พื้นที่ชานพระนครและย่านคลองเมือง

Page 1

พื้ น ที่ ย่ า น ช า น พ ระ น ค ร แ ละ ค ล อ ง เ มื อ ง ศ รี ศ ั ก ร ว ั ล ลิโ ภ ด ม แ ละ ค ณะ โค ร ง ก า ร ส ร้ า ง ป ระ ว ั ติ ศ า ส ต ร ์ ส ั ง ค ม ย่ า น เ ก่ า เ มื อ ง ก รุ ง เ ท พ ฯ

ณ ป้ อมม หา กา ฬ อาท ิ ต ย์ ที ่ ๒๕ มก ราคม ๒๕ ๕ ๘


พื้นที่ ย่านชานพระนคร และคลองเมือง


ชานพระนครริมคลองวัดสังเวช-โอ่งอ่างหลังป้อมมหากาฬ ถ่ายในราวรัชกาลที่ ๖ หรือ ๗


พื้นที่ย่านชานพระนครและคลองเมือง คลองเมืองที่ขุดมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีคือ “คลองโรงไหม” หรือ “คลองหลอด” หรือ “คลองคูเมืองเดิม” ส่วน “คลองวัดสังเวช-โอ่งอ่าง” ขุดในสมัยแรกสร้างกรุงเทพฯ จนมาถึงคลอง เมื อ งสายนอกคื อ “คลองขุ ดใหม่ ห รื อ คลองผดุ ง กรุ ง เกษม” ที่ ขุ ดในสมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดูเหมือนสองฝั่งคลองวัดสังเวช-โอ่งอ่างจะเกิดแหล่งที่อยู่อาศัยของผู้คนหนาแน่นกว่า บริเวณอื่น ผู้คนชาวบ้านธรรมดาส่วนมากตั้งถิ่นฐานเรียงรายอยู่ทั้งสองฝั่งคลอง เป็นชุมชนที่อยู่อาศัย และสร้างงานหัตถกรรมจนถึงอุตสาหกรรมในครัวเรือนหลายชนิด เกิดแหล่งย่านการค้าทั้ง ขายส่งและค้าขายรายย่อย ทั้งตลาดบกและตลาดน้ำ เพราะเป็นคลองเมืองที่เชื่อมต่อกับคลอง มหานาคที่สามารถเดินทางออกไปนอกเขตพระนครทางฝั่งตะวันออกได้โดยสะดวก ทางฝั่งพระนคร ชุมชน และตลาดอยู่ตาม ชานพระนคร คือ พื้นที่ห่างกำแพงเมืองมายังชาย น้ำ ส่วนบรรดาเจ้านายขุนนางและข้าราชการส่วนใหญ่มีนิวาสสถานอยู่ภายในกำแพงพระนครที่มี ทั้ง ป้อม ประตูเมือง และประตูช่องกุด อันเป็นช่องทางที่ผู้คนภายในเมืองจะออกไปริมลำคลอง เพื่อการคมนาคมได้ เหตุนี้ตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ลงมา จึงมีการสร้าง วังของเจ้านายน้อยใหญ่ที่ทรงกรมเป็นแนวขนานกับกำแพงเมืองมากมาย ดังนั้นพื้นที่ย่านชานพระนครและคลองวัดสังเวช-โอ่งอ่าง จึงเป็นบริเวณย่านเศรษฐกิจและ สังคมที่มีทั้งสังคมของชาววังและสังคมของชาวบ้านที่มีหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นพื้นที่สำคัญ ของกรุงรัตนโกสินทร์มาตั้งแต่เริ่มสร้างพระนคร ชีวิตทางสังคมของคนกรุงเทพฯ ถือกำเนิดในย่าน ดังกล่าวนี้และเติบโตเรื่อยมา จนเมื่อเมืองขยายอย่างใหญ่โตหลังกำเนิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติหลัง พ.ศ. ๒๕๐๐ ลงมา ทำให้ผู้คนหลงลืมย่านเก่าที่ถือเป็นจุดกำเนิดชีวิตทางสังคมและเศรษฐกิจของคนกรุงเทพฯ และมีการจัดการเมืองแบบสมัยใหม่ที่เน้นความสวยงามแต่ไม่ได้ทำความเข้าใจชีวิตทางสังคมของ ผู้คนที่เคยมีมา ผู้คนในพื้นที่ชานพระนครและสองฝั่งคลองเมืองยุคปัจจุบัน จึงต้องต่อสู้กับการถูก ลบออกไปจาก “ประวัติศาสตร์ของเมืองกรุงเทพมหานคร” ประวัติศาสตร์เมืองที่ขาดไร้ “ชีวิตทางสังคม” ของผู้คนที่มีรากเหง้าหลากหลายและเคยอยู่อาศัยกันมา

-๔-


“ชานพระนคร นอกกำแพงเมือง ภาพวาดแผนที่ เกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา จากวารสารเมืองโบราณ

กรุงศรีอยุธยา เต็มไปด้วยบ้านเรือน และเรือนแพ อยู่อาศัยและค้าขาย อย่างสืบเนื่อง”


กรุงเทพฯ ในยุคกรุงธนบุรี

พื้นที่ฝั่งตะวันออก


กรุงเทพฯ ในยุคกรุงธนบุรี พื้นที่ฝั่งตะวันออก กรุงธนบุรีซึ่งเป็นเมืองอกแตก ผู้คนส่วนใหญ่อยู่อาศัยทางฝั่งตะวันตกที่เป็นเกาะบางกอก บ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำลำคลองและเรือกสวน รวมทั้งพระราชวังพระมหากษัตริย์ วังเจ้านาย บ้านเรือนขุนนาง วัดสำคัญ และที่ทำการรัฐบาล ส่ ว นทางฝั่ ง ตะวั น ออกภายในเขตคลองเมื อ งที่ ป ั จ จุ บ ั น เป็ น คลองเมื อ งชั้ นในของเมื อ ง กรุงเทพฯ ที่เรียกว่า คลองโรงไหมหรือคลองหลอด ขุดคลองแล้วนำดินพูนเป็นเชิงเทิน ปักแนว ไม้ทองหลางทั้งต้นเป็นกำแพง ภายในเมืองแม้จะมีวัดโบราณมาแต่สมัยอยุธยา เช่น วัดโพธิ์ วัด สลัก วัดกลางทุ่งหรือวัดตองปุ พื้นที่เป็นท้องทุ่งและสวน มีชุมชนหลายชาติพันธุ์เข้ามาตั้งถิ่นฐาน อยู่อาศัยโดยเฉพาะคนจีนและคนมอญ เมื่อแรกสร้างกรุงเทพมหานครจึงขุดคลองเมืองใหม่คือ คลองบางลำพูและคลองโอ่งอ่าง ก็ได้ย้ายพระราชวัง ที่ทำการรัฐบาล และสร้างพระบรมมหาราชวัง วังเจ้านาย และสถานที่อยู่ อาศัยของพวกขุนนางบางส่วนมาอยู่ภายในเขตคลองเมืองชั้นในซึ่งเป็นคลองเมืองสมัยกรุงธนบุรี และย้ายนิวาสสถานของขุนนางและชุมชนชาวจีนในพื้นที่ตั้งแต่บริเวณที่เป็นพระบรมมหาราชวัง ตามฝั่งน้ำไปทางใต้ ซึ่งปัจจุบันเป็นบริเวณ พาหุรัดและสำเพ็ง

ที่สำคัญ ี่แสดงสถาน ท า ่ ม พ ว า ช นบุรีทำโดย มหาราชวัง แผนที่กรุงธ ป็นพระบรม เ ่ ี ท ณ ว เ ิ ร บ ุ ละระบ าชา หลายแห่ง แ ของพระยาร น า ้ บ ม ่ ุ ล ก อ ื ปัจจุบันค แนวคลอง กรุงเทพฯ ใน ๒๐ และเห็น ข เล าย ม ห ั้งเลี้ยง) ๑๓ เศรษฐี (จีนต ้าย -หมายเลข ซ น า ้ ด ง า ท คูเมืองเดิม

-๗-


แผนที่เมืองธนบุรี ซึ่งเป็นเมืองสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่าเมืองอกแตก คลองคูเมืองเดิมของ กรุงธนบุรีกลายเป็นคลองเมืองชั้นในเมื่อเปลี่ยนเป็นสมัยกรุงเทพฯ


คลองเมือง กรุงเทพมหานคร ในช่วง ๑๐๐ ปี เมื่อแรกสร้าง


แผนที่กรุงเทพมหานคร พิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๔ เพื่อแสดงแนวคลองเมืองในยุคต่างๆ


คลองเมืองกรุงเทพมหานคร ในช่วง ๑๐๐ ปีเมื่อแรกสร้าง คลองคูเมืองเดิม-คลองโรงไหม-คลองหลอด-คลองตลาด

เป็ น คลองเดี ย วกั น ที่ ขุ ดในสมั ย กรุ ง ธนบุ รี จ ากท่ า ช้ า งวั ง หน้ า ทางทิ ศ เหนื อไปออกที่ ปากคลองตลาดทางทิศใต้ ระยะทางราว ๒.๔ กิโลเมตร เมื่อย้ายพระนครมาอยู่ทางฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยาจึงกลายเป็นเส้นทางคมนาคมแทนที่คูเมืองและกำแพงป้องกันเมือง ปากคลองด้านทิศเหนือผ่านโรงไหมหลวงจึงเรียกว่า “คลองโรงไหม” และเมื่อมีการขุด คลองหลอดเป็นแนวตั้งเชื่อมกับคลองเมืองชั้นนอกจึงเรียกคลองช่วงนี้ว่า “คลองหลอด” และเมื่อ จะออกแม่น้ำเจ้าพระยามีย่านการค้าทั้งตลาดบกและตลาดน้ำก็เรียกว่า “คลองตลาดหรือปาก คลองตลาด” คลองคู เ มื อ งเดิ ม นี้ ก ลายเป็ น เส้ น ทางน้ำ สำหรั บ เดิ น ทางและขนส่ ง สิ น ค้ า ของประชาชน ภายในพระนคร

ภาพซ้าย แผนที่กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๔ แสดงบริเวณคลองคูเมืองเดิม ภาพขวา ภาพถ่ายคลองคูเมืองเดิมหน้าวัดราชบพิธ ถ่ายในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยร้านโรเบิร์ต เลนส์


คลองวัดสังเวช-คลองโอ่งอ่าง

ขุดขึ้นเป็นคลองเมืองของกรุงเทพมหานครในสมัยเมื่อแรกสร้างกรุง พ.ศ. ๒๓๒๖ จาก บางลำพูทางทิศเหนือไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศใต้บริเวณใกล้วัดเชิงเลนระยะทางราว ๓.๖ กิโลเมตร สร้างกำแพงอิฐ ป้อม และประตูเมืองไว้โดยรอบพระนคร บันทึกไว้ว่า มีประตูใหญ่ ๑๖ ประตู ประตูช่องกุด ๔๗ ประตู และมีป้อมทั้งสิ้น ๑๔ ป้อม มีการเรียกชื่อคลองเส้นเดียวกันนี้ แตกต่างกันไปตามย่านชุมชนหรือวัดคือ คลองวัดสังเวช คลองสะพานหัน คลองวัดเชิงเลน (วัดบพิตรพิมุข) คลองโอ่งอ่าง และทำให้ มี ก ารขยายตั ว ของวั ง เจ้ า นาย สถานที่ อ ยู่ อ าศั ย ของขุ น นางข้ า ราชการ วัดวาอาราม กรมทหาร ที่ทำการรัฐบาล ห่างจากคลองเมืองชั้นในมาทางตะวันออกมากขึ้น สิ่งที่ทำให้มีการขยายตัวของสถานที่อยู่อาศัยที่สำคัญก็คือ การขุดคลองหลอดสองแห่งเชื่อมต่อ ระหว่างคลองเมืองชั้นในกับคลองเมืองบางลำพูหรือโอ่งอ่างเป็นผลให้เกิดการสร้างบ้านเรือนที่อยู่ อาศัยของผู้ที่เป็นขุนนาง ข้าราชการตามมาทั้งสองฝั่งคลอง

แผนที่แสดงแนวคลองเมืองวัดสังเวช-โอ่งอ่าง ที่ขุดในสมัยเมื่อแรกสร้างกรุงเทพฯ ราว พ.ศ. ๒๓๒๖


การคมนาคมทางเรือและค้าขายในคลองและริมคลองวัดสังเวช-โอ่งอ่าง เห็นภูเขาทอง วัดสระเกศเป็นจุดหมายที่สำคัญในสมัยนั้น คลองเมืองวัดสังเวช-โอ่งอ่างที่ขุดในสมัยเมื่อแรกสร้างกรุงเทพฯ ราว พ.ศ. ๒๓๒๖


คลองหลอดบน

คลองหลอดทั้ง ๒ คลอง ขุดในคราวเดียวกับคลองเมืองเมื่อแรกสร้างพระนคร ชักน้ำเชื่อม ต่อระหว่างคลองคูเมืองเดิมและคลองเมืองใหม่เป็นแนวตรงระยะทางราว ๑.๑ กิโลเมตร และ ใช้สัญจรทำให้เกิดวัดและชุมชนสองฝั่งคลองตามมา “คลองหลอดบน” เริ่ ม แต่ ว ั ด บุ ร ณศิ ริ ม าตยารามริ ม คลองเมื อ งฝั่ ง นอกขนานกั บ ถนน ราชดำเนินกลางมายังวัดมหรรณพารามไปออกคลองบางลำพูที่วัดเทพธิดาและวัดราชนัดดาใกล้ กับป้อมมหากาฬ อันเป็นบริเวณที่มีการขุดคลองมหานาคผ่านวัดสระเกศไปทางตะวันออกจนจรด คลองผดุงกรุงเกษมที่ขุดในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ อย่างไรก็ตามพบว่าบรรดาบ้านเก่าเรือนเก่าและตึกที่พบตามสองฟากคลองของคลอง หลอดตั้งแต่วัดบุรณศิริมาจนถึงปากคลองที่อยู่ระหว่างวัดเทพธิดาและวัดราชนัดดา ดูมีอายุอยู่ใน สมัยแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ลงมาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เท่านั้น แม้แต่วัดเทพธิดาและวัดราชนัดดาก็เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ส่วนวัดมหรรณพารามและวัดบุรณศิริมาตยารามก็ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ราว รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า ฯ ซึ่ ง แต่ เ ดิ ม อาจเป็ น วั ด เก่ า อยู่ ก่ อ นที่ มี ผ ลทำให้ เ ป็ น วัดศูนย์กลางของชุมชนที่อยู่ตามคลองหลอดที่ต่อมาจนปัจจุบัน ดังนั้น วัดมหรรณพาราม จึงเป็นศูนย์กลางของชุมชนพร้อมกับเมื่อมีการสร้างถนน สร้าง โรงเรียนแห่งแรก มีตลาดและศาลเจ้าพ่อเสือ ใ นขณะที่ วัดบุรณศิริมาตยาราม เป็นศูนย์กลาง ของชุมชนสองฝั่งคลองหลอดและบรรดาผู้คนที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกของคลองเมืองเดิมตั้งแต่ สะพานผ่านพิภพลีลาไปจนถึงจนสะพานมอญ

แผนที่แสดงแนวคลอง

หลอดบนและล่างที่ขุด พร้อมๆ กับคลองเมืองวัดสัง เวช-โอ่งอ่าง โดยมีคลองเชื่อมที่ข้า งวัดสุทัศน์ฯ ริมถนนอ ุณากรรณ แต่ปัจจุบันถูกถมกลบไ ปแล้ว


คลองหลอดล่าง

ขุดจากคลองเมืองเดิมบริเวณหน้าวังสราญรมย์ผ่ากลางพระนคร ผ่านวัดราชบพิธ ผ่าน หลังวัดสุทัศน์เทพวราราม ผ่านเรือนจำพระนครออกคลองโอ่งอ่างระยะทางราว ๘๐๐ เมตร เมื่อแรกขุดคลองย่านนี้ไม่มีวัดเก่า แต่ปากคลองเป็นสวนและบ้านเรือนขุนนางข้าราชการ และวังเจ้านาย โ ดยเฉพาะวังสราญรมย์นั้น เป็นสวนกาแฟที่อยู่ใกล้กับพระบรมมหาราชวัง การ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นอยู่บริเวณปากคลองทั้งสองด้านคือ คลองเมืองชั้นในและคลองโอ่งอ่าง ต่อเมื่อมีการสร้างวัดราชบพิธในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พร้อมกันกับการ ตัดถนนจึงเกิดสถานที่ทำการร้านค้า ตึกรามบ้านช่องริมถนนขึ้นมา ทางฝั่งใต้ของคลองหลอดรวมทั้งสองฝั่งของคลองเมืองชั้นในไปจนถึงปากคลองตลาด มีการตั้งถิ่นฐานของเจ้านาย ขุนนาง พ่อค้า ประชาชนค่อนข้างมาก ข้ามคลองคูเมืองเดิมเป็นย่าน ชาวมอญที่ปรากฏเพียงชื่อเหลือไว้คือสะพานมอญและสี่กั๊กพระยาศรี (พระยาศรีสหเทพ ต้นสกุล ศรีเพ็ญ) และพื้นที่ซึ่งเป็นวังบ้านหม้อต่อเนื่องขึ้นไปถึงย่านพาหุรัดและวังบูรพา

้า มืองเดิมหน กับคลองคูเ อ ่ ต ด อ ล ห ง ปากคลอ ็มไปด้วย ภาพบนซ้าย ลำคลองเต ม า ต ญ อ ม น ฯ เห็นสะพา ภายในเมือง วัดราชบพิธ ้ามาค้าขาย ข เ ่ ี ท น า ้ บ ว า งช เรือขนส่งขอ าญรมย์ ระราชวังสร พ น ใ ์ ย ม ร สวนสราญ ภาพบนขวา ารและ าศรีที่มีอาค ะย ร พ ก ๊ ั ก ่ ี ส ย บริเวณ ภาพล่างซ้า เจริญกรุง านตามถนน การใช้ยวดย


คลองมหานาค

ครั้งสร้างกรุงเทพมหานครในการขุดคลองเมืองคือบางลำพู-โอ่งอ่างนั้น พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงเกณฑ์ไพร่พลที่เป็นคนเขมร คนตานี และลาวเป็นแรงงาน ซึ่งนอกจาก คลองเมื อ งแล้ ว ก็ มี ก ารขุ ด “คลองมหานาค” แยกออกจากคลองเมื อ งหน้ า ป้ อ มมหากาฬ ผ่านวัดสระเกศไปยังท้องทุ่งและที่ลุ่มทางตะวันออกระยะทางราว ๒ กิโลเมตรแล้วต่อกับคลอง แสนแสบที่ขุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เมื่อขุดคลองเสร็จแล้วโปรดเกล้าฯ ใ ห้ชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์นั้นตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองจนถึงทุกวันนี้ เพราะพื้นที่บริเวณนี้เหมาะสมกับการขยายเขตที่อยู่อาศัยของพลเมืองที่อยู่นอกเมือง มีวัด สระเกศเป็นวัดเก่า โ ปรดเกล้าฯ ใ ห้ผู้คนที่อพยพมาจากกรุงศรีอยุธยาส่วนหนึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐาน เช่น ชุมชนบ้านบาตร ที่เป็นชุมชนหัตถอุตสาหกรรมตีบาตรพระ ซึ่งคงรวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ทรงพระราชทานนามคลองขุดที่แยกจากคลองเมือง ผ่านมายังวัดสระเกศว่า คลองมหานาค ซึ่ง เป็นชื่อคลองในทุ่งภูเขาทองของกรุงศรีอยุธยา ทุ่งภูเขาเขาที่มีเจดีย์วัดภูเขาทองเป็นประธานอยู่กลางทุ่งนั้นเป็นที่ที่คนอยุธยามาจอด เรือเล่นสักวากันในฤดูน้ำท่วมทุ่ง การใช้ชื่อคลองมหานาคให้เหมือนกับที่กรุงศรีอยุธยาก็เพื่อ เรี ย กขวัญประชาชนที่เ คลื่อ นย้ายมาจากอยุธยาให้ เ กิ ดความรู้สึก ว่า ความเป็ นกรุ งศรี อ ยุ ธ ยา ที่เคยรุ่งเรืองสุขสำราญนั้น ยังไม่สิ้นไปและมาฟื้นฟูใหม่ที่กรุงเทพมหานคร ผลที่ตามมาก็คือทำให้มีการเรียกพระสถูปเจดีย์ของวัดสระเกศเป็นภูเขาทองในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ที่เริ่มสร้างเจดีย์ภูเขาทองขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ทางจักรวาลใน พื้นที่ลุ่มทางตะวันออกของกรุงเทพฯ

ื่อ ้าฯ ให้ขุดเพ ี่ ๑ โปรดเกล ท ล า ก ช ั ร ่ ี ท หานาค ของเมือง แนวคลองม ิศตะวันออก ท ง า ท แผนที่แสดง ไป ม ทางคมนาค ยุธยาก็เพื่อ และเป็นเส้น ับที่กรุงศรีอ ขยายชุมชน ก น อ ื ม ห เ ้ ให องมหานาค ศรีอยุธยา การใช้ชื่อคล วามเป็นกรุง ค า ่ ว ก ึ ส ้ ู ร ม ิดควา ระชาชนให้เก ยังไม่สิ้นไป เรียกขวัญป ุขสำราญนั้น ส ง อ ื เร ง ่ ุ ร ย ที่เค มหานคร ม่ที่กรุงเทพ ห ใ ู ฟ น ้ ื ฟ า และม


คลองผดุงกรุงเกษม

เป็นคลองเมืองชั้นนอกที่ขุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๓๙๕ จ้ า งแรงงานชาวจี น เป็ น ผู้ ขุ ด เพื่ อ ขยายชุ ม ชนออกไปทางทิ ศ ตะวั น ออกของ พระนคร ระยะทางรวมราว ๕.๕ กิโลเมตร เริ่มทางทิศเหนือที่วัดสมอแครงหรือวัดเทวราชกุญชร ขนานไปกับคลองวัดสังเวช-โอ่งอ่าง ตัดผ่านคลองมหานาคจนกลายเป็นย่านการค้าที่สำคัญคือ สี่แยกมหานาค ผ่านวัดหัวลำโพง วัดท่าเกวียนหรือวัดมหาพฤฒารามไปจนจรดแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศใต้แถววัดแก้วแจ่มฟ้า การขุดคลองทำให้เกิดวัดและชุมชนเรียงรายไปตามลำคลองเพิ่มขึ้น เช่น วัดสามจีน (วัดไตรมิตรฯ) วัดพลับพลาไชย วัดโสมนัสราชวรวิหาร วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดบางขุนพรหม วัดเทวราชกุญชร ฯลฯ แนวคลองครั้งนั้นไม่มีการสร้างกำแพงเมือง แต่สร้างป้อม ๘ ป้อม ปัจจุบันเหลือแต่เฉพาะ ป้อมทางฝั่งธนฯ ที่สร้างคราวเดียวกันคือ ป้อมป้องปัจจามิตร ที่ตั้งอยู่ปากคลองสาน ตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นต้นมา มีการขยายพื้นที่อยู่อาศัยของผู้คนจากเมืองพระนครมาทางฝั่งตะวันออกเพิ่มขึ้น ทำให้ เกิดวัดขึ้นเป็นศูนย์กลางของชุมชนเพิ่มตามขึ้นมา เช่น วัดพระพิเรนทร์ วัดชัยชนะสงคราม วัดจักรวรรดิราชาวาส วัดกันมาตุยาราม วัดสัมพันธวงศ์ วัดปทุมคงคา วัดใหม่ยายแฟง (วัดคณิกาผล) วัดพลับพลาไชย ฯลฯ เมื่อมีการขุดคลองเมืองพระนครชั้นนอกคือคลองผดุงกรุงเกษมขึ้นมานั้น ได้ทำให้วัดต่างๆ ดังกล่าวนี้เข้ามาอยู่ภายในเขตเมืองกรุงเทพมหานคร

คลองเมือ

งชั้นนอก ที่ขุดในสม ัย พระบาทส มเด็จพระจ อมเกล้า เจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. ๒๓ ๙๔-๒๓๙ ๕ จ้างแรงง านชาวจีน เป็นผู้ขุด เพื่อ ขยายชุม ชนเมืองอ อกไปทาง ทิศตะวัน ออกของ พระนคร ระยะทาง รวมราว ๕.๕ กิโลเม ตร


ภาพบนซ้าย คลองขุดใหม่หรือคลองผดุงกรุงเกษม มีเรือสินค้าเข้ามาจากชุมชนรอบนอกมากมาย ภาพบนขวา ปากคลองผดุงกรุงเกษมด้านเหนือ บริเวณวัดเทวราชกุญชร ภาพล่างซ้าย คลองผดุงกรุงเกษม บริเวณหน้าวัดโสมนัสราชวรวิหาร ภาพล่างขวา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ เสด็จเปิดสะพานกษัตริย์ที่ยศเส ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมบนถนนบำรุงเมือง พ.ศ. ๒๔๗๑

คลองเมืองผดุงกรุงเกษมมีความสำคัญมากในทางคมนาคมขนส่งสินค้าขึ้นล่องตามลำน้ำ เจ้าพระยาเข้ามาในกรุงเทพมหานคร มีเส้นทางลำน้ำคูคลองที่ติดต่อกับคลองเมืองเส้นต่างๆ และออกแม่น้ำเจ้าพระยาได้ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายและกระจายตัวของคนจีนและย่านตลาด เพิ่มขึ้นโดยมีทิศทางมาจากริมน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่วัดบพิตรพิมุขมาทางวัดสัมพันธวงศาราม วัดปทุมคงคา และวัดแก้วฟ้า กระจายตัวกันขึ้นมาทางวัดใหม่ยายแฟง (วัดคณิกาผล) และ วัดพลับพลาไชย

๑๘


พระนคร เมื่อต้นกรุงฯ


ภายในพระนครเมื่อต้นกรุงฯ กรุ ง เทพมหานครเมื่ อ แรกสร้ า งจนถึ ง ราวรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า ฯ และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ นั้น พื้นที่ทางตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง เช่น วังสราญ รมย์เคยเป็นสวนกาแฟ บริเวณท้องสนามหลวงเป็นทุ่งนา บริเวณแม่พระธรณีบีบมวยผมเป็น วังเจ้านายและย่านที่อยู่อาศัยริมคลองเมืองชั้นใน ขณะที่บริเวณพระบวรราชวังซึ่งสัมพันธ์กับ วั ด สลั ก เป็ น บริ เ วณที่ มี ก ารอยู่ อ าศั ย ริ ม แม่ น้ำ ค่ อ นข้ า งหนาแน่ น เพราะเป็ น ท่ า เรื อ จอด เช่ น ท่าพระจันทร์ ท่าช้างวังหน้า ฯลฯ

ภาพแผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๓๖๕ จากหนังสือจดหมายเหตุการเดินทาง ของเซอร์จอห์น ครอฟอร์ด จะเห็น แนวคลองคูเมืองเดิมและมี พระบรมมหาราชวัง วัดมหาธาตุ วัดพระเชตุพนรวมทั้งวังหน้าอยู่ภายใน ส่วนคลองเมืองบางลำพู-โอ่งอ่าง ขุดล้อมรอบชั้นนอก และเห็น “ตึกดิน” ที่มีแนวคูน้ำล้อมอย่างเด่นชัด

บริเวณคลองเมืองชั้นในทางตอนเหนือมี วัดชนะสงคราม หรือวัดตองปุซึ่งเป็นวัดเก่า มาก่ อ นการสร้ า งพระนคร มี ชุ ม ชนเก่ า อยู่ ก่ อ น ต่ อ มาเมื่ อ ทางวั ง หน้ า บู ร ณปฏิ ส ั ง ขรณ์ ว ั ด ชนะสงครามขึ้นมาก็กลายเป็นวัดสำคัญของพระบวรราชวัง มีการนำคนมอญเข้ามาตั้งถิ่นฐาน อาศัยอยู่โดยรอบ สลับกับวังของเจ้านายฝ่ายวังหน้าที่เริ่มแต่พระราชวังเดิมของกรมพระราชวัง บวรมหาสุรสิงหนาทและวังของกรมหลวงจักรเจษฎา พื้นที่ทั้งภายในกำแพงเมืองด้านเหนือมา จนถึงท่าพระอาทิตย์และป้อมพระสุเมรุปากคลองบางลำพูก็เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเจ้านายและ ขุนนางหนาแน่นกว่าที่อื่นๆ

๒๐


ภาพบนขวา พระบวรมหาราชวัง ถ่ายจากเครื่องบินโดยปีเตอร์ วิลเลียมส์ ฮันท์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ภาพล่างซ้าย พระที่นั่งคชกรรมประเวศ และพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ถ่ายเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๔๓

อาณาบริเวณซึ่งเป็นวังเจ้าเหล่านี้ ครอบคลุมทั้งภายในกำแพงเมืองและชานพระนครนอก กำแพงเมือง เพราะต้องอาศัยแม่น้ำเป็นทางคมนาคม โ ดยเจ้านายแต่ละวังสามารถออกจากวัง ผ่านประตูช่องกุดมายังริมแม่น้ำได้ ซึ่งเมื่อมีการรื้อกำแพงเมืองพระนครแล้ว จึงได้มาสร้างตึกเป็น วังในบริเวณชานพระนคร พื้นที่ตั้งแต่วัดชนะสงครามไปถึงบางลำพูเป็นแหล่งที่มีชุมชนกระจายอยู่ มีผู้คนเข้ามาตั้ง หลักแหล่งตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าฯ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น คนมอญแถววัดชนะสงครามถึงบางลำพู คนมุสลิมจากปัตตานี ที่กวาดต้อนเข้ามาเป็นชุมชนที่มีมัสยิดเป็นศูนย์กลางและอยู่ไม่ห่างจากวัดชนะสงคราม

๒๑


ภาพซ้ายบน ประตูช่องกุดที่เหลือเพียงแห่งเดียวที่ กำแพงเมืองใกล้กับป้อมมหากาฬ ภาพขวาบน วัดชนะสงคราม ภาพถ่ายจากเครื่องบิน ของปีเตอร์ วิลเลียมส์ ฮันท์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ภาพซ้ายล่าง แผนที่เมื่อราว พ.ศ.๒๔๗๔ แสดงตำแหน่ง ของมัสยิดจักรพงษ์และชุมชนชาวมุสลิมเชื้อสายตานี ที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยในเขตภายในพระนคร

-๒๒-


ต่อมาคนมุสลิมได้ขยายถิ่นฐานมาตั้งมัสยิดและชุมชนในพื้นที่โล่งเป็นทุ่งเป็นคอกวัวบริเวณ ที่เป็นถนนราชดำเนินกลางที่สร้างขึ้นครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พื้นที่ทุ่งโล่ง กลางพระนครนี้ไม่มีคนอยู่เป็นชุมชน แต่เป็นที่ตั้งของ ตึกดิน ที่มีขอบเขตเป็นกรมทหารที่อยู่ใน พื้ น ที่ ซึ่ ง ปั จ จุ บ ั น เป็ นโรงเรี ย นสตรี วิ ท ยาและบริ ษ ั ท ธนบุ รี ป ระกอบรถยนต์ ริ ม ถนนราชดำเนิ น ใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถัดจากทุ่งโล่งที่มีคอกวัวและเป็นที่ตั้งของ ตึกดิน ก็มีบริเวณคลองหลอดที่ขุดมาจากคลอง เมืองชั้นในริมวัดบุรณศิริมาตยาราม ผ่านวัดมหรรณพารามมายังวัดราชนัดดา-วัดเทพธิดา เป็นบริเวณที่มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนชาวพระนครที่เป็นขุนนางและชาวบ้านธรรมดาเป็นส่วน ใหญ่ ความเป็นชุมชนเกิดขึ้นแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ซึ่งในช่วงเวลานี้ยังเป็น สมัยที่ยังไม่มีการตัดถนนอย่างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ คนสัญจรไปมา ด้วยทางเท้าและคูคลองเป็นหลัก 
 บริเวณ “ตึกดิน” ก่อนที่จะมีการตัดถนนราชดำเนิน อาณาบริเวณกว้างใหญ่มากและกินพื้นที่ บริเวณโรงเรียนสตรีวิทยาในปัจจุบันข้ามฝั่ง มาจนจรดคลองหลอดบนของวัดราชนัดดา ภาพแผนที่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐

๒๓


ชานพระนคร และสองฝั่งคลองเมือง


ชานพระนครและสองฝั่งคลองเมือง บรรดาคูคลองทั้งหลายในพระนคร ดูไม่สำคัญเท่ากับคลองเมืองด้านตะวันออกคือ “คลอง วัดสังเวช-โอ่งอ่าง” ที่เกิดแหล่งที่อยู่อาศัยของผู้คนหนาแน่นกว่าบริเวณอื่น ฝั่งทางพระนครจะมีชุมชนและตลาดอยู่ตาม ชานพระนคร คื อ พื้นที่ห่างกำแพงเมือง มายั ง ชายน้ำ ส่ ว นเจ้ า นายขุ น นางและข้ า ราชการส่ ว นใหญ่ มี นิ ว าสสถานอยู่ ภ ายในกำแพง พระนครที่มีทั้ง ป้อม ประตูเมือง และประตูช่องกุด อันเป็นช่องทางที่ผู้คนภายในเมืองจะออกไป ริมลำคลองเพื่อการคมนาคมได้ ทางฝั่งคลองเมืองด้านตะวันออกที่อยู่นอกกำแพงเมืองก็มีชุมชน และวัดเรียงรายกันไปตั้งแต่ปากคลองจนถึงปลายคลอง เหตุนี้ตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ลงมา จึงมีการสร้างวังของเจ้านาย น้อยใหญ่ที่ทรงกรมเป็นแนวขนานกับกำแพงเมือง มีทั้งวังรุ่นเก่าแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าฯ เช่น วังกรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ วังกรมหลวงพิชิตปรีชากร วังกรมหลวงพรหมว รานุรักษ์ วังกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร วังกรมพระดำรงราชานุภาพ ฯลฯ และวังรุ่นใหม่ในสมัย รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เช่น วังบูรพาภิรมย์หรือวังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา ภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช วังกรมหลวงเทววงศ์วโรปการ วังกรมพระนครสวรรค์วรพินิต ฯลฯ บรรดา เจ้านายของวังเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ช่องทางวังผ่านประตูช่องกุดและประตูเมืองมายังคลองเมืองใน การเดินทางออกนอกพระนคร ย่านวัดบางลำพูหรือวัดสังเวชวิศยาราม

คลองเมืองและชานพระนครบริเวณปากคลองฝั่งนอกมีวัดบางลำพูหรือวัดสังเวชวิศยาราม เป็นศูนย์กลางของชุมชน ส่วนด้านในกำแพงเมืองเป็นย่านของวังริมป้อมพระสุเมรุและป้อม พระอาทิตย์ เป็นกลุ่มตระกูลของพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า ริมคลองมีอาคารบ้าน เรือนท่าน้ำและตลาดน้ำต่อเมื่อมีการรื้อกำแพงและประตูเมืองจึงปลูกตึกและอาคารสองฝั่งถนน มากขึ้น

ภาพถ่ายจากเครื่องบินของ ปีเตอร์ วิลเลียมส์ ฮันท์ พ.ศ. ๒๔๘๙ เห็นวัดบวรนิเวศ ถนนพระสุเมรุ ทางด้านขวาที่รื้อกำแพงพระนคร ออกไปแล้ว โค้งถนนบ้านแขกหรือ ถนนตานีด้านซ้าย ย่านตลาดบางลำพู ตลาดยอด ปากคลองบางลำพู


ริมคลองบางลำพูมาจนถึงวัดรังษีสุทธาวาสที่รวมกับวัดบวรนิเวศภายหลัง นอกเหนือจากเป็นแหล่ง ค้าขายตลาดต่างๆ ยังเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำใหญ่และชุมชนชาวสวนทางฝั่งธนฯ และในเขตอื่นๆ จึงมีชาวจีนเข้ามาค้าขายไม่น้อย ย่านบางลำพูทางทิศเหนือของพระนครจึงเจริญไม่แพ้ ตลาดทางชานพระนครฝั่งตะวันออก เช่นสะพานหัน และเมื่อมีการตัดถนนย่านบางลำพูจึงเจริญถึงขีดสุด มีตลาดหลายแห่ง แรกเริ่มคือ ตลอดยอด ตลาดบางลำพูทางฝั่งในเมือง ตลาดทุเรียนและตลาดนานาอยู่ ฝั่งตรงข้าม โ รงละคร โ รงหนัง ร้านอาหารสารพัดชนิด ถือเป็นแหล่งนัดพบและจับจ่ายซื้อหาสิ่งของที่ คึกคัก จนเมื่อราว ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมาจึงโรยราลงตามลำดับ นอกจากนี้ย่านวัดสังเวชต่อวัดสามพระยายังมีบ้านครูดนตรีไทย เช่น บ้านบางลำพูของตระกูลดุริย ประณีตที่ยังมีชีวิตชีวาจนถึงทุกวันนี้


ย่านวัดรังษีสุทธาวาสหรือวัดบวรนิเวศวิหาร

วัดรังษีสุทธาวาสที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ทรงสร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ เคยเป็นวัดที่มีมาก่อนสร้างวัดบวรนิเวศในครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าฯ และภายหลังจึงมารวมเป็นวัดเดียวกัน และยังอยู่ในอาณาบริเวณย่านวังหน้าในช่วง รัชกาลที่ ๒ และ ๓ ทางฝั่งภายในกำแพงพระนครมีบ้านเรือนปลูกอยู่นอกกำแพงชานเมืองริมน้ำ อยู่ไม่น้อย และเป็นอาคารร้านค้าชั้นเดียวบ้าง สองชั้นบ้าง และหันหน้าลงคลอง ยังคงพบอาคาร เหล่านี้หลังตึกแถวที่เคยเป็นแนวกำแพงเมืองที่ถูกรื้อไปแล้ว ฝั่งตรงข้ามเป็นย่านบ้านเรือนและ วังเจ้านายเก่าที่ต่อเนื่องกับย่านวัดตรีทศเทพ และต่อมากลายเป็นโรงไม้ที่ช่างจีนไหหลำทำ โรงเลื่อยและรับทำงานไม้และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ย่านวัดปรินายกและบ้านพานถม

อยู่ทางฝั่งนอกพระนคร เยื้องกับป้อมมหาปราบ สร้างโดยเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิ ง หเสนี ย ์ ) ใ นสมั ย พระบาทสมเด็ จ พระนั่ ง เกล้ า ฯ ภายหลั ง เมื่ อ ตั ด ถนนราชดำเนิ น แล้ ว กิ น อาณาเขตของวัดไปส่วนหนึ่ง บริเวณนี้ต่อเนื่องกับตรอกบ้านพานถมที่มีช่างฝีมือทำลวดลายลง บนพานถมด้วยวิธีการตอกลายลงบนภาชนะที่รองด้วยก้อนรักแบบโบราณ แม้ทุกวันนี้จะถูกตี ตลาดจากการทำขันน้ำพานรองแบบปั๊มจากเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังมี ร้านไทยนคร ที่ทำเครื่องถมแบบเก่าเหลืออยู่เพียงแห่งเดียว

ตรอกพานถมที่เหลือเพียงรอยความทรงจำ เพราะ การผลิตขันน้ำ พานรอง และเครื่องใช้แบบ หัตถกรรมถูกตลาดเครื่องใช้แบบปั๊มครั้งละมากๆ

-๒๗-


ย่านคลองมหานาคและวัดสระเกศ

ฝั่งเหนือคลองมหานาคเมื่อราวสมัยรัชกาลที่ ๒ โ ปรดเกล้าฯ ใ ห้บรรดาครอบครัวทางใต้ จากพัทลุงและนครศรีธรรมราชเข้ามาตั้งถิ่นฐานซึ่งในบรรดาคนเหล่านี้เป็นพวกละคร หนังตะลุง ที่มีความรู้ทางดนตรีและศิลปะการแสดง ทางฝั่งใต้ของคลองมหานาคเป็นพื้นที่ซึ่งมีวัดสระเกศ เป็นวัดเก่าที่เป็นศูนย์กลางทางศาสนาและพิธีกรรมที่ผู้คนที่หลากหลายทางชาติพันธุ์ถูกเกณฑ์มา ขุดคลองเมืองพระนครซึ่งรวมทั้งคลองมหานาคด้วย นอกจากคนเหล่านี้ยังมีผู้คนที่อพยพมาจากกรุงเก่าเข้ามาตั้งถิ่นฐาน หนึ่งในกลุ่มคนเหล่านี้ คือชุมชนที่บ้านบาตร ซึ่งเป็นช่างฝีมือในการทำบาตรพระ ที่ปนเปไปกับทางบ้านบาตรคือชาวจีน กวางตุ้ ง จี นไหหลำที่ ทำโรงเลื่ อ ยประดิ ษ ฐ์ ว งกบหน้ า ต่ า ง กรอบประตูไ ม้ ที่ ย ั ง ทำเป็ น หั ต ถ อุตสาหกรรมจนถึงทุกวันนี้

ภาพบน บริเวณป้อมมหากาฬและ

ชานพระนครติดกับคลองวัดสังเวช-โอ่งอ่าง ยังเห็นสะพานเหล็กโค้งก่อนการสร้าง

ถนนราชดำเนินและสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ราวก่อน พ.ศ. ๒๔๔๒

ภาพซ้าย สองฝั่งคลองวัดสังเวช-โอ่งอ่าง บริเวณบ้านดอกไม้ บ้านบาตร และตรอกเซี่ยงไฮ้ ในปัจจุบัน


ส่วนฝั่งตรงข้ามชานพระนครเหนือคลองหลอดวัดราชนัดดาขึ้นมา เป็นกลุ่มย่านบ้านที่ทำ สายรัดประคด ซึ่งเป็นงานช่างฝีมือในตระกูลรามโกมุทเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อครั้ง ที่ “พระยารามรณรงค์สงคราม รามมีไชยไสวเวียง” (บัว) ไ ด้รับที่ดินพระราชทานในการเป็น แม่ ก องซ่ อ มวั ด เทพธิ ด าราม แม้จะทำสืบเนื่องกันมายาวนานแต่ปัจจุบันเลิกทำไปเมื่อไม่กี่ปีที่ ผ่านมา

ภาพขวา ภาพล่างซ้าย ภาพบนซ้าย การทอสายรัดประคดที่บ้านสายฯ, ศาลากลางบ้านที่ย่านบ้านสายฯ ในตระกูลรามโกมุท และภาพบ้านไม้ปาก คลองหลอดเหนือบ้านสายติดกับ คลองวัดสังเวช-โอ่งอ่าง

-๒๙-


ย่านประตูยอดสะพานหัน

อยู่บริเวณหน้าวังบูรพาภิรมย์ที่มีป้อมมหาไชยหรือป้อมสะพานหันตั้งอยู่ แม้จะซ่อมแซม หลายครั้งแต่ก็ยังพังลงมาจนเป็นที่กล่าวขานจดจำ ภายหลังเมื่อทำถนนรอบเมืองมีรถรางแล้วจึง รื้อทั้งกำแพงและป้อมออกเพื่อการคมนาคมสมัยใหม่ที่สะดวกกว่า ตลาดสะพานหันเป็นแหล่ง ธุรกิจการค้า เดิมเป็นย่านการค้าของคนท้องถิ่นทั่วไปก่อนที่จะกลายเป็นย่านการค้าของคนจีน แต่เดิมเป็นสะพานไม้แผ่นเดียวทอดข้ามคลองปลายข้างหนึ่งตรึงแน่นกับที่ อีกปลายหนึ่ง วางพาดกับฝั่งตรงข้ามโดยไม่ตอก สามารถจับหันเปิดทางให้เรือผ่านและหันปิดสำหรับคนข้าม ต่อมาได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงลักษณะจากเดิมหลายครั้ง ครั้งสำคัญในรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าฯ สร้างเป็นสะพานโครงเหล็กพื้นไม้เรียบเสมอกันใต้พื้นไม่มีล้อเหล็กแล่นบน รางแต่สามารถแยกสะพานออกจากกันให้เรือผ่านได้ และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าฯ โ ปรดให้สร้างสะพานหันใหม่แบบมาจากสะพานในประเทศอิตาลี เป็นสะพานไม้รูปโค้ง กว้างกว่าปกติสองฟากสะพานมีห้องแถวเล็กๆ ให้เช่าขายของและตรงกลางเป็นทางเดิน เป็น สะพานที่ถูกถ่ายรูปไว้มากทีเดียว ส่ ว นย่ า นปลายคลองเมื อ งที่ ต่ อ กั บ แม่ น้ำ เจ้ า พระยามี ว ั ด เชิ ง เลนหรื อ วั ด ตี น เลนหรื อ วั ด บพิตรพิมุข ซึ่งเป็นวัดเก่าริมลำน้ำเจ้าพระยามีมาก่อนการขุดคลองเมืองเป็นศูนย์กลาง สุนทรภู่ เมื่อครั้งเป็นพระอยู่ที่วัดเทพธิดารามเขียนไว้ในนิราศสุพรรณ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔ ว่าเป็นย่านตลาด สินค้าทั้งสดและแห้ง ภายในคลองเต็มไปด้วยเรือขนถ่ายสินค้า เช่น โอ่งอ่าง อิฐ และเกลือก็ใช้เส้น ทางเข้ามาทางปากคลองด้านนี้ จาก ำแบบมา น ่ ี ท น ั ห น สะพา พาน ภาพบน ลี เป็นสะ า ต ิ อ ศ ประเท กติ สะพานใน ้างกว่าป ว ก ง ้ โค ไม้รูป เล็กๆ ีห้องแถว ม น า พ ะ ส สองฟาก ยของ ให้เช่าขา งเดิน างเป็นทา ล ก ง ร ต และ ู่ด้าน ม์ ตั้งอย ม ิ ร ก ี บ ง ห้า ภาพล่าง ล้กับ าภิรมย์ใก พ ร ู บ ง ั ว หน้า ะตูยอด ันหรือปร ห น า พ ะ ประตูส ันธ์ นภาณุพ เชิงสะพา


พื้นที่ชานพระนคร ที่ย่านป้อมมหากาฬ และตรอกพระยาเพชรฯ


พื้นที่ชานพระนครที่ย่านป้อมมหากาฬ และตรอกพระยาเพชรฯ “ป้อมมหากาฬ” ซึ่งเป็น ๑ ใ น ๑๔ ป้อมรอบพระนครที่สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าฯ ทางด้านทิศตะวันออก บริเวณชานพระนครนอกกำแพงเมืองที่ป้อมมหากาฬนี้ เคยเป็นท่าเรือสำคัญสำหรับขุนนาง และเจ้านายที่เดินทางมาตามลำคลองเข้าและออกไปนอกเมือง เพราะเป็นบริเวณที่จะต่อไปยังที่ อื่นตามคลองมหานาค คลองแสนแสบ และตามลำคลองโอ่งอ่างไปยังรอบเมืองอื่นๆ บริเวณสามแยกปากคลองมหานาค ด้านหลังป้อมมหากาฬ มีตึกเก่าหลังหนึ่งเป็นอาคาร ชั้นเดียวที่พระยาญาณประกาศ (เลื่อน ศุพศิริวัฒน์) ปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการเป็น ผู้ ส ร้ า งเมื่ อ พ.ศ. ๒๔๕๙ สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่ ห ั วใช้ เ ป็ น ท่ า เรื อ ต้นทางสำหรับเจ้านายและข้าราชการที่จะเดินทางไปเฝ้าฯ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งทรงย้ายไปประทับที่วังสระปทุม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ยังเล่ากันว่า อาคารท่าเรือหลังนี้ได้ใช้เป็นที่ประทับของเจ้านายต่างๆ ที่เสด็จมาทอดพระเนตรการเล่นสักวาใน คลองเมืองวัดสังเวช-โอ่งอ่าง ในงานประจำปีภูเขาทองช่วงกลางเดือน ๑๒ ชานพระนครบริเวณหลังป้อมมหากาฬมาจนจรดริมคลองหลอดวัดราชนัดดานี้ เป็นที่อยู่ อาศัยของข้าราชการและชาวบ้านมาหลายยุคสมัยมีการปลูกสร้างอาคาร เป็นแนวยาวตลอด ตั้งแต่สะพานผ่านฟ้าลีลาศจรดแนวคูคลองวัดเทพธิดารามในปัจจุบัน ต่อมาเรียกกันว่า “ตรอก พระยาเพชรฯ” ตรอกพระยาเพชรฯ เคยเป็นนิวาสสถานของพระยาเพชรปาณี (ตรี) ข้าราชการกระทรวงวัง และเป็นชาวปี่พาทย์โขนละครเป็นแหล่งกำเนิดลิเกทรงเครื่อง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเขียนถึงสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ใ น "สาส์นสมเด็จ" ถึงต้นกำเนิดของลิเกว่า อาจจะเป็นพระยาเพชรปาณี (ตรี) คิดตั้งโรงลิเกเก็บค่าดูและเล่นเป็น “วิก” ตามแบบละคร เจ้าพระยามหินทรที่มีวิกละครอยู่ที่ท่าเตียน และเล่นเป็นเรื่องต่างๆ เหมือนอย่างละครไม่เล่นเป็น ชุด โดยเอาดิเกร์แบบชาวมลายูผสมกับละครนอกของชาวบ้าน เริ่มเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๔๐ ลิเกของพระยาเพชรปาณีเป็นลิเกแบบทรงเครื่อง คือส่วนที่เป็นสวดแขกกลายเป็นการ ออกแขก มีผู้แสดงแต่งกายเลียนแบบชาวมลายูออกมาร้องเพลงอำนวยพร ส่วนที่เป็นชุดออก ภาษากลายเป็นละครเต็มรูปแบบ ซึ่งวงรำมะนายังคงใช้บรรเลงตอนออกแขก แต่ใช้ปี่พาทย์ บรรเลงในช่วงละคร เดินเรื่องฉับไว เครื่องแต่งกายหรูหราเลียนแบบข้าราชสำนักในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เอาใจความชอบแบบชาวบ้าน ต่อมาลิเกทรงเครื่องแพร่หลายไปทั่วภาคกลางอย่างรวดเร็ว มีวิกลิเกเกิดขึ้นทั้งในพระนคร และต่างจังหวัดรวมถึงในเมืองเขมร มีการนำเนื้อเรื่องและขนบธรรมเนียมของละครรำมาใช้ แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีความขาดแคลนไปทั่ว ลิเกทรงเครื่องก็หมดไป วงรำมะนาที่ใช้ กับการออกแขกก็เปลี่ยนไปใช้วงปี่พาทย์แทน

-๓๒-


เพลงรานิเกลิงหรือเพลงลิเกคิดขึ้นโดย นายดอกดิน เสือสง่า ในยุคลิเกทรงเครื่องช่วง รัชกาลที่ ๖ ต่อมานายหอมหวล นาคศิริ ไ ด้นำเพลงรานิเกลิงไปร้องด้นกลอนสดดัดแปลงแบบ ลำตัดทำให้เป็นที่นิยมจนมีชื่อเสียงและมีลูกศิษย์มากมาย ตรอกพระยาเพชรฯ และความเป็นชุมชนย่านชานพระนคร

ข้อมูลบอกเล่าสืบต่อกันมากล่าวว่า บริเวณใกล้กับสามแยกคลองมหานาคนี้ เคยมี “ตรอก ถ่าน” พื้นที่ค้าขายของชาวบ้าน ในอดีตการหุงอาหารจะใช้ถ่านเป็นเชื้อเพลิง บริเวณท่าเรือคลอง โอ่งอ่างจึงเป็นพื้นที่เรือถ่านเรียกกันว่าเรือหัวเดียว เป็นเรือจ้างขนถ่านจากหัวเมืองอยุธยาสิงห์บุรี อ่างทองขนถ่านใส่ชะลอมมาขาย โ ดยมาขึน้ ท่าเรือบริเวณวังป้อมมหากาฬถ่านขนเก็บไว้ในตรอกใกล้ กับท่าเรือ รถเจ๊กที่มีชาวจีนจะมาลากถ่านไปขายในพระนครราคาชะลอมละ ๕-๑๐ สตางค์

คต่อ งมหานา อ ล ค ก ปา อ่าง ภาพบน ำพู-โอ่ง ล ง า บ ง งเมือ ิตย์ กับคลอ ดำรงสถ น า พ ะ ส เห็น ิเวณนี้ กาฬ บร า ห ม ม ึกคัก หน้าป้อ ค้าขายค อ ื เร ด อ จ เป็นย่าน และ มหากาฬ ม อ ้ ป ง แพง ภาพล่า นอกกำ ร ค น ะ ร พ ่าจะใน ย่านชาน าทอง น ข เ ู ภ ก า ่ายจ ราะ เมือง ถ รือ ๗ เพ ห ๖ ่ ี ท าล าศ สมัยรัชก ณประก า ญ า ย ะ ารพร เห็นอาค


นอกจากนี้บริเวณตรอกถ่านยังมีการ “เปียผลไม้” หมายถึงการประมูลผลไม้ที่พ่อค้าแม่ค้า นำมาจากสวนแข่งกัน ใช้การเปล่งบอกราคา ผู้ใดให้ราคาสูงสุดก็จะได้เอาเรือไปเทียบพร้อม การยกเข่งลงเรือแล้วจ่ายเงิน แต่จะมีการโยนผลไม้ หากตกลงคลองเด็กๆ แถวนั้นก็จะเก็บไปกิน จนกลายเป็นความทรงจำประทับใจบอกเล่าสืบมา ย่านตรอกพระยาเพชรฯ หรือชานพระนครป้อมมหากาฬ นอกจากเป็นย่านลิเกทรงเครื่อง และคณะปี่พาทย์โขนละครแล้ว ยังเคยเป็นที่ผลิตเครื่องดนตรีไทยและกลองคุณภาพดีในช่วง รัชกาลที่ ๖ ที่จดจำคือ นายอู๋ นางบุญส่ง ไม่เสื่อมสุข ที่สร้างกลองไว้ที่ศาลเจ้าพ่อหอกลอง กรม การรักษาดินแดน ข้างกระทรวงมหาดไทย ยังคงมีเรือนไทยแบบดั้งเดิมปรากฏอยู่ เจ้าของคนแรกคือหมื่นศักดิ์แสนยากร เรือนทรง ไทยหลังคาสูง ยกใต้ถุนสูง หน้าจั่วเรียกว่า “จั่วใบปรือ” ฝาลูกฟัก และยังมีบ้านเรือนที่สร้างในรุ่น รัชกาลที่ ๖ หรือ ๗ ลงมาอยู่บ้าง คนในตรอกพระยาเพชรฯ ยังมีผู้ที่เป็นญาติและมีพื้นเพมาจากโคราช อ่างทอง และชาว มุสลิมจากสงขลาที่นำเอางานช่างฝีมือการทำกรงนกเขาชวาและนกปรอดหัวจุกมาด้วย จนกลาย เป็นงานหัตถศิลป์สร้างรายได้ นอกจากนี้ยังมีการทำเครื่องปั้นดินเผา รับปั้นเศียรพ่อแก่สำหรับ

มีส่วนน้อ ิงสาว หญิงชรา ญ ห ก ็ เล ก ็ เด ง ้ ั ์ด รูปผู้คนมีท นวัดสระเกศ ภาพจากโปสการ าเพชรปาณี ย่า ย ระ พ ก เ ิ ล ก ิ ว า ้ ที่เป็นชาย หน

-๓๔-


กๆ รงเครื่องในยุคแร ภาพซ้าย ลิเกท

รงเครื่อง ิริ แต่งชุดลิเกท ศ าค น ล ว ห ม อ ภาพขวา ห

ไหว้ครู เลี้ยงไก่ชน รับจ้าง ทำอาหาร ค้าขายพลุตะไล ซึ่งเป็นอาชีพที่พอจะทำได้ในสภาพ แวดล้อมแบบปัจจุบัน ชุมชนตรอกพระยาเพชรฯ ยังคงมีงานประจำปีของชุมชนที่เป็นงานใหญ่ในช่วงเทศกาล สงกรานต์ คือ “งานไหว้พ่อปู่ป้อมมหากาฬ” ที่อาจเรียกได้ว่า เป็นทั้งงานบุญ งานสงกรานต์ และ งานรวมญาติของคนในตรอก ถือว่ายังเป็นชุมชนตามธรรมชาติอย่างแท้จริง แต่เป็นที่น่าหดหู่เมื่อเกิดปัญหาการไล่รื้อชุมชน เพราะทำให้ชุมชนตามธรรมชาติแห่งนี้ไม่ สามารถเติบโตหรือสืบทอดการอยู่อาศัยในพื้นที่ชานพระนครได้ต่อไป เนื่องจากปัญหาทาง กฎหมายและการควบคุมไม่ให้มีผู้คนเพิ่มมากในทะเบียนบ้าน และยังไม่เห็นอนาคตที่ชัดเจนของ ชาวตรอกพระยาเพชรฯ หรือชุมชนป้อมมหากาฬแต่อย่างใด

-๓๕-


ชานพระนคร ริมกำแพงเมืองด้านนอกติดกับ คลองเมืองบางลำพู-โอ่งอ่าง

ย่านจุดหมุดหมายสำคัญของพระนครคือ ภูเขาทองวัดสระเกศ

ชุมชนบริเวณนี้ยังคงรักษาบรรยากาศ

และความเป็น “ชุมชนตามธรรมชาติ” ไว้ได้

เพียงแห่งเดียวในย่านเก่าเมืองกรุงเทพมหานคร การธำรงความหมายของคนกรุงเทพฯ

ที่ยังคงมีลมหายใจอยู่ทั้งในพื้นที่ดั้งเดิมและ ตัวตนของผู้คนที่ยังมีรากเหง้า

แม้นหากไร้ชุมชนที่เหลือเพียงแห่งเดียวนี้ไปแล้ว “ความเป็นเมืองที่มีชีวิตและสืบเนื่องไปได้ถึง

ครั้งแรกสร้างพระนครก็คงหมดสิ้นลมหายใจ” เช่นเดียวกัน


พฯ ท เ ง ุ ร ก ง อ ื ม เ า ่ ก เ น ังคมย่า ส ์ ร ต ส า ศ ิ ต ั ว ะ ร ป ง ณะ ค ะ ล แ ร่วมสร้า ม ด ภ โ ิ ล ล ั ศรีศักร ว ok.com/ o b e c a .f w w w / :/ https kok g n a b ld fo o y r o t is makingsocialh


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.