้น แต่ถ้าจะถามคนทั่วไปว่าศาลพระภูมินั้นเป็นเรื่องของศาสนาใด ก็จะได้รับคำตอบว่าเป็นเรื่องของ พราหมณ์ ซึ่งหมายถึงศาสนาฮินดูไม่ใช่ของพระพุทธศาสนา หรือเป็นไสยศาสตร์ ไม่ใช่พุทธศาสตร์ คติเ ช่น นี้ผิดพลาดอย่างยิ่งเพราะในศาสนาฮิน ดูหรือ ลัทธิ พราหมณ์ ที่แท้ จริงไม่มีพ ระภู มิเจ้ าที่ ไม่มีแม้แต่เทวดาอย่างใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระภูมิเจ้าที่ ศาสนาพุทธต่างหากที่ยอมรับว่ามีภุมมเทวดา แต่ศาสนาพุทธนั้นเมื่อรับว่าอะไรมีแล้วก็หยุดเพียงแค่นั้น ไม่เก็บเอามานับถือ เพราะพระพุทธศาสนามีแต่
พระรัตนตรัยเป็นที่เคารพบูชาแต่อย่างเดียว นอกจากนั้นในความเชื่อถือของคนจีนก็มีพระภูมิเจ้าที ่
เรียกว่า “ตี่ซิ้ง” ในภาษาแต้จิ๋ว เป็นเจ้าที่อยู่ติดกับที่ดิน และหากจะสร้างศาลให้อยู่ก็สร้างศาลติดกับ พื้นดิน มิได้ปักเสายกให้สูงอย่างศาลพระภูมิไทย เครื่องสังเวยพระภูมิที่ใช้กันอยู่นั้นก็เป็นแบบจีนไหว้เจ้า
คือประกอบด้วยหัวหมู เป็ดต้ม ไก่ต้ม ปลาแป๊ะซะ จะมียกเว้นอยู่ก็แต่บายศรี กล้วยหอมจันทร์ มะพร้าว อ่อนและขนมหวาน เช่น ขนมต้มแดงต้มขาวเท่านั้นที่กระเดียดไปข้างฮินดู แต่ถ้าเป็นพิธีกรรมของฮินดู แท้แล้ว เครื่องสังเวยจะต้องมีแต่เครื่องกระยาบวชหรือมังสวิรัติเท่านั้น จะมีของอื่นไม่ได้ ส่วนรูปแบบ ของศาลพระภูมินั้นเป็นไทยมาตลอด เริ่มจากเป็นแบบเรือนไม้ของไทย มีหลังคาสูงติดปั้นลม จนกลายมา เป็นปราสาทจัตุรมุขหรือปรางค์อย่างที่นิยมกันอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามเรื่องพระภูมิเจ้าที่เป็นวัฒนธรรมของไทยอย่างหนึ่งที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ และเป็นตัวอย่าง อันดีที่แสดงให้เห็นว่า วัฒนธรรมของไทยหลายอย่างนั้นมีความเป็นมาในลักษณะใด มีการผสมผสาน ระหว่างสิ่งใดบ้าง และผ่านการเลือกเฟ้นของคนไทยมาอย่างไร แต่เหตุที่ทำให้คนไทยยกเอาเรื่องนี้ไปให้แก่
พราหมณ์ ทั้งที่คติเรื่องพระภูมิเจ้าที่มิใช่ของพราหมณ์ ก็เพราะศาสนาพุทธซึ่งยอมรับในภุมมเทวดานั้น ไม่เอื้ออำนวยในเรื่องพิธีกรรม เช่น ในเรื่องการตั้งศาลและตั้งเครื่องสังเวยแก่เจว็ด ส่วนพิธีการไหว้เจ้า ของจีนก็ดูออกจะโกร่งกร่างโด่งดังไม่เข้ากับใจคนไทย เหลือแต่ศาสนาฮินดู หรือพราหมณ์เท่านั้นที่มี พิธีกรรมเอาไว้แจกได้ในทุกกรณี วัฒนธรรมของศาสนาพุทธและวัฒนธรรมของศาสนาฮินดูแตกต่างกันอยู่ที่ตรงนี้ ศาสนาพุทธเป็น ศาสนาที่สอนอย่างเดียวแต่ขาดพิธีกรรม ส่วนศาสนาฮินดูนั้นหนักไปในทางพิธีกรรมมากกว่าคำสั่งสอน แต่
วัฒนธรรมของทั้งสองศาสนานี้ก็เข้ามาปลูกฝังลงในเมืองไทยได้ เพราะพระพุทธศาสนาให้สิ่งที่ศาสนาฮินดูยังหย่อน อยู่แก่คนที่นับถือได้ และศาสนาฮินดูนั้นก็ให้คนที่นับถือศาสนาพุทธ สิ่งที่ศาสนาพุทธขาดอยู่ได้คือพิธีกรรมต่างๆ เมื่อมารวมกันเข้าเป็นวัฒนธรรมไทยแล้ววัฒนธรรมนั้นก็เต็มบริบูรณ์ดีไม่ขาดไม่เกิน วัฒนธรรมไทยที่ได้มาจากศาสนาพุทธก็คือวัฒนธรรมในการครองชีพ ได้แก่ ชีวิตความเป็นอยู่ การทำมาหากิน ความสัมพันธ์กับคนอื่นในสังคมเดียวกัน ความเคารพต่อบิดามารดา การอุปการะญาติและบุคคลในครอบครัวเดียว กัน ตลอดไปจนถึงการแต่งกายที่สำรวมและมารยาทในการปฏิบัติตน ไปจนถึงมารยาทในการเสพอาหาร มารยาท เหล่านี้ศาสนาพุทธได้กำหนดไว้ให้พระภิกษุปฏิบัติค่อนข้างจะละเอียดลออมากในพระวินัยหมวดเสขียวัตร์ และคนไทย ซึ่งได้บวชเรียนแล้วได้จดจำออกมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันของตนและสอนคนอื่นๆ ให้ปฏิบัติต่อๆ มาจนเกิดเป็น
ธรรมเนียมประเพณีอันแน่นอนอันเป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมไทย ชีวิตของคนไทยทั่วไปตามปกติสามัญจึงอยู่ใต้
วัฒนธรรมที่ได้มาจากศาสนาพุทธเป็นพื้น คนไทยไม่ยอมรับวัฒนธรรมของฮินดูเข้ามาใช้ในทางด้านสังคมทั่วไป ดัง จะเห็นได้อย่างประจักษ์ชัดว่าสังคมไทยมิได้มีวรรณาศรมธรรมของฮินดู กล่าวคือไม่มีวรรณะเป็นประการแรก และ ในประการที่สอง ชีวิตคนไทยมิได้ถูกแบ่งออกเป็นอาศรมต่างๆ ตามวัย ได้แก่อาศรมพรหมจรรย์ คือวัยเล่าเรียน ไม่มีครอบครัวในวัยเด็กและวัยรุ่น อาศรมคฤหัศ คือวัยครองเรือน มีครอบครัวทำมาหากินเป็นหลักฐานในยามที่ เป็นผู้ใหญ่ และอาศรมวนปรัสถ์ คือการสละละทิ้งครอบครัวและทรัพย์สินทั้งปวงออกป่า ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการ ขอ เพื่อแสวงหาโมกขธรรมในบั้นท้ายของชีวิต แต่วัฒนธรรมของฮินดูก็ยังมีความสำคัญในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์
พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันที่สำคัญที่สุดในสังคมไทยมาแต่โบราณกาล ศาสนาพุทธนั้นยอมรับว่าพระมหากษัตริย์ เป็นสมมติเทพก็จริงอยู่ แต่ศาสนาพุทธก็ไม่มีวิธีการหรือพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่จะทำให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็น สมมติเทพขึ้นมาได้ ศาสนาฮินดูนั้นมีคติในเรื่องสมมติเทพเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ แต่ศาสนาฮินดูมีวิธีการและมีพิธีกรรมอัน ศักดิ์สิทธิ์น่าเชื่อถือในอันที่จะทำให้องค์พระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพหรือเป็นองค์เทวราชขึ้นมาได้ พราหมณ์ใน ศาสนาฮินดูได้เข้ามาทำให้องค์พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นองค์เทวราชขึ้นมา หลังจากที่ไทยได้ชัยชนะเหนือเขมร และได้เขมรมาเป็นเมืองขึ้น ในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา วัฒนธรรมฮินดูจึงมีความสำคัญมากเท่าที่เกี่ยวกับองค์พระ มหากษัตริย์และขนบธรรมเนียมประเพณีในราชสำนัก ทั้งที่ชีวิตของคนไทยทั่วไปในพื้นบ้านยังอยู่ใต้วัฒนธรรมของ ศาสนาพุทธ ถึงจะมีวัฒนธรรมของฮินดูแทรกเข้าไปบ้างก็เป็นบางเรื่อง มิได้ครอบคลุมชีวิตของคนไทยไปทั้งหมด สรุปได้ว่าวัฒนธรรมไทยเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์นั้นเป็นวัฒนธรรมฮินดู แต่ในชีวิตทั่วไปของคนไทยนั้นเป็น วัฒนธรรมพุทธ แต่ทั้งหมดนี้ก็ได้มารวมเป็นวัฒนธรรมไทยด้วยกัน ปรากฏผลเป็นลักษณะไทยอย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ หนังสือชุดนี้เป็นผลงานของนักวิชาการไทยจากต่างสาขาวิชาชีพ ซึ่งได้ค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรม ไทยแขนงต่างๆ กัน และนำมาศึกษาเชิงวิเคราะห์เพื่อแสวงหาลักษณะไทย ดังที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว ผู้เขียนส่วนใหญ่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและได้ลงทุนลงแรงค้นคว้าเรื่องต่างๆ ที่ได้เขียนขึ้นด้วยตนเองเป็น เวลาหลายปี เมื่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด มีความประสงค์ที่จะจัดพิมพ์หนังสือชุดนี้ขึ้นเนื่องในงานเปิดสำนักงานใหม่ และเพื่อให้หนังสือชุดนี้เป็นส่วนหนึ่งในการฉลองพระนครครบ ๒๐๐ ปี ทางด้านธุรกิจเอกชน ธนาคารจึงได้เชิญ นักวิชาการเหล่านี้ ซึ่งทางผู้จัดทำหนังสือเห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถพอที่จะยึดถือเป็นหลักฐานได้ ให้เขียน บทความทางด้านวัฒนธรรมแต่ละแขนงซึ่งแต่ละท่านได้สนใจค้นคว้าอยู่แล้ว ในการนี้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ได้ให้ เงินอุดหนุน ทำให้นักวิชาการแต่ละท่านสามารถค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและจัดทำภาพแผนผังประกอบแนวความคิด ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าผู้เขียนส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยและในการศึกษาค้นคว้าเพื่อหนังสือ เล่มนี้ อาจารย์เหล่านี้ได้รวบรวมอาจารย์ผู้เยาว์และนักศึกษาเข้ามาช่วยในงานวิจัยนั้นด้วย ดังนั้นนอกเหนือไปจาก การนำข้อมูลการวิจัยมารวบรวมจัดพิมพ์เป็นหนังสือชุดนี้แล้ว งานชิ้นนี้ยังได้มีส่วนช่วยอบรมและสร้างนักวิจัยรุ่นเยาว์ ขึ้นเป็นจำนวนมากในหลายสถาบันการศึกษา ซึ่งจะมีผลในระยะยาวในการศึกษาเรื่องวัฒนธรรมไทยต่อไปในอนาคต บรรณาธิการขอขอบคุณ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ในฐานะที่เป็นผู้คิดริเริ่มและเป็นกำลังสำคัญในการจัด
พิมพ์หนังสือชุดนี้ขึ้น และหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะให้ความรู้แก่ผู้อ่านในเรื่องลักษณะไทยตามที่ได้ตั้งความปรารถนาไว้
ทุกประการ (คึกฤทธิ์ ปราโมช) ๑๑ กันยายน ๒๕๒๔
(๑๑)
คำชี้แจง การจัดทำหนังสือชุด “ลักษณะไทย” นี้ นายบุญชู โรจนเสถียร อดีตรองนายกรัฐมนตรี เมื่อยังดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ดำริให้จัดทำขึ้นเพื่อแจกเป็นอภินันทนาการใน โอกาสที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด จะเปิดสำนักงานใหญ่ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยเห็นว่าสมควรรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยในทุก ๆ ด้านไว้ ก่ อ นที่ วั ฒ นธรรมบางส่ ว นจะสู ญ หายไปในช่ ว งของการเปลี่ ย นแปลง อย่างรวดเร็วของสังคม
จึ ง ได้ น ำความไปเรียนปรึกษากับศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช และขอความกรุณาให้ท่านเป็นผู้รวบรวมนักวิชาการทั้งจากสถาบัน ภาครัฐและเอกชน และนักวิชาการอิสระ มาร่วมกันทำงานชิ้นนี้เพื่อจะได้เนื้อหาที่ หลากหลาย กับขอให้ท่านกรุณารับทำหน้าที่บรรณาธิการของหนังสือชุดนี้ด้วย
ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีความประสงค์ที่จะจัด ทำหนังสือลักษณะไทยให้ครบชุดเพื่อเฉลิมพระเกียรติและทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวในโอกาสอันเป็นมหามงคลที่พระองค์จะเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษาในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ในการจัดทำหนังสือชุดลักษณะไทยฉบับเฉลิมพระเกียรติขึ้นใหม่นี้ ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประสงค์ที่จะจัดทำหนังสือให้ได้มาตรฐานทางวิชาการกว่า การพิมพ์ครั้งแรก จึงได้จัดงบประมาณจำนวนหนึ่งสำหรับจัดพิมพ์ต้นฉบับใหม่ แต่การ เปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการจัดพิมพ์หนังสือชุดลักษณะไทยฉบับเฉลิมพระเกียรติครั้งนี้ คือ มอบหมายให้ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำเรื่อง พัฒนาการของทัศนศิลป์ในประเทศไทยในด้านต่างๆ ให้มุ่งจัดทำแต่เฉพาะทัศนศิลป์ใน พระพุทธศาสนา คือ เรื่อง พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย จึงเป็นการเขียน ต้นฉบับหนังสือเล่มใหม่ ซึ่งยังไม่เคยได้จัดพิมพ์มาก่อนเลย และให้จัดพิมพ์เป็นเล่มที่ ๑ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เพราะมีความเห็นว่า ไม่ว่าจะมองจากด้านใด พระพุทธ ศาสนาเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะความผูกพันระหว่าง พระพุทธศาสนากับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ในโอกาสที่สำคัญนี้จึงเป็นการสมควร ที่จะจัดพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นเล่มแรกในหนังสือชุดลักษณะไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ
ในการจั ด ทำหนั ง สื อ ลั ก ษณะไทยชุ ด แรกนั้ น ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้แบ่งหนังสือชุดนี้เป็น ๔ เรื่องใหญ่ คือ เล่มที่ ๑ เรื่อง ภูมิหลัง เล่มที่ ๒ เรื่อง ทัศนศิลป์ ดั ง นั้ น หนั ง สื อ ชุ ด ลั ก ษณะไทยฉบั บ เฉลิ ม พระเกี ย รติ นี้ จึ ง ประกอบด้ ว ย เล่มที่ ๓ เรื่อง ศิลปะการแสดง หนั ง สื อ ๔ เล่ม เรียงลำดับเรื่องใหม่ ดังนี้ เล่มที่ ๔ เรื่อง วัฒนธรรมพื้นบ้าน เล่มที่ ๑ เรื่อง พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์พุทธศิลป์ไทย หนังสือเล่มที่ ๑ เรื่อง ภูมิหลัง จัดทำสำเร็จทันตามเป้าหมายในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เล่มที่ ๒ เรื่อง ภูมิหลัง ส่วนหนึ่งธนาคารกรุงเทพ จำกัด ได้แจกเป็นที่ระลึกในงานเปิดสำนักงานใหญ่ ส่วนหนึ่ง เล่มที่ ๓ เรื่อง ศิลปะการแสดง มอบให้แก่สถาบันการศึกษาบางแห่ง ทั้งระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา และอีก เล่มที่ ๔ เรื่อง วัฒนธรรมพื้นบ้าน ส่วนหนึ่งสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด จำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป ปรากฏว่าหนังสือ เล่มนี้มีผู้สนใจมากพอสมควร ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช หนังสือชุดลักษณะไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรตินี้ ทางธนาคารกรุงเทพ จำกัด จำกัด จึงได้จัดพิมพ์อีกครั้งหนึ่งเพื่อจัดจำหน่าย (มหาชน) จัดพิมพ์ขึ้นจำนวน ๒,๐๐๐ ชุด เพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้า หลังจากจัดทำหนังสือเล่มที่ ๑ เรียบร้อยแล้ว ทางคณะผู้จัดทำหนังสือ อยู่หัวเป็นการเฉลิมพระเกียรติและโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด หนังสือส่วนหนึ่งจะ ลักษณะไทยหวังว่าจะสามารถจัดทำเล่มอื่น ๆให้สำเร็จในระยะใกล้ ๆ กัน แต่มีอุปสรรค ทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และส่วนที่เหลือทั้งหมดจะขอพระราชทาน หลายประการ เนื่องจากไม่สามารถจัดเตรียมต้นฉบับได้ทันตามเวลาที่กำหนดไว้ เพราะ นำไปแจกจ่ายแก่ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาค เนื้อหาของเล่มที่ ๓ เรื่อง ศิลปะการแสดง และเล่มที่ ๔ เรื่อง วัฒนธรรมพื้นบ้าน เอกชนทั่ ว ประเทศ เพื่ อ เป็ น วิ ท ยาทานถวายเป็ น พระราชกุ ศ ลแด่ พ ระบาทสมเด็ จ มีขอบเขตทีก่ ว้างขวาง และมีผรู้ ว่ มเขียนหลายท่าน หรือแม้แต่เล่มที่ ๒ เรือ่ ง ทัศนศิลป์ พระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้ และหนังสือชุดนี้จะไม่มีวางจำหน่ายเลย ซึ่งมีผู้เขียนเพียงคนเดียว ก็มีเนื้อหากว้างขวางคลอบคลุมทุกด้าน อุปสรรคสำคัญประการหนึ่ง คือ การประสานงานที่ล่าช้าของข้าพเจ้าใน พันเอกหญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ฐานะผู้ช่วยบรรณาธิการ ที่กำหนดว่า หนังสือชุดลักษณะไทยเล่มที่ ๓ เรื่อง ศิลปะ บรรณาธิการ การแสดง จะตีพิมพ์เป็นลำดับต่อจากเล่มที่ ๑ เรื่อง ภูมิหลัง แต่การจัดพิมพ์มาแล้ว ธันวาคม ๒๕๕๑ เสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เกือบ ๒๐ ปีต่อมา โดยสำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด เป็นผู้จัดพิมพ์และจัดจำหน่าย หนังสือชุดลักษณะไทยเล่มที่ ๔ เรื่อง วัฒนธรรมพื้นบ้าน นั้น เมื่อคณะ บรรณาธิการประสานรวบรวมต้นฉบับได้สมบูรณ์แล้ว แต่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ยังไม่พร้อมจะจัดพิมพ์ จึงได้อนุญาตให้สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย เป็ น ผู้ จั ด พิ ม พ์ จ ำหน่ า ยในโอกาสครบ ๗๒ ปี ข องคณะ สถาปั ต ยกรรมศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย พ.ศ.๒๕๔๙ ส่ ว นหนั ง สื อ ชุ ด ลักษณะไทย เล่มที่ ๒ เรื่อง ทัศนศิลป์ ยังคงไม่สามารถรวบรวมต้นฉบับให้สมบูรณ์ได้
(๑๒)
คำนำ (ในการพิมพ์ครั้งที่ ๓) หนังสือชุดลักษณะไทย นอกจากเรื่อง พระพุทธปฏิมา อัตลักษณ์ พุ ท ธศิ ล ป์ ไทย ซึ่ ง เขี ย นขึ้ น ใหม่ เพื่ อ เฉลิ ม พระเกี ย รติ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษานี้ เล่มที่ สำคัญที่สุดคงจะเป็นเรื่อง ภูมิหลัง เพราะนอกจากจะจัดพิมพ์เป็นเล่มแรกในพ.ศ.๒๕๒๕ แล้ว ยังเป็นเล่มเดียว ที่ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นบรรณาธิการควบคุมการ จัดพิมพ์ทั้งหมด หลังจากที่หนังสือเล่มนี้ได้จัดพิมพ์ออกมาแล้ว ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ หนังสือเรื่อง ภูมิหลัง ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นใหม่นี้นับเป็นเล่มที่ ๒ ในหนังสือชุด ลักษณะไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติ มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับพื้นฐานทางปรัชญาของสังคมไทย ในทุกด้านจากมุมมองของผู้เขียนหลายท่าน บทที่สำคัญคือ บทที่ว่าด้วยพื้นฐานทาง สังคมของไทยของศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในบทความนี้ ท่านผู้เขียนได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของสังคมไทยตั้งแต่ต้น ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ เรื่องที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ตามความคิดเห็นของท่าน ซึ่งยังคงเป็นที่ ยอมรับกันโดยทั่วไป บทความนี้บรรยายถึงเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งทางด้าน พื้นฐานทางปรัชญา และระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ตั้งแต่อดีตมา จนรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งยากที่จะหาท่านผู้รู้ที่จะให้ข้อมูลที่สมบูรณ์และถูกต้องอย่างเป็น รูปธรรมได้ชัดเจน เช่นที่ท่านผู้เขียนได้สรุปไว้ว่า
“สถาบันพระมหากษัตริย์ในปัจจุบันมิใช่สถาบันที่อยู่เหนือเหตุผลหรือเป็น เรื่องที่ลึกลับอีกต่อไป แต่เป็นสถาบันที่เข้าใจได้ พิสูจน์ได้เพราะเป็นสถาบันที่มีหน้าที่ และมีงานการที่จะต้องทำ และเป็นสถาบันที่ทำงานหนักไม่น้อยกว่าใครในสังคมนี้” หนั ง สื อ ชุ ด ลั ก ษณะไทย เรื่ อ ง ภู มิ ห ลั ง นี้ จั ด พิ ม พ์ เป็ น ครั้ ง แรกเมื่ อ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ และในปี ๒๕๓๙ จัดพิมพ์ซ้ำเป็นครั้งที่ ๒ โดยบริษัทสำนักพิมพ์ไทยวัฒนา พานิช จำกัด ในช่วงเวลา ๒๖ ปีที่ผ่านมา ทรรศนะของผู้เขียนแต่ละท่านที่ปรากฏใน หนังสือเล่มนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามหลักฐานที่ได้พบในชั้นหลัง ในการจัดพิมพ์ ครั้ ง นี้ ค ณะผู้ จั ด ทำได้ ติ ด ต่ อ ประสานกั บ ผู้ เขี ย นที่ ต้ อ งการจะปรั บ ปรุ ง เนื้ อ หาหรื อ หลักฐานได้ตามที่ต้องการ แต่ว่ามี ๒ ท่านที่เสียชีวิตไปแล้ว คือ ศาสตราจารย์ พลตรี หม่ อ มราชวงศ์ คึ ก ฤทธิ์ ปราโมช ซึ่ ง เขี ย นเรื่ อ งสั ง คมไทยและศาสตราจารย์ โชติ กัลยาณมิตร ซึ่งเขียนเรื่องสถาปัตยกรรมแบบไทยเดิม หนังสือชุดลักษณะไทย เรื่อง ภูมิหลัง นี้ นักวิชาการแต่ละท่านต่างก็เสนอ ทัศนคติที่หลากหลายในเรื่องปรัชญาและความเชื่อถือ ตามความคิดความเข้าใจจาก หลักฐานเท่าที่แต่ละท่านได้ใช้ประกอบข้อเขียน ซึ่งเป็นการตอบสนองเจตน์จำนงของ นายบุญชู โรจนเสถียร ผู้ริเริ่มโครงการนี้ที่ต้องการให้หนังสือชุดนี้เป็นการรวบรวม องค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในฐานะบรรณาธิการข้าพเจ้าขอขอบคุณธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และท่านนักวิชาการผู้เขียนทุกท่านที่ทุ่มทั้งกำลังสติปัญญา กำลังกายอย่างไม่ย่อท้อ ต่อความเหน็ดเหนื่อย เพื่อที่จะจัดทำหนังสือเล่มนี้ให้สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่สามารถจะ ทำได้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสอันเป็น มหามิ่งมงคลนี้ หากมี ค วามบกพร่ อ งประการใดเป็ น ความผิ ด ของข้ า พเจ้ า แต่ ผู้ เดี ย ว ข้าพเจ้าต้องขออภัยทุกท่านที่เกี่ยวข้องและท่านผู้อ่านไว้ในที่นี้ พันเอกหญิง คุณนิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา บรรณาธิการ ธันวาคม ๒๕๕๑
(๑๓)
ประวัติผู้เขียน ภาค ๑ สังคมไทย ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช* ศาสตราจารย์ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นั้น นอกจากจะเป็นที่รู้จักในประเทศไทยว่าเป็น พหูสูตในเร่ืองวัฒนธรรมไทยแล้วหลายคนยังถือ กันว่า ท่านคือตัวแทนของวัฒนธรรมไทยเลยที เดียว เมื่อท่านหันเข้าจับวัฒนธรรมไทยเรื่องใด เรื่องนั้นจะมีชีวิตชีวาขึ้นมาทันที ตัวท่านเองก็ดำ เนินชีวติ ตามแบบไทยด้วยรสนิยมอันสูงส่ง แม้วา่ ท่านจะเป็นบุคคลทีส่ ามารถใช้ชวี ติ ได้อย่างสำราญ ในแบบไทยและแบบตะวันตก ในด้านการศึกษาตามระบบโรงเรียนนั้น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ได้รบั ปริญาตรีในสาขาวิชาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ ฟอร์ด ใน พ.ศ. ๒๔๗๗ หลังจากได้ห่างเหินจาก มหาวิทยาลัยไปถึง ๔๓ ปีแล้ว จึงได้หวนคิดกลับ ไปทวงสิทธิรับปริญญาบัณฑิตมาในการเดินทาง ไปเยือนออกซ์ฟอร์ดชัว่ วันเดียว เมือ่ พ.ศ. ๒๕๒๐ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ เคยเป็นอาจารย์วิชา เศรษฐศาสตร์ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ เป็นอาจารย์วชิ าธนาคารอยูท่ ม่ี หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึง่ ท่านได้รบั การแต่งตัง้ เป็นศาสตราจารย์ ในคณะศิลปศาสตร์ ท่านเป็นผูก้ อ่ ตัง้ สถาบันไทย คดีศกึ ษา ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรรมศาสตร์ และ จัดให้มกี ารสอนวิชาอารยธรรมไทยขึน้ ทีม่ หาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์เพื่อให้นักศึกษาปีท่ีหนึ่งได้มีภูมิหลัง ทางศิลปวัฒนธรรม ก่อนที่จะเข้ารับการศึกษา ในภาควิชาปกติสบื ไป โครงการนีต้ อ่ มาก็ได้นำไป ใช้กันทั่วไปในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยอื่นๆ ใน ประเทศไทย เพื่อเป็นการยืนยันรับรองคุณวุฒิความ สามารถ และผลทางวิชาการและคุณประโยชน์ ต่างๆ ทีี่ได้ให้แก่สังคมไทย มหาวิทยาลัยหลาย แห่งภายในประเทศได้มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิใ์ ห้แก่ทา่ น เช่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(๑๔)
มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางวิชาการ หนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มอบปริญญา ดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ ทางวิชาปรัชญา และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ทางวิชาพาณิชศาสตร์ ฯลฯ ควบคู่กันไปกับภาระด้านวิชาการ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ มีทง้ั เวลาและความสามารถทีจ่ ะสมัครและ ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขต กรุงเทพฯ หลายครั้งหลายครา และได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆ หลายกระทรวงด้วยกัน ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งประ เทศไทย และได้เริ่มก่อตั้งสัมพันธไมตรีทางการ ทูตกับประเทศจีนขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ท่านเป็นบุคคล หนึ่งในจำนวนคนไม่กี่คนที่ได้มีโอกาสสนทนาเป็น เวลานานกับท่านประธานเหมา เจ๋อ ตุง ก่อนทีท่ า่ น ประธานเหมาจะถึงแก่อสัญกรรม ระหว่างที่ท่าน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ได้ วางรากฐานโครงการเศรษฐกิจให้ส่งผลกว้างไกล จนเป็นที่จดจำรำลึกของประชาชนชาวไทยอยู่ใน ปัจจุบัน
*ถึงแก่อสัญกรรม
ภาค ๒
ภาค ๓
ภาค ๔
ชุมชนสมัยก่อน ประวัติศาสตร์
น้ำ
สถาปัตยกรรม แบบไทยเดิม
ดร.พิสิฐ เจริญวงศ์
ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา
ศาสตราจารย์โชติ กัลยาณมิตร*
ดร.พิสิฐ เจริญวงศ์ จบการศึกษา โบราณคดี จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และได้ไป ศึกษาต่อที่ Institute of Archaeology มหาวิทยาลัยลอนดอน และที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ในสหรัฐอเมริกา ได้เข้ารับราชการเป็น อาจารย์ทค่ี ณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และเป็นข้าราชการกรมศิลปากร ดร.พิสิฐมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษใน เรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีผลงานที่เป็น ที่ รู้ จั ก กั น ดี ใ นวงการโบราณคดี ก่ อ นประวั ติ ศาสตร์ ทัง้ ในและนอกประเทศ นอกจากจะมีประ สบการณ์ในการขุดค้นทางโบราณคดีมากมาย ดร.พิสิฐได้ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโครงการ ขุดค้นร่วมกันนักโบราณคดีตา่ งชาติ ทีข่ อเข้ามา ทำการขุดค้นเรื่องก่อนประวัตศิ าสตร์ในประเทศ ไทยหลายคณะ และได้เข้าร่วมการสัมมนาทาง วิชาการในระดับนานาชาติในยุโรปสหรัฐอเมริกา และหลายประเทศในเอเชีย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ ภูมภิ าคว่าด้วยโบราณคดีและวิจติ รศิลป์ (SPAFA)
ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา เกิด พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้ศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่มหาวิท ยาลัยเคมบริดจ์จนถึงขั้นปริญญาเอก เคยรับ ราชการในสำนักผังเมือง ปัจจุบันทำงานส่วนตัว มีผลงานสถาปัตยกรรมในหนังสือ วารสารและ นิทรรศการต่างๆ ระดับนานาชาติหลายโครงการ รวมถึงนิทรรศการสถาปัตยกรรมที่เวนิส นอก จากงานสถาปัตยกรรมซึ่งเป็นงานหลักแล้วยัง เป็นอาจารย์พเิ ศษบรรยายทีค่ ณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และกรรมการอื่นๆ เกี่ยวกับงานอนุรักษ์โบราณสถาน
ศาสตราจารย์โชติ สำเร็จการศึกษาชัน้ ปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับปริญญามหาบัณฑิต ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา เป็นอาจารย์สอนในคณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิชาทีเ่ ชีย่ วชาญ เป็นพิเศษ คือ สถาปัตยกรรมไทย ซึง่ ได้ทำการ ค้นคว้าวิจัยไว้มาก ดังปรากฏในหนังสือ เช่น พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปะเกีย่ วเนือ่ ง สถาปัตยกรรมและไทยเดิม ทฤษฎีการกำหนด องค์ประกอบในงานศิลปและสถาปัตยกรรม ไทย ฯลฯ
*ถึงแก่อนิจกรรม
(๑๕)
สารบัญ
(๖) คำปรารภ (ในการพิมพ์ครั้งแรก) (๗) วัตถุประสงค์ (๙) คำนำของหนังสือชุด ลักษณะไทย (๑๒) คำชี้แจง (๑๓) คำนำ (ในการพิมพ์ครั้งที่ ๓) (๑๔) ประวัติผู้เขียน
ภาค หน้า
๑
สังคมไทย
๒ สังคมไทย ๒๔ สถาบันพระมหากษัตริย์
ภาค หน้า
๔๙ ๕๒ ๖๙ ๘๘ ๑๐๘ ๑๑๗ ๑๒๒ ๑๓๒
๒
ชุมชนสมัยก่อน ประวัติศาสตร์
บทนำ บทที่ ๑ ภูมิหลังของคนรุ่นแรก ๆ บทที่ ๒ โบราณคดีในประเทศไทย บทที่ ๓ สังคมนายพราน บทที่ ๔ สังคมเกษตรกร บทที่ ๕ แหล่งโบราณคดีในสังคมเกษตรกร บทที่ ๖ ศิลปกรรม บทที่ ๗ เทคโนโลยี
ภาค หน้า
๓
น้ำ
๑๔๖ บทนำ ๑๔๘ บทที่ ๑ กำเนิดมาแต่น้ำ ๑๖๔ บทที่ ๒ สัญลักษณ์น้ำ ๑๘๘ บทที่ ๓ อารยธรรมชาวน้ำ ๒๑๔ บทที่ ๔ สถาปัตยกรรมบนน้ำ ๒๓๘ บทที่ ๕ สถาปัตยกรรมบนบก ๒๖๓ บทที่ ๖ ลักษณะชุมชนและผังเมือง
ภาค หน้า
๒๙๘ ๓๑๐ ๓๖๕ ๓๘๘
๔
สถาปัตยกรรม แบบไทยเดิม
บทนำ บทที่ ๑ พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย บทที่ ๒ วัดในประเทศไทย บทที่ ๓ เรือนไทย
๔๐๘ อภิธานศัพท์สถาปัตยกรรม ๔๑๕ บรรณานุกรม ๔๑๘ ดรรชนี
ภาค
๑
สังคมไทย
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หน้า
๒
๒ ๕ ๒๑
สังคมไทย
สังคมสุโขทัย สังคมอยุธยา สังคมรัตนโกสินทร์
๒๔ สถาบันพระมหากษัตริย์ ๒๕ ๒๖ ๓๙
สถาบันพระมหากษัตริย์สมัยสุโขทัย สถาบันพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา สถาบันพระมหากษัตริย์ในทรรศนะของคนไทย สังคมไทย
สังคมไทย สั งคมสุโขทัย ก่อนที่จะมองดูลักษณะไทยโดยผ่านทางวัฒนธรรม แขนงใดแขนงหนึง่ นัน้ ผูด้ นู า่ จะได้รถู้ งึ ภูมหิ ลังของสังคมไทย ในปัจจุบนั เสียก่อนว่ามีทม่ี าจากสังคมแบบใดในอดีต เพราะ ความเป็นอยู่ในอดีตหรือกรรมในอดีตนั้นจะต้องส่งผลมา เป็นสภาพปัจจุบันอย่างไม่มีปัญหา หลักฐานทางสังคมไทยในอดีตซึ่งยังพอจะหาได้ใน ปัจจุบนั นัน้ เป็นหลักฐานทีแ่ สดงให้เห็นถึงสังคมไทยในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ คือสังคมไทยที่กรุงสุโขทัยแห่งหนึ่ง สังคม ไทยที่กรุงศรีอยุธยาอีกแห่งหนึ่ง หลักฐานที่ว่านี้ได้แก่ศิลาจารึกสมัยสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือที่เรียกกันว่าศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหงและพระ ราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาตลอดจนกฎหมายและเอก สารต่างๆ ของกรุงศรีอยุธยาและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่ง ได้ตกมาถึงทุกวันนี้
สังคมไทยที่กรุงสุโขทัยนั้นมีลักษณะเป็นสังคมเผ่า (Tribal Society) อันหมายถึงสังคมอันประกอบด้วยคนที่ อยู่ในเผ่าพันธ์ุเดียวกัน มีความเกี่ยวพันและผูกพันกันแน่น หนาทางสายโลหิต สังคมเช่นนี้จึงเป็นสังคมที่ไม่ใหญ่โตนัก มีคนจํานวนจํากัดและอยูใ่ นเนือ้ ทีซ่ ง่ึ ไม่กว้างขวางนัก สามารถ ติดต่อกันได้สะดวกทุกเวลา เมื่อเป็นเช่นนี้ถึงแม้ว่าในสังคม จะมีการแบ่งคนออกเป็นชนชั้นสูงหรือชนชั้นต่ำ แต่ความ แตกต่างระหว่างชนชั้นเหล่านั้นก็คงจะมีไม่มากนัก ความ ใกล้ชิดระหว่างชนต่างชั้นนั้นจะต้องมีมากกว่าในสังคมที่ ใหญ่กว่า และความสัมพันธ์ทางใจอันเกิดความรู้สึกว่าเป็น คนสายเลือดเดียวกันนั้นก็ย่อมจะต้องมีมากกว่าในสังคมที่ ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติหรือหลายเผ่าพันธ์ุ สังคมมนุษย์ในสมัยโบราณโดยเฉพาะสังคมไทย ในอดีตนั้นมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือเป็นองคา- พยพทีส่ าํ คัญ เพราะพระมหากษัตริยใ์ นสังคมไทยนัน้ ทรง ไว้ซึ่งอํานาจอธิปไตย มีพระราชอํานาจเป็นสิทธิ์ขาดใน การปกครองประเทศ สังคมจะดีหรือไม่ จะมีสุขมีความ เป็นธรรมหรือเดือดร้อนขาดความเป็นธรรมอย่างไร จึง ขึ้นอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้กําหนดระบบแห่ง สังคมขึ้นและใช้พระราชอํานาจบังคับการให้เป็นไปตาม ระบบนั้น ทั้งนี้เป็นจริงสําหรับสังคมไทยในอดีตซึ่งแตก ต่างจากสังคมมนุษย์อื่นๆ ในสมัยเดียวกัน เพราะฉะนั้น เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชปณิธานในอันที่จะให้ มีความเป็นธรรมและความผาสุกในสังคมแล้ว สังคมก็มี ความเป็นธรรมและความสุข
“ชนชั้น” ในสังคมสุโขทัย ถ้าจะดูจากหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหง แห่งกรุงสุโขทัย สังคมไทยในสมัยของพระองค์แบ่งชนชั้น ออกเป็นสอง คือชนชั้นสูงอันอยู่ในตระกูลสูงซึ่งเรียกว่า “ลูกเจ้าลูกขุน” หนึ่ง และชนธรรมดาสามัญ ซึ่งเรียกว่า “ไพร่” หรือ “ไพร่ฟ้า” หนึ่ง มิได้กล่าวถึงชนชั้นอื่นใดอีกเลย ในศิลาจารึกหลักนั้นจะกล่าวถึงชนส่วนอื่นก็มีแต่พระสงฆ์ ซึ่งอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพของคนทั้งปวงตั้งแต่องค์พระ มหากษัตริย์ลงมา และพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานั้นเป็น ผู้ที่ออกไปแล้วจากสังคม จะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
๒
ภูมิหลัง
อย่างแท้จริงเห็นจะไม่ได้ อย่างไรก็ตามถ้าจะดูจากศิลาจารึก หลักทีเ่ อ่ยถึงแล้ว ชนชัน้ ต่างๆ ในสมัยสุโขทัยนัน้ ดูออกจะ ปราศจากความขัดแย้งหรือแตกต่างกันมากนัก ไม่มีการ กดขี่ซึ่งกันและกัน มีเสรีภาพที่จะกระทําการใดๆได้โดย สมบูรณ์ ตอนหนึ่งของศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหงได้ กล่าวไว้ว่า “เมื่อชั่วพ่อขุนรามคําแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำ มีปลา ในนามีขา้ ว เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลทู า่ ง เพือ่ นจูง วัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่คา้ เงือนค้าทองค้า ไพร่ฟา้ หน้าใส ลูกเจ้าลูกขุน ผู้ใดแล้ล้มหายตายกว่า เหย้าเรือนพ่อเชื้อเสื้อคํามัน ช้าง ขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมากป่าพลู พ่อเชื้อ มันไว้แก่ลูกมันสิ้น ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุนผิแลผิดแผกแสกว้าง กัน สวนดูแท้แล้จึ่งแล่งความแก่(เ)ขาด้วยซื่อ บ่เข้าผู้ลักมัก ผูซ้ อ่ น เห็นข้าวท่านบ่ใคร่พีน เห็นสินท่านบ่ใคร่เดือด คนใด ขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่อยเหนือเฟื้อกู้ มันบ่มีช้างบ่มี ม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงือนบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวง เป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือกข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่า บ่ตี ในปากประตูมีกระดิ่งอันณื่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้า ปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกะดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคําแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมือถามสวนความ แก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม” ข้อความในศิลาจารึกตอนนี้แสดงให้เห็นภาพสังคม ไทยที่กรุงสุโขทัยได้มาก เราได้ทราบว่าเมืองสุโขทัยนั้นมี ความอุดมสมบูรณ์ทางเกษตร ไม่มีอดอยากถึงกับต้อง แย่งกันกิน หรือบางคนได้กินมากบางคนได้กินน้อยเพราะ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยใน สมัยนั้น “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลทู า่ ง” วรรคนีม้ คี วาม หมายค่อนข้างจะลึกซึ้ง จกอบในไพร่ลูท่างนั้นหมายถึง ภาษีที่เก็บจากการขนส่งสินค้า ในสมัยโบราณนั้นเป็นธรรม เนียมของเจ้าเมืองทีจ่ ะตัง้ ด่านคอยเก็บภาษีจากผูท้ ข่ี นสินค้า ผ่านอาณาเขตของตนหรือเขตที่ตนมีอํานาจเหนืออยู่ แม้ แต่ สิ น ค้ า ที่ จ ะขนเข้ า มาในเมื อ งของผู้ มี อํ า นาจนั้ น เอง มิได้ผ่านไปเมืองอื่นๆ ก็ยังเก็บ “จกอบ” อยู่ การที่เจ้า
เมืองสุโขทัย “บ่เอาจกอบในไพร่ลูท่าง” นี้จึงเป็นเรื่องที่ แปลกกว่าที่เมืองอื่นๆ ปฏิบัติกันอยู่และจะต้องมีคุณประ โยชน์เป็นพิเศษ จึงได้จารึกเอาไว้ เป็นการสะท้อนให้เห็น สังคมอืน่ ๆ ในสมัยเดียวกันนอกเหนือไปจากเมืองสุโขทัยอีก ด้วย คุณประโยชน์อันพิเศษนั้นก็คือราคาสินค้าที่ขนจากที่ อืน่ ๆ เข้าไปขายในเมืองสุโขทัยนัน้ น่าจะมีราคาถูกกว่าสินค้า ชนิดเดียวกันที่ขายกันในเมืองอื่นๆ เพราะที่เมืองสุโขทัยนั้น ไม่มีจกอบ แต่ที่เมืองอื่นๆ นั้นมี ราษฎรในเมืองสุโขทัยจึง น่าจะได้เปรียบคนในเมืองอื่นๆ ในเรื่องค่าครองชีพ “เพือ่ นจูงวัวไปค้า ขีม่ า้ ไปขาย ใครจักใคร่คา้ ช้างค้า ใครจักใคร่คา้ ม้าค้า ใครจักใคร่คา้ เงือนค้าทองค้า ไพร่ฟา้ หน้า ใส” ความข้อนี้แสดงให้เห็นว่านอกจากจะไม่มีการตั้งด่าน เก็บภาษีสินค้าในระหว่างทางขนส่งแล้ว ที่กรุงสุโขทัยยังไม่ มีภาษีที่เก็บจากสินค้าที่ซื้อขายกันอีกด้วยและไม่มีการหวง ห้ามหรือขอบเขตใดๆ ในการค้า ปล่อยให้เป็นเสรี วรรคนี้ จบลงด้วยข้อความว่า “ไพร่ฟา้ หน้าใส” แสดงว่าเสรีภาพใน ทางการค้าและการปลอดภาษีนี้เป็นที่ถูกใจประชาชนทั่วไป “ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ ล้มหายตายกว่า เหย้าเรือน พ่อเชื้อเสื้อคํามัน ช้างขอลูกเมียเยียข้าว ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมากป่าพลู พ่อเชือ้ มันไว้แก่ลกู มันสิน้ ” ความข้อนีเ้ กีย่ ว กับชนชั้นสูงหรือผู้มีบรรดาศักดิ์ คือลูกเจ้าลูกขุน และ สะท้อนให้เห็นอีกระบบหนึ่งซึ่งมีอยู่ในสังคมไทยอื่นในสมัย เดียวกัน คือสังคมอยุธยา เพราะที่กรุงศรีอยุธยานั้น เมื่อ ผูม้ บี รรดาศักดิต์ ายลง ทรัพย์สนิ หลายอย่างซึง่ ผูต้ ายมีสทิ ธิ์ ทีจ่ ะมีได้เพราะมีศกั ดิส์ งู เช่นเรือกัญญา เสลีย่ ง ช้างขี่ ตลอด จนเครื่องทองไปจนถึงเครื่องแต่งกายบางอย่าง (เสื้อคำ) และผู้คนข้าไทยทั้งหลายนั้นจะต้องถูกริบเป็นของหลวง เรียกว่า “ราชพัทธยา” ทั้งนี้โดยถือว่าทายาทของผู้ตาย ยังมีศักดิ์ไม่สูงพอที่จะมีทรัพย์เหล่านั้นได้ แต่ที่กรุงสุโขทัย ไม่มีระเบียบเช่นนี้จึงได้จารึกลงไว้เพื่อให้เห็นความแตกต่าง ของสุโขทัยกับอาณาจักรอื่นๆ และถือว่าเป็นคุณวิเศษของ พ่อเมืองสุโขทัย ถ้าหากว่าสุโขทัยใช้ระบบริบสมบัติผู้มี บรรดาศักดิ์เช่นที่อื่นๆ แล้วก็คงจะไม่จารึกไว้เป็นแน่นอน ข้อความในวรรคต่อไปนั้นออกจะสําคัญมาก ใน ทางทีช่ ใ้ี ห้เห็นฐานะของคนในสังคมสุโขทัย “ไพร่ฟา้ ลูกเจ้า ลูกขุนผิแลผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้จึ่งแล่งความ
สังคมไทย
๓
รูป ๑ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคําแหง จารึกสุโขทัย หลักที่ ๑ ด้านที่ ๑, ด้านที่ ๒
๑
แก่ (เ) ขาด้วยซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน” จากความข้อนี้เรา ได้รู้แน่ว่าในสังคมสุโขทัยนั้นมีกันอยู่สองชั้น คือ “ไพร่ฟ้า” ซึ่งเป็นคนธรรมดาสามัญที่เป็นพลเมืองทั่วไปและชนชั้นสูง คือ “ลูกเจ้าลูกขุน” ซึง่ ได้แก่ชนชัน้ สูงหรือผูม้ ฐี านันดรศักดิ์ แต่ชนทัง้ สองชัน้ นีม้ คี วามเสมอภาคในกฎหมาย หรือมีสทิ ธิ์ เท่าเทียมกันในสายตาของผู้ครองแผ่นดิน เมื่อมีถ้อยความ ระหว่างกันก็จะได้รับการพิจารณาโดยอาศัยความจริงเป็น หลัก และพิพากษาไปตามหลักฐานพยานอย่างเทีย่ งตรง ไม่ เข้ากับฝ่ายใด และไม่ถือว่าใครมีสิทธิ์เหนือกว่าใครในความ ยุติธรรม ลักษณะนี้เป็นหลักการของสังคมที่มีความเป็น ธรรมที่ยังยึดถือกันลงมาจนถึงทุกวันนี้ “ในปากประตูมีกะดิ่งอันณื่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้า หน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถอ้ ยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกะดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคําแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียก เมือถามสวนความ แก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม” ข้อความตอน นี้มีความสําคัญมากเช่นเดียวกัน เพราะแสดงให้เห็นถึงสิทธิ อันสําคัญยิ่งของคนในสังคมสุโขทัยซึ่งออกจะหาได้ยากใน สังคมอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน สิทธินั้นก็คือสิทธิที่จะเข้าถึง ตัวผู้ปกครองแผ่นดินเพื่อร้องทุกข์และขอความเป็นธรรม คนที่มีสิทธินี้ในกรุงสุโขทัย ได้แก่ประชาชนทั้งปวงไม่เลือก ชั้นที่มีความเดือดร้อนหรือมีปัญหา (ไพร่ฟ้าหน้าปกกลาง บ้านกลางเมือง) ผู้ใดมีความทุกข์อันใดก็ดี (ไพร่ฟ้าหน้าปก ตรงกันข้ามกับคนที่สบายหรือมีสุข ไพร่ฟ้าหน้าใส) มีสิทธิที่ จะไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าพระราชวังได้ และเมื่อพ่อขุน รามคําแหงทรงได้ยินเสียงกระดิ่งนั้นก็จะเสด็จออกมาตรัส ถามถึงความทุกข์หรือความเดือดร้อนนั้นโดยตรง เมื่อทุก
๔
ภูมิหลัง
คนมีสทิ ธิทจ่ี ะเข้าถึงตัวผูค้ รองแผ่นดินเช่นนี้ ความแตกต่าง ระหว่างบุคคลหรือระหว่างชนชั้นถึงจะมีก็คงจะไม่มีสาระ สําคัญพอที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือแบ่งแยกมากนัก สิทธินี้เป็นการยืนยันความเสมอภาคในความยุติธรรมอีก ชั้นหนึ่ง สิทธิที่จะเข้าถึงตัวผู้ครองแผ่นดิน (Right of Access) นี้เป็นสิทธิที่สําคัญมาก หาได้ยากในสังคมอื่นๆ ในสมัยเดียวกัน และเป็นสิทธิที่ประชาชนต้องการตั้งแต่ โบราณมาจนถึงทุกวันนี้ ประโยคสุดท้ายของข้อความตอนนี้ที่ว่า “ไพร่ใน เมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม” นั้น ถ้าหากจะอ่านโดยผิวเผินก็อาจ เห็นว่าเป็นการสรรเสริญพระคุณของพ่อขุนรามคําแหงซึ่งก็ เป็นธรรมดาที่จะต้องมีในศิลาจารึกเกี่ยวกับพระองค์ท่าน แต่ถ้าดูลงไปให้ถึงเจตนารมณ์ในอันที่ได้จารึกประโยคนี้ลง ไปจนตกทอดมาจนถึงปัจจุบันก็จะเห็นว่าน่าจับใจมาก ข้อความที่ว่า “ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม” แสดง ให้เห็นว่าความชอบความชัง หรือคําติคำชมของไพร่นน้ั ผูท้ ี่ มีอํานาจปกครองสมัยนั้นสนใจและเห็นว่าสําคัญมาก และ ด้วยเหตุที่สนใจและเห็นว่าสําคัญมากจึงได้จารึกลงไว้ ใน สังคมโบราณนั้นมติประชาชน (Public Opinion) มิใช่สิ่ง ทีผ่ มู้ อี าํ นาจในการปกครองสนใจมากนัก เพราะเห็นว่า “ไพร่” ที่อยู่ในความปกครองของตนนั้นเป็นเพียงสรรพพัสดุอย่าง หนึ่งที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตน ความเห็นของไพร่ว่าสิ่งใดชั่ว ดี ควรทําหรือไม่ควรทํา จึงไม่มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องในการ ตัดสินใจของผู้มีอํานาจ เมื่อตัดสินใจว่าจะทําสิ่งใดก็กระทํา ไปด้วยความเห็นดีเห็นชอบของตน ไม่ต้องคํานึงว่า “ไพร่” จะติหรือชม จะชอบในสิ่งที่กระทํานั้นหรือไม่
สั งคมอยุธยา ลักษณะของสังคมไทยในสมัยสุโขทัยแตกต่างกับ สังคมอื่นๆ ทั้งไทยและเทศในสมัยเดียวกันอยู่ที่ตรงนี้ พระ มหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงคํานึงถึงทุกข์สุขของราษฎร ของพระองค์อยู่เป็นนิจ ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหง จึงมีถ้อยคําว่า “ไพร่ฟ้าหน้าใส” อันแสดงถึงความสุขความ พอใจของราษฎรกับคําว่า “ไพร่ฟ้าหน้าปก” อันแสดงถึง ราษฎรที่มีทุกข์สลับกันไป และมาสรุปลงที่ประโยคที่กล่าว ถึงนีว้ า่ “ไพร่ในเมืองสุโขทัยนีจ้ ง่ึ ชม” แสดงให้เห็นว่าคําตําหนิ ติชมของคนทั่วไปที่ปราศจากวาสนานั้นมีคุณค่าสําหรับผู้มี อํานาจปกครองแผ่นดิน แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อนั มีแต่ ความรักความปรารถนาดีต่อคนทั่วไป มิใช่เฉพาะแต่ตัวเอง หรือคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นพวกเดียวกับตนเท่านั้น ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหงจึงเป็นหลักฐานที่ แสดงถึงสังคมไทยสังคมหนึ่งในสมัยต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นอย่างดี นอกจากจะเป็นข้อเท็จจริงอันถือเป็นหลัก ฐานได้แล้ว ก็ยงั เป็นเอกสารทีแ่ สดงให้เห็นถึงอุดมคติและ ความปรารถนาของคนเมืองสุโขทัยในสมัยนั้นไว้อย่างน่า จับใจมากอีกด้วย เพราะอุดมคติและความปรารถนานั้นๆ ก็ยังเป็นอุดมคติและความปรารถนาของมนุษย์ที่มีใจเป็น ธรรมและใฝ่หาสันติมาจนทุกวันนี้ อย่างไรก็ตามอุดมคติและเจตนารมณ์อันสูงส่งของ สุโขทัยนัน้ มิได้คงอยูย่ ง่ั ยืนถาวรนัก ในศิลาจารึกเองก็ได้กล่าว ไว้ว่า “เมื่อชั่วพ่อขุนรามคําแหงเมืองสุโขทัยนี้ดี” คําว่า “เมื่อชั่ว” ในศิลาจารึกนั้นพอจะแปลเป็นภาษาไทยปัจจุบัน ว่าเมื่อครั้งหรือในสมัยเท่านั้นเอง ดังเช่นตอนต้นของศิลา จารึกหลักเดียวกันนี้ มีอยู่ตอนหนึ่งซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ ของพ่อขุนรามคําแหงเองว่า “เมื่อชั่วพ่อกู กูบําเรอแก่ พ่อกู กูบาํ เรอแก่แม่ก”ู ซึง่ หมายถึงสมัยเมือ่ สมเด็จพระชนกนารถของพระองค์คือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ยังดํารงพระ ชนม์อยู่ เพราะฉะนั้นความดีของเมืองสุโขทัยตามคําจารึก จึงมีอยู่ในรัชสมัยแห่งพ่อขุนรามคําแหงเท่านั้น เมื่อสิ้นรัชกาลแล้วอุดมคติและเจตนารมณ์เดิมอันขึน้ อยูก่ บั ระบบการ ปกครองแบบบิดากับบุตรก็ได้เปลีย่ นแปรไป กรุงสุโขทัยได้ รับวัฒนธรรมของกรุงศรีอยุธยามากยิ่งขึ้น เพราะกรุงศรีอยุธยาได้แผ่อิทธิพลขึ้นไปทางภาคเหนือมากยิ่งขึ้น ซึ่งในที่ สุดก็ได้แผ่อํานาจขึ้นไปจนกรุงสุโขทัยต้องตกมาอยู่ใต้อํานาจ ของกรุงศรีอยุธยาโดยสิ้นเชิง ภายในเวลาประมาณ ๑๐๐ ปีนับจากพ่อขุนรามคํา แหง ทําให้สงั คมสุโขทัยต้องหันเหเปลีย่ นแปลงมามีลกั ษณะ เช่นเดียวกับสังคมอยุธยา ทั้งในหลักการและรูปแบบ ดัง ที่จะได้กล่าวถึงต่อไป
ระบอบการปกครองของกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยานั้ น เป็ น ระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์มีพระราชอํานาจ เป็นล้นพ้น ด้วยเหตุนี้สังคมในสมัยอยุธยาจึงเป็นสังคมที่ ขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์โดยตรง การกล่าวถึงสังคมใน สมัยอยุธยาจึงจําเป็นต้องกล่าวถึงฐานะของพระมหากษัตริย์ ในสมัยนั้นก่อนอื่น
ฐานะของพระมหากษั ตริย์ ในสังคมแห่งราชอาณาจักรสุโขทัยนัน้ พระมหากษัตริย์ ทรงอยูใ่ นฐานะเป็นพ่อเมือง ทรงปกครองราษฎรเยีย่ งบิดา ปกครองบุตร ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับราษฎรในอาณาจักรอยุธยานั้นเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง เจ้ากับข้าโดยแท้ ความแตกต่างในฐานะของพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงสุโขทัยกับฐานะของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยานั้นอาจมีมาแต่เดิมแล้วก็ได้ ทางกรุงสุโขทัยยึดถือ หลักการอย่างหนึ่งและกรุงศรีอยุธยายึดถือหลักการอีก อย่างหนึง่ ทีก่ ล่าวมาเช่นนีก้ เ็ พราะว่าไม่มหี ลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ใดๆ ทีจ่ ะแสดงให้เห็นว่าฐานะของพระมหากษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยุธยานั้นได้วิวัฒนาการมาจากฐานะของพระ มหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย และตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของกรุงศรีอยุธยานัน้ ก็ปรากฏว่าตําแหน่งพระมหากษัตริย์น้นั เป็นตําแหน่งที่ช่วงชิงกันได้ด้วยอํานาจทางทหาร ผูใ้ ดทีม่ กี าํ ลังทางทหารมากทีส่ ดุ ก็มกั จะได้ขน้ึ เสวยราชสมบัติ ในกรุงศรีอยุธยามิได้สืบราชสันตติวงศ์กันลงมาเช่นในกรุง สุโขทัย แม้พระราชวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองผู้ซึ่งได้ทรงสร้าง กรุงศรีอยุธยานัน้ ก็ได้ขน้ึ เสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริยแ์ ห่ง กรุงศรีอยุธยาแต่เพียงสองพระองค์เท่านั้น คือสมเด็จพระ ราเมศวรและสมเด็จพระรามราชาธิราช พระมหากษัตริย์ พระองค์หลังนี้มิได้เสด็จอยู่ในราชสมบัติเป็นเวลานานนัก ด้วยเหตุนี้ฐานะของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา จึงตั้งอยู่บนพระราชอํานาจแต่อย่างเดียว และมีความผูก พันอยู่กับพระราชอํานาจนั้นยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น หลัก การแห่งอํานาจนั้นย่อมจะต้องแข็งแรงเด็ดเดี่ยวกว่าหลัก การแห่งการสืบสายโลหิตเป็นธรรมดา และอาจเป็นเพราะ เหตุนี้ก็ได้ที่ราชอาณาจักรสุโขทัยต้องตกมาเป็นส่วนหนึ่ง ของราชอาณาจักรอยุธยาในที่สุด ในความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับสังคม ในสมัยอยุธยาโดยทัว่ ไปนัน้ พระมหากษัตริยท์ รงอยูใ่ นฐานะ ต่างๆ กันดังต่อไปนี้ ในประการแรก ทรงเป็นเจ้าชีวิต ซึ่งหมายความ ว่าทรงมีพระราชอํานาจเหนือชีวิตคนทุกคนในสังคมไม่ว่า บุคคลนั้นจะอยู่ในฐานะสูงต่ำอย่างไร จะสังเกตเห็นได้จาก กฎหมายกรุงศรีอยุธยาว่าอํานาจสัง่ ให้ประหารชีวติ คนได้นั้น
สังคมไทย
๕
อยู่ในพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว บุคคลอื่นจะใช้อํานาจนั้นได้ก็ต่อเมื่อได้รับพระราชทานอาญาสิทธิ์จากพระ มหากษัตริย์ ในประการที่สอง พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะ พระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งหมายความว่าทรงเป็นเจ้าของแผ่นดิน ทัว่ พระราชอาณาจักร จะพระราชทานแผ่นดินเป็นเนือ้ ทีเ่ ท่า ใดให้แก่ผใู้ ดใช้ทาํ มาหากินก็ได้ หรือจะทรงเรียกเนือ้ ทีน่ น้ั คืน เสียเมื่อไรอีกก็ได้เช่นเดียวกัน เอกสารเกี่ยวกับที่ดินซึ่งใช้ กันมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบันนี้แสดงให้เห็นชัด ว่า บุคคลมิได้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งตนครอบครองอยู่ แต่ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ทํามาหากินบนผืนแผ่นดินตาม เนือ้ ทีท่ ป่ี รากฏในเอกสารนัน้ เท่านัน้ และกรรมสิทธิใ์ นพระบรมราชานุญาตให้ใช้ท่ดี ินได้น้นั เป็นสิ่งที่โอนให้แก่กันหรือซื้อขาย จํานองกันได้ ในประการต่อไป พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะ เป็นธรรมราชา ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาและใช้พระ ราชอํานาจปกป้องรักษาสถาบันแห่งพระพุทธศาสนาตลอด จนศีลธรรมแห่งศาสนานั้น ทรงตราพระราชกําหนดกฎ หมายต่างๆ ให้คนในสังคมปฏิบัติตามโดยไม่มีเงื่อนไขว่าจะ ต้องทรงปฏิบัติตามพระราชกําหนดกฎหมายนั้นๆ ด้วย พระองค์เอง และทรงเป็นผู้ชี้ขาดขั้นสุดท้ายในข้อพิพาท และความผิดถูกทั้งปวง และในประการสุดท้าย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งแปลตรงตัวว่านักรบอันยิ่งใหญ่ หมายถึงทรงอยู่ใน ฐานะจอมทัพไทย เป็นผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดของประเทศ ทรงเป็นผู้นําทหารในการศึกสงครามทั้งปวง ไม่ว่าจะ เป็นการสงครามเพื่อป้องกันประเทศหรือในการขยายพระ ราชอาณาเขต
ฐานะเทวราช
แต่ที่สําคัญที่สุดนั้นก็คือพระมหากษัตริย์ทรงเป็น เทวราช เมื่อมีพระบรมราชโองการแล้ว พระบรมราชโองการนั้นถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดจะขัดขืนมิได้ แม้แต่จะ วิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นในทางใดๆ ก็ไม่ได้ทั้งสิ้น ประเพณีและกฎเกณฑ์ตา่ งๆ ทีเ่ กีย่ วกับองค์พระมหากษัตริย์ ที่ใช้กันอยู่ในสมัยอยุธยานั้นจะได้อธิบายต่อไปเมื่อถึงเวลา ในชั้นนี้จะขอกล่าวแต่เพียงกฎเกณฑ์และประเพณีเหล่านั้น ได้กําหนดขึ้นเพื่อรักษาฐานะเทวราชของพระมหากษัตริย์ และฐานะเทวราชของพระมหากษัตริย์นั้นเป็นปัจจัยเดียวที่ ทําให้พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทรงมีพระราชอํานาจ เป็นล้นพ้น มีผลให้สังคมไทยในสมัยอยุธยามีรูปแบบและ ลักษณะดังที่จะได้กล่าวถึงต่อไป
๖
ภูมิหลัง
ขอบเขตของพระราชอํ านาจ เมื่อพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาทรงอยู่ใน ฐานะดังที่กล่าวมาแล้ว สังคมในสมัยอยุธยาจึงเป็นสังคม ที่ข้นึ อยู่กับพระราชอัธยาศัยและพระราชประสงค์ของพระ มหากษัตริย์แต่ละพระองค์โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใดเลย แต่ตามความจริงนั้น ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรี อยุธยาจะมีพระราชอํานาจเป็นล้นพ้น แต่พระราชอํานาจนัน้ ก็ถูกจํากัดอยู่ภายในขอบเขตอย่างกว้างๆ ซึ่งอาจแปรรูป และขนาดไปได้ตามกาลสมัย ขอบเขตนั้นประกอบด้วยหลัก ธรรมอันเปี่ยมไปด้วยความเมตตาของศาสนาพุทธอย่าง หนึง่ ตามหลักธรรมนีพ้ ระมหากษัตริยต์ อ้ งทรงอยูใ่ นทศพิธราชธรรม ซึ่งหมายความว่าการใช้พระราชอํานาจอันล้นพ้น นั้นควรจะประกอบด้วยศีล ด้วยธรรม ด้วยพระเมตตาคุณ และพระกรุณาคุณตลอดจนธรรมอื่นๆ อีกหลายอย่าง ทั้ง นี้เป็นขอบเขตทางศีลธรรม แต่นอกจากนี้แล้วก็ยังมีขอบ เขตในทางการเมืองอีกด้านหนึ่ง โดยที่สังคมสมัยอยุธยา ถือการปราบดาภิเษกนัน้ เป็นการก้าวขึน้ สูร่ าชบัลลังก์โดยชอบ ธรรม พระมหากษัตริยใ์ นสมัยอยุธยาจึงต้องทรงระมัดระวัง คอยเอาใจคนบางหมู่บางเหล่าในสังคมไว้เสมอ เพราะเกรง ว่าจะเกิดกบฏขึน้ ถ้าหากว่าบุคคลเหล่านัน้ ไม่พอใจในพระองค์ คนที่พระมหากษัตริย์ต้องคอยเอาใจหรือเกลี้ยกล่อมเอาไว้ นั้นก็ได้แก่ชนชั้นสูง ซึ่งมีทั้งเจ้านายในพระราชวงศ์และขุนนาง เพราะคนเหล่านี้มีพวกพ้องและมีผู้คนอยู่ใต้บังคับบัญชามาก หากไม่พอใจแล้วอาจคิดกบฏขึ้นเมื่อไรก็ได้ สําหรับ ประชาชนทั่วไปนั้นไม่ปรากฏว่าสนใจในโชคชะตาของพระ มหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งโดยเฉพาะ และไม่เคย ปรากฏว่าประชาชนในสมัยอยุธยาได้เคยริเริม่ คิดกบฏหรือคิด โค่นล้มราชบัลลังก์ของพระมหากษัตริย์เลยแม้แต่ครั้งเดียว ความผันผวนในทางการเมืองสมัยอยุธยานัน้ เป็นเรือ่ งของชน ชั้นสูงหรือเป็นเรื่องของผู้ที่มีอํานาจทั้งสิ้น หากผู้ใดมีอํานาจ สูงสุดขึ้นมาประชาชนก็ตกอยู่ใต้อํานาจของผู้นั้นและยอม รับโดยไม่มีการขัดแย้งแต่อย่างใดว่าผู้นั้นเป็นผู้ที่มีอํานาจ เหนือตน ปรากฏการณ์หรือสภาพทางจิตใจเช่นนี้เกือบจะ เรียกได้ว่าเป็นลักษณะอันเที่ยงแท้ของคนไทยตั้งแต่โบราณ มาจนถึงสมัยปัจจุบนั จนถึงขณะนีก้ ไ็ ม่ปรากฏว่าได้มกี ารเปลีย่ น แปลงไปเท่าไรนัก
สภาพสังคมอยุธยา สังคมไทยในสมัยอยุธยานั้นเรียกได้ว่าเป็นสังคมที่ ปราศจากชนชัน้ ถึงแม้วา่ สังคมในสมัยนัน้ จะมีชนชัน้ สูงและ ชนชั้นต่ำซึ่งมีฐานะตลอดจนสิทธิและหน้าที่แตกต่างกันก็ดี ชนชัน้ เหล่านัน้ ก็เป็นชนชัน้ ทีไ่ ม่มเี สถียรภาพหรือความถาวร แต่อย่างใด ความจริงคนไทยได้รบั เอาวัฒนธรรมต่างๆ ของ อินเดียมามากมายหลายอย่าง แต่อย่างหนึง่ ทีค่ นไทยไม่เคย รับเอามาใช้กค็ อื สถาบันอันเกีย่ วกับวรรณะ ชนชัน้ ต่างๆ ใน
สังคมอยุธยาจึงมิได้แยกกันด้วยกําเนิด และด้วยเหตุนี้จึง มิได้สบื ต่อกันด้วยความถาวร หากแต่มคี วามเคลือ่ นไหว หมุนเวียนอยู่เป็นนิจ ผู้ที่เกิดมาในราชตระกูลวงศ์นน้ั ถึง แม้ว่าจะได้รับความยกย่องจากชนทั้งปวงว่าเป็นชนชั้นสูง แต่ความสูงนั้นก็ถกู ลดลงมาทุกชัว่ คนและละลายหายไปจน หมดสิน้ เมือ่ ถึงชั่วคนที่ ๕ ความเป็นขุนนางผู้สูงศักดิ์นั้นก็ เป็นเรื่องเฉพาะตัวบุคคล เพราะบรรดาศักดิ์และศักดิอ์ น่ื ๆ แห่งขุนนางแต่ละคนนัน้ เมือ่ ตัวตายแล้วก็หมดสิน้ ไป มิได้ตก ทอดลงไปถึงลูกหลานด้วยวิธกี ารสืบตระกูลอย่างทีม่ ใี นประเทศอื่นๆ และความเป็นขุนนางผู้สูงศักดิ์นั้นเองอาจหมดสิ้น ไปในขณะทีต่ วั บุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่ก็ได้ ถ้าหากว่าพระมหา กษัตริยม์ พี ระราชโองการให้ถอดเสียจากตําแหน่ง ส่วนสามัญ ชนหรือแม้แต่บุคคลซึ่งมีฐานะต่ำต้อยนั้น ถ้าหากได้รับการ สนับสนุนจากผูม้ บี ญ ุ วาสนาหรือปฏิบตั ติ นมีความดีความชอบ ในราชการเป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัยของพระมหากษัตริย์ แล้ว ก็อาจเลือ่ นฐานะขึน้ ไปเป็นผูส้ งู ศักดิไ์ ด้โดยไม่มขี อบเขต สมณะในพระพุทธศาสนานั้นจะถือว่าเป็นชนชั้นหนึ่งก็ได้ อีกเช่นเดียวกัน เพราะนักบวชในพระพุทธศาสนานัน้ ไม่มขี อ้ บังคับกําหนดว่าจะต้องบวชไปจนตลอดชีวติ อาจสึกเสียเมือ่ ไรก็ได้ และในสมัยอยุธยานั้นพระมหากษัตริย์ก็ทรงมีพระราชอํานาจที่จะสั่งให้สึกสมณะผู้ใดก็ได้ แม้แต่ทาสในสมัย อยุธยานัน้ ก็จะเรียกได้วา่ เป็นชนชัน้ ซึง่ แยกออกไปจากผูท้ เ่ี ป็น ไทแก่ตวั เพียงชัว่ คราวเท่านัน้ เพราะทาสทุกคนมีคา่ ตัวกําหนด ไว้แน่นอน อาจไถ่ถอนตัวเองออกจากความเป็นทาสเมือ่ ไรก็ได้ อีกเช่นเดียวกัน ที่สําคัญที่สุดนั้นคือคนทุกคนในสังคมสมัย อยุธยานั้นไม่ว่าจะเป็นเจ้า เป็นขุนนาง หรือเป็นไพร่ ย่อม อยูใ่ นฐานะเป็นข้าแผ่นดินเสมอกันหมด มนุษย์ทุกคนย่อม เสมอกันในสายตาของพระผู้เป็นเจ้าฉันใด หรือคนทุกคนมี ฐานะเท่าเทียมกันในสายตาของกฎหมายฉันใด คนทุกคนใน สังคมสมัยอยุธยาก็มฐี านะเท่าเทียมกันภายใต้พระมหากษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยุธยาฉันนั้น ความเสมอกันภายใต้พระราช อํานาจและความเคลื่อนไหวเข้าหากันระหว่างชนชั้นต่างๆ อันทําให้ชนแต่ละชั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้โดย เด็ดขาดนั้น เป็นลักษณะอันสําคัญที่สุดอย่างหนึ่งของ สังคมสมัยอยุธยา ในการพิจารณาชนชั้นต่างๆ ในสังคม สมัยอยุธยาซึ่งจะได้ทําต่อไปนั้นควรจะได้คํานึงถึงลักษณะ อันสําคัญนีค้ วบกันไปด้วยโดยตลอด ชนชัน้ สูงสุดในสมัยอยุธยานัน้ ได้แก่พระบรมวงศานุ วงศ์ ทั้งนี้หมายถึงพระบรมวงศานุวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ผูซ้ ง่ึ ครองราชย์อยูใ่ นขณะใดขณะหนึง่ เท่านัน้ หากเป็นพระ บรมวงศานุวงศ์ของพระมหากษัตริยพ์ ระองค์ทถ่ี กู สําเร็จโทษ ไปแล้ว ถ้ายังมีชีวิตเหลืออยู่ก็คงจะอยู่ในฐานะต่ำต้อยไม่มี ผู้ใดยกย่องนับถือ อย่างไรก็ตาม ตามกฎมณเฑียรบาลซึง่ ประกาศใช้ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้น พระ บรมวงศานุวงศ์มีอันดับสูงต่ำแตกต่างกันดังต่อไปนี้
๑. พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของพระมหากษัตริย์ อันประสูติแต่พระอัครมเหสีนั้นเรียกว่า สมเด็จหน่อพระพุทธเจ้า นับว่าเป็นอันดับสูงสุดในพระบรมวงศานุวงศ์และ ตามปกติ ส มเด็ จ หน่ อ พระพุ ท ธเจ้ า ทรงมี สิ ท ธิ์ เหนื อ ผู้ อื่ น ในอันที่จะสืบราชสมบัติต่อไป ๒. พระราชโอรสอันประสูติแต่พระอัครชายาชั้นที่ เรียกว่าแม่อยั่วเมืองนั้นมีฐานันดรศักดิ์เป็น พระมหาอุปราช จัดเป็นอันดับที่สอง หากสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้าหา พระองค์มิได้ พระมหาอุปราชก็สืบราชสมบัติต่อไป น่าสัง- เกตว่าคําว่าพระมหาอุปราชในสมัยอยุธยานั้นมิได้หมายถึง องค์รัชทายาท แต่หมายถึงพระราชโอรสอันดับรองรัชทายาทลงมา ๓. พระราชโอรสซึ่งประสูติจากพระมารดาซึ่งทรง เป็นพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน หรือทีเ่ รียกกัน ในสมัยนั้นว่าลูกหลวงนั้น ทรงมีฐานันดรศักดิ์เป็น ลูกหลวงเอก ๔. พระราชโอรสซึง่ เกิดแต่พระมารดาทีม่ กี าํ เนิดเป็น หลานหลวงมีฐานันดรศักดิ์เป็น ลูกหลวง ๕. พระราชโอรสอันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาซึ่ง เป็นพระสนมนั้นทรงมีฐานันดรศักดิ์เป็น พระเยาวราช เจ้านายในสมัยอยุธยาซึ่งทรงมีฐานันดรศักดิ์เป็น พระเยาวราชนั้นคงจะมีอยู่มากพระองค์ในทุกรัชกาล น่า สังเกตว่าวรรณคดีไทยบางเรื่องมีข้อความบอกไว้ว่าพระ เยาวราชเป็นผูท้ รงนิพนธ์ แต่เนือ่ งด้วยพระเยาวราชนัน้ หมาย ถึงพระเจ้าลูกยาเธอชัน้ พระองค์เจ้า ซึง่ คงจะมีมากพระองค์ ด้วยกันดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การที่จะสันนิษฐานว่าพระเยาวราชพระองค์ใดเป็นผู้ทรงนิพนธ์วรรณคดีเรื่องใดจึงเป็นสิ่งที่ เกือบจะทําไปไม่ได้ ฐานันดรศักดิ์อีกชั้นหนึ่งซึ่งจะต้องกล่าวถึงไว้ในที่นี้ ก็คือฐานันดรศักดิ์ชั้น เจ้าฟ้า ในสมัยต้นและในสมัยกลาง แห่งกรุงศรีอยุธยานัน้ เข้าใจว่าเจ้าฟ้าคงจะเป็นตําแหน่งหน้าที่ มากกว่าเป็นฐานันดรศักดิ์ ต่อมาในสมัยปลายอยุธยาจนถึง ยุครัตนโกสินทร์ คําว่า เจ้าฟ้าจึงได้มคี วามหมายเป็นฐานันดร ศักดิข์ องพระราชโอรสธิดาซึง่ ประสูตแิ ต่พระมเหสี คําว่าเจ้า ฟ้านั้น ถ้าจะแปลตรงๆ ก็หมายถึงเจ้าหรือผู้ปกครองสิ่ง หนึ่งซึ่งเรียกว่า ฟ้า แต่คําว่าฟ้าในภาษาไทยดั้งเดิมหรือแม้ แต่ในภาษาไทยใหญ่ทกุ วันนีม้ ไิ ด้มคี วามหมายตรงกับคําว่าคํา ฟ้าที่ใช้กันอยู่ในภาษาไทยปัจจุบันอันหมายถึงชั้นเบื้องบน ของแผ่นดิน แต่หมายความถึงเขตแคว้นหรือรัฐ ส่วนฟ้าใน ความหมายปัจจุบันนั้นภาษาไทยแต่ก่อนเรียกว่า หาว พระ เจ้าแผ่นดินนัน้ บางครัง้ ก็เรียกกันว่า พระเจ้าหาว ดังปรากฏมี หลักฐานเหลืออยู่ในชื่อตึกพระเจ้าหาวหรือที่ เรียกเพี้ยนกัน ไปว่า “ตึกพระเจ้าเหา” ที่เมืองลพบุรี เพราะฉะนั้นคําว่า เจ้าฟ้าในสมัยต้นอยุธยาจึงแปลว่า ผู้ปกครองเขตแคว้นหรือ ผู้ปกครองเมืองเท่านั้นเอง คําว่า เจ้าฟ้า ในสมัยนั้นจึง มิได้หมายถึงความสูงต่ำแห่งฐานันดรศักดิ์ พระราชโอรส
สังคมไทย
๗
องค์ใดจะเป็นเจ้าฟ้าหรือไม่กส็ ดุ แล้วแต่วา่ พระราชโอรสพระ องค์นั้นจะได้ครองเมืองที่เรียกกันว่าลูกหลวงหรือไม่เท่านั้น เมื อ งลู ก หลวงในสมั ย อยุ ธ ยานั้ นก็ มิ ได้ มีกําหนดแน่นอน พระมหากษัตริยอ์ าจทรงเห็นสมควรทีจ่ ะส่งลูกหลวงไปครอง เมืองใดเมืองหนึ่งก็ได้แล้วแต่สถานการณ์และความจําเป็น และพระราชโอรสที่จะไปทรงครองเมืองลูกหลวงนั้นอาจ เป็นได้ตั้งแต่พระมหาอุปราช ลูกหลวงเอก ลูกหลวง จน ถึงชัน้ พระเยาวราช เมือ่ ได้ครองเมืองแล้วก็ทรงอยูใ่ นตําแหน่ง เจ้าฟ้า ความจริงฐานันดรเจ้าฟ้านั้นยังขาดความแน่นอนมา จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทัง้ นีเ้ พราะ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเป็นเจ้าฟ้าตั้ง แต่สมเด็จพระบรมชนกนาถยังมิได้เสวยราชสมบัติ พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดเกล้าฯ ให้พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นเจ้าฟ้าตั้งแต่แรกประสูติ ด้วยเหตุผลตามพระราชดํารัสว่า “เมื่อพ่อก็เป็นเจ้าฟ้า แม่ก็ เป็นเจ้าฟ้า ลูกก็ต้องเป็นเจ้าฟ้า” โอรสธิดาของพระราชโอรสแห่งพระมหากษัตริย์ สมัยอยุธยานั้นคงจะเป็นหม่อมเจ้าทั้งสิ้น แต่บุตรหม่อม เจ้านั้นจะได้เป็นหม่อมราชวงศ์หรือไม่ และจะได้ลดหลั่นลง ไปจนถึงชั้นหม่อมหลวงหรือไม่เป็นเรื่องที่น่าสงสัยอยู่เพราะ ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ผู้ที่เป็นบุตรหลานหม่อมเจ้านั้น คงจะมีผยู้ กย่องใช้คาํ ว่า หม่อมนําหน้านามโดยทัว่ ไป แต่ถา้ หากว่ามีความดีความชอบในราชการก็คงจะได้แต่งตั้งขึ้น เป็นเจ้าอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เจ้าราชนิกุล เจ้านายในพระราชวงศ์นั้นทรงมีศักดินามาตั้งแต่แรกประสูติทั้งสิ้น ศักดินาของพระราชวงศ์นั้นเพิ่มขึ้นและลดลงได้ตามความชอบ และความผิดทีม่ ตี อ่ แผ่นดิน แต่ศกั ดินาทีม่ มี าแต่แรกประสูติ นั้น ถ้าจะถือตามเกณฑ์ที่ใช้กันอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ ชั้น เจ้าฟ้าทรงศักดินาตั้งแต่ ๑๕,๐๐๐ ไร่ไปถึง ๒๐,๐๐๐ ไร่ ชั้นพระองค์เจ้าตั้งแต่ ๑,๕๐๐ ไร่ไปถึง ๗,๐๐๐ ไร่ หม่อม เจ้ามีศักดินา ๑,๕๐๐ ไร่ หม่อมราชวงศ์มีศักดินา ๕๐๐ ไร่ และหม่อมหลวงมีศักดินา ๒๐๐ ไร่
ระบอบศั กดินา เมื่อได้พูดถึงระบอบศักดินาขึ้นมาแล้ว ในที่นี้ก็จํา เป็นจะต้องพูดถึงระบอบนัน้ ต่อไป เพราะระบอบศักดินาเป็น ระบอบสังคมสมัยอยุธยาโดยแท้จริง และได้ใช้ตดิ ต่อกันลง มาในประเทศไทยเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี ระบอบสังคม แห่งกรุงศรีอยุธยาซึ่งพอจะเรียกได้ว่าระบอบศักดินานั้น เป็นของที่เกิดขึ้นและมีอยู่ร่วมสมัยกับระบอบฟิวดัลของฝรั่ง แต่ถึงจะร่วมกาละกันก็ห่างไกลกันอยู่มากที่เทศะ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีความแตกต่างกันอยู่มากเป็นธรรมดา ระบอบฟิวดัล ของฝรั่ ง นั้ นถื อ เอาที่ ดิ น เป็ น เกณฑ์ ใ นการกํ า หนดความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆ ในสังคม ส่วนระบอบศักดินา ของไทยนั้ นถื อ เอาศั ก ดิ์ ข องคนเป็ น เกณฑ์ แต่ อ ย่ า งเดี ย ว มีข้อน่าสังเกต อยู่ ว่ า การวั ด ศั ก ดิ์ ห รื อ ศั ก ดิ น าของคนใน
๘
ภูมิหลัง
ประเทศไทยนั้นใช้มาตราวัดที่ดิน คือ ไร่ เป็นเครื่องวัด ทัง้ นีท้ าํ ให้นา่ คิดไปว่าระบอบศักดินาของไทยนัน้ ในระยะเริม่ อาจเกี่ยวกับการถือที่ดินเป็นสําคัญเช่นเดียวกับระบอบฟิวดัล ของฝรั่ ง แต่ ถ้ า หากจะพิ จ ารณาตามข้ อ เท็ จ จริ ง แล้ ว ไม่ ปรากฏว่าได้เคยมีการถือที่ดินกันตามศักดินา เพราะฉะนั้น ถ้าจะคิดอีกทางหนึ่งแล้วก็น่าจะคิดได้ว่าสังคมเมืองไทย นัน้ เป็นสังคมกสิกรรม เมือ่ ถึงคราวทีจ่ ะต้องวัดศักดิข์ องคน ผูท้ เี่ ริม่ คิดจะวัดศักดิข์ องคนนัน้ อาจนึกถึงมาตราวัดทีด่ นิ ได้ ก่อนสิ่งอื่นก็ได้ หรือมิฉะนั้นคําว่าศักดินานั้นเองอาจแปล แต่เพียงว่านาแห่งศักดิก์ ไ็ ด้ เพือ่ ให้เห็นแตกต่างกับนาทีเ่ ป็น เนือ้ ทีด่ นิ สําหรับปลูกข้าวหรือประกอบการกสิกรรมอย่างอืน่ เพราะศักดิ์ของคนในสมัยอยุธยานั้นอาจเกิดดอกออกผล งอกเงยขึ้นก็ได้ หรืออาจไม่เกิดดอกออกผลและลดน้อย ลงไปกว่าเดิมก็ได้ สุดแล้วแต่การกระทําของผู้มีศักดินา แต่ละคน อย่างไรก็ตาม คนในสังคมสมัยอยุธยาทุกคนต้องมี ศักดินามากน้อยตามแต่ตําแหน่งหน้าที่ในราชการแผ่นดิน หรือตามแต่อาชีพ เช่นเป็นไพร่หลวงก็มีศักดินา ๒๕ ไร่ เป็น ไพร่ราบก็มีศักดินา ๒๐ ไร่ แม้แต่บุคคลซึ่งมีอาชีพอื่นแต่ สังกัดกรมกองของราชการก็มีศักดินาเช่นเดียวกัน เช่น เป็น นายโรงละคอนก็มีศักดินา ๓๐ ไร่ หรือ ๔๐ ไร่ หากไม่ รู้จักทํามาหากิน ต้องยากจนลงไป ถึงต้องเป็นยาจกเข็ญใจ ขอทานเขากิน ศักดินานัน้ เองก็ลดลงไปเหลือแต่เพียง ๗ ไร่ หรือ ถ้าหากว่าเป็นหนีส้ นิ ล้นพ้นตัวจนต้องทําให้ตวั เองตกไป เป็นทาสของผู้อื่นศักดินาก็คงเหลือเพียง ๕ ไร่ การที่บุคคลซึ่งมิได้รับราชการมีศักดินาเช่นเดียว กับผูท้ ร่ี บั ราชการนัน้ อาจเป็นทีม่ าของคําว่า “เชลยศักดิ”์ ใน ภาษาไทยปัจจุบันนี้ได้ ซึ่งหมายถึงอาชีพที่มิได้เกี่ยวข้องกับ ทางราชการ เช่น “แพทย์เชลยศักดิ์” อันหมายถึงแพทย์ซึ่ง ประกอบอาชีพของตนอิสระมิได้เป็น “แพทย์หลวง” คําว่า เชลยศักดิน์ น้ั หมายความว่ามีศกั ดิเ์ ยีย่ งเชลยคือไม่มศี กั ดินา เลย เพราะเชลยศึกที่ถูกจับให้เข้ามาอยู่ในประเทศนั้น ไม่ต้องสังกัดกรมกอง เห็นจะเป็นเพราะไม่ไว้วางใจ จึง ประกอบอาชีพได้เป็นอิสระไม่ต้องถูกเกณฑ์เข้ามารับราชการ ศักดินาของคนในสมัยอยุธยานั้นเพิ่มขึ้นได้ด้วยการ ทําความดีความชอบในราชการหรือในการประกอบอาชีพ ที่มีความสําคัญต่อสังคมมากขึ้นไป แต่ข้อสําคัญนั้นก็คือ ศักดินาที่ทุกคนมีประจําตัวอยู่นั้นเป็นเครื่องกําหนดสิทธิ์ และหน้าที่ในสังคมอย่างแน่นอน บุคคลใดจะมีสิทธิ์หรือ มีหน้าที่ในสังคมมากน้อยอย่างไร ก็มีศักดินาของบุคคล นั้นเองเป็นเครื่องกําหนด
รูป ๒ นั่งวอ จากจิตรกรรมฝาผนัง สมัยรัชกาลที่ ๓ (๒๓๖๗-๒๓๙๔) วัดสุวรรณาราม ธนบุรี ภาพถ่าย ทรงยศ แววหงษ์
๒
“ชนชั ้น” ในสังคมสมัยอยุธยา ในสังคมสมัยอยุธยาที่กล่าวถึงนี้มีการแบ่งคนใน สังคมออกเป็นสองชั้น ผู้ที่มีศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ไร่ขึ้นไป เรียกว่า ผู้ดี ส่วนที่มีศักดินาต่ำกว่านั้นถือว่าเป็นไพร่ แต่ใน ที่นี้ก็จะต้องคํานึงถึงข้อสังเกตซึ่งได้ตั้งไว้แล้วแต่แรกเริ่ม ว่าสังคมอยุธยานั้นเป็นสังคมที่มีความเคลื่อนไหว มิใช่แน่ นอนตายตัวอย่างสังคมในประเทศอืน่ ๆ เพราะฉะนัน้ ผูท้ เ่ี ป็น ไพร่นั้นจึงใช่ว่าจะต้องเป็นไพร่ตลอดไปจนกว่าจะสิ้นอายุ ของตน หากเป็นผูท้ ม่ี คี วามสามารถในการประกอบการงาน และมีสติปญ ั ญาแล้วก็จะได้เพิม่ ศักดินาขึน้ ไปเรือ่ ยๆ จนเป็น ชนชั้นผู้ดีไปในที่สุด ส่วนผู้ที่เป็นผู้ดีอยู่แล้วนั้นก็ใช่ว่าจะเป็น ผู้ดีไปได้จนตาย หากประพฤติตนผิดพลาดหรือไม่เจริญใน หน้าที่การงานก็อาจถูกลดศักดินาลงไปเป็นไพร่ได้ในที่สุด เช่นเดียวกัน ผู้ที่เป็นผู้ดีมีศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ไร่ขึ้นไปนั้นมีสิทธิ์ ต่างๆ บางประการเหนือผู้ที่มีศักดินาต่ำกว่านั้น เช่นตนเอง และบุคคลในครอบครัวไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปใช้งานในราชการ ในฐานะทีเ่ รียกกันว่า เลก นอกจากนัน้ เมือ่ ผูด้ เี กิดมีคดีความ ถึงโรงศาลก็ไม่ต้องไปศาลด้วยตนเองเว้นแต่ในกรณีที่คดี ความนัน้ เป็นอาญาแผ่นดินซึง่ ผูด้ ถี กู กล่าวหาว่าเป็นกบฏ แต่ ในคดีธรรมดาสามัญนั้นผู้ดีมีสิทธิ์ท่ีจะส่งผู้แทนไปว่าความ แทนตนในโรงศาลได้ ว่าโดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีศักดินาสูงหรือ ผู้ดีนั้นก็จะต้องมีบุคคลที่เรียกกันว่า ทนายเอาไว้ใช้สอยกิจ การส่วนตัว และในบรรดาทนายเหล่านีก้ จ็ ะต้องมีคนทีม่ คี วาม รูก้ ฎหมายและมีความชํานาญในการว่าความเอาไว้ใช้เป็นผูแ้ ทน ตนไปว่าความในโรงศาลเมื่อเกิดคดีขึ้น เป็นต้นเหตุให้เกิด มีศัพท์ในภาษาไทยว่า “ทนายความ” มาจนบัดนี้
อย่างไรก็ตาม ในระบบสังคมที่แบ่งคนออกเป็นผู้ดี และไพร่นน้ั ความไม่เท่าเทียมในโอกาสทีจ่ ะทําให้ตนดีขน้ึ จาก ฐานะเดิมก็ย่อมจะต้องมีอยู่มากเป็นธรรมดา ไพร่ที่จะรับ ราชการจนได้มีศักดินาสูงนั้นคงจะมีน้อยคน เพราะไพร่มี มากกว่าผู้ดีและขาดพื้นฐานที่จะได้รับราชการตําแหน่งสูง ขึน้ ไป ส่วนผูด้ นี น้ั มีจาํ นวนน้อย เป็นลูกเจ้านายหรือข้าราชการ ผู้ใหญ่ ย่อมจะมีโอกาสที่จะเข้ารับราชการตําแหน่งสูงและ เลื่อนศักดินาให้สูงขึ้นไปได้มากกว่า ยิ่งกว่านั้นคนที่เป็นผู้ดี คือมีศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ไร่ขึ้นไป มีสิทธิ์ที่จะเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทได้ในขณะที่เสด็จออกขุนนาง ซึ่งทําให้ผู้ดี อยู่ใกล้แหล่งอํานาจที่จะอํานวยตําแหน่งฐานะอันสูงได้มาก ที่สุด โอกาสของผู้ดีก็ย่อมจะมีมากยิ่งขึ้นไปอีก
ขุนนาง
ชนชั้นที่อยู่ระหว่างพระราชวงศ์และราษฎรทั่วไปนั้น ก็ได้แก่ขนุ นางซึง่ จะได้กล่าวถึงต่อไป ขุนนางหรือข้าราชการใน สมัยอยุธยานั้นมีฐานะตั้งอยู่บนหลักเกณฑ์ ๓ ประการ คือ ศักดินา ยศหรือบรรดาศักดิ์ และตําแหน่ง ขุนนางชั้นสัญญาบัตรคือขุนนางซึ่งพระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงแต่งตั้งด้วย พระองค์เองนัน้ มีศกั ดินาตัง้ แต่ ๔๐๐ ไร่ขน้ึ ไปถึง ๑๐,๐๐๐ ไร่ ผู้ที่มีศักดินาต่ำกว่า ๔๐๐ ไร่ลงไปนั้นเป็นข้าราชการชั้นประทวน ได้รับการแต่งตั้งจากขุนนางผู้บังคับบัญชาของตนจึง ไม่มีสัญญาบัตร ขุนนางชั้นต่ำเหล่านี้มีจํานวนมากและไม่มี สิทธิ์พิเศษเหนือราษฎรสามัญอย่างไรนัก มีภาระที่จะต้อง ถูกเกณฑ์ไปรับราชการและต้องเข้าเวรเช่นเดียวกับไพร่หลวง
สังคมไทย
๙
โดยทัว่ ไป เมือ่ ออกเวรแล้วก็มาทํามาหากินเช่นเดียวกับราษฎร ทัว่ ไป ภรรยาของข้าราชการสัญญาบัตรนัน้ ต้องถือน้ำพิพฒ ั น์ สัตยาเช่นเดียวกับสามี ภรรยาข้าราชการจึงเป็นบุคคลที่มี ศักดินาซึง่ ทางราชการกําหนดให้โดยคํานวณจากศักดินาของ สามี และฐานะของภรรยานัน้ เอกภรรยาผูซ้ ง่ึ ได้ทาํ การสมรส กับสามีหรือภรรยาซึ่งพระมหากษัตริย์ได้พระราชทานมาให้ แก่ผ้ทู ่เี ป็นสามีน้นั มีศักดินากึ่งหนึ่งของศักดินาแห่งสามีของ ตน อนุภรรยามีศกั ดินากึง่ หนึง่ ของเอกภรรยา และทาสภรรยา ซึ่งมีบุตรนั้นมีศักดินากึ่งหนึ่งของอนุภรรยา ยศหรือบรรดาศักดิ์ของขุนนางในสมัยอยุธยาตอน ต้นนั้นเข้าใจว่าจะมีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยาหรือออกญาเป็น ชั้นสูงสุด ต่อจากนั้นก็มียศและบรรดาศักดิ์ลดหลั่นกันลง ไปตามลําดับดังต่อไปนี้ เจ้าหมื่น พระ จมื่น หลวง ขุน จ่า หมื่น และพัน บรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยาและสมเด็จเจ้า พระยานั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังในสมัยตอนท้ายกรุงศรี อยุธยา ส่วนยศเจ้าหมื่น จมื่นและจ่านั้นเป็นยศที่ใช้อยู่ใน กรมมหาดเล็กเท่านั้น ตําแหน่งข้าราชการสมัยอยุธยานั้นได้แก่อัครมหา เสนาบดี เสนาบดี จางวาง เจ้ากรม ปลัดกรม และ สมุห์บัญชี ตามทําเนียบข้าราชการทหารและพลเรือน ซึ่ง กําหนดขึน้ ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนัน้ ข้าราชการแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ด้วยเหตุนี้อัครมหาเสนาบดีจึงมีอยู่สองตําแหน่ง ได้แก่ สมุหพระกลาโหมผู้ซ่งึ เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารหนึ่ง และสมุหนายกซึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนหนึ่ง การแบ่งอัครมหาเสนาบดีออกเป็นสองตําแหน่งนีถ้ า้ คิดดูให้ ดีแล้วจะเห็นว่าแยบคายอยู่ เพราะดูเหมือนจะเป็นทางเดียว ที่จะเปิดโอกาสให้พลเรือนได้เป็นอัครมหาเสนาบดีกับเขาได้ บ้าง รองจากตําแหน่งอัครมหาเสนาบดีลงมาก็คือตําแหน่ง เสนาบดี ซึ่งมีอยู่ ๔ เรียกว่า จตุสดมภ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับ เวียง วัง คลัง นา คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา ผู้ที่ดํารงตําแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีนั้น มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาในสมัยแรกเริ่ม แต่ต่อมามีบรรดา ศักดิ์ชั้นเจ้าพระยาทั้งสิ้น ส่วนผู้ที่ดํารงตําแหน่งอื่นตั้งแต่ จางวาง เจ้ากรม ปลัดกรม ลงมาจนถึงสมุห์บัญชีนั้นมี บรรดาศักดิ์เป็นพระยาบ้าง พระบ้าง จนถึงหลวง ขุน ตามความสําคัญของตําแหน่งที่ตนดํารงอยู่ ขุนนางในสมัยอยุธยานั้นต้องมีราชทินนามประกอบ กับบรรดาศักดิ์เสมอไป แต่ราชทินนามนั้นมีวัตถุประสงค์ อันแท้จริงที่จะบอกตําแหน่งหน้าที่ราชการของเจ้าของราช ทินนามให้คนอื่นได้รู้ เช่นเจ้าพระยาจักรีนั้นเป็นบรรดาศักดิ์ และราชทิ นนามของอั ค รมหาเสนาบดี ฝ่ า ยพลเรื อ นคื อ สมุหนายก พระยายมราชนั้นเป็นบรรดาศักดิ์และราชทินนามของเสนาบดีที่ว่ากรมเมือง และพระยาพลเทพก็เป็น บรรดาศักดิแ์ ละราชทินนามของเสนาบดีทว่ี า่ กรมนา บรรดา ศักดิจ์ งึ เป็นเครือ่ งบอกตําแหน่งหน้าทีเ่ สมอไปในสมัยอยุธยา
๑๐
ภูมิหลัง
เช่นเมื่อมีผู้เอ่ยถึงพระยาอมรวิสัยสรเดช ก็มีผู้เข้าใจทันที ว่าท่านผูน้ น้ั เป็นเจ้ากรมทหารปืนใหญ่จะดํารงอยูใ่ นตําแหน่ง อื่นไม่ได้ ทําเนียบข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนของกรุง ศรีอยุธยานั้นกําหนดราชทินนามไว้ประจําตําแหน่งหน้าที่ ราชการทุกตําแหน่ง เมื่อผู้ใดพ้นจากตําแหน่งเดิมไปรับตํา แหน่งใหม่ก็ต้องเปลี่ยนราชทินนามตามไปด้วย ระเบียบนี ้ ใช้ตลอดไปทั้งราชการในกรุงและราชการหัวเมืองและมีผล ทางใจอย่างหนึ่งเกิดขึ้น กล่าวคือ ทําให้บุคคลนั้นละลาย หายไปในราชการโดยสิ้นเชิง เมื่อบุคคลได้เข้ามารับราช การแล้วชื่อเสียงส่วนตัวของตนก็หมดสิ้นไป คงเหลือแต่ บรรดาศักดิ์และราชทินนามอันเป็นของที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ตามโชคชะตาของตนในราชการ ทําให้ราชการและผล ประโยชน์ของราชการนั้นมีความสําคัญเหนือบุคคลและ เหนือเรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลโดยตลอด เนื่องจากระเบียบที่มีอยู่ในสมัยอยุธยาเช่นนี้ ขุน นางผูใ้ ดทีอ่ อกจากราชการจึงมิได้สญ ู เสียแต่ตาํ แหน่งเท่านัน้ แต่จะต้องสูญเสียศักดินา ยศบรรดาศักดิ์และราชทินนาม อีกด้วย นอกจากจะได้มีพระมหากรุณาเป็นพิเศษอนุญาต ให้ขา้ ราชการนัน้ รักษาสิง่ ต่างๆ เหล่านัน้ ไว้ตอ่ ไปได้ หรือมิฉะนั้นก็จะมีพระมหากรุณายกข้าราชการนั้นๆ ออกไปจาก ตําแหน่งบริหารให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาหรือตำแหน่ง กิตติมศักดิค์ อื ตําแหน่งจางวาง โดยให้มศี กั ดินาเหลืออยู่แต่ เปลี่ยนราชทินนามไปเป็นอย่างอื่น ด้วยเหตุทก่ี ารออกจากราชการนัน้ ทําให้ขนุ นางต้อง สูญเสียทุกอย่างทีต่ นเห็นว่าเป็นความดีความเจริญ ผลทีเ่ กิด ขึ้นก็จะต้องเป็นธรรมดาคือไม่มีขุนนางผู้ใดที่ต้องการจะ ออกจากตําแหน่ง ส่วนมากก็พยายามอยูใ่ นตําแหน่งต่อไป จนกว่าจะสิ้นอายุตน จะออกก็ต่อเมื่อถูกถอดหรือถูกไล่ออก เท่านั้น ระเบียบราชการของกรุงศรีอยุธยาที่ได้กล่าวถึงนี้ ทําให้เกิดผลทางใจเช่นนีแ้ ก่ขนุ นางโดยทัว่ ไป ในปัจจุบนั นีถ้ งึ แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะได้เสียไปเป็นเวลากว่า ๒๐๐ ปี สังคม ก็ได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างที่เปรียบกันไม่ได้ ตลอดจนระเบียบ ราชการต่างๆ ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วโดยสิ้นเชิง แต่ถึง อย่างนัน้ สภาพจิตใจของขุนนางไทยในสมัยปัจจุบนั ก็ดเู หมือน จะยังอยู่ในระดับเดียวกับสมัยอยุธยานั้นเอง เป็นลักษณะ ไทยอย่างหนึ่งที่ยังแลเห็นได้ในสังคมไทยในยุคปัจจุบันนี้
ไพร่ หรือ ไพร่ฟ้า
ชนส่วนใหญ่ในสังคมอยุธยานั้นเรียกว่าไพร่ฟ้า หรือ ไพร่ ซึ่งในสมัยสุโขทัยดูเหมือนจะหมายความถึงพลเมือง ทีเ่ ป็นสามัญชนโดยทัว่ ไป แต่ความหมายของคําว่าไพร่ในสังคม ไทยสมัยอยุธยาได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย จากความ หมายของคําว่าไพร่สมัยสุโขทัย เพราะระบบการปกครอง ของอยุธยาเป็นการปกครองแห่งอํานาจ ด้วยอํานาจ และ เพื่ออํานาจ และอํานาจนั้นก็คืออํานาจเหนือคนทั้งปวง ใน การที่จะมีอํานาจเหนือคนทั้งปวงนั้น ถ้าหากไม่มีการรวมคน เข้าเป็นหมวดกองก็จะไม่สามารถควบคุมคนให้อยู่ใต้อํานาจ ได้สะดวกนัก ผู้ปกครองกรุงศรีอยุธยาจึงรวมคนเข้าเป็น หมวดกองเหมือนกับว่าเป็นกองทัพทัง้ ประเทศ และแต่งตั้ง ให้มีผู้บังคับบัญชาคอยดูแลคนที่รวบรวมไว้ได้นั้นให้อยู่ใต้ อํานาจตลอดไป ดูจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัยแล้วทําให้เกิดความคิด ขึ้นว่าไพร่ในเมืองสุโขทัยนั้นมีสิทธิเสรีภาพมาก ไม่ต้องอยู่ ใต้ความควบคุมของผู้มีอํานาจอย่างเข้มงวดและเคร่งครัด แต่เมื่อมาดูหลักฐานจากกรุงศรีอยุธยาเช่นกฎหมายต่างๆ แล้ว ก็จะเห็นได้ว่าไพร่ทุกคนมีผู้บังคับบัญชาคอยควบคุม ปกครอง เรียกว่าหัวหมู่บ้างและอื่นๆ บ้าง รับผิดชอบต่อ ผูท้ ม่ี อี าํ นาจเหนือขึน้ ไป ซึง่ รับผิดชอบต่อองค์พระมหากษัตริย์ เป็นขั้นสุดท้าย การกําหนดสังคมให้อยู่ในแบบนี้จําเป็นต้อง กําหนดฐานะและหน้าที่ของคนให้แน่นอน ให้วัดได้ออกมา เป็นตัวเลขซึ่งไม่มีปัญหา จึงต้องกําหนดให้ทุกคนมีศักดินา ซึง่ วัดออกได้เป็นไร่ สูงต่ำกว่ากันเพื่อแสดงให้เห็นว่าใครสูง ต่ำกว่าใครในฐานะและหน้าที่บังคับบัญชา ด้วยเหตุนี้ไพร่ จึงได้เปลีย่ นไปจากสมัยสุโขทัย คือได้รวมตัวเข้าเป็นหมูเ่ ป็น กอง คนที่อยู่ในหมู่เรียกว่าลูกหมู่ มีหัวหน้าหมู่เป็นผู้บังคับ บัญชา หมู่คนเหล่านี้รวมกันเป็นแขวง มีคนตําแหน่งปลัดร้อยเป็นหัวหน้า และหลายแขวงมารวมกันเป็นหัวปาก มี นายร้อยเป็นหัวหน้า ศาสตราจารย์พเิ ศษขจร สุขพานิชได้เขียนถึงศักดินา ของไพร่ต่างๆ ในสมัยขั้นเริ่มแรกไว้ว่า “ไพร่เลว (คือลูกหมู่อายุ ๑๒ ปีลงมา) นา ๑๐ ไพร่ราบ (คือลูกหมู่อายุ ๑๓-๑๗ ปี) นา ๑๕ ไพร่มีครัว (ลูกหมู่ที่มีครอบครัวแล้ว) นา ๒๐ ส่วนพวกหัวหมู่นั้นอาจแบ่งแยกตามความสําคัญ หลายขั้นด้วยกัน เช่น ไพร่หัวงาน นา ๒๕ แล้วจึงถึง หัวสิบ นา ๓๐ ส่วนหัวหมูท่ ใ่ี หญ่โตขึน้ ไปก็มี ปลัดร้อย นา ๑๐๐ และ นายร้อย นา ๒๐๐ พวกทัง้ หลายทัง้ ปวงเหล่านีค้ งจะขึน้ กับขุนหมูผ่ ใู้ หญ่ เช่น ขุน จํานงบุรี นา ๔๐๐ ขุนแผ้วภูวดล นา ๔๐๐ ขุนโลกบาล นา ๕๐๐ ขุนโภชนาการ นา ๔๐๐ ขุนเทพโกษา นา ๖๐๐ ขุนไกรรักษา นา ๖๐๐ ขุนรักษาสมบัติ นา ๘๐๐ ขุนพิบลู สมบัตนิ า ๖๐๐”
เรื่องชนิดและประเภทของไพร่นี้ในชั้นหลังต่อมา ปรากฏแต่เพียงไพร่หลวง ไพร่สม และไพร่ส่วย ส่วนคําว่า เลกหรือเลขนั้น ดูจะใช้ทั่วไปให้หมายถึงไพร่หลวงหรือไพร่ สมหรือไพร่ส่วยก็ได้ ลักษณะของไพร่สามประเภทนี้ สมเด็จฯ กรมพระยา ดํารงราชานุภาพได้ทรงแสดงไว้ในปาฐกถาเรื่องลักษณะ การปกครองประเทศสยามแต่โบราณ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ว่า “หลักแห่งวิธีการปกครองของไทยแท้จริงมีความ ๒ ข้อนี้เป็นสําคัญ คือพระราชอาญาสิทธิ์ของพระเจ้าแผ่น ดินข้อ ๑ กับการที่บังคับให้บรรดาชายฉกรรจ์มีหน้าที่ต้อง เป็นทหารสําหรับช่วยรักษาบ้านเมืองอีกข้อ ๑ ใช้คําว่า “ทําราชการ” แปลว่าการของพระเจ้าแผ่นดิน เพราะเหตุที่ พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงอาญาสิทธิ์เป็นประมุขแห่งการรักษา บ้านเมือง หน้าที่อันนี้ถือว่ามีทั่วกันหมดทุกชั้นบรรดาศักดิ์ ผิดกันแต่ที่ให้ทําการต่างกันตามความสามารถของบุคคล ต่างชั้นต่างจําพวก เพื่อให้ได้ผลดีอย่างยิ่งแก่บ้านเมือง ถ้า ว่าแต่โดยส่วนชายฉกรรจ์ที่เป็นไพร่พลเมืองนั้น มีหน้าที่ดัง จะกล่าวโดยสังเขปต่อไปนี้ คือ ๑. เมือ่ มีอายุได้ ๑๘ ปีตอ้ งเข้าทะเบียนเป็น “ไพร่สม” ให้มูลนายฝึกหัดและใช้สอย (จะมีกําหนดกี่ปียังค้นหาหลัก ฐานไม่พบ เพราะชั้นหลังมากลายเป็นอยู่ตลอดอายุของนาย ไปเสีย ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่าเดิมจะมีกําหนด ๒ ปี) ครั้น อายุได้ ๒๐ ปี (ปลดจากไพร่สม) ไปเป็น “ไพร่หลวง” มี หน้าที่รับราชการแผ่นดิน ผู้อื่นจะเอาไปใช้สอยไม่ได้ อยู่ใน เขตรับราชการไปจนอายุได้ ๖๐ ปีจงึ ปลดด้วยเหตุชราหรือ มิฉะนัน้ แม้ยังอายุไม่ถึง ๖๐ ปี ถ้ามีบุตรส่งเข้ารับราชการ ๓ คนก็ปลดบิดาให้พ้นจากราชการเหมือนกัน ๒. ชายฉกรรจ์ทุกคนต้องเข้าสังกัดอยู่ในกรมใดกรม หนึง่ จะลอยตัวอยูไ่ ม่ได้ ลูกหลานเหลนซึง่ สืบสกุลก็ตอ้ งอยู่ ในกรมนั้นเหมือนกัน จะย้ายกรมได้ต่อได้รับอนุญาตเพราะ เหตุนี้ถ้าสังกัดกรมในราชธานี ไพร่กรมนั้นก็ต้องตั้งถิ่นฐาน อยู่ในวงหัวเมืองราชธานี ถ้าเป็นไพร่คงเมืองชั้นนอกเมือง ไหนก็ต้องอยู่ในแขวงเมืองนั้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในเวลามี การศึ ก สงครามเกิ ด ขึ้ นจะได้ เรี ย กระดมคนได้ ทั นท่ ว งที รวมคนในวงราชธานีเป็นกองทัพหลวง และรวมคนในเมือง ชั้นนอกเป็นเมืองและกองพล หรืออย่างอื่นตามกําลัง ของเมืองนั้นๆ ๓. ในเวลาปรกติไพร่หลวงในวงราชธานีต้องเข้ามา ประจําราชการปีละ ๖ เดือน ได้อยูว่ า่ งปีละ ๖ เดือน กําหนด เวลามาประจําราชการเช่นว่านี้เรียกว่า “เข้าเวร” ต้องเอา เสบียงของตนมากินเองด้วย เมือ่ ถึงสมัยกรุงธนบุรลี ดเวลา เวรลงคงแต่ ๔ เดือน ครั้นต่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ลดลงอีกเดือนหนึ่ง คงต้องมาเข้าเวรประจําราชการแต่ปี ละ ๓ เดือน
สังคมไทย
๑๑
มีความข้อหนึง่ เนือ่ งต่อการทีช่ ายฉกรรจ์ตอ้ งมาเข้า เวรดังกล่าวมา ซึ่งคนทั้งหลายยังไม่รู้หรือเข้าใจผิดอยู่โดย มาก ควรจะกล่าวอธิบายแทรกลงตรงนี้ คือเมือ่ ตอนกลาง สมัยกรุงศรีอยุธยารัฐบาลต้องการตัวเงินใช้จา่ ยยิง่ กว่าได้ตวั คนมาเข้าเวร จึงยอมอนุญาตให้ไพร่ซึ่งไม่ปรารถนาจะเข้า เวรเสียเงิน “ค่าราชการ” เหมือนอย่างจ้างคนแทนตัวได้ เมือ่ มาถึงรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ ค่าราชการต้องเสีย ปีละ ๑๘ บาท มีผู้สมัครเสียเงินค่าราชการแทนเข้าเวรเป็น พื้น ครั้นถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อตั้งพระราชบัญญัติลักษณะ เกณฑ์ทหารแล้ว โปรดให้ผู้ซึ่งไม่ต้องถูกเกณฑ์เป็นทหารคง เสียเงินค่าราชการแต่ปีละ ๖ บาท เท่ากับมีหน้าที่ต้องเข้า เวรรับราชการปีละเดือนหนึ่ง ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงแก้ไขให้เรียกว่า “รัชชูปการ” และโปรดให้พวกชายฉกรรจ์ซึ่งเคยได้รับความยกเว้น ด้วยปราศจากเหตุอันสมควรต้องเสียด้วย แม้ที่สุดจนพระ องค์เองก็ทรงยอมเสียค่ารัชชูปการปีละ ๖ บาท เหมือน กับคนอื่นๆ เงินค่ารัชชูปการมิได้เป็นภาษีอากรที่ตั้งขึ้นใหม่ เป็นเรื่องแก้ไขลดหย่อนลงมาจากค่าราชการอันมีประเพณี เดิมดังแสดงมา จะกลับกล่าวถึงวิธีเกณฑ์ไพร่รับราชการตามประ เพณีโบราณต่อไป ส่วนหัวเมืองพระยามหานครนั้นในเวลา ปรกติไม่ต้องการตัวไพร่เข้ามาประจําราชการมากเหมือนที่ ในราชธานี รัฐบาลจึงคิดให้มีวิธีส่งส่วยแทนเข้าเวรเพราะ หัวเมืองเหล่านั้นมีป่าดงและภูเขาอันเป็นที่มีหรือที่เกิดสิ่ง ของต้องการใช้สําหรับราชการบ้านเมือง ยกตัวอย่างดัง ดินประสิวที่สําหรับทําดินปืน ต้องใช้มูลค้างคาวอันมีในถ้ำ ตามหัวเมือง และดีบุกสําหรับทํากระสุนปืนอันมีมากใน มณฑลภูเก็ต เป็นต้น จึงอนุญาตให้ไพร่ในท้องที่นั้นๆ หาสิ่ง ของซึ่งรัฐบาลต้องการใช้มาส่ง โดยกําหนดปีละเท่านั้นๆ แทนที่จะต้องมาเข้าเวรรับราชการ จึงเกิดมีวิธีเกณฑ์ส่วย ด้วยประการฉะนี้” ในปาฐกถานีส้ มเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพได้ ทรงบรรยายลักษณะและหน้าที่ของไพร่หลวง ไพร่สมและ ไพร่สว่ ยไว้อย่างชัดแจ้ง ไม่อาจจะมีทส่ี งสัยได้ เพราะสมเด็จฯ กรมพระยาพระองค์นน้ั ได้ประสูตแิ ละได้ทรงพระเจริญเติบ โตขึน้ มาในสมัยทีย่ งั มีไพร่หลวง ไพร่สมและไพร่สว่ ยอยู่ ได้ ทรงพบเห็นข้อเท็จจริงด้วยพระองค์เอง มิได้ทรงสันนิษฐาน หลักฐานอื่นๆ ในภายหลัง ซึ่งอาจไขว้เขวได้ ไพร่หลวงนั้นมีหน้าที่ต้องรับราชการของพระมหา กษัตริย์โดยไม่มีปัญหา และมีหน้าที่รับราชการตั้งแต่อายุ ๒๐ ปีไปจนอายุ ๖๐ ปีจึงปลดชรา หรือมีบุตรชายส่งเข้ารับ ราชการสามคนก็ให้ปลดบิดาพ้นจากราชการ ไพร่หลวงจึง เป็นคนที่ต้องเข้าสังกัดกรมใดกรมหนึ่งของทางราชการ หน้าทีส่ าํ คัญของไพร่หลวงก็คอื การฝึกการรบพุง่ เพือ่ ใช้เป็น ทหารในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม และเนื่องด้วยราชการของไทยในสมัยนัน้ ถึงแม้วา่ จะแยกกันเป็นฝ่ายทหารและ
๑๒
ภูมิหลัง
พลเรือนมาตั้งแต่แรกเริ่ม ทั้งทหารและพลเรือนก็ต้องทํา หน้าที่รบด้วยกันในยามศึกสงครามเพราะในสมัยอยุธยา นั้นมีการสงครามบ่อยครั้งและต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา นานๆ ไพร่หลวงที่สังกัดทั้งกรมทหารและพลเรือนจึงต้อง ฝึกอาวุธทั้งหมด แต่ในยามสันตินั้นก็คงจะได้ใช้ไพร่หลวง ในราชการอืน่ ๆ ในทางสันติ เช่นการก่อสร้างสถานทีส่ าธารณะ คือ ถนน สะพาน พระอารามหลวง ปราสาทราชวัง หรือ งานจร เช่น พระเมรุและพลับพลา เป็นต้น นอกจากนั้นก็ ต้องอยู่เวรยามในสถานที่สําคัญ หรือแห่แหนในการเสด็จ พระราชดําเนิน หรือเป็นฝีพายเรือหลวง และเรือพระที่นั่ง ตามแต่กรมกองที่เป็นต้นสังกัดจะถูกเกณฑ์มา ไพร่สมนั้นกฎหมายเก่าและประกาศต่างๆ ในสมัย ก่อนเรียกว่า “ไพร่สมกําลัง” หลายแห่ง คําว่าไพร่สมกําลัง นีห้ ากพิจารณาประกอบกับปาฐกถาของสมเด็จฯ กรมพระยา ดํารงราชานุภาพตอนทีไ่ ด้คดั มาลงไว้ขา้ งต้นข้อ ๑ ก็จะทําให้ เข้าใจลักษณะของไพร่สมดีขน้ึ การเกณฑ์ผชู้ ายอายุ ๑๘ ปี เข้ามาเป็นไพร่สมนั้นคือการสะสมกําลังคนเพื่อเอาไว้ใช้ใน ราชการต่อไป กล่าวคือเป็นการเสริมกําลังไพร่หลวงซึ่งจะ ต้องมีปลดชราหรือปลดพ้นราชการไปเรือ่ ยๆ ในขัน้ แรกเริม่ ไพร่สมหรือไพร่สมกําลังก็คงจะอยู่ในลักษณะนี้ มีมูลนาย เป็นผู้รับผิดชอบต่อองค์พระมหากษัตริย์ในอันที่จะสะสม กําลังไว้ และฝึกหัดให้ทําการงานหรือฝึกอาวุธเพื่อที่จะได้ เข้ารับราชการเมื่อถึงเวลาภายในเวลาสองปี คือระหว่าง อายุ ๑๘ ปีถึง ๒๐ ปี เมื่ออายุครบแล้วก็ปลดจากไพร่สมไป เป็นไพร่หลวงทีใ่ ช้การได้ทนั ที กรมต่างๆ ของราชการไม่ตอ้ ง เสียเวลาไปฝึกหัด คนทีเ่ รียกว่า “มูลนาย” มีไพร่สมอยูใ่ ต้บงั คับบัญชา นีไ้ ด้แก่ขา้ ราชการผูใ้ หญ่ทม่ี ศี กั ดินาสูงและพระบรมวงศานุวงศ์ ตามแต่พระมหากษัตริย์จะพระราชทานไพร่สมให้ การที่มี ตําแหน่งปกครองไพร่สมนี้ทําให้มูลนายได้ใช้สอยไพร่สม ให้เป็นประโยชน์แก่ตนได้ จึงเกิดเป็นผลประโยชน์ที่ต้อง พยายามรักษาไว้หรือต้องหวงแหน ผู้ใดมีไพร่สมอยู่กับตน มากก็ได้ประโยชน์มาก เพราะในสังคมไทยสมัยก่อนนัน้ ผูค้ น หรือตามที่ในสมัยนี้เรียกกันว่าแรงงานนั้นก่อให้เกิดประโยชน์ ได้ยิ่งกว่าทรัพย์สินอื่นๆ เช่นที่ดินหรือทุน ปัญหาที่เกิดขึ้น และเป็นปัญหาที่ทางราชการต้องพยายามแก้ไขตลอดมา จนเลิกระบบไพร่ในรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปัญ หานั้นก็คือผู้ที่เป็นมูลนายนั้นพยายามที่จะเก็บไพร่สมเอาไว้ กับตนหรือเป็นของตนจนตลอดชีวิตของผู้ที่เป็นมูลนาย ซึ่งมีผลทําให้ไพร่หลวงซึง่ สังกัดกรมราชการต่างๆ นัน้ มีนอ้ ย ลง เป็นผลเสียหายต่อทางราชการของพระมหากษัตริย์ ปัญหาที่ว่านี้จึงเป็นปัญหาเรื่องการขัดกันระหว่างผลประ- โยชน์ส่วนตัวของคนที่เป็นมูลนายกับผลประโยชน์ของทาง ราชการเป็นส่วนรวม การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วน ตัวและผลประโยชน์ส่วนรวมนี้เป็นปัญหาสังคมตามธรรม ชาติมีอยู่ทุกแห่งและทุกยุคทุกสมัย
ฐานะของสตรี
มีขอ้ ควรสังเกตอย่างหนึง่ ว่าการลงทะเบียนเป็นเลก หรือไพร่สมและไพร่หลวงนั้นมิได้จํากัดไว้แต่ผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงก็ต้องมีทะเบียนมีสังกัดว่าเป็นไพร่อยู่กับผู้ใดหรือสัง กัดกรมกองใด ทั้งที่ไม่ต้องถูกเกณฑ์เข้ารับราชการ ทั้งนี้ เพราะกฎหมายในสมัยนั้นเด็กที่เกิดมาทั้งหญิงและชายเมื่อ ครบอายุจะต้องขึ้นทะเบียนแล้วจะต้องขึ้นทะเบียนตามสัง กัดของมารดาตน ถ้าแม่เป็นไพร่หลวงก็เป็นไพร่หลวง ถ้า แม่เป็นไพร่สมก็ตอ้ งเข้าสังกัดของมารดาว่าเป็นไพร่สมสังกัด ที่ใดตามพระราชกฤษฎีกาที่ได้กําหนดไว้ ในสมัยอยุธยา ไพร่หรือทีเ่ รียกอีกอย่างหนึง่ ว่า “เลก” หรือ “เลข” นั้นต้องถูกเกณฑ์เข้ามาใช้งานปีละ ๖ เดือน เรียกว่า เข้าเดือนออกเดือน หมายความว่าต้องถูกเกณฑ์ เข้ามาอยู่เวรเดือนหนึ่งออกเวรกลับบ้านเดือนหนึ่งสลับกัน ไปจนครบปี การเกณฑ์ผู้ชายมาใช้ในราชการแบบนี้ทําให้ผู้ ชายไม่สามารถอยูบ่ า้ นได้ตลอดปี เป็นเหตุให้ผหู้ ญิงซึง่ มิตอ้ ง ถูกเกณฑ์นั้นต้องเข้ารับภารกิจการงานของครอบครัวไว้ทั้ง หมด เพราะถึงแม้ว่าผู้ชายจะต้องเข้าเวรเดือนหนึ่งและ ออกเวรเดือนสลับกันไป ผู้ชายก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะทําการ งานอันใดต่อเนือ่ งกันให้เกิดผลจริงจังได้ ยิง่ ในยามสงคราม ผูช้ ายทีต่ อ้ งเกณฑ์ไปรบพุง่ ก็จะต้องจากบ้านไปเป็นระยะเวลา นานๆ บางคนก็อาจล้มตายไม่ได้กลับมาเลย จึงเป็นหน้าที่ ของผู้หญิงที่จะต้องดูแลความเป็นอยู่ของครอบครัวด้วย การทํามาหากินแทนผู้ชายซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว ทําให้ผู้ หญิงมีสทิ ธิว์ า่ กล่าวกําหนดโชคชะตาของครอบครัวเท่าเทียม กับผู้ชายและมีสิทธิ์เท่าเทียมกับผู้ชายยิ่งกว่าสตรีในสังคม อืน่ ๆ ในยุคสมัยเดียวกัน และเป็นลักษณะไทยอีกอย่างหนึง่ ซึ่งสืบเนื่องลงมาถึงยุคปัจจุบัน ทําให้การออกกฎหมายให้ สิทธิ์สตรีในยุคนี้เป็นไปได้โดยราบรื่นไม่มีเสียงขัดแย้งจาก ขนบประเพณีหรือจากเพศตรงข้าม
กํ าเนิดของเศรษฐกิจเงินตรา ในสมัยกลางแห่งกรุงศรีอยุธยานั้นได้เกิดประเพณี ใหม่ขน้ึ อีกอย่างหนึง่ คือทางราชการอนุญาตให้คนทีเ่ ป็นไพร่ หรือเลกเสียเงินจํานวนหนึ่งให้แก่ทางราชการเพื่อจ้างคน มาทําหน้าที่แทนตนเมื่อตนไม่สามารถจะเข้าเวรได้ด้วยเหตุ หนึ่งเหตุใดก็ตาม ส่วนไพร่ส่วยนั้นถ้าไม่สามารถส่งของให้ แก่ทางราชการตามที่ได้กําหนดไว้ได้ก็ให้เสียเงินแทนของที่ จะต้องส่งนั้น เงินนั้นเรียกว่าเงินค่าราชการและมีอัตราที่ ต้องเสียแตกต่างกันไปตามยุคตามสมัย การเสียเงินค่าราชการนี้เป็นการเริ่มยุคเศรษฐกิจ เงินตราขึ้นในสังคมไทย และทําให้ความสําคัญของแรงคน ในการบริหารราชการแผ่นดินลดน้อยลงไป ทางราชการเอง ก็เริ่มจะมีรายได้เป็นตัวเงินปีละมากๆ เพื่อจ่ายในกิจการ ต่างๆ ทําให้เห็นประโยชน์ของเงินซึ่งไม่มีขอบเขตจํากัดผู้ที่ เป็นมูลนายมีไพร่สมที่อยู่ในสังกัดตนก็มักจะเสียเงินค่าราชการแทนไพร่สมทีอ่ ยูใ่ นสังกัดตนเพือ่ ไม่ตอ้ งไปเป็นไพร่หลวง หรือถูกเกณฑ์ไปทํางานของทางราชการ แต่เอาไว้ใช้สอยใน กิจการของตนเพือ่ ประโยชน์สว่ นตัวของตนได้ตลอดไป หรือ ผู้ที่มีฐานะดีที่มีทะเบียนเป็นไพร่หลวงหรือไพร่สมหรือเป็น ช่างฝีมือ ตลอดจนผู้มีไร่นามาก ก็ยอมเสียเงินค่าราชการ เพื่อยกเว้นตนเองมิให้ต้องไปเข้าเวรรับราชการตามสังกัด เพือ่ จะได้มเี วลาประกอบกิจการของตนเองให้เกิดประโยชน์ ส่วนตนได้ตลอดปี การเก็บเงินค่าราชการนีจ้ งึ น่าจะเป็นการ เปิดทางให้ชนชัน้ กลางซึง่ แต่กอ่ นมาไม่เคยมีในสังคมไทยนัน้ ถือกําเนิดขึ้นได้และเติบโตต่อมาจนถึงยุคปัจจุบัน และเงิน ค่าราชการนีน้ า่ จะเป็นเหตุหนึง่ ทีท่ าํ ให้กรุงศรีอยุธยามีฐานะ ร่ำรวยในเศรษฐกิจเงินตรา แต่ต้องร่วงโรยลงไปทางด้าน กําลังพลหรือกําลังรบจนไม่สามารถสูก้ บั ข้าศึกศัตรูได้เหมือน ในสมัยเริ่มแรกและทําให้ระบอบศักดินานั้นกลายเป็นจักร กลในการหารายได้เป็นตัวเงิน มิได้มีความหมายในทาง รวบรวมกําลังคนไว้ใช้ในการป้องกันประเทศหรือใช้ในกิจ การสาธารณะอื่นๆ อีกต่อไป สรุปความได้ว่ากรมกองใด มีไพร่หลวงอยู่ใต้สังกัดก็จะต้องมีรายได้เป็นตัวเงิน และมูลนายคนใดทีม่ ไี พร่สมอยูใ่ นสังกัดก็จะต้องมีรายได้เป็นตัวเงิน เช่นเดียวกัน ยิ่งมีไพร่อยู่ในสังกัดมากก็ยิ่งมีเงินมาก ระบบ นี้จะต้องทําให้เกิดความทุจริตหรือการกดขี่ผ้ทู ่อี ยู่ใต้อํานาจ ได้มากเช่นเดียวกัน เป็นความไม่เป็นธรรมในสังคมซึ่งมีอยู่ ในยุคนั้น
สังคมไทย
๑๓
การตั้งกรมเจ้านาย
เป็นธรรมดาทีใ่ นทีใ่ ดทีม่ คี วามไม่เป็นธรรมและมีการ บังคับ ในทีน่ น้ั ก็จะต้องมีผพู้ ยายามหลบหลีก ชายฉกรรจ์ซง่ึ ระบบสังคมสมัยอยุธยาบังคับให้ต้องเป็นเลกนั้นก็พยายาม หลบหลีกหน้าที่ของตนด้วยวิธีต่างๆ กัน กรมกองราชการ ต่างๆ นั้นมีอํานาจที่จะออกไปเอาตัวชายฉกรรจ์ซึ่งเกิด มาในครอบครัวที่เคยสังกัดในกรมกองนั้นๆ มาสักข้อมือ เป็นเครื่องหมายแห่งกรมกองไว้เป็นหลักฐาน กรมกองที่อยู่ ในกรุงนั้นมักจะออกไปสักเลกเป็นครั้งคราวและเมื่อมีข่าว ไปถึงในชนบทว่าจะมีผู้ออกมาสักเลก ชายฉกรรจ์ในชนบท ก็มักจะพากันหลบหนีเข้าป่าไป บางพวกก็อาจหลบไปชั่ว ครั้งคราว เมื่อขุนนางผู้ออกมาสักเลกกลับไปแล้วก็จะกลับ คืนสู่บ้านของตน แต่บางพวกเมื่อหลบไปแล้วก็ได้ควบคุม ซ่องสุมกันเป็นโจรเทีย่ วปล้นสะดมเป็นอาชีพ เกิดเป็นปัญหา สังคมอย่างหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น แต่บางพวก ไม่หนีเข้าป่าเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกสักเลกแต่กลับหนีเข้ากรุง กล่าวคือเข้ามาถวายตัวเป็นข้าไทกับเจ้านายในพระราชวงศ์ ที่ตนเห็นว่ามีวาสนาบารมีมากพอจะคุ้มครองตนมิให้ต้องถูก เกณฑ์ไปรับราชการได้ ด้วยเหตุนเ้ี จ้านายบางพระองค์จงึ มี ข้าไทเป็นจํานวนมากเพิ่มขึ้นทุกที เรือ่ งนีเ้ ป็นปัญหาซึง่ ทางราชการของกรุงศรีอยุธยา จะต้องแก้ไข เพราะประการแรกที่ชายฉกรรจ์เข้าถวายตัว เป็นข้าไทกับเจ้านายในพระราชวงศ์เป็นจํานวนมากนั้นมีผล เสียหายโดยตรง คือทําให้จํานวนคนที่จะเกณฑ์มาทําราช การได้นั้นน้อยลงไป ไม่สะดวกแก่การที่จะปฏิบัติราชการ ของกรมกองต่างๆ ในการประการทีส่ อง การทีเ่ จ้านายบาง พระองค์มีข้าไทเป็นจํานวนมากนั้นเป็นการเสี่ยงต่อความ ไม่สงบของบ้านเมือง เพราะเจ้านายที่มีข้าไทมากอาจคิด กบฏขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ ทางราชการกรุงศรีอยุธยาจึงจําต้อง แก้ไขปัญหานี้ และก็ได้แก้ไขได้อย่างแนบเนียนด้วยวิธีตาม เข้าไปถึงในวังเจ้านายทีม่ ขี า้ ไทมากและตัง้ กรมขึน้ ทีน่ น่ั โดย ยกย่องให้เจ้านายที่มีข้าไทมากนั้นเองเป็นผู้กํากับราชการ ของกรมที่ตั้งขึ้น แต่ผู้บังคับบัญชาผู้คนในกรมนั้นจริงๆ มี ข้าราชการประจําในตําแหน่งต่างๆ เช่นเดียวกับกรมกอง ราชการอืน่ ๆ ได้แก่เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุหบ์ ญ ั ชีผซู้ ง่ึ เป็นผู้ถือบัญชีคนทั้งหลายซึ่งขึ้นอยู่กับกรมนั้น การกระทำเช่นนี้กำจัดผลเสียหายที่กล่าวถึงแล้วได้ ทั้งสองทาง กล่าวคือทางราชการกรุงศรีอยุธยาก็มีอำนาจ บังคับบัญชาเหล่าข้าไทของเจ้านายต่อไปและเรียกมาใช้ใน ราชการได้ โดยวิธีออกหมายกะเกณฑ์ไปเช่นเดียวกับกรม กองราชการทั้งหลาย ส่วนปัญหาเรื่องเจ้านายจะคิดกบฏ นั้นก็เป็นอันตกไป เพราะทางราชการได้เข้าควบคุมข้าไท ของเจ้านายเหล่านัน้ แล้วโดยใกล้ชดิ การตัง้ กรมเจ้านายนัน้ เริม่ ต้นและเป็นมาในทำนองนี้ แต่ทางราชการกรุงศรีอยุธยา ก็มีมารยาทที่จะอ้างว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการเฉลิมพระ
๑๔
ภูมิหลัง
เกียรติเจ้านายบางพระองค์ที่มีข้าไทมาก กรมกองที่ตั้งขึ้น เพื่อควบคุมข้าไทของเจ้านายในพระราชวงศ์เหล่านี้มีขนาด ใหญ่เล็กต่างกัน หากวังไหนมีขา้ ไทเป็นจำนวนทีพ่ อจะตัง้ กรม ได้แต่ยังไม่มากก็ตั้งเป็นกรมขนาดเล็ก มีขุนนางบรรดาศักดิ์ เป็นหมืน่ เป็นเจ้ากรม ขนาดใหญ่กว่านัน้ ขึน้ ไปเจ้ากรมก็เป็นขุน และถ้าใหญ่กว่านั้นขึ้นไปอีกก็มีเจ้ากรมเป็นหลวง เป็นพระ จนถึงกรมใหญ่ที่สุดซึ่งในสมัยอยุธยา เรียกว่า กรมสมเด็จ มีเจ้ากรมเป็นพระยา ตามธรรมเนียมไทย ในสมัยอยุธยานั้น ไม่นิยมเรียกนามผู้ใหญ่ที่ตนนับถืออยู่แล้ว โดยทั่วไปมักจะ เรียกนามสมมุติ ด้วยเหตุนเ้ี จ้านายทีท่ รงกรมจึงมีผขู้ านพระนามตามชื่อเจ้ากรมไปด้วย เช่น กรมขุนสุเรนทรพิทักษ์และ กรมหลวงอภัยนุชิต เป็นต้น แม้แต่เจ้านายฝ่ายใน เมื่อทรง กรมแล้วก็ขานพระนามตามชื่อเจ้ากรมเช่นเดียวกับเจ้านาย ฝ่ายหน้า เช่นกรมหลวงโยธาทิพและกรมหลวงโยธาเทพ ซึ่ง แลเห็นได้ชัดว่าชื่อโยธาทิพก็ดี โยธาเทพก็ดี เป็นราชทินนาม ของขุนนางฝ่ายทหารโดยแท้ คือ หลวงโยธาทิพและหลวง โยธาเทพมิใช่เป็นพระนามของเจ้านายฝ่ายในเป็นแน่นอน
บวชหนี ราชการ อีกวิธหี นึง่ ทีจ่ ะหลีกเลีย่ งการถูกเกณฑ์ราชการได้นน้ั ก็คือหนีไปบวช ผู้คนที่หนีไปบวชเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกสัก เลกนั้นคงจะมีอยู่เป็นประจําและมีจํานวนมาก ในบทเสภา เรื่องขุนช้างขุนแผนนั้น เมื่อขุนแผนจะลาสึกท่านสมภารผู้ เป็นอาจารย์ของขุนแผนยังได้ถามก่อนว่า “จะสึกไปให้เขา สักเองหรือหวา” คํากลอนนี้แสดงให้เห็นว่าในจิตใจของคน ในสมัยอยุธยานั้นการเข้าบวชเป็นพระภิกษุมีความผูกพัน อยู่กับการถูกสักเลกไม่น้อย เรื่องนี้ก็เป็นปัญหาสําคัญที่ทาง ราชการของกรุงศรีอยุธยาต้องแก้ไขอีกเช่นเดียวกัน เพราะ นอกจากผลร้ายอันเนื่องด้วยคนที่จะเกณฑ์มาใช้ในราชการ ได้มจี าํ นวนน้อยลงไปแล้วยังมีผลร้ายเกิดขึน้ ในวงการศาสนา อีกด้านหนึง่ เพราะคนทีห่ นีไปบวชเพือ่ หลีกเลีย่ งราชการนัน้ ย่อมไม่มีศรัทธาในพระศาสนาอย่างแท้จริง และเมื่อได้เข้า บวชเพราะความประสงค์อย่างเดียวที่จะหลีกเลี่ยงราชการ ในระหว่างที่อยู่ในสมณเพศนั้นก็คงจะปฏิบัติทางพระธรรมวินยั ย่อหย่อนเป็นผลเสียหายแก่พระศาสนาได้มาก การแก้ไข นัน้ ได้เริม่ ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และวิธกี าร แก้ไขก็คือจัดให้มีการสอบความรู้พระภิกษุสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว โดยกําหนดลงไปแน่นอนว่าพระภิกษุที่ บวชมากีพ่ รรษาจะต้องมีภมู คิ วามรูใ้ นธรรมะและภาษาบาลี ขั้นไหน เมื่อพระภิกษุรูปใดสอบความรู้ไม่ได้ตามเกณฑ์ที่ราชการกําหนด ก็ให้สึกไปจากสมณเพศและคงจะถูกสักเลกให้ เข้าสังกัดกรมกองราชการต่อไปทันที การสอบความรู้พระ ภิกษุสงฆ์ในครั้งนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมความรู้ ของพระภิกษุเป็นแน่นอน แต่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวที่ จะไล่คนซึ่งบวชเพราะหลีกเลี่ยงราชการนั้นออกมาจาก
สมณเพศ แต่ผลที่เกิดขึ้นนั้นก็เป็นผลดีในหลายทาง เพราะ เป็นการส่งเสริมให้พระภิกษุสงฆ์ได้เล่าเรียนพระปริยัติมี ความรู้สูงขึ้นไปในตัว ทําให้พระศาสนาหมดมลทินลงไปได้ มาก และการสอบความรู้พระภิกษุสงฆ์ในสมัยนั้นได้กลาย มาเป็นการสอบนักธรรมและสอบพระปริยัติธรรมของพระ ภิกษุสงฆ์ในสมัยต่อๆ มา คําว่า “สอบไล่” ในภาษาไทยก็ น่าจะมีมูลเหตุมาจากการสอบพระภิกษุสงฆ์ครั้งนั้น เป็น เพราะการสอบเพือ่ ไล่ให้สกึ มิใช่เป็นการสอบเพือ่ เลีย้ งเอาไว้
พระสงฆ์
ในการเขียนเรื่องเกี่ยวกับสังคมไทยนั้นจะละเลยไม่ กล่าวถึงพระสงฆ์ในศาสนาพุทธเสียเลยเห็นจะไม่ได้เพราะ ตั้งแต่กรุงสุโขทัยลงมา พระพุทธศาสนาได้สถาปนาเป็น ศาสนาประจําชาติไทย มีพระมหากษัตริยเ์ ป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก พระพุทธศาสนาจึงมีความเจริญรุ่งเรืองมากทั้งใน สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา และได้รับการบูรณะฟืน้ ฟูหลัง จากทีไ่ ด้ถกู กระทบกระเทือนอย่างหนักเมือ่ เสียกรุงศรีอยุธยา แก่ข้าศึก ในสมัยรัตนโกสินทร์ทําให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกัน มาจนถึงทุกวันนี้ พระสงฆ์จึงได้มีจํานวนมากในประเทศไทย ตลอดมา ถึงแม้ว่าจะถือไม่ได้ว่าพระสงฆ์เป็นชนชั้นหนึ่งใน สังคมเพราะเหตุที่ได้กล่าวมาแล้ว พระสงฆ์ซึ่งมีจํานวนมาก มายเป็นแสนๆ ไม่วา่ ในระยะเวลาใดเวลาหนึง่ ก็เป็นส่วนสําคัญ ของสังคม นอกจากนัน้ ก็ยงั มีคนประเภทอืน่ ๆ อีกจํานวนมาก ซึ่งอาจมากกว่าพระสงฆ์เสียอีก ที่ขึ้นอยู่กับสงฆ์ในพระพุทธ ศาสนา ได้แก่สามเณร ศิษย์วดั นางชี เลกวัด และข้าพระ เลกวัดนัน้ ได้แก่ไพร่หลวงหรือไพร่สมทีพ่ ระราชทานไว้แก่พระ อารามหลวงต่างๆ เพือ่ ประโยชน์ของพระอาราม ส่วนข้าพระ นั้นได้แก่ทาสซึ่งผู้ที่เป็นนายเงินได้อุทิศถวายแก่สงฆ์ตามวัด ต่างๆ ศิษย์วดั นัน้ หมายถึงเด็กจํานวนมากทีบ่ ดิ ามารดาฝาก ฝังให้มาอยู่กับพระสงฆ์เพื่อเรียนหนังสือและวิชาอื่นๆ หรือ มิฉะนัน้ ก็เป็นเด็กทีข่ าดผูด้ แู ลอุปการะซึง่ พระสงฆ์เอามาเลีย้ ง ไว้ในวัดด้วยความเมตตาจนกว่าจะเติบโต ซึง่ ทัง้ หมดนีจ้ ะต้อง มีจาํ นวนมากมายเกินกว่าทีจ่ ะประมาณได้ถกู ต้อง และจะต้อง มีจํานวนที่เปลี่ยนแปรอยู่ตลอดเวลาหาจํานวนที่แน่นอนไม่ได้ มีเรื่องน่าคิดว่าเมื่อคํานึงถึงพระธรรมวินัยว่าด้วย การรับคนเข้าอุปสมบทและสภาพสังคมไทยในสมัยอยุธยา และต้นรัตนโกสินทร์ท่คี นทุกคนต้องขึ้นทะเบียนมีสังกัดอยู่ ในราชการของพระมหากษัตริย์แล้ว ปัญหาก็เกิดขึ้นว่าเหตุ ไฉนจึงมีคนบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาได้มาก มายถึงเพียงนั้น เพราะผู้ที่เข้าขออุปสมบทนั้นจะต้องผ่าน อันตรายิกธรรม คือจะต้องประกาศต่อสงฆ์ตามที่ไทยเรียก ว่าขานนาคนั้น ว่าตนเป็นมนุษย์ เป็นผู้ชายได้รับอนุญาต จากบิดามารดาและครอบครัวแล้วให้มาบวช ไม่เป็นหนี้สิน ไม่เป็นโรคติดต่อบางอย่างและไม่เป็นราชภัฏ คําว่าราชภัฏ แปลว่า คนของพระมหากษัตริย์หรือคนของทางราชการ
ก็เมื่อผู้ชายไทยทุกคนในสมัยนั้นเป็นราชภัฏ มีทะเบียนมี สังกัดอยู่ เป็นไพร่หลวงบ้าง เป็นไพร่สมหรือไพร่ส่วยบ้าง หากจะพู ด กั น อย่ า งเคร่ ง ครั ด ตามพระธรรมวิ นั ย ก็ ไ ม่ สามารถจะบวชได้ แต่เมื่อปรากฏตามหลักฐานต่างๆ ทั่วไป ว่ามีพระภิกษุสงฆ์อยู่เป็นจํานวนมากทุกยุคทุกสมัย จึงมี ทางเข้าใจอยู่ทางเดียวว่าทางราชการมีข้อยกเว้นให้แก่ผู้ที่ ประสงค์จะบวชและเป็นทีเ่ ข้าใจกันว่าเมือ่ บวชแล้วก็จะไม่ถกู เกณฑ์ไปเข้าเวรรับราชการหรือทํางานให้แก่มูลนายตลอด เวลาทีย่ งั อุปสมบทอยู่ น่าจะเป็นเพราะความเข้าใจทีแ่ น่นอน อย่างนี้สงฆ์จึงยอมรับคนที่เป็นราชภัฏทุกคนเข้าอุปสมบท ได้ หรือจะมีกฎเกณฑ์อย่างอื่นใดที่ทําให้ยกเว้นพระธรรม วินัยเรื่องนี้ได้ก็หาหลักฐานไม่ได้เสียแล้ว และก็น่าจะเป็น เพราะเหตุที่คนในสมัยนั้นบวชกันได้ง่ายจึงมีผู้ออกบวชหนี ราชการกันได้มาก จนทางราชการขาดกําลังคนต้องวาง กฎให้สอบไล่พระสงฆ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ดังที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว เมื่อพระสงฆ์ได้รับสิทธิพิเศษจากทางราชการดัง นี้ พระสงฆ์ก็ต้องรักษาสิทธิพิเศษนี้ไว้ด้วยการไม่ยุ่งเกี่ยว กับการปกครองประเทศหรือการเมืองของประเทศอย่าง เด็ดขาด แตกต่างกับวงการศาสนาอื่นๆ ในประเทศอื่นๆ ในสมัยเดียวกันซึ่งพยายามที่จะแสวงหาอํานาจทางการ เมืองให้แก่ศาสนจักรของตนทําให้เกิดความขัดแย้งกับทาง ฝ่ายอาณาจักรหลายครั้งคราซึ่งบางทีก็ถึงขั้นรุนแรงต้อง ฆ่าฟันกัน พระสงฆ์นั้นเป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งปวงตั้ง แต่องค์พระมหากษัตริย์ลงมาและถือกันว่าเป็นเนื้อนาบุญ พระสงฆ์ในสังคมไทยจึงอยู่ได้โดยไม่ขาดแคลนและมีเวลา ทัง้ หมดสําหรับปฏิบตั ธิ รรม มีฆราวาสรับภาระเรือ่ งอาหาร การกินด้วยการทําบุญตักบาตรและถวายภัตตาหารแก่พระ ภิกษุสงฆ์อยู่เป็นนิจ พระสงฆ์ในพระอารามหลวงก็ได้รับ นิตยภัตและพระบรมราชูปถัมภ์ต่างๆ วัดต่างๆ นั้นมีที่ดิน ซึ่งเป็นไร่นาซึ่งมีผู้มีศรัทธาถวายไว้ และมีทาสที่มีผู้ถวายไว้ เรียกว่า “ข้าพระ” คอยทํางานบนที่ดินของสงฆ์ให้เกิดประ โยชน์ ที่ดินเหล่านี้เรียกว่าที่ดินกัลปนาเป็นที่สําหรับหาผล ประโยชน์ให้แก่วดั และผลประโยชน์ทเ่ี กิดขึน้ นัน้ ไม่ตอ้ งเสีย ภาษีทาํ ให้วดั ต่างๆ ร่ำรวยมาก ส่วนพระอารามหลวงก็ได้ รับเงินพระราชทานเป็นประจํา มีเลกวัดหรือข้าวัดซึ่งได้ พระราชทานไว้ ค อยทํ า งานให้ แ ก่ วั ด ทางด้ า นทะนุ บํ า รุ ง หรือทางด้านอื่นๆ สุดแล้วแต่พระสงฆ์จะใช้ ในบางกรณีก็ ได้รบั พระราชทานส่วยจากบางเมืองเพือ่ ใช้ในกิจการของสงฆ์
สังคมไทย
๑๕
๓ รูป ๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน พั ด ยศแก่ พ ระสงฆ์ ที่ ไ ด้ เ ลื่ อ นสมณศั ก ดิ์ เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
พระพุทธศาสนากับการปกครองบ้านเมืองซึ่งเรียก กันว่าพุทธจักรฝ่ายหนึ่งและอาณาจักรอีกฝ่ายหนึ่งนั้นแยก กันออกอย่างเด็ดขาดไม่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันทั้งนี้ว่าโดย ทัว่ ไป พระมหากษัตริยท์ รงปกครองคนด้วยพระราชอํานาจ และพระราชกําหนดกฎหมาย สงฆ์ปกครองกันด้วยอาวุโส และพระธรรมวินัย แต่เมื่อพุทธจักรได้เติบโตขึ้นมาทั้งทาง ด้านจํานวนคนและทางด้านทรัพย์สมบัติพุทธจักรจึงจะขาด อํานาจทีจ่ ะคุม้ ครองตนเสียมิได้ และเมือ่ พระสงฆ์ในประเทศ ไทยมิได้ใฝ่อาํ นาจนัน้ พุทธจักรก็ตอ้ งอาศัยพระราชอํานาจ ของพระมหากษัตริยใ์ นฐานะทีท่ รงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกให้คุ้มครองตน ในขั้นแรกพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอํานาจ ปกป้องพระพุทธศาสนามิให้ผู้ใดมากระทําย่ำยีจากทั้งภาย นอกและภายใน ภายในนั้นได้แก่ภิกษุอลัชชี ซึ่งสงฆ์ไม่มี อํานาจอันแท้จริงที่จะบังคับให้ภิกษุอลัชชีสึกจากสงฆ์ พระ มหากษัตริย์จึงต้องใช้พระราชอํานาจบังคับให้ภิกษุอลัชชี สึกจากสงฆ์ และใช้พระราชอํานาจลงพระราชอาญาแก่ บุคคลเหล่านั้นได้ เป็นการรักษาพระศาสนาให้บริสุทธิ์ มิให้ มัวหมอง พระราชอำนาจของพระมหากษัตริยใ์ นทางศาสนา นี้ต่อมาเป็นพระราชอํานาจที่จะทรงตั้งเจ้าหน้าที่บริหาร คณะสงฆ์ขึ้นเพื่อให้การปกครองสงฆ์และกิจการของพระ ศาสนาเป็นไปโดยเรียบร้อย
การปกครองคณะสงฆ์ การตัง้ ระบบการบริหารพระศาสนาและตัง้ ผูบ้ ริหาร ในตําแหน่งต่างๆ นั้นได้อาศัยหลักเกณฑ์ของการปกครอง ทางโลก หรือถ้าจะว่าให้ชัดก็คือกฎเกณฑ์ของทางราชการ
๑๖
ภูมิหลัง
ในสมัยนั้น ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคําแหงได้กล่าวถึงปู่ ครู มหาเถร และสังฆราช แต่ก็มิได้กล่าวไว้ว่าท่านเหล่านั้น มีตาํ แหน่งหน้าทีอ่ ย่างไร แต่ในสมัยอยุธยานัน้ ปรากฏในพระ ราชพงศาวดารว่าพระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระภิกษุสงฆ์ให้ มียศและมีตําแหน่ง และมีราชทินนามอันเป็นเครื่องบอก ตําแหน่งเช่นเดียวกับข้าราชการในอาณาจักร พระภิกษุที่ได้ รับพระราชทานยศและตําแหน่งนั้นมีอํานาจหน้าที่ต่างกัน ในการปกครองสงฆ์ การตั้งยศและตําแหน่งนั้นอาศัยหลักเกณฑ์ของ ราชการที่ใช้อยู่ในสมัยนั้นดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เมื่อทางราช การมีอัครมหาเสนาบดีสองคน คือสมุหพระกลาโหมปก ครองประเทศทางภาคเหนือและสมุหนายกปกครองประเทศ ทางภาคใต้ ทางฝ่ายสงฆ์ก็ให้มีเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ และ เจ้าคณะใหญ่หนใต้เช่นเดียวกัน แต่มียศเป็นสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าคณะใหญ่ทั้งสองนี้มีรองเจ้าคณะใหญ่เป็นพระ ราชาคณะอยูใ่ ต้บงั คับบัญชา และมีพระราชาคณะทีม่ รี าชทิน นามอีกเป็นจํานวนมาก มีตาํ แหน่งต่างๆ กันในการปกครอง สงฆ์ และการบริหารพระศาสนา เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้แต่งตั้งสมเด็จพระ ราชาคณะและพระราชาคณะให้บังคับบัญชาสงฆ์เช่น เดียวกับขุนนางฝ่ายฆราวาสเช่นนี้ พระมหากษัตริย์ก็ทรง อยู่ในฐานะประมุขแห่งศาสนาโดยพฤตินัย ตําแหน่งประ มุขแห่งสงฆ์คือสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก นั้น เท่าที่ปรากฏหลักฐานเพิ่งจะมามีขึ้นในสมัยอยุธยาตอน ปลายเท่านั้น ตําแหน่งสังฆราชนั้นหมายถึงเจ้าคณะ หรือ ผู้เป็นใหญ่ในสงฆ์ในแต่ละเมือง เช่นพระสังฆราชเมืองฝาง ซึ่งต่อมาเรียกกันว่าเจ้าพระฝางเพราะได้คุมพระสงฆ์และ ผู้คนออกรบพม่าเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นจลาจล เพราะ เสียกรุงแก่พม่า ศาสนาคริสต์นกิ ายโรมันคาทอลิกซึง่ ได้เข้า มาประดิษฐานในประเทศไทยสมัยอยุธยาเป็นราชธานีก็ได้ ใช้คําว่า “สังฆราช” เรียกประมุขแห่งสมณะของศาสนานั้น ในแต่ละท้องถิ่น ให้ตรงกับคําว่า Bishop ในภาษาอังกฤษ และยังคงเรียกมาจนทุกวันนี้ แต่ถึงแม้จะได้มีการแต่งตั้ง ตําแหน่งสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกขึ้นแล้ว อํานาจการปกครองสงฆ์ที่แท้จริงก็หาได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ ยังคงเป็นพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ตลอดมาจน กรุงศรีอยุธยายศล่มลง ระยะเวลาหลังจากนั้นแผ่นดินเป็นจลาจล สถาบันที่ ถูกกระทบกระเทือนมากที่สุดอีกสถาบันหนึ่งก็คือสถาบันพ ระพุทธศาสนา วัดวาอารามจํานวนมากมายทั่วประเทศ ได้กลายเป็นวัดร้าง เพราะในยามที่บ้านเมืองเป็นจลาจล เช่นนั้นพระสงฆ์ไม่สามารถดํารงอยู่ในสมณเพศได้ ที่ยัง เหลือก็ระส่ำระสาย ทีค่ งอยูใ่ นสมณเพศก็ปฏิบตั ติ นย่อหย่อน ในพระธรรมวินัยไม่มีอะไรที่จะยึดเป็นหลักเกณฑ์ได้ ในสมัย ธนบุรี เกิดมีเหตุสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงบําเพ็ญวิ ปั ส สนาสมาธิ จ นเข้ า พระราชหฤทั ย ว่ า พระองค์ ได้ บรรลุ
โสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลสมควรที่สงฆ์จะกราบไหว้ บูชาได้ จึงได้มีพระบรมราชโองการให้พระราชาคณะเข้า เฝ้าฯ เวลาเสด็จออกขุนนางและให้ถวายบังคมหมอบคลาน เช่นเดียวกับขุนนางทัง้ ปวงซึง่ เป็นฆราวาส พระราชาคณะ รู ปใดไม่ปฏิบัติตามก็ให้ลงราชทัณฑ์เฆี่ยนหลัง จนเกิดความ ระส่ำระสายไปทั่ว พระศาสนาก็ยิ่งทรุดโทรมเศร้าหมอง ขึ้นไปอีก เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหา ราชได้ทรงปราบดาภิเษกเถลิงพระบรมราชจักรีวงศ์ขึ้น ที่กรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ ๒๐๐ ปีมาแล้ว ได้ทรงตั้งพระราช ปณิธานหรือแถลงพระบรมราโชบายไว้ใน กลอนเพลงยาว นิราศเรือ่ งรบพม่าทีท่ า่ ดินแดง ว่า “ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา จะป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนแลมนตรี” ด้วยเหตุน้หี ลังจากปราบดาภิเษกแล้วไม่นานจึงโปรด เกล้าฯ ให้มกี ารสังคายนาพระไตรปิฎกขึน้ ทีก่ รุงรัตนโกสินทร์ ได้นมิ นต์พระเถรานุเถระผูแ้ ตกฉานในพระไตรปิฎกพร้อมด้วย ผูท้ รงคุณวุฒมิ าประชุมชําระพระไตรปิฎกในประเทศไทยเท่า ที่รวบรวมหามาได้ให้ถูกต้องบริสุทธิ์ตรงตามพระพุทธวจนะ และได้ทรงประกาศใช้กฎพระสงฆ์ในวาระต่างๆ กันตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ไปจนถึง พ.ศ. ๒๓๔๔ พระไตรปิฎกนั้น ประกอบด้วยพระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎกและพระ วินัยปิฎก ทั้งนี้เป็นหลักการ ปิฎกแรกเป็นพุทธประวัติ และคําสัง่ สอนของพระพุทธเจ้า ปิฎกทีส่ องเป็นปรัชญาของ ศาสนาพุทธ และปิฎกที่สามเป็นข้อบังคับให้พระสงฆ์สาวก ของพระพุทธเจ้าให้เว้นไม่ประพฤติการต่างๆ ที่ห้ามไว้และ ปฏิบตั กิ ารต่างๆ ทีไ่ ด้กาํ หนดไว้ พระธรรมวินยั นีจ้ ะต้องถือว่า เป็นกฎหมายของสงฆ์และเช่นเดียวกันกับกฎหมายทั้งปวง ถ้าหากขาดอํานาจที่จะบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย แล้วกฎหมายนัน้ ก็ยอ่ มจะไร้ผล ถึงแม้วา่ พระวินยั ปิฎกจะได้ กําหนดโทษพระภิกษุผู้ล่วงพระธรรมวินัยไว้เป็นหนักเบา ตามความหนักเบาแห่งอาบัติ แต่โทษเหล่านี้ สงฆ์ก็ไม่มีอํานาจอันแท้จริงทีจ่ ะบังคับไว้ ต้องอาศัยอํานาจของอาณาจักร ดังที่เคยทํามาแล้วในสมัยอยุธยา กฎพระสงฆ์นั้นเป็นกฎหมายที่โอนอํานาจการปก ครองสงฆ์มาไว้กับพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์ ทรงมีพระ ราชอํานาจทีจ่ ะสึกพระสงฆ์ ผูท้ ถ่ี กู บังคับให้สกึ นัน้ มีโทษทาง อาญาเป็นบางกรณี และมีพระราชอํานาจที่จะทรงแต่งตั้ง ถอดถอนพระสงฆ์ราชาคณะ พระสงฆ์ทง้ั หมดต้องขึน้ แก่กรม ธรรมการ มีพนักงานที่เรียกว่าสังฆการีเป็นผู้บังคับบัญชา สงฆ์ และในเมื่อพระภิกษุใดต้องอธิกรณ์มีผู้กล่าวหาว่าล่วง อาบัตขิ อ้ ใดก็ตาม สังฆการีเป็นผูช้ าํ ระอธิกรณ์ตดั สินว่าภิกษุ รูปนัน้ ผิดหรือถูกตามคําคนกล่าวหา เมือ่ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ พระสงฆ์ท้งั ประเทศไทยจึงตกมาอยู่ใต้พระราชอํานาจและ
อยูใ่ ต้การปกครองบังคับบัญชาของข้าราชการซึง่ เป็นฆราวาส โดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม สภาพการณ์ทกุ อย่างจะเป็นอย่างไรก็ ย่อมขึ้นอยู่แก่ภาวการณ์บ้านเมืองในขณะเดียวกันภาวการณ์ ในขณะนั้นเป็นภาวะวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันพระ พุทธศาสนาแตกฉานจนแทบจะตั้งอยู่ไม่ได้ พระบรมราชูป ถัมภ์ที่พระราชทานต่อพระพุทธศาสนาก็จําเป็นจะต้องอยู่ ในรูปที่จะเผชิญต่อวิกฤตได้ พระสงฆ์เมืองไทยก็ได้กลับตั้ง ขึ้นเป็นปึกแผ่นด้วยพระราชอํานาจในครั้งนั้น การปกครอง สงฆ์ได้อยูใ่ นลักษณะทีว่ า่ มานีจ้ นถึงรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตน โกสินทร์จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งจะได้กล่าวถึง ต่อไปข้างหน้า
พราหมณ์ ในสังคมไทย ในหนังสือไทยเก่าๆ นั้นเมื่อจะกล่าวถึงสังคมไทยก็ มักจะเขียนว่า “สมณพราหมณาจาริยอาณาประชาราษฎร” แสดงให้เห็นว่าพราหมณ์นั้นมีความสําคัญอยู่ในสังคมไทย ไม่น้อย ถึงแม้ว่าจํานวนพราหมณ์ที่มีอยู่ในประเทศคงจะมี ไม่มากและคงจะมีอยู่แต่ในเมืองหลวงและเมืองใหญ่ๆ อีก บางเมืองเช่นเมืองนครศรีธรรมราช พราหมณ์นั้นคงจะได้เข้ามาสู่ประเทศไทยทางภาค ใต้ในระยะแรกเริ่ม เพราะมาจากประเทศอินเดียใต้ ข้าม มหาสมุทรอินเดียมาขึ้นทางภาคใต้ของประเทศไทยดังที่ ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีอยู่ที่เมืองตะกั่วป่าและใน จังหวัดอืน่ ๆ ทางภาคใต้ เมือ่ สมัยกรุงสุโขทัยยังเป็นราชธานี นั้นก็ปรากฏว่ามีเทวสถานของพราหมณ์อยู่ที่กรุงสุโขทัย สองสามแห่ง ซึ่งจะต้องมีพราหมณ์อยู่ประจําตามเทวสถาน เหล่านั้น แต่ก็คงจะไม่มีอิทธิพลในทางใดมากนัก พราหมณ์ ได้มาเริม่ มีอทิ ธิพลในสังคมไทยมากขึน้ ในสมัยอยุธยา เพราะ เมือ่ พระเจ้าอูท่ องได้ทรงเป็นเจ้าเป็นใหญ่เหนืออาณาจักรเขมร ทัง้ หมด ก็เกิดความจําเป็นทีจ่ ะต้องทําให้พระมหากษัตริยไ์ ทย ทรงอยู่ในฐานะเทวราช หรือเป็นองค์ไศเลนทร์ เช่นเดียวกับ พระมหากษัตริย์เขมรในสมัยที่ยังเรืองอํานาจ มิฉะนั้นก็ไม่ อาจทรงปกครองอาณาจักรเดิมของเขมรต่อไปได้ ลัทธิการ ปกครองระบบเทวราชนีจ้ าํ เป็นต้องใช้พราหมณ์ ในการปฏิบตั ิ บูชาต่อองค์พระมหากษัตริย์ พราหมณ์มหี น้าทีส่ าํ คัญในพระ ราชพิธีต่างๆ อันเป็นส่วนประกอบของลัทธิเทวราช และ ต้องเป็นทีป่ รึกษาขององค์พระมหากษัตริยใ์ นลัทธิธรรมเนียม ต่างๆ ของศาสนาฮินดูอนั เป็นหลักการของลัทธิเทวราช และ เมื่อกฎหมายในสมัยนั้นยังอิงหลักธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็น กฎหมายฮินดู พราหมณ์ก็กระทําหน้าที่เป็นผู้เชีย่ วชาญ ทางกฎหมายและเป็ น ผู้ พิ พ ากษาตระลาการในนามของ พระมหากษัตริย์
สังคมไทย
๑๗
ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้พราหมณ์จึงมีหน้าที่สําคัญใน ราชสํานักในอันที่จะอภิบาลองค์พระมหากษัตริย์ในฐานะที่ ทรงเป็นพระเป็นเจ้าในศาสนาฮินดู พราหมณ์เป็นผู้กําหนด และรักษาไว้ซึ่งราชประเพณีต่างๆ ในลัทธิเทวราชซึ่งจะได้ กล่าวถึงต่อไป แต่ศาสนาฮินดูในสมัยนั้นแบ่งออกเป็นสอง นิกาย คือนิกายศิวเวทซึ่งถือเอาพระศิวะเป็นใหญ่ และวิษณุ เวทซึง่ ถือเอาพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นใหญ่ พราหมณ์ ทั้งสองนิกายนี้ได้เข้ามาสู่ประเทศไทยและได้เข้ามามีอิทธิ พลในราชสํานักไทยด้วยกัน แต่ทางราชสํานักไทยได้แบ่งหน้า ที่ให้พราหมณ์แต่ละนิกายทําไม่ปะปนกัน ความสับสนจึงไม่ เกิดขึ้น พราหมณ์ในนิกายศิวเวทนั้นไทยเรียกว่าพราหมณ์ พิธี มีหน้าที่เกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆ ตั้งแต่พระราชพิธี บรมราชาภิเษกลงมา ซึ่งพระราชพิธีส่วนใหญ่นั้นเป็นพิธี กรรมในศาสนาฮินดูทง้ั สิน้ จึงได้มาเลิกไปเกือบหมดในสมัย รัตนโกสินทร์ ส่วนพราหมณ์วิษณุเวทนั้นไทยกําหนดให้มี หน้าที่เกี่ยวกับช้างและพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการคล้อง ช้างและเลี้ยงช้าง เรียกว่าพราหมณ์พฤฒิบาศ เพราะใน สมั ย นั้ น ช้ า งยั ง มี ค วามสํ า คั ญ มากทั้ ง ในทางเศรษฐกิ จ การปกครองและการสงคราม แต่ตอ่ มาเมือ่ ช้างหมดความ สําคัญในทางต่างๆ ลงไป หน้าที่ของพราหมณ์พฤฒิบาศ ก็น้อยลงและหมดความสําคัญลงไปตามไปด้วย ตําแหน่งกระลาโหมนั้นน่าจะเป็นตําแหน่งที่สําคัญ อยู่ในสมัยอยุธยา ดูเนื้อหาของคําว่า “กระลาโหม” ปรากฏ ว่า ในภาษาเขมรเก่า “กระลา” แปลว่าห้อง หรือบริเวณ “โหม” แปลว่าสุมไฟ เช่นโหมกูณฑ์ เมื่อพระมหากษัตริย์ ทรงอยู่ในฐานะพระเป็นเจ้าของพราหมณ์ ก็พอจะเข้าใจได้ ว่าจะต้องมีกองกูณฑ์หรือกองไฟอยูใ่ นพระราชฐานเช่นเดียว กับกองกูณฑ์บชู าพระเป็นเจ้าของฮินดูในเทวสถาน พราหมณ์ คงจะมีหน้าทีด่ ง้ั เดิมในการรักษากองกูณฑ์น้ี แต่หน้าที่ “กระ ลาโหม” นี้อาจมีความสําคัญเกินกว่าพิธีกรรมของฮินดูตาม ความหมายของศัพท์และหน้าที่นั้นจะต้องเป็นของพราหมณ์ เพราะการโหมกูณฑ์เป็นเรือ่ งศาสนาฮินดู ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาปรากฏว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ ทรงกําหนดตําแหน่งทางราชการขึ้นใหม่หลายตําแหน่งตาม ระบอบการปกครองของเขมร และโปรดฯ ให้ขา้ ราชการไทย เข้ารับตําแหน่งนัน้ เช่นให้เอาขุนคลังมาเป็นโกษาธิบดี และใน การนี้ปรากฏว่าได้โปรดฯ ให้เอาทหารมาเป็นกระลาโหม น่า จะสันนิษฐานได้ว่าแต่ดั้งเดิมนั้น พราหมณ์มีส่วนในการปกครองมากอยู่ และตําแหน่งต่างๆ เช่นโกษาธิบดี เกษตราธิการ และอืน่ ๆ จนถึงตําแหน่งกระลาโหมนัน้ เคยเป็นตําแหน่ง พราหมณ์ในระบอบการปกครองของเขมรแต่สมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถได้ทรงเปลี่ยนให้ข้าราชการเข้ารับตําแหน่ง นั้นๆ แทนพราหมณ์ ทําให้อํานาจและอิทธิพลของพราหมณ์ ลดน้อยลงไป
๑๘
ภูมิหลัง
ทางด้ า นกฎหมายนั้ น เมื่ อ พราหมณ์ เป็ น ผู้ รู้ ธ รรม ศาสตร์ อิทธิพลและอํานาจของพราหมณ์ก็ย่อมจะมีมาก และมีมานาน ศาลสูงสุดของไทยในสมัยอยุธยานั้นเรียกว่า ศาลหลวง ผู้พิพากษาในศาลหลวงนั้นมีสิบสองคนเรียกว่า ลูกขุนศาลหลวง เป็นพราหมณ์ทั้งสิ้น ศาลหลวงนั้นมีศาล ขึน้ อีกสองศาลคือศาลแพ่งกลางและศาลแพ่งเกษมซึง่ เป็น ศาลพิจารณาคดีเล็กๆ น้อยๆ มีผู้พิพากษาเป็นพราหมณ์ เช่นเดียวกันกับลูกขุนศาลหลวง หัวหน้าลูกขุนศาลหลวงนั้น สังเกตจากราชทินนามก็รไู้ ด้วา่ เป็นพราหมณ์ ได้แก่ พระมหา ราชครูปุโรหิตและพระมหาราชครูมหิธร มีศักดินาท่านละ ๑๐,๐๐๐ ไร่เท่ากับขุนนางชั้นเจ้าพระยา ซึ่งแสดงให้เห็นถึง ความสําคัญของพราหมณ์ในกระบวนการยุติธรรมของไทย ในสมัยนั้น ผู้พิพากษาชั้นรองลงมาในศาลหลวงนั้นก็เป็น พราหมณ์ มีบรรดาศักดิพ์ ระครูพเิ ชดษร พระครูพริ าม เป็น ต้น ผู้พิพากษาศาลหลวงเหล่านี้มีบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็นพราหมณ์ตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ ๔ และต้นรัชกาล ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ถงึ แม้วา่ ผูท้ ไ่ี ด้ดาํ รงตําแหน่งนัน้ ๆ เป็นข้าราชการยุติธรรมมิใช่พราหมณ์ดังที่เคยเป็นมา และ ได้มายกเลิกตําแหน่งเหล่านี้เมื่อได้มีการจัดตั้งระบบศาลยุติ ธรรมขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๕
ทาส สังคมไทยในอดีตนั้นเป็นสังคมที่มีทาสเช่นเดียวกับ สังคมในประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชียในยุคสมัยเดียวกัน ศิลาจารึกกรุงสุโขทัยก็มีหลักฐานร่องรอยแสดงให้เห็นว่าสังคม ไทยในสมัยสุโขทัยนั้นมีทาส ในสมัยอยุธยานั้นมีกฎหมาย ลักษณะการวางกําหนดกฎเกณฑ์แห่งความเป็นทาสนั้นไว้ โดยละเอียดแน่นอน ทาสในสังคมไทยนั้นหากจะแบ่งออกเป็นประเภท ใหญ่ๆ ก็มีอยู่สองประเภท คือทาสเชลย และทาสสินไถ่ ทาสเชลยนั้นเป็นผลของการสงคราม เมื่อไปรบพุ่งได้ชัย ชนะก็ได้เชลยกลับมาใช้งาน เป็นแรงงานเพิม่ ขึน้ ในประเทศ และเป็นแรงงานราคาถูก เพียงแต่เลีย้ งดูพอให้ประทังชีวติ ทําการงานได้ก็พอเพียง ไม่จําต้องมีรายจ่ายอื่น จะเห็นได้ ว่าการสงครามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคนัน้ มิใช่การ สงครามเพือ่ แสวงหาอาณาเขต แต่เป็นการสงครามเพือ่ แสวง หาแรงงานเชลย เมื่อฝ่ายใดชนะสงครามก็กวาดต้อนผู้คน เอาไปเป็นเชลยในประเทศของตน เชลยนั้นส่วนใหญ่เป็น ของพระมหากษัตริย์ เรียกว่าทาสหลวงซึ่งพระราชทานแก่ แม่ทัพนายกองเป็นบําเหน็จความชอบในราชการสงคราม และพระราชทานแก่พระอารามหลวง เรียกว่าข้าพระหรือ ข้าวัด สําหรับทําการงานรักษาและบูรณะวัดตลอดไปชัว่ ลูก หลาน หรือทําไร่ไถนาบนที่ดินกัลปนาของวัดเป็นรายได้แก่ วัด ส่วนทาสหลวงนั้นก็ใช้ทําการงานทางด้านเกษตรบนที่ ดินของหลวงหรือใช้งานอื่นๆ ที่เป็นงานหนัก เช่นให้เป็น
ตะพุ่นหญ้าช้าง มีหน้าที่เกี่ยวหญ้ามาเลี้ยงช้างหลวงซึ่งจะ ต้องมีจํานวนมากมายเพราะช้างเป็นสัตว์สําคัญมากในการ คมนาคม การขนส่ง และการสงครามในสมัยนั้น ทาส เชลยนีไ้ ม่มที างทีจ่ ะพ้นความเป็นทาส แต่เมือ่ เป็นทาสหลวง ก็ได้รับความคุ้มครองมิให้ใครมากดขี่หรือข่มเหงรังแกจน เกินไป และทาสเชลยที่ต้องทําไร่นาในที่ดินของหลวงนั้นก็ มิได้มีความเป็นอยู่แตกต่างไปจากคนทั่วไปเท่าไรนัก ในบาง กรณีก็อาจดีกว่า เพราะทํางานให้หลวงที่แน่นอนเป็นประจํา อยู่แล้วไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปทําราชการเช่นไพร่หลวงทั่วไป ประเทศไทยในสมัยก่อนและในสมัยปัจจุบันนั้นมิได้ แตกต่างกันนักในเรื่องฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชน กล่าวคือคนส่วนใหญ่ในประเทศตกอยู่ในฐานะยากจนและ เป็นหนี้สินมาก ในสมัยก่อนนั้นการทํามาหากินของคนไทย ในอันที่จะสร้างฐานะทางเศรษฐกิจส่วนตัวให้ดีขึ้นนั้นมีอยู่ น้อยกว่าในปัจจุบัน เพราะทุกคนต้องมีทะเบียนสังกัดกรม กองยกเว้นพวกที่หลบหนีออกไปอยู่ในป่า และผู้ชายต้อง ถูกเกณฑ์เข้ามาอยู่เวรรับราชการตามกําหนดเข้าเดือนออก เดือนดังที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว หรือมิฉะนั้นก็ต้องเป็นไพร่ส่วย ผลิตแสวงหาสินค้าต่างๆ ส่งแก่ทางราชการตามที่ทางราช การกําหนด ซึ่งคงจะต้องเสียเวลาทํามาหากินไปมาก หนี้สินจึงเป็นความจําเป็นในการดํารงชีวิต และเมื่อ ไม่มีทางอื่นที่จะใช้หนี้สินนั้นได้หนี้สินจึงเป็นมูลเหตุของความ เป็นทาสในประเทศไทย ผู้ที่เป็นลูกหนี้ต้องทําสัญญากับเจ้า หนี้ ซึง่ เรียกว่าสารกรมธรรม์ เอาแรงงานของตนหรือของพี่ น้องบุตรภรรยาที่ตนเป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นเครื่องมือ ใช้หนี้แทนสื่อกลางในการใช้หนี้อย่างอื่น เช่น เงินตรา ด้วย เหตุนี้ทาสในประเทศไทยจึงมีลักษณะแตกต่างกับทาสใน ประเทศอืน่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในประเทศตะวันตก กล่าว คือทาสในเมืองไทยอยูใ่ นลักษณะลูกหนีท้ ใ่ี ช้หนีด้ ว้ ยแรงงาน มิได้ขายตัวหรือถูกขายขาดเป็นกรรมสิทธิ์ทั้งชีวิตร่างกาย แก่ผู้อื่น หนี้สินที่ใช้กันด้วยวิธีเรียกว่าค่าตัวของทาส ค่าตัว ของแต่ละคนขึน้ อยูก่ บั วัยและเพศ ซึง่ หมายถึงประสิทธิภาพ ในการทํางาน หากเป็นผู้ชายอยู่ในวัยฉกรรจ์ค่าตัวก็ย่อมจะ สูง คนหนุ่มที่ขายตัวก็ย่อมจะขายได้เงินมาก ผู้หญิงหรือ คนมีอายุก็ย่อมจะได้น้อยลงไป แต่ถึงอย่างไรค่าตัวคนก็คง จะต้องมีราคาตลาดที่ถือกันอยู่ว่าคนเพศใดวัยใดจะควร ขายตัวได้เท่าไร ราคาซื้อขายกันแต่ละรายอาจมีสูงต่ำกว่า ราคาตลาดไม่มากนัก ความเป็นทาสของไทยนั้นมิได้หมายความว่าผู้ที่ตก เป็นทาสจะต้องเป็นไปจนตลอดชีวิตหรือจนกว่าผู้ที่เป็นนาย จะให้ความเป็นไทเองด้วยความสมัครใจ แต่ความเป็นทาส ของไทยนั้นจะลดลงเรื่อยๆ นับแต่วันที่ตกเป็นทาสเป็นต้นไป เพราะค่าตัวอันเป็นมูลค่าของทาสนัน้ จะลดลงทุกปีในอัตรา ที่แน่นอนและใช้ทั่วกัน เพราะเป็นที่ตกลงกันแต่ต้นว่าทาส
นั้นทํางานใช้หนี้เมื่อทําครบปีแล้วหนี้ก็จะต้องลด แต่ส่วน ลดค่าตัวนั้นตั้งไว้ในอัตราต่ำ ถ้าหากทาสได้เงินไปมากมีค่า ตัวสูงก็ต้องใช้เวลานานปีกว่าจะหลุดพ้นความเป็นทาสมี ความเป็นไทแก่ตัว ส่วนใหญ่จึงอยู่ไปจนกว่าจะตายไปใน ขณะที่เป็นทาส คนที่เรียกได้ว่าไม่มีโอกาสเป็นไทแก่ตัว ก็คือลูก ทาส ซึง่ หมายความถึงเด็กทีเ่ กิดจากมารดาทีเ่ ป็นทาสเพราะ ลูกทาสนั้นมีค่าตัวสูงเกินกว่าที่จะคิดหักได้หมดในชีวิตของ ตน ค่าตัวของลูกทาสนั้นนายเงินคิดตั้งแต่ปฏิสนธิ คือคิด จากค่าอาหารการกินของมารดาในระหว่างตั้งครรภ์ คิดค่า น้ำนมมารดาซึ่งนายเงินถือว่าเป็นของตน และคิดค่าอาหารของเด็กตั้งแต่เป็นทารกใช้การงานไม่ได้ จนกว่าจะเข้า วัยฉกรรจ์ทํางานได้จึงจะเริ่มคิดหักค่าตัวให้ ด้วยเหตุนี้คนที่ เกิ ด มาเป็ น ลู ก ทาสจึ ง ต้ อ งเป็ น ทาสชั่ ว ชี วิ ต ไม่ มี ท างจะ ไถ่ถอนตนให้เป็นอิสระได้ หากจะมีใครมาช่วยก็ได้แต่เพียง ใช้เงินไถ่ค่าตัวมาเป็นทาสของผู้ไถ่ต่อไปเท่านั้น ความเป็นทาสนั้นมิได้ทําให้บุคคลหมดความผูกพัน กับทางราชการในฐานะที่เป็นไพร่หลวงหรือไพร่ส่วย ทุกคน ยังต้องขึ้นทะเบียนสังกัดกรมกองราชการอยู่ ถึงแม้ว่าจะ เป็นทาสก็ตอ้ งไปเข้าเวรทําราชการตามกําหนด คือเข้าเดือน ออกเดือนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ด้วยเหตุนี้คนที่เป็นทาสหรือ ลูกทาสซึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนมีสังกัดเช่นเดียวกันจึงต้อง ทํางานให้แก่ทางราชการหนึ่งเดือนและทําให้แก่นายเงิน อีกหนึ่งเดือนสลับกันไปไม่มีขาด นับว่าเป็นภาระที่หนักมาก ในเรื่องนี้นายเงินอาจเอาตัวทาสไว้ทํางานให้แก่ตนเพียงฝ่าย เดียวก็ได้โดยเสียเงินค่าราชการให้แก่ทางราชการหรือหา คนอื่นไปเข้าเวรแทนทาสของตน ความเดือดร้อนนั้นเกิดขึ้น แก่ทาสในระยะเวลาที่ต้องไปเข้าเวรรับราชการ เพราะใน ระหว่างที่ทํางานให้แก่นายเงินนั้นภาระการเลี้ยงดูทาสตก อยู่แก่นายเงิน แต่ในระหว่างที่ไปเข้าเวรนั้นต้องหาเลี้ยงดูตนเอง ซึ่งจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนมากอยู่ เพราะทาส ไม่มีเวลา เหลือที่จะสะสมสิ่งใดเอาไว้เลี้ยงตนเองในขณะที่เข้าเวรได้ ความเป็นทาสนัน้ เป็นเรือ่ งของกาลสมัย ในปัจจุบัน ความเป็นทาสนัน้ มองได้วา่ เป็นการขาดอิสระเสรีและดูออก จะเป็นเรื่องการกดขี่อย่างร้ายแรง แต่ทรรศนะเช่นนี้อาจ ไม่ตรงกับทรรศนะที่มีอยู่ในยุคสมัยที่ยังมีทาสก็ได้ ลาลูแบร์ ได้เขียนไว้เกี่ยวกับเรื่องกรุงศรีอยุธยาว่า “เสรีภาพนั้น บางครั้งก็เป็นภาระหนักแก่เขา (คนไทย) ยิ่งกว่าความ เป็นข้า ชาวสยามซึ่งพระเจ้ากรุงหงสาวดีจับไปเป็นเชลยจะ ไปอยูอ่ ย่างสงบในเมืองมอญ ห่างจากอาณาเขตสยามเพียง ยี่สิบไมล์ ณ ที่นั้นเขาจะทําการเพาะปลูกบนที่ดินซึ่งพระเจ้า กรุงหงสาวดีพระราชทานให้ ไม่มคี วามจําใดๆเกีย่ วกับประเทศ ดั้งเดิมของตนที่จะทําให้เขาเหล่านั้นเกลียดชังความเป็นข้า ของเขาทีเ่ กิดขึน้ ใหม่ เชลยมอญทีเ่ ข้ามาอยูใ่ นสยามก็มคี วาม รู้สึกเช่นเดียวกันนี้”
สังคมไทย
๑๙
รูป ๔ ชีวิตริมน้ำ จากจิตรกรรมฝาผนัง สมัยรัชกาลที่ ๓ (๒๓๖๗-๒๓๙๔) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ ภาพถ่าย สน สีมาตรัง
สรุปแล้ว สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมที่รวบรวม ผู้คนเข้าไว้เป็นหมู่กองเหมือนในกองทัพด้วยพระราชอํานาจ ของพระมหากษัตริย์ มีขา้ ราชการเป็นผูค้ วบคุมบังคับบัญชา อย่างเคร่งครัด หรือถ้าจะพูดให้ชดั เข้า สังคมไทยในอดีต ก็เป็นสังคมราชการ มีระเบียบวินยั มีกฎเกณฑ์บงั คับบัญชา กันตั้งแต่ขั้นสูงสุดลงมาถึงระดับต่ำสุด ไม่ยกเว้นให้แก่ผู้ใด ทั้งสิ้นแม้แต่พระสงฆ์ ด้วยเหตุนี้ราชการไทยจึงยังมีอํานาจ และอิทธิพลเหลืออยูม่ ากในชีวติ ของสังคมไทยปัจจุบนั บุคคลในสังคมไทยในอดีตนั้นจะต้องมีมูลนายบังคับบัญชาโดย ตลอด ในฐานะทีเ่ ป็นไพร่กต็ อ้ งสังกัดกรมกองมีมลู นายด้วย กันทุกคน หากขัดสนถึงกับต้องตกเป็นทาสก็มีนายเงินเป็น นายเพิม่ เติมขึน้ อีกคนหนึง่ ควรจะตัง้ ข้อสังเกตไว้วา่ นายเงิน นัน้ ย่อมถือว่าทาสของตนเป็นของมีคา่ เพราะในสมัยนัน้ แรง งานของคนมีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทองใดๆ ผู้ใดจะมีฐานะ ทางเศรษฐกิจดีหรือไม่ดีก็อยู่ที่การมีคนอยู่ใต้บังคับบัญชา มากหรือน้อย เมื่อแรงงานคนอื่นเป็นสิ่งที่มีค่า ผู้ที่เป็นเจ้า ของใช้แรงงานนั้นได้ก็ย่อมจะต้องหวงแหนรักษาคอยดูแล มิให้หมดสิน้ หรือลดน้อยไปโดยง่าย เมือ่ มีทาสก็ยอ่ มจะต้อง คุม้ ครองทาสนัน้ ไว้ให้มปี ระสิทธิภาพดีตามสมควร คนทีเ่ ป็น ไพร่นั้นเมื่อมีถ้อยความในโรงศาลก็มีมูลนายซึ่งตนสังกัด อยู่คอยว่าต่างให้ โดยให้ “ทนายความ” ไปคอยดูแลมิให้ ต้องเสียเปรียบในคดีความ คําว่าทนายนัน้ หมายถึงคนหนุ่ม ที่ได้รับใช้ใกล้ชิดผู้มีอํานาจตามนัยเดียวกันกับที่มหาดเล็ก เป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดพระมหากษัตริย์ ทนายความก็คือทนาย ที่มีความรูท้ างกฎหมายเกีย่ วกับโรงศาล ผูท้ เ่ี ป็นทาสนัน้ ก็มี
๒๐
ภูมิหลัง
๔
นายเงินเข้ามาเป็นผูค้ มุ้ ครองอีกคนหนึง่ นายเงินนีอ้ ยูก่ ลาง ระหว่างทาสกับมูลนายทางราชการและคอยป้องกันมิให้ ทางราชการกดขี่บังคับทาสของตนอีกชั้นหนึ่ง เป็นผู้ที่รอง รับน้ำหนักของอํานาจวาสนาแห่งทางราชการเสียส่วนหนึ่ง มิให้ตกแก่บุคคลที่เป็นทาสทั้งหมด จึงนับว่ามีคุณอยู่เหมือน กัน บุคคลในสมัยก่อนนั้นต้องตกอยู่ใต้อํานาจของทางราช การโดยไม่มีข้อยกเว้น ชีวิตของคนในสังคมไทยในอดีตนั้น เป็นชีวิตที่มีความหวาดเกรงอํานาจของราชการอย่างยิ่ง เมือ่ ตกเป็นทาสและมีนายเงินเข้ามาคุม้ ครอง ภาระต่างๆ อัน เกิดจากความหวาดเกรงนั้นก็ดูจะเบาขึ้น และเมื่อนายเงิน ต้องเป็นภาระดูแลความเป็นอยู่ของทาสมิให้ขาดอาหารการ กิ น และที่ อ ยู่ อ าศั ย ตลอดจนคอยรั ก ษาโรคภั ย ไข้ เจ็ บ ให้ ความเป็นทาสในสมัยนัน้ กลับเป็นของมีคณ ุ เพราะเป็นเครือ่ ง คุ้มครองป้องกันบุคคลจากภัยธรรมชาติและราชภัยต่างๆ อันอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะ เหตุผลเหล่านี้ประกอบกับความ จริงที่ว่าความเป็นทาสมิได้ทําให้บุคคลเสื่อมศักดิ์ศรีในสังคม สมัยก่อนมากน้อยเท่าไรนัก เนื่องจากความมีใจกว้างของ สังคมไทยตั้งแต่อดีตลงมาถึงปัจจุบัน ถึงแม้จะเป็นทาสก็ ยังมีศักดินาถึง ๕ ไร่ จึงปรากฏว่ามีคนยอมเป็นทาสด้วย ความสมัครใจมากต่อมากเป็นจํานวนหลายแสนคน ซึ่งเมื่อ เทียบกับจํานวนประชากรในสมัยนั้นแล้วอาจถึงหนึ่งในสาม
สั งคมรัตนโกสินทร์ สังคมไทยอยู่ในลักษณะเช่นที่ว่ามาโดยสังเขปนี้ตั้ง แต่สมัยอยุธยาลงมาจนถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้เกิด มีการเปลีย่ นแปลงอย่างขนานใหญ่ในลักษณะของสังคมไทย อันสืบเนื่องมาเป็นสังคมไทยในปัจจุบัน เป็นพระราชกฤษฎาภินิหารของพระบรมราชจักรี วงศ์อย่างหนึ่งซึ่งหาไม่ได้ในพระราชวงศ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ในหรือนอกประเทศไทย คือพระเมตตาคุณทีพ่ ระมหากษัตริย์ ในพระบรมราชวงศ์นท้ี รงมีตอ่ อาณาประชาราษฎรของพระ องค์ด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่จริงจังมั่นคง มิได้เสื่อมคลาย หรือเปลี่ยนแปรไปในทุกรัชกาล คงมีสืบเนื่องมาโดยตลอด นับเป็นเวลาถึง ๒๐๐ ปี ด้วยพระเมตตาคุณนี้พระบรมราช จักรีวงศ์ได้พร้อมที่จะเสียสละพระราชอํานาจและพระ ราชศฤงคารเพื่อปลดเปลื้องภาระและการกดขี่จากราษฎร และเพื่อยกระดับฐานะของราษฎรให้สูงขึ้นตลอดมาจน สังคมไทยเป็นสังคมทีม่ อี สิ ระเสรีในปัจจุบนั ความจริงข้อนี้ จะเรียกเป็นอย่างอืน่ ไม่ได้นอกจากพระราชกฤษฎาภินหิ าร เป็นอัศจรรย์ในประวัติศาสตร์ของโลกมนุษย์ เกี่ยวกับชนที่เป็นไพร่หลวงซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของ ประเทศนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหา ราชได้ทรงผ่อนภาระให้เบาลงโดยได้มีประกาศพระบรม- ราชโองการยกเลิกการเข้าเวรแบบเข้าเดือนออกเดือนซึ่ง ได้เคยปฏิบัติกันมาแต่โบราณนั้น และโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเวร หนึ่งเดือน ออกสองเดือน ทั้งนี้โดยได้ทรงคํานึงถึงผู้ที่ตก เป็นทาสต้องทํางานให้นายเงินหนึง่ เดือนและให้ราชการหนึง่ เดือนสลับกันไปเป็นภาระหนักมาก จึงให้เข้าเวรหนึ่งเดือน ทํางานให้นายเงินหนึ่งเดือน และทํามาหากินให้แก่ตนเอง หนึ่งเดือน เป็นอันว่าไพร่หลวงต้องมาเข้าเวรสามเดือนต่อ ครั้ง ปีหนึ่งต้องเข้าเวรสี่ครั้ง ครั้งละเดือน แทนที่จะเป็น หกครั้งอย่างแต่กอ่ น นับว่ามีภาระเบาลง ต่อมาพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงผ่อนภาระไพร่หลวง อีก โดยได้ทรงลดเวลาลงมา ให้เข้าเดือนทุกสีเ่ ดือนหรือปี หนึง่ เข้าเวรเพียงสามเดือน เป็นอิสระแก่ตนถึงเก้าเดือน ผู้ ที่เป็นทาสก็จะทําราชการหนึ่งเดือนแล้วออกเวรทํางานให้ นายเงินหนึ่งเดือน มีเวลาที่จะทํามาหากินของตนเองอีก สองเดือน หรือรวมแล้วหกเดือนในหนึ่งปี ได้กล่าวมาแล้วว่าถึงแม้ว่าในหลักการคนที่เป็นไพร่ หลวงนัน้ จะมีทางทีจ่ ะเจริญก้าวหน้าในราชการหากทําความ ดีความชอบหรือมีความสามารถ แต่โอกาสทีแ่ ท้จริงนัน้ มีอยู่ น้อยหรือเกือบจะไม่มีนอกจากจะเป็นกรณีพิเศษจริงๆ เท่า นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ พระราชทานสิทธิแก่ไพร่หลวงทีจ่ ะถวายตัวเป็นมหาดเล็กได้ เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ไพร่ทุกคนลืมตาอ้าปาก มีทาง เพิ่มศักดินาของตนเป็นขุนนางหรือเป็นผู้ดีได้ทั่วกัน สิทธิที่ พระราชทานต่อไพร่นี้เป็นสิทธิอันใหญ่หลวง เพราะแต่ก่อน
มาผู้ใดจะถวายตัวเป็นมหาดเล็กได้นั้นยากยิ่ง ต้องมีคุณสมบัติต่างๆ หลายประการ มีกฎหมายในรัชกาลพระเจ้า บรมโกศ ระบุไว้ว่า ผู้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กจะต้องมีคุณ สมบัติถึง ๙ ประการ คือวุฒิ ๔ อธิบดี ๔ และคุณานุรูป ๑ ถ้าจะพิจารณาเฉพาะวุฒิสองประการแรกก็หนักหนาอยู่แล้ว คือต้องมีตระกูลสืบมาจากอัครมหาเสนาบดี และต้องมีอายุ ๓๑ ปี ขึ้นไป มหาดเล็กจึงเป็นคนที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว คัดเลือกอีก และต้องมีวุฒิสูงต่างๆ อีกมาก เป็นคนกลุ่ม หนึ่งที่วิเศษกว่าคนอืน่ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Elite อยูใ่ กล้ ชิดองค์พระมหากษัตริย์ ได้มีโอกาสศึกษาราชการแผ่นดิน ในระดับสูงสุด และมีโอกาสเหนือคนอื่นที่จะเข้ารับหน้าที่ บริหารราชการในระดับสูงทั้งในนครหลวงและในส่วนภูมิ ภาค เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานสิทธิให้แก่ไพร่หลวงที่จะถวายตัวเป็นมหาด เล็กได้กเ็ ท่ากับพระราชทานสิทธิและโอกาสแก่กลุ่มคนที่อยู่ ฐานันดรที่ต่ำสุดให้ได้ก้าวขึ้นไปสู่ฐานันดรที่สูงเป็นพิเศษโดย ไม่มีสง่ิ ใดขีดขัน้ อีกต่อไป นับว่าเป็นก้าวแรกทีส่ งั คมไทยจะ ก้าวออกไปสูค่ วามเสมอภาคในโอกาสอันเป็นสิทธิมนุษยชน อย่างหนึ่ง มีข้อควรสังเกตว่าในสังคมไทยสมัยก่อนไม่มีชนชั้น กลางเพราะคนทัว่ ไปไม่สามารถทํามาหากินโดยอิสระเพราะ เวลาทีจ่ ะทํามาหากินเพือ่ ตนเองนัน้ มีไม่พอ ต่อมาถึงยุครัตนโกสินทร์นี้จึงได้มีการผ่อนคลายภาระต่างๆ ที่คนทั่วไปมีต่อ ทางราชการ เมื่อเวลาทํามาหากินให้แก่ตนเองมีมากขึ้น จุด กําเนิดของชนชั้นกลางก็เริ่มขึ้นมา ครั้นถึงรัชกาลพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ส่งเสริมการค้าขาย ระหว่างประเทศและให้มีการผูกขาดอากรในสินค้าต่างๆ ทําให้มีการค้าขายเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมและมีการผลิตสินค้า ที่มีหลักเกณฑ์ยง่ิ กว่าเดิม ขนาดเป็นอุตสาหกรรม เช่น การ ต้มกลั่นสุรา การทําน้ำตาลและอื่นๆ เป็นเหตุให้เกิดคนมี ฐานะดีเพิม่ ขึ้น ทั้งที่คนเหล่านั้นมีเชื้อสายมาจากจีนแต่ก็มี คนไทยที่เป็นข้าราชการเข้าค้าขายตามพระราชนิยมอยู่มาก ชนชั้นกลางในประเทศไทยก็เติบโตขึ้นอีก ทําให้ลักษณะ ของสังคมไทยผิดแผกไปจากเดิมยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเสด็จขึ้น เสวยสิรริ าชสมบัตสิ บื ต่อจากพระบรมเชษฐาธิราชนัน้ ได้พระ ราชทานสิทธิเสรีภาพให้แก่สังคมไทยเพิ่มขึ้นอีกในหลาย ประการ ได้ทรงลดช่องว่างระหว่างพระมหากษัตริย์ใน ฐานะที่ทรงเป็นเทวราชกับราษฎรลงไป ในสมัยอยุธยานั้น ราษฎรไม่มีสิทธิที่เข้าถึงองค์พระมหากษัตริย์ด้วยวิถีทาง ใดๆ ทั้งสิ้น เพราะตามปกติก็จะไม่ปรากฏพระองค์ให้แล เห็น และถึงแม้ในโอกาสทีเ่ สด็จออกจากพระราชวังจะเสด็จ พระราชดําเนินไปในทางใดราษฎรก็ต้องปิดประตูหน้าต่าง บ้านเรือนมิดชิด แม้แต่จะมองดูกระบวนเสด็จหรือแลเห็น พระองค์ก็ไม่ได้เป็นอันขาด หากผู้ใดละเมิดกฎข้อนี้ทหาร ซึ่งแห่เสด็จจะใช้กระสุนยิงลูกตาทะลุ การใช้กระสุนยิงลูก
สังคมไทย
๒๑
ตาราษฎรนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรด เกล้าฯ ให้เลิกเป็นอันขาด เมื่อถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็โปรดเกล้าฯ ให้เลิกกฎให้ชาวบ้านปิด ประตูหน้าต่างเวลาเสด็จพระราชดําเนินผ่านบ้านช่องของ ตน ให้เปิดไว้ได้เป็นปกติและยังได้มพี ระราชกระแสแนะนํา ชาวบ้านให้ออกมาเฝ้ า ทู ล ละอองธุ ลี พ ระบาทหน้ า บ้ า น เรือนของตน หากทรงรู้จักจะได้มีพระราชปฏิสันถารด้วย อีกประการหนึง่ สิทธิดง้ั เดิมของราษฎรไทยทีจ่ ะเข้าร้องทุกข์ ต่อพระองค์พระมหากษัตริย์ได้โดยตรงดังที่มีจารึกไว้ในศิลา จารึกพ่อขุนรามคําแหงนั้นได้ยกเลิกไปในสมัยอยุธยาตาม คติของเทวราช แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงฟืน้ ฟูสทิ ธิดง้ั เดิมนัน้ ขึน้ ใหม่ โดยเสด็จออกรับฎีกาจาก ราษฎรด้วยพระองค์เองเป็นประจําเสมอ วันใดที่ทรงพระ ประชวรหรือมีพระราชกิจอย่างอืน่ ก็โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอหรือพระบรมวงศ์ผ้ใู หญ่ออกรับฎีกาแทน พระองค์โดยสม่ำเสมอไม่ขาด นอกจากนัน้ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ยังโปรดเกล้าฯ ให้มกี ารค้าระหว่าง ประเทศไทยกับต่างประเทศได้โดยเสรี โดยยกเลิกกฎเกณฑ์ เก่าๆ เกีย่ วกับการส่งสินค้าออกนัน้ เสียทําให้เกิดมีการส่งสินค้า เศรษฐกิจส่วนใหญ่ เช่น ข้าว ไม้ ของป่าต่างๆ ออกไปขาย ต่างประเทศได้มาก ราษฎรทัว่ ไปซึง่ เป็นชาวไร่ชาวนาก็ขายพืช ผลได้ในราคาสูงขึ้นกว่าเดิม มีฐานะทางเศรษฐกิจดียิ่งขึ้น ไปอีก มีผลกระทบถึงสังคมไทยทําให้มอี สิ ระเสรียง่ิ ขึน้ กว่าที่ เคยมีมา เพราะฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นนั้นย่อมจะทำให้ คนเป็นอิสระแก่ตวั ไม่ตอ้ งเข้าพึง่ พาอาศัยผูม้ อี าํ นาจหรืออิทธิพลให้คุ้มครองตนอย่างที่เคยกระทํากันมาแต่ก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นทรง มีพระคุณต่อสังคมไทยและประชาชนชาวไทยเป็นอนันต์ ที่ จะยกมากล่าวในที่น้ีเพราะเกี่ยวกับสังคมไทยโดยตรงก็คือ การเลิกทาสและเลิกระบบไพร่ การเลิกทาสนั้นมิได้ทรงใช้วิธีที่แตกหักรุนแรงอัน จะทําให้เกิดวิกฤตการณ์อนั ร้ายขึน้ ได้ แต่ได้ทรงใช้วธิ ที จ่ี ะทํา ให้ทาสหมดไปในเวลาอันกําหนด ในขั้นแรกได้ทรงประกาศ พระราชบัญญัติเกษียณอายุลูกทาสลูกไทย จุลศักราช ๑๒๓๖ (พ.ศ. ๒๔๑๗) ขึ้น พระราชบัญญัตินี้บังคับให้มีการ เพิ่มเกษียณอายุลูกทาสที่เกิดในปีท่เี สด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ คือ ปีมะโรงสัมฤทธิศก ขึ้นเกษียณอายุคือส่วนลดค่าตัว ลูกทาส ได้ทรงเพิ่มส่วนลดค่าตัวนี้ขึ้น ซึ่งเมื่อได้ลดค่าตัว ลูกทาสตามอัตราใหม่นี้แล้วลูกทาสทั้งปวงที่เกิดในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็จะเป็นไทแก่ ตัวเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ในขณะเดียวกันทาสที่เป็นมาแต่ก่อน รัชกาลของพระองค์ท่านนั้นกฎหมายนี้มิได้กินความไปถึง คงปล่อยให้เป็นทาสต่อไปก่อนเพือ่ มิให้เกิดกระทบกระเทือน อย่างรุนแรงในทางเศรษฐกิจ แต่กฎหมายได้บัญญัติให้ทาส ที่มีอายุครบ ๖๐ ปีได้พ้นค่าตัว ไม่ว่าค่าตัวนั้นจะยังเหลือ มากน้อยเท่าไรและให้เป็นไท ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๔๘ ได้ทรง
๒๒
ภูมิหลัง
ประกาศใช้พระราชบัญญัติทาสอีกฉบับหนึ่งให้เลิกค่าตัว ลูกทาสทั้งหมด “มิให้มีพิกัดเกษียณอายุดังว่าไว้ในพระราช บัญญัติลูกทาสลูกไทย จุลศักราช ๑๒๓๖ นั้นต่อไป” เป็น อันว่าทาสก็หมดสิ้นจากเมืองไทยไปแต่เวลานั้น ระบบไพร่หลวงนั้นได้ใช้กันมานานหลายร้อยปี พอ ถึงรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีแต่ความยุ่งยากสับ สนและปัญหาต่างๆ ที่ไม่มีทางแก้ นอกจากนั้นก็เป็นทาง ที่ทําให้มีการกดขี่บังคับและความไม่เป็นธรรมต่างๆ มีแต่ ความเดือนร้อนไปทัว่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวจึงได้ทรงยกเลิกระบบไพร่ใน พ.ศ. ๒๔๒๕ อันเป็น เวลาที่กรุงรัตนโกสินทร์ตั้งมาได้ร้อยปี แล้วได้ใช้พระราช บัญญัติการเกณฑ์ทหารเข้ารับราชการแทนดังที่ยังคงปฏิบัติอยู่ในทุกวันนี้ ทางด้านการพระศาสนา พระบาทสมเด็จพระจุล- จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงผ่อนคลายอํานาจการปกครอง ของฆราวาสลง โดยได้ทรงอนุญาตให้คณะธรรมยุตอันมี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรง เป็นเจ้าคณะอยูใ่ นขณะนัน้ ได้ปกครองตนเองตามพระธรรม วินัยก่อน ซึ่งต่อมาก็ได้ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ มีมหาเถรสมาคมเป็นองค์การปกครองสงฆ์สูง สุด มหาเถรสมาคมนั้นประกอบด้วยสมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะทั้งสองนิกาย เป็นอันว่าสงฆ์ไม่ต้องขึ้น อยู่กับฆราวาสอีกต่อไป และได้ปกครองกันเองตามพระ ธรรมวินัยมาจนถึงทุกวันนี้ สังคมไทยแต่ก่อนมานั้นออกจะเรียกได้ว่าขาดเอก ลักษณ์ ไม่รู้จักตนเองว่าเป็นใคร พระบาทสมเด็จพระมง- กุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงกําหนดเอกลักษณ์ขึ้นโดยได้ทรง กระทําให้คําว่า “ชาติไทย” นั้นมีความสําคัญแน่นอนขึ้นมา ในใจของคนไทย และได้ทรงเน้นให้เห็นความสําคัญของชาติ ไทยและสถาบันคือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ด้วย วิธกี ารต่างๆ มากมายหลายประการ จนกล่าวได้วา่ สังคมไทย นั้นเกิดมีตัวตนที่แน่นอนขึ้นมีที่ยึดเหนี่ยวทางใจที่มั่นคง
รูป ๕ พระบรมรูปพระมหากษัตริย์ พระบรมราชจักรีวงศ์ รัชกาลที่ ๑-๘ ประดิษฐานอยู่ในปราสาทพระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
๕
พระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ได้ ใฝ่ พ ระ ราชหฤทัยในระบอบประชาธิปไตยตลอดมานับตัง้ แต่ได้เสด็จ ขึน้ เสวยสิรริ าชสมบัตสิ บื ต่อจากพระบรมเชษฐาธิราช ได้ทรง ออกกฎหมายว่าด้วยการสุขาภิบาลเพื่อให้ประชาชนได้มี สิทธิปกครองตนเองในท้องถิ่น และได้ทรงพระราชดําริที่ จะให้มีรัฐธรรมนูญปกครองขึ้น และต่อมาก็ได้พระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก่ปวงชนชาวไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ในรัชกาลปัจจุบันอันเป็นรัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรม ราชจักรีวงศ์มาเป็นเวลา ๒๐๐ ปีบริบูรณ์ ระบอบการปก ครองบ้านเมืองได้เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันเป็นระบอบที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอํานาจเป็น ล้นพ้นไปเป็นระบอบทีม่ พี ระมหากษัตริยภ์ ายใต้รฐั ธรรมนูญ แต่พระราชกฤษฎาภินิหารของพระบรมราชจักรีวงศ์นั้นก็ ยังอยู่และปรากฏเด่นชัดขึ้นกว่าเดิม เพราะพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงวางพระองค์และ ปรับพระองค์ให้เข้ากับสถานการณ์ทางการเมืองที่ย่อมจะ ต้องผันผวนและเปลีย่ นแปลงไปในระยะแรกเริม่ แห่งระบอบ ประชาธิปไตย ประดุจดังได้ทรงประคองแผ่นดินไทยอัน อาจแตกร้าวได้โดยง่ายนี้ไว้ในอุ้งพระราชหัตถ์ ซึ่งมีทั้ง ความแข็งแรง และมั่นคงด้วยพระขันติคุณและความอ่อน โยนด้วยพระมหากรุณาธิคุณ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และทางการเมืองในรัชกาลของพระองค์จึงสามารถเกิด ขึ้นได้โดยปราศจากความรุนแรงจนเป็นภัยพิบัติอย่างที่ได้ เกิดมีขึ้นในประเทศอื่นๆ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้ทรง ปฏิบัติธรรมแห่งศาสนาพุทธซึ่งได้กําหนดไว้สําหรับพระ มหากษัตริยไ์ ด้อย่างจริงจัง สม่ำเสมอและครบถ้วนได้แก่ทศ พิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร และสังคหวัตถุ จนธรรมเหล่า นั้นซึ่งแต่ก่อนเพียงแต่เคยได้ยินได้ฟังกันมาเป็นนามธรรม ได้ปรากฏเป็นรูปธรรมชัดแจ้งแลเห็นประจักษ์ได้โดยทั่วกัน เป็นธรรมที่ปฏิบัติได้จริง เกิดผลดีจริงๆ แก่อาณาประชา ราษฎร และเป็นแบบอย่างที่จะให้ผู้อื่นถือปฏิบัติได้จริงโดย ไม่มีข้อสงสัยลังเลใจ ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเป็นที่ เคารพนับถืออันสูงสุดของคนไทยและยังมีราชประเพณี และพิธรี ตี องต่างๆ ซึง่ ยังหลงเหลือมาแต่กาลก่อน พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้ทรงปล่อยให้สิ่งเหล่านั้นเป็นอุป สรรคต่อพระราชกรณียกิจเพือ่ ประโยชน์ของประชาชนหรือ เป็นสิ่งที่กั้นกางระหว่างพระมหากษัตริย์และประชาชน แต่ได้ทรงเข้าถึงประชาชนทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด ทําให้ ไม่มีช่องว่างระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์อีกต่อ ไป ทําให้เกิดมีอดุ มการณ์เกีย่ วกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ขึ้นใหม่ในปัจจุบันซึ่งแตกต่างไปจากอุดมการณ์ซึ่งเคยมี มาแต่ก่อน อุดมการณ์นี้ได้แก่ความรักอันใกล้ชิด ความ ภักดีและความมั่นใจในความบริสุทธิ์แห่งพระราชหฤทัย และพระมหากรุณาธิคุณอันหาประมาณมิได้ในสังคมไทย ในยุคปัจจุบันนี้
สังคมไทย
๒๓
สถาบันพระมหากษัตริย์
สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่เคยไร้กษัตริย์ต้ังแต่โบราณ กาลลงมา ไม่วา่ คนไทยจะไปตัง้ รกรากสร้างบ้านสร้างเมือง ลงที่ไหน บ้านเมืองของคนไทยนั้นก็จะต้องมีกษัตริย์ขึ้น ใน ยามที่บ้านเมืองมียุคเข็ญ องค์พระมหากษัตริย์นั้นว่างลง ก็จะต้องมีคนคิดกอบกู้สถาบันพระมหากษัตริย์ให้กลับฟื้น ฟู ขึ้ น มาใหม่ ด้ ว ยการปราบดาภิ เษกตั้ ง วงศ์ ก ษั ต ริ ย์ ขึ้ น ให้สืบสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อไป มิให้ขาดได้ ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะเหตุว่าคนไทยแลเห็นความจํา เป็นแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อชีวิตของสังคมและ ต่อการสืบทอดวัฒนธรรมไทย ความจําเป็นนี้ทําให้สถาบัน พระมหากษัตริย์สําคัญอย่างยิ่งต่อสังคมไทย ทําให้สังคม นั้นมีวิญญาณมีเอกลักษณ์ของตนเองแตกต่างจากสังคม อื่น เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยนั้นมีลักษณะ แตกต่างกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมอื่นๆ อยู่มาก ความสําคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยนั้นมี อยู่มากถึงขนาดที่จะให้ชนชาติอื่นต้องยอมรับ ดังเช่นใน ประเทศอินเดียซึ่งในสมัยโบราณเคยแบ่งออกเป็นรัฐต่างๆ จํานวนมากมายนั้น ศาสนาฮินดูเคยรับรองมาแต่ดั้งเดิมว่า มีวงศ์กษัตริย์อยู่เพียงสองวงศ์เท่านั้น คืออาทิตยวงศ์และ จันทรวงศ์ กษัตริยท์ ง้ั ประเทศซึง่ นับถือศาสนาฮินดูนน้ั ไม่วา่ จะครองรัฐใดก็อยู่ในวงศ์กษัตริย์วงศ์หนึ่งในสองวงศ์น้ีเท่า นัน้ คือ หากไม่อยูใ่ นอาทิตยวงศ์กอ็ ยูใ่ นจันทรวงศ์ แต่ตอ่ มา มีคนเชือ้ ชาติไทยเผ่าหนึง่ คือ ไทยอาหม ได้อพยพจากเหนือ เข้าไปอยู่ในรัฐอัสสัมในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือและ ได้สร้างบ้านเมืองมีกษัตริย์ของตนเองขึ้น คนไทยเหล่านี้ ได้ยอมรับศาสนาและวัฒนธรรมฮินดู แต่ไม่ยอมรับวงศ์ กษัตริยข์ องฮินดู คงยืนยันที่จะให้มีกษัตริย์ไทยของตนเอง จนมีผลทําให้ศาสนาฮินดูตอ้ งยอมรับวงศ์กษัตริยอ์ ีกวงศ์หนึ่ง ตัง้ นามให้วา่ อินทรวงศ์ เป็นวงศ์กษัตริยข์ องไทยโดยเฉพาะ เพิ่มเติมขึ้นมาจากสองวงศ์กษัตริย์ซึ่งเคยมีมาแต่ดั้งเดิม วงศ์ ก ษั ต ริ ย์ ทั้ ง สามวงศ์ ในอิ น เดี ย ยั ง คงอยู่ ต่ อ มาจนถึ ง ทุกวันนี้ ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ และที่ ๑๙ ปรากฏ ว่ า ดิ น แดนซึ่ ง รวมกั น เป็ น ประเทศไทยในปั จ จุ บั นนี้ มี ร าช อาณาจักรอยู่หลายราชอาณาจักร ได้แก่ราชอาณาจักร ลพบุรี ราชอาณาจักรล้านนาซึ่งมีราชธานีอยู่ที่เมืองหริภุญ ชัยหรือเมืองลําพูนในปัจจุบัน ราชอาณาจักรสุโขทัย ราช อาณาจักรสุพรรณบุรีในภาคกลาง และราชอาณาจักรนคร
๒๔
ภูมิหลัง
ศรีธรรมราชในภาคใต้ ราชอาณาจักรล้านนาไทยในภาค เหนือนั้นได้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ในสมัยที่ พ่ อ ขุ น มั ง รายได้ แ ผ่ พ ระราชอํ า นาจไปทั่ ว ล้ า นนาไทย ราชอาณาจักรสุโขทัยได้ยา้ ยราชธานีลงมาอยูท่ เ่ี มืองพิษณุโลก ในสมัยพระมหาธรรมราชาลือไทย ในตอนต้นพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙ พระเจ้าอู่ทองได้สร้างราชธานีขึ้นที่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งภายหลังไม่นานกษัตริย์จากราชวงศ์สุพรรณบุรีได้เข้ามา ครอง ส่วนราชอาณาจักรในภาคใต้นน้ั ปรากฏตามศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคําแหงว่าเป็นเมืองขึ้นของสุโขทัย แต่ตาม ความจริงน่าจะคงปกครองตนเองมาโดยตลอด เพราะระยะ ทางระหว่างสุโขทัยและนครศรีธรรมราชนัน้ ห่างไกลกันมาก มีราชอาณาจักรอยุธยากั้นกลางอยู่ นครศรีธรรมราชอาจ ยอมเป็นเมืองขึน้ สุโขทัยเพือ่ ประโยชน์ในทางการเมือง หาก อยุธยาแผ่อํานาจลงมาได้ก็คงจะต้องเกรงใจสุโขทัยซึ่งอยู่ ทางเหนือ เกิดศึกสงครามขึ้นระหว่างอยุธยากับนครศรี ธรรมราช อยุธยาก็จะต้องระวังหลังคือสุโขทัยอยู่ตลอด เวลา เป็นแรงรั้งไว้ไม่ให้อยุธยาแผ่อํานาจพุ่งลงทางใต้โดย สะดวกในสมัยแรกเริ่ม ราชอาณาจักรไทยเหล่านี้มีการติดต่อกันตลอดมา ในฐานะเป็นรัฐเอกราชเสมอกัน และมีความเคารพซึ่งกัน และกัน พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเรียกพระมหา กษัตริย์ไทยราชอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้เป็นศัพท์เฉพาะไม่ ปะปนกัน คือ พระมหากษัตริย์เชียงใหม่เรียกว่า มหาราช พระมหากษัตริย์สุโขทัยเรียกว่า มหาธรรมราชา และพระ มหากษัตริย์นครศรีธรรมราชเรียกว่า ศรีธรรมาโศกราช ราชอาณาจักรล้านนาไทยนั้นต่อมาได้ตกไปอยู่ใต้ อํานาจพม่า ทําให้ขาดความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย ในภาคอื่นๆ ลงไป อย่างไรก็ตาม ในกฎหมายการแบ่งเขตการปกครอง ของไทยซึ่งประกาศใช้ในสมัยอยุธยานั้นยังยกย่องราชธานี ในภาคเหนือและภาคใต้อยู่ คือ ยกให้เป็นหัวเมืองเอก เฉพาะแต่เมืองพิษณุโลกและเมืองนครศรีธรรมราช เท่านั้น และยอมให้มีหัวเมืองตรีเป็นเมืองขึ้น หัวเมืองเอกทั้งสองนี้ ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา ส่วนหัวเมืองอื่นๆ นั้นให้มีฐานะ เพียงหัวเมืองโทและหัวเมืองตรี ขึ้นต่อหัวเมืองเอกทั้ง สอง สุดแต่จะตั้งอยู่ใกล้เมืองใด หัวเมืองโทหรือตรีที่ขึ้น ต่อกรุงศรีอยุธยาคือเมืองที่ใกล้เคียงเมืองหลวง ภายใน เขตที่กําหนดไว้ว่าเป็นวงราชธานีเท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
ถึ ง แม้ ว่ า อยุ ธ ยาจะได้ แ ผ่ อํ า นาจปกครองครอบคลุ ม ไป ถึงภาคเหนือและภาคใต้แล้ว ลักษณะการบริหารประเทศ ก็คงยังอยู่ในรูปราชอาณาจักรทั้งสามที่เคยมีมาแต่ก่อน
สถาบันพระมหากษัตริย์ สมั ยสุโขทัย ตามที่ปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ซึ่งเล่าถึง สภาพเมืองสุโขทัยในรัชกาลพ่อขุนรามคําแหงมหาราช สถาบัน พระมหากษัตริยก์ รุงสุโขทัยนัน้ เป็นสถาบันทีเ่ ป็นกลางระหว่าง ชนต่างชัน้ พระมหากษัตริยท์ รงให้ความยุตธิ รรมแก่ชนทุกชัน้ เสมอกัน และองค์พระมหากษัตริย์นั้นใกล้ชิดแก่ราษฎรเป็น อย่างยิ่ง ถึงกับมีกระดิ่งแขวนไว้หน้าพระราชวัง ให้ราษฎร ผูม้ ที กุ ข์หรือเกิดถ้อยร้อยความอย่างใด ไปสัน่ เรียกพระองค์ ออกมาทรงฟังความเดือดร้อนและพูดจากันตรงๆ ได้ พระมหากษัตริย์สุโขทัยทรงมีหน้าที่บําบัดทุกข์บํารุง สุขของชาวเมืองสุโขทัยเกือบจะเรียกได้ว่าในทุกกรณี ทรง ส่งเสริมการค้าซึ่งก็จะต้องหมายถึงการอุตสาหกรรมด้วย ด้วยการดํารงไว้ซึ่งระบบการค้าอันเสรี ทําให้เมืองสุโขทัย บริบูรณ์ด้วยสินค้าต่างๆ ที่ผลิตในเมืองเอง และมาจาก ต่างเมือง และมีอุตสาหกรรมผลิตสินค้าส่งออก ซึ่งคงจะ เป็นรายได้เข้าประเทศมาก ได้แก่เครื่องสังคโลกอันเป็นสิน ค้าที่มีตลาดกว้างขวางในต่างประเทศ ปรากฏหลักฐานว่า เครื่องสังคโลกนั้นได้ส่งออกต่างประเทศโดยเรือสําเภา จากปากน้ำเจ้าพระยาทางหนึ่ง เพื่อไปจําหน่ายในประเทศ ทางตะวันออกและทางทิศใต้ และขนส่งทางบกไปลงเรือที่ เมืองเมาะตะมะในอ่าวเบงกอลอีกทางหนึ่งเพื่อไปจําหน่าย ในประเทศตะวันตก ถึงแอฟริกาและยุโรปเป็นที่สุด พิจารณาดูศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ซึ่งเป็นเรื่อง ราวของพ่อขุนรามคําแหงมหาราชแล้วก็ทําให้อดนึกไม่ได้ว่า พระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัยสมัยนั้นจะต้องมีหน้าที่ส่งเสริม การเกษตรอีกด้วย เพราะมีขอ้ ความในศิลาจารึกทีบ่ นั ทึกไว้ดว้ ย ความภาคภูมใิ จถึงความอุดมสมบูรณ์ของเมืองสุโขทัย “ในน้ำ มีปลา ในนามีข้าว” ในทิศทางต่างๆ ของเมืองมีสวนผลไม้ ต่างชนิด มีสวนตาลซึง่ ท่านให้ปลูกไว้ มีโครงการชลประทาน หรืออย่างน้อยก็เขื่อนกั้นน้ำที่เรียกว่า “สรีดภงส์”
๖
นอกจากนั้น พ่อขุนรามคําแหงมหาราชซึ่งทรงเป็น นักรบ ก็ได้ทรงปกป้องเมืองสุโขทัยมิให้มีข้าศึกศัตรูมารุก ราน พระราชอาณาจักรได้ พลเมืองจึงอยู่ได้ด้วยสันติ ปรากฏตามศิลาจารึกหลายหลักว่าพระมหากษัตริย์ กรุงสุโขทัยทรงเป็นอัครพุทธศาสนูปถัมภกทุกพระองค์ แต่ละพระองค์ได้มีพระราชศรัทธาสร้างและบูรณะวัดวา อารามที่ใหญ่โตงดงามไว้เป็นจํานวนมากมาย เฉพาะพ่อขุน รามคําแหงมหาราชได้ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาด้วยการ นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ในนิกายเถรวาทผูแ้ ตกฉานในพระไตรปิฎก และเคร่งครัดในพระธรรมวินัยจากที่อื่น ให้มาสืบสมณวงศ์ ณ เมืองสุโขทัยและได้พระราชูปภัมภ์ตามควรแต่สมณเพศ และได้รับการส่งเสริมให้เทศนาสั่งสอนธรรมแก่คนทั้งปวง ซึง่ คงจะได้มคี นมาฟังธรรมเป็นจํานวนมาก เพราะในวันธรรมสวนะ พ่อขุนรามคําแหงมหาราชโปรดให้พระธรรมกถึกขึ้น นัง่ บน “ขดารหิน” คือ พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ ในสวนตาล อันเป็นที่กลางแจ้ง จุคนที่มาฟังธรรมได้มากกว่าในวิหาร หรือศาลา นอกจากทางด้านพระพุทธศาสนาแล้ว พระมหา กษัตริย์กรุงสุโขทัยยังมีหน้าที่ที่จะต้องเซ่นผี คือผีเมืองหรือ เทพารักษ์ซง่ึ เรียกว่า พระขพุงผี สถิตอยูบ่ นภูเขานอกเมือง สุโขทัย พระขพุงผีนม้ี คี วามสําคัญมาก เพราะเชือ่ กันว่าหาก ไหว้ดพี ลีถกู แล้วเมืองสุโขทัยจะรุง่ เรืองเป็นสุข แต่ถา้ “ไหว้ บ่ดีพลีบ่ถูก” แล้วเมืองนี้หาย คือเมืองสุโขทัยจะถึงกับกาล วิบัติอันตรธานไป
๗ รูป ๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธีบวงสรวง พระสยามเทวาธิราช ที่ลานหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี รูป ๗ พระสยามเทวาธิราชซึ่งพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นสัญลักษณ์ของเทพยดา อารักษ์ ซึ่งเชื่อกันว่าคอยพิทักษ์ บ้านเมือง ตามปกติพระรูปพระสยาม เทวาธิราชประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่ง ไพศาลทักษิณ แต่โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญออกมาที่มุขเด็จพระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท ให้ราษฎร ได้นมัสการในระหว่างงานสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี
สถาบันพระมหากษัตริย์
๒๕
สถาบันพระมหากษัตริย์ สมัยอยุธยา
นอกจากที่ได้กล่าวมานี้แล้ว พระมหากษัตริย์กรุง สุโขทัยยังทรงมีหน้าที่เป็นผู้ประสาทวิชาความรู้และรักษา ไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีทั้งปวง ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้บอกไว้ว่าพ่อขุนรามคําแหงมหาราชทรงบัญญัติหนังสือ ไทยขึน้ และทรงเป็นครูแก่คนทัง้ ปวง ซึง่ คงจะหมายถึงวิชาการ อีกหลายอย่าง ตลอดจนได้ทรงรักษาส่งเสริมประเพณีตา่ งๆ เช่นการเผาเทียนเล่นไฟตามเทศกาล ประกอบด้วย ดุริย- ดนตรีและความรื่นเริงบันเทิงใจของคนที่มาชุมนุมกันเป็น จํานวนมาก สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยในสมัยสุโขทัยนั้น เป็นสถาบันของมนุษย์ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นมนุษย์ มิ ใช่เทพเจ้า ความใกล้ชดิ กับประชาชนนัน้ แสดงให้เห็นว่าพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นมนุษย์ มิได้ถูกกีดขวางกางกั้นมิให้ติด ต่อกับมนุษย์อื่นๆ ด้วยเป็นเทพเจ้า จะสังเกตได้ว่าในศิลา จารึกหลักที่ ๑ เมืองสุโขทัยนั้นมิได้มีการใช้ราชาศัพท์เมื่อ กล่าวถึงองค์พระมหากษัตริย์เลย คงใช้ศัพท์สามัญเช่นที่ ใช้กบั คนทัว่ ไป ทัง้ ทีเ่ มืองสุโขทัยทัง้ เมืองตลอดจนอาณาเขต อืน่ ๆ ทีข่ น้ึ กับเมืองสุโขทัยนัน้ ถือว่าเป็นของพระมหากษัตริย์ พ่อขุนรามคําแหงมหาราชก็ทรงประกาศไว้ในศิลาจารึกว่า ทรงมีฐานะเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย โดยได้รับเป็นมรดกตกทอด มาจากสมเด็จพระเชษฐาธิราช ขุนบาลเมือง ตามถ้อยคํา ในศิลาจารึกว่า “พี่กูตาย จึงได้เมืองแก่กูทั้งกลม” แต่ความ เป็นเจ้าของเมืองสุโขทัยนั้นมิได้ทําให้องค์พระมหากษัตริย์ ทรงอยู่ในฐานะเทพเจ้า แต่ทรงอยู่ในฐานะเจ้าของบ้านเจ้า ของเมือง มีหน้าที่จะต้องปกครองบ้านเมืองให้อยู่ได้ด้วย ความปลอดภัย คอยปกป้องดูแลให้ลูกบ้านลูกเมืองมีความ สมบูรณ์ ได้รับความเป็นธรรม มีโอกาสที่จะทํามาหากิน เลีย้ งตัวได้ มีศลี ธรรมอันดี มีปญ ั ญาและความรูท้ ก่ี า้ วหน้า ออกไปตามกาลและมีความบันเทิงตามโอกาส ในราชอาณาจักรไทยภาคเหนือในสมัยเดียวกัน เช่น ที่เมืองเชียงใหม่ เมืองพะเยาและเมืองลําพูนนั้น สถาบัน พระมหากษัตริยก์ ค็ งจะมีลกั ษณะคล้ายคลึงกับสถาบันพระ มหากษัตริยท์ เ่ี มืองสุโขทัย เพราะราชอาณาจักรต่างๆ เหล่า นี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมากตามประวัติศาสตร์
๒๖
ภูมิหลัง
เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง แรกสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใน พ.ศ. ๑๘๙๓ นั้น พระองค์ได้ชัยชนะเหนือกษัตริย์เขมร ซึ่งได้ยอมเป็นข้า ขอบขัณฑสีมา และทรงเป็นเจ้าเป็นใหญ่เหนืออาณาจักร เขมรอันกว้างใหญ่ไพศาลทั้งหมด ความจริงข้อนี้ปรากฏ หลักฐานอยู่ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยานั้นเอง หลักฐานแรกก็คือเรื่องขอมแปรพักตร์ มีข้อความ ในพระราชพงศาวดารฉบับความสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ว่า “แล้วให้ขึ้นไปเชิญสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ พระราเมศวร ลงมาแต่เมืองลพบุรี ทรง พระกรุณาตรัสว่า ขอมแปรพักตร์จะให้ออกไปกระทําเสีย” คําว่า “ขอมแปรพักตร์” นี้จะเข้าใจเป็นอย่างอื่นไม่ ได้ นอกจากว่าขอมหรือเขมรหรือที่ในพระราชพงศาวดาร แห่งอื่นเรียกว่า กรุงกัมพูชาธิบดีนั้นตกอยู่ใต้พระราชอํานาจของพระเจ้าอู่ทอง หากมิได้เป็นเช่นนั้นแล้วเหตุไฉนจะ คิดแปรพักตร์หรือคิดกอบกู้เอกราชของตนได้ เหตุการณ์อีกอย่างหนึ่งที่ยืนยันความจริงข้อนี้ก็คือ ข้อความในพระราชพงศาวดารฉบับเดียวกัน อันเป็นเหตุ การณ์สุดท้ายในรัชกาลของพระเจ้าอู่ทองว่า “ศักราช ๗๒๕ ปีเถาะเบญจศก ทรงพระกรุณา ตรัสว่าเจ้าแก้วเจ้าไทยออกอหิวาตกโรคตาย ให้ขุดขึ้นเผา เสีย ที่ปลงศพนั้นให้สถาปนาพระเจดีย์และพระวิหารเป็น พระอาราม แล้วให้นามชื่อว่าวัดป่าแก้ว” เจ้าแก้วเจ้าไทยที่ออกอหิวาตกโรคตายนั้นเป็นเจ้า เขมรชัน้ รัชทายาทซึง่ พระเจ้าอูท่ องได้ทรงนํามาไว้เป็นตัวจํา นําเพื่อประกันความภักดีของเขมร เจ้าแก้วเจ้าไทยเป็น อหิวาตกโรคตาย จึงต้องฝังศพไว้หลายปีกอ่ นทีจ่ ะขุดขึน้ มา เผาตามคติความเชื่อถือในสมัยนัน้ เพราะเจ้าแก้วเจ้าไทยซึง่ เป็นตัวประกันถึงแก่กรรมลง เขมรหรือขอมจึงหมดพันธะ และเกิด “แปรพักตร์” ขึ้นมา เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ หรือพระเจ้า สามพระยาเสด็จไปตีเมืองพระนครหลวง (นครธม) ได้ใน พ.ศ. ๑๙๗๔ นั้น ได้โปรดให้พระราชบุตรคือพระเจ้านคร อินทร์ขึ้นครองราชสมบัติกรุงกัมพูชา และ “ให้เอาพระยา แก้วพระยาไทย และครอบครัวกับทั้งรูปพระโค รูปสิงห์ สัตว์ทั้งปวงมา (พระนครศรีอยุธยา) ด้วย” เจ้าแก้วเจ้า ไทยหรือพระยาแก้วพระยาไทยนั้นเป็นตําแหน่งรัชทายาท ของกัมพูชาและถูกนําตัวมาเป็นตัวประกันที่กรุงศรีอยุธยา
อีกหลายครั้งหลายหนหลังรัชกาลพระเจ้าอู่ทองหรือทุกครั้ง ที่เคยมีอํานาจเหนือเขมร และในที่สุดจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็ยังมีเจ้านายเขมรสององค์เข้ามา อยู่ในกรุงเทพฯ คือ นักพระองค์นโรดมและนักพระองค์ ศรีสวัสดิ์ ซึ่งต่อมาก็ได้เสด็จกลับไปเสวยราชย์ยังกรุงกัมพูชาทั้งสองพระองค์ กัมพูชาแต่ก่อนนั้นเป็นมหาอาณาจักร ปกครอง ประเทศใกล้เคียงกว้างไกลมาก รวมทั้งส่วนหนึ่งของดิน แดนที่เรียกว่าประเทศไทยปัจจุบัน การปกครองแห่งมหา อาณาจักรนี้เป็นการปกครองระบอบเทวราชหรือที่เรียกว่า ไศเลนทร์ก็มี ลัทธิไศเลนทร์นี้เข้าใจว่าจะเริ่มต้นขึ้นที่เกาะ ชวา แล้วแผ่มายังกัมพูชา เป็นลัทธิทถ่ี อื ว่าพระมหากษัตริย์ เป็นเทวราชหรือเป็นเทพเจ้า มิใช่มนุษย์อย่างพระมหา กษัตริย์ไทยที่กรุงสุโขทัย ด้วยเหตุนี้ในหนังสือเก่าๆ แห่ง ภาคอีสานซึ่งครั้งหนึ่งเคยขึ้นอยู่ในมหาอาณาจักรเขมรจะ พบว่า ศัพท์ที่ใช้เรียกพระมหากษัตริย์เขมรนั้นคือ “ผีฟ้า เมืองยโสธร” คําว่า ผีฟ้า ในภาษาไทยแปลว่าเทพหรือ เทพเจ้า ส่วนเมืองยโสธรคือเมืองยโสธรปุระ เมืองหลวง ของเขมรในสมัยหนึ่ง คําว่าเทพก็ดี เทวดาก็ดี เป็นภาษาสันสกฤตไม่ใช่ ภาษาไทย ภาษาไทยนั้นมีแต่คําว่า ผี อย่างเดียว เช่น ผีบ้าน ผีเรือน ผีป่า ถ้าผีนั้นมีลักษณะเป็นเทวดาก็เรียกว่า ผีเสื้อ เช่น ผีเสื้อเมือง ผีทรงเมือง หมายถึงเทวดารักษาเมือง ซึ่ง ได้เพี้ยนมาเป็นพระเสื้อเมืองและพระทรงเมืองในภายหลัง แต่ถ้าผีนั้นมีลักษณะเป็นเทพเจ้าก็เรียกว่า ผีฟ้า ดังที่เรียก พระมหากษัตริย์เขมรในสมัยนั้น เมือ่ พระเจ้าอูท่ องมีพระราชอํานาจเหนือเขมรก็หมาย ความว่าพระราชอํานาจนั้นจะต้องแผ่ไปทั่วอาณาจักรทุก แห่งที่ขึ้นกับเขมรมาก่อนด้วย เพื่อรักษาพระราชอํานาจนั้น ไว้พระเจ้าอู่ทองก็จําต้องเข้าดํารงตําแหน่งองค์ไศเลนทร์ หรือเทวราช หรือผีฟ้า ด้วยพระองค์เอง และได้ทรงย้าย ศูนย์หรือเทวสถานแห่งเทวราชนั้นจากพระนครหลวงมาไว้ ที่กรุงศรีอยุธยา สถาบันพระมหากษัตริย์ ที่กรุงศรีอยุธยา จึงเป็นสถาบันแห่งเทวราชมาแต่แรกเริ่ม อนึง่ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอนว่าพระเจ้าอูท่ องนัน้ ได้ทรงกระทําพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ณ ที่ใด พระราช พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับความสมเด็จฯกรมพระปรมา นุชิตชิโนรสกล่าวไว้แต่เพียงว่า “ศุภมัสดุ ศักราช ๗๑๒ ปีขาลโทศก วันศุกร์เดือน ห้า ขึ้นหกค่ำ เพลาสามนาฬิกาเก้าบาท สถาปนากรุงเทพ พระมหานครศรีอยุธยา ชีพ่อพราหมณ์ให้ฤกษ์ตั้งพิธีกลบ บาต ได้สังข์ทักษิณาวรรตใต้ต้นหมันขอนหนึ่ง และสร้าง พระที่นั่งไพทูริย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไพช
ยนต์มหาปราสาทองค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง แล้วพระเจ้าอู่ทองเสด็จเข้ามาครองราช สมบัติ ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสุนทรบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์” อ่านตามนีแ้ ล้วจะเห็นได้วา่ เมือ่ สร้างปราสาทราชวัง เสร็จแล้ว พระเจ้าอู่ทองก็เสด็จเข้ามาครองราชสมบัติ โดยไม่มีพระราชพิธีปราบดาภิเษกหรือบรมราชาภิเษกแต่ อย่างใด เป็นแต่มีการเปลี่ยนพระนามให้เข้ากับนามเมือง อยุธยาว่า รามาธิบดี เท่านั้น เมื่อความในพระราชพงศาวดารมีเพียงเท่านี้ ก็น่า จะสันนิษฐานได้ว่าพระเจ้าอู่ทองได้ทรงปราบดาภิเษกหรือ รับบรมราชาภิเษกมาจากที่อื่นแล้วก่อนที่จะมาสถาปนากรุง ศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี และที่อื่นนั้นก็น่าจะเป็นพระนคร หลวงหรือนครอืน่ ใดในมหาอาณาจักรของเขมรนัน้ เอง และ หากเป็นเช่นนั้นพระองค์ก็คงจะได้ปราบดาภิเษกหรือบรม ราชาภิเษกเป็น เทวราชหรือไศเลนทร์ตามคติฮินดูโดย สมบูรณ์ และเสด็จมาสร้างราชธานีขึ้นใหม่ในฐานะที่ทรง เป็นไศเลนทร์ และทรงปกครองมหาอาณาจักรไศเลนทร์ จากทีน่ น้ั แทนพระนครหลวง ซึง่ เคยเป็นราชธานีของไศเลนทร์ มาก่อน
ลั ทธิเทวราชหรือไศเลนทร์ ลัทธิเทวราชหรือไศเลนทร์นน้ั มีความหมายเป็นอย่าง เดียวกัน เทวราชก็หมายความว่าราชาหรือองค์พระมหา กษัตริย์เป็นเทวะ ส่วนคําว่า ไศเลนทร์ นั้น มาจากคําว่า ไศล คําหนึ่ง และ อินทร์ คําหนึ่ง แปลว่าผู้เป็นใหญ่แห่งภู เขาหรือบนภูเขา ซึ่งหมายความถึงพระศิวะผู้ซึ่งสถิตอยู่ บนยอดเขาไกรลาส เมื่อถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นเทพเจ้า ก็เทียบได้กับองค์พระศิวะ พระมหากษัตริย์จึงเป็นองค์ ไศเลนทร์ ลัทธินี้พราหมณ์ในศาสนาฮินดูซึ่งเดินทางจากประ เทศอินเดียมายังประเทศต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ได้เป็นผูน้ าํ เข้ามาเผยแผ่ ในขั้นแรกพระมหากษัตริย์ในประเทศต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์น้นั ยังมีสภาพเป็นมนุษย์มีหน้าที่คอยปฏิบัติ บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งอยู่บนภูเขานอกเมืองเพื่อจะให้คุ้มครอง เมืองมิให้เกิดภัยอันตราย พระขพุงผีทส่ี ถิตอยูบ่ นภูเขานอก เมืองสุโขทัยนั้นเป็นตัวอย่างที่แลเห็นได้ชัด พราหมณ์นั้นมี สิง่ ศักดิส์ ทิ ธิบ์ นภูเขาอยูแ่ ล้วได้แก่พระศิวะ เมือ่ เข้ามาเผยแผ่ ศาสนาฮินดูในเอเชียอาคเนย์ก็รับเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนภูเขา ซึ่งมีอยู่ทั่วไปนั้นว่าเป็นองค์พระศิวะ และเพื่อให้มีกําลัง สนับสนุนในการเผยแผ่ศาสนา พราหมณ์ก็ได้ให้ความศักดิ์ สิทธิ์แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ในที่ต่างๆ โดยกระทําพิธี
สถาบันพระมหากษัตริย์
๒๗
กรรมยกให้พระมหากษัตริยใ์ นเขตแคว้นต่างๆ ขึน้ เป็นเทพเจ้า หรือเป็นเทวราช เรียกว่า ไศเลนทร์ คือองค์พระศิวะ ความ จริงพราหมณ์ในอินเดียนัน้ ในการเพ็ดทูลต่อพระมหากษัตริย์ ก็เรียกพระองค์วา่ เทวะ หรือพระเป็นเจ้า มาแต่รชั สมัยพระ เจ้าอโศกมหาราช คือประมาณ พ.ศ.๕๐๐ ลงมาอยู่แล้ว ลัทธินี้ได้เกิดขึ้นในดินแดนแถบที่เรียกกันว่าอาณา จักรศรีวิชัยและเข้าไปในเกาะชวาก่อน แล้วจึงขึ้นมาสู่ กัมพูชา ต่อมาก็มายังกรุงศรีอยุธยา และถ้าจะพูดกันตาม ทฤษฎี ลัทธินี้ก็ยังคงเหลืออยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ใน ปัจจุบนั นี้ เพราะพระราชพิธบี รมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลปัจจุบนั ยังเป็นพิธพี ราหมณ์ซง่ึ เคยปฏิบัติกันมาแต่ก่อนทุกประการ ไม่มีสิ่งใดบกพร่องและด้วย เหตุนี้พระมหากษัตรย์ไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาจนถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันจึงเป็นองค์ไศเลนทร์ตามคตินี้ทุกพระองค์
คติ การเลือกตั้งพระมหากษัตริย์ การราชาภิเษกของไทยนั้น นอกจากพิธีสงฆ์ซึ่งได้ มาเพิม่ เติมขึน้ ภายหลังแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นพิธพี ราหมณ์ซง่ึ เป็นไปตามคติของศาสนาฮินดูทั้งสิ้น ตามคติแห่งศาสนา ฮินดูนน้ั ผูท้ จ่ี ะรับราชาภิเษกขึน้ เป็นพระมหากษัตริยจ์ ะต้องมา จากการเลือกตัง้ จะเลือกตัง้ ด้วยวิธใี ดนัน้ ไม่ปรากฏ ในฤคเวท กล่าวว่า หัวหน้าตระกูลต่างๆ ที่เรียกว่า วิศ หรือชนชั้นสูง ในแต่ละรัฐนัน้ เป็นผูเ้ ลือกพระราชา แต่ในอาถรรพเวทกล่าว ว่านอกจากหัวหน้าตระกูลต่างๆ แล้ว คามณี คือ นายบ้าน หรือผูใ้ หญ่บา้ นก็มสี ทิ ธิเ์ ลือก นอกจากนั้นก็ยังมีคนอีกจําพวก หนึ่งที่เลือกตั้งพระราชาได้แก่คนที่เรียกว่า ราชกฤต แปล ว่าผู้กระทําให้เกิดพระราชาขึน้ ราชกฤตนัน้ น่าจะได้แก่พวก พราหมณ์ปุโรหิต และพราหมณ์อรรถวัน เพราะพราหมณ์ พวกนีม้ หี น้าทีส่ าํ คัญในการทําพิธี “ราชสูยะ” หรือราชาภิเษก ให้แก่พระราชา คติน้ไี ด้มีต่อเนื่องถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ในประ เทศไทย แต่เดิมในสมัยสุโขทัยนัน้ การสืบราชสันตติวงศ์เป็น ไปตามลําดับแห่งเชษฐบุรุษในราชตระกูล เมื่อพ่อขุนศรี อินทราทิตย์เสด็จสวรรคตแล้วพ่อขุนบาลเมืองพระราชโอรสองค์ใหญ่ก็ขึ้นสืบราชสมบัติ เมื่อพ่อขุนบาลเมืองเสด็จ สวรรคตแล้วพ่อขุนรามคําแหงมหาราชก็ขน้ึ สืบราชสมบัติ แต่ ในสมัยอยุธยานัน้ การสืบราชสันตติวงศ์ดอู อกจะไม่มกี ฎเกณฑ์ ที่แน่นอนนัก เพราะการสืบราชสันตติวงศ์มักจะเป็นไปตาม ความเหมาะสมมากกว่า เจ้านายพระองค์ใดมีอํานาจมาก มีเจ้านายข้าราชการสนับสนุนมากก็จะได้รับเลือกให้เป็นพระ มหากษัตริย์ เข้าหลักชนชัน้ สูงเป็นผูเ้ ลือก หรือมิฉะนัน้ ก็จะมี การชิงราชสมบัติได้ด้วยอํานาจ ซึ่งเรียกว่าปราบดาภิเษก ต่อมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า- จุฬาโลกมหาราชได้ทรงรับเลือกตัง้ จากข้าราชการและสมณชี-
๒๘
ภูมิหลัง
พราหมณ์อาณาประชาราษฎรให้เสด็จขึน้ เถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นปฐม ต่อมาอีกหลายรัชกาลจนถึงรัชกาลที่ ๕ ก็ได้มีคําว่า “เอนกชนนิกรสโมสรสมมติ” อยู่ในพระปรมาภิไธยโดยตลอด
พระราชพิ ธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธบี รมราชาภิเษกของไทยนัน้ ยังมีลกั ษณะ และรายละเอียดตรงกับพิธีราชสูยะของศาสนาฮินดูอยู่มาก ขึ้นต้นด้วยพราหมณ์ต้องก่อกองไฟหรือกูณฑ์เพื่อกระทํา ยัญบูชาเทวดา และทําน้ำเทพมนตร์ไว้อภิเษกหรือสรงพระ ราชา ต่อมาจึงมีการอภิเษก ซึง่ แปลได้ตรงๆว่า การอาบน้ำ หรือสรงน้ำ เป็นการกระทําให้เกิดความบริสุทธิ์แก่ผู้ที่จะรับ ราชาภิเษก ซึ่งจะต้องกระทําถึงสามครั้งในเวลาต่างกัน แล้วจึงเข้าพิธีอื่นๆ ต่อไป ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทยนั้น ขึ้น ต้นจะต้องปลูกโรงพระราชพิธีพราหมณ์ แล้วพราหมณ์จะ ตั้งที่บูชาพระเป็นเจ้าทั้งสามของฮินดู และพระพิฆเนศวร แล้วพราหมณ์จะผูกพรต คือเลิกกินอาหารเนื้อสัตว์ ไม่ หลับนอนกับสตรี เข้าเริ่มพิธีด้วยการโหมกูณฑ์ โดยร่ายพระ เวทและรดน้ำมนตร์ทําให้ตนเองบริสุทธิ์ก่อน ต่อจากนั้นก็ บูชากูณฑ์ทํายัญพิธีตามลัทธิของฮินดู ทําน้ำเทพมนตร์ใส่ เบญจคัพย์ คือขันสําริดห้าใบเอาไว้อภิเษกผู้รับราชาภิเษก เมื่อถึงเวลา
ทัณฑนิติ
ต่อจากนั้นจึงถึงบรมราชาภิเษก มีข้อที่ควรสังเกต อยู่ว่าในพิธีสงฆ์เจริญพระปริตรบนพระที่น่ังเป็นการเริ่ม งานพระราชพิธีนั้น พราหมณ์เข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายกิ่งไม้ มงคลเพื่อให้ทรงปัดพระองค์ตอนพระสวดมงคลสูตร ถือ ว่าเป็นการปัดอัปมงคลและสรรพโรคภัยออกจากพระองค์ แต่ในพิธีราชสูยะของฮินดูในสมัยโบราณนั้นก่อนที่จะทําพิธี อื่นๆ พราหมณ์จะต้องเอากิ่งไม้เข้าไปฟาดพระขนองของ พระมหากษัตริย์ เป็นทํานองเฆี่ยนเบาๆ เป็นสัญลักษณ์ ของ ทัณฑนิติ คําว่า “ทัณฑ” ในภาษาสันสกฤตนั้นแปลว่า กระบองหรือไม้เรียวก็ได้ การลงโทษเฆี่ยนคน ตีคนที่อยู่ภาย ใต้การปกครองนั้นเป็นพระราชอํานาจ เรียกว่า ทัณฑนิติ ผู้ที่จะมีอํานาจนั้นได้จะต้องรู้ก่อนว่า การถูกเฆี่ยนนั้นเป็น อย่างไร พราหมณ์จงึ ต้องเฆีย่ นพระราชาเสียก่อนพอเป็นพิธี การที่พราหมณ์ข้ึนถวายกิ่งไม้มงคลให้ปัดพระองค์น้ีอาจสืบ ย้อนหลังไปถึงพิธีราชสูยะในยุคพระเวท ซึ่งเป็นสมัยก่อน พุทธกาลนานมากก็ได้
๘ รูป ๘ การสรงมูรธาภิเษกพระกระยาสนาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระภูษาขาวและทรงสะพักสีขาว ในภาพนี้ทรงวักน้ำพระพุทธมนตร์ในพระ ครอบลูบพระเจ้า (พระเศียร) นับเป็นการอภิเษกครั้งแรก ในพระราชพิธี บรมราชาภิเษก
รูป ๙ สรงสหัสธารา
๑๐
รูป ๑๐ สมเด็จพระสังฆราชถวาย น้ำพระครอบพระกริ่งซึ่งเป็น น้ำพระพุทธมนตร์์ รูป ๑๑ พระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ถวาย น้ำพระพุทธมนตร์จากพระเต้าราชูปโภค
รูป ๑๒ พระมหาราชครูพราหมณ์ถวาย น้ำเทพมนตร์จากพระเต้าเบญจคัพย์ ซึ่งมีความหมายว่าพราหมณ์ได้ถวาย อภิเษกให้ทรงเป็นพระเป็นเจ้า หรือเป็นเทวราช
สรงมู รธาภิเษก
๙
๑๑
ต่อไปจึงถึงอีกส่วนหนึ่งของพระราชพิธีที่เรียกว่า “สรงมูรธาภิเษกพระกระยาสนาน” น้ำอภิเษกในประเทศ ไทยนั้นแต่ก่อนประกอบด้วยน้ำในแม่น้ำทั้งห้าของไทย ได้ แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก ราชบุรี เพชรบุรีและบางปะกง ซึง่ เทียบได้กบั ปัญจมหานทีของอินเดียได้แก่แม่นำ้ คงคา มหิ ยมนา สรภูและอจิรวดี นอกจากนั้นก็ยังมีน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก ที่อื่นๆ คือ น้ำจากสระแก้ว สระเกศ สระคาและสระยมนา ในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งคงจะได้เคยใช้เป็นน้ำสรงอภิเษก พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์สุพรรณบุรีมาก่อนสร้างกรุงศรี อยุธยา และน้ำจากสถานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิใ์ นจังหวัดอืน่ ๆ อีกด้วย หลายแห่ง
น้ำพระพุทธมนตร์
การสรงราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นหาก จะดูเผินๆ ก็เหมือนกับว่าสรงครัง้ เดียว แต่ถา้ จะดูให้ละเอียด แล้วสรงสามครั้งตรงตามคติฮินดู ชั่วแต่ว่าต่อเนือ่ งกันไป มิได้เว้นระยะเวลานานอย่างในพิธีราชสูยะ เมื่อเสด็จฯ ขึ้น ประทับบนมณฑปพระกระยาสนานนั้น เจ้าพนักงานภูษา มาลาตัง้ ถาดสรงพระพักตร์ไว้บนตัง่ หน้าทีป่ ระทับพร้อมด้วย ครอบเครื่องมูรธาภิเษก คือครอบใส่น้ำพระพุทธมนตร์ เมื่อ ประทับแท่นสรงแล้วเจ้าพนักงานถวายเครือ่ งพระมูรธาภิเษก ทรงวักน้ำในพระครอบลูบพระเจ้า นีค่ อื การอภิเษกครัง้ แรก และเป็นการสรงมูรธาภิเษกตามศัพท์ เพราะมูรธานั้น แปล ว่า พระเจ้า (พระเศียรพระเจ้าแผ่นดิน) การสรงมูรธาภิเษก จึงเป็นการสรงพระเจ้าและสรงด้วยน้ำพระพุทธมนตร์ แสดง ว่าพระมหากษัตริย์ไทยนั้นทรงเป็นพุทธมามกะก่อนอื่นใด
๑๒
สถาบันพระมหากษัตริย์
๒๙
และได้ทรงทําความบริสุทธิ์ในศาสนาพุทธให้แก่พระองค์ เองด้วยการสรงพระเจ้าด้วยน้ำพระพุทธมนตร์ อิทธิพลของศาสนาพุทธทีม่ เี หนือพิธขี องพราหมณ์ ในพระราชพิธบี รมราชาภิเษกนัน้ มีผลสําคัญมากต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ไทย ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป หลังจากสรงมูรธาภิเษกแล้วจึงมีการสรงสหัสธารา ต่อไป น้ำสรงที่เรียกว่าสหัสธารานี้ได้แก่น้ำจากแม่น้ำทั้ง ห้าและจากสถานศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว น้ำ นี้บรรจุอยู่ในถังซึ่งซ่อนไว้บนยอดมณฑปพระกระยาสนาน แล้วไขน้ำลงทางบัวขนาดใหญ่ทําด้วยเงิน เมื่อเจ้าพนักงาน ไขน้ำสหัสธารา น้ำก็ลงสู่พระองค์เป็นการสรงทั้งพระองค์ ทั้งนี้เป็นการอภิเษกหนที่สอง ต่อจากนัน้ สมเด็จพระสังฆราชขึน้ ถวายน้ำพระครอบ พระกริ่งซึ่งเป็นน้ำพระพุทธมนตร์ แล้วพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ ขึน้ ถวายน้ำจากพระเต้าราชูปโภคต่างๆ เช่น พระเต้าเบญจคัพย์ พระเต้าบัวเขียว ภูษามาลาถวายน้ำพระมหาสังข์ ชาวที่ถวายน้ำจากพระเต้าศิลาต่างๆ แล้วพระมหาราชครู พราหมณ์ข้นึ ถวายน้ำเบญจคัพย์ซ่งึ ได้ทําไว้เมื่อโหมกูณฑ์ตอน เริ่มพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นเสร็จการอภิเษกครั้งที่สาม มีข้อควรสังเกตว่าการสรงเทวรูปพระเป็นเจ้าต่างๆ ของศาสนาฮินดูนั้น พราหมณ์ใช้น้ำเบญจคัพย์สรงทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการที่พราหมณ์เข้าถวายน้ำเบญจคัพย์เป็น คนสุดท้ายในครั้งนี้จึงเท่ากับว่าพราหมณ์ได้ถวายอภิเษก ให้ทรงเป็นพระเป็นเจ้าของพราหมณ์ หรือทรงเป็นเทวราช ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป
๑๓
หลั่งน้ำถวายแผ่นดิน
ในการสรงน้ำบนพระแท่นกระยาสนานนี้ ทรงพระ ภูษาขาวและทรงสะพักสีขาว เป็นเครื่องสรงโดยแท้ เมื่อ เสด็จจากที่สรงแล้วจึงทรงเครื่องต้นราชภูษิตาภรณ์แล้ว เสด็จขึ้นประทับพระที่นั่งอัฐทิศ ซึ่งมีที่ประทับหันไปได้ทั้ง แปดทิศตามนาม ภายใต้เศวตฉัตรเจ็ดชั้น แต่ก่อนมีราช บัณฑิตซึ่งสมมติว่าเป็นตัวแทนของปวงชนแต่ละทิศคอย เฝ้าประจําอยู่ แต่ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาล ปั จ จุ บั น ได้ มี ส มาชิ ก รั ฐ สภาทั้ ง สองสภาคอยเฝ้ า ประจํ า ตามทิศอยูด่ ว้ ย เพราะการประทับพระทีน่ ง่ั อัฐทิศนัน้ มีความ หมายว่าราษฎรที่อยู่ในทิศทั้งแปดนั้นจะได้ถวายแผ่นดินให้ ทรงครอบครองทีละทิศจนครบแปดทิศ เสด็จขึ้นประทับ พระที่นั่งอัฐทิศทางทิศตะวันออกก่อน ผู้ที่เฝ้าอยู่กราบบัง คมทูลถวายแผ่นดินทิศตะวันออกให้ทรงครอบครองเพื่อ ประโยชน์แห่งชนและสิง่ มีชวี ติ ในทิศนัน้ แล้วจึงเข้าถวายน้ำ ทรงรับด้วยพระเต้าและทรงตอบรับตามที่ผู้ถวายน้ำกราบ บังคมทูล แล้วจึงย้ายไปประทับทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผูเ้ ฝ้า กระทําเช่นเดียวกันจนครบทั้งแปดทิศ การถวายน้ำที่พระ ที่นั่งอัฐทิศนี้มิใช่เป็นการถวายอภิเษกแต่เป็นการหลั่งน้ำ
๓๐
ภูมิหลัง
๑๔ รูป ๑๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเครื่อง บรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ เสด็จออกเพื่อประทับบนพระที่นั่งอัฐทิศ พระมหาราชครูพราหมณ์ และ สมาชิกรัฐสภาซึ่งถือว่าเป็นตัวแทน ของปวงชนทั้งแปดทิศคอยเฝ้าประจําอยู่ ตามทิศทั้งแปด ๑๕
๑๖
รูป ๑๔, ๑๕, ๑๖ พระมหาราชครูพราหมณ์และผู้แทน ราษฎรหลั่งน้ำถวายแผ่นดิน
รูป ๑๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ บนพระที่นั่งภัทรบิฐ พระมหาราชครูพราหมณ์ร่ายพระเวท “เปิดประตูไกรลาส” อัญเชิญ พระเป็นเจ้าลงมาสถิตในพระองค์ รูป ๑๘ พราหมณ์ถวายเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ ในภาพนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎซึ่งพราหมณ์ได้ ทูลเกล้าฯถวาย และกําลังทรงรับพระ แสงขรรค์ชัยศรี ๑๗
ถวายแผ่นดินตามคติของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู ตรงกัน แสดงถึงการให้ขาดซึ่งอยู่ในหลักมหาสมมติของ พิธีราชสูยะ ในศาสนาฮินดู คือ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ที่ ได้รับการเลือกตั้งมอบหมายจากปวงชน (Popular Madate)
พราหมณ์กราบบังคมทูลถวาย สิริราชสมบัติ
เมื่อเสด็จขึ้นจากพระที่นั่งอัฐทิศแล้วจึงเสด็จพระ ราชดําเนินไปประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ อันเป็นราชบัลลังก์ ทําด้วยไม้มะเดือ่ ปิดทอง บนพระทีน่ ง่ั ภัทรบิฐนีพ้ ราหมณ์ได้ ตกแต่งไว้เสมอเป็นที่ประทับของพระเป็นเจ้าคือโรยแป้งสี เป็นลวดลาย แล้วลาดด้วยหญ้าคาซึ่งพราหมณ์เรียกว่าขลัง เป็นนิมติ หมายของอมฤตธรรมคือ ความไม่ตาย แล้วปูดว้ ย หนังราชสีห์โดยสมมติ เมื่อประทับแล้วพระมหาราชครู พราหมณ์ จึ ง เข้ า ถวายบั ง คมแล้ ว ร่ า ยพระเวทที่ เรี ย กว่ า เปิดประตูไกรลาส เชิญพระเป็นเจ้าของศาสนาฮินดูลงมา สถิตในพระองค์ กระทําให้ทรงอยูใ่ นฐานะเทวราชหรือองค์ ไศเลนทร์ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ต่อจากนั้นพราหมณ์จึงถวาย พระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธย ขณะเดียวกันก็กราบ บังคมทูลถวายสิริราชสมบัติและขนานพระปรมาภิไธยตาม พระสุพรรณบัฏ และขอให้ดํารงราชสมบัติเพื่อประโยชน์ เกื้อกูลและสุขแห่งมหาชน มีพระราชดํารัสตอบว่า “ชอบ แล้วพราหมณ์” ต่อจากนั้นพราหมณ์จึงถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ตลอดจนถึงพระมหานพปฎลเศวตฉัตร ต่อ จากนั้นพราหมณ์จึงร่ายเวทศิวมนต์และวิษณุมนต์เป็นการ สรรเสริญพระเป็นเจ้าซึง่ มาสิงสถิตอยูใ่ นพระองค์แล้ว การ
๑๘
ร่ายพระเวทสรรเสริญพระศิวะและพระวิษณุในที่นี้มิใช่ เป็นการสวดสรรเสริญพระเป็นเจ้าที่อยู่ห่างไกลแต่เป็น การสวดสรรเสริญพระเป็นเจ้าทีป่ ระทับอยูต่ อ่ หน้าพราหมณ์ ผู้ร่ายพระเวทนั้น เสร็จแล้วจึงมีพระบรมราชโองการนัด แรกต่อพราหมณ์และพราหมณ์เป็นผู้รับพระบรมราชโอง การนั้นเป็นคนแรก
สถาบันพระมหากษัตริย์
๓๑
ปฐมบรมราชโองการ
พระบรมราชโองการนั้นเป็นโองการอันศักดิ์สิทธิ์ ของพระเป็นเจ้าที่มนุษย์ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามหลีก เลี่ยงไม่ได้ มิใช่เป็นคําสั่งของมนุษย์ พระมหากษัตริย์ผู้ ทรงเป็นเทวราชเท่านัน้ จะมีพระบรมราชโองการได้ เพราะ ฉะนั้นจึงเป็นการชอบด้วยเหตุผลที่พระบรมราชโองการนัด แรกมีต่อพราหมณ์ ซึ่งตามคติของศาสนาฮินดูถือว่าเป็นผู้ ทีต่ ดิ ต่อกับพระเป็นเจ้าได้ ในประเทศไทยนัน้ พระบรมราชโอง การถือว่าเป็นกฎหมายมาแต่ดั้งเดิม ผู้ใดฝ่าฝืนก็มีโทษทาง กฎหมาย ว่ากันตามความจริงแล้วกฎหมายไทยทุกฉบับก็ ออกมาในรูปพระบรมราชโองการจนถึงปัจจุบันนี้ พระบรมราชโองการนัดแรกเมื่อพระราชพิธีบรม ราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นมีข้อ ความในภาษาบาลีและภาษาไทย ภาษาไทยนั้นมีความว่า “ดูกรพราหมณ์ บัดนีเ้ ราทรงราชภาระครองแผ่นดิน โดยธรรมสม่ำเสมอเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและสุขแห่งมหา ชน เราแผ่อาณาเขตเหนือท่านทั้งหลายกับโภคสมบัติเป็นที่ พึ่งจัดการปกครองรักษาป้องกันอันเป็นธรรมสืบไป ท่านทั้ง หลายจงวางใจอยู่ตามสบายเถิด” พระบรมราชโองการภาษาไทยนีด้ อู อกจะขาดลักษณะ ของคําสั่งหรือโองการไปบ้าง แต่ในพระบรมราชโองการ เป็นภาษาบาลีนั้นมีลักษณะคําสั่งชัดขึ้น ด้วยข้อความที่ว่า “สํวิทหามิ วิสฺสฏฐฺา หุตฺวา ยถาสุขํ วิหรถ” แปลว่า “คําสั่งของเราได้ออกไปแล้ว จงอยู่เป็น สุขเถิด” ส่วนพระบรมราชโองการนัดแรกของพระบาทสม เด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันนั้นมีอยู่ว่า “เราจะครอง แผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งถึงแม้ว่าจะสั้นก็มีความหมายลึกซึ้งยิ่งนัก
เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์
มีขอ้ น่าสังเกตอีกอย่างหนึง่ ว่าถึงแม้พระราชพิธบี รม ราชาภิเษกของไทยจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของพิธีราชสูยะ ในพระเวทก็ตามที แต่ก็ยังมีรายละเอียดที่สําคัญอย่างที่ แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาพุทธที่แทรกซึมอยู่โดย ตลอด เช่น เครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์หรือเบญจราชกกุธ- ภัณฑ์นน้ั ไม่มปี รากฏแน่นอนในพระเวทของศาสนาฮินดูหรือ ในคัมภีร์พราหมณ์หรืออุปนิษัทของฮินดู แต่กลับไปมีอยู่ใน หนังสือมหาวงศ์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา พระมหา เศวตฉัตรก็มิได้ปรากฏในพระเวทเช่นเดียวกัน แต่ในคัมภีร์ ของพระพุทธศาสนาหลายแห่งเรียกพระมหากษัตริย์ว่า “เศวตฉัตรธํารง” และเรียกพระภิกษุสงฆ์ว่า “กาฬฉัตรธํารง” คือ ผู้ทรงร่มดํา ให้เห็นแตกต่างกับผู้ทรงร่มขาว พระ เจ้าอโศกมหาราชผู้ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภกนั้น ปรากฏ ว่าทรงเศวตฉัตรตามหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์ของพระ
๓๒
ภูมิหลัง
๑๙
พุทธศาสนาต่างๆ และเศวตฉัตรนั้นเป็นนิมิตหมายแห่งราชาธิไตยในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น ไทย ลังกา พม่า เขมรและลาวเท่านั้นโดยเฉพาะประเทศที่นับถือพระ พุทธศาสนานิกายหีนยาน และได้ศึกษาคัมภีร์ต่างๆ ที่ใช้ใน นิกายนี้
รูป ๑๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน พระบรมราชโองการนัดแรก “เราจะ ครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์ สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และทรงหลั่ง น้ำจากพระเต้าทักษิโณทกตั้งสัตยาธิษฐาน ที่จะทรงเป็นธรรมิกราช
สั ญลักษณ์ของเทวราชา
อย่างไรก็ตาม พระบรมราชโองการทีเ่ ป็นลายลักษณ์ อักษรนั้นต้องประทับพระราชลัญจกร และพระราชลัญจกร ที่ใช้ประทับประกาศพระบรมราชโองการนั้นแสดงให้เห็น ได้ชัดว่าพระบรมราชโองการนั้นเป็นโองการของพระเป็น เจ้า พระราชลัญจกรองค์หนึ่งได้แก่พระราชลัญจกรมหา อุณาโลม ซึ่งหมายถึงพระอิศวร พระราชลัญจกรอีก องค์หนึ่งคือพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ หมายถึงพระ นารายณ์ เพราะครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์และอีก องค์หนึ่งได้แก่พระราชลัญจกรหงสพิมาน หมายถึงพระ พรหม เพราะพระพรหมนั้นทรงหงส์ ได้กล่าวมาแล้วว่าในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตอน ที่ประทับพระที่นั่งภัทรบิฐนั้นพราหมณ์ร่ายเวทสรรเสริญ พระอิศวรและพระนารายณ์แด่พระองค์ในฐานะที่ทรงเป็น พระเป็นเจ้าของศาสนาฮินดู ในพระเป็นเจ้าทัง้ สามของฮินดู นั้น พระพรหมเป็นผู้สร้าง พระอิศวรเป็นผู้ทําลาย พระ นารายณ์เป็นผู้รักษา แต่ทางคติของไทยนั้นพระนารายณ์ เป็นพระเดช พระอิศวรเป็นพระคุณ เมื่อพระมหากษัตริย์ ทรงอยู่ในฐานะพระนารายณ์และพระอิศวรรวมกัน คําว่า “พระเดชพระคุณ” จึงมีใช้ในภาษาไทยหลายแห่งทีม่ ขี อ้ ความ เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ เช่น “เป็นพระเดชพระคุณ หาที่สุดมิได้” ในกรณีที่ได้รับพระมหากรุณา และ “รับราช การสนองพระเดชพระคุณ” ในกรณีทไ่ี ด้เข้ารับราชการ แต่ อิทธิพลของศาสนาพุทธก็ยังคงเข้ามาเกี่ยวข้องในศัพท์ที่ ใช้กับพระมหากษัตริย์อยู่ดี คือคําว่า “พระกรุณา” ซึ่ง หมายถึงพระพุทธเจ้า เช่น “กราบบังคมทูลพระกรุณา” ใน กรณีที่กราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์ หรือใช้เป็นศัพท์ที่ หมายถึงพระมหากษัตริย์ เช่น “พระกรุณาตรัสให้หา...” เป็นต้น
พระราชวัง
เมื่อ พระมหากษั ต ริ ย์ ท รงอยู่ ในฐานะพระเป็ น เจ้ า พระราชวังที่ประทับนั้นก็จะต้องสร้างให้เป็นเทวสถานคือ พระมหาปราสาทที่มียอด และพระมหามณเฑียรต่างๆ ที่ ยกช่อฟ้ามีหลังคาซ้อนกันหลายชั้น มีเสาขนาดใหญ่ทําด้วย ศิลา หรือก่อด้วยอิฐรับหลังคา พระทวารและพระแกลนั้น มีซุ้มครอบและบานต้องสลักลวดลายอันวิจิตรปิดทองติด กระจกหรือประดับด้วยมุก ทัง้ นีเ้ พือ่ สร้างบรรยากาศให้เห็น ว่าเป็นที่ประทับของพระเป็นเจ้า
พราหมณ์ในราชสํานัก
ในพระราชวังหรือในราชสํานักนั้นต้องมีพราหมณ์ อยูป่ ระจําคอยปฏิบตั บิ ชู าองค์พระมหากษัตริยเ์ ช่นเดียวกับที่ พราหมณ์ปฏิบตั บิ ชู าพระเป็นเจ้าตามเทวสถานต่างๆ ศาสนา ฮินดูนน้ั แยกออกเป็นสองนิกาย คือนิกายศิวเวท นิกายหนึ่ง
๒๐
พระราชลัญจกรมหาอุณาโลม
พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์
พระราชลัญจกรหงสพิมาน
๒๑
ถือว่าพระอิศวรเป็นใหญ่กว่าเทพเจ้าทั้งปวง และวิษณุเวท อีกนิกายหนึ่งถือว่าพระนารายณ์เป็นใหญ่กว่าเทพเจ้าทั้งปวง ในราชสํานักพระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงได้รับสมมติให้เป็น ทัง้ พระอิศวรและพระนารายณ์จงึ ต้องมีทง้ั พราหมณ์ศวิ เวท และพราหมณ์วิษณุเวท พราหมณ์ศิวเวทนั้นไทยเรียกว่า พราหมณ์พธิ ี ส่วนพราหมณ์วษิ ณุเวทนัน้ ไทยเรียกว่า พราหมณ์ พฤฒิบาศ มีหน้าที่เกี่ยวกับพระคชกรรมคือเวทมนตร์และ พิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับช้าง อยู่ในฐานะที่ต้องปฏิบัติหน้า ที่ใกล้ชิดกับองค์พระมหากษัตริย์ทั้งสองนิกาย ของเสวยของพระมหากษัตริย์ที่เรียกว่าเครื่องต้น นั้นมีความสําคัญและมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ เพราะถือ ว่าเป็นเครือ่ งสังเวยพระเป็นเจ้า เมือ่ หุงหาเสร็จใส่ลงในถ้วย ชามที่ใช้เป็นภาชนะแล้วต้องเทียบลงในพระสุพรรณภาชน์ คือโต๊ะหรือพานปากกระจับขนาดใหญ่ทําด้วยเงินหรือทอง แล้วเอาผ้าขาวห่อผูกให้มิดชิดเพื่อกันมลทินทั้งปวง มหาด เล็กที่จะมาเชิญพระสุพรรณภาชน์นั้นจะต้องหมอบกราบ ถวายบังคมพระสุพรรณภาชน์ที่บรรจุเครื่องต้นนั้นเสียก่อน แล้วจึงจะจับต้องเชิญไปยังที่เสวยได้ การเชิญพระสุพรรณ ภาชน์นั้นจะใช้สองมือยกเพียงระดับเอวก็ไม่ได้ ต้องเชิญ ด้วยมือขวา แล้วยกมือขวาอยู่ในระดับไหล่ ให้พระสุพรรณ- ภาชน์นั้นอยู่ในระดับศีรษะหรือเหนือศีรษะ
รูป ๒๐ พระราชลัญจกร ๓ องค์
รูป ๒๑ เครื่องต้นเทียบลงในพระสุพรรณภาชน์
สถาบันพระมหากษัตริย์
๓๓
เมื่อพระราชวังของพระมหากษัตริย์มีฐานะและ ลักษณะอย่างเดียวกับเทวสถานแล้ว พระราชวังจึงเป็นสถาน ที่อันศักดิ์สิทธิ์ทุกคนต้องเคารพอย่างยิ่ง เคยมีกฎหมาย สมัยหนึ่งที่บังคับให้ผู้สัญจรไปมาต้องถอดเกือกถอดหมวก และหุบร่มเมื่อเดินทางเข้ามาใกล้พระราชวังในระยะทางที่ แลเห็นยอดพระมหาปราสาท ผู้ที่เดินทางทางเรือนั้นห้าม ยืนแจว ให้นั่งลงแจวหรือพายในขณะที่เรือผ่านพระราชวัง นอกจากพระราชวังแล้ว ความศักดิ์สิทธิ์หรือความบริสุทธิ์ นัน้ ยังขยายออกไปทัว่ ราชธานีของพระมหากษัตริย์ เป็นต้น ว่าห้ามเผาศพในพระนคร ผู้ใดตายต้องเอาศพออกจากกํา แพงพระนครภายในสิบสองชั่วโมงยกเว้นพระบรมศพและ พระศพพระบรมวงศานุวงศ์ ผูท้ เ่ี จ็บไข้ใกล้จะตายในพระราช วังต้องหามออกให้ไปตายข้างนอก หรือถ้าหากว่ามีผู้ตาย ในกําแพงวัง พราหมณ์ต้องทําพิธีล้างเสนียดที่เรียกว่า กลบบัตรสุมเพลิง เพื่อสร้างความบริสุทธิ์ขึ้นใหม่ นอกจากนั้นแล้ว กิจการต่างๆ ที่เป็นอบายมุขเช่น ร้านขายสุรา บ่อนการพนัน โรงยาฝิน่ ตลอดจนซ่องโสเภณี ห้ามมิให้มเี ด็ดขาดภายในกําแพงพระนคร ต้องไปมีขา้ งนอก ในสมัยรัตนโกสินทร์นี้ก็ได้ไปรวมกันอยู่ที่สําเพ็งอันเป็นถิ่นที่ อยู่และค้าขายของคนจีน
พระมหากษัตริย์เสด็จออก
ได้กล่าวถึงมาแล้วว่าราษฎรเมืองสุโขทัยนั้นมีสิทธิ์ ที่จะเข้าถึงองค์พระมหากษัตริย์เพื่อร้องทุกข์หรือปรึกษา ได้ทุกเมื่อ ดังที่พ่อขุนรามคําแหงมหาราชได้แขวนกระดิ่ง ไว้ที่หน้าวังให้คนที่มีเรื่องราวหรือมีทุกข์ร้อนไปสั่นกระดิ่ง แล้วพระองค์จะเสด็จออกมาถามความแก่ผู้นั้นโดยตรง ความใกล้ชิดกับราษฎรหรือการปล่อยให้ราษฎรเข้าถึงพระ องค์ได้นี้จะเรียกว่าเป็นลักษณะที่เด่นของสถาบันพระมหา กษัตริย์ในสมัยสุโขทัยก็ได้ แต่เมื่อเกิดมีลัทธิเทวราชที่กรุง ศรีอยุธยาตั้งแต่แรกสร้างกรุง ลักษณะนี้ก็ได้เปลี่ยนแปลง ไปโดยสิ้นเชิง องค์พระมหากษัตริย์ผู้ทรงอยู่ในฐานะพระ เป็นเจ้านั้นต้องสถิตอยู่ในที่ลึกลับ คือในพระราชฐานชั้นใน เป็นส่วนใหญ่ พ้นจากสายตาของธรรมดาสามัญชน และถึง แม้ว่าจะต้องเสด็จออกให้ปรากฏแก่สายตาคนทั้งปวงเป็น ครั้งคราว การเสด็จออกนั้นก็ต้องทําให้เป็นพิธีใหญ่มีความ ศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับพระเป็นเจ้ามาปรากฏพระองค์ พระ มหากษัตริย์ต้องทรงเครื่องต้นภูษิตาภรณ์และทรงพระมหา พิชัยมงกุฎหรือพระชฎาทําให้พระองค์มีความงดงามเปล่ง ปลัง่ เหมือนพระเป็นเจ้าในความคิดของมนุษย์ ต้องประทับ บนพระที่นั่งหรือราชบัลลังก์ซึ่งตั้งอยู่บนที่สูงและจําหลัก ให้เหมือนเขาพระสุเมรุอันเป็นที่สิงสถิตของพระเป็นเจ้า มีม่านทองกั้นไว้ข้างหน้า เมื่อได้เวลาเสด็จออกก็จะเผยพระ วิสูตรและประโคมด้วยสังข์และบัณเฑาะว์ ตลอดจนฆ้อง กลองแตรและเครื่องดุริยะดนตรีอื่นๆ สังข์นั้นพราหมณ์ เป่าเพื่ออัญเชิญพระนารายณ์ผู้ซึ่งบรรทมอยู่เหนือเกษียร
๓๔
ภูมิหลัง
สมุทร ส่วนบัณเฑาะว์นั้น พราหมณ์แกว่งเพื่อเชิญพระ อิศวรในฐานะทีเ่ ป็นพระนาฏราชทรงฟ้อนรําอยูใ่ นจังหวะซึง่ ทําให้ความเคลื่อนไหวต่างๆ ของธรรมชาติเป็นไปได้ เมื่อ พระวิสูตรเปิดแล้วและสุดเสียงประโคมแล้ว ผู้ที่เฝ้าทูล ละอองธุลีพระบาทจะต้องถวายบังคมสามคาบแล้วหมอบเฝ้า คําว่า “เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท” นั้นน่าจะมา จากการเสด็จออกเต็มพิธีของลัทธิเทวราชที่ได้กล่าวถึงมา นี้ ในภาษาเขมรเก่าการเผยพระวิสูตรเมื่อพระมหากษัตริย์ เสด็จออกนั้นเรียกว่า “เบิกละออง” แปลตรงๆ ว่า เปิดฝุ่น แสดงให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์เสด็จออกให้คนแลเห็นพระ องค์ไม่บอ่ ยนัก ถ้าออกทุกวันหรือบ่อยครัง้ เหตุไฉนฝุน่ จะจับ พระวิสูตรถึงกับเอามาใช้เป็นศัพท์ว่าเปิดฝุ่นได้ การเฝ้าทูล ละอองธุลีพระบาทนั้นก็คือ เมื่อเสด็จออกแล้วทุกคนที่เฝ้า อยู่หน้าพระวิสูตรต้องถวายบังคมแล้วหมอบก้มศีรษะลง มองพระองค์ไม่ได้ ฝุน่ ละอองทีป่ ลิวขึน้ ไปเมือ่ เปิดพระวิสตู ร นั้นก็จะต้องตกลง และตกลงบนศีรษะของผู้ที่หมอบเฝ้า อยู่ คํานีจ้ งึ เป็นศัพท์ทบ่ี ญ ั ญัตขิ น้ึ ให้ตรงกับความจริงในสมัย หนึง่ และได้กลายมาเป็นศัพท์ทใ่ี ช้กนั มาจนทุกวันนี้ ทัง้ ทีค่ วาม จริงนั้นไม่มีแล้ว ด้วยคติเดียวกันนี้การตั้งพระราชอาสน์จึง ต้องตัง้ ให้สงู กว่าคนอืน่ ๆ เสมอไป จะให้ใครอยูส่ งู กว่าทีป่ ระ ทับไม่ได้
ประเพณี อันเนื่องมาจากคติเทวราช การที่พระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาลงมา ทรงอยู่ในฐานะเทวราชหรือไศเลนทร์นั้น ได้มีผลต่อวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยมากมายหลาย อย่างโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์
ราชาศัพท์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ของ ไทยในสมัยสุโขทัยนั้นเป็นสถาบันมนุษย์ ในศิลาจารึกของ กรุงสุโขทัยสมัยพ่อขุนรามคําแหงจึงไม่ปรากฏว่ามีราชาศัพท์ ศัพท์ต่างๆ ที่ใช้กับองค์พระมหากษัตริย์นั้นเป็นศัพท์ธรรมดาสามัญทัง้ สิน้ การทีไ่ ด้กาํ หนดให้ใช้ราชาศัพท์สาํ หรับพระ มหากษัตริย์และพระราชวงศ์นั้นคงจะมีความหมายไปใน ทางที่จะทําให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์นั้นเป็นเทวราชทรงอยู่ ในฐานะที่แตกต่างกว่าคนธรรมดาสามัญทั่วไป ราชาศัพท์ ของไทยนั้นมีอยู่หลายคำที่เป็นภาษาเขมร แต่ศัพท์เขมร เหล่านั้น เขมรก็ใช้เป็นราชาศัพท์ เช่นคําว่า “เสวย” หรือ “บรรทม” เป็นต้น มิได้ใช้เป็นศัพท์สามัญ ราชาศัพท์นั้นจึง คงจะเป็นศัพท์ที่ใช้สําหรับเทวราชแต่ครั้งเมื่ออยู่ในกัมพูชา แล้วใช้กันติดต่อมาถึงกรุงศรีอยุธยา
องค์พระมหากษัตริย์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์แตะต้องมิได้
คนโบราณนั้นถือว่าพระเป็นเจ้ามีรัศมีอันเปล่งปลั่ง และมีความร้อนทีอ่ าจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ด้วยเหตุนอ้ี งค์ พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงอยู่ในฐานะเทวราชจึงเป็นที่เกรง ขามเนื่องจากความร้อนแรงนี้ และได้เกิดกฎเกณฑ์ต่างๆ เนื่องจากความกลัวนี้หลายประการ ประการแรกคือห้ามจับต้ององค์พระมหากษัตริย์ โดยเด็ดขาด ไม่วา่ จะเป็นส่วนใดส่วนหนึง่ ของพระองค์เพราะ ถือว่าเป็นของร้อน อาจทําให้เกิดอันตรายได้ ข้อห้ามนี้ถือ กันเคร่งครัดจนปรากฏในกฎมณเฑียรบาลว่า เมื่อพระมหากษัตริยเ์ สด็จพระราชดําเนินโดยเรือพระทีน่ ง่ั จะต้องมีมะพร้าว ห้าวผูกไว้เป็นคูๆ่ ในทีต่ า่ งๆ ของเรือ หากเรือพระทีน่ ง่ั ล่มลง จะต้องโยนมะพร้าวห้าวไปถวายให้ทรงเกาะ ห้ามผู้ใดว่าย น้ำเข้าไปแตะต้องพระองค์เป็นอันขาด
พระราชสรีระถูกต้องแผ่นดินมิได้
พระราชสรีระของพระมหากษัตริยท์ กุ ส่วน เช่นเส้น พระเจ้าหรือพระนขานั้นก็เป็นของศักดิ์สิทธิ์และร้อนแรงเช่น เดียวกัน หากตกต้องลงถึงแผ่นดินก็จะทําให้แผ่นดินแห้ง แล้ง เพาะปลูกสิ่งใดไม่ขึ้นเป็นความเดือดร้อนแก่คนทั่วไป จึงต้องมีเจ้าพนักงานคอยเก็บไว้ในที่มิดชิดมิให้ตกลงมาได้ การมองพระองค์พระมหากษัตริย์นั้นก็ต้องห้าม เช่นเดียวกัน แม้หมอบเฝ้าอยู่ในระยะใกล้ ผู้เฝ้าก็จะต้อง เบือนหน้าไปเสียอีกทางหนึง่ ไม่มองพระองค์โดยตรง เพราะ เกรงว่ารัศมีของพระผู้เป็นเจ้านั้นอาจทําให้ตาบอดได้ ซึ่ง ต่อมาก็ได้ถือกันว่าเป็นมารยาทในราชสํานัก นอกจากนั้น การมองพระองค์แต่ไกลก็ยังต้องห้ามเช่นเดียวกัน สมัย หนึง่ มีกฎหมายห้ามมองพระองค์แต่ไกลเวลาพระมหากษัตริย์ เสด็จพระราชดําเนินผ่านบ้านคน ไม่ว่าจะทางบกหรือทาง น้ำ ใครจะมององค์พระมหากษัตริย์ไม่ได้ ผู้ใดฝ่าฝืนจะ ต้องถูกทหารในขบวนเสด็จเอากระสุนยิงตา แม้แต่บ้าน เรือนตามทางเสด็จพระราชดําเนินก็ต้องปิดประตูหน้าต่าง ทั้งสิ้น เรื่องนี้เคยมีเหตุเมื่อครั้งรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมือ่ เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคครั้งหนึ่งทรง ได้ยินเสียงผู้หญิงร้องโอดครวญด้วยเสียงอันดัง จึงมีรับสั่ง ให้ถามหาเหตุกไ็ ด้ความว่าผูห้ ญิงคนหนึง่ ถูก ทหารเอากระสุน ยิงตาเพราะมองมาทางเรือพระที่นั่ง จึงมีรบั สัง่ ให้หยุดเรือ พระทีน่ ง่ั ให้หมอหลวงลงไปรักษาตาผูห้ ญิงนั้น แล้วมีพระ บรมราชโองการห้ามมิให้ใช้กระสุนยิงผู้คนที่มองมายังพระ องค์อีกต่อไป หากปรากฏว่ามีผู้ใดมองก็ให้ทหารขึ้นกระสุน เงือ้ ง่าขูใ่ ห้กลัวเท่านัน้ ห้ามมิให้ยงิ จริงๆ ต่อมาจนถึงรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ได้มปี ระกาศพระบรม ราชโองการให้บ้านเรือนสองข้างทางเสด็จพระราชดําเนิน เปิดประตูหน้าต่างได้ตามปกติ และได้ทรงแนะนําให้เจ้าของ บ้านทุกแห่งออกมาเฝ้าฯ ทีห่ น้าบ้าน เพื่อจะได้มีพระราชปฏิสันถารทักทายตามควร
ฉลองพระบาท
เนื่องจากความเชื่อว่าองค์พระมหากษัตริย์เป็นของ ร้อนแรง จึงมีข้อห้ามมิให้พระบาทเปล่าแตะต้องแผ่นดิน เพราะจะทําให้แผ่นดินร้อน พระมหากษัตริย์จึงต้องทรง ฉลองพระบาทเมื่อเสด็จพระราชดําเนินไปในที่ต่างๆ โดย เฉพาะบนผืนแผ่นดินจะต้องทรงฉลองพระบาทในทุกกรณี และแม้จะทรงฉลองพระบาทแล้ว เพือ่ ความแน่นอน ทางที่ เสด็จพระราชดําเนินจะต้องมีลาดพระบาทรองรับอีกชั้น หนึ่ง เป็นต้นว่าพรมหรือเสื่อโดยตลอด
การสําเร็จโทษ
เนือ่ งจากความร้อนนีอ้ กี เช่นเดียวกัน จึงได้มขี อ้ ห้าม มิให้พระโลหิตของพระมหากษัตริย์ตกถึงแผ่นดิน ตลอดไป จนพระโลหิตของพระบรมวงศานุวงศ์เพราะถือว่าเป็นเลือด กษัตริย์ หากมีความจําเป็นที่จะต้องสําเร็จโทษพระมหา กษัตริยห์ รือเจ้านายในพระราชวงศ์กจ็ ะต้องนําพระองค์เข้า ถุงแพรสีแดงแล้ววางไว้บนใบตองปูผา้ ขาวทับเป็นเครือ่ งกัน ความร้อน แล้วจึง “ทุบด้วยท่อนจันทน์” ซึง่ ความจริงท่อน จันทน์นั้นคือไม้จันทน์ที่เหลาเป็นกระบองยาวพอเหวี่ยงได้ สะดวกและใช้กระบองนั้นตีท่ีตรงคอต่อให้คอต่อหักสิ้นพระ ชนม์โดยไม่ตกพระโลหิต หรือถึงจะมีบ้างเล็กน้อยก็กลม กลืนกับสีผ้าแดงของถุงที่ใส่พระองค์ไว้ ไม่เป็นที่สังเกตได้ นอกจากเหตุแห่งความร้อนที่ได้กล่าวมาแล้ว ยัง มีข้อห้ามอื่นๆ เกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรง เป็นพระผู้เป็นเจ้าอีกบางประการ ในฐานะที่ทรงเป็นพระ เป็นเจ้า พระมหากษัตริย์จึงแตกต่างกับคนธรรมดาคือไม่ ป่วยไข้ ไม่แก่ ไม่ตายและไม่มีความเปลี่ยนแปลงในร่างกาย เช่นอ้วนขึ้นหรือผอมลง ด้วยเหตุนี้จึงห้ามถามอาการพระ ประชวรของพระมหากษัตริย์ ในสมัยก่อนแม้แต่ทรงพระ ประชวรก็ไม่ออกข่าวให้รู้กัน การประกาศอาการประชวร มากระทํากันในสมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ สิ้นพระชนมชีพลงก็ไม่ใช้ศัพท์ใดๆ ที่หมายถึงคําว่าตายแต่ เรียกว่า “สวรรคต” แปลว่าไปสวรรค์ซึ่งก็เป็นธรรมดาของ พระเป็นเจ้า นอกจากนั้นยังห้ามขาดมิให้ทักถึงการเปลี่ยน แปลงในพระราชสรีระ เช่น ห้ามมิให้ทักว่า มีพระวรกาย สมบูรณ์ขึ้นหรือซูบพระองค์ลง ถือว่าเป็นการผิดมารยาท อย่างร้ายแรง
สถาบันพระมหากษัตริย์
๓๕
การขานพระนาม
คนโบราณนั้นไม่เอ่ยนามพระเป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง มีข้อห้ามมิให้เอ่ยพระนามจริงของพระมหากษัตริย์ ในพระ ราชพิธีบรมราชาภิเษกจึงต้องทําพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ ถวายพระนามใหม่ซึ่งเป็นพระนามแผ่นดินเรียกว่า “พระ นามตามพระสุพรรณบัฏ” ซึ่งถือว่าเป็นพระนามสมมติ และเขียนด้วยถ้อยคําอันไพเราะลึกซึ้งจนไม่มีใครจะสามารถ เรียกขานได้ ด้วยเหตุนจ้ี งึ ต้องขนานพระนามพระมหากษัตริย์ ขึ้นเพื่อที่จะเรียกได้สะดวก เช่นในสมัยอยุธยาก็เรียกว่าพระ พุทธเจ้าเสือบ้าง พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระบ้าง หรือ พระเจ้า อยูห่ วั บรมโกศบ้าง ขุนหลวงหาวัดบ้าง พระทีน่ ง่ั สุรยิ ามรินทร์ บ้าง ตามแต่พระราชกรณียกิจหรือที่ประทับ ถึงกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้มีการเรียกพระนามตามนามพระพุทธรูปที่สร้าง ขึน้ ฉลองรัชกาลเช่น พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระนามรัชกาลต่อๆ มาก็ได้ขนานว่าพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั และพระปกเกล้าเจ้าอยู-่ หัว เพิ่งจะมาใช้พระนามเดิมในรัชกาลที่ ๘ และ ๙ เท่านัน้ การไม่เอ่ยพระนามนีก้ นิ ไปถึงสถานทีซ่ ง่ึ ใช้ชอ่ื ตามพระนามอีก ด้วย ในรัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งชื่อวัดที่ได้ทรงสร้าง ขึน้ ว่า วัดมกุฏกษัตริย์ จากพระนามเดิมว่าสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ก็ไม่มีผู้ใดเรียกตามนั้นมาจนสิ้นรัชกาล เรียกกันว่า“วัด พระนามบัญญัติ” แม้ชื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนัน้ ก็ได้ ขนานขึน้ เมือ่ สิน้ รัชกาลที่ ๕ แล้ว มีการเรียกชือ่ สถานทีห่ รือสิง่ ก่อสร้างที่มีชื่อตามพระนามเป็นครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบัน เท่านั้น คือเขื่อนภูมิพลและโรงพยาบาลภูมิพล คติและข้อห้ามต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงมานี้เป็นคติและ ข้อห้ามที่ติดอยู่กับสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยตลอด มา เมื่อนานเข้าก็ได้กลายเป็นวัฒนธรรมและมารยาท ถึง แม้ในปัจจุบันนี้จะได้เปลี่ยนแปลงหรือเลิกไปแล้วหลายข้อ แต่ก็ยังพอมีที่จะให้สังเกตได้ในมารยาทของคนไทยที่เกี่ยว กับองค์พระมหากษัตริย์และในงานพระราชพิธีต่างๆ เช่น เสด็จออกมหาสมาคมในวันเฉลิมพระชนมพรรษาหรือเสด็จ พระราชดําเนินเปิดรัฐสภาเป็นต้น* ซึง่ ยังได้รกั ษาขนบธรรม เนียมประเพณีแห่งการเสด็จออกนั้นไว้อย่างครบถ้วนทุก ประการ
คติเทวราชาในทางสถาปัตยกรรม และพระราชพิ ธี คติทว่ี า่ องค์พระมหากษัตริยท์ รงเป็นพระเป็นเจ้านัน้ ยังมีที่แสดงในทางอื่นๆ และมีอิทธิพลในการพระบรมศพ และในทางสถาปัตยกรรมของไทย ความเป็นพระเป็นเจ้า ของพระมหากษัตริย์น้นั มิได้ส้นิ สุดลงที่เสด็จสวรรคตเพราะ ตามลัทธิไศเลนทร์ทย่ี า้ ยมาตัง้ อยูท่ ก่ี รุงศรีอยุธยาเป็นแหล่ง
๓๖
ภูมิหลัง
สุดท้ายนั้น ความเป็นองค์พระเป็นเจ้าหรือองค์ไศเลนทร์ นั้นปรากฏแน่ชัดยิ่งขึ้นเมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว ในอาณาจักร เขมรโบราณนั้ น พระสรี ร ะของพระมหากษั ต ริ ย์ ผู้ เ สด็ จ สวรรคตแล้วเรียกว่าพระบรมศพ หมายถึงองค์พระเป็นเจ้า และพระบรมศพนัน้ บรรจุในพระบรมโกศ ซึง่ มีรปู ร่างสัณฐาน เป็นศิวลึงค์ อันเป็นปูชนียวัตถุที่เป็นประธานในเทวสถาน ของพราหมณ์ และพระบรมโกศนั้นจะต้องประดิษฐานไว้ ในพระเมรุมาศ คือบนยอดเขาพระสุเมรุอันเป็นที่สิงสถิต ของพระเป็นเจ้าของศาสนาฮินดู พระบรมศพนัน้ จะประดิษฐานไว้สําหรับบูชาตลอดไปเช่นเดียวกับศิวลึงค์ในเทวสถาน อื่นๆ ปราสาทหินที่เรียกกันว่านครวัดนั้น ความจริงเป็น พระเมรุมาศที่ประดิษฐานพระบรมศพของพระเจ้าสุริยวรมันผู้สร้างปราสาทนั้น เจตนาของผู้สร้างจะทําให้ปรา สาทหรื อ พระเมรุ ม าศนั้ น เป็ น เขาพระสุ เมรุ ต อนที่ พ ระ นารายณ์กวนเกษียรสมุทรทําน้ำอมฤตเพื่อแสดงให้เห็น อมฤตธรรมหรือความไม่ตายแห่งพระมหากษัตริยพ์ ระองค์นน้ั เริ่มต้นด้วยคูน้ำที่อยู่รอบปราสาทหินหมายถึงเกษียรสมุทร ตัวปราสาทหมายถึงเขาพระสุเมรุ สะพานนาคที่ข้ามคูน้ำไป ยังปราสาทนั้นคือนาคที่พระนารายณ์เอามาพันรอบเขาพระ สุเมรุแล้วให้เทวดาชักข้างหนึง่ และอสูรชักข้างหนึง่ ปราสาท องค์กลางนั้นหมายถึงยอดเขาพระสุเมรุ และพระบรมโกศ ที่ประดิษฐานอยู่ชั้นสูงสุดของปราสาทองค์กลางนั้นคือองค์ พระเป็นเจ้า ในกรณีนไ้ี ด้แก่พระนารายณ์ เพราะตามตํานาน นั้นพระนารายณ์ประทับอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุในระหว่าง ที่เทวดาและอสูรชักนาคให้เขาพระสุเมรุหมุนเพื่อกวนน้ำ ในเกษียรสมุทร
อมฤตธรรม และ การเล่นชักนาค ดึกดําบรรพ์ คนโบราณนั้นมีจิตใจจดจ่ออยู่กับความไม่ตายมาก ทั้งที่รู้ว่าตนจะต้องตายก็ยังแสวงหาความไม่ตายด้วยวิธี ต่างๆ การสร้างเขาพระสุเมรุตอนกวนน้ำอมฤตขึ้นเพื่อเป็น สุสานเก็บศพนั้นจึงออกจะเข้าเรื่องเข้าราวเป็นหนักหนา เพราะเป็นการแสดงออกซึง่ ความไม่ตายบนความตายทีเ่ กิด ขึ้น คติเรื่องน้ำอมฤตทําให้เกิดความไม่ตายนั้นมีอิทธิพล ต่ อ ความนึ ก คิ ด ของคนไทยในสมั ย ต้ น อยุ ธ ยาอยู่ ม าก เพราะในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาตอนต้นนัน้ ปรากฏ ว่ามีการเล่นดึกดําบรรพ์หลายครั้ง การเล่นดึกดําบรรพ์ หรือชักนาคดึกดําบรรพ์ นัน้ ก็คอื การแสดงตํานานตอนพระ นารายณ์กวนเกษียรสมุทรเพื่อทําน้ำอมฤต โดยเอาคนมา แต่งเป็นอสูรหรือยักษ์ขา้ งหนึง่ เทวดาข้างหนึง่ ให้ชกั นาคซึง่ คงจะได้จาํ ลองขึน้ ทําให้เขาพระสุเมรุซง่ึ คงจะได้จาํ ลองขึน้ เช่นเดียวกันหมุนไปหมุนมา การเล่นชักนาคดึกดําบรรพ์นั้น คงจะเป็นพิธีถวายพระพรพระมหากษัตริย์ให้เจริญพระ ชนมายุยง่ิ ยืนนาน อนึง่ คําว่า “ดึกดําบรรพ์” นีเ้ ป็นศัพท์ท่ ี หาความหมายไม่ได้มาช้านาน บางคนก็นึกว่าแปลว่าเก่าหรือ โบราณ แต่เมื่อได้พิเคราะห์ดูอาการที่เล่นชักนาคดึกดําบรรพ์
*ดูภาพหน้า ๑๗๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับ เหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร เสด็จออก ณ ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคม ในการรัฐพิธีเปิดรัฐสภา
แล้วก็เห็นจะพอสันนิษฐานได้วา่ คํานีม้ าจากภาษาเขมร สองคํา คือ “ตึก” แปลว่าน้ำคําหนึง่ และ “ตะบัล” แปลว่าตําหรือ ตะบันอีกคําหนึง่ รวมกันเข้าแล้วแปลว่า ตําน้ำ หรือตะบันน้ำ ทําให้นำ้ เกิดความหมุนเวียนอย่างแรง ถ้าน้ำทีต่ าํ นั้นเป็นน้ำนม ความเหวี่ยงของน้ำก็จะเหวี่ยงเอาไขมันจากน้ำนมไปติดไว้ ที่ขอบถังที่ใส่นม เป็นวิธีทําเนยของชาวยุโรปและชาวอินเดีย ในสมัยโบราณ เมื่อองค์ไศเลนทร์ได้เปลี่ยนมาเป็นพระมหากษัตริย์ ไทยแห่งกรุงศรีอยุธยา พระบรมศพของพระมหากษัตริย์ก็ จะเริ่ ม บรรจุ ในพระบรมโกศแทนที่ จ ะบรรจุ ในพระลอง (โลง)อย่างแต่ก่อนมา พระบรมศพพระมหากษัตริย์นคร เชียงใหม่และกรุงสุโขทัยนั้นคงจะบรรจุในพระลองทั้งสิ้น ยังเห็นจากพระจิตกาธานที่เผาพระบรมศพที่ยังเหลืออยู่ใน จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งก่อด้วยอิฐและทําพื้นไว้รับพระลองทุก องค์ ไม่มีท่าทีว่าจะรับพระโกศได้ เมื่อพระบรมศพของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา เริ่มบรรจุในพระบรมโกศฐานะที่เป็นองค์พระเป็นเจ้าแล้ว การก็หยุดอยู่แค่นั้น มีการตั้งพระบรมศพให้คนบูชาเช่น เดียวกับพระบรมศพของเขมร แต่อิทธิพลของพระพุทธ ศาสนาก็เข้ามาครอบคลุม มีการบําเพ็ญพระราชกุศลกับ พระภิกษุมากมายตามคติของศาสนาพุทธ และด้วยอิทธิพล ของศาสนาพุทธซึ่งถือว่าทุกอย่างเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงแท้ จึงไม่มีเจตนาที่จะเก็บพระบรมศพไว้เป็นการถาวร แต่เมื่อ ได้เวลาอันสมควรแล้วก็ถวายพระเพลิงพระบรมศพ อาคารที่ ถวายพระเพลิงพระบรมศพนั้นก็ยังคงเรียกว่าพระเมรุมาศ ยังเป็นเขาพระสุเมรุอยู่และสร้างตามแบบพระเมรุมาศ ของเขมรครบถ้วน มีความใหญ่โตและวิจติ รงดงามไม่นอ้ ย หน้าเขมร* ชั่วแต่ว่าวัสดุที่ใช้ก่อสร้างนั้นมิใช่ศิลาซึ่งจะต้อง หมดเปลืองแรงคนและทรัพยากรอื่นๆ อีกมาก แต่เป็นไม้ ผ้า และกระดาษทองซึ่งรื้อถอนไปได้เมื่อเสร็จการแล้ว แต่ อิทธิพลของลัทธิไศเลนทร์ก็ยังไม่หมดสิ้นไปเสียทีเดียว ณ ที่ ถวายพระเพลิงนัน้ ก็สร้างพระปรางค์ขน้ึ เพือ่ บรรจุพระบรมอัฐิ พระปรางค์ นั้ น เป็ น สถาปั ต ยกรรมเขมรและเป็ น รู ป เขา พระสุเมรุ พระปรางค์น้นั ดูจากล่างขึ้นไปก็เริ่มต้นด้วยฐานปัทม์ ปัทม์กค็ อื ดอกบัว หมายถึงน้ำ ซึง่ อาจหมายถึงเกษียรสมุทร หรือทะเลสาบที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุอยู่ก็ได้ ถัดขึ้นไปอีก เรียกว่าฐานสิงห์ หมายถึงว่าที่เชิงเขาพระสุเมรุนั้นมีสิงโต อาศัยอยู่ ซึง่ ก็ออกจะตรงกับความจริง ฐานสิงห์นบ้ี างแห่ง ก็จําหลักเป็นรูปสิงห์หลายตัว แต่บางแห่งก็ทําเป็นรูปเท้า สิงห์ไว้สี่มุม สูงขึ้นไปอีกก็จะถึงฐานครุฑ มีรูปครุฑจําหลัก ไว้มากบ้างน้อยบ้างตามแต่จะเห็นงาม แล้วจึงถึงฐานเทพนม เป็นรูปเทวดาพนมมือบูชาพระเป็นเจ้าเรียงรายอยู่ แล้วจึง ถึงยอดปรางค์เป็นรูปศิวลึงค์ หมายถึงองค์พระเป็นเจ้า คือพระศิวะ
๒๒
สัญลักษณ์เขาพระสุเมรุ
แบบแผนนี้ได้นํามาใช้กับราชบัลลังก์ที่ประทับของ พระมหากษัตริย์เวลาเสด็จฯ ออกอย่างเต็มยศ ผู้ที่ประทับ อยู่เหนือฐานเทพนมคือองค์พระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรง เป็นพระเป็นเจ้า ภาพที่นํามาแสดงไว้ในที่นี้เป็นภาพพระที่ นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ซึ่งประกอบด้วยฐานต่างๆ ตั้ง แต่ ฐ านปั ท ม์ ขึ้ น ไปจนถึ ง ฐานเทพนมแล้ ว จึ ง ถึ ง องค์ พ ระ มหากษัตริย์ พึงสังเกตว่ารอบพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ นั้นตั้งต้นไม้ทองเงินหลายต้น การตั้งต้นไม้ทองเงินนี้เป็น ส่วนหนึง่ ของลัทธิไศเลนทร์เช่นเดียวกัน พระทีน่ ง่ั นัน้ สมมติ ว่าเป็นเขาพระสุเมรุซึ่งอยู่ในป่าหิมพานต์ และป่าหิมพานต์ นั้นมีต้นไม้เงินต้นไม้ทองขึ้นอยู่ เมืองประเทศราชนั้นต้อง ส่งต้นไม้ทองเงินเข้ามาเป็นเครื่องราชบรรณาการ น่าคิด ว่าเพราะเหตุใดจึงต้องบังคับให้ถวายต้นไม้ทองเงิน จะเป็น สิ่งอื่นมิได้หรือ ปัญหานี้ตอบได้ด้วยลัทธิไศเลนทร์ การที่ เมืองประเทศราชต้องส่งต้นไม้ทองเงินเข้ามาถวายนั้นเท่า กับเป็นการยอมตัวเข้ามาอยู่ในป่าหิมพานต์รอบเขาพระ สุเมรุอันเป็นที่สถิตของพระเป็นเจ้าแสดงให้เห็นถึงความ ใกล้ชิดแห่งจิตใจอันมีความจงรักภักดีในองค์พระเป็นเจ้า
รูป ๒๒ พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ซึ่งสมมุติว่าจําลองจากเขาพระสุเมรุ ในป่าหิมพานต์อันเป็นที่สิงสถิตของ พระเป็นเจ้า
*ดูรายละเอียดเรือ่ งพระเมรุพระบรมศพในข้อ เขียนของ ดร.สุเมธ ชุมสาย ในเล่มเดียวกันนี้ หน้า ๒๕๒ – ๒๕๔
สถาบันพระมหากษัตริย์
๓๗
สถาปัตยกรรมอันถือแบบเขาพระสุเมรุนี้ต่อมาก็ได้ เข้ามาในศาสนาพุทธ มีการสร้างพุทธปรางค์ขึ้นตามวัดวา อารามต่างๆ ตัวอย่างทีเ่ ห็นได้ชดั ก็คอื พระอุโบสถวัดพระศรี รัตนศาสดาราม อันประกอบด้วยฐานปัทม์ แล้วมีรูปสิงห์ สําริดเรียงรายโดยรอบอีกชัน้ หนึง่ ขึน้ มา แล้วมีรปู ครุฑรอบ พระอุโบสถ แล้วจึงถึงบุษบกที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต อันมีเทพนมเรียงรายอยูโ่ ดยรอบตรงตามแบบเขาพระสุเมรุ ทุกประการ
สถาบันพระมหากษัตริย์ ในทรรศนะของคนไทย ที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นเรื่องของสถาบันพระ มหากษัตริย์ในหลักการและข้อปฏิบัติและข้อห้ามที่เกิดขึ้น จากหลักการนัน้ ต่อไปจะได้พจิ ารณาถึงทรรศนะของคนไทย ทีม่ ตี อ่ สถาบันพระมหากษัตริยข์ องตนว่ามีอยูอ่ ย่างไร ศัพท์ ในภาษาไทยที่ใช้เรียกองค์พระมหากษัตริย์น้นั มีอยู่หลายคํา แต่ละคําน่าจะชี้ ใ ห้เห็นว่าคนไทยมีทรรศนะเกี่ยวกับพระ มหากษัตริยอ์ ย่างไร และเห็นว่าพระมหากษัตริยม์ หี น้าทีอ่ ย่างไร ต่อประเทศและสังคมได้บ้างไม่มากก็น้อย
พระเจ้าอยู่หัว
ศั พ ท์ ที่ ห นึ่ ง ที่ ค นไทยเรี ย กพระมหากษั ต ริ ย์ ก็ คื อ พระเจ้าอยู่หัว คำนี้ในสมัยอยุธยาใช้ว่า พระพุทธเจ้าอยูห่ วั แต่จะใช้อย่างไรก็ตาม ศัพท์นม้ี คี วามหมายในทางทีอ่ งค์พระ มหากษัตริยเ์ ป็นพระผูเ้ ป็นเจ้า เป็นทีเ่ คารพสูงสุดเสมือนกับ ว่าประทับอยู่บนหัวของทุกคน
รูป ๒๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงพระมหาพิชัยมงกุฎ เสด็จขึ้น สถิตเหนือพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ บนพระราชบัลลังก์ แวดล้อมด้วยมหาดเล็กเชิญเครื่อง อิสริยราชูปโภคตามตําแหน่ง เสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัย ในการพระราชพิธี บรมราชาภิเษก
พระเจ้าแผ่นดิน ศัพท์ที่สองได้แก่คําว่า พระเจ้าแผ่นดิน คํานี้หมาย ความว่าพระมหากษัตริยท์ รงเป็นเจ้าของแผ่นดินทัง้ ประเทศ พระมหากษัตริย์พระราชทานสิทธิให้ราษฎรเข้าทํามาหากิน บนที่ดินของพระองค์ และสิทธิครอบครองโดยพระบรม ราชานุญาตนัน้ ซือ้ ขายหรือโอนให้แก่กนั ได้ โฉนดอันเป็นเอก สารกรรมสิทธิ์ที่ดินในสมัยก่อนก็มีข้อความตามนัยนี้ แม้ใน ปัจจุบันเมื่อทางราชการต้องการบังคับซื้อที่ดินจากเอกชน ไปใช้การสาธารณประโยชน์ในราคาที่ทางราชการเป็นผู้กํา หนดก็ยังเรียกการบังคับซื้อว่า “เวนคืน” ซึ่งก็ยังผูกพันอยู่ กับความเป็นเจ้าของที่ดินดั้งเดิมของพระมหากษัตริย์ เมื่อ ทางราชการของพระองค์ตอ้ งการเอาทีด่ นิ ใดไปใช้จงึ เรียกว่า เวนคืนสูเ่ จ้าของดัง้ เดิม ถ้าทีด่ นิ มิได้เป็นของพระมหากษัตริย์ แต่ดง้ั เดิมแล้ว คําว่า “คืน” ในศัพท์วา่ เวนคืนก็ไร้ความหมาย เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินหรือ พระเจ้าแผ่นดินแล้ว ก็ถือกันต่อไปว่า พระเจ้าแผ่นดินจะ
ต้องมีพระราชภาระในความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินด้วย หากเกิดภัยพิบัติ เช่นน้ำท่วม ฝนแล้ง ทําการกสิกรรมไม่ ได้ผลบริบูรณ์ ก็เป็นพระราชภาระที่จะต้องคอยป้องกัน แก้ไขเพื่อให้แผ่นดินอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นนิจ ความจริงหน้าทีใ่ นการรักษาและส่งเสริมความอุดม สมบูรณ์ของผืนแผ่นดินเพื่อผลในทางเกษตรนั้นเป็นของ พระเจ้าแผ่นดินมาแต่โบราณกาล ในอินเดียในยุคพระเวท นั้นกษัตริย์อริยะได้ทําหน้าที่ด้วยการกระทํายัญ คือบูชาสังเวยเทวดาเพื่อให้ช่วยรักษาส่งเสริมความอุดมสมบูรณ์ของ แผ่นดินและป้องกันภัยพิบัติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นแก่แผ่นดิน ในเรื่องนี้กรุงศรีอยุธยาได้รับอิทธิพลของศาสนาฮินดูไว้มาก พระมหากษัตริย์จึงทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้านนี้ด้วย พระราชพิธีต่างๆ ที่มีความมุ่งหมายที่จะรักษาและส่งเสริม ความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน ในสมัยโบราณนัน้ เหตุผลทาง วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติยังค้นไม่ พบ และความรู้ทางเทคโนโลยียังมีไม่มาก มนุษย์จึงต้อง อาศัยไสยศาสตร์ พระราชพิธีต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยานั้นมี ทุกเดือนในหนึ่งปี ส่วนใหญ่ก็เพื่อให้แผ่นดินมีความสมบูรณ์ และเพือ่ ความงอกเงยของพืชพรรณธัญญาหาร เช่น พระ ราชพิธแี รกนาขวัญ พระราชพิธพี รุณศาสตร์หรือขอฝน พระ ราชพิธีไล่น้ำหรือไล่เรือซึ่งเชื่อกันว่าจะทําให้น้ำลดทําให้ชาว นาเกี่ยวข้าวได้ พระราชพิธีตรียัมปวาย และอื่นๆ อีกมาก พระราชพิธีเหล่านี้คงมีตลอดมาจนถึงต้นรัชกาลที่ ๕ แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีเพิ่มมากขึ้น พระราชพิธีเหล่านี้ก็ค่อยๆ หมดไป จะยัง คงเหลืออยู่บางอย่างก็เพื่อคุณค่าในทางสังคมเท่านั้น นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินยังมีหน้า ที่ที่จะต้องรักษาฝูงสัตว์ที่เป็นประโยชน์ในการเกษตรและ ในทางอื่นๆ ที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดิน เช่น ฝูงควายป่าแถว เมืองกาญจนบุรี ฝูงโคแถวเมืองโคราช และโขลงช้างป่า ซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศ วัวและควายป่านั้นจับมาฝึกใช้งานและ จ่ายให้แก่ราษฎรเพือ่ ทําไร่ไถนาในยามทีข่ าดแคลน ส่วนช้าง ในสมัยนัน้ เป็นสัตว์มปี ระโยชน์มากทางสงครามและเศรษฐกิจ เพราะใช้งานที่ต้องใช้แรงได้หลายอย่าง ฝูงสัตว์เหล่านี้จึง มีกรมกองราชการคอยอนุรักษ์ดูแล และต้องกราบบังคม ทูลถวายรายงานถึงจํานวนสัตว์ในโขลงและในฝูงต่างๆ ให้ทรงทราบอยู่เป็นนิจ
พระธรรมราชา
ศัพท์ต่อไปที่คนไทยใช้เรียกพระมหากษัตริย์ก็คือ พระธรรมราชา ถึงแม้ว่าศัพท์นี้จะมิใช่ศัพท์ที่แพร่หลายติด ปากคนทัว่ ไปนัก แต่กเ็ ป็นศัพท์ทไ่ี ด้พบเห็นอยูใ่ นหนังสือเก่าๆ หรืออยูใ่ นสร้อยพระนามอยูเ่ สมอ ศัพท์นห้ี มายความว่าพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นผู้รักษาธรรมและปฏิบัติธรรมด้วยการ อยู่ในศีลธรรมให้เห็นประจักษ์เป็นตัวอย่างแก่คนอื่นและ
สถาบันพระมหากษัตริย์
๓๙
ทรงบําเพ็ญพระราชกุศลทั้งปวงในฐานะเป็นองค์อุปถัมภก แห่งศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธ ยิ่งกว่านั้นยัง ทรงเป็นต้นเค้าแห่งความยุตธิ รรม คือเป็นอํานาจตระลาการ อันสูงสุดในการตัดสินคดีความ ทรงเป็นผูช้ ข้ี าดในปัญหากฎ หมายที่เกิดขึ้น กฎหมายไทยที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ได้มาจากขอบ จักรวาลผู้ใดจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้นั้น เรียกว่า บทพระ อัยการ แต่บทพระอัยการนัน้ เป็นกฎหมายโบราณหนักหนา ได้ลอกคัดกันต่อๆ มาจนบางแห่งสับสนไม่แน่ชัด ไม่ตรง กันหรือไม่รบั กัน มีศพั ท์และข้อความทีเ่ ข้าใจยาก ในกรณี ที่เกิดปัญหาขึ้นแก่บทพระอัยการ ลูกขุนตระลาการมิรู้ว่าจะ ชี้ขาดข้อกฎหมายอย่างไรถูก ก็จะได้นําบทพระอัยการที่เกิด ปัญหานั้นขึ้นถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงชี้ขาด คําชี้ขาด ของพระมหากษัตริย์นั้นเรียกว่า พระราชบัญญัติ และถือ ว่าเป็นที่สิ้นสุด ในฐานะที่ทรงเป็นธรรมราชานี้ พระมหากษัตริย์ ต้องทรงอนุรักษ์และอุปถัมภ์ไว้ซึ่งศิลปะวิชาการทั้งปวงที่มี อยู่ในพระราชอาณาเขต ทุกอย่างเรียกได้ว่าอยู่ในพระบรม ราชูปถัมภ์และพระมหากษัตริย์ต้องทรงอนุรักษ์เกื้อกูลให้ เกิดขึ้นและดํารงอยู่คู่บ้านคู่เมืองตลอดไป
พระมหากษัตริย์
อีกศัพท์หนึง่ ทีใ่ ช้เรียกพระมหากษัตริยก์ นั อย่างแพร่ หลายในกฎหมายและเอกสารต่างๆ ก็คือคําว่า พระมหา กษัตริย์ คําว่า “กษัตริย์” ในภาษาสันสกฤตนั้นตรงกับคําว่า “ขัตติยะ” ในภาษาบาลีแปลว่า นักรบ เมื่อเติมคําว่า “มหา” เข้าไปก็แปลว่านักรบผูย้ ง่ิ ใหญ่ คือจอมทัพในยามทีบ่ า้ นเมือง มีศึกสงครามและมีความจําเป็นที่จะต้องป้องกันประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นําทางทหารที่สูงสุด ในประวัติ ศาสตร์ของชาติไทยก็ปรากฏว่ามีพระมหากษัตริยไ์ ทยหลาย พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจนี้อย่างสมบูรณ์ ทรง รักษาเอกราชของชาติไทยไว้ได้ตลอดมา
เจ้าชีวิต
อีกศัพท์หนึ่งที่ราษฎรใช้เรียกพระมหากษัตริย์ก็คือ เจ้าชีวิต หรือ พระเจ้าชีวิต ศัพท์นี้ในปัจจุบันก็ยังมีคนใช้ อยู่ในชนบทห่างไกล มีความหมายว่าพระมหากษัตริย์ทรง ไว้ซึ่งพระราชอํานาจที่จะประหารชีวิตคนได้ ไม่มีบุคคลใด หรือองค์กรใดในประเทศที่มีอํานาจนี้ ในสมัยหนึ่งการประ หารชีวิตคนต้องทําโดยพระบรมราชโองการ ในกรณีพิเศษ บางประการอาจมีบุคคลอื่นได้รับอาญาสิทธิ์จากพระมหา กษัตริย์ให้ประหารชีวิตคนได้ แต่ก็เป็นการชั่วคราวและ เฉพาะกิจเช่นในยามทัพศึก แต่กม็ ไิ ด้พระราชทานอาญาสิทธิ์ นี้ให้แก่บุคคลใดตลอดไป ทุกวันนี้การประหารชีวิตกระทํา ตามคําพิพากษาของศาล แต่ศาลก็พิพากษาความในพระ ปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
๔๐
ภูมิหลัง
ในหลวง
ศัพท์ที่ใช้กันแพร่หลายมากและเป็นศัพท์สุดท้ายที่ จะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือศัพท์ว่า ในหลวง เพื่อที่จะให้เข้าใจ ศัพท์นี้ได้ชัด จะต้องขอนําศัพท์นี้ไปเทียบกับศัพท์ว่า “ใน กรม” ในสมัยหนึ่งระบอบราชการของไทยได้ตั้งกรมกอง ซึง่ คุมคนขึน้ และให้เจ้านายในพระราชวงศ์ทด่ี าํ รงพระยศสูง เข้าคุมราชการในกรมเหล่านั้นแต่ละกรม ในพระสุพรรณบัฏ ตั้งเจ้านายให้ทรงกรมนั้น ในตอนท้ายจะมีการตั้งเจ้ากรม ปลัดกรมและสมุห์บัญชี และมีคําสั่งให้บุคคลเหล่านี้ “รับ ราชการในหลวงและในกรม” ข้อความนี้ถ้าพิจารณาดูแล้ว จะเห็นว่า คําว่าราชการในหลวงนัน้ มิได้หมายความถึงราช การของพระมหากษัตริย์ แต่เป็นราชการส่วนรวมทีป่ กครอง ประเทศทั้งประเทศ ส่วนราชการในกรมนั้นเป็นราชการที่ มีขอบเขตจํากัดอยู่ภายในกรมกอง เป็นเรื่องของลักษณะ งานมากกว่าเรื่องตัวบุคคล เจ้านายที่ทรงกรมนั้นเรียกโดย ทั่วไปว่า “ในกรม” หรือบางที่ก็ยกย่องเรียกว่า “เสด็จใน กรม” เพราะทรงบังคับบัญชาราชการภายในกรมของพระ องค์เท่านั้น คําว่า “ในหลวง” จึงหมายถึงองค์พระมหา กษัตริย์ซึ่งทรงบังคับบัญชาราชการของประเทศ ทรงไว้ซึ่ง อํานาจบริหารสูงสุด ทรงบริหารราชการด้วยพระองค์เอง ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและทรงบังคับบัญชาข้าราชการทั้งปวง ศัพท์ที่ใช้เรียกพระมหากษัตริย์เหล่านี้ เมื่อรวบรวม กันเข้าทุกความหมายแล้วก็แสดงให้เห็นได้วา่ คนไทยมีความ เห็ น ว่ า สถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ ข องเขามี ภ าระอย่ า งไร มีหน้าทีก่ ารงานอย่างไร และประชาชนมีความหวังในสถาบัน พระมหากษัตริย์อย่างไร มีความต้องการอย่างไรจากองค์ พระมหากษัตริย์
ศาสนาพุทธและสถาบันพระมหากษัตริย์ ของคนไทย
ได้กล่าวมาแล้วว่าศาสนาฮินดูมอี ทิ ธิพลมากต่อสถาบัน พระมหากษัตริย์ของไทยตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยาลงมา จน อาจกล่าวได้ว่าราชสํานักของไทยมีลักษณะเป็นราชสํานัก ฮินดูมากที่สุด แต่ก็ได้กล่าวมาแล้วเช่นเดียวกันว่าศาสนา พุทธก็มีอิทธิพลต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยเช่น เดียวกัน และออกจะเป็นอิทธิพลที่ลึกซึ้งเพราะพระมหา กษัตริย์ไทยทุกพระองค์ตั้งแต่ต้นมาทรงนับถือศาสนาพุทธ ทรงรับไตรสรณคมน์และทรงมีพระราชศรัทธาปสาทะใน พระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะ ฉะนั้นหากศาสนาฮินดูจะมีอิทธิพลอย่างไร อิทธิพลนั้นก็มี อยู่ในส่วนรูปแบบในพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นความเหมาะสม ในทางการเมืองในสมัยนั้น ส่วนศาสนาพุทธนั้นมีอิทธิพล ต่อสถาบันพระมหากษัตริยท์ างด้านจิตใจอย่างลึกซืง้ เป็น แหล่งที่มาแห่งคุณค่าทั้งปวงและเป็นเครื่องกําหนดศีล
ธรรมแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ อิทธิพลของศาสนา ฮินดูนั้นมีได้เท่าที่ไม่ขัดต่อศีลธรรมและคุณค่าในศาสนา พุทธเท่านั้น
ทศพิธราชธรรม ธรรมะแห่งผู้ครองแผ่นดิน ๑๐ ประการ
พระบรมศาสดานั้นประสูติมาในวรรณะกษัตริย์อัน เป็นวรรณะแห่งผูค้ รองแผ่นดิน จึงได้ทรงทราบและเข้าพระ ทัยในเรื่องธรรมะแห่งผู้ครองแผ่นดิน และได้ตรัสสั่งสอน ธรรมแห่งผู้ครองแผ่นดินหรือของพระมหากษัตริย์หลาย ประการ ธรรมของพระมหากษัตริย์ตามคําสั่งสอนของ พระพุทธเจ้านั้นพระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงรับและได้ทรง ปฏิบัติมาตลอดหรืออย่างน้อยก็ได้ยึดถือกันมาตลอดว่า เป็นธรรมที่พระมหากษัตริย์พึงปฏิบัติ ธรรมหมวดแรกของพระมหากษัตริย์นั้น ท่านรจนา ไว้เป็นพระคาถาว่า ทานํ สีลํ ปริจจฺาคํ อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ อกฺโกธํ อวิหํสญฺจ ขนฺติญฺจ อวิโรธนํ อิจฺเจเต กุสเล ธมฺเม ฐิเต ปสฺสาหิ อตฺตนิ ตโตเต ชายเต ปีติ โสมนสฺสญฺจนปฺปกํ ทานคือการให้ ศีลคือการตั้งสังวรกายและใจให้ สุจริต ปริจจาคะคือการเสียสละ อาชชวะคือความซือ่ ตรง มัททวะคือความอ่อนโยน ตปะคือการกระทําหน้าที่ครบ ถ้วนไม่หลีกเลี่ยงเกียจคร้าน อักโกธะคือความไม่โกรธ อวิหิงสาคือความไม่เบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ ขันติ คือความอดทนต่อสิง่ ทีค่ วรอดทน และ อวิโรธนะคือการคิด และกระทําทีป่ ราศจากอารมณ์ยนิ ดียนิ ร้าย กุศลสิบประการ นี้ ข อพระเจ้ า แผ่ นดิ นจงทรงเห็ นชอบให้ ดํ า รงอยู่ ในพระ สันดานเป็นนิจ พระปีติและโสมนัสไม่น้อยจักเกิดมีแก่พระองค์
สังคหวัตถุ ๕ ประการ
ธรรมอีกหมวดหนึ่งที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์คือ สังคหวัตถุห้าประการ ธรรมหมวดนี้น่าสนใจมาก เพราะ แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงทราบดีถึงกิจวัตรของพระ ราชาในยุคพระเวทและในสมัยพุทธกาลซึ่งมีแต่ยัญหรือ บูชายัญแก่เทพเจ้าเป็นพื้น ด้วยความเชื่อถือว่ายัญเหล่านั้น จะทําให้เทพเจ้าอํานวยประโยชน์ให้แก่แผ่นดินและแก่พระ ราชาเอง ทั้งนี้เปรียบได้กับพระราชพิธีพราหม์ต่างๆ ซึ่งมี ในประเทศไทยตั้ ง แต่ ส มั ย ต้ น อยุ ธ ยาลงมาจนถึ ง สมั ย รัตนโกสินทร์ พระพุทธเจ้าได้ทรงนําเอายัญสี่ประการของ พระเวทซึ่งถือกันในสมัยนั้นว่าสําคัญ มาดัดแปลงให้เห็น กิจการที่พระราชาพึงปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินและ ราษฎร มากกว่าการบูชายัญ ซึ่งต้องฆ่ามนุษย์หรือสัตว์อัน เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงสนับสนุนและเห็นว่าเป็นบาป กรรม สังคหวัตถุห้าประการนั้นมีดังต่อไปนี้
สสฺสเมธํ ข้อนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงดัดแปลงจากยัญ ที่เรียกว่า อัศวเมธ คือการฆ่าม้าบูชายัญ ซึ่งอาจมีวัตถุประ สงค์ที่จะให้มีอาหารอุดมสมบูรณ์ในประเทศและเพื่อเผย แผ่พระราชอํานาจของพระราชา เพราะพิธีอัศวเมธนั้นตรง กับที่ไทยเราเรียกว่าปล่อยม้าอุปการ ได้แก่การปล่อยม้าที่ จะบูชายัญนั้นให้ออกท่องเที่ยวไปก่อน ม้านั้นผ่านเข้าไปใน บ้านเมืองใดหากบ้านเมืองนัน้ ไม่จบั หรือทําอันตรายม้า ก็ถอื ว่าผู้ครองบ้านเมืองนั้นยอมอยู่ใต้อํานาจของพระราชาผู้ ปล่อยม้า เมื่อครบกําหนดเวลาแล้วจึงเอาม้านั้นมาฆ่าบูชา ยัญ พระพุทธเจ้าได้ทรงเปลี่ยนชื่อยัญนี้ให้เป็น สัสสเมธะ แปลว่าความรู้ในการบํารุงพืชผลในประเทศให้อุดมสมบูรณ์ อันความรู้นี้จะทําให้พืชผลสมบูรณ์ด้วยความรู้และการกระ ทําของมนุษย์ ไม่ใช่ด้วยความช่วยเหลือของเทวดา ปุริสเมธํ เทียบได้กับปุรุษเมธของพระเวท คือ การฆ่าคนบูชายัญ แต่ความหมายในศาสนาพุทธนั้นได้แก่ ความรู้จักคน และสงเคราะห์หรือชุบเลี้ยงคนที่ควรสงเคราะห์ สมฺมาปาสํ ความรู้ที่จะผูกใจคนให้จงรักภักดีด้วย การปกครองที่ทําให้เกิดความสุขความเจริญทั่วไปเทียบได้ กับพิธสี มั ยกปราสะของพราหมณ์ ซึง่ รายละเอียดยังค้นไม่ พบในปัจจุบนั นี้ แต่เข้าใจว่าจะเป็นพิธผี กู น้ำใจคนในทางไสย ศาสตร์ให้มีความภักดีต่อพระราชา วาจาเปยฺ ยํ คํ า พู ด ที่ อ่ อ นหวานควรดื่ ม ไว้ ใ นใจ เทียบได้กับวาชเปยะ คือการทําพิธีหุงน้ำอมฤตต่ออายุของ พระราชา สังคหวัตถุที่ ๕ นั้นเป็นผลของสังคหวัตถุสี่ประการ ข้างต้น เรียกว่า นิรัคคฬะ ได้แก่ความสงบเรียบร้อยของ บ้านเมือง ชาวบ้านไม่ต้องลงกลอนประตูเรือน
จักรวรรดิวัตร
ธรรมของพระมหากษัตริยอ์ กี หมวดหนึง่ นัน้ เรียกว่า จักรวรรดิวัตร มีอยู่ในพระไตรปิฎก ทีฆนิกาย จักกวัติสูตร จําแนกได้เป็น ๑๒ ข้อดังต่อไปนี้ ๑. ควรอนุเคราะห์คนภายในราชสํานักและคนทหาร พลเรื อ นตลอดจนราษฎร ให้ มี ค วามสุ ข ไม่ ป ล่ อ ยปละ ละเลย ๒. ควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น ๆ ๓. ควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์ ๔. ควรเกื้อกูลพราหมณ์ คฤหบดี และคฤหบดีชน ๕. ควรอนุเคราะห์ประชาชนในชนบท ๖. ควรอุปการะสมณพราหมณ์ผู้มีศีล ๗. ควรจั ด รั ก ษาฝู ง เนื้ อ และนกตลอดจนสั ต ว์ ทั้ ง ปวงมิให้สูญพันธุ์ ๘. ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรมและ ชักนําด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลจริต ๙. ควรเลี้ยงดูคนจนเพื่อมิให้ประกอบการทุจริต เป็นภัยต่อสังคม
สถาบันพระมหากษัตริย์
๔๑
๑๐. ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์เพื่อศึกษาบุญและ บาปและการกุศลอกุศลให้ประจักษ์ชัด ๑๑. ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปยังที่ที่พระราชาไม่ ควรไป ๑๒. ควรดับความโลภ มิให้ปรารถนาลาภทีพ่ ระราชา ไม่ควรจะได้รับ ที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมดเป็นเรื่องของอิทธิพลและ ปัจจัยต่างๆ ที่มาประกอบกันเข้าให้เกิดสถาบันพระมหา กษัตริยข์ องไทย อิทธิพลของศาสนาฮินดูได้สร้างความศักดิ์ สิทธิ์ให้เกิดขึ้นแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นความศักดิ์ สิทธิ์อันสูงสุด ผู้ใดจะละเมิดมิได้ และเป็นแหล่งแห่งพระ ราชอํานาจอันล้นพ้นซึ่งเคยเป็นจริงในสมัยหนึ่ง คตินี้ได้ แทรกซึมเข้าไปในจินตนาการความคิดเห็นและความเชื่อ ถือของคนไทยอย่างกว้างขวาง และยังเป็นเอกลักษณ์ของ สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่แม้ในปัจจุบันนี้ พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ตั้งแต่แรกเริ่มมา ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้นและ ลึกซึ้ง เพราะฉะนั้นธรรมของศาสนาพุทธที่เกี่ยวกับพระ มหากษัตริย์และการปกครองแผ่นดินจึงเป็นธรรมที่พระ มหากษัตริย์ทรงยึดถือและปฏิบัติ จะได้มากหรือน้อยก็แล้ว แต่พระกมลสันดาน แต่ธรรมแห่งศาสนาพุทธก็เป็นหลักการ และขอบเขตแห่งพระราชจริยวัตรตลอดมา นอกจากนั้น อุดมการณ์ทพ่ี ระมหากษัตริยท์ รงเป็นพ่อเมือง คอยปกป้อง ระงับทุกข์บํารุงสุขแก่ประชาชนซึ่งมีอยู่ในสมัยสุโขทัย ถึง แม้จะมิได้มีการกล่าวถึงในสมัยต่อมาก็ยังมิได้สูญสิ้นไปเสีย ทีเดียว จะเห็นได้ว่าราษฎรยังมีสิทธิติดต่อกันมาตลอดในอัน ที่จะร้องทุกข์เรื่องความเดือดร้อนของคนโดยตรงต่อองค์ พระมหากษัตริยด์ ว้ ยการถวายฎีกาในสมัยอยุธยาลงมาจนถึง สมัยรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะพระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ราชจักรีวงศ์ได้พระราชทานความสําคัญให้แก่เรื่องนี้เป็น พิเศษ ได้โปรดให้มีกลองแขวนไว้ที่หน้าพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับที่เคยมีกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าพระราชวังของ พ่อขุนรามคําแหงมหาราช เพื่อราษฎรจะได้มาตีกลองแล้ว ถวายฎีกาได้ทกุ เมือ่ จนเกิดเป็นคําว่า ตีกลองร้องฎีกา ขึน้ ใน ภาษาไทย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ออกรับฎีกาจากราษฎรด้วยพระองค์เองเป็นนิจ หากมีพระ ราชกิจ ทีจ่ าํ เป็นหรือทรงพระประชวรเสด็จออกรับฎีกามิได้ ก็โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอหรือพระบรมวงศ์ ผู้ใหญ่ออกรับแทนพระองค์ ความรูส้ ึกของราษฎรที่มีต่อ องค์พระมหากษัตริยก์ ค็ อื ความใกล้ชดิ สถาบันพระมหากษัตริย์ นั้นเป็นสถาบันที่เข้าถึงได้ แตกต่างกับขุนนางผู้ใหญ่ หรือผู้ ที่มีบุญวาสนาที่เข้าถึงไม่ได้หรือเข้าถึงได้ยาก สถาบันพระ มหากษัตริยจ์ งึ เป็นทีพ่ ง่ึ แหล่งสุดท้ายของราษฎร ได้กล่าวมาแล้วในที่อื่นๆ ว่าพระมหากษัตริย์ในพระ บรมราชจักรีวงศ์นั้นมีแต่พระมหากรุณาต่อพสกนิกรของ พระองค์เหนืออื่นใด และด้วยพระมหากรุณานี้ได้ทรงดัด
๔๒
ภูมิหลัง
๒๔
แปลงแก้ไขสภาพต่างๆ ในบ้านเมืองให้ดีขึ้นกว่าเดิมในทุก ทาง ยังผลให้สงั คมไทยเป็นสังคมทีม่ อี สิ ระเสรี ในด้านสถาบัน พระมหากษัตริย์ก็เช่นเดียวกัน เพราะได้ทรงเปลี่ยนแปลง แก้ไขและขจัดอุปสรรคทั้งปวงซึ่งกีดขวางอยู่ระหว่างพระ มหากษัตริยก์ บั ประชาชน ทําให้สถาบันซึง่ เคยตัง้ อยูบ่ นราก ฐานแห่งความเกรงกลัวนัน้ มาตัง้ อยูบ่ นรากฐานแห่งศรัทธา ความรักและความหวงแหน รากฐานแห่งความรักนั้นมา ปรากฏชัดในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว เมื่อประชาชนพร้อมในกันขนานพระนามว่า สมเด็จ พระปิยมหาราช สถาบันพระมหากษัตริย์ได้ก้าวออกมาอีกในรัชกาล ปัจจุบนั ทัง้ ทีเ่ อกลักษณ์ดง้ั เดิมของสถาบันพระมหากษัตริย์ จะยังคงมีอยู่ครบถ้วน แต่ก็ได้บังเกิดความรู้สึกที่ประกอบ ด้วยความมั่นใจแน่นแฟ้นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็น สถาบันของประชาชนและจะอยู่ควบคู่กับประชาชนตลอด ไปจะขาดเสียมิได้ ทัง้ นีเ้ พราะว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวได้ทรงบําเพ็ญพระบารมีด้วยพระอุตสาหคุณ พระวิริยคุณและพระขันติคุณอันหาที่สุดมิได้ เป็นที่ประจักษ์แก่ใจ ประชาชนทั่วไป ทรงตั้งอยู่ในศีลของพระมหากษัตริย์คือ ทศพิธราชธรรมอย่างเคร่งครัด ไม่มีที่บกพร่อง และทรง
รูป ๒๔, ๒๕ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาหรือ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลซึ่งเป็นพิธีที่ รวมทั้งศาสนาพุทธและฮินดู ได้มีการ เปลี่ยนแปลงจากประเพณีโบราณมา ครั้งหนึ่งแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๔ ของกรุง รัตนโกสินทร์ แต่เดิมมานั้นพระมหา กษัตริย์มิได้เสวยน้ำชําระพระแสงด้วย แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ถวายทรงดื่มก่อน แล้วจึงให้พนักงานเชิญไปถวายพระบรม วงศานุวงศ์และข้าราชการ เมื่อได้มีการรื้อฟื้นพระราชพิธีนี้ขึ้นใหม่ ในรัชกาลปัจจุบันหลังจากที่ได้ยกเลิกไป หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ และเรียกเสียใหม่ว่า พระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีฯ โดยให้ผู้ที่ได้ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ เท่านั้นถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา คําถวาย สัตย์ปฏิญาณก็แตกต่างออกไปจากแบบ เดิม คือมิได้มีการออกพระนามพระมหา กษัตริย์ แต่เป็นการสาบานตนต่อประเทศ ชาติและประชาชนชาวไทย
๒๕ คําถวายสัตยปฏิญาณในพระราชพิธี ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ มีดังนี้ “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า (ออกชื่อผู้ถวายสัตย์ปฏิญาณ) ขอพระราชทานกระทําสัตย์ ปฏิญาณสาบานตัว ต่อประเทศชาติ และ ประชาชนชาวไทย เฉพาะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เฉพาะพระพุทธ มหามณีรัตนปฏิมากร ท่ามกลางมหา สันนิบาตินี้ว่า ข้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นสมาชิกแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี จะภักดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ ต่อประชาชนและต่อหน้าที่ จะปฏิบัติการ ทุกอย่างโดยเต็มกําลังสติปัญญา ความสามารถ และโดยความเสียสละ เพื่อความเจริญ ความสงบสุข และความมั่นคง ไพบูลย์ของประเทศชาติไทย จนตราบเท่าชีวิต ร่างกายจะหาไม่ หากข้าพระพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติฝืน คําสัตย์ปฏิญาณนี้เมื่อใด ขอความวิบัติ จงบังเกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อนั้น
ปฏิบตั ธิ รรมของพระมหากษัตริยค์ อื สังคหวัตถุและจักรวรรดิวัตร โดยบริบูรณ์ จนศีลและธรรมเหล่านั้นเป็นที่ประจักษ์ ออกมาเป็นตัวตนแน่นอนว่าเป็นศีลที่รักษาได้ เป็นธรรมที่ ปฏิบัติได้จริง มิใช่เป็นแต่เพียงคําสั่งสอนหรือหลักการที่ บุคคลยากทีจ่ ะปฏิบตั ไิ ด้ สถาบันพระมหากษัตริยป์ จั จุบนั มิใช่ สถาบันที่อยู่เหนือเหตุผลหรือลึกลับอีกต่อไป แต่เป็นสถา บันที่เข้าใจได้พิสูจน์ได้เพราะเป็นสถาบันที่มีหน้าที่และการ งานที่จะต้องทํา และเป็นสถาบันที่ทํางานหนักไม่น้อยกว่า ใครในสังคมนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงปฏิบตั พิ ระ ราชภารกิจโดยมิได้ว่างเว้น ไม่มีวันหยุด ดังที่เคยมีพระราช ดํารัสกับนักหนังสือพิมพ์ต่างประเทศว่า “การเป็นพระเจ้า แผ่นดินนั้นต้องเป็นตลอด ๒๔ ชั่วโมง ไม่มีเวลาหยุดได้” แทนทีร่ าษฎรจะเข้าถึงพระองค์ได้ดว้ ยการเข้ามาสัน่ กระดิง่ ตีกลองขอเฝ้าฯ อย่างสมัยก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวได้เสด็จพระราชดําเนินไปถึงตัวราษฎรในทุกหมู่บ้านทุก ตําบลด้วยความห่วงใยและพระมหากรุณา ทรงขจัดความ เดือดร้อนและความไม่เป็นธรรมต่างๆ ที่ปรากฏให้สิ้นไป โดยที่ราษฎรมิพักต้องทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ทรงชักนําให้ ราษฎรตั้งอยู่ในศีลธรรมโดยปฏิบัติพระองค์ให้เป็นตัวอย่าง และทรงสั่งสอนความรู้ตลอดจนวิธีการแก้ไขปัญหาของ ตนเองให้แก่ราษฎรในทุกโอกาส ทัง้ นีเ้ ป็นพระบรมราชกฤษดาภินหิ ารอันแจ่มแจ้งประจักษ์อยูใ่ นสยามประเทศนี้ สําเร็จได้ ด้วยพระมหากรุณาธิคณ ุ พระปัญญาคุณ และพระพละอัน เป็นมหามหัศจรรย์ สมกับพระปรมาภิไธย “ภูมิพลอดุลย เดช” อันเป็นพระปรมาภิไธยที่จะจารึกอยู่ในใจของคนไทย ไปชั่วกัลปาวสาน
โดยฉับพลันทันที อย่าให้มีความสุขความสวัสดี ด้วยประการใด ๆ หากข้าพระพุทธเจ้าดํารงมั่นใน สัตย์ปฏิญาณนี้ยั่งยืนไป ขออานุภาพ พระรัตนตรัยและเทพยดาอารักษ์ มีพระสยามเทวาธิราชเป็นต้น จงบันดาลความสุขความสวัสดีแก่ข้าพระพุทธเจ้าทุกเมื่อ ให้ข้าพระพุทธเจ้ามีความเจริญในหน้าที่ราชการ ได้เป็นกําลังทะนุบํารุงประเทศชาติสืบไป สมตามปณิธานปรารถนาจงทุกประการ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ” ผู้ที่จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดีคือผู้ที่มีความดีความชอบ ในราชการทหารทั้งในยามสงบและสงคราม ในภาพพระมหาราชครูพราหมณ์กําลังแทง พระแสงในน้ำพระพุทธมนตร์ซึ่งพราหมณ์ได้เสก ให้เป็นน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวกําลังทรงดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
สถาบันพระมหากษัตริย์
๔๓
รูป ๒๖ เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันประกอบด้วย พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร พระวาลวิชนีและพระแส้จามรี และฉลองพระบาท
รูปเต็มหน้า หน้า ๔๕
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” พระปฐมบรมราชโองการนัดแรก
คําขอบคุณ
ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณธนาคารกรุงเทพ ที่อุดหนุนให้งานค้นคว้าเรื่องอดีตของเมืองไทยลุล่วง ไปด้วยดี ขอขอบพระคุณผูบ้ ริหารและผูป้ ระสานงานจากธนาคาร ทีท่ าํ ทุกอย่างที่อํานวยความสะดวกให้ แก่งานค้นคว้านี้ รวมทัง้ คณะทีป่ รึกษาและทํางานของผูเ้ ขียน ทีร่ ว่ มทุกข์รว่ มสุขในการเดินทางไปทัว่ เมืองไทย ตลอดจนงานสังเขปเอกสาร ติดต่อหาเอกสาร และถ้อยคําติชม ที่ช่วยงานเขียนในส่วนที่ผู้เขียน รับผิดชอบเป็นอย่างมาก อาจารย์ชยากริต ศิริอุปถัมภ์ แผนกนิวเคลียร์เทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ดร.ชัยยุทธ ขันธปราบ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ภักดี ธันวารชร คณบดีคณะวิทยาศาสตร์-อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาจารย์สุวิน บุศราคํา ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ – อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น อาจารย์มนตรี บุญเสนอ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์–อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น สําหรับงานวิเคราะห์ธาตุเคมี และงานธรณีวิทยาโดยทั่วๆ ไป อมรา ขันติสิทธิ์ และประพิศ ชูศิริ สําหรับงานเลขานุการ และงานค้นคว้าเฉพาะอย่าง นิติ แสงวัณณ์ นลินี บุนปาน อําพัน กิจงาม สถาพร ขวัญยืน ธราพงศ์ ศรีสุชาติ เอิบเปรม วัชรางกูร พิสิฐศักดิ์ บรรณานุรักษ์ และสุรพล นาถะพินธุ สําหรับงานค้นคว้าทางโบราณคดี รวมทัง้ เจ้าหน้าทีช่ ว่ ยงานสํานักงานอีกหลายท่านและคนงานทุกคน บุคคลที่ผู้เขียนต้องขอขอบคุณอย่างยิ่งในความเอื้อเฟื้อสําหรับให้ศึกษาและถ่ายภาพโบราณวัตถุ ทําให้หนังสือสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เจ้าอาวาสวัดคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ภริยาและทายาทของคุณแมน ลีละพันธ์ ภริยาและทายาทคุณมงคล วัฒนายากร ท้ายสุดคือ ทําเนียบ เชื้อวิวัฒน์ และ สุวิชัย ตรีกิจจา ในการเดินทางร่วมไปถ่ายภาพพิเศษทําให้ หนังสือนี้น่าอ่านขึ้นอีก
พิสิฐ เจริญวงศ์
๔๖
ภูมิหลัง
ภาค
๒
ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พิสิฐ เจริญวงศ์
หน้า
๔๙ ๕๒ ๖๙ ๘๘ ๑๐๘ ๑๑๗ ๑๒๒ ๑๓๒
บทนำ บทที่ ๑ ภูมิหลังของคนรุ่นแรกๆ บทที่ ๒ โบราณคดีในประเทศไทย บทที่ ๓ สังคมนายพราน บทที่ ๔ สังคมเกษตรกร บทที่ ๕ แหล่งโบราณคดีในสังคมเกษตรกร บทที่ี ๖ ศิลปกรรม บทที่ ๗ เทคโนโลยี ภูมิหลังของคนรุ่นแรกๆ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรแหล่งขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
บทนํา
ประเทศไทยนับเป็นประเทศหนึ่งในบรรดาประเทศ เก่าแก่ไม่กี่ประเทศในโลกที่มีความเป็นมาย้อนหลังไปไกล กว่าจะเติบใหญ่มาเป็นรัฐประชาชาติในปัจจุบัน ชุมชนสมัย ก่อนได้ใช้เวลานานในการก่อร่างสร้างตัวด้วยการสัง่ สมความ คิดวิทยาการ ปรับแบบแผนวัฒนธรรมสังคม การกินอยู่ หรือเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสิง่ แวดล้อม จนเป็นอัตลักษณ์ ของตนเอง อดีตเป็นกระจกเงาส่องให้เห็นประสบการณ์ของคน เรา ใกล้ก็ได้ภาพชัด ไกลก็มัวไปบ้าง จึงต้องหาวิธีพิเศษมา ศึกษาให้ได้ภาพชีวิตที่เรียงลําดับเหตุการณ์ สภาพการเป็น อยู่และเปลี่ยนแปลงของสังคมมนุษย์ในถิ่นประเทศต่างๆ ตามกาลสมัยทีผ่ า่ นมา ในปัจจุบนั เราศึกษา “อดีต” กันหลาย แง่มมุ มีวชิ าการหลายสาขาเข้ามาเกีย่ วข้องกัน ด้วยจุดประ สงค์อย่างเดียวกันคือ จะให้ได้ภาพชีวิตของบรรพบุรุษได้ แจ่มชัดขึน้ แต่ละสาขาวิชาก็แบ่งกันศึกษากันเป็นเรื่องๆ มี ขอบเขตและวิธีการเฉพาะตัวกันไป ซึ่งก็เป็นเพียงระเบียบ วิธีการศึกษา ไม่ใช่เส้นกั้นเขตแดนของแต่ละสาขาวิชาที่จะ ต้องคอยระวังไว้ไม่ให้สาขาอื่นข้ามล้ำเข้ามาได้ คนส่วนมากไม่สนใจเรื่อง “อดีต” เพราะไม่เข้าใจว่า “ปัจจุบัน” ไม่เพียงแต่เชื่อมอดีตด้วยกาลเวลาเท่านั้น หากยัง รับพฤติกรรมของมนุษย์สืบทอดต่อมาโดยตลอดด้วย งานศึกษาอดีตของเมืองไทยได้พัฒนาปรับปรุงกัน ต่อมาตามกาลเวลา ตามอัตภาพของบ้านเมืองและค่านิยม ของสังคม เปรียบเทียบกับประเทศด้อยพัฒนาทั้งหลาย งานในด้านนี้ของไทยก็อยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมพอ ควร แต่ถ้าเทียบกับประเทศทางตะวันตกหรือทางเอเชีย เช่น จีน ญีป่ นุ่ เกาหลี หรือแม้ใกล้เข้ามาในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้เช่นอินโดนีเซีย ฯลฯ ไทยศึกษาน้อยกว่า ทั้งนี้ เพราะคนไทยเองไม่มี “สํานึกทางประวัติศาสตร์” และไม่ พยายามจะสร้างให้มีดังเช่นชาติอื่นเขา แผนการศึกษาอดีต
ของประเทศในระดับนโยบายของชาติยังกํากวมอยู่ คล้าย กับว่าไม่รู้จะศึกษาไปทําไมในเมื่อเราก็รู้อยู่แล้วว่าเรามีที่มา เรามีประเทศเป็นของเราแล้ว ฯลฯ คนทั้งประเทศตั้งแต่ ระดับสูงเช่นรัฐมนตรีจนถึงคนธรรมดาให้ความสําคัญกับ เรื่องนี้น้อยไปจนเกิดการเสียดายงบอุดหนุนการศึกษาวิจัย สิ่งที่จะบอกความเป็นมาของประเทศและของคนที่อยู่ใน ประเทศไทย เพราะเป็นงบลงทุนที่บอกไม่ได้ว่าจะให้ผลกํา ไรเป็นตัวเงินกลับมาเท่าไรตามมาตรเศรษฐกิจที่เรากําลัง ใช้วัดทุกสิ่งทุกอย่างกันอยู่ในขณะนี้ ประเทศในยุโรปใช้โบราณคดีชาตินยิ ม (nationalistic archaeology) ได้พอเหมาะพอควรหลายกรณีโดยไม่เสีย มาตรฐานการศึกษาขั้นสูงเลย ในขณะที่ประเทศใหม่ๆ บาง ประเทศเช่นอิสราเอลใช้โบราณคดียืนยันและพิสูจน์ว่าชาว ยิวเป็นเจ้าของประเทศนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว และจูงใจให้ ผู้อพยพรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สหรัฐอเมริกาและ ออสเตรเลียเกิดคดีถึงศาลเรื่องคนพื้นเมืองเรียกร้องดิน แดนบางส่วนคืน ขอให้ศาลสั่งห้ามการขุดค้นในที่บางแห่ง และห้ามแสดงวัตถุบางอย่างที่เป็นของสูง และของต้อง ห้ามของคนพืน้ เมืองเดิมในพิพธิ ภัณฑสถานทัว่ ไป หลายประ เทศในแอฟริกาและแถบละตินอเมริกาซึ่งเคยอยู่ใต้การปก ครองของประเทศอื่นกําลังหันมาเร่งศึกษาและรักษาอดีต ของตนให้คนในชาติภูมิใจ ไม่อายชาติกําเนิดและสืบต่อ ขนบประเพณีของตนต่อไป
บทนำ
๔๙
ประเทศไทยเองได้เคยใช้ประวัติศาสตร์ปลุกใจให้ รักชาติ และเลยเถิดไปถึงเรื่องชนชาติ (ethnic history) จนสับสนกับเรื่องเชื้อชาติเป็นที่อื้อฉาวมาแล้วสมัยหนึ่ง มาทุกวันนี้เราก็ได้ใช้ข้อมูลโบราณคดีรับใช้สังคมกว้างขวาง ยิ่งขึ้น ไม่ให้อยู่เพียงแต่เป็นประโยชน์ทางการศึกษาความ เป็นมาของมนุษยชาติในประเทศตามสถานศึกษาระดับ ต่างๆ เท่านั้น แต่นำไปช่วยทางเศรษฐกิจ เช่น ส่งเสริม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ใช้แรงงานท้องถิ่นส่วนหนึ่ง ช่วยสังคมในแง่ของความรู้สึกผูกพันภาคภูมิใจ ร่วมมือกัน พัฒนาท้องถิน่ ช่วยประชาสัมพันธ์ความเป็นมาของประเทศ การท่องเที่ยวและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่บริษัทการท่องเที่ยว บริษัทการบิน โรงแรมและการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ใช้ข้อมูลทางโบราณคดีและ ประวัติศาสตร์กันอย่างกว้างขวาง และมีประสิทธิภาพขึ้น เรื่อยๆ แล้ว จะเกินเลยไปบางอย่างก็พอแก้ไขกันได้ “อดีต” ของมนุษย์ทั้งใกล้และไกลจึงเป็นทรัพยากร สําคัญอย่างหนึง่ ทีน่ ำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ ประเทศต่างๆ ในโลกใช้ “อดีต” กันหลายวิธี เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตั้งแต่การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม นอกไปจากผลได้ ทางวิชาการ สมัยหนึ่งศิลปินพอใจแต่เพียงจะสร้างศิลปะเพื่อ ศิลปะ วิชาการเพื่อนักวิชาการ แต่ในปัจจุบันนักการศึกษา เรื่องอดีตเช่นนักโบราณคดีก็เริ่มยอมรับกันว่า โบราณคดี ไม่ใช่สิ่งที่นักโบราณคดีจะเล่นสนุกแต่เพียงพวกเดียว วิ ช าการแต่ ล ะสาขามี ป ระโยชน์ ต่ อ สั ง คมและ ประเทศชาติหลายอย่างทั้งนั้น เหตุใดจึงจะไปเลือกใช้แต่ ทางเดียว ถ้ารู้จักใช้ ใช้ให้เป็น ไม่บิดเบือนข้อมูล ก็ไม่มี ปัญหาอะไร ความจริงจึงมีอยู่ว่า เราจัดการทรัพยากรประเภทนี้ กันไม่ดี ผลได้จึงไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย แล้วพาลไม่สนับสนุน อ้างว่าไม่คุ้ม “การลงทุน” การศึกษาเรื่องอดีตของคนนั้นไม่ใช่ของง่าย ยิ่ง เป็ น อดี ต ที่ ย้ อ นไปเป็ น แสนเป็ น ล้ า นปี ยิ่ ง ยากขึ้ น ไปอี ก เพราะเรื่องของ “ความหลัง” ที่ผ่านมาหลายร้อยหลายพัน ชัว่ อายุคนนัน้ เปรียบไปก็เหมือนผ้าทีใ่ ช้มานานจนขาดกะรุง่ กะริ่ง ถูกทิ้งขว้างอยู่ในที่ทั่วไป แถมบางชิ้นก็ถูกทําลาย ไปแล้ว เหลือทีจ่ ะเอามาปะติดปะต่อกันได้ดๆี ไม่กช่ี น้ิ นอก ไปจากนั้นแล้วยังเป็นเพราะว่าคนสมัยแรกๆ นั้นไม่รู้จักใช้ ตัวหนังสือถ่ายทอดข่าวสารต่อกันและกัน การติดต่อสื่อ สารทําด้วยการพูด หรือทําให้ดู จนถึงเมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ ปีเป็นต้นมา คนในอียิปต์และเมโสโปเตเมียได้ประดิษฐ์ตัว หนังสือขึ้น ต่อมาคนที่อื่นๆ ก็คิดตัวอักษรของตนขึ้นบ้าง ลอกเลียนของเก่าหรือของคนอื่นๆ เข้าบ้างจนเป็นร้อยเป็น พันภาษาในโลกไปแล้ว การติดต่อสื่อสารก็ยิ่งกว้างขวางขึ้น ผู้คนบางเขตบางประเทศบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ ช่วยให้
๕๐
ภูมิหลัง
เราทราบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ได้มากกว่าสมัยที่คนยัง ไม่รู้จักเขียนหนังสือเป็นอันมาก แต่ปัญหาและอุปสรรคข้างต้นก็หยุดยั้งความอยาก รู้เรื่องอดีตของคนด้วยกันไว้ไม่ได้ ทุกวันนี้เรามีนักโบราณ คดี นักประวัติศาสตร์ นักมานุษยวิทยา นักนิรุกติศาสตร์ นักภาษาโบราณ นักโบราณชีววิทยา และนักวิทยาศาสตร์ อีกมากมายหลายสาขาร่วมมือกันศึกษา ตั้งแต่การค้นหา หลักฐานด้วยวิธีง่ายๆ จนถึงการสํารวจและขุดค้น แล้วเอา มาวิเคราะห์ดว้ ยวิธกี ารต่างๆ ตามขัน้ ตอนและประเภทของ หลักฐาน จนกระทั่งถึงวิธีที่ต้องใช้เทคโนโลยีทางนิวเคลียร์ และอุปกรณ์วเิ คราะห์ราคาแพง เพือ่ ให้ได้เรือ่ งราวของมนุษย์ ในอดีตมากขึ้นและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น งานวิจัยจํานวนไม่น้อย อาจ “หนัก” สําหรับคนทั่วๆไป ซึ่งอยากรู้เรื่องคร่าวๆ เท่านั้น บางชิ้นมีศัพท์เฉพาะเต็มไปหมด ทั้งนี้เพราะความ จําเป็นในการศึกษาที่ต้องสร้างระเบียบวิธีการและศัพท์ขึ้น มาใช้กับข้อมูลหรือหลักฐานต่างๆ ที่ได้พบหรือจะพบ ถ้า สนใจจริงๆ ไม่นานก็จะเข้าใจได้ เพราะศัพท์ทางแพทย์ที่ ยากๆ ก็เริ่มเป็นที่เข้าใจกันมากแล้ว โรคภัยไข้เจ็บที่คนไทย เป็นกันทุกวันนี้ก็เรียกชื่อเป็นฝรั่งมากมาย คนเรามองของอย่างเดียวด้วยความรู้สึกต่างกัน นักวิชาการเรื่องอดีตมอง “สังคมในอดีต” ที่การเปลี่ยน แปลงด้านต่างๆ ตั้งแต่เศรษฐกิจ แบบแผนประเพณี เทคโนโลยี ศิลปกรรม และสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบถึง ความเป็นอยู่ของผู้คนในที่ต่างๆ ในแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมา แต่ไหนแต่ไรมางานค้นคว้าเรื่องอดีตของประเทศ ไทยจึงเริ่มจากความสนใจของคนชาติอื่น เมื่อประมาณ ๗๐ ปีมาแล้วชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งได้เขียนเรื่องภาพเขียน สีก่อนประวัติศาสตร์ในภาคใต้ของไทยไว้ในหนังสือเรื่อง “ความเรียงเรื่องโบราณคดีของสยาม” หลังจากนั้นเมื่อ ประมาณ ๕๐ ปีมาแล้วก็มีพวกฝรั่งที่เป็นสมาชิกของสยาม สมาคมอีกไม่กี่คนได้เขียนเรื่องการค้นพบเครื่องมือหินบ้าง ภาพเขียนผนังถ้ำ และเศษหม้อไหในถ้ำต่างๆบ้าง ทยอย พิมพ์เผยแพร่ต่อกันมา ทําให้ทราบว่าอดีตของเมืองไทย ย้อนหลังไปไกลกว่าประวัติศาสตร์ของมอญ เขมรและ ละว้ามากต่อมากนัก แต่ก็ยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจัง เท่าใด จนเมือ่ ปีพ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๕ เราได้ทาํ โครงการศึกษา ร่วมกับชาวเดนมาร์ก เพื่อเรียนเทคนิควิธีการที่ใช้กันเป็น สากลอยู่ในขณะนั้น จนกระทัง่ ต่อมาเราทําโครงการศึกษา แบบเฉพาะกิจขึน้ หลายโครงการ มีทั้งดําเนินการเองโดยคน ไทยทั้งหมดและร่วมกับชาวต่างชาติ เช่น อเมริกนั อังกฤษ ออสเตรเลียน นิวซีแลนด์ และฝรั่งเศสจากสถาบันต่างๆ ทั่วโลก การทําเช่นนี้ได้ประโยชน์อยู่หลายทาง กล่าวคือ นักวิชาการไทยและต่างชาติได้เรียนไปด้วยกัน โดยที่ไทยเรา ลงทุนน้อยลง และช่วยเผยแพร่ความรู้เรื่องเมืองไทยไป ทั่วโลกอีกด้วย การร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันต่างประ
เทศบ้างจึงเป็นเรือ่ งทีน่ า่ ยินดี เพราะนอกจากจะเป็นประโยชน์ ดังกล่าวแล้ว ยังต้องยอมรับว่างานด้านนี้ของเขาก้าวหน้า ไปกว่าของเรามาก อีกทั้งการศึกษาเรื่องของอดีตเดี๋ยวนี้ ก็เปลี่ยนแนวทางไปจากเดิมซึ่งเป็นเรื่องของการดูโบราณ สถาน โบราณวัตถุ ว่าเก่าหรือใหม่ แท้หรือเทียม สวย หรือไม่สวย หายากหรือหาง่าย และเน้นหนักในเรือ่ งของพระ พุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาของประชากรส่วนใหญ่มาเป็น เรื่องของคนหลายเผ่าพันธ์ุหลายวัฒนธรรม ในอดีตอันไกล ที่มีส่วนช่วยสร้างประเทศจนบัดนี้การศึกษาเรื่องอดีต ได้ กลายเป็นรื่อง “สหวิทยาการ” ซึ่งต้องช่วยกันหลายฝ่าย หลายสาขาวิชาการไปเสียแล้ว ผูเ้ ขียนเรียบเรียงเรือ่ งนีใ้ ช้หลักฐานทีพ่ บในพืน้ ทีท่ เ่ี ป็น ประเทศไทยซึง่ ทุกวันนีป้ ระกอบด้วยประชาชนหลายเผ่าพันธ์ุ ไม่ใช่มีแต่ชนชาติไทยซึ่งกระจายทั่วไปอยู่ในหลายประเทศ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดีของ ดินแดนที่เป็นประเทศไทยเป็นเรื่องของชนหลายชนชาติซึ่ง รวมไทยไว้ด้วย แต่เรื่องชนชาติไทยนั้นต้องหาที่อื่นมาประ กอบด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ แต่หลักฐานของมนุษย์ที่ตั้ง ถิ่นฐานในประเทศไทยยังขาดๆ วิ่นๆ อยู่ อย่างดีที่สุดที่ ผู้เขียนจะทําได้ก็เพียงเอามาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน โดย อาศัยทฤษฎีวิธีการศึกษาวิเคราะห์และหลักการแปลความ ของวิชาการต่างๆ ทีจ่ ะทําให้อดีตของคนในประเทศไทยพอ เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาบ้างเท่านั้น หลักฐานที่เราได้พบนั้นเป็นข้อเท็จจริง แต่หลักฐาน เหล่านั้นตายไปนานแล้ว พูดไม่ออกบอกไม่ได้ เราจึงต้อง แปลหลักฐานนั้นๆ ออกมาอีกทีหนึ่งให้ดูสมเหตุสมผลเป็น เรื่องๆ ไป ผู้อ่านควรคํานึงไว้เสมอว่าประวัติศาสตร์และ โบราณคดีมีเรื่องที่ถกเถียงท้าทายกันมากกว่ายอมรับ เริ่ม ตัง้ แต่ประเภทของหลักฐานทีพ่ บจนกระทัง่ ถึงการแปลความ ในเรื่องของการแปลความนั้น ศาสตราจารย์สจ๊วต พิกก็อตต์ ได้กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า “การแปลความนั้น สําคัญอยู่ที่พื้นฐานทางสติปัญญาของผู้แปล และพื้นฐาน ทางปัญญาของผู้ใดก็ขึ้นอยู่กับกาลสมัย สิ่งแวดล้อมทาง วัฒนธรรม ภูมิหลังทางสังคม และศาสนาความเชื่อ และ สมมุติฐานบางประการ ตลอดจนอายุและสถานะในสังคม ของผู้นั้น”๑ เรื่องนี้มีตัวอย่างพอที่จะยกมาเล่าให้ฟังได้ เมื่อครั้ง ไทย – เดนมาร์กทํางานด้วยกันที่จังหวัดกาญจนบุรีช่วง พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๕ ได้ขุดพบเศษหม้อที่เป็นแผ่นกลมๆ จํานวนมาก ฝรั่งแปลว่าเป็นเบี้ยที่ใช้เล่นหมากรุก แต่ไทย มองเป็นเบี้ยที่เล่นทอยกองซึ่งเด็กๆ ชนบทยังเล่นกันอยู่จน ทุกวันนี้ ซึ่งที่ฟิลิปปินส์ก็มี หรือไม่ก็เรื่องที่ตื่นเต้นกันใหญ่ โตเมื่ อ พบว่ า มี ก ารฝังศพเด็กในหม้อในแหล่งโบราณคดี หลายแห่งในประเทศไทยซึ่งมีอายุหลายพันปีมาแล้ว และ ยังพบในหมู่เกาะแปซิฟิกหลายแห่งด้วย แต่คนไทยเฉยๆ
เพราะเป็นประเพณีที่สืบกันมาจนปัจจุบัน บางท้องที่ก็ยัง ทําอยู่ หรือส่วนมากถ้าไม่ใช่ศพก็ยังฝังรกเด็กที่คลอดด้วย หมอกลางบ้านลงในหม้อดังนี้เป็นต้น ฉะนั้น เรื่องที่แปลความด้วยความรู้และทรรศนะ ของผู้เขียนจึงอาจจะตรงหรือไม่ตรงกับใครก็ได้ แต่ได้ พยายามให้เป็นเรื่องที่ควรแก่เหตุแก่ผลแล้ว มิใช่ยกเมฆ หรือใช้จินตนาการเกินกว่าที่จะอ่านจากหลักฐานได้ ในส่วนที่เป็นสาระของเรื่อง ผู้เขียนได้ออกนอกลู่ นอกทางไปพอควรด้วยการโยงไปถึงหลักฐานทีจ่ ะเกีย่ วข้อง นอกประเทศด้วย พร้อมสิ่งละอันพันละน้อยเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา วิวัฒนาการของคนโดยย่อๆ เพื่อเป็น พื้นฐานให้ต่อกับเรื่องในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งประวัติการ ศึกษาเรื่องอดีตของมนุษย์ สภาพสังคมโดยทั่วๆ ไป เศรษฐกิจเทคโนโลยีและศิลปกรรม แต่ละเรื่องเหล่านี้ได้ อาศัยตําราต่างๆ มาเป็นแนวคิดและการเดินทางไปกับคณะ ทํางานทั่วประเทศ แต่กระนั้นก็ต้องสารภาพว่า การขุดค้น และวิจัยเท่าที่ได้ทํามายังไม่จุใจดี
๑ Piggott, Stuart. Ancient Europe : From the Beginning of Agriculture to Classical Antiqity. Edinburgh. Aberdeen University Press. 1967:5.
บทนำ
๕๑
บทที่ ๑ ภูมิหลังของคนรุ่นแรกๆ
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต กว่า “สิง่ มีชวี ติ ” จะวิวฒ ั น์มาเป็นคนอย่างเราๆ ก็กนิ เวลาหลายพันล้านปี เริ่มแต่โลกเกิด เมื่อประมาณ ๔,๖๐๐ ล้านปีมาแล้ว จนปรับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติให้อยู่ในสภาพ เหมาะสมที่ชีวิตจะก่อกําเนิดขึ้นมาได้ก็ผ่านไปอีก ๑,๖๐๐ ล้านปี จึงเริ่มมีสิ่งมีชีวิตขึ้นเมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ล้านปี มาแล้ว สิ่งมีชีวิตรุ่นแรก หรือชีวิตชั้นต่ำ มีรูปร่างหรือรูป แบบยังไม่ซับซ้อนนัก ต่อเมื่อวิวัฒนาการไปมากแล้วจึง เปลี่ยนกายภาพซับซ้อนขึ้น พวกแรกเป็นเพียงสาหร่ายสี เขียวคราม (blue-green algae) ลอยล่องอยู่ในทะเล นักธรณีวิทยาและนักโบราณชีววิทยา ได้แบ่งอายุ ของโลกออกเป็นระยะเวลาตามปรากฏการณ์ทางธรณี วิทยาไว้กว้างๆ เป็นมหายุค (Era) จากมหายุคเป็นยุค (Period) และจากยุคเป็นสมัย (Epoch) ต่างๆ ดังนี้ ๑. มหายุคพรีแคมเบรียน (Precambrian) แบ่งเป็น ยุคอะโซอิก (Azoic) ๔,๖๐๐ – ๓,๐๐๐ ล้านปี เริ่ม จากการกําเนิดโลก การก่อตัวของโลก ยังไม่มีสิ่งมีชีวิต ปรากฏ ยุคอาร์คีโอโซอิก (Archeozoic) ๓,๐๐๐ – ๑,๐๐๐ ล้านปี มีสภาพที่เป็นภูเขาเพิ่มมากขึ้น ชีวิตชั้นต่ำก่อกําเนิด
๕๒
ภูมิหลัง
ขึ้นครั้งแรกเป็นพวกสาหร่ายสีเขียวคราม (blue-green algae) ยุคโพรเทอโรโซอิก (Proterozoic) ๑,๐๐๐ – ๖๐๐ ล้านปี น้ำทะเลลดระดับลง ปรากฏแผ่นดินมากขึ้น สิ่งมี ชีวติ แรกเริ่ม พวกสาหร่ายทะเล สัตว์ชั้นต่ำ ๒. มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic) ประมาณ ๖๐๐ ล้าน – ๓๕๐ ล้านปี ประกอบด้วยยุคแคมเบรียน (Cambrian) ออร์โดวิเชียน (Ordovician) ไซลูเรียน (Silurian) ดิโวเนียน (Devonian) น้ำทะเลลดระดับลงปรากฏ แผ่นดินมากขึน้ สาหร่ายทะเลเพิม่ มากขึน้ มีสตั ว์ทะเลทีไ่ ม่มี กระดูกสันหลัง พวกปะการัง หอย ปลา ไม่มีขากรรไกร เกิดพืชบก พืชมีเมล็ด เกิดสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ มีแมลงเกิด ขึ้นครั้งแรก ๓. มหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic) ๓๕๐ – ๗๐ ล้านปี ประกอบด้วยยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) เพอร์เมียน (Permian) ไทรแอสซิิก (Triassic) จูแรสซิิก (Jurassic) ครีเทเชียส (Cretaceous) ปรากฏลักษณะของ ทวีปต่างๆ แล้วค่อยๆ แยกตัวเป็นแต่ละทวีป มีพชื ไร้ดอก พันธ์ไุ ม้ยืนต้นซึ่งให้กําเนิดถ่านหิน ปลายมหายุคเกิดพืชมีดอก มีสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก และไดโนเสาร์เกิดขึ้น
๔. มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic) ได้แก่ยคุ เทอร์ เชียรี (Tertiary) กับยุคควอเทอร์นารี (Quaternary) ยุค เทอร์เชียรี ๒ ล้านปีประกอบด้วยสมัยพาลีโอซีน (Palaeocene) อีโอซีน (Eocene) โอลิโกซีน (Oligocene) ไมโอซีน (Miocene) และไพลโอซีน (Pliocene) อเมริกาใต้แยกออก จากแอฟริกาใต้ ปรากฏแนวของเทือกเขาหิมาลัยชัดเจน ใน ตอนปลายยุคภูมิอากาศเย็นลง ในตอนต้นยุคสัตว์พวก ไพรเมทส์ (Primates) เกิดขึ้น ตอนกลางยุคมีสัตว์พวกเอป (Apes) และในปลายยุคจึงเกิดโฮมินิดส์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วย นมแบบปัจจุบัน ขยายพันธ์ุแพร่หลาย มีสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมที่กินหญ้า มีทุ่งหญ้าเกิดขึ้นทั่วไป ยุคควอเทอร์นารี จนถึงปัจจุบัน (Quaternary to Recent) ๓-๔ ล้านปี ประกอบด้วยสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene) และ โฮโลซีน (Holocene) เป็นยุคน้ำแข็ง (Ice ages) สลับด้วยช่วงเวลา ที่ภูมิอากาศอบอุ่นขึ้น (Interglacial periods) อันเป็นเวลา ที่โฮมินิดส์วิวัฒน์ต่อๆ มา จนเป็นคนอย่างเราในปัจจุบัน
รูป ๑ แผนภูมิแสดงระยะเวลา ตามปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ภูมิหลังของคนรุ่นแรกๆ
๕๓
การค้นพบและการศึกษาซากมนุษย์โบราณของนัก โบราณคดีกับการศึกษาลักษณะทางกายภาพ และวิวัฒนา การของสัตว์ในสายที่ใกล้เคียงมนุษย์ ริชาร์ด อี. ลีคกี้ (Richard E. Leakey)๑ ได้แสดงสายวิวัฒนาการของมนุษย์ ทีเ่ ริม่ ต้นจากสัตว์ทเ่ี รียกว่าไพรเมทส์ (Primates) ตั้งแต่ไพรเมทส์ที่กินแมลงเมื่อ ๗๐ ล้านปีมาแล้ว มาเป็นตัวทาเซียร์ (Tarsiers) ลอรีส (Lorises) ลีเมอร์ (Lemur) ที่อาศัยอยู่ บนต้นไม้กินแมลง มีหางยาวเพื่อใช้เกาะยึด ใช้จมูกในการ ดมกลิ่นแล้วมาถึงสัตว์ที่เรียกว่าลิงโลกใหม่เมื่อประมาณ ๔๐ ล้านปี (New World monkeys) เช่นลิงที่พบในอเมริกาใต้ แม้จะยังอาศัยอยู่บนต้นไม้ ใช้หางหยิบจับมากกว่า มือ แต่ก็มีประสาทการมองเห็นชัดเจน รวมทั้งได้พัฒนา โครงสร้างขึ้น ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ก็มลี งิ ทางซีกโลก ตะวันออกทีเ่ รียกว่า ลิงโลกเก่า (Old World monkeys) เช่น ลิงในเอเชียและแอฟริกาลักษณะคล้ายลิงโลกใหม่ แต่ไม่ มีหางยาวหยิบจับถนัดขึ้น มีฟันมากขึ้น มีนิ้วหัวแม่มือที่หัน เข้าหากันได้ ในช่วงเวลา ๓๐ ล้านปี ลิงคล้ายคน (วานร) ที่รู้ จักกันในชื่อว่า “เอป” (Apes) หรือลิงไม่มีหางก็ปรากฏขึ้น สัตว์ในกลุ่มนี้ได้แก่ อุรังอุตัง ชิมแปนซี และกอริลลา เอป ได้วิวัฒน์ขึ้นมาเรื่อยๆ ระบบประสาทในการมองเห็นและ สมองพัฒนาขึ้นมาก สามารถอยู่ทั้งบนต้นไม้และบนพื้นดิน บางชนิดถึงกับชอบอยู่บนพื้นดินมากกว่าบนต้นไม้ ขณะเดียวกัน สายวิวัฒนาการของโฮมินิดส์ (Ho minids) ได้เริม่ พัฒนาขึน้ จากช่วงระยะเวลาอันยาวไกล ใน สมัยไพลสโตซีน (Pleistocene) ตั้งแต่ ๓-๔ ล้านปี จนถึง ล้านและแสนปี ได้พบหลักฐานซึง่ มีชอ่ื ทีร่ จู้ กั กันดีตามการพบ ซากในทีต่ า่ งๆ เป็นต้นว่า ออสตราโลพิเธคคัส (Australopithecus) โฮโม อีเรคตัส (Homo erectus) โฮโม เซเปียนส์ (Homo sapiens) นีแอนเดอธัลเอนซิิส (Neanderthalensis) จนกระทั่งมาถึง โฮโม เซเปียนส์ ก็คือมนุษย์ที่ยืนตัวตรง ลักษณะสรีระเหมือนคนเราในปัจจุบันมากที่สุดนี่เอง
๑ Leakey, E. Richard. Origins. Macdonald and Jane’s Publishers Limited. London 1977.
๒ Dunn, F.L. and D.F.Dunn. “Maritime adaptaions and exploitation of marine resources in Sundaic Southeast Asian Prehistory.” Modern Quaternary Research in Southeast Asia. Vol 3. 1977 : I – 28. Gert – Jan Bartstra, Willem A. Casparie and Ian C. Glover eds. A.A Balkema, Rotterdam.
๕๔
ภูมิหลัง
เอเชี ยตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยไพลสโตซีน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยไพลสโตซีนแบ่งเป็น ๓ ภาคใหญ่ๆ๒ (ดูความแตกต่างกับที่เขียนไว้ในบทที่ ๒) คือ แผ่นดินใหญ่ (Mainland) และแผ่นดินซุนดา (Sundaland) หรือไหล่ทวีปซุนดา (Sunda Shelf) และบริเวณหมู่เกาะทั้ง หลาย (Insular) โดยเริ่มจากจีนเหนือลงไปเกือบถึงนิวกินี การแบ่งเขตอย่างนี้ทําให้ไทยอยู่ใน ๒ ภาค คือ ภาคแผ่นดินใหญ่ซึ่งคลุมอาณาบริเวณของภาคต่างๆ ทั้ง หมดจนถึงเพชรบุรี จากนั้นลงไปอยู่ในบริเวณแผ่นดินซุนดา ซึ่งรวมมาเลเซีย สุมาตรา ชวา บอร์เนียว และเกาะเล็ก เกาะน้อยอีกหลายแห่ง จะเห็นได้ว่าแผ่นดินซุนดานั้นอยู่กลางระหว่างแผ่น ดินใหญ่และบริเวณหมู่เกาะ และครั้งหนึ่งแผ่นดินซุนดาเคย เชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่เมือ่ คราวน้ำลดระดับลง แต่ไม่ตอ่ กัน สนิทกับหมูเ่ กาะ ฉะนัน้ การอพยพโยกย้ายของคนและสัตว์ ระหว่างแผ่นดินใหญ่กบั แผ่นดินซุนดาจึงสะดวกกว่า ระหว่าง แผ่นดินซุนดากับหมู่เกาะทั้งหลายซึ่งมีน้ำขวางกั้นอยู่
การเปลี ่ยนแปลงระดับน้ำ ดันน์ (Dunn) ได้สังเขปสภาพการเปลี่ยนแปลง ของไหล่ทวีปซุนดาตามลําดับต่อไปนี้ ๑. ประมาณ ๓๕,๐๐๐ – ๒๕,๐๐๐ ปีมาแล้วคงมีน้ำ ท่วมแผ่นดินจมลงไป เกิดเกาะแก่ง ช่องแคบ ฯลฯ ขึ้น ระดับน้ำเฉลี่ยเท่ากับปัจจุบัน ๒. ระหว่าง ๒๕,๐๐๐ และ ๒๒,๐๐๐ ปีมาแล้วระดับ น้ำทะเลลดลงอย่างรวดเร็ว ประมาณถึง ๑๐๐ – ๑๒๐ เมตรต่ำกว่าระดับเฉลี่ยในปัจจุบัน
รูป ๒ การแบ่งภาคตามลักษณะพื้นที่ของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยไพลสโตซีน
ทางธรณีบางอย่าง ทั้งนี้คงเป็นเพราะดินแดนเหล่านั้นรวม ทั้งประเทศไทยอยู่ไกลจากต้นกําเนิดของยุคน้ำแข็งนั้นๆ ผลกระทบอย่างเดียวที่ได้รับจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่าง ผิดปกติของระดับน้ำซึ่งก็ทําให้ธรณีสัณฐาน (geomorpho logy) และชีวมณฑล (biosphere) ต้องเปลี่ยนไปบ้าง แต่ คนก็ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติได้ตลอดมา กระบวนการของน้ำแข็ง - ระดับน้ำขึ้นลง (glacioeustatic) ในโลกเกิดขึ้นมาแล้วกว่าสิบครั้งด้วยกันและยัง จะมีต่อไปอีกในอนาคต แต่หลักฐานการเปลี่ยนแปลงของ ผิวโลกเหลือร่องรอยให้เห็นเพียง ๔-๕ ครัง้ เท่านัน้ เอง เพราะ การก่อตัวและสลายตัวของน้ำแข็งครั้งหลังๆ ได้ทําลาย หลักฐานของครั้งก่อนๆ ไปเรื่อยๆ ไม่เหมือนสิ่งทับถมใน มหาสมุทรซึ่งวางตัวซับซ้อนตามลําดับชั้นและอายุเก่าใหม่ เช่นตัวฟอรามินเิ ฟรา (foraminifera) ซึง่ เป็นตัวบอกอุณหภูมิ ในน้ำที่มันอาศัยอยู่ได้ดีที่สุดว่าสูงต่ำขนาดไหน ยุคน้ำแข็งจะเกิดเฉพาะบริเวณที่ตั้งอยู่ในแถบรุ้ง สูงๆ (high latitude) แต่ก็มิได้หมายความว่าทุกหย่อมหญ้า จะมีนำ้ แข็งปกคลุมหมด ปัจจุบนั จึงเปลีย่ นเรียกชือ่ ยุคน้ำแข็ง เป็นยุคทีี่อากาศหนาวเย็น (cold phases) อย่างไรก็ตามการ เกิดน้ำแข็งก็มีผลกระทบจากการก่อตัวและการละลายของ น้ำแข็งต่อบริเวณที่อยู่ในแถบรุ้งต่ำๆ (low latitude) ได้ ดังทีป่ รากฏในครัง้ หลังสุดตัง้ แต่ ๓๕,๐๐๐ ปีลงมาถึงประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้วที่ทําให้น้ำในทะเล มหาสมุทรและ ทางน้ำอื่นๆ ที่ติดต่อกับแหล่งน้ำใหญ่ๆ นั้น มีระดับน้ำสูง และต่ำผิดไปจากปกติเป็นครั้งคราว กระนั้นก็ตามน้ำท่วม น้ำลดครั้งใหญ่ๆ ในสมัยต่อๆ มาก็อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มี สาเหตุจากการก่อตัวหรือละลายของน้ำแข็งแต่อย่างใด
๓. ช่วงเวลา ๒๒,๐๐๐ – ๑๘,๐๐๐ ปี ซึ่งเป็นเวลา ๔,๐๐๐ ปี ระดับน้ำลดยังคงอยู่ประมาณ ๑๒๐ เมตร ๔. หลังจากนั้นในช่วงเวลาระหว่าง ๑๘,๐๐๐ และ ๑๕,๐๐๐ ปีมีน้ำท่วม น้ำลดในระดับประมาณ -๖๐ และ -๔๐ เมตร จนกระทั่งถึงตอนสิ้นสุดของสมัยไพลสโตซีน และเริ่มต้นโฮโลซีน ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้วมีน้ำท่วม ใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ระดับน้ำเฉลี่ยอยู่ในอัตรา ๑๐-๑๕ เมตร ของระดับปัจจุบัน ๕. ดันน์ว่า สมัยหลังไพลสโตซีน (Post Pleistocene) มีนำ้ ท่วมอย่างน้อยอีกครัง้ หนึง่ ทําให้ระดับน้ำสูง จากปัจจุบนั ๓-๔ เมตร พร้อมกับยกตัวอย่างแหล่งโบราณคดีสมัยนี้ หลายแห่งซึ่งพบเป็นกองเปลือกหอยที่คนกินแล้วทิ้งไว้ ล้ำ เข้ามาในแผ่นดินแถบฝัง่ ตะวันออกของสุมาตราถึง ๑๐ กิโลเมตร และแหล่งอื่นๆ แถบฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือของ มาเลเซีย แม้งานค้นคว้าของดันน์สรุปว่า ภาคแผ่นดินซุนดา จะไม่ก้าวเลยขึ้นมาถึงภาคใต้หรือประมาณจังหวัดเพชรบุรี ของประเทศไทยก็ตาม ตัวอย่างจากแหล่งโบราณคดีหลาย แหล่งในภาคใต้ก็ยืนยันผลการค้นคว้าครั้งนี้ เช่น เขาและ ถ้ำหลายแห่งในจังหวัดกระบีแ่ ละพังงาซึง่ ยังมีกองเปลือกหอย ทะเลที่คนทิ้งเหลืออยู่ ทั้งๆ ที่ปัจจุบันอยู่ห่างจากทะเลเป็น ระยะทางพอสมควร ยิ่งไปกว่านั้นยังมีถ้ำบางแห่งอยู่กลาง น้ำอีกด้วย เช่น เขาขนาบน้ำของแม่น้ำกระบี่ การที่ระดับน้ำทะเลขึ้นลงในช่วงสมัยที่กล่าวมานี้ เป็นผลมาจากการก่อตัวและสลายตัวของน้ำแข็งครั้งหลัง สุดนั่นเอง แต่ภาวะอากาศในที่ส่วนมาก (ยกเว้นบริเวณที่ มีภูเขาสูงๆ บางแห่ง) คงคล้ายคลึงกับปัจจุบันนี้ สังเกต ได้จากประเภทสัตว์ที่พบในแหล่งโบราณคดีและหลักฐาน
รูป ๓ เขาขนาบน้ำ จังหวัดกระบี่
๓
ภูมิหลังของคนรุ่นแรกๆ
๕๕
ภูมิหลังเรื่องคนรุ่นแรกๆ มนุษย์ดึกดําบรรพ์ (โฮมินิดส์) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ นักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์ก่อนประวัติ ศาสตร์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร พบชิ้น ส่วนกะโหลก ๔ ชิ้นของมนุษย์ที่น่าจะเป็นโฮมินิดส์รุ่นแรกๆ คือ โฮโม อีเรคตัส ที่ลำปาง ดังที่ ศาสตราจารย์ เดวิสัน แบล็ค (Davidson Black) คาดหวังไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๐๒๔๗๑ แล้วว่า ประเทศไทยตัง้ อยูร่ ะหว่างประเทศอินโดนีเซีย และประเทศจีน ที่พบโฮโม อีเรคตัสแล้วประเทศละเกือบ ๔๐ โครง (นับถึงปัจจุบัน) ควรจะมีหลักฐานมนุษย์รุ่นแรกๆ ของโลกด้วยเหมือนกัน การจัดจําพวกสัตว์และพืชมีหลักต่างกันไป แต่วธิ กี าร นั้นเหมือนกันคือจัดเป็นกลุ่มใหญ่ๆ แล้วซอยออกไปเป็นกลุ่ม เล็กกลุม่ น้อย ถือเอาความคล้ายคลึงและความแตกต่างทาง สรีระ อวัยวะ และข้อปลีกย่อยอื่นๆ จากหยาบที่สุดถึง ละเอียดที่สุด ตัวอย่างเช่น จาก Kingdom ซึ่งใหญ่ที่สุด มาเป็น Grade Phylum Class Order Family Genus จนถึง Species และ Subspecies ในการศึกษาเรื่องมนุษย์รุ่นแรกๆ และบรรพบุรุษ ของเรานั้น เราตั้งต้นที่แฟมมิลีก็พอ คือเริ่มที่แฟมมิลีโฮ มินิดี (Hominidae) ซึ่งรวมพวก “ใกล้มนุษย์” (nearman) หรือโฮมินิดส์ (hominids) ซึ่งต่อมาวิวัฒน์เป็นมนุษย์อย่าง เราในปัจจุบัน (Homo sapiens) ส่วนพวกลิงไม่มีหางเช่น กอริลลา ชิมแปนซี และอุรังอุตังนั้น แม้จะอยู่ในออร์เดอร์ ไพรเมทส์เช่นเดียวกับคนแต่แฟมมิลีต่างกันแล้ว คือแฟม มิลีปองจิดี (Pongidae) เรียกรวมๆ ว่า ปองจิดส์ (pongids) ว่าถึงสายโฮมินิดส์อย่างเดียวก็แยกออกเป็นหลาย เจเนรา (genera-พหูพจน์ของ genus) จีนัสที่เกี่ยวข้องกับ เรื่องที่เราพูดถึงนี้มี ๒ จีนัส ๑. ออสตราโลพิเธคคัส (Australopithecus) ๒. โฮโม (Homo) ทั้งสองเจเนราแบ่งย่อยออกเป็นหลายสปีชีส์และ ซับสปีชีส์ พวกออสตราโลพิเธคคัสมีรูปร่างเล็ก สูงเพียง ๑๒๐ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ ๒๓ กิโลกรัม สมองเล็ก ขนาดลิงไม่มีหาง มีปริมาตรช่องกะโหลกระหว่าง ๔๓๕๖๐๐ คิวบิกเซนติเมตร หรือเฉลีย่ ราว ๕๐๐ คิวบิกเซนติเมตร ลักษณะเด่นทางกายภาพคือไม่มีลูกคาง กรามใหญ่แข็งแรง คิ้วหนาเป็นสันมองเห็นได้ชัด เพดานปากและฟันเรียงเป็น ชุด ใกล้คนมากกว่าจะไปทางลิงไม่มีหางและเดินตัวตรงได้ หลักฐานที่โอลดูไว (Olduwai) และแหล่งอื่นใน แอฟริกาอีกหลายแห่งชี้ให้เห็นว่า ออสตราโลพิเธคคัสบาง สปีชีส์สามารถทําเครื่องมือหินกรวดอย่างง่ายๆ ได้แล้ว
๕๖
ภูมิหลัง
มนุ ษย์ดึกดําบรรพ์ในเอเชีย ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยงั ไม่เคยพบออสตราโลพิเธคคัส พบแต่โฮโม อีเรคตัส (Ho mo erectus) หรือที่แต่ก่อนนั้นเรียกว่าพิเธคแคนโธรปัส อีเรคตัส (Pithecanthropus erectus) โปรดสังเกตว่าชื่อ พวกนี้เปลี่ยนกันบ่อยเพื่อความเหมาะสมและกระจ่างแจ้ง ทางวิชาการ ในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครง กระดูกของพวกโฮโม อีเรคตัสทีเ่ ก่าทีส่ ดุ คือโฮโม อีเรคตัส ลันเทียนเอนซิส (Homo erectus lantianensis) ในประเทศ จีนและโฮโม อีเรคตัสมอดโจเกอร์ตเอนซิส (Homo erectus modjokertensis) ในชวา ซึ่งนักมานุษยวิทยากายภาพ ชาว อินโดนีเซียชื่อศาสตราจารย์เตกู เจคอบ (Tekeu Jacob) กล่าวว่ามีส่วนคล้ายพวกออสตราโลพิเธคคัสในแอฟริกา ทั้งสองสปีชีส์ที่กล่าวมานี้มีอายุประมาณ ๑ ล้าน ๕ แสนปีมาแล้วเป็นอย่างน้อย ใกล้คนอย่างเราๆ ขึ้นมาอีกก็มีโฮโม อีเรคตัส พีคินเอนซิส (Homo erectus pekinensis) หรือมนุษย์ปักกิ่ง ซึ่งจากการศึกษากระดูกสัตว์ที่พบรวมอยู่ด้วย อนุมานได้ว่า มีอายุระหว่าง ๔ แสน ถึง ๖ แสนปีมาแล้ว และ โฮโม อีเรคตัส อีเรคตัส (Homo erectus erectus) หรือมนุษย์ ชวาซึ่งมีอายุประมาณ ๕ แสนปีมาแล้ว แล้ววิวัฒน์ต่อมา เป็นมนุษย์โซโล (Homo erectus soloensis) ซึ่งมีปัญหา ว่าจะอายุเท่าไรแน่ บางท่านว่าประมาณ ๑๕,๐๐๐ ปีเท่า นั้นเอง ดูได้จากซากนกกระเรียนที่พบรวมอยู่กับสัตว์อื่นๆ ในชัน้ ดินนัน้ ว่าลักษณะบอกว่า เป็นสัตว์เขตหนาว เลยสรุปว่า อยู่ในสมัยหนึ่งของยุคน้ำแข็งครั้งหลังสุดที่ชื่อว่า “ววร์ม” (Wurm) พวกโฮโม อีเรคตัสมีรูปร่างเตี้ยเหมือนกัน แต่ก็ยัง สูงกว่าพวกออสตราโลพิเธคคัสคือสูงราว ๑๕๐ เซนติเมตร หรือกว่าเล็กน้อย เดินตัวตรง กระดูกคิ้วยังเป็นสันเด่นและ ไม่มีลูกคางเหมือนกัน ความจุสมองราว ๗๗๕ ถึงเกือบ ๑,๓๐๐ คิวบิกเซนติเมตร ซึ่งคนปัจจุบันบางคนมีน้อยกว่านี้ก็มี ความจริงแล้ว เรื่องความจุสมองหรือปริมาตร ช่องกะโหลกนี้ไม่ได้เป็นหลักเกณฑ์สําคัญอย่างเดียวในการ ตัดสินสติปญ ั ญาเท่าใดนัก และไม่จาํ เป็นทีค่ นโบราณรุน่ แรก จะต้องมีความจุสมองน้อยกว่ารุ่นหลังเสมอไป ก่อนหน้า นี้ก็เคยพบแล้วว่าพวกนีแอนเดอร์ธัลมีความจุสมองมาก กว่าชาวยุโรปเสียอีก
รูป ๔ แผนที่โลกแสดงบริเวณที่ค้นพบซาก มนุษย์ดึกดําบรรพ์ (Leakey, R.E. et al 1977 : 16 รามาพิเธคคัส ออสตราโลพิเธคคัส โฮโม แฮบิลิส โฮโม อีเรคตัส โครมันยอง โฮโม เซเปียนส์ แบบแรกๆ (ขณะนั้น ยังไม่ได้พบโฮโม อีเรคตัส ที่จังหวัดลำปาง ประเทศไทย)
๔
ในประเทศไทยไม่ได้สนใจศึกษาเรื่องไกลตัวออกไป มากเช่นนี้ ทั้งที่จริงแหล่งที่จะแสดงหาหลักฐานของคน สมัยแรกๆ นั้นมีอยู่มากมาย เช่นหุบเขาต่างๆ หรือที่ราบ ขั้นบันไดระดับสูงๆ และที่อื่นๆ ซึ่งมีอายุตั้งแต่ไพลสโตซีน ตอนต้น (Lower Pleistocene) หรือไพลโอซีน (Pliocene) ไม่เหมือนในแอฟริกาซึง่ มีการศึกษาค้นคว้ากันอยูเ่ สมอ และ ยิ่งศึกษาไปก็ได้พบว่าสายวิวัฒนาการของโฮมินิดส์ยิ่งย้อน หลังไปไกลทุกที จากแต่ก่อนเชื่อกันว่ามีอายุ ๕ แสนปีจน ถึงประมาณ ๓ – ๔ ล้านปีแล้ว ดังที่พบแถบทะเลสาบ รูดอล์ฟ (Lake Rudolf) หรือเดี๋ยวนี้เรียกว่าทะเลสาบ เทอร์คานา (Turkana) ในเคนยา (Kenya) อายุประมาณ ๒ ล้าน ๕ แสนปี และในเอธิโอเปีย (Ethiopia) แถบหุบเขา อฟาร์ (Afar Valley) ซึ่งมีอายุประมาณ ๓ ถึง ๓ ล้าน ๕ แสนปีมาแล้ว ๓“Asian Roots?” Time. May 21, 1979
เพราะความเก่าแก่ของลิง และโฮโมนิดส์ในแอฟริกา อันเป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจังของนัก วิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีในแอฟริกา ทําให้คนส่วนมาก เชื่อว่า ถิ่นกําเนิดของคนนั้นอยู่ที่แอฟริกาซึ่งยังไม่ใช่ข้อเท็จ จริงที่สรุปได้เด็ดขาดในขณะนี้ เพราะคนไม่จาํ เป็นต้องเกิด จากที่เดียวกัน ถ้าสิ่งแวดล้อมในแอฟริกาเอื้อต่อกระบวน การวิวฒ ั นาการของคน ทําไมทีอ่ น่ื ๆ เช่น ในเอเชียตะวันออก หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นเช่นนั้นบ้างไม่ได้ ทั้งซาก ดึกดําบรรพ์ของลิงและคนในบริเวณนี้ก็มีอายุย้อนหลังไป ไกลขึน้ ทุกที แม้วา่ โฮโม อีเรคตัสจะไม่เก่าเท่าที่พบในแอฟริกาและยังไม่พบออสตราโลพิเธคคัส แต่อายุของลิงที่พบใน พืน้ ทีท่ เ่ี ป็นพืน้ ทะเลเก่าของเทือกเขาปอนดอง (PondaungHills) ทางตะวันตกของมัณฑะเลย์ (Mandalay) ในพม่า ก็ย้อนหลังเข้าไปถึง ๔๐ ล้านปีแล้ว เก่ากว่าที่พบที่เก่าที่สุด ที่อียิปต์ในแอฟริกา ถึง ๑๐ ล้านปีด้วยซ้ำไป๓
ภูมิหลังของคนรุ่นแรกๆ
๕๗
๕๘
ภูมิหลัง
เมื่อแรกทําเครื่องมือ รูป ๕ วิวัฒนาการของมนุษย์
ออสตราโลพิ เ ธคคั ส นั้ นทํ า เครื่ อ งมื อ แบบง่ า ยๆ เป็นแล้ว แต่รูปแบบ (forms) ของเครื่องมือเหล่านั้นไม่คงที่ เป็นแบบเป็นแผนเหมือนกันทุกครั้งอย่างพวกโฮโม อีเรคตัส และโฮโม เซเปียนส์ นักโบราณคดีที่ใช้การทําเครื่องมือ (tool making) เป็นหลักเกณฑ์แยกความเป็นคนออกจากพวกคล้ายคน และ ต่อมาเพิ่มนิสัยการกินและวิธีหาอาหารเป็นสูตรง่ายๆ ดังนี้ คน (รุ่นแรก) = การทําเครื่องมือได้จริง = การ ปรับแปลงนิสยั กินเนือ้ สัตว์ = การล่าสัตว์ หาอาหารป่า นักโบราณคดีที่ศึกษาเครื่องมือเครื่องใช้ของคนรุ่น แรกๆ นี้ได้ศึกษาถึงวัตถุดิบที่สําคัญๆ คือ หิน ไม้ เขาสัตว์ ฯลฯ ที่คนโบราณสมัยแรกๆ นํามาใช้ในการทําเครื่องมือใน แง่มุมต่างๆ เช่น คุณสมบัติของวัตถุดิบนั้นๆ แหล่งที่มา ตลอดจนวิธีทําที่ได้รูปแบบอย่างนั้นๆ จนสามารถแยกได้ว่า เป็นหินที่คนเอามาทําเป็นเครื่องมือ หรือหินที่แตกเองเป็น เหลี่ยมเป็นคมตามธรรมชาติ
รูปแบบเครื่องมือรุ่นแรกๆ
รูป ๖ เชื้อสาย โฮมินิดส์ (Hominids)
ได้กล่าวแล้วว่าการศึกษาและสืบค้นซากมนุษย์รุ่น แรกๆ ในภาคพืน้ เอเชียนีไ้ ม่กา้ วหน้าเท่าทีค่ วร เพราะจํานวน ผู้สนใจจะศึกษามีน้อยเหลือเกินเปรียบเทียบกับภาคพื้นทวีป อื่นๆ ไม่ได้ ส่วนมากมีแต่งานเก่าเอามาศึกษาใหม่ ที่ใหม่ๆ ดูเหมือนจะไม่มีเลย ด้วยเหตุนั้นเมื่อจะทําการศึกษาเปรียบ เที ย บจึ ง ต้ อ งอ้ า งอิ ง หลั ก ฐานทางแอฟริ ก าเป็ น ส่ ว นใหญ่ จนบางครั้งกลายเป็นการศึกษาเรื่องของแอฟริกาไปเลย เมื่อข้อมูลประเภทนี้มีน้อย นักโบราณคดีจึงต้องพึ่ง หลักฐานทางเครื่องมือเครื่องใช้ซึ่งเป็นผลผลิตของมนุษย์ ไปก่อน คําอธิบายกลุ่มเครื่องมือสมัยแรกซึ่งเรียกว่า เครื่อง มือสมัยหินเก่าในเขตนี้ ใช้หลักเกณฑ์ทศ่ี าสตราจารย์โมเวียส (Movius) เสนอไว้ตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๙๑ แล้วว่าเป็น ChopperChopping Tool Tradition ซึ่งศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ใช้คําไทยแทนว่า “เครื่องมือสับตัด” ในภาษาอื่นๆ ไม่นิยม แปล ใช้ทับศัพท์อังกฤษไปเลย อย่างไรก็ดี ชื่อกลุ่มเครื่องมือนี้ไม่ได้มีความหมาย เรื่องประโยชน์ใช้สอยว่าใช้สําหรับสับหรือตัดเท่านั้น แต่เป็น เครือ่ งมือสารพัดประโยชน์หรืออเนกประสงค์ของคนโบราณ ทีเ่ รียกรวมๆ ไว้อย่างนัน้ ก็เพือ่ สะดวกในการศึกษาเท่านัน้ เอง
การศึกษาแบบเครื่องมือ (tool typology) มีหลัก พิจารณา ๓ อย่าง ๑. รูปแบบ (forms) ๒. เทคนิคการกะเทาะ (fflaking technique) ๓. ขนาดของเครื่องมือ (size) เครื่องมือในกลุ่มนี้มี ๓ – ๔ ชนิด เช่น choppers chopping tools และเครื่องขูด (scrapers) ฯลฯ สองชื่อแรกนั้นแปลเป็นไทยไม่ได้ เพราะแปลแล้ว มีความหมายเหมือนกันคือ “เครื่องมือสับตัด” แบบ “ปัง ตอ” ของจีน ส่วนชื่อที่สามแปลได้ว่าเครื่องขูด แต่ประโยชน์ ใช้สอยก็ไม่ได้จํากัดอย่างเดียวตามชื่อ ถ้าใช้ตามโมเวียส ทั้ง choppers และ chopping tools เป็นเครื่องมือแกนหิน (core tools) ที่มีคมอยู่ ปลายข้างเดียว (single - edge) แต่ต่างกันที่อย่างแรกนั้น กะเทาะเพียงหน้าเดียวหรือด้านเดียว และประเภทหลัง กะเทาะสองด้าน ด้านหนึ่งตลอดหรือเกือบตลอด แต่อีก ด้านหนึ่งกะเทาะตรงปลายใดปลายหนึ่งเท่านั้น นั่นเป็นหลักพิจารณาของโมเวียสซึ่งใช้เทคนิคการ กะเทาะและรูปแบบเครื่องมือ แยก choppers ออกจาก chopping tools แต่เมื่อมาถึง choppers และ scrapers โมเวียส กลับใช้ขนาดของเครื่องมืออย่างเดียวเป็นข้อกําหนดความ แตกต่าง ถ้าใหญ่มากก็เป็น choppers เล็กลงมาหน่อยก็ เป็น scrapers ไม่จํากัดว่าจะเป็นแกนหินหรือไม่ เครื่องมือ สะเก็ดหินถ้าใหญ่หน่อยก็เป็น choppers ได้ ไม่เหมือน ฟรองซัว บอร์ดส์ (Fran ois Bordes) ซึ่งเด็ดขาดกว่า ให้ทั้ง choppers และ chopping tools เป็นเครื่องมือแกนหิน อย่างเดียว เรื่องชื่อของเครื่องมือหินรุ่นแรกๆ นี้มีปัญหามาก จึงได้ถือโอกาสอธิบายไว้ก่อนพอเป็นพื้นฐานให้เข้าใจงาน ของท่านผู้รู้อื่นๆ ไว้ด้วย มีหลายท่านที่ตั้งชื่อแบบใหม่ๆ ขึ้นมาอีก เช่น นาย ซีฟกิ้ง (Sieveking) และผู้ร่วมงานเรียก choppers และ chopping tools ของโมเวียสเสียใหม่ว่า cleavers ตามรูป และประโยชน์ที่ใช้สอยที่น่าจะเป็นไปได้ นอกจากนั้นก็มี picks ซึ่งพออนุโลมให้เป็นเสียมได้ และเครื่องมือปลาย แหลมอีกชนิดหนึ่ง (points) ฯลฯ
ภูมิหลังของคนรุ่นแรกๆ
๕๙
แหล่งเครื่องมือหินรุ่นแรกในเอเชีย
แหล่งเครือ่ งมือหินรุน่ แรกๆ ทีพ่ บในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานแล้วนั้นมีอยู่ในหลาย ประเทศ เช่น กลุ่มแพทจิแตเนียน (Patjitanian) ของชวา แอนยาเธียน (Anyathian) ของพม่า โจวโกวเทียนเนียน (Choukoutienian) ของจีนเหนือ แทมแปเนียน (Tampanian) ของมาเลเซีย และฟิงนอยเอียน (Fingnoian) ของ ไทย ซึ่งถือเป็นตัวอย่างคลาสสิกของแบบที่โมเวียสได้ตั้งไว้ ต่ อ มาได้ พ บเพิ่ ม ขึ้ น อี ก หลายแห่ ง จนถึ ง หมู่ เ กาะแปซิ ฟิ ก เชสเตอร์ ชาร์ด (Chester Chard) และแมค นิช (MacNeish) และนักโบราณคดีหลายท่านเชือ่ ว่าพวกเอเชียทีอ่ พยพ ผ่านช่องแคบเบริงเข้าไปตั้งรกรากในอเมริกาก่อนยุคน้ำแข็ง ครัง้ หลังจะสิน้ สุดลงนัน้ ได้นาํ เอาเทคโนโลยีการทําเครือ่ งมือ หินรูปแบบทีพ่ บในถ้ำโจวโกวเทียนใกล้ปกั กิง่ และหุบเขาเฟนโห (Fenho Valley) ในจีนเหนือติดตัวไปด้วย
เชื้อชาติ เผ่าพันธ์ุ และภาษา
เมื่อ ๔๐ – ๕๐ ปีก่อน นักมานุษยวิทยาพูดเรื่องเชื้อ ชาติกันมาก นักวิจัยบางคนถึงกับหลงว่าเชื้อชาติต่างๆ (races) เป็นคนละสปีชีส์ (species) หรือเจเนรา (genera) กัน โดยพวกผิวขาวสืบเชื้อสายมาจากลิงชิมแปนซีซึ่งฉลาด ที่สุด นิโกรมาจากลิงกอริลลาที่ตัวใหญ่และน่าเกลียด ส่วน พวกมองโกลอยด์อย่างเราๆ นีม้ บี รรพบุรษุ มาจากอุรงั อุตงั ๔ จนลามไปถึงว่าเชื้อชาติและสีผิวของตนนั้นเก่งหรือเหนือ กว่าของคนอืน่ ๆ จนทุกวันนีท้ ศั นคติเช่นนีกิ้ ย็ งั ไม่หมดไป ทัง้ ๆ ที่ธรรมชาติให้สมบัติความเป็นมนุษย์ทุกคนเท่ากัน เรื่องของเชื้อชาตินั้น น่าสนใจในแง่ของวิชาการแต่ จะยึดถือเอาจริงเอาจังจนหลงนั้นหาประโยชน์อันใดมิได้ เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้วเกือบจะไม่มหี รือไม่มเี ชือ้ ชาติบริสทุ ธิ์ กันแล้ว กลุ่มเชื้อชาติ (races) ใหญ่ในโลกมีอยู่เพียง ๓ กลุ่ม คือ คอเคซอยด์ (Caucasoid) มองโกลอยด์ (Mongoloid) และนิกรอยด์ (Negroid)๕ หรือจะนับให้เป็น ๔ กลุ่มอย่าง บางท่านว่าก็เพิ่มออสตราลอยด์ (Australoid) เข้าไปอีก กลุ่มหนึ่ง จากกลุม่ ใหญ่ๆ นีแ้ ยกออกเป็นกลุม่ เผ่าพันธ์ุ (ethnic groups) หรือทีเ่ คยใช้คาํ ว่า “ชนชาติ” หรือ “ชาติพนั ธ์”ุ ซึ่งแตกออกเป็นสาขา (ตามวัฒนธรรม) ไปอีกมากมาย เช่น (ชนชาติ) ไทย มีเชื้อชาติ (race) มองโกลอยด์ เช่นเดียวกับ จีน มองโกล พม่า แล้วแยกสาขาออกไปมีชื่อมากมายหลาย สิบชื่อตามที่ต่างๆ ตั้งแต่ในเมืองไทย ลาว พม่า เวียดนาม จีน และอินเดีย รวมแล้วคงไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านคน
๖๐
ภูมิหลัง
ส่วนภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีตระกูล ภาษา (language families) หรือไฟลัมภาษา (phyla) หลาย สาขา เช่น ออสโตรนีเชียน (Austronesian), มอญ – เขมร ทิเบต – พม่า เวียดนาม ไทย – กะได ม้ง (แม้ว) – เมี่ยน (เย้า) และจีน สาขาออสโตรนีเชียนนี้แพร่หลายที่สุดในหมู่เกาะ ต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก มีอยู่ใน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เข้าไปถึงแปซิฟิกเกือบ หมด เว้นก็แต่ภาคตะวันตกบางส่วนของเมลานีเซีย (Melanesia) เช่น นิวกินี เป็นต้น นอกจากนั้นยังกระเซ็นกระสาย อยู่ในเวียดนามใต้และมาดากัสการ์อีกด้วย ส่วนในภาคแผ่น ดินซึ่งรวมไทยด้วยนั้น มีภาษาหลายตระกูล เช่น มอญ – เขมร ทิเบต – พม่า เวียดนาม ไทย – กะได ม้ง – เมีย่ น และจีน สําหรับภาษาต่างๆ ที่อยู่ในตระกูลภาษาไทย เดิม ทีถูกจัดให้อยู่ในไฟลัมภาษาของจีน – ทิเบต แล้วพอล เบนเนดิคท์ (Paul Benedict)๖ มาเสนอใหม่ รวมภาษาไทย ต่างๆ ไว้กับภาษาอีก ๔ ภาษาในประเทศจีนตอนใต้ซึ่งเรียก ว่า “กะได” กลายเป็น “ไทย – กะได” จากนั้นเอาภาษาทั้ง หลายบรรดามีทั้งไทย – กะได มาเลย์ – โพลีนีเชียน (Malayo - Polynesian) หรือออสโตรนีเชียน แม้ว – เย้า และอื่นๆ อีกหลายภาษามาตั้งเป็นไฟลัมใหญ่ เรียกชื่อใหม่ว่า “ออสโตร – ไทย” (Austro - Thai) งานของเบนเนดิคท์ยังอยู่ในขั้นเป็นทฤษฎีและสมมติฐาน มีทั้งเสียงขานรับและคัดค้านก้ำกึ่งกัน ผู้เขียนนํา มาเขียนให้ทราบกันไว้ เพราะเบนเนดิคท์ได้โยงไฟลัมภาษา ออสโตร – ไทย อันท้าทายนี้เข้ากับหลักฐานทางโบราณ คดีสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ทพ่ี บแล้วในประเทศไทยอีกด้วย ว่าผู้ที่ใช้ภาษาออสโตร – ไทยนี้ ชะรอยจะก้าวหน้าไม่ช้า กว่าคนที่อื่นในทางเกษตรกรรม และอาจจะเป็นได้ว่าจะรู้ เรื่องเทคโนโลยีการโลหกรรมก่อนคนอืน่ เสียด้วยซ้ำไป ทั้ง ยังมีเค้าเงือ่ นทางภาษาทีส่ าํ คัญๆ อยูไ่ ม่นอ้ ยทีแ่ สดงให้เห็น ว่าคนพวกนี้มิใช่เป็นพวกที่คอยจะรับความเจริญจากคนที่ ใช้ภาษาอื่นๆ แม้จีนโบราณเองก็รับวัฒนธรรมบางอย่าง ไปจากพวก ออสโตร – ไทย บ้างเหมือนกัน เรื่องของเชื้อชาติ เผ่าพันธ์ุหรือชนชาติ และภาษา ๓ อย่างนี้ ความจริงเป็นคนละเรื่องกัน แต่ได้ใช้สับสนกัน มานานแล้ว ชนชาติกับภาษานั้นใกล้กัน โดยทั่วไปพอจะอนุ โลมใช้แทนกันได้ เพราะเป็นเรื่องของการยอมรับทางวัฒนธรรม คนที่พูดภาษาไทยตามที่ต่างๆ มักจะยอมรับว่าตน เป็นชนชาติไทย แม้จะเป็นประชากรของประเทศอื่นๆ ไป แล้วก็ตามที สถานที่ที่เรื่องทั้ง ๓ นี้พอปนกันได้คือ ที่ที่เป็นชุมชน ที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว เช่น ตามหมู่เกาะ และเกาะบางแห่ง ในแปซิฟิกในปัจจุบัน เช่น นิวกินี ไฮแลนด์ (New Guini Highlands) ซึ่งประชากรสืบเชื้อชาติโดยตรงมาจากกลุ่ม ชนสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ มีหลักฐานทางเชือ้ ชาติและเอก-
รูป ๗ ตัวอย่างเครื่องมือหินแบบต่างๆ
๔ Howells, W. “The Distribution of
man” Scientific American. Sept 1960 : 3. ๕ Howells, W. The Pacific Islanders.
Charles Scribner’s Sons. New York. 1973 : XII. ดู Bellwood, P. ใน Man’s Conquest of the Pacific : the Prehistory of Southeast Asia and Oceania. New York. Oxford University Press. 1979 : 25.
อ้างบิอาสุตติ (Biasutti) เรือ่ งกลุม่ เชือ้ ชาติ ออสตราลอยด์ (Australoid) อีก กลุ่มหนึ่งเป็น ๔ กลุ่มใหญ่ๆ ในโลกให้ มี ๒ สาขาหรือเผ่าพันธ์ุ, ๑. ออสตราลิดี (Australidi) มี ออสเตรเลียน (Australians) แทสแมเนียน (Tasmanians) และนิวแคลิโดเนียน (New Caledonians) ๒. ปาปัวซิดี (Papuasidi) คือ ประชากรของเมลานีเซีย (Melanesia) โดยทั่วไป
๖ Benedict, Paul K. Austro – Thai :
Language and Culture, with a Glossary of Roots. 1975. Hraf Press.
ลักษณ์ทางวัฒนธรรมหลายอย่างปรากฏชัดเจนไม่เหมือนดิน แดนที่มีอารยธรรมเก่ากว่าอย่างในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ ซึ่งเป็นเสมือนชุมทางใหญ่ที่คนหลายเชื้อชาติหลายเผ่า พันธ์ใุ ช้เป็นทางผ่าน หรือปักหลักตั้งถิ่นฐานทํากินมาแต่ไหน แต่ไรแล้ว ซึ่งกว่าจะเอาเรื่องทั้งสามนี้มายําเข้าด้วยกัน ให้ เป็นภาพทีค่ นทัว่ ไปยอมรับได้กต็ อ้ งใช้เวลาอีกนาน และต้อง สร้างทฤษฎีขึ้นมาอีกหลายทฤษฎี
วัฒนธรรม
อดีตของคนถอยหลังไป ๒ – ๓ ล้านปีจนคนรุ่น เรานึกไม่ถึงว่าวัฒนธรรมสมัยก่อนๆ จะมีส่วนเกี่ยวข้องหรือ สืบทอดมาถึงคนรุ่นเรา วัฒนธรรมเป็นแบบแผนพฤติกรรมทัง้ หมดของสังคม มนุษย์ที่สืบทอดต่อกันมาด้วยการอบรมสั่งสอน เราจะปรับ ปรุงเปลีย่ นแปลงเป็นอย่างไรก็ได้ เพราะเป็นสิง่ ทีม่ นุษย์สร้าง ขึน้ มาเอง ส่วนเชือ้ ชาติเป็นมรดกทางพันธุกรรมซึง่ เป็นเรือ่ ง ของธรรมชาติ เกิดเป็นมนุษย์เผ่าพันธ์ุใด เชื้อชาติใด ก็เป็น อย่างนัน้ นอกจากจะเปลีย่ นสัญชาติเป็นอย่างอืน่ และการ ศึกษาวิจยั เรือ่ งเผ่าพันธ์ขุ องมนุษย์กบ็ อกได้แต่รปู ร่างหน้าตา ผิวพรรณ สีตา สีผม และโครงสร้างทางสรีระอย่างอื่นๆ ของมนุษย์แต่ละเชื้อชาติแต่ละเผ่าพันธ์ุเท่านั้น ไม่ได้บอกถึง สติปัญญาว่า มากน้อยกว่ากันเลย จีน ไทย ฝรั่ง หรือ แอฟริกา ล้วนเกิดมามีสติปญ ั ญาเท่าเทียมกันทัง้ นัน้ ทีป่ รากฏ ว่าย่อหย่อนกว่ากันนั้นเป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่มนุษย์แต่ ละเผ่าพันธ์ุจัดลําดับกันเอง ไม่เคยมีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์หรือวิชาการสาขาไหนว่า ลูกครึง่ จีน – ไทยฉลาดกว่า ลูกไทยแท้ เพราะการผสมข้ามเผ่าพันธ์ุของบรรพบุรษุ เลย วัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องสําคัญในตัวของมันเอง ซึ่ง อาจจะสําคัญกว่าเรื่องเชื้อชาติเสียด้วยซ้ำไป ประเทศชาติ น้อยใหญ่ที่อยู่รอดมาถึงปัจจุบันล้วนมีประชากรหลายเผ่า พันธ์ุอยู่ในประเทศเดียวกันทั้งนัน้ ทีใ่ ดประชากรรูจ้ กั ผ่อนสัน้ ผ่อนยาวด้วยการผสมผสานทางวัฒนธรรม การกระทบกระทัง่ ซึง่ จะกลายเป็นปัญหาสังคม และการเมืองก็จะไม่เกิดขึ้น เมือ่ ร้อยชัว่ คนมานีม้ นุษย์ทง้ั โลกยังอยูใ่ นสังคมเดียว กัน คือสังคมที่นักโบราณคดีเรียกว่า “สังคมสมัยก่อน ประวัติศาสตร์” หรือสังคมของคนที่ไม่รู้หนังสือ อ่านไม่ ออก เขียนไม่ได้ มีพื้นฐานสังคมทางเศรษฐกิจ แบบแผน ประเพณี เทคโนโลยี และรูปแบบของศิลปกรรมบางอย่าง คล้ายกันหรือพ้องกันทําให้เข้าใจกันผิดว่า วัฒนธรรมบาง วัฒนธรรมเป็นต้นกําเนิดหรือรับอิทธิพลของกันและกัน
๗
ภูมิหลังของคนรุ่นแรกๆ
๖๑
สมัยก่อนเกษตรกรรม
สังคมมนุษย์มีพัฒนาการสังคมแบบแรก เราเรียก “สังคมล่าสัตว์” ตามวิถีชีวิตหรือการเลี้ยงชีพของคนสมัย นั้น สังคมแบบนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยประมาณล้านปีมา แล้ว ช่วงเวลานี้ของโลกเป็นยุคไพลสโตซีนทางธรณีวิทยา ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ประมาณ ๔ ล้านปีมาจนถึงประมาณ ๑ หมื่น ๒ พันปีมานี้ ยุคน้ำแข็งเกิดขึ้นและสลายตัวในบริเวณ รุ้งสูงๆ แต่ในเมืองไทยไม่มีปรากฏการณ์เช่นนั้นเพราะอยู่ ในเขตรุ้งต่ำ จะได้ผลกระทบจากการก่อและละลายตัวของ น้ำแข็งบ้างก็เพียงแต่ทําให้ระดับน้ำทั่วไปสูงขึ้นหรือลดต่ำลง อุณหภูมยิ งั ประมาณใกล้เคียงกับปัจจุบนั ลักษณะภูมปิ ระเทศ และชีวมณฑลเปลีย่ นไปบ้างแต่คนก็ปรับตัวเองเข้ากับสิง่ แวด ล้อมได้เป็นอย่างดี คนสมัยไพลสโตซีนและโฮโลซีนตอนต้นๆ อยูก่ นั เป็น กลุ่มเล็กกลุ่มน้อย เดิมมีคนน้อยแล้วค่อยเพิ่มจํานวนขึ้น เข้า ใจว่าคงอยู่กระจัดกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทยเพราะ พบหลักฐานที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้เป็นประจักษ์พยานอยู่ คนสมัยนั้นใช้ทรัพยากรใกล้ตัวเป็นของอุปโภคบริโภค มีบ้าง บางครั้งที่ต้องไปเที่ยวหาล่าสัตว์บางชนิดในที่ไกลๆ จาก การศึกษาเผ่าชนในสังคมล่าสัตว์ ทําให้ได้ทราบว่า เขาแบ่ง หน้าที่การหาเลี้ยงชีพกันเหมือนกัน อย่างเช่นผู้หญิงและ เด็กๆ จะช่วยกันเก็บหาอาหาร เช่น ผลไม้ เมล็ดพืช รากไม้ ใบไม้ แมลง หอย สัตว์ปีก หรือสัตว์เลื้อยคลานตัวเล็กๆ ส่วนผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ชายรับหน้าที่ล่าสัตว์ใหญ่ๆ
๖๒
ภูมิหลัง
เมื่อประมาณ ๑ หมื่น ๒ พันปี – ๘ พันปีมาแล้ว คนบางกลุ่มรู้จักทดลองเอาพันธ์ุพืชที่ขึ้นในป่าบางอย่างมา ปลูกดูแลใกล้ที่อยู่อาศัย แต่ส่วนใหญ่แล้วยังเลือกเก็บหา เอาจากในป่า ที่ถ้ำผีและบริเวณใกล้เคียงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน นักโบราณคดีได้ขุดค้นพบพันธ์ุพืชที่คนเอามาอุปโภค และบริโภคกว่า ๒๐ เจเนรา พืชเหล่านั้นเป็นพวกผลไม้ ผัก ของชูรส พืชที่ให้น้ำมัน (ซึ่งอาจใช้เป็นเชื้อเพลิงสําหรับจุด ให้แสงสว่าง เช่น ตะเกียง) ตลอดจนยาพิษแบบยางน่อง ในช่วงเวลานัน้ เครือ่ งมือเครือ่ งใช้ทท่ี าํ ด้วยหินส่วนมาก ยังดูเทอะทะ เป็นเครื่องมือสารพัดประโยชน์ อาวุธล่าสัตว์ ใหญ่คงเป็นประเภทที่ใช้พุ่งหรือยิงจากระยะไกลพอสมควร เช่น หอก หน้าไม้ และธนู ในราวสมัย ๘,๐๐๐ – ๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว พบว่ามีการปัน้ ภาชนะดินเผาทีก่ า้ วหน้าแล้ว แสดง ว่าเทคโนโลยีนี้ได้เริ่มมาก่อนแล้วระยะหนึ่ง มีการใช้ใยพืช มาปั่นเป็นด้ายหรือทําเชือก เย็บเป็นตาข่ายจับปลา เครื่อง มือสะเก็ดหินบางแบบถ้าเอาด้ามไม้ใส่เข้าจะใช้เป็นเคียวเกีย่ ว ธัญพืชได้เป็นอย่างดี ขวานหินบางชิ้นขัดเรียบ คม และดู ประณีตกว่าทั่วๆ ไป
สมัยเกษตรกรรม
การเพาะปลูกธัญพืชตระกูลข้าวนั้นคงเริ่มระหว่าง ๖,๐๐๐ – ๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว ข้าวเป็นอาหารหลักของชาว เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตง้ั แต่สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์จนถึง ปัจจุบัน ไม่ได้มีการนําพันธ์ุมาจากที่อื่นอย่างที่เขียนกันไว้ ในหนังสือประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ทุกวันนี้ยังมีพันธ์ุข้าวป่า ในประเทศไทยกว่าร้อยพันธุ์ จารึกหลักที่ ๑ ของสุโขทัยใน ตอนที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” เป็นเรื่องที่คนไทยจําขึ้น ใจกันทั่วไป ในแหล่ ง ขุ ด ค้ น บางแห่ ง เราพบแกลบข้ า วในเนื้ อ ภาชนะดินเผาตัง้ แต่สมัย ๕,๐๐๐ – ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว ปริมาณ ที่มากชี้ให้เห็นว่าน่าจะเป็นข้าวปลูกมากกว่าข้าวที่ขึ้นเอง ตามธรรมชาติ แม้ว่ารูปแบบของเมล็ดข้าวยังบอกไม่ได้ว่า เป็นข้าวปลูกหรือข้าวป่าก็ตาม การใช้แกลบข้าวหรือฟาง ข้าวผสมเป็นดินเชื้อ ใช้ปั้นภาชนะเป็นวิธีที่ยังทํากันอยู่ถึง ปัจจุบัน ชาวนาสมัยแรกๆ ก้าวหน้าไปมากแล้ว ตัวผลักดัน นั้นมาจากสาเหตุหรือภูมิหลังบางประการซึ่งยังไม่เป็นที่รู้ กันในขณะนี้ แต่นา่ ประหลาดทีพ่ บว่า สมัยแรกๆ ทีบ่ า้ นเชียง จังหวัดอุดรธานี และโนนนกทา จังหวัดขอนแก่นเมือ่ ประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ได้พบว่าคนที่นั่นรู้จักการหล่อและใช้ สําริดกันแล้ว
วัตถุที่ทําด้วยสําริดระยะแรกๆ ที่เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้และเครื่องประดับยังทําเป็นรูปที่คล้ายกับของเก่า ที่ทําด้วยหิน ไม้ เปลือกหอย และกระดูก ซึ่งใช้กันต่อมา จนแม้เมื่อมีสําริดแล้วก็ยังไม่เลิก ของเหล่านี้มี ลูกธนู เบ็ดตกปลา ขวาน แหวน กําไล ปิ่นปักผม ฯลฯ ในเรื่องโลหกรรมนั้นใช่ว่าเมืองไทยจะมีเก่าแต่สําริด เท่านั้น เทคโนโลยีเครื่องเหล็กก็เก่าแก่เช่นกัน กล่าวได้ว่า เริ่มก่อนที่อื่นๆ ในโลกหลายร้อยปีทีเดียว ใบหอกเหล็กหล่อ ใส่ด้ามสําริด และเครื่องประดับโลหะ ๒ เนื้อ (bimetallic) ทําขึ้นแล้วเมื่อราว ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว การทําเครื่องสําริดและเหล็กสืบต่อมาจนถึงสมัย ประวัตศิ าสตร์ แม้เมือ่ ไม่นานมานีก้ ย็ งั มีการประดิษฐ์ลกู กระ พรวน ส่วนประกอบเครือ่ งทอผ้า หรือภาชนะสําริด เหมือน ทีเ่ คยทําในสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ ทัง้ รูปร่างก็คล้ายกันด้วย การขุดค้นแหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัยของคนสมัยนัน้ ได้พบหลุม เสาที่แสดงให้เห็นบ้านเรือนสร้างยกพื้น มีใต้ถุนซึ่งก็ไม่แตก ต่างกับบ้านชนบทในปัจจุบันเท่าใดนัก กระดูกสัตว์ที่พบเป็นหมู วัว ควาย ไก่ และสุนัข ซึ่ง เป็นสัตว์เลี้ยงเมื่อประมาณหลายพันปีมาแล้ว
ภูมิหลังของคนรุ่นแรกๆ
๖๓
รูป ๘ ภาพถ่ายทางอากาศแสดงเค้าโครง ชุมชนโบราณ
สังคมเมือง
สังคมเกษตรกรรมไม่ได้มีแต่ชาวไร่ชาวนา แต่มีช่าง ปั้นหม้อ ช่างทอผ้า ช่างโลหะ ช่างทําเครื่องมือหิน ช่าง ทําเครื่องประดับ ช่างจักสาน รวมอยู่ด้วย มีพ่อค้าไปมาซื้อ ขายแลกเปลี่ยนวัตถุดิบและประดิษฐกรรมทั้งหลายอยู่ เสมอ ขนาดของกิจกรรมเหล่านี้ขยายตัวใหญ่ขึ้นทุกที จน ถึงราว ๒,๕๐๐ และ ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว จึงถึงคราวสร้าง บ้านแปลงเมือง เริม่ ด้วยการทีช่ มุ ชนบางแห่งหรือหลายแห่ง ขยายตัวหรือรวมตัวกันขึ้นเป็นเมือง มีการปกครองบังคับ บัญชาหลายระดับกว่าสมัยเมื่อเป็นเพียงหมู่บ้านใหญ่ๆ ใน ช่วงนั้นและต่อมามีหลักฐานการติดต่อระหว่างชุมชนใน ประเทศไทยกับต่างประเทศมากขึน้ จดหมายเหตุจนี มีบนั ทึก เรือ่ งเมืองต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ราวพุทธศตวรรษ ที่ ๘ เป็นต้นมา มีหลายเมืองทีต่ าํ แหน่งทางภูมศิ าสตร์ชี้ให้ เห็นว่าอยู่ในภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียง เหนือของประเทศไทย เมืองในภาคเหนือหลายแห่งมีหลัก ฐานจากตํานานและโบราณคดีว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ขึน้ มา มีเมืองใหญ่ในทีร่ าบใหญ่เช่น เชียงใหม่ ลําปาง ฯลฯ และเมืองเล็กในหุบเขาเล็กๆ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในภาคนั้น ส่วนเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีมากในเขตที่ราบ ลุ่มแม่น้ำมูลและแม่น้ำชีในช่วงเวลานั้นเหมือนกัน เมื อ งส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ศู น ย์ ก ลางของวั ฒ นธรรม ศาสนาและการค้า มากกว่าทีเ่ ป็นอาณาจักรการปกครองแบบ “รัฐ” จริงๆ สุโขทัย เชียงราย เชียงใหม่ และพะเยา เป็นศูนย์ กลางการปกครองในภาคเหนือเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ต่อมาแทนที่โดยอยุธยาในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ แล้วจึงถึง กรุงเทพฯ ในพุทธศตวรรษที่ ๒๔
๖๔
ภูมิหลัง
๘
มรดกวัฒนธรรม
กว่าจะมาถึงสมัยที่กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางของ การปกครอง ประเทศไทยได้ผ่านพัฒนาการทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมมาหลายรูปแบบในช่วง ๑ ล้านปีมานี้ มรดกทีย่ งั รักษากันได้ทกุ วันนีแ้ สดงให้เห็นความต่อเนือ่ งของ วัฒนธรรมจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน รัฐเกษตรกรรมในประเทศไทยนัน้ สืบต่อมาจากสังคม เกษตรกรรมเมือ่ หลายพันปีกอ่ น อารยธรรมทัง้ หลายเติบโต แตกแยก และตกทอดกันมาเป็นแบบแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา ไม่วา่ จะเป็นเทคนิคการทํางาน งานช่างฝีมอื (ภาชนะดินเผา งานแกะสลัก เครื่องจักสาน) เทคโนโลยีทางโลหกรรม (สําริด เหล็ก) การสร้างบ้านใต้ถุนสูง และพันธ์ุพืช และ สัตว์ต่างๆ ที่คนเลี้ยงกันทุกวันนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ที่มีมาจาก สมัยก่อนนั้นแทบจะทั้งสิ้น ในปัจจุบันนี้คนในชนบทยังใช้มือเปิบข้าวกันอย่าง เอร็ดอร่อย พุทธศาสนิกชนทั้งหลายยังเซ่นผีเซ่นเจ้า และ ทําพิธีพราหมณ์กันเป็นปกติวิสัย ชาวนายังนับถือแม่โพสพ ของเขาอยู่ การฝังศพเด็กในไหเปลี่ยนไปเป็นฝังรกเด็กหลัง คลอด และแม้ว่าเราจะมีโรงพยาบาลที่มีอุปกรณ์ทันสมัย มีแพทย์ทรงคุณวุฒิทําการรักษา แต่ก็ยังมีการใช้สมุนไพร เครื่องราง และหมอเวทมนตร์กันอีกด้วย นี่คือเมืองไทย ประเทศที่คนหลายเผ่าพันธ์ุได้ หลอมวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนให้เป็นวัฒนธรรมเดียว คือ วัฒนธรรมไทย
ทรรศนะและทฤษฎีด้านโบราณคดี ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในประเทศไทย
๑. ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใตเป็นข่าวใหญ่ในโลกตะวันตก เมือ่ ครัง้ มีขา่ วเรือ่ งสงครามเวียดนามเป็นส่วนใหญ่ ข่าวคราว ความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีมีน้อยมาก แต่ที่ น้อยทีส่ ดุ ก็เห็นจะเป็นเรือ่ งของอดีตของมนุษย์ทอ่ี ยูใ่ นภูมภิ าค นี้ของโลก ซึ่งมาครึกโครมอีกครั้งหนึ่งเมื่อมีการศึกษาเรื่อง เทคโนโลยีในการทําสําริดว่ามีมาเมื่อ ๔,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว ทีบ่ า้ นเชียง จังหวัดอุดรธานี และหลังสุดก็เรือ่ งการพบ “ลิงเก่า” ในพม่าซึ่งมีอายุประมาณ ๔๐ ล้านปี เก่ากว่าที่ พบในที่อื่นๆ ในโลก ความสนใจเรื่องมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้มีกําเนิดมาจากตะวันตก ซึ่งเริ่มให้ความ สนใจในเรื่องนี้ก่อนแล้วนับเป็นพันปี ตั้งแต่สมัยพวกกรีก และโรมันเขียนบันทึกความทรงจําหรือประวัติศาสตร์เชิง ปรัชญา กล่าวถึงวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์และเทคโน โลยี แล้วแพร่หลายกว้างขวางออกไปจนกลายเป็นวิชาหนึ่ง ที่ต้องศึกษาวิจัยในยุโรปเมื่อร้อยกว่าปีมานี้ ขอบเขตเนื้อหา แนวทาง และเทคนิควิธีการ ได้พัฒนาต่อมาเป็นลําดับจน ถึงปัจจุบัน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานสาขานี้ก็เช่นเดียว กับสาขาวิชาอื่นๆ ซึ่งเริ่มเป็นรูปร่างด้วยชาวตะวันตก อินโดนีเซีย และอินโดจีน (เวียดนาม เขมร ลาว) เริ่มงานค้น คว้าเรื่องนี้ไว้เมื่อเกือบร้อยปีมาแล้ว ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และไทย เพิ่งจะมาลงมือกันจริงๆ ก็เมื่อประมาณ ๒๐ ปีมานี่เอง เรื่องความเป็นมาของมนุษย์ในภูมิภาคนี้มีผู้สนใจ กันน้อยมาก และในจํานวนนี้เป็นชาวต่างประเทศเสียมาก กว่า คนเอเชียด้วยกันรู้เรื่องอดีตของตนน้อยมาก เพิ่งจะ เริ่มตื่นตัวศึกษากันบ้างก็เมื่อตอนที่ชาวตะวันตกมาปกครอง
บ้านเมืองแถบนี้ ฝรั่งนั้นสนใจ ชอบ “ฟื้นความหลัง” และช่างคิด ช่างเขียน เมื่อมาปกครองบ้านเมืองแถบนี้จึงได้รวบรวม เรียบเรียงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นและที่ใกล้ เคียงเกี่ยวข้องกับประเทศอาณานิคมของตนไว้มาก ประ- เทศเมืองขึ้นฝรั่งบางประเทศถึงกับใช้ประวัติศาสตร์ฉบับที่ ชาวยุโรปเขียนให้ทง้ั หมดก็มี ประเทศไทยเองถึงแม้จะไม่เคย เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งสมัยอาณานิคม แต่ก็เกี่ยวข้องกับฝรั่ง ทางด้านการทูตและการพาณิชย์มาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว เหตุการณ์ต่างๆ ในประวัติศาสตร์ไทยหลายตอน เช่น เรือ่ งชีวติ ความเป็นอยูข่ องคนไทย พิธกี ารทูต และราชสํานัก ตลอดจนเทคโนโลยีและผลิตผล การติดต่อค้าขายและสภาพ ภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีอยู่น้อยในพงศาวดารของเรา เอง ก็หาได้จากบันทึกของฝรั่ง เริ่มจากบันทึกของ เฟอร์ นันโด เมนเดซ ปินโต (Fernando Mendez Pinto) ชาวโปรตุเกส เมื่อ พ.ศ. ๒๑๕๗ เป็นต้นมา เมื่อประเทศเมืองขึ้นทั้งหลายได้เอกราช นักการ ศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีซึ่งได้รับการ อบรมขั้นพื้นฐานจากผู้ปกครองเก่าก็เริ่มสนใจสืบค้นประวัติ เชื้อชาติของตน ทั้งด้วยตนเองและร่วมมือกับอาจารย์ชาว ยุโรปที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการก่อตั้งสถาบันวัฒนธรรม เช่น พิพิธภัณฑสถาน หรือสถาบันที่วิจัยโบราณคดีหรือประวัติ ศาสตร์ หรือหน่วยงานในชื่ออื่นๆ ในประเทศนั้นๆ โดยใช้ แนวทางและทรรศนะตะวันตกเกือบจะทั้งหมด แต่ส่วน มากนักการศึกษาท้องถิ่นจะศึกษาแต่เรื่องประเทศของตน และบ่อยครัง้ ทีบ่ ดิ เบือนประวัตศิ าสตร์เพือ่ จะรวมคนเชือ้ ชาติ เดียวกัน หรือศาสนาเดียวกันเพื่อผลทางการเมือง
ภูมิหลังของคนรุ่นแรกๆ
๖๕
ทฤษฎี “ความล้าหลัง” ของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนชาวตะวันตกนั้นมองกว้างไปถึงความสัมพันธ์ ระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กบั ประเทศภาคพืน้ ตะวันตก นักการศึกษาประเภทนี้มี ๓ สาขา คือ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ท่านเหล่านี้มอง “ตะวันออก” จากศูนย์ “ตะวันตก” นักภูมิศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ จับเรื่องตั้งแต่เมื่อดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียนรุ่งเรื อ ง แล้วเป็นต้นมา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงดูด้อยไป เพราะ ความรุ่งเรืองทางวิทยาการในเขตนี้เทียบกับทางเอเชียไมเนอร์ ตะวันออกกลางและยุโรปในสมัยนั้นไม่ได้เลย โลก ตะวันออกซีกนี้จึงเหลือแต่อินเดียและจีน ซึ่งมีอาณาเขต ติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทางตะวันตกและทางเหนือ เท่านั้นที่ควรแก่การสนใจ เพราะประวัติความรุ่งเรืองของ อารยประเทศทัง้ สองเป็นทีร่ กู้ นั อย่างดีแล้วในกลุม่ นักปราชญ์ ตะวันตก สำหรับนักวิชาการชาวตะวันตกเหล่านี้ เอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้นั้นน่าสนใจอยู่อย่างเดียวก็ตรงที่มีสถานที่บาง แห่งมีชื่อที่แปลแล้วมีคำว่า “ทอง” อยู่ด้วย เช่น “แหลม ทอง” หรือ “สุวรรณภูมิ” ซึ่งปโตเลมี (Ptolemy) เคย เขียนถึงไว้เมื่อ พ.ศ. ๗๐๓ หรือเมื่อเกือบสองพันปีมาแล้ว สําหรับนักโบราณคดีก็เข้ามาค้นเรื่องอดีตเฉพาะ สมัยก่อนที่ชาวยุโรปเข้ามา หรือสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ของท้องถิ่นนั้นๆ ท่านเหล่านี้แม้จะอยู่ในเอเชียตะวันออก เฉียงใต้กันคนละนานๆ แต่ความคิดความอ่านก็ยังคงเป็น แบบตะวันตกอยูน่ น่ั เอง ฉะนัน้ จึงคงแปลความหลักฐานทาง ตะวันออกให้เข้าในกรอบของตะวันตกอยู่เสมอ แม้ศัพท์ เฉพาะทางวิชาการก็เอาของทางตะวันตกมาใช้ทั้งหมด โดย ไม่คํานึงถึงความแตกต่างและลักษณะพิเศษของวัตถุหลัก ฐาน เทคโนโลยี และสภาวะแวดล้อมอื่นใด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นถูกมองว่าเป็นดินแดนที่ ล้าหลังอยู่ตลอดมา ความเจริญรุ่งเรืองทั้งหลายที่เกิดขึ้น จนถึงกับก่อตั้งบ้านเมืองได้นั้น เป็นสิ่งที่รับมาจากภูมิภาค อื่นทั้งสิ้น โรเบิร์ต ไฮนี เกลเดอร์น (Robert Heine Geldern) ศาสตราจารย์ชาวออสเตรียน เขียนถึง “คลื่นวัฒน ธรรม” ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นทฤษฎีการอพยพของคนว่า คนผูใ้ ช้ขวานผึง่ รูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้านีม้ าจากประเทศจีนตอนเหนือ อพยพลงใต้เข้ามายังแหลมมลายู แล้วต่อไปที่ สุมาตรา ชวา แล้วไปบอร์เนียว ไต้หวัน และ ญี่ปุ่น ในที่สุด
๖๖
ภูมิหลัง
พอถึงสมัยสําริดก็มีการอพยพครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้มาจากยุโรปตะวันออกเมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมา แล้ว มีเส้นทางอพยพไปทางตะวันออก แล้วลงใต้เข้าประ เทศจีนในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (๕๗๙ – ๒๒๘ ก่อน พ.ศ.) ก่อน แล้วต่อมาจึงอพยพเลยลงใต้เข้าไปในเวียดนาม และไปตัง้ ถิน่ ฐานทีแ่ หล่งชือ่ ดองซอน ทางใต้ ของฮานอย๗ ในความเห็นของนักโบราณคดีเหล่านี้ ประเทศไทยซึง่ อยูใ่ นภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นเขตประเทศที่ ไม่ได้มีความเจริญเป็นของตนเอง ที่เป็นบ้านเป็นเมืองตราบ เท่าทุกวันนีล้ ว้ นแล้วแต่เป็นผลิตผลของศิลปวิทยาการจากบ้าน เมืองอื่นทั้งสิ้น ทรรศนะของศาสตราจารย์เซแดส (George ` ปรมาจารย์ทางประวัติศาสตร์ศิลปะของเอเชียCoedes) ตะวันออกเฉียงใต้ก็ลงเอยทํานองนี้ “น่าสนใจที่ได้สังเกตว่า แม้แต่ใน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คนในแหลมอินโดจีน เองดูเหมือนจะขาดอัจฉริยะในการสร้างสรรค์ และแสดงให้เห็นถึงความสามารถเฉพาะตัว เพียงเล็กน้อยในการที่จะสร้างความก้าวหน้าขึ้น เองโดยไม่มีสิ่งจูงใจจากภายนอก”๘ อย่างไรก็ดี หลักฐานที่อ้างสนับสนุน “ทฤษฎีความ ล้าหลัง” ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักเป็นหลักฐานทาง อ้อมเช่น แบบอย่างโบราณวัตถุ แบบอย่างศิลปกรรม ซึ่ง ถูกนําไปเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ที่เคยพบมาก่อนแล้ว ประกอบกับหลักฐานทางภูมิศาสตร์และธรณีสัณฐาน ซึ่งมี ระบบภูเขาและแม่น้ำเป็นแนวเหนือ – ใต้ จากจีนใต้ลงมา เพื่อสนับสนุนทฤษฎีการอพยพของคนจากเหนือลงมาทางใต้ ปัญหาความผิดพลาดเรือ่ งนีข้ น้ึ อยูก่ บั แนวทางและวิธี การศึกษาที่ไม่ถูกต้อง จึงใช้หลักฐานผิดประเภท หลักฐานใหม่กับวิธีการศึกษาวิจัยที่เหมาะสมของ นักโบราณคดีทั้งตะวันตกและตะวันออกรุ่นใหม่ๆ ในขณะนี้ ได้พิสูจน์ว่าสมมติฐานเก่าๆ ฟังไม่ค่อยขึ้น และมีบางท่าน ตั้งข้อสังเกตเป็นตรงข้ามกับของเดิมว่า “กระแสวัฒนธรรมน่าจะเคลื่อนจากใต้ไปเหนือ ในช่วงเวลาก่อนสมัยราชวงศ์โจว หรือ หยิน ต่อเมื่อหลังสมัยราชวงศ์นั้นแล้วจึงเคลื่อนจาก เหนือลงใต้อย่างที่เข้าใจกัน”๙ ๗ Coedes, G. The Making of
Southeast Asia. Trans. By H.M. Wright. University of California Press. 1969 : 13. ๘ Solheim II, W.G. “New Light on a Forgotten Past”. National Geographic Magazine, 139, 3, 1971 : 330 – 339 ๙ Bayard, D.T. “North China, Southeast Asia, or Simply “Far East”. Journal of the Hong Kong Archaeological Society. Vol. VI : 71- 79.
อย่างไรก็ดี “ทฤษฎีการอพยพ” ทั้งจากเหนือลงใต้ หรือจากใต้ขึ้นเหนือ ต่างก็ขาดหลักฐานสําคัญๆ ที่จะสนับ สนุนอีกหลายอย่างด้วยกันทั้งนั้น สิ่งที่น่าศึกษาวิจัยยิ่งกว่า ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของท้อง ถิน่ แต่ละแห่ง ความสัมพันธ์ทางหนึง่ ทางใดซึง่ แต่ละท้องถิน่ มีต่อกัน และผลกระทบทางวัฒนธรรมนั้นๆ เพราะการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ยังทํากันน้อย แต่ละท้องถิ่นมีข้อมูลไม่เท่า กัน การที่จะโยงความสัมพันธ์ของสถานที่แต่ละแห่งซึ่งมี ระยะทางห่างกันมากอย่างตะวันออกกลาง หรือยุโรปกับ ประเทศไทยในขณะนีน้ น้ั ดูจะไม่สมเหตุสมผลเท่าใดนัก เพราะ เหตุที่การศึกษาเกี่ยวกับประเทศแถบนั้น เริ่มติดต่อกันมา แล้วกว่าร้อยปี ข้อมูลจึงมากกว่าของประเทศไทยซึง่ เพิง่ ตัง้ ต้นเรียนกันเมือ่ ไม่นานมานีเ้ อง ทัง้ สภาพแวดล้อมและปัจจัย อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนก็ต่างกัน
๒. ในประเทศไทย เรือ่ งอดีตของประเทศไทยก่อนสมัยสุโขทัยมีอยูใ่ นตํานาน และพงศาวดารมากเหมือนกัน บางเรื่องกล่าวถึงกําเนิดมนุษย์ กล่าวถึงการเกษตรกรรม และบางเรื่องพูดถึง พัฒนาการสังคมมนุษย์จากป่าสูเ่ มือง แต่ทม่ี าเขียนเป็นประวัติศาสตร์สอนกันตามสถาบันนั้นส่วนมากจับเหตุการณ์แค่ ประเทศไทยเคยเป็นทีอ่ ยูข่ องคนสามเผ่าพันธ์ุ คือ เขมร มอญ และละว้า เท่านั้น เมื่ อ มี ก ารศึ ก ษาวิ ช าโบราณคดี จ ริ ง จั ง แล้ ว จึ ง ได้ ทราบว่า ประเทศไทยเคยเป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยของคนแต่โบราณมา ก่อนคนสามเผ่าพันธ์ุนั้นหลายหมื่นหลายแสนปีมาแล้ว “โบราณคดี” เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องอดีตของมนุษย์ ตั้งแต่ตัวของมนุษย์เอง ไปจนถึงกิจกรรมที่ทําขึ้นตลอดรวม ไปถึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างที่ ๑ ศึกษาตัวมนุษย์เองว่าเป็นใคร อยูอ่ ย่างไร ที่ไหน ฯลฯ อย่างที่ ๒ ศึกษากิจกรรมทุกอย่างทุกชนิดที่นัก โบราณคดีเรียกว่า “วัฒนธรรม” ซึ่งมีความหมายต่างกัน เป็นหลายอย่างตามผู้นิยามและสาขาวิชาการที่กําหนด แต่ ทางโบราณคดีนน้ั วัฒนธรรม หมายถึง “กิจกรรมของมนุษย์ ทุกอย่าง” ไม่ว่าจะเป็นในรูปของ “สิ่งที่เราทําขึ้น” ที่เรียก กันว่า “วัฒนธรรมทางวัตถุ” หรือในรูปของการปฏิบัติ หรือความเชื่อ ซึ่งเป็นนามธรรมที่เรียกกันว่า “วัฒนธรรมแบบนามธรรม”
“วัฒนธรรมทางวัตถุ” นั้น เกี่ยวข้องด้วยเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี “วัฒนธรรมแบบนามธรรม” เป็นเรื่องทางสังคม ความเชื่อ และขนบประเพณี และกิจกรรมเหล่านีเ้ ป็นสิง่ สืบทอดมาจากคนรุน่ หนึง่ ไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งโดยการแนะนําสั่งสอนด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ไม่ใช่การสืบทอดทางกรรมพันธ์ุ อย่างที่ ๓ คือ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งหมด ซึ่ง นอกไปจากที่กล่าวแล้วก็คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ธรรมชาติ และอื่นๆ การศึกษาเรื่องอดีตของมนุษย์ จึงเป็นการศึกษา พฤติกรรมที่เป็นทั้ง “ความเจริญ” หรือ “ความเสื่อม” ของสังคมมนุษย์ในที่ต่างๆ และสมัยต่างๆ กัน
โบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์ ขอบเขตของการศึกษาเรื่องอดีตของมนุษย์ในวิชา โบราณคดีแบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วนใหญ่ๆ ส่วนหนึ่งเป็นการ ศึกษาเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตเมื่อยังไม่มีบันทึกเป็นลาย ลักษณ์อักษร และอีกส่วนหนึ่งเมื่อมีบันทึกแล้ว ส่วนแรก เป็นสาขาวิชาโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ และอย่างหลัง เป็นสาขาวิชาโบราณคดีประวัติศาสตร์ คํา “ก่อนประวัติศาสตร์” แปลมาจาก pre – history ในภาษาอังกฤษ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชา นุภาพทรงบัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกใน “สาส์นสมเด็จ” ในลาย พระหัตถ์ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ซึ่งยังใช้กัน อยู่ทุกวันนี้ ดังได้กล่าวแล้ว แนวความคิดเรื่องมนุษย์สมัยก่อน ประวัติศาสตร์นั้นมีต้นกําเนิดมาจากตะวันตกซึ่งเริ่มสนใจ เรื่องนี้ก่อนหน้าเรานับเป็นพันปี แรกทีเดียวก็พวกกรีกและ โรมันเขียนขึ้นก่อน เป็นบันทึกความทรงจํา หรือประวัติ ศาสตร์เชิงปรัชญา ต่อมาแพร่หลายกว้างขวางออกไปจน กําหนดเป็นวิชาหนึง่ ในยุโรปเมือ่ ราวร้อยกว่าปีมานี้ และจาก นัน้ ก็ปรับปรุงวิธกี ารค้นคว้า กําหนดขอบเขตเนือ้ หา บัญญัติ ศัพท์และพัฒนาตามลําดับขั้นต่อมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใน ประเทศไทยของเรานี้ อย่าว่าแต่เรื่องการศึกษาอย่างมีหลัก เกณฑ์ แม้เพียงแต่หลักฐานว่ามีมนุษย์พวกอื่นอยู่ในดินแดน ทีเ่ ป็นประเทศไทยก่อนพวกเขมร มอญ ละว้า เราก็เพิ่ง เรียนรู้กันเมื่อราว ๕๐ ปีมานี้
ภูมิหลังของคนรุ่นแรกๆ
๖๗
รูป ๙ ภาพแสดงแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย ถ่ายจากดาวเทียม Landsat
กระบวนการสร้ าง “ลักษณะไทย” การคมนาคมทุ ก วั นนี้ ดี ขึ้ นจนทํ า ให้ โลกดู แคบลง ประเทศด้อยพัฒนาหรือกําลังพัฒนาหลายประเทศกําลังเสีย อัตลักษณ์ของตนเองไปเรื่อยๆ บ้างก็เสียทางวัฒนธรรม บ้างก็ทางการเมือง หรือบ้างก็เสียสองอย่างพร้อมๆ กัน ดูเป็นเรื่องน่าตกใจที่เห็นว่าประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมบาง ประเทศจําต้องเสียค่าใช้จา่ ยด้วยเงินค่อนข้างสูง ในการฟืน้ ฟู วัฒนธรรมในอดีตบางอย่างของตน เพราะความที่ได้ละเลย และหลงลืมเป็นเวลานาน ประเทศไทยของเราเองก็ปล่อยให้ อดีตบางอย่างหายไปพร้อมกาลเวลา เช่น เรือ่ งการแต่งตัว ซึง่ ทีจ่ ริงก็เป็นของพืน้ ฐานจนลืมกันไปแล้วว่าในยุคสมัยทีผ่ า่ น มาคนไทยแต่งตัวกันอย่างไร เดีย๋ วนีเ้ รือ่ งพืน้ ๆ อย่างนีไ้ ด้กลาย เป็นหัวข้อวิจัย และวิทยานิพนธ์ของสถาบันการศึกษาชั้นสูง เท่านั้น คนธรรมดาไม่มีทางรู้เลย ในการค้นหาอัตลักษณ์ของประเทศเราจะมองเผินๆ จากสภาพการณ์ ข องสั ง คมสมั ย ใหม่ แต่ อ ย่ า งเดี ย วไม่ ได้ ต้องมองย้อนหลังลึกเข้าไปในอดีตเพื่อจะได้ลําดับความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ในแต่ละยุคสมัยได้ชัดเจน เพราะอัต ลักษณ์ไม่ใช่สิ่งเพิ่งเกิด แต่เป็นเรื่องที่ก่อตัวมาแต่เริ่มแรก ประเทศแต่ละประเทศมีอตั ลักษณ์ของตนเองทัง้ ทางกายภาพ และวัฒนธรรมซึ่งได้กล่าวไว้เป็นเรื่องๆ ตามบทต่างๆ แล้ว อัตลักษณ์ของประเทศไทยจึงหมายถึงความเป็นเมือง ไทยซึ่งแตกต่างกับที่อื่นๆ จนเห็นได้ชัด ในที่นี้จะชี้ให้เห็นข้อ หนึ่งที่เด่นที่สุด คือ การที่คนในประเทศไทยสามารถรับการ ผสมผสานวัฒนธรรมของคนหลายเผ่าพันธ์ใุ ห้เป็นวัฒนธรรม เดียว คือ วัฒนธรรมไทย โดยไม่ได้ทําลายวัฒนธรรมย่อย ในระดับท้องถิ่นเลย ปรากฏการณ์เช่นนี้นับเป็นของแปลก เป็นอัตลักษณ์ ของสังคมไทยโดยเฉพาะ ซึ่งไม่เข้ากับ “ตัวแบบ” ที่นักประวัติศาสตร์และนักมานุษยวิทยาสร้างขึ้นเพื่อศึกษาสังคม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะประเทศในภูมภิ าคนีส้ ว่ นใหญ่ รวมตัวอยูด่ ว้ ยกันด้วยผลทางการเมืองเกือบจะอย่างเดียวไม่ ค่อยยอมผสมผสานวัฒนธรรมต่างๆ เข้าเป็นอันหนึง่ อันเดียว กัน เหตุการณ์อย่างนีม้ ตี วั อย่างอยูใ่ นประเทศมาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จนเกิดเป็นปัญหาสังคมและ การเมือง ซึง่ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศจนทุกวันนี้
๖๘
ภูมิหลัง
บทที่ ๒ โบราณคดีในประเทศไทย สภาพภูมิศาสตร์ของไทย
แนวพรมแดน
ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างรุ้งที่ ๕ ํ ๓๗’ กับ ๒๐ ํ ๒๗’ เหนือ และระหว่างแวงที่ ๙๗ ํ ๒๒’ กับ ๑๐๕ ํ ๓๗’ ตะวันออก โดยประมาณ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพือ่ นบ้าน ๔ ประเทศตามพรมแดนซึ่งยาวประมาณ ๔,๘๓๐ กิโลเมตร
ในส่วนทีเ่ ป็นแผ่นดิน ประเทศไทยติดต่อกับพม่าทาง ทิศเหนือ และทิศตะวันตกในพืน้ ทีข่ องจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง ติดต่อกับประเทศลาวทางทิศเหนือและทิศตะวันออก เฉียงเหนือในพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ เลย หนองคาย นครพนม ยโสธร และอุบลราชธานี ติดต่อกับประเทศมาเลเซียทางทิศใต้ในพื้นที่ของ จังหวัดสตูล สงขลา ยะลา และนราธิวาส ติดต่อกับประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันออกในพืน้ ทีข่ องจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี และตราด
รูปร่าง
ขนาดประเทศและภาคต่างๆ
เพื่อเป็นพื้นฐานให้เข้าใจพัฒนาการทางวัฒนธรรม ของคนโบราณในประเทศไทยในบทต่อๆ ไป ผู้เขียนจะได้สัง เขปความรูภ้ มู ศิ าสตร์ประเทศไทยไว้พอเป็นแนวทางให้ทราบ ถึงความสัมพันธ์ระหว่างภูมิประเทศ ความเป็นอยู่และการ ตั้งถิ่นฐานของคนสมัยต่างๆ เป็นข้อๆ ไป
ที่ตั้ง
คนไทยมองรูปร่างของประเทศตนจากแผนที่เป็น รูปขวานหรือกระบวยตักน้ำ ซึง่ เป็นของใช้ประจําวันของสังคม เกษตรกรรมตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาแล้ว แต่ฝรัง่ เห็นเป็นรูปช้าง ซึ่งมีส่วนที่เป็นหัวตั้งอยู่ทางภาคเหนือและ ภาคกลาง มีงวงยื่นย้อยลงมาทางภาคใต้และทึกทักว่าช้าง สําคัญมากต่อชีวิตของคนไทย ถึงกับใช้ธงช้างเป็นธงชาติ ในสมัยหนึ่ง
ในฐานะประเทศหนึง่ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศไทยตัง้ อยูใ่ นภาคกลางของแผ่นดินใหญ่ของ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามมติรับรองของที่ประชุมวิชา การภาคพืน้ แปซิฟกิ ครัง้ ที่ ๑๑ (พ.ศ.๒๕๑๒) ทีป่ ระชุมครัง้ นัน้ ได้แบ่งเอเชียอาคเนย์ออกเป็น ๒ ภาคใหญ่ๆ คือ ภาคที่เป็น แผ่นดินใหญ่ (Mainland Southeast Asia) และภาคที่เป็น เกาะ (Island Southeast Asia) กําหนดอาณาเขตของภาค แผ่นดินใหญ่ตั้งแต่เส้นขนานที่ ๓๐ ลงมาทางใต้สุดแหลม มลายู ให้จีนใต้ทั้งหมดรวมอัสสัมของอินเดียด้วยเป็นภาค เหนือ (Northern Southeast Asia) ที่เหลือเป็นภาคกลาง (Central Southeast Asia) ซึ่งมีประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย ส่วนภาคที่เป็นเกาะนั้น รวมเอาหมู่เกาะและเกาะทั้งหลายเข้าด้วยกัน มี ไต้หวัน อินโดนีเซีย เรื่อยไปสุดทางตะวันออก จนถึงอีเรียนตะวันตก๑
ประเทศไทยมีเนือ้ ทีท่ เ่ี ป็นแผ่นดินประมาณ ๕๑๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร และผืนน้ำประมาณ ๔๒๘,๐๐๐ ตารางกิโล เมตร แบ่งการปกครองเป็น ๗๖ จังหวัด (รวมกรุงเทพ มหานคร ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองพิเศษ) ใน ๖ ภาค ที่ กำหนดโดยคณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ ตามลักษณะ กายภาพ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดังต่อไปนี้ ภาคเหนือ มี ๙ จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลําพูน ลําปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และพะเยา ทางตะวัน ตกของภูมิภาคนี้มีภูเขาและหุบเขามาก ระบบภูเขาแม่น้ำ ในภาคนี้โดยทั่วไปทําแนวเหนือ – ใต้ ทางน้ำและลําธาร ส่วนหนึ่ง (แม่อิง กก ฝาง และจัน) ไหลขึ้นเหนือลงสู่แม่น้ำ โขง ที่ไหลลงใต้มีสายสําคัญ ๔ สาย (ปิง วัง ยม น่าน) ส่วนทางตะวันออกมีหุบเขา และลุ่มน้ำที่ใหญ่และสําคัญ เช่น ที่ราบลุ่มเชียงใหม่ เชียงราย ลําปาง แพร่ และน่าน ในบริเวณแอ่งแผ่นดินเหล่านี้มีที่ราบขั้นบันไดหลายแห่ง ที่ ราบขั้นบันไดระดับสูงมักผุพังมาก ส่วนที่ราบลุ่มน้ำสมัย หลังๆ มีพื้นที่แคบ ไม่กว้างเหมือนที่อยู่ในแอ่งแผ่นดินเชียง ใหม่และเชียงราย เขาที่สําคัญคือ ทิวเขาผีปันน้ำซึ่งกั้นเขตแดนด้าน หนึง่ ของเชียงใหม่และเชียงราย เป็นเทือกเขาทีป่ ระกอบด้วย หินแกรนิตในยุคไทรแอสซิก (Triassic) ซึง่ อาจเป็นแหล่งแร่
๑ Howell, W. The Pacific Islanders,
Charles Scribner’s Sons, New York, 1973 : XIII.
โบราณคดีในประเทศไทย
๖๙
ดีบุกที่สําคัญแห่งหนึ่งสําหรับงานโลหกรรมของชุมชนที่ทํา สําริดในประเทศไทย เพราะดีบุกนั้นจะเกิดอยู่กับหินแกรนิต เท่านั้น อนึ่ง แหล่งแกรนิตในยุคเดียวกันนี้กระจายตัวอยู่ ทางตะวันตกของภาคนี้กว่า ๑๐ แหล่ง ส่วนแหล่งใหญ่นั้น เป็นของยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) ซึง่ เก่ากว่า วางตัวเป็นแนวยาวไปถึงภาคใต้๒ เทือกเขาหินปูนซึ่งมีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัยของคนสมัย ก่อนเกษตรกรรมได้มีหลายเทือก แต่ที่ใหญ่และสูงชันมี ๓ เทือก ส่วนทางลําปางและแพร่มีร่องรอยของที่ราบสูงของ ภูเขาไฟ และมีชั้นบะซอลต์ซึ่งไม่ลึกนัก ในชั้นใต้บะซอลต์ ของทัง้ สองจังหวัดนีไ้ ด้พบเครือ่ งมือหินกรวด ซึง่ อาจมีอายุ ถึง ๑ ล้านปีก็ได้ ภาคกลาง มี ๒๒ จังหวัด คือ สุโขทัย พิษณุโลก กําแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง สระบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และนครนายก พืน้ ทีข่ องภาคนีเ้ ป็นทีร่ าบลุม่ น้ำเกือบทัง้ หมด มีเขาสูง ต่ำกั้นอยู่ทางทิศตะวันออก เหนือและตะวันตก ส่วนทาง ทิศใต้นั้นติดกับอ่าวไทย เป็นที่ตั้งของชุมชนใหญ่ซึ่งใช้พื้นที่ ราบลุ่มทําการเพาะปลูกมาแต่สมัยโบราณ แต่ไม่มีร่องรอย ของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์รุ่นแรกๆ อย่างเก่าที่สุด ถึงเพียงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ช่วงหลังๆ เท่านั้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี ๑๙ จังหวัด คือ หนองคาย เลย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม สกลนคร กาฬสินธ์ุ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร ชัยภูมิ ยโสธร อำนาจ เจริญ อุบลราชธานี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และ นครราชสีมา ภาคนี้เป็นที่ราบสูง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ที่ ราบสูงโคราช” ยกตัวขึ้นทางด้านตะวันตกและด้านใต้ของ ภาคครั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกตั้งแต่มหายุค พาลีโอโซอิก (Paleozoic) มีเทือกเขาเพชรบูรณ์ และดง พญาเย็นกั้นทางทิศตะวันตก สันกําแพง และดงรักกั้นทางทิศ ใต้ ส่วนทางทิศเหนือและตะวันออกมีแม่น้ำโขงไหลผ่านเป็น เส้นกั้นเขตกับลาวและกัมพูชา บริเวณทีร่ าบริมฝัง่ แม่นำ้ โขงและเทือกเขาหินปูนบาง แห่ง มีหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์รุ่นแรกๆ มากเช่น ที่พบที่ อำเภอเชียงคาน และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ภาคนี้มีที่ราบขั้นบันไดหลายระดับ ทางภาคเหนือ ของที่ราบสูงแห่งนี้ หรือที่เรียกว่า “แอ่งสกลนคร” มีที่ ราบขั้นบันไดระดับกลาง ส่วนบริเวณพื้นที่รับน้ำของแม่น้ำ มูลมีทร่ี าบขัน้ บันไดระดับต่ำ เป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยหนาแน่นของชุมชน
๗๐
ภูมิหลัง
โบราณแค่ราว ๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว และทีร่ าบขัน้ บันไดระดับ สูงพบในที่หลายแห่งในภาคนี้ในบริเวณลุ่มแม่น้ำมูลและแม่ น้ำชี ส่วนที่เป็นบริเวณใหญ่ที่สุดอยู่ใต้โคราชลงมา ทีน่ า่ สนใจคือแหล่งแกรนิตซึง่ มีอยูป่ ระมาณ ๑๐ กว่า แห่ง แหล่งที่ใหญ่และใกล้กับบ้านเชียงและแหล่งโบราณคดี ที่เกี่ยวข้อง คือ แหล่งที่อําเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ซึ่ง มีแนวต่อลงมาถึงอําเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ผนวกกับ แหล่งทองแดงซึง่ มีอยูก่ ระจัดกระจายในภาคนี้ จากเหนือลง ใต้ ตัง้ แต่จงั หวัดเลยถึงจังหวัดนครราชสีมา ทัง้ ทองแดงและ ดีบกุ เป็นวัตถุดบิ สําคัญในอุตสาหกรรมการทําเครือ่ งสําริดซึง่ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ภาคตะวันออก มี ๗ จังหวัด คือ ปราจีนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด ภูมิประเทศเป็นเขาทางตะวันออก ทําแนวตะวันตก เฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกั้นเขตแดนระหว่าง ประเทศไทยกับกัมพูชาด้านหนึ่ง ทางตะวันออกของตอน กลางมีที่สูงสลับกันไป รอบๆ ที่สูงเหล่านี้เป็นที่ราบขั้น บันไดยุคควอเทอร์นารี (Quaternary) ซึ่งเกิดจากการ กระทําของน้ำทะเลทางตะวันตกและใต้ของเขตนี้ ในถ้ำเขาหินปูนหลายแห่งและหาดทรายเก่าในภาค นี้มีหลักฐานของสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายแห่ง เราเคย พบเครื่องมือแบบฮัวบิเนียน ขวานหินขัด ในจังหวัดชลบุรี และจันทบุรี ภาคตะวันตก มี ๕ จังหวัด คือ ตาก กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขาและเทือกเขาสูง ต่อ จากเทือกเขาที่อยู่ในภาคเหนือเป็นแนวยาวลงมาทางใต้ทาง ตะวันตกสุดของเทือกเขานี้ มีเทือกเขาตะนาวศรี ส่วนทาง ตะวันออกของเทือกเขามีเขาหินปูนมากในบริเวณรับน้ำของ แม่น้ำแม่กลอง ภาคนี้ไม่มีที่ราบระหว่างหุบเขาเหมือนภาค เหนือ ที่ราบลุ่มน้ำมีขนาดแคบ หลักฐานการตัง้ ถิน่ ฐานของคนสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกและต่อมา พบในถ้ำเทือกเขาหินปูนและ ที่ราบขั้นบันไดและที่ราบลุ่มน้ำของแควน้อย และแควใหญ่ ส่วนในบริเวณทีร่ าบลุม่ น้ำแม่กลองซึง่ เป็นตะกอนของน้ำเค็ม นั้น มีชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์บ้าง อายุคงไม่เกิน ๓,๐๐๐ ปี
๑๐
๒ สําหรับข้อมูลทางธรณีวิทยา โดยทั่วไป ใช้ข้อมูลจากแผนที่ธรณีวิทยา 1969 – 1970 และคําอธิบายจาก Geology of Thailand, 1969, Department of Mineral Resources และ The Soils of the Kingdom of Thailand : An Explanatory Text of the General Soil Map, 1972.
ของ F.R.
Moormann and S. Rojanasoonthorn. Department of Land Development and Food and Agricultural
Organization of the United Nations. Soil Survey Division. Bangkok.
ภาคใต้ มี ๑๔ จังหวัด คือ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ภาคนี้มีผืนดินแคบ มีทะเลขนาบอยู่ ๒ ด้าน ทาง ด้านตะวันออกคือทะเลอ่าวไทย และทางด้านตะวันตก คือทะเลอันดามัน บนแผ่นดินมีเทือกเขาและเขาสลับซับซ้อน เทือกที่สําคัญคือเทือกเขาภูเก็ต ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของ แหลมนี้ และตอนกลางลงไปทางตะวันออกเป็นเทือกเขา นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็น “สันหลัง” ของแหลมนี้ เป็นสัน ยาวเข้าไปถึงมาเลเซีย ถ้ำต่างๆ ของเขาหินปูนในเขตจังหวัดชุมพร กระบี่ นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี มีหลักฐานสมัยก่อน ประวัติศาสตร์มาก ส่วนมากเป็นขวานหินขัด และเศษ ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ สมัยที่เก่ากว่านี้เป็นเครื่องมือ หินกะเทาะที่เคยพบแล้วในถ้ำในเขตจังหวัดกระบี่ ส่วนสมัย ประวัตศิ าสตร์นน้ั ภาคนีเ้ ป็นศูนย์กลางการค้าขายภายในและ กับต่างประเทศที่สําคัญ มีเมืองโบราณหลายแห่งตั้งอยู่บน สันทราย
ภูมิอากาศ
รูป ๑๐ แผนที่ประเทศไทยแสดงการแบ่งภาค ตามสภาพภูมิศาสตร์
๓ กระทรวงมหาดไทย ประกาศ “เรื่อง จํานวนราษฎรรายจังหวัดตามหลักฐาน การทะเบียนราษฎร” เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ให้ตัวเลขจํานวน ประชากรทั้งประเทศเป็น ๔๖,๙๖๑,๓๓๘ คน และตามหลักฐาน การทะเบียนราษฎร เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ให้ตัวเลขจำนวน ประชากรทั้งประเทศเป็น ๖๒,๘๒๘,๗๐๖ คน
สภาพภูมิอากาศของที่หนึ่งที่ใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายอย่าง เป็นต้นว่าตั้งอยู่บริเวณรุ้งไหน ความสูงของ บริเวณนั้นๆ และอยู่ใกล้หรือไกลจากแหล่งน้ำใหญ่ เช่น ทะเล มหาสมุทร บึงหรือทะเลทราย ภูเขาและป่าไม้ ฯลฯ ประเทศไทยตั้งอยู่เหนือศูนย์สูตรเล็กน้อยจึงได้รับ ปริมาณความร้อนจากดวงอาทิตย์ตลอดปี นับเป็นภูมิภาค มีอากาศร้อนของบริเวณซีกโลกเหนือภูมภิ าคหนึง่ ทางเหนือ ของประเทศเป็นแผ่นดินใหญ่ แต่ทางใต้และตะวันออกเฉียง ใต้ติดกับมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก จึงทําให้มีอากาศ ต่างกัน ประเทศไทยถูกมรสุม ๒ ช่วงในฤดูหนาวและฤดู ฝน ช่วงเวลาคั่นระหว่างมรสุมทั้งสองเป็นระยะที่มีลมแปร ปรวนอยู่บ้าง กล่าวคือ เดี๋ยวก็พัดจากพื้นน้ำสู่พื้นดิน และ เดี๋ยวก็พัดจากพื้นดินสู่พื้นน้ำ การจัดประเภทอากาศเป็นแบบต่างๆ นั้น ประเทศ ไทยถือตามเกณฑ์การแบ่งของ ดร.วลาดิเมียร์ เคอปเปน (Vladimir Koppen) แห่งมหาวิทยาลัยกราซ (Graz) ประเทศออสเตรีย ซึง่ จําแนกประเภทอากาศจากปัจจัยหลาย อย่าง เช่น อุณหภูมิ ปริมาณฝน ทีส่ อดคล้องกับการกระจาย ของพืชและดินที่รู้ประเภทแล้ว ตามหลักนี้ ภูมิอากาศของประเทศไทยโดยทั่วไปจึง อยู่ในแบบที่เรียกว่า “ทุ่งหญ้าเมืองร้อน” (Tropical Savannah Climate) เขียนสั้นๆ เป็นรหัสว่า Aw มีอุณหภูมิ เฉลี่ยสูงกว่า ๑๘ ํ เซลเซียส ฤดูหนาวที่หนาวจริงๆ นั้นไม่มี แต่มีฝนเฉลี่ยในรอบปีในปริมาณสูงและเกินกว่าอัตราการระเหย
แต่บางภาคมีอากาศแตกต่างไปจากนี้ เช่น ชายฝั่ง ทะเลภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึง่ จัดอยูใ่ นประเภท “มรสุมเมืองร้อน” (Tropical Monsoon Climate) หรือ Am มีฝนตกเกือบตลอดปี ทางเหนือสุดของบริเวณที่เป็นเขาในภาคเหนือจัด เป็นแบบ “กึ่งร้อนชื้น” (Humid Subtropical Climate) หรือ Cw ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า ๑๘ ํ เซลเซียส แต่สูงกว่า ลบ ๓ ํ เซลเซียสในเดือนที่หนาว เป็นแถบอบอุ่นที่มีฝน และมีฤดูหนาวที่แห้ง อย่างไรก็ดี พอกล่าวได้ว่าเมืองไทยมีภูมิอากาศแบบ มรสุม และโดยทั่วไปแล้วมี ๓ ฤดูกาล คือ ๑. ฤดูหนาว เริ่มจากเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงสิ้น เดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ๒. ฤดูร้อน จากเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม มีลม ร้อนและลมแปรปรวน ๓. ฤดูฝน จากเดือนพฤษภาคมไปจนสิ้นตุลาคมใน ช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนทางฝั่งทะเลภาคใต้และ ตะวันออกเฉียงใต้มีฝนไปจนตลอดเดือนธันวาคม เพราะเหตุที่ประเทศไทยอยู่ในเขตเมืองร้อน สภาพ แวดล้อมจึงเป็นศัตรูโดยธรรมชาติของการอนุรักษ์โบราณ วัตถุบางประเภท ทั้งฝนที่ตกหนัก ดินเป็นกรด อากาศร้อน พืช แมลง และการผุพังในอัตราที่สูง รวมตัวกันทําลาย เกือบทุกสิ่งทุกอย่างที่คนโบราณเหลือทิ้งไว้ให้ศึกษา ประวัติ ศาสตร์ของมนุษยชาติในประเทศไทยบางตอนจึงหายไปตาม กาลเวลาที่ผ่านไป ถ้าไม่ช่วยกันศึกษา อีกไม่นานจะไม่มี อะไรเหลือแล้ว เพราะไม่เพียงแต่ธรรมชาติเท่านั้นที่เป็นตัว การทําลายตัวสําคัญ หากคนอย่างเราๆ ก็ทาํ ลายล้างกัน เป็นการใหญ่ด้วย
ประชากร จํานวนประชากรทีส่ าํ รวจใน พ.ศ. ๒๔๙๓ มี ๑๘,๗๐๐,๐๐๐ คน เทียบกับสํามะโนประชากร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งมีถึง ๔๕,๒๒๑,๖๒๕ คน๓ แสดงอัตราเพิ่มของประชากรใน ๒๐ ปีถึงร้อยละ ๒๔๐ ความหนาแน่นของประชากรเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เท่ากับ ๓๖ คนต่อตารางกิโลเมตรแล้วเพิ่มเป็น ๘๘ คนในปัจจุบนั เฉพาะในกรุงเทพมหานครแห่งเดียวมีถงึ ๓,๐๓๐ คนต่อตารางกิโลเมตรและตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ มีจำนวนประชากร ๖๒,๘๒๘,๗๐๖ คน เทียบกับสำมะโนประชากร พ.ศ. ๒๕๔๓ กรุงเทพมหานครมีความหนาแน่นของประชากรสูงที่สุดคือ ๔,๐๒๘.๙ คนต่อพื้นที่ ๑ ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วน ใหญ่อยู่ตามชนบท แต่อัตราการย้ายเข้าเมืองมีแนวโน้มสูง ขึน้ เรือ่ ยๆ อย่างไรก็ดี ส่วนหนึง่ นัน้ เข้าเมืองหางานทำชัว่ คราว แต่อีกส่วนหนึ่งนั้นหางานถาวรทำในเมืองซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงงานรับจ้างมากกว่าชนบท
โบราณคดีในประเทศไทย
๗๑
รูปเต็มหน้า
๗๒
ภูมิหลัง
๑๑
ลักษณะภูมิประเทศกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ รูป ๑๑ แผนที่ประเทศไทยแสดงระดับของพื้นที่
แม้วา่ วัฒนธรรมจะเป็นตัวกําหนดแนวทางพฤติกรรม ของชุมชนมากกว่าที่จะเป็นสิ่งแวดล้อมดังที่เคยเชื่อกันมา แต่สิ่งแวดล้อมก็เป็นปัจจัยสําคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนา ทางวัฒนธรรม เพราะสิ่งแวดล้อมมีส่วนจํากัดวิถีชีวิตใน เรื่องถิ่นที่อาศัยและอาชีพของคน ตัวอย่างเช่น ทางตะวันตกของภาคใต้นั้นมีที่ทํากินทางเกษตรน้อยกว่าทางตะวันออก จํานวนเกษตรกรทางตะวันออกจึงมีมากกว่าทางตะวันตก หรือคนที่อยู่ในภูมิภาคเป็นที่ดอน อยู่ห่างจากแม่น้ำ หรือทะเล จะยึดอาชีพประมงเป็นล่ำเป็นสันนั้นย่อมทําไม่ได้ นอกจากจะเปลี่ยนถิ่นที่ทํากินไปอยู่ทางชายฝั่งทะเลหรือแม่ น้ำใหญ่ ดังนี้เป็นต้น ลั ก ษณะภู มิ ป ระเทศจึ ง เป็ นตั ว ประกอบสํ า คั ญ ใน การตั้งถิ่นฐานทํากินของคนอย่างหนึ่ง และมีส่วนทําให้ภูมิ
อากาศแตกต่างกันออกไป ส่งผลกระทบไปถึงการใช้ที่ดิน ทํากิน โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ เริม่ สังคมเกษตรกรรมประมาณ ๑๐,๐๐๐ – ๑๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ธรณีสัณฐานดูจะไม่เป็นปัญหาใหญ่ของการตั้งหลัก แหล่งทํากินของมนุษย์สมัยก่อนหน้านี้เท่าใดนัก ป่า เขา ถ้ำ ที่ราบใกล้ลําธารเล็กๆ หรือชายทะเล ดูจะให้ปัจจัยดํารง ชีวิตพอเพียงสําหรับในสังคมล่าสัตว์และเก็บพืชพันธ์ุป่า แล้วมนุษย์สมัยนี้โยกย้ายที่ทํากินไปเรื่อยๆ เพราะปัญหา เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งที่อยู่อาศัยนั้น อยู่ที่ความปลอดภัยประการหนึ่ง และความอุดมสมบูรณ์ ของทรัพยากรธรรมชาติอีกประการหนึ่งเท่านั้น
รูป ๑๒ ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเพิงผา บนที่ราบสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ในสมัยโบราณ
๑๒
โบราณคดีในประเทศไทย
๗๓
๑๓
๗๔
ภูมิหลัง
๑๔
๑๕
๑๖
ต่อเมื่อเริ่มสมัยสังคมเกษตรกรรมแล้วมนุษย์จึงมา อยู่หนาแน่นในที่ราบและที่ราบลุ่มน้ำใหญ่ ซึ่งมีดินอุดมสม บูรณ์กว่าและมีทางน้ำช่วยการคมนาคมอีกด้วย ประเทศไทยไม่มีที่ราบขนาดใหญ่ มีแต่ที่ราบน้ำท่วม หลายแห่งที่เป็นที่ตั้งของชุมชนหนาแน่น ซึ่งมองเห็นได้ชัด เจนจากแผนทีแ่ สดงลักษณะภูมปิ ระเทศกับจํานวนประชากร เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีภูเขาที่ปกคลุมด้วยป่าไม้ มาก หลายเทือกเป็นเขาที่ต่อมาจากทิเบตซึ่งเป็นที่ตั้งของ เทือกเขาสูงๆ กระจายออกไปเป็นรูปพัดไปทางทะเล หลาย เทือกเป็นเขามีแนวต่อไปเข้าพม่า เทือกหนึ่งเป็นเสมือนสัน หลังของแหลมมลายู และเทือกเขาอันนัมซึ่งกระจายตัว เกือบตลอดบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันออกของ ลาว เวียดนามและเขมร ในบริเวณที่เป็นเขาภายในนั้น มีสันเขาชัน มีโกรก ธารลึก ซึ่งเข้าไปถึงได้ทางใต้ตามชายฝั่งทะเลเท่านั้น มีแม่ น้ำและลําธารหลายสายนําตะกอนมาทับถมสร้างเป็นดิน ดอนสามเหลี่ยม มีแม่น้ำสายสําคัญๆ ๖ สายที่เอื้ออํานวยต่อการ คมนาคมและการตั้งถิ่นฐานของคนในสังคมเกษตรกรรมที่ พึ่งน้ำทําการเพาะปลูกคือ แม่น้ำอิรวดี (๒,๐๐๐ กิโลเมตร) และ สาละวิน (๒,๕๐๐ กิโลเมตร) ในพม่า แม่น้ำโขง (๔,๕๐๐ กิโลเมตร) ซึ่งไหลผ่าน จีน ลาว ไทย เขมร และเวียดนาม แม่น้ำเจ้าพระยา (๓๖๕ กิโลเมตร) ของไทย แม่น้ำแดง (๘๐๐ กิโลเมตร) ในเวียดนาม และแม่น้ำแยงซี (๕,๑๕๓ กิโลเมตร) ในจีน ซึ่งมีประชาชนตั้งบ้านเรือนอยู่ หนาแน่นในปัจจุบัน๔
รูป ๑๓ บริเวณที่ราบริมฝั่งน้ำ
รูป ๑๕ บริเวณป่าเขาบนพื้นราบ
พืชพันธ์ุสะท้อนให้เห็นแบบของฤดูกาลที่มีฝนและ ความแห้งแล้งสลับกัน ป่าไม้อยู่ในบริเวณที่รับน้ำมาก และ ต่อมาถูกแทนที่โดยป่าไม้พงหนาม ซึ่งเป็นผลจากการทํา ลายของมนุษย์มากกว่าจะเกิดจากภัยธรรมชาติ ป่าไม้ถูก ทําลายลงไปมากเพราะการขยายพืน้ ทีท่ าํ การเกษตรและการ ลักลอบตัดไม้เพื่อทําวัสดุก่อสร้างและเชื้อเพลิง ประเทศไทยเองมีปญ ั หาเรือ่ งการอนุรกั ษ์ปา่ ไม้๕ สถิติ ในรอบ ๑๔ ปี (จาก พ.ศ. ๒๕๐๓ – ๒๕๑๗) แสดงพื้นที่ที่ เป็นป่าจากร้อยละ ๖๐ เหลือเพียงร้อยละ ๓๗ ป่าทุกประเภท มีเนื้อที่น้อยลงมาก รวมถึงป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งที่มีสัตว์ น้ำอุดมสมบูรณ์ประเภทหนึ่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือดูจะเป็นภาคที่ได้รับผล กระทบจากการทําลายป่ามากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ท้องที่ทําการเกษตรแบบต้องพึ่งน้ำ เพราะดินไม่สู้ดีอยู่แล้ว ด้วยมีตน้ กําเนิดมาจากวัสดุประเภทหินทรายทีผ่ พุ งั และวิธี การทํานาที่ทําแปลงกระจัดกระจายกันไปเป็นหย่อมๆ ไม่อยู่ ติดกันเป็นแปลงใหญ่ๆ การปรับปรุงพื้นที่ทําการเพาะปลูก จึงทําได้ยากและต้องลงทุนสูง หลักฐานการทําลายป่าในภูมภิ าคต่างๆ ของประเทศ ไทยนั้นมีมาแล้วแต่อดีต คือตั้งแต่เริ่มสังคมเกษตรเป็นต้น มา เพราะต้องถางป่าทําแปลงไร่นา ก่อสร้างบ้านเรือน และทําเป็นเชื้อเพลิง สังคมลักษณะนี้ต้องการพื้นที่ทํากิน มากเนื่องมาจากประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงต้องโยกย้ายถิ่น ฐานไปอยู่ที่อื่นแล้วถางป่าเป็นไร่นาต่อไป
รูป ๑๔ บริเวณที่ราบระหว่างหุบเขา
รูป ๑๖ ถ้ำบนเขาที่น้ำล้อมรอบ
๔ Donner, Wolf. Five Faces of Thailand: An
Economic Geography. A Publication of the Institute of Asian Affairs, Hamburg. University of Queensland Press. 1978 : 2,4,6-7.
๕ อํานวย คอวนิช “ป่าไม้เมืองไทยกับสภาวะแวดล้อม” รายงาน การสัมมนาภูมิศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ ๑ (ณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมือ่ วันที่ ๒๑ – ๒๗ ธันวาคมพ.ศ.๒๕๑๘). คณะกรรมการภูมิศาสตร์แห่งชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ โรงพิมพ์ กรมแผนที่ทหาร : ๒๕๑ – ๒๖๔.
โบราณคดีในประเทศไทย
๗๕
รูป ๑๗ ภาพเขียนสีที่ผนังถ้ำเกาะเขียน จังหวัดพังงา ซึ่งลูเนต์ เดอ ลาจงกิเยร์ สํารวจพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒
การสํารวจทางโบราณคดีในประเทศไทย เอกสารที่ บั นทึ ก หลั ก ฐานก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ ใน ประเทศไทยชิ้นแรกเท่าที่สืบหาได้ในขณะนี้คือ “ความเรียง เรื่องโบราณคดีของสยาม” โดย ลูเนต์ เดอ ลาจงกิเยร์ (Lunet de Lajonquiere)๖ พิมพ์ที่ปารีส ใน พ.ศ.๒๔๕๕ มี เรื่องภาพเขียนสีที่เกาะเขียนและเขาแหลมในจังหวัดกระบี่ และพังงา ต่อมาเป็นบันทึกของ คาร์ (A.F.G. Kerr)๗ เรื่องภาพเขียนผนังถ้ำ ที่ถ้ำผามือแดง บ้านส้มป่อย ตําบล สีบุญเรือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดมุกดาหาร พิมพ์ใน พ.ศ. ๒๔๖๗ ฟริทซ์ แซระซิน (Fritz Sarasin)๘ อ้างเอฟเวินส์ (I.H.N. Evans)๙ พบขวานหินขัดในภาคใต้ ในปีเดียวกันนั้น ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๗๑ ดร. เดวิดสัน แบล็ค (Davidson Black)๑๐ ศาสตราจารย์วิชากายวิภาค ศาสตร์ ชาวแคนาดา ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ปักกิ่ง เดินทางเข้ามาหาหลักฐานเรือ่ งคนก่อนประวัตศิ าสตร์ในประเทศไทยด้วยความเชื่อว่ามนุษย์พวกแรกๆ อาจอพยพจาก ใต้ตั้งแต่ประเทศไทยไปถึงเมืองจีน แต่ไม่พบหลักฐานอะไร ดร.แบล็ค จึงเดินทางกลับ
๖ Lunet de Lajonquiere, E.E. “Essai d’Inventaire Archeologique du Siam.” Bulletin Archeo logique de l’Indochina. Paris. 1912 : 2-181. ๗ Kerr, A.F.G. “Notes on Some Rock Paintings in Eastern Siam”. Journal of the Siam Society. Vol. 18, pt. 2. 1924 : 144-146 ๘ Fritz Sarasin ไม่เกี่ยวข้องกับ ตระกูล “สารสิน” แต่อย่างใด ๙ Evans, I.H.N. “An Ethnological Expedition to South Siam”. Journal of the Federated Malay States Museums. Vol. 12, pt. 2. 1926
๗๖
ภูมิหลัง
พ.ศ. ๒๔๗๓ คาร์และไซเดนฟาเดน (Erik Seidenfaden) เขียนเรื่องเครื่องมือหินและเศษภาชนะดินเผาที่พบ ที่บริษัทท่าเรือพิน จํากัด ตําบลบ้านนา อําเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงในหนังสือของกระทรวงพาณิชย์ และคมนาคม เอฟเวินส์เขียนเล่าเรื่องไซเดนฟาเดน ซึ่งรักษาการ ตําแหน่งนายกของสยามสมาคมในขณะนั้น ส่งเครื่องมือ สมัยหินใหม่จํานวนหนึ่งไปให้สํารวจ ว่าเป็นของที่ได้ใน เหมืองดีบุก ที่บ้านนา จังหวัดสุราษฎร์ธานี๑๑ และเครื่อง ดินเผา พบในถ้ำใกล้หมู่บ้านเบื้องแบบ ท่าขนอน (อําเภอคีรีรัฐนิคมในปัจจุบัน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ ซึง่ เอฟเวินส์ ว่าเป็นภาชนะลายเชือกทาบ และมีชน้ิ หนึง่ แปลก เป็นดินเผา รูปคล้ายเขาวัว๑๒ คาร์และไซเดนฟาเดน๑๓ ว่าได้พบขวานหินขัดแบบ ทีพ่ บในสุราษฎร์ธานีในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ แต่ยังไม่เคยพบที่ภาคกลางเลย แซระซิน๑๔ ว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร สมั ย นั้ นจั ด แสดงขวานหิ นขั ด ที่ ได้ ม าจากหลวงพระบาง
๑๐ Moore, R. Man, Time and Fossils. London 1962 : 240. ๑๑ Evans, I.H.N. “Stone Objects from Surat, Peninsular Siam.” Journal of the Siam Society. XXIV, pt. 2. 1931 : 203-205. ๑๒ Evans, I.H.N. “On Some Pottery Objects from Surat”. Journal of the Siam Society, XXIV, pt. 2. 1931 : 207-209. ๑๓ Kerr, A.F.G. and E. Seidenfaden. Siam, Nature and Industry. Bangkok 1930 : 80. ๑๔ Sarasin, F. อ้างแล้ว
รูป ๑๘ ขวานหินขัด พบที่เหมืองดีบุก บ้านนา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รูป ๑๙ เครื่องมือปั้นดินรูปคล้ายเขาวัวที่พบในถ้ำ ใกล้หมู่บ้านเบื้องแบบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓
๑๗
เพชรบุรี และบางแห่งในภาคใต้ (ไม่บอกชื่อสถานที่) แต่มี ของน้อย สู้ของที่บ้านไซเดนฟาเดนไม่ได้ ทั้งหมดที่เห็นมี ขวานหินมีบ่าอยู่เพียง ๓ ชิ้นเท่านั้น เข้ากับทฤษฎีของไฮนี เกลเดอร์นพอดีที่ว่า ขวานหินแบบนี้เกิดขึ้นทางภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือของภูมิภาคเหนือต่อมาถึงค่อยลงใต้ ฉะนั้น จึงมีมากทางเหนือ ในอินโดจีนก็พบเป็นจํานวนพัน แต่ภาค ใต้ของไทยมีน้อย จาก พ.ศ. ๒๔๖๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ โบราณวัตถุ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในประเทศไทยคือ เครื่องมือ หินขัดและเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเก่าที่สุดเพียงสมัยหินใหม่ เท่านั้นเอง คาร์ และไซเดนฟาเดน กล่าวว่า ยังไม่เคยพบ เครื่องมือเครื่องใช้ของคนสมัยหินเก่าในพื้นที่ท่ีเป็นประเทศ ไทยเลย แต่ก็คิดว่าคงมีอยู่ตามถ้ำในเทือกเขาหินปูนในภาค ตะวันตกและภาคเหนือของประเทศ ซึ่งต้องมีการสํารวจ กันอย่างจริงจังเสียก่อน
๑๘
การขุดค้นของฟริทซ์ แซระซิน
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ ศาสตราจารย์ฟริทซ์ แซระซิน ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อสํารวจและขุดตรวจ ร่อยรอยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แซระซินให้ ความสนใจไปที่ถ้ำ เพราะเห็นว่าในประเทศไทยมีเทือกเขา มาก สูงต่ำต่อเนื่องกันเป็นจังหวะ เป็นแนวจากใต้ตั้งแต่ แหลมมลายูไปจนถึงเชียงราย แซระซินเริ่มงานแห่งแรกที่บ้านจอมทอง ซึ่งห่าง จากตัวเมืองเชียงใหม่ราว ๕๘ กิโลเมตร ที่ถ้ำแห่งหนึ่งบน ฝัง่ แม่นำ้ ปิง ห่างจากบ้านจอมทองไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ราว ๘-๙ กิโลเมตร แซระซินอ้างว่าพบขวานมือ (coup-depoing) เล่มเล็กหนึ่งเล่มบนฝั่งน้ำใกล้เชิงเขา ต่อจากนั้น จึงไปจังหวัดเชียงราย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณฝั่งขวาของแม่กก ซึ่งเป็นแควหนึง่ ของแม่นำ้ โขง และมีเขาสูงเป็นตอนๆ ทาง ตะวันตก แซระซินไปที่เขาลูกหนึ่งชื่อ ดอยถ้ำพระ ห่างจาก ตัวเมืองไปทางตะวันตกประมาณ ๔ - ๕ กิโลเมตร แต่อยู่
๑๙
โบราณคดีในประเทศไทย
๗๗
คนละฝั่ง คืออยู่ฝั่งซ้ายของแม่กก เขาลูกนี้มีถ้ำและเพิงผา อยู่หลายแห่ง ลองขุดดูในเพิงผาแห่งหนึ่งแต่ไม่พบร่องรอย จึงย้ายไปขุดในถ้ำพระซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันนั้น (ในภูเขาลูกเดียว กัน) ถ้ำพระเป็นถ้ำแฝดขนาดใหญ่ถำ้ หนึง่ และเล็กอีกถ้ำหนึง่ แซระซินเลือกขุดในถ้ำเล็ก และรายงานว่า ได้ผลดีมาก โดย เฉพาะหลุมที่ ๑ พบเศษภาชนะดินเผาสองแบบ คือแบบ ที่ไม่มีลายและแบบมีลายเชือกทาบ (ในสมัยนั้นเชื่อว่าเป็น ของสมัยหินใหม่) ก้อนดินเทศสีแดง เครื่องมือสมัยหินเก่า และกระดูกสัตว์ ส่วนหลุมที่ ๒ ไม่ได้ผล แต่แซระซินก็ พอใจการขุดตรวจครั้งนี้มาก เพราะพอจะสรุปได้แล้วว่าใน ประเทศไทยเคยเป็นที่อยู่อาศัยของคนสมัยหินเก่าเช่นเดียว กับประเทศที่เก่าแก่หลายประเทศแล้วเหมือนกัน แซระซินเดินทางต่อไปถึงจังหวัดราชบุรี ไปสํารวจ ที่เขาถ้ำ พบหินควอร์ตไซต์ก้อนหนึ่งอยู่ในมุมถ้ำก็ได้ใช้ค้อน ขุดขึ้นมาดู และเชื่อว่าเป็นเครื่องมือหินเพราะมีรอยถูกใช้ แล้วจากนั้นไปถ้ำฤาษี (ไม่ได้ขุด) และถ้ำฝาโถ ขุดตรวจดู เล็กน้อยไม่ได้ผลก็เลิก ไปขุดในเพิงผาต่อไปซึ่งอยู่ใกล้กันนั้น
พบเศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบและไม่มีลายใต้ฐานอิฐ และต่ำกว่านั้นพบก้อนดินเทศสีแดง – เหลือง เครื่องมือ สมัยหินเก่า กระดูกสัตว์ เปลือกหอยทะเลหลายชิ้น และ หอยบกเป็นจํานวนมาก ส่วนทีจ่ งั หวัดลพบุรแี ซระซินไปทีเ่ ขา สนามแจง ห่างจากอำเภอบ้านหมี่ไปทางตะวันตกราว ๑ กิโลเมตร แซระซินขุดที่ถ้ำกระดํา พบเครื่องมือสมัยหิน เก่าจํานวนหนึ่ง ทําด้วยหินไรโอไลต์ กรีนสโตน และกระดูกสัตว์ ซึ่งมีอยู่เป็นจํานวนน้อย ส่วนเศษภาชนะดินเผา พบอยู่ชั้นบนๆ ของเครื่องมือหิน แซระซินตัง้ ชือ่ ชุดเครือ่ งมือแบบสมัยหินเก่าเป็นภาษา อังกฤษว่า Siamian หรือเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า Siamien และสรุปว่าคนที่ทําเครื่องมือเหล่านี้เป็นโพรโตเมลานีเซียน (Protomelanesian) บูล (Boule) และวัลลัวซ์ (Vallois) พิจารณาว่า เครื่องมือที่พบนี้อยู่ร่วมสมัยเดียวกับกลุ่มเครื่องมือหิน บัคซอน (Bacsonian assemblage) ของอินโดจีน ส่วนคาร์ล จี. ไฮเดอร์ (Karl G. Heider) ว่าหินบางชิ้นเป็นรอยแตกที่
๒๐
๒๑ รูป ๒๐ , ๒๑ เครื่องมือหินกะเทาะรุ่นแรกๆ ที่พบใน ประเทศไทย
๗๘
ภูมิหลัง
เกิดจากธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นของที่คนทําขึ้น มีบางชิ้นที่เป็น เครื่องมือแบบนิยมของสมัยหินเก่า และบางชิ้นเป็นแบบ นิยมฮัวบิเนียนของสมัยหินกลาง๑๕ อย่างไรก็ดี แม้ว่าการขุดของแซระซินจะเป็นการ ขุดตรวจอย่างหยาบๆ ไม่ถูกต้องตามเทคนิควิธีการสมัยนี้ ก็ยงั นับได้วา่ เป็นการศึกษาอย่างจริงจังเป็นครัง้ แรก ในประวัติศาสตร์ของการค้นคว้าเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ของประ เทศไทย และรายงานสรุปของแซระซินก็เป็นข้อมูลทีม่ คี า่ ไม่ น้อยสําหรับใช้เป็นแนวทางการค้นคว้าอย่างเลาๆ ให้นัก สํารวจรุ่นหลังๆ ได้ทราบ และที่สําคัญที่สุดก็คือ เป็นเรื่อง เร้าใจจนมีการอภิปรายประเมินค่าหลักฐานกันในช่วงเวลานั้น สิ่งที่ใคร่กล่าวถึงในที่นี้คือการสัมมนาแลกเปลี่ยน ข้อมูลและความคิดทางวิชาการแบบชาวตะวันตก ซึ่งแม้ ใน พ.ศ. ๒๕๒๕ แล้วเราก็ยังไม่ใคร่ทํากันอย่างจริงจัง กรณี ของงานของแซระซินเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นความเอา จริงเอาจังของนักวิชาการชาวตะวันตกตัวอย่างหนึ่ง แซระซินพิมพ์รายงานเรื่องนี้เป็นภาษาอังกฤษ ลง ในวารสารของสยามสมาคมและเป็นภาษาฝรั่งเศสลงใน L’Anthropologie ในพ.ศ. ๒๔๗๖ แต่ในพ.ศ. ๒๔๗๕ คือก่อน รายงานจะออก ๑ ปี ก็มีผู้กล่าวถึงงานของเขาแล้ว ไฮนี เกลเดอร์น พูดถึงไว้อย่างคร่าวๆ ในตอนท้าย หรือปัจฉิมลิขิตของบทความเรื่อง “ถิ่นกําเนิดและการ อพยพสมัยแรกๆ ของพวกออสโตรนีเชียนส์”๑๖ หนาถึง ๗๖ หน้า และถือกันว่าเป็นงานชิ้นเอกที่ใช้กันเป็นบรรทัด ฐานในเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ทีเดียว จนถึงเมื่อไม่นานมานี้ นักโบราณคดีรุ่นใหม่จึงได้ ออกโรงโต้แย้งว่า ทฤษฎีการอพยพของผู้คนโดยวิธีพิจารณาจากรูปแบบของโบราณวัตถุที่พบอย่างไฮนี เกลเดอร์น ใช้นั้นเป็นวิธีการที่ผิด
ปัญหาของนักวิชาการไทย
คนต่อไปที่อ้างถึงแหล่งในประเทศไทยต่อมา คือ มาด แลน โกลานี (Colani)๑๗ นักธรณีวทิ ยาหญิงชาวฝรัง่ เศส ที่หันมาเอาดีทางโบราณคดี เขียนไว้ในข้อวิจารณ์บทความ ของ ไฮนี เกลเดอร์น ในปีเดียวกัน
๑๕ Horr, D.A. “Southeast Asia” (Area 1919). Cowa Survey. Council for the Old World Archaeology. Massachusetts 959 : 5. ๑๖ Heine Geldern, R. “Urheimat und fruheste wanderungen der Austronesier.” Anthropos. Vol. 27. 1932 : 543-619. Vienna.
ประเทศไทยนั้นขาดผู้รู้และสนใจเรื่องก่อนประวัติ ศาสตร์เพราะเป็นอดีตที่ไกลตัวมากเหลือเกิน ทั้งสภาพภูมิ ศาสตร์ของบ้านเมืองก็ยังเป็นอุปสรรคต่อการสํารวจนา นัปการ เหตุการณ์ที่ต้องบันทึกไว้ในหนังสือนี้ด้วยอีกอย่าง หนึ่งก็คือ ใน พ.ศ. ๒๔๗๔ มีนักโบราณคดีชาวฮอลันดา ผู้หนึ่ง ชื่อ ศาสตราจารย์ พีเตอร์ วินเซนท์ ฟาน สไตน์ คัลเลนเฟลส์ (Pietre Vincent van Stein Callenfels) ซึ่ง เป็ น ผู้ อํ า นวยการพิพิธภัณฑสถานเมืองชวาอยู่ในขณะนั้น ได้เขียนจดหมายถึงเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) ราชเลขา ธิการ ขอให้นาํ ความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปก เกล้าเจ้าอยู่หัว ขอรับเป็นผู้ฝึกหัดให้คนไทยเรียนรู้เทคนิค การขุดค้นแหล่งก่อนประวัตศิ าสตร์ แต่เรือ่ งต้องระงับไป เพราะฐานะเศรษฐกิจของประเทศไม่อํานวย๑๘
วิทยาการทางโบราณคดีภาษาไทยชิ้นแรก
ในช่วงเวลานั้นมีนักการศึกษาของไทยท่านหนึ่งคือ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพเสด็จลี้ภัยการเมือง พ.ศ. ๒๔๗๕ ไปประทับอยู่ที่หัวหินระยะหนึ่ง แล้วเสด็จต่อ ไปยังปีนัง ประทับที่บ้านซินนามอนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นขณะเดียวกับทีค่ ลั เลนเฟลส์ทาํ การขุดค้นอยู่ ใกล้ปนี งั ก็ได้มโี อกาสเสด็จทอดพระเนตรการขุดค้นอย่างใกล้ ชิด และด้วยความทีท่ รงคุน้ เคยเป็นการส่วนพระองค์มาก่อน แล้วและยังใฝ่พระทัยเรือ่ งต่างๆ อยูเ่ ป็นนิจ จึงทรงศึกษา เรือ่ งก่อนประวัตศิ าสตร์ดว้ ยพระองค์เอง จากหนังสือต่างๆ ที่ถวายยืมหรือทรงยืมเองจากห้องสมุดบ้าง เมื่อติดขัดก็ ทรงไต่ถามคัลเลนเฟลส์นั่นเอง จนเข้าพระทัยแนวทางพอ สมควรและเล่าประทานสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใน “สาส์นสนเด็จ” ปี พ.ศ.๒๔๗๗ ซึ่งต่อมา ได้รวบรวม ตัดตอนออกมาพิมพ์เป็นเล่มใน พ.ศ. ๒๔๘๑ ชื่อ “เรื่องก่อนประวัติศาสตร์” ซึ่งเป็นหนังสือวิทยาการ ทางด้านนีเ้ ป็นภาษาไทยเล่มแรกที่เรามี๑๙
๑๗ Colani, M. “Compte Rendu : Urheimat und frueste Wanderungen der Austronesier, par Robert Heine-Geldern.” Bulletin de l’Ecole Francaise d’Extreme Orient. XXXII, Fasc. II. 1932 : 576-580.
๑๘ ชิน อยู่ดี สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทย. กรมศิลปากร. ๒๕๑๐ : ๒. ๑๙ พิสิฐ เจริญวงศ์ “เรื่องก่อน ประวัติศาสตร์ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ”. วารสารโบราณคดี, มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๔, ๒๕๑๖ : ๔๖๒-๔๖๙.
โบราณคดีในประเทศไทย
๗๙
๒๒
๘๐
ภูมิหลัง
๒๓
รูป ๒๒ ภาพการขุดค้นที่บ้านเก่า ตำบลจระเข้เผือก อำเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี ในโครงการร่วมไทย – เดนมาร์ก พ.ศ. ๒๕๐๓
รูป ๒๓ แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ริมแควน้อย
รูป ๒๖ การขุดค้นทางโบราณคดีที่เพิงผา หน้าถ้ำไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ รูป ๒๔ โครงกระดูกในหลุมขุดค้นที่บ้านเก่า โครงการร่วมไทย – เดนมาร์ก
๒๔ รูป ๒๕ ภาชนะดินเผาแบบ ๓ ขา พบในหลุม ขุดค้นทีบ่ า้ นเก่า โครงการร่วมไทย – เดนมาร์ก
๒๕
๒๖
โบราณคดีในประเทศไทย
๘๑
ร่องรอยมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
อี. ดับเบิลยู. ฮัทชินสัน (Hutchinson) เขียนเล่า เรื่องนาย ซี. แอล. ไมลส์ (C.L.Miles) พบอนุสาวรีย์หินใหญ่ (megaliths) ๓ กลุม่ ในภาคเหนือคราวเดินทางไปป่าสะเลียม ซึ่งอยู่ระหว่างเชียงใหม่กับระแหง ฮัทชินสันว่าหินใหญ่ทั้ง ๓ กลุ่มอยู่ตามเส้นทางเดินจากเมืองฮอดไปเมืองทืน สอง กลุม่ แรกอยูห่ า่ งกันเพียง ๑๑ เมตร แต่อกี กลุม่ หนึง่ ห่างออก ไปราวครึ่งกิโลเมตร บริเวณนั้นใกล้กับหมู่บ้านเก่าของพวก ละว้า ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งห้วยอุ้มผาง และด้วยเหตุนั้นโบราณ สถานเหล่านั้นจึงอยู่ในสภาพดีพอสมควร เพราะพวกละว้า คงดูแลรักษาไว้ อย่างไรก็ดี ฮัทชินสันไม่ออกความเห็นว่า ใครเป็นผู้สร้าง เพียงแต่เล่าว่าเคยศึกษาเรื่องละว้าที่บ่อ หลวง (ระหว่างฮอดกับแม่สะเรียง) และยืนยันว่าละว้าที่นั่น ไม่สร้างอนุสาวรีย์อย่างนี้ ไม่ว่าเพื่อจะเป็นเครื่องหมายบอก เขต หรือตําแหน่งของสุสานประจําเผ่า หรือเป็นศาสนสถาน สําหรับบวงสรวงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี แต่ก็อาจมีข้อยก เว้นได้เพราะละว้าเองก็มหี ลายพวกหลายภาษาเหมือนกัน๒๐ พ.ศ. ๒๔๘๑ พ.อ. พระแผลงสะท้าน พบเคียวหิน ขัดเล่มหนึ่งยาว ๒๘ เซนติเมตร กว้าง ๔ เซนติเมตร ขวาน หินชํารุดเล่มหนึ่ง และอุ้งเท้าสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งเป็น ฟอสซิลแล้ว ไซเดนฟาเดนว่าเป็นอุ้งเท้าเหี้ย และว่าหินที่ทํา เป็นมีดหรือเคียวเล่มนัน้ เป็นสีเทาเนือ้ แข็ง อาจเป็นหินทราย ทั้งขวานและมีดซึง่ พ.อ. พระแผลงสะท้านส่งให้ไซเดนฟาเดน วิเคราะห์ดูใน พ.ศ.๒๔๘๓ นั้นเป็นของที่พบเหนือร้องกวาง ไปเล็กน้อย ขณะที่กําลังก่อสร้างทางรถสายแพร่ – น่าน๒๑ ต่อมา อีรคิ ไซเดนฟาเดนเขียนเรือ่ ง ชนชาติผสู้ ร้าง หินตั้งและไหหิน ลงในหนังสือสยามสมาคมใน พ.ศ. ๒๔๘๖ อีกเรื่องหนึ่ง๒๒ ข่าวคราวการค้นพบร่องรอยของมนุษย์กอ่ นประวัติ ศาสตร์ปรากฏขึ้นปีแล้วปีเล่า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๗ เป็นต้นมา แต่ก็จํากัดอยู่ในหมู่ชาวตะวันตกและชาวไทยผู้มีการศึกษา เพียงไม่กี่คน เพราะบทความทั้งหมดเป็นภาษาต่างประเทศ ผู้สนใจหรือได้รับความรู้ก็อยู่ในแวดวงของสยามสมาคมทั้ง นั้นหรือเกือบทั้งสิ้น
๒๐ Hutchinson, E.W. “Megaliths in Bayab.” Journal of the Siam Society. 31, pt. 1. 1939 : 45 – 47. “Megaliths in Thailand”. Journal of the Siam Society. 31, pt. 2. 1939 : 179- 180. ๒๑ Seidenfaden, E. “On a Find of Neolithic Implements. Notes and Queeries.” Journal of the Siam Society. 33, pt. 2. 1941 : 149.
๘๒
ภูมิหลัง
การค้นพบที่ “บ้านเก่า” ช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒
อดีตของประเทศไทยเป็นข่าวใหญ่อกี ครัง้ หนึง่ เมือ่ พ.ศ. ๒๔๙๐ สืบเนื่องมาจากการค้นพบของ ฟาน เฮเกอเรน (H.R. van Heekeren) นักโบราณคดีชาวฮอลันดาใน พ.ศ. ๒๔๘๖ – ๒๔๘๗ ซึง่ ระหว่างนัน้ เป็นเชลยศึกอยูใ่ นบังคับ ของกองทัพบกญี่ปุ่น ถูกคุมตัวเป็นคนงานสร้างทางรถไฟ สายกรุงเทพฯ-เมาะลําเลิง ขณะทีท่ าํ งานอยูใ่ นจังหวัดกาญจนบุรี ได้พบเครื่องมือเครื่องใช้ของคนก่อนประวัติศาสตร์ ในทีห่ ลายแห่งด้วยกัน ใกล้ๆ กับตําบลบ้านเก่า อําเภอเมืองฯ เฮเกอเรนสังเกตว่าบริเวณแถบนัน้ เป็นท้องน้ำเก่า พืน้ ทราย และกรวดก้อนกลมๆ และมีทรายละเอียดสีขาวเหลือง อัน เกิดจากลมพัดพามาปกคลุมอีกชั้นหนึ่ง เมื่อตรวจดูก็พบ เครื่องมือหินแบบนิยมสมัยหินเก่าตอนต้นจํานวนหนึ่ง และ ใกล้กับทางรถไฟบ้านเก่านั้นก็พบขวานหินขัดสมัยหินใหม่อีก ๒ ชิ้น ห่างจากวังโพประมาณ ๑๖ กิโลเมตร เฮเกอเรนกับ เพื่อนเข้าไปพบถ้ำแห่งหนึ่ง ได้คุ้ยพบเครื่องมือหินกะเทาะ อย่างหยาบๆ ๒-๓ ชิ้น ปนอยู่กับกระดูกสัตว์ซึ่งมีลักษณะ ไม่โบราณนัก จึงสรุปว่าน่าจะเป็นกระดูกสัตว์สมัยโฮโลซีน โมเวียส (Hallam L. Movius) เขียนไว้ว่า ฟาน เฮเกอเรน เขียนจดหมายลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ไปถึง เล่าเรือ่ งการค้นพบเครือ่ งมือเหล่านี้ ซึง่ โมเวียสกล่าว ว่าทําจากหินหลายชนิด เช่น ควอร์ตไซต์ หินทราย และ เคลย์สโตน (หินชนวน หรือ เชล) และว่าเฮเกอเรนตั้งชื่อ เครื่องมือแบบนิยม Chopper - chopping Tool complex ว่า “ฟิงนอยัน” (Fingnoian มาจากคํา “แควน้อย” เฮเกอเรนฟังผิดเป็น “ฟิงน้อย” ) พร้อมกับสรุปไว้ด้วยว่ามี ลักษณะที่คล้ายกับที่พบในวัฒนธรรมแอนยาเธียนตอนต้น (Early Anyathian) ในประเทศพม่าเป็นอย่างมาก๒๓ ข่าวครึกโครมนั้นกระจายไปทั่วโลกหลังสงคราม โลกครั้งที่ ๒ สงบแล้ว เมื่อเฮเกอเรนเขียนเรื่องการ ค้นพบนีล้ งในหนังสือต่างๆ เป็นทํานองวิชาการและผจญภัย ไปในตัว เพราะการค้นพบของเขานั้นเป็นการบังเอิญ และ อยู่ระหว่างที่ทํางานอย่างกรรมกรในค่ายทหารญี่ปุ่นเพื่อ ก่อสร้างทางรถไฟสายนั้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อว่า “ทาง
๒๒ Seidenfaden, E. “The People of the Menhirs and of the Jars : Being Further Notes on Mlle. Colani’s Prehistoric Researches in Indochina.” Journal of the Siam Society. 34, pt. 1. 1943 : 49-58.
๒๓ Movius, H.L. The Lower Palaeolithic Cultures of Southern and Eastern Asia. Transactions of the American Philosophical Society for Promoting Useful Knowledge. New Series. Vol. 38, pt. 4. 1949 : 406.
รถไฟสายมรณะ” เฮเกอเรนชอบชื่อนี้ บทความเรื่องแรก ของเขาใน พ.ศ. ๒๔๙๐ จึงชื่อว่า “ขวานหินจากทางรถไฟ สายมรณะ”๒๔ เรื่องที่ ๒ ในปีเดียวกันชื่อ “ยุคหินใน ประเทศสยาม”๒๕ ปีต่อมาเป็นเรื่องที่ ๓ ชื่อ “การค้น พบหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศสยาม ปี ๒๔๘๖ – ๘๗”๒๖ ปิแยร์ เตอยยารด์ เดอ ชาร์แดง (Pierre Teihard de Chardin) นักโบราณคดีผู้โด่งดังของยุคท่าน หนึ่ง ก็ช่วยประโคมข่าวของเฮเกอเรนในหนังสือวารสาร มานุษยวิทยาในปารีส เมื่อพ.ศ ๒๔๙๓๒๗
ส่วนสะเก็ดหินนั้น ชิ้นหนึ่งเป็นเศษที่เหลือจากการกะเทาะ อีก ๒ ชิ้นเป็นเครื่องมืออย่างแท้จริง๒๙ นับเป็นเวลาได้ ๔๗ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๒ ซึง่ เป็นเวลาทีก่ ล่าวได้วา่ การศึกษาค้นคว้าเรือ่ ง มนุษย์กอ่ นประวัตศิ าสตร์ในประเทศไทยเป็นแต่เพียงการสํา รวจอย่างคร่าวๆ เท่านั้นเอง ยังไม่ครบกระบวนการศึกษา วิจัยอย่างแท้จริง แม้กระนั้น รายงานและข่าวคราวที่ลง พิมพ์ต่อเนื่องกันมาเป็นระยะๆ ก็ให้ประโยชน์ทางวิชาการ ไม่น้อยเลย
การตื่นตัวของทางราชการ
ความร่วมมือระหว่างประเทศทางโบราณคดี ในประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ คณะกรรมการ สภาวั ฒ นธรรมแห่ ง ชาติ ได้ ป ระชุ ม พิ จ ารณาเรื่ อ งมี ผู้ พ บ เครือ่ งมือสมัยหินและกะโหลกศีรษะในถ้ำแห่งหนึง่ ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี แล้วเห็นพ้องกันว่าสิ่งของเหล่านี้เป็นสมบัติ วัฒนธรรมของชาติ เพราะเป็นหลักฐานบอกความเป็นมา ของคนในพืน้ ทีท่ เ่ี ป็นประเทศไทย สมควรทีจ่ ะได้มกี ารศึกษา ค้นคว้าอย่างจริงจังและถูกหลักวิชาการ แต่งานสํารวจค้น คว้าเริ่มในทันทีนั้นไม่ได้ เพราะขาดผู้ชํานาญการ จึงเสนอ ให้กระทรวงวัฒนธรรม (ในขณะนั้น) ส่งมอบให้กรมศิลปากรรับภาระเป็นผู้ดําเนินการต่อไป คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ได้บรรจุ วิชาก่อนประวัติศาสตร์ไว้ในหลักสูตรตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นต้นมา๒๘ พ.ศ. ๒๔๙๙ คาร์ล จี. ไฮเดอร์ ลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์โมเวียสจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยและได้ไปสํารวจแถบสถานี รถไฟบ้านเก่าและท่ากิเลนในเขตอําเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับ ชิน อยู่ดี และข้าราชการกองโบราณคดี กรมศิลปากรหลายคน ได้พบเครื่องมือหินกรวด ๑๐๔ ชิ้น และ เครื่องมือสะเก็ดหิน ๔ ชิ้น เครื่องมือหินกรวดบางชิ้นอาจ จัดให้อยู่ในแบบนิยมฮัวบิเนียน (Hoabinhian) ได้ บางชิ้น เป็นแบบสุมาตรา (Sumatraliths) ส่วนที่เหลือซึ่งมีจาํ นวน มากนัน้ เป็นแบบนิยมของเครือ่ งมือสมัยหินเก่าตอนต้น หรือ ไม่กอ็ าจจะมีแบบของสมัยหินกลางปะปนอยูใ่ นจํานวนนีด้ ว้ ย ๒๔ Heekeren, H.R. van. “Stone Axes from the Railroad of Death”. Illustrated London News. Vol. 210, No. 5633. April 5, 1947. ๒๕ Heekeren, H.R. van. “Stone Age in Siam. Chronica Naturae. Deel 103, Afl. 1/2, 1947. ๒๖ Heekeren, H.R. van. “Prehistoric Discoveries in Siam, 1943 – 44”. Proceedings of the Prehistoric Society for 1948. New Series. Vol. 14. Cambridge.
จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๓ จึงอาจกล่าวได้ว่าเราเริ่มงาน ศึกษาค้นคว้าเรื่องก่อนประวัติศาสตร์กันอย่างถูกต้อง ตาม เทคนิควิธีการสมัยใหม่เป็นครั้งแรก โดยร่วมกับนักวิชาการ (โบราณคดี โบราณชีววิทยา พฤกษศาสตร์ และ นัก วิทยาศาสตร์สาขาอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการวิเคราะห์ และวิจยั หลักฐาน) ของเดนมาร์ก ทําการสํารวจขุดค้นและวิจยั แหล่ง ก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งบัดนี้มีรายงาน การวิจัยครั้งนั้นออกมาแล้ว ๓ เล่มด้วยกัน คือ “ไทรโยค” เขียนโดยเฮเกอเรน,๓๐ “บ้านเก่า” โดย เปียร์ ซอเรนเซน (Per Sorensen) และแฮตติง (T. Hating)๓๑ และ “โครง กระดูกคนไทยสมัยก่อนประวัติศาสตร์” โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์สุด แสงวิเชียร และนายแพทย์ เพทาย ศิริการุณ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล๓๒ การทํางานร่วมกับเดนมาร์กในครั้งนั้นนักโบราณ คดีไทยได้ความรู้ทางเทคนิคบางอย่าง ต่อเมื่อเสร็จโครง การร่วมมือครั้งแรกนั้นกรมศิลปากรก็ได้ทํางานสํารวจและ ขุดค้น ร่วมกับมหาวิทยาลัยฮาวายอิแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่ง มีศาสตราจารย์วิลเฮล์ม จี. โซลไฮม์ (Wilhelm G. Solheim) เป็นหัวหน้าเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นต้นมาตามโครงการ ช่วยแหล่งโบราณคดีที่จะถูกน้ำท่วมในบริเวณที่จะกลายเป็น อ่างเก็บน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ ที่จังหวัดขอนแก่นในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ๓๓
๒๗ Teihard de Chardin, P. “Le Paleolithique du Siam. Nouvelles et Correspondance”. L’Anthropologie. 54 (5-6). 1950 : 547-549. ๒๘ พิสิฐ เจริญวงศ์ “งานค้นคว้าเรื่องอดีต ของเมืองไทยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประวัติ, ผล, ปัญหาและวิธีแก้ไข”, การประชุมสัมมนาพัฒนาโครงการศูนย์ วิจัยประยุกต์ว่าด้วยวิชาโบราณคดี และวิจิตรศิลป วันที่ ๓- ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ กรมศิลปากร.
๒๙ Heider, C.G. “New Archaeological Discoveries in Kanchanaburi”. Journal of the Siam Society. 45, pt. 1. 1957 : 61-70. และ “A Pebble Tool Complex in Thailand”. Asian Perspectives, 2, 2. 1958 : 63-67. ๓๐ Heekeren, H.R. van. and Count Eigil Knuth Archaeological Excavations in Thailand. Vol. 1. Sai-Yok. 1967. Munksgaard, Copenhagen.
๓๑ Sorensen, P. and T. Hatting “Archaeological Excavations in Thailand”. Vol. 2, Ban Kao, pt. 1. The Archaeological Materials from the Burials. 1967. Munksgaard, Copenhagen. ๓๒ Sood Sangvichien et. Al., “Archaeological Excavations in Thailand.” Vol. 3, Ban Kao : Neolithic Cemeteries in the Kanchanaburi Province, pt. 2. The Prehistoric Thai Skeletons, 1969. Munksgaard. Copenhagen. ๓๓ Solheim II, W.G. and C.F. Gorman. “Archaeological Salvage Program : Northeastern Thailand (First Season)”. Journal of the Siam Society. 54, pt. 2. 1966 : 111-181.
โบราณคดีในประเทศไทย
๘๓
กรมศิลปากรก็ได้ทําการขุดค้นเองบ้างหลายแห่ง เช่น บริเวณใกล้เคียงกับแหล่งที่นักโบราณคดีเดนมาร์กขุด ในหมู่บ้าน บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี แหล่งสําคัญที่ควร กล่าวถึงคือแหล่งก่อนประวัติศาสตร์สมัยโลหะที่ศูนย์การ ทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี ซึ่งทําการขุดค้นในพ.ศ. ๒๕๐๗ – ๒๕๐๘ โดยวิทยา อินทโกศัย๓๔ พ.ศ. ๒๕๐๙ กรมศิลปากรส่งข้าราชการไปร่วม ขุดค้นที่โนนนกทา จังหวัดขอนแก่น ได้พบหลักฐานเรื่อง ข้าว การเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู วัว ควาย และการทําเครื่อง สําริด ซึ่งมีเค้าว่าเก่าแก่กว่าที่เคยเชื่อๆ กัน การขุดครั้งนั้น เป็นโครงการร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยโอตาโกแห่งนิวซีแลนด์ และมหาวิทยาลัยฮาวายอิแห่งสหรัฐอเมริกา มีพาร์ค เกอร์ (H. Parker) และดอนน์ เบยาร์ด (Donn T. Bayard) อํานวยการ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ เบยาร์ดกลับมา เปิดงานใหม่อีกครั้งหนึ่ง๓๕ ในปีเดียวกันนี้เอง เชสเตอร์ กอร์มัน (Chester F. Gorman) ซึ่งเป็นผู้หนึ่งในคณะขุดค้นนั้น แยกตัวออกไปทํา การสํารวจขุดค้นที่ถ้ำผี อําเภอเมืองฯ จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบเครื่องมือแบบนิยมฮัวบิเนียนและหลักฐานว่า อาจมีการ ปลูกพืชบางชนิด ราว ๙,๐๐๐ ปีมาแล้ว๓๖ เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ถึงต้นปี พ.ศ. ๒๕๐๙ นักโบราณคดีเดนมาร์กกลับมาร่วมงานกับกรมศิลปากรอีก ครั้งหนึ่งที่จังหวัดกาญจนบุรีและราชบุร๓๗ ี ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๙ – ๒๕๑๐ มีโครงการสํารวจ ขุดค้นไทย – อังกฤษ (Thai – British Expedition) มี ศาสตราจารย์วิลเลียม วอตสัน (William Watson) แห่ง มหาวิทยาลัยลอนดอนเป็นหัวหน้า ผูร้ ว่ มคณะมี ดร. เฮลมุท ลูฟส์ (Helmut Loofs) มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย และแฮลมิลตัน พาร์คเกอร์ (Halmilton Parker) แห่ง มหาวิทยาลัยโอตาโก นิวซีแลนด์ ฝ่ายไทยที่ร่วมงานเป็นนัก โบราณคดีจากกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากรมีนคิ ม สุทธิรักษ์ พจน์ เกื้อกูล เจริญ พลเตชา และ พิสิฐ เจริญวงศ์๓๘
๓๔ กรมศิลปากร “การขุดค้นเรื่องก่อน ประวัติศาสตร์ที่จังหวัดลพบุรี”. อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๑ มิย. ๒๕๐๘ ๓๕ Bayard, D.T. “Excavation at Non Nok Tha, Northeastern Thailand 1968 : An Interim Report”. Asian Perspectives. 13. 1972 : 109-143. ๓๖ Gorman, C.F. “Excavations at Spirit Cave, Northern Thailand : Some Interim Interpretations”. Asian Perspectives. 13. 1972 : 79-107.
๘๔
ภูมิหลัง
ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ไบรอัน พีคอ๊ ค (Brian A.V. Peacock) แห่งมหาวิทยาลัยมลายา และพิสิฐ เจริญวงศ์ สํารวจแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ ภาคใต้ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช กระบี่ และพังงา๓๙ วิทยา อินทโกศัย ขุดทดสอบบ้านเชียง จังหวัด อุดรธานีในปีนั้น หลังจากที่กรมศิลปากรตรวจสอบโบราณ วัตถุที่ สตีฟเฟน ยัง (Stephen Young) และเจ้าหน้าที่ ของกรมศิลปากรได้พบแล้วว่าเป็นวัตถุที่สําคัญ คณะโบราณคดีภายใต้การควบคุมของวีรพันธ์ มาไลยพันธ์ ได้สํารวจพบแหล่งก่อนประวัติศาสตร์เครื่องมือ หินกะเทาะที่อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๓ ต่อมาได้ขุดค้นแหล่งนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ และ ๒๕๑๖๔๐
โครงการระยะยาวของกรมศิลปากรและ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ในพ.ศ. ๒๕๑๕ กรมศิลปากรได้ดําเนินการขุด ค้นที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี อีกครั้งหนึ่งภายใต้การ อํานวยการของนิคม สุทธิรักษ์ พจน์ เกื้อกูล และวิพากษ์ ศรทัตต์ การขุดค้นแหล่งก่อนประวัติศาสตร์แหล่งนี้ เป็น โครงการใหญ่สืบต่อมาจนถึงพ.ศ.๒๕๑๖ พจน์ เกื้อกูล เป็นผู้ดําเนินการที่บ้านเชียง พิสิฐ เจริญวงศ์ขุดค้นที่ิแหล่ง วัดธาตุ บ้านโคกดอน ตำบลโคกสี อําเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร นิคม สุทธิรักษ์ขุดค้นที่แหล่งโนนทัน ตําบลพระลับ อําเภอเมืองฯ จังหวัดขอนแก่น (ทั้งสามแหล่ง ขุดค้นมีขน้ั ความเจริญทางเทคโนโลยีการทําภาชนะลายเขียน สี เครื่องโลหะต่างๆ ที่เปรียบเทียบได้ว่าใกล้เคียงกัน หรือมี ความสัมพันธ์กนั ทางใดทางหนึง่ ) นอกไปจากนัน้ กรมศิลปากร ยังตั้งโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย เป็น โครงการระยะยาว สํารวจและขุดค้นแหล่งก่อนประวัตศิ าสตร์ วัฒนธรรมบ้านเชียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย ในปีเดียวกับที่กรมศิลปากรทําโครงการระยะยาว เพื่อขุดค้นที่บ้านเชียง คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหา-
๓๗ ชิน อยู่ดี คนก่อนประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทย, กรมศิลปากร. ๒๕๑๒ : ๓๒. ๓๘ พิสิฐ เจริญวงศ์ “บันทึกการปฏิบัติงาน ร่วมคณะนักสํารวจไทย – อังกฤษ”. โบราณคดี. มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ ๑. ฉบับที่ ๒. ๒๕๑๐ : ๕๙-๖๓. ๓๙ พิสิฐ เจริญวงศ์ “เมื่อไปสํารวจถ้ำ”. อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๗ . ฉบับที่ ๑๑. ๒๕๑๐. ๔๐ วีรพันธ์ มาไลยพันธ์ “เครื่องมือยุคหินเก่า ทีเ่ ชียงแสน”. โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ ๔. ฉบับที่ ๑. ๒๕๑๕ : ๓๕-๔๑.
วิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัย ศิลปากร โดยความอํานวยการของสุมิตร ปิติพัฒน์ และ ปรีชา กาญจนาคม ก็ได้ขุดค้นที่บ้านอ้อมแก้ว ตําบล บ้านเชียง และปีต่อมาได้ขุดที่บ้านธาตุซึ่งอยู่ไม่ห่างจาก บ้านเชียงเท่าใดนัก๔๑ ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ – ๒๕๑๖ เชสเตอร์ กอร์มัน วิทยา อินทโกศัย ขุดค้นต่อที่ถ้ำผีแมน และทั้งสองยังได้ ร่วมกับพิสิฐ เจริญวงศ์ สํารวจแหล่งโบราณคดีทั้งสมัยก่อน ประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ในจังหวัดกาญจนบุรี ตามโครงการสร้างเขือ่ นบ้านเจ้าเณร (เขือ่ นศรีนครินทร์) ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผู้สํารวจได้พบเครื่องมือ หินแบบฮัวบิเนียน ตลอดจนหลักฐานการตั้งบ้านเรือนของ มนุษย์สมัยสังคมเกษตรกรรม สมัยโลหะ สมัยอยุธยาและ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในสองฟากฝั่งลําน้ำแควใหญ่๔๒ พ.ศ. ๒๕๑๖ – ๒๕๑๙ การพลังงานแห่งชาติ คณะ กรรมการลุ่มน้ำโขง และกรมศิลปากรสํารวจโครงการผา มอง หาแหล่งโบราณคดีในบริเวณที่จะถูกน้ำท่วม๔๓ ต้น พ.ศ. ๒๕๑๗ วิทยา อินทโกศัย ขุดค้นแหล่ง ก่อนประวัตศิ าสตร์ ทีต่ าํ บลลาดหญ้า อําเภอเมืองฯ จังหวัด กาญจนบุรี พ.ศ. ๒๕๑๗ และ ๒๕๑๘ มีการขุดค้นใหญ่อีกครั้ง หนึ่งที่บ้านเชียง เป็นโครงการร่วมระหว่างไทย – อเมริกัน ภายใต้การอํานวยการของเชสเตอร์ กอร์มัน แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย และพิสิฐ เจริญวงศ์ จากกรมศิลปากร พร้ อ มด้ ว ยคณะที่ ป รึ ก ษาซึ่ ง เป็ น ผู้ เชี่ ย วชาญสาขาต่ า งๆ จากสถาบันต่างๆ ทัง้ ในประเทศไทยและต่างประเทศ๔๔ พ.ศ. ๒๕๑๙ วิทยา อินทโกศัย ขุดที่บ้านสะแบง ตําบลนาสร้าง อําเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. ๒๕๒๐ โครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียง เหนือของกรมศิลปากรภายใต้การควบคุมของพิสิฐ เจริญวงศ์ ได้สาํ รวจแหล่งโบราณคดีในทีร่ าบสูงโคราช และดําเนิน การขุดค้นที่แหล่งบ้านโนนชัย ตําบลในเมือง อําเภอเมืองฯ จังหวัดขอนแก่น
๔๑ สุมิตร ปิติพัฒน์ และปรีชา กาญจนาคม บ้านเชียง : อดีตและปัจจุบัน. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๑๗ และ บ้านธาตุ – อ้อมแก้ว. โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๒๐.
สด แดงเอียด จากกองโบราณคดี กรมศิลปากร ขุดค้นแหล่งก่อนประวัติศาสตร์สมัยหลังที่โคกพลับ ตําบล โพหัก อําเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี และต่อมาอีกปีหนึ่งดํา เนินการสํารวจและขุดค้นบริเวณใกล้เคียงเพิ่มเติมอีก๔๕ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มโครง การศึกษาเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ในจังหวัดกาญจนบุรีภาย ใต้การอํานวยการของสุรินทร์ ภู่ขจร และชาติชาย ร่มสนธ์ และทําต่อมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๒๒๔๖ อีกทีมหนึ่งนําโดย ปรีชา กาญจนาคม จากคณะ โบราณคดีเหมือนกัน สํารวจแหล่งโบราณคดีในบริเวณอ่าง เก็บน้ำเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุร๔๗ ี พ.ศ. ๒๕๒๑ โครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียง เหนือขุดค้นทีบ่ า้ นกอก ตําบลเมืองเก่า อําเภอเมืองฯ จังหวัด ขอนแก่น ถึงพ.ศ. ๒๕๒๒ ได้สํารวจพบแหล่งโบราณคดีทั้ง สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์แล้วกว่า ๕๐๐ แห่ง พ.ศ. ๒๕๒๒ สด แดงเอียด สํารวจแหล่งโบราณ คดีในบริเวณตําบลโพหัก อําเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี หลังจากตั้งโครงการร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิล วาเนีย ตั้งแต่ปลาย พ.ศ. ๒๕๑๖ โดยเริ่มงานขุดค้นที่บ้านเชียง ใน พ.ศ. ๒๕๑๗ และ ๒๕๑๘ แล้ว กรมศิลปากรก็ปรับ โครงการให้ใหญ่ขึ้นเป็นโครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึง พ.ศ. ๒๕๒๕ จึงได้ขยายออกมาเป็นโครง การโบราณคดีประเทศไทย กำกับโครงการภาคทั้ง ๔ ภาค ให้ทำงานพร้อมๆ กันทุก ๔ ภาค ภายใต้การอำนวยการของ พิสิฐ เจริญวงศ์ สร้างฐานข้อมูลโบราณคดีได้ทั้งประเทศ สามารถพิมพ์เป็นเล่มๆ ออกมาเผยแพร่เป็นระยะๆ ได้หลาย สิบเล่ม และจัดทำแผนที่แหล่งโบราณคดี มาตราส่วน ๑ : ๑,๐๐๐,๐๐๐ ได้ทั้ง ๔ ภาค การพบแหล่งใหม่ๆ จำนวนมาก และหลายแหล่ง กลายเป็นแหล่งสำคัญด้านใดด้านหนึง่ หรือหลายด้าน จึงทำ ให้เกิดโครงการวิจัยร่วมกับสถาบันต่างประเทศหลายโครง การ ทำให้ประเทศไทยซึ่งครั้งหนึ่งได้ชื่อว่าเป็นดินแดนที่ไม่ มีใครรู้จัก (terra incognita) กลายเป็นประเทศที่มีชื่อเสียง ว่ามั่งคั่งด้วยทรัพยากรโบราณคดี และภาพชีวิตของคนไทย ในอดีตอันไกลสมัยต่างๆ ก็ค่อยชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ
๔๒ Gorman, C.F. Pisit Charoenwongsa Vidya Intakosai and Innundation of Archaeological Sites. Ecological Reconnaissance of the Quae Yai Hydroelectric Scheme. Asian Institute of Technology, Bangkok, 1974 : 131-145. ๔๓ Bayard, D.T., T.T. Marsh and D.N.H.L. Bayard. Pa Mong Archaeo- logical Survey Programme. Preliminary Report on the First Season, 1974. Department of Anthropology, University of Otago, New Zealand. 1974.
๔๔ Gorman, C.F. and Pisit Charoenwongsa. “Ban Chiang : A Mosaic of Impressions from the First Two Years”. Expedition. Summer, 1976 : 14-26. ๔๕ สด แดงเอียด “โคกพลับ : แหล่ง โบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์”. เมืองโบราณ. ปีที่ ๔. ฉบับที่ ๔. กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๒๑ : ๑๗-๒๔.
๔๖ สุรินทร์ ภู่ขจร รายงานเบื้องต้น การสํารวจและขุดค้นโครงการสํารวจ และขุดค้นวัฒนธรรมยุคนัน้ ทีพ่ บในถ้ำ บริเวณตำบลบ้านเก่า อำเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี ๒๕๒๐. ต่อมาได้ออกรายงานการวิเคราะห์ และอื่นๆ อีกหลายเล่มที่ให้ราย ละเอียดมาก ๔๗ ปรีชา กาญจนาคม และคณะ รายงานเบือ้ งต้น การสํารวจนิเวศน์วทิ ยา และสิ่งแวดล้อม โครงการลุ่มน้ำ แควน้อยตอนบน ด้านโบราณคดี. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ๒๕๒๑.
โบราณคดีในประเทศไทย
๘๕
รูป ๒๗ ลูกกลิ้งดินเผา จากบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
รูป ๒๘ กําไลสําริด จากการขุดค้นที่บ้านเชียง
รูป ๒๙ ภาชนะดินเผายุคแรกๆ จาก การขุดค้นที่บ้านเชียง
๒๗
๒๘
๒๙
๓๐
๓๑
๓๒
รูป ๓๐ ภาชนะดินเผา ลายขุดสีดํา ขัดมัน จากการขุดค้นที่บ้านเชียง
รูป ๓๑ ภาชนะดินเผาสีดํา จากการขุดค้นที่บ้านเชียง
รูป ๓๒ ภาชนะดินเผาเขียนสีแดง บนพื้นสีนวล จากการขุดค้นที่บ้านเชียง
๘๖
ภูมิหลัง
รูป ๓๓ จากการขุดค้นที่บ้านโนนชัย อำเภอเมืองฯ จังหวัดขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๒๐
รูป ๓๔ ภาชนะดินเผาจากการขุดค้นที่บ้านนาดี จังหวัดขอนแก่น ๓๓ รูป ๓๕ โครงกระดูกในหลุมขุดค้นทางโบราณคดี ที่บ้านเชียง พ.ศ. ๒๕๑๘
รูป ๓๖ เพิงผาที่มีภาพเขียนสี ที่อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จากการสํารวจของ โครงการผามอง พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๑๙
๓๔ รูป ๓๗ การสํารวจที่โคกพลับ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ๒๕๒๑
๓๕
๓๗
รูป ๓๘ ตัวอย่างจากการสํารวจที่โคกพลับ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี พ.ศ. ๒๕๒๑
๓๖
๓๘
โบราณคดีในประเทศไทย
๘๗
บทที่ ๓ สังคมนายพราน
ทฤษฎีดั้งเดิมว่าด้วยความแร้นแค้นของสังคมนายพราน เพราะวิถีชีวิตหรือการดํารงชีวิตของคนโบราณ สมัยแรกๆ นั้นอยู่ที่การล่าสัตว์ และเก็บหาพืชพันธ์ุไม้ที่ขึ้น เองตามธรรมชาติมาเป็นอาหาร ทําเครือ่ งนุง่ ห่มและเครือ่ ง อุปโภคอีกไม่กี่อย่าง เป็นแบบสังคมที่เรียกว่า “ล่าสัตว์และ หาของป่า” คนส่วนมากจึงเข้าใจกันว่าคนสมัยก่อนเกษตร กรรมเหล่านั้นมีชีวิตเพื่ออยู่กินไปวันหนึ่งๆ เท่านั้นเอง ต้อง ลําบากตรากตรําหาอาหารจนไม่มีเวลาว่างจะพักผ่อนอย่าง คนสมัยต่อๆ มา เพราะมีแหล่งอาหารน้อยและไม่แน่นอน ทําได้วันหนึ่งกินวันหนึ่งเท่านั้นไม่มีเหลือสําหรับวันต่อไป นักโบราณคดีส่วนมากก็เชื่ออย่างนั้น ถึงกับใช้รูป แบบและเทคนิคการทําเครื่องมือเครื่องใช้ของคนโบราณ เป็นเครื่องวัดสภาพความเป็นอยู่และสติปัญญาของคนทํา ว่ากลุ่มชนที่ฝีมือทําไม่ดีเป็นกลุ่มชนล้าหลัง ถ้าฝีมือทำดีก็ เป็นพวกที่เจริญ ฟาน เฮเกอเรน (van Heekeren)๑ อธิบายถึง สิ่งแวดล้อมสมัยไพลสโตซีน และผลกระทบต่อการดําเนิน ชีวิตของคนว่า พวก “โฮโม อีเรคตัส” เป็นพวกเร่ร่อนล่าสัตว์ เก็บพืชพันธ์ุป่าเป็นอาหารไปเรื่อยๆ อาจจะอยู่รวมกันเป็น กลุ่มเล็กๆ ตามที่ต่างๆ แต่เพราะความที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ในป่าเมืองร้อนและขาดการติดต่อจากโลกภายนอก จึงมี โอกาสน้ อ ยที่ จ ะได้ แ ลกเปลี่ ย นความเจริ ญ ก้ า วหน้ า กั บ คนอื่นๆ มาปรับปรุงสังคมของตน วิธีการแปลความดังกล่าวเมื่อนํามาเปรียบเทียบ กับวิถีดํารงชีวิตของคนในสังคมเกษตรกรรมด้วยแล้ว นัก โบราณคดีและนักมานุษยวิทยาก็ยิ่งเติมแต่งภาพชีวิตของ คนสมัยล่าสัตว์ให้ต่ำต้อยลงไปอีก มาร์แชล แซห์ลินส์ (Marshall Sahlins)๒ ใน “เศรษฐศาสตร์สมัยหิน” ยกความเห็นของนักวิชาการหลาย ท่านเป็นตัวอย่าง เช่น
๘๘
ภูมิหลัง
โลวี่ (Lowie) กล่าวว่า “เพียงแต่จะให้มีชีวิตอยู่เท่านั้น พรานต้อง ตรากตรํางานหนักกว่าเกษตรกรเป็นอย่างมาก” ที่ยิ่งกว่านั้นก็ของเบรดวูด (Braidwood) คือ “คนทีใ่ ช้ชวี ติ ตลอดชีวติ ติดตามสัตว์เพือ่ เอามา กินเท่านัน้ หรือย้ายจากพุม่ ไม้พมุ่ หนึง่ ไปหาอีก พุม่ หนึง่ นัน้ มีชวี ติ จริงๆ เหมือนสัตว์ตวั หนึง่ นัน่ เอง” ดังนัน้ เมือ่ มนุษย์พน้ จากสังคมล่าสัตว์ไปถึงสังคม เกษตรกรรม นักวิชาการจึงประโคมกันเหมือนกับการหลุด จากบ่วงกรรมในนรกขึ้นสู่สวรรค์ช้นั แรกของมนุษย์และสรร หาคําอธิบายสังคมใหม่ต่างๆ นานา เช่น “สมัยปฏิวัติสมัย แรกของมนุษย์” หรือเลยเถิดไปถึง “การก้าวกระโดดครั้ง ยิ่งใหญ่” ของสังคมมนุษย์ทีเดียว เลสลี ไวท์ (Leslie White) กล่าวว่าเป็น “ความก้าวหน้าของพัฒนาการทาง วัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่ง อันเป็นผลมาจาก ศิลปะการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ที่ไม่เพียงแต่ ทําให้คนมีพลังงานเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วย ให้ควบคุมพลังงานต่อคนต่อปีได้สําเร็จอีกด้วย”
๑ Heekeren, H.R. van. The Stone Age of Indonesia. ( 2nd. ed.). The Hague : Nijhoff, 1972 : 75. ๒ Sahlins, M. Stone Age Economics. Tavistock Publication, London. 1974 : 4-5.
ไวท์ชี้ให้เห็นความแตกต่างของผลกระทบของกิจกรรมทัง้ สองว่า แหล่งพลังงานหลักของคนในสังคมล่าสัตว์ (ใช้คําว่า “วัฒนธรรมสมัยหินเก่า”) คือ “ความพยายาม ของคน” ซึง่ ตรงกันข้ามกับแหล่งพลังงานของสังคมเกษตร กรรมที่ได้จากพืชที่ปลูกและสัตว์ที่เลี้ยงไว้ ไวท์เรียกพลังงานที่ร่างกายพัฒนาขึ้นว่า “ศักย์ เทอร์โมไดนามิก” (thermodynamic potential) และ เปรียบเทียบให้เห็นว่านักล่าสัตว์มีกำลังงานเฉลี่ย (average power resource) เท่ากับ ๑/๒๐ แรงม้าต่อคนเท่านั้นเอง ส่วนเกษตรกรนัน้ มีมากกว่า ซึง่ แซห์ลนิ ส์แย้งว่าคนสองสมัย นั้นมีพลังงานต่อคนต่อปีเท่ากันและเป็นดังนี้จนถึงเมื่อมี การปฏิวัติอุตสาหกรรม แซห์ลินส์ว่ากฎวิวัฒนาการหน่วย “ต่อคน” (per capita measures) นั้นผิดแน่ และเห็นว่าคน ในสมัยสังคมเกษตรกรรมต้องใช้แรงงานมากกว่าคนในสัง คมก่อนเกษตรกรรมมากนักเพราะส่วนหนึ่งต้องใช้ไปในการ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ด้วย
เหตุแห่งความเข้าใจผิดในเรื่องก็เพราะเราเอา ตัวเองซึ่งอยู่คนละสมัย มีสิ่งแวดล้อมและความจําเป็นใน การดําเนินชีวิตต่างกันกับเขา ไปเทียบกับเขา จึงไม่เข้าใจ ว่า “เขามีชีวิตอยู่ในที่แหล่งนั้นๆ ได้อย่างไร อาหารอย่าง นั้นกินเข้าไปลงหรือ?” ถ้าเห็นเขากินแมลงหรือสัตว์บาง ประเภททีค่ นปัจจุบนั ไม่กนิ กันก็มกั จะว่าล้าหลังหรืออดอยาก ซึ่งที่ถูกแล้วควรมองไปถึงว่าคนพวกนั้นๆ รู้จักธรรมชาติซึ่ง เป็นแหล่งอาหารของคนเป็นอย่างดี จนรู้ว่าอะไรกินได้กินไม่ได้
สภาพความเป็นอยูท่ แ่ี ท้จริงของสังคมนายพราน
งานค้นคว้าทางชาติวงศ์วรรณาของเผ่าชนในสังคม ก่อนเกษตรกรรมระยะหลังๆ นี้ เช่นของพวกเผ่าชนพื้น เมืองในออสเตรเลีย บุชแมนในแอฟริกาและเผ่าอื่นๆ ใน โลก ทําให้เราได้รู้ความจริงว่าสังคมแบบนี้ไม่ได้เป็นสังคมที่ อดอยากยากไร้แต่อย่างใด ตรงกันข้ามคนพวกนีก้ ลับมีความ รู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะเกี่ยวกับอาหารเป็น อย่างดี บางเผ่ารูจ้ กั พืชทีเ่ ป็นอาหารได้มากกว่า ๑๐๐ สปีชสี ์
สังคมนายพราน
๘๙
และยังใช้แรงงานน้อยกว่าคนในสังคมเกษตรกรรมเสีย อีกด้วย ซึ่งก็หมายความว่ามีเวลาว่างสําหรับพักผ่อนนอน หลับมากกว่าชาวนาชาวไร่และคนอย่างเราๆ ด้วยซ้ำไป
การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในประเทศไทย
หลักฐานการตั้งถิ่นฐานของคนโบราณในประเทศ ไทยสมัยไพลสโตซีนจนถึงประมาณ ๑ หมื่นปีมาแล้วมีพอ สมควร แต่ด้วยเหตุที่การศึกษาวิจัยแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน ไม่ได้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งเทคนิค วิธีการ ตลอดจนการ มองหลักฐานคนละทรรศนะ จึงทําให้ปะติดปะต่อเรื่องให้ ราบรื่นไม่ได้ หลักฐานทีพ่ บแล้วเป็นเครือ่ งมือหินกะเทาะ เครือ่ ง มือที่ทําด้วยกระดูกสัตว์ กระดูกสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็น สัตว์ร่วมสมัยกับคน ทั้งที่เป็นอาหารและไม่มีหลักฐานว่า เป็นอาหารของคน ส่วนกระดูกคนนัน้ ยังไม่เคยพบเก่ากว่า ๑๒,๐๐๐ ปี ซึ่งก็มีอยู่โครงเดียวที่พบที่ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในเพิง ผาแห่งหนึ่ง อายุที่ฟาน เฮเกอเรน ผู้ขุดสันนิษฐานไว้ก็เป็น เพียงการพิจารณาหลักฐานประกอบบางอย่างเท่านัน้ อย่างไรก็ดี การทีย่ งั ไม่พบโครงกระดูกของมนุษย์ ที่เก่าเป็นแสนเป็นล้านปีไม่ได้หมายความว่าประเทศไทยไม่มี หลักฐานของคนสมัยนั้นๆ ให้พบ เครื่องมือหินกะเทาะที่ได้ จากบางแห่งพอกําหนดถึงช่วงอายุเวลานั้นได้ และสถานที่ ที่น่าสํารวจอย่างจริงจังมีอยู่อีกมากมาย เช่น บนที่ราบขั้น บันไดหรือท้องน้ำเก่าระดับสูง หรือถ้ำและเพิงผาของเทือก เขาหินปูนซึ่งมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย จากอดีตจนถึงปัจจุบนั งานศึกษาวิจยั แหล่งโบราณ คดีสมัยแรกๆ ยังไม่ได้ทํากันอย่างจริงจัง หลักฐานที่พบซึ่ง ส่วนมากเป็นเครื่องมือหินซึ่งเป็นของที่ “เก็บตก” หรือ พบ “โดยบังเอิญ” เกือบจะทั้งนั้น เมื่อพบแล้วยังต้องพิจารณา ดูอย่างถี่ถ้วนโดยผู้รู้อีกด้วย เพราะมองเผินๆ แล้วลักษณะ ของเครื่องมือหินรุ่นแรกๆ นี้ดูจะไม่ผิดไปจากก้อนหินที่แตก โดยธรรมชาติเท่าใดนัก นอกไปจากนัน้ นักโบราณคดียงั ประสบปัญหาเกีย่ ว กับชั้นดินชั้นหินทางธรณีวิทยาอีกด้วย นักโบราณคดีศึกษา เองไม่ได้ จําต้องพึ่งผลงานของนักธรณีวิทยาในเรื่องควอเทอร์นารี (Quaternary) แต่กป็ รากฏว่าธรณีวทิ ยาเกีย่ วกับ ยุคนี้ในประเทศไทยไม่เอื้อเฟื้อต่อการศึกษาโบราณคดีมากนัก
๙๐
ภูมิหลัง
ขั้นตอนของงานโบราณคดี การสำรวจทางโบราณคดี : นักโบราณคดีจะเดินสํารวจในภูมปิ ระเทศ ต่าง ๆ กัน ซึ่งคาดว่าจะมีแหล่งหรือมี ร่องรอยการเข้าอยู่อาศัยของคน สมัยก่อนประวัติศาสตร์
: ในการสํารวจอาจพบแหล่งสําคัญ เช่น บริเวณเพิงผาหินทีม่ ภี าพเขียนสี ก็จะ บันทึกภาพเพื่อเป็นหลักฐานขั้นต้น
: สําหรับแหล่งที่ปรากฏร่องรอยของ โบราณวัตถุพน้ื ดิน เช่นเศษภาชนะดินเผา ก็จะเก็บตัวอย่างไว้เพื่อเป็นหลักฐาน ขั้นต้นเช่นกัน
การขุดค้นทางโบราณคดี
การปฏิบัติเกี่ยวกับโบราณวัตถุที่ได้ จากการสํารวจ-ขุดค้น
: เมื่อประเมินจากการสํารวจ พบแหล่ง ที่มีความสําคัญ และสามารถดําเนิน การขุดค้นหาหลักฐานได้ นักโบราณคดี จะเตรียมงาน เพื่อเริ่มงานขุดค้น เริ่มจากการวางผังอย่างเป็นระบบ แล้วทําการขุดค้นตามระดับชั้นดิน
: โบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นจะอยู่ใน สภาพที่ต่างๆ กัน บางอย่างจะนํามาทํา ความสะอาด สงวนรักษาเบื้องต้น เพื่อ ให้เห็นลักษณะชัดเจน นํามาจําแนกประเภท เพื่อการศึกษาและทําบันทึกรายละเอียด ของโบราณวัตถุในขั้นต้น
: เมือ่ พบร่องรอยหรือการปรากฏขึน้ ของโบราณวัตถุทฝ่ี งั อยูใ่ นดิน จะต้องใช้ ความประณีตในการทําให้รอ่ งรอยนัน้ ปรากฏขึ้นมาชัดเจน
: เมื่อโบราณวัตถุที่ฝังอยู่ปรากฏให้เห็น ชัดเจนแล้ว จะถ่ายรูปและบันทึกแสดง ตําแหน่งของร่องรอยโบราณวัตถุ ก่อนทีจ่ ะเก็บโบราณวัตถุนน้ั ขึน้ มา อย่างเป็นระบบและดําเนินการขุดต่อไป
: นักโบราณคดีจะขุดต่อไปเรื่อยๆ จนถึงชั้นดินที่ไม่มีร่องรอยการ เข้าอยู่อาศัยของมนุษย์
: นักโบราณคดีจะทําการบันทึกด้านหน้าตัด ของดินตามการแบ่งชั้นของสัณฐานดิน และร่องรอยที่ปรากฏ แล้วเก็บ ตัวอย่างดินในแต่ละระดับชั้นเพื่อนําไป วิเคราะห์เป็นขั้นสุดท้าย
การวิเคราะห์หลักฐานที่ได้จากการสํารวจและขุดค้น ในงานโบราณคดีกอ่ นประวัตศิ าสตร์ การวิเคราะห์หลักฐานเพือ่ ทราบเรือ่ งราว และอายุสมัยมีวธิ ที ส่ี าํ คัญๆเป็นต้นว่า ๑. การศึกษาลักษณะรูปแบบของโบราณ วัตถุ จะมีการเทียบเคียงในระหว่าง แหล่งเดียวกัน ในแหล่งทีม่ ลี กั ษณะ ใกล้เคียงกันและแหล่งอืน่ ๆ ๒. การวิเคราะห์โดยวิธที างวิทยาศาสตร์ ๒.๑ การวิเคราะห์ตวั อย่างดินใน แต่ละระดับชัน้ ทีข่ ดุ ค้น ๒.๒ การแยกส่วนประกอบของ วัสดุตา่ งๆ ทีเ่ ป็นโบราณวัตถุ เช่น โบราณวัตถุทม่ี สี ว่ นประกอบ เป็นดินเผา หิน แร่ เหล็ก สําริด โลหะอืน่ ๆ ฯลฯ ๒.๓ การตรวจสอบอายุของโบราณ วัตถุโดยเครือ่ งมือวิทยาศาสตร์ เป็นต้นว่า
- วิธรี าดิโอคาร์บอน (Radiocarbon): คือวิธวี ดั แสงกัมมันตภาพของคาร์บอน ทีห่ ลงเหลืออยูใ่ นโบราณวัตถุทเ่ี ป็น อินทรียวัตถุ เช่น ไม้ ถ่าน กระดูก - วิธเี ทอร์โมลูมเิ นสเซนซ์ ( Thermolu minescence): คือวิธตี รวจสอบอายุ ของโบราณวัตถุซง่ึ จะสะสมพลังงาน ด้วยการรับอิเล็กตรอนมากน้อยตาม อายุของวัตถุ ทีส่ ามารถใช้เครือ่ งมือ วิทยาศาสตร์ตรวจสอบโดยเปรียบ เทียบความสัมพันธ์จากจํานวนความ มากน้อยของแสงทีเ่ ปล่งออกมาจาก โบราณวัตถุเมือ่ ถูกเผามาคํานวณหา อายุของโบราณวัตถุนน้ั การตรวจ สอบวิธนี ใ้ี ช้กบั โบราณวัตถุทม่ี เี นือ้ วัสดุเป็น ดิน หิน ธาตุบางชนิด เช่น ใช้ตรวจสอบหาอายุภาชนะดินเผา จากบ้านเชียง เป็นต้น
สังคมนายพราน
๙๑
เครื ่องมือหินและประเภทของหินธรรมชาติ เครื่องมือหินในช่วงสมัยไพลสโตซีนและโฮโลซีน ตอนต้นๆ (Early Holocene) ของคนในสังคมล่าสัตว์พอจะ แยกได้เป็น ๓ ชุด หรือ ๓ กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ ๑. กลุม่ เครือ่ งมือสับตัด หรือ Chopper chopping tool complex ซึ่งได้อธิบายไว้แล้วในบทก่อน ๒. กลุ่มเครื่องมือสะเก็ดหิน ๓. กลุ่มเครื่องมือแบบฮัวบิเนียน (Hoabinhian) ตามแหล่งทีพ่ บ ชือ่ “ฮัวบินห์” อยูท่ างใต้ของฮานอยในเวียด นามเหนือซึ่งพบก่อนที่อื่น แต่ไม่ได้หมายความว่าเครื่องมือ หินแบบนีซ้ ง่ึ พบในประเทศไทยและประเทศอืน่ ๆ จะได้รบั อิทธิพลมาจากเวียดนามหรือจําเป็นจะต้องมีอายุน้อยกว่าที่พบ ในประเทศนั้นเสมอไป ตามสายวิ วั ฒ นาการของเครื่ อ งมื อ ในด้ า นรู ป ลักษณะและเทคนิคการกะเทาะและจากหลักฐานตามชั้น ดินจากแหล่งขุดค้นหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราพอทราบอายุกอ่ นหลังของเครือ่ งมือหินกลุม่ ต่างๆ เหล่านี้ ได้ว่า กลุ่มที่ ๑ นั้นเริ่มก่อน ต่อมาก็เป็นกลุ่มที่ ๒ ซึ่งบาง ครั้งพบปนอยู่กับกลุ่มที่ ๑ และกลุ่มที่ ๓ ในที่บางแห่ง ส่วน กลุ่มที่ ๓ นั้นวิวัฒน์มาจากมาจากกลุ่มที่ ๑ แน่นอน ธรรมชาติเป็นบ่อเกิดทรัพยากรที่จําเป็นในการ ครองชีวิตของมนุษย์ แต่กระนั้นก็ไม่ได้ให้ของสําเร็จรูปแก่ มนุษย์เอาไปใช้ได้ทุกอย่าง คนจะต้องเอาไปดัดแปลงเอง ด้วย ของขวัญที่มีค่าที่สุดอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติให้คือหิน สําหรับทําเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เพราะมีความทนทานโดย ธรรมชาติ เครื่องมือหินเหล่านี้จึงยังคงเหลืออยู่ให้ศึกษาได้ ไม่เหมือนหลักฐานประเภทอื่นๆ ที่เป็นอินทรียวัตถุที่เสื่อม สภาพไปตามเวลาทีผ่ า่ นไป เว้นแต่จะอยูใ่ นสิง่ แวดล้อมบาง ประเภททีเ่ อือ้ ต่อการรักษา เครื่องมือหินจํานวนมากกระจัด กระจายไปในที่ต่างๆ ของประเทศต่างๆ และเป็นหลักฐาน ที่สําคัญอย่างยิ่งของมนุษย์เกี่ยวกับพฤติกรรมและความ เก่าแก่ของมนุษย์ ในท้องน้ำเก่าทัว่ ๆ ไปมักจะมีหนิ กรวดก้อนมนอยู่ เรียงราย มนุษย์รุ่นแรกๆ จะเลือกหยิบเอาบางก้อนมาทํา เป็นเครื่องมือ
ที่แตกเองโดยธรรมชาติหรือคนทําขึ้น นอกจากว่า หินเหล่า นั้นพบรวมอยู่กับโครงกระดูกของมนุษย์ หรือกระดูกของสัตว์
หินที่แตกโดยธรรมชาติ
ยังมีหินที่คงรูปเดิมตามธรรมชาติอีกจํานวนหนึ่ง ซึง่ เราต้องเรียกว่า “เครือ่ งมือ” แม้จะไม่ได้มรี อ่ งรอยมนุษย์ ทําขึ้นก็ตาม เครื่องมือเหล่านั้นเป็นก้อนหินธรรมดาๆ ที่คน ใช้เป็นทั่ง (anvils) เป็นสาก (pestles) หรือเป็นค้อน (hammers) มนุษย์ในปัจจุบันก็ยังหยิบก้อนหินเหล่านั้นจากพื้น ดินและเอามาใช้ได้เหมือนกัน นิโคลาส ปีเตอร์สัน (Nicholas Peterson)๓ เขียนเกี่ยวกับพวกโดเบ บุชแมน (Dobe Bushman) ว่า พวกผู้หญิงใช้หินที่แตกแล้วเป็นเครื่องมือ และเคนเนธ โอค เลย์ (Kenneth Oakley)๔ เขียนถึงพวกชนพื้นเมืองเดิมใน ออสเตรเลียว่า ใช้หินที่มีคมซึ่งแตกเองโดยธรรมชาติตัด ต้นไม้บ้างเหมือนกัน
๓ Nicholas Peterson. อ้างถึงใน Lee, “The Pestle and Mortar : An Ethnographic Analogy for Archaeology in Arnhem Land”. Mankind Vol.6 No.11, Sydney University Press, 1968 : 567. ๔ Oakley, K.P., Man the Tool Maker. The British Museum (Natural History). London. 1967 : 5.
๑-๒ การทําเครื่องมือสับตัด โดยใช้ก้อนหินก้อนเล็ก ต่างค้อน ทุบบริเวณส่วนปลายของก้อนหินควอร์ตไซต์ ให้แตกออกเป็นรอยคม ก็จะได้เครือ่ งมือหินชนิดหยาบๆ
๓
๑
เครื่องมือหินรุ่นแรกๆ
เครือ่ งมือหินรุน่ แรกๆ ทําจากก้อนหินกรวดกะเทาะ ให้แตกพอให้มเี หลีย่ มคมใช้งานได้ ดังทีพ่ บทีอ่ ำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย อำเภอแม่ทะ จังหวัดลําปาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอ เชียงคาน จังหวัดเลย และ อําเภอดอนตาล จังหวัด มุกดาหาร ฯลฯ แต่ดว้ ยเหตุทว่ี า่ เครือ่ งมือหินรุน่ แรกๆ มีแบบเรียบ ง่าย ไม่ตอ้ งตาและหยาบ บางชิน้ จึงดูได้ยากว่าเป็นก้อนหิน
๙๒
ภูมิหลัง
๔ ๓-๔-๕ การทําเครื่องมือขวานมือด้วยหิน เหล็กไฟ ซึ่งซับซ้อนกว่าแบบแรก โดยมีการ แต่งคมรอบๆ ตัวด้วย ๒
ดังนั้น นักโบราณคดีจึงต้องหาทางเรียนรู้วิธีทํา เครื่องมือของคนโบราณสมัยแรกๆ ว่าแตกต่างจากหินที่ แตกเองโดยธรรมชาติอย่างไร วิธีหนึ่งนั้นคือลองทําเอง ด้วยการใช้วัสดุประเภทเดียวกัน และวิธีที่สองโดยตรวจ สอบส่วนที่ใช้งาน เช่นด้านที่มีคมว่าการสึกหรอเป็นแบบใด ใช้ไปฟันอะไรมา วิธีตรวจสอบนี้จะช่วยให้ทราบได้ว่าก้อน หินบางก้อนซึ่งแม้จะแตกเองโดยธรรมชาติแต่คนก็เอามา ใช้ นับว่าเป็น “เครื่องมือ” ได้เหมือนกัน ชนิดของหินที่ใช้ทําเป็นเครื่องมือสมัยแรกๆ นั้น ต่างกันไปตามสถานที่ซึ่งมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ในยุโรป ตะวันตก๕มีหินเหล็กไฟมาก เครื่องมือหินตั้งแต่สมัยแรกๆ ถึงสังคมเกษตรกรรมจึงทําด้วยหินชนิดนี้มากกว่าอย่างอื่น ทั้งนี้เพราะคุณสมบัติของหินเหล็กไฟซึ่งมีเนื้อเดียวกัน (homogeneous) เนื้อแน่นละเอียดทําให้เป็นรูปได้ง่ายและคม กว่าหินประเภทควอร์ตไซต์ซึ่งเป็นหินที่แปรมาจากหินทราย เนื้อจึงหยาบ จะกะเทาะให้มีคมบางอย่างหินเหล็กไฟหรือ หินเชิร์ตไม่ได้
ในประเทศไทย เครื่องมือหินสมัยแรกๆ นั้นทํา ด้วยหินหลายชนิดเหมือนกัน เช่น จำพวกหินตะกอน มีหิน ทราย (sandstone) หินเชิร์ต (chert) หินดินดาน (shale) จําพวกหินแปร มีหนิ ควอร์ตไซต์ (quartzite) หินชนวน (slate) และจําพวกหินอัคนี มีหนิ เถ้าภูเขาไฟ (meta tuff) แอนดีไซต์ (andesite) และไรโอไลต์ (rhyolite) เป็นต้น จะเห็นว่าคุณภาพของหินที่คนในประเทศไทยใน สมัยแรกเริ่มเลือกเอามาทำเครื่องมือนั้น เมื่อเทียบกับยุโรป หรือประเทศทางตะวันตกหลายประเทศแล้วมีคุณภาพต่ำ กว่ามาก โดยเฉพาะทีท่ ำจากหินควอร์ตไซต์หรือหินทรายแล้ว ทำให้สวยงามได้ยาก เพราะวัตถุตน้ กำเนิดเป็นทรายทีอ่ ดั เชือ่ ม กัน เนือ้ จึงหยาบมาก เวลาทีน่ ำมาใช้ทำเครือ่ งมือจะกะเทาะ เอาสะเก็ดออกได้เพียงไม่กค่ี รัง้ ถ้ากะเทาะมากหรือแต่งมาก อย่างหินเหล็กไฟหรือหินเชิร์ตจะแตกทั้งก้อน เว้นแต่บาง ก้อนมีเนื้อทรายละเอียดมากและจับตัวแน่นอย่างที่เคยพบ ในถ้ำเขาป่าหมาก จังหวัดกระบี่
๕ Rosenfeld, Andree. The Inorganic Raw Materials of Antiquity. Weidenfeld 2nd Nicolso. London. 1965
๖-๗-๘-๙-๑๐ การใช้ก้อนสะเก็ดหิน มาแต่งคมรอบๆ ให้เกิดเป็นเครื่องมือปลายแหลมรูปใบไม้ ซึ่งใช้เป็นหัวลูกศรหิน ในสังคมล่าสัตว์ เครือ่ งมือเครือ่ งใช้ทท่ี าํ ด้วยหิน ชนิดต่างๆ นอกจากจะศึกษา รูปแบบ เพือ่ ทราบถึงประเภท การใช้งานของเครือ่ งมือนัน้ ๆ แล้ว นักโบราณคดียงั จะต้อง หาวิธที จ่ี ะทราบให้ได้วา่ เครือ่ งมือ หินชนิดต่างๆ ของคนในสังคมล่า สัตว์นน้ั สามารถทําขึน้ ได้อย่างไร บ้าง และจะได้เครือ่ งมือสําหรับ ใช้งาน ตรงเป้าประสงค์หรือไม่ วิธหี นึง่ ทีจ่ ะรูไ้ ด้กค็ อื การทดลอง ทําเครือ่ งมือหิน ด้วยวิธกี าร กะเทาะ ขัดเกลา โดยใช้วธิ ี การทําเลียนแบบโบราณให้มาก ทีส่ ดุ นัน่ เอง
๕
๗
๙
๘
๑๐
๖
สังคมนายพราน
๙๓
หินที่มีคุณภาพดีในการทําเครื่องมือหินที่เรามีอยู่ จึงเป็นหินประเภทที่มีเนื้อเดียวกันและเนื้อแน่นละเอียด มีรอยแตกโค้งแบบก้นหอยหรือคล้ายคลึง (subconchoidal) อย่างเช่นหินเชิร์ตซึ่งกะเทาะให้ได้ขนาดใหญ่ได้ เล็กได้และ ให้ได้สว่ นคมดีกว่าอย่างอืน่ ๆ รองลงมาเป็นหินอัคนีบางชนิด เช่น ไรโอไลต์ และแอนดีไซต์ซึ่งมีเนื้อละเอียด หรือบะซอลต์
แหล่งเครื่องมือหินกะเทาะใน ประเทศไทย เริม่ แต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ ซึง่ เป็นปีทศ่ี าสตราจารย์ฟริทซ์ แซระซิน ศาสตราจารย์ชาวสวิส ไปขุดค้นในถ้ำที่จังหวัด เชียงใหม่และเชียงรายมาจนปัจจุบันนี้ เราได้พบเครื่องมือ หินรุ่นแรกๆ ในที่ต่างๆ เกือบทุกภาคแล้ว แต่งานศึกษาค้น คว้าไม่เป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน และบางแห่งรายงาน ไว้ย่นย่อเกินไป หรือบางแห่งไม่มีรายงานเลย การจะเขียน ถึ ง แหล่ ง ต่ า งๆเหล่ า นี้ ให้ ล ะเอี ย ดทั้ ง หมดจึ ง เป็ น ไปไม่ ได้ ผู้เขียนจึงจะสังเขปแหล่งที่คณะของผู้เขียนได้ไปทํามาเอง หรื อ มี ส่ ว นร่ ว มทางใดทางหนึ่ ง ให้ ก ระจ่ า งขึ้ น กว่ า ที่ อ่ื น ฉะนัน้ รายละเอียดของแหล่งต่างๆ จึงมีมากน้อยต่างกัน ตามปริมาณและคุณภาพของข้อมูลที่มีอยู่
ภาคเหนือ
นอกจากแหล่งทีศ่ าสตราจารย์ฟริทซ์ แซระซิน ได้ ไปขุดสํารวจเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ พบเครื่องมือกลุ่มเครื่องมือ สับตัดแล้ว เชสเตอร์ กอร์มัน (Chester Gorman) ก็ได้ไปขุดที่ถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบเครื่องมือแบบฮัว บิเนียนและหลักฐานสําคัญอื่นๆ ซึ่งจะกล่าวขยายความใน ตอนหลัง ถึง พ.ศ. ๒๕๑๓ วีรพันธ์ มาไลยพันธ์ และคณะ จากคณะโบราณคดีได้ไปสํารวจและขุดค้นแหล่งเครื่องมือ หินรุ่นแรกนี้ ที่อําเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จากนั้น วัลภา ขวัญยืน กรมศิลปากร ได้ไปขุดสํารวจในถ้ำแห่ง หนึ่งที่ดอยสะเก็ด ถึง พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๑๙ ซอเรนเซน และคณะ สํารวจที่อําเภอแม่ทะ จังหวัดลําปาง และขุดค้นที่ อําเภอสอง จังหวัดแพร่ แต่มรี ายงานการสํารวจเฉพาะของ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลําปางเท่านั้น และในปีนี้เองคณะของ ผู้เขียนได้ไปสํารวจเพิ่มเติมที่ อําเภอแม่ทะ จังหวัดลําปาง อีกครั้งหนึ่ง เครื่องมือที่แซระซินขุดได้ มีหลายชิ้นที่ไม่ชัดเจน ว่าจะเป็นหินทีค่ นทําขึน้ หรือแตกเองตามธรรมชาติ (ได้กล่าว ถึงโบราณวัตถุที่แซระซินพบไว้แล้วในบทที่ ๒) ที่พบที่เชียง ใหม่ทาํ จากหินไรโอไลต์ ส่วนทีพ่ บทีเ่ ชียงรายทีถ่ ำ้ พระ ทําจาก ไดอะเบสซึง่ ก็เป็นหินอัคนีชนิดหนึง่ ไรโอไลต์ หินชนวน หิน ปูน และควอร์ตไซต์ แซระซินอ้างถึงเครื่องมือปลายแหลม ทําด้วยกระดูกสัตว์อีกชิ้นหนึ่งด้วย
๙๔
ภูมิหลัง
๑
ในบริ เวณใกล้ ฝั่ ง แม่ น้ ำ โขงและแม่ น้ ำ คํ า ซึ่ ง อยู่ ห่างจากตัวอําเภอเชียงแสนไปทางทิศใต้ประมาณ ๒ กิโลเมตร วีรพันธ์ มาไลยพันธ์๖ ได้สํารวจพบเครื่องมือหิน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นเครื่องมือกลุ่มเครื่องมือสับตัด ส่วน มากทําจากหินไรโอไลต์ มีควอร์ตไซต์อยู่บ้างเพียงไม่กี่ชิ้น ผู้เขียนเห็นว่ามีแบบฮัวบิเนียนอยู่บ้าง ปีต่อมาคณะสํารวจชุดนี้ได้ขยายเขตทํางานออก ไปเลียบฝั่งโขง ไปทางต้นน้ำถึงสบรวก และตามน้ำทางใต้ ถึงหาดสวนดอก พบเครือ่ งมือหินประเภทเดียวกันนีก้ ระจาย อยู่ทั่วไปตามท้องน้ำเก่า ผลการสํารวจในบริเวณอื่นเลียบ แม่น้ำคําให้ผลเป็นอย่างเดียวกัน วีรพันธ์ขุดค้นเนินลาดที่ดอยคํา รายงานว่าพบ ของ ๓ สมัยใหญ่ๆ สมัยแรกสุดผู้ขุดค้นเรียกสมัยหินเก่า สมัยต่อมาเป็นสมัยหินใหม่ และสมัยหลังสุดเป็นสมัยประวัติ ศาสตร์ โบราณวัตถุในชั้นดินของสมัยแรก (๑๐๐ เซนติเมตรถึง ๑๗๕ เซนติเมตร จากผิวดิน) มี choppers, proto handaxes และ picks ในจังหวัดลําปางในเขตอําเภอแม่ทะ ซอเรนเซน๗ นักโบราณคดีชาวเดนมาร์กและคณะได้สํารวจพบแหล่ง เครือ่ งมือหินรุน่ แรกหรือกลุม่ เครือ่ งมือสับตัด ซึง่ ต่อมาคณะ ผู้เขียนได้เดินทางไปสํารวจเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง สรุปได้ว่า แหล่งโบราณคดีแหล่งนี้อยู่ที่บ้านแม่ทะ ตําบล แม่ทะ อําเภอแม่ทะ (รุ้งที่ ๑๘° ํ′ ๑๑’ ๑๐” เหนือ, แวงที่ ๙๙ ํ′ ๓๓’ ๔๕” ตะวันออก) ตั้งอยู่บนระดับสูงสุดของบริเวณที่ราบ ขั้นบันได ในบริเวณที่สํารวจและใกล้เคียงเป็นป่าละเมาะ โอบล้อมด้วยภูเขาทุกด้าน จึงมีสภาพเหมือนแอ่งหรือมาบ แผ่นดิน (basin) สูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ ๓๐๐ เมตร แล้วลาดเลยลงมาทางใต้ถงึ บริเวณตะวันออกจากตัว อําเภอซึ่งสูงประมาณ ๒๗๐ เมตรจากระดับทะเลปานกลาง บริเวณที่เป็นจุดสํารวจอยู่ใต้ตัวเมืองลําปางประมาณ ๑๘ กิโลเมตรและเหนือที่ว่าการอําเภอแม่ทะ ๘ กิโลเมตร๘
รูป ๑ เครื่องมือหินจากดอยคํา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
รูป ๒ เครื่องมือหินแบบต่าง ๆ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลําปาง
๖ Maleipan, V. “Old Stone Age Tools at Chieng Saen,” วารสาร โบราณคดี ปีที่ ๔. เล่ม ๔. ๒๕๑๕. ๗ Sorensen, P. “Preliminary Note on the Relative and Absolute Chronology of Two Early Palaeolithic Sites from North Thailand”. IXe Congres, Colloque VIII, Le Paleolithique Inferieur et Hoyen en Inde, en Asie Centrale, en Chine et dans le Sud-Est Asiatique. A.K. Ghosh ed., Nice. 1976. ๘ พิสิฐ เจริญวงศ์, “ล้านปีของลําปาง?”, เดินทางท่องเที่ยว ปีที่ ๑. ฉบับที่ ๙. กันยายน ๒๕๒๒.
เครื่องมือหินพบปนอยู่กับหินกรวดซึ่งเรี่ยรายอยู่ บนพื้นท้องน้ำเก่า ส่วนใหญ่ทําด้วยหินควอร์ตไซต์เช่นเดียว กับที่พบที่อําเภอร้องกวาง และอําเภอสองในจังหวัดแพร่ คณะสํ า รวจของซอเรนเซนซึ่ง มี นัก ธรณี ฟิสิก ส์ ร่วมอยู่ด้วยรายงานว่า เครื่องมือหินกรวดที่พบนี้อยู่ใต้ชั้น ของบะซอลต์ซึ่งดันตัวขึ้นมา ในช่วงที่สนามแม่เหล็กเปลี่ยน แนวไปเป็นปกติ แนวหินบะซอลต์ของลําปางคลุมเนื้อที่ ประมาณ ๒๐๐ ตารางกิโลเมตร เครื่องมือหินที่คณะของซอเรนเซนและคณะของ ผู้เขียนพบเป็นเครื่องมือหินกะเทาะ มีคมอยู่ข้างเดียว มี ขนาดและรูปแบบอยู่ในกลุ่มเครื่องมือสับตัด เอส.เอม. บาร์ (S.M. Barr)๙ และคณะนักธรณี ฟิสิกส์ได้ตรวจวัดแนวแม่เหล็กเก่า (remnant magnetism) และได้ทดสอบอายุของบะซอลต์ด้วยวิธีฟีชชั่นแทร์ก (Fission track) และโพแทสเซียม-อาร์กอน (Potassium- argon) แต่ไม่ประสบผลสําเร็จตามทีค่ าดหวังไว้ วิธแี รกยังไม่ พบตัวอย่างที่ดีพอ เพราะมียูเรเนียมน้อยเกินไปและแก้วไม่ มีคุณสมบัติที่ดี ส่วนปัญหาของวิธีที่สองเป็นเรื่องของปริ มาณอาร์กอนหายไป บอกได้แต่เพียงว่าบะซอลต์มีอายุ น้อยกว่า ๑ ล้าน ๗ แสนปี ซึ่งคณะสํารวจว่าพอเป็นเค้าได้ ว่าการเปลี่ยนแปลงแนวแม่เหล็กก็คงเกิดขึ้นเมื่อไม่ ๖ แสน ๙ หมื่นปี ก็ ๙ แสน ๕ หมื่นปีมาแล้ว และให้ความเห็นว่า อายุของเครื่องมือหินที่พบใต้ชั้นบะซอลต์นั้นก็จะต้องมีอายุ เก่าแก่กว่า ๖ แสน ๙ หมื่นปีหรือเก่ากว่า ๙ แสน ๕ หมื่นปี มาแล้ว เพราะหินกรวดนั้นมีมาก่อนที่บะซอลต์จะไหลมาทับ ๙ Barr, S.M.et.al. “Palaeomagnetism and Age of the Lampang Basalt (Northern Thailand) and Age of the Underlying Pebble Tools”. Journal of the Geological Society of Thailand, Vol. 2, Nos. 1-2, December, 1976 : 1-10.
๒
สังคมนายพราน
๙๕
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คณะสํ า รวจโครงการที่ เขื่ อ นผามองซึ่ ง นํ า โดย ดอนน์ ที. เบยาร์ด (Donn T. Bayard)๑๐ ได้ขุดทดสอบ แหล่งหนึ่งในอําเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ระหว่างสํารวจ ใน พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๗ บริเวณนัน้ อยูร่ มิ ฝัง่ แม่นำ้ โขงด้านตะวันตกของตัวเมืองเชียงคาน คณะผู้ทํางานได้พบเครื่องมือ หินแบบฮัวบิเนียนกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอันกว้างใหญ่ แต่ได้สรุปว่าบริเวณที่เลือกดําเนินการเป็นจุดเล็กๆ ที่มีหลัก ฐานของการทําเครื่องมือหิน คณะของเบยาร์ดเปิดหลุมขุดค้นขนาด ๒ x ๒ เมตร หลุมเดียว ขุดลึกประมาณ ๕๐ เซนติเมตร แบ่งชั้นดินได้ ๘ ชั้น ชั้นบนสุดพบของสมัยใหม่ และชั้นที่ ๒ พบของใหม่ปน ของเก่า ชั้นที่ ๓ เป็นพื้นบนของที่ราบขั้นบันไดหรือท้องน้ำ เก่า ได้พบเครื่องมือหินจํานวนหนึ่งเป็นพวกเครื่องขูด และ เครื่องมือสับตัด (cutting tools) นอกจากนั้นเป็นสะเก็ดหิน ทีเ่ หลือจากการกะเทาะหินทําเป็นเครือ่ งมือ เบยาร์ดว่าสะเก็ด หินเหล่านี้เป็นหินหลายชนิด ทั้งหินตะกอน หินอัคนี และ หินแปร แสดงว่าคนโบราณเลือกใช้หินชนิดที่มีคุณภาพเพื่อ ให้เครือ่ งมือนัน้ ใช้ประโยชน์ได้ตามทีต่ ง้ั ใจ ไม่ตดิ อยูท่ ช่ี นิดใด ชนิดหนึ่ง ชั้นต่อๆ มามีเครื่องมือหินกรวดมากน้อยต่างกัน จนสิ้นชั้นที่ ๖ ชั้นที่ ๗ และ ๘ ไม่มีรายงานว่าได้พบ เครื่องมือเหล่านี้มีรูปแบบของกลุ่มเครื่องมือสับ ตัดมากกว่าฮัวบิเนียนที่แท้จริง (Hoabinhian proper) ซึ่ง วิวัฒน์ไปมากแล้ว ฉะนั้นอายุน่าจะเก่ากว่าหมื่นปีขึ้นไป แต่ เพราะมีเศษภาชนะดินเผาอยู่ในชั้นที่ ๓ เบยาร์ดจึงเสนอว่า อาจร่วมสมัยเดียวกันกับที่พบที่ถ้ำผีในระดับที่ ๒ (Level II) ซึ่งก็ประมาณ ๙,๐๐๐ ปีมาแล้ว คณะสํารวจของโครงการโบราณคดีภาคตะวัน- ออกเฉียงเหนือของกรมศิลปากรได้เก็บตัวอย่างเครือ่ งมือหิน จํานวนหนึง่ จากเชียงคานมาวิเคราะห์ ได้พบว่ามีหนิ ควอร์ตไซต์ หินแอนดีไซต์ หินเถ้าภูเขาไฟ หินดินดาน และหินเชิร์ต ฯลฯ ซึ่งถูกแม่น้ำโขงพัดพามาจากประเทศต่างๆ ที่ไหลผ่าน ริมฝั่งโขงทางด้านตะวันออกของที่ราบสูง ที่ อําเภอดอนตาล จังหวัดนครพนม (เมื่อตั้งจังหวัดมุกดาหาร อำเภอดอนตาลขึ้นอยู่กับจังหวัดใหม่นี้) คณะของโครงการ โบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ๑๑ ได้สํารวจพบเครื่อง มือหินกรวดจํานวนหนึง่ ทําด้วยหินแอนดีไซต์ของกลุม่ เครือ่ ง มือแบบฮัวบิเนียน
๑๐ Bayard. D.T. et. al. Pa Mong Archaeological Survey Programme Preliminary Report on the First Season, December 1973 April 1974. Dept. of Anthropology, Univ. of Otago, New Zealand, 1974.
๙๖
ภูมิหลัง
แหล่งสองแหล่งที่กล่าวมาเป็นสองแหล่งแรกใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือในประเทศไทยที่ได้มีรายงาน ออกมาว่าเป็นแหล่งฮัวบิเนียนที่อยู่ใกล้ลําน้ำใหญ่ แทนที่ จะอยู่ในถ้ำอย่างที่พบในภาคอื่นๆ หรือชายทะเลอย่างที่ พบในมาเลเซีย ฯลฯ และบางแห่งในถ้ำชายทะเลทางภาค ใต้ของประเทศไทย
ภาคตะวันตก
สําหรับภาคนี้ได้กล่าวเป็นประวัติไว้บ้างแล้วเรื่อง ศาสตราจารย์ฟริทซ์ แซระซินไปสํารวจถ้ำที่จังหวัดราชบุรี พบหินควอร์ตไซต์ซึ่งเชื่อว่าเป็นเครื่องมือหิน กระดูกสัตว์ และเปลื อ กหอยบกและหอยทะเลจํ า นวนหนึ่ ง และ เฮเกอเรน พบเครื่องมือหินแถบตําบลบ้านเก่า อําเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งทําให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในฐานะ เป็ น ดิ น แดนที่ เ ก่ า แก่ เป็ นที่ อ ยู่ อ าศั ย ของคนโบราณเมื่ อ แสนๆ ปีมาแล้วอย่างประเทศอื่นๆ เหมือนกัน ท่านทั้งสองเขียนหนังสือลงในวารสารวิชาการ หลายแห่ง แต่เฮเกอเรนนั้นลงข่าวใน Illustrated London News ของอังกฤษซึ่งเป็นที่นิยมอ่านของคนทั่วไป เรื่องจึง ครึกโครมกว่าของแซระซิน รูปเครื่องมือฮัวบิเนียนรูปหนึ่งซึ่งลงในนิตยสาร ฉบับนั้น มีคําอธิบายว่า “อาจจะเป็นของที่มนุษย์วานรชวา (Java ApeMan) ทําขึ้น พบในสยาม” ส่วนอีก ๒ รูป มีคําอธิบายว่า “...บางท่านว่าเป็นผลงานของมนุษย์วานร (Pithecanthropus)” การศึกษาระยะหลังๆ ซึ่งเน้นบริเวณอ่างเก็บน้ำ ของเขื่อนอเนกประสงค์ที่ลําน้ำแควน้อยและแควใหญ่ ได้ พบเครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียนในถ้ำเพิงผาและตลิ่งซึ่งเคย เป็นท้องน้ำเก่าหลายแห่ง ทีม่ รี ายงานเป็นหลักฐานคือไทรโยค ซึง่ เป็นผลงาน ของคณะสํารวจไทย-เดนมาร์กนําโดย เฮเกอเรน ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๕ เฮเกอเรนประมาณว่าเครื่องมือหินกะเทาะที่พบ ที่นี่คงมีอายุระหว่าง ๘,๐๐๐-๑๐,๐๐๐ ปี ก่อนคริสต์กาล ณ ที่นี้เองที่พบโครงกระดูกของคนโบราณที่เก่า ที่สุดในขณะนี้ เป็นโครงที่ฝังในลักษณะที่ประหลาดกว่าการ ฝังศพโดยทั่วๆ ไป กล่าวคืองอตัวให้นอนหงาย ชันเข่าอยู่
๑๑ พิสิฐ เจริญวงศ์ และคณะ, รายงาน การสํารวจโบราณคดี “แหล่งนายกอง คูน” ตำบลดอนตาล อำเภอดอนตาล จังหวัดนครพนม, กรมศิลปากร ๒๕๒๑.
รูป ๓ เครื่องมือหิน จากการขุดค้นที่ อําเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
รูป ๔ เครื่องมือหินกรวดใกล้ฝั่งโขง อําเภอ ดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ๓
๔
สังคมนายพราน
๙๗
รูป ๕ เครื่องมือหินส่วนหนึ่งที่เป็นข่าวใน นิตยสารข่าวภาพลอนดอน ฉบับวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ พบโดย เฮเกอเรน นักโบราณคดีผู้กลายเป็นเชลยศึกระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี (เขียนจากภาพถ่าย)
รูป ๖ หัวลูกศรหิน จังหวัดกาญจนบุรี (พิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของคุณแมน ลีละพันธ์ุ)
๕
บนก้อนหินใหญ่ ศีรษะหันไปทางทิศเหนือ พลิกหน้าไปทาง ขวา ฝ่ามือขวาอยูใ่ ต้คาง แขนซ้ายวางพาดอยูบ่ นหน้าอก ซึง่ มีหินก้อนใหญ่วางทับอยู่ ตามร่างและบนหัวมีดินเทศสีแดง โรยทั่วไป ซอเรนเซนรายงานว่าได้พบเครื่องมือหินคล้าย กับแบบฮัวบิเนียนในการขุดค้นที่ถ้ำองบะ อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ในชั้นดินที่กําหนดอายุด้วยคาร์บอน -๑๔ แล้วระหว่าง ๑๑๑๘๐ ± ๑๘๐ ปี และ ๙๓๕๐ ± ๑๔๐ ปี มาแล้ว๑๒
ภาคตะวันออก
แม้จะมีรายงานการพบโบราณวัตถุสมัยก่อนประ วัติศาสตร์ในเขตจังหวัดจันทบุรีและปราจีนบุรีบ้าง หลักฐาน เก่าที่สุดที่พบเป็นขวานหินขัดไม่กี่ชิ้น ทั้งนี้นอกจากจะเป็น เพราะไม่ได้สํารวจกันจริงจังแล้ว ยังเป็นเพราะคนทั่วๆ ไป มองไม่เห็นความแตกต่างของเครื่องมือหินกะเทาะอย่าง หยาบๆ กับก้อนหินที่แตกเองโดยธรรมชาติด้วย อย่างไรก็ดี กองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้พบ เครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียนแล้วในถ้ำแห่งหนึ่งในจังหวัด ชลบุรี
๙๘
ภูมิหลัง
แหล่งโบราณคดีแหล่งนี้เป็นถ้ำของเทือกเขาหิน ปูนที่ชาวบ้านเรียกว่า “เขาประทุน” หรือ “เขาละอางห้า ยอด” อยู่ห่างจากที่ว่าการอําเภอบ่อทองหรือหมู่บ้าน อมพนมไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ตัง้ อยูร่ ะหว่างรุง้ ที่ ๑๓ °ํ ๑๕′’ ๑๙′’′ ’ เหนือและแวงที่ ๑๐ ํ ๓๐’′ ๐๐’’′′ ตะวันออก แผนที่ของกรมแผนที่ทหาร พิมพ์ครั้งที่ ๑ - RSTD มาตราส่วน ๑:๕๐,๐๐๐ ลําดับชุด L 7017 ระวาง 5335 III เรียกเขาชะอางคร่อมคลอง ซึ่งมีอยู่ ๒ เทือก ติดต่อกันใน พื้นระดับ ๙๐ เมตรเหนือระดับทะเลปานกลาง พืน้ ดินรอบๆ ภายในรัศมี ๑ กิโลเมตร เป็นพืน้ ทีส่ งู เหนือระดับทะเลปานกลาง ตั้งแต่ ๖๐ เมตรขึ้นไป บริเวณโดยรอบเป็น ป่าโปร่ง แต่ปจั จุบนั เป็นไร่ซง่ึ บางแห่งขยายไปเกือบถึงเชิงเขาแล้ว แหล่งน้ำธรรมชาตินอกจากน้ำฝนแล้ว มีน้ำจาก คลองกระแสและห้วยนิคมซึ่งใช้ได้ไม่ตลอดปี ใกล้กับถ้ำ แห่งนี้มีแหล่งน้ำซับ ปัญหาขาดแคลนน้ำจึงไม่น่าจะเป็น ปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งมี ประชากรน้อยในเขตนี้ จากหลักฐานโบราณวัตถุทส่ี าํ รวจพบของทีพ่ บเป็น ของหลายสมัย แต่จะกล่าวถึงเพียงเครือ่ งมือแบบฮัวบิเนียน แต่เพียงอย่างเดียว
๑๒ Sorenen, P. “The Ongbah Cave and its fifi fth drum”. Early South East Asia : Essays in Archaeology, History, and Historical Geography. 1979 : 79. R.B. Smith and W. Watson eds. Oxford University Press.
๖ รูป ๗-๘ เครื่องมือหินกะเทาะที่ได้จากการขุดค้นที่ ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
๗-๘
๙ รูป ๙-๑๐ การขุดค้นทางโบราณคดีที่เพิงผาหน้าถ้ำ ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. ๒๕๐๕
๑๐
สังคมนายพราน
๙๙
๑๒
๑๑
เครือ่ งมือนัน้ ทําด้วยหินควอร์ตไซต์เป็นรูปไข่ กะเทาะ เกือบตลอดทัง้ สองหน้า ส่วนทีไ่ ม่กะเทาะเป็นผิวของแกนหิน ซึ่งจงใจเหลือไว้เพราะได้ระดับกับส่วนต่างๆ พอดี จากการ วิเคราะห์ดว้ ยกล้องจุลทรรศน์พบว่ามีสว่ นทีข่ ดั เรียบแล้วด้วย แสดงถึงขัน้ ตอนของเทคโนโลยีทอ่ี ยูร่ ะหว่างการเปลีย่ นแปลง จากช่วงสมัยที่ทําเครื่องมือพอใช้ได้ตามประสงค์ไปสู่สมัยที่ เพิ่มความประณีตให้ใช้เฉพาะอย่างเพิ่มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ชิ้นนี้เป็นชิ้นแรกที่พบในภาคนี้และเป็นชิ้นเดียวที่ เหลือให้เห็นโดยบังเอิญ พระภิกษุทจ่ี าํ วัดอยูใ่ นถ้ำบริเวณนัน้ บอกให้ทราบว่าชาวบ้านพบหลายชิน้ แต่ไม่ทราบว่าเป็นของทีค่ น ทําขึ้น เห็นรูปร่างแปลกๆ จึงเอามาขว้างปากันเล่นจนเหลือ ชิ้นนี้ชิ้นเดียว จึงได้นํามามอบให้ภิกษุรูปนั้นเก็บรักษาไว้๑๓ ๑๓ รูป ๑๓ เครื่องมือหินรูปไข่ในถ้ำ ใกล้เขาชะอาง คร่อมคลอง จังหวัดชลบุรี
๑๓ พิสิฐ เจริญวงศ์ และ นิติ แสงวัณณ์, รายงานการสํารวจแหล่งโบราณคดี “เขาชะอางคร่อมคลอง” ชลบุรี, กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๒๒.
๑๐๐ ภูมิหลัง
รูป ๑๑ สภาพแวดล้อมบริเวณแหล่ง โบราณคดี เขาชะอางคร่อมคลอง
รูป ๑๒ การสํารวจแหล่งโบราณคดีที่เขาชะอาง คร่อมคลอง
รูป ๑๔ เครื่องมือหินกะเทาะที่พิพิธภัณฑ์ วัดคลองท่อม อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
รูป ๑๕ เครื่องมือขุด จากถ้ำเขาป่าหมาก ตําบลคลองหิน อําเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
๑๔
ภาคใต้
เมื่อเปรียบกับงานค้นคว้าในภาคอื่นๆ แล้วภาคใต้ นับว่ามีงานโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์น้อยมาก ข้อมูล ส่วนมากเป็นโบราณวัตถุที่เอกชนเก็บไว้และส่วนหนึ่งอยู่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กระนั้นก็ตาม โบราณวัตถุที่เก็บ รักษาและจัดแสดงก็เป็นแต่ของสวยงามประเภทลูกปัดแก้ว หินสี เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทําด้วยหินก็เป็นแบบที่ชัดเจนอยู่ แล้ว เช่น ขวานหินขัด มีดหิน และกําไล เครื่องมือหิน กะเทาะมีอยู่แห่งเดียวที่พิพิธภัณฑ์วัดคลองท่อม อำเภอ คลองท่อม จังหวัดกระบี่ งานสํารวจของกรมศิลปากรเมือ่ พ.ศ. ๒๕๒๑ เพือ่ วางแผนทําโครงการศึกษาระยะยาว ได้สํารวจแหล่งก่อน ประวัติศาสตร์ประมาณ ๑๐ แห่งในเขตจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช แต่โบราณวัตถุที่พบไม่ มีรูปแบบเก่าถึงเครื่องมือหินกะเทาะ งานที่จะเป็นชิ้นเป็นอันต่อไปในอนาคต นอกจาก ของกรมศิลปากรแล้วก็คงเป็นของมหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยบราวน์ (Brown University) สหรัฐ อเมริกา นําโดยอาจารย์พรชัย สุจิตต์ ดร. ดักลาส แอนเดอร์สัน (Douglas Anderson) และดร. วรรณี แอน- เดอร์สัน ซึ่งได้เริ่มงานระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ข้อมูลหลายอย่างที่สนับสนุนหลักฐานความ เก่าแก่ของคนในภาคใต้ยอ้ นหลังไปในอดีตราว ๔๐,๐๐๐ ปี มาแล้ว ในทีน่ จ้ี ะเสนอข้อมูลจากแหล่งสองแหล่งในจังหวัด กระบี่ซึ่งคณะของผู้เขียนสํารวจพบเอง ประเภทของแหล่งทีพ่ บเครือ่ งมือหินกะเทาะในภาค นี้เป็นถ้ำหินปูนของราชบุรีฟอร์เมชันซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปใน ทุกภาค สําหรับภาคใต้หินปูนราชบุรีปรากฏเป็นหย่อมและ
เป็นเทือกตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป หากได้ค้นคว้าอย่างจริง จังจะได้พบหลักฐานประเภทนี้อีกมากทีเดียว แหล่งโบราณคดีท่จี ะกล่าวถึงอยู่ในเขตของตําบล คลองหิน อําเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ถ้ำเขาป่าหมาก ชาวบ้านเรียกเขาลูกนี้ว่า “เขาโต๊ะหลวง” ซึ่งสูง ประมาณ ๒๐๐ เมตรจากระดับทะเลปานกลาง พื้นที่โดย รอบเป็นป่าละเมาะสลับสวนยางและสวนผลไม้ ของที่พบในถ้ำเป็นเครื่องมือหินกะเทาะมีปลาย แหลมข้างหนึ่งซึ่งจะเรียกว่า “เครื่องมือขุด” (pick) เป็น เครื่องมือกะเทาะสองหน้าที่ปลายข้างเดียว ทําจากหิน ควอร์ตไซต์ที่มีเนื้อละเอียดกว่าที่พบที่จังหวัดลําปาง ฯลฯ และสะเก็ดหินทําจากหินแอนดีไซต์ (andesite flakes) ของประเภทอื่นๆ เป็นลูกกระสุนดินเผา และภาชนะลาย เชือกทาบ กระดูกต่างๆ ที่เก็บได้ในถ้ำ มีกระดูกเชิงกราน ของคนอยู่ชิ้นเดียว ส่วนกระดูกสัตว์นั้นมีหลายชนิด ถ้า พิสูจน์ได้ว่าเป็นของสมัยเดียวกันก็จะได้ทราบว่าคนโบราณ สมัยนั้นได้อาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์หลายประเภททีเดียว เช่น วัวหรือควาย (Bovids) หมู (Sus scrofa) เต่าบก หรือเต่าเพ็ก (carapace) สัตว์ปีก (fowls) หอยขม (Filopaludina sp.) และหอยน้ำเค็มอีกชนิดหนึ่ง ถ้ำเขานุ้ย ถ้ำเขานุย้ อยูห่ า่ งจากเขาป่าหมากไปทางทิศตะวันตก เฉียงเหนือประมาณ ๔ กิโลเมตร มีความสูงประมาณ ๒๐๐ เมตรจากระดับทะเลปานกลาง บริเวณโดยรอบเป็น สวนยาง สวนผลไม้ และป่าโปร่งซึ่งมีความสูงประมาณ ๕๐ เมตรจากระดับทะเลปานกลาง
๑๕
สังคมนายพราน
๑๐๑
ตัวอย่างโบราณวัตถุทเ่ี ก็บได้จากถ้ำแห่งนีม้ เี ครือ่ ง มือหิน เศษภาชนะดินเผา และกระดูกคน เครื่องมือหินที่พบในถ้ำแห่งนี้มีสะเก็ดหินอยู่ ๕ ชิ้น ทําด้วยหินควอร์ตไซต์ชิ้นเดียว ที่เหลือทําด้วยหินแอนดี ไซต์ เศษภาชนะดินเผามีทั้งผิวเรียบและมีรอยขีด (incised) และกระดูกคนมีกระดูกกราม (mandible) และกระดูกสัน หลังช่วงคอ (cervicle vertibrae) วิเคราะห์แล้วว่าเป็นของ คนที่ตายตอนอายุ ๒๐ กว่าปีขึ้นไป นิติ แสงวัณณ์๑๔ ให้ข้อสังเกตว่าแหล่งสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ในสมัยแรกๆ ในภาคนี้ส่วนหนึ่งอยู่ในถ้ำของ เทือกเขาหินปูน มีการใช้เครื่องมือหินกะเทาะ สะเก็ดหิน และภาชนะดินเผาบ้างแล้ว แหล่งประเภทนี้พบกระจายอยู่ หลายแห่งในเขตจังหวัดกระบี่ ซึง่ นอกจากสองแหล่งทีก่ ล่าว นี้แล้วก็มีที่เขาขนาบน้ำ ถ้ำช้างสี ถ้ำสายทับ และเพิงผา หน้าชิงในเขตอําเภอเมืองฯ และเขาเคียงน้ำ อําเภออ่าวลึก ใต้๑๕ นอกจากนั้นยังได้พบภาพเขียนสีในถ้ำต่างๆ หลาย แห่งด้วย เช่น ที่ถ้ำผีหัวโตในอําเภออ่าวลึกเหนือ จังหวัด กระบี่ เขาเขียน จังหวัดพังงา ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าบริเวณ ถ้ำภาคใต้ทางฝั่งตะวันตกซึ่งมีพื้นที่ทางการเกษตรน้อยกว่า ทางตะวันออกนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของคนสมัยก่อนเกษตร กรรมในที่หลายแห่งแล้ว หากได้สํารวจศึกษาต่อไปอย่าง จริงจังก็คงจะได้พบอีกมาก
รูป ๑๖ ลักษณะของถ้ำเขานุ้ย ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
๑๗ ๑๔ นิติ แสงวัณณ์, รายงานการสํารวจ แหล่งโบราณคดี ตำบลคลองหิน อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ กองโบราณคดี กรมศิลปากร, ๒๕๒๒.
๑๐๒ ภูมิหลัง
๑๖
๑๕ พรชัย สุจิตต์ และ ดักลาส แอนเดอร์สัน, สรุปรายงานของ การสํารวจเบื้องต้นทางโบราณคดี สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่จังหวัด กระบี่, มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๒๒
หลักฐานเกี่ยวกับซากสัตว์โบราณ
รูป ๑๗ สภาพเขาป่าหมาก (โต๊ะหลวง) การสํารวจถ้ำบนเขาป่าหมาก สภาพถ้ำบนเขาป่าหมากที่พบเครื่องมือ หินกะเทาะ (เครื่องมือขุด)
รูป ๑๘ เครือ่ งมือหินกะเทาะซึง่ พบทีถ่ ำ้ เขาป่าหมาก
๑๖ Department of Mineral Resources. Geology of Thailand, Bangkok. 1969 : 12, G.H.R. von Koenigswald. “A Mastodon and other Fossil Mammals from Thailand”. Report of Investigation. No. 2, Royal Department of Mines, Thailand, 1959 : 25 ๑๗ ชิน อยู่ดี, “สัตว์ยุคหินในประเทศไทย”, อดีต : รวมเรือ่ งราวก่อนประวัตศิ าสตร์ ของชิน อยู่ดี สุด แสงวิเชียร,
ฝ่ายวิชาการนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ๒๕๑๗ : ๔๓-๔๔. ๑๘ Sai-Yok, อ้างแล้ว ๑๙ Gorman, C.F., “The Hoabinhian and after : Subsistence Patterns in Southeast Asia during the Late Pleistocene and Early Recent Periods”. World Archaeology, Vol. 2, No. 3. 1971 : 300-320.
ซากสัตว์โบราณในยุคควอเทอร์นารี (Quaternary) ซึ่งรวมสมัยไพลสโตซีน (Pleistocene) และโฮโลซีน (Holocene) ไว้ดว้ ยกัน ยังพบในประเทศไทยน้อยเพราะขาด การศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง ที่พบแล้วในสภาพต่างๆ กันคือ กะโหลกส่วนหนึ่ง ของฮิปโปโปเตมัส เขาควายใหญ่ (Bubalus) และกราม ช้างสเตกโกดอน (Stegodon)๑๖ อายุราวไพลสโตซีนตอน ต้นหรือตอนกลาง ซึ่งพบระหว่างขุดฝังตอม่อสร้างสะพาน เดชาติวงศ์ จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อพ.ศ. ๒๔๘๖ ชิน อยู่ดี๑๗ รายงานการพบกระดูกกวาง (Cervidae) และวัว/ควาย (Bovidae) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ ในถ้ำเขาขรม อําเภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระดูกหมาใน (Cuonalpina infuscus – Pocock) ทีจ่ งั หวัดอ่างทอง ซึง่ ปัจจุบนั นีย้ งั ไม่สญ ู พันธ์ุ ส่วนฟันช้างมาสโตดอน (Mastodon – Stogolophodon praelatidens) พบในชั้นดินที่เชื่อว่าเป็นของยุค เทอร์เชียรี (Tertiary) ที่อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง ฟอนเกอนิกสวาลด์เชื่อว่าเกิดหลังไพลโอซีน (Pliocene) และมี บ ทบาทสํ า คั ญ ในเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ จ นถึ ง ไพลสโตซีน ในช่วงโฮโลซีนตอนต้น (Early Holocene) นัก โบราณคดีขดุ พบกระดูกสัตว์หลายประเภท ทัง้ เลีย้ งลูกด้วย นมและเลือ้ ยคลาน ซึง่ เมือ่ พิจารณาถึงสถานทีท่ พ่ี บคือแหล่ง ขุดค้นที่คนอยู่อาศัย ก็พอจะพูดได้ว่าเป็นแหล่งอาหารของคน ทีเ่ พิงผาไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี และถ้ำจันเด๒, ๑๘ เฮเกอเรน อ้างผลการวิเคราะห์ของ ดร. ดี. เอ. ฮอยเชอร์ (D. A. Hooijer) ว่า สัตว์ที่พบเป็นพวกเก้ง (Muntiacus muantjak) วัวแดง (Bos Javanicus) เลียงผา (Capricornis sumatraensis) กวางป่า (Cerus unicolor) หมูป่า (Sus scrofa) แรด (Rhinoceros sp.) เสือโคร่ง (Panthera tigris) หมีควาย (Selenarctos thibetanus) และเม่นชนิดหนึ่ง (Hystrix sp.) ส่วนทีถ่ ำ้ ผี จังหวัดแม่ฮอ่ งสอน ซึง่ เชสเตอร์ กอร์๑๙ มัน เป็นผูข้ ดุ เป็นแหล่งฮัวบิเนียนซึง่ มีอายุตง้ั แต่ ๑๒,๐๐๐ -๗,๓๐๐ หรือ ๘,๐๐๐ ปี (อายุวัดได้จากวิธีคาร์บอน -๑๔) ได้พบสัตว์ทค่ี นใช้เป็นอาหารหลายชนิดอีกเหมือนกันเช่นพวก วัวควาย กวางป่า หมู ลิง (?) กระรอก ค้างคาว เต่า ปลา สัตว์เลื้อยคลานและหอย ฯลฯ แสดงถึงการรู้จัก ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งอาหารได้อย่างดี ที่ถ้ำผีซึ่ง นอกจากจะได้หลักฐานเรือ่ งสัตว์ตา่ งๆ ทีเ่ ป็นอาหารแล้วยังได้ หลักฐานเกี่ยวกับเครื่องมือและพืชอีกหลายอย่างซึ่งจะได้ กล่าวถึงในบทต่อไป เพราะเป็นช่วงสมัยของการเปลี่ยน แปลงจากสังคมล่าสัตว์ไปสู่รากฐานของการเกษตรกรรม ในพื้นที่ที่เป็นประเทศไทยทุกวันนี้
สังคมนายพราน
๑๐๓
หลักฐานเรื่องสัตว์สมัยไพลสโตซีนและโฮโลซีน ตอนต้นที่นอกจากจะเป็นกระดูกที่พบโดยบังเอิญและที่นัก โบราณคดีขุดพบในที่ต่างๆ แล้ว ยังมีรูปเขียนที่หน้าผาใกล้ ถ้ำมโหฬารในอําเภอภูกระดึง จังหวัดเลยอีกแห่งหนึ่ง เป็น ภาพเขียนด้วยสีแดง มีคน ๔-๕ คนกําลังล่าสัตว์อยู่ สัตว์ ในภาพนั้นมีหลายพันธ์ุหลายชนิด แต่เพราะสภาพลบเลือน ไปมากจึงพอบอกได้ ๒ ชนิด คือวัวแดง ซึ่งเคยขุดพบกระ ดูกแล้วที่จังหวัดกาญจนบุรี และกวางผา อื่นๆ นั้นบอกไม่ได้ ส่วนอายุของภาพเขียนสีนั้นไม่มีวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดที่ บอกได้แน่นอน ต้องใช้หลักฐานทางอ้อมกันทั้งนั้น ในที่นี้ เห็นแต่รูปแบบศิลปกรรมและเรื่องที่เขียนระบายไว้เท่านั้น ที่พอพิจารณาได้ว่า น่าจะอยู่ในสมัยไพลสโตซีนหรือโฮโลซีน ตอนต้น จากข้อมูลที่ปะติดปะต่อมา แม้จะยังไม่สมบูรณ์ นักเพราะรายงานการขุดค้นไม่ละเอียดพอ และนักโบราณคดี แต่ก่อนสนใจแต่เรื่องโบราณวัตถุซึ่งเป็นตัวประกอบของ การศึ ก ษาความเป็ น อยู่ข องคนแต่ เพี ย งส่ ว นหนึ่ง เท่ า นั้น ไม่ได้สนใจหลักฐานอื่นๆ เช่นพืชและสัตว์ ฯลฯ แต่อย่าง น้อยเราก็คงจะเห็นได้วา่ คนสมัยก่อนๆ นัน้ ไม่ได้อดอยาก แต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหาร ประเภทโปรตีนและอืน่ ๆ ทีใ่ ห้แคลอรีตอ่ คนต่อวันสูงไม่นอ้ ย กว่าทีค่ นปัจจุบนั ควรจะได้รับ คือระหว่าง ๒,๐๐๐ ถึง ๓,๐๐๐ แคลอรี ด้วยซ้ำไป ทุกวันนี้ประชากรหลายร้อยล้านในโลกได้แคลอรี จากอาหารน้อยกว่าคนสมัยหินแล้ว
รูป ๑๙, ๒๐ กระดูกสัตว์จากการขุดค้นที่ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
๑๙
๑๐๔ ภูมิหลัง
นายพรานก้ าวหน้า ภาพชีวิตของนายพรานเมื่อราวหมื่นกว่าปีลงมา ค่อยแจ่มชัดขึ้น แม้เครื่องมือเครื่องใช้ประจําวันส่วนหนึ่ง จะเป็นเพียงเครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียนซึ่งยังดูเทอะทะไม่ งดงามตามสายตาของคนทั่วไปอยู่ก็ดี ทว่าความสําเร็จอัน เกิดจากสติปัญญา ความพร้อมที่เกิดจากการศึกษาเรียนรู้ ทรัพยากรรอบตัว และการปรับแปลงตัวให้อยูใ่ นสิง่ แวดล้อม ธรรมชาติ คือถ้ำบนภูเขา ชายฝั่งทะเลและที่ราบริมฝั่งน้ำ เป็นเรือ่ งทีน่ กั โบราณคดีทว่ั โลกกําลังจับตามองอยูด่ ว้ ยความ สนใจ และเริ่มที่จะเข้าใจแล้วว่าเจ้าของเครื่องมือหินฝีมือ หยาบอย่างทีเ่ ห็นๆ กันนีแ้ ท้ทจ่ี ริงก็คอื บรรพบุรษุ ของเกษตร กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับเจ้าของเครื่อง มือหินขนาดจิ๋วซึ่งทำขึ้นอย่างประณีตบอกประโยชน์ใช้สอย ได้เฉพาะอย่าง เป็นบรรพบุรุษของชาวไร่ชาวนาในตะวันตก นั่นเอง เครื่องมือหินแบบนี้วิวัฒน์มาจากกลุ่มเครื่องมือ สับตัดเมื่อ ๒-๓ หมื่นปีมาแล้ว และพัฒนาจนเป็นรูปแบบ ของตนเองราว ๑๕,๐๐๐-๑๓,๐๐๐ ปีมานี่เอง หลายแห่ง พัฒนาต่อไปทางเทคโนโลยีจนกลายเป็นขวานหินขัดรูปแบบ ต่างๆ แต่อีกหลายแห่งคงรูปอยู่อย่างเก่าจนถึงเมื่อราวพัน กว่าปี
เครื่องมือแบบฮัวบิเนียน
เครื่องมือแบบฮัวบิเนียนยังคงเป็นแบบที่เรียกว่า เครื่องมือแกนหินกะเทาะ เป็นรูปไข่ รูปกลมและปลาย แหลม กะเทาะสองหน้าตามขอบ เหลือผิวเดิมไว้ตอนกลาง หรือปลายข้างใดข้างหนึง่ เคยพบรวมอยูก่ บั เครือ่ งมือสะเก็ดหิน หินบด และหินเทศสีแดง
๒๐
แหล่งที่พบเครื่องมือหินแบบนี้มีกระจายอยู่ทั่วไป ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่จีนใต้ลงมาถึงเวียดนาม ลาว ไทย เขมร มาเลเซีย และลงใต้ไปสู่เกาะต่างๆ จนถึงบอร์เนียวเป็นอย่างน้อย แสดงการเคลื่อนไหวของ ประชากร (Population movement) หรือที่มักจะเรียกกัน ง่ายๆ ว่า “การอพยพ” (migration) ของเจ้าของเครื่องมือ หินแบบนี้ในพื้นที่กว้างใหญ่มาก ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมต่างๆ กัน ออกไปเป็นหลายอย่าง เท่าที่เคยพบแล้ว มี ๓ ประเภท ดังนี้ ๑. ถ้ำบนภูเขา ใกล้ทางน้ำเล็กๆ เขาเหล่านั้นอาจ เป็นเทือกยาว หรือเป็นลูกโดดๆ ๒. แถบชายฝั่งทะเล อาจอยู่ในถ้ำใกล้ทะเลหรือ ชายฝั่งทะเล ๓. ที่ราบริมน้ำ กอร์มัน๒๐ เคยสรุปว่าแหล่งฮัวบิเนียนที่พบก่อน จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๘ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในสิ่ง แวดล้อมประเภท ๑ และ ๒ เท่านั้น แต่ในประเทศไทย เราพบอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั้ง ๓ ประเภท ประเภทที่ ๑ นั้นพบทั่วไปในทุกภาคเว้นแต่ภาค กลาง ประเภทที่ ๒ มีหลายแห่งในภาคใต้ คณะของผู้เขียน เคยสํารวจพบแห่งหนึ่งที่ถ้ำเขางุ้ม ตําบลท้ายช้าง อําเภอ เมืองฯ จังหวัดพังงา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐๒๑ ต่อมาก็มีคณะของ พรชัย สุจิตต์ พบในจังหวัดกระบี่ ส่วนแหล่งในประเภทที่ ๓ นั้นได้เคยกล่าวถึงแล้วในบทก่อนว่า พบที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยและอำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร อยู่บนที่ ราบริมฝั่งโขง อย่างไรก็ตาม แม้จะได้พบแล้วหลายแห่งในเมือง ไทยแต่ก็มีเพียงแหล่งเดียวที่ได้ขุดค้นอย่างละเอียดและ ศึกษาวิจัยเป็นอย่างดี คือที่ถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่ง ดําเนินการโดยกอร์มนั ใน พ.ศ. ๒๕๐๘ และ พ.ศ. ๒๕๐๙ เท่านัน้
เทคโนโลยีใหม่
ที่ถ้ำผีมีหลักฐานอยู่อาศัยของคนตั้งแต่ ๑๒,๐๐๐ ถึงประมาณ ๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว มีขั้นตอนของเทคโนโลยีที่ เด่นชัดอยู่ ๒ สมัยใหญ่ๆ สมัยแรกมีแต่เครื่องมือเครื่องใช้ ในแบบฮัวบิเนียน (Hoabinhian orientations) เท่านั้น แต่ สมัยที่ ๒ ซึ่งอยู่ระหว่าง ๗,๐๐๐-๘,๐๐๐ ปีมาแล้วมีหลัก ฐานเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มอีกหลายอย่าง เช่น เศษภาชนะ ดินเผามีลายเชือกทาบ (cord-marked) และลายตาข่าย (net-marked) ขวานหินขัดและเครื่องมือสะเก็ดหิน๒๒ การทําผิวภาชนะให้มีลายเชือกทาบ จะเพื่อความ สะดวกในการจับถือหรือเป็นการตกแต่งให้สวยงามก็ตามที จําเป็นต้องใช้เชือกที่ทําด้วยใยพืช ฟั่นทําเป็นเชือกพันกับไม้ ไว้ใช้ตบให้เกิดเป็นลายขึ้น ส่อให้เห็นว่าต้องเริ่มทําก่อนหน้า นี้แล้ว และยังถือเป็นหลักฐานทางอ้อมว่ามีการทําผ้าเกิด
๑
๒
๓
๔
๕
๖ ๒๑
ขึ้นมานานพอสมควรแล้ว ส่วนลายตาข่ายนั้นอย่างน้อย แสดงให้เห็นว่า มีตาข่ายที่ถักด้วยด้ายเป็นสวิงหรือแหไว้จับ ปลาแล้วอีกเช่นกัน ขวานหินขัดนั้นค่อนข้างจะเป็นเครื่องมืออเนก ประสงค์ ใช้เป็นเสียมขุดดินได้ และเป็นขวานถาก ฟันไม้ ทําเป็นเครื่องมือเครื่องใช้อย่างอื่นๆ ก็ได้ ส่วนเครือ่ งมือสะเก็ดหินนัน้ เอามาใส่ดา้ มไม้ใช้เป็น เคียวเกี่ยวธัญพืชได้เป็นอย่างดี
รูป ๒๑ เศษภาชนะดินเผาที่ถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน (Gorman, 1972 ; PI.V.) ๑. ลายเชือกทาบ ๒. ลายตาข่าย ๓. แอปปลิเก ๔. ลายตาข่ายผิวฉาบยางไม้ขนาดเล็ก ๕. ทางเป็นรอยแสดงการใช้เครือ่ งมือขัดมัน ๖. ลายขูดขีดบนผิวขัดมัน
๒๐ Gorman, C.F., “The Hoabinhian and After : Subsistence Patterns in Southeast Asia during the Late Pleistocene and Early Recent Period”. World Archaeology. Vol. 2, No. 3. 1971 : 300-321. ๒๑ พิสิฐ เจริญวงศ์ “เมื่อไปสํารวจถ้ำ” อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๗. ฉบับที่ ๑๑. มิถุนายน ๒๕๑๐
๒๒ Gorman, C.F. “Excavations at Spirit Cave, North Thailand : Some interim interpretations”. Asian Perspectives. Vol. 13, 1972 : 79-107. University of Hawaii Press.
สังคมนายพราน
๑๐๕
พืชพันธ์ุ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือหลัก ฐานเกี่ยวกับพืชพันธ์ุที่คณะผู้วิจัยได้รายงานไว้ได้สมบูรณ์ พอควร ทําให้เราได้ทราบว่ามีพชื อะไรบ้างทีค่ นสมัยเมือ่ หมืน่ กว่าปีเอามาใช้อุปโภคและบริโภค พืชเหล่านี้มีหลายตระกูล (Genus) บางอย่างคน อาจนํามาลองปลูกแล้วก็ได้ ดักลาส เยน (Douglas Yen)๒๓ ผู้ศึกษาเรื่องนี้ได้จําแนกตระกูลต่างๆ๒๔ ไว้ดังนี้ ๑. Aleurites –มะยาวหรือมะเยา เมล็ดมีน้ำมัน มาก เรียกน้ำมันนั้นว่า “ตังอิ๋ว” ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่นเป็นเชื้อเพลิงจุดให้ได้แสงสว่าง ดักลาส เยนว่าคนใน แปซิฟิกใช้เป็นเครื่องสําอางทาตัว เป็นเครื่องเทศ และยังใช้ เป็นยาได้อีกด้วย ๒. Areca catechu L. –หมาก เนือ้ ในเคีย้ วแก้กระหายน้ำได้ ๓. Canarium album –จําพวกสมอจีน มีชื่อ เรียกตามถิน่ ต่างๆ เช่น มะเกิม้ มะกอกเลือ่ ม มะกอกเกลื้อน ฯลฯ กินเป็นอาหารได้ ๔. Madhuca pierrei –มะซางหรือละมุดสีดา ฯลฯ เป็นไม้ผลเนื้อในมียาพิษ แต่ก็เป็นอาหารได้เหมือนกัน ๕. Piper nigrum –พวกพลู ดีปลี และพริกไทย ใช้เป็นเครื่องเทศ ๖. Prunus percica –อัลมอนด์ หรือท้อ เป็น ผลไม้กินได้ ๗. Terninalia –คงเป็นพวกสมอ ผูศ้ กึ ษาอธิบาย ว่าผลกินได้ ๘. Castanopsis –ทางเหนือเรียก “ก่อหยุม” เป็นไม้ผลกินได้ ๙. Cucumis –แตงชนิดหนึ่ง เป็นอาหารได้ ๑๐. Lagenaria sicernaria –น้ำเต้า เนื้อกินได้ ถ้าเก็บไว้ให้แก่เอามาทําเป็นภาชนะใส่น้ำได้ ๑๑. Traba bicornis Osbeck –กระจับ กินได้ ๑๒. Cucurbitaceae –พวกฟัก กินได้ ๑๓. Momordica cochinchinensis? –ฟัก? หรือ มะระ? ๑๔. Nelumbium –บัว เม็ดเป็นอาหาร ใบห่อของได้ ๑๕. Trichosanthese/Luffa –บวบ กินได้ ๑๖. Pisum sativum/Palmae –ถั่วชนิดหนึ่ง ๑๗. Phaseolus/Glycine –ถั่วชนิดหนึ่ง ๑๘. Vicia/Phaseolus –ถั่วชนิดหนึ่ง ๑๙. Graminae –ไผ่ ใช้ได้สารพัดประโยชน์ตั้งแต่ หน่อทีก่ นิ ได้ ลําต้นเป็นกระบอกใส่นำ้ และภาชนะหุงต้มได้ เป็น วัสดุกอ่ สร้าง เป็นเชือ้ เพลิง และเอามาเหลาทําเป็นเครือ่ งมือ เครื่องใช้หรืออาวุธ เช่นเครื่องจักสาน คันธนูและลูกศร แหลนหลาว ตลอดจนขวากหนามสําหรับดักสัตว์ ฯลฯ
๑๐๖ ภูมิหลัง
๒๒
๒๓
๒๐. Celtis –ไม้มีกลิ่น มีหลายพันธ์ุ เช่น cinnamomae ซึ่งเรียกกันว่า “ไม้เช็ดก้นพระร่วง” เพราะมีกลิ่น เหม็น ฯลฯ ๒๑. Ricinus communis L. –ละหุ่ง บางส่วน กินได้ เม็ดในทําน้ำมันได้ ๒๒. Euphorbiaceae –สลัดไดป่า ส้มเช้า เป็น ไม้ผล ยางมีพิษ ใช้กับลูกดอกล่าสัตว์ได้ ปัจจุบันพวก “ชาน” (Shan) ใช้เป็นยางน่องชนิดหนึ่ง ต่อมากอร์มนั ได้ไปขุดถ้ำใกล้เคียงกันนัน้ อีก ๒ แห่ง คือถ้ำผาชันและถ้ำปุงฮุง ได้หลักฐานของการต่อเนื่องแบบ เครื่องมือฮัวบิเนียนจากที่ถ้ำผีอีก กล่าวคือถ้ำผาชันมีหลัก ฐานการอยู่อาศัยของคนประมาณ ๗,๕๐๐-๕,๖๐๐ ปี และ ถ้ำปุงฮุงตั้งแต่ราว ๕,๕๐๐ ปี ถึง ๑,๓๐๐ ปีมาแล้ว กอร์มันได้ตัวอย่างพืชเพิ่มอีก ๓ ตระกูล ๒๓. Calamus –หวายชนิดหนึ่ง (จากถ้ำปุงฮุง) ๒๔. Oryza –ธัญพืช เช่นข้าวชนิดหนึ่ง (จากถ้ำ ปุงฮุง) ๒๕. Mangifera –มะม่วง? จากถ้ำผาชัน กอร์มันตั้งข้อสังเกตว่า พวกน้ำเต้า แตง กระจับ และพันธ์ุผักต่างๆ ดูจะบอกได้ว่าเป็นการใช้พืชที่เกินกว่าที่ เก็บเอามาจากธรรมชาติเฉยๆ หมายความว่า ส่อเค้าถึง การลงมือทําสวนครัวแล้ว
รูป ๒๒ ถั่วและพืชคล้ายถั่วพบที่ถ้ำผาชัน จังหวัดแม่ฮ่องสอน (Yen, 1977 : 580 : Fig. 3) ๑. ถัว่ แดงหรือถัว่ ผี (Phaseolus calcaratus) จากถ้ำผี ๒. เมล็ดพันธ์ุพืชที่พวกชานเก็บมากินและ เพาะปลูก (ไม่ทราบชื่อ) ๓. ถั่วชนิดหนึ่งแบบถั่วอัดซูกิ (adzuki) ของญี่ปุ่น (Phaseolus angularis) จากถ้ำผี ๔. ถั่วชนิดหนึ่ง (Vicia/Phaseolus) จากถ้ำ ผาชัน ๕. และ ๖. ถั่วชนิดหนึ่ง (Phaseolus/ Glycine) จากถ้ำผาชัน ๗. พืชสวนครัว (ไม่ทราบชื่อ) จากถ้ำผาชัน ๘. ถัว่ ชนิดหนึง่ (Phaseolus aconitifolius?) จากถ้ำผี ๙. ถัว่ แขก (Phaseolus vulgaris) จากถ้ำผี ๑๐. ถั่วเหลืองพันธ์ุต่างๆ (mixed Slycine max varieties) จากถ้ำผี
รูป ๒๓ ตัวอย่างชิ้นส่วนพันธ์ุพืชประเภทฟัก น้ำเต้า บวบ ที่ขุดได้ และพบขึ้นเองในป่า (Yen, 1977 : 577 ; Fig. 2) แถวบน (ซ้าย) เปลือกบวบชนิดหนึ่ง (Luffa?) (ที่เหลือ) ส่วนของเมล็ดที่แตกของบวบ ชนิดหนึ่ง (Trichosanthese) แถวกลาง (ซ้ายและกลาง) เปลือกฟักชนิดหนึ่ง (Lagenaria) (ขวาสุด) เปลือกฟักชนิดหนึ่ง (ไม่ทราบชื่อ) แถวล่าง (กลุ่มซ้าย) เมล็ดฟักชนิดหนึ่ง (Lagenaria sicernaria) ที่ปลูกกันในแถบนั้น (กลุ่มขวา) เมล็ดพืชประเภทฟัก (ไม่ทราบชื่อ) เป็นพันธ์ุป่าของแถบนั้น
๒๓ Yen, D. “Hoabinhian Horticulture : the Evidence and the questions from northwest Thailand”. Sunda and Sahul: Prehistoric Studies in Southeast Asia, Melanesia and Australia. J. Allen, J. Golson and R. Jones eds. Academic Press, ชือ่ ภาษาไทยจาก 1977 : 567-599. London ๒๔ ชือิ่ ภาษาไทยจาก Chote Suvatti Flora of Thailand, Vols. 1 and 2. 1978. Royal Institute, Thailand.
อย่างไรก็ดี แม้เมล็ดของพันธ์ุพืชที่ขุดได้ส่วนใหญ่ จะเป็นชนิดหรือพันธ์ุท่เี พาะปลูกกันในปัจจุบันแล้วนักพฤกษศาสตร์-ชาติวงศ์วรรณา อย่างดักลาส เยน ซึ่งศึกษาตัว อย่างเหล่านี้อยู่ ก็ยังเห็นว่าไม่ควรสรุปว่า พวกฮัวบิเนียนที่ พบในถ้ำจังหวัดแม่ฮ่องสอนนี้เริ่มเพาะปลูกพืชบางชนิดแต่ เมื่อหมื่นกว่าปีลงมาแล้ว เยน๒๕ให้เหตุผลว่า เพราะพันธ์พุ ชื ทีเ่ ข้าใจว่าอาจ เพาะปลูก (possible domesticates) ส่วนมากมีพนั ธ์ปุ า่ เปรียบ เทียบ (wild analogues) ในบริเวณนั้นจนทุกวันนี้ จึงยาก ที่จะเปรียบเทียบหาความแตกต่างของกันและกันให้เด่นชัด ได้ กระนัน้ ก็ตามจากหลักฐานเกษตรกรรมในทีร่ าบซึง่ มีอายุ ไม่ตำ่ กว่า ๗,๕๐๐ ปีมาแล้วก็พอจะพูดได้วา่ การเกษตรกรรม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเก่าแก่พอสมควร ทัง้ นีต้ อ้ งพิจารณาถึงกระบวนการ (process) ของ การเกษตรกรรมให้มากกว่าเหตุการณ์ (event) เพราะทั้ง การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์นั้นค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เกิด ขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน การจะลงความเห็นจากผลการ วิเคราะห์รูปร่าง ขนาด ฯลฯ ของตัวอย่างที่ขุดได้ เปรียบ กับที่เพาะปลูกและเลี้ยงกันอยู่ในขณะนี้ เพื่อหาข้อแตกต่าง อย่างเด่นชัดนั้นต้องรอบคอบพอควร ด้วยเหตุที่ว่าพันธ์ุป่า และพันธ์ุปลูกหรือเลี้ยงนั้นจะมีรูปร่างขนาดและลักษณะ ทางกายภาพอย่างอื่นๆ แตกต่างกันจนเห็นได้ชัดนั้น อาจ ต้องใช้เวลานับร้อยนับพันปี โดยเฉพาะอย่างยิง่ หากสิง่ แวด ล้อมที่ตัวอย่างสองประเภทนั้นอยู่ยังคงคล้ายคลึงกัน
๒๔
รูป ๒๔ เมล็ดพันธ์ุพืชประเภทสมอจีน Canarium album จากถ้ำผี บริเวณ ใกล้เคียง และแปซิฟิกตะวันตก (Yen, 1977 : 573 : Fig. 1) แถวบน (ซ้าย) ตัวอย่างจากอินโดนีเซีย (ขวา) ตัวอย่างจากซานตา ครูซ เกาะโซโลมอน แถวกลาง ตัวอย่างที่ขุดได้จากถ้ำผี แถวล่าง (ซ้าย) ตัวอย่างจากต้นที่ขึ้นอยู่ในป่า อาจเป็น Canarium album (กลาง) ตัวอย่างจากต้นที่ขึ้นในหมู่บ้านอาจ เป็นพันธ์ุเดียวกับแถวล่างซ้าย (ขวา) ตัวอย่างจากต้นที่ขึ้นใกล้หมู่บ้าน
รูป ๒๕ เปลือกข้าวที่ขุดได้ แสดงรอยแตกซึ่งเป็น แบบเดียวกับเปลือกข้าวที่แตกจาก การตําแล้วฝัดเอาเปลือกออก (Yen, 1077 : 583: Fig. 6 b)
๒๕ รูป ๒๖ เมล็ดข้าวจากถ้ำปุงฮุง และพันธ์ุข้าวของ ทางเหนือของประเทศไทย (Yen, 1977 : 583: Fig. 5 a) กลุ่มกลาง เมล็ดที่ขุดได้จากถ้ำปุงฮุง ที่เหลือ เป็นพันธ์ุปัจจุบัน (บนขวา) พันธ์ุที่เชื่อว่าเป็นพันธ์ุข้าวป่า (ล่างซ้าย) พันธ์ุที่เชื่อว่ามาจากพันธ์ุข้าวป่า
๒๖
๒๕ Yen, D. The Southeast Asian Foundation of Oceanic Agriculture : A Reassessment. IXe Congress, Nice, 1976.
สังคมนายพราน
๑๐๗
บทที่ ๔ สังคมเกษตรกร
หลักฐานโบราณคดีเพียงหยิบมือเดียวดูจะน้อย เกินไปสําหรับการแปลความให้เห็นภาพชีวิตของคนเมื่อล้าน ปีลงมาถึงอดีตใกล้ๆ สมัยเรา นักโบราณคดีจึงต้องหันไป พึ่งพาวิชาการสาขาอื่นๆ มากขึ้นๆ จน “โบราณคดี” เอง กลายเป็น “สหวิทยาการ” ไปเสียแล้ว และเสีย “ความ เป็นตัวของตัวเอง” ไปทีละน้อยจนเกือบไม่เหลือแล้ว ถ้า ลองแยกเรือ่ งทีน่ กั โบราณคดีศกึ ษาอยู่ ออกเป็นเรือ่ งเป็นตอน จะเห็นมีแต่เรื่องที่นักวิชาการสาขาอื่นควรจะต้องทําแทบ ทั้งนั้น ตั้งแต่ธรณีวิทยา โบราณชีววิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ มานุษยวิทยา กายภาพ-วัฒนธรรม ตลอดจนเคมี-ฟิสิกส์ขั้นนิวเคลียร์ จนยากที่จะนิยามความ หมายเสียแล้ว จะอย่างไรก็ตาม วิชานีย้ งั มีสาระสําคัญบางอย่าง ทีย่ ังให้โบราณคดีคงความเป็นตัวของตัวเองอยู่ได้ นั่น คือ “การศึกษาเรื่องอดีตของคน” จะด้วยวิธีใดไม่สําคัญ โบราณคดีจงึ จะหมายความถึงอะไรก็ได้ หรือ ทุกอย่างก็ได้ ถ้าเกี่ยวข้องด้วย “อดีตของคน” ในการศึกษาเรื่องสังคมแบบต่างๆ นักโบราณคดี จึงต้องใช้วชิ าการต่างๆ ประกอบการแปลความของโบราณ วัตถุซึ่งเป็นหลักฐานอย่างเดียวที่นักโบราณคดีหาได้ด้วย เทคนิคและวิธีการซึ่งเป็นของตนเอง
การเปลี ่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในบทก่อนๆ เราได้พูดถึงหลักฐานทางชาติวงศ์ วรรณา คือข้อเท็จจริงที่ได้ศึกษาคนปัจจุบันบางกลุ่มที่ยัง ดําเนินชีวิตในแบบสังคมเก่าแบบหนึ่ง คือ ยังชีพด้วยการ ล่าสัตว์และเก็บพืชพันธ์ุป่าในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วยเทคนิค วิธีการและอุปกรณ์คือเครื่องมือที่เปรียบเทียบได้กับโบราณ วัตถุที่เราพบในแหล่งโบราณคดี ทําให้ได้ความรู้ว่าแม้จะ เป็นสังคมที่ต้องพึ่งธรรมชาติมากกว่าสังคมแบบอื่นๆ ใน สมัยต่อมา ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นสังคมทีอ่ ดอยาก ยากไร้ ทั้งนี้เพราะความจําเป็นในเรื่องการบริโภคอุปโภค อยู่ในขั้นที่เขาพอใจ แต่อย่างไรก็ตามสังคมแบบนั้นก็ไม่ใช่ สังคมอุดมคติของมนุษยชาติ มนุษย์เราจึงแสวงหาแนวทาง ดํารงชีวิตใหม่ๆ ตลอดมา ยังให้เกิด “การเปลี่ยนแปลง” ทางเศรษฐกิจและสังคม
๑๐๘ ภูมิหลัง
จากเมื่อกําเนิดมาเป็นล้านปีที่ล่าสัตว์และหมื่นปี ลงมาเป็นเกษตรกรรมจนทุกวันนี้ ซึ่งมีเปอร์เซนต์มากกว่า คนในสังคมอุตสาหกรรม คนต้องเปลี่ยนแปลงแต่เป็นการ เปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะถึงอย่างไรธรรมชาติของคนก็อยู่ข้างจะอนุรักษ์นิยม จะรับสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ แปลกไปจากเดิมทั้งหมดในทันทีนั้น คงไม่ทํา จะเห็นได้จาก เมื่อมาเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์กันแล้ว คนก็ยังล่าสัตว์เป็นครั้ง เป็นคราว ยังเก็บหอย หาปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือ หาผลิตผลป่ามากินและใช้สอย หรือเมื่อใช้สําริดกันแพร่ หลายแล้วก็ยังเอาหินมาทําเครื่องมือเครื่องใช้อย่างเดิมอยู่ จนถึงเมื่อรู้จักผลิตสิ่งของด้วยเหล็กเป็นอย่างดีแล้ว ก็ไม่ได้ ทิ้งความรู้เรื่องการทําสําริด จึงได้เอามาดัดแปลงทําเป็น อย่างอื่นที่น่าใช้สอยกว่าเหล็กและอื่นๆ หลักฐานดังนี้มีอยู่ ทั่วไปในแหล่งโบราณคดี
จาก “แสวง” มา “ผลิต” อาหาร
เราทราบกันดีวา่ อิทธิพลของสิง่ แวดล้อมทัง้ ธรรม ชาติ แ ละสั ง คมเป็ นตั ว จั ก รกลสํ า คั ญ ตั ว หนึ่ ง ที่ ทํ า ให้ เ กิ ด การเปลี่ยนแปลง แต่อะไรอีกที่นําหรือบังคับให้คนต้อง เปลี่ยนแนวทางหากินจาก “การแสวงหาอาหาร” (food foraging) มาเป็น “การผลิตอาหาร” (food producing) นักวิชาการเรื่องอดีตให้เหตุผลกันไปต่างๆ นานาสําหรับ การเปลี่ยนแปลงนี้ สํานักหนึ่งว่า “การผลิตอาหาร” เริ่มขึ้นเพราะ ความอุดมสมบูรณ์และเมื่อมีเวลาว่างคนจึงได้โอกาสศึกษา ทดลองและเริ่มสิ่งใหม่๑ (innovate) อีกสํานักหนึ่งเห็นเป็น ตรงกันข้ามว่า เริ่มได้ด้วยสาเหตุของการขาดแคลน (scarcity) และความบีบคั้นของธรรมชาติในช่วงที่ภาวะอากาศ เปลีย่ นกะทันหัน คนจึงต้องต่อสูเ้ พือ่ เอาชนะความขาดแคลน และภาวะอากาศที่เลวร้ายในช่วงนั้น๒ และสํานักที่สามว่า เกิดขึ้นเพราะการเพิ่มจํานวนประชากรจนสังคมแบบเดิม รับไม่ไหว จะด้วยเหตุผลใดก็ตามที เราต้องมอง “เกษตร กรรม” ที่กระบวนการ ไม่ใช่ที่เหตุการณ์ ดังได้กล่าวมา บ้างแล้ว การ “เริ่ม” หรือ “การพยายาม” นั้นคงเกิดขึ้น แล้วหลายครั้งในสมัยไพลสโตซีน พันธ์ุพืชบางชนิดที่ถ้ำผีดู
๑ Sauer, C.O. Seeds, Spades, Hearths, and Herds : The Domestication of Animals and Foodstuffs, 2nd ed. 1969 : 118. M.I.T. Press. Cambridge. ๒ Childe, V.G. Man Makes himself, 4th ed. 1936. Watts & Co. London.
จะเป็นตัวอย่างของการเริ่มต้นครั้งหนึ่งของคนที่นั่น เพราะ เป็นพันธ์ุที่ไม่ได้อยู่แถบนั้นหากเป็นของที่คนเอามาจากที่อื่น แสดงถึงการเลือกสรรเอามาใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน การเริ่มต้นเพาะปลูกจึงไม่ใช่การเปลี่ยนแปลง อย่างกะทันหัน แต่เป็นการค่อยเป็นค่อยไป ดังที่นักโบราณ คดีท่านหนึ่งอธิบายว่า “เหมือนกับเมื่อเกิดความรัก” อย่าง ใดอย่างนั้น ทุกวันนี้จึงไม่มีใครรู้ต้นเหตุที่แท้จริงที่ทําให้คน หันจากการล่าสัตว์หาอาหารมาทําการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ จะรู้กันก็แต่ผลจากการเปลี่ยนวิถีดํารงชีวิตมาเป็นอย่างนี้ ว่าเป็นรากฐานของอารยธรรมสืบต่อมาถึงคนรุ่นเรา พิจารณากันดูเป็นตัวอย่างจากพันธ์ุพืชทั้งหลายที่ ถ้ำผี ผาชัน ปุงฮุง และในที่อื่นๆ อีกหลายร้อยแห่งที่ยัง ไม่ได้ศกึ ษาอย่างจริงจังในประเทศไทย จนมาถึงข้าวซึง่ เป็น ธัญพืชหลักเลี้ยงปากเลี้ยงท้องคนกว่าครึ่งโลกนั้นล้วนแล้ว แต่มกี าํ เนิดมาแต่สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ทง้ั สิน้ ในสมัยประ วัติศาสตร์มีไม่กี่อย่าง หรือสมัยนี้ซึ่งการคมนาคมก็ดี ระบบ การเมืองและองค์กรการปกครองก็ดี ต่างเอือ้ ต่อการเกษตร กรรมทั้งนั้น เราก็ยังมีพันธ์ุพืชเพิ่มจากสมัยก่อนประวัติ ศาสตร์ไม่กี่อย่าง เช่น มันสําปะหลัง ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ยาสูบ ฯลฯ หรือพันธ์ุสัตว์ก็มีพันธ์ุโคนมเดนมาร์ก และควายมูราจากอินเดียที่จะมาทดลองผสมข้ามพันธ์ุกับ ควายไทยซึ่งคนก่อนประวัติศาสตร์จับเอามาเลี้ยงมาฝึกแต่ เมื่อ ๓,๖๐๐ ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อย งานเกษตรกรรมแม้จะต้องใช้แรงงานมากและเวลา มากกว่าการอยู่ป่าล่าสัตว์หาอาหารแต่ก่อนก็ให้ผลคุ้มค่าไม่ น้อยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นถิ่นฐานที่อยู่อาศัยซึ่งออกจะถาวร กว่า ปริมาณของผลผลิตทีพ่ อคาดหมายได้ในระยะยาวกว่า และเหนือสิ่งอื่นใดยังสามารถรับการเพิ่มจํานวนประชากร ได้อีกด้วย
เมือ่ ประมาณหมืน่ กว่าปีมาแล้ว ก่อนทีค่ นจะเพาะ ปลูกอย่างจริงจัง ประมาณกันว่ามีประชากรในโลกน้อย กว่า ๑๐ ล้านคน แต่เมื่อหลังจากคนเริ่มสังคมใหม่มาเป็น สังคมผลิตอาหารจนถึงทุกวันนี้ โลกมีประชากรเพิ่มขึ้น ประมาณ ๔ พันล้านคน และหากว่าแนวโน้มการเพิ่มยัง เป็นเช่นปัจจุบนั นี้ อีกไม่นานนักประชากรจะเพิม่ ขึน้ เกือบเท่า ตัว๓ หากสังคมปัจจุบันยังมุ่งแต่จะใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ดังสังคมล่าสัตว์แต่อย่างเดียว ไม่ผลิตอาหารมาชดเชย เราก็ ไม่อาจก้าวมาสู่สมัยปัจจุบันนี้ได้ เพราะแหล่งอาหารธรรมชาติแท้ๆ ไม่พอเพียงกับจํานวนประชากร
ภาวะนิ เวศวิทยา การเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการหาอาหารที่มีอยู่แล้ว ในธรรมชาติมาเป็นการผลิตหรือทําอาหารส่วนหนึ่งขึ้นมา เองนั้นทําให้ความสัมพันธ์ต่อกันระหว่างคนและโลกของ พืชสัตว์ ซึ่งเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าภาวะนิเวศวิทยา เปลี่ยน รูปไปจากเดิม พูดง่ายๆ ว่าคนในสังคมใหม่อยู่ในสิ่งแวด ล้อมต่างไปจากเก่า นักโบราณคดีได้ชี้ให้เห็นองค์ประกอบ ๓ ประการ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตรกรรม คือ ๑. การผลิตเทคนิคใหม่ๆ ๒. ปริมาณความพยายามที่ต้องใช้ เปรียบเทียบ กับวิธีอื่นๆ ที่แล้วๆ มา ๓. ขั้นความเสี่ยงต่อการล้มเหลว และสรุปว่าการดํารงชีวติ แบบเกษตรกรนีจ้ ะเป็นผลดีหรือไม่ดี นั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ ว่าจะผสม ผสานกันได้ดีแค่ไหน
๓ Smith, Ph.E. Food Production and Its Consequences, 2nd ed. Cummings Publishing Company. 1972 : 19. Menlo Park.
สังคมเกษตรกร
๑๐๙
การดํ าเนินชีวิตสองแบบ ถึงอย่างไร แม้คนเราแต่ไหนแต่ไรมาจะอยู่ข้าง อนุรกั ษ์นยิ มก็มไิ ด้หมายความว่าจะต่อต้านการเปลีย่ นแปลง ทุกสิ่งทุกอย่างไปตลอด คนที่ใช้เครื่องมือแบบฮัวบิเนียน บางกลุ่มในประเทศไทยจึงค่อยๆ รับความเปลี่ยนแปลง บางอย่าง เช่น การใช้ภาชนะดินเผาเก็บน้ำหรือสิ่งของอื่น การทําเครือ่ งมือให้ได้ประโยชน์เฉพาะอย่าง และโยกย้ายถิน่ ทํากินจากเดิมมาสูส่ ง่ิ แวดล้อมทีใ่ หม่กว่า เช่นทีร่ าบลุม่ น้ำอย่าง ที่พบที่อําเภอเชียงคาน จังหวัดเลย และอําเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ฯลฯ กระนัน้ คนอีกส่วนหนึง่ ก็ยงั ยึดอาชีพเดิมเป็นนาย พรานล่าสัตว์และหาของป่าต่อไป เพราะยังไม่เห็นว่าสังคม เกษตรกรรมซึ่งมีวิถีชีวิตใหม่จะดีกว่าที่เคยทํามา เราจึงเห็นกันว่า ขณะที่คนบางกลุ่มเริ่มแนวชีวิต ใหม่เมื่อ ๖,๐๐๐–๗,๐๐๐ ปีหรืออาจกว่านั้นมาแล้วในที่ราบ ด้วยการปลูกธัญพืช เช่น ข้าว และพืชผักอื่นๆ คนอีกส่วน หนึ่งยังปักใจอยู่กับวิถีชีวิตเดิม คือ เป็นนายพราน แต่คนซึ่งดําเนินชีวิตต่างกันเป็นสองแบบนี้ก็ยัง ติดต่อพึ่งพาอาศัยกันและกันอยู่ต่อมา คนในสังคมใหม่อาจ ต้องพึง่ ผลิตภัณฑ์ปา่ แปลกๆ จากคนสังคมเก่า และคนสังคม เก่าก็ตอ้ งพึง่ คนสังคมใหม่ในเรือ่ งผลผลิตทางเทคโนโลยีใหม่ เช่น สิ่งทอ หรือภาชนะดินเผา ซึ่งเก็บเครื่องอุปโภคบริโภค บางอย่างได้ดีกว่ากองไว้เฉยๆ อย่างแต่เดิมมา การแลกเปลี่ยนค้าขายวัตถุดิบและสําเร็จรูปใน ช่วงสมัยนีเ้ ป็นไปอย่างกว้างขวาง พวกทีใ่ ช้เครือ่ งมือหินแบบ ฮัวบิเนียนที่ถ้ำผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน และที่อื่นๆ ในภาคใต้ และภาคตะวันออก รู้จักใช้ภาชนะดินเผาและอื่นๆ ของคน ในสังคมใหม่เมื่อประมาณ ๗,๐๐๐-๘,๐๐๐ ปีมาแล้ว และ ประมาณ ๔,๐๐๐ ปีสังคมเกษตรกรรมที่บ้านเก่า อําเภอ เมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี ซึง่ ใช้เครือ่ งมือหินขัดเป็นส่วนใหญ่ ก็รับเอาเครื่องมือเหล็กและสําริดจากชุมชนอื่น หรือแหล่ง โบราณคดีที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี โนนชัย จังหวัดขอนแก่น ในที่ราบสูงโคราช หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี เครือ่ งประดับทําด้วยเปลือกหอยทะเลเมือ่ ประมาณ ๕,๐๐๐ กว่าปีลงมาถึง ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว ดังนี้เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบสังคมสองแบบดูแล้วจะเห็นได้ ว่าแต่ละแบบมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบต่อกันอยู่หลายอย่าง ชีวิตแบบใหม่นั้นใช้ประโยชน์ของที่ดินได้เต็มที่กว่ามากต่อ มากนัก แม้จะเสียเปรียบด้านอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้ว กล่าวคือ สังคมใหม่หรืออาชีพใหม่เพิ่มสมรรถนะของที่ดิน (carrying capacity of land) ในการผลิตต่อหน่วยของที่ดินที่ใช้ทํามา หากินไปในตัว แทนที่จะต้องเดินทางไปล่าสัตว์ในที่ไกลจาก บ้านออกไปทุกทีๆ
๑๑๐ ภูมิหลัง
การขยายตั วของสังคมแบบใหม่ ขนาดของชุมชนดูจะเป็นข้อแตกต่างที่ไม่เด่นชัด นัก ในสมัยเริ่มแรกสังคมแบบแรกบางแห่งอาจมีสมาชิก มากกว่าสังคมใหม่เมื่อตอนเริ่มต้นได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป นานๆ เข้า เราจะเห็นว่าสังคมแบบใหม่ขยายตัวออกไปได้ เร็วกว่าและใหญ่กว่าสังคมแบบเก่า เนื่องด้วยแบบแผน ดํารงชีวิตของสังคมใหม่อํานวยให้คนอยู่รวมกันได้มากขึ้น เพราะต่างคนต่างครอบครัวสามารถผลิตอาหารเองได้ สังคมแบบก่อนนั้นจะมีหมู่บ้านใหญ่ๆ ได้ก็ต่อเมื่อตั้งอยู่ใน ที่มีทรัพยากรอาหารอุดมสมบูรณ์ เมื่อความอุดมสมบูรณ์ ลดลงไม่พอเลี้ยงกัน ก็ต้องอพยพโยกย้ายถิ่นฐานไปทํากิน ในที่ใหม่ต่อไป ภาพเขียนสีหน้าผาใกล้ถ้ำมโหฬารแสดงภาพคน ๔-๕ คน ช่วยกันล่าสัตว์ คนจํานวนนี้น่าจะมาจากมากกว่า หนึ่งครอบครัว เพราะสังคมล่าสัตว์นั้นจํากัดอายุของนักล่า จากการศึกษาเผ่าชนปัจจุบันหลายเผ่าที่ยังดํารงชีวิตแบบ เก่าพบว่า เด็กวัยรุ่นแทบจะไม่มีบทบาทช่วยเหลือในการล่า สัตว์เลย คนที่ล่าจะต้องเป็นผู้ใหญ่วัยฉกรรจ์ผ่านการอบรม มาพอสมควร ฉะนั้น ชายที่มีอายุไล่เลี่ยกันหลายคนน่าจะ มาจากหลายครอบครัว แสดงให้เห็นว่าแม้จะมีการแบ่งงาน กันแล้ว แต่ก็มีข้อจํากัดเรื่องวัย และคงรวมไปถึงเพศด้วย ข้อได้เปรียบอีกข้อหนึ่งของสังคมเกษตรกรรม จึงอยู่ที่การแบ่งงานในทุกเพศทุกวัย ได้สัดส่วนได้มากกว่า สังคมเก่า ตั้งแต่อยู่บ้านนั่งทํางานเบาๆ ไปจนถึงงานหนัก หลายต่อหลายอย่างด้วยกัน
รูป ๑ ต่างหูหอยมือเสือ ที่โนนชัย จังหวัดขอนแก่น
รูป ๒ เครื่องประดับเบี้ยหอย ที่โนนชัย จังหวัดขอนแก่น
รูป ๓ ภาพเขียนสีแดง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แสดงภาพคนกําลังล่าสัตว์ มีกวางผา? วัวแดง? และอื่นๆ ที่เห็นไม่ชัดเพราะ สภาพลบเลือนไปมาก พบที่หน้าผาติดกับ ถ้ำมโหฬาร อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
๓
๑
แบบแผนของการตั ้งถิ่นฐาน
เทคโนโลยีใหม่ๆ จึงเกิดขึ้นด้วยเหตุนี้ มิใช่เกิด ขึ้นเพราะคนมีเวลาว่างได้นั่งคิดประดิษฐ์ของตามอําเภอใจ อย่างที่เคยเชื่อกันมาแต่ก่อน หากเกิดจากหน้าที่ความรับ ผิดชอบในงานที่ได้แบ่งปันเป็นสัดเป็นส่วนกันแล้วมากกว่า ในที่นี้เห็นควรกล่าวย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ผู้เขียนได้ แบ่งสังคมมนุษย์ตามวิถีดํารงชีวิตออกเป็น ๒ แบบ คือ สังคมล่าสัตว์สังคมหนึ่ง และสังคมเกษตรกรรมอีกสังคม หนึ่ง สังคมแบบแรกเริ่มในสมัยไพลสโตซีน แต่มิได้สิ้นสุด ลงทีโ่ ฮโลซีนตอนต้นเท่านัน้ หากยังสืบต่อลงมาถึงเมือ่ พันกว่า ปีดังปรากฏในที่บางแห่งที่กล่าวแล้ว ส่วนสังคมแบบที่สอง คงจะเริ่มบ้างแล้วในสมัยไพลสโตซีนตอนปลายหรือโฮโล ซีนตอนต้นๆ แต่หลักฐานไม่ปรากฏชัดเจนเท่าใดนัก จน กระทั่งถึงประมาณ ๖,๐๐๐-๗,๐๐๐ ปี จึงมีการเพาะปลูก ธัญพืช เช่น ข้าวในประเทศไทยและสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของประเทศก็ยังอยู่ในสังคมเกษตรกรรม ฉะนัน้ ในสังคมเกษตรกรรมสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ ตามนัยที่ผู้เขียนกําหนดไว้นี้ จึงรวมเอาสมัยต่างๆ ของผู้ เขียนอื่นๆ ไว้ด้วยกัน เช่น สมัยหินใหม่ สมัยสําริด และ สมัยเหล็ก เป็นต้น เพราะเห็นแนวทางชีวิตโดยทั่วไปของ ชุมชนเหล่านั้นเหมือนๆ กัน คือทําการเกษตร ส่วนเครื่อง มือหิน สําริด และเหล็กนั้น แม้จะเป็นเครื่องมือที่ประดิษฐ์ ขึ้นด้วยวัสดุและเทคโนโลยีที่ต่างกันก็จริง ก็ทําขึ้นมาเพื่อใช้ ในการเกษตรกรรมเป็นส่วนมาก จึงเห็นว่าควรจัดให้อยู่ใน สังคมแบบเดียวกัน
สังคมเกษตรกรรมทําให้คนอยู่ติดที่มากกว่าสังคม ก่อนและทําให้เกิดการพัฒนาการก่อสร้างและโครงสร้าง ของสังคมใหม่ขึ้น มีการสร้างที่อยู่อาศัยเป็นส่วนตัวหรือ ครอบครัว สิ่งก่อสร้างสาธารณะ เช่น บ่อน้ำ ศาล หรือ สถานที่ประกอบพิธีกรรม ฯลฯ มีผังรวมของหมู่บ้านหรือ ชุมชนซึ่งแบ่งเขตเป็นส่วนๆ ให้สอดคล้องกับฐานะและบทบาทของคนในสังคมว่า บ้านใครอยู่ตรงไหน ใกล้หรือไกล กับของหัวหน้าหมู่บ้าน ต่อมาเกิดมีการแบ่งสิทธิถือครองที่ ดินตั้งถิ่นฐานทํากิน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้มีการย้ายถิ่น ฐานไปอยู่ที่อื่นๆ นอกไปจากนี้แล้ว การตั้งบ้านอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม ใหญ่ยังต้องคํานึงถึงข้อจํากัดทางทรัพยากรธรรมชาติที่จํา เป็นอย่างอื่นๆ อีก เช่น แหล่งน้ำกินน้ำใช้ ภูมิอากาศและ ดินว่าเหมาะสมในการทํากินหรือไม่ สิ่ ง เหล่ า นี้ เป็ นตั ว ประกอบสํ า คั ญ ที่ จ ะทํ า ให้ ค น ตัดสินใจว่าจะตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่ใด แหล่งโบราณคดีสังคมเกษตรกรรมสมัยก่อนประ วัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์พบในที่ราบใกล้เขาในหุบ เขาและที่ราบลุ่มน้ำนับเป็นจํานวนหลายพันแห่งแล้ว
การสร้างบ้านเรือน
ในเรื่องถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของคนในสังคมใหม่เรา มีหลักฐานของการก่อสร้างบ้านเรือนของคนสมัยนี้ผิดไป จากการอยู่ป่าอาศัยถ้ำซึ่งเพียงแต่ดัดแปลงเสริมโครงสร้าง แต่เพียงเล็กน้อยก็อยูอ่ าศัยได้แล้ว แต่เกษตรกรในประเทศไทย ย้ายถิ่นฐานลงมาอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำ ที่ราบในหุบเขา แล้ว สร้างบ้านเรือนด้วยไม้ใต้ถุนสูงเหมือนปัจจุบัน ผังของบ้าน ที่สมบูรณ์จะมีกี่แบบเราไม่ทราบเพราะขาดหลักฐาน มีที่พบ สมบูรณ์อยู่แห่งเดียวที่หนองแช่เสาในจังหวัดราชบุรี ซึ่ง ซอเรนเซน๔ จินตนาการจากผังทีม่ หี ลุมเสาอยู่ ๖ หลุมด้วยกัน
๒
รูป ๔ ผังของบ้านในสังคมเกษตรกรรม ซึ่งซอเรนเซนจินตนาการ จากหลักฐานที่พบหลุมเสา
๔ Sorensen, P. “Archaeology in Thailand : Prehistory through the Neolithic Age”. Sawaddi, July – August, 1972 : 21.
๔
สังคมเกษตรกร
๑๑๑
๕ รูป ๕ บ้านใต้ถุนสูง มีส่วนใช้งานข้างล่างได้ เช่น เล้าหมูในภาพนี้
รูป ๖ ข้าวนาเมืองในปัจจุบัน
๖
การที่เราไม่ได้ผังบ้านสมบูรณ์หรืออย่างน้อยเท่า กับหนองแช่เสา เป็นเพราะการขุดค้นส่วนมากขุดในเนื้อที่ ไม่มากนักอย่างหนึ่ง และการฝังศพสมัยหลังในที่เป็นที่อยู่ มาก่อนจึงกลบร่องรอยเก่าไปหมดอีกอย่างหนึ่ง เหตุประ การแรกเป็นเรื่องเศรษฐกิจเพราะเป็นการลงทุนซึ่งต้องใช้ มาก ในแต่ละครั้งใช้เวลามากและคนดําเนินการอีกมาก จึง ไม่สามารถขุดลอกสถานที่เดียวทั้งหมดได้ เข้าลักษณะการ สุ่มเก็บตัวอย่างทําโครงการวิจัยเล็กๆ มากกว่า
บ้านใต้ถุนสูง อเนกประสงค์
จะอย่างไรเราก็มีหลักฐานเรื่องบ้านทรงไม้ใต้ถุน สูงแล้วอย่างน้อยก็แบบหนึ่งซึ่งเป็นแนวทางที่สืบต่อมาจน ถึงปัจจุบัน จะเรียกว่าเป็นต้นเค้าของแบบบ้านในชนบทหรือ ของสังคมเกษตรกรรมก็ได้ แต่ดว้ ยเหตุทเ่ี รามองสังคมแบบ นี้เป็นสังคมเกษตรกรรมในที่ราบลุ่มน้ำใหญ่แต่เพียงอย่าง เดียว จึงเข้าใจว่าเขาสร้างบ้านใต้ถุนสูงเพื่อหนีน้ำท่วมตอน หน้าน้ำ อันที่จริงแล้ว บ้านชนบทใต้ถุนสูงนั้นมิใช่จะสร้าง ขึ้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมแต่อย่างเดียว เพราะระดับน้ำท่วม น้ำลดตามฤดูกาลต่างๆ นั้นพอประมาณคาดการณ์ได้ นอก เสียจากจะเกิดภัยร้ายแรงผิดปกตินานๆ ครัง้ เท่านัน้ ซึง่ หาก เป็นเช่นนัน้ บางแห่งก็สามารถอพยพไปตัง้ ในทีส่ งู กว่าได้ เช่น บ้านในที่ราบลุ่มน้ำในหุบเขาซึ่งมีที่ราบขั้นบันไดหลายระดับ เป็นต้น บ้านใต้ถนุ สูงทีพ่ บในสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์เป็นต้น มา จนกลายเป็นแบบบ้านชนบทในปัจจุบัน จึงสร้างขึ้นด้วย วัตถุประสงค์อย่างอื่นด้วย ซึ่งยังเห็นได้ทั่วไปในหมู่บ้าน ชนบทที่เก็บของใช้ต่างๆ ไว้ใต้ถุนเพราะบ้านคนไทยโดยทั่วๆ ไปไม่สร้างห้องเก็บของ นอกจากยุ้งข้าว (ในชนบท) และ คอกสัตว์ ซึ่งบางครั้งก็ใช้เนื้อที่ใต้ถุนบ้านกั้นเป็นคอก นอก จากนั้นแล้ว ใต้ถุนบ้านยังเป็นที่ทํางานบางอย่างของคนใน สังคมเกษตรกรรมอีกด้วย ตั้งแต่งานทอผ้า ทําภาชนะ ดินเผา จักสานฯลฯ ซึ่งสะดวกไม่แต่เพียงขนย้ายวัสดุเท่า นั้น หากยังง่ายต่อการทําความสะอาดอีกโสดหนึ่งด้วย
๑๑๒ ภูมิหลัง
สิ ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง จากข้อมูลทีไ่ ด้เสนอในบทต้นๆ เกีย่ วกับภาวะแวด ล้อมของประเทศไทย จะเห็นได้วา่ สิง่ แวดล้อมนัน้ เปลีย่ นไป เรือ่ ยๆ มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่ตวั กระทําซึง่ เป็นธรรมชาติ มาแต่โลกเกิด จนเมือ่ มีคนและสิง่ มีชวี ติ อืน่ ๆ เกิดขึน้ ภาวะ แวดล้อมก็ยิ่งเปลี่ยนเร็วขึ้นและมากกว่าเดิมเพราะมีตัวกระ ทําให้เปลี่ยนแปลงมากขึ้น นับแต่สมัยไพลสโตซีนเป็นต้นมา ธรรมชาติซง่ึ เป็น ตัวการให้เกิด ไฟป่า น้ำท่วม การสึกกร่อนผุพังและทับถม โดยกระบวนการต่างๆ คน สัตว์ และพืช ก็เป็นตัวช่วยเร่ง ความเปลี่ยนแปลงอันนี้ด้วย คนในบทบาทของนายพรานอาจมีส่วนทําให้สัตว์ บางชนิดสูญพันธ์ุไปได้ และเมื่อเปลี่ยนแปลงทางหากินมา ยึดอาชีพใหม่มาทําการเกษตรกรรมก็ต้องหักร้างถางพง เพื่อขยายที่ทําการเพาะปลูกไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลาเพราะ จํานวนคนในครอบครัวและสังคมเพิ่มขึ้น โดยที่ตนเองก็นึก ไม่ถึงว่าเป็นตัวการที่ทําให้ทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่าง ต้องเปลี่ยนไป นักโบราณคดีและมานุษยวิทยาบางท่านว่า “คน เป็นผู้ทําลายและทําให้สิ่งแวดล้อมเสียไป” ทําให้ธรรมชาติ เสียความสมดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องโค่นไม้เพื่อทํา การเพาะปลูก ใช้ไม้ทําฟืนหรือเชื้อเพลิง ก่อสร้าง และทํา เครือ่ งใช้ไม้สอยอย่างอืน่ ๆ ซึง่ มีผลกระทบไปถึงพืชพันธ์ุ (vegetation pattern) และที่ชัดแจ้งที่สุดก็คือภาวะอากาศและ ระบบหรือวัฏจักรของน้ำ (hydrological cycles) นักภูมศิ าสตร์บางท่านเชือ่ ว่าการเกษตรกรรมของ คนเป็นตัวเร่งให้เกิดทะเลทรายซะฮาราและทีแ่ ห้งแล้งมากๆ อีกหลายแห่ง ในภูมิภาคร้อนอย่างประเทศไทยนั้นการถาง ป่าอาจจะทําให้ดินแลง (laterite) ซึ่งอุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุ เหล็กแข็งตัวเร็วเกินไป เป็นผลเสียแก่การเกษตรกรรมใน สมัยต่อๆ มา
๗ รูป ๗ เครื่องมือทุบเปลือกไม้ทําด้วยหิน และเศษภาชนะดินเผามีลายทาบ
รูป ๘ ภาชนะซึ่งมีลายทาบเป็นลายเสื่อลําแพน จากบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
การแบ่ งงาน สังคมเกษตรกรรมบังคับให้ต้องแบ่งงานกันทํา (division of task) แต่ไม่ถึงขั้นที่จะเรียกว่า เป็นการแบ่ง แรงงาน (division of labour) อย่างจริงจัง อย่างไรก็ดี การช่วยกันทํางานคนละไม้คนละมือเช่นนี้ทําให้เกิดความ ถนัดในงานช่างเฉพาะอย่าง (craft specialization) ขึ้น กล่าวได้วา่ ยิง่ มีกจิ กรรมมากขึน้ ผูช้ าํ นาญงานในสาขาต่างๆ ก็มจี าํ นวนมากขึน้ ปริมาณสิง่ ของเพิม่ มากขึน้ จนต้องจําแนก ออกเป็นประเภทๆ ว่าสิ่งนั้นๆ จะใช้สําหรับทําอะไรได้อีก นอกไปจากการใช้สอยประจําวัน เช่น ภาชนะดินเผารูปร่าง สีสันแปลกๆ ซึ่งใช้ในงานพิธีกรรมบางอย่างด้วยก็ได้ ฯลฯ ที่เหลือก็ใช้แลกเปลี่ยนหรือค้าขายต่อไป ในสมัยนั้นคนประดิษฐ์หรือดัดแปลงเทคโนโลยี ใหม่ๆ ขึน้ หลายอย่างและเลือกวัสดุมาใช้ทาํ อย่างพิถพี ถิ นั ยิง่ ขึ้น เพราะต้องคํานึงถึงประโยชน์ใช้สอยเฉพาะอย่าง ไม่ใช่ สารพัดประโยชน์อย่างเคยเป็นมาแต่กาลก่อน เครื่องมือหินส่วนใหญ่จะขัดหรือกะเทาะผิวเกือบ หมดหรือหมดเลย แต่งเหลี่ยมแต่งคมให้ใช้งานได้เป็นอย่าง ดี เมื่อสึกหรือบิ่นก็มีหินลับ ทําคมใหม่ แสดงถึงการตั้งใจ ใช้ของให้มีประสิทธิภาพและให้ใช้ได้นานๆ อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาก็เกิดขึ้นในสมัยนี้ แม้จะกล่าวไม่ได้วา่ เกิดขึน้ พร้อมกันตอนเริม่ งานเกษตรกรรม ทีเดียว ดังตัวอย่างที่พบที่อื่นๆ เช่น ตะวันออกกลาง เมดิเตอร์เรเนียน หรือในอเมริกาซึ่งสังคมเกษตรกรรมเกิดขึ้น แล้วเป็นเวลานับร้อยนับพันปี แล้วจึงมีการทําเครื่องปั้น ดินเผาทีหลัง อย่างไรก็ดี การทําเครื่องปั้นดินเผาก็นับว่าเป็น พื้นฐานของพัฒนาการทางโลหกรรมในช่วงเวลาต่อมาได้ เพราะเป็นการดัดแปลงทรัพยากรธรรมชาติจากดิน ทราย ฯลฯ ด้วยเทคโนโลยีด้านความร้อน (pyrotechnology) ให้ เป็นภาชนะใช้สอยตามแบบที่ต้องการได้
๘
นอกจากอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาซึ่งทําอยู่ กับบ้านแล้ว ยังมีการทําเครื่องจักสาน มีตัวอย่างที่พบแล้ว ที่อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุร๕ี และที่อื่นๆ ซึ่งเป็น รอยของเสื่อลําแพน เช่น ที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี โนนชัย จังหวัดขอนแก่น ฯลฯ แม้ภาชนะดินเผาในที่บางแห่ง บ้านเชียง หรือหนองกร่าง จังหวัดนครปฐม ฯลฯ ซึ่งเป็น ของในสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างก่อนประวัติศาสตร์และ ประวัติศาสตร์ก็ทําเลียนแบบเครื่องจักสานมีรูเจาะสําหรับ แขวน หรือทําเป็นรูปกระบุงและอื่นๆ แสดงถึงวัฒนธรรม ที่ต่อเนื่องมาแต่สมัยก่อนๆ การปั่นด้าย ทอผ้า คงมีมานานแล้วเช่นเดียวกัน จากหลักฐานที่พบเศษภาชนะดินเผามีลายเชือกทาบและตา ข่าย ที่ถ้ำผีในชั้นดินที่มีอายุ ๗,๐๐๐-๘,๐๐๐ ปี ซึ่งหาก พิจารณาให้ดแี ล้วจะเห็นได้วา่ เทคนิคเหล่านัน้ ก้าวหน้าไปมาก แล้ว ฉะนั้นจะต้องเริ่มต้นคิดทําขึ้นมาก่อนนี้นานพอสมควร ทีเดียวจึงได้พัฒนาขั้นตอนจนมาถึงรูปลักษณะเช่นนี้ได้ ลาย เชือกทาบนั้นพบในที่ทั่วไปแม้จะเข้าสมัยประวัติศาสตร์แล้ว จนปัจจุบันหมู่บ้านที่ทําเครื่องปั้นดินเผาแบบโบราณบาง แห่งก็ยังทํากันอยู่ หลักฐานอื่นๆ มีแวดินเผา (spindle whorls) และอื่นๆ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประกอบเครื่องปั่นด้าย ส่วนหลักฐานเรื่องผ้าส่วนมากพบในลักษณะที่เป็นรูปรอย (imprints) ติดอยู่กับเครื่องโลหะ แต่ยังไม่ได้ศึกษากัน อย่างจริงจังถึงแบบของลายและวัสดุที่ใช้ทํา หลักฐานการ ทําผ้าอีกอย่างหนึ่งคือเครื่องมือทุบเปลือกไม้ทําด้วยหิน (bark cloth beaters) ซึ่งพบในที่หลายแห่งในประเทศไทย อีกเช่นกัน
๕ ชิน อยู่ดี คนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรมศิลปากร. ๒๕๑๒ : ๗๔.
สังคมเกษตรกร
๑๑๓
การขั ดแย้ง
แนวทรรศนะและค่ านิยม
หลักฐานโบราณคดีและชาติวงศ์วรรณาทั่วไปเปิด เผยให้เห็นว่าหมู่บ้านส่วนมากพึ่งพาอาศัยตนเองได้ทุกอย่าง (self sufficient) แต่บางหมู่บ้านอาจทํากิจกรรมเฉพาะอย่าง เช่นทําเครื่องปั้นดินเผา สําริดหรือเหล็ก หรือค้าขาย นอก ไปจากทําไร่นา และบางคนในหมู่บ้านอาจทําหน้าที่พิเศษ เช่นหมอผี (shaman) ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือ เป็นหมอยา ซึ่งบางแห่งใช้คนๆ เดียวกัน เมื่อสังคมขยายไปตามแนวนี้ย่อมเกิดมีการขัด แย้งทั้งภายในและภายนอกกลุ่มของตนเอง อันเป็นเรื่อง ธรรมดาในคนหมู่มาก ซึ่งก็คงเป็นดังนี้มาแล้วแต่สมัย ไพลสโตซีน แต่สมัยนัน้ เป็นสมัยทีค่ นอยูก่ ระจายไปไม่คอ่ ยรวม กลุ่มอยู่กับที่นานๆ แล้วขยายขนาดไปอย่างสังคมเกษตร กรรม การต่อสู้รบพุ่งจึงไม่ใหญ่โตเหมือนในสังคมเกษตร กรรม ซึ่งเคยพบมีโครงกระดูกแขนขาด ขาขาดอันเกิด จากการถูกฟันด้วยของมีคม เช่นที่บ้านเก่า หรือถูกยิงด้วย ธนูเช่นที่บ้านเชียงและที่อื่นๆ แต่อย่างไรก็ดียังไม่เคยพบ หลักฐานของการรบพุ่งอย่างใหญ่โตดังที่เคยพบในประเทศ จีนสมัยสําริดและที่อื่นๆ ซึ่งบางแห่งเห็นได้จากหลักฐานที่ เป็นอาวุธยุทโธปกรณ์ฝงั รวมอยูก่ บั ม้าเป็นจํานวนมาก เครือ่ ง มือที่พบในประเทศไทยที่พอจะอนุโลมให้อยู่ในประเภทของ อาวุธได้มีแต่หอก ขวาน ธนู ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือทํากินได้ เหมือนกัน และไม่เคยพบรวมกันเป็นกองใหญ่ๆ อย่างที่ อื่น ๆเลย สาเหตุของการขัดแย้งมีหลายอย่าง ตั้งแต่การ ขัดกันโดยส่วนตัว จนถึงการปล้นสะดมทรัพย์สินและเหตุ ขัดแย้งจากการแข่งขันทางเศรษฐกิจ นักมานุษยวิทยาบางท่านว่าคนเรานัน้ มี “สัญชาติ ญาณของนักฆ่า” อยู่ในตัว แต่ส่วนมากเชื่อว่า “การระราน” เกิดจากสาเหตุทางเศรษฐกิจและจิตวิทยาประกอบกัน โดย เฉพาะในการแข่งขันหรือแย่งทรัพยากรบางอย่างเช่นที่ดิน ทํากิน อาหาร หรือผู้หญิง การตั้งถิ่นฐานของคนในสังคมเกษตรกรรมส่วน มากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมาจึงต้องเลือก ทําเลที่ไม่เพียงแต่จะทํากินหรือป้องกันภัยธรรมชาติได้เท่า นั้น หากยังต้องคํานึงถึงความปลอดภัยจากคนด้วยกันอีก บ้านบางบ้านอาจต้องมีร้วั กั้นกันสัตว์เลี้ยงบ้านอื่นมาทําลาย พืชผล และบางหมู่บ้านอาจมีคูคลองไว้ใช้น้ำและป้องกัน ศัตรูจากที่อื่น ลักษณะเช่นนี้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วงเวลา ต่อๆ มาในสมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นๆ ซึ่งพัฒนามาเป็น หมู่บ้านใหญ่หรือเมืองขนาดย่อมๆ มีคูล้อมรอบชั้นหนึ่งหรือ สองชั้น มีกําแพงดินโดยรอบ หรือบางแห่งตั้งบนเนินสูง ธรรมชาติรอบๆ เป็นที่ราบลุ่มสําหรับทําการเกษตร
เรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับคนใน สังคมเกษตรกรรมก็คือ แนวทรรรศนะและค่านิยมของคน ในสังคมนี้โดยทั่วไป แต่หลักฐานทางโบราณคดีไม่อํานวย ให้จึงต้องพึ่งหลักฐานทางอื่นเช่นชาติวงศ์วรรณา นักโบราณ คดีจึงพูดเรื่องนี้ด้วยความไม่สบายใจนัก เพราะจะพึ่งหลัก ฐานที่เป็นวัตถุที่ฝังรวมอยู่กับศพอย่างเดียวแล้วตีความเอา ตามคุณค่าของประเภทของสิ่งของ หรือปริมาณของสิ่ง ของในหลุมฝังศพอย่างเดียวว่า ถ้ามีค่ามากมีปริมาณมาก ผู้ตายเป็นคนรวย ถ้ามีของคุณค่าน้อยจํานวนน้อยก็เป็นคน จน แสดงถึงการแบ่งชั้นตามฐานะเศรษฐกิจอย่างนั้นก็ดูจะ ไม่สู้เป็นเหตุเป็นผลที่ดีนัก อย่างมากที่สุดที่จะบอกได้ ก็ได้ มาจากการสังเกตอย่างใกล้ชิดเป็นบางอย่างเท่านั้น เช่นที่ บ้านเชียงเป็นต้น ชาร์ลส์ ไฮแอม (Charles Higham) และอําพัน กิจงาม สังเกตว่าสัตว์เศรษฐกิจบางชนิดนั้นไม่ ได้ใช้เป็นอาหารหรือพาหนะลากไถหรืองานอื่นๆ เท่านั้น หากคงเป็นสัญลักษณ์บางอย่าง เช่น กระดูกสุนัขนั้นมัก ฝังรวมอยู่กับศพเด็ก กระดูกหมูกับศพผู้หญิง และกระดูก วัวควายกับศพผู้ชาย
๑๑๔ ภูมิหลัง
๙
รูป ๙ ทัพพีดินเผา มีลายเขียนสีซึ่งอาจแสดง ความหมายบางสิ่งบางอย่าง
ของบางอย่างที่คนได้ทําขึ้นอาจไม่ได้เป็นเครื่อง ใช้ไม้สอยประจําวันอย่างเดียว แต่อาจเป็นสัญลักษณ์ของ ความมั่งคั่ง อํานาจ ศักดิ์ศรี ความเชื่อทางศาสนา ความ ยินดีในสุนทรียะ หรือสัญลักษณ์ทเ่ี ล่าขานต่อกันมาในนิยาย ปรัมปรา เพลง ของสังคมที่เป็นเจ้าของสิ่งนั้นๆ เช่น ความ เคารพนับถือวัวในหมู่พวกฮินดู ลูกแกะ นกเขา และนก พิราบ ในศาสนาคริสต์ หรือข้าวซึ่งเป็นแม่โพสพของคนไทย สิ่งเหล่านี้ในสังคมที่อยู่ในสมัยประวัติศาสตร์แล้ว เราบอก ความเชื่อหรือที่มาได้ แต่ในสังคมที่อยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ซง่ึ ยังไม่มกี ารบันทึกไว้เป็นตัวหนังสือ จะทราบกันได้ อย่างไร เมื่อพบรูปปั้นสัตว์ต่างๆ เช่น วัว ควาย แรด ที่ บ้านเชียงและแหล่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือรูปสุนัขที่ปลาย ด้ามทัพพีสําริด นักโบราณคดีพูดได้อย่างคร่าวๆ ว่าสัตว์ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งกับคน วัว ควาย และ สุนัข พอพูดได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยง แต่แรดนั้นบอกต่อไปไม่ได้ ว่ามีบทบาทอย่างไรกับสังคมของคนสมัยนั้น และสัตว์อื่นๆ ซึ่งมี งู ปลา กิ้งก่า ฯลฯ จากลายเขียนสีบนภาชนะจะเป็น สัญลักษณ์ของอะไรอีกบ้าง ก็บอกไม่สนิทใจนัก
สุ ขภาพ เรื่องสุขภาพหรือโรคภัยไข้เจ็บสมัยก่อนประวัติ ศาสตร์นั้นเรียนรู้ได้จากกระดูกและฟันเท่านั้น ถ้าโรคใดไม่ ทําให้กระดูกและฟันเปลีย่ นลักษณะไป เราก็ไม่สามารถบอกได้ มนุษย์สมัยไหนก็เผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บทั้งนั้น นายพราน คนหาของป่า และคนจับปลาเพื่อยังชีพในสมัย ก่อนเกษตรกรรมก็คงมีโรคบางอย่างที่เกิดจากพยาธิและ อื่นๆ แต่โรคติดต่อนั้นคงจะมีน้อย เพราะประชากรน้อย และอยู่ไม่ติดที่ กระจัดกระจายกันไปเป็นส่วนมาก ไข้สมัย นั้นคงเป็นพวกมาลาเรียและไข้เหลือง ฯลฯ แต่เมื่อก่อนสมัยสังคมเกษตรกรรม คนอยู่ด้วย กันเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ๆ และอยู่เป็นหลักแหล่งนานๆ อาจจะ ทําให้มีโรคภัยไข้เจ็บมากชนิดกว่า เช่น อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ คางทูม หัด หัดเยอรมัน อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ และ โปลิโอ๖ โรคภัยไข้เจ็บประเภทนี้เป็นโรคระบาดและติดต่อ ได้ เป็นผลที่เกิดมาจากการที่คนเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม แล้วสร้างขึน้ มาใหม่ อีกทัง้ ชุมชนก็ขยายใหญ่ไปเรือ่ ยๆ เพราะ วิถีดํารงชีวิตบังคับให้ทําเช่นนั้น การตั้งหลักแหล่งอยู่กัน ถาวร อาหารใหม่ๆ ตลอดจนสาเหตุอันเกิดจากพันธุกรรม ทําให้เกิดมีโรคภัยบางอย่าง นอกจากที่กล่าวมาแล้วก็มี
๖ Smith. Food Production and Its Consequences, อ้างแล้ว p.80.
๑๑ รูป ๑๐ ลายเขียนสีคล้ายรูปงู บนภาชนะบ้านเชียง
๑๐
รูป ๑๑ รูปกบปรากฏอยู่บนกลองมโหระทึกสําริด
สังคมเกษตรกร
๑๑๕
มาลาเรียหรือไข้จับสั่น ไข้เหลือง ไข้กระดูกแตก (dengue) ซึ่งมียุงเป็นพาหะเช่นเดียวกับมาลาเรีย ฯลฯ วัวควายและสัตว์เลี้ยงที่เลี้ยงอยู่ใต้ถุนบ้านหรือใน บริเวณบ้านก็เป็นพาหะสําคัญทีน่ าํ โรคมาสูค่ นได้ นอกเหนือไป จากสัตว์อื่นๆ เช่น ยุงซึ่งแพร่พันธ์ุได้ในน้ำนิ่ง เช่น บึง หนอง แอ่งน้ำเล็กๆ หรือแม้แต่แปลงไร่นาที่มีน้ำขังที่คนทําขึ้นมา เอง หอยนาหรือหอยบึงก็มีพยาธิร้ายแรงอยู่ในตัว ขยะ มูลฝอยหรือมูลคนมูลสัตว์ก็เป็นที่เกิดของโรคได้อย่างดี ตลอดจนหนูและแมลงสาบที่อยู่ในบ้าน โรคที่เห็นได้จากสัตว์เลี้ยงที่คลุกคลีกันอย่างใกล้ ชิด เช่น วัว ควาย คือ แอนแทรกซ์ วัณโรคสัตว์ และพยาธิ ในเส้นเลือดชนิดหนึ่ง (trypanosomiasis) และเป็นไปได้ว่า ภายในไม่กช่ี ว่ั คน โรคบางชนิดซึง่ เป็นโรคติดต่อ เช่น หัด ก็ ก่อตัวอยู่กับประชากรบางกลุ่มเช่นเดียวกับโรคโลหิตเป็น พิษอย่างซิคคลีเมีย (sicklemia) ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุด แสงวิเชียร๗ รายงานว่าโครงกระดูกที่พบที่บ้านเก่าโครงหนึ่งมีกะโหลก กระดูกหนาถึง ๑๑ มิลลิเมตร เนื้อร่างแห (diploic tissues) มีลักษณะคล้ายกับกะโหลกคนที่ตายด้วยโรคโลหิต จางเรื้อรัง ที่โนนนกทา จังหวัดขอนแก่น ไมเคิล ปิทรูซิวสกี (Michael Pietrusewsky)๘ รายงานว่ามีกระดูกของผู้ใหญ่ ส่วนหนึ่งแสดงพอรอติก ไฮเปรอสโตซิส (porotic hyperostosis) คือกระดูกส่วนโค้ง (vault bones) หนาเกินปกติ เป็นภาวะธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับคนที่มีโรคเกี่ยวกับเลือด ต่างๆ อันเกิดจากเฮโมโกลบิน (haemoglobinopathies) เช่น ธะแลสสิเมีย (thalassimia) และซิคคลีเมีย (sicklemia) นอกจากนี้ก็มีโรคโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก ขาด G-6PD (G-6PD deficiency) และธาตุอาหารอืน่ ๆ ซึง่ ทําให้ เจ็บปวดเป็นอันตรายต่อกระดูก รวมความว่าคนทีโ่ นนนกทา ส่วนนัน้ เป็นโรคอันเกิดจากเฮโมโกลบินและเพราะมีเฮโมโกลบินแบบผิดปกติ (abnormal haemoglobin types) และ ขาดธาตุอาหารบางอย่าง แตทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าขาด อาหารหรืออาหารไม่พอกิน ปิทรูซิวสกีอ้างรายงานของ เชอร์นอฟ (Chernoff, 1959) สุภา ณ นคร (๑๙๕๖) และอืน่ ๆ ว่าตรวจพบว่าคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันมีเฮโมโกลบิน อี (haemoglobin E) สูง และธะแลส สิเมียซึ่งเป็นหลักฐานทางอ้อมอย่างหนึ่งของโรคมาลาเรีย (falciparium malaria) และอ้าง แองเจิล (Angel 1966, 1967) ว่า เฮโมโกลบินผิดธรรมดาดังกล่าวนั้นเป็นผลมาจาก ยุงที่เป็นพาหะ และมักเกิดในสังคมเกษตรกรรมที่ได้เปลี่ยน แปลงสิ่งแวดล้อมธรรมชาติจนกลายสภาพเป็นแหล่งแพร่ พันธ์ุของยุงเช่นแหล่งน้ำนิ่งต่างๆ ในแปลงข้าวเป็นต้น
๑๑๖ ภูมิหลัง
อีกโรคหนึ่งคงเป็นวัณโรค จากหลักฐานกระดูก สันหลังธอแรคสิก (thoracic) ที่เชื่อมติดกัน ซึ่งชี้ให้เห็น ประชากรหนาแน่นพอควรที่จะทําให้โรคนี้ซึ่งเป็นโรคติดต่อ อย่างหนึ่งแพร่เชื้อสืบต่อกันไปได้ หลักฐานเรือ่ งกระดูกคนจากบ้านเก่าและโนนนกทา เป็นหลักฐานทางมานุษยวิทยากายภาพของคนในสังคมเกษตร กรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยดีที่สุด (ที่อื่นๆ ยังอยู่ระหว่างการวิเคราะห์) ที่แสดงให้เห็นว่าการย้ายทําเล ที่ตั้งชุมชนจากที่สูงมาอยู่ที่ราบเพื่อเปลี่ยนอาชีพมีผลกระทบ ต่อสุขภาพอนามัยหลายอย่าง ซึ่งนอกจากโรคบางโรคที่ได้ กล่าวแล้ว ยังมีโรคเกี่ยวกับฟันผุซึ่งก็เป็นโรคปกติธรรมดา ของคนในสังคมเกษตรกรรมจนถึงปัจจุบันเหมือนกัน โรคภัยไข้เจ็บสมัยโบราณและการรักษาพยาบาล ไม่ถูกหลักวิธีอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้อัตราการตายของ เกษตรกรสมั ย ก่ อ นประวั ติ ศ าสตร์ สู ง กว่ า ปั จ จุ บั น มาก สถิติของคน ๑๓๙ คนจากแหล่งโนนนกทามีอายุเฉลี่ยตอน ตายเพียง ๒๔.๗ ปี มีไม่กี่รายที่อยู่จนแก่ ที่ตายมากที่สุด อยู่ระหว่าง ๒-๖ ขวบ และที่บ้านเก่า ๒๓ ตัวอย่างที่มีอายุ เฉลี่ยตอนตาย ๒๗.๘ ปี ปิทรูซิวสกีแบ่งประชากรโนนนกทาที่ได้ศึกษาเป็น ๒ สมัยใหญ่ๆ สมัยแรกมีอายุเฉลี่ยตอนตายในวัยต่ำ มี ทารกและเด็กตายมากกว่า มีคนอายุยืนน้อยกว่าสมัยที่สอง ซึ่งแสดงถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาทางวัฒนธรรมตาม กาลเวลา ตารางแสดงความมีอายุยืนเป็นร้อยละของคนที่ บ้านเก่าและโนนนกทา อายุยืนถึง (ปี) บ้านเก่า โนนนกทา ๐ – ๑ ๒๘.๑ ๒๕.๒ ๒ - ๖ ๒๗.๓ ๒๓.๙ ๗ - ๑๑ ๒๒.๓ ๒๔.๗ ๑๒ – ๑๖ ๑๘.๒ ๒๑.๑ ๑๗ – ๓๑ ๑๖.๙ ๑๗.๗ ๗ Sood Sangvichien. “A Preliminary ๓๒ – ๔๖ ๑๐.๓ ๘.๔ Report on Non Metrical Characteristics of Neolithic Skeletons found at ๕.๑ ๕.๒ ๔๗ - ๕๖ Ban Kao, Kanchanaburi”. Journal of the Siam Society, 1966. Vol. LIV, pt. I, p. ๖ (Reprint). และ สุด แสงวิเชียร มอญในอดีตและปัจจุบัน (การศึกษาโครงกระดูกและเครื่องใช้ใน สมัยทวารวดี), พิมพ์เป็นบรรณาการ ในงานฌาปนกิจศพนางแสงสุรพานิชย์ (ทรัพย์ แสงวิเชียร) เมษายน ๒๕๑๓. โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์, น. ๓๑. ๘ Pietrusewsky, M. “The Palaeodemo graphy of a prehistoric Thai Population : Non Nok Tha”. Asian Perspectives. Vol. XVII, No. 2 1974 : 125-140.
บทที่ ๕ แหล่งโบราณคดีในสังคมเกษตรกร
แหล่งโบราณคดีในสังคมเกษตรกรสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยกระจายอยู่ทั่วประเทศเกือบครบ ทุกจังหวัด แสดงถึงการขยายตัวของสังคมสมัยนั้นอย่าง กว้างขวาง เราแบ่งขั้นตอนการพัฒนาสังคมแบบนี้ตาม แนวทางของเทคโนโลยี เป็น ๒ ช่วงใหญ่ๆ คือ ๑. สมัยก่อนใช้โลหะ (Pre-metal agriculture) ๒. สมัยโลหะ (Metal Age) ซึ่งแบ่งออกเป็น สมัยย่อยได้อีก ๒ สมัย คือ สมัยสําริด (Bronze Age) และสมัยเหล็ก (Iron Age) ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการแบ่ง แต่โบราณ อย่างไรก็ตาม แม้ประเทศไทยจะมีแหล่งโบราณ คดีทุกยุคทุกสมัยรวมกันเป็นจํานวนมาก แต่ก็มีไม่กี่แห่งที่ ได้ขดุ ค้นเป็นอย่างดี ฉะนัน้ จึงจะเลือกเสนอเป็นเพียงบาง แห่งซึ่งก็น่าเสียดายอยู่ที่ไม่อาจยกแหล่งหนึ่งแหล่งใดมา เป็นตัวแทนของแหล่งที่สมัยก่อนมีโลหะใช้ได้ เพราะ ไม่ได้ขุดค้นกันไว้เลย พัฒนาการทางวัฒนธรรมของคนใน ประเทศไทยขาดหายไปเป็นช่วงๆ ที่สําคัญที่สุดช่วงนี้คือช่วง เวลาจากประมาณ ๗,๐๐๐ ปี ถึง ๕,๐๐๐ กว่าปี หรือจาก ถ้ำผี ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มาถึงบ้านเชียง ในจังหวัด อุดรธานี
บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
แหล่งโบราณคดีบริเวณนี้ เป็นแห่งแรกในประเทศ ไทยที่ขุดค้นอย่างเป็นระบบและละเอียด โดยคณะสํารวจ ไทย-เดนมาร์กใน พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๕ และต่อมาโดยกรม ศิลปากรเองอีก ๒ ครั้ง และแล้วคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ขุดตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง แต่ผลได้ ของงานหลังๆ ไม่เป็นที่แพร่หลายเท่ากับของคณะแรก ซึ่ง อํานวยการโดย เปียร์ ซอเรนเซน
ทําเลที่ตั้งถิ่นฐานของคนที่บ้านเก่าอยู่บนเนินดิน ใกล้ทางน้ำ ซึ่งไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์ต่อการบริโภคและ อุปโภคแก่ชมุ ชน หากยังเป็นแหล่งทรัพยากรอาหารทีส่ าํ คัญ อีกอย่างหนึ่งด้วย ข้อพิสูจน์นี้เห็นได้จากซากปลา หอย เต่า ปู และเครื่องมือ เช่น ฉมวกและเบ็ด ซึ่งพบในหลุม ขุดค้น ซอเรนเซนตีความจากสิ่งของที่ขุดได้ทั้งหมดเป็น ต้นว่าเครื่องมือหิน ภาชนะดินเผารูปแบบต่างๆ ตลอดรวม ถึงเครื่องประดับซึ่งทําด้วยวัสดุต่างๆ กัน และเครื่องมือ เหล็กอีก ๒ ชิ้น๑ ว่าเป็นของ ๒ สมัยคือ สมัยหินใหม่ และ สมัยเหล็ก สมัยหินใหม่ของซอเรนเซนมีเครื่องมือหิน คือ ขวานหินขัดรูปต่างๆ เป็นตัวกําหนด แต่การแบ่งสมัยย่อยๆ ซอเรนเซนให้รูปแบบของภาชนะดินเผาเป็นตัวแบ่งที่สําคัญ อย่างอื่นเป็นเพียงตัวประกอบรองๆ ลงมา ซอเรนเซนขุด ๒ แหล่งๆหนึ่งชื่อ “แหล่งนาย บาง” และอีกแหล่งหนึ่งชื่อ “แหล่งนายลือ” ได้อายุคาร์ บอน-๑๔ จาก ๙ ตัวอย่าง เป็นของแหล่งนายบาง ๘ ตัว อย่าง และของแหล่งนายลืออีก ๑ ตัวอย่าง๒ ซอเรนเซนแบ่งหลุมศพ (burials) ออกเป็น ๒ กลุ่มๆ ที่ ๑ เป็นสมัยแรก (early subphase) และกลุ่มที่ ๒ เป็นสมัยหลัง (late subphase) อายุต่างๆ ที่ได้จากแหล่งนายบาง มีดังนี้๓ หมายเลขตัวอย่าง K-838, บาง ๑ อายุ ๓,๗๒๐ + ๑๔๐ หรือ ๑๗๗๐ ก่อน ค.ศ. ถ่านจากชั้นล่างสุดของชั้นที่อยู่อาศัย (habitation layer) มีเศษภาชนะดินเผาอยู่ในชั้นนี้ด้วยเป็นชั้นที่เก่า แก่ที่สุดของแหล่งนี้
๑ ความจริงพบมากกว่านั้น แต่รายงาน ไว้เพียง ๒ ชิ้น ๒ Tauber, H.Copenhagen Radiocarbon dates Radio-carbon, Vol. 15, NO. 1,1973 : 9-10 ๓ อายุเหล่านี้ยังไม่เป็นที่รู้กันทั่วไปใน ประเทศไทย ฉะนั้น จึงนํามาเผยแพร่ ให้ทราบรายละเอียดเพิ่มขึ้น
แหล่งโบราณคดีในสังคมเกษตรกร
๑๑๗
หมายเลขตัวอย่าง K-842, บาง ๓ อายุ ๓,๓๑๐ + ๑๔๐ หรือ ๑๓๖๐ ก่อน ค.ศ. (ถ่านจากส่วนที่ไม่ถูกรบกวนของ ชั้นที่อยู่อาศัยพบรวมกับสิ่งของอื่นๆ) (หมายเลขตัวอย่าง K-1088, บาง ๖ อายุ ๓๕๒๐ + ๑๒๐ หรือ ๑๕๗๐ ก่อน ค.ศ.) (ถ่านจากชั้นที่อยู่อาศัย เหนือหลุมศพของกลุ่มที่ ๒ ขึ้นไป เล็กน้อย) (หมายเลขตัวอย่าง K-1089, บาง ๗ อายุ ๓๔๔๐ + ๑๒๐ หรือ ๑๔๙๐ ก่อน ค.ศ.) (ถ่านจากชั้นที่อยู่อาศัย เหนือหลุมของกลุ่มที่ ๑ ขึ้นไปเล็กน้อย) (หมายเลขตัวอย่าง K-1090, บาง ๘ อายุ ๓,๒๙๐ + ๑๒๐ หรือ ๑๓๔๐ ก่อน ค.ศ.) (ถ่านจากชั้นที่อยู่อาศัยเหนือหลุมศพของกลุ่มที่ ๑ ขึ้น ไปเล็กน้อย) (หมายเลขตัวอย่าง K-1087, บาง ๕ อายุ ๓,๒๘๐ + ๑๒๐ หรือ ๑๓๓๐ ปีก่อน ค.ศ.) (ถ่านจากชั้นที่อยู่ อาศัย เหนือจากหลุมศพของกลุ่มที่ ๒ เล็กน้อย) (หมาย เลขตัวอย่าง K-1091, บาง ๙ อายุ ๓,๒๖๐ + ๑๒๐ หรือ ๑๓๑๐ ก่อน ค.ศ.) (ถ่านจากส่วนหนึ่งของชั้นที่อยู่อาศัยกับ หลุมศพของกลุ่มที่ ๒) (หมายเลขตัวอย่าง K-1092, บาง ๑๐ อายุ ๓,๒๕๐ + ๑๒๐ หรือ ๑๓๐๐ ก่อน ค.ศ.) (ถ่านจาก ชั้นที่อยู่อาศัยเหนือหลุมศพของกลุ่มที่ ๒ ขึ้นไปเล็กน้อย) (และตัวอย่างที่ได้จากแหล่งนายลือซึ่งมีเพียงตัวอย่างเดียว ให้ อายุ ๔,๓๗๐ + ๑๐๐ หรือ ๒๔๒๐ ก่อน ค.ศ. เป็นตัวอย่างที่ ได้จากของหลุมเสา ซอเรนเซนว่าอายุเก่ากว่าที่คาดไว้และ ไม่เกี่ยวกับชั้นทางวัฒนธรรม ฉะนั้น อายุของบ้านเก่าสมัย นั้นจึงควรประมาณจากแหล่งนายบาง ซึ่งมีชั้นที่เก่าที่สุด มีอายุ ๓๗๒๐ + ๑๔๐ หรือ ๑๗๗๐ ก่อน ค.ศ. ซึ่งไม่ถึง ๔,๐๐๐ ปี
อย่างไรก็ดี แม้การขุดค้นที่บ้านเก่าจะมีระบบ การเก็บข้อมูลที่ดี เทคนิควิธีการขุดค้นดี แต่การตีความ (interpretation) ข้อมูลที่ได้นั้นก็ยังเป็นที่น่าสงสัยกันอยู่ ข้อสําคัญอยู่ที่เราพบเครื่องมือเหล็กจํานวนไม่ น้อยอยู่ในชั้นที่ขวานหินขัด ภาชนะดินเผาและอื่นๆ ซึ่งเข้า ใจว่าเป็นของสมัยหินใหม่ด้วย ซอเรนเซน แก้ปัญหาง่ายๆ ด้วยการให้ศพที่มี ขวานเหล็กอยู่ในสมัยเหล็ก โดยไม่แสดงตําแหน่งของชั้นที่ พบให้ชัดเจน ใช้เพียงวัตถุอย่างเดียวในการกําหนดอายุ เช่นเดียวกับที่กําหนดสมัยย่อย ๒ สมัย เป็น สมัยหินใหม่ ตอนต้น และสมัยหินใหม่ตอนปลาย ดังนี้ สมัยหินใหม่ตอนต้น (Neolithic early subphase) มีภาชนะดินเผา ๓ ขา หรือมีเชิง เป็นตัวบอกอายุ (time markers) สมัยหินใหม่ตอนปลาย (Neolithic late subphase) มีภาชนะดินเผาสีดําขัดมัน ปากกว้าง ก้นตื้นเป็น รูปกระดูกงู (carinated) และสีแดงรูปแบบเดียวกันแต่ก้น ลึกกว่าเป็นตัวบอกอายุ
รูป ๒ ตัวอย่างขวานหินขัด ที่ปรากฏในชั้นเดียว กันกับเครื่องมือเหล็ก จากการขุดค้นที่ บ้านเก่าโดยเปียร์ ซอเรนเซน
๓ รูป ๔ ภาชนะดินเผาจากการขุดค้นที่บ้านเก่าของ เปียร์ ซอเรนเซน ที่กําหนดอายุให้เป็น สมัยหินใหม่ตอนปลาย
๔
๑ รูป ๑ โครงกระดูกจากการขุดค้นที่บ้านเก่าของ เปียร์ ซอเรนเซน ในภาพจะเห็นภาชนะ ดินเผาวางอยู่ทางขวามือของโครงกระดูก และขวานหินขัดวางอยู่บริเวณส่วนอกของ โครงกระดูก
๑๑๘ ภูมิหลัง
รูป ๓ ภาชนะดินเผาสามขาจากการขุดค้นที่ บ้านเก่าของเปียร์ ซอเรนเซน ซึ่งได้ กําหนดอายุว่าอยู่ในสมัยหินใหม่ตอนต้น
๒
ซอเรนเซนแสดงความเห็นว่า วัฒนธรรมหินใหม่ บ้านเก่า มีต้นเค้ามาจากวัฒนธรรมลุงชานรุ่นเก่า (ProtoLungshan) ในโฮนาน (Honan) ประเทศจีนตอนเหนือ โดยใช้ภาชนะดินเผาเปรียบเทียบกัน ซึง่ ปาร์คเกอร์เห็นตรง กันข้ามว่าที่บ้านเก่าไม่มีภาชนะดินเผาที่มีลักษณะเด่นชัดที่ จะเหมือนภาชนะของจีนวัฒนธรรมลุงชานรุน่ เก่า วัฒนธรรม ลุงชาน (Lungshan) หรือคล้ายลุงชาน (Lungshanoid) ไม่มภี าชนะดินเผาแบบติง (Ting) หลี (Li) ไคว (Kuei) หรือ คล้ายแบบดังกล่าวนี้อย่างซอเรนเซนอ้างเลย๔ ปาร์คเกอร์ว่าทําไปทํามาที่บ้านเก่าอาจจะอยู่ใน สมัยเหล็ก ถ้าหากว่าเปรียบเทียบภาชนะดินเผาสมัยแรก ของที่นี่กับที่กัวชา (Gua Sha) และที่อื่นๆ ในภาคเหนือ ของมาเลเซีย ซึ่งคงมีอายุราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้วเท่านั้นเอง อย่างไรก็ดี อายุสมัยที่ว่า ๒,๕๐๐ ปี หรือ ๕๐๐ ปีก่อน ค.ศ. นี้เป็นอายุของสมัยเหล็กที่มีหลักฐานอยู่ใน ช่วงที่วิจารณ์กันนั้น แต่ปัจจุบันนี้สมัยเหล็กในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นย้อนหลังไปไกลกว่านี้แล้ว ดังหลักฐานที่ บ้านเชียงซึ่งเริ่มสมัยเหล็กเมื่อประมาณ ๓,๖๐๐ ปีมาแล้ว ฉะนั้น ช่วงสมัยของวัฒนธรรมที่บ้านเก่านั้นอยู่ในสมัยเหล็ก ได้ ทัง้ อายุจากคาร์บอน - ๑๔ ก็อยูใ่ นช่วงเวลานีเ้ ช่นกัน หรือ อาจจะเป็นว่ามีชุมชนร่วมสมัยกับบ้านเก่าอีกแห่งหนึ่ง ซึ่ง ก้าวหน้าไปถึงกับทําเหล็กขึ้นใช้แล้ว ในขณะที่บ้านเก่าเอง ยังทําเครื่องมือหินอยู่ แต่ทั้งสองแห่งก็ติดต่อแลกเปลี่ยน ผลผลิตของกันและกัน
บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
หลักฐานส่วนหนึ่งจากการขุดค้นตามชั้นดินของ กรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียเมือ่ พ.ศ. ๒๕๑๗๒๕๑๘ ชีช้ ดั ให้เห็นว่า คนก่อนประวัตศิ าสตร์ทน่ี น่ั เป็นเกษตร กรที่มีความสามารถทางเทคโนโลยีหลายอย่างสูงยิ่งแล้ว ตั้งแต่เมื่อแรกเข้ามาตั้งถิ่นฐานทํากินเมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว สังคมเกษตรกรรมที่บ้านเชียง มีการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์บางประเภทไว้เป็นเครื่องอุปโภคบริโภคแล้ว มีการแบ่งงาน (division of tasks) เป็นสัดส่วนทําให้เกิด งานเฉพาะอย่าง (specialization) เช่น การทำภาชนะดินเผา การทอผ้า การทําเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยโลหะ การเพาะ ปลูกและเลีย้ งสัตว์ ซึง่ ต้องใช้เวลาเต็มทีท่ ง้ั สิน้ หรือเกือบทั้งสิ้น การซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าสําเร็จรูปและ วัตถุดิบ สําหรับงานอุตสาหกรรมบางอย่างเกิดขึ้นแต่แรก แล้วเช่นกัน การแบ่งงานเป็นสัดส่วนทําให้เกิดงานอาชีพเฉพาะ อย่าง และเป็นผลกระทบถึงการพัฒนาเทคโนโลยีไปในตัว อย่างหนึ่ง และการจัดการหรือใช้ประโยชน์กับทรัพยากรที่
๕
๖
มีอยูแ่ ล้วอีกอย่างหนึง่ ดังจะเห็นได้จากการทําเครือ่ งดินเผา เป็นตัวอย่าง คนบ้านเชียงแต่ตน้ มา ใช้แกลบข้าวผสมดินเหนียว และทรายเป็นเชือ้ เพือ่ ช่วยในการเผาให้ได้ออกซิเจนมากขึน้ ด้วย ต้องเผาในเวลาจํากัดเพราะขาดเตาที่ควบคุมอุณหภูมิ ได้ การเผาในทีแ่ จ้ง (bonfire) ได้ความร้อนสูงเร็ว แต่กม็ อด เร็ว ดังนั้นแกลบข้าวหรือเชื้อจากพืชผักอย่างอื่นจะช่วยใน การ oxidation เป็นอย่างดี แต่ข้อเสียก็คือ ผิวหม้ออาจ มีตําหนิบ้าง และเนื้อไม่ประสานกันสนิทหลังจากที่แกลบ ข้าว ฯลฯ ถูกเผาไหม้ไปแล้ว แต่อย่างน้อยก็ชใ้ี ห้เห็นว่า คนโบราณใช้ทรัพยากร อย่างเต็มที่ และเป็นเค้าให้คิดต่อไปว่า ข้าวนั้นคงเพาะปลูก กันเป็นล่ำเป็นสันแล้ว ไม่เช่นนัน้ จะทํามาใช้เป็นปริมาณมากๆ ไม่ได้ การทําภาชนะดินเผานัน้ พัฒนาต่อมาเรือ่ ยๆ บาง สมัยยังคงแบบนิยมเก่าๆ ไว้บ้าง แต่มีหลักฐานของการ เปลี่ยนแปลงรูปแบบ และการตกแต่งเป็นความนิยมของ แต่ละสมัยแล้ว เทคนิ ค การโลหกรรมเป็ น อี ก ตั ว อย่ า งหนึ่ ง ของ การพัฒนาอย่างสูงทางเทคโนโลยี เพราะมีกระบวนการทํา หรือผลิตค่อนข้างพิเศษ ซึ่งต้องทดลองกันนานกว่าจะได้ ความชํานาญ ทําแล้วใช้ได้ และเป็นที่ต้องการของตลาด หลักฐานนี้ยังชี้บ่งถึงการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยน เพื่อวัตถุดิบประเภทนี้ของคนบ้านเชียงกับคนจากชุมชนอื่น ที่ติดต่อซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าอีกด้วย
รูป ๕ เครื่องเซลาดอนจีน พบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แบบที่พบในอีสานจะเป็นของ รุ่นหลังๆ จากนี้
รูป ๖ ภาชนะขัดผิวสีแดง
๔ Parker, R.H. Review article of Archaeological Excavations in Thailand, Vol.II, Ban Kao. Part II. (Per Sorensen And Tove Hatting. In Journal of the Polynesian Society, Vol. 77, No. 3. 1967 : 307-313.
แหล่งโบราณคดีในสังคมเกษตรกร
๑๑๙
รูป ๗ ภาชนะลายเขียนสี
รูป ๘ ภาชนะเขียนสีและลายขีด
๗
๘
สัตว์และสิ่งแวดล้อมสมัยโบราณ
แผนภูมิต่อไปนี้ เป็นขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง ทางวัฒนธรรมบางประการ ทัง้ ทีก่ ล่าวถึงแล้วอย่างละเอียด พอสมควร เช่น เรื่องโลหกรรม หรืออธิบายแต่คร่าวๆ อย่างเรื่องการทําภาชนะดินเผารวมทั้งเรื่องที่ยังไม่ได้กล่าว ไว้ก่อนเลย เช่น เครื่องประดับแก้ว การทําศพ ฯลฯ
ขั้นวัฒนธรรมตามชั้นดินโดยประมาณ๕ สมัย รูปแบบและเทคนิคการแต่ง อายุโดยประมาณ ของภาชนะดินเผา ๗ เครื่องเคลือบสุโขทัย เครื่อง พ.ศ. ๒,๑๐๐-๒,๓๐๐ ลายคราม ภาชนะท้องถิ่น อีสาน ๖ เคลือบผิวสีแดงด้วยสลิป พ.ศ. ๒๐๐-๒๕๐ ขัดผิวทําหยาบกว่าสมัยก่อนๆ ๕ ภาชนะลายเขียนสี ๒๕๐ ปีก่อน พ.ศ. -พ.ศ. ๕๐ (อาจเปลี่ยนแปลงได้) ๗ ภาชนะเขียนสีและลาย ๑,๑๐๐-๗๐๐ ปี ขีด : ลายเรขาคณิตและขด ก่อน พ.ศ. เป็นวง ๓ ภาชนะลายเชือกทาบ มีลาย ๑,๕๐๐ ปีก่อน พ.ศ. ขีดเป็นวงขด ๑-๒ ภาชนะลายขีดสีเทาดํา ๓,๐๕๐-๒,๓๕๐ ปี ขัดมัน ภาชนะลายเชือกทาบ ก่อน พ.ศ. มีหลายแบบ
๑๒๐ ภูมิหลัง
ของสําคัญอย่างอื่น โบราณวัตถุสมัยประวัตศิ าสตร์ เช่น กล้องยาสูบดินเผา สําริด และเหล็ก หลักฐานการฝังศพสมัยก่อน ประวัติศาสตร์สมัยสุดท้ายที่ บ้านเชียง เครื่องมือ เครื่องใช้ สมัยเหล็ก ลูกปัดแก้ว โลหะ ผสมอย่างใหม่ ยังอยู่ในสมัยเหล็กซึ่งต่อเนื่อง มาจากสมัยก่อน การโลหกรรม สําริด ฝังศพหงายเหยียดยาว มีของอุทิศจํานวนมากให้ศพ สําริดจํานวนมาก วัตถุทําด้วย ด้วยสําริด และเหล็กผสมกัน แสดงถึงการเริ่มต้นถลุงเหล็ก และตีเหล็กเป็นเครื่องมือ การฝังศพเด็กในภาชนะดินเผา มีเครื่องสําริดอยู่บ้าง ระยะเวลาของสองสมัยแยก กันโดยเด็ดขาดยังไม่ได้ พิธีฝัง ศพงอตัวพบอยู่ในสองสมัยนี้ เท่านั้น ศพโครงหนึ่งมีใบหอก สําริดฝังอยู่ด้วย อีกโครงหนึ่ง สวมกําไลเท้าสําริดและอีกโครง หนึ่งสวมกําไลมือสําริด
ชาร์ลส์ ไฮแอม (Charles Higham) และอําพัน ๖ กิจงาม ได้วเิ คราะห์พบสัตว์จากการขุดค้นทีบ่ า้ นเชียงหลาย สิบชนิด และบางชนิดก็มีหลายพันธ์ุ (species) มีทั้งสัตว์น้ำ สัตว์บกพวกเคี้ยวเอื้อง (ruminants) กินเนื้อสัตว์ด้วยกัน เอง (carnivores) พวกที่อยู่บนต้นไม้ (arboreal) และสัตว์ เลื้อยคลาน สัตว์ที่พบเหล่านั้นได้แก่ จระเข้ ปลาช่อน ปลา ชะโด ปลาสวาย ปลาดุก ปลาตะเพียน เต่าน้ำ ตะพาบน้ำ นาก ตะกวด ปลาไหล เต่าบก (เต่าเม็ก) คางคก อึ่งอ่าง วัว ควาย กวางใหญ่ กวางป่า ละอง ละมั่ง เก้ง กวางผา เสือ เสือปลา หมา กระต่าย หนู (ขนาดใหญ่/เล็ก) ชะมด แรด พังพอน ไก่ และนกต่างๆ ฯลฯ สัตว์โดยทัว่ ไปก็เลือกภูมปิ ระเทศทีต่ อ้ งกับอุปนิสยั และหนทางที่ทํามาหากินของตนเช่นเดียวกับคนเหมือนกัน จะมีบา้ งก็บางชนิด (เช่นเสือชนิดต่างๆ) ทีอ่ าจปรับตัวได้กบั ภูมปิ ระเทศหลายอย่าง ดังนัน้ สัตว์บางชนิดจึงเป็นตัวบอก ถึงสภาพแวดล้อมได้ดีพอสมควร สัตว์ที่นับว่ามีอยู่ค่อนข้างมากในสมัยแรกๆ แล้ว ค่อยหายไปในสมัยหลังๆ ก็มีปลา ซึ่งแบ่งเป็นพันธ์ุใหญ่ได้ ประมาณ ๓ พันธ์ุ คือพวกปลาช่อน/ชะโด (Channa sp.) ตะเพียน (Barbus sp.) และปลาสวาย/ปลาดุก (Bagrid sp.) และกบ (Rana trigina) ซึ่งพบค่อนข้างมากในสมัยที่ ๑ เช่นเดียวกัน แต่พอหลังสมัยที่ ๔ แล้วไม่ค่อยพบ วัวในสมัยแรกก็ไม่มีถึงร้อยละ ๑๐ แล้วเพิ่มเป็น ร้อยละ ๒๕ เมื่อถึงสมัยที่ ๒ จากนั้นปริมาณคงที่ราวร้อยละ ๒๐ ตลอดไป ๕ Gorman et al 1976 : 29 ๖ Higham, C. and A. Kijngam “Ban Chiang and Northeast Thailand; The Paleoenvironment and Economy”. Journal of Archaeological Science 6. 1979-211-233
รูป ๙ ภาชนะเชือกทาบ มีลายขีด
รูป ๑๐ ภาชนะลายขีดสีเทา
๙
๑๐
หมูมีปริมาณขึ้นลงๆ ลงๆ น้อยกว่าสัตว์อื่นๆและ มีมากประมาณ ๑/๕ ของปริมาณสัตว์ทั้งหมดที่พบที่บ้านเชียง ส่วนตระกูลกวางนัน้ มีอยูท่ กุ ยุคทุกสมัย ทีบ่ า้ นเชียง มี ๓ พันธ์ุ คือ กวางใหญ่หรือกวางป่า (Cervus unicolor) ละองหรือละมั่ง (Cervus eldi) และ เก้ง (Muntiacus muntjak) ส่วนควาย ไม่ปรากฏว่าอยู่ในสมัยที่ ๑ และ ๒ มา ถึงสมัยที่ ๓ พบกระดูกกีบเท้าข้อที่สองอยู่เพียงชิ้นเดียว มามากเอาเมื่อถึงสมัยที่ ๔ เป็นต้นมา โดยเฉลี่ยแต่ละสมัย ก็ไม่เกินร้อยละ ๙ หมา (Canis familiaris) นับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่ อยูท่ กุ ยุคทุกสมัย เว้นแต่สมัยที่ ๗ ซึง่ เป็นสมัยประวัตศิ าสตร์ ที่บ้านเชียง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Mammals) และสัตว์ ขนาดเล็กอื่นๆ มีกระต่าย (Lepus peguensis) ชะมด (Viverricula) พังพอน (Herpestes javanicus) หนู (Rattus sp.) นากกินปลา (Lutra) และกบ ซึ่งมีค่อนข้างมาก ในสมัยที่ ๑ แล้ว แต่พอหลังสมัยที่ ๔ ไม่ค่อยจะมี ไก่ – พบทุกสมัย หอย – มีอยู่ค่อนข้างมาก ในสมัยที่ ๑ – ๓ หลัง จากนั้นไม่ค่อยมี หรือหายไปเลย ชาร์ลส์ ไฮแอม และอําพัน กิจงาม ตั้งข้อสังเกต ว่า การทีส่ ตั ว์บางชนิดมีมากบางสมัย และน้อยลงบางสมัย ดังกล่าวมานี้ เป็นเค้าบอกถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม บางอย่าง หอยเป็นตัวอย่างอย่างหนึ่งที่บอกสภาพแวดล้อม ได้เป็นอย่างดี ที่บ้านเชียงเราพบว่ามีหอยหลายพันธ์ุ เช่นพวก หอยโข่ง หอยขม คือ พิลลา พอลิตา (Pila polita) และพิลลา แอมพุลเลเซีย (Pila ampullaceal) พันธ์ุแรก นั้นต้องอยู่ในแหล่งน้ำที่มีน้ำตลอดปี ส่วนพันธ์ุที่สอง หน้า แล้งก็ยังอยู่ได้ ด้วยการหากินเต็มที่ในสัปดาห์แรกๆ ของ หน้าฝน และอดอาหารอย่างกบจําศีล (aestivating) ได้ยาม หน้าแล้ง พวกนี้อยู่ตามท้องนาได้ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม หอยพันธ์ุที่ ๓ เป็นหอยกาบพันธ์ุฟิลลูพะลูดินา ชวานิกา (Filopaludina javanica) อยูใ่ นแหล่งน้ำเช่นลําธาร บึง และในท้องนา ส่วนพันธ์ุที่ ๔ เป็นหอยทาก พันธุ์พิลสเบอรี ออคองเชีย (Pilsbury oconchia) อยู่บนบก ใกล้โคนต้นไม้ หรือบางทีก็ไต่ขึ้นไปอยู่บนต้น หรือกิ่งไม้ พวกนี้มักจะพบ เมื่อตอนถางป่าหรือเผาป่า เพื่อทําไร่นา กระต่าย (Lepus peguensis) ชอบอยูใ่ นทีโ่ ล่งไม่ ชอบป่าทึบ เพราะเป็นสัตว์กินหญ้าจึงต้องอยู่ตามทุ่งซึ่งก็ เกิดขึ้นหลังไฟไหม้ป่าหรือคนเผาป่า
ชะมดพันธ์ุต่างๆ ก็เช่นกัน อย่างพันธ์ุวิเวริคิวลา มะลัคเคนซิส (Vivericula malaccensis) ซึ่งชอบอยู่ใกล้ แหล่งชุมชน กินหญ้าและใบไม้เช่นเดียวกับพังพอน (Herpestes javanicus) ที่ไม่ชอบอยู่ป่าเหมือนกัน และเป็นพวก ที่อยู่บนพื้นดิน (terrestrial) มากกว่าบนต้นไม้ (arboreal) ฉะนั้น จึงน่าจะเป็นไปได้ที่สิ่งแวดล้อมสมัยแรกๆ คือ ระหว่าง ๕,๖๐๐ – ๕,๐๐๐ ปีมานี้หรือกว่านั้นเล็กน้อย จะเป็นบึงหนองที่มีน้ำตลอดปี มีทุ่งหญ้า มีป่าไม้ผลัดใบ แบบเบญจพรรณ (mixed deciduous forest) หรือป่าเต็ง รัง (dry deciduous dipterocarp forest) ส่วนป่าดงดิบ (evergreen forest) จะอยู่แถบริมแม่น้ำ ลําธารใหญ่ๆ ในการปลูกข้าวครั้งแรกๆ ก็คงจะปลูกแบบไร่ เลือ่ นลอย โดยอาศัยพันธ์ขุ า้ วป่าซึง่ ขึน้ อยูต่ ามขอบสระหรือ บึงแถบนั้น เพราะข้าวที่พบที่บ้านเชียงแต่แรกนั้นได้ทดลอง วิเคราะห์กันแล้วว่า เป็นข้าวป่าที่จะเปลี่ยนรูปไปเป็นข้าว ปลูกแล้ว สมัยต่อมาคือสมัยที่ ๓ และที่ ๔ มีควายเข้ามา แล้ว สัตว์บางอย่างเริ่มมีปริมาณน้อยลงและบางอย่างก็ หายไปเลย เช่นปลาบางชนิด กบ พังพอน นาก และ หอยบางพันธ์ุ บ้านเชียงสมัยเมื่อ ๕,๐๐๐ ถึง ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว น่าจะมีควายป่าอยู่ไม่ไกลจากชุมชนเท่าใดนัก แต่สิ่งสําคัญ ก็คือเมื่อถึงประมาณ ๓,๖๐๐ ปีมาแล้ว ควายก็กลายเป็น สัตว์เลีย้ งไว้ใช้งานไถนาแล้ว หลักฐาน เรือ่ งนีอ้ ยูท่ ก่ี ารศึกษา เปรียบเทียบกระดูกกีบเท้าข้อที่ ๓ ของควายที่ ใช้ ไถนาใน ปัจจุบันกับกระดูกที่ขุดพบจากหลุมขุดค้นที่บ้านเชียง การทําเครื่องมือเหล็กก็เริ่มแล้วในสมัยนี้เช่นกัน ชาร์ลส์ ไฮแอม และอําพัน กิจงาม ให้ข้อสังเกตว่าเมื่อควาย เข้ามาพร้อมกับการเริ่มเทคนิคการทําเครื่องโลหะใหม่ คือ เหล็ก มนุษย์ก็คงเริ่มหักล้างถางพง ทํานาดํากันขนาดใหญ่ เพราะเหล็กนั้นเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพกว่าสําริด ในสมัยก่อนๆ และควายก็ใช้ไถนาได้แล้ว สิ่งแวดล้อมในระยะนี้เปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ป่าจะ มีพื้นที่น้อยลงไป น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติบางแห่งจะลดลง และตื้นเขินไปภายหลัง เพราะการทํานาดําที่ต้องกักน้ำไว้ใน แปลงนา แทนที่จะปล่อยให้น้ำฝนไหลไปตามทางลงห้วย หนอง คลองบึง ความชุ่มชื้นลดลงบ้าง เพราะการระเหย ของน้ำมีอัตราเร็วกว่าแต่ก่อนซึ่งมีป่าปกคลุม นอกไปจาก นั้นยังมีอัตราการสึกกร่อนของพื้นดินมากขึ้น และยังมีผล กระทบต่อชีวิตสัตว์บางชนิด เช่น สัตว์น้ำอีกด้วย เพราะ หลังจากนี้เป็นต้นไปมีปริมาณลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ดเี ราจะทราบสภาพสิง่ แวดล้อมดังกล่าว ได้ดียิ่งขึ้นจากผลของการวิเคราะห์ตัวอย่างพืชซึ่งมีทั้งการ วิเคราะห์เกสร (pollen analysis) และเมล็ด (seeds) ซึ่ง ได้ดําเนินการอยู่แล้ว
แหล่งโบราณคดีในสังคมเกษตรกร
๑๒๑
บทที่ ๖ ศิลปกรรม
ศิ ลปะในสังคมล่าสัตว์
การแสดงออกทางศิลปะของคนมีในทุกยุคทุกสมัย นับแต่เกิดขึ้นมาในโลกนี้แล้ว แต่รูปแบบแตกต่างกันออกไป ด้วยองค์ประกอบบางอย่างซึ่งเป็นพื้นฐานของงานศิลปะ เป็นต้นว่า วิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม หรือทําเลที่ตั้งถิ่นฐานทํากิน แบบอย่างที่มีอยู่ในธรรมชาติที่เขาเห็น ตลอดจนมโนคติ ความเชื่อหรือปรัชญาของผู้ทําแต่ละคนแต่ละกลุ่ม หรือแต่ ละชุมชนต่างวัฒนธรรม ต่างที่และต่างยุคสมัยกัน อย่างไรก็ดี การศึกษาศิลปกรรมในสมัยก่อนประ วัติศาสตร์ก็เช่นเดียวกับการศึกษาในแง่มุมอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจและเทคโนโลยี ซึ่งมีข้อจํากัดอยู่มากอย่างด้วยกัน อย่าง ทีเ่ ห็นชัดทีส่ ดุ ก็คอื ตัวหลักฐานจริงๆ นัน้ มีอยูไ่ ม่พอทีจ่ ะศึกษา ได้ครบทุกอย่างตามที่ต้องการ จําต้องเลือกเสนอแต่เพียง บางอย่างที่พอมีหลักฐาน เช่นงานจิตรกรรม ประติมากรรม เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับบางอย่างบางชนิด ให้พอ เป็นสังเขปเท่านั้น
ตั้งแต่สมัยไพลสโตซีนเป็นต้นมาถึงโฮโลซีนตอน ต้นๆ สังคมนายพรานอยู่ไม่ติดที่ต้องโยกย้ายถิ่นฐานอยู่ บ่อยๆ จึงมีสมบัติติดตัวแต่เพียงเล็กน้อยเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ที่จําเป็นบางอย่างสําหรับการอยู่อาศัย เช่นเครื่อง มือหิน ไม้และเครื่องนุ่งห่ม แต่กระนั้นด้วยความรู้อันเกิด แต่การเรียนและคุน้ เคยกับธรรมชาติรอบๆ ตัวทัง้ ทรัพยากร ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต คนสมัยนั้นๆ ก็ทํามาหากินเลี้ยงตัวเอง มาได้ ไม่เพียงแต่พอประทังชีวิตวันต่อวันแต่พอกล่าวได้ว่า อยู่อย่างสบายทีเดียว จนมีเวลาว่างพอที่จะใช้ชื่นชมงาน ศิลปะและประกอบพิธกี รรมตามปรัชญาทีเ่ กีย่ วข้องกับชีวติ ความเป็นอยูซ่ ง่ึ สัมพันธ์กบั โลกรอบๆ ตัว ศิลปกรรมทีส่ าํ คัญ ที่สุดเท่าที่ได้สํารวจพบในประเทศไทยก็คือ ภาพเขียนสี บนผนังหิน
รูป ๑ ตุ๊กตาสัตว์ (ดินเผา) จากบ้านเชียง (ภาพจากสถาบันสมิธโซเนียน)
๑ โครงการโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียง เหนือ รายงานการสํารวจแหล่งโบราณคดี ผาฆ้อง ๒ ชิน อยู่ดี “ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำในเมือง ไทย”, อดีต : รวมเรื่องราวก่อนประวัติ ศาสตร์ ของชิน อยู่ดี สุด แสงวิเชียร, ฝ่ายวิชาการนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. โรงพิมพ์พิฆเณศ. ๒๕๑๗ : ๑๑๔-๑๓๘.
๑๒๒ ภูมิหลัง
๑
ถ้ำมโหฬาร อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
ภาพเขียนสีที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ที่มีหลักฐานเหลืออยู่คือภาพเขียนสีบนหน้าผาใกล้ถ้ำมโหฬารในอําเภอภูกระดึง จังหวัดเลยในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ซึ่งปัจจุบันลบเลือนไปมากแล้ว เป็นภาพที่เขียนด้วย สีแดง แสดงภาพคนหลายคนกําลังล่าสัตว์ดว้ ยกันดังได้กล่าว ถึงแล้วในบทก่อน สิ่งที่น่าสังเกตอยู่ที่การทํารูปคนและ สัตว์ คือรูปคนเขียนไม่เหมือนจริงตามธรรมชาติ แต่เป็นรูป แทนให้รู้ว่าเป็นคน ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกอะไรของชุมชน นั้นๆ เพราะสัญลักษณ์และกฎเกณฑ์ของสังคมเป็นที่รู้ๆ กันอยู่แล้ว แต่รูปสัตว์นั้นเขียนเป็นรูปเหมือนธรรมชาติ ซึ่ง หากไม่ลบเลือนไปเสียคงได้ทราบว่านอกจากกวางผาและ วัวแดง? แล้วมีอะไรอีกบ้าง ใกล้ๆ หน้าผานั้นมีรูปเขียนอีกรูปหนึ่งเป็นรูปไก่
เขาจอมนาง จังหวัดมุกดาหาร
ที่เขาจอมนางในเขตจังหวัดมุกดาหาร มีภาพ เขียนสีบนผนังหินเป็นรูปคน ๖ รูป คาร์ สเกตช์ไว้ ๒ รูป เป็นรูปเขียนและระบายด้วยสีแดงสีเดียว เป็นภาพแบบเงา (silhouette) รูปหนึ่งเป็นรูปคนธรรมดา ออกท่าทางเหมือน กําลังจะวิ่ง ส่วนอีกรูปหนึ่งเป็นคน มีหัวเป็นสัตว์คล้ายสุนัข ส่วนรูปที่ไม่ใช่ภาพคนทําเป็นรูปมือ มี ๒ สี มือสีแดงและ มือสีเทา
๒ รูป ๒ ภาพเขียนสีบนผนังหิน ที่เขาจอมนาง จังหวัดมุกดาหาร
รูป ๓ ภาพเขียนรูปวัวกระทิงที่ถ้ำผาฆ้อง อําเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
ถ้ำผาฆ้อง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย
ทีถ่ ำ้ ผาฆ้อง๑ ในอําเภอภูกระดึง คณะสํารวจโครง การโบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมศิลปากร พบ ภาพวัวกระทิงบนเพดานถ้ำและมือแดงที่ผนังถ้ำ ภายในถ้ำ ได้พบเครื่องมือหินแบบฮัวบิเนียนด้วย
รูป ๔ ภาพเขียนสีที่ถ้ำรูป เขาเขียว อําเภอ ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
ถ้ำรูป เขาเขียว จังหวัดกาญจนบุรี
๓
ภาพเขียนที่แสดงเรื่องล่าสัตว์ ทํารูปคนไม่เหมือน จริงมีอยู่ในภาคอื่นๆ อีก เช่นภาคตะวันตกที่ถ้ำรูป เขาเขียว อําเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี๒ รูปคนระบายทึบแต่รูป สัตว์เป็นเส้นเค้าโครงหนา (thick outlines) มองไม่ชัด ว่า เป็นสัตว์อะไรบ้าง นอกนั้นเป็นภาพลายเส้น (linear) เป็นรูปต่างๆ คณะนักสํารวจไทย-เดนมาร์กได้ขุดทดสอบ หาหลักฐานได้เครื่องมือหินกรวดหลายชิ้น แต่ไปติดอยู่ที่ จํานวนรูปคนซึ่งมีมากและรูปสัญลักษณ์เช่นวงกลม ว่าเป็น ของสมัยสําริด ซึ่งทั้งสองประการให้เค้าเงื่อนว่าบอกถึงชุม ชนขนาดใหญ่ แม้จะพบเครื่องมือหินกรวดและไม่พบเครื่อง มือสมัยหลังๆ เลยก็ตามแต่คณะนักสํารวจก็ยังไม่เชื่อว่าจะ เป็นภาพสมัยก่อนเกษตรกรรม ๔
ศิลปกรรม
๑๒๓
ข้ อ คิ ด เห็ น เรื่ อ งขนาดชุ ม ชนนั้ น ผู้ เขี ย นได้ ก ล่ า ว ถึงแล้วในบทก่อนว่า ชุมชนก่อนเกษตรกรรมของนายพราน บางแห่ ง อาจมี ข นาดใหญ่ ห รื อ เท่ า กั บ ชุ ม ชนเกษตรกรรม เมื่อเริ่มแรกได้ ฉะนั้น อาจเป็นไปได้ว่าภาพเขียนสีที่ถ้ำรูป เป็นของที่คนในสังคมล่าสัตว์เขียนขึ้น
ถ้ำผีหัวโต จังหวัดกระบี่
ส่วนที่ภาคใต้ ที่ถ้ำพังงาหรือเขาเขียน เกาะปัน หยี ในอําเภอเมืองฯ จังหวัดพังงา๓ ถ้ำศิลป อําเภอเมืองฯ จังหวัดยะลา๔ แสดงภาพของคนกําลังล่าสัตว์ และถ้ำผีหัว โต อําเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่๕ ในที่นี้จะกล่าวถึงที่ถ้ำผี หัวโตแต่เพียงแห่งเดียว เพราะเป็นงานที่คณะของผู้เขียน เป็นผูไ้ ปทํามาเพือ่ หนังสือเล่มนีโ้ ดยเฉพาะ หลังจากทีไ่ ด้ทราบ ข้อมูลจากอาจารย์พรชัย สุจิตต์แล้ว ถ้ำผีหัวโตเป็นถ้ำขนาดใหญ่ มี ๓ คูหา ตําแหน่ง ของภาพเขียนสีอยู่ที่เพดานผนังถ้ำและตามซอกหลืบต่างๆ อมรา ขันติสทิ ธิ์ หนึง่ ในคณะสํารวจได้รายงานว่าภาพเขียน เหล่านี้มี ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ
๑. ประเภทที่เขียนเป็นรูปร่าง (figure) เช่น คน และสัตว์ มือและเท้า ฯลฯ ๒. ประเภทที่ไม่เป็นรูป (non fifi gure) ภาพเหล่านั้นเขียนด้วยสีแดง สีเหลืองแดง สีดํา สีน้ำเงิน รูปหนึ่งๆ เขียนด้วยสีเดียว (monochrome) มีอยู่ รูปเดียวที่เขียน ๒ สี โดยใช้สีน้ำเงินและแดง รูปคนที่พบ แล้วในขณะนี้มี ๔๙ คน รูปสัตว์มีรูปปลาอยู่ ๕ ตัว อีกรูป หนึ่งคงเป็นเต่า? รูปคนเขียนเป็นโครงร่างด้วยลายเส้น (linear outline) บางรูประบายทึบด้วยเป็นบางส่วน เช่นหัวและจาก เท้าถึงเข่า หรือจากหัว แขน ลงมากลางลําตัว ที่เขียนโครง ร่างด้วยเส้นหนาและทีเ่ ขียนด้วยเส้นๆ เดียว (stickfigure) มีอยู่ ๒ – ๓ รูป มีรูปคนลักษณะแปลกๆ อยู่หลายรูป คนหนึ่งมีหัวเป็นสัตว์มีเขา บางคนสวมเครื่องประดับที่หัว จากลักษณะรวมของศิลปกรรม (art style) และ การแสดงเรื่องราวซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะกําหนดอายุภาพเขียน สีในประเทศไทยอย่างคร่าวๆ ได้๖ ผู้เขียนคิดว่าภาพเขียน ดังกล่าวข้างต้นน่าจะเป็นของคนสมัยก่อนเกษตรกรรม
รูป ๕ ถ้ำผีหัวโตเป็นภูเขาหินปูนมีน้ำล้อมรอบ
รูป ๖ บริเวณผนังยาว ที่มีภาพเขียนสีมากที่สุด
๓ สมชาย ณ นครพนม, สุกิจ เที่ยงมณีกุล และวีรสิทธิ์ ชูแสงทอง ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน ประเทศไทย, กรมศิลปากร. โรงพิมพ์ กรมศาสนา. ๒๕๒๒. (รูปถ่าย ไม่มีเลขหน้า) ๔ ภาพของศูนย์ส่งเสริมและค้นคว้า วัฒนธรรมไทย เมืองโบราณ พิมพ์ ประกอบในหนังสือข้างต้น, วารสาร เมืองโบราณ ปีที่ ๕. เล่มที่ ๕. ๒๕๒๑. (ภาพสีหน้ากลาง) ๕ คณะของอาจารย์พรชัย สุจิตต์ พบแล้วเผยแพร่ใน “มติชน” ๑๙ สิงหาคม ๒๕๒๒. ๖ ปัจจุบันไม่มีวิธีการใดที่กําหนด อายุภาพเขียนสีโดยตรงได้ การ ขุดค้นในถ้ำหรือเพิงผาที่มีภาพเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ก็เป็นเพียง การพยายามหาอายุจากหลักฐานทาง อ้อม เช่นเครื่องมือเครื่องใช้ หรือ กระดูกของสัตว์บางประเภทที่มี ปรากฏอยู่ในภาพเขียน และของที่พบ ในชั้นดินเดียวกับสิ่งดังกล่าว ซึ่งอาจ นําไปหาอายุที่น่าเชื่อถือได้
๑๒๔ ภูมิหลัง
รูป ๗ รูปคนมีหัวเป็นสัตว์มีเขา
๕
๖
๗
ศิลปกรรม
๑๒๕
๘
๙
๑๐
๑๒
๑๒๖ ภูมิหลัง
๑๑
ศิ ลปะในสังคมเกษตรกรรม รูป ๘ รูปคนเขียนโครงร่างด้วยเส้นกรอบ นอก แสดงท่าทางเคลื่อนไหว รูป ๙ รูปคนสวมเครื่องประดับหัว
เทคนิคการเขียนภาพของแหล่งนี้เป็นแบบเขียน และระบายเต็มรูปแบบเงา (silhouette) ถึงร้อยละ ๙๕ ที่ เหลือที่เขียนเป็นโครงร่างเส้นหนา (thick outline) ภาพที่สมบูรณ์มากที่สุดมีอยู่ภาพหนึ่งแสดงกลุ่ม คนชาย-หญิง เด็กและผู้ใหญ่ มีสัตว์แปลกปลอมเข้ามาตัว หนึ่ง คือ สุนัข ภาพที่เพิงผาแห่งนี้เขียนสองแถว แต่ไม่ขนานกัน ตลอดเพราะเนื้อที่ไม่อํานวยให้ แถวล่างมีภาพคน ๑๑ คน แถวบนมี ๓ คน เพราะไม่มีเนื้อที่จะเขียนอีกแล้วหรือหมด เรื่องที่จะเขียน ปัญหาเรื่องเนื้อที่จํากัดเห็นได้จากภาพแถวล่าง เช่นกัน ในแถวนี้ ภาพคน ๕ คนทางขวาสุดไม่ได้อยู่ในระดับ เดียวกับภาพของอีก ๑๑ คนทางซ้าย เพราะพื้นที่บริเวณ ทางขวาในระดับนั้นแตกและผิวไม่เรียบพอจึงเลื่อนไปเขียน เลยขึ้นไปอีกนิดหนึ่ง ความยาวของพื้นที่ที่เขียนประมาณ ๒.๒๐ เมตร ส่วนที่กว้างที่สุดซึ่งอยู่ทางซ้ายประมาณได้ ๑ เมตร นับเป็น ภาพขนาดใหญ่ที่สุดของแหล่งนี้
ในสมัยต่อมาคือสมัยเกษตรกรรม มีภาพเขียนปรากฏอยูเ่ ป็นจํานวนมาก บางแห่งบอกถึงชีวติ ความเป็นอยูด่ ว้ ย ภาพที่เข้าใจง่ายขึ้น เช่นที่เพิงผาหินทราย ที่เขาเขื่อนลั่น อําเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา๗ ถ้ำและเพิงผาหินทราย ที่ภูพานตะวันตก ในอําเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี๘ เพิง ผาหินปูนทีเ่ ขาปลาร้า อําเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทยั ธานี๙ และ ถ้ำหินปูนตาด้วง อําเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี๑๐ฯลฯ
เขาเขื่อนลั่น อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา รูป ๑๐ รูปคนเขียนเป็นโครงร่างด้วยลายเส้น
รูป ๑๑ ภาพเขียนสี รูปปลาสีเทา
คณะสํารวจของกรมศิลปากรได้ตรวจพบภาพ เขียนสีแดงตามเพิงผาต่างๆ รวม ๑๒ แห่งด้วยกัน เป็น ภาพเขียนสีแดงทั้งหมด มีจํานวนรวมของภาพเดี่ยว (individuals) อยู่ ๔๐ รูป เขียนเป็นรูปคน ๓๑ รูป (ร้อยละ ๗๗.๕) รูปสัตว์ ๔ รูป (ร้อยละ ๑๐) และอีก ๕ รูปมองไม่ออก ว่าเป็นอะไร (ร้อยละ ๑๒.๕) เพราะส่วนสําคัญ (diagnostic features) ของภาพเลือนหายไปหมดแล้ว
รูป ๑๒ มือแดง ข้างหนึ่งธรรมดา ข้างหนึ่งมี ๖ นิ้ว รูป ๑๓ ภาพเขียนสีรูปคนและสัตว์ที่เขาเขื่อนลั่น (เขาจันทร์งาม) อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
๗ โครงการโบราณคดีภาคตะวันออก เฉียงเหนือ รายงานการสํารวจ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ ทีอ่ าํ เภอสีคว้ิ จังหวัดนครราชสีมา,ศิลปากร ๒๕๒๐. ๘ สุรพล ดําริห์กุล “ภาพเขียนสีสมัย กรมศิลปากร ก่อนประวัติศาสตร์ใน อุดรธานี”. เมืองโบราณ, ปีท่ี ๔. ฉบับที่ ๔. ๒๕๒๑ : ๒๗-๕๓ ๙ วัฒนดิส, เมืองอุทัยธานี. ชมรมสื่อ มวลชนอุทัยธานี. ๒๕๒๑. และ วิยะดา ทองมิตร, บังอร กรโกวิท “ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ภูปลาร้า”. เมืองโบราณ ปีที่ ๕. ฉบับที่ ๕. ๒๕๒๒ : ๕-๑๘. และ นิติ แสงวัณณ์ รายงานการสํารวจ แหล่งโบราณคดีเขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี. กรมศิลปากร. ๒๕๒๑. ๑๐ ปรีชา กาญจนาคม “ภาพเขียนและ ภาพแกะสลักสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในประเทศไทย”, วารสารโบราณคดี, ปีท่ี ๔. ฉบับที่ ๒. ๒๕๑๕ : ๒๒๐-๒๓๘. และ สุด แสงวิเชียร เรื่องก่อนประวัติศาสตร์ ของประเทศไทย, โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ
๑๓
ศิลปกรรม
๑๒๗
๑๔
รูปคนในภาพออกท่าทางอย่างใดอย่างหนึ่งทุกคนไป ผู้หญิงผู้ชายแต่งตัวผิดกัน ผู้ชายนุ่งผ้ามีชายห้อย ทั้งหน้าและหลัง ส่วนผู้หญิงนุ่งผ้าชายห้อยอยู่ข้างหลังชายเดียว ชายคนหนึ่งถือคันธนูค้างอยู่หลังจากที่ยิงออกไป แล้ว มีภาพธนูออกจากสาย ที่สายธนูมีสายบังคับอีกสายหนึ่ง สุนัขตัวผู้ตัวหนึ่งยืนอยู่ข้างหน้าของผู้ชายนี้ ใต้ภาพสุนัขมีหญิง ๒ คนนั่งเล่นหรือสนทนากัน คนหนึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าตั้งครรภ์ ต่อไปทางขวามีรูปคน ๓ คนยืนรําเช่นเดียวกับ อีก ๔ คนที่อยู่สูงขึ้นไป ส่วนรูปสุดท้ายติดกับคน ๔ คน เลือนหายไปเกือบหมดจนดูไม่ออกว่าเป็นภาพของอะไร อีก ๓ คนในแถวบนสีก็จางไปมากเหมือนกัน คน กลางคงเป็นชาย คนทางซ้ายสีเลือนหายไปเกือบหมด ส่วน คนทางขวานุ่งกระโปรงสั้น (mini skirt) เหมือนกับภาพ เขียนเพิงผาอีกแห่งหนึ่งที่พบในบริเวณนี้ ลักษณะสรีระที่เห็นได้ชัดเจนคือ “น่อง” ซึ่งโป่ง ออกมามากคล้ายกับที่พบที่บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี และที่ ถ้ำบางแห่งในอําเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ภาพคนที่เพิงผาอื่นๆ แสดงอิริยาบถออกท่าทาง ทุ ก รู ป บางเพิ ง ผามี รู ป คนกั บ สั ต ว์ และบางแห่ ง มี สั ต ว์ อย่างเดียว สัตว์ทพี่ บ มีสตั ว์เลือ้ ยคลานคล้ายแย้ มีคนกําลัง ไล่จับ รูปหนึ่งเป็นรูปสัตว์คล้ายหมูป่า (Sus scrofa, Linnaeus 1758) หรือเม่นใหญ่แผงคอสั้น (Hystrix hodgsoni, Gray 1847)๑๑
๑๕
ในเขตจั งหวัดอุดรธานี ในเขตจั ง หวั ด อุ ด รธานี มี ภ าพเขี ย นสี บ นเพิ ง ผา และผนังถ้ำนับเป็นร้อยๆ ภาพ มีทั้งภาพแบบธรรมชาติ หรือใกล้ธรรมชาติและสัญลักษณ์ต่างๆ ดังที่พบในบริเวณ วัดพระพุทธบาทบัวบก เขตบ้านติ้ว ตําบลเมืองพาน และที่ บ้านโปร่งฮี ตําบลกลางใหญ่ อําเภอบ้านผือ และเขตบ้าน โนนสมบูรณ์ที่อําเภอสุวรรณคูหา เป็นต้น ในบรรดาภาพเขียนสีที่พบในแหล่งต่างๆ ที่กล่าว มาในจังหวัดอุดรธานี ภาพเขียนบางภาพในบริเวณวัดพระ พุทธบาทบัวบกบอกเรื่องได้ดีที่สุด ดังปรากฏอยู่ที่เพิงผาหินทรายแห่งหนึ่งที่มีรูปวัว และรูปคน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า “ถ้ำวัว”และ“ถ้ำคน” ที่เพิงผาด้านตะวันออกมีภาพเขียนรูปวัวหลาย ตัว ตัวหนึ่งเป็นวัวแม่ลูกอ่อน มีลูกวัวเดินตามไปติดๆ เขียน ด้วยสีแดงระบายทึบ มีรูปคนที่ทําไม่เหมือนจริง (stylized) ๒ – ๓ รูป รูปหนึ่งกําลังใช้แส้ต้อนวัวอยู่ เป็นหลักฐานหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีการเลี้ยงวัวในสมัยนั้นแล้ว อีกภาพหนึ่งแสดงภาพคนหลายคน ระบายสีทึบ แบบเงา (silhouette) และเฉพาะโครงร่าง (outline) ค่อน ไปทางรูปเหมือนจริง
๑๑ ดู Boonsong Lekagul & J.A. McNeely. Mammals of Thailand, Kurusapha.
๑๒๘ ภูมิหลัง
รูป ๑๔ สภาพเพิงผาที่ปรากฏภาพเขียนสี บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
รูป ๑๕ ภาพเขียนสีรูปวัวที่ “ถ้ำวัว” บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
รูป ๑๗ ภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี ตลอดแนวยาว ๙ เมตร
รูป ๑๘ ภาพเขียนกลุ่มที่ ๑ ที่เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี
๑๖
เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี
รูป ๑๖ ภาพเขียนสี รูปคนหลายคนที่ “ถ้ำคน” บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
เขาปลาร้า เป็นเขาหินปูน ถ้ำที่มีภาพเขียนสีอยู่ ในเขตตําบลห้วยคต อําเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ผนังถ้ำด้านตะวันออกมีภาพเขียนสีตลอดแนว ยาวประมาณ ๙ เมตร ภาพเขียนเหล่านั้นมีทั้งรูปคนและ รูปสัตว์ เขียนด้วยสีดําและสีแดง นิติ แสงวัณณ์ ผู้สำรวจแบ่งภาพเขียนออกเป็น ๖ กลุ่ม ตามจังหวะและการจัดกลุ่มภาพ
๑๗
กลุ่มที่ ๑ อยู่ซ้ายมือสุดของแนวภาพทั้งหมด เป็นภาพกลุ่ม คนยืน ๔ คนในอิริยาบถต่างๆ คนทางซ้ายมือสุดของกลุ่ม นี้หันหน้าไปทางขวาของภาพ เหมือนกําลังก้าวเท้าเดิน มือ ทั้งสองข้างมีนิ้วและมีเส้นตรงจากก้นกบคล้ายกับเป็นหาง จุดที่น่าสนใจในกลุ่มภาพนี้อีกแห่งหนึ่งก็คือภาพคนทางขวา มื อ สุ ด ของกลุ่ ม เป็ น ภาพคนหั น หน้ า ไปทางซ้ า ยของภาพ ชูแขนทั้งสองขึ้น และที่ข้อมือซ้ายมีลักษณะแสดงว่าสวม เครื่องประดับกําไลหรือสนับข้อมือ ภาพทั้งหมดในกลุ่มนี้ เขียนด้วยสีแดงระบายทึบ แสดงกล้ามเนื้ออย่างชัดเจน กลุ่มที่ ๒ อยู่ถัดจากกลุ่มที่๑ มาทางขวามือ เป็นภาพคน และสั ต ว์ คนทางซ้ า ยยื น หั นข้ า งไปทางซ้ า ยของภาพที่ ศีรษะและสะโพกมีเครื่องประดับคล้ายขนนกพุ่มไม้หรือช่อ ใบไม้ ดอกไม้ แสดงท่าร่ายรํา เขียนเป็นภาพระบายทึบ ส่วนคนทางขวาขนาดใหญ่กว่าภาพคนทางซ้ายราว ๓ เท่า เป็นภาพคนยืนตรงเบือนหน้าไปทางซ้ายยกแขนทัง้ สองข้างที่ เอวคล้ายกับมีผ้าคาดเอวผูกเป็นโบที่สะโพกภาพนี้เป็นภาพ ระบายสีทบึ ผสมกับเส้นโครงร่างโดยมีการเว้นช่องว่างในส่วน ลําตัวแล้วมีเส้นตกแต่งภายใน (silhouette and outline interior designs) รอบๆ ของภาพนี้เป็นภาพสุนัขขนาดเล็ก ๓ ตัว ลักษณะของภาพมีทง้ั ทีเ่ ขียนแบบระบายสีทบึ และระบาย สีทึบผสมเส้นโครงร่าง (silhouette and outline) ภาพกลุม่ นีเ้ ป็นภาพคนทีม่ นี ว้ิ มือให้เห็นอย่างชัดเจน ทุกภาพ แสดงกล้ามเนือ้ และมีการแสดงความแตกต่างของ ขนาดคนและสัตว์อย่างเป็นสัดส่วน
๑๘
ศิลปกรรม
๑๒๙
๑๙
กลุ่มที่ ๓ อยู่ถัดจากกลุ่มที่สองมาทางขวาโดยมีระดับของ ภาพต่ำลงมา เป็นกลุ่มภาพที่มีลักษณะสับสนมากที่สุด มี สภาพคล้ายกับว่า เขียนขึ้นโดยผู้เขียนหลายคน สังเกตได้ จากการจัดวางภาพที่กระจัดกระจาย และมีลักษณะฝีมือ การเขียนแตกต่างกัน กลุ่มภาพนี้ประกอบด้วยภาพคนทั้งสิ้น ๖ คน กําลังแสดงอาการต่างกัน มีท่าทางคล้ายกับกําลังร่ายรํา มีทั้งที่หันหน้าตรง เอี้ยวตัวและที่เห็นด้านข้าง ๓ ภาพ ใน จํานวนนี้มีเครื่องประดับศีรษะและสะโพกแบบภาพในกลุ่ม ที่ ๑ และ ๒ นอกจากนี้ก็มีเครื่องประดับเหมือนผ้าคาดเอว แล้วทิง้ ชายบ้าง ขมวดเป็นปมหรือผูกเป็นโบบ้าง ในระหว่าง ภาพคนทั้งหมดเป็นภาพสัตว์ต่างๆ เช่น ภาพสัตว์คล้ายไก่ ภาพสัตว์คล้ายสุนัข ภาพสัตว์คล้ายควาย ภาพสัตว์ คล้ายกวาง (หรือสัตว์สี่เท้าที่มีเครื่องประดับศีรษะ) ภาพ สัตว์คล้ายกบหรืออึ่ง และภาพสัตว์คล้ายบ่างหรือเต่า กลุ่มภาพนี้มีลักษณะการเขียนเป็นแบบระบาย สีทึบเขียนด้วยสีแดงมีการแสดงกล้ามเนื้อเช่นกัน แต่มีข้อ สังเกตคือไม่มกี ารเขียนนิว้ มือของคน และการวาดภาพสัตว์ และคนนั้นมีขนาดใหญ่เล็กไม่สัมพันธ์กัน เป็นอัตราส่วน แบบภาพในกลุ่มที่ ๒ อนึ่ง ในบริเวณภาพเขียนกลุ่มนี้ปรากฏร่องรอย ของการเขียนลายเส้น (linear) ด้วยสีดําปะปนอยู่ด้วย แต่ เป็นรอยลบเลือนมากจนเห็นไม่ชัดเจน นอกจากบางภาพที่ พอเห็นได้ว่าเป็นเส้นโครงร่างรูปคนและสัตว์บางชนิด กลุ่มที่ ๔ อยู่ถัดลงมาทางตอนล่างของภาพกลุ่มที่ ๓ เป็น ภาพคนจูงวัว เขียนแบบระบายสีทึบผสมกับเส้นโครงร่าง ที่มือมีการเขียนแสดงนิ้วมือและที่เอวมีเครื่องประดับคล้าย
๑๓๐ ภูมิหลัง
๒๐
ผ้าคาดเอว แต่ขามีเขียนเพียงแต่ส่วนหัวเข่า การแสดง กล้ามเนื้อก็ไม่ชัดเจนเหมือนภาพอื่นๆ ส่วนวัวนั้นเป็นภาพ หันข้างโดยหันหน้าไปทางซ้าย มีลักษณะการเขียนเป็นแบบ ระบายสีทึบผสมกับเส้นโครงร่างโดยมีเส้นตกแต่งภายใน มาตราส่วนสัมพันธ์ระหว่างคนและวัวนั้นค่อนข้างเหมาะสม กลุ่มที่ ๕ อยู่เหนือขึ้นไปจากกลุ่มภาพที่ ๓ และ ๔ เป็น ภาพของคนและวัว ซึ่งอาจแยกออกได้เป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกอยู่ทางซ้ายสุดของกลุ่มภาพ กลุ่มนี้เป็น ภาพคนจูงวัวโดยภาพคนแสดงอาการเดินไปทางซ้ายแต่ หันหน้าไปทางขวา มีเครื่องประดับศีรษะ ผ้าคาดเอว และ เครื่องประดับข้อมือ ภาพคนภาพนี้เขียนแสดงนิ้วมืออย่าง ชัดเจน มีลักษณะการเขียนแบบระบายสีทึบผสมกับเส้น โครงร่าง ส่วนภาพวัวแสดงอาการเดินตามคนจูงไปทาง ซ้าย มีการระบุเพศเป็นวัวตัวผู้ ลักษณะการเขียนเป็นแบบ ระบายสีทึบ มีการเว้นช่องว่างช่วงท้องแล้วเขียนเส้นตกแต่งภายใน โดยมีลักษณะเหมือนเป็นผ้าปูประดับบนตัววัว ภาพคนและวัวภาพนี้ไม่ค่อยมีความสัมพันธ์ทางมาตราส่วน โดยภาพวัวมีขนาดใหญ่กว่าคนมากเกินความจริง ส่วนที่สองอยู่ถัดจากภาพส่วนแรกไปทางซ้าย ถือ ได้ว่าเป็นช่วงกลางของภาพกลุ่มนี้ เป็นภาพเส้นโครงร่าง ของคนหันหน้าไปทางขวา แสดงอาการกําลังเดิน มีเครื่อง ประดับศีรษะและมีการเขียนเส้นซึ่งลักษณะคล้ายเชือกอยู่ ทีส่ ะโพก บริเวณช่วงท้องของภาพคนภาพนีเ้ ป็นภาพวัวขนาด เล็ก เป็นภาพเส้นโครงร่างผสมระบายสีทบึ การแสดงกล้าม เนื้อในภาพนี้ไม่สู้สมบูรณ์ดีนักทั้งยังไม่ค่อยมีความสัมพันธ์ ทางมาตราส่วนอีกด้วย โดยภาพวัวมีขนาดเล็กกว่าคนมาก เกินความจริง
รูป ๑๙, ๒๐ ภาพเขียนสีที่เขาปลาร้า ซ้าย ภาพกลุ่มที่ ๒ ขวา ภาพกลุ่มที่ ๔
๒๑
กลุ่มที่ ๖ เป็นภาพที่อยู่ทางขวามือสุดและอยู่บนผนังที่สูง ที่สุดของภาพเขียนตลอดทั้งแนว มีภาพคนหันข้างโดยหัน หน้าไปทางซ้าย แสดงท่าทางคล้ายกับกําลังร่ายรําหรือเดิน ย่อง ภาพทุกภาพส่วนแขนเห็นเพียงแค่ศอกบ้าง ต้นแขน บ้างโดยไม่เห็นมือ มีการตกแต่งที่บริเวณส่วนก้นยื่นออกมา คล้ายกับเป็นหาง ภาพคนภาพแรกทางซ้ายสุดมีลักษณะ การเขียนด้วยเส้นโครงร่างจากบริเวณศีรษะลงมาจนถึง เข่า และยังมีการใช้จุดตกแต่งตรงบริเวณลําตัว (linear and dotted outline with dotted interior designs) ทํา ให้ดูเหมือนว่าเป็นภาพคนที่ห่มหนังสัตว์ ส่วนภาพคนอีก สองภาพถัดไปทางขวาเป็นภาพเส้นโครงร่าง โดยมีเส้นตก แต่งภายในเป็นเส้นขีดขนานกันอยู่ภายในกรอบตรงส่วนลํา ตัว (outline with interior designs) ทําให้ดูเหมือนว่าเป็น ภาพคนทีน่ งุ่ ห่มผ้าลายหรือหนังสัตว์ หรือภาพคนทีม่ กี ารเขียน สีตามลําตัว
๒๒ รูป ๒๑, ๒๒ ภาพเขียนสีที่เขาปลาร้า ซ้าย ภาพกลุ่มที่ ๓ และ ๕ ขวา ภาพกลุ่มที่ ๖ รูป ๒๓ ภาพเขียนสีที่ถ้ำตาด้วง จังหวัดกาญจนบุรี
ถ้ำตาด้วง จังหวัดกาญจนบุรี
นอกจากภาพเขียนสีที่ถ้ำรูปดังกล่าวมาแล้ว ยัง มีภาพเขียนสีอีกแห่งหนึ่งที่ถ้ำตาด้วงในเทือกเขาหินปูนใน เขตอําเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นภาพคนในขบวนแห่ ทําพิธีกรรมบางอย่าง เครื่องสัญญาณเป็นฆ้องหรือกลอง ใหญ่ใช้คนช่วยกันหาม คนบางคนมีเครื่องประดับศีรษะ ภาพเขียนสีที่เลือกมาแสดงทั้งหมดนี้เป็นเพียง ส่วนหนึ่งของภาพจิตรกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบ แล้วในประเทศไทยหลายสิบแห่งและนับได้วา่ เป็นภาพทีบ่ อก เรื่องพอเข้าใจได้ ความจริงแล้วยังมีภาพสัญลักษณ์และ ลายเส้นต่างๆ อีกเป็นจํานวนมากที่ยังศึกษาหาคําอธิบาย กันอยู่ ๒๓
ศิลปกรรม
๑๓๑
บทที่ ๗ เทคโนโลยี
รูป ๑ หัวลูกศร
รูป ๒ ลูกดินเผาใช้ยิงกับคันกระสุน พบทั่วไป ในแหล่งชุมชนเกษตรกรรมสมัยใหม่ ก่อนประวัติศาสตร์
๑
คนส่วนมากมองเทคโนโลยีจากสิ่งของที่ผลิตขึ้น มาแล้วหรือลักษณะภายนอกแต่เพียงอย่างเดียวและเข้าใจ ว่าของนั้นๆ แสดงคุณสมบัติของเทคโนโลยีว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ แต่อันที่จริงแล้วคุณสมบัติหรือข้อดีข้อเสียของ เทคโนโลยีใดๆ ขึ้นอยู่กับการใช้หรือรู้จักใช้มากกว่าการที่จะ ผลิตให้เป็นรูปร่างอย่างใด เพราะรูปร่างและขนาดของสิ่ง ของนั้นคนกําหนดขึ้นมาเพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ตามต้องการ และการใช้ประโยชน์ของเครื่องมือเครื่องใช้ของคนนั้นไม่ ได้เป็นไปตามสัญชาตญาณอย่างสัตว์ เช่น แมงมุมสร้างใย ดักแมลงไว้กินเป็นอาหารซึ่งถือว่าเป็นกลไกทางธรรมชาติ แต่ของคนนั้นมีแผน มีการทดลองปรับปรุงเป็นขั้นตอน ต่อเนื่องกันมา
อาวุธ
๒
๑๓๒ ภูมิหลัง
เครื่องมือเครื่องใช้ของคนเป็นของที่คนประดิษฐ์ ขึ้นโดยสํานึกว่าจะไว้เป็นเครื่องช่วยทํางาน เช่น หอก ธนู มีด ขวาน เพราะถือว่ามีสติปัญญาสูงส่งกว่าสัตว์ทั้งหลาย แต่ลําพังต่อสู้กันกับสัตว์ร้ายด้วยมือเปล่าคนไม่มีทางเอา ชนะได้เลย จึงต้องใช้สติปัญญาหาทางสร้างเขี้ยวเล็บของ ตนเองขึ้นมาเพื่อให้ได้เปรียบเชิงกล เพราะโดยธรรมชาติไม่ มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายคนจะใช้เป็นหอก ธนู ขวาน หรือ มีด ฯลฯ ได้ ต้องผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ และเพื่อการ แลกเปลี่ยน ซึ่งมีผลกระทบทางเศรษฐกิจอีกเช่นกัน
หลักฐานที่เป็นอุปกรณ์เครื่องใช้สอยของคนรุ่น แรกๆ นั้นพบอยู่น้อย ที่เหลือให้เห็นเป็นแต่เครื่องมือหิน กะเทาะรูปแบบต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงแล้ว เครื่องมือไม้ซึ่งเป็น อินทรียวัตถุในสมัยแรกๆ ยังไม่พบแต่ก็พอจะสรุปได้ว่าคง ต้องมีแล้วเช่นกัน เพราะเหตุที่เครื่องมือหินเหล่านั้นจะใช้ เป็นอาวุธล่าสัตว์ใหญ่ๆ ไม่ได้ดี ฉะนั้นการล่าสัตว์นอกจาก จะใช้กับดักหรือหลุมขวากแล้วจําต้องมีอาวุธที่ใช้ในระยะ ไกลตัว โดยการพุ่งหรือยิง เช่น หอก ธนู ไม้ซางอีกด้วย อาวุธนี้มีปรากฏอยู่ในภาพเขียนแสดงฉากล่าสัตว์หลายแห่ง และมนุษย์ในปัจจุบันที่ยังดําเนินชีวิตแบบเดียวกับนายพราน และนักหาของป่าก็ยังใช้กันอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาทางกลในการล่าสัตว์เป็นตอนสําคัญ ตอนหนึ่งในประวัติความเป็นมาของวิทยาศาสตร์หรือเทคโน โลยี๑ เครื่องมือเหล่านั้นพุ่งออกไปตามระบบการเคลื่อน ไหวทางไดนามิกและแอโร-ไดนามิก (dynamical and aerodynamical movements) ในระยะทางซึ่งมีต้นเค้ามาจาก การขว้างไม้ขว้างก้อนหินธรรมดาๆ นั่นเอง
๑ Bernal. J.D. Science in History. Vol. l, The Emergence of Science. Penquin Books. 1969: 84-85
๓
ธนูแสดงถึงการใช้พลังงานกลที่มนุษย์ทําให้เกิด ขึ้นในการโก่งคันธนูอย่างช้าๆ และปล่อยสายให้ดีดลูกธนู ออกไปอย่างรวดเร็ว การใช้ธนูนี้คงจะทําให้การล่าสัตว์ได้ ผลยิ่งขึ้นจึงได้แพร่หลายทั่วโลก อาวุธประเภทนี้มีอีกหลายอย่าง เช่นไม้ซางที่ใช้ ยิงลูกดอกด้วยการเป่าลมอย่างแรงและเร็ว ต่อมาในสมัย สังคมเกษตรกรรมมีเครื่องมือประเภทนี้เพิ่มอีกหลายอย่าง คือคันกระสุน ลูกที่ใช้ยิงทําด้วยดินทั้งเผาและไม่เผาซึ่งพบ ทั่วไปในประเทศและมีใช้กันอยู่ตามชนบทต่างๆ ในประเทศ ไทยจนทุกวันนี้
เครื ่องมือใช้สอย
เครื่องมือหินนั้นพัฒนาต่อมาจากรูปแบบที่ค่อน ข้างหยาบหรือเทอะทะเพราะใช้ประโยชน์หลายอย่างมาเป็น เครื่องมือเครื่องใช้ที่ใช้ประโยชน์เป็นอย่างๆ ขึ้น จึงมีขวาน หินขัดในรูปและขนาดต่างๆ เช่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยม คางหมู สามเหลี่ยม มีรูปด้านตัดเป็นรูปต่างๆ คือสี่เหลี่ยม ผืนผ้า สี่เหลี่ยมคางหมู สามเหลี่ยม รูปเลนซ์ รูปไข่ และ รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ลักษณะของปลายที่เป็นคมใช้งาน บากข้างเดียวและสองข้าง นอกจากนัน้ ยังมีทง้ั ขวานธรรมดา และมีบา่ อีกด้วย มีขนาดต่างๆ ตัง้ แต่ยาวเพียง ๓ – ๔ เซนติเมตรจนถึง ๖๐ – ๗๐ เซนติเมตร ก็มี
ขวานทีม่ ขี นาดเล็กมากและใหญ่มากนัน้ อาจจะเป็น ของที่ทําขึ้นเป็นสัญลักษณ์ใช้ประกอบพิธีกรรมมากกว่าจะ เอามาใช้งานอย่างขวานทัว่ ๆ ไป บางเล่มถึงกับทําเลียนแบบ ขวานโลหะด้วยซ้ำไป
หิ นประเภทต่างๆ วัตถุที่ใช้ทําขวานหินขัดนั้นมีทั้งหินตะกอน หิน แปร และหินอัคนีทม่ี เี นือ้ ละเอียดหรือค่อนข้างละเอียดและ แข็งแรงพอสมควร แต่ส่วนใหญ่จะทําจากหินแปร เช่น หิน อ่อนเกรดต่ำซึ่งแปรมาจากหินปูน หินชนวน และฟิลไลต์ (phyllite) แปรมาจากหินดินดาน (shale) ซึ่งเป็นหินตะกอน หินชีสต์ (schist) แปรมาจากหินอัคนีแอนดีไซต์ (andesite) ที่ทําจากหินอัคนี เช่น ไรโอไลต์ (rhyorite) และแอนดีไซต์ (andesite) พอมีบ้าง ส่วนหินตะกอน เช่น หินดินดาน (shale) หินทรายแป้ง (siltstone) หินโคลน (mudstone) หินปูน หินทรายและเชิร์ต (chert) นั้นพบอยู่ทั่วไปเหมือนกัน แต่เชิร์ตดูจะพบมากที่สุดในบรรดาหินตะกอนทั้งหลายที่ เอามาทําเป็นขวาน
รูป ๓ รูปแบบต่างๆ ของขวานหินขัด รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมคางหมู รูปสามเหลี่ยม และขวานหินมีบ่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปสี่เหลี่ยมคางหมู และรูปสามเหลี่ยม รูปเลนซ์ รูปไข่ รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว รูปด้านข้างแสดง การบากทําคมบากข้างเดียว บากสองข้าง
จากเทคโนโลยี ก ารทํ า ขวานหิ นก็ พั ฒ นาต่ อ มา เป็นขวานโลหะ เริ่มด้วยทองแดง มาเป็นสําริด และเหล็ก ตามลําดับ
เทคโนโลยี
๑๓๓
รูปชุด ๓/๑-๘ รูปแบบต่างๆ ของเครื่องมือหินขัด ภาพจาก พิพิธภัณฑ์คุณมงคล วัฒนายากร ด้วยความเอื้อเฟื้อของมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
๑๓๔ ภูมิหลัง
ทองแดง
เครื่องมือทองแดงที่พบที่โนนนกทา๒ มีเป็นชิ้น แตกหักอยู่หลายชิ้น ชิ้นที่สมบูรณ์มีชิ้นเดียว เป็นขวานอยู่ ในหลุมศพที่กําหนดอายุได้ ๓,๕๙๐ + ๓๒๐ ปีก่อนคริสต์กาล (หมายเลขตัวอย่าง Gak – 1034) จากการวิเคราะห์แร่ธาตุ พบว่ามีฟอสฟอรัสและสารหนูจํานวนหนึ่งอยู่ในเนื้อ แสดง ว่าทองแดงนั้นไม่ใช่ทองแดงเนื้อบริสุทธิ์แต่เป็นทองแดงที่ หลอมมาจากแร่ทองแดงชนิดอื่น ส่วนเครื่องสําริดอื่นๆ นั้น ก็เป็นไปตามขั้นของวิวัฒนาการด้วยการผสมดีบุกลงไปเล็ก น้อยทําให้เนื้อโลหะแกร่งขึ้น และยังช่วยลดอุณหภูมิที่จุด หลอมละลายของทองแดงอีกโสดหนึ่งด้วย
เทคโนโลยี เกี่ยวกับความร้อน
ดังได้กล่าวมาแล้วว่าเครื่องดินเผาเป็นผลผลิตที่ เกิดมาจากการรูจ้ กั ควบคุมอุณหภูมขิ องไฟ แต่งานโลหกรรม นั้นยุ่งยากยิ่งไปกว่านั้นและถือได้ว่าเป็นจุดสุดยอดของเทคโนโลยีเกี่ยวกับความร้อน (pyrotechnology) ของมนุษย์ ทีเดียว กราฟข้างล่างแสดงอุณหภูมทิ จ่ี ดุ หลอมละลายของ โลหะต่างๆ ที่คนก่อนประวัติศาสตร์ในสังคมเกษตรกรรม นํามาใช้แล้ว
๓๒๗.๔๕ ํ เซลเซียส ตามลําดับ ก็ต้องใช้ความร้อนในอุณหภูมิที่สูงกว่านั้นขึ้นไปถึง ๕๐๐° ํ – ๗๐๐ ํ เซลเซียส๓ คนจะ เป็นช่างโลหะได้จะต้องรูเ้ รือ่ งแร่ โลหะ กับความร้อนเป็น อย่างดีโดยสามารถควบคุมให้อยู่ในอุณหภูมิท่ีใช้งานได้เป็น อย่างๆ และใช้เตาหลอมที่มีประสิทธิภาพพอ เทคนิคการโลหกรรมเป็นหลักฐานของการพัฒนา ทางเทคโนโลยีระดับสูง เพราะกระบวนการผลิตค่อนข้าง จะยุง่ ยากอยูไ่ ม่นอ้ ย ต้องทดลองทํากันนานกว่าจะชํานาญ ทําแล้วใช้ได้และเป็นที่ต้องการของตลาด
สํ าริด สําริดที่บ้านเชียงซึ่งมีหลักฐานการทําแต่เมื่อราว ๔,๐๐๐ ปีมาแล้วนี้เป็นผลผลิตของเทคโนโลยีที่สูงพอควร แล้ว ไม่ใช่ระดับที่เพิ่งจะเริ่มทดลองทํากันใหม่ๆ ซึ่งใช้วิธีตี แต่ง (cold working) เนื้อโลหะที่หลอมแล้วให้เป็นรูปต่างๆ ทีต่ อ้ งการแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นขัน้ ถึงขนาดหล่อในพิมพ์ (casting) แล้วทําให้การผลิตรวดเร็วและได้จาํ นวนมากขึน้ จน กว่าแม่พมิ พ์จะชํารุดไป หลักฐานจากบ้านเชียงจึงชีใ้ ห้เห็นว่า เทคนิคทางโลหกรรมนั้นเริ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหลายพันปีมาแล้ว
๔ รูป ๔ อุ ณ หภู มิ ข องจุ ด หลอมละลายของโลหะ ต่างๆ
จะเห็นได้ว่าทองแดงนั้นถลุงด้วยการหลอมยาก กว่าดีบุกและตะกั่วด้วยเหตุที่มีจุดหลอมละลายถึง ๑,๐๘๓ํ° เซลเซียส ซึ่งสูงกว่าดีบุกและตะกั่วเป็นหลายเท่าตัว และ เมื่อจะถลุงแยกเนื้อโลหะออกมาจากแร่ประเภทออกไซด์ซิ ลิกา (oxide silica gangue) ก็ยงั ต้องใช้ความร้อนในอุณหภูมิ ที่สูงกว่าจุดหลอมละลายอีกมากด้วย เช่น จะถลุงดีบุกและ ตะกั่วซึ่งมีจุดหลอมละลายเพียง ๒๓๑.๙ ํ เซลเซียส และ
๕ รูป ๕ กระดึงคอสัตว์ทําด้วยสําริด
๒ Bayard, D.T. “Early Thai Bronze : Analysis and New Dates”, Science, Vol 176, 1972:141 – 142. ๓ Wertime, T.A. “Pyrotechnology : Man’s First Industrial Uses of Fire”. American Scientist, Vol. 61, 1973 : 674.
เทคโนโลยี
๑๓๕
เครื่องสําริดที่บ้านเชียงและแหล่งอื่นๆ ที่เกี่ยว ข้องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีขวานและใบหอก แต่สว่ น มากเป็นเครื่องประดับเช่น กําไล ห่วง สร้อยคอ อุปกรณ์ ในการทอผ้า ภาชนะ กระดึงคอสัตว์และอืน่ ๆ ต่อเมือ่ มีเหล็ก ใช้แล้วเครื่องมือที่ใช้งานหนักหรือใช้เป็นอาวุธด้วย เช่น ขวาน มีด ใบหอก ก็ทําด้วยเหล็ก แต่เครื่องประดับและ ของอื่นๆ ยังทําด้วยสําริดอยู่ บางอย่างทําสืบเนื่องกันมา ถึงปัจจุบัน
ทองแดงบริสุทธิ์มีเนื้ออ่อน จะทําให้แกร่งได้บ้าง ก็ด้วยการทุบหรือตีแต่ง แต่จะให้ดีก็ผสมดีบุกไปบ้าง ข้อ ควรระวังก็คือผสมเกินกว่าร้อยละ ๘ – ๑๐ จะได้โลหะ เนื้อขาวขึ้นแต่ก็เปราะและแตกหักง่ายตามสัดส่วน ส่วนเหล็กนั้นเมื่อได้ผสมกับคาร์บอนด้วยการให้ ความร้อนจากคาร์บอนกระจายเข้าไปในเนื้อเหล็กอย่างที่ เรียกว่า คาร์บูไรเซชัน (carburization) จะให้ความแกร่ง กว่าเครื่องสําริดมากนัก
เครื ่องเหล็ก หลักฐานที่บ้านเชียงและโนนชัย ฯลฯ ชี้ให้เห็นว่า เมื่อเกือบ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว ประเทศไทยมีความก้าวหน้า ทางเทคนิคการโลหกรรมสูงขึน้ ไปอีกขัน้ หนึง่ แล้ว ด้วยการ ศึกษาทดลองทําเครื่องเหล็ก เราได้หลักฐานของการทดลองใช้โลหะ ๒ ชนิด ประกอบกัน (bi-metallic) ทําเป็นเครื่องมือ เช่นใบหอกที่ ทําด้วยเหล็กและมีสําริดหุ้มทําเป็นด้ามซึ่งได้จากการขุดค้น ที่บ้านเชียง ๓ เล่มและที่อื่นๆ ซึ่งไม่ทราบที่มาในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ ฯลฯ กําไลสําริดหลายวงก็มีเหล็กหุ้มรอบๆ แล้ว เหล็กที่ใช้ทําเครื่องมือแต่ต้นมานั้นเป็นแร่ที่สกัด เอามาถลุงหลอม แสดงถึงความรู้ในเรื่องการถลุง การหา แหล่งแร่ตลอดจนการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันและกันของชุม ชนต่างๆ เพราะชุมชนที่ถลุงและทําโลหะส่วนหนึ่งมีถิ่นฐาน อยู่ไกลจากแหล่งแร่ที่เอามาใช้ ราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้วได้พบว่ามีการใช้เหล็กจาก ลูกอุกกาบาต๔ มาทําเป็นเครื่องมือด้วย จากเครื่องมือสําริดมาเป็นเหล็กนับว่าเป็นการ พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้งานให้มีประสิทธิภาพขึ้นเป็นอัน มาก อย่างน้อยเครือ่ งมือเหล็กก็แข็งแกร่งกว่าเครือ่ งสําริด ทั่วๆ ไป ในแถบเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรม ใหญ่ๆ ของประเทศทางตะวันตก นักโบราณคดีและนักประ วัติศาสตร์เชื่อกันว่าเทคโนโลยีในการทําเหล็กนั้นเกิดขึ้นมา ได้เพราะความกดดันจากความขาดแคลนของทรัพยากรแร่ ที่จะมาทําเครื่องสําริดต่อไป ซึ่งไม่ใช่ปัญหาเดียวกันกับ ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ อีกบางประเทศในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแหล่งแร่ที่ใช้ในงาน โลหกรรมสําริด เครื่องมือสําริดในประเทศไทยนั้นเป็นโลหะผสม ระหว่างทองแดงกับดีบุก ในสมัยหลังๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราว ๒,๐๐๐ กว่าปีมาแล้วเป็นต้นมา บางแห่งมีการผสม ตะกัว่ เข้าไปด้วย อาจจะเพือ่ ให้การหลอมหล่อง่ายขึน้ เครือ่ ง สําริดที่มีดีบุกผสมอยู่เรียกว่า สําริดดีบุก (tin bronze) สมัยแรกๆ โดยทั่วไปมีดีบุกไม่กี่เปอร์เซนต์ แต่สมัยหลังๆ ต่อมาบางแห่งมีดีบุกผสมเข้าไปกว่าร้อยละ ๓๐
๑๓๖ ภูมิหลัง
ไดอะแกรมข้างล่างนี้จะช่วยอธิบายให้ชัดเจนขึ้น
รูป ๖ เปอร์เซนต์ของคาร์บอนในเหล็ก ความแข็งแกร่ง (พันปอนด์ต่อตารางนิ้ว) เปอร์เซ็นต์ของดีบุกในทองแดง Maddin, R. and T. Wheeler “How the Iron Age Began”. Scientific American. Vol. 237, No. 4. 1977 – 122 – 131 Maddin et al 1977 : 124
๖
ถ้าเราผสมดีบกุ ร้อยละ ๑ เข้าไปในทองแดง สําริด (เส้นต่อกัน) จะให้ความแกร่ง ๓๐,๐๐๐ ปอนด์ต่อ ๑ ตารางนิ้ว ดีบุกร้อยละ ๕ ให้ความแกร่ง ๕๐,๐๐๐ ปอนด์ต่อ ๑ ตารางนิ้ว แต่ถา้ ใส่คาร์บอนเพียงร้อยละ ๐.๔ เข้าไปในเหล็ก จะได้ carburized alloy (เส้นประ) ซึ่งมีความแกร่งมาก กว่า ๕๐,๐๐๐ ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือเหล็กที่มีคาร์บอน ร้อยละ ๑ จะให้ความแกร่งมากกว่าสําริดที่มีดีบุกร้อยละ ๘ กว่า ๑๐,๐๐๐ ปอนด์ต่อตารางนิ้วเสียอีก ด้วยเหตุนั้นเมื่อช่างโลหะรู้จักทําเครื่องมือเหล็ก ใช้งานเช่น ขวาน มีด หอก ฯลฯ แล้ว ก็ไม่ทําเครื่องมือ ประเภทนัน้ ด้วยสําริดอีก สําริดทีท่ าํ ต่อมาหนักไปทางเครือ่ ง ประดับและสิ่งละอันพันละน้อยอย่างอื่นๆ ดังได้กล่าวมา บ้างแล้ว
๔ วิเคราะห์ปริมาณของนิกเกิล (nickel) ในเหล็ก
รูป ๗, ๘ แม่พิมพ์หิน สําหรับหล่อเครื่องมือโลหะ บ้านเชียง
๗
๘
รูป ๙ ใบหอกทำด้วยสําริดจากบ้านเชียง (ภาพจาก สถาบันสมิธโซเนียน)
๙
๑๐ รูป ๑๐ เครื่องมือเหล็กพบทั่วไปในแหล่งโบราณคดี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รูป ๑๑ ขวานเหล็กที่ยังใช้กันในปัจจุบัน
เทคโนโลยี
๑๓๗
เมื่อประมาณ ๒,๐๐๐ กว่าปีเป็นต้นมา ช่างโลหะ ผสมดีบุกลงไปในทองแดงมากขึ้น เนื้อสําริดจึงออกสีขาว คล้ายเงิน และในขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาทดลองทําเครื่อง โลหะอื่นๆ เช่น เงิน ทอง เป็นต้น
การทํ าแก้ว ความรู้ความชํานาญในการทําเครื่องปั้นดินเผา และโลหกรรมเป็นเวลานับพันปีก่อให้เกิดผลผลิตที่เกี่ยวกับ เทคโนโลยีในการใช้ความร้อนอย่างอื่นขึ้นอีกเช่นการทําแก้ว ซึ่งมีแร่ธาตุต่างๆ ผสมอยู่เป็นจํานวนมาก แร่ธาตุต่างๆ นั้น มีจุดหลอมละลายตั้งแต่ต่ำไปจนถึงสูงมาก ฉะนั้น การจะ หลอมให้เข้ากันจึงต้องใช้อณ ุ หภูมทิ จ่ี ดุ หลอมละลายของธาตุ ตัวที่สูงสุด จากการวิเคราะห์ธาตุ (elemental analysis) ของลูกปัดแก้วในที่ต่างๆ พบว่าอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดของการ ทําลูกปัดอยู่ระหว่าง ๖๐๐°ํ – ๙๐๐°ํ เซลเซียส และสูงสุด ประมาณ ๑,๐๐๐°ํ – ๑,๓๒๐ํ° เซลเซียส ซึ่งขึ้นอยู่ว่ามีส่วนผสม ด้วยธาตุอะไร อันทีจ่ ริงช่างทําภาชนะดินเผามีความรูค้ วามชํานาญ ในการควบคุมอุณหภูมสิ งู ๆ มาแล้วเหมือนกัน ศาสตราจารย์ โซลไฮม์และมีแชมรายงานผลการวิเคราะห์อุณหภูมิที่เผา ภาชนะดินเผาที่โนนนกทาในช่วงที่มีโลหะใช้แล้ว จากชั้นดินที่ ๖ – ๙ ว่าอยู่ในระหว่าง ๘๐๐ํ° – ๙๕๐°ํ เซลเซียล และที่ พิมาย (ซึ่งอยู่ในสมัยประวัติศาสตร์) ที่ ๘๐๐ํ° – ๘๖๐ํ°, ๙๔๐ํ° – ๙๘๐°ํ, ๑,๑๕๐°ํ – ๑,๒๐๐ํ° และ ๑,๑๕๐ํ° เซลเซียส๕
เครื ่องปั้นดินเผา การทําภาชนะดินเผาเป็นอุตสาหกรรมเบาในครัว เรือนเช่นเดียวกับการจักสาน การทําเครื่องโลหะและอื่นๆ ซึ่งคงเริ่มแล้วตั้งแต่ในสมัยโฮโลซีนเป็นต้นมา หลักฐานที่ พบที่ถ้ำผีซึ่งมีอายุประมาณ ๗,๐๐๐ – ๘,๐๐๐ ปีแสดงถึง พัฒนาการของเครือ่ งปัน้ ดินเผาจนถึงระดับการทําค่อนข้างสูง การทําเครื่องดินเผาหรือภาชนะดินเผานั้นคนทํา ไม่เพียงแต่จะรู้จักควบคุมความร้อนที่ใช้เผาให้ได้ประสิทธิ ภาพแต่เพียงอย่างเดียว เช่น รู้ว่าการใช้อุณหภูมิที่ไม่สูงนัก แต่เผาได้นานๆ อาจไม่ทําให้โลหะธาตุบางอย่างหลอม ละลายรวมกับเนื้อดินแต่เผาคาร์บอนได้หมด ทําให้เนื้อดิน เป็นสีเดียวกันโดยตลอดไม่มีไส้ดําหลงเหลืออยู่ และข้อดี ข้อเสียอืน่ ๆ ทีเ่ กิดจากการใช้อณ ุ หภูมริ ะดับสูงต่ำกว่ากันเท่า นั้น หากแต่ยังต้องรู้แหล่งดินที่ดี ที่มีคุณสมบัติเหนียวและ หยุ่น เพื่อนํามาปั้นผสมเชื้อต่างๆ เช่น ทรายให้ได้ความแข็ง และความแกร่งทนทาน หรืออินทรียวัตถุบางอย่างเช่น แกลบข้าว ฟางที่ช่วยในการเผาไหม้กับออกซิเจน ตลอดจน การทํารูปทรงตามที่ต้องการด้วยเทคนิคต่างๆ
๑๓๘ ภูมิหลัง
๑๒
ภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นหลัก ฐานที่พบทั่วไปและมีปริมาณมากที่สุดในบรรดาโบราณวัตถุ ทั้งหลาย การขุดค้นบางแห่งในพื้นที่ประมาณ ๑๐๐ ตาราง เมตรและความลึก ๕ เมตรได้เศษภาชนะดินเผาเป็น ๑๐ ตัน หรือกว่านั้น การจําแนกรูปแบบ ส่วนผสมอื่นๆ การทําผิว เช่น ลวดลาย ชี้ให้เห็นขนาดของอุตสาหกรรมนี้และความ ก้าวหน้าในการทําเครือ่ งปัน้ ดินเผาในสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ อย่างชัดเจน
รูป ๑๒ ทั่งดินเผาใช้ในการปั้นภาชนะดินเผา
รูป ๑๓ ภาชนะดินเผาแบบต่างๆ ของวัฒนธรรม บ้านเชียง
๕ “Determination of the Original Firing Temperature of Ceramics from Non Nok Tha And Phimai, Thailand”. Journal of the Hong Kong Archaelogical Society. Spring, 1980.
เทคโนโลยี
๑๓๙
การทอผ้ า
เครื ่องจักสาน
หลักฐานการทอผ้าคือเศษผ้าโดยตรงหรือรอย ประทับของผ้าและอุปกรณ์ประกอบการทอและปั่นด้าย เช่นลูกผังและแวดินเผาซึ่งมีพบอยู่มากมายในประเทศไทย สมัยสังคมเกษตรกรรมทัง้ ก่อนและหลังสมัยทีม่ โี ลหะใช้แล้ว เศษผ้าและรอยประทับส่วนมากโดยบังเอิญพบติดอยู่กับ เครือ่ งมือโลหะทัง้ สําริดและเหล็กซึง่ เป็นปรากฏการณ์ทป่ี ระ หลาดอยู่ ด้วยเหตุที่สนิมโลหะซึ่งมีคุณสมบัติในการทําลาย อันเป็นที่รู้กันอยู่ กลับกลายมาเป็นสิ่งที่ช่วยรักษาร่องรอย ของผ้าซึ่งเป็นอินทรียวัตถุอย่างหนึ่งให้คงรูปรอยไว้ให้เรา ศึกษากันได้ ทั้งๆ ที่โดยตัวของผ้าเองนั้นหากทิ้งไว้เฉยๆ เป็นเวลานานๆ ก็จะเปื่อยสลายไปเอง อย่างไรก็ดี การที่เรายังไม่พบผ้าในสมัยไพลสโต ซีนและโฮโลซีนตอนต้นซึ่งเป็นระยะก่อนมีการเกษตรกรรม อย่างจริงจังนั้น ก็ไม่ควรจะทึกทักเอาว่าคนสังคมล่าสัตว์ แต่แรกๆ นั้นๆ ไม่มีเสื้อผ้าใช้ ภาพเขียนสีบนผนังหินในสมัย แรกๆ เป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าคนมีเครื่อง นุ่งห่ม ซึ่งอาจจะเป็นหนังสัตว์บางประเภทได้ เพราะคุ้น เคยกับสัตว์หลายชนิดพอทีจ่ ะรูจ้ กั ใช้ประโยชน์จากสัตว์ตา่ งๆ เหล่านั้นว่า นอกจากเนื้อที่มาใช้เป็นอาหาร กระดูกและเขา สัตว์ทําเป็นเครื่องมือแล้ว หนังยังเอามาเป็นเครื่องนุ่งห่ม ได้อีกด้วย การนําส่วนต่างๆ ของสัตว์มาใช้ประโยชน์โดยทั่ว ไปและเฉพาะอย่าง รวมถึงการใช้ประกอบพิธีกรรมและ เครื่องรางต่างๆ นั้นมีอยู่ทุกยุคทุกสมัยของประวัติศาสตร์ มนุษยชาติ
งานเครื่ อ งจั ก สานที่ นั บ ได้ ว่ า เป็ น หลั ก ฐานตรง คือตัวเครื่องจักสานเอง เคยพบที่อําเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัด กาญจนบุรีแห่งเดียว นอกนั้นเป็นหลักฐานรอง คือเป็นรูป รอยของเครื่องจักสานบนดินเผา และภาชนะดินเผาที่ได้รูป แบบมาจากเครื่องจักสานซึ่งพบในที่หลายแห่งทั้งสมัยก่อน ประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ตอนต้น
๑๔๐ ภูมิหลัง
๑๔
เครื ่องประดับ เครื่องประดับต่างๆ ก็เป็นเรื่องน่าสนใจ ไม่ว่า จะมองในแง่ศิลปกรรมหรือเทคโนโลยี เครื่องประดับเหล่า นี้มีหลายชนิดและทําด้วยวัสดุต่างๆ กัน เริ่มตั้งแต่ กําไล (bangles) ที่ทําด้วยหินเนื้อไม่แข็งนักเช่นหินดินดาน (shale) หินดินดานที่ค่อนไปทางหินชนวน (slaty shale) หรือหิน อ่อน ฯลฯ วิธีทําเป็นอย่างง่ายๆ ใช้เครื่องเจาะแบบคันชัก (bow drill) ตัวคันหรือกระบอกใช้ไม้ไผ่ขนาดต่างๆ แล้ว แต่จะให้กําไลมีขนาดเท่าไร ทรายและน้ำอาจเป็นตัวกัด กําไลเปลือกหอยโดยทั่วๆ ไปยิ่งทําง่ายกว่าเพราะ บางและเนื้ออ่อน ยกเว้นหอยขนาดใหญ่เช่นหอยมือเสือ (giant clam) ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือโลหะมาทํา กําไลที่ พบจำนวนมากและมีหลายรูปแบบคือกําไลสําริด มีกําไล เหล็กปะปนอยู่ในที่บางแห่งไม่กี่วง กําไลสําริดส่วนมากทํา จากการหล่อมีทั้งแบบเรียบและประดับตกแต่ง
รูป ๑๔ กําไลหินอ่อนบ้านเชียง (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น)
รูป ๑๕ การทํากําไลหินแบบวิธีเจาะด้วยคันชัก กระบอกไม้ไผ่ มีทรายและน้ำช่วยกัดกร่อน
๑๕
รูป ๑๖ ลูกปัดแก้ววัฒนธรรมบ้านเชียง (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น)
รูป ๑๗ ลูกปัดหินคาร์เนเลียน ทําเป็นรูปขวานสําริด และรูปเดือนเสี้ยว จากแหล่งโบราณคดี เขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมืองฯ จังหวัดชุมพร ๑๖
๑๗
กําไลที่มีน้อยที่สุดคือกําไลที่ทําด้วยงาช้าง พบที่ บ้านเชียงและที่อื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีตุ้มหูที่ทําด้วยทอง เปลือกหอยและหินบางชนิด เช่น เซอร์เพนทีน (serpentine) ส่วนปิ่นปักผมนั้น เคยพบแต่ที่ทําด้วยกระดูก และลูกปัดซึ่งนอกจากจะทําด้วยแก้วซึ่งเป็นของ สมัยเมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปีลงมาแล้วก็มีที่ทําด้วยกระดูก บ้าง เปลือกหอยบ้าง สําริดบ้าง ที่มีอยู่พบทั่วไปจนถึงสมัย ประวัติศาสตร์ก็คือหินสวยๆ ต่างๆ เช่น อะเกท (agate) และคาร์เนเลียน (carnelian) ซึ่งเจาะรูจากปลาย ๒ ข้าง เข้าหากัน และอาจจะเริ่มขึ้นในสมัยที่มีโลหะใช้แล้ว
รูป ๑๘ กําไลสําริดจากบ้านเชียง (พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติขอนแก่น)
๑๘
รูป ๑๙ กําไลงาช้างจากบ้านเชียง (พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติขอนแก่น)
๑๙
เทคโนโลยี
๑๔๑
คำขอบคุณ
ผู้เขียนขอขอบคุณท่านผู้มีนามต่อไปนี้ที่ได้ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่ง ทําให้ข้อเขียนภาคน้ำ สําเร็จเป็นรูปร่าง ออกมาได้ ๑. นายบุญยก ตามไท ค้นคว้าหาข้อมูล ตรวจข้อความ และประสานงานโดยตลอด ๒. นางสาวบุหลง ศรีกนก ค้นคว้าหาข้อมูลที่นอกเหนือจากที่มีอยู่ในหนังสือทั่วไป ๓. อาจารย์ฤทัย ใจจงรัก ผู้ให้ข้อมูลสําคัญด้านสถาปัตยกรรมเรือนไทยและโบสถ์น้ำอย่าง ละเอียดลออ ๔. อาจารย์ทิวา ศุภจรรยา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเมืองโบราณจากรูปถ่ายทางอากาศ ๕. อาจารย์ธีรชัย กําภู ณ อยุธยา ทบทวนแก้ไขข้อความภาคภาษาอังกฤษทั้งเล่ม (หนังสือ เล่มนี้เดิมเขียนเป็นภาษาอังกฤษ) ๖. ดร.ขนิษฐา มีสุข ช่วยถอดข้อความจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในขั้นต้น ๗. อาจารย์คณ ุ นิออน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อ่านทวนสํานวนภาษาและแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ ให้ตลอดทั้งเล่ม ส่วนผู้ที่ให้ข้อมูลและข้อคิดสําคัญๆ นอกเหนือจากที่ได้กล่าวนามไว้แล้วข้างต้นยังมีอีกหลาย ท่าน ผูเ้ ขียนขอขอบคุณทุกท่านทัง้ ทีม่ ชี อ่ื ปรากฏและไม่มี รวมทัง้ ผูถ้ า่ ยรูปหรืออนุญาตให้ใช้รปู ซึง่ มีบญ ั ชี ณ เล่มนี้แล้ว สุดท้ายนี้ ท่านผู้อ่านที่เห็นข้อผิดพลาดอื่นใดหรือมีข้อมูลที่จะเพิ่มเติมให้ก็ขอความกรุณาแจ้ง ให้ทราบด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง ทั้งนี้เพื่อจะได้แก้ไขหนังสือให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในโอกาสที่จะ พิมพ์ครั้งต่อไป สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา
หมายเหตุ:- รูปซึ่งเก่ากว่า ๕๐ ปี แสดงอยู่ใต้ชื่อผู้ครอบครองปัจจุบัน สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา บทที่ ๑ ๑-๓, ๕-๑๑, ๑๓ บทที่ ๒ ๔-๖, ๘ (+ โชติ กัลยาณมิตร), ๒๒, ๒๕, ๒๖, ๓๐ บทที่ ๓ ๔, ๙, ๓๕, ๓๖, ๔๐, ๔๑, ๔๕-๔๗ บทที่ ๔ ๒, ๓, ๘, ๑๘-๒๐, ๒๔, ๒๘-๓๑, ๓๘, ๔๐, ๔๓ บทที่ ๕ ๑, ๓, ๕, ๗, ๘, ๑๑-๑๕, ๒๑-๒๕, ๓๒, ๓๗, ๓๘, ๔๓, ๔๖, ๕๐ บทที่ ๖ ๑-๓, ๕, ๗, ๑๔, ๑๘, ๒๒, ๒๘, ๓๒-๔๒, ๔๖-๔๘
๑๔๒ ภูภูมมิหิหลัลังง
ทอม เชื้อวิวัฒน์ และคณะ บทที่ ๑ ๑๔ บทที่ ๒ ๒, ๓, ๙, ๑๑, ๑๕, ๑๘-๒๐, ๒๔, ๓๔-๓๙, ๔๓, ๔๔ บทที่ ๓ ๕-๘, ๑๐-๒๒, ๒๔, ๓๑, ๓๒, ๓๙ บทที่ ๔ ๕, ๖, ๙, ๒๓, ๒๖, ๓๔, ๓๙ บทที่ ๕ ๙, ๓๕, ๓๖, ๓๙, ๔๐, ๔๙ บทที่ ๖ ๒๑, ๒๙, ๕๐ แสงอรุณ รัตกสิกร บทที่ ๒ ๑๖, ๑๗, ๒๑, ๓๒, ๓๓, ๔๐-๔๒, ๔๕ บทที่ ๓ ๒๕, ๒๘, ๒๙, ๔๔ บทที่ ๔ ๔, ๗, ๑๕, ๒๒, ๔๗
บทที่ ๖ ๑๖, ๒๓, ๒๔, ๓๐ ศิริชัย นฤมิตรเรขการ บทที่ ๖ ๒๓ กรมศิลปากร (หอสมุดแห่งชาติและหอจดหมายเหตุฯ) บทที่ ๒ ๗, ๑๒-๑๔, ๒๓, ๒๗,๒๘, ๓๑ บทที่ ๓ ๑-๓, ๒๓, ๓๐ บทที่ ๔ ๒๗, ๔๒ บทที่ ๕ ๒๖, ๒๙, ๓๔, ๔๑, ๔๒, ๔๔ ฤทัย ใจจงรัก บทที่ ๓ ๔๒ บทที่ ๔ ๑๑, ๑๒, ๑๗, ๒๕, ๓๒, ๓๓, ๓๖, ๓๗, ๔๑, ๔๔ บทที่ ๖ ๒๕, ๒๖ กรมโยธาธิการ บทที่ ๖ ๒๗ Rijksmuseum, Amsterdam บทที่ ๖ ๓๑ พล.ร.ท.แชน ปัจจุสานนท์ บทที่ ๖ ๔๔ พิพิธภัณฑสถาน แวร์ซาย บทที่ ๒ ๑๒ พิริยะ ไกรฤกษ์ บทที่ ๔ ๑ เผ่าทอง ทองเจือ บทที่ ๒ ๑๐ Brignolo – Caltex บทที่ ๒ ๒๙ Lim Chong Keat บทที่ ๕ ๒๗ บุญยก ตามไท บทที่ ๔ ๑๓ IR.H.M.Abduh Pane บทที่ ๓ ๓๗ Tim Carney บทที่ ๕ ๒๘ Field Museum of Natural History, Chicago บทที่ ๔ ๒๑
สยามรัฐ บทที่ ๖ ๔๙ บริษัทไม้ขีดไทยจํากัด บทที่ ๒ ๑ วีระพันธ์ุ ชินวัตร บทที่ ๓ ๒๗, ๓๓, ๓๔ บทที่ ๔ ๑๐ บทที่ ๕ ๒, ๔, ๖, ๔๕, ๔๘ บทที่ ๖ ๕, ๑ ทิวา ศุภจรรยา บทที่ ๖ ๘, ๙, ๑๐, ๑๒, ๑๓, ๑๕ กรมแผนที่ทหารบก บทที่ ๖ ๑๑, ๑๗, ๑๙, ๒๐, ๔๕ โชติ กัลยาณมิตร บทที่ ๔ ๑๔, ๑๖ บทที่ ๕ ๓๐, ๓๑, ๓๓ ธีรชัย กําภู ณ อยุธยา บทที่ ๕ ๑๖-๒๐ สํานักผังเมือง บทที่ ๖ ๔, ๖ Cambridge University Museum of Archaeology and Anthropology บทที่ ๔ ๓๕ National Geographic Magazine บทที่ ๓ ๒๗, ๔๓ (David Alan Harvey) กุศล อิ่มเอิบสิน บทที่ ๕ ๑๐ บทที่ ๖ ๔๓ R.Buckminster Fuller บทที่ ๑ ๔ บทที่ ๓ ๓๘
ภาค
๓
น้ำ
ดร. สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา
หน้า
๑๔๖ ๑๔๘ ๑๖๔ ๑๘๘ ๒๑๔ ๒๓๘ ๒๖๓
บทนำ บทที่ ๑ กำเนิดมาแต่น้ำ บทที่ ๒ สัญลักษณ์น้ำ บทที่ ๓ อารยธรรมชาวน้ำ บทที่ ๔ สถาปัตยกรรมบนน้ำ บทที่ ๕ สถาปัตยกรรมบนบก บทที่ ๖ ลักษณะชุมชนและผังเมือง น้ำ
รูปเต็มหน้า 144
รูปเต็มหน้า 145
บทนำ
สยามเป็นประเทศที่อุดมด้วยสัญลักษณ์เกี่ยวกับ น้ำมากกว่าประเทศอืน่ ใดในโลก น้ำแทรกซึมอยูใ่ นสิง่ ต่างๆ เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรรม วรรณกรรม นาฏศิลป์ ศิลปะพืน้ บ้าน จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม หรือการวางผังเมือง แต่ไม่ปรากฏว่านักวิชาการผู้ใดเคย อธิบายปรากฏการณ์พิเศษดังกล่าวเลย ดังนั้น หนังสือใน ภาคนี้จึงเขียนขึ้น เพื่ออธิบายปรากฏการณ์พิเศษที่ปรากฏ อยู่ในศิลปวัฒนธรรมไทย และในขณะเดียวกันก็เพื่ออธิบาย ความหมาย และบ่อเกิดอันแท้จริงของวัฒนธรรมไทย อย่างไรก็ตาม การที่จะอธิบายสิ่งดังกล่าวนี้ได้ ต้องเผชิญกับปัญหาหลายประการดังต่อไปนี้ ประการแรก เราเรียนมาตั้งแต่เด็กแล้วว่าประวัติศาสตร์และ อารยธรรม ได้เริ่มต้นเมื่อมนุษย์รู้จักคิดประดิษฐ์ตัวอักษร และเราก็เชื่อกันอีกว่า ประวัติศาสตร์และอารยธรรมต่างก็ มีจดุ กําเนิดในตะวันออกกลางและอียปิ ต์ สําหรับอารยธรรม เมดิเตอร์เรเนียน และอารยธรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นต่อมา ล้วนแต่มจี ดุ กําเนิดเหนือเส้นศูนย์สตู รขึน้ ไปจึงทําให้เรายึดถือ กันว่ามนุษย์ในอาณาบริเวณที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตรลงมา เป็น ผู้รับอารยธรรมจากพวกแรกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ด้วย สาเหตุนเ้ี องอารยธรรมเหนือเส้นศูนย์สตู ร โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งอารยธรรมตะวันตก จึงได้กลายเป็นบรรทัดฐานสําหรับ วัดความก้าวหน้าของมนุษยชาติในยุคต่างๆ เสมอมา ต่อมาในระยะหลัง ปรากฏนักค้นคว้ากลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีความคิดแตกต่างออกไปจากแนวความคิดดั้งเดิมข้าง ต้น ยึดถือว่าประวัติศาสตร์เริ่มต้นมานานกว่านั้นอีก นอก จากนีย้ งั ยึดถือว่า การบันทึกเหตุการณ์ไม่จาํ เป็นต้องใช้อกั ษร จารึกเสมอไป แต่ทว่ามนุษย์อาจสื่อความหมายในรูปอื่นได้ เหมือนกัน แนวความคิดใหม่นเ้ี กิดจากเหตุผลทางด้านวิทยา
๑๔๖ ภูมิหลัง
ศาสตร์ ซึ่งทําให้นักค้นคว้า และนักวิทยาศาสตร์จํานวนไม่ น้อยเริ่มตระหนักว่า ต้นกําเนิดสําคัญของอารยธรรมเมื่อ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว อยู่ในบริเวณเส้นรุ้งที่ + ±๒๐ํ° โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณเอเชียอาคเนย์ และแถบตะ วันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ประการที่สอง เรามักคิดกันว่าศิลปะและสถาปัตยกรรมในสยาม ประเทศ มีต้นกําเนิดมาจากระบบจักรวาล ในลัทธิฮินดู ผสมพุทธหรือไตรภูมิ เฉกเช่นกับศิลปวัฒนธรรมไทยอีก หลายแขนง เราสามารถอธิบายความเป็นมาของศิลปะทั้ง หลายด้วยไตรภูมิอย่างมีเหตุผล แต่เด็กไร้เดียงสาจะต้อง ย้อนถามเหมือนกับเด็กฉลาด ที่มักจะต้องการให้พ่อแม่ อธิบายอะไรต่อมิอะไรที่ไม่รู้อยู่เสมอว่า อะไรเล่าคือต้นกํา เนิดของไตรภูมิหรือระบบจักรวาล ดังนั้นหนังสือในภาคนี้ จะเล่นตอบคําถามกับเด็กไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุด โดยอาศัย ข้อมูลซึง่ กระจัดกระจายอยูท่ ว่ั ไป และยังไม่มนี กั วิชาการผู้ ใดนํามาปะติดปะต่อกันให้เป็นเรื่องราว
ประการที่สาม เนื่องจากวัฒนธรรมของเราได้คลุกเคล้ากับลัทธิ ฮินดูผสมพุทธมาเป็นเวลานาน จนเป็นแรงดันให้เกิดศิลปะ แม่บท หรือทีอ่ าจเรียกว่าศิลปะคลาสสิก นักประวัตศิ าสตร์ ศิลปะส่วนมากจึงได้เน้นแต่เพียงศิลปะแม่บท และทอดทิ้ง ศิลปะทีไ่ ม่เข้าข่ายนีไ้ ป เช่นศิลปะชาวบ้านเป็นต้น แต่ผเู้ ขียน ถือว่าศิลปกรรมทัง้ สองประเภทดังกล่าว มีความสําคัญเท่า เทียมกัน ดังนั้น ผู้เขียนจึงไม่แบ่งเส้นกั้นระหว่างประเภท ศิลปกรรมทัง้ สอง หากแต่จะพิจารณาภาพรวมของศิลปวัฒนธรรมทัง้ สองประเภทร่วมกัน ทัง้ นีก้ เ็ พือ่ จะได้ให้ผอู้ า่ นเผชิญ กับมโนภาพใหม่ มิติใหม่ และที่สําคัญที่สุดคือความหมาย ใหม่อันแท้จริงของวัฒนธรรมไทย อย่างไรก็ตาม หนังสือในภาคนี้ชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นแต่เพียงส่วนหนึง่ ของอารยธรรม ทีค่ รอบคลุม ไปถึงเอเชียตอนใต้ เอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก ซึ่งรวมถึงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกส่วนหนึ่ง ถ้าหากจะจํา กัดขอบเขตเนื้อหาของหนังสือภาคนี้ ให้อยู่เพียงในเขต แดนสยามประเทศเท่านั้น ก็ออกจะเป็นการมองภาพที่แคบ และขาดความสมบูรณ์ไป ดังนั้น จึงจําเป็นต้องยกตัวอย่าง
รูปแบบศิลปกรรม และพฤติกรรมต่างๆ นอกแดนสยาม ขึ้นมาเปรียบเทียบด้วย แต่ในเวลาเดียวกันก็จะพยายามไม่ ให้ผู้อ่านไขว้เขวออกนอกเรื่องโดยไม่จําเป็น การศึกษาเรื่อง ราวในลักษณะดังกล่าว ทําให้เนื้อหาของหนังสือต้องกว้าง ออกไปมากกว่าที่ได้คาดไว้ ทั้งในขอบเขตภูมิศาสตร์และมิติ เวลาที่เกี่ยวข้อง คราวนี้ลองย้อนกลับไปดูการเล่นตอบคําถามกับ เด็กว่าไปถึงไหน ไม่ว่าจะตอบคําถามกี่ครั้ง ก็รู้สึกว่าเด็ก ต้องตั้งคําถามอีกต่อไปเรื่อยๆ จนในที่สุดผู้ใหญ่อาจจนมุม ถ้าไม่เบือ่ และเลิกไปเสียก่อน เพราะคําถามจะต้องย้อนกลับ ไปถึงจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรม ในสมัยที่มนุษยชาติได้กลาย เป็นคนอย่างสมบูรณ์แล้ว หรือที่เรียกว่าสมัยควอเทอร์นารี ซึง่ เป็นสมัยทีม่ นุษย์ตอ้ งฟันฝ่าอุปสรรคเอาตัวรอด เนือ่ งจาก การเปลีย่ นแปลงครัง้ ยิง่ ใหญ่ของโลก ทัง้ ทางด้านนิเวศวิทยา และด้านภูมิศาสตร์ การที่มนุษย์สามารถมีชีวิตสืบพันธ์ตุ อ่ มาได้จนถึงทุกวันนีก้ เ็ นือ่ งมาจากมนุษย์ได้สร้างวิธกี ารอยู่รอด และสัญชาตญาณเฉพาะแบบขึน้ มา หรืออีกนัยหนึง่ คือลักษณะพิเศษของวัฒนธรรม ซึ่งได้ถูกถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน นี้ได้อย่างน่าประหลาดใจ
บทนำ
๑๔๗
บทที่ ๑ กำเนิดมาแต่น้ำ
ถิ่นกำเนิดของสัตว์กินนมในเอเชียอาคเนย์
ถิ่นกําเนิดของสัตว์กินนม ในเอเชียอาคเนย์ การอพยพของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ในเอเชียอาคเนย์ แหล่งอารยธรรมในเอเชียอาคเนย์ การดํารงชีวิตแบบชาวน้ำในเอเชียอาคเนย์ จากฝั่งทะเลเข้าสู่แผ่นดิน การอพยพทางทะเล การเดินเรือและแนวความคิดทางปรัชญา แนวความคิดเกี่ยวกับระบบจักรวาล สภาพภูมิศาสตร์และแนวความคิด เกี่ยวกับระบบจักรวาล ระบบจักรวาลตามคติทางศาสนา ความสําคัญของชมพูทวีป
เมื่อเปรียบเทียบกับโลกซึ่งมีอายุ ๔,๖๐๐ ล้านปี แล้ว วิวัฒนาการของสัตว์กินนมจําพวกลิง (primates) และมนุษย์ จะมีอายุเพียงร้อยละหนึ่งและร้อยละ ๐.๑ ของอายุโลกตามลําดับ หลักฐานวิวัฒนาการของสัตว์กิน นมทีม่ อี ายุแค่รอ้ ยละหนึง่ ก็คอื ซากฟอสซิลของสัตว์จาํ พวกนี้ ซึ่งถูกค้นพบครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่ เนินเขาพอนดวง (Ponduang Hills) ทางทิศตะวันตกของ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า ซากฟอสซิลดังกล่าวมีอายุ เก่าถึง ๔๐ ล้านปี ซึ่งนับว่าเก่าที่สุดเท่าที่เคยพบมาจึงทําให้ สงสัยว่าสัตว์กินนมจําพวกลิงดังกล่าว คงจะมีถิ่นกําเนิดอยู่ ในเอเชียอาคเนย์มาก่อน และต่อมาได้อพยพผ่านเอเชียตะวันตกไปสู่แอฟริกา๑ เรารู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิวัฒนาการอันยาวนาน ของสัตว์กินนมจําพวกลิง และมนุษย์ในเอเชียอาคเนย์น้อย มาก แม้กระทัง่ ในสมัยหลังนี้ ทัง้ นี้ อาจจะเป็นเพราะทฤษฎี ของดาร์วินที่กล่าวว่า มนุษย์หรือยอดสุดของวิวัฒนาการ ของสัตว์กนิ นมจําพวกลิง มีถน่ิ กําเนิดอยูใ่ นแอฟริกา ซึง่ เป็น อคติฝังใจนักวิชาการมานาน จนทําให้การขุดค้นและวิจัย เบี่ยงเบนไปสู่ทวีปดังกล่าวเป็นส่วนใหญ่ ข้อสันนิษฐานของดาร์วิน บันดาลใจให้ครอบครัว ลีคกี่ี้ ต้องไปขุดค้นในแอฟริกาตะวันออกเป็นเวลานานเกือบ ครึ่งศตวรรษ และได้เสนอทฤษฎีการอพยพของมนุษย์จาก แอฟริกาตะวันออกสูย่ โุ รปและเอเชีย๒ ไม่วา่ ข้อเท็จจริงเบือ้ ง ต้นเกีย่ วกับการอพยพของมนุษย์จะเป็นอย่างไรก็ตาม ครอบ ครัวลีคกี้ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของมนุษย์ ในบริเวณดังกล่าวไว้อย่างมากมายมหาศาล ซากฟอสซิลและ รอยเท้าที่ครอบครัวลีคกี้ี่ค้นพบครั้งล่าสุด ในบริเวณตอน เหนือของแทนซาเนีย ทําให้ทราบว่าสัตว์จําพวกคน (hominids) มีอายุเก่าแก่ถึง ๔ ล้านปี๓ หากมนุ ษ ย์ แ ละบรรพบุ รุ ษ โดยตรงของมนุ ษ ย์ อาศัยอยู่ในโลกมานานนับล้านปีแล้ว ก็แสดงว่ามนุษย์ต้อง มีชีวิตอยู่รอดผ่านยุคน้ำแข็งมาได้หลายครั้ง นับตั้งแต่สิ้น สุดยุคเทอร์เชียรี (Tertiary Period) เป็นต้นมา เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า โลกได้ผ่านยุคน้ำแข็ง มาแล้วหลายยุค โดยเริ่มต้นด้วยยุคพรีแคมเบรียน (Precambrian Period) เมื่อสมัยก่อน ๖๐๐ ล้านปีมาแล้ว ยุค น้ำแข็งแต่ละยุค จะลบรอยซากหลักฐานของยุคน้ำแข็งที่ เกิดขึน้ ก่อนจนไม่เหลือ ยุคน้ำแข็งทีเ่ รารูจ้ กั กันในปัจจุบนั คือ ยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย ซึ่งเกิดจากการเริ่มเย็นตัวของโลก
๑ บทความ “Asian Root?” ในภาค วิทยาศาสตร์ของนิตยสาร Time ฉบับ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ๒ หนังสือ Origin โดย ริชาร์ด อี. ลีคกี้ (Richard E. Leakey) และ ร็อคเจอ ลิววิ่น (Roger Lewin) ลอนดอน ค.ศ. 1977 หน้า 88 และ 117 ๓ รอยเท้าได้รับการกําหนดอายุไว้ ๓.๖ ล้านปี แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ บวกเพิ่มเข้าไปอีก ๑ ล้านปี เนื่องจากลักษณะการเดินของรอย เท้าพัฒนามากแล้ว ข้อสันนิษฐานนี้ออก เป็นข่าวเมื่อมีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒
กำเนิดมาแต่น้ำ
๑๔๙
เมื่อ ๖๔ ล้านปีก่อน ซึ่งได้เร่งเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วในยุค เทอร์เชียรีตอนปลาย หรือเมื่อ ๓ ๑/๒ ล้านปีมาแล้ว จน กระทั่งถึงยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุดซึ่งเราเรียกว่ายุคไพลสโตซีน (Pleistocene Epoch) เมื่อสมัย ๑ ๓/๔ ล้านปีมานี่เอง
การอพยพของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
๔ ตัวเลข ๕๖๐ ฟุต อ้างอิงจาก The Ocean World of Jacques Cousteau โดย ช้าก กู๊สโต นิวยอร์ก ค.ศ. 1974 หน้า 44
๑๕๐ ภูมิหลัง
เมื่อโลกเย็นลงก็เกิดการอพยพของสัตว์สองขา (bi-pedals) และสัตว์อื่นๆ รวมทั้งพืชที่มีรูปแบบชีวิตที่พึ่ง พาอาศัยกัน จากบริเวณซีกโลกเหนือลงสู่ซีกโลกใต้ จริงอยู่ มีแหล่งที่เอื้ออํานวยต่อความอยู่รอดในบริเวณเหนือเส้น ทรอปิกออฟแคนเซอร์ และมีมนุษย์หลายกลุ่มสามารถปรับ ตัวเข้ากับสภาพดินฟ้าอากาศอันหนาวเย็นแถบนั้นได้ เช่น ในถ้ำโจวโกวเทียน (Choukoutien) บริเวณใกล้กรุงปักกิ่งที่ เส้นรุ้งที่ ๔๐° ได้มีการขุดพบซากโครงกระดูกมนุษย์ปักกิ่ง ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึงห้าแสนปี และบริเวณเส้นรุ้งเหนือขึ้นไป ในยุโรป ก็ได้มีการขุดพบมนุษย์อื่นเช่นมนุษย์ไรน์ดาเลนซิส (Homo Rheindahlensis) มนุษย์นีแอนเดอธัล (Neanderthal) และมนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon) ซึ่งพวก มนุษย์เหล่านี้ได้อาศัยอยู่ในยุคน้ำแข็งช่วงหลังๆ เชื่อกันว่า มนุษย์นีแอนเดอธัลสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในสภาพภูมิ อากาศที่หนาวเย็นและปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศที่อบอุ่น ได้ไม่ทันท่วงที จึงต้องสูญพันธ์ุไปในที่สุดเมื่อสิ้นยุคน้ำแข็ง อย่างไรก็ตาม ยุคน้ำแข็งไพลสโตซีนไม่ได้เป็นยุค น้ำแข็งคงที่สม่ำเสมอ การวิจัยในสมัยหลังพบว่า มีช่วงน้ำ แข็งขยายตัวถึง ๒๐ ครั้ง และมีช่วงที่น้ำแข็งหดตัวใน ระหว่างยุคดังกล่าวอีกหลายครั้ง โดยอุณหภูมิของโลกได้ เปลี่ยนแปลงสลับตามกันไป จึงสันนิษฐานได้ว่ามนุษย์ได้ อพยพทั้งจากทางใต้ขึ้นไปทางเหนือ และจากทางเหนือลง มาทางใต้หลายครั้งหลายหนด้วยกัน หลักฐานทีแ่ สดงว่าเคยมีมนุษย์อาศัยอยูใ่ นบริเวณ เส้นรุ้งแถบเหนือๆ อาจจะบ่งชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีการอพยพ ในลักษณะดังกล่าว และมนุษย์บางกลุ่มก็อพยพหนีไม่พ้นน้ำ แข็ง เมื่อพิจารณาดูแหล่งที่มีภูมิอากาศอบอุ่นสําหรับความ อยู่รอดของมนุษย์ในโลกแล้ว จะพบว่าบริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งคาดผ่านแม่น้ำอะเมซอน แอฟริกากลางและเอเชียอาค- เนย์เป็นแหล่งที่เหมาะสมที่สุด แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใน ทวีปอเมริกา เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่ก่อน ๒๕,๐๐๐ ปีเลย ส่วนแอฟริกากลางนัน้ หากพิจารณาดูให้ดแี ล้ว จะเห็นว่าเป็น ดินแดนที่ประกอบด้วยที่ราบสูงและภูเขา ซึ่งบางส่วนยังมี หิมะปกคลุมอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ ทั้งๆ ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์ สูตรก็ตาม ในระหว่างช่วงที่น้ำแข็งขยายตัว แผ่นดินส่วน ใหญ่ในแถบนีจ้ ะถูกปกคลุมด้วยหิมะ และมีอากาศหนาวเย็น มากกว่าปัจจุบนั มนุษย์จะอยูร่ อดได้กแ็ ต่เฉพาะในบริเวณที่ ต่ำลงไปติดกับทะเลและแม่น้ำ หรือในบริเวณหุบเขาเท่านั้น
ยกเว้นในลุม่ แม่นำ้ คองโกซึง่ อบอุน่ แต่กเ็ ต็มไปด้วยสัตว์รา้ ย นานาชนิด ดังนั้นการค้นพบซากฟอสซิลสําคัญของมนุษย์ที่ ทะเลสาบวิกตอเรีย และบริเวณทั่วไปในฝั่งตะวันออกของ แอฟริกาจึงไม่เป็นการบังเอิญ อย่างไรก็ตาม บริเวณที่เอื้อ อํานวยให้มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ดีที่สุด เห็นจะไม่มี ที่ไหนอีกนอกจากบริเวณเอเชียอาคเนย์ และมหาสมุทร แปซิฟิกตอนใต้
การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ ในเอเชียอาคเนย์
ในระหว่างยุคน้ำแข็งจะมีน้ำแข็งหนาถึง ๓ กิโล เมตร ปกคลุมแผ่ลงมาจากบริเวณขั้วโลก และตามภูเขาก็ มีน้ำแข็งหรือหิมะปกคลุมทั่วไปเช่นกัน น้ำแข็งที่ปกคลุมบริ เวณพื้นโลกก่อให้เกิดการดูดซับน้ำจากทะเลทําให้ระดับน้ำ ทะเลลดลงประมาณ ๓๐๐ ถึง ๕๖๐ ฟุต๔ ไม่มีที่ใดในโลก อีกแล้ว ที่น้ำแข็งจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางด้าน สภาพภูมิประเทศเหมือนในเอเชียอาคเนย์ ในบริเวณนี้น้ำ ทะเลได้ลดลง จนทําให้แผ่นดินมีอาณาเขตแผ่ขยายไกล ออกไปทางใต้จนจรดบาหลี และทางตะวันออกจนจรดฟิลปิ ปินส์ ซึง่ มีผลทําให้เกิดเป็นทวีปทีก่ ว้างใหญ่ขนาดเกือบเท่าๆ กันกับสหรัฐอเมริกา (ไม่รวมอะแลสกา) (รูป ๑) เราอาจจะ ให้ชื่อทวีปนี้ว่า ทวีปเอเชียอาคเนย์ ก็ได้ เมื่อมองดูมหาสมุทรแปซิฟิก เกาะที่เห็นเป็นจุด เล็กๆ นับจํานวนหมืน่ ๆ เกาะ ครัง้ หนึง่ เคยเป็นแผ่นดินทีเ่ ชือ่ ม ติดต่อกัน หรือมิฉะนั้นก็เป็นเกาะใหญ่ ทวีปและแผ่นดินที่ ติดต่อกันในมหาสมุทรแปซิฟิกดังกล่าว ได้ก่อรูปรวมตัว กันเป็นอาณาบริเวณเขตร้อนที่กว้างใหญ่ไพศาลที่สุดในโลก ยกเว้นในแถบลุ่มน้ำอะเมซอน และเพียบพร้อมด้วยปัจจัย ต่างๆ ที่จะเกื้อกูลให้เกิดสิ่งมีชีวิตเป็นจํานวนมาก แต่เอเชีย อาคเนย์และแผ่นดินซึ่งเกิดขึ้นใหม่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนี้ แตกต่างกับดินแดนแถบอะเมซอนและคองโก เพราะว่าเป็น ผืนแผ่นดินที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ จึงไม่มีสัตว์กินคนดุร้ายอาศัย อยู่ ทําให้มนุษย์สามารถอาศัยมีชีวิตอยู่รอดได้ เมื่อถึงช่วงที่น้ำแข็งหดตัวครั้งย่อยแต่ละครั้ง น้ำ แข็งที่ปกคลุมผิวโลกได้ละลายกลายเป็นน้ำปริมาณมากทํา ให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ไม่ว่าน้ำทะเลจะท่วมอย่างกะทันหัน หรือจะค่อยๆ เอ่อท่วมขึ้นก็ตาม น้ำที่ท่วมสูงขึ้นได้ไหลท่วม ทวีปเอเชียอาคเนย์ ทําให้แผ่นดินเหลือน้อยลงและแยกขาด ออกจากกันเป็นหลายส่วน ประชากรจึงต้องถอยร่นไปอยู่ ตามแนวชายฝั่ง ซึ่งร่นลึกเข้าไปอีก หรือมิฉะนั้นก็ถูกบีบบัง คับให้อยู่ในแผ่นดินผืนเล็กลง ในเวลาเดียวกันประชากรอีก ส่วนหนึ่ง ถูกผลักดันให้ถอยกลับไปยังบริเวณตอนเหนือ ซึ่ง ในช่วงนี้มีอุณหภูมิอบอุ่นขึ้นบ้างแล้วเป็นลําดับ
รูป ๑ “ทวีปเอเชียอาคเนย์” และสหรัฐอเมริกา ในยุคน้ำแข็ง น้ำแข็งที่คลุมแผ่กระจายมา จากขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ได้ดูดซับน้ำ ทะเลไปเป็นอันมาก ทําให้น้ำทะเลลดระดับ ลงไปหลายร้อยฟุตเนื่องจากก้นทะเลแถบ เอเชียอาคเนย์ตื้นและมีความเอียงลาด น้อย เมื่อน้ำทะเลลดระดับ บริเวณ ดังกล่าวจึงกลายเป็นผืนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งอาจเรียกชื่อเป็น “ทวีปเอเชียอาคเนย์” ก็ได้ และหากเทียบกับสหรัฐอเมริกา (ยกเว้นอะแลสกา) ในมาตราส่วนเดียว กันแล้วก็จะเห็นได้ว่ามีขนาดใหญ่พอๆ กัน
๑
หลังจากนั้นก็เกิดช่วงที่น้ำแข็งขยายตัวครั้งย่อยอีก เอเชียอาคเนย์ก็ได้กลับกลายเป็นทวีปอีกครั้งหนึ่งแผ่นดิน ได้หดตัวและขยายตัวอยู่อย่างนี้หลายครั้งหลายหนด้วยกัน มาถึงเมื่อประมาณ ๓๐,๐๐๐ ปีนี้เอง น้ำแข็งเริ่ม หดตัวหรือถอยร่นเป็นครั้งสุดท้ายสําหรับยุคปัจจุบัน โดย แท้จริงแล้วยุคน้ำแข็งเพิ่งสุดสิ้นลงเมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้วนี่เอง ช่วงเวลานี้สําคัญมากเพราะเป็นช่วงเวลาที่ มนุษย์เริ่มสังเกต และเลียนแบบวัฏจักรการเจริญเติบโต ตามธรรมชาติของพืชต่างๆ อันเนื่องมาจากการเกิดแนว ชายฝั่งทะเลและดินฟ้าอากาศที่แน่นอน น้ำที่ท่วมหรือกระ แสน้ำที่ไหลในแม่น้ำสําคัญต่างๆ เริ่มเป็นปกติ ทําให้เกิด การปฏิวัติเกษตรกรรมขึ้นพร้อมๆ กันหลายแห่งในโลก
แหล่งอารยธรรมในเอเชียอาคเนย์ การขุดค้นที่บ้านเชียงทําให้ทราบว่า การเพาะ ปลูกในเมืองไทยอาจเกิดขึ้นก่อนที่อื่นใดในโลก๕ แต่สิ่งที่น่า ตื่นเต้นเกี่ยวกับขั้นตอนความเจริญช่วงนี้ มิใช่อยู่ที่มนุษย์
เริ่มรู้จักตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งเพื่อปกป้องพืชพันธ์ุธัญญาหารของตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นการก้าวเข้าสู่อารยธรรม แต่อยู่ที่การมีอารยธรรมพิเศษเกิดขึ้นในเอเชียอาคเนย์ ซึ่ง ไม่ ส ามารถกํ า หนดโดยคุ ณ ลั ก ษณะของการอยู่ เป็ น หลั ก แหล่งของมนุษย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
การดํารงชีวิตแบบชาวน้ำในเอเชีย อาคเนย์
การทีท่ วีปเอเชียอาคเนย์มพี น้ื ทีน่ อ้ ยลงเมือ่ น้ำแข็ง ละลาย และมีพน้ื ทีม่ ากขึน้ เมือ่ น้ำขยายตัวแข็งสลับกันไปเช่น นี้ตลอดยุคน้ำแข็ง ย่อมหมายถึงว่ามนุษย์จะมีชีวิตอยู่รอด ได้ ก็ต่อเมื่อสามารถปรับตัวให้อยู่กับสภาพน้ำท่วมอย่าง ค่อนข้างกะทันหัน ซึ่งทําให้ผืนแผ่นดินถูกร่นลึกเข้าไปจน เล็กลง หรือถึงขนาดถูกแยกส่วนออกลายเป็นเกาะเล็กเกาะ น้อย ในสภาพการณ์เช่นนี้ มนุษย์จะต้องมีถิ่นฐานอยู่ริมน้ำ หรือลอยอยู่บนน้ำ และจะต้องไปมาหาสู่กันด้วยแพหรือเรือ
๕ บทความ “North Thailand, Southeast Asia and World Prehistory” โดย วิลเล็ม จี. โซลไฮม์ (Wilhelm G. Solheim) ใน Asian Perspectives, vol. XIII, 1970
กำเนิดมาแต่น้ำ
๑๕๑
การถูกบีบรัดเพราะผืนแผ่นดินถูกร่นลึกเข้าไป และการถูก แยกส่วนออกเป็นเกาะ ในสมัยเมื่อ ๑๐,๐๐๐ ปี ถึง ๓๐,๐๐๐ ปีที่ผ่านมา รวมทั้งภูมิอากาศที่เริ่มอบอุ่นขึ้นตอนเหนือ ซึ่ง เป็นทิศทางของสัตว์ที่ถูกล่าเป็นอาหารได้หนีน้ำถอยร่นเข้า ไป ทําให้ฝูงชนจํานวนมากเริ่มอพยพกระจัดกระจายจาก เกาะ และบริเวณ “ฝั่งทะเลเอเชีย” ลึกเข้าไปในผืนแผ่นดิน ใหญ่ของทวีป การอพยพของฝูงชนในครั้งนี้ เมื่อพิจารณา โดยเหตุผลแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นไปได้ก็โดยการอพยพทาง น้ำเท่านั้น
จากฝั ่งทะเลเข้าสู่แผ่นดิน
คําว่า “ฝั่งทะเลเอเชีย” ในที่นี้ หมายถึงดินแดน ทั้งหมดที่อยู่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของภูเขาหิมาลัย บริเวณอ่าวเบงกอลจรดเชิงเขาหิมาลัย บริเวณเอเชีย อาคเนย์ บริเวณทะเลจีนใต้ และบริเวณเอเชียตะวันออก นับตั้งแต่ประมาณเส้นแวงที่ ๑๑๐°ํ จนถึงญี่ปุ่น ตามที่ได้ กล่าวว่าการอพยพเข้าสู่ผืนแผ่นดินใหญ่ในทวีป จะต้องเป็น ไปโดยทางน้ำก็เพราะหนทางที่สะดวกที่สุด คือการล่องเรือ หรือล่องแพข้ามทะเล และการล่องต่อจากปากแม่น้ำสาย ใหญ่ทั้งหลายของเอเชียขึ้นไปตามลําน้ำซึ่งนอกจากจะเป็น เส้นทางที่มีน้ำจืดไว้ใช้อาบกินแล้ว ยังเป็นเส้นทางที่มีสัตว์ และพืชสําหรับเป็นอาหารอาศัยอยูต่ ลอดทางด้วย จึงสามารถ พูดได้ว่าทางเข้าจากฝั่งทะเลสู่แผ่นดินใหญ่ขึ้นอยู่กับแม่น้ำ หลายสาย เช่น เส้นทางจากด้านตะวันออกเฉียงใต้ไปทาง ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเอเชีย ขึ้นอยู่กับแม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำเจ้า พระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำแดง และแม่น้ำซุย ส่วนทางด้าน ชายฝัง่ ตะวันตกของแปซิฟกิ ก็ขน้ึ อยูก่ บั แม่นำ้ แยงซีเกียง และ แม่น้ำฮวงโห เป็นต้น เมื่อผืนแผ่นดินหดตัวครั้งหลังสุด มนุษย์จะถูก “บีบรัด” อยู่ในทวีปเอเชียอาคเนย์ ซึ่งโดยลักษณะทางด้าน ภูมิศาสตร์แล้ว มนุษย์ส่วนใหญ่เหลือทิศทางที่จะร่นหนีไป ได้เพียงทิศทางเดียวเท่านั้น นั่นคืออ่าวไทย (รูป ๒) เมื่อพิจารณาดูแผนที่บริเวณดังกล่าว ในระดับพื้น ที่ซึ่งต่ำกว่าระดับทะเล ๕๖๐ ฟุต จะสังเกตเห็นอ่าวขนาด ใหญ่อยู่ตรงบริเวณทะเลจีนใต้ปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีแม่ น้ำสายใหญ่อย่างน้อยสี่สายด้วยกันที่ไหลจาก “ทวีป” ลงสู่ อ่าว แม่น้ำเหล่านี้คือ แม่น้ำแดง แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้า พระยา และแม่น้ำสายที่สี่ซึ่งคงจะต้องไหลลงสู่ทะเลบาหลี เมือ่ น้ำทะเลท่วมแผ่นดิน คนบางกลุม่ จะหนีนำ้ ขึน้ เหนือหรือ ลงใต้ผ่านคาบสมุทรมลายู ซึ่งในยุคน้ำแข็งเป็นผืนแผ่นดิน เดียวกันจนจรดบาหลี การที่มนุษย์อพยพลงใต้ในยุคน้ำ แข็ง ทําให้ชาวยุโรปซึ่งค้นพบออสเตรเลียเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๑๔๙ ต้องเผชิญหน้ากับคนพื้นเมืองซึ่งได้อาศัยอยู่ ในบริเวณนั้นมาเป็นเวลานานถึงประมาณ ๒๐,๐๐๐ ปีแล้ว
๑๕๒ ภูมิหลัง
แต่มีผู้คนจํานวนน้อยที่ได้อพยพมาทางนี้ เพราะต้องผ่านป่า และเทือกเขาที่กีดขวางทางอยู่ และในที่สุดเมื่ออพยพลง มาถึงออสเตรเลียก็ถูกตัดขาดออกจากโลกภายนอก จน ปัจจุบนั กลายเป็นสิง่ แปลกประหลาดทางด้านมานุษยวิทยาไป ผู้คนส่วนใหญ่คงจะอพยพขึ้นเหนือเข้าไปในบริเวณอ่าวไทย และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา หรืออพยพเข้าสู่อินโดจีนโดยเข้า ไปทางลุ่มแม่น้ำโขง ในปี พ.ศ. ๒๔๓๔ นายแพทย์ชาวฮอลันดา ชื่อ ยูจนี ดูบวั ส์ (Eugene Duboi) ได้ขดุ พบโครงกระดูกในเกาะ ชวา และได้ตั้งชื่อว่า พิธิแคนโทรปัส อิเรคตัส (Pithecanthropus Erectus) ต่อมาในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๓ ชาวฮอลันดาอีกคนหนึ่ง ชื่อ รัลฟ์ ฟอน เคอนิกสวาลท์ (Ralph von Koenigswald) ได้ดําเนินการวิจัยใน เกาะชวา และได้ขุดพบมนุษย์พิธิแคนโทรปัส เพิ่มมากขึ้น ซากฟอสซิลที่ขุดพบส่วนมากอยู่ในยุคไพลสโตซีนตอนกลาง (Middle Pleistocene) แต่กม็ ฟี อสซิลอยูจ่ าํ นวนหนึ่งที่อยู่ใน ตอนต้นของยุคนี้หรือประมาณครึ่งล้านปีมาแล้ว จากหลักฐานทีค่ น้ พบดังกล่าวทําให้ชาวฮอลันดาทัง้ สองคน เป็นนักค้น คว้ารุ่นแรกที่เชื่อว่าเอเชียอาคเนย์ เป็นแหล่งกําเนิดของวิวัฒนาการมนุษยชาติ
แนวเขตพื้นแผ่นดินในจุดน้ำแข็ง แนวเขตพื้นแผ่นดินปัจจุบัน ทิศทางการอพยพของมนุษย์ เข้าสู่พื้นแผ่นดินปลายยุคน้ำ แข็งโดยขึ้นไปตามลําน้ำ สําคัญๆ ดังนี้ ๑. แม่น้ำแดง ๒. แม่น้ำโขง ๓. แม่น้ำเจ้าพระยา ๔. แม่นำ้ ซึง่ ไหลออกสูท่ ะเลบาหลี
การอพยพทางทะเล ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ บัคมินสเตอร์ ฟุลเลอร์ (Buckminster Fuller) นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้เขียนบทความเรื่อง “ภูมิศาสตร์น้ำ” ลงในนิตยสาร อเมริกันเนปทูน๖ กล่าวว่าจากประสบการณ์ของเขาที่ออก ทะเลเป็นเวลาหลายปี เขาสามารถอธิบายทิศทางและขั้น ตอนของการกระจายตัวของมนุษย์ จากเอเชียอาคเนย์ใน สมัยสิ้นยุคน้ำแข็งได้ ประเด็นสําคัญก็คือ เขาถือว่าเอเชีย อาคเนย์ซึ่งในบทความของเขาใช้คําว่าอินโดจีนเป็น “แหล่ง อารยธรรมสําคัญของโลก” ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ : “ในขณะที่กระแสน้ำทะเลและลมหมุนเวียนทําให้ ชาวเรือรุ่นแรกสามารถล่องแพไปมาได้หลายทาง ลักษณะ ของลม ทําให้เกิดมีใบเรือขึ้นมาสองประเภทสําหรับชาวเรือ รุน่ ทีส่ องและรุน่ ทีส่ าม ใบเรือประเภทแรกใช้สาํ หรับล่องตาม ลม เป็นใบเรือที่ใช้กับเรือสําเภาและเรือใบรูปสี่เหลี่ยม ซึ่ง มีอยู่ทั่วไปในเอเชียอาคเนย์ และบริเวณตั้งแต่ชายฝั่งจีนจน ถึงญี่ปุ่น เรือเหล่านี้ล่องไปตามกระแสลม ที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ในฤดูร้อน และจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในฤดูหนาว ส่วนใบเรือประเภททีส่ องใช้สาํ หรับเดินทางทวน ลม โดยใช้เทคนิควิธีเล่นใบแบบก้าว (tacking technique) เรือแบบชาวเกาะทะเลใต้ (proa) หรือเรือแฝด ทีห่ วั เรือและ ท้ายเรือเหมือนกัน (double-ended outrigger) และเรือ ที่ ใช้ไม้สองท่อนต่อโยงออกไปขนาบลําเรือ ดูแล้วคล้ายแพ (outrigger) ซึ่งในที่สุดได้กลายเป็นเรือมีใบตามแนวขนาน
๖ “Fluid Geography” ตีพิมพ์อีกครั้งใน หนังสือ The Buckminster Fuller Reader. Pelican Book ลอนดอน ค.ศ. 1972
๒
ลําเรือ (fore-and-aft-rigs) ล้วนแต่เป็นเรือชนิดที่ต้านลม และคลื่นได้ทั้งสิ้น เรือเหล่านี้ปรากฏอยู่ทั่วไปในมหาสมุทร อินเดีย อ่าวเปอร์เซีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและเนื่อง จากใบเรือทั้งสองประเภทนี้ปรากฏอยู่ด้วยกันในบริเวณเอเชียอาคเนย์และหมู่เกาะทะเลใต้ จึงแสดงให้เห็นถึงการ กระจายตัวของชาวเรือรุ่นที่สอง และรุ่นที่สามไปตามทิศ ทางดังกล่าว” (รูป ๓) นอกจากนี้ ทิศทางการอพยพดังกล่าวยังตรงกับ ลั ก ษณะการกระจายตั ว ของประชากรของโลกอี ก ด้ ว ย “ฝั่งทะเลเอเชีย” ปัจจุบันมีประชากรรวมกันถึงร้อยละ ๕๔ ของมนุษยชาติทั้งหมด พื้นที่บริเวณนี้ตรงกับอาณาบริเวณ รูปสามเหลี่ยมในแผนที่โลก ที่เรียกว่า Dymaxion Projection ซึ่งมีเมืองไทยอยู่ตรงกลาง (รูป ๔) บริเวณนี้ครอบ คลุมเนื้อที่เพียงร้อยละ ๕ ของพื้นผิวโลกเท่านั้น ส่วนเขตภูมิ ศาสตร์อื่นๆ ที่ตั้งอยู่ห่างออกไปจากสามเหลี่ยมดังกล่าว มีประชากรลดน้อยลงตามลําดับ เช่น แถบตะวันออกทาง ด้านเอเชียไมเนอร์ แอฟริกา และยุโรป มีประชากรร้อย
ละ ๓๔ และแถบทวีปอเมริกามีประชากรอยู่อีกเพียงร้อย ละ ๑๒ อนึ่ง การอพยพครั้งหลังสุดทําให้เห็นว่าอารยธรรม ส่วนเหนือของโลก ไม่ว่าจะอยู่ในทวีปเอเชีย ยุโรป หรือ อเมริกา เป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้เอง๗ ฟุลเลอร์และทอร์ เฮเยอร์ดาห์ล (Thor Heyerdahl) นักค้นคว้าเรื่องการเดินทางข้ามมหาสมุทรในยุคก่อน ประวัติศาสตร์ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เกีย่ วกับการอพยพทางทะเลมาแล้วอย่างกว้างขวาง ใน หนังสือเล่มล่าสุดของเฮเยอร์ดาห์ล ชื่อ “มนุษย์ยุคแรก และมหาสมุทร”๘ เขากล่าวว่ามหาสมุทรในสมัยโบราณ มิใช่เป็นสิง่ กีดกัน้ แต่เป็นบริเวณทีเ่ ต็มไปด้วยเส้นทางการเดิน ทาง ส่วนอุปสรรคที่ขวางกั้นการเดินทางคือป่าที่อุดมด้วย สัตว์ร้าย ภูเขาและทะเลทรายที่ขาดน้ำและอาหารต่างหาก เขามั่น ใจว่ า อารยธรรมได้ แ ผ่ ข ยายเข้ า มหาสมุ ท รอิ น เดี ย แอตแลนติก และแปซิฟิกเมื่อ ๔,๐๐๐ ปีก่อนที่ชาวยุโรปจะ สงสัยว่าโลกกลมเสียอีกและเมื่อมีการค้นคว้าในเรื่องนี้มาก ขึ้นอีกเท่าใด ก็จะสามารถกําหนดอายุอารยธรรมได้เก่าแก่
รูป ๒ ทวีปเอเชียอาคเนย์และทิศทาง การอพยพของมนุษย์สมัยปลายยุค น้ำแข็ง เมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีที่แล้ว อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นและน้ำแข็งละลาย ไหลกลับสู่ทะเลทําให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ทวีปเอเชียอาคเนย์จึงถูกน้ำท่วม ผู้คน จึงต้องถอยร่นจากทะเลและอพยพ เข้าสู่ผืนแผ่นดินเอเชีย ในการนี้ส่วนใหญ่ จะต้องอพยพข้ามน้ำด้วยแพหรือเรือ หรือ ถอยร่นเข้ามาตามปากแม่น้ำสายสําคัญๆ ดังที่แสดงในแผนที่นี้
๗ จากคํานําซึ่งเขียนโดยบัคมินสเตอร์ ฟุลเลอร์ ในหนังสือ Water and Mountain ของ สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา (ยังไม่ได้ตีพิมพ์) ๘ Early Man and the Ocean ลอนดอน มิถุนายน ค.ศ. 1979
กำเนิดมาแต่น้ำ
๑๕๓
๓ รูป ๓ แผนที่แสดงทิศทางการอพยพ ทางน้ำของชาวเอเชียอาคเนย์ สมัยปลายยุคน้ำแข็ง การอพยพทางน้ำสําหรับฝูงชนรุ่นแรกๆ คงต้องอาศัยแพซึ่งลอยไปตามกระแสน้ำ ฝูงชนรุ่นต่อมากล่าวคือรุ่นที่ ๒ มีเรือ ประเภทที่มีใบติดแล่นไปตามกระแสลม จึงสามารถขึ้นไปตามฝั่งเอเชียตะวันออก จนถึงญี่ปุ่นและอิลูเซียนส์ได้ในระยะเวลา ต่อมา ฝูงชนรุ่นที่ ๓ คงได้พัฒนาใบเรือ ให้สามารถแล่นทวนลมไปใน มหาสมุทรอินเดียจนถึงเอเชียตะวันตก
๙ คําว่า “สมัยก่อนประวัติศาสตร์” และ “สมัยประวัติศาสตร์” เป็นศัพท์ ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย อดีตของมนุษยชาติล้วนแต่เป็น ประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะ แสดงหลักฐานด้วยตัวอักษร หรือ ด้วยสิ่งอื่นใดก็ตาม ในที่นี้ผู้เขียนใช้ศัพท์ ตามที่นิยมใช้กันทั่วไปว่า “สมัยก่อนประวัติศาสตร์” และ “สมัยประวัติศาสตร์” หมายถึงยุคก่อน และหลังจากการมีจารึกเป็นลายลักษณ์ อักษรตามลําดับ
๑๕๔ ภูมิหลัง
มากขึ้นเท่านั้น ดังเช่นในศตวรรษที่ผ่านมาได้พบว่า มนุษยชาติมีความเก่าแก่มากถึงหลายล้านปี นอกจากนี้ จากข้อ สังเกตเกี่ยวกับความคล้ายคลึงกัน ระหว่างวัฒนธรรมของ เผ่าอินเดียนแดงในแคนาดา และชนเผ่าเมารีในนิวซีแลนด์ ทําให้รวู้ า่ ได้มกี ารเดินทางด้วยแพหรือเรือ จากอินโดนีเซียไป ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกา การเดินทางครั้ง นั้นถือว่าเป็นการเดินทางแบบบุพกาลทางทะเลครั้งยิ่งใหญ่ ของมนุษย์ทีเดียว แก่นความคิดของเฮเยอร์ดาห์ลก็คือ มนุษย์ในสมัยบุพกาลมิใช่คนป่าเถื่อนอย่างที่คิดกันแต่อย่างใด เฮเยอร์ดาห์ลเชื่อว่า การเดินทางครั้งใหญ่ทาง ทะเลเกิดขึ้นทั่วโลก เมื่อ ๖,๐๐๐ ปีมาแล้วหรือก่อนหน้านั้น กล่าวคือเมือ่ ประมาณสิน้ ยุคน้ำแข็ง แต่ฟลุ เลอร์เชือ่ ว่ามีการ อพยพเกิดขึ้นก่อนระยะเวลาดังกล่าวมาก โดยมีจุดเริ่มต้น ในเอเชียอาคเนย์ การอพยพอาจเกิดขึ้นได้หลายครั้งในยุค ต่างๆ กัน แต่สง่ิ ทีส่ าํ คัญก็คอื เมือ่ ครัง้ ทีท่ วีปเอเชียอาคเนย์ เริ่มแตกแยกออกเป็นเกาะแก่ง มนุษย์สามารถเอาชีวิตรอด ได้ โดยอพยพจากใต้ขึ้นเหนือไปยัง “ฝั่งทะเลเอเชีย” การ อพยพที่กล่าวมานี้ถือว่าเป็นการอพยพครั้งสุดท้ายที่สําคัญ ที่สุด ส่วนการที่มนุษย์เคลื่อนย้ายไปมาไม่ว่าจากเหนือลงใต้ หรือจากตะวันตกไปตะวันออกในสมัยต่อมา ไม่ว่าจะเป็น สมัยก่อนประวัติศาสตร์หรือสมัยประวัติศาสตร์ก็ตาม มี ความสําคัญรองลงมาตามลําดับ๙
เครื่องปั้นดินเผา
ด้วยเหตุนี้เอง วัฒนธรรมที่เก่าแก่จริงๆ จึงมัก จะปรากฏอยู่ในบริเวณ “ฝั่งทะเลเอเชีย” เช่น เพียงแค่ บริเวณที่อยู่ติดกับทะเลก็ยังปรากฏวัฒนธรรมฮัวบีเนียนใน เวียดนามเหนือ ซึ่งเจริญรุ่งเรืองอยู่ในระหว่าง ๑๐,๐๐๐-๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในขณะที่ทางตอนเหนือขึ้นไป ปรากฏเครื่องปั้น ดินเผาลายเชือกคาดของญี่ปุ่น ซึ่งมีอายุเก่าถึง ๘,๐๐๐ ปีก่อน คริสต์กาล ส่วนประเทศไทย หลักฐานล่าสุด ที่ค้นพบซึ่งทํา ให้ต้องพลิกทฤษฎีกันทีเดียว ได้แก่ การเพาะปลูกพืชเมื่อ ประมาณกว่า ๙,๗๐๐ ปีก่อนคริสต์กาลและ เครื่องปั้นดินเผา ลายเชือกคาดเมื่อประมาณ ๖,๘๐๐ ปีก่อนคริสต์กาล
การหลอมโลหะผสม
ในกรณีเดียวกัน หลักฐานที่เปลี่ยนแปลงข้อมูล วิชาการเกีย่ วกับสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ ได้แก่ สำริดอายุ เก่าถึง ๓,๖๐๐ ปีก่อนคริสต์กาล ซึ่งค้นพบที่บ้านเชียง อําเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ในขณะที่สำริดของ เอเชียไมเนอร์มีอายุเพียงประมาณ ๓,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์กาล สำริดของโมเฮนโชดาโรมีอายุเพียง ๒,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ กาล และสำริดของราชวงศ์ชางมีอายุเพียง ๑,๐๐๐ ปี ก่อนคริสต์กาลเท่านั้น
เชสเตอร์ กอร์แมน (Chester Gorman) นัก โบราณคดีชาวอเมริกันและ พิสิฐ เจริญวงศ์ ได้กําหนดอายุุ ของสำริดที่บ้านเชียงด้วยวิธีคาร์บอน ๑๔ ที่มหาวิทยาลัย เพนซิลวาเนียใน พ.ศ. ๒๕๑๙ ผลจากการกําหนดอายุของ สำริดดังกล่าว ยืนยันให้เห็นถึงความสําคัญของการอพยพ ของมนุษย์เข้าสู่ลุ่มแม่น้ำในแดนไทย พิสิฐ กล่าวว่า เมือง ไทยและดินแดนบริเวณแม่น้ำโขงมีทองแดงและดีบุกอย่าง เหลือเฟือ ซึ่งแตกต่างกับส่วนอื่นๆ ของโลก เช่น บริเวณ เอเชียไมเนอร์ บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และบริเวณ ลุม่ แม่นำ้ สินธุ ซึง่ มีทองแดงเป็นจํานวนมากแต่ไม่มดี บี กุ เลย ฟุลเลอร์ได้เสนอทฤษฎีว่า โลหะผสมซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกๆ มิได้เกิดขึน้ ด้วยความจงใจ แต่โลหะทีจ่ ะผสมเข้ากัน จะต้อง ปรากฏอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันโดยธรรมชาติและจะถูก หลอมผสมด้วยความบังเอิญ บันทึกเก่าที่สุดเกี่ยวกับโลหะ วิทยา ที่แสดงว่ามนุษย์ได้วางแผนผสมโลหะไว้ล่วงหน้า เป็นบันทึกของชาวเฟอนีเซียน ซึ่งได้เดินทางจากบริเวณ เมดิเตอร์เรเนียนดินแดนที่อุดมด้วยทองแดง (Copper คํา ว่าทองแดงมาจากศัพท์ภาษาละตินว่า Cuprus ซึ่งกลาย เป็นชื่อเกาะ Cyprus) มาสู่ประเทศอังกฤษเพื่อนําดีบุกมา ผสม ความรู้ที่ว่าทองแดงผสมกับดีบุกกลายเป็นสำริดจะ ต้องเป็นความรู้ที่มาจากที่อื่น อย่างไรก็ตาม เมื่อดีบุกและ ทองแดงมีอยู่พร้อมกันในบริเวณสองฝั่งแม่น้ำโขง และ
แม่น้ำเจ้าพระยา และนอกจากนี้เมื่อคนอีสานรู้จักใช้ไฟเผา หม้อบ้านเชียง จึงดูสมเหตุสมผลที่ว่าคนแถบนั้นคงจะเป็น คนรุน่ แรกๆ ทีห่ ลอมทองแดงและดีบกุ เข้าด้วยกันโดยความ บังเอิญ การถ่ายเทวัฒนธรรมจากทางใต้ขึ้นไปทางเหนือ ของทวีปเอเชียในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นที่ยอมรับกัน มามากแล้ว โจเซฟ นีเดิ้ม นักศึกษาวัฒนธรรมจีนมีชื่อ ได้ กล่าวถึงพื้นฐานของชาวมหาสมุทรซึ่งกระจายอยู่ในบริเวณ จีนตอนใต้ และได้ตั้งชื่อบริเวณดังกล่าวว่าถิ่น “บรรพบุรุษไทย” ๑๐ พอล เบนเนดิค (Paul Benedict) นักภาษา ศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ศึกษาค้นคว้ากลุ่มภาษาซึ่งเขาตั้งชื่อ ว่า ออสโตรไทย และแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเอเชีย อาคเนย์และจีน ซึ่งไม่เคยรู้กันมาก่อน การถ่ายเทวัฒน- ธรรมจากทางใต้ขึ้นไปทางเหนือ เห็นได้จากหลักฐานการ ขอยืมคําศัพท์ออสโตรไทยไปใช้ในภาษาจีนทางด้านคณิตศาสตร์ เช่น การนับเลขตั้งแต่ ๑๐๐ ขึ้นไป ด้านโลหะวิทยา ด้านพาหนะทางน้ำ ด้านเครื่องใช้ไม้สอย ด้านการปลูกพืช ผักผลไม้และด้านการเกษตรกรรมอื่นๆ๑๑
รูป ๔ แผนที่โลกแบบไดแม็กเซียน ในแผนทีน่ ไ้ี ด้ใส่ตวั เลขแสดงความหนาแน่น ของประชากรในภูมภิ าคต่างๆ ของโลกลง ไป จะเห็นได้ว่าบริเวณสามเหลี่ยมที่เมือง ไทยอยู่เป็นจุดศูนย์กลาง หรือที่เรียกว่า บริเวณ “ฝั่งทะเลเอเชีย” มีประชากร ร้อยละ ๕๔ ของจํานวนประชากรทั้งโลก
๑๐ แปลมาจากคํา “ProtoThai” ในหนังสือ Science and Civilization in China เล่มที่ 1 โดยโจเซฟ นีเดิ้ม (Joseph Needham) เคมบริดจ์ 1968 หน้า 89 ๑๑ บทความของโซลไฮม์ อ้างแล้ว หน้า 156-159
กำเนิดมาแต่น้ำ
๑๕๕
ความสัมพันธ์หรือสิ่งซึ่งมีส่วนคล้ายคลึงกันยังมี อีกมากในแถบนี้ของโลก เมื่อไม่นานมานี้โซลไฮม์และคณะ ซึ่งมีนายแพทย์และนักมานุษยวิทยา สุด แสงวิเชียร เป็นผู้ ช่วยเหลืออยู่ ได้ขุดค้นพบโครงกระดูกที่บ้านนาดีและโนน นกทา และได้เสนอรายงานซึ่งยังมิได้ตีพิมพ์ว่า โครงกระ ดูกเหล่านี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงกระดูกของคนเชื้อ ชาติโพลีนเี ซีย นักค้นคว้าสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ ชิน อยูด่ ี ได้พบว่าพิธฝี งั ศพของคนบ้านเก่าและชาวมาเลย์คล้ายคลึงกัน นอกจากนี้เครื่องปั้นดินเผาที่พบตลอดทั้งอาณาบริเวณนี้ จนถึงญี่ปุ่นและไกลออกไปจนถึงไซบีเรียก็มีลักษณะเหมือน กันอีก๑๒ เธลมา นิวแมน (Thelma Newman) กล่าว ไว้ในหนังสือชือ่ “ศิลปะและงานฝีมอื ร่วมสมัยในเอเชียอาคเนย์” (Contemporary Southeast Asian Arts and Crafts, 1977) ว่าขวานหินบางประเภท ที่พบในบริเวณตั้ง แต่นิวกินีและเอเชียอาคเนย์ จนถึงไต้หวันและจีนมีลักษณะ เหมือนกันหมดทุกแห่ง สําหรับผู้เขียนเห็นว่าสิ่งซึ่งคล้ายคลึงกันในแถบนี้ ของโลก ที่สําคัญที่สุดได้แก่ ๑. ข้าว ๒. บ้านเสายกพื้น ๓. เครื่องจักสานแบบสามแฉก
๑๒ วารสารศิลปากร ปีที่ ๕ เล่มที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๐๔ หน้า ๔๔-๕๓ ๑๓ จาก Fluid Geography, Pelican Book หน้า 133
๑๕๖ ภูมิหลัง
ข้าว เป็นพืชที่ปลูกในเขตร้อน และคงจะมีต้นกํา เนิดอยู่ในเอเชียอาคเนย์ คัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับต้นๆ ของ อินเดีย มิได้กล่าวถึงข้าวเลย จึงสันนิษฐานได้ว่าข้าวแพร่ พันธ์ุมาถึงอินเดียในช่วงระยะเวลาภายหลังโดยผ่านเข้ามา กับชาวทมิฬทีอ่ ยูต่ อนใต้ของอินเดีย คําว่าข้าวมีรากศัพท์มา จากภาษาทมิฬว่า ออริซา (Oryza) กลุ่มชาวออสโตรนีเซีย นําข้าวติดตัวไปถึงบริเวณเส้นรุง้ ที่ ๔๐ ํ° ซึง่ ได้แก่ญป่ี นุ่ จนต่อ มาได้แปลงสกุลข้าวกลายเป็นชนิดที่เรียกว่า ออริซา จาปอนิกา (Oryza japonica) สิ่งที่น่าสนใจก็คือกลุ่มชาวออสโตรนีเซียซึ่งภายหลังกลายเป็นชาวญี่ปุ่น ได้นําลักษณะการ ปลูกบ้านบนเสายกพื้นแบบเขตร้อน ในมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนใต้ติดตัวไปถึงญี่ปุ่นด้วย ในเขตเส้นรุ้งและสภาพภูมิ- ศาสตร์แบบภูเขาอย่างประเทศญี่ปุ่นนั้น ถ้าหากคิดดูให้ดี แล้วไม่น่าจะปลูกบ้านในลักษณะดังกล่าวได้เลย บ้านที่ปลูกบนเสายกพื้นและเครื่องจักสานแบบ สามแฉก เป็นข้อมูลสําคัญที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ซึ่งจะได้ อธิบายอย่างละเอียดในบทที่ ๓ และ ๔ ต่อไป แต่ก่อนอื่น อยากจะขอเน้นไว้ตรงนีว้ า่ ข้าวก็ดี บ้านทีป่ ลูกบนเสายกพืน้ ก็ดี และการจักสานแบบสามแฉกก็ดีเป็นสิ่งซึ่งปรากฏอยู่ ทัว่ ไปตลอดอาณาบริเวณแปซิฟิกและ “ฝั่งทะเลเอเชีย” ส่วนบริเวณอื่นๆ ในโลก สิ่งเหล่านี้เกือบจะไม่ปรากฏอยู่เลย
การเดินเรือและแนวความคิดทางปรัชญา ดังได้เคยกล่าวไว้แล้วว่าในยุคน้ำแข็ง ฝูงชนที่หนี ความหนาวจากเหนือลงใต้ หรือฝูงชนที่อาศัยอยู่ตามริมน้ำ และริมทะเลในเขตร้อน โดยทั่วไปจะต้องมีความชํานาญใน การเดินเรืออยู่มากทีเดียว จึงสามารถอพยพจากทางใต้ขึ้น ไปทางเหนือได้ในสมัยสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง ประสบการณ์ทาง น้ำซึ่งแตกต่างกัน ในระหว่างพวกที่อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำ และริมทะเล และพวกที่อาศัยอยู่ตามเกาะในทะเลขึ้นอยู่ กับวัฏจักรที่น้ำแข็งขยายตัวและหดตัว หรืออีกนัยหนึ่ง ขึ้น อยู่กับการที่พื้นแผ่นดินขยายตัว หรือหดตัวตามระดับน้ำ ทะเล อย่างไรก็ตาม การเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างคน ในเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก คงเกิดขึ้นมานมนาน แล้ว ฟุลเลอร์ ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไปว่า “ชาวเรือจําเป็นต้องใช้หลักวิชาดาราศาสตร์เพื่อ การเดินเรืออยู่เป็นประจํา การเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีก ที่หนึ่งต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ดังนั้นจึงยังต้องพึ่งพาความชํานาญ โดยอาศัยจินตนาการ เชิงวิทยาศาสตร์อีกด้วย โดยแท้จริงแล้ว การเดินเรือโดย ไม่ต้องมองเห็นอะไร กล่าวคือการใช้จินตนาการเชิงวิทยาศาสตร์แทนการมองเห็นทิศทาง มีมานานนับศตวรรษแล้ว ชาวเรือจึงมีความคิดเกี่ยวกับโลกและจักรวาลขึ้นมาโดยไม่ รู้ตัว อย่างไรก็ตาม พวกเขามองดูโลกเหมือนกับคนที่อยู่ นอกโลก ซึ่งความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเรือกําลังจะแล่นเข้า สู่ฝั่ง เพราะพวกเขาจะค่อยๆ มองเห็นพื้นแผ่นดินโผล่ขึ้นมา จากทะเลแต่ไกล”๑๓ ในความคิดของนักล่องแพในมหาสมุทรแปซิฟิก รุ่นแรกๆ และนักเดินเรือรุ่นต่อๆ มา โลกคือน้ำกับท้องฟ้า เท่านั้น ชาวโพลีนีเซียซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ท่ามกลางมหาสมุทร แปซิฟิก เห็นโลกของเขาเป็นเช่นนี้ นอกจากนั้นเขายังคิด ว่าน้ำกับท้องฟ้าเป็นจุดเริ่มต้นของโลก ส่วนเกาะต่างๆ ใน มหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาล เขาจะมองเห็นเป็นจุดเล็กๆ เหมือนดาวบนท้องฟ้า อันที่จริงแล้วอาจไม่ต้องดูอื่นไกล เพราะเพียงแต่ในหมู่เกาะอินโดนีเซียเท่านั้นก็มีเกาะต่างๆ ถึง ๑๓,๖๗๗ เกาะแล้ว พื้นแผ่นดินและเกาะใหญ่น้อยที่อยู่ นอกเขตน่านน้ำอินโดนีเซียในทะเลจีนใต้และแปซิฟิก ก็มี มาก นับจํานวนหมื่นๆ ในลักษณะเช่นนี้ การเดินทางติดต่อ กันจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ด้วยระยะทางหลายพันกิโล เมตร จะต้องใช้ความสามารถพิเศษในการล่องแพ หรือใน การเดินเรือมิฉะนั้นแล้วจะไม่สามารถไปถึงจุดหมายปลาย ทางได้เลย นอกจากนี้ ยังต้องมีความสามารถด้านนาวิกโยธา ด้านการทําแผนที่ ด้านดาราศาสตร์และด้านคณิตศาสตร์อีกด้วย ความสามารถและความรู้เหล่านี้ จะถูกถ่าย ทอดในลักษณะของสูตรหรือรหัส ซึ่งท่องจํากันได้อย่างขึ้น ใจจากคนรุน่ หนึง่ ไปยังคนอีกรุน่ หนึง่ อีกประการหนึง่ ในการ
ออกทะเล ชาวเรือจะนําเอาแต่สัมภาระที่จําเป็นต่อการ อยู่รอดติดตัวไปด้วยเท่านั้น เมื่อชีวิตต้องล่องลอยอยู่กับ น้ำเป็นประจํา การถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ จึงไม่สามารถ กระทําได้โดยการใช้ศิลาจารึก หรือวิธีเขียนอย่างอื่น หาก แต่กระทําโดยการท่องจําสูตรและรหัสต่างๆ ซึ่งสามารถ สรุปสภาพมหาสมุทร และแนวชายฝั่งอันสลับซับซ้อน ให้ เข้าใจได้ง่ายๆ และรวดเร็ว สรุปแล้ว ในลักษณะของ สังคมเช่นนี้ รหัสจึงเป็นสิ่งจําเป็นมากกว่าตัวอักษร ความสามารถคิดในใจโดยถอดเป็นรหัสหรือเป็น นามธรรม ปรากฏชัดที่สุดในด้านคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งที่น่า สังเกตว่า โพลีนีเซียซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมออสโตรนีเซีย มีภาษาที่แสดงให้เห็นถึงความรู้ ทั้งทางด้านดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์๑๔ ส่วนทางฝัง่ ตะวันตกของแปซิฟกิ จะเห็นได้ว่า นอกจากจีนซึ่งได้ยืมศัพท์คณิตศาสตร์มาจาก พวกกลุ่มภาษาออสโตรไทยแล้ว ภาษาไทยเองก็มีรหัสชื่อ ทางด้านคณิตศาสตร์อันสลับซับซ้อนทีเดียว ยกตัวอย่าง เช่น การรู้จักใช้ตัวเลขกําลังต่างๆ ของสิบ เริ่มตั้งแต่สิบ ยกกําลังหนึ่งจนถึงสิบยกกําลัง ๑๔๐ หรือที่เรียกว่าอสงไขย โดยจํานวนตั้งแต่ ๑๐๑ ถึง ๑๐๖ หรือล้าน เป็นคําไทยล้วน แต่จาํ นวนตัง้ แต่ ๑๐๗ หรือโกฏ ถึง ๑๐๑๔๐ ต้องใช้รากศัพท์ ภาษาสันสกฤตแทน๑๕ นอกจากนี้ยังมีรหัสชื่อที่ถูกนําไปใช้ กับการนับเวลา ซึ่งทําให้สามารถนับเวลาย้อนกลับไป จน เกือบถึงยุคกําเนิดของโลกทีเดียว เหมือนกับการนับเวลา ของนักธรณีวิทยาในสมัยปัจจุบันไม่มีผิด นอกจากนี้ การ นับจํานวนปีสาํ หรับเวลาในสวรรค์ ก็คล้ายคลึงกับแนวความ คิดสมัยใหม่อันเกี่ยวกับการนับเวลาในระบบจักรวาล รหัส ชื่อต่างๆ ซึ่งมีต้นตอมาจากลัทธิฮินดูผสมพุทธ มีรายละ เอียดดังปรากฏในตารางข้างล่างนี้ ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ช่วงเวลาที่เริ่มตั้งแต่กฤตยุคถึงกลียุค รวมเรียกว่ามหายุค และจํานวนพันมหายุคจะ เท่ากับหนึ่งกัลป์ หรือ ๔,๓๒๐ ล้านปีปฏิทินบนโลกมนุษย์ ซึ่งใกล้เคียงกับจํานวน ๔,๖๐๐ ล้านปีของอายุโลก
๑. ๒. ๓. ๔.
การนําศัพท์ฮินดูผสมพุทธมาใช้ในภาษาไทยแสดง ให้เห็นถึงขั้นตอนและทิศทางของการแพร่วัฒนธรรมจาก ตะวันตกย้อนกลับมาในเอเชียอาคเนย์ แต่มิได้หมายความ ว่าก่อนหน้านั้น ชาวเอเชียอาคเนย์จะไม่มีความสามารถ หรือแนวความคิดเกีย่ วกับคณิตศาสตร์และจักรวาลเสียเลย สิ่งเหล่านี้ เปรียบเสมือนระยะเวลาอันยาวนาน ซึ่งถูกย่อลงจนกระทั่งมนุษย์สามารถสัมผัสกับระยะเวลา จํานวนหลายร้อยพันปี ประดุจว่าเป็นการนับเวลาปกติใน ชีวิตประจําวัน ชาวบาหลีคงรักษาความรู้สึกของการย่อ ระยะเวลาดังกล่าวไว้ โดยฉลองวันครบรอบหนึ่งร้อยปีใน เทศกาล เอกา คาซา รูดรา เหมือนกับที่พวกเราฉลองวัน ขึ้นปีใหม่ ในวัฏจักร ๑๒ เดือนธรรมดา
แนวความคิ ดเกี่ยวกับระบบจักรวาล ความคิดในลักษณะนามธรรมที่ลึกซึ้ง ยังมีอีก มากในหลายๆ ด้าน สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือการใช้สัญ- ลักษณ์หรือรหัสที่เกี่ยวกับความเป็นมาของโลก ซึ่งรวมทั้ง ความเป็นมาของมหาสมุทรและทวีป เราอาจยกตัวอย่าง รหัสชนิดหนึ่งของชาวบาหลี ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง ๑๐,๐๐๐ ปี รหัสชนิดนี้คือประตูผ่ากลาง (split gate) (รูป ๕) ที่สร้าง อยู่ตามวัดทั่วไป รหัสดังกล่าวแสดงถึงทะเลที่เอ่อท่วมขึ้น ในปลายยุคน้ำแข็ง ซึ่งทําให้บาหลีและชวาถูกตัดขาดออก จากกัน รหัสอีกชนิดหนึ่งซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวาง ไม่ เฉพาะแต่ในบาหลีแต่ทั่วไปในเอเชียตั้งแต่อินเดียจรดมหา สมุทรแปซิฟิก คือ รูปจําลองระบบจักรวาลในลัทธิฮินดู ผสมพุทธ รหัสนี้เกิดจากไหนไม่มีใครรู้ แต่อาจมีจุดกําเนิด อยู่ในแถบแปซิฟิกตะวันตก หรือรวมทั้งทวีปเอเชียอาคเนย์ก็ได้ หรืออาจเป็นความคิดเกี่ยวกับระบบจักรวาลของ ชาวบาหลีที่ว่า ภูเขาอากุงเป็นสะดือหรือศูนย์กลางของโลก ซึ่งเป็นความคิดที่มีมาก่อนศาสนาฮินดู หากแต่ต่อมาได้ถูก
ยุค จํานวนปีเทวดา กฤตยุค ๔,๘๐๐ ไตรดายุค ๓,๖๐๐ ทวาปรยุค ๒,๔๐๐ กลียุค ๑,๒๐๐ รวม ๑๒,๐๐๐
จํานวนปีปฏิทินบนโลกมนุษย์ ๑,๗๒๘,๐๐๐ ๑,๒๙๖,๐๐๐ ๘๖๔,๐๐๐ ๔๓๒,๐๐๐ ๔,๓๒๐,๐๐๐
๑๔ ออสติน โคทส์ (Austin Coates) ในหนังสือ Island of the South ลอนดอน 1974 ได้กล่าวถึงเรือ่ งนีแ้ ละ ลักษณะอื่นๆ ที่เกี่ยวกับออสโตรนีเซีย ในทีน่ อ้ี อสโตรนีเซียหมายถึงโพลีนเี ซีย ไมโครนีเซีย (Micronesia) และ เมลานีเซีย (Melanesia) ๑๕ จาก พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและ ศิลปเกีย่ วเนือ่ ง โดย โชติ กัลยาณมิตร กรุงเทพฯ ๒๕๑๘ หน้า ๗๒๗
กำเนิดมาแต่น้ำ
๑๕๗
ดัดแปลงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในประเทศอินเดีย หรืออาจเป็น ความคิดซึ่งมีต้นกําเนิดอยู่ที่เชิงเขาหิมาลัยก็ได้ อย่างไรก็ ตาม ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดเราอาจสันนิษฐานได้ว่า ประสบ การณ์ของมนุษย์ที่ได้รับจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิ ประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะน้ำแข็งหดตัวบ้างขยายตัวบ้าง ตลอดระยะเวลาของยุคน้ำแข็ง รวมทั้งการที่ทะเลกลาย เป็นแผ่นดิน และแผ่นดินกลายเป็นทะเลสลับกันไป และ การที่เกาะได้โผล่พ้นน้ำขึ้นมาแล้วจมหายไป เนื่องจากภูเขา ไฟระเบิด ซึ่งแม้กระทั่งทุกวันนี้ การทําแผนที่แปซิฟิกยัง คงเป็นงานทีต่ อ้ งทําต่อเนือ่ งเพือ่ ติดตามข้อมูลทางภูมศิ าสตร์ ใหม่ๆ อยู่เสมอ คงจะต้องเป็นตัวกําหนดรูปจําลองระบบ จักรวาลในความนึกคิดของมนุษย์ในที่สุด ความคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ผสมกับความคิด เกี่ยวกับระบบจักรวาลดังได้กล่าวมาแล้ว มีความสําคัญต่อ การคิดสร้างรูปจําลองระบบจักรวาลอย่างมาก ส่วนรูปจําลองนี้มีแง่ต่างๆ ที่พึงพิจารณา เช่น แง่กายภาพ จิตภาค และมิติแห่งเวลา ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น หากกาลเวลา หลายๆ กลียุค ถูกย่อลงให้เหลือเป็นระยะเวลาเพียงชั่ว ประเดี๋ยวเดียว ความผันแปรของทะเลและแผ่นดิน ก็จะ ปรากฏให้เห็นเป็นรูปคลื่นขึ้นลงสลับกันไปอย่างน่าพิศวงที่สุด
สภาพภูมศิ าสตร์และแนวความคิด เกี่ยวกับระบบจักรวาล
จากภาพที่นํามาแสดงประกอบ(รูป ๖) จะสังเกต ได้ว่า ถ้ามองในส่วนที่เป็นรูปตัดจะเห็นเส้นโค้งขึ้นลงโดย ส่วนที่โค้งขึ้นเป็นทวีป และส่วนที่โค้งลงเป็นมหาสมุทรสลับ กันไป แต่ถ้าพิจารณาดูแผนผังแล้ว จะเห็นวงแหวนหลายๆ วงซ้อนกันอยู่ วงต่างๆ เหล่านีค้ อื มหาสมุทรและทวีปทีส่ ลับ กันนั่นเอง โดยที่ตรงกลางมีภูเขาหรือทวีปใหญ่ปรากฏอยู่ สําหรับรูปภูมิจักรวาลในคติฮินดูมีรูปวงแหวนเป็นทวีปหกวง แต่รูปภูมิจักรวาลในคติพุทธจะแตกต่างกันออกไป เพราะมี วงแหวนเป็นทวีปเจ็ดวง ทั้งสองกรณีนี้ ทวีปที่อยู่ตรงกลาง คือเขาพระสุเมรุหรือภูเขาหิมาลัย วงนอกสุดเป็นภูเขาและ ทวีปล้อมรอบ ส่วนที่เลยออกไปเป็นมหาสมุทรแห่งความไม่ มีที่สิ้นสุด สําหรับเรือ่ งภูมจิ กั รวาลนี้ เราอาจจะเปรียบเทียบ กั บ รู ป ลั ก ษณะของพวกหมู่ เ กาะภู เ ขาไฟในมหาสมุ ท ร แปซิฟิกได้ ส่วนใหญ่เกาะเหล่านี้มีภูเขาสูงตระหง่านขึ้นมา ตรงกลาง ตัวเกาะเองมีทะเลสาบล้อมรอบ มีหินปะการัง เป็นวงล้อมอยูช่ น้ั นอกกัน้ ทะเลออกจากทะเลสาบ เกาะบอรา บอรา (Bora Bora) ในโพลีนเี ซียฝรัง่ เศสมีรปู ลักษณะคล้าย กับที่อธิบายมากที่สุด เกาะนี้มีขนาดพื้นที่เพียง ๔ x ๖.๔ กิโลเมตร มีภูเขาเป็นรูปสองยอดโผล่พ้นห้วงน้ำ และแนว หินปะการังซึ่งอยู่รอบๆ ความชื้นและการระเหยของไอน้ำ
๑๕๘ ภูมิหลัง
ร้อน ทําให้มีหมอกและเมฆฝนปกคลุมยอดเขาอยู่เป็นนิจ ภาพที่ปรากฏไม่ใช่แต่เพียงว่าจะคล้ายกับภาพภูมิจักรวาล ของวัฒนธรรม ที่อยู่ฟากตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก เท่านั้น แต่หากไปตรงกับภาพภูมิจักรวาลของวัฒนธรรม ทีอ่ ยูห่ า่ งไกลไปทางฟากตะวันออก ซึง่ ได้แก่วฒ ั นธรรมของ ชาวอเมริกันโบราณอีกด้วย สําหรับเรื่องนี้จะอธิบายอย่าง ละเอียดในบทที่ ๒ ต่อไป
ระบบจั กรวาลตามคติทางศาสนา วงแหวนซึ่งเป็นทวีปและมหาสมุทร ล้อมรอบจุด ศูนย์กลางซึ่งเป็นภูเขานั้น ทําท่าหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ไม่มีที่ สิน้ สุด ระบบจักรวาลหรือภูมจิ กั รวาลในคติพทุ ธได้เพิม่ เกาะ หรือทวีปไว้สี่มุมในมหาสมุทรแห่งความไม่มีที่สิ้นสุด เหมือน กับว่าต้องการยับยั้งการหมุนเวียนอันไม่รู้จบดังกล่าว ผลก็ คือเป็นการเพิ่มทิศเข้าไปในระบบจักรวาล
ความสํ าคัญของชมพูทวีป ทิศทั้งสี่ที่เกิดขึ้นนี้เป็นสิ่งจําเป็นต่อการออกแบบ สถาปัตยกรรม และการวางผังเมืองอย่างยิ่ง (รูป ๗) ทวีป ที่อยู่ตามมุมเหล่านี้แสดงถึงภูมิภาคทั้งสี่ โดยภูมิภาคทาง ใต้คอื ชมพูทวีปซึง่ เป็นดินแดนของมนุษย์ หากความคิดเกีย่ ว กับภูมจิ กั รวาลของชาวบาหลีเกิดขึน้ หลังจากได้รบั อิทธิพล ฮินดูแล้ว ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าชาวบาหลีนับถือศาสนาฮินดู ก็ดอู อกจะแปลกทีช่ าวบาหลีถอื ว่าเกาะของพวกเขาประกอบ ด้วยภูเขาทีต่ ง้ั อยูส่ ม่ี มุ (รูป ๘) ทัง้ นีเ้ พราะเป็นรูปภูมจิ กั รวาล ซึ่งไม่ตรงกับคติของฮินดู อย่างไรก็ตาม ถ้าลืมเรื่องในแง่ ของคติต่างๆ เหล่านี้เสีย แล้วมาพิจารณาด้วยความรู้สึก ของชาวเรือ ก็จะเห็นได้ว่าสัญชาตญาณเกี่ยวกับทิศทาง เป็นเรื่องธรรมดามาก เมื่อมองดูผืนแผ่นดินที่ไกลออกไปในทะเล ด้วย สายตาของนักเดินเรือ ชมพูทวีปก็เหมือนกับแผ่นดินที่โผล่ ขึ้นมาพ้นขอบฟ้า แต่นอกเหนือจากนี้ ชมพูทวีปยังเป็นแผ่น ดินที่สําคัญที่สุด เพราะประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตทุกประเภท ในคัมภีร์โบราณกล่าวไว้ว่านอกจากมนุษยชาติแล้ว ชมพู ทวีปยังมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่ลึกเข้าไปอีกมากมาย (รูป ๙) สําหรับนักเดินเรือทวีปนี้น่าจะเป็นแผ่นดินอันแปลกประหลาด ในสมัยบุพกาล อย่างไรก็ตาม ความสําคัญของชมพูทวีปมิ ใช่อยูท่ ผ่ี นื แผ่นดินเท่านัน้ ในคัมภีรท์ ง้ั ของบาหลีและของไทย ต่างบรรยายถึงสิงสาราสัตว์บนบกไว้มากมาย และในเวลา เดียวกัน ก็ยงั ได้บรรยายถึงสัตว์ทะเลไว้อย่างมากมายเช่นกัน สําหรับชาวบาหลีซง่ึ อาจจะคิดว่าบาหลีคอื ชมพูทวีป เพราะ นอกจากจะเป็นดินแดนทางใต้แล้ว ครั้งหนึ่งยังเคยเป็นทวีป จริงๆ อีกด้วย ตามตํานานกล่าวว่าชมพูทวีปถูกแบกไว้บน หลังเต่าทะเล ซึ่งก็เป็นที่น่าสนใจว่าเต่าชนิดเดียวกันนี้ได้ไป
รูป ๕ ประตูเข้าวัดที่บาหลี ประตูซึ่งเป็นรูปผ่ากลางนี้มีอยู่ทั่วไปตาม วัดต่างๆ ในบาหลี อาจเป็นรหัสบอกว่า ครั้งหนึ่งบาหลีเคยเป็นพื้นแผ่นดินเชื่อม กับชวา หากแต่ในระยะเวลาต่อมา เมื่อประมาณ ๑๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ถูกตัดขาดออกจากกันด้วยทะเล
๕ รูป ๖ รูปภูมิจักรวาล แสดงทั้งรูปตัดและผัง จะสังเกตได้ว่า ในผังมีวงแหวนหลายวงซ้อนกันอยู่ วงต่างๆ เหล่านี้คือมหาสมุทรและทวีปภูเขา ซึ่งสลับกัน ในคติฮินดูมีรูปวงแหวนเป็น ทวีปหกวง ในคติพุทธมีวงแหวนเป็นทวีป เจ็ดวง และมีทวีปนอกออกไปอีก ๔ มุม ตรงกับทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ทวีปที่อยู่มุมทิศใต้ คือ ชมพูทวีป
๗ รูป ๗ ผังเจดีย์วัดกุฎีดาว พระนครศรีอยุธยา เจดีย์องค์นี้เป็นรูปจําลองภูมิจักรวาล อย่างชัดเจน เจดีย์องค์ใหญ่ตรงกลาง คือทวีปภูเขาหรือเขาพระสุเมรุ เจดีย์เล็กตรง ๔ มุมคือทวีปภูเขาประจํา ทิศทั้งสี่หรือที่เรียกว่าเมรุทิศ
รูป ๘ ภูมิจักรวาลของชาวบาหลี เป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ตรง ๔ มุม คือทวีป ภูเขา ทั้งหมดนี้ตรงกันกับภูเขา จริงบนเกาะบาหลี
ภูเขาบารตู ภูเขาบาตูเกา
ภูเขาอากุง เนินบูกิต
๖ ๘
กำเนิดมาแต่น้ำ
๑๕๙
ปรากฏตัวอยู่ที่เนปาล (รูป ๑๐) เหมือนกับว่ามันได้เดินทาง ข้ามทะเล และภูเขาตัง้ หลายลูกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เต่าตัวเดียวกันคงต้องข้ามมหาสมุทรแปซิฟกิ ไปราวๆ ๕,๐๐๐ กิโลเมตร เพือ่ ไปเป็นส่วนประกอบสําคัญของสถาปัตยกรรม ของวัดญี่ปุ่น ที่เรียกกันว่าคาเมบาระ (รูป ๑๑) สําหรับ ความเชือ่ ถือของไทยเกีย่ วกับชมพูทวีป สัตว์ที่หนุนโลกอยู่มิ ใช่เต่า แต่เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่เรียกว่า ปลาอานนท์ (รูป ๑๒) อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าสัตว์มหาสมุทรเหล่านี้ในที่สุด ก็ถูกผสมกับสัตว์บกบนผืนแผ่นดินใหญ่ไปเป็นอันมาก ดังนั้น ในวัฒนธรรมบาหลีและไทย จึงปรากฏสัตว์พันธ์ุประหลาด ต่างๆ เช่น ปลาผสมช้างปะปนอยู่ทั่วไป เป็นต้น (รูป ๑๓) การเกิดและการสลายตัวของทวีป ก็คอื การสลาย ตัวและการเกิดของมหาสมุทร ธาตุแข็งและธาตุเหลวทัง้ สอง นี้เป็นของคู่กัน จะเกิดขึ้นและสลายตัวสลับกันไป ดังนั้นการ สลายของสิง่ หนึง่ ก็คอื การเกิดของอีกสิง่ หนึง่ โดยแท้จริงแล้ว เมื่อมองทวีปในแง่ของมหาสมุทร จะเห็นว่าส่วนที่โผล่พ้นผิว น้ำขึ้นมา คือหนึ่งในสี่ส่วนของพื้นผิวก้นทะเลนั่นเอง (รูป ๑๔) ชาวเรือคงคิดในทํานองนี้ โดยเฉพาะเมื่อกําลังเดินเรือ เข้าสู่ผืนแผ่นดิน ฟุลเลอร์ได้เปรียบเทียบประสบการณ์ เช่นนี้กับนักบิน ซึ่งกําลังนําเครื่องบินร่อนลงมาสู่พื้นดินว่า “...สําหรับนักบิน (กะลาสีแห่งอากาศ) ที่เดินทางมาถึงสนาม บินทิเบตบนภูเขาหิมาลัย เขาจะมีความรู้สึกเช่นเดียวกับ กะลาสีเรือ ที่เดินเรือมาถึงเปอร์โตริโก เพราะกะลาสีเรือนั้น จะต้องข้ามเทือกเขาแอนทิลเลส ซึง่ อยูใ่ ต้นำ้ และมีความสูง ถึง ๓๐,๐๐๐ ฟุต รวมทัง้ ส่วนทีโ่ ผล่ขน้ึ มาจากเหวใต้ทะเล ซึง่ เรียกว่า นเรส ดี๊พ (Nares Deep)๑๖ หากมองดูโลกจากที่สูงๆ เช่น มองลงมาจาก เครื่องบิน ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิจักรวาลอาจจะเกิดขึ้นได้ ง่ายๆ เพราะภาพที่ปรากฏให้เห็นจะเป็นเทือกเขาที่โผล่ขึ้น มาเป็นช่วงๆ สลับกันไปกับเมฆหรือทะเล อย่างน้อยที่สุดก็ เป็นเค้าโครงทางด้านกายภาพ ซึ่งพออธิบายกันได้ เพราะ ในระบบจักรวาลนั้นยังมีส่วนที่เป็นจิตภาคซึ่งเมื่อผสมกับ ระบบเทพเจ้าแล้ว จะกลายเป็นไตรภูมิอันสลับซับซ้อนจน อธิบายได้ยาก ปัญหามีอยู่ว่า ภูเขาหิมาลัยมีความสัมพันธ์ อย่างไรกับรูปจําลองนี้ ดังได้กล่าวมาแล้ว ภูเขาที่สูงที่สุด ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม หรือรวมทั้งอยู่ในจิตใจ หมายถึงเขา พระสุเมรุซึ่งทําหน้าที่เป็นศูนย์กลาง หรือแกนของระบบ จักรวาล ปัญหาต่อไปก็คือเพราะเหตุใดเขาพระสุเมรุและ ทะเลแห่งจักรวาล ซึ่งหลายประเทศในเอเชียเชื่อถือกันนัก จึงมาปรากฏเป็นเรื่องจริงจังที่ภูเขาหิมาลัย ปัญหาสุดท้าย นีค้ อ่ นข้างจะแปลก เพราะเท่ากับว่ามีใครได้ยกเอาทะเลเข้า มาตั้งไว้ติดกับภูเขาหิมาลัย
รูป ๙ สัตว์ป่าหิมพานต์ซึ่งอาศัยอยู่ ในชมพูทวีป เป็นภาพพิมพ์จากไม้แกะสลัก โดย ม.จ.ประวิช ชุมสาย
๙
๑๐ รูป ๑๐ เต่าหนุนโลก ส่วนใหญ่ถือกันว่าชมพูทวีปหรือโลก มนุษย์นี้ถูกแบกไว้บนหลังเต่า รูประบบจักรวาลของชาวบาหลีและของ ชนชาติอื่นๆ ในเอเชียแสดงเต่าในลักษณะ ดังกล่าว รูปที่เห็นอยู่นี้คือเต่าแบกโลกที่ วัดชังกานารายณ์ ใกล้เมืองกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
รูป ๑๑ คาเมบาระ หรืออีกนัยหนึ่งเต่าแบกโลกใน สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น
๑๖ จาก Fluid Geography อ้างแล้ว หน้า 138
๑๖๐ ภูมิหลัง
๑๑
๑๒ รูป ๑๒ ปลาอานนท์ ในระบบจักรวาลของไทย โลกมนุษย์ถูกหนุน อยู่ด้วยปลาอานนท์ รูปนี้ได้มาจากหนังสือ ไทยสมุดภาพไตรภูมิบุราณฉบับกรุงธนบุรี
รูป ๑๓ ปลาผสมช้าง แสดงให้เห็นการผสมระหว่างสัตว์น้ำ และสัตว์บก หรืออีกนัยหนึ่งการอยู่ร่วมกัน ระหว่างชีวิตในน้ำและชีวิตบนบก รูปที่แสดงนี้ เป็นภาพพิมพ์จากไม้แกะสลัก โดย ม.จ. ประวิช ชุมสาย
๑๓
กำเนิดมาแต่น้ำ
๑๖๑
๑๔ รูป ๑๔ รูปหมู่เกาะปักษ์ใต้ โดยแท้จริง ทวีปและเกาะในมหาสมุทรก็คือ ก้นทะเลที่โผล่ขึ้นมาพ้นผิวน้ำซึ่งคิดเนื้อที่ รวมกันแล้วเท่ากับเพียง ๑/๔ ของผิวโลก เพราะ ๓/๔ ของผิวโลกเป็นทะเล
๑๖๒ ภูมิหลัง
ปัญหาเหล่านี้อาจจะอธิบายได้ หากพิจารณาเหตุ การณ์ในแง่การอพยพของมนุษย์ จากแถบทะเลเข้าสูผ่ นื แผ่น ดินใหญ่ ผู้เขียนจะลองอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว ใน ตารางแสดงการอพยพของมนุษย์ตั้งแต่สมัยสิ้นยุคน้ำแข็ง ซึ่งคงมีลักษณะดังนี้
การอพยพอาจแบ่งออกได้เป็นสามขั้นตอนคือเริ่มต้นตั้งแต่ การอพยพครั้งใหญ่จากเอเชียอาคเนย์ในสมัยสิ้นยุคน้ำแข็ง การอพยพของชาวทวีปเอเชียอาคเนย์เข้าสู่ “ฝั่งทะเล เอเชีย”๑๗ และการอพยพขึน้ ไปตามลําน้ำสายใหญ่ๆ จนถึง เชิงเขาหิมาลัย เนื่องจากทิศทางการอพยพย่อมพุ่งไปตาม แนวที่มีสิ่งกีดกั้นน้อยที่สุด จึงเป็นธรรมดาที่การอพยพครั้ง แรกๆ จะต้องจํากัดตัวอยู่ในบริเวณที่มีสภาพดินฟ้าอากาศ อบอุ่น และอพยพไปตามหนทางสั้นๆ ตามฝั่งทะเลตอนใต้ ของทวีปเอเชีย ต่อจากนัน้ จึงขึน้ ไปตามลําน้ำต่างๆ การผสม ผสานกันของสัญชาตญาณทางทะเล ซึ่งจะต้องเกิดขึ้นแรง มากถึงขนาดทําให้สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ ในขณะที่เกิด การแยกตัวของทวีปเอเชียอาคเนย์ และประสบการณ์ซึ่ง ได้รับจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นบกและภูเขา จะต้องแสดง ออกมาในลักษณะต่างๆ เมือ่ มนุษย์อพยพมาถึงเชิงเขาด้านใต้ ของภูเขาหิมาลัยแล้ว สรุปแล้ว ความทรงจําหรือสัญชาตญาณของ มนุษย์ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคน้ำแข็งและ ปลายยุคน้ำแข็ง ได้ก่อให้เกิดความยึดมั่นในเรื่องระบบจักร วาล หรือภูมิจักรวาล ซึ่งได้แพร่หลายสืบต่อกันมาจนถึง ปัจจุบัน ลักษณะระบบจักรวาลจะเปลี่ยนแปลงและผันแปร ไปเรื่อยๆ เมื่อมนุษย์อพยพจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง และรูปจําลองระบบจักรวาลแบบฮินดูผสมพุทธ ซึ่งกําหนด ให้ภเู ขาหิมาลัยเป็นเขาพระสุเมรุนน้ั ก็คอื รูปแบบระบบจักรวาล อันล่าสุด และวิจิตรพิสดารที่สุดนั่นเอง หากพิจารณาลักษณะการอพยพของมนุษย์ตั้งแต่ ปลายยุคน้ำแข็ง โดยใช้แนวความคิดอันกว้างขวางเช่นนีแ้ ล้ว ก็ไม่เป็นเรือ่ งแปลกอะไร ทีป่ ระมุขของประเทศซึง่ อยูห่ า่ งไกล จากทะเล และตั้งอยู่บนที่สูงกว่าระดับทะเล ๑๓,๐๐๐ ถึง ๑๕,๐๐๐ ฟุต มีสมญานามว่า ดาไล๑๘ ลามะ ซึ่งแปลว่า พระเจ้าแห่งทะเล
๑๗ ผู้เขียนมีความเห็นตาม เฮเยอร์ดาห์ล (อ้างถึงแล้ว) ว่า ฝูงชนอีกกลุ่มหนึ่ง อพยพลอยตามกระแสน้ำขึ้นเหนือผ่าน อิลูเชียนส์ไปยังอเมริกา แล้วต่อมาจึง ลอยตามกระแสน้ำวกกลับมาสู่โพลีนีเซีย และไมโครนีเซีย การอพยพจากเอเชีย อาคเนย์ไปโพลีนีเซียตามที่นักโบราณคดี ส่วนใหญ่เชื่อ เป็นเรื่องซึ่งเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากเป็นการอพยพทวนกระแสน้ำทะเล ตรงกันข้ามในกรณีนี้การอพยพจะต้องเริ่มจาก โพลีนีเซียและไมโครนีเซียไปทางตะวันตก ตามกระแสน้ำเข้าสู่เอเชียอาคเนย์ ๑๘ ดาไลหมายถึงทะเล เป็นคําซึ่งอาจถือว่าอยู่ใน กลุ่มภาษาออสโตรไทย
กำเนิดมาแต่น้ำ
๑๖๓
บทที่ ๒ สัญลักษณ์น้ำ
ความสําคัญของพญานาค สัญลักษณ์น้ำในวัฒนธรรมไทย การผสมผสานของคติฮินดูและพุทธ คติสมมติเทพของเทวราชา สัญลักษณ์เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ สัญลักษณ์น้ำในประเพณีชาวบ้าน ชนเผ่า “นาคา” สัญลักษณ์หอยสังข์ หอยสังข์ในพิธีกรรมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ พิธีกรรม น้ำในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก คติเกี่ยวกับเทพเจ้าในศาสนาฮินดู น้ำมูรธาภิเษก พระราชพิธีลงสรง พระราชพิธีก่อพระทราย พระราชพิธีโสกันต์ น้ำพระพิพัฒน์สัตยา น้ำเพื่อการเกษตรกรรม น้ำในพิธีกรรมพื้นบ้าน สัญลักษณ์ในศิลปะพื้นบ้าน ประเพณีลอยกระทง
๑๖๔ ภูมิหลัง
รูปคลื่นในรูปจําลองระบบจักรวาลซึ่งสะท้อนให้ เห็นการเกิดและการสลายตัวของมหาสมุทรและทวีปตาม กาลเวลา บังเอิญสอดคล้องกันอย่างดีกับรูปคลื่นอันเป็น ลําตัวของพญานาค โดยที่จริงแล้ว พญานาคหรือนาคก็คือ สัญลักษณ์แห่งธาตุน้ำนั่นเอง เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็คงเนื่อง มาจากรูปคลื่นของลําตัวพญานาคเป็นปฐม สัญลักษณ์น้ำ แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตประจําวันของคนทั่วไปในแถบ “ฝั่ง ทะเลเอเชีย” ด้วยรูปแบบต่างๆ กัน บ้างก็เป็นสัตว์น้ำแท้ๆ เช่น พญานาค (รูป ๑) บ้างก็เป็นสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกเช่น สาง ซึ่งเกิดจากการผสมพันธ์ุระหว่างนาคและสิงห์ (รูป ๒) หรือสําหรับคนจีนก็คอื มังกร ซึง่ เป็นทัง้ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเพราะมีขาเดินได้และเป็นทั้งสัตว์บินได้เพราะมีปีก (รูป ๓)
ความสํ าคัญของพญานาค ความสําคัญของสัญลักษณ์น้ำเห็นได้จากการที่ วัฒนธรรมโบราณของจีน เขมร และชาติอื่นๆ ในเอเชียถือ ว่าน้ำเป็นสิ่งที่ให้กําเนิดแก่ประเทศและราชวงศ์ผู้ก่อตั้งประ เทศ ตัวอย่างเช่น มีตํานานกล่าวว่าราชวงศ์เซียของจีน เกิ ด จากการเลื้ อ ยพั นกั น ระหว่ า งมั ง กรตั ว ผู้ แ ละตั ว เมี ย ดังนัน้ สัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดินจีนจึงเป็นมังกร สัญลักษณ์ ดังกล่าวยังได้ไปปรากฏทีเ่ กาหลี เวียดนามและภูฏานอีกด้วย วัฒนธรรมซึง่ อยูน่ อกเขต “ฝัง่ ทะเลเอเชีย” เช่น สุเมเรียและ อเมริกาก่อนสมัยโคลัมบัสก็โยงความหมายของสัตว์ประเภท งูเข้ากับธาตุน้ำเช่นกัน แต่ที่ต่างออกไปก็คือศาสนาคริสต์ ซึ่งให้งูเป็นสัตว์สําหรับนักบุญแพทริก (Patrick) และจอร์จ (George) สังหาร เพื่อแสดงให้เห็นถึงความปราชัยของ อารยธรรมโบราณต่อศาสนาคริสต์ นาคในภาษาสันสกฤตแปลว่างู ตามคติฮินดูนาค เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์หลายแห่ง เช่นพญา- นาคขดตัวเป็นฐานรองรับพระวิษณุซง่ึ เอนองค์พงิ และบรรทมหลับอยูท่ า่ มกลางมหาสมุทรในยุคซึง่ โลกกําลังสลายเพือ่ ก่อตัวเป็นรูปร่างขึ้นมาใหม่ จากตํานานต่างๆ ตามคติฮินดู ซึ่งมีเนื้อเรื่องแตกต่างกันออกไปมากตามท้องถิ่นและตาม ลําดับในวิวฒ ั นาการอันยาวนานของศาสนาฮินดูนน้ั ตํานาน หนึ่งอ้างว่าการปรากฏตัวครั้งสําคัญที่สุดของพญานาคสําหรับโลกมนุษย์ก็คือตอนที่พญานาคกลืนน้ำจนแห้งทั้งโลก
๑ จากหนังสือ Myths and Symbols in Indian Art and Civilization โดย ฮายน์รชิ ซิมเมอร์ (Heinrich Zimmer) นิวยอร์ก ค.ศ. 1962 หน้า 3 ๒ จากหนังสือ Angkor, Hommes et Pierres โดยแบร์นาร์ ฟิลิป โกรลิเย่ (Bernard-Philippe Groslier) ปารีส ค.ศ. 1956 หน้า 163 สําหรับพระวิษณุนั้นคนไทยไม่นิยมใช้ หากแต่ใช้พระนารายณ์ซึ่งเป็นอวตาร ขององค์พระวิษณุแทน
แล้วไปขดตัวนอนหลับกลายเป็นเมฆอยูบ่ นยอดเขาพระสุเมรุ ซึง่ อาจเปรียบได้กบั ยุคไพลสโตซีน เพือ่ ให้โลกมีนำ้ หล่อเลีย้ ง ชีวิตต่อไปได้อีกครั้งหนึ่งพระอินทร์จึงต้องจัดการสังหาร พญานาคเสียโดยได้ฟาดสายฟ้าเสียบกลางขดนาคจนขาด เป็นท่อนๆ น้ำจึงไหลพวยพุ่งเป็นสายๆ จากยอดภูเขาลงมา สู่โลกมนุษย์๑ การได้มาซึ่งน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตนี้ปรากฏ อยู่ในตํานานที่นิยมกันมากอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องพระวิษณุ (หรือพระนารายณ์) กวนเกษียรสมุทร ตํานานเรื่องนี้มีผู้ตี ความกันออกไปเป็นหลายเรือ่ ง นักวิชาการผูห้ นึง่ แสดงความ คิดเห็นว่าชาวเขมรได้แสดงตํานานเรื่องนี้ไว้ในการก่อสร้าง นครธม โดยให้บริวารของพระวิษณุซึ่งมีทั้งเทวดาและยักษ์ พันลําตัวพญานาคเข้ากับเขาพระสุเมรุซึ่งคือปราสาทบายน แล้วขึงลําตัวพญานาคเพื่อรีดเอาน้ำออกมาหล่อเลี้ยงชีวิต ในโลก๒ (รูป ๔) ในสมัยก่อนโคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา พวกแอสเต็กได้ประดิษฐานงูไว้กลางใจเมือง ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่ง เรียกว่าเทโอกาลี (รูป ๕) งูนอ้ี าศัยอยูใ่ นทะเลสาบเท็คซ์กโู ก ซึง่ ถือว่าเป็นสถานทีใ่ ห้กาํ เนิดแก่เม็กซิโกทีนอ็ กทิทลานซึง่ เป็น เมืองหลวงของชาวแอสเต็ก เทโอกาลีมรี ปู ลักษณะเป็นพีระมิด บนยอดมีวหิ ารอยูส่ องหลัง หลังหนึง่ สร้างถวายเทพเจ้า แห่งนักรบชือ่ ฮุยซิโลพ็อคทลีและอีกหลังหนึง่ สร้างถวายเทพ เจ้าแห่งฝนชื่อทลาล็อคซึ่งมีหอยประดับประดาอยู่เต็มไป หมด รอบๆ ฐานพีระมิดมีหัวงูโผล่ออกมาเป็นระยะๆ ซ้อน กันเป็นแถวๆ เรียกว่า โคอาเตพันตลี ถ้าสับเปลี่ยนงูด้วย ธาตุน้ำและเทพเจ้าทลาล็อคด้วยพญานาคซึ่งกําลังปล่อย ให้นำ้ ไหลลงมาจากภูเขาหรือพีระมิด เราก็จะเห็นความคล้าย คลึงกับสิ่งซึ่งธรรมชาติได้สร้างไว้กับหมู่เกาะภูเขาไฟใน แปซิฟิกเช่นที่บอราบอรา และรูปภูมิจักรวาลในคติของ ฮินดูหรือเขมร พวกแอสเต็กถือว่างูเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จนต้อง ตัง้ ชือ่ ตําแหน่งสูงสุดรองจากเจ้าแผ่นดินว่า นางพญางูหรือ คีอุอาโคอัตล์ ในบรรดาอารยธรรมเก่าแก่ซ่งึ ใช้งูเป็นสัญลักษณ์ เห็นจะต้องรวมอารยธรรมเมดิเตอร์เรเนียนไว้ด้วย อารยธรรมนี้มีการรําบวงสรวงเป็นแถวยาวคดโค้งไปมาเหมือนขดงู แต่นกั วิชาการชาวยุโรปตีความหมายไปในทางพิธกี รรมทีเ่ กีย่ ว กับพืชมงคลและการออกลูกแตกหลานเพือ่ สืบมนุษยชาติ๓
รูป ๑ ไม้ขีดไฟตราพญานาค พญานาค เป็นสัญลักษณ์แห่งธาตุน้ำ ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด ในวัฒนธรรมไทย
๑ รูป ๒ หัวเรือรูปสาง สางเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ซึ่งเกิดจาก การผสมพันธ์ุระหว่างนาคและสิงห์
รูป ๓ มังกรบนหลังคาทรงจีน มังกรเป็นสัญลักษณ์น้ำเช่นเดียวกับนาค แต่ในเวลาเดียวกันก็เป็นสัตว์สะเทินน้ำ สะเทินบก มีขาเดินได้ อีกทั้งยังเป็นสัตว์ ซึ่งสามารถบินได้เพราะมีปีก
๒
๓
สัญลักษณ์น้ำ
๑๖๕
ในภาคพื้นแปซิฟิก ชาวเรือออสโตรนีเซียใช้ลวด ลายขดงูประดับเรือมาแต่โบราณกาล (รูป ๖) สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือลมและกระแสน้ำทะเลใต้เส้นศูนย์สูตรลงไปมักจะวน ทวนเข็มนาฬิกา ส่วนเหนือเส้นศูนย์สตู รขึน้ มาจะวนตามเข็ม นาฬิกา ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากการหมุนของโลก เราเรียก ปรากฏการณ์นี้ว่าคอริโอลิส (Coriolis effect) หากพิจารณาดูลวดลายขดงูของชาวเรือออสโตรนีเซีย จะเห็นได้ว่า เป็นรูปขดวนทั้งสองทาง แต่อารยธรรมส่วนใหญ่ซึ่งบังเอิญ อยูเ่ หนือเส้นศูนย์สตู รมักจะใช้รปู ขดทีห่ มุนวนตามเข็มนาฬิกา ก็ดว้ ยรูปขดดังกล่าวนีเ้ องทีท่ าํ ให้เกิดรูปแบบและความหมาย ในการวางผังเมือง สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และพิธี กรรมต่างๆ ทั้งในชีวิตประจําวันและศาสนกิจ ๔
๓ จากบทความ “The Idea of a Town” โดยโจเซฟ ริคเวิร์ท (Joseph Rykwert) ในวารสาร Forum Voor Architedktur en daarme Verbonden Kunsten เล่มที่ 3 ค.ศ. 1963
๑๖๖ ภูมิหลัง
๕
สั ญลักษณ์น้ำในวัฒนธรรมไทย รูป ๔ พระวิษณุกวนเกษียรสมุทร รูปเขียนย่อโดยสังเขปจากหินแกะสลัก ที่นครวัด โดย ออริออล (Oriol) ตีพิมพ์ โดย เอโมนิเอ (Etienne Aymonier, Cambodge, Paris 1901) ซึ่งแนวความคิดหนึ่งในคติฮินดู พระวิษณุใช้บริวารซึ่งมีทั้งเทวดาและยักษ์ พันลําตัวพญานาคเข้ากับเขาพระสุเมรุ แล้วขึงลําตัวเพื่อรีดเอาน้ำออกมา หล่อเลี้ยงชีวิตในโลก
รูป๕ รูปเปรียบเทียบภูมิจักรวาล ๑. ภูมิจักรวาลในคติฮินดูและพุทธ ๒. เทโอกาลี หรือมหาวิหารในรูปของ พีระมิดกลางนครเม็กซิโก ทีน็อกทิทลานของชาวแอสเต็ก ตัวพีระมิดอาจเปรียบเทียบได้กับ เขาพระสุเมรุ วิหารบูชาทลาล็อค ซึ่งคือเทพเจ้าแห่งฝน อาจเปรียบเทียบ ได้กับพญานาคบนยอดเขาพระสุเมรุ ผู้ซึ่งอมน้ำไว้ ส่วนหัวงูเบื้องล่างของ พีระมิด อาจเปรียบเทียบได้กับน้ำ หรือมหาสมุทรในภูมิจักรวาล ๓. เกาะบอราบอราในมหาสมุทรแปซิฟิก จะสังเกตได้ว่าเกาะนี้มีภูเขาสองยอด อยู่ตรงกลางและมีหินปะการังล้อม รอบอยู่เป็นวง
รูป ๖ เรือจําลองแกะสลักเป็นรูปนาค ชาวเรือออสโตรนีเซีย หรือชาวหมู่เกาะ ทะเลใต้ใช้ขดงูหรือนาคเป็นรูปประดับเรือ มาตัง้ แต่โบราณกาล รูปทีเ่ ห็นเป็นเรือจําลอง ด้วยไม้ในสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ ซึง่ ขุดพบ ในสุสานประเทศฟิลิปปินส์ และได้เขียน คัดลอกมาจากหนังสือ โดย เอริค กาซินโย่ ค.ศ. 1973
จิตรกรรมฝาผนังและภาพในสมุดข่อยของไทย ล้วนแต่เต็มไปด้วยรูปพญานาคหรือลําน้ำขดเป็นวงหมุนตาม เข็มนาฬิกาลงมาจากเขาพระสุเมรุ (รูป ๗) รูปลักษณ์ดัง กล่าวทีเ่ ก่าแก่กว่าของไทยซึง่ ผูเ้ ขียนอยากนํามาเปรียบเทียบ คือรูปที่เขียนโดยหลวงจีนเฮียวเน็นซิงผู้เดินธุดงค์จากจีนไป ยังอินเดียในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ (รูป ๘) ในภาพทีว่ า่ นีจ้ ะเห็น ต้นกําเนิดของแม่น้ำสําคัญๆ หลายสายของทวีปเอเชียไหล วนจากภูเขาหิมาลัยลงมาหล่อเลี้ยงชีวิตบนโลกมนุษย์อย่าง ละเอียดชัดเจนเหมือนในแผนที่สมัยปัจจุบัน ถ้าเราเขียนรูป ตัดด้านข้าง (profile) จากแผนที่นี้ เราก็จะได้รูปภูมิจักรวาล และหากเทียบภูมิจักรวาลกับรูปจําลองของงานสถาปัตยกรรมที่สําคัญๆ เช่น นครวัด ก็จะเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง รูปแบบทั้งสองอย่างชัดเจน๔ ในสังคมเขมรโบราณซึ่งเลียนแบบมาจากอินเดีย กษัตริย์มีบทบาทเทียบเท่าเทพเจ้าบนยอดภูเขา ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าแผ่นดินเขมรจึงปราบดาภิเษกเป็น “กษัตริย์แห่งภู เขาและจักรวาล” เทพเจ้าที่มีบทบาทสําคัญในกรณีนี้ได้แก่ พระอินทร์ผปู้ ราบพญานาคบนยอดเขาพระสุเมรุเพือ่ ให้พญา นาคคายน้ำลงมาให้โลกมนุษย์ และองค์พระวิษณุเป็นผู้บงการให้เทวดาและอสูรพันลําตัวพญานาคเข้ากับเขาพระสุเมรุ แล้วขึงรีดเอาน้ำออกมาเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน กษัตริย์ เขมรก็เช่นกัน ทรงเทียบพระองค์กับพระศิวะผู้ประทับทั้ง บนยอดเขาพระสุเมรุหรือเขาไกรลาสดังจะเห็นได้จากการ ประดิษฐานศิวลึงค์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะไว้บน ยอดปราสาทหิน โดยที่จริงศิวลึงค์เองก็มีความหมายเทียบ ได้กับเขาพระสุเมรุ ทั้งสองสิ่งมีน้ำไหลจากยอดบนลงมาสู่ ที่รองรับข้างล่าง ในกรณีของศิวลึงค์มีฐานที่รองรับเรียก ว่าโยนี ซึง่ เป็นคําทีห่ มายถึงอวัยวะเพศหญิงอันเป็นจุดกําเนิด แห่งชีวิตและสิ่งเคียงคู่กับศิวลึงค์ ทั้งเขาพระสุเมรุและศิวลึ ง ค์ จึ ง เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องการออกดอกออกผลของพื ช สัตว์และมนุษย์
การผสมผสานของคติฮินดูและพุทธ
ถึงแม้ไทยจะได้รับแนวความคิดเกี่ยวกับสถาบัน พระมหากษัตริย์จากเขมร แต่ก็มิได้รับสัญลักษณ์ซึ่งเขมร ใช้อยู่มาทั้งหมด โดยเฉพาะศิวลึงค์นั้นคนไทยมิได้นํามาใช้ เลย ส่วนสัญลักษณ์ของระบบจักรวาลอันประกอบด้วย เขาพระสุเมรุ ทวีป ภูเขาและมหาสมุทร (รูป ๙) ก็ถูกแปร ความหมายจากเดิมโดยอิทธิพลของศาสนาพุทธมาเป็นไตร ภูมิพระร่วง ซึ่งภูมิทั้งสามแต่ละภูมิยังประกอบไปด้วยภูมิ ย่อยๆ ในที่สุดความหมายได้คลุมไปถึงสวรรค์ชั้นต่างๆ อีก มากมาย จนเกิดเป็นสูตรเลขอันสลับซับซ้อนทีแ่ ฝงอยูใ่ นส่วน ของสถาปัตยกรรมทีซ่ อ้ นกันเป็นชัน้ ๆ แม้แต่ขดนาคซึง่ ความ หมายเดิมเป็นสัญลักษณ์ในระบบจักรวาล กล่าวคือเป็น น้ำไหลวนลงมาจากเขาพระสุเมรุ ก็มีความหมายคลุมไปถึง มุจลินท์หรือพญานาคแผ่เบี้ยปกคลุมเศียรพระพุทธเจ้า ซึ่ง ประทับสมาธิอยู่บนขดนาคนั้น แสดงให้เห็นว่าภูมิจักรวาล มีส่วนประคับประคองพระพุทธศาสนาอยู่เช่นกัน (รูป ๑๐)
คติสมมติเทพและเทวราชา
นอกจากสถาปัตยกรรมซึ่งเราจะแยกไปวิเคราะห์ ไว้ต่างหากในบทที่ ๕ แล้ว สิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์และมีความ สัมพันธ์อย่างใกล้ชดิ กับคติสมมติเทพในองค์พระมหากษัตริย์ ก็คือพระราชบัลลังก์ซึ่งสร้างสูงเป็นชั้นๆ ล้อมรอบด้วย ฉัตร เมื่อพระเจ้าแผ่นดินประทับบนพระราชบัลลังก์ (รูป ๑๑) พระองค์เปรียบเสมือนพระอินทร์กาํ ลังบังคับให้นำ้ ไหล ลงไปหล่อเลี้ยงไพร่ฟ้าประชาชน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือทรง เป็นเทพเจ้าในระบบจักรวาลเสียเอง นอกจากนี้ เมื่อประ ทับบนพระราชบัลลังก์แล้ว ก็ยงั เปรียบเสมือนพระศิวะและ พระวิษณุในอวตารต่างๆ อีกด้วย ดังจะเห็นได้ว่ากษัตริย์ หลายพระองค์ ทรงปราบดาภิเษกมีพระนามเป็นอวตารของ พระวิษณุ เช่น “นารายณ์” ในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และ “ราม”๕ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระนามของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
๔ บทความเรื่อง “Mountain and Water, How cities strove for Harmony by being macrocosmically planned” โดยสุเมธ ชุมสาย ในวารสาร EKISTICS กันยายน ค.ศ. 1975 หน้า 181 ๕ หนังสือแต่งโดย ซิมเมอร์ อ้างถึงแล้ว นารายณ์อวตาร อยู่หน้า ๔๔ และ ๑๑๒ ส่วนรามอวตาร อยู่หน้า ๒๗ หมายเหตุ
๖
สัญลักษณ์น้ำ
๑๖๗
รูป ๗ ภาพไตรภูมิ จาก ตําราภาพไตรภูมิฉบับหลวง สมัยกรุงธนบุรี เลขที่ ๑๐ เขียนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๙ รูปนี้ควรเปรียบเทียบกับ รูป ๖ ในบทที่ ๑
รูป ๙ ภาพไตรภูมิบนผนังด้านหลังองค์ พระแก้วมรกต วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระบบจักรวาลอันประกอบด้วยเขา พระสุเมรุ ภูเขา ทวีป และมหาสมุทร ได้ถกู แปรจากความหมายเดิมภายใต้อทิ ธิพล ของศาสนาพุทธมาเป็นภูมิต่างๆ ในที่สุด ความหมายได้คลุมไปถึงสวรรค์ชั้นต่างๆ อีกมากมาย จนกลายเป็นไตรภูมิพระร่วง และสูตรเลขอันสลับซับซ้อนที่แฝงอยู่ใน ส่วนต่างๆ ของสถาปัตยกรรมที่ซ้อนกัน เป็นชั้นๆ
๗
๑๖๘ ภูมิหลัง
รูป ๑๐ พระพุทธรูปนาคปรก พระพุทธรูปหินทราย สูง ๑๔๓ เซนติเมตร ทะเบียนเลขที่ ล. ๑๐๑๔ ในพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์์ ลพบุรี นาคหรือพญานาคในกรณีนี้ชื่อมุจลินท์ เป็นสัญลักษณ์ในระบบจักรวาล กล่าวคือ เป็นน้ำไหลวนลงมาจากเขาพระสุเมรุ การทีพ่ ญานาคแผ่เบีย้ คลุมเศียรพระพุทธเจ้า ซึ่งประทับสมาธิอยู่บนขดพญานาค แสดงให้เห็นว่าภูมิจักรวาลมีส่วน ประคับประคองพระพุทธศาสนา
๙
รูป ๘ แผนที่ภูเขาหิมาลัย ตอนบนของรูปเป็นแผนที่ซึ่งหลวงจีน เฮียวเน็นซิง เป็นผู้เขียนขึ้นในพุทธศตวรรษ ที่ ๑๒ ในรูปดังกล่าวจะเห็นต้นกําเนิดของ แม่น้ำสายสําคัญๆ หลายสายไหลวนลงมา จากภูเขาหิมาลัยอย่างชัดเจนเหมือนกับว่า เป็นแผนที่ซึ่งทําขึ้นในสมัยปัจจุบัน ถ้าเขียน รูปตัดจากแผนที่นี้ก็จะได้รูปภูมิจักรวาลซึ่ง คือรูปถัดลงมา และหากเปรียบเทียบ ภูมิจักรวาลดังกล่าวกับรูปจําลองของงาน สถาปัตยกรรมที่สําคัญๆ เช่นนครวัด ก็จะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบ ทั้งสองอย่างชัดเจน
๘
สัญลักษณ์น้ำ
๑๖๙
รูปเต็มหน้า 170
๑๑
๑๗๐ ภูมิหลัง
รูป ๑๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะที่ประทับบนพระราชบัลลังก์ ณ พระ ที่นั่งอนันตสมาคม พระอิริยาบถดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง คติสมมุติเทพในองค์พระมหากษัตริย์ซึ่ง เปรียบเสมือนเทพเจ้าต่างๆ ในระบบจักรวาล รวมทั้งพระอินทร์ขณะที่บังคับให้น้ำไหล จากยอดเขาพระสุเมรุลงไปหล่อเลี้ยง โลกมนุษย์
รูป ๑๒ ปฏิทินปี ค.ศ. ๑๖๘๗ ของพระราชวังแวร์ซาย เป็นรูปของออกพระวิสทุ ธสุนธรนําขบวนแห่ พระราชสาส์นเข้าไปในพระราชวังแวร์ซาย พระราชสาส์นอันเป็นสัญลักษณ์แทนองค์ พระเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ในบุษบกเล็ก ซึ่งเปรียบเสมือนรูปจําลองภูมิจักรวาล
๑๒
สัญลักษณ์น้ำ
๑๗๑
สั ญลักษณ์เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เมือ่ เป็นเช่นนี้ พระเจ้าแผ่นดินและเครือ่ งราชูปโภค จึงต้องอยู่ในที่ซึ่งสูงกว่าสามัญชนเป็นธรรมดา ธรรมเนียม เช่นนี้เป็นสิ่งแปลกต่อชาวตะวันตกซึ่งบางครั้งอาจกระทํา ผิดต่อกฎเกณฑ์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตัวอย่างเช่นครั้งหนึ่ง กรมตํารวจได้สั่งอายัดนิตยสารไทม์ฉบับวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึง่ ได้ลงพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยูห่ วั ใต้รปู นายกรัฐมนตรี ผูจ้ ดั การนิตยสารถึงกับต้อง ขอโทษรัฐบาลไทยเพื่อให้เรื่องยุติ ความขัดแย้งและความ แตกต่ า งระหว่ า งวั ฒ นธรรมตะวั น ออกและตะวั นตกใน ลักษณะเช่นนี้เคยเกิดขึ้นกับฝรั่งเศสมานานแล้วเช่นกันในปี พ.ศ. ๒๒๒๙ เมื่อครั้งออกพระวิสุทธสุนธร (โกษาปาน) นํา คณะทูตไทยไปฝรั่งเศส เมื่อขึ้นจากเรือที่เมืองเบรสต์แล้ว คณะทูตได้เดินทางต่อไปยังกรุงปารีส ที่ชานเมืองนคร หลวง เจ้าหน้าทีฝ่ รัง่ เศสได้จดั ทีพ่ าํ นักไว้ให้ในพระราชวังฟองแตนโบล โดยมอบชั้นกลางซึ่งเป็นห้องชุดที่หรูที่สุดให้แก่ ราชทูต ในห้องนั้นออกพระวิสุทธสุนธรได้อัญเชิญพระราช สาส์นประดิษฐานไว้บนหิ้งบูชา ส่วนอุปทูตและผู้ติดตาม เจ้าหน้าที่ได้จัดห้องพักไว้ชั้นบนของพระราชวัง เมื่อคณะ ทูตทราบว่าได้อยู่ห้องเหนือพระราชสาส์นซึ่งเป็นสัญลักษณ์ แทนองค์สมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ต่างก็ตกใจ เจ้าหน้าทีฝ่ รัง่ เศส ถึงกับต้องวุ่นวายจัดห้องชั้นล่างซึ่งเป็นห้องคนใช้ให้อยู่แทน ทันที เหตุการณ์ตื่นเต้นต่อมาก็คือตอนที่ราชทูตสยามนํา ขบวนแห่พระราชสาส์นเข้าไปในพระราชวังแวร์ซาย โดย แห่บุษบกเล็กหรืออีกนัยหนึ่งคือรูปจําลองระบบจักรวาล ที่ประดิษฐานพระราชสาส์นซึ่งเป็นจารึกแผ่นทองคําไว้เหนือ ศีรษะคณะทูต รูปทีน่ าํ มาแสดง (รูป ๑๒) คือขบวนแห่ตรง ลานหน้าพระราชวังแวร์ซาย เมื่อพระเจ้าแผ่นดินสวรรคตหรือพระราชวงศ์ชั้น ผู้ใหญ่สิ้นพระชนม์ พระบรมศพหรือพระศพจะประดิษฐาน อยู่บนพระเมรุมาศ ซึ่งเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ สิ่งที่ เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุอกี อย่างหนึง่ ก็คอื เวชยันตราชรถ ซึ่งใช้เคลื่อนพระบรมศพ (รูป ๑๓) ในกรณีนี้เท่ากับว่าภูเขา สามารถเคลื่อนที่บนล้อได้นั่นเอง พระเมรุมาศเป็นสิ่งก่อ สร้างด้วยไม้อันใหญ่โตและงดงามมาก รูปที่นํามาแสดงคือ พระเมรุมาศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว สร้างในพ.ศ. ๒๔๕๔ (รูป ๑๔) ในรูปนีต้ อ้ งเข้าใจ ว่าพระบรมศพซึง่ ประดิษฐานอยู่ในเมรุองค์ประธานนั้น อยู่ บนยอดเขาพระสุเมรุท่ามกลางทวีป ภูเขา และมหาสมุทร ซึ่งซ้อนกันเป็นชั้นๆ อยู่ที่ฐาน ส่วนพืน้ เรียบบนฐานนัน้ เปรียบ เสมือนมหาสมุทรอันไม่มคี วามสิ้นสุด และเมรุทิศสี่มุมของ ฐานเปรียบเสมือนทวีปทั้งสี่ตามลักษณะของภูมิจักรวาลใน คติพุทธ
๑๗๒ ภูมิหลัง
๑๓
๑๔
สัญลักษณ์น้ำในประเพณีชาวบ้าน
รูป ๑๓ เวชยันตราชรถ ใช้เคลื่อนพระศพเจ้านาย ในรูปนี้เป็น พระศพจอมพลสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช พ.ศ. ๒๔๗๒ ราชรถพร้อมด้วยบุษบกที่เห็น เปรียบเสมือนภูเขาหรือเขาพระสุเมรุซึ่งมี ล้อเคลื่อนที่ได้นั่นเอง
เป็นที่แน่นอนว่าชาวบ้านธรรมดาไม่สามารถทําพิธี กรรมที่สะท้อนคติความเชื่อเรื่องพระอินทร์ให้น้ำได้อย่าง เอิกเกริก แต่กระนั้นพวกชาวบ้านยังคิดเอานาคเข้ามาใช้ใน ชีวิตประจําวันเหมือนกัน และนาคก็เป็นสัญลักษณ์ของน้ำ ซึ่งสามัญชนทั้งหลายใช้ในพิธีกรรม และสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ อย่างแพร่หลายที่สุด สิ่งที่โยงนาคกับธาตุน้ำโดยตรง เห็นจะได้แก่วิธี วัดปริมาณน้ำในแบบผกผัน ชาวบ้านเรียกวิธีวัดน้ำนี้ว่า นาค ให้น้ำ หากปีไหนอุดมสมบูรณ์มีน้ำเหลือใช้ก็เรียกว่า ปีนั้นมี นาคเพียงตัวเดียว หากปีไหนแห้งแล้งถือว่าปีนั้นมีนาคเจ็ด ตัว คือเท่ากับจํานวนสูงสุดของหน่วยวัดน้ำที่ขาดหายไป ซึ่ง นาคได้กลืนเข้าไปในท้อง
ชนเผ่า “นาคา”
รูป ๑๔ พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๕๔ ในรูปนี้ ต้องเข้าใจว่าพระบรมศพซึ่ง ประดิษฐานอยู่ในเมรุองค์ประธานนั้น อยูบ่ นยอดเขาพระสุเมรุทา่ มกลางภูเขาทวีป และมหาสมุทรซึ่งซ้อนกันเป็นชั้นๆ ที่ฐาน ส่วนพืน้ เรียบบนฐานเปรียบเสมือนมหาสมุทร อันไม่มคี วามสิน้ สุดและเมรุทศิ สีม่ มุ ของฐาน เปรียบเสมือนทวีปทั้งสี่ตามลักษณะภูมิ จักรวาลในคติพุทธ
ความสัมพันธ์ระหว่างนาคกับมนุษย์ซง่ึ เห็นชัดทีส่ ดุ คงจะเป็นกรณีที่กลุ่มชนบางเผ่าถือว่าตนสืบเชื้อสายมาจาก นาค ในสมัยโบราณชายชาวชนบทโดยเฉพาะชาวไทยที่อยู่ ในลาว เวียดนามเหนือและจีนตอนใต้ มักจะสักรูปนาคตาม ร่างกาย (รูป ๑๕) ตํานานโบราณของจีนและญวนได้กล่าว ถึงเผ่าไทยในทํานองนี้ จีนจึงเรียกเผ่าไทยว่าขิ่นหม่านซึ่ง แปลว่างูใหญ่ นอกจากนี้พงศาวดารโยนกยังกล่าวถึงเมือง โยนกนาคพันธ์ุในแคว้นสิบสองเจ้าไทย ซึ่งชื่อก็ระบุให้เห็น ชัดว่าชาวเมืองนี้มีเผ่าพันธ์ุมาจากนาค โดยที่จริงเผ่าต่างๆ ที่ผูกพันตัวเองกับสัญลักษณ์น้ำแผ่คลุมไปถึงดินแดนไทย อาหมในรัฐอัสสัมประเทศอินเดียอีกด้วย ในแคว้นดังกล่าว ปรากฏว่ามีชนเผ่าที่ขนานชื่อตนเองว่า นาคา และเรียกรัฐ ของตนเองว่า เมืองนาคาหรือนาคาแลนด์
รู้สึกว่าอะไรก็ตามที่มนุษย์คิดประดิษฐ์ขึ้นจะต้อง มีสัญลักษณ์น้ำติดอยู่เสมอ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไม้สอย ประเภทต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นหีบ (รูป ๑๖) สัตตภัณฑ์ (รูป ๑๗) เกวียน รถแห่ในพิธี (รูป ๑๘) กระทงสําหรับเทศกาลลอย กระทง ไม้แขวนกลอง (รูป ๑๙) คันไถ คานหามใน พิธีแรกนาขวัญ (รูป ๒๐) และตุงไชย (รูป ๒๑) หรืออุมบุล อุมบุลของชาวบาหลี (รูป ๒๒) แต่ที่เห็นชัดที่สุดก็คือการใช้ นาคประดับเรือ โดยที่จริงเรือขุดเป็นรูปนาคหรือประดับด้วยลาย นาคมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว นานก่อนที่ลัทธิ พราหมณ์จะเกิดขึ้น๖ แต่เรือที่เห็นเป็นรูปนาคอย่างชัดเจน และสวยงามทีส่ ดุ เห็นจะได้แก่เรือพระราชพิธใี นสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ ในปัจจุบันที่ยังปรากฏให้เห็นอยู่คือ เรือพระทีน่ ง่ั อนันตนาคราชซึง่ มีหวั เรือเป็นรูปพญานาค ๗ เศียร และมีลําเรือยาวตลอดเป็นรูปลําตัวพญานาค (รูป ๒๓) พญานาค ๗ เศียรหรืออนันตะนี้ เป็นสัญลักษณ์แห่งมหา สมุทรในภูมิจักรวาล เราคงจะไม่เห็นสัญลักษณ์น้ำที่ไหน อีกแล้ว ที่อยู่กับธาตุน้ำอย่างใกล้ชิดและงดงามถึงเพียงนี้ วรรณกรรมและหนังสือศาสนาจะกล่าวถึงนาคใน ลักษณะต่างๆ กัน ในด้านสถาปัตยกรรมและประติมากรรม นาคปรากฏตัวอยูเ่ กือบทุกหนทุกแห่งในหลายรูปแบบ ดังนัน้ ศิลปะและสถาปัตยกรรมจึงมีศัพท์ท่เี กี่ยวกับนาคเป็นจํานวน มาก (ดูรายละเอียดในบทที่ ๕) นอกจากนีน้ าคก็ยงั ไปปรากฏ ตัวในจิตรกรรม และรูปสมุดข่อยในอิรยิ าบถต่างๆ อีกด้วย
รูป ๑๕ รูปนาคหรือรูปเส้นขมวดเป็นวง ลายสักบนขาชาวชนบท แสดงให้เห็นว่ากลุ่มชนบางเผ่าถือว่าตน สืบเชื้อสายมาจากนาค ในสมัยโบราณ ชาวไทยในลาว เวียดนามเหนือและจีนตอนใต้ มักสักรูปนาคตามร่างกาย ตํานานจีน และญวนจึงกล่าวถึงเผ่าไทยว่า “ขิ่นหม่าน” แปลว่างูใหญ่
๑๕ รูป ๑๖ ด้ามถือหีบ เป็นด้ามถือหีบซึ่งแกะสลักเป็นรูปนาค
๑๖ ๖ จากหนังสือ Ethnographic Art of the Philippines, and Anthropological Approach. โดย เอริค กาซินโย่ (Eric Casino) มนิลา ค.ศ. 1973 หน้า 42
สัญลักษณ์น้ำ
๑๗๓
รูป ๑๗ สัตตภัณฑ์ เป็นเชิงเทียนแกะสลักด้วยไม้เป็นรูปนาคพันกัน สัตตภัณฑ์มีใช้อยู่ทั่วไปในวัดของภาคเหนือ
รูป ๑๘ รถขบวนแห่สงกรานต์เชียงใหม่ หัวรถซึ่งใช้แห่ในขบวน แกะสลักเป็นรูป พญานาคชูเศียรขึ้นอย่างงดงาม
รูป ๑๙ ไม้ประกับกลองในขบวนแห่ สงกรานต์เชียงใหม่ ตัวไม้ประกับกลอง แกะสลักเป็นรูปพญานาค
๑๗
๑๘
๑๙
๒๐
รูป ๒๐ คันไถในพิธีแรกนาขวัญ คันไถนี้มีรูปทรงเป็นลําตัวพญานาค ตรงปลายแกะสลักเป็นรูปเศียรพญานาค
๒๒ รูป ๒๑ ตุงไชย เป็นธงที่ใช้แขวนทั่วไปในงานวัด ที่เมือง พุกาม ประเทศพม่า ผู้เขียนได้เห็นตุงไชย ที่วัดชเวซีกอนทําเป็นรูปพญานาคแขวน เอาเศียรลง ส่วนตุงไชยของชาวบาหลี ซึ่งเรียกว่า “อุมบุล อุมบุล” นั้น มีความหมายเป็นมังกรอย่างชัดเจน
๑๗๔ ภูมิหลัง
๒๑
รูป ๒๒ อุมบุล อุมบุล เป็นตุงไชยของชาวบาหลี ใช้เสียบเข้ากับ เสาไม้ไผ่แทนที่จะใช้แขวนอย่างของไทย ชาวบ้านใช้อุมบุล อุมบุล ปักในบริเวณวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีงานเทศกาล บางครั้งเขียนรูปมังกรหรือนาค ประดับบน อุมบุล อุมบุล โดยเอาหางขึ้นและเอาเศียรลง
๒๓ รูป ๒๓ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เป็นเรือรูปพญานาคที่ชัดเจนและสวยงาม ที่สุด รูปนี้ถ่ายในต้นสมัยรัชกาลที่ ๕
สั ญลักษณ์หอยสังข์ สัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับน้ำหรือมหาสมุทรที่สําคัญ อีกอย่างหนึ่ง คือหอยสังข์หรือเปลือกหอยทากทะเลสกุล สตรอมบีเด (Strombidae) โดยที่จริงแล้วสังข์เป็นสัญ- ลักษณ์ทค่ี อ่ นข้างสลับซับซ้อนซึง่ ชาวเอเชียอาคเนย์ได้มาจาก ศาสนาฮินดู และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากพวกพราหมณ์ (รูป ๒๔) อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วหอยทะเลเป็นสิ่งที่มีค่า พิเศษมาตั้งแต่ไหนแต่ไรก่อนที่ศาสนาฮินดูจะเกิดขึ้นมาเสีย อีก ในหลุมขุดค้นโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาค อีสาน ปรากฏว่าได้ค้นพบหอยทะเลเป็นจํานวนมากฝังอยู่ ในหลุมศพ ส่วนในทะเลชาวโพลีนเี ซียได้ใช้หอยสังข์ในลักษณะ ที่เป็นสัญลักษณ์มาตั้งแต่โบราณกาล ผู้เขียนเองคิดว่า หอยสังข์นี้คงจะเป็นถาวรวัตถุที่สวยงามและมีค่ามากที่สุด ที่ชาวทะเลจะพึงหาเก็บได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นเรื่องที่ แปลกอะไรที่ในเวลาต่อมามนุษย์ได้ใช้หอยทะเลเป็นอัตรา เงิน โดยเรียกว่าเบี้ย พดด้วง (รูป ๒๕) ซึ่งทั้งคนไทยและ คนจีนใช้มาเป็นเวลานานหลายศตวรรษก็มีต้นกําเนิดมาจาก เบี้ยหรือหอยทะเลนี้เอง แม้แต่ในปัจจุบันตลาดทรัพย์ใน กรุงเทพฯ ยังใช้คําศัพท์ดอกเบี้ย ซึ่งหากแปลตรงตัวแล้ว หมายถึงดอกผลซึ่งเติบโตทวีคูณจากหอยทะเลนั่นเอง ในนิยายของชาวกรีก เงือกเทพเจ้าแห่งทะเลชื่อ ไตรตอน (Triton) ใช้หอยสังข์เป็นแตรและสัญลักษณ์ ประจําตัว ของไทยเราก็มีอะไรคล้ายๆ กัน เพราะเราถือว่า สังข์เป็นอาวุธที่สําคัญชนิดหนึ่งของพระนารายณ์ซึ่งเป็น อวตารของพระวิษณุที่คนไทยชอบกล่าวขวัญถึงมากที่สุด ตามตํานานกล่าวกันว่าพระนารายณ์ซง่ึ สถิตอยูใ่ นภูมจิ กั รวาล อันประกอบด้วยทวีป ภูเขา และมหาสมุทร ได้ลงไปปราบ เทพองค์หนึง่ ซึง่ ถูกเนรเทศออกจากสวรรค์ เทพองค์นแ้ี ปลง
กายเป็นหอยสังข์ยักษ์ไปหมุนตัวอยู่ใต้เขาพระสุเมรุในก้น ทะเลทําให้เกิดเรื่องเดือดร้อนกันทั่วไป พระนารายณ์ผู้ได้ ชัยชนะจึงใช้สังข์เป็นอาวุธนับตั้งแต่บัดนั้นมา โดยเรียกว่า สังข์ปาญจะชันยะ นี่คงเป็นเหตุที่คนในแถบนี้ของโลกใช้ สังข์เป่าเสมือนหนึ่งเป็นแตร ต่างกับชาวบกหรือนักล่าสัตว์ ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในพื้นแผ่นดินผู้มีแต่เขาสัตว์เป็นแตรเป่า
หอยสังข์ในพิธีกรรม เกี ่ยวกับพระมหากษัตริย์ หอยสังข์ยังเป็นอะไรต่อมิอะไรได้อีกหลายอย่าง เช่นเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ และธรรม ในกรณีดัง กล่าวเมื่อพระเจ้าแผ่นดินออกศึกจะประทับ ณ พระที่นั่ง พุดตานฯ ซึง่ ก็คอื ภูมจิ กั รวาลจําลองรูปหนึง่ ทีอ่ ยูบ่ นหลังช้าง โดยทรงถือสังข์ศักดิ์สิทธิ์ประจําพระองค์ สังข์อาจเป็น เครื่องวัดระยะทางไกลโดยใช้เป่าแล้วฟังดูว่าเสียงอยู่ใกล้ หรือไกลเพียงใด หรือสังข์อาจเป็นสิง่ มงคลซึง่ นํามาใช้ในพิธี ต่างๆ นับไม่ถว้ น รวมทัง้ เป็นเครือ่ งราชูปโภคทีส่ าํ คัญยิ่ง อย่างหนึ่ง เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๑ ทรงปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ปรากฏว่ามีแขกอินเดียคนหนึ่งชื่อนักกุดาสระ วาสี ได้นํามหาสังข์ทักษิณาวรรตมาทูลเกล้าฯถวายเป็นคนแรก ปรากฏการณ์ นี้ มี ค วามหมายพิ เ ศษจนถึ ง กั บ ได้ โ ปรด เกล้าฯ ตั้งแขกผู้นั้นเป็นขุนนางมียศเป็นหลวงสนิทภูบาล มหาสังข์ดังกล่าว ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตน ศาสดารามซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในราชอาณาจักร และกลายเป็นเครือ่ งสูงสําหรับพระราชพิธโี สกันต์ ต่อมารัชกาลที่ ๔ ทรงประดิษฐานพระสังข์อกี องค์หนึง่ ไว้ในวัดเดียว กันสําหรับใช้รินพระสุคนธ์สรงพระแก้วมรกตในการเปลี่ยน
สัญลักษณ์น้ำ
๑๗๕
๒๔ รูป ๒๔ พราหมณ์เป่าสังข์ สังข์ซึ่งเป็นเปลือกหอยทากทะเลชนิดหนึ่ง เป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับมหาสมุทรในระบบ จักรวาลฮินดู อันที่จริงหอยทะเลโดยทั่วไป เป็นสิ่งที่มีค่ามาตั้งแต่ดึกดําบรรพ์ก่อนที่ จะมีศาสนาฮินดูเสียอีก
๒๕
เครือ่ งทรงพระแก้วมรกตตามฤดูกาล ในเวลาเดียวกัน พระราชพิธีบรมราชาภิเษกระบุว่า พระมหากษัตริย์ยังต้องทรง ชําระพระวรกายด้วยน้ำสังข์อันศักดิ์สิทธิ์ นอกจากการใช้ หอยสังข์ในพระราชพิธีต่างๆ อีกมากมายแล้ว หอยสังข์ยัง ถูกนํามาใช้ในกิจการอืน่ ๆ อีกเป็นจํานวนมาก รวมถึงการวาง ผังเมืองซึ่งจะได้กล่าวถึงในบทที่ ๖ ต่อไป
พิ ธีกรรม เขาพระสุเมรุและมหาสมุทรซึ่งเกี่ยวเนื่องกับพระ นารายณ์ หรือทั้งเขาพระสุเมรุและเขาไกรลาสซึ่งเกี่ยวกับ พระศิวะ ตลอดจนทั้งพญานาคและหอยสังข์ต่างเป็นองค์ ประกอบในพิธีกรรมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นศาสนาฮินดูหรือ ศาสนาพุทธจนตราบเท่าทุกวันนี้ แท้จริงแล้วพิธกี รรมทีเ่ กีย่ ว ข้องกับสัญลักษณ์น้ำหรือภูมิจักรวาลมีความสัมพันธ์กับ มนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตายและแม้ภายหลังนั้นด้วยซ้ำ ผู้เขียนพิจารณาแล้วไม่เคยพบพิธีกรรมใดที่ไม่เข้า ข่ายความหมายดังกล่าว และพิธีกรรมต่างๆ นี้ก็เป็นสิ่ง ซึ่งทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินหรือไพร่ฟ้าประชาชน พึงกระทําอยูต่ ลอดปี สําหรับในกรณีของพระมหากษัตริยพ์ ระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ เรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือนได้ อธิบายไว้ชัดเจนถึงพระราชพิธีต่างๆ ที่ทรงกระทําทุกเดือน สําหรับกรณีของสามัญชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอีสาน
๑๗๖ ภูมิหลัง
พิธีกรรมสําคัญๆ จะมีเป็นประจําทุกเดือน นอกเหนือจาก งานพิธีปลีกย่อยอื่นๆ
น้ำในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พิธกี รรมทีส่ าํ คัญทีส่ ดุ เห็นจะได้แก่พระราชพิธบี รม ราชาภิเษกซึ่งมีทั้งคติพราหมณ์หรือฮินดูและพุทธปะปนกัน อยู่ เมื่อแปลกันตรงตัวแล้วก็หมายถึงการอภิเษก หรือการ แปรสภาพขององค์พระมหากษัตริย์ ซึง่ ต่างกับพิธขี องฝรัง่ ที่ให้ความสําคัญต่อการสวมมงกุฎ ในกรณีของไทยนั้น ความสําคัญอยู่ที่การแปรสภาพขององค์พระมหากษัตริย์ ด้วยธาตุน้ำ แม้แต่มงกุฎเองความหมายยังเพี้ยนกันตรงที่ ว่า ของไทยคือพระมหาพิชยั มงกุฎเป็นรูปจําลองภูมจิ กั รวาล ในพิธีของไทยพระเจ้าแผ่นดินเปรียบเสมือนพระอิศวรหรือ พระศิวะ และพระวิษณุในอวตารพระนารายณ์ โดยสวมรูป จําลองภูมิจักรวาลดังกล่าวในขณะเดียวกันทรงถือพระสังวาลธุรํา อันหมายเฉพาะถึงพระอิศวรหรือพระศิวะ พระ แสงตรีของพระศิวะ และจักรของพระวิษณุ ในพระบรม นามาภิไธยเต็มอันยืดยาวก็มีสํานวนว่าทิพยเทวาตาร แปล ว่าเป็นอวตารของพระวิษณุ ส่วนพระบรมราชโองการนั้นก็ คือ โองการของเทพเจ้าอันสูงสุดในระบบจักรวาลนั่นเอง
รูป ๒๕ พดด้วง รูปนี้ราชทูตฝรั่งเศสซึ่งมาเข้าเฝ้าสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ชื่อ ลา ลูแบร์ เขียนตีพิมพ์ลงในหนังสือชื่อ “สยาม” ฉบับภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1693 (La Loubere, A New Historical Relation of the Kingdom of Siam..., London 1693) พดด้วงซึ่งคนไทยและ คนจีนใช้เป็นอัตราเงินมาแต่โบราณกาล แท้ที่จริงก็คือเบี้ยซึ่งมีความหมายว่า หอยทะเลนั่นเอง
รูป ๒๖ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เดิมทีสร้างเป็นพระที่นั่งอมรินทราภิเษก มหาปราสาท เพื่อพระราชพิธีอินทราภิเษก ในรัชกาลที่ ๑ ต่อมาไฟไหม้จึงสร้าง พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทแทนในที่เดิม
๒๖
คติ เกี่ยวกับเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เราควรสังเกตไว้ด้วยว่าพวกฮินดูที่บูชาพระศิวะ จะบูชาพระอิศวรด้วย ดังได้กล่าวแล้วว่าคติฮินดูนั้นมีราย ละเอียดทีแ่ ตกต่างกันออกไปตามกาลเวลาและท้องถิน่ พระ อิศวรเป็นเทพซึ่งผู้คนนิยมบูชามากเสียจนในระยะต่อมาถูก ปะปนไปกับเทพเจ้าในท้องถิ่นต่างๆ ด้วยเหตุนี้พระอิศวรจึง มีความสัมพันธ์โดยทางอ้อมกับพระศิวะ ซึ่งเขมรและชาว อินเดียบูชาด้วยศิวลึงค์ ส่วนพระอิศวรเป็นเทพที่เข้ากันได้ ดีกับคนไทย เพราะไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการบูชาศิวลึงค์ซึ่ง คนไทยไม่นิยม นอกจากนี้พระศิวะยังเกี่ยวข้องโดยเฉพาะ กับภูมิจักรวาล ในส่วนที่เป็นบก หรือทวีปภูเขา ไม่ใช่ส่วนที่ เป็นน้ำ ทั้งนี้เพราะในสมัยพระเวทเมื่อประมาณ ๑๐๖๐๔๖๐ ปีก่อนพุทธกาล พระศิวะเป็นเทพเจ้าแห่งป่าดงและ สิงสาราสัตว์ ซึ่งไปคล้ายคลึงกับเทพเจ้าการล่าสัตว์ของ ชาวสแกนดิเนเวียชื่อ โวเดโวดาน (Wode-Wodan)๗ และ ด้วยความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้เองพระศิวะจึงเป็นสัญลักษณ์ แห่งเพศชาย ในสมัยหลังยุคพระเวทนั้นเทพทั้งสาม ซึ่งได้ แก่พระพรหม พระศิวะ และพระวิษณุ ล้วนแต่เป็นเทพที่มี ความสําคัญอันดับหนึ่งเท่าๆ กัน แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา บทบาทของพระพรหมค่อยๆ ลดลง ส่วนอีกสององค์ได้ ผลัดกันนําในอันดับของความสําคัญ บางครัง้ พระวิษณุและ พระพรหมต่างลดความหมายด้วยการเป็นส่วนหนึง่ ของพระ ศิวะ แต่บางครั้งพระศิวะกลับกลายเป็นส่วนที่แยกออกมา
จากองค์พระวิษณุ๘ พระราชพิธบี รมราชาภิเษกในรัชกาลที่ ๑ เป็นการ สืบทอดประเพณีจากกรุงเก่า โดยมีการประกอบพิธีอินทรา ภิเษกควบคู่กันไป ความหมายของพิธีนี้คือการอัญเชิญพระ อินทร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กษัตริย์ด้วยเหตุน้จี ึงโปรด ให้สร้างพระที่น่งั อมรินทราภิเษกขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษในพระ ราชพิธีปราบดาภิเษก๙ (รูป ๒๖)
น้ำมูรธาภิเษก
การเตรียมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกใน พ.ศ. ๒๓๒๘ และในรัชกาลต่อๆ มาซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลง บ้างแต่ก็เล็กน้อย เริ่มต้นด้วยการอัญเชิญน้ำมูรธาภิเษกที่ จะทรงสรงมาจากสถานที่ต่างๆ อันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในราชอา ณาจักร ในบันทึกครั้งกระนั้นมิได้ระบุไว้ว่านํามาจากที่ใด บ้าง แต่สําหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาล ปัจจุบัน ได้อัญเชิญมาจากท้องที่ต่างๆ รวมกันทั้งสิ้น ๑๘ แห่ง ตั้งแต่จังหวัดใต้สุดคือปัตตานี จนถึงนครพนมใน อีสาน น้ำจากแหล่งต่างๆ เจ้าหน้าทีจ่ ะนํามารวมกันทีก่ รุงเทพฯ เพื่อทําพิธีต้งั น้ำวงด้วยสายสิญจน์โดยมีพระสงฆ์ทําพิธีสวด มนต์และเป่าประกาศต่อเทพารักษ์ พิธีนี้ทําติดต่อกันสาม วัน ตกวันทีส่ ่ี พระเจ้าอยูห่ วั เสด็จฯออกประทับมณฑปพระกระยาสนาน ทรงสรงพระองค์ดว้ ยน้ำมูรธาภิเษก (รูป ๒๗) การแปรสภาพองค์เข้าสูค่ วามเป็นกษัตริยเ์ ริม่ ขึน้ จากจุดนี้ แต่ก็
๗ หนังสือแต่งโดย ซิมเมอร์ อ้างถึงแล้ว หน้า ๑๘๖ หมายเหตุ ๘ เล่มเดิม หน้า ๑๒๕ ๙ พระทีน่ ง่ั อมรินทราภิเษกมหาปราสาทถูก ไฟไหม้ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ขึ้นแทน ในที่เดิม
สัญลักษณ์น้ำ
๑๗๗
รูป ๒๗ พิธีสรงน้ำมูรธาภิเษก พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับใน พระมณฑปสรงพระมูรธาภิเษก พราหมณ์ถวายน้ำ
๒๗
ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นเจ้าแห่งภูมิจักรวาลเสียทีเดียว ยังทรง ต้องเสด็จไปที่พระที่น่ังไพศาลทักษิณประทับบนพระที่นั่ง อัฐทิศ เป็นพระราชอาสน์แปดเหลี่ยมอยู่ใต้พระเศวตฉัตร เจ็ดชัน้ ซึง่ แสดงถึงพระยศทีย่ งั ต่ำกว่าระดับพระมหากษัตริย์ สําหรับชื่อพระที่นั่งไพศาลทักษิณนี้ คําว่าทักษิณ มีความสําคัญย้อนไปถึงน้ำไหลวนลงมาจากเขาพระสุเมรุ ซึง่ ได้อธิบายไว้กอ่ นหน้านีแ้ ล้ว ส่วนพระราชอาสน์แปดเหลีย่ ม นั้นหมายถึงทิศศักดิ์สิทธิ์ทั้งแปด เป็นการแสดงให้เห็นถึง ความสําคัญที่คนโบราณให้แก่ทิศทาง จากนี้นักปราชญ์ราช บัณฑิตและพราหมณ์ จะเข้าประจําอยู่โดยรอบตามทิศดัง กล่าว แล้วกล่าวคําอัญเชิญให้พระเจ้าอยูห่ วั ทรงปกปักรักษา ทิศนัน้ ๆ หลังจากนัน้ พราหมณ์ถวายน้ำอภิเษกและถวายพระ ๑๐ เขาไกรลาสอยู่ในทิเบต เป็นยอดที่สูงที่สุด พรชัยจากทิศทัง้ แปด แล้วจึงเสด็จมายังพระราชอาสน์เรียก ยอดหนึ่ง (๖.๗ กิโลเมตร) ของเทือกเขา ว่าพระที่นั่งภัทรบิฐ ณ ที่นั้นพระมหาราชครูร่ายพระเวท หิมาลัย ศาสนาฮินดูถือว่าเขานี้เป็นที่พัก ผ่อนของพระศิวะ แต่ศาสนาพุทธมหายาน สรรเสริ ญ เขาไกรลาสซึ่ ง หมายถึ ง เขาพระสุ เมรุ ด้ ว ยโดย ปริยาย๑๐ แล้วทรงรับเครือ่ งราชกกุธภัณฑ์จากพระมหาราช ของทิเบตถือว่าเป็นเขาพระสุเมรุ ๑๑ เฉพาะรายละเอียดนี้คัดจากหนังสือ ครูซึ่งประกอบด้วย๑๑ ชุมนุมพระนิพนธ์ของพระวรวงศ์เธอ ๑. พระมหาพิชยั มงกุฎ ทรงรับมาสวม พราหมณ์ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร พิมพ์ เป่าสังข์ ขับบัณเฑาะว์ ชาวที่ประโคมแตรสังข์ พระราชทานในงานพระศพ ดุรยิ ดนตรี ทหารยิงปืนถวายพระเกียรติ พระสงฆ์ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร กรุงเทพฯ ๒๕๑๗ หน้า ๙๔-๕ ย่ำระฆังและสวดชัยมงคลคาถาทั่วราชอาณา ๑๒ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ จักร รัชกาลที่ ๑ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๓ ๒. พระแสงขรรค์ชยั ศรี พระแสงดาบคูบ่ า้ นคูเ่ มือง หน้า ๙๒-๑๐๐ ได้จากทะเลสาบในเขมร ๑๓ รายละเอียดและความหมายอันสมบูรณ์ ทั้งในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและ ๓. พัดวาลวิชนีและพระแส้จามรี เป็นราชกกุธภัณฑ์ อินทราภิเษกอธิบายอยู่แล้วในภาคของ อันนิยมว่าเป็นของสูง คู่องค์พระมหากษัตริย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช สิ่งที่ผู้เขียนได้ บรรยายมานีก้ เ็ พือ่ เน้นเฉพาะแต่ความหมาย มาแต่อินเดียโบราณ พระแส้จามรีนี้ ภายหลัง ใช้พระแส้หางช้างเผือก ในส่วนที่เกี่ยวกับธาตุน้ำและภูมิจักรวาล เท่านั้น ๔. ธารพระกร
๑๗๘ ภูมิหลัง
๕. ฉลองพระบาทเชิงงอนอันเป็นสัญลักษณ์ของ พระราม เมื่อแล้วเสร็จ พระหมอเฒ่าถวายพระมหาเศวตฉัตร ๙ ชั้น อันเป็นสัญลักษณ์สมบูรณ์แบบของพระมหากษัตริย๑๒ ์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ดังกล่าวมีฉัตรอยู่ล้อมรอบ เป็นองค์ประกอบ พร้อมทั้งเครื่องราชูปโภคและพระแสง อัษฎาวุธ ในขั้นนี้ การแปรสภาพองค์พระมหากษัตริยถ์ งึ ขัน้ สมบูรณ์ พระเจ้าอยูห่ วั จะทรงหลัง่ ทักษิโณทก เพื่อแสดง สัตยาธิษฐานที่จะทรงเป็นธรรมิกราช ข้าราชบริพารทุกคน รับการประกาศของพระองค์ประดุจดังเป็นประกาศแห่ง อวตารของพระวิษณุ ท่ามกลางเสียงเป่าพระมหาสังข์ เสียง ประโคมดนตรีและมโหระทึก แล้วเสด็จฯ ออก ณ พระทีน่ ง่ั จักรพรรดิพมิ าน รับพระชัยมงคลคาถาจากพระราชาคณะ จากนัน้ เสด็จออกท้องพระโรงหน้า งานพระราชพิธบี รมราชา ภิเษกยังมีตอ่ อีกหลายวัน จนกระทัง่ ถึงวันเสด็จฯ เลียบพระ นครจึงเป็นอันจบพระราชพิธ๑๓ ี
พระราชพิธีลงสรง
สําหรับพระราชพิธีเกี่ยวข้องกับน้ำมากที่สุดเห็น จะได้แก่พระราชพิธีลงสรง (รูป ๒๘, รูป ๒๙) ในพิธีกรรม นี้มกุฎราชกุมารจะเสด็จลงสรงในแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นที่ ทราบกันว่าพิธลี งสรงมีมาแต่ครัง้ กรุงศรีอยุธยา แต่ในสมัย รัตนโกสินทร์มพี ธิ นี เ้ี พียง ๒ ครัง้ เท่านัน้ คือใน รัชกาลที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๕ และ ในรัชกาลที่ ๕ เมือ่ พ.ศ. ๒๔๒๙ เมือ่ นานๆ ครัง้ จึงจะมีพธิ ดี งั กล่าว จึงเป็นทีน่ า่ คิดทีเดียวว่าจะ ต้องมีการท่องจําวิธีการอันสลับซับซ้อนของพิธีกรรมนี้ได้ อย่างดียง่ิ เหมือนกับชาวบาหลีซง่ึ สามารถจดจําแล้วจัดพิธี เอกา คาซา รูดรา อยู่ได้ทุกๆ ๑๐๐ ปี ในกรณีของไทยนัน้
รูป ๒๘ แพพระมณฑปในพระราชพิธี ลงสรง พ.ศ. ๒๔๒๙ แพดังกล่าวเปรียบเสมือนรูปจําลอง ภูมิจักรวาล อันประกอบด้วยเขาไกรลาส (หรือเขาพระสุเมรุ) ซึ่งมีน้ำล้อมรอบ อยูอ่ ย่างแท้จริง ในกรณีนเ้ี ท่ากับเขาไกรลาส สามารถลอยเคลือ่ นทีไ่ ด้ พระราชพิธลี งสรง ทําขึ้นเพื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
๒๘
มิได้มกี ารจดวิธกี ารอะไรไว้เลย หรือหากมีเอกสารก็ตอ้ งถูก ทําลายไปพร้อมกับกรุงเก่าจนหมดสิน้ แล้ว จะมีกแ็ ต่บนั ทึกใน สมัยรัตนโกสินทร์เท่านัน้ ซึ่งเหตุการณ์ที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็น บันทึกของพระราชพิธีในปี พ.ศ. ๒๓๕๕ “....พิธีลงสรงทําแพพระมณฑปที่ สรงในแม่น้ำ แพนั้นผูกเทียบที่หน้าพระตําหนักน้ำ กลางแพมีพระมณฑปทําด้วยไม้อุทุมพรหุ้มผ้าขาว มีที่ลงสรงอยู่ในพระมณฑป ลดพื้นลงไปให้ต่ำกว่า พื้นน้ำ ปูพื้นด้วยกระดานแลทําซี่กรงล้อม รอบชั้น ๑ ตารางไม้ไผ่ล้อมอีกชั้น ๑ แล้วถึง ร่างแหล้อมอีกชั้น ๑ มีกระดานเลียบรอบนอก เสมอพื้นที่สรงพอคนลงไปได้ ที่สรงภายใน ซี่กรงนั้นกรุผ้าทั้งพื้นแลข้างๆ มีบันไดลงจาก พื้นแพถึงที่สรง บันไดเงินอยู่ด้านเหนือ บันไดทอง อยู่ด้านใต้ ด้านตะวันออกริมพระตําหนักน้ำ เรียกว่าบันไดแก้ว ด้านตะวันตกนั้นตั้งพระแท่น สองชั้นสําหรับเป็นที่สรงน้ำมูรธาภิเศก ในกรงนั้นมีรูปกุ้งทอง กุ้งนาก กุ้งเงิน แลปลาทอง ปลานาก ปลาเงิน มีมะพร้าวปิดทองคู่ ๑ ปิดเงินคู่ ๑ นอกพระมณฑปออกมา มีฝาแลซุ้ม ประตูสี่ทิศ มีราชวัติฉัตรทองล้อมมณฑปชั้น ๑ ราชวัตินากชั้น ๑ ราชวัติเงินชั้น ๑ พราหมณ์ ตั้งโต๊ะรองน้ำสังข์น้ำกลศบูชาถวายชัยสี่มุม กรงราชวัติ ชั้นกลางมีทหารถือทวนด้ามหุ้มทอง ประจําในเวลาเสด็จลงสรงทั้งสามด้าน ด้านละ ๑๐ คน ระหว่างราชวัติชั้นนอกมีทหารถือดาบ โล่ ๓ ด้าน ด้านละ ๑๕ คน ทหารถือดาบนั่งราย ริมแพนอกราชวัติสามด้าน ด้านละ ๑๖ คน ทหารถือดาบอยู่ในน้ำริมแพสามด้าน ด้านละ ๑๖ คน ทหารถือปืนคาบศิลาอยู่นอกราชวัติด้านเหนือ ๘ คน มีเรือบัลลังก์ประทับหน้าพระตําหนักแพ แลมีเรือกัญญา เรือกระบี่ เรือครุฑ เรือดั้ง เรือรูปสัตว์ เรือพิฆาต
๒๙
เขียนรูปสัตว์ต่างๆ ทอดทุ่นเหนือน้ำท้ายน้ำรายรอบ ล้อมวงรวม ๓๙ ลํา พลพายสวมเสื้อแดง หมวกแดง มีเรือหมอจระเข้ เรือทอดแหสําหรับจับ สัตว์ร้ายรายกันอยู่ในที่ล้อมวง”๑๔ พระราชพิธีที่ได้อธิบายแสดงเขาไกรลาสหรือเขา พระสุเมรุล้อมรอบด้วยน้ำจริงๆ และธาตุน้ำในกรณีนี้คือ แม่นำ้ เจ้าพระยา ซึง่ เปรียบเสมือนสายโลหิตใหญ่ทห่ี ล่อเลีย้ ง ประเทศ และแพลงสรงนี้ก็เปรียบเสมือนรูปจําลองภูมิจักร วาลที่สามารถลอยเคลื่อนที่ได้นั่นเอง พระราชพิธีลงสรงที่กระทําใน พ.ศ. ๒๔๒๙ คง จะต้องเป็นพิธียิ่งใหญ่พอๆ กับที่กระทําใน พ.ศ. ๒๓๕๕ ใน ครั้งนั้นพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งประเทศอังกฤษได้ส่งโทร เลขถวายพระพรแด่รัชกาลที่ ๕ และทรงโปรดให้กงสุลใหญ่ ของอังกฤษชื่อ นาย อี.เอ็ม. ซาเตา (E.M. Satow) จัดส่ง รายละเอียดเกี่ยวกับพิธีกรรมไปถวายด้วย ผู้ที่เห็นเหตุการณ์เล่าว่าในระหว่างงานพระราช พิธี บรรดาเรือรบและเรือกัญญาต่างยิงปืนสลุต ในขณะที่ เรือบางลําบรรเลงปี่พาทย์ สําหรับประชาชนทั่วไปทางราช การได้เปิดโอกาสให้ชมพิธจี ากแม่นำ้ โดยให้เว้นระยะห่างออก ไปพอประมาณ และเมือ่ เสร็จงานแล้วจึงเปิดให้เข้าชมแพลง สรงได้ทั้งหมด
รูป ๒๙ หุ่นจําลองแพลงสรง เมื่อครั้งมีพระราชพิธีลงสรง พ.ศ. ๒๔๒๙ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์ วรเดชได้สร้างหุ่นจําลองแพลงสรงไว้เป็นที่ ระลึก ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พระนคร
๑๔ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ หน้า ๑๙๗-๑๙๙ พระนิพนธ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดํารงราชานุภาพ ฉบับพิมพ์ในงานฌาปน- กิจศพหม่อมแก้ว ทินกร ๓๑ มกราคม ๒๔๙๘
สัญลักษณ์น้ำ
๑๗๙
พระราชพิธีก่อพระทราย
พิธกี รรมอีกอย่างหนึง่ ทีต่ อ้ งเปียกกันทัง้ ตัวซึง่ พระ เจ้าแผ่นดินและประชาชนทั่วไปพึงกระทําทุกปี ก็คือการก่อ พระทราย พิธีนี้หมายถึงการก่อเจดีย์ทรายศักดิ์สิทธิ์หรือ อีกนัยหนึง่ การสร้างรูปจําลองภูมจิ กั รวาลจํานวนมากซึง่ กระ ทําในหลายโอกาส และที่สําคัญที่สุดก็คือกระทําในวันซึ่งตรง กับวันสงกรานต์ ในวันนั้นผู้คนจะนําทรายไปที่วัดแล้วก่อรูป เจดีย์ดังกล่าว เพื่อเป็นพุทธบูชาโดยใช้ธงและดอกไม้ประดับ หลังจากนัน้ จึงสาดน้ำรดกันตามประเพณีอย่างสนุกสนาน การก่อพระทรายในส่วนที่เป็นพระราชพิธีนั้นเดิม เป็นเรื่องที่สําคัญมาก หากแต่มิได้ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาเป็น เวลานาน ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั บรมโกศซึง่ ครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๖ ถึง ๒๓๐๑ พระราชพงศาวดารได้บันทึกถึง พระราชพิธีนี้ว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงควบคุมการก่อพระเจดีย์ ด้วย พระองค์เองรวมทั้งสิ้นกว่า ๑๐๐ องค์ พิธีทําขึ้นที่ หน้าวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา ในการนี้ได้มี การตกแต่งประดับประดาวัดสําคัญๆ ในพระนครและพระ มหาราชวังอย่างงดงามเป็นพิเศษ ตลอดทั้งยังประดับฉัตร และบายศรีกันอย่างเต็มที่ พระราชพิธีดังกล่าวกระทําติด ต่อกันถึง ๔ วัน ท่ามกลางเสียงสวดมนต์คาถา ขบวนแห่ และการบรรเลงปี่พาทย์ ครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหา ราช ทรงสถาปนากรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ได้ โปรดเกล้า ฯ ให้จัดพระราชพิธีก่อพระทรายให้เหมือนกับ เมือ่ ครัง้ กรุงเก่า เราไม่ทราบแน่วา่ พระราชพิธนี จ้ี ดั ขึน้ กีค่ รัง้ แต่ในพระราชพงศาวดารได้กล่าวว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งทรงก่อ พระเจดียท์ ราย ๔๐ องค์ เมือ่ แล้วเสร็จก็เสด็จลงสรงในแม่ น้ำภายในเขตเพนียดซึ่งสร้างลงไปถึงน้ำ โดยถือว่าการเสด็จ ลงสรงนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธี
๓๐
พระราชพิธีโสกันต์
พิธีกรรมที่ต้องเปียกน้ำอีกเหมือนกันคือพระราช พิธโี สกันต์ หรือสําหรับสามัญชนคือพิธกี ารโกนจุก โดยทีจ่ ริง พิธีนี้ทํากันในหลายศาสนา รวมทั้งศาสนาในนิกายกรีกและ คาทอลิก จนถึง พ.ศ. ๒๕๑๖ สันตะปาปาได้สั่งเลิก ในศาสนาพุทธนั้นพิธีโกนผมมีเฉพาะเพื่อบวช ทั้งนี้เป็นการกระทํา ตามพระพุทธเจ้า ซึ่งได้ทรงจําเริญพระเกศาเพื่ออภิเนษกรมณ์ ส่วนพิธีโกนจุกเด็ก เป็นเรื่องซึ่งได้สืบทอดกันมา จากพิธีรับขวัญของชาวฮินดู แต่ก่อนนี้พ่อแม่มักโกนหัวเด็กแล้วเว้นเป็นผมจุก ไว้ (รูป ๓๐) พอเด็กอายุได้ราวห้าถึงแปดขวบก็ทําพิธีโกน จุกเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าโตแล้ว พิธีที่ทําในการนี้มีรูป แบบที่แตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าสามัญชนหรือชาววังเป็นผู้ กระทํา สําหรับในวังนั้น พระราชพิธีโสกันต์เป็นงานใหญ่ และสําคัญเหมือนกับงานนักขัตฤกษ์อื่นๆ ของหลวง แต่ที่
๑๘๐ ภูมิหลัง
๓๑
รูป ๓๐ เด็กไว้ผมจุก การไว้ผมจุกและพิธีโกนผมจุกเด็ก เคย ทํากันอย่างแพร่หลายในสังคมไทย สําหรับ พิธีโกนจุกที่สําคัญ เช่นพระราชพิธีโสกันต์ พระเจ้าลูกยาเธอ พนักงานจะเกล้าพระเกศา เป็นห้าจุกตามลักษณะภูมิศาสตร์ในระบบ จักรวาล
รูป ๓๑ เขาไกรลาส รูปนี้ถ่ายเมื่อครั้งพระราชพิธีโสกันต์และ พระราชทานพระสุพรรณบัฏแด่สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พ.ศ. ๒๔๓๓ เขาไกรลาสที่สร้างขึ้นเพื่อการนี้ มีบุษบกอยู่บนยอด เป็นที่ประดิษฐาน รูปพระอิศวร รอบเขามีสัญลักษณ์ต่างๆ ในระบบจักรวาล สรุปแล้วนี่คือรูปจําลอง ภูมิจักรวาลอีกประเภทหนึ่ง
๑๕ จากหนังสือ วังหลวง โดย อุทุมพร สุนทรเวช กรุงเทพฯ ๒๕๑๕ หน้า ๓๑๓-๓๒๗
มีเป็นพิเศษคือเขาไกรลาสซึ่งสร้างขึ้นอย่างวิจิตรพิสดาร ถ้าเปรียบเทียบกับแพลงสรงแล้ว จะเห็นได้ว่าพิธีกรรมทั้ง สองต่างก็มรี ปู จําลองภูมจิ กั รวาลอันยิง่ ใหญ่ แต่คราวนีแ้ ทน ที่จะสร้างลอยอยู่ในแม่น้ำกลับสร้างอยู่บนพื้นดินในเขตพระ บรมมหาราชวังนั่นเอง โดยที่จริงแล้วพระราชพิธีโสกันต์อาจมีเพียงปะรํา จัดเป็นชั้นๆ มีฉัตรปักอยู่รอบและมีมณฑปเล็กสร้างอยู่ตรง กลาง แต่ถา้ ทําเป็นเขาไกรลาสก็จะมีบษุ บกหรือมณฑปเล็กๆ อยูบ่ นยอด เป็นทีป่ ระดิษฐานรูปพระอิศวร รอบเขาไกรลาส ก็จะมีสัญลักษณ์ต่างๆ ในระบบจักรวาลประดับพร้อม รวมทัง้ บุษบกขนาดเล็กซึง่ ตัง้ อยูส่ ม่ี มุ เพือ่ แสดงให้เห็นถึงทวีป ภูเขาในทิศทั้งสี่ ที่เชิงเขาไกรลาศด้านทิศเหนือทําเป็นที่สรง น้ำพระราชโอรสหรือพระราชธิดาที่ทรงโสกันต์ ตกแต่งด้วย สัตว์ นก และต้นไม้นานาพันธ์ุในเทพนิยาย (รูป ๓๑) ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จดั พระราชพิธโี สกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์สุขุมขัตติกัลยาวดี เป็นงานพิธีนานถึงห้าวัน ในวันแรก พระเจ้าอยูห่ วั ทรงจุดธูปเทียนทีแ่ ท่นบูชาพระในพระทีน่ ง่ั ดุสติ มหาปราสาท ขณะทีพ่ ระสงฆ์และพราหมณ์สวดชัยมงคลคาถา ในวันที่สองจะแห่เสลี่ยงซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอประทับ พร้อมด้วยขบวน รอบพระบรมมหาราชวังไปสิ้นสุดที่พระที่ นัง่ ดุสติ มหาปราสาท แล้วพระสงฆ์ทาํ พิธสี วดชัยมงคลคาถา อีก ในวันที่สามมีการบรรเลงปี่พาทย์และแสดงกายกรรม งานเป็นเช่นนี้ไปจนถึงวันที่ห้าซึ่งเป็นวันสําคัญที่สุด โดยเริ่ม ด้วยเจ้าพนักงานเกล้าพระเกศาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเป็น ห้าจุกในลักษณะภูมศิ าสตร์จกั รวาล จุกกลางจะเป็นจุกสูงสุด ล้อมรอบด้วยจุกปอยพระเกศาสีม่ มุ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยูห่ วั และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงทยอยกันทรงจําเริญปอยพระ เกศา และหลัง่ น้ำพระพุทธมนต์จากสังข์ลงบนพระวรกายสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ ท่ามกลางเสียงปีพ่ าทย์และเสียงสวดมนต์ ต่อ จากนัน้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเสด็จไปทีเ่ ขาไกรลาสซึง่ มีนำ้ พุพงุ่ ออกมาจากปากสัตว์ปา่ หิมพานต์ ๔ ตัว สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ถูกรดน้ำมนต์อกี ครัง้ แล้วจึงลงสรงน้ำเขาไกรลาศเป็นอันเสร็จ พิธใี นภาคเช้า ตอนบ่ายสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงเครือ่ งใหม่ ออกมาเฝ้าฯรับพระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนาม เครื่องราชอิสริยยศและอื่นๆ รวมทั้งพระมงกุฎ (ซึ่งหมาย ถึงรูปจําลองภูมจิ กั รวาล) ซึง่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงสวม พระราชพิธจี บลงด้วยพราหมณ์เดินทักษิณาห้ารอบในบริเวณ พระบรมมหาราชวัง ไม่ว่าจะเป็นพิธีอะไรก็ตาม ส่วนใหญ่จะต้องมี สั ญ ลั ก ษณ์ ข องระบบจั ก รวาลเป็ น องค์ ป ระกอบไปด้ ว ย เสมอ ธาตุน้ำซึ่งในโบราณกาลได้ไหลจากยอดเขาพระ สุเมรุลงมาแปรสภาพสิ่งแวดล้อม จนชีวิตในโลกสามารถ ผุดเกิดขึ้นมาได้ ก็ยังเป็นธาตุเดียวที่สามารถแปรสภาพ ชีวิตจิตใจของมนุษย์มาจนถึงทุกวันนี้
น้ำพระพิพัฒน์สัตยา
ในพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลซึ่งกระทําขึ้นเพื่อ ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาต่อพระมหากษัตริย์ น้ำที่ใช้ดื่มสาบานมีคณ ุ ลักษณะทีส่ ามารถแปรสภาพจิตใจมนุษย์ได้ดงั กล่าว การเสกน้ำสาบานเป็นหน้าที่ของพระมหาราชครูพราหมณ์ ซึ่งในพิธีจะชุบพระแสง และอ่านโองการแช่งน้ำ ในโองการ นี้มีคํากล่าวสรรเสริญพระนารายณ์ซึ่งเป็นอวตารของพระ วิษณุอยู่ด้วย เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาพระราชพิธีเดิมกระทํา กันที่วัดพระศรีสรรเพชญ์และหลังจากนั้นกระทําที่วัดมงคลบพิตร ที่กรุงเทพฯ กระทําพิธีที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยจนกระทัง่ ถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ จึงเปลีย่ นมากระทําทีว่ ดั พระ ศรีรตั นศาสดาราม ในครัง้ นัน้ กําหนดให้จดั ขึน้ ปีละสองครัง้ ใน เดือนทีต่ รงกับเทศกาลน้ำทัง้ สองคือสงกรานต์ในเดือนเมษายน และสารทในเดือนกันยายน ข้าราชการทุกคนต้องเคยถือน้ำ พิพัฒน์สัตยานี้ในทุกกรมกอง และสําหรับข้าราชการชั้นผู้ ใหญ่จําต้องกระทําพิธีในวัดพระศรีรัตนศาสดารามเฉพาะ พระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ที่นั้น พระมหา ราชครู ชุบพระแสง ๓ องค์ และอ่านโองการ อันหมายถึง แทงพระแสงดาบลงไปในน้ำแล้วแช่ง ในขณะทีพ่ นักงานเป่า แตรสังข์ ผู้ใดก็ตามที่อยู่ในพิธีและได้ดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาซึ่ง ได้ผา่ นการปลุกเสกมาอย่างน่ากลัวเช่นนีแ้ ล้ว คงไม่กล้าทีจ่ ะ ฉ้อราษฎร์บังหลวงต่อไปอย่างเด็ดขาด พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลที่กระทําอยู่ในกรุง เทพฯ มีอยู่ด้วยกัน ๕ ชนิดคือ การถือน้ำเมื่อเสวยราชย์ หรือเมื่อบรมราชาภิเษก การถือน้ำตามปกติปีละสองครั้ง ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว การถือน้ำสําหรับผู้ที่เข้ามาพึ่งโพธิสมภาร การถือน้ำสําหรับพวกทหารถืออาวุธซึ่งต้องกระทําทุก เดือน และการถือน้ำสําหรับผู้ที่เป็นที่ปรึกษาราชการ คือ พวกองคมนตรี ซึ่งต้องถือน้ำพิเศษเมื่อเข้ารับตําแหน่ง ทั้งหมดนี้ได้เลิกไปเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่ครั้งหลังๆ นี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีขึ้นมาใหม่เป็นครั้งคราว๑๕
สัญลักษณ์น้ำ
๑๘๑
น้ ำเพื่อการเกษตรกรรม พิธีซึ่งเกีย่ วกับน้ำมีอกี มากมาย และทุกครัง้ ทีเ่ ป็น พิธีกรรมสําคัญ พระเจ้าแผ่นดินจะทรงทําหน้าที่เปรียบ เสมือนพระวิษณุ หรือพระอินทร์ปราบพญานาค ในด้านการ เกษตรหากปีไหนน้ำหลากท่วมนามากเกินไปจนเสียหาย ก็ เป็นพระราชภาระที่จะต้องทําให้น้ำลด ดังนั้นเพื่อการนี้จึง มีพระราชพิธีอยู่สองอย่าง พิธีแรกเรียกว่าพระราชพิธีไล่ เรือ พระเจ้าแผ่นดินและพระมเหสี พระเจ้าลูกเธอและพระ สนมแต่งเต็มยศลงเรือพระที่นั่ง แล้วเสด็จออกประทับยืน ทรงพัชนีบังคับให้น้ำลด พิธีที่สองเรียกว่าพระราชพิธีไล่น้ำ พิธีกรรมคล้ายกันกับพระราชพิธีไล่เรือ เคยทําในแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชครั้งหนึ่ง และในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั อีกครัง้ หนึ่ง หากปีไหนฝนแล้งก็เป็นพระราชภาระอีกเช่นกัน ในกรณีนี้ต้องทําพิธีขอฝนเรียกว่าพระราชพิธีพรุณศาสตร์ ในสมัยสุโขทัยเป็นพิธกี รรมของพราหมณ์ลว้ น แต่ทก่ี รุงเทพฯ พิธีกรรมนี้มีส่วนที่เป็นศาสนาพุทธอยู่ด้วย หากแต่แยกทํา เป็นส่วนสัดโดยกั้นเขตล้อมรั้ว ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากลัทธิ พราหมณ์ประกอบด้วยรูปปั้นผู้หญิงผู้ชายกําลังร่วมเพศอยู่ ขอบสระ ท่ามกลางรูปเทวดา นาคและปลา ซึ่งปัจจุบันรูป ต่างๆ เหล่านี้เว้นรูปผู้หญิงผู้ชายเก็บไว้ที่หอในบริเวณวัด พระศรีรัตนศาสดาราม ในพระราชพิธีนี้พระสงฆ์และ พราหมณ์ทําพิธีสวดต่อเนื่องกันทุกวันเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ตลอดระยะเวลานี้พระเจ้าแผ่นดินทรงชําระล้างพระวรกาย อยู่เป็นนิจและทรงงดเว้นการสัมผัสร่างกายสตรี
น้ ำในพิธีกรรมพื้นบ้าน
การขอฝนอีกวิธีหนึ่งก็คือ งานบั้งไฟ งานนี้ทํา กันอย่างแพร่หลายในระดับชาวบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ภาคอีสานกล่าวกันว่าพิธมี ตี น้ กําเนิดจากกษัตริยเ์ ขมรผูค้ รอง ราชย์อยู่ที่หนองหาน ครั้งหนึ่งดินฟ้าอากาศเกิดแห้งแล้ง เป็นพิเศษ จึงโปรดให้สร้างบั้งไฟแล้วยิงขึ้นไปในท้องฟ้าเพื่อ สนองพระทัยพระอินทร์ซึ่งชาวบ้านเรียกง่ายๆ ว่า แถน ผู้ ซึ่งประทานฝนโปรยลงมา นอกจากเป็นพิธีขอฝนแล้ว งานบั้งไฟยังเป็นเทศ กาลทีม่ พี ร้อมกับวันวิสาขบูชาอีกด้วย คือในเดือนพฤษภาคม หรือเดือนหกในจันทรคติ เมื่อถึงเทศกาลแห่บั้งไฟ วัดต่างๆ ในชนบทจะเป็นศูนย์กลางการสร้างตกแต่งบั้ง ซึ่งต่างปก ปิดมิให้ผู้อื่นได้เห็น เมื่อถึงวันเวลาก็แห่บั้งมาประกวดกันว่า ของวัดใดหรือหมู่บ้าน หรือที่เรียกว่าคุ้มใด ยิงขึ้นท้องฟ้าได้ สูงที่สุด รวมทั้งมีการประกวดความสวยงามของบั้ง และ รถแห่หรือขบวนแห่ของบั้งไฟอีกด้วย
บั้งไฟทําด้วยไม้ไผ่บรรจุดินปืน รอบลําไผ่ประดับ ด้วยรูปนาค (รูป ๓๒, รูป ๓๓) ส่วนขบวนแห่ก็มักจะประดับ ประดาไปด้วยนาคทั่วไปหมด ผู้แห่คือชาวบ้านในละแวกนั้น บางครัง้ ชาวบ้านทัง้ หมูบ่ า้ นออกมาร้องรําทําเพลงเป็นขบวน นําหน้ารถแห่บ้างตามรถแห่บ้าง เวียนอยู่รอบหมู่บ้านกัน อย่างสนุกสนาน บางครัง้ ในขบวนแห่ชาวบ้านลากศิวลึงค์ซง่ึ ทําด้วยไม้ทาสีแดงตั้งไว้บนรถลากตามมาด้วย ความหมาย ของศิวลึงค์ก็ดี ของนาคที่ติดอยู่กับบั้งก็ดี ต่างย้อนกลับไป ถึงพญานาคบนยอดเขาพระสุเมรุทั้งนั้น ซึ่งในที่สุดก็หมาย ถึ ง สั ญ ลั ก ษณ์ ข องความเจริ ญ พั นธ์ุ ข องมนุ ษ ยชาติ แ ละ ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธ์ุธัญญาหาร เมื่อแห่บั้งมา ถึงที่ซึ่งได้นัดหมายกันแล้วซึ่งมักจะเป็นวัดที่สําคัญที่สุดใน ละแวกนั้น ชาวบ้านก็จะรวมบั้งจากคุ้มต่างๆ เข้าด้วยกัน แล้วจัดงานฉลองร่วมกันในเย็นวันนั้น รุ่งขึ้นจึงจุดบั้ง บั้งที่ จุดก่อนคือ “บัง้ ไฟเสีย่ ง” เพือ่ ดูวา่ ปีนฝ้ี นฟ้าจะตกตามฤดูกาล หรือไม่ ถ้าบัง้ ขึน้ ดีกแ็ สดงว่าฝนจะดี ถ้าขึน้ ไม่ดกี ต็ รงกันข้าม แล้วจึงจุดบั้งไฟแข่งซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านตื่นเต้นกันมาก ที่สุด สงกรานต์ซึ่งเป็นเทศกาลปีใหม่ในเดือนเมษายน เป็นพิธกี รรมอีกอย่างหนึง่ ทีเ่ กีย่ วกับการขอฝน งานเริม่ ด้วย พระในวัดอัญเชิญพระพุทธรูปออกมาประดิษฐานไว้ในหอ สรงเพื่อให้ชาวบ้านสรงน้ำ หากอยู่ในเมืองใหญ่ก็จัดกันเป็น ขบวนริ้วยาวแห่พระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ของท้องถิ่นรอบ เมือง (รูป ๑๘) เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานให้ประชาชนสรงน้ำ ในหมู่บ้านทั่วไปการสรงน้ำทําด้วย กงพัดซึ่งตั้งไว้เหนือพระพุทธรูป (รูป ๓๔) กงพัดเป็นท่อ กระบอกไม้ไผ่ซึ่งมีก้านเล็กๆ หกอันเชื่อมอยู่อย่างเฉียงๆ เมื่อชาวบ้านเทน้ำลงไปในกระบอก น้ำก็จะพุ่งออกมาจาก ก้าน ทําให้กระบอกหมุนและทําให้น้ำพุ่งออกมา ๖ สายลง มายังพระพุทธรูปเบื้องล่าง ถ้าดูให้ดีแล้วก็เหมือนกับรูปภูมิ จักรวาลอันประกอบด้วยมหาสมุทร ๖ ชั้นรอบทวีปภูเขา ฉะนั้น ในตอนบ่ายหลังจากสรงน้ำพระแล้ว ชาวบ้านพากัน ไปเก็บดอกไม้ในป่าหรือตามพุ่มไม้มาประดับหอสรงเพื่อเป็น พุทธบูชา ทั้งหมดนี้ทํากันอย่างสนุกสนาน มีทั้งการเล่น ดนตรีและการฟ้อนรําตลอดทาง พอถึงตอนเย็นจึงเริ่มงาน วัดกว่าจะเลิกบางทีก็เกือบรุ่งสางเข้าแล้ว งานสงกรานต์ในชนบทบางแห่งมีถี งึ ๑๕ วัน ตลอด ระยะเวลานี้ ชาวบ้านต่างรดน้ำเปียกโชกทั่วกันไปหมด เหมือนกับว่าเป็นพญานาคเล่นน้ำ ทุกคนต่างพยายามที่จะ รดน้ำให้มากที่สุดเพราะหากไม่เปียกโชกจริงๆ แล้วย่อม หมายความว่าปีนี้ฝนจะตกน้อย๑๖ บางแห่งอยากเปียกกัน ถึงที่สุดก็ลงไปสาดน้ำกันในแม่น้ำเลยทีเดียว (รูป ๓๕) ๑๖ จากหนังสือ ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ พิมพ์ครั้งที่ ๓ กรุงเทพฯ ๒๕๐๗ หน้า ๙
๑๘๒ ภูมิหลัง
รูป ๓๒ งานแห่บั้งไฟ งานบั้งไฟเป็นพิธีขอฝนอย่างหนึ่ง ตัวบั้งไฟ ประดับด้วยนาคซึ่งเป็นสัญลักษณ์น้ำ รูปนี้ ถ่ายทีง่ านแห่บง้ั ไฟ จังหวัดยโสธร พ.ศ. ๒๕๒๒
รูป ๓๓ บั้งไฟ รูปบั้งไฟขณะที่กําลังยิงขึ้นสู่ท้องฟ้า
๓๒
รูป ๓๔ กงพัด กงพัด คือที่สําหรับใส่น้ำสรงพระพุทธรูป หรือสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ รูปทีน่ าํ มาแสดงเป็นกงพัดที่ ถูกพัฒนามาเป็นแบบสมัยใหม่แล้ว แต่เดิมที นัน้ กงพัดทําด้วยกระบอกไม้ไผ่ มีกา้ นไม้ไผ่เล็กๆ หกอันเสียบเข้าไปอย่างเฉียงๆ เมื่อชาวบ้าน เทน้ำลงไปในกระบอก น้ำก็จะพุ่งออกมา จากก้าน ทําให้กระบอกหมุนมีน้ำพุ่งออกมา หกสายลงมายังพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐาน ไว้เบื้องล่าง ถ้าดูให้ดีแล้วก็เหมือนกับ รูปภูมิจักรวาลอันประกอบด้วยมหาสมุทร หกชั้นรอบภูเขาทวีปฉะนั้น
๓๓
รูป ๓๕ งานสงกรานต์ทเ่ี ชียงใหม่ ในงานสงกรานต์ ชาวบ้านต่างรดน้ำ ให้กนั และกันเหมือนกับว่าเป็นพญานาคเล่นน้ำ ถ้าอยากเปียกกันถึงทีส่ ดุ ก็ลงไปสาดน้ำ ในแม่นำ้ ดังเช่นในรูปนี้ ๓๔
๓๕
รูป ๓๖ ฉัตรกระดาษ ฉัตร เป็นสัญลักษณ์ภมู จิ กั รวาลประเภทหนึง่ ทีใ่ ช้กนั อย่างแพร่หลายในงานมงคลฤกษ์ตา่ งๆ ในรูปที่เห็นคือฉัตรซึ่งใช้ในงานทําบุญบ้าน
๓๖
สัญลักษณ์น้ำ
๑๘๓
สั ญลักษณ์ในศิลปะพื้นบ้าน นอกจากจะเลียนพญานาคเล่นน้ำแล้ว ประชาชน ทั่วไปยังคิดประดิษฐ์เครื่องประดับต่างๆ ในรูปภูมิจักรวาล โดยใช้ของง่ายๆ ทํา เช่น ดอกไม้ใบไม้กระดาษ และใบตอง แต่ในงานสําคัญๆ สิ่งเหล่านี้ทํากันอย่างเอิกเกริกและพิถี พิถัน อะไรก็ตามที่เป็นรูปภูมิจักรวาลถือว่ามีความสําคัญ ทั ้งสิ้นจะขาดในงานเสียมิได้
๑๗ วิจารณ์เรื่องบายศรี จากหนังสือ ขวัญและประเพณีการทําขวัญ ของ เสฐียรโกเศศ กรุงเทพฯ ๑๘ ชาวอินโดนีเซียกินบายศรีเป็นพิธีใหญ่ ส่วนญี่ปุ่นใช้ประดับสํารับในทํานอง บายศรีปากชาม ๑๙ ในคติไทย นาคเคยแปลงกายเป็นมนุษย์ เข้าพิธีบวช แต่ถูกจับได้เสียก่อน เลยถูกไล่ออกไป ซิมเมอร์ (อ้างถึงแล้ว หน้า ๖๘) กล่าวว่าในสมัย พุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงตระหนักว่า มนุษย์ยังไม่สามารถเข้าใจคําสอน ได้อย่างถ่องแท้ จึงทรงเทศน์โปรด นาคฝูงหนึ่งแทนจนกว่ามนุษย์จะ สามารถรับคําสอนต่อไปได้
๑๘๔ ภูมิหลัง
ในงานแต่งงานหรือขึน้ บ้านใหม่ในชนบท สัญลักษณ์ ภูมจิ กั รวาลจะมีอยูพ่ ร้อมในรูปของฉัตรกระดาษหรือฉัตรใบ ตอง (รูป ๓๖) ในงานระดับชาวบ้านนี้แม้แต่การจัดข้าวปลา อาหารก็ยงั สามารถทําให้เป็นภูมจิ กั รวาลได้ ซึง่ ในปัจจุบนั น้อย คนนักจะคิดถึงความหมายดังกล่าว สิง่ ทีจ่ ะกล่าวถึงนีค้ อื การ กินบายศรีหรือการจัดสํารับบายศรี การจัดบายศรีมีอยู่ ๓ อย่างด้วยกัน ถ้าประดับริมจานเรียกว่าบายศรีปากชาม (รูป ๓๗) ถ้าทําเป็นกรวยตองเรียกว่าบายศรี (รูป ๓๘) แต่ถา้ ทํา เป็นเครื่องประดับสูงหลายชั้นมีดอกไม้ปักเป็นรอบๆ ขึ้นไป เรียกว่าบายศรีต้น (รูป ๓๙) ทั้งกรวยตองและบายศรีต้นมี ไม้ ๓ ก้าน ค้ำจาก ๓ ด้าน และมีช่อดอกไม้อยู่ตรงยอด สุด กรวยหรือส่วนสูงตรงกลางถือว่าเป็นเขาไกรลาส ไม้ที่ ค้ำถือว่าเป็นบันไดสําหรับขึ้น ส่วนช่อดอกไม้ถือว่าเป็นนิเวศ สถานของพระอิศวร สัญลักษณ์ที่กล่าวมานี้ นานๆ เข้าคน ก็ลมื ว่ามีตน้ กําเนิดมาจากการจัดสํารับ เมือ่ อธิบายถึงบายศรี ต้นแล้ว ก็อดที่จะกล่าวถึงตานก๋วยสลากเสียมิได้ (รูป ๔๐) เพราะอันทีจ่ ริงแล้วตานก๋วยสลากก็เปรียบเสมือนบายศรีตน้ ขนาดใหญ่นน่ั เอง หากแต่ใช้แห่ในงานทําบุญวัดเท่านัน้ สรุป แล้วเรือ่ งอาหารการกินก็สามารถทําเป็นพิธกี รรมหรือพิธมี งคล ได้ ไม่ว่าจะกินจริงๆ หรือไม่ก็ตาม๑๗ ตลอดจนสามารถทํา เป็นเครือ่ งประกอบในพิธที าํ ขวัญ พิธกี ารแสดงคารวะกราบ ไหว้ผใู้ หญ่และพิธกี ารในศาสนา สิ่งที่น่าสังเกตก็คือการกิน บายศรีมิใช่จะมีแต่ในเมืองไทย หากแต่มีแพร่หลายทั่วไปใน ภาค “ฝั่งทะเลเอเชีย” ตั้งแต่บาหลีขึ้นไปจนถึงญี่ปุ่น๑๘ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว พระราชพิธีหลายอย่างได้ทํา ขึน้ เพือ่ แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าแผ่นดินนัน้ เปรียบเสมือนพระ วิษณุหรือพระอินทร์ผู้ให้กําเนิดแก่ชีวิตในโลกและผู้ซึ่งปลุก ปล้ำกับพญานาค สามัญชนจะบังอาจแสดงบทบาทดังกล่าว ไม่ได้ จะทําได้ก็เพียงแต่แสดงเป็นพญานาคหรือธาตุน้ำไหล วนลงมาจากเขาพระสุเมรุเท่านั้น ดังเช่นในพิธีทักษิณาหรือ ประทักษิณ ซึ่งเป็นการเดินเวียนรอบเจดีย์หรือโบสถ์ไปตาม เข็มนาฬิกา อันที่จริง ทักษิณมีความหมายว่าขวามือและ การเวียนไปตามเข็มนาฬิกาก็คอื การเดินเลีย้ วไปขวามือเรือ่ ยๆ นัน่ เอง ความหมายอีกอย่างหนึง่ ทีเ่ ข้ามาเกีย่ วข้องกับทักษิณ ก็คือทิศใต้ เพราะหากหันหน้าไปทางทิศตะวันออกซึ่งถือว่า เป็นทิศมงคลในพุทธศาสนา ขวามือก็ตรงกับทิศใต้ ในเรือ่ ง ของการเดินวนนี้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือปรากฏการณ์หมุนวนใน ธรรมชาติที่เรียกว่าคอริโอลิสซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ ๑
อย่างไรก็ดี ทักษิณาเป็นพิธีที่มีทั้งในศาสนาพุทธและศาสนา ฮินดูหรือพราหมณ์ ในประเทศอินเดียศาสนิกชนจะเดิน ทักษิณารอบบ้านตนเองก่อนที่จะออกไปทําธุระที่อื่นได้ ใน ประเทศจีนและสยามประเทศ ทักษิณาหมายถึงการเดินเวียน ขวารอบศาสนสถานเพียง ๓ รอบ เป็นที่น่าสังเกตว่าพิธีเดินเวียนทวนเข็มนาฬิกาก็มี ด้วยเหมือนกันแต่เป็นพิธีสําหรับงานศพโดยเฉพาะ ในพิธีนี้ ญาติมิตรจะเดินเวียนตามขบวนศพไปทางซ้ายมือรอบเมรุ เผา ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าคิดว่าเพราะเหตุใดจึงทําเช่นนี้ ถ้า พิจารณาว่าการเวียนไปตามเข็มนาฬิกาเป็นสัญลักษณ์ของ การเกิดและการเจริญเติบโต การเดินเวียนทวนทิศกันก็ควร หมายถึงการหมุนเวลากลับไปสูจ่ ดุ เริม่ ต้นแห่งชีวติ ใหม่ หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ การกลับไปสู่ยอดเขาพระสุเมรุ พิ ธี ทั ก ษิ ณาที่ ทํ า กั น เป็ น ประจํ า คื อ งานบวชนาค นาคทีจ่ ะบวชจะโกนผมห่มขาว และถ้าเป็นงานในชนบทก็มกั สวมหัวด้วยรูปนาคอีกด้วย๑๙ เสร็จแล้วจะแห่กันเป็นขบวน ไปวัด ตลอดทางมีการเล่นดนตรีและการฟ้อนรําทําเพลง ส่วนนาคนัน้ มีคนหามหรือมิฉะนัน้ ก็ขม่ี า้ ขีช่ า้ งไป (รูป ๔๑, รูป ๔๒) เมื่อถึงวัด ขบวนทั้งหมดก็ทําพิธีทักษิณาก่อนที่จะเริ่ม พิธีบวช พิธีทักษิณาที่น่าประทับใจมากที่สุดเห็นจะได้แก่ การเดินเทียนในวันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา (รูป ๔๓) โดย เฉพาะในวันวิสาขบูชาผู้คนจะมาวัดกันอย่างล้นหลามทุกคน จุดธูปเทียนพนมมือถือดอกไม้ แล้วเดินเวียนรอบโบสถ์เป็น แถวๆ ต่อเนือ่ งกันไปอย่างไม่ขาดสาย ตัง้ แต่หวั ค่ำจนถึงสอง ทุ่ม ถึงแม้พิธีเดินเทียนเป็นเรื่องของศาสนาพุทธ แต่ก็หนี ไม่พ้นความหมายของพญานาคหรือธาตุน้ำที่ไหลวนลงมา จากเขาพระสุเมรุหรือพระวิษณุกวนเกษียรสมุทร โดยที่จริง แต่ก่อนนี้ผู้ที่เดินเทียนมักจะสวมหัวด้วยรูปนาคด้วยซ้ำไป สรุปแล้วการเดินเทียนเป็นพิธีท่สี ะท้อนถึงภูมิจักรวาลอย่าง งดงามที่สุด
ประเพณีลอยกระทง
พิธีกรรมเกี่ยวกับธาตุน้ำที่จะกล่าวต่อไปคือพิธี ลอยกระทงซึง่ ภาคเหนือเรียกว่าประเพณีเดือนยีเ่ ป็งหรือป๋าเวณี (รูป ๔๔) กระทํากันในเดือนพฤศจิกายนเมือ่ พระจันทร์ เต็มดวงและน้ำยังนองหลากอยู่ เมื่อถึงวันลอยกระทงผู้คน จะออกไปตามหนองบึงหรือแม่น้ำลําคลองคืนนั้นจะเป็นคืน ที่งดงามที่สุดทั่วทั้งประเทศ เพราะไม่ว่าจะมองไปที่ใดจะ เห็นแสงเทียนระยิบระยับเป็นร้อยเป็นพันลอยอยู่ในน้ำ คง ไม่มีทัศนียภาพใดที่จะจับใจได้มากกว่านี้แล้ว
ในภาคเหนือมีพิธีอีกอย่างหนึ่งเรียกว่าลอยโขมด หรือลอยไฟ (รูป ๔๕) ซึ่งทําควบคู่ไปกับป๋าเวณี เมื่อถึงฤดู กาลชาวบ้านจะช่วยกันปัดกวาดตกแต่งบ้านช่อง ซุ้มประตู เข้าบ้านและวัดวาอาราม โดยใช้ฉตั ร ตุงและโคมไฟประกอบ ตลอดงานเทศกาล มีการละเล่นต่างๆ มากมาย รวมทัง้ การปล่อยว่าวควันหรือโคมบรรจุลมร้อนขึ้นไปบนท้องฟ้า ตามด้วยประทัดเสียงดังสนัน่ หวัน่ ไหวทัง้ นีถ้ อื ว่าเป็นการบูชา พระจุฬามณี ซึ่งตามตํานานกล่าวว่าเป็นเจดีย์ในสวรรค์ที่ บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า ในตอนค่ำของวันสุดท้าย จึงเป็นพิธีลอยกระทง สิ่งสําคัญในเทศกาลนี้คือการเทศนา ธรรม ๑๓ กัณฑ์ พระธรรมกถึกผู้เทศน์ต้องเป็นพระที่เก่งมี ชื่อเลื่องลือ ส่วนมากชาวบ้านต้องไปนิมนต์มาจากที่ไกลๆ พระผู้เทศน์ต้องเป็นผู้ที่มีจิตวิทยาสูง สามารถใช้กลวิธีให้ ผูฟ้ งั เกิดมีอารมณ์ขนั สนุกเพลิดเพลินไปกับตัวละครประกอบ เรื่องที่เทศน์ ทั้งยังต้องสามารถกํากับบทตัวละคร ตัวตลก และวงมโหรีปี่พาทย์ไปพร้อมๆกับการแสดงธรรมเทศนา เมื่อชาวบ้านฟังแล้วเท่ากับว่าถูกสะกดให้เห็นภาพเคลิ้มตาม ไปด้วย พระที่เก่งจริงๆ สามารถทําเช่นนี้ได้ลําพังรูปเดียว โดยท่องกัณฑ์จากความจําตลอดจนครบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ทั้งนี้ อาจใช้เวลาถึง ๓ วัน ๓ คืนทีเดียว หลายคนพยายามอธิบายถึงเหตุผล หรือทีม่ าของ ประเพณีลอยกระทง ส่วนใหญ่อธิบายไปในทางที่เกี่ยวกับ การอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ หรือการไหว้เทพเจ้าใน มหาสมุทร โดยที่จริง อินเดีย จีน เขมรและลาวต่างก็มีพิธี ลอยกระทงด้วยกันทั้งนั้น หากแต่ทําไม่ตรงเวลากัน แล้ว แต่ความเชื่อถือตามปฏิทินจันทรคติซึ่งเกี่ยวกับฤดูน้ำ หรือ ตามพระพุทธศาสนา หรือตามพิธพี ราหมณ์ในประเทศอินเดีย ถือว่าเป็นงานใหญ่ทํากันถึง ๑๕ วันเรียกว่ากิติกาวิธนัม ในงานนี้ชาวบ้านร่วมกันบูชาพระวิษณุ โดยทําแพเล็กๆ ประดับด้วยโคมไฟซึ่งพอจุดแล้วก็เอาลงแม่น้ำให้ลอยออก ไปสู่ทะเล ส่วนไทยเราถือว่าเป็นการแสดงคารวะต่อแม่น้ำ
ลําคลอง เป็นการถวายเครือ่ งบูชาต่อพระแม่คงคาเพือ่ แสดง ความกตัญญูที่ได้ใช้น้ำ และเพื่อขออภัยหากได้ใช้น้ำไปใน ทางที่ผิดเช่นทําให้เกิดมลพิษ แต่เดิมนั้นเคยมีพิธีหลวงด้วย ในพิธีหลวงพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯลงเรือ ตามด้วยขบวนเรือ ข้าราชบริพารแล้วทรงปล่อยกระทงทีต่ กแต่งอย่างสวยงาม จากเรือพระที่นั่งให้ลอยไปตามกระแสน้ำ พระราชพิธีนี้ กล่าวกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยนางนพมาศ พระ สนมเอกเป็นผู้ริเริ่ม แต่เรื่องนางนพมาศเพิ่งแต่งขึ้นในสมัย รัตนโกสินทร์นเ้ี อง และถ้าจะถือว่าเป็นเรือ่ งจริงแล้วก็ยงั ขัด อยู่ที่ว่า พงศาวดารโยนกและจามเทวีวงศ์ในพุทธศตวรรษ ที่ ๑๕ ซึ่งเก่ากว่าสมัยสุโขทัย ได้กล่าวถึงพิธีลอยกระทงที่ หริภญ ุ ไชยหรือลําพูนมาก่อนหน้านัน้ แล้ว นอกจากนีย้ งั อธิบาย ด้วยว่าเป็นการส่งสิง่ ของไปให้ญาติพน่ี อ้ งทีอ่ ยูใ่ นหงสาวดี ผู้ เขียนก็แปลกใจว่าเพราะเหตุใดชาวลําพูนจึงคิดว่าสิ่งของ จะลอยไปได้ทั้งๆ ที่เส้นทางระหว่างหริภุญไชยและหงสาวดี เป็นแต่พื้นแผ่นดิน แถมยังมีภูเขากั้นอยู่เป็นช่วงๆ อีกด้วย ไม่ทราบว่าเหตุการณ์ดังกล่าวนี้จะเป็นการเพ้อ ฝันอย่างไม่มีเหตุผล หรือว่ามีอะไรที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของ มนุษย์ที่เราควรศึกษาต่อไป พิธีกรรมต่างๆ ที่ได้อธิบายในบทนี้ เป็นแต่เพียง ส่วนเล็กน้อยของพิธีกรรมที่มีอยู่อีกมากมายในสังคมไทย แต่เท่าที่ได้กล่าวถึงก็พอแสดงให้เห็นแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็น งานพิ ธี ใดจะต้ อ งมี เครื่ อ งประดั บ ที่ เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข อง ระบบจักรวาลหรือรูปจําลองภูมิจักรวาลอยู่ด้วย และใน เวลาเดียวกันก็ต้องมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมอไป เมือ่ เป็นเช่นนีก้ น็ า่ ศึกษาให้ลกึ ลงไปว่าอะไรทีบ่ งั คับให้มนุษย์ ต้องทําเช่นนั้น
สัญลักษณ์น้ำ
๑๘๕
รูป ๓๗ บายศรีปากชาม บายศรีประดับสํารับอาหาร เครื่องสังเวยในงานมงคลฤกษ์ บายศรีนี้ทํา ด้วยใบตองและดอกไม้ในรูปกรวยและ
รูปอื่นๆ ซึ่งรวมกันแล้วคือรูปจําลอง ภูมิจักรวาล แต่มีน้อยคนนักในปัจจุบัน ที่จะคิดถึงความหมายดังกล่าว
รูป ๓๘ บายศรี บายศรีในงานพิธีสมรส
๓๗
๓๘
๓๙ รูป ๓๙ บายศรีต้น สําหรับงานสําคัญโดยเฉพาะอย่างยิง่ งานหลวง บายศรีที่ใช้คือบายศรีต้น หมายถึงบายศรีซึ่งจัดเป็นชั้นๆ ซ้อนกันขึ้นไป ถือกันว่าส่วนสูงคือ เขาไกรลาส รูป ๔๐ ตานก๋วยสลาก ใช้แห่ในงานทําบุญวัดภาคเหนือ โดยรูปลักษณะแล้วเปรียบเสมือน บายศรีต้นขนาดใหญ่
๑๘๖ ภูมิหลัง
๔๐
รูป ๔๑ งานแห่นาคบนช้าง
รูป ๔๒ ขบวนแห่นาคบนช้าง รูปถ่ายที่ตําบลหาดเสี้ยว อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
๔๑
๔๒
๔๔
๔๓ รูป ๔๓ เดินเทียน เป็นพิธีทักษิณาทางด้านพุทธศาสนา แต่ในเวลาเดียวกันก็หนีไม่พน้ ความหมายของ พญานาคหรือธาตุน้ำที่กําลังไหลวนรอบเขา พระสุเมรุ
รูป ๔๔ งานลอยกระทง พิธีลอยกระทงมีที่เมืองลําพูนมีมาตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ ๑๕ หรือประมาณ ๑,๑๐๐ ปี มาแล้ว ส่วนความหมายนั้นมีต่างๆ นานา เช่นถือว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคาหรือเป็น การอธิษฐานปล่อยทุกข์ให้ลอยไปพ้นตัว
รูป ๔๕ พิธีลอยโคมในภาคเหนือ เป็นการปล่อยว่าวควันหรือโคมบรรจุ ลมร้อนขึ้นไปบนท้องฟ้าในเทศกาลเดียวกัน กับลอยกระทง
๔๕
สัญลักษณ์น้ำ
๑๘๗
บทที่ ๓ อารยธรรมชาวน้ำ
ภูมิศาสตร์ทะเล สัญลักษณ์น้ำในวรรณกรรมไทย สัญชาตญาณและพฤติกรรมของชาวน้ำ ศิลปะของการใช้เรือ ขบวนเรือพิธี ศิลปะของการต่อเรือ การละเล่นทางน้ำ งานเทศกาลทางน้ำ สัญชาตญาณน้ำและนาฏศิลป์ สัญชาตญาณน้ำและศิลปะพื้นบ้าน สัญชาตญาณน้ำและสถาปัตยกรรม น้ำและกําเนิดอารยธรรมไม้ สถาปัตยกรรมและอารยธรรมไม้
เมื่อครั้งทวีปเอเชียอาคเนย์สลายตัวเป็นเกาะเล็ก เกาะน้อยในสมัยปลายยุคน้ำแข็งที่แล้ว มนุษย์ต้องต่อสู้ เพื่อเอาชีวิตรอดด้วยวิธีต่างๆ นานา ทําให้มีประสบการณ์ และสัญชาตญาณลักษณะเฉพาะอย่างขึ้นมา สัญชาตญาณ นี้ ได้ ถ่ า ยทอดต่ อ เนื่ อ งกั น มาหลายชั่ ว คนโดยการใช้ สั ญ ลักษณ์ในรูปต่างๆ เป็นสือ่ ถ้าดูแผนภูมแิ สดงการอพยพของ มนุษย์ในสมัยปลายยุคน้ำแข็งท้ายบทที่ ๑ และเชิงอรรถที่ ๑๗ แล้วจะเห็นได้ว่า ฝูงชนในสมัยปลายยุคน้ำแข็งซึ่งอยู่ ในตารางขวาสุดแยกออกได้เป็นสองพวกคือ พวกที่อยู่ใน หมู่เกาะของมหาสมุทรแปซิฟิกและพวกที่อยู่แถบชายฝั่ง พวกแรกมีสญ ั ชาตญาณเกีย่ วกับทะเล ส่วนพวกทีส่ องซึง่ ประ กอบด้วยชาวเอเชียอาคเนย์ มีสญ ั ชาตญาณแบบทะเลผสม บก ทั้งนี้เนื่องจากเป็นฝูงชนที่เคยอยู่บนพื้นแผ่นดินใหญ่มา ก่อน ครั้งเมื่อเอเชียอาคเนย์ยังเป็นทวีป ประกอบกับใน ระยะต่อมาในสมัยประวัติศาสตร์ มนุษย์ได้อพยพจากแผ่น ดินใหญ่ในทวีปเอเชียลงใต้สเู่ อเชียอาคเนย์ ผูเ้ ขียนสนใจพวก ที่สองนี้เป็นพิเศษโดยเฉพาะในตอนปลายยุคน้ำแข็งเพราะ เป็นพวกที่ได้อพยพหนีน้ำทะเลซึ่งท่วมขึ้นมาทุกหนทุกแห่ง ในขณะที่น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลายขึ้นไปทางทิศตะวันตกเฉียง เหนือผ่านเอเชียอาคเนย์ลกึ เข้าไปในทวีปเอเชีย และเลยไกล เข้าไปสูพ่ น้ื แผ่นดินด้านทิศตะวันตก ในบทนีจ้ ะพูดถึงสัญชาตญาณและวัฒนธรรมที่พัวพันกันระหว่างมนุษย์ทั้งสองพวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย
ภู มิศาสตร์ทะเล
๑ จากหนังสือ โคทส์ อ้างถึงแล้ว หน้า ๑๑๓-๑๑๔
๑๘๘ ภูมิหลัง
ในมหาสมุทรแปซิฟิกอันกว้างใหญ่ไพศาล สิ่งที่ มนุษย์จะต้องเรียนรู้คือ “ภูมิศาสตร์ทะเล” และดารา ศาสตร์ สิ่งเหล่านี้มนุษย์ได้จดจําและสอนสืบทอดกันมา โดยใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ชาวโพลีนีเซีย สอนเด็ ก ให้ รู้ ถึ ง ภู มิ ศ าสตร์ ท ะเลและดาราศาสตร์ โดยใช้ เพดานหลังคาศาลาชุมชนเป็นผัง ให้เด็กนั่งอยู่ตรงกลาง ศาลาแล้วให้ทอ่ งดาวอะไรอยูต่ รงส่วนใดของเพดาน เพดาน นี้มีโครงสร้างไม้ไผ่แบ่งออกเป็นซีกๆ ตรงกับทิศต่างๆ ใน ท้องฟ้า ทั้งหมดนี้สอนกันเป็นหลักสูตรนานถึง ๗ ปี๑ นอก จากนี้พวกเด็กยังต้องอ่านและทําแผนที่มหาสมุทรแปซิฟิก
ให้เป็นอีกด้วย แผนที่ดังกล่าวทําด้วยก้านไม้ซึ่งสานและมัด เข้าด้วยกันเป็นรูปเส้นในทิศทางต่างๆ มีเปลือกหอยผูกติด อยู่เป็นจุดๆ เป็นเครื่องหมายแทนเกาะ (รูป ๒๗) โดยที่ แผนที่มีน้ำหนักเบาจึงเหมาะที่จะเอาติดตัวลงเรือไปไหนต่อ ไหนด้วยได้ อย่างไรก็ดีเนื่องจากแผนที่นี้ทําด้วยไม้อันบอบ บางและชํารุดง่าย จึงต้องทําขึ้นใหม่อยู่เรื่อยๆ แต่ก็เป็นวิธี ทวนความจําและสืบสัญชาตญาณได้อย่างดี โดยสภาพสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ทําให้ชาวโพลีนี เซียหรือออสโตรนีเซียสันทัดในเรื่องการท่องจํา สําหรับคน ไทยนั้นการท่องจําเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นการท่อง พระธรรมคาถาหรือวิชาความรู้ด้วยสูตรที่ยืดยาว เช่นใน การปลูกบ้านและการทําจักสานก็มีสูตรคาถาท่อง หรือ การท่องโคลงกลอนต่างๆ รวมทั้งเพลงเห่เรือ ซึ่งในสมัย โบราณเห่กันเป็นวันๆ โดยไม่หยุด
สั ญลักษณ์น้ำในวรรณกรรมไทย เมือ่ เป็นเช่นนีว้ รรณกรรมไทยจึงเป็นเรือ่ งทีส่ บื ทอด มาด้วยปากเปล่าเสียมาก วรรณกรรมในส่วนที่เป็นลาย ลักษณ์อักษรนั้นเกิดขึ้นมาในระยะหลังเท่านั้น นอกจากนี้ วรรณกรรมไทยยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือการใช้ สั ญ ลั ก ษณ์ ห รื อ การแสดงออกซึ่ ง ความรู้ สึ ก เกี่ ย วกั บ น้ ำ ไม่ว่าจะเป็นทะเลหรือแม่น้ำลําคลอง หากพิจารณาวรรณ กรรมทั้ ง ในระดั บ สั ง คมชั้ น สู ง และในระดั บ ชาวบ้ า นแล้ ว เราจะพบสัญลักษณ์น้ำในเรื่องประเภทต่างๆ ดังนี้ อภิปรัชญา (metaphysics) ธรรมเทศนา สุภาษิต คําอวยพร การเกิด กลอนสอนเด็ก มงคลฤกษ์ การทํานายโชคชะตากรรม การเกี้ยวพาราสี กิจกรรมประจําวัน การเงิน
ชีวิตในครอบครัว พายเรือ การเดินทาง ลักษณะน้ำท่วมตามฤดูกาล ชนะการแข่งเรือ ซึ่งหมายถึงการมีชัยชนะทั่วไป เช่น “ชนะลอยลํา” เพลงเรือต่างๆ เห่เรือ ศัพท์สถาปัตยกรรม ความรู้สึกเกี่ยวกับน้ำในวรรณกรรมไทย เป็นสิ่งที่ อธิบายให้ชาวต่างประเทศฟังเข้าใจได้ยาก เพราะเป็นเรื่อง ของสัญชาตญาณ ที่น่าสังเกตก็คือธาตุน้ำที่กล่าวถึงนี้เป็น เรื่องมงคลทั้งนั้น นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ผสมผสานเข้ากับ ชีวิตคนไทยอย่างแยกกันไม่ออก บทเพลงและกวีนิพนธ์ ต่างๆ จะกล่าวถึงมหาสมุทรและน้ำท่วมเหมือนกับเป็นเรือ่ ง สนุก ฟังแล้วทําให้เบิกบานใจ ต่างกับในวรรณคดีของฝรั่ง หรือชาวบกซึง่ ส่วนใหญ่กล่าวถึงน้ำด้วยความรูส้ กึ ของความ หายนะ ดังเช่นในเรื่องของโนอาส์อาร์คในคัมภีร์ไบเบิล แต่ ในวรรณกรรมไทยมีแปลกอยู่อย่างหนึ่งคือการพรรณนาถึง ทะเล ทีว่ า่ แปลกก็เพราะว่าคนไทยชอบอยูก่ บั แม่นำ้ ลําคลอง แต่กลับไม่ชอบชีวิตที่ต้องตรากตรําในทะเล จะเห็นได้ว่าใน สมัยอยุธยา คนไทยจ้างชาวต่างประเทศเดินเรือค้าขายไป อินเดีย จีน ญี่ปุ่นและเกาหลี เพิ่งมาเริ่มเดินเรือทะเลเอา เองเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งก็สามารถทําได้ดีภายในระยะเวลาอัน สั้น โดยเฉพาะในด้านการประมง ปรากฏว่าคนไทยมีฝงู เรือ จับปลาทะเลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ฉะนั้นเรื่องที่เกี่ยว กับทะเลในวรรณกรรมไทยจะต้องเป็นสัญชาตญาณที่ถ่าย ทอดมาจากอดีตอันยาวนาน
อารยธรรมชาวน้ำ
๑๘๙
รูปเต็มหน้าพร้อม พับอีก 2 แผ่น
๑๙๐ ภูมิหลัง
รูป ๑ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ภาพสมุดข่อยยาว ๙ เมตร แสดงขบวน พยุหยาตราทางชลมารคในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช ที่เห็นนี้เป็นภาพคัด ลอกจากต้นฉบับ เขียนตามพระดำริของ สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ส่วนต้นฉบับสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นั้นได้สูญหายไปแล้ว
รูป ๒ เรือพระที่นั่ง สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขบวนเรือที่กล่าวถึงประกอบด้วยเรือ ๒๖ ประเภท มีจํานวนรวมกันทั้งสิ้น ๓๒๔ ลํา ในรูปนี้คือเรือพระที่นั่งศรีสมรรถไชย
๒ หนังสือ Revolution of Environment โดย อี. เอ. กุทคิน (E.A.Gutkind) ลอนดอน ค.ศ. 1947 หน้า 195 ๓ หนังสือ Histoire civile et naturelle du Royaume de Siam 2 เล่ม โดยตุรแปง (Turpin) ปารีส ค.ศ. 1771 เล่มที่ 1 หน้า 15-16 ๔ หนังสือ Voyage de Siam โดย โยคิม บูเว่ (Joachim Bouvet) โครงการเอเชียอาคเนย์ ของมหาวิทยาลัยคอร์แนล ลีเด้น ค.ศ. 1963 หน้า 108 ๕ เล่มเดิม หน้า 34 และ 36 ๖ หนังสือ Voyages Celebres Aux Indes Orientale โดย ชอง อัลแบร์ เดอ มันเดลสโล (Albert de Mandelslo), อัมสเตอร์ดัม ค.ศ. 1727 หน้า 214 ๗ เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias van Vliet) ใน วารสารสยามสมาคม ค.ศ. 1910 หน้า 25-26
สั ญชาตญาณและพฤติกรรมของชาวน้ำ
ที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่ได้สะท้อนให้เห็นวิถีการดํารง ชีวิตแบบชาวน้ำ ซึ่งในกรณีของคนไทยหมายถึงการสร้าง ถิ่นฐานอยู่อย่างง่ายๆ ตามแม่น้ำลําคลอง ซึ่งอาจจะเป็น การอยู่ในน้ำเลยทีเดียวหรืออยู่บนตลิ่งก็ได้ ถ้าดูในแผนภูมิ ท้ายบทที่ ๑ จะเห็นได้ว่าลักษณะเช่นนี้ตรงกับกลุ่มชนใน ตารางที่ ๒ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทอดสะพานให้วัฒนธรรมของชาว น้ำหรือชาวทะเลได้กลายเป็นวัฒนธรรมของชาวบก หรือ ของกลุ่มชนที่ได้อพยพจากใต้ไปเหนือสู่พื้นแผ่นดินในทวีป ดูเหมือนจีนเป็นชาติแรกที่ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยว กับปรากฏการณ์ดงั กล่าว โดยมองในแง่ของความแตกต่าง ระหว่างชาวเหนือและชาวใต้ คนจีนได้บันทึกไว้ในพุทธ ศตวรรษที่ ๔ ว่า “ดินแดนทีพ่ วกชินและยือ้ อาศัยอยูก่ ล่าวคือ ถัดใต้ลงมาจากแม่น้ำยังซีเกียงรวมถึงมณฑลเจ้าไทยเดิม เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ุธัญญาหาร ไม่มีใคร ต้องอดอยาก คนในแถบนั้นจึงขี้เกียจไม่รู้จักเก็บตุน แต่ใน บริเวณเหนือแม่น้ำอิและแม่น้ำซื้อ ประชาชนอยู่กันอย่าง หนาแน่น ผู้คนในแถบนั้นต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมหรือ มิฉะนั้นก็ฝนแล้ง จึงรู้จักเก็บตุนอาหาร..”๒ ในพุทธศตวรรษ ที่ ๒๓ ชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง ได้บรรยายในหนังสือของเขาถึง วัฒนธรรมของชาวใต้ ซึ่งในกรณีนี้คือคนไทยในลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยา โดยอารัมภบทว่าในลุ่มแม่น้ำนี้น้ำท่วมทุกปีๆ ละ ๖ เดือนทําให้ไร่นาอุดมสมบูรณ์ เขากล่าวว่า “ธรรมชาติ อํานวยความสะดวกสบายให้กับคนในแถบนี้เสียจนไม่มีใคร ต้องทําอะไรมาก เพียงแต่ไถดินหว่านข้าวก็พอ เพราะเมื่อ ถึงฤดูน้ำ น้ำก็ไหลหลากลงมาหล่อเลี้ยงนาเอง นอกจากนี้ ดินฟ้าอากาศก็ยังอบอุ่น ข้าวจึงเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ สิ่งเหล่านี้ทําให้ผู้คนเกียจคร้าน”๓
ศิลปะของการใช้เรือ บาทหลวงเยซูอิตฝรั่งเศสคนหนึ่ง ที่พํานักอยู่ใน อยุธยาในสมัยนัน้ ขยายความคําว่า “ขีเ้ กียจ” ดังนี้ “คนเหล่า นี้เป็นคนดีไม่มีอะไรที่จะต้องติ เพียงแต่ว่าชอบอยู่เฉยๆ
๒
ไม่ทํางาน อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องพายเรือแล้วพวกนี้จะมี กําลังวังชาขึน้ มาทันที ซึง่ บางครัง้ สามารถพายหลายวันโดย ไม่หยุด”๔ ประเด็นสําคัญก็คือ ถ้าดูเผินๆ คนไทยชอบอยู่ เฉยๆ คล้ายกับขี้เกียจ แต่แล้วกลับตรงกันข้ามหากอยู่ในน้ำ นี่เป็นเรื่องซึ่งชาวบกคงเข้าใจได้ยาก ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าถ้าอยู่บนบกผู้คนรู้สึกหมด เรี่ยวแรง แต่พอลงน้ำกลับกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาทันที ที่กรุงเก่าปรากฏการณ์เช่นนี้เห็นได้ชัดจากกิจกรรมต่างๆ ในแม่น้ำ เช่นการพายเรือซึ่ง “พวกนี้เห่เรือกันอย่างสุด เสียง ทั้งยังพายเรือด้วยความสง่างามเหมือนกับเป็นของ ง่าย...ส่วนผู้หญิงก็คัดท้ายอย่างทะมัดทะแมง” นอกจากนี้ ภาพที่ปรากฏ “...ยังเป็นภาพที่สวยงามอย่างไม่น่าเชื่อ... มองไปที่ไหนก็เห็นแต่เรือ และผู้คนผ่านไปมาในแม่น้ำอย่าง ไม่ขาดสาย ส่วนคนไหนเป็นขุนนางก็เห็นได้จากจํานวน ฝีพาย...”๕
ขบวนเรื อพิธี จํานวนผู้คนที่อยู่ในน้ำในงานพิธีหรือเทศกาลแต่ ละครั้งอาจมีถึงครึ่งล้าน เป็นชาวบ้านอยู่ในเรือขุดธรรมดา บ้าง และข้าราชการอยู่ในเรือพิธีหรือในขบวนเรือพระที่นั่ง บ้าง รวมกันแล้วเป็นจํานวนมากที่เหลือเชื่อดังกล่าว เรา ต้องยอมจํานนต่อหลักฐานเพราะฟาน ฟลีต (van Vliet) ผู้จัดการบริษัทของฮอลันดาซึ่งประจําอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา กล่าวว่าเพียงแต่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียว ยังต้องใช้ คนงานต่อเรือเป็นจํานวน ๑๐,๐๐๐ ถึง ๓๐,๐๐๐ คนเป็น ประจํา นอกจากนี้พวกฝรั่งที่พํานักอยู่ในกรุงศรีอยุธยาอีก หลายคนได้เขียนบันทึกไว้วา่ ในงานพระราชพิธที างชลมารค หรืองานพิธีต่างๆ เช่นพิธีต้อนรับทูต พิธีเรือแห่งานศพ ตลอดจนงานแข่งเรือแต่ละครั้ง ปรากฏว่ามีเรือจํานวน มหาศาลจริงๆ มีฝรั่งคนหนึ่งบันทึกไว้ในพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ว่า กรุงศรีอยุธยามีเรือทั้งสิ้นประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ ลํา และปกติเมื่อมีงานทางน้ำ เขานับจํานวนเรือได้ถึง ๓๐๐ ถึง ๔๐๐ ลํา (รูป ๑, รูป ๒) หรือถ้านับจํานวนคนในเรือก็ในราว
อารยธรรมชาวน้ำ
๑๙๑
๑๔,๐๐๐ คน บาทหลวงฝรั่งเศสชื่อบูเว่ (Bouvet) เล่าว่า ในงานพิธีครั้งหนึ่งที่เขาได้เห็น เขานับฝีพายและจํานวนคน ที่อยู่ในขบวนเรือได้ถึง ๓๐,๐๐๐ คน ในงานครั้งนั้น “ขบวน เรือหลวงมีเรือ ๗ ถึง ๘ ลํามีฝีพายลําละ ๑๐๐ คน มีทหาร ประจําเรือรวมกันทั้งสิ้นประมาณ ๔๐๐ คน ตามมาด้วย ข้าราชบริพารอีก ๑,๐๐๐ ถึง ๑,๒๐๐ คนซึ่งนั่งมาในเรือ แกะสลักเป็นลวดลายลงรักปิดทอง บางลําก็เป็นเรือสําหรับ พวกปี่พาทย์โดยเฉพาะ”๖ ฟาน ฟลีต เล่าว่าปกติจํานวน ผู้คนในงานพิธีทางน้ำมีประมาณ ๒๕,๐๐๐ คน ส่วนพิธี ทางบกมีไม่เกิน ๗,๐๐๐ คน๗ บาทหลวงตาชาร์ด (Tachard) ซึ่งมากับคณะทูตฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๒๒๘ ได้รายงานว่า พิธี ต้อนรับทูตในแม่น้ำในครั้งนั้นมีคนประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ คน ในเรือ ๒๐,๐๐๐ กว่าลํา แต่ส่วนใหญ่เป็นเรือที่ชาวบ้านพาย ออกมาดูงานจากสองฝั่งแม่น้ำ๘ ๒๐๐ ปีต่อมา ปรากฏการณ์เช่นนี้ยังมีสืบทอดมา ถึงกรุงเทพฯ ภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ นั้นคล้ายกับที่กรุง ศรีอยุธยาซึ่งอยู่ห่างขึ้นไปเพียง ๑๐๐ กิโลเมตร กล่าวคือ เป็นพื้นที่เรียบจน “สุดลูกหูลูกตาเหมือนกับในประเทศ ฮอลันดา...สภาพสิ่งแวดล้อมเช่นนี้ทําให้ผู้คนมีชีวิตอยู่อย่าง สะเทินน้ำสะเทินบก”๙ ชาวต่างประเทศที่ได้เข้ามาอยู่ใน กรุงเทพฯ ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์มักจะกล่าวถึงสภาพ กรุงเทพฯ เช่นนี้ ซึ่งก็ไม่แตกต่างอะไรไปจากสิ่งที่พวกฝรั่ง ได้เขียนบรรยายไว้เมื่อ ๒-๓ ศตวรรษก่อนหน้านั้น รวมทั้ง อธิบายว่าชาวกรุงเทพฯ “ขี้เกียจ จะไปไหนก็ต้องนั่งแจว เรือไป หรือหากอยู่กับบ้าน (เรือนแพ) ก็นั่งอยู่เฉยๆ ไม่มี เลยทีจ่ ะออกกําลังกายขีม่ า้ ล่าสัตว์หรือเดินเหิน ถ้าถูกบังคับ ให้ทําสิ่งเหล่านี้แล้วเห็นจะต้องงงกันไปหมด ไม่รู้จะเริ่มต้น อย่างไรดี แต่อย่างไรก็ตามคนไทยถือว่ามีแต่คนบ้าเท่านั้นที่ จะเดินไปไหนต่อไหน ในเมื่อทุกคนสามารถนั่งแจวเรือไปได้ อย่างสบาย”๑๐ เฉกเช่นที่กรุงศรีอยุธยา กรุงเทพฯ ในอดีตเป็น ภาพที่จอแจเต็มไปด้วยชีวิตชีวาต่อเมื่อเป็นภาพในน้ำซึ่งส่วน ใหญ่ก็เป็นเช่นนั้นเสียด้วย ทั้งเมืองมีแต่แม่น้ำลําคลองซึ่ง เต็มไปด้วยเรือ (รูป ๓-รูป ๗) “...จะไปไหนต่อไหนก็เจอแต่ เรือแน่นไปหมด จนไม่สามารถแหวกทางผ่านกันไปได้หาก ไม่ชํานาญ แต่นี่แหละพวกนี้เขาชํานาญพายเรืออย่างแท้ จริง ทั้งนี้เพราะเป็นชาวสะเทินน้ำสะเทินบกและอยู่กับน้ำ มาตั้งแต่เกิด เขาให้เด็กพายเรือตั้งแต่อายุยังไม่ถึง ๑๐ ขวบ รวมทั้งเด็กผู้หญิงด้วย ดังนั้น ทั้งที่เรือจอแจแน่นขนัดเช่นนี้ ก็ไม่ปรากฏว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องน่า อัศจรรย์ยิ่ง...”๑๑ โดยที่จริง บางครั้งก็มีเหตุเกิดขึ้นเหมือน กัน แต่พวกฝรั่งได้เห็นเหตุการณ์กลับบอกว่าดูแล้วเหมือน การแสดงกายกรรมทางน้ำ “...ถ้าเรือคว่ำ... ก็ไม่มีใครจมน้ำ ตาย เขาเพียงแต่พลิกเรือกลับแล้วนั่งแจวต่อไปเหมือนกับ ว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่เรือเหล่านี้เล็กนิดเดียว อยู่ในน้ำโดย ลําพังก็ไม่สามารถทรงตัวได้อยู่แล้ว ดังนั้นไม่มีฝรั่งคนไหน
๑๙๒ ภูมิหลัง
๓
สามารถลงไปนั่งได้ หรือถ้ามีคนช่วยจับไว้ให้แล้วลงไปนั่ง ได้สําเร็จ เพียงแต่แจว ๒-๓ ครั้งเรือก็จะพลิกคว่ำทันที”๑๒ (รูป ๘) ความชํานาญทางน้ำมากับสิง่ ทีป่ ระดิษฐ์ขน้ึ เพือ่ ใช้ ลอยในน้ำ และสิ่งที่ธรรมชาติได้ให้ติดตัวมาแต่กําเนิดเพื่อ ช่วยให้ลอยตัวเองได้ คือ แขนและขา ตั้งแต่อายุเพียง ไม่กี่ขวบเด็กถูกสอนให้พายเรือและว่ายน้ำไปพร้อมๆ กัน เด็กตัวเล็กนิดเดียวอาจว่ายน้ำเป็นก่อนที่จะเดินได้เสียอีก นี่เป็นสิ่งที่ เบาว์ริง ทูตอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้พูดถึง เขากล่าวต่อไปว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง “มีเด็กที่ติดน้ำเสียจนเป็น ข่าวเกรียวกราวทัว่ ทัง้ เมือง...เด็กทีก่ ล่าวนีม้ อี ายุเพียง ๓ ขวบ ชอบแต่อยู่ในน้ำเหมือนเป็นของธรรมชาติ เวลาอยู่ในน้ำก็ ลอยตัวแสดงท่าต่างๆ ได้เหมือนจุกขวด ไม่ต้องขยับแขน ขาแต่อย่างใด...ใครไปอุ้มขึ้นก็ไม่ได้ จะส่งเสียงร้องลั่น...เด็ก คนนี้ชอบอยู่ในน้ำมาตั้งแต่ถูกจุ่มตัวลงไปในน้ำเป็นครั้งแรก ซึ่งตอนนั้นมีอายุเพียงขวบเดียว”๑๓ ฝรั่งอีกคนหนึ่งได้พรรณนาถึงสิ่งที่ได้พบเห็นใน สมัยต้นรัชกาลที่ ๖ โดยสรุปว่าคนไทย “เป็นคนที่อยู่ใน เขตร้อน มีพืชพันธ์ุธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นคนที่ ใช้แม่น้ำลําคลองเป็นที่สัญจรแต่โบราณกาล จนกระทั่งทุก วันนี้ (กล่าวคือใน พ.ศ. ๒๔๕๔) ก็ยังใช้ลําน้ำเหล่านี้เพราะ สะดวกและประหยัด คนไทยมีความชํานาญกว่าชาติอื่นใน การต่อเรือแล่นในแม่น้ำลําคลอง...และเนื่องจากผู้คนชินอยู่ กับสิ่งเหล่านี้มาแต่เกิด ฝรั่งที่มาเห็นเข้า คิดว่าคนไทยอยู่ ในน้ำสะดวกสบายและปลอดภัยกว่าอยู่บนบก”๑๔
รูป ๓ แม่น้ำป่าสัก แสดงสภาพของพระนครศรีอยุธยาในสมัย รัชกาลที่ ๕ ซึ่งยังมีเรือและเรือนแพอยู่ เป็นจํานวนมาก
๖,๗ ดูที่หน้า ๑๙๑ ๘ หนังสือ Second Voyage โดยบาทหลวงตาชาร์ด (Tachard) หน้า 261-263 ๙ หนังสือ Voyage dans les Royaume de Siam, de Cambodge โดย อองรี มูโอ (Henri Mouhot) ปารีส ค.ศ. 1864 หน้า 4,5 ๑๐ หนังสือ Narrative of a Residence in Siam โดย เฟรเดริก อาร์เธอร์ นีล (Frederick Arthur Neal) ลอนดอน ค.ศ. 1852 หน้า 37 ๑๑ เล่มเดิม หน้า 21 ๑๒ หนังสือ The Kingkom of Yellow Robe โดย เออร์เนสต์ ยัง (Ernest Young) ลอนดอน ค.ศ. 1898 หน้า 41 ๑๓ หนังสือ The Kingdom and People of Siam โดยเซอร์ จอห์น เบาว์ริง (Sir John Bowring) 2 เล่ม ลอนดอน ค.ศ. 1857 หน้า 481 ๑๔ หนังสือ Siam and Its Production, etc. โดย จี. อี. เกรีนี่ (G.E. Gerini) ตูริน ค.ศ. 1911
รูป ๔ คลองในกรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ ๕ แสดงสภาพคลองซึ่งเต็มไปด้วยเรือนแพ และเรือนานาชนิด ภาพนี้ชาวฝรั่งเศส ชื่อบอนเนอแต็ง ตีพิมพ์ลงในหนังสือเมื่อ ศตวรรษที่แล้ว (Paul Bonnetain, L’Extreme Orient, Paris 1887)
๔
ที่หอสมุดแห่งชาติมีภาพเขียนยาว ๙ เมตรในสมุด ข่อยแสดงขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช (รูป ๑) ภาพที่กล่าวนี้คัดลอกขึ้นมา ใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ จากต้นฉบับซึ่งเขียนในพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ที่ได้สูญหายไปแล้ว ในบทนําของสมุดข่อยกล่าวว่าเป็น ขบวนพยุหยาตราไปนมัสการพระพุทธบาท และผู้เขียนเข้า ใจว่าขบวนเรือพระที่นั่งในงานพระราชพิธีต่างๆ ในสมัยนั้น ก็คงจัดในรูปเดียวกัน ในหน้าแรกๆ มีรายชือ่ และจํานวนเรือ ประเภทต่างๆ รวมกันทั้งสิ้น ๓๒๔ ลํา ซึ่งพอจะตรงกันกับ ขนาดขบวนเรือหลวงที่ฝรั่งในกรุงเก่าได้พรรณนาไว้ ภาพ เขียนที่ว่านี้มีความสําคัญมาก เพราะเป็นหลักฐานแสดงรูป ลักษณะเรือในสมัยโบราณถึง ๒๖ ประเภท ซึง่ หลายประเภท ไม่สามารถหาดูได้อีกแล้ว
ศิ ลปะของการต่อเรือ
เป็นธรรมดาที่เรือพระที่นั่งจะต้องต่อด้วยความ ประณีตงดงามเป็นพิเศษกว่าเรืออื่นๆ ทั้งหมด ถึงแม้กระ นั้นก็ตาม ฝีมือต่อเรือทั่วไปของชาวบ้านก็ยังนับว่าอยู่ในขั้น ที่ดีมาก หรือดีกว่าฝีมือช่างไม้ทั่วไป (รูป ๙) และถ้าเปรียบ เทียบงานช่างไม้ของชาติอื่นๆ แล้ว ของเราอาจจะประณีต และงดงามที่สุดก็ว่าได้ สําหรับเรือของสามัญชนนั้นก็มีอยู่ หลายประเภทเช่นกัน แต่ทุกวันนี้เหลือเพียงไม่กี่ประเภท พระยาอนุมานราชธนเคยเรียบเรียงไว้ได้ ๒๙ ชนิด๑๕ ใน จํานวนนี้มี ๖ หรือ ๗ ชนิดเท่านั้นที่ตกทอดมาถึงรุ่นเรา เป็น ที่น่าเสียดายที่ว่า เทคโนโลยีการต่อเรืออันดับหนึ่งของโลก ในอดีตเหลือหลักฐานไว้ให้เราเพียงเท่านี้เอง
การละเล่ นทางน้ำ
นอกจากขบวนพยุหยาตราทางชลมารคแล้ว ใน ฤดูน้ำยังมีการละเล่นทางน้ำของประชาชนอีกเป็นจํานวน มาก ซึ่งกระทํากันทั่วทั้งประเทศ พอฤดูน้ำท่วมมาถึงผู้คน จะรู้สึกกระฉับกระเฉงสนุกครึกครื้นขึ้นมาทันที ในชนบท ชาวบ้านจะแจวเรือออกไปร่วมงานต่างๆ กันอย่างพร้อม เพรียง มีการพายเรือเล่นสักวา ซึ่งผู้เล่นจะโต้คารมกันด้วย กาพย์กลอนอย่างสดๆ โดยคนในเรือลําหนึ่งเริ่มก่อน แล้ว คนในเรืออีกลําหนึ่งโต้กลับ สลับกันไปเช่นนี้เรื่อยๆ การต่อ กลอนต้องใช้ความจําบ้าง ความชํานาญในสักวาบ้าง แต่ทั้ง นี้และทั้งนั้นผู้แต่งกลอนหรือสักวาอาจจะเขียนหนังสือไม่ เป็นเลยก็ได้ นอกจากจะเป็นเวลาเล่นสักวาแล้ว ฤดูน้ำยัง หมายถึงเวลาเกีย้ วพาราสีอกี ด้วย ตอนเย็นๆ หนุม่ สาวหลาย คนพากันพายเรือออกไปจับกลุ่มตามแยกแม่น้ำลําคลอง หรือตามท่าวัด ฝ่ายหญิงจะออกหน้าไปก่อนแล้วจอดคอย ฝ่ายชายทําท่าเหมือนกับว่าพายไปเรือ่ ยๆ จนเมือ่ ทันฝ่ายหญิง ก็จะกล่าวเกี้ยวโดยร้องเพลงหรือว่ากลอนเป็นการเกริ่นนํา ฝ่ายหญิงก็จะตอบ ซึ่งหากว่าตอบรับ ทั้งหญิงและชายก็จะ พายเรือโต้กลอนกันต่อไปจนดึก หรือบางครั้งจนถึงรุ่งเช้า ก็ม๑๖ ี ในสมัยก่อน การแข่งเรือถือว่าเป็นงานใหญ่ในภาค ต่างๆ ทั่วประเทศ เช่น งานส่วงเฮือหรือแข่งเรือประเพณี ระหว่างลาวกับไทย ซึ่งปกติจัดที่ฝั่งเวียงจันทน์ที่เคยจัดแข่ง กันมีเรือ ๒๐-๓๐ ลํา แต่ละลํามีฝีพาย ๓๐ ถึง ๕๐ คน ในภาคอื่นๆ ก็จัดแข่งเรือประเพณีอย่างเอิกเกริก (รูป ๑๐รูป ๑๒) ทางปักษ์ใต้ งานแข่งเรือจัดพร้อมไปกับงานเทศกาล ของท้องถิ่นซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
๑๕ หนังสือ ฟื้นความหลัง โดยเสฐียรโกเศศ ๒ เล่ม กรุงเทพฯ ๒๕๑๑ เล่ม ๒ หน้า ๒๔๖-๒๔๙ ๑๖ หนังสือ ผสมผสาน โดย น.ม.ส. ชุดที่ ๑ กรุงเทพฯ ๒๕๑๔ หน้า ๑-๑๐
อารยธรรมชาวน้ำ
๑๙๓
๘
๕ รูป ๕ ตลาดน้ำคลองดําเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี สภาพชีวติ ประจําวันทีอ่ ยูก่ บั น้ำดังเช่นในรูปนี้ เคยปรากฏอยู่ทั่วไปในกรุงเทพฯในอดีต
รูป ๘ เรือขนาดจิ๋ว ฝรัง่ ทีเ่ ข้ามาในกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ กล่าวไว้ในหนังสือว่า “...เรือเหล่านี้เล็ก นิดเดียว อยู่ในน้ำโดยลําพังก็ไม่สามารถ ทรงตัวได้อยู่แล้ว ดังนั้นไม่มีฝรั่งคนไหน สามารถลงไปนั่งได้ หรือถ้ามีคนช่วยจับ ไว้ให้แล้วลงไปนั่งได้สําเร็จ เพียงแต่แจว ๒-๓ ครั้งเรือก็จะพลิกคว่ำทันที”
รูป ๖ เรือขายกาแฟ ถ่ายที่คลองดําเนินสะดวก
รูป ๗ เรือหางยาว ในสมัยโบราณ เรือแจวจ้างเคยมีอยู่เป็น จํานวนมาก ปัจจุบันถูกพัฒนามาเป็น เรือหางยาวเสียเกือบหมดแล้ว ที่เห็นในรูปคือเรือหางยาว ในคลอง บางกอกน้อย
รูป ๙ ร้านขายเรือที่คลองรังสิต งานต่อเรือ เป็นงานช่างไม้ที่วิจิตรพิสดาร มาตั้งแต่โบราณ ไม่ว่าจะเป็นเรือหลวงหรือ เรือราษฎร์ แม้แต่ในปัจจุบันก็ยังคงเป็นงาน ช่างที่ประณีต
๖
๑๙๔ ภูมิหลัง
๗
๙
งานเทศกาลทางน้ ำ ถึงแม้เทศกาลทางน้ำจะมีจํานวนน้อยลง หรือ ฉลองกันไม่ใหญ่โตเท่ากับสมัยก่อนก็ตาม แต่ก็ยังเป็นงานที่ สนุกสนานมาก งานชักพระเป็นตัวอย่างหนึ่งในจังหวัดทาง ภาคใต้ เมื่อสิ้นฤดูฝนแล้วชาวบ้านจะอัญเชิญพระพุทธรูป จากวัดออกมาแห่เป็นขบวน งานชักพระที่น่าประทับใจมาก ทีส่ ดุ เห็นจะได้แก่ ทีจ่ งั หวัดสุราษฎร์ธานี ซึง่ มีทง้ั การชักพระ ทางบกและทางน้ำ ทางบกใช้วธิ ลี าก “แพ” เอาดื้อๆ โดยไม่ มีล้อเข็น (รูป ๑๓-รูป ๑๖) “แพ” นี้มีอยู่ ๒ ลํา ทําเป็นรูป พญานาค บน “แพ” มีธงประดับและมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ เส้นทางที่ลาก “แพ” ผ่านเป็นระยะทางยาวและ ต้องข้ามทุ่งนา แต่ชาวบ้านก็พร้อมใจกันลากไปจนสําเร็จ เหมือนกับว่าเป็นการลากแพในน้ำ ส่วนแพทีล่ อยอยูใ่ นน้ำจริงๆ คือแพชักพระทีแ่ ม่นำ้ ตาปี ในอําเภอเมืองฯ (รูป ๑๗-รูป ๑๘) แพดังกล่าวประกอบด้วยเรือกระบะ ๓ ลํา ผูกขนานเข้าด้วย กันในลักษณะเรือคัดตามาแรน ซึ่งในสมัยโบราณคงเป็นแพ จริงๆ ตรงกลางจัดเป็นทีต่ ง้ั บุษบกสําหรับประดิษฐานพระพุทธ รูปสําคัญของชาวเมือง ซึ่งล้อมรอบด้วยฉัตรและธงนานา ชนิด ด้านข้างทัง้ สองของแพทําเป็นรูปพญานาคขนาดใหญ่ ดูไกลๆ เหมือนพญานาคเล่นน้ำจริงๆ เดิมทีชาวบ้านแจวเรือ ออกมาหลายลําช่วยกันลากแพ แต่มาในสมัยนี้เครื่องจักร หรือเรือกลไฟได้ทําหน้าที่แทนเสียแล้ว งานชักพระทั้งทาง บกและทางน้ำเป็นงานทีส่ วยงามมาก นอกจากนีย้ งั เป็นงาน รืน่ เริงทีม่ กี ารแข่งเรือ ประกวดเทพี และงานอื่นๆ อีกมาก มายรวมกันไป ทีก่ รุงเทพฯ งานสําคัญทีต่ อ้ งไม่ลมื กล่าวถึงคืองาน ชักพระวัดนางชี ที่ฝั่งธนบุรี (รูป ๑๙) ในอดีตเคยเป็นงานที่ ยิ่งใหญ่ที่สุด แม้กระทั่งในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขณะที่งานเทศกาลต่างๆ ถูกงดหมด ญี่ปุ่นก็ยังไม่สามารถ ห้ามงานนีไ้ ด้ ทุกวันนีง้ านชักพระวัดนางชีมใี นเดือนกันยายน แต่สิ่งที่แปลกไปกว่าที่อื่นก็คือแทนที่จะชักพระพุทธรูป งาน นี้กลับเป็นงานชักพระบรมสารีริกธาตุ งานเริ่มด้วยชาวบ้าน นําเรือมาชุมนุมกันทีท่ า่ น้ำหน้าวัดเมือ่ พร้อมแล้วก็แห่เป็นขบวน ตามพระบรมสารีริกธาตุออกไป ตามรายทางมีเรือชาวบ้าน เข้ามาร่วมมากขึน้ เรือ่ ยๆ จนเป็นขบวนอันยาวเหยียด ขบวน ออกจากคลองด่านหรือคลองวัดนางชีเลี้ยวเข้าคลองบาง กอกใหญ่ อ้อมไปทางขวามือเรื่อยๆ จนเข้าคลองชักพระ และคลองบางกอกน้อย ไปหยุดที่วัดไก่เตี้ยเพื่อขึ้นไปเลี้ยง พระที่นั่น แล้วจึงล่องขบวนต่อไปจนออกแม่น้ำเจ้าพระยา เพือ่ วกเข้าคลองด่านกลับไปยังวัดนางชีตามเดิมอีก ทีอ่ ธิบาย มานีจ้ ะเห็นว่าเป็นการล่องขบวนเรือไปทางขวามือตลอดเวลา กล่าวคือเป็นการวนในลักษณะทักษิณา แต่ชาวบ้านเรียกว่า “แห่อ้อมเกาะ”
งานชักพระวัดนางชีเคยเป็นงานเทศกาลประจําปี ทางน้ำที่สนุกสนานและมโหฬารที่สุดอย่างไรจะเห็นได้จาก เรือเล็กเรือน้อยที่สุดมาชุมนุมรวมตัวกัน แต่เรือที่มีมากที่ สุดได้แก่ “เรือเล่น” เรือประเภทนี้มีรูปร่างเรียวยาว ตรง หัวเรือมีแพรแดงเป็นแม่ยา่ นางผูกอยู่ ส่วนฝีพายเป็นผูห้ ญิง และตัวพายทาสีลวดลายเตะตา ปกติชาวบ้านเก็บเรือเล่น ไว้ใต้ถุนบ้านตามริมคลองด่าน จะนําออกมาใช้ก็เฉพาะใน งานชักพระเท่านั้น ในขบวนชักพระมีเรือเล่นรวมกันทั้งสิ้น ประมาณ ๒๐๐ ลํา มีฝีพายและผู้นั่งไปด้วยราว ๑,๘๐๐ คน นอกจากนี้มีเรือมาด เรือชะล่า และเรืออื่นๆ ซึ่งมาจาก ท้องถิ่นต่างๆ อีกประมาณ ๕๐ ลํา มีฝีพายรวมกันในราว ๑,๐๐๐ คน ตลอดจนเรือปี่พาทย์และเรือสําหรับพวกฟ้อน รําประมาณ ๑๐ ลํา เรือที่สําคัญที่สุดในงานคือ “เรือพระ” ลําเรือตกแต่งอย่างสวยงาม มีบุษบกอยู่ตรงกลางเพื่อประ ดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แต่ก่อนมีเรือพาย ๒๐ ลํา ลากนําหน้า แต่เดี๋ยวนี้ใช้เรือกลไฟแทน หรือมิฉะนั้นเรือ พระก็เป็นเรือกลไฟเสียเอง ผู้คนที่แจวเรือในขบวนทั้งหมด คงมีจํานวนหลายพันคน ทั้งนี้ยังไม่นับผู้ที่พายเรือติดตาม ระหว่างทาง หรือพวกที่จอดคอยดูงานสองฟากคลอง๑๗ ขณะที่ขบวนเรือแห่ไปตามคลอง มีการเล่นลิเก แสดงกายกรรม ร้องรําทําเพลง และลําตัดอยู่ในเรือ สิ่งที่ น่าอัศจรรย์ทส่ี ดุ คือการแสดงกายกรรมบนเก้าอีส้ งู ๑ เมตร วางอยู่บนเรือลําเล็กนิดเดียวเรียกว่า “เรือโอ” ผู้แสดงนั่ง หรือยืนอยู่บนเก้าอี้ขณะที่พาย เรือโอนี้ยาวประมาณ ๒ เมตร กว้างเพียงเมตรเดียว หากจอดอยู่เฉยๆ จะเอียง คว่ำไปข้างๆ ผู้ที่จะพายต้องมีความชํานาญจริงๆ เรือที่มี การแสดงอื่นๆ ก็เป็นเรือขนาดเล็กด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่เคย ปรากฏว่าเรือลําไหนเคยล่มเลย
๑๗ หนังสือ เมื่อวานนี้ ตอน เด็กคลอง บางหลวง โดย ขุนวิจิตรมาตรา (กาญจนาคพันธ์) กรุงเทพฯ, ๒๕๑๙ เล่ม ๒ หน้า ๓๖๒-๓๖๔
อารยธรรมชาวน้ำ
๑๙๕
๑๙๖ ภูมิหลัง
๑๐
๑๓
๑๑
๑๔
๑๒
๑๕
รูป ๑๐ งานแข่งเรือที่จังหวัดน่าน งานแข่งเรือ เป็นงานใหญ่ที่มีมาแต่ โบราณกาล ปัจจุบันมีการรื้อฟื้นส่งเสริม ประเพณีนี้ขึ้น ดังเช่นการแข่งเรือ ที่จังหวัดน่าน เป็นต้น
๑๖ รูป ๑๖ ชาวบ้านกําลังลากแพข้ามทุ่ง ทางที่ “แพ” ผ่านเป็นระยะทางไกลและต้อง ข้ามทุ่งนา แต่ชาวสุราษฎร์ธานีก็พร้อมใจกัน ลากไปจนสําเร็จ เหมือนกับว่าเป็นการลากแพ ในน้ำ
รูป ๑๑ เรือประดับ ในงานแข่งเรือที่จังหวัดน่าน จะมีขบวนเรือ ประดับอยู่ด้วยเป็นจํานวนมาก ส่วนใหญ่ เป็นการจําลองเรือพระราชพิธีของหลวง
รูป ๑๒ เรือแข่ง เรือแข่งที่จังหวัดน่าน มีหัวเรือแกะสลักเป็น รูปสาง
๑๗ รูป ๑๓ งานชักพระทางบก จังหวัดสุราษฎร์ธานี งานชักพระในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีทั้งทางน้ำและทางบก ที่เห็นในรูปนี้เป็น งานชักพระทางบก
รูป ๑๔ แพชักพระทางบก “แพ” ทีใ่ ช้ในงานชักพระทางบกของจังหวัด สุราษฎร์ธานี ทําเป็นรูปพญานาคทั้งลํา แต่เป็น “แพ” ที่ใช้ลากโดยไม่มีล้อ บน “แพ” มีธงประดับและมีพระพุทธรูป ประดิษฐานอยู่
รูป ๑๕ แพกําลังถูกลาก
รูป ๑๗ งานชักพระทางน้ำ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นงานที่จัดขึ้นในแม่น้ำตาปี เขตอําเภอเมืองฯ ดูไกลๆ แพที่ใช้ แห่พระพุทธรูปมีลักษณะเหมือน พญานาคกําลังเล่นอยู่ในน้ำ
รูป ๑๘ แพชักพระทางน้ำ เป็นแพที่ทําด้วยเรือผูกให้ขนานติดกัน ๓ ลํา บนแพประดับด้วย ฉัตร ธง และบุษบกที่ ประดิษฐานพระพุทธรูป
สั ญชาตญาณน้ำและนาฏศิลป์ การพายเรือขนาดเล็กและการทรงตัวมิให้เรือล่ม เป็นคุณลักษณะพิเศษของการแล่นเรือในแม่น้ำลําคลอง ต่างกับเรือประเภทคัดตามาแรนซึ่งเป็นเรือทะเล ทั้งหมด นี้เป็นสิ่งที่ทําให้คนไทยนั่งขัดสมาธิหรือพับเพียบเป็น ตลอด ทั้ ง ทํ า ให้ เป็ นคนที่ มี กิ ริ ย ามารยาทเรี ย บร้ อ ยไม่ ก ระโดก กระเดก ซึ่งก็เป็นกิริยาท่าทางที่สอดคล้องกับนาฏศิลป์ไทย การรําในเรือผู้รําจะต้องนั่งให้เรียบร้อยอยู่ตลอดเวลา ส่วน ท่ารํานัน้ เป็นท่าเฉพาะแค่เอวขึน้ ไป การขยับตัวไม่วา่ ในอิรยิ าบถใดจะต้องค่อยๆ ทํา เพื่อมิให้เรือโคลงเคลงพลิกคว่ำได้ โดยทีจ่ ริงแล้วท่ารําต่างๆ แม้แต่อยูบ่ นบก ก็เป็นท่าทีน่ ม่ิ นวล เหมือนกับต้องระวังมิให้เรือล่มอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ นาฏศิลป์ไทยยังมีท่านั่งรําเฉยๆ อีกเป็นอันมาก ทั้งๆ ที่มิ ได้เป็นการรําในเรือ (รูป ๒๐) ที่กล่าวมานี้ตรงกันข้ามกับนาฏศิลป์ของชาวตะวันตก ซึ่งไม่มีท่านั่งรํา มีแต่ท่าเต้นหรือท่ากระโดดซึ่งต้อง ทําให้เรือล่มอย่างแน่นอน อีกประการหนึ่ง ถึงแม้นาฏศิลป์ ไทยจะได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมอินเดียแต่ก็แตกต่าง กับนาฏศิลป์แขกเป็นอันมาก การรําของแขกกระฉับกระเฉง และต้องออกกําลัง ส่วนการรําของไทยมีแต่ค่อยๆ ขยับ
ตัวในลักษณะที่อ่อนช้อย ส่วนท่าต่างๆ ก็ขยับเพียงเล็ก น้อย โดยแต่ละครั้งมีความหมายหรือสัญลักษณ์แอบแฝง อยู๑๘ ่ (รูป ๒๑-รูป ๒๒) นอกเหนือจากความชํานาญในการทรงตัว และ การใช้สัญลักษณ์ในการฟ้อนรําแล้ว นาฏศิลป์ยังมีสิ่งที่ คล้ายกับการพายเรืออีก คือการขยับท่าต่างๆ อย่างพร้อม เพรียงและเข้าจังหวะกัน บางครั้งอาจมีคนเป็นร้อยๆ แต่ ก็สามารถทําอะไรอย่างพร้อมเพรียงกันได้จนน่าอัศจรรย์ ใจ ความพร้อมเพรียงยังปรากฏในกิจกรรมอื่นๆ อีก เช่น การปลูกบ้านซึ่งจะกล่าวไว้ในบทที่ ๔ และชักว่าว เรื่องชัก ว่าวนี้ก็เป็นเรื่องแปลก เพราะแต่เดิมเคยมีพระราชพิธีชัก ว่าวงาว แต่ในปัจจุบันงานว่าวเป็นเรื่องการแข่งขันเมื่อถึง ฤดูว่าวจะเห็นคนเป็นพันๆ ที่ท้องสนามหลวงจัดกลุ่มเป็นทีม เหมือนกับเป็นลูกเรือดึงเชือกอย่างพร้อมเพรียงกัน เพื่อชัก ว่าวขึ้นไปสู่ท้องฟ้า (รูป ๒๓)
รูป ๑๙ งานชักพระวัดนางชี ธนบุรี เป็นเทศกาลทางน้ำทีเ่ คยยิง่ ใหญ่และสวยงาม ที่สุดครั้งหนึ่ง เรือพระซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุเคยมีเรือพาย ๒๐ ลํา ลากนําหน้าไปตลอดทาง ตามมาด้วย เรือพายประเภทต่างๆ อีกเป็นจํานวนมาก ปัจจุบันขบวนเกือบจะมีแต่เรือหางยาว ส่วนเรือพระก็เป็นเรือกลไฟไปเสียแล้ว รูปนี้ถ่ายปี พ.ศ. ๒๕๒๓
รูป ๒๐ โขนธรรมศาสตร์ การทรงตัวมิให้เรือล่มเป็นคุณลักษณะพิเศษ ซึ่งทําให้คนไทยนั่งพับเพียบและมีกิริยา มารยาทเรียบร้อย กิริยาท่าทางดังกล่าว สอดคล้องกันกับนาฏศิลป์ไทยซึ่งมี ท่านั่งรําอันนิ่มนวล ต่างกับนาฏศิลป์ของ ชนชาติอื่นซึ่งไม่มีท่านั่งรําหรือท่าอื่นๆ อันนิ่มนวล รูปนี้ถ่ายปี พ.ศ. ๒๕๒๒ รูป ๒๑ ฟ้อนเล็บ รําไทยประกอบด้วยท่าที่อ่อนช้อย ท่าที่ แสดงแต่ละครัง้ ซึง่ อาจเป็นแต่เพียงลักษณะ การจีบนิ้วก็มีความหมายแอบแฝงอยู่
รูป ๒๒ รําไทยภาคเหนือ รูปนี้แสดงให้เห็นถึงการขยับท่าต่างๆ อย่างพร้อมเพรียงกัน
รูป ๒๓ ว่าวจุฬา ที่เห็นนี้เป็นว่าวจุฬาขนาดใหญ่ ใช้ในงาน ฉลองพระสุพรรณบัฏพระเจ้าลูกยาเธอ ปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ การเล่นว่าว เป็นการแสดงออกซึ่งความพร้อมเพรียง ของฝูงชนเช่นเดียวกันกับการฟ้อนรํา พายเรือ และเห่เรือ
๑๘ แต่เดิมนาฏศิลป์ไทยเป็นพิธีกรรม เสียส่วนใหญ่ ไม่เหมือนกับนาฏศิลป์ ของฝรั่งซึ่งเป็นการแสดง เพื่อให้คนทั่วไปได้ชม
๑๙
๒๐
สั ญชาตญาณน้ำและศิลปะพื้นบ้าน ความทรงจําและสัญชาตญาณเป็นสิ่งที่สืบทอด มาแต่โบราณกาล หากแต่ลักษณะของสัญชาตญาณอาจ เพีย้ นไปจากจุดแรกเริม่ การอยูบ่ นบกควรมีพฤติกรรมอย่าง หนึ่ง แต่ทั้งที่ขึ้นมาอยู่บนบกแล้ว พฤติกรรมทางน้ำของ คนไทยก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป ในเรื่องนี้ทําให้คิดถึง ปลาตะเพียนที่แขวนอยู่บนเปล (รูป ๒๔) เป็นไปได้หรือไม่ ว่ า นี่ คื อ สั ญ ลั ก ษณ์ สํ า หรั บ เตื อ นหรื อ ฝั ง ใจเด็ ก ตั้ ง แต่ ยัง เป็นทารกว่าที่มาของวัฒนธรรมของพวกเรามีสภาพสิ่งแวด ล้อมเป็นอย่างไร แต่จะอย่างไรก็ตาม สิ่งที่เด็กทารกเห็น เมื่อลืมตาขึ้นเป็นครั้งแรกนั้นคือปลาตะเพียนซึ่งถ้าคิดจาก อีกแง่หนึ่งก็คือบทเรียนบทที่ ๑ ของชีวิต จากนั้นความรู้สึก ทางน้ำก็จะถูกฝังอยู่ภายในใต้จิตสํานึก จะเป็นด้วยเหตุนี้ หรือไม่กต็ าม เมือ่ โตขึน้ เป็นผูใ้ หญ่แล้วความรูส้ กึ เกีย่ วกับน้ำ จะแสดงออกมาในหลายๆ ทาง ไม่ว่าผู้นั้นจะมีถิ่นฐานอยู่ บนน้ำหรือบนบก รถแห่งานพิธีต่างๆ ราชรถ เกวียน (รูป ๒๕) และรถสิบล้อ (รูป ๒๖) ซึ่งส่วนใหญ่มีพญานาคเป็น เครื่องประดับก็ไม่ต่างอะไรไปจากเรือหรือแพ ซึ่งลากขึ้น มาบนฝั่งแล้วติดล้อเพื่อให้แล่นต่อไปได้ สําหรับชาวทะเล สัญลักษณ์หรือสิ่งเตือนความ จําซึ่งเรียนถ่ายทอดกันมา จําเป็นต้องกะทัดรัดและชัดเจน เพื่อจําได้ง่ายๆ เช่นแผนที่มหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งได้อ้างถึงมา แล้วเป็นต้น (รูป ๒๗) ในเรือ่ งนีอ้ าจต้องกล่าวไว้ดว้ ยว่า แผนทีข่ องชาวออสโตรนีเซียคงเป็นแผนทีซ่ ง่ึ เก่าทีส่ ดุ ในโลก หรือ อย่างน้อยก็เป็นแผนที่เดินเรือทะเลที่มีมาก่อนชาติอื่น มอง จากอีกแง่หนึ่ง แผนที่นี้คือรหัสหรือเครื่องมือเพื่อการอยู่ รอดของชาวทะเลนั่นเอง เพราะเป็นสิ่งที่ทําให้พวกเขา สามารถข้ามทะเลได้เป็นพันๆ ไมล์โดยไม่หลงทาง สิง่ ทีส่ าํ คัญ คือวัฒนธรรมของชาวออสโตรนีเซียได้แผ่กระจายไปใน อาณาบริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาลที่สุดในโลกก็ด้วยแผนที่ ดังกล่าวนี้ ในส่วนเขตอิทธิพลวัฒนธรรมของชาวออสโตรนีเซียตีคลุมเข้าไปในทวีปเอเชีย เราสามารถดูได้จากแผนที่ใน หนังสือของ ออสติน โคทส์ ซึ่งได้อ้างถึงแล้ว เขตนี้คลุมถึง ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก และ “ฝั่งทะเลเอเชีย” ทั้งหมด สืบเนื่องจากการแผ่กระจายของวัฒนธรรมดัง กล่าว หรืออีกนัยหนึ่งจากการที่ฝูงชนได้อพยพขึ้นฝั่ง เรา น่าจะตั้งโจทย์ต่อไปว่าเมื่อขึ้นมาบนฝั่งแล้ว พวกเหล่านี้ก็ หมดความจําเป็นที่ต้องใช้แผนที่เดินเรืออีกต่อไปแต่ทั้งนี้มิ ได้หมายความว่าได้ทิ้งแผนที่นี้ไปเสียทั้งหมด เพียงแต่รูป ลักษณะและความหมายของแผนทีไ่ ด้เปลีย่ นแปลงไปเท่านัน้ นอกจากนี้สัญชาตญาณซึ่งพึ่งทิศทางก็ยังคงมีอยู่ ยกตัว อย่ า งเช่ นชาวอิ น โดนี เซี ย เป็ นชนชาติ ที่ คิ ด ไปไหนต่ อ ไหน ด้วยทิศทางเหมือนกับชาวเรือ ทั้งๆ ที่อยู่บนบกและคิดอ่าน ทําแผนที่ไม่เป็น ออสติน โคทส์ เล่าว่าเวลาเขาถามหาหนทาง
๒๐๐ ภูมิหลัง
๒๔
๒๕
ระหว่างที่เขาพํานักอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ชาวบ้านตอบ เขาโดยใช้ทิศอธิบายเช่นต้องไปทิศเหนือ ถึงที่จุดนั้นแล้ว ต้องไปทางทิศตะวันออกแล้วจึงลงใต้ เป็นต้น ถ้าถามชาว บ้านว่าจะให้เลี้ยวซ้ายหรือขวา ชาวบ้านจะต้องงงทันที๑๙ สิ่งต่างๆ ที่หลงเหลือมาจากสัญชาตญาณการเดินเรือนี้ ผู้ เขียนเองคิดว่าแม่ย่านางคงเป็นรหัสที่สําคัญอย่างหนึ่ง ซึ่ง คนในสมัยนี้ได้ลืมความหมายไปเสียแล้ว ในบาหลีและ ประเทศไทย พวกขับขี่ยวดยานพาหนะต่างๆ เช่นคนขับรถ สิบล้อ รถเมล์ รถแท็กซี่และคนแจวเรือ จะผูกแม่ย่านาง ไว้เหนือพวงมาลัยหรือหัวเรือ เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่จะพา พวกเขาไปสู่จุดหมายปลายทางได้ ผูเ้ ขียนได้กล่าวไว้แล้วว่าในกลุม่ ประเทศ “ฝัง่ ทะเล เอเชีย” มีอะไรหลายอย่างที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาแล้วมี ลักษณะคล้ายกัน แต่ทน่ี า่ สนใจมากทีส่ ดุ อย่างหนึง่ คือเครือ่ ง จักสานแบบ ๓ แฉก ซึ่งมีรูปลักษณะคล้ายแผนที่มหาสมุทร แปซิฟิก ถ้าเปรียบเทียบแผนที่ดังกล่าวกับเฉลว (รูป ๒๘) และเครื่องใช้จักสานทั่วไป(รูป ๒๙) ซึ่งในเวลาเดียวกันต้อง คํานึงว่า จักสานแบบ ๓ แฉกนี้มีเฉพาะในบริเวณ “ฝั่ง ทะเลเอเชีย” เท่านั้น ส่วนในแถบอื่นของโลกเกือบไม่ปรากฏ เลย ก็จะปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งเหล่านี้จะต้องมีต้นกําเนิดมาจาก ที่เดียวกันทั้งสิ้น
รูป ๒๔ เปลกับปลาตะเพียน สิ่งที่ทารกเห็นเมื่อลืมตาขึ้นเป็นครั้งแรก คือปลาตะเพียน หรืออีกนัยหนึ่งชีวิต ที่เกี่ยวกับน้ำ
รูป ๒๕ เกวียน ความรู้สึกเกี่ยวกับน้ำฝังอยู่ในใต้จิตสํานึก ของคนไทยมาตั้งแต่เด็ก และจะแสดงออก ในหลายๆ ทาง เช่น ในรูปลักษณะของ เกวียนและรถสิบล้อซึ่งมีพญานาค หรือมังกรประดับ พาหนะเหล่านี้ เปรียบเสมือนเรือหรือแพซึ่งถูกลากขึ้นมา บนฝั่งแล้วมีล้อติดให้แล่นต่อไปได้
๑๙ โคทส์ อ้างถึงแล้วหน้า ๕๙
๒๗ รูป ๒๗ แผนที่มหาสมุทรแปซิฟิกโบราณ เป็นแผนที่ซึ่งชาวออสโตรนีเซียประดิษฐ์ ใช้มาแต่โบราณกาล สําหรับชาว ออสโตรนีเซียหรือชาวหมู่เกาะทะเลใต้ สัญลักษณ์ซึ่งเป็นสิ่งเตือนความจํา จะต้องกะทัดรัดและชัดเจนเพื่อจําได้ง่ายๆ ดังเช่นแผนที่ดังกล่าวนี้
รูป ๒๘ เฉลว เป็นจักสานแบบ ๓ แฉก มีรูปลักษณะ คล้ายแผนที่มหาสมุทรแปซิฟิกของชาว ออสโตรนีเซีย ส่วนใหญ่เฉลวเป็นรหัสบอก อาณาบริเวณที่หวงห้าม
๒๘ รูป ๒๖ นาคประดับรถสิบล้อ
รูป ๒๙ งอบ สิ่งที่น่าสังเกตในรูปนี้คือโครงสร้าง แบบ ๓ แฉก ซึ่งเป็นโครงสร้างที่แข็งแรง และมีประสิทธิภาพสูง
๒๖
๒๙
อารยธรรมชาวน้ำ
๒๐๑
สําหรับเฉลวนั้น รู้สึกว่าจะเป็นรหัสซึ่งมีความ หมายหลายอย่าง ในชนบทเฉลวเป็นเครื่องหมายบอก อาณาเขต ซึ่งต่างกับแผนที่ซึ่งแสดงอาณาบริเวณ โดยใช้ แขวนหรือปักไว้กับเสาตรงที่ต้องการแสดงแนวเขตหากจะ กําหนดอาณาบริเวณให้เป็นเขตพิเศษ เช่น เป็นที่ดินส่วนตัว หรือเป็นเขตที่ต้องเสียภาษีหรือด่านศุลกากรก็ใช้สัญลักษณ์ นี้ปักไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย (รูป ๓๐) หรืออาจใช้เป็นสิ่งป้อง กันเขตหวงห้ามก็ได้ ดังเช่นกรณีที่ใช้เฉลวปักไว้ที่ไร่นาเพื่อ ป้องกันสิง่ ชัว่ ร้าย หรือผีปศิ าจมิให้กล้ำกรายเข้ามาในบริเวณ หรือปักไว้กบั ปากหม้อยาเพือ่ ปัดเป่าผีรา้ ยอยูร่ อบๆ มิให้เข้า มาแย่งเอาฤทธิ์ยาไป(รูป ๓๑) เฉลวขนาดใหญ่มีรูปร่างคล้ายกับแผนที่ของชาว ออสโตรนีเซีย แต่เฉลวขนาดเล็กมีลักษณะคล้ายกับดาว เดวิด (Star of David) รูปดาวนี้เป็นรหัสที่มีความสําคัญยิ่ง เพราะเป็นรูปจักสานแบบ ๓ แฉกขั้นมูลฐานและมีปรากฏ อยู่ทั่วทุกหนแห่งในชนบท ผู้เฒ่าผู้แก่เรียกว่าครุ หมายถึง ครู หรือสื่อแห่งการถ่ายทอดศิลปะจักสานแบบ ๓ แฉก (รูป ๓๒) ตะกร้อ (รูป ๓๓) เป็นโครงสร้างจักสานแบบ ๓ แฉก ที่มีอยู่ทั่วทุกหนแห่งในเอเชียอาคเนย์เหมือนกัน ลูกตะกร้อสานจากหวาย มีปุ่มหวายสานทับกันเป็น ๓ แฉก รวมทั้งสิ้น ๒๐ ปุ่ม มีหวายรอบวงใหญ่เป็นเส้นศูนย์สูตร ๖ แนว ทั้งหมดนี้สามารถตัดผิวลูกกลมออกเป็นสามเหลี่ยม เล็กๆ รวมทั้งสิ้น ๘๐ อัน ตารางข้างล่างนี้แสดงส่วนประ กอบของระบบเรขาคณิตดังกล่าว๒๐
ไทย พม่า มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ต่างก็อ้าง ว่าตะกร้อเป็นกีฬาประจําชาติของตน แต่ไม่มีประเทศใด สามารถสืบหาต้นตอหรือหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้ออ้างนี้ได้เลย ต้องมาแข่งขันตะกร้อทุกปีเพื่อพิสูจน์กัน ในสมัยอยุธยา ตะกร้อมีไว้สาํ หรับใช้ลงทัณฑ์ดว้ ย กล่าวคือเป็นตะกร้อขนาด ยักษ์สามารถเอานักโทษขังไว้ข้างในได้ และเมื่อขังแล้วก็ ให้ช้างเตะเป็นลูกฟุตบอลเล่น โดยที่จริงเมื่อลูกตะกร้อใหญ่ ขึ้นมามากถึงขนาดนี้ จํานวนเส้นจักสานที่ตัดกันและจํานวน รูปสามเหลี่ยมที่ผิวก็มีมากขึ้น และถ้าสมมุติว่าลูกตะกร้อ ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โครงสร้างก็จะตรงกับโดมประเภทเจโอดีสิก ซึง่ ฟุลเลอร์เป็นผูค้ ดิ ค้นขึน้ (รูป ๓๔) ทีก่ ล่าวมาทัง้ หมดนีเ้ ป็น ระบบเรขาคณิตขั้นมูลฐานเดียวกัน กล่าวคือเป็นโครงสร้าง ซึง่ ประกอบด้วยรูปสามเหลีย่ ม ซึง่ เป็นระบบทีเ่ บาและมีประสิทธิภาพความทรงตัวที่สูงที่สุด แม้แต่ฟิสิกส์และโมเลดูล่า ฟิสกิ ส์กม็ รี ะบบเรขาคณิตเดียวกัน หมายความว่าระบบเรขาคณิตนีต้ รงกับกฎธรรมชาติ สมมุตติ อ่ ไปว่าลูกตะกร้อมีขนาด ใหญ่ขึ้นอีกเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งที่ผิวลูกกลมกลายเป็นผิว แบบเรียบ ถึงขั้นนั้นแล้วรูปเรขาคณิตจะเป็นจักสานแบบ ๓ แฉกธรรมดาเหมือนกับฝาเข่ง
ส่วนประกอบเรขาคณิต
เส้นศูนย์สูตร
๖
ปุ่ม ๓ แฉก ( = รูปสามเหลี่ยมเล็กๆ)
๒๐
๒๐
รูป ๕ ด้านเท่ากัน ( = รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ๕ รูป)
๑๒
๑๒ x ๕
จํานวนสามเหลี่ยมที่ผิว
๒๐๒ ภูมิหลัง
จํานวน
รูป ๓๐ ด่านศุลกากร รูปจากตําราภาพเลขที่ ๘๑ สมุดไทยดํา เรื่องสมุดภาพสัตว์ ต้นไม้ และบ้าน หอสมุดแห่งชาติ อาคารทรงจีนที่ท่าน้ำ มีเฉลวปักอยู่บนหลังคาเพื่อแสดงให้เห็น ว่าเป็นด่านศุลกากร ด้านหลังเป็นป้อมปืน เพื่อรักษาการณ์
รูป ๓๑ เฉลวปักปากหม้อยา เป็นการปัดเป่าผีร้ายที่อยู่รอบบริเวณ มิให้เข้ามาใกล้หม้อเพื่อแย่งเอาฤทธิ์ยาไป
จํานวนรูปสามเหลี่ยม
๘๐
๒๐ ผู้ที่ศึกษาระบบเรขาคณิตประเภทนี้ มากทีส่ ดุ คนหนึง่ ได้แก่ อ๊อตโท เธโอดอร์ เบ็นฟี่ (ดูบทความ “Dodecahedral Geometry in a T’ang Era Incense Burner Preserved in the Shosoin” โดย Otto Theodor Benfey ใน Proc. Intl. Congr. (14th) of Hist of Sci. โตเกียว ค.ศ. 1975 เล่ม 3 หน้า 273)
๓๐
๓๑
๓๒ รูป ๓๒ ครุ เฉลวขั้นมูลฐานมีรูปเหมือนกันกับ “ดาวเดวิด” เป็นรหัสที่มีความสําคัญยิ่ง ผู้เฒ่าผู้แก่เรียกว่า “ครุ” หมายถึงครูหรือสื่อแห่งการถ่ายทอด ศิลปะจักสานแบบ ๓ แฉก
อารยธรรมชาวน้ำ
๒๐๓
สั ญชาตญาณน้ำและสถาปัตยกรรม โครงสร้างประเภทเจโอดีสิก มีความแข็งแรง เพราะจํากัดแรงดึงให้อยู่ใน ๓ ทิศทาง ถ้าดูรูปสามเหลี่ยม แล้วจะเข้าใจ เพราะสามเหลี่ยมเป็นรูปที่ทรงตัวได้ดีที่สุดไม่ เหมือนกับโครงรูปสี่เหลี่ยมซึ่งล้มพับได้ง่าย (รูป ๓๕) แต่ การที่โครงสามเหลี่ยมจะทรงตัวอยู่ได้ ก็ต้องหมายความว่า ด้านข้างทั้ง ๓ ด้าน สามารถรับแรงกดและแรงดึงได้พอๆ กัน เพราะถ้ามุมใดมุมหนึ่งถูกแรงกด ด้านทั้ง ๓ ด้านจะ ช่วยกันทรงตัวด้วยแรงรับซึ่งมีทั้งกดและดึงไปพร้อมๆ กัน เมื่อเป็นเช่นนี้ในสมัยโบราณ โครงสร้างต้องทําด้วยวัสดุที่ รับแรงกดและแรงดึงได้ กล่าวคือต้องเป็นไม้หรือไม้ไผ่ จะ เป็นหินไม่ได้ เพราะถึงแม้หินจะรับแรงกดได้ แต่แรงดึงมี น้อยกว่าไม้ประมาณ ๑๐๐ เท่า ถึงแม้ในปัจจุบัน โครงสร้างแบบ ๓ แฉกจะมีอยู่ แค่เครื่องจักสาน แต่ในสมัยโบราณชาวออสโตรนีเซียใช้ หลักการโครงสร้างเดียวกันเพื่อสร้างบ้านหลังจากอพยพ ขึ้นฝั่งแถวเกาะกิวชิวในญี่ปุ่น ชาวออสโตรนีเซียสร้างบ้าน เรียกว่าตากายูกา และเริ่มวัฒนธรรมโยโยอิที่นั่น ซึ่งถือ ว่าเป็นต้นตอของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ในพุทธศตวรรษที่ ๔-๑๐ วัฒนธรรมนี้แผ่กระจายไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและ คลุมถึงที่ราบกันโตซึ่งเป็นที่ตั้งของนครหลวงโตเกียวและมี สําริด เหล็กหลอม ข้าว และบ้านใต้ถุนสูงหลังคามุงด้วย จากเป็นลักษณะสําคัญ สิ่งที่ผู้เขียนสนใจเป็นพิเศษก็คือ โครงสร้างของหลังคา ซึ่งทําด้วยไม้แปและจันทันผูกเข้า ด้วยกันเป็นโครงแบบ ๓ แฉก (รูป ๓๖) บ้านของชนบางเผ่าที่สุมาตราก็มีโครงหลังคาใน ลักษณะไม้ไขว้เป็น ๓ แฉก ต่างกันตรงที่จัดให้ท่อนไม้สาน กันเป็นตารางสี่เหลี่ยมเสียก่อน แล้วจึงใช้ไม้ทแยงประมาณ ๔๕ํ ยึดโครงไว้ให้แข็งแรงทัว่ ทัง้ หลังคา (รูป ๓๗) สําหรับบ้าน เผ่าโตบ้าบาตัก๊ จัว่ ด้านหน้าและด้านหลังยืน่ สูงออกมาจาก ตัวบ้าน ระบบโครงสร้างสําหรับประคองให้เกิดรูปลักษณะ เช่นนี้ น่าจะเป็นไปตามรูปซึง่ ฟุลเลอร์ได้เขียนไว้ในแง่ทฤษฎี แต่ที่จริงโครงสร้างนี้เพียงแต่ทําท่าจะคล้อยตามทฤษฎีดัง กล่าว เพราะพวกบาตั๊กคงคิดอะไรไว้ไม่ทะลุปรุโปร่ง รูปที่ ฟุลเลอร์เขียนแสดงโครงไม้ไผ่ ๒ ชุด ชุดหนึ่งทําหน้าที่รับ แรงกด อีกชุดหนึ่งทําหน้าที่แรงดึง (รูป ๓๘) เป็นระบบโครง สร้างทีบ่ งั เอิญตรงกับยอทีม่ อี ยูท่ ว่ั ไปในชนบท ซึง่ เดีย๋ วนีห้ ลาย แห่งใช้ลวดดึงแทนไม้ไผ่แล้ว (รูป ๓๙) ถ้าเอายอหลายๆ ปากมาเรียงกันเข้า แล้วเปลี่ยนมุมองศาระหว่างตัวไม้ รับ แรงกดกับตัวไม้หรือลวดอันเป็นตัวดึง เราก็จะได้รูปหลังคา บ้านของเผ่าบาตั๊ก พร้อมทั้งสันหลังคารูปเส้นโค้งตกเหมือน สายโซ่ขงึ อย่างหย่อนๆ หรือทีเ่ รียกว่าเส้น hyperbolic parabola (รูป ๔๐) อาคารสมัยใหม่ที่ใช้โครง สร้างแบบนี้ ได้ แก่อาคารฟิลปิ ส์ในงานแสดงสินค้านานาชาติ “เอกส์โป ๕๗” ทีก่ รุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ออกแบบโดย คอร์บูซิเอ (Corbusier)
๒๐๔ ภูมิหลัง
รูป ๓๓ ตะกร้อ เป็นโครงสร้างดัดแปลงจากจักสาน แบบ ๓ แฉก ไทย พม่า มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างอ้างว่าตะกร้อเป็นกีฬา ประจําชาติของตน
รูป ๓๔ เจโอดีสิกโดม เป็นโครงสร้างโดมระบบเรขาคณิตแบบ เดียวกันกับตะกร้อ ที่เห็นในรูปคือเจโอดีสิก โดมบนหลังคาที่พักอาศับของผู้เขียน
๓๓
๓๔
๓๕ รูป ๓๕ รูปเปรียบเทียบโครงสร้าง โครงสร้าง ๓ เหลีย่ ม (a) ทรงตัวได้ดที ส่ี ดุ ไม่เหมือนโครงสร้าง ๔ เหลี่ยม (b) ซึ่งล้มพับได้ง่าย
๓๖ รูป ๓๖ บ้านตากายูกา เป็นบ้านญี่ปุ่นสมัย ๒,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว เมื่อครั้งชาวหมู่เกาะทะเลใต้ อพยพขึ้น เกาะญี่ปุ่น ถือกันว่าวัฒนธรรมญี่ปุ่น ส่วนสําคัญเริ่มต้นจากจุดนี้ บ้านดังกล่าว สร้างด้วยไม้หรือไม้ไผ่ยกพื้นบ้านสูง ใต้ถุนโล่ง หลังคามุงด้วยจาก โครงสร้าง หลังคาประกอบด้วย แป และจันทัน ผูกเข้าด้วยกันเป็นรูป ๓ แฉก รูปนี้คัดลอกมาจากรูปเหรียญโบราณ ที่ขุดพบในญี่ปุ่น
รูป ๓๗ บ้านหัวหน้าเผ่านิฮา หมู่บ้านบาโวบาตาลุโอ เกาะเนียส สุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย แสดงรูปตัดขวางตัวบ้าน จะสังเกต เห็นว่าหลังคาเป็นโครงไม้ไขว้กนั ประมาณ ๔๕ ํ ตัวบ้านยกพื้นสูง ใต้ถุนมีเสาไม้ตั้งอยู่ บนก้อนหินโดยไม่ยึดหรือปักลงไปในดิน แต่มีไม้ทแยงเป็นรูปตัว V ยึดโครงสร้าง ทั้งหมดไว้อย่างแข็งแรง รูปนี้อยู่ใน หนังสือโดย เดอ โบเอ้อร์ (D.W.N.De Boer. Het Niassche Huis, Batavia 1920)
รูป ๓๘ รูปเขียนโครงสร้าง หลังคาบ้านโตบ้าบาตั๊ก เป็นรูปเขียนในเชิงทฤษฎีโดยฟุลเลอร์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าโครงไม้แบ่งออกเป็น สองประเภท ประเภทหนึ่งทําหน้าที่ รับแรงกด อีกประเภทหนึ่งทําหน้าที่รับ แรงดึง
รูป ๓๙ ยอ ยอจับปลาขนาดใหญ่ที่จังหวัดนครพนม ยอเป็นโครงสร้างประกอบด้วยไม้รบั แรงกด และแรงดึง สำหรับไม้รับแรงดึง เดี๋ยวนี้หลายแห่งใช้ลวดขึงแทน ดังเช่นในรูป
๓๘
๓๗
๓๙
อารยธรรมชาวน้ำ
๒๐๕
เหตุที่ชาว “ฝั่งทะเลเอเชีย” ใช้วัสดุแรงดึงซึ่งทํา จากไม้อย่างแพร่หลาย และในเวลาเดียวกันบังเอิญค้นพบ ระบบโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพสูง กล่าวคือใช้วัสดุน้อย หรือเบาที่สุดเพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด ก็เนื่องมาจากสิ่ง แวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เหมือนที่อื่นใด เรือนไทยก็อยู่ใน ระบบโครงสร้างซึ่งประกอบด้วยรูปสามเหลี่ยม เช่นที่อ้าง ถึงนี้ด้วย ไม่ว่าบ้านจะลอยอยู่บนน้ำหรือยกพื้นเหนือระดับ น้ำ โครงสร้างจะต้องเบาและแข็งแรงพอที่จะต้านทานกระ แสน้ำและคลื่นลมได้ ในกรณีที่สร้างบ้านลงไปในทะเล ตัว บ้านมักจะมีเสาสูงกว่าปกติ ทั้งนี้เพื่อจะได้อยู่พ้นคลื่นทะเล และเพื่อทานลมพายุได้ก็จะมีไม้ทแยงระหว่างเสาเพื่อยึด โครงสร้างทั้งหมดไว้ ลักษณะโครงสร้างของเสาใต้ถุนจึง ไม่แตกต่างอะไรไปจากโครงสร้างในระบบรูปสามเหลี่ยม (รูป ๔๑) สําหรับบ้านที่อยู่ห่างจากฝั่งทะเลเข้ามาถึงลุ่มแม่ น้ำเจ้าพระยา สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติไม่รุนแรงดังเช่น ในทะเล ถ้าน้ำท่วมก็ทว่ มอย่างค่อยเป็นค่อยไป เรือนไทยใน แถบนี้จึงยกพื้นใต้ถุนสูงแต่พอสมควร แต่โครงสร้างก็ยัง พึง่ ระบบสามเหลีย่ มอยูน่ น่ั เอง กล่าวคือ โครงสร้างทางด้าน ตั้งรวมทั้งเสาจะเอียงเข้าหากันเป็นรูปตัว A เพียงแต่ไม่มี หัวแหลม ทั้งนี้เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทรงตัวสูง (รูป ๔๒) ต้องไม่ลืมว่าไม้หรือไม้ไผ่ที่ใช้สําหรับแรงดึงเป็น วัสดุเดียวกันทีใ่ ช้สาํ หรับแรงกดและเมือ่ เป็นเช่นนีจ้ งึ ไม่แปลก อะไรที่จะมีวัสดุแรงกดล้วนๆ เช่น หินหรืออิฐเป็นองค์ ประกอบของสถาปัตยกรรมอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามเนื่อง จากชาว “ฝั่งทะเลเอเชีย” ใช้ไม้มากที่สุดหรือมากกว่าชน ชาติอื่นๆ ทั้งยังมีสัญชาตญาณและพิธีกรรมพัวพันอยู่กับ ไม้เป็นอันมาก จึงทําให้วัฒนธรรมในภาคพื้นนี้แตกต่างกับ วัฒนธรรมในภาคพื้นอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรม ของชนชาวบก
รูป ๔๐ บ้านหัวหน้าเผ่าโตบ้าบาตั๊ก หมู่บ้านซิมานินโด บนเกาะซาโมซีร์ ในทะเลสาบโตบ้า สุมาตรา เป็นบ้านยกพื้นใต้ถุนโล่ง มีหลังคาสูง และโค้งแอ่นและมีไม้ประกับนอน ด้านข้างตรงระดับพื้นบ้านเป็นรูปเรือ เปรียบเทียบได้กับ “ท้องสําเภา” ใน สถาปัตยกรรมไทย (ดูบทที่ ๕) บ้านแต่ ละหลังมีคนอยู่รวมกัน ๘ ครอบครัว โดยเฉลี่ย หรือประมาณ ๔๐ คน ซึ่ง เท่ากับว่าเป็น “บ้านยาว” (longhouse) สําหรับเรื่องนี้ดูท้ายบทที่ ๔
๔๐ รูป ๔๑ หมู่บ้านชาวประมงเร่ร่อน รูปในสมัยรัชกาลที่ ๕ บ้านที่เห็นยกพื้นสูง เป็นพิเศษ ทั้งนี้โดยสัญชาตญาณของคนที่ อยู่กับน้ำเป็นประจํา เสาบ้านที่สูงเหล่านี้ มีไม้ทแยงยึดเพื่อทานลมพายุได้ หมู่บ้าน ประเภทนีจ้ ะย้ายถิน่ ฐานไปเรือ่ ยๆ ตามฤดูกาล แต่ปัจจุบันหาดูไม่ได้อีกแล้ว
๔๑
น้ ำและกําเนิดอารยธรรมไม้ โดยทั่วไป อารยธรรมในโลกเรามีอยู่สองประเภท คือ อารยธรรมที่ขึ้นอยู่กับวัสดุแรงดึงเป็นหลัก และอารยธรรมที่ขึ้นอยู่กับวัสดุแรงกดเป็นหลัก หรืออีกนัยหนึ่งคือ อารยธรรมไม้ และอารยธรรมหินซึง่ รวมดินและอิฐปูนด้วย กรณีแรกมีที่มาจากสัญชาตญาณทางน้ำ ซึ่ง มนุษย์ต้องพึ่งพาเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดในยุคที่โลกเปลี่ยน แปลงขนานใหญ่ในยุคควอเทอร์นารีหรือก่อนหน้านั้น และ เพื่อการอพยพทางน้ำขึ้น “ฝั่งทะเลเอเชีย” ในยุคดังกล่าว มนุษย์ต้องกลายเป็นนักพเนจรที่มีสัมภาระหนักติดตัวไม่ได้ ในสภาพเช่นนี้จะประดิษฐ์สิ่งของหนักๆ เช่นศิลาจารึกก็ไม่มี ประโยชน์ แม้แต่พาหนะซึ่งคือแพก็ต้องเบาเพื่อให้ลอยน้ำ ข้ามฟากไปได้ แต่เมื่อมนุษย์ขึ้นฝั่งและอพยพลึกเข้าไปใน ผืนแผ่นดินทวีปแล้ว สภาพสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ก็ เปลี่ยนไป วัสดุที่มีอยู่ใกล้ตัวมากที่สุดในท้องที่หลายแห่งก็ เป็นหินกับดินแทนที่จะเป็นไม้ ในเวลาเดียวกันมนุษย์หรือสิ่ง
๒๐๖ ภูมิหลัง
ก่อสร้างทั้งหลายเป็นวัสดุแรงกดและมีลักษณะหนักแน่น ถาวรและอยู่กับที่ อารยธรรมเอเชียตะวันตก อียิปต์ ยุโรป ลุ่มแม่น้ำสินธุและบางส่วนของอารยธรรมจีนก็อยู่ในข่ายนี้ ถ้าพิจารณาดูสิ่งก่อสร้าง เช่น ซิกูรัต พีระมิด สโตนเฮนจ์ และกําแพงเมืองจีน จะเห็นได้ว่าเป็นวัสดุแรงกดทั้งสิ้น เช่น เดียวกับอาคารบ้านเรือนและวัดวาอารามซึง่ สร้างติดอยูก่ บั ดินอย่างไม่มีทางที่จะโยกย้ายไปไหนได้ แม้แต่โบสถ์กอธิก ซึ่งสร้างค้ำสูงด้วยเสาลอย (flying buttress) ก็เป็นระบบ ก่อสร้างด้วยหินที่ทรงตัวอยู่ได้ด้วยการถ่วงน้ำหนักของตัวเอง
๔๒
อารยธรรมทั้งสองประเภทต่างแยกวิถีวิวัฒนา การมาเป็นเวลาหลายพันปี มาในระยะหลัง อารยธรรมหิน โดยเฉพาะจากตะวันตก ได้เข้าครอบคลุมอารยธรรมไม้ ทําให้แนวความคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการความก้าวหน้าของ มนุษย์ทั้งโลก ต้องใช้อารยธรรมหินเป็นเครื่องวัด ผลก็คือ ยุคต่างๆ ในโลกถูกแบ่งและเกิดนิยามไปตามประสบการณ์ ของชาวบก เช่นยุคแรกเริ่มถูกกําหนดให้เรียกว่า “ยุคหิน” หรือยุคหินเก่า หินใหม่เป็นต้น ซึ่งแทบจะไม่เกี่ยวกับอารยธรรมของชาวน้ำเลย เฮเยอร์ ดาห์ลเป็นคนแรกที่ได้ตระหนักว่า คําว่า “ยุคหิน” มีความหมายแคบเกินไป ในหนังสือเรื่อง “มนุษย์ ในยุคแรกเริ่มกับมหาสมุทร” เขากล่าวถึง “โลกยุคหินที่กํา ลังหดหายไป” ในบรรดานักค้นคว้าวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ โซลไฮม์เป็นคนแรกที่รวม “ยุคไม้” เข้าไว้ต่อจากยุคหิน ตารางข้างล่างแสดงการเปรียบเทียบยุคต่างๆที่โซลไฮม์ กําหนดขึ้นมาใหม่ กับลําดับยุคที่ยังยึดถือเป็นตําราเรียน โดยทั่วไป ตารางเปรียบเทียบยุควัฒนธรรม
การกําหนดยุคโดยทั่วไป (ก่อนคริสต์กาล)
๑. ยุคหินเก่าตอนต้นและตอนกลาง ถึงปี ๔๐,๐๐๐ ๒. ยุคหินเก่าตอนปลายและ ๓. ยุคหินกลาง ๔๐,๐๐๐-๘,๐๐๐
๔. ยุคหินใหม่ ๘,๐๐๐-๕,๐๐๐ ๕. ยุคทองแดงและสําริด ๕,๐๐๐-๓,๐๐๐ ๖. ยุคสําริด ๓,๐๐๐-๑,๐๐๐ ๗. ยุคเหล็ก จาก ๑,๐๐๐
การกําหนดยุคโดยโซลไฮม์๒๑ (ก่อนคริสต์กาล) ๑. ยุคหิน ถึงปี ๔๐,๐๐๐ ๒. ยุคไม้ ๔๐,๐๐๐-๒๒,๕๐๐ ๓. ยุคผลึก(เริ่มเกษตรกรรมและเริ่มวัฒนธรรมต่างๆ) ๒๒,๕๐๐-๘,๐๐๐ ๔. ยุคการขยายตัว (เป็นการขยายและกระจายตัวของประชากร) ๘,๐๐๐-คริสต์กาล ๕. ยุคแห่งการทําสงคราม ตั้งแต่คริสต์กาลเป็นต้นมา
อารยธรรมชาวน้ำ
๒๐๗
โดยทั่วไป นักค้นคว้าวัฒนธรรมเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งโซลไฮม์ เซเดส และโกรลิเย่ ต่างเห็นพ้องต้องกัน ว่า มนุษย์ตั้งถิ่นฐานเป็นครั้งแรกบนชายฝั่งทะเล แล้วจึง อพยพลึกเข้าไปจากฝั่งทะเล นักวิชาการอื่นๆ อีกหลาย คนต่างยอมรับว่าชาวเอเชียอาคเนย์มีลักษณะพิเศษที่มีถิ่น ฐานแบบสะเทินน้ำสะเทินบก มีความสามารถในการเดิน ทางข้ามทะเลและการใช้ไม้ อย่างไรก็ดีทุกคนยังคงถูกจํา กัดแนวความคิดอยู่ภายใต้กรอบของอารยธรรมชาวบก เพราะแม้จะเริ่มเห็นความสําคัญของถิ่นฐานแบบสะเทินน้ำ สะเทินบก และการประดิษฐ์เครื่องมือไม้ แต่กย็ งั พยายาม อิงสิง่ เหล่านีก้ ับเครื่องมือหินหรือยุคหิน ยังดีที่โซลไฮม์ ได้แยกยุคไม้ ออกมาต่างหากอย่างชัดเจน
ไทยเราเองก็มองวัฒนธรรมตามชาวบกไปด้วย โดยการใช้คาํ ศัพท์วา่ “อารยธรรม” ซึง่ หมายถึงการกระทํา ของชนชาวบก หรือเผ่าอารยะผู้อยู่ห่างไกลจากน่านน้ำ เมือ่ เราจํากัดนิยามวัฒนธรรมด้วยศัพท์ดงั กล่าวนีแ้ ล้ว ก็ไม่ แปลกอะไรทีเ่ ด็กจะต้องเรียนแต่วฒ ั นธรรมของชาวบก ตลอด จนต้องยึดถือสิง่ ก่อสร้างด้วยวัสดุแรงกด เช่น ซิกรู ตั พีระมิด สโตนเฮนจ์ ฯลฯ เป็นเครื่องวัดความก้าวหน้าของมนุษย์ หนังสือเล่มนี้จะไม่กล่าวคลุมไปถึงรายละเอียด เกี่ยวกับอารยธรรมไม้และอารยธรรมหิน เพราะหากจะ กล่าวถึงแล้วคงต้องเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งต่างหาก๒๒ แต่ เพือ่ ให้เข้าใจเรือ่ งนีไ้ ด้พอสมควร ซึง่ จะทําให้เข้าใจวัฒนธรรม ไทยได้ดีขึ้นโดยปริยาย เราจะสรุปความแตกต่างระหว่าง อารยธรรมทั้งสองประเภทเพื่อให้พิจารณา ดังตารางต่อไปนี้
ตารางแสดงความแตกต่างระหว่าง อารยธรรมหินและอารยธรรมไม้
อารยธรรมหิน(อารยธรรมชาวบก)
อารยธรรมไม้ (อารยธรรมชาวน้ำ)
๑. ภูมิลักษณ์ - อยู่บนพื้นแผ่นดินเท่านั้น -
อยู่ในอาณาบริเวณซึ่งเป็นทั้งมหาสมุทรและผืน แผ่นดิน สับเปลี่ยนกันไปตามสภาวะของคนยุค น้ำแข็ง การแยกตัวของทวีปเอเชียอาคเนย์ ทําให้ชายฝั่งทะเลเปลี่ยนรูปร่างอยู่เรื่อย เหมือนกับว่าไม่มีผืนแผ่นดินที่แน่นอน
๒. วิถีการดํารงชีวิต - มีถิ่นฐานค่อนข้างอยู่กับที่บนพื้นแผ่นดิน - -
อยู่ในทะเลหรือน่านน้ำ และอยู่อย่าง สะเทินน้ำสะเทินบกในที่ราบลุ่ม หรือ ตามแม่น้ำลําคลอง ย้ายถิ่นฐานอยู่เรื่อยๆ
๓. อาหารหลัก
- พืชที่ดอน เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์
- พืชน้ำ เช่น ข้าว
๔. สังคม - ต้องปกป้องรักษาพืชอาหาร ซึ่งก่อให้เกิดระบบศักดินา - อุดมสมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร จึงไม่มีระบบ ศักดินาอย่างแท้จริง๒๓
๕. สิ่งก่อสร้าง - ลักษณะพื้นที่ภายในอาคาร มีต้นกําเนิดมาจากการ - พื้นที่อาคารโปร่งรอบด้าน อยู่ในถ้ำ มีผนังปิดรอบด้าน - โครงสร้างใช้วัสดุแรงกด โดยให้แรงทรงตัวอยู่ - โครงสร้างใช้วัสดุดึงผสมแรงกด โดยให้แรง ทรงตัวอยู่ในสามทิศทาง ทรงตัวอยู่ในสามทิศทาง ๖. ขั้นตอนการอพยพ (ดูแผนภูมิประกอบท้ายบทที่ ๑)
๒๐๘ ภูมิหลัง
๓
๒
๑
สถาปั ตยกรรมและอารยธรรมไม้ จากตารางดังกล่าวจะเห็นได้ว่า อารยธรรมไม้ เกิดขึ้นมาด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ที่เปลี่ยนจากพื้นน้ำเป็นที่ บกสลับไปมาอยูเ่ สมอ ทําให้มนุษย์ตอ้ งปรับตัวอยูต่ ลอดเวลา ซึ่งก่อให้เกิดสัญชาตญาณพิเศษ และการสร้างสัญลักษณ์ ต่างๆ ขึ้นใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนความคิดและความ เข้าใจ เมื่อไม่มีพื้นดินที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างถาวร ถาวร วัตถุก็ดี สิ่งก่อสร้างที่แน่นหนาถาวรก็ดี จึงมิได้มีความ สําคัญมากไปกว่าสิ่งที่ไม่ถาวรคงที่ แต่ทั้งนี้มิได้หมายความ ว่าอารยธรรมไม้ไม่สามารถมีสิ่งก่อสร้างใหญ่โตได้เท่ากับ อารยธรรมหิน กลับตรงกันข้ามผู้เขียนมีหลักฐานบ่งชัดว่า สถาปัตยกรรมไม้ โดยเฉพาะพระเมรุมาศเมือ่ ประมาณ ๓๐๐ ปีมาแล้ว เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงใหญ่ยิ่งไปกว่าสถาปัตยกรรม อิฐ หรือหินใดๆ ในเอเชียตะวันออกไกล ความยิ่งใหญ่ของ สถาปัตยกรรมไม้นี้แสดงให้เห็นว่า ผู้สร้างจะต้องมีความ คุ้นเคยกับเทคนิคการใช้แรงดึงของไม้ และวิธีการประกับ โครงสร้างด้วยไม้ทแยงเป็นอย่างดี ซึ่งรายละเอียดในเรื่อง นี้อยู่ในบทที่ ๕ คงไม่มีสิ่งใดที่แสดงให้เห็นถึงเทคนิคของอารย- ธรรมไม้ได้ดีเท่ากับนิทานเรื่องศรีธนญชัยซึ่งเป็นที่รู้จักกัน แพร่หลายแล้ว ตามเรื่องนี้ เมื่อครั้งพม่ายกทัพมาตีกรุงศรี อยุธยา ศรีธนญชัยอาสาสร้างเจดีย์แข่งกับข้าศึกโดยใคร สร้างเสร็จก่อนถือว่าชนะ หลังจากตกลงขนาดและความสูง ของเจดียก์ นั แล้ว พม่าก็เตรียมการทันที แต่พม่านัน้ มีสว่ นเป็น ชาวบกในจิตใต้สํานึกมากพอดู เพราะมีเชื้อสายมาจากชาว ทิเบต จึงเกณฑ์คนทัง้ กองทัพขนอิฐปูนเป็นจํานวนมหาศาลมา ก่อพระเจดีย์ ส่วนศรีธนญชัยเตรียมช่างเพียงไม่กี่คน และ ภายในระยะเวลาอันสั้นได้ทําโครงไม้โปร่งขึ้นไปเป็นรูปพระเจดีย์ แล้วเอาผ้าพันขึงเป็นการแล้วเสร็จ ชนะการแข่งขัน ก่อสร้าง ในเรือ่ งนีค้ งไม่มใี ครได้คดิ ว่า ศรีธนญชัยเป็นสถาปนิก ผู้เก่งกล้าคนหนึ่งในสมัยโบราณ เรื่องศรีธนญชัยแสดงถึงความคิดแบบไทยๆ อยู่ สองประการคือ ประการแรกทําอย่างไรจึงจะได้ผลตอบ แทนมากที่สุด และประการที่สองทําอย่างไรจึงจะสนุกไป ด้วย ซึ่งแน่นอนว่าถ้าลงมือลงแรงมากสิ่งที่ทําก็ไม่สนุกอยู่ ดี หากตีความหมายประการแรกออกมาในรูปของสถาปัตยกรรม ก็จะได้พระเจดีย์ในลักษณะที่ศรีธนญชัยสร้างนั่นเอง อันทีจ่ ริงโครงสร้างไม้โปร่งขึงโดยรอบด้วยผ้าหรือ กระดาษ เป็นสิ่งที่กระทํากันอยู่ตลอดเวลาในภาคพื้นเอเชีย ตะวันออกไกล เช่น ใบเรือ โคมไฟ พัด ตุง (หรือธง) ว่าว ผนังกั้นห้องและหน้าต่างของจีนและญี่ปุ่น ว่าวเป็น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดเพราะมีโครงไม้ไผ่เล็กนิดเดียวขึง ให้ตึงด้วยเชือกแล้วมีกระดาษสาขึงทับ ซึ่งไม่เหมือนกับว่าว ฝรั่งที่ทําด้วยไม้หนักเทอะทะ และเป็นโครงซึ่งมิได้ขึง อีก ทั้งมีผ้าหุ้มรอบอย่างหย่อนๆ สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับว่าว
ญี่ปุ่นก็คือ เป็นโครงไม้ไผ่สานแบบ ๒ แฉกในรูปตารางที่ ใหญ่มหึมา แล้วมีไม้ไผ่เรียวสานทแยงจากมุมถึงมุมเป็น แฉกที่สาม ดูแล้วคล้ายกับแผนที่เดินเรือของชาวออสโตรนีเซีย (รูป ๔๓) สําหรับว่าวไทยนั้นมีขนาดเล็กกว่า แต่เป็น โครงที่ขึงตึงมากที่สุดจึงเปรียวคล่องแคล่วและกินลมได้ดี ตลอดทั้งยังสามารถชักให้สูงและไกลมากกว่าว่าวประเภท อื่นทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ในสมัยโบราณคนไทยจึงใช้ลูกระเบิด ผูกกับว่าว แล้วชักให้ขึ้นไประเบิดบนเชิงเทินกําแพง หรือ ในค่ายของข้าศึก โครงสร้างขึงหลายอย่าง ทําขึน้ เพือ่ เป็นองค์ประ กอบในพิธกี รรม ส่วนใหญ่จะถูกเผาในพิธี หรือเมือ่ ประกอบ พิธีกรรมเสร็จแล้วก็รื้อทิ้งเพราะถือว่าได้ใช้แล้ว ตัวอย่าง เช่น แพลงสรงซึ่งเมื่อเสร็จพระราชพิธีแล้วรื้อทิ้งหรือเมรุ เจ้าอาวาสซึ่งเผาในพิธี พิธีกรรมที่มีองค์ประกอบอันสะท้อนให้เห็นถึง อารยธรรมไม้มากที่สุด เห็นจะได้แก่งานเมรุเจ้าอาวาสใน ภาคเหนือ (รูป ๔๔) รูปที่นํามาแสดงนี้เป็นงานเมรุที่เชียงใหม่ ศพเจ้าอาวาสประดิษฐานไว้ในบุษบกบนรถลากซึ่งมี ลักษณะคล้ายราชรถ บุษบกมีหลังคาลดหลัน่ เป็นชัน้ ๆ อย่าง สวยงาม มีฉัตรหรืออีกนัยหนึ่งรูปจําลองภูมิจักรวาลปักอยู่ บนยอดและตามมุมโดยรอบ ทัง้ หมดนีต้ ง้ั อยูบ่ นรถลากมีลอ้ ซ่อนอยู่ สองข้างรถลากมีพญานาคใหญ่ ๒ ตัวประกบอยู่ ดูแล้วเหมือนเรือเอาท์รกิ เกอร์ (outrigger) ส่วนม้ากระดาษ ๒ ตัวซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้ามีไว้เพื่อชี้ให้เห็นว่าผู้มรณภาพเกิดปี มะแม สูงเหนือเมรุขน้ึ ไปเป็นเสาไม้ไผ่ปกั อยูใ่ นดิน ปลายเสา มีผ้าสี่เหลี่ยมขึงอยู่เหมือนกับเป็นใบเรืออะไรสักอย่าง สิ่งก่อสร้างและสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นที่ได้กล่าว มาแล้วทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครได้คํานึงถึงหรือคิดว่าเป็น งานศิลปะสถาปัตยกรรม ไม่เหมือนกับสิ่งก่อสร้างด้วยอิฐ ปูนหรือประติมากรรมหิน ซึง่ ถือว่าอยูใ่ นข่ายของศิลปวัฒนธรรม ถ้าพิจารณาต่อไปอีกก็จะเห็นได้ว่า ถึงแม้อาคารจะ สร้างด้วยอิฐปูน แต่ความรู้สึกยืดหยุ่นเหมือนกับสร้างด้วย ไม้ และความรู้สึกลอยหรือเบาตัวก็ปรากฏแทรกอยู่ด้วย ยกตัวอย่างเจดียข์ า้ งในกลวงเกือบตลอด ในเวลาเดียวกัน ถ้าจะมองจากด้านเส้นตัด ก็จะเห็นเป็นเส้นรูปตัดเว้าเข้าเว้า ออกเหมือนกับเป็นท่อนซุงที่กลวงตรงกลาง นอกจากนี้แล้ว รูปลักษณะด้านนอกก็เหมือนกับว่าเป็นไม้ที่ถูกกลึงให้เป็น ปล้องเป็นบัวสลับกันไป ขนาดเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคลที่จัง หวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งสูงถึง ๗๒ เมตร ข้างในก็ถูกทั้ง กลวงและกลึงในลักษณะเช่นนี้ (รูป ๔๕) ๒๓ ระบบศักดินาไทยทําพอเป็นพิธี เจ้านาย ขุนนางอาจมีศักดิ์เทียบเป็นไร่นา แต่ส่วนใหญ่มิได้รับที่ดินไปครอบครอง เก็บกินจริงๆ เหมือนในอารยธรรม ตะวันตก
อารยธรรมชาวน้ำ
๒๐๙
รูป ๔๓ ว่าวญี่ปุ่น ทําด้วยโครงไม้ไผ่สานกันเป็นตาราง มีไม้ไผ่รัดแบบทแยงมุมเพื่อให้แข็งแรง ดูแล้วคล้ายกันกับแผนที่มหาสมุทรแปซิฟิก ของชาวหมู่เกาะทะเลใต้
รูป ๔๔ เมรุเจ้าอาวาสที่จังหวัดเชียงใหม่ บุษบกและฉัตรที่เห็นในรูป เป็นสัญลักษณ์ ที่เกี่ยวกับภูมิจักรวาลและไตรภูมิ ส่วนราชรถขนาบด้วยพญานาคหรือ สัญลักษณ์ของธาตุน้ำ แสดงให้เห็นว่า ทั้งหมดนี้ลอยอยู่ในน้ำ สูงเหนือเมรุขึ้นไป เป็นเสาไม้ไผ่ มีผ้าสี่เหลี่ยมขึงอยู่ เสมือนหนึ่งเป็นใบเรือ
ในเรื่องนี้เราอาจจะพิจารณาจากอีกแง่หนึ่งได้ว่า เส้นที่เว้าเข้าเว้าออกในรูปตัดเปรียบเสมือนกระโจมไม้ที่ ต้องต้านทานทั้งแรงกดและแรงดึง ซึ่งยังผลให้เกิดเป็น เส้นคดโค้งดังกล่าว อันที่จริงแรงดันออกในองค์พระเจดีย์จะต้องมี มากทีเดียว และยิ่งองค์ระฆังมีขนาดใหญ่ขึ้นเพียงใด แรง ดันออกก็จะยิ่งมีมากขึ้นเพียงนั้น พระเจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่ สุดในโลกซึง่ เห็นจะได้แก่พระปฐมเจดีย์ สร้างในสมัยรัชกาล ที่ ๔ (รูป ๔๖) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๙๕.๓ เมตร มีฐาน ขนาดใหญ่รองรับ ความสูงถึงยอดวัดได้ ๑๒๐.๔๕ เมตร ภายในพระเจดีย์กลวงเป็นบางตอนเพราะสร้างคร่อมเจดีย์ โบราณไว้อีกองค์หนึ่ง ในสภาพเช่นนี้แรงดันออกควรมีมาก เสียจนองค์ระฆังน่าจะปริตวั และพังทลายลงมาด้วยน้ำหนัก ของตัวเองเสียนานแล้ว หากไม่มีอะไรช่วยดึงเอาไว้ เมื่อ ครั้งที่รัฐบาลบูรณะพระปฐมเจดีย์ใน พ.ศ. ๒๕๑๒ วิศวกรผู้ สํารวจและวิเคราะห์โครงสร้างต้องตกตะลึงที่ได้พบลูกโซ่ ขนาดใหญ่รัดองค์พระปฐมเจดีย์ไว้เป็นชั้นๆ ในระดับที่ตรง กับแรงดันออกสูงสุดซึ่งได้คํานวณออกมา (รูป ๔๗) ดังนั้น สิ่งก่อสร้างด้วยอิฐปูนขนาดใหญ่ๆ ซึ่งดูเผินๆ แล้วหนัก เทอะทะ โดยแท้จริงแล้วเป็นโครงสร้างที่กลวงและทรงตัว อยู่ได้ด้วยแรงดึง ช่างโบราณทั่วไปจะไม่สามารถออกแบบ สร้างพระเจดีย์ในลักษณะเช่นนี้ได้หากมิได้เกิดมาในอารยธรรมไม้ดังเช่นในกรณีนี้
๒๑๐ ภูมิหลัง
๔๓
รูปเต็มหน้า
รูป ๔๕ เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงรูปตั้ง องค์เจดีย์ก่ออิฐถือปูน สูง ๗๒ เมตร ภายในกลวงเกือบตลอด เหมือนกับว่าเป็นท่อนไม้ซึ่งถูกทําให้กลวง ส่วนรูปลักษณะด้านนอกก็เหมือนกับว่า เป็นไม้ที่ถูกกลึง
๒๑๒ ภูมิหลัง
๔๕
รูป ๔๖ พระปฐมเจดีย์ แสดงรูปตั้งองค์เจดีย์สูงถึง ๑๒๐.๔๕ เมตร สร้างคร่อมเจดีย์โบราณที่มีมาแต่เดิม งานก่อสร้างเริ่มในสมัยรัชกาลที่ ๔ ใน ปี พ.ศ. ๒๓๙๖ หากแต่ไม่สําเร็จด้วยสิ่ง ก่อสร้างพังทลายลงมา ต้องออกแบบใหม่ และเริม่ งานก่อสร้างอีกครัง้ ในปี พ.ศ. ๒๔๐๓ โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม ทรงเป็นสถาปนิก และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษี สุริยพันธุ์ ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา ปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นที่ปรึกษา
รูป ๔๗ โซ่รัดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อครั้งบูรณะพระปฐมเจดีย์ใน ปีพ.ศ. ๒๕๑๒ วิศวกรพบลูกโซ่ขนาดใหญ่ รัดองค์พระเจดีย์ไว้เป็นชั้นๆ ในระดับที่ ตรงกันกับแรงดันออกสูงสุดซึ่งคํานวณ ด้วยวิธีสมัยใหม่
๔๗
๔๖
อารยธรรมชาวน้ำ
๒๑๓
บทที่ ๔ สถาปัตยกรรมบนน้ำ
ความสําคัญของไม้ในเอเชียอาคเนย์ ประโยชน์ใช้สอยของสถาปัตยกรรมไม้ สัญชาตญาณและสถาปัตยกรรม ลัทธิศาสนาและสถาปัตยกรรม สัญชาตญาณของชาวน้ำและสถาปัตยกรรม เรือนไม้เสาสูงในเอเชีย เรือนไทยและโครงสร้างไหวตัว สถาปัตยกรรมเรือนไทยเดิม เรือนไทยและการวางทิศทาง พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลูกบ้านสร้างเรือน สัญลักษณ์ของไม้ในการปลูกเรือน สัญลักษณ์ของพญานาคหรือธาตุน้ำ “เรือนทนสมุทร” เซ่นไหว้พญานาคเจ้าที่ องค์ประกอบของเรือนไทยและสัญลักษณ์ของชาวน้ำ ปั้นลม หรือ ป้านลม ศาลพระภูมิ เรือนแพ สัญลักษณ์น้ำในคติพุทธศาสนา เรือนแบบไทยเดิมและวิถีการดํารงชีวิต เรือนหมู่
รูป ๑ รูปเรือนไม้ยกพื้นที่บุโรพุทโธ ภาพสลักที่บุโรพุทโธ เรื่องรุทธรายานะ ในทิวยาวทานเรื่องที่ ๓๗ ระเบียงชั้นที่ ๑ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พุทธศตวรรษที่ ๑๔
๑
หินสลักนูนต่ำที่บุโรพุทโธในประเทศอินโดนีเซีย และที่ปราสาทบายนในนครธม ประเทศกัมพูชา แสดงภาพ บ้านไม้หลังคา หน้าจั่วยกพื้นสูงบนเสา (รูป ๑) นักวิชาการ ทีศ่ กึ ษาอารยธรรมเอเชียอาคเนย์มกั จะไม่คอ่ ยเอ่ยถึงเรือ่ งนี้ หรือถ้าเอ่ยถึงก็เป็นแต่เพียงกล่าวผ่านๆ ทัง้ นีเ้ พราะสิง่ ก่อสร้าง ดังกล่าว ไม่เข้ากับแนวความคิดของตนทีเ่ กีย่ วกับอารยธรรม ส่วนบรรดาหนังสือเกี่ยวกับศิลปะสถาปัตยกรรมเขมรและ อินโดนีเซียทัง้ หลายก็ลว้ นแต่แสดงภาพปราสาทหินและประติมากรรมหินสลัก โดยไม่ยอมพูดถึงสิ่งก่อสร้างด้วยไม้ จึง แสดงให้เห็นว่าไม่มใี ครคิดว่าสิง่ ก่อสร้างด้วยไม้เป็นส่วนหนึง่ ของอารยธรรมเลย
ความสําคัญของไม้ในเอเชียอาคเนย์
การค้นคว้าของชาวฝรั่งเศสเกี่ยวกับนครธมใน ระยะแรกๆ ได้แสดงให้เห็นภาพพจน์ที่แตกต่างไปจากหนัง สือศิลปกรรมทีพ่ มิ พ์เผยแพร่ทว่ั ไป เพราะภาพทีส่ มบูรณ์ของ นครธมซึ่งรวมนครวัดอยู่ด้วยนั้นประกอบด้วยบ้านไม้ในรูป ลักษณะเดียวกับที่แสดงในรูปสลักนูนต่ำดังกล่าว ดังนั้น มโนภาพของนักวิชาการซึ่งเต็มไปด้วยโบราณสถานที่สร้าง
๒๑๔ ภูมิหลัง
ด้วยหินและอิฐ หรือทีเ่ รียกว่าศิลปะสถาปัตยกรรมคลาสสิก หรือ formal จะถูกแทรกอยู่ทุกหนทุกแห่งด้วยสิ่งก่อสร้าง นอกแม่บท (nonformal) กล่าวคือ ถึงแม้ปราสาทหินทั้ง หลายจะเป็นส่วนประกอบที่สําคัญรับกับโครงผังเมือง และ เป็นสิ่งซึ่งสูงตระหง่านเห็นชัดอยู่กับขอบฟ้า แต่ในโครงผัง เมืองเดียวกันก็ปรากฏว่ามีสิ่งก่อสร้างด้วยไม้ยกพื้นแทรก เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นบริเวณตามถนนแกนกลางใจเมือง หรือรอบๆ ปราสาทและตระพัง นี่ต่างหากที่คือภาพอัน สมบูรณ์ของนครธมก่อนที่จะกลายเป็นเมืองร้างไป โดยทั่วไปในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ เราจะสังเกต เห็นว่ามีสถาปัตยกรรมอยูส่ องประเภทคือ สถาปัตยกรรม หิน และสถาปัตยกรรมไม้ โดยสถาปัตยกรรมทั้งสองประ เภทจะอยู่เคียงข้างกัน สถาปัตยกรรมหินมีพื้นฐานวัฒนธรรมจากสังคมบนบก ซึ่งอาจเรียกว่าสถาปัตยกรรมบนบก ก็ได้ ส่วนสถาปัตยกรรมไม้มีพื้นฐานมาจากสังคมในน่านน้ำ ไม่ว่าอยู่ตามเกาะแก่งในทะเลหรือในลุ่มน้ำลําคลอง และมี ลักษณะพิเศษที่ว่าเป็นชุมชนและบ้านเรือนที่มีพื้นสูงบนเสา ซึ่งมีความกลมกลืนกับธรรมชาติเป็นอย่างยิ่ง (รูป ๒) ดัง นัน้ หากพิจารณาในแง่ทเ่ี กีย่ วกับภูมศิ าสตร์แล้ว เราอาจเรียก สิ่งก่อสร้างดังกล่าวว่าเป็นสถาปัตยกรรมบนน้ำ หรือสถาปัตยกรรมสะเทินน้ำสะเทินบกแทนที่จะเรียกว่าเป็นสถาปัตยกรรมไม้ก็ได้ ในประเทศไทยถึงแม้สถาปัตยกรรมทั้ง สองประเภทได้รวมกันอยู่จนบางครั้งแยกกันไม่ออก แต่ก็ พอที่จะจําแนกสิง่ ก่อสร้างต่างๆ ตามลักษณะของสถาปัตยกรรมทั้งสองประเภทได้ตามตารางต่อไปนี้ ๒
ประเภทอาคาร สถาปัตยกรรมบนบก วัด เจดีย์ โบสถ์ วิหาร กุฏิ พระราชวัง พระที่นั่ง (ท้องพระโรง) พระเมรุมาศ ที่อยู่อาศัย
สถาปัตยกรรมบนน้ำ โบสถ์ไม้ (มีไม่มาก) วิหารไม้ กุฏิไม้ ศาลาการเปรียญ หอไตร
รูป ๒ เรือนไทย เรือนไทยเป็นสถาปัตยกรรมสะเทินน้ำ สะเทินบกอย่างแท้จริง ในฤดูน้ำ น้ำท่วมใต้ถุน เอาเรือเข้ามาจอดใต้บ้านได้ ในฤดูแล้ง ใต้ถุนแห้ง ใช้เป็นที่สําหรับ ประกอบกิจกรรมต่างๆ สารพัดประโยชน์ เหมือนกับรูปเรือนไม้ในภาพสลักทีบ่ โุ รพุทโธ รูปนี้ถ่ายที่ริมคลองบางกอกน้อย
พระที่นั่ง (ยกพื้นบนเสาไม้) ตําหนักไม้ บ้านใต้ถุนสูง
สถาปัตยกรรมบนน้ำ
๒๑๕
ประโยชน์ใช้สอยของสถาปัตยกรรมไม้
จากตารางดังกล่าวทําให้เห็นว่า สถาปัตยกรรม บนบกล้วนแต่ประกอบด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยว ข้องกับศาสนกิจและพระราชประเพณี ด้วยเหตุนี้จึงถือว่า เป็นสถาปัตยกรรมชั้นสูงมีลักษณะเป็นแม่บทหรือ “คลาสสิก” หรือซึ่งประกอบด้วยระบบและแบบแผน (formal) อย่าง ตายตัว ส่วนสถาปัตยกรรมบนน้ำจัดอยู่ในจําพวกที่ใช้ประโยชน์ ประจําวันได้จริง ซึง่ ส่วนใหญ่ได้แก่ทพ่ี กั อาศัยไม่วา่ สําหรับ พระสงฆ์เจ้านายหรือสามัญชน จริงอยูใ่ นจําพวกสิง่ ก่อสร้างทัง้ หลายในวัดมีหลายอย่างนอกจากกุฏไิ ม้ทเ่ี ข้าข่าย สถาปัตยกรรม บนน้ำ ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป สําหรับพระเมรุมาศนัน้ เป็นเรือ่ งทีค่ อ่ นข้างพิสดาร ยากที่จะจําแนกเป็นสถาปัตยกรรมประเภทใดประเภทหนึ่ง ได้อย่างชัดเจน เพราะโดยเทคโนโลยีและลักษณะการยึด โครงสร้างด้วยไม้แล้ว ควรจัดอยูใ่ นประเภทสะเทินน้ำสะเทิน บก หากแต่มีที่มาโดยตรงจากแนวความคิดเรื่องภูมิจักรวาล กล่าวคือเป็นการจําลองสร้างเขาพระสุเมรุอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งซึ่งใช้ในพระราชพิธีและเป็นเครื่องสูง ไม่เกี่ยวกับการใช้สอยประจําวันด้วยเหตุผลหลังนี้จึงควรจํา แนกให้อยู่ในประเภทสถาปัตยกรรมบนบก หรือสถาปัตยกรรมแม่บทมากกว่า ในที่นี้เราจะขอยกเรื่องพระเมรุมาศไป ไว้ในบทที่ ๕ ว่าด้วยสถาปัตยกรรมบนบกโดยเฉพาะ
สัญชาตญาณและสถาปัตยกรรม
ที่พักอาศัยต้องเป็นสิ่งแรกที่มนุษย์สร้างเมื่อตั้ง ถิ่นฐานขึ้นเป็นหลักเป็นแหล่ง และในสภาวะทางด้านภูมิศาสตร์ในยุคควอเทอร์นารี ชาวเอเชียอาคเนย์อยู่รอดมา ได้ก็โดยสร้างที่พักอาศัยและชุมชนบนน้ำหรือครึ่งบกครึ่ง น้ำ เนื่องจากต้องถอยร่นเข้ามาในพื้นแผ่นดินซึ่งกลายเป็น ทะเลมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งก่อสร้างดังกล่าวต้องตั้งบนเสาไม้ ยกพืน้ เพือ่ หนีพน้ ระดับน้ำ ในทํานองเดียวกันนีเ้ ฮเยอร์ดาห์ล ก็ได้กล่าวไว้ว่า พาหนะทางน้ำเป็นพาหนะประเภทแรกที่ มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้น๑
ลัทธิศาสนาและสถาปัตยกรรม
๑ เฮเยอร์ดาห์ล อ้างถึงแล้ว หน้า ๑๙
๒๑๖ ภูมิหลัง
จากเหตุผลดังกล่าวต้องถือว่าบ้านยกพื้นบนเสา ไม้ เป็นสิ่งก่อสร้างประเภทแรกที่สุดของมนุษย์ ส่วนสิ่ง ก่อสร้างด้วยหิน ดินหรืออิฐ เกิดขึน้ ในภายหลังเมือ่ มนุษย์ได้ อพยพลึกเข้าไปในผืนแผ่นดินแล้ว การอพยพลึกเข้าไปในทวีป เอเชีย โดยเฉพาะในบริเวณด้านทิศใต้ของเทือกเขาหิมาลัย เป็นเรื่องสําคัญมาก เพราะ ณ ที่นั้นและในช่วงเวลานั้น สัญชาตญาณเกีย่ วกับมหาสมุทรได้ถกู ผสมกับความรูส้ กึ ทีไ่ ด้ สัมผัสกับพืน้ ทวีปและภูเขาจนมนุษย์เกิดมีแนวความคิดใหม่ๆ ขึน้ มา แนวความคิดเหล่านีเ้ กีย่ วโยงกับสัญลักษณ์ของระบบ
จักรวาลอันสลับซับซ้อน ซึ่งในที่สุดได้วกกลับมาสู่เอเชีย อาคเนย์โดยมาเป็นแรงดันให้เกิดศิลปะสถาปัตยกรรมอัน ยิ่งใหญ่ในโลกขึ้น ข้อที่ว่าความคิดนี้ได้แพร่สะพัดมาอย่าง ไรจะต้องดูสภาวะทั่วไปในเอเชียตอนใต้ในขณะนั้น เมื่อชน เผ่าอารยันบุกเข้าไปในภาคเหนือของอินเดีย ชาวอินเดีย ดัง้ เดิมในแถบนัน้ จํานวนหนึง่ ต้องร่นถอยมาทางทิศตะวันออก เฉียงใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์ การอพยพมาในครั้งนั้นคงได้ เอาคติและความเชื่อถือบางสิ่งบางอย่างติดตัวมาด้วย ต่อ มาพ่อค้าชาวอินเดียรุน่ แรกๆ ซึง่ ได้มาค้าขายในแหลมมลายู ได้นาํ ลัทธิฮนิ ดูและความคิดเกีย่ วกับภูมจิ กั รวาลติดตัวมาเผย แผ่่ด้วย ในที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ศาสนาพุทธ และรูปจําลองภูมิจักรวาลได้ถูกนํามาเผยแผ่ในสุวรรณภูมิ และในภาคกลางของประเทศสยามเป็นครั้งแรก ตามที่ได้กล่าวมานี้แนวความคิดเกี่ยวกับระบบ จักรวาล หรือภูมิจักรวาล ที่ได้ถูกนํามาใช้ในเอเชียอาคเนย์ น่าจะเป็นเรื่องของสัญชาตญาณดั้งเดิม ผสมกับแนวความ คิดในระยะต่อมาจากประสบการณ์อันสืบเนื่องจากการ อพยพลึกเข้าสู่พื้นทวีปจนจรดเชิงเขาหิมาลัย การเผยแพร่ ไปมาของแนวความคิดเกี่ยวกับภูมิจักรวาลจึงคงมีลักษณะ เป็นวัฏจักร ผลก็คือสัญชาตญาณดั้งเดิมได้ถูกครอบด้วย แนวความคิดซึ่งตั้งบนพื้นฐานอันเต็มไปด้วยระบบแบบแผน ตามปรัชญาฮินดูและพุทธ คนไทยได้รับแนวความคิดดังกล่าวไว้ดังนี้ ๑. ยอมรับสิ่งเหล่านี้อย่างปราศจากปัญหา และ คติที่รับมาก็ได้ปรากฏออกมาในทางศิลปะสถาปัตยกรรมใน ลักษณะที่เพียบพร้อมไปด้วยระบบแบบแผน ซึ่งโดยที่จริง ระบบแบบแผนก็คือเครื่องมือในการปกครองที่สําคัญอย่างยิ่ง ๒. ยอมให้วัฒนธรรมอันเต็มไปด้วยระบบแบบ แผนอยู่ร่วมกันได้อย่างดีกับสัญชาตญาณดั้งเดิมซึ่งไม่ขึ้น กับระบบแบบแผน ๓. คนไทยมีสัญชาตญาณซึ่งไม่อาจจะระงับได้ อยู่อย่างหนึ่งคือ ชอบดัดแปลงกฎเกณฑ์หรือสิ่งที่มีระบบ แบบแผนมากเกินไป ในกรณีนี้ก็คือเมื่อรับวัฒนธรรมดังกล่าว มาแล้ว ก็มาดัดแปลงแก้ไขเอาเองหลายอย่าง แนวโน้มนีท้ าํ ให้ศลิ ปะสถาปัตยกรรมไทยมีลกั ษณะพิเศษในตัวเองขึ้นมา
สัญชาตญาณของชาวน้ำและ สถาปัตยกรรม ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงสถาปัตยกรรมที่ขึ้นอยู่กับ สัญชาตญาณก่อน ในการนี้จะพิจารณาถึงเรือนไทยซึ่งจะ ได้เห็นว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่มีต้นกําเนิดมาจากชุมชนน่าน น้ำ และวิถีการดํารงชีวิตของชาวน้ำอย่างแท้จริง
เรือนไม้เสาสูงในเอเชีย
เมื่อพูดถึงเรือนไทย คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็น เรือนไม้ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยแท้ๆ คงไม่คิดว่าเรือน ไม้ยกพื้นสูงในลักษณะคล้ายคลึงกันนี้มีกระจายอยู่ทั่วไปใน แถบแปซิฟิกตะวันตก ตั้งแต่เมลานีเซียและอินโดนีเซียทาง ใต้ ข้ามเส้นศูนย์สตู รไปเหนือจนถึงญีป่ นุ่ เป็นระยะทางมากกว่า ๖,๐๐๐ กิโลเมตร และจากตะวันตกไปตะวันออกเริ่มตั้งแต่ เชิงเขาหิมาลัยในประเทศเนปาลและเขานาคาในบริเวณทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียจนถึงเอเชียอาคเนย์และ จีนตอนใต้ เกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมชได้เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกบั สาธารณรัฐประชาชนจีนในฐานะนายกรัฐมนตรี และทีพ่ พิ ธิ ภัณฑสถานเมือง คุนหมิงในมณฑลยูนาน ได้เห็นหุน่ จําลองบ้านหลังหนึง่ ซึง่ ทาง การได้ขดุ ขึน้ มาจากหลุมฝังศพสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็น บ้านยกพืน้ บนเสา จึงแสดงความแปลกใจทีบ่ า้ นนัน้ มีลกั ษณะ คล้ายคลึงกับบ้านของท่านที่กรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่ได้ตอบว่า ไม่แปลกอะไรในเมื่อท่านเป็นคนมาจากใต้ ทําให้ท่านฉงนไป พักหนึ่ง ผู้เขียนเองในตอนที่ไปเที่ยวเมืองจีนก็ได้ไปพบหุ่นจําลองบ้านสมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ทพ่ี พิ ธิ ภัณฑ์เมืองกว่างโจว เป็นบ้านยกพื้นมีใต้ถุน อยู่ปนกับหุ่นจําลองบ้านอื่นๆ ตาม แบบฉบับจีน ซึง่ มีพน้ื อยูต่ ดิ กับดิน นอกจากนัน้ แล้วเมือ่ เร็วๆ นีน้ กั ศึกษาทีไ่ ด้เดินทางลีภ้ ยั กรณี ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เข้าไป อาศัยอยูใ่ นเมืองคุนหมิง ได้บรรยายว่าระหว่างสองข้างทาง รถไฟไปยั ง เมื อ งซื อ เหมาจะผ่ า นหมู่ บ้ า นไทยจ้ ว งหรื อ ที่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เรียกว่าไทยซวง ซึ่งเป็นหมู่บ้านคน ไทยสิบสองปันนา ได้เห็นบ้านทรงไทยยกพื้นนับพันๆ หลัง เมื่อเราวาดภาพถึงเรือนไทย เรามักจะนึกถึงเสา ยกพื้นและใต้ถุนโล่ง และคิดว่าที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะต้องการ ความปลอดภัยจากสัตว์ร้าย เพื่อหนีน้ำท่วม เพื่อระบาย อากาศ และเพือ่ ใช้ใต้ถนุ เป็นทีท่ าํ งานหรือเก็บสิง่ ของเครือ่ ง ใช้ต่างๆ ที่คิดดังกล่าวก็อาจจริงบางกรณีแต่ไม่จริงเสมอไป ในพม่าผู้เขียนได้พบหมู่บ้านหนึ่งใกล้มัณฑะเลย์ มีทั้งบ้านไม้ ยกพื้นใต้ถุนโล่งและบ้านไม้ฝาขัดแตะพื้นติดดินอยู่ปะปนกัน ไป อีกประการหนึ่ง เหตุผลดังกล่าวเกี่ยวกับใต้ถุนโล่งก็ไม่ สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดบ้านไม้ยกพื้นซึ่งเป็นบ้าน ในเขตร้อนจึงไปปรากฏอยู่ในเขตหนาวในเส้นรุ้งที่ ๔๐ ํ จน
รูป ๓ รูปเปรียบเทียบบ้านไทย ญี่ปุ่น และจีน เรือนไทยยกพื้นสูงที่สุด บ้านญี่ปุ่นยก พืน้ เล็กน้อย ส่วนบ้านคนจีนพืน้ อยูต่ ดิ กับดิน
สถาปัตยกรรมบนน้ำ
๒๑๗
กลายเป็นเอกลักษณ์อันสําคัญยิ่งของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่น แม้ว่าเจ้าของบ้านจะต้องทนทุกข์ทรมานในฤดูหนาวปีแล้วปี เล่าก็ตาม หากเราอยากรู้ถึงต้นเหตุเกี่ยวกับบ้านประเภทนี้ จริงๆ แล้ว จะต้องมองให้กว้างกว่าเหตุผลในแง่ของการใช้ สอย หรือประโยชน์ประจําวันเท่านั้น เพราะต้นเหตุที่ทําให้ มนุษย์สร้างบ้านยกพื้นสูงก็เพราะถิ่นฐานเดิมมีลักษณะ สะเทินน้ำสะเทินบก เมื่อชาวออสโตรนีเซียอพยพขึ้นไปตั้งรกรากเป็น ครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น ได้สร้างบ้านยกพื้นสูงพอๆ กับ บ้านที่สร้างในแถบน่านน้ำในเอเชียอาคเนย์ หากแต่ในระยะ ต่อมาเสาบ้านญี่ปุ่นได้สั้นลงๆ เนื่องจากเวลาได้ผ่านพ้นไป หลายศตวรรษ และในเวลาเดียวกันได้ถกู อิทธิพลจากวัฒนธรรมจีนซึ่งมีพื้นฐานมาจากสังคมบนบกเป็นส่วนใหญ่ครอบ งํา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ใต้ถุนบ้านญี่ปุ่นมีความสูงเหนือพื้น ดินเหลือเพียงสองฟุตเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบเรือนไทย บ้านญี่ปุ่นและบ้านคนจีนแล้วจะทําให้เห็นลําดับขั้นตอนการ เปลี่ยนแปลงรูปทรงของสถาปัตยกรรมบ้านอันน่าสนใจยิ่ง (รูป ๓)
๔
นอกจากบ้านยกพื้นจะมีลักษณะแตกต่างกันใน ระดับภูมิภาคแล้ว ในระดับท้องถิ่นภายในสยามประเทศ เองความแตกต่างดังกล่าวก็มีเช่นเดียวกัน เป็นความแตก ต่างซึ่งเกิดจากความเชื่อถือและสิ่งแวดล้อมของแต่ละท้อง ถิ่น ดังนั้นไม่เพียงแต่ผังพื้นของบ้านจะแตกต่างกัน แม้แต่ ความสูงของเสาบ้านก็ไม่เหมือนกันอีกด้วย เช่น หมูบ่ า้ นชาว ประมงเคลื่อนที่ซึ่งปัจจุบันหายสาบสูญไปหมดแล้ว มีเสา บ้านสูงเป็นพิเศษ เรือนไทยภาคกลางซึ่งมีเสาสูงปานกลาง และเรือนไทยภาคเหนือซึ่งมีเสาเรือนค่อนข้างสั้น อย่างไร ก็ตาม ถึงแม้ความแตกต่างจะปรากฏให้เห็นดังกล่าว แต่ บ้านเหล่านี้มีอะไรหลายอย่างที่คล้ายคลึงกันมาก
เรือนไทยและโครงสร้างไหวตัว ก่อนอื่นเรือนไทยไม่ใช้เสา หรือโครงสร้างตั้งตรง เป็นฉาก ๙๐ ํ กับพืน้ ดินในลักษณะโครงสร้างนิง่ (static) หาก แต่ใช้โครงสร้างเป็นรูปตัว A หัวตัด ในภาคกลาง และรูป A กลับหัว หรือตัว V ในภาคเหนือ (รูป ๔) ดังนั้นจึงเป็น โครงสร้างทีม่ แี นวโน้มทีจ่ ะเคลือ่ นไหวตัวได้ (dynamic) และ เพื่อสนองแนวโน้มดังกล่าว เรือนไทยจึงประกอบด้วยชิ้น ส่วนต่างๆ ต่อเข้าด้วยกัน โดยข้อต่อหรือข้อยึดเข้าลิ้นมีพุก ไม้ประกับ หรือผูกด้วยหวายในกรณีที่เป็นโครงสร้างไม้ไผ่ ทําให้โครงสร้างทั้งหมดสามารถไหวตัวได้แต่ไม่พัง สําหรับ ผนังหากเป็นไม้ไผ่ก็ใช้ผูกเข้าด้วยกันกับโครงไม้ไผ่ของเรือน หากเป็นไม้ก็ทําเป็นฝาปะกน แบ่งออกเป็นกรอบเล็กกรอบ น้อยยึดเข้าด้วยกันเป็นแผงใหญ่ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า
๒๑๘ ภูมิหลัง
๕
คนไทยถนัดนักในการก่อสร้างด้วยวิธปี ระกอบชิน้ ส่วนสําเร็จ รูป (รูป ๕, รูป ๖) เทคนิคดังกล่าวเป็นทีร่ กู้ นั ทัง้ ในภาคกลางและภาค เหนือ ด้วยเหตุนี้ศัพท์ที่ชาวบ้านใช้สําหรับสร้างบ้านคือ “ปรุง” หมายถึงการนํามาประกอบเข้าด้วยกัน เมื่อประ กอบบ้านได้ก็สามารถถอดบ้านออกเป็นชิ้นๆ ได้ในกรณีที่ อยากย้ายบ้านไปประกอบเข้าด้วยกันใหม่ในที่อื่น และความชํานาญในเทคนิคการประกอบชิ้นส่วน สําเร็จรูปนี้เองที่ทําให้เกิดความคล่องตัวในการย้ายถิ่นภูมิ ลําเนา นอกจากนี้แล้วความรู้ในเทคนิคนี้ยังไปปรากฏในสิ่ง
รูป ๔ บ้านเมืองเหนือ เรือนไทยมีทั้งโครงสร้างสอบเข้าเป็นรูป ตัว A และผายออกเป็นรูปตัว V ใน ภาคอีสานและภาคเหนือฝาผนังบ้าน ผายออกเป็นรูปตัว V ดังเช่นในรูปนี้ รูป ๕ กุฏวิ ดั อัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม คนไทยถนัดงานก่อสร้างด้วยวิธีประกอบ ชิ้นส่วนสําเร็จรูป ในรูปจะเห็นได้ว่า ฝาปะกนกั้นห้องประกอบด้วยกรอบเล็ก กรอบน้อยซึ่งยึดเข้าด้วยกันเป็นแผงใหญ่
รูป ๖ หน้าต่างกุฏวิ ดั อัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม แสดงรายละเอียดในการประกอบฝาปะกน
รูป ๗ ล้อเกวียน เกวียนถอดเป็นชิ้นๆ ได้เหมือนกับบ้าน ในการเดินทางโดยมีเกวียนเป็นพาหนะ บางครัง้ มีสง่ิ กีดขวางทางก็อาจถอดเกวียน เป็นชิ้นๆ ขนข้ามไป และเมื่อข้ามพ้นสิ่ง กีดขวางทางแล้ว จะประกอบชิ้นส่วน ขึ้นมาเป็นเกวียนใหม่ได้
๗
๖
อื่นๆ อีกด้วย เช่นการประกอบเกวียนเป็นต้นเพราะเกวียน ที่ใช้กันอยู่ทุกหนทุกแห่งในบ้านนอกถอดออกเป็นชิ้นๆได้ เหมือนกับบ้าน (รูป ๗) และที่ถอดได้ก็เนื่องจากบางครั้ง เมื่อมีสิ่งกีดขวางเส้นทางก็จําเป็นต้องถอดเกวียนออกเป็น ชิน้ ๆ เมือ่ ขนข้ามสิง่ กีดขวางนัน้ ไปแล้วจึงประกอบเป็นเกวียน ขึ้นมาใหม่อีก ในเรือ่ งทํานองนีค้ วรสังเกตว่า เรือนไทย และบ้าน ญี่ปุ่นมีอะไรที่คล้ายกัน เพราะบ้านญี่ปุ่นสามารถยืดหยุ่นตัว ได้ แน่นอนว่าบ้านญี่ปุ่นต้องทนต่อแผ่นดินไหวได้ด้วย แต่ ฝาผนังก็เป็นระบบชิ้นส่วนมาตรฐานสามารถถอดออกได้
๘
เหมือนกัน แต่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเรือนไทยมากที่สุด เห็นจะได้แก่บ้านชวาซึ่งถอดออกเป็นชิ้นๆ ได้ทั้งหมด มี เรือ่ งทีน่ า่ สนใจอยูเ่ รือ่ งหนึง่ คือ เมือ่ ประมาณสองร้อยปีมานี้ ทีช่ วาเกิดมีปฏิวตั คิ รัง้ ใหญ่ พระเจ้าแผ่นดินต้องย้ายพระราช วังหนีศัตรู ในการนี้ได้เกณฑ์คนถอดพระราชวังทั้งหมดออก เป็นชิ้นๆ แล้วลําเลียงชิ้นส่วนต่างๆ ไปประกอบขึ้นใหม่ในที่ ซึ่งห่างจากพระราชวังเดิม ๑๐ กิโลเมตร
รูป ๘ เรือนไทยในฤดูน้ำ กําลังมีเรือเข้าเทียบ รูปนี้ตีพิมพ์ลงใน หนังสือของ ลา ลูแบร์ พ.ศ. ๒๒๓๙ (อ้างถึงแล้ว)
สถาปัตยกรรมบนน้ำ
๒๑๙
สถาปัตยกรรมเรือนไทยเดิม
ในปัจจุบนั เรือนไทยหาดูได้ยากเพราะค่านิยมเปลีย่ น ไปและไม้กห็ าได้ยาก จริงอยูบ่ า้ นทรงหน้าจัว่ ยังมีให้เห็นอย่าง ประปราย แต่ความรูส้ กึ เกีย่ วกับวิถกี ารดําเนินชีวติ อยูก่ บั น้ำ เหลือน้อยเต็มที เมือ่ เป็นเช่นนีจ้ งึ มีสถาปนิกกลุม่ หนึง่ ทีพ่ ยายาม จะศึกษาค้นคว้าและอนุรกั ษ์เรือนไทยไว้ให้เป็นมรดกวัฒนธรรม สืบต่อไป ผู้ที่ควรยกย่องมี อาจารย์อัน นิมมานเหมินท์ อาจารย์สมภพ ภิรมย์ อาจารย์พทิ กั ษ์ สายันต์ อาจารย์อนุวทิ ย์ เจริญศุภกุล อาจารย์วิวัฒน์ เตมีพันธ์ุ และอาจารย์โชติ กัลยาณมิตร สําหรับเรื่องเรือนไทยในภาคกลางผู้ที่ค้นคว้า และมีผลงานมากที่สุดเห็นจะได้แก่อาจารย์ฤทัย ใจจงรัก แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ผลงานที่กล่าวถึงคือหนังสือชื่อ “เรื อ นไทยเดิ ม ”๒ ในหนั ง สื อ เล่ ม นี้อ าจารย์ ฤ ทั ย ได้ ส รุ ป ลักษณะสถาปัตยกรรมเรือนไทย ไว้ดังนี้ - เป็นเรือนอยู่บนเสา มีใต้ถุนโล่งใช้เป็นที่ทํางาน และเก็บเกวียน ในฤดูนำ้ ท่วมใช้เป็นทีเ่ ทียบจอด เรือ (รูป ๗, รูป ๘) - ตามแนวยาวของเรือน ช่วงเสาหรือที่เรียกว่า “ห้อง” สามารถเพิม่ ไปได้เรือ่ ยๆ ตัง้ แต่ ๑ “ห้อง” ถึง ๖ “ห้อง” หรือมากกว่านั้น ส่วนความกว้าง ของเรือนเท่ากับ ๒ “ห้อง” (รูป ๙) - มีหน้าจัว่ สูงเพือ่ ถ่ายเทความร้อน และชายคายืน่ ยาวเพื่อป้องกันฝนสาด - ฝาผนังและโครงสร้างเอนเข้าหากันตลอด ฝา ผนังและพื้นบางกรณีเป็นขัดแตะ เช่นในครัว ทําให้ลมผ่านทะลุได้ - มีชานบ้านใหญ่ บางส่วนมีหลังคาคลุม คิดเป็น เนือ้ ทีเ่ ฉลีย่ ประมาณร้อยละ ๖๐ ของพืน้ ทีท่ ง้ั หมด ของบ้าน กุฏิพระก็มีลักษณะเหมือนกับบ้าน เพราะโดยที่ จริงแล้วกุฏิหลายแห่งเดิมเป็นเรือนธรรมดาซึ่งคหบดีผู้มี ฐานะได้ยกถวายให้แก่วัด (รูป ๑๐) เรือนเหล่านี้มีใต้ถุนสูง เพื่ออยู่กับน้ำได้ แต่ไม่ว่าจะอยู่กับน้ำหรืออยู่บนบก ทางขึ้น บ้านมีลักษณะคล้ายกันหมด กล่าวคือสร้างเหมือนกับว่า เป็นทางขึ้นมาจากน้ำ เพราะทางขึ้นบ้านประกอบด้วยนอก ชาน ซึ่งอาจมีหนึ่งหรือสองระดับสําหรับเวลาน้ำท่วมมาก หรือน้อย นอกชานนี้มักจะสร้างเป็นศาลาเพื่อใช้เป็นที่รับ แขก หรือพบปะสนทนากันได้ ในที่ดอนทางขึ้นบ้านก็มีนอก ชานเช่นเดียวกันนี้ (รูป ๑๑) อย่างไรก็ดีสําหรับบ้านคนจน ทางขึ้นอาจจะมีบันไดพาดตัวเดียวเท่านั้นก็ได้
๒๒๐ ภูมิหลัง
๙
๑๐ รูป ๙ เรือน ๙ ห้อง กุฏพิ ระมีลกั ษณะคล้ายกับเรือนไทยและหลาย แห่งก็เป็นบ้านธรรมดาที่ราษฎรถวายให้วัด เรือนหรือกุฏิมีขนาดต่างๆ กัน ถ้ายาว ๓ ช่วงเสาก็เรียกว่าขนาด ๓ ห้อง ถ้ายาว ๙ ช่วงเสาก็เรียกว่าขนาด ๙ ห้อง ดังเช่นที่กุฏิ วัดอัมพวันเจติยารามในรูปนี้ ๒ เรือนไทยเดิม กรุงเทพ ๒๕๒๒ งานวิจัยนี้ถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงใน หนังสือชือ่ “Elements comparatifs sur les habitations des Ethnics de langues Thai” โดย Sophie Charpentier และ Pierre Clement จัดพิมพ์โดย Centre d’etuedes et de resherches architecturales, Institut de L’environnement, Paris, 1978
อันที่จริงชานบ้านมีลักษณะเหมือนกับแพขนาด ใหญ่ซง่ึ ยกขึน้ มาบนบกแล้วใส่เสาให้พน้ื สูง (รูป ๑๒, รูป ๑๓) บนแพหรือชานบ้านนี้จัดเป็นห้องนอนและห้องครัวอย่าง เป็นระเบียบ สําหรับเรือนขนาดใหญ่ ห้องนอนอาจมีหลาย ห้อง แต่ห้องประเภทอื่นๆ เกือบจะไม่มีเพิ่มขึ้นมาด้วยเลย ยกเว้นห้องพระซึ่งบางทีก็มีบางทีก็ไม่มี ระหว่างห้องครัว และห้องนอนมีผนังกั้น กิจวัตรประจําวันจะกระทํากันบน ชานบ้านในทีโ่ ล่งกลางแจ้ง ในส่วนของชานบ้านทีม่ หี ลังคา คลุมอาจใช้เป็นที่รับประทานอาหาร รับแขก และบางครั้ง แขวนกรงนก บริเวณชานบ้านที่เหลือใช้สําหรับประกอบพิธี กรรม เลี้ยงอาหาร ตากอาหารแห้ง ปลูกต้นไม้กระถางและ อาบน้ำในมุมที่ลับตาคนในตอนเย็น
เรือนไทยและการวางทิศทาง
๑๑
๑๒ รูป ๑๐ เรือนรัชกาลที่ ๑ ตั้งอยู่ที่ฝั่งธนบุรีใกล้วัดระฆังโฆสิตาราม พระราชทานให้เป็นกุฏิวัดระฆังฯเมื่อยังดํารง พระยศเป็นพระราชวรินทร์ เมื่อเสวยราชย์ แล้วให้ดัดแปลงเป็นหอไตรบรรจุ พระไตรปิฎกที่ได้สังคายนา เมื่อครั้งแปร สภาพมาเป็นหอไตรนั้น พระอาจารย์นาค ซึ่งเป็นจิตรกรชั้นเอกสมัยธนบุรีเป็น ผู้เขียนรูปฝาผนัง กล่าวกันว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้งดํารงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ เป็นผู้แกะสลัก บานประตูไม้ รูปที่เห็นนี้ถ่ายในขณะที่กําลัง บูรณะในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี
รูป ๑๑ บ้านที่อําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ทางขึ้นบ้านมีนอกชานสองระดับเหมือน กับเป็นท่าน้ำ แล้วแต่น้ำขึ้นมากหรือน้อย และมีศาลาคร่อมไว้เพื่อเป็นที่รับแขก หรือพักผ่อน รูป ๑๒ ชานกุฏิวัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ ชานหรือชานกุฏิมีลักษณะเหมือนกับ แพขนาดใหญ่ซึ่งยกขึ้นมาตั้งไว้บนเสาไม้ โดยทั่วไปชานมีเนื้อที่ประมาณร้อยละ ๖๐ ของพื้นที่บ้านทั้งหมด
โดยลักษณะของการวางผังบ้าน หน้าบ้านจะหัน ไปทิศใดไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว เว้นแต่ว่าจะต้องไม่หันหน้า บ้านไปทางทิศตะวันตก นอกนัน้ หากหันหน้าบ้านไปด้านใดแล้ว เกิดความสะดวกสบายก็เป็นอันว่าใช้ได้ เช่นหันให้แนวยาว ตามตรงกับทิศตะวันออกตะวันตกเพื่อเลี่ยงแสงแดด และ ในเวลาเดียวกันก็เพื่อให้บ้านได้รับลมเต็มที่จากทิศใต้ ส่วน ทางขึ้นบ้านก็ขอให้หันออกไปสู่ถนนหรือคลองเท่านั้น ในเมื่อบ้านระบายลมผ่านร่องตามพื้น ผนังและ หน้าจั่ว และในเมื่อห้องต่างๆ จะตั้งอยู่ตรงส่วนใดของชาน บ้านก็ได้ การวางผังบ้านในลักษณะต่างๆ ก็เกือบไม่มีปัญหา เพราะสามารถระบายลมได้ตลอด การวางผังบ้านอย่างเสรี เช่นนี้มีสิ่งสําคัญเกี่ยวกับทิศทางอยู่สิ่งเดียว คือการหันหัวนอน ของผูอ้ ยูอ่ าศัย ซึง่ จะต้องหันไปทางทิศใต้เกือบเสมอไป การหันหัวนอนไปทางทิศใต้เป็นคติทม่ี มี าแต่โบราณ และอาจจะมีมาก่อนความเชื่อทางศาสนาพุทธที่ถือว่าทิศ ตะวันออกเป็นมงคล อย่างไรก็ตามความเชื่อทั้งสองอย่าง เกิดมารวมกันได้อย่างดีในพิธีทักษิณาของศาสนาฮินดูและ ศาสนาพุทธตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทที่ ๒ ในประเทศไทย หลักฐานที่เก่าที่สุดซึ่งระบุว่าทิศใต้เป็นทิศมงคลหรือมีความ ศักดิ์สิทธิ์นั้นกล่าวไว้ในศิลาจารึกหลักที่หนึ่งของพ่อขุนรามคําแหงในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อาจด้วยเหตุนี้เองทําให้ชาว เมืองนครศรีธรรมราชหันหัวนอนลงใต้ แต่นั่นแหละทิศใต้ ของชาวนครบังเอิญตรงกับทีต่ ง้ั ของวัดพระมหาธาตุซง่ึ เป็น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวเมือง นอกจากคนไทยแล้ว ชาวญี่ปุ่นและชาวจีนก็มี ความเชือ่ เกีย่ วกับทิศใต้มาตัง้ แต่ดกึ ดําบรรพ์ ผังเมืองสําคัญๆ เช่น ปักกิ่ง ซูโจว นาราและเกียวโต ได้ให้ความสําคัญต่อทิศ ใต้เป็นพิเศษ ส่วนชาวญีป่ นุ่ นัน้ ยังนอนเอาศีรษะไปทางทิศใต้ เหมือนกับคนไทยโบราณอีกด้วย หรือมิฉะนั้นก็นอนหันไป ทิศตะวันออกตามคติพุทธ โดยที่จริงแล้วการยึดถือทิศใต้ ก็เหมือนการให้ความสําคัญต่อแกนเหนือใต้ แทนทีจ่ ะยึดถือ
สถาปัตยกรรมบนน้ำ
๒๒๑
รูป ๑๓ หมู่กุฏิวัดอัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม จะสังเกตเห็นชานกุฏิซึ่งใหญ่มาก
รูป ๑๔ สมุดของนายลาย ประสานนิล เป็นสมุดข่อยโบราณเกี่ยวกับสูตรและพิธี การปลูกเรือน นายลาย ประสานนิล เป็นช่างไม้เมืองเพชรบุรี ปัจจุบันสมุดเล่มนี้ หายไปเสียแล้ว
๑๓
๒๒๒ ภูมิหลัง
๑๔
๑๕
พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลูกบ้านสร้างเรือน
ความสําคัญของแกนตะวันออกตะวันตก ในเรื่องนี้ต้อง ย้อนลงใต้ไปดูบาหลี ซึ่งพลเมืองส่วนใหญ่จะหันหัวนอน ไปทิศเหนือ เพราะภูเขาอากุงซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางของ ระบบ จักรวาลตั้งอยู่บนแกนกลางของเกาะ และชุมชน ส่วนใหญ่บังเอิญอยู่แถบ ใต้ของเกาะ แต่สําหรับชาวเกาะ อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งอยู่ทางซีกเหนือของเกาะจะหันหัวนอน ลงใต้ ที่เกาะซูละเวซี พลเมืองจะนอนหันศีรษะลงใต้ไป ยังเกาะบาหลีซึ่งเป็นถิ่นฐานเดิมที่พวกเขาได้อพยพมา การจัดวางให้บ้านหันไปทิศไหนก็ได้ เพียงแต่ขอ ให้สะดวกสบาย ยกเว้นทิศตะวันตก ถือว่าเป็นองค์ประกอบ ทางด้านกายภาพของเรือนไทย ส่วนการจัดหัวนอนให้หันไป ทิศใต้ตามคติโบราณหรือทิศตะวันออกตามคติพุทธถือว่า เป็นองค์ประกอบประเภทด้านจิตใจ องค์ประกอบประเภท หลังนี้มีความสําคัญมาก เพราะเกี่ยวกับพิธีกรรมและตํารับ ต่างๆ เป็นจํานวนมากที่ผูกพันกับบ้านตั้งแต่เจ้าของเริ่มต้น สร้างบ้าน
เริ่มแรกทีเดียว การปรุงหรือปลูกเรือนจะต้องมี ฤกษ์มีพิธี ฤกษ์ดีจะมีเป็นบางช่วงบางเดือนเท่านั้น จะรู้ได้ ก็ต้องปรึกษาอาจารย์หรือพ่อหมอผู้ซึ่งมีความชํานาญใน เรื่องนี้เป็นพิเศษ ฤกษ์ต่างๆ เหล่านี้มีเหตุผลทั้งสิ้นเช่นจะ ตรงกับช่วงระยะเวลาซึ่งน้ำไม่หลากและสะดวกในการตัด ลําเลียงไม้มายังสถานที่ก่อสร้าง หลังจากนี้พ่อหมอจะสํา รวจที่ดินเพื่อหาทําเลที่เหมาะสมที่สุด แต่โดยวิธีที่แปลก กล่าวคือด้วยการดมกลิน่ ของดินประกอบกันไป๓ ในภาคเหนือ สถานที่ปลูกเรือนจะต้องระบายน้ำไปทางทิศตะวันออกเพื่อ ให้น้ำที่ท่วมหลากได้ไหลผ่านไปอย่างสะดวก หลังจากนั้น จะกําหนดสถานที่ลงเสาแน่นอน และทําพิธีอัญเชิญพระ อินทร์ พระพรหม พญานาคและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ เสร็จ แล้วมีตํารับที่ใช้กําหนดฤกษ์วัน มีสูตรที่ใช้สําหรับขุดหลุม เอก ตัวอย่างเช่นสูตรที่อาจารย์ฤทัยค้นพบในสมุดข่อยของ นายลาย ประสานนิล ช่างไม้โบราณชาวเพชรบุรี (รูป ๑๔) สูตรนีแ้ สดงให้เห็นถึงการหมุนเวียนของสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิใ์ นระบบ จักรวาลตลอดรอบปี และระบุถึงกิจกรรมที่จะต้องทําใน ช่วงเวลาต่างๆ ในการปลูกเรือน เช่นพิธีกรรมที่จะต้องทํา สําหรับพระนารายณ์ ซึ่งปรากฏในเดือนห้า เดือนเจ็ด เดือนแปด และเดือนเก้า พระอินทร์ในเดือนสิบเอ็ด พระ รามในเดือนอ้าย และพระอิศวรในเดือนสาม๔ เป็นต้น
รูป ๑๕ พิธีกรรมในการปลูกเรือน เป็นพิธีที่ชาวบ้านพร้อมใจช่วยกันทําอย่าง เต็มที่ นอกจากนี้ยังช่วยกันปลูกบ้านอย่าง พร้อมเพรียง
๓ สมุดข่อยของ นายลาย ประสานนิล น่าเสียดายที่สมุดข่อยมิได้อธิบายราย ละเอียดในเรือ่ งนีว้ า่ การดมกลิน่ ดิน เกี่ยวโยงกับการเลือกทําเลปลูกเรือน อย่างไรบ้าง ๔ หนังสือโดยฤทัย ใจจงรัก อ้างถึงแล้ว หน้า ๒๐๐-๒๐๑
สถาปัตยกรรมบนน้ำ
๒๒๓
สัญลักษณ์ของไม้ในการปลูกเรือน
การเตรี ย มเสาเรื อ นก็ ต้ อ งเป็ น ไปตามสู ต รที่ มี กําหนดไว้เช่นกัน เริ่มต้นด้วยการทําพิธีทําขวัญเสาสําหรับผี นางพญาซึ่ ง ปกปั ก รั ก ษาต้ น ไม้ ที่ จ ะถู ก ตั ด มาทํ า เสาเรื อ น ต้นไม้แต่ละชนิดมีคณ ุ ภาพและความหมายพิเศษ เช่นมีความ หมายถึงชัยชนะ ความรัก ทอง ความมัน่ คง โชคลาภอํานาจ ในการปกป้องภัยและยศถาบรรดาศักดิ์ เหล่านี้เป็นต้น๕ ไม้บางชนิดถือเป็นของสูงและสงวนไว้ใช้สาํ หรับเจ้านายโดย เฉพาะ นอกจากนี้เมื่อไม้ถูกแปลงรูปแล้วจะมีเพศอีกด้วย สําหรับโครงสร้างบ้านเรือนส่วนใหญ่ชน้ิ ส่วนต่างๆ เป็นเพศ หญิง เช่น นางไม้ซึ่งหมายถึงแผ่นกระดาน นางเรียงซึ่ง หมายถึงระเนียด นางจรัลซึ่งหมายถึงเสาค้ำเพิงหลังคา และท่อนไม้ที่วางประกับอยู่บนระเนียดซึ่งเรียกว่านางอุ้ม เป็นต้น แต่ข้อต่อไม้ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มีทั้งเพศ ชายและเพศหญิงสลับกันไป ในทีส่ ดุ แม้แต่เสาไม้กย็ งั มีระดับ ชั้นวรรณะ โดยจําแนกเป็นเสาเอก เสาโท เสาตรี หรือเสา พล ซึง่ หมายถึงเสาทีส่ าํ คัญเป็นอันดับแรก อันดับทีส่ อง อัน ดับที่สามหรือธรรมดาเหมือนกับการจัดตําแหน่งข้าราชการ พลเรือนในปัจจุบันไม่มีผิด นอกจากไม้แล้วเห็นจะไม่มีวัสดุ ก่อสร้างอื่นใดที่มีความหมายและความขลังถึงขนาดนี้เลย
สัญลักษณ์ของพญานาคหรือธาตุน้ำ ก่อนจะสร้างเรือนต้องมีการทําพิธีขออนุญาตเจ้า ที่เจ้าทาง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพญานาค พิธีเริ่มด้วยพ่อหมอซึ่ง เป็นผูว้ างผังและขุดหลุมเพือ่ ฝังเสาตรงกลางเรือน หลังจาก นั้นก็นําข้าวปลาอาหารมาถวายเป็นเครื่องเซ่นเจ้าที่ อ่านคํา สังเวยและทําพิธีปัดรังควาน โดยอ่านคาถาจบแล้วจึงโกย ดินกลบหลุม (รูป ๑๕) การเชิญพญานาคเป็นสิง่ สําคัญเหมือนกับการปลุก เสกน้ำ ทั้งๆ ที่เรือนอยู่บนดินไม่ลอยน้ำไปไหน ในสมุดข่อย ของนายลาย ประสานนิล ธาตุน้ำหรืออีกนัยหนึ่งพญานาค มีลักษณะเหมือนกระแสน้ำที่ไหลไปมา (รูป ๑๖) ดังนั้น เสาจึงต้อง “คัดท้าย” เพื่อรักษาตัวเรือนและผู้อาศัยอยู่ใน เรือนไว้ให้ดี คําต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของสูตรซึ่งเจาะจงว่า เมื่อเริ่มยกโครงสร้างเรือนควรปักเสาให้ชี้ไปทางทิศใด๖ “เดือนสี่ ห้า หก นาคเอาหัวไปประจิม เอาปลาย เสาไปพายัพ เดือนเจ็ด แปด เก้า นาคเอาหัวไปอุดร เอาปลาย เสาไปอีสาน เดือนสิบ สิบเอ็ด สิบสอง นาคเอาหัวไปบูรพา เอาปลายเสาไปอาคเนย์ เดือนอ้าย ยี่ สาม นาคเอาหัวไปทักษิณ เอาปลาย เสาไปหรดี”
๒๒๔ ภูมิหลัง
๑๖ รูป ๑๖ รูปนาคในสมุดของ นายลาย ประสานนิล แสดงให้เห็นถึงสูตรเรียกพญานาค หรืออีกนัยหนึ่งปลุกเสกน้ำ นอกจากนี้ ยังเป็นการกําหนดวิธีการวางเสาบ้าน ไปตามทิศต่างๆ อ่านดูแล้วเหมือนกับเป็น การคัดท้ายเรือหรือแพ
รูป ๑๗ ขั้นตอนการลงเสาเรือน ในการปลูกเรือน ต้องลงเสาเอกก่อน ตามด้วยเสาโทและเสาตรี โดยลงเสา ให้เวียนไปทางขวาในลักษณะทักษิณา เสาเอกทีก่ ล่าวถึงนีม้ ไิ ด้หมายถึงเสาทีส่ าํ คัญ ที่สุดในด้านโครงสร้างเสมอไป
๑๗ ๕ หนังสือ ผลงานหกศตวรรษของช่างไทย โดย โชติ กัลยาณมิตร กรุงเทพฯ ๒๕๒๐ หน้า ๖๑๒ ๖ หนังสือโดย ฤทัย ใจจงรัก อ้างถึงแล้ว หน้า ๒๐๔-๒๐๖
สูตรที่อ้างถึงข้างต้นเป็นหนึ่งในหลายตํารับ ที่ ระบุถึงความสําคัญของทิศต่างๆ ถึงแม้สูตรจะแตกต่างกัน ในระหว่างท้องถิน่ ๗ ก็ตาม แต่ทเ่ี ห็นได้ชดั คือการคํานึงถึง พฤติกรรมของธาตุน้ำหรือพญานาคอยู่เสมอ ตลอดจน คํานึงถึงสิ่งที่จะต้องกระทําเพื่อแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งก่อขึ้นโดยธาตุน้ำ
“เรือนทนสมุทร”
สูตรที่คัดมาอ้างและอีกหลายๆ ตอนในสูตรเดียว กันนี้ซึ่งไม่ได้คัดมาด้วย เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ควรและไม่ ควรทํา และสิ่งซึ่งต้องละเว้นไม่ทํา ในการปลูกเรือนมีคํา ศัพท์ว่า “ทนสมุทร” ซึ่งฟังแล้วเหมือนกับว่าเมื่อต่อเรือเสร็จ ก็พร้อมที่จะออกทะเลได้ทันที ทําให้ชวนถามว่าเพราะเหตุ ใดจึงให้ชื่อเรือนทนสมุทร เหมือนกับเป็นเรือออกทะเลได้
เซ่นไหว้พญานาคเจ้าที่
ก่อนที่จะยกเสาหลักซึ่งบางครั้งมีถึงสองต้น คือ เสามงคลและเสานางไปไว้ปากหลุม จะต้องตัดและปรุงให้ เรียบร้อยเสียก่อน ในการตัดและปรุงเสา พ่อหมอหรือ อาจารย์จะทําพิธี “สะเดาะเสนียด” โดยพ่อหมอจะจัดทํา กระทงห้ากระทงแล้วหาข้าวปลาอาหารใส่ลงไป กระทง หรือ “สะตวง” นี้ พ่อหมอจะนําไปวางไว้ตามทิศทั้งสี่มุม ของตัวเรือน อีกกระทงหนึ่งเอาวางไว้ตรงศูนย์กลางที่ฝัง เครื่องเซ่นเจ้าที่ ซึ่งคือพญานาค แล้วก็อ่านคําสังเวยและ ทําพิธีปัดรังควาน โดยอ่านคาถาแล้วใช้มีดหรือขวานถากไม้ ตรงตีนเสาหลักพอเป็นพิธี และเอาเศษไม้ที่ถากใส่กระทง หรือสะตวงตามทิศสี่มุมบ้าน๘ ส่วนกระทงเครื่องเซ่นที่อยู่ ตรงกลางจะนําไปลอยน้ำในละแวกนั้น การขุดหลุมเสาเรือนต้องทําในวันทีเ่ ป็นมงคล การ ขุดหลุมในชั้นนี้มีเรื่องทิศทางเข้ามาเกี่ยวข้องอีก กล่าวคือ ดินที่ขุดจากหลุมจะต้องไปกองไว้ท่ปี ากหลุมตามทิศที่เหมาะ กับวัน เมื่อขุดหลุมเรียบร้อยแล้วพ่อหมอจะเอาน้ำใสและ ทรายจากกลางแม่น้ำใส่ขันเงิน เพื่อทําพิธีเสกน้ำและทราย แล้วเทใส่ลงไปในหลุมเสาทั่วทุกหลุม พิธีขุดหลุมเสาเรือนนี้ ทําต่อเนื่องกันหลายวันโดยเอาใบไม้ประเภทต่างๆ ที่ถือว่า เป็นมงคลใส่ลงไปในก้นหลุมด้วย แล้ววันที่สําคัญที่สุดก็มาถึง เมื่อเพื่อนฝูงและ เพื่อนบ้านซึง่ อาจหมายถึงชาวบ้านทัง้ ตําบล จะร่วมใจกันมา ช่วยยกเสาประกอบโครงเรือน แต่ก่อนอื่นจะต้องมีการทํา พิธีขึ้นท้าวทั้งสี่เสียก่อน เพื่อบอกกล่าวเทวดาผู้อารักษ์ทิศ ทั้งสี่ว่าจะมีการปลูกสร้างเรือน ทั้งนี้เพื่อป้องกันอันตรายมิ ให้เกิดขึ้นกับผู้ใดในขณะสร้างเรือน พิธีประกอบขึ้นที่มุม เรือนทางทิศตะวันออก มีการนําเครื่องเซ่นใส่กระทงหยวก
กล้วยหรือสะตวงไปวางไว้บนแท่นซึง่ ทําจากไม้ไผ่ประดับด้วย ธงกระดาษหรือช่อ แท่นสําหรับวางกระทงเครื่องเซ่นเหล่า นี้ตั้งอยู่ตามมุมทั้งสี่ทิศและตรงกลางด้วย เครื่องเซ่นที่วาง อยู่ระหว่างกลางนี้อุทิศถวายพระอินทร์โดยมีฉัตรแสดงภูมิ จักรวาลปักอยู่ ต่อจากนั้นพ่อหมอจะจุดธูปเทียนบอกกล่าว อัญเชิญเทวดา และกางสมุดข่อยซึ่งเรียกว่าปั๊บหนังสา แล้วอ่านโองการออกมาดังๆ เสร็จแล้วก็มีการทําขวัญเสาหลัก โดยพ่อหมอจะ ท่องคาถาเชิญขวัญอันมากมายในขณะที่ผูกใบไม้ที่เด็ดมา จากต้ น ไม้ ซึ่ ง ถื อ เป็ น มงคลตามเดื อ นต่ า งๆของปี ไว้ กั บ ปลายเสา หลังจากนั้นจะปิดยันต์โดยเขียนรูปคาถาในช่อง สามเหลี่ยม เสกด้วยอํานาจในการป้องกันภัยต่างๆ ไว้ที่ ปลายเสาแต่ละต้น ในหนังสือของอาจารย์ฤทัย ขั้นตอนการยกเสา ลงหลุมเริ่มด้วยเสาเอก ตามด้วยเสาโทและเสาตรี โดยลง หลุมเวียนขวาตามเข็มนาฬิกา (รูป ๑๗) เสาทุกต้นมีสาย สิญจน์กับเครื่องประกอบอื่นๆ ผูกเอาไว้ด้วยกันในระหว่าง การก่อสร้าง จะเอาสายสิญจน์ออกได้กต็ อ่ เมือ่ การปลูกเรือน เสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามเสาหลักมีอยู่สองต้น ได้ แก่เสามงคลและเสานาง เสาทัง้ สองนีจ้ ะเป็นทีส่ กั การบูชา ตลอดไปเสมอ ดังนัน้ จึงมักมีหง้ิ เล็กๆ สําหรับวางเครือ่ งบูชา ติดอยู่ที่เสา เหมือนกับเป็นสิ่งซึ่งประกันความสมบูรณ์พูน สุขให้แก่ผู้อยู่อาศัย
องค์ประกอบของเรือนไทยและสัญลักษณ์ของชาวน้ำ
นอกจากพ่อหมอแล้ว ช่างไม้ยงั ต้องเป็นผูป้ ระกอบ พิธีกรรมต่างๆ เช่นกัน ตั้งแต่งานเข้าไม้จนกระทั่งถึงงานฝี มือและการใช้สัดส่วนทางด้านสถาปัตยกรรม ซึ่งล้วนแต่ เป็นสิ่งที่ช่างต้องท่องจํามาจากสูตรและตําราโบราณซึ่งใช้ ในพิธีกรรมทั้งสิ้น ในเรื่องนี้น่าสังเกตว่าชิ้นส่วนที่ประกอบ ขึ้นเป็นตัวเรือนได้แสดงออกซึ่งความสําคัญทางด้านพิธี กรรมมากเท่าๆ กับความสําคัญทางด้านโครงสร้าง หรือ ประโยชน์ใช้สอย
ปั้นลม หรือ ป้านลม
เราจะเห็นได้ว่าส่วนประกอบต่างๆ ของบ้าน เช่น เสาและบันได เป็นสัญลักษณ์ทแ่ี สดงความหมายอืน่ อีกด้วย ขนาดและรูปร่างบางอย่างของเสา บ่งถึงความหมายทาง เพศและศีลธรรม ส่วนจํานวนขั้นบันไดเป็นเลขคี่ซึ่งถือกัน ว่าเป็นตัวเลขทีเ่ ป็นมงคล ชิน้ ส่วนประกอบตัวเรือนอีกหลาย อย่างก็มคี วามหมายพิเศษในตัว หากแต่อาจไม่คอ่ ยแจ่มแจ้ง หรืออาจลืมกันไปบ้างแล้ว สิ่งที่เรารู้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของ เรือนไทยทีส่ าํ คัญมาก หากแต่ไม่สามารถรูถ้ งึ ความหมายได้ แน่นอนคือแผ่นไม้ที่ตั้งปิดขอบกระเบื้องหลังคาซึ่งยื่นพ้น
๗ ดูความแตกต่างระหว่างภูมภิ าคในหนังสือ ประเพณีการปลูกเรือน โดยวิวัฒน์ เตมีพันธ์ กรุงเทพฯ ๒๕๒๑ หน้า ๓๓ ในภาคภาษาไทย ๘ เล่มเดิม หน้า ๓๓
สถาปัตยกรรมบนน้ำ
๒๒๕
๑๘
หน้าจั่วออกมา ศัพท์สถาปัตยกรรมที่ใช้คือ ปั้นลมหรือป้าน ลม (รูป ๑๘, รูป ๑๙) ฟังดูแล้วเหมือนกับมีความสัมพันธ์ อันใกล้ชิดกับลมเป็นพิเศษ ทําให้ชวนคิดไปว่าผู้ที่มีความรู้ สึกเช่นนี้กับลมมากที่สุดคือพวกชาวเรือ อย่างไรก็ดี ปั้น ลมประเภทที่เรียกว่า หางปลาย่อมแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้ว ถึงความหมายที่เกี่ยวกับน้ำ ส่วนปั้นลมประเภทที่ใช้ทั่วไป น่าจะเป็นชิ้นส่วนซึ่งดัดแปลงอย่างง่ายๆ จากไม้ตัวเดียวกัน กับที่ใช้สําหรับวัดที่เรียกว่าลํายอง ถ้าเป็นเช่นนี้ความหมาย ก็จะตรงกันกับลํายองซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของนาคหรือการ ไหลของธาตุน้ำลงมาบนจั่ว ซึ่งทําให้ปลายล่างทั้งสองด้าน เรียกว่าเหงาตรงกับหัวนาค แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าตัวเหงา บางชนิดมีลักษณะคล้ายหัวเรือชาวชวา ทําให้ชวนคิดว่าต้น กําเนิดของปั้นลมอาจจะเกี่ยวกับเรือก็เป็นได้ (รูป ๒๐) นอกจากการเปรียบเทียบรูปร่างแล้ว คําทีใ่ ช้เรียก ปั้นลมก็ น่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษคําว่าปั้น ลมนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า barge-board แปลตรงตัวว่า กระดานเรือ ซึ่งก็เกี่ยวกับน้ำเช่นกัน ไม่เพียงแต่เท่านี้ยังมี
๒๒๖ ภูมิหลัง
๑๙
ทฤษฎีว่าเมื่อผู้คนอพยพข้ามมหาสมุทรและเดินทางเข้าถึง ฝั่ง ที่พักกําบังแห่งแรกที่สุดคือเรือที่คว่ำลงซึ่งดูมีเหตุผลใช้ ได้ทีเดียว (รูป ๒๑) เรือที่ทําจากหญ้ากกตามทฤษฎีของ เฮเยอร์ดาห์ล เปรียบเทียบได้กบั หลังคาบ้านมุงด้วยจากของ ชาวอินโดนีเซียและญีป่ นุ่ ในยุคแรกเริม่ และเรือโครงไม้เปรียบ เทียบได้กับโครงสร้างหลังคาอันซับซ้อนของสถาปัตยกรรม ไทยที่สร้างด้วยฝีมืออันเที่ยงตรง (รูป ๒๒) เมื่อย้อนกลับมาสู่เรื่องของการปลูกเรือน พิธีที่ สําคัญทีส่ ดุ ทีช่ า่ งไม้ตอ้ งกระทําคือพิธเี บิกหน้าพรหม ซึง่ คือ การเอาขวานถากแผงกระดานด้านบนของหน้าจัว่ ให้เกิดรอย แยก เป็นพิธีกรรมที่แปลกเพราะมิได้มีความหมายไปในทาง สร้างสรรค์ ตรงกันข้ามการกระทําเช่นนั้นมีความหมายไป ในทางทําลาย ซึ่งไม่น่าจะเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการปลูก บ้านสร้างเรือน คําอธิบายในเรื่องนี้ก็คงจะเป็นในทํานอง เดียวกับในอีกหลายกรณี ที่ผลงานทางศิลปะหลายชิ้นต้อง ถูกทําลายหรือเผาทิง้ เพราะงานศิลปะเหล่านัน้ มิได้สร้างขึน้ เพื่อเป็นถาวรวัตถุ แต่สร้างขึ้นเพื่อเป็นส่วนประกอบในขั้น
รูป ๑๘ ปั้นลม อาจแปรรูปมาจากลํายองหรือลำตัวนาค หรืออาจมีความสัมพันธ์กับหัวเรือก็ได้ ทั้งนี้เพราะบางครั้งมีรูปลักษณะคล้ายคลึง กัน
รูป ๑๙ ปั้นลมหางปลา ชื่อปั้นลมประเภทนี้ระบุให้เห็นชัดถึง ความหมายที่เกี่ยวกับน้ำ
๒๐
ตอนของพิธีกรรมเพื่อความหมายบางประการ แต่ผลงาน ศิลปะเหล่านัน้ ก็ยงั คงอยูใ่ นความทรงจําของช่าง และสามารถ จะสร้างขึ้นใหม่ได้อีกตลอดเวลา ภายใต้จิตสํานึกของช่าง โบราณ งานศิลปะเหล่านี้ยังคงอยู่อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ ในรูปของสูตรที่ท่องจําไว้ ซึ่งจะสร้างขึ้นใหม่เมื่อใดก็ย่อม กระทําได้ สิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความ สัมพันธ์ทางด้านจิตใจ ระหว่างช่างไม้กับเรือนที่สร้างขึ้นใน ทํานองเดียวกัน เจ้าของกับบ้านที่ตนอยู่อาศัยก็มีความผูก พันที่ลึกซึ้งเช่นเดียวกัน ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าเมื่อเริ่มแรกสร้าง บ้านนั้น ช่างไม้จะต้องคํานวณวันเดือนปีเกิดของเจ้าของ บ้านและภรรยา ด้วยสูตรขลังสูตรหนึ่งแล้วนําผลลัพธ์ไป คํานวณกับขนาดของขื่อหลังคา ซึ่งเป็นตัวกําหนดขนาด ความสูงและความกว้างของเรือน ในที่สุดจะได้ตัวเลขอัน เป็นมงคลเก็บไว้ใช้ประจําบ้าน สิง่ ทีไ่ ด้อธิบายมานีท้ าํ ให้เห็น ว่า บ้านเหมือนกับเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายของเจ้าของ บ้านเอง
๒๑
นอกจากงานฝีมือแล้ว งานปลูกเรือนส่วนใหญ่ เป็นงานที่ชาวบ้านในละแวกนั้นทั้งหมดเป็นผู้ช่วยกันทําและ เป็นโอกาสทีท่ กุ คนจะได้สนุกสนานกันอย่างเต็มที่ ทัง้ ชาวบ้าน ทุกคนยังถือว่าเป็นงานมงคลสําหรับชุมชนนั้นอีกด้วย หลัง จากงานก่อสร้างแล้วเสร็จและเจ้าของบ้านได้เข้าไปอาศัย อยู่เรียบร้อยแล้ว ทุกคนจะมาร่วมทําบุญเลี้ยงพระและ ฉลองกันเป็นงานใหญ่อีกครั้งหนึ่ง สรุปแล้วการปลูกเรือนเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพิธี กรรมตั้งแต่ต้นจนจบ และเรือนเป็นที่รวมของสัญลักษณ์ และความหมายต่างๆ เป็นจํานวนมาก เรือนเป็นสิ่งเชื่อม โยงเจ้าของกับชุมชนของตน และไม่แต่เท่านั้น ยังเป็นสิ่ง เชื่อมโยงกับต้นกําเนิดที่มาจากน้ำ และในที่สุดกับระบบ จักรวาล ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมมนุษย์อยู่โดยไม่ มีจุดเริ่มต้น หรือจุดจบอีกด้วย
รูป ๒๐ รูปเรือชาวชวา โปรดสังเกตหัวเรือซึ่งมีรูปเหมือนปั้นลม บางชนิด
รูป ๒๑ ดาวีหรือศาลาประชาคมของ ชาวกินนี แสดงโครงสร้างในระหว่างการก่อสร้าง ทฤษฎีที่ว่าเมื่อคนอพยพข้ามทะเลมาถึงฝั่ง ที่พักกําบังแห่งแรกคือเรือที่คว่ำลง ดูมีเหตุผลเป็นอันมาก ดาวีของชาวกินนี ในรูปนีค้ ล้ายกันเป็นอันมากกับโครงสร้างเรือ
สถาปัตยกรรมบนน้ำ
๒๒๗
รูปเต็มหน้า ๒๒๘
รูป ๒๒ โครงหลังคาวัดพระธาตุ ลําปางหลวง จังหวัดลําปาง เนื่องจากคนไทยสันทัดการสร้าง เรือมาแต่โบราณกาล จึงไม่แปลก อะไรทีส่ ามารถทําโครงสร้าง หลังคาไม้ได้อย่างพิถีพิถัน ดังเช่นในรูปนี้
ศาลพระภูมิ
หากว่าเรือนใต้ถุนสูงเหมาะสมสําหรับมนุษย์แล้ว ก็น่าจะเหมาะสมสําหรับนาคและเจ้าที่อื่นๆ ซึ่งสถิตอยู่ทั่ว ทุกหนแห่งเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ทุกครัวเรือนจึงตั้งศาล พระภูมิในมุมใดมุมหนึ่งในเขตบ้าน (รูป ๒๓, รูป ๒๔) ตาม ประเพณีเดิม ศาลพระภูมิสร้างด้วยไม้ และถึงแม้ว่าจะมี ขนาดเล็กแต่ก็มีลักษณะเหมือนบ้านจริงทุกประการ ศาล พระภูมิที่หล่อด้วยปูนซึ่งเห็นอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน โดยเฉพาะ ในบ้านเรือนของเศรษฐีและตามอาคารพาณิชย์ เป็นสิ่งที่ เพี้ยนไปจากรูปแบบประเพณีเดิมแล้วทั้งสิ้น
เรือนแพ
ด้วยเหตุที่เรือนใต้ถุนสูงปรากฏอยู่ทุกหนแห่งใน เมืองไทย จึงถือว่าเป็นเรือนไทย แต่ในบริเวณทีร่ าบลุม่ ภาค กลาง มีเรือนอีกประเภทหนึ่งซึ่งเมื่อไม่นานมานี้เคยอยู่ปะ ปนกับเรือนใต้ถุนสูงและเคยมีจํานวนมากพอๆ กัน ที่กล่าว ถึงนี้คือเรือนแพ (รูป ๒๕) ซึ่งในสมัยนี้ยังพอหลงเหลืออยู่ บ้างแต่ก็มีน้อยมาก และที่เหลืออยู่ต่างก็กําลังทยอยกัน ย้ายขึน้ บกโดยยกพืน้ ใส่เสาเข้าไป ถ้าพูดถึงรูปร่างทัว่ ไป เรือน แพตั้งแต่พื้นจรดหลังคาก็มีลักษณะเหมือนกับเรือนปลูกบน เสา จะแตกต่างกันก็ตรงที่สร้างบนแพไม้ไผ่หรือโป๊ะ และ ผูกเสาจอดอยู่ในแม่น้ำลําคลอง เรือนแพนี้ปรากฏอยู่เป็น จํานวนมากในกรุง ตัง้ แต่สมัยธนบุรแี ละสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ถึงจนกระทัง่ เมือ่ ไม่นานมานี้ ดังหลักฐานทีป่ รากฏในรูปถ่าย และผังเมืองเก่าๆ ซึ่งจะดูได้ในบทที่ ๖ นอกจากเรือนแพแล้วผู้คนซึ่งได้อาศัยอยู่ในเรือ ก็มีเป็นจํานวนมากเหมือนกัน และรู้สึกว่าจะมีสภาพเป็น เช่นนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว หมอเคมเฟอร์ ได้บันทึก ไว้ใน พ.ศ. ๒๒๓๓ ว่าที่กรุงศรีอยุธยาได้พบ “เรือที่อยู่ อาศัย...บรรจุครอบครัวสองหรือสามครอบครัว หรือมาก กว่านั้นในแต่ละลํา...”๙ ซึ่งหมายถึงเรือเอี้ยมจุ๊นที่ยังล่อง ขึ้นล่องลงตามแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่จนถึงทุกวันนี้ (รูป ๒๖) ลักษณะเรือนแพส่วนใหญ่ประกอบด้วยห้องซ้อน กัน ๓ ห้อง ห้องด้านหน้าหันออกลําน้ำมีฝาขัดแตะค้ำเปิด และปิดได้ แต่มักจะเปิดทิ้งไว้ตลอดวันเพื่อรับลม ระเบียง ด้านหน้ามีรั้วกั้นมิให้เด็กตกน้ำและใช้เป็นที่อาบน้ำตอนเช้า และเย็น แต่ตอนกลางวันบริเวณนี้ใช้เป็นร้านค้า ห้องซึ่งอยู่ ตรงกลางใช้เป็นที่หลับนอน และห้องด้านหลังซึ่งหันเข้าหา ฝั่งใช้เป็นครัวและสําหรับกินข้าว ในกรุงเทพฯ สมัยก่อน เรือเหล่านี้มีโซ่ล่ามหรือมีเชือกผูกติดกับเสาซึ่งปักลงไปใน ๙ หนังสือ History of Japan and Siam โดย เอ็งเงิลเบิร์ต เคมเฟอร์ (Engelbert ลําน้ำและจอดอยู่แน่นตามริมฝั่ง จนแทบจะไม่มีที่เว้นว่าง Kaempfer) 2 เล่ม ลอนดอน ค.ศ. 1728- เหลืออยูเ่ ลย ทัศนียภาพของเมืองหลวงจากแม่น้ำในสมัยนั้น 1731 เล่มที่ 2 หน้า 31 เต็มไปด้วย “เรือนแพทาสีอย่างประณีตงดงามลอยเป็นแถว ๑๐ หนังสือโดย นีล อ้างถึงแล้วหน้า ๒๙ ซ้อนกันสองถึงสามแถว...”๑๐ ๑๑ เล่มเดิมหน้า ๑๔ ๑๒ เล่มเดิมหน้า ๒๙,๓๐
แน่ละ การที่บ้านเรือนลอยอยู่ในน้ำย่อมทําให้ภูม ิ ลําเนาสามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้ง่าย ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นอยู่ ประจํา ฝรั่งที่เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ในครั้งนั้นเห็นเข้า แล้ว รู้สึกประทับใจถึงกับได้พรรณนาไว้ในหนังสือว่า “ภูมิ ลําเนาทีเ่ คลือ่ นย้ายได้นเ้ี ป็นสิง่ ทีน่ า่ พิศวงอย่างยิง่ บางครัง้ เรือนแพหลายๆ ลําถูกปลดจากเสาที่เชือกโยงไว้ แล้วลอย กันไปเป็นฝูงเพื่อไปหาถิ่นใหม่ตามแต่เจ้าของจะพึงพอใจ”๑๑ ฝรั่งคนเดียวกันที่พรรณนาเรื่องนี้ไว้ ได้เล่าต่อไปว่า มีอยูค่ รัง้ หนึง่ เขาเห็นเรือกลไฟแล่นเฉียดเข้าไปเกีย่ วเรือนแพ ที่จอดอยู่ ทําให้เรือนแพหลายลําหลุดออกจากเสาที่ผูกไว้ “ในตอนนั้นกระแสน้ำกําลังไหลเชี่ยว พอเรือกลไฟ ดึงตัวหลุดออกมาได้จากกลุ่มเรือนแพ ก็พอดีเรือน แพทั้งหลายหลุดลอยตามออกมาท่ามกลางเสียงตะ โกนโห่ร้องของผู้อาศัย อีกไม่กี่นาทีต่อมาเรือนแพก็ หายลับไปทางคุ้งแม่น้ำ ลอยไปติดฝั่งตรงกันข้าม แต่ก็ไม่เห็นมีอะไรเสียหาย เพราะการลอยย้ายที่อยู่ หรือร้านค้าขึ้นล่องไปๆ มาๆ เป็นเรื่องธรรมดาอยู่ แล้ว เพียงแต่ในครัง้ นีก้ ารย้ายบ้านเรือนเป็นไปอย่าง ไม่มีใครตั้งใจ สมมุติว่านางแย้มและพวกลูกๆ เบื่อ ที่จะอยู่ต่อไปในย่านธุรกิจอันจอแจและอยากจะย้าย ขึ้นไปอยู่ในถิ่นผู้ดีมีสกุลใกล้ๆ กับพระบรมมหาราชวัง แกก็จะคอยให้น้ำขึ้นแล้วก็ปล่อยเชือกที่ผูกอยู่ กับเสา ให้แพลอยขึ้นไปเองตามกระแสน้ำจนถึงจุด หมายปลายทางที่แกต้องการ เวลาย้ายบ้านเรือนก็ จะมีพวกผู้ชายมาช่วยกันถ่อแพประคองมิให้เข้าไป ปะทะกับเรือซึ่งทอดสมออยู่ตามทาง ทุกแห่งหนที่ แพลอยผ่านไปคนจะตะโกนโห่ร้องขานกันไปขานกัน มา เหมือนกับว่าเกิดเรื่องราวใหญ่โต และเหมือนกับ ว่าคนทั้งประเทศจะอยู่รอดได้หรือไม่ก็ด้วยการประ คองเรือนแพเล็กๆ ลํานี้”๑๒ กรุงเทพฯ ที่ฝรั่งผู้นี้กล่าวถึงตรงกับปลายสมัย รัชกาลที่ ๓ เขาบอกว่าในสมัยนั้น เมืองทั้งเมืองมีเรือนแพ และร้านค้าบนแพมากถึง ๗๐,๐๐๐ หลัง ทําให้มีประชากร อาศัยในน้ำถึง ๓๕๐,๐๐๐ คน การที่บ้านเรือนมีลักษณะการใช้สอยคล่องตัวหรือ เคลือ่ นย้ายไปมาได้อย่างสะดวก ไม่วา่ จะเป็นเรือนแพทีล่ อย ไปมาตามกระแสน้ำ หรือบ้านแบบสะเทินน้ำสะเทินบก กล่าว คือเรือนใต้ถุนโล่ง จําเป็นที่จะต้องจัดให้เล็กกะทัดรัด เรือน ที่ลอยอยู่ในน้ำก็ดี หรือเรือนสร้างบนชานซึ่ง “ลอย” อยู่ บนเสาไม้ก็ดี จะสร้างด้วยอะไรที่หนักและตายตัวไม่ได้ ทุก อย่างต้องพอดีตัวไม่มีส่วนขาดส่วนเกิน ชาวยุโรปที่เดิน ทางมาเห็นกรุงศรีอยุธยาในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ต่าง ก็ประหลาดใจเมื่อได้เห็นคุณลักษณะของบ้านเรือนดังกล่าว
สถาปัตยกรรมบนน้ำ
๒๒๙
๒๓
๒๔
รูป ๒๓-๒๔ ศาลพระภูมิ ศาลพระภูมิมีไว้เพื่อเจ้าที่เจ้าทาง ซึ่งตาม ความเชื่อถือเดิมคือนาค แต่เดิมนั้น ศาลพระภูมิเป็นเรือนไม้เหมือนกับ บ้านธรรมดา ซึ่งยกพื้นใต้ถุนโล่ง ปัจจุบันชาวกรุงได้พัฒนา รูปแบบศาลพระภูมิผิดไปจากของเดิมมาก
รูป ๒๕ หมู่บ้านเรือนแพ ถ่ายที่แม่น้ำบางปะกง วัดแหลมใต้ อําเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. ๒๕๒๔ รูปนีช้ วนให้นกึ ถึงกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งเป็นเมืองลอยอยู่ในน้ำส่วนใหญ่ ในสมัยนั้นชุมชนอาจประกอบด้วยเรือนแพ ถึง ๗๐,๐๐๐ ลํา
๒๕ รูป ๒๖ เรือเอี้ยมจุ๊น เป็นเรือซึ่งมีมาแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันยัง มีผู้คนจํานวนไม่น้อยที่ยังอาศัยอยู่ในเรือ ประเภทนี้
รูป ๒๗ เจ้านายฝ่ายใน ฉายเมือ่ พ.ศ. ๒๔๔๘ ในขณะทีก่ าํ ลังประทับ บนพื้น ในงานฉลองสระของพระองค์เจ้า อรไทยเทพกัญญา ทีด่ า้ นหลัง
พระบรมมหาราชวัง ในเอเชียอาคเนย์ และเอเชียตะวันออก มีแต่คนจีนเท่านั้น ที่นั่งบนเก้าอี้ นอกนั้นนั่งบนพื้น
“ความเรียบง่ายของที่อยู่อาศัยและเครื่องเรือน ล้วนแต่ ประกอบด้วยสิ่งที่จําเป็นเท่านั้น สถาปนิกชาวยุโรปจะไม่ สามารถแสดงฝีมือในประเทศนี้ได้เลย”๑๓ นอกจากความ เรียบง่ายแล้ว เรือนไทยยังดูสวยงาม “สะอาดและเป็น ระเบียบเรียบร้อยมากกว่าบ้านในประเทศฮอลันดาเสีย อีก...”๑๔ ในเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก คนจีนเป็น ชนชาติเดียวที่นั่งบนเก้าอี้ ชนชาติอื่นๆ นั่งนอนและกินบน พื้น สําหรับคนไทยและญี่ปุ่น พื้นบ้านเป็นส่วนที่สําคัญที่ สุดต้องขัดถูอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้คนทั้งสองชาติจะ ถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้าน สําหรับคนไทยมีขนบธรรมเนียม ภายในบ้านเคร่งครัดมาก เช่น การหมอบคลานบนพื้นโดย เฉพาะต่อหน้าพระ เจ้านายและผู้ใหญ่ซึ่งเป็นที่เคารพยํา เกรงในสมัยก่อน ท่านเหล่านี้ก็นั่งอยู่บนพื้นเช่นเดียวกัน หากแต่อาจมียกพื้นรองรับ ทั้งหมดนี้อาจเป็นนิสัยที่มีต้น กําเนิดมากจากน้ำ เพราะเวลาอยูใ่ นเรือนแพผูอ้ ยูอ่ าศัยย่อม จะขยับเขยื้อนให้เรือนโคลงไม่ได้อยู่ดี (รูป ๒๗) แม้วา่ บ้านช่องจะเรียบง่ายไม่ใหญ่โต แต่กรุงเทพฯ ก็เป็นนครทีย่ ง่ิ ใหญ่ทเี ดียว ชาวยุโรปทีเ่ ดินทางโดยเรือเข้ามา เห็นกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และที่ ๕ ต้องตื่นตาตื่นใจ เพราะไม่เคยนึกฝันว่าจะได้เห็นภาพเช่นนี้ “เมื่อผ่านคุ้งน้ำสุดท้ายเข้ามา ความรุ่งโรจน์ของ เมืองที่ลอยอยู่ในน้ำก็ปรากฏให้เห็น เหมือนแสง อรุณอันสุกปลั่งลอดใต้เมฆออกมา โดยที่จริง เวลานั้นค่ำมืดแล้ว... แต่สำหรับกรุงเทพฯ ดวงไฟ นับล้านดวงได้ส่องแสงสว่างกระทบผิวน้ำทุกหน แห่ง...เหมือนแดนเนรมิต...จะมองไปไกลจนสุด สายตาอย่างไรก็เห็นแต่ดวงไฟระยิบระยับทัง้ สอง ฝั่งแม่น้ำ มีแต่ไฟเป็นดวงๆ ต่อเนื่องกันไปไม่รู้จัก จบ...เรือนแพเล็กๆ แต่ละลํามีโคมไฟอย่างน้อย สองดวง มันเป็นภาพที่งดงามมากที่สุดเท่าที่ ข้าพเจ้าได้เคยเห็นมา”๑๕ ในหลายภูมิภาค เรือนแพยังมีหลงเหลือให้เห็น อยู่โดยเฉพาะในภาคกลาง เช่น อยุธยา (รูป ๒๘) ฉะเชิงเทรา บางปะกงและรอบๆ กรุงเทพฯ นอกจากนั้นในบริเวณ ที่ไกลออกไปเช่น น่าน สุราษฎร์ธานีและพิษณุโลกก็ยังมีให้ เห็น ที่พิษณุโลกนอกจากเรือนแพแล้วยังมีสวนลอยน้ำอีก ซึ่งสวนลอยน้ำนี้เป็นเรื่องแปลกประหลาดมากพวกพม่าก็ ปลูกสวนประเภทนี้ในทะเลสาบอินเล และพวกแอสเต็กก็รู้ จักใช้สวนลอยน้ำเช่นเดียวกัน (รูป ๒๙-รูป ๓๑)
๒๘
๓๐
๒๙ รูป ๒๘ เรือนแพอยุธยา ถ่ายที่คลองวัดขนอน จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา รูป ๒๙ เรือนแพพิษณุโลก พิษณุโลกเป็นเมืองใหญ่เมืองเดียว ในประเทศไทย ที่ยังมีเรือนแพ เหลืออยู่เป็นจํานวนมาก รูป ๓๐ สวนลอยน้ำที่พิษณุโลก เรือนแพแต่ละหลังมีสวนผักลอยน้ำอยู่ หน้าบ้าน ทําให้คิดถึงชาวแอสเต็กโบราณ และชาวทะเลสาบอินเลซึ่งรู้จักทําสวน ประเภทนี้เหมือนกัน
๑๓ จากหนังสือของ ตุรแปง อ้างถึงแล้ว เล่มที่ ๑ หน้า ๗๙ ๑๔ จากหนังสือ Les Voyages... ของ ชอง สตรูส์ กลานีอุส (Struys Glanius) ค.ศ. 1681 หน้า 123 ๑๕ จากหนังสือของ นีล อ้างถึงแล้ว หน้า ๒๕
สถาปัตยกรรมบนน้ำ
๒๓๑
๓๑
๓๒
สัญลักษณ์น้ำในคติพุทธศาสนา
รูป ๓๑ สวนลอยน้ำที่ทะเลสาบอินเล ประเทศพม่า สวนเหล่านี้ลอยอยู่ด้วยปอหรือไม้ไผ่มัด เป็นแพ บนแพเป็นดินตมที่ชาวบ้านตักขึ้น มาจากก้นทะเลสาบ สวนจึงอุดมสมบูรณ์ เป็นพิเศษ แต่เวลาเรือแล่นผ่าน คลื่น จากเรือจะกระทบร่องสวนทําให้สวน ลอยขึ้นลอยลงอย่างน่าแปลกประหลาด
รูป ๓๒ หอไตรวัดพร้าว วัดพร้าวอยู่ที่ตําบลโพธิพระยา อําเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี หอไตร มีลักษณะคล้ายบ้านยกพื้นสูงอยู่ในน้ำ แตกต่างกันตรงที่ประดับประดาด้วย เครื่องไม้ รวมทั้งช่อฟ้าใบระกา
รูป ๓๓ โบสถ์น้ำวัดพุทธเอ้น อยู่ที่อําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ คงเป็นโบสถ์น้ำที่เหลืออยู่แห่งเดียว โบสถ์ทั้งหลังสร้างด้วยไม้อยู่ในสระน้ำ ซึ่งถือว่าเป็นอุทกสีมา ด้านข้างโบสถ์ทั้ง สองข้างตรงระดับพื้นมีไม้แกะสลัก เป็นรูปพญานาคขนาบอยู่เสมือนหนึ่ง เป็นเรือ out-rigger
๑๖ หนังสือโดย ฤทัย ใจจงรัก อ้างถึงแล้ว หน้า ๒๕ ๑๗ กล่าวไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติของ ท้าวอุน่ ชนะนิกร ความหลังของข้าพเจ้า กรุงเทพฯ ๒๕๒๐ หน้า ๑๐, ๑๓-๑๕
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวกับวัด เมื่อครั้งหนึ่ง อาจมีโบสถ์ลอยน้ำดังเช่นที่ยังปรากฏอยู่ที่วัดกัลยาณี ประเทศศรีลังกา อย่างไรก็ตาม โบสถ์ที่อยู่ในน้ำหรือเรียกสั้นๆ ว่า โบสถ์น้ำ ยังมีอยู่บ้างในท้องถิ่นซึ่งห่างไกลจากอิทธิพล ของวัฒนธรรมสมัยใหม่ โบสถ์ที่กล่าวถึงนี้สร้างด้วยไม้ทั้ง หลังและตั้งอยู่บนเสาเตี้ยๆ ในสระ ดูไกลๆ เหมือนกับว่า ลอยน้ำอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งก่อสร้างและธาตุน้ำใน กรณีนค้ี งไม่เกีย่ วกับสัญชาตญาณทางน้ำของมนุษย์โดยตรง หากแต่คงเกีย่ วกับคติทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ พุทธศาสนา นิกายมหายานใช้โบสถ์นำ้ เป็นพาหนะสําหรับนําวิญญาณข้าม น้ำไปสูค่ วามหลุดพ้นจากทุกข์ เราจะเห็นสัญลักษณ์ดงั กล่าว ได้ในสถาปัตยกรรมแม่บทซึ่งจะอธิบายในบทที่ ๕ นอกจาก โบสถ์นำ้ แล้ว อาคารทีอ่ ยูใ่ นน้ำทีน่ า่ สนใจอีกคือ หอไตร โดย ที่จริงหอไตรก็เหมือนกับเรือนยกพื้นสูงอยู่บนเสาในน้ำ (รูป ๓๒) แตกต่างกันตรงที่หอไตรประดับประดาด้วยเครื่องไม้ อันวิจิตรพิสดารมากกว่าเรือนของสามัญชน ทั้งนี้ก็เนื่อง จากเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกและเป็นที่สําหรับเคารพ บูชา หอไตรนี้สร้างอยู่กลางสระน้ำที่ขุดขึ้น มีสะพานหรือ ไม้กระดานพาดข้าม ซึ่งปกติจะไม่พาดทิ้งไว้ เพื่อเป็นการ ป้องกันปลวกและขโมยโดยปริยาย ในการศึกษาวิจัยเพื่อหนังสือเล่มนี้ อาจารย์ฤทัย ได้นาํ คณะไปสํารวจโบสถ์นำ้ ซึง่ อาจจะเป็นโบสถ์นำ้ แห่งเดียว ที่ยงั สมบูรณ์แบบอยู่ก็ได้ ที่วัดพุทธเอ้น อําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีโบสถ์อยู่ในสระน้ำสี่เหลี่ยมเต็มไปด้วย ดอกบัว (รูป ๓๓) ใกล้ๆ มีบันไดพญานาคลดขั้นลงมาจาก บริเวณวัด ลักษณะโบสถ์เป็นอาคารไม้ทั้งหลัง แต่ผนังถูก ซ่อมใหม่หมด เป็นไม้กระดานธรรมดาตีเข้าด้วยกันอย่างง่ายๆ เคราะห์ดีที่หลังคายังคงสภาพเดิมอยู่โดยมีกระเบื้องไม้มุง ตลอดและมีไม้แกะสลักงดงาม พื้นโบสถ์อยู่เกือบติดผิวน้ำ เพราะเสาที่รองรับค่อนข้างสั้น เสานี้มองแทบไม่เห็นเพราะ ใบบัวบังไว้ ส่วนล่างสุดมีไม้ยาวแกะสลักเป็นพญานาคประกบอยู่ข้างโบสถ์ด้านละตัว ทําให้ดูเหมือนเป็นเรือที่มีไม้สอง ท่อนต่อออกไปขนาบลําหรือที่เรียกว่า เรือเอาท์ริกเกอร์ (out-rigger) วัดนี้อยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลจึงยังไม่ได้ถูก อิทธิพลจากกรุงเทพฯเข้าไปครอบงํา ทําให้มีบรรยากาศ วังเวง ดูแล้วเหมือนกับว่าวิญญาณดั้งเดิมยังสถิตอยู่อย่าง สมบูรณ์
เรือนแบบไทยเดิมและวิถีการดํารงชีวิต
ลองย้อนกลับไปพิจารณาดูเรือนแพอีกครั้ง ถ้า เรือนแพสามารถขึน้ ฝัง่ ได้โดยมีเสายกให้แพสูงขึน้ เหนือระดับ ดิน ก็น่าจะคิดต่อไปได้เหมือนกันว่าหมู่บ้านเรือนแพทั้งหมู่ บ้านก็สามารถแปรสภาพขึ้นมาบนบกเป็นหมู่บ้าน ยกพื้นบน ชานเชื่อมโยงกันหมดได้เหมือนกัน ดังเช่นตําบลบางลี่ อําเภอสองพีน่ อ้ ง จังหวัดสุพรรณบุรี การแปรสภาพจากน้ำ มาขึน้ บกนีไ้ ม่มหี ลักฐานทีเ่ ห็นได้แน่นอน แต่อย่างไรเสียผูอ้ า่ นก็ คงเห็นความคล้ายคลึงกันระหว่างเรือนแพกับชานบ้านมีเสา ค้ำ ประเด็นที่สําคัญก็คือบริเวณที่รวมอาศัยกันอยู่บนชาน ไม่วา่ จะมีสองหรือสามครัวเรือนหรือหลายๆ ครัวเรือนก็ตาม มีลักษณะเหมือนกับเป็นการอยู่อาศัยในบ้านต่อกันเป็นรูป ยาว (longhouse) เฉกเช่นเดียวกับชนชาติอื่นๆ ในเอเชีย อาคเนย์ (รูป ๓๔, รูป ๓๕)
เรือนหมู่
ตามประเพณีดง้ั เดิมของไทย เรือนสามารถขยาย ต่อเติมไปได้เรื่อยๆ เมื่อขนาดของครอบครัวใหญ่ขึ้นและ ลูกหลานเติบโตและต้องการแยกอยู่ให้เป็นสัดเป็นส่วนก็จะ ต่อขยายนอกชานยกพื้นออกไป ด้วยเหตุนี้เรือนหลายแห่ง จึงมีลักษณะยาวขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างที่น่าสนใจที่สุดคือเรือน ของนายทอง เกศทอง ในจังหวัดราชบุรี (รูป ๓๖, รูป ๓๗) เจ้าของมีลกู สาวห้าคนและลูกชายสามคน เมือ่ ลูกสาวแต่ละ คนแต่งงาน เจ้าของก็ต่อนอกชานออกไปเพื่อให้มีเรือนอยู่ ต่างหาก พร้อมทั้งมีครัวให้เสร็จตามธรรมเนียม รวมกัน เข้าแล้วเรือนนายทองจึงมีหกครอบครัวที่อาศัยอยู่ด้วยกัน กล่าวคือ ลูกสาวที่แต่งงานแล้วทั้งห้าคนซึ่งเท่ากับห้าคูหา และพ่อแม่อกี หนึง่ คูหา ลูกชายสามคนทีแ่ ต่งงานแล้วไปอาศัย อยู่รวมกับพ่อตา โดยพ่อตาขยายชานบ้านออกไปให้อยู่ใน ทํานองเดียวกัน เมื่อลูกสาวคนหนึ่งถึงแก่กรรมลูกเขยจึง ได้ถอดเรือนย้ายออกไปอยู่กับภรรยาคนใหม่๑๖ ลักษณะของเรือนอยู่รวมที่ได้อธิบายมานี้ ในสมัย ก่อนมีอยูท่ ว่ั ไปในสยามประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว๑๗ (รูป ๓๘) และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ แต่ปัจจุบันหาดูได้ยาก เป็นที่น่าสังเกตว่าในประเทศญี่ปุ่น สมัยโบราณการอาศัยอยู่รวมกันเช่นนีก้ ม็ อี ยูเ่ หมือนกัน แต่ ส่วนใหญ่เป็นคฤหาสน์ของพวกขุนนางซึง่ มีสมาชิกในครอบครัว หลายคน ลักษณะการพักอาศัยก็คืออยู่รวมกันเป็นห้องๆ บนยกพื้นหรือบนชานบ้านอันเดียวกัน ในปัจจุบันบ้านญี่ปุ่น ในลักษณะดังกล่าวหมดไปแล้ว จะมีเหลืออยู่ก็เพียงแต่กุฏิ พระ ซึง่ การอยูร่ วมมีจดุ ประสงค์ที่ต่างกันไป ตัวอย่างของ การอยู่อาศัยรวมบนยกพื้นเดียวกันทีย่ งั ปรากฏให้เห็นอย่าง ชัดในเมืองไทยคือกุฏิ เพราะมีขอ้ บัญญัตไิ ว้ให้พระสงฆ์จาํ วัด อยูร่ ว่ มกัน ลักษณะกุฏทิ ว่ั ไปประกอบด้วยห้องนอนของพระ ซึ่งเรียงกันเป็นแถว ยาวเหยียดสองแถว ระหว่างกลางเป็น
สถาปัตยกรรมบนน้ำ
๒๓๓
๓๔ รูป ๓๔ บ้านที่บางลี่ ตําบลบางลี่ อําเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งเมืองเป็นเรือนที่ ต่อเชื่อมโยงกันเป็นรูปยาวเหมือนบ้านที่ เรียกว่า longhouse ที่มีอยู่หลายแห่ง ในเอเชียอาคเนย์
๓๕ รูป ๓๕ บ้านต่อกันเป็นรูปยาว (longhouse) เป็นบ้านของเผ่าอีบาน บนเกาะกาลิมันตัน (เกาะบอร์เนียว) บ้านประเภทนี้อาจยาวถึง ๓๐๐ เมตร และมีคนอยู่อาศัยประมาณ ๕๐๐ คน แต่ก็ไม่ยาวไปกว่าที่บางลี่
๓๖
๒๓๔ ภูมิหลัง
๓๙
รูป ๓๘ คุ้มเจ้าราชสีห์แห่งเชียงราย เป็นเรือนที่มีหลายคูหารวมกันเป็นกลุ่ม บนชานบ้านขนาดใหญ่ รูปนี้อยู่ในหนังสือของ คาร์ล บ๊อค พิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ (Carl Bock, Temples and Elephants, London 1884, หน้า ๓๐๔)
๓๘ รูป ๓๖ บ้านนายทอง เกศทอง อยู่ที่จังหวัดราชบุรี เรือนไทยสามารถ ต่อยาวออกไปได้เรื่อยๆ เมื่อพ่อแม่สร้าง ห้องเพิ่มให้ลูกสาวและลูกเขยอยู่อาศัย นายทองมีลูกสาวหลายคนบ้านจึงถูกต่อ ยาวออกไปหลายคูหา
รูป ๓๗ ทัศนียภาพบ้านนายทอง เกศทอง แสดงให้เห็นสภาพของบ้านในระยะ ที่ยังสมบูรณ์แบบอยู่
ชานโล่งหรือกึ่งโล่ง เพราะบางส่วนอาจมีหลังคาคลุมเป็น ศาลาหรือหอ ตามวัดใหญ่ๆที่มีพระหลายรูป หมู่กุฏิจะมี ลักษณะยาวเป็นพิเศษ (รูป ๓๙ - รูป ๔๑) ข้อเปรียบเทียบที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือศาลา การเปรียญ ไม่ว่าจะเป็นของไทย ลาวหรือเขมร ถึงแม้จะ ไม่ใช่ทพ่ี กั อาศัยและไม่มหี อ้ งกัน้ ภายในก็ตาม แต่กเ็ ป็นทีร่ วม ของคนในละแวกนั้นทั้งหมด เพราะนอกจากจะใช้เป็นที่ฟัง เทศน์และประกอบพิธีกรรมแล้ว ยังใช้เป็นที่ประกอบกิจกรรมอืน่ ๆ อีกมาก เช่นใช้เป็นโรงเรียน เป็นทีป่ ระชุมจัดงาน เทศกาลและเลี้ยงอาหารในแต่ละหมู่บ้าน ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารไม้ยกพื้นที่ใหญ่ที่สุด ในฤดูน้ำหลากชาวบ้านมัก มาชุมนุมกัน และศาลาการเปรียญก็เหมือนกับว่าได้กลาย สภาพเป็นหมู่บ้านอยู่บนยกพื้นเดียวกัน มีเรือจอดอยู่รอบๆ และที่ใต้ถุนเต็มไปหมด (รูป ๔๒, รูป ๔๓) บ้านอยูอ่ าศัยรวมทีต่ รงต่อลักษณะอันแท้จริงของ บ้านที่เรียกว่า longhouse นั้น ชนชาติต่างๆ ในเอเชียอาคเนย์ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะ เช่นในบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย สร้างอาศัยอยู่เป็นประจําโดยรวมหมู่บ้านไว้บนยกพื้น บนเสาสูงซึง่ มีลกั ษณะเหมือนแพขนาดใหญ่ การจัดห้องหรือ คูหาของแต่ละครัวเรือนก็มอี ะไรคล้ายกับเรือนของนายทอง หรือกุฏิพระ เพราะคูหาเหล่านี้หรือที่เรียกว่าบีเล็คเรียงต่อ กันเป็นแถวยาว หากเปรียบเทียบกับกุฏิแล้ว ก็เท่ากับกุฏิ หลังยาวๆ หลังหนึ่งถูกผ่ากลางตลอดความยาวของนอก ชาน เพราะบีเล็คเรียงกันเป็นแถวอยู่ข้างเดียว อีกข้างหนึ่ง เป็นนอกชานเรียกว่ารูอายหรือตันจูซึ่งยาวขนานกันไป เมื่อ พูดถึงบ้านประเภทนี้แล้วก็ใคร่จะกล่าวถึงบ้านต่อกันเป็นรูป ยาว longhouse ของอินเดียนแดงเผ่าอีโรคอยส์ซึ่งเป็นชน ชาติมองโกลเหมือนกัน หากแต่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามของมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างกันหลายพันกิโลเมตร บ้านต่อกันเป็นรูป ยาวของชนเผ่านี้สร้างด้วยเสาไม้ดัดโค้งเข้าหากันรอบด้าน มุงด้วยเปลือกไม้เพื่อป้องกันความหนาว มีรูปร่างเหมือน เรือที่คว่ำลํา ภายในแบ่งสัดส่วนเป็นที่อยู่อาศัยแยกเป็น
คูหาๆ เรียงเป็นสองแถว ตรงกลางยาวตลอดเป็นนอกชาน และมีหลังคาคลุมหมดเพราะอากาศหนาว บ้านดังกล่าวนี้ บางแห่งยาวแค่ ๑๒ เมตร แต่บางแห่งยาวกว่าร้อยเมตรก็มี ชีวิตส่วนตัวของครอบครัวในบ้านอยู่อาศัยรวม ของชนเผ่าดายัคในบอร์เนียว และเผ่าอีโรคอยส์คงมีน้อย มากหากเปรียบเทียบกับบ้านญี่ป่นุ และเรือนไทยซึ่งแยกคูหา ต่างๆ ออกจากกันพอสมควร นอกจากนี้เนื่องจากสังคม ญีป่ นุ่ และสังคมไทยถูกพัฒนามาจนมีความสลับซับซ้อนมาก คูหาต่างๆ ที่อยู่บนยกพื้น จึงมักจะลดหลั่นระดับพื้นภายใน เหมือนกับสะท้อนให้เห็นถึงชั้นวรรณะต่างๆ ในสังคม แต่ แน่ละทางด้านกายภาพ การลดหลั่นระดับพื้นนี้ทําให้เรือน ไทยได้เปรียบ เพราะลมสามารถพัดลอดจากใต้ถุนขึ้นบน บ้านได้ตลอด (รูป ๔๔) เนือ่ งจากสังคมไทยได้ววิ ฒ ั นาการมาเป็นเวลานาน สัญชาตญาณในการอยู่อาศัยรวมกันภายใต้หลังคาเดียวกัน เป็นหมู่ใหญ่จึงเหลือน้อยมาก ไม่เหมือนกับชนชาติอื่นๆ ใน เอเชียอาคเนย์ บ้านอยู่อาศัยรวมที่ยังพอเหลืออยู่บ้าง เช่น เรือนของนายทองก็กําลังหมดไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ ตามเราอาจจะตั้งกระทู้ถามนักมานุษยวิทยาเล่นๆ ว่า การ จัดระเบียบสังคมไทยสมัยโบราณที่แบ่งพลเมืองออกเป็น กลุ่มๆ ที่สมบูรณ์แบบอยู่ในตัว โดยมีเจ้านายปกครองและ เรียกว่ากรม ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นกรมกองต่างๆ ในระบบ ราชการสมัยใหม่ ก็เหมือนกับสังคมซึ่งรวมตัวกันอยู่บน “แพบก” ขนาดใหญ่บนเสาสูง ในป่าดงของประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียเพียงแต่ถูกพัฒนามาหลาย ขั้นตอนเท่านั้นเอง มิใช่หรือ ?
สถาปัตยกรรมบนน้ำ
๒๓๕
๔๐ รูป ๔๐ ผังพื้นกุฏิวัดอัมพวันเจติยาราม โดยทั่วไปแล้ว กุฏิหรือห้องนอนของพระ อยู่เรียงเป็นแถวยาวตลอดสองข้าง ระหว่างกลางเป็นชานโล่งหรือกึ่งโล่ง เพราะบางส่วนมีหลังคาคลุม เป็นศาลาหรือหอฉัน
รูป ๓๙ ชานกุฏิวัดอัมพวันเจติยาราม แสดงให้เห็นถึงการร่วมอยู่อาศัยบน ชานไม้เดียวกัน
๒๓๖ ภูมิหลัง
๓๙
รูป ๔๒ วัดไลย์ อําเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี รูปถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๕ ศาลาการเปรียญ (ด้านขวาของรูป) เป็นอาคารไม้ยกพื้น ที่ใหญ่ที่สุดของชุมชน ในฤดูน้ำหลาก ชาวบ้านมักจะมาชุมนุมกัน มีเรือ จอดอยู่รอบๆ และที่ใต้ถุนเต็มไปหมด แต่ในรูปนี้เป็นภาพเก่าราษฎรมาชุมนุม คอยรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๔๒
๔๑ รูป ๔๑ ชานกุฏิวัดคงคาราม อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
รูป ๔๓ ศาลาการเปรียญในฤดูน้ำหลาก ถ่ายที่วัดขนอนใต้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๔๓
รูป ๔๔ ชานกุฏิวัดคงคาราม ชานซึ่งยกพื้นแบบลดหลั่น สะท้อนให้เห็น ถึงการแบ่งชั้นวรรณะในสังคม แต่ในด้าน กายภาพก็ถือว่าได้ประโยชน์ เพราะทําให้ ลมพัดลอดจากใต้ถุนผ่านขึ้นมาได้ตลอด
๔๔
สถาปัตยกรรมบนน้ำ
๒๓๗
บทที่ ๕ สถาปัตยกรรมบนบก จากทะเลมุ่งสู่ภูเขา ภูเขาและบทเรียนในการกักกันน้ำ วัฒนธรรมน้ำในที่ลุ่ม คติทางศาสนาและสัญชาตญาณทางน้ำ นครธมและระบบจักรวาล ไทยกับระบบจักรวาล น้ำและสถาปัตยกรรมทางศาสนาของไทย สัญลักษณ์ของเรือในสถาปัตยกรรมทางศาสนาของไทย สัญลักษณ์น้ำ สถาปัตยกรรมไม้และอัจฉริยะของช่างไทย แนวโน้มในการสร้างพระเมรุก่ออิฐถือปูน ช่างไทยในอดีต สัญลักษณ์ของระบบจักรวาลในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม
๑ อารยธรรมรุ่นแรกๆ ของโลก คืออารยธรรม ชาวทะเล ดูหนังสือของเฮเยอร์ดาห์ล อ้างถึงแล้ว
๒๓๘ ภูมิหลัง
การอพยพของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และการแพร่กระจายของวัฒนธรรมเป็นการขยายจากทิศ ใต้ไปเหนือ กล่าวคือจากน่านน้ำหรือทะเลเข้าสู่ทวีปและภู เขาตามลักษณะภูมิศาสตร์ของโลกซึ่งมีพ้นื แผ่นดินส่วนใหญ่ อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร แต่ในสมัยประวัติศาสตร์นั้น คลื่น วั ฒ นธรรมกลั บ ไหลวนจากทวี ป และภู เขาคื นกลั บ ไปยั ง น่านทะเล
จากทะเลมุ่งสู่ภูเขา ภูเขาซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของผู้ที่ท่องขึ้นไป ตามแม่น้ำสายใหญ่ๆ นั้น ได้ถือกําเนิดขึ้นมาในจินตนาการ ของชาวเอเชียส่วนใหญ่มานานแล้ว คือความเชื่อที่ว่าศูนย์ กลางของความลึกลับของผืนแผ่นดินที่อยู่ลึกเข้าไปจากฝั่ง ทะเลเป็นที่ตั้งของภูเขาซึ่งพวกตนขนานนามว่า เขาพระ สุเมรุ สําหรับมนุษย์ที่อยู่ในยุคอารยธรรมของชาวทะเลรุ่น แรกนี้๑ ความกว้างใหญ่ไพศาลของมหาสมุทรนั้นแม้จะน่า กลัวก็เป็นสิ่งที่ตนรู้จักจนเคยชิน แตกต่างไปจากความลึก ลับของภูเขาทีย่ งั ไม่เคยสัมผัสมาก่อน เป็นความลึกลับทีเ่ กีย่ ว เนือ่ งกับป่าดงและดินแดนทีซ่ อ่ นเร้นอยู่ และตามความเป็น จริงเมื่อมนุษย์พวกแรกนี้อพยพลึกเข้าไปในพื้นทวีปก็ได้ไป พบเทือกเขาหิมาลัยซึ่งตรงกับเขาพระสุเมรุในจินตนาการ ของตน จึงถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ของภูเขา ทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ ที่ไหลจากภูเขาหิมาลัยไปออกมหา สมุทรมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๑๐ สาย ดังนั้นการอพยพของ ฝูงชนจากน่านทะเลเข้าสูท่ วีปซึง่ ต้องพึง่ ลําน้ำจืดต่างๆ เหล่า นี้จึงมีอยู่ด้วยกัน ๑๐ ทิศทาง การมุ่งเข้าสู่ทวีปไม่ว่าจะมา จากทิศทางใดก็ต้องไปบรรจบกันที่ต้นน้ำซึ่งห่างกันภายใน วงรัศมีเพียง ๒๐๐ กิโลเมตรเท่านัน้ อาณาบริเวณต้นน้ำบน ยอดเขานีม้ สี ภาพเหมือนเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มหึมาเชิด สูงอยู่เหนือเมฆ อ่างเก็บน้ำนี้เป็นน้ำแข็งอยู่ตลอดเวลา ยก เว้นบริเวณขอบๆ ซึ่งค่อยๆ ละลายไหลออกไปเกิดเป็นต้น น้ำลําธารที่ไหลลงไปหล่อเลี้ยงมนุษย์เป็นจํานวนมากกว่า ครึ่งหนึ่งในโลกซึ่งได้อาศัยอยู่ตามเส้นทางของลําน้ำต่างๆ เหล่านี้มาชั่วกาลนาน
ภูเขาและบทเรียนในการกักกันน้ำ
ในระหว่างทีล่ อ่ งเรือล่องแพทวนน้ำขึน้ ไปนัน้ มนุษย์ ได้บทเรียนจากเขื่อนและฝายน้ำที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเอง หลังจากนั้นไม่นานมนุษย์ก็เริ่มลอกเลียนแบบจากธรรมชาติ เพื่อกักกันน้ำไว้ปลูกพืชพันธ์ุธัญญาหาร๒ ยิ่งอพยพลึกเข้า ไปในพื้นทวีปหรือยิ่งมีภูเขามากขึ้นเท่าไร ความฉลาดของ มนุษย์ในเรือ่ งการกักกันน้ำก็ยง่ิ มีมากขึน้ เท่านัน้ และนีค่ อื ต้น กําเนิดของ อารยธรรมที่มีพื้นฐานมาจากการกักกันน้ำ (hydraulic civilization) การทํานาเป็นชั้นๆ แบบขั้นบันได ตามไหล่ภูเขาและฐานที่ลดหลั่นเป็นชั้นๆ ในสถาปัตยกรรม แบบต่างๆ สะท้อนให้เห็นประสบการณ์ที่มนุษย์ได้มาจาก ธรรมชาติในเรื่องนี้
วัฒนธรรมน้ำในที่ลุ่ม
ส่วนในแถบชายฝั่งทะเลในบริเวณลุ่มแม่น้ำและที่ ราบต่ำในเอเชียอาคเนย์นั้น น้ำจะค่อยๆ ไหลหลากลงไปสู่ ทะเล น้ำจืดจึงมีค้างอยู่ทั่วไปเพราะมิได้ไหลผ่านหายไป อย่างรวดเร็วดังเช่นในบริเวณภูเขาซึ่งมีความเอียงลาดสูง เมื่อเป็นเช่นนี้การกักเก็บน้ำจึงไม่จําเป็น มนุษย์ในแถบนี้จึง ไม่จําเป็นต้องควบคุมการใช้น้ำ แต่กลับอาศัยอยู่กับน้ำที่ ไหลผ่านไปมาอย่างง่ายๆ เหมือนกับต้นข้าวซึ่งมีชีวิตอยู่กับ น้ำ นี่คือแหล่งอารยธรรมชาวน้ำ (aquatic civilization) ซึ่งแตกต่างกับวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากการกักกันน้ำ เมื่อมองดูโลกของเราจะเห็นว่าวิถีการดํารงชีวิต ในน่านน้ำตามชายฝั่งทะเลหรือในที่ลุ่มใต้ระดับน้ำมีอยู่สอง ประเภทด้วยกัน ชาวเอเชียอาคเนย์สว่ นใหญ่อยูใ่ นข่ายวัฒนธรรมชาวน้ำ ตรงกันข้ามกับชาวฮอลันดาซึง่ อยูใ่ นข่ายวัฒนธรรมชาวบกซึ่งมีพื้นฐานมาจากการกักกันน้ำ ชาวฮอลันดา สร้างทํานบเป็นวงๆ (polder) แล้วสูบน้ำออกไปให้พื้นที่แห้ง เพราะสัญชาตญาณบังคับให้เขาอยูอ่ าศัยติดกับพืน้ ดินเท่านัน้ ส่วนชาวเอเชียอาคเนย์ใช้น้ำนั่นเองเป็นสื่อระหว่างตนกับ ผืนแผ่นดิน โดยปลูกบ้านยกเสาสูงให้น้ำไหลผ่านใต้ถุนเรือน ถ้ามองในแง่สถาปัตยกรรมจะเห็นได้ว่ามนุษย์พวกหนึ่งใช้ สิ่งก่อสร้างแรงกด (compression) ในการสร้างถิ่นฐาน เพราะการสร้างทํานบต้องใช้วัสดุแรงกด ส่วนอีกพวกหนึ่ง ใช้สิ่งก่อสร้างแรงดึง (tension) ซึ่งหมายถึงโครงสร้างยึด
ด้วยไม้ไผ่เป็นหลัก หรืออีกนัยหนึ่งสัญชาตญาณในการ ดํารงชีวิตแม้แต่ในแถบใกล้น้ำก็มีทั้งแบบวัฒนธรรมชาวบก และวัฒนธรรมชาวน้ำ
คติทางศาสนาและสัญชาตญาณทางน้ำ
สัญชาตญาณทั้งสองอย่างนี้รวมตัวอยู่ด้วยกันที่ นครธม ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วในบทที่ ๔ ว่าเป็นเรื่องการผนวก รูปจําลองภูมิจักรวาลตามลัทธิฮินดูหรือพุทธเข้าด้วยกันกับ สัญชาตญาณเดิมของคนในท้องถิ่น เมืองของเขมรจึงเป็น แหล่งรวมของอารยธรรมชาวบกและอารยธรรมชาวน้ำ หรืออีกนัยหนึ่งอารยธรรมซึ่งใช้วัสดุแรงกดและอารยธรรม ซึ่งใช้วัสดุแรงดึงเป็นส่วนสําคัญ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะถึงแม้ นครธมจะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมซึ่งเกิดขึ้นทุกปีได้อย่าง ดีแล้วก็ตาม ภายในเมืองก็ยังปรากฏว่าเต็มไปด้วยบ้านไม้ ใต้ถุนโล่งซึ่งแสดงให้เห็นถึงสัญชาตญาณการอาศัยอยู่กับ น้ำอันมีมาแต่ดั้งเดิม ในขณะเดียวกันนครธมก็มีโบราณ สถานซึ่งสร้างด้วยวัสดุแรงกดตั้งอยู่บนพื้นดินอย่างมั่นคง อยู่มากมายซึ่งเป็นทั้งรูปจําลองภูมิจักรวาลและระบบการ ควบคุมน้ำหรือสิง่ ซึง่ กักกันน้ำได้จริงๆ เช่น ตระพังหิน คลอง ทํานบและท่อลอดซึ่งทั้งดักเก็บน้ำและบังคับให้น้ำไหลออก ไปสู่นาจนทําให้เขมรสามารถปลูกข้าวได้ถึงปีละสามครั้ง๓ สําหรับชาวเขมรแล้วนครธมทําหน้าที่แทนเขาพระสุเมรุหรือ ภูเขาหิมาลัยได้จริงๆ
นครธมและระบบจักรวาล
หากนครธมทํ า หน้ า ที่ แ ทนภู เ ขาหิ ม าลั ย ในด้ า น เกษตรกรรมได้ ก็งา่ ยทีจ่ ะคิดต่อไปว่า นครธมก็คอื ภาพจําลอง ของจุดศูนย์กลางของระบบจักรวาลอันมีชมพูทวีปเป็นส่วน ประกอบที่สําคัญ คูสี่เหลี่ยมซึ่งซ้อนกันเป็นชั้นๆ และมี ปราสาทบายนอยูต่ รงกลางก็เปรียบเสมือนทะเลหลายๆ ชัน้ ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ ส่วนตระพังใหญ่ที่อยู่เลยชั้นนอก ออกไปก็คือมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งก่อ สร้างทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นปราสาทหินหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่ใช้เพื่อการควบคุมน้ำ จะต้องวางแผนผังให้เข้ากันอย่างดี เลิศซึ่งแสดงให้เห็นถึงการทุ่มเททั้งกําลังสติปัญญาและกําลังกายอย่างหาที่เปรียบได้ยาก
๒ จากบทนําโดยฟุลเลอร์ ในหนังสือ Water and Mountain อ้างถึงแล้ว ๓ จากหนังสือ Angkor et le Cambodge aux XVle siecle โดย แบร์นาร์ด ฟิลิป โกรลิเย่ ปารีส ค.ศ. 1958 หน้า 111
สถาปัตยกรรมบนบก
๒๓๙
รูป ๑ ตําหนักพระนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระนครหลวง ในที่นี้หมายถึงนครธม คนไทยอาจชมชอบ วัฒนธรรมเขมร แต่ไม่ชอบสร้างอะไรให้ ใหญ่โตเหมือนเขมร ยกตัวอย่างเช่นที่ ตําหนักพระนครหลวง คนไทยถือว่าเป็น การจําลองรูปแบบมาจากนครธมอย่างเต็ม ที่แล้ว
รูป ๒ วัดตระพังเงิน สุโขทัยเก่า
๑
ไทยกับระบบจักรวาล
สําหรับคนไทยกลับตรงกันข้าม คนไทยมีความ ยืดหยุ่นในตัวมากในการสืบทอดวัฒนธรรมจากเชิงเขาหิมาลัย ถึงแม้จะชมชอบกับวัฒนธรรมเขมรซึ่งเขมรรับมาจาก เชิงเขาหิมาลัยอีกต่อหนึ่ง แต่เมื่อคนไทยรับวัฒนธรรมนี้มา แล้วก็รับมาอย่างครึ่งๆ กลางๆ ดังนั้นแทนที่จะมีสิ่งก่อ- สร้างใหญ่โตหรือเป็นระบบตามแบบฉบับของนครธม อย่าง มากที่สุดไทยก็สร้างเพียงแค่ปราสาทเล็กๆ ซึ่งถือว่าเป็น การจําลองแบบมาจากนครธม เช่น ตําหนักพระนครหลวง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (รูป ๑) หรือมิฉะนั้นก็เพียง แต่สร้างหุ่นจําลองนครวัดแทนของจริงซึ่งเพียบพร้อมไป ด้วยระบบทดน้ำ และคูคลองอันเป็นส่วนประกอบที่สําคัญ เมื่อเป็นเช่นนี้สิ่งที่ไทยรับมาจากเขมรและมาปรากฏอยู่ใน สถาปัตยกรรมไทยจึงเป็นเรื่องของสิ่งละอันพันละน้อยไม่ ใช่แก่นสาร ส่วนวัฒนธรรมอืน่ ๆ ทีเ่ ข้ามามีบทบาทในศิลปะ สถาปัตยกรรมไทย เช่นจากลังกา มอญ และพม่าซึ่งก็ล้วน แต่เป็นศิลปะสถาปัตยกรรมที่ถูกดัดแปลงมาจากต้นฉบับ เดียวกันแต่เดิม กล่าวคือจากเชิงเขาหิมาลัยตอนใต้หรืออินเดีย ไทยก็รับเข้ามาผนวกกับความรู้สึกอย่างไทยๆ ทั้งสิ้น ในการดัดแปลงสัญลักษณ์ของภูมิจักรวาลตาม ความเชื่อในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา คนไทยไม่เคยใช้ ระบบกักกันน้ำในการก่อสร้างโบราณสถานต่างๆ เลย ทั้ง วัสดุกอ่ สร้างทีใ่ ช้กเ็ ป็นแต่เพียงอิฐปูนซึง่ ง่ายแก่การผลิตและ ลําเลียง ไม่เหมือนกับการก่อสร้างด้วยหิน ถึงแม้กระนั้น โบราณสถานบางแห่งที่คนไทยก่อสร้างไว้ก็มีขนาดใหญ่โต มากทีเดียว เช่น พระปฐมเจดีย์และพระเจดีย์วัดใหญ่ชัย มงคล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อโบราณสถานเหล่านี้ไม่มี ตระพังและคูคลองหลายๆ ชั้นเป็นส่วนประกอบในการวาง
๒๔๐ ภูมิหลัง
ผังแล้ว สัญลักษณ์ของภูมิจักรวาลก็ออกจะดูไม่ครบถ้วน แต่ในเมื่อคนไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งไม่นิยม ใช้สัญลักษณ์มากและมักจะหลีกเลี่ยงต่อสิ่งก่อสร้างใหญ่ โตอยู่แล้ว ลักษณะเช่นนี้จึงไม่เป็นของแปลก และด้วยเหตุ นี้เอง สถาปัตยกรรมไทยที่เป็นอิฐปูนจึงมีลักษณะเบาตา และประสมประสานกับธรรมชาติได้อย่างดี
รูป ๓ ผังบริเวณวัดตระพังเงิน
รูป ๔ วัดตระพังทอง สุโขทัยเก่า
น้ำและสถาปัตยกรรมทางศาสนาของไทย
โบสถ์น้ำซึ่งได้กล่าวมาแล้วแสดงให้เห็นถึงประเด็น นี้ได้ชัดเจน ถึงแม้ว่าโบสถ์น้ำที่ตั้งอยู่ในน้ำอย่างแท้จริงทั้ง หลังอาจมีที่วัดพุทธเอ้นเพียงแห่งเดียวก็ตาม แต่โบสถ์ที่มี น้ำล้อมรอบหลายๆ แห่งในสุโขทัยก็เป็นตัวอย่างซึง่ สามารถ นํามาเปรียบเทียบได้ เช่น ที่วัดตระพังเงิน วัดตระพังทอง และวัดสระศรี แม้กระทั่งวัดชนะสงครามซึ่งมีวิหารน้ำแทน โบสถ์น้ำก็เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ (รูป ๒-๘) วัดที่กล่าวมานี้ ตั้งอยู่บนเกาะเล็กๆ กลางสระบัวรูปสี่เหลี่ยมซึ่งบางแห่งมี ขนาดแคบจนดูเหมือนเป็นคูเล็กๆ เท่านั้น๔ ที่อยุธยามีวัด เป็นจํานวนมากที่มีน้ำล้อมรอบในลักษณะดังกล่าว หากแต่ แทนที่จะเป็นสระกลับเป็นคลองเพื่อการสัญจร เพราะเป็น ระบบทางน้ำที่ต่อเนื่องถึงกันหมดทั่วทั้งเมือง (รายละเอียด อธิบายอยู่ในบทที่ ๖) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้สระหรือคูคลอง เหล่านี้อาจมีเหตุผลในแง่ของประโยชน์การใช้สอย แต่ที่ไม่ ควรมองข้ามไปก็คือความคิดที่แอบแฝงอยู่เบื้องหลังซึ่ง เป็นอิทธิพลของแนวความคิดเกี่ยวกับภูมิจักรวาลของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ
รูป ๕ ผังบริเวณวัดตระพังทอง
๔ จาก รายงานการสํารวจและ การอนุรักษ์ศิลปวัตถุที่กรุงสุโขทัย ๒๕๐๘-๒๕๑๒ กรมศิลปากร กรุงเทพฯ ๒๕๑๒
๑. วิหาร ๒. ซุ้มพระยืน ๓. เจดีย์
๒
๔. โบสถ์ ๕. บ่อน้ำ ๖. ตระพังเงิน
๓
๔ ๑. โบสถ์ ๒. มณฑป ๓. เจดีย์ ๔. ศาลา ๕. สะพาน ๖. ตระพังทอง
๕
สถาปัตยกรรมบนบก
๒๔๑
๗ รูป ๗ ผังบริเวณวัดสระศรีี วัดที่เมืองสุโขทัยเก่าหลายวัดมีโบสถ์ อยู่กลางสระน้ำ ดังนั้นอาจเรียกว่า โบสถ์น้ำ ก็ได้ ตามคติพุทธมหายาน โบสถ์ หรือวิหารทําหน้าที่เป็นเรือสําหรับพาพุทธ ศาสนิกชนลอยไปให้พ้นทุกข์
๑. วิหาร ๒. เจดีย์ ๓. โบสถ์ ๔. ตระพังตระกวน
รูป ๘ ผังบริเวณวัดชนะสงคราม สุโขทัยเก่า สระน้ำที่อยู่รอบโบสถ์หรือวิหารบางแห่ง มีขนาดเล็กนิดเดียว จนดูเหมือนกับเป็น คูแคบๆ ดังเช่นที่วิหารวัดชนะสงคราม
๕ จาก พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลป เกี่ยวเนื่อง โดยโชติ กัลยาณมิตร อ้างถึงแล้ว หน้า ๓๗๓-๓๗๔ ความหมาย นีต้ า่ งกับสิง่ ก่อสร้างตามแบบรูปเรือจริงๆ ดังเช่นวัดยานนาวาในกรุงเทพฯ ซึง่ ได้ลอก แบบมาจากสําเภาจีนโดยตรง
๒๔๒ ภูมิหลัง
รูปแบบทีช่ ดั เจนทีส่ ดุ ของโบสถ์ทม่ี นี ำ้ ล้อมรอบอาจ ดูได้ที่วัดตระพังเงินและวัดสระศรีี โบสถ์ทั้งสองแห่งนี้สร้าง อยู่บนเกาะเล็กนิดเดียวขนาดพอที่จะรองรับฐานโบสถ์ไว้ได้ เท่านั้นและตั้งอยู่กลางสระน้ำขนาดใหญ่ ในฤดูฝนเมื่อน้ำ ปริม่ ขอบสระจะแลแต่ไกลเห็นเหมือนกับว่าโบสถ์ลอยอยูใ่ นน้ำ สิ่ ง ที่ น่ า สนใจเกี่ ย วกั บ วั ด สระศรีี อี ก แง่ ห นึ่ ง ก็ คื อ บริ เวณ วัดซึง่ ประกอบด้วยเจดียป์ ระธาน เจดียร์ ายและวิหารซึง่ รวม เป็นกลุ่มอยู่ด้วยกันบนเกาะอีกเกาะหนึ่งใกล้ๆ กัน มีสะพาน ไปเชื่อมกับตัวโบสถ์ ดูแล้วเหมือนกับแพซึ่งกําลังลากจูงกัน อยู่กลางสระน้ำทีเดียว นอกจากมีความหมายซึง่ เกีย่ วโยงกับระบบจักรวาล แล้ว น้ำยังมีความสําคัญอย่างอื่นอีกในด้านสถาปัตยกรรม กล่าวคือในการวางผังบริเวณวัดมีกฎอยูข่ อ้ หนึง่ ว่าจะหันหน้า วัดไปทางทิศใดก็ได้ แต่โบสถ์หรือวิหารจะต้องหันหน้าเข้า หาน้ำเสมอ ทั้งนี้เพราะในขณะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อยู่ใต้ต้น มหาโพธิ พระองค์ทรงหันพระพักตร์ไปทางแม่น้ำ สําหรับ การสร้างบ้านเรือนนั้นจําเป็นต้องหันหน้าบ้านไปทางน้ำอยู่ แล้ว ทั้งนี้เพราะชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลําคลองในที่ ราบลุ่มภาคกลางต้องพึ่งการคมนาคมทางน้ำซึ่งมีอยู่ทั่วไป ในชนบทสําหรับการเดินทาง ไม่ว่าจะไปวัดหรือไปหมู่บ้าน และเมืองที่อยู่ใกล้เคียง อย่างไรก็ดีในการสร้างวัด หากวัด อยู่ไกลจากน้ำและไม่มีการขุดสระแล้ว วัดต้องหันหน้าไป ทางทิศตะวันออก แต่สรุปแล้วการสร้างโบสถ์หรือวิหารให้ หันหน้าเข้าสู่น้ำมีความสําคัญเหนือกว่าหันหน้าไปทางทิศ ตะวันออกแน่นอน ถ้ามีน้ำล้อมรอบทุกด้านจะหันหน้าวัด ไปทิศใดก็ได้ และถ้าหันไปทางทิศตะวันออกได้ก็จะยิ่งดีขึ้น ไปอีก
๑. วิหาร ๒. โบสถ์ ๓. เจดีย์
๘
สัญลักษณ์ของเรือในสถาปัตยกรรม ทางศาสนาของไทย
ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว สัญลักษณ์ทางศาสนาพุทธ อีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับโบสถ์และน้ำก็คือเรือซึ่งเป็นพาหนะลําเลียงมนุษย์ให้พน้ ทุกข์ ในกรณีทเ่ี ป็นโบสถ์นำ้ อย่างแท้ จริง น้ำที่ล้อมรอบโบสถ์เป็นขอบเขตศักดิ์สิทธิ์แทนขันธสีมา ซึ่งเรียกว่าอุทกสีมา สําหรับขนาดของอุทกสีมานั้น หากถือ กฎเกณฑ์ อ ย่ า งเข้ ม งวดแล้ ว จะต้ อ งไม่ ก ว้ า งหรื อ ยาวเกิ น ระยะโยนก้อนหินพ้น ที่ได้กล่าวมานี้เป็นคติของนิกายมหายานซึ่งถ่ายทอดมาจากพวกเขมร การเปรียบเทียบว่าเรือเป็นพาหนะทีจ่ ะพามนุษย์ให้ หลุดพ้นไปจากห้วงทุกข์นี้ เผอิญไปตรงกันเข้าอย่างเหมาะ เจาะกับสัญชาตญาณน้ำที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของคนในแถบนี้ มานานแล้ว ดังนัน้ จึงไม่เป็นการแปลกประหลาดทีส่ ถาปัตยกรรมทางศาสนาของไทยจะมีลักษณะคล้อยไปทางรูปเรือ ดังจะเห็นได้จากสถาปัตยกรรมของสมัยอยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์ตอนต้น ฐานที่รองรับโบสถ์วิหารและพระ ที่นั่งในพระราชวังล้วนเป็นแนวโค้งเหมือนกันหมดที่เรียกว่า ท้องสําเภา (รูป ๙) เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่แม้แต่อาคารก่ออิฐ ถือปูน ช่างไทยก็สามารถสร้างให้ดเู หมือนเป็นอาคารลอยน้ำ ได้ ความรู้สึกเบาลอยดังกล่าวไม่แต่เพียงปรากฏในอาคาร ต่างๆ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเครื่องใช้ไม้สอยบรรดาที่เป็น ของสูงซึง่ ก็พลอยมีฐานโค้งตามกันไปหมด หรือทีเ่ รียกว่า เป็น ท้องอัสดง๕ (รูป ๑๐) นอกจากเรื่องของการวางทิศทางแล้ว ข้อที่ควร สังเกตเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมทางศาสนาอีกข้อหนึ่งก็คือ ความแตกต่างระหว่างวัดที่มีน้ำล้อมรอบทั้งบริเวณวัด คือ รวมทั้งโบสถ์ เจดีย์ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ และวัดซึ่งมีน้ำ ล้อมรอบแต่เฉพาะตัวโบสถ์เท่านั้น ในกรณีแรกโครงสร้าง ทัง้ หมดต้องการให้เป็นการจําลองโครงสร้างของระบบจักรวาล ส่วนในกรณีหลังต้องการสะท้อนให้เห็นถึงพุทธปรัชญาเกี่ยว กับการหลุดพ้นจากห้วงสังสารวัฏ หากพิจารณาศาสนสถาน ต่างๆ ในสุโขทัยตามแนวความคิดทั้งสองนี้แล้วจะเห็นได้ว่า ชาวไทยมิได้รับแนวความคิดหรือกฎเกณฑ์ใดเป็นการตายตัว ตัวอย่างเช่นที่วัดพระพายหลวง (รูป ๑๑) แม้จะมีคูสามชั้น ล้อมรอบกลุ่มวิหาร เจดีย์ ปรางค์ และโบสถ์ แต่คชู น้ั กลาง ก็ขาดตอนและโอบไปเพียงด้านทิศตะวันตกเท่านั้น อาจจะ เป็นได้ว่า ความตั้งใจเดิมคงคิดจะวางผังให้เกิดความสมดุล กันโดยยึดแนวพระปรางค์สามองค์เป็นแกนกลางจากตะวัน ออกไปตะวันตก แต่จากสภาพทีค่ งเหลืออยูใ่ นปัจจุบนั จะเห็น ได้ว่าการก่อสร้างมิได้ดําเนินไปตามแผนที่วางไว้แต่อย่างใด เพราะปรากฏว่ามีสิ่งก่อสร้างเพิ่มเติมออกมานอกแนวแกน ตะวันออก-ตะวันตกนี้อีกมากมายโดยไม่ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ อะไรทั้งสิ้น ส่วนที่วัดเชตุพนมีคูสองชั้นครึ่งโอบรอบ อาคารที่สําคัญๆ ก็จริงแต่ก็มิได้มีแผนผังที่แน่นอน คูชั้นใน
๖ รูป ๖ วัดสระศรีี เมืองสุโขทัยเก่า
รูป ๙ ท้องสําเภา ในปลายสมัยอยุธยา ฐานรองรับโบสถ์วิหาร และพระที่นั่งมีรูปโค้งลงเรียกว่าท้องสําเภา ทําให้สิ่งก่อสร้างด้วยอิฐปูนมีลักษณะเบา เหมือนกับว่าจะลอยน้ำได้
๙
สถาปัตยกรรมบนบก
๒๔๓
เป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าและมีโครงสร้างทีม่ ไิ ด้เป็นไปในลักษณะ แกนตะวันออก-ตะวันตกตามกฎเกณฑ์ คูชั้นกลางก็มีเพียงสอง ด้าน ส่วนคูชน้ั นอกเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั ล้อมรอบบรรดาอาคาร ต่างๆ ซึ่งสร้างขึ้นโดยปราศจากแผนผังที่มีแกน (รูป ๑๒) นอกจากนี้ยังมีคูประเภทชั้นเดียวซึ่งใช้เป็นเขตวัด เช่นที่วัดศรีชุม วัดช้างล้อม วัดเจดีย์ยอดหัก วัดตระพัง ทองหลาง วัดเกาะไม้แดง วัดสังฆาวาส วัดเจดีย์สี่ห้องและ วัดศรีพจิ ติ รกีรติกลั ยาราม เป็นต้น ทีว่ ดั ต้นจันทน์นน้ั นอกจาก จะมีคูล้อมรอบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้ว ยังมีสระสี่เหลี่ยมผืน ผ้าตามแนวตะวันออก-ตะวันตกในทํานองเดียวกับทฤษฎี การวางผังของเขมร แต่ทางเข้าวัดกลับอยู่เยื้องไปจากแกน กลางนี้เป็นอย่างมาก ทําให้สถาปัตยกรรมไทยชิ้นนี้แตกต่าง โดยสิ้นเชิงจากสถาปัตยกรรมที่เป็นระเบียบแบบแผนของ เขมร (รูป ๑๓) การปลูกสร้างที่ไม่เป็นไปตามลักษณะแบบ แผนแม่บทของเขมรปรากฏให้เห็นได้อีกที่วัดซ่อนข้าวและ วัดศรีสวาย เพราะสระน้ำในวัดทัง้ สองทีอ่ ยูใ่ นลักษณะทีข่ าด ตอนเป็นช่วงๆ จนมองแทบจะไม่เห็นร่องรอยเลยว่าผู้สร้าง จะต้องการจําลองภาพของมหาสมุทรล้อมรอบทวีปที่ประกอบไปด้วยภูเขาตามระบบจักรวาล (รูป ๑๔) รูปจําลอง ระบบจักรวาลที่ผิดไปจากแบบฉบับมากที่สุดที่สุโขทัยเห็นจะ ได้แก่วัดมหาธาตุ (รูป ๑๕) ซึ่งมีคูสี่เหลี่ยมยาว ๒๐๐ เมตร ล้อมรอบสิ่งก่อสร้างต่างๆ อันประกอบด้วยเจดีย์ ๒๐๐ องค์ วิหาร ๑๐ หลัง โบสถ์หนึ่งหลัง หอพระ ๘ หลัง และสระน้ำ ๕ แห่ง การจัดวางสิ่งก่อสร้างทั้งหมดนี้ไม่มีกฎ เกณฑ์ตายตัวและปราศจากความสัมพันธ์กบั แนวแกนตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งสําหรับวัดนี้แกนนี้ได้แก่แนวพระเจดีย์ มหาธาตุและวิหารใหญ่อีก ๓ หลัง สรุปแล้วความสัมพันธ์ ระหว่างธาตุแข็งและธาตุน้ำ หรือระหว่างสิ่งก่อสร้าง สระ น้ำและคูน้ำ ค่อนข้างจะยืดหยุ่นได้มากและเป็นการแสดง รูปภูมิจักรวาลอย่างคร่าวๆ เท่านั้น
รูป ๑๐ ท้องอัสดง ฐานรองซึ่งมีรูปโค้ง เรียกว่าท้องอัสดง ที่เห็นในรูปนี้คือธรรมาสน์วัดพระศรีรัตน มหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
รูป ๑๑ ผังบริเวณวัดพระพายหลวง เมืองสุโขทัยเก่า คูที่ล้อมรอบวัด ขาดตอน ไม่โอบรอบวัด ทั้ง ๔ ด้าน แสดงให้เห็นว่าคนไทยไม่ถือ กฎเกณฑ์การวางผังอย่างเคร่งครัด
๑๐
๑. ปรางค์สามองค์ ๒. วิหาร ๓. โบสถ์ ๔. เจดีย์ ๕. วิหารพระนอน ๖. วิหารพระ
๑๑
๑๒
๒๔๔ ภูมิหลัง
รูป ๑๒ ผังบริเวณวัดเชตุพน เมืองสุโขทัยเก่า ความสัมพันธ์ระหว่างคูหรือสระน้ำกับวัด เป็นไปอย่างไม่ค่อยมีกฎเกณฑ์ จะมีคูน้ำไว้ ก็โดยพอประมาณเท่านั้น
๑. มณฑป ๒. วิหาร ๓. เจดีย์ ๔. โบสถ์ ๕. ถนนโบราณ
รูป ๑๓ ผังบริเวณวัดต้นจันทน์ เมืองสุโขทัยเก่า ที่วัดนี้ ทั้งคูและสระน้ำอยู่กลางแกนผัง คล้ายกับผังปราสาทหินของขอม แต่ทางเข้าวัดเอียงไปข้างๆ ซึ่งผิดไปจาก กฎเกณฑ์การวางผังปราสาทหิน
รูป ๑๔ ผังบริเวณวัดศรีสวาย เมืองสุโขทัยเก่า คูหรือสระที่ขุดมีลักษณะที่ขาดตอนเสีย จนไม่น่าจะเกี่ยวกับความเป็นสัญลักษณ์ ของภูมิจักรวาล
รูป ๑๕ ผังบริเวณวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัยเก่า การจัดผังเป็นไปอย่างง่ายๆ เจดีย์ส่วนใหญ่ กระจายกันอยู่กับสระน้ำ เหมือนกับไม่มี ความสัมพันธ์กับแกนตะวันออก-ตะวันตก ของวัด สรุปแล้วเป็นการจัดผังให้พอมี ความสัมพันธ์กบั รูปภูมจิ กั รวาลอย่างคร่าวๆ เท่านั้น
๑. เจดีย์มหาธาตุ ๒. พระอุโบสถ ๓. วิหารหลวง ๔. วิหารหน้าสมัยอยุธยา ๕. เจดีย์ ๕ ยอดและวิหาร ๖. ศาลหลักเมือง
๑. วิหาร ๒. ปรางค์ ๓. เจดีย์ ๔. บ่อน้ำ
รูป ๑๖, ๑๗, ๑๘ วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน วัดนี้มีนาคสองตัวเลื้อยทะลุผ่านฐานโบสถ์ ซึง่ เท่ากับว่าโบสถ์นน้ั ตัง้ อยูใ่ นน้ำ วัดส่วนใหญ่ จะใช้สัญลักษณ์ธาตุน้ำหรือนาคแทน สระหรือคูน้ำจริงๆ
รูป ๑๙ หลังคาวัดภูมินทร์ เป็นรูปพญานาคกําลังเลื้อยลงมาเป็นชั้นๆ เหมือนน้ำที่ไหลจากเขาพระสุเมรุลงมา สู่เบื้องล่าง
๑๖
สัญลักษณ์น้ำ
ในการแปรรูปเขาพระสุเมรุและมหาสมุทรที่ล้อม รอบเข้าสู่ลักษณะทางสถาปัตยกรรมนั้น ในส่วนที่เป็นน้ำ หากใช้น้ำจริงๆ ก็ดูเป็นเรื่องยุ่งยากมากอยู่ ดังนั้นโดยทั่วไป แล้วจึงใช้พญานาคเป็นสัญลักษณ์แทนเอาง่ายๆ เลยทีเดียว จะสังเกตได้ว่าศาสนสถานทุกแห่งจําเป็นต้องมีธาตุน้ำเป็น ส่วนประกอบอยูด่ ว้ ย ไม่วา่ จะเป็นน้ำจริงๆ หรือเป็นสัญลักษณ์ แทนก็ตาม ตัวอย่างทีเ่ ห็นได้ชดั ทีส่ ดุ ก็คอื วัดภูมนิ ทร์ จังหวัด น่าน (รูป ๑๖-๑๘) ซึง่ มีนาค ๒ ตัวเลือ้ ยผ่านตลอดฐานโบสถ์ และเหยียดลําตัวยาวไปตามแนวแกนทิศเหนือ-ใต้ บนฐาน เตี้ยๆ ซึ่งเป็นขัณฑสีมา ตรงมุมทั้งสี่มีใบเสมาตั้งอยู่ และแม้ ว่ารอบโบสถ์นี้จะไม่ได้สร้างกําแพงล้อมไว้ แต่ที่มุมที่ตั้งใบ เสมาทั้งสี่มุมก็ได้ก่อมุมกําแพงไว้เป็นเครื่องชี้แนวเพื่อสร้าง ความรู้สึกว่ามีกําแพงล้อมโบสถ์และพญานาคไว้ด้วยกัน โดยเหตุทพ่ี ญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งน้ำ ลักษณะของแผน ผังจึงเหมือนกับว่าสระน้ำสีเ่ หลีย่ มทีม่ โี บสถ์อยูต่ รงกลาง ภาย ใต้จิตสํานึกแล้วคงไม่แตกต่างกัน กับวัดพุทธเอ้นที่อําเภอ แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โบสถ์วดั ภูมนิ ทร์มผี งั เป็นรูปกากบาทจึงมีมขุ สีด่ า้ น ซึ่งเปิดตรงเข้าสู่พระพุทธรูปสี่องค์ที่ประดิษฐานอยู่กลาง โบสถ์ ในการวางผัง แกนทั้งสองที่ตัดกันมีความยาวไม่เท่า กัน คือแกนทิศตะวันออก-ตะวันตกสั้นกว่าแกนทิศเหนือ-ใต้
๒๔๖ ภูมิหลัง
ที่น่าสังเกตคือการใช้สัญลักษณ์ของภูมิจักรวาลในระดับ ต่างๆ ตั้งแต่ยอดบนสุดจนถึงระดับล่างๆ ยอดบนสุดมีฉัตร ห้าชั้นและต่ำลงมาคือหลังคาซ้อนห้าชั้นซึ่งเป็นสัญลักษณ์ แทนทวีปและมหาสมุทรในภูมิจักรวาล ช่อฟ้าที่ใช้เป็นรูปหัว พญานาค (รูป ๑๙) ส่วนสันมุมหลังคาทําเป็นรูปสันหลัง ของพญานาคกําลังเลื้อยลงมาเป็นชั้นๆ จนถึงชายคาชั้น ล่างสุดแล้วจึงมีทวยไม้สลักเป็นนาคค้ำยันไว้ (รูป ๒๐) สัญลักษณ์ที่เรียงกันลงมาเช่นนี้เปรียบเสมือนสายน้ำที่กําลัง ไหลจากภูเขาที่เป็นจุดศูนย์กลางลงสู่เบื้องล่างจนกระทั่งถึง ฐานโบสถ์ซึ่งมีพญานาคใหญ่สองตัวปรากฏอยู่ หรืออีกนัย หนึ่งคือมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ไพศาลอันเป็นที่รวมของ น้ำทั้งหมด น้ำที่ไหลลงเป็นชั้นๆ ดังกล่าวชวนให้คิดนึกถึง ปราสาทซึ่งตั้งอยู่บนฐานสูงและซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีลักษณะ เหมือนพีระมิดทีส่ ลักเป็นชัน้ ๆ เช่นทีป่ ราสาทหินบากอง ปักษี จํากรงและบาแค็งที่นครธม ตลอดจนกระทั่งตําหนักพระ นครหลวงที่อยุธยา ปราสาทเหล่านี้มีรูปแตกต่างกันไม่เท่า ไรนักกับนาขั้นบันไดบนไหล่ภูเขา (รูป ๒๑-๒๒) อย่างไรก็ดี ในที่สุดช่างไทยก็ได้แปรสัญลักษณ์ท่ีแสดงออกในรูปของ ฐานที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ให้เป็นรูปที่ง่ายแก่การก่อสร้างขึ้น ไปอีก คือทําเป็นแต่เพียงบัวที่ซ้อนกันอยู่ที่ฐานของอาคาร เท่านั้น
รูป ๒๐ ทวยวัดภูมินทร์ แม้แต่ไม้ค้ำชายคาหรือทวย ก็เป็น สัญลักษณ์ของธาตุน้ำ
รูป ๒๑ นาขั้นบันไดบนไหล่ภูเขาที่บาหลี
รูป ๒๒ ปราสาทหินบากอง โรเลย และ นครธม ฐานซ้อนกันเป็นชั้นๆ ของปราสาทหิน ในเขมร มีความหมายทั้งทางด้าน ภูมิจักรวาลและทางด้านการเกษตร อันได้แก่การทํานาเป็นชั้นๆ บนไหล่ภูเขา
๑๗
๑๙
๑๘
๒๐
สถาปัตยกรรมบนบก
๒๔๗
ดังที่กล่าวมาแล้ว แม้ช่างไทยจะเลียนแบบจาก เขมรในเรื่องการจําลองเขาพระสุเมรุตามระบบจักรวาลใน การก่อสร้างศาสนสถาน แต่กเ็ ป็นการเลียนแบบอย่างคร่าวๆ เท่านั้น ที่ปราสาทหินบาแค็งของเขมรนั้นฐานปราสาทแต่ ละชั้นประกอบด้วยภูเขาขนาดกลางอย่างมากมาย รวมทั้ง ทวีปภูเขาซึ่งตั้งอยู่ที่มุมทั้งสี่ ทวีปภูเขาขนาดกลางทั้งหมด นี้ ตั้งล้อมทวีปภูเขาตรงกลางที่ใหญ่ที่สุดคือเขาพระสุเมรุ ซึ่งก็หมายถึงปราสาทองค์ประธานนั่นเอง ในสถาปัตย กรรมไทย รูปแบบที่ใกล้เคียงลักษณะดังกล่าวมากที่สุดเห็น จะได้แก่วัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้าง ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๓ (รูป ๒๓) วัดนี้มีฐานยกพื้นเป็นรูปสี่ เหลี่ยมจัตุรัสขนาดด้านละ ๓๓.๖ เมตร รองรับพระปรางค์ องค์ใหญ่ที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งสูง ๓๕ เมตร และปรางค์ขนาด รองลงมาที่สี่มุม มีบันไดตามจตุรทิศลงมาสู่ระเบียงคดสี่ เหลี่ยมซึ่งใช้เพื่อทําพิธีทักษิณา ที่ระเบียงคดมีเมรุทิศอยู่ ๘ องค์ประจําทิศศักดิ์สิทธิ์ทั้งแปด (เรื่องทิศศักดิ์สิทธิ์นี้โปรด
ดูรายละเอียดบทที่ ๒) สิง่ ก่อสร้างทัง้ หมดนีม้ กี าํ แพงสีเ่ หลีย่ ม จัตรุ สั ล้อมรอบอยูแ่ ต่ถดั ออกไปก็มกี าํ แพงอีกแนวหนึง่ ซึง่ เป็น กําแพงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวเหยียดลงไปจรดริมแม่น้ำ๖ การจําลองภูมจิ กั รวาลอย่างสวยงามทีส่ ดุ ในสถาปัตยกรรมไทยเห็นจะได้แก่พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม (รูป ๒๔, ๒๕) ศาสนสถานแห่งนี้อยู่บนฐานยกระดับมีกํา แพงล้อมรอบฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีขั้นบันไดล้อมรอบทุก ด้าน แต่ละด้านยาว ๖๕ เมตร ตรงกลางมีฐานสูงขึ้นมาอีก แต่ละด้านยาว ๓๗ เมตร เป็นฐานรองรับพระปรางค์องค์ ใหญ่ซึ่งสูง ๖๗ เมตรและพระปรางค์ประจํา ๔ มุม นอก จากการใช้กระเบื้องชามสีประดับองค์พระปรางค์อย่างงด งามแล้ว การกําหนดสัดส่วนและองค์ประกอบต่างๆ ก็ยัง ชัดเจนเป็นที่น่าพึงพอใจอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้จึงถือกันว่าพระ ปรางค์วัดอรุณฯเป็นสถาปัตยกรรมแม่บทที่งดงามเป็นอัน ดับหนึ่งของไทย
รูป ๒๔ ผังพระปรางค์วัดอรุณ ราชวราราม
รูป ๒๕ รูปตั้งพระปรางค์วัดอรุณ ราชวราราม พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เป็นรูปจําลองภูมิจักรวาลอย่างงดงามที่สุด และเป็นงานออกแบบอันดับหนึ่ง ในกระบวนสถาปัตยกรรมแม่บทไทย
รูป ๒๓ ผังบริเวณวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผังนีแ้ สดงรูปแบบทีอ่ าจใกล้เคียงการจําลอง ระบบจักรวาลมากทีส่ ดุ ในสถาปัตยกรรมไทย ๑. พระปรางค์ศรีรตั นมหาธาตุ และปรางค์ประจํามุม ๒. พระระเบียงคด ๓. เมรุทิศ ๔. พระอุโบสถ ๕. เจดีย์ ๖. ปรางค์ ๗. วิหาร ๘. แม่น้ำเจ้าพระยา
๖ หนังสือ พระราชวังและวัดในอยุธยา กรมศิลปากร กรุงเทพฯ ๒๕๒๑ หน้า ๕๓, ๕๔
๒๔๘ ภูมิหลัง
๒๓
รูปเต็มหน้า หน้า 249
๒๔
สถาปัตยกรรมบนบก
๒๔๙
รูปเต็มหน้า หน้า 250
๒๕๐ ภูมิหลัง
๒๕
สถาปัตยกรรมไม้และอัจฉริยะของช่างไทย รูป ๒๖ เวชยันต์ราชรถพระศพสมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ พ.ศ. ๒๔๖๖ แสดงให้เห็นการเชิญพระศพขึ้นประดิษฐาน ด้วยเกริน ซึ่งเป็นแท่นชักรอกด้วยเครื่อง กว้าน เกรินนี้ สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมหลวง พิทกั ษ์มนตรี เป็นผูท้ รงคิดออกแบบครัง้ แรก ใน ปีพ.ศ. ๒๓๕๔ (ต้นสมัยรัชกาลที่ ๒)
รูป ๒๗ วาดาที่บาหลี เป็นเวชยันต์ราชรถและพระเมรุมาศรวมกัน ของชาวบาหลี วาดานี้ตั้งบนแคร่ มีคน ๒๐-๓๐ คนช่วยกันหาม ในการเชิญ พระศพเจ้านายขึน้ ไปบนยอด จําเป็นต้องหาม พระศพขึ้นไปบนทางลาดซึ่งทําขึ้นชั่วคราว ด้วยไม้ไผ่ ทั้งนี้เพราะชาวบาหลีไม่มีเกรินใช้
การจําลองภูมิจักรวาลด้วยอิฐปูนหรือศิลาแลง โดยทั่วไปแล้วยังสู้สิ่งก่อสร้างที่เป็นไม้ไม่ได้ ไม่ว่าขนาด หรือแนวความคิด รวมทั้งความสามารถทางกลศาสตร์ที่ เกีย่ วข้อง โครงสร้างไม้ในสมัยรัตนโกสินทร์ทจ่ี ะกล่าวถึงต่อ ไปคือพระเมรุมาศที่ถวายพระเพลิง ราชรถที่ใช้เคลื่อน พระบรมศพ และ เกรินซึง่ เป็นแท่นเลือ่ นยกโกศบนรางชัก รอกด้วยเครื่องกว้านประดิษฐ์ขึ้นโดยสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรม หลวงพิทกั ษ์มนตรี ใน พ.ศ. ๒๓๕๔ (รูป ๒๖)๗ ก่อนที่จะพูดถึงพระเมรุมาศ ขอกล่าวถึงเกรินเสีย ก่อนว่า แต่เดิมนั้นการยกโกศขึ้นเมรุเป็นเรื่องที่เสี่ยงอยู่มิ ใช่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพระเมรุมาศมีความสูงมาก การยกพระศพขึน้ เมรุยงุ่ ยากแสนเข็ญเพียงใดยังสามารถเห็น ได้ในสมัยนี้ที่บาหลี เพราะชาวบาหลีมีพิธีคล้ายกัน กล่าว คือเมื่อเจ้านายสิ้นพระชนม์ลง ชาวบาหลีจะทําพระเมรุเพื่อ การเคลื่อนพระศพเรียกว่า “วาดา” ซึ่งเป็นโครงสร้างไม้ไผ่ ต่อกันขึ้นไปเป็นยอดสูง (รูป ๒๗) พระเมรุของบาหลีนี้ตั้ง อยู่บนแคร่ขนาดใหญ่ มีคน ๒๐-๓๐ คนช่วยกันหาม ในการ
ยกพระศพขึ้นไปบรรจุบนยอด “วาดา” จําเป็นต้องสร้างทาง เอียงลาดช่วงยาวด้วยไม้ไผ่เรียกว่า “บาเด” แล้วใช้คนหลาย คนช่วยกันค่อยๆ หามพระศพขึ้นไป การใช้เกรินซึ่งเป็น เครื่องจักรกลชักรอกเป็นการตัดความยุ่งยากทั้งหมดออก ไป ทั้งยังเป็นการช่วยให้พิธีดังกล่าวดูสง่าผ่าเผยอีกด้วย ในประเทศไทยเมือ่ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๒๒ มีพระราชพิธอี ญ ั - เชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้าบรรจุในองค์พระธาตุพนมซึ่งได้ ปฏิสงั ขรณ์ขน้ึ มาใหม่ ในการนีไ้ ด้ใช้เกรินเครือ่ งไฟฟ้าประดับ ด้วยรูปพญานาคชักพระบรมสารีรกิ ธาตุขน้ึ ไปสูท่ ป่ี ระดิษฐาน อย่างเรียบร้อยและน่าชมที่สุด (รูป ๒๘) ในบทที่ ๒ ผู้เขียนได้อธิบายถึงเรื่องพระเมรุมาศ บ้างแล้ว ในที่นี้ใคร่ขอสรุปขนาดและรูปทรงของพระเมรุมาศซึง่ ปรากฏหลักฐานอยูใ่ นพระราชพงศาวดาร พระเมรุมาศทั้ ง หลายล้วนแต่มีขนาดใหญ่โตมหึมาอย่างไม่น่าเชื่อ ดังทีจ่ ะเห็นได้จากตารางต่อไปนี๘้
๒๗ ๗ หนังสือ ผลงานหกศตวรรษของช่างไทยฯ โดย โชติ กัลยาณมิตร อ้างถึงแล้ว หน้า ๒๘ ๘ จาก ๑. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระราชหัตถเลขา พิมพ์ปีต่าง ๆ ๒. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒, ๓ และ ๔ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ๒๖
สถาปัตยกรรมบนบก
๒๕๑
รูป ๒๘ เกริน ในพระราชพิธีอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุในองค์ พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. ๒๕๒๒ ในกรณีนี้ เกรินใช้ไฟฟ้า
รูป ๒๙ ผังพระเมรุมาศ สมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงโยธาเทพ พระเมรุมาศนี้สร้างสูงเพียง ๔๑ เมตร แต่พระเมรุมาศหลายองค์ในสมัยอยุธยา สร้างสูงถึง ๑๐๒.๗๕ เมตร หรือเทียบเท่า อาคารสมัยใหม่ ๒๗ ชั้น
๙ ในหนังสือ พระเมรุมาศ โดยสมภพ ภิรมย์ กรุงเทพฯ ๒๕๒๐ หน้า ๕๗ อ้างว่าพระเมรุมาศนี้ สูงถึง ๑๑๔.๗๕ เมตร
๒๘
ตารางเปรียบเทียบการสร้างพระเมรุมาศในสมัยต่างๆ ด้านข้างของ ระยะเวลา ก่อสร้าง พระเมรุมาศสร้างขึ้นถวาย ความสูง ฐานตรงกลาง ก่อสร้าง ปี พ.ศ. (เมตร) (เมตร) (เดือน) สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ๗๔ ๒๑๔๙ ๙ สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ๑๐๒.๗๕ ๒๑๙๙ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ๑๐๒.๗๕ ๑๕ ๘ ๒๒๓๒ สมเด็จพระเพทราชา ๑๐๒.๗๕ ๑๕ ๑๑ ๒๒๔๗ สมเด็จพระเจ้าเสือ ๑๐๒.๗๕ ๑๕ ๑๑ ๒๒๕๐ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ๔๑ ๑๑ ๙ ๒๒๗๗ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาทิพ ๔๑ ๑๑ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงโยธาเทพ (รูป ๒๙) ๔๑ ๑๑ ๒๒๗๘ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ๑๐๒.๗๕ ๑๕ ๘ ๒๓๐๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ๘๐ ๑๔ ๒๓๕๔ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๘๐ ๒๓๖๘ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ๘๐ ๘ ๒๓๙๕ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔๐ ๒๔๐๙ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รูป ๓๐) ๔๐ ๒๔๑๒
๒๕๒ ภูมิหลัง
๒๙
ความสูงของพระเมรุมาศที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับ สาเหตุอยู่หลายประการคือ (๑) ความเคารพรักใคร่ของผู้สืบสันตติวงศ์ที่มี ต่อองค์พระมหากษัตริย์ผู้ได้สวรรคตไปแล้ว เช่นในกรณี ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ความรู้สึกดังกล่าวต่อ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระคงมีอยู่น้อยมาก (๒) ยศฐาบรรดาศักดิ์ของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว (๓) สถานการณ์บา้ นเมืองโดยเฉพาะหลังจากการ ฟื้นตัวจากสงครามใหม่ๆ เช่น ในแผ่นดินของสมเด็จพระ นเรศวรมหาราชถึงต้นแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (๔) การเริ่มต้นยุคกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นยุคที่ ต้องสร้างบ้านเมืองใหม่ (๕) อิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจของยุคสมัยใหม่ ซึ่งเริ่มแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา จากตารางดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าพระเมรุมาศที่สูงที่สุดคือ ๑๐๒.๗๕ เมตร เทียบกับความสูงของ อาคารสมัยใหม่เท่ากับ ๒๗ ชั้น ซึ่งนับว่าสูงกว่าอาคารใดๆ ที่ก่อสร้างขึ้นในกรุงเทพฯ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๕ นักวิชาการ ต่างไม่เข้าใจว่าความสูงขนาดนี้ก่อสร้างด้วยไม้ได้อย่างไร จึงมักลงความเห็นว่าพระราชพงศาวดารคงบรรยายเกินเลย ความเป็นจริง หรือมิฉะนั้นหน่วยที่ใช้วัดคือ เส้น ศอก วา
๓๐
และนิ้วที่ใช้ในสมัยโบราณคงเพี้ยนไปจากที่ใช้ในสมัยหลังๆ นี้ แต่ในที่สุดก็จําเป็นต้องเชื่อพระราชพงศาวดาร เพราะ หลักฐานบันทึกในสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งถือว่า เส้น ศอก วา และนิว้ ทีใ่ ช้เป็นทีร่ แู้ น่ชดั แล้ว ได้ระบุวา่ พระเมรุมาศในระยะ หลังนี้มีความสูงถึง ๘๐ เมตร หากเรานําความสูงของพระ เมรุมาศรุน่ ก่อนๆ ความสูงของพระปฐมเจดีย์ซึ่งสูงถึง ๑๐๗ เมตร และของพระปรางค์วัดอรุณฯ ซึ่งสูง ๖๗ เมตร มา เปรียบเทียบกับนครวัดซึ่งมีความสูงเพียง ๔๒ เมตรแล้ว จะเห็นได้ว่า โดยการใช้โครงไม้ในการก่อสร้างช่างไทย สามารถก่อสร้างสถาปัตยกรรมแบบแม่บทที่สมบูรณ์ด้วย สัญลักษณ์ของภูมิจักรวาลได้ โดยมีความสูงมากกว่าสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันที่ก่อสร้างด้วยอิฐหรือหินอีกหลาย แห่งรวมทั้งนครวัดอันลือชื่อของเขมรด้วย แต่ละครั้งที่มีการสร้างพระเมรุมาศ ปริมาณงาน ความเชี่ยวชาญทางด้านการใช้โครงไม้ สัญชาตญาณและ ความมุมานะตลอดจนการเกณฑ์แรงงานคนและทรัพยากร ในประเทศ เป็นเรื่องซึ่งคนรุ่นหลังไม่อาจสามารถวาดภาพ ได้ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์งานก่อสร้าง พระเมรุมาศสูง ๘๐ เมตร เมรุทิศ ๘ องค์สูง ๔๐ เมตร ระทา และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ อันเป็นองค์ประกอบของพระ
เมรุมาศ ต้องใช้ไม้ซึ่งเกณฑ์จากหัวเมืองลำเลียงเข้ามาใน กรุงจํานวนมากมายดังต่อไปนี๑๐ ้ ซุงไม้สัก ซุงไม้อื่นๆ ไม้ไผ่ตีเป็นแผ่น ลําไม้ไผ่
จํานวน ๘๙๖ ต้น จํานวน ๕,๕๐๐ ต้น จํานวน ๒,๘๐๐ ต้น จํานวน ๔๐๐,๐๐๐ ต้นหรือมากกว่านั้น
รูป ๓๐ พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๑๒ พระเมรุมาศสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สร้างสูงถึง ๘๐ เมตร แต่พอถึงพระเมรุมาศ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างสูงเพียง ๔๐ เมตร หลังจากนัน้ ความสูง ก็ลดลงมาเรื่อยๆ
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นอาจฟังแล้วไม่น่าเชื่อ ทั้งๆ ที่ เป็นพระเมรุมาศขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับพระเมรุมาศสมัยอยุธยา และเมือ่ คํานึงถึงสภาวะของกรุงรัตนโกสินทร์ ว่าเพิง่ ฟืน้ ตัวจากการเสียกรุงใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ก็นบั ว่าราชวงศ์ ใหม่ทก่ี รุงเทพฯ ได้สบื ทอดประเพณีการก่อสร้างพระเมรุมาศ และการก่อสร้างด้วยไม้อย่างดีที่สุดแล้ว
๑๐ เล่มเดิม หน้า ๙๖-๙๗
สถาปัตยกรรมบนบก
๒๕๓
แนวโน้มในการสร้างพระเมรุก่ออิฐหรือปูน
อาจจะกล่าวได้ว่าพระเมรุมาศขนาดใหญ่สร้าง ขึน้ เป็นครัง้ สุดท้าย ใน พ.ศ. ๒๔๑๒ หลังจากนัน้ ทางราชการ ได้ยกเลิกการถือปฏิบัติดังกล่าว ซึ่งย่อมหมายถึงยุคสมัย ใหม่ได้เข้ามาแทนที่ แต่ก็ยังมีการสร้างพระเมรุมาศขนาด เล็กต่อมาอีกจนถึงในสมัยปัจจุบัน ก่อนที่จะยกเลิกพระ เมรุมาศไม้ขนาดใหญ่นี้ ความคิดที่จะประหยัดการก่อสร้าง เมรุ ได้เกิดขึ้นแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๑ โดยสมเด็จพระบวร ราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้ทรงสร้างเมรุก่ออิฐถือปูนอย่าง ถาวรขึ้นเพื่อจะให้ใช้การได้อีกหลายๆ ครั้ง ในรัชกาลต่อๆ มาได้มกี ารสร้างเมรุกอ่ อิฐถือปูนมากขึน้ และการสร้างเมรุไม้ ก็ได้คอ่ ยๆ ลดจํานวนลง ตามความเป็นจริงนั้นพระเมรุมาศ ไม้สําหรับพระมหากษัตริย์ในสมัยโบราณมิได้ถูกเผาทําลาย ลงทัง้ หมด เช่นในกรณีเมรุไม้ ในการถวายพระเพลิงพระบรม ศพ เจ้าหน้าทีจ่ ะเลีย้ งเพลิงมิให้ลกุ ลามไปทัว่ ดังนัน้ เมือ่ งานแล้วเสร็จจึงสามารถถอดซุงไม้ออกเป็นชิ้นๆ เพื่อเอาไป ใช้ประโยชน์ที่อื่นได้ ด้วยเหตุนี้และด้วยพระราชประสงค์ที่ จะประหยัด พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมี พระบรมราชโองการให้ถอดพระเมรุมาศเก็บไว้หลังจากเสร็จ งานถวายพระเพลิงเพื่อนําไปประกอบใช้เป็นพระเมรุมาศได้ อีกในโอกาสข้างหน้า การเลิกใช้พระเมรุมาศขนาดใหญ่ หรืออีกนัย หนึง่ การเลิกงานก่อสร้างใหญ่ๆ ด้วยไม้ ทําให้สญ ั ชาตญาณ และความมั่นใจในตัวเองของคนไทยต้องลดลงไป ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ การถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ถึงกับต้องใช้วศิ วกรฝรัง่ ออกแบบ คํานวณโครงสร้างพระเมรุมาศให้ ทั้งๆ ที่พระเมรุมาศดัง กล่าวมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับพระเมรุมาศสมัย รัชกาลต้นๆ๑๑
ช่างไทยในอดีต
เมื่อกล่าวถึงเรื่องนี้แล้วเราน่าจะได้ยกย่องช่างไม้ ผูส้ ร้างพระเมรุมาศและสถาปนิกผูอ้ อกแบบงานอันมหัศจรรย์ เหล่านีไ้ ว้เป็นหลักฐาน๑๒ นอกจากการฝึกฝนเรียนรูว้ ชิ าช่าง การก่อสร้างโครงไม้ใหญ่ๆ แล้ว ช่างประเภทนี้ยังต้องมี ความกระฉับกระเฉงในการทรงตัวอยู่ได้บนโครงสร้างสูง จนกระทัง่ เมือ่ ไม่นานมานีเ้ องมีกลุม่ คนในสังกัดพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ เรียกว่าญวนหก (รูป ๓๑) ซึง่ นอกจากมีหน้าทีป่ นี ป่ายบนเสาสูงเพือ่ แสดงกายกรรม ในพระราชพิธีหรืองานเทศกาลแล้ว คนพวกนี้ยังจัดเจนใน เรื่องก่อสร้างนั่งร้านและสิ่งก่อสร้างสูงๆ เช่น พระเจดีย์ อีกด้วย กล่าวกันว่าญวนหกเป็นพวกทีไ่ ด้สบื เชือ้ สายมาจาก ช่างทีท่ าํ เครือ่ งไม้สูงมาแต่โบราณกาล
๒๕๔ ภูมิหลัง
๓๑
สําหรับสถาปนิกนัน้ มีหลายคนทีน่ า่ จะกล่าวถึงโดย เฉพาะผู้ที่ได้ออกแบบจําลองเขาพระสุเมรุในรูปต่างๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปไม้คือพระเมรุมาศ หรือในรูปอิฐถือปูนคือ พระเจดีย์ พระปรางค์ และเมรุถาวร ในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้ที่สมควรยกย่องเช่นพวกช่างที่ออกแบบพระปรางค์วัด อรุณฯ ซึ่งทําติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ส่วนใหญ่ งานทําในสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่มาแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์แบบ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ด้วยฝีมือของพระยาราชสงคราม (ทัด หงสกุล) สถาปนิกอีกท่านหนึ่งในรัชกาลที่ ๔ ได้แก่ พระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม ทรงเป็นผูอ้ อกแบบก่อ สร้างพระปฐมเจดีย์ ปราสาทพระเทพบิดร (รูป ๓๒) พระ- เมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และเรือ พระที่น่งั อนันตนาคราชซึ่งออกแบบร่วมกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ท่านต่อมาคือ พระยาอภัยรณฤทธิ์ ท่านผู้นี้ได้ออกแบบก่อสร้างพระเมรุมาศ หลายองค์รวมทัง้ องค์ทใ่ี ช้ในงานพระบรมศพรัชกาลที่ ๔ ด้วย นอกจากนี้ยังได้ออกแบบศาลาทรงธรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ เขาไกรลาศในพระบรมมหาราชวัง และเรือนาคที่เรียกว่า อเนกชาติภชุ งค์ สถาปนิกสําคัญๆ รุ่นต่อ ๆ มาได้แก่พระยา จินดารังสรรค์ผู้ออกแบบพระเมรุมาศรัชกาลที่ ๕ (ซึง่ มีฝรัง่ คํานวณโครงสร้างให้) และสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวดั ติวงศ์ผอู้ อกแบบงานนานาชนิดรวมทัง้ พระเมรุมาศ ๕ องค์ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๓-๒๔๗๒
รูป ๓๑ ญวนหก เป็นกลุ่มคนในสังกัดพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ มีหน้าที่ ปีนป่ายบนเสาสูงเพื่อแสดงกายกรรม ในงาน นอกจากนั้นยังมีหน้าที่สร้าง นั่งร้านหรือสิ่งก่อสร้างสูงๆ อีกด้วย
๑๑ เล่มเดิม หน้า ๑๕๙ ๑๒ ในสมัยโบราณไม่มีการแบ่งงาน สถาปนิกเรียกว่าช่างหรือช่างสิบหมู่ ซึ่งเป็นช่างในหลายๆ แขนงไปในตัวด้วย ดังนั้น จึงเป็นทั้งวิศวกร จิตรกร ประติมากร ฯลฯ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรม พระยานริศรานุวดั ติวงศ์ ทรงอธิบายว่า “สิบหมู”่ หมายถึงงานช่าง ๑๐ ประเภท แต่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ปฤษฎางค์ซึ่งเป็นช่างสิบหมู่ ในรัชกาลที่ ๔ มาก่อนทรงอธิบายใน พระอัตชีวประวัติ (กรุงเทพฯ ๒๔๗๓ หน้า ๓) ว่าคํานี้เพี้ยนมาจาก “ช่างหมู่ศิลป์” และ “ศิลป์” ในภาษาบาลีคือ “สิปป์” และอ่านว่า “สิบ” จึงทําให้คนรุ่นหลังเข้าใจผิด ว่ามีจำนวนช่างเพียง ๑๐ ประเภท แต่ความจริงมีมากกว่านั้น
๓๒
สถาปนิกผูอ้ อกแบบและควบคุมงานก่อสร้างพระ เมรุมาศในสมัยโบราณเป็นมนุษย์วิเศษเพียงใดต้องดูจาก งานก่อสร้างพระเมรุมาศขนาดสูง ๑๐๒.๗๕ เมตรสําหรับ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศในปี พ.ศ. ๒๓๐๒ ในเรื่องนี้ พระราชพงศาวดารได้กล่าวว่าช่างได้จําลองแบบเขาพระสุเมรุมาอย่างงดงามที่สุด และยังได้เอ่ยชื่อผู้ออกแบบว่าคือ ขุนสุเมรุทิพย์ ราชทินนามที่ได้รับพระราชทานนี้เท่ากับว่า สถาปนิกได้รับการยกย่องให้เป็นอมตะและเทียบให้เป็นจุด ศูนย์กลางของระบบจักรวาลเลยทีเดียว จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้พระเมรุมาศส่วนใหญ่มี รูปปรางค์ซ่ึงเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุตามคติเขมร ซึ่งถือว่ากษัตริย์เป็นสมมติเทพหรือเทวราช จะเห็นว่าบน ยอดพระปรางค์เป็นที่ประดิษฐานของตรีศูลซึ่งเป็นอาวุธ ประจําพระองค์ของพระอิศวร (ซึง่ ศัพท์ทางสถาปัตยกรรม เรียกว่าลําภุขันหรือฝักเพกา) พระเมรุมาศที่สร้างใน พ.ศ. ๒๔๑๒ ใช้รูปทรงปรางค์ล้วนแต่มีระเบียงล้อมรอบหลาย ชั้นลดระดับต่างๆกันลงมาตามแบบอย่างโลหะปราสาท (รูป ๓๓) ซึง่ สร้างขึน้ มาก่อนในสมัยรัชกาลที่ ๓ ปรางค์องค์ กลางตั้งอยู่บนหลังคาซึ่งซ้อนกันเป็นชั้นๆ ดูเผินๆ เป็นการ ผสมระหว่างปรางค์เขมรและหลังคาไทยอย่างเอกอุที่สุด แต่ถ้าวินิจฉัยให้ดีแล้วจะเห็นว่าสิ่งทั้งสองนี้ผสมผสานกันได้
๓๓
ดีทีเดียว การผสมผสานระหว่างสิ่งที่ไม่น่าจะเข้ากันได้นี้ เป็นลักษณะประจําชาติของไทยเรา ก่อนหน้านั้นเล็กน้อยปราสาทพระเทพบิดรเพิ่ง ก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเป็นแบบอย่างสถา- ปัตยกรรมให้แก่สถาปนิกรุ่นต่อมา ปราสาทองค์นี้แสดงให้ เห็นถึงการออกแบบที่สามารถผสมรูปทรงปรางค์ ซึ่งปกติ เป็นสิ่งก่อสร้างด้วยอิฐปูน กับหลังคาไม้ได้อย่างสวยงามที่ สุด ใครบ้างจะคิดว่าสองสิ่งซึ่งตรงข้ามกันทั้งรูปแบบและ วัสดุก่อสร้างจะถูกจับให้อยู่คู่กันได้อย่างงดงามไม่มีที่ติ ทีไ่ ด้พรรณนาถึงพระเมรุมาศมากมายในบทนีเ้ พราะ ถือว่าสิ่งก่อสร้างดังกล่าวเป็นส่วนสําคัญยิ่งในสถาปัตยกรรมไทยแม่บท แต่น่าเสียดายที่ไม่เคยมีผู้ใดได้ผนวกเรื่อง นีเ้ ข้ากับตําราศิลปะสถาปัตยกรรมไทยเลย เห็นจะเป็นเพราะ ว่าพระเมรุมาศก่อสร้างด้วยไม้ล้วนๆ ไม่ได้สร้างด้วยอิฐปูน ในลักษณะถาวรวัตถุ จึงคิดกันว่าไม่ใช่สถาปัตยกรรม
รูป ๓๒ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ช่างที่ออกแบบก่อสร้างพระเมรุมาศ ก็เป็นสถาปนิกออกแบบงานสถาปัตยกรรม ที่สําคัญๆ ในเวลาเดียวกัน เช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม ผู้ออกแบบสร้าง พระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และปราสาทพระเทพบิดรที่เห็นในรูป
รูป ๓๓ โลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม โลหะปราสาทหลังแรกสร้างในสมัยพุทธกาล เพือ่ เป็นทีพ่ กั อาศัยของพระสงฆ์ หลังทีส่ อง สร้างในลังกาเมื่อ พ.ศ. ๓๒๘ (เหลือแต่ซากระดับฐาน) โลหะปราสาทใน กรุงเทพฯ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ และถือว่าเป็นหลังเดียวที่เหลืออยู่ใน พระพุทธศาสนา ลักษณะยอดปราสาทที่ ลดหลั่นลงมาเป็นชั้นๆ สอดคล้องกันกับ แบบพระเมรุมาศรัชกาลที่ ๔
สถาปัตยกรรมบนบก
๒๕๕
สัญลักษณ์ของระบบจักรวาล ในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ในสถาปัตยกรรมแนวความคิดเกีย่ วกับภูมจิ กั รวาล และไตรภูมิมีบทบาทในการกําหนดรูปแบบทั้งใหญ่และเล็ก กล่าวคือทั้งในมหัพภาคและในจุลภาค สิ่งละอันพันละน้อย ซึ่งเป็นส่วนประดับ หรือส่วนประกอบของสถาปัตยกรรม ล้วนแต่เป็นสัญลักษณ์หรือ การจําลองภูมิจักรวาลและ ไตรภูมิในจุลภาค อย่างไรก็ดีในจุลภาคเองก็ยังสามารถจัด รูปแบบสัญลักษณ์ดังกล่าวให้อยู่ซ้อนเล็กลงไปอีก หรือจะ ว่าไปแล้ว แม้แต่ในจุลจักรวาลก็ยังมีจุลจักรวาลที่เล็กกว่า นั้นปรากฏอยู่ซ้อนกันไปอย่างไม่รู้จักสิ้นสุด อันที่จริงแต่ละ ชิ้นส่วนที่ประดับหรือประกอบเป็นรูปสถาปัตยกรรมเปรียบ เสมือนโลกโลกหนึ่งที่สมบูรณ์อยู่ในตัวเช่นบนยอดพระเจดีย์
มีฉตั รหรือพุม่ ข้าวบิณฑ์ (รูป ๓๔) นอกจากนัน้ องค์พระเจดีย์ และฐานพระเจดีย์ก็เป็นจุลจักรวาลด้วยทั้งสิ้น ส่วนกุฎา- คารหรือเครื่องสูงบนยอดปูชนียสถานทั้งหลายก็ล้วนแต่ เป็นสัญลักษณ์ของภูมจิ กั รวาล เช่น พระมณฑปทีห่ อพระไตรปิฎก พระปรางค์บนปราสาทพระเทพบิดร มงกุฎทีว่ หิ ารขาว และเจดีย์ทรงปกติที่พระศรีรัตนเจดีย์ ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในวัด พระศรีรัตนศาสดาราม๑๓(รูป ๓๕) มงกุ ฎ ซึ่ ง พระมหากษั ต ริ ย์ ท รงสวมก็ เป็ น สั ญ - ลักษณ์ของภูมิจักรวาลหรือไตรภูมิ ในนาฏศิลป์ไทย ตัวเอก จะสวมชฎาซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับมงกุฎ (รูป ๓๖) ใน เรื่องรามเกียรติ์เศียรทั้งสิบของทศกัณฐ์ก็ไม่หนีรูปทรงของ ภูมิจักรวาล เพราะถูกจัดเรียงซ้อนเป็นชั้นๆเช่นเดียวกัน เครื่องศีรษะของเทพเจ้าหรือสัตว์แห่งชมพูทวีปในเทพนิยาย ต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นการแสดงบนเวทีละครหรือแสดงออกทาง สถาปัตยกรรม ล้วนแต่เป็นสัญลักษณ์ของภูมิจักรวาลทั้ง สิ้น และนอกจากส่วนยอดหรือองค์ประกอบต่างๆ ในสถาปัตยกรรมซึ่งได้กล่าวไว้ในเรื่องเดียวกันนี้แล้ว เครื่องตก แต่งเรือนหรือเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ โดยเฉพาะของราชสํานักและวัด มักทําเป็นฐานซ้อนกันหลายชั้นที่เรียกว่าหัวเม็ด ทรงมัณฑ์ หรือดุมหัวเสาไม้ชนิดที่เป็นเสาหลัก เรียกว่า หัวเม็ดยอดปลี เป็นต้น (รูป ๓๗)
รูป ๓๔ พระเบญจา รูปในตํารา พ.ศ. ๒๓๐๑ ว่าด้วยตัวอย่าง พระเมรุและรูปภาพสัตว์เครื่องแห่พระศพ ครั้งกรุงศรีอยุธยา ภูมิจักรวาลและไตรภูมิ มีบทบาทกําหนดรูปแบบงานสถาปัตยกรรม ทั้งใหญ่และเล็ก และไม่ว่าจะเป็นอาคาร เครื่องประดับ หรือเครื่องบูชาดังเช่น พระเบญจาในรูปนี้
รูป ๓๕ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทัศนียภาพวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มองจากท้องสนามหลวงในระหว่างพระราช พิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
๑๓ หนังสือ กุฎาคาร โดยสมภพ ภิรมย์ กรุงเทพฯ ๒๕๑๓ หน้า ๔๗ และต่อไป
๓๕
ส่วนสถูปซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของภูมิจักรวาลและ ไตรภูมิเช่นกัน ก็มีรูปทรงต่างๆ มากกว่า ๑๒ ชนิด นับแต่ เจดีย์ทรงไทยจนถึงเจดียท์ รงบาตรอันแปลกประหลาดทีว่ ดั กู-่ เต้า จังหวัดเชียงใหม่ (รูป ๓๘) เจดีย์ทรงลังกาที่วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช (รูป ๓๙) เจดีย์ทรงศิขระ ที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ เจดีย์ทรงปรางค์ต่างๆ ดังที่ ได้กล่าวถึงแล้ว ไปจนถึงสถูปทรงสี่เหลี่ยมแบบโอเบลิสค์ หากแต่เส้นตั้งโค้งของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ ลาว ซึ่งเรียกกันว่า พระธาตุ (รูป ๔๐) สถูปทั้งหมดนี้ ล้วนแต่มีรูปทรงซ้อนกันหลายชัน้ ยกเว้นพระธาตุ ซึง่ กําเนิด ของรูปทรงของพระธาตุนี้ยังเป็นเรื่องลึกลับอยู่
ฉัตร
หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงฉัตรมาแล้วหลายครั้ง ฉัตรเป็นสัญลักษณ์ของภูมิจักรวาลที่ใช้ได้ในหลายโอกาสที่ สุดในบรรดาสัญลักษณ์ทั้งหลายที่ใช้ในพิธีกรรมและสถาปัตยกรรม ฉัตรที่ใช้เป็นองค์ประกอบถาวรของสถาปัตยกรรมจะทําด้วยทองหรือโลหะผสม แต่ในพิธีกรรมธรรมดา ฉัตรจะทําอย่างง่ายๆ ด้วยไม้ไผ่บุด้วยกระดาษสําหรับนําไป ปักไว้ในที่ต่างๆ หรือสําหรับถือในกระบวนพิธี ในพิธีหลวง ฉัตรเหล่านี้จะทําอย่างพิถีพิถันและถือว่าจะขาดเสียไม่ได้ เลย ในริ้วกระบวนเคลื่อนพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ฉัตรต่างๆ ซึง่ ประดับประดา อย่างงดงามมีจํานวนถึง ๑๒๖ คัน มีคนถือเรียงเป็นแถว เคียงราชรถ ซึง่ อัญเชิญพระบรมศพและรถตัง้ ตัวสัตว์หมิ พานต์ ๘๐ ตัว พร้อมทั้งเครื่องสูงอื่นๆ ในจํานวนฉัตรที่ถือ เรียงกันนี้ ๑๖ คันเป็นฉัตร ๗ ชั้น ๙๐คันเป็นฉัตร ๕ ชั้น
และ ๒๐ คันเป็นฉัตร ๓ ชั้น ถึงแม้ฉัตรทั้งหลายนี้จะแตก ต่างกันในจํานวนชั้นแต่ก็มีต้นกําเนิดมาจากภูมิจักรวาลหรือ ระบบจักรวาลด้วยกันทั้งสิ้น โดยจํานวนชั้นที่ซ้อนต่างกันนั้น แสดงถึงขั้นศักดินาในระบบเจ้าและคณะสงฆ์ อย่างไรก็ดี ริว้ กระบวนเช่นนีใ้ นสมัยอยุธยาจะเป็นกระบวนทีแ่ ห่กนั อย่าง เอิกเกริกในแม่น้ำ ในกรณีนี้ถึงแม้จะแห่กันบนบกแต่ก็น่าสัง เกตว่าราชรถและเสลี่ยงทั้งหลายล้วนแต่มีรูปลักษณะเป็น ท้องอัสดง กล่าวคือส่วนล่างโค้งเป็นรูปเรือ และมีนาคซึ่ง เป็นสัญลักษณ์ของน้ำประดับอยูท่ ฐ่ี าน ซึง่ เท่ากับว่ากระบวน ทั้งหมดลอยแห่อยู่ในน้ำนั่นเอง (รูป ๔๑) การใช้ฉตั รเป็นเครือ่ งประดับในงานพิธตี า่ งๆ เห็น จะไม่มีพิธีใดที่สะท้อนให้เห็นถึงความหมายของภูมิจักรวาล เท่ากับการใช้ฉัตรเป็นจํานวนมากมายปักเป็นชั้นๆ เป็นเขต รอบปริ ม ณฑลที่ จ ะใช้ ในการประกอบพิ ธี ก รรมที่ สํ า คั ญ ๆ โดยตรงกลางมีฉัตร ๑๑ ชั้น ปักเป็นประธาน (รูป ๔๒) จะเห็ น ได้ ชั ด ว่ า การจั ด รู ป แบบซึ่ ง ซ้ อ นเป็ นชั้ น ๆ ปรากฏอยู่ทั่วทุกหนแห่งในสถาปัตยกรรมแม่บท ตั้งแต่ส่วน ยอดสุ ด หรื อ หลั ง คาของปู ช นี ย สถานลงมาจนกระทั่ ง ถึ ง ส่วนล่างสุดหรือฐานอาคารและกําแพงล้อมรอบบริเวณ นอก จากสถูปและอาคารในพระราชวังและวัดแล้วยังมีสิ่งก่อ สร้างอื่นๆ ที่แสดงออกซึ่งสัญลักษณ์ของภูมิจักรวาลโดย จะเป็นการตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ที่น่าจะกล่าวถึงก็มีหอกลอง โบราณ หอระฆัง หอนาฬิกา พระที่นั่งภูวดลทัศไนยในพระบรมมหาราชวัง (รูป ๔๓) และสะพานหันเดิม (รูป ๔๔) สิ่ง ก่อสร้างทั้งหมดนี้ออกแบบลดหลั่นกันเป็นชั้นๆ ทั้งนั้น
รูป ๓๖ มงกุฎ ทั้งมงกุฎและชฎา ตลอดจนเศียรทั้งสิบ ของทศกัณฐ์ ต่างมีรูปทรงอันสะท้อนให้ เห็นถึงภูมิจักรวาล โดยส่วนต่างๆ ทั้งหลาย เรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ
รูป ๓๗ หัวเม็ดยอดปลี เครื่องตกแต่งเรือน หรือเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ มักจะเป็นรูปซ้อนกันหลายชั้น เพื่อสะท้อน ให้เห็นถึงภูมิจักรวาล ยกตัวอย่างเช่น ดุมหัวเสาหรือทีเ่ รียกว่าหัวเม็ดยอดปลีเป็นต้น
๓๗
สถาปัตยกรรมบนบก
๒๕๗
รูป ๓๘ เจดีย์วัดกู่เต้า จังหวัดเชียงใหม่ สถูปที่เป็นสัญลักษณ์ของภูมิจักรวาล และไตรภูมิมีรูปทรงต่างๆ มากกว่า ๑๒ ชนิด เจดีย์ที่วัดกู่เต้านี้ ถือว่ามีทรงที่ แปลกประหลาดมากที่สุดแห่งหนึ่ง
รูป ๔๐ พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม ทรงเหมือนโอเบลิสค์ หากแต่มีเส้นโค้ง ที่มาของรูปทรงนี้ยังไม่เป็นที่แจ่มแจ้ง
๓๘ รูป ๔๑ กระบวนพยุหยาตราพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุุฬาโลกมหาราช พ.ศ. ๒๓๕๔ ในกระบวนแห่พิธีเช่นนี้มักจะมีสัญลักษณ์ ที่เกี่ยวกับระบบจักรวาลและไตรภูมิ เป็นจำนวนมาก เช่น ราชวัติ ราชรถ เสลี่ยง และสัตว์หิมพานต์ ในสมัยอยุธยา ริ้วขบวนประเภทนี้เคยทำอย่างมโหฬาร โดยความหมายที่แฝงอยู่ในสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นพญานาค ราชรถและเสลี่ยง ที่มีท้องอัสดง ริ้วกระบวนดังกล่าว ก็เปรียบเสมือนอยู่ในน้ำ รูปนี้แสดงเพียง ส่วนหนึ่งของกระบวนพยุหยาตรา
รูป ๔๒ พิธีมณฑลสังเวยเทวดา ในงานเฉลิมพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สมัยรัชกาลที่ ๕ ฉัตรทีใ่ ช้ในพิธนี ป้ี กั อยูร่ อบปริมณฑลเป็นชัน้ ๆ ตรงกลางสุดมีฉัตร ๑๑ ชั้น ดูรวมกัน แล้วเป็นรูปจำลองภูมจิ กั รวาลทีส่ มบูรณ์แบบ
๒๕๘ ภูมิหลัง
๔๑
รูป ๓๙ เจดีย์วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเจดีย์ทรงลังกา
๓๙
๔๐ รูป ๔๓ พระที่นั่งภูวดลทัศไนย เป็นสิ่งที่ก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรมฝรั่ง ผสมไทย ซึ่งนิยมใช้ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แต่ถึงกระนั้นก็ยังแสดงออกซึ่งสัญลักษณ์ ของภูมิจักรวาลโดยการทําเป็นชั้นๆ ที่ลดหลั่น รูปที่เห็นนี้เป็นแบบก่อสร้างที่ทําขึ้นมาใหม่ สําหรับโครงการรื้อฟื้นพระที่นั่งภูวดลทัศไนย ในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี โดยผู้เขียนและคณะ
รูป ๔๔ สะพานหันในสมัยรัชกาลที่ ๕ สะพานมีหลังคามุงลดหลั่นเป็นชั้นๆ เหมือนกับหลังคาวัด
๔๔ ๔๓
สถาปัตยกรรมบนบก
๒๕๙
พญานาค ในจํานวนองค์ประกอบสถาปัตยกรรมทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่มากมายนี้ไม่มีอะไรที่จะสําคัญเท่าพญานาค เพราะ ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็จะเห็นแต่พญานาคปรากฏอยู่ทั่ว ไปในรูปแบบต่างๆ กันและในจุดต่างๆ ของสิ่งก่อสร้างโดย เฉพาะอย่างยิ่งบนหลังคาจะสังเกตเห็นพญานาคอยู่ทั่วไป นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของน้ำที่ไหลลงมาจากยอดเขา พระสุเมรุแล้ว สัญลักษณ์ของน้ำไหลจากหลังคาทําให้ ต้องย้อนคิดไปถึงเรืออีก เพราะถ้านําเรือมาคว่ำลําลงเป็น หลังคาและเรือนัน้ เพิง่ เข้ามาเทียบชายฝัง่ ลําเรือยังเปียก โชกอยู่ น้ำก็จะไหลลงมาโดยรอบ อย่างไรก็ตามน้ำหรือ พญานาคซึ่ ง ไหลหลั่ ง ลงมาจากหลั ง คาทํ า ให้ เ กิ ด มี อ งค์ ประกอบสถาปัตยกรรมที่สําคัญๆ ดังนี้ นาคลํายอง ลํ า ตั ว พญานาคที่ เป็ นตั ว ไม้ ปิ ด ปลายระแนงรั บ กระเบื้องหลังคา (รูป ๔๕)
๔๕
นาคสํารวย เป็นไม้ปิดปลายระแนงเช่นเดียวกัน แต่ลักษณะ ลําตัวนาคไม่ชัดเจน (รูป ๔๖) เมื่อใช้ประกอบหน้าจั่วบ้าน ธรรมดาเรียกว่า ปั้นลม (ดูบทที่ ๔) นาคปัก นาคสามเศียรหรือห้าเศียร ชูเศียรขึ้น ใช้ปักหรือ ติดตามส่วนหักมุมหรือย่อมุมของหลังคาเครื่องยอด นาคเบือน เหมือนกับนาคปัก ยกเว้นเศียรนาคที่ซ้อนติดกัน เป็นแผงและหันหน้าออก เหรา ประติมากรรมที่อยู่บนสันหักมุมของหลังคา เป็น ลูกผสมพันธ์รุ ะหว่างพ่อทีเ่ ป็นนาคและแม่ทเ่ี ป็นมังกร (รูป๔๗) นาคสะดุ้ง พญานาคที่มีลําตัวเคลื่อนไหวเหมือนกับลูกคลื่น ใช้กับศาสนสถานในส่วนที่เป็นราวหรือกําแพง (รูป ๔๘) เนื่องจากนาคปรากฏตัวอยู่ทุกหนแห่งจึงเป็นการ ยากที่จะอธิบายวิธีการใช้ตัวสัญลักษณ์น้ำนี้ได้ในทุกกรณี นาคอาจจะไปปรากฏตัวอยูใ่ นลวดลายประดับประตูหน้าต่าง เสา บันได (รูป ๔๙) โดยยึดคติที่ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จลงมา จากดาวดึงส์โดยบันไดนาคหรือโสปาน์ ในตุงกระด้างหรือ ไม้สลักแผ่นยาวทําเป็นรูปธงประฏากสําหรับเจ้าครองนคร ทางภาคเหนือแต่ละองค์ซึ่งทําขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา และ ในส่วนประกอบของอาคารและเครื่องเรือนอื่นๆ อีกเป็น จํานวนมากซึ่งไม่สามารถนํามากล่าวในที่นี้ได้ครบถ้วน นอก จากนี้ยังมีลูกผสมระหว่างนาคกับสัตว์บกและพืชพันธ์ุป่า หิมพานต์อีกด้วย
๒๖๐ ภูมิหลัง
๔๖
โดยทั่วไป ลวดลายศิลปะและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ ใช้ในสถาปัตยกรรมแม่บทรวมทั้งนาค สามารถแบ่งออกได้ เป็นสองประเภท คือ ประเภทที่เกี่ยวกับระบบจักรวาลและ ประเภทที่เกี่ยวกับน้ำโดยตรง สัตว์บกที่ปรากฏในลวดลาย ประดับสถาปัตยกรรมจัดอยูใ่ นจําพวกแรก เช่นเดียวกับลวด ลายต้นหมากรากไม้ทป่ี รากฏในงานแกะสลักงานปูนปัน้ และ ลวดลายในภาชนะเครื่องใช้ไม้สอยเช่นหีบลายรดน้ำหรือตู้ พระไตรปิฎก ทั้งนี้เพราะเป็นการวาดภาพให้เห็นชีวิตป่า หิมพานต์ในชมพูทวีปซึ่งเป็นทวีปภูเขามุมหนึ่งในสี่มุมของ ระบบจักรวาล สัตว์ประเภทอื่น เช่น ช้างและครุฑต่างก็มี ความสัมพันธ์กับภูมิจักรวาลเพราะเป็นพาหนะของเทพเจ้า ซึ่งสถิตอยู่ในส่วนต่างๆ ของจักรวาล ตัวอย่างเช่นช้างเป็น พาหนะของพระอินทร์ (รูป ๕๐) และครุฑเป็นพาหนะของ พระวิษณุเป็นต้น
รูป ๔๕ นาคลํายอง หลังคาพระอุโบสถวัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน นาคลํายอง คือไม้ปิดปลาย ระแนงรับกระเบื้องแกะสลักเป็นรูปนาค เลื้อยลงมาจากหลังคา
รูป ๔๖ นาคสํารวย คล้ายกันกับนาคลํายอง แต่ลําตัวนาค แสดงไม่ชัดเจน รูปนี้ถ่ายที่วัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลก
รูป ๔๗ เหรา รูปปูนปั้นที่วัดพระธาตุลําปางหลวง จังหวัดลําปาง เหรา เป็นสัตว์ครึ่งนาค ครึ่งมังกร
รูป ๔๘ นาคสะดุ้ง ราวพญานาคทางขึ้นวัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน นาคสะดุ้งมีลําตัวเป็นคลื่น ดังในรูปนี้
๔๗
๔๘
๕๐ รูป ๔๙ บันไดนาค วัดพระสิงห์ อําเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงราย
๔๙
รูป ๕๐ ธงชาติเดิม ช้างเผือกเป็นพาหนะของพระอินทร์หรือ ของพระมหากษัตริย์ในคติสมมุติเทพ ธงชาตินเ้ี ดิมเป็นพืน้ แดงทัง้ หมด เพิง่ จะมีรปู ช้างบนพืน้ แดงในสมัยรัชกาลที่ ๒ เนือ่ งจาก ได้พบช้างเผือกสําคัญในรัชกาลนั้น
สถาปัตยกรรมบนบก
๒๖๑
บัว
บัวซึ่งเป็นพันธ์ุไม้น้ำมีบทบาทสําคัญคล้ายๆ กัน ในสถาปัตยกรรมแม่บท โดยธรรมชาติแล้วบัวมีความสัมพันธ์โดยตรงกับน้ำ แต่ก็เป็นพุทธสัญลักษณ์ด้วยรูปทรง ที่ใช้ในการนี้คือกลีบบัวซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญในสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา กลีบบัวดังกล่าวจะเห็นได้ ตามข้อต่อและลวดลายทั่วไป ตลอดจนตามฐานรองรับ อาคารและยอดเสา คงจะเป็นเพราะเหตุนี้เองที่คําว่าบัว เป็นคําเดียวกับรูปนูนพ้นระนาบ ประเด็นทีน่ า่ สังเกตคือเมือ่ บัวอยูท่ ฐ่ี านโบสถ์หรือเจดียแ์ ล้วจะทําให้เกิดความรูส้ กึ เหมือน ว่าสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ลอยอยู่ในน้ำ
ช่อฟ้า
สุดท้ายนี้ผู้เขียนเห็นจะต้องขอกล่าวถึงช่อฟ้าซึ่ง เป็นเครื่องไม้สูงประดับอยู่บนอกไก่ตรงบริเวณที่ไม้สํารวย หรือนาคสํารวยมาบรรจบกัน ช่อฟ้านี้จะใช้ประดับเฉพาะ พระราชวัง โบสถ์ (รูป ๔๙) วิหาร ศาลาการเปรียญ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ บางประเภทในวัดเท่านั้น ช่อฟ้ามี ความสําคัญมากน้อยเพียงใดอาจเห็นได้ดังนี้ สมมุติว่าเรา ถอดสัญลักษณ์หรือเครื่องประดับต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ข้างต้นออกไปทีละอย่างจากตัวโบสถ์หรือวิหาร เช่นถอด เอาบัวและกลีบบัวซึ่งประดับอยู่ในส่วนต่างๆ ออกไป ถอด เอาสัตว์หิมพานต์ นาคและลวดลายต่างๆ ออกไปจนไม่มี เครื่องประดับอะไรเหลืออยู่เลย ความรู้สึกเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทยแม่บทก็จะยังคงมีอยู่ตราบใดที่ช่อฟ้ายังติด อยู่บนหลังคา แต่พอถอดช่อฟ้าออกความรู้สึกดังกล่าวจะ หมดไปทั นที โดยที่จริงช่อฟ้าเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดเพราะ ไม่มีใครสามารถอธิบายที่มาได้ ทั้งรูปร่างหน้าตาของช่อฟ้า ก็มีต่างๆ กันแล้วแต่ว่าเป็นของภูมิภาคใดๆ เช่นบางแห่ง อาจปัน้ เป็นรูปสัตว์ธรรมดาหรือเป็นสัตว์หมิ พานต์กไ็ ด้ อย่าง ไรก็ดมี ผี ทู้ ไ่ี ด้พยายามอธิบายรูปลักษณะและความหมายของ ช่ อฟ้าไว้ต่างๆ นานา ดังนี้ - รูปครุฑจับนาค ในเมือ่ ครุฑเป็นพาหนะของพระ วิษณุ จึงสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้ระหว่างพระวิษณุ (โดย บริวารของพระวิษณุ) และพญานาครอบเขาพระสุเมรุ - รูปคล้ายหงส์หรือนกในเทพนิยาย ตลอดจนรูป ของช่อฟ้าที่มีลักษณะคล้ายเรือหงส์ ชาวพม่าถือว่าช่อฟ้า ของเขาเป็นรูปหงส์จริงๆ - เป็นคําย่อจากฉัตรสวรรค์ช่อฟ้า ซึ่งหมายถึง แดนสวรรค์ทั้งหกชั้น - เป็นการผสมคําระหว่างคําว่าช่อและฟ้า ช่อ หมายถึงพวง ส่วนฟ้าหมายถึงส่วนเบือ้ งบนหรือแดนสวรรค์ อย่างไรก็ตามนอกจากช่อจะหมายถึงพวงแล้วยังหมายถึง
๒๖๒ ภูมิหลัง
สิ่งที่ยื่นออกไป ดังนั้นช่อฟ้าอาจหมายถึงการยื่นออกไปสู่ แดนสวรรค์ก็ได้ อีกประการหนึ่งช่อในภาษาเหนือหมายถึง ธง คําว่าช่อฟ้าจึงอาจแปลความหมายตามนั้นได้เหมือนกัน - อาจหมายถึงเขาสัตว์ ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย บ้านเรือนของชนบางเผ่าประดับด้วยเขาสัตว์บนยอดหลัง คา ผู้เขียนเองไม่ค่อยจะเชื่อในแนวความคิดนี้ - อาจหมายถึงหัวไก่ เป็นการแปลความหมาย อย่างง่ายๆ ของชิ้นส่วนไม้ที่ติดอยู่กับชิ้นไม้บนหลังคาที่ เรียกว่าอกไก่ - อาจหมายถึงคันไถ เป็นความหมายทางด้าน เกษตรกรรมซึ่งปกติมิได้มีส่วนสะท้อนในสถาปัตยกรรมไทยเลย นอกจากนี้ผู้เขียนขออธิบายความหมายของช่อ ฟ้าซึ่งอาจจะเป็นไปได้เพิ่มเติมอีกดังต่อไปนี้ - อาจหมายถึงหางเสือ เป็นการอธิบายทีเ่ กีย่ วกับ เรือซึ่งน่าคิด เพราะมีตัวอย่างปรากฏอยู่หลายแห่ง เช่นใน เมืองจีน หลังคาหลายแห่งมีสันเป็นรูปเรือ - รูปหัวพญานาคตรงกลางสันหลังคา มักจะมี ปราสาทองค์เล็กๆ หรือฉัตรตั้งอยู่ ซึ่งมีความหมายถึงเขา พระสุเมรุ และน้ำจะต้องไหลลงไปจากจุดนี้ ซึ่งใช้พญานาค หรือมังกรเป็นสัญลักษณ์ ดังนั้นหัวพญานาคจะต้องพุ่งไปสู่ จั่วหลังคาและหยุดพัก ณ ที่นั้น ก่อนที่จะหันหัว ไหลต่อลง ไปเป็นรูปลํายอง สรุปแล้วความหมายที่แท้จริงของช่อฟ้า ควรเป็นพญานาค เพราะเป็นความหมายทีโ่ ยงกลับไปถึงเหตุ การณ์ทไ่ี ด้เกิดขึน้ ในระบบภูมจิ กั รวาลกล่าวคือการกวนเกษียร สมุทรโดยพระวิษณุหรือการต่อสูร้ ะหว่างพระอินทร์กบั พญา นาคบนเขาพระสุเมรุ ซึ่งทําให้พญานาคต้องพ่ายแพ้และ ต้องปล่อยให้น้ำไหลหลากลงมาหล่อเลี้ยงชีวิตบนโลก คราวนี้ ล องย้ อ นกลั บ ไปพิ จ ารณาถึ ง โบสถ์ ห รื อ วิหารซึ่งเมื่อสักครู่ได้ถูกถอดเครื่องประดับออกไปจนหมด สิ้น คงเหลือไว้แต่เพียงผนังสี่ด้านกับหลังคาเปล่าๆ สมมุติ ว่าลองใส่เครื่องประดับคืนกลับเข้าไปทีละชิ้นๆ จากข้าง ล่างไปสู่ข้างบน จนกระทั่งในที่สุดยกช่อฟ้ากลับขึ้นไปตั้งบน หลังคา ในทันทีที่ช่อฟ้ากลับเข้าสู่ที่เดิมเราจะรู้สึกว่าความ สมบูรณ์แบบได้กลับคืนมาทันที เสมือนหนึ่งช่อฟ้านี้เป็น จุดรวมแห่งความศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดในสถาปัตยกรรมไทย แม่บท
บทที่ ๖ ลักษณะชุมชนและผังเมือง “น้ำ” ในตํานานสร้างเมืองของไทย
“น้ำ” ในตํานานสร้างเมืองของไทย ตํานานนางนาคและพระทอง การวางผังเมืองของเขมร ร่องรอยของผังเมืองเขมรที่สุโขทัย “ลักษณะไทย” ที่สุโขทัย แหล่งเมืองโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทย เมืองรูปหอยสังข์ หอยสังข์และนารายณ์อวตาร สภาพภูมิศาสตร์ของที่ราบลุ่มภาคกลาง ชุมชนสะเทินน้ำสะเทินบก ชุมชน “ชาวเล” กําเนิดกรุงศรีอยุธยา ความหมายของชื่อเมือง ความหมายของหลักเมือง เมืองเก่าก่อนอยุธยา การวางผังเมืองของอยุธยา ระบบการควบคุมน้ำ บทบาทของน้ำในระบบการป้องกันข้าศึก สัญลักษณ์ของระบบจักรวาล ป้อมค่ายแบบยุโรป การสร้างเมืองบางกอก กําเนิดของกรุงเทพมหานคร ลักษณะยืดหยุ่นของระบบผังเมืองไทย กรุงเทพฯ เมืองน้ำ อิทธิพลของการดํารงชีวิตแบบตะวันตก
“ในกาละเมื่อน้ำล้างโลกโบราณกัปแล้ว ภัทรกัปนี้ตั้งขึ้นใหม่ น้ำลดน้อยถอยแห้งลงไป ที่ดอนเขินก็ผุดขึ้นเป็นภูเขา ที่ราบลุ่มก็ยังเป็น ห้วงน้ำน้อยใหญ่อยู่เป็นแห่งๆ...” นีค่ อื ถ้อยคําในสุวรรณโคมคําหรือตํานานเชียงแสน โบราณ ตํานานนี้กล่าวต่อไปว่าภายหลังที่แผ่นดินผุดเกิดขึ้น มาแล้ว ผู้คนจึงได้ตั้งบ้านเมืองเป็นหลักแหล่งในแคว้นแห่ง หนึ่งซึ่งมีชื่อว่าสุวรรณโคมคํา ปรากฏว่ามีผู้นําของเผ่าไทย เผ่าหนึ่งมีพระนามว่า สิงหนวัติกุมาร ได้พาบริวารมาตั้ง เมืองชือ่ นาคพันธ์ุ (หรือนาเคนทร์) เมือ่ ก่อนพุทธกาล ๑๓๒ ปี๑ โดยที่จริงเรามิได้สนใจว่าตํานานนี้ถูกต้องหรือไม่ และที่ได้อ้างถึงยุคก่อนพุทธกาลตั้งนานเช่นนั้น รวมถึงการ อ้างถึงแคว้นสุวรรณโคมคําจะมีมูลฐานทางด้านประวัติศาสตร์ถูกต้องเพียงใด แต่ที่เราสนใจก็คือแนวความคิด เกี่ยวกับระยะแรกเริ่มของโลกมนุษย์ซึ่งคล้ายคลึงกับแนว ความคิดในอารยธรรมอื่นๆ เช่น อารยธรรมโพลีนีเซียและ อารยธรรมสุเมเรีย กล่าวคือในระยะแรกเริ่มนั้นโลกนี้เต็ม ไปด้วยน้ำ และอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ชนเผ่าซึ่งมี ชือ่ ว่านาค (นาคพันธ์)ุ ได้พากันมาตัง้ รกรากในถิน่ ฐานบริเวณ ดังกล่าว ถ้าคิดย้อนไปถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ชนเผ่า นาคก็จะต้องตรงกับชาวน่านน้ำ และชาวน่านน้ำนี้จะต้อง อพยพเข้าสู่ชายฝั่งทะเลของทวีปเอเชียตะวันออกไกลและ ตะวันออกเฉียงใต้เป็นระลอกๆ ตั้งแต่ปลายยุคน้ำแข็งเป็น ต้นมา ด้วยเหตุนแ้ี คว้นแผ่นดินบางแห่งจึงมีชอ่ื เกีย่ วกับนาค เช่น นาเคนทร์และแคว้นนาคา (นาคาแลนด์) ในประเทศ อินเดีย เป็นต้น ซึ่งนอกจากพาดพิงไปถึงชาวน่านน้ำแล้ว บางแห่งยังหมายถึงที่ตั้งของประเทศหรือเมืองซึ่งมีความ สัมพันธ์ใกล้ชดิ กับน้ำอีกด้วย แผ่นดินนาคทีพ่ ดู ถึงนีเ้ ป็นสัญ- ลักษณ์และความรู้สึกภายใต้จิตสํานึกของคนเช่นเดียวกับ ความรู้สึกเกี่ยวกับเขาพระสุเมรุ เพราะฉะนั้นไม่ว่าฝูงชนจะ อพยพไปที่ใดความรู้สึกดังกล่าวก็ติดตัวตามไปเป็นแรงดัน ในการสร้างถิ่นฐานและสิ่งต่างๆ ให้แสดงออกซึ่งความรู้สึกนี้
๑ พงศาวดารโยนก (ฉบับหอสมุดแห่งชาติ) โดยพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) กรุงเทพฯ ๒๕๐๔ หน้า ๔, ๕ และ ๑๒๗
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๖๓
ตํานานนางนาคและพระทอง
ทั้ ง ไทยและเขมรมี นิ ย ายเล่ า ต่ อ กั น มาว่ า ที่ บ้ า น เมืองมีขึ้นมาได้ก็เพราะว่าเจ้าครองนครองค์แรกซึ่งมีพระ นามว่าพระทองได้อภิเษกสมรสกับธิดาของพญานาค ทําให้ พญานาคกลืนน้ำซึ่งท่วมดินแดนนั้นอยู่จนพื้นแผ่นดินแห้ง กลายเป็นประเทศขึ้นมาชื่อว่า กัมพูชา โดยที่จริงเรื่องนี้พอ สอดคล้องกับเรื่องราวของโจวตากวนซึ่งเป็นทูตจีนในนคร หลวงปี พ.ศ. ๑๘๔๐ และได้เขียนเล่าไว้ว่าภายในพระราชวัง ซึ่งเต็มไปด้วยสระน้ำ มีนางพญานาคเก้าเศียรผู้ครองประ เทศโดยแท้จริงพํานักอยู่ ทุกคืนนางพญานาคจะแปลงร่าง เป็นสตรีเพื่อให้พระราชาสมสู่ก่อนที่จะได้เข้าบรรทมต่อไป กับมเหสีองค์อื่นๆ ถ้าหากคืนใดนางพญานาคไม่ปรากฏกาย ก็หมายถึงความหายนะของกษัตริย์องค์นั้น เรื่องการอภิเษกสมรสระหว่างพระทองและธิดา พญานาคซึ่งถ่ายทอดกันมาจนถึงปัจจุบันด้วยรูปแบบของ ศิลปกรรม วรรณกรรมและนาฏศิลป์ แสดงให้คนรุ่นหลัง ได้เห็นถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างมนุษย์และธาตุน้ำ ไม่ว่ามนุษย์จะอพยพไปตั้งถิ่นฐาน ณ ที่ใด ความสัมพันธ์ดัง กล่าวก็เปรียบเสมือนเงาซึ่งตามติดตัวไปปรากฏอยู่ ณ ที่ นั้นด้วย หากแต่การแสดงออกอาจจะเป็นไปในหลายๆ ทาง ทางหนึ่งซึ่งเห็นได้ชัด และผู้เขียนจะอธิบายต่อไปก็คือ การวางผังเมือง
พยายามที่จะให้เมืองสะท้อนภาพเขาพระสุเมรุล้อมรอบ ด้วยมหาสมุทรจําลอง๒ ผังเมืองซึ่งเป็นแบบฉบับที่ลงตัว และสมบูรณ์ที่สุดก็คือนครหลวงซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เป็นผู้สร้างในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ (รูป ๓) ผังเมืองทีก่ ล่าวถึงนีป้ ระกอบด้วยทวีป ภูเขากลาง ใจเมืองคือปราสาทบายน ห้อมล้อมด้วยทวีปภูเขาเป็นชั้นๆ และรองกันลงมา ซึ่งได้แก่ปรางค์รอบนอกถัดมาจากบายน และมหาสมุทรระหว่างทวีปภูเขาซึ่งผู้วางผังเมืองใช้คูคลอง และสระหรือบารายเป็นสัญลักษณ์แทน รอบนครทัง้ สีด่ า้ น มีคูเมืองสองชั้นมีทางข้ามออกไปจากประตูเมือง ราวหิน สองข้างทางข้ามสลักเป็นรูปเทวดาและรูปยักษ์ดึงพญา นาค ทําให้เมืองทั้งเมืองมีความหมายตามคติภูมิจักรวาล มีพระวิษณุบงการต่อสู้กับพญานาคอยู่
การวางผังเมืองของเขมร
แนวความคิดของพวกเขมรเกี่ยวกับการวางผัง เมืองนั้นกว้างขวางมาก แทนที่จะพิจารณาแต่เพียงข้อมูล ด้านเศรษฐกิจ ประชากรศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วิศวกรรม และศาสตร์อื่นๆ ในเชิงกายภาพซึ่งนักผังเมืองส่วนใหญ่ใน สมัยนีจ้ ะต้องถือว่าถูกต้องแล้ว ชาวเขมรจะพิจารณาข้อมูล กว้างกว่านั้นอีก จริงอยู่ในระบบเมืองของชาวเขมรข้อมูล ทางด้านกายภาพเช่นระบบการทดน้ำมีบทบาทอันสําคัญยิ่ง แต่ในการวางผังเมือง นักผังเมืองเขมรยังต้องรวมเอาข้อ กําหนดด้านอกายภาพ (non-physical) เข้ามาผนวกกับข้อ กําหนดด้านกายภาพอีกด้วย สรุปแล้วเมืองของชาวเขมร จะต้องมีความกลมกลืนไปกับทุกสิ่งทุกอย่าง และในเวลา เดียวกันจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงระบบจักรวาลภายใต้จิตสํา นึกอีกด้วย กว่าจะหาสูตรผังเมืองได้ลงตัว ชาวเขมรและ บรรพบุรุษของชาวเขมรต้องใช้เวลาถึงสิบศตวรรษ คือตั้ง แต่สมัยสร้างเมืองออกแก้วในพุทธศตวรรษที่ ๗ จนถึงสมัย สร้างนครหลวงครัง้ ทีส่ ามซึง่ เป็นครัง้ สุดท้ายในพุทธศตวรรษ ที่ ๑๗ (รูป ๑, รูป ๒) ในระยะต้นๆ ความลังเลใจในการย้าย เมืองหลวงอยูบ่ อ่ ยๆ โดยเฉพาะระหว่างทีด่ อนและทีร่ าบลุ่ม น้ำท่วมถึงทําให้ต้องเปลี่ยนรูปลักษณะเมือง โดยแต่ละครั้ง
๒๖๔ ภูมิหลัง
๑
๒ ดูรายละเอียดในบทความโดยสุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา อ้างถึงแล้ว หน้า ๑๘๔-๖
รูป ๑ แผนที่ประเทศกัมพูชา ลําดับที่ตั้งราชธานีตั้งแต่ออกแก้วจนถึง นครธม เลขที่แสดงลําดับมีชื่อกํากับ อยู่ในรูปที่ ๒
รูป ๒ แผนภูมิแสดงลําดับที่ตั้งราชธานีตั้ง แต่ออกแก้วจนถึงนครธม ชาวเขมรลังเลใจอยู่นานในการหาทําเล สร้างเมือง ว่าควรจะอยู่ในที่น้ำหลากถึง หรืออยู่บนที่สูง แต่ในที่สุดก็มาสร้างเมือง นครธมในที่ลุ่มใกล้ทะเลสาบ
๓
รูป ๓ ผังเมืองนครธม แสดงเฉพาะเขตกําแพงเมืองและบริเวณ รอบๆ จะเห็นได้ว่า เมืองเต็มไปด้วยทํานบ คูคลองที่ประสานกันอย่างเป็นระเบียบ
ร่องรอยของผังเมืองเขมรที่สุโขทัย
๓
เมื่อคนไทยเข้ามาปักหลักตั้งตัวขึ้นเป็นอิสระใน ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศกัมพูชาในพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙ คนไทยได้ยึดสุโขทัยซึ่งเป็นเมืองของเขมรไว้ได้ ซึ่ง เมืองเขมรอาจจะตรงกับแนวซากกําแพงและคูเมืองสีเ่ หลีย่ ม ผืนผ้ากว้าง ๑,๔๐๐ เมตร ยาว ๑,๖๐๐ เมตรที่ยังเหลือ อยู่ (รูป ๔) โบราณสถานซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างของเขมรได้แก่ ศาลตาผาแดง วัดศรีสวายและวัดพระพายหลวง โบราณสถาน แห่ ง ที่ ส ามนี้ มี ค วามสํ า คั ญ เป็ น พิ เศษเพราะทิ ศ ทางและ ลักษณะการวางผังบริเวณของวัดมีความสัมพันธ์กับโครง สร้างผังเมืองสุโขทัย โดยลักษณะภูมิประเทศรอบเมืองสุโขทัย ในฤดู ฝนน้ำจะไหลหลากมาจากภูเขาด้านทิศตะวันตกลงสู่พื้นราบ ด้านทิศตะวันออก แต่แถบชานเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียง เหนือ น้ำจะไหลหลากมาจากด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยมีคลองธรรมชาติชอ่ื คลองแม่ราํ พันไหลนําทางมา ลักษณะ ภูมิประเทศและความเอียงลาดของพื้นที่ดังกล่าว เข้ากันได้ ดีกับการวางผังเมืองแบบเขมรดังเช่นที่นครหลวง (นครธม) ในประเด็นนี้ สิง่ ทีน่ า่ สังเกตก็คอื สระน้ำขนาดใหญ่ซง่ึ เขมรเรียก ว่าบาราย เป็นสระรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าอยูต่ ดิ กับเขตวัดพระพาย หลวงด้านทิศตะวันตก และยาวไปตามแกนเดียวกันกับแกน ตะวันออก-ตะวันตกของวัด ถึงแม้มสี ระขุดอยูจ่ าํ นวนหนึง่ รวมอยูด่ ว้ ยซึง่ ก็คงจะเป็นสระขุดขึน้ ภายหลัง บารายนี้มิได้ เป็นสระขุด หากแต่มีทํานบเป็นขอบกักน้ำไว้ภายใน ซึง่ เป็น วิธเี ดียวกับทีเ่ ขมรใช้สร้างบารายทัว่ ไป ในด้านสัญลักษณ์บารายที่สุโขทัยเปรียบเสมือนมหาสมุทรในระบบจักรวาลเช่น เดียวกับบารายทีเ่ มืองปราสาทหินอืน่ ๆ ของเขมร แต่ในเวลา เดียวกันวัดพระพายหลวงเองก็ยังมีคูส่เี หลี่ยมล้อมรอบเป็น
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๖๕
๔
สัญลักษณ์ของภูมจิ กั รวาลอยูใ่ นตัวอีกต่างหาก ทัง้ บารายและ คูสี่เหลี่ยมเรียงต่อกันไปในแกนเดียวกัน และช่วยกันเสริม ความสําคัญในด้านความคิดเกี่ยวกับภูมิจักรวาลให้กับเมือง ในส่วนรวมทั้งหมด ครั้งหนึ่งในอดีต คลองแม่รําพันคงถูกบังคับให้ เปลี่ยนแนวเป็นเส้นตรงลงมาทางทิศใต้เพื่อระบายน้ำเข้า บาราย คูเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และคลอง ต่างๆ ซึ่งยังพอมองเห็นเป็นแนวในรูปถ่ายทางอากาศ ถัด ลงมาเล็กน้อยลําคลองก็ไหลคดเคี้ยวตามธรรมชาติต่อไป ทางทิศตะวันออก นอกจากนี้ยังมีคลองเล็กๆ อีกคลอง หนึ่งไหลลงมาจากเขื่อนน้ำโบราณด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ซึง่ น้ำจากคลองนีจ้ ะไหลตรงเข้าสูค่ เู มืองด้านทิศใต้ แล้วไหล อ้อมกําแพงเมืองตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ ไปเข้าคลอง แม่รําพันทางด้านทิศตะวันออก รอบๆ เมืองมีแนวคันดินอยู่หลายแห่ง เช่นถัดไป จากบารายทางด้านทิศตะวันออกมีคันดินสองหรือสามแนว ซ้อนกันอยู่ ซึ่งเป็นคันดินสําหรับกั้นมิให้น้ำที่อาจซึมออกมา จากท้ายบารายไหลไปที่อื่น นอกจากนี้ยังมีแนวคันดินแถบ อื่นๆ ของเมืองซึ่งปรากฏอยู่อย่างระเกะระกะเหมือนกับว่า เพิ่งจะสร้างเพิ่มขึ้นภายหลังเพื่อกั้นน้ำหรือชักน้ำเข้าเมือง
๒๖๖ ภูมิหลัง
หากเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างตัวเมืองสุโขทัยและวัดพระพายหลวงกับความสัมพันธ์ระหว่างนครธม และนครวัด จะเห็นได้ว่ามีอะไรที่คล้ายคลึงกันมากในแง่ ของการวางผัง สิ่งที่น่าสนใจก็คือผังบริเวณวัดหรือนครวัด ซึ่งตั้งอยู่ในแนวขนานกันกับแกนผังเมืองรวม (โดยที่จริง แกนของวัดพระพายหลวงเอียงไปเล็กน้อย) ทั้งนี้เพราะ เป็นสิ่งที่เสริมความสมบูรณ์แบบให้แก่โครงสร้างของผังใน ส่วนรวม ทั้งหมดนี้ชวนให้คิดว่าแนวผังที่ยังเห็นอยู่ที่สุโขทัย คงจะต้องเป็นเมืองสมัยเขมรเป็นแน่ นอกจากนี้ถ้าเมืองดัง กล่าวเป็นเมืองเขมรมาก่อน กําแพงดินสามชั้นที่เรียกว่าตรีบูร ซึ่งในศิลาจารึกภาษาไทยอธิบายว่าสามารถป้องกันบ้าน เมืองได้อย่างดีนั้น ก็คงจะต้องเคยทําหน้าที่เป็นทํานบกัก น้ำให้เกิดเป็นคูแบบยกระดับขึ้นสองชั้นรอบเมือง ดังเช่น ที่นครหลวง (นครธม) และพระคานในจังหวัดกําปงสวาย (รูป ๕) ในส่วนที่กําแพงถูกเจาะออกมาเป็นป้อมและประตู เมืองนั้นเป็นเรื่องที่คงเกิดขึ้นภายหลังเมื่อเลิกใช้ทํานบกัก น้ำแล้ว สิ่งที่น่าสังเกตก็คือตําแหน่งประตูสี่ด้านของเมือง นั้นเฉไม่ตรงกัน ซึ่งถ้าหากเขมรเป็นผู้สร้างแล้วจะไม่ปล่อย ให้เฉเป็นแน่ การทีเ่ ขมรล้อมเมืองด้วยคูเป็นชัน้ ๆ เช่นนีเ้ ท่ากับ ว่าเมืองทั้งเมืองเป็นหุ่นจําลองภูมิจักรวาล ซึ่งจะต้องมีเขา พระสุเมรุ อยู่ตรงจุดศูนย์กลางหรือกลางใจเมือง ผู้เขียน
รูป ๔ ผังเมืองสุโขทัยเก่า รูปถ่ายทางอากาศ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ยังเหลือซากอยู่นี้ อาจเป็นเมืองเดิมของเขมรซึ่งไทยเรา ได้ยึดมา สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือสระน้ำ ขนาดใหญ่ด้านทิศตะวันตกซึ่งเขมรนิยม สร้างเรียกว่า บาราย
รูป ๕ ผังปราสาทหินพระคาน ในจังหวัดกําปงสวาย ประเทศกัมพูชา กําแพงดินสามชั้นที่สุโขทัยหรือตรีบูรนั้น เดิมคงเป็นทํานบกักน้ำให้เกิดเป็นคูสองชั้น ซึ่งเป็นเรื่องของการวางผังเมืองให้สะท้อน รูปภูมิจักรวาล ดังเช่นคูสองชั้นที่นครธม และที่ปราสาทหินพระคานนี้
๕
ยังหาเขาพระสุเมรุนี้ไม่พบ แต่จุดศูนย์กลางที่ควรจะต้องมี นี้จะตรงกับวัดชนะสงคราม
“ลักษณะไทย” ที่สุโขทัย
ภายในสุโขทัยและบริเวณรอบๆ จํานวนโบราณ สถานทั้งสิ้นมีอยู่ ๑๐๙ แห่ง หากเปรียบเทียบกับนครหลวง (นครธม) แล้ว สุโขทัยมีโบราณสถานมากกว่า เพียงแต่สิ่ง ก่อสร้างมีขนาดเล็กกว่ากันมาก นอกจากโบราณสถานแล้ว เมืองสุโขทัยคงเต็มไปด้วยบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้าง ที่ เป็นโครงไม้ยกพื้นใต้ถุนโล่ง แต่เนื่องจากเป็นไม้ ร่องรอย จึงไม่มีเหลืออยู่เลย ยกเว้นหลุมเสาไม้บนฐานเนินปราสาท เท่านั้น สิ่งก่อสร้างที่สุโขทัยล้วนแต่เป็นแบบไทยทั้งสิ้น ยกเว้นโบราณสถานเขมรสามแห่งดังกล่าวข้างต้น สิ่งใดที่ เขมรได้สร้างไว้มากกว่านี้คงจะถูกคนไทยรื้อหรือสร้างทับ ไปแล้วจนหมดสิ้น ลักษณะโบราณสถานไทยนั้นเห็นได้ชัด เพราะนอกจากลักษณะสถาปัตยกรรมแล้ว สถานทีต่ ง้ั สิง่ ก่อ สร้างยังกระจัดกระจายโดยไม่มีความสัมพันธ์กับโครงผัง เมืองส่วนรวมแต่อย่างใด ลักษณะการจัดผังเมืองอย่างไม่ มีระบบแบบแผนหรือ “อย่างไรก็ได้” นั้น ก็เหมือนกับสถา-
ปัตยกรรมแม่บทที่รับทอดมาจากเขมรและจากที่อื่นๆ ซึ่ง ถูกผสมกับสัญชาตญาณของชาวน้ำของคนไทยที่ต้องการ ทําอะไรง่ายๆ ดังนั้นในขณะที่เขมรต้องสร้างปราสาทหิน หรือเมืองทั้งเมืองให้เป็นสัญลักษณ์ของภูมิจักรวาล คน ไทยจะสร้างเพียงแต่ส่งิ ละอันพันละน้อยพอเป็นสัญลักษณ์ แล้วก็จัดให้อยู่กระจัดกระจายปะปนไปกับบ้านเรือนโดย ไม่ต้องคํานึงถึงผังที่เป็นระบบตายตัว ที่ว่าคนไทยไม่ยอมคิดอะไรให้เป็นระบบที่สมบูรณ์ แบบนั้นสามารถเห็นได้ชัดที่สุโขทัย เพราะเมื่อยึดเมืองจาก เขมรได้แล้ว ปัญหาที่ตามมาก็คือ ทําอย่างไรจึงจะให้ระบบ ทดน้ำทีเ่ ขมรได้สร้างไว้ทาํ งานต่อไปได้ การทํางานของระบบ ที่กล่าวถึงนี้รวมถึงการเก็บสถิติน้ำฝน น้ำหลาก ระดับน้ำ ต่างๆ ความเอียงลาดของพื้นที่ การเปิดปิดประตูน้ำและ ท่อลอดทํานบ ตลอดจนการดูแลขุดลอกคลองและบาราย อยู่ตลอดเวลา ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่จะต้องทําต่อจากเขมร หากจะให้ระบบน้ำใช้การต่อไปได้ คนไทยคงไม่เข้าใจหรือ มิฉะนั้นก็ไม่สนใจต่อระบบดังกล่าว ไม่ช้าทํานบก็ทรุดพัง บารายและคลองตื้นเขินและประตูน้ำใช้การไม่ได้ แต่ ค นไทยมี สั ญ ชาตญาณอยู่ อ ย่ า งหนึ่ ง ที่ ทํ า ให้สามารถปรับตัวเองเข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ ได้เสมอ
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๖๗
กล่าวคือเมื่อไม่ใช้ระบบทดน้ำอันยุ่งยากของเขมรแล้ว ก็ สามารถหาวิธีอื่นมาทดแทนเพื่อความอยู่รอดไปได้เหมือน กัน ในกรณีนั้นก็คือการขุดบ่อและสระซึ่งทําให้เมืองมีน้ำ ใช้ตลอดปี จากการขุดค้นของกรมศิลปากรปรากฏว่า จํานวน บ่อและสระน้ำที่สุโขทัยมีทั้งหมดถึง ๔๒๔ แห่ง๓ หรือ อาจ มีมากกว่านี้ ทั้งนี้เนื่องจากงานขุดค้นยังคงดําเนินต่อไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ดี ถึงแม้คนไทยไม่สนใจต่อระบบควบคุม น้ำ แต่ธาตุน้ำมีความผูกพันกับคนไทยและวัฒนธรรมไทย อย่างลึกซึ้ง ในสมัยสุโขทัย มีวรรณคดีและสุภาษิตเกี่ยวกับ น้ำเกิดขึ้นมาก เช่นสุภาษิตพระร่วงซึ่งกล่าวว่า “น้ำเชี่ยว อย่าเอาเรือขวาง” เป็นต้น นอกจากนี้ศิลาจารึกยังได้กล่าว ถึงสถานที่แห่งหนึ่งในเมืองสุโขทัยที่เรียกว่า “ทะเลหลวง” โดยทั่วไปแล้วสถานที่ตั้งตัวเมืองคงมีลักษณะเป็นที่บกมาก เกินไปสําหรับสัญชาตญาณทางน้ำของประชาชน และอาจ เป็นเพราะเหตุนเ้ี องสุโขทัยจึงไม่เคยเป็นเมืองทีร่ งุ่ เรืองอย่าง แท้จริง สุโขทัยปกครองตนเองเป็นอิสระอยูไ่ ม่ถงึ ๑๕๐ ปี และในปี พ.ศ. ๑๙๒๑ ต้องตกไปเป็นเมืองขึน้ ของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มทางทิศใต้อันเป็นบริเวณที่มีน้ำท่วม เป็นประจํา ในแผ่นดินสยามโดยทัว่ ไป ปรากฏว่ามีหลายเมือง ที่แสดงออกซึ่งลักษณะการวางผังเมืองแบบเขมรทั้งที่อาจ จะไม่เคยเป็นเมืองของเขมรมาก่อนเลยก็ได้ อาจารย์ทิวา ศุภจรรยา นักค้นคว้ารูปแบบเมืองโบราณในเมืองไทยได้ กล่าวว่า ในจํานวน ๙๐๐ กว่าเมืองที่ได้ค้นพบและศึกษา จากรูปถ่ายทางอากาศ มีหลายเมืองที่มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งอาจเป็นเมืองของชาวเขมรมาแต่เดิม แต่ทั้งนี้ก็มิได้หมายความว่าถ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมแล้วจะต้อง เป็นเมืองเขมรเสมอไป ดังเช่นในกรณีเมืองเชียงใหม่ซึ่ง หากดูเผินๆ แล้วทําให้เข้าใจว่าได้รับอิทธิพลมาจากเขมร เพราะนอกจากกําแพงเมืองรูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั แล้ว ยังมีเมือง ที่มีวัดรูปสี่เหลี่ยมเป็นประธานซึ่งได้แก่วัดสวนดอก ตั้งอยู่ นอกกําแพงด้านทิศเหนือเหมือนนครธม-นครวัดอีกด้วย (รูป ๖)๔ ประวัติความเป็นมาของผังเมืองเชียงใหม่มีอยู่ชัด เจนว่า เดิมเชียงใหม่เป็นเมืองใหญ่โตกว่าเมืองสี่เหลี่ยมนี้ มากและเป็นรูปวงรี (รูป ๗) ส่วนกําแพงเมืองสี่เหลี่ยม จัตุรัสเพิ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๙ ซึ่งเป็นสมัยที่ห่างกับ สมัยเขมรมาก โดยมีจดุ ประสงค์ทจ่ี ะลดขนาดเมืองให้เล็กลง ทั้งนี้เพราะสงครามที่มีต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานานทําให้ ประชากรลดจํานวนลงไปมาก
๖
๓ หนังสือ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย แผนแม่บท กรมศิลปากร กรุงเทพฯ ๒๕๒๑ หน้า ๑ ๔ กําแพงดินทรงกลมมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเรียกว่า เวียงเจ็ดริน ยังคงเป็นเรื่องลึกลับ
๒๖๘ ภูมิหลัง
๗
รูป ๖ นครเชียงใหม่ รูปถ่ายทางอากาศ แต่เดิมผังเมืองเชียงใหม่เป็นวงรี เพิ่งมา ลดขนาดและแปรรูปเป็นเมืองสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั ในสมัยรัชกาลที่ ๑
แหล่งเมืองโบราณ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งซึ่งอาจารย์ทิวา ได้กล่าวไว้ก็คือ เมืองรูปสี่เหลี่ยมส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ในภาค อีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามชายแดนระหว่างไทยกับ กัมพูชา๕ นอกจากนี้แล้วเมืองรูปสี่เหลี่ยมมักจะมีคันดินรูป สี่เหลี่ยมปรากฏอยู่ใกล้ๆ กันอีกด้วย ทั้งหมดนี้ชวนให้คิดว่า ชุมชนดังกล่าวเคยมีบารายขังน้ำไว้ใช้ ปัจจุบันชาวบ้านส่วน ใหญ่ได้ดัดแปลงใช้บารายเป็นนารวม และเนื่องจากบาราย เคยเป็นสถานที่กักน้ำและที่ตกตะกอนของดินปุ๋ยธรรมชาติ มาแต่เดิมจึงเป็นที่เพาะปลูกข้าวได้อย่างดียิ่ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่เรารู้จักน้อย ที่สุดในแง่ของวิวัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ และที่ น่าแปลกประหลาดก็คอื ในจํานวน ๙๐๐ กว่าเมืองซึง่ อาจารย์ ทิวาค้นพบ ประมาณ ๕๐๐ เมืองตั้งอยู่ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ๖ (รูป ๘) ดังนั้นภาคที่กันดารและยากจนที่สุดใน ปัจจุบัน ครั้งหนึ่งจะต้องเป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดไม่ เฉพาะแต่ในประเทศ หากแต่ในเอเชียอาคเนย์ทั้งหมดด้วย ก็ว่าได้ ทั้งนี้เพราะไม่มีที่ไหนอีกแล้วที่จะมีเมืองโบราณจํา นวนมากมายรวมกันอยู่ถึงเพียงนี้ เรื่องนี้น่าจะได้มีการค้น คว้าอย่างจริงจังต่อไปเพราะเป็นเรื่องที่สําคัญยิ่งสําหรับ ภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ทั้งหมด
รูป ๘ แผนที่ภาคอีสาน แสดงที่ตั้งเมืองโบราณ อาจารย์ทิวา ศุภจรรยา ผู้ค้นคว้าและจัดทํา แผนที่นี้ ได้ค้นพบเมืองโบราณมากกว่า ๙๐๐ แห่งทั่วประเทศ ในจํานวนนี้ประมาณ ๕๐๐ แห่งอยู่ในภาคอีสาน
รูป ๗ ป้อมกลมมุมกําแพงวงรีรอบนอก นครเชียงใหม่ รูปถ่ายประมาณสมัยรัชกาลที่ ๖
๕ งานค้นคว้าของอาจารย์ทิวายังมิได้พิมพ์ เผยแพร่อย่างจริงจัง การเผยแพร่นจ้ี ะเป็น ประโยชน์ตอ่ การศึกษาเป็นอันมาก แต่อาจ กลายเป็นคู่มือของโจรผู้ร้ายและพ่อค้า วัตถุโบราณในการขุดแสวงหาของโบราณ ก็ได้ ๖ จากบทความ “The Need for an Inventory of Ancient Sites for Anthropological Research in Northeast Thailand” โดย ทิวา ศุภจรรยา และศรีศักร วัลลิโภดม ใน Southeast Asian Studies โตเกียว, กันยายน ค.ศ. 1972 หน้า 284-297 ๘
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๖๙
นอกจากเมืองรูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั หรือสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า แล้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอืน่ ๆ ในประเทศไทย ยังเต็มไปด้วยเมืองรูปอื่นอีกด้วย เช่นเมืองรูปสี่เหลี่ยม (รูป ๙) รูปวงรี (รูป ๑๐) รูปอามีบอยด์ (รูป ๑๑) และ รูปกลม (รูป ๑๒) ในขั้นนี้ยังไม่มีข้อมูลพอที่จะทําให้เห็นความเป็น มาของเมืองเหล่านี้ได้ แต่สิ่งที่พอจะตั้งข้อสังเกตได้ก็คือ หลายเมืองมีคลองและทํานบสําหรับทดน้ำอย่างง่ายๆ เมืองที่ น่าพิศวงทีส่ ดุ ในข่ายนีเ้ ห็นจะได้แก่บา้ นสระบัวในจังหวัดบุรรี มั ย์ (รูป ๑๓) ในรูปประกอบจะเห็นว่าบ้านสระบัว เป็นเมืองรูป กลม ตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งค่อยๆ เอียงลาดขึ้นไปสู่เนินห่างจาก ตัวเมืองไม่เท่าไรนัก อาจเป็นด้วยความจําเป็นที่ต้องขังน้ำไว้ ใช้หรือเพือ่ ป้องกันมิให้นำ้ ฝนหลากไหลจากเนินตรงเข้าชะกําแพงเมืองซึง่ เป็นดิน เมืองนีจ้ งึ มีทาํ นบเป็นแนวยาวตรงขวาง ทางน้ำหลากไว้ เมืองโบราณซึ่งมีคลองเป็นแหล่งน้ำใช้ก็ดี เป็น ระบบระบายน้ำก็ดี หรือบางกรณีเป็นระบบคลองเพื่อการ สัญจรทางน้ำก็ดี มีเป็นตัวอย่างให้ดูหลายแห่ง เช่นบ้าน หัวทะเล (บ้านกระทุ่มพระ) จังหวัดชัยภูมิ บ้านโนนเมืองบ้านสีดา จังหวัดนครราชสีมา บ้านปะเคียบ จังหวัดบุรีรัมย์ เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธ์ุ (รูป ๑๔) และบ้าน คูบัว จังหวัดราชบุรี (รูป ๑๕) จากที่ได้กล่าวมานี้บ้านหัวทะเลเป็นชื่อที่น่าสนใจ เนื่องจากชุมชนตั้งอยู่ในภาคอีสานห่าง ไกลจากทะเล ทั้งชาวบ้านในละแวกนั้นก็ไม่เคยได้เห็นทะเล เลยในชีวิต ส่วนบ้านคูบัวตั้งอยู่ในภาคกลางไม่ไกลจากฝั่ง ทะเลนัก เห็นได้ชดั ว่าเป็นเมืองที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ทะเลเพราะมีลําน้ำผ่ากลางตัวเมืองไหลไปออกชายฝั่งทะเล นอกจากนัน้ ภายในเมืองยังมีรอ่ งรอยคลองโบราณวกไปเวียน มาอยู่เต็มไปหมด เมืองโบราณที่น่าสนใจมากที่สุดอีกเมืองหนึ่งคือ ฟ้าแดดสงยาง สถูปและสีมาที่จําหลักด้วยลวดลายอันงด งามแสดงให้เห็นว่าครั้งหนึ่งเมืองนี้เคยเจริญรุ่งเรืองมาเป็น อันมาก ตามตํานานทีช่ าวบ้านเล่าสืบต่อกันมากล่าวว่า เดิม มีเมืองคู่กันอยู่สองเมืองคือเมืองฟ้าแดดและเมืองสงยาง ซึ่งคล้ายกับกรณีบ้านโนนเมือง-บ้านสีดา ทั้งสองเมืองนี้ดู เหมือนว่าจะมีบารายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ซึ่งชาว เมืองทั้งสองใช้ร่วมกัน รวมทั้งระบบคลองซึ่งตัดกันเป็นรูป ตาข่ายเชือ่ มชุมชนทัง้ สอง ต่อมาระบบคลองดังกล่าวกลาย เป็นโครงสร้างผังเมืองซึ่งรวมเอาชุมชนทั้งสองเข้ามาเป็น เมืองเดียวกัน นอกจากระบบคลองภายในเมืองแล้วยังมี คลองอีกสามสายที่ต่อเลยนอกคูเมืองออกไป หากแต่ไปไม่ ไกลนักก็ขาดตอนหายไปท่ามกลางทุ่งนา โดยที่จริงระบบ คลองที่ปรากฏอยู่นี้ทําให้ต้องฉงนใจในหลายสิ่งหลายอย่าง ประการแรกระบบคลองนี้มีขึ้นเพื่อน้ำใช้และเพื่อการระ บายน้ำ หรือเพื่อการสัญจรทางน้ำ ประการที่สอง ถ้ามีเพื่อ การสัญจรทางน้ำด้วยแล้วเพราะเหตุใดจึงไม่ขุดคลองต่อไป ให้เชื่อมกับชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ในละแวกนั้น หรือไปเชื่อมกับ
๒๗๐ ภูมิหลัง
๙
๑๐ รูป ๙ เมืองรูปสี่เหลี่ยม บ้านเชียงงาม อําเภอหนองหาน จังหวัด อุดรธานี รูปถ่ายทางอากาศ
รูป ๑๐ เมืองรูปวงรี (ovaloid) ตําบลบึงคอกช้าง อําเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทยั ธานี อันทีจ่ ริงในรูปถ่ายทางอากาศ นีจ้ ะเห็นได้ชดั ว่า นอกจากรูปวงรีแล้ว บริเวณกลางใจเมืองยังมีคแู ละกําแพงดิน รูปวงกลมอีกด้วย
๑๑ ๑๒ รูป ๑๑ เมืองรูปอามีบอยด์ (amoeboid) จังหวัดบุรีรัมย์ แผนที่พิมพ์โดยกรมแผนที่ ทหารบก พ.ศ. ๒๕๐๓
๑๓ รูป ๑๓ เมืองกลมกับทํานบ บ้านสระบัว อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เขียนตามรูปถ่ายทางอากาศ ทํานบที่เห็น เป็นเส้นตรงนั้นอาจทําหน้าที่ขังน้ำไว้ใช้ หรือป้องกันมิให้น้ำหลากเข้าถึงแนว กําแพงเมือง
รูป ๑๔ ผังเมืองฟ้าแดดสงยาง บ้านเสมา อําเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธ์ุ เขียนตามรูปถ่ายทางอากาศและแผนทีส่ าํ รวจ ของกองโบราณคดี กรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๑๐ สิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือลักษณะที่ชุมชนนี้ เป็นเมืองแฝดโดยมีคลองหลายสายเชื่อม ระหว่างกัน
รูป ๑๒ เมืองกลม อําเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ
รูป ๑๕ บ้านคูบัว อําเภอเมืองฯ จังหวัดราชบุรี เป็นเมือง ขนาด ๕๗๕ เมตร x ๒,๑๐๐ เมตร ทิศเหนืออยู่ข้างบนในรูปถ่ายทางอากาศ สิ่งที่น่าสังเกตในรูปก็คือ คลองที่คดไปมา เต็มไปทัง้ เมือง นอกจากนีท้ างด้านทิศตะวันตก นอกกําแพงเมืองเป็นบริเวณที่แน่นไปด้วย คลองหลายสายเช่นเดียวกัน ลักษณะเช่นนี้ บ่งให้เห็นว่าบริเวณดังกล่าวคงเป็นส่วนของ ชุมชนที่ขยายตัวออกมาจากในเมือง ส่วนด้านกําแพงทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีห้วย (ชื่อห้วยชินสีห์) ไหลผ่านเมืองออกไป เชื่อมกับแม่น้ำอ้อม (ซึ่งในที่สุดก็ไหลออก สู่ทะเล)
รูป ๑๖ คูเมืองลําพูน เป็นคูเมืองทีโ่ ค้งไปตามผังเมืองรูปหอยสังข์
๑๕
แม่น้ำปาวซึ่งห่างออกไปไม่เท่าไรนัก ประการที่สาม จะเป็น ไปได้ไหมที่ชาวบ้านในละแวกนั้นพยายามที่จะแสดงออกซึ่ง สัญชาตญาณทางน้ำหากต้องประสบต่อความล้มเหลวเนือ่ ง จากที่ ตั้ ง ของเมื อ งบั ง เอิ ญ อยู่ บ นที่ ร าบสู ง โคราชซึ่ ง เป็ น บริเวณที่แห้งแล้งในที่สุด
เมืองรูปหอยสังข์
๑๗ รูป ๑๗ ผังเมืองลําพูน เป็นเมืองรูปหอยสังข์โดยเจตนา ฤาษีวาสุเทพและฤาษีสุกกทันต์ เป็นนัก ผังเมือง ร่วมกันวางผังและสร้าง ในพ.ศ. ๑๒๐๐ (หรือ พ.ศ. ๑๓๐๐)
๗ จาก พงศาวดารเมืองเหนือ โดย สงวน โชติสุขรัตน์ เชียงใหม่, ๒๕๐๓, หน้า ๔๙, ๕๐ ๘ จาก ของดีนครลําปาง จัดพิมพ์โดย ศักดิ์ รัตนชัย เล่มที่ ๑ ลําปาง ๒๕๑๒ หน้า ๒๘ นักวิชาการทั้งหลายมักถือว่า งานค้นคว้าของคุณศักดิ์เป็นเรื่องไร้สาระ แต่ผู้เขียนกลับเห็นตรงกันข้ามว่า งานของ คุณศักดิ์เกี่ยวกับผังเมืองรูปหอยสังข์ มีสาระที่สําคัญยิ่ง ในปัจจุบันนักวิชาการระดับ นานาชาติที่วิจัยความเป็นมาของเมืองโบราณ เริ่มให้ความสําคัญต่อตํานาน เทพนิยายและ สัญลักษณ์ซึ่งแอบแฝงอยู่ในรูปของเมืองเท่าๆ กับข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจสังคมและกายภาพ
เราคงจะไม่รู้อะไรไปมากกว่านี้ในเรื่องของรูป ลักษณะเมืองต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เว้นเสียแต่ ปราสาทหินหรือเมืองเขมรซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของภูมิจักรวาลที่ชัดเจน อย่างไรก็ดี ยังมีเมืองอีกประเภทหนึ่งซึ่ง สามารถอธิบายความหมายของรูปลักษณะได้ รูปลักษณะ ที่กล่าวถึงนี้คล้ายวงรีหากแต่คดโค้งไปมาอย่างไม่ค่อยจะ เข้าระบบเรขาคณิต ผู้เขียนให้ชื่อเมืองที่มีลักษณะเช่นนี้ว่า เมืองหอยสังข์ พงศาวดารจามเทวีวงศ์กล่าวถึงผังเมืองรูป หอยสังข์ในการสร้างเมืองหริภุญไชยซึ่งเป็นชื่อเมืองลําพูน ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ และ ๑๓ (รูป ๑๖, ๑๗) ว่าในครั้งนั้น ฤาษีวาสุเทพหรือสุเทวาและฤาษีสุกกทันต์ผู้ร่วมกันสถาปนา หริภญ ุ ไชย ได้ตกลงกันว่าหอยสังข์มรี ปู ร่างเหมาะสมทีส่ ดุ ที่ จะใช้เป็นรูปเมืองและเพื่อให้สําเร็จสมตามความปรารถนา จึงได้พากันไปหาฤาษีองค์ทส่ี ามมีชอ่ื ว่า พระสัชชนาไลย เพือ่ ให้ช่วยขวนขวายหาสังข์ที่เหมาะสมมาให้ พระสัชชนาไลย จึงได้ไปงมเอาสังข์จากใต้ทะเลมาไว้ ณ สถานที่ก่อสร้าง เมือง ฤาษีสององค์แรกได้ลากเส้นรอบเมืองขึ้นตามรูปร่าง ของหอยสังข์ที่ได้มานี้๗ เมื่อสร้างเสร็จแล้วฤาษีทั้งสององค์ได้เชิญพระ นางจามเทวีมาครอง ต่อมาพระนางจามเทวีและฤาษีทั้ง สองได้ช่วยกันสร้างเมืองขึ้นมาอีกเมืองหนึ่งชื่อเขลางค์ นครซึ่งคือเมืองลําปาง ในกรณีนี้พงศาวดารมิได้กล่าวถึง ผังเมืองรูปหอยสังข์โดยตรง หากแต่เรารู้แน่ว่าเป็นการ สร้างเมืองรูปหอยสังข์ เพราะพงศาวดารได้เปรียบเทียบรูป ร่ า งเขลางค์ นครกั บ หริ ภุ ญ ไชย และนั ก ผั ง เมื อ งก็ ไม่ ใช่ ใครอื่น นอกจากฤาษีสององค์นั้นเอง อย่างไรก็ตามจะเห็น ได้ว่าเขลางค์นครมีรูปร่างเหมือนหอยสังข์มาก (รูป ๑๘)๘ เมื่อครั้งพ่อขุนมังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ ได้ทรงปรึกษาปัญหาการวางผังเมืองกับพ่อขุน รามคําแหง และพระยางําเมืองเจ้าเมืองพะเยา ที่ปรึกษา ทั้งสองพระองค์ได้พิจารณาถึงหริภุญไชยซึ่งเป็นเมืองรูป หอยสังข์ จึงพอสันนิษฐานได้ว่าเมืองเชียงใหม่ซึ่งแต่เดิมเป็น รูปคล้ายวงรีแท้ทจ่ี ริงก็คงได้รปู ผังเมืองมาจากหอยสังข์นี่เอง ดูเหมือนว่าพระสัชชนาไลยจะเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญด้าน การวางผังเมืองรูปหอยสังข์มากกว่าฤาษีองค์อื่นๆ และไม่ ว่าใครจะสร้างเมืองขึ้นมาใหม่คงต้องมาหาพระสัชชนาไลย เพื่อขอให้เป็นที่ปรึกษาเป็นแน่ เมืองอื่นๆ ในแถบนั้นที่มีผัง คล้ายรูปหอยสังข์ได้แก่เมืองแพร่ (รูป ๑๙) ซึ่งคงเป็นฝีมือ การวางผังเมืองของพระสัชชนาไลย หรือมิฉะนั้นก็คงได้รับ
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๗๓
๑๘ รูป ๑๘ ผังเมืองลําปาง มี ๓ เมืองโบราณซ้อนกันอยู่ เมืองแต่แรกเริม่ คือ เขลางค์นคร มีรูปลักษณะเป็นหอยสังข์ นักผังเมืองคือฤาษีวาสุเทพและฤาษีสกุ กทันต์
อิทธิพลจากนักผังเมืองผู้นี้ไม่มากก็น้อย๙ นอกจากนี้อิทธิ พลของการวางผังเมืองรูปหอยสังข์ดูเหมือนจะแพร่หลาย ออกไปไกลจากภาคเหนือด้วย เมื่อครั้งสร้างกรุงศรีอยุธยา มีปรากฏการณ์อันมงคลยิ่งอย่างหนึ่งก็คือ ได้มีการขุดค้น พบหอยสังข์ในตําแหน่งที่จะตั้งเมืองอย่างน่าอัศจรรย์
หอยสังข์และนารายณ์อวตาร
๙ เล่มเดียวกัน เล่มที่ ๓ หน้า ๗๖ ๑๐ หนังสือโดย สงวน โชติสุขรัตน์ อ้างถึงแล้ว หน้า ๑๐
๒๗๔ ภูมิหลัง
เราต้องไม่ลืมว่าหอยสังข์คือสัญลักษณ์แห่งชัย ชนะของพระนารายณ์ที่เป็นอวตารของพระวิษณุซึ่งคนไทย ชอบสักการะมากกว่าอวตารองค์อื่นๆ พระวิษณุเป็นผู้บง การให้บริวารจับพญานาคพันรอบเขาพระสุเมรุ ดังนั้นหอย สังข์จึงเกี่ยวโยงโดยทางอ้อมกับแนวความคิดระบบภูมิจักรวาลอันมีเขาพระสุเมรุอยู่ศูนย์กลางซึ่งเป็นต้นฉบับการวาง ผังเมืองที่สําคัญยิ่ง แต่การใช้หอยสังข์เป็นตัวกําหนดผัง เมืองแทนรูปภูมิจักรวาลมีความได้เปรียบอยู่มาก เพราะใน
ด้านกายภาพหอยสังข์เป็นรูปที่มีความอิสระและยืดหยุ่นได้ ไม่จาํ เป็นต้องจํากัดตัวให้อยูใ่ นรูปเรขาคณิตทีต่ ายตัว ดังเช่น ผังปราสาทหินหรือผังเมืองของชาวเขมร การวางผังเมือง ด้วยรูปหอยสังข์นี้คงจะเข้ากับนิสัยใจคอของคนไทยได้ดี ที่สุด เพราะให้ความหมายทางด้านภูมิจักรวาลด้วยวิธีที่ ง่ายๆ และด้วยลักษณะผังเมืองที่ยืดหยุ่นได้ โดยทีจ่ ริงถ้าหากเรารูถ้ งึ พิธกี รรมในการสร้างเมือง มากกว่านี้ เราจะสามารถเข้าใจความเกี่ยวเนื่องระหว่างผัง เมืองและภูมิจักรวาลมากขึ้น แต่ในขั้นนี้เห็นจะต้องอ้างถึง ข้อความเท่าที่ปรากฏในพงศาวดาร แต่ที่จะอ้างอิงได้อีกก็ เห็นจะมีเรื่องตอนสร้างเมืองเชียงใหม่ในสมัยพ่อขุนมังราย๑๐ ข้อความทีม่ ใี นพระราชพงศาวดารกล่าวถึงขัน้ ตอน ในการขุดคูเมืองว่า เริม่ ขุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือแล้ว จึงขุดต่อทางด้านทิศใต้ไปเรือ่ ยๆ จนเวียนครบรอบเมือง ขัน้ ตอนที่ขุดเวียนรอบนี้ตรงกับทักษิณา กล่าวคือการเวียนไป ตามเข็มนาฬิกา รอบสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิซ์ ง่ึ อยูต่ รงกลางหรืออีกนัย
รูป ๑๙ ผังเมืองแพร่ แสดงสภาพเมืองตั้งแต่ครั้งยังมีกําแพง ครบอยู่ กรมแผนที่ทหารบกจัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๐๓ โปรดสังเกตรูปลักษณะเมือง ซึ่งคล้ายคลึงกันกับรูปหอยสังข์ ๑๙
หนึง่ เขาพระสุเมรุ สรุปแล้ว การสร้างเมืองเชียงใหม่มขี น้ั ตอน หรือพิธีกรรมที่สะท้อนให้เห็นว่าเมืองนั้นคือระบบจักรวาลที่ ได้จําลองให้มนุษย์อาศัยอยู่ เมืองต่างๆ ทีไ่ ด้กล่าวมาถึงขัน้ นี้ หากไม่ถกู จํากัด ตัวโดยคติเขมรหรือฮินดูแล้วก็ถกู จํากัดตัวโดยตัง้ อยูบ่ นพืน้ ที่ซึ่งมีลักษณะเป็นบกมากเกินไปสําหรับสัญชาตญาณทาง น้ำของคนไทย หากจะให้สัญชาตญาณนี้ปรากฏออกมา อย่างเต็มทีแ่ ล้ว จะต้องเบนความสนใจลงไปทางทิศใต้อกี จนถึงที่ราบลุ่มภาคกลาง
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๗๕
สภาพภูมิศาสตร์ของที่ราบลุ่มภาคกลาง
ที่ราบลุ่มภาคกลางมีระดับสูงกว่าระดับทะเลปาน กลางประมาณสองเมตร ส่วนหนึง่ เป็นพืน้ ดินทีง่ อกออกไปใน ทะเล อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นดินแต่เต็มไปด้วยแม่น้ำลําคลอง ซึ่งดูแล้วเหมือนกับเป็นใยแมงมุมที่คลุมบริเวณทั้งหมดนั้น อยู่ มีแม่น้ำใหญ่ๆ ไหลผ่านถึงสี่สายด้วยกันโดยมีแม่น้ำเจ้า พระยาเป็นแม่น้ำที่สําคัญที่สุด ทุกๆ ปีในฤดูมรสุมนับตั้งแต่ ปลายเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนพฤศจิกายนน้ำจะท่วมทั่ว ไปหมด เพราะฝนที่ตกในภาคเหนือจะค่อยๆ รวมตัวกันไหล ลงมายังภาคกลาง เมือ่ น้ำเหนือไหลบ่ามาถึงทีร่ าบภาคกลาง ก็เป็นเวลาทีน่ ำ้ ทะเลขึน้ สูงสุดพอดี ผลก็คอื ภาคกลางจะถูก น้ำท่วมจนกลายเป็นทะเลสาบน้ำจืดตื้นๆ ไปโดยปริยายทั่ว ทั้งบริเวณ ประชาชนจะมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำ เช่นนี้เป็นเวลาหลายเดือน อย่างไรก็ดีในฤดูแล้งน้ำก็ยังคง เหลืออยูใ่ นแม่นำ้ ลําคลองให้เป็นทีต่ กั น้ำใช้และเป็นทางสัญจร ไปมา ดังนั้นสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำจึงมิได้หมดหายไป และ ที่สําคัญที่สุดก็คือน้ำที่เหลืออยู่ในแม่น้ำลําคลองในฤดูแล้งนี้ เปรียบเสมือนสัญชาตญาณและพลังที่ถูกเก็บสะสมไว้จน กว่าจะถึงฤดูน้ำปีหน้าอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่แรกเริ่ม การตั้งถิ่นฐานในที่ราบลุ่มภาค กลางมีอยู่หลายรูปแบบ บ้างก็ตั้งอยู่บนที่ดอนเป็นแห่งๆ ไปเรียกว่าบ้านดอนหรือบ้านโนน บ้างก็ตง้ั อยูใ่ นน้ำหรือตาม ริมแม่น้ำลําคลอง ประเภทที่อยู่กับน้ำนี้มีอยู่เป็นส่วนใหญ่ และเรียกว่า “บาง” ซึ่งหมายถึงชุมชนที่อยู่กับน้ำ ชุมชน ดังกล่าวอาจจะเหยียดตัวยาวไปตามแนวแม่นำ้ ลําคลอง ดัง เช่นแถบคลองรังสิต (รูป ๒๐) และคลองดําเนินสะดวก (รูป ๒๑) หรืออาจจะเป็นเมืองรูปยาวๆ มีป้อมปราการและ กําแพงเมืองล้อมรอบอยู่ฟากใดฟากหนึ่ง หรือทั้งสองฟาก ของแม่น้ำ ในกรณีที่เมืองตั้งอยู่ทั้งสองฟากของแม่น้ำเรา เรียกว่า เมืองอกแตก เมืองในลักษณะนีไ้ ด้แก่เมืองพิษณุโลก สุพรรณบุรี (รูป ๒๒) และกรุงเทพฯในปลายสมัยสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น
๒๗๖ ภูมิหลัง
๒๐ รูป ๒๐ แผนที่แสดงชุมชนคลองรังสิต ชุมชนมีลักษณะยาวไปตามสองฝั่งคลอง ในแผนที่ทิศเหนืออยู่ข้างบน และตาราง ที่เห็นมีขนาดเท่ากับ ๑ ตารางกิโลเมตร
รูป ๒๑ ชุมชนคลองดําเนินสะดวก ในจังหวัดสมุทรสงครามนี้ มีลักษณะ ยาวไปตามคลอง และเป็นชุมชนที่พึ่ง ทางน้ำเพื่อการสัญจร
๒๑
รูป ๒๒ ผังเมืองสุพรรณบุรีโบราณ เขียนตามหลักฐานจากรูปถ่ายทางอากาศ แสดงเฉพาะแนวกําแพงเมือง คูคลองและลําน้ำ จะสังเกตได้ว่าแต่เดิม ชุมชนนี้มีลักษณะเป็นเมืองอกแตก กล่าวคือมีแม่น้ำไหลผ่ากลาง
๒๒
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๗๗
ชุมชนสะเทินน้ำสะเทินบก
ชุมชนหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในน้ำเลยทีเดียวจะประ กอบด้วยบ้านเรือนที่ลอยกันอยู่เป็นแพ แต่ที่ตั้งอยู่ริมฝั่ง หรืออยู่ในน้ำตื้นๆ รวมทั้งบริเวณที่น้ำท่วมถึงจะประกอบ ด้วยเรือนไม้ยกพืน้ สูง ผูเ้ ขียนให้ชอ่ื ชุมชนประเภทนีว้ า่ ชุมชน สะเทินน้ำสะเทินบก เมืองที่แสดงลักษณะความเป็นอยู่แบบ สะเทินน้ำสะเทินบกที่เห็นได้ชัดที่สุดคือตําบลบางลี่ อําเภอ สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี (รูป ๒๓, รูป ๒๔) เมืองนี้ตั้ง อยูใ่ นทีล่ มุ่ เป็นอ่างกระทะ อาคารบ้านเรือนในเมืองส่วนใหญ่ สร้างเป็นเรือนไม้สองชั้น ชั้นบนทําเป็นระเบียงให้คนเดิน ติดต่อกันได้ทั่วชุมชน ในฤดูแล้งรถยนต์วิ่งไปมาบนถนนระ ดับพื้นดินอย่างปกติเหมือนกับเมืองอื่นๆ ในละแวกนั้น แต่เมื่อถึงฤดูน้ำหลากชาวบ้านจะเตรียมเก็บข้าวของล่วง หน้าไว้ และก่อนทีน่ ำ้ จะมาเพียงวันหรือสองวันก็จะย้ายข้าว ของและสินค้าขึน้ ไปชัน้ บนพร้อมกันทัง้ ชุมชน สัญชาตญาณ นี้ไม่เคยพลาด เมื่อย้ายของเสร็จน้ำก็จะหลากมาถึงพอดีใน เวลาเดียวกันรถยนต์จะหายไปจากท้องถนนซึง่ น้ำได้ทว่ มกลาย เป็นที่สัญจรอันจอแจของเรือนานาชนิดที่จู่ๆ ก็มารวมกัน อยูเ่ ต็มไปทัง้ เมือง การเปลีย่ นสภาพจากบกเป็นน้ำของเมือง ไม่ปรากฏว่าทําให้ธุรกิจต้องชะงักแต่ประการใด ตรงกัน ข้ามพอรถยนต์หายไปและเรือเข้ามาแทนที่ กิจการทีเ่ คยอยู่ บนพื้นดินก็โผล่ขึ้นไปอยู่บนระดับชั้นสอง เช่นตลาดกลาง ใจเมือง ร้านตัดผม ร้านขายยาและร้านอาหาร เป็นต้น แม้ แต่ปั๊มน้ำมันซึ่งเคยบริการรถยนต์อยู่เป็นปกติพอรุ่งขึ้นกลับ ย้ายขึ้นไปอยู่ชั้นสองมีเรือยนต์เข้ามาเทียบเรียงกันเป็นแถว เข้าซื้อน้ำมันแทนทันที แต่เรื่องที่น่าเศร้าก็คือคนรุ่นหลังจะ ไม่มีโอกาสได้เห็นสภาพดังกล่าวอีกแล้วเพราะขณะที่กําลัง เขียนหนังสือเล่มนี้ (พ.ศ. ๒๕๒๕) อยู่ ปรากฏว่ามีนักพัฒนา สมัยใหม่เกิดมุทะลุพัฒนาตําบลบางลี่โดยเอาดินไปถมเมือง ทั้งเมือง สิ่งทีน่ า่ ดูนา่ ชมและลักษณะเฉพาะของบางลีก่ ถ็ กู ทําลายไปโดยที่ไม่มีวันที่จะเรียกกลับคืนมาได้อีก
๒๗๘ ภูมิหลัง
บริเวณรอบๆ เมืองบางลีย่ งั มีอะไรอีกหลายอย่าง ที่น่าศึกษา หมู่บ้านต่างๆ และบ้านกลางทุ่งนายังคงมี ลักษณะสะเทินน้ำสะเทินบกอย่างน่าสนใจ เนื่องจากนัก พัฒนาแบบตะลุยถมที่ ยังไม่สามารถถมดินให้หมดทั้งท้อง ถิ่นนั้นได้ แม้แต่ร้านควายและร้านฟางก็ยังปลูกโดยยกขึ้น เป็นสองระดับ (รูป ๒๕, รูป ๒๖) ซึ่งเมื่อถึงฤดูน้ำ ควาย ก็จะถูกย้ายขึ้นไปอยู่ชั้นบน ลักษณะการเป็นอยู่แบบสะเทินน้ำสะเทินบกนี้มี ตัวอย่างที่น่าเปรียบเทียบกับอําเภอสองพี่น้องแห่งหนึ่งคือที่ ท่าขนอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยเหตุบางประการเมือง ท่าขนอนตัง้ อยูใ่ นทีล่ มุ่ เป็นกระทะมีนำ้ ท่วมเป็นฤดูกาลเหมือน กับที่อําเภอสองพี่น้อง แต่วิธีแก้ปัญหาของเมืองนี้แปลก ประหลาดไม่เหมือนทีอ่ น่ื อาคารบ้านเรือนทัง้ หลายสร้างอยู่ บนแพไม้ไผ่ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นดินและผูกไว้กับเสาไม้ เมื่อถึง ฤดูน้ำหลากอาคารเหล่านี้จะลอยขึ้นมาพร้อมๆ กัน โดยอัตโนมั ติ โดยไม่ ทํ า ความเดื อ ดร้ อ นให้ แ ก่ ช าวบ้ า นเลยแม้ แต่ นิดเดียว
รูป ๒๓-๒๔ บางลี่ บางลี่ เป็นเมืองในอําเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ในฤดูแล้งกิจกรรมต่างๆ และการสัญจรอยูบ่ นพืน้ ดินเหมือนกับชุมชน อื่นๆ (ดูรูป ๓๔ ในบทที่ ๔ ด้วย) เมื่อน้ำหลากมาถึง ทั้งเมืองจะแปรสภาพ เป็นชุมชนน้ำไปทันที ชาวบ้านจะย้ายร้าน โรงและตลาดขึ้นไปอยู่ชั้นสอง ส่วนถนน ก็กลายเป็นคลองมีเรือสัญจรไปมาอย่าง คับคั่ง ปัจจุบันบางลี่ได้ถูกนักพัฒนา ทําลายหมดสิ้นด้วยการถมที่ทั้งเมือง
รูป ๒๕ ร้านควายในฤดูน้ำ ที่อําเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แม้แต่ร้านควายและร้านฟางก็ยังถูกยก เป็นสองระดับเพือ่ อยูก่ บั น้ำในฤดูนำ้ หลากได้
ชุมชน “ชาวเล” แถวฝั่งทะเลอ่าวไทยใต้กรุงเทพฯลงไปมีชุมชน เป็นจํานวนมากที่ปักเสายกพื้นบ้านล้ำเข้าไปในทะเล มีตั้ง แต่ชุมชนขนาดเล็กเป็นหมู่บ้านชาวประมงจนถึงชุมชนใหญ่ ขนาดอําเภอเมืองฯ หรืออำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรเี ป็น เมืองที่ใหญ่ที่สุดในลักษณะดังกล่าว ก่อนที่ถนนสุขุมวิทจะ กลายเป็นถนนใหญ่และมีบทบาทสําคัญ เมืองนีท้ ง้ั เมืองเคย ตั้งอยู่ในทะเล (รูป ๒๗, รูป ๒๘) ปัจจุบันเมืองได้ขยายขึ้น บนบกมาเกาะติดอยู่กับถนนสุขุมวิท ส่วนเมืองเดิมที่อยู่ใน ทะเลถูกถมไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ ทั้งบ้านเรือนที่ปักเสาลึกลง ไปในทะเลก็ถูกถอนทิ้งจนเหลืออยู่เพียงไม่กี่หลัง ในประเทศไทยชุ ม ชนที่ยัง ตั้ง อยู่ใ นทะเลอย่ า ง สมบูรณ์แบบเห็นจะได้แก่หมู่บ้านปันหยี จังหวัดพังงา (รูป ๒๙) ทั้งหมดนี้น่าเปรียบเทียบกับชุมชนในลักษณะเดียวกับ ที่มีอยู่หลายแห่งในภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก เช่นที่ กําปงอาแยร์ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม (รูป ๓๐) เมืองบูทเล็สเบย์ เมืองพอร์ตมอร์สบี ปาปัวนิวกินีและหมู่ บ้านซิตนั กิซง่ึ อยูร่ ะหว่างเกาะมินดาเนากับบอร์เนียว เป็นต้น
รูป ๒๖ ร้านฟางในฤดูน้ำ ใกล้ตําบลบางลี่ อําเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
รูป ๒๗ ผังเมืองชลบุรี สภาพเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ จะเห็นได้ว่า เมืองส่วนใหญ่ยื่นออกไป ในทะเล มีสะพานไม้เชื่อมโยงกัน เกือบทั้งเมือง
รูป ๒๘ เมืองชลบุรี พ.ศ. ๒๕๒๓ สภาพเมืองน้ำ กล่าวคือเมืองที่ยื่น ออกไปในทะเลเหลือน้อยมาก ทั้งนี้เพราะ ชุมชนได้ย้ายขึ้นฝั่งมาเกาะติดอยู่กับถนน สุขุมวิท และในเวลาเดียวกันก็ได้ถมที่ลงไป ในทะเลส่วนหนึ่ง ในภาพนี้ยังเห็นส่วนที่ เป็นเมืองน้ำเหลืออยู่บ้างอย่างประปราย
๒๓
๒๔
๒๕
๒๖
๒๗
๒๘
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๗๙
รูป ๒๙ หมู่บ้านปันหยี จังหวัดพังงา ชุมชนที่ตั้งอยู่ในทะเลอย่างสมบูรณ์แบบ ในเมืองไทยเห็นจะได้แก่หมูบ่ า้ นทีเ่ กาะปันหยี เป็นชุมชนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับ เมืองกำปงอาแยร์ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
รูป ๓๐ กําปงอาแยร์ ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
๒๙
๒๘๐ ภูมิหลัง
๓๐
๓๑ รูป ๓๑ กรุงศรีอยุธยา รูปสีน้ำมัน ชาวฮอลันดาเขียนปลายสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หรือต้นสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองสะเทินน้ำสะเทินบกที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดแห่งหนึ่งที่เคยปรากฏในโลก
๑๑ อยุธยามิได้เป็นเมืองหลวงของไทย แต่เมืองเดียว เพราะทั้งสุโขทัยและ เชียงใหม่ ต่างก็เป็นเมืองหลวงของไทย ไม่ขน้ึ ต่ออยุธยา จนกระทัง่ พุทธศตวรรษ ที่ ๒๐ และ ๒๒ ตามลําดับ
กํ าเนิดกรุงศรีอยุธยา โดยทั่วไป คนไทยชอบตั้งถิ่นฐานห่างจากชายฝั่ง ทะเลเข้าไปเล็กน้อยไม่ไกลจากทะเลมากนัก เพื่อดํารงชีวิต อย่างง่ายๆ อยู่กับแม่น้ำลําธารหรือในที่ซึ่งน้ำท่วมถึง ส่วน ชีวิตที่ต้องผจญภัยกับคลื่นพายุในทะเลนั้นคนไทยไม่ค่อย ชอบ เราน่าจะมองย้อนหลังขึ้นไปเพื่อค้นหาว่า สภาพแวด ล้อมอยู่ในลักษณะที่เหมาะสมอย่างไรจึงได้ก่อให้เกิดเมือง สะเทินน้ำสะเทินบกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กล่าว คือกรุงศรีอยุธยา เมืองหลวงของชาวไทยภาคกลางตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๐๑๑ (รูป ๓๑) ในวิวัฒนาการอันยาวนานของการตั้งถิ่นฐานใน สยามประเทศ สิ่งที่น่าสนใจก็คือมนุษย์ได้มีประสบการณ์ อะไรมาบ้างจึงสามารถสร้างสิง่ แวดล้อมให้แก่ตวั เองได้อย่าง เหมาะสมยิ่งดังเช่นที่กรุงศรีอยุธยา ที่สุโขทัยเราคงไม่ได้ บทเรียนอะไรมากนัก ความรุ่งโรจน์ของสุโขทัยไม่ยั่งยืน เพราะมิได้เป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่แท้จริง ดังนั้นจึงขาดฐานแห่ง
อํานาจทีม่ น่ั คง ทัง้ นีเ้ พราะโดยสภาพทางภูมศิ าสตร์แล้ว หาก ขาดระบบการชลประทานแบบกักกันน้ำของเขมร สุโขทัย และบริเวณรอบๆ จะไม่สามารถดําเนินการเกษตรกรรมที่ ใหญ่โตได้ นอกจากนั้นสุโขทัยยังตกอยู่ใต้อิทธิพลของเขมร อยู่มากในด้านการวางผังเมือง ดังนั้นถ้าจะจัดรูปเมืองให้ เข้ากับอุปนิสัยใจคอของคนไทยแล้วจะต้องเริ่มต้นก่อราก ฐานใหม่ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างไปจากสภาพที่กล่าวไว้ ข้างต้นนี้ ในการสร้างกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏว่าได้มีการ เลียนแบบอะไรมาจากสุโขทัยเลย ระบบชลประทานและ การจําลองระบบจักรวาลอย่างเคร่งครัดแบบเขมรมิได้ถูก นํามาใช้ ยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวกับหลักเมืองและชื่อของกรุง ศรีอยุธยาเท่านั้น
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๘๑
ความหมายของชื่อเมือง
รูป ๓๒ วัดพนัญเชิง พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดขนาดใหญ่ สร้างก่อนสถาปนา กรุงศรีอยุธยา ๒๖ ปี ตั้งอยู่ในที่ซึ่งคง จะต้องเคยเป็นเมืองใหญ่มาแต่ก่อน
ในจํานวนคําต่างๆ ที่ใช้ผูกกันเป็นชื่อของกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มี “กรุง” เป็นคํานําทีม่ คี วามหมายสําคัญ นอกจากนีย้ งั มีคาํ ว่า “นคร” ในพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกในเวลาต่อมา คํา ว่า “กรุง” นั้นมาจากคําว่า “เกริง” (เสียงสั้น) เป็นคําภาษา มอญ ซึง่ หมายถึงแม่นำ้ ลําคลอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชวินิจฉัยดังนี้ “ผู้ใดว่ามีอํานาจเหนือพื้นน้ำหรือเป็นเจ้า แห่งน้ำตั้งแต่ปากน้ำไปจนถึงที่สุดของแม่น้ำสายนั้น ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นเจ้ากรุง และเมืองที่เจ้ากรุง พระองค์นั้นประทับอยู่ก็เลยเรียกว่ากรุง”๑๒ มีคํามอญอีกสองคํา ที่น่าพิจารณาประกอบด้วย คือ “เกริง” (เสียงยาว) หมายความว่าใหญ่ และ “กราง” ซึ่งหมายความว่าเรือ๑๓ ทั้งสองคํานี้ใกล้เคียงกันพอสมควร กับ “เกริง” (เสียงสั้น) อย่างน่าสนใจ สําหรับคําว่า “นคร” มีรากศัพท์มาจากคําว่า “นาคะ” ซึ่งหมายถึงภูเขา เป็นคํา ที่เกี่ยวโยงกับ “นครินทร์” (นาคะ+อินทร์) ในกรณีนี้ ภูเขาที่ อ้างถึงก็คอื ภูเขาทีเ่ กีย่ วกับพระอินทร์นน่ั เอง “นาคร” เป็น คําที่คล้ายกันอีก มีความหมายว่าชาวเมืองและมีีรากศัพท์ มาจาก “นาคา” ซึ่งหมายถึงนาค ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่าทั้ง “กรุง” และ “นคร” เป็นคําซึง่ ช่วยให้เราได้เห็นความสําคัญ ของสัญลักษณ์ของภูมิจักรวาลซึ่งแฝงอยู่ในการสร้างบ้าน แปลงเมือง
ความหมายของหลักเมือง
สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองอีกอย่างหนึ่งก็คือ หลักเมืองหรือในกรณีของหมู่บ้านเรียกว่าหลักบ้าน หลัก เมืองหรือหลักบ้านนี้ อาจมีตน้ กําเนิดมาจากศิวลึงค์ อย่างไร ก็ดีในกรณีที่มีการแกะสลักเป็นชั้นอย่างประณีต ดูแล้วไม่ ผิดอะไรไปจากรูปจําลองเขาพระสุเมรุ พิจารณาจากอีกแง่ หนึง่ หลักเมืองเหมือนกับเป็นสิง่ ทีแ่ สดงให้เห็นว่าชุมชนนัน้ ๆ ได้ปักหลักลงไป ณ ที่นั้นอย่างมั่นคงถาวรแล้วเช่นเดียวกับ ปักเสาลงไปในน้ำให้เรือนแพผูกอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มก้อน
เมืองเก่าก่อนอยุธยา
มีหลักฐานปรากฏว่าก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา ใน พ.ศ. ๑๘๙๓ ได้มีเมืองใหญ่ตั้งอยู่ในละแวกนั้นอยู่แล้ว การทีว่ ดั พนัญเชิง (รูป ๓๒) ซึง่ เป็นวัดขนาดใหญ่สร้างอยู่ ณ ที่นน้ั มา ๒๖ ปีกอ่ นแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีชมุ ชนขนาดใหญ่ อยู่ในบริเวณเดียวกันมาแต่แรก นักวิชาการหลายท่านอ้าง ว่าชุมชนนี้ คือเมืองอโยธยาซึง่ พระราชพงศาวดารกล่าวถึง จะอย่างไรก็ตามบริเวณถัดไปจากวัดพนัญเชิงมีรอ่ งรอยคลอง โบราณอยูม่ ากมายรวมทัง้ บารายขนาด ๓๐๐ x ๘๖๐ เมตร
๒๘๒ ภูมิหลัง
๓๒
จริงอยู่ในจํานวนคลองที่กล่าวมานี้ คงต้องมีบางส่วนซึ่งขุด ภายหลังที่ได้สร้างกรุงศรีอยุธยาแล้ว ประวัติความเป็นมาของพระเจ้าอู่ทองและเบื้อง หลั ง ในการสร้ า งกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยายั ง เป็ น เรื่ อ งที่ ไม่ แจ่ ม ชั ด ถ้าพระเจ้าอู่ทองเป็นคนต่างถิ่น และเพิ่งเสด็จมาประทับใน ละแวกนั้นตามที่ระบุในหนังสือเรียนทั่วไปแล้ว ก็ไม่น่าจะ สามารถสร้างเมืองใหม่ข้นึ มาแข่งกันกับชุมชนซึ่งตั้งอยู่ท่นี ่นั ก่อนแล้ว แนวโน้มครั้งหลังสุดในวงวิชาการนั้น มีนักวิชา การบางท่านเชื่อว่าพระเจ้าอู่ทองเป็นคหบดีจีนมีอิทธิพลอยู่ ที่เมืองเก่ามาแต่เดิม และเมืองเก่านั้นเป็นเมืองพาณิชย์ใกล้ ทะเล ค้าขายกับจีน และไม่ได้เคยขึ้นกับสุโขทัยหรือเมือง อืน่ แต่ประการใด๑๔ อย่างไรก็ตามเมืองใหม่ทพ่ี ระเจ้าอูท่ อง สถาปนาขึ้นมีอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ไพศาลยิ่ง เพราะใช้ เนื้อที่ทั้งหมดในโค้งแม่น้ำลพบุรี ในการนี้ได้ใช้แม่น้ำทําหน้า ทีเ่ ป็นคูเมืองได้ถงึ สามด้าน เพียงแต่ขดุ คูดา้ นทีส่ เ่ี มืองก็กลาย เป็นเกาะไป เท่ากับว่าออกแรงเพิ่มอีกเพียงเล็กน้อยจากสิ่ง ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ไว้ให้ ก็ได้คูเมืองล้อมรอบป้องกันข้า ศึกได้ทันที เกาะที่กล่าวถึงนี้กว้าง ๓.๕ กิโลเมตรโดยเฉลี่ย ยาวประมาณ ๔ กิโลเมตร
๑๒ บางกอกคาเลนเดอร์ ค.ศ. ๑๘๗๑ หน้า ๘๗ ๑๓ ความหมายนี้ชวนให้คิดถึง“บารังกาย” หรือหมู่บ้านฟิลิปปินส์ ซึ่งแปลว่าเรือ เสมือนหนึ่งฝูงชนได้อพยพข้ามน้ำ ข้ามทะเลมาถึงฝัง่ และเมือ่ ได้ตง้ั ถิน่ ฐาน ณ ที่นั้นแล้วก็เลยเรียกชุมชนตามชื่อ ประเภทเรือที่เป็นพาหนะพามา ๑๔ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ในหนังสือ The Rise of Ayudhya : A History of Siam in the 14th & 15th Century, Oxford U. Press, กัวลาลัมเปอร์ ค.ศ. 1976
๓๓ รูป ๓๓ ผังเมืองกรุงศรีอยุธยา เป็นผังซึ่งวิศวกรฝรั่งเศสสํารวจและตีพิมพ์ ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๒๓๐ (สมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช) แต่ในรูปนี้เป็นผังฉบับ ภาษาอังกฤษตีพิมพ์ในสมัยต่อมา
๑๕ จากบทความ “ผังเมืองโบราณ พระนครศรีอยุธยา” โดย สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา (ภาษาอังกฤษ) ในวารสารสยาม สมาคม พิมพ์เป็นอนุสรณ์พระยา อนุมานราชธน พ.ศ. ๒๕๑๐ หน้า ๓๐๑-๑๔
การวางผังเมืองของอยุธยา
ผังเมืองกรุงศรีอยุธยาก็เช่นเดียวกับเมืองอื่นๆ เป็นผังทีเ่ ปลีย่ นแปลงอยูเ่ สมอ มิใช่เป็นผังทีต่ ายตัว (รูป ๓๓) เหตุที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอก็เนื่องจากคลองเก่าตื้น เขินและต้องขุดคลองใหม่ขน้ึ แทน การขุดคลองใหม่นน้ั ง่าย กว่าการลอกคลองเก่า ในระยะแรกๆ คลองหลายสายยัง คดเคี้ยวไปมาตามธรรมชาติ สมัยต่อๆ มาเมื่อคลองดัง กล่าวตื้นเขินแล้วจึงได้ขุดแนวใหม่ให้เป็นเส้นตรงขึ้นมาแทน ผังที่ผู้เขียนได้ค้นคว้าและเขียนขึ้นเพื่อแสดงรูปลักษณะ เมืองอยุธยาในสมัยเมือ่ ยังรุง่ โรจน์อยูน่ น้ั เป็นผังทีป่ ระกอบด้วย คลอง ถนนและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ได้สะสมหรือทับถมกัน มาตลอดระยะเวลาสีศ่ ตวรรษของกรุงศรีอยุธยา๑๕ (รูป ๓๔) ตามผังเมืองนี้ ปรากฏว่ากรุงศรีอยุธยามีกําแพง เมืองยาวถึง ๑๒ กิโลเมตร (ไม่รวมกําแพงพระราชวัง) มี ป้อมปราการ ๑๗ แห่ง (รูป ๓๕) ป้อมรอบพระราชวังมีอีก ๗ แห่ง และป้อมของวังหน้าอีก ๓ แห่ง มีประตูเมือง ประมาณ ๑๐๐ แห่ง และทีก่ าํ แพงพระราชวังยังมีอกี ๒๒ ประตู ในจํานวนนีเ้ ป็นประตูนำ้ เสีย ๒๐ แห่งเพือ่ ให้เรือแพ ตามลําคลองสัญจรไปมาได้ซึ่งลักษณะคงคล้ายกันกับประตู น้ำทีย่ งั เหลืออยูท่ ล่ี พบุรี (รูป ๓๖) คลองภายในเขตกําแพง
เมืองมีความยาวถึง ๕๖.๔ กิโลเมตร มีสะพานถาวรข้าม ๒๘ แห่ง สะพานหลายแห่งสร้างด้วยอิฐ เป็นรูปโค้งสูงเพือ่ ให้เรือลอดผ่านได้ ดังเช่นสะพานหน้าบ้านเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เป็นต้น (รูป ๓๗) แต่มีสะพานหกอยูแ่ ห่งหนึ่ง รูปลักษณะ คงใกล้เคียงกับสะพานในประเทศฮอลันดาซึง่ คงจะคล้าย กับสะพานหกที่เคยมีอยู่หลายแห่งในกรุงเทพฯ ความยาว ของคลองทัง้ ภายในและรอบนอกกําแพงเมืองเท่าทีแ่ สดงใน ผังรวมกันทั้งหมดวัดได้ ๑๔๐ กิโลเมตร คลองดังกล่าวรวม ถึงคลองที่ขุดขนานไปกับแม่น้ำสําหรับแจวเรือทวนขึ้นไป ทั้งนี้เนื่องจากน้ำในคลองเหล่านี้มไิ ด้ไหลลงตามกระแสน้ำใน แม่นำ้ ส่วนถนนนัน้ มีอยูเ่ พียง ๕๓ กิโลเมตร หรือ ๖๐.๗ กิโลเมตร หากนับถนนขนานทั้งสองข้างคลอง เป็นถนน เรียงอิฐแบบรูปก้างปลา แต่มีอยู่ภายในเขตกําแพงเมือง เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าการสัญจรบนบกมีอยู่อย่างจํากัดเมื่อ เปรียบเทียบกับการสัญจรทางน้ำ ส่วนโบราณสถานปรากฏ ว่าทั้งภายในและรอบบริเวณเมืองนับได้ถึง ๕๕๐ แห่ง ส่วนใหญ่เป็นวัดอาราม (รูป ๓๘, รูป ๓๙) แต่จาํ นวนนีร้ วมถึง พระราชวัง วังหน้า วังหลัง และสถานทีส่ าํ คัญด้วย เช่น โรงกษาปณ์ วิทยาลัยคอนสแตนติน และที่พักคณะทูต ฝรั่งเศส
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๘๓
รูป ๓๔ ผังเมืองกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๑๘๙๓ - พ.ศ. ๒๓๑๐ เป็นผังเมืองที่ผู้เขียนได้ค้นคว้าและ เขียนขึ้น เพื่อแสดงรูปลักษณะของเมือง ในสมัยเมื่อยังรุ่งโรจน์ จะเห็นได้ว่า กรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองคลอง มีความยาว ทั้งสิ้นในผังนี้ ๑๔๐ กิโลเมตร
รูป ๓๗ ซากสะพานอิฐโค้ง หน้าบ้านเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ จังหวัดลพบุรี กรุงศรีอยุธยาเคยมีสะพานถาวรในลักษณะ เช่นนี้ ๒๘ แห่ง
๓๗
๓๘
รูป ๓๕ ป้อมเพชร พระนครศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยา มีกําแพงเมืองยาว ๑๒ กิโลเมตร มีป้อมปราการ ๑๗ แห่ง ป้อมเพชร เป็นป้อมที่ใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ทางใต้ตรงที่ เรือสําเภาชาวต่างด้าวจอดถ่ายเทสินค้า
รูป ๓๘ ทัศนียภาพพระนครศรีอยุธยา มองจากด้านหลังวัดราชบูรณะไปทาง ทิศตะวันตก
รูป ๓๙ วัดมหาธาตุ พระนครศรีอยุธยา ทัศนียภาพมองจากข้างบนพระปรางค์ วัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยามี โบราณสถานรวมกันทั้งสิ้น ๕๕๐ แห่ง
รูป ๓๖ ประตูคลองที่กําแพงเมืองลพบุรี ลักษณะคงคล้ายกันกับประตูคลองที่ กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเคยมีอยู่ ๒๐ แห่ง ๓๙
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๘๕
ระบบการควบคุมน้ำ
กรุงศรีอยุธยาไม่มีระบบทดน้ำยกเว้นในฤดูแล้ง ซึ่งมีเขื่อนชั่วคราวสร้างอยู่หัวและท้ายคลองเพื่อกักน้ำไว้ใน เมือง เขือ่ นดังกล่าวทําด้วยไม้ระเนียดปักคูก่ นั ลงไปในคลอง มีดินถมระหว่างกลาง ในฤดูน้ำหลากเขื่อนดินจะถูกรื้อทิ้ง ทําให้น้ำสามารถไหลผ่านเข้าไปในเมืองได้อย่างเต็มที่ ปีใด น้ำมากน้ำก็จะท่วมท้นฝั่งคลองขึ้นมาถึงใต้ถุนบ้าน ในเมื่อ เรือนไทยยกพืน้ สูงหมด สภาพน้ำนองทัว่ ไปเช่นนีจ้ งึ เป็นเรือ่ ง ที่อํานวยแต่ความสะดวกให้แก่ชาวเมืองซึ่งสามารถแจวเรือ ไปมาหาสู่กันได้อย่างสบาย ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแต่ ประการใด ในระยะต้นๆ ได้มีการขุดคลองลัดออกไปสู่แม่น้ำ เจ้าพระยาและแม่นำ้ ป่าสัก แต่คลองลัดนีท้ าํ ให้แม่นำ้ ทัง้ สอง เปลี่ยนเส้นทางมารวมกันอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ผลก็คือกรุงศรีอยุธยาเลยกลายเป็นชุมทางแม่น้ำใหญ่ๆ สามสาย เมื่อ เป็นเช่นนี้กรุงศรีอยุธยาจึงมีเส้นทางไปคุมเมืองเหนือและอู่ น้ำอู่ข้าวทั้งภาคกลางได้ ตลอดทั้งยังสามารถเดินเรือออก ไปปากอ่าวแผ่อํานาจลงไปจนสุดแหลมมลายูและเดินเรือ ค้าขายระหว่างประเทศอินเดียและประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย ในสมัยนั้นเรือเดินทะเลของชาวต่างประเทศขึ้น มาทอดสมออยูใ่ ต้ปอ้ มเพชรซึง่ เป็นป้อมปืนใหญ่ทส่ี ดุ ในเมือง ณ ที่นั้นจะถ่ายสินค้าลงแล้วใช้เรือเล็กลําเลียงของผ่าน ประตูน้ำเข้าไปในเมือง หรือมิฉะนั้นก็ลําเลียงของไปยัง คลังสินค้าซึ่งชาวต่างประเทศสร้างอยู่นอกกําแพงเมืองใต้ ป้อมเพชรลงไป ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๓ กรุงศรีอยุธยาเป็น เมืองที่ใหญ่และเจริญที่สุดระหว่างประเทศอินเดียและประ เทศจีน การอยู่กับน้ำทําให้คนไทยร่าเริงมีวิถีการดํารงชีวิต ทีอ่ สิ ระ ด้วยเหตุนน้ี กั เผยแผ่ศาสนาคริสต์และพ่อค้าชาวต่าง ประเทศจึงได้เข้ามาตัง้ กิจการกันเป็นจํานวนมาก คนจีนได้เข้า มาตัง้ รกรากก่อนคนอืน่ ตัง้ แต่ตน้ สมัยอยุธยา ซึง่ หากพระเจ้า อู่ทองเป็นคหบดีจีนมาแต่เดิมก็หมายความว่าคนจีนเข้ามา ตั้งรกรากปะปนกับคนไทยตั้งแต่สมัยอโยธยาแล้ว ส่วนชาว โปรตุเกสเข้ามาใน พ.ศ. ๒๐๕๔ ตามมาด้วยชาวฮอลันดาใน พ.ศ. ๒๑๔๗ และชาวฝรัง่ เศสใน พ.ศ. ๒๒๐๕ กรุงศรีอยุธยา กลายเป็นเมืองทีช่ าวยุโรปได้ยนิ ชือ่ เสียง โดยเฉพาะเมื่อไทย และฝรัง่ เศสได้แลกเปลีย่ นราชทูตซึง่ กันและกัน กรุงศรีอยุธยา ได้เจริญรุง่ เรืองกลายเป็นศูนย์กลางตลาดของนานาชาติโดย ที่ชาวอยุธยาไม่ต้องทําอะไรมาก ที่เป็นเช่นนีก้ เ็ นือ่ งจากอุปนิสัยของชาวอยุธยาที่ชอบให้สถานการณ์เป็นไปตามธรรม ชาติเสมือนคนลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่ชอบเข้าไปดําเนิน การควบคุมวางแผนให้มากเรือ่ ง ทัง้ นีอ้ าจจะเป็นสัญชาตญาณ ทางน้ำของคนไทยที่ไม่เอาเรือไปขวางลําน้ำก็วา่ ได้ ชาวต่าง ประเทศทีเ่ ข้ามาอาศัยมีกฎอยูข่ อ้ เดียวคือต้องตัง้ หมูบ่ า้ นของ ตนนอกกําแพงเมือง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ทางทิศใต้ริมฝั่งแม่
๒๘๖ ภูมิหลัง
น้ำเนื่องจากค้าขายสะดวก แต่คนจีนสร้างอาคารร้านค้าได้ ภายในกําแพงเมืองเพราะไม่ถือว่าเป็นต่างด้าว คนจีนส่วน ใหญ่จะอยู่ค้าขายกันตรงบริเวณหลังป้อมเพชร การจัดให้ ชาวต่างประเทศอยู่นอกกําแพงเมือง ก็เพื่อให้เป็นด่านหน้า รอรับข้าศึกไปในตัวด้วยในกรณีที่ถูกล้อมเมือง เป็นการช่วย ลดภาระของชาวอยุธยาได้อย่างดี เมื่อครั้งพม่ายกทัพมา ล้อมกรุงครัง้ สุดท้าย ซึง่ บังเอิญตรงกับสมัยทีร่ าชสํานักและ สังคมอ่อนแอ ชาวต่างประเทศได้ทําหน้าที่เป็นแนวหน้าต่อ สู้กับข้าศึกอย่างเข้มแข็ง ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ ชะลอการเสียกรุงไปได้เป็นเวลาถึงหนึ่งปี๑๖
บทบาทของน้ำในระบบการป้องกันข้าศึก
นอกจากนัน้ สิง่ ทีช่ ว่ ยป้องกันเมืองก็คอื น้ำ ผูส้ งั เกต การณ์ชาวยุโรปที่กรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้นคนหนึ่งได้บันทึก ไว้ว่า กรุงศรีอยุธยา “เป็นเมืองที่ยากต่อการโจมตี เป็น เมืองที่แข็งแรงพอที่จะทนอยู่ในวงล้อมของ ข้าศึกได้เป็นเวลาหลายเดือน หลังจากหกเดือน น้ำก็จะไหลบ่าท่วม จะไม่มีกองทัพใดสามารถ ตั้งทัพทนอยู่ได้ ต้องล่าถอยไป”๑๗ ในระหว่าง พ.ศ. ๒๐๙๒ และ พ.ศ. ๒๑๓๕ พม่า ได้ยกทัพมาล้อมเมืองถึงหกครัง้ บันทึกของชาวยุโรปในสมัย นั้นซึ่งอาจเกินความจริงไปบ้าง กล่าวว่าข้าศึกมีจํานวนมาก มายอย่างไม่น่าเชื่อ แต่กําลังทหารจํานวน ๓๐๐,๐๐๐ คน บ้าง ๙๐๐,๐๐๐ คนบ้าง ซึ่งยกทัพมาแต่ละครั้งจําต้องล่า ถอยกลับไปถึงห้าครั้งด้วยกันเนื่องจากน้ำท่วม ครั้งใน พ.ศ. ๒๑๐๗ ข้าศึกมีจํานวนมากถึง ๙๐๐,๐๐๐ คน พระเจ้ากรุงสยาม “ทรงชะลอกองทัพข้าศึกโดยใช้ กลยุทธ์แบบเดิม จนเวลาย่างเข้าเดือนที่สามน้ำ ไหลท่วมรอบเมืองออกไปไกลถึงประมาณ หนึ่งร้อยยี่สิบไมล์ดังเช่นเคย ข้าศึกบ้างก็จมน้ำ ตาย บ้างก็ถูกคนไทยพายเรือออกไปโจมตี กวาดล้าง ข้าศึกจํานวนมากมายต้องล่าทัพ กลับไปยังพม่า มีทหารเหลือไม่ถึง ๗,๐๐๐ คน...”๑๘ อย่างไรก็ตาม เมื่อครั้งเสียกรุงใน พ.ศ. ๒๑๑๒ พม่ามีกําลังทหารมากมหาศาลถึง ๑,๔๐๐,๐๐๐ คน๑๙ การ ทําสงครามต่อสูย้ ดื เยือ้ เป็นเวลาถึง ๒๑ เดือน และกรุงศรีอยุ ธ ยาคงไม่ ถู ก ตี แ ตกหากไม่ มี ไส้ ศึ ก เปิ ด ประตู เมื อ งให้ แก่ศัตรู
๑๖ หนังสือโดย ตุรแปง อ้างถึงแล้ว หน้า ๒๔๕-๓๐๘ ๑๗ หนังสือโดย มานเดลสโล อ้างถึงแล้ว หน้า ๑๒๓ ๑๘ หนังสือโดย แซมมูแอล เพอร์ชัส (Samuel Purchas) หน้า ๕๕๘ ๑๙ เล่มเดิม หน้า ๕๗๗
ชาวยุโรปรูจ้ กั กรุงศรีอยุธยาในนามของเวนิสตะวัน ออกมาตัง้ แต่พทุ ธศตวรรษที่ ๒๒ แต่ความแตกต่างระหว่าง เวนิสและกรุงศรีอยุธยาก็คือ เวนิสสร้างขึ้นด้วยความหมั่น เพียรของมนุษย์แต่ฝา่ ยเดียว ส่วนกรุงศรีอยุธยาเกิดขึน้ โดย ธรรมชาติสร้างเท่าๆ กับฝีมือของมนุษย์ บาทหลวงเยซูอิตชาวฝรั่งเศสชื่อ ชัวซี ได้สรุป ภาพน้ ำนองรอบกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๒๒๓ ไว้ดังนี้ “เราไปเดินเล่นนอกเมือง...ข้าพเจ้า อดไม่ได้ที่จะชื่นชมเมืองขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่บน เกาะซึ่งล้อมรอบด้วยแม่น้ำอันกว้างกว่า แม่น้ำแซนถึงสามเท่า ในแม่น้ำเต็มไปด้วยเรือ ของชาวฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลันดา จีน ญี่ปุ่น และสยาม อีกทั้งเรือฝีพายที่ประดับประดา อย่างสวยงามเป็นจํานวนมาก แต่ละลํามีฝีพาย ประมาณ ๖๐ คน...แต่สิ่งที่น่าชื่นชมมาก ที่สุดคือหมู่บ้านแถบชานเมืองซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ อาศัยของคนหลายเชื้อชาติ ประปรายด้วย เรือนไม้ที่ปลูกในน้ำ วัว ควายและหมู ที่มอง จากไกลๆ ดูเหมือนกับว่าลอยอยู่ ทางน้ำ ทั้งหลายซึ่งใช้เป็นที่สัญจรเหมือนกับถนน มีน้ำใสสะอาดไหลออกไปไกลจนสุดลูกหูลูกตา จนลับหายไปใต้ต้นไม้ใหญ่ๆ หรือท่ามกลาง หมู่บ้านชานเมืองอันหนาแน่น ไม่ไกลจาก หมู่บ้านเหล่านี้เป็นทุ่งนา เรือสามารถพายลัด เข้าไปได้ มองไปรอบๆ จนสุดขอบฟ้าจะเห็น แต่รูปสะท้อนของยอดปรางค์ปราสาทและ เจดีย์ที่ปิดทองระยิบระยับ... ข้าพเจ้าไม่ทราบ ว่าสิ่งที่ได้อธิบายมานี้เป็นทิวทัศน์อันสวยงาม สําหรับท่านผู้อ่านหรือไม่ แต่สําหรับข้าพเจ้า เองแล้วไม่เคยเห็นภาพอะไรงดงามมากถึง เพียงนี้ ทุกสิ่งทุกอย่าง ยกเว้นเจดีย์ ล้วนแต่เป็น ส่วนหนึง่ ของธรรมชาติทเ่ี รียบง่ายทีส่ ดุ ”๒๐ (รูป ๔๐) ถึงกรุงศรีอยุธยาจะมีสภาพเป็นเมืองสะเทินน้ำ สะเทินบกที่งดงามอย่างไร แต่ก็เป็นเมืองที่ผิดรูปแบบไป จากเมืองในทัศนคติของชาวยุโรปในแง่ที่ชุมชนอยู่กระจาย ไม่มีจุดศูนย์กลาง ในช่วงที่รุ่งโรจน์กรุงศรีอยุธยาอาจมีประ ชากรทัง้ ในและนอกกําแพงเมืองรวมถึง ๑ ล้านคน ในจํานวน นี้คาดว่าผู้คนที่อาศัยอยู่นอกกําแพงมีจํานวนเท่าๆ กับที่อยู่ ในเขตกําแพงเมือง ประชาชนจะอพยพเข้ามารวมกันอยู่ใน กําแพงเมืองก็ต่อเมื่อข้าศึกล้อมเมืองเท่านั้น ในด้านสถาปัตยกรรมไม่มีอาคารหรือสิ่งก่อสร้างใดที่สามารถเรียกได้ ว่าเป็นศูนย์กลางใจเมือง สถานที่ตั้งของพระราชวังซึง่ อยู่ ชิดไปทางเหนือจะเรียกว่าเป็นศูนย์กลางของตัวเมืองก็มิได้ ข้อนี้แตกต่างกับเมืองอื่นในยุโรปซึ่งจะมีพระราชวังหรือ มหาวิหารอยู่กลางใจเมือง แต่การที่พระราชวังที่กรุงศรี-
อยุธยาตัง้ อยูเ่ ช่นนีก้ เ็ พือ่ จะได้อยูร่ มิ แม่นำ้ หลักเกณฑ์ดงั กล่าว ได้ถอื ปฏิบตั ใิ นการสร้างเมืองอืน่ ๆ หลายเมืองในเมืองไทยรวม ถึงกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยต่อมา
สัญลักษณ์ของระบบจักรวาล
อีกประการหนึง่ กรุงศรีอยุธยามีวดั วาอารามและ เจดีย์ใหญ่ๆ ที่น่าประทับใจเป็นอันมาก แต่ไม่มีวัดใดหรือ เจดีย์องค์ใดที่สร้างเด่นขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อเป็นสัญลักษณ์ แห่งเขาพระสุเมรุ กลางใจเมืองมีศาสนสถานอยู่แห่งเดียว ที่เรียกว่าภูเขา คือ ภูเขาทอง ซึ่งก็สร้างไกลออกไปนอก เมือง ไม่มลี กั ษณะสมเป็นเขาพระสุเมรุของเมืองได้เลย โดย ที่กรุงศรีอยุธยามีวัดและเจดีย์กระจัดกระจายอยู่ทุกหน แห่ง จึงควรพิจารณาความหมายจากอีกแง่หนึ่ง กล่าวคือ จะต้องถือว่าเป็นเมืองซึ่งประกอบด้วยเขาพระสุเมรุหลายๆ แห่งรวมกันแทนทีจ่ ะมีอยูแ่ ห่งเดียวในกลางใจเมือง เมือ่ ย้อน หลังไปถึงทัศนียภาพที่บาทหลวงชัวซีได้พรรณนาไว้ จะเห็น ได้ว่าเป็นภาพซึ่งเกิดจากการรวมเอารูปจําลองภูมิจักรวาล หรือเขาพระสุเมรุจํานวนหลายร้อยลูกเข้าไว้เป็นกลุ่มอย่าง งดงามที่สุดนั่นเอง
ป้อมค่ายแบบยุโรป ในช่วงประมาณ พ.ศ. ๒๒๒๓ สมเด็จพระนารายณ์ มหาราชโปรดฯ ให้วิศวกรฝรั่งเศสสํารวจออกแบบป้อม ปราการต่างๆ เช่นทีล่ พบุรี (รูป ๔๑, รูป ๔๒) นครศรีธรรมราชและบางกอก ที่กําแพงเพชรมีป้อมสี่เหลี่ยมมุมแหลม ยืน่ ออกมาเป็นรูปดาว (รูป ๔๓) ซึ่งเป็นลักษณะของผังป้อม ฝรัง่ เศสทีเ่ รียกว่าโวบอง (Vauban) จึงอาจเป็นผลงานของ ฝรั่งเศสอีกแห่งหนึ่งก็ได้ ผังป้อมแบบโวบองซึ่งฝรั่งเศสได้ ออกแบบไว้ให้ที่ใหญ่โตที่สุดอยู่ที่บางกอกด้านฝั่งซ้ายของ แม่น้ำเจ้าพระยาหรือฝั่งกรุงเทพฯปัจจุบัน ผังนี้เขียนลงชื่อ ไว้ว่า “โวลอง ค.ศ. ๑๖๗๗” (รูป ๔๔) ศักราชที่ระบุเป็นเรื่องน่าฉงน ฝรั่งคงเขียนปีผิด เพราะมีชาวฝรั่งเศสชื่อแวร์แกง เดอ โวลอง (Verquain de Volland) มาพํานักอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาหลังจากนั้นถึง สิบปี นอกจากนั้นคงเขียนทิศผิดอีกด้วย ถ้าเปรียบเทียบ กับผังที่ตีพิมพ์ในหนังสือฉบับตุรแปง๒๑ จะเห็นได้ชัดจาก ลักษณะรูปโค้งของแม่น้ำว่าป้อมที่โวลองออกแบบอยู่บนฝั่ง ขวา กล่าวคือซ้อนทับกรุงธนบุรี อย่างไรก็ดีป้อมบนฝั่งซ้าย เป็นป้อมซึ่งวิศวกรฝรั่งเศสได้รับพระบรมราชโองการให้ สร้างขึ้นมาจริงๆ หากแต่คงเป็นแบบซึ่งเล็กกว่าที่แสดงใน หนังสือฉบับตุรแปง ที่เรื่องนี้น่าสนใจเป็นพิเศษก็เพราะแบบ ของแวร์แกงกับแบบที่อยู่ในหนังสือฉบับตุรแปงถือว่าเป็น ผังเมืองรวมรุ่นแรกๆ ของกรุงเทพ-ธนบุรี จริงอยู่จุดประ- สงค์ในการสร้างป้อมก็เพื่อควบคุมหรือป้องกันมิให้เรือผ่าน
๒๐ หนังสือ Journal ou Suite de Voyage de Siam โดยบาทหลวง ชัวซี (Choisy) กรุงอัมสเตอร์ดัม ค.ศ. 1687 บันทึกลงวันที่ 27 ตุลาคม ๒๑ ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ฉบับตุรแปง กรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๒
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๘๗
รูป ๔๐ วัดขนอนเหนือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในสมัยโบราณ วัดวาอารามและชุมชนที่อยู่ อย่างกระจัดกระจายรอบๆ กรุงศรีอยุธยา คงเป็นทัศนียภาพที่คล้ายกันกับในรูปนี้
รูป ๔๑ ผังเมืองลพบุรี ประมาณ พ.ศ. ๒๒๓๐ วิศวกรฝรั่งเศสสํารวจและทําผังนี้ขึ้นมาใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ๔๐
๔๒
๔๓
รูป ๔๒ ป้อมมุมกําแพงเมืองลพบุรี ลพบุรีมีป้อมและกําแพงเมืองที่สูงที่สุดใน เมืองไทย
รูป ๔๓ ป้อมทุ่งเศรษฐี จังหวัดกําแพงเพชร เป็นป้อมสี่เหลี่ยม มีมุมแหลมยื่นออกมา เป็นรูปดาว เหมือนป้อมฝรั่งเศสที่เรียกว่า โวบอง (Vauban)
๔๔
รูป ๔๔ ผังป้อมกรุงเทพฯ วิศวกรฝรั่งเศส ชื่อแวร์แกง เดอ โวลอง ออกแบบไว้ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๒๓๐
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๘๙
๔๕
ไปได้ แต่โดยลักษณะและขนาดของป้อมแล้วเท่ากับเมืองๆ หนึ่งดีๆ นี่เอง ใน พ.ศ. ๒๒๓๑ อันเป็นปีสน้ิ รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทหารฝรัง่ เศสซึง่ โปรดฯให้เข้ามารักษาการณ์ ในสยาม ได้ยดึ เมืองบางกอกและป้อมฝัง่ ซ้ายนีไ้ ว้ซง่ึ เท่ากับ เป็นการปิดประเทศ เพราะอยุธยาขึ้นอยู่กับการคมนาคม ทางน้ำ การต่อสู้ระหว่างทหารไทยและผู้ยึดป้อมเป็นเรื่อง ที่น่าสนใจมาก เพราะฝ่ายไทยได้ขุดคลองเข้าไปรอบป้อม เพื่อลําเลียงเสบียงและยุทโธปกรณ์ให้แก่แนวหน้าซึ่งทําการ ยิงต่อสู้กับฝรั่งเศส (รูป ๔๕) ในที่สุดได้มีการเจรจาตกลง กันสําเร็จโดยทหารฝรั่งเศสยอมกลับประเทศของตนแต่โดย ดี ส่วนฝ่ายไทยเมื่อยึดป้อมคืนได้แล้วก็รื้อป้อมลงเสียบาง ส่วนเพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดมายึดปิดประเทศได้อีก
๔๖ รูป ๔๕ ป้อมซึ่งสร้างจริงที่กรุงเทพฯ แสดงอยู่ในผังซึ่งทําขึ้นในปลายสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อแสดง การต่อสู้ระหว่างทหารฝรั่งเศสและ ทหารไทย ฝ่ายไทยขุดคลองเข้าไปประชิด ป้อมซึ่งฝรั่งเศสได้ยึดไว้ ทั้งนี้เพื่อลําเลียง ยุทโธปกรณ์ให้แนวหน้า
รูป ๔๖ ผังเมืองบางกอก ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสที่กรุงศรีอยุธยา ปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นผู้ตีพิมพ์ อันที่จริงเมืองมีชื่อมาแต่เดิม ว่า ธนบุรีศรีมหาสมุทร
การสร้างเมืองบางกอก
เมืองบางกอกตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ได้สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๑๐๐ เพื่อเป็นด่านรักษาคลอง ลัดโค้งแม่น้ำเดิมซึ่งขุดระหว่าง พ.ศ. ๒๐๗๗ และ พ.ศ. ๒๐๘๐ ซึ่งปัจจุบันคลองลัดนี้ได้กลายเป็นลําแม่น้ำเจ้าพระยาไปแล้ว บางกอกนั้นมีชื่อเดิมว่าธนบุรีศรีมหาสมุทร๒๒ ซึ่งระบุให้เห็นถึงความสําคัญของเมืองและความสัมพันธ์ที่ มีต่อทะเล อย่างไรก็ตาม บางกอกเป็นเมืองขนาดเล็กวัด ขนาดภายในกําแพงเมืองได้เพียง ๒๖๐ x ๒๘๐ เมตร ทั้ง เมืองมีคลองตัดกันอยูส่ องสายและสะพานถาวรเพียง ๖ แห่ง เท่านั้น (รูป ๔๖) ลักษณะชุมชนที่บางกอกคงคล้ายกันกับที่กรุงศรี อยุธยา คือมีผคู้ นอาศัยกระจัดกระจายอยูน่ อกกําแพงเมือง มากพอๆ กับภายในกําแพงเมืองและส่วนใหญ่อาศัยอยูต่ าม ลําแม่นำ้ และเมือ่ กรุงธนบุรกี ลายมาเป็นเมืองหลวงของไทย พลเมืองที่อยู่ตามลําน้ำคงจะต้องขยายตัวขึ้นอย่างมาก อนึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ขยายเมืองจากฝั่งขวา ข้ามแม่นำ้ มาบนฝัง่ ซ้ายโดยการสร้างกําแพงเมืองและคูเมือง ใหม่ ซึ่งตรงกับแนวคลองคูเมืองชั้นใน หากพิจารณาตามนี้ ประกอบกับจํานวนเรือนแพซึง่ อยูก่ นั แน่นในแม่นำ้ ศูนย์กลาง ชุมชนก็เท่ากับอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยาพอดี
๒๒ ดูวิทยานิพนธ์เรื่อง “ธนบุรี : ลักษณะเมือง สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์” โดย นางสาววิชชุตา วุธาทิตย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๑๙
๒๙๐ ภูมิหลัง
๔๗
กํ าเนิดของกรุงเทพมหานคร การสร้างเมืองบนฝั่งซ้ายตรงบริเวณที่เป็นโค้ง แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นการลอกเลียนประสบการณ์การสร้าง เมืองจากกรุงศรีอยุธยา การเลือกโค้งแม่น้ำเป็นที่ตั้งถิ่น ฐานเท่ากับว่าคนไทยได้สูตรการสร้างเมืองที่เหมาะสมกับ ภูมปิ ระเทศ และสัญชาตญาณของตนอย่างที่สุดแล้ว ถ้า เปรียบเทียบการสร้างเมืองตามลําน้ำที่เป็นเส้นตรงกับที่โค้ง แม่น้ำ จะเห็นได้ทันทีว่าที่ใดจะเหมาะสมกว่า ถึงแม้ว่าที่ตั้ง บนฝั่งซ้ายจะไม่เป็นโค้งแม่นำ้ มากนัก แต่โดยหลักการวางผัง เมืองแล้วถือว่าคล้ายกับที่กรุงศรีอยุธยา
ใน พ.ศ. ๒๓๒๕ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาเมืองฝั่งซ้ายเป็นราชธานี ซึ่ง เหมือนกับพระเจ้าอู่ทองย้ายข้ามฟากเข้าไปอยู่ในโค้งแม่น้ำ เพื่อตั้งกรุงศรีอยุธยา เพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดีกว่า สงครามกับพม่าในสมัยนัน้ ยังมิได้หมดสิน้ ถ้าพม่าทําสงคราม ก็จะยกทัพมาทางทิศตะวันตก กล่าวคือทางฝั่งขวาของแม่ น้ำ นอกจากนีโ้ ค้งแม่นำ้ ทําให้ฝง่ั ขวาถูกกระแสน้ำเซาะอยูเ่ รือ่ ยๆ ไม่เหมือนกับฝัง่ ซ้ายซึง่ น้ำไม่เซาะ แถมยังเป็นพืน้ ทีด่ อนเหมาะ ในการสร้างพระราชมณเฑียรและวัดวาอารามซึ่งเป็นอิฐปูน อยู่ในน้ำไม่ได้ อีกทั้งถัดไปทางด้านตะวันออกของฝั่งซ้าย พื้นที่ต่ำเป็นหนองบึงเหมาะที่จะช่วยกีดกันทัพข้าศึกได้
รูป ๔๗ ผังเมืองกรุงเทพฯ โบราณ แสดงเฉพาะคลองโบราณและป้อมปราการ
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๙๑
ลักษณะการสร้างพระนครในครัง้ นีแ้ สดงให้เห็นถึง ความพยายามที่จะจําลองความรุ่งเรืองของกรุงเก่ามาไว้ ณ ที่ใหม่ ในประเด็นนี้ชื่อเมืองก็ระบุให้เห็นถึงความพยายาม ทีจ่ ะ “ย้าย” กรุงศรีอยุธยามาไว้ในโค้งแม่นำ้ ใหม่นช้ี อ่ื “กรุง เทพมหานคร” มีความหมายว่า “แม่น้ำ (กรุง หรือ เกริง) ของเทพเจ้าและภูเขาของพระอินทร์หรือเขาพระสุเมรุ (นคร) อันศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่ (พระมหา)” การสร้างกรุงเทพฯ ในครั้งนี้เพียบพร้อมไปด้วย พระราชพิธตี า่ งๆ รวมทัง้ การตัง้ หลักเมือง ส่วนกําแพงเมือง ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างค้างไว้ถูกรื้อลง เพื่อขยายแนวกําแพงและคูเมืองให้กว้างออกไปอีก ซึ่ง แนวกําแพงเมืองและคูเมืองดังกล่าวก็คือคลองโอ่งอ่าง (คลองรอบกรุง) ในการสร้างพระราชวังและวัดวาอาราม ความพยายามทีจ่ ะจําลองกรุงเก่าเห็นได้ชดั จากงานสถาปัตยกรรมอันวิจติ รพิสดาร ซึง่ ถึงแม้จะแตกต่างกันในรายละเอียด กับสิ่งก่อสร้างที่กรุงศรีอยุธยา แต่ในความคิดและในความ รูส้ กึ ของช่างถือว่าเป็นการจําลองกรุงเก่ามาจริงๆ แม้แต่ภเู ขา ทองนอกกําแพงเมืองก็ยังมีขึ้นในที่สุด๒๓
ลักษณะยืดหยุ่นของระบบผังเมืองไทย
เฉกเช่นกรุงศรีอยุธยา กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่กระ จัดกระจายไม่มีศูนย์กลางใจเมือง กล่าวคือมีลักษณะตรง กันข้ามกับความเป็นเมืองในทัศนคติของฝรั่งซึ่งมี วัง มหา วิหาร หรือศาลากลาง เป็นจุดศูนย์กลาง หรือเขมรซึ่งถือว่า ปราสาทบายนเป็นศูนย์กลางของนครหลวง ที่อาจจะเป็น กลางใจเมืองได้คอื ทุง่ พระเมรุของกรุงเทพฯ ก็เป็นแต่เพียง ที่โล่งๆ สําหรับประกอบกิจกรรมต่างๆ หรือสําหรับนานๆ ครั้งไว้สร้างพระเมรุ หรืออีกนัยหนึ่งเขาพระสุเมรุซึ่งก็เป็น สิ่งก่อสร้างเพียงชั่วคราวแทนที่จะเป็นสิ่งก่อสร้างถาวร ดัง นั้นศูนย์กลางใจเมืองที่กรุงเทพฯ จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ถ้า จะมีก็เป็นแต่เพียงสิ่งซึ่งอยู่ภายใต้จิตสํานึกเท่านั้น
กรุงเทพฯเมืองน้ำ
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ กรุงเทพฯได้ขยายเขตออกไป ทางด้านตะวันออก (รูป ๔๗) ในการนีพ้ ระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคูเมืองชั้นนอก คือคลองผดุงกรุงเกษม และสร้าง
รูป ๔๘ เรือนแพสมัยโบราณ กรุงเทพฯ เกือบทั้งเมืองเคยลอยอยู่ในน้ำ ด้วยเรือนแพ มีแต่วัดและวังที่สร้างด้วย อิฐปูนตั้งอยู่บนที่ดอน ส่วนบ้านใต้ถุนโล่ง บนฝั่งมีอยู่อย่างประปรายเท่านั้น รูปนี้มา จากหนังสือ Reise Nach Siam, Java, Neu-Guinea und Australasien โดย Eisenstein, Wien 1904
๔๘
๒๙๒ ภูมิหลัง
๔๙
รูป ๔๙ การ์ตูนรูปน้ำท่วมกรุงเทพฯ จากหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ ฉบับวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๓
ป้อมปราการโดยไม่สร้างกําแพงในแนวเดียวกัน ๖ แห่ง รวม ถึงป้อมป้องปัจจามิตรซึ่งตั้งอยู่ฝ่งั ขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงกันข้ามกับป้อมปิดปัจจนึกซึ่งตั้งอยู่ปากคลองผดุงกรุงเกษมด้านใต้ คูเมืองชั้นนอกนี้กลายเป็นคลองสัญจรสําคัญ ซึ่งเชื่อมกับคลองนับจํานวนไม่ถ้วนทั้งภายในเมืองและชาน เมือง ดังทีไ่ ด้บรรยายไว้แล้วว่า กรุงเทพฯเป็นเมืองซึ่งแปลก ประหลาดทีส่ ดุ ในโลกเพราะเป็นเมืองลอยอยูใ่ นน้ำ (รูป ๔๘) ฝรั่งที่ได้สํารวจกรุงเทพฯ ในปลายรัชกาลที่ ๓ กล่าวไว้ว่า “มีเรือนแพอยู่ประมาณ ๗๐,๐๐๐ หลัง”๒๔ หรือคํานวณ เป็นจํานวนประชากรได้ ๓๕๐,๐๐๐ คน ประชากรทั้งเมืองใน ขณะนัน้ คงมีไม่เกินจํานวนดังกล่าวมากนัก เพราะปรากฏว่า ในสมัยรัชกาลที่ ๔ กรุงเทพฯ มีประชากรประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ คนเท่านั้น นอกจากเรือนแพแล้วบ้านเรือนของ ราษฎรอีกส่วนหนึ่งก็เป็นประเภทเรือนยกพื้นสูงบนเสาไม้ ในส่วนอืน่ ๆ กรุงเทพฯอาจมิได้จําลองสิ่งก่อสร้างอันวิจิตร พิสดารมาได้ครบ แต่ในด้านสัญชาตญาณทางน้ำแล้วถือว่าได้ แสดงออกซึง่ ลักษณะดังกล่าวมากกว่าทีก่ รุงศรีอยุธยาเสียอีก
รูป ๕๐ สวนชานบ้าน เป็นสวนไทยแท้ ประกอบด้วยกระถางต้นไม้ ตั้งเรียงอยู่บนชานบ้านเหนือระดับน้ำท่วม ๕๐ รูป ๕๑ แม่ย่านางรถสิบล้อ ตรงหน้าพวงมาลัยรถสิบล้อ ต้องมี แม่ย่านางผูกไว้เสมอ ปกติแม่ย่านางเป็น เครื่องบูชาที่หัวเรือ สําหรับช่วยนําทาง ให้เรือไปสู่จุดหมายปลายทาง
๒๓ เดิมสร้างเป็นพระปรางค์องค์ใหญ่ หากแต่ทรุดทลายลงมากลายเป็นฐาน พระบรมบรรพต หรือภูเขาทองไปในทีส่ ดุ ๒๔ นีล อ้างถึงแล้ว เป็นผู้ให้ตัวเลขนี้ ส่วนเทาน์เซนด์ แฮริส (Townsend Harris) ทูตอเมริกันในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ แย้งว่าเรือนแพมี ๗,๐๐๐ หลังเท่านั้น ๕๑
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๙๓
อิทธิพลของการดํารงชีวิตแบบตะวันตก
การดํารงชีวติ แบบอยูบ่ นบกทีก่ รุงเทพฯ เริม่ แสดง ร่องรอยใน พ.ศ. ๒๔๐๐ เมื่อมีการสร้างถนนขึ้นมาเป็นครั้ง แรก ตามมาด้วยรถรางใน พ.ศ. ๒๔๓๐ และรถไฟใน พ.ศ. ๒๔๔๓ นอกจากนี้ในสมัยการล่าอาณานิคม คนไทยจําเป็น ต้องเลียนแบบวิถีการดํารงชีวิตจากฝรั่ง ทั้งนี้เนื่องจากฝรั่ง วัดความเจริญด้วยเทคโนโลยีและวัฒนธรรมของเขาเท่านั้น หากประเทศใดไม่เจริญในสายตาของเขาแล้วก็อาจตกไปเป็น เมืองขึ้นได้ ในเมื่อวัฒนธรรมฝรั่งเป็นวัฒนธรรมของคนที่ อยู่บนบก ความขัดแย้งระหว่างวิถีการดํารงชีวิตแบบชาว น้ำและชาวบกก็เกิดขึ้น มีชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งเดินทางมา กรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และได้บรรยายสิง่ ทีเ่ ขาได้เห็น ในหนังสือว่า คนไทย “...ไม่มีเวลาพอที่จะปรับตัวเอง ให้เข้ากับการปฏิรูปบ้านเมืองซึ่งกําลังมีขึ้นอยู่ ทุกขณะ ไม่ว่าในส่วนราชการหรือในชีวิต ประจําวันของประชาชน ความเชื่อถือและ ประเพณีอันล้าสมัยกําลังต้องสลายตัวอยู่ แทบทุกวัน การเปลี่ยนแปลงสภาพของถนน หนทางอันประกอบด้วยรถรางไฟฟ้าที่แล่นไปมา ระหว่างวัดวาอารามและช้างซึ่งผู้คนนับถือ ตลอดจนความชุลมุนวุ่นวายระหว่างรถจักรยาน ซึ่งวิ่งชนเสลี่ยงที่ใช้คนหามเจ้านาย ทําให้ เห็นชัดว่าการสัญจรสมัยใหม่ขัดแย้งกัน อย่างมากกับสิ่งที่คนพื้นเมืองเคยชิน...”๒๕ เราต้องเข้าใจว่าข้อความนี้เขียนในสมัยที่ฝรั่งเศส ก้าวร้าวรุกรานไทยถึงกับส่งเรือรบเข้ามาปิดแม่น้ำ แต่ก็เป็น ข้อความในเชิงมานุษยวิทยาที่น่าสนใจมาก เขากล่าวต่อไป ว่ากรุงเทพฯ ประกอบด้วย “สองเมืองที่ซ้อนกันอยู่ คือเมืองน้ำ และเมืองบก ทั้งสองเมืองอยู่ด้วยกันอย่างขัดๆ และต่างทําหน้าที่ซ้ำซ้อนกัน เพียงแต่วิธีไม่ ตรงกัน ยิ่งกาลเวลาผ่านไปก็ยิ่งจะเห็นความขัด แย้งดังกล่าว อีกไม่ช้าเมืองบกจะต้องชนะ เมืองน้ำ และเมื่อนั้นนักภูมิศาสตร์ที่ชอบให้ สมญานามแปลกๆ แก่กรุงเทพฯเห็นจะต้อง เลิกใช้คําว่าเวนิสตะวันออกเสียที”๒๖ ในระยะแรกๆ คนไทยได้รับเอาวัฒนธรรมฝรั่งซึ่ง เป็นวัฒนธรรมของชาวบกมาใช้อย่างไม่ค่อยคล่องตัวนัก แต่ในไม่ช้าก็ “เห่อ” วัฒนธรรมฝรั่ง และในที่สุดสิ่งที่เห่อ ก็กลายเป็นสิ่งจําเป็นประจําวันไป สถาปัตยกรรมเริ่มต้น ด้วยแบบคลาสสิกของฝรั่ง ตามมาด้วยแบบอย่างอื่นๆ ซึ่ง สรุปแล้วเป็นการสร้างอาคารอยูต่ ดิ กับพืน้ ดินทัง้ สิน้ ส่วนคน จีนซึง่ มีวฒ ั นธรรมแบบชาวบกเป็นส่วนใหญ่อยูแ่ ล้วก็สร้างห้อง
๒๙๔ ภูมิหลัง
แถวซึง่ เป็นอาคารอยูต่ ดิ กับพืน้ ดิน จนกระทัง่ ในปัจจุบนั ห้อง แถวจึงปรากฏอยู่ทั่วบ้านทั่วเมืองไปหมด ในเวลาเดียวกัน เทศบาลก็ถมคูคลองเพื่อสร้างถนน และฝังท่อระบายน้ำ แทน ประชากรกรุงเทพฯ เพิ่มจํานวนจาก ๔๐๐,๐๐๐ คน เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐ มาเป็นประมาณ ๖ ล้านคน รวม ทั้งชุมชนชานเมืองในพ.ศ. ๒๕๒๔ ระบบทางด่วนและ ระบบขนส่งมวลชนซึ่งจะต้องยกระดับสูงเกือบทั้งหมด จะ ต้องเปลีย่ นทัศนียภาพกรุงเทพฯ ซึง่ เพิง่ ได้เปลีย่ นรูปลักษณะ จากเมืองทีใ่ ช้การสัญจรทางน้ำมาเป็นเมืองทีข่ น้ึ กับการสัญจร ทางบกเมื่อไม่นานมานี้เอง สรุปแล้วกรุงเทพฯกําลังจะถูก เปลี่ยนรูปลักษณะครั้งใหญ่อีกเป็นครั้งที่สอง นครอันใหญ่มหึมาดังเช่นกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน เปรียบเสมือนสัตว์ประหลาดที่ขาดความสัมพันธ์กับภูมิหลัง และสิ่งแวดล้อมของตัวเอง กรุงเทพฯ ทั้งเมืองสร้างขึ้นบน แผ่นคอนกรีตอันกว้างใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นจากการถมที่ลุ่ม ด้วย ความมุ่งหมายจะให้เป็นเมืองบนบก แต่ทุกๆ ปีเมืองที่สร้าง ขึ้นโดยฝืนธรรมชาตินี้ก็ถูกน้ำท่วมกลายเป็นเมืองที่หมด สมรรถภาพ “...ดังเช่นกรณีสัตว์ทะเลซึ่งถูก บังคับให้ขึ้นฝั่งแล้วแปรร่างเป็นสัตว์บก... ทันทีทันใดมันก็จะขาดสัญชาตญาณที่มีมา แต่เดิมเพราะจะต้องมีขารับน้ำหนักทรงตัวอยู่ แทนที่จะลอยอยู่ในน้ำอย่างสบายๆ เหมือน แต่ก่อน ในลักษณะเช่นนี้ มันจะรู้สึกว่าตัวเอง หนักงุ่มง่าม จะขยับตัวไปมาก็ด้วยความ ลําบากติดขัดไปหมด เพราะในโลกใหม่ของ มันนี้มันไม่สามารถพึ่งสัญชาตญาณอะไร ได้อีกแล้ว...”๒๗ ทุกๆ ปี เมื่อถึงฤดูน้ำหลากและการจราจรในกรุง เทพฯ ติดขัด (รูป ๔๙) พวกเด็กๆ กลับสนุกสนานเบิกบาน ใจ ในขณะที่สวนสาธารณะที่ทางราชการพยายามสร้างขึ้น โดยเลียนแบบมาจากอุทยานล่าสัตว์ของฝรั่งไม่ค่อยจะได้ ผล ผู้เฒ่าผู้แก่จะขยันรดน้ำต้นไม้กระถางซึ่งตั้งอยู่บนชาน บ้านเหนือระดับน้ำท่วม (รูป ๕๐) ท่ามกลางการจราจรที่ เบียดเสียดเยียดยัดบนถนน คนขับรถสิบล้อจะผูกแม่ยา่ นาง ไว้บูชาเหนือพวงมาลัย (รูป ๕๑) เพื่อช่วยนําทางให้พาหนะ ของเขาสามารถฝ่าทะเลอันปราศจากกาลเวลาไปสู่จุดหมาย ปลายทางได้ นี่แหละคือสัญชาตญาณทางน้ำของคนไทยซึ่ง เป็นแรงดันให้เกิดศิลปวัฒนธรรมที่ได้บรรยายมาตั้งแต่ ต้น และก็เป็นสัญชาตญาณที่กําลังจะหายสาบสูญไปในที่สุด
รูป ๕๒ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดอัมพวันเจติยาราม จังหวัดสมุทรสงคราม ภาพเขียนผนังด้านหน้า บริเวณผนังทิศ ตะวันออกด้านหน้าพระประธาน เป็นภาพพระราชพิธบี รมราชาภิเษก ทุกขัน้ ตอน ตัง้ แต่การเตรียมพระราชพิธี จารึกพระสุพรรณบัตร และจบด้วย ภาพล่างสุด เป็นภาพกระบวนพยุหยาตรา เลียบพระนครทางสถลมารค ซึง่ ในส่วนนี้ มีภาพทีส่ มเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงลงฝีพระหัตถ์ เป็นพระฤกษ์ดว้ ย
๒๕ หนังสือ Le Siam et les Siamois โดย เจ.อ๊อช (J.Hoche) ปารีส ค.ศ. 1898 หน้า 132 ๒๖ เล่มเดียวกัน ๒๗ หนังสือ The Birth of Tragedy and the Genealogy of Morals โดย ฟริดริค นิชเช่อ (Friedrich Nietzche) ค.ศ. 1956 หน้า 27
หน้ากระดาษเปล่า
ลักษณะชุมชนและผังเมือง
๒๙๕
๒๙๖
ภูมิหลัง
ภาค
๔
สถาปัตยกรรมแบบไทยเดิม โชติ กัลยาณมิตร
หน้า
๒๙๘ บทนำ ๓๑๐ บทที่ ๑ พื้นฐานทางปรัชญา ของสถาบัตยกรรมไทย ๓๖๕ บทที่ ๒ วัดในประเทศไทย ๓๘๘ บทที่ ๓ เรือนไทย ๔๐๘ อภิธานศัพท์สถาปัตยกรรม ๔๑๕ บรรณานุกรม สถาปั ตยกรรมแบบไทยเดิ ม ม สถาบั ตยกรรมแบบไทยเดิ
๒๙๗
บทนำ
การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ปัญหาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทย พุทธศาสนิกชนและศาสนวัตถุ การหยุดพัฒนาของสถาปัตยกรรมไทย อนาคตของวิชาสถาปัตยกรรมไทย วิธีการสืบทอดวิชาชีพทางช่างของไทย บทบาทของครูช่าง ครูช่างและระบบอุปถัมภ์ สังคมไทยและการยกย่องงานทางศิลปะ
๒๙๘ ภูมิหลัง
การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
ชาติเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ของโลกทุกชาติย่อม มีวฒ ั นธรรมของตนเองปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐาน ในบรรดา วัฒนธรรมที่ยืนยงคู่ความยาวนานของกาลเวลานั้น นับว่า วัฒนธรรมทีแ่ สดงออกในด้านวัตถุทง้ิ ร่องรอยไว้ให้เห็นชัดเจน กว่าวัฒนธรรมในรูปอื่น ทําให้คนรุ่นหลังสามารถศึกษา วิวัฒนาการของความเจริญทางวิชาการได้จากรูปของศิลปวัตถุ วิธกี ารก่อสร้าง และสิง่ ทีเ่ ป็นหลักฐานทีย่ งั ปรากฏอยูห่ รือ สามารถอ่านประวัตศิ าสตร์ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่าง ชาติของตนกับชาติต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงได้ มีบุคคลจํานวนไม่น้อยที่มีความสงสัยว่าเหตุใดเรา จึงจะต้องศึกษาสิ่งที่เสื่อมสลายไปแล้ว น่าจะนําเวลาที่สูญ เสียไปในด้านการค้นหาความรู้ในอดีตนั้นมาใช้ทําประโยชน์ ในปัจจุบัน หรือค้นคว้าบุกเบิกไปสู่ชีวิตและวิธีการที่ดีขึ้นใน อนาคต ส่วนแผ่นดินที่มีซากปรักหักพังของอดีตนั้นก็น่า จะได้ นํ า มาใช้ ป ระโยชน์ เพื่ อ ให้ เ กิ ด ผลในด้ า นเศรษฐกิ จ แก่สังคม สิ่งที่กระทําเพื่อปัจจุบันและเพื่ออนาคตนั้นเป็น ธรรมชาติอันเป็นปกติวิสัยของมนุษย์อยู่แล้วเพื่อการดํารง ชีวิตและยกระดับของชีวิตประจําวันให้ดียิ่งขึ้น แต่มนุษย์มิ ได้ใช้เวลาทั้งหมดเพื่อการสร้างและเสพเพื่อต่อชีวิตเสมอไป หากแต่มนุษย์ยังต้องการเวลาศึกษาค้นคิดหาวิธีการที่จะ พัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น และต้องการเวลาพักผ่อนที่มี สัดส่วนสัมพันธ์กันด้วย ในกระบวนการค้นคิดหาวิธีการดัง กล่าวนั้นเราย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่า กิจกรรมที่จะปฏิบัติต่อไป ในวันรุ่งขึ้นเป็นกิจกรรมที่สืบเนื่องไปจากผลของกิจกรรมที่ กําลังกระทําอยู่ในวันนี้ และกิจกรรมที่กําลังกระทําในวันนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากที่ได้กระทําแล้วในวันก่อน สัปดาห์ ก่อน เดือนก่อนหรือปีกอ่ น และเมือ่ กิจกรรมนัน้ เป็นกิจกรรม ที่ต้องกระทําร่วมกันของสังคมใดสังคมหนึ่ง ก็ย่อมจะต้อง มีความสืบเนื่องจากผลของการกระทําที่ผ่านไปแล้วในอดีต อย่างแน่นอน การศึกษาบันทึกความคลีค่ ลายในปัญหาต่างๆ ที่ผ่านมาเป็นการศึกษาหลักฐานและสถิติเพื่อที่จะสร้างการ คาดคะเนและมีวิธีตัดสินใจเมื่อเผชิญปัญหาวันข้างหน้า
พฤติกรรมเช่นนี้เป็นสิ่งที่ยอมรับและปฏิบัติกันในวงการ ประกอบวิชาชีพในปัจจุบัน การสืบค้นข้อมูลย้อนหลังได้ไกล และแน่นอนเพียงใดย่อมเป็นการประกันความถูกต้องในการ กําหนดแผนการในอนาคตเพียงนั้น วิชาวิทยาศาสตร์นน้ั เป็นวิทยาการของเหตุผลและ ข้อเท็จจริง เป็นวิชาการของโลกในปัจจุบนั และโลกในอนาคต แม้กระนั้นก็ตาม วิชาการแขนงนี้ก็ยังพยายามที่จะค้นหา และศึกษาเรื่องราวความเป็นมาของโลกในอดีตและกําเนิด ของโลก การค้นหาชั้นดิน ชั้นหินและพืชในอดีตได้เป็นประ โยชน์แก่วิชาการในสมัยปัจจุบันเพียงใดนั้นย่อมเป็นที่ประ จักษ์แล้ว การศึกษาศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ก็ เช่นกันเป็นวิทยาการที่จําเป็นแขนงหนึ่ง การอนุรักษ์ศิลปวัตถุและโบราณสถานไว้ มิได้หมายเพียงแต่รักษาก้อนวัตถุ หรือกองหินเพื่อกีดขวางมิให้ชุมชนขยายออกไป หรือหาได้ หมายให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายเนื้อที่ทางเกษตรกรรม หรืออุตสาหกรรมแต่ประการหนึง่ ประการใดไม่ หากเป็นการ รักษาแหล่งค้นคว้าทางวิชาการและหลักฐานในอดีตไว้เพื่อ ศึกษารายละเอียดของเหตุการณ์ เพราะกองอิฐหรือกอง หินนัน้ อาจเป็นคําตอบทีต่ อ่ เชือ่ มส่วนของวิชาการและประวัต-ิ ศาสตร์ที่ขาดหายไปก็ได้ ในแต่ละชุมชนย่อมจะมีบุคคลที่ประกอบอาชีพ ต่างๆ กัน มีความสนใจในแขนงวิชาการแตกต่างกัน ด้วย เหตุนี้การที่บุคคลผู้หนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งแต่เพียงผู้เดียวหรือ กลุ่มเดียวจะตัดสินความมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์ของ บางสิ่ง ดังเช่นการรักษาศิลปวัฒนธรรมเดิมหรือโบราณ- สถานโดยไม่ให้โอกาสแก่นักวิชาการด้านนี้สืบทอดและพัฒนาได้ต่อไปจึงเป็นการไม่ยุติธรรม ภายในอาณาเขตที่เป็นดินแดนของประเทศไทย ในปัจจุบนั นี้ มีมรดกอันเป็นหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมหลายอาณาจักรและหลายสมัย สะสมไว้คอยให้ค้นคว้าศึกษาเป็นจํานวนมากมาย วัฒนธรรม เหล่านี้มีความเก่าแก่และมีความสําคัญไม่น้อยไปกว่าวัฒนธรรมของชนชาติตะวันออกกลางและยุโรป วัฒนธรรมบาง
บทนำ ๒๙๙
กลุ่มที่เพิ่งจะมีการเปิดเผย ก็มีเค้ามูลว่าจะเป็นวัฒนธรรมที่ เก่าแก่ที่สุดของโลกด้วยแห่งหนึ่ง ดังเช่นหลักฐานการขุด ค้นทางโบราณคดีที่บ้านเชียงในเขตจังหวัดอุดรธานี ใน ประเทศไทยนี้มีเมืองโบราณหลายแห่งที่ยังกระจัดกระจาย อยู่ในท้องถิ่นห่างไกลทั่วไปเกือบทุกภาค ยังไม่มีการขุดค้น และศึกษารายละเอียดว่าเมืองเหล่านีเ้ ป็นเมืองในวัฒนธรรม กลุ่มใดอย่างแน่ชัด การขึ้นทะเบียนแหล่งประวัติศาสตร์เหล่านี้เพื่อ อาศัยอํานาจกฎหมายคุม้ ครองเป็นความจําเป็นทีจ่ ะต้องกระ ทําในอันดับแรก มิฉะนั้นผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจจะทําลาย หลักฐานเหล่านี้ได้ สิ่งที่คนทั่วไปมองเห็นว่าเป็นปัญหาใน การศึกษาด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในปัจจุบันก็คือ การที่ทางการไม่อาจทําการขุดค้นและอนุรักษ์ได้ทันกับการ ที่แหล่งหลักฐานนั้นต้องถูกทําลายไปอย่างน่าเสียดาย การ ทีง่ านในด้านนีไ้ ม่กา้ วหน้าเท่าทีค่ วรก็เพราะต้องมีงบประมาณ เป็นจํานวนมากเพื่อขุดค้นแหล่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีแต่ละแห่ง ต้องการเวลาในการศึกษาอย่าง ละเอียดและที่สําคัญก็คือจะต้องมีนักวิชาการที่สามารถให้ พอเพียง แต่ในปัจจุบันนี้แม้เพียงงานในด้านการอนุรักษ์โบราณสถานเท่าที่ได้ขุดค้นและบูรณะแล้วก็ยังเกินขีดความ สามารถของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เพราะทางราชการ ไม่อาจระดมงบประมาณและสร้างบุคลากรได้ ในขณะทีป่ ระ เทศยังต้องการการพัฒนางานในด้านอื่นที่มีความจําเป็นรีบ ด่วนกว่า ดังนั้นแม้ว่าเราจะมีข้อมูลทางโบราณคดีและประ วัติศาสตร์อยู่ เราก็ยังไม่อาจใช้ข้อมูลนั้นได้อย่างเต็มที่นัก เพราะอุปสรรคดังกล่าว
๑
๓๐๐ ภูมิหลัง
ปัญหาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทย
รูป ๑ พระเจดียจ์ าํ ลองของพระปฐมเจดียอ์ งค์เดิม ที่ลานชั้นประทักษิณพระปฐมเจดีย์ จังหวัด นครปฐม แสดงให้เห็นถึงลักษณะของ พระปรางค์แบบอยุธยาตอนปลายหรือ รัตนโกสินทร์ตอนต้นซึ่งตั้งอยู่บนเนินดินที่ เคยเป็นเจดียใ์ นสมัยมอญมาก่อน รูปแบบผสมนี้คือพระปฐมเจดีย์ตามที่ ปรากฏอยู่ครั้งหลังสุดในสมัยรัชกาลที่ ๔ ก่อนที่จะสร้างตามแบบปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓
ในปัจจุบนั การศึกษาศิลปวัฒนธรรมของไทย โดย เฉพาะในเรื่องของสถาปัตยกรรม ผู้ที่มีความสนใจในด้านนี้ จะต้องมีความระมัดระวังในการวินิจฉัยรูปแบบของสมัย ของสถาปัตยกรรมอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพราะมีตัวอย่าง ปรากฏในที่หลายแห่งว่าได้มีการแก้ไขดัดแปลงโดยไม่ทราบ หลักฐานว่าได้กระทําขึ้นเมื่อใดและด้วยเหตุใด ดังเช่นตัว อย่างภาพเขียนพระปฐมเจดีย์องค์เดิมที่มีรูปปรางค์ตั้งอยู่ บนเนินดิน การจําลองแบบพระปฐมเจดีย์องค์เดิมไว้ที่ลาน ประทักษิณขององค์พระปฐมเจดียก์ เ็ ช่นกัน (รูป ๑) อาจทําให้ เกิดการเข้าใจผิดคิดว่าเป็นหลักฐานเดิม แต่ที่จริงนั้นหลัก ฐานที่แท้จริงขององค์พระปฐมเจดีย์อาจเหลือเพียงโคกดิน เท่านั้น ยอดปรางค์บนเนินดินนั้นเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นในสมัย อยุธยาตอนปลายหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น การที่แบบและสมัยปะปนกันเช่นทีย่ กขึ้นกล่าวเป็น ตัวอย่างนี้ มีอยู่ในสถาปัตยกรรมที่ยังคงรูปอยู่เป็นจํานวน มาก จนนักการศึกษาทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสมัย ปัจจุบันมักจะกล่าวตําหนิอยู่เสมอ
พุทธศาสนิกชนและศาสนวัตถุ
รูป ๒ ภาพแสดงการนิยมถวายจีวรห่มพระพุทธรูป ตามทีป่ ฏิบตั ทิ ว่ั ไปในทุกสมัยเพือ่ หวังบุญกุศล
ก่อนทีจ่ ะกล่าวต่อไปถึงเรือ่ งราวของสถาปัตยกรรม ไทย น่าจะได้มีการทําความเข้าใจถึงความคิดเห็นของพุทธ ศาสนิกชนไทยทีม่ ตี อ่ วัตถุทางศาสนาซึง่ ยังไม่ใคร่จะมีผกู้ ล่าว ถึงมากนัก นั่นคือการมองสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อ ศาสนาในรูปของวัตถุที่ต้องสนองประโยชน์ใช้สอย แต่เดิมเราไม่เคยมีการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ ของศิลปะ จะมีการบันทึกประวัติศาสตร์ก็เป็นเพียงการบันทึกเหตุการณ์ในรูปของพงศาวดารเท่านั้น สถาปัตยกรรมที่ สร้างขึ้นก็เป็นการสร้างเพื่อความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และเพื่อความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ท่ถี ือกัน ว่าทรงเป็นสมมุตเิ ทพ เมือ่ สถาปัตยกรรมเหล่านัน้ ยังมีความ สืบเนือ่ งในการใช้สอยก็จะมีผคู้ อยซ่อมบูรณะหรือต่อเติมเพือ่ ให้คงใช้ประโยชน์ได้ตอ่ ไป อนึง่ การสร้างหรือต่อเติมบูรณะ อาคารทางศาสนานัน้ ในอดีตถือว่าเป็นการสร้างบุญกุศลเพือ่ ความมีชวี ติ ทีด่ ใี นชาติภพใหม่ หรือเพือ่ ให้ได้ชน้ั ภูมทิ ด่ี มี คี วาม สุขในสวรรค์ ดังนั้นจึงปรากฏอยู่เสมอมาว่าหากพุทธศาสนิกชนพบพระพุทธปฏิมาทีอ่ งค์หรือเศียรชํารุดเขาก็จะบูรณะ ใหม่ให้มคี วามสมบูรณ์งดงามทีส่ ดุ โดยไม่คาํ นึงถึงเนือ้ วัตถุเดิม
หรือแบบศิลปะเดิม เขาอาจหาช่างมาปัน้ ผิวปูนใหม่ หรือปิด ทองลงบนเนื้อสําริดที่คนในปัจจุบันถือว่างดงามอยู่แล้ว เขา จะหาผ้ามาห่มองค์พระประธาน (รูป ๒) หรือสร้างหลังคาขึน้ คลุมบังพระพุทธรูปที่ตากแดดตากฝนอยู่กลางแจ้งราวกับ ว่าองค์พระปฏิมาจะมีความรู้สึกต่อธรรมชาติเช่นเดียวกับ มนุษย์ ในทํานองเดียวกัน เมื่อพุทธศาสนิกชนได้พบโบสถ์ วิหารหรือเจดียช์ าํ รุดทรุดโทรม เขาก็จะบูรณะหรือสร้างขึน้ ใหม่เพื่อเป็นกุศลในการที่ได้ช่วยสืบอายุของศาสนวัตถุในที่ นั้น เขาจะพยายามบูรณะให้ดีที่สุดโดยไม่คํานึงว่าอาคารที่ ชํารุดทรุดโทรมนั้นจะสร้างขึ้นมาในสมัยใด ใครเป็นผู้สร้าง หรือลวดลายนัน้ จะมีความงดงามเพียงใด การประพฤติปฏิบัติเช่นนี้เป็นสิ่งที่กระทําสืบเนื่องกันมาตลอดสมัยในประวัติศาสตร์ของไทย ตราบใดที่สถาปัตย์วัตถุนั้นยังคงมีการใช้ ประโยชน์สืบเนื่องอยู่ การซ่อมแซมบูรณะแก้ไขก็จะยังคงมี อยูต่ ลอดไป รูปแบบของศิลปะในอาคารทีเ่ ป็นสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์จะคงเหลือให้ศึกษาสภาพที่แท้จริงได้ก็แต่ เฉพาะอาคารที่ไม่อาจบูรณะขึ้นได้อีก เช่นอาคารที่ถูกทอด ทิง้ เป็นเวลานานเพราะขาดผูอ้ ปุ ถัมภ์สบื เนือ่ ง เช่นสถาปัตยกรรมในบริเวณอาณาจักรสุโขทัยเดิม หรือพระราชวังและ วัดโบราณในสมัยอยุธยาทีถ่ กู ทอดทิง้ เพราะภัยสงคราม การมองคุณค่าของโบราณสถานและสถาปัตยกรรมของไทยตามแนวของพุทธศาสนิกชนดังที่กล่าวมานี้ แตกต่างไปจากการมองโบราณสถานและสถาปัตยกรรมใน ทัศนะของชาวตะวันตก หรือในทัศนะของคนไทยทีไ่ ด้รบั การ ศึกษาตามแบบตะวันตกเช่นคนไทยในสมัยปัจจุบัน ปัญหา จึงอยู่ที่ว่า สังคมปัจจุบันต้องการจะปฏิบัติต่อศิลปะและ สถาปัตยกรรมในแนวใด จึงจะเป็นทางสายกลางระหว่าง การบูรณะโบราณสถานและศาสนวัตถุเพือ่ สืบต่อพระศาสนา และเพื่อบุญกุศล กับการรักษาเพื่อค่านิยมทางศิลปะและ ประวัติศาสตร์ตามแนวการศึกษาแบบตะวันตก มีชาวตะ- วันตกผู้ศึกษาศิลปะและสถาปัตยกรรมหลายท่านได้วิจารณ์ วิธีการรักษาศิลปวัตถุและโบราณสถานของไทย ท่านเหล่า นี้แสดงความเสียดายฝีมือปั้นลายปูน ฝีมือวาดภาพผนัง หรือฝีมือสลักไม้อันเลอเลิศชั้นครูที่ไม่ได้รับการเหลียวแล ถนอมรักษาตามหลักวิชาแบบตะวันตก ข้อตําหนิเหล่านีเ้ ป็น ข้อตําหนิทถ่ี กู ต้องในทัศนะของชาวตะวันตก หากวิธกี ารรักษาสิ่งที่มีคุณค่าทางศิลปะของไทยนั้นกระทําได้เช่นเดียวกับ วิธกี ารของตะวันตกแล้วอาจจะเป็นคุณประโยชน์อนั ยิง่ ใหญ่ ต่อการรักษาสมบัติวัฒนธรรมไว้ให้เป็นเกียรติประวัติแก่ชน ชาติไทยต่อไป แต่ข้อสังเกตของชาวตะวันตกเหล่านี้เป็นการ มองในด้านเดียว หากเขาเหล่านัน้ เข้าใจปรัชญาของการนับถือ พุทธศาสนาของไทยแล้ว เขาก็คงจะเข้าใจปัญหาและทีม่ า ของปัญหาเกีย่ วกับการบูรณะรักษาศิลปะสถาปัตยกรรมไทย
บทนำ ๓๐๑
แม้ว่างานศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมของ ไทยจะถูกเปลี่ยนแปลงบูรณะซ่อมแซม หรือถูกทําลายไป ด้วยเวลาอันรวดเร็วก็ตาม แต่ผสู้ ร้างงานศิลปะเหล่านัน้ ก็ได้ สร้างขึน้ ด้วยความวิจติ รประณีตและเต็มไปด้วยความศรัทธา เราจะเห็นว่าความศรัทธาของผูส้ ร้างงานเหล่านัน้ ในพระพุทธ ศาสนาและในสถาบันพระมหากษัตริย์มิได้ถูกทําลายลงไป ด้วย แต่กลับมีปรากฏพยานแห่งความศรัทธานี้ในทุกยุคทุก สมัย เหตุที่เป็นดังนั้นก็น่าจะเป็นเพราะผู้สร้างมิได้มุ่งหมาย จะฝากฝีมือไว้กับวัตถุ มิได้ต้องการที่จะอวดความสามารถ เป็นประการสําคัญ แต่ตรงกันข้าม ผู้สร้างต้องการจะให้ เกิดกุศลผลบุญที่ได้ตั้งสมาธิในขณะกระทํางานด้วยความ ประณีตบรรจงเพื่อถวายต่อพระศาสนาและต่อสมมุติเทพ ด้วยความศรัทธาอย่างเต็มที่ ความจําเป็นในขณะนี้มิได้อยู่ท่จี ะต้องเลือกปฏิบัติ ทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือมิได้อยู่ที่จะต้องตัดสินใจว่าอย่าง ใดถูกอย่างใดผิด โดยแท้ทจ่ี ริงแล้วค่านิยมทัง้ สองแนวมีสว่ น ถูกต้องด้วยกันทั้งคู่ และมีทางที่จะประสานกันได้ดี ค่านิยม ฝ่ายพระพุทธศาสนาของไทยซึ่งเป็นฝ่ายตะวันออกนั้นเป็น การตีค่าทางจิตอันเป็นฝ่ายนามธรรม ส่วนค่านิยมแบบวิชา การทางฝ่ายตะวันตกนัน้ เป็นการตีคา่ ทางฝ่ายวัตถุอนั เป็นฝ่าย รูปธรรม ถ้าทั้งสองฝ่ายนี้สามารถนํามาประยุกต์ร่วมกันได้ ก็จะมีผลให้การรักษาเอกลักษณ์ของไทยมีความมั่นคงขึ้น
การหยุดพัฒนาของสถาปัตยกรรมไทย
ศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยตามแบบวัฒนธรรม เดิมนั้นดูเหมือนจะได้ยุติการพัฒนาลงพร้อมกับการสิ้นสุด ของการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยรัตนโกสินทร์น้ี เพราะองค์อปุ ถัมภ์สาํ คัญคือสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่มพี ลังพอทีจ่ ะสนับสนุนศิลปะซึง่ ต้องใช้กาํ ลังทรัพย์จาํ นวน มากในการก่อสร้างได้อกี ต่อไป สถาบันทีอ่ าจสนับสนุนศิลป วัฒนธรรมตามแบบดัง้ เดิมยังคงเหลืออยูอ่ กี เพียงสถาบันเดียว ก็คือสถาบันทางพระพุทธศาสนา แต่พลังแฝงซึ่งเป็นกําลัง สนับสนุนอันแท้จริงนั้นก็คือประชาชนที่จะต้องร่วมกันหา ทุนทรัพย์มาสร้างขึน้ พลังแฝงนีไ้ ม่อาจสร้างงานศิลปะอันยิง่ ใหญ่ได้เช่นในอดีตอีกต่อไป เพราะความดิ้นรนในการหา เลี้ยงชีพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก มีความจําเป็น ในความต้องการทางด้านวัตถุธรรมมากขึ้นตามอิทธิพลของ การเปลี่ยนแปลงไปสู่การรับวัฒนธรรมแบบตะวันตก ความจริงนั้นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความนิยม ของสถาปัตยกรรมไทยได้เคยมีมาแล้วหลายครั้งในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของชนชาติไทย เริม่ ตัง้ แต่การรับพระ พุทธศาสนาและอิทธิพลของศิลปะในพระพุทธศาสนามาจาก อินเดียและลังกา แต่เมื่อพุทธศิลป์จากอินเดียและลังกาตก มาถึงแผ่นดินของไทยแล้ว รูปของพุทธศิลป์กค็ อ่ ยๆ เปลีย่ น
๓๐๒ ภูมิหลัง
แปลงไปเป็นรูปแบบพุทธศิลป์ของไทย มีลักษณะของสถาปัตยกรรมทีเ่ ป็นของตนเองโดยเฉพาะ ดังเช่นทีน่ ครศรีธรรมราชและสุโขทัย อีกครั้งหนึ่งในสมัยอยุธยาเมื่อชนชาติไทยรับรูป ของปรางค์เขมร แต่ปรางค์เขมรก็ได้เปลี่ยนแปลงจนเป็น พระพุทธปรางค์ในรูปแบบของไทยซึ่งไม่เหมือนกับปรางค์ เขมร และจะเห็นได้ว่าในที่สุดได้กลายมาเป็นพระเจดีย์ทรง ปรางค์ตามรูปแบบของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่นพระ ปรางค์วดั อรุณราชวราราม เป็นพยานวัตถุทม่ี คี วามงดงาม ที่ไม่มีผู้ใดอาจปฏิเสธความเป็นเอกในสถาปัตยกรรมชิ้นนี้ได้ ในสมัยอยุธยาอีกเช่นกันที่อิทธิพลยุโรปได้เข้ามาเกี่ยวข้อง ในการสร้างสถาปัตยกรรมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหา ราช แต่สถาปัตยกรรมไทยก็ยังคงเอกลักษณ์ของไทยไว้ได้ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์อิทธิพลจีนได้เข้ามามี บทบาทในทางศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างมากมายในสมั ย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาปัตยกรรมไทย ได้มกี ารเปลีย่ นแปลงรูปแบบไปอีกลักษณะหนึง่ มีศลิ ปวัตถุ ของจีนเข้ามาประกอบอยู่ด้วย แต่ก็ยังสามารถแยกความ แตกต่างของสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมจีนออก ได้อย่างชัดเจน เพราะเอกลักษณ์ของไทยยังคงมีอยูเ่ ช่นเดิม ในทํานองเดียวกันกับในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ที่ไทยรับเอาศิลปะแบบยุโรปเข้ามาใช้ในงานสถาปัตยกรรมไทย แต่ศลิ ปะของยุโรปก็คงเป็นเพียงรูปทีเ่ ปลีย่ น แปลงทางภายนอก แต่วิธีการที่นําเข้ามาใช้ในงานสถาปัตยกรรมนั้นยังคงเป็นวิธีการของไทย ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็เพื่อที่จะชวนให้ระลึกว่าไม่มี อิทธิพลศิลปะของชาติใด แม้แต่อทิ ธิพลศิลปะของอินเดียหรือ ลังกาทีเ่ ป็นผูน้ าํ ในพุทธศิลป์ จะสามารถเปลีย่ นแปลงรูปแบบ ของสถาปัตยกรรมไทยไปได้ การที่ไทยสามารถดํารงเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมไทยมาได้ตลอดนั้นก็เนื่องด้วย ช่างไทยมีความสามารถในการเลือกรับศิลปะต่างชาติมาใช้ ในรูปใหม่ตามแนวรสนิยมของตนเอง (รูป ๓) และมิใช่แต่ เอกลักษณ์ปรากฏในสถาปัตยกรรมไทยเท่านัน้ แม้แต่ศลิ ปะ ในแขนงอืน่ ๆ ก็เป็นไปในทํานองเดียวกัน เช่นประติมากรรม เป็นต้น มิฉะนั้นแล้วก็คงไม่ได้เห็นพระพุทธชินราชตามแบบ อันงดงามยิ่งของสมัยสุโขทัยเป็นแน่ แต่เอกลักษณ์ของศิลปะสถาปัตยกรรมไทยทีเ่ คยมี มาในอดีตต้องถูกกระทบกระเทือนจนแทบไม่อาจรักษาไว้ ได้ เมื่ออิทธิพลของชาติยุโรปได้เข้ามามีบทบาทในทางการ เมืองในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั การ เข้ามามีบทบาทในทางการเมืองของชาติยุโรปในระยะนั้นมี ผลทําให้ประเทศไทยต้องเปลีย่ นนโยบายในด้านการปกครอง การศึกษาและวัฒนธรรม เพื่อแลกกับการคงอยู่เป็นชาติ เอกราช การรับวัฒนธรรมยุโรปในระยะนี้มีส่วนกระทบ กระเทือนต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถาปัตยกรรมไปด้วย อย่างมาก จนถือได้วา่ เป็นจุดเปลีย่ นอันสําคัญทีม่ ผี ลสืบเนือ่ ง มาถึงสังคมไทยในปัจจุบันนี้
การเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบวัฒนธรรมเดิมมาสู่ วัฒนธรรมแบบตะวันตกในครัง้ นัน้ ทําให้ประเทศไทยสามารถ คงรักษาความเป็นประเทศเอกราชไว้ได้แต่เพียงประเทศ เดียวในภูมิภาคส่วนนี้ของโลกมาตลอดอย่างน่าอัศจรรย์ แต่จดุ เปลีย่ นอันสําคัญนีท้ าํ ให้ชนชาติไทยต้องเสียเอกลักษณ์ ทางศิลปวัฒนธรรมที่เคยสืบเนื่องมาแต่อดีตจนไม่อาจฟื้น กลับไปสู่ความงดงามในรูปแบบวัฒนธรรมเดิมได้อีก ถึงแม้ ว่าคนไทยจะยังคงสร้างวัดวาอารามในรูปแบบของศิลปวัฒนธรรมเดิม แต่หากพิจารณาดูให้ถ่องแท้แล้วจะเห็นได้อย่าง ชัดเจนว่างานที่สร้างขึ้นใหม่น้นั ได้ลดถอยคุณค่าในทางสร้าง สรรค์ลงไปจนหมดสิ้น เพราะมิใช่เป็นสิ่งที่งอกงามขึ้นจาก ความรอบรู้ท่ีฝังลึกถึงรากแก้วอันเป็นปรัชญาทางพระพุทธ ศาสนาอีกต่อไป แต่ดูเหมือนจะเป็นงานที่สร้างขึ้นโดยผู้อื่น ที่มิใช่คนไทย แสดงให้เห็นว่าการถ่ายทอดวิชาของครูช่าง ในลักษณะดั้งเดิมได้ขาดช่วงลงแล้วอย่างสิ้นเชิง ไม่ได้ทิ้ง หลักฐานทางวิชาการแต่อย่างใดไว้ แม้แต่ตําราอันเป็นพื้นฐานความรู้ที่สําคัญ ผู้เขียนได้เห็นตัวอย่างการบูรณะพระ เจดียเ์ ก่าทีส่ ว่ นยอดของปล้องไฉนได้หกั พังลงไปตามอายุของ กาลเวลา เช่น พระเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จํานวนสามองค์ ได้รับการบูรณะยอดขึ้น มาใหม่ โดยมีจาํ นวนปล้องไฉนไม่เท่ากัน (รูป ๔) และเช่นเดียว กันกับที่วัดเครือวัลย์วรวิหาร ธนบุรี ที่มีพระเจดีย์สามองค์ พระเจดียส์ ององค์ทย่ี งั คงสภาพดีมจี าํ นวนปล้องไฉนทีเ่ ท่ากัน แต่องค์ที่สามซึ่งบูรณะขึ้นใหม่นั้น กลับมีจํานวนปล้องไฉน ต่างออกไปทัง้ ๆ ทีพ่ ระเจดียท์ ง้ั สามองค์นน้ั มีขนาดและแบบ อย่างเดียวกัน สร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน หลักฐานทีป่ รากฏในการบูรณะสถาปัตยกรรมดังที่ ได้ยกตัวอย่างขึ้นกล่าวถึงนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้บูรณปฏิ- สังขรณ์ไม่คํานึงว่าจะเคยมีหลักเกณฑ์หรือแนวคิดในการกํา หนดแบบอย่างในการสร้างขึน้ ในอดีตหรือไม่ หากการบูรณะ ในทํานองนี้ยังคงมีอยู่ต่อไปแล้ว หลักฐานที่จะมีให้สืบค้นหา กฎเกณฑ์ที่คาดว่าน่าจะมีอยู่ในอดีตก็ย่อมจะหมดสิ้นไปด้วย อย่างน่าเสียดายอย่างยิ่ง นอกจากนัน้ ยังเป็นทีป่ ระจักษ์แล้วว่า เราไม่อาจหา ตําราที่ว่าด้วยหลักเกณฑ์ของสถาปัตยกรรมไทยได้ในสมัย ปัจจุบัน ยังไม่มีแม้แต่ผู้ที่พยายามจะค้นหาแนวปรัชญาหรือ ทฤษฎีในการกําหนดแบบทีค่ าดว่าจะมีอยูใ่ นอดีต และตัวนาย ช่างหรือสถาปนิกในแบบวัฒนธรรมเดิมนั้นก็ได้ขาดช่วงลง แล้ว ดังนั้นการที่จะรื้อฟื้นสอนวิชานี้ให้มีคุณภาพเช่นเดียว กับที่ปรากฏมาแล้วในอดีตย่อมเป็นไปได้ยาก นิสิตหรือนัก ศึกษาในปัจจุบันที่ศึกษาอยู่ในสถาบันที่มีการสอนวิชาสถาปัตยกรรมไทยส่วนใหญ่ก็ไม่ปรารถนาจะเรียนอย่างจริงจัง เพราะวิชาสถาปัตยกรรมไทยเป็นวิชาที่ต้องการเวลาฝึกฝน เป็นอันมาก ทั้งในการฝึกหัดเริ่มแรกก็มีความจําเป็นที่จะ ต้องหัดลอกแบบ หรือเขียนขึ้นจากการวัดสัดส่วนของอา คารสถาปัตยกรรมแบบไทยเดิม วิธีการนี้จึงเป็นเรื่องน่า เบือ่ หน่ายของผูท้ ม่ี ไิ ด้เข้าถึงพืน้ ฐานของวัฒนธรรมไทย สาเหตุ
ของการที่พากันละทิ้งวิชานี้อีกประการหนึ่งก็คือ เพราะไม่ อาจถือเป็นอาชีพได้เท่าเทียมกับการศึกษาวิชาสถาปัตยกรรม ในรูปแบบปัจจุบันที่นับวันจะมีแต่การพัฒนาเรื่อยไปอย่างไม่ มีทส่ี น้ิ สุด เนือ่ งจากเป็นแบบสถาปัตยกรรมสากลทีก่ ระทํากัน ทัว่ โลก มีอสิ ระทางความคิดในการออกแบบ ซ้ำยังเป็นวิชา การที่ผ้ทู ่สี ําเร็จการศึกษาวิชาแขนงนี้สามารถนําไปประกอบ อาชีพได้อย่างดี
อนาคตของวิชาสถาปัตยกรรมไทย
การเสื่อมความนิยมในการสร้างสถาปัตยกรรม ไทย ซึ่งเริ่มตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปก ครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สรู่ ะบอบประชาธิป ไตยนั้น อาจเนื่องมาจากสาเหตุทางด้านการเมืองดังกล่าว มาแล้วในตอนต้น การที่ไทยหันไปรับวัฒนธรรมและการ ศึกษาแบบตะวันตกเพื่อการพัฒนาบ้านเมือง และเห็นผล ว่าสามารถรักษาราชอาณาจักรและเอกราชไว้ได้ ทําให้มอง เห็นประโยชน์ของวัฒนธรรมและการศึกษาแผนใหม่ วัฒนธรรมกับการศึกษาแบบตะวันตกนั้นได้นําความเปลี่ยนแปลง แปลกใหม่ในความเจริญด้านวัตถุและวิชาการมาสู่ประเทศ เป็นอันมาก และก่อให้เกิดความรู้สึกทัดเทียมกันกับชนชาติ อืน่ ๆ ไม่วา่ ชาตินน้ั จะเป็นชาติทเ่ี คยเห็นมาในอดีตว่าเป็นชาติ ทีย่ ง่ิ ใหญ่เพียงใดก็ตาม สาเหตุนจ้ี งึ น่าจะเป็นเหตุทก่ี อ่ ให้เกิด จุดเปลี่ยนที่สําคัญของวัฒนธรรมไทย ถ้าจะมองดูในด้านสถาปัตยกรรมแล้วจะเห็นได้ชดั เจนว่า การเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถานที่ราชการ เรือน พักอาศัย อาคารธุรกิจ ไปเป็นการก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก ก็เพราะเห็นว่าเหมาะสมกับกิจการงาน ตามแบบตะวันตกมากกว่าที่จะใช้อาคารแบบสถาปัตยกรรม ไทย ซึ่งยากที่จะสร้างขึ้นเป็นสถานีรถไฟ โรงไฟฟ้า หรือ อัฒจันทร์สําหรับสนามกีฬาได้ เพราะฉะนั้นนายช่างสถา- ปัตยกรรมไทยจึงมีอาชีพการงานน้อยลงตามลําดับ ถ้าจะวิเคราะห์เหตุความเสื่อมของวิชาสถาปัตยกรรมไทยจากปรากฏการณ์นี้ก็จะพบว่าการที่ไทยได้เคยรับ อิทธิพลจากต่างชาติ เช่นได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ลังกา ขอม จีน หรือยุโรปมา เช่น ในสมัยสุโขทัย อยุธยา หรือใน สมัยต้นรัตนโกสินทร์นั้น ไทยรับมาแต่เพียงวัฒนธรรมด้าน ศิลปะเท่านัน้ ช่างไทยเปลีย่ นแปลงรูปของศิลปะเหล่านัน้ ตาม ความต้องการของตนเป็นสําคัญ เพราะเหตุนี้ศิลปะและ สถาปัตยกรรมไทยจึงคงความมีเอกลักษณ์สืบเนื่องได้ตลอด มา แต่เมื่อไทยรับเอาศิลปวัฒนธรรมและการศึกษาตาม แบบยุโรปในครัง้ หลังนัน้ ไทยไม่อาจกลับคืนไปสูเ่ อกลักษณ์ ทางศิลปะหรือสถาปัตยกรรมเดิมได้อีก เพราะการศึกษา ตามแบบตะวันตกได้วางกรอบความคิดไปตามแบบตะวัน ตกมากขึ้นด้วย หากมิใช่เพราะคนไทยยังเป็นพุทธศาสนิก
บทนำ ๓๐๓
รูป ๓ กลุ่มอาคารในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง ที่แสดงให้เห็น การเลือกรับศิลปะจากภายนอกมาใช้ ในรูปใหม่ ตามแนวรสนิยมของชนชาติไทย อาคารแต่ละแบบที่ปรากฏให้เห็น อาจสืบสาวไปได้ถงึ อิทธิพลในอดีตของศิลปะ และสถาปัตยกรรมของอินเดีย ลังกา และเขมร
ชนที่ยึดมั่นในวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาไว้ได้แล้ว ที่ พึง่ สุดท้ายของสถาปัตยกรรมไทยก็คงจะต้องสิน้ สุดลงด้วย ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้มิได้หมายความว่า บุคคลที่ ยังมีความรักในแบบศิลปะสถาปัตยกรรมไทยมิได้พยายามเลย ทีจ่ ะทดลองประยุกต์ศลิ ปวัฒนธรรมตามแบบไทยเดิมให้เข้า กับความต้องการของสังคมไทยแผนใหม่ทพ่ี ฒ ั นาขึน้ จากการ รับวัฒนธรรมและการศึกษาแบบตะวันตก อาจารย์นารท โพธิประสาทได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้วางรากฐานการ ศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมในระดับอุดมศึกษาขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ โดยเปิดทําการสอนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี หลักสูตรการสอนทั้งวิชาสถาปัตยกรรมตามแบบตะวันตก และสถาปัตยกรรมไทย แต่กป็ รากฏว่าไม่อาจทําการสอนวิชา สถาปัตยกรรมไทยได้สําเร็จผล เพราะผู้ทําการสอนวิชา สถาปัตยกรรมแบบไทยเดิมไม่อาจวางกฎเกณฑ์หรือสร้าง ตําราขึ้นได้เช่นเดียวกับวิชาสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ประกอบกับวิชาชีพแขนงนี้ไม่เป็นที่นิยมในสังคมสมัยใหม่ ของไทย จึงทําให้วิชาสถาปัตยกรรมไทยไม่อาจปรับตัวขึ้นได้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ กรมศิลปากรได้กอ่ ตัง้ คณะ สถาปัตยกรรมไทยขึ้นในมหาวิทยาลัยศิลปากร คณะวิชานี้มี เป้าหมายทีจ่ ะผลิตสถาปนิกทีไ่ ด้รบั การฝึกฝนขึน้ มาโดยเฉพาะ ในทางสถาปัตยกรรมไทย ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ ได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยให้เป็นผู้รับผิด ชอบในการกำหนดหลักสูตรวิชานี้ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ วิชา สถาปัตยกรรมไทยตามหลักสูตรที่ปรับปรุงการสอนใหม่น้ี เริ่มจะก่อผลการเปลี่ยนแปลงในวงการศึกษาสถาปัตยกรรมไทยขึ้นมาในแนวใหม่ ทำให้มองเห็นความหวังว่าคงจะ สามารถนำสถาปัตยกรรมไทยมาประยุกต์เข้ากับสังคม ใหม่ของไทยได้ การสอนวิชาสถาปัตยกรรมไทยในสถาบัน แห่งนี้ได้มุ่งพยายามที่จะแสดงให้ปรากฏเอกลักษณ์ท้องถิ่น ซึ่งก็หมายถึงเอกลักษณ์ของชนชาติไทยโดยส่วนรวม การ สนองประโยชน์ใช้สอยสามารถกระทำได้ในวงกว้างขึ้นกว่า แต่ก่อน แต่ความพยายามของศาสตราจารย์ อัน นิมมาน- เหมินท์ที่ต้องการจะให้สถาปัตยกรรมไทยพัฒนาต่อไปก็ต้อง ประสบอุปสรรคที่สำคัญเช่นเดิม คือความไม่เป็นที่นิยมของ ตลาดวิชาชีพ ในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ชื่อของคณะ สถาปัตยกรรมไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ถูกเปลี่ยนเป็น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทำการสอนวิชาตามหลักสูตร การศึกษาแบบตะวันตกเช่นเดียวกับคณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิชาสถาปัตย- กรรมไทยก็กลับเป็นวิชาย่อยส่วนหนึ่งของหลักสูตร
รูป ๔ หมู่พระเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ทีแ่ สดงให้เห็นการบูรณะ ส่วนยอดของปล้องไฉนพระเจดีย์ในระยะ หลัง ที่มิได้คำนึงถึงความถูกต้องของ จำนวนปล้องไฉนที่มีมาแต่เดิม
๔
บทนำ ๓๐๕
แม้จะกล่าวได้วา่ ในสายตาของสังคมปัจจุบนั ศิลปะ และสถาปัตยกรรมไทยอยู่ในสภาพที่เสื่อม แต่สิ่งเหล่านี้ก็ ยังคงรูปร่างอยู่เป็นส่วนใหญ่ และก็ยังมีอยู่อีกไม่น้อยที่ยัง สนองประโยชน์ในกิจกรรมแบบวัฒนธรรมเก่าที่ระบบสัง คมแผนใหม่ยังไม่มีพลังพอจะบีบบังคับให้เปลี่ยนแปลงได้ เช่นกิจกรรมทางศาสนาและพระราชพิธี ศิลปวัตถุและสถาปัตยกรรมเหล่านี้จึงยังต้องการวิธีการอนุรักษ์ที่ถูกต้องเพื่อ ชะลอเวลาการสูญสลายให้ช้าลงได้บ้าง แต่ในขณะเดียวกันระบบการศึกษาตามแบบตะวันตกนี้ได้ทําให้วงการศึกษาด้านวัฒนธรรมไทยเริ่มจะมอง เห็นกันแล้วว่ามีความจําเป็นที่จะต้องสงวนรักษาศิลปวัฒนธรรมไว้ไม่ว่าในรูปของวัตถุหรือในรูปของเอกสารตํารา เพื่อเป็นหลักฐานในการศึกษาเรื่องการพัฒนาของสังคมไทย ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน แต่การสงวนรักษาศิลปวัฒนธรรมตามมาตรฐานทางวิชาการของตะวันตกนัน้ จะต้องสร้าง หลั ก ฐานทางวิ ช าการขึ้ น เป็ นฐานรองรั บ ข้ อ เท็ จ จริ ง ด้ ว ย หลักฐานทางวิชาการนั้นจะรวบรวมได้ก็ต่อเมื่อมีการค้นคว้า และวิจยั ดังนัน้ วิชาสถาปัตยกรรมไทยก็จาํ เป็นจะต้องมีการ รือ้ ฟืน้ หาข้อมูลมาประกอบการคาดคะเนหรือวินจิ ฉัยปรัชญา ของเอกลักษณ์ไทยให้เข้าใจกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้นําเอา วิชาการนี้มาบูรณะและอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบ ไทยเดิมที่ยังคงมีเหลืออยู่ให้ถูกต้อง
วิ ธีการสืบทอดวิชาชีพทางช่างของไทย
ในปัจจุบันนี้วิชาช่างตามแบบศิลปวัฒนธรรมดั้ง เดิมของไทยขาดผูส้ บื ทอด แม้จะหาตัวช่างผูร้ ทู้ แ่ี ท้จริงตาม วิธกี ารดัง้ เดิมก็แทบจะไม่ได้ จะคงมีอยูบ่ า้ งก็เพียงไม่กท่ี า่ น ซึ่งก็ไม่สามารถจะขยายหรือสืบทอดวิชาได้ในลักษณะของ การสอนวิชาชีพในสถาบันการศึกษาในสมัยปัจจุบัน ที่เป็น ดังนี้ก็เพราะวิธีการสอนและการเรียนเป็นอุปสรรค การเรียนการสอนแบบดัง้ เดิมจะต้องสอนและเรียน ตัวต่อตัว และจะต้องใช้เวลาสําหรับฝึกฝนให้เกิดความ ชํานาญ การฝึกฝนให้เกิดความชํานาญนีผ้ เู้ รียนแต่ละคนอาจ ใช้เวลาไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นการเรียนวิชาชีพตามแบบ ศิลปวัฒนธรรมเดิมจึงไม่สามารถนําวิธีการศึกษาแบบปัจจุบันมาช่วยได้ เหตุผลประการหนึ่งที่หาผู้สนใจศึกษาวิชาการ ช่างตามแบบดั้งเดิมได้ยากในขณะนี้ก็คือ ผู้เรียนไม่อาจทุ่มเท เวลาให้กบั การเรียนได้ทนั ต่อความจําเป็นทีจ่ ะต้องหาเลีย้ งชีพ ความเสื่อมของการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมแบบ ดัง้ เดิมนัน้ มีเหตุทค่ี วรศึกษาหลายสาเหตุ ความเร่งรีบในการ หาเลี้ยงชีพในโลกปัจจุบันเป็นแต่เพียงสาเหตุประกอบประ การหนึ่งเท่านั้น แต่ในที่นี้ใคร่จะพิจารณาถึงข้อที่กล่าวหา กันเป็นสาเหตุที่สําคัญที่ทําให้วิชาการต้องเสื่อมสูญ คือการ กล่าวหาว่าครูช่างในอดีตมีความเห็นแก่ตัวและหวงความรู้ หากเราศึกษาถึงระบบการเรียนการสอนในอดีตแล้วก็อาจ
๓๐๖ ภูมิหลัง
เห็นว่าเป็นความจริง เพราะเท่าที่สืบทราบ ปรากฏว่าครู บางท่านเมื่อให้วิชาแก่ศิษย์ก็จะมีการให้ศิษย์สาบานว่าจะไม่ บอกวิชาต่อไปให้กับผู้อื่นอีก หรือบางท่านที่ไม่มีผู้สืบทอด วิชาก็จะสั่งเสียญาติใกล้ชิดให้บรรจุสมุดตําราลงไว้ในโลง ศพเมือ่ ตนตาย เพือ่ มิให้วชิ าตกไปเป็นสมบัตแิ ก่ผใู้ ด ทีก่ ล่าว นี้เป็นตัวอย่างข้อปฏิบัติของครูช่างและเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น จริงในอดีต และไม่เฉพาะแต่ทางช่างเท่านั้น แม้แต่ในวง การอื่นเช่นดนตรีก็มีการปฏิบัติในทํานองเดียวกันนี้ด้วย การกล่าวหาเช่นนี้อาจเป็นการถูกต้องตามสภาพ สังคมปัจจุบัน เพราะเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ความรู้เสื่อม และทําให้ไม่อาจหาตําราหรือครูมาสั่งสอนรื้อฟื้นขึ้นได้อีก สําหรับครูช่างนั้นหากจะมีตัวตนอยู่บ้างในขณะนี้ ก็เป็นแต่ เพียงกําลังส่วนน้อยที่ไม่อาจสนองประโยชน์แก่การศึกษา วิชาช่างในปัจจุบันได้ แต่ถ้าจะพิจารณาเพื่อความเป็นธรรม แก่ครูช่างในอดีตแล้วก็ควรจะได้ศึกษาระบบสังคมในอดีต นั้นด้วยว่ามีความเป็นไปอย่างไร และมีสภาพแตกต่างกับ ปัจจุบันอย่างไร
บทบาทของครูช่าง
การศึกษาวิชาช่างในปัจจุบันนี้ เป็นไปในลักษณะ เดียวกับการศึกษาวิชาชีพแขนงอื่น ซึ่งเป็นระบบการศึกษา แบบตะวันตก มีการกําหนดหลักสูตร กําหนดชั่วโมงเรียน และมีการกําหนดปีทจ่ี ะเรียนให้สาํ เร็จ แต่การศึกษาศิลปะ การช่างในอดีตมิได้เป็นไปตามวิธีการดังกล่าวนี้ นอกจาก นั้นยังมีความแตกต่างในระบบการศึกษาประการสําคัญอีก คือในอดีตการเรียนวิชาช่างหรือวิชาอื่นใดก็ตามครูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดในการศึกษา ศิษย์ทุกแขนงวิชาและทุกคนจะ ต้องมีครู และจะต้อง “บูชาครู” หรือ “ครอบ” เสียก่อนจึง จะเป็นครูและเป็นศิษย์กันโดยถูกต้องตามขนบประเพณี การทําพิธี “บูชาครู” หรือ “ครอบ” นั้นก็คือการอัญเชิญ วิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของครูเจ้าของวิชาผู้ล่วงลับไปแล้ว มาเป็นพยานในพิธีการรับบุคคลเป็นศิษย์สืบทอดวิชาความ รู้และเริ่มการสอนการเรียนอย่างเป็นพิธีการ ในทางด้าน ศิลปวัฒนธรรมนั้น ถือกันว่าพระพิฆเนศวรและพระวิษณุ กรรมเป็นประธานของครูช่างฝีมือทั้งหลาย พระพิราพเป็น ครูประธานในทางนาฏศิลป์ และประธานในทางอักษร ศาสตร์คือพระสุรัสวดี เป็นต้น การเรียนวิชาช่างของศิษย์แต่ละคนจะต้องเป็น ไปตามความคิดเห็นของครูวา่ ผูใ้ ดควรจะรูส้ ง่ิ ใดเพียงไร และ เมือ่ ใดควรจะให้ทาํ งานขนาดใดได้ วิธกี ารให้การศึกษาของ ครูแต่ละท่านก็ต่างกันตามความถนัดของครู การกําหนด วิธีเรียนให้ศิษย์แต่ละคนก็ต่างกันตามความสามารถในการ รับวิชาและความถนัดของศิษย์ ไม่มีลําดับขั้นการศึกษาใน ทํานองการจัดทําหลักสูตรเช่นปัจจุบัน ส่วนการศึกษาใน ระบบปัจจุบนั นัน้ ครูมไิ ด้มคี วามหมายสําคัญเท่ากับครูในอดีต
ระบบสังคมในอดีตเป็นสังคมแบบเกษตรกรรมที่ มีความเป็นอยู่ร่วมกันฉันเครือญาติ ในชุมชนหรือแม้แต่ใน เมืองไม่มีผู้คนมากมายดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ความเติบโต ของชุมชนยังนับกันด้วยจํานวนหลังคาเรือน และยังเรียก ขานระหว่างกันว่าเป็นลูกหลานหรือพี่ป้าน้าอา ฉะนั้น จึง กล่าวได้ว่าผู้คนในชุมชนจะรู้จักกันแทบทั้งสิ้น และยิ่งในหมู่ ผู้ท่มี ีอาชีพเป็นช่างเหมือนกันแล้วย่อมเป็นไปไม่ได้ท่จี ะไม่ร้จู ัก คุน้ เคยจนรูฝ้ มี อื กัน โดยเฉพาะช่างทีเ่ ป็นผูท้ ม่ี ชี อ่ื เสียงความ สามารถแล้ว ก็อาจกล่าวได้ทเี ดียวว่าช่างผูน้ น้ั เป็นครูของช่าง ทั้งเมือง เมื่อได้ทราบถึงลักษณะความเป็นอยู่ของสังคม ในอดีตอย่างคร่าวๆ แล้ว ก็ควรกลับมาพิจารณากันเสียใหม่ ว่าครูช่างในอดีตนั้นเห็นแก่ตัวและหวงวิชาจริงหรือ เป็นที่ ทราบกันดีวา่ สังคมแบบเกษตรกรรมนัน้ ปัญหาเรือ่ งค่าครอง ชีพไม่เป็นปัญหาสําคัญในชีวิตประจําวันของคนไทย ผู้คน ไม่มคี วามจําเป็นทีจ่ ะต้องแข่งขันกันหาทรัพย์ และไม่มคี วาม จําเป็นที่จะต้องทํางานแข่งกับเวลาดังเช่นคนที่อยู่ในสังคม ของเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมเช่นในสมัยปัจจุบนั ฉะนัน้ ครู ในสังคมแบบอดีตจึงไม่มคี วามจำเป็นอย่างไรทีจ่ ะต้องยึดวิชา การเป็นเครื่องยังชีพโดยตรง ครูช่างจะทํางานด้วยใจรัก และศรัทธาเป็นสําคัญ สิ่งใดที่กระทําขึ้นหากไม่เป็นที่สบ อารมณ์ก็อาจทําใหม่ ไม่เร่งรัดปล่อยผลงานให้ปรากฏแก่ สาธารณะโดยที่รู้อยู่แก่ใจดีว่างานนั้นยังมีคุณภาพไม่ถึง ขนาดที่ฝีมือตนจะทําให้ดีกว่านั้นได้ เมื่องานส่วนใหญ่ที่ ประกอบขึ้นมีคุณค่าเพียงพอจนเป็นที่ยอมรับในสังคมนั้น ญาติพี่น้องหรือผู้คุ้นเคยที่นิยมในฝีมือก็จะนําบุตรหลานที่ เห็นว่ามีอปุ นิสยั รักการช่างมาฝากฝังเป็นศิษย์เพือ่ ฝึกฝนเล่า เรียนอยู่ด้วย การเรียนในอดีตคือการรับใช้งานและคอย ปรนนิบัติผู้ที่เป็นครู ซึ่งก็เป็นผู้ที่ผู้เป็นศิษย์รู้จักและเคารพ โดยปรกติอยู่แล้ว ครูและศิษย์จึงเสมือนคนในครอบครัว เดียวกัน ครูอาจใช้สอยศิษย์ไม่วา่ งานนัน้ จะเป็นงานในครอบ ครัวหรือเป็นงานปฏิบัติการช่าง ศิษย์รุ่นเล็กนอกจากจะรับ ใช้ครูแล้วก็อาจต้องรับใช้ศิษย์รุ่นโตตามลําดับกันไปด้วย การเรียนโดยอยูก่ นิ ในครอบครัวของครูเช่นนี้ ดูจะเป็นลักษณะ การศึกษาในสังคมแบบเกษตรกรรมของชนชาติตะวันออกโดย ทั่วไปไม่ว่าชาติใด การเรียนและการสอนจะแฝงอยู่ในการ ใช้สอยของครูนั้นเอง การคอยรับใช้ คอยดู คอยฟังศิษย์ รุ่นโต หรือช่างต่อช่าง วิจารณ์งานหรือพูดถึงปัญหาต่างๆ เป็นการเรียนด้วยตนเองแบบค่อยๆ ซึมซาบเข้าไปในสติปญ ั ญาของศิษย์โดยอัตโนมัติ เฉพาะศิษย์ที่มีปัญญาและฝีมือ เท่านั้นที่จะได้ใกล้ชิดติดตามครูไปในการปฏิบัติงานสําคัญ ศิษย์เหล่านีเ้ ท่านัน้ ทีค่ รูจะสัง่ งาน และบอกวิธกี ารทีเ่ ป็นเคล็ด ลับให้ การที่ศิษย์จะเข้ามาใกล้ชิดถึงครูในระดับดังกล่าวนี้ จะต้องใช้เวลาทีไ่ ม่อาจกําหนดแน่นอนได้ และจะต้องศรัทธา ต่อวิชาการอย่างแท้จริง การฝึกหัดงานช่างในลักษณะเช่น นีจ้ ะเห็นได้วา่ ครูจะถ่ายทอดวิชาให้กแ็ ต่ผทู้ ส่ี มควรได้รบั การ
สืบทอดมรดกในทางช่าง และก็ไม่จําเป็นที่ลูกของครูช่างจะ ได้เป็นผูร้ บั สืบทอดวิชาการชัน้ สูงเสมอไป หากลูกของครูเอง ไม่เป็นผู้ที่มีศรัทธาในวิชาการด้านนี้ เคล็ดในวิชาการชัน้ สูงนัน้ จะถ่ายทอดถึงกันได้กต็ อ่ เมื่อพื้นความรู้ความสามารถของศิษย์นั้นอยู่ในระดับที่จะ รับได้ การบอกวิชาเพียงเพื่อประดับสติปัญญาหรือเพียง เพื่อให้ครบวิธีการเป็นสิ่งที่ไม่กระทํากันในอดีต เพราะครู เห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานได้จริง หากความรู้นั้น ศิษย์รบั ไปโดยทีย่ งั ไม่เข้าถึงขัน้ อุดมการณ์แล้วนําไปปฏิบตั ผิ ดิ พลาด ย่อมเป็นทางทําให้เกิดความเสือ่ มเสียมาถึงตัวครูและ เสียหายแก่การงานได้ ในกรณีเช่นนี้ครูย่อมไม่กระทําจึงดู ประหนึ่งเป็นการหวงวิชา แต่โดยแท้ที่จริงแล้วการหวงวิชา เช่นนี้ กลับทําให้เห็นค่าคุณภาพของงานว่าเป็นสิง่ สําคัญเหนือ สิง่ ใด ได้มเี รือ่ งเล่ากันว่านายช่างผูผ้ ลิตงานช่างทีส่ าํ คัญบาง งานได้ทําลายเครื่องมือของท่านเสียหลังจากได้ทํางานนั้น เสร็จลงแล้ว เพื่อไม่ให้ใครได้เห็นเครื่องมือและเลียนแบบ อย่างไปใช้ได้อีกต่อไป ถ้าหากเราพิจารณาเรือ่ งกาลเวลาและสภาพสังคม ในอดีตแล้วก็จะมองเห็นความจริงได้ว่า วิธีการที่ครูช่างได้ กระทํานั้นเป็นการรักษาคุณค่าของวิชาการไว้ในระดับสูงสุด มีความมุ่งหมายที่จะมอบวิชาการไว้ในมือของผู้ที่ถูกต้อง และเหมาะสมเท่านั้น การนําเอาเรื่องราวในอดีตมาตีความ หมาย โดยนําเอาสภาพแวดล้อมของระบบสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบนั ผนวกเข้าไปตัดสินความผิดความถูกนัน้ เห็นได้ ว่าไม่ได้ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งเป็นบุคคลใน อดีตแต่อย่างใด สําหรับสภาพสังคมปัจจุบันซึ่งมีผู้คนพลเมืองเป็นจํานวนมาก ระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับการอุตสาหกรรมซึ่งต้องการปริมาณของผลผลิต เพื่อที่จะให้พอเพียง กับจํานวนคนที่เพิ่มขึ้น จึงต้องจัดการศึกษาวิชาการต่างๆ เพื่อให้คนเป็นจํานวนมากศึกษาเล่าเรียนได้ทันต่อการหา เลีย้ งชีพทีน่ บั วันจะต้องแก่งแย่งแข่งขันกันยิง่ ขึน้ การศึกษา โดยเฉพาะวิชาช่างฝ่ายศิลปะจึงกระทําตามวิธีการดั้งเดิมไม่ ได้อีกต่อไป วิธีการเรียนมีความจําเป็นต้องมีกําหนดเวลา และครูก็ไม่อาจเลือกศิษย์ได้ดังแต่ก่อน สังคมในปัจจุบันจึง อยูใ่ นฐานะทีต่ คี า่ ของวัตถุเหนือกว่าค่าของอุดมการณ์ไปโดย อัตโนมัติ
ครูช่างและระบบอุปถัมภ์
ความเจริญของช่างในอดีตนั้นขึ้นอยู่กับผู้อุปถัมภ์ งาน งานระดับแรกของช่างนั้นเกี่ยวกับการศาสนาหรือ วัดในท้องถิ่นที่ช่างผู้นั้นอาศัยอยู่ การปฏิบัติงานช่างให้กับ พระศาสนานั้นนอกจากกระทําด้วยความศรัทธาแล้ว การ แข่งขันกันระหว่างท้องถิ่นใกล้เคียงก็เป็นเครื่องกระตุ้นให้ เกิดการพัฒนาในวิชาช่างอย่างสําคัญ แทบจะกล่าวได้ว่า วัดในชนบทนั้นเป็นศูนย์สร้างวัฒนธรรมและงานศิลปะเกือบ
บทนำ ๓๐๗
ทุกสาขา และน่าจะกล่าวได้ในทํานองเดียวกันว่า ชุมชนใดไม่ มีวัด ชุมชนนั้นก็ไม่มีพัฒนาการในด้านศิลปะ วัดเกิดขึ้นเพื่อ ให้ชุมชนได้มีโอกาสประกอบการบุญกุศล ฉะนั้นในชุมชนที่มี ครัวเรือนมากพอทีจ่ ะมีกาํ ลังสร้างวัดได้กม็ กั จะอาราธนาพระ สงฆ์มาตัง้ วัด เพือ่ ทีจ่ ะได้ไม่ตอ้ งเดินทางไกลไปทําบุญในท้อง ถิ่นอื่นให้ได้รับความยากลําบาก และอีกประการหนึ่ง หาก มีวัดเกิดขึ้นในชุมชนของตนก็จะเป็นทางให้ผู้อื่นที่อยู่ใกล้ เคียงหรือทีย่ งั กระจัดกระจายอยู่ ให้มาร่วมทําบุญในท้องถิน่ ของตน เป็นทางให้เกิดความสนุกรื่นเริงไปด้วยพร้อมๆ กัน ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศซ้ำซากที่ต้องทําไร่ทํา นามาตลอดทัง้ ปีอกี ด้วย ในอดีตนัน้ วัดเป็นทัง้ ศูนย์กลางของ การสมาคม เป็นสถานที่ให้การศึกษาทุกระดับนับตั้งแต่การ เริ่มหัดเขียนและอ่าน เป็นแหล่งควบคุมจริยธรรมของส่วน รวม เป็นที่สอนความรู้ทางพระพุทธศาสนา เป็นศูนย์พัฒนา ท้องถิ่น เป็นที่ปูพื้นฐานทางด้านศิลปกรรม เป็นแหล่งให้ เกิดการสร้างสรรค์ในทางศิลปะอย่างสําคัญ ในบางโอกาส ก็อาจเป็นได้ทั้งสถานรักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้ไปด้วย นอก จากนีเ้ รายังเคยได้ยนิ ว่า ในอดีตนัน้ วัดยังเป็นสถานทีฝ่ กึ สอน อาวุธและตําราพิชัยสงคราม ดังเช่นที่เคยปรากฏมาแล้วใน สมัยอยุธยา ดังนั้นวัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่ง เรืองของท้องถิ่นเกือบทุกประการ วัดเป็นสถานที่ที่กล่าวได้ ว่ามีความผูกพันและมีอิทธิพลต่อชีวิตของชุมชนไทยนับตั้ง แต่เกิดจนถึงเวลาตาย ในทางด้านศิลปะการช่างนัน้ วัดได้มสี ว่ นสร้างสรรค์ ศิลปะของชาติในขัน้ พืน้ ฐาน ผูท้ ศ่ี กึ ษาวิชาช่างหรือผูท้ ร่ี กั การ ช่างจะมีโอกาสฝึกงานอย่างจริงจังในความควบคุมของครู ช่าง เมื่อต้องทํางานให้แก่วัดในการปลูกสร้างอาคารหรือ ประดิษฐ์เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ งานในส่วนที่ต้องทําอยู่เป็น ประจํานั้นก็ได้แก่งานนักขัตฤกษ์ประจําปี ซึ่งเป็นบทเรียน อย่างดีที่จะใช้ฝึกหัด ทางหนึ่งที่เร่งเร้าให้เกิดการพัฒนาใน ทางฝีมือก็คือ การที่ต้องแข่งขันกับช่างในถิ่นอื่นที่มามีส่วน ร่วมด้วย เป็นต้นว่าการแข่งเรือประกวด การแข่งขันบั้งไฟ การแต่งขบวนกฐิน การแต่งวัดเพื่อรับงานเทศน์คาถาพัน และในประการอื่นๆ อีกมากมาย ดูไปแล้วจะเห็นว่าช่างจะ มีการงานทําและคิดอยู่เกือบตลอดปี การเรียนการสอนใน วิชาการแขนงนี้จึงมีวัตถุจริงให้ฝึกหัดกันได้ตลอดเวลา หาก ชุมชนใดมีครูช่างที่มีฝีมือและชื่อเสียงมาก ก็ย่อมจะมีคนใน ท้องถิ่นอื่นมาฝากตัวเป็นศิษย์และก็เป็นหนทางที่แพร่ฝีมือ หรือ “ทาง” ของช่างผูน้ ใ้ี ห้แผ่กว้างออกไป เป็นธรรมดาทีศ่ ษิ ย์ ของครูผู้ใดก็ย่อมทําตามวิธีการของครูผู้นั้นและนี่เองที่เป็น บ่อเกิดแห่งการที่เรียกกันว่า “สกุลช่าง” ที่ทําให้คนรุ่นหลัง ได้อาศัยงานศิลปกรรมเป็นแนวทางการอ่านประวัติศาสตร์ ฝ่ายศิลปกรรมของชาติได้อย่างดี
๓๐๘ ภูมิหลัง
ดังที่ทราบกันดีว่าระบบสังคมในอดีตเป็นระบบ สังคมแบบเกษตรกรรม ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธ์ุธัญญาหารทําให้การครองชีพเป็นไปด้วยความสุขสบาย การจับ จ่ายใช้ทรัพย์ไม่เป็นปัจจัยสําคัญดังเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การทํางานศิลปะให้แก่วัดไม่เป็นอุปสรรคในการครองชีพแต่ อย่างใด วัตถุก่อสร้างต่างๆ เป็นของที่สามารถหาได้รอบ ตัวในท้องที่ เช่นไม้ในการก่อสร้างก็อาจหาโค่นได้จากป่า ใกล้เคียงหมู่บ้าน อิฐก็เป็นวัสดุที่ปั้นและเผาขึ้นได้ในท้องถิ่น ไม่มีปัญหาในเรื่องการขนย้ายและการต้องลงทุนซื้อหาใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ที่ทํางานให้แก่วัดก็ได้รับการเลี้ยงดูจากวัด ซึ่งก็ได้ รับความช่วยเหลือจัดหามาให้โดยชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นเอง การบอกบุญเป็นวิธีการที่ทํากันทั่วไปในสมัยนั้น เชื่อกันว่า จะเป็นทางทีไ่ ด้รบั บุญกุศลตอบแทนในชาติหน้า และประเพณีนก้ี ย็ งั ปรากฏอยูท่ ว่ั ไปแม้ในสมัยปัจจุบนั ในทุกท้องทีแ่ ละแม้ แต่ในนครหลวงเอง เมือ่ มีการใช้แรงงานเมือ่ ใดคนส่วนใหญ่ ก็จะมาช่วยงานด้วยความเต็มอกเต็มใจเพื่อหวังบุญกุศล บางครอบครัวมีกาํ ลังทรัพย์หรือสิง่ ของก็จะนําข้าวปลาอาหาร มาเลี้ยงดู ทําให้การงานที่กระทําร่วมกันสําเร็จลงได้อย่าง ราบรื่น และก็บ่อยครั้งที่ได้มีการเล่นรื่นเริงแบบพื้นเมือง ไปพร้อมๆ กันด้วย การมีกิจกรรมเช่นนี้เกิดขึ้นทุกครั้งก็จะ ได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากทุกคนในชุมชนนั้น เมื่อผู้ใหญ่ มาช่วยงานเด็กก็จะต้องตามผู้ใหญ่มาดู มาเที่ยวเล่นทำให้ เกิดความคุ้นเคยกับวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตนตั้งแต่ยัง เด็ก เรียกได้ว่าเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับทุกชีวิตในชุมชนนั้นก็ เกือบจะว่าได้ เอกลักษณ์ประจําถิ่นที่มีอยู่ทั่วไปในระบบ สังคมไทยในอดีตจึงเกิดขึ้นได้ด้วยประการเช่นนี้ และเป็น รากฐานของวัฒนธรรมประจําชาติ ตราบใดที่ยังไม่มีการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและอิทธิพลจากภายนอก ตราบ นั้นการสืบสายทางวัฒนธรรมก็ยังดํารงอยู่ได้ตลอดไป ได้กล่าวไว้แต่ต้นแล้วว่าการถือครูเป็นผู้นําในทาง ช่างและเป็นทีเ่ คารพสูงสุดของศิษย์ เป็นข้อประพฤติปฏิบตั ิ กันในสังคมในอดีต เมื่อผู้ใดปรากฏชื่อเสียงและฝีมือเป็นที่ ยอมรับกันโดยทั่วไป ก็ย่อมเป็นทางให้ได้รับความสนใจจาก ผูม้ ฐี านะและผูม้ บี รรดาศักดิใ์ นเมืองใหญ่ คนเหล่านัน้ จะเฟ้น หาผู้มีชื่อมีฝีมือมาทํางานให้กับตนเพื่อจะได้อาคารหรือสิ่ง ของเครื่องใช้ที่ช่วยเชิดชูบารมีตนไว้อวดกับผู้อื่นได้ ช่างใน ท้องถิ่นจึงอาจถูกนํามาชุบเลี้ยงในเมืองใหญ่เพื่อผลิตผล งานให้กับผู้มีบุญวาสนา มีรายได้รางวัลและมีฐานะความ เป็นอยู่ดีขึ้น เมื่อมาถึงวาระนี้ผลงานของช่างผู้นั้นก็อาจเข้า ไปปรากฏอยูก่ บั วัดวาอารามทีผ่ อู้ ปุ ถัมภ์มสี ว่ นสร้าง หรืออยู่ กับสิง่ ของถวายเจ้านาย และถ้าหากเป็นการบังเอิญทีอ่ าคาร ที่สร้างขึ้นหรือสิ่งของที่ผลิตขึ้นเป็นที่สะดุดตาของบุคคล สําคัญในราชการหรือในราชสํานัก ก็เป็นโอกาสทีช่ า่ งผูน้ น้ั อาจ ถูกเรียกหาให้เข้ารับราชการได้รับยศฐาบรรดาศักดิ์เป็นช่าง หลวงต่อไป ซึ่งก็ได้ปรากฏตัวอย่างเช่นนี้ตลอดมา
สังคมไทยและการยกย่องงานทางศิลปะ งานด้านศิลปวัฒนธรรมไทยทุกสาขานับตั้งแต่ อดีตมามักจะไม่ปรากฏว่ามีการจารึกชื่อช่างผู้สร้างผลงาน นั้นไว้ให้ปรากฏ จะมีชื่อให้ทราบบ้างก็เป็นช่างบางคนในยุค หลังที่มีอุปกรณ์การเขียนการพิมพ์แล้ว การที่ไม่ปรากฏชื่อ ช่างในกรณีเช่นนี้ ทําให้ผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าในปัจจุบัน ไม่อาจหาหลักฐานมาแสดงได้มากนัก ตลอดเวลาหกศต- วรรษนับตั้งแต่ชนชาติไทยได้ตั้งอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา จนสิ้นสุดระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใน สมัยรัตนโกสินทร์น้ี มีหลักฐานจํานวนช่างเท่าทีผ่ เู้ ขียนสืบค้น ได้เพียงประมาณ ๑๓๐ ท่าน ซึ่งอาจค้นหาได้จากหนังสือ ผลงาน ๖ ศตวรรษของช่างไทย (โชติ กัลยาณมิตร, ๒๕๒๐) การทีไ่ ม่ใคร่ปรากฏชือ่ ช่างในประวัตศิ าสตร์ของงานด้านศิลปวัฒนธรรมไทยนั้น ทําให้เกิดความคิดไปในทํานองที่ว่าชาติ ไทยไม่ยกย่องวิชาชีพทางช่าง และไม่ให้ความสําคัญเท่ากับ ประเทศตะวันตกทีม่ เี กียรติประวัตแิ ละผลงานของช่างบันทึก เป็นหลักฐานอยู่มากมาย ถ้าหากจะลองสืบหาข้อเท็จจริง ดูแล้วก็จะพบว่าไม่เฉพาะแต่ด้านการช่างเท่านั้น แม้ด้านอื่น โดยทั่วไปเช่นทางด้านวรรณคดี การดนตรี ประติมากรรม จิตรกรรม ฯลฯ ก็ไม่ปรากฏชื่อของท่านผูส้ ร้างผลงานชิ้น เอกอันเป็นอมตะเช่นกัน และแม้แต่ในเอกสารจารหรือ จารึกที่มีผู้จดบันทึกเหตุการณ์บางเรื่องก็มิได้มีการกล่าวถึง ฉะนั้นน่าจะตั้งเป็นประเด็นขึ้นพิจารณาว่า ที่ว่าสังคมไทยใน อดีตนัน้ ไม่นยิ มการยกย่องผลงานของช่างรวมทัง้ ผลงานศิลปะ แขนงอืน่ ด้วยนัน้ เป็นความจริงเพียงใด ในปัจจุบันนี้ได้มีการรื้อฟื้นการศึกษางานทางด้าน ศิลปวัฒนธรรมไทย เพือ่ ให้อนุชนในปัจจุบนั ได้รคู้ ณ ุ ค่ามรดก ทางวัฒนธรรมและเกิดความภาคภูมิใจในประวัติความเป็น ชาติของไทยว่าทัดเทียมกับนานาชาติที่เคยมีความยิ่งใหญ่ ทางด้านวัฒนธรรมมาแต่โบราณกาลเช่นกัน ดังเช่นที่ได้มี การค้นพบแล้วว่าวัฒนธรรมบ้านเชียงในแผ่นดินของประเทศ นี้มีอายุเก่าแก่เทียบเท่ากับอายุของวัฒนธรรมเมโสโปเตเมีย เป็นต้น แต่ผลการศึกษาค้นคว้ากลับไม่ใคร่ได้พบหลัก ฐานชื่อผู้สร้าง และแม้แต่ตัวศิลปวัตถุเองส่วนมากก็ไม่ ปรากฏหลักฐานเวลาสร้างด้วย เพราะฉะนั้นการสอบสวน ในด้านวัตถุจงึ ต้องอาศัยความรูท้ างโบราณคดีเข้าช่วย และ นําไปเทียบกับการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ ทําให้การกําหนดเวลาและอายุของวัตถุเป็นไปด้วยความยากลําบาก ใน บางครัง้ บางสิง่ ก็ยงั ไม่เป็นทีต่ กลงกันในด้านทฤษฎี ส่วนมาก เรื่องราวบันทึกหรือจารึกทางประวัติศาสตร์จะปรากฏแต่ เพียงว่าสถาปัตยกรรมนั้นๆ พระมหากษัตริย์ซึ่งระบุพระนามให้จารึกไว้เป็นผู้มีรับสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อถวายบูชาต่อพระ ศาสนา หรือเพื่อเป็นอนุสรณ์ของเหตุการณ์สําคัญอย่าง ใดอย่างหนึ่ง
แม้ในสมัยปัจจุบันนี้เองการสร้างงานสถาปัตยกรรมที่กระทํากันโดยทั่วไป ก็ไม่มีธรรมเนียมนิยมจารึกชื่อ สถาปนิกผูส้ ร้างไว้กบั ผลงาน นอกจากจะมีอยูใ่ นเอกสารสัง่ การ หรือรายงานของทางราชการ หรือในสิ่งตีพิมพ์ที่เกี่ยว กับวิชาการ การจารึกหรือเขียนชื่อโดยตรงคงมีแต่ผู้ประ กอบอาชีพทางจิตรกรรม และในวงวรรณกรรมเท่านั้น แต่ นี่ก็เป็นการแสดงชื่อไว้กับผลงานซึ่งตามธรรมเนียมนิยมที่ รับเอามาจากฝ่ายตะวันตก ที่จําเป็นต้องกระทําเพื่อสงวน สิทธิในผลงานของตนประการหนึ่ง หรือเพื่อแสดงชื่อไว้ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพอีกประการหนึ่ง การ กระทําดังกล่าวนี้เป็นไปในทํานองเดียวกับการถือสิทธิ์จด ทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ ผลิตมิให้มกี ารล่วงละเมิดเกิดขึน้ ได้ เพราะระบบสังคมแบบ อุตสาหกรรมบังคับให้จําเป็นต้องกระทําเช่นนั้น แต่ในสมัย ก่อนไม่มคี วามจำเป็นเช่นนี้ เพราะในสังคมที่มีวงแคบนั้น ผู้ มีอาชีพช่างมีตัวตนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และมีผลงาน ปรากฏเป็นที่ชินตาแก่คนทั้งหลายแม้จะไม่บอกชื่อ เมื่อเป็น เช่นนี้ในสมัยอดีตจึงไม่จําเป็นต้องจารึกชื่อไว้กับอาคารใน จิตรกรรมฝาผนัง หรือในงานประติมากรรม และแม้แต่ใน วงวรรณกรรมก็ไม่นยิ มระบุชอ่ื เจ้าของฝีมอื หรือเจ้าของสํานวน กระนั้นก็ตามผู้ท่คี ้นุ เคยก็ยังสามารถจําฝีมือหรือสํานวนและ บอกได้ว่าเป็นงานของผู้ใด เมื่อลักษณะสังคมในอดีตเป็น เช่นนี้จึงไม่มีความจําเป็นแต่ประการใดที่ช่างจะต้องระบุชื่อ ไว้อีก ดูประหนึ่งเป็นผู้โอ้อวดตนซึ่งไม่ใช่วิสัยของคนไทยผู้ เข้าถึงหลักการของพระพุทธศาสนาแล้วที่มักเป็นผู้ถ่อมตน ได้กล่าวแล้วว่า การระบุชื่อในผลงานเป็นธรรม เนียมในระบบสังคมแบบตะวันตกทีจ่ าํ เป็นจะต้องกระทําเพราะ เกี่ยวกับการซื้อขายผลงานเพื่อการหาเลี้ยงชีพ แต่ลักษณะ ของสังคมไทยในอดีตมิได้เห็นความสําคัญของการซื้อขาย เพือ่ เลีย้ งชีพเหมือนสังคมตะวันตก ตรงกันข้ามช่างไทยกลับ เห็นความสําคัญของผลงานที่กระทําขึ้นด้วยความศรัทธาต่อ วงการศาสนาและสถาบันกษัตริย์เป็นสําคัญ ส่วนการที่มา ปรากฏชือ่ ช่างในภายหลังนัน้ ก็จะเห็นได้วา่ เป็นเวลาเมือ่ ความ เจริญแบบตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพลในประเทศนี้แล้ว คือ เริม่ ตัง้ แต่รชั สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เป็น ต้นมา เมื่ออุปกรณ์การเขียนการพิมพ์ตามแบบยุโรปได้เข้า มาแพร่หลายแล้ว นอกจากนีก้ ารบันทึกเรือ่ งราวต่างๆ ด้วย เอกสารและด้วยภาพถ่ายก็ทาํ ได้สะดวกขึน้ ชือ่ ของช่างรุ่นนี้ จึงพอจะมีผบู้ นั ทึกไว้บา้ ง ฉะนัน้ การทีจ่ ะกล่าวว่าระบบสังคม ไทยในอดีตไม่ยกย่องผลงานของช่างนั้นน่าจะได้รับการพิจารณาด้วยความเป็นธรรมถึงความแตกต่างของสภาพสังคม ในอดีตและปัจจุบัน
บทนำ ๓๐๙
บทที่ ๑ พื้นฐานทางปรัชญา ของสถาปัตยกรรมไทย
เอกลักษณ์ในสถาปัตยกรรมไทย พระพุทธศาสนากับสถาปัตยกรรมไทย ไตรภูมิพระร่วงและสถาปัตยกรรมไทย พระพุทธศาสนาลัทธิมหายานและศาสนาพราหมณ์ พุทธปรัชญาทีป่ รากฏในงานสถาปัตยกรรมในสมัยต่างๆ คติเทวราชา หรือ สมมติเทพ
๓๑๐ ภูมิหลัง
ข้อเขียนเรื่องสถาปัตยกรรมไทยในบทนี้ ประมวล ขึน้ จากเอกสารและหนังสือต่างๆ ทีม่ ผี เู้ ขียนไว้แล้วเป็นจํานวน มาก แต่เอกสารและหนังสือเหล่านัน้ แต่ละเรือ่ งก็กล่าวเจาะ จงถึงบางสิ่งบางเรื่อง ที่ผู้แต่งแต่ละท่านมีความสนใจโดย เฉพาะ เช่น เรื่องราวในทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และ ศาสนา ยังมิได้เคยมีหนังสือเล่มใดที่ให้ความเข้าใจแก่ผู้อ่าน ในเรื่องพื้นฐานของสถาปัตยกรรมไทยแต่อย่างใด คําว่าพื้น ฐานของสถาปัตยกรรมไทยในที่นี้ ผู้เขียนหมายถึงเรื่องที่ กล่าวถึงที่มาของการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมไทยใน ทํานองที่จะยึดถือเป็นตําราที่จะอ้างถึงที่มาและเหตุผลของ รูปแบบของสิง่ ก่อสร้าง และส่วนทีเ่ ป็นองค์ประกอบของสิง่ ก่อสร้างเหล่านั้น อุปสรรคในการศึกษาสถาปัตยกรรมไทยในปัจจุบนั ก็คอื การทีไ่ ม่อาจชีล้ งไปให้เป็นทีย่ อมรับกันว่าอะไรเป็นปรัชญา ของสถาปัตยกรรมไทย ผูเ้ ขียนมีความสนใจในเรือ่ งนีเ้ ป็นพิเศษ หลังจากที่ได้ศึกษาเรื่องไตรภูมิพระร่วงที่กรมศิลปากรได้ พิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ เพราะเห็นว่าวรรณคดีไทย ทางพุทธศาสนาอันเป็นพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท พระ มหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยนี้เอง ที่อาจจะให้คําตอบ แก่เรือ่ งทีเ่ คยเป็นปัญหานีไ้ ด้ทง้ั หมด ในความเห็นของผูเ้ ขียน เราจะไม่พบแนวความคิดที่มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมไทย ในเอกสารใดทีจ่ ะมีความสมบูรณ์ยง่ิ ไปกว่าทีไ่ ด้พบในไตรภูม-ิ พระร่วงเล่มนี้ จึงได้พยายามวิเคราะห์ปญ ั หาต่างๆ และอ่าน ความหมายในทุกข้อความจนสามารถตีความออกมาเป็นข้อ เขียนที่นําเสนอในที่นี้ ความพยายามที่จะอ่านความคิดของ คนในอดีตให้เข้าใจ ขณะที่ตัวเราเองอยู่ในสิ่งแวดล้อมและ ด้วยพืน้ ฐานความรูป้ จั จุบนั นัน้ ย่อมไม่อาจกระทําได้สมบูรณ์ และครบถ้วน แต่อย่างน้อยก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะพยายาม นําเอาความหมายทางปรัชญาที่คนในอดีตสร้างขึ้นไว้มาเผย แพร่ให้คนรุ่นปัจจุบันเห็นและเข้าใจกันอย่างกว้างๆ แม่บทของสถาปัตยกรรมไทยตามทีป่ รากฏในไตรภูมิพระร่วงนั้น เป็นแม่บทที่ยึดถือพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท หรือหีนยานเป็นหลัก แต่สถาปัตยกรรมที่ยังเหลือให้เราได้ เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนั้นเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้สร้างขึ้นใน
หลายยุคหลายสมัยในประวัตศิ าสตร์ เป็นทีท่ ราบกันดีอยูแ่ ล้ว ว่า คนไทยในอดีตมิได้ประพฤติปฏิบัติทางศาสนาตามลัทธิ เถรวาทเพียงลัทธิเดียว คนไทยมีความเกีย่ วข้องกับพระพุทธ ศาสนาในลัทธิอื่นๆ ด้วย เช่นลัทธิมหายานและมนตรยาน ตามที่มีพยานวัตถุเป็นเครื่องยืนยัน และนอกจากนั้นก็ยังมี ศาสนาพราหมณ์เข้ามามีสว่ นเกีย่ วข้องด้วยอย่างสําคัญ ฉะนัน้ จึงจําเป็นจะต้องอ่านให้ออกว่าลัทธิใดเข้ามามีความสําคัญ ต่อสถาปัตยกรรมไทยในส่วนใดบ้าง และหากองค์ประกอบ ต่างๆ ในงานสถาปัตยกรรมไทยเป็นสิง่ ทีอ่ า่ นออกได้แล้ว ก็ ย่อมจะทําให้การศึกษาในด้านนีส้ ามารถก้าวลึกเข้าไปหาความ รู้เรื่องราวของประวัติศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่าง แหล่งแม่แบบวัฒนธรรมของประเทศอื่นกับประเทศไทย การประมวลเรื่องราวในข้อเขียนนี้ใช้วิธีการ ๓ วิธี วิธแี รกคือวิธวี เิ คราะห์ทางวิชาการในกรณีทม่ี หี ลักฐานเอกสาร แน่ชัด การวิเคราะห์เช่นนี้ก็เพื่อจะช่วยให้ผู้อ่านมองเห็นเหตุ และผลของการวิเคราะห์นั้นๆ ได้ชัดเจนขึ้น ดังตัวอย่างเช่น วิเคราะห์แผนภูมทิ ท่ี ำให้เห็นลำดับและจำนวนชัน้ ภูมิ อันเป็น ที่มาของทฤษฎีที่นํามาใช้กําหนดจํานวนปล้องไฉนและชั้น ของพระปรางค์ วิธที ส่ี องก็คอื การอ้างหลักฐานภาพถ่ายของ สถาปัตยกรรมหรือรูปวัตถุเป็นเครือ่ งสนับสนุนแนวความคิด วิธที ส่ี องนีม้ อี ปุ สรรคมากในการค้นหารูปแบบสถาปัตยกรรม ที่สมบูรณ์ เพราะสถาปัตย์วัตถุก็ดีหรือโบราณสถานก็ดีเป็น สิง่ ทีม่ กั ชํารุดหักพังเนือ่ งด้วยกาลเวลา มีพระเจดียห์ รือพระ ปรางค์เก่าอยู่ไม่มากนักที่ยังคงมียอดสมบูรณ์ที่สามารถจะ นับจํานวนปล้องไฉนหรือนับชั้นของพระปรางค์ได้ ส่วนมาก แล้วจะปรากฏแต่ซากส่วนล่างเท่านั้นที่ยังคงเหลืออยู่ และ แม้ในบรรดาสถาปัตยกรรมที่มองดูสมบูรณ์นั้น ก็มีอยู่ไม่ น้อย ที่ได้เคยถูกซ่อมแซมให้กลับดี ซึ่งไม่แน่นอนว่าในการ ซ่อมแซมนัน้ จะได้คาํ นึงถึงรูปแบบดัง้ เดิมหรือเปล่า เช่นให้จาํ นวนปล้องไฉนครบตามของเดิม อุปสรรคเหล่านี้นับวันก็มี แต่จะเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันนี้ก็มองเห็นกันแล้วว่าเราแทบ จะศึกษาประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ ในวัดมหาธาตุของอาณาจักร สุโขทัยไม่ได้เลย เพราะหลักฐานลวดลายประดับและลวดบัว ได้ถกู ทําลายสูญหายไปเกือบหมดสิน้ วิหารพระมงคลบพิตร
ในสมัยอยุธยาก็เช่นกัน คงเป็นสิ่งที่เหลือแต่ชื่อบันทึกไว้เป็น ประวัติศาสตร์ โบราณสถานหลายแห่งคงมีแต่รูปปริมาตร ของสถาปัตยกรรมพอให้เห็นทรวดทรง และขนาดเท่านัน้ เอง วิธีการประมวลเรื่องวิธีสุดท้ายในข้อเขียนนี้ต้องนับว่าเป็น วิธกี ารทีข่ าดหลักฐานอ้างอิงอย่างทีส่ ดุ คือการอ้างถึงเรือ่ ง ที่ผู้เขียนเคยได้ยินได้ฟังมาและยังจดจําเรื่องได้ บางเรื่อง เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่มหี ลักฐานผูเ้ ล่า แต่กเ็ ชือ่ ว่าคงจะมีผอู้ า่ นหลาย ท่านได้ทราบเรื่องเหล่านี้มาเช่นกัน และตกอยู่ในฐานะเดียว กับผู้เขียน คือไม่อาจยืนยันตัวผู้เล่าได้ ถึงแม้ว่าวิธีการประ มวลเรื่องอย่างหลังนี้จะเป็นการอ้างที่ค่อนข้างอ่อนในด้าน หลักฐานทางวิชาการ แต่ก็เห็นว่ามีค่าควรแก่การบันทึกไว้ ยิ่งกว่าจะปล่อยให้สูญหายไปโดยเปล่าประโยชน์ ผู้เขียนขอชี้แจงย้ำว่า ข้อเขียนบทนี้มิได้มุ่งหมาย จะเสนอประวัติศาสตร์ศิลปะด้านสถาปัตยกรรม แนวความ คิดเกี่ยวกับการพัฒนาทางศิลปะในดินแดนที่เป็นประเทศ ไทยปัจจุบนั มีรายละเอียดอยูใ่ นเรือ่ ง ทัศนศิลป์ ซึง่ เป็นหนัง สืออีกเล่มหนึง่ ของหนังสือชุด “ลักษณะไทย” นี้ การระบุอายุ หรือศักราชของโบราณสถานและศิลปวัตถุก็เป็นไปอย่าง กว้างๆ ที่ประสงค์เพียงเพื่อจะประมาณอายุของสถาปัตยกรรมที่กล่าวถึง ให้ท่านผู้อ่านสามารถลําดับภาพได้ในด้าน ความใกล้และไกลของเวลาเพือ่ เทียบเคียงกับปัจจุบนั เท่านัน้ และเป็นการแน่นอนว่าแนวความคิดทีจ่ ะเสนอในบทนีจ้ ะต้อง มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผู้เขียนมีความหวังแต่เพียง ว่าข้อเขียนนีค้ งจะมีสว่ นช่วยให้ผอู้ า่ นได้มองเห็นรูปและความ หมายของสถาปัตยกรรมไทยในแง่มุมใหม่อีกแง่มุมหนึ่ง ที่ แสดงออกถึงคุณค่าของสถาปัตยกรรมไทยเพิม่ ขึน้ กว่าทีเ่ คย เห็นกันมาแล้ว และเน้นให้เห็นความสําคัญของการอนุรักษ์ ศิลปะและสถาปัตย์วตั ถุทถ่ี กู ต้อง โดยคํานึงถึงปรัชญาทีแ่ ฝง อยูเ่ บือ้ งหลังว่ามีความสําคัญยิง่ ในฐานะทีเ่ ป็นทีเ่ กิดของเอกลักษณ์ทค่ี นไทยทุกคนในสมัยปัจจุบนั กําลังกล่าวถึงและพยายามจะรักษาไว้
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๑๑
เอกลั กษณ์สถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมไทยมีลกั ษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ ของตนเอง ไม่ว่าผู้ใดเมื่อได้เห็นอาคารที่มีลักษณะเช่นนี้ก็ จะบอกได้ทันทีว่านี่คือสถาปัตยกรรมไทย ลักษณะเฉพาะนี้ มีต่อเนื่องมาตลอดนับเป็นเวลาร่วมพันปี สถาปัตยกรรม ไทยมีความคลี่คลายทางด้านศิลปะตามกาลเวลาที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ทิ้งแบบดั้งเดิมจนมีความแตกต่างกันมาก ในอดีต สถาปัตยกรรมไทยมีรูปแบบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่เหลี่ยม จัตุรัสอย่างไร ปัจจุบนั ก็ยงั คงรักษารูปทรงไว้เช่นนัน้ รูปทรง ของพระเจดีย์ที่เคยมีรูปกลม แปดเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยม อย่างไร ในสมัยปัจจุบนั ก็ยงั คงสร้างพระเจดียต์ ามรูปทรง ดังนัน้ ปลายยอดพระเจดีย์ยังคงมีความเรียวแหลมเหมือน กันตลอดมาทุกสมัย
แม่บทของสถาปัตยกรรมไทย
การที่สถาปัตยกรรมไทยยังคงดํารงเอกลักษณ์ อยู่ได้โดยที่ช่างและสถาปนิกไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอย่าง อื่นนั้น ทําให้คิดว่าน่าจะมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมรูปแบบไว้ ผู้ เขียนจึงมีความมุ่งหมายที่จะพิจารณาค้นหาหลักเกณฑ์นี้ว่า มีอยู่ประการใดบ้าง แม้ว่าวิชาสถาปัตยกรรมไทยจะมีความสืบเนื่อง จากอดีตมาจนกระทั่งปัจจุบัน แต่ก็ไม่เคยมีตําราปรากฏให้ เห็นเป็นหลักฐานว่าได้เคยมีการวางทฤษฎีหรือกําหนดวิธกี าร ไว้ ณ ที่ใดเพื่อให้ช่างหรือสถาปนิกรุ่นปัจจุบันสามารถถือ เป็นแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมไทยได้ แม้ว่าจะ ได้มีเอกสารที่ถือว่าเป็นตําราสําคัญสองเล่มคือ ตํานาน พุทธเจดีย์สยาม ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ ยาดํารงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์และพิมพ์เมือ่ พ.ศ. ๒๔๖๙ กับ ตําราประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทย ของอาจารย์นารท โพธิประสาท พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ ตําราทั้งสองเล่มนี้เป็นตําราที่ผู้สนใจวิชาสถาปัตยกรรมไทย สมัยปัจจุบันถือเป็นแม่บทในการศึกษาตลอดมา แต่ก็ไม่อาจ ใช้เป็นทฤษฎีในการออกแบบได้ วิชานี้จึงดูเป็นวิชาที่แปลก ไปจากวิชาอื่นๆ ที่มีผู้บันทึกไว้ เช่น ตํารายา ตําราโหรา ศาสตร์ ตําราพรหมชาติ หรือตําราไสยศาสตร์ทม่ี อี ยูใ่ นสมุด ข่อยหรือสมุดใบลาน หากจะโทษเหตุที่เสียกรุงศรีอยุธยาว่า ทําให้ตําราวิชาสถาปัตยกรรมไทยต้องถูกทําลายสูญหายไป ก็มีเหตุผลอื่นที่อาจค้านได้ว่าเมืองไทยมิได้ถูกทําลายไปเสีย ทุกแห่ง บ้านเมืองส่วนอื่นที่ยังคงสภาพสมบูรณ์มิได้ถูกภัย สงครามรบกวนก็ยังมีอีกเป็นจํานวนมาก บ้านเมืองที่ยังดี เหล่านัน้ น่าจะเป็นแหล่งทีร่ กั ษาตําราสถาปัตยกรรมไว้ได้บา้ ง แต่เหตุใดจึงไม่ปรากฏหลักฐานของตํารานี้ หรือหากว่า ตําราสถาปัตยกรรมไทยจะถูกทําลายไปจริงเมื่อเสียกรุงศรี
๓๑๒ ภูมิหลัง
อยุธยา แต่เพราะเหตุใดเมื่อก่อตั้งกรุงธนบุรี หรือต่อมา เมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นสมัยที่พยายามจะสร้าง บ้านเมืองให้เหมือนเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยารุ่งเรือง จึงมิได้ มีการรื้อฟื้นเขียนเป็นตําราขึ้นมาใหม่เช่นเดียวกับตําราอื่นๆ ทั้งที่ยังมีตัวนายช่างที่มีความสามารถอยู่อย่างพร้อมมูล ตามข้อเท็จจริงแล้วไม่ปรากฏว่า มีทา่ นผูใ้ ดเคยเห็นตําราสถาปัตยกรรมไทยที่ว่าด้วยทฤษฎีเลย จะมีเอกสารตําราที่เกี่ยว ข้องอยู่บ้างก็เป็นเรื่องที่เนื่องกับวิชาอื่น เช่น ตําราหาฤกษ์ ยามที่กล่าวถึงฤกษ์ปลูกเรือน หรือกล่าวถึงตาไม้ในต้นเสา ว่าตาไม้ในตําแหน่งเช่นไรจะให้โทษหรือให้คุณกับผู้ที่เป็นเจ้า ของเรือน สิ่งที่กล่าวถึงเหล่านี้แม้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ สถาปัตยกรรม แต่ก็มิได้เป็นวิชาการที่ชี้เหตุผลหรือทฤษฎี สถาปัตยกรรมไทยโดยตรง ปัจจุบนั นีอ้ าจมีผคู้ า้ นว่ามีหนังสือเกีย่ วกับสถาปัตยกรรมไทยทีม่ แี บบอาคาร มีคาํ อธิบายเรียกชือ่ องค์ประกอบ ทางสถาปัตยกรรมบอกไว้ หรือมีแบบบ้านเรือนที่กําหนด ส่วนสัดให้ไว้ หนังสือเหล่านีอ้ าจหาซือ้ ได้ในท้องตลาดหลาย เล่ม แต่หนังสือทีเ่ รียกกันว่าตําราสถาปัตยกรรมไทยดังกล่าว ก็มิใช่ตําราที่ให้ความรู้ในพื้นฐานที่อาจช่วยให้ผู้ที่ประสงค์ จะศึกษานํามาเรียนให้เข้าใจหลักเกณฑ์ได้ ไม่อาจตอบคํา ถามได้ว่าเหตุใดปล้องไฉนพระเจดีย์จึงมีจํานวนไม่เท่ากัน หรือไม่อาจตอบคําถามได้ว่าเรือนยอดของมณฑปคืออะไร และเหตุใดจึงมีจํานวนชั้นซ้อนต่างๆ กัน ตําราเหล่านั้นจึง เป็นแต่เพียงหนังสือที่รวบรวมแบบนํามาแสดงไว้ให้ดูเท่านั้น ไม่อาจที่จะให้ผู้ที่สนใจศึกษาเข้าใจว่ารูปอาคารเช่นนั้นเกิด ขึ้นด้วยสาเหตุใด มีที่มาเช่นไร มีแนวปรัชญาอย่างไร หรือ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมชนิดใดควรใช้กับอาคาร ประเภทใด และเป็นสิ่งที่นับว่าแปลกที่สถาปัตยกรรมไทยใน สมัยรัตนโกสินทร์ ก็ยงั สร้างกันเสมือนดําเนินตามหลักเกณฑ์ เดิมทีเ่ คยทํากันมาตัง้ แต่สมัยสุโขทัยหรือสมัยอยุธยา ทัง้ ๆ ที่ ไม่เคยปรากฏหลักฐานตําราเลย การไม่เปลีย่ นแปลงรูปลักษณะของสถาปัตยกรรมไทยตลอดเวลาที่ล่วงมานับหลาย ชั่วศตวรรษ ย่อมแสดงว่าจะต้องมีแนวคิดหรือคติอย่าง หนึ่งเป็นแม่บทบังคับแฝงอยู่เป็นแน่ แม่บทนั้นคืออะไร
พระพุ ทธศาสนากับสถาปัตยกรรมไทย ท่านผู้รู้หลายท่านเชื่อว่า งานสถาปัตยกรรมไทย ได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องราวทางพุทธศาสนาเป็นประการ สําคัญ และจากประจักษ์พยานแวดล้อมที่ปรากฏก็ทําให้น่า เชือ่ ว่าจะเป็นไปตามทีก่ ล่าวเช่นนัน้ จริง เพราะภาพฝาผนังไม่ ว่าจะเป็นภาพสลักหินหรือภาพเขียนสีกต็ าม ทัง้ หมดได้แสดง เรือ่ งราวทางพุทธศาสนา การก่อสร้างอาคารต่างๆ ก็เป็นไป ตามคําแนะนําของพระสงฆ์ซึ่งได้มาจากคัมภีร์อีกทอดหนึ่ง ช่างจึงได้นาํ ความรูจ้ ากพุทธศาสนามาแปลเป็นสถาปัตยกรรม ตามรสนิยมของชนชาติไทย แต่มไิ ด้มกี ารบันทึกเป็นหลักฐาน เอกสาร นอกจากจะเป็นการบอกเล่าสืบต่อกันมาเท่านั้น จะอย่างไรก็ตาม หากว่าการสร้างสรรค์งานศิลป วัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมไทยยังคงรุ่งเรืองเพียบพร้อม ด้วยช่างทีม่ คี วามรูเ้ หล่านี้ ปัญหาก็ยอ่ มจะไม่เกิดขึน้ เพราะ จะมีผู้รู้จํานวนมากที่สามารถตอบข้อสงสัยหรืออธิบายให้ กระจ่างได้ แต่ในเวลาที่งานศิลปวัฒนธรรมตกอยู่ในสภาพ ทีเ่ สือ่ มและขาดผูร้ ดู้ งั เช่นปัจจุบนั การขาดหลักฐานเอกสาร เพื่อที่จะใช้เป็นข้ออ้างย่อมเป็นอุปสรรคแก่ผู้ที่ต้องการจะ สร้างสรรค์งานด้านนี้ เพราะไม่อาจหาผู้รู้อธิบายหรือกํากับ งานได้ดังแต่ก่อน งานศิลปะและสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้น ในระยะหลังจึงมีส่วนผิดพลาด เพราะไม่ทราบสาเหตุที่มา ของรูปทรงและความหมายขององค์ประกอบที่นํามาใช้ อย่างดีก็เป็นการคัดลอกแบบต่อๆ กันมา ซึ่งการกระทํา เช่นนี้ ย่อมเป็นอันตรายต่อคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรม ของชาติ ทําให้มผี มู้ องเห็นว่าศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย นั้น สร้างขึ้นอย่างปราศจากพื้นฐานทางหลักวิชาและปราศจากหลักฐานอ้างอิง ถ้าเราจะศึกษาเรื่องราวการนับถือพุทธศาสนา ของชนชาติไทยแล้วจะเห็นว่า ชนชาติไทยเคยรับนับถือพุทธ ศาสนาทั้งลัทธิมหายานและเถรวาท ในฝ่ายเถรวาทนั้นกลุ่ม เมืองในวัฒนธรรมมอญเป็นกลุ่มเมืองพุทธศาสนากลุ่มแรก ที่มีอิทธิพลด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมในดินแดนที่เป็น ประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ตลอดภาคกลางของประเทศไป จนจรดภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับในท้องที่ภาคเหนือและ ภาคใต้บางส่วน นับตัง้ แต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ เป็น ต้นมาจนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จนกระทั่งสมัย สุโขทัย อิทธิพลศิลปะและสถาปัตยกรรมจึงได้เปลีย่ นไปเป็น แบบอย่างลังกา แม้ว่าต่อมาสุโขทัยจะเข้ารวมกับอยุธยาใน พุทธศตวรรษที่ ๒๐ ก็ตาม แต่แบบศิลปะและสถาปัตยกรรม ก็ยังคงมีอิทธิพลพุทธศิลป์แบบลังกาเป็นแนวทางตลอด มา จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ และที่ ๒๕
สําหรับพุทธศาสนาลัทธิมหายานนั้นก็ได้เคยมีอิทธิ พลต่อศิลปะและสถาปัตยกรรมของชนชาติไทยมาแล้วก่อน การก่อตั้งกรุงสุโขทัยเช่นกัน ดังที่ปรากฏหลักฐานอิทธิพล ของศิลปะและสถาปัตยกรรมตามแบบมหายานในดินแดน ภาคใต้ ที่เมืองเชียงแสนเก่าในดินแดนภาคเหนือ ในภาค กลางก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และในดินแดนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าแม้ชน ชาติไทยจะหันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทกันเป็นส่วน ใหญ่ในภายหลังแล้วก็ตาม คติความเชื่อและการปฏิบัติบาง ประการในแบบลัทธิมหายานก็ยังคงมีปะปนอยู่ในความเชื่อ และการปฏิบัติด้วย แม้แต่ในเรื่องของศิลปะและสถาปัตยกรรม ถึงแม้จะปรากฏว่าคนส่วนใหญ่หันไปนับถือพุทธ- ศาสนาตามลัทธิเถรวาทจนถือเป็นศาสนาและลัทธิของทาง ราชการ แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่ยังปฏิบัติศาสนกิจและมีวัด ในแบบของมหายานอยู่เป็นจํานวนไม่น้อย จากพยานวัตถุทางศิลปะและสถาปัตยกรรมที่ยัง คงปรากฏอยูเ่ ป็นหลักฐาน เราได้พบว่ามีศลิ ปวัตถุและศาสนวัตถุเป็นจํานวนมากที่แสดงให้เห็นความเชื่อในลัทธิทั้งสอง นี้ผสมกัน ดังนั้นการที่จะมองดูสถาปัตยกรรมไทยให้เข้าใจ จึงจําเป็นต้องค้นหาให้รู้ถึงที่มาของคติความเชื่อในรูปของ องค์ประกอบสถาปัตยกรรม ลักษณะของรูปทรงและ ปรัชญาของแต่ละคติที่มีอิทธิพลแฝงอยู่เบื้องหลังสิ่งก่อ สร้างเหล่านี้ให้กระจ่างชัด ความงดงามของสถาปัตยกรรม ไทยไม่ควรจะมองจากแง่ของศิลปะแต่เพียงด้านเดียว การ แสดงให้เห็นถึงพื้นฐานของปรัชญาที่แฝงอยู่ก็จะเผยให้เห็น ความงามอีกด้านหนึ่งซึ่งมีความหมายสําคัญอันไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่ากัน
พุทธธรรมที่แสดงออกในรูปวัตถุ
ในการพิจารณาหาทฤษฎีของสถาปัตยกรรมไทย ผูเ้ ขียนถือหลักของพุทธศาสนาตามแบบลัทธิเถรวาท เพราะ ลัทธินี้ได้เป็นที่ยอมรับนับถือและศึกษากันตลอดมานับตั้ง แต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบนั คัมภีรแ์ ละการสอนวิธปี ระพฤติ ปฏิบัติตามแบบลัทธิเถรวาทจึงน่าจะมีบทบาทอันสําคัญใน การสร้างแบบศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยในส่วนใหญ่ ในรูปของศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยนั้นเรามัก จะได้พบลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์สําคัญ ๓ ประการ คือ ความสงบนิ่ง ความเบา และ การลอยตัว ความมุง่ หมายของพุทธศาสนานัน้ อยูท่ ก่ี ารสัง่ สอน ให้คนละจากกิเลสทั้งมวล และค้นหาวิธีปฏิบัติตนตามแนว ทางที่พระพุทธองค์ทรงแนะนําให้เข้าถึงความหลุดพ้นทุกข์ วิธีการสั่งสอนอบรมของพุทธศาสนานั้นได้แบ่งขั้นการสอน ตามความเหมาะสมของอุปนิสัยและกิเลสของแต่ละบุคคล เป็นการสัง่ สอนทัง้ ระดับทีเ่ ป็นโลกิยะและระดับทีเ่ ป็นโลกุตร สําหรับการสอนทีอ่ ยูใ่ นระดับโลกุตรนัน้ เป็นการสอนทีม่ คี วาม
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๑๓
บริสุทธิ์ปราศจากเครื่องล่อใจหรือการชักจูงใดๆ เป็นการ สอนให้บุคคลเข้าถึงอริยสัจ ๔ อันว่าด้วยลักษณะและธรรม ชาติของความทุกข์และการหาทางหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ดังนั้นการสอนบุคคลที่สามารถจะเข้าถึงสัจธรรมในระดับนี้ จึงไม่ตอ้ งการการชักจูงโดยอาศัยรูปของศิลปะ แต่การสอน ในระดับทีเ่ ป็นโลกิยะสําหรับบุคคลทีย่ งั ติดข้องในกิเลสนัน้ จะ เห็นได้ว่าเต็มไปด้วยเรื่องราวที่ชวนให้หวาดกลัวต่อผลของ การประกอบอกุศลกรรมที่จะได้รับในอบายภูมิ หรือชวนให้ ปลาบปลื้มต่อผลของการประกอบกุศลกรรมที่จะได้รับตอบ สนองในเทวภูมิ เรือ่ งชาดกต่างๆ ก็เป็นเรือ่ งทีเ่ ป็นบุคลาธิษฐานทีน่ าํ มาประกอบการสอนในขัน้ โลกิยะนีเ้ ช่นกัน เรือ่ งราว เหล่านี้เองที่ทําให้เกิดมโนภาพแก่ศิลปินและนายช่างที่จะ สร้างงานศิลปะและสถาปัตยกรรมขึน้ ช่างได้สร้างภาพจิตรกรรม ประติมากรรม และคิดค้นรูปและองค์ประกอบทาง สถาปัตยกรรมขึ้นนานาชนิด จนกระทั่งเกิดเป็นศิลปะและ สถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ประจําชาติ แม้วา่ การสร้างงานศิลปะและสถาปัตยกรรมจะเป็น วิธกี ารชักจูงความศรัทธาในฝ่ายโลกิยะก็ตาม บรรดาผูส้ ร้าง ศิลปกรรมทั้งหลายแม้ในปัจจุบันนี้ต่างก็เห็นว่ามิใช่เป็นการ ง่ายที่จะค้นหาความมุ่งหมายของพุทธศาสนาเพื่อแปลออก มาให้เป็นรูปวัตถุ การวิเคราะห์คาํ สอนในพุทธศาสนาจึงเป็น สิ่งสําคัญ ผู้สร้างศิลปกรรมจะต้องพยายามนําเอาแก่นคํา สอนนั้นออกมาแสดงให้ปรากฏในรูปของวัตถุให้จงได้ การ วิเคราะห์งานศิลปะและสถาปัตยกรรมที่เหลือตกทอดมา แต่อดีตทําให้ทราบว่าช่างแต่ก่อนสามารถเข้าถึงและเข้าใจ คําสอนในพุทธศาสนาเป็นอย่างดีแล้วเพียงใด การพยายามทีจ่ ะอ่านแนวความคิดของช่างในอดีต ทําให้ได้พบการแปลปริศนาเหล่านี้ในรูปวัตถุดังนี้ ๑. ในทางปฏิบตั ขิ องพุทธศาสนิกชน ความ มีสติระลึกได้ในทุกขณะจิตเป็นสมาธิจิตที่ป้องกันกิเลสมิให้ เข้าถึงบุคคลได้ การปฏิบัติเช่นนี้จนเป็นปกติวิสัยเป็นเครื่อง มือที่ทางพุทธศาสนาถือว่าสามารถช่วยในการตัดภพชาติ หรือตัดวัฏสงสารได้ นี่คือการทําจิตให้เข้าถึงความสงบนิ่ง ถ้าหากจะนําความนิ่งและสงบนี้ มาแปลเป็นรูปวัตถุทาง สถาปัตยกรรมนั้น ควรจะมีรูปลักษณะอย่างไร ๒. ค วามนิ่ ง และความสงบในจิ ต อั น เป็ น สมาธิ ทําให้เกิดความว่างจากกิเลส เป็นเครื่องช่วยให้เกิด ความเบาขึ้นในใจพร้อมกับความนิ่งและสงบนั้น ถ้าจะนํา ความเบานั้ น มาแปลเป็ น รู ป วั ต ถุ ท างสถาปั ต ยกรรมแล้ ว ควรจะมีรูปลักษณะอย่างไร ๓. ธรรมชาติของความเบานั้นย่อมจะลอย ขึ้นสู่เบื้องสูง ความหนาและหนักของกิเลสในใจของคนนั้น หากขัดเกลาลงได้ตามวิธีการปฏิบัติของพุทธศาสนาแล้วก็ จะมีความใกล้ทจ่ี ะเข้าสูค่ วามพ้นทุกข์ (นิพพานธาตุ) มากขึน้ ในไตรภูมิพระร่วงซึ่งพญาลิไทพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๖ ของสุโขทัยได้ทรงนิพนธ์ขึ้นจากคัมภีร์ต่างๆ ของพุทธ-
๓๑๔ ภูมิหลัง
ศาสนา ได้กล่าวถึงภพภูมิที่ลําดับความเบาบางของกิเลสไว้ ในชั้นภูมิต่างๆ ถ้าหากจะนำความหนักและเบาของกิเลสนั้น มาแปลงเป็นวัตถุทางสถาปัตยกรรมแล้ว รูปสถาปัตยกรรม นั้นจะมีลักษณะอย่างไร วิธีปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพุทธธรรมตามที่กล่าวมานี้ ทําให้เกิดความเข้าใจตามสมมุติบัญญัติทางโลกถึงความต่ำ และสูงของจิต ทําให้มนุษย์เราสามารถกําหนดมโนภาพของ ความต่ำและความสูงได้ ศิลปินและนายช่างจึงพยายามที่ จะแปลนามธรรมนั้นออกมาในรูปวัตถุอันเป็นตัวแทนความ หมายหรือสัญลักษณ์ของพุทธศาสนา สัญลักษณ์นั้นจึง ปรากฏแฝงอยูใ่ นจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรมโดยทั่วไป ความสงบนิ่ง ความเบา และลอยในสถาปัตย- กรรมไทยนั้นแสดงให้เห็นเหตุผลในการออกแบบได้อย่าง ชัดเจน ถ้าจะพิจารณาสถาปัตยกรรมไทยแต่ละส่วนให้ละ- เอียดแล้วก็จะพบว่า ช่างในอดีตมีความฉลาดในการแปล นามธรรมให้ออกมาเป็นรูปวัตถุอย่างได้ผลดียิ่ง
ไตรภูมิพระร่วงและสถาปัตยกรรมไทย ในทางช่างนัน้ เรือ่ งราวทางพุทธศาสนาทีก่ ล่าวอ้าง กันว่ามีอิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมไทย ก็คือเรื่องไตรภูมิที่กล่าวถึงโลกทั้งสาม คือโลกมนุษย์ นรก และสวรรค์ ชนชาติไทยได้รับความรู้เรื่องไตรภูมิมาพร้อมๆ กับการรับเอาพุทธศาสนาไว้เป็นศาสนาประจําชาติ การ พัฒนาในด้านรูปของสถาปัตยกรรมจึงได้คล้อยตามคติความ เชื่อนี้สืบต่อกันตลอดมา ในชั้นต้นนั้นความรู้เรื่องไตรภูมิจํา กัดอยู่เฉพาะในหมู่ของผู้บวชเรียนหรือพระภิกษุเท่านั้น แต่ ต่อมาเมื่อพญาลิไทได้ทรงนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วงขึ้นเป็น ร้อยแก้ว ความรู้นี้จึงแพร่หลายออกไปมากขึ้นในหมู่ประชา ชน ไม่จํากัดวงแต่เฉพาะในหมู่ของผู้บวชเรียนดังแต่ก่อน ความในไตรภูมนิ น้ั กล่าวว่าจักรวาลทีม่ โี ลกซึง่ มนุษย์ อาศัยอยู่นี้เป็นหน่วยหนึ่งของอนันตจักรวาลอันหาขอบเขต จํากัดมิได้ จักรวาลใดๆ ย่อมมีสภาพเหมือนกันทัง้ สิน้ (รูป ๕) ในจักรวาลหนึ่งๆ นั้นมีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง และมี เขาสัตบริภัณฑ์ล้อมอยู่โดยรอบเป็นวงแหวนเจ็ดวง ทั้งเขา พระสุเมรุและเขาสัตบริภณ ั ฑ์ถกู ห้อมล้อมด้วยสีทนั ดรสมุทร ทีแ่ ผ่กว้างไปทุกทิศจนจรดวงขอบจักรวาล รอบนอกของเขา สัตบริภณ ั ฑ์ในทิศใหญ่ทง้ั สีท่ ศิ นับเป็นทีต่ ง้ั ของทวีปใหญ่สท่ี วีป และทวีปน้อยอีกสี่ทวีป สําหรับทวีปใหญ่ทั้งสี่ได้แก่อุตรกุรุทวีปซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ บุรพวิเทหะ ทางทิศตะวันออก ชมพูทวีปทางทิศใต้ และอมรโคยานทาง ทิศตะวันตก (รูป ๖) ทวีปใหญ่ทง้ั สีแ่ ต่ละทวีปเป็นทีเ่ กิดของ มนุษย์ มนุษย์แต่ละทวีปจะมีลกั ษณะเฉพาะของตน แต่เฉพาะ ในชมพูทวีปเท่านัน้ ทีจ่ ะเป็นแดนทีบ่ งั เกิดของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ ความในไตรภูมิยังได้ระบุว่าโลกมนุษย์เป็นภูมิแห่ง เดียวเท่านั้น ที่การประกอบกรรมของมนุษย์มีผลต่อการ เปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพในภพภูมิอื่น คือผู้ที่ประกอบกุศล- กรรมในโลกจะมีผลได้เสวยสุคติภูมิในเทวโลกและพรหมโลก หรืออาจบรรลุมรรคผลเข้าสู่นิพพานได้ ส่วนมนุษย์ผู้ประ กอบอกุศลกรรมนั้นจะมีผลต่อการไปสู่อบายภูมิหรือตกนรก ได้มีการจําแนกภพภูมิทางฝ่ายกุศลกรรมไว้เป็นเทวภูมิ ๖ ชั้น เป็นรูปพรหมภูมิหรือพรหมที่ยังมีรูป ๑๖ ชั้น และอรูป พรหมภูมิหรือพรหมที่ไม่มีรูปอีก ๔ ชั้น จากนั้นจึงเป็นภูมิ ของผู้ที่ได้บรรลุมรรคผลได้ตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณ คือ นิพพาน ส่วนภูมิทางฝ่ายอกุศลกรรมแบ่งออกได้เป็น ๔ ชั้น คือ ติรัจฉาน เปรต อสุรกาย และนรก ลั ก ษณะการกํ า หนดชั้ น ภู มิ ดั ง กล่ า วมาแล้ ว นี้ มี จิตรกรได้เรียนรู้จากพระสงฆ์ และได้จําลองภาพเหล่านี้ขึ้น เป็นภาพผนังโบสถ์หรือวิหารจนเป็นทีค่ นุ้ ตาของพุทธศาสนิกชน มาแล้วหลายสมัย (รูป ๗) ในสมัยอยุธยาและในสมัยธนบุรี
ก็ได้มสี มุดภาพไตรภูมอิ นั มีชอ่ื เสียงปรากฏเป็นหลักฐาน (รูป ๘) ทําให้คนส่วนมากได้เข้าใจเรือ่ งราวของพุทธศาสนาในส่วน นี้ได้ง่ายขึ้น จนเป็นความรู้สึกที่สามัญชนทั่วไปอาจอธิบาย ได้ ความรู้เรื่องบุญบาปและภพภูมิของสามัญชนทั่วไปนั้น แม้ชาวต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อทางการทูตและค้าขาย ในสมั ย สมเด็ จ พระนารายณ์ ม หาราชแห่ ง กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา (พ.ศ. ๒๑๙๙ – พ.ศ. ๒๒๓๑) เช่นลาลูแบร์หรือบาทหลวง ตาชาร์ด ก็ได้กล่าวไว้ในรายงานเดินทางของเขา นอกจากนี้ จากการศึกษาเรือ่ งราวในไตรภูมทิ าํ ให้ เราได้ทราบรายละเอียดอื่นๆ ที่ช่างนํามาใช้เป็นเครื่องประ กอบตัวสถาปัตยกรรม เช่นทราบว่าบนยอดเขาพระสุเมรุ นั้นเป็นที่ตั้งของเมืองตรัยตรึงส์ ซึ่งเป็นเมืองในสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์หรือชั้นตาวติงสเทวภูมิ เป็นที่อยู่ของพระอินทร์ผู้ ปกครองเทวถูมิ บนสวรรค์ชั้นนี้มีเทพประจํารักษาทิศทั้งสี่ ทิศ นอกจากนี้ยังได้ทราบว่าบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นมีสิ่ง ที่สําคัญหลายอย่างตั้งอยู่ ที่สําคัญยิ่งต่อความเชื่อในพุทธศาสนาก็คือ จุฬามณีเจดีย์ที่บรรจุพระทันตธาตุเขี้ยวแก้ว และพระเมาฬีของพระพุทธเจ้า ซึ่งได้ปลงไว้ขณะเมื่อเสด็จ ออกมหาภิเนษกรมณ์และเทวดาอัญเชิญไปเก็บรักษาไว้ เรื่องราวในไตรภูมิโดยย่อดังกล่าวมานี้คือเรื่อง ราวทีม่ ผี เู้ ชือ่ กันว่ามีอทิ ธิพลต่อการก่อรูปของศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย เป็นกฎเกณฑ์ที่ควบคุมรูปแบบไว้อย่างไม่ เปลี่ยนแปลงตลอดมา พุทธศาสนิกชนและคนไทยส่วนมาก ได้คุ้นเคยกับภาพไตรภูมิที่จิตรกรได้คิดเขียนขึ้นไว้ตามผนัง วิหารและโบสถ์มาแล้ว แต่ภาพเหล่านัน้ ก็ยงั คงเป็นแต่เพียง ภาพเขียนที่คนทั่วไปยังไม่อาจเข้าใจว่าจะแฝงแนวความคิด ทีจ่ ะสร้างกฎเกณฑ์ทางศิลปะได้ ฉะนัน้ จึงจําเป็นที่จะต้อง แปลเรื่องราวในไตรภูมิจากภาษาหนังสือออกมาเป็นแผน ภาพ เพื่อให้มองเห็นสิ่งที่เป็นกฎเกณฑ์นั้นได้ชัดเจนขึน้ การ ทีเ่ ราได้รวู้ า่ สวรรค์อยูเ่ บือ้ งสูงและนรกอยูเ่ บือ้ งต่ำ ก็เป็นการ กล่าวสมมติกันทางด้านวัตถุหรือกล่าวตามสมมติทางโลก เพือ่ ให้มนุษย์เราสามารถสร้างมโนภาพในการกําหนดทิศทาง ได้เป็นอย่างเดียวกันเท่านั้น แม้จะเห็นลักษณะของไตรภูมติ ามแผนภาพผังจักรวาลและแผนภาพฝานตามตั้ง ที่สร้างขึ้นทั้งสองภาพนั้น แล้วก็ตาม เรายังไม่อาจกล่าวชี้ชัดลงไปได้ว่าสิ่งนั้นหรือสิ่ง นี้คือกฎเกณฑ์ที่นําไปสร้างศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยขึ้น ทั้งนี้ก็เพราะยังไม่เคยปรากฏหลักฐานเอกสารที่อ้างเช่นนั้น และการจะกล่าวเจาะจงลงไปว่าสิ่งใดเป็นกฎเกณฑ์ที่สร้าง แบบศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยก็จะเป็นเหตุให้มขี อ้ โต้แย้ง ได้ ดังนั้นการที่จะสืบหากฎเกณฑ์ที่ยึดถือกันมาแต่โบราณ ในขณะนี้ จึงเห็นว่าไม่มีทางใดดีไปกว่าการหาหลักฐานข้อมูล
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๑๕
รูป ๕ ภาพหุน่ จําลองแสดงส่วนของอนันตจักรวาล ที่ประกอบด้วยจักรวาลแต่ละจักรวาลที่มี ลักษณะรูปร่างเช่นเดียวกัน หุ่นจําลองสีส้ม คือจักรวาลใดจักรวาลหนึ่งที่มีโลกมนุษย์ ของเราในปัจจุบันนี้รวมอยู่ด้วย
๕
๓๑๖ ภูมิหลัง
รูป ๗ ภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องไตรภูมิ อัน ประกอบด้วยเขาพระสุเมรุและเขาสัตบริภณ ั ฑ์ เป็นภาพเบื้องหลังพระประธานวัดใหญ่ อินทาราม อําเภอเมืองฯ จังหวัดชลบุรี
รูป ๖ ภาพวิเคราะห์ลักษณะของจักรวาลตามที่ มีข้อความอธิบายไว้ในไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๖ แห่งอาณาจักรสุโขทัย (พ.ศ. ๑๙๐๐-๑๙๑๑)
รูปเต็มหน้า 317
ของสิ่งที่นิยมปฏิบัติกันเป็นส่วนใหญ่ แล้วนํามาแสดงให้เห็น และวิเคราะห์ขอ้ มูล เหตุและทีม่ าของสิง่ ทีน่ าํ มาใช้สร้างงาน ศิลปะและสถาปัตยกรรมนั้นไปด้วย การค้นหาทฤษฎีแม่บททางศิลปะและสถาปัตยกรรม นั้น ก่อนอื่นจะต้องปลงใจเชื่อไว้ในชั้นหนึ่งก่อนว่ามีทฤษฎี แม่บทนัน้ จริง แล้วจึงทำการค้นหาโดยตัง้ ปัญหาหรือข้อสงสัย ขึ้น โดยพยายามอ่านแนวความคิดของช่างในอดีตประกอบ ไปด้วย ดังเช่น ปล้องไฉนของพระเจดียท์ รงกลมคืออะไร มีความ หมายอย่างไร และมีจํานวนกําหนดตายตัวหรือไม่ รูปทรงของพระปรางค์หมายถึงอะไร ชัน้ กลีบขนุน หรือชั้นรัดประคดขององค์พระปรางค์มีความหมายอย่างไร และมีจํานวนชั้นกําหนดไว้หรือไม่ หลังคาเครื่องยอดทรงมณฑปคืออะไร มีจํานวน ชั้นซ้อนอย่างไร และมีความหมายหรือไม่ เถาบัวกลุ่มยอดพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้คืออะไร มีความหมายอย่างไร และมีจํานวนกําหนดตายตัวหรือไม่ การตั้งข้อสงสัยเหล่านี้ก็เพื่อที่จะค้นหาคําตอบ หากพบคําตอบที่มีเหตุผลและหลักฐานควรเชื่อถือได้ย่อม หมายถึงการพบทฤษฎีหรือกฎเกณฑ์ที่บุรพาจารย์ท่านได้ถือ เป็นหลักปฏิบัติกันตลอดมา สิ่งที่สําคัญยิ่งก็คือจะได้พบว่า วิชาสถาปัตยกรรมไทยนั้นมีหลักเกณฑ์ มีทฤษฎี หรือมีสูตร มิใช่วิชาที่เกิดขึ้นตามอารมณ์ของการสร้างศิลปะที่ข้นึ อยู่กับ บุคคลหรือครูช่างผู้ใดผู้หนึ่ง กับจะเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ด้วย ว่าเหตุใดรูปแบบหลักของสถาปัตยกรรมไทยจึงไม่เปลี่ยน แปลงหรือพัฒนาไปเป็นรูปแบบอื่น ทั้งๆ ที่วิชาสถาปัตย- กรรมไทยถูกกล่าวอยู่เสมอว่าเป็นวิชาที่ไม่ทันสมัย ไม่สนอง ประโยชน์ใช้สอยในปัจจุบันได้ เป็นเหตุให้บางท่านกล่าวว่า เป็นวิชาที่ไม่ควรรื้อฟื้นขึ้นมาอีกและบางท่านถึงกับเสนอให้ ทําลายซากโบราณสถานลง เพื่อนําพื้นที่ดินไปใช้ประกอบ ธุรกิจซึ่งเห็นว่ามีความสําคัญกว่า หลักฐานหรือทฤษฎีในวิชาสถาปัตยกรรมไทยซึ่ง จะกล่าวได้ในลําดับต่อไปนี้ จะเป็นสิง่ ทีเ่ ป็นไปได้หรือไม่กต็ าม แต่กเ็ ป็นแนวคิดหนึง่ ในการวิเคราะห์และค้นหา หรือการจะ พยายามอ่านงานของบุรพาจารย์ทางช่างให้ออกว่าท่านมี ความคิดและมีแนวปรัชญาอย่างไร เพื่อว่าในอนาคตหาก จะมีการรื้อฟื้นวิชานี้ขึ้นอีก อย่างน้อยก็จะได้มีบันทึกแนว คิดเสนอไว้เป็นหลักฐานบ้างในบางประการ ปัญหาที่ ๑ ปล้องไฉน จากการสังเกตองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ทีเ่ รียกกว่า ปล้องไฉนหรือมาลัยเถาของพระเจดียท์ รงกลม ได้พบว่ามีการทําปล้องไฉนเรียงซ้อนกันในจํานวนที่สงสัยว่า จะยึดถือจํานวนเลขอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นหลักในการคิด เช่น จํานวน ๖ ๗ ๘ ๑๑ ๑๔ ๑๖ ๒๐ ๒๑ ๒๗ ๒๘ และ ๓๒
๓๑๘ ภูมิหลัง
รูป ๘ ภาพไตรภูมิ จากสมุดภาพฉบับเมืองเหนือ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
รูป ๙ แผนภาพกําหนด ชั้นภูมิของปล้องไฉน
๘
ปัญหาที่ ๒ ชั้นรัดประคดหรือชั้นกลีบขนุน ได้พบว่าเจดียท์ รงปรางค์ พระปรางค์มจี าํ นวนชัน้ รัดประคดส่วนมากเป็นจํานวน ๕ ๖ ๗ และ ๘ ปัญหาที่ ๓ มณฑป ได้พบว่าชั้นซ้อนของหลังคาเครื่องยอดที่เป็นยอด มณฑปหรือยอดบุษบกมีจํานวนชั้นซ้อน ๓ ๕ และ ๗ ปัญหาที่ ๔ เถาบัวกลุ่ม องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เรียกว่าเถาบัว กลุ่มบนยอดพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้ ได้พบว่ามีการทําบัว ซ้อนเป็นเถาในจํานวนอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นหลัก เช่น ๕ ๗ ๙ และ ๑๑
ข้อวิเคราะห์เรื่องปล้องไฉน
ในการพิจารณาปัญหาทั้ง ๔ ข้อนั้นมีจํานวนตัว เลขที่น่าสังเกตคือ ๓ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๑ ๑๖ ๒๐ ๒๑ ๒๗ ๒๘ ๓๒ ผูเ้ ขียนจึงพยายามมองหาความหมายของตัว เลขเหล่านี้ว่ามีอย่างไร เราทราบกันดีว่าการใช้ตัวเลขเป็น หลักปฏิบัติในศาสตร์บางแขนง เช่น โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ คัมภีร์พระเวท และแม้ในพุทธศาสตร์ สําหรับวิชา โหราศาสตร์นั้นจะเห็นว่ามีทางเชื่อมโยงกับวิชาสถาปัตย- กรรมตรงที่ตัวเลขดวงชะตาของเจ้าของเรือนมีส่วนสัมพันธ์ กับการหาสัดส่วนของอาคารในที่สําคัญบางที่ เช่นการหา ระยะของขื่อเรือน ดังเช่นที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฤทัย
ใจจงรัก ได้เขียนไว้ในรายงานการค้นคว้าเรื่อง เรือนไทย ภาคกลาง พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ คราวนีห้ นั มาพิจารณาปล้องไฉนตรงส่วนยอดของ พระเจดีย์ทรงกลมและพระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมใหญ่ที่นิยม สร้างกันในสถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยาตอน ต้น ถ้าลองนับจํานวนปล้องไฉนดูจะพบว่ามีจาํ นวนปล้องไฉน ต่างๆ กัน แต่ก็มีพระเจดีย์หลายองค์ที่มีจํานวนปล้องไฉน ตรงกัน การที่มีจํานวนปล้องไฉนตรงกันนั้นทําให้เกิดความ สงสัยว่าน่าจะมีสูตรบางสูตรกําหนดไว้เช่นนั้น และหากเป็น * ตัวเลขแสดงชั้นภูมิที่เทียบได้จาก ไตรภูมิดังนัน้ แล้ว ก็เป็นข้อทีน่ า่ จะพิจารณาว่าสูตรนัน้ มีทม่ี าอย่างไร พระร่วงนั้นเป็นตัวเลขที่บางท่านเข้าใจว่า คัมภีร์ไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวถึงสภาพของผู้ทรง เป็นที่นยิ มในการนํามากําหนดจํานวนปล้อง ภูมิในระดับต่างๆ กันตามกระแสกิเลสที่มีอยู่ในจิตใจของ ไฉนโดยทัว่ ไป แต่ก็ได้พบว่าคัมภีร์ พุทธศาสนานัน้ มีไตรภูมิฉบับอื่นใน บุคคล ผู้ที่มีกิเลสเบาบางก็จะอยู่ในภูมิในระดับที่สูงขึ้นตาม ลัทธิมหายานอีกด้วย คัมภีร์ไตรภูมิ ลําดับจนถึงนิพพาน อันเป็นภูมิที่ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง ในลัทธิมหายานนัน้ พระยาโกษากรวิจารณ์ ส่วนผู้ที่มีกิเลสพอกหนาก็จะมีอบายภูมิเป็นที่อาศัยในเบื้อง ผูศ้ กึ ษาค้นคว้าประวัตศิ าสตร์และโบราณคดี ด้านลัทธิมหายานพบว่า มีชั้นภูมิแตกต่าง ต่ำ ภูมิที่ถือเป็นที่กําหนดมาตรฐานเบื้องต้นก็คือมนุษยภูมิ จากมนุษยภูมินี้กรรมของบุคคลที่ประกอบขึ้นในโลกจะมี ไปจากที่กล่าวถึงในไตรภูมิพระร่วง ลัทธิเถรวาท เช่นรูปพรหมภูมิทางฝ่าย ผลทําให้ผู้นั้นไปสู่ชั้นภูมิอื่น โลกมนุษย์จึงเปรียบเสมือน มหายานมีจํานวนถึง ๑๘ ชั้น ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่าอาจมีผู้ทราบคตินี้ สนามสอบแห่งเดียวของจักรวาลที่จะเปลี่ยนแปลงสภาวะ และกําหนดจํานวนปล้องไฉนแตกต่าง ของบุคคลหลังจากพ้นสภาพจากโลกนี้ไปแล้ว ไปจากที่ยกตัวอย่างมาแล้วก็ได้ จํานวน ถ้าถอดข้อความในคัมภีรอ์ อกมาแสดงให้เห็นลักษณะ ชั้นภูมิที่เพิ่มขึ้นอีก ๒ ชั้นในรูปพรหมภูมิ คือ ชั้นอนัภภาภูมิ และชั้นปุณยปรสวะภูมิ การกําหนดชั้นภูมิตามแผนภาพก็จะทําให้มองเห็นตัวเลขดัง เพิม่ แทรกระหว่างชัน้ เวหับผลาภูมิขึ้นไปสู่ชั้น ต่อไปนี้* (รูป ๙) สุภกิณหาภูมิตามลําดับ
๙
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๑๙
การหาพยานวัตถุในปัจจุบันเพื่อนํามาสนับสนุน แนวความคิดนี้นับว่ากระทําได้ยากลําบาก เพราะเหตุที่โบราณสถานส่วนมากมักชํารุดหักพังไป โดยเฉพาะส่วนยอด พระเจดีย์ซึ่งมีความบอบบางมาก หรือพระเจดีย์บางองค์ก็ อาจถูกซ่อมแซมจนไม่อาจทราบรูปเค้ามูลเดิมว่าเคยเป็นอย่าง ไรและเมื่อมีการซ่อมในชั้นหลังแล้วก็ไม่แน่ใจว่าจะตรงกับ ของเดิมที่สร้างไว้หรือไม่ แต่แม้ว่าจะยากลําบากในการสืบ ค้นหาตัวอย่างและสถิตกิ พ็ บว่ายังพอจะหาพระเจดียท์ ส่ี าํ คัญ นํามาแสดงประกอบการพิจารณาได้พอสมควร ดังนี้
จากการสํารวจศึกษาจํานวนปล้องไฉนของพระ เจดีย์ทรงกลมหรือทรงลังกานั้นจะเห็นข้อน่าสังเกตประการ หนึ่งคือเจดีย์ที่มีจํานวนปล้องไฉนที่คาดว่าจะสร้างขึ้นคล้อย ตามจํานวนชัน้ ภูมิ (รูป ๑๐) ตามทีร่ ะบุในไตรภูมนิ น้ั ส่วนใหญ่ จะเป็นพระเจดียท์ ส่ี ร้างขึน้ ตามคติของเถรวาทนับตัง้ แต่สมัย สุโขทัยลงมาตามสายสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ และ พระเจดีย์สําคัญที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นมักจะนิยม ใช้จาํ นวนรวมชัน้ ภูมทิ ส่ี าํ คัญไว้เป็นส่วนใหญ่ คือ ๒๘ (มนุษย ภูมิ + เทวภูมิ + รูปพรหมภูมิ + อรูปพรหมภูมิ + นิพพาน) หรือ
๑๐ เจดีย์ที่วัด
จังหวัด
ช้าง พระนครศรีอยุธยา พระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา ช้างล้อม ศรีสัชนาลัย สุโขทัย จะทิ้งพระ สทิงพระ สงขลา พิชยญาติการาม กรุงเทพฯ มหาธาตุ ราชบุรี มหาธาตุ ราชบุรี จะทิ้งพระ สทิงพระ สงขลา พลับพลาไชย กรุงเทพฯ พะโคะ สทิงพระ สงขลา ช้างรอบ กําแพงเพชร พระปฐมเจดีย์ นครปฐม ชุมพลนิกายาราม พระนครศรีอยุธยา ภูเขาทอง พระนครศรีอยุธยา เสลี่ยง พระนครศรีอยุธยา สวนหลวงสบสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา สมณะโกษฐ พระนครศรีอยุธยา สระเกศ(ภูเขาทอง) กรุงเทพฯ บรมนิวาส กรุงเทพฯ ราชประดิษฐ์- กรุงเทพฯ สถิตมหาสีมาราม ปทุมวนาราม กรุงเทพฯ นางชี กรุงเทพฯ ชัยชนะสงคราม สุโขทัย โพธินิมิตร กรุงเทพฯ พะโคะ สทิงพระ สงขลา (สุวรรณมาลิกเจดีย์) พระธาตุหริภุญชัย ลําพูน เวฬุราชิณ กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ น้อยทองอยู ่ มหรรณพาราม กรุงเทพฯ พระเชตุพนฯ (พระเจดีย-์ กรุงเทพฯ ศรีสรรเพชญดาญาณ) โสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ บวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ราชบพิธ กรุงเทพฯ พระสมุทรเจดีย์ สมุทรปราการ
๓๒๐ ภูมิหลัง
จํานวนปล้องไฉน ๓๒ ๓๒-๓๔ ๓๒ ๓๒ ๓๒ ๓๑ ๒๘ ๒๘ ๒๘ ๒๘ ๒๗ ๒๗ ๒๗ ๒๗ ๒๗ ๒๗ ๒๗ ๒๗ ๒๗ ๒๗ ๒๗ ๒๗ ๒๖ ๒๒ ๒๑ ๒๑ ๒๑ ๒๑ ๒๑ ๒๑ ๒๑ ๒๑ ๒๑ ๒๑
เจดีย์ที่วัด
จังหวัด
พระราม พระนครศรีอยุธยา เกาะแก้วสุทธาราม เพชรบุรี พระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ ตึก (ชัยชนะสงคราม) กรุงเทพฯ ศิริอมาตย์ กรุงเทพฯ เขมาภิรตาราม กรุงเทพฯ หงส์รัตนาราม กรุงเทพฯ ขุนจันทร์ กรุงเทพฯ ดาวคะนอง กรุงเทพฯ เครือวัลย์ กรุงเทพฯ มกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพฯ มหาธาตุ อุตรดิตถ์ มหาธาตุ สุโขทัย มหาธาตุ เชลียง สุโขทัย เขาตังกวน สงขลา ใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา พุทธไธสวรรย์ พระนครศรีอยุธยา ขุนจันทร์ พระนครศรีอยุธยา สามปลื้ม พระนครศรีอยุธยา ดุสิตาราม พระนครศรีอยุธยา อินทาราม กรุงเทพฯ สามปลื้ม กรุงเทพฯ ช่างแสง กรุงเทพฯ ประยุรวงศาวาส กรุงเทพฯ เฉลิมพระเกียรติ กรุงเทพฯ เจดีย์ทวารวดีที่ กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร หิรัญรูจี กรุงเทพฯ ลาวทอง สนามชัย สุพรรณบุรี โปรดเกศเชษฐาราม สมุทรปราการ รัตนชัย พระนครศรีอยุธยา พระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่ กุฎีแดง พระนครศรีอยุธยา ราชาธิวาส กรุงเทพฯ สุทธิวราราม กรุงเทพฯ พระศรีรัตนมหาธาตุ กรุงเทพฯ
จํานวนปล้องไฉน ๒๑ ๒๑ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๑๘ ๑๘ ๑๗ ๑๗ ๑๖ ๑๖ ๑๖ ๑๖ ๑๖ ๑๖ ๑๖ ๑๖ ๑๖ ๑๖ ๑๖ ๑๖ ๑๖ ๑๔ ๑๔ ๑๓ ๑๓ ๑๒ ๑๑ ๑๑ ๑๑ ๖ ๖ ๖
รูป ๑๐ ภาพแสดงลักษณะปล้องไฉนประดับยอด พระเจดีย์แบบลังกาทั่วไป
รูป ๑๑ ภาพพระเจดียว์ ดั ช้างล้อมทีอ่ าํ เภอศรีสชั นาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใน สมัยสุโขทัย เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในรัชกาล พ่อขุนรามคําแหงมหาราชตามทีไ่ ด้รบั อิทธิพล ของพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบอย่างลังกา ที่ได้รับถ่ายทอดมาจากนครศรีธรรมราช จํานวนปล้องไฉนที่ทําขึ้นประดับยอดพระ เจดีย์องค์นี้ เห็นได้ว่าเป็นจํานวนรวมของ ชั้นภูมิทั้งหมด ๓๒ ภูมิ
รูป ๑๒ ภาพพระปฐมเจดีย์ อําเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐม นับเป็นพระมหาเจดีย์ใหญ่ ทีส่ ดุ ในประเทศไทย มีปล้องไฉนประดับยอด ๒๗ ปล้อง จํานวน ๒๗ นี้ เห็นได้วา่ เป็นจํานวน รวมของชั้นภูมิที่นับตั้งแต่เทวภูมิขึ้นไป เป็นลําดับ รูป ๑๓ ภาพสุวรรณมาลิกเจดีย์ วัดพะโคะ อําเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา แบบ พระเจดีย์องค์นี้มีรูปลักษณะองค์ประกอบ ทางสถาปัตยกรรมเช่นเดียวกับ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช แต่มปี ล้องไฉนประดับยอดเพียง ๒๑ ปล้อง จํานวน ๒๑ ในที่นี้เข้าใจว่าเป็นจํานวนที่ถือ เอาชั้นภูมิที่มีความบริสุทธิ์ในชั้นพรหมโลก ขึ้นไปเป็นสําคัญ จึงได้ถือเอาจํานวน ๒๑ เป็นจํานวนของปล้องไฉน
๑๑
๑๒
๒๗ (เทวภูมิ + รูปพรหมภูมิ + อรูปพรหมภูมิ + นิพพาน) หรือ ๒๑ (รูปพรหมภูมิ + อรูปพรหมภูมิ+นิพพาน) หรือใช้ จํานวนรวมของชั้นภูมิทั้งหมดที่มีในไตรภูมิมากําหนดเป็น จํานวนปล้องไฉน คือ จํานวน ๓๒ (อบายภูมิ + มนุษยภูมิ+ เทวภูมิ+รูปพรหมภูมิ+อรูปพรหมภูมิ+นิพพาน) ผูท้ น่ี บั ถือพุทธศาสนาย่อมจะทราบเป็นอย่างดีแล้ว ว่า คติการสร้างพระเจดีย์ซึ่งมีมาแต่เดิมนั้นได้มีการกําหนด จํานวนพระเจดียไ์ ว้เป็น ๔ ประเภท ดังทีส่ มเด็จฯ กรมพระยา ดํารงราชานุภาพได้ทรงอธิบายไว้ในพระนิพนธ์เรื่อง ตํานาน พุทธเจดีย์สยาม ซึ่งพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ พระเจดีย์ ๔ ประเภทนั้นคือ ๑. อุเทสิกเจดีย์ คือ พระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา พระเจดีย์ ประเภทนี้อาจไม่จําเป็นต้องสร้างขึ้นเป็นรูปพระเจดีย์ทาง สถาปัตยกรรมก็ได้ สิ่งใดก็ตามที่สร้างขึ้นในพระศาสนาเพื่อ มุง่ หมายถวายเป็นพุทธบูชาแล้ว ย่อมถือว่าเป็นอุเทสิกเจดีย์ ทั้งสิ้น ตัวอย่างที่อาจนํามากล่าวถึงในที่นี้ก็คือ รูปธรรมจักร พระวิหาร ฯลฯ ๒. ธรรมเจดีย์ คือ เจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุหรือจารึกข้อธรรม เช่น พระเจดียท์ จ่ี ารึกคาถา เย ธมฺมา เป็นต้น หรือการสร้าง พระไตรปิฎกและคัมภีร์ไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในพระศาสนา ๓. ธาตุเจดีย์ คือ เจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุ เช่นบรรจุ พระบรมสารีรกิ ธาตุ พระเถรธาตุ หรือแม้แต่ธาตุของบุคคล ทั่วไป ๔. บริโภคเจดีย์ คือ เจดีย์ที่สร้างขึ้นบรรจุองค์วัตถุอันเกี่ยวเนื่อง ด้วยพระพุทธองค์ ดังเช่นทีส่ ร้างขึน้ บรรจุเครือ่ งอัฐบริขาร ของพระพุทธเจ้า หรือสังเวชนียสถานอันได้แก่สถานทีป่ ระสูติ ตรัสรู้ สถานที่ทรงแสดงปฐมเทศนา หรือสถานที่ที่เสด็จสู่ ปรินิพพาน ฯลฯ หากการสร้างพระเจดีย์อาศัยจํานวนชั้นภูมิเป็น เครื่องกําหนดจํานวนปล้องไฉนจริงแล้ว จํานวนปล้องไฉน สํ า หรั บ พระเจดี ย์ ที่ ส ร้ า งขึ้ น เพื่ อ จะให้ เป็ น อุ เทสิ ก เจดี ย์ ธาตุเจดีย์ หรือบริโภคเจดีย์ ก็น่าที่จะมีปล้องไฉนที่เป็นจํา นวน ๓๒ (รูป ๑๑) ๒๘ ๒๗ (รูป ๑๒) และ ๒๑ (รูป ๑๓) (หรือจํานวน ๓๔ ๓๓ ๓๐ ๒๙ ๒๘ และ ๒๓ ตามตัวเลขชั้น ภูมิรวมในไตรภูมิ ฝ่ายมหายาน) เพราะเป็นจํานวนตัวเลขที่ รวมชั้นภูมิสําคัญเอาไว้ และพระธาตุเจดีย์ในที่นี้ก็น่าจะเป็น ชั้นพระบรมสารีริกธาตุ ดังเช่นพระปฐมเจดีย์ พระเจดีย์วัด ช้างรอบ จังหวัดกําแพงเพชร พระเจดียภ์ เู ขาทองวัดสระเกศ เป็นต้น ส่วนธรรมเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระธรรมหรือ พระไตรปิฎกไว้เพื่อประกาศศาสนาในอนาคตนั้นก็น่าจะเป็น พระเจดียท์ ี่มีจํานวนปล้องไฉนเช่นเดียวกับพระธาตุเจดีย์ดัง กล่าวมาแล้วหรือมีจํานวนปล้องไฉนตามจํานวนคําในพระ
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๒๑
คาถาซึง่ ในข้อนีย้ งั ไม่อาจหาหลักฐานพิสจู น์ได้แน่ชดั สําหรับ เจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระอรหันตธาตุหรือพระเถรธาตุ นัน้ น่าจะมีจาํ นวนชัน้ ปล้อง ๒๐ คือ รูปพรหมภูม+ิ อรูปพรหมภูมิ หรือ ๑๖ คือ อรูปพรหมภูมิ (หรือจํานวน ๒๒ และ ๑๘ ตามตัวเลขชัน้ ภูมริ วมในไตรภูมฝิ า่ ยมหายาน) ในฐานะทีเ่ ป็น ปูชนียบุคคลผู้ประพฤติพรหมจรรย์และเป็นผู้มีพรหมวิหาร สมควรต่อจํานวนชั้นในพรหมภูมิ ในทํานองเดียวกันกับการ สร้างธาตุเจดีย์บรรจุอัฐิของบุพการีชนซึ่งตามประเพณีไทย ถือกันว่า บิดามารดาปูย่ า่ ตายายหรือครูบาอาจารย์ผเู้ คยอุปการะเกื้อกูลมาเป็นพรหมของบุตรหลานหรือเป็นพรหมของ ศิษย์ ฉะนั้น เจดีย์ที่บุตรหลานหรือศิษย์สร้างขึ้นเพื่อบรรจุ ธาตุของท่านเหล่านี้จึงน่าจะมีปล้องไฉนจํานวน ๑๖ (หรือ ๑๘) ด้วย แต่ก็มีเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุจํานวนไม่น้อยที่มีจํานวน ปล้องเพียง ๖ หรือ ๗ ซึ่งเป็นจํานวนชัน้ สุคติในกามภูมิ ในกรณีของจํานวน ๑๖ นัน้ บังเอิญได้พบตัวอย่างพระพิมพ์ที่ เรียกว่าพระสมเด็จชนิดหนึ่งที่ใช้อาสนะรองถึง ๑๖ ชั้น (รูป ๑๔) มีลักษณะคล้ายคลึงกับจํานวนของปล้องไฉน จากภาพ พระพิมพ์นี้ทําให้เห็นหลักฐานบางประการที่อาจอ้างทฤษฎี การให้ความหมายของเลข ๑๖ ได้บา้ ง นัน่ คือการเทียบสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ในฐานะปูชนียบุคคลใน ชั้นพรหม ได้พบว่ามีพระเจดียจ์ าํ นวนหนึง่ ทีท่ าํ ปล้องไฉนประ ดับยอดไว้จํานวน ๑๓ ปล้อง ซึ่งจํานวน ๑๓ นี้ไม่พบว่าเป็น จํานวนรวมชั้นภูมิใดๆ ในแบบไตรภูมิเลย จึงคิดว่าน่าจะมี หลักเกณฑ์ในการกําหนดจํานวน ๑๓ ปล้องนี้ เมื่อลองค้น หาความหมายของเลขจํานวนนี้ ก็พบสิง่ ทีน่ า่ พิจารณาในทาง ลัทธิมหายาน คือได้พบการทําชั้นยอดของพระเจดีย์ของ พวกเนปาลีในประเทศเนปาล (รูป๑๕) พระเจดียแ์ บบทิเบต (รูป ๑๖) และเจดีย์แบบถะของจีน ที่ใช้ตัวเลขจํานวนนี้ จํานวน ๑๓ นี้ ทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานให้ความหมายว่า เป็นชั้นภูมิของพระโพธิ สั ต ว์ ก่ อ นที่ จ ะบรรลุ พ ระนิ พ พาน เมื่อได้พบความหมายของจํานวน ๑๓ ดังนี้ก็ทําให้พอจะ มองเห็นที่มาที่อาจเป็นไปได้ว่า คตินี้เป็นข้อคิดของผู้ที่มี ความรูท้ างฝ่ายมหายาน ในขณะที่ค้นหาหลักเกณฑ์การกําหนดปล้องไฉน อยู่นี้ก็ได้พบว่า มีจํานวนปล้องไฉนอีกเป็นจํานวนมากที่มีตัว เลขต่างๆ กัน สําหรับจํานวนเลขที่แตกต่างกันไปและยังไม่ อาจสันนิษฐานความหมายของจํานวนตัวเลขได้นั้น ในขั้นนี้ ควรตั้งสมมุติฐานไว้ก่อนเป็นสามประเด็นคือ ประเด็นที่หนึ่ง คาดว่าจํานวนปล้องไฉนนั้นอาจ เป็นจํานวนกําหนดขึน้ โดยไม่มคี วามหมาย เช่นอาจทําตามกัน โดยถือเป็นธรรมเนียมว่าพระเจดีย์ตามแบบเช่นนี้จะต้องมี ปล้องไฉน ประเด็นที่สอง คาดว่าพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อ บรรจุอัฐิธาตุนั้นอาจกําหนดจํานวนปล้องไฉนขึ้นตามอายุ ของผู้เป็นเจ้าของอัฐิธาตุ หรืออาจกําหนดขึ้นตามจํานวนปี
๓๒๒ ภูมิหลัง
ที่ครองราชสมบัติของพระมหากษัตริย์ซึ่งพระสรีรางคาร ของพระองค์ได้รับการอัญเชิญมาบรรจุไว้ภายใน ประเด็นที่สาม คาดว่าจํานวนปล้องไฉนอาจกํา- หนดขึ้นจากการตั้งปริศนาธรรมข้อใดข้อหนึ่ง น่าจะพิจารณาศึกษาวิเคราะห์ทั้งสามประเด็นนี้ ต่อไปเพื่อจะได้พบคําตอบที่แน่ชัดขึ้น โดยเฉพาะประเด็นที่ สามที่กล่าวว่าการกําหนดปล้องไฉนอาจเกิดขึ้นจากการตั้ง ปริศนาธรรมนั้น ในที่นี้สมควรกล่าวถึงตัวอย่างที่มีการกํา หนดปล้องไฉนพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช จํานวน ๕๒ ปล้อง การกําหนดจํานวนเลข ๕๒ นี้ มิได้ตรงกับจำนวน ชั้นภูมิใดๆ ทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้รู้บางท่านในอดีต สันนิษฐานว่า จำนวน ๕๒ นั้นเป็นข้อปริศนาธรรมที่ท่านผู้ สร้างได้กําหนดขึ้น โดยมีข้ออธิบายดังนี้ จํานวน ๕๒ นั้นผู้ สร้างปริศนาได้กาํ หนดเป็นเลขสามจํานวน คือ ๑๐๐+๕๐๐๐ +๑๐๐ จํานวน ๑๐๐ แรกหมายถึงศตวรรษแรกที่พระพุทธ องค์ประสูติ เสด็จออกทรงผนวช ได้ตรัสรู้ และ เสด็จสู่ พระปรินิพพาน จํานวน ๕๐๐๐ ต่อมาหมายถึงอายุของ พระพุทธศาสนาซึง่ นับตัง้ แต่สมเด็จพระมหาสมณโคดม เสด็จ สูพ่ ระปรินพิ พาน ตลอดไปจนครบสมัยของพระศาสนาทีพ่ ระองค์ทรงประกาศสั่งสอน จํานวน ๑๐๐ หลัง หมายถึงศตวรรษทีพ่ ระศรีอาริยเมตไตรยทรงประสูติ เสด็จออกทรงผนวช ได้ตรัสรู้ ออกประกาศพระศาสนาจนกระทั่งเสด็จสู่พระปรินพิ พาน ด้วยจํานวนตามปริศนาดังกล่าวมานี้ ท่านผูส้ ร้าง ได้ตัดทอนให้เป็นเลขจํานวนง่ายคือ ๑+๕๐+๑ ซึง่ เท่ากับ จํานวน ๕๒ (รูป ๑๗) ทีน่ าํ มาผูกขึน้ เป็นจํานวนปล้องไฉน การ กําหนดปริศนาเช่นนี้ไม่มีหลักฐานการบันทึกแต่อย่างใดที่จะ แสดงได้ว่าท่านผู้สร้างได้ใช้หลักเกณฑ์น้ีเป็นทฤษฎีกําหนด แบบจํานวนปล้องไฉน แต่เป็นเพียงการเล่าสืบต่อกันมาเท่า นั้น เช่นเดียวกับการกําหนดปล้องไฉนจํานวน ๙ ปล้องหรือ บัวกลุ่มยอดพระเจดีย์ย่อมุมไม้จํานวน ๙ ชัน้ ว่า เป็นปริศนา ธรรมทีก่ าํ หนดขึน้ จากจํานวนมรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ อย่างไรก็ตามแม้วา่ จะไม่มหี ลักฐานอ้างอิงมาก่อน แต่กเ็ ป็น ข้ออธิบายทีช่ ว่ ยนําคําตอบให้เข้าใจกันได้ จึงสมควรบันทึก ไว้เพื่อเป็นตัวอย่างประกอบการพิจารณาไว้ชั้นหนึ่งก่อน เท่าทีก่ ล่าวมาแล้วเป็นการพิจารณาเฉพาะแนวความ คิดสร้างจํานวนปล้องไฉนประดับยอดพระเจดียเ์ ท่านัน้ และ ความคิดที่ยึดเอาชั้นไตรภูมิเป็นข้อกําหนดนี้ได้สังเกตเห็น ตัวอย่างในบางแห่งที่ช่างได้หาทางนําเอาองค์ประกอบอื่น มาใช้เป็นเครื่องกําหนดชั้นภูมิแทนก็มี เช่นได้พบการนิยมใช้ ฐานลูกแก้วสามชั้นซ้อนนํามารองรับองค์ครรภธาตุของพระ เจดียซ์ ง่ึ เป็นองค์ระฆัง (รูป ๑๘) ฐานลูกแก้วสามชัน้ นีก้ ห็ มาย ถึงโลกทั้งสามหรือไตรภูมิซึ่งพระพุทธเจ้าทรงเป็นที่สักการะ อันสูงสุด การทําองค์ประกอบส่วนฐานแบบลูกแก้วซ้อน สามชัน้ เช่นนี้ พบว่าเป็นแบบทีน่ ยิ มทํากันเป็นมาตรฐานตลอด มาทุกสมัยหลังจากที่เชื่อว่าวงการศิลปะและสถาปัตยกรรม ของไทยได้รู้จักเรื่องไตรภูมิกันแพร่หลายแล้ว การกําหนดจํานวนปล้องไฉนแทนจํานวนชั้นภูมิใน ไตรภูมิไว้บนยอดพระเจดีย์นั้น ในบางครั้งก็ได้พบข้อยกเว้น
รูป ๑๔ ภาพพระพิมพ์สมเด็จ (สมเด็จพระ พุฒาจารย์ โต พรหมรังษี) ที่ใช้ฐานรอง ๑๖ ชั้นเท่ากับจํานวนชั้นภูมิในรูปพรหมภูมิ ซึ่งอาจหมายความถึงความเป็นปูชนีย บุคคล ชั้นพรหมของพระเถระองค์นี้ หรือผู้สร้างพระพิมพ์นป้ี ระสงค์จะนํา ความหมายของคําว่า พรหมรังษี มากําหนดจํานวนชั้นฐาน
รูป ๑๕ พระเจดียใ์ นประเทศเนปาล สร้างตามคติพทุ ธ ศาสนาฝ่ายมหายาน ประดับยอดเหลี่ยม ๑๓ ชั้น ตามจํานวนชั้นภูมิฌานของพระ โพธิสัตว์
รูป ๑๖ พระเจดียใ์ นประเทศเนปาล สร้างตามคติพทุ ธ ศาสนาฝ่ายมหายาน ประดับยอดฉัตร ๑๓ ชัน้ ตามจํานวนชั้นภูมิฌานของพระโพธิสัตว์ เจดีย์ชนิดนี้นิยมสร้างทั้งในประเทศเนปาล ทิเบตและจีน มีจํานวนชั้นยอดเช่นเดียวกัน ทั้งหมด
รูป ๑๗ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช พระเจดีย์องค์นี้มีปล้องไฉนประดับยอด ๕๒ ปล้อง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นจํานวน ปริมาตรจากจํานวนย่อของ ๑๐๐+๕๐๐๐+๑๐๐ ซึง่ เป็นอายุเวลาของ พุทธศาสนาโดยตัด (๐๐) ซึ่งเป็น จํานวนร่วมออกไปเพื่อให้ได้เลขจํานวน ง่ายคือ ๑+๕๐+๑ ที่ให้ผลรวม ๕๒
รูป ๑๘ ภาพฐานลูกแก้ว ๓ ชั้นที่นิยมใช้รองรับองค์ ครรภธาตุของพระเจดียท์ รงกลมแบบลังกา และองค์ประกอบชนิดฐานลูกแก้ว ๓ ชั้น จะมีใช้เฉพาะแบบพระเจดีย์ชนิดทรงกลม เท่านั้น พระเจดีย์องค์นี้คือ พระศรีรตั นเจดีย์ วัดพระศรีรตั นศาสดาราม
๑๔
๑๕
๑๗
๑๘
๑๖
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๒๓
๑๙
๓๒๔ ภูมิหลัง
๒๐
๒๑
๒๒
รูป ๑๙ พระเจดีย์วัดช่างแสง กรุงเทพมหานคร ที่ทําขึ้นเป็นแบบพิเศษโดยใช้จํานวน รูปพรหมภูมิเป็นปล้องไฉนประดับพระเจดีย์ ทั้งองค์
รูป ๒๐ ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา สถาปัตยกรรมแบบพุทธสถานในลัทธิมหายาน พุทธศตวรรษที่ ๑๗ ประมาณพุทธศักราช ๑๖๕๑ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๖ สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นตามคติที่ถือว่าพระปรางค์เป็น สัญลักษณ์ของวิมานในชั้นอกนิษฐ์รูป พรหมภูมิ เป็นสถานที่สัมโภคกายของ พระพุทธองค์เสด็จประทับ
รูป ๒๑ พระมหาธาตุลพบุรี สร้างขึ้นตามแบบพุทธ ปรางค์มหายานเขมร ไม่ปรากฏปีเริ่มสร้าง แต่ระบุว่ามีการบูรณะเมื่อ พ.ศ. ๑๖๓๐ ใน รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ซึ่งเป็น กษัตริย์ปกครองละโว้ โดยที่ไม่เคยปรากฏ หลักฐานในคติการสร้างไว้อย่างไรจึงน่าจะ สันนิษฐานว่า การสร้างพุทธปรางค์เมืองลพบุรี ยึดถือการสร้างจํานวนชัน้ ยอดปรางค์ ๕ ชัน้ ซ้อนตามจํานวนพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ เช่นเดียวกับเขมร
ในการสร้างพระเจดีย์บางองค์ แม้ว่าพระเจดีย์ตามแบบที่ กล่าวว่าเป็นข้อยกเว้นนี้จะไม่ใช่พระเจดีย์สําคัญ แต่ก็พบว่า เป็นแบบที่ทําตามกันในที่หลายแห่ง เช่นตัวอย่างการทําฐาน ลูกแก้ว ๗ ชั้น หรือ ๖ ชั้น แทนฐานลูกแก้ว ๓ ชั้นที่ กล่าวมาแล้ว ในกรณีเช่นนี้ฐานลูกแก้ว ๗ ชั้นและ ๖ ชั้นก็ ไม่ได้หมายถึงไตรภูมิ แต่จํานวน ๗ หมายถึงชั้นภูมิที่เป็น มนุษย์ ๑ รวมกับเทวภูมิ ๖ และถ้าเป็นบัวลูกแก้วจํานวน ๖ ก็หมายถึงเทวภูมิ ๖ โดยตรง ถ้าจะอ่านแนวความคิดในการ ทําเช่นนี้แล้วก็ต้องกล่าวว่าผู้สร้างประสงค์จะยกเกียรติของ เจ้าของอัฐิที่บรรจุอยู่ภายในองค์พระเจดีย์ให้เป็นผู้ที่สมควร แก่เทวภูมใิ นฝ่ายสุคติภมู ิ ซึง่ จะเป็นเช่นเดียวกับวิธกี ารบรรจุ พระเถรธาตุไว้ในเจดีย์ที่ทําปล้องไฉนเทียบกับจํานวนพรหมภูมิ ตัวอย่างพระเจดียเ์ ช่นนีไ้ ด้แก่พระเจดียท์ ข่ี า้ งพระปรางค์ วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีบัวลูกแก้ว ๗ ชั้นซ้อน (ปัจจุบนั นีร้ อ้ื ลงเสียแล้ว) และตัวอย่างข้อยกเว้นอีกตัวอย่าง หนึ่งก็คือพระเจดีย์ที่วัดช่างแสงซึ่งทําเป็นปล้อง ๑๖ ปล้อง ตลอดทั้งองค์เจดีย์โดยไม่มีองค์ระฆังหรือครรภธาตุเลย (รูป ๑๙) สรุปปัญหาเรื่องปล้องไฉน ๑. จํานวนปล้องไฉนอาจมีขึ้นโดยเข้าใจว่า เป็น ธรรมเนียมที่จะต้องมีในรูปของพระเจดีย์ ๒. จํานวนปล้องไฉนอาจกําหนดขึ้นจากจํานวนคํา ในคาถาหรือปริศนาธรรม ๓. จํานวนปล้องไฉนอาจกําหนดขึ้นตามจํานวน ชั้นภูมิในไตรภูมิ ๔. จํานวนปล้องไฉนอาจกําหนดขึ้นจากจํานวน อายุบุคคลหรือปีของเหตุการณ์
ข้อวิเคราะห์เรื่องชั้นรัดประคดหรือชั้นกลีบขนุน รูป ๒๒ เจดียเ์ หลีย่ มวัดจามเทวี จังหวัดลําพูน สร้าง ตามแบบของศิลปะหริภญ ุ ชัย พุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีชน้ั ซ้อน ๕ ชัน้ ตามจํานวนพระพุทธเจ้า ในภัทรกัป และมีพระพุทธรูปประดับซุ้ม จระนำชั้นละ ๓ องค์ ซึ่งน่าจะหมายถึง พระอาทิพระพุทธเจ้า พระธรรมกายและ พระสัมโภคกาย อันเป็นคติทางฝ่ายมหายาน ที่มีแฝงอยู่
รูปทรงของพระปรางค์เดิมนั้นเป็นแบบที่เขมรได้ คิดสร้างขึ้นใช้เป็นเทวสถานตามลัทธิพราหมณ์ เขมรได้ใช้ รูปทรงนี้ในการสร้างพุทธสถานในลัทธิมหายานด้วย (รูป ๒๐) แต่มีความแตกต่างกันโดยชั้นซ้อนของยอดปรางค์ ภาพสลักบนทับหลังประตู และวิธีตั้งรูปเทพประจําทิศ รอบ ปรางค์เป็นที่สังเกต การสร้างรูปทรงของปรางค์ปราสาทขึ้นในสถาปัตยกรรมเขมรนัน้ จะมีมลู เหตุอย่างใดนัน้ ไม่ปรากฏหลักฐาน มาก่อน แต่โดยข้อสันนิษฐานของผู้ค้นคว้าในทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมได้กล่าวว่า รูปแบบที่มา ของเทวสถานในลัทธิพราหมณ์นั้นได้พัฒนามาจากรูปทรง ของศิวลึงค์บนแท่นฐานโยนี และต่อมาถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของเขาไกรลาส หรือเขาพระสุเมรุตามที่นิยมเรียก กันในทางพุทธศาสนา รูปทรงของปรางค์ในทางพุทธศาสนา นัน้ แม้วา่ ส่วนใหญ่จะมีความคล้ายคลึงกับปรางค์ทเ่ี ป็นเทวสถานในลัทธิพราหมณ์ แต่ก็มิได้มีการกล่าวว่าจะมีที่มาจาก มูลเหตุอย่างเดียวกันหรือไม่ แต่ในหนังสือเรื่อง Light on
Indo-Tibetan Esotericism เขียนโดย Alex Wayman พิมพ์ในปี ค.ศ. 1973 ได้กล่าวถึงลังกาวตารสูตรของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ลัทธิตันตระ ว่าพุทธสถานที่เรียกกัน ว่าปรางค์น้คี ือรูปแทนของวิมานในสวรรค์ช้นั อกนิษฐ์อันเป็น ปาริสุทธิภูมิสูงสุดในชั้นของรูปพรหมภูมิ เป็นสถานที่สัม- โภคกายของพระพุทธเจ้าใช้เป็นที่ประทับสั่งสอนพระโพธิสัตว์บรรดาที่สถิตอยู่ในชั้นภูมิฌานที่สิบ ความรู้นี้ได้ทําให้ มองเห็นที่มาของรูปพุทธปรางค์ของเขมรได้ชัดขึ้น และใน ยันตร์รูปมณฑล หรือมัณฑาละที่สําคัญยิ่งของทิเบต ก็ได้ แสดงลักษณะของวิมานหรือพุทธสถานชั้นอกนิษฐ์นี้หลาย ประการคล้ายกับผังของพุทธปรางค์ที่เป็นแบบของเขมร พุทธปรางค์ตามแบบของเขมรมักนิยมทําเป็นยอด ๕ ชัน้ ซ้อนซึง่ หมายถึงจํานวนพระธยานิพทุ ธ เมือ่ ไทยรับสถา- ปัตยกรรมแบบพุทธปรางค์ของเขมรมาใช้ ในระยะแรกก็ ยังคงทํายอดปรางค์แบบ ๕ ชัน้ ซ้อนด้วย ดังเช่นพระปรางค์ วัดพระศรีรตั นมหาธาตุ ลพบุรี (รูป ๒๑) พระปรางค์วดั มหาธาตุ ราชบุรี ฯลฯ แต่เนื่องจากไม่มีข้อความหรือหลักฐาน ระบุไว้ในที่ใดมาก่อน ข้อสันนิษฐานนี้จึงกระทําได้เพียงการ เสนอข้อคิดว่า น่าจะเป็นไปได้ที่กระบวนความคิดในวิชาช่าง สถาปัตยกรรมได้ยึดคติทางศาสนาเป็นหลักในการสร้างรูป ทางวัตถุ แม้วา่ ชนชาติไทยสายสุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ หรือชนชาติไทยสายล้านนาจะรับนับถือพุทธศาสนาลัทธิ เถรวาทที่กล่าวถึงเฉพาะองค์พระสมณโคดม แต่ในคัมภีร์ก็ มิได้ปฏิเสธที่จะกล่าวถึงพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นไว้ด้วย ฉะนัน้ จึงเห็นได้วา่ มีพยานวัตถุเช่น พระเจดียห์ รือองค์ประกอบ ทางสถาปั ต ยกรรมอย่ า งอื่ นที่ แ สดงสั ญ ลั ก ษณ์ ข องพระ พุทธเจ้าที่มีมากกว่าหนึ่ง เช่นพระเจดีย์สี่เหลี่ยมห้าชั้นซ้อน ทีว่ ดั จามเทวี จังหวัดลําพูน (รูป ๒๒) และพระเจดียใ์ นแบบ เดียวกันทีว่ ดั พญาวัด จังหวัดน่าน กับพระเจดียร์ ปู ทรงบาตร ซ้อนห้าชั้นที่วัดกู่เต้า (รูป ๒๓) จังหวัดเชียงใหม่ ในข้อสันนิษฐานสําหรับปัญหาเรื่องชั้นรัดประคด นี้จะกล่าวถึงเลขจํานวน ๖ ก่อน ส่วนการใช้เลขจํานวนอื่น ในองค์ประกอบสถาปัตยกรรมจะได้กล่าวถึงในภายหลัง เพราะได้พบว่าพุทธปรางค์ส่วนมากใช้จํานวนชั้นซ้อน ๖ ชั้น (รูป ๒๔) พุทธปรางค์เหล่านี้เป็นพุทธปรางค์ที่ไทยสร้างขึ้น ทั้งสิ้น ดังเช่น
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๒๕
พระปรางค์ พระบรมธาตุเมืองสวรรคโลก วัดพุทไธสวรรย์ วัดไชยวัฒนาราม วัดอรุณราชวราราม วัดพิชยญาติการาม วัดมหาธาตุ (รูป ๒๕) วัดระฆังโฆสิิตาราม วัดมหาธาตุ
จังหวัด ชั้นรัดประคด สุโขทัย ๖ พระนครศรีอยุธยา ๖ พระนครศรีอยุธยา ๖ กรุงเทพฯ ๖ กรุงเทพฯ ๖ เพชรบุรี ๖ กรุงเทพฯ ๖ สุพรรณบุรี ๖
รูป ๒๓ เจดีย์ทรงบาตร ๕ ชั้นซ้อน วัดกู่เต้า จังหวัดเชียงใหม่ สถาปัตยกรรมแบบล้านนา สร้างขึ้นเพื่อหมายแทนพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ในภัทรกัป
รูป ๒๔ พระปรางค์วดั พระราม จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา สร้างขึน้ ในสมัยพระราเมศวร ตรงทีถ่ วายพระเพลิงพระบรมศพ พระเจ้าอูท่ อง พ.ศ. ๑๙๑๒ มียอด ๖ ชัน้ ซ้อนตามจํานวนชัน้ ในเทวภูมิ ลักษณะ การสร้างยอด ๖ชัน้ ซ้อนนีเ้ ป็นแบบ พระปรางค์ตามคติไตรภูมทิ ม่ี เี ฉพาะแบบ ของไทยเท่านัน้
๓๒๖ ภูมิหลัง
๒๔
๒๕
๒๓ รูป ๒๕ พระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี ซ่อมบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มียอด ๖ ชั้นซ้อนแทนความหมายของชั้น เทวภูมิ ๖ ชั้นตามคติไตรภูมิ
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๒๗
ภูมิหลัง
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย ๓๒๙
๓๑ รูป ๓๑ ตามคติการสร้างพระปรางค์ของไทยนั้น นิยมถือกันว่า พระปรางค์คือสัญลักษณ์ของ เขาพระสุเมรุอันเป็นแกนของจักรวาล และ ตามเรือ่ งทีป่ รากฏในไตรภูมกิ ร็ ะบุวา่ บนยอด ของเขาพระสุเมรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์หรือตาวติงส์ มีเมืองตรัยตรึงส์ เทพนครเป็นที่สถิตของพระอินทร์ซึ่งเป็น ผู้ปกครองของเทวภูมิ จากเรื่องราวนี้จึงได้ ปรากฏภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณบนยอด พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
รูป ๓๒ ภาพอสูรในลักษณะผู้พิทักษ์รักษาสถานที่ สําคัญเช่นนี้ จะพบว่านิยมทําขึน้ รายรอบฐาน พระปรางค์ พระเจดีย์ หรือฐานมณฑปในกรณี ทีย่ ดึ คติวา่ สถาปัตยกรรมนัน้ เป็นสัญลักษณ์ ของเขาพระสุเมรุ การที่สร้างรูปอสูรประดับ ฐานนั้นก็มีที่มาจากการที่ระบุว่า ดินแดนของ อสูรอยู่ที่เขาตรีกูฏบรรพตหรือเขาสามเส้า ที่รองรับอยู่ใต้เขาพระสุเมรุ
รูป ๓๓ ปรางค์ทิศ ๔ องค์รอบพระปรางค์ใหญ่ของ พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม สร้างขึ้นเป็นสัญลักษณของทวีปทั้ง ๔ คือ อมรโคยานทวีป บุรพวิเทหทวีป อุตรกุรุทวีปและชมพูทวีป อันเป็นที่ตั้งของมนุษยโลก
๓๓๐ ภูมิหลัง
๓๒
๓๔
๓๕
รูป ๓๔ ภาพพญาจักรหรือพระเจ้าจักรพรรดิทรง ม้าแก้ว ผู้ปราบทุกทวีปทั่วจักรวาลให้มนุษย์ ทุกคนตั้งอยู่ในธรรม
รูป ๓๕ พระเมรุมาศถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่สร้างขึ้นเป็นแบบปรางค์ใหญ่ และปรางค์ทิศล้อมตามแบบสัญลักษณ์ของ เขาพระสุเมรุตามแบบที่นิยมกันใน สถาปัตยกรรมไทย
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๓๑
รูป ๓๖ ปราสาทพระเทพบิดร สถาปัตยกรรมแบบที่ ใช้พระปรางค์ประดับยอด ความหมายของ อาคารหลังนีก้ ค็ อื ความประสงค์ทจ่ี ะทําตาม คติสมมุตเิ ทวราชทีถ่ อื ว่าพระมหากษัตริยท์ รง เป็นเทพ หรือนัยหนึ่งทรงเป็นอินทราธิราช ผู้สถิตอยู่เหนือยอดพระสุเมรุ เมื่อสร้าง อาคารหลังนีข้ น้ึ เพือ่ ประสงค์จะประดิษฐาน พระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์หรือ พระเทพบิดร จึงได้คดิ ทํายอดพระปรางค์ขน้ึ เพื่อเป็นสัญลักษณ์
๓๖ รูป ๓๗ ยอดของพระปรางค์วดั ราชบุรณ (วัดเลียบ) แบบชัน้ ซ้อนออกเป็น ๘ ชัน้ ตามวิธที ก่ี าํ หนด ขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ซึ่งน่าจะหมายถึง จํานวนของธาตุเจดีย์ทั้ง ๘ แห่ง ที่สร้างขึ้น หลังจากการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไป บรรจุไว้ตามเมืองสําคัญต่างๆ
รูป ๓๘ รูปจําลองของพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ยอดพระปรางค์ของพระประโทนเป็นแบบ ชั้นซ้อน ๘ ชั้น ตามวิธีที่กําหนดขึ้นในสมัย รัตนโกสินทร์เช่นเดียวกับแบบชั้นบนยอด พระปรางค์วัดราชบุรณ ในภาพที่ ๓๗
๓๓๒ ภูมิหลัง
๔๐
๔๑
๓๙ รูป ๓๙ ยอดมณฑปพระพุทธบาทสระบุรี จังหวัด สระบุรี เดิมสร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้า ทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๖๗-๒๑๗๒) เมื่อแรก สร้างน่าจะเป็นยอดมณฑปชั้นเดียวหรือ ๓ ชัน้ ซ้อน แต่ตอ่ มาในรัชกาลพระเจ้าเสือ พ.ศ. ๒๒๔๖ ปรากฏหลักฐานว่าได้แก้หลังคา เป็น ๕ ยอด ความตามหลักฐานนี้ดูจะ
ไม่ตรงนัก เพราะตามรูปที่เป็นจริง ก่อนการแก้ไขซ่อมแซมครัง้ สุดท้ายนัน้ มีหลังคาเป็นมณฑป ๕ ชั้นซ้อน และ เมื่อซ่อมครั้งหลังในสมัยรัชกาลที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เปลี่ยน หลังคาจากไม้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ๗ ชั้นซ้อน
รูป ๔๐ ยอดพระมณฑป วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทําเป็นยอด ๗ ชัน้ ซ้อนตามคติไตรภูมิ ที่นิยมกันในแบบสถาปัตยกรรมไทย
รูป ๔๑ พระทีน่ ง่ั อาภรณ์ภโิ มกข์ สร้างขึน้ เป็นอาคาร ขนาดเล็กจึงย่อความละเอียดของยอดลง เหลือ ๕ ชั้น และให้รูปหงส์ซึ่งเป็นพาหนะ ของพระพรหมประดับเพือ่ แสดงความหมาย สมมุติเทวราช
รูป ๔๒ โกศศพเป็นอีกสิ่งหนึ่งเช่นเดียวกับมณฑปซุ้ม บัญชรหรือบุษบกราชบัลลังก์ ฯลฯ ทีใ่ ช้ยอด เป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุประดับ แต่สาํ หรับโกศศพนัน้ เห็นได้ชดั ว่ามีความคล้าย คลึงกับเขาพระสุเมรุ ในทางจิตรกรรมทีเ่ ขียน เป็นรูปเสาสูงขึน้ ไปสูย่ อดทีต่ ง้ั ของสวรรค์ ชัน้ ดาวดึงส์ สําหรับโกศศพนั้นเดิมทําขึ้น ทรงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์หรือ พระศพของพระราชวงศ์ชน้ั สูงเท่านัน้ แต่ภายหลังโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ใช้ สําหรับศพบุคคลผู้มีบรรดาศักดิ์สูงด้วย
รูป ๔๓ หัวเสาอาคารในสถาบันพระมหากษัตริยแ์ ละ สถาบันทางพุทธศาสนาก็ใช้สัญลักษณ์ รูปมณฑปของเขาพระสุเมรุนี้ด้วยเช่นกัน
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๓๓
รูป ๔๔ เมรุอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ที่นําเอาทรงมณฑป มาใช้สําหรับเป็นที่เผาศพสามัญชน ซึ่งเป็นการใช้สัญลักษณ์ที่ผิดไปจาก คติสมมุติเทวราช
รูป ๔๖ ภาพแสดงวิวัฒนาการและการวิเคราะห์ รูปทรงพระเจดีย์ จากพระเจดีย์เหลี่ยมมาสู่ วิธีการย่อมุมไม้ เพื่อแก้ปัญหาความกว้าง ลวงตา
๓๓๔ ภูมิหลัง
รูป ๔๕ ภาพเจดีย์วัดสวนหลวงสบสวรรค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นแบบย่อมุมใหญ่ที่ออกแบบแก้ ความกว้างลวงตาของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ได้สําเร็จผล
๔๔
๔๕
๔๗ รูป ๔๗ หมู่พระเจดีย์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร เป็นแบบพระเจดีย์ ย่อมุมไม้ที่พัฒนาต่อจากแบบพระเจดีย์ ย่อมุมใหญ่่ มีข้อที่น่าสังเกตสําหรับ พระเจดีย์แบบนี้ก็คือการใช้ยอด ประดับด้วยเถาดอกบัวโดยเฉพาะ
๔๘ รูป ๔๘ พระเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ที่ประดับเถาบัวจํานวน ๑๑ ดอก
รูป ๔๙ ภาพแสดงฐานสิงห์ ๓ ชั้นรองรับพระเจดีย์ แบบย่อมุมไม้
๔๙
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๓๕
รูป ๕๐ ปล้องไฉนลักษณะเถาดอกบัว บนยอดพระเจดีย์แบบย่อมุมไม้ ที่สันนิษฐานว่าจะใช้จํานวนพระพุทธเจ้า เป็นหลัก
๕๐
๓๓๖ ภูมิหลัง
พระพุทธศาสนาลัทธิมหายานและศาสนาพราหมณ์
พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์มอี ทิ ธิพลต่อ วัฒนธรรมไทยมานับแต่ชนชาติไทยได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานใน พื้นที่ที่เป็นประเทศไทยปัจจุบัน หรือกล่าวได้ว่าก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อิทธิพลของศาสนาทั้งสองได้ช่วยในการก่อกําเนิดธรรมเนียมประเพณีและศิลปะตลอดมาทุกยุคทุกสมัย ในปัจจุบันพุทธศาสนาในประเทศไทยเป็นพุทธศาสนาฝ่าย สาวกยานลัทธิเถรวาท หากจะพิเคราะห์คําสอนของพุทธ ศาสนาในลัทธินี้แล้วจะพบว่า พุทธศาสนาสอนให้บุคคลถือ สันโดษ เป็นผู้สละกิเลส ให้มีการดํารงชีวิตอยู่ได้เท่าที่จะไม่ ทําให้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุพระนิพพาน ปัญหามีอยูว่ า่ เมือ่ หลักทางพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเป็นเช่น นี้ เหตุใดศิลปะและสถาปัตยกรรมประจําชาติจึงได้เป็นไป ในทางตรงกันข้าม จึงจําเป็นทีจ่ ะต้องหาคําตอบว่าสถาปัตยกรรมไทยและองค์ประกอบทางศิลปะได้รับความบันดาลใจ ที่วิจิตรงดงามมาจากแหล่งใด หากจะย้อนกลับไปศึกษาเรือ่ งราวการแผ่ข่ ยายของ พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์เข้ามาในดินแดนแถบ นี้แล้วจะพบว่า มีหลายสาเหตุด้วยกันที่อธิบายได้อย่างชัด แจ้งว่าศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยเท่าทีป่ รากฏความงดงาม ในแบบและรูปทรงนั้นมิได้มีที่มาจากพุทธศาสนาในลัทธิ เถรวาท ในดินแดนที่เคยเป็นกลุ่มชุมชนในวัฒนธรรมมอญ มาก่อน หรือแม้แต่ในดินแดนใกล้เคียง เช่น เขมร พม่า และ ดินแดนตอนใต้ทเ่ี คยเป็นทีต่ ง้ั ของกลุม่ ชนภาคใต้ พุทธศาสนา ลัทธิมหายานเคยมีอิทธิพลครอบคลุมอาณาบริเวณเหล่านี้ มาแล้วถึงสองระยะ คือครั้งแรกในระหว่างพุทธศตวรรษ ที่ ๖ และครั้งที่สองในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ซึ่งเป็น เวลาก่อนที่อาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรล้านนาจะก่อตั้ง อาณาจักรและวัฒนธรรมของตน ลัทธิมหายานได้มีกําเนิดในดินแดนที่อยู่ทางแถบ เหนือของอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ ๖ มีลักษณะพิเศษ คือการนับถือพระโพธิสัตว์ เพ่งเล็งในด้านพิธีกรรมและเวท มนตร์อาคมเป็นสําคัญ มีความเชื่อในพระโพธิสัตว์ ตลอด จนอานุภาพของเทพเจ้าซึ่งบางพระองค์ตรงกับเทพเจ้าใน ศาสนาพราหมณ์ และเรื่องสําคัญที่เชื่อว่ามีอิทธิพลมากต่อ งานศิลปะและสถาปัตยกรรมของไทยก็คือเรื่องราวที่เกี่ยว
กับเขาไกรลาสของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งทางพุทธศาสนา เรียกว่าเขาพระสุเมรุ เขาไกรลาสก็ดี หรือเขาพระสุเมรุก็ดี มีอยู่ในศาสนาทั้งสองจนดูปะปนเป็นเรื่องเดียวกัน ในไตรภูมขิ องพุทธศาสนาก็กล่าวถึงเขาพระสุเมรุ แม้วา่ พุทธศาสนาลัทธิเถรวาทได้มีความสําคัญ และพระพุทธศาสนาลัทธิ มหายานได้คลายความสําคัญลงในดินแดนทีเ่ ป็นประเทศไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้วก็ตาม แต่อิทธิพลของลัทธิมหายานก็ ยังคงมีสบื ต่อมาในรูปแฝงของพุทธาคม การปลุกเสกเครือ่ ง รางของขลัง การสร้างวัตถุมงคลต่างๆ ความเชื่อในไสย- ศาสตร์ และแม้ในรูปแบบของสถาปัตยกรรม เรื่องการกําหนดใช้ตัวเลขจํานวนต่างๆ ในสถาปัตยกรรมไทยเท่าทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วในตอนก่อนนัน้ ส่วนใหญ่ ได้เน้นหลักไปตามเกณฑ์ทย่ี กมาจากไตรภูมพิ ระร่วงตามแนว ทางของพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท แต่จากการพิจารณาดูรูป แบบของสถาปัตยกรรมไทยทีม่ มี าแล้วในประวัตศิ าสตร์ เรา ก็ยงั สามารถมองเห็นการกําหนดความหมายในรูปแบบทีแ่ สดง ว่า ได้มีการนําเอาคติของพระพุทธศาสนาในลัทธิมหายาน มาใช้กําหนดองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมด้วย ในสถาปัตยกรรมบางรูปแบบได้แสดงที่มาของการใช้ความหมาย ตามแบบลัทธิมหายานแท้ แต่ในบางแบบแม้ว่าสถาปัตยกรรมนัน้ ๆ จะสร้างขึน้ ในระยะทีไ่ ทยเรารับเอาพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทเป็นหลักปฏิบตั แิ ล้วก็ตาม การใช้ความหมาย ตามแบบลัทธิมหายานก็ยงั มีแฝงอยู่ จนทําให้เห็นว่าการแบ่ง แยกลัทธิทางพุทธปรัชญามิได้มีผลให้เกิดการแบ่งแยกใน ทางปฏิบัติในการกําหนดความหมายขององค์ประกอบใน ทางสถาปัตยกรรมตามไปด้วย ข้อสันนิษฐานเกีย่ วกับรูปแบบของพระปรางค์ตาม ที่กล่าวมาแล้วมีว่า พุทธปรางค์ของไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นต้นมาใช้จาํ นวนเทวภูมิ ๖ ชัน้ (รูป ๕๑) เป็นจํานวนกําหนด ชั้นของกลีบขนุนบนยอดพระปรางค์แทนจํานวนพระธยานิพทุ ธ ๕ พระองค์ตามแบบปรางค์ในลัทธิมหายานของเขมร แต่ก็ปรากฏว่ามีพระปรางค์ในสมัยหลังบางองค์ เช่นพระปรางค์คู่ที่วัดนางนอง ธนบุรี และพระปรางค์ทว่ี ดั นาคปรก ธนบุรี หรือในทีแ่ ห่งอืน่ ทีแ่ บ่งชัน้ พระปรางค์เป็น ๕ ชั้น ตามจํานวนพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ หรือพระธยานิพุทธ
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๓๗
๕๑ รูป ๕๑ พระปรางค์วัดระฆังโฆสิิตาราม กรุงเทพมหานคร ที่สร้างขึ้นตามคติ ไตรภูมิ และใช้จํานวนเทวภูมิ ๖ ชั้น เป็นความหมายประดับยอด
๕๒ รูป ๕๒ พระปรางค์วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน ที่ยังคงยึดแบบการจัดจํานวนชั้น ๕ ชั้น ซ้อนตามจํานวนพระพุทธเจ้าในภัทรกัป
รูป ๕๓ พระเจดีย์จําลองที่วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช มียอด ๕ ยอด สันนิษฐาน ว่าจะสร้างขึ้นตามจํานวนพระพุทธเจ้า อันมีพระไวโรจนะพุทธเป็นประธาน
๓๓๘ ภูมิหลัง
๕๓
ทิศของธยานิพุทธและธยานิโพธิสัตว์ในลัทธิมหายาน อโมฆสิทธิ
แดนสุขาวดี อมิตาภะ ไวโรจนะ
แดนอภิรดี
วิศวปาณี รัตนสัมภวะ
อักโษภยะ
ทิศของธยานิพุทธ
อวโลกิเตศวร
สมันตภัตร รัตนปาณี
๕๔ รูป ๕๔ แผนภูมิแสดงการจัดระเบียบทิศของ พระพุทธเจ้าตามแบบพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
วัชรปาณี
ทิศของธยานิโพธิสัตว์
ในลัทธิมหายาน ซึง่ ได้แก่พระไวโรจนะ พระอักโษภยะ พระรัตนสัมภวะ พระอมิตาภะ และพระอโมฆสิทธิ หรือจํานวน ๕ นั้นอาจจะหมายถึงพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ในภัทรกัปด้วย ก็ได้ ดังเช่นที่มีการใช้คตินี้กนั มาก่อนในการสร้างเจดียท์ รง บาตรคว่ำทีว่ ดั กูเ่ ต้า จังหวัดเชียงใหม่ การใช้จํานวนพระธยานิพุทธ ๕ พระองค์ตามแบบมหายานในการสร้างพระเจดีย์ นัน้ มีตวั อย่างทีว่ ดั จามเทวี จังหวัดลําพูน (รูป ๕๒) หรือ ที่วัด พญาวัด จังหวัดน่าน พระเจดียเ์ ช่นนีไ้ ด้แก่ เจดียร์ ปู สีเ่ หลีย่ ม จัตรุ สั ซ้อน ๕ ชัน้ แต่ละชัน้ มีซมุ้ จระนำประดับพระพุทธรูป ด้านละ ๓ องค์ พระพุทธรูปสามองค์นน้ั อาจหมายแทน พระพุทธเจ้าในอดีต พระพุทธเจ้าพระองค์ปจั จุบนั และพระพุทธเจ้าที่จะมีมาในอนาคต ในแบบพระเจดียท์ ว่ี ดั พระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเคยเข้าใจกันว่าเป็นเจดีย์จําลองของพระธาตุ นครศรีธรรมราชองค์เดิม ซึง่ มีองค์ทเ่ี ห็นอยูใ่ นปัจจุบนั สร้าง ครอบอยู่ ก็มหี ลักฐานการใช้จาํ นวน ๕ ในลัทธิมหายานคือ การที่มียอดจํานวน ๕ ยอด มียอดกลางเป็นเจดีย์ประธาน และมีเจดียท์ ศิ ประกอบอีกสีท่ ศิ (รูป ๕๓) จํานวน ๕ ที่ ใช้สร้างพระเจดียแ์ บบภาคใต้นก้ี ล่าวกันว่า หมายถึงพระธยานิพุทธ มีพระไวโรจนะเป็นประธาน และมีพระอมิตาภะพุทธ (ประจําทิศตะวันตก) พระอโมฆสิทธิ (ประจําทิศเหนือ) พระอักโษภยะ (ประจําทิศตะวันออก) และพระรัตนสัมภวะ (ประ จําทิศใต้) (รูป ๕๔) ต่อมาได้พบเลขจํานวน ๑๓ ที่ใช้ในการกําหนด ปล้องไฉนพระเจดียบ์ างองค์ เช่นพระเจดียว์ ดั หิรญ ั รูจี ธนบุรี และที่วัดลาวทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ตัวเลขจํานวนนี้ไม่ ปรากฏที่มาจากไตรภูมิของลัทธิเถรวาท แต่เป็นตัวเลขที่ใช้ กันทั่วไปกับองค์ประกอบของเจดีย์แบบมหายานในเนปาล ทิเบต และจีน กล่าวกันว่าเป็นจํานวนชั้นในพรหมโลกหรือ จํานวนภูมิที่พระโพธิสัตว์บรรลุก่อนที่จะปรารถนาพระนิพพาน นอกจากนี้ก็ยังได้พบตัวเลขในชั้นรูปพรหมภูมิทางฝ่าย มหายานที่กล่าวมาแล้วในบทวิเคราะห์เรื่องปล้องไฉนว่ามี จํานวน ๑๘ ตัวเลขนี้ทําให้จํานวนรวมของชั้นภูมิที่มีมาเดิม ในลัทธิเถรวาทเปลี่ยนแปลงไป จึงทําให้คาดว่าอาจมีพระ เจดีย์ทรงกลมบางองค์ท่ีมีจํานวนปล้องไฉนที่กําหนดจํานวน ขึ้นจากชั้นภูมิในลัทธิมหายานได้ ดังเช่นจํานวนปล้องไฉน ๒๘ ปล้องของพระเจดีย์ที่วัดจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา หรือพระเจดีย์ที่วัดพลับพลาไชย กรุงเทพฯ
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๓๙
แม้จะได้วิเคราะห์กันแล้วว่าองค์ประกอบต่างๆ ของสถาปัตยกรรมในรูปของพระเจดีย์ หรือมณฑป ทีส่ ร้าง ขึ้นทั่วๆไปนั้นมีที่มาจากไตรภูมิในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท แต่คําสอนฝ่ายเถรวาทมิได้กําหนดแบบอย่างของอาคารใน พุทธศาสนาไว้ในทีใ่ ด ตรงกันข้ามพระพุทธองค์กลับทรงแนะ ให้ภกิ ษุครองชีวติ อย่างง่ายๆ ไม่เป็นภาระต่อผูอ้ น่ื ทรงแนะ ให้ภกิ ษุผศู้ กึ ษาธรรมเลือกสถานทีอ่ ยูจ่ ากถ้ำ ในป่าตามโคน ไม้ หรือเรือนร้าง แม้แต่พระองค์เองก็มิได้มีสถานที่ประทับ ที่แน่นอน เพราะทรงจาริกโปรดสัตว์ในท้องถิ่นต่างๆ เพื่อ สอนธรรม ในหน้าฝนก็ทรงนําพระภิกษุเข้าอยู่อาศัยในอารามที่มีผู้จัดถวาย การจาริกสั่งสอนธรรมและถือธุดงควัตร ของพระภิกษุ ย่อมแสดงถึงความไม่ติดอยู่กับที่ใดที่หนึ่งที่ จะก่อให้เกิดการสะสมทรัพย์และยึดที่อยู่อาศัยเป็นของตน ทรงกําหนดให้ภิกษุมีเพียงอัฐบริขารที่จําเป็นต่อการครองชีพ เท่านัน้ แต่เราก็ได้พบว่าวัดวาอารามประกอบไปด้วยอาคารที่ ประดับประดาอย่างงดงามและมีศลิ ปะอันประณีต ซึง่ ลักษณะนี้ขัดแย้งเป็นอย่างยิ่งกับสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติ และสั่งสอนในสมัยพุทธกาล ในลัทธิมหายานมีพระสูตรที่ควรกล่าวถึงบางพระ สูตรซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีเค้าเงื่อนที่สร้างอิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรมไทย คือ มหาชมพูบดีสูตรและสุขาวดีสูตร มหาชมพูบดีสูตรนั้นนับเป็นพระสูตรสําคัญที่ก่อให้เกิดศิลปกรรมและ สถาปัตยกรรมที่เป็นฝ่ายอาณาจักร ส่วนสุขาวดีสูตรนั้นน่า จะเป็นพระสูตรสําคัญต่อศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมฝ่าย พุทธจักร ในสุขาวดีสูตรของลัทธิมหายานได้กล่าวถึงที่ประ ทับของพระอมิตาภะพุทธในสวรรค์ชน้ั สุขาวดีวา่ เป็นอาคารที่ ประทับที่มีความงดงามยิ่ง มีชายคาที่ประดับด้วยกระดึง แขวนทําให้เกิดเสียงดังไพเราะเมื่อเวลาลมพัด รอบอาคาร ที่ประทับก็มีกําแพงแก้วก่อด้วยรัตนชาติแวดล้อมสะท้อน แสงอย่างแพรวพราว ลักษณะอาคารทีป่ ระทับทีง่ ดงามประ ณีตเช่นนี้น่าจะทําให้ช่างเกิดความบันดาลใจมีจินตนาการ สร้างโบสถ์วิหาร หรือสถาปัตยกรรมพุทธศาสนา เพื่อถ่าย ทอดลักษณะที่ประทับในสวรรค์ชั้นสุขาวดีเสมือนที่กล่าวไว้ ในพระสูตรให้เห็นเป็นรูปจําลองบนพื้นโลก (รูป ๕๕) เป็น ความพยายามของพุทธศาสนิกชนที่จะสร้างศาสนวัตถุเพื่อ ถวายบูชาต่อพุทธศาสนาด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า เราจึงได้เห็นการประดับประดาอาคารทางศาสนาด้วยกระ ดึงและได้เห็นกําแพงแก้วแวดล้อมอาคารที่เป็นโบสถ์ วิหาร หรือพระเจดียก์ นั ตลอดมา (รูป ๕๖) ถ้าเราอ่านความคิดของ ช่างในอดีตว่า ช่างเหล่านั้นพยายามที่จะถ่ายทอดลักษณะที่ ประทับของพระอมิตาภะพุทธในสวรรค์ตามทีก่ ล่าวถึงในพระ สูตรของฝ่ายมหายานแล้วเราจะค่อยๆ มองเห็นความข้อนี้ ชัดเจนตามลําดับ เริ่มต้นตั้งแต่ในวิหารอันสมมุติเป็นที่อยู่ อาศัยของพระพุทธองค์ การประดับดาวเพดานด้วยการปิด กระจกหรือปิดทองให้บังเกิดความระยิบระยับเหมือนแสง
๓๔๐ ภูมิหลัง
รูป ๕๕ โลหะปราสาทวัดราชนัดดา กรุงเทพมหานคร สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๓ ลักษณะสถาปัตยกรรม แสดงให้เห็นความจงใจที่จะสร้างจินตนาการ ของอาคารในเทวภพ
รูป ๕๖ หมู่อาคารในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทีน่ ายช่างพยายามจะสร้างจินตนาการของ อาคารที่มีในสรวงสวรรค์
๕๕
รูป ๕๗ เพดานวิหารหรือเพดานอุโบสถ โดยทั่วไปจะ นิยมประดับด้วยดาวปิดกระจกหรือเขียนเป็น รูปดาวปิดทอง เพื่อความต้องการให้มีการ สะท้อนแสงเช่นกัน ในอดีตนัน้ การให้แสงสว่าง จะทําได้ดว้ ยการจุดเทียนหรือจุดโคมไฟเพียง ประการเดียว ด้วยเหตุนั้นการไหวของ เปลวไฟจึงทําให้ดาวเพดานกะพริบตามไป ด้วย จะทําให้มองเห็นเหมือนดาวที่เป็น จริงตามธรรมชาติ
รูป ๕๗
๕๖ รูป ๕๘ พระประธานในอุโบสถ ซึ่งตั้งอยู่ใน บรรยากาศที่มีแสงสลัว เพื่อต้องการให้รูป พระพุทธปฏิมาสะท้อนแสงจากดวงเทียนที่ พุทธมามกะชนจุดบูชา
๕๘
รูป ๕๙ ซุ้มประตูและหน้าต่างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ประดับด้วยกระจกสีและปิดทอง เพื่อประสงค์จะให้สะท้อนแสง ทั้งใน แสงตะวันและแสงจันทร์
๕๙
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๔๑
ดาวกะพริบบนท้องฟ้า (รูป ๕๗) หรือให้เห็นเป็นสีเงินเสมือน แสงพระจันทร์วนั เพ็ญ และบางทีกใ็ ห้มสี ที องสะท้อนเสมือน สีเมฆทีม่ องเห็นในเวลาเช้า (รูป ๕๘) และเวลาเย็น ส่วนองค์ พระพุทธปฏิมานัน้ ช่างได้ใช้วธิ ปี ดิ ทองทัง้ องค์ เพือ่ ทีว่ า่ เมือ่ รูป นีต้ ง้ั อยูใ่ นวิหารหรือโบสถ์ทม่ี แี สงสลัว (รูป ๕๙) แสงสะท้อน ของทองคํากับเปลวเทียนจะทําให้ดูคล้ายฉัพพรรณรังสีที่ แผ่ซา่ นออกรอบพระวรกายของพระพุทธองค์ เป็นสัญลักษณ์ แทนประภามณฑลโดยสมบูรณ์ ทําให้บรรยากาศที่เกิดขึ้น ในห้องวิหารหรือโบสถ์นน้ั มีความน่าเสือ่ มใสศรัทธา และนีก่ ระ มังที่เป็นวิธีชวนให้บุคคลได้เข้าถึงศาสนาในระดับโลกิยะ ดู เหมือนว่าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามจะเป็นตัว อย่างการแปลความหมายนี้ในรูปของวัตถุได้อย่างสมบูรณ์ (รูป ๖๐) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้เห็นสถาปัตยกรรมไทย ในคืนที่มีแสงจันทร์สว่าง ลักษณะที่สะท้อนคติของฝ่ายมหายานที่ปรากฏ อยูท่ ว่ั ไปในอาคารทีเ่ ป็นโบสถ์หรือวิหารอีกประการหนึง่ ก็คอื การใช้รูปฐานอาคารแบบโค้งท้องสําเภาที่นิยมกันในปลาย สมัยอยุธยาและสมัยต้นรัตนโกสินทร์ (รูป ๖๑) คตินี้เข้าใจ ว่าจะมีทม่ี าจากปณิธานของพระโพธิสตั ว์ทจ่ี ะพามวลสัตว์โลก ให้ข้ามพ้นวัฏสงสารให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะทรงปรารถนา พระนิพพาน จากข้อคิดนีท้ าํ ให้เห็นการพยายามทีจ่ ะมองหา สัญลักษณ์ของพาหนะทีจ่ ะพาสัตว์โลกข้ามวัฏสงสาร และใน อดีตนั้นก็ไม่มีพาหนะใดจะดีไปกว่าสําเภา ดังนั้นช่างไทยจึง ได้นาํ โค้งของท้องสําเภามาทําเป็นสัญลักษณ์ประกอบอาคาร ทางศาสนาจนได้รบั ความนิยมขยายไปสูก่ ารหาองค์ประกอบ อื่นๆ ด้วย เช่นโค้งของหลังคา (รูป ๖๒) ฐานชุกชี (รูป ๖๓) ฯลฯ จากการพบลักษณะอ่อนโค้งในสถาปัตยกรรมไทย ในปลายสมัยอยุธยาทําให้มองเห็นการขยายลักษณะอ่อน โค้งนี้ไปสู่แบบที่สามารถถ่ายทอดพุทธปรัชญาในด้านอื่นๆ อีกเป็นอันมาก จนดูเหมือนว่าสถาปัตยกรรมไทยในปลาย สมัยอยุธยานั้นเป็นตัวแทนคําตอบด้านพุทธปรัชญาฝ่ายมหา ยานมากกว่าสถาปัตยกรรมไทยในสมัยก่อนๆ หน้านี้ หรือ ถ้าจะกล่าวว่าสถาปัตยกรรมไทยในสมัยสุโขทัยเป็นแบบที่ แสดงพุทธปรัชญาในไตรภูมิตามแบบเถรวาทก็อาจจะเป็นไปได้ ลักษณะทีป่ รากฏชัดหลายประการในสถาปัตยกรรม สมัยอยุธยายุคปลายได้แสดงถึงเจตนาของช่างหรือท่านผู้ สร้างที่จะให้ปรากฏรูปของอาคารในสวรรค์ด้วยการทําให้ เกิดความรู้สึกสงบนิ่ง เบา ลอย และส่งขึ้นเบื้องสูง อัน เป็นพุทธปรัชญาในสถาปัตยกรรมไทย ช่างได้แสดงพุทธธรรม นี้ให้ปรากฏในรูปของวัตถุดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้วในหัวข้อ ที่ผ่านมา รูปของความสงบนิ่งนั้นช่างได้ใช้รูปง่ายของปริมาตรวัตถุเป็นตัวแทน ดังจะเห็นได้จากการใช้รูปสี่เหลี่ยม จัตรุ สั ของมณฑป เจดียห์ รือวิหารคด รูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าของ โบสถ์หรือวิหาร รูปทรงกลมของพระเจดีย์ รูปลักษณะของ สถาปัตยกรรมเหล่านีม้ คี วามมัน่ คงไม่เคลือ่ นไปในทิศทางใดๆ
๓๔๒ ภูมิหลัง
นอกจากจะเน้นความแรงในเส้นแกนกลางและการพุ่งขึ้นสู่ ฟ้าเบือ้ งสูง การเน้นแกนกลางนีท้ าํ ให้ความรูส้ กึ ในแง่นำ้ หนัก ของปริมาตรวัตถุที่มีขึ้นทางซ้ายและขวาเท่าๆ กัน ดังเช่นที่ เรามองเห็นด้านหน้าของพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร หรือ มองเห็นด้านหน้าของพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ในรูปของการแปลความเบาให้มใี นตัววัตถุนน้ั เรา จะเห็นการนําเอาโค้งท้องสําเภาเข้ามาใช้ในที่หลายๆ แห่ง เช่นฐานโบสถ์หรือวิหาร เส้นโค้งหงายของหลังคา เส้นโค้ง หงายแบบท้องสําเภานี้ยังได้ถูกเน้นตรงปลายสุดให้ยกตวัด ขึน้ เบือ้ งบนอย่างมีเจตนา ดังเช่นตรงส่วนปลายสุดของฐาน โบสถ์หรือวิหาร ตรงส่วนปลายสุดของรัตนบัลลังก์บนพระ เจดีย์ทรงกลม หรือตรงส่วนปลายสุดของสันหลังคาเพื่อให้ รับกับช่อฟ้า วิธกี ารสร้างโค้งหงายและตวัดปลายยกขึน้ เช่น นี้ล้วนแต่แสดงเจตนาจะสร้างความเบาขึ้นทั้งสิ้น (รูป ๖๔) วิธีการสร้างความเบาด้วยกรรมวิธีทางช่างอีกวิธี หนึ่งที่ทําให้เห็นความฉลาดในการกําหนดแบบก็คือการทํา ลายปริมาตรใหญ่ให้แตกออกเป็นปริมาตรเล็ก แต่ก็ยังคง คุณสมบัติของปริมาตรเดิมไว้อย่างครบถ้วน จะเห็นวิธีการ นี้ได้จากการแบ่งชั้นซ้อนหลังคาของอาคารที่มีขนาดใหญ่ เช่นโบสถ์ วิหาร หรือศาลาการเปรียญ (รูป ๖๕) ถ้าเราลอง นึกภาพดูว่าวิหาร ๙ ห้องและมีความกว้างที่ต้องตั้งเสารับ ถึงด้านละ ๓ แถว (เสารายร่วมในหนึ่งแถว แนวผนังหนึ่ง แถว และเสาระเบียงอีกหนึ่งแถว) เช่นวิหารวัดธรรมิกราช หรือพระวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม อาคารเช่นนี้จะมีความ ใหญ่โตเช่นไร แต่สาํ หรับอาคารทีม่ คี วามใหญ่เช่นนีช้ า่ งสามารถ แบ่งชัน้ ซ้อนหลังคาเพือ่ ช่วยลดความรูส้ กึ หนักลงได้ อาคาร ขนาดเช่นนี้หากทําหลังคาคลุมเพียงลาดเดียวโดยไม่มีชั้น ซ้อนมาช่วยแบ่งแล้ว อาคารนัน้ จะดูหนักตามขนาดของปริมาตรอาคารที่ปรากฏจริง นอกจากชัน้ ซ้อนหลังคาจะช่วยทําให้เกิดความรูส้ กึ เบาได้แล้ว ช่างอยุธยายุคหลังยังได้นําเอาความเบาของ เส้นโค้งท้องสําเภาเข้ามาประกอบด้วย นอกจากนี้วิธีการ ลดมุขของหลังคาทีอ่ ยูส่ ว่ นหน้าและหลังของโบสถ์และวิหาร ซึ่งทําเป็นหลังคาให้ต่ำกว่าหลังคาใหญ่ทั่วๆ ไปก็ยังเป็นส่วน เสริมให้เกิดความรู้สึกเบาเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก ยิ่งกว่านั้น แม้จะได้ค้นพบวิธีการสร้างความเบา แล้วก็ตาม ช่างสมัยอยุธยาก็ยังสามารถทําให้เกิดความรู้ สึกว่า วัตถุหรืออาคารนัน้ ลอยในอากาศเช่นเดียวกับการลอย ของเทพวิมานในสวรรค์ได้อีกด้วย ทั้งๆ ที่วัตถุที่ก่อสร้างนั้น มีน้ำหนักอยู่จริงโดยธรรมชาติ การกล่าวถึงสถาปัตยกรรม ของอยุธยาในสมัยหลังในลักษณะเช่นนี้เป็นการกล่าวที่ไม่ เกินความจริงนัก เมือ่ ได้สงั เกตเห็นวิธสี ร้างชัน้ ซ้อนของหลัง คาและวิธีตวัดปลายเส้นโค้งให้ยกขึ้นสู่เบื้องสูง และนอก จากนี้วิธีการแบ่งชั้นซ้อนของหลังคายังทําให้เรามองเห็น การจัดความถี่ของชั้นซ้อนอย่างมีความจงใจกระทํา เช่น การสร้างเส้นขนานถี่ในตอนส่วนล่างของหลังคา เมื่อดูเส้น
รูป ๖๐ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่มี การประดับผิวด้วยกระจกและกระเบือ้ งเคลือบ เพื่อหวังผลในการสะท้อนแสงจากผิววัตถุ ในวันที่มีแสงแดดจัดหรือในคืนวันเพ็ญ วัตถุทม่ี ผี วิ สะท้อนแสงทีเ่ ลือกแล้วนี้ จะให้ผล ตามที่นายช่างต้องการอย่างสมบูรณ์
ขนานถีข่ องชัน้ ซ้อนหลังคาจากด้านข้างของอาคารนัน้ จะเห็น ว่ามีความห่างเพิ่มขึ้นในตอนบน และจะมีระยะห่างมากใน ส่วนที่เป็นหลังคาคลุมโถงกลางของโบสถ์หรือวิหาร การ มองเห็นเส้นขนานของชั้นซ้อนหลังคาที่ดูถี่ในส่วนล่างและ ค่อยๆ เว้นห่างไปหาตอนบนนั้นทําให้รู้สึกว่า น้ำหนักของ วัตถุทท่ี บั แน่นในตอนล่างจะค่อยๆ คลายลงเมือ่ ซ้อนห่างขึน้ ไปในตอนบน (รูป ๖๖) ความรู้สึกเช่นนี้อาจเทียบได้กับพุทธ ปรัชญาในลักษณะของกิเลสของบุคคลที่ค่อยๆ ถูกชําระ หรือถูกขัดเกลาจนเบาบางลงในที่สุด ข้อคิดในแง่ปรัชญาเช่นนี้จะยิ่งเห็นชัดมากขึ้นหาก พิจารณาดูลักษณะของหลังคายอดมณฑปที่จัดระยะความ แน่นของชั้นซ้อนให้มีมากในตอนล่างและค่อยๆ จัดให้ห่าง ขึน้ ในตอนบน พร้อมๆ กับการรวบปลายให้ทอดเป็นทรงจอม แหพุ่งหายขึ้นสู่เบื้องสูง อันหมายถึงการบรรลุธรรมขั้นสุด ยอดที่ทําให้ผ้ปู ระพฤติพ้นจากกิเลสทั้งมวลเข้าสู่นิพพานธาตุ (รูป ๖๗) นี้คือสัญลักษณ์ของการค้นพบความสงบนิ่ง เบา ลอย และขึ้นสู่เบื้องสูง ในรูปของวัตถุทางสถาปัตยกรรมที่มีอยู่พร้อมมูลในหลังคายอดมณฑป แม้ว่าหลังคา แบบยอดมณฑปจะเป็นแบบที่แปลความหมายมาจากไตรภูมิ ในลัทธิเถรวาทก็ตาม แต่การสร้างความรู้สึกสงบนิ่ง เบา ลอย และขึ้นสู่เบื้องสูงโดยใช้คติของฝ่ายมหายานที่มีต่อ วิมานในสวรรค์เข้ามาประกอบให้มีความสมบูรณ์และความ งามในด้านสถาปัตยกรรมยิง่ ขึน้ นัน้ เป็นสิง่ ทีพ่ บว่ามีอยูท่ ว่ั ไป ในการก่อสร้างอาคารในยุคนี้ ผนังและเสารอบทุกด้านของ อาคารมีมุมเบนล้มเข้าหาด้านในอาคาร (รูป ๖๘) ผนังและ เสามีสว่ นบนน้อยกว่าความหนาของส่วนล่าง การเน้นความ สอบล้มและการเบนของผนังและเสาเข้าหาภายในนั้นทําให้ รูส้ กึ เหมือนว่า ทุกเส้นแนวล้มจะพุง่ ไปหาจุดเดียวกันทีเ่ บือ้ ง สวรรค์ทุกเส้น ในขณะเดียวกับที่ปรากฏเส้นล้มเอนนี้ การ ใช้เส้นโค้งหงายแบบท้องสําเภาของเส้นฐานและเส้นหลังคา ก็จะมีส่วนช่วยให้อาคารทั้งอาคารเบาลอยและส่งความรู้สึก ยกลอยขึน้ สูเ่ บือ้ งสูง (รูป ๖๙) ได้ความรูส้ กึ โดยครบถ้วนโดย ทีไ่ ม่อาจหาสถาปัตยกรรมแบบใดมาเทียบความรูส้ กึ เช่นนี้ได้ นีค่ อื การอ่านพบลักษณะทางพุทธปรัชญาฝ่ายมหายานที่มีต่อสถาปัตยกรรมไทยในสมัยอยุธยายุคหลังและได้ สืบทอดลักษณะนิยมนี้ต่อมาจนถึงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ เป็น วิธีการที่ช่างไทยสามารถคิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะสมัย
๖๐
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๔๓
๓๔๔ ภูมิหลัง
๖๑
๖๒
๖๓
๖๔
๖๕
๖๖
รูป ๖๑ ฐานพระอุโบสถวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แสดงการนํา เอาคติมหายานเข้ามาใช้กบั อาคาร ทีส่ ร้างขึน้ ในสถาบันพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท สิ่งนี้เป็น ประจักษ์พยานได้ว่าในทางช่างและในความ ยอมรับของสังคมไทยนัน้ ลัทธิมไิ ด้เป็นอุปสรรค ต่อฝ่ายสร้างสรรค์ที่จะนําเอาปรัชญาของ พุทธศาสนาเข้ามาใช้ในรูปองค์ประกอบของ ศิลปะ
รูป ๖๒ หลังคาพระอุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม จังหวัดเพชรบุรี สถาปัตยกรรมแบบอยุธยา ทีใ่ ช้โค้งท้องสําเภาเช่นเดียวกับของพืน้ วิหาร หรือโบสถ์
รูป ๖๓ ฐานชุกชีพระพุทธปฏิมากรก็มีการใช้โค้ง ท้องสําเภาเช่นเดียวกับสันหลังคา หรือขอบ ฐานอาคารตามแบบที่นิยมกันทั่วไปของสมัย อยุธยายุคหลัง ๖๗ รูป ๖๔ การยกปลายสุดขององค์ประกอบทาง สถาปัตยกรรมให้ตวัดขึน้ เพือ่ ช่วยความรูส้ กึ ในด้านความเบาและลอย จะพบในทีห่ ลายแห่ง ตัวอย่างเช่น การยกปลายสุดของสันหลังคา หรือหลังสิงห์ทส่ี ว่ นฐานอาคารหรือพระเจดีย์
รูป ๖๗ ภาพวิเคราะห์การสร้างชั้นมณฑปซึ่ง คล้อยตามพุทธปรัชญาด้วยวิธีการสร้าง ความเบาลอยและชี้ขึ้นเบื้องสูง
รูป ๖๕ ภาพวิเคราะห์ที่แสดงให้เห็นการแบ่งชั้นซ้อน หลังคาและการลดชัน้ หลังคา เพือ่ ทําลายความ รู้สึกหนักในผืนหลังคาผืนใหญ่ รูป ๖๘ ภาพวิเคราะห์แสดงแนวหลักของการใช้เส้น ช่วยส่งความรู้สึก เพื่อแปลพุทธปรัชญา อันเป็นฝ่ายนามธรรมออกมาให้ปรากฏในรูป ของวัตถุตามวิธีการทางสถาปัตยกรรม
รูป ๖๖ หลังคาพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทศั นเทพวราราม ทีแ่ สดงให้เห็นพุทธปรัชญา จากวิธีการลําดับขั้นซ้อน
๖๘
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๔๕
นอกจากลักษณะที่แสดงออกในรูปขององค์ประ กอบทางสถาปัตยกรรมตามทีก่ ล่าวมาแล้ว เราก็อาจสังเกต เห็นคติความเชือ่ แบบลัทธิมหายานทีป่ รากฏในประติมากรรม และจิตรกรรมที่มีอยู่ในสถาปัตยกรรมด้วยหลายประการ จากเจดีย์และมณฑปหลายองค์ รูปปูนปั้นที่แสดงความ หมายของพระพุทธเจ้าในอดีต พระพุทธเจ้าพระองค์ปจั จุบนั และพระพุทธเจ้าที่จะอุบัติในอนาคต ก็เป็นสิ่งที่นิยม สร้างขึ้นเป็นเครื่องประดับสถาปัตยกรรมด้วย ดังที่ได้เห็น พระพุทธรูป ๓ องค์ปรากฏอยู่เป็นจํานวนมาก เช่นพระ พุทธรูป ๓ องค์ในบริเวณลานวัดพระบรมธาตุไชยา (รูป ๗๐) พระเจดีย์แบบอู่ทองที่วัดพระแก้ว เมืองสรรค์ จังหวัด ชัยนาท นอกจากนี้ก็ยังมีพระพุทธรูปประดับซุ้มพระเจดีย์ ซึ่งหมายแทนพระพุทธเจ้าจํานวนต่างๆ เช่น ทําเป็นพระ พุทธรูปปูนปั้น ๗ พระองค์ที่พระเจดีย์รายวัดพระศรีรัตน มหาธาตุ จังหวัดลพบุรี (รูป ๗๑) หรือพระพุทธรูป ๑๖ องค์ ที่พระเจดีย์ราย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุจังหวัดลพบุรี (รูป ๗๒) การทําพระพุทธรูปจํานวนมากเช่นนีย้ อ่ มแสดงถึงความ เชือ่ ทางลัทธิมหายานทีร่ บั ว่ามีพระพุทธเจ้าพระองค์อน่ื ทีน่ อก เหนือจากองค์ปัจจุบันมาแล้วในอดีต สิ่งที่เป็นหลักฐานอีกประการหนึ่งว่าพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานลัทธิมนตรยานยังคงเป็นที่ยอมรับและปฏิบัติ กันพร้อมไปกับการนับถือลัทธิเถรวาทหรือหินยานก็คือการ เชือ่ ถือในวิทยาคมของฝ่ายลัทธิมนตรยานทีแ่ พร่มาจากทิเบต หลักฐานนี้ได้แก่การสร้างและปลุกเสกพระพิมพ์ในฐานะ เป็นวัตถุคุ้มกันภัยมากกว่าจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ เข้าถึงพระธรรมของพระศาสนาโดยตรง พระกริ่งเป็นพระ เครือ่ งของขลังชนิดหนึง่ ซึง่ นิยมนับถือกันมากในประเทศไทย เป็นอิทธิพลที่ตกทอดมาโดยตรงจากลัทธิมนตรยานของ ทิเบต นอกจากนั้นเครื่องหมายของมงคลต่างๆ เช่นมงคล ๑๐๘ ที่ทางฝ่ายมหายานถือว่าเป็นสมยมณฑล ก็ยังปรากฏ อยู่อย่างครบถ้วนในรอยพระพุทธบาทที่นิยมสร้างขึ้นเป็น แบบมาตรฐานทั่วไปในประเทศนี้ ดังตัวอย่าง มงคล ๑๐๘
๓๔๖ ภูมิหลัง
ในรอยพระพุทธบาท ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ พระพุทธบาทที่สระบุรี หรือพระบาทพระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ (รูป ๗๓) ทีถ่ อื กันว่าเป็นแบบอย่างพระพุทธบาททีง่ ดงามยิง่ ถ้าจะตั้งเป็นคําถามว่าลัทธินี้เข้ามาสู่ดินแดนที่เป็น ประเทศไทยปัจจุบนั นีต้ ง้ั แต่เมือ่ ไรแล้ว ก็อาจแสดงวัตถุหลักฐานที่เก่าแก่ได้ถึงสมัยมอญ ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔ หรือ ๑๕ ชิน้ ส่วนทีข่ ดุ พบนัน้ ได้ปรากฏภาพสลักของบุคคลนัง่ ท่ามกลางสมยมณฑลอันประกอบด้วย คนโทน้ำอมฤต จักร สังข์ และดารา (รูป ๗๔) นอกจากนั้นดังได้กล่าวแล้ว ในลัทธิมหายานยังมี มหาชมพูบดีสตู รซึง่ กล่าวถึงพระพุทธองค์วา่ ทรงเนรมิตพระ กายเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จมาปราบท้าวมหาชมพูบดี ให้ละความหลงผิดในอํานาจความยิ่งใหญ่จนได้สํานึกและ ได้บรรลุอรหัตผลในทีส่ ดุ เรือ่ งทีว่ า่ พระพุทธองค์ทรงเนรมิต พระกายเป็นพระเจ้าจักรพรรดินี้เองเป็นเหตุให้มีการสร้าง พระพุทธปฏิมาทรงเครื่องกษัตริย์ในรูปของพระอาทิพุทธ พระไวโรจนะพุทธ และพระศากยมุนพี ทุ ธ เชือ่ ว่าคติของพระ สูตรนี้ได้แพร่หลายในการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องและ รูปพระโพธิสัตว์จํานวนมาก โดยเฉพาะที่เป็นแบบพระพิมพ์ ดินดิบที่นิยมทํากันอย่างแพร่หลายในกลุ่มชนภาคใต้ แม้ใน สมัยอยุธยาซึ่งรับนับถือพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทอยู่แล้วก็ ตาม ก็ยงั พบว่ามีความนิยมทําพระพุทธรูปทรงเครือ่ ง ตาม คติมหายานกันอยูเ่ ป็นจํานวนมาก คตินย้ี งั ฝังอยูใ่ นการปฏิบตั ิ ทางพุทธศิลป์ประติมากรรมมาตลอดจนสมัยปัจจุบัน การที่อิทธิพลทางคติมหายานยังสืบเนื่องอยู่ได้ นัน้ อาจพิจารณาได้วา่ ช่างประติมากรรมและจิตรกรรมมีสว่ น ร่วมอย่างมากที่ทําให้พุทธศาสนิกชนเลื่อมใสในการสร้าง พระพุทธรูปในพุทธลักษณะเช่นนั้น แม้ในสมัยปัจจุบันนี้ อิทธิพลแฝงของพุทธศาสนาลัทธิตนั ตระในฝ่ายมหายานก็ยงั คงปรากฏอยู่ให้เห็นในพิธีพุทธาภิเษกต่างๆ ที่ถือเอาพระ พุทธรูปเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือมีเทพรักษา เปรียบเสมือนเป็นองค์ พระเจ้าจักรพรรดิที่พุทธศาสนิกชนพึงถวายการปฏิบัติบูชา
รูป ๖๙ ภาพสังเค็ดวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ที่สามารถสร้างความรู้สึก ในด้านพุทธปรัชญา ที่นิยมกันในสมัยอยุธยาได้อย่างครบถ้วน
รูป ๗๐ พระพุทธรูป ๓ องค์ ที่หมายแทนอดีต พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันและ พระพุทธเจ้าที่จะตรัสรู้ในอนาคต วัดพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รูป ๗๑ ฐานพระเจดีย์รายวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี มีผู้สันนิษฐานว่าเป็น รูปพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ สร้างขึ้น ในคติที่ยอมรับว่ามีพระพุทธเจ้าตรัสรู้ มาแล้วมากกว่าหนึ่งพระองค์
รูป ๗๒ พระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์ ทําขึ้นประดับ ทิศสําหรับที่พระเจดีย์รายวัดพระศรีรัตน มหาธาตุ จังหวัดลพบุรี สร้างขึ้นในคติ ที่ยอมรับว่ามีพระพุทธเจ้าตรัสรู้มาแล้ว มากกว่าหนึ่งพระองค์
รูป ๗๓ มงคล ๑๐๘ ในสมยมณฑลของลัทธิมหายาน ทีส่ ร้างขึน้ เป็นเครือ่ งประดับรอยพระพุทธบาท โดยทั่วไป ทําให้มองเห็นการยอมรับในด้าน ศิลปะทีไ่ ม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบตั ทิ างลัทธิ แต่อย่างใด ภาพรอยพระพุทธบาท ประดับมุก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
๖๙
๗๐
๗๑
๗๓ รูป ๗๔ ชิ้นส่วนของภาพพระโพธิสัตว์ท่ามกลาง สมยมณฑล เป็นภาพที่สร้างขึ้นในสมัยมอญ
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๔๗
พุทธปรัชญาที่ปรากฏในงานสถาปัตยกรรมในสมัยต่าง ๆ
หากจะสืบค้นว่าความรู้เรื่องไตรภูมิเป็นที่รับรู้ของ พุทธศาสนิกชนทีอ่ ยูใ่ นดินแดนทีเ่ ป็นประเทศไทยมาตัง้ แต่เมือ่ ใดแล้ว อาจจะไม่มีพยานทางวัตถุที่จะสืบย้อนหลังไปได้ไกล เท่าที่เป็นความจริง เพราะหลักฐานทางวัตถุที่สร้างขึ้นในดิน แดนที่สภาพทางภูมิศาสตร์มีความชื้นในอากาศสูงเช่นในดิน แดนแถบนี้ย่อมไม่มีอายุคงทนนัก ดังนั้นถึงแม้จะรู้กันว่า สถาปัตยกรรมนัน้ ๆ สร้างขึน้ ในสมัยใด แต่กไ็ ม่สามารถศึกษา เข้าถึงส่วนลึกของคติทแ่ี ฝงอยูไ่ ด้เสมอไป เพราะรายละเอียด ขององค์ประกอบต่างๆ ไม่มีความคงทนมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น เจดีย์วัดแก้วที่อําเภอไชยา (รูป ๗๕) จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในที่อื่นๆ อีกเป็นอันมาก แต่ถึงแม้จะไม่ปรากฏพยานหลักฐานทางวัตถุชัด เจน แต่เนือ่ งจากเรือ่ งไตรภูมเิ ป็นคัมภีรส์ าํ คัญในพุทธศาสนา ตลอดมา จึงน่าจะสันนิษฐานได้ว่าสถาปัตยกรรมในพุทธ ศาสนาทุกรูปแบบและทุกสมัยน่าจะปรากฏอิทธิพลของพุทธ ปรัชญาที่ยกมาจากคติไตรภูมินี้ในรูปใดรูปหนึ่ง เช่นในการ กําหนดจํานวนปล้องไฉนหรือชัน้ รัดประคดดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้ว ในสมัยมอญ ลักษณะของสถาปัตยกรรมที่คง เหลืออยูโ่ ดยทัว่ ไปไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน เพราะส่วนใหญ่ มีรูปส่วนบนไม่ครบ เช่น ในกรณีของสถูป ไม่อาจทราบได้ แน่นอนว่ารูปทรงของสถูปตอนบนมีทรวดทรงเช่นไร และ ความสูงเท่าไร จากโบราณสถานที่เหลืออยู่ในปัจจุบันเรา ทราบแต่เพียงว่าฐานของสถูปมีรูปร่างเป็น ๓ แบบ คือ ฐานรูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั (รูป ๗๖) ฐานแปดเหลีย่ มและฐานกลม และในกรณีของปล้องไฉนก็ไม่มีหลักฐานทางพยานวัตถุว่ามี การใช้ปล้องไฉนในพุทธสถาปัตยกรรมที่เป็นสถูปหรือเจดีย์ หรือไม่ ดังนัน้ จึงไม่อาจกล่าวได้วา่ การสร้างสถูปในสมัยมอญ มีการใช้ความหมายคัมภีร์ไตรภูมิมาสร้างเป็นองค์ประกอบ ทางสถาปัตยกรรมดังที่กระทํากันในสมัยหลังๆ แต่อย่างไร ก็ตาม ก็ปรากฏตัวอย่างการใช้ปล้องไฉนกับสถูปในภาพปูน ปั้นและภาพสลักหินทั่วๆ ไป โดยเฉพาะในภาพพระพิมพ์แม้ จํานวนปล้องไฉนมีไม่มากพอที่จะสันนิษฐานว่ามีการใช้ชั้น ภูมิในไตรภูมิเป็นจํานวนกําหนดปล้อง การที่ยังไม่พบหลัก ฐานแน่ชัดว่าได้มีการใช้ความหมายในคัมภีร์ไตรภูมิกําหนด องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมจึงมิได้หมายความว่ายังไม่
๓๔๘ ภูมิหลัง
มีการรู้จักเรื่องนี้ในสมัยมอญ โดยแท้ที่จริงแล้วมีหลักฐาน เรื่องไตรภูมิเป็นที่ทราบกันแพร่หลายแล้วในสมัยนั้น เพราะ ได้มีการสร้างพระพุทธรูปปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ไว้เป็น จํานวนมาก (รูป ๗๗) โดยเฉพาะภาพจําหลักศิลาสมัยมอญ ปางประทานพระธรรมเทศนาที่เบื้องหลังฐานพระประธาน ที่วัดสุทัศนเทพวราราม นอกจากนี้ยังมีหลักฐานอื่นที่แสดง ว่าได้มีความรู้เรื่องไตรภูมิแล้วในสมัยนี้ ได้แก่ภาพปูนปั้น เป็นจำนวนมากที่ใช้ประดิษฐานพระเจดีย์ เช่นภาพเทวดา นางฟ้าในชั้นเทวภูมิ กับภาพสิงห์ ภาพกินรี และภาพครุฑ ซึ่งเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุ (รูป ๗๘) ส่วนรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่แสดงความหมายที่ เกี่ยวกับพุทธศาสนาที่นิยมใช้กันมากในสมัยนี้น้นั ที่เห็นได้ท่วั ๆ ไปคือการใช้ความหมายที่น่าจะเป็นหัวใจของพุทธศาสนา คืออริยสัจ ๔ ในรูปของฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กับความหมาย ของมรรคมีองค์ ๘ ในรูปของฐานแปดเหลี่ยม รูปเหลี่ยม ของฐานและองค์เจดีย์ทั้งสองชนิดนี้ได้มีการใช้สืบต่อกัน ตลอดมาทุกยุคทุกสมัยที่มีการสร้างพุทธสถาปัตยกรรม นอกจากเหลี่ยมพระเจดีย์ที่กล่าวถึงนี้ก็ยังปรากฏ ลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมอีกลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้น ในสมัยมอญนี้จนได้เป็นแบบสืบทอดต่อมาในระยะหลัง คือ รูปซุ้มจระนำประดับพระพุทธรูปรอบองค์พระเจดีย์ เช่นที่ วัดพระประโทนและวัดใหญ่ทจ่ี งั หวัดนครปฐม (รูป ๗๙) การ นําซุ้มจระนำเข้าประดับองค์พระเจดีย์นี้ได้เกิดขึ้นในอินเดีย ก่อน คือประมาณปี พ.ศ. ๗๐๐-๘๐๐ เมื่อลัทธิมหายานมี ความสําคัญ และความคิดนี้ได้สืบต่อไปสู่การสร้างสถูป ดัง เช่นสถูปสําริดบรรจุพระบรมธาตุในพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ (รูป ๘๐) และพระเจดียแ์ ปดเหลีย่ ม วัดจามเทวี จังหวัดลําพูน ดังได้กล่าวแล้ว ตัวอย่างสถาปัตยกรรมดังกล่าว ได้ทําให้เห็นอิทธิพลของมหายานลัทธิตรีกายที่ปรากฏใน แบบการสร้างพระพุทธรูป ๓ องค์ และการนับถือพระธยานิโพธิสตั ว์จากการสร้างพระพุทธรูป ๕ องค์ สําหรับพระเจดีย์ ที่มีพระพุทธรูปประดับ ๘ องค์ตามจํานวนเหลี่ยมพระ เจดีย์นั้นมีทั้งที่ลพบุรีและลําพูน จํานวน ๘ นี้ก็เชื่อกันว่า หมายถึงจํานวนพระอรหันต์ ๘ ทิศที่ทราบกันดีมาจนถึง ปัจจุบัน (รูป ๘๑) แต่ก็มีปัญหาอยู่ว่าถ้าปรากฏพระพุทธรูป
หมายเหตุ เจดียส์ เ่ี หลีย่ มในความหมายของอริยสัจ ๔ นิยมสร้างในเจดีย์แบบมอญและ แบบล้านช้าง เจดีย์แปดเหลี่ยมในความหมายของมรรค มีองค์ ๘ นิยมสร้างในเจดีย์แบบล้านนา กับฐานและรัตนบัลลังก์แบบก่อนอยุธยา (อโยธยา - อู่ทอง) เจดีย์ยอดเหลี่ยม ๑๓ ชั้น นิยมสร้างใน เจดีย์แบบมหายานของทิเบต เนปาล จีน จำนวนเลขที่แสดงชั้นภูมิในที่นี้ได้ใช้ตาม วิธีการกำหนดชั้นภูมิในไตรภูมิพระร่วง เป็นหลัก (รูปพรหมภูมิ ๑๖)
ตารางเต็มหน้า
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๔๙
รูป ๗๕ ภาพเจดีย์วัดแก้วที่อําเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี ในสภาพที่ปรากฏในปัจจุบัน ไม่สามารถจะศึกษาลักษณะขององค์ประกอบ ทางสถาปัตยกรรมในสมัยศรีวิชัยได้
ประดับพระเจดีย์จํานวนมากกว่านั้น จํานวนพระพุทธรูป เหล่านั้นจะมีความหมายว่าอย่างไร คําตอบปัญหานี้จะต้อง อ้างถึงแนวความคิดของลัทธิมหายาน ที่ทําให้ลัทธินี้ได้รับ ความนิยมเป็นครั้งแรกในอินเดียแทนลัทธิหินยาน คติของ มหายานได้เข้าถึงความนิยมของบุคคลทั่วไปตรงที่มีความ เชื่อว่า บุคคลใดก็ตามที่นับถือพระพุทธศาสนาแม้จะมิได้ เป็นพระภิกษุ ก็อาจปรารถนาพระนิพพานได้โดยการเป็น พระโพธิสัตว์ หรือบุคคลใดสร้างพระพุทธรูปประดับพระ เจดีย์จํานวนมาก (รูป ๘๒) ก็อาจอธิษฐานปรารถนา พระนิพพานได้ เพราะเช่นนั้นจึงได้มีธรรมเนียมการสร้าง พระพุทธรูปประกอบพระเจดียก์ นั ขึน้ ในสมัยทีศ่ ลิ ปะคันธารราษฎร์และมถุรารุง่ เรือง ระหว่างรัชกาลของพระเจ้ากนิษกะ (ประมาณ พ.ศ. ๖๒๑-๖๖๓) มาจนถึงรัชกาลของพระเจ้าหุวษิ กะ (ประมาณ พ.ศ. ๖๖๓-๖๘๓) แห่งราชวงศ์กุษานะ ตามที่ทราบกันแล้ว อิทธิพลของพุทธศาสนาลัทธิ มหายานในดินแดนที่เป็นประเทศไทยได้เสื่อมคลายลงตั้ง แต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ โดยเฉพาะหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อพุทธศาสนานิกายเถรวาทจากลังกาเข้ามามีบทบาท มากที่สุดในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นผล มาจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระเจ้าปรากรมพาหุท่ี ๑ (พ.ศ. ๑๖๙๖-๑๗๒๙) ผูซ้ ง่ึ ได้รวมพุทธศาสนานิกาย ต่างๆ ในลังกาเข้าด้วยกันในปี พ.ศ. ๑๗๐๘ เป็นสิงหลนิกาย ในด้านสถาปัตยกรรม สันนิษฐานได้ว่าพุทธเจดีย์แบบลังกา คงจะแพร่หลายเข้ามาโดยผ่านทางนครศรีธรรมราช พุทธเจดีย์ในระยะหลังนี้จึงมียอดเรียวสูง ประดับปล้องไฉน จํานวนมาก เช่นที่วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช มี จํานวนถึง ๕๒ ปล้อง ลุวนั เวลิเจดียท์ เ่ี มืองอนุราธปุระในลังกา มีปล้องไฉนถึง ๔๕ ปล้อง (รูป ๘๓) การที่มีจํานวนปล้องไฉนจํานวน มากๆ เช่นนี้ทําให้มีผู้สรุปว่าจํานวนปล้องนั้นเป็นแต่เพียงสิ่ง ประดับยอดพระเจดีย์ กล่าวคือเมื่อเพิ่มความสูงของยอด ขึ้นก็จําเป็นต้องเพิ่มจํานวนปล้องตาม แต่ตามความสังเกต ของผู้เขียนเองเห็นว่าจํานวนปล้องน่าจะมีความหมายอย่าง ใดอย่างหนึง่ ประกอบด้วย ดังเช่นได้เสนอข้อสันนิษฐานจํานวน ๕๒ ไว้แล้วในตอนต้น ส่วนจํานวน ๔๕ ปล้อง ที่มีอยู่บนยอด ลุวันเวลิเจดีย์นั้น ถ้าจะพิจารณาความหมายของจํานวน ๔๕ นัน้ ก็เห็นว่า อาจจะมาจากจํานวนปีทส่ี มเด็จพระสัมมาสัมพุทธ
๓๕๐ ภูมิหลัง
เจ้าทรงประกาศพุทธศาสนา ตงั้ แต่ปที ที่ รงตรัสรูพ้ ระอนุตรสัมโพธิญาณไปจนเสด็จดับขันธ์สู่พระปรินิพพาน ด้วยความ เชื่อของผู้เขียนเช่นนั้น ทําให้คิดว่าจํานวนปล้องไฉนบนยอด พระเจดีย์แบบอิทธิพลลังกา น่าจะมีการกําหนดความหมาย อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นจํานวนปล้องเอาไว้ แม้แต่จํานวน ปล้องไฉนในแบบของอินเดียเอง ในระยะแรกๆ ก็มักจะนับ ได้ในจํานวน ๗ ซึ่งน่าจะหมายถึงจํานวนนครใหญ่ ๗ แห่งที่ พระพุ ท ธศาสนาเผยแผ่ ไปโดยการนํ า ของสมณทู ต หรื อ จํานวน ๘ ที่น่าจะหมายถึงธาตุเจดีย์ ๘ แห่งที่สร้างขึ้นภาย หลังการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ก่อนการสถาปนาเมืองสุโขทัยขึ้นในพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙ นั้น นอกเหนือจากเมืองลพบุรีและเมืองหริภุญชัยซึ่ง ได้เจริญอยู่ก่อนแล้วในดินแดนภาคเหนือ ได้ปรากฏกลุ่ม เมืองที่นับถือพุทธศาสนาขึ้นใหม่ คือกลุ่มเมืองก่อนสุโขทัย มีเมืองสําคัญคือเมืองสวรรคโลก เมืองศรีสัชนาลัย เมือง พิจิตร และเมืองพิชัย แต่พุทธศาสนาที่นับถือกันในดินแดน แถบนี้เป็นนิกายมหายาน เพราะมีหลักฐานการสร้างพระ เจดีย์ทรงบัวตูมอยู่ทั่วๆ ไป ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นอิทธิพล ของลัทธิสุขาวดีของนิกายมหายาน อย่างไรก็ตาม การ เปลี่ยนไปสร้างพระเจดีย์ทรงระฆังแบบหินยานในสุโขทัยใน ระยะหลังนัน้ อาจจะมิใช่เพราะอิทธิพลของศิลปะจากนครศรีธรรมราชเพราะทรวดทรงเจดีย์มิได้มีลักษณะเช่นพระเจดีย์ ทางนครศรีธรรมราช ผูเ้ ขียนเชือ่ ว่าเจดียแ์ บบทรงระฆังตาม อิทธิพลลังกาในระยะทีส่ โุ ขทัยรับนับถือพุทธศาสนาลัทธิหนิ ยานนั้นเป็นไปตามแบบอิทธิพลจากภาคกลางของไทยมาก กว่าทางภาคใต้ เพราะในระยะใกล้ๆ กันนี้ คือประมาณ ช่วงปลายของพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้เกิดกลุ่มเมืองที่นับถือ พุทธศาสนาขึ้นอีกกลุ่มหนึ่งแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในบริเวณท้องที่ที่เป็นอาณาจักรอยุธยาในสมัยต่อมา กลุ่มเมือง ในภาคกลางนีเ้ ป็นแหล่งกําเนิดของศิลปะทีไ่ ด้รบั แรงบันดาล ใจจากพุทธศาสนาลัทธิเถรวาท ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากวัด ธรรมิกราชที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดธรรมิกราชมีพระมหาเจดีย์ประดับยอดด้วย ปล้องไฉน มีรัตนบัลลังก์ ๘ เหลี่ยม และมีฐานยกสูงสามชั้น ประดับรูปสิงห์ลอ้ ม มีพระวิหารก่ออิฐขนาดใหญ่ประดับปลาย เสารูปดอกบัว มีพระพุทธรูปสําริดขนาดใหญ่ประดิษฐาน เป็นพระประธานภายใน สิ่งที่น่าสนใจควรกล่าวถึงในที่นี้คือ
รูป ๗๖ ภาพเจดียจ์ าํ ลองทรงระฆัง ทําด้วยหินทราย ในขนาดย่อส่วนที่ทําให้ทราบถึงรูปลักษณะ พื้นฐานพระเจดีย์ในสมัยนั้น ภาพนี้เป็นวัตถุ แสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
รูป ๗๗ ภาพพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ สมัยมอญ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
รูป ๗๘ ภาพครุฑที่ได้จากการขุดค้น หลักฐานสมัยมอญ ที่แสดงให้เห็นว่า ความรู้เรื่องสัตว์หิมพานต์ในไตรภูมิ ได้มีอยู่ในสมัยนั้นแล้ว
รูป ๗๙ ภาพแสดงลักษณะการนําพระพุทธรูปเข้า ประดับรอบองค์พระเจดีย์ในสมัยมอญ ตามคตินิยมที่รับทอดจากอินเดีย
รูป ๘๑ ภาพแสดงการประดับรูปพระอรหันต์ ๘ ทิศ ที่แกนปล้องไฉนของพระเจดีย์ ที่วัดจะทิ้งพระ อําเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
รูป ๘๐ สถูปสําริดแปดเหลี่ยมประดับซุ้มเรือนแก้ว แบบเขมรในประเทศไทย ที่นําความคิดการ ประดับพระพุทธรูปรอบองค์พระเจดีย์ ตามความนิยมที่เกิดขึ้นในอินเดีย ในทํานองเดียวกับภาพที่ ๗๙
๗๕
๗๗
๘๐ ๗๖
๗๘
๘๑
รูป ๘๒ ภาพแสดงตัวอย่างการทําพระพุทธรูป ประดับพระเจดีย์ตามความเชื่อแบบ มหายานที่ว่าใครก็ตามก็สามารถจะ ปรารถนาพระนิพพานได้ด้วยวิธีสร้าง พระพุทธรูปประดับพระเจดีย์ ภาพตัวอย่างนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทย ก็มีผู้ที่รู้คตินี้เช่นกัน ภาพนี้เป็นภาพที่ได้จากวัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี
รูป ๘๓ ภาพแสดงการสร้างปล้องไฉน ๔๕ ปล้อง ที่ลุวันเวลิเจดีย์ เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา
๘๒
๓๕๒ ภูมิหลัง
๘๓
ความรู้เรื่องไตรภูมิที่ปรากฏอยู่ในองค์พระมหาเจดีย์ จาก การสํารวจลักษณะขององค์เจดีย์ก่อนที่ปลายยอดจะหักลง มาในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ นัน้ พบว่ามีจาํ นวนปล้องไฉน ๑๖ ปล้อง (รูป ๘๔) ซึ่งเป็นตัวเลขรวมของชั้นรูปพรหมภูมิในไตรภูมิ สํ า หรั บ รั ต นบั ล ลั ง ก์ นั้ นคงเป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ข องบัลลังก์ท่ี พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ แต่ที่ทําเป็นแปด เหลีย่ มนัน้ ก็เพือ่ จะหมายถึงหลักปฏิบตั ิ ๘ ประการทีจ่ ะบรรลุ ความหลุดพ้นหรือที่เรียกกันว่ามรรคมีองค์ ๘ องค์ครรภธาตุน้ันคงเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเพื่อเป็นประธาน ในการประกาศพระพุทธศาสนา ดังเช่นที่นิยมบรรจุไว้ใน เจดีย์หรือพระปรางค์ที่พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรนั้นๆ สร้างขึ้น ที่ตรงส่วนรองรับครรภธาตุนั้นจะสังเกตเห็นบัว ลูกแก้วขนาดใหญ่ บัวลูกแก้วนี้จะมีลักษณะเป็นเส้นนูนกลม ผ่าซีกคาดซ้อนกันรอบองค์พระเจดีย์เป็น ๓ ชั้น บัวลูกแก้ว ๓ ชัน้ นีเ้ ป็นแบบอย่างทีม่ มี าจากแบบอินเดียเดิมซึง่ ในประเทศ ไทยนั้นได้กําหนดความหมายว่าเป็นภูมิหรือโลกทั้ง ๓ เทิด ทูนให้พระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งอันสูงสุด องค์ประกอบ ทางสถาปัตยกรรมที่มีความหมายเช่นเดียวกันนี้ ยังทําไว้ รองรับเป็นส่วนฐานขององค์พระเจดีย์อีก ๓ ชั้นเพื่อความ หมายเช่นเดียวกันด้วย นอกจากบัวลูกแก้ว ๓ ชั้นทีเ่ ป็นแบบ เดิมอย่างพุทธศิลป์อนิ เดียและลังกาแล้ว ไม่ปรากฏว่าอินเดีย หรือลังกายกฐาน ๓ ชั้นซ้อนเช่นที่มีในเจดีย์ที่สร้างขึ้นใน ประเทศไทย ทั้งพระบรมธาตุเชลียงและพระเจดีย์วัดเจ็ดแถวซึ่งสันนิษฐานกันว่าสร้างขึ้นในสมัยก่อนสุโขทัยก็มีฐาน ๓ ชั้นซ้อนปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นจึงอาจ จะกล่าวได้ว่าฐาน ๓ ชั้นซ้อนเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมไทยที่คิดขึ้นตามคติไตรภูมิ พร้อมกับการรับนับถือลัทธิหินยานนั้นเชื่อกันว่า สุโขทัยได้รับความรู้เรื่องคติไตรภูมิไว้ด้วยเช่นเดียวกับกลุ่ม เมืองในภาคกลาง ข้อสนับสนุนความเห็นทีว่ า่ สุโขทัยมีความ รูเ้ รือ่ งคติไตรภูมจิ นได้นาํ มาสร้างเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมประกอบองค์พระเจดีย์ก็คือการใช้ปริศนาของ จํานวนชั้นภูมินํามาทําเป็นปล้องไฉน พระเจดีย์วัดช้างล้อม ที่อําเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีจํานวนปล้องไฉน ๓๒ ปล้องอันเป็นจํานวนรวมชั้นภูมิที่มีระบุอยู่ทั้งหมดในคัมภีร์ ไตรภูมิคือ อบายภูมิ ๔ + มนุษยภูมิ ๑ + เทวภูมิ ๖ + รูป พรหมภูมิ ๑๖ + อรูปพรหมภูมิ ๔ และนิพพาน ๑ รวม ๓๒ ชัน้ ภูมิ หรืออีกตัวอย่างหนึง่ คือพระเจดียว์ ดั ช้างรอบ จังหวัด กําแพงเพชร ที่มีจํานวนปล้องไฉน ๒๗ ปล้อง จํานวน ๒๗ ในที่นี้ก็เป็นจํานวนรวมชั้นภูมิตั้งแต่ระดับเทวภูมิขึ้นไปจนถึง ขั้นบรรลุพระนิพพาน ซึ่งจะรวมจํานวนชั้นภูมิได้ ๒๗ ชั้น ความรูเ้ รือ่ งไตรภูมนิ ม้ี ไิ ด้ปรากฏแต่เฉพาะการนํามา แปลออกเป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระเจดีย์ เท่านั้น แต่ความรู้เรื่องไตรภูมิก็ยังมีปรากฏอยู่ในสถาปัตยกรรมแบบพระปรางค์ด้วยอย่างมากเช่นเดียวกัน ดังตัว
อย่างเช่นพระปรางค์วัดศรีสวายที่จังหวัดสุโขทัย พระปรางค์วัดศรีสวายนั้นเดิมเป็นเทวสถานที่ เขมรสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในระหว่างที่กลุ่มเมือง ก่อนสุโขทัยตกอยูใ่ นอํานาจของเขมรในสมัยพระเจ้าสุรยิ วรมันที่ ๒ ต่อมาเมื่อดินแดนแถบนี้พ้นจากอํานาจเขมรแล้วจึง ได้ดัดแปลงเป็นปรางค์สําหรับพุทธศาสนา เทวสถานเดิม เดิมเป็นปรางค์ที่มียอด ๔ ชั้นซ้อนตามแบบขอมเหมือนกับ เทวสถานของขอมแห่งอืน่ ๆ ทีส่ ร้างขึน้ ในอาณาบริเวณทีเ่ ป็น ประเทศไทยปัจจุบัน ต่อมาเมื่ออาณาจักรสุโขทัยมีอํานาจ ปกครองตนเองเป็นอิสระแล้วจึงได้มกี ารแก้ไขเทวสถานแห่ง นี้เป็นยอด ๖ ชั้นซ้อน (รูป ๘๕) การแก้ไขดัดแปลงเทว- สถานศรีสวายเป็นพุทธปรางค์วัดศรีสวายนั้นจะทําเมื่อใดไม่ ทราบแน่ชดั แต่คาดว่าคงจะไม่เกินรัชกาลพ่อขุนรามคําแหง มหาราช (พ.ศ. ๑๘๒๐-๑๘๖๐) และในปี พ.ศ. ๑๘๒๖ ในรัช กาลพ่อขุนรามคําแหงมหาราชนัน้ เอง สุโขทัยได้รวมเอาลพบุรี เข้าไว้ในอาณาจักรด้วย นั่นย่อมแสดงว่าความสัมพันธ์ทาง พุทธศิลป์ระหว่างลพบุรีกับสุโขทัยจะต้องตามมาด้วย และ ในขณะเดียวกัน กลุม่ เมืองในภาคกลางก็กาํ ลังรุง่ เรืองในทาง พุทธศาสนา และเป็นพุทธศาสนาลัทธิหินยานเช่นเดียวกับ นครศรีธรรมราช ได้ปรากฏต่อมาว่าในปี พ.ศ. ๑๘๒๘ สุโขทัยได้ สร้ า งพระมหาธาตุ ศ รี สั ช นาลั ย ขึ้ น เป็ น แบบพุ ท ธปรางค์ ฐานสูง ๓ ชัน้ และมียอด ๖ ชัน้ ซึง่ เป็นเวลาก่อนทีอ่ าราธนา พระภิกษุจากนครศรีธรรมราชมาเผยแผ่ลัทธิหีนยานอย่าง ลังกาในอาณาจักรสุโขทัย การที่พระมหาธาตุศรีสัชนาลัยมี ฐาน ๓ ชั้นซ้อนและมียอด ๖ ชั้นซ้อนนั้น ก็แสดงว่าผู้สร้าง มีความรู้ในคติไตรภูมิแล้วเป็นอย่างดี มิฉะนั้นคงจะไม่สร้าง พระมหาธาตุขึ้นเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาล มี ฐานไตรภูมิ ๓ ชั้น และมียอดเป็นเครื่องหมายของเทวภูมิ ๖ ชั้นเป็นแน่ นอกจากนั้นตามชั้นประดับยอดปรางค์ยัง แสดงซุ้มจระนำอันหมายแทนถึงเทพวิมานประจําแต่ละชั้น สวรรค์เอาไว้ดว้ ย เมือ่ ประจักษ์พยานทางรูปสถาปัตยกรรม ปรากฏขึ้นดังนี้ก็ต้องเข้าใจว่า การอาราธนาพระเถระจาก นครศรีธรรมราชมาสุโขทัยนั้น ก็เพื่อเป็นแบบอย่างให้ภิกษุ สุโขทัยปฏิบัติเคร่งครัดในพระวินัยตามแบบอย่างของลังกา มากกว่าและมิได้หมายความว่าสุโขทัยเพิ่งจะมาได้รับความ รู้เรื่องไตรภูมิในพุทธศาสนาในครั้งนี้ หนังสือเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง นั้น เกิดขึ้นเพราะพระราชศรัทธาของพญาลิไทที่ จะทรงนิพนธ์เรื่องไตรภูมิขึ้นเป็นภาษาไทยโดยตลอด เพื่อ ให้ความรูเ้ รือ่ งพุทธศาสนานีแ้ พร่หลายยิง่ ขึน้ กว่าสมัยก่อนๆ นับตั้งแต่สุโขทัยรับพุทธศาสนาลัทธิหีนยานแล้ว ก็ดเู หมือนว่ากลุม่ เมืองทัง้ หลายทีต่ ง้ั อยูใ่ นพืน้ ทีท่ เ่ี ป็นประเทศ ไทยในปัจจุบันจะเป็นแผ่นดินของพุทธศาสนาลัทธิหีนยาน ทัง้ หมด มีคติในการแปลพุทธปรัชญาออกเป็นองค์ประกอบ
ทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างเดียวกันตลอดมาทุกสมัย พระ ปรางค์และพระเจดีย์ยังคงสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุที่ เป็นศูนย์กลางของจักรวาลอยู่เช่นเดิม รูปสถาปัตยกรรม ก็ยังคงสะท้อนลักษณะเบาลอยและสงบนิ่ง รายละเอียด ส่วนประดับและวิธีการก่อสร้างเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ดังเช่นการเปลี่ยนแปลง ของลักษณะหน้าต่าง จากรูปหน้าต่างช่องแคบในแบบ สุโขทัย อยุธยา เปลี่ยนไปเป็นหน้าต่างช่องกว้างเพราะการ รู้จักใช้วัสดุทําทับหลังช่องเปิดนั้นด้วยหินหรือไม้ ต่อมาก็รู้ จักทําช่องเปิดกว้างมากขึ้นไปอีกเพราะรู้จักการก่ออิฐโค้ง กระจายน้ำหนัก แต่ถา้ สังเกตดูให้ดจี ะเห็นว่า แม้จะเป็นการ เปลีย่ นแปลงทางเทคโนโลยีกต็ าม ผูอ้ อกแบบสถาปัตยกรรม ไทยก็ไม่เว้นที่จะกําหนดให้มีความหมายไว้ด้วย ดังเช่นการ ทําช่องเปิดเป็นซุ้มโค้ง ไม่ว่าจะเป็นแบบของล้านนาหรือ แบบอยุธยาก็ตาม ซุ้มโค้งครึ่งวงกลมก็ดี หรือซุ้มยอด แหลมก็ดี ซุ้มทั้งสองประเภทนี้จะมีลักษณะให้เห็นว่าต่าง กับซุม้ ของสถาปัตยกรรมแบบตะวันออกกลางหรือของยุโรป ซุ้มล้านนาจะเป็นซุ้มที่มีส่วนโค้งครึ่งวงกลม ตอนบนที่กด ต่ำโดยทีไ่ ม่อาจใช้เส้นรัศมีของวงเวียนวาดได้ และกรอบทัง้ สองข้างของช่องเปิดก็จะไม่เป็นเส้นดิง่ ตรง แต่จะกลับค่อยๆ โค้งงุ้มเข้าหาด้านใน ทําให้ช่องเปิดทั้งช่องมีเส้นขอบนอก เป็นรูปกลีบบัวปลายมน (รูป ๘๖) ซุ้มเช่นนี้จะพบมีในแบบ ของอยุธยาด้วยเช่นกัน และรูปซุ้มนี้มีผู้นํามาประดิษฐ์เป็น รูปเรือนแก้วครอบพระสมเด็จทีม่ ชี อ่ื เสียงในสมัยรัตนโกสินทร์ นี้ด้วย ส่วนซุ้มปลายแหลมของอยุธยาก็มีลักษณะเป็นซุ้ม กลีบบัวเช่นเดียวกับซุม้ ของล้านนา แต่ตา่ งกันตรงทีย่ อดซุม้ เป็นปลายแหลม (รูป ๘๗) การใช้รปู ทรงของดอกบัวและกลีบบัวนัน้ พบแทรก อยู่ในส่วนของสถาปัตยกรรมไทยแทบทุกส่วน นับแต่ฐาน อาคารไปจนส่วนของหลังคา หรือนับแต่ฐานพระเจดีย์ไป จนส่วนยอดของพระเจดีย์ หากจะมีลวดบัวในที่ใดแล้วลวด บัวนั้นจะมีรูปเป็นส่วนของกลีบบัวทั้งหมด และมีชื่อเรียกว่า บัวทั้งหมดด้วย เช่นบัวคว่ำ บัวหงาย บัวกลุ่ม ฯลฯ การที่ ช่างกําหนดให้องค์ประกอบทุกสิง่ ทุกอย่างเป็นส่วนของดอก บัวเช่นนีก้ เ็ พราะถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้บชู า (รูป ๘๘) ของ พุทธศาสนา และเป็นสัญลักษณ์ของหัวใจมนุษย์ เพราะ เหตุนี้จึงได้นําดอกบัวมาเป็นเครื่องน้อมสักการะต่อสมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฐานโบสถ์ วิหารหรือแม้แต่ฐานพระ พุทธรูปก็ทําเป็นรูปดอกบัวรองรับ เสาโบสถ์ วิหารทั่วๆ ไป ก็จะเป็นดอกบัวทั้งก้านปักบูชาไว้ทั้งสิ้น
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๕๓
รูป ๘๔ ภาพหลักฐานเก่าของพระมหาเจดีย์ที่วัด ธรรมิกราช ที่สร้างปล้องไฉนจํานวน ๑๖ ซึ่งแสดงว่าได้มีความรู้เรื่องไตรภูมิกันแล้ว ปัจจุบันนี้ยอดพระเจดีย์องค์นี้ได้หักลงจนไม่ ปรากฏหลักฐานอีกต่อไป
รูป ๘๕ ภาพพระปรางค์วดั ศรีสวายทีถ่ กู แก้ไขจาก เทวสถานเขมร เป็นปรางค์แบบไทยสมัย อาณาจักรสุโขทัย โดยแก้ยอดจาก ๔ ชั้นซ้อนเป็นเทวภูมิ ๖ ชั้นซ้อน ๘๔
๘๕
๘๖
๘๗
รูป ๘๖ ภาพแสดงลักษณะซุ้มหน้าต่างรูปกลีบบัว ในสถาปัตยกรรมปลายสมัยอยุธยา
รูป ๘๗ ภาพแสดงลักษณะซุม้ รูปกลีบบัวปลายแหลม ที่นิยมทํากันในปลายสมัยอยุธยาและ รัตนโกสินทร์
รูป ๘๘ ภาพแสดงการทําหัวเสาเป็นรูปดอกบัวใน อาคารทางพุทธศาสนา ที่นําคติมาจากการ ถวายดอกบัวเป็นพุทธบูชา
๓๕๔ ภูมิหลัง
๘๘
นอกจากนัน้ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น การกําหนด ปริศนาธรรมเป็นจํานวนตัวเลขนั้นเป็นสิ่งที่นิยมกระทํา กันในประเทศนีต้ ลอดมา และใช้ตวั เลขนีใ้ นทางโหราศาสตร์ หรือในการประกอบเลขยันต์เพือ่ ความขลังทางวิทยาคมด้วย ในการกล่าวถึงชื่อคาถาใดคาถาหนึ่งนั้นมักไม่นิยมกล่าวแต่ เพียงชือ่ คาถานัน้ ๆ เท่านัน้ แต่จะกล่าวถึงจํานวนหัวข้อธรรม ที่มีอยู่ในคาถานั้นด้วย ดังเช่นมงคล ๑๐๘ สิกขาบท ๒๒๗ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ฯลฯ นอกจากตัวอย่างการกําหนด จํานวนปล้องไฉนบนยอดพระเจดีย์ในสมัยต้นๆ ที่กล่าวมา แล้วนั้น ในสมัยต่อๆ มาก็ยังคงมีการกําหนดจํานวนตาม ปริศนาธรรมเช่นนั้นตลอดมา ดังเช่นการกําหนดจํานวน ปล้องไฉน ๕๙ ปล้องบนยอดพระเจดียว์ ดั เจดียง์ ามทีอ่ าํ เภอ สทิงพระ (รูป ๘๙) จังหวัดสงขลา ซึง่ หมายถึงกุศลเหตุ ๕๙ หรือเหตุของการกระทําเพื่อให้บังเกิดผลกรรมดี มี ๕๙ ประการ นี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง หรือการกําหนดจํานวน ๑๓ ปล้องที่ธตุ งั คะเจดีย์ วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ (รูป ๙๐) เพือ่ หมายถึงหลักการปฏิบตั ขิ องพระภิกษุผมู้ งุ่ สูป่ า่ เพือ่ แสวงหาความหลุดพ้น ตัวอย่างการกําหนดจํานวน ๑๓ นีเ้ ป็นตัวอย่างการสร้างพระเจดียค์ รัง้ หลังสุดทีย่ งั มีหลักฐาน ระบุถึงความมุ่งหมายของผู้สร้างอย่างชัดแจ้ง การที่รูปแบบหลักของพุทธสถาปัตยกรรมในประ เทศไทยไม่ใคร่จะมีการเปลีย่ นแปลงมากนักนัน้ ถ้าจะวิเคราะห์ ดูในส่วนลึกแล้วก็เห็นจะกล่าวได้วา่ เป็นเพราะการยึดถือปรัชญา ในพุทธศาสนา โดยเฉพาะคติไตรภูมิ เป็นตําราทีก่ าํ หนดแบบ ทางสถาปัตยกรรม ตราบใดทีไ่ ม่มกี ารเปลีย่ นแปลงทางพุทธ ปรัชญา การเปลีย่ นแปลงทางรูปแบบทางสถาปัตยกรรมทาง ศาสนาย่อมจะเกิดได้ยาก
๘๙ รูป ๘๙ ภาพแสดงการสร้างปล้องไฉน ๕๙ ปล้อง ที่วัดเจดีย์งาม อําเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
รูป ๙๐ ภาพธุตังคะเจดีย์ที่มีปล้องไฉน ๑๓ ปล้อง ตามจํานวนธุดงควัตร ๑๓ ข้อ ซึ่งพระภิกษุ เจ้าสํานักผู้นําการปฏิบัติแบบภิกษุอรัญวาสี ได้กาํ หนดให้สร้างขึน้ ภาพพระเจดียี ์ ตัวอย่างนี้มีอยู่ที่วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
๙๐
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๕๕
คติเทวราช หรือ สมมติเทพ รูป ๙๑ ภาพอินทราธิราชทีห่ น้าบันในหมูอ่ าคารพระทีน่ ง่ั อมรินทรวินจิ ฉัย ในพระบรมมหาราชวัง แสดงหลักฐานการยกฐานะพระมหากษัตริย์ ขึน้ สูฐ่ านะสมมุตเิ ทวราชด้วยการนํารูป พระอินทร์เข้ามาประดับอาคาร
สมมติเทพตามแนวคิดของพุทธศาสนา
คติเทวราชหรือสมมติเทพของพระมหากษัตริยไ์ ทย นั้นมีที่มาจากหลายแห่ง ลัทธิมหายานเกิดความเชื่อในมุม กลับ ที่ยกฐานะของพระมหากษัตริย์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ตามที่มหาชมพูบดีสูตรกล่าวถึง และเป็นองค์สมมติเทพใน ที่สุด ความเป็นสมมติเทพของพระมหากษัตริย์ไทยในลําดับ ต่อมานัน้ เกิดขึน้ จากการยกฐานะขึน้ เทียบกับความเป็นพระ เจ้าธรรมิกราชหรือพญาจักรวรรดิราชหรือพญาจักรตาม เรือ่ งทีป่ รากฏในไตรภูมทิ างลัทธิเถรวาทด้วย การเป็นสมมติ เทวราชในกรณีนั้นได้พบว่ามีสาเหตุเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม ทางพุทธศาสนาของกลุม่ ชนในวัฒนธรรมมอญ กล่าวคือพระ มหากษัตริย์ไทยในสมัยสุโขทัยได้รับปฏิบัติพระองค์ตามแบบ ของกษัตริย์ในวัฒนธรรมมอญที่ได้ยึดเอาคัมภีร์พระธรรม ศาสตร์เป็นวัตรปฏิบตั ิ พระมหากษัตริยท์ รงตัง้ พระองค์อยู่ ในทศพิธราชธรรม ทรงประกอบสังคหวัตถุ ๔ เจริญพรหม วิหารตามรอยพระเจ้าธรรมิกราชที่มีกล่าวไว้ในไตรภูมิ แม้ ในการทรงรับขึน้ ครองราชย์ของพระมหากษัตริยไ์ ทยในสมัย ปัจจุบันก็ยังทรงยึดพระราชประเพณีโบราณนั้น โดยทรง ประกาศพระองค์ว่าจะทรงปกครองโดยธรรม ซึ่งหมาย ถึงธรรมที่ระบุไว้ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ การปฏิบัติพระ องค์ของพระมหากษัตริยเ์ ช่นนัน้ ทําให้บงั เกิดการยอมรับภาวะ ของความเป็นสมมติเทวราชโดยอัตโนมัติ และเป็นประเพณี ที่พระมหากษัตริย์ที่นับถือพระพุทธศาสนาในทุกประเทศ ปฏิบัติกันอยู่ทั่วไปทุกสมัย ตัวอย่างที่อาจยกขึ้นสนับสนุน ความเป็นสมมติเทวราชของพระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็น คติพระเจ้าจักรพรรดิตามมหาชมพูบดีสตู รหรือพระเจ้าธรรมิกราชตามคัมภีร์ไตรภูมิก็ตาม ก็คือจากการขนานพระนาม พระมหากษัตริย์บางพระองค์เช่น พระมหาธรรมราชาที ่ ปรากฏพระนามทั้งในสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา และ พระมหาจักรพรรดิและพระเจ้าทรงธรรมในสมัยอยุธยา ยังมีการถวายพระเกียรติในฐานะสมมติเทพในทาง พุทธศาสนาอีกลักษณะหนึง่ ทีส่ าํ คัญ คือการยกฐานะขึน้ เทียบ เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ดังเช่นในสมัยอยุธยามีธรรมเนียม การกล่าวถึงพระมหากษัตริยท์ ส่ี น้ิ พระชนม์ไปแล้วว่า พระพุทธ
๓๕๖ ภูมิหลัง
๙๑
๙๒
รูป ๙๒ ภาพเขียนการจําลองรูปเขาไกรลาสใน พระราชพิธโี สกันต์ ในพระบรมมหาราชวัง บนยอดเขาไกรลาสจะมีมณฑปซึง่ หมายแทนทีป่ ระทับของพระอินทร์ ตามหลืบเขาก็จะมีการทํารูปสัตว์จาํ ลอง สมมุตใิ ห้เป็นสัตว์หมิ พานต์ทอ่ี าศัยอยู่ ตามเชิงเขาไกรลาส ภาพเขียนนีป้ จั จุบนั ยังเก็บรักษาไว้ในพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ
รูป ๙๖ จักรและตรีเป็นเครือ่ งอาวุธประจําองค์ พระนารายณ์ ซึง่ นํามาเป็นเครือ่ งหมาย ประจําพระบรมราชวงศ์จกั รีในปัจจุบนั
รูป ๙๗ เครือ่ งราชูปโภคประกอบพระราชอิสริยยศ ในงานพระราชพิธี ในภาพคือพระมณฑป รัตนกรัณฑ์ทอดข้างพระราชบัลลังก์
๙๓ รูป ๙๓ พระทีน่ ง่ั อมรินทรวินจิ ฉัยทีข่ นานนามขึน้ สมมุตใิ ห้เป็นเทวสภาบนสวรรค์ชน้ั ดาวดึงส์ท่ี พระอินทร์จะใช้เป็นสถานทีเ่ สด็จออกปกครอง สวรรค์
รูป ๙๔ ราชบัลลังก์ทป่ี ระทับของพระมหากษัตริย์ ประดับด้วยรูปแบกต่างๆ เช่น สิงห์ ครุฑ เทพ อันเป็นลําดับชัน้ ต่างๆ ของสัตว์และเทพ ทีอ่ าศัยอยูท่ เ่ี ขาพระสุเมรุโดยมีพระอินทร์ซง่ึ ในทีน่ ค้ี อื องค์พระมหากษัตริยเ์ สด็จประทับ เป็นประธานอยูเ่ หนือราชบัลลังก์นน้ั
๙๖
๙๔
รูป ๙๕ รูปนารายณ์ทรงสุบรรณทีส่ ร้างขึน้ เป็น สัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ ในฐานะ ทีท่ รงได้รบั การยกย่องให้เป็นองค์นารายณ์ อวตารลงมาสูโ่ ลก สัญลักษณ์เช่นนีจ้ ะถูก ประดับอยูต่ ามหน้าบันอาคารทีเ่ ป็นพระทีน่ ง่ั พระมหาปราสาทหรืออาคาร ทีโ่ ปรดให้สร้างขึน้ ๙๕
๙๗
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๕๗
เจ้าหลวง ตามหลักฐานทีพ่ ระวรวงศ์เธอ กรมหมืน่ พิทยลาภพฤฒิยากรได้ทรงอ้างถึงในพระนิพนธ์เรื่อง บรมราชาภิเษก ซึ่งสํานักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทยได้พิมพ์ ขึน้ เมือ่ พ.ศ. ๒๕๐๗ จากหลักฐานทีอ่ า้ งถึงแห่งเดียวกันนีย้ งั ได้กล่าวถึงการเรียกพระราชโอรสว่าสมเด็จพระหน่อพุทธางกูร หรือการขนานพระนามพระมหากษัตริยว์ า่ พระพุทธเจ้าอยูห่ วั เป็นต้น
ลัทธิเทวราชของศาสนาพราหมณ์
ที่มาของคติสมมติเทพหรือเทวราชอีกแหล่งหนึ่ง ก็คือการเทียบฐานะของพระมหากษัตริย์เท่ากับพระอินทร์ผู้ เป็นเจ้าเป็นใหญ่ในเทวภูมแิ ละมีทส่ี ถิตอยู่ ณ ดาวดึงส์หรือ ตาวติงสเทวภูมิเหนือยอดสิเนรุบรรพต (รูป ๙๑) รากฐาน ของความเป็นสมมติเทพในรูปของพระอินทร์น้ดี ูจะก้ำกึ่งกัน ระหว่างพุทธศาสนากับศาสนาพราหมณ์ เพราะทัง้ สองศาสนา นับถือว่าพระอินทร์เป็นเทวราชแห่งสวรรค์ด้วยกัน ความมี บุญญาธิการของพระอินทร์มรี ะบุอยูใ่ นไตรภูมทิ างพุทธศาสนา และในขณะเดียวกันพระอินทร์ทางฝ่ายลัทธิพราหมณ์ก็มิได้ มีความด้อยไปกว่ากันนัก ในพระราชพิธพี ราหมณ์ในสมัยอยุธยา ได้มพี ระราชพิธอี นิ ทราภิเษกควบคูไ่ ปกับพระราชพิธบี รมราชา ภิเษกด้วย และได้มกี ารสืบทอดพิธนี ม้ี าจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรง สถาปนากรุงเทพพระมหานครและเสด็จขึน้ เสวยราชย์นน้ั ก็ได้ ทรงประกอบพระราชพิธีอินทราภิเษกในพระที่นั่งอินทราภิเษกทีไ่ ด้ทรงสร้างขึน้ หลักฐานทีป่ รากฏความสําคัญของพระ อินทร์ในรัชกาลต่อๆ มาก็คือ พระราชพิธีโสกันต์เจ้านายที่ ทรงพระเยาว์ ในพระราชพิธนี ม้ี พี ธิ เี ปิดประตูไกรลาส และ กระทําพิธีโสกันต์บนเขาไกรลาส คือบนยอดเขาพระสุเมรุ หรือสิเนรุบรรพตนั่นเอง (รูป ๙๒) ส่วนหลักฐานอืน่ ทีร่ ะบุ การยกพระมหากษัตริยข์ น้ึ สูฐ่ านะพระอินทร์ ก็คอื การขนาน นามพระทีน่ ง่ั องค์ตา่ งๆ นามวัง นามทวาร และสิ่งอื่นๆ อีก มาก ให้คล้อยตามหรือเหมือนกับสิ่งที่มีในสวรรค์ ดังเช่น พระทีน่ ง่ั อมรินทรวินจิ ฉัย (รูป ๙๓) พระทีน่ ง่ั ดุสติ มหาปราสาท สวนจิตรลดา วังสุนนั ทา วังปารุสกวัน ฯลฯ หรือแม้แต่ พระราชบัลลังก์อันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ก็ยังมี การแสดงถึงสัญลักษณ์ของความเป็นเทวราชเหนือเขาไกรลาส เช่นมีการสร้างชัน้ ฐานพระราชบัลลังก์ประดับรูปสัตว์ทอ่ี าศัย อยู่ตามเชิงเขาไกรลาสในป่าหิมพานต์ เช่น สิงห์ และครุฑ เป็นต้น (รูป ๙๔) คติการยกพระมหากษัตริยข์ น้ึ เป็นเทวราชของไทย นัน้ ดูจะไม่จาํ กัดเฉพาะพระอินทร์ซง่ึ เป็นผูค้ รองสวรรค์เท่านัน้ แต่ได้รบั การถวายพระเกียรติให้ทรงเป็นเทพเจ้าองค์อน่ื ๆ ด้วย ดังปรากฏสร้อยพระนามว่าทรงเป็นทั้งพระอิศวร พระ พรหม พระนารายณ์ และพระอาทิตย์ แม้ว่าไทยจะเน้น
๓๕๘ ภูมิหลัง
ความสําคัญเรือ่ งพระนารายณ์อวตารลงมาปราบยุคเข็ญเป็น พิเศษ และนับว่าพระรามซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งอโยธยาเป็น สมมติเทพ องค์พยานซึง่ อาจนํามาสนับสนุนคติเทวราชในแนว ความเชื่อนี้ได้อย่างสําคัญก็คือการตั้งพระนามพระมหา กษัตริย์ตามพระนามพระนารายณ์ ดังเช่น พระนามสมเด็จ พระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา หรือพระนามพระ รามอินทราหรือการต่อสร้อยพระนามพระมหากษัตริย์ว่า รามาธิบดี ดังเช่นในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นต้น แม้แต่นาม สถานทีท่ เ่ี ป็นพระทีน่ ง่ั พระราชวัง ก็ได้มกี ารขนานนามตาม คตินี้เช่นกัน เช่น พระที่นั่งพิมานจักรีในวังพญาไท พระนารายณ์ราชนิเวศที่จังหวัดลพบุรี พระที่นั่งสมมุติเทวราชอุปบัติ และพระทีน่ ง่ั จักรีในพระบรมมหาราชวัง ฯลฯ หรือแม้แต่ การตั้งนามเมือง นามราชธานี เช่น อยุธยา เป็นต้น เมื่ อ พิ จ ารณาเหตุ ก ารณ์ ที่ ไทยประกาศตนเป็ น อิสระจากเขมรในสมัยสุโขทัยนั้น มีข้อที่น่าสังเกตว่าเหตุใด ไทยจึงไม่เลิกรับนับถือลัทธิพราหมณ์อนั เป็นศาสนาของเขมร ไปเสียด้วย เพื่อจะได้หมดสิ้นอิทธิพลเขมร และรับนับถือ พุทธศาสนาที่มั่นคงอยู่ในสุโขทัยขณะนั้นแล้ว ข้อสงสัยนี้น่า จะสันนิษฐานได้ว่า ในขณะนั้นชนชาติไทยกําลังอยู่ในระยะ ที่มีความรู้สึกรุนแรงในการขจัดศัตรูท่เี คยมีอํานาจเหนือและ ลัทธิพราหมณ์ในเรื่องนารายณ์อวตารลงมาปราบยุคเข็ญ เป็นเรื่องที่เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์ ไทยจึงยังมองเห็น ความสํ า คั ญ ของลั ท ธิ นี้ ในแง่ ก ารเมื อ งและยอมรั บ ลั ท ธิ พราหมณ์ไว้ต่อไปเพื่อเป็นเครื่องส่งเสริมอานุภาพของพระ มหากษัตริย์โดยไม่คิดจะกีดกันพวกพราหมณ์ให้ออกไปจาก ราชอาณาจักรเพราะพิธีพราหมณ์ต่างๆ ในราชสํานัก เช่น พิธีชุมนุมเทวดาและการอภิเษกต่างๆ นั้น พระอิศวรเป็น เจ้าและเทพองค์อน่ื ๆ จะต้องเสด็จมาเป็นประธานให้เกิดความ ศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละเป็นสักขีพยาน ประสิทธิป์ ระสาทให้พระมหากษัตริย์ทรงกระทําสิ่งใดๆ ได้โดยอานุภาพที่พระองค์ประ ทานให้ โดยเฉพาะพระราชพิธศี รีสจั จปานกาลหรือพิธแี ช่งน้ำ ซึ่งทําให้พระมหากษัตริย์สามารถรักษาความซื่อสัตย์จงรัก ภักดีของข้าทูลละอองธุลีพระบาทไว้ได้อย่างมั่นคง พวก พราหมณ์ก็คงจะพอใจที่จะรักษาฐานะความสําคัญของตน ในราชสํานักโดยมิต้องรู้สึกด้อยไปกว่าพระสงฆ์ ในพุ ท ธศาสนา ด้วยข้อสันนิษฐานนีจ้ ะเห็นได้วา่ พราหมณ์ได้มสี ว่ น ในชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยในด้านพิธีกรรมตลอดมา จนถึงสมัยปัจจุบัน การยอมรับคติสมมติเทพจากเรื่องนารายณ์อวตารของพราหมณ์ไว้ในสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมีหลัก ฐานอื่นๆ สนับสนุนอยู่ด้วยอย่างมากมาย เช่นการถือเอา รูปครุฑหรือนารายณ์ทรงสุบรรณเป็นสัญลักษณ์ของพระ มหากษัตริย์ (รูป ๙๕) การถือเอาจักรและตรีอันเป็นเทพ อาวุธประจําพระองค์พระนารายณ์เป็นเครื่องหมายประจํา
พระราชวงศ์ (รูป ๙๖) และการนําคําว่าโองการ ซึ่งเป็นคํา ที่ใช้เฉพาะกับพระอิศวรมาใช้กับคําสั่งของพระมหากษัตริย์ ลัทธิพราหมณ์มีอิทธิพลต่อพิธีการในราชสํานักตลอดมา โดยเฉพาะการเฉลิมพระนามของพระมหากษัตริย์และพระ ราชวงศ์ใกล้ชิดซึ่งพราหมณ์มีหน้าที่คิดขึ้นถวาย ทําให้องค์ พระมหากษัตริยไ์ ด้รบั ยกย่องขึน้ เป็นสมมติเทพสืบต่อมาโดย ปริยาย เพราะพิธีกรรมต่างๆ ในลัทธิพราหมณ์เป็นเสมือน เครือ่ งเสริมความมัน่ คงของราชบัลลังก์และพระราชอํานาจ สถาบันพระมหากษัตริย์จึงมิอาจมองข้ามความสําคัญของ พราหมณ์ในลักษณะที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันไปได้ จะเห็นได้ว่าการรับคติสมมติเทพหรือเทวราชของ ไทยตามที่กล่าวมาแล้วมีท่มี าทั้งในทางพุทธศาสนาและลัทธิ พราหมณ์ แม้วา่ คติของทัง้ สองศาสนาจะมีนยั ทีแ่ ตกต่างกัน แต่กย็ ตุ ริ ว่ มกันตรงทีก่ ารยอมรับภาวะอันเป็นสมมติเทพของ พระมหากษัตริย์ ในทางปฏิบัติของฝ่ายอาณาจักรนั้นคติ ทางฝ่ายพราหมณ์เป็นทีย่ อมรับกันโดยทัว่ ไปว่าพระมหากษัตริย์ ทรงอยูใ่ นฐานะนารายณ์อวตาร ส่วนในทางปฏิบตั ฝิ า่ ยศาสนจักรซึง่ มีพทุ ธศาสนาเป็นประธานนัน้ โดยทัว่ ไปถือเอาว่าพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นหน่อพุทธางกูร ทรงเป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ประกอบสังคหวัตถุ ๔ ทรงมีวัตรปฏิบัติตามทศพิธราชธรรม ด้วยเหตุนส้ี ง่ิ ทัง้ หลายอันเป็นวัตถุสง่ิ ของ อาคาร ทีอ่ ยู่ และการปฏิบตั ติ อ่ พระมหากษัตริยจ์ งึ เป็นสิง่ ทีป่ ระกอบ ขึ้นด้วยความประณีต และด้วยความศรัทธาเช่นเดียวกับที่ทาํ ถวายพระศาสนา ผลของการปฏิบตั บิ ชู ามีความแตกต่างกัน ตรงที่ส่ิงตอบแทนฝ่ายอาณาจักรจะอยู่ท่ีลาภยศและทรัพย์สิน แต่ส่วนด้านศาสนจักรนั้นอยู่ที่บุญ สวรรค์ และชาติภพหน้า เพราะการยอมรับว่าฐานะของพระมหากษัตริย์ เป็นสมมติเทวราชและการยอมรับในทางศาสนาว่าภพภูมิ ในสวรรค์มีจริง ทําให้องค์ประกอบทางวัตถุที่ทําขึ้นถวาย ต่อสถาบันทั้งสองเป็นไปด้วยความประณีตเท่าที่ช่างผู้สร้าง จะคิดฝันกันขึน้ ได้ ดังได้กล่าวแล้วมหาชมพูบดีสตู รของฝ่าย มหายานนับเป็นพระสูตรสําคัญที่ก่อให้เกิดศิลปกรรมและ สถาปัตยกรรมที่เป็นฝ่ายอาณาจักร เพราะเมื่อได้มีคติการ ยกฐานะพระมหากษัตริย์ขึ้นเป็นสมมติเทพแล้ว อาคารใน สรวงสวรรค์ที่ประดับประดาไว้อย่างวิจิตร ก็ถูกกําหนดว่า เป็นสิง่ ทีเ่ หมาะสมทีพ่ ระมหากษัตริยจ์ ะทรงใช้สอย จิตรกรรม ฝาผนังในโบสถ์วิหารที่แสดงถึงชั้นภูมิในสวรรค์ไว้เช่นไร อาคารที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เครื่องใช้ (รูป ๙๗) เครื่องแต่งพระองค์ ก็เป็นไปเช่นนั้น และมิใช่แต่องค์ ประกอบทางศิลปะและสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นโดยตั้งใจ จะให้เป็นเช่นเดียวกับเทวภูมิ แม้การเรียกขานชื่อและชนิด ของอาคารก็มีความตั้งใจจะให้เป็นเช่นเดียวกัน เช่นที่ประ ทับของพระมหากษัตริย์ก็เรียกว่าพระวิมานบ้าง พระมหา ปราสาทบ้างเช่นนี้เป็นต้น เมื่อความเชื่อถือศรัทธาเป็นไป
ด้วยความแน่นแฟ้นเช่นนี้ จึงกล่าวได้ว่าหากปราศจากคติ ทางพุทธศาสนาและลัทธิพราหมณ์แล้ว สถาปัตยกรรมและ ศิลปวัตถุที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของไทยก็จะไม่เกิดขึ้น ในรูปที่ปรากฏให้เห็นอย่างทุกวันนี้แน่นอน ที่มาของคติเทวราชหรือสมมติเทพของสถาบัน พระมหากษัตริย์ไทยสรุปได้ดังนี้ ๑. ที่มาจากมหาชมพูบดีสูตรในพุทธศาสนาฝ่าย มหายานในฐานะพระเจ้าจักรพรรดิ ๒. ที่มาจากไตรภูมิในพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทใน ฐานะพระเจ้าธรรมิกราช หรือพญาจักรวรรดิ ราช หรือพญาจักร ๓. ที่มาจากการเทียบฐานะหน่อพุทธางกูรหรือ พระพุทธองค์ในฐานะที่เป็นวรรณะกษัตริย์ ๔. ที่มาจากไตรภูมิในพุทธศาสนาในฐานะพระ อินทราธิราช ๕. ทีม่ าจากลัทธิพราหมณ์ในฐานะนารายณ์อวตาร ๖. ทีม่ าจากลัทธิพราหมณ์ในฐานะเทพผูท้ รงมหิท ธานุภาพอื่นๆ เช่น พระอิศวร พระอาทิตย์ ฯลฯ
ลักษณะศิลปะและสถาปัตยกรรม ที เ่ ป็นผลสะท้อนจากคติเทวราชหรือสมมติเทพ ผลสรุปข้อที่ ๑ และที่ ๒ เห็นได้ว่ามีผลโดยตรง ต่องานประติมากรรมทางพุทธศิลป์ ซึ่งได้แก่รูปพระพุทธ รูปทรงเครื่องในลัทธิมหายาน ส่วนข้อ ๓ นั้นได้แก่การสร้าง พระพุทธรูปฉลองพระองค์ของพระมหากษัตริย์ (รูป ๙๘) และการใช้รูปสิงห์หรือสีห์ ประกอบพระเกียรติยศที่ฐาน บัลลังก์ (รูป ๙๙) (สีห์เป็นรูปสัญลักษณ์ของศากยวงศ์) สําหรับข้อ ๔ จะมองเห็นว่ามีผลต่อการสร้างพระทีน่ ง่ั พระ มหาปราสาทและพระวิมาน ที่ช่างพยายามจะสร้างจินตนา การจากสิ่งที่คิดว่ามีอยู่จริงในเทวโลก มีการใช้ยอดมณฑป กับพระมหาปราสาทและเครื่องยอดอื่นๆ หรือการคิดสร้าง ยอดวิมานสําหรับพระที่นั่ง (รูป ๑๐๐) มีการสร้างพระเมรุมาศสําหรับถวายพระเพลิง (รูป ๑๐๑) สร้างเวชยันตราชรถ (รูป ๑๐๒) เครื่องบุษบกอื่นๆ และเครื่องสูงประกอบพระ ราชอิสริยยศ เป็นต้น รายละเอียดที่เป็นลักษณะสําคัญก็ คือการทํารูปเทพนมและอสูรแบกประดับฐานของสิ่งต่างๆ เช่นพระแท่นราชบัลลังก์หรือทําประดับเครื่องใช้สอย มี รูปเทวดาเชิญพระแสง เป็นต้น หรือทําเป็นรูปประดับตาม ฐานอาคาร (รูป ๑๐๓) สําหรับผลสรุปข้อ ๕ ซึ่งแสดงถึงความเชื่อในคติ นารายณ์อวตารนั้นจะเห็นว่ามีผลต่อลักษณะทางศิลปะและ สถาปัตยกรรมในหลายประการ มีการใช้เครื่องลํายองแบบ ครุฑจับนาคประดับหลังคาพระมหาปราสาท เช่นใช้กับหลัง คาแบบเดิมของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือหลังคาตํา หนักทองของพระเจ้าเสือที่วัดไทร ธนบุรี มีการประดับรูป
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๕๙
ครุฑแบกยอดพระมหาปราสาท เช่นพระทีน่ ง่ั ทีม่ ยี อดมณฑป (รูป ๑๐๔) มีการใช้รปู นารายณ์ทรงสุบรรณตามหน้าบันของ อาคาร การประดับรูปครุฑฐานบัลลังก์ (รูป ๑๐๕) หรือ การเชิญธงรูปครุฑไว้ ณ ทีเ่ สด็จประทับ หรือการประดับรูป ครุฑไว้หน้าพระราชพาหนะ ฯลฯ (รูป ๑๐๖) องค์ประกอบทางศิลปะทีไ่ ทยนํามาใช้เพือ่ ส่งเสริม พระราชอํานาจและพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์อีก ชนิดหนึ่งก็คือรูปสิงห์ (รูป ๑๐๗) ดังได้กล่าวมาแล้ว มีการ ใช้สิงห์หรือสัตว์อื่นเช่น ครุฑ ซึ่งถือกันว่าเป็นสัตว์ที่อาศัย อยู่เชิงเขาไกรลาสในป่าหิมพานต์ เป็นเครื่องประดับฐาน พระราชบัลลังก์ของสมมติเทพ เพื่อให้เสมือนที่ประทับของ เทพเจ้าบนเขาไกรลาส แต่ยังมีการใช้รูปสิงห์ในที่อีกหลาย แห่ง นอกจากการใช้ในรูปแบกบัลลังก์ในคติเทวราช จาก การศึกษาที่มาของการใช้รูปสิงห์กับพระมหากษัตริย์ได้พบ ว่า ชาติโบราณเกือบทุกชาติในอดีตนิยมการใช้รูปสิงห์ประดับบัลลังก์หรือเครื่องใช้ของกษัตริย์เพื่อเป็นเครื่องแสดง พระราชอํานาจ ทัง้ นีอ้ าจเป็นด้วยเป็นทีย่ อมรับกันเป็นสากล ว่าสิงห์เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ รูปสิงห์นน้ั มีรปู ลักษณะต่างกันไปตามเชิงศิลปะและ รสนิยมของแต่ละชาติ กษัตริย์อียิปต์โบราณนั้นถึงกับนํา เสือที่มีชีวิตมาหมอบไว้หน้าราชบัลลังก์เพื่อข่มขวัญผู้ที่คิด จะเข้ามาทําร้าย และต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงทําเพียง แต่รูปสิงห์เป็นเครื่องประดับ แสดงเกียรติของความเป็น นักรบที่มีความกล้าหาญประดุจสิงห์ สําหรับชาติอื่นๆ ใน ตะวันออกก็ดจู ะมีความนิยมในความหมายเดียวกันนี้ ชนชาติ อินเดียโบราณถือว่าสีห์หรือสิงห์เป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ ของความมีเกียรติและความกล้า ในหมูศ่ ากยวงศ์ถอื ว่าสิงห์ เป็นสัญลักษณ์ของสกุล และโดยที่อินเดียเป็นแม่บทของ วัฒนธรรมและศาสนาที่หลายชาติยอมรับนับถือ จึงอาจ สันนิษฐานว่าธรรมเนียมการใช้รปู สิงห์ในประเทศต่างๆ ทาง ตะวันออก เช่น จีน มอญ พม่า เขมรและไทย คงจะได้รับ อิทธิพลทางวัฒนธรรมนี้ด้วย สําหรับไทยนั้น เนื่องจากเขมรโบราณได้เคยมี อิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมในดินแดนนีม้ าก่อน ดังนัน้ ไทยจึง น่าจะรับรูปแบบสิงห์ตามศิลปะเขมรซึง่ มีอยูใ่ นสถาปัตยกรรม ของเขมรในท้องถิ่นแทนที่จะรับโดยตรงจากอินเดียเช่นรูป สิงห์ท่นี ํามาประดับรายรอบพระเจดีย์แบบอยุธยาที่วัดธรรม มิกราช (รูป ๑๐๘) หรือสิงห์ที่ประดับหน้าพระอุโบสถ วัด พระศรีรตั นศาสดาราม (รูป ๑๐๙) เป็นต้น เดิมการใช้รปู สิงห์ ของไทยคงเป็นไปตามแบบอย่างของเขมร คือประดับตาม หน้าทางเข้าออก หรือตั้งรายล้อมศาสนสถาน ให้ทําหน้าที่ คล้ายทวารบาลหรือผู้พิทักษ์สถานที่ แต่ต่อมาไทยได้นํารูป สิงห์มาประดับใต้ฐานบัลลังก์ของพระมหากษัตริย์ทั้งในรูป ทีเ่ ป็นลักษณะสิงห์นง่ั เช่นเดิม กับในรูปลักษณะสิงห์แบก ได้ ใช้รูปสิงห์นี้ในที่หลายแห่ง รวมทั้งที่พระมหากษัตริย์เสด็จ ออกมหาสมาคมด้วย เช่นนํารูปสิงห์มาประดับเชิงบัญชร
๓๖๐ ภูมิหลัง
รูป ๙๘ พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ อย่างพระมหากษัตริย์ ในลักษณะสมมุติที่ พระพุทธองค์ทรงแปลงพระกายเป็นพระเจ้า จักรพรรดิ เพื่อปราบพยศท้าวชมพูบดีตาม เรื่องในชมพูบดีสูตร พระพุทธรูปใน พุทธลักษณะเช่นนีน้ ยิ มสร้างเป็นพระพุทธรูป ฉลองพระชนมายุของพระมหากษัตริย์ ภาพทีน่ าํ มาแสดงนีค้ อื พระพุทธรูปทรงเครือ่ ง ที่หน้ามุขพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม
รูป ๙๙ พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ประดับฐานบัลลังก์ด้วยรูปสิงห์แบก
๙๘
๙๙
รูป ๑๐๐ พระวิมานหรืออาคารที่ประทับของ พระมหากษัตริย์ ประดับยอดมณฑป ๗ ชั้น อันเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ
รูป ๑๐๑ พระเมรุมาศสําหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดับยอด ย่อจํานวนจาก ๗ ชั้นลงเป็น ๕ ชั้น ๑๐๐
๑๐๑
๑๐๒
๑๐๓
รูป ๑๐๒ เวชยันต์ราชรถสําหรับเชิญพระโกศพระบรมศพ ออกสู่พระเมรุมาศ ประดับยอดมณฑป ในลักษณะที่สมมุติว่าราชรถทั้งหลังเป็น เขาพระสุเมรุ
รูป ๑๐๓ แสดงการใช้รูปเทวดาและอสูรที่อาศัย อยู่ที่บริเวณเขาพระสุเมรุประดับ ในกรณี ที่สมมุติอาคารทั้งหลังเป็นเขาพระสุเมรุ ดังตัวอย่างเช่น ปราสาทพระเทพบิดรใน วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
รูป ๑๐๔ จากคติสมมุติเทวราชที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ คือองค์นารายณ์อวตาร จึงได้มีการใช้รูปครุฑ ซึ่งเป็นพาหนะของพระนารายณ์ในสถานที่ ทุกแห่งที่พระมหากษัตริย์ประทับ คติเช่นนี้ มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและสืบทอดต่อมา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตามตัวอย่างในภาพ คือการใช้รูปครุฑประดับยอดพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
๑๐๔
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๖๑
รูป ๑๐๕ นอกจากการใช้รูปครุฑประดับยอดพระที่นั่ง ดังตัวอย่างในภาพที่ ๑๐๔ ตามคติสมมุติ เทวราชทีถ่ อื ว่าพระมหากษัตริยท์ รงเป็นองค์ นารายณ์อวตารแล้ว การใช้รูปนารายณ์ทรง สุบรรณประดับหน้าบันอาคารก็นยิ มทําเช่นกัน
๑๐๕
เรียกว่า “สีหบัญชร” หรือนํามาประดับพระแท่นราชบัลลังก์ เรียกว่า “สิงหาสน์” เช่นพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ (รูป ๑๑๐) เป็นต้น การใช้รูปสิงห์ในภายหลังจึงเป็นเครื่อง หมายที่แสดงเกียรติโดยเฉพาะ และในบางครั้งก็ได้พบว่า มีการถวายพระเกียรตินี้แก่พระพุทธรูปเป็นพุทธบูชาด้วย ดังเช่นการสร้างชุกชีประดับรูปสิงห์แบกในพระอารามหลวง เป็นต้น แต่ถ้าจะคํานึงว่าสิงห์เป็นสัญลักษณ์ของศากยวงศ์ แล้ว ก็จะเห็นได้ว่าการใช้รูปสิงห์ประดับฐานชุกชีพระพุทธ รูปก็มีเหตุผลอันสมควรอย่างยิ่ง องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีส่วนเกี่ยวพัน กับรูปสิงห์นี้ยังมีในรูปลักษณะอื่นอีก เพียงแต่ว่ามิได้แสดง ออกมาเป็นรูปร่างของสัตว์ชนิดนี้ให้ชัดเจน ได้แก่ส่วนที่ เรียกว่า “ฐานสิงห์” (รูป ๑๑๑) ซึง่ มีความมุง่ หมายทีจ่ ะแสดง ถึงความสําคัญของตัวสถาปัตยกรรมนั้นๆ ฐานสิงห์ในรูป ขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมนีจ้ ะไม่ใช้กบั สิง่ ก่อสร้าง สามัญทั่วไป แต่จะพบสร้างประดับกับองค์พระเจดีย์ ฐาน บัลลังก์ ฐานชุกชี ฐานอาคารที่เป็นโบสถ์ วิหาร หรือฐาน พระทีน่ ง่ั มีความเจาะจงทีจ่ ะใช้ในหน้าทีเ่ ดียวกันกับการประ ดับรูปสิงห์ แบบองค์ประกอบฐานสิงห์นี้เป็นแบบเฉพาะใน สถาปัตยกรรมไทยเท่านั้น และเมื่อลองวิเคราะห์ที่มาของ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมชนิดนี้ดูแล้วก็จะพบว่ามีที่ มาจากการพัฒนาแบบจากรูปสิงห์นั่นเอง แต่ตัดมาใช้เพียง ส่วนล่างแค่ช่วงเอว และนํามายืดถ่างออกในรูปง่ายจน ปรากฏเป็นรูปฐานสิงห์ในทางสถาปัตยกรรม (รูป ๑๑๒) และ จะพบว่ามีองค์ประกอบเช่นนี้ในสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา เป็นต้นมา สรุปแล้ว ในดินแดนที่เคยเป็นประเทศไทยนี้ อิทธิ พลของแนวคิดของศาสนาต่อทั้งพุทธและพราหมณ์ ได้เข้า มามีบทบาทในการกําหนดรูปลักษณะของศิลปะ อิทธิพลของ ลัทธิเหล่านั้นได้ถูกนําเอามาเผยแผ่่ในประเทศนี้หลายทิศ
๓๖๒ ภูมิหลัง
รูป ๑๐๖ ลักษณะการใช้รูปครุฑประดับ พระราชพาหนะของพระมหากษัตริย์ ในฐานะที่เป็นองค์สมมุติของพระนารายณ์
๑๐๖ รูป ๑๐๗ แสดงการใช้รูปสิงห์ประดับประกอบสิ่งที่ พระมหากษัตริย์ทรงใช้สอย เช่นการ ประดับหน้าต่างที่เรียกว่าสีหบัญชร ที่พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
๑๐๗
๑๐๘
๑๐๙
๑๑๑
๑๑๐
รูป ๑๐๘ การใช้รปู สิงห์ประดับฐานพระเจดียท์ ว่ี ดั ธรรม มิกราช ลักษณะการใช้สงิ ห์ลอ้ มองค์เจดียน์ ค้ี ง เป็นไปในคติที่ประสงค์จะให้มีสิ่งพิทักษ์รักษา พระเจดียแ์ ละโดยเหตุทอ่ี าณาจักรอยุธยานีอ้ ยู่ ใกล้อทิ ธิพลศิลปะเขมรจึงได้นาํ สิงห์เขมรนีม้ า ใช้ ซึง่ ก็เป็นไปในทํานองเดียวกับพระเจดียข์ อง สุโขทัยทีร่ บั อิทธิพลศิลปะจากลังกาโดยนํารูป ช้างมาใช้ล้อมองค์พระเจดีย์
รูป ๑๐๙ ภาพแสดงการใช้รปู สิงห์ในลักษณะการทําหน้า ทีร่ กั ษาสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ อ่ี ยูภ่ ายในและหนึง่ ใน จํานวนสิงห์เหล่านีเ้ ป็นสิงห์ทไ่ี ด้มาจากนครธม ในสมัยอยุธยา
รูป ๑๑๐ ภาพแสดงการใช้รปู สิงห์ประดับราชบัลลังก์ พระมหากษัตริย์ ตัวอย่างที่แสดงในภาพนี้ คือการทํารูปสิงห์เข้าประกอบ ใต้แผ่นพระแท่นมนังคศิลาของ พ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่ง อาณาจักรสุโขทัย ส่วนรูปสิงห์นั้น เป็นรูปที่สร้างขึ้นประกอบในสมัยปัจจุบัน
รูป ๑๑๑ ภาพแสดงการใช้ส่วนของสิงห์เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม แทนการใช้รูป สิงห์ในลักษณะของตัวสัตว์ องค์ประกอบ ชนิดเช่นนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่าฐานสิงห์
พื้นฐานทางปรัชญาของสถาปัตยกรรมไทย
๓๖๓
รูป ๑๑๒ ภาพวิเคราะห์เชิงสันนิษฐานถึงที่มาของ ฐานสิงห์ที่เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม โดยอาศัยรูปสิงห์ที่เป็นตัวต้นแบบ
หลายทาง และต่างกรรมต่างวาระ แต่ตลอดระยะเวลาอัน ยาวนานของประวัติศาสตร์ศิลป์และสถาปัตยกรรม ช่าง ท้องถิ่นของไทยได้ดัดแปลงศิลปะอันเกิดจากแรงดลใจจาก อิทธิพลภายนอกให้เหมาะสมกับรสนิยมของไทย จนเกิดเป็น เอกลักษณ์ของตนเองขึ้นมาจนได้ และแนวความคิดที่แฝง อยู่เบื้องหลังซึ่งสามารถมองเห็นและอ่านได้จากงานศิลปะ และสถาปัตยกรรมไทยตามที่ได้ยกขึ้นมากล่าวเป็นตัวอย่าง ในที่นี้ คงจะทําให้เห็นความสําคัญและน่าสนใจในการศึกษา ค้นคว้าในระดับที่ลึกลงไปกว่านี้ เพราะจะแสดงให้เห็นการ ถ่ายทอดศิลปะระหว่างชาติต่างๆ ในกลุ่มวัฒนธรรมอย่าง เดียวกันในอดีต เพือ่ ว่าในวันใดวันหนึง่ ข้างหน้าเราจะสามารถ อ่านความหมายและที่มาทางวัฒนธรรมของชิ้นส่วนทุกชิ้น ได้อย่างถูกต้องชัดเจน ผู้เขียนมีความเชื่อมั่นว่าการอ่านปรัชญาและวิธี การก่อสร้างของสถาปัตยกรรมไทยตามที่กล่าวมานี้ จะ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะชี้ให้เห็นแนวความคิดของช่างไทยใน อดีตที่พยายามจะนําเอาความหมายที่มีในศาสนามาผนวก กับเหตุผลและเทคนิคของวิธกี ารก่อสร้าง และนีเ่ องทีเ่ ป็น ความสําเร็จและความงามอันสมบูรณ์ของการออกแบบ สถาปัตยกรรมไทย
๓๖๔ ภูมิหลัง
๑๑๒
บทที่ ๒ วัดในประเทศไทย
มูลเหตุของการสร้างวัด วัดอรัญวาสีและวัดคามวาสี ศาสนวัตถุในฐานะอนุสรณ์สถาน
หลายท่านอาจเห็นว่าเรื่องที่เกี่ยวกับวัดนั้นเป็นเรื่องที่คนไทยส่วนใหญ่ ทราบกันดีอยูแ่ ล้ว ไม่นา่ จะมีอะไรทีค่ วรนํามาบันทึกไว้อกี แต่เรือ่ งนีม้ สี ง่ิ ทีน่ า่ สนใจ ศึกษาหลายอย่างหลายแง่มุม ซึ่งน่าจะนํามาประมวลเข้าไว้ด้วยกัน เพราะจะ เป็นทางให้เราได้รู้เรื่องราวของวัดในส่วนที่เรายังไม่รู้ ตัวอย่างเช่นนี้มีคําถามที่ น่าสนใจว่าจําเป็นหรือที่จะต้องสร้างวัดตามแบบไทยที่เราเห็นมาจนชินตา หรือ คําถามที่ว่าเพราะเหตุใดจะต้องสร้างวัดขึ้นมาใหม่ทุกปีทั้งๆ ที่มีปัญหาในด้านค่า ครองชีพสูง อุปกรณ์ในการก่อสร้างก็มีราคาแพง ผู้สร้างจะต้องจ่ายทรัพย์เป็น อันมาก
วัดในประเทศไทย
๓๖๕
๑
๒
มูลเหตุของการสร้างวัด
๓ รูป ๑ ภาพเจดียพ์ ระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นตัวอย่าง การสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ ในอาณาจักรที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็น พุทธมามกะ
รูป ๒ พระมหาธาตุที่จังหวัดสุโขทัย ถือกันว่าเป็น พระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่เป็นประธาน ของอาณาจักรสุโขทัย
รูป ๓ พระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่เป็นประธานของอาณาจักรล้านนา
รูป ๔ พระปรางค์วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี ถือว่าเป็นพระปรางค์สําคัญประจํา อาณาจักร
รูป ๕ พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม สันนิษฐานว่าเป็นพระเจดีย์ในพุทธศาสนา ที่เก่าแก่ที่สุดองค์หนึ่งในดินแดน ที่เป็นประเทศไทย
ในที่นี้จะกล่าวถึงที่มาของการสร้างวัดเป็นอันดับ แรก ทราบกันดีแล้วว่าพุทธศาสนามีแหล่งกําเนิดในประเทศ อินเดียแล้วจึงเผยแผ่่ออกมายังลังกา และผ่านต่อไปยัง ประเทศอื่นในหลายประเทศทางตะวันออกและตะวันออก เฉียงใต้ทน่ี บั ถือพุทธศาสนาในปัจจุบนั เมือ่ สมัยทีส่ มเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้ายังดํารงพระชนม์ชีพและทรงจาริกเผยแผ่ พระธรรมคําสั่งสอนนั้น วัดยังไม่เกิดขึ้นเป็นหลักแหล่ง มี พระภิกษุอยู่ประจําวัดเช่นในทุกวันนี้ ในครั้งพุทธกาลพระ ภิกษุยังมีจํานวนน้อยและต่างก็มีภาระต้องจาริกไปยังถิ่น ต่างๆ เพื่อสั่งสอนพระธรรม พระภิกษุจะรวมกันอยู่ประจํา สถานทีก่ เ็ ฉพาะในพรรษาหรือในหน้าฝน การทีม่ พี ทุ ธบัญญัติ ให้พระภิกษุอยู่ประจําที่เช่นนั้นก็เพราะก่อนหน้านั้นพระภิกษุ ได้เที่ยวจาริกไปไม่เป็นฤดูกาล ในเวลาที่มีการปลูกพืชผลใน พืน้ ทีเ่ กษตรกรรมในหน้าฝน พระภิกษุบางรูปได้จาริกเหยียบ ย่ำทําลายพืชผลที่ชาวบ้านปลูกไว้เสียหาย ประกอบกับหน ทางคมนาคมในฤดูฝนไม่สะดวกในการเดินทาง จึงได้มีพุทธ บัญญัติให้พระภิกษุอยู่ประจําที่จนกว่าจะหมดหน้าฝน วัด แรกในพุทธศาสนาที่รู้จักกันดีก็คือวัดพระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้อที่ดินจากเจ้าชายเชตุถวายเป็น ที่ประทับ แต่วัดในสมัยพุทธกาลเช่นนี้ก็เป็นแต่เพียงที่พักชั่ว คราวเท่านั้นเอง ต่อมาเมื่อสิ้นพุทธกาลแล้ว มีการสร้าง สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้นเป็นธาตุเจดีย์ และเมื่อมี การกําหนดสังเวชนียสถานขึ้นแล้วจึงได้มีพระภิกษุอยู่เฝ้า รักษาสถานทีเ่ หล่านัน้ เป็นประจํา นับแต่นน้ั มาวัดจึงมีลกั ษณะ ใช้สอยดังเช่นวัดในสมัยปัจจุบัน ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชในสมัยพุทธศตวรรษ ที่ ๓ พระพุทธศาสนาเริม่ เผยแผ่ออกไปนอกประเทศอินเดีย มากขึ้น การเผยแผ่พุทธศาสนาในระยะนี้มีลักษณะพิเศษ คือการนิยมอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานใน ดินแดนที่พระพุทธศาสนาเริ่มเจริญขึ้นด้วย หลังจากนั้นมา ที่ใดพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง ที่นั้นก็มักจะมีสถูปบรรจุ พระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานเป็นประธานดังเช่นที่ไชยา (รูป ๑) ลพบุรี สุโขทัย (รูป ๒) ล้านนา (รูป ๓) และอยุธยา (รูป ๔) หรือที่นครพนม ซึ่งบางท่านเชื่อว่าเป็นเจดีย์บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย (รูป ๕) ต่อมาเมือ่ ชนชาติไทยรับพุทธศาสนาเป็นศาสนาประ
วัดในประเทศไทย
๓๖๗
จําชาติแล้ว พุทธจักรกับอาณาจักรก็ได้มารวมกันจนเป็นสิ่ง ทีแ่ ยกจากกันไม่ออกมาจนกระทัง่ สมัยปัจจุบนั ถ้าเราสังเกต ดูการตั้งอาณาจักรไทยในอดีตแล้วก็จะเห็นว่า เมืองที่เรียก กันว่าเมืองราชธานีทุกเมืองจะมีวัดมหาธาตุ หรือวัดพระ ศรีมหาธาตุ ตั้งเป็นประธานของเมืองอยู่ตลอดมา เช่นวัด พระศรีรตั นมหาธาตุลพบุรี วัดมหาธาตุราชบุรี และเพชรบุรี วัดมหาธาตุสุพรรณบุรี วัดพระมหาธาตุนครศรีธรรมราช วัดมหาธาตุสุโขทัยและศรีสัชนาลัย วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก วัดมหาธาตุอยุธยา ฯลฯ วัดเหล่านีล้ ว้ นอยูใ่ นเมือง สําคัญทีเ่ คยเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมของไทยในยุคสมัย ต่างๆในอดีต และนี่เป็นธรรมเนียมการสร้างวัดสําคัญคู่ บ้านคู่เมืองของชนชาติไทยที่นิยมปฏิบัติกันตลอดมา คติ ที่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ ท รงเป็ น ผู้ นํ า การเผยแผ่ พระศาสนานั้นก็คงจะทําตามธรรมเนียมของอินเดีย คือถือ เอาพระเจ้าอโศกมหาราชผู้ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกเป็น ตัวอย่าง เพราะฉะนั้นจึงมีพระนามของพระมหากษัตริย์ หลายพระองค์ แปลความหมายได้ทํานองเดียวกันกับพระ เกียรติคุณของพระเจ้าอโศกมหาราช เช่น พระมหาธรรม ราชา พระเจ้าธรรมิกราช หรือพระนามพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งนครศรีธรรมราช ซึ่งถือเอาพระนามพระเจ้า อโศกมหาราชมาเฉลิมพระนามของพระองค์โดยตรง ในสมัยก่อน ผูท้ ม่ี กี าํ ลังทํานุบาํ รุงพระพุทธศาสนา มักจะเป็นผูป้ กครองอาณาจักร คือพระมหากษัตริยแ์ ละเชือ้ พระวงศ์ใกล้ชิด หรือพระภิกษุสําคัญที่เป็นผู้นําฝ่ายศาสนา ส่วนกําลังสร้างนั้นเป็นสิ่งแน่นอนว่าจะต้องมาจากฝ่ายปก ครองอาณาจักร ที่จะจัดหากําลังสร้างให้แก่ฝ่ายศาสนา และก็เป็นธรรมเนียมด้วยว่าเมื่อสร้างวัดขึ้นมาแล้วก็มักจะ อุทิศครัวเชลยหรือครัวทาสไว้เป็นกําลังดูแลวัดแต่ละวัดที่ สร้างขึ้น ดังเช่นที่ได้พบในจารึกสมัยสุโขทัยว่าได้มีการยก ครัวเชลยจํานวนหนึ่งถวายแก่วัดเพื่อให้เป็นกําลังทําไร่ทํา นาเก็บเกี่ยวพืชผลไว้เป็นเสบียงแก่วัด หรือเป็นกําลังหุงหา อาหารคอยปฏิบัติดูแลพระสงฆ์ ครอบครัวที่ผู้มีอํานาจปก ครองมอบถวายวัดนี้เมื่อตกเป็นสิทธิของวัดแล้วเรียกว่า ข้าวัด หรือครัวกัลปนา ผู้ใดจะนําเอาครัวเหล่านี้ไปทําการ อย่างอื่นหรือไถ่ถอนไปไม่ได้ จะเห็นได้ว่าเมื่อมีการสร้างวัด ขึ้นแล้วก็ไม่ได้ปล่อยให้ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตตามลําพัง แต่ได้
๓๖๘ ภูมิหลัง
จัดหาผู้ดูแลคอยปรนนิบัติเอาไว้ให้ด้วย เพื่อไม่ให้พระภิกษุ ต้องยากลําบาก ดูคล้ายคลึงกับการที่พุทธศาสนิกชนช่วย กันตั้งมูลนิธิเก็บดอกผลเลี้ยงดูวัดในปัจจุบันนี้เอง นอกเหนื อ จากวั ด ที่ร าษฎรสร้ า งขึ้น มาด้ ว ยแรง ศรัทธาแล้ว จะเห็นได้ว่ามูลเหตุจูงใจในการสร้างวัดเท่าที่ทํา กันมาโดยตลอดนั้นยังมีอีกหลายประการด้วยกัน คือ ๑. ในกรณีทเ่ี ป็นวัดสําคัญของบ้านเมือง ผูม้ อี าํ นาจ ปกครองหรือพระมหากษัตริย์มักจะเป็นผู้ถวายที่ดินเป็นที่ ประดิษฐานศาสนวัตถุที่ถือว่าเป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมืองเช่น พระ บรมสารีริกธาตุหรือพระพุทธรูปสําคัญ จะพบตัวอย่างวัด เช่นนี้ได้จากการสร้างวัดมหาธาตุซึ่งมีสถูปเจดีย์หรือพระ ปรางค์บรรจุพระบรมสารีรกิ ธาตุ และมีวดั เช่นนีใ้ นเมืองราช ธานีมาทุกยุคทุกสมัย จนถือได้ว่าเป็นประเพณีที่นิยมทํากัน ตลอดมา ๒. วัดที่สร้างขึ้นเพื่อพระมหากษัตริย์จะทรงประ กอบพระราชกุศลโดยเฉพาะ วัดประเภทนี้มักจะอยู่ใกล้กับ พระราชวังเพื่อสะดวกในการเสด็จพระราชดําเนิน เช่นวัด มหาธาตุในสมัยสุโขทัย วัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยอยุธยา หรือวัดพระศรีรัตนศาสดารามในสมัยรัตนโกสินทร์ ๓. วัดที่สร้างขึ้นในที่ดินเป็นนิวาสสถานเดิมของ บุพการีของพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ชั้นสูง หรือของ คหบดี การอุทิศถวายนิวาสสถานเดิมเพื่อสร้างเป็นวัดนี้น่า จะมีมูลเหตุว่าเมื่อสิ้นบุญของบุพการีแล้ว พระมหากษัตริย์ หรือผู้ใดก็ตามซึ่งมีวังหรือสถานที่อยู่ใหม่แล้ว ต้องการอุทิศ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินนั้นให้เป็นประโยชน์แก่พระ ศาสนา เพื่อให้เป็นบุญกุศลบังเกิดแก่ผู้วายชนม์สืบไป หรือ อาจจะโดยเหตุผลว่าไม่ประสงค์ให้ทน่ี น้ั ๆ ตกทอดไปสูผ่ ทู้ อ่ี าจ กระทําการใดๆ ให้เสื่อมเสียไปถึงเจ้าของเดิมได้ จึงได้อุทิศ ถวายที่ดินนั้นสร้างเป็นวัด ตัวอย่างเช่น วัดพุทไธสวรรย์ ทีเ่ คยเป็นเวียงเหล็กหรือเวียงเล็กของพระเจ้าอูท่ อง องค์ปฐม กษัตริยแ์ ห่งกรุงศรีอยุธยา หรือวัดอัมพวันเจติยารามทีเ่ คยเป็น นิวาสสถานเดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ฯลฯ ๔. วัดทีส่ ร้างขึน้ บนพืน้ ทีท่ เ่ี คยเป็นทีถ่ วายพระเพลิง พระศพหรือพระบรมศพ การอุทิศพื้นที่เช่นนี้เพื่อสร้างเป็น วัดก็เพือ่ ต้องการให้เป็นส่วนกุศลแก่ผทู้ ส่ี น้ิ พระชนม์ชพี ไปแล้ว
วัดอรัญวาสีและวัดคามวาสี
ประการหนึ่ง และเพื่อให้เป็นอนุสรณ์สถานอีกประการหนึ่ง ตัวอย่างเช่น วัดที่พระเจ้าติโลกราชพระมหากษัตริย์แห่ง อาณาจักรล้านนา ทรงอุทิศที่ถวายพระเพลิงพระศพพระ ชนก และพระชนนีของพระองค์สร้างวัดป่าแดงหลวงขึ้น เป็นอนุสรณ์ หรือวัดพระรามทีส่ ร้างขึน้ บนทีถ่ วายพระเพลิง พระบรมศพพระเจ้าอู่ทอง วัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นวัดที่ สร้างขึ้นบนที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบรมไตรโลก นาถแห่งกรุงศรีอยุธยา วัดราชบูรณะสร้างขึ้นบนที่ถวาย พระเพลิงพระศพเจ้าอ้ายพญาและเจ้ายี่พญาในสมัยอยุธยา เช่นกัน ๕. วัดที่จัดอยู่ในประเภทวัดอนุสาวรีย์ เช่นวัดที่ สร้างขึ้นบนสถานที่ที่ปรากฏเหตุการณ์สําคัญ เช่นวัดที่ตั้ง เจดีย์ยุทธหัตถีที่เมืองตากสมัยสุโขทัย หรือวัดทีส่ ร้างเจดีย์ ยุทธหัตถี ทีต่ าํ บลหนองสาหร่าย จังหวัดสุพรรณบุรี ๖. วัดที่มีลักษณะเป็นอนุสรณ์สถานอีกประเภท หนึ่งคือ วัดที่สร้างขึ้นเพื่อพระภิกษุที่ทรงคุณธรรมเป็นที่ เคารพสักการะของบุคคลทั่วไป วัดชนิดนี้จะเจาะจงใช้ชื่อ ของพระภิกษุรูปนั้นๆ โดยตรง เช่น วัดพรหมรังษี จังหวัด สระบุรีที่ให้ชื่อตามสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี เป็นต้น แต่ถา้ จะกล่าวถึงประเภทของวัดโดยส่วนใหญ่แล้ว ก็จะมีเพียงสองประเภท คือวัดอรัญวาสี และ วัดคามวาสี การสร้างวัดทั้งสองประเภทนี้ก็สร้างให้มีลักษณะและองค์ ประกอบแตกต่างกันเพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของ พระภิกษุที่อยู่อาศัยในวัดแต่ละประเภท
วัดอรัญวาสี หรือ วัดอรัญญิก
วัดที่เรียกว่าวัดอรัญวาสีนั้น ก็คือวัดที่สร้างขึ้น ตามป่าเขาสําหรับพระภิกษุที่มุ่งศึกษาทางปฏิบัติที่เรียกกัน ว่าวิปัสสนาธุระ พระภิกษุที่เรียนทางปฏิบัตินี้ต้องการความ สงบ ไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับชีวิตภายในเมือง มีความเป็นอยู่ อย่างง่ายๆ ตามที่พระบรมศาสดาทรงแนะให้พระภิกษุอยู่ ในป่า ตามเขา ตามถ้ำ ตามโคนไม้ หรือในเรือนร้าง ที่อยู่ อาศัยของพระภิกษุเช่นที่กล่าวนี้เรียกว่าเสนาสนะป่า ไม่มี ผู้ใดเป็นเจ้าของ พระภิกษุอาจเลือกอยู่ได้โดยเอกเทศ แต่ถ้า พระภิกษุจะอยูร่ วมกันเป็นคณะสงฆ์ มีสถานทีป่ ระกอบศาสนกิจร่วมกันแล้ว ศาสนสถานเช่นนั้นก็เรียกว่าวัด มีกําหนด แนะให้อยู่ห่างจากชุมชนหรือเมือง ๕๐๐ ชั่วคันธนู หรือ ประมาณ ๑ กิโลเมตร เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์สามารถบิณฑบาตจากชุมชนได้สะดวก ภิกษุที่มีที่อยู่อาศัยเช่นนี้เรียกว่า ภิกษุอรัญวาสี วัดของภิกษุฝ่ายอรัญวาสีนี้เรียกว่า วัดอรัญญิก พระภิ ก ษุ จ ะอยู่ ป ระจํ า วั ด ก็ เฉพาะในฤดู ฝ นตามที่ มี พุ ท ธ บัญญัติเท่านั้น เมื่อพ้นหน้าฝนหรือที่เรียกกันว่าออกพรรษา แล้ ว ก็ มั ก จะแยกย้ า ยกั น ออกธุ ด งค์ ไปใช้ ชี วิ ต สงบในป่ า บนเขาหรือตามถ้ำ จนกว่าจะถึงเวลาเข้าพรรษาในปีต่อไป จึงกลับเข้าสูว่ ดั อีกครัง้ หนึง่ พระภิกษุอรัญวาสีทจ่ี ะออกธุดงค์ ได้นั้นจะต้องเรียนธุดงควัตรจากภิกษุที่เป็นอาจารย์ถึงประ มาณ ๕ ปีก่อนถึงจะออกธุดงค์ได้ ในปีต้นๆ ของการออก ธุดงค์ก็จะต้องไปกับอาจารย์ผู้ควบคุมเพื่อเรียนวิธีการใช้ ชีวิตในป่าและการรักษาศีลโดยเคร่งครัด สําหรับพระภิกษุ ที่ออกธุดงค์นั้นมีข้อกําหนดอยู่ว่าเมื่อปักกลดในที่ใดแล้วจะ ถอนย้ายกลดไม่ได้จนกว่าจะถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ และเชื่อ กันว่าพระภิกษุที่มีศีลบริสุทธิ์เท่านั้นที่ปักกลดค้างแรมแล้ว จะไม่ได้รับการรบกวนจากสัตว์หรือแมลงใดๆ เลย วัดประ- เภทอรัญวาสีนม้ี มี าแล้วในอดีตเป็นจํานวนมาก ในสมัยสุโขทัย นั้น พระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีมีพระสังฆราชเป็นประมุขของสงฆ์ ต่างหากไปจากฝ่ายคามวาสี มีวัดป่าแก้วเป็นสํานักของสังฆราช มีตําแหน่งเป็นสมเด็จพระวันรัตน์ ตําแหน่งชื่อวันรัตน์กแ็ ปล ว่าป่าแก้วโดยตรงนัน่ เอง ในสมัยอยุธยามีวดั ประดูโ่ รงธรรม เป็นสํานักสงฆ์ฝา่ ยอรัญวาสี ส่วนในสมัยธนบุรแี ละสมัยต้น รัตนโกสินทร์นั้นมีวัดพลับหรือวัดราชสิทธารามเป็นสํานัก
วัดในประเทศไทย
๓๖๙
๖
๘
๗
๙
รูป ๖ โบสถ์ทส่ี ร้างในน้ำในกรณีทต่ี อ้ งการความ บริสุทธิ์ของพื้นที่ปลูกสร้างเป็นพิเศษ ตัวโบสถ์จะต้องอยู่ห่างจากฝั่ง ชั่วระยะวักน้ำสาดไม่ถึง และเมื่อพระภิกษุ ข้ามจากฝั่งมายังโบสถ์แล้ว จะต้อง ชักสะพานออกไม่ให้มีสิ่งเชื่อมต่อระหว่าง ฝั่งกับตัวโบสถ์ โบสถ์ดังตัวอย่างในภาพนี้ เป็นโบสถ์วัดพุทธเอ้น ที่อําเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแบบที่หาดูได้ยาก ในสมัยปัจจุบัน (ภาพนี้ได้รับความเอื้อเฟื้อ จาก ดร.สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา)
๓๗๐ ภูมิหลัง
รูป ๗ ภาพแสดงการใช้ใบเสมา ๒ ใบซ้อน ปักเป็นอาณาเขตกระทําสังฆกรรม รอบโบสถ์ การปักใบเสมา ๒ ใบซ้อนนั้น มีทางสันนิษฐานว่าโบสถ์เดิมเป็นโบสถ์ ที่ใช้ในการทําสังฆกรรมของนิกายหนึ่ง ต่อมาเมื่อสงฆ์ในวัดนั้นเปลี่ยนเป็นนิกายอื่น จึงได้มีการผูกใบเสมาขึ้นใหม่ซ้อน กับเสมาเดิม หรือในอีกกรณีหนึ่ง วัดเดิมซึ่งเป็นวัดที่ราษฎรสร้างขึ้น ได้รับการอุปถัมภ์เป็นวัดหลวง จึงมีการผูกเสมาหลวงขึ้นใหม่ซ้อน กับเสมาเดิม
รูป ๘ ภาพตัวอย่างกุฏิวิปัสสนาของพระภิกษุ อรัญวาสี เป็นกุฏิขนาดเล็กพอที่ภิกษุจะ อาศัยอยู่เพียงรูปเดียว กุฏิชนิดนี้จะปลูกอยู่ ห่างจากกันเพื่อมิให้มีการรบกวนซึ่ง กันและกัน และต้องการความเงียบ
รูป ๑๑ ภาพแสดงลักษณะกัปปิยกุฏขิ องวัดในชนบท กัปปิยกุฏิคือเรือนเก็บสิ่งบริโภคหรืออาจใช้ เป็นเรือนครัวด้วย กุฏิชนิดนี้มีกฎว่าจะต้อง ปลูกแยกออกต่างหากจากอาคารอืน่ แม้แต่ ชายคาก็ไม่ให้ติดกับอาคารอื่นด้วยเช่นกัน การที่มีกฎเช่นนี้อาจมีเหตุผลจากความต้อง การให้มอี ากาศถ่ายเทสะดวก หรือป้องกัน อัคคีภยั ไม่ให้ลุกลามได้ง่าย
รูป ๙ ภาพแสดงลักษณะกุฏทิ ป่ี ลูกเป็นแถวเรียงกัน และมีชานหน้ากุฏิติดต่อถึงกันตลอด กุฏิชนิดเช่นนี้มักเป็นกุฏิที่สร้างขึ้น ในวัดคามวาสี ที่ต้องการความสะดวก ในการปกครองดูแล พระภิกษุที่อยู่ร่วมกัน มากๆ หรือเพื่อความสะดวกในการใช้สอย ในพื้นที่ปลูกสร้างที่น้ำท่วมถึง ๑๑
รูป ๑๐ ภาพแสดงลักษณะของคณะกุฏิ ที่สร้าง กุฏิล้อมรอบลานกลาง มีพระภิกษุหัวหน้า ปกครองดูแล คณะกุฏิเช่นนี้จะมีจํานวน หลายคณะในวัดที่มีขนาดใหญ่ เช่น วัดสุทัศนเทพวราราม วัดโสมนัสวรวิหาร ฯลฯ ในกรุงเทพมหานคร
พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี แต่ในสมัยปัจจุบนั นีไ้ ม่มตี าํ แหน่ง พระสังฆราชฝ่ายนี้อีกแล้ว ในอดีตนั้นวัดอรัญวาสีจะมีปูชนียสถานเช่นเจดีย์ วิหาร หรือโบสถ์ หรือไม่ก็ได้ เพราะพระภิกษุอรัญวาสีมิได้ ยึดถือพิธีกรรมเป็นสําคัญ การประพฤติส่วนใหญ่มุ่งที่การ จาริกเพื่อแสวงธรรมเพื่อความหลุดพ้น หากจะมีการประ กอบศาสนกิจร่วมกันโดยจําเป็นจะต้องมีเขตอุโบสถแล้ว พระภิกษุอรัญวาสีก็จะเลือกกําหนดเขตอุโบสถขึ้นใช้เพียง ชั่วคราว การกําหนดเขตอุโบสถของพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสี นั้นดูจะมีความเข้มงวดในเรื่องความบริสุทธิ์ของพื้นที่มาก กว่าพระภิกษุฝ่ายคามวาสีเป็นอันมาก จะเห็นตัวอย่างบ่อย ครัง้ ว่า ถ้าพระภิกษุฝา่ ยอรัญวาสีไม่สามารถหาพืน้ ทีท่ เ่ี หมาะ สม หรือบริสทุ ธิท์ จ่ี ะกําหนดเป็นเขตกระทําสังฆกรรมได้แล้ว ท่านก็มักจะทําโรงอุโบสถขึ้นบนแพลอยน้ำ และกําหนดแพ นั้นเป็นอุทกเขปหรือโบสถ์น้ำ (รูป ๖) ใช้ทําสังฆกรรมให้ห่าง จากฝั่งหรือพื้นดินที่ไม่บริสุทธิ์ ความบริสุทธิ์ของพื้นที่ในที่นี้ หมายถึงความบริสุทธิ์ทั้งที่เป็นในทางโลกวัตถุและในทาง นามธรรม ในทางโลกวัตถุนั้นถือเอาความสะอาดของพื้นที่ เป็นเกณฑ์ คือพื้นที่นั้นจะต้องไม่เป็นพื้นที่ดินสกปรกมีกลิ่น เน่าเหม็น หรือเป็นทีด่ นิ ทีใ่ ช้เผาศพ ฝังศพ หรือเป็นทีด่ นิ ทีใ่ ช้ เป็นตะแลงแกงประหารนักโทษมาก่อน ฯลฯ ความบริสุทธิ์ ในทางนามธรรมนัน้ ได้แก่พน้ื ทีท่ ไ่ี ม่เคยเป็นพืน้ ทีใ่ ช้ในพิธกี รรม ของศาสนาหรือลัทธิอน่ื มาก่อน สําหรับตัวอย่างในกรณีเช่น นีจ้ ะเห็นได้จากโบสถ์ทม่ี ใี บสีมาซ้อนกันมากกว่าหนึง่ ซึง่ แสดง ว่าได้มีการใช้วิธีผูกใบสีมาแผ่นหลังเป็นการลบล้างเขตสังฆกรรมของเดิมที่ถือว่าอาจไม่บริสุทธิ์เพียงพอ จึงได้มีการผูก สีมากําหนดเขตบริสุทธิ์ขึ้นใหม่ (รูป ๗)
วัดคามวาสี
หมายถึงวัดที่อยู่ในเขตชุมชนที่เป็นบ้านเมือง ชาว เมืองหรือผู้ปกครองบ้านเมืองยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เป็นวิสุง คามสีมาตั้งเป็นวัดขึ้น โดยทั่วไปภิกษุฝ่ายคามวาสีมักเป็น ภิกษุผใู้ ส่ใจศึกษาในด้านการปริยตั ธิ รรมซึง่ เป็นการศึกษาด้าน ทฤษฎี มีความมุ่งหมายที่จะรักษาพระสูตร พระธรรม พระวินัย หรือพระไตรปิฎกไว้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้มั่น คงต่อไป เพราะเหตุที่พระภิกษุประเภทนี้เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ใน ชุมชนจึงมีหน้าที่อบรมสั่งสอนศีลธรรมและหลักศาสนาต่อ ชุมชนด้วย การศึกษาของพระภิกษุฝ่ายคามวาสีนั้นแบ่งขั้น ตอนออกเป็นหลายระดับ เริม่ ต้นตัง้ แต่นกั ธรรมตรี นักธรรม โท นักธรรมเอก อันเป็นการศึกษาขัน้ สามัญ และเริม่ ต้นการ ศึกษาระดับสูงด้วยเปรียญ ๓ ประโยคขึ้นไปจนถึงเปรียญ ๙ ประโยคอันเป็นขั้นสมบูรณ์ของขั้นตอนการศึกษาด้านปริยัติธรรม และพระภิกษุฝ่ายคามวาสีนี้เป็นพระภิกษุที่ได้รับการ อุปถัมภ์จากสถาบันพระมหากษัตริยโ์ ดยใกล้ชดิ เพราะฉะนัน้ จึงมีสมณศักดิ์เพิ่มเติมเป็นเกียรติยศเฉพาะรูปต่างหากไป จากความมีลาํ ดับอาวุโสในพรรษาทีบ่ วช ตําแหน่งของสมเด็จ พระสังฆราชฝ่ายคามวาสีนี้เทียบสมมุติได้เท่ากับตําแหน่ง พระเจ้าแผ่นดินฝ่ายสงฆ์ มีชื่อตําแหน่งสืบเนื่องตลอดมาว่า พระอริยวงศาคตญาณ อย่างไรก็ตาม สมณศักดิ์และวุฒิเปรียญนั้นมิได้ ช่วยให้พระภิกษุรูปนั้นๆ มีฐานะเหนือไปกว่าพระภิกษุรูปอื่น ทีม่ พี รรษาบวชสูงกว่า นอกจากศีลและวินยั แล้ว การเคารพ ในพรรษาบวชทําให้พระภิกษุจาํ นวนมากอยูร่ วมกันด้วยความ สงบเรียบร้อย ชาติกําเนิดเดิมเมื่อก่อนอุปสมบทเป็นพระ ภิกษุก็มิได้ทําให้พระภิกษุรูปใดมีความเหนือกว่าพระภิกษุรูป
วัดในประเทศไทย
๓๗๑
อื่นไปด้วย ตัวอย่างในข้อนี้จะเห็นได้จากที่สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงประทานบวชให้กับนายฉันนะนายสารถีก่อน พระราหุลกุมารซึ่งมีพระราชกําเนิดเป็นพระโอรสของพระ องค์เอง การที่ทรงกระทําเช่นนั้นก็เพื่อให้ภิกษุราหุลกุมาร เคารพในพรรษาของนายฉันนะนายสารถีซึ่งเป็นผู้บวชก่อน โดยไม่รงั เกียจฐานะข้ารับใช้ทเ่ี คยมีมาแต่เดิม ความน่าประทับ ใจในจริยาวัตรของพระภิกษุในพุทธศาสนาอีกประการหนึง่ ก็คอื การสมาโทษระหว่างภิกษุอ่อนพรรษาต่อภิกษุผู้แก่พรรษา ในกาลออกพรรษาเป็นประจำทุกปี หลังจากที่ได้อยู่ร่วมกัน มาตลอดฤดูเข้าพรรษา ภิกษุผู้สูงอายุกว่า แต่อ่อนพรรษา ก็จะต้องกราบสมาโทษต่อภิกษุที่มีอายุน้อยกว่าแต่เป็นพระ ภิกษุที่มีพรรษาบวชมากกว่ากันได้ ประเพณีสมาโทษเช่นนี้ ยังคงปฏิบัติอยู่ในทุกวัดในปัจจุบัน วัดเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ รวมทั้งเป็นที่อยู่ อาศัยของพระภิกษุที่อยู่รวมกันเป็นจํานวนมาก โดยเฉพาะ วัดคามวาสี จึงต้องมีการกําหนดเขต เขตกําหนดนี้ในทาง ศาสนากําหนดเรียกว่าสีมา ถ้าวัดนัน้ มีอาณาเขตอยูใ่ นชุมชน ก็เรียกว่าคามสีมา ถ้าวัดนั้นมีอาณาเขตอยู่ในป่าหรือตาม ท้องถิน่ ทีม่ ใิ ช่ชมุ ชนก็เรียกว่านิคมสีมา โดยทัว่ ไปมีการกําหนด เนื้อที่ใช้สอยในกิจกรรมของวัดเป็น ๓ ส่วน คือ เขตสังฆาวาส ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุ เขตพุทธาวาส ใช้เป็นทีป่ ระกอบกิจทางสังฆกรรม ของสงฆ์ เขตสาธารณะ ใช้เป็นทีป่ ระกอบกิจกรรมทางศาสนา ของประชาชน
๑. เขตสังฆาวาส
ในวัดหนึง่ ๆ ย่อมประกอบด้วยทีอ่ ยูอ่ าศัยจําพรรษา ของพระภิกษุ และอาคารที่พระภิกษุจําเป็นจะต้องใช้สอยมี อาคารทีม่ พี ทุ ธานุญาตให้ตง้ั แต่สมัยพุทธกาลดังนีค้ อื กุฏิ กัปปิยกุฏิ วัจกุฏิ ชันตาฆร ในปัจจุบันมีอาคารใช้สอยเพิ่ม ขึน้ ตามความจําเป็นคือหอฉัน หอสวดมนต์ การเปรียญ และ หอไตร กุฏิที่อยู่อาศัย พุทธบัญญัตเิ ดิมกําหนดขนาดของกุฏใิ ห้พอดีทพ่ี ระ ภิกษุรูปเดียวจะอาศัยอยู่ได้สะดวก มีเนื้อที่กําหนดความยาว ๑๒ คืบพระสุคต และกว้าง ๗ คืบพระสุคต คือประมาณ ๓.๐๐ เมตร x ๑.๗๕ เมตร ตามมาตราส่วนปัจจุบันจะเห็น ได้ว่า ขนาดตามที่กําหนดไว้นี้กําหนดเพื่อการอยู่อาศัยโดย แท้จริง มิใช่เพื่อสะสมสิ่งใดๆ ด้วยเลย ตัวอย่างเช่นกุฏิที่ใช้ ในการปฏิบัติวิปัสสนาโดยทั่วไปในปัจจุบัน การทีพ่ ระภิกษุแต่ละรูปจะมีกฏุ อิ ยูอ่ าศัยเองได้นน้ั จะต้องประกาศต่อสาธารณะว่าจะทํากุฏิอยู่อาศัยอยู่ถึง ๓ ครั้ง หากไม่มีผู้ใดคัดค้านกรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงจะทํากุฏิอยู่ ได้ ที่มีพุทธบัญญัติให้กระทําดังนี้ก็เพื่อมิให้พระภิกษุล่วง ละเมิดทีด่ นิ ทีเ่ ป็นทรัพย์สนิ กรรมสิทธิข์ องผูอ้ น่ื หรือพระภิกษุ อาจเข้าอยู่อาศัยในที่ที่มีผู้สละแบ่งให้ก็ได้ เช่นในเรือนที่พระ
๓๗๒ ภูมิหลัง
ภิกษุจะต้องอยู่รวมกันหลายๆ รูป แต่การอยู่อาศัยรวมกัน นั้นก็จะต้องมีการกําหนดแบ่งเขตให้เป็นสัดส่วนเฉพาะของ ภิกษุแต่ละรูป เขตเฉพาะตนดังกล่าวนี้เรียกว่าเขตของการ ครองผ้าไตรจีวร เขตนี้มีเครื่องล้อมบังเป็นที่หมายกําหนด แต่ถ้าไม่มีเครื่องล้อมบังจะถือเอากําหนดหัตถบาสที่มีระยะ หนึ่งศอกโดยรอบตัวเป็นเขตกําหนด หรือเป็นป่าก็อนุญาต ให้อย่างมาก ๗ อัพภันดรโดยประมาณ คือในวงรอบ ๙๘ เมตร เป็นเขตครองผ้าไตรจีวร เขตครองผ้าไตรจีวรหมาย ถึงเขตที่พระภิกษุจะต้องรักษาเครื่องนุ่งห่มที่เรียกว่าไตรจีวร (ผ้านุ่ง ผ้าห่ม และผ้าพาดไหล่) ไว้กับตัวเฉพาะในเวลา กลางคืนจนกว่าจะถึงเวลาเช้า แม้ในเวลานอนก็จะต้องรักษา ไตรจีวรไว้ใกล้ตัว หากพระภิกษุละทิ้งให้ไตรจีวรอยู่ห่างจาก ตัวแม้ระยะห่างเกินกว่าหัตถบาสรอบตัว ก็ถือว่าขาดจาก ความเป็นเจ้าของ จะต้องประกาศความเป็นเจ้าของกับพระ ภิกษุรูปอื่นใหม่เพื่อให้เป็นพยานจึงนํามานุ่งห่มได้อีก การที่ มีบัญญัติเช่นนี้ก็เพื่อให้มีการรู้จักระมัดระวังข้าวของของ ตนไม่ให้ถูกลักขโมยได้ง่าย ลักษณะอาคารที่ใช้สอยในเขตสังฆวาสนี้ ไม่มีข้อ กําหนดว่าจะต้องเป็นรูปหรือทรวดทรงอย่างไร ตามทีป่ ฏิบตั ิ กันมานั้นกุฏิส่วนมากก็มีลักษณะดังเรือนราษฎรอยู่อาศัย เพราะพระภิกษุก็คือราษฎรที่มาบวชนั่นเอง แต่ถ้าจะมีการ กําหนดจําแนกแล้ว กุฏิที่พระสงฆ์อยู่อาศัยอาจมีได้ดังนี้ ๑. ภิกษุสร้างขึ้นเองโดยวิธีประกาศหาที่ท่ีไม่มีผู้ คัดค้าน และอยู่ในขนาดที่มีพุทธานุญาต ๒. บุคคลปลูกถวายพระภิกษุด้วยความศรัทธา ๓. บุคคลยกเรือนเดิมรือ้ มาถวายอุทศิ ให้พระภิกษุ อยู่อาศัย โดยเฉพาะในกรณีข้อ ๓ นี้มักปรากฏอยู่เนืองๆ บุคคลในทีน่ อ้ี าจเป็นราษฎร หรืออาจเป็นผูม้ อี าํ นาจปกครอง ก็ได้ กรณีที่ราษฎรยกบ้านเรือนถวายแก่สงฆ์มักเป็นกรณีที่ บ้านเรือนนั้นอยู่อาศัยไม่เป็นปกติ เกิดมีความเจ็บไข้หรือมี คนตายเนืองๆ หรือบ้านเรือนนั้นอาจมีสิ่งที่ไม่เป็นมงคลเช่น เชื่อกันว่ามีผีปิศาจสิง ทําให้ผู้คนที่อยู่อาศัยเกิดความหวาด กลัว หรือเป็นเรือนที่เจ้าของเสียชีวิตไม่มีผู้อยู่อาศัยต่อมา ทายาทจึงได้รื้อเรือนไปปลูกถวายวัด หรือพระมหากษัตริย์ ถวายเรือนของบรรพชนนํามาสร้างเป็นกุฏิสงฆ์ ดังที่เคย กล่าวมาแล้วในตอนต้น ลักษณะกุฏิเท่าที่นิยมสร้างกันมานั้นสังเกตว่าอาจ จําแนกวิธีการสร้างได้เป็น ๓ ประเภท คือ ๑. กุฏิเดี่ยว เป็นกุฏิชนิดที่มีพระภิกษุอยู่อาศัย เพียงรูปเดียว มีห้องที่อาศัยหลับนอนเพียงหนึ่งห้อง มีชาน นัง่ หน้าห้องแบบชานพะไลเรือน กุฏปิ ระเภทนีม้ กั นิยมใช้เป็น แบบกุฏิของภิกษุที่ปรารถนาปฏิบัติวิปัสสนาธรรมปลูกแยก ห่างจากกัน เหมาะสําหรับการสร้างในที่ดอนและตามป่า (รูป ๘) ๒. กุฏแิ ถว เป็นกุฏเิ ช่นเดียวกับกุฏเิ ดีย่ วแต่ตอ่ เรียง
ติดกันหลายห้อง มีชานแล่นให้เดินติดต่อกันได้ตลอด กุฏิ ชนิดนีเ้ ป็นกุฏทิ ต่ี อ้ งการความสะดวกในการอยูร่ วมกันจํานวน มากๆ มักนิยมปลูกในวัดที่มีพระภิกษุจํานวนมากและในที่ที่ น้ำท่วมถึง (รูป ๙) ๓. คณะกุฏิ เป็นกุฏิชนิดเกาะหมู่อยู่รวมกัน โดย ทําเป็นกุฏิแถวล้อมสองด้านหรือสี่ด้าน มีหอฉันหรือลาน อยู่กลาง กุฏิชนิดนี้มักจะทําขึ้นในวัดที่มีการแบ่งการควบ คุมดูแลเป็นกลุ่มใหญ่เรียกว่าคณะหลายๆ คณะ (รูป ๑๐) กัปปิยกุฏิ หมายถึงเรือนหรือโรงที่เก็บสิ่งของที่เป็นอาหาร ส่วนรวมของพระภิกษุ หรือใช้เป็นโรงครัวประกอบการหุงต้ม เรือนโรงใดเมือ่ ใช้เป็นกัปปิยกุฏแิ ล้วก็หา้ มใช้อยูอ่ าศัยอีก กัป ปิยกุฏิจะต้องเป็นอาคารแยกต่างหากจากอาคารอื่น โดย เฉพาะกุฏิที่อยู่อาศัย และต้องมีชายคาแยกห่างจากอาคาร อื่นๆ (รูป ๑๑) ด้วย อาคารกัปปิยกุฏนิ จ้ี ะมีอยูแ่ ต่เฉพาะในฝ่ายคามวาสี เท่านัน้ ถ้าเป็นวัดอรัญวาสีแล้วจะไม่มอี าคารเช่นนีเ้ ลย เพราะ พระภิกษุอรัญวาสีจะบิณฑบาตฉันเพียงมื้อเดียวแล้วจะไม่ ฉันอาหารอีกในวันนัน้ ส่วนวัดฝ่ายคามวาสีนน้ั โดยทัว่ ไปพระ ภิกษุจะฉันอาหาร ๒ มื้อ คือมื้อแรกเมื่อรับบิณฑบาตมาใน ตอนเช้าตรู่ และมื้อหลังเวลาเพลที่มีผู้นําอาหารมาถวายถึง วัด หลังจากเที่ยงแล้วจึงจะงดฉันอาหารทุกชนิด สิ่งที่มีผู้ นํามาถวายเป็นอาหารพระภิกษุนน้ั พระภิกษุจะฉันได้โดยอิสระ เพียงถึงเวลาเที่ยงเท่านั้น เมื่อพ้นเที่ยงไปแล้วจะต้องสละ อาหารนั้น จะเก็บไว้ในกุฏิอีกไม่ได้ หากจะเก็บไว้ก็จะต้อง เป็นของส่วนกลางในกัปปิยกุฏใิ ห้เป็นของสงฆ์สว่ นรวม และ จะต้องมีผู้นํามาถวายใหม่ในวันรุ่งขึ้นจึงจะฉันได้อีก ที่มีข้อ บัญญัติเช่นนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้พระภิกษุสะสมอาหารไว้เป็น ส่วนของตนและเพื่อป้องกันมิให้พระภิกษุเลือกรสอาหาร ภิกษุอรัญวาสีนน้ั มีสถานทีอ่ ยูห่ า่ งไกลจากชุมชน มีความยาก ลําบากในการที่จะให้มีผู้ติดตามมาถวายถึงที่อยู่ในป่าหรือ ตามถ้ำตามเขา ภิกษุอรัญวาสีจะต้องเดินไปรับบิณฑบาตใน ตอนเช้าตรู่ในที่ชุมชนที่เป็นหมู่บ้านหรือในเมือง แล้วจึงนํา กลับมาฉันยังที่พัก เพราะฉะนั้นเพื่อให้ได้อาหารเพียงพอที่ จะบํารุงเลี้ยงร่างกายไปได้ตลอดทั้งวัน พระภิกษุอรัญวาสี จึงใช้บาตรที่มีขนาดความจุมากกว่าบาตรของพระภิกษุฝ่าย คามวาสี และเพือ่ ทีจ่ ะตัดภาระไม่ให้กงั วลในเรือ่ งอาหารและ จะได้มุ่งในทางปฏิบัติแต่เพียงประการเดียว พระภิกษุฝ่าย อรัญวาสีจึงฉันอาหารเพียงวันละหนึ่งมื้อเท่านั้น ส่วนพระ ภิกษุฝ่ายคามวาสีนั้นมีความสมบูรณ์ในเรื่องอาหารเพราะ อยู่ในชุมชน เมื่อบิณฑบาตโปรดสัตว์ตามพุทธประเพณีใน ตอนรุ่งอรุณและได้อาหารมาฉันในตอนเช้าครั้งหนึ่งแล้ว ในเวลาเพลยังมีผู้นิยมนําอาหารมาถวายเป็นการทําบุญถึง วัดอีกครั้งหนึ่งด้วย การรับอาหารเพลจึงเป็นการสนอง ศรัทธาของคนในชุมชนทีจ่ ะทําบุญทํากุศล พระภิกษุคามวาสี จึงมีธรรมเนียมฉันสองครั้ง ต่างไปจากพระภิกษุฝ่ายอรัญ
วาสี และบาตรของภิกษุคามวาสีจะมีขนาดความจุน้อยกว่า บาตรของภิกษุอรัญวาสี เมื่อมีผู้นําอาหารมาทําบุญกันมาก สิ่งของที่เหลือจากฉันจึงจําเป็นต้องมีที่เก็บในกัปปิยกุฏิเพื่อ ไว้ใช้ในส่วนกลาง เพราะยังมีทั้งลูกศิษย์และผู้ทํากิจการอื่น ที่มิใช่พระภิกษุจะต้องอาศัยกินอาศัยใช้ร่วมด้วย วัจกุฏิ อาคารที่พระภิกษุใช้ขับถ่าย เป็นอาคารที่มีความ มิดชิดปลูกอยูใ่ นทีล่ บั ตาพอประมาณ อาคารชนิดนีน้ ยิ มสร้าง เป็นเรือนแถวยกพื้นสูง แบ่งเป็นห้องๆ (รูป ๑๒) แต่ละห้อง มีช่องระบายลมตามผนัง มีช่องถ่ายติดพื้นเจาะทะลุสู่ใต้ถุน เรือน การขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายของพระภิกษุนั้น จะแบ่งน้ำมูตรลงส่วนหนึ่งต่างหากจากส่วนที่เป็นคูถ การที่ ทําเช่นนี้ก็เพราะการรวมของเสียจากร่างกายทั้งสองส่วน ทิ้งรวมกันจะทําให้เกิดกลิ่นปฏิกูล จึงได้กําจัดกลิ่นโดยวิธี แยกของเสียต่างหากจากกัน ทางด้านนอกผนังวัจกุฏิจึงมัก จะมีท่อรางไม้โผล่พ้นออกมาเพื่อระบายน้ำมูตร (รูป ๑๓) ใน ปัจจุบนั นีว้ จั กุฏเิ ป็นสิง่ ทีห่ าดูได้ยากเสียแล้ว เพราะได้เปลีย่ น แปลงการสร้างมาเป็นแบบปัจจุบนั ทีม่ กี ารรักษาความสะอาด ได้ดีกว่าเป็นอันมาก ชันตาฆร หรือเรือนไฟ เรือนหรือโรงทีใ่ ช้เป็นทีร่ กั ษาไฟและใช้ตม้ น้ำ เรือน หรือโรงชนิดนีเ้ ป็นสิง่ ทีม่ คี วามจําเป็นในสมัยพุทธกาล เพราะ จะต้องรักษากองไฟไว้เพือ่ เป็นเชือ้ ใช้งานอยูต่ ลอดเวลา และ ในท้องถิ่นที่มีอากาศหนาวก็มีความจําเป็นที่จะต้องต้มน้ำ ร้อนไว้ใช้เป็นประจํา แต่โรงเรือนชนิดนี้ไม่มีความจำเป็นสำ หรับประเทศไทย อาจมีโรงชนิดนี้ไว้ใช้ต้มน้ำเป็นครั้งคราว แต่ก็มิได้ถือว่าเป็นอาคารที่มีความสําคัญอย่างใดอีกต่อไป (รูป ๑๔) หอฉัน เรือนที่พระภิกษุใช้ฉันอาหารร่วมกัน หรือจะใช้ เป็นหอสวดมนต์แทนการใช้โบสถ์วิหารก็ได้ ใกล้ๆ กับหอฉัน มักนิยมสร้างหอกลองไว้เพื่อใช้ตีเป็นสัญญาณให้พระภิกษุ หรือชาวบ้านทราบเวลาว่าถึงเวลาทําวัตรสวดมนต์ที่พระทั้ง วัดจะต้องมาประชุมพร้อมกัน หรือเพื่อให้ชาวบ้านทราบว่า ถึงเวลาเพล (รูป ๑๕) ผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับวัดประสงค์ที่จะนําอาหารมาถวายพระจะได้ทราบประมาณเวลาได้ ถูกต้อง บางแห่งหอฉันจะมีขนาดใหญ่พอที่จะบรรจุพระ ภิกษุเข้าประกอบศาสนกิจได้ทั้งวัด และในกรณีที่อาศัยหอ ฉันเป็นหอสวดมนต์ทำวัตรสำหรับวัดที่ยังไม่มีอาคารถาวร ทีเ่ ป็นโบสถ์หรือวิหาร ก็จะใช้หอฉันนีเ้ ป็นทีส่ วดมนต์ของพระ ภิกษุได้ด้วย (รูป ๑๖) หอฉันนีม้ กั จะทําเป็นเรือนโถงอยูก่ ลางหมูก่ ฏุ ิ หรือ เกาะอยู่กับหมู่กุฏิแถว หรือตั้งอยู่กลางคณะกุฏิ สําหรับใน ท้องถิ่นที่กันดารและยังมีฐานะเป็นเพียงสํานักสงฆ์ หอฉันนี้ ยังอาจเป็นประโยชน์ในการเทศน์สั่งสอนชาวบ้านได้อีก ด้วย ดังนั้นสําหรับสํานักสงฆ์หรือวัดขนาดเล็กจึงเปรียบหอฉันได้
วัดในประเทศไทย
๓๗๓
๓๗๔ ภูมิหลัง
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
๑๖
๑๗
รูป ๑๒ ภาพแสดงลักษณะวัจกุฏิหรือส้วมของ พระภิกษุทเ่ี ป็นแบบดัง้ เดิม ปัจจุบนั มีหลักฐาน ให้ดูที่วัดบ้านหม้อ อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
รูป ๑๓ ภาพแสดงการใช้รางระบายน้ำปัสสาวะ แยกออกจากทีถ่ า่ ยอุจจาระ เพือ่ ป้องกันกลิน่ เป็นภาพจากสถานที่เดียวกันกับภาพ ๑๒
รูป ๑๔ ภาพแสดงลักษณะโรงต้มน้ำร้อนในวัด อรัญวาสีที่วัดป่าอุดมสมพร อําเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
รูป ๑๕ หอกลองใช้เป็นหอตีกลองสัญญาณ แจ้ง ให้ทราบเวลาที่พระภิกษุจะกระทํากิจกรรม อย่างใดอย่างหนึง่ ร่วมกัน เช่น กระทําภัตกิจ หรือลงโบสถ์ ฯลฯ พุทธศาสนิกชนเชือ่ กันว่า การสละทรัพย์สร้างหอกลอง หรือหอระฆัง เป็นการสร้างกุศลอย่างหนึ่ง ผลบุญที่ กระทําจะได้ยินไปถึงสรวงสวรรค์
รูป ๑๖ ภาพแสดงลักษณะของหอฉันทีป่ ลูกอยูก่ ลาง หมู่กุฏิ ใช้เป็นอาคารที่ภิกษุทุกรูปมาร่วม กันฉันภัตตาหาร
รูป ๑๗ ภาพหอฉันตามวัดในท้องถิ่น ที่อาจใช้เป็น ศาลาอเนกประสงค์ เช่น ใช้เป็นที่ชาวบ้าน มาประชุมถวายภัตตาหาร ใช้เป็นทีท่ อดผ้าป่า หรือใช้เป็นที่ชุมนุมของชุมชนในละแวก
กับศาลาอเนกประสงค์ของชุมชน (รูป ๑๗) ซึง่ ไม่เพียง สร้าง ขึ้นเพื่อการประกอบศาสนกิจเท่านั้น ชาวบ้านหรือชุมชนนัน้ ก็ยงั ได้อาศัยศาลาหอฉันนีเ้ ป็นประโยชน์ในการสังสรรค์พบปะ กันและกัน หรือเป็นประโยชน์ที่ฝ่ายปกครองท้องถิ่นจะนัด ชุมนุมลูกบ้าน ศาลาการเปรียญ อาคารที่เป็นการเปรียญนี้นิยมสร้างเป็นอาคาร โถงขนาดใหญ่ มักอยู่ใกล้กับส่วนที่เป็นหมู่กุฏิสงฆ์หรือใกล้ กับโบสถ์หรือวิหารก็ได้ ใช้เป็นอาคารที่พระภิกษุศึกษาทาง ปริยตั ธิ รรม หรือใช้เป็นทีส่ าํ หรับฆราวาสฟังธรรมในวันธรรม สวนะ หรือใช้สําหรับการทําบุญกุศล เช่นจัดเทศน์มหาชาติ ทอดผ้าป่า หรือใช้เลี้ยงพระที่มีจํานวนมากๆ ศาลาการ เปรียญนี้มักจะมีอาคารที่เป็นศาลาเล็กสร้างขนาบหัวและ ท้าย เพื่อใช้เป็นที่พักหรือเตรียมสิ่งของทําบุญของพวกชาว บ้าน หรือใช้เป็นที่พักพระ (รูป ๑๘) หอไตร หอไตรใช้เป็นอาคารหรือเรือนที่เก็บหนังสือธรรม หรือคัมภีร์ที่ใช้เป็นหลักอ้างอิงในการศึกษา อาคารชนิดนี้ มักนิยมปลูกใกล้หรืออยู่ติดกับกุฏิสงฆ์เพื่อประโยชน์ในการ ดูแลได้ง่าย โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นเรือนไม้ที่ปลูกขึ้นโดย เฉพาะ แต่กม็ ขี อ้ ยกเว้นทีอ่ าจเป็นเรือนทีม่ ผี สู้ ละถวายวัดก็ได้ ดังเช่น หอไตรวัดระฆังฯ ที่เป็นตําหนักเดิมของพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือตําหนักสมเด็จ พระศรีสุริเยนทรา บรมราชินีที่ถวายเป็นหอไตรวัดหงส์รัตนาราม (รูป ๑๙) แต่ถา้ เป็นหอไตรทีท่ างวัดสร้างขึน้ เองแล้ว ก็มกั จะนิยมปลูกในน้ำกลางสระหรือบ่อเพือ่ ป้องกันสัตว์แมลง จากพื้นดินข้ามไปกัดทําลายหนังสือ ในบางกรณีหอไตรก็ สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น หอไตรขนาดเล็กที่สร้าง ไว้กลางสระน้ำที่วัดสุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี เป็นหอ ไตรที่ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกเพื่อ การค้นคว้า หากแต่สร้างขึ้นเป็นธรรมเจดีย์เพื่อถวายเป็น พุทธบูชา หอไตรชนิดนี้มีความหมายเช่นเดียวกับการสร้าง พระเจดีย์โดยปกติ (รูป ๒๐)
๒. เขตพุทธาวาส
เขตนี้นับว่าเป็นเขตสําคัญของวัด หากวัดนั้นมิใช่ สํานักสงฆ์กจ็ ะต้องมีสง่ิ ปลูกสร้างเพือ่ กิจการของพระศาสนา ที่พระสงฆ์จะต้องปฏิบัติ แยกไปจากส่วนที่อยู่อาศัยที่เรียก กันว่าเขตสังฆาวาส ดังกล่าวมาแล้ว ในส่วนทีเ่ ป็นเขตพุทธา- วาสนั้ น มี สิ่ ง ปลู ก สร้ า งและอาคารที่ สํ า คั ญ ดั ง ต่ อ ไปนี้ คื อ เจดีย์ วิหาร โบสถ์ (รูป ๒๑) หรือบางวัดก็อาจมีต้นพระศรี มหาโพธิ์รวมอยู่ด้วย (รูป ๒๒) สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้แม้ว่าจะ มีความสําคัญต่อวัดในปัจจุบันนี้ก็ตาม แต่ก็มิได้มีระบุไว้ใน พุทธบัญญัติ เพราะในสมัยพุทธกาลนั้นสมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงเป็นประธานโดยพระองค์เองอยู่แล้วโดย สมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้จึงเกิดขึ้นหลังจากที่พระพุทธองค์ทรง เสด็จดับขันธ์ไปแล้ว
เจดีย์ ในอดีตกาลนัน้ ผูท้ น่ี บั ถือพุทธศาสนาถือว่าเจดียเ์ ป็น ปูชนียสถานหรือวัตถุอนุสรณ์เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า มี ความมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือ บรรจุพระธรรม ฉะนั้นเราจึงเห็นว่าการสร้างวัดในอดีตมัก มีการปลูกสร้างพระเจดีย์ขึ้นเป็นประธานในวัด หลักฐาน นี้ได้ปรากฏตลอดมาในประวัตศิ าสตร์ ดังเช่นทีเ่ คยกล่าวถึง พระปฐมเจดีย์หรือพระธาตุต่างๆ มาแล้ว สถาปัตยกรรมทีเ่ รียกว่าเจดียน์ น้ั ไทยเราเรียกรวม ถึงสถาปัตยกรรมในรูปอืน่ ทีส่ ร้างขึน้ เพือ่ ความมุง่ หมายอย่าง เดียวกันด้วย ดังเช่นพระปรางค์ เป็นต้น แต่โดยแท้ที่จริง แล้วสิ่งที่มีรูปร่างทางวัตถุในแบบที่ไทยเรียกพระเจดีย์นี้มี ต้นกําเนิดมาจากอินเดียก่อน ในชื่อที่เรียกว่า “สถูป” ใน ภาษาบาลี และ “ถูป” ในภาษาสันสกฤต และเป็นสิ่งที่มี มาก่อนหน้าที่จะมีพระพุทธศาสนา สถูปหรือถูปเป็นมูลดิน ที่สร้างขึ้นคลุมที่ฝังศพหรือที่ฝังอัฐิเป็นเบื้องต้น และได้มี การสร้างสถูปหรือถูปในรูปเดียวกันนี้ทั้งพวกที่นับถือลัทธิ พราหมณ์หรือพวกทีน่ บั ถือศาสนาไชนะหรือเชนด้วย จนเป็น รูปวัตถุสามัญที่ทํากันไม่ว่าจะเป็นศาสนาหรือลัทธิใดดังที่ได้ มีกล่าวไว้ในงานวิทยานิพนธ์เรื่อง The Origin and Developement of Stupa Architecture in India โดย Sushila Pant พิมพ์เมื่อ ค.ศ. ๑๙๗๖ สิ่งที่ไทยนิยมเรียกว่าเจดีย์นั้น มิได้เรียกเหมือนกันไปหมดทุกภาค ในสถาปัตยกรรมแบบ ล้านนานั้นชาวภาคเหนือเรียกว่า “กู่” แทนคําเรียกว่าเจดีย์ เช่น กู่เต้า กู่กุฏิ ฯลฯ แต่ถ้าเป็นสถาปัตยกรรมแบบภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยแล้วชาวภาคอีสาน นิยมเรียกว่า “ธาตุ” เช่น ธาตุพนม ธาตุบัวบก ฯลฯ ในทางพุทธศาสนานั้นแบ่งพระเจดีย์ออกเป็น ๔ ประเภท คือ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุเทสิกเจดีย์ และ บริโภคเจดีย์ มูลเหตุในการสร้างเจดียใ์ นพุทธศาสนาโดยทั่ว ไปได้กล่าวไว้พร้อมทัง้ ตัวอย่างประกอบในตอนต้น (หน้า ๓๖๗) ตลอดจนรูปลักษณะของพระเจดีย์ไทยโดยละเอียด (หน้า ๓๓๔) ในที่นี้จึงจะเพียงแต่กล่าวโดยสรุปว่า พระเจดีย์ของ ไทยหมายความถึงตัวสถาปัตยกรรมทีส่ ร้างขึน้ เพือ่ เป็นทีส่ กั การะต่อพระพุทธองค์และพระพุทธศาสนา ต่อมาสามัญ ชนหรือบุคคลชั้นปกครองได้นําอัฐิของผู้มีเกียรติสูงและผู้ที่ เคารพนับถือเข้าบรรจุไว้ในเจดียเ์ ป็นการเลียนตามอย่างการ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อรหันตธาตุ หรือเถรธาตุ โดย ถือเอาเป็นแบบตายตัวว่าเจดีย์คือที่บรรจุกระดูกเป็นเกณฑ์ จึงได้มกี ารทําทัง้ เจดียท์ ป่ี ระดิษฐานเป็นหลักพระพุทธศาสนา ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและเจดีย์บรรจุอัฐิบุคคลอื่นๆ ไปด้วย (รูป๒๓) ดังได้กล่าวแล้ว รูปสถาปัตยกรรมเจดีย์ของไทย ที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นมีรูปที่เป็นหลักใหญ่ก็คือรูปแบบทรง กลมเช่นที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า เจดีย์ทรงลังกา หรือ เจดีย์ทรงระฆัง ตามที่ไทยได้รับรูปลักษณะนี้มาจากลังกา
วัดในประเทศไทย
๓๗๕
เจดีย์ตามรูปแบบนี้เป็นที่นิยมทํากันตลอดมานับตั้งแต่สมัย สุโขทัย จนกระทัง่ ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ (รูป ๒๔) ดังตัวอย่าง เช่นเจดีย์วัดช้างล้อมในสมัยสุโขทัย เจดีย์พระธาตุลําปาง หลวงหรือเจดียห์ ลวงของอาณาจักรล้านนา เจดียว์ ดั ใหญ่ชยั มงคลของอาณาจักรอยุธยา หรือเจดียว์ ดั พระศรีรตั นศาสดารามในสมัยรัตนโกสินทร์ ส่วนเจดีย์ที่ทําขึ้นในรูปอื่นนั้นก็มีตัวอย่างเช่นพระ ปรางค์ เช่นพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรี หรือ พระปรางค์วดั มหาธาตุอยุธยา เป็นต้น การทีไ่ ทยรับรูปพระ ปรางค์แบบเขมรมาใช้ในหน้าที่ของพระเจดีย์เช่นที่ใช้กับพระ เจดีย์ทรงกลมหรือเจดีย์ทรงระฆังนั้น ก็เพราะไทยรับเอา รูปสถาปัตยกรรมของพุทธปรางค์ในลัทธิมหายานของเขมร มาใช้ เช่นที่อยุธยา พระปรางค์ที่ไทยนํามาใช้ในหน้าที่พระ เจดียน์ ม้ี แี บบทีพ่ ฒ ั นาต่อเนือ่ งมาในประวัตศิ าสตร์จนมีรปู แบบ เปลีย่ นแปลงมาสูร่ สนิยมทางศิลปะของไทยเอง ดังเช่นพระ ปรางค์วัดอรุณราชวราราม ตามที่กล่าวถึงมาแล้ว วิหาร ในอดีตเมื่อยังไม่มีการสร้างรูปพระพุทธปฏิมานั้น วิหารมีความหมายเพียงเป็นอาคารที่อยู่อาศัยของพระภิกษุ เช่นเดียวกับกุฏิ คําว่า “วิหาร” กับคําว่า “กุฏิ” มีความ หมายต่างกันตรงที่คําว่าวิหารหมายถึงที่อยู่อันเป็นกิริยา แต่คําว่ากุฏินั้นหมายถึงที่อยู่หรือสิ่งปลูกสร้างขึ้นเป็นที่อยู่ อันเป็นตัวสถาปัตยกรรม แต่ต่อมาเมื่อมีการสร้างรูปพระ พุทธปฏิมาและสร้างอาคารขึน้ เป็นทีป่ ระดิษฐาน ในสถาปัตยกรรมไทยจึงเรียกอาคารเช่นนี้ว่า “วิหาร” เพื่อให้เห็นความ แตกต่างระหว่างทีอ่ ยูข่ องพระพุทธองค์กบั กุฏทิ อ่ี ยูข่ องพระภิกษุ ในสมัยเริ่มแรก การสร้างวัดในประเทศไทยมัก นิยมสร้างวิหารควบคู่ไปกับพระเจดีย์ ในระยะเริ่มแรกนั้น คาดว่าจะมีลําดับของการพัฒนาดังนี้คือ เริ่มต้นด้วยการ สร้างซุ้มจระนำตั้งพระพุทธปฏิมากรติดกับองค์พระเจดีย์ (รูป ๒๕) ดังตัวอย่างปรากฏที่พระเจดีย์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี หลายองค์ ต่อมาเมื่อมีการสร้างพระพุทธ ปฏิมากรให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ซุ้มจระนำเดิมจึงได้ถูกแก้ไขให้มี ขนาดรับกับพระพุทธปฏิมากรและรับกับสัดส่วนขององค์ พระเจดีย์ และได้มีการสร้างซุ้มทิศขึ้นติดกับองค์พระเจดีย์ เมือ่ พุทธศาสนิกชนมีศรัทธาทีจ่ ะสร้างพระพุทธรูปให้มขี นาด ใหญ่ขึ้นในขนาดที่เรียกว่า “พระประธาน” จึงไม่อาจสร้าง ซุ้ ม จระนำหรื อ วิ ห ารทิ ศ ประกอบองค์ พ ระเจดี ย์ ได้ ต่ อ ไป จําเป็นต้องสร้างวิหารแยกออกมาต่างหากจากพระเจดีย์ แต่ก็คงสร้างไว้ในระยะใกล้กัน ด้วยประการฉะนี้ วิหารจึง กลายเป็นที่ประทับของพระพุทธองค์โดยเฉพาะโดยปริยาย และถ้าสร้างวิหารขึ้นในแนวแกนเจดีย์และมีความสัมพันธ์ กันในการวางรูปแบบ ทางสถาปัตยกรรมนิยมเรียกวิหาร เช่นนี้ว่า “วิหารหลวง” (รูป ๒๖)
๓๗๖ ภูมิหลัง
๑๘
๑๙ รูป ๑๘ ศาลาการเปรียญที่ใช้เป็นศาลาที่เผยแผ่่ ธรรมะ เช่น ใช้เป็นทีส่ อนปริยตั ธิ รรมแก่ภกิ ษุ ในวัด ใช้เป็นที่พระภิกษุเทศน์ให้ราษฎรใน ท้องถิ่นฟังในวันธรรมสวนะ
รูป ๑๙ หอไตรที่ใช้เก็บหนังสือคัมภีร์พระไตรปิฎก หรือตําราที่ใช้ศึกษาทางพุทธศาสนา หอไตร ชนิดนี้มักมีตู้พระธรรมหรือตู้หนังสือบรรจุ ไว้ภายในด้วย ตัวอย่างที่แสดงในภาพนี้ คือหอไตรวัดหงส์รัตนาราม ธนบุรี
รูป ๒๐ ภาพหอไตรที่วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี หอไตรชนิดนี้เป็นแบบที่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นธรรมบูชามากกว่าจะใช้ ประโยชน์จริงดังเช่นหอไตรในภาพ ๑๙ ดังนั้นหอไตรประเภทนี้จึงมีคติการสร้าง เช่นเดียวกับการสร้างพระเจดีย์ทั่วๆ ไปที่สร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา
๒๐
๒๑
๒๓ รูป ๒๑ ภาพแสดงหมูส่ ง่ิ ปลูกสร้างในบริเวณเขต พุทธาวาส โดยทั่วไปจะมีเจดีย์ วิหารและ โบสถ์เป็นอาคารหลัก เช่นเขตพุทธาวาส วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร
รูป ๒๓ ด้วยการทีพ่ ทุ ธศาสนิกชนถือว่าพระเจดียเ์ ป็น ปูชนียวัตถุ เพราะฉะนั้นจึงนิยมบรรจุ ธาตุอัฐิของบุคคลที่ตนเคารพบูชา เช่น บุพการีชนหรือครูอาจารย์ไว้ในเจดีย์ ตัวอย่างภาพที่นํามาแสดงในที่นี้ เป็นเจดีย์ บรรจุอัฐิของสามัญชนที่บุตรหลานนํามา บรรจุไว้ตามลานวัด
รูป ๒๒ ภาพต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่นิยมปลูกใน เขตพุทธาวาส พุทธศาสนิกชนถือกันว่า ต้นโพธิเ์ ป็นเจดียเ์ ช่นเดียวกับพระเจดียท์ ว่ั ๆ ไป เพราะสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จตรัสรู้ภายใต้ต้นโพธิ์ ภาพนี้เป็นภาพที่ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร ๒๒
วัดในประเทศไทย
๓๗๗
ในทางสถาปัตยกรรมไทยนัน้ นิยมวางรูปแนววิหาร และพระเจดีย์โดยให้วิหารหันหน้าไปสู่ทิศตะวันออก เพือ่ ตัง้ พระพุทธปฏิมากรให้หันพระพักตร์ไปทางทิศนั้น และมีพระ เจดียป์ ระธานอยูท่ างทิศตะวันตกหลังวิหารหลวง การที่นิยม ทําเช่นนี้ก็เนื่องจากความเชื่อว่าทิศที่ประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน ของพระพุทธองค์อยู่ทางทิศตะวันตก เมื่อพุทธ ศาสนิกชนเข้าไปถวายสักการะพระประธานในวิหารก็จะได้ สักการะทั้งองค์พระเจดีย์และทิศที่พระพุทธองค์ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานไปด้วยพร้อมกัน คติการวางทิศวิหาร และพระเจดีย์ในแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตก จึงเป็น ความนิยมที่พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ปฏิบัติกันสืบต่อมา แม้ กระทั่งการตั้งทิศของโบสถ์ แต่ต่อมาภายหลังได้มขี อ้ ยกเว้น ในการตั้งแนวทิศของโบสถ์หรือวิหารเฉพาะในกรณีที่อยู่ใกล้ เส้นทางสัญจร ไม่ว่าจะเป็นทางน้ำหรือทางบก ที่จะหันหน้า โบสถ์ หรือวิหารไปสูเ่ ส้นทางดังกล่าว สันนิษฐานว่าการที่ ยกเว้นนัน้ เนื่องจากต้องการให้โบสถ์ หรือวิหารนั้นมีความ สํ า คั ญ และมี ค วามสง่ า งดงามเมื่ อ มองดู ม าจากเส้ นทาง คมนาคมที่ผ่านด้านหน้ามากกว่าเหตุผลอย่างอื่น ธรรมเนียมการใช้วิหารในประเทศไทยนั้นจะไม่มี การทําสังฆกรรมใดๆ ในตัววิหารนอกจากใช้เป็นที่สวดมนต์ ในบางโอกาส วิหารจะถูกสมมุตใิ ห้เป็นทีป่ ระทับของพระพุทธ องค์เท่านัน้ ในสมัยโบราณจึงอาจทําวิหารเป็นวิหารโถงได้ ดัง ทีน่ ยิ มสร้างกันในแบบสุโขทัยหรือแบบล้านนา (รูป ๒๗) การ สร้างวิหารนัน้ ไม่มกี ารกําหนดขนาดว่าจะต้องเป็นเท่าใด วิหาร บางหลังมีขนาดเล็กพอบรรจุองค์พระพุทธปฏิมาเท่านัน้ นิยม เรียกวิหารขนาดนีว้ า่ “วิหารแกลบ” การสร้างวิหารไม่จาํ เป็น จะต้องเป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าเสมอไป อาจสร้างเป็นรูปสีเ่ หลีย่ ม จัตรุ สั มีหลังคาทรงโรงหรือหลังคายอดอย่างทีเ่ รียกว่ามณฑป ก็ได้ มณฑปที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรก็เป็นวิหารเช่น เดียวกัน แต่โดยทัว่ ไปมักนิยมเรียกว่ามณฑปตามชือ่ ของชนิด หลังคา ตัวอาคารที่เป็นวิหารนี้ บางครัง้ ก็นยิ มทํากําแพงเตีย้ ทีเ่ รียกว่า “กําแพงแก้ว” ล้อมอาณาเขตไว้ เข้าใจว่าจะสร้าง ขึ้นตามคัมภีร์ในพระสูตรฝ่ายมหายานที่กล่าวถึงที่ประทับ ของพระพุทธองค์ในสวรรค์ชั้นสุขาวดี พระพุทธปฏิมากรที่ประดิษฐานในวิหารนี้จะเป็น พระพุทธปฏิมากรที่สร้างขึ้นในปางใดก็ได้ ซึ่งเรามักจะเห็น พระพุทธปฏิมากรในเกือบทุกพุทธอิริยาบถ เป็นต้นว่าพระ พุทธรูปปางไสยาสน์ที่วิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดพระรูป จังหวัดสุพรรณบุรี วิหารพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนฯ ในกรุงเทพมหานคร หรือพระวิหารพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ ที่มีขนาดใหญ่มากที่วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี วิหารพระพุทธรูปปางประทานอภัย พระร่วงโรจนฤทธิ์ที่ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และวิหารที่ประดิษฐาน พระพุทธบาทสระบุรีที่นิยมเรียกกันว่ามณฑปพระพุทธบาท ฯลฯ
๓๗๘ ภูมิหลัง
นอกจากรูปวิหารที่เป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือสี่ เหลี่ยมจัตุรัสดังกล่าวแล้วนี้ ยังมีแบบวิหารดั้งเดิมอีกแบบ หนึ่ง คือการสร้างโรงโถงล้อมองค์พระเจดีย์ตรงส่วนฐาน ภายในจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรหรือประดิษฐานปูนปั้นเรื่องชาดกต่างๆ นิยมเรียกวิหารแบบเช่นนี้ว่า “วิหารคด” (รูป ๒๘) แบบแรกเริ่มนั้นมักจะทําติดอยู่กับ ฐานองค์พระเจดีย์ เพื่อประโยชน์ที่พระภิกษุจะใช้เป็นที่จงกรมหรือกระทําประทักษิณรอบองค์พระเจดีย์ มักพบวิหาร คดตามรูปแบบเช่นนี้สร้างติดอยู่กับพระเจดีย์โบราณ เช่น พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช พระเจดีย์วัดพะโคะ อําเภอ สทิงพระ จังหวัดสงขลา หรือเจดียว์ ดั ช้างล้อมทีศ่ รีสชั นาลัย จังหวัดสุโขทัย วิหารคดที่มีลักษณะการใช้สอยอย่างเดียวกันนี้ ยังมีอกี แบบหนึง่ คือย้ายแนวทีส่ ร้างออกมาพ้นฐานพระเจดีย์ โดยทําเป็นวิหารคดล้อมรอบนอก (รูป ๒๙) ปล่อยองค์พระ เจดีย์ไว้ตรงกลาง การเปลี่ยนแปลงการสร้างวิหารคดเช่น นี้ให้ประโยชน์ใช้สอยทางด้านสถาปัตยกรรมเพิ่มมากขึ้นกว่า เดิม คือสามารถบรรจุพระพุทธปฏิมากรไว้ในวิหารคดได้ จํานวนเพิม่ มากขึน้ และประโยชน์ทส่ี าํ คัญก็คอื ทําหน้าทีเ่ ป็น เครื่องปิดล้อมองค์พระเจดีย์ ทําให้บริเวณภายในเกิดความ สงบปราศจากสิง่ รบกวน และทําให้การเดินจงกรมของพระ ภิกษุมีสมาธิเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังทําให้บริเวณภายใน มีความขลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่เข้าไปนั่งสงบ จิตใจภายในวิหารคดยังสามารถมองเห็นองค์พระเจดีย์ได้ อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม การสร้างวิหารคดล้อมรอบนอก เช่นนี้ไม่จํากัดว่าจะต้องสร้างล้อมเฉพาะแต่องค์พระเจดีย์ เช่นที่วัดช้างรอบจังหวัดกําแพงเพชร หรือที่วัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่ยังนิยมสร้างวิหารคดล้อม รอบโบสถ์หรือวิหารด้วย เช่น วิหารคดรอบพระอุโบสถวัด พระศรีรัตนศาสดาราม (รูป ๓๐) หรือวิหารคดรอบพระ วิหารวัดสุทัศนเทพวราราม ในสมัยรัตนโกสินทร์ โบสถ์ โบสถ์เป็นอาคารที่พระภิกษุใช้กระทําสังฆกรรม แต่เดิมนั้นเมื่อยังมีภิกษุจํานวนน้อย การทําสังฆกรรมแต่ละ ครั้งพระภิกษุจะกําหนดเขตขึ้นเป็นการชั่วคราว เมื่อหมด ภารกิจแล้วก็ทิ้งร้างไป ต่อเมื่อการบวชเรียนเป็นที่นิยมจน พระภิกษุมีจํานวนมากขึ้น ดังเช่นในสมัยสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑) ซึ่ง ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาด้วย ความศรัทธา ถึงกับเสด็จออกผนวชชัว่ ระยะเวลาหนึง่ จนเกิด เป็นธรรมเนียมให้คนส่วนมากนิยมบวชเรียนตาม โดยถือ กันต่อๆ มาว่า คนที่ได้บวชเรียนเท่านั้นที่จะเป็นผู้มีความรู้ เป็น “บัณฑิต” หรือ “ทิด” ตามทีเ่ รียกติดปากมาจนปัจจุบนั และถือเป็นประเพณีว่าผู้ชายไทยควรบวชเมื่อมีอายุครบ ๒๑ ปี นับแต่นั้นมาจึงได้มีการสร้างโบสถ์เป็นอาคารถาวร
รูป ๒๔ พระเจดีย์บรมบรรพตในบริเวณวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร เป็นพระเจดีย์ที่มีรูปแบบ ตามเค้าเดิมของพระเจดีย์ทรงระฆัง ที่นิยมยึดเป็นแบบอย่างสืบต่อมา จนกระทั่งสมัยปัจจุบัน
รูป ๒๕ ภาพแสดงตัวอย่างการสร้างซุม้ พระพุทธรูป ติดกับองค์พระเจดีย์ ที่บริเวณ พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รูป ๒๖ ภาพแสดงลักษณะวิหารทีเ่ รียกว่า “วิหารหลวง” วิหารชนิดเช่นนี้จะสร้าง อยู่ในเส้นแกนเดียวกับองค์พระเจดีย์ หรือพระประธานเท่านั้น วิหารที่สร้างพ้นแนวแกนนี้จะไม่เรียกว่า วิหารหลวง ภาพที่นํามาแสดงเป็นตัวอย่าง ในที่นี้คือวิหารหลวงวัดมหาธาตุ อำเภอทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์
รูป ๒๗ ภาพแสดงลักษณะวิหารโถงที่สร้างเป็น โรงโปร่งบรรจุสถูป หรือพระประธานไว้ ภายใน วิหารที่นำมาแสดงเป็นตัวอย่างในที่ นี้คือวิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลําปางหลวง จังหวัดลําปาง
รูป ๒๘ วิหารคดคือวิหารที่ทําขึ้นล้อมฐานองค์ พระเจดีย์ หรือล้อมศาสนสถานสําคัญ โดยจะทำติดกับองค์พระเจดีย์หรือทำ แยกห่าง แต่ยังล้อมรอบองค์พระเจดีย์ หรือศาสนสถานสำคัญนั้นๆ ก็ได้ วัตถุประสงค์ของการทําวิหารคดก็คือเป็น ที่ที่พระภิกษุใช้เดินจงกรม เพื่อการปฏิบัติ พระกรรมฐานหรือใช้เป็นที่นั่งกระทํา กรรมฐาน ภาพวิหารคดในที่นี้คือวิหารคด แบบดั้งเดิมที่สร้างขึ้นล้อมฐานเจดีย์ พระบรมธาตุที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
๒๔
๒๕
๒๖
๒๗
รูป ๒๙ ภาพแสดงลักษณะวิหารคดที่ทําแยกออกจาก ศาสนสถานสําคัญ ในภาพนี้แสดงวิหารคด ที่สามารถมองออกไปเห็นองค์พระบรมธาตุ ที่วัดพระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๒๘
๒๙
วัดในประเทศไทย
๓๗๙
สังฆกรรมที่จําเป็นจะต้องกระทําในเขตอุโบสถ หรือโบสถ์นน้ั ได้แก่การบวช การรับกฐิน การสวดปาติโมกข์ ประจําทุกวัน ๑๕ ค่ำ การกระทํายัติกรรมที่สงฆ์จะต้องเห็น พ้องเป็นเอกฉันท์ตา่ งๆ เช่นการยกผ้ากฐินถวายต่อพระภิกษุ ทีส่ มควร การกล่าวโทษภิกษุผตู้ อ้ งอธิกรณ์ หรือการยกโทษ ให้ภิกษุผู้ต้องอธิกรณ์ให้กลับมีศีลบริสุทธิ์ดังเดิม องค์สงฆ์ ตามพุทธบัญญัติจะต้องประกอบด้วยพระภิกษุไม่น้อยกว่า ๒๑ รูป เพราะฉะนั้นขนาดของโบสถ์จึงต้องมีขนาดอย่าง น้อยพอที่จะบรรจุพระภิกษุได้ไม่น้อยกว่า ๒๑ รูป (รูป ๓๑) แต่โดยทัว่ ไปแล้วก็มกั จะมีขนาดพอสมควรทีจ่ ะบรรจุฆราวาส ให้เข้ามาร่วมใช้โบสถ์ด้วย เช่น เข้ามาฟังเทศน์ ทําวัตรเช้า หรือทําวัตรค่ำ ฯลฯ กล่าวกันว่าการสร้างโบสถ์นน้ั จะต้องพิถพี ถิ นั เลือก พื้นที่เป็นพิเศษ พื้นที่นั้นจะต้องบริสุทธิ์สะอาดปราศจากมลทินทั้งปวง อันที่จริงนั้นการก่อสร้างใดๆ ก็ตามในพระพุทธ ศาสนามักจะมีการเลือกพื้นที่ที่สะอาดบริสุทธิ์ด้วยกันทั้งสิ้น แม้ แต่ อ งค์ พ ระเจดี ย์ เ องก็ ป รากฏกล่ า วถึ ง ในตํ า นานโบราณเสมอว่า ในการเลือกที่สร้างนั้นต้องพิจารณาแม้เนื้อ ดินตลอดจนกลิ่นและสีของดินด้วยซ้ำไป เช่นที่มีกล่าวไว้ใน คัมภีร์ถูปวงศ์ ตํานานว่าด้วยการสร้างพระสถูปเจดีย์ เป็น ต้น แต่ที่กล่าวมานี้เป็นการเลือกชนิดดินในทางด้านวัตถุเท่า นั้น ดังได้กล่าวมาแล้ว สําหรับการสร้างโบสถ์นั้นต้องพิจารณาถึงความบริสุทธิ์ของพื้นดินให้ลึกซึ้งยิ่งไปกว่านั้น สถาน ที่ที่จะสร้างโบสถ์จะต้องมีความบริสุทธิ์ในการใช้สอยก่อน หน้านี้มาด้วย เช่น ไม่เคยเป็นสุสานหรือเคยเป็นเชิงตะกอน มาก่อน ไม่เคยเป็นทีป่ ระหาร หรือไม่เคยเป็นทีใ่ ดๆ ทีม่ กี ารใช้ งานทีเ่ ป็นอัปมงคลมาก่อน เรามักจะเห็นว่าในการสร้างโบสถ์ ใหม่ทกุ ครัง้ พระสงฆ์จะต้องประกอบพิธถี อนความไม่บริสทุ ธิ์ ใดๆ ที่อาจมีในพื้นที่นั้นเสียก่อน ในการสวดถอนของคณะ สงฆ์นน้ั พระภิกษุจะห่างกันในระยะหัตถบาสจนเต็มพืน้ ทีท่ ี่จะ ต้องการสวดถอน ถ้าไม่อาจหาพืน้ ดินบริสทุ ธิไ์ ด้กจ็ ะกระทําสังฆกรรมกันกลางน้ำ โดยชักสะพานหรือสิ่งที่ทอดข้ามติดต่อ ระหว่างโบสถ์น้ำหรืออุทกเขปกับฝั่งออก เพื่อตัดความเชื่อม โยงระหว่างพื้นดินที่ไม่บริสุทธิ์กับแพหรือเรือที่ใช้ทําสังฆกรรม ในกรณีที่ใช้โบสถ์เก่าก็มักจะทําให้บริสุทธิ์ขึ้นมาใหม่ ด้วยการสวดและผูกสีมาทับซ้อนของเดิม ดังนั้นเราจึงเห็น วัดโบราณบางวัดมีหลักสีมาสองหรือสามหลัก เมื่อการสร้างโบสถ์ข้นึ เป็นอาคารสําเร็จเรียบร้อย แล้วสงฆ์ยงั จะต้องทําพิธผี กู พัทธสีมา คือตัง้ “ใบสีมา” เป็น เครื่องหมายเขตบริสุทธิ์ล้อมรอบอาคารที่เป็นตัวโบสถ์อีก ชั้นหนึ่ง เมื่อเสร็จพิธีผูกพัทธสีมาแล้วจึงถือว่าใช้โบสถ์นั้น ทําสังฆกรรมได้ วัตถุที่ใช้กําหนดเขตสีมานั้นเรียกว่า “นิมิต” ซึ่งเป็นวัตถุที่นํามาวางเป็นเครื่องหมายให้คนเห็นเป็นหลัก ฐาน เช่นเดียวกับการกําหนดหมุดโฉนดที่ดินในปัจจุบัน ใน อดีตนัน้ เมือ่ พระสงฆ์ประกาศเขตอุโบสถและไม่มผี คู้ า้ นกรรมสิทธิ์แล้วจึงฝังลูกนิมิตเป็นที่หมาย และนิมิตนั้นต้องไม่เป็น
๓๘๐ ภูมิหลัง
สิ่งที่เคลื่อนย้ายได้ง่าย ปัจจุบันนี้จึงนิยมฝังลูกหินกลมลงใน ดินตรงที่ที่ต้องการกําหนดเขต (รูป ๓๒) ใบสีมาก็คือเครื่อง หมายแสดงให้รวู้ า่ ใต้ดนิ ตรงนัน้ มีลกู นิมติ ฝังอยู่ ในพุทธบัญญัติเดิมได้กําหนดไว้ว่านิมิตอาจใช้แสดงได้ด้วยวัตถุ ๘ ชนิด คือ ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ หรือแอ่งน้ำ แต่ในปัจจุบันนี้ไม่มีความสะดวกที่จะใช้สิ่งเหล่า นีก้ าํ หนดเขตสิง่ ปลูกสร้าง เพราะทีด่ นิ สําหรับสร้างวัดมีขนาด เล็ก ต้องการกําหนดจุดทีแ่ น่นอนเพือ่ ป้องกันกรณีพพิ าทจาก เจ้าของทีด่ นิ ทีม่ อี าณาเขตติดต่อกัน ในสมัยพุทธกาลนัน้ อาจ กําหนดจากสิ่งที่ระบุไว้ในพุทธบัญญัติได้เพราะที่ดินส่วน ใหญ่ยังว่างเปล่าปราศจากเจ้าของครอบครอง การกําหนด เขตอารามก็ชี้เอาสิ่งที่มีขนาดใหญ่เป็นที่หมายได้สะดวก ถื อ กั น ว่ า เขตสี ม านี้ เป็ น เขตที่ สํ า คั ญ สุ ด ของวั ด เพราะในการกระทําสังฆกรรมในบางกรณี คณะภิกษุหรือ สงฆ์ผู้ประกอบพิธีเท่านั้นจึงจะเข้าไปในเขตสีมาได้ (รูป ๓๓) ผู้อื่นจะย่างกรายล้ำเข้าไปไม่ได้เลย หากมีผู้ละเมิดแล้ว สังฆกรรมนั้นจะไม่สมบูรณ์ จะต้องทําใหม่ ดังนั้นบางวัดที่ เข้มงวดในเรื่องนี้จึงนิยมผูกสีมาไว้ชิดกับตัวโบสถ์ที่ริมผนัง ด้านนอกเสียทีเดียว (รูป ๓๔) เพื่อขจัดปัญหา แต่ก็มีบางวัด ที่ทําสีมาติดกับกําแพงรอบนอก ล้อมเอาพุทธาวาสเป็นเขต สีมาไว้ทั้งหมด ดังเช่นวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามใน กรุงเทพมหานคร สีมาที่กําหนดเขตไว้กว้างเช่นนี้นิยมเรียก กันว่า “มหาสีมา” (รูป ๓๕) ดังนั้นเมื่อจะกระทําสังฆกรรม กันครั้งใดก็มักจะปิดประตูเขตพุทธาวาสไว้ทั้งหมดจนกว่า จะเสร็จพิธีสังฆกรรม เขตสีมานั้นกําหนดแนวจากหลักสีมา ที่ตง้ั ไว้ลอ้ มรอบตัวอาคารทีเ่ ป็นโบสถ์ เพราะโดยทัว่ ไปโบสถ์ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังนั้นหลักสีมาจึงจําเป็นจะ ต้องมีอย่างน้อย ๔ หลัก เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ได้ครบถ้วน แต่ถ้าเป็นโบสถ์ขนาดใหญ่ก็อาจกําหนดให้มีได้มากกว่า ๔ หลักได้ เช่นอาจมีได้ถึง ๘ หรือ ๑๐ หลักเพื่อให้กําหนดแนว เขตได้ชัด โดยเฉพาะหลักสีมาที่อยู่กลางด้านหน้าของโบสถ์ นั้นถือว่าเป็นสีมาสําคัญ นิยมเรียกกันว่า “สีมาชัย” (รูป ๓๖) หรือในบางกรณีอาจกําหนดหลุมนิมิตเพิ่มขึ้นอีกหลุม หนึ่งภายในโบสถ์ที่หน้าพระประธานตรงจุดที่พระพุทธปฏิมาทอดพระเนตรลงสู่พื้นโบสถ์ การสร้างโบสถ์บางแบบในอดีตมีลักษณะปิดทึบ ไม่มีช่องลมและหน้าต่าง มีแต่ประตูเข้าออกเพียงด้านหน้า ด้านเดียว โบสถ์แบบนี้เป็นแบบที่อับทึบไม่ถูกสุขลักษณะก็ จริง แต่ก็เป็นที่นิยมสร้างกันสําหรับวัดที่มีประวัติขลังทาง อาคม ส่วนมากโบสถ์ที่มีลักษณะเช่นนี้มักจะเป็นโบสถ์ของ วัดฝ่ายอรัญวาสี โบสถ์ชนิดนี้เรียกว่า “โบสถ์มหาอุตม์” (รูป ๓๗) มีวิธีการสร้างโบสถ์ในลักษณะเช่นนี้ก็เพื่อป้องกัน มิให้ผู้หนึ่งผู้ใดเล็ดลอดเข้าไปในระหว่างกระทําพิธีกรรมได้ และเพือ่ ช่วยให้พระภิกษุทป่ี ระกอบพิธมี สี มาธิแน่วแน่ เพราะ ตัวโบสถ์จะป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี
โบสถ์ก็เช่นเดียวกับวิหาร มักนิยมสร้างกําแพง แก้วล้อมรอบนอกสีมา การทํากําแพงแก้วนั้นเข้าใจว่าทําขึ้น เพือ่ เป็นเครือ่ งประดับเกียรติของอาคาร ในคติเดียวกับการ ทํากําแพงแก้วล้อมรอบวิหารซึ่งสันนิษฐานว่ามีที่มาจาก สุขาวดีสูตรของมหายาน หอระฆัง หอระฆังที่สร้างขึ้นในเขตพุทธาวาสนั้น ทําหน้าที่ เช่นเดียวกับหอกลองที่สร้างไว้ติดกับหอฉัน หอระฆังนี้ถือ ว่าเป็นส่วนประดับของเขตพุทธาวาส จะสร้างไว้ด้วยหรือ ไม่ก็ได้ โดยทั่วไปแล้วใช้สําหรับตีบอกสัญญาณให้พระลง โบสถ์ หรือบอกสัญญาณการทําสังฆกรรม (รูป ๓๘)
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ วัดสําคัญหลายวัดได้ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ไว้ ในเขตพุทธาวาสด้วย ต้นโพธิ์นี้นิยมปลูกชนิดที่ตอนกิ่งหรือ นําหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์เดิมในประเทศอินเดีย ที่ เชือ่ กันว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสรูใ้ ต้ตน้ โพธิต์ น้ นัน้ แต่ทจ่ี ริงแล้ว แม้ว่าต้นโพธิ์ในประเทศอินเดียนั้นจะอยู่ตรงที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ก็จริง ก็คงเป็นต้นที่ปลูกขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตาม ก็ ยังถือว่ากิ่งหรือหน่อของต้นโพธิ์ที่นํามาปลูกไว้ในวัดของ ไทยมีความสําคัญและศักดิ์สิทธิ์ควรสักการะ เพราะมีที่มา จากสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้และถือว่าต้นโพธิ์นี้เป็น สัญลักษณ์ของการตรัสรูห้ รือเป็นต้นไม้แห่งปัญญาของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป เกี่ยวกับต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของการตรัสรู้นั้น คัมภีร์ในพุทธศาสนาได้กล่าวถึงอดีตพระพุทธเจ้าว่าได้ตรัสรู้ภายใต้ต้นไม้หลายชนิดด้วยกัน และต้นไม้แต่ละชนิดนั้น ไม่ว่าทางพฤกษศาสตร์จะชื่อว่ากระไร หากภายใต้ต้นไม้นั้น เป็นที่ที่อดีตพระพุทธเจ้าได้เคยตรัสรู้แล้ว คัมภีร์ในพุทธ- ศาสนาจะเรียกว่าต้นโพธิ์ด้วยกันทั้งสิ้น มิได้จํากัดชนิดทาง พฤกษศาสตร์เช่นต้นโพธิท์ เ่ี รียกกันในปัจจุบนั ในชินกาลมาลีปกรณ์ได้กล่าวถึงต้นโพธิอ์ น่ื ๆ อันเป็นทีท่ พ่ี ระพุทธเจ้าไม่นอ้ ย กว่า ๒๕ พระองค์ได้ทรงตรัสรู้มาแล้วในอดีตไว้ถึงกว่า ๒๐ ต้น ตามความรู้สึกของพุทธศาสนิกชนนั้นต้นพระศรีมหา- โพธิ์หรือต้นโพธิ์มีความสําคัญจนอาจกล่าวได้ว่าต้นโพธิ์ก็คือ เจดีย์ประเภทหนึ่ง
วัดในประเทศไทย
๓๘๑
รูป ๓๐ ภาพแสดงการสร้างวิหารคดรอบเขต พุทธาวาส ที่รวมเอาอาคารที่เป็น ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุไว้ภายในบริเวณ เช่น วิหารคดที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
๓๐
รูป ๓๑ ภาพแสดงโบสถ์ขนาดเล็ก ที่จะต้องมีความ พอเพียงทีพ่ ระภิกษุ ๒๑ รูปจะร่วมทําสังฆกรรม ได้ ดังตัวอย่างโบสถ์วดั จีน จังหวัดพระนครศรี อยุธยา ที่แสดงให้เห็นลักษณะเรียบและง่าย ตรงไปตรงมาตามความต้องการใช้สอย รูป ๓๒ ภาพแสดงลูกนิมิตที่ทําด้วยหินสกัดให้กลม ใช้ฝังลงในดินเพื่อเป็นวัตถุหลักฐานในการ กําหนดเขตสังฆกรรม เช่น ใช้กาํ หนดเขตโบสถ์ ตอนบนของลูกนิมิตเหล่านี้จะเป็นใบเสมาหิน
๓๑
๓๒
รูป ๓๓ ภาพแสดงแนวเขตเสมารอบโบสถ์ ตัวอย่างเช่น พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร ฝั่งธนบุรี
๓๘๒ ภูมิหลัง
๓๓
รูป ๓๔ ภาพแสดงลักษณะใบเสมาที่ทําขึ้นติดกับ ผนังโบสถ์ เพื่อช่วยให้การรักษาเขตสังฆกรรม ทําได้ง่ายขึ้น
รูป ๓๕ ภาพแสดงเขตเสมา ในลักษณะที่กําหนดเอา เขตพุทธาวาสทั้งหมดเป็นเขตเสมา เช่น ที่ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร ๓๔
๓๕
รูป ๓๖ เสมาที่ตั้งอยู่เฉพาะตรงศูนย์กลางด้านหน้า ของโบสถ์เรียกว่า “เสมาชัย” เสมานี้จะได้รับ การบูชาจากผู้ที่จะเข้าพิธีอุปสมบททุกครั้ง
รูป ๓๗ โบสถ์มหาอุตม์ เป็นโบสถ์ประเภทที่นิยมสร้าง สําหรับวัดที่มีประวัติขลังทางวิทยาคม โบสถ์ ชนิดนี้จึงมีทางเข้าออกเพียงประตูเดียว และไม่มีช่องหน้าต่าง ทั้งนี้เพื่อป้องกันสิ่งทํา ลายสมาธิต่อพระภิกษุที่กําลังประกอบ สังฆกรรม
๓๖
๓๗
รูป ๓๘ ภาพหอระฆังที่วัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หอระฆังนี้มักจะ นิยมสร้างประกอบเขตพุทธาวาส เพื่อใช้เป็น เครื่องให้สัญญาณแก่พระภิกษุในการทํา สังฆกรรม มีหน้าที่ใช้งานเช่นเดียวกับหอกลอง เว้นแต่มีความแตกต่างกันตรงที่หอกลองนั้น นิยมสร้างไว้เฉพาะในเขตสังฆาวาสเท่านั้น
๓๘
วัดในประเทศไทย
๓๘๓
รูป ๓๙ ภาพแสดงคติความเชื่อว่าการใช้ไม้ค้ำกิ่งโพธิ์ ที่ชํารุดให้มั่นคง เป็นเคล็ดในการรักษาชีวิต หรือต่ออายุพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไปอีก ได้ ประเพณีเช่นนี้นิยมกระทํากันมากใน ภาคเหนือ รูป ๔๐ ภาพแสดงการนําปูชนียวัตถุที่ชํารุดและไม่ต้อง การใช้ไปไว้ใต้ต้นโพธิ์ เช่น พระพุทธรูปชํารุด ศาลพระภูมิร้าง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการนําไป ทิ้งขว้างในสถานที่ไม่สมควร
๓๙
๔๐
๓๘๔ ภูมิหลัง
๔๑
รูป ๔๑ ภาพแสดงสถานที่ฌาปนกิจในที่ดินรกร้างที่ ไม่มีเจ้าของ ที่อําเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ในเรือ่ งการให้ความสําคัญแก่ตน้ โพธิใ์ นอดีตนัน้ ถึง กับมีการกล่าวว่า หากพระภิกษุมีความปรารถนาจะสึกจาก ความเป็นพระ ก็อาจลาสิกขากับต้นโพธิ์ได้เช่นเดียวกับการ ลาสิกขากับอุปัชฌาย์ ในบางท้องถิ่นก็มีความเชื่อว่าหากผู้ ใดนําท่อนไม้มาช่วยค้ำกิ่งโพธิ์ที่ชํารุดซวดเซก็อาจช่วยให้ผู้ นั้นหายจากโรคภัยไข้เจ็บได้ ดังที่เป็นประเพณีที่นิยมปฏิบัติ กันในภาคเหนือ (รูป ๓๙) หรือได้พบว่ามีผู้นําเอาศาสนวัตถุ ทีไ่ ม่ประสงค์จะใช้การอีกต่อไป เช่นพระพุทธรูปชํารุด ศาล พระภูมริ า้ ง ไปวางฝากทิง้ ไว้ใต้รม่ โพธิ์ เพราะถือว่าไม่สมควร ทีจ่ ะทอดทิง้ วัตถุเหล่านัน้ ไว้ในทีอ่ น่ื ทีไ่ ม่สมควร (รูป ๔๐) ในท้องถิ่นที่เคร่งครัดในการปฏิบัติทางศาสนามัก จะไม่นิยมสวมใส่รองเท้าเข้าไปเดินภายในบริเวณเขตพุทธาวาส เพราะถือว่าเป็นการไม่เคารพต่อสถานทีแ่ ละต่อสิง่ ศักดิ์ สิทธิ์ โดยเฉพาะภายในกําแพงแก้วหรือชั้นประทักษิณรอบ องค์พระเจดีย์ ในบางวัดจะไม่ยินยอมให้สตรีล่วงล้ำเข้าไป ภายในบริเวณโดยเด็ดขาด ประเพณีเช่นนี้ยังคงถือปฏิบัติ อย่างเคร่งครัดกันเป็นส่วนใหญ่ในทางภาคเหนือและภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เหตุผลของการประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ น่าจะมีทม่ี าจากการไม่อนุญาตให้พระภิกษุสวมรองเท้า นอก เสียจากเป็นผู้ที่เจ็บป่วยไม่สามารถจะเดินด้วยเท้าเปล่าได้ สะดวก การที่มีข้อห้ามมิให้พระภิกษุสวมรองเท้านั้นเป็น ความประสงค์ที่จะให้ภิกษุไม่เป็นผู้แสวงหาความสุขสบาย ทางกาย และประสงค์ทจ่ี ะให้พระภิกษุมสี มาธิในการกําหนด อิริยาบถแม้แต่การย่างก้าวเดินในทุกขณะจิต ธรรมเนียมนี้ จึงได้มาเป็นข้อห้ามสําหรับบุคคลทั่วไปที่จะเข้าไปสักการะ ปูชนียสถานของศาสนาด้วย ภายในกําแพงแก้วหรือชั้นประ
ศาสนวัตถุในฐานะอนุสรณ์สถาน
ทักษิณขององค์พระเจดีย์นั้นถือว่าเป็นบริเวณที่บริสุทธิ์และ ศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะเจดีย์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารี ริกธาตุ
๓. เขตสาธารณะ
ในอดีตนั้นอาณาเขตของวัดมักจะมีความกว้าง ขวางมาก แม้จะกันเป็นเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสแล้วก็ ตาม ก็ยังมีบริเวณที่ว่างเหลืออยู่อีกเป็นจํานวนมาก จึงมัก จะใช้บริเวณส่วนที่เหลือจากใช้ประโยชน์ของวัดเช่นนี้เป็นที่ จัดงานประเพณีประจําปีของชุมชนที่วัดนั้นตั้งอยู่ เช่น งาน ฉลองพระพุทธรูปสําคัญหรือเจดีย์สําคัญของวัด หรืองาน ประเพณีประจําปีอื่นๆ เช่น งานบุญบั้งไฟ งานสงกรานต์ ฯลฯ สําหรับวัดที่อยู่นอกชุมชนส่วนมากมักจะกันที่ส่วนหนึ่ง ของเขตสาธารณะนี้ไว้เป็นสุสานที่เผาหรือที่ฝังศพ หรือใช้ เป็นที่สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของผู้ตาย การเผาศพในอดีตนั้นจะกระทําได้ทั้งโดยการทํา เมรุเผาในบริเวณที่เป็นเขตสาธารณะ หรือเผาในป่าที่ไม่มีผู้ ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน (รูป ๔๑) สําหรับการเผาศพในวัดนั้นจะ เผาได้เฉพาะวัดทีอ่ ยูน่ อกกําแพงเมืองหลวง เฉพาะกรุงเทพ มหานครนั้น กําหนดวงเขตกําแพงเมืองไว้ตั้งแต่ปากคลอง บางลําภูไปตลอดแนวคลองโอ่งอ่าง (คลองรอบกรุง) ไป ออกแม่นำ้ เจ้าพระยาด้านวัดเลียบ (วัดราชบุรณ) วัดทีอ่ ยูใ่ น เขตกําแพงเมืองจะมีการเผาศพได้เฉพาะทีเ่ ป็นงานเมรุหลวง ตามพระราชประเพณีเท่านั้น สําหรับวัดทีจ่ ดั บริเวณไว้เพือ่ การนีม้ กั จะนิยมสร้างเมรุถาวรไว้เพือ่ ประโยชน์ของสาธารณะ รูปลักษณะของเมรุ จ ะดู ค ล้ า ยบุ ษ บกขนาดใหญ่ ท่ีมีข นาด พอทีจ่ ะตัง้ หีบศพบนจิตกาธานสําหรับเผาได้สะดวก
ในปัจจุบนั นีค้ นไทยมีความคุน้ เคยกับศิลปวัฒนธรรม แบบตะวันตกกันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อจะสร้างอนุสาวรีย์เพื่อ เป็นอนุสรณ์แก่บุคคลก็จะทําตามแบบอย่างสากลนิยม คือ ทําเป็นอนุสรณ์สถานที่แสดงภาพปั้นหรือสัญลักษณ์ท่ีเกี่ยว กับเหตุการณ์นั้นๆ หรือทําเป็นรูปบุคคลที่ประสงค์จะยก ย่องเทิดทูน พร้อมกับมีแผ่นจารึกประวัติเหตุการณ์หรือ ประวัติบุคคล และเมื่อถึงวาระที่ประจวบกับวันคล้ายวัน สําคัญที่ล่วงมาแล้วในอดีต ก็จะมีการวางพวงมาลา ณ สถานที่ที่เป็นอนุสรณ์สถานหรืออนุสาวรีย์เหล่านั้น การ สร้างอนุสรณ์สถานหรืออนุสาวรียใ์ นลักษณะดังกล่าวเริม่ ขึน้ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั เมือ่ ไทยรับ ความเจริญแบบตะวันตกทัง้ ทางรูปแบบการศึกษา ศิลปะ และ วิทยาการ เราจะเห็นอนุสรณ์สถานและอนุสาวรียด์ งั กล่าวใน รุน่ แรกๆ ได้จากอนุสาวรียส์ มเด็จพระนางเจ้าสุนนั ทากุมารี- รัตน์ พระบรมราชเทวี ทัง้ ทีพ่ ระราชวังบางปะอิน (รูป ๔๒) และวังสราญรมย์ อนุสาวรียท์ บ่ี รรจุอฐั ขิ องท่านผูท้ รงฐานันดร ศักดิห์ ลายพระองค์ในบริเวณสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหา สีมาราม พระบรมราชานุสาวรียข์ องพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทีบ่ ริเวณลานพระราชวังดุสติ (พระบรมรูปทรงม้า) ฯลฯ นับแต่นน้ั มาการสร้างอนุสรณ์สถานและอนุสาวรีย์ ก็ดําเนินตามวิธีการอย่างสากลตลอดมา และมีการ เปลี่ยนแปลงให้อนุสรณ์สถานหรืออนุสาวรีย์ต่างๆ เป็นประโยชน์ใช้สอยต่อสาธารณะได้ดว้ ย ดังเช่นโรงพยาบาลศิรริ าช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า สะพาน พระราม ๖ ถนนพระราม ๔ ถนนพระราม ๖ วงเวียน ๒๒กรกฎา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วชิราวุธวิทยาลัย หรือ
วัดในประเทศไทย
๓๘๕
๔๒ รูป ๔๒ อนุสาวรียส์ มเด็จพระนางเจ้าสุนนั ทากุมารีรตั น์ พระบรมราชเทวี ที่พระราชวังบางปะอิน สร้างในสมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รูป ๔๓ พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
๓๘๖ ภูมิหลัง
แม้แต่ถนนรัชดาภิเษกในสมัยปัจจุบัน การสร้างอนุสรณ์สถานและอนุสาวรีย์เหล่านี้ได้ เปลีย่ นแปลงจากแนวคิดตามประเพณีดง้ั เดิมของไทยไปตาม อิทธิพลของการรับรูปแบบวัฒนธรรมตะวันตก อนุสรณ์ สถานและอนุสาวรีย์ในลักษณะเช่นนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะเหตุการณ์ทางการเมืองเป็นสําคัญ หาก กล่าวถึงอนุสาวรียป์ ระเภทบุคคลแล้วจะเห็นตัวอย่างได้อย่าง ชัดเจนว่า อนุสาวรียป์ ระเภทนีม้ คี วามสําคัญและมีความหมาย เฉพาะชัว่ เวลาทีส่ งั คมยังระลึกถึงคุณความดีของบุคคลผู้นั้น หากทัศนคติของสังคมเปลี่ยนแปลงไป อนุสาวรีย์ประเภท นี้ก็จะไม่อาจยั่งยืนสืบต่อไปได้ หรือแม้แต่อนุสรณ์สถานที่ เป็นสาธารณประโยชน์กเ็ ช่นกัน หากมีการเปลีย่ นแปลงทัศนคติ ชื่อของอนุสรณ์สถานก็อาจถูกเปลี่ยนแปลงไปได้ เหตุ การณ์ที่เป็นข้อเสียดังกล่าวได้ปรากฏเป็นตัวอย่างให้เห็นมา แล้วในหลายประเทศที่มีความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นี้เป็นความไม่แน่นอนทางโลกฝ่ายวัตถุนิยมในระดับโลกิยะ แต่ถา้ หากจะพิจารณาในแง่กศุ ลเจตนาของการสร้างอนุสรณ์ สถานเพื่อสาธารณประโยชน์แล้ว ตราบใดที่อนุสรณ์สถาน นั้นยังคงอํานวยประโยชน์ต่อสังคมตามเจตนาของผู้อุทิศ สร้าง กุศลเจตนาก็ยังให้ผลตลอดไปไม่ว่าอนุสรณ์สถานนั้น จะถูกเปลี่ยนชื่อด้วยเหตุผลใดก็ตาม เมือ่ เราได้เห็นรูปแบบการสร้างอนุสรณ์สถานและ อนุสาวรีย์ตามแบบอย่างสากลนิยมแล้ว บางท่านก็อาจ สงสัยว่าถ้าเช่นนั้นเมื่อก่อนหน้านี้เราไม่มีอนุสาวรีย์กันหรือ คําถามนี้ตอบได้ทันทีว่าเรามีอนุสรณ์สถานและอนุสาวรีย์ มาแล้วมากมาย แต่มีในรูปแบบที่แตกต่างไปจากทัศนะของ วัฒนธรรมตะวันตก ถ้าจะพูดกันในคติทางพุทธศาสนาแล้ว ก็ต้องกล่าวว่ารูปแบบอนุสาวรีย์หรืออนุสรณ์สถานของตะวันตกเป็นรูปแบบที่ยึดอัตตา หรือยึดการแสดงความสําคัญ ของตน หรือของกลุ่มบุคคล เป็นที่หมายที่ต้องการให้ได้รับ
๔๓
ความยกย่องสรรเสริญในสังคม แต่อนุสรณ์สถานและอนุสาวรีย์ตามแบบของไทยนั้นไม่อยู่ในทัศนคติดังกล่าว ไม่มี จารึกประกาศรายละเอียดของเกียรติคุณ ไม่มีรูปบุคคลผู้ เป็นที่มาของอนุสาวรีย์นั้นให้เห็น แต่อนุสรณ์สถานหรืออนุสาวรีย์ของไทยจะปรากฏในรูปของศาสนวัตถุทั้งหมด ไทยได้ปฏิบัติตามแนวทางของพุทธศาสนาอย่าง มั่นคง รูปแบบแรกของอนุสาวรีย์ของไทยก็คือเจดีย์อันเป็น เสมือนอนุสาวรีย์ที่น้อมจิตใจของพุทธศาสนิกชนให้ยึดมั่น อยู่ในพุทธศาสนา และระลึกถึงการปฏิบัติตามแนวทางที่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสัง่ สอนไว้ทกุ ขณะจิต เพราะ ฉะนั้นเจดีย์ของพุทธศาสนาจึงมิใช่อนุสาวรีย์เพื่อเป็นเครื่อง ระลึกถึงบุคคลหรือเหตุการณ์ที่ล่วงเลยไปแล้วดังเช่นอนุสาวรียท์ ว่ั ไป ชนชาติไทยได้เคยสร้างอนุสาวรียม์ าแล้วพร้อม กับการรับนับถือพุทธศาสนา และได้เคยสร้างมาแล้วทัง้ อนุสาวรีย์ที่เป็นอนุสรณ์ของเหตุการณ์และอนุสรณ์ของบุคคล อนุสาวรียท์ ถ่ี อื กันว่าได้สร้างขึน้ เพือ่ เป็นอนุสรณ์ของเหตุการณ์ นั้นมีอยู่มากมาย ดังเช่นเจดีย์ยุทธหัตถีซึ่งพ่อขุนรามคําแหง ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด เจดีย์ศรีสุริโยทัย ซึ่งเป็น อนุสาวรียพ์ ระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงสละ พระชนม์ชีพเพื่อป้องกันพระสวามีให้พ้นอันตรายจากข้าศึก หรือเจดีย์ยุทธหัตถีอันเป็นอนุสาวรีย์แห่งเกียรติประวัติที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีชัยต่อพระมหาอุปราชา ฯลฯ นอกจากอนุสาวรีย์ที่ไทยสร้างขึ้นในรูปของพระ เจดียแ์ ล้ว วัดก็ยงั เป็นอนุสาวรียอ์ กี ประเภทหนึง่ ทีน่ ยิ มสร้าง กันโดยทัว่ ไป เช่นวัดพุทไธสวรรย์ ทีเ่ ป็นนิวาสสถานเดิมของ พระเจ้าอู่ทองปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา วัดป่าแดง หลวงที่เป็นที่ถวายเพลิงพระศพพระชนกและพระชนนีของ พระเจ้าติโลกราช พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา หรือหอไตรวัดระฆังทีเ่ คยเป็นตําหนักของพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตน
๔๔
โกสินทร์เสร็จประทับในสมัยกรุงธนบุรี ฯลฯ สําหรับอนุสาวรีย์ เฉพาะบุคคลนัน้ นับว่ามีสร้างเป็นจํานวนมาก แต่เป็นการทําใน ลักษณะสร้างพระพุทธปฏิมาโดยเฉพาะตัวบุคคล ดังเช่น พระพุทธรูปฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกและพระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยในพระอุโบสถวัดพระศรีรตั นศาสดาราม (รูป ๔๓) การสร้างศาสนวัตถุขึ้นเป็นอนุสาวรีย์ในแบบประ เพณีไทยนั้นแสดงให้เห็นว่า ไทยยึดหลักการสร้างสิ่งที่เป็น ประโยชน์ต่อสาธารณะเป็นหลัก และสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อ สาธารณะนี้ม่งุ ไปในฝ่ายโลกุตรธรรมมากกว่าทางวัตถุธรรม การที่บุคคลแสดงคารวะต่ออนุสาวรีย์เหล่านั้นแม้ในจิตใจ ส่วนหนึ่งจะระลึกถึงคุณความดีของผู้ที่ก่อให้เกิดอนุสาวรีย์ แต่จิตใจอีกส่วนหนึ่งก็ได้ถวายสักการะต่อองค์พระศาสดา ด้วย ตราบใดที่อนุสาวรีย์เหล่านั้นยังดํารงอยู่ ตราบนั้น ย่อมหมายถึงการที่ผู้สร้างอนุสาวรีย์ได้มีส่วนกุศลในการสืบ ต่อพระศาสนาด้วย ด้วยทัศนคติเช่นนั้นจึงเห็นว่ามีผู้นิยม สร้างศาสนวัตถุเป็นพุทธบูชากันอย่างมากมายในอดีต แม้ ว่าศาสนวัตถุนั้นจะเป็นเพียงวัตถุที่มีขนาดเล็กน้อยดังเช่น สถูปจารึกคาถาเย เยธมฺมา ในสมัยทวารวดีก็ตาม ถ้าจะกล่าวถึงอนุสรณ์สถานหรืออนุสาวรีย์ตาม ทัศนคติทางพุทธศาสนาของไทยแล้ว จะเห็นได้ว่า อนุสรณ์ สถานหรืออนุสาวรีย์เหล่านั้นมิได้มีขึ้นเพื่อน้อมให้ระลึกถึง ความทรงจําที่มีเหตุการณ์ในอดีต หรือเพื่อระลึกถึงบุคคล นั้นๆ เพื่อวัตถุประสงค์แห่งความภาคภูมิใจในความมีชัย เหนือศัตรูคู่อริ หรือเพื่อให้จดจําในสิ่งที่เคยเป็นความสูญ เสียอันใหญ่หลวงมาแล้ว แม้จะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ จะมีความรู้สึกภาคภูมิใจหรือจดจําความเจ็บแค้นก็ตาม แต่ การสร้างอนุสรณ์สถานหรืออนุสาวรีย์ตามประเพณีไทยนั้น
อาศัยหลักการของพุทธศาสนาสร้างประโยชน์ในทางที่จะ เกิดเป็นบุญกุศลแก่ทง้ั ผูท้ ม่ี ชี วี ติ และผูท้ ส่ี น้ิ ชีวติ ไปแล้ว ดังเช่น วัด อนุสาวรีย์ซึ่งสร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายนั้น ก็จะเกิดบุญกุศลแก่ผู้ตายสืบเนื่องไม่มีวันหมดสิ้น ไม่ว่าผู้ที่ ประกอบการกุศลนั้นจะทําบุญอุทิศให้กับผู้ที่ก่อให้เกิดวัด นั้นขึ้นโดยตรงหรือไม่ เพราะตราบใดที่มีผู้เข้าไปประกอบ การบุญกุศลในวัดนั้น หรือมีผู้เข้ารับการอุปสมบทในวัดนั้น ผูต้ ายก็ยอ่ มจะมีสว่ นได้รบั ผลบุญนัน้ ด้วยเสมอไป หรืออย่าง น้อยก็ย่อมจะอยู่ในข่ายที่มีส่วนในการสืบต่อพระศาสนา สําหรับอนุสรณ์สถานทีส่ ร้างขึน้ ในรูปแบบของพระเจดีย์ ดัง ตัวอย่างเช่นเจดีย์ยุทธหัตถีที่ตําบลหนองสาหร่าย จังหวัด สุพรรณบุรีนั้น เชื่อกันว่าเป็นอนุสรณ์สถานในการสงคราม ยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหา อุปราชา พระเจดีย์องค์นี้มิได้มีชื่อหรือจารึกเหตุการณ์ประ กาศไว้แต่อย่างหนึง่ อย่างใด ชือ่ ทีเ่ รียกขานกันมาจนถึงปัจจุบนั นีก้ เ็ นือ่ งจากมีขอ้ ระบุไว้ในพระราชพงศาวดารและเป็นทีจ่ ดจํา สืบต่อกันมาเท่านั้น และภายในองค์เจดีย์ก็บรรจุกระดูกจํานวนมากมายของผู้เสียชีวิตในสงคราม ซึ่งก็ไม่อาจทราบได้ ว่าเป็นกระดูกของผู้ใดหรือฝ่ายใด ดังนั้นพระเจดีย์องค์นี้จึง เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการอโหสิกรรมแก่ผเู้ สียชีวติ เหล่า นั้นทั้งหมด ที่ผู้สร้างสร้างขึ้นไว้เป็นพุทธบูชาเพื่ออุทิศเป็น กุศลแก่ผู้ตายในสงครามครั้งนี้ วัตถุประสงค์เดิมของการ สร้างเจดียย์ ทุ ธหัตถีจงึ น่าจะมีแต่เพียงนี้ ส่วนการทีไ่ ด้มกี าร สร้างองค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ครอบบนซากของเจดีย์องค์เดิม และสร้างพระบรมราชานุสาวรียส์ มเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงช้างศึกนั้นก็เป็นเพียงคติแบบตะวันตกที่นิยมกันในสมัย ปัจจุบันเท่านั้นเอง (รูป ๔๔)
รูป ๔๔ เจดีย์ยุทธหัตถี และพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดสุพรรณบุรี
วัดในประเทศไทย
๓๘๗
บทที่ ๓ เรือนไทย
พื้นฐานทางศาสนาและสังคมกับลักษณะเรือนไทย ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของเรือนไทย
๓๘๘ ภูมิหลัง
รูป ๑ ภาพแสดงลักษณะเรือนเครื่องผูก ตามแบบทีน่ กั ศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ทําการ ค้นคว้าและสร้างจําลองขึ้น
๑ รูป ๒ เรือนเครื่องผูกตามสภาพที่เป็นจริง ในท้องถิ่นชนบทที่อําเภอเมืองฯ จังหวัดนครพนม
รูป ๓ ภาพเรือนไทยที่สร้างด้วยวัสดุถาวรใน เขตอําเภอเมืองฯ จังหวัดตาก ที่ถนนบ้านจีน เป็นตัวอย่างหมู่เรือนไทยที่นับว่ายังรักษา สภาพวัฒนธรรมเดิมไว้ได้อย่างดีที่สุด แห่งหนึ่งในปัจจุบัน เรือนไทยบางหลัง ในถนนสายนี้คาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ ปี
๒
๓
ลักษณะบ้านเรือนอยู่อาศัยของชนชาติในตะวัน ออกนี้นิยมทําด้วยไม้ เพราะไม้เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในทุก ท้องที่ สามารถใช้ในการปลูกสร้างได้รวดเร็วและซ่อมแซม ได้ง่าย บ้านของคนไทยนั้นเมื่อมองย้อนหลังไปในอดีตก็จะ พบว่าปลูกสร้างกันด้วยไม้ตลอดมาเช่นกัน ถ้าการปลูกสร้าง นัน้ ไม่ตอ้ งการงานขัน้ ประณีตหรือต้องการความคงทนถาวร มากนัก การตั้งบ้านเรือนแต่ละหลังก็อาจทําให้เสร็จและ เข้าอาศัยได้ภายในวันเดียว บ้านเรือนชนิดนี้มักทําด้วยไม้ ขนาดเล็ก มีน้ำหนักเบา เช่นไม้ไผ่ หรือไม้รวก ซึ่งเป็นไม้ที่ หาได้งา่ ยมีขน้ึ เป็นดงอยูใ่ นทุกท้องถิน่ บ้านเรือนทีป่ ลูกอาศัย อยู่อย่างง่ายๆ นี้ (รูป ๑) ไม่ต้องการความรู้ในการปลูก สร้างมากนัก ทุกคนสามารถปลูกสร้างได้โดยลําพังตัวเอง แม้มีเครื่องมือเพียงพร้าเล่มเดียวก็อาจสร้างได้ (รูป ๒) จะพบเห็นบ้านเรือนแบบที่ปลูกสร้างขึ้นอย่างง่ายๆ นี้ได้ใน หมูผ่ ปู้ ระกอบอาชีพทางเกษตรกรรม ส่วนเรือนไม้ทท่ี าํ อย่าง มั่นคงแข็งแรงนั้นมักจะปลูกขึ้นในเฉพาะชุมชนที่เจ้าของ เรือนนั้นมีหลักฐานมั่นคงแล้ว (รูป ๓) เรือนที่ปลูกสร้างขึ้นเป็นการลําลองและใช้วัสดุ ก่อสร้างเช่นไม้ไผ่หรือใบจากนั้นมักเป็นเรือนที่สร้างขึ้นสํา หรับผู้ที่ตั้งหลักฐานประกอบอาชีพใหม่ เช่นครอบครัวของ ชาวนาชาวไร่ที่ไม่ต้องการลงทุนในระยะเริ่มต้นมากนัก ต่อเมื่อมีหลักฐานอาชีพที่มั่นคงและมีครอบครัวขยายใหญ่ ขึ้น มีสมาชิกครอบครัวเพิ่มมากขึ้นแล้วจึงต้องการการปลูก สร้างบ้านเรือนที่มีความคงทนถาวร เพราะฉะนั้นลักษณะ ของบ้านเรือนไทยจึงอาจแบ่งออกได้เป็นลักษณะใหญ่ ๒ ลักษณะคือ
เรือนชั่วคราว
เรือนชนิดนี้สร้างขึ้นด้วยวัสดุอย่างง่าย เช่นไม้ไผ่ หรือใบจากดังได้กล่าวมาแล้ว เรือนชนิดนี้เรียกว่า “เรือน เครื่องผูก” เพราะการต่อเชื่อมวัสดุก่อสร้างทุกส่วนนั้นใช้ ตอก หวาย หรือปอ เป็นเครื่องผูกยึด เสาใช้ไม้ไผ่ลําใหญ่ หรือลําต้นไม้ขนาดเล็ก พื้นใช้ไม้ไผ่หรือต้นหมากผ่าซีกทุบให้ เป็นแผ่นแบน เรียกว่า “ฟาก” หรือ “เฝือก” ฝาเรือนก็ใช้ วัสดุเช่นเดียวกันนี้ หรืออาจใช้ใบไม้ขนาดใหญ่เช่นใบพลวง หรือใบจากทําฝา ทั้งนี้แล้วแต่จะหาวัสดุชนิดใดได้ง่ายใน ท้องถิ่นนั้น โครงหลังคานั้นก็ใช้ไม้ไผ่และมุงด้วยใบจากหรือ หญ้าคาหรือแฝก ถ้าเราจะดูกันอย่างเผินๆ แล้วก็อาจรู้สึกว่าเรือน เครื่องผูกชนิดนี้ไม่ต้องการความรู้และความประณีตในการ ปลูกสร้างแต่อย่างใด แต่ความจริงนัน้ ปรากฏว่าเรือนเครือ่ ง ผูกชนิดนี้มีที่ทําขึ้นอย่างประณีตเช่นกัน มีตัวอย่างฝาสาน ด้วยผิวไม้ไผ่เป็นลวดลายอย่างประณีตสวยงาม เป็นลายขัด ต่างๆ (รูป ๔) การผูกมัดโครงสร้างด้วยตอกหรือด้วยหวาย ก็มีวิธีการสอดเกี่ยวผูกเข้าด้วยกันอย่างมีวิธีการ ไม่ผิดกับ
เรือนไทย
๓๘๙
การผูกเส้นเชือกในวิชาฝึกหัดของลูกเสือ เนื่องจากชาวไร่ ชาวนามีเวลาว่างจากการงานอาชีพเพื่อรอเก็บเกี่ยวพืชผล ในบางฤดูกาล คนเหล่านี้จึงมีเวลาที่จะพิจารณาสิ่งรอบตัว อย่างละเอียดลึกซึ้ง มีเวลาซ่อมแซมและปรับปรุงเครื่อง เรือนและเครื่องใช้ไม้สอยให้ดีขึ้น จึงทําให้มีฝาสานด้วยผิว ไม้ไผ่เป็นลวดลายทีง่ ดงาม เมือ่ เสร็จแล้วก็นาํ ไปเปลีย่ นแทน ฝาที่ทําขึ้นอย่างหยาบๆ พอใช้การได้แต่แรก ต่อจากนั้นก็ ประดับประดาตกแต่งส่วนอื่นๆ จนเป็นแบบเรือนเครื่องผูก ที่มีความประณีต คนไทยในอดีตปลูกเรือนประเภทนี้เป็นที่อยู่อาศัย ความคงทนของอายุเรือนจึงมีไม่มากและไม่เหลือหลักฐาน ให้ปรากฏในปัจจุบัน ร่องรอยของชุมชนในสมัยสุโขทัยหรือ ในสมัยอยุธยาจึงไม่เหลือไว้ให้สืบค้น นอกเสียจากการพบ ซากบ่อน้ำหรือซากเศษอุปกรณ์เครื่องใช้สอยที่พอจะทําให้ ทราบว่าที่ตรงนั้นเคยเป็นแหล่งที่เคยมีชุมชนอยู่
เรือนถาวร
เรือนชนิดนี้เป็นเรือนที่สร้างขึ้นเมื่อฐานะของเจ้า ของมีความมัน่ คงในอาชีพการงานมากขึน้ แล้ว หรือเป็นเรือน ของผู้ที่มีอํานาจวาสนาบารมี เช่นตําหนักเจ้านายหรือเรือน หลวง พระที่นั่งของพระมหากษัตริย์ เรือนที่สร้างขึ้นอย่าง ถาวรนี้จะใช้วัสดุที่แข็งแรงทนทานเช่นไม้เนื้อแข็ง หรือไม้ ที่มีเนื้อแน่นต่างๆ (รูป ๕) เรือนที่ทําด้วยไม้ถาวรนี้มีศัพท์ เรียกโดยเฉพาะว่า “เรือนเครื่องประดุ” อย่างหนึ่ง และ เรียกว่า “เรือนเครื่องสับ” อีกอย่างหนึ่ง เฉพาะการเรียก เรือนเครื่องสับนี้ก็ได้ชื่อมาจากวิธีการปลูกสร้างที่ใช้เครื่อง มือมีคมสับถากผิวเนื้อไม้ให้เรียบ (รูป ๖) เช่น ใช้ผึ่งหรือ ขวานถากผิวไม้ เรือนที่สร้างด้วยไม้จริงที่มีความมั่นคงถาวรชนิด นี้ ผู้ที่มีสิทธิ์สร้างเป็นที่อยู่อาศัยได้ก็คือข้าราชการระดับสูง เจ้านาย และพระมหากษัตริย์เท่านั้น (รูป ๗), (รูป ๘) ราษฎรสามัญเพิ่งจะสร้างเรือนไม้จริงสําหรับอยู่อาศัยได้ก็ เมื่อสมัยปลายอยุธยานี้เอง แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีกฎเกณฑ์ลําดับการปลูกสร้างเรือนไม้ถาวรเช่นนีไ้ ว้ดว้ ย เช่น มีขอ้ กําหนด ในกฎมณเฑียรบาลว่า ห้ามแต่งผิวพืน้ ไม้จนเรียบสนิทไม่วา่ จะ เป็นพืน้ เรือนหรือผิวเสา จะทำได้กแ็ ต่ทเ่ี ป็นตําหนักหรือเรือน หลวงเท่านัน้ และเชือ่ ว่าในอดีตนัน้ เรือนหลวงของผู้ปกครอง ประเทศนั้นสร้างเป็นเรือนถาวรประเภทนี้ตลอดมา เพราะ ฉะนั้นจึงหาหลักฐานทางวัตถุไม่ได้ ไม่เหมือนกับสถาปัตยกรรมทางลัทธิศาสนาที่สร้างขึ้นด้วยหิน หรือด้วยอิฐ เนิน ปราสาทของสุโขทัยจึงเหลือแต่เพียงชื่อเท่านั้น
๓๙๐ ภูมิหลัง
การที่คนไทยไม่นิยมสร้างอาคารที่เป็นที่อยู่อาศัย ด้วยอิฐหรือหินนัน้ ก็นา่ จะเป็นเพราะสภาพดินฟ้าอากาศ หรือ สภาพทางภูมศิ าสตร์เป็นสาเหตุสาํ คัญ พืน้ ดินในประเทศนีเ้ ป็น ดินอ่อน อุ้มน้ำ เหมาะแก่การเกษตรกรรม แต่ไม่เหมาะที่จะ ทําการก่อสร้างอาคารที่มีน้ำหนักมากๆ เช่นอาคารก่อหิน หรืออิฐ ถ้าจะสังเกตดูอาคารที่เป็นสถาปัตยกรรมทั้งสอง ประเภทนี้ก็จะเห็นชัดเจนว่าวังที่เป็นศูนย์กลางการปกครอง นั้นจะอยู่ในเมืองกลางชุมชน ซึ่งมักจะเกาะอยู่กับลําน้ำที่ เป็นถิ่นที่ลุ่มที่ใช้เพาะปลูก ในทํานองเดียวกัน การก่อสร้าง อาคารตามลัทธิศาสนาที่ก่อด้วยอิฐหรือหินที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก มักจะเลือกพื้นที่ก่อสร้างในที่ที่มีพื้นแข็ง หรือที่ที่เป็นแหล่งหินตามเนินเขา เหตุผลที่สําคัญอีกประการหนึ่งที่ทําให้ไม่นิยมอยู่ อาศัยในอาคารที่ก่อหินหรืออิฐในอดีต ก็เพราะอาคารประเภทนี้มีความอับทึบ ไม่ใคร่มีช่องระบายอากาศ ก่อนสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยานัน้ ยังไม่ใคร่ มีผ้ใู ดรู้จกั วิธีการเจาะช่องหน้าต่างกว้างโดยมีบานไม้ปิดเปิด การที่จะอยู่อาศัยในอาคารเช่นนี้โดยมีช่องระบายอากาศ น้อย และมีประตูเข้าออกที่ต้องปิดเพื่อความปลอดภัยใน เวลากลางคืน ทําให้ไม่มคี ณ ุ ลักษณะในการระบายอากาศ ไม่เป็นผลดีตอ่ สุขภาพของผูอ้ ยูอ่ าศัย เพราะเหตุนจ้ี งึ ไม่นยิ ม ทํา คนไทยนิยมปลูกเรือนไม้อยู่กันตลอดมาตั้งแต่โบราณ แม้แต่เรือนแบบถาวรที่เป็นเรือนหลวง สําหรับตําหนักหรือพระที่นั่งที่ประทับของพระ มหากษัตริย์นั้น มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้วิธีการก่ออิฐกันใน สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เพราะ เป็นสมัยทีม่ กี ารติดต่อกับชาวยุโรปทัง้ ในด้านการค้าขายและ การเมือง ช่างเทคนิคชาวยุโรปได้เข้ามาช่วยการก่อสร้างที่ ใช้งานอิฐก่อ และคนเหล่านีก้ ไ็ ด้สร้างทีอ่ ยูอ่ าศัยของตนด้วย อิฐก่อตามวัฒนธรรมเดิมทีต่ นเคยชิน จึงเริม่ มีการสร้างพระ ที่นั่งที่ประทับของพระมหากษัตริย์เป็นตึกขึ้นในสมัยนี้ ดัง เช่นพระนารายณ์ราชนิเวศน์ที่จังหวัดลพบุรี ที่สร้างเป็นตึก ยกพื้นสูง (รูป ๙) ในพระนครศรีอยุธยาก็มีพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาท พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์และพระที่นั่ง องค์อื่นๆ อีกหลายองค์ จะสร้างอาคารก่ออิฐเช่นนี้เป็นที่ อยูอ่ าศัยของบุคคลอืน่ บ้างก็เฉพาะทีส่ ร้างขึน้ เป็นกรณีพเิ ศษ เช่นตําหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สมเด็จพระสังฆราช เท่านั้น นอกจากนี้ การปลูกสร้างที่อยู่อาศัยด้วยไม้ ไม่ว่า จะเป็นวังเจ้านายหรือบ้านเรือนข้าราชการ ราษฎร และ กุฏิสงฆ์ ก็ยังคงก่อสร้างด้วยไม้ตลอดมา จนกระทั่งถึงสมัย รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลง การสร้างกุฏิสงฆ์เป็นแบบก่ออิฐตามที่ได้รับอิทธิพลมาจาก สถาปัตยกรรมแบบจีน (รูป ๑๐) และนับตั้งแต่สมัยนั้นเป็น ต้นมา ก็มีการสร้างพระบรมมหาราชวังตําหนักและเรือน หลวงเป็นแบบก่ออิฐ บ้านเรือนข้าราชการและเรือนราษฎร
รูป ๔ ฝาบ้านทําด้วยผิวไม่ไผ่ทาํ ลายขัดเป็นลวดลาย ต่างๆ อย่างประณีตสวยงาม
รูป ๕ ภาพแสดงตัวอย่างตําหนักไม้ อันเป็นเรือนหลวงที่ได้รับการเก็บรักษา ไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
รูป ๖ ภาพแสดงลักษณะทั่วๆ ไปของเรือนไทย ซึ่งเป็นแบบศึกษาของนักศึกษาคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จากภาพแสดงให้เห็นโครงสร้าง ของเครื่องไม้ทั้งหลัง
รูป ๗ ภาพเรือนไทยของผู้มีฐานะดีที่นิยมสร้างกัน โดยทั่วไปเป็นของคุณตุลย์และ คุณจันทรแจ่ม บุนนาค เป็นแบบเรือน ที่ยังรักษาสภาพวัฒนธรรมเดิม แต่ดัดแปลงให้เหมาะกับสภาพความเป็นอยู่ ในสมัยปัจจุบันได้อย่างดี
รูป ๘ ภาพเรือนไทยของผู้มีฐานะดีที่รักษาสภาพ วัฒนธรรมเดิม แต่ดัดแปลงให้เหมาะกับ สภาพการใช้สอยในสมัยปัจจุบันได้อย่างดี ภาพเรือนหลังนี้เป็นเรือนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ที่คนไทยทุกคน รู้จักกันดี
รูป ๙ ภาพพระทีน่ ง่ั ดุสติ สวรรย์ธญ ั ญมหาปราสาท ที่พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี สร้างในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชแสดงลักษณะการก่อสร้างด้วยอิฐ ตามแบบตะวันตก เช่น การใช้ซมุ้ ยอดแหลม การยกพืน้ เพือ่ ใช้หอ้ งใต้พน้ื ให้เป็นประโยชน์ ซึง่ ก่อนหน้านัน้ อาคารก่ออิฐทัว่ ไปจะทําเป็น อาคารชั้นเดียวพื้นติดดิน
๔
๕
๖
๗
๘
๙
เรือนไทย
๓๙๑
นั้น มามีการปลูกเป็นตึกอยู่อาศัยกันก็ต่อเมื่อมีการรับอิทธิพลทางการเมืองและการศึกษาแบบตะวันตกแล้วในสมัย รัชกาลที่ ๕ (รูป ๑๑)
๑๐
รูป ๑๐ กุฏิก่ออิฐแบบคณะกุฏิ เป็นแบบที่เริ่มมีขึ้นใน สมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีแบบ ศิลปะจีนเข้ามาผสมกับแบบไทยมากขึ้น เพราะ เป็นสมัยที่มีการติดต่อค้าขายกับจีนมากกว่า สมัยใดๆ
รูป ๑๑ ภาพตัวอย่างเรือนข้าราชการและเรือนราษฎร ที่สร้างขึ้นตามสมัยนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อไทยเริ่มมองเห็นความจําเป็นที่จะต้อง พัฒนาประเทศตามแบบตะวันตก การเปลี่ยน แปลงแบบบ้านเรือนจากเดิมเป็นปรากฏการณ์ ที่แสดงให้เห็นอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก อย่างหนึ่ง ภาพเรือนในภาพนี้เป็นเรือนที่สร้าง ขึ้นในปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ถนนบ้านจีน อำเภอเมืองฯ จังหวัดตาก
๓๙๒ ภูมิหลัง
๑๑
พื้นฐานทางศาสนาและ สังคมกับลักษณะเรือนไทย
แม้ว่าจะมีการปลูกสร้างเรือนไทยอยู่ทั่วพระราช อาณาจักรก็ตาม แต่ก็มีความแตกต่างกันในเฉพาะข้อปลีก ย่อย เนื่องจากลักษณะการใช้สอยและแบบอิทธิพลศิลปวัฒนธรรมประจําท้องถิ่น เช่นเรือนทางภาคเหนือและเรือน ทางภาคกลางที่มีการจัดรูปการใช้สอยภายในเรือนผิดกัน ไป แต่ในหลักการใหญ่แล้วยังคงมีความเหมือนกันตรงที่ เรือนไทยทุกภาคยกพื้นสูงและทําหลังคาชัน สิง่ ทีแ่ ฝงอยูเ่ บือ้ งหลังของการปลูกสร้างเรือนไทย โบราณนั้นมีความน่าสนใจศึกษาอย่างมาก เพราะจะทําให้ผู้ ศึกษามองเห็นความคิดความเชื่อของคนในอดีตที่แตกต่าง ไปจากปัจจุบันนี้ ในขณะเดียวกันก็จะทําให้มองเห็นว่า แนว ความคิดและความเชือ่ นัน้ ได้เหลือตกทอดมาสูป่ จั จุบนั นีเ้ พียงใด
อิทธิพลของศาสนา
นับตั้งแต่อดีตมา คนไทยยอมรับนับถือทั้งพุทธ ศาสนาและศาสนาฮินดู พุทธศาสนาในส่วนที่เป็นเถรวาท นั้นมิได้มีคําสอนหรือแนวทางให้เชื่อถือในฤกษ์ยามและพิธี ไสยศาสตร์แต่อย่างใด แต่ในส่วนทีเ่ ป็นแบบมหายานและศาสนา ฮินดูน้ันได้ปลูกฝังความเชื่อด้านนี้ไว้กับคนไทยอย่างแนบ แน่น และก็เป็นความจริงที่ยอมรับกันตลอดมาว่า ไม่ว่าจะ เป็นพิธีกรรมในพุทธศาสนาลัทธิใดก็ตาม หรือพิธีกรรมใน ศาสนาฮินดู หากพิธกี รรมนัน้ จะอํานวยให้การดําเนินชีวติ ของ คนไทยได้รับความสงบทางจิตใจหรือเป็นทางให้รอดพ้นจาก ภยันตรายทุกด้าน หรือเป็นสิง่ ทีท่ าํ ให้เกิดสิรมิ งคลและความ หวังแล้ว คนไทยก็จะยอมรับไว้เป็นทางปฏิบัติทั้งสิ้น ดังนั้น จึงเกิดวิธีการปลูกเรือนที่ต้องอาศัยฤกษ์ยามในการยกเสา เอก การตั้งเสาเรือนตามทิศ หรือการทําขวัญนางไม้ประจํา ต้นเสานัน้ ตามความเชือ่ ในด้านไสยศาสตร์ และเช่นเดียวกัน การปิดเลขยันต์ลงบนตัวไม้โครงสร้างของเรือน เพื่อป้องกันผีปศิ าจ ป้องกันโจรภัย หรืออัคคีภยั ก็แสดงให้เห็นอิทธิพล ของพุทธศาสนาแบบมหายานลัทธิตันตระที่ยังคงมีแฝงอยู่ ด้วย ส่วนการปฏิบตั ทิ างพุทธศาสนาแบบเถรวาททีเ่ ชือ่ ถือกัน อยู่ในปัจจุบันนั้นก็มีปรากฏในด้านการทําบุญเลี้ยงพระ และ เจริญพระพุทธมนต์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของเรือนหลัง
ใหม่ สําหรับความผูกพันกับศาสนาฮินดูนน้ั ก็มอี ยูใ่ นกิจกรรม ที่เกี่ยวกับประเพณีนิยมทั่วๆ ไป เช่น การทําขวัญเรือน การ ทําขวัญเด็กเกิดใหม่ ตลอดจนการทําขวัญให้แก่ผทู้ เ่ี พิง่ พ้นจาก เคราะห์กรรมอย่างใดอย่างหนึง่ นอกจากนีก้ อ็ าจพบศาสนา ฮินดูในพิธีการแต่งงาน การฉลองวันขึ้นศกใหม่ หรือการ ฉลองวันนักขัตฤกษ์ต่างๆ ลักษณะความเชื่อถือทางลัทธิศาสนาและอุปนิสัย ของคนไทยสะท้อนออกมาอย่างชัดเจนยิง่ อยูใ่ นรูปแบบของ เรือนไทยทั่วทั้งประเทศ พุทธศาสนาได้สร้างพื้นฐานของ ความเมตตาอารีขึ้นในจิตใจของบุคคล จนกระทั่งบางส่วน ของคติธรรมได้ถูกนํามาแสดงไว้ในรูปแบบของสถาปัตยกรรมด้วย เช่นตามหน้าเรือนภาคเหนือและภาคกลางทั่วๆ ไปจะตั้งหม้อน้ำดื่มไว้สําหรับผู้ที่เดินทางผ่านจะได้มีน้ำดื่ม หรือล้างหน้า น้ำนั้นเป็นน้ำเย็นสะอาดใส่หม้อดินไว้ พร้อม กับมีขันหรือกระบวยสําหรับตัก (รูป ๑๒) ความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่นี้ได้แสดงให้เห็นถึงการยอมรับรู้และเห็นใจในความ เหน็ดเหนือ่ ยของผูท้ ต่ี อ้ งเดินทางไกล และทีบ่ ริเวณหน้าบ้าน เจ้าของเรือนจะปลูกศาลาขนาดเล็กสําหรับผู้เดินทางผ่าน ได้อาศัยพักผ่อนชั่วครั้งคราว หรือใช้เป็นที่ถวายอาหาร บิณฑบาตแก่พระภิกษุในตอนเช้า สําหรับบ้านทีเ่ จ้าของเป็นผู้ ที่มีฐานะดีนั้น ในโอกาสที่เป็นวันนักขัตฤกษ์หรือวันสําคัญ ทางพุทธศาสนา เจ้าของบ้านก็จะใช้ศาลานี้ตั้งอาหารคาว หวานเลีย้ งเป็นทานแก่ผยู้ ากจน (รูป ๑๓) ลักษณะการตัง้ โรง ทานเช่นนี้เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นความเชื่อในเรื่องการ บําเพ็ญทานบารมีท่สี ะท้อนมาจากคติธรรมของพุทธศาสนา และเห็นได้ชัดว่าได้รับความบันดาลใจมาจากเรื่องเวสสันดร ชาดก ลักษณะสถาปัตยกรรมของเรือนไทยที่แสดงให้ เห็นคติธรรมทางศาสนาที่สําคัญอีกประการหนึ่ง คือการ ออกแบบจั่วเรือนเป็นแบบจั่วพรหมพักตร์ ซึ่งแปลว่าหน้า ของพรหม (รูป ๑๔) การทําจั่วพรหมพักตร์นั้นก็เพื่อจะให้ ได้ความหมายของพรหมวิหาร อันเป็นหลักธรรมทีพ่ ทุ ธศาสนิกชนควรถือปฏิบัติ เป็นสิ่งที่เตือนให้เจ้าของเรือนและผู้ อยู่อาศัยต้องระลึกเสมอว่าตนเป็นผู้มีพรหมวิหารหรือให้ สมมุตวิ า่ ทีน่ เ้ี ป็นทีอ่ ยูข่ องผูท้ เ่ี ป็นพรหม เพือ่ ทีท่ กุ คนจะได้กระ ทําความดี มีความเมตตากรุณา มีมุทิตาและอุเบกขา
สังคมเครือญาติ
การอยู่ร่วมกันของชุมชนในอดีตนั้นมีลักษณะที่ คล้ายชุมชนแบบเครือญาติ ดังจะเห็นได้จากการปลูกบ้าน สร้างเรือนอยู่ใกล้ชิดกัน ไม่มีรั้วกั้นอาณาเขต การติดต่อไป มาภายในชุมชนก็อาศัยเดินผ่านเขตบ้านของกันและกันได้ โดยไม่มีการหวงห้าม หากจะมีรั้วกั้นก็มีจุดประสงค์เพื่อกัน สัตว์ทําลายพืชผลที่เพาะปลูกไว้เท่านั้น ชุมชนที่เติบโตขึ้นใน ลักษณะเช่นนี้มักจะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเช่นในฤดูเก็บ
เรือนไทย
๓๙๓
เกี่ยวพืชผลก็จะขอแรงกันไปช่วยงานจนแล้วเสร็จ หรือแม้ แต่ในการปลูกสร้างบ้านเรือนก็จะใช้วิธีขอแรงจากเพื่อนบ้าน มาช่วยกันทํา เมื่อมีการปลูกสร้างบ้านเรือนหรือมีกิจกรรม ใด ผูค้ นในชุมชนนัน้ ก็จะมาร่วมช่วยเหลือโดยมิตอ้ งใช้ทรัพย์ สินจ้าง เจ้าของบ้านเพียงแต่หาอาหารและสุราเลี้ยงดูกัน เท่านั้นก็เป็นการเพียงพอ ลักษณะการร่วมมือซึ่งกันและกัน เช่นนี้มีตลอดไปในกิจกรรมทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการร่วม กันปลูกเรือนดังกล่าวมานีห้ รือการเก็บเกีย่ วพืชไร่ทางเกษตร กรรม การสร้างวัด การแต่งงาน การเผาศพ การทําบุญ เลี้ยงพระ หรือการขุดบ่อน้ำ คนในชุมชนนั้นก็จะมาร่วมกัน ช่วยเหลือการงานให้เสร็จสิ้นลงด้วยความสามัคคีและสนุก สนานเสมอ ผูใ้ ดก็ตามทีอ่ ยูใ่ นชุมชนเช่นนัน้ ย่อมมีความสํานึก ในการเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมโดยไม่อาจปลีกตนออกได้ การสูญเสียวัฒนธรรมไทยทีเ่ ป็นรูปแบบของเรือน ไทยเดิม ไม่ว่าจะเป็นเรือนไทยภาคใดก็ตาม เมื่อพิจารณาดู แล้วจะเห็นว่าเป็นไปในทํานองเดียวกับสถาปัตยกรรมใน สถาบันของพระมหากษัตริย์และสถาบันทางพุทธศาสนา คือคนไทยรุน่ ใหม่ได้รบั การศึกษาตามวิชาการและแนวความ คิดแบบตะวันตก และเครื่องใช้ไม้สอยแบบยุโรปที่ให้ความ สะดวกสบายก็มีส่วนสําคัญในการเปลี่ยนแปลงชีวิตความ เป็นอยู่ของคนในเมืองหลวงมากขึ้น บ้านเรือนจึงได้เปลี่ยน รูปแบบจากวัฒนธรรมเดิมมาสู่วัฒนธรรมแบบใหม่ ความ เปลี่ ย นแปลงในเมื อ งหลวงย่ อ มเป็ นต้ น เหตุ ให้ เมื อ งอื่ น ๆ เปลี่ยนแปลงตาม เพราะถือกันว่าเมืองหลวงเป็นเมืองแม่ แบบความเจริญของประเทศ (รูป ๑๕) นี้คือสาเหตุของการ เกิดความเปลี่ยนแปลงโดยทั่วๆ ไป ในอดีตนั้นผู้คนที่เดิน ผ่านหน้าวัดจะแหงนดูความพราวแพรวของช่อฟ้าใบระกา และความงดงามของหน้าบันโบสถ์ด้วยความศรัทธาและ ประทับใจ เมื่อเข้าไปในโบสถ์หรือวิหาร ทุกคนก็จะต้อง แหงนหน้าขึ้นมองดูพระประธานด้วยความศรัทธา หรือได้ เห็นภาพเทพบุตรและเทพธิดาเหาะลอยอยู่บนส่วนสูงของ ผนัง แต่ในปัจจุบนั นีค้ นทีป่ ระกอบกิจการอยูใ่ นอาคารธุรกิจ หรือผู้ที่พักอยู่บนโรงแรมหลายๆ ชั้นในเมืองหลวง ก็อาจ ต้องก้มลงมองดูสง่ิ ทีเ่ คยแหงนหน้าขึน้ มองด้วยความศรัทธา ในสมัยก่อน สิ่งที่กล่าวมานี้ทําให้เรามองเห็นความแตกต่าง ในด้านจิตใจและในด้านวัตถุที่เราได้เลือกในปัจจุบันกับจิตใจ และศรัทธาของคนไทยในอดีต
๑๒
๑๓
๑๔
๓๙๔ ภูมิหลัง
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของเรือนไทย รูป ๑๒ ภาพแสดงลักษณะการตั้งหม้อน้ำดื่มข้าง ทางเดิน เพื่อคนที่เดินทางผ่านจะได้อาศัยดื่ม หรือลูบหน้าให้มีความสดชื่นขึ้น ผู้ที่ตั้งหม้อ น้ำดื่มเพื่อสาธารณประโยชน์เช่นนี้ ถือกันว่า ได้กุศลแรง ภาพนี้ได้มาจากวัดป่าอุดมสมพร อําเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
รูป ๑๓ ภาพแสดงหลักฐานศาลาสาธารณะริมทาง เดิน ซึ่งเดิมเรียกว่าศาลาฉ้อทาน ผู้เขียนได้เคยเห็นมีการตั้งอาหารและ เครื่องดื่มเลี้ยงผู้คนที่เดินผ่าน ในวันสําคัญทางศาสนา แต่ในสมัยปัจจุบัน นี้มิได้กระทําเช่นนั้นอีกแล้ว ศาลานี้ อยู่ตรงข้ามวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี
รูป ๑๔ ภาพแสดงลักษณะจั่วเรือนไทยแบบจั่ว พรหมพักตร์ เพื่อให้มีความหมายว่า เป็นที่อยู่ของผู้มีพรหมวิหาร
รูป ๑๕ ภาพแสดงการนําเอาประตูไม้ยดื เข้าไปใช้ กับเรือนไทย
เรือนไทยนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากบ้านเรือนของคน ในสังคมเกษตรกรรมเดิม จึงเป็นธรรมดาที่จะไม่เหมาะกับ คนในสังคมเมืองซึง่ เป็นสังคมแบบธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมเช่นสมัยปัจจุบันและพิจารณาสิ่งต่างๆ จากด้านความ คุ้มค่าทางเศรษฐกิจเป็นสําคัญ อย่างไรก็ตามก่อนที่เราจะ ละทิ้งแบบบ้านเรือนในวัฒนธรรมเดิมเหล่านั้นไป เราก็ควร จะได้ลองวิเคราะห์ถึงข้อดีของสิ่งเหล่านั้นในแง่วิชาการไว้ เพื่อว่าเราจะได้พบความดีท่คี วรอนุรักษ์ไว้ในฐานะที่ต้องเกิด ต้องใช้ชีวิตและต้องตายลงในผืนแผ่นดินที่มีธรรมชาติทาง ภูมิศาสตร์เช่นประเทศนี้ ชุมชนแบบเกษตรกรรมของไทยนั้นเป็นชุมชนที่ จะต้องอาศัยพื้นที่ลุ่มเป็นแหล่งประกอบอาชีพหลัก เพราะ ฉะนั้น จึงพบว่าบ้านเรือนทั่วไปมักจะปลูกอยู่ตามลุ่มน้ำที่ อุดมสมบูรณ์ มีปริมาณน้ำมากพอทีจ่ ะทําอาชีพเกษตรกรรม ได้ เรือนไทยจึงนิยมปลูกยกพืน้ บนเสาสูงเพือ่ ว่าในฤดูนำ้ หลาก รูป ๑๖ ใต้ถุนเรือนเสาสูงแบบไทย เป็นที่ใช้งานได้ อเนกประสงค์
จะได้อยูอ่ าศัยได้สะดวก ความจําเป็นทีจ่ ะต้องอาศัยน้ำมาก ในการเกษตรกรรมเช่นนี้จึงทําให้คนไทยให้ความสําคัญแก่ น้ำจนถึงกับกําหนดเป็นฤดูกาลเฉพาะขึ้นในภาษาคือมีคําว่า “หน้าน้ำ” ต่างหากไปจากคําว่า หน้าร้อน หน้าหนาว และ หน้าฝน ที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ
การล้มเสา
การยกเรือนมีเสาสูงนั้นเรือนไทยก็มิได้ยกขึ้นตรง เป็นแนวตัง้ ฉากจากพืน้ ดิน แต่จะยกโดยวิธลี ม้ เสาเข้าหาด้าน ในของเรือน เพื่อใช้ประโยชน์จากแนวล้มเอนของเสาด้าน นั้นต้านสู้สวนทางกับกระแสลมหรือกระแสน้ำ มิให้เรือนเซ ตามและพังไปได้ง่าย ส่วนดีต่อมาของการยกเสาสูงก็คือ ภายใต้ตัวเรือนสามารถใช้เป็นที่ร่มทํากิจกรรมต่างๆ เช่น ตําข้าว ทอผ้า เก็บล้อเกวียน เก็บเครื่องมือเกษตรกรรม หรือแม้แต่เป็นที่พักวัวหรือควาย ในเมื่อที่รอบนอกถูกน้ำ ท่วมเหลือแต่เพียงโคกดินที่เรือนนั้นปลูกอยู่ (รูป ๑๖) ส่วนดีของวิธีการล้มเสาเบนเข้าหาภายในนั้นยังมี อีก และมีความสําคัญในด้านเทคโนโลยีทางการก่อสร้างเป็น อย่างมาก นั่นคือ การบังคับโครงสร้างให้มีคุณสมบัติคล้าย โครงสร้างของรูปสามเหลี่ยมซึ่งมีความมั่นคงไม่เคลื่อนตัว เหมือนรูปเหลี่ยมอื่นๆ นอกจากนี้ฝาเรือนที่ประกอบสําเร็จ รูปมาแล้วก็สามารถจะนํามาวางพิงเข้ากับเสาได้โดยไม่ล้ม ออกมาจากตัวอาคารทั้งๆ ที่อาจไม่มีเดือยยึดก็ตาม ข้อดีนี้ ได้พบว่าเรือนที่มีอายุเก่าแก่เพียงใดก็ตามแม้ไม้เดือยยึดฝา จะเปื่อยขาดไปแล้วก็ยังทรงรูปอยู่ได้ และด้วยการสอบล้ม เสารอบด้านนี้โครงสร้างของเรือนไทยจะบีบกระชับเข้าหา กันโดยอัตโนมัติอยู่ตลอดเวลา
ระบบระบายอากาศ
ผู้ที่เคยปลูกเรือนแบบไทยอยู่จะพบว่าเรือนไทยมี ระบบระบายอากาศทีด่ เี ยีย่ ม เพราะการยกพืน้ สูงนัน้ ตัวห้อง ที่อยู่อาศัยจะมีลักษณะเหมือนถูกห่อด้วยอากาศ นอกจากนี้ การออกแบบเรือนไทยยังเป็นแบบที่อากาศมีทางถ่ายเททั้ง ในทางแนวดิ่งและในทางแนวขนาน (รูป ๑๗)
เรือนไทย
๓๙๕
เรือนทั้งสามระดับจะทําให้เกิดช่องเปิดระหว่างระดับของ พื้นที่ ลมจะสามารถพัดผ่านเรือนไปได้โดยไม่มีส่วนบังขวาง นอกจากนี้ ระดับห่างระหว่างพื้นทําให้มีประโยชน์เพิ่มขึ้น ตรงที่คนที่อยู่บนเรือนสามารถจะมองลอดช่องเหล่านี้ลงไป เห็นพืน้ ทีส่ ว่ นทีเ่ ป็นใต้ถนุ เรือนได้วา่ ผูใ้ ดกําลังกระทํากิจกรรม สิ่งใดอยู่ ในบางครั้งผู้ที่มองดูเรือนไทยจะมองเห็นรั้วกั้น ชานนั้นเป็นสิ่งที่กั้นกําบังลมไม่ให้พัดผ่านได้สะดวก แต่ถ้า จะสังเกตให้ดีแล้วก็จะเห็นว่าช่างโบราณมิได้มองข้ามปัญหา นี้เลย รั้วไม้ส่วนมากจะมีซี่ลูกกรงประมาณครึ่งหนึ่งของ ความสูงของรั้วเพื่อให้ลมผ่านได้ และยิ่งไปกว่านั้น รั้วชาน หรือฝาเรือนพะไลหลายแห่งได้ทําฝาเลื่อนชนิดที่เรียกว่า ฝาไหล ไว้ด้วย ด้วยวิธีความคิดเช่นนี้จึงทําให้เรือนไทยไม่มี จุดอับเรื่องลมเลย
การวางแนวทิศทาง
๑๗ รูป ๑๗ ภาพแสดงลักษณะการระบายอากาศทั้งใน แนวดิ่งและแนวขนานของเรือนไทย
๓๙๖ ภูมิหลัง
ในทางแนวดิ่งนั้นอากาศส่วนที่อยู่ในช่องหลังคา จะมีความร้อนกว่าอากาศในส่วนอื่นๆ ของเรือน โดยธรรมชาติแล้วอากาศร้อนย่อมจะลอยขึ้นสู่เบื้องสูง เพราะเหตุนี้ อากาศร้อนในช่องหลังคาจึงระบายออกได้ง่ายทางช่องห่าง ของใบจากที่ใช้เป็นวัสดุมุง อากาศที่เย็นกว่าของส่วนที่เป็น ห้องก็จะลอยขึ้นมาแทนที่ พร้อมๆ กับดูดเอาอากาศที่เย็น ในส่วนของใต้ถุนเรือนขึ้นมาตามช่องห่างของแผ่นกระดาน ปูพน้ื ในเวลากลางวันทีม่ คี วามร้อนมากๆ การถ่ายเทอากาศ แบบลูกโซ่ทํานองนี้จึงมีอยู่ตลอดเวลา นี่จึงเป็นวิธีถ่ายเท อากาศตามแนวดิ่งของเรือนแบบไทย คราวนี้ลองพิจารณาดูการถ่ายเทอากาศในแนวที่ ขนานกับตัวเรือน ถ้าจะมองดูวิธีการวางระดับพื้นของเรือน ก็จะเห็นการจัดระดับไว้ต่างกันหลายระดับ เช่นยกพื้นชาน นอกชายคาเป็นระดับพื้นที่อยู่ต่ำสุดของเรือน พื้นเรือนพะไลหน้าห้องจะถูกยกขึ้นสูงกว่าพื้นชานนอก และพื้นห้องใน ตัวเรือนจะอยู่ในระดับยกที่สูงที่สุด ความต่างระดับของพื้น
การแก้ปัญหาเรื่องการระบายอากาศเท่าที่กล่าว มาแล้วจัดได้ว่าเป็นวิธีการที่ผู้ออกแบบเรือนไทยทําได้อย่าง สําเร็จผล ยิ่งกว่านั้น การวางแนวทิศทางของเรือนและ การสร้างหลังคาคลุมก็ยังเป็นวิธีการที่ช่วยลดความร้อนใน เรือนได้อย่างดีดว้ ย เพราะตัวเรือนนัน้ เองได้ถกู จัดวางขนาน ไปกับทิศทางของตะวันตกและตะวันออกหันเอาด้านหน้าสู่ ทิศเหนือ นอกเสียจากกรณีทไ่ี ม่อาจเลือกทิศทางได้ การจัด แนวเรือนในลักษณะทิศทางเช่นนี้ทําให้แนวของแสงแดดใน ช่วงเวลาใดก็ตาม หรือแม้แต่แสงแดดเวลาเที่ยงซึ่งมีความ ร้อนจัด ไม่อาจตกกระทบตั้งฉากกับผิวหลังคาได้ตรงตัว ความร้อนจึงไม่ถูกดูดซึมเข้าเก็บในวัสดุมุงได้ ประกอบกับ การวางเรือนเช่นนีจ้ ะทําให้ลมใต้เข้าได้เต็มที่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามีความจําเป็นที่จะต้องเปลี่ยนทิศทางการวางตัวอา- คารทําให้หลังคาต้องรับแสงแดดเวลาเที่ยง ปัญหานี้ก็ไม่สู้ จะสําคัญนัก ถ้าหากเรือนนั้นใช้ใบจากมุง เพราะใบจากไม่ใช่ วัสดุดดู ความร้อน การตัง้ แนวเรือนขนานแนวตะวันออกและ ตะวันตกนัน้ มีขอ้ ได้เปรียบในเรือ่ งแสงแดดส่อง อีกประการ หนึ่ง คือฝาด้านข้างของเรือนจะไม่มีโอกาสถูกแดดส่องเลย แดดจะส่องฝาเรือนด้านสกัดเฉพาะช่วงเวลาเช้าและเย็น ซึง่ เป็นเวลาทีแ่ สงแดดมีกาํ ลังอ่อนเท่านัน้ เพราะฉะนัน้ การ สร้างเรือนแบบไทยและกําหนดแนววางตามทิศที่ทํากันมา แต่โบราณจึงมีผลต่อการลดความร้อน และการระบาย อากาศอย่างมาก ลักษณะเรือนไทยตามที่ได้วิเคราะห์มาแล้วแสดง ให้เห็นว่าผูอ้ อกแบบได้คาํ นึงถึงลักษณะทางภูมศิ าสตร์ธรรมชาติของดินฟ้าอากาศ และวัสดุก่อสร้างแล้วเป็นอย่างดี จึงได้ปรับปรุงและพัฒนาแบบเรือนจนมีความเหมาะสมกับ ท้องถิ่น และถ้าหากว่าจะได้มีการพิจารณาเอาข้อดีเหล่านี้ ของเรือนไทยมาใช้ในการออกแบบอาคารสมัยปัจจุบันแล้ว ปัญหาเรื่องความอับทึบและความจําเป็นในการใช้แสงไฟ
รูป ๑๘ ภาพแสดงการใช้ประโยชน์ของชาน ในกรณีพื้นดินชื้นแฉะหรือมีน้ำท่วมถึง
รูป ๑๙ ภาพแสดงการทําสวนแบบชานเรือนของ เรือนไทย
และเครื่องปรับอากาศก็คงจะลดน้อยลงกว่าที่เป็นอยู่ใน ขณะนี้มาก ลักษณะบ้านเรือนไทยในสมัยปัจจุบันไม่ได้แสดง เค้าความคิดของเรือนไทยในอดีตให้หลงเหลืออยู่เลย การ แก้ปัญหาเรื่องอากาศร้อนในปัจจุบันก็ใช้วิธีแก้ด้วยเครื่อง ปรับอากาศ ซึง่ เรือนไทยในอดีตนัน้ ได้ใช้กระแสลมธรรมชาติ ไล่อากาศร้อน กระแสลมธรรมชาติจะพัดผ่านจากด้านหนึ่ง ของหมู่บ้านไปจนตลอดทั้งหมู่บ้าน เพราะบ้านทุกหลังยก พื้นสูง หมู่บ้านบางหมู่บ้านในอดีตมีลักษณะความเป็นอยู่ อย่างฉันเครือญาติ ไม่มีรั้วเป็นเครื่องกั้นเขต หรือหากจะมี ก็จะเป็นรั้วลักษณะโปร่ง พอแสดงเป็นเขตกั้นหรือเพื่อป้อง กันสัตว์บุกรุกเท่านั้น เพราะฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าไม่มีสิ่งใดเป็น อุปสรรคที่กั้นบังกระแสลม แต่ในปัจจุบันนี้ซึ่งเป็นสมัยที่ บ้านเมืองเจริญในทางวัตถุ รั้วทึบของแต่ละบ้านและความ ทึบของบ้านเรือนที่ไม่ได้ยกพื้นกลายเป็นสิ่งกีดขวางทางลม โดยสิ้นเชิง
ชานเรือน
๑๘
เพราะการที่เรือนไทยไม่มีร้วั รอบขอบชิดและพื้นที่ ดินยังอาจถูกน้ำท่วมถึงในบางฤดูกาล เรือนไทยจึงมีลกั ษณะ เฉพาะ กล่าวคือ มีชานเรือนเพื่อสนองความต้องการใช้พื้น ที่กลางแจ้งในฤดูที่น้ำท่วมถึง (รูป ๑๘) ใช้สําหรับเป็นที่ตาก ของ และบางบ้านก็ได้อาศัยชานหน้าเรือนนัน้ เป็นสวนไม้ดอก ไม้ผลขนาดเล็กไปด้วย เรือนตามริมแม่น้ำลําคลองได้แสดง ลักษณะการใช้สอยชานเช่นนีอ้ ย่างชัดเจน (รูป ๑๙) ในวรรณคดีไทยที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีเรื่องขุนช้างขุนแผนก็เน้น ถึงลักษณะพิเศษของการใช้ชานกลางแจ้งไว้จนผูอ้ า่ นสามารถ มองเห็นความงดงามของชานได้ และสิ่งที่ปรากฏชัดเจนใน แบบเรือนของภาคกลางก็คือลักษณะการออกแบบเรือนที่ ยอมรับสภาพธรรมชาติ ทัง้ ด้านความร้อนของอากาศ และ ทั้งสภาพน้ำท่วม ผู้อยู่อาศัยจึงมีความพร้อมในทุกขณะที่จะ รับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ มีความเป็นอยู่ เป็นปกติตลอดปีโดยไม่รู้สึกเดือดร้อน
ระดับความสูง
ขนาดและความสูงของเรือนนัน้ สังเกตได้วา่ มีความ สัมพันธ์กับช่วงอวัยวะของคนเราโดยตลอด เริ่มตั้งแต่การ ยกระดับพื้นห้องกับพื้นชาน ระดับที่ต่างกันนั้นคือระดับที่ เจ้าของเรือนสามารถนั่งห้อยเท้าได้พอดี ระดับขอบหน้า ต่างก็อยูใ่ นช่วงทีผ่ ทู้ อ่ี ยูใ่ นห้องจะสามารถนัง่ มองออกไปภาย นอกได้สะดวก ความสูงของชายหลังคาเรือนพะไลก็เป็น ความสูงที่ผ้อู าศัยจะสามารถวางกระด้งตากสิ่งของบนหลัง คาได้ถนัด เรือนไทยจึงเป็นแบบเรือนทีผ่ อู้ ยูส่ ามารถประกอบ กิจกรรมในครัวเรือนทุกสิ่งทุกอย่างจนสําเร็จบนตัวเรือนได้ โดยไม่ต้องอาศัยพื้นดินตอนล่าง ถ้าจะพิจารณากันในด้าน ๑๙
เรือนไทย
๓๙๗
ความปลอดภัยของที่อยู่อาศัยแล้ว ถ้าเจ้าของเรือนจะชัก บันไดขึ้นเก็บไว้ในตอนกลางคืน เรือนไทยก็จะให้ความปลอด ภัยได้ดีที่สุด
เสาซ่อนทรัพย์
ในสมัยโบราณนั้นจะไม่มีใครรู้เลยว่าเจ้าของเรือน เก็บทรัพย์สินเงินทองของตนไว้ที่ใด จะไม่มีใครพบเห็นหีบ หรือตู้เก็บสิ่งของเหล่านี้ นอกเสียจากเจ้าของทรัพย์สินเอง เท่านั้นที่จะรู้ว่าตนนําไปซ่อนไว้ในที่ใด เสาเรือนไทยโบราณ เป็นเสาทีม่ ขี นาดใหญ่มาก เสาต้นใดต้นหนึง่ ในเรือนจะมีโพรง ที่ถูกเจาะไว้อย่างมิดชิดด้วยฝีมือเจาะและตัดเนื้อเสาเป็น ช่องอย่างประณีต บุคคลอืน่ ๆ จะไม่สงั เกตเห็นร่องรอยช่อง เจาะนี้เลย ในปัจจุบันนี้จะหาดูเสาที่เจาะซ่อนทรัพย์ประเภท นีไ้ ด้ยาก แต่ผทู้ ส่ี นใจก็อาจขอดูได้จากพิพธิ ภัณฑ์วดั พระธาตุ ลําปางหลวง จังหวัดลำปาง ที่เสาต้นหนึ่งยังคงมีช่องเจาะ ชนิดนี้อยู่
ท่านผู้อ่านได้เห็นลักษณะอันแท้จริงและบรรยากาศในอดีต ผูเ้ ขียนจึงขอนําภาพทีค่ าร์ล ดอริง สถาปนิกชาวเยอรมัน ได้ บันทึกไว้มาแสดงประกอบในทีน่ ้ี ทัง้ นีเ้ พราะในปัจจุบนั ไม่อาจ หาภาพถ่ายให้เห็นความหนาแน่นของเรือนแพเช่นนั้นได้อีก (รูป ๒๑) ในปัจจุบันนี้แม้จะคงมีเรือนแพอยู่บ้างในบางท้อง ที่เช่นที่จังหวัดอุทัยธานี แต่รูปลักษณะของแบบและวัสดุก็ เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก ส่วนใหญ่แล้วจะมีอุปสรรคใน การสร้างและซ่อมแซมทุ่นลอยที่มีราคาแพงกับมีอุปสรรค ที่เกิดจากคลื่นจากจํานวนเรือที่มีมากขึ้น ทําให้การอยู่อาศัย ไม่มีความสงบสุขอย่างแต่ก่อน เจ้าของเรือนแพจึงพากันย้าย เรือนขึ้นไปปลูกบนฝั่ง จํานวนเรือนแพจึงหมดลงด้วยเหตุนี้
เรือนแพ
เนื่องจากเรือนอยู่อาศัยของคนไทยในภาคกลาง เป็นเรือนทีพ่ ฒ ั นาขึน้ จากการปลูกสร้างในทีล่ มุ่ น้ำมักจะท่วม ถึง จึงเห็นได้วา่ เรือนไทยเป็นเรือนทีส่ ามารถประกอบกิจกรรม ในการกินอยูไ่ ด้เบ็ดเสร็จบนเรือน แม้แต่การปลูกสวนชานเรือน บนยกพืน้ ดังทีไ่ ด้กล่าวไว้แล้ว แม้จะมีความสะดวกสบายและ ไม่มอี ปุ สรรคในเรือ่ งน้ำท่วมก็ตาม ก็ยงั มีคนบางกลุม่ ทีพ่ อใจ จะอยู่กับน้ำ และอาศัยลําน้ำเป็นทางดําเนินชีวิตประจําวัน คนเหล่านี้ปลูกเรือนอยู่ในน้ำและเคลื่อนย้ายเรือนของตนไป ตามทําเลประกอบอาชีพ เช่น พวกที่ทอดแหจับปลา หรือ ค้าขาย ในอดีตนั้นการคมนาคมทางน้ำนับว่าเป็นหนทางที่ สะดวกรวดเร็วทีส่ ดุ การขนถ่ายสินค้าทางน้ำจากท้องถิน่ หนึง่ ไปยังอีกท้องถิ่นหนึ่งทําได้ง่ายในปริมาณที่มากกว่าที่จะใช้ พาหนะทางบก นอกเหนือจากเหตุผลอืน่ คนไทยเป็นชนชาติ ที่มีอาชีพหลักในการเกษตรกรรม ดังนั้นการตั้งถิ่นฐานของ คนไทยจึงนิยมอาศัยลําน้ำเป็นทําเลประกอบอาชีพที่สําคัญ เมืองในอดีตจึงตัง้ อยูช่ ดิ หรือใกล้ลาํ น้ำใหญ่ทกุ แห่ง แม้เมือง จะเจริญเติบโตและต้องขยายเข้าไปในแผ่นดินส่วนลึกมาก ขึ้นก็ตาม คนก็พยายามขุดคลองตามเข้าไปหาชุมชนเพื่อใช้ น้ำในการเกษตรกรรมและใช้เป็นทางคมนาคมตลอดมา ตัว อย่างของระบบการขุดคลองทีส่ ลับซับซ้อนของกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์เป็นหลักฐานที่สนับสนุนความจริงข้อ นี้ได้ เพราะฉะนั้น บ้านเรือนของชุมชนไทยจึงมักจะมีแบบที่ สําคัญอยูส่ องแบบ คือเรือนบนบก และเรือนในน้ำ สําหรับ เรือนในน้ำนัน้ เรือนแพมีแบบเฉพาะทีส่ ร้างขึน้ ตามประโยชน์ ใช้สอยในการอยู่อาศัยและประกอบอาชีพ (รูป ๒๐) ในสมัย รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อไม่นานมานี้เอง เรือน แพก็ยังมีอยู่หนาแน่นตามริมฝั่งแม่น้ำลําคลอง และเพื่อให้
๓๙๘ ภูมิหลัง
๒๐
รูป ๒๐ ภาพแสดงลักษณะทัว่ ไปของเรือนแพทีย่ งั หา ดูได้ในปัจจุบันตามลําน้ำ
รูป ๒๑ ภาพความเป็นอยู่ตามริมน้ำของราษฎรใน สมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่ง คาร์ล ดอริง สถาปนิกชาวเยอรมันได้บันทึกภาพ ไว้เป็นหลักฐาน
วิธีสร้าง
เรือนไทยแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแบบเรือนที่ มีช่วงเวลาพัฒนามานาน จนกระทั่งสังเกตได้ว่ามีสัดส่วนที่ ลงตัวจนสามารถสร้างเป็นชิ้นส่วนจําหน่ายเพื่อซื้อไปซ่อม หรือไปสร้างด้วยตนเองได้ กรณีเช่นนี้ก็นับว่าเรือนไทย สามารถทําเป็นชิ้นส่วนสําเร็จรูปได้ หลักฐานนี้หนังสือคําให้ การชาวกรุงเก่าได้อา้ งถึงหมูบ่ า้ นนางเอียน ชานกรุงศรีอยุธยา ที่มีการค้าขายอุปกรณ์สําเร็จรูปสําหรับสร้างบ้านเรือนเอา ไว้ด้วย คําให้การนี้ได้กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ การสร้างเรือนไทยนั้นดูจะมีธรรมเนียมวิธีการที่ แปลกประหลาดไปจากวิธีการปลูกสร้างทั่วๆ ไป ตรงที่ช่าง ปลูกสร้างเรือนไทยจะทําชิ้นส่วนของเรือนประกอบเป็นรูป จนสำเร็จบนพื้นดินเสียก่อน เช่นการทำโครงหลังคาและ การประกอบแผงฝา เมือ่ ตรวจทุกสิง่ ได้สดั ส่วนและเข้ารูปบน พื้นดินจนไม่มีข้อบกพร่องแล้วจึงจะเริ่มลงมือปลูกตามฤกษ์ ยาม โดยถอดชิน้ ส่วนทีเ่ ตรียมไว้ออก แล้วยกขึน้ ประกอบอีก ครัง้ หนึง่ บนเสาทีต่ ง้ั ขึน้ ใหม่ คราวนีท้ กุ สิง่ ทุกอย่างก็จะเป็น ไปโดยรวดเร็วและถูกต้องทุกประการ รูเสาที่เจาะไว้จะรับ กับโครงจั่วที่ทําไว้แล้ว ส่วนฝาเรือนก็จะถูกยกขึ้นทั้งแผง ทําให้สะดวกในการติดตั้ง จากการสังเกตสัดส่วนของเรือนหลายหลังทีม่ กี าร ปลูกสร้างอย่างประณีต ทําให้มองเห็นว่าส่วนของเรือนไทย มักจะไม่ใคร่แตกต่างกันมากนัก เรือนสําหรับครอบครัวที่มี ขนาดปานกลางมักจะดูเหมือนกับสร้างจากสูตรบังคับอัตรา ส่วน และเมื่อได้ลองนําเอาวิธีการทางเรขาคณิตเข้าเทียบดู ก็จะเห็นความน่าอัศจรรย์ท่คี นไทยในสมัยก่อนซึ่งไม่เคยรู้จัก วิชานี้เลย แต่สามารถกําหนดส่วนได้อย่างลงตัว หรือ อย่างน้อย ก็มีความใกล้เคียงมาก ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เช่นนี้ทําให้น่าคิดว่าความงามขั้นอุดมคตินั้นย่อมจะต้องมี เหตุผลแฝงอยู่เบื้องหลังเสมอ และถ้าค้นหาด้วยวิธีการที่ ถูกต้องก็จะพบความจริงนี้ (รูป ๒๒) ส่วนการสร้างเรือนขึ้นอยู่อาศัยในลําน้ำนั้น ต้อง การความรูเ้ รือ่ งการลอยตัวและเทคนิคในการประกอบโครง สร้างเป็นพิเศษยิง่ กว่าการปลูกสร้างบนบก เรือนแพมีสภาพ คล้ายเรือทีต่ อ้ งเคลือ่ นขึน้ ลงตามคลืน่ และมีการสัน่ โยกมาก กว่าเรือนบนบก จึงต้องการความรู้ในการถ่วงบรรทุกเพื่อมิ ให้เอียงไปในทางใดทางหนึง่ เพราะฉะนัน้ แม้วา่ โดยหลักการ ใหญ่โครงสร้างของเรือนแพจะเป็นเช่นเดียวกับเรือนบนฝั่ง ก็ตาม แต่จดุ ต่อทุกจุดจะต้องมีวธิ กี ารทําเป็นพิเศษให้เคลือ่ น ขยับได้เมื่อถูกแรงคลื่น มิฉะนั้นแล้วก็จะทําให้โครงสร้างนั้น หักพังได้ ส่วนการถ่วงน้ำหนักบรรทุกนั้นชาวแพก็ใช้วิธีการ อย่างง่ายๆ คือตั้งโอ่งน้ำใส่น้ำกินน้ำใช้ลงตรงจุดที่ต้องการ ถ่วง และน้ำหนักถ่วงนั้นก็คือปริมาณน้ำที่เก็บไว้ใช้นั่นเอง
รูป ๒๒ ภาพแสดงการค้นหาสัดส่วนของเรือนไทย ด้วยวิธีเรขาคณิต ซึ่งผู้เขียนได้ตั้งสมมุติฐาน ขึ้นในขณะที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฤทัย ใจจงรัก กําลังทําการศึกษาและวิจัยเรื่องเรือนไทย ภาคกลาง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ และแสดงการ วางรูปหมู่เรือนไทย ซึ่งสามารถขยายออก ได้เมื่อจํานวนสมาชิกในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น
๒๒
เรือนไทย
๓๙๙
เรือนหลวง รูป ๒๓ ภาพตําหนักหรือเรือนหลวงทีพ่ พิ ธิ ภัณฑสถาน แห่งชาติเก็บรักษาไว้ ข้อทีน่ า่ สังเกตในทีน่ ค้ี อื การใช้ขนาดตัวไม้ทม่ี ขี นาดใหญ่กว่าบ้านเรือน ราษฎรสามัญ และการใช้ชอ่ ฟ้าเครือ่ งลํายอง ประดับหลังคาอันเป็นแบบทีเ่ รือนราษฎร สามัญไม่อาจนํามาใช้ได้
เรือนสําหรับบุคคลในราชตระกูลนั้นเรียกกันเป็น สามัญว่า “ตําหนัก” และเรียกรวมทั้งบริเวณบ้านว่า “วัง” การเรียกที่อยู่อาศัยของเจ้านายว่าวังและตําหนักเช่นนี้ ผู้ที่ เป็นเจ้าของจะต้องมียศตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปจนถึงชั้น เจ้าฟ้า ถ้าเหนือจากนี้ขึ้นไปถึงชั้นพระมหาอุปราชหรือพระ เจ้าแผ่นดินแล้วก็จะต้องเรียกแตกต่างไปเพื่อให้ทราบชั้นยศ ที่ชัดเจนขึ้น เช่นเรียกพระตําหนัก พระที่นั่ง พระวิมาน หรือ พระมหาปราสาท โดยเฉพาะพระวิมานและพระมหาปราสาท นั้น เจาะจงเรี ย กเรื อ นที่เป็ นของพระมหากษั ต ริ ย์เท่ า นั้น ส่วนบริเวณที่อยู่อาศัยหรือที่ประทับนั้น แม้จะเป็นพระมหา อุปราช ก็เรียกว่า พระราชวังด้วย เว้นแต่พระราชวังที่ประทับ เป็นการถาวรของพระมหากษัตริยเ์ ท่านัน้ ทีจ่ ะเรียกว่า “พระ บรมมหาราชวัง” ในสมัยอยุธยามีขอ้ ห้ามหรือกฎมณเฑียรบาลหลาย ประการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องบ้านเรือนสามัญชน และวังเจ้า นาย เล่าสืบต่อกันมาว่าบ้านเรือนราษฎรที่ปลูกด้วยไม้จริง ซึ่งหมายถึงไม้เนื้อแข็ง อย่างที่เรียกกันว่า เรือนเครื่องประดุ นัน้ จะทําเป็นหลังคาซ้อนชัน้ ไม่ได้ ห้ามไม่ให้ทาํ ป้านลมประดับ เครื่องลํายองอย่างที่เรียกกันว่ามี “ช่อฟ้าหางหงส์” ผูท้ จ่ี ะ ทําเช่นนีไ้ ด้กเ็ ฉพาะบุคคลทีม่ ยี ศหรือเป็นเจ้านายชัน้ เจ้าฟ้าขึน้ ไปเท่านัน้ (รูป ๒๓) นอกจากนี้ ก็ยงั มีขอ้ ห้ามทีร่ ะบุไว้ชดั เจนใน กฎหมายตราสามดวงทีอ่ า้ งศักราชว่าเป็นสมัยรัชกาลสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยาว่า ห้ามมิให้ผู้ใดสร้าง รั้วระเนียดหรือกําแพงล้อมบ้านเรือนของตน นอกเสียจาก ผู้ นั้ น จะเป็ น บุ ค คลชั้ น เจ้ า ฟ้ า จึ ง จะก่ อ กํ า แพงล้ อ มรั้ ว วั ง ของตนได้ และกําแพงนัน้ ก็จะมีใบเสมาด้วยได้ เหตุทม่ี ขี อ้ ห้าม ดังนี้ พิจารณาได้ว่าอาจเป็นเพราะเกรงการซ่องสุมผู้คนไว้ เป็นกําลังก่อการกบฏต่อพระมหากษัตริย์ จึงได้มีการจํากัด และมีขอ้ ห้ามต่างๆ มิให้สร้างสิง่ อันอาจเป็นการแสดงอํานาจ บารมีทัดเทียมกับพระมหากษัตริย์ ในอดีตนัน้ วังของเจ้านายชัน้ สูงส่วนมาก เจ้าของ วังมักจะมีสิทธิใช้สอยก็ต่อเมื่อยังคงดํารงพระชนม์ชีพอยู่ เท่านัน้ เพราะวังแต่ละวังเป็นอาคารและทีด่ นิ ทีพ่ ระเจ้าแผ่น ดินเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว นอกจากจะทรง โปรดพระราชทานให้ผู้ใดอยู่อาศัยเท่านั้น หากผู้ครองวังสิ้น
๔๐๐ ภูมิหลัง
รูป ๒๔ ภาพตัวอย่างวังท่าพระซึ่งผู้ครองวังจะได้รับ พระราชทานให้ประทับอยู่เฉพาะเมื่อยังดํารง พระชนมายุอยูเ่ ท่านัน้ ต่อเมือ่ สิน้ พระชนม์ลง ก็จะโปรดเกล้าฯ พระราชทานเจ้านาย พระองค์อื่นต่อไป วังนี้ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ต้นราชสกุลจิตรพงศ์ เป็นพระองค์สุดท้าย ก่อนที่จะเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ศิลปากรในปัจจุบัน ๒๓ รูป ๒๕ ตําหนักเจ้าฟ้าเดิมที่พระเจ้าเสือ พระราชทานให้เป็นศาลาการเปรียญ วัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี
รูป ๒๖ ตําหนักประทับแรมระหว่างทางเสด็จ พระราชดำเนินทางชลมารคของพระเจ้าเสือ ทีว่ ดั ไทร ธนบุรี เป็นตัวอย่างตําหนัก ที่ประทับแห่งเดียวที่มีป้านลมรูปครุฑ ที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน
รูป ๒๗ เรือนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ที่ได้ทรงอุทิศ ถวายเป็นหอไตรที่วัดระฆังโฆสิตาราม
๒๔
รูป ๒๘ พระตำหนักเรือนต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างในพระราชวังดุสิต ซึ่งเป็น แบบอย่างเรือนไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่งดงามหลังหนึ่ง ๒๕
๒๖
๒๗
พระชนม์ลงก็อาจพระราชทานวังนั้นต่อให้เจ้านายพระองค์ อื่นเข้าประทับต่อไป เช่นตัวอย่างวังท่าพระซึ่งเป็นที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยศิลปากรปัจจุบัน (รูป ๒๔) ตามตํานานวังเก่า ซึง่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ ระบุว่าเดิมเป็นวังที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาล ที่ ๑ พระราชทานให้พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนกระ- ษัตรานุชติ ต่อมารัชกาลที่ ๒ พระราชทานให้เป็นทีป่ ระทับของ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ ๓) ต่อมาเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วได้พระราชทานให้เป็นที่ ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าลักขณานุคณ ุ และ เมือ่ เจ้านายพระองค์นส้ี น้ิ พระชนม์แล้ว ก็ได้พระราชทานต่อ ให้กับพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชุมสายซึ่งต่อมาได้รับ สถาปนาเป็นกรมขุนราชสีหวิกรมในรัชกาลที่ ๔ เมื่อสิ้นพระ ชนม์ลงในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานวังนี้ให้เป็นที่ประ ทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ และต่อมาถึงสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สําหรับเรือนหรือตําหนักเจ้านายนั้น หากเจ้าของ เรือนหรือเจ้าของตําหนักมิได้มียศศักดิ์สูง ก็คงมีลักษณะ เช่นเรือนคหบดีทั่วไป แต่ถ้าเจ้าของตําหนักเป็นเจ้านายชั้น สูง เช่นในระดับเจ้าฟ้าหรือระดับทรงกรมแล้ว เรือนหรือตํา หนักนั้นก็จะมีลักษณะพิเศษที่ผู้อื่นไม่มี คือมีตําหนักใหญ่ที่ เรียกว่า “ท้องพระโรง” ประกอบอยูด่ ว้ ย ทีจ่ ริงนัน้ ท้องพระ โรงนี้ก็คือหอรับแขกขนาดใหญ่นั่นเองมีไว้สําหรับให้ข้าราชการในสังกัดเข้าเฝ้าเพือ่ สัง่ ราชการหรือมีไว้เพือ่ รับแขกเมือง ซึ่งจะเข้ามาติดต่อกิจการงาน ในท้องพระโรงนี้ก็จะมีแท่น ประทับและมีเครื่องยศที่ได้รับพระราชทานตั้งประดับตาม ศักดิ์ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง วังที่เป็นที่ประทับของ เจ้าฟ้านี้ โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นวังที่พระมหากษัตริย์ พระราชทานแก่เจ้าฟ้าชายหรือเจ้านายชั้นสูงที่ทรงกรม มี หน้าที่ราชการบังคับบัญชารับผิดชอบการงาน เพราะวังเจ้า นายในระดับนี้ในอดีตเปรียบเสมือนกรมกองหรือกระทรวง งานไปในตัว การจัดสถานที่ราชการเป็นหลักแหล่งแน่นอน พึ่งทําขึ้นในกลางสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนนั้นเจ้านายหรือข้า ราชการชั้นสูงจะสั่งราชการในวังหรือบ้านของท่าน แม้แต่ ศิลปะการดนตรีและละครก็มีตัวอย่างว่าได้มีผลงานเกิดขึ้น จากวังเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ นอกไปจากที่มีแหล่งอุปถัมภ์อัน เป็นหลักอยูใ่ นวังหลวง หรือเจ้าของวังใดทีเ่ ป็นช่าง วังของ ท่านก็จะเป็นโรงงานช่างหรือโรงฝึกงานช่างไปด้วย ดังเช่น วังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทีม่ ี ช่างทําการเขียนลายผ้าของหลวง หรือฝึกช่างเขียน ในสมัย ก่อนวังบางแห่งจึงได้ทาํ หน้าทีเ่ ป็นวิทยาลัยช่างไปด้วยไปตัว แม้ ในเวลาเมื่อไม่นานมานีเ้ อง งานช่างประณีตศิลป์หลายสาขา ดังทีน่ ยิ มเรียกกันว่า “ช่างสิบหมู่” ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็เป็น งานที่มาจากวังเจ้านายชั้นสูงเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ จนน่าจะ กล่าวได้ว่าวังเจ้านายนั้นเป็นทั้งสถานที่ราชการและเป็นทั้ง สถาบันศิลปะของประเทศ
๔๐๒ ภูมิหลัง
ตําหนักของเจ้านายชั้นสูงนั้นมีอาคารและระบบ การจัดภายในที่ค่อนข้างจะซับซ้อนมากกว่าเรือนของสามัญ ชน เนื่องจากมีการใช้สอยหลายหน้าที่ มีการจัดวางผังที่จะ ต้องคํานึงถึงสัดส่วนที่ต้องการความมิดชิดเพื่อความปลอด ภัยและรโหฐานของผู้ครองวังและครอบครัว อันประกอบ ด้วยภรรยาและบุตร ซึ่งหน้าที่ใช้สอยในส่วนนี้เป็นเขตหวง ห้ามทีบ่ คุ คลภายนอกจะล่วงล้ำเข้าไปไม่ได้ นอกจากนีย้ งั ต้อง มีส่วนใช้สอยเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เช่นส่วนที่เป็นท้องพระโรง และบางวังก็จะต้องมีส่วนที่เป็น โรงทิมหรือศาลาไว้ประกอบงานช่างต่างๆ ด้วย ส่วนข้าทาส บริวารนั้นก็จะมีเรือนที่อยู่อาศัยต่างหากภายในบริเวณวัง หรืออาจมีเรือนของปลัดกรมซึ่งเปรียบเสมือนเลขานุการ ประจําของเจ้านายที่ทรงกรมพระองค์นั้นปลูกอยู่ด้วยภาย ในบริเวณ เป็นทีน่ า่ เสียดายว่าวังเจ้าฟ้าทรงกรมในแบบสถาปัตยกรรมไทยตามทีไ่ ด้กล่าวมานีไ้ ม่อาจหาตัวอย่างทีส่ มบูรณ์ ดูได้ในปัจจุบันแม้แต่แห่งเดียว ตัวอย่างตําหนักเจ้านายชั้นสูงที่อาจระบุไว้ ณ ที่ นี้เป็นอาคารตําหนักเดี่ยวเฉพาะหลัง และถึงแม้จะมิได้เห็น ความสมบูรณ์ในรูปหมู่อาคารที่แสดงความต่อเนื่องในการ ใช้สอย แต่กท็ าํ ให้สามารถมองเห็นความประณีตในการออก แบบสถาปัตยกรรมและความประณีตในองค์ประกอบได้ ชัดเจนพอจะสร้างมโนภาพถึงบรรยากาศของสมัยในอดีต ได้ ดังเช่น ๑. ตํ า หนั ก เจ้ า ฟ้ า ในสมั ย อยุ ธ ยาที่ พ ระเจ้ า เสื อ ได้ยกถวายให้เป็นศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม ที่ จังหวัดเพชรบุรี ตําหนักองค์นี้เป็นตําหนักโถงขนาดใหญ่ สร้างขึ้นด้วยฝีมืออันประณีต ประกอบด้วยประตูหูช้าง ที่ สลักอย่างงดงาม อายุของตําหนักองค์นี้จัดอยู่ในประเภท อาคารไม้ทม่ี อี ายุเก่าแก่ทส่ี ดุ และยังคงมีรปู ร่างสมบูรณ์ทส่ี ดุ ในประเทศไทย ประมาณอายุได้ไม่ตำ่ กว่า ๒๕๐ ปี (รูป ๒๕) ๒. ตํ า หนั ก ประทั บ แรมของพระเจ้ า เสื อ ที่ วั ด ไทร ธนบุรี เป็นตําหนักไม้ลงรักปิดทองอย่างที่เรียกกันว่า “ตําหนักทอง” มีช่องบัญชรสลักไม้ที่มีทรวดทรงงดงาม อย่างทีไ่ ม่มที ใ่ี ดเทียบได้ มีปา้ นลมรูปครุฑยุดนาคซึง่ เป็นตัว- อย่างที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในปัจจุบัน มีสภาพทรุดโทรม ถูกทอดทิ้งโดยไม่มีผู้ให้ความสนใจทั้งๆ ที่เป็นตัวอย่างตํา- หนักไม้ขนาดเล็กทีง่ ดงามหลังหนึง่ ในประวัตศิ าสตร์สถาปัตยกรรมไทยที่ยังหลงเหลืออยู่ ตําหนักไม้องค์นี้ประมาณอายุ ได้ไม่ต่ำกว่า ๒๕๐ ปี ซึ่งนับว่าเป็นอาคารไม้ที่มีอายุเก่าแก่ที่ สุดของไทยได้เช่นกัน (รูป ๒๖) ๓. เรือนต้นของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ที่อุทิศถวายเป็นหอไตรวัด ระฆังฯ เรือนต้นหลังนี้มีลักษณะบางประการที่คล้ายกับ ศาลาการเปรียญทีว่ ดั ใหญ่สวุ รรณาราม จังหวัดเพชรบุรี มี ตัวไม้ขนาดใหญ่ ลักษณะวิธกี ารสร้างตําหนักหลังนีจ้ ดั ว่าอยูใ่ น กระบวนตัวอย่างเรือนในสถาปัตยกรรมไทยทีง่ ดงามหลังหนึง่ (รูป ๒๗)
พระภูมิเจ้าที่
๒๙
๔. พระตำหนักเรือนต้นซึง่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างในพระราชวังดุสิต เป็นเรือนไทยเครื่องประดุขนาดใหญ่แสดง ลักษณะการใช้สอย ทีม่ คี วามซับซ้อนมากที่สุดในกระบวน เรือนไทยที่มีอยูใ่ นสมัยปัจจุบนั การจัดภายในอาคารแสดงให้ เห็นการแบ่งเขตฝ่ายหน้าและฝ่ายในทีค่ อ่ นข้างชัดเจนในเรือน หลังเดียว แม้วา่ ตัวไม้ทใ่ี ช้จะมีขนาดย่อมกว่าตําหนักในสมัย อยุธยา แต่สว่ นของอาคารก็แสดงให้เห็นถึงความงดงามยิง่ (รูป ๒๘) ๕. เรือนทับขวัญ พระตําหนักพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เป็นตัวอย่างเรือนไทยขนาดใหญ่ทม่ี เี หลืออยู่ เป็นตัวอย่างของการออกแบบที่แตกต่างไปจากพระตำหนัก เรือนต้นในรัชกาลที่ ๕ ๖. ท้องพระโรงวังท่าพระ ท้องพระโรงหลังนีเ้ ป็น อาคารทีอ่ ยูใ่ นบริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระในปัจจุบัน อาคารหลังนี้เป็นตัวอย่างท้องพระโรงเจ้า ฟ้าในสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่แสดงลักษณะผสมของตะวันออก และตะวันตก ๗. ท้องพระโรงวังบ้านหม้อของพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษเทเวศร์ สร้างขึ้นใน สมัยรัชกาลที่ ๔ ท้องพระโรงหลังนี้เป็นอาคารแบบสถาปัตยกรรมไทย เป็นท้องพระโรงของเจ้านายชัน้ พระองค์เจ้า ทีห่ าดูได้ยากยิง่ และดูจะเป็นท้องพระโรงประเภทนีเ้ พียงหลัง เดียวทีย่ งั เหลืออยูใ่ นสมัยปัจจุบนั และยังได้รบั การดูแลรักษา ให้อยู่ในสภาพที่ดีเยี่ยม (รูป ๒๙)
รูป ๒๙ ท้องพระโรงวังบ้านหม้อของพระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระพิทกั ษเทเวศร์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ท้องพระโรงหลังนี้เป็นอาคารแบบ สถาปัตยกรรมไทย เป็นท้องพระโรง ของเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าที่หาดูได้ยากยิ่ง และดูจะเป็นท้องพระโรงประเภทนี้ เพียงหลังเดียวที่ยังเหลืออยู่ในสมัยปัจจุบัน และยังได้รับการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพ ที่ดีเยี่ยม
สิ่งสําคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ควรกล่าวรวมไว้ในที่นี้ก็คือ เรือ่ งของ “เจ้าที”่ ซึง่ มีความผูกพันอยูก่ บั การปลูกสร้างบ้าน เรือนของคนไทยตลอดมาทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ขนาดเล็กหรือใหญ่เพียงใดก็ตาม ความเชือ่ ในเรือ่ งเจ้าทีข่ อง คนไทยนี้น่าจะเป็นความเชื่อที่พัฒนามาจากการนับถือผีและ บรรพบุรุษที่มีมาแล้วในอดีต เมื่อไทยรับนับถือพุทธศาสนา ได้รับความรู้เกี่ยวกับจตุโลกบาล จึงทําให้มีการเปลี่ยนรูป การนับถือผีแต่เดิมมาเป็นการยอมรับเอาพระภูมิเจ้าที่ (รูป ๓๐) เป็นสิง่ ทีม่ สี ว่ นต่อความเจริญหรือความเสือ่ มในการดําเนินชีวิตของตน การนับถือผีของคนไทยในอดีตนั้นมีลําดับขั้นที่มี ความซับซ้อนอย่างมาก เริ่มต้นด้วยการนับถือ “ผีเรือน” ถือกันว่าเป็นผีบรรพชนที่คอยคุ้มครองพิทักษ์รักษาลูกหลาน ทีย่ งั มีชวี ติ อยู่ ผีเรือนนีม้ สี ว่ นสําคัญทีช่ ว่ ยให้รกั ษาจารีตประเพณีและศีลธรรมส่วนรวมให้อยูไ่ ด้โดยไม่ตอ้ งอาศัยกฎหมาย บ้านเมือง บ้านเรือนทุกหลังจะมีผเี รือนรักษาคุม้ ครอง บุคคล นอกครัวเรือนจะเคารพสิทธิของเจ้าของเรือนโดยไม่กล้า ล่วงละเมิดเข้าไปในบริเวณที่เป็นส่วนเฉพาะ บุคคลในครัว เรือนจะไม่ประพฤติผิดจารีตประเพณี เพราะอาจทําให้ผี เรือนบันดาลให้เกิดโทษหรือความเจ็บป่วยให้แก่ผลู้ ว่ งละเมิด ได้ การระวังรักษาจารีตประเพณีในครัวเรือนของแต่ละครัว เรือนก็เท่ากับเป็นพื้นฐานการศึกษาจารีตประเพณีของชุมชน โดยส่วนรวม นอกจากผีเรือนที่มีประจําในแต่ละบ้านแล้วก็ยังมี การตัง้ ศาลผีบรรพบุรษุ ของชุมชนเป็นส่วนรวมขึน้ ด้วย การ ตัง้ ถิน่ ฐานของคนในอดีตนัน้ ถ้าหากจะอพยพจากถิน่ หนึง่ ไป ยังอีกถิ่นหนึ่งแล้ว เมื่อตั้งหลักฐานลงใหม่ในถิ่นใดก็มักจะ สร้างศาลให้ผบี รรพบุรษุ ของตนซึง่ เชือ่ ว่าติดตามมาคุม้ ครอง รักษาขึ้นไว้ด้วย ดังเช่นที่เรียกกันว่า “ศาลปู่ตา” หรือ “หลาทวด” ตามวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ ศาลบรรพ- บุรุษโดยทั่วไปแล้วก็คือศาลหลักบ้านนั่นเอง แต่ในขณะทีช่ มุ ชนนัน้ มีผที เ่ี กีย่ วข้องกับเผ่าพันธ์นุ บั ถือเป็นประจํานั้น ชุมชนนั้นก็ยังให้ความเคารพนับถือต่อผี
เรือนไทย
๔๐๓
ประจําถิ่นด้วย เช่นเชื่อว่ามีวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าป่า เจ้าเขา หรือเทพารักษ์ประจําถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องตั้งศาลขึ้น สักการะหรือบวงสรวงประจํา เพื่อชุมชนของตนจะได้อยู่ใน ความคุม้ ครองให้ได้รบั ความเจริญและมีความปลอดภัย (รูป ๓๑) เพราะฉะนั้นการนับถือผีในชุมชนหนึ่งๆ จึงมีหลาย ระดับ นับตั้งแต่หิ้งผีในเรือน ศาลในบ้าน ต่อมาจนกระทั่ง ศาลประจําหมู่บ้าน ตําบล และศาลหลักเมืองในที่สุด สําหรับพระภูมิเจ้าที่นั้น แม้จะมีกล่าวถึงในพุทธ ศาสนาแต่มิได้เป็นการกล่าวเพื่อให้ยึดเป็นสรณะแต่ประการ ใด ในพุทธศาสนากล่าวถึงแต่เพียงว่าเป็นโอปปาติกะเช่นเดียว กับสภาพชีวิตอื่นในกามภูมิเท่านั้น ส่วนในทางปฏิบัตินั้นผู้ กระทําพิธีในด้านนี้กลับเป็นผู้ถือศาสนาฮินดูซึ่งเชื่อกันว่ามี ความรู้ที่อาจเชิญวิญญาณหรือผู้ทรงภูมิอื่นให้มาประจําใน ที่ที่ตนประสงค์ได้ ในบรรดาชุมชนที่ไม่มีการนับถือผีบรรพ บุรุษต่างก็นิยมเชิญโอปปาติกะมาเป็นพระภูมิเจ้าที่ในบ้าน เรือนของตน จึงมีธรรมเนียมการสร้างศาลพระภูมไิ ว้ในบริเวณบ้านเรือนทั่วๆ ไป (รูป ๓๒) ความนิยมเช่นนี้น่าจะเกิด ขึ้นจากความเคยชินในการนับถือผีบรรพบุรุษมาแต่เดิม แม้ เมื่อผู้ท่เี คยนับถือผีเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อตามแนว ทางของพุทธศาสนาทีส่ อนให้เชือ่ ตนเองแล้วก็ตาม แต่ปรากฏ การณ์บางประการในชีวิตที่ตนไม่อาจฟันฝ่าไปได้ ทําให้ต้อง กลับไปมองหาสิ่งช่วยเหลือให้ได้รับความสําเร็จ และสิ่งที่ อาจให้ความคุ้มครองจากภัยพิบัติเช่นที่เคยกระทําในอดีต ดังนั้นจึงได้นิยมเชิญพระภูมิเจ้าที่ให้เข้ามาคุ้มครองครอบ ครัวและบ้านเรือนของตน สร้างศาลให้เป็นทีอ่ ยูแ่ ละเซ่นสรวง เพื่อให้ตนได้ในสิ่งที่ประสงค์ หรือให้ช่วยให้พ้นภัยอันตราย ต่างๆ ทั้งๆ ที่ในเรือนของตนก็มีพระพุทธรูปตั้งไว้เพื่อปฏิบัติบูชาในทางพุทธศาสนา และยิ่งกว่านั้น ในบางท้องถิ่นใน ปัจจุบันก็ยังได้พบว่านอกจากศาลพระภูมิประจําบ้านแล้ว ก็ยังมีศาลเจ้าที่ตนได้เคยบนบานไว้สําเร็จผลตั้งประจําไว้ เคารพบวงสรวงด้วย ธรรมเนียมเช่นนีจ้ ะพบได้ในแถบจังหวัด อ่างทอง สุพรรณบุรี ฯลฯ (รูป ๓๓) แม้ว่าคนที่ได้รับการศึกษาวิชาการแบบตะวันตก จะมีความเชื่อในเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ว่าไม่มีสภาพชีวิต ในภพภูมิอื่นนอกจากมนุษย์ แต่ก็มีผู้ที่ได้รับการศึกษาแบบ
๔๐๔ ภูมิหลัง
ตะวันตกอยูเ่ ป็นจํานวนมากทีย่ อมรับวัฒนธรรมเก่านี้ เพราะ ฉะนั้นจึงเห็นว่าการมีศาลพระภูมิประจําสถานที่ยังเป็นสิ่งที่ ปฏิเสธได้ยากในสังคมไทยสมัยปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้ว สังคมไทยที่นับถือพุทธศาสนายังมี ความเชื่อว่า นอกจากหนทางที่จะประพฤติปฏิบัติตนเพื่อ ความดีตามพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ในขณะที่ตนยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพื่อประกอบ กิจการงานอาชีพ ตนก็ยังต้องการได้รับความสําเร็จและ ต้องการชีวิตที่ร่มเย็นเป็นสุขในครัวเรือน เพราะฉะนั้นโอปปาติกะชั้นต้นจึงเป็นที่พึ่งที่อาจขอให้ช่วยเหลือกิจการหรือ ช่วยปกป้องภัยอันตรายให้ ถ้าจะพิจารณาจากทัศนะแบบ ตะวันตกที่ยึดกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ความเชื่อเช่น นี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจพิสูจน์ความจริงด้วยทฤษฎีหรือเครื่องมือ ทางวิทยาศาสตร์ชนิดใดได้ แม้แต่ฝา่ ยทีเ่ ชือ่ ถือว่าสภาพชีวติ ในภพภูมิอื่นมีอยู่จริงก็ไม่อาจพิสูจน์ให้ฝ่ายวิทยาศาสตร์เห็ น จริงได้เช่นกัน ในทุกวันนี้จึงมีบุคคลทั้งสองฝ่ายนี้อยู่รว่ ม ในสังคมเดียวกันแต่กม็ ไิ ด้ขดั ขวางความเชือ่ ของกันและกัน กล่าวได้ว่าสิ่งที่ก่อให้เกิดความเชื่อในเรื่องสภาพ ชีวิตในภพภูมิอื่นนั้นมีที่มาจากพุทธศาสนาเป็นมูลเหตุสําคัญ พุทธศาสนาได้ช่วยยืนยันความเชื่อของคนในอดีตในเรื่อง อํานาจลึกลับของสิง่ ทีม่ องไม่เห็นว่ามีอยูจ่ ริง และความรูจ้ าก พุทธศาสนาก็ได้ช่วยอธิบายธรรมชาติของสิ่งลึกลับนั้นให้ เห็นความเกี่ยวเนื่องระหว่างโลกปัจจุบันของมนุษย์กับภพ ภูมิอื่น พร้อมทั้งให้ได้รู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยให้เกิดสภาพชีวิต ในภพภูมิอื่น และที่สําคัญก็คือพุทธศาสนาสอนให้รู้ว่าผลที่ มนุษย์แต่ละคนได้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันนี้เป็นปัจจัย ให้ผู้นั้นจะเกิดอยู่ในสภาวะใดในภพภูมิอื่น เมื่อตนได้พ้นจาก สภาพมนุษย์ในชีวติ นีแ้ ล้ว ในคัมภีรท์ างพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ในไตรภูมไิ ด้กล่าวถึงจตุโลกบาลทัง้ สีใ่ นเทวภูมชิ น้ั จาตุมหาราชิกา คือท้าวธตรฐจอมภูต หรือจอมคนธรรพ์ อยู่ทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหกจอมเทวดา หรือจอมกุมภัณฑ์ อยู่ทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์จอมนาค อยู่ทิศตะวันตก และท้าวกุเวร จอม ยักษ์ อยู่ทิศเหนือ เทวดาทั้งสี่นี้มีหน้าที่ดูแลรักษาพื้นแผ่น ดินในโลกมนุษย์ดว้ ย เทพแต่ละองค์นจ้ี ะจัดแบ่งหน้าทีใ่ ห้เทพ ชั้นรองลงมามีหน้าทีด่ ูแลรักษาเป็นเขตพื้นทีต่ ามบุญของเทพ
เหล่านั้นที่เคยทําไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ การดูแลพื้นที่นั้น จะกระจายหน้าที่ย่อยลงไปตามลําดับ นับตั้งแต่แผ่นดินทั้ง ประเทศ แบ่งออกเป็นภาค จังหวัด อําเภอ ตําบล ตลอดไปจนหมู่บ้าน จนถึงส่วนน้อยที่มีหน้าที่ดูแลเพียงแต่ ละบ้าน ในระดับบ้านนั้นฐานะเทพผู้ดูแลรักษาก็ยังมีความ แตกต่างกันตามขนาดของบ้านเรือนด้วย เช่นวังและบ้าน สามัญชน ด้วยความเชื่อเหล่านี้ เราจึงได้เห็นศาลที่มีขนาด ต่างๆ กัน เช่นศาลหลักเมือง ศาลประจําตําบล และหมู่บ้าน ศาลตามวังต่างๆ ตลอดมาจนถึงศาลพระภูมิประจําบ้าน ความเชือ่ ถือเช่นนีจ้ ะเห็นได้วา่ ไม่เป็นความเชือ่ เฉพาะบุคคล เท่านั้น แม้ในรูปของหมู่คณะก็มีความเชื่อร่วมกันในทํานอง นีด้ ว้ ย เราจึงได้เห็นการตัง้ ศาลตามสถานทีร่ าชการ สถาบัน ต่างๆ แม้แต่สถาบันทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั งิ านทางวิทยาศาสตร์ (รูป ๓๔) หรือตามบริษัทห้างร้านต่างๆ นอกจากความเชื่อว่ามีเทพรักษาพื้นแผ่นดินตาม ที่เทพแต่ละองค์มีหน้าที่แล้ว คนก็ยังมีความเชื่อว่าในสิ่งที่มี ขนาดใหญ่ต่างๆ เช่นภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ จอมปลวกเหล่านี้ เป็นทีส่ งิ สถิตของเทพชัน้ จาตุมหาราชิกาอีกด้วย แต่ทน่ี บั ว่า แปลกไปกว่านี้ก็คือ แม้แต่ตามยวดยานพาหนะต่างๆ ก็ยัง มีผู้เชื่อว่ามีแม่ย่านางสิงอยู่ เช่นตามเรือและรถทั่วไป บางครั้งเราได้เห็นพฤติกรรมบางประการที่อาจ ทําให้เข้าใจผิดในการนับถือพุทธศาสนาได้ เช่นการที่ได้เห็น มีผู้นําอาหารหรือเครื่องเซ่นถวายต่อพระพุทธรูปซึ่งเป็นรูป สมมุติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งๆ ที่ทราบ กันอยู่ดีแล้วว่าพระพุทธองค์เสด็จสู่พระปรินิพพาน ไม่ทรง มีภาระอันใดเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของมนุษยโลกอีก ต่อไป จะมีกแ็ ต่พระธรรมของพระองค์เท่านัน้ ทีย่ งั คงอยู่ให้ คนประพฤติปฏิบัติตาม แต่การที่มีผู้ถวายสิ่งของเช่นนั้นก็ เป็นการถวายต่อเทพที่มีหน้าที่รักษาองค์พระ ดังเช่นที่มีผู้ ไปบนบานต่อพระแก้วมรกตหรือมีผู้ไปบนบานต่อพระพุทธ รูปศักดิส์ ทิ ธิอ์ น่ื ๆ เพือ่ ขอให้สาํ เร็จในสิง่ ทีต่ นประสงค์ ความ เชื่อว่ามีเทพสิงสถิตรักษาสิ่งที่เป็นวัตถุสําคัญต่างๆ เหล่านี้ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ถึงแม้ว่าจะได้มีการศึก ษาตามแบบอย่างตะวันตกมากขึ้นก็ตาม
ในความเชื่อของคนไทยที่มีสืบเนื่องมาแต่อดีตนั้น เทพและมนุษย์จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ในขณะที่ คนทั่วไปพยายามทําบุญสร้างกุศลเพื่อให้มีท่เี กิดดีในภพหน้า เทพเองนัน้ ก็มคี วามปรารถนาไม่ผดิ ไปจากมนุษย์ คือมีความ ต้องการที่จะเลื่อนขึ้นไปสู่ภูมิที่สูงขึ้นกว่าเดิม การที่ทราบได้ เช่นนี้ก็เพราะได้ปรากฏว่ามีศาลหรือสํานักทรงเจ้าของเทพ ทีม่ ชี น้ั ภูมสิ งู กว่าชัน้ จาตุมหาราชิกาอยูเ่ ป็นจํานวนมาก เทพชัน้ สูงเหล่านี้กล่าวกันว่ามาสู่โลกเพื่อช่วยเหลือทุกข์ของมนุษย์ ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ หรือทําให้มนุษย์ สร้างบุญกุศลให้มากขึน้ ผลจากการนีจ้ ะมีดว้ ยกันทัง้ สองฝ่าย คือฝ่ายมนุษย์นั้นจะได้รับกุศลมากขึ้นจากการทําบุญหรือได้ หายจากป่วยไข้ ส่วนทางฝ่ายเทพนั้นก็จะได้กุศลไปสู่ชั้นภูมิ ที่สูงขึ้นกว่าเดิมด้วย การคุ้มครองดูแลรักษาพื้นที่ของเทพชั้นจาตุมหา ราชิกานั้น หน้าที่อันสําคัญและเกี่ยวข้องกับมนุษย์ก็คือหน้า ที่ในการบันทึกผลบุญและกรรมของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในเขต ดูแลนัน้ และเพราะเหตุนเ้ี องทีท่ าํ ให้ทกุ บ้านเรือนจะต้องปลูก ศาลพระภูมิไว้ให้เป็นที่อยู่อาศัยของเทพและมีการสักการบูชากันตลอดมา (รูป ๓๕)
เรือนไทย
๔๐๕
รูป ๓๐ ภาพแสดงลักษณะเจว็ดที่ใช้ตั้งในศาล พระภูมิทั่วๆ ไป รูปพระภูมิจะเป็นรูปเทวดา มือหนึ่งถือพระขรรค์ในลักษณะเป็นผู้ป้องกัน ภัยพิบัติที่จะมีต่อเจ้าของบ้านและอีกมือหนึ่ง ถือถุงสมบัติในลักษณะที่เป็นผู้นําโภคทรัพย์ มาสู่เจ้าของบ้าน
รูป ๓๑ ภาพศาลเทพารักษ์ประจําถิ่น ในบริเวณ พระราชวังเดิมธนบุรี
๓๐
๓๑
๓๓
๓๒
รูป ๓๒ ภาพศาลพระภูมิประจําบ้านตามลักษณะที่ นิยมสร้างกันทั่วๆ ไป
รูป ๓๓ ภาพศาลเจ้าซึ่งเป็นที่เคารพโดยเฉพาะของ เจ้าของบ้าน ศาลเจ้าเช่นนี้จะสร้างขึ้นต่างหาก จากศาลพระภูมิ
รูป ๓๔ ศาลพระภูมิที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๔๐๖ ภูมิหลัง
๓๔
หน้ากระดาษเปล่า
เรือนไทย
๔๐๗
อภิธานศัพท์สถาปัตยกรรม
กําแพงแก้ว
กําแพงแก้วเตี้ยใช้กั้นล้อมสิ่งที่ดีงาม มีคุณค่าควรรักษา ในทาง พระพุทธศาสนา ได้แก่ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ฯลฯ ทางด้านพระมหากษัตริย์ ได้แก่ พระที่นั่ง ปราสาท ฯลฯ
คด
สิ่งปลูกสร้างรูปโรงหรือศาลา แวดล้อมสิ่งสําคัญที่เป็นประธานซึ่ง มักได้แก่ สถูป เมรุ โบสถ์ หรือวิหาร ฯลฯ อาจสร้างได้ทั้งเป็นรูปผังสี่เหลี่ยม และผังกลมดังเช่น ผังคดสี่เหลี่ยม ผนวกกับพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ผังคดกลมล้อมพระเจดีย์และผนวกกับ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ครรภธาตุ
ส่วนของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือ พระธาตุไว้ภายใน ถ้าเป็นองค์สถูป หรือพระเจดีย์ ครรภธาตุคือส่วนที่เป็น องค์ระฆังและถ้าเป็นพระปรางค์ ครรภธาตุคือส่วนที่เป็นตัวอาคารที่มัก นิยมสร้างซุ้มทิศ หรือซุ้มจระนำ ประกอบไว้ด้วย
ครุฑยุดนาค
รูปครุฑที่จับพญานาคไว้ด้วยมือ และเท้า ใช้เป็นเครื่องประดับราช บัลลังก์และยอดปราสาทเพื่อแสดง ความเป็นสมมติเทวราชของพระ มหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นนารายณ์ อวตาร
๔๐๘ ภูมิหลัง
เครื่องลํายอง
ตัวไม้เครื่องประดับป้านลมหลังคา ที่ฉลักตกแต่งอย่างปิดทองหรือ ประดับกระจก ถ้าทําแบบเรียบสําหรับ เรือนสามัญเรียกว่าป้านลม แต่ถ้าเป็น เรือนเครื่องยอดหรือพระที่นั่ง ตําหนัก เจ้านาย หรือโบสถ์วิหารที่มีการ ตกแต่งอย่างวิจิตรเช่นดังกล่าวข้างต้น คือมีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ประกอบ ป้านลมชนิดนี้เรียกว่า เครื่องลํายอง
คืบพระสุคต
มาตราส่วนที่ใช้ในการวัดระยะ ใช้ เฉพาะในกิจการที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา เช่นใช้วัดขนาดผ้าที่พระภิกษุใช้นุ่งห่ม หรือใช้วัดขนาดความยาวของกุฏิ เป็นต้น ถ้าเทียบประมาณกับ มาตราวัดในปัจจุบัน ๗ คืบพระสุคต จะเทียบประมาณ เท่ากับ ๒๓๐ เซนติเมตร
โค้งท้องสําเภา
แนวฐานอาคารก่ออิฐเฉพาะที่เป็น สถาปัตยกรรมไทย เช่น ฐานโบสถ์ ฐานปราสาท ฯลฯ เป็นลักษณะพิเศษ ของศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย มีแนวเส้นอ่อนช้อยเหมือน ความหย่อนโค้งของเส้นเชือก ตกท้องช้าง สันนิษฐานความหมาย ลักษณะโค้งท้องสําเภาว่า เกิดจากคติทางพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานที่ว่า พระพุทธศาสนา เป็นยานขนสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามพ้น วัฏสงสารไปสู่พระนิพพาน และสําเภา
ปากครุฑและจะงอยปากหงส์ ช่อฟ้านี้อาจทําเป็นรูปหัวนกเจ่าหรือ รูปเทพ รูปเทวดาหรือรูปดอกบัว ฯลฯ
ชั้นกลีบขนุน
เป็นยานชนิดเดียวในสมัยนั้นที่ สามารถบรรทุกได้มากที่สุด
จิตกาธาน
แท่นที่เผาศพตามที่เรียกเป็นสามัญ ว่าเชิงตะกอน จิตกาธานเป็นคําที่ใช้ สําหรับที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ หรือศพผู้ที่มีฐานันดรศักดิ์ที่ได้รับ พระราชทานเพลิง
จั่วพรหมพักตร์
หน้าจั่วเรือนไม้ที่มีลักษณะการ ประกอบจั่วคล้ายรูปฝาปะกน วางตามแนวนอน คือ มีกรอบไม้รูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีแผ่นไม้ลูกฟัก บรรจุอยู่ แผ่นจั่วทั้งหมดมีรูปนอก เป็นรูปสามเหลี่ยม
ฉัตรมัณฑิระ
ฉัตรประดับยอดสถูป ทําด้วยวัสดุุ เนื้อเดียวกับองค์สถูป มีลักษณะคล้าย ร่มผ้าหุบลู่ลง มีจํานวนตั้งแต่หนึ่ง ชั้นหรือซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น
องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบ ปรางค์ขอม ทําด้วยแท่งหินหรือแท่ง ก่ออิฐฉาบปูน ใช้ประดับตอนย่อมุม ของพระปรางค์ มีที่มาจากนาคปัก บันแถลงของขอม ถ้าสร้างขึ้นเป็น เทวสถานในศาสนาพราหมณ์ จะทํา เป็นรูปเทพเจ้าประจําทิศที่สําคัญตาม ตําแหน่งของเทพประจําทิศ
ชั้นรัดประคด
ช่อฟ้า
ส่วนที่เป็นเครื่องประดับปลายหลังคา นั่งอยู่บนสันอกไก่ตรงส่วนที่ไม้ตัว รวย หรือไม้นาคสํารวยมาบรรจบกัน มีรูปลักษณะคล้ายหัวพญานาค ปลาย แหลม มีจะงอยติดอยู่ตอนกลาง จะงอยนี้มีทําเป็นสองแบบคือจะงอย
ส่วนที่เป็นผิวช่วงตั้งโดยรอบของ ชั้นซ้อนแต่ละชั้นของยอดปรางค์ แบบขอม หรือแบบพระปรางค์อยุธยา ยุคต้น ที่ได้รับอิทธิพลจากปรางค์ แบบขอม ช่วงที่เป็นชั้นรัดประคดนี้ จะอยู่ตรงกับระดับที่มีกลีบขนุนตั้ง ประดับอยู่ ที่ขอบเชิงชั้นนอกโดย รอบ
ชาน
บริเวณพื้นที่ปูอยู่นอกชายคาเรือน หรือพื้นที่ต่อจากตัวเรือนออกไป กลางแจ้ง ที่เรียกว่า นอกชาน
อภิธานศัพท์สถาปัตยกรรม
๔๐๙
ชินกาลมาลีปกรณ์
พงศาวดารล้านนาที่แต่งขึ้นเป็นภาษา บาลีโดย รตนปัญญาเถระ
ชุดฐานสิงห์
ฐานรองรับรูปแท่นประดับด้วยขาสิงห์ ใช้สําหรับเป็นฐานรองรับสิ่งที่มี ค่าควรแก่การสักการะ เช่น ฐานพระพุทธรูป ฐานพระเจดีย์ หรือฐานบัลลังก์ ฯลฯ เป็นคติที่ไทย ได้รับจากอินเดียและจีน แล้วมา ดัดแปลงให้เข้ากับลักษณะไทยๆ
ตรีศูล
อาวุธประจําองค์พระอินทร์ มีลักษณะ คล้ายมีดปลายแหลมสามเล่ม รวมอยู่ในด้ามถือด้ามเดียวกัน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วชิราวุธ
เถาบัวกลุ่ม ซุ้มจระนำ
ซุ้มคูหาเล็กที่ทําติดกับผนังอาคาร หรือองค์เจดีย์ มีหลังคาครอบยื่น ล้ำผิวผนังอาคาร หรือองค์เจดีย์ออก มาเล็กน้อย ส่วนที่เป็นมุขหลังคายื่น ออกมา มักทําเป็นเสาย่อเก็จแนบ ติดกับผนังรับไว้ ซุ้มจระนำนี้โดยทั่วไป ใช้เป็นที่ตั้งพระพุทธรูป หรือรูป พระปั้นนูนติดผนังหรือใช้เป็นที่ตั้ง พระเจดีย์ขนาดเล็ก เช่นที่ระบุใน หนังสือพระราชพงศาวดารว่า มีซุ้ม จระนำท้ายวิหารพระศรีสรรเพชญ์ที่ บรรจุอัฐิเจ้านายชั้นสูง และระบุ เรียกที่เช่นนั้นว่า ท้ายจระนำ ด้วยเหตุที่เป็นจระนำอยู่ท้ายวิหาร
๔๑๐ ภูมิหลัง
เดือย
หมุดไม้ใช้สําหรับตอกลงไปในรูที่ เจาะทะลุผ่านตัวไม้ที่ต่างชิ้นหรือ ต่างท่อนกัน เพื่อต้องการให้ตัวไม้ ทั้งสองชิ้นหรือสองท่อนนั้นติด กันแน่นไม่ขยับเขยื้อน เดือยไม้เช่นนี้ เมื่อถูกตอกอัดจนแน่นแล้ว เดือยส่วนที่ยาวเกินต้องการจะถูก ตัดให้เรียบเสมอผิวไม้ทั่วไป ดังเช่นการตอกเดือยบนแผ่นฝา ปะกนหรือการตอกเดือยในการ เข้ามุมฉากของกรอบประตูหรือ หน้าต่าง
องค์ประกอบเชิงศิลปะที่ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้คั่นจังหวะขององค์ประกอบ อย่างหนึ่งกับองค์ประกอบอื่น หรือ ใช้เป็นเครื่องรองรับสิ่งที่ควรสักการะ เช่น พระพุทธรูป พระเจดีย์ ซุ้มเสมา ใช้เป็นบัวหัวเสาหรือใช้เป็นบัวรอง ปลีเครื่องยอด บัวกลุ่มมีรูปเป็น ดอกบัวบานมีกลีบซ้อนถี่
น้ำคูถ
อุจจาระ ใช้นําไปหมักเพื่อเป็นส่วน ในการทํายา
น้ำมูตร
น้ำปัสสาวะ ใช้ประโยชน์ในการ ทํากระสายยา
บัวคว่ำ
บัวที่ทําปิดส่วนที่อยู่ต่ำกว่า บัวชนิดนี้ จะมีส่วนนูนคว่ำปิดอยู่ชิดด้านบนและ มีส่วนเว้าหงายต่อจากส่วนนูนคว่ำ ลงไปด้านล่าง บัวเช่นนี้จะพบ อยู่ตอนบนของพนักระเบียงหรือพบ อยู่ตามขอบฐานรองรับสิ่งต่างๆ
บัวหงาย
บัวที่ทําปิดส่วนยื่นที่อยู่สูงกว่า มีลักษณะตรงกันข้ามกับบัวคว่ำ
บุษบก
เรือนเครื่องยอดขนาดเล็กหลังคา ทรงมณฑป ตัวเรือนโปร่งมีฐานทึบ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้ ทําขึ้น สําหรับประดิษฐานสิ่งควรสักการะทาง พระพุทธศาสนา คือ พระพุทธรูป พระธาตุเจดีย์ ฯลฯ เช่น บุษบก ประดิษฐานพระแก้วมรกต ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ประภามณฑล
แสงสว่างเป็นรูปทรงกลมรอบจุด กําเนิดแสง เหมือนพระจันทร์ทรงกลด หรือรูปแผ่นทรงกลมแบนที่ติดแนบ หลังพระเศียรพระพุทธรูป เช่น พระพุทธรูปสมัยคันธารราษฎร์เป็น สัญลักษณ์แทนรังสีที่แผ่ออกมาจาก พระเศียร
ปรางค์
อาคารที่เป็นปูชนียสถานทางศาสนา พราหมณ์ ใช้เรียกเฉพาะ สถาปัตยกรรมแบบขอมที่มีทรงสูง รูปคล้ายฝักข้าวโพดตั้ง หรือใช้เรียก ปูชนียสถานทางพุทธศาสนา ตามที่ ไทยได้นํามาดัดแปลงเป็นพุทธปรางค์ แต่ยังคงลักษณะเค้าเดิมที่คล้าย คลึงกันกับแบบของขอม กล่าวกันว่า ได้เค้าเดิมมาจากลักษณะของศิวลึงค์ โดยตรง
ปล้องไฉน ใบระกา
ชื่อองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ส่วนที่เป็นตัวไม้ประดับปักอยู่บน ไม้นาคสํารวยหรือตัวรวย มีลักษณะ คล้ายปลายใบมีดดาบหรือใบครีบ บนสันหลังพญานาค
ส่วนยอดของเจดีย์ตอนที่อยู่ระหว่าง ช่วงเหนือคอระฆังกับปลียอด ประกอบด้วยลูกแก้วซ้อนเป็นชั้นๆ จากลูกแก้วที่มีวงใหญ่ชั้นล่างไปหา ลูกแก้วที่มีวงขนาดเล็กซึ่งอยู่ลูก สุดท้ายตอนบน มีรูปเป็นข้อปล้อง ซ้อนกันคล้ายหอยเจดีย์
ใบสีมา
ก. แท่งหรือแผ่นศิลาที่กําหนดเขต กระทําสังฆกรรมของสงฆ์ เช่น ใบสีมา ที่ปักอยู่รอบพระอุโบสถเพื่อแสดงเขต สังฆกรรม ข. แผ่นก่ออิฐฉาบปูนรูปเช่นเดียวกับ ใบสีมาตามวัด ใช้ติดตั้งบนแนวกําแพง ป้อมหรือกําแพงเมืองเพื่อใช้เป็นที่ กําบังตัวของทหารจากการถูกยิงจาก ข้าศึก ใช้เป็นเครื่องป้องกันอย่างหนึ่ง ในการรบสมัยโบราณ
ป้านลม
หรือปั้นลม คือตัวไม้ส่วนของหลังคา ใช้วางตามตั้ง ปิดขอบกระเบื้องตรง ส่วนที่เป็นขอบยื่นพ้นแผงหน้าจั่ว (ไขรา)ออกมาทางด้านสกัด ของเรือน
อภิธานศัพท์สถาปัตยกรรม
๔๑๑
ผึ่ง
พระเจดีย์ทรงกลม
ฝักเพกา
พระเจดีย์ทรงลังกา
เครื่องมือมีรูปคล้ายจอบแต่มีความ หนาตรงโคนตอนที่ต่อกับด้ามถือ ตัวผึ่งทําด้วยเหล็กกล้ามีคม ตรงส่วน แบนที่ดูคล้ายปากจอบใช้เป็นเครื่อง มือถากผิวไม้ให้ราบ มีทั้งชนิดด้าม สั้นและชนิดด้ามยาวที่เรียกว่าผึ่งโยน
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าลําภุขัน ซึ่งเป็น นภศูลอย่างหนึ่งในจําพวกเครื่องโลหะ ประดับยอดของสถาปัตยกรรม ฝักเพกามีรปู ลักษณะคล้ายใบมีดทีน่ าํ มา ติดรวมกัน โดยปกติจะพบว่ามีการ ทํากลุ่มฝักซ้อนกันสองชั้นและสามชั้น คือชั้นละสี่กิ่งและประดับยอดด้วย ใบมีดรูปพระขรรค์อีกหนึ่งยอด
พระเจดีย์ที่มีผังรูปวงกลมและมีองค์ประกอบของส่วนตั้งรูปวงกลม เช่น มีฐานเป็นทรงกลม มีองค์ระฆังเป็นวงกลม ฯลฯ ตัวอย่าง ของพระเจดีย์ทรงกลม ได้แก่ พระเจดีย์ทรงลังกาหรือพระเจดีย์ ทรงระฆัง ฯลฯ
หรือที่เรียกว่าแบบทรงโอคว่ำ เช่น พระบรมธาตุเจดีย์ที่วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับอิทธิพลโดยตรงจากลังกา เมื่อพุทธศาสนาลัทธิหีนยานได้แพร่ เข้ามาสู่ประเทศไทยในสมัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙
พระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้ ฝาไหล
แผงไม้กระดานตามแนวตั้ง ประกอบ ขึ้นโดยวิธีเว้นช่องว่างเท่าขนาดกว้าง ของแผ่นไม้หนึ่งแผ่น สลับกับไม้ แผ่นทึบหนึ่งแผ่นตลอดแผง ฝาชนิดนี้ จะประกอบด้วยแผงดังกล่าวสองชุด วางชิดและซ้อนขนานกันในรางเลื่อน เมื่อต้องการอากาศหรือใช้เป็นช่อง มอง ก็จะทําได้โดยวิธีเลื่อนช่อง ว่างของแต่ละแผงให้ตรงกัน หาก ไม่ต้องการอากาศหรือปิดช่องมอง ก็เลื่อนช่องที่ว่างของแผงหนึ่งให้ ตรงกับแผ่นทึบของอีกแผงหนึ่ง
เฝือก
เครื่องหุ้มห่อหรือกั้นวงล้อมทําด้วย ผิวไม้ไผ่สาน
๔๑๒ ภูมิหลัง
เจดีย์รูปเหลี่ยมยอดแหลม ทรงจอมแห เป็นแบบของไทยที่คิดสร้างขึ้นใน สมัยอยุธยา ยุคที่ ๓ และได้รับ การพัฒนาจนมีความงามสูงสุด ในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น ที่วัด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระเจดีย์นี้มีที่สังเกต คือยอดจะ ประดับด้วยบัวลูกแก้ว หรือบัวกลุ่มชั้นที่อยู่ใต้ส่วนอื่นหรือ ชั้นฐานรองรับ เช่น ส่วนฐานของ เจดีย์หรือพระปรางค์ที่มีขอบกว้าง ให้คนเดินเวียนขวาได้
พระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมใหญ่
เจดีย์รูปสี่เหลี่ยมยอดแหลม ทรงจอมแห เป็นพระเจดีย์แบบของไทยที่คิด สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ยุคที่ ๒ เช่นเจดีย์เหลี่ยมที่วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา และเจดีย์เหลี่ยมที่วัดชุมพล นิกายาราม บางปะอิน พระเจดีย์ ลักษณะเช่นนี้มีที่สังเกตคือมียอด ประดับปล้องไฉน เช่นเดียวกับ พระเจดีย์ทรงลังกา
ฟาก
ไม้ไผ่ที่ผ่าตามยาวของลําแล้วทุบให้ แบนราบ ใช้แทนพื้นกระดาน รั้ว หรือ ฝา ไม้ไผ่ที่ใช้เป็นไม้ที่มีลําโต ส่วนมากใช้ไผ่สีสุก เรือนโบราณแถบ ชนบทและป่าใช้ฟากปูพื้น เป็นสิ่งที่ หาได้ง่ายในท้องถิ่น
มณฑป
อาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสประกอบ เครื่องยอดรูปปราสาท มีรูปคล้าย บุษบกขยายส่วนใหญ่ ให้มีการใช้ สอยภายในได้ เช่น มณฑป พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และพระมณฑปเก็บพระไตรปิฎก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
มาลัยเถา
บัวลูกแก้วที่ประดับยอดพระเจดีย์ ทรงลังกา หรือพระเจดีย์เหลี่ยมย่อ มุมใหญ่ จะมีรูปลักษณะคล้ายปล้อง ไฉน แต่มีช่วงต่อระหว่างกันห่างกว่า ปล้องไฉน ตัวมาลัยจะแสดงให้เห็น ลักษณะของบัวลูกแก้วที่นํามาซ้อน ชั้นต่อกันอย่างชัดเจน
ย่อมุมไม้
การแตกมุมใหญ่ให้เป็นมุมย่อยหลายๆ มุม แต่ยังรวมอยู่ในรูปของมุมใหญ่ ตามหลักโบราณนิยมแตกมุมเป็น เลขคี่ เช่น เป็นสาม เป็นห้า เรียกว่า ย่อไม้สิบสอง ย่อไม้ยี่สิบ ที่เรียกว่า ย่อไม้สิบสองนั้นคือการแตกมุมเป็น สามนํามารวมกันทั้งสี่มุมเป็นสิบสอง และที่เรียกว่าย่อไม้ยี่สิบก็เป็นการนับ รวมมุมที่แตกออกทั้งสี่มุมเช่นเดียวกัน
รัตนบัลลังก์
แท่นที่ประทับที่สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้หรือหมายถึง องค์ประกอบสถาปัตยกรรมส่วนที่ ตั้งอยู่เหนือองค์ระฆัง และเป็นแท่น รองรับแกนของปล้องไฉน ซึ่งเป็น ส่วนยอดของพระเจดีย์
รั้วระเนียด
รั้วป้องกันข้าศึกที่ทําด้วยลําต้นของ ต้นไม้หรือลําไม้ไผ่ เช่น รั้วค่ายหรือ รั้วเมือง หน้าต่างอาคารที่เป็นพระ ที่นั่งหรือตําหนัก ที่พระมหากษัตริย์ ทรงใช้สอยเป็นการเฉพาะพระองค์
เรือนแก้ว เมรุมาศ
เมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพ สร้างขึ้นเป็นการเฉพาะพระบรมศพ พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมราชินี
ซุ้มครอบเหนือพระพุทธรูป มีปรากฏ ทั้งทางจิตรกรรมและประติมากรรม เป็นสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นเสริมพระพุทธบารมีจึงมีทําเฉพาะที่เกี่ยวกับพระ พุทธองค์เท่านั้น ฐานปูนก่อประดับ ลวดลาย เป็นฐานขนาดใหญ่ ยกขึ้นรับพระประธานในอาคารทาง ศาสนา มีลักษณะของฐานล่างใหญ่ ก่อย่อลดเป็นชั้นขึ้นไปหาส่วนที่ รับองค์พระ
อภิธานศัพท์สถาปัตยกรรม
๔๑๓
เรือนเครื่องประดุ
เรียกตามภาษาช่างในสมัยก่อน หมาย ถึงเรือนไทยที่สร้างด้วยไม้จริงตั้งแต่ ตัวเรือนตลอดจนถึงโครงหลังคา การแปรรูปไม้ในสมัยก่อนไม่มอี ปุ กรณ์ การเลื่อยดังทุกวันนี้ แต่จะใช้ผึ่งหรือ ขวานถากหรือสับท่อนไม้ให้ได้รูปไม้ ตามที่ต้องการ โดยวิธีอาศัยการ แปรรูปไม้ดังนี้ เรือนเครื่องประดุหรือ เรือนไม้จริงจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เรือนเครื่องสับ
เรือนพะไล
ระเบียงหรือชานเรือนที่ยกจั่วหลังคา ขึ้น แทนการทําหลังคาปีกนกเช่นที่ทํา กันเป็นสามัญ
วิหารโถง
อาคารที่สร้างขึ้นใช้เป็นวิหารแต่มิได้ กั้นฝาหรือผนัง และประดิษฐานพระ พุทธรูปไว้ภายในเพียงอย่างเดียว เท่านั้น วิหารโถงเช่นนี้นิยมสร้างใน งานสถาปัตยกรรมแบบล้านนา เช่น วิหารน้ำแต้ม ที่วัดพระธาตุลําปางหลวง จังหวัดลําปาง
หลาทวด
ศาลบรรพบุรุษประจําหมู่บ้าน ศาลเช่นนี้สร้างขึ้นตามประเพณีนิยม ของชาวพื้นถิ่นภาคใต้ เป็นศาลชนิด เดียวกับที่เรียกว่าศาลปู่ตาของ ชาวอีสานและชาวภาคกลางบางท้องที่
หัตถบาส
เรือนยอด
หมายถึงอาคารที่มีหลังคาทรงสูงที่ใช้ ในกิจเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และ พระศาสนา อาคารที่เรียกว่า เรือนยอดมีทรงหลังคาเช่น หลังคายอด มณฑป หลังคายอดปรางค์ หลังคายอดปราสาท หลังคายอด มงกุฎ หลังคายอดเจดีย์
ช่วงห่างโดยประมาณ ๑ ศอก เป็นช่วงกําหนดระยะอันเกี่ยวกับ กิจการของสงฆ์ เช่นช่วงห่าง ที่เว้นระยะระหว่างฆราวาส กับพระสงฆ์ในการเข้าประเคนสิ่งของ
หางหงส์ โรงทิม
โรงเสาไม้มีหลังคามุง มีลักษณะเป็น โรงโถงไม่มีฝากั้น โรงทิมนี้บางครั้ง ก็เรียกว่าทิม ใช้เป็นที่พักเจ้าพนักงาน ที่มีหน้าที่อยู่เวรยามริมทางเข้าออก ประตูกําแพงพระบรมมหาราชวัง เช่น ทิมโขลน ทิมดาบ (ทิมตํารวจวัง)
ส่วนปลายของเครื่องลํายอง ตัวหาง หงส์จะตั้งอยู่ระหว่างแปหัวเสากับ หัวไม้เชิงกลอน มีรปู คล้ายหัวนาค เรียงซ้อนกันตามระนาบแบน หรือมีรูป คล้ายตัวเหงาของกระหนกสามตัว
อัพภันดร วิหารแกลบ
วิหารขนาดเล็กใช้เป็นที่ประดิษฐาน รูปประติมากรรมอันเป็นที่เลื่อมใส ศรัทธา หรือรูปของพระภิกษุซึ่งทรง คุณธรรม เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชน และได้มรณภาพไปแล้ว วิหารชนิดนี้ มิได้ใช้ในการประกอบกิจของสงฆ์ แต่ประการใด
๔๑๔ ภูมิหลัง
มาตรากําหนดระยะทางที่ปรากฏ ใช้ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา หนึ่งอัพภันดรมีค่าเท่ากับ ๑๔ เมตร
บรรณานุกรม ภาษาไทย กฎมณเฑียรบาล กรุงศรีอยุธยา สมัยพระบรมไตรโลกนาถ. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.ป.]. ค๊อต ข่าวราชการ ๑ (๒๔๖๖). คณะกรรมการปรับปรุงบูรณะโบราณสถาน จังหวัดกําแพงเพชร และสุโขทัย. รายงานการขุดแต่งบูรณะโบราณวัตถุสถาน เมืองเก่ากําแพงเพชรและเมืองศรีสัชชนาลัย พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๒. พระนคร: โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๑๔. จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคําสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พระนคร: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, ๒๕๑๙. ชิน อยู่ดี. โบราณวัตถุสถานทั่วพระราชอาณาจักร. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๐. เซเดส์, ยอร์ช. ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๒ จารึกทวารวดี ศรีวิชัย ละโว้. พิมพ์ครั้งที่ ๒ (แก้ไขใหม่). พระนคร : สยามสมาคม, ๑๙๖๑. ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. ความทรงจํา. พระนคร: สํานักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, ๒๕๐๙ .ตํานานพุทธเจดีย์สยาม. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาชุ่ม รัชกาลที่ ๔., ๒๔๖๙. .เรื่องตํานานวังเก่า. พระนคร: หอพระสมุดวชิรญาณ, ๒๔๖๕. ตํานานมูลศาสนา. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พมิ พ์พระราชทานในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวง เดช สนิทวงศ์, ๒๕๑๘. “ไตรภูมพิ ระร่วง” ใน เรื่องพระร่วง เที่ยวเมืองพระร่วง คําอ่านและคําแปลจารึกสุโขทัย สุภาษิตพระร่วง ไตรภูมิพระร่วง. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๔๙๘. ถาวรวัตถุประวัติและประชุมประกาศราชนีติ. พระนคร: หอพระสมุดวชิรญาณ, ๒๔๖๘. ทวิช เปล่งวิทยา. คบธรรม : ธัมมานุกรม. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.ป.]. เทววงศ์วโรทัย, พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. “ปราสาทหินเขมรสร้าง เพื่ออะไร.” ในวารสารแห่งสมาคมค้นวิชาแห่งประเทศไทย ๒ (พฤษภาคม, ๒๔๘๕), ๖๖-๙๙. น. ณ ปากน้ำ. สถูปเจดีย์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๑๖. นริศรานุวดั ติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา. จดหมายระยะทางไป พิษณุโลก. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในวันฉลองวันประสูติครบ ๑๐๐ ปี, ๒๕๐๖. .บันทึกเรื่องความรู้ต่างๆ. พระนคร : สํานักพิมพ์ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, ๒๕๐๖. .ลายพระหัตถ์และบันทึกเมื่อคราวเสด็จชวา พ.ศ. ๒๔๐๘ - ๒๔๘๑. พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๑๔. .ลายพระหัตถ์ถึงหม่อมเจ้าหญิงพิลัยเลขา ดิศกุล. พิมพ์เนือ่ งในวันประสูตคิ รบ ๖ รอบหม่อมเจ้าหญิงพิลยั เลขา ดิศกุล, ๒๕๑๒. นารถ โพธิประสาท. สถาปัตยกรรมในประเทศไทย. พระนคร: ไทยเขษม, ๒๔๘๗. ประชา นิยมวงศ์. บันทึกหลักฐานและเหตุการณ์สมัยกรุงเทพ. เล่ม ๒. พระนคร: โรงพิมพ์มิตรไทย, ๒๔๘๓.
ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา. ภาค ๑. พระนคร: คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดี, สํานักนายกรัฐมนตรี. ๒๕๑๐. ประยูร ไพบูลย์สุวรรณ. โบราณวัตถุสถานในจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดใกล้เคียง. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๑๕. ประวัติวัดอรุณราชวราราม ภาคผนวก. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๑๑. พระคัมภีร์ถูปวงศ์ ตํานานว่าด้วยการสร้างพระสถูปเจดีย์. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางอนุ ทองไข่มุกต์, ๒๕๑๑. พระมหาปราสาท และ พระราชมณเฑียรสถานในพระบรมมหา ราชวัง. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระ บรมราชานุญาตให้ พลจัตวา หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ เลขาธิการพระราชวัง พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานรับ พระราชทานเพลิงศพหม่อมเฉื่อย ทวีวงศ์ ณ อยุธยา, ๒๕๐๗. พระมุนินทรานุวัตต์. ตํานานเมืองสวรรคโลก. พระนคร: โรงพิมพ์ ส.ประสิทธิ์, ๒๕๑๑. พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เล่ม ๑. พระนคร: คุรุสภา, ๒๕๐๒. พระศรีวิสุทธิโสภณวิลาศ. ภูมิวิลาสินี. พระนคร: ธนาคารกรุงเทพ, ๒๕๑๓. พิริยะ ไกรฤกษ์. ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแบบศิลปในประเทศไทย คัดเลือกจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสาขา ส่วนภูมิภาค. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๒๐. มานิต วัลลิโภดม. นําเที่ยวพิมาย และโบราณสถาน ในจังหวัดนครราชสีมา. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๕. มานิต วัลลิโภดม. ตรี อมาตยกุล และ ไลออนส์ เอลิซาเบธ. ศิลปสมัยอู่ทอง ศิลปสมัยอยุธยาและศิลป สมัยรัตนโกสินทร์. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๑๐. ลัทธิธรรมเนียมต่างๆ. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๑๕. ฤทัย ใจจงรัก. โครงการค้นคว้าวิจัยเรื่องเรือนไทยเดิม. พระนคร: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๑๘. วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย. อ่าน-แปลโดย จําปา เยื้องเจริญ. คัดสรุปโดยเทิม มีเต็ม. เรียบเรียงโดย คงเดช ประพัฒน์ทอง.พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๒๒. วุฒิรณพัสด์ุ, พันตรี หลวง. ฤกษ์งามยามดี. พระนคร: โรงพิมพ์ห้องสมุด, ๒๔๙๕. ศิลปากร, กรม. คําบรรยายสัมมนาโบราณคดีสมัยสุโขทัย พ.ศ. ๒๕๐๓. พระนคร: กรมศิลปากร,๒๕๐๗. .โครงการและรายงานการสํารวจและขุดแต่งโบราณ วัตถุสถาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. ๒๕๐๒. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๒. .งานบูรณะโบราณสถานจังหวัดสุโขทัย. พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว.สุมนชาติ สวัสดิกุล, ๒๕๐๗. .โบราณวัตถุสมัยทวารวดีแห่งใหม่. พระนคร: ศิวพร, ๒๕๐๘.
บรรณานุกรม
๔๑๕
ศิลปากร, กรม, โบราณวัตถุสมัยทวารวดีแห่งใหม่และรายงาน การขุดค้นโบราณวัตถุสถาน ณ บ้านโคกไม้เดน อําเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. พระนคร: กรมศิลปากร ๒๕๐๘. .โบราณวิทยาเรื่องเมืองอู่ทอง. พระนคร: กรมศิลปากร ๒๕๐๙. .ประวัติวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหารและ บทความเรื่องอาณาจักรศรีวิชัย. พระนคร: กรมศิลปากร ๒๕๒๐. .พระราชวัง และวัดโบราณในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พร้อมทั้งรูปถ่ายและแผนผัง. พระนคร: กรมศิลปากร ๒๕๑๑. .รายงานการสํารวจและขุดแต่งโบราณวัตถุสถาน เมืองเก่าอูท่ อง อําเภออูท่ อง จังหวัดสุพรรณบุร.ี พระนคร: กรมศิลปากร ๒๕๐๙. .วิเคราะห์ศลิ าจารึกในพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติ หริภญ ุ ไชย. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๒๒. .ศิลปในประเทศไทย. พระนคร: มูลนิธิอาเซีย, ๒๕๐๕. .ศิลปและโบราณคดีในประเทศไทย. พิมพ์เนื่องในงานฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี พิพิธภัณฑ- สถานแห่งชาติ. พระนคร: กรมศิลปากร ๒๕๑๗. .สมุดนำชมโบราณวัตถุสถานสมัยทวารวดี ตําบลคูบวั จังหวัดราชบุร.ี พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๔. .สมุดนําชมโบราณสถานตําบลพงตึกและ ปูชนียสถานพระแท่นดงรัง อําเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุร.ี พระนคร: กรมศิลปากร ๒๕๐๕. .รายงานการสํารวจและขุดแต่งบูรณะโบราณวัตถุ- สถานเมืองเก่าสุโขทัย พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๒. พระนคร: คุรุสภา, ๒๕๑๒.
๔๑๖ ภูมิหลัง
สงวน รอดบุญ. พุทธศิลปสุโขทัย. ธนบุรี: คณะมนุษยศาสตร์ วิทยาลัยครูธนบุรี, ๒๕๒๑. สัจจาภิรมย์อุดมราชภักดี, พระยา. เทวกําเนิด. พระนคร: โรงพิมพ์ไทยเขษม, ๒๔๗๔. สินชัย กระบวนแสง. ประวัตศิ าสตร์สมัยสุโขทัย. พิษณุโลก: ศูนย์สุโขทัยศึกษา มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ พิษณุโลก, ๒๕๑๙. เสฐียร พันธรังษี. พุทธศาสนามหายาน. พระนคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๑๒. เสฐียรโกเศศ. เล่าเรือ่ งในไตรภูม.ิ พระนคร: คลังวิทยา, ๒๕๑๓. เสถียร โพธินันทะ. ภูมปิ ระวัตพิ ระพุทธศาสนา.พระนคร: บรรณาคาร, ๒๕๑๕. แสง มนวิทรู , ร.ต.ท. คัมภีรล์ ลิตวิสตระพระพุทธประวัตฝิ า่ ยมหายาน. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๑๒. แสง มนวิทูร, ร.ต.ท. (ผู้แปล). ชินกาลมาลีปกรณ์. พระนคร: กรมศิลปากร, ๒๕๐๑. อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสต์. พระพุทธศาสนามหายาน. พระนคร: สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา, ๒๕๒๐.
ภาษาอังกฤษ Acharya, Prasanna Kumar. Indian Architecture : According to Manasara-Silpasastra. Delhi: Indian India, n.d.
Smith, Warren W. Naga and Serpent Symbolism. Kathmandu: Avalok, 1978.
Bhattacharyya, Benoytosh. The Indian Buddhist Iconography. Calutta: Firma K.L. Mukhopadhyay, 1968.
Sunthorn Na-rangsi. The Buddhist Concepts of Karma and Rebirth. Bangkok: Mahamakut Rajavidyalaya Press, 1976.
Briggs,Lawrence Palmer. The Ancient Khmer Empire. Transactions of the American Philosophical Society. New series, vol. 41, part 1. Philadelphia: American Philosophical Society, 1951.
Wayman, Alex. The Buddhist Tantras : Light on Indo-Tibetan Esotericism. New York: Samuel Weiser, 1973.
Brown, Percy. Indian Architecture (Buddhist and Hindu Periods). Bombay: D.B. Taraporevala, 1976. Damrong Rajanubhab, Prince. Monuments of the Buddha in Siam. Monograph no.II (revised). Bangkok: the Siam Society, 1973. Foucher. The Beginning of Buddhist Art. n.p., n.d. Griswold, A.B. Wat Pra Yun Reconsidered. Monograph n.4. Bangkok: the Siam Society, 1975. Haldar, J.R. Early Buddhist Mythology. New Delhi: Monohar, 1977. Iyer, K. Bharatha. Animals in Indian Sculpture. Bombay: Taraporevala, 1977.
The Legend of the Great Stupa of Boudhanath.
Trans. from the Tibetan Terma of sNgags-Chang Sakya-Bzang-Po by Keith Dowman. Varanasi, Bhergava Offsets, 1973.
Luce, Gordon H. Old Burma-Early Pagan. 3 vols. New York: Artibus Asia and the Institute of Fine Arts, New York University, 1969. Mookerjee, Ajit and Khanna, Madhee. The Tantric Way: Art, Science, Ritual. Delhi: Vikas, 1977. Pant, Suchila. The Origin and Development of Stupa Architecture in India. Varanasi: Bharata Manisha, 1976. Rowland, Benjamin. The Art and Architecture of India: Buddhist, Hindu, Jain. Middlesex: Penguin Books, 1977.
Smith, Vincent A. A History of Fine Art in India & Ceylon. 3d ed. revised and enlarged by Karl Khandalavala. Bombay: D.B. Taraporevala, 1969. Smith, Warren W. (ed.) Mythological History of the Nepal
Valley from Svayambhu Purana.
Trans. By Mana Bajra Bajracharya. Kathmandu, Avalok. 1978.
บรรณานุกรม
๔๑๗
ดรรชนี ก
กู่ ๓๗๕ เกณฑทหาร ๑๒, ๒๒ กงพัด ๑๘๒ เกณฑแรงงาน ๘-๙, ๑๒-๖, ๑๙, ๒๐๙, ๒๑๙, ๒๕๓ กฎมณเฑียรบาล ๗, ๓๕, ๓๙๐, ๔๐๐ เกริน ๒๕๑ กนิษกะ, พระเจา ๓๕๐ เกษียรสมุทร ๓๔, ๓๗; ดู กวนเกษียรสมุทร กบฏ ๖, ๙, ๑๔, ๔๐๐ โกนจุก ๑๘๐; ดู โสกันต กรมกอง ๘, ๑๒-๔, ๑๙-๒๐, ๓๙-๔๐, ๑๘๑, ๒๓๕, โกรลิเย, แบรนาร ฟลิป (Bernard-Philippe Groslier) ๔๐๒ ๑๖๕, ๒๐๘, ๒๓๙ กระษัตรานุชิต, พระเจาหลานเธอ เจาฟากรมขุน ๔๐๒ โกลานี, มาดแลน (M. Colani) ๗๙ กรุงเทพฯ, สมัย ๒๗, ๖๔, ๖๙, ๑๘๐-๒, ๑๙๒, ๑๙๕, ๒๒๙, ๒๓๑, ๒๓๓, ๒๕๒-๓, ๒๘๗, ๒๙๑-๔, ข ๓๕๘; ดู กรุงรัตนโกสินทร กรุงธนบุรี ๑๑, ๑๖, ๒๒๙, ๒๘๗, ๒๙๐, ๓๑๒, ๓๑๕, ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ๑๙๓ ๓๖๙; ดู ธนบุรีศรีมหาสมุทร ขาไท ๓, ๑๔ กรุงรัตนโกสินทร ๗-๘, ๑๑-๒, ๑๕, ๑๗-๘, ๒๑-๓, ขาพระ, ขาวัด ๑๕, ๑๘ ๒๗-๘, ๓๔-๕, ๓๙, ๔๑-๒, ๘๕, ๑๖๗, ๑๗๓, ขาว ๓, ๘, ๒๒, ๒๕, ๖๓, ๖๔, ๘๔, ๑๐๖-๑๒, ๑๑๙, ๑๗๘-๙, ๑๘๕, ๑๙๒, ๒๒๙, ๒๔๓, ๒๕๑-๔, ๑๒๑, ๑๕๖, ๑๙๑, ๒๐๔, ๒๐๘, ๒๓๙, ๒๖๙ ๒๘๗, ๒๙๑-๔, ๓๐๑-๓, ๓๐๙, ๓๑๒-๓, ๓๒๐, ขุนช้างขุนแผน ๑๔, ๓๙๗ ๓๒๕-๘, ๓๓๑, ๓๔๒-๓, ๓๕๓, ๓๕๘, ๓๖๘-๙, ขุนนาง ๖, ๗, ๙-๑๐, ๑๔, ๑๖, ๑๗, ๑๘, ๒๑, ๔๒ ๓๗๖, ๓๗๘, ๓๘๗, ๓๙๐, ๓๙๒, ๓๙๘, ๔๑๒; ดู ขุนหลวงหาวัด ๓๖ กรุงเทพฯ เขาไกรลาส ๒๗, ๓๑, ๑๖๗, ๑๗๖-๙, ๑๘๑, ๑๘๔, กรุงศรีอยุธยา ๓, ๕-๒๐, ๒๑-๒, ๒๔-๕, ๒๖-๙, ๓๔, ๒๕๔, ๓๒๕, ๓๓๗, ๓๕๘-๖๐ ๓๖-๗, ๓๙, ๔๑-๒, ๖๔-๕, ๘๕, ๑๗๓, ๑๗๘, เขาพระสุเมรุ ๓๔, ๓๖-๙, ๑๕๘-๖๐, ๑๖๓-๔, ๑๗๒, ๑๘๑, ๑๘๙, ๑๙๑-๒, ๒๐๒, ๒๐๙, ๒๒๙, ๒๔๐, ๑๗๕-๗, ๑๗๙, ๑๘๑-๔, ๒๑๖, ๒๓๘-๙, ๒๔๒, ๒๔๖, ๒๕๗, ๒๗๔, ๒๘๑-๙๐, ๓๐๑-๓, ๒๔๖-๘, ๒๕๔-๕, ๒๖๐-๗, ๒๗๔, ๒๘๒, ๒๘๗, ๓๐๘, ๓๑๑-๓, ๓๑๕, ๓๑๙-๒๐, ๓๒๕-๘, ๓๓๑, ๒๙๒, ๓๑๕, ๓๒๕- ๓๓, ๓๓๗, ๓๔๘-๙, ๓๕๓, ๓๓๗, ๓๔๒-๓, ๓๔๖, ๓๕๐, ๓๕๓, ๓๕๖, ๓๕๘, ๓๕๘ ๓๖๐, ๓๖๒, ๓๖๗-๙, ๓๗๖, ๓๗๘, ๓๘๖, ๓๙๐, เขาสัตบริภัณฑ์ ๓๑๕, ๓๒๘, ๓๓๑, ๓๙๘-๔๐๒ เข้าเดือนออกเดือน ๑๓, ๑๙, ๒๑ กรุงสุโขทัย ๒-๕, ๑๑, ๑๕, ๑๗-๘, ๒๔, ๒๕-๖, ๒๗-๘, เข้าเวร ๙, ๑๑-๓, ๑๕, ๑๙, ๒๑ ๓๔, ๓๗, ๔๒, ๖๓, ๖๗, ๑๒๐, ๑๘๒, ๑๘๕, ๒๔๐-๕, ๒๖๓-๘, ๒๘๑, ๓๐๑-๓, ๓๐๙-๑๔, ค ๓๑๙-๒๐, ๓๒๕, ๓๓๗, ๓๔๒, ๓๕๐, ๓๕๒-๓, ๓๕๖, ๓๕๘, ๓๖๘-๙, ๓๗๖, ๓๗๘, ๓๙๐, ครัวกัลปนา ๓๖๘ กวนเกษียรสมุทร ๓๖, ๑๖๕, ๑๘๔, ๒๖๒; ครุฑ ๓๓, ๓๗, ๓๙, ๒๖๐, ๓๔๘, ๓๕๘, ๓๖๐, ๔๐๐, ดู เกษียรสมุทร ๔๐๒, ๔๐๙; -ครุฑจับนาค, ครุฑยึดนาค กอร์มัน (กอร์แมน), เชสเตอร์ (Chester F. Gorman) ๒๖๒, ๓๖๐, ๔๐๘; -ครุฑแบก ๓๖๐; ๘๔-๕, ๙๔, ๑๐๕-๖, ๑๕๕ -ครุฑพาห ๓๓; -เรือครุฑ ๑๗๙ กะลาโหม ๑๘ ครูชาง ๓๐๓, ๓๐๖-๘, ๓๑๘ กัลปนา ๑๕, ๑๘, ๓๖๘ คัลเลนเฟลส์, พีเตอร์ วินเซนต์ ฟาน สไตน์ (Pietre กําแพงแกว ๓๔๐, ๓๗๘, ๓๘๑, ๓๘๔, ๔๐๘ Vincent van Stein Callenfels) ๗๙ กุฏิ ๒๑๕-๖, ๒๒๐, ๒๓๓, ๒๓๕, ๓๗๒-๓, ๓๗๖, ๓๙๐, คาราชการ, คารัชชูปการ ๑๒ ๔๐๘ คาถาเย ธมฺมา ๓๒๑, ๓๘๗
๔๑๘ ภูมิหลัง
คามวาสี ๓๖๙, ๓๗๓; -วัด ๓๖๙, ๓๗๑-๒ คาร์ (A.F.G. Kerr) ๗๖-๗, ๑๒๓ ค้ำกิ่งโพธิ์ ๓๘๔ คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. ๒๑๗ เคมเฟอร์, เอ็งเงิลเบิร์ต (Engelbert Kaempfer) ๒๒๙ เคอปเปน, วลาดิเมียร (Vladimir Kööppen) ๗๑ เครื่องตน ๓๓ เครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ ๓๐, ๓๔ เครื่องมือโลหะ ๑๑๓ เครื่องมือหิน ๕๙-๖๑, ๗๖, ๘๒-๕, ๙๒-๑๐๒, ๑๐๔-๕, ๑๓๓-๔ เครื่องราชกกุธภัณฑ, เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ ๓๑-๒, ๔๔, ๑๗๘ เครื่องสังคโลก ๒๕
จ จกอบ ๓ จตุโลกบาล ๔๐๓-๔ จตุสดมภ ๑๐ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔, พระบาทสมเด็จพระ ๘, ๑๘, ๒๑-๒, ๓๕-๖, ๔๒, ๑๘๑, ๒๑๐, ๒๓๑, ๒๕๒, ๒๘๒, ๓๐๒, ๓๐๙, ๓๒๗ จักร ๑๗๖ จักรตรี ๓๕๘ จักรพรรดิพิมาน, พระที่นั่ง ๑๗๘ จักรวรรดิวัตร ๔๑ จักรวาล ๑๔๖, ๑๕๗-๙, ๑๖๖, ๓๑๖ จักรีมหาปราสาท, พระที่นั่ง ๓๒๘, ๓๕๙ จักรีวงศ์, พระบรมราช ๑๗, ๒๑, ๒๓, ๔๒ จั่วพรหมพักตร ๔๐๙ จามเทวี, พระนาง ๒๗๓ จินดารังสรรค, พระยา ๒๕๔ จิตกาธาน ๓๗, ๓๘๕, ๔๐๙ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕, พระบาทสมเด็จพระ ๑๒, ๑๗-๘, ๒๒, ๒๘, ๓๕-๖, ๓๙, ๔๒-๓, ๑๗๒, ๑๗๖, ๑๗๘, ๑๗๙, ๑๘๑, ๒๓๑, ๒๕๔, ๒๙๔, ๓๐๒-๓, ๓๘๕, ๓๙๘, ๔๐๒ จุฬามณี ๑๘๕, ๓๑๕ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ๓๖, ๓๐๕, ๓๘๕ เจดีย ๓๒๑; -เจดียทรงไทย ๓๓๔; -เจดียทรงกลม ๓๓๙, ๔๑๒; -เจดียทรงเครื่อง ๓๓๔;
-เจดียทรงระฆัง ๓๗๖; -เจดียทรงลังกา ๓๗๕; -เจดียเหลี่ยมยอมุม ๔๑๒ เจษฎาบดินทร์, พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่น ๔๐๒; ดู นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เจริญ พลเตชา ๘๔ เจา ๗; ดู ชนชั้น เจาพระฝาง ๑๖ เจาพระยา, แมน้ำ ๒๘๖, ๒๙๐ เจาฟา ๗-๘ โจร ๑๔ โจวตากวน ๒๖๔
ฉ ฉลองพระบาท ๓๕, ๑๗๘ ฉัตรมัณฑิระ ๔๐๙ เฉลว ๒๐๐-๓
ช ชมพูทวีป ๑๕๘, ๑๖๐ ชนชั้น -สุโขทัย ๒-๕; -อยุธยา ๗-๒๐; -ชนชั้นกลาง ๑๓, ๑๘ ชักนาคดึกดําบรรพ ๓๖-๗ ชักวาวงาว, พระราชพิธี ๑๙๘ ชั้นกลีบขนุน ๓๒๕ ชันตาฆร ๓๗๓ ชั้นรัดประคด ๓๒๕-๗ ชัยวรมันที่ ๗, พระเจา ๒๖๔ ชัวซี (Choisy) ๒๘๗ ชางสิบหมู ๔๐๒ ชาติชาย รมสนธ ๘๕ ชารด, เชสเตอร (Chester Chard) ๖๐ ชารแดง, ปแยร เตอยยารด เดอ (Pierre Teihard de Chardin) ๘๓ ชิน อยูดี ๕๙, ๘๓, ๑๕๖ เชลย ๘ เชลยศักดิ์ ๘ เชอรนอฟ (Chernoff) ๑๑๖ โชติ กัลยาณมิตร ๑๔๓, ๒๒๐, ๒๙๗, ๓๐๙
ซุมจระนํา ๔๑๐ ซีฟกิ้ง (Sieveking) ๕๙ เซเดส, เซแดส (George Cœdèès) ๖๖, ๒๐๘ แซระซิน, ฟริทซ (Fritz Sarasin) ๗๖-๙, ๙๔-๖ แซหลินส, มารแชล (Marshall Sahlins) ๘๘-๙ โซลไฮม, วิลเฮลม จี (Wilhelm G. Solheim) ๘๓, ๑๑๕, ๑๓๘, ๒๐๗-๘ ไซเดนฟาเดน (Erik Seidenfaden) ๗๖-๗, ๘๒
ญ ญวนหก ๒๕๔
ฐ ฐานันดรศักดิ์ ๗
ด ดอริง, คารล (Karl Dohring) ๓๙๘ ดันน (F.L. Dunn) ๕๔-๕ ดารวิน, ชารล (Charles Darwin) ๑๔๙ ดาไล ลามะ ๑๖๓ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา ๑๑-๒, ๖๗, ๗๙, ๓๑๒, ๓๒๑, ๔๐๒ ดุสิตมหาปราสาท, พระที่นั่ง ๑๑-๒, ๒๕, ๖๗, ๗๙, ๑๙๑, ๓๑๑ ดูบัวส, ยูจีน (Eugene Duboi) ๑๕๒ เดอ ลาจงกิเยร, ลูเนต (Lunet de Lajenquiere) ๗๖
ต
ตันตระ, ลัทธิ ๓๒๕, ๓๔๖, ๓๙๓ ตนไมเงินตนไมทอง ๓๗ ตรีกูฎบรรพต ๓๒๖ ตรีบูร ๒๖๖ ตรียัมปวาย, พระราชพิธี ๓๙ ตะพุนหญาชาง ๑๘ ตากสิน (สมเด็จพระเจากรุงธนบุรี), สมเด็จพระเจา ๑๖, ๒๗๖, ๒๙๐, ๒๙๒ ซ ตาชาร์ด (Tachard) ๑๙๒, ๓๑๕ ตานกวยสลาก ๑๘๔, ๑๘๖ ซอเรนเซน, เปยร (Per Sorensen) ๘๓, ๙๔-๕, ๑๑๑, ตําแหนงขาราชการ ๑๐ ๑๑๗-๘ ตั้งน้ำวงดาย, พิธี ๑๗๗ ซากสัตวโบราณ ๑๐๓, ๑๑๗, ๑๒๐ ติโลกราช, พระเจา ๓๖๙, ๓๘๖
ตีกลองรองฎีกา ๔๒ เตาแบกโลก ๑๖๐ ไตรภูมิ ๑๔๖, ๑๖๐-๑, ๑๖๗-๘, ๒๕๖, ๓๑๐, ๓๑๔-๕, ๓๒๖, ๓๓๖, ๓๔๒, ๓๔๘, ๓๕๒-๓, ๓๕๕, ๔๐๔
ถ ถือน้ำพิพัฒนสัตยา, พระราชพิธี ๔๒-๓, เถรวาท, นิกาย ๒๕
ท ทนาย, ทนายความ ๙, ๒๐ ทศกัณฐ ๒๕๖ ทศพิธราชธรรม ๖, ๒๓, ๔๑, ๔๓, ๓๕๖, ๓๕๙ ทอผา ๖๓-๔, ๑๑๒-๓, ๑๑๙, ๑๓๖, ๑๔๐, ๓๙๕ ทอง เกศทอง ๒๓๓ ทองสําเภา ๒๔๓, ๓๔๒ ทองอัสดง ๒๔๓-๔ ทะเลหลวง ๒๖๘ ทักษิณา, พิธี ๑๘๔ ทัณฑนิติ, พิธี ๒๘ ทางรถไฟสายมรณะ ๘๓ ทายสระ, สมเด็จพระเจาอยูหัว ๓๖, ๒๕๒ ทาส ๗, ๑๕, ๑๘-๒๐; -เลิกทาส ๒๒ ทิวา ศุภจรรยา ๒๖๘ ทุงพระเมรุ ๒๙๒ เทวะวงศวโรปการ, สมเด็จฯ กรมพระยา ๒๕๑ เทวราช, เทวราชา ๖, ๑๗-๘, ๒๒, ๓๓-๔, ๓๖-๙, ๑๖๗, ๓๑๐, ๓๕๖, ๓๕๘-๙; ดู ไศเลนทร เทศนคาถาพัน ๓๐๘
ธ ธงชาง ๒๖๑ ธนบุรีศรีมหาสมุทร ๒๙๐; ดู กรุงธนบุรี ธรณีสัณฐาน ๗๓ ธรรมการ, กรม ๑๗ ธรรมเจดีย ๓๒๑ ธรรมยุติกนิกาย ๒๒ ธรรมราชา ๖ ธาตุเจดีย ๓๒๑
ดรรชนีค้นคำ
๔๑๙
น
บาร (S.M. Barr) ๙๕ บาราย ๒๖๔-๗, ๒๖๙-๗๐, ๒๘๒ นครธม ๒๑๔, ๒๓๙, ๒๔๖, ๓๖๓; ดู นครหลวง; บาลเมือง, พอขุน ๒๖ บายน บุชแมน, โดเบ (Dobe Bushman) ๙๒ นครวัด ๒๑๔, ๒๖๖; ดู นครหลวง บูล (Boule) ๗๖ นครวัดจําลอง, ปราสาท ๑๖๙, ๒๑๔ บุษบก ๓๙, ๑๗๒, ๑๘๑, ๑๙๕, ๒๐๙, ๓๑๙, ๓๒๘, นครหลวง กัมพูชา ๒๖๔-๖; ดู พระนคร ๓๓๑, ๓๕๙, ๓๘๕, ๔๑๑, ๔๑๓ นริศรานุวัดติวงศ์, สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา ๗๙, บูชาครู, พิธี ๓๐๖ ๒๕๔, ๔๐๒ เบนเนดิคท, พอล (Paul Benedict) ๖๐, ๑๕๕ นเรศวรมหาราช, สมเด็จพระ ๒๕๒, ๓๘๖-๗ เบยารด, ดอนน (Donn T. Bayard) ๘๔, ๙๖ นักบวช ๗ เบรดวูด (Braidwood) ๘๘ นั่งเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๓, พระบาทสมเด็จพระ แบล็ค, เดวิดสัน (Davidson Black) ๗๖ ๒๑, ๓๖, ๑๘๒, ๒๕๘, ๓๐๒, ๔๐๒ โบสถ ๑๘๔, ๒๑๕, ๒๓๓ นาค -นาคเบือน ๒๖๐; -นาคปก ๒๖๐; -นาคลํายอง โบสถมหาอุตม ๓๘๑ ๒๖๐; -นาคสะดุง ๒๖๐, ๒๖๑; -นาคสํารวย ๒๖๐, ๒๖๑ ป นาค, นาคา – ชาติพันธุ ๑๗๓, ๒๖๓, ๒๘๒ นางนาคและพระทอง – ตํานาน ๒๖๔ ปกเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๗, พระบาทสมเด็จพระ นางนพมาศ – ตํานาน ๑๘๕ ๒๓, ๓๒, ๓๖, ๗๙ นายเงิน ๒๐ ปโตเลมี (Ptolemy) ๖๖ นารท โพธิประสาท ๓๐๕, ๓๑๑ ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จฯ กรมพระ ๒๖-๗ นารายณ์, พระ ๓๓-๔, ๓๖, ๑๖๕, ๑๖๗, ๑๗๕-๖, ๑๘๑, ประหารชีวิต ๕, ๔๐; -สถานที่ ๓๗๑, ๓๘๐ ; ดู ๒๒๓, ๒๗๔, ๓๕๘-๖๐, ๔๐๘; ดู วิษณุ สําเร็จโทษ นารายณ์มหาราช, สมเด็จพระ ๑๕, ๑๙๓, ๒๕๒, ๒๘๗, ปรากรมพาหุ, พระเจา ๓๕๐ ๓๐๒, ๓๑๕, ๓๕๘, ๓๙๐ ปรางค์ ๓๗, ๓๙, ๒๔๓, ๒๔๘, ๒๕๓-๕, ๒๕๗, ๒๖๔, น้ำคูถ ๔๑๐ ๒๘๗, ๓๐๑-๒, ๓๑๑, ๓๑๘, ๓๒๕-๓๓๒, น้ำมูตร ๓๗๓, ๔๑๐ ๓๓๗, ๓๔๒, ๓๕๒-๓, ๓๗๕-๖, ๔๐๘, ๔๐๙, นิคม สุทธิรักษ ๘๔ ๔๑๑, ๔๑๒, ๔๑๔, นิติ แสงวัณณ ๔๗, ๑๐๒, ๑๒๙ ปราบดาภิเษก, พระราชพิธี ๖, ๑๗, ๒๔, ๒๗-๘, นิวแมน, เธลมา (Thelma Newman) ๑๕๖ ๑๖๗, ๑๗๕, ๑๗๗ นีเดิ้ม, โจเซฟ (Joseph Needham) ๑๕๕ ปราสาททอง, สมเด็จพระเจา ๒๕๒ ปรีชา กาญจนาคม ๘๕ บ ปลองไฉน ๓๑๑-๒, ๓๒๐, ๔๑๑ ปลาผสมชาง ๑๖๑ บรมโกศ, สมเด็จพระเจา ๒๑, ๓๖, ๑๘๐, ๒๕๒, ๒๕๕ ปลาอานนท ๑๖๐-๑ บรมไตรโลกนาถ, สมเด็จพระ ๗, ๑๐, ๑๘, ๓๖๙, ๓๗๘ ปลูกเรือน ๒๒๔ บรมราชาที่ ๒ (เจาสามพระยา), สมเด็จพระ ๒๒ ปอมเพชร ๒๘๕-๖ บรรดาศักดิ์ ๗ ปนลม ๒๒๕, ๔๑๑; -ปมลมหางปลา ๒๒๖ บริโภคเจดีย ๓๒๑ ปทรูซิวสกี, ไมเคิล (Michael Pietrusewsky) ๑๑๖ บอรดส, ฟรองซัว (Franççois Bordes) ๕๙ ปนเกลาเจาอยูหัว, พระบาทสมเด็จพระ ๒๕๒, ๒๕๔-๕ บั้งไฟ ๑๘๒, ๓๐๘ ปนโต, เฟอรนันโด เมนเดซ (Fernando Mendez บันไดนาค ๒๖๑ Pinto) ๖๕ บัว - สถาปตยกรรม ๒๖๒; บัวกลุม ๓๓๑; บัวคว่ำ ปยมหาราช, สมเด็จพระ ๔๒, ดู จุลจอมเกลาเจาอยูหัว ๔๑๑; บัวหงาย ๔๑๑ ปเตอรสัน, นิโคลาส (Nicholas Peterson) ๙๒ บายน, ปราสาท ๑๖๕, ๒๓๙, ๒๖๔; ดู นครธม โปรตุเกส ๒๘๖ บายศรี ๑๘๔, ๑๘๖
๔๒๐ ภูมิหลัง
ผ ผี -ผีทรงเมือง ๒๗; -ผีฟา ๒๗; -ผีเสือ้ เมือง ๒๗ ผูกพัทธสีมา, พิธี ๓๘๐
ฝ ฝักเพกา ๒๕๕, ๓๒๖, ๔๑๒; ดู ลำภุขัน ฝาไหล ๓๙๖, ๔๑๒ เฝือก ๓๘๙, ๔๑๒ แผลงสะทาน, พ.อ. พระ ๘๒
พ พจน เกื้อกูล ๘๔ พญานาค ๑๖๔-๘, ๑๗๒-๓, ๒๖๐-๑ พญานาคมุจลินท ๑๖๗-๘ พญาไท, วัง ๓๕๘ พมา ๒๙๑ พรชัย สุจิตต ๑๐๑, ๑๐๕, ๑๒๔ พรหม, พระ ๓๓, ๑๗๗, ๒๒๓, ๓๕๘ พรหมชาติ, ตํารา ๓๑๑ พระขพุงผี ๒๕, ๒๗ พระครอบพระกริ่ง ๓๐ พระเตาทักษิโณทก ๓๒ พระเตาบัวเขียว ๓๐ พระเตาเบญจคัพภ ๒๘, ๒๙, ๓๐ พระเตาศิลา ๓๐ พระไตรปฎก ๑๗; -สังคายนา ๑๗, ๒๒๑ พระทันตธาตุเขี้ยวแกว ๓๑๕ พระที่นั่งสุริยามรินทร์, สมเด็จ ๓๖ พระเทพบิดร, ปราสาท ๒๓, ๒๕๔-๕, ๓๖๑ พระธยานิพุทธ ๓๓๔, ๓๓๗-๙ พระธรรมราชา ๓๙ พระธรรมศาสตร ๓๕๖ พระนคร, กัมพูชา ๒๖; ดู นครหลวง พระนาม ๓๖ พระเบญจา ๒๕๖ พระปรมาภิไธย ๒๘ พระพุทธรูปทรงเครื่อง ๓๕๙, ๓๘๗ พระภูมิเจาที่ ๔๐๓-๖ พระมหากษัตริย ๖, ๑๗๒ พระมหาอุปราช – ฐานันดรศักดิ์ ๗, ๘ พระเมรุมาศ ๓๗, ๑๓๒, ๑๗๒, ๒๑๖, ๒๕๑, ๒๕๒, ๒๕๓, ๒๕๔, ๓๒๖ พระเยาวราช ๗-๘
พระราชลัญจกร ๓๓ พระลอง ๓๗ พระศรีมหาโพธิ์ ๓๘๑ พระศรีรัตนเจดีย ๒๕๖ พระสนม ๗ พระสุพรรณบัฏ ๓๑, ๓๖, ๑๘๑ พระสุพรรณภาชน ๓๓ พระแสงตรี ๑๗๖ พระแสงอัษฎาวุธ ๑๗๘ พระมหาอุปราช ๗-๘ พระอัครมเหสี ๗ พรุณศาสตร, พระราชพิธี ๓๙ พัดยศ ๑๖ พารคเกอร, แฮมมิลตัน (Hamilton Parker) ๘๔ พิกก็อตต, สจวต (Stuart Piggott) ๕๑ พิฆเนศวร, พระ ๒๘, ๓๐๖ พิชัยสงคราม, ตํารา ๓๐๘ พิทยลาภพฤฒิยากร, พระวรวงศเธอ กรมหมื่น ๓๕๘ พิทักษ สายันต ๒๒๐ พิทักษเทเวศร, พระเจาบรมวงศเธอ พระองคเจากุญชร กรมพระ ๔๐๓ พิทักษมนตรี, เจาฟากรมขุน ๒๕๑ พิมานจักรี, พระที่นั่ง ๓๕๘ พิสิฐ เจริญวงศ ๔๖-๗, ๘๔-๕, ๑๕๕ พีคอค, ไบรอัน (Brian A.V. Peacock) ๘๔ พีระมิด ๑๖๕ พุฒาจารย, สมเด็จพระ ๓๖๙ พุดตานกาญจนสิงหาสน, พระที่นั่ง ๓๖-๗, ๓๙, ๓๖๐, ๓๖๒ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑, พระบาทสมเด็จพระ ๘, ๑๗, ๒๑, ๒๘, ๑๘๐, ๑๘๒, ๒๕๒, ๒๙๑, ๓๒๘, ๓๕๘, ๓๗๕, ๓๘๕-๗, ๔๐๒ พุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒, พระบาทสมเด็จพระ ๒๑-๒, ๓๖, ๒๕๒, ๓๖๘, ๓๘๗ พุทธศาสนา ๖, ๗, ๓๑๒-๕๐ เพทาย ศิริการุณ ๘๓ เพทราชา, สมเด็จพระ ๒๕๒ ไพร ๒-๕, ๗, ๑๑-๓, ๒๒; ดู ชนชั้น ไพศาลทักษิณ, พระที่นั่ง ๑๗๘
ฟาแดดสงยาง ๒๗๐, ๒๗๒ ฟาก ๓๘๙, ๔๑๓ ฟาน ฟลีต, เยเรเมียส (Jeremias van Vliet) ๑๙๑-๒ ฟุลเลอร, บัคมินสเตอร (R. Buckminster Fuller) ๑๔๓, ๑๕๒- ๖, ๑๖๐, ๒๐๒-๔
ภ ภรรยา ๑๐ ภัทรบิฐ, พระที่นั่ง ๓๐-๑, ๑๗๘ ภาชนะแบบ ๓ ขา ๘๑, ๑๑๓ ภูเขาทอง ๒๘๗, ๒๙๒ ภูเขาทอง วัดสระเกศ ๓๒๑ ภูเขาหิมาลัย ๑๖๙ ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๓, ๒๕, ๒๘-๓๓, ๓๖, ๓๙, ๔๒-๓, ๑๗๗ ภูวดลทัศนัย, พระที่นั่ง ๒๕๙
ม
มูลนาย ๑๑-๓, ๑๕, ๒๐ แมบท ๓๑๒ แมโพสพ ๑๑๕ แมยานาง ๒๐๐, ๒๙๔ แมอยั่วเมือง ๗ แมคนิช (MacNeish) ๖๐ ไมลส (C.L. Miles) ๓๒ โมเวียส (Hallam L. Movius) ๕๙, ๘๒
ย ยศและตําแหนง ๑๖ ยอมุม ๔๑๓ ยัง, สตีฟเฟน (Stephen Young) ๘๔ เยน, ดักลาส (Douglas Yen) ๑๐๖-๗ โยธาทิพ, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวง ๑๔, ๒๕๒ โยธาเทพ, สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวง ๑๔, ๒๕๒
ร
ระเบียงคด ๒๔๘ มงกุฎเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๖, พระบาทสมเด็จพระ รัฐธรรมนูญ ๒๓ ๒๒, ๓๖, ๔๐๓ รั้วระเนียด ๔๑๓ มงคล ๑๐๘, คาถา ๓๕๕ ราชกฤต ๒๘ มณฑป ๔๑๓ ราชทินนาม ๑๐, ๑๔, ๑๖, ๑๘ มณฑปพระกระยาสนาน ๒๙ ราชพัทธยา ๓ มนังคศิลาอาสน, พระแทน ๒๕ ราชภัฏ ๑๕ มหาจักรพรรดิ, สมเด็จพระเจา ๓๘๖ ราชสงคราม (ทัด หงสกุล), พระยา ๒๕๔ มหาชมพูบดีสูตร ๓๔๐, ๓๔๖, ๓๕๖, ๓๕๙ ราชสีหวิกรม (พระองคเจาชุมสาย), พระเจาบรมวงศเธอ มหาดเล็ก ๑๘, ๒๑ กรมขุน ๒๕๔, ๔๐๒ มหาธรรมราชาที่ ๒ (ลือไทย), พระ ๒๔ ราชสูยะ ๒๘-๓๒; ดู ราชาภิเษก มหาธาตุ – คติการสราง ๓๖๘ ราชาภิเษก, พระราชพิธีบรม ๑๘, ๒๘-๓๒, ๓๘, มหานพปฎลเศวตฉัตร, พระ ๓๑ ๑๗๖-๘, ๓๒๘, ๓๕๘ มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ๓๕๕ ราชาศัพท ๒๖, ๓๔ มหาพิชัยมงกุฎ, พระ ๓๑, ๓๙, ๔๕, ๑๗๖ ราดิโอคารบอน ๙๑ มหาพิชัยราชรถ, พระ ๓๓๑ รามเกียรติ์ ๒๕๖ มหายุค ๑๕๗ รามคําแหงมหาราช, พอขุน ๒-๕, ๓๔, ๓๕๓ มหาวชิรุณหิศ, สมเด็จฯ เจาฟา ๑๗๙ รามราชาธิราช, สมเด็จพระ ๕ มหาศรีสุริยวงศ (ชวง บุนนาค), สมเด็จเจาพระยาบรม รามาธิบดีที่ ๑ (อูทอง), สมเด็จพระ ๕, ๒๖ ๒๕๔ ราเมศวร, สมเด็จพระ ๕ มหาสุรสิงหนาท, สมเด็จพระบวรราชเจา ๒๕๔ เรือ -เรือชะลา ๑๙๕; -เรือญี่ปุน ๒๘๗; ฟ มหิธร (ลออ ไกรฤกษ), เจาพระยา ๗๙ -เรือทนสมุทร ๒๒๕; -เรือปพาทย ๑๙๕; มังราย, พระเจา ๒๔, ๒๗๓ -เรือพระ ๑๙๕; -เรือพระทีน่ งั่ อนันตนาคราช ฟอน เกอนิกสวาลด (เคอนิกสวาลท), รัลฟ (Ralph von มัณฑะเลย ๕๗ ๑๗๓, ๑๗๕, ๒๕๔; -เรือพระทีน่ ง่ั อเนกชาติภชุ งค Koenigswald) ๑๐๓, ๑๕๒ มัลละกษัตริย ๓๕๐ ๒๕๔; -เรือมาด ๑๙๕; -เรือเลน ๑๙๕; ฟอนเล็บ ๑๙๘ มาลัยเถา ๔๑๓ -เรือเอี้ยมจุน ๒๒๙; -เรือโอ ๑๙๕
ดรรชนีค้นคำ
๔๒๑
เรือน -เรือน ๙ หอง ๒๒๐; -เรือนแกว ๔๑๓; -เรือนเครื่องประดุ ๓๙๐, ๔๐๐, ๔๑๓; -เรือนเครื่องผูก ๓๘๙; -เรือนตน พระราชวังดุสิต ๔๐๓; -เรือนทับขวัญ พระราชวังสนามจันทร ๔๐๓; -เรือนไทย ๒๑๘-๒๕; -เรือนแพ ๒๒๙, ๒๓๑, ๓๙๘; -เรือนยอด ๔๑๓; -เรือนหมู ๒๓๓; -เรือนหลวง ๔๐๐ โรงทิม ๔๑๔
ฤ ฤทัย จงรัก ๒๒๐
ล ลงสรง, พระราชพิธี ๑๗๘-๙ ลลิตวิสตระ, คัมภีร ๓๓๖ ลอยกระทง, พิธี ๑๘๔-๕ ลอยโขมด, พิธี ๑๘๔ ลอยไฟภาคเหนือ, พิธี ๑๘๗ ลักขณานุคุณ, พระเจาลูกยาเธอ พระองคเจา ๔๐๒ ลังกา ๓๐๒-๔, ๓๑๓ ลังกาวตารสูตร ๓๒๕ ลาลูแบร (Simon de La Loubéère) ๑๙, ๓๑๕ ลานนา ๒๔, ๓๒๕, ๓๓๗, ๓๕๓, ๓๖๗, ๓๖๙, ๓๗๕-๖, ๓๘๖, ๔๑๐, ๔๑๔ ลาย ประสานนิล ๒๒๒-๔ ลำภุขัน ๒๕๕, ๓๒๖, ๔๑๒; ดู ฝักเพกา ลีคกี้, ริชารด อี (Richard E. Leakey) ๕๔, ๑๔๙ ลุวันเวลิเจดีย ลังกา ๓๕๐, ๓๕๒ ลูกขุนศาลหลวง ๑๘ ลูกเจาลูกขุน ๒, ๓ ลูกนิมิต ๓๘๐ ลูกหลวง ๗-๘; -เมือง ๘ ลูฟส์, เฮลมุท (Helmut Loofs) ๘๔ เลก, เลข ๑๓; -เลกวัด ๑๕ โลวี่ (Lowie) ๘๘ โลหะปราสาท ๒๕๕, ๓๔๐ ไลน้ำ, พระราชพิธี ๑๘๒ ไลเรือ, พระราชพิธี ๑๘๒
๔๒๒ ภูมิหลัง
ว วงเวียน ๒๒ กรกฏา ๓๘๕ วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระ ๒๒ วชิราวุธ, โรงเรียน ๓๘๖ วรจักรธรานุภาพ, กรมขุน ๒๕๔ วรรณี แอนเดอรสัน ๑๐๑ วอตสัน, วิลเลียม (William Watson) ๘๔ วัด ๓๖๕-๘๗ วัลภา ขวัญยืน ๙๔ วัลลัวซ (Vallois) ๗๘ วิกตอเรีย, พระนางเจา ๑๗๙ วิทยา อินทโกศัย ๘๔, ๘๕ วิพากษ ศรทัตต ๘๔ วิวัฒน เตมีพันธุ ๒๒๐ วิวัฒนาการมนุษย ๕๘, ๕๙ วิษณุ, พระ ๑๘, ๓๑, ๓๓, ๑๖๔-๕, ๑๖๗, ๑๗๕, ๑๗๖-๘, ๑๘๑-๒, ๑๘๔-๕, ๒๖๐, ๒๖๒, ๒๖๔, ๒๗๔, ๓๐๖; ดู นารายณ์ วิสาขบูชา ๑๘๒, ๑๘๔ วิสุธสุนทร (โกษาปาน), ออกพระ ๑๗๑-๒ วิหาร ๓๗๖-๘ วิหารแกลบ ๔๑๔ วิหารคด ๓๒๖, ๓๔๒, ๓๗๘ วีรพันธ มาไลยพันธ ๘๔-๕, ๙๔ เวชยันตราชรถ, พระ ๑๗๒, ๓๕๙ โวบอง (Vauban), ปอม ๒๘๗ โวลอง, แวรแกง เดอ (Verquain de Volland) ๒๘๗, ๒๙๐ ไวท, เลสลี (Leslie White) ๘๘
ศ ศรีธนญชัย ๒๐๙ ศรีธรรมาโศกราช, พระเจา ๓๖๘ ศรีสัจจปานกาล, พระราชพิธี ๑๘๑, ๓๕๘ ศรีอาริยเมตไตรย, พระ ๓๒๒ ศรีอินทราทิตย, พอขุน ๕ ศักดินา ๑๓ ศาลตาผาแดง ๒๖๕ ศาลปูตา ๔๐๓ ศาลผีบรรพบุรุษ ๔๐๓ ศาลพระภูมิ ๒๒๙, ๒๓๐, ๔๐๔, ๔๐๕ ศาลหลักเมือง ๔๐๕ ศาลหลวง ๑๘
ศิลาจารึกพอขุนรามคําแหง (ศิลาจารึกหลักที่ ๑) ๒-๕, ๒๔, ๖๓, ๔๒๑ ศิวะ, พระ ๑๘, ๒๗-๘, ๓๑, ๓๗, ๑๖๗, ๑๗๖-๗; ดู อิศวร เศวตฉัตร ๗ ชั้น ๓๐ ไศเลนทร ๑๗, ๒๗-๘, ๓๑, ๓๔, ๓๖-๗; ดู เทวราช
ส สกุลชาง ๓๐๘ สงกรานต ๑๘๒-๓ สด แดงเอียด ๘๕ สมบูรณาญาสิทธิราชย ๓๐๒-๓, ๓๐๙ สมภพ ภิรมย ๒๒๐ สมมุติเทพ ๑๖๗, ๓๑๐ สมมุติเทวราชอุปบัติ, พระที่นั่ง ๓๕๘ สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประทศไทย ๓๕๘ สรงมูรธาภิเษก, พระราชพิธี ๒๘ สรรพสาตรศุภกิจ, พระเจาบรมวงศเธอ กรมหลวง ๔๐๒ สรรเพชญปราสาท, พระที่นั่ง ๓๙๓ สรีดภงส ๒๕ สอบไลพระสงฆ ๑๕ สะทาว, อี.เอ็ม. (E. M. Satow) ๑๗๙ สักเลก ๑๔ สังข (หอย) ๑๗๕-๖, ๒๗๔; -สังขทักษิณาวรรต ๑๗๕; -สังขปาญจะชัยยะ ๑๗๕ สังคหวัตถุ ๔๑, ๔๓, ๓๕๙ สังฆการี ๑๗ สังฆราช, สมเด็จพระ ๑๖, ๓๐, ๓๖๙, ๓๗๑, ๓๙๐ สัตตภัณฑ์ ๑๗๓ สัตวปาหิมพานต ๑๖๐ สารกรมธรรม ๒๙ สําเร็จโทษ ๗, ๓๕ สิเนรุบรรพต ๓๘๕ สิงหนวัติกุมาร ๒๖๓ สิงหาสน ๓๖๒ สีทันดรสมุทร ๓๑๕ สีมา ๓๘๐; -อุทกสีมา ๒๔๓; -อุทกเขป ๓๗๑ สีหบัญชร ๓๖๒ สืบราชสันตติวงศ ๕, ๒๘, ๒๕๒ สุด แสงวิเชียร ๘๓, ๑๑๖, ๑๕๕ สุทธาทิพยรัตนสุขุมขัติยกัลยาวดี, สมเด็จฯ เจาฟา ๑๘๑ สุนันทากุมารีรัตน พระบรมราชเทวี, สมเด็จพระนางเจา ๓๘๕
สุภา ณ นคร ๑๑๖ สุมิตร ปติพัฒน ๘๕ สุเมรุทิพย, ขุน ๒๕๕ สุรัสวดี, พระ ๓๐๖ สุรินทร ภูขจร ๘๕ สุริยวรมันที่ ๒, พระเจา ๓๖, ๓๕๓ สุริยาสนอมรินทร, พระที่นั่ง ๓๙๐ สุเรนทรพิทักษ, กรมขุน ๑๔ สุสาน ๓๖, ๘๒, ๓๘๐, ๓๘๕, ; -สุสานหลวง ๓๘๕ เสาซอนทรัพย ๓๙๘ เสือ, สมเด็จพระเจา ๓๖, ๒๕๒, ๓๙๕, ๔๐๒ โสกันต์, พระราชพิธี ๑๘๐-๑, ๓๕๘; ดู โกนจุก
ห หงสาวดี ๑๘๕; - กษัตริย ๑๙ หนอพระพุทธเจา ๗ หนอพุทธางกูร ๓๕๙ หนอพุทธางกูร, สมเด็จพระ ๓๕๘ หมอมเจา ๘ หมอมราชวงศ ๘ หมอมหลวง ๘ หมอน้ำอมาลกะ ๓๒๖, ๓๒๘ หอกลอง ๓๘๑ หอฉัน ๓๗๓ หอไตร ๓๗๕ หอสวดมนต ๓๗๓ หัตถบาส ๔๑๔ หัวเม็ดยอดปลี ๒๕๖ หางหงส ๔๑๔ หินใหญ ๘๒ หุวิษกะ, พระเจา ๓๕๐ เหรา ๒๖๐, ๒๖๑ โหมกูณฑ ๑๘, ๒๘
อ องคไศเลนทร ๑๗ อดุลยลักษณสมบัติ, พระเจาบรมวงศเธอ กรมหมื่น ๔๐๒ อนันตสมาคม, พระที่นั่ง ๑๗๑ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ๓๖๗ อนุมานราชธน, พระยา ๑๙๓ อนุวิทย เจริญศุภกุล ๒๒๐ อภัยนุชิต, กรมหลวง ๑๔ อภัยรณฤทธิ์, พระยา ๒๕๔
อภิเษก ๒๘, ไฮนี เกลเดอรน (Robert Heine Geldern) ๖๖, ๗๗, อมรา ขันติสิทธิ์ ๔๗, ๑๒๔ ๗๙ อมรินทราภิเศก, พระที่นั่ง ๑๗๑ ไฮแอม, ชารลส (Charles Higham) ๑๑๔, ๑๒๐-๑ อมรินทรวินิจฉัย, พระที่นั่ง ๑๘๑ อรไทเทพกัญญา, พระองคเจา ๒๓๐ อรัญวาสี ๓๖๙, ๓๗๑, ๓๗๓, ; -วัด ๓๖๙-๗๑, ๓๘๐; ดู อรัญญิก อรัญญิก ๓๖๙ อริยวงศาคตญาณ, สมเด็จพระสังฆราช ๓๗๑ อลัชชี ๑๖ อโศกมหาราช, พระเจา ๒๘, ๓๒, ๓๖๗-๘ อัฐทิศ, พระที่นั่ง ๓๐, ๓๑, ๑๗๘ อัน นิมมานเหมินท ๒๒๐, ๓๐๕ อันตรยิกธรรม ๑๕ อัพภันดร ๔๑๔ อาถรรพเวท ๒๘ อาภรณภิโมกข, พระที่นั่ง ๓๒๘, ๓๓๓ อําพัน กิจงาม ๑๑๔, ๑๒๑ อินทร์, พระ ๑๖๕, ๑๖๗, ๑๗๓, ๑๗๗, ๑๘๒, ๑๘๔, ๒๒๓, ๒๒๕, ๒๖๐, ๒๙๒, ๓๑๕, ๓๒๖, ๓๒๘, ๓๕๘, ๔๑๐ อินทราภิเษก, พระที่นั่ง ๓๕๘ อินทราภิเษก, พระราชพิธี ๓๕๘ อิศวร, พระ ๓๓-๔, ๑๗๖-๗, ๑๘๑, ๑๘๔, ๒๒๓, ๒๕๕, ๓๕๘-๙; ดู ศิวะ อูทอง, สมเด็จพระเจา ๕, ๑๗, ๒๔, ๒๖, ๒๗, ๒๘๒, ๓๖๙ เอกอัครศาสนูปถัมภก ๑๕ เอนกชนนิกรสโมสรสมมติ ๒๘ เอฟเวินส (I.H.N. Evans) ๗๖ แองเจิล (Angel) ๑๑๖ แอนเดอรสัน, ดักลาส (Douglas Anderson) ๑๐๑ โอคเลย, เคนเนธ (Kenneth Oakley) ๙๒ ไอศวรรยมหาปราสาท, พระที่นั่ง ๑๗ ไอสวรรยทิพยอาสน ๓๒๘
ฮ ฮอยเชอร (D.A. Hooijer) ๑๐๓ ฮอลันดา ๒๘๖ ฮัทชินสัน (E.W. Hutchinson) ๘๒ เฮเยอรดาหล, ทอร (Thor Heyerdahl) ๑๕๓-๔ แฮตติง (T. Hating) ๘๓ เฮเกอเรน (H.R. van Heekeren) ๘๒-๓, ๘๘, ๙๐, ๙๖, ๑๐๓, ไฮเดอร, คารล จี (Karl G. Heider) ๗๘, ๘๓
ดรรชนีค้นคำ
๔๒๓
๔๒๔ ภูมิหลัง
ดรรชนีค้นคำ
๔๒๕