เอกสารตรอกละครฯ วัดแคนางเลิ้ง

Page 1

ด้านตะวันออกของพระนครเมื่อต้น กรุงฯ ที่ทิศใต้ติดกับคลองขุดมหานาค มีสภาพเป็นทุ่งนาเป็นหล่มที่ลุ่ม และเป็น ย่ า นที่ ย ั งไม่ มี ผู้ ค นอาศั ย อยู่ ม ากนั ก บริ เ วณนี้ ค งสภาพแบบชนบทที่ ย ั ง คง มีการเลี้ยงควายและเลี้ยงหมูจนกลายเป็น ย่ า นชุ ม ชนที่ ส ร้ า งวั ด แล้ ว ตั้ ง ชื่ อ ตามภู มิ นาม เช่น บ้านสนามควายมีวัดสนาม ควายหรือวัดแค บ้านคอกหมูมีวัดคอก หมูหรือวัดมหายิ้ม บริเวณดังกล่าวมี ชุมชนหมู่บ้านของชาวนครฯ พัทลุง และ สงขลาเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพิ่มเติมเมื่อสมัย รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมามีการขุดคลองผดุงกรุงเกษม ราว พ.ศ. ๒๓๙๔-๕ เมื่อต้องการขยาย เมืองออกไป บริเวณชุมชนที่ทุ่งสนาม ควายที่ เ คยอยู่ น อกเมื อ งจึ ง กลายเป็ น ชุ ม ชนภายในพระนครที่ ข ยั บ ขยายครั้ ง รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า ฯ และกลายเป็ น ย่ า นการค้ าใหม่ สำหรั บ ตลาดค้าขายทางฝากตะวันออกเมื่อครั้ง ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าฯ โดยที่ มี ก ลุ่ ม บ้ า นละคร ลิเก โขน และมหรสพพื้นบ้านอยู่ในบริเวณที่เรียก บ้านสนามควายเสียใหม่ว่า ‘ย่านนางเลิ้ง’ มู ล เหตุ ข องการโยกย้า ย ถิน 3 ฐาน

พ ระ ร า ช พ ง ศ า ว ด า ร ก รุ ง ร ั ต น โกสิ น ทร์ใ นรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับเจ้าพระยาทิพากร วงศ์ กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อกองทัพครั้ง

เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ภายหลังเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงษ์ ใน ครั้ ง รั ช กาลที่ ๔ ซึ่ ง เป็ น ที่ ส มุ ห พระ กลาโหมและกรมท่าเป็นแม่ทัพราว พ.ศ. ๒๓๗๕ กองทัพนำเจ้าเมืองมลายูที่ไม่ สวามิ ภ ั ก ดิ ์ เ ข้ า มาจำไว้ พ ร้ อ มกวาดต้ อ น ครัวจำนวนหนึ่งมาอยู่ ณ กรุงเทพฯ เจ้าเมืองดังกล่าวนั้นไม่ระบุ แต่น่า จะเป็ น เจ้ า เมื อ งปาตานี เ พี ย งเมื อ งเดี ย ว จาก ๗ หั ว เมื อ ง ทายาททางฝ่ า ย ลูกหลานเจ้าเมืองปัตตานีที่นำมาอยู่ ใน กรุงเทพฯ ครั้งต้นกรุงฯ ค้นข้อมูลทำ เอกสารระบุว่า ทางตระกูลเชื้อสายเจ้า เ มื อ ง ป า ต า นี มี ถิ่ น ฐ า น แ ต่ แ ร ก อ ยู่ บริเวณบ้านแขก แขวงสมเด็จเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรีในปัจจุบัน ส่วนชาวมลายูอื่นๆ ที่ถูกกวาดต้อนมาครั้งรัชกาลที่ ๓ ครั้ง นั้นให้เข้าสังกัดที่กองอาสาจาม, ทำโรง ไหม และบางส่วนไปสังกัดฝ่ายสังฆทาน ทำงานบุญให้กับเจ้าคุณตานี (เจ้าจอม มารดากรมหมื่นสุรินทรรักษ์, เป็นพี่สาว ต่างมารดากับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะบิดาท่านยกทัพกลับ มาจากราชการที่ เ มื อ งตานี ค รั้ ง รั ช กาล ที่ ๑, เหตุนี้อาจจะทำให้ชาวเมืองระแงะ ทั้ง ๑๗ คนนี้อาจจะเปลี่ยนเป็นชาวพุทธ ไปในที่สุด-ผู้เขียน, จดหมายหลวงอุดมสมบัติ, พิมพ์ครั้งที่ ๒, ๒๔๕๘) และคง ให้ ร วมกลุ่ ม อยู่ อ าศั ย กั บ ชาวมลายูใ น กรุ ง ฯ แถบใกล้โ รงไหมหลวงที่ ติ ด กั บ วัดชนะสงครามซึ่งในเวลาต่อมา จึงให้

ตรอกละครฯ ชีพจรยังสั่นไหว

วัดแคนางเลิ้ง วลัยลักษณ์ ทรงศิริ พัชรินธร เดชสมบูรณ์รัตน์ มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์


แยกออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตรอกศิลป์บ้าง ขยายมาเป็นทาง มัสยิดตึกดิน และขยายแยกออกไปนอกเมืองแถบริมคลองสี่แยก มหานาคซึ่งมีกูโบร์สำหรับฝังศพ ชุมชนมุสลิมภายในเมืองชั้นในต้อง นำศพออกมาฝังที่นี่ตั้งแต่เริ่มต้นตั้งถิ่นฐานจนถึงปัจจุบัน เหตุ ก ารณ์ เ ดี ย วกั นในปี พ.ศ. ๒๓๗๕ พระราชพงศาวดาร บันทึกไว้ว่า ปีนั้นฝนแล้งข้าวยากหมากแพง ชาวบ้านจากนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลาหาเลี้ยงชีพยากลำบากจึงมายอมตัวเข้า เป็ น ข้ าในกองทั พ จากพระนคร แล้ ว ขอตามเข้ า มายั ง กรุ ง เทพฯ จำนวนมาก มาพร้อมกับชาวมลายูเชลยซึ่งไม่ได้นำเข้ามามากนัก เนื่องจากอยู่ในภาวะข้าวแพง ต่อมาเมื่อข้าวถูกลงแล้ว จึงโปรดฯ ให้ ช่ ว ยชาวบ้ า นที่ ก องทั พ พาเข้ า มาโดยชำระเงิ น ค่ า ข้ า วและค่ า ตั ว แก่ มูลนายเดิมเพื่อเป็นไพร่หลวงแทน แล้วให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่บ้าน สนามกระบือเรียกว่า “ไพร่หลวงเกณฑ์บุญ” หัดให้เป็นช่างปูนศิลา เป็นอาชีพสืบไป (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ฯ)

แสดงว่านอกจากที่กวาดต้อนเอาครัวเชลยมาไว้ที่กรุงฯ เป็น แรงงานไพร่ตามมูลนายต่างๆ แล้ว ก็ยังมีครัวชาวบ้านที่ติดทัพ มาด้วยจากหัวเมือง ใ นสมัยรัชกาลที่ ๓ นับเป็นช่วงรัชกาลที่ มีศึกสงครามมากและมีการเกณฑ์ครัวเข้ามาไว้เป็นแรงงานใน กรุงฯ พร้อมทัพที่ยกกลับมามากเช่นกันในตลอดรัชกาล ชาวบ้านที่กลายเป็นไพร่หลวง ทำงานให้กับพระมหากษัตริย์ โดยตรงเมื่อเวลามีงานบำเพ็ญพระราชกุศล มีนิวาสถานเดิมอยู่ที่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง และเมืองสงขลาไปตั้ง บ้านเรือนอยู่บริเวณทุ่งกว้างด้านตะวันออกของพระนคร ซึ่งน่าจะ มีกลุ่มบ้านเชื้อสายพระยาพัทลุงอยู่แล้วในบริเวณที่เคยเป็นวังอีก ด้านหนึ่งของถนนหลานหลวง (ตระกูลวัลลิโภดม โ ดยคุณปู่ของ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ก็ถูกเวนคืนที่ดินในสมัยรัชกาลที่ ๕ เพื่อใช้เป็นพื้นที่เพิ่มเติมของวังแห่งหนึ่งเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๕๔)

บ้านสนามควายหรือบ้านสนามกระบือ ย่านละครดงเดิ ั? ม

ด้านตะวันออกของพระนครเมื่อยังไม่ได้ขุดคลองผดุงกรุงเกษม ก่อนการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของกลุ่มไพร่หลวงเกณฑ์บุญใน สมั ย รั ช กาลที่ ๓ พื้ น ที่ บ ริ เ วณนี้ ด้ า นทิ ศใต้ ติ ด กั บ คลองขุ ด มหานาค ทางตะวันออกเป็นที่นากว้างสภาพพื้นที่เป็นทุ่งนา ที่ลุ่ม ย่านที่อยู่อาศัยมีสองกลุ่มคือ ใ กล้กับริมคลองมหานาคมี ผู้คนอยู่ตามริมคลอง ศูนย์กลางของชุมชนอยู่ที่ “วัดมหายิ้ม” หรือวัดสิตารามหรือวัดคอกหมูตามที่ชาวบ้านรอบๆ เรียกขาน กันอย่างลำลอง วัดนี้เป็นพื้นที่ซึ่งเคยมีจีนเลี้ยงหมูอยู่มาก่อน และต่อมาพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จ พระสังฆราชในรัชกาลที่ ๕ ทรงเปลี่ยนนามเป็น “วัดสิตาราม” ที่ แปลว่า วัดมหายิ้มสร้าง ส่วนย่านสนามควายน่าจะอยู่ที่ “วัดแค” หรือวัดสุนทรธรรมทานในปัจจุบัน ทางฝั่งตะวันออกของวัดเป็นท้องทุ่งกว้างใหญ่ มีชุมชนอยู่ห่างๆ ต่อเนื่องข้ามไปจนถึงวัดโสมนัสวิหาร ทั้งวัดสิตารามและวัดแคมีเส้นทางน้ำขนาดเล็กที่ไม่มีชื่อเรียก เป็นแพรกแยกออกจากคลองมหานาคและขนานไปกับคลองจุล นาคที่อยู่ทางตะวันตก เชื่อมกับ “ตึกดิน” อีกแห่งหนึ่งที่มีขนาด ใหญ่กว่าตึกดินภายในเมืองชั้นใน และต่อกับเส้นทางน้ำที่ไปยังวัด แค และเมื่อมีการขุดคลองผดุงกรุงเกษมก็มีเส้นทางน้ำออกเชื่อม ต่อไปยังคลองรอบกรุงชั้นนอก ปัจจุบันยังพอเห็นร่องรอยทางน้ำ นี้อยู่ ตามเอกสารสารบาญชีของกรมไปรษณีย์ยุคแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ เรียกถนนนครสวรรค์ว่าถนนสนามควาย แต่ แ ผนที่ เมื่ อ พ.ศ. ๒๔๔๐ เรียกว่าถนนนครสวรรค์แล้ว และในแผนที่ นี้ ย ั ง ไม่มีการสร้างถนนราชดำเนินที่สร้างใน พ.ศ. ๒๔๔๒ ส่วนถนนหลานหลวง ถนนจักรพรรดิพงษ์ตัดขึ้นในสมัย ทิศใต้ติดกับคลองขุดมหานาค ทางตะวันออกเป็นที่นากว้าง สภาพพื้นที่เป็นทุ่งนาที่ลุ่ม

ย่านที่อยู่อาศัยมีสองกลุ่มคือ

ใกล้กับริมคลองมหานาคมีผู้คน อยู่อาศัยตามริมคลอง

ศูนย์กลางของชุมชนอยู่ที่

“วัดมหายิ้ม” หรือวัดสิตาราม

หรือวัดคอกหมูตามที่ชาวบ้าน

เรียก ย่านสนามควายน่าจะอยู่ที่

“วัดแค” หรือวัดสุนทรธรรมทาน ซึ่งฝั่งตะวันออกเป็นท้องทุ่ง กว้างใหญ่ มีชุมชนอยู่ห่างๆ

ต่อเนื่องไปจนวัดโสมนัสวิหาร

แผนที่ราว พ.ศ. ๒๔๔๐


ปลายรัชกาลที่ ๕ ก่ อ นตั ด ถนนราชดำเนิ น จะเห็ น ว่ า พื้นที่ของวัดปรินายก ที่เดิมชื่อวัดพรหม สุ ริ น ทร์ ต ามบรรดาศั ก ดิ ์ ข องเจ้ า พระยา บดินทร์เดชา (สิ ง ห์ สิ ง หเสนี ) ในช่วงต้น รัชกาลที่ ๒ และได้รับการทะนุบำรุงเรื่อย มาจนช่วงรัชกาลที่ ๓ ก่อนจะปล่อยทิ้งไป กว่า ๕๐ ปี จึงถูกเวนที่ดินเพื่อสร้างถนน ราชดำเนิน มี อ าณาบริ เ วณกว้ า งขวางมาก กิ น พื้ น ที่ ตึ ก ที่ ทำการของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ต้ น ถนนราชดำเนิ น นอก จนจรดสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งจนถึง ริมถนนนครสวรรค์ในปัจจุบันทีเดียว และ เป็ น ถนนจากประตู พ ฤฒิ บ าศไปจรดยั ง สะพานเทวกรรมรังรักษ์ที่ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ใกล้วัดโสมนัสวิหารที่สร้างเสร็จ ในคราวเดียวกับการขุดคลองราว พ.ศ. ๒๓๙๕ แถบถนนสนามควายของตามเอกสาร กรมไปรษณีย์ บันทึกว่ามีผู้คนอยู่อาศัย จำนวนไม่ น้ อ ย คงเป็ น ถนนลำลอง ที่ออกไปทางนอกเมืองทิศตะวันออกที่ยัง เป็นทุ่งนาและสวน ต่อมาคงสร้างเพิ่มเติม เป็ น ถนนพฤฒิ บ าศเพราะออกจากประตู พ ฤ ฒิ บ า ศ ที่ รื้ อไ ป เ มื่ อ ส ร้ า ง ถ น น ราชดำเนิ น นอกและรื้ อ พระอุโ บสถของ วัดปรินายกเดิมไปด้วยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ และบริเวณนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของถนน นครสวรรค์หรือถนนพฤฒิบาศหรือ “ถนน สนามควาย” ตามที่เคยเรียกในเอกสาร ของกรมไปรษณีย์ ถนนสนามควายสายนี้ มี บ้ า น “คน ละคร” แจ้งไว้อยู่หลายบ้าน เช่น อำแดง ปาน บุตรนายบาน ขึ้นสมเด็จเจ้าพระยา เป็นคนละคร เรือนเครื่องผูก, อำแดงอิน บุตรนายอิน ขึ้ น จะหมื่ น อิ น ประภาษใน พระราชวั ง บวร เป็ น คนละคร โรงแตะ, นายพ่วง บุตรขุนรัก ขึ้นกรมพระบำราบ ปรปัก เป็นคนละคร โรงแตะ เป็นต้น ส่ ว นบ้ า นที่ไ ม่ไ ด้ ระบุ ว่ า เป็ น คนละคร ก็มีอาชีพช่างปูน เป็นไพร่หลวงเกณฑ์บุญ ที่สืบมาแต่รัชกาลที่ ๓ บ้าง ทอผ้าขายบ้าง เป็นช่างเขียน ช่างสลัก ช่างไม้บ้าง เป็นจีน ขายเหล้าแทรกอยู่บ้าง เป็นข้าราชการทำ ตำแหน่งสมุหบัญชีบ้าง เป็นขุนนางพวก หลวง, ขุน, หมื่น หลายท่าน เป็นหม่อมเจ้า

ในพระราชวังบวรฯ บ้าง หม่อมราชวงศ์ บ้ า ง ส่ ว นชื่ อ ที่ ดู จะเป็ น ชื่ อ ของผู้ ค นที่ มี พื้นเพมาจากทางใต้ก็พบมาก เช่น เอียด, นุ้ย, น้อย, หนู เป็นต้น แผนที่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ดังกล่าวยัง ไม่ มี ก ารสร้ า งตลาดนางเลิ้ ง ที่ เ ปิ ด เป็ น ทางการ พ.ศ. ๒๔๔๓ แต่พบว่าแนวพื้นที่ ของวัดแคหรือวัดสนามควายหรือวัดสนาม คอกกระบือหรือคอกควาย มุมส่วนหนึ่ง เกือบจะประชิดแนวถนนที่ตัดใหม่คือถนน นครสวรรค์ ภายหลังมีการก่อสร้างเป็น อาคารเรือนแถวตึกและตลาดแบบฝรั่งที่มี หลั ง คาคลุ ม กลายเป็ น ตลาดนางเลิ้ ง ย่ า น เศรษฐกิจทางฝั่งตะวันออกอีกแห่งหนึ่งของ พระนคร เป็นการขยายเมืองออกไปให้ ชนกับแนวคลองเมืองชั้นนอกที่ในยุคนั้น ก็ ก ลายเป็ น เขตทุ่ ง นา เรื อ กสวนและ คูคลองแบบชนบท และยังคงเป็นอยู่ต่อ มาอีกระยะหนึ่ง ตลาดและตึกแถวน่าจะกินพื้นที่ของวัด แคส่วนหนึ่ง คั่นด้วยถนนที่เรียกกันต่อมา ว่า “ถนนพะเนียง” เมื่อสมัยสงครามโลก ครั้งที่ ๒ คนในแถบนี้ยังบอกว่าเป็นถนน โคลนแคบๆ น้ำท่วมเสมอๆ และมีย่านโคม เขียวที่เรียกว่าตรอกสะพานยาวซึ่งต่อกับ ทางเข้าโรงภาพยนต์เฉลิมธานีที่สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ จนถึงราว พ.ศ. ๒๕๐๐ จึง เริ่ ม ลาดยาง ถนนพะเนี ย งตั ด ผ่ า นถนน นครสวรรค์ซึ่งฝั่งหนึ่งคือถนนหลานหลวง และยาวไปจรดถนนราชดำเนินที่หัวมุมมี ร้านลิขิตไก่ย่างและสนามมวยราชดำเนิน วัดแคเป็นวัดของชาวบ้านในละแวกนี้ คนในตลาดนางเลิ้ งไม่ น้ อ ยที่ มี เ ชื้ อ จี น ก็ทำบุญและเก็บอัฐิไว้ที่วัดแค นอกจากนั้น ก็ เ ป็ น ชาวบ้ า นที่ เ คยอยู่ อ าศั ย หรื อ ยั ง อยู่ อาศัยอยู่รอบๆ ฝั่ ง ด้ า นใต้ ข องวั ด แคมี ก ลุ่ ม ชุ ม ชน บ้านเก่า อยู่ติดประชิดจนถึงแนวริมถนน หลานหลวง กลุ่ ม บ้ า นนี้ คื อ ตรอกละคร ที่ สื บ เชื้ อ สายไปถึ ง กลุ่ ม ชาวบ้ า นจาก เมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ที่อพยพมาอยู่กรุงเทพฯ เมื่อสมัยรัชกาล ที่ ๓ และยังมีคนสืบทอดคณะละครชาตรี วงปี่พาทย์ รำละคร ลิเก รวมถึงบ้านที่เป็น คณะละคร ซึ่งยังคงมีอยู่และมีชื่อเสียงมา จนถึงปัจจุบัน

แผนที่ราว พ.ศ. ๒๔๗๔ ทําความรูจ ้ ักละครชาตรี

ละครชาตรีโ ดยนิ ย ามของราชบั ณ ฑิ ต กล่าวว่า เป็นละครต้นแบบของละครรำ เล่น กันเป็นพื้นบ้านทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็น ชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมักไม่แต่งตัวยืน เครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก ทุ ก วั น นี้ ผู้ ค นคงไม่ คุ้ น เคย บางคนรู้ จั ก เพี ย งการแสดงเป็ น ละครแก้ บ นที่ ศ าล หลักเมืองหรือศาลพระพรหมเอราวัณ เป็น ตอนสั้นๆ หรือการรำเป็นชุดๆ ตามสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ศาลหลักเมือง กรุงเทพฯ ศาลพระพรหมเอราวัณ กรุงเทพฯ วัดโสธร วรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา และวัด มหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี ผู้รู้ทางด้านนาฎศิลป์และดนตรีหลายท่าน ให้ความเห็นไว้ว่า ละครชาตรีและละครแก้บน คือละครนอกแบบดั้งเดิม (สุจิตต์ วงษ์เทศ. มติ ช นรายวั น ฉบั บ ประจำวั น พุ ธ ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๕.) ส่วนการแสดงละครชาตรี แบบเดิมที่พัฒนามาจากการแสดงโนราแบบ ทางใต้ยังคงมีสืบทอดที่ลูกหลานบางท่านของ คณะครูพูน เรืองนนท์ที่ย่านตรอกละครและ ละครชาตรี เ มื อ งเพชรหลายคณะ (สุ ร พล วิรุฬห์รักษ์, ละครชาตรี, สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน เรื่องที่ ๖ เล่มที่ ๓๒.) มหรสพในยุ ค ต้ น กรุ ง ฯ ถื อ ว่ าในช่ ว ง รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลัยถือว่าเป็นยุคฟื้นฟูทั้งละครในและละคร นอกที่สืบมาแต่กรุงศรีอยุธยา พระองค์ท่าน ทรงเลือกเรื่องละครนอกเฉพาะตอนที่น่าเล่น ละคร ซึ่งมักเป็นเรื่องการพลัดพราก ชิงรักหัก สวาทอันเป็นการสอนธรรมะไปในตัว นำมา


จากชาดกนอกนิบาต ๕๕๐ เรื่องหรือ ในปัญญาสชาดกหรือชาดก ๕๐ เรื่องที่ ถูกนำมาประพันธุ์อย่างแพร่หลายไปทั่ว ภูมิภาคในอดีต มาทรงพระราชนิพนธ์ บทใหม่ให้ละครหลวงเล่น ๕ เรื่อง คือ เรื่ อ ง สั งข์ ท อง ไชยเชษฐ์ มณี พิไ ชย ไกรทอง และคาวี ต่อมาถึงรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ แม้ไม่ โปรดเรื่องละคร ละครหลวงจึงเลิกรา ไปตลอดรัชกาล แต่กลับออกมาเฟื่อง ฟู ต ามวั ง เจ้ า นาย ตลอดจนขุ น นาง คหบดี แต่ ก็ มิไ ด้ ท รงหวงห้ า มผู้ อื่ น มิให้มีละคร บางพระองค์บางท่านจึง แอบมีละครผู้หญิงตามแบบอย่างละคร หลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ก็คงจะทรงทราบ แต่ก็มิได้ห้ามปราม แต่อย่างใด เช่น กรมหลวงภูวเนตรนรินทร์ ฤทธิ ์ ก็ ท รงมี ละครของท่ า นในช่ ว ง รัชกาลที่นี้ ละครของท่านหัดรำตาม แบบอย่างละครหลวงเช่นท่านผู้อื่น แต่ โปรดเรื่องละครนอก จึงทรงแต่งบท ละครนอกขึ้นอีก ๓ เรื่องคือ สุวรรณ หงส์ ๑ นางแก้วหน้าม้า ๑ และนางกุลา ๑ ปรากฏว่ า บทละครนอกของ พระองค์ เ จ้ า ทิ น กร หรื อ กรมหลวง ภูวเนตรนรินทร์ฤทธิ์ เป็นที่แพร่หลาย มากจนถึงบัดนี้ ไม่ว่าเรื่องนางแก้วหน้า ม้ า มณี พิไ ชย (นางยอพระกลิ่ น ) สุวรรณหงส์ นางกุลา ซึ่งพวกละคร นอกหรือที่เรียกกันว่าละครชาตรีนิยม เล่นกันมากไม่แพ้เรื่องสังข์ทอง ไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวีและไกรทอง มีบทด่า ว่ากันอย่างถึงอกถึงใจชาวบ้าน(จุลลดา ภักดีภูมินทร์. การละครในรัชกาลที่ ๒, เวียงวัง, ๒๕๔๕.) ต่ อ มาในรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู่ ห ั ว ได้ ท รงออก ประกาศเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ มีพระบรม ราชานุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์ และ ข้ า ราชการทั้ ง ฝ่ า ยทหารและพลเรื อ น ฝึ ก หั ด ละคอนผู้ ห ญิ ง กั นได้ อ ย่ า ง เปิดเผยและมีความนิยมเฟื่องฟูจนเกิด คณะละครมากมาย ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ เ ก็ บ อากรมหรสพซึ่ ง เป็ น การเก็ บ ภาษีแบบใหม่หนึ่งใน ๑๔ ประเภท เป็นอากรผูกขาดที่ให้นายอากรประมูล

ขอรั บ ผู ก ขาดจั ด แสดงและนำส่ ง รายได้ใ ห้ กับรัฐ ในสมั ย รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงละครเฟื่องฟู เริ่ ม มี ก ารสร้ า งโรงละครเก็ บ ค่ า ชมเป็ น ครั้ ง แรก จนเกิดศัพท์คำว่า “วิก” แต่เดิมมีแต่ ละครนอกให้ชาวบ้านดู ส่วนละครในสำหรับ เจ้านายและชาววัง ต่อมามีการนำแบบอย่าง ตะวันตกมาพัฒนาการละครไทย เกิดเป็น ละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ ละครร้อง หรือละครปรีดาลัย มีคณะละครทั้งของเจ้า นายหรือขุนนางชั้นผู้ใหญ่ คณะละครจากต่าง ประเทศหรือชาวต่างประเทศในไทย และคณะ ละครชาวบ้านเกิดใหม่อีกหลายคณะ และคณะ ลิ เ กก็ เ กิ ด ขึ้ นในช่ ว งนี้ เป็ น การผสมผสาน ระหว่างละครนอกผสมกับการเริ่มต้นบทสวด สรรเสริญพระเจ้าของชาวมลายู ความหมายโดยย่ อ ของละครประเภท ต่างๆ ดังเช่น ละครใน เป็ น ละครที่ เ กิ ด ขึ้ นในพระ ราชฐานจึ ง มี ระเบี ย บแบบแผนและสุ ภ าพ เพลงร้อง เพลงดนตรี ดำเนินจังหวะค่อน ข้างช้าอ่อนช้อยสวยงาม ดนตรีใช้วงปี่พาทย์ จะเป็ น วงเครื่ อ งห้ า เครื่ อ งคู่ ห รื อ เครื่ อ งใหญ่ ก็ได้การแสดงมีคนบอกบท ต้นเสียง ลูกคู่ การเล่นตลกจึงเกือบจะไม่มีเลย ละครนอก มีตัวละครมาก ใ ช้วงปี่พาทย์ จะเป็นเครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ได้

ทั้ ง สิ้ น โรงละครสร้างง่ายๆ มีฉากเป็นผ้าม่าน มีประตูเข้าออกหลังฉากเป็นที่แต่งตัว และ สำหรับให้ตัวละครพัก หน้าฉากเป็นที่แสดง ตั้ ง เตี ย งตรงกลางหน้ า ฉาก การแต่ ง กาย เลียนแบบเครื่องต้นของกษัตริย์ การแสดง มีคนบอกบท มีต้นเสียงและลูกคู่สำหรับร้อง จั ง หวะของการร้ อ งและการบรรเลงดนตรี ค่อนข้างเร็ว ไม่มีการไหว้ครู เรื่องที่ละครนอก แสดงได้ ส นุ ก สนานเป็ น ที่ นิ ย มแพร่ ห ลาย ละครนอกรำเอง ร้องเอง ง่ายๆ สั้นๆ เน้นบท พูดเจรจาตลกคะนอง ต่อมามีละครพันทาง ละครดึกดำบรรพ์ ไปจนถึ ง ละครปรี ด าลั ย ซึ่ ง เป็ น คณะละคร ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพั น ธ์ พ งศ์ ที่ นำเอาแบบอย่ า งละครแบบ ตะวั น ตกเข้ า มาปรั บ การแสดง ใช้ เ นื้ อ เรื่ อ ง สนุกสนานเข้าใจง่าย ดำเนินเรื่องรวดเร็ว ไม่มี ท่ารำมาก การแต่งกายและฉากเน้นสมจริง ตามเรื่อง เริ่มด้วยแนะนำตัวละครสำคัญ บอก อายุ ตำแหน่ง อุปนิสัย ความสามารถ บอกชื่อ ชุด บรรยายฉาก แล้วเข้าเรื่อง บอกบทพูด สลับร้องโดยลูกคู่ ตอนจบให้ข้อคิด ตัวแสดง เป็ น หญิ ง ล้ ว นถื อ ว่ าได้ ร ั บ ความนิ ย มในหมู่ ชนชั้นสูงและผู้มีฐานะดี เมื่องทรงเลิกทำละคร นั้นได้ประพันธ์ละครร้องเหล่านี้กว่า ๗๐๐ เรื่อง และแพร่หลายไปตามคณะละครร้องที่ไป เปิดการแสดงตามหัวเมืองจำนวนมาก จน กลายเป็นงานธุรกิจที่สำคัญและต่อเนื่องจนถึง

การแสดงละครนอกที่จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๔๓


ชีพจรยังสั่นไหว

ตรอกละครฯ วัดแคนางเลิ้ง การเกิดธุรกิจภาพยนตร์และโรงหนังในเวลา ต่อมา จนกระทั่ ง ความนิ ย มในละครซบเซาลง ในช่วงรัชกาลที่ ๗ ที่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก จากการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึงหลัง สงครามโลกครั้งที่ ๒ บ้านเมืองเปลี่ยนแปลง อย่ า งขนานใหญ่ ถื อ ว่ า มี ผ ลกระทบต่ อ อาชี พ ละครมาก เมื่ อ สมั ย ช่ ว งนายกรั ฐ มนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศพระราช กฤษฎีกากำหนดวัฒนธรรมทางศิลปกรรม เกี่ยวกับการแสดงละคร พุทธศักราช ๒๔๘๕ เพื่อจัดระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน ทำให้ผู้จัด

อบรบควรมีความรู้พื้นฐานมาบ้าง หากไม่มี กรมศิ ล ปากรจะให้ ท ดลองแสดงละครให้ ดู ก่อนแล้วจึงพิจารณาว่าสมควรรับเข้าอบรม หรือไม่ วิชาที่เปิดอบรมศิลปินในการอบรบใช้ เวลาไม่ต่ากว่า ๔๘ ชั่วโมง และอบรมไม่เกิน ๙๐ วัน ผู้ที่ได้รับอบรมตามกำหนดแล้ว กรม ศิ ล ปากรจะจั ด สอบความรู้ หากผู้ใ ด ได้คะแนนรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของ วิ ช าทั้ ง หมด กรมศิ ล ปากรจะออกใบ ประกาศนียบัตรหรือใบเทียบเท่าศิลปินให้ เหตุนี้ทำให้เกิดผลกระทบไปทั่วทุกสาขา การแสดงพื้นบ้าน และมีผู้เลิกทำอาชีพแสดง ละคร โนรา ลิเกไปมากเช่นกัน และพระราช กฤษฎีกานี้ยกเลิกไปเมื่ออีก ราว ๔ ปีผ่านไป

บ้ า นละครในย่ า นถนนสนามควายก่ อ น ครูพูนเกิดมี ๒-๓ บ้านที่บันทึกไว้ เช่น อำแดง ปาน อำแดงอิน นายพ่วง เป็นต้น คงเป็นบ้าน เล่นละครชาตรีที่รู้จักกันในราว พ.ศ. ๒๔๒๗ เป็นหลักฐานว่ากลุ่มบ้านละครนั้นมีอยู่หลาย ครอบครัวและหลายบ้าน จนกลายเป็นย่าน เล่นละครชาตรีสืบมา คณะละครชาตรีสายบ้านเรืองนนท์เป็นที่ รู้จักกว้างขวางในสมัยครูพูน เรืองนนท์ ที่สืบ เชื้อสายมาจากพระศรีชุมพล (ฉิม) ข้าราชการ

แหล่งเริม 3 แรก ละครชาตรี กลุม ่ บ้านย่านสนามควาย

แสดงละคร การละเล่นต่างๆ ต้องขออนุญาต จากพนักงานของกรมศิลปากรก่อนการแสดง ทุกครั้ง ผู้แสดงและผู้จัดต้องปฏิบัติภายใต้ เงื่อนไขของระเบียบการกรมศิลปากรว่าด้วย การขออนุ ญ าตและการควบคุ ม การแสดง ละคร ต้องยื่นใบคำร้องของอนุญาตแสดงพร้อม ด้วยบทประพันธ์และชื่อนามสกุลของผู้แสดง ต่ อ กรมศิ ล ปากรก่ อ นการแสดงครั้ ง แรกไม่ น้อยกว่า ๑๕ วัน และสถานที่ทำการแสดง ละครต้ อ งเป็ น ที่ เ หมาะสมไม่ เ สื่ อ มเสี ย ต่ อ วัฒนธรรมหรือขัดต่อสุขภาพของผู้ชม และผู้แสดงละครอาชีพทุกประเภทจะต้อง มีใ บประกาศนี ย บั ต รหรื อใบสำคั ญ ที่ ก รม ศิลปากรออกให้ว่าเทียบเท่าศิลปิน โดยกรม ศิลปากรทำหน้าที่อบรมให้ความรู้แก่ศิลปิน เพื่อให้ผู้แสดงละครทุกประเภทสามารถแสดง ละครของตนได้ อ ย่ า งเป็ น มาตรฐานไม่ ผิ ด เพี้ยนหรือแสดงความไร้อารยะ ผู้ที่จะเข้ารับ

มี ค ณะละครชาตรี พ ั ฒ นามาจากคณะ โนราชาตรีจากนครศรีธรรมราช พัทลุง และ สงขลาที่ติดตามทัพครั้งรัชกาลที่ ๓ เข้ามายัง กรุงเทพฯ ตั้งเป็นคณะละครรับจ้างแสดงซึ่ง ใช้ค นในครอบครั ว เป็ น หลั ก จนเป็ น ที่ นิ ย ม โดยปรับรูปแบบการแสดงให้เข้ากับรสนิยม ของผู้ชมในกรุงเทพฯ แม้ในรัชกาลนั้นจะไม่ ส่งเสริมการเล่นละครนักแต่ก็ไม่ได้ห้ามปราม และยั ง คงมี ก ารแต่ ง ละครเพื่ อ เล่ น กั บ ละคร นอกหลายเรื่อง ซึ่งเผยแพร่ไปสู่ชาวบ้านใน พระนคร จนเมื่อราว ๒๐ ปีต่อมาในรัชกาลที่ ๔ หลังจากชาวใต้เข้ามาอยู่อาศัยที่ย่านสนาม ควาย ละครนอก ละครพื้นบ้านต่างๆ จึงได้ รั บ ความนิ ย มมากจนถึ ง ขั้ น ต้ อ งมี ก ารเก็ บ อากรมหรสพคณะละครต่างๆ ทีเดียว การแสดงของละครนอกจึ ง นำมาผสม ผสาน เช่น ดนตรี ปี่พาทย์ ทำนองเพลง การ ร้อง การรำ การแต่งกาย นักแสดงโนราที่เป็น ผู้ชายเปลี่ยนมานุ่งผ้าเหมือนอย่างละครนอก แต่ยังคงรักษาแบบแผนของโนราคือ สวม เทริด สวมกำไลมือข้างละหลายอันและสวม เล็บแต่ไม่สวมเสื้อ และการสวมเล็บก็ค่อยๆ หมดไป

ครูพูน เรืองนนท์ ในเมืองนครศรีธรรมราช มีลูกชายมาเป็นไพร่ หลวงเกณฑ์ บุ ญ อพยพมาอยู่ ที่ บ้ า นสนาม ควายครั้งรัชกาลที่ ๓ และร่วมกับนายขำ นาย จัน นายธูป ตั้งคณะละครชาตรีตามแบบเมือง นครฯ รับเหมาแสดงละครต่างๆ จนเป็นที่ นิยม มีลูกชายคือนายนนท์ และหลานชายคือ ครูพูน เรืองนนท์ ซึ่งเกิดเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๓๔ ที่นครศรีธรรมราช ซึ่งแสดงว่ากลุ่ม


ผู้ ที่ ถู ก กวาดต้ อ นบางกลุ่ ม สามารถเดิ น ทาง ติดต่อกับภูมิลำเนาเดิมได้โดยไม่ได้จากลาเด็ด ขาด แต่สามารถเชื่อมร้อยถิ่นฐานเดิมกับการ ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้ด้วยเหตุต่างๆ และน่าจะมี กรณีคล้ายกันนี้อีกหลายกรณี ครู พู น เรื อ งนนท์ มีโ อกาสกลั บไปยั ง นครศรีธรรมราชเมื่ออายุราว ๘ ขวบ แล้วไป ฝึกหัดเชิดหนังตะลุง โ นรา ใ ช้การเชิดหนังเป็น ภาษาใต้แต่บทพูดเป็นภาษากลาง เป็นคณะ หนังตะลุงแบบทางใต้ในกรุงเทพฯ ที่มีชื่อเสียง มากที่สุด ขณะเดียวกันก็รับเล่นละครชาตรีทุก วันเพราะเป็นที่นิยมและแสดงในงานแก้บนเป็น หลัก บางครั้งก็แสดงที่บ้านตนเองเพราะไม่ใช่ มหรสพเพื่อคนดู แต่เพื่อการทำพิธีกรรมแก้ สินบน คณะครูพูน เรืองนนท์ถือว่ามีค่าตัวทั้ง ละครชาตรีแพงมากกว่าคณะอื่นๆ ราว ๓ เท่า เพราะถือว่าเป็นคนมีฝีมือ รับการสืบทอดมา จากคณะโนราทางใต้ใ นรุ่ นใหม่ๆ กว่ า คณะ ละครอื่นๆ ที่ถูกปรับให้เป็นการแสดงกึ่งละคร นอกไปแล้ ว เนื่ อ งจากครู พู น เรื อ งนนท์ มี ภรรยาและบุตรหลานจำนวนมาก จึงแตก สายเป็นคณะละครอีกหลายคณะในเวลาต่อมา เช่น คณะครูทองใบ เรืองนนท์ รุ่นหลานบัว สาย เรืองนนท์ คณะกนกพร ทิพโยสถ ครูมนตรี ตราโมทบันทึกไว้ว่า ราวสมัย รัชกาลที่ ๖ มีผู้นำเอาละครชาตรีกับละครนอก มาผสมกัน เรียกว่าละครชาตรีเข้าเครื่องหรือ ละครชาตรีเครื่องใหญ่ ใช้ดนตรีของละครชาตรี ผสมกับวงปี่พาทย์ของละครนอก คือ ใช้ปี่ใน

โทน กลองตุ๊ก ฉิ่งและกรับ ต่อมามีการใช้ ระนาดมาเดินทำนองแทนปี่ เพราะหาคนเป่าปี่ ได้ยาก จนกลายเป็นวงปี่พาทย์ชาตรีที่มีการใช้ ฆ้องวงและตะโพนเข้ามาเสริมอยู่บ้าง ในขณะเดี ย วกั น ก็ มี ก ารสื บ สายละครใน ครอบครัวอื่นๆ เช่น คณะจงกล โปร่งน้ำใจ ที่ เกิดในตรอกละครนี้แต่สืบเชื้อสายละครชาตรี มาจากตระกูลอากาศโปร่ง ที่อพยพมาจาก พัทลุงในช่วงรัชกาลที่ ๓ และจากย่าทางอำเภอ ท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา และรับงานประจำ เป็นละครรำแก้บนที่ศาลพระพรหมเอราวัณ นอกจากนี้ ย ั ง มี ละครทางบ้ า นฝั่ ง ถนน ดำรงรักษ์ที่เป็นคณะโขน ละครรำ ลิเกจากสาย ฝ่ายหญิงที่เคยอยู่ทางตรอกละคร หลานหลวง และมีเชื้อสายสืบทอดไปถึงกลุ่มคนละครจาก ใต้อย่างน้อยก็น่าจะมีถึงสองคณะ ละครชาตรีเมืองเพชร

คณะละครชาตรีที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัด เพชรบุรีคือ คณะนายสุข จันทร์สุข หรือ คณะ หลวงอภัยพลรักษ์ ซึ่งมีอายุอยู่ในราว พ.ศ. ๒๓๗๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๔ นายสุข จันทร์สุข เกิดในช่วงราวรัชกาลที่ ๓ เคยติดตามคณะ ละครเมืองเพชรไปแสดงหลายคณะ และได้ไป ฝึกแสดงละครชาตรีที่หลานหลวง ซึ่งทางลูก หลานของครูพูน เรืองนนท์กล่าวว่ามาหัดที่ บ้านครูพูน ที่ตรอกละคร แล้วจึงกลับไปถ่าย ทอดต่อๆ กัน ดังนั้น ละครชาตรีเมืองเพชรจึง

ได้แบบแผนการแสดงละครชาตรีแบบ ดั้ ง เดิ ม ที่ เ ป็ น มหรสพกึ่ ง พิ ธี ก รรม แก้บนไปจากพูน เรืองนนท์ มากกว่าที่ จะเป็นการแสดงละครชาตรีเครื่องใหญ่ แบบละครนอก ครั้งรัชกาลที่ ๔ เสด็จฯ แปรพระ ราชฐาน ณ พระนครคีรี ละครของ นายสุ ขได้ มีโ อกาสแสดงถวาย โปรด เกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอภัยพลรักษ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่ อ เสด็ จไปประทั บ ที่ เ มื อ งเพชรบุ รี ทรงสนั บ สนุ น การแสดงละครชาตรี ทรงมอบหมายเจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จาก วั ง หน้ า เป็ น ผู้ ถ่ า ยทอดท่ า รำให้ ค ณะ ละครเมืองเพชรบุรี จึงเกิดการผสม ผสานกับละครของเจ้าพระยาสุรพันธ์ พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) เจ้าเมือง เพชรบุ รี ที่ ม อบหมายให้ ห ม่ อ มเมื อ ง บุตรีของหลวงอภัยพลรักษ์เป็นผู้ได้รับ การฝึ ก หั ด ละครแบบละครหลวงใน ครั้งนั้น และแบบแผนของหม่อมเมือง ที่สืบมาจากละครหลวงอภัยพลรักษ์ และละครนอกจากวั ง หน้ า นี้ เ ป็ น รากฐานการรำของละครชาตรีเพชรบุรี ทุกคณะ ละครชาตรีเมืองเพชรบุรี รุ่งเรือง จนมีหลายคณะ เช่น คณะหลวงอภัย พลรักษ์ คณะหลวงทิพย์อาชญา คณะ ตาไปล่ คณะยายปุ้ย และคณะบางแก้ว ซึ่ ง คณะนี้ไ ด้ ร ั บ อิ ท ธิ พ ลโนราของ จังหวัดชุมพร ทำให้ได้รับความนิยม มาก หม่ อ มเมื อ งจึ งได้ ย้ า ยไปอยู่ ก ั บ บุตรชายซึ่งเป็นนายอำเภออยู่ที่อำเภอ แหลมงอบ จังหวัดตราด และอาจเป็น ไปได้ ที่ นำเอาการแสดงละครชาตรี ไปเผยแพร่ ท างภาคตะวั น ออกด้ ว ย เพราะมี ก ารเล่ น รำแก้ บ นและเล่ น ละครชาตรีในพื้นที่ ๓ จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด ซึ่งใน จังหวัดจันทบุรีเรียกกันว่าละครเท่งตุ๊ก การถ่ า ยทอดละครชาตรี ส าย หม่ อ มเมื อ งยั ง คงสื บ สานต่ อ กั น มา จนถึงปัจจุบันนี้ โ ดยเฉพาะอย่างยิ่งใน สายหม่อมเมืองโดยตรงที่ยังคงดำเนิน รอยตามบรรพบุรุษ ทั้งที่เป็นลูกหลาน โดยตรงและเป็นเขย สะใภ้


นอกจากนี้ ยังมีการสำรวจในงานวิจัย เรื่ อ งละครชาตรี ว่ า มี ค ณะละครชาตรี แ ละ คณะรำแก้ บ นแพร่ไ ปทั่ วในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออกและตะวันตก นอกเหนือไป จากกรุ ง เทพมหานครและเพชรบุ รี คื อ จั ง หวั ดใกล้ เ คี ย งกั บ กรุ ง เทพมหานคร เป็นแหล่งลิ เ ก ปี่ พ าทย์ และละครมาแต่ เดิ ม ด้ ว ย ได้แก่ อ่างทอง สิงห์บุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา ตราด และ ราชบุรี ิ ปากร ละครชาตรี กรมศล

ราว พ.ศ. ๒๔๙๘ กองการสั ง คี ต กรมศิลปากร โดยอาจารย์มนตรี ตราโมท นำเอาการแสดงละครชาตรีจากคณะครูพูน เรืองนนท์มาปรับเป็นละครชาตรีของกรม ศิลปากร (สัมภาษณ์ บุญสร้าง เรืองนนท์, ๒๔/๐๗/๕๘) ต่อมาจึงจัดให้มีการแสดง ละครชาตรี ที่โ รงละคอนศิ ล ปากรแบบ ปรับปรุงใหม่ทั้งหมดแบบงดงามตระการ ตา ๒ เรื่อง คือ มโนราห์และรถเสน ละครชาตรี ที่ ก รมศิ ล ปากรจั ด แสดง อาจเรี ย กว่ า ละครชาตรี เ ครื่ อ งใหญ่ เนื่องจากมีครบเครื่อง ทั้งเครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี เพลง การฟ้อนรำ และระบำ ต่างๆ นอกจากนี้ยังมีฉาก การชักรอก แสงสี นำมาใช้ แ สดงในหลายๆ โ อกาส จนถึงปัจจุบัน พิธก ี รรมกึง3 มหรสพ : การแสดงละครชาตรีแก้บน

ปั จ จุ บ ั น การแก้ บ นแถบจั ง หวั ด ภาค กลางส่ ว นใหญ่ ม ั ก เปลี่ ย นไปใช้ ลิ เ กแทน เพราะติดต่อได้ง่ายกว่าและมีจำนวนคณะ มากกว่า แต่ยังมีเจ้าภาพที่จัดหาละครชาตรี ไปแสดงแก้บนอยู่บ้าง การแสดงกลายเป็น ละครนอกเกือบทั้งหมดแล้ว แต่ละครชาตรี แบบดั้ ง เดิ ม ยั ง คงมี ก ารแสดงอยู่ บ้ า ง โดยเฉพาะที่จังหวัดเพชรบุรี การแสดงละครชาตรี แ ก้ บ นมี ธ รรมเนียมการแสดงแบ่งได้เป็น ๓ ส่วน คือ พิธีกรรมโหมโรงบูชาครูเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การแสดงละคร และพิธลี าโรง มีรายละเอียด แต่ละขั้นตอนคือ เช้า ทำพิธีทำโรง, บูชาครู, โหมโรง, ร้ อ งเชิ ญ สิ่ ง ศั ก ดิ ์ สิ ท ธิ ์ , รำถวายมื อ ,

ประกาศโรง, รำซัดชาตรี, แสดงละคร, ลา เครื่องสังเวย บ่าย ทำพิธีโหมโรง, ประกาศโรง, แสดงละคร และปิดการแสดง, พิธีลาโรง ขั้นตอนการแสดงมักขึ้นอยู่กับสถานที่ ที่จัดแสดง หากเป็นการแสดงแก้บนที่บ้าน ของเจ้ า ภาพซึ่ ง ปลู กโรงสำหรั บ ทำการ แสดงก็มักมีขั้นตอนเต็มรูปแบบ แต่ จะ ตัดบางขั้นตอนออกไป เช่น พิธีทำโรง รำถวายมือ หากเป็นการแสดงแก้บนตาม สถานที่ ศ ั ก ดิ ์ สิ ท ธิ ์ เช่น ที่วัดมหาธาตุ วรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี จะรำกันภายใน วิหารหรือหน้าประตูวิหาร ส่วนการแสดง ละครจะแสดงในศาลาหน้าวิหาร ต้ น บทจะอ่ า นบทจากสมุ ด จด บทละครด้วยเสียงดัง แต่บางครั้งก็ตะโกน บอกได้โดยไม่ต้องอ่าน เพราะจำบทได้ เมื่อ ต้นบทตะโกนบอกบทในวรรคแรก ก็ จะ บอกทำนองเพลงที่จะใช้ร้องตามแบบแผน ของละครนอก ระนาดเอกจะขึ้นต้นเป็น ทำนองหรื อ ที่ เ รี ย กว่ า ขึ้ น เท่ า จากนั้ น ผู้ แ สดงจะร้ อ งตามบท การร้ อ งเพลง ทำนองชาตรีก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับการร้อง เพลง ๒ ชั้น แต่ช่วงท้ายวรรคมีการร้องรับ ๒-๓ ครั้งตามทำนองชาตรี ต้นบท และผู้ แสดงที่พักอยู่ทำหน้าที่ลูกคู่ร้องรับจนจบ เพลง วงดนตรีหรือวงปี่พาทย์สำหรับละคร ชาตรี ประกอบด้วย ปี่ ระนาดเอก ตะโพน กลองตุ๊ก โทนชาตรี ๑ คู่ กรับไม้ไผ่ ๓-๔ คู่ ฉิ่ง ฉาบเล็ก เพลงที่ใ ช้ ร้ อ งเป็ น เพลงสองชั้ น ตาม ธรรมเนียมของละครนอก ผู้แสดงมีวิธี การเจรจา ๒ แบบ แบบแรกเป็นการเจรจา ซ้ำคำร้อง เมื่อตัวละครร้องเพลง ๑ รอบ แล้วปี่พาทย์บรรเลงรับ ระหว่างนั้นก็เจรจา เป็นร้อยแก้วซ้ำคำร้องที่เป็นบทกลอนเพื่อ ให้ ผู้ ช มเข้ าใจมากยิ่ ง ขึ้ น อี ก แบบหนึ่ ง เป็นการเจรจาสด ด้วยคำพูดธรรมดาอย่าง ละครพู ด ซึ่ ง มั กใช้ใ นฉากอิ จ ฉาริ ษ ยา โดยผู้แสดงจะร้องตามบท ๑ เพลงก่อน จากนั้นก็เจรจาสด การรำแบบละครชาตรี เ ป็ น การรำทำ บทอย่างละครนอก แต่อาจเรียกว่า รำเป็น ทีไม่ใช่รำเป็นท่า กล่าวคือ เมื่อผู้แสดงร้อง บทด้ ว ยตนเองแล้ ว ก็ จะรำพอเป็ น ที โดย กรายมือและแขนไปมาระหว่างร้อง และ ออกท่ารำทำบทเป็นบางคำ หรือบางวรรค

ภาพจากคณะจงกล โปร่งน้ำใจ

จุ ด เด่ น ของการรำแบบละครชาตรี คื อ การ ทรงตัวแบบแอ่นอกตึง ก้นงอน ยืนย่อเข่าเล็ก น้อย และวงแขนเปิดกว้าง การกระทบจังหวะ ในเวลาย้ายน้ำหนักจากขาข้างหนึ่งไปยังขาอีก ข้างหนึ่ง และการก้าวเดิน จะใช้ ก ารย่ำ เท้ า ไม่ ใช้การข่มเข่าเหมือนอย่างละครนอก สำหรับ ตัวนางอิจฉามีการร่ายรำออกจริตดีดดิ้น ยัก เอว ยักไหล่ และสะบัดหน้าตา นอกจากนี้ยังมี วิธีรำอีกคือ การจีบมือ การนั่ง และการเวียน โรง การจีบมือของละครชาตรีมีลักษณะพิเศษ คือ เริ่มด้วยการตั้งมือ แล้วม้วนมือพร้อม จี บไปจบที่ ท่ า ตั้ ง มื อ อี ก ครั้ ง ในขณะที่จีบนั้น เอานิ้วโป้งแนบกับด้านข้างของนิ้วชี้ และเลื่อน นิ้วโป้งมาจรดปลายนิ้วชี้ แล้วคลายนิ้วทั้งสอง ออกเป็นท่าตั้งมือ สำหรับการนั่งบนตั่งของตัว ละคร ๒ ตัว จะนั่งหันหน้าเข้าหากันแบบละคร รำดั้งเดิม แต่ปัจจุบันหันหน้ามาทางผู้ชมทั้งคู่ การเวียนโรง คือ การเปลี่ยนฉาก หรือสถานที่ ซึ่งละครชาตรียังคงรักษาธรรมเนียมเดิมไว้คือ ตัวละครร้องบอกสถานที่ที่จะไป ส่วนปี่พาทย์ ทำเพลงเชิด สำหรับการเดินทางอย่างเร่งรีบ ตัวละครก็เดินเวียนซ้ายรอบโรงมาหยุดตรง หน้าตั่ง แล้วยกมือขวาขึ้นทำท่าป้องคือ จีบขวา เสมอหน้ า ผากเป็ น สั ญ ญาณให้ ปี่ พ าทย์ ห ยุ ด บรรเลง จากนั้นก็ร้องบอกผู้ชมว่า ตนได้ มาถึ ง ยั ง ที่ ซึ่ งได้ ร้ อ งบอกไว้ใ นฉากที่ ผ่ า นมา ธรรมเนี ย มนี้ ทำให้ ดำเนิ น เรื่ อ งไปได้ อ ย่ า ง รวดเร็ว การแสดงแก้บน ไม่คำนึงถึงจำนวนของ ผู้ชมนัก โรงละครชาตรี จะมี เสื่ อ ปู กับ พื้ น ดิ น ขนาดประมาณ ๔x๔ เมตร ด้านหนึ่งเป็นตั่งที่ นั่งแสดงได้ ๓-๔ คน หันหน้าไปในทิศสิ่ง


ศักดิ์สิทธิ์ที่จะแสดงแก้บนถวาย ด้าน ซ้ายมือของผู้แสดงวางตั่งไว้ บนตั่งหรือ ข้ า งตั่ ง เป็ น ที่ ต ั้ ง ศี ร ษะฤษี ภ รตมุ นี ครูละคร ที่เรียกว่า “พ่อแก่” ส่วนด้าน ขวามื อ ของผู้ แ สดงเป็ น ที่ ต ั้ ง ลุ้ ง คื อ ภาชนะโลหะสำหรั บใส่ ช ฎากั บ หั วโขน และถั ง คลี ที่ใ ส่ อ าวุ ธ ต่ า งๆ อั น เป็ น ธรรมเนียมที่หลงเหลือมาแต่เดิมของ การแสดงโนรา ตัวละครชาตรีแบ่งเป็น ๔ กลุ่มคือ ตัวพระ ตัวนาง ตัวอิจฉา และตัวตลก ส่ ว นตั วโกงนั้ นใช้ ต ั ว ตลกแสดง ทั้ ง ตั ว พระและตั ว นางแต่ ง กายรั ด เครื่ อ ง แบบละครนอก ตัวตลกแต่งแบบพื้น บ้าน ส่วนตัวละครที่เป็นอมนุษย์ เช่น ยักษ์ ม้า จะสวมหัวโขนบนศีรษะ แต่ เปิดหน้าให้ร้องและเจรจาเองได้ การ แต่งหน้าทารองพื้น เขียนคิ้ว เขียนขอบ ตา ทาเปลือกตา ผัดแป้งที่ใบหน้าและ ลำคอ ทาแก้มสีอมชมพู ทาปากสีแดง สด ตัวนางอิจฉาจะแต่งหน้าเข้มกว่าตัว อื่นๆ ส่วนตัวตลกซึ่งเป็นผู้ชายหรือบาง ครั้ ง ก็ เ ป็ น สตรี สู ง วั ยใช้ แ ป้ ง ประบน ใบหน้า อาจเขียนคิ้วและหนวดให้ดูตลก ขบขัน คณะละครชาตรีไ ม่ใ ช่ ค ณะละคร เต็ ม รู ป แบบ แต่ เ ป็ น กลุ่ ม เครื อ ญาติ ละครชาตรีคณะหนึ่งจะมีหัวหน้าคณะ หรือโต้โผที่เป็นต้นบท และเป็นเจ้าของ เครื่องละคร รวมทั้งอุปกรณ์การแสดง ทำหน้ า ที่ ดู แ ลรั บ ผิ ด ชอบการรั บ งาน แสดง และการรวบรวมผู้แสดงที่เป็น เครือญาติ หรือเรียกมาจากคณะอื่น หรือจัดหาผู้แสดงอิสระมาร่วมแสดง

งอกเงยไปตามยุคสมัย เมื่อยุคที่ลิเกได้รับ ความนิ ย มก็ มี บ้ า นคนดนตรี แ ละลิ เ ก เช่ น ดอกดิน เสือสง่า, เต็ก เสือสง่า และอีกหลาย ท่านเวียนมาอยู่อาศัยแถบถนนพะเนียง มีบ้าน คนลำตัดในแถบเดียวกันด้วย คนละคร คน ลิ เ ก คนดนตรี แ ม้ เ ป็ น คนจากต่ า งจั ง หวั ด ไม่ น้ อ ย แต่ ก็ ทำให้ ย่ า นละครแถบวั ด แค นางเลิ้ง เป็นที่รู้กันในพระนครว่า เป็นย่าน บ้ า นเก่ า ที่ ค นรู้ ว่ า จะมาหาคณะละครไปเล่ น แก้ บ นหรื อ หาคนตั ว แสดงไปเสริ มในคณะที่ เปิดแสดงตามวิกต่างๆ หลายครอบครั ว และหลายคนย้ า ยออก จากตรอกละคร เพราะแต่งงานออกไปบ้าง ลูก หลานที่ มี ค รอบครั วใหม่ ก็ ย้ า ยออกเพราะมี อาชีพเดิมแต่ทำงานในระบบราชการหรือไป เป็ น ครู บ าอาจารย์ และมี อี ก มากที่ เ ปลี่ ย น อาชี พไปเลยแม้ จะมี พื้ น ฐานของดนตรี แ ละ ละครมาจากครอบครัวก็ตาม ลูกหลานครูพน ู เรืองนนท์

ริมถนนหลานหลวงในตรอกละครที่ติด กับวัดแค นางเลิ้งหรือวัดสุนทรธรรมทาน มีกลุ่มบ้านของเครือญาติในตระกูล “เรือง นนท์” อยู่หลายบ้าน กลุ่มบ้านเหล่านี้ยาวจรด กำแพงวัดทางฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของวัด แค และเพราะเคยเกิดเพลิงไหม้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ สภาพอาคารบ้านเก่าแบบเดิมๆ ก็ สลายไปกับกองเพลิงรวมทั้งเครื่องแต่งกาย

โขนละครของคณะครูพูน เรืองนนท์ก็หมดไป คราวนั้นเอง ครูพูน เรืองนนท์ อายุได้ ๑ เดือน พ่อแม่ กั บ คณะละครก็ อ พยพโยกย้ า ยมาจากเมื อ ง นครศรีธรรมราช ครูพูนสิ้นชีวิตเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒ อายุได้ ๘๗ ปี ก็เกิดราวๆ พ.ศ. ๒๔๓๔ ใ นรัชกาลที่ ๕ เมื่อครูพูนเกิด กลุ่ม บ้านละครแถบนี้ก็เป็นที่รู้จักกันทั่วไปแล้ว และ ได้รับเป็นนายโรงแทนพ่อนายนนท์ เมื่อเข้า วัยหนุ่มอายุเพียงยี่สิบกว่าๆ และมีพลังในการ แสดงล้นเหลือ ครู พู น กั บ คณะเปิ ด การแสดงหนั ง ตะลุ ง ในพระนครและมี ชื่ อ เสี ย งมากเป็ น คณะแรก ในเวลาเดียวกัน ละครชาตรีที่มีเครื่องดนตรี แบบทางใต้ คือ ฉิ่ง กรับ กลองตุ๊ก โทน ปี่ใน ที่คุณกัญญาและลูกหลานครูพูนมักพูดเสมอ ว่า ละครชาตรีไม่มีปี่พาทย์ หากเล่นแบบ ดั้งเดิม ละครหรือหนังตะลุงคณะตาพูน หรือ คณะครูพูน เรืองนนท์ รับเล่นในพระนคร ทั่วไปในราคาสูงกว่าคณะอื่นๆ เนื่องจากได้ แบบละครชาตรีแบบทางใต้มาเพรียบพร้อม

ตามที่รู้กันทั่วไป ครูพูนมีภรรยาถึง ๕ คน ทั้ง ๔ คนแรกไม่เป็นละครเลย จนถึง เมียท่านสุดท้ายที่อายุอ่อนว่าลูกครูพูนเสีย อีก ครูพูนจึงมีลูก ๑๗ คน มีการฝึกให้เล่น ละครและเล่นดนตรีกันได้ทุกคน ทั้งรุ่นเล็ก และรุ่นโต ก็ช่วยกันเล่นละคร ทำปี่พาทย์

คนตรอกละคร

ทุกวันนี้ในตรอกละคร นอกจาก บ้านลูกหลานของครูพูนแล้ว คนใน ตรอกกล่ า วว่ า มี บ้ า นคณะละครอยู่ อี ก เพียง ๓ หลังที่ไม่ใช่ญาติกัน หาก พิจารณาในแผนที่ครั้ง พ.ศ. ๒๔๗๔ จะเห็นว่าบริเวณที่เป็นตรอกละครทาง ด้ า นใต้ ข องวั ด แคหรื อ วั ด สุ น ทรธรรม ทานมีบ้านไม้อยู่เป็นกลุ่มๆ หลายหลัง มากกว่านี้ ย่านละครสืบทอดมาจากคน ละครในสมัยรัชกาลที่ ๓ แล้วเติบโต

แพน เรืองนนท์

ทองใบ เรืองนนท์


ชีพจรยังสั่นไหว

ตรอกละครฯ วัดแคนางเลิ้ง มี ๒-๓ ท่านที่น่าจะต้องกล่าวถึงมาก หน่อยคือ ทองใบ เรืองนนท์ บุตรชายกับภรรยาคน ที่ ๓ ของครูพูน เรืองนนท์ เป็นศิลปินแห่ง ชาติด้านการเล่นละครชาตรี เล่นละครในกับ ครู พู น มาตั้ ง แต่ ย ั ง เล็ ก จนเชี่ ย วชาญชำนาญ ลูกหลานยังคงทำคณะปี่พาทย์และดูแลละคร มาจนถึ ง ปั จ จุ บ ั น คื อ บั ว สาย เรื อ งนนท์ หรือไปทำงานที่กองการสังคีตกรมศิลปากร เช่น บุญสร้าง เรืองนนท์ พิณ เรืองนนท์ บุตรชายกับภรรยาคนที่ ๔ ของครูพูน เรืองนนท์ ครูเครื่องหนังที่เคย อยู่วงฟองน้ำกับอาจารย์บรูซ แกสตัน และ เป็นครูดนตรีวงดุริยางค์กองทัพอากาศในยุค บุกเบิก เป็นบุตรชายที่ยังมีชีวิตอยู่ของครูพูน แพน เรืองนนท์ บุตรสาวครูพูนและ ภรรยาคนแรก เคยเป็นข่าวดังในยุครัชกาลที่ ๗ เพราะเมื่ออายุราว ๑๘ ปี ได้ไปเล่นละครที่ พระตะบองซึ่ ง ขณะนั้ น อยู่ใ นปกครองของ กัมพูชาแล้ว คุณกัญญาลูกสาวแม่แพนเล่าว่า พระบาทสมเด็จพระสีสุวัติถิ์ มุนีวงศ์ โปรดฯ ให้ไปแสดงที่พนมเปญ มีผู้มาอุ้มเข้าไปในวัง แล้วกลายเป็นเจ้าจอม ซึ่งเป็นเรื่องบอกเล่า จากภรรยาของครู พู น แก่ น ั กข่ า วในเวลานั้ น จนกลายเป็นข่าวอื้ออลไปทั่วพระนคร แต่เรื่องราวดังเทพนิยายเรื่องเจ้าชายกับ สาวชาวบ้านครั้งนั้นกลายเป็นข่าวครึกโครม ทั่วพระนคร ครูพูนและภรรยากลายเป็นผู้ มีชื่อเสียงถูกห้อมล้อมด้วยผู้คน เมื่อข่าวมาถึง หนังสือพิมพ์ในสยาม แต่ไม่เป็นที่สบใจของ กงสุลฝรั่งเศส เกือบหนึ่งปีต่อมา แม่แพนก็ ถูกส่งตัวกลับบ้านและไม่เคยมีการยอมรับว่า สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริงในฝ่ายกัมพูชาและทาง ฝรั่งเศส แม่แพนไม่เคยกลับไปกัมพูชาอีกเลย ในรั ช กาลนั้ นโปรดการละครและมี เ จ้ า จอมและสนมเป็นนางละครมากมาย ครูละคร จากราชสำนั ก วั ง หน้ า หลายท่ า นก็ไ ปอยู่ ที่ พนมเปญ และหลายท่ า นเป็ น เจ้ า จอมใน รัชกาลพระเจ้านโรดมพรหมบริรักษ์ จึงไม่

เป็ น การแปลกอั นใดที่ จะเรี ย กนางเอกจาก คณะละครครูพูนในวัยสวยสดใสเข้าไปในวัง แน่ น อนย่ อ มมี เ รื่ อ งเล่ าในครอบครั ว ที่แตกต่างไปจากข้อมูลตามสื่ออยู่บ้าง หลาย เรื่ อ งก็ อ าจจะเป็ น เรื่ อ งราวที่ ถู ก มองว่ า พู ด เพียงฝ่ายเดียวได้ กัญญา ทิพโยสถ วัย ๖๘ ปี ลูกสาวแม่ แพนเล่าให้ฟังว่า แม่แพนได้ชื่อใหม่จากการ

นนท์ ที่ ย ั งไม่ไ ด้ ป รั บ จนเป็ น ละครนอกแบบ กรุงเทพฯ ในยุคเฟื่องฟู นอกจากการเข้าไปรำเล่น ละครชาตรีแก้บนโรงหนังเฉลิมเขตร บริเวณสี่ แยกกษัตริย์ศึก ที่แต่เดิมเคยเป็นสถานที่ตั้งวัง ละโว้ ข องพระเจ้ า วรวงศ์ เ ธอ พระองค์ เ จ้ า อนุสรณ์มงคลการ และในราชสกุลนี้ยังคงใช้ ละครคณะเรืองนนท์ต่อมาตามประเพณีเพื่อ แก้บนคือท่านมุ้ย มจ. ชาตรีเฉลิม ยุคล หลัง จากภาพยนต์เรื่อง “สุริโยทัย” ออกฉายแล้ว ซึ่งนับเป็นโอกาสในการเล่นละครแบบดั้งเดิม เต็มเครื่องครั้งสุดท้ายของกัญญา บุตรหลานของคณะครูพูน เรืองนนท์ ยั ง คงสื บ ทอดคณะละครและยั ง แสดงตาม สถานที่ต่างๆ เช่น คณะวันดีนาฏศิลป์ เป็น คณะละครและระบำแก้บน ซึ่งแสดงประจำ ที่ ศ าลหลั ก เมื อ งกรุ ง เทพฯ คณะละม่ อ ม ทิพโยสถ แสดงที่ศาลพระพรหมเอราวัณ ฯลฯ แต่แสดงเฉพาะรำชุดแก้บนเท่านั้น ส่วนการ แสดงละครชาตรีก็เป็นแบบละครนอกแทบทั้ง สิ้น ํ คณะจงกล โปร่งน้าใจ

จงกล โปร่งน้ำใจ

เป็ น เจ้ า จอมครั้ ง นี้ คื อ “บุ ป ผาสวรรค์ ศรีสวัสดิ์อำไพวงศ์” ซึ่งในบางบทความชื่อคง ตกหล่นไป อีก ๑๑ ปีต่อมาก็แต่งงานกับหนุ่ม ชาวลิเกคุณพ่อของคุณกัญญา และเล่นละคร ร่วมกับบิดาคือครูพูนเรื่อยมา ซึ่งคุณกัญญาก็ เจริญรอยตามเพราะเติบโตในโรงละครก็ออก แสดงได้ตั้งแต่ยังเล็กๆ เช่นกัน ทุกวันนี้แทบ จะเหลื อ เพี ย งคนเดี ย วในรุ่ น ที่ ย ั ง ร้ อ งและรำ ละครชาตรีในแบบฉบับดั้งเดิมที่ยังไม่มีทาง ปี่พาทย์รับ เป็นละครชาตรีแบบครูพูน เรือง-

จารุวรรณ สุดสาคร เป็นคนจัดการดูแล คณะละคร “จงกล โปร่ ง น้ำใจ” ในปัจจุบัน และยังมีพี่น้องทั้งหญิงชายมาร่วมกันทำงาน อีกจำนวนหนึ่ง แทนคุณป้าจงกล โปร่งน้ำใจที่ เสียชีวิตไปเมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีบรรพบุรุษล้วน มาจากชาวละครที่ ย่ า นสนามควายและมี รกรากเดิมจากเมืองพัทลุง ก่อนที่จะอพยพ โยกย้ายมากับกองทัพหลวงครั้งรัชกาลที่ ๓ คณะละครจงกล โปร่ ง น้ำใจนั้ น ญาติ ผู้ใหญ่ทางฝ่ายหญิงของครูจงกล โ ปร่งน้ำใจก็ เคยเป็นเจ้าของคณะละครชาตรีมาก่อน แต่คน ละครแถบนี้ผันตัวเองไปเป็นนักดนตรีปี่พาทย์ ก็มากและกระจายไปตามสาขาต่างๆ ในการ แสดงมหรสพหลากหลายในพระนคร บ้างก็ แต่งงานกับคนดนตรี คนละครจากต่างจังหวัด ที่ได้รู้จักกันบ้าง และมักจะคุ้นเคยกันอยู่ใน สำนักบ้านหรือครูต่างๆ ญาติท่านหนึ่งของ


คณะละครนี้คือครูดนตรีไทยและครูเครื่องหนังของวงพาทยโกศล ครู ยรรยง โ ปร่งน้ำใจ หรือยรรยง จมูกแดง ซึ่งเป็นดาวตลกรุ่นเก่าใน คณะของล้อต๊อกด้วย และในตรอกละครเช่นเดียวกับทางบ้านตระกูล เรืองนนท์ การรำละครชาตรีของคณะจงกล โปร่งน้ำใจ มีทั้งทางฝ่ายดั้งเดิม แบบทางใต้และทางฝ่ายที่ปรับเป็นแบบละครนอกของภาคกลางแล้ว แบบพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้เมื่อมาตั้งเป็นคณะละครของ ตนเองเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ และเริ่มรับงานรำละครแก้บนที่ศาลพระ พรหมเอราวั ณ แล้ ว ก็ ป รั บ การรำละครชาตรี เ ครื่ อ งใหญ่ใ ห้ เ ป็ น แบบแผนตามแบบกรมศิลปากรด้วย การบนละครชาตรี เป็นเรื่องปกติของผู้คนในสังคมไทยมาโดย ตลอด พอสภาพสังคมเปลี่ยนมาเป็นการแข่งขัน และมีความเสี่ยงมาก ขึ้น สิ่งเหล่านี้ก็เริ่มคึกคักและส่งสืบทอดกันมา ในแถบหลานหลวง ที่ใกล้วังหลายแห่ง วังบางแห่งตัดพื้นที่ริมถนนแบ่งขายและเดี๋ยวนี้ เป็นตึกแถวไปหมดแล้ว ท่านหญิงบางท่านก็มาว่าคณะละครอีกฝั่ง ถนนไปแก้บนกันเรื่อยๆ การรำที่ศาลพระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์ แรกๆ ก็เป็น ละครพร้อมคณะปี่พาทย์ แต่หลังๆ คนเริ่มมากขึ้น ก็กลายเป็นรำกัน อย่างเดียว จนกระทั่งมีชื่อเสียงไปยังต่างประเทศ คนจีนสารพัดในเขต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี่เองที่กลายมาเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่มาก ต้อง มีการจัดเป็นมูลนิธิฯ คณะหลายคณะหมุนเวียน เพราะบางวันต้องรำ กันเป็นร้อยๆ รอบขึ้นไป แม้สัญญาปีต่อปี แต่ก็สร้างหลักประกัน เรื่องรายได้ซึ่งมีพี่น้อง จัดการเป็นผู้จัดคณะละคร ทั้งทำเครื่องละคร ทำดนตรีปี่พาทย์ จัดหาคนมารำ หมุนเวียนอยู่แบบนี้ จนบัดนี้ก็ราว ๓๙ ปีแล้ว บ้านที่ตรอกละครจึงกลายเป็นสำนักงานกลายๆ เป็นพื้นที่เก็บ เครื่องดนตรี พื้นที่ปักเครื่องละคร สถานที่แต่งกายก่อนออกไปรำ ที่ศาลพระพรหม พี่ๆ น้องๆ หมุนเวียนกันมาทุกวัน แม้ส่วนใหญ่ออก ไปมี บ้ า นพั ก กั บ ครอบครั ว ตนเองข้ า งนอก แล้ วใช้ บ้ า นเก่ า เป็ น สำนักงาน

ทุกวันนี้ จารุวรรณ สุดสาคร เดินตามฝันที่อยากสืบทอดและ แบ่งปันการรำละครชาตรี หลังจากสร้างคณะละครรำแก้บนหลายสิบ ปีแล้ว บัดนี้เริ่มผ่อนคลายก็อยากอุทิศตนอุทิศเวลาทำละครชาตรีขึ้น มาอี ก ครั้ ง โดยการสนั บ สนุ น ของ สมชาย ธนกุ สุ ม าลย์ ประธาน สภาวัฒนธรรมเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เสนอให้โอกาสเรียนรำละคร กับเด็กตามสถานศึกษาต่างๆ และเป็นครูละครชาตรีให้กับเด็กที่ ชมรมนาฎศิลป์ที่โรงเรียนวัดสิตาราม เมื่อฝึกสอนกันมาได้ระยะหนึ่ง เด็กๆ เริ่มแสดงละครเป็นเรื่องได้แล้ว ิ ป์ผูจ บ้านนราศล ้ ัดคณะละคร

หน้ า บ้ า นนราศิ ล ป์ ริ ม ถนนหลานหลวงมั ก เป็ น ที่ พ ั ก สายตา ของนักขับรถเพราะมีซุ้มต้นไม้สวยๆ อยู่หน้าบ้าน ดูร่มรื่นร่มเย็น โดยเฉพาะซุ้มดอกพุด พินิจ สุทธิเนตร และ ภุมรี ปานสมุทร์ ลูกพี่ลูกน้องกัน เล่าให้ฟัง ว่า บ้านนราศิลป์ กำเนิดจาก “นายแม่” คุณละม่อม สุสังกรกาญจน์ ที่เป็นนายห้างเจ้าของแป้งตราสโนว์ ใ กล้ไ ปรษณี ย ์ สำเหร่ แ ละมี เชื้อสายจีน โดยมาซื้อบ้านแถบย่านตรอกละคร จัดสร้างคณะละครขึ้น มาในช่วงราวรัชกาลที่ ๖ ที่ ละครกำลั ง เฟื่ อ งฟู เล่ากันว่าท่านเป็น คนแปลกแต่เป็นลักษณะผู้หญิงเก่งในยุคนั้น ชอบผจญภัย ขี่ม้า ยิงปืน ถ่ายภาพนิ่งและภาพยนตร์ มีไร่องุ่นที่ปากช่องและบ้านแบบ ชนบทฝรั่ง เลี้ยงสัตว์ต่างๆ เช่น หมีควาย นางอาย และอื่นๆ บ้านคุณละม่อมอยู่ที่สำเหร่ ทางฝั่งธนฯ มาทำบ้านนราศิลป์ทางนี้ แล้วมีผู้ดูแลคู่ใจคือคุณจินดา ปานสมุทร์ ที่เป็นคนทำงานในโรงงาน แป้งมาช่วยดูแลอีกแรง คุณแม่และคุณป้าของพี่ทั้งสองคนเป็นคนทาง ตรอกทำพาย ซึ่งน่าจะอยู่ใกล้ๆ ตรอกละคร ทั้งคู่ไม่เป็นวิชาละคร หรือโขนแต่อย่างใด เพียงแต่รักและชอบการแสดงเท่านั้น บ้านนราศิลป์รับจัดงานแสดงโขนกลางแปลง โขนชักรอก โขน หน้าจอ ละครชาตรี ละครพันทาง และดนตรีไทย เป็นคณะนาฎศิลป์ คณะใหญ่มาก รวมถึงได้ก่อตั้งบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ไทยในยุค แรกๆ ชื่อนราศิลป์ภาพยนตร์ ทำเรื่องนางลอย ที่มี ครูอาคม สายาคม

บ้านนราศิลป์รับจัดงานแสดงโขน กลางแปลง โขนชักรอก โขนหน้า จอ ละครชาตรี ละครพันทาง และ ดนตรีไทย

เป็นคณะนาฎศิลป์คณะใหญ่มาก รวมถึ ง ได้ ก ่ อ ตั ้ ง บริ ษ ั ท ผู ้ ส ร้ า ง ภาพยนตร์ไทยในยุคแรกๆ ชื่อนราศิลป์ภาพยนตร์

ละม่อม สุสังกรกาญจน์

จินดา ปานสมุทร์และภุมรี ปานสมุทร์ บุตรสาว หน้าบ้านนราศิลป์

๑๐


เป็นพระเอก แต่ก็ไม่ได้มาทางสายนี้มากนัก แสดงทางโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหมตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๘ ต่อมาก็ช่วยงานโขน ธรรมศาสตร์ตั้งแต่แรกเริ่มราว พ.ศ. ๒๕๑๑ รวมทั้งงานองค์พระ ปฐมเจดีย์ที่เคยเป็นประจำปี จัดกันกว่า ๗ วัน ๗ คืน รุ่นนี้คุณจินดา ก็เป็นคนคุมงานแทนแล้ว การเป็นโต้โผหรือผู้จัดการแสดงลักษณะนี้ ทำให้ต้องมีการสร้าง เครื่ อ งละครและเครื่ อ งแต่ ง กายโขนและศรี ษะโขนจำนวนมาก บ้านนราศิลป์จึงเป็นแหล่งขึ้นชื่อในการให้เช่าชุดรำ ชุดละครโขน ต่างๆ สำหรับเด็กนาฎศิลป์หรือเด็กๆ ที่เรียนนาฎศิลป์ตามโรงเรียน ต่างๆ มาโดยตลอด วันนี้เรายังเห็นคนในบ้านนั่งปักงานดิ้นต่างๆ ในบ้านอยู่ ชุดเหล่านี้ลงทุนสูง ใ ช้เวลามาก ใ ช้เพียงสองสามครั้ง และเริ่มหมองแล้ว แม้จะซักได้ก็เพียงไม่กี่ครั้งและราคาให้เช่าก็ถูก เสียเหลือเกิน ครั้งที่ยังมีคนในบ้านไม่น้อย การเช่าชุดหรือแต่งเครื่อง ละครต่างๆ ก็มักมีคนช่วยแต่ง ช่วยจัดการดูครบวงจรไปหมด นักแสดงเก่งๆ ทั้งจากนอกระบบและในระบบกรมศิลปากรล้วน ผ่านบ้านนราศิลป์มาแทบทั้งนั้น และคุ้นเคยกันดีกับคนบ้านนราศิลป์ โดยเฉพาะจินดา ปานสมุทร์ ที่สามารถคุมคนโขน ละครทั้งคณะใน ช่วงที่งานชุกและเฟื่องฟู พิ นิ จ สุทธิเนตร ใช้วิชาในการเป็นผู้จัดสืบทอดมาเป็นผู้กำกับ ศิลป์ฝ่ายละครทีวี รับตัดต่อ จัดให้เช่าเครื่องเสียง จอภาพ ฯลฯ ส่วน น้องชายคนอื่นๆ ก็เกี่ยวข้องกับงานศิลปะ เช่นทำเอฟเฟคของ ภาพยนต์ แต่งหน้าเอฟเฟคต่างๆ ที่สำคัญ เขาเครือญาติจัดการ

ตนเองทุ่ ม เทค้ น คว้ า ข้ อ มู ล ประวั ติ ค วามเป็ น มาของบ้ า นนราศิ ล ป์ จัดเป็นพื้นที่เปิดศูนย์ข้อมูลทางวัฒนธรรม จัดทำฐานข้อมูลเป็นซีดี ทั้งเรื่องทั้งรูป มอบให้กับผู้สนใจเด็กๆ นักศึกษาที่มาข้อสอบถามกัน เป็นประจำ ทุกวันนี้บ้านนราศิลป์ยังเปิดให้เช่าชุดโขนและละครอยู่ ส่วน การเป็นผู้จัดงานโขนหรือละครมีบ้างเป็นครั้งคราว ิ าราม คณะโขนละครย่านว ัดสต และการสร้างอนาคตของย่านละคร กรุงเทพฯ

ในย่านรอบวัดแค นอกจากจะมีคณะละครชาตรีที่มีประวัติศาสตร์ว่ามาจากทางนครฯ พัทลุง และสงขลา พร้อมกับชาวมุสลิม ในช่วงรัชกาลที่ ๓ แล้วมาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณบ้านสนาม กระบือหรือบ้านสนามควาย มีวัดแคคู่กับวัดมหายิ้มหรือวัดสิตาราม ริมคลองมหานาคและทั้งสองวัดเคยมีเส้นทางน้ำต่อถึงกัน ในยุคที่มหรสพ ละคร ลิเก ลำตัดเฟื่องฟู ย่านนี้ก็กลายเป็นที่พัก แหล่งอยู่อาศัยของทั้งคณะละครในบ้าน ตัวละครจากต่างจังหวัดหรือ ต่างพื้นที่ที่รับแสดงแล้วแต่ว่าจะมีโต้โผคณะไหนจะจ้างไป รวมทั้ง บ้านโต้โผจัดงานแสดงที่รับงานสารพัดให้นักแสดงตามบ้านต่างๆ นักแสดงทั่วๆ ไป จนถึงเด็กๆ นักเรียนนาฎศิลป์ของกรมศิลปากร รุ่นแรกๆ และครูดนตรีชื่อดังในละแวกเดียวกัน

คณะทองหล่อ จูวงษ์

มีจินตนา จูวงษ์ ที่อายุวันนี้เข้า ๗๐ ปีแล้ว อาศัยอยู่ที่บ้านใกล้วัดสิตาราม ในอดีตก็เคยเป็นผู้นำชุมชนสิตารามและทำกิจกรรมร่วมกับหน่วยราชการต่างๆ อยู่เสมอเป็นหลักของบ้านในปัจจุบัน ครูทองหล่อเคยเป็นมหาเปรียญ ๙ ที่วัด สามปลื้ม เมื่อสึกออกมาได้ภรรยาที่เป็นคนละครแถบตรอกละครวัดแค นางเลิ้ง แต่งงานแล้วก็มาซื้อบ้านจากชาวมุสลิมซึ่งคือบ้านที่อยู่มาจนทุกวันนี้ เปิดเป็น คณะละครชาตรีแก้บน เมื​ื่อละครซบเซาจึงเปลี่ยนมาเป็นการทำขวัญนาคผู้หญิง เพราะความเป็นมหาเปรียญครูทองหล่อจึงแต่งกลอนคล่อง กลอนทำขวัญนาค จนถึงกลอนลิเกและดนตรีกลองยาวหัวโต ฯลฯ ซึ่งกลายเป็นข้อดีจึงได้รับความ นิยมมาจนถึงปัจจุบัน ลูกหลานของครูทองหล่อ จูวงษ์ยังคงอาศัยอยู่ที่บ้านหลัง นี้โดยมาก นอกจากผู้ที่ออกไปทำงานอื่นๆ บ้าง แต่ก็เป็นลิเกดนตรีปี่พาทย์ทุก คน ิ ป์ คณะละครดํารงศล

ลิเกคณะทองหล่อ จูวงษ์

เป็นคณะละครที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งก่อตั้งโดยนายฮวด ชูประเสริฐ ซึ่งเคยเป็นคนขับรถราง พื้นเพเดิมเป็นคนเชื้อจีนทางบ้านสาขลา ปากน้ำ สมุทรปราการ เวลาขับรถก็จะร้องเพลงไปด้วยจึงมีคนเป็นแฟนเพลงกันมาก และต่อมาเมื่อได้ภรรยาเป็นคนละครในแถบตรอกละครวัดแค แล้วจึงตั้งคณะ ละคร ต่อมามีพี่เขยที่เป็นโขนหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๖ ก็มาช่วยทำให้เกิดคณะ โขนชาวบ้านขึ้นมาอีกด้วย เมื่อสร้างบ้านเรือนหลังใหญ่ในช่วงที่มีคนมาขอหัด โขน ละคร รำกันมากที่สุดมีถึงกว่าร้อยคน และดาวตลกที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อ มา เช่น สีหมึก เทพ เทียนชัย ก็เกิดมาจากการหัดวิชาในบ้านหลังนี้ ต่อมาลูก หลานครูฮวดมีทั้งที่เข้าเรียนในระบบของวิทยาลัยนาฎศิลป์และทำงานอยู่ในกอง การสังคีตก็ไม่น้อย เป็นครูอาจารย์สอนในโรงเรียนก็หลายท่าน และที่ยังคง ทำงานรำตามที่มีคนว่าจ้างไปรำแก้บนทั้งตามบ้านเอกชนและที่ศาลพระพรหม เอราวัณ

๑๑


แผนที่ราว พ.ศ. ๒๔๗๔

อี ก ฝั่ ง ของถนนหลานหลวงติ ด กั บ ถนน ดำรงรักษ์ริมคลองมหานาค ซึ่งเป็นชุมชนวัด สิตาราม ซึ่งมีโรงเรียนจนถึงชั้นประถม ๖ ใ น ขณะที่วัดแคไม่มีโรงเรียน เด็กๆ จากชุมชน ใกล้เคียงรวมทั้งวัดแคจึงเรียนจบขั้นพื้นฐานที่ โรงเรียนวัดสิตารามหรือเรียกกันแบบคุ้นหูว่า วัดคอกหมู ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันกันเป็นส่วน ใหญ่ ชมรมนาฎศิลป์ที่มีครูประทับใจ สุนทรวิภาต คนสุพรรณ จบจากคณะคุรุศาสตร์สาขา นาฎศิ ล ป์โ ดยตรง ก็ ม าทำชมรมให้ เ ด็ กๆ ได้ แสดงทั้ ง ร้ อ งทั้ ง รำและดนตรี มี ลู ก ศิ ษ ย์ไ ป ๒๐ กว่ารุ่น ทุกวันนี้ซ้อมให้เด็กเล่นละคร ชาตรี โดยมีครูจากคณะจงกล โปร่งน้ำใจ คือ จารุวรรณ สุดสาคร เป็นผู้ฝึกสอน เล่นละคร ชาตรีเรื่องแก้วหน้าม้าได้สนุก เด็กๆ กลุ่มนี้ทำ ทั้ ง กิ จ กรรมและการเรี ย นไปด้ ว ยกั นได้ ดี ก ว่ า เรียนกันเพียงอย่างเดียว บางคนได้ทุนด้วย การใช้วิชานาฎศิลป์ไปแสดงที่ต่างประเทศก็มี ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับเด็กย่านนี้ วัดราษฎร์ที่ใกล้วัดหลวงทั้งสองแห่งนี้ยังมี เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาวบ้านแบบเป็นหลัก และเป็นที่พึ่งได้จนน่าแปลกใจจริงๆ แม้จะอยู่ ในสภาพแวดล้อมแบบเมืองก็ตาม

รถไฟฟ้าจะมาไหม

ข่ า วว่ า รถไฟฟ้ าใต้ ดิ น จะผ่ า นย่ า นหลานหลวงมานานหลายปี แ ล้ ว เป็ นโครงการ รถไฟฟ้าสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี เป็นแบบยก ระดับระยะทาง ๙ กิโลเมตร สถานียกระดับ ๗ สถานี และโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบใต้ดินระยะ ทาง ๓๐.๖ กิโลเมตร สถานีใต้ดิน ๒๓ สถานี ที่ ส ถานี ห ลานหลวงจะตั้ ง อยู่ใ ต้ ถ นน หลานหลวง ตั้งแต่บริเวณแยกหลานหลวงถึง สามแยกถนนพะเนียง แต่ยังไม่ชัดเจนว่าจะมี ทางขึ้นและลงที่ใด แต่ถึงปัจจุบันโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งมีปัญหาเรื่องการเวนคืนที่ดินมากเหลือเกิน โดยเฉพาะในบริเวณสถานีประชาสงเคราะห์ที่ ผ่ า นชุ ม ชนประชาสงเคราะห์ไ ปยั ง สถานี ศู น ย์ วัฒนธรรม เพราะกลับไปใช้แนวเส้นทางเดิม และมี ที ท่ า ว่ า จะสะดุ ด อี ก ครั้ ง แม้ จะอยู่ใ นสมั ย รัฐบาลปัจจุบัน สั น นิ ษ ฐานกั น ว่ า ย่ า นบ้ า นนราศิ ล ป์ แ ละ ตรอกละครซึ่งเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สิน ส่วนพระมหากษัตริย์ ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ สถานีขึ้นลงของรถไฟฟ้าใต้ดิน คนหลานหลวง ยั งไม่ไ ด้ ร ั บ คำตอบแน่ น อนสำหรั บ เรื่ อ งการ เวนคื น พื้ น ที่ เ พื่ อ สร้ า งสถานี ขึ้ น หรื อ ลงรถไฟ ใต้ดิน

ถ้าจะทำตามแบบแผนเดิม ย่าน ละครแถบบถนนสนามควายที่ บ อก เล่าประวัติศาสตร์การสร้างความเป็น พระนครมาแต่ยุคต้นกรุงฯ คงหายไป ในพริบตาเดียว ขึ้นอยู่กับว่าจะทำหรือ ไม่เท่านั้น แม้จะมีการพูดคุยและขอร้องกัน มาหลายครั้ง แต่ความไม่ชัดเจนของ โครงการก็ยังเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนต่อไป แม้ ข่ า วจะเงี ย บๆ แต่ ย ั งไม่ มี อะไร รั บ รองว่ า บ้ า นของพวกเขาจะมี ชะตา กรรมต่อไปอย่างไร บางทีร่องรอยของผู้คนในอดีตที่ ยังมีลมหายใจอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้ อาจจะดูไม่มี “มูลค่า” ใ ห้กับสังคมใน อีกยุคหนึ่งก็ได้ แม้จะโหยหามูลค่าจาก การท่องเที่ยวแบบได้ง่ายๆ กันไปทั้ง สังคมก็ตาม อย่ า งที่ ค นในสถาบั น การศึ ก ษา อาจเข้าไม่ถึง คนจัดผังเมืองอาจไม่เคย เข้าใจ คนที่จะพัฒนาเมืองอาจมองว่า เป็นแค่กลุ่มบ้านรกรุงรัง และคนที่รู้จัก นาฎศิลป์อาจมองว่าเป็นแค่ละครชาว บ้าน ในแวดวงตรอกละครมี เ รื่ อ งราว มากมาย มีความขัดแย้ง มีรอยยิ้มและ ความเศร้า มีเรื่องที่ไม่มั่นคงในการอยู่ อาศัย รวมทั้งการถูกมองว่าเป็นนาฎ ศิลป์ชั้นสองชั้นสาม มีภาพตัวแทนที่ ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงถูกเผยแพร่ออก ไป ยิ่งทำให้คนในตรอกละครยังต้อง แสวงหาแนวร่วมหรือหนทางเพื่อสู้ใน การต่ อ ลมหายใจพื้ น ที่ ย่ า นเก่ า ที่ เ ป็ น ส่วนหนึ่งของผู้คนที่ร่วมสร้างเมืองมา ด้วยกัน หากจะเคารพผู้คนก็ควรมองเห็น ที่มาที่ไป จะไปเที่ยวตามย่านเก่าก็ต้อง เข้าใจเจ้าของพื้นที่และชีวิตวัฒนธรรม บ้างว่าสุขทุกข์หนาวร้อนเช่นใด ถ้ทำความความเข้าใจคนในพื้นที่ มากขึ้นอีกนิด สังคมในย่านเก่าของ กรุงเทพฯ คงมีหนทางที่จะปรับตัวและ พัฒนาไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลง ได้อีกมาก

๑๒


อ้างอิง

กรมไปรษณีย์และโทรเลข. สารบาญชี ส่วนที่ ๒ คือราษฎรในจังหวัด ถนน แลตรอก จ.ศ. ๑๒๔๕ เล่มที่ ๒. สำนักพิมพ์ต้นฉบับ, พิมพ์ ครั้งที่ ๒, ๒๕๔๑.

สุจิตต์ วงษ์ เทศ. ละครนอก ชายจริงหญิงแท้ คือละครชาตรี-แก้บน http://www.sujitwongthes.com/2012/12/siam26122555/ 2/08/15

กรมศิลปากร. ละครนอกละครใน http://www.finearts.go.th/ nakhonphanomlibrary/parameters/km/item/ละครนอก-ละครใน 2/08/15

สุภัตรา ภูมิประภาส. กษัตริย์กัมพูชา นางละครสยาม และข่าวที่ถูกห้าม เขียน, ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๓๐ ฉบับที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๒

โกเมศ จงเจริญ. ดนตรีประกอบการแสดง “ละครชาตรี” กรณีศึกษา คณะครูทองใบ เรืองนนท์ บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๕๕. จุลลดา ภักดีภูมินทร์. ตอนที่ ๔๐ : การละครในรัชกาลที่ ๒, เวียงวัง สำนักพิมพ์เพื่อนดี, ๒๕๒๕. ณิชชา ชันแสง ละครชาตรีเมืองเพชรบุรี. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาเพชรบุรี เขต ๑ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ http://www.lakornchatree.com 2/08/15

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ละครชาตรี. เรื่องที่ ๖ เล่มที่ ๓๒ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน http://kanchanapisek.or.th/kp6/Ebook/BOOK36/book36_2/ Default.html / 26/07/15 อมรา กล่ำเจริญ, รศ., และคณะ. สถานภาพการคงอยู่ของละครชาตรี ในประเทศไทย. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๕๕๕.

ทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี, เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุง รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓. กรมศิลปากร, พิมพ์ครั้งที่ ๖, ๒๕๓๘

๑๓


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.