ตลาดนางเลิ้งเกิดขึ้นจากการพัฒนา พื้ น ที่ ช านพระนครทางด้ า นตะวั น ออก ที่ต่อเนื่องมาจากการสร้างพระราชวังและ วั ง สวนดุ สิ ต ทางด้ า นทิ ศ เหนื อ นอก พระนครที่ อ ยู่ ระหว่ า งคลองเมื อ งผดุ ง กรุ ง เกษมและคลองสามเสน ใ นช่วง ทศวรรษที่ ๒๔๔๐ และเป็ น ตลาดบก แห่งใหม่ที่เป็นอาคารตึกของหลวงให้เช่า ริมถนนและตลาดสดอาคารโถง ที่มีการ สร้ า งโรงมหรสพต่ อ เนื่ อ งในระยะต่ อ มา ผู้ค้าขายส่วนใหญ่เป็นชาวจีนกลุ่มต่างๆ และเรียกตลาดบกแห่งใหม่ของพระนคร ทางฟากตะวันออกนี้ว่า “ซิงตั๊กลั๊ก” หรือ “ตลาดใหม่” ที่คู่กับตลาดเก่าเยาวราช ย่ า นการค้ า แต่ เ ดิ ม ของคนจี น ที่ สื บ เนื่ อ ง มาจากตลาดสำเพ็ ง ตั้ ง แต่ ค รั้ ง ต้ น กรุ ง ฯ ส่วนชื่อที่ชาวพระนครเรียกกันโดยทั่วไป ของตลาดแห่งนี้คือ “ตลาดนางเลิ้ง” การขยายพื้นที่เมือง ฝั่งตะวันออกในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากโปรดเกล้าฯ ให้มี การขุดคลองเมืองรอบพระนครเป็นคลอง ชั้นนอก พระราชทานนามคลองขุดใหม่นี้ ว่ า “คลองผดุ ง กรุ ง เกษม” (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๓๙๕) ถือเป็นยุคสมัยที่ทำให้ พื้นที่ชานพระนครกลายเป็นพื้นที่ในเมือง ที่ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางรวมแล้ว ไม่ต่ำกว่า ๑๓ ตารางกิโลเมตร นอกจาก พื้นที่อยู่อาศัยของขุนนางข้าราชการทาง ฝั่งธนบุรีแล้วก็ได้เริ่มตัดถนนเจริญกรุง,
ตลาดนางเลิ้ง
บำรุงเมือง, เฟื่องนคร และถนนขวางหรือ ถนนสีลม (พ.ศ. ๒๔๐๔-๒๔๐๗) และ ชั ก ชวนให้ ผู้ มี ท รั พ ย์ ส ร้ า งสะพานข้ า ม คลองที่ มี ชุ ม ชนชาวต่ า งชาติ แ ละมี ผู้ ค น ตั้ ง บ้ า นเรื อ นอยู่ ม ากกว่ า พื้ น ที่ อื่ น นั บ เป็นการขยายเมืองเพิ่มเติมเนื่องมาจาก การขุดคลองแต่เดิม ต่อมาคหบดีในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดย ใช้ บ ริ ษ ั ท ขุ ด คลองและคู น าสยามที่ ขุ ด คลองรั ง สิ ต ประยู ร ศั ก ดิ ์ ขุ ด คลองและ ตัดถนนเพื่อพัฒนาที่ดินทางตอนใต้ของ พระนครให้สัมพันธ์กับถนนที่สร้างขึ้นใน รั ช กาลที่ ๔ แล้ ว ถวายให้ เ ป็ น ทาง สาธารณะในช่วง พ.ศ. ๒๔๓๘-๒๔๕๐ เช่ น คลองและถนนสาทรของหลวง สาทรราชายุกต์ (ยม พิศลยบุตร) ถนน สุริวงศ์กับถนนเดโชของเจ้าพระยาสุรวงศ์ วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ถนนสี่พระยา ของคณะบุ ค คลที่ นำโดยพระยาอิ น ทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ม.ร.ว. ลพ สุทัศน์) ถนนรองเมื อ งของพระยาอิ น ทราธิ บ ดี ฯ ถนนคอนแวนต์ ถนนสุรศักดิ์กับถนน ประมวญของเจ้ า พระยาสุ ร ศั ก ดิ ์ ม นตรี (เจิม แสง-ชูโต) และถนนพิพัฒน์ของ พระยาพิพัฒโกษา (เซเลสติโน ซาเวีย) เป็นต้น ในช่วงรัชสมัยที่ ๕ พระนครเติบโตขึน้ มากเมื่อมีการสร้างพระราชวัง วัง ถนน ตลาดบกและตลาดน้ำ บ้านเรือนย่านต่างๆ ขุดลอกคลองเดิม ขุดคลองใหม่เพื่อเป็น เส้ น ทางคมนาคม สร้ า งสะพานข้ า มคู คลองต่างๆ สร้างสถานีรถไฟหัวลำโพงที่ ด้านนอกเมือง ตัดถนนเพื่อเป็นย่านการ ค้า ย่านอยู่อาศัยและอำนวยความสะดวก
ตลาดใหม่ (ซิงตั๊กลั๊ก)
ย่านชานพระนคร วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์, รัชนีบูล ตังคณะสิงห์ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ช่วงราว พ.ศ. ๒๔๔๑ ภายหลังจากเสด็จกลับจากประพาสยุโรป ครั้ ง แรกจึ ง เริ่ ม มี ก ารสร้ า งพระราชวั ง ดุ สิ ตในพื้ น ที่ ส วนและทุ่ ง นา บริเวณทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นับจากคลองผดุงกรุงเกษมจนถึง คลองสามเสนเพื่อเสด็จออกพักเป็นที่ประทับร้อน ต่อมาจึงโปรด เกล้าฯ ใ ห้ตัดถนนสามเสน, ถนนราชดำเนินใน, ถนนราชดำเนินนอก เพื่อเชื่อมต่อ “วังสวนดุสิต” เข้ากับพระบรมมหาราชวังและพื้นที่อื่นๆ และโปรดให้รื้อพระที่นั่งมันธาตุรัตนโรจน์ที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี มาสร้างที่วังสวนดุสิตและพระราชทานนามว่า “พระที่นั่งวิมานเมฆ” เมื่ อ ยั ง มี ผู้ ค นตั้ ง บ้ า นเรื อ นไม่ ห นาแน่ น นั ก จึ ง สามารถตั ด ถนน เพิ่ ม เติ มได้ อี ก หลายสาย โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงโยธาธิการสร้าง ถนนอีกหลายสายทางด้านเหนือของพระนคร แต่ถนนในวังสวนดุสิต และถนนที่อยู่ใกล้วังเจ้านายบางพระองค์สร้างด้วยเงินพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์กับเงินของท่านเจ้าของวังนั้นๆ รวมทั้งผาติกรรมวัดร้าง และวั ด ดุ สิ ต เดิ ม แล้ ว บู ร ณะปฏิ ส ั ง ขรณ์ใ ห้ เ ป็ น วั ด เบญจมบพิ ต รฯ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๑ ชื่ อ ถนนและสถานที่ บ างแห่ ง รอบพระราชวั ง ดุ สิ ตในเวลานั้ น มีความหมายอันเป็นมงคลตามความเชื่อของชาวจีน จากลวดลาย “ฮก ลก ซิ่ว” ที่นิยมจัดเป็น “เครื่องโต๊ะกิมตึ๋ง” จึงกล่าวได้ว่าเป็นการ สืบทอดธรรมเนียมการตั้งชื่อเพื่อความเป็นสิริมงคล แต่ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ ๖ มีการประกาศเปลี่ยนนามถนน ๑๘ สายในพระนคร โดยถนนลกได้ ชื่ อ ว่ า ถนนพระรามที่ ๕ เพื่ อ ระลึ ก ถึ ง กษั ต ริ ย ์ ผู้ โปรดเกล้ า ฯ ให้สร้างพระราชวังดุสิต ส่ ว นถนนอื่ นๆ โดยรอบก็ถูก เปลี่ยนชื่อเป็นเช่น ถนนซางฮี้เป็นถนนราชวิถี ถนนเบญจมาศเป็น ถนนราชดำเนินนอก ถนนราชวัตเป็นถนนนครชัยศรี ถนนดวงตวัน คือถนนศรีอยุธยา ถนนคอเสื้อคือถนนพิษณุโลก ถนนดวงดาวคือ ถนนนครราชสีมา ถนนดวงเดือนคือถนนศุโขทัย ถนนประแจจีนคือ ถนนเพชรบุรี ถนนใบพรคือถนนอู่ทอง (นอก) เป็นต้น นอกจากนี้ในช่วงทศวรรษที่ ๒๔๔๐ นั้น บริเวณสองฝั่งคลอง ผดุงกรุงเกษมรวมถึงบริเวณย่านถนนหลานหลวงยังมีการสร้างวัง พระราชทานพระเจ้าลูกยาเธอที่เริ่มสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ พระราชวงศ์และขุนนางอีกหลายแห่ง
เริ่มตั้งแต่ฝั่งนอกเมืองปากคลองผดุงกรุงเกษมมีวังพระเจ้าบรม วงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถหรือ วังเทเวศร์ บริเวณป้อมหักกำลังดัสกรเดิม ฝั่งในพระนคร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๘, วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรม หลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ใกล้เชิงสะพานฝั่งนอกพระนคร สร้างเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๔๐, วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณกิติบดี ฝั่งนอกพระนครที่ไม่เหลือร่องรอยพระ ตำหนักแล้ว ปัจจุบันเป็นบริเวณตลาดจันทร์ประวิตรและบางส่วนของ ลานจอดรถและทำการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ วังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวง ลพบุรีราเมศร์หรือวังลดาวัลย์หรือวังแดง ฝั่งนอกพระนคร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙, วังจันทรเกษม ฝั่งนอกพระนคร พระราชทานที่ดินและ เงินเพื่อสร้างวังที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหา วชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร และหลังจากรัชกาลที่ ๕ สวรรคตแต่ก็ ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ, วังนางเลิ้ง ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ฝั่งในพระนคร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓, วังไชยา ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส นอกพระนคร ฝั่งเยื้องกับวังนางเลิ้ง, วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชย เฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกรหรือวังสะพานขาว ฝั่งใน พระนคร, วังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรม หลวงนครไชยศรีสุรเดชหรือวังมหานาค ฝั่งในพระนคร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐, วังไม้ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ด้านนอกพระนคร ฝั่งมาทาง วัดเทพศิรินทร์ นอกจากนี้บริเวณฝั่งในพระนครใกล้สะพานขาวยังพระราชทาน บ้านพร้อมที่ดินให้ขุนนางท่านหนึ่งคือ พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) เรียกว่าบ้านสุริยนุวัตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๘ ส่วนวัง วรดิศสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ พระตำหนักและวังทั้งหลายที่สร้างในช่ ว งนี้ ล้วนใช้ทีมสถาปนิก และวิศวกรที่เข้ามาทำงานประจำในกรมโยธาธิการเป็นส่วนใหญ่ และ หากตลาดนางเลิ้งสร้างโดยกรมโยธาธิการก็อาจจะเป็นการออกแบบ โดยสถาปนิกชาวต่างชาติในรุ่นเดียวกันนี้ การสร้างตลาดบกที่นางเลิ้ง จึงเป็นส่วนหนึ่งของการขยายพื้นที่ เมืองมายังฝั่งตะวันออกของพระนคร หลังจากขยายมาทางทิศเหนือที่ มีการก่อสร้างพระราชวัง วัง และวัด อย่างขนานใหญ่ในช่วงราว ทศวรรษ ๒๔๔๐
พระตำหนักภายในพระราชวังดุสิต ในภาพคือพระตำหนักสวนหงส์ รัชกาลที่ ๕ พระราชทานแด่ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา)
๒
แผนที่เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๗๔ แสดง บริเวณรอบๆ ตลาดนางเลิ้ง พื้นที่สี แดงแสดงถึงอาคารที่เป็นตึก ส่วนสี ดำแทนอาคารไม้ จะเห็นตึกแถว สองฝั่งถนนนครสวรรค์ และขยาย มายังริมถนนกรุงเกษมและทางฝั่ง ซ้ายของถนนศุภมิตร ตัวตลาด เป็นอาคารไม้และมีกากบาท และมี อาคารตึกแบบชั้นครึ่งที่เป็นโกดัง รายรอบสามด้าน ส่วนอาคารสีดำ ทึบแสดงโรงหนังเฉลิมธานี เหนือฝั่งคลองผดุงกรุงเกษมยัง เห็นสภาพสมบูรณ์ของวังนางเลิ้ง ของ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ วังไชยา ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาสในฝั่ง ตรงข้าม
เมื่อก่อสร้างอาคารตึกสองชั้นทั้งสองฝั่งถนนนครสวรรค์ ตึกชั้นครึ่งที่ดูเหมือนจะ สร้างไว้เพื่อเป็นโกดังให้เช่าเก็บเข้าของทั้งสามด้านที่ไม่น่าจะใช้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยได้ สะดวกนั ก และอาคารโถงตลาดสดที่ อ ยู่ ต รงกลาง ตลาดนางเลิ้ ง อยู่ ฝ ั่ ง ตรงข้ า ม วัดโสมนัสวิหารและฝั่งเดียวกับวัดแค นางเลิ้ง หรือวัดสุนทรธรรมทาน ในพื้ น ที่ ซึ่ ง แต่เดิมเรียกว่า “ย่านสนามควาย” ตลาดนางเลิ้งเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๓ โดยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด หนังสือพิมพ์ บางกอกสมัย ฉบับวันที่ ๓๐ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๘ หรือ พ.ศ. ๒๔๔๓ กล่าวถึงการเปิด งานที่ตลาดนางเลิ้งว่าเป็นงานรื่นเริงผู้คนมากมาย แต่ดูว่าคนเที่ยวชมน่าจะมากกว่า คนมาจับจ่ายซื้อของ มีทั้งชาวบ้านและพระสงฆ์จากวัดต่างๆ ก็พากันไปเที่ยวดูและ เล่ น การพนั น เป็ น กลุ่ มๆ แม้ พ ระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ ห ั ว จะเสด็ จ พระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานก็ตาม (อ้ า งจากเอนก นาวิ ก มู ล , ตลาดเก่ าๆ, ๒๕๕๓) สำหรับถนนที่ตัดผ่านนางเลิ้งนั้น ตามเอกสารสารบาญชีของกรมไปรษณีย์ยุค แรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ เรียกถนนนครสวรรค์ว่าถนนสนามควาย แต่แผนที่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ เรียกว่าถนนนครสวรรค์แล้ว ส่วนชาวบ้านแถบนางเลิ้งแต่เดิมเรียก “ถนน หน้าตลาด” แต่ในแผนที่นี้ยังไม่มีการสร้างถนนราชดำเนินที่สร้างใน พ.ศ. ๒๔๔๒ ถนนจากประตู พ ฤฒิ บ าศไปจรดยั ง สะพานเทวกรรมรั ง รั ก ษ์ ที่ ข้ า มคลองผดุ ง กรุ ง เกษม ทรงโปรดเกล้ า ฯ ใ ห้ ป ลู ก ตึ ก ตลาดหรื อ ตึ ก ฝรั่ ง เพื่อให้ป ระชาชนเช่ า ทำการค้ า โดยอาคารเหล่านี้สร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รูปแบบตึกแถวแบบฝรั่งริมถนนนครสวรรค์ สูงสองชั้น หลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องว่าว ชั้นบนเจาะห้องหน้าต่างชนิดบานคู่ เป็นไม้แบบลูกฟักกระดานดุน กรอบหน้าต่างเป็นกรอบปูนปั้นลวดลายสวยงาม และยังคงไม่พบนามของสถาปนิก ผู้ออกแบบ
ตลาดใหม่ (ซิงตั๊กลั๊ก) / ตลาดนางเลิ้ง
ก่อนที่จะมีการสร้างตลาดนางเลิ้งเป็นตลาดบก ค้าขายอาหารและสิ่งของต่างๆ ใ นย่านชานพระนคร ด้านทิศตะวันออก มีตลาดบกที่เปิดค้าขายอยู่แล้วที่ “ย่านสำเพ็ง” ซึ่งย้ายมาจากบริเวณที่สร้างพระบรม มหาราชวังในครั้งสถาปนากรุงเทพฯ เป็นพระนคร หลังแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งเป็นที่ดิน ของพระยาราชาเศรษฐี แ ละบริ ว ารโดยโปรดเกล้ า ฯ ให้ย้ายชุมชนชาวจีนและตลาดการค้าไปอยู่ที่สวนทาง ทิศใต้ของพระนคร ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัด จักรวรรดิราชาวาส) ไปจนถึ ง คลองวั ด สำเพ็ ง (วัด ปทุมคงคาฯ) และสร้างชุมชนตลาดค้าขายต่างๆ เช่น ตลาดเก่า, ตลาดสะพานหัน, ตลาดน้อย, ตลาดสำ เพ็ง, ตลาดวัดเกาะ (วัดสัมพันธวงศ์) จนกลายพื้นที่ ตลาดบกขนาดใหญ่และแออัดที่สุดของพระนคร ต่อมามีการตัดเส้นทางสำคัญคือ “ถนนสำเพ็ง” ปัจจุบันคือซอยวานิช ๑ ที่เริ่มจากถนนจักรเพชรใน ฝั่งพระนครข้ามสะพานหันเข้าตรอกหัวเม็ด ผ่านถนน ราชวงศ์ออกถนนทรงวาด ผ่านวัดปทุมคงคา ถนน สายนี้กว้างประมาณ ๓ เมตร ยาวเกือบ ๒ กิโลเมตร รถแล่นผ่านไปมาไม่ได้ ทั้งสองข้างถนนเรียงราย
๓
ไปด้วยร้านค้าขายของคนจีน มีสินค้าอุปโภคที่ขายส่งไปยังหัวเมือง เช่น หม้อข้าว หม้อแกง ถ้วยโถโอชาม ภาชนะและของกินเกือบทุก ชนิด เช่น ผักผลไม้สด ผลไม้แห้ง ของดอง ยาจีน ผ้าแพรพรรณ ต่างๆ ทองรูปพรรณ เครื่องใช้ไม้สอยประเภทต่างๆ เช่นเครื่องใช้ทำ ด้วยไม้ลงน้ำมัน เครื่องใช้ในการศึกษาเล่าเรียน เครื่องมือทำจาก เหล็กและเครื่องยนต์เรือ เป็นต้น โดยเฉพาะสินค้าที่มาจากเมืองจีน รวมทั้งเป็นตัวแทนขายส่งสินค้าจากต่างประเทศและภายใน เนื่องจาก อยู่ในบริเวณท่าเรือสินค้าที่ตลาดน้อยและทรงวาดก่อนจะมีการสร้าง ท่าเรือคลองเตย ยังมีสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่นำเข้า จากประเทศจีน มีทั้งบ้านเรือนที่พักอาศัย โรงฝิ่น บ่อนการพนัน และ โรงหญิงโสเภณีหลายสำนักจนคำว่า “สำเพ็ง” กลายเป็นคำด่าผู้หญิง ที่ประพฤติไม่ดีในยุคสมัยนั้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการตัดถนนหลายสายผ่านบริเวณสำเพ็ง อั น เนื่ อ งจากความแออั ด และเกิ ด เหตุ เ พลิ งไหม้ บ่ อ ยครั้ ง การ ตั ด ถนนหลั ง จากเพลิ งไหม้ แ ต่ ละครั้ ง ช่ ว ยทำให้ มี ก ารสร้ า งและจั ด ระเบียบอาคารร้านค้าริมถนนและตรอกซอกซอยมากขึ้นกว่าเดิมและ ช่วยทำให้เกิดย่านการค้าต่างๆ ที่สำคัญนอกเหนือจากถนนเจริญกรุง ส่วนถนนเยาวราชระยะทางเพียงราว ๑ กิโลเมตรก็ต้องใช้เวลานาน ถึง ๘ ปี จาก พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๔๔๓ และต่อมากลายเป็นศูนย์รวม การค้าขาย การธนาคาร แหล่งค้าทองคำ ร้านอาหารและการท่อง เที่ยวจนถึงปัจจุบัน การขุ ด คลองเมื อ งชั้ น นอกหรื อ คลองผดุ ง กรุ ง เกษมตั้ ง แต่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๓๙๕ โดยจ้างแรงงานชาวจีนขุด มีเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นแม่กองขุดในต้นรัชกาลที่ ๔ ตลาดนางเลิ้ง นั้น สร้างพื้นที่ตลาดน้ำใหม่ๆ หลายแห่งแก่ชาวบ้านชาวเมืองทั่วไป ซึ่งมีทั้งที่เดินทางมาจากทางในสวนผลไม้ทั้งทางฝั่งธนบุรีและทาง เมืองนนทบุรี เพราะปากคลองผดุงกรุงเกษมที่ออกแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งทางวัดสมอแครงหรือวัดเทวราชกุญชร แถบเทเวศร์ ตัดผ่านคลอง มหานาคทำให้เกิดสี่แยกมหานาคที่กลายเป็นตลาดค้าขายสารพัดและ
ตลาดผลไม้ต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้และไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศ ใต้แถบสี่พระยา ริมคลองขุดใหม่หรือคลองผดุงกรุงเกษมนี้ทั้งทาง ปากคลองย่านวัดสมอแครงมีเรือนแพและเรือกระแชงบรรทุกสินค้า จากที่ต่างๆ จอดอยู่มาก ส่วนทางด้านในริมคลองฝั่งนอกเมืองก็มี โรงสีหลายแห่ง เรือข้าวเปลือกที่รับซื้อจากภายในแผ่นดินลึกเข้าไป ตามลำน้ำสาขาและคลองเล็กคลองน้อยในเขตดินดอนสามเหลี่ยม ปากแม่น้ำเจ้าพระยาต่างมาส่งซื้อขายข้าวเปลือกที่โรงสีต่างๆ อย่าง มากมายหลังเมื่อขุดคลองเสร็จแล้ว และเป็นเส้นทางเดินทางและเส้น ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของพระนคร ในระยะต่ อ มาเป็ น ที่ รู้ ก ั น ว่ า ย่ า นตลาดบริ เ วณริ ม คลองผดุ ง กรุงเกษมมีตลาดสินค้าประเภทต่างๆ มีเรือบรรทุกสินค้าจอดเทียบ อยู่ริมคลองเป็นระยะๆ เช่นที่ปากคลองตอนเหนือ (บริเวณใต้วัดเทว ราชกุญชร) ลงมาจนถึง สะพานเทวกรรมรังรักษ์ ย่านนางเลิ้ง เป็น ตลาดข้าว อิฐ ปูนขาว และกระเบื้อง จากสะพานเทวกรรมรังรักษ์ลง มาผ่านคลองมหานาคจนถึงมัสยิดมหานาคหรือสะพานเจริญราษฎร์ ๓๖ มีการค้าขายสินค้าหลายประเภท เช่น ข้าว ไ ม้ เสา ไ ม้กระดาน บริเวณสี่แยกมหานาคมีตลาดผลไม้ บริเวณหน้าวัดเทพศิรินทราวาส และหัวลำโพงเป็นที่พักสินค้าจำพวกไม้เสา ปูนขาว และหิน ซึ่ง บรรทุกรถไฟมาจากต่างจังหวัดเพื่อรอการบรรทุกลงเรือหรือรถยนต์ ไปขายยังแหล่งอื่นๆ ถัดลงมาที่ สะพานพิทยเสถียรหรือสะพานเหล็ก ล่างมีสินค้าประเภทโอ่งและกระถาง มีโรงสี โรงน้ำแข็ง โกดังสินค้า ต่างๆ ตั้งอยู่สองฟากคลองไปจนออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่สี่พระยา ปัจจุบันแม้เส้นทางน้ำจะถูกปิดตายไปแล้วและการใช้เรือสัญจรก็ ไม่มีปรากฏอีกต่อไป ริมคลองผดุงกรุงเกษมยังมีแหล่งค้าขายสำคัญ ที่กลายเป็นตลาดบนบกอย่างสิ้นเชิงแล้ว เช่น ตลาดเทเวศร์ ตลาด นางเลิ้ง และตลาดมหานาค ตลาดโบ๊เบ๊ เป็นต้น การสร้างย่านการค้าแห่งใหม่ที่เป็นตลาดบกของพระนครในช่วง เวลานั้น เนื่องเพราะในย่านสำเพ็งต่างมีร้านค้าแออัดยัดเยียด ถนน เยาวราชยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ ส่วนถนนราชวงศ์และทรงวาดก็เต็ม
ถนนเยาวราช ถ่ายจากตึก ๙ ชั้น ไม่ทราบปีที่ถ่าย
สะพานมัฆวาน และคลองผดุงกรุงเกษม
๔
ตลาดนางเลิ้ง ตลาดใหม่ (ซิงตัก๊ ลัก๊ ) ย่านชานพระนคร
ไปด้วยย่านการค้าต่างๆ การขยายเมืองมา ทางฝั่งตะวันออกโดยการสร้างตึกร้านค้าให้ เช่า ซึ่งปรากฏว่าผู้เช่าส่วนใหญ่เป็นชาวจีน แทบทั้งสิ้น จนกลายเป็นย่านการค้าใหม่หรือ ตลาดใหม่ที่ชาวจีนเรียกว่า “ซิงตั๊กลั๊ก” เป็น ย่านการค้าของชาวจีนผู้ประกอบการแห่งใหม่ ที่ มี ย่ า นตลาดสำเพ็ ง และเยาวราชเป็ น แหล่ ง การค้าแต่เดิม “เล่าตั๊กลั๊ก” โดยมีรายละเอียดประกาศ ๓ ภาษา คือ ไ ทย จีน อังกฤษ บอกการเช่าบนแผ่น ประกาศของพระคลังข้างที่ติดไว้ตามตึกร้าน ค้าหลายแห่งในย่านนางเลิ้งดังภาพที่ปรากฏ ที่มาของชื่อ “นางเลิ้ง”
จากคำบอกเล่าของย่าแห แก้วหยก ชาว มอญค้าขายทางเรือแห่งบ้านศาลาแดงเหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ที่เสียชีวิตไป แล้วเล่าว่า ครอบครัวคนค้าขายทางเรือใช้ เรื อ กระแชงลำใหญ่ ร ั บ เอาสิ น ค้ า เครื่ อ งปั้ น ดินเผาจากเกาะเกร็ดและบางส่วนจากราชบุรี ขึ้นล่องไปขายในระหว่างพื้นที่ภาคกลางตั้งแต่ ปากแม่ น้ำ เจ้ า พระยาขึ้ นไปจนถึ ง จั ง หวั ด อุตรดิตถ์และพิษณุโลกของที่ขายส่วนใหญ่จะ เป็นพวกเครื่องปั้นดินเผาและถ้วยชาม สินค้า อื่นๆ ก็มีปูนแดง เกลือ กะปิ น้ำปลา ปูเค็ม ปลาเค็ม เต้าเจี้ยว ไตปลา ของแห้งต่างๆ ที่ใช้ ในครัวเรือน ใ ส่เรือกระแชงชักใบล่องเรือไป ขายคราวละไม่ต่ำกว่า ๓-๔ เดือน ปีละ ๒-๓ ครั้ง เมื่ อ คราวคนรุ่ น ย่ า ยายยั ง สาว พวก เครื่ อ งปั้ น ดิ น เผาจะไปรั บ ของที่ เ กาะเกร็ ด และบ้ า นหม้ อ ที่ ค ลองบางตะนาวศรีใ กล้ๆ เมืองนนท์ฯ ส่วนสินค้าของแห้งจะไปจอดเรือ แถบสามเสนหรือซังฮี้ แล้วว่าเรือเล็กเข้าไปซื้อ
แถวคลองบางหลวง ตลาดพลู หรือทางคลอง โอ่ง
ตลาดนางเลิ้ง โอ่งอ่างตามแต่แหล่งสินค้าขึ้นชื่อจะมีที่ใด นำ ไปขายตามรายทางจนถึงปากน้ำโพ เข้าแม่น้ำ น่านไปแถวบางโพท่าอิฐที่อุตรดิตถ์ก็มี ส่วน แม่น้ำปิงท้องน้ำที่เต็มไปด้วยหาดทรายทำให้ เดินเรือไม่สะดวกจึงไม่ขึ้นไป บางลำก็แยกที่ อยุธยาเข้าไปทางป่าสักขึ้นไปจนถึงแก่งคอย และท่าลาน บางรายแยกไปทางลำน้ำลพบุรี เข้าบางปะหัน มหาราช บ้านแพรก บ้านตลุง ลพบุรี วิธีการค้าขายก็จะใช้สินค้าเหล่านี้แลก ข้าวเปลือกเป็นหลัก ขากลับจะบรรทุกข้าว เปลือกมาเต็มลำเอาไปขายโรงสีแถวกรุงเทพฯ ในคลองผดุงกรุงเกษมที่มีอยู่หลายเจ้า การค้าขายเช่นนี้เองที่คงทำให้ย่านริมน้ำ บริ เ วณคลองผดุ ง กรุ ง เกษมแถบปากคลอง เปรมประชากรที่ เ ดิ น ทางออกไปยั ง พื้ น ที่ นอกเมืองได้สะดวก และอยู่ฝั่งตรงข้ามกับ ปากคลองวัดโสมนัสฯ และปากคลองจุลนาค ที่ใ ช้ เ ส้ น ทางน้ำไปออกคลองมหานาคย่ า น เส้นทางเดินทางสำคัญเพื่อออกนอกเมืองทาง ฟากตะวันออกได้ เรื่อยมาจนถึงเชิงสะพาน เทวกรรมฯ ซึ่งตุ่มอีเลิ้งคนในพระนครยังเรียก ว่าตุ่มนครสวรรค์ ซึ่งน่าจะมาจากชื่อถนน นครสวรรค์ ที่ ต่ อ จากสะพานเทวกรรมฯ บริ เ วณนี้ น่ า จะเป็ น ย่ า นค้ า ขายเพราะมี ป าก คลองใหญ่น้อยที่พักจอดเรือและเป็นตลาดขึ้น
แจ้งความของพระคลังข้างที่ ตลาดนางเลิ้ง สินค้าหรือจะหาสินค้าพวก “ตุม่ สามโคก” หรือ “อีเลิง้ ” ทีค่ นมอญ (พิศาล บุญผูก) กล่าวว่า ไม่ใช่ภาษามอญ เพราะคนมอญเรียกโอ่งว่า “ฮะรี” และภาชนะเครื่องปั้นดินเผาพวกโอ่ง อ่างต่างๆ มาตั้งแต่เมื่อขุดคลองขุดใหม่เสร็จ ชุมชนแถบนี้เคยเป็นย่านที่อยู่ใหญ่ทั้งตึกชั้น เดียว บ้านชั้นเดียว ผู้คนย้ายมาจากหลายแห่ง ทั้งภายในพระนครและคนจากเรือมาขึ้นบก
๕
เรือมอญที่สืบทอดจาดเรือมอญขายอีเลิ้งในยุคที่ ๓จากบ้านศาลาแดงเหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี บรรทุกโอ่งมังกรจากโรงโอ่งที่ท่าเสา ราชบุรี (ถ่ายภาพโดยมาณพ แก้วหยก, ๒๕๓๘)
หรือมาจากต่างจังหวัดที่ใช้เรือค้าขายรอนแรม มาจากท้องถิ่นอื่นๆ และบอกเล่าสืบกันมาว่า บ้างมีเชื้อสายมอญที่เคยมาค้าขายภาชนะต่างๆ ย่านนี้คือฝั่งด้าน ‘ตรอกกระดาน’ ต่อเนื่องมา จากริมคลองผดุงกรุงเกษมและอยู่ทางฝั่งเหนือ ตลาดนางเลิ้งและบริเวณตรงข้ามกับแถบตลาด นางเลิ้งบนถนนศุภมิตร แต่หลังจากการไล่ที่ เพราะเจ้าของต้องการขายที่ไปเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๐๐ ผู้ ค นจากฟากย่ า นนางเลิ้ ง ฝั่ ง ที่ ดิ น เอกชนฟากเหนือของถนนศุภมิตรแตกสานซ่าน กระเซ็นไปจนหมดแล้วจึงสร้างตึกขึ้นมาภาย หลัง “ตุ่มสามโคก” หรือ “ตุ่มอีเลิ้ง” ลักษณะ ปากและก้นแคบ ป่องกลาง เนื้อดินสีแดงใบไม่ ใหญ่นักและมีขนาดเล็กใหญ่ต่างๆ กัน เพราะ เคยปรากฎข้อความถึงการทำอาหารพวกน้ำยา เลี้ยงคนจำนวนมากก็ใส่อีเลิ้งหลายใบด้วยกัน เป็นของรุ่นเก่าที่เล่ากันว่าผลิตแถวสามโคกซึ่ง ยังหาร่องรอยไม่ได้ว่าผลิตขึ้นที่ใดและเลิกทำ กั นไปตั้ ง แต่ เ มื่ อไหร่ แ ละแม้ แ ต่ เ ตาสามโคกที่ วัดสิงห์ ก็ยังไม่พบร่องรอยการผลิตนั้น จะมี เ ลี ย นแบบตุ่ ม สามโคกที่ รู้ จ ั ก แหล่ ง ผลิ ต ก็ คื อ ตุ่ ม ปากเกร็ ด ที่ รู ป ร่ า งคล้ า ย แต่ คุณภาพและเนื้อดินแตกต่างและด้อยกว่า ผู้คุ้น เคยกับตุ่มสามโคกมองๆ ดูก็รู้ ตุ่มปากเกร็ด หรือโอ่งแดงเหล่านี้ปั้นขายกันแพร่หลายและก็
เรียกกันต่อมาอย่างเข้าใจผิดว่าเป็นตุ่มสามโคก เช่นเดียวกัน ส่วนโอ่งมังกรที่เป็นแบบเคลือบและเนื้อ แกร่งกว่า “อีเลิ้ง” น่าจะมีการผลิตขึ้นก่อนแถบ ริมคลองผดุงกรุงเกษม โ อ่งรุ่นแรกจะเป็นแบบ เรียบๆ ไม่ มี ล วดลาย ต่ อ มาจึ งใส่ ล ายมั ง กร เข้าไปภายหลัง ที่วัดศาลาแดงเหนือมีโอ่งมังกร ลายหมูป่าฝีมือดีอยู่ใบหนึ่งเขียนข้อความเป็น ภาษาไทยตัวใหญ่ว่า “อยู่เย็นเป็นสุข” เขียน แหล่งผลิตเป็นภาษาไทยว่า “คลองขุดใหม่” และยี่ห้อภาษาจีน สันนิษฐานว่าเป็นโอ่งเคลือบ แบบโอ่ ง มั ง กรมั ง กรรุ่ น แรกๆ ที่ ผ ลิ ตใน ประเทศไทยและศูนย์กลางแหล่งผลิตและย่าน การค้ าโอ่ ง มั ง กรแต่ แ รกคื อ แถบคลองผดุ ง กรุงเกษมหรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า คลอง ขุดใหม่ ส่วนโอ่งมังกรของราชบุรี ทำโดยช่าง ชาวจีนที่เลียนแบบโอ่งจากเมืองจีนน่าจะผลิต เมื่อราว ๗๐-๘๐ ปีมาแล้วนี่เอง ต่ อ มาเมื่ อ มี ก ารสร้ า งเขื่ อ นภู มิ พ ลแล้ ว บางรายยังคงใช้เรือบรรทุกเฉพาะโอ่ง หม้อ ครก กระถางไปขายตามลำคลองแถบคลอง รังสิต คลองบางซื่อ คลองผดุงกรุงเกษม คลองเปรมประชากร คลองแสนแสบ เป็น พ่อค้าเร่ทางเรือที่ไม่ไกลบ้านเหมือนในอดีต ซึ่ง คนรุ่นพ่อแม่ของชาวบ้านศาลาแดงเหนือที่อายุ ราว ๕๐ ปีขึ้นไปวิ่งเรือไปเอาโอ่งมังกรโดยใช้
เส้ น ทางคลองภาษี เ จริ ญ ผ่ า นแม่ น้ำ ท่าจีน เข้าคลองดำเนินสะดวกออกแม่ กลองที่บางนกแขวก แล้วล่องไปรับ โอ่งมังกรที่ราชบุรี แต่ขากลับเรือที่ เพียบแประต้องการพื้นน้ำที่ไม่วุ่นวาย เหมื อ นเส้ น ทางที่ ผ่ า นมาก็ จะเข้ า ทาง แม่น้ำท่าจีนขึ้นไปทางสุพรรณบุรี ผ่าน ประตูน้ำบางยี่หน ผ่านบางปลาหมอ มาออกบ้านแพน แล้วล่องแม่น้ำน้อย มาออกแม่น้ำเจ้าพระยาแถวลานเท การค้าหม้อค้าโอ่งทางเรือค่อยๆ เลิ ก รา เพราะคลองเริ่ ม เดิ น เรื อไม่ สะดวกและตลาดหรื อ ที่ ชุ ม ชนไม่ใ ช่ พื้นที่ริมฝั่งคลองอีกต่อไป สินค้าต่างๆ เปลี่ยนจากเรือมาเป็นรถกันตั้งแต่ราว ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ สมมตฐานเรื่องการค้าขายภาชนะ เช่นตุ่มสามโคกหรือ “อีเลิ้ง” ของชาว เรือมอญจากแถบสามโคกก็พ้องกันกับ เรื่องราวของชื่อ “นางเลิ้ง” ที่เปลี่ยน ตามสมั ย นิ ย มของคนมี ก ารศึ ก ษาใน เมืองไทยที่ไปเข้าใจคำว่า “อี” ที่ใช้มา แต่ เ ดิ ม แต่โ บราณนั้ น เป็ น คำไม่ สุ ภ าพ จากคำเรียกภาชนะแบบทับศัพท์ภาษา มอญที่ใช้มาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาที่ บันทึกว่าในย่านคลองสระบัว แหล่งทำ ภาชนะใช้ใ นครั ว เรื อ นสำหรั บ ชี วิ ต ประจำวันก็มีการทำภาชนะใส่น้ำแบบ อีเลิ้งด้วย และคงมีการปั้นโอ่งหรือตุ่ม รูปทรงนี้ต่อมาจนเข้าสู่สมัยกรุงเทพฯ จากภาชนะที่เรียกว่าอีเลิ้งและเรียกย่าน นั้นว่าอีเลิ้ง ก็กลายมาเป็นย่านนางเลิ้ง ตามจริ ต คนไทยให้ ฟ ั ง ดู สุ ภ าพเสี ย เพราะมีการเปลี่ยนชื่อเช่นนี้เสมอ เช่น หอยอีรมเป็นหอยนางรม, นกอีแอ่น เป็นนกนางแอ่น เป็นต้น หนั ง สื อ พิ ม พ์ บ างกอกสมั ย ฉบั บ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ กล่าว ถึ ง การเสด็ จ พระราชดำเนิ น ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวเปิดตลาดนางเลิ้งรวมทั้งงานรื่นเริง ต่างๆ นั้น ก็เขียนถึงตลาดนี้ในชื่อว่า “ตลาดนางเลิ้ง” มาตั้งแต่ครั้งเริ่มทำ
๖
พิธีเปิดอย่างเป็นทางการแล้ว คำว่า “นางเลิ้ง” พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๔๙๕ และ พ.ศ. ๒๕๒๕ ว่า “นางเลิ้ง” และ “อีเลิ้ง” เป็นคำ นามหมายเรียกตุ่มหรือโอ่งใหญ่ว่าตุ่มอีเลิ้ง หรือนางเลิ้งหรือ “โอ่งนครสวรรค์” ก็เรียก และยังหมายเป็นนัยถึงใหญ่เทอะทะ ปัจจุบันพบว่ามีความสับสนที่มาของ ชื่อ “นางเลิ้ง” ว่าเป็นชื่อมีที่มาอย่างไร สืบ เนื่ อ งจากมี ก ารศึ ก ษาชุ ม ชนและตลาด นางเลิ้งในราว ๑๐ ปีหลังมานี้เป็นจำนวน มาก และอ้ า งอิ ง ผลิ ต ซ้ำ คำอธิ บ ายจาก “คำให้การผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมท้องถิ่น” ของกรมส่ ง เสริ ม วั ฒ นธรรม กระทรวง วัฒนธรรม โดยอ้ า งอิ ง มาจากศู น ย์ วัฒนธรรมกรุ ง เทพมหานคร และสถาบั น เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพาณิชยการ พระนคร ประวั ติ ข องชุ ม ชนแต่ เ ดิ มใน บริ เ วณนี้ ก่ อ นการสร้ า งตลาดนางเลิ้ งใน สมัยรัชกาลที่ ๕ โ ดยเสนอสมมิตฐานว่า เป็นคำที่สืบเนื่องจากภาษาถิ่นที่ใกล้เคียง กั บ ภาษาเขมร ซึ่ ง เป็ น ชุ ม ชนเขมรใน พระนครที่ เ ข้ า มาพร้ อ มกั บ เชื้ อ พระวงศ์ กษัตริย์เขมรเมื่อต้นรัชกาลที่ ๑ ข้อมูลเหล่านี้ปรากฏทั้งในอินเตอร์เนต และการคัดลอกผ่านงานศึกษาวิจัยต่างๆ ว่ า สมมติ ฐ านหนึ่ ง มาจากคำว่ า “ฉนั ง ” และคำว่า “เฬิง” ใ นภาษาเขมร โ ดยแปล รวมกันว่าเป็นภาชนะขนาดใหญ่ แม้ จะ กล่าวว่าทั้งคำว่า “ฉนัง” และ “เฬิง” นั้น ปกติในภาษาเขมรก็ไม่ได้นำมารวมกัน แม้จะมีหลักฐานว่าแต่เดิมเจ้านายเขมร นั้นพระราชทานที่ดินให้อยู่แถบตำบลคอก กระบือหรือแถบวัดยานนาวา ต่อมาราว พ.ศ. ๒๓๒๙ จึงสร้างวังพระราชทานให้ที่ ริมคลองเมืองเยื้องปากคลองหลอดวัดราช นัดดา ฝั่งตรงข้ามวัดสระเกศซึ่งอยู่ภายใน พระนครที่เรียกว่า “วังเจ้าเขมร” ส่วนครัว เขมรเข้ารีตราว ๔๐๐-๕๐๐ คนให้สร้าง บ้ า นเรื อ นอยู่ ร วมกั บ ชาวบ้ า นเชื้ อ สาย โปรตุ เ กสที่ มี ศู น ย์ ก ลางของชุ ม ชนคื อ วั ด คอนเซ็ปชัญและบ้านญวนสามเสนที่มีวัด เซนฟรังซีสซาเวียร์ ซึ่งเป็นกลุ่มอพยพเข้า
มาภายหลังในราวรัชกาลที่ ๓ บริเวณนี้ เป็นที่รวมของผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกาย โรมันคาทอลิคหรือชาวคริสต์ตังและอยู่ต่อ เนื่องสืบมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว จากนั้นมาบ้านโปรตุเกสที่นี่จึงถูกเรียกอีก ชื่ อ ว่ า บ้ า นเขมรและวั ด คอนเซ็ ป ชั ญ ก็ ถู ก เรียกว่าวัดเขมร ชุ ม ชนบ้ า นเขมรริ ม แม่ น้ำ เจ้ า พระยา แถบวัดคอนเซปชัญนี้ มีนายแก้วที่เป็นผู้ ชำนาญการวิชาปืนใหญ่ เนื่องจากเคยได้ เรี ย นกั บ ชาวโปรตุ เ กส ต่ อ มาได้ ร ั บ พระราชทานตำแหน่ ง เป็ น ที่ พ ระยาวิ เ ศษ สงคราม รามภักดี จางวางกรมทหารฝรั่ง แม่นปืนใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ และทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ใ ห้นายแก้วเขมรนี้ เป็นหัวหน้าดูแลชาวหมู่บ้านคอนเซ็ปชัญ ด้วย ต่อมาบุตรหลานได้รับราชการสืบต่อ มาเป็นลำดับ เชื้อสายสกุลพระยาวิเศษ สงครามภักดี (แก้ว) ปรากฏอยู่คือ “วิเศษ รัตน์” และ “วงศ์ภักดี” ในระหว่างรัชกาลที่ ๓ มีศึกสงคราม รบกับญวนอยู่หลายปี มีชาวญวนเข้ารีต คริ ส ต์ ต ั ง แถบเมื อ งเจาดกขอเข้ า มาอยู่ใ น เมืองสยาม จึงนำมาอยู่เหนือบริเวณบ้าน เขมร ภายหลังผู้คนในบ้านเขมรมีมากขึ้น ดังจากเหตุดังกล่าว จึงกราบบังคมทูลพระ กรุ ณ าขอพระราชทานขยายเขตหมู่ บ้ า น เขมรออกไปอีก ทิศเหนือจรดวัดราชผาติ การาม (วัดส้มเกลี้ยง) ทิศใต้จรดวัดราชาธิ วาส (วัดสมอราย) ทิศตะวันออกติดถนน สามเสน ทิศตะวันตกจรดแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนพวกญวนขยับจากที่เดิมไปบ้านเรือน ทางด้านเหนือและสร้างโบสถ์เซนฟรังซีสซา เวียร์เป็นศูนย์กลางของชุมชนอีกแห่งหนึ่ง เมื่อราว พ.ศ. ๒๓๙๖ ในภายหลัง (ประวัติ วัดและหมู่บ้านคอนเซปชัญ, รวบรวมจาก หนังสือที่ระลึกงานฉลองวัดคอนเซ็ปชัญ ครบ ๒๕๐ ปี , ห้ อ งเอกสาร อั ค ร สั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ, คั ด ลอกจาก อินเตอร์เนต ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๘) จะเห็นได้ว่าไม่มีข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวกับ ชุมชนเดิมที่นางเลิ้งสามารถเชื่อมโยงไปถึง การตั้งถิ่นฐานของชุมชนชาวเขมรบริเวณ
หญิงสยามและการถ่ายแบบกับ “อีเลิ้ง”
ใกล้กับโบสถ์คอนเซ็ปชัญซึ่งเป็นชุมชนเขมร คริสต์ตังใหญ่ปนเปกับผู้มีเชื้อสายโปรตุเกส ส่วนที่เป็นเชื้อพระวงศ์และได้รับที่ดินและวัง พระราชทานบริเวณเยื้องปากคลองหลอดวัด ราชนัดดา วังพระราชทานนั้นก็หมดสิ้นไปแล้ว เมื่อมีการบันทึกสารบาญชีของกรมไปรษณีย์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และอาจเป็นเพียงการ เข้ าใจผิ ดในชื่ อ สถานที่ แ รกตั้ ง ถิ่ น ฐานที่ มี ชื่ อ “คอกกระบือ ” แถบวัดยานนาวาที่อยู่นอก พระนครทางด้านใต้ พ้องกันกับแถบสนาม กระบือทางด้านตะวันออกของพระนคร และ การนำคำที่ ป รากฏลากเข้ า หาสมมติ ฐ านที่ ตนเองต้องการคือ “ฉนัง-เฬิง” ให้กลายเป็น “นางเลิ้ง” ดังกล่าว
๗
ตลาดนางเลิ้ง ตลาดใหม่ (ซิงตัก๊ ลัก๊ ) ย่านชานพระนคร ย่านตลาดนางเลิ้ง
ใน “นิ ร าศชมพระราชวั ง ดุ สิ ต ” ซึ่ ง สันนิษฐานว่าน่าจะเขียนขึ้นก่อนการสวรรคต ของรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๕๓) ซึ่งเนื้อหาบาง ส่วนพรรณนาถึงสวนต่างๆ ในพระราชวังดุสิต และการเดินทางจากย่านถนนตรีเพชรอาจจะ เป็นสะพานหัน ผ่านไปยังพระบรมมหาราชวัง และวังหน้าไปยังวัดชนะสงคราม ตลาดบาง ลำพูที่ขายอาหารต่างๆ และมีตึกอาคารเป็น ย่านตลาดบกสำคัญอีกแห่งหนึ่งในพระนคร ซึ่งคงใช้เส้นทางถนนสามเสนไปยังพระราชวัง ดุสิต กล่าวถึงความงามของสวนต่างๆ ใ น พระราชวังดุสิตแล้วไปเที่ยวงานออกร้านใน วัดเบญจมบพิตรฯ เข้ามาทางถนนคอเสื้อหรือ ถนนพิษณุโลกมาจนถึงสะพานเทวกรรมฯ เมื่อลงสะพานเทวกรรมมาก็ถึงย่านการ ค้ าใหญ่ คื อ ถนนนครสวรรค์ ที่ มี ตึ ก แถวและ ตลาดนางเลิ้ ง ซึ่ ง เป็ น ตลาดใหญ่ ริ ม ถนน บริเวณชานพระนครด้านตะวันออก “…ลงสะพานมาในย่านทางถนน ประชาชนอึงอื้อเขาซื้อขาย เช่าอยู่ห้องสองชั้นกั้นสบาย ทั้งหญิงชายขายค้าสารพัน ถึงตลาดนางเลิ้งดูเวิ้งว้าง คณานางน่าชมช่างคมสัน นั่งร้านรายขายผักน่ารักครัน ห่มสีสันแต่งร่างดังนางใน พวกจีนไทยในตลาดก็กลาดกลุ้ม ทั้งสาวหนุ่มแซ่อยู่เด็กผู้ใหญ่ นั่งขายของสองข้างหนทางไป ล้วนเข้าใจพ้อตัดชัดชำนาญ....”
ย่ า นถนนนครสวรรค์ ที่ ต่ อ จากสะพาน เทวกรรมฯ นั้นมีอาคารพานิชย์สองชั้นทั้งสอง ฝั่ง ส่วนใหญ่เป็นผู้เช่าชาวจีนที่ขยายตัวออก มาจากทางแถบถนนเยาวราชและย่านสำเพ็ง ส่วนตลาดนางเลิ้งนั้นน่าจะเป็นตลาดสด ช่วง ปลายรัชกาลที่ ๕ ในนิราศชมพระราชวังดุสิต
โครงสร้างอาคารแบบไม้ตลาดนางเลิ้ง เมื่อกำลังรื้อซ่อมแซม
ก็กล่าวว่า “ตลาดนางเลิ้งดูเวิ้งว้าง..” และมี แผงขายผั ก เป็ น ั่ ง ร้ า นทั้ ง สองข้ า ง ดู จะ สอดคล้ อ งกั บ คำบอกเล่ า ของผู้ สู ง อายุ ท่ า น หนึ่งที่สัมภาษณ์ในช่วงอายุราว ๙๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ (สง่า สัจจะพันธ์) โดยเล่าว่า “ตลาดนางเลิ้งเมื่อก่อนเรียกอีกอย่างว่า ‘ตลาดกางมุ้ง’ เพราะแผงขายเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อสัตว์ต่างๆ จะมีมุ้ง กันแมลง นอกจากนี้ ตลาดก็จะมีการแบ่งเป็นส่วนต่างๆ เช่น ขาย
ของสด ขายปลา ขายผัก แบ่งเป็นล็อคๆ ตาม ประเภท ที่สําคัญคือเวลาซื้อของจะต้องเข้าคิว รอ” (อ้างจาก นลินี ตันธุวนิตย์ และคณะ, โครงการวิ จ ั ย และปฏิ บ ั ติ ก ารเรื่ อ งพั ฒ นา ชุมชนแออัดและองค์กรชุมชนแออัดในเมือง กรณีศึกษาชุมชนนางเลิ้ง, ๒๕๔๓.) ตลาดนางเลิ้ ง ที่ เ ห็ น สร้ า งเป็ น อาคารใน พื้นที่กว้าง ปรากฏในแผนที่ราว พ.ศ. ๒๔๗๔ ซึ่งมีการสร้างโกดังชั้นครึ่งรอบทั้งสามด้าน และอาคารโถงคลุมพื้นที่ตลาดอยู่ตรงกลาง อาคารตลาดในลักษณะสูงโปร่ง หลังคาสูงมุง ด้ ว ยกระเบื้ อ งน่ า จะสร้ า งขึ้ นใหม่ ห ลั ง เกิ ด เพลิ งไหม้ เ มื่ อ พ.ศ. ๒๔๗๒ ปรากฏใน หนังสือพิมพ์ศรีกรุงฉบับวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ว่า “มี ค นร้ า ยจุ ดไฟเผาเมื่ อ เวลาประมาณ ๑๕.๒๕ ของวันที่ ๒๓ ได้เกิดไฟไหม้ของห้อง แถวจีนมีชื่อคนหนึ่งใกล้กับบ้านของนายสง่า ในตรอกข้างโรงภาพยนตร์ ตำบลนางเลิ้ง พระนคร เพลิงได้ลุกลามขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่ง เวลา ๓๐ นาทีเศษ ก็ติดต่อเผาผลาญบ้าน เรือนและห้องแถวในละแวกนั้นพินาศไปร่วม ร้อยหลังคาเรือน และได้ไหม้แผ่ลุกลามไปอีก กองดับเพลิงและบริษัทไฟฟ้าได้ไปทำการดับ เพลิงอยู่ราว ๕๐ นาทีเศษจึงสงบ บ้านเรือน ของผู้มีชื่อต้องเพลิงไหม้ไปด้วย บ้านหลวง สมัคร บ้าน ร.อ.ทองอินทร์ บ้านนายสายลิเก และผู้ มี ชื่ อ อี ก หลายหลั ง ” (อ้ า งจากเอนก นาวิกมูล, เรื่องเดิม) ในละแวกย่านนางเลิ้งก่อนการสร้างตลาด และอาคารสองชั้นริมถนนนครสวรรค์ในราว พ.ศ. ๒๔๔๓ แนวพื้ น ที่ ข องวั ด แคหรื อ วัดสนามควายมุมวัดด้านหนึ่งเกือบจะประชิด แนวถนนนครสวรรค์ ตึกแถวอีกฝั่งหนึ่งติด กับวัดโสมนัสวิหาร ดังนั้นจึงน่าจะมีการใช้
๘
พื้นที่วัดแคส่วนหนึ่งมาทำตลาดนางเลิ้ง ด้วย ส่วนพื้นที่ซึ่งเป็นทุ่งนา เรือกสวน และคู ค ลองแบบชนบทก็ ก ลายเป็ น วั ง เจ้ า นายต่ า งๆ และบ้ า นเรื อ นขุ น นาง ข้าราชการ เมื่อตัดถนนหลานหลวงเชื่อมถนน พิ ษ ณุโ ลกมาจนถึ ง แยกผ่ า นฟ้ า ต่ อ กั บ ถ น น ร า ช ดำ เ นิ น น อ ก แ ละ ถ น น นครสวรรค์ ตัดผ่านถนนจักรพรรดิพงศ์ ที่ ถ นนเป็ น แนววงแหวนเชื่ อ ม ถนนราชดำเนิ น นอกและแยกถนน บำรุงเมือง เนื่องจากมีพระราชดำริจัด สร้ า งโรงเรี ย นนายเรื อ และต้ อ งใช้ พระราชวังเดิมกรุงธนบุรีที่พระเจ้าน้อง ยาเธอ กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ทรง ประทับอยู่เป็นโรงเรียนนายเรือ เมื่อ ราว พ.ศ. ๒๔๔๓ จึงพระราชทานที่ดิน ระหว่ า งถนนหลานหลวงและถนน ดำรงรักษ์ หลังห้างแบดแมนมาจนจรด ถนนจักรพรรดิพงศ์ สร้างวังประทาน ให้ ๖ วั ง แก่ พ ระเจ้ า หลานเธอทั้ ง ๖ พระองค์ ซึ่ ง เป็ น ที่ ม าของชื่ อ ถนน หลานหลวง และโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง วังวรดิศ ริมถนนหลานหลวงฝั่งตรง ข้ามกับวัดแค นางเลิ้ง และตรอกละคร แทนที่ ว ั ง เดิ ม ของสมเด็ จ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพที่วังสะพานเหล็กเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ต่ อ ม าใ น ร ั ช ก า ล ที่ ๖ ท ร ง พระราชทานที่ดินและบ้านแก่ขุนนางคน สนิทอีกหลายแห่งในย่านรอบๆ ตลาด นางเลิ้งนี้ เช่น ทรงพระราชทานบ้าน บรรทมสินธุ์หรือบ้านพิษณุโลกให้กับ มหาดเล็กส่วนพระองค์ คือพลตรีพระ ยาอนิ รุ ท ธเทวา (หม่ อ มหลวงฟื้ น พึ่งบุญ) พระราชทานบ้านนรสิงห์หรือ ทำเนี ย บรั ฐ บาลในปั จ จุ บ ั น แก่ พ ลเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) ผู้พี่ พระราชทานบ้านมนังค ศิลาแก่พระยาอุดมราชภักดี (โถ สุจริต กุ ล ) รวมถึ ง พระราชทานบ้ า นพิ บู ล ธรรม เชิงสะพานกษัตริศึก ยศเส แก่
ราชวงศ์ ปุ้ ม มาลากุ ล ) ใ นช่ ว งราว พ.ศ. ๒๔๕๖ และพระราชทานที่ดินแก่เจ้าพระยา ราชศุภมิตร (อ๊อด ศุภมิตร) ราชองครักษ์ ประจำรักษาพระองค์ตั้งแต่ครั้งเป็นมกุฎราช กุมารบริเวณฝั่งตรงข้ามกับวังวรดิศ แถบ ถนนพะเนียงและปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของโรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง และ เป็นนำมาเป็นชื่อของถนนศุภมิตรในปัจจุบัน โรงพั ก นางเลิ้ ง สร้ า งเมื่ อ พ.ศ. ๒๔๕๖ เดิมเรียกว่า “สถานีตำรวจแขวงนางเลิ้ง” อยู่ ริมถนนนครสวรรค์ ตรงข้ามตลาดนางเลิ้ง ใกล้วัดโสมนัสราชวรวิหาร แล้วจึงย้ายไปอยู่ที่ อื่นๆ อีกหลายแห่ง นอกจากนั้นยังสร้างสนามราชตฤณมัย สมาคมหรื อ สนามม้ า นางเลิ้ ง เมื่ อ พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้มา บำรุงพันธุ์ม้า ต่อมาจึงจัดการกิจการแข่งม้า ทำทะเบียนประวัติม้า เจ้าของและผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่ ว นการแข่ ง ขั น จะจั ด ขึ้ นในวั น อาทิ ต ย์ เ ว้ น อาทิตย์ สลับกันกับราชกรีฑาสโมสรหรือเรียก กันทั่วไปว่าสนามฝรั่ง อย่างไรก็ตาม ในตลาดนางเลิ้งนั้นมีโรง ยาฝิ่นแถบซอยนางเลิ้ง ๑ ฝิ่นเป็นของต้องห้าม ซึ่งมีประกาศในครั้งรัชกาลที่ ๓ และเปิดให้มี โรงยาฝิ่ นได้โ ดยต้ อ งเสี ย อากรฝิ่ นในครั้ ง
สนามราชตฤนมัยสมาคมหรือสนามม้านางเลิ้ง ภาพจาก wikimapia.org
รัชกาลที่ ๕ ซึ่งมีอยู่ในชุมชนชาวจีนหรือตลาด จีนหลายแห่งทั่วราชอาณาจักรสยาม และมา เลิกอย่างเด็ดขาดในครั้งจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อย่างเด็ดขาดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ ซึ่งใน ตลาดนางเลิ้งก็เลิกไปในครั้งนี้เช่นกัน ในเวลาต่อมาก็มีการสร้างโรงภาพยนต์ เฉลิมธานี ซึ่งทั้งสนามม้าและโรงภาพยนต์นี้ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๖ ชาวบ้านเรียกกัน ติดปากว่า “โรงหนังนางเลิ้ง” เป็นอาคารไม้ สองชั้น เปิดฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ต่อจากตัวตลาดนางเลิ้ง และมีตรอกสะพาน ยาวต่อกับถนนพะเนียงซึ่งเป็นย่านอยู่อาศัย ของคนละครบางส่ ว น ลิ เ กและลำตั ด ผ่าน วัดแค นางเลิ้ง และมีบ้านเรือนของผู้คนตั้งอยู่ รายล้อมรอบวัดแค อาศัยเช่าที่วัดบ้างบางส่วน และเช่ า ที่ สำนั ก งานทรั พ ยสิ น ส่ ว นพระมหา กษัตริย์บางส่วนบริเวณตรอกละครที่ติดถับ ถนนหลานหลวงที่ชาวบ้านละแวกนี้สืบมาจาก ไพร่ ห ลวงเกณฑ์ บุ ญ อพยพโยกย้ า ยมาจาก นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลาเมื่อครั้ง รัชกาลที่ ๓ ถนนพะเนี ย งตั ด เพื่ อ เชื่ อ มกั บ ถนน ราชดำเนินนอก ผ่านถนนนครสวรรค์มาออก ถนนหลานหลวง หั ว ถนนมี ส นามมวย ราชดำเนินที่สร้างหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒
โรงหนังเฉลิมธานี
๙
พ.ศ. ๒๔๘๘ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยจอมพล ป. พิบลู สงคราม ช่วงทศวรรษที่ ๒๔๙๐ สำนักงานทรัพย์สินฯ ก็สร้างตึกบนถนนจักรพรรดิพงษ์ทั้งสองฟากถนนและอยู่ อาศัยตั้งแต่บัดนั้นมา แถวถนนจักรพรรดิพงษ์ก่อนสร้างมีแต่สวน กล้วย ดงกล้วย บ้านเรือนเก่าๆ ที่อยู่ริมถนนก็ต้องรื้อร่นเข้าไปติด คลองจุลนาค บริเวณทางโค้งของถนนจักรพรรดิพงษ์ มีตรอกไป ออกยังข้างวัดแคได้เป็นย่านโคมแดงหรือซ่องโสเภณี ซึ่งเป็นที่ แ รก ก่ อ นจะไปเฟื่ อ งฟู ที่ ต รอกสะพานยาว ใ กล้โรงหนังเฉลิมธานีบน ถนนพะเนียงและบริเวณนี้มีร้านกล้วยแขกสูตรอร่อยดั้งเดิมที่ขายมา ตั้งแต่ครั้งนั้นที่กล่าวว่าสูตรเดิมได้มาจากวังใดวังหนึ่งและสืบทอดจน มาเป็นกล้วยแขกเอี๊ยมสีในปัจจุบันด้วย การที่เป็นย่านโสเภณีขึ้นชื่อ ทั้งแถวดงกล้วยถนนจักรพรรดิพงศ์และย่านตรอกสะพานยาวทำให้ คุณหมอเพียร เวชบุล ซึ่งเป็นหมอผู้หญิง สังกัดกรมควบคุมโรค กามโรคและคุดทะราดจึงมาตั้งคลินิคสุขศาลานางเลิ้งในย่านนี้ ใ น ระหว่างช่วงทศวรรษที่ ๒๔๘๐-๒๔๙๐ ต่อมาตรอกสะพานยาวเป็น บ้านไม้และถูกไฟไหม้ไปจนหมดเมื่อราวๆ พ.ศ. ๒๕๑๖ ที่ดินนั้นเป็น ของวัดแค นางเลิ้ง ต่อมาจึงปลูกเป็นตึกแถวพาณิชย์ให้เช่าและคง เหลือแต่ความทรงจำเท่านัน้ (สัมภาษณ์ ยานี สุนทรธรรม, ชุมชน จักรพรรดิ-พงศ์, อายุ ๗๔ ปี, กรกฏาคม ๒๕๕๘) ร้านขายยาแบบยาจีนและยาแผนโบราณมีอยู่หลายแห่งในละแวก นี้ ร้านที่มีชื่อ เช่น ร้านขายยาจุลโมกข์ที่มียาแก้ริดสีดวงจมูกและยา แผนโบราณอื่นๆอีกมากในละแวกใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีการสร้างโรงเรียนทั้งโรงเรียนวัดที่วัดสิตารามที่ ชาวบ้านทั่วไปเรียนกันในระดับประถม โรงเรียนชั้นดีเป็นของเอกชนที่ โรงเรี ย นสตรี จุ ล นาคของเจ้ า พระยาธรรมศั ก ดิ ์ ม นตรี (สนั่ น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ริมถนนหลานหลวง สอนทั้งระดับประถมและ มัธยม ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ ต่อมาก็มีโรงเรียนเอกชนหลายแห่ง เช่น โรงเรียนประเสริฐวิทยา โรงเรียนจีนลิ้มเจี่ยสอนเป็นภาษาจีน ซึ่ง เป็นโรงเรียนของคนในตลาดที่ไม่ต้องส่งลูกหลานไปเรียนไกล เพราะ ต้ อ งค้ า ขายกั น แต่ เ ช้ า มื ด เมื่ อ เติ บโตในระดั บ มั ธ ยม โรงเรียนของ
สุขศาลานางเลิ้ง ก่อตั้งโดยคุณหมอเพียร เวชบุล
ชาวนางเลิ้งที่ไปเรียนกันประจำก็มีวัดมกุฎกษัตริย์ เทพศิรินทร์ สาย ปัญญา สตรีวิทยา เป็นต้น (สัมภาษณ์วรรณชัย วราศิริกุล, อายุ ๕๙ ปี, สิงหาคม ๒๕๕๘) คนนางเลิ้ง / ตลาดนางเลิ้ง / การต่อสู้กับความ เปลี่ยนแปลงของความเงียบในปัจจุบัน
ตลาดนางเลิ้ ง เป็ นโครงสร้ า งรู ป แบบใหม่ ที่ ต ั้ งใจจะให้ เ ป็ น ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการค้าใหม่ในแถบชุมชนดั้งเดิมที่กำลังขยาย ตัวของความเป็นเมืองจากเขตศูนย์กลางภายในพระนคร อันเป็นเมือง หลวงของประเทศในระยะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวมีพระราชดำริให้สร้างแหล่งการค้าแบบตลาดตึกแห่งใหม่ นอก เหนือไปจากย้านการค้าเดิมๆ แถบสำเพ็ง พาหุรัด เยาวราช หรือ บาง ลำพู ฯลฯ เป็นตลาดทางบกที่รองรับการตัดถนนและสร้างความเจริญ แบบอย่างตลาดการค้าบนบกดังในต่างประเทศบางแห่งที่พระองค์ เสด็จประพาส เป็นต้น นางเลิ้งเป็นย่านกิจกรรมคนเมืองอย่างแท้จริงมาตั้งแต่เริ่มพัฒนา เป็นพื้นที่ตลาด มีการคมนาคม มีรถรางเดินทางสะดวกแก่คนไปมา สัญจร คนมาซื้อของที่นางเลิ้งทั้งตลาดสดและตลาดอาหารร้านค้า ไม่ใช่เป็นตลาดของชุมชนใดชุมชนหนึ่ง แต่เป็นของเมือง รองรับ ตลาดเก่าเยาวราชที่ขยายมาทางฝั่งคลองขุดใหม่อีกแห่ง ก็ที่ตลาดใหม่ ตึกแถวที่ปลูกให้เช่า ส่วนใหญ่มีแต่ชาวจีนโพ้นทะเลแทบทั้งนั้น หลาย บ้านอยู่มาตั้งแต่เริ่มเช่าครั้งแรกในครั้งรัชกาลที่ ๕ และอีกกลุ่มที่ เป็นกลุ่มใหญ่ไม่น้อยคือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อประเทศ จีนเปลี่ยนไปอยู่ในมือพรรคคอมมิวนิสต์แล้ว เมื่อสร้างตลาดก็สามารถดึงดูดคนจีนโพ้นทะเลสารพัดกลุ่มเข้ามา เพราะคนจีนในพระนครมีจำนวนมากเป็นทั้งพ่อค้าใหญ่น้อยจนถึงกุลี ลากรถ ส่วนใหญ่เข้ามาเป็นระลอกๆ และมาอยู่กับญาติตนเองก่อน บ้างก็ไปอยู่ต่างจังหวัดแล้วจึงย้ายเข้ามาในเมือง ซึ่งที่ตลาดนางเลิ้งก็ พบการเคลื่อนย้ายในลักษณะนี้จำนวนมาก
โรงฝิ่นแห่งหนึ่ง ก่อนการยกเลิก อย่างเด็ดขาดในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
๑๐
ความชำนาญในการทำอาหารที่ปรับให้ถูกปากชาวบ้านและชาวเมือง ที่อยู่แทรกๆ ปะปนกัน แตกต่างไปจากในหลายสังคมในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ที่แยกกลุ่มอยู่อาศัยไม่ปะปนกันมากนัก วัฒนธรรมใน เรื่องอาหารการกินก็ปรับปรนเข้าหากันมากเสียจนอาหารไทยกลาย เป็นอาหารอร่อย และอาหารจีนก็กลายเป็นอาหารอร่อยนอกบ้าน ของชาวบ้านชาวเมืองทั่วไป ในตลาดนางเลิ้งนั้นยิ่งล้อมรอบไปด้วยทั้งชาวบ้านและ “ชาววัง” เป็นคนจีนหลายกลุ่มปะปนกัน และมีอาหารอร่อยขึ้นชื่อของตนเองที่ นำเอาความชำนาญถ่ายทอดติดตัวกันมาจากเมืองจีนบ้าง เรียนรู้จาก คนที่อยู่เดิมที่มาจากหมู่บ้านเดียวกัน เมืองเดียวกัน หรือเป็นญาติ กันบ้าง อาหารอร่อย เช่น อาหารกว้างตุ้ง แคะ แต้จิ๋ว และเปิดแผง ขายหมูสด ผักสด เนื้อ ปลา คนกลางเหล่านี้สร้างเส้นเลือดใหญ่ให้ ชีวิตในตลาดนางเลิ้ง ตลาดนางเลิ้งในระยะแรกจึงตั้งอยู่ท่ามกลางวังน้อยใหญ่และต่อ มาคือบ้านขุนนางคนสนิทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาล ต่อมา จึงเป็นบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ถ่ายเททั้งย่านค้าขาย และคนจีน บ้านเรือนขุนนาง ทั้งเล็กและใหญ่โต วังใหญ่น้อยต่างๆ และหลังช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ จนถึงหลัง สงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่เปลี่ยนเป็นสถานที่ราชการจำนวนมาก มี
ศาลเสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรฯ ที่ตลาดนางเลิ้ง
ข้าราชการทุกระดับชั้นมาทำงานกันตลอดระยะเวลาหลายสิบปี วัด ทั้งวัดราษฎร์และวัดหลวง มีอาหารและสินค้าที่ตอบสนองการดำรง ชีวิตของผู้คนทุกระดับชนชั้นจนถึงระดับชั้นในเวลาต่อมา คนเชื้อสายจีนในตลาดนางเลิ้งรุ่นแรกส่วนใหญ่ทำตามประเพณี จีนอย่างเคร่งครัด เมื่อเสียชีวิตแล้วก็นำร่างไปฝังยังสุสานต่างๆ แรกๆ ก็เป็นสุสานจีนในย่านกรุงเทพมหานคร ต่อมาก็เป็นตาม จังหวัดต่างๆ แต่ภายหลังเมื่อวิถีชีวิตประสานกันทางวัฒนธรรมมาก ขึ้น คนเชื้อสายจีนจากตลาดนางเลิ้งไม่น้อยใช้วิธีเก็บอัฐิไว้ที่วัดแค นางเลิ้งและวัดโสมนัสวิหาร รวมทั้งมีประเพณีการไหว้เจ้าที่ลดลง กว่าแต่เดิมและใช้วิธีการทำบุญตามประเพณีไทยที่สัมพันธ์กับทาง วัดแค นางเลิ้งมากกว่าบรรพบุรษรุ่นก่อนๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะสภาพ แวดล้อมที่ทำให้กลายเป็นคนพุทธและทำตามธรรมเนียมประเพณี ของชาวไทยพุทธที่แวดล้อมตนเอง ซึ่งแน่นอนได้รับอิทธิพลความ เป็นคนท้องถิ่นอาจจะมากกว่าคนเชื้อสายจีนทางด้านถนนเยาวราช ส่ ว นความเชื่ อ เกี่ ย วกั บ การสร้ า งศาลเจ้ าในตลาดนางเลิ้ ง เนื่องจากเป็นคนเชื้อสายจีนที่ย้ายมาจากแถบเยาวราชที่มีวัดและศาล เจ้าจำนวนมาก เมื่อถึงเวลาไหว้หรือมีพิธีต่างๆ ก็ต้องกลับไปทำ พิธีกรรมที่เยาวราชแหล่งเดิม จึงมีความคิดว่าควรสร้างศาลของคน นางเลิ้งเองกลุ่มแกนนำจัดตั้งศาลเจ้า ซึ่งเป็นเหล่าตั่วหรือพี่ใหญ่ที่เข้า
มาค้าขายรุ่นแรกๆ เป็นคิดร่วมกันว่าน่าจะทำศาลเจ้าหรือมีศาลเจ้าในพื้นที่ ชุมชนของเราเอง ไ ม่ต้องเดินทางไปไหว้เจ้าที่เยาวราชหรือที่ไกล ๆ และเป็นที่ ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน จึงเริ่มตั้งชมรมของคนจีนโพ้นทะเลขึ้นแล้วเอา ผงธูปจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาลเจ้าที่ต่างๆ ใ นกรุงเทพฯ มาบูชา และบริเวณ รอบนางเลิ้งมีวังค่อนข้างเยอะ เสด็จเตี่ยกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์เป็นที่ เคารพรักของคนจีนนางเลิ้งหรือกล่าวกันว่าแม้แต่พวกอั้งยี่ คนรุ่นนั้นเสด็จเตี่ย เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เพราะคนจีนรักท่าน จึงไปอัญเชิญพระบรมรูปจำลองมา เพราะองค์จริงที่ศาลท่านซึ่งเคยอยู่บริเวณปั๊มน้ำมันริมถนนนครสวรรค์ตรงข้าม วังไชยาถูกรื้อไปแล้ว ได้อัญเชิญเสด็จเตี่ยเจ้าพ่อกรมหลวงชุมพรฯ มาที่ศาลใน ตลาดนางเลิ้งและเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจชาวนางเลิ้งนับแต่นั้น แต่ในศาลก็ยังมี เทพองค์อื่นด้วยเช่นกัน (สัมภาษณ์วรรณชัย วราศิริกุล, อายุ ๕๙ ปี, สิงหาคม ๒๕๕๘) การสร้างโรงยาฝิ่น โรงแรมสำหรับผู้เดินทางพักแรมที่ไม่ใช่ชั้นดีนัก และ โรงหนังที่เมื่อแรกสร้างจนถึงราวสงครามโลกครั้งที่ ๒ น่าจะเป็นสถานที่จัด มหรสพทันสมัยในยุคนั้น เพราะสามารถแสดงลิเกและดนตรีสดประกอบหนัง เงียบได้ด้วย หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ โรงหนังไม้แห่งนี้ก็เริ่มกลายเป็นโรงหนัง ชั้นสอง ฉายหนังในราคาถูกกว่าโรงหนังทันสมัยกว่าในขณะนั้น และคนที่ขาย อาหารอยู่ด้านข้างโรงหนังก็กลายเป็นผู้เช่าระยะยาวอย่างต่อเนื่อง และเพิ่งหมด สัญญากับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทายาทที่รับสืบต่อคือ คุณสมพงษ์ โชติวรรณ ความชำนาญในการจั ด การ เกี่ยวกับโรงภาพยนตร์ทำให้กลายมาเป็นอาชีพคุณสมพงษ์ในการเป็นสายหนัง
๑๑
หลังคาเดิมก่อนการรื้อซ่อมแซม
แผนที่ราว พ.ศ. ๒๔๗๔
ตลาดนางเลิ้งเมื่อกำลังจะรื้อซ่อมแซม
ดอกดิน เสือสง่า ไ ปแสดงที่โพธารามก็รับลูกสาวชาวจีนเป็นหลาน บุญธรรม 'แม่ละออง' เลี้ยงป้าพวงเพชรมาแต่นั้น ป้าเติบโตอยู่ใน โรงลิ เ ก แน่ น อนย่ อ มกลายเป็ น นางเอกลิ เ ก ไ ด้วิชาความรู้ได้ต่อ เพลงราชนิเกลิงจากตาดอกดินและใช้ชีวิตแบบคนไทยๆ ใ นสังคม แวดล้อมแบบคนลิเก หลังจากย้ายมาอยู่ที่แถบถนนพะเนียงก็พบพ่อ ม่ายอายุมากกว่าสิบกว่าปี เป็นคนจีนเชื้อสายแคะที่มีฝีมือและทำร้าน ถ่ายรูปนางเลิ้งอาร์ต ชีวิตความเป็นอยู่ของป้าที่ใช้ชีวิตเป็นคนไทยพื้น บ้านมากกว่าคนเชื้อสายจีน อีกทั้งสามีป้าก็ไม่นิยมไหว้เจ้า ป้าทำบุญ ตักบาตร ร้องลิเกระดับนางเอก ทั้งๆ ที่ป้าและครอบครัวรูปลักษณ์ ภายนอกดูเป็นคนเชื้อจีนเต็มขั้น สามีของป้ารับสืบทอดร้านนางเลิ้งอาร์ตมาจากเครือญาติและมี วิชาการทำล็อกเกตหินภาพลงสีสวยงาม เป็นงานฝีมือปราณีตที่คู่ควร กับงานช่างฝีมือทำกรอบเงินทองหรือล้อมเพชร ชิ้นหนึ่งๆ แพง สมควรกับฝีมือ และยังเป็นรายได้สำคัญของร้านที่สืบฝีมือกันภายใน ครอบครัว จนทำให้ทุกวันนี้ร้านนางเลิ้งอาร์ตยังคงเปิดร้านได้เสมอๆ ไม่ มี อะไรต้ อ งร้ อ นใจแม้ ส ภาพแวดล้ อ มและสั ง คมเทคโนโลยี
ภาคตะวันออก และไปทำสวนอยู่ที่ระยองจนคิดค้นระบบน้ำ หยดผลิตขายได้เอง ก่อนจะกลับมาใช้ชีวิตหลังอายุ ๗๐ ปีที่ นางเลิ้งแบบพร้อมทำงานให้ชุมชน อย่างไรก็ตาม เวลาที่เปลี่ยนแปลงไปและสภาพสังคมที่ ใกล้ชิดในทางวัฒนธรรมและชีวิตความเป็นอยู่ ทำให้คนจีน เปลี่ ย นแซ่ น ามสกุ ล และชื่ อ คนจี นในรุ่ น ถั ดๆ ไป เช่น คน ไหหลำมั ก เรี ย นหนั ง สื อ เก่ ง จนเติ บโตทางการงานอาชี พ กลายเป็นแพทย์ วิศวกร หรือเจ้าหน้าที่ในระดับใหญ่ของรัฐ เป็นส่วนใหญ่ คนแต้จิ๋ว คนกวางตุ้ง คนฮกเกี้ยน กลายเป็น คนไทยไปจนแทบจะเหลือเพียงการไหว้เจ้าตามเทศกาลที่ก็ไม่ เคร่งครัดนักเท่านั้น ประเพณีการตายหรืองานไหว้เล็กๆ น้อยๆ ใ นรอบปี ภาษาพูด ชื่อแซ่ แทบจะไม่แตกต่างไปจาก คนไทยชาวพุทธอื่นๆ แล้วในปัจจุบัน ดังนั้นเราจึงเห็นว่า คนในตลาดและคนรอบวั ด แค แม้ จะต่ า งกลุ่ ม พื้ น เพทาง วั ฒ นธรรม แต่ ก็ เ ข้ า กั นได้โ ดยดี และเขตพรมแดนตาม ธรรมชาติก็แทบจะไม่ปรากฏแล้ว ดังนั้น เราจึงมักได้ยินชื่อ การจัดงานต่างๆ เรียกรวมๆ กันไปเช่น “งานวัดแค-ตลาด นางเลิ้ง หรืองานตลาดนางเลิ้ง-วัดแค” ปนๆ กันไป ตั ว อย่ า งของกรณี ค วามสั ม พั น ธ์ ต่ า งพื้ น ฐานทาง วัฒนธรรมที่น่าสนใจคือกรณีของ “ป้าพวงเพชร เสือสง่า” แห่งร้านนางเลิ้งอาร์ต อายุราว ๘๔ ปี ป้ากำเนิดจากการเป็น ลูกสาวชาวจีนแต้จิ๋วที่โพธาราม อายุเพียงสองเดือน คณะลิเก เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว แต่งานช่างฝีมือล็อกเกตหินยังคงมีผู้สั่ง ทำอยู่เรื่อยๆ เจ้าของร้านชื่อนายหม่อยหยุ่น แซ่เหงี่ยว เป็นชาวจีนที่ไปเติบโตที่ เกาะมาริตัส แถบแอฟริกา จึงมีความรู้ภาษาอังกฤษดี เมื่อเข้ามาอยู่ เมืองไทยก็ได้โอนสัญชาติและเปลี่ยนชื่อเป็นนายอาจ ศิลปวณิช เคย เป็นลูกจ้างร้านทองมาก่อน แล้วจึงได้ออกมาเปิดร้านถ่ายรูปตาม ความสนใจของตัวเอง ในสมัยนั้นล๊อคเกตเป็นเครื่องประดับที่กำลัง เป็นที่นิยม แต่ต้องส่งไปทำที่ต่างประเทศ เขาจึงเริ่มต้นศึกษาวิธีการ ทำอย่างจริงจังจนเป็นผลสำเร็จ และหลานของท่านนี้ก็คือสามีป้าพวง เพชรนี่เอง ทุกวันนี้ป้าพวงเพชรรวมทั้งลูกๆ ยังใช้นามสกุล เสือสง่า สืบมา บางทีอาจจะมีบ้านเมืองเพียงไม่กี่แห่งเช่นในกรุงเทพฯ หรือเมือง ไทย ที่ผู้คนต่างชาติพันธุ์ถูกหลอมรวมจนกลายเป็นคนสยามหรือคน ไทยได้อย่างน่าทึ่ง
๑๒
ชุ ม ชนที่ น างเลิ้ ง ถู ก แบ่ ง ออกเป็ น พื้ น ที่ ต่างๆ ตามแผนที่ทางการที่รัฐจัดให้ คือ ชุมชนศุภมิตร ๑, ชุมชนศุภมิตร ๒ ส่ ว นบริ เ วณย่ า นถนนพะเนี ย งรอบวั ด แค นางเลิ้งเป็นอีกแห่งหนึ่ง คือ ชุมชน วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแค นางเลิ้ง) ซึ่งมักถูกมองจากภายนอกว่าเป็นพื้นที่ เ ดี ย ว ก ั น แ ต่ เ มื่ อ พิ จ า ร ณ า ท า ง วัฒนธรรมและภูมิหลังก็จะแยกกลุ่มผู้ อยู่อาศัยตามธรรมชาติได้ระหว่างชาว บ้านรอบวัดแคที่มีอาชีพรับจ้าง ขาย ของบ้างและอยู่ในย่านละคร และชาว ตลาดที่ มี อ าชี พ ค้ า ขายและส่ ว นใหญ่ เชื้ อ สายจี น ที่ มี ธ รรมเนี ย บปฏิ บ ั ติใ น ประเพณี พิธีกรรมและชีวิตที่ค่อนข้าง แตกต่างกันมากทีเดียว ชุมชนนางเลิ้งในปัจจุบันก็เหมือน ชุมชนเมืองอื่นๆ ในกรุงเทพฯ ที่ถูกการ จัดการพื้นที่แบบแบ่งเขต แล้วสร้าง ชุมชนเสมือนจริงขึ้น จัดวางลำดับเป็น องค์ต่างๆ และมีการแต่งตั้งและเลือก ตั้ ง แบบประชาธิ ปไตย และภายหลั ง โครงสร้างแบบนี้ก็รองรับนักการเมือง ในระดับท้องถิ่นที่กลายเป็นเครือข่าย ของนั ก การเมื อ งระดั บ ประเทศ จน กลายเป็นปัญหาส่วนหนึ่งและขาดความ สัมพันธ์แบบใกล้ชิดทั้งๆ ที่เป็นชุมชน [Community] แบบธรรมชาติแต่เดิมที่ ยังมีบทบาทหน้าที่ได้ดีอยู่ เพราะแต่เดิม นั้นชุมชนทั้งในเมืองและชนบทมีความ สัมพันธ์ต่อกันในระดับผู้คน มีความ เชื่อและศรัทธาร่วมกัน มีความรู้สึกเป็น เจ้าของแผ่นดินหรือกลุ่มบ้านหมู่บ้าน ร่วมกัน ความสัมพันธ์ในเมืองอยู่ใน พื้นที่แบบที่แบ่งกันเป็นย่านๆ แล้วแบ่ง ตามธรรมชาติ เป็นถนน เป็นตรอก ต่างๆ ดั ง นั้ น แต่ เ ดิ มโดยธรรมชาติ น ั้ น ค นใ น ต ล า ด น า ง เ ลิ้ ง เ ป็ น ก ลุ่ ม ค น เดียวกัน ส่วนใหญ่มีเชื้อสายจีนกลุ่ม ต่างๆ มีคนท้องถิ่นเข้ามาค้าขายปะปน อยู่บ้างแต่ไม่มากนัก คนในตลาดและ
และตามตึ ก แถวริ ม ถนนทั้ ง สองฝั่ ง เป็ น คน ค้าขาย ส่วนด้านเหนือติดกับถนนศุภมิตรและ ถนนกรุงเกษมที่เรียกว่าชุมชนศุภมิตร ๑ ใ น ปัจจุบัน เคยเป็นโรงน้ำแข็งที่มีขี้เลื่อยเพื่อรักษา อุณหภูมิจึงเรียกตรอกขี้เลื่อย เรื่อยมาจนถึง หลั ง ชุ ม ชนศุ ภ มิ ต ร ๒ ใ นปัจจุบันบ้านเรือน แออัดมาก ฟากด้านเหนือของถนนศุภมิตรเคย เป็นชุมชนแออัดขนาดใหญ่ และถูกไล่ที่ไปแล้ว สร้างตึกอาคารพานิชย์ขึ้นแทน คนส่วนหนึ่ง ทางฝั่ ง ฟากตลาดนางเลิ้ ง นั้ น เป็ น พื้ น ที่ ข อง สำนักงานทรัพย์สินฯ จึงไม่ได้ถูกไล่และยังคง สภาพบ้านเรือนแบบเดิมๆ อยู่มาก และผู้คน ส่วนหนึ่งเป็นข้าราชการและทำงานอื่นๆ ที่ไม่ได้ ค้าขายเป็นหลัก เช่น ชุมชนศุภมิตร ๒ ที่ส่วน ใหญ่เป็นคนเชื้อสายจีนในตลาดและค้าขาย ต่อมาบ้านเรือนที่อยู่อาศัยที่นางเลิ้งค่อน ข้างหนาแน่น ทำให้ผู้คนต่างทยอยออกไปอยู่ ข้างนอก นอกจากนี้วังของเจ้านายต่างๆ หลัง จากเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น วังกลาย เปลี่ยนเป็นสถานที่ราชการ ต่อมาโรงหนังแบบ เดี่ยวๆ ก็พบกับทางตัน และในปีพ.ศ. ๒๕๓๖ โรงภาพยนตร์เฉลิมธานีก็ปิดลง กลายเป็น พื้นที่เช่าเก็บของ รวมระยะเวลาที่ฉายหนัง ยาวนานกว่า ๗๕ ปี
วรรณชัย วราศิริกุล
และจากนโยบายการเปลี่ ย นเอาสถานที่ ราชการออกไปนอกเมือง ซึ่งดึงเอาคนออกไป นอกเมืองด้วย เช่น ที่ถนนแจ้งวัฒนะ อาคาร สำนักงานที่เคยอยู่ใกล้เคียงก็ทยอยย้ายออกไป เรื่อยๆ ปัจจุบันสภาพของนางเลิ้งเปลี่ยนแปลง ไปเพราะสภาพแวดล้อมแบบเมืองนั้นเปลี่ยน อย่างขนานใหญ่ภายในเวลากว่า ๒๐ ปีที่ผ่าน มา ตลาดนางเลิ้ ง จึ ง เหลื อ แค่ เ พี ย งเป็ นโรง อาหารกลายๆ และขายได้แค่สายๆ จนถึงพัก เที่ยง ส่วนตลาดสดนั้นที่เป็นตลาดหลักก็เหลือ พื้นที่เพียงไม่มาก เพราะรูปแบบการดำเนิน ชี วิ ต ของคนในเมื อ งเปลี่ ย นไปหมดรวมถึ ง คนในเมื อ งเองก็ ย้ า ยออกจากเมื อ งในย่ า น พระนครไปจนแทบจะเป็นเมืองร้างเสียแล้วใน ทุกวันนี้ ครอบครัวที่ขยายตัวจึงเปลี่ยนแปลงย้าย ออกไปทั้งหมดก็มาก ออกไปซื้อบ้านชานเมือง ให้ลูกหลานก็มากและมีคนสูงวัยยังคงอาศัยอยู่ เนื่องจากความเคยชิน ห้องแถวที่เป็นร้านค้า แต่ละหลังเปิดขายของทุกห้อง ส่วนพักอาศัยใน บ้านจึงมีพื้นที่น้อยมาก ต่อมารุ่นลูกออกไป เรี ย นหนั ง สื อ ก็ ย้ า ยออกไปทำงานนอกชุ ม ชน บางบ้านต้องการที่จอดรถและพื้นที่มากขึ้นก็ ย้ายออกไปอยู่ชานเมือง บางห้องก็ปิดเงียบ แม้ จะมี ค นอยู่ อ าศั ย แต่ ก็ไ ม่ เ ปิ ด ค้ า ขายอี ก ต่ อไป
สมพงษ์ โชติวรรณ
๑๓
สภาพเป็นเช่นเดียวกับครอบครัวในย่านตลาดหรือเมืองเก่าในหลายๆ แห่ง ของกรุงเทพมหานคร มีความพยายามฟื้นตลาดนางเลิ้งในหลากหลายโครงการและรูป แบบ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ สำนักงานทรัพย์สินฯ ก็ปิดซ่อมอาคารตลาด นางเลิ้งทั้งโครงสร้างและรายละเอียดเป็นเวลากว่า ๕ เดือน เมื่อเปิด มาใหม่บรรยากาศตลาดแบบเดิมๆ หายไปมาก และอยู่ก้ำกึ่งระหว่าง ตลาดสดและตลาดขายอาหารแบบธรรมชาติที่มีคนเดินตลาดหาซื้อ ของใช้และของกินในชีวิตประจำวันกับตลาดเพื่อการท่องเที่ยว และ ปัจจุบันก็ยังดำรงสภาพกึ่งๆ เช่นนั้นอยู่ ผู้คนที่นางเลิ้งเรียนรู้ที่จะอาสาทำงานให้ชุมชนในหลายรูปแบบ เช่น ป้าเมาที่เป็นสาวโสดและทำงานเป็นประธานชุมชนตลาดนางเลิ้ง ทางศุภมิตร ๒ มาหลายปี เริ่มจากการแต่งตั้งและงานอาสาสมัคร สาธารณสุขต่างๆ คนจีนที่นางเลิ้งเป็นสาวโสดกันมาก ทั้งๆ ที่หน้าตา สวยงามทั้งนั้น วัฒนธรรมในการเลี้ยงดูแบบเดิมที่ค่อนข้างเคร่งครัด และความขัดสนต้องทำมาหากินก็เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ไม่ได้ออก เรือน ป้าเมาหรือวนาพร บุญญานุวัตร อาศัยอยู่กับพี่สาว ที่เรือนแถว ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ที่เพิ่งซ่อมหรือสร้างใหม่เสร็จไม่นาน ป้า เป็นผู้เช่าอยู่เก่า ทั้งคู่อายุเจ็ดสิบกว่าใกล้แปดสิบปีแล้ว อยู่อาศัยและ เกิดที่ห้องแถวหลังเล็กๆ นี้ เตี่ยและแม่ที่มาจากเมืองจีนก็ตายที่นี่ ความทรงจำจึงอบอวลในพื้นที่เล็กๆ ป้าทำงานให้ชุมชนในช่วงอายุ มากแล้ว เลิกจากงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่เคยทำ มีลูกค้าเป็นข้าราชการที่ เดี๋ยวนี้ย้่ายไปจนเมืองแทบร้าง สำนักงานทรัพย์สินฯ ที่มีข่าวมาหลายปีว่ามีปัญหากับผู้เช่าแต่เดิม และทำงานโดยไม่เข้าใจชุมชนตลอดมา เช่น ชุมชนนางเลิ้งที่ไม่ สามารถ ขยายชุมชนหรือต่อเติมอาคารบ้านเรือนได้ เนื่องจากข้อ จำกัดของพื้นที่ มีกฎระเบียบต่างๆ ใ นการซ่อมแซม แต่เมื่อผ่านมา หลายปีแล้ว เสียงหลายส่วนทีเดียวที่เปลี่ยนไป จากความขัดแย้งก็เริ่ม
ป้าพวงเพชร เสือสง่า
เห็นในความเข้าใจและความพยายามของเจ้าหน้าที่และบทบาทที่มีต่อ ชุมชนและผู้เช่า หลายคนในตลาดนางเลิ้งเริ่มมองในภาพพจน์ที่ดีขึ้น ตามลำดับ ป้าเมาเล่าถึงบรรยากาศสงคราม เล่าถึงคณะลำตัด โรงหนัง และ “ตรอกสะพานยาว” ย่านโคมเขียวขึ้นชื่อ จนต้องมีการสร้างสุขศาลา เพื่อโรคที่ต้องถึงมือ หมอเพียร เวชบุล และหากมีโอกาสก็ยังคง ทำบุญให้วิญญาณสัมภเวสีทุกสงกรานต์ตลอดช่วงเวลาที่ทำงานให้ ชุมชน ป้าเมายังนึกถึงเหล่าผู้หญิงเหล่านั้นที่เคยทำแท้งที่แถวตรอก สะพานยาว ก่อนที่ไฟจะไหม้ใหญ่จนบ้านโคมเขียวหายไปตลอดกาล เมื่อ ราว พ.ศ. ๒๕๑๖ คุ ณ สมพงษ์ โชติวรรณและครอบครัว ก็ ก ลั บ นางเลิ้ ง มาเพื่ อ ตั้งใจทำงานให้ส่วนรวมและร่วมพัฒนาชุมชน หลังจากที่ไปใช้ชีวิตอยู่ ระยองนานหลายปี คุณวรรณชัย วราศิริกุล ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ทำงานให้ชุมชน และ เป็นกรรมการศาลเจ้าไปจนถึงไปเป็นสมาชิกสภาเขตและประธานสภา เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มองเห็นปัญหาของนางเลิ้งได้กว้างและลึก เห็นปัญหาเรื่องคนทำงานชุมชนและปัญหาในระดับโครงสร้างและ ระดับบุคคลได้ดีคนหนึ่ง และเป็นกำลังสำคัญในความพยายามสร้าง กลุ่มและคนรุ่นใหม่เพื่อจัดการปัญหาของตลาดนางเลิ้งที่มีอยู่มากและ เร่งวันเวลาที่รอวันแก้ไข เพราะคนในตลาดนางเลิ้งแทบทุกคนมองว่า ปัญหาของตลาดนางเลิ้งเช่นนี้ หากแก้ไขอย่างจริงจังเพื่อให้มีทิศทาง เดินไปทางใดทางหนึ่งไม่ได้แล้ว
“ตลาดนางเลิ้งก็อาจจะสูญสลายลงไปภายใน ๑๐ ปีนี้”
ป้าเมา วรรณพร บุญญานุวัตร
๑๔
ในขณะนี้ ที่ ผู้ ค นในนางเลิ้ ง ส่ ว นใหญ่ ดู เ หมื อ นจะถอดใจกั บ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป พร้อมๆ กับความเงียบเหงาของตลาดที่ ดูเหมือนจะยังไม่มีทางออก เมืองเก่าของเราและคนที่เหลืออยู่ ต้อง ปรับตัวไปตามสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ต้องใช้วิธีคิดและการนำเสนอ ใหม่ที่แตกต่างไปจากตลาดในรูปแบบร้อยกว่าปีที่เพิ่งเริ่มสร้าง หรือช่วงยุครุ่งเรืองจนเข้าสู่ยุคร้างโรยไป ตลาดที่เหลืออยู่ก่อนจะ ล้มหายตายจากไปก็คงเป็นตลาดเมืองอีกรูปแบบหนึ่งที่ยังไม่มีใคร สามารถจัดการรูปแบบใหม่นี้ได้ ครั้งหนึ่งที่เราบอกว่าบ้านดีเมืองดี เพราะเราเคยมีชุมชน เราเคยชีวิตเนิบช้า เราเคยมีร้านค้าเต็มถนน เต็มบ้านเต็มเมือง และมีชีวิตอันแสนอุดมสมบูรณ์ด้วยชุมชนและ ผู้คน และมีตลาดรองรับความเป็นย่านบ้านเมืองของพวกเรา ทุกวันนี้ ประเทศของเราไม่สามารถทำการค้าแบบร้านเล็กร้าน น้ อ ยเกิ น สองรุ่ น และกิ จ การของครอบครั ว ที่ ม ั ก มี ค วามรู้ ประสบการณ์ส่งตรงเช่นนี้หลายๆ ร้านก็คงหมดไปกับคนรุ่นที่สาม ทั้งนั้น คิดเล่นๆ แบบวิเคราะห์ไปด้วยก็เหมือนว่า กิจการส่วนใหญ่ ในร้านค้าปลีกพวกทำอาหาร เครื่องดื่ม หรืองานฝีมือก็ได้ มักเป็น คนจี น ที่ ส่ ว นใหญ่ เ ห็ น คุ ณ ค่ า ของการศึ ก ษาอั น เป็ น ช่ อ งทางใน การปรับตัวเข้าสู่ชนชั้นอื่นๆ ในสังคม ชนชั้นที่นำไปสู่ฐานะในทาง เศรษฐกิจและสังคม เมืองไทยไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ใดๆ ก็สามารถ เลื่อนสถานะตนเองกันได้เสมอๆ ถ้ามีความสามารถและเข้าถึง แหล่งข้อมูลความรู้ ซึ่งแตกต่างจากการจัดลำดับทางสังคมของ กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศอื่นๆ หรือเพื่อนบ้านเรานี่ค่อนข้างมาก ร้านขายปลีกของเรา รัฐและพ่อค้ารายใหญ่เอื้อกันเสียจนร้าน ค้าปลีกที่เป็นชีพจรเศรษฐกิจของคนส่วนใหญ่ไม่สามารถเรียกร้อง ความยุติธรรมได้ ร้านเล็กๆ ที่เราเห็นการประคับประคองและ สร้างเศรษฐกิจการเงินหมุนเวียนในชุมชนโดนลบไปพร้อมๆ กับ ความไม่เข้าใจว่าชุมชนคืออะไร ปัจจุบัน ผังเมืองเปลี่ยนแปลงมา และเป็นโครงสร้างที่ดึงคนออกไป
คนย้ายออกไปก็ว้าเหว่ ไปอยู่ บ้ า นในตึ ก ในหมู่บ้านที่ไม่มี ตลาด ไม่ มี ว ั ดให้ เ ข้ า ไม่ มี ค นให้ คุ ย และตายคนเดียวถ้าไม่ มี ใครเห็น. บรรณานุกรม กัณฐิกา ศรีอุดม. “พร” ของพระนครในสมัยรัชกาลที่ ๕. วารสาร เมืองโบราณ ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙) นลินี ตันธุวนิตย์และคณะ, โครงการวิจัยและปฏิบัติการเรื่องพัฒนา ชุมชนแออัดและองค์กรชุมชนแออัดในเมือง กรณีศึกษาชุมชน นางเลิ้ง. ๒๕๔๓. เอนก นาวิกมูล. ตลาดเก่าๆ. กรุงเทพฯ, แสงดาว, ๒๕๕๓. ประวัติวัดคอนเซ็ปชัน. http://www.catholic.or.th/archive/archbkk/ church/church2/archbkk20.html
ข้อมูลสัมภาษณ์ สมพงษ์ โ ชติวรรณ, อายุ ๗๔ ปี บ้านเลขที่ ๘๓ ตรอกตลาดนางเลิ้ง แขวงวัดโสมนัสฯ เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ วรรณชัย วราศิริกุล, อายุ ๕๙ ปี บ้านเลขที่ ๒๕๔ ตรอกตลาดนางเลิ้ง แขวงวัดโสมนัสฯ เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ พวงเพ็ชร เสือสง่า, อายุ ๘๙ ปี บ้านเลขที่ ๓๓๑-๓๓๓ ถนน นครสวรรค์ แขวงวัดโสมนัสฯ เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ วนาพร บุญญานุวัตร, อายุ ๗๘ ปี บ้านเลขที ๑๕๑ ถนนพะเนียง แขวง วัดโสมนัสฯ เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ รักษมล แซ่เฮ้ง, อายุ ๕๓ ปี บ้านเลขที่ ๒๗๓/๑ ห้อง ๑๐๖ ถนน พะเนียง แขวงวัดโสมนัสฯ เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ เอมอร วัชกะพงศ์, อายุ ๘๐ ปี บ้านเลขที่ ๓๔๑ ซอยศุภมิตร ๑ แขวง วัดโสมนัสฯ เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ ปรีชา ศรีตุลโชติ, อายุ ๖๑ ปี ตึกแถวข้างโรงหนังเฉลิมธานี มาณพ แก้วหยก, บ้านศาลาแดงเหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
๑๕
ร้านอาหารแนะนำโดยคนตลาดนางเลิ้ง นอกเหนือไปจากร้านชื่อดังในตลาดนางเลิ้งที่ทุกคนคงรู้จักผ่านสื่อต่างๆ กันดีแล้ว คนนางเลิ้งอยากแนะนำร้าน อาหารอร่อยนอกเหนือจากที่รู้จัก และอาจตกสำรวจจากสายตาของนักชิมที่มาเที่ยวนางเลิ้ง ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ก. ชวนชิม สาขา ๖๘
ก๋วยเตี๋ยวเนื้อน้ำใสของร้าน ก. ชวนชิม สาขา ๖๘ เป็นก๋วยเตี๋ยวสูตรดั้งเดิมของคนจีนแคะ ทำมาตั้งแต่รุ่นพ่อของผู้ให้ สัมภาษณ์ เริ่มเปิดร้านมาราว ๆ ๖๐ ปี ชื่อร้าน ก.ชวนชิม ๖๘ มีที่มาจากแรกเริ่มที่ร้านตั้งอยู่เสาชิงช้า ตรงตรอกนาวา ถนน บำรุงเมือง บ้านเลขที่ ๖๘ ลูกค้าที่มากินก๋วยเตี๋ยวจึงเรียกกันจนคุ้นปากว่า ‘ร้านลูกชิ้น ๖๘’ เมื่อมีการสร้างตึกบริเวณริมถนน กรุงเกษม จึงย้ายมาขายที่ย่านนางเลิ้ง แล้วเปลี่ยนร้านเดิมเป็นบ้านอยู่อาศัยและเป็นสถานที่ใช้ทำลูกชิ้นเนื้อเพื่อมาขายในร้าน ก๋วยเตี๋ยวแทน สมัยก่อนจะขายเฉพาะลูกชิ้นเนื้อและขายดีมากขนาดที่ว่าลูกชิ้นเต็มตู้ ไม่นานก็ขายหมด ตอนนี้คนทานเนื้อน้อยลงจึง ไม่ได้ทำเอง จะทำเฉพาะลูกชิ้นเนื้อเป็นหลัก เลยเพิ่มลูกชิ้นหมูเข้ามาขายด้วย ขายไม่ค่อยดี สูตรเฉพาะของทางร้านนอกจากจะมีลูกชิ้นแล้ว ยังมีน้ำก๋วยเตี๋ยวน้ำใส ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะของครอบครัว หากใครที่ไป เที่ยวนางเลิ้งแล้วอยากลิ้มลองก๋วยเตี๋ยวเนื้อสูตรดั้งเดิม ร้าน ก. ชวนชิม ๖๘ ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจร้านหนึ่ง เจริญศักดิ์ สุธีพิเชษฐภัณฑ์ อายุ ๕๘ ปี
ข้าวแกงกะหรี่หมูนางเลิ้ง
ร้านข้าวแกงกะหรี่หมูและสตูลิ้นหมูเจ้าเดียวในตลาดนางเลิ้ง เปิดมานานกว่า ๖๐ ปี สืบต่อสูตรแกงกะหรี่และสตูมาจาก คุณพ่อชิวตี๋ แซ่ตั้ง ที่เป็นคนจีนเชื้อสายแต้จิ๋ว แต่เดิมคุณพ่อชิวตี๋ขายแกงกะหรี่เนื้อและสตูเนื้อโดยการหาบขาย หลังจากนั้นจึงเซ้ง ตึกแถวตรงถนนศุภมิตรในปัจจุบันหรือเรียกว่าตรอกข้าวโพดหรือตรอกขี้เลื่อย ความพิเศษของการทำข้าวแกงกะหรี่แบบจีนนี้จะมี ความแตกต่างจากแบบอินเดียตรงที่สูตรแบบจีนไม่ใช้กะทิในการปรุง ภายหลังทั้งพี่สาวและคุณนงนุชได้สืบต่อกิจการร้านต่อจากพ่อ ช่วงหลังเปลี่ยนจากการขายแกงกะหรี่เนื้อมาเป็นแกงกระ หรี่หมูแทน เพราะความนิยมของคนในการรับประทานเนื้อลดลง รวมทั้งปรับเปลี่ยนเครื่องเคียงแกงกระหรี่ โ ดยเพิ่มกุนเชียงและไข่ ต้มยางมะตูมเข้าไปด้วย พร้อมกับพริกชี้ฟ้าสดหั่นละเอียดที่กินแทนผัก เพื่อให้ข้างแกงกะหรี่มีกลมกล่อมและอร่อยมากยิ่งขึ้น นงนุช ตุลยาวิวัฒน์ อายุ ๖๗ ปี
จิตรกล้วยทอดนางเลิ้ง
อยู่ริมถนนกรุงเกษม ตรงซอยตรอกนางเลิ้ง ๒ เปิดร้านมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นเวลา ๒๐ กว่าปีมาแล้ว แม้ร้านจิตร กล้วยทอดจะไม่ได้เปิดขายในตัวตลาดนางเลิ้ง แต่ก็มีลูกค้ามากหน้าหลายตาหมั่นมาซื้อกล้วยทอด มันทอด และกล้วยข้าวเม่าทาน เป็นประจำ สมัยก่อนขายกล้วยวันละ ๕-๖ หวี ขายมันวันละ ๕ กิโลกรัม แต่ก็เพิ่มปริมาณการขายขึ้นมาตลอดจากการพูดกันปาก ต่อปากของลูกค้า สูตรความอร่อยของกล้วยทอด คุณสุจิตราเล่าว่า สูตรของกล้วยทอดจะอยู่ที่แป้ง แป้งที่ใช้ทอดจะไม่ใส่ไข่ แต่ที่อื่นจะใส่ไข่ด้วย กล้วยที่ใช้ก็ต้องเป็นกล้วยจากเพชรบุรี เท่านั้น เพราะมีความหวาน ไส้จะเหลืองอร่อยกว่าที่อื่น แม้ร้านจิตรกล้วยทอดจะไม่ได้ขายทั้งวันเหมือนอย่างร้านอื่น แต่พนักงานข้าราชการ คนทั่วไปในย่านนางเลิ้งเดินผ่านร้าน นี้ก็ได้ยินเสียงพูดกันสม่ำเสมอว่ากล้วยข้าวเม่าร้านนี้อร่อยนัก สุจิตรา อาจเดช อายุ ๔๔ ปี
ครัวเบญจรส
คนเก่าแก่อาจจะเคยได้ยินชื่อร้าน ‘เบญจรส’ ที่ตั้งอยู่ย่านนางเลิ้งมาบ้าง เพราะร้านนี้เปิดมานานอยู่ในตึกแถวริมถนน กรุงเกษม มีชื่อเสียงในเรื่องอาหารอร่อย สมัยก่อนร้านเบญจรสจะมีเมนูเฉพาะของร้านเป็นอาหารจำพวกเนื้อ มีทั้งเนื้อตุ๋น ลาบเนื้อ โดยเฉพาะเนื้อย่าง ลุงธงชัยเล่าว่า เนื้อย่างเป็นเมนูที่ขายดีมากถึงขนาดที่ว่าต้องใช้เตาย่างเนื้อถึง ๕ เตา
๑๖
เมนูเหล่านี้โดยรวมต้องใช้เนื้อวัวกว่า ๑๐๐ กิโลกรัมเพื่อรองรับกับลูกค้าในแต่ละวัน แต่ภายหลังคนเริ่มหันมาทานเนื้อน้อยลงจึง ต้องเพิ่มเมนูเนื้อสัตว์อื่นด้วย นอกจากร้านเบญจรสจะมีชื่อด้านเมนูเนื้อแล้ว ทางร้านยังได้รับรางวัลชนะเลิศสากทองในเมนูส้มตำ จากการแข่งขันส้มตำนานาชาติ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ อีกด้วย ปัจจุบันร้านเบญจรสมีอาหารแนะนำหลากหลาย เช่น ยำปลาดุกฟู น้ำตก ส้มตำ ไก่ทอด ปลาช่อนน้ำตก ที่กลายเป็นเมนู ขึ้นชื่อของร้านไปนอกเหนือจากเมนูเนื้อ หากใครที่สนใจไปลองชิมเมนูอร่อยของร้านสามารถไปชิมได้ ร้านจะเปิดเป็นช่วงเวลาคือ ๑๑.๐๐–๑๔.๐๐ น. และ ๑๖.๐๐–๒๐.๐๐ น. และเปิดขายในวันธรรมดาเท่านั้น ธงชัย เชยนิ่ม
บะหมี่รุ่งเรือง
บะหมี่เจ้าอร่อยในตลาดนางเลิ้งมีอยู่หลายร้าน หนึ่งในนั้นก็คือ ‘ร้านบะหมี่รุ่งเรือง’ ที่เปิดมากว่า ๖๐ ปีแล้ว โ ดยเริ่มจาก การหาบขายตามซอยในตลาดนางเลิ้ง จนเปลี่ยนมาเป็นการขายจากรถเข็นและมาเป็นร้านแบบในปัจจุบัน สูตรความอร่อยของ ร้านบะหมี่รุ่งเรือง คุณวิเชียรเจ้าของร้านเล่าว่า วิธีการทำจะทำแบบดั้งเดิม คือ ใช้ไม้ไผ่นวด เป็นบะหมี่แบบจีนฮกเกี้ยน ที่ร้านจะทำเส้นบะหมี่เอง ความอร่อยจะอยู่ที่เส้น เส้นด้วยมือเปล่า สาเหตุที่ต้องใช้มือเปล่าเพราะเราจะสามารถใช้มือสัมผัสได้ว่าเส้นบะหมี่มีความนุ่มเพียงพอหรือยัง ซึ่งการใช้ เครื่องจักรจะทำแบบนี้ไม่ได้ นอกจากบะหมี่จะเป็นเมนูขึ้นชื่อของร้านแล้ว ยังมีเมนูอื่นให้ได้ลองชิมอีกด้วย เช่น ข้าวหมูแดงหมูกรอบ ปัจจุบันร้าน บะหมี่รุ่งเรืองยังคงขายดีและมีบริการรับสั่งอาหารนอกสถานที่คราวละมากๆ การันตีความอร่อย คุณวิเชียร มีสุขสบาย
ข้าวแกงรัตนา
เมื่อเดินเข้าไปในตลาดนางเลิ้งจะคุ้นตากับร้านข้าวแกงที่บริเวณหน้าร้านมีลูกค้าหลายคนยืนเลือกซื้ออาหาร ร้านนั้นก็คือ ร้านข้าวแกงรัตนา เป็นร้านที่เปิดขายข้าวแกงมามากกว่า ๑๐ ปีแล้ว ร้านข้าวแกงรัตนามีจุดเริ่มต้นมาจากความบังเอิญ เพราะแต่ ก่อนป้ารัตนาเจ้าของร้านยังไม่ได้เริ่มขายข้าวแกงแต่ขายอาหารทะเลเผาจำพวกกุ้งหอยปูปลา วันหนึ่งเกิดซื้อหอยลายมาจำนวน มากจึงลองผัดขาย ปรากฏว่าขายดีมาก จึงเริ่มขายข้าวแกงตั้งแต่นั้นมา ซึ่งสูตรการทำอาหารเป็นการสืบต่อมาจากพี่สาวที่เคย เข้าไปอยู่กับแม่ในวังกรมหลวงชุมพรฯ คุณป้าจึงสืบต่อหลังจากที่พี่สาวเสียไป ป้าเล่าว่า เครื่องแกงที่ใช้ทำกับข้าวป้าทำเองทุกอย่าง ทำครั้งหนึ่งก็เป็นร้อยกิโลแล้วค่อยเก็บไว้ในตู้เย็น ไม่เคยต้องไปซื้อเครื่องแกง ที่อื่น เหตุนี้เองอาจเป็นสาเหตุทำให้ร้านข้าวแกงป้ารัตนาขายดีทุกวัน กับข้าวที่ทำต่อวันประมาณ ๒๐ อย่าง มีเมนูเด็ดที่ลูกค้า ชอบมาซื้อ เช่น แกงขี้เหล็ก หลนปู เต้าเจี้ยวหลน แกงคั่วสับปะรด ขาหมูต้มถั่ว รัตนา จ่างจำรัส, อายุ ๗๑ ปี
ตี๋เป็ดพะโล้
ร้านตี๋เป็ดพะโล้ตั้งอยู่ในตลาดนางเลิ้งติดกับร้านข้าวแกงรัตนา เป็นร้านเล็กๆ แต่ขายมายาวนาน คุณสมชายเจ้าของร้าน เป็ดพะโล้มากว่า ๓๐ ปีแล้ว โ ดยสืบต่อมาจากคุณพ่อที่เป็นคนจีนเชื้อสายแต้จิ๋ว คุณพ่ออพยพมาจากจีนแผ่นดินใหญ่คิดค้นสูตร การทำเป็ดพะโล้ขึ้นด้วยตัวเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่ซื้อเป็ดที่ยังมีชีวิต จนมาเป็นเป็ดพะโล้ แล้วขี่จักรยานบรรทุกเป็ดใส่เข่งจาก สวนหลวงมาขายที่ตลาดนางเลิ้งตั้งแต่เป็ดตัวละ ๑๘ บาทเท่านั้น เอกลักษณ์ของท่านคือเสียงประจำตัวที่เรียกลูกค้าในตลาด หลังจากที่คุณพ่อเสีย คุณสมชายได้สืบต่อกิจการแทนตั้งแต่ อายุ ๑๘ ปีโดยขี่จักรยานขายเป็ดอยู่ประมาณ ๔-๕ ปีจึงลงหลักปักฐานเปิดร้าน คุณสมชายเล่าว่า ตอนนี้ตลาดค่อนข้างซบเซา เมื่อก่อนคนเข้ามาจับจ่ายเยอะจนแทบไม่มีที่ตั้งวางของ ทุกวันนี้เป็ดพะโล้จะขายดีตอนช่วง เทศกาลตรุษจีน สารทจีนเท่านั้น ไม่ได้ขายดีแบบเมื่อก่อนแล้ว เพราะตลาดไม่มีที่จอดรถรองรับลูกค้าการเดินทางมาก็ไม่สะดวก พ่อค้าแม่ค้าในตลาดเลยไม่กล้าลงทุนหาของมาขาย หากใครสนใจอยากลองชิมเป็ดพะโล้ที่มีสูตรและเอกลักษณ์เฉพาะร้านสามารถหาซื้อทานได้ที่ตลาดนางเลิ้งแห่งนี้ สมชาย ธรรมชัยไพศาล, อายุ ๕๔ ปี
๑๗
สาคูคุณหน่อย
สาคูไส้หมูเป็นอาหารที่พบเจอได้ง่ายตามตลาดขายอาหาร แต่หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับสาคูไส้ปลาหรือไส้กุ้งนัก เนื่องจากเป็นอาหารที่หาทานได้ยาก สาคูไส้กุ้งและสาคูไส้ปลานี้เป็นเมนูขึ้นชื่อของร้านสาคูคุณหน่อยที่ตลาดนางเลิ้ง คุณศศิวรรณ เจ้าของร้านได้เปิดขายสาคูที่ตลาดนางเลิ้งมาเป็นเวลามากกว่า ๓๐ ปี เจ้าของสูตรอาหารอร่อยนี้ คือ ป้าสอิ้ง ที่ส่งต่อสูตรให้กับน้อง สะใภ้ของคุณศศิวรรณ และสืบต่อมายังคุณศศิวรรณในปัจจุบัน ความพิเศษของสาคู คุณศศิวรรณเล่าว่า แป้งของเราจะใช้เกรด A ที่ต้องสั่งซื้อมาจากนครปฐม จะไม่มีขายตามร้านทั่วไป แล้วไส้เราก็จะใช้ไส้จริงของมัน คือใช้หมู ปลาก็ใช้ปลาทะเลมานึ่งแล้วย่างก่อนจะนำมาทำไส้ ส่วนกุ้งก็ใช้กุ้งสดที่มีเคล็ดลับพิเศษทำให้ไม่มีกลิ่นคาว ปัจจุบันผลกระทบจากการเงียบเหงาลงของตลาดนางเลิ้งทำให้ร้านที่เคยขายดีมาก จำนวนลูกค้ารอคิวเป็นร้อยรายเข้า แถวยาวจนทำขายไม่ทัน กลายเป็นร้านที่มียอดขายตกลงมาก หากใครอยากลองชิมของอร่อยหายากสามารถไปลองชิมได้ที่ตลาด นางเลิ้ง ซึ่งนอกจากเมนูสาคูไส้กุ้งและไส้ปลาที่เป็นเมนูเด็ดแล้ว ยังมีสาคูไส้หมู ข้าวเกรียบปากหม้อหมู ข้าวเกรียบปากหม้อกุยช่าย ให้ได้ลองทานอีกด้วย ศศิวรรณ เรืองสุทธิพงศ์, อายุ ๖๑ ปี
สมยศน้ำแข็งใส
ร้านสมยศน้ำแข็งใสเปิดขายมาที่ตลาดนางเลิ้งกว่า ๒๐ ปี แต่เดิมร้านตั้งอยู่ตรงเกาะกลางระหว่างร้านบะหมี่รุ่งเรือง จน ย้ายเข้ามาตั้งในตัวตลาดนางเลิ้ง ความพิเศษของร้านสมยศน้ำแข็งใสจะอยู่ที่การขูดน้ำแข็งไสแบบโบราณที่ใช้มือขูด ทานกับ เครื่องน้ำแข็งใสหลากหลายชนิด เช่น ข้าวโพด ลูกเดือย ลูกชิด เฉาก๊วย ลอดช่อง ขนุน เผือก ถั่ว พร้อมกับน้ำกะทิหอมหวานเติมหัว กะทิเพิ่มความมัน เหมาะกับการรับประทานเพื่อคลายร้อน สนใจลองชิมสามารถหารับประทานได้ที่ตลาดนางเลิ้ง
มะลิขนมไทย
ร้านขนมไทยในตลาดนางเลิ้งมีอยู่หลากหลายร้าน หนึ่งในนั้นคือร้านมะลิขนมไทย มี ‘ป้าลิ’ เจ้าของร้านที่เปิดขายขนมใน ตลาดนางเลิ้งเป็นเวลากว่า ๗ ปีแล้ว โ ดยเริ่มเรียนรู้การทำขนมจากการเป็นลูกมือของเถ้าแก่ร้านขนมไทยแถวซอยกระดังงา ถนน นครสวรรค์ ตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี จนเริ่มมาเปิดร้านในตลาดนางเลิ้งเองเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึงปัจจุบัน ป้าลิเล่าว่า ขนมที่ทำมาขาย จะทำมาประมาณวันละ ๑๐ อย่าง เช่น กล้วยเชื่อม ลอดช่อง ลูกเดือย ข้าวโพดคลุก กล้วยบวชชี ฟักทอง มันต้มขิง ถั่วดำ เป็นต้น ปัจจุบันแม้ขนมไทยจะได้รับความนิยมลดลงและมีขนมจำพวกเค้ก ขนมปังเข้ามาแทนที่ แต่ขนมร้านป้าลิก็ยังคงขายดี และเป็นที่รู้จักในตลาดนางเลิ้ง ลิ ประภายนต์, อายุ ๕๒ ปี
ขนมถ้วยตะไลมณฑา การสืบทอดการทำขนมถ้วยเริ่มตั้งแต่คุณยายของพี่นกผู้เป็นบุคคลในตระกูลปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ตระกูลเก่าแก่ฝั่งวัง หลังที่มีกรมหมื่นนราเทเวศร์เป็นต้นสกุล จากนั้นก็สืบทอดต่อมายังคุณแม่ของพี่นก จนมาถึงพี่นกในปัจจุบัน โ ดยสูตรเฉพาะความ อร่อยของร้านขนมถ้วยตะไลมณฑา พี่นกเล่าว่ามาจากความสมบูรณ์ของกะทิ สมัยก่อนการทำขนมถ้วย หน้ากะทิจะเป็นหน้าแข็ง และแตก เมื่อมาถึงพี่นกได้มีการคิดค้นสูตรใหม่ให้หน้าขนมกล้วยกลายมาเป็นหน้านิ่มและมีความเหนียวเล็กน้อย หน้ากะทิจะมี ความมันอร่อย เพราะใช้หัวกะทิล้วนๆ ซึ่งกะทินี้จะมีการคัดเลือกมะพร้าวที่นำมาใช้ทำกะทิอย่างละเอียดคือ ห้ามมีจาว ห้ามมีเอือน และห้ามร้าว พี่นกบอกถึงสาเหตุว่าถ้ามะพร้าวมีจาว น้ำ และเนื้อมะพร้าวจะมีความเปรี้ยวเช่นเดียวกันกับมะพร้าวที่มีเอือน และ มะพร้าวที่มีรอยร้าวจะทำให้ลมเข้าและเสียได้ง่าย แต่ทั้งนี้พี่นกก็ยังคงสูตรโบราณไว้ด้วย คือ ชั้นล่างของขนมถ้วยยังคงใช้น้ำตาล ปี๊บกับแป้งตามสูตรเดิม โดยไม่ได้ใส่ใบเตยเหมือนกับร้านอื่นในสมัยนี้ จิราพันธ์ คงเทียน, อายุ ๔๓ ปี
๑๘
ก๋วยเตี๋ยวเรือเจ๊นกยูง
ร้านก๋วยเตี๋ยวเจ๊นกยูงตั้งอยู่บนแผงที่ ๑๕ ในตัวตลาดนางเลิ้ง เป็นร้านขายก๋วยเตี๋ยวเรือสูตรดั้งเดิมมีที่มาจากอำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา นับเป็นก๋วยเตี๋ยวเรือของแท้ เริ่มเปิดร้านเมื่อราวๆ พ.ศ. ๒๕๒๒ โ ดยคุณพยูงเจ้าของร้านที่เป็นคนอยุธยา แรกเริ่ม เดิมทีเปิดร้านขายตรงบริเวณคลองหลอดก่อนโดยนั่งทำในเรือ พอถึงวันเสาร์อาทิตย์จึงขนเรือติดล้อเข็นจากคลองหลอดขึ้นบกมา ขายที่ตลาดสนามหลวง เมื่อตลาดสนามหลวงถูกยกเลิกไปจึงย้ายมาเปิดร้านขายที่ย่านนางเลิ้งแทน เป็นเวลาประมาณ ๓๕ ปีแล้ว คุณพยูงเล่าว่า เมื่อก่อนขายก๋วยเตี๋ยวจะใส่ชามตราไก่ ขายตั้งแต่ราคาชามละ ๓ บาท ๕ บาท ๗ บาท ๑๕ บาท จนตอนนี้ มา ๓๐ บาท เมื่อก่อนจะขายก๋วยเตี๋ยวเนื้อน้ำตก พอช่วงที่เนื้อมีโรคขึ้นเลยเปลี่ยนมาขายก๋วยเตี๋ยวหมูน้ำตกแทน ปัจจุบันหน้าร้านก๋วยเตี๋ยวเจ๊นกยูงยังคงมีเรือลำเล็กๆ ที่แสดงให้เห็นถึงต้นกำเนิดของก๋วยเตี๋ยวเรือสูตรดั้งเดิมแบบของ อยุธยาอีกด้วย พยูง โรจนะวงศ์, อายุ ๕๐ ปี
ข้าวขาหมู หมูแดง หมูกรอบ ร้านเจ๊สวย
ร้านเจ๊สวย เริ่มขายมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่ตลาดยังเป็นพื้นที่โล่งจนมาถึงปัจจุบัน สมัยก่อน ‘เจ๊สวย’ เจ้าของร้านจะขายเฉพาะ หมูสด หัวหมู และเครื่องในหมู โดยเรียนรู้ขั้นตอนการทำมาจากแม่สามี หลังจากนั้นจึงมาเปิดขายข้าวขาหมู ข้าวหมูแดงหมูกรอบ ข้าวมันไก่และยำลิ้นหมูโดยใช้สูตรดั้งเดิมของเจ๊สวยเองที่ได้รับมาจากนครปฐม เจ๊สวยเล่าถึงสมัยก่อนว่า ตอนนี้หัวหมูขายไม่ดีแบบเมื่อก่อนแล้ว เมื่อก่อนขายได้เป็น ๑๐ หัว ตอนนี้ขายได้เฉพาะเวลามีคนมาสั่งไปแก้บนเท่านั้น ปัจจุบันร้านเจ๊สวยอาจถือได้ว่าเป็นร้านขายหัวหมูเจ้าเก่าเจ้าเดียวในตลาดนางเลิ้งที่ยังคงเหลืออยู่ สวย อัจจุตมานัส, อายุ ๗๐ ปี
ขนมหวานคุณยาย
ร้านขนมหวานคุณยาย เป็นร้านเก่าแก่ที่ขายอยู่ในตัวตลาดนางเลิ้ง ที่มาของชื่อร้านขนมหวานคุณยายมาจากชื่อที่ผู้คน ในตลาดเรียกกันจนติดปาก เพราะสมัยก่อนจะมีคุณยายทำขนมหวานโบราณมาขายเป็นหม้อ คุณยายจะทำขนมหวานเพียงวันละ ไม่กี่อย่าง แต่ขนมหวานที่ว่านั้นจะขายดีมากจนขายหมดในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง หนึ่งในขนมที่คุณยายทำขาย เช่น ขนมกง หรือขนมกงเกวียณ เป็นขนมโบราณที่มีชื่อและความหมายเป็นมงคล ส่วนมาก จะใช้กันในงานหมั้นงานแต่ง ด้วยวิธีการทำหลายขั้นตอนจึงไม่มีมีใครทำขายกันมากนัก ขนมกงจึงนับเป็นขนมที่หาทานได้ยาก ชนิดหนึ่ง นอกจากขนมกงที่มีรสชาติอร่อยแล้วยังมีขนมเปียกปูนใบเตยและขนมใส่ไส้แห้วที่เป็นขนมขึ้นชื่อของที่ร้านด้วย ปัจจุบัน คุณยายไม่ได้มาขายขนมด้วยตัวเองแล้วและมีการสืบต่อสูตรการทำขนมให้ลูกหลาน
ไส้กรอกปลาแนมอาหารโบราณย่านนางเลิ้ง คนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักอาหารในชื่อแปลกหูนี้นัก เพราะไส้กรอกปลาแนมเป็นอาหารเก่าแก่ในวังสมัยก่อน หารับ ประทานได้ยากและเหลือเพียงไม่กี่ร้านเท่านั้น หนึ่งในนั้นก็คือร้านไส้กรอกปลาแนมของป้าสมในตลาดนางเลิ้ง ป้าสมเป็นรุ่นที่ ๔ ที่ สืบทอดความรู้การทำไส้กรอกปลาแนม รุ่นแรกที่เริ่มต้นทำคือ ป้าเจริญ สมิงกล้าทัพ มีการสืบทอดต่อกันมาในครอบครัวตั้งแต่ช่วง พ.ศ. ๒๔๘๐ จนถึงปัจจุบัน ทุกขั้นตอนผ่านมือของป้าสม ส่วนผสมของปลาแนมจะมีข้าวคั่ว ปลาช่อน หนังหมู คลุกเคล้า กินคู่กับหอม กระเทียม ถั่ว พริก และผักแกล้ม เช่น ใบชะพลู ผักกาดหอม ใบทองหลาง กินคู่กับไส้กรอก แม้ไส้กรอกปลาแนมจะเป็นอาหารเก่าแก่ที่คนไม่คุ้น ชินแต่ก็ยังขายดี เห็นได้จากการขายหมดในทุกๆ วัน สม ราชสีห์
๑๙
ก๋วยเตี๋ยวแคะนางเลิ้ง
ร้านสุวิมลก๋วยเตี๋ยวแคะ เปิดขายที่ตลาดนางเลิ้งเป็นเวลา ๓๐ กว่าปี เป็นสูตรเก่าแก่ที่ได้รับมาจากเมืองจีนโดยคุณอา ของคุณสุวิมลผู้มีเชื้อสายจีนแคะ เป็นผู้เริ่มต้นกิจการ พร้อมๆ กับการสืบทอดต่อให้กับคุณสุวิมล คนเก่าแก่ที่เคยมาเที่ยวและหา ของกินอร่อยที่ตลาดนางเลิ้งอาจจะคุ้นเคยกันดีกับร้านก๋วยเตี๋ยวที่ความพิเศษตรงลูกชิ้นหลากหลาย มีถึง ๗ ชนิดด้วยกัน คือ ลูกชิ้น ปลา หมู กุ้ง เต้าหู้ขาว เต้าหู้ทอด ฮือก้วยและเกี๊ยวกรอบ นอกจากความพิเศษตรงลูกชิ้นแล้วคุณสุวิมลก็ยังคงรักษารสชาติดั้งเดิม เก่าแก่ไว้ไม่เปลี่ยนแปลง สุวิมล ประกายสันติสุข, อายุ ๖๐ ปี
ขนมเบื้องญวน ร้านขนมเบื้องญวนตั้งอยู่ถัดจากร้านก๋วยเตี๋ยวแคะไปทางฝั่งถนนนครสวรรค์ เปิดขายมากว่า ๔๐ ปีมาแล้ว ตั้งแต่รุ่น คุณย่าของป้าอ้นที่เรียนรู้สูตรมาจากคุณแม่อีกที ตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๕ ความแตกต่างและความพิเศษของขนมเบื้องญวนโบราณนี้ จะอยู่ที่แป้ง ป้าอ้นเล่าว่า แป้งที่ใช้จะไม่ได้ผสมกับไข่เหมือนกับร้านอื่น แต่จะใส่แป้งก่อนแล้วจึงค่อยใส่ไข่ และจะใช้เตาถ่านในการทำ เพราะแป้ง จะขึ้นฟูและหอมกว่าการใช้เตาแก๊ส สมัยก่อนรุ่นคุณย่าที่เปิดขายขนมเบื้องญวนจะไม่ได้ขายตลอดทั้งปี แต่จะเปิดเฉพาะฤดูหนาวเท่านั้น เพราะคุณย่ามี อาชีพหลักคือการขายดอกไม้ และเมื่อถึงฤดูหนาวดอกไม้จะมีราคาแพง จึงปรับขายขนมเบื้องญวนเป็นอาชีพเสริม แม้กระนั้นป้า อ้นเล่าว่าสมัยก่อนขนมเบื้องญวนก็ยังขายดีจนตีหนึ่งตีสอง เพราะมีโรงหนังศาลาเฉลิมธานี ผู้คนที่เพิ่งดูหนังเสร็จจะออกมาหาซื้อ ของกินกันก่อนกลับบ้านด้วย สมพร ลืมเนตร, อายุ ๕๗ ปี
จิ๊บกี่
ร้านจิ๊บกี่เป็นร้านอาหารเก่าแก่ของตลาดนางเลิ้งที่อยู่คู่กับตลาดมาเป็นระยะเวลากว่า ๘๐ ปีแล้ว คนที่เคยมาเที่ยวตลาด นางเลิ้งสมัยก่อนอาจจะเคยมาทานเป็ดย่างสูตรกวางตุ้งที่รับประทานพร้อมกับน้ำราดแบบดั้งเดิม เป็นสูตรความอร่อยที่ได้รับการ สืบทอดต่อมาจนปัจจุบัน นอกจากร้านจิ๊บกี่จะมีเมนูเป็ดย่างแล้ว ยังมีหมูแดงและหมูกรอบรสชาติกลมกล่อม หากใครสนใจลอง ทานเป็ดย่างรสชาติดั้งเดิม ร้านเปิดเวลา ๘.๐๐ – ๑๔.๐๐ เท่านั้น
๒๐
๒๑