เรื่องของคนลมหายใจของเมือง

Page 1

กรุ งเทพธุรกิจ ปี ที่ 29 ฉบับที่ 9931 วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2558 ktjud@nationgroup.com • วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (ยืน) กับคุณป้าละออศรี รัชตะศิลปิน ทายาทตระกูลช่างท�ำพานเงินเก่าแก่ในตรอกบ้านพาน

วลัยลักษณ์ กับ ธวัชชัย วรมหาคุณ กระบอกเสียงประจ�ำชุมชนป้อมมหากาฬ

ระหว่างเก็บข้อมูลในย่านเก่ากรุงเทพฯ

เรื่องของ ลมหายใจของ ถ้ าจะท�ำความเข้ าใจเมืองหรื อชุมชน ก็ต้องเข้ าใจคนที่อยู่ตรงนัน้ ซึ่งไม่ ใช่ แค่ คนไทย ยังมีชนชาติอ่ ืนๆ ด้ วย เรื่ อง : ชาธิป สุวรรณทอง

หมายเหตุ : พบจุดประกาย Talk ทุกวันอังคาร เต็มอิ่มกับบทสัมภาษณ์บุคคล “น่าสนใจ” และ “ในข่าว” จุใจสองหน้าเต็ม

พู

ดกันตลอดมาว่า “คน” และ “ชุมชน” คือรากฐาน ของ “เมือง” ความเป็นไปของคนคือสิ่งที่ก�ำหนด โฉมหน้าของเมืองอย่างที่เป็นในปัจจุบันและที่จะเป็น ไปในอนาคต แต่เหตุใดไฉนเล่า เรื่องราวของประชาชนคนธรรมดา หรือ ทีเ่ รียกว่า “ประวัตศิ าสตร์ชมุ ชน” กลับไม่มที ที่ างในหน้าประวัตศิ าสตร์ กระแสหลัก ราวกับว่าเมืองนี้เป็นเพียงการรวมตัวของอิฐ หิน ปูน ทราย แต่ไม่เคยมี “คน” อยู่อาศัยและใช้ชีวิต คุ ย กั บ วลั ย ลั ก ษณ์ ทรงศิ ริ นั ก วิ ช าการ มู ล นิ ธิ เ ล็ ก ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ กับการเก็บข้อมูลเรือ่ งเล่าความเป็นมาของชุมชน เก่าแก่ในกรุงเทพฯ ใน “โครงการสร้างประวัติศาสตร์สังคมย่านเก่า เมืองกรุงเทพฯ” เพือ่ บอกเล่าเรือ่ งราวของชุมชน และผูค้ นทีต่ กหล่น ไปจากหน้าประวัติศาสตร์ อ่านต่อหน้า 2


02

กรุงเทพธุรกิจ • จุดประกาย

Talk

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2558

judprakai@gmail.com

เวที วิ พ า ก ษ์

• จักร์ กฤษ เพิ่มพูล

เข้ าใจไอเอส รู้จกั อิสลาม

ฏิบัติการสะท้านโลก เมื่อหลายสัปดาห์ ก่อน โดยกลุ่มคนร้ายสวมเสื้อติดระเบิด พร้อมอาวุธสงคราม ลงมือโจมตีเป้าหมาย 6 จุดกลางกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีผู้บาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตจ�ำนวนนับร้อย นับเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของชาวฝรั่งเศส รวมทั้งอีก 12 ชาติที่พลเมืองของเขาต้องจบ ชีวิตที่นี่ ผลการสอบสวนเบื้องต้นจากชิ้นส่วน นิ้วมือของคนร้าย ที่พบในที่เกิดเหตุ เป็น ชาวฝรั่งเศสเชื้อสายแอลจีเรีย ชื่อนายโอมาร์ อิสมาลี มอสเตฟาย อายุ 29 ปี พักอาศัย อยู่ในย่านกูรอนส์ ชานกรุงปารีส มีประวัติ อาชญากรรม ก่อคดีมาแล้ว 8 ครั้ง ฝรั่งเศส มีประชากรมุสลิมทั้งหมดราว 5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายแอลจีเรีย ต้องนับว่า ความตายที่นอกสนามกีฬา สตาด เดอ ฟรองซ์ ในงานคอนเสิร์ต ที่โรงละคร บาตากล็อง อีกทั้งความตายที่ร้านอาหาร 4 แห่ง ในเขต 10 ของกรุงปารีส ล้วนเป็นความตาย ของผู้บริสุทธิ์ ที่ไม่ว่ากองก�ำลังรัฐอิสลามไอเอส หรือผู้ก่อเหตุกลุ่มใด ก็ไม่มีสิทธิที่จะอ้าง เหตุการแก้แค้น หรือโทษว่าเป็นความผิดของ นายฟรองซัวส์ โอลองค์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส หรือเปล่งพระนามอัลลอฮฺ์ อัลลอฮ์ อักบัร แปลว่า พระเจ้าผู้ทรงเกรียงไกร เพื่ออ้าง ความชอบธรรมในการสังหารผู้คนเพื่อศาสนา อย่างใดทั้งสิ้น ด้วยเหตุที่ไม่มีศาสนาที่จะส่งเสริม การสังหารผู้บริสุทธิ์ การสังหารผู้บริสุทธิ์ไม่ใช่ ความกล้าหาญ แต่เป็นความขี้ขลาด เหตุโศกสลดที่เกิดขึ้นครั้งนี้ มิใช่ โศกนาฏกรรมของคนฝรั่งเศส หากแต่เป็น โศกนาฏกรรมของมนุษยชาติ เป็นความเจ็บ ปวดของผู้คนที่ใฝ่สันติทั้งโลก และหากกล่าวถึงศาสนา ในนามของ ศาสนา ไม่มีการฆ่า ไม่มีการแก้แค้นตอบแทน ในศาสนาอิสลามตรงกันข้าม การฆ่าผู้บริสุทธิ์ นับเป็นความผิดบาปอย่างมหันต์ ดังค�ำกล่าว ของศาสดามูฮัมหมัด ในการท�ำพิธีฮัจญ์ครั้ง สุดท้าย ณ นครมักกะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อฮิจเราะห์ศักราชที่ 10 ว่า “...นับแต่นี้ต่อไป เรื่องของการแก้แค้น ทดแทนกันด้วยเลือด เช่น ในสมัยของยุค ป่าเถื่อนเป็นเรื่องต้องห้าม การอาฆาตจองล้าง จองผลาญกันด้วยเลือดต้องสิ้นสุดกันเสียที” แม้บริบททางสังคมจะต่างกัน ในวัน ประวัติศาสตร์ ที่ศาสดาแห่งศาสนาอิสลาม มูฮัมหมัด กล่าวกับประชาชาติมุสลิมในการ ท�ำฮัจญ์ครั้งสุดท้ายของท่าน แต่ในหลักการ ของอิสลาม ก็ยืนยันแนวทางเช่นนี้ไว้ชัดเจนใน คัมภีร์อัล-กุรอาน บทที่ 5 วรรคที่ 32 ว่าด้วย เหตุ (แห่งการฆ่ากันระหว่างมนุษย์ที่น�ำมาแต่ ความหายนะ) ดังกล่าว เรา (อัลลอฮ์) จึงได้ ก�ำหนดแก่ลูกหลานอิสรออีลว่า ผู้ใดที่ฆ่าชีวิต หนึ่งโดยมิชอบด้วยเหตุของการคร่าชีวิตผู้อื่น และไม่ใช่ด้วยเหตุของการก่อความเสียหายใดๆ บนแผ่นดิน นั่นเสมือนว่า เขาได้ฆ่าผู้คนทั้งหมด แล้ว และผู้ใดที่ให้ชีวิต (แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง) นั่น เสมือนว่าเขาได้ให้ชีวิตแก่ผู้คนทั้งหมดแล้ว ต้องเข้าใจว่า กลุ่มรัฐอิสลาม หรือ ไอเอส แปรรูปมาจาก กลุ่มรัฐอิสลามแห่ง อิรักและซีเรีย ปรากฏตัวครั้งแรกในรูปแบบ กลุ่มติดอาวุธ ร่วมกับอิรักในการต่อต้านสหรัฐ เมื่อปี 2546 เป็นกลุ่มก่อการร้ายที่นิยม ความรุนแรง และใช้การสังหารผู้บริสุทธิ์ อย่างโหดเหี้ยม นั่นมิใช่การต่อสู้หรือวิธีการ ในแบบอิสลามอย่างแน่นอน แต่ไอเอสกลับกลายเป็นองค์กรซ่อนเงื่อน ที่เล่าลือกันว่า ประเทศมหาอ�ำนาจนั่นเองเป็น ผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลังทั้งอาวุธและเงินทุน ไอเอสก�ำลังพยายามสร้างความระส�่ำระสาย ให้เกิดขึ้นทั่วโลก ที่ฝรั่งเศสก็เป็นเงื่อนไขหนึ่ง ที่ท�ำให้โลกสั่นคลอน ความตายที่ฝรั่งเศส ได้เป็นจุดเริ่มต้นการ แก้แค้นตอบแทน ชนิดตาต่อตา ฟันต่อฟัน อีกครั้ง ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินโจมตีฐานที่มั่น ไอเอสในซีเรีย ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ตกอยู่ในภาวะหวั่นไหว โดยเฉพาะเมื่อมีข่าว ว่า ไอเอสได้ขยายฐานมาสู่อาเซียน การแก้แค้น ตอบแทนจะไม่มีวันสิ้นสุด ซึ่งหากการต่อสู้ ท�ำลายล้างจ�ำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะคู่ขัดแย้ง ก็คงเป็นเรื่องปกติธรรมดาของมนุษย์ที่มี ความขัดแย้งกันอยู่แล้วโดยธรรมชาติ โดยไม่ จ�ำเป็นต้องเป็นเรื่องศาสนา แต่ความเป็นจริงที่น่าเศร้า คือ ความขัดแย้งระหว่างมหาอ�ำนาจฝ่ายตะวันตก กับกลุ่มกองก�ำลังที่อ้างตัวเองว่าเป็นการต่อสู้ เพื่อศาสนา คนที่เคราะห์ร้ายกลับเป็น ผู้บริสุทธิ์ ● ●

ต่อจากหน้า 1 • โครงการสร้ า งประวั ติ ศ าสตร์ สั ง คม ย่านเก่าเมืองกรุงเทพฯ เกิดขึ้นได้อย่างไร การเก็บข้อมูลย่านเก่าในกรุงเทพฯ เป็นโครงการทีท่ ำ� งานกับส�ำนักงานทรัพย์สนิ ส่วนพระมหากษัตริย์ คือส�ำนักงานทรัพย์สนิ ฯ มีงานหลายส่วน มีส่วนที่พยายามท�ำงานกับ ชุมชนหลายประเด็นมาก แต่ก็ยังเข้าไม่ถึง งานนีก้ เ็ ลยเริม่ จากอาจารย์ศรีศกั ร วัลลิโภดม ท่านมองว่ามันควรจะต้องมีการท�ำเรื่องของ ประวัติศาสตร์สังคม เพราะประวัติศาสตร์ กรุงเทพฯ เป็นช่วงเวลาที่เรามีชีวิตอยู่นะ แต่เราไม่ได้พูดถึงคนสักเท่าไหร่ เราจะมี ประวัติศาสตร์ที่มองแยกส่วน แตกเป็น ชิ้นๆ ใครสนใจอะไรก็ไปตรงนั้น แต่มันไม่ เห็นผู้คน ไม่เห็นกระบวนการของการสร้าง ความคิด กระบวนการของการสร้างชุมชน หายหมดเลย มันก็จะเหลือแต่ประวัติศาสตร์ที่เห็น ได้ชัด ก็คือเรื่องวัด-วัง วัดเก่า วังเก่า แต่เรา ไม่เข้าใจว่าท�ำไมวังที่เราไปดูมันทรุดโทรม มันมีการรีโนเวทใหม่ มันถูกใช้งานโดยรัฐ หรือวัดที่เราไปดูวัดหลวงต่างๆ สวยงาม แต่วัดราษฎร์เราเดินผ่านไป เราไม่เคย ตั้งค�ำถามกับสิ่งเหล่านี้เลยว่ากรุงเทพฯ มันคืออะไร คนกรุงเทพฯ เป็นยังไง ทั้งๆ ที่เราเป็นคนกรุงเทพฯ กันหมดเลยนะ การท� ำ งานของมู ล นิ ธิ เ ล็ ก -ประไพ วิรยิ ะพันธุ์ ก็เน้นประเด็นนีอ้ ยูแ่ ล้ว ประวัตศิ าสตร์ ชุมชน ประวัติศาสตร์สังคม ประวัติศาสตร์ ท้องถิ่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น อะไรที่ไม่ได้ ถูกจัดการโดยรัฐเราก็จะท�ำเรื่องเหล่านั้น เพื่อให้เห็นตัว Foundation หรือ รากฐาน ของสั ง คมไทยว่ า มั น คื อ อะไร เป็ น สิ่ ง ที่ มูลนิธิฯ ท�ำมา 20 ปีแล้ว • พอเข้าไปดูที่ชุมชนแล้วเห็นอะไรบ้าง ท�ำงานไปได้สักพักเราเห็นว่าวิกฤติ มากนะ เพราะว่าคนตาย ชุมชนตาย ภายใน 5 ปี ตั้ ง แต่ เ กิ ด เหตุ ก ารณ์ ค วามไม่ ส งบ กลางเมืองขึ้นมา ชุมชนนี่ย่อยยับเลยละ คนหายหมดเกลีย้ ง มาช่วงนีม้ นั ก็ไม่ฟน้ื แล้ว ตอนนีอ้ าจจะเป็นสเต็ปทีเ่ ราดีใจว่าความสงบ มาแล้ว แต่มนั เป็นความสงบทีส่ งบไปเลยน่ะ มันไม่มีคนอีกแล้ว และมันไม่ฟื้น เราก็ เ ลยย้ อ นกลั บ ไปหาคน งานนี้ เรียกว่าเป็นการเก็บข้อมูลที่ใช้รองเท้าที่ เปลืองมาก เพราะเราเดินเข้าไปหาชุมชน อาจจะไม่ เ คยมี ใ ครไปรวบรวมได้ ม าก ประมาณนีน้ ะ เราคุยและบันทึกคนทีใ่ ห้ขอ้ มูล กับเราเรื่องชุมชนต่างๆ ตั้งใจไว้ประมาณ 100 ท่าน แล้วพื้นที่เราใช้ค�ำว่า “ย่านเก่า” คือ กรุงเทพฯ มี 3 ชัน้ ชัน้ แรกขุดสมัยกรุงธนบุรี เป็นคูเมืองก็คือคลองหลอดใน พอสมัย รัชกาลที่ 1 ท่านก็ขยายมาเป็นคลองบางล�ำพู คลองโอ่งอ่าง ชุดที่สามสมัยรัชกาลที่ 4 คือคลองผดุงกรุงเกษม เราก็ท�ำย่านเก่า ในขอบเขตนี้ก่อน ทีนี้ สิ่งเหล่านี้มันมีปัญหา ตัง้ แต่กอ่ น 2525 มีการใช้คำ� ว่าเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งการใช้ค�ำว่าเกาะมันไม่มีความหมายอะไร เลย เห็นแต่พื้นที่ แต่ไม่เห็นชุมชน • ในการเก็บข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน มีวิธีการท�ำงานอย่างไร ทีพ่ ยายามใส่เข้าไปในงาน คือ การเข้าไป เก็บข้อมูลที่ Cover เมืองเก่า 3 ชัน้ อย่างทีบ่ อก แล้วก็ไปเอาเค้ามาคุย คนที่ยังมีข้อมูลอยู่ อย่างชุมชนมุสลิม เขาพูดเลยว่า ภาครัฐหรือ การท่องเที่ยวไม่เคยสนใจ ไม่มีแม้แต่ป้าย ข้อมูลการท่องเที่ยวที่จะบอกว่า พวกเขา มีชวี ติ อยูท่ นี่ นั่ การท่องเทีย่ วในเกาะรัตนโกสินทร์ ไม่เคยปักป้ายเลยว่า มีมสุ ลิมอยูใ่ นเกาะเมือง ทัง้ ๆ ทีเ่ ขาเป็นส่วนหนึง่ ของการสร้างพระนคร เลยนะ มันมีเหตุมีผลของการอยู่อาศัยและ การสืบเนื่องมา เราไม่ได้ไปท้าทายใครหรือไปเดินขบวน ประท้วงใคร ท�ำเลย แล้วให้มันมีผล ไม่ต้อง มาโวยวายตามกันไปเรื่อยๆ • ความส�ำคัญของการเก็บประวัติศาสตร์ ชุมชนคืออะไร เคยไม๊...เวลาจะพูดถึงตัวเองแล้วพูด ไม่ได้ เวลาจะบอกว่าเราเป็นใครแล้วเราพูด ไม่ได้ ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใครมาจากไหนยังไง รูส้ กึ ยังไง มันต่อไปไม่เป็นเลยนะ ไปอนาคต ไม่ได้ ถ้าเราอยากบอกว่า ฉันเป็นแบบนี้ ฉันอยากได้แบบนี้ แล้วจะเอาอะไรไปพูดกับเขา จะพูดยังไงว่าตัวตนฉันเป็นแบบนี้ คุณอย่า เอาสิง่ ทีม่ นั ไม่ใช่มาให้ฉนั นะ อย่ามายัดเยียด ใส่ฉัน หรือบอกว่าฉันอยากจะท�ำตรงนี้ มากเลย แต่พ่อแม่เป็นใครไม่รู้ ฉันเป็นคนดี ยังไงบอกไม่ได้ แต่ฉันจะเอาแบบนั้น... มันจะได้เหรอ มีใครเค้าจะเชื่อคุณ ชุมชน ก็เหมือนกัน มันไม่ดกี ว่าเหรอ ถ้าเขาจะพูดประวัตศิ าสตร์ ของเขาด้วยปากเขาเอง ด้วยความเข้าใจ ของเขาเอง เราเข้าไปเก็บข้อมูล เรียบเรียง ให้ เขาก็ไปปรับเป็นของเขา แล้วพูดด้วย ปากของเขา แล้วการท่องเที่ยวก็สามารถจะ เสริมสิ่งที่เราท�ำเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน

การไล่ ท่ นี ่ ีไม่ โดนกับตัวเองไม่ ร้ ู นะ การไม่ มีท่ อี ยู่มันโหดนะส�ำหรั บมนุษย์ น่ะ และเป็ นมนุษย์ ท่ มี ีรากเหง้ าสูง มีความทรงจ�ำสูง มีความรู้ สึกรั กบ้ านที่เขาอยู่ ความทรงจ�ำยังใส ยังส่ งต่ อได้ เราไม่ ได้ คาดหวังว่ าคนจะเข้ าใจทัง้ หมด ประวัติศาสตร์สังคมได้เยอะเลย เพราะการ ท่องเทีย่ วมันเป็นเครือ่ งมือทีด่ ที สี่ ดุ ไม่ใช่งาน วิชาการ หรือนักวิชาการที่จะไปพูด ยังไงก็ ไม่เท่ากับสิ่งที่ชุมชนพูด •แต่บางคนก็อาจจะมองว่าประวัตศิ าสตร์ ของชุมชนเป็นสิ่งที่ไม่มีมาตรฐาน อยู่ที่ การเล่าเรื่องมากกว่า? ประวัติศาสตร์ชุมชนมันไม่มีมาตรฐาน หรอก เพราะมันจะเปลี่ยนไปตามชุมชน คน และสถานการณ์ทางสังคมในวันนั้น ชุมชนต้องบอกสิ่งที่ดีของเขาให้ทุกคนฟัง เพื่อจะน�ำเสนอออกมาว่าเราเป็นใคร ก็ต้อง บอกว่าจีนเป็นใคร ลาว เขมรเป็นใคร มลายู เป็นใคร มันต้องเห็นความหลากหลาย ถ้า ประวัติศาสตร์ที่เป็นมาตรฐานเป็นแท่ง เดี่ยวๆ โดดๆ นั่นคือคิดคนเดียว เดี๋ยวนี้ ประวัตศิ าสตร์คอื ความหลากหลาย ความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันในความหลากหลาย •เรื่องราวของชุมชนต่างๆ ที่เข้าไปศึกษา มี ก ารน� ำ มาจั ด การเสวนาที่ ชุ ม ชนป้ อ ม มหากาฬทุกเดือน ? เรือ่ งป้อมเคยคุยเล่นๆ ว่าท�ำไมต้องเลือก ที่ป้อม เพราะเป็นพื้นที่ดีที่สุดในการมอง เมืองประวัติศาสตร์ กรณีของป้อมมหากาฬ ถ้าโดนไล่ที่ไปท�ำเป็นสวนสาธารณะจริงๆ คือหมดเลยนะ สิ่งที่มีความหมายของเมือง ประวัตศิ าสตร์ทยี่ งั เหลืออยูท่ เี่ ดียวก็จะหมด ไปโดยสิน้ เชิง แล้วตรงนีก้ เ็ ป็นทีแ่ รกทีเ่ ขาจะ จัดการให้ออกไป ทีนพี้ อรือ้ ตรงนีไ้ ม่ได้ ทีอ่ นื่ ก็ท�ำไม่ได้ ไม่เป็นไปตามสิ่งที่เขาคิด ถ้าอยากดูชมุ ชนทีเ่ ข้มแข็งโดยธรรมชาติ ไปดูที่ป้อม เพราะเป็นชุมชนที่ไม่ต้องมี ประธานชุมชน เขาคุยกันแบบลูกทุง่ มีเวรยาม ระมั ด ระวั ง ไฟไหม้ แล้ ว ขยายไปเป็ น เทรนเนอร์ให้ชุมชนอื่นๆ เขาก็มีกลุ่มของ เขา เข้มแข็งขึ้น เราอยากท�ำตรงนี้ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ คุณอยากรูเ้ รือ่ งย่านเก่า คุณอยากรูเ้ รือ่ งชุมชน ในเขตเมืองเก่าของกรุงเทพฯ คุณเดินมาทีป่ อ้ ม แล้วคุณจะรู้ ตอนนี้อาจจะยังไม่เห็นชัด ปีหน้าจะชัดขึ้น แล้วเราจะไปสรุปข้อมูล อีกครั้งหนึ่ง เพื่อที่จะบอกว่าเราได้อะไรจาก สิ่งที่เราเข้าไปท�ำงานมา •วิธคี ดิ การพัฒนาเมืองแบบมองไม่เห็นคน มีผลอย่างไร ดูอย่างพืน้ ทีป่ อ้ มมหากาฬ ก็เป็นมรดก ของการคิดแบบสถาปนิกในการทีจ่ ะมองว่า

เมืองต้องสวย เมืองต้องงาม เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราเคยมี อย่างสนามหลวงที่เคยเป็น ตลาดนัดก็หายหมด มีการไล่ที่เกิดขึ้น หรืออย่างทีอ่ าจารย์หม่อมราชวงศ์อคิน รพีพฒ ั น์ไปท�ำเรือ่ งสลัมวัดญวนสะพานขาว หลังวัดเป็นชุมชนช่างก่อสร้างมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5 เป็นช่างปูกระเบื้องที่เก่งที่สุด ทีม่ าสร้างพระทีน่ งั่ อนันตสมาคม ทีน่ นั่ มีการ สะสมของคนนอกเมืองที่เข้ามาในเมือง มีรากเหง้าของสลัม มีรากเหง้าของการไล่รอื้ แต่สุดท้ายมันก็ยังไม่ได้หายไป สิ่งเหล่านี้ มันหนักขึ้น ตามวิธีคิดของ การจัดการผังเมือง วิธคี ดิ ของเขาคือ ต้องสวย ต้องเคลียร์ เพราะฉะนัน้ บ้านเก่าๆ เขามองเป็น สลัมหมดเลย ซึ่งมันไม่ใช่ หัวใจของคน กรุงเทพฯ คือตรอก ตรอกก็คือซอกซอย ขนาดเล็ก แม้แต่ถนน มันก็คือตรอกที่ขยาย ออกไป พอไม่เข้าใจตรงนีก้ ม็ องว่าเขาคือสลัม แต่ไม่ได้มองเลยว่า เขาเนีย่ อยูก่ นั มาตัง้ แต่ตน้ กรุงรัตนโกสินทร์ อย่ า งกรณี ข องบ้ า นพี่ ก บ-ธวั ช ชั ย วรมหาคุณ ทีช่ มุ ชนป้อมมหากาฬ พืน้ ทีต่ รงนี้ เป็นต้นก�ำเนิดของมหรสพ มีบา้ นคุณตาทวด เป็นช่างทีส่ มัยก่อนใครจะถ่วงตะกัว่ ตัง้ เสียง ระนาดต้องมาทีแ่ ก ใครจะขุดกลองต้องมาให้ บ้านแกขุด แล้วเขาเชือ่ มกับครูดนตรีได้ทกุ ที่ •การท่องเทีย่ วช่วยมีผลกระทบกับชุมชน แค่ไหน ตอนนีว้ ธิ คี ดิ คือเอานักท่องเทีย่ ว โฮสเทล รีสอร์ท ส�ำหรับนักท่องเที่ยวเต็มไปหมด ร้านค้าของคนในชุมชนต้องออกไป แต่ยา่ นเก่า เมืองเก่ามันเลี้ยงได้หรือด้วยการเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวอย่างเดียว อย่างบางล�ำพูพอฮิต ขี่จักรยานกันนี่ เขาค้าขายไม่ได้เลย ยุบไป เป็ น แถบเลยนะ แค่ ค รึ่ ง ปี นี่ จ บชี วิ ต กั น หลายร้านมาก กลายเป็นว่าเรามองจากที่ ไกลๆ มาก ไม่ได้เข้ามาคลุกว่า คนที่เค้า อยากอยู่ยังมีนะ คนเก่าที่มีฐานะก็ออกไป แต่คนที่เคยอยู่แล้วยังอยากอยู่ต่อไปก็มี หรือเจริญชัย ทุกคนมีบ้านหลังที่สองหมด มีฐานะพอจะซื้อบ้านหลังที่สอง แต่เค้าไม่ อยากไป คนแก่ๆ บอกว่าไปก็ตายคนเดียว มัน ไม่มีตลาด ไม่มีความเป็นชุมชน การจะสร้าง ชุมชนมันต้องมีโครงสร้างทางสังคมอยูภ่ ายใน ทีนี้ เราไปสร้างโครงสร้างใหญ่ๆ ซึง่ ไปท�ำลาย โครงสร้างทางสังคมของเขา ถ้าจะบูมการท่องเที่ยวย่านเก่า ถ้าคุณ ไปดูญปี่ นุ่ เขายังอยูก่ นั ได้ในร้านเดิมๆ ขายมา 7 ชัว่ คน บางร้านเป็นร้านอาหารมา 3-4 ชัว่ คน

มีโต๊ะแค่ 3-4 โต๊ะก็อยูไ่ ด้ แล้วเขามีการสืบทอด เทคนิคการค้าขาย ท�ำให้คนด�ำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ของเราอย่างตลาดนางเลิง้ นีข่ องสดก็ขาย ไม่ได้แล้วเพราะบริษัทใหญ่ๆ เข้ามา ร้านค้า ย่อยๆ ที่เราเคยมีก็ไม่มีแล้ว แล้วเขาไปท�ำ อะไรกิน เขาก็ตอ้ งไปพึง่ ลูก ความรูก้ ารค้าขาย ของเราก็หายไปหมด วิชาการเรือ่ งการค้าขาย ของเราจบหมดไปพร้อมกับชุมชน คนทีเ่ ข้าไปท�ำงานตรงนี้ เรือ่ งการท่องเทีย่ ว แบบเดิน โดยที่ไม่สนใจชุมชน ไม่ได้ห้ามนะ แต่อยากให้ไปปรับหน่อย คือการทีค่ ณ ุ เข้าไป เทีย่ ว มันก็คอื การเข้าไปบุกรุกพืน้ ทีเ่ ขาอยูแ่ ล้ว แล้วแถมต้องให้เขามาพินอบพิเทาคุณอีก แล้วเขาต้องเชือ่ ข้อมูลทีค่ ณ ุ พูด ถามว่าคุณเกิด ที่นั่นหรือเปล่า คุณก็อ่านมาจากเอกสาร อะไรแล้วแต่คุณจะไปขุดมาหรือฟังเขามา แล้วพูด มันถูกไม๊ อีกอย่างเรือ่ งผังเมืองทีห่ ลายหน่วยงาน ทีเ่ ข้ามาจัดการ ตกลงคุณฟังเขาเพือ่ ทีจ่ ะให้มนั ครบกระบวนการในการรับฟังความคิดเห็น เท่านั้นเอง เคยลงไปหรือเปล่า เอะอะก็บอก ว่าคนไม่อยู่แล้ว สถาปนิกก็ดูแต่บ้านเก่า ท�ำไมไม่ให้ความหมายกับพื้่นที่ด้วย คุยกับ ชาวบ้านหน่อยสิ เขาก็อยากเล่าอยู่แล้ว หรือ อย่างการท่องเทีย่ วชุมชน ท�ำการบ้านเยอะๆ สร้างวัฒนธรรมการท่องเทีย่ วแบบเคารพคน ท้องถิ่น ไปเรียนรู้จากคนในชุมชน เป็นการ เรียนรู้ร่วมกันจะดีกว่าไม๊ •เราพูดกันว่า “คน” คือองค์ประกอบทีส่ ำ� คัญ ในความเป็นเมือง แต่ในการพัฒนาเมือง ที่ผ่านมา ให้ความส�ำคัญกับคนแค่ไหน เราไม่มีนักปฏิบัติ เราอ่าน เราเรียน เราสอนแต่หลักการ นักปฏิบัติในการลง ไปถึงชุมชนมันไม่มี งานมานุษยวิทยาเรา หน่อมแน้มมาก มีแต่หลักการ แล้วเราก็สร้าง แต่มนุษย์ที่คุยกับชาวบ้านไม่รู้เรื่อง คุยกับ ชาวบ้านไม่เคย respect เขาเลย แล้วคุณจะ เข้าไปท�ำงานกับชุมชนได้ยงั ไงถ้าไม่คยุ กับเขา การเริ่มต้นในการคุยกับชุมชนมันยากนะ กว่าที่เขาจะไว้ใจ คนที่ท�ำงานด้านนี้มันไม่มี งานทางมานุษยวิทยาของเรานี่ล้มเหลวเลย คุณต้องไปเปลีย่ นวิธคี ดิ ก่อน โดยเฉพาะ คนทีส่ อนเรือ่ งการท�ำงานกับชุมชน การเข้าหา ชุมชนยากนะ คุณไม่ให้เวลาเขา ไม่จริงใจ ยิง่ คนในเมืองกว่าเขาจะไว้ใจ กว่าจะให้เข้าบ้าน กว่าจะคุยเรื่องพ่อแม่ปู่ย่าตายายให้คุณฟัง คุณต้องเคลียร์ตัวเองก่อน •ท�ำไมการพัฒนาเมืองหลายๆ ครัง้ ดูเหมือน

ว่าจะต้องเริ่มจากการย้ายหรือไล่คนออก ไปก่อน อย่างกรุงเทพฯ ถ้าไม่มกี ารไล่ที่ ก็ไม่ตอ้ ง มาท�ำประวัติศาสตร์ชุมชน แต่สิ่งที่เราท�ำมัน เป็นผลมาจากการรวบอ�ำนาจสู่ศูนย์กลาง การรวบอ�ำนาจทางความคิด รวบอ�ำนาจทาง ประวัติศาสตร์ รวบอ�ำนาจทุกอย่าง นี่คือ สิ่งที่เราท�ำมา 20 กว่าปี เพื่อจะบอกว่าพื้นที่ ทุกพืน้ ทีม่ นั มีความหลากหลาย ประวัตศิ าสตร์ ไม่ ไ ด้ มี แ ต่ พ ระนเรศวร พระเจ้ า ตาก ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ ก็ไม่ได้มีแต่ ประวัติศาสตร์สายวังอย่างเดียว แต่ยังมี นายอะไรคนหนึ่งเป็นคนถ่วงผืนระนาด ตระกูลแกอยูต่ รงนี้ บ้านแกอยูต่ รงนี้ หลังเก่าๆ โทรมๆ แต่มันมีประวัติศาสตร์อบอวลอยู่ ตรงนี้ แล้วท�ำไมต้องมาไล่ การไล่ที่นี่ไม่โดนกับตัวเองไม่รู้นะ การไม่มีที่อยู่มันโหดนะส�ำหรับมนุษย์น่ะ และเป็นมนุษย์ทมี่ รี ากเหง้าสูง มีความทรงจ�ำสูง มีความรูส้ กึ รักบ้านทีเ่ ขาอยู่ ความทรงจ�ำยังใส ยังส่งต่อได้ เราไม่ได้คาดหวังว่าคนจะเข้าใจ ทั้งหมด คุณลองเดินมาดูสิ คุณจะตกใจว่า กรุงเทพฯ มันเคยเป็นอย่างนี้เหรอ มาดูว่า เขาเคยอยู่กันอย่างไร •ถ้ายังใช้วธิ กี ารพัฒนาเมืองแบบไม่เห็นคน มีการไล่คนออกไปตลอดเวลา จะมีวัน ที่ถึงจุดระเบิด? มันระเบิดมาหลายรอบแล้วนะ อย่างเคส ของป้อมมหากาฬ หรือเจริญชัย คือก่อน ไล่ 2-3 ปีเป็นช่วงที่ท�ำลายความเป็นชุมชน อย่างแหลกละเอียด คนนั้นได้ชดเชย คนนี้ ไม่ได้ คนนัน้ ต้องไป คนนีไ้ ม่พร้อม นีค่ อื การ ท�ำลายชุมชน การที่จะเกิดแบบนี้ได้คุณต้องท�ำลาย ความเป็นมนุษย์ให้เหี้ยนก่อน ใส่ความเห็น แก่ตัวเข้าไป ท�ำให้คนไม่สามารถคุยกันได้ ไม่สามารถเกาะกลุม่ กันได้ ก็คอื ไม่เป็นชุมชน เอาเงินเข้าไปเดีย๋ วก็แตกกันหมด หลายชุมชน เป็นแบบนี้ ทัง้ ทุน ทัง้ รัฐ ซัดกันจนจะไม่เหลือ อะไรเลยนะ แล้วทุกคนก็จะพูดว่า เสียดาย แต่ไม่รู้จะท�ำยังไง ก็แค่นั้นเอง บางชุ ม ชนเขาก็ สู ้ กั น เป็ น บางระจั น แต่กแ็ ตกกันเองหลายกลุม่ รวมกันไม่ตดิ แล้ว ไม่เชื่อมกับชุมชนอื่นด้วย ความเป็นเมือง มันท�ำให้ไม่สนใจกัน แตกเป็นชิ้นๆ ถ้าเขา เกาะกันติดมันไม่ระเบิดอย่างนี้หรอก ถามว่าเมื่อไหร่จะวิกฤติ มันวิกฤติ มาหลายรอบแล้ว ทุกวันนี้เรายืนอยู่บน ซากศพต่างหากล่ะ

บรรณาธิการข่าว : อนันต์ ลือประดิษฐ์ ● หัวหน้าข่าว : เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ, ชุติมา ซุ้นเจริญ, ปานใจ ปิ่นจินดา ● กองบรรณาธิการ : ชาธิป สุวรรณทอง, ทศพร กลิ่นหอม, นิภาพร ทับหุ่น, ชัยณรงค์ กิตินารถอินทราณี, พิมพ์พัดชา กาค�ำ, ปริญญา ชาวสมุน, ศากุน บางกระ บรรณาธิการศิลปกรรม อับดุลเล๊าะ บุวา ● ผู้ช่วยบรรณาธิการศิลปกรรม จักรพงษ์ ศรีสุนทร, กีรติ มีสุข ● หัวหน้าศิลปกรรม ทวีศักดิ์ อุระนันท์ ● ศิลปกรรม ณัชชา วงษ์งาม, ศราวุธ เหลืองสุขเจริญ, ประไพพรรณ จันทรัตน์, จีรศักดิ์ สุมาลัย, อรรยา อภิชัยพงศ์ไพศาล ● กราฟฟิกดีไซน์ สุเจตน์ ชุมภูนท์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.