บ่อทองและการทำเหมืองทองคำในสยามยุคใหม่

Page 1

!"# $ "# % &'( )*+,- * -

บ่อทอง และการทำเหมื อ งทองคำ ในสยามยุ ค ใหม่


บ่อทอง และการทำเหมืองทองคำ ในสยามยุคใหม่


สารบัญ ตอนที่ ๑ = =

=

=

=

=

=

=

=

=

!"#$"%&'($)*+,-#./01($234/34&0'51$2346/"==

=

=

=

!

!

!

=

!

=

!

=

!

๑. โลกตื่นทอง!!

!

!

!

๒. สยามยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์การปรับตัวจากรัฐโบราณสู่สยา,ใหม่!

๑๗

!

๓. ความซับซ้อนของคดีพระปรีชากลการ! !

!

!

!

๓๐

!

๔. กรณีทุจริตในสังคมสยามยุคเปลี่ยนผ่าน !

!

!

!

๔๖

!

!

!

๔๘

ตอนที่ ๒ 7#-1$2 3 4(58 # 9 ) # 5!: ) " ) # 53% ; !#(-..$

!

๕. “กบินทร์บุรี” เมืองหน้าด่าน !

!

๖. ความสำคัญของเมืองปราจีนบุรีในฐานะหัวเมืองภาคตะวันออก

!

๗. “กบินทร์บุรี” ชุมทางชาติพันธุ์! !

!

!

!

๗๐

!

๘. จากพื้นที่เกษตรกรรมสู่เขตอุตสาหกรรมใหม่! !

!

!

๘๕

!

๙. เมืองชุ่มน้ำอันร้อนแล้ง! !

!

!

!

!

๘๙

!

บรรณานุกรม!!

!

!

!

!

!

!

!

! !

!

๖๖!

๙๖


!"#$%& '

สยามยุคใหม่และการทําเหมืองทองคําในเมืองไทย

เครื ่อ งทองสมัย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา รูป ช้ างทองคํา ประดั บ ด้ วยเพชร พลอยหิน มีค ่า ฝีมื อช่า งชั ้ นสูง จากกรุพระปรางค์ วั ดราชบู ร ณะ

๑. โลกตื่นทอง ! มนุษย์รู้จักใช้แร่ทองคําเป็นสิ่งของสูงค่าเมื่อเริ่มมีพัฒนาการ ทางสังคมเป็นบ้านเป็นเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทองคําใช้ เป็ น เครื ่ อ งประดั บ ของชนชั ้ น สู ง เพราะทองคํ า เป็ น แร่ ธ าตุ ห ายาก ต้องค้นหาและใช้กระบวนการแยกแร่ทองคําจากดินและหินปริมาณ มากกว่าจะได้ทองคําบริสุทธิ์ และด้วยคุณสมบัติซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ มี สีสันสวยงาม เนื้อเป็นมันวาว เหนียวและอ่อนนิ่ม ไม่ขึ้นสนิม ไม่หมองและไม่ผุกร่อน สามารถนํามาดัดแปลงเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ ง่ายกว่าโลหะชนิดอื่นและนํามาหลอมใช้ได้อีกหลายๆ คร้ัง รวมทั้ง การที่สามารถเปลี่ยนเฉดสีทองโดยการนําทองคําไปผสมกับโลหะ มีค่าอื่นๆ จึงช่วยเพ่ิมความงามได้อีก ทองคําจึงเป็นโลหะมีค่าซ่ึง เหมาะสําหรับทําเป็นเครื่องประดับมาแต่โบราณ ! ในจีนโบราณเชื่อว่าทองคําใช้ในการรักษาโรคได้ด้วยมีหลักฐาน ว่าในสมัยราชวงศ์ฮั่นเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะเพราะ “ทองคําเป็นสิ่ง ที ่ ม ี ค ุ ณ ค่ า มากที ่ ส ุ ด ในโลกที ่ เ ชื ่ อ กั น ว่ า เป็ น สิ ่ ง อมตะไม่ ม ี ท าง สูญหายไปได้” หรือเมื่อนําทองคําผสมกับตัวยาก็จะเพิ่มคุณค่า กลายเป็นยาเสริมให้อายุยืน หมอจีนแผนโบราณส่ัง “ยาเม็ดทอง” ให้ผู้มีสถานภาพสูงในสังคมเพื่อป้องกันโรคหลายอย่างรวมทั้งโรค เสื่อมสมรรถภาพทางเพศและการเป็นหมัน ดึงเอาพิษในร่างกาย ออกมาได้ และยังเชื่ออีกว่าถ้ากลืนทองคําและผงไข่มุกก็จะทําให้เป็น

อมตะมีชีวิตทั้งในโลกมนุษย์และสวรรค์ และโลหะที่มีคุณสมบัติ เช่น ทองคําและคุณค่าของโลหะนี้จึงเหมาะสมในการถูกนํามาใช้ในการ อุดฟัน ครอบฟัน ทําฟันปลอมอีกด้วย ในโลกยุคปัจจุบันการแพทย์ สมัยใหม่ก็ยังมีการทดลองใช้ทองคําเพื่อการบําบัดรักษาโรคภัย ทําเครื่องสําอางราคาแพง และเป็นส่วนผสมของยาบางประเภท ! โลหะทองคําในทุกวันนี้ นอกจากจะใช้เป็นเครื่องประดับบ่งบอก ถึงสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมแล้ว ทองคําแท่งยังเป็น “ทอง สํารอง” [Gold Reserve] ถือเป็นสินทรัพย์ท่ีธนาคารกลางของ ประเทศต่างๆ หรือองค์กรทางการเงินระหว่างประเทศซื้อเก็บสะสม ไว้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของทุนสํารองระหว่างประเทศเพื่อเป็นการลงทุน และเป็นหลักประกันทางการเงินของประเทศและองค์กรต่างๆ ซึ่งถูก มองว่ามั่นคงกว่าเงินทุนสํารองที่เป็นค่าเงินสกุลดอลลาร์ซึ่งลดความ นิยมในการสะสมเป็นทุนสํารองลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปีหลังๆ มาน้ี ! การทําเหมืองทองคําจึงกลายเป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่ยัง คงทํากันอย่างต่อเนื่องกันทั่วโลก ! โลกแบ่งการใช้ทองคําออกเป็น ๒ ช่วงคือ “ก่อนยุคตื่นทอง” และ “ยุคต่ืนทอง”

1


สยามยุคใหม่และการทําเหมืองทองคําในเมืองไทย

ทองคําในยุคโบราณ ! หากอธิบายในลักษณะเรียงตามลําดับเวลา [Timeline] และปรากฏการณ์ที่สําคัญพบว่า มีการพบหลักฐานแรกเริ่มเมื่อ ราว ๔,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาลที่มนุษย์ใช้ทองคํานํามาเป็นเครื่อง ประดั บ ร่ า งกาย และพบว่ า มี ก ารทํ า เหมื อ งทองคํ า โบราณ ในบริเวณเทือกเขาของภูมิภาคทรานซิลวาเนียบริเวณกึ่งกลางของ ประเทศโรมาเนียในยุโรปตะวันออกปัจจุบัน ! ต่ อ มามี ก ารบั น ทึ ก ไว้ ว ่ า พบเครื ่ อ งประดั บ ทองคํ า ในหลุ ม ฝังพระศพของกษัตริย์ดเจอ [Tomb of Djer] ซ่ึงเป็นกษัตริย์ใน ราชวงศ์แรกแห่งอียิปต์เมื่อช่วงระหว่าง ๒,๕๐๐ จนถึง ๑,๕๐๐ ปี ก ่ อ นคริ ส ตกาลว่ า มี ท องคํ า ในอาณาจั ก รนู เ บี ย [Nubia Kingdom] อั น เป็ น บ้ า นเมื อ งที ่ อ ยู ่ ใ นลุ ่ ม แม่ น ้ ํ า ไนล์ ท างตอน เหนื อ ของซู ด านและตอนใต้ ข องอี ย ิ ป ต์ ใ นปั จ จุ บ ั น มี อ ยู ่ เ ป็ น จํานวนมาก ทําให้อาณาจักรเล็กใหญ่ในดินแดนอียิปต์รุ่งเรือง และร่ ํ า รวยเพราะการใช้ ท องคํ า เป็ น ตั ว กลางในการค้ า ขาย แลกเปล่ียน ! ในเวลาต่อมาดินแดนเมโสโปเตเมียจึงมีการผลิตเหรียญทอง คําครั้งแรกที่มีน้ําหนัก ๑๑.๓ กรัมมีหน่วยเป็น แชเกิล [Shekel] เมื่อราว ๑,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากน้ํา หนักของเมล็ดข้าวบาร์เลย์จํานวน ๑๘๐ เมล็ด หลังจากนั้น หน่ ว ยวั ด เหรี ย ญทองคํ า นี ้ ม ี น ้ ํ า หนั ก แตกต่ า งหลากหลายตาม ยุคสมัยของอาณาจักรและบ้านเมืองต่างๆ ! และชาวอียิปต์น่ีเองเป็นผู้ค้นพบว่าหากใส่โลหะผสมเข้าไป ในเนื้อทองจะทําให้มีความแข็งและให้สีสันที่แตกต่างกันแต่ละ เฉดสี และสามารถตีแผ่ทองให้เป็นแผ่นบางนําไปใช้ได้มากขึ้น รวมทั้งยังค้นพบเทคนิคการหล่อทองคําเป็นรูปร่างต่างๆ ด้วย วิธี การแทนท่ีข้ีผ้ึง [Lost Wax Technique] ซึ่งเป็น เทคนิคสําคัญสําหรับการทําเคร่ืองประดับมีค่าตั้งแต่เม่ือราวๆ ๑,๒๐๐ ปีก่อนคริสตกาลจนถึงปัจจุบัน ! เมื ่ อ พิ จ ารณาข้ อ มู ล จากทางฝั ่ ง โลกตะวั น ออกพบว่ า เมื ่ อ ๑,๐๙๑ ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือ ๕๔๘ ปีก่อนพุทธศักราช ราชวงศ์ โ จวตะวั น ตกบนแผ่ น ดิ น จี น ถื อ เอาแผ่ น ทองคํ า รูปส่ีเหล่ียมใช้แทนเงินตรา ! เมื่อราว ๓๔๔ ปีก่อนคริสต์ศักราชเมื่อ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แห่งมาเซดอน อาณาจักรกรีกโบราณ นําผู้คนกว่า ๔๐,๐๐๐ คนบุ ก เปอร์ เ ซี ย การประกาศกระต้ ุ น พลทหาร เพื ่ อ ชั ย ชนะก็ ค ื อ รบเพื ่ อ นํ า ทองคํ า จากอาณาจั ก รเปอร์ เ ซี ย กลั บ มา ซึ ่ ง อาณาจั ก รกรี ก และโรมั น ต่ า งใช้ เ หรี ย ญทองคํ า ที ่ น ํ า มาจากการทํ า สงครามที ่ พ วกเขายึ ด ครองเหมื อ งทองคํ า หลายแห่ง รวมทั้งการชนะศึกก็ได้ทองคําจากอาณาจักรต่างๆ กลับมายังบ้านเมืองของตนเอง ! อาณาจักรไบแซนไทน์ (ค.ศ. ๖๐๐-๖๙๙) ที่เกิดขึ้นมาแทนที่ อาณาจั ก รโรมั น ขุ ด เหมื อ งทองคํ า ต่ อ ในเขตยุ โ รปตอนกลาง และฝรั่งเศส จนกระทั่งในราว ค.ศ. ๑๐๖๖ ราชอาณาจักรอังกฤษ เป็ น บ้ า นเมื อ งแห่ ง แรกที ่ ใ ช้ โ ลหะเป็ น เงิ น ตราแบบมาตรฐาน

2

โดยมีหน่วยเป็น ปอนด์ ชิลลิง และเพนช์ หลังจากมีการใช้ เหรียญกษาปณ์ทองคําดาคัต [Ducat Coin] ครั้งแรกที่เวนิสใน ค.ศ. ๑๒๘๔ ราชอาณาจักรอังกฤษใช้เหรียญทองคําหน่วยเป็น ฟอร์ลิน [Florin] และต่อมาก็มี โนเบิล [Noble], แองเจิล [Angel], คราวน์ [Crown] และกีนี [Guinea] ซ่ึงใช้ในการค้า แพร่หลายไปทั่วยุโรปและทั่วโลก ซึ่งมีการใช้อย่างต่อเนื่องเร่ือ ยมากว่า ๕๐๐ ปี และเริ่มใช้ระบบมาตรฐานการเงินอ้างอิงทอง คําและและแร่เงินในปี ค.ศ. ๑๓๗๗ ! มาร์โคโปโล (ค.ศ. ๑๒๕๐-๑๒๙๙) นักสํารวจและเดินทาง ชาวเวนิสกล่าวถึง เอเชียตะวันออกไกล ว่าเป็นแหล่งทองคํา อันร่ํารวยอย่างไม่จํากัด แต่การสํารวจโลกใหม่ที่อยู่นอกยุโรป เพื่อแสวงหาอาณานิคมและทองคํา ซึ่งเริ่มต้นโดยกษัตริย์เฟอร์ดินานแห่งสเปนเม่ือ ค.ศ. ๑๕๑๑ ด้วยประโยคอมตะท่ีแสดงนัย ถึ ง การแสวงหาทองคํ า และความร่ ํ า รวยจากพื ้ น ที ่ ห ่ า งไกลนั ้ น “Get gold, humanely if possible but at all hazards, get gold.” หลังจากนั้น คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ก็นํากองเรือสํารวจ กองแรกของสเปนในการเดิ น ทางข้ า มมหาสมุ ท รแอตแลนติ ก และนั บ เป็ น การเริ ่ ม ต้ น ของการแสวงหาอาณานิ ค มในทวี ป อเมริกา ! ในราว ค.ศ. ๑๗๐๐ มีการค้นพบเหมืองทองคําในบราซิล และเป็ น แหล่ ง ผลิ ต ทองคํ า ขนาดใหญ่ ร าวสองในสามของการ ผลิตได้ทั่วโลก ในช่วงนี้ เซอร์ไอแซค นิวตัน ผู้เชี่ยวชาญเรื่อง การผลิตเหรียญทองคําได้คิดคํานวณราคาทองคําน้ําหนัก ๑ ทรอยออนซ์ [Troy Ounce] เท่ากับ ๘๔ ชิลลิง ๑๑ เพนนีครึ่ง ซึ่ง ต่อมาทําให้คณะกรรมการของรัฐแห่งสหราชอาณาจักรเรียกคืน เงิ น ตราแบบเก่ า ทั ้ ง หมดและออกเหรี ย ญทองคํ า ใหม่ ท ี ่ ม ี อัตราส่วนของทองคําต่อเงิน ๑๖ ต่อ ๑ ซึ่งเป็นอัตราทองคําท่ีใช้ ในสหราชอาณาจักรมานานกว่า ๒๐๐ ปี สู่ยุคตื่นทอง [Gold Rush] ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ! ก่ อ นหน้ า ยุ ค ตื ่ น ทองในแคลิ ฟ อร์ เ นี ย มี ก ารค้ น พบก้ อ น ทองคําหนัก ๑๗ ปอนด์ ที่คาราบัส รัฐนอร์ทแคโรไลนาในปี ค.ศ. ๑๗๙๙ (พ.ศ. ๒๓๔๒) โดยเด็กชายอายุ ๑๒ ปี และเริ่มมี การพบทองในลํ า ธารบริ เ วณนี ้ จ ึ ง เป็ น จุ ด เริ ่ ม ต้ น ของยุ ค ตื่นทองคร้ังแรกในสหรัฐอเมริกา ! จนถึงร้อยกว่าปีที่ผ่านมานี้ เริ่มต้นจากปี ค.ศ. ๑๘๔๘ (พ.ศ. ๒๓๙๑) จึงเป็นยุคตื่นทองที่แพร่ไปทั่วโลก ! เมื่อชาวนาคนหนึ่งพบชิ้นส่วนทองคําในขณะที่สร้างโรงนา ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา “การต่ืนทองคํา” นี้ถือเป็น การเริ ่ ม ต้ น อพยพตั ้ ง หลั ก แหล่ ง ทางฝั ่ ง ตะวั น ตกของอเมริ ก า โดยสั น นิ ษ ฐานว่ า จํ า นวนประชากรของซานฟรานซิ ส โกจาก ยุคตื่นทองนี้เพิ่มข้ึนจาก ๑,๐๐๐ คนเป็น ๒๕,๐๐๐ คนในเวลา เพียง ๒ ปี


ภาพซ้าย หน้ากากปิดหน้าศพ ฟาโรห์ ท ุต อัง ค์ อ ามุ น [Tutankhamun] ราว ๑๓๓๒-๑๓๒๓ ปี ก่ อ นคริส ตกาล หรือ ประมาณ ๓,๒๐๐ ปี ม าแล้ ว

ภาพขวาล่า ง เครื่องประดับทองคําที่มีหัวเป็น สิ ง โตมีป ี กและรูป รถม้า จํ าลอง เครื ่อ งทองจาก Oxus อาณาจักรเปอร์ เซี ย อายุ ร าว ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ ว

! ต่อจากน้ันเพียง ๒ ปี คือ ค.ศ. ๑๘๕๐ มีชาวออสเตรเลีย คนหนึ่งชื่อ Edward Hargraves หลังจากกลับมาจากการไปทํา เหมื อ งทองที ่ แ คลิ ฟ อร์ เ นี ย เขามั ่ น ใจว่ า จะค้ น หาทองคํ า ที ่ ออสเตรเลียบ้านเกิดได้ภายใน ๑ อาทิตย์ หลังจากนั้นเพียงอาทิตย์ เดียวเขาก็พบแหล่งทองคําที่รัฐนิวเซาท์เวลส์​์ ! ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๘๖๘ จึงมีการพบทองคําในแอฟริกาใต้ ตั ้ ง แต่ บ ั ด นั ้ น การขุ ด หาทองคํ า ที ่ น ี ่ ก ็ ส ามารถผลิ ต ได้ ร าว ๔๐ เปอร์ เซ็ นต์ ข องทองคํ าที่ ขุ ดได้ จากการทํา เหมือ งทั่ว โลกนั บ จาก ปลาย คริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ จนถึงปัจจุบัน และจากเทคโนโลยีใหม่ ท่ีใช้ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๙๐ เป็นต้นมาทําให้ทําเหมืองทองได้ ปริมาณ เฉลี่ย ๑,๗๔๔ ตันต่อปีทีเดียว ! มีการจดสิทธิบัตรในอังกฤษโดย จอห์น สจ๊วต แมคอาเธอร์ [John Steward MacArthur] เมื่อปี ค.ศ. ๑๘๘๗ ในการค้น พบวิธี การใช้ กระบวนการไซนาไนด์ [Cyanidation Process] แยกเนื้อ ทองออกจากก้อนแร่ และเป็นวิธีการท่ีสามารถเพ่ิมปริมาณการ ผลิตทองได้เกือบสองเท่าของผลผลิตทั่วโลกในอีกกว่า ๒๐ ปีต่อมา ! สถานที่แหล่งสุดท้ายของการพบทองคําในยุคตื่นทองในคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๙ คือ อะแลสกาในปี ค.ศ. ๑๘๙๘ ! ค.ศ. ๑๙๐๐ สภาคองเกรสใช้วิธีหนุนค่าเงินดอลลาร์ด้วยทอง คําจึงตั้ง “มาตรฐานทองคํา” หรือที่เรียกว่า “Gold Standard”

โดยกําหนดราคาแลกเปลี่ยนทองคําเป็นค่าคงที่อยู่ที่ ๒๐.๖๗ ดอลลาร์ต่อทองคําหนัก ๑ ออนซ์ กลายเป็นระบบการเงินที่ทั่วโลก ใช้ร่วมกัน ! แต่ต้องมีอันล่มสลายไปก่อนตั้งแต่เริ่มมีภาวะเศรษฐกิจตกต่ํา ทั่วโลกเม่ือราว ค.ศ. ๑๙๓๐ และไม่มีการใช้อัตราแลกเปล่ียน ร่วมกันอีก เพราะแต่ละประเทศพยายามลดค่าเงินของตนเองเพื่อ ทําให้เกิดการได้เปรียบทางการค้าระหว่างประเทศที่มีปัญหาตามมา มากมาย ! ส่วนรัสเซียผลิตทองคําได้ราว ๓๐-๓๕ ตันหรือประมาณครึ่ง หนึ่งของผลผลิตทองคําทั่วโลก แต่ในยุคตื่นทองแหล่งทองคํา เหมืองบางแห่งที่ไม่ใช่ในรัสเซียขุดได้ถึงเกื​ือบ ๑๐๐ ตันต่อปี ! ส่ ว นการเริ ่ ม ต้ น ทํ า เหมื อ งทองคํ า ในสยามหรื อ ประเทศไทย เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ หรือ ค.ศ. ๑๘๗๓ อันอยู่ในช่วงเดียวกับ ยุคตื่นทองกําลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกเช่นเดียวกัน ตลาดทองคํา ! เมื ่ อ มี ก ารพบทองคํ า ในหลายประเทศทั ่ ว โลกและมี ป ริ ม าณ ออกสู ่ ต ลาดจํ า นวนมากจึ ง ต้ อ งกํ า หนดมาตรฐานแบบคงที ่ ในหลายประเทศทั้งอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ช่วงสงครามโลกครั้ง

3


ที่ ๑ ในปี ค.ศ. ๑๙๑๙ ! ทุกวันนี้ “การกําหนดคุณภาพของทองคํา” ยังคงใช้ความ บริสุทธิ์ของทองคําในการบ่งบอกคุณภาพโดยการคิดเนื้อทองเป็น “กะรัต” ทองคําบริสุทธิ์หมายถึงทองคําที่มีเนื้อทอง ๙๙.๙๙ เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่านั้น หรือเรียกกันว่า “ทองร้อยเปอร์เซ็นต์” เรียกกันในระบบสากลว่าทอง ๒๔ กะรัต หรือ ๒๔ K ทองคํา บริสุทธิ์ไม่มีโลหะหรือสารอื่นเจือปนอยู่เป็นทอง ๒๔ กะรัต หากมี ความบริสุทธิ์ของทองคําลดต่ําลงมาก็แสดงว่ามีโลหะอื่นเจือปนมาก ขึ้นตามสัดส่วน เช่น ทอง ๑๔ กะรัต หมายถึงทองที่มีเนื้อทอง บริสุทธิ์ ๑๔ ส่วน และมีโลหะอ่ืนเจือปน ๑๐ ส่วน ฯลฯ ทองประเภท นี้บางทีเรียกว่า “ทองนอก” นิยมนํามาทําเป็นเครื่องประดับกับเพชร พลอยต่างๆ ในอุตสาหกรรมอัญมณี ! สําหรับประเทศไทยนั้นใช้มาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคํา ที่ ๙๖.๕ เปอร์เซ็นต์ หากเทียบเป็นกะรัตแล้วจะได้ประมาณ ๒๓.๑๖ กะรัต [K] ซึ่งจะได้สีทองที่เหลืองเข้มกําลังดีและมีความ แข็งของเนื้อทองพอเหมาะสําหรับการนํามาทําเครื่องประดับ เนื่อง จากทองคําบริสุทธิ์ ๙๙.๙๙ เปอร์เซ็นต์จะมีความอ่อนตัวมาก ไม่ สามารถนํ า มาใช้ ง านได้ ต ้ อ งผสมโลหะอื ่ น ๆ ลงไปเพื ่ อ ปรั บ คุ ณ สมบั ต ิ ท างกายภาพของทองคํ า ให้ แ ข็ ง ขึ ้ น และคงทนต่ อ การ สึกหรอ จึงไม่นิยมนำทองคําบริสุทธิ์มาใช้ทําเครื่องประดับ ! ส่วนโลหะที่นิยมนํามาผสมกับทองคําได้แก่ เงิน ทองแดง นิกเกิล และสังกะสี ซึ่งอัตราส่วนจะสัมพันธ์ตามความต้องการของผู้ ใช้งาน ผู้ผลิตทองรูปพรรณแต่ละรายจะมีสูตรของตนเอง ในการ ผสมโลหะอื่นเข้ากับทอง บางรายอาจผสมทองแดงเป็นสัดส่วนที่ มากหน่อยเพราะต้องการให้สีของทองออกมามีสีอมแดงหรือบาง รายอาจชอบให้ทองของตนสีออกเหลืองขาวก็ผสมเงินในอัตราส่วน พอเหมาะ ทั้งหมดนั้นจะได้ความบริสุทธิ์ของทอง ๙๖.๕ เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกัน

ภาพซ้ า ย การขุดทองที่ ออสเตรเลีย ภาพเขียนสีบน แคนวาส เมื่อปี ค.ศ. ๑๘๕๕ ภาพขวา คนจีน เป็น กรรม กรทํา เหมืองที่ แคลิ ฟ อร์ เ นี ย ในยุคตื่น ทอง

4

สํ า หรั บ ประเทศไทยนั ้ น ใช้ ม าตรฐาน ความบริ ส ุ ท ธิ ์ ข องทองคํ า ที ่ ๙๖.๕ เปอร์ เ ซ็ น ต์ หากเที ย บเป็ น กะรั ต แล้ ว จะได้ ป ระมาณ ๒๓.๑๖ กะรั ต [K]

เมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลกใน ช่วงทศวรรษที่ ๑๙๓๐ [The Great Depression] ประธานาธิบดี สหรัฐฯ ในขณะนั้นคือ แฟรงคลิน ดี.รูสเวลท์ [Franklin D. Roosevelt] พยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยปรับเปลี่ยนราคา แลกเปลี่ยนทองคําให้เพิ่มขึ้นจากราวๆ ๒๕ ดอลลาร์สหรัฐต่อ ออนซ์จนถึง ๓๕ ดอลลาร์​์สหรัฐต่อออนซ์ และห้ามไม่ให้มีการส่ง ออกทองคําและห้ามประชาชนทั่วไปถือครองทองคําด้วย ความ ต้ อ งการทองคํ า จึ ง ลดลงไปมากโดยเฉพาะในช่ ว งระหว่ า งที ่ เ กิ ด สงครามโลกครั้งที่ ๒ และราคาทองคําไม่เปลี่ยนแปลงอีกเลยจนถึง ทศวรรษที่ ๑๙๗๐ ! หลังจากสงครามโลกคร้ังที่ ๒ ส้ินสุดลง ดุลยภาพของความ เป็ น ประเทศมหาอํ า นาจปรั บ เปล่ ี ย นไป ทํ า ให้ ส หรั ฐ อเมริ ก า อังกฤษและฝรั่งเศส ในฐานะประเทศผู้ชนะสงครามร่วมมือกันสร้าง ระบบการเงิ น ของโลกมาใช้ ร ่ ว มกั น แทนระบบมาตรฐานทองคํ า เรียกว่า “Bretton Woods System” หรือมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “ระบบปริวรรตทองคํา [Gold Exchange Standard]” และต้ัง “กองทุนการเงินระหว่างประเทศ [International Monetary Fund]” หรือเรียกย่อว่า IMF มาดูแล โดยมีข้อกําหนดว่า ! - ประเทศสมาชิกต้องกําหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลของ ประเทศกับดอลลาร์สหรัฐให้คงที่หรือเรียกว่า “ค่าเสมอภาค” (Par Value) โดยธนาคารชาติของประเทศสมาชิกต้องจัดตั้ง “กองทุน รักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน [Stabilization Fund]” เพื่อคอย แทรกแซงไม่ ใ ห้ อ ั ต ราแลกเปลี ่ ย นผั น ผวนออกจากค่ า เสมอภาค ที่กําหนด


! - ประเทศสมาชิ ก ต้ อ งปล่ อ ยให้ ม ี ก ารแลกเปล่ ี ย นระหว่ า ง เงินตราของตัวเองกับดอลลาร์สหรัฐอย่างเสรี ! - ประเทศสหรัฐอเมริกาประกาศอัตราแลกเปลี่ยนระหว่าง ดอลลาร์สหรัฐอเมริกากับทองคําคงที่ ณ อัตราแลกเปล่ียน ๓๕ ดอลลาร์ ส หรั ฐ ต่ อ ทองคํ า หนั ก ๑ ออนซ์ [Ounce] และ สหรัฐอเมริกาจะยอมให้ประเทศต่างๆ นําเงินดอลลาร์สหรัฐมาแลก กับทองคํา ณ อัตราแลกเปลี่ยนที่กําหนดแบบไม่มีเง่ือนไข เท่ากับว่า สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเดียวในโลกท่ีใช้ระบบมาตรฐานทองคํา ซ่ึงหมายความว่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่พิมพ์ออกมาจะต้องมีทองคํา รองรับ ส่วนเงินสกุลอื่นของโลกเป็นเพียงแค่เงินกระดาษ ดังนั้น เงินดอลลาร์สหรัฐจึงกลายมาเป็นเงินสกุลหลักที่ทั่วโลกใช้ในการ ชําระหนี้ระหว่างกัน ทุกประเทศเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและ สะสมเป็นทุนสํารองระหว่างประเทศ ! ภายใต้ระบบการเงินแบบ Bretton Woods มีผลทําให้ราคา ทองคําในตลาดโลกไม่เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวเล็กน้อยในช่วง ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๑๓ โดยถูกตรึงไว้ที่ ๓๕ ดอลลาร์ สหรัฐต่อออนซ์ สหรัฐอเมริกาจึงเข้ามากําหนดราคาทองคําใน ตลาดโลกโดยปริยาย ดังจะเห็นได้ว่าราคาทองคําในตลาดโลก ใน ช่วงที่ใช้ระบบ Bretton Woods คือระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๐-๒๕๑๓ เคลื่อนไหวเล็กน้อยท่ีราคากลาง ๓๕ ดอลลาร์ต่อออนซ์ ประเทศ ต่างๆ จึงนิยมใช้การถือครองดอลลาร์สหรัฐดีกว่าการถือทองคํา เพราะได้ดอกเบี้ย ในขณะท่ีราคาทองคําไม่เคลื่อนไหว ! แต่ในขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็ใช้จ่ายเงินมหาศาลในการ ทําสงครามในเกาหลีและเวียดนาม รวมทั้งการทําสงครามเย็นกับ โซเวียตและจีนจึงมีปัญหาการขาดดุลการบัญชีเดินสะพัดและการ ขาดดุลงบประมาณแผ่นดินอย่างเรื้อรังและขยายตัวเพิ่มขึ้นตลอด เวลา ทําให้ภาระหนี้ของประเทศสหรัฐอเมริกาและของรัฐบาลกลาง เพิ่มสูงมากขึ้น ประเทศต่างๆ จึงนําเงินดอลลาร์สหรัฐที่สะสม ไว้มาแลกเป็นทองคําจนเกิดการไหลออกของทองคําจากสหรัฐฯ จํานวนมาก ! ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้าต่อเน่ือง ต้องพิมพ์ธนบัตรออกมาเรื่อยๆ อัตราเงินเฟ้อสูงมากจนทําให้ สถานะความมั่นคงทางการเงินของสหรัฐตกต่ําลงไป ในที่สุด ประธานาธิบดีริชาร์ด เอ็ม. นิกสัน [Richard M. Nixon] ก็ประกาศ ในปี ค.ศ. ๑๙๗๑ จะไม่รับแลกเงินดอลลาร์กับทองคําอีกต่อไป จึ ง ยิ ่ ง กระตุ ้ น ให้ ค วามต้ อ งการทองคํ า เพ่ ิ ม มากขึ ้ น ในที ่ ส ุ ด สหรัฐอเมริกาก็ต้องยกเลิกมาตรฐานทองคํา Gold Standard ยอม ปล่ อ ยให้ ร าคาทองคํ า ลอยตั ว และยอมให้ ค นอเมริ ก ั น ถื อ ครอง ทองคําได้ ! ถือเป็นการส้ินสุดระบบการเงินแบบ Bretton Woods ! เมื่อทองคํามีมูลค่าและราคาสูงมากขึ้น จึงทําให้มีการขุดหา ทองคํามากตามไปด้วย ในช่วงเวลานี้อัตราเงินเฟ้อสูงเกิดขึ้นจาก ราคาน้ํามันที่สูงและปัญหาทางการเมืองในอัฟกานิสถาน ! จนถึงปี ค.ศ. ๒๐๐๐ ราว ๒๐ ปีท่ีผ่านมา ราคาทองคําโลกก็ลด ลงมาโดยตลอดตามอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาที่ค่อยๆ ลดลง

รวมทั้งปัญหาทางวิกฤตทางการเงินของประเทศในทวีปเอเชียที่นํา เอาทองคําออกมาขายเพื่อเปลี่ยนเป็นดอลล่าร์สหรัฐ อีกประการ หนึ่งคือการรวมระบบเงินตราของยุโรปมีการรวมทุนสํารองของ แต่ละประเทศเข้าด้วยกัน โดยใช้ทองคําเป็นส่วนหนึ่งของทุนสํารอง และมีการลงทุนในตราสารหนี้และตลาดหุ้นเพิ่มขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ ทํา ให้ทองคําในตลาดโลกราคาลดลง ! หลังจากปี ค.ศ. ๒๐๐๐ งบประมาณของสหรัฐอเมริกาถูกใช้ มากใน เรื่องการทหาร การพัฒนาอาวุธทันสมัยต่างๆ รวมท้ังการ เข้าไปจัดระเบียบโลกในประเทศอื่นๆ ทําให้ขาดดุลต้องพิมพ์เงิน ดอลล่าห์สหรัฐออกมาใช้เรื่อยๆ โดยไม่มีทุนสํารองท่ีเป็นทองคํา มารองรับ ซึ่งต่างจากประเทศอ่ืนๆ ! ค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐจึงกําลังอ่อนตัวลงและอ่อนตัวไปเรื่อยๆ ซึ่งสวนทางกับค่าเงินหยวนและสถานการณ์ในประเทศจีน และ การเติบโตทางเศรษฐกิจในอินเดีย ทั้งสองประเทศนี้มีการใช้ เครื่องประดับทองคําตามวัฒนธรรมที่ให้คุณค่าสินแร่ชนิดนี้อย่าง มาก และทั้งสองประเทศมีการนําทองคําไปใช้ทําเคร่ืองประดับมาก ที่สุดในโลก ! ปัจจุบันทองคําเป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุน [Gold Investment] ทั ้ ง ในฐานะเป็ น สกุ ล เงิ น ที ่ ม าทดแทนการถื อ สกุ ล เงิ น หลั ก อย่ า ง ดอลล่าร์สหรัฐที่กําลังด้อยค่าลงเรื่อยๆ และเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกัน ความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย อัตราการขยายตัวของ เศรษฐกิจโลก ความเช่ือม่ันในค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ ผลตอบแทนของการลงทุนในตลาดทุน การเก็งกําไรของกลุ่ม Hedge Funds ตัดสินใจซื้อหรือขายของสถาบันที่สะสมทองคํา จนถึงความขัดแย้งการเมืองระหว่างประเทศ ฯลฯ ! จึงทําให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในทองคําแท่งมากขึ้น การลงทุนในทองคํามีแนวโน้มในการให้ผลตอบแทนในระยะยาว และเป็นการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์ซ่ึงต่างจากพันธบัตร เงินฝาก หรือตราสารหนี้ ! ด้วยสาเหตุดังที่กล่าวข้างต้นจึงเกิดความเชื่อมั่นใน “ทองคํา” ในฐานะสินทรัพย์อันแข็งแกร่งที่สุดในภาวะวิกฤตทุนนิยมในทุกวันน้ี

5


“ทองคํา แร่เปลี่ยนโลก” ข้อมูลจําเพาะ [Specifications] ของแร่ทองคํา ✤ สัญลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ของธาตุทองคําคือ “Au” มาจากคําภาษาลาติน “Aurum” แปลว่า “ทอง” ✤ ในตารางธาตุ เลขอะตอมของทองคําคือ ๗๙ และมวลอะตอมเท่ากับ ๑๙๖.๙๖๗ ✤ ทองคําหลอมละลายท่ีอุณหภูมิ ๑,๐๖๔.๔๓ องศาเซลเซียส จุดเดือดที่ ๒,๗๐๑ องศาเซลเซียส ความถ่วงจําเพาะของ

ทองคําคือ ๑๙.๓ ซึ่งหมายถึงทองคํามีน้ําหนัก ๑๙.๓ เท่าของน้ําในปริมาณเท่ากัน ✤ ลักษณะที่พบเป็นเกล็ด เม็ดกลม แบน หรือรูปร่างคล้ายก่ิงไม้ รูปผลึกแบบลูกเต๋า [Cube] หรือออคตะฮีดรอน [Octahedron] หรือ โดเดกะฮีดรอน [Dodecahedron] ✤ จุดเด่นสําคัญของทองคําอยู่ที่สีเพราะทองคํามีสีเหลืองสว่างสดใสและมีความสุกปลั่ง [Brightness] มีประกายมันวาว สะดุดตา นอกจากนี้ยังไม่เป็นสนิม มีความแข็งเหนียว เนื้อแน่น ไม่สกปรก ไม่หมอง ไม่เป็นคราบไคลง่ายเหมือนโลหะวัตถุ ชนิดอื่นๆ ✤ การเทียบน้ําหนักของทองคําในปัจจุบันมีหน่วยเป็น “ทรอยออนซ์” [Troy ounce] ๑ ทรอยออนซ์เท่ากับ ๑,๐๙๗ ออนซ์, ๑,๐๐๐ ทรอยออนซ์เท่ากับ ๓๑.๑ กิโลกรัม ✤ จํานวนสัดส่วนของทองคํา ทองคํา ๑๐๐% เท่ากับระบบยุโรป ๑,๐๐๐ ไฟน์ [Fine] และเท่ากับ ๒๔ กะรัต [Karat], ทองคํา ๗๕ % เท่ากับ ๗๕๐ ไฟน์ เท่ากับ ๑๘ กะรัต เป็นต้น ✤ หน่วยวัดน้ําหนักทองส่วนใหญ่ใช้หน่วยกรัม [Grammes] จะใช้กันเป็นส่วนใหญ่ จะถือได้ว่าเป็นสากลหรือนานาชาติก็ได้ “ทรอยออนซ์” [Troy Ounces] และเป็นหน่วยน้ําหนักที่ใช้ในการกําหนดราคาซื้อขาย กันในตลาดโลก ส่วนใหญ่จะใช้กันใน ประเทศสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ✤ คุณสมบัติสําคัญของทองคําอีกประการหนึ่งคือ ทองคําเป็นโลหะที่อ่อนและเหนียว สามารถยืดเนื้อทองคําหนัก ๑ ออนซ์ เป็นเส้นได้ยาวถึง ๕๐ ไมล์ ทองคํายังเป็นโลหะที่ไม่ละลายในกรดชนิดใดเลยแต่สามารถละลายได้อย่างช้าๆ ในสารละลาย ผสมระหว่างกรดดินประสิวและกรดเกลือ ✤ การกําหนดน้ําหนักของทองในประเทศไทยมีหน่วยเป็น “บาท” โดยทองคําแท่ง ๑ บาท หนัก ๑๕.๒๔๔ กรัม ส่วนทอง รูปพรรณ ๑ บาท หนัก ๑๕.๑๖ กรัม ✤ ในทางธรณีวิทยา ทองคําก็คล้ายการเกิดขึ้นของน้ํามันท่ีเป็นผลผลิตสุดท้ายจากกระบวนการทาง ธรณีวิทยาหลายแบบ แต่ขั้นตอนการเกิดทองคําจะมีความซับซ้อนกว่า ในชั้นหินมักพบแร่ทองคํา ในหินอัคนีที่เป็นชนิดเบสมากกว่าชนิดกรด แต่ปริมาณทองส่วนใหญ่อยู่ในหินชั้นที่เป็นหินทราย ส่วนในแหล่งแร่พบว่า แร่ทองจะอยู่กับแร่เงิน ทองแดง และโคบอลต์ ✤ การเกิดของแร่ทองคํานั้นแบ่งออกเป็น ๒ แบบตามลักษณะที่พบในธรรมชาติ ดังนี้ แบบปฐมภูมิ คือแหล่งแร่ที่เกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยา มีการผสมทางธรรมชาติจากน้ําแร่ร้อนผสมผสาน กับสารละลายพวกซิลิก้า ทําให้เกิดการสะสมตัวของแร่ทองคําในหินต่างๆ เช่น หินอัคนี หินชั้น และหินแปร ส่วนใหญ่จะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีส่วนน้อยที่จะมีขนาดโตพอที่จะเห็นได้ชัดเจน แหล่งแร่ทองคําแบบนี้จะมีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ ก็ต่อเมื่อมีทองคํามากกว่า ๓ กรัมในเนื้อหินหนัก ๑ ตัน หรือมีทองคําหนัก ๑ บาท (๑๕.๒ กรัม) ในเนื้อหินหนักประมาณ ๕ ตันหรือประมาณ ๒ ลูกบาศก์เมตร แบบทุติยภูมิ หรือแหล่งลานแร่ คือการที่หินที่มีแร่ทองคําแบบปฐมภูมิได้มีการสึกกร่อนผุพัง แล้วสะสมตัวในที่ เดิมหรือถูกน้ําชะล้างพาไปสะสมตัวในที่ใหม่ในบริเวณต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น เชิงเขา ลําห้วย หรือในตะกอนกรวดทราย ในลําน้ํา ✤ ทุกวันนี้มีประเทศที่มีการทําเหมืองผลิตแร่ทองคําประมาณ ๘๒ ประเทศ ผู้ผลิตทองคํารายใหญ่คือ แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน อินโดนีเซีย รัสเซีย แคนาดา และเปรู ส่วนประเทศที่มีแหล่ง แร่ทองคํามากที่สุดในโลกคือ แอฟริกาใต้ รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา และบราซิล โดยประเมินกันว่ามี ปริมาณทองคําทั่วโลกอยู่ราวแสนเมตริกตัน

6


แหล่งแร่ทองคําที่สำคัญของโลก ✤ ประเทศที่มีการทําเหมืองผลิตแร่ทองคํามีประมาณ ๘๒ ประเทศทั่วโลก โดยอัตราเฉลี่ยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔

ปรากฏว่าทั่วโลกผลิตทองคําได้ปีละประมาณ ๒,๕๐๐ เมตริกตัน ประเทศผู้ผลิตทองคํารายใหญ่ประกอบด้วย แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน อินโดนีเซีย รัสเซีย แคนาดา และเปรู ประเทศที่มีแหล่งแร่ทองคํามากที่สุดในโลกคือ แอฟริกาใต้ รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา และบราซิล ✤ พ.ศ. ๒๕๔๗ สหรัฐอเมริกาได้ประเมินปริมาณสํารองแหล่งแร่ทองคําที่ยังคงเหลืออยู่ทั่วโลกมีประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ เมตริกตัน ✤ พ.ศ. ๒๕๕๐ ผลผลิตทองคําทั่วโลกลดต่ําลงเหลือประมาณ ๒,๓๔๐ เมตริกตัน โดยประเทศไทยผลิตทองคําได้เพียง

ประมาณ ๒.๔๐ เมตริกตัน ผลผลิตทองคําของแต่ละประเทศที่สําคัญ มีรายละเอียดดังนี้ ! ๑. ประเทศจีน ผลิตทองคําได้ประมาณ ๒๗๕ เมตริกตัน ! ๒. ประเทศแอฟริกาใต้ ผลิตทองคําได้ประมาณ ๒๕๒ เมตริกตัน ! ๓. ประเทศออสเตรเลีย ผลิตทองคําได้ประมาณ ๒๔๖ เมตริกตัน ! ๔. สหรัฐอเมริกา ผลิตทองคําได้ประมาณ ๒๓๘ เมตริกตัน ! ๕. ประเทศปาปัวนิวกินี ผลิตทองคําได้ประมาณ ๑๗๐ เมตริกตัน ! ๖. ประเทศอินโดนีเซีย ผลิตทองคําได้ประมาณ ๑๑๗ เมตริกตัน

✤ แหล่งแร่ทองคําที่ใหญ่ที่สุดและมีประวัติการทําเหมืองแร่ที่ยาวนานที่สุดในโลกคือ แหล่งแร่ทองคําในพื้นที่แอ่งที่ราบ

วิตวอเตอร์สแรนด์ [Witwatersrand Basin] ในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นแหล่งแร่ทองคําที่เกิดแบบทุติยภูมิหรือแหล่งแร่ ทองคําแบบลานแร่ที่มีหน่วยหินหลักคือ หินกรวดมน [Conglomerates] โดยในพื้นที่แหล่งแร่ทองคําแห่งนี้ได้มีการทํา เหมืองแร่ทองคํามาแล้วกว่า ๑๐๐ ปี และได้ผลิตโลหะทองคําไปแล้วรวม ประมาณ ๔๑,๐๐๐ เมตริกตัน ✤ ออสเตรเลีย

! เป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการทําเหมืองแร่ที่ก้าวหน้าและเจริญรุ่งเรืองมาโดยตลอดทองคําเป็นสินค้าออก ที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นอันดับที่ ๒ รองจากแร่ถ่านหิน โดยใน พ.ศ. ๒๕๕๐ ประเทศ ออสเตรเลียสามารถผลิตทอง คําได้ประมาณ ๒๔๖ เมตริกตัน เป็นอันดับที่ ๓ รองลงมาจากประเทศจีน และ ประเทศแอฟริกาใต้เท่านั้น ส่วนปริมาณ สํารองแหล่งแร่ทองคํามีประมาณร้อยละ ๑๐ ของปริมาณสํารองแหล่งแร่ทองคําของโลก หรือประมาณ ๑๐,๐๐๐ เมตริกตัน ซึ่งเป็นอันดับที่ ๓ รองจากประเทศแอฟริกาใต้และสหรัฐอเมริกา ✤ สหรัฐอเมริกา

! เป็นประเทศที่มีการสํารวจและการทําเหมืองแร่ทองคํามาเป็นเวลานาน ใน พ.ศ. ๒๕๕๐ สามารถผลิตทองคํา ได้ประมาณ ๒๓๘ เมตริกตัน เป็นอันดับ ๔ ของโลก และด้วยเทคโนโลยีการทําเหมืองแร่ที่ทันสมัย ทําให้สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีผลผลิตแร่ทองคําอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลกมาโดยตลอด และเนื้อที่ของประเทศที่มีขนาดกว้างใหญ่ มีลักษณะทางธรณีวิทยาที่เอื้ออํานวยต่อการเกิดแร่ทองคํา จึงมีโอกาสสูงที่จะสํารวจพบแหล่งแร่ทองคําเพิ่มขึ้นอีกมาก ในอนาคต สหรัฐอเมริกามีการทําเหมืองแร่ทองคําจากแหล่งกําเนิดแร่ทองคําทั้ง ๒ แบบ คือ แหล่งแร่ทองคําแบบทุติยภูมิ หรือแบบลานแร่ โดยมีการทําเหมืองแร่ทองคําหลายพื้นที่ เช่น ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย [California] รัฐอะแลสกา [Alaska] รัฐไอดาโฮ [Idaho] และรัฐออเรกอน [Oregon] ส่วนแหล่งแร่ทองคําแบบปฐมภูมิก็มีการทําเหมืองแร่ทองคําหลายพื้นที่ เช่นกัน เช่น ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย [California] รัฐโคโลราโด [Colorado] รัฐเนวาดา [Nevada] รัฐอะแลสกา [Alaska] และ รัฐเซาท์ดาโกตา [South Dakota]

7


✤ จีน

! เป็นประเทศที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีหลายพื้นที่ที่ยังไม่มีการเข้าไปสํารวจ ซึ่งคาดว่า ยังมีแหล่งแร่ ทองคําอีกมาก ในปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีการทําเหมืองแร่ทองคํามากที่สุดในโลก โดยใน พ.ศ. ๒๕๕๐ สามารถผลิต ทองคําได้ถึงประมาณ ๒๗๕ เมตริกตัน พื้นที่แหล่งแร่ทองคําที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในมณฑล เสฉวน [Szechwan] กานซู [Gansu] มองโกเลียใน [Inner Mongolia] และหูหนาน [Hunan] นอกจากนี้ยังมีการค้นพบแหล่งแร่ทองคําแห่งใหม่ที่ มณฑลฉ่านซี [Shaanxi] ซึ่งคาดว่า เป็นแหล่งแร่ทองคําขนาดใหญ่มาก แห่งหนึ่งของโลก จากการประเมินในเบื้องต้น พบว่ามีปริมาณสํารองแหล่งแร่ทองคําประมาณ ๑๖ ล้าน เมตริกตัน ที่ค่าความสมบูรณ์ของทองคําประมาณ ๕ กรัม ต่อเมตริกตัน คาดว่าจะสามารถผลิตทองคําได้ประมาณ ๘๐ เมตริกตัน

ทองคําในสยาม ! เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือ “สุวรรณภูมิ” ซึ่งเป็นภูมิภาคแห่ง ความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมมาตั้งแต่สมัยยุคเหล็ก เมื่อประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ในช่วงเวลาร่วมสมัยกับยุคต้น พุทธกาลที่คนอินเดียเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า “สุวรรณภูมิ” โดย สันนิษฐานจากแผนที่โลกของ “ปโตเลมี” นักภูมิศาสตร์ชาวกรีกที่มี อายุอยู่ในช่วง ค.ศ. ๙๐-๑๖๘ และข้อมูลต่างๆ ได้มาจากบันทึกของ นักภูมิศาสตร์ชื่อ Marinus of Tyre ซึ่งเรียกดินแดนเอเชียตะวันออกเฉี ย งใต้ ใ นปั จ จุ บ ั น คื อ คาบสมุ ท รทองคํ า หรื อ Chryse Chersonesos หรือเรียกว่า “สุวรรณภูม”ิ ก็ได้ e ชื่อสุวรรณภูมิมาจากคนทางตะวันตกโดยเฉพาะคนอินเดีย ซึ่งเดินทางด้วยเรือสําเภามาค้าขายในภูมิภาคที่เห็นว่ามีความมั่งคั่ง ในช่ ว งก่ อ นพุ ท ธกาลซึ ่ ง อยู ่ ใ นระหว่ า งยุ ค เหล็ ก ตอนปลาย อารยธรรมจากภายนอกโดยเฉพาะอินเดียจึงมากับพ่อค้าเหล่านี้ และสืบเนื่องมาโดยตลอด ดินแดนนี้มีผู้คนอยู่น้อยและทรัพยากร มีมากมาแต่ดึกดําบรรพ์ ! สุ ว รรณภู ม ิ ค งหมายถึ ง “แผ่ น ดิ น แห่ ง โลหะธาตุ ท ี ่ ม ี ค ่ า ” โดยเฉพาะทองคํา ทองแดง และเหล็ก ซึ่งเป็นแร่ธาตุปฏิวัติรูปแบบ การดําเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคสมัยน้ันอย่างชัดเจน ! โลหะแรกๆ คือ โลหะผสม เช่น สําริด ส่วนเหล็กเป็นโลหะมีค่า อย่างมากต่อการดําเนินชีวิตทั้งในการเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และ เครื่องประดับ ไม่ใช่เฉพาะแร่ทองคําตามความเข้าใจของผู้คนสมัย ใหม่แต่เพียงชนิดเดียว ! การศึกษาแหล่งผลิตแร่ทองแดงแถบเทือกเขาวงพระจันทร์ ในเขตลพบุรี ภาคกลางของประเทศไทย พบว่าเป็นแหล่งเหมือง แร่ทองแดงขนาดใหญ่ตั้งแต่ยุคสําริดเรื่อยมาจนกระทั่งยุคเหล็ก (ราว ๑,๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาลจนถึงราว ๕๐๐-๓๐๐ ปีก่อน คริสตกาล) แร่ทองแดงในรูปของก้อนแร่ [Ingot] เหล่านี้ น่าจะถูก ส่งออกไปทั้งแหล่งชุมชนจํานวนมากที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และชุมชนโดยรอบเขาวงพระจันทร์ในภาคกลาง

8

! นอกจากบริ เ วณภาคกลางแถบลพบุ ร ี ท ี ่ เ ป็ น แหล่ ง แร่ ธ าตุ สําคัญมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ยังมีพื้นที่ภูเขาบริเวณจังหวัดเลยที่ มีการสํารวจพบแล้ว เช่น เหมืองแร่ทองคําท่ีอําเภอเชียงคานอายุ อาจถึงช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์ เหมืองแร่ทองแดง ๒ แห่งที่ อําเภอเมืองฯ และอําเภอวังสะพุง เหมืองแร่ตะกั่วอําเภอวังสะพุง อําเภอเมืองฯ พบแร่เหล็ก ตะก่ัว ทองแดง และสังกะสี และเหมือง แบบอุโมงค์ขุดตามสายแร่จากโพรงหินปูนที่ภูรวก อําเภอเมืองฯ พบแร่เหล็ก สังกะสี และตะกั่ว เป็นอุโมงค์โบราณที่ยาวที่สุดใน ประเทศไทยระยะทาง ๑๑๐ เมตร ซ่ึงพบเศษเครื่องถ้วยจีนท่ีมีอายุ อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษท่ี ๑๙–๒๓ ! แต่ยังพบเครื่องมือหินขัดหลายชิ้นพร้อมท้ังขี้แร่จํานวนมาก ส่วนแร่เหล็กพบว่ามีหลายแหล่งส่วนใหญ่จะถลุงแร่เพื่อใช้สอย อยู่ทั่วไป แต่การถลุงแบบขนาดใหญ่มีสองสามแห่งในจังหวัดเลย ! ทองแดงคือแร่ธาตุที่นํามาใช้ผสมกับดีบุกหรือตะกั่วเพื่อให้ มีความแข็งตัว สามารถนําไปหลอมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้เครื่อง ประดับต่างๆ ได้ด้วยวิธีแบบหลอม [Casting] และนําไปหล่อลง ใน แม่พิมพ์ [Mould] ให้เป็นรูปร่างหรือใช้วิธีแทนท่ีขี้ผ้ึง [Lost Wax] สําหรับเครื่องประดับขนาดเล็กๆ จนถึงประติมากรรมเพราะ เนื ้ อ สํ า ริ ด มี ค ุ ณ ลั ก ษณะทั ้ ง แข็ ง แกร่ ง และปรั บ สี ไ ด้ ต ามเนื ้ อ ของโลหะผสมให้สีสวยงามเป็นมันวาว กรรมวิธีการถลุงแร่และ การผลิตต้องใช้ช่างผู้ชํานาญ จึงเป็นวัตถุสูงค่ามีคุณค่าสําหรับ มนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาตร์ ! เราพบเครื ่ อ งมื อ เครื ่ อ งใช้ ท ั ้ ง ที ่ ท ํ า มาจากทองแดงบริ ส ุ ท ธิ ์ สํ า ริ ด และเหล็ ก กระจั ด กระจายตั ว อย่ ู ท ั ่ ว ทุ ก ภู ม ิ ภ าคของ ประเทศไทยตั้งแต่เหนือจรดใต้ ซึ่งน่าจะพบในประเทศเพื่อนบ้าน ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยเช่นกัน ชุมชนในยุคเหล็ก ทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางมีร่องรอยของการถลุง เหล็ ก ระดั บ อุ ต สาหกรรมหรื อ ระดั บ หมู ่ บ ้ า นแทบทุ ก ชุ ม ชนเป็ น ตั ว อย่ า งแสดงให้ เ ห็ น ว่ า สุ ว รรณภู ม ิ ใ นสายตาของชาวอิ น เดี ย คือ ดินแดนแห่งทรัพยากรแร่ธาตุ ! ภายหลั ง จากมี ค วามรู ้ เ รื ่ อ งเหล็ ก ว่ า สามารถนํ า มาใช้ แ ทน


ภาพบน พระนิ ร ัน ตราย พระพุ ทธรู ป ปางสมาธิท ำจาก ทองคํ า หน้ าตั กกว้า ง ๓ นิ ้ ว สูง ๔ นิ ้ ว ได้ ม ากจาก เมือ งโบราณที ่ศ รี มหาโพธิ ศิ ล ปะแบบทวารวดี ภาพซ้ ายล่า ง ภาพแผนที ่ โลกของ “ปโตเลมี” ข้ อ มู ล ต่ างๆ ได้ ม าจาก บั น ทึ กของนัก ภูม ิ ศาสตร์ ชื ่ อ Marinus of Tyre ดิ น แดนเอเชีย ตะวั น ออกเฉี ยงใต้ ในปั จจุ บ ัน คือ คาบสมุท รทองคํ า หรื อ Chryse Chersonesos หรื อ ที ่ เ รี ยกว่ า “สุ ว รรณภู ม ิ” ก็ ไ ด้ ภาพขวาล่า ง ลู ก ปัด ทองคํ า ขุ ด ค้ น พบใน แหล่ ง โบราณคดี เนิ น อุ โ ลก อํ าเภอโนนสู ง จัง หวัด นครราชสี มา อายุ ร าว ๓,๐๐๐ ปี ม าแล้ ว

เครื ่ อ งมื อ หรื อ อาวุ ธ เช่ น สํ า ริ ด ได้ ด ี ก ว่ า เพราะมี ค วามแข็ ง และ ทนทานต่องานหนัก อีกทั้งแร่เหล็กพบได้ง่ายกว่าแร่ทองแดงและ ดีบุกและอาจรวมถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมที่เข้าสู่ระบบวิถี การผลิตทางการเกษตรเพื่อเลี้ยงตนเองอย่างเต็มที่ เครื่องมือ เครื่องใช้ในการเกษตร เช่น เสียม จอบเล็กจึงมีบทบาทและมีความ ต้องการใช้งานเพ่ิมข้ึน ! ในภาคกลางพบแหล่งโบราณคดีซึ่งนับเป็นชุมชนในยุคเหล็ก ทวีเพิ่มมากขึ้นกว่าชุมชนในยุคสําริดอย่างเห็นได้ชัด การถลุงเหล็ก นับว่าเป็นเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ และมีเทคนิคไม่ซับซ้อนนักจึงแพร่หลายไปได้อย่างรวดเร็ว ! เครื ่ อ งมื อ เหล็ ก เหล่ า นี ้ ถ ื อ เป็ น การปฏิ ว ั ต ิ ว ั ฒ นธรรมการทํ า เกษตรกรรมของมนุษย์ และเป็นเฟืองจักรสําคัญในการเร่งให้เกิด ชุมชนเมืองและชุมชนบริวารพร้อมๆ กับการรับอิทธิพลวัฒนธรรม อินเดียที่เริ่มแพร่หลายกลายเป็นต้นแบบทางศาสนาและประเพณี ตลอดจนการมีตัวอักษรใช้เป็นสัญญาณเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ ในสมัยทวารวดี ! แต่สําหรับทองคําแม้จะพบว่ามีการใช้เป็นเครื่องประดับมาตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่นท่ีพบในแหล่งโบราณคดีในวัฒนธรรม

บ้านเชียงเป็นแผ่นทองคําชิ้นบางๆ ไม่แน่ใจว่าใช้เป็นส่วนหนึ่งของ เครื่องประดับหรือไม่ และมีการพบการใช้ทองคําเป็นชิ้นส่วนของ เครื ่ อ งประดั บ อยู ่ บ ้ า ง แต่ ไ ม่ พ บว่ า มี จ ํ า นวนมากจนสามารถ สันนิษฐานได้ว่าทองคําเป็นแร่ธาตุสูงค่าที่ผู้คนนิยมนํามาใช้เป็น เครื่องประดับท่ีมีมูลค่าสูงดังเช่นในยุคสมัยต่อมา ! และที ่ แ หล่ ง ชุ ม ชนโบราณเนิ น อุ โ ลกในจั ง หวั ด นครราชสี ม า พบว่าในหลุมฝังศพเพศหญิงใช้ลูกปัดทองคำเป็นเครื่องประดับ สร้อยคอร่วมกับลูกปัดหินอาเกต [Agate beads] นอกจากนี้ยัง พบที่หลุมฝังศพเพศชาย บุคคลผู้ซึ่งน่าจะมีสถานภาพทางสังคม และเศรษฐกิจสูงกว่าผู้อื่นเพราะใส่เครื่องประดับที่ทําจากโลหะหลาย ชิ้นและหลายประเภทคือ เข็มขัดรูปห่วงกลมทําจากสําริด ๓ ช้ิน กําไลสําริด ๑๕๐ ช้ิน แหวนที่นิ้วมือและน้ิวเท้าทําจากสําริด ต่างหูทําจากเงินท่ีหุ้มด้วยแผ่นทองคํา ซึ่งพบที่แหล่งโบราณคดี เนินอุโลก อําเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ที่มีอายุในราวยุค เหล็กตอนปลาย (ราว ๕๐๐ BC.- ๓๐๐ AD.) ! สังคมวัฒนธรรมในสมัยรัฐทวารวดีพบว่าการใช้ทองคํามีการ ใช้ แ พร่ ห ลายมากกว่ า ใช้ เ ป็ น เครื ่ อ งประดั บ สํ า หรั บ ผู ้ ม ี ส ถานะ ทางสังคมสูง เนื่องจากเริ่มรับศาสนาสําคัญจากต่างแดน โดยเฉพาะ

9


สยามยุคใหม่และการทําเหมืองทองคําในเมืองไทย

และพุทธศาสนา จึงพบว่ามีการอุทิศโลหะ มี ค ่ า ทั ้ ง ที ่ ท ํ า จากสํ า ริ ด เงิน และทองคํา ตลอด จนลู ก ปั ด ที ่ เ ป็ น ทั ้ ง แก้ ว และหิ น กึ ่ ง รั ต นช า ต ิ อุ ท ิ ศ ไว้ ต ามความเชื ่ อ เพื่อสืบทอดพระศาสนา จึงพบการบรรจุสิ่ง เหล่านี้ไว้ในศาสนสถาน สําคัญ เช่น การอุทิศ สิ ่ ง ของ พวกเครื ่ อ ง ประดั บ สู ง ค่ า เครื ่ อ ง ประดับทองคํา แหวน และอัญมณีมีค่า ! มีการพบพระพุทธรู ป เนื ้ อ ทองคํ า ผสมที ่ พบจากเมื อ งโบราณ ศรี ม โหสถที ่ พ ระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวพระราชทานนาม ว่ า “พระนิ ร ั น ตราย” หน้าตักกว้าง ๓ นิ้ว สูง ๔ นิ้วกล่าวกันว่าเป็น ทองเน้ือ ๖ ชาวบ้านขุดพบที่ดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เม่ือ พ.ศ. ๒๓๙๙ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิทําด้วยทองคํารูป แบบทวารวดี ปัจจุบันเป็นสิ่งของควรค่าเมืองและเก็บรักษาไว้ที่ หอพระสุลาลัยพิมานในพระบรมมหาราชวัง ! การอุทิศแผ่นเงินหรือทองเขียนฤกษ์ยามมงคลหรือคาถา ต่างๆ ในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในปัจจุบันเทียบเคียงได้กับบริเวณที่ วางศิลาฤกษ์ การบรรจุของล้ําค่าในพระเจดีย์และศาสนสถาน ต่างๆ การหุ้มยอดปลีทองคําพระบรมธาตุ การพบแผ่นทองคําดุน สัญลักษณ์ลวดลายมงคลเป็นรูปพระพุทธเจ้าและเทพเจ้าต่างๆ เช่น จากที่พบแผ่นทองคําจากเมืองศรีเทพหรือจากพระบรมธาตุ ที่เมืองโบราณนครจําปาศรีท่ีอําเภอนาดูน ! เมื่อมีพัฒนาการเป็นบ้านเมืองหรือเป็นรัฐอย่างสมบูรณ์ แล้ว กลุ่มผู้ปกครองรับเอาแนวคิดทางพุทธศาสนาแบบเถรวาท สร้างวัด สร้างพระบรมธาตุให้เป็นศูนย์กลางของเมือง พร้อมทั้ง ถวายสิ่งของบูชาต่างๆ ที่เป็นแก้วเงินทองของมีค่าพวกอัญมณี ตามสมัยนิยมบรรจุร่วมไปด้วยกับพระบรมธาตุ จึงมีการพบร่อง รอยว่า มีการอุทิศเครื่องทองที่เป็นเครื่องประดับ แผ่นทองดุน ลวดลายในชาดกหรือในพุทธประวัติที่ถือเป็นสิ่งของควรค่าอุทิศ เป็นพุทธบูชาเพื่อสืบพระศาสนาต่อไป ดังเช่นพบท่ีเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย ! นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้ทองคําหล่อเป็นพระพุทธรูปองค์ ขนาดใหญ่น้ําหนักถึง ๕.๕ ตัน อันเป็นพระประธานของวัดท่ีพบ

10

“พระพุ ท มมหาสุว รรณ ปฏิม ากร” พระพุ ท ธรู ป ทองคํ า วั ด ไตรมิ ต ร น่ า จะอั ญ เชิ ญ มาจาก วัด มหาธาตุ เมื อ งสุ โ ขทั ย

จากเมื อ งสุ โ ขทั ย ในขณะที ่ ก ารทํ า พระพุ ท ธรู ป ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น พระพุทธรูปหล่อด้วยเนื้อสําริด พระพุทธรูปทองคําวัดไตรมิตร ก็น่าจะอัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุสุโขทัย โดยครั้งที่เชิญมามี การพอกหุ ้ ม องค์ ป ู น และลงรั ก ปิ ด ทองจนไม่ ม ี ผ ู ้ ใ ดสนใจจน กระทั่งอัญเชิญมายังกรุงเทพมหานคร ! และเมื่อบ้านเมืองใหญ่ขึ้นมีประชากรมากขึ้นกว่าในอดีตรวม ทั้งเป็นเมืองท่าค้าขายหรือรวบรวมผู้คนต่างชาติพันธุ์และพ้ืนเพ เช่นกรุงศรีอยุธยา ความร่ํารวยของราชอาณาจักรที่กรุงศรีอยุธยา พบจากหลักฐานเครื่องทองราชชูปโภคและเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องต้น พระพุทธรูป พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จารึก ลานทอง สถาปัตยกรรม จําลองที่เป็นฝีมือช่างหลวงราชสํานักที่ ทํ า อย่ า งประณี ต ถวายเป็ น พุ ท ธบู ช าพบในกรุ พ ระบรมธาตุ พระปรางค์วัดราชบูรณะและกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ ! ส่วนการใช้สิ่งของเครื่องประดับสําหรับสามัญชนพบว่าใน “คําให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม” พรรณนาว่ามีการผลิต เครื่องทองและเงินในย่านตลาดต่างๆ ซ่ึงมีอยู่หลายแห่งและถือ เป็นย่านของช่างฝีมือ ! บริ เ วณในกํ า แพงพระนครสองฟากถนนตั ้ ง แต่ ท ่ า ถนนมี ร้าน ขายเคร่ืองเงิน เครื่องทอง เครื่องทองเหลือง ทองแดง ทอง สําริด และสังกะสี ทั้งมีย่านป่าทองเป็นแหล่งขายทองคํารูปพรรณ ทองคําเปลว นาก เงิน ท้ังยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องทองจึงมีชื่ออีก อย่างว่า “ตลาดถนนตีทอง” ส่วนเคร่ืองเงินมีแหล่งจําหน่ายและ ผลิตได้แก่ “ตลาดขันเงิน” และ “ถนนบ้านช่างเงิน” บริเวณ


! นิโกลาส์ แชร์แวส นักเดินทางชาวฝรั่งเศสที่ติดตามคณะเผยแผ่ ศาสนาเข้ามาในสยามเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๒๔-๒๒๒๙ ที่เดินทางเข้ามา ติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา ยังได้บรรยายถึงความชํานาญของช่าง ทองในสมัยอยุธยาไว้ว่า ! “ช่างทองรูปพรรณของประเทศสยามฝีมือดีเท่าๆ กับของเรา เหมือนกัน เขาทําเคร่ืองทองเงินรูปพรรณได้หลายพันแบบล้วน แต่งามๆ ท้ังน้ัน การฝังเงินทองทําได้ สะอาดสะอ้านมากและสอดเส้นได้อย่าง วิเศษ เขาใช้น้ําประสานทองแต่น้อย และ สอดถั ก ได้ อ ย่ า งชํ า นิ ช ํ า นาญเหลื อ เกิ น จนยากที ่ จ ะมองเห็ น ว่ า ตรงไหนเป็ น รอยต่อ” e แหล่ ง ทองคํ า ในสมั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ที่รู้จักกันจากบันทึกและเอกสารของชาว ต่ า งชาติ ป รากฏว่ า ในสมั ย สมเด็ จ พระ นารายณ์ ม หาราช ส่ ง ทองคํ า ไปเป็ น เครื ่ อ งบรรณาการแด่ พ ระเจ้ า หลุ ย ส์ ท ี ่ ๑๔ ของฝรั่งเศสถึง ๔๖ หีบ และต่อมา ทางราชสํานักฝรั่งเศสจึงส่งผู้เชี่ยวชาญ การทําเหมืองแร่ทองคําจากฝรั่งเศสมา สํารวจแหล่งแร่ต่างๆ ซึ่งมีบันทึกไว้ใน จดหมายเหตุ ก ารเดิ น ทางครั ้ ง ที ่ ๒ ของบาทหลวงตาชาร์ด (พ.ศ. ๒๒๓๐ พระพุทธรูปทองคํา -๒๒๓๑) กล่าวถึงการไปสํารวจแหล่งแร่ บริเวณเขาแหลมและรอบภูเขาแม่เหล็ก สมัยอยุธยาตอนต้น ได้พบการถลุงเหล็กของชาวบ้านกล่าว ปางมารวิชัย อธิ บ ายถึ ง เทคนิ ค การผลิ ต และราย พบในกรุพระปรางค์ ละเอี ย ดการส่ ง ส่ ว ยเหล็ ก ให้ ก ั บ เมื อ ง วัดราชบูรณะ หลวงคนละหาบหรือราว ๖๐ กิโลกรัม ต่อปี การถลุงเป็นเทคนิคเดียวกับแหล่ง โบราณคดีในยุคเหล็กท่ัวไป เป็นวิธีการ ผลิ ต ที ่ ม ิ ไ ด้ เ ปล่ ี ย นแปลงไปอย่ า งใด ระหว่ า งย่ า นหน้ า ศาลพระกาฬที ่ ต ะแลงแกงกั บ ย่ า นป่ า ผ้ า เหลื อ ง (ขายเคร่ืองบวชนาค) ใกล้กับวัดป่าใน นอกจากน้ี “ถนนย่านบ้าน และในเอกสารที่ค้นพบในขณะนี้ยังไม่พบการบันทึกถึงการสํารวจ กระชี” ยังเป็นแหล่งช่างทําพระพุทธรูปทอง เงิน นาก และหล่อด้วย พบแหล่งทองคําในยุคสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ ชาวฝร่ังเศสในคร้ังน้ันแต่อย่างใด ทองเหลือง ทองสําริด ช่ือ “ตลาดพระ” e ชาวโปรตุเกสซึ่งเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ! ในรัชกาลเดียวกันนี้บันทึกของเมอซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ๒๐๕๔ รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ บันทึกไว้ว่า สินค้าออก อัครราชทูตชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า ชาวสยามถลุงแร่ทองคําได้มาก ของประเทศสยาม ได้แก่ ครั่ง กํายาน ไม้ฝาง ตะกั่ว เงิน ดีบุก ทอง เพ่ือนํามาประดับพระพุทธรูป นอกจากนี้ยังนําไปประดับเป็นส่วน คํา และงาช้าง โดยชาวสยามนําภาชนะที่ทําด้วยทองแดง ทองคํา และ ประกอบของโบสถ์ วิหาร วัดวาอารามต่างๆ เช่น ประดับช่อฟ้า เคร่ืองประดับท่ีทําจากเพชรและทับทิมไปขายด้วย ตลาดส่งออก ใบระกา เพดาน หน้าบัน ด้วยการลงรักปิดทองลงลวดลายต่างๆ และกล่าวอีกว่าชาวสยามเป็นช่างกะไหล่ทองที่มีฝีมือ และรู้จักนําทอง ท่ีสําคัญคือ จีน มะละกา กัมพูชา เบงกอล ! ในบันทึกยังกล่าวต่อไปอีกว่า พระเจ้าแผ่นดินสยามส่งผู้แทน คํามาตีแผ่เป็นแผ่นบาง พระองค์ไปพบ อัลฟองโซ เดอ อัลบูร์เกอร์กี ผู้สําเร็จราชการ ! เม่ือพระเจ้ากรุงสยามมีพระราชสาส์นไปยังกษัตริย์พระองค์อื่น โปรตุ เ กสที ่ เ มื อ งมะละกาและได้ พ ระราชทานขั น ทองคํ า สํ า หรั บ พระองค์โปรดให้จารึกข้อความศุภอักษรลงในพระสุพรรณบัฏซึ่ง ดื่มเหล้าและดาบทองคําเพื่อขอความสนับสนุนช่วยเจรจาให้รัฐบาล เป็นแผ่นบางเหมือนกระดาษ นอกจากน้ียังโปรดเกล้าฯ ให้ทํา จานทองคํ า ข้ ึ น เป็ น พิ เ ศษสํ า หรั บ ใส่ ผ ลไม้ เ มื ่ อ คร้ ั ง พระราชทาน โปรตุเกสคืนเมืองมะละกาให้แก่กรุงศรีอยุธยา

11


เลี้ยงแก่เมอซิเออร์ เดอ โชมองต์ (สารานุกรม สําหรับเยาวชน, เล่ม ที่ ๒๙) ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศราวพุทธศักราช ๒๒๙๑ โปรดเกล้าฯ ให้ต้ังกองร่อนทองคํา ณ ตําบลบางสะพาน แขวงเมือง กุยบุรี คร้ังน้ันได้เน้ือทองคําถึง ๙๐ ชั่งเศษ ทรงมีพระราชศรัทธา ให้ตีทองคําท่ีร่อนได้ทั้งหมดเป็น “ประทากล้อง” (หมายถึง แผ่น ทองคําเปลวเนื้อบริสุทธิ์ชนิดหนา) เพื่อประดับบนพระมณฑป พระพุทธบาทเมืองสระบุรี ! ตั ้ ง แต่ ส มั ย ต้ น กรุ ง รั ต นโกสิ น ทร์ จ นถึ ง สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การทําเหมืองทอง การขุดทองหรือร่อนทอง ลดน้อยลง แต่การทําทองที่บางสะพานก็ยังเป็นที่รับรู้และรู้จักกันใน ยุคน้ีอย่างต่อเนื่อง เพราะในช่วงต้นกรุงฯ จนถึงสมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเต็มไปด้วยการศึกสงครามและ เป็นช่วงเวลาของการกวาดต้อนผู้คนพลเมือง เพื่อก่อร่างสร้างชุมชน ตั้งถิ่นฐานใหม่ในภูมิภาคแห่งใหม่ และเป็นช่วงของความยากลําบาก ไม่ใช่น้อย การเก็บส่วยทองคําจากแหล่งต่างๆ ก็น่าจะทําได้น้อยลง ไปด้วยและมีบันทึกไว้ว่าต้องหาซื้อนําเข้าจากต่างประเทศ ! เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๔ ต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มีการพบแหล่งแร่ทองคําที่บ้านบ่อทอง อําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และได้เริ่มมีการทําเหมืองด้วยวิธีขุดเจาะอุโมงค์ ใต้ดินในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ควบคุมโดยพระปรีชากลการผู้เป็นเจ้าเมือง ปราจีนบุรีในเวลาต่อมา แต่ต้องปิดดําเนินการในปี พ.ศ. ๒๔๒๒ เนื่องจากเหตุการณ์ทุจริตและความวุ่นวายในทางการเมืองภายใน และระหว่างประเทศ ต่อมาได้เปิดดําเนินการอีกครั้งในช่วงปี พ.ศ.

๒๔๔๙–๒๔๖๑ จนถึงช่วงเริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ ๑ แต่ไม่มี ข้อมูลผลการผลิตแต่อย่างใด ! ในช่ ว งสงครามโลกครั ้ ง ที ่ ๒ รั ฐ บาลให้ ส ั ม ปทานสํ า รวจ และทําเหมืองแร่ทองคําแก่บริษัทจากประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส หลายแห่ง เช่น แหล่งโต๊ะโมะ บ้านภูเขาทอง อําเภอแว้ง จังหวัด นราธิวาส แหล่งอําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แหล่ง บ้านบ่อทอง อําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ฯลฯ แต่บริษัท เหล่านี้หยุดดําเนินการเน่ืองจากเกิดสงครามโลกคร้ังที่ ๒ ! ต่อมาบริษัท Societe des Mine d’Or de Litcho ของ ฝรั ่ ง เศสได้ ส ั ม ปทานทํ า เหมื อ งที ่ แ หล่ ง โต๊ ะ โมะในอํ า เภอแว้ ง จังหวัดนราธิวาส ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๙–๒๔๘๓ ได้ทองคําน้ํา หนักรวม ๑,๘๕๑.๔๔ กิโลกรัม และระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๓– ๒๔๙๙ กรมโลหกิจหรือกรมทรัพยากรธรณีในปัจจุบันกลับมา สํ า รวจและทํ า เหมื อ งแร่ ท องคํ า ที ่ แ หล่ ง บ้ า นบ่ อ ทอง จั ง หวั ด ปราจีนบุรีอีกครั้งหน่ึง และมี ก ารฟื ้ น ฟู ก ารทํ า เหมื องทองใหม่ ซึ่งครั้งนี้สามารถผลิตทองคําได้ ๕๔.๖๗๕ กิโลกรัม ก่อนจะปิด กิจการลงไป ! ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐบาลได้ให้สิทธิ์บริษัท ชลสิน จํากัด สํารวจและทําเหมืองแร่ทองคําในแหล่งโต๊ะโมะ จังหวัดนราธิวาส และเปิดทําเหมืองแร่ทองคําอย่างจริงจังในปี พ.ศ. ๒๕๓๓– ๒๕๓๙ ผลิตทองคําได้ท้ังส้ิน ๒๓๐ กิโลกรัม แต่หยุดกิจการไป เพราะสินแร่ที่สมบูรณ์เหลือน้อยไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน

ทองบางตะพาน ! สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในปี พ.ศ. ๒๒๘๙ กรมการเมืองกุยบุรีมีใบบอกว่าพบทองคําที่บางตะพานใหญ่ และส่งทองร่อนหนัก ๓ ตําลึงนําถวาย พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศจึงเกณฑ์ไพร่จํานวน ๒,๐๐๐ คน ไปร่อนทองที่ บางสะพานเป็นเวลาปีเศษได้ทองคําหนัก ๙๐ ชั่งเศษ คิดเป็นน้ําหนัก ๕๔ กิโลกรัมหรือ ๓,๖๐๐ บาท และได้นําทอง ทั้งหมดไป หุ้มยอดมณฑปพระพุทธบาทที่สระบุรี แต่กล่าวกันว่ายอดมณฑปนี้ถูกโจรจีนเผาหลอมทองเอาไปทั้งหมดเมื่อ ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยา ! พ.ศ. ๒๓๙๒ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งเป็นเมืองชื่อว่า “เมืองกําเนิดนพคุณ” ซึ่ง หมายถึงเมืองที่มีทองคําเนื้อดี อันเป็นที่มาของชื่อเรียกทองคําเนื้อเก้า อันเป็นทองคําแท้บริสุทธิ์ มีสีเหลืองเข้มออก แดง “เป็นทองคําเนื้อดีที่สุดของเมืองไทย” ทองที่พบเป็นทองธรรมชาติซึ่งเป็นแบบ Nuggest หรือก้อนทองคือทองที่ขุด ได้โดยไม่ต้องถลุง สีเหลืองอร่าม สุกปลั่ง และเนื้ออ่อน น้ําหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท โดยมีชื่อเรียกเป็นหลายชื่อ เช่น ทองนพคุณ, ทองเนื้อเก้า, ทองธรรมชาติ, ทองชมพูนุช และทองนพคุณเก้าน้ํา มีคุณค่าและเชื่อถือว่า ป้องกันภยันตราย และภูตผีปีศาจได้ ! ตัวเมืองเก่าแต่แรกเริ่มตั้งอยู่ที่ท่ามะนาวฝั่งขวาของลําน้ําแม่รําพึง ต่อมาตั้งที่ท่ากะหลอซึ่งปัจจุบันเรียกว่า “บ้านหลักเมือง” อยู่ทางฝั่งขวาของลําน้ําบางสะพาน ซึ่งยังมีหลักฐานเสาหินหลักเมืองปรากฏอยู่ ! ใน พ.ศ. ๒๔๓๗ มีการจัดการปกครองท้องที่เป็นระบบมณฑลเทศาภิบาล เมืองกําเนิดนพคุณ ถูกยุบเป็นอําเภอ เมืองนพคุณขึ้นต่อเมืองชุมพร เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๔๙ ตั้งเมืองประจวบคีรีขันธ์และยกอําเภอเมืองนพคุณขึ้นต่อเมือง

12


ทองบางตะพาน ชุมพร เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๔๙ ตั้งเมืองประจวบคีรีขันธ์และยกอําเภอเมืองนพคุณขึ้นต่อเมืองประจวบคีรีขันธ์และย้ายมา ตั้งอยู่ริมทางรถไฟในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ แล้ว เปลี่ยนชื่อเป็นอําเภอบางสะพานใน พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็นต้นมา ! คุณสมบัติเด่นเฉพาะของทองบางตะพาน ปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง e e e e !

e e e e !

e e e e !

e e e e !

e e e e !

e “บางสะพานสพาดพื้น รอยชะแลงชระลุราง e e ระลึกโฉมแม่แบบบาง e e ควรแผ่แผ่นทองหุ้ม e e e ! ! ! ! ! ! !

ee e e e !

ทองปาง แก่แฮ ร่อนกลุ้ม บัวมาศ กูเอย ห่อไว้หวังสงวน” ! ! นิราศนรินทร์

! ! ! ! ! “เอาไม้สรรพยามาทําฝัก ee e ผสมผงลงรักให้ผิวผ่อง e e e e e กาบหุ้มต้นปลายลายจําลอง e e ทําด้วยทองบาทชาติบางตะพาน” e e e e e e e e e e e e e e e ขุนช้างขุนแผน ! ! ! e e e e

! ! ! ! กระทั่งถึงบางสะพานสถานที่ e e ! ! ! ! ! บังเกิดกับกายสิทธิ์อิศรา ee e ! ! ! ! ! เนื้อกษัตริย์ชัดแท้ไม่แปรธาตุ ee e e e e e ชาติประหังหุงขาดบาทละเฟื้อง e e e e e e บางตะพานผุดผ่องไม่ต้องหุง ee e e e e e พี่อยากได้เนื้อทองให้น้องทา e e e e e e e e e e e e e e

มีทองดีแต่บุราณนานนักหนา ไม่มีราคีแกมแอร่มเรือง ธรรมชาติสุกใสวิไลเหลือง ถึงรุ่งเรืองก็ยังเยาเบาราคา ราคาสูงสมศักดิ์ศรีดีหนักหนา แต่วาสนายังไม่เทียมต้องเจียมใจ e e นิราศถลาง

1 ทองที่มีชื่อเสียงนั้นอยู่ในเขตหมู่บ้านป่าร่อน ตำบลร่อนทอง ในอำเภอบางสะพานซึ่งปัจจุบันอำเภอบางสะพาน มี ๗ ตําบล ได้แก่ ตําบลกําเนิดนพคุณตําบลร่อนทอง ตําบลพงศ์ประศาสน์ ตําบลทองมงคล ตําบลชัยเกษม ตําบลแม่รําพึง และตําบลธงชัยหรือบ้านกรูด ! บริเวณที่มีการขุดทองมากที่สุดอยู่ที่บริเวณห้วยจังหัน ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๗๕๐– ๒,๐๐๐ เมตร ปัจจุบันแม้จะมีปริมาณทองลดน้อยลงมาก แต่ก็ยังมีชาวบ้านมาร่อนทองเพื่อเป็นอาชีพรองอยู่เสมอ ! อาชีพร่อนทองเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงเนื่องจากจะต้องขุดดินเป็นหลุมลึกซึ่งอาจถล่มมาทับคนขุดได้ แต่บางครั้ง การขุดตื้นๆ ก็มีโอกาสพบทองคําได้ การจะพบทองหรือไม่ไม่อาจเดาได้ล่วงหน้า ดังนั้นคนร่อนทองที่บางสะพานจึงมี ความเชื่อที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ซึ่งถือเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวในความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้อยู่เสมอดังนี้ ! ก่อนที่จะขุดทองต้องมีการบวงสรวงเจ้าที่เจ้าทางซึ่งมีหลายรูปแบบ ตามความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น เช่น ห้ามสวม รองเท้าเข้าไปในบริเวณหลุมที่ขุดทอง ห้ามผู้หญิงที่มีรอบเดือนเข้าไปในบริเวณหลุมที่ขุดทอง ! เมื่อพบทองแล้วห้ามเรียกคนอื่นให้มาขุดที่เดียวกันเพราะจะไม่พบทองอีกเลย ! ห้ามใส่เครื่องประดับที่ทําด้วยทองคําไปขุด เพราะจะไม่พบทองคําแต่อย่างใด ! ฯลฯ

13


สยามยุคใหม่และการทําเหมืองทองคําในเมืองไทย

ปัจจุบันของเหมืองทองคําในประเทศไทย ! จากการสํ า รวจของกรมทรั พ ยากรธรณี กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า พบสายแร่และ แหล่งทองคํากระจายอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัด ยกเว้นบริเวณ ที่ เป็นพื้นที่ราบสูงของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและพื้นที่ลุ่มน้ํา เจ้าพระยาตอนล่าง ! บริเวณที่มีศักยภาพทางแร่สูงมีอยู่ ๒ แนว คือ แนวแรก พาดผ่านจังหวัดเลย หนองคาย เพชรบูรณ์ พิจิตร นครสวรรค์ ลพบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี และจังหวัดระยอง ส่วนแนวที่ สอง พาดผ่านจังหวัดเชียงราย แพร่ อุตรดิตถ์ และจังหวัดตาก ! ส่วนพ้ืนที่อื่นๆ พบทองคํากระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น บริเวณบ้านป่าร่อน อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แหล่งโต๊ะโมะ อําเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส อําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และอําเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี รวม แล้วพบแหล่งแร่ทองคําใน ๓๑ จังหวัดท่ัวประเทศ ! การสํารวจแร่ทองคําอย่างเป็นระบบของประเทศไทยดําเนิน การมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยการ สํารวจทางธรณีฟิสิกส์ทาง อากาศด้วยการใช้เครื่องบิน จากนั้นทําการ สํารวจบนผิวดิน อีก ครั้ง เพื่อตรวจสอบลักษณะของหินและดิน วัดคุณสมบัติทางธรณี เคมีและธรณีฟิสิกส์ ตลอดจนในบางพื้นที่จะสํารวจในรายละเอียด ลงไปใต้ดิน โดยใช้เครื่องจักรเจาะเก็บตัวอย่างหินและดินเพื่อ หาความสมบูรณ์ของแร่ทองคํา มีการสะสมตัวแบบปฐมภูมิอยู่ใน พื้นที่ต่างๆ จํานวน ๗๖ แห่ง และมีการสะสมตัวแบบทุติยภูมิอีก หลายพ้ืนที่ เฉพาะที่แหล่งลําปาง-ตาก มีแร่ทองคําประมาณ ๒๔ ตัน น่าสังเกตว่าแหล่งศักยภาพสูงส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ตอนบน ของภาคกลางตามแนวเทือกเขาหินแกรนิตทางตะวันออกและขอบ ด้านตะวันตกของแอ่งท่ีราบสูงโคราช ! และประเทศไทยไม่ได้ออกประทานบัตรสําหรับทําเหมืองทอง คํามาเป็นระยะเวลาหนึ่ง แต่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๔ รัฐบาลได้อนุญาต ให้บริษัทเอกชนสามารถลงทุนทําเหมืองแร่ทองคําในหลายพ้ืนที่ ! หลัง พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๓ บริษัท อัคราไมน่ิง จํากัด สํารวจ บริเวณเขตรอยต่อของจังหวัดเพชรบูรณ์และพิจิตร ต่อมาสร้าง โรงงานขุดเจาะและผลิตทองคําในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ และ พ.ศ. ๒๕๓๙-๒๕๔๓ บริษัท ทุ่งคํา จํากัด ได้สํารวจพื้นที่บริเวณ อําเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และสร้างโรงงานขุดเจาะและผลิต ทองคําในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ! ต่อมาเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๕๐ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ การเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม ประกาศเงื่อนไขหลักเกณฑ์ ในการสํ า รวจและทํ า เหมื อ งแร่ ฉ บั บ ใหม่ ห ลั ง จากก่ อ นหน้ า นี ้ การขออนุญาตเป็นไปได้ยาก จึงทำให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทั้ง ไทยและต่ า งชาติ จ ํ า นวนมากเข้ า มายื ่ น ขอสํ า รวจและประกอบ กิจการเหมืองแร่ โดยเฉพาะแหล่งแร่ทองคําได้รับความสนใจ สูงสุด นอกจากนั้นมีท้ังแร่เหล็ก ลิกไนต์ ยิปซัม รวมทั้ง เหมือง หินอุตสาหกรรมที่ตลาดมีความต้องการสูง โดยเฉพาะช่วงท่ี

14

เศรษฐกิจดีมีการก่อสร้าง โครงการ อสังหาริมทรัพย์ และ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจํานวนมาก ! สภาการเหมื อ งแร่ ว ิ เ คราะห์ ว ่ า การทํ า เหมื อ งแร่ แ ละราคา สิ น แร่ ใ นตลาดโลกมี แ นวโน้ ม ดี ข ึ ้ น ในช่ ว งสองสามปี ท ี ่ ผ ่ า นมา เนื่องจากความต้องการใช้แร่ทุกชนิดมีมากขึ้นในตลาดโลก และมี ราคาดี ทั้งทองคํา เหล็ก ทองแดง ทังสเตน นิกเกิล เป็นต้น แม้กระทั่งดีบุกซึ่งราคาเคยตกต่ําอย่างมากก็ขยับสูงข้ึนด้วย ทําให้ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ในประเทศไทยท่ีเคยซบเซาเริ่มขยับทํากัน ใหม่ หลังจากกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศนโยบายเปิดให้มี การสํารวจและทําเหมืองแร่ทองคํา ปรากฏว่ามีผู้ประกอบการยื่น ขออาชญาบัตรเต็มพ้ืนที่ซึ่งมีศักยภาพแล้ว โดยเฉพาะในแหล่งที่ พบแหล่งแร่ทองคําสําคัญ เช่น ในจังหวัดพิจิตร จังหวัดเลย สระแก้ว เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี รวมทั้งที่อําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ! สาเหตุที่เหมืองแร่ทองคําได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทย และต่างชาติอย่างมาก ส่วนหนึ่งมาจากราคาทองคําในตลาดโลก ท่ีพุ่งสูงข้ึนมากและมีแนวโน้มจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงตามลําดับ เห็นได้จาก ราคาทองคําในตลาดโลกช่วง ๖-๗ ปีที่แล้วอยู่ในระดับ ๓๐๐ เหรียญสหรัฐต่อออนซ์และปรับสูงขึ้นถึง ๑,๒๐๐-๑,๓๐๐ เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ในปัจจุบัน ทําให้การซื้อขายเก็งกําไรทั้งใน รูปของทองแท่ง ทองรูปพรรณ และการซื้อขายทองคําในตลาด ล่วงหน้าได้รับความนิยมมาก ! ส่งผลให้ค่าภาคหลวงที่รัฐจัดเก็บจากการทําเหมืองแร่ใน ประเทศไทยมีทองคําเป็นอันดับหนึ่ง หินอุตสาหกรรมเป็นอันดับ สอง และถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะเป็นอันดับสาม ! เพราะการพั ฒ นาแหล่ ง แร่ ท องคํ า ในปั จ จุ บ ั น ยั ง ไม่ ม ี ประสิทธิภาพมากนัก รัฐโดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานจึงมี นโยบายในการเรื่องการทำเหมืองแร่ว่า ๑. ควรต้องมีการเตรียม ความพร้อมในหลายด้านควบคู่กับการดูแลบริหารจัดการแหล่งแร่ ทองคํา ๒. ปรับปรุงด้านผลประโยชน์ตอบแทนแก่รัฐและท้องถิ่น ๓. ด้านการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูพ้ื นที่ ๔. การกํากับดูแลการประกอบการ ๕. การมีส่วนร่วมของ ชุมชนและท้องถ่ิน ๖. ด้านธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ ! แนวทางการพัฒนาเหมืองแร่ทองคํา เบ้ืองต้นรัฐมีนโยบาย การตั ้ ง กองทุ น สํ า หรั บ การดํ า เนิ น การป้ อ งกั น และแก้ ไ ขผล กระทบสิ่งแวดล้อม กองทุนสําหรับป้องกันสิ่งแวดล้อมและการ ฟื้นฟูพ้ืนที่กับกองทุนประกันความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนา คุณภาพชีวิตของชุมชน แต่ปัจจุบันการทําเหมืองทองคําในบริเวณ อําเภอวังสะพุง จังหวัดเลย สร้างปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม แก่ชาวบ้านโดยรอบโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาจากการใช้ สารหนูหรือไซยาไนด์ที่ตกค้างในแหล่งน้ํากิน น้ําใช้ ซึ่งชาวบ้านได้ รับผลกระทบจากไซยาไนด์อย่างมาก และไม่ต้องการให้บริษัท เหมืองแร่ได้ดําเนินการต่อเนื่องในระยะต่อไป ! จากการเรียกร้องในกรณีดังกล่าวทําให้บริษัทเอกชนที่รับ สัมปทานทำเหมืองทองคำนั้นฟ้องร้องดําเนินคดีชาวบ้านทั้งกลุ่ม


และเรียกค่าเสียหายถึง ๕๐ ล้านบาท การดําเนินโครงการนี้ดําเนิน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ จนถึงวันนี้กินเวลาร่วม ๖ ปี และเมื่อมีการ จัดเวทีกําหนดขอบเขตและแนวทางประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบก็ไม่สามารถเข้าไปร่วมเวที นั้นได้ ท้ังๆ ที่พวกเขาเหล่านั้นเป็นส่วนหน่ึงของปัญหาจนกลายเป็น ข่าวครึกโครมอย่างยิ่ง ! การใช้สารไซยาไนด์ในขั้นตอนการแต่งแร่นั้นเป็นที่ทราบกันดี ว่าย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการ ทําเหมืองแร่ทองคํายิ่งทํามากปัญหาการตกค้างของสารเคมีจึงมี มากขึ้นตามลําดับ แม้จะมีวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการบําบัดสาร เคมีตกค้างเช่นไซยาไนด์ก็ตาม รวมทั้งมีวิธีการเฝ้าระวังต่างๆ ส่งผล ต่อการดําเนินชีวิตของชาวบ้านในบริเวณโดยรอบอย่างแน่นอน และ การทําเหมืองแร่นั้นเป็นการทําลายสภาพแวดล้อมโดยตรงอยู่แล้ว (ปริษา จารุวาระ กูล. ไซยาไนด์กับอุตสาหกรรมเหมืองทองคํา, สํา นักงานอุตสาหกรรมพื้นฐาน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการทํา เหมืองแร่, กันยายน ๒๕๕๐) แต่กระบวนการทํางานในเหมืองแร่ และโรงงานอุตสาหกรรมเช่นนี้ หากไม่มีความรับผิดชอบสูงสุดก็ อาจทําให้เกิดปัญหาอย่างมากมายตามมาดังเช่นที่ปรากฏเป็นข่าวจา กการทําเหมืองทั้งที่พิจิตรและในจังหวัดเลย ! และการต่ออายุประทานบัตรของบริษัท อัคราไมนิ่ง จํากัด ที ่ ช าวบ้ า นโดยรอบร่ ว มกั น ประท้ ว งไม่ ย ิ น ยอมให้ ม ี ก ารต่ อ อายุ สัมปทานต่อไป ซึ่งยังคงเป็นปัญาหาเร้ือรังท่ียังแก้ไขไม่ได้อย่าง สมบูรณ์ ! โดยมีการฟ้องร้องต่อศาลให้ถอนประทานบัตรทั้ง ๕ แปลง โดยการทําเหมืองทองคํานี้ทําให้ชาวบ้านตําบลเขาเจ็ดลูกได้รับผล กระทบต่อเน่ืองมานานกว่า ๒ ปี ทั้งเสียงดัง มีฝุ่นฟุ้งกระจายจาก การระเบิดหินอย่างต่อเนื่องท้ังวันทั้งคืน น้ําด่ืม น้ําใช้ น้ําใต้ดินไม่ สามารถใช้น้ําสาธารณะได้ดังเดิมเพราะมีสารโลหะหนักเจือปน เช่น สารหนู สารปรอท และไซยาไนด์ และชาวบ้านมีอาการเจ็บป่วยด้วย

การใช้สารไซยาไนด์ในขั้นตอน การแต่งแร่นั้นเป็นที่ทราบกันดีว่า ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการทําเหมืองแร่ทองคํา ยิ่งทํามาก ปัญหาการตกค้างของสารเคมี เช่นไซยาไนด์จึงมีมากขึ้นตามลําดับ

โรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง รวมทั้งไม่มีการจัดการทํา EHIA [Environmental Health Impact Assessment] โดยคําพิพากษาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕ น้ัน ให้บริษัทฯ กลับไปทํารายงานผลกระทบทางสิ่ง แวดล้อมและสุขภาพภายในเวลา ๑ ปีให้แล้วเสร็จ ! หากไม่เสร็จให้เพิกถอนประทานบัตรทั้ง ๔ แปลง แต่แปลงบน เขาหม้ออีก ๑ แปลง ไม่ควรเพิกถอนเพราะจะมีผลกระทบกับ บริษัทที่ได้ลงทุนทําไปแล้วและจะกระทบกับค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัท ได้จ่ายให้กับรัฐแล้ว แต่จากการที่คำพิพากษาน้ีไม่มีผลทันทีชาวบ้าน จึง ต้องรับผลกระทบอย่างต่อเนื่องต่อไปอีก ๑ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ บริษัทสามารถเร่งดําเนินการทําเหมืองแร่ให้ได้มากที่สุดในระยะ เวลาดังกล่าว และผลกระทบก็ยังตกอยู่กับชุมชนโดยรอบเช่นเดิม ! ส่วนการสํารวจทางทรัพยากรธรณีประเมินไว้ว่าพื้นที่ซึ่งมี ศักยภาพในการทําเหมืองแร่ทองคําในบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว และจังหวัดชลบุรี ในบริเวณพื้นที่ของตําบลบ่อทอง และรอยต่อกับอําเภอเมืองฯ จังหวัดสระแก้ว กินบริเวณกว้างและใน พ้ืนท่ีทั้ง ๕ แห่ง ยังมีแร่อื่นๆ อีกด้วย เช่น เหล็กและทองแดง ซ่ึงผู้สํารวจทั้งทางรัฐโดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมือง แร่และบริษัทเอกชนที่ดําเนินการศึกษาลงความเห็นว่าไม่จําเป็นต้อง ทําเหมืองทองคําอย่างเดียว และไม่จําเป็นต้องทําเต็มพื้นที่ประกาศ จึงได้ปรับปรุงประกาศเพ่ือเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุนสํารวจ

เหมื อ งแร่ ท องคํา ใน พื้ นที ่ อ ํ าเภอวั งสะพุ ง จั ง หวั ดลย แสดง พื ้นที ่ ก ารขุด เหมือ ง และชุ มชนที ่ต ั้ งอยู่ บริเวณใกล้เคี ย งและ ผลกระทบที่เกิ ด ขึ้ น กับ ชุ มชนและผู ้คน [ลํ าดั บเหตุ การณ์ เหมือ งแร่ ท องคำผลก ระทบและการเฝ้า ระวั ง: http:// www.thia.in.th/ welcome/ article_read/67]

15


และทําเหมืองแร่ต่างๆ ในพื้นที่ดังกล่าวได้ดังน้ี ! ๑. พ้ืนท่ีในอําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เนื้อที่ประมาณ ๗๓,๑๒๕ ไร่ ! ๒. พื้นที่บริเวณรอยต่ออําเภอเมืองฯ จังหวัดสระแก้ว เนื้อท่ี ประมาณ ๙๐,๐๐๐ ไร่ ! ๓. พ้ืนที่ในท้องที่อําเภอเมืองฯ และอําเภอวัฒนานคร จังหวัด สระแก้ว เน้ือที่ประมาณ ๕๐,๖๒๕ ไร่ ! ๔. พ้ืนที่ในท้องท่ีอําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เน้ือท่ี ประมาณ ๓๐,๐๐๐ ไร่

! ๕. พื้นที่ในท้องที่อําเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี เน้ือที่ประมาณ ๒๒,๕๐๐ ไร่ ! ซึ่งในปัจจุบันมีการสํารวจพื้นที่เพื่อทําเหมืองแร่ทองคําในพื้นที่ กบินทร์บุรีโดยบริษัทเอกชนหลายแห่ง ซึ่งมีทั้งที่ถอนตัวออกไปและ สํารวจดําเนินการต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๓ ซึ่งมีการสํารวจขุดเจาะ บริเวณทางตะวันออกและตะวันตกของเขาพระ และสํารวจอีกครั้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๐ ! ในปัจจุบันยังไม่มีการดําเนินการขุดเหมืองทองคําอย่างเป็น รูปธรรมและเผยแพร่แก่สาธารณะแต่อย่างใด

คำเรียกเครื่องทองชนิดต่างๆ

“กะไหล่ทอง” เศษทองคําที่เหลือจากแต่งทองรูปพรรณซึ่งจะมีเปอร์เซ็นต์ทองผสมกับโลหะอื่นอยู่บ้าง เช่น ทองแดง เงินหรือเรียกว่าเปอร์เซนต์ทองอยู่น้อย

“คร่ําทอง” เป็นการฝังลวดลายด้วยทองลงในโลหะ สร้างความโดดเด่นโดยการฝังลายเส้นและรูปลวดลายเป็นลายนูน ออกมาเป็นบางส่วนลงไปเสมอเนื้อพื้นของตัวเรือนโลหะ

“ทองกะไหล่” เป็นการละลายทองด้วยปรอท แล้วทาลงบนโลหะอื่น จากนั้นใช้ความร้อนไล่ปรอทออกไป ทองจะติดอยู่ บนโลหะนั้น เป็นวิธีการทําแบบเดียวกับการ “ถมทอง” ซึ่งเรียกว่า “ตะทอง” นิยมทํากะไหล่ทองบนภาชนะเงิน เพื่อทําให้ เงินดูมีลายคล้ายทอง

“ทองลงยา” หรือ “ทองประทาสี” เป็นการเพิ่มความโดดเด่นให้โลหะด้วยการเขียนสีเน้นสีเติมสี หรือเรียกว่าสีลงยา ลงบนทองรูปพรรณต่างๆ ตามลวดลายหรือลงลายตัวอักษรที่ต้องการ แล้วลนไฟทําให้สีลงยาเยิ้มละลายเกาะตามร่อง รอยที่ทําไว้ เมื่อเย็นตัวลงก็จะเกาะตัวแน่นให้สีผิวงดงาม

“ทองลงหิน” หรือ “ทองม้าฬ่อ” เป็นโลหะผสม สีผิวเปล่งปลั่งเหมือนทอง เวลาผ่านไปจะหมองคล้ํา โลหะหลักคือ สําริด สมัยก่อนจะเจือทองคําและเงินบ้างเล็กน้อย หลังจากหล่อขึ้นรูปเป็นภาชนะก็จะทุบด้วยหินและขัดผิวให้มันด้วยหิน อีกเช่นกัน จึงเรียกชื่อการผลิตแบบนี้ว่า “ลงหิน “ เช่น การทําขันลงหิน ฯลฯ

“ทองแล่ง” หมายถึงทองคําที่นํามารีดให้เป็นเส้นบางๆ ใช้สําหรับปักหรือทอผ้า รูปแบบทองชนิดต่างๆ ในสยาม

“ทองคําเปลว” คือทองคําที่นํามาตีแผ่นเป็นแผ่นบางมาก นิยมนํามาใช้ในการปิดทับลงบนลวดลายต่างๆ ที่แสดงให้เห็น เนื้อทองคําที่ผิวหน้ามักใช้ร่วมกับ “รัก” เรียก “ลงรักปิดทอง”

“ทองทึบ” ทองคําที่ทําเป็นแผ่นปิดลงบนวัสดุที่ต้องการโดยไม่มีลวดลาย จะใช้ทองแดงแผ่นเป็นพื้นแล้วใช้แผ่นทองปิด ทับอีกชั้นหนึ่ง เช่น การทําแผ่นทองทึบหุ้มปล้องไฉนพระธาตุเจดีย์สําคัญ หรือ “ลานทองจารึก” ก็ใช้แผ่นทองทึบ

“ทองใบ” เป็นแผ่นทองคําบริสุทธิ์ที่นําเข้าจากประเทศจีนในอดีต แผ่นบางๆ ขนาด ๓x๕ นิ้ว ช่างทองนิยมซื้อไปทําเป็น ทองรูปพรรณ “ทองใบใหญ่” ขนาด ๕x๕ นิ้ว

16


ถนนเจริ ญ กรุ ง เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๕๒ ถนนสาย เศรษฐกิจสยาม เมื่ อ ปลายรัชกาล พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้า อยู่หัว

๒. สยามยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ การปรับตัวจากรัฐโบราณสู่สยามใหม่ ! ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สยามซึ่งมีศูนย์กลางท่ี “บางกอก” และเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบอย่างต่อเนื่องกับเพื่อนบ้านอย่างพม่า ซึ่งมีการศึกสงครามมาต้ังแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ! นอกจากนี้ ยังมีภาระสําคัญคือการสร้างบ้านเมืองใหม่หลังเสีย กรุงศรีอยุธยาที่ถูกเผาพร้อมโยกย้ายไพร่พลที่ถือเป็นหัวใจหลักของ บ้านเมืองหรือรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป ที่มีพื้นที่ กว้างใหญ่และจํานวนพลเมืองน้อย ! นโยบายการไปตีเมืองเพื่อเป็นหัวเมืองขึ้น นอกจากจะได้ บ้านเมืองอยู่ภายใต้พระราชอาณาเขตแล้วยังกวาดต้อนผู้คนมาเป็น พลเมืองของสยาม เป็นการลดทอนกําลังคนในบ้านเมืองน้ันๆ ด้วย แล้วให้ตั้งถิ่นฐานเป็นระบบตามท้องถ่ินต่างๆ เช่น เชื้อพระวงศ์หรือ ขุนนางให้ตั้งบ้านเรือนเป็นชุมชนอยู่ในเขตพระนคร ชุมชนลาว ชุมชนมลายู ชุมชนยวน ชุมชนไทดําหรือลาวโซ่ง ชุมชนพวน ชุมชน มอญ ฯลฯ ให้ตั้งบ้านเรือนถิ่นฐานสร้างบ้านแปลงนาทําสวนอยู่ใน เขตต่างๆ ของท้องถิ่นภาคกลางและหัวเมืองที่ต้องการขยายบ้าน เมืองโดยพระราชทานที่ดินทํากิน แต่งตั้งให้มีหัวหน้าปกครอง กันเองโดยมอบราชทินนาม ทําหน้าที่ตามกําลังคือส่งส่วยจาก ทรัพยากรของป่าและทรัพย์ที่ทํามาหากินได้หรือเข้าเวรเป็นกําลัง ของนายไพร่เป็นไพร่สมตามวาระ ! ตลอดรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและพระบาทสมเด็จพระ-

นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาแห่งการนําทัพและมีศึกสงคราม หลายแห่ง รวมทั้งการเร่งฟื้นฟูศิลปวิทยาการสร้างบ้านเมืองให้ กลับมาเป็นเหมือนเช่นพระนครในอุดมคติคือ “กรุงศรีอยุธยา” ! ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้เวลาใน การทําศึกกับฝ่ายคนญวนและเขมร “อานามสยามยุทธ” ช่วง พ.ศ. ๒๓๗๖-๒๓๙๐ เสียกําลังและไพร่พล เสียเงินทองและเวลาไปมาก จนพระองค์มีพระราชดําริให้เลิกศึกเนื่องจากเพลี้ยงพล้ําและไม่ได้ ชัยชนะแต่อย่างใด และไม่มีประโยชน์อันใดที่จะเอาชนะในศึก เหล่านั้น โดยใช้เวลาไปถึง ๑๔ ปี ช่วงเวลาเดียวกันทางฝรั่งเศส ก็เริ่มท่ีจะเข้ามามีอิทธิพลโดยตรงกับโคชินจีนหรือญวน ! นอกจากนั้น ยังมีเหตุการณ์วุ่นวายและทําศึกกับหัวเมืองมลายู ซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องมาจากสงคราม ๙ ทัพตั้งแต่สมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนเกิดสงครามที่มีการกวาดต้อนผู้คนอีก ๓ ครั้งในช่วงรัชกาลท่ี ๓ จนกวาดต้อนผู้คนมาตั้งถิ่นฐานยังชานพระนครและขยายพื้นที่ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๗๕-๒๓๘๒ ซึ่งเทครัวชาวมลายูจากหัวเมือง ไทรบุรีและเมืองอื่นๆ มาตั้งถิ่นฐานอยู่หลายแห่งทั้งชานพระนคร และท้องถ่ินต่างๆ ที่ขยายออกไปตลอดรัชกาล ! นอกจากทําสงครามสู้รบในรัชกาลนี้ยังมีการทําการค้าเรือ สําเภาหลวงไปตลอดทั่วแหลมอินโดจีนและทางจีนแผ่นดินใหญ่ มีชาวตะวันตกเข้ามาทําสนธิสัญญาทางการค้าหลายฉบับ และเร่ิมมี

17


การติดต่อกับสหรัฐอเมริกาเป็นครั้ง แรกในรัชกาลนี้ การค้ากับต่างชาติ ถือเป็นความชํานาญตั้งแต่ครั้งดํารง พระอิสริยยศเป็น “พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์” บังคับ บัญชากรมท่า การค้ากับต่างประเทศ โดยการใช้ ส ิ น ค้ า จากการเก็ บ ส่ ว ย ต่างๆ ในระบบผูกขาดสินค้า เพ่ิมราย ได้ในระบบเจ้าภาษีนายอากรให้คน จีนที่มีความชํานาญจัดเก็บภาษีส่วย และการผูกปี้ข้อมือคนจีนที่เข้ามาเป็น แรงงาน การค้าสําเภาหลวงถือว่าเป็น รายได้ แ ผ่ น ดิ น สํ า คั ญ ที ่ ส ุ ด ในยุ ค สมัยน้ัน ! การฟื้นฟูบ้านเมืองตลอดช่วงทั้ง สามรั ช กาลพร้ อ มๆ กั บ การศึ ก สงครามกับบ้านเมืองใกล้เคียง แม้จะ ยังไม่ได้รับผลกระทบจากการเข้ามา ของประเทศทางตะวันตกที่มีวัตถุประสงค์ในการเข้ามาทําการค้า และล่าอาณานิคม แสวงหาทรั พ ยากรสํ า คั ญ ในการทำนุ บ ํ า รุ ง ประเทศของตนอย่างชัดแจ้ง แต่การเตรียมตัวเพื่อก้าวเข้าสู่สังคม แบบโลกาภิวัตน์ ซ่ึงเสมือนกระแสลมพัดมาอย่างรุนแรงจากทางฝ่ัง ตะวันตก และถือเป็นช่วงเวลาเริ่มต้นในการปฏิรูปประเทศที่ไม่เคยมี มาก่อนในช่วงรัชกาลต่อๆ มา การถาโถมของกระแสตะวันตกที่ส่งผล ต่อการปกครองและการริเร่ิมนวัตกรรมใหม่ ในสังคมสยาม ! การค้าสําเภาหลวงในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เจริญรุ่งเรืองและมีสนธิสัญญาที่ไม่เชิงเอาเปรียบบ้านเมือง ของเรามากนัก (สนธิสัญญาเบอร์นี่-พ.ศ. ๒๓๖๙) เมื่อถึงรัชกาล พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อย่ ู ห ั ว รั ฐ บาลอั ง กฤษขอ เปลี่ยนแปลงสัญญาการค้า (สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง-พ.ศ. ๒๓๙๘) ให้สยามเลิกเก็บภาษีปากเรือเปลี่ยนมาเก็บภาษีขาเข้าร้อยละ ๓ และอังกฤษสามารถซื้อขายสินค้ากับราษฎรได้โดยตรงไม่ต้องผ่าน พระคลั ง สิ น ค้ า และอนุ ญ าตให้ จ ั ด ตั ้ ง กงสุ ล อั ง กฤษใน กรุ ง เทพมหานครและรั บ ประกั น สิ ท ธิ ส ภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้ ! ซึ่งในเวลาต่อมาเมื่อเห็นอังกฤษทําได้ ประเทศทางตะวันตก อ่ืนๆ เช่น ฝรั่งเศส เดนมาร์ก โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน สวีเดน นอรเวย์ เบลเยียม อิตาลี ออสเตรีย ฮังการี สเปน รวมทั้ง สหรัฐอเมริกาก็ขอแก้สัญญาทางการค้าเช่นกัน เพราะด้วยสภาพ ภูมิศาสตร์ของอ่าวสยามที่เป็นจุดศูนย์กลางในการเดินเรือของ ภูมิภาคทําให้การทําการค้าเรือสําเภารุ่งเรืองและมีมาก

18

ภาพเรื อ สํ า เภาสยาม จากภาพถ่ ายพานอรามา ของฟรานซิ ส จิ ตร หรือ หลวงอั ค นี น ฤมิ ต ร

พระที่นั่งภูวดลทัศไนยหอนาฬิกาแห่งแรกในสยาม สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หวั

! บทบาทของประเทศทางตะวันตกที่เข้ามาทําสนธิสัญญาทางการ ค้านี้ ทําให้สยามเสียเปรียบหลายประการ โดยการข่มขู่ถ้าไม่ยอมก็ จะใช้กําลังเข้ายึดครองดังที่อังกฤษเข้ายึดพม่าเม่ือ พ.ศ. ๒๓๙๕ ทางฝรั่งเศสเข้ายึดเวียดนามและเขมรจนกลายเป็นอินโดจีนของ ฝรั่งเศสต้ังแต่เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๒ เป็นการ เริ่มต้นที่ประเทศเจ้า อาณานิคมเริ่มเข้ามามีบทบาทกดดันต่อความเป็นเอกราชของสยาม ประเทศในเวลาต่อมา ! ทั้งนี้เมื่อปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีกระแสพระราชปรารภถึงอิทธิพลจากทางตะวันตกในการ คุกคามทางการเมือง ศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ซึ่งเป็นที่รับรู้ กันทั่วไปจนถึง ปัจจุบันนี้ว่า ! “...การต่ อ ไปภายหน้ า ...การศึ ก สงครามข้ า งญวนข้ า งพม่ า ก็ เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่งให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียที แก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่ดีควรจะเรียนร่ําเอาไว้ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว...”


ภาพซ้ าย ภาพถ่ ายพระบาทสมเด็ จพระจอมเกล้ าเจ้ า อยู ่ ห ัว ภาพขวา เหรี ย ญที่ ร ะลึ กครบ ๑๐๐ ปี โรงกระสาปน์ สิ ท ธิ ก าร ถนนเจ้ าฟ้า พ.ศ. ๒๔๔๕

! ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ ในช่วงเวลาเพียง ๑๖ ปีเศษ พระองค์ทรงปรับเปลี่ยนและสร้าง กฎเกณฑ์หลายสิ่งขึ้นเป็นธรรมเนียมประพฤติปฏิบัติใหม่ สร้าง สาธารณูปโภคสมัยใหม่ จัดระบบการศึกษาที่เหมาะสมแก่อนาคต ภายหน้าแก่พระราชโอรสและพระราชธิดากว่า ๘๒ พระองค์ ! ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช กรณียกิจท่ีทําให้เห็นว่ามีการปรับตัวในยุคเปลี่ยนผ่านทางสังคม ทรงยกเลิกพิธีการห้ามประชาชนเข้าเฝ้าหรือจ้องมองพระเจ้าแผ่นดิน ยกเลิกบังคับให้ประชาชนปิดประตูหน้าต่างสองข้างทางที่เสด็จ พระราชดําเนินผ่าน ทรงจ้าง แหม่มแอนนา เลียวโนเว็นส์ ชาว อังกฤษที่อาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์เข้ามาสอนภาษาอังกฤษให้แก่ พระราชโอรสในพระบรมมหาราชวัง ทรงสร้างถนนขึ้นอีกหลายสาย ในพระนคร เช่น ถนนเจริญกรุง ถนนบํารุงเมือง ถนนเฟื่องนคร และถนนสีลม ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระที่นั่งภูวดลทัศไนย” เพื่อใช้เป็นหอนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐานของไทย ออกหนังสือ ราชกิจจานุเบกษาเพื่อประกาศข่าวสารจากหน่วยราชการที่เป็น ประโยชน์ให้กับราษฎร จัดสร้างโรงพิมพ์อักษร สถาปนาเครื่องราช อิสริยาภรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการเป็นบําเหน็จความดีความชอบ ! ทั้งโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระคลังมหาสมบัติในพระบรมมหาราชวังเพ่ือผลิตเหรียญเงินราคาต่างๆ ใช้ใน

การซ้ือขายแลกเปลี่ยนแทนเงินพดด้วง ทรงพระราชทานนามว่า “โรงกระสาปน์ ส ิ ท ธิ ก าร” อีกทั้งทรงมีความเชี่ยวชาญในวิชา โหราศาสตร์และดาราศาสตร์อย่างมาก สามารถคํานวณวันเวลาที่ จะเกิดสุริยุปราคาล่วงหน้าได้อย่างถูกต้องและแม่นยํา ! ซึ่งเป็นการผสานวิชาความรู้ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกได้ อย่างชัดเจน อันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นในการเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ของ สยามประเทศในเวลาต่อมา ! ในช่วงเวลานี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า “สยามปรับเปลี่ยนเข้า สู่การเป็นประเทศสมัยใหม่ทั้งทางกายภาพและโครงสร้างทาง สังคม เศรษฐกิจ และการปกครอง” ซึ่งนําโดยสถาบันพระมหากษัตริย์และ ขุนนางสําคัญๆ เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงผนวช เป็นเวลายาวนานและสามารถศึกษาในศาสตร์หลายแขนง ทั้งในช่วง ที่จําพรรษาอยู่ที่วัดราชาธิวาส สถานที่ซึ่งพระองค์ทรงศึกษาภาษา อังกฤษ และภาษาอื่นๆ อีกหลายภาษา ทรงเป็นมิตรกับพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ชาวฝร่ังเศสท่ีวัดคอนเซปชัญซ่ึงอยู่ใกล้กับวัดราชาธิวาสที่กล่าวกันว่าถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ และแนะนําพระองค์ ท่านในศาสตร์ความรู้อีกหลายแขนง ด้วยความเป็นผู้คงแก่เรียนและ มี ร ะเบี ย บวิ น ั ย แน่ ช ั ด จากการครองสมณเพศมาอย่ า งยาวนาน กิจราชการทั้งปวงจึงโปรดพิจารณาอย่างระมัดระวังและละเอียดถ่ี ถ้วน ! ดังเห็นได้จากเอกสารประกาศต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่มีอยู่

19


สยามยุคใหม่และการทําเหมืองทองคําในเมืองไทย

ถึง ๓๔๓ เร่ือง และมีต้ังแต่เร่ืองการประกาศสร้างวัดวาอาราม ต่างๆ ประกาศการใช้คําและใช้ภาษาที่ถูกต้องไปจนถึงกฎเกณฑ์ ที่ควรปฏิบัติ นับว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยที่สุดไปจนถึงเรื่องสําคัญมาก ที่สุด ซึ่งถือว่าพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ใส่พระทัยใน รายละเอียดและการตรวจสอบที่ไม่ปล่อยให้เรื่องใดหลุดรอด พระเนตรพระกรรณไปได้โดยง่าย ! นอกจากนี้ในกลุ่มเจ้านายและขุนนางผู้นิยมศาสตร์ความรู้ ทางตะวันตก นอกจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังมีพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ที่ทรงเป็นทั้งวังหน้าเสมอใน ฐานะเทียบเท่าพระมหากษัตริย์ รวมทั้งสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ผู้เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่และเป็นที่ไว้วางพระราช หฤทัยมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย ! พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความรู้ความชํานาญ ในศาสตร์ใหม่ๆ และภาษาต่างประเทศไม่ต่างไปจากพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะทรงรอบรู้ในการจัดการ ทัพทั้งทัพบกและทัพเรือ วิชาช่างจักรกล และวิชาการปืนใหญ่ท่ีดู เหมือนจะมีความโดดเด่นอย่างมากในยุคสมัยนั้น ! ทัพเรือสยามมีความสําคัญมากในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีศึกสงครามโดยใช้ทัพเรือเดินทางไปรบทั้ง ที่ทางเมืองเขมรและญวนทางสามเหลี่ยมปากแม่น้ําโขงและทางหัว เมืองมลายู ในรัชกาลนั้นเคยทรงสั่งซื้อเรือรบที่เป็นเรือกลไฟต่อ ด้วยเหล็กจากนายทหารเรือชาวอังกฤษคนหนึ่งแต่เกิดปัญหาขึ้น และไม่ได้ซื้อจนนายทหารคนนั้นไปขายเรือรบลํานั้นแก่ทางโคชินจีนหรือทางญวน ครั้งนั้นเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และจม่ืนไวยวรนาถหรือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในเวลาต่อมาคงได้รับแรงบันดาลใจเพื่อจะสร้าง กองทัพเรือและการต่อเรือท้ัง ๒ ท่านมีวิชาความรู้ในวิชาทหาร และการต่อเรือเป็นอย่างดี ได้รับหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาการ ทหารเรือ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงมีความ สัมพันธ์กับกองทัพเรือรวมทั้งทางฝ่ายตระกูลบุนนาคด้วย ! เพราะในรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว พระบาทสมเด็ จ พระป่ ิ น เกล้ า ฯ ทรงบั ง คั บ บั ญ ชาทหารเรื อ “วังหน้า” ส่วนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์บังคับบัญชา ทหารเรือ “บ้านสมเด็จ” และท้ัง ๒ ฝ่ายนี้ไม่ขึ้นแก่กัน แต่ขึ้นตรง ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ! พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เม่ือครั้งท่ียังเป็น เจ้าฟ้า จุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทรงต่อเรือรบที่ทําจากเหล็ก ร่วมกับนาย Rev. J.H. Chandler มิชชันนารีชาวอเมริกันสร้างเรือ ขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรไอน้ําที่ต่อมาเรียกว่า “เรือกลไฟ” เป็น ครั้งแรกในประเทศไทย โดยได้ทรงทดลองเดินเรือในแม่น้ํา เจ้าพระยาใน พ.ศ. ๒๓๙๐ และถือเป็นนวัตกรรมที่ทันสมัยในยุค นั้นมาก ความรู้ทางด้านเครื่องจักรกลและเครื่องยนต์ต่างๆ ในยุค นั้นมาจากสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ และต่อมาทรงมีเรือกําปั่น และเรือรบเป็นของพระองค์ ๖ ลําท่ีใช้ไปในราชการสงครามและ การเดินทางท่ีสําคัญต่างๆ

20

! นายโหมดหรือ “พระยากษาปนกิจโกศล” ในสกุลอมาตยกุล ในเวลาต่อมาและเป็นบิดาของพระปรีชากลการก็อยู่กลุ่มที่เป็น ผู้เรียนรู้และชํานาญในงานวิศวกรรม เป็นผู้สร้างโรงเครื่องกล ด้วยทักษะที่เรียนรู้จากมิชชันนารีชาวอเมริกันและการเรียนรู้ด้วย ตนเองแก่เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ! “...ได้ควบคุมดูแลการจัดสร้างเครื่องกลึงเครื่องหนึ่งเพื่อการ ใช้งานในโรงจักรกลแห่งน้ี ซึ่งทัดเทียมกับโรงจักรกลประเภท เดียวกันในยุโรปและอเมริกา นายโหมดได้ปรับปรุงด้านอิเล็กโตรไทป์ในช่วงปีก่อน ซึ่งหากเรื่องทราบไปยังต่างประเทศก็จะสร้าง ชื่อเสียงให้แก่เขาเป็นอันมาก...” ! เป็นข้อความในวารสาร Scientific American ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๓ ! นอกจากนี้การฝึกทหารของพระองค์ได้จ้างนายทหารชาว อังกฤษ ร้อยเอก โทมัส น็อกซ์​์ [Thomas George Knox] มาเป็น ครูฝึกทหารวังหน้าทําให้ทหารไทยได้รับวิทยาการอันทันสมัยตาม แบบอย่างยุโรป นายน็อกซ์ผู้น้ีต่อมาเป็นกงสุลอังกฤษประจํา สยามผู้เป็นบิดาของ แฟนน่ี น็อกซ์ ภรรยาของพระปรีชากลการ เจ้าเมืองปราจีนบุรีและผู้รับผิดชอบในการทําเหมืองทองคําที่ กบินทร์บุรีในเวลาต่อมา ! พระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นชาว อเมริกันเสียเป็นส่วนมากและทรงใช้เวลาส่วนมากไปกับการเรียน รู้เรื่องราวต่างๆ ที่เป็นสากลจนถึงกับตั้งพระนามพระราชโอรส ตามชื่อของประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาว่า “หม่อมเจ้า ยอร์ช วอชิงตัน” ออกพระนามโดยทั่วไปว่า “ยอด” พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามให้ใหม่ว่า “พระองค์เจ้ายอดย่ิงยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร” ! ซึ่งต่อมาได้รับพระราชพิธีราชาภิเษกพระองค์เจ้ายอดยิ่งบวรยศเป็นกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าองค์สุดท้ายในสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ ! ด้วยการเป็นเจ้านายวังหน้าและความคุ้นเคยกับวิชาความรู้ ที ่ ท ั น สมั ย อั น เป็ น นวั ต กรรมใหม่ ใ นสั ง คมสยามครั ้ ง นั ้ น กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทรงเป็นเจ้านายที่มีความสามารถ หลายด้านท้ังทางวิศวกรรมและนาฎศิลป์ ทรงพระปรีชาเล่น หุ่นไทย หุ่นจีน เชิดหนัง และงิ้ว ซึ่งหุ่นละครวังหน้าอันเป็นที่รู้จัก และมีชื่อ เสียง อีกทั้งทรงชํานาญเครื่องจักรกล ทรงต่อเรือกําปั่น ทําแผนที่ แบบสากล ทรงสนพระทัยในแร่ธาตุถึงกับทรงสร้างโรง ถลุงแร่ไว้ในพระราชวังบวรสถานมงคลจนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ ทรง ได้รับประกาศนียบัตรจากฝรั่งเศสในฐานะผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชา ช่างทีเดียว ! นอกจากนี้ยังมีกรมหลวงวงษาธิราชสนิทมีพระนามเดิมว่า พระองค์ เ จ้ า ชายนวม เป็ น พระราชโอรสในพระบาทสมเด็ จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต้นราชสกุลสนิทวงศ์ เมื่อทรงรับ ราชการในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกํากับ กรมหมอหลวงเพราะทรงศึกษาวิชาการแพทย์สมัยใหม่จากมิชชันนารีอเมริกัน ทรงนําความรู้เกี่ยวกับยาและสมุนไพรไทยซึ่ง


ซึ่งทรงศึกษารวบรวมมาจากครอบครัวฝ่ายพระมารดาที่ขึ้นชื่อ ด้านนี้ ทรงแต่งตําราสรรพคุณสมุนไพรไทยจํานวน ๑๖๖ ชนิด เป็น ตําราสมุนไพรเล่มแรกของไทยที่เขียนแบบเอกสารทางวิชาการและ วิเคราะห์ส่วนต่างๆ ของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด อีกทั้งยังทรงจารึก คําประพันธ์ไว้บนแผ่นหิน บรรยายถึงการบําบัดโรคและการออก กําลังกายในท่าต่างๆ ที่เรียกว่าฤษีดัดตนไว้ที่วัดโพธ์ิ ! พ.ศ. ๒๓๙๒ พระบาทสมเด็ จ พระนั ่ ง เกล้ า เจ้ า อย่ ู ห ั ว มี พระราชปรารภถึงความเสื่อมโทรมของภาษาไทย จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้านวมแต่งตําราภาษาไทยขึ้นใหม่ พระ นิพนธ์เร่ือง “จินดามณี เล่ม ๒” ซึ่งทรงดัดแปลงจากตําราเดิมสมัย อยุธยาอธิบายหลักเกณฑ์ภาษาไทยให้เข้าใจง่ายกว่าเดิม ต่อมาใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้น เป็น กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงกํากับราชการมหาดไทยว่าพระ คลังสินค้าและเป็นท่ีปรึกษาราชการแผ่นดิน ถือเป็นพระบรมวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่ท่ีสําคัญพระองค์หนึ่งในยุคสมัยน้ัน ! ขุนนางอีกผู้หนึ่งซึ่งมีความสนใจเรียนรู้ในกิจกรรมที่เป็นสิ่ง แปลกใหม่และเอาใจใส่ในการปรับปรุงการศึกษาและการบริหาร ราชการบ้านเมือง โดยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษพอสมควรและ การต่อเรือกําปั่นเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ด้วย คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในเวลาต่อมา ท่านเกิดอยู่ใน ตระกูลขุนนาง “บุนนาค” ที่เป็นเช้ือสายเฉกอะหมัด (เจ้าพระยาบวร ราชนายก) ขุนนางมุสลิมเช้ือสายเปอร์เชียท่ีเข้ามารับราชการใน กรุงศรีอยุธยาที่ต่อลูกหลานมาเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา ! เมื่อครั้งเสียกรุงแล้วท่านบุนนาครับราชการต่อมาจนได้เป็น เจ้าพระยามหาเสนา สมุหพระกลาโหม และบุตรชายสองคนของ เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) และคุณหญิงนวลได้เป็นขุนนางผู้ใหญ่ ในสมัยรัชกาลท่ี ๓-๔ คนโตช่ือ “ดิศ” ต่อมาเป็น สมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาประยูรวงศ์ คนทั่วไปเรียกกันว่า สมเด็จเจ้าพระยา องค์ใหญ่ อีกคนชื่อ “ทัต” ต่อมาได้เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหา

พิชัยญาติ คนทั่วไปเรียกว่า สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ทั้งสอง ท่านมิใช่เจ้าแต่เป็นอํามาตย์ที่มีอํานาจมากที่สุดในสมัยนั้นกุมอํานาจ ทางทหาร การปกครอง การค้า การคลัง และการต่างประเทศ ชาว ต่างชาติ เช่น ฝร่ังชาติต่างๆ จะเข้ามาเจรจาความเมืองต้องเจรจากับ ท่านก่อน ! ส่วน “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์” (ช่วง บุนนาค) เป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ เป็นผู้ชํานาญในกิจการบริหาร บ้านเมืองหลายประการ ท้ังเป็นผู้ทันสมัยในยุคนั้นอย่างย่ิงท่านหน่ึง เป็นบุตรชายคนใหญ่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับท่านผู้หญิงจันทร์ เกิดในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ! บิดาของท่านดํารงตําแหน่งเป็นเจ้าพระยาพระคลัง เสนาบดี ว่าการต่างประเทศ และได้ว่าการปกครองหัวเมืองชายทะเลฝ่าย ตะวันออก และเมื่อรับราชการท่านเป็นที่โปรดปรานของพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมาตั้งแต่วัยเยาว์ เป็นผู้สนใจศึกษา วิชาการของชาวตะวันตก ซึ่งท่านสนใจที่จะศึกษาในวิชาการต่อเรือ กําปั่นเป็นพิเศษและได้ศึกษาภาษาอังกฤษพอประมาณ ! บารมีของท่านในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อํานาจในการปกครองก็ย่ิงมีมาก จนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงกล่าวเปรียบเทียบไว้ว่า ! “ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ เป็นเสมือน แม่ทัพแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ก็เป็นเสมือน เสนาธิการช่วยกันทํางานมาตลอดรัชกาลท่ี ๔” ! สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นขุนนางผู้ซื่อสัตย์ จงรักภักดีและรักษาความยุติธรรม จน เซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง บันทึก ไว้ว่า ! "เป็นคนมีความรู้สุขุมดีกว่าผู้ใดที่พวกเราได้พบมีกิริยา มรรยาท ละมุนละม่อม เป็นผู้ดี พูดจาก็เหมาะสม พูดอย่างง่ายๆ ถ้อยคําของ เขาสมกับเป็นผู้ที่รักชาติอย่างยิ่ง”

ภาพซ้ า ย สมเด็จเจ้ าพระยาบรม มหาศรีสุ ริยวงศ์ ภาพขวา พระเจ้ าบรมวงศ์เ ธอ กรมหลวง วงศาธิราชสนิท

21


ภาพซ้าย พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพขวา กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ วังหน้าองค์สุดท้ายใน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็ จ พระปิ ่ น เกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว มี ค วามรู ้ ค วามชํ า นาญในศาสตร์ ใ หม่ ๆ และภาษาต่ า งประเทศ ไม่ ต ่ า งไปจากพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว โดยเฉพาะทรงรอบรู ้ ใ นการจั ด การทั พ ทั ้ ง ทั พ บกและทั พ เรื อ วิ ช าช่ า งจั ก รกล และวิ ช าการปื น ใหญ่ ท ี ่ ด ู เ หมื อ นจะมี ค วามโดดเด่ น อย่ า งมากในยุ ค สมั ย นั ้ น

! การเป็นผู้รับความรู้จากทางตะวันตก สามารถคบหาสมาคมกับ ชาวต่ า งประเทศ จึ ง มองเห็ น ถึ ง ความสํ า คั ญ ของวิ ช าความรู ้ วิทยาการและวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เช่น การแพทย์ การพิมพ์ และ การรักษาพยาบาลที่ทันสมัยของหมอสอนศาสนาคริสต์โดยเฉพาะ มิชชันนารีชาวอเมริกันมาตั้งแต่วัยหนุ่มจนมีความรู้สามารถต่อเรือ กําป่ันเองได้ ! ท่านเป็นขุนนางผู้สําเร็จราชการแผ่นดินเมื่อพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวข้ึนครองราชย์เม่ือยังทรงพระเยาว์ บารมีของ ท่านท่ีมีมากตลอดรัชกาลที่ ๓ และ ๔ นั้น เพียงพอท่ีจะทําให้เกิด ความระแวงจากขุนนางและพระราชวงศ์กลุ่มต่างๆ ว่าจะแย่งราช สมบัติจากพระมหากษัตริย์ที่ยังทรงพระเยาว์ จนมีเร่ืองเล่าว่า ! ในต้นสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็ จ พระพุ ฒ าจารย์ (โต) วั ด ระฆั ง จุ ด ไต้ เ ดิ น เข้ า ไปหา

22

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในเวลากลางวัน บ่นว่าบ้าน เมืองมืดนัก สมเด็จเจ้าพระยาตอบว่า ‘ไม่มืดหรอก ไม่ต้องเป็นห่วง จะทําให้สว่างเอง’ ตั้งแต่นั้นท่านก็ระวังตัว ไม่ให้ใครระแวงหรือไม่ สบายใจอีก ! หลังจากทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ท่านไม่ได้เป็นผู้สําเร็จราชการ จึงนิยมออกไปตรวจราชการตามหัวเมืองต่างๆ และใช้เวลาพํานักอยู่ ที่เมืองราชบุรีเป็นส่วนใหญ่ จนถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่ กําลังเดินทางกลับจากราชบุรีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ อายุได้ ๗๔ ปี ! ในสยามประเทศถือได้ว่าตระกูลบุนนาค ซึ่งเป็นขุนนางชั้น ผู ้ ใ หญ่ ห ลายท่ า นมองการณ์ ไ กลจึ ง ส่ ง บุ ต รหลานไปศึ ก ษาอย่ า ง จริงจังยังต่างประเทศเป็นกลุ่มแรกๆ ก่อนท่ีพระบรมวงศานุวงศ์จะ เดินทางไปหรือออกไปเรียนยังต่างแดน ส่วนใหญ่เป็นการส่งไป ศึกษาท่ีประเทศอังกฤษ


! เพราะในช่วงเวลานั้น หากผู้ใดสามารถพูดและสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษได้และมีความรอบรู้ในการต่างประเทศและความรู้ในสิ่ง ประดิษฐ์ใหม่ๆ หรือนวัตกรรมต่างๆ จะเป็นที่ทรงโปรด ของทั้ง พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ และ ๔ ถือเป็นความรู้อย่างจําเป็นของ ขุนนางและบรรดาลูกหลานที่จะทําราชการในราชสํานัก ! เช่น เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) น้องชายของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๗ เมื่ออายุได้ ๑๕ ปีได้รับการส่งไปศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่ ประเทศอังกฤษเป็นเวลา ๓ ปี หลังจากน้ันได้ไปเป็นล่ามประจําตัว ของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ซ่ึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ทูตประจําทวีปยุโรป กล่าวกันว่าเป็นนักเรียนอังกฤษคนแรกของ สยาม และต่อมาได้เป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการคนแรก ! ต่อมาปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมี การส่งไปศึกษาต่อที่อังกฤษและฝรั่งเศสอีก ๓ ท่านคือ ! พลโทเจ้ า พระยาสุ ร วงศ์ ว ั ฒ นศั ก ด์ ิ (โต บุ น นาค) บุ ต ร เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) หลานสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ส่งไปศึกษาวิชาทหารปืนใหญ่ที่ ประเทศอังกฤษในช่วงปลายรัชกาลที่ ๔ ! หลวงดํารงสุรินทรฤทธ์ิ (บิ๋น บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) สมุหพระกลาโหมส่งไปศึกษาที่ประเทศ ฝรั่งเศส กลับมารับราชการตําแหน่งมหาดเล็กเวรฤทธ์ิแล้วเล่ือน เป็นหลวงดํารงสุนทรฤทธิ์ในรัชกาลท่ี ๕ ! พระยาราชานุประพันธ์ (สุดใจ บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาภานุวงศ์ มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) อดีตเสนาบดีกระทรวงการต่าง ประเทศ หลานสมเด็จเจ้าพระยามหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ส่ง ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษในช่วงปลายรัชกาลท่ี ๔ เช่นเดียวกัน ! นอกจากนี้ยังมีพระยาอรรคราชนารถภักดี (หวาด บุนนาค) บุตรพระยาอภัยสงคราม (นกยูง) และหลานของสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ซ่ึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาภาพบุตรหลานของ สมเด็จเจ้าพระยาบรม มหาประยูรวงศ์ (ดิศ) แถวหลังจากซ้ายคนที่ ๓ เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร) แถวกลางจากซ้ายคนที่ิ ๑ พระยาราชานุประพันธ์ (สุดใจ) คนที่ ๗ พระยาราช พงศานุรักษ์ (ชม) คนที่ ๑๐ พระยาประกรวงศ์ (ชาย) แถวหน้าจากซ้ายคนที่ ๗ พระยาศรีธรรมสาส์น (เชย) คนที่ ๑๒ พระยาราชานุวงศ์ (เล็ก) ภาพจากชมรมสาย สกุลบุนนาค http:// www.bunnag.in.th

ศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้ฝากไปศึกษาวิชาทหารเรือกับเรือรบ อเมริกัน กลับมารับราชการในรัชกาลที่ ๔ ! และพระยาสารสินสวามิภักด์ิ (เทียนฮี้ สารสิน) คณะมิชชันนารี อเมริกันคัดเลือกส่งไปศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ที่สหรัฐอมริกาจน กระทั่งสําเร็จได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัย โคลัมเบียเม่ือ พ.ศ. ๒๔๑๔ ในช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ ! ส่วนพระปรีชากลการ (สําอาง อมาตยกุล) บุตรของพระยา กษาปนกิจโกศล (โหมด) ในตระกูลขุนนางอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความ ชํ า นาญทางด้ า นโลหกรรม ถวายตั ว เป็ น มหาดเล็ ก ในแผ่ น ดิ น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเม่ือ พ.ศ. ๒๔๐๑ เม่ืออายุ เพียง ๑๗ ปี ! มักบันทึกต่อกันมาว่าพระปรีชากลการเดินทางไปศึกษาวิชา วิศวกรรมศาสตร์จากสกอตแลนด์ ประเทศอังกฤษ แต่ไปเมื่อใด ไม่ปรากฏและยังสืบหาไม่ได้ว่าเดินทางไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัย แห่งใด อย่างไรก็ตาม พระปรีชากลการเป็นผู้มีความชํานาญเร่ือง การช่าง มีความรู้และชอบประดิษฐ์และคบหาสมาคมกับชาวต่าง ประเทศเสมอ จึงเป็นที่โปรดปรานในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ! ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เป็นเจ้ากรมกระษาปณ์สิทธิการแทนบิดา ในรัชกาลพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเข้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ และโปรด เกล้าฯ เป็นหัวหน้าช่างเครื่องควบคุม “เรือพระที่น่ังบางกอก” เสด็จ ประพาสต่างประเทศต้ังแต่ต้นรัชกาล โดยนําเรือไปสิงคโปร์ ปีนัง มะละกา มะละแหม่ง ย่างกุ้ง กัลกัตตา อัครา มันดาริดและบอมเบย์ จนเป็นข้าราชบริพารที่โปรดปรานและอยู่ในสภาที่ปรึกษาส่วน พระองค์ก่อนจะโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้ควบคุมการทําเหมืองทองคํา ที่กบินทร์บุรีจนเกิดเหตุปัญหาใหญ่ต่อมา ! สยามยุคใหม่ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมทางตะวันตกที่ เอื้อให้รับเอาความรู้แบบสมัยใหม่ในยุคเผยแพร่ศิลปวิทยาการใน


ในช่ ว งเวลานั ้ น หากผู ้ ใ ดสามารถพู ด และสื ่ อ สารด้ ว ยภาษาอั ง กฤษได้ และมี ค วามรอบรู ้ ใ นการต่ า งประเทศ และความรู ้ ใ นทางการประดิ ษ ฐ์ ส ิ ่ งใหม่ ๆ หรื อ นวั ต กรรมต่ า งๆ จะเป็ น ที ่ ทรงโปรดของทั ้ งพระเจ้ า อยู ่ ห ั ว รั ช กาลที ่ ๓ และ ๔

ถนนและตึ ก แถว เป็ น การสร้ าง ชุ ม ชนการค้ า และย่ านธุ ร กิ จ สมั ยใหม่ ตั ้ง แต่ ในรัช กาล พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ัว เป็ น ต้ น มา ภาพย่ า นการค้า บริ เ วณ ถนนเจริ ญ กรุง

ยุควิกตอเรียน (อยู่ในช่วงสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๘๐-๒๔๔๔) อันเป็นช่วงท่ีการปฏิวัติ อุตสาหกรรมมีผลสูงสุดในสังคมอังกฤษ ภายใต้การครองราชย์ของ พระราชินีวิกตอเรียนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างรวดเร็วใน ด้านเศรษฐกิจสังคมการเมือง การปกครอง และวิทยาการต่างๆ รวมถึงการค้นพบใหม่ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการเปลี่ยน แปลงการทําเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม มีความเจริญทาง เศรษฐกิจอย่างม่ังคั่ง ชนช้ันกลางเกิดข้ึนพร้อมกับชนชั้นกรรมาชีพ และมี แ นวความคิ ด ที ่ ว ่ า ส่ ิ ง ที ่ เ ป็ น ประโยชน์ ท ่ ี ส ุ ด คื อ สิ ่ ง ที ่ ด ี ท ี ่ ส ุ ด ถ้าความเจริญทางวัตถุทําให้ประชาชนมีความสุขเพราะเงินทําให้เกิด มาตรฐานชีวิตที่สูงขึ้น จนนําไปสู่พื้นฐานของการค้าเสรีและระบบ ตลาดทุนกลายเป็นแนวทางเศณษฐกิจที่แผ่ขยายไปทั่วโลก ! ปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ จักรวรรดิอังกฤษมีอานุภาพ มากที่สุดในโลกและได้รับผลกําไรเป็นจํานวนมากจากประเทศ อาณานิคม โดยการซื้อวัตถุดิบส่วนใหญ่อันได้แก่พวกอาหารและ แร่ธาตุในราคาถูกมากแล้วจําหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมแก่ประเทศ อาณานิคม โดยสั่งห้ามประเทศเหล่านั้นไม่ให้ซื้อสินค้าจากประเทศ อ่ืนพร้อมกับการมีอยู่ของประเทศเจ้าอาณานิคมแต่เดิม เช่น สเปน โปรตุเกส ฮอลันดา และฝรั่งเศส ก็ยังคงมีอิทธิพลต่อดินแดนต่างๆ ท้ังในเอเชียและแอฟริกา

24

! แนวความคิดในยุควิกตอเรียนเข้ามาสู่สยามประเทศและราชสํานักอย่างชัดเจนในช่วงเวลาแห่งการล่าอาณานิคม และถือว่าเป็น ช่วงเวลายาวนานที่สังคมสยามได้รับอิทธิพลดังกล่าว ผลที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งคือการนําความรู้และเทคโนโลยีเข้ามาใช้และเรียนรู้ซึ่ง ถือว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ของสังคมสยาม มีการเรียนรู้และผลิตสิ่งของ และเทคโนโลยีมากมายทั้งที่นําเข้าจากต่างประเทศ เรียนรู้และผลิต ข้ึนเองจนถึงข้ันส่งบุตรหลานออกไปเรียนยังต่างประเทศเพื่อจะได้ ทันสมัยและก้าวไปในโลกยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เป็นกระแสความ ทันสมัยที่พัดรุนแรงมาจากประเทศทางตะวันตก ! นอกจากจะเปลี ่ ย นแปลงสภาพสั ง คมในทางกายภาพอย่ า ง ชัดเจนแก่ประเทศเบื้องบูรพาทิศเช่นสยามแล้วก็ยังมีอิทธิพลต่อ ระบบวิธีคิดในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเมือง การปกครอง ชีวิต ความเป็นอยู่และทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งกระทบต่อผู้คน ธรรมดา ขุนนาง และการปกครองบ้านเมืองของสยามอย่าง มากมาย ! ในช่วงแห่งการปรับตัวเปลี่ยนแปลงทางสังคมขนานใหญ่นี้เอง จึ ง เกิ ด ความขั ด แย้ ง ในระหว่ า งภายในกลุ ่ ม ระหว่ า งความคิ ด ระหว่างวัย และความแตกต่างของประสบการณ์ที่ยังไม่สามารถทํา ให้ เ ป็ น เนื ้ อ เดี ย วกั น ได้ ใ นช่ ว งต้ น รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


ความสับสนในการสืบสันตติวงศ์ : ตามกฎเกณฑ์และความเหมาะสม ! ! สําหรับการสืบสันตติวงศ์ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีความคลุมเครือเมื​ื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมิได้ทรงแต่งตั้งตําแหน่ง “วังหน้า” หรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในฐานะอุปราชซึ่งเป็นธรรมเนียม แต่โบราณว่าจะได้ครองราชย์ในรัชกาลต่อไป อันเป็นธรรมเนียมแต่เดิมครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยวังหน้ามีที่ประทับอยู่ ณ พระราชวังบวรสถานมงคลบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสถานที่ใกล้เคียงทางด้านทิศ เหนือของวัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษดิ์ ! ! ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ วังหน้าคือ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระอนุชา ซึ่งสวรรคตก่อน พระเจ้าอยู่หัวจึงตั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรขึ้นเป็นวังหน้าแทน และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็มีการตั้งพระอนุชา สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์เป็น วังหน้า แต่ไม่ได้ขึ้นครองราชย์เพราะพระองค์ไม่ได้มอบราชสมบัติแก่ผู้ใด บรรดาขุนนาง และเชื้อพระวงศ์จึงทูลเชิญ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ที่มีอาวุโสและมีบทบาทในการจัดราชการงาน เมืองเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้า อยู่หัวและครองราชย์อยู่ ๒๗ ปี และตั้งสมเด็จ พระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ผู้เป็นพระปิตุลาเป็นวังหน้า แต่สวรรคตก่อนสิ้นรัชกาล ! ในขณะเดียวกันเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยซึ่งมีพระชนมายุ เพียง ๒๐ พรรษา มีประสบการณ์ในการทําราชการรวมทั้งการสนับสนุนจากขุนนาง แต่ถือว่าทรงมีบารมีน้อยกว่า พระเชษฐามาก แม้จะทรงดํารงตําแหน่งพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีก็ตาม เจ้าฟ้ามงกุฎจึงทรงผนวชและอยู่ในพระพุทธศาสนาเท่ากับจํานวนปีที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวครองราชย์ ! ! และเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตและมิได้ทรงแต่งตั้งตําแหน่งวังหน้าแต่อย่างใด และไม่มีการสถาปนาพระมเหสีขึ้นเป็นพระบรมราชินี พระโอรสและธิดาจึงไม่มีชั้นเจ้าฟ้าแต่อย่างใด การประชุมในกลุ่ม พระราชวงศ์และเสนาบดีมีมติเห็นชอบให้ถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ที่ยังคงผนวชอยู่ขณะ นั้น เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. ๒๓๙๔ โดยทรงมีเงื่อนไขให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็น “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” ในตําแหน่ง “วังหน้า” เสียพร้อมๆ กัน แต่ให้มีพระราชพิธีบวรราชาภิเษกและทรงรับพระบวรราชโองการให้พระเกียรติยศเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๒ เพราะทรงเชื่อตามโหราศาสตร์ว่าพระอนุชาพระชะตาแรง ได้รับพระปรมาภิไธยว่า “พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่ หัว” ประทับอยู่ ณ วังหน้าหรือพระบวรราชสถาน อยู่ในบวรราชสมบัติเป็นเวลา ๑๕ ปี และสวรรคตก่อนที่รัชกาล จะสิ้นสุดลง ! ! การสถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอเป็น “วังหน้า” ตามแบบโบราณราชประเพณี น่าจะเป็นเหตุผลมาจากการที่ พระองค์มิได้รับการสถาปนามาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนขึ้นครอง ราชย์เมื่อพระชนมายุมากแล้ว ! ! หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๑๑ ที่ประชุมเสนาบดีและ พระบรมวงศานุวงศ์ได้อัญเชิญเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย พระชนมายุ ๑๕ พรรษา ที่ประชุมจึงลงมติเป็นเอกฉันท์แต่งตั้งให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ดํารงตําแหน่งผู้สําเร็จราชการแผ่นดิน จนกว่าพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงบรรลุนิติภาวะ ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กล่าวใน ที่ประชุมว่าจะรับสนองพระเดชพระคุณเต็มความสามารถ แต่การพระราชพิธีต่างๆ ท่านไม่สู้จะเข้าใจ ขอให้สมเด็จเจ้าฟ้า มหามาลา กรมขุนบําราบปรปักษ์ช่วยว่าราชการในพระราชสํานักฝ่ายหน้า สมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ว่าราชการในพระราชสํานักฝ่ายใน การว่าราชการทุกครั้งจะมีเสนาบดีและข้าราชการผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ เป็นที่ ปรึกษาพิเศษ และขอให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิทซึ่งเป็นพระบรมวงศาชั้นผู้ใหญ่ประทับเป็น ที่ปรึกษาของท่านทุกครั้งด้วย รวมทั้งเชิญกรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นดํารงตําแหน่งที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

25


สยามยุคใหม่และการทําเหมืองทองคําในเมืองไทย

ความสับสนในการสืบสันตติวงศ์ : ตามกฎเกณฑ์และความเหมาะสม ถึงแม้ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ จะตรัสว่า “ผู้ที่จะเป็นตําแหน่งพระ ราชโองการมีอยู่แล้ว ตําแหน่งพระมหาอุปราชควรแล้วแต่พระราชโองการจะทรงตั้ง เห็นมิใช่กิจของที่ประชุมที่จะ เลือกพระมหาอุปราช” และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ไม่ทรงแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดํารงตําแหน่งแทนวังหน้าตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สวรรคตแล้ว อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์ก็ได้แต่งตั้งให้ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญขึ้นดํารงตําแหน่งที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ! การขึ้นครองราชย์ครั้งนี้จึงได้เห็นอิทธิพลของขุนนางที่มีอํานาจมากและการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดที่มีต่อ สถานการณ์ในบ้านเมือง ขณะที่พระมหากษัตริย์ยังเป็นยุวกษัตริย์ ไม่มีอํานาจหรือบารมีและความชํานาญในการ จัดการกิจการต่างๆ ในขณะที่ปัญหาทั้งภายในราชสํานักและปัญหาภายนอกประเทศที่มีอยู่บีบคั้นล้อมรอบสยาม ประเทศอยู่แทบทุกด้าน และได้เป็นที่ประจักษ์ในภายหลังว่า การใช้อํานาจตัดสินใจของผู้สําเร็จราชการ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ไม่เป็นการทําลายบ้านเมืองหรือริดรอนพระราชอํานาจแต่อย่างใด จนพระมหา กษัตริย์เจริญพระชนมายุ ๒๐ พรรษา พร้อมในการดูแลบริหารบ้านเมืองจึงหมดหน้าที่การเป็นผู้สําเร็จราชการแผ่น ดิน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในวัยชราใช้เวลาไปในการท่องเที่ยวและอยู่เมืองราชบุรีมากกว่า ! เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จทิวงคตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดในตําแหน่งพระอุปราชหรือวังหน้าตามโบราณราชประเพณีแต่เดิม จนถึงปีรุ่งขึ้นจึงทรงสถาปนา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศเป็น “มกุฎราชกุมาร” ตามอย่างการสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ในอารยประเทศและยกเลิกตําแหน่งพระมหาอุปราชตั้งแต่นั้นมา

การขัดแย้งทางความคิด ในช่วงสังคมเปล่ียนผ่าน ! ในช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงสิ้น รัชกาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๖๗ จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๑ รวม ๔๔ ปีน้ัน เป็นเวลาแห่งการล่าอาณานิคมเพื่อ เป็นเมืองขึ้น แสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรและเปิดพื้นที่ ค้าขาย โดยใช้กำลังอำนาจจากกองเรือกลไฟและปืนใหญ่ นำเอา เทคโนโลยีที่ล้ําสมัยกว่าเข้ายึดประเทศต่างๆ ! กระบวนการรุกคืบนี้กระทําอย่างเป็นลําดับขั้นตอนและขยาย พื้นที่ออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมกับเผยแพร่วิทยาการเคร่ือง มือ ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ แก่ผู้คนในดินแดนเหล่าน้ี ใน ขณะเดียวกันก็มีการส่งคนมาศึกษาสํารวจพืชพรรณธรรมชาติ สภาพแวดล้อม การทําแผนท่ี และศึกษากลุ่มคนท่ีเป็นกลุ่มชาติ พันธ์ุต่างๆ ! นอกจากนี้ยังมีการทําสนธิสัญญาค้าขายที่สร้างข้อได้เปรียบ ต่างๆ โดยมีเรื่องของสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่คนในบังคับของ ประเทศต่างๆ ใช้กฎหมายของตนเอง ทำให้มีแรงงานในสังกัดเข้า มาเป็นแรงงานอยู่มากมายกลายเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากตามมา ในขณะที่มีการขอสัมปทานทั้งการทําป่าไม้ในป่าอันอุดมสมบูรณ์ การทําเหมืองแร่ และการปลูกพืชไร่ เช่น ชา กาแฟ การเก็บของ ป่าพวกเครื่องเทศ พืชและสัตว์ต่างๆ ในขณะที่ประเทศต่างๆ

26

กลายเป็นประเทศในอาณานิคมโดยเฉพาะพม่า โคชินจีน และ เขมรที่เคยเป็นคู่สงครามก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอาณานิคม ภายใต้การปกครองของกระทรวงอาณานิคมทั้งของอังกฤษและ ฝรั่งเศส ! แต่คณะมิชชันนารีโดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกากลายเป็นกลุ่ม ที่เผยแผ่ความรู้ให้กับกลุ่มขุนนางและคนชั้นสูงในสังคมสยาม อย่างเด่นชัด ในอดีตสยามรับคณะมิชชันนารีจากกลุ่มประเทศที่ นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก แต่คณะชาวอเมริกันเป็น นิกายโปรแตสแตนต์ซ่ึงสมาคมศาสนาคณะต่างๆ ในอเมริกาได้ส่ง มิชชันนารีเข้ามาไม่ขาดสายและได้ขยายงานออกไปยังจังหวัด ต่างๆ เกือบทั่วพระราชอาณาจักรไทยในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าฯ ซึ่งไม่ได้ขัดขวางการเผยแผ่​่ศาสนาและกลับได้รับ ประโยชน์ในทางการแพทย์สมัยใหม่และการศึกษาอย่างเป็นระบบ ทัศนคติต่อมิชชันนารีชาวอเมริกันถือว่าค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับ ฝรั่งชาติอื่นๆ ที่น่าหวาดระแวง ! โดยมีผลงานด้านการศึกษาเร่ิมต้ังแต่การสอนภาษาอังกฤษ ไปจนถึ ง การตั ้ ง โรงเรี ย นและการพิ ม พ์ ตลอดจนการออก หนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นการเปิดทางไปสู่โลกทัศน์ใหม่ และเทคโนโลยี ใหม่ๆ ของโลกตะวันตก ปัญหาทางการทู​ูตของสยามกับประเทศ ตะวันตกในระยะต้นกรุงรัตนโกสินทร์คือการไม่เข้าใจภาษาซึ่งกัน และกัน ทําให้เกิดการเสียเปรียบอย่างเห็นได้ชัด


ภาพซ้ าย พระบาทสมเด็จ พระจุล จอมเกล้า เจ้ าอยู่ หั ว เมื่ อ ขึ ้ น ครองราชสมบัต ิ ใ นขณะยัง ทรงพระเยาว์ พระชนมายุ เ พี ยง ๑๕ พรรษา เมื่ อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ภาพขวาล่า ง โรงเรี ยนกุ ล สตรี วั งหลั ง พ.ศ. ๒๔๑๘ ตั ้ง อยู ่ ในบริเ วณโรงพยายาลศิ ร ิร าชปัจ จุบ ั น

! งานด้านการศึกษาของมิชชันนารีอเมริกันยังไม่ปรากฏชัดใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มาปรากฏชัดเจน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรง โปรดเกล้าฯ ให้ภรรยามิชชันนารีสามคนผลัดกันเข้าไปสอนหนังสือ ให้กับสุภาพสตรีในพระราชสํานัก หลังจากนั้นพวกมิชชันนารีก็เริ่ม ชักชวนเด็กชาวบ้านเรียนหนังสือ เช่น โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง และ กลายเป็นโรงเรียนเอกชนอีกหลายแห่งหลายท้องถิ่นในระยะต่อมา ! พระอาจารย์และครูของกลุ่มผู้นิยมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและ วิชาความรู้จากโลกตะวันตกส่วนใหญ่เป็นมิชชันนารีชาวอเมริกัน การต่อเรือกลไฟของทั้งพระปิ่นเกล้าฯ และเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์ก็นําความรู้ที่ถ่ายทอดมาจากชาวอเมริกัน รวมทั้งความรู้ ในด้านการพิมพ์ออกหนังสือเผยแพร่ในกลุ่มขุนนางท่ีมีความรู้ใน ทางต่ า งประเทศและสามารถสร้ า งนวั ต กรรมใหม่ ๆ จึ ง เป็ น ที ่ โปรดปรานของพระมหากษัตริย์ทั้งสองรัชกาล ซึ่งความรู้ในเรื่อง นานาชาติโดยเฉพาะทางยุโรปและนวัตกรรมทั้งทางการทหาร เช่น อาวุธและเรือรบกลายเป็นส่ิงจําเป็นพื้นฐานในความก้าวหน้าในการ ทําราชการยุคนั้น ! พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานคําปรารภไว้ ก่อนสวรรคตว่าสิ่งที่ทรงเป็นห่วงสําคัญอีกประการหน่ึงก็คือ

! การงานสิ่งใดของเขาที่ดีควรจะเรียนร่ําเอาไว้ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว e จึงทําให้เห็นว่าแม้จะมีการนิยมและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ความรู้ใหม่ๆ ท่ีเข้ามาสู่สยามโดยไม่ขัดขวาง แต่ความเป็นผู้ใหญ่ก็ ทรงเห็นว่าหากมีมากไปจนถึงขั้นนับถือเลื่อมใสจนไม่เป็นตัวเอง เสียแล้วก็อาจจะกลายเป็นผลเสียให้กับผู้คนในสังคมสยามได้ ! ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ไม่อาจ กล่าวได้ว่ามีการตอบรับความรู้ใหม่โดยเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เป็ น เพี ย งแต่ ป รั บ เปลี ่ ย นธรรมเนี ย มปฏิ บ ั ต ิ ใ ห้ เ ป็ น แบบแผนที ่ ทางตะวันตกยอมรับได้ ซึ่งเป็นความต่างทางวัฒนธรรมและเห็นว่า เป็นส่ิงท่ีอารยประเทศสมควรปรับเปลี่ยน อันเนื่องจากการมี ธรรมเนี ย มปฏิ บ ั ต ิ จ ากทางตะวั น ตกโดยเฉพาะจากวั ฒ นธรรม ทางการค้ า และวั ฒ นธรรมของคนชั ้ น สู ง ในสมั ย วิ ก ตอเรี ย นของ อังกฤษกลายเป็น มาตรฐานของสังคมนานาชาติในระยะนั้น ด้วย เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่คงแก่เรียนและอุปสมบทในพระพุทธศาสนามา เป็นเวลานาน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงมิได้คล้อยตาม หรือเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมรวมทั้งแนวคิดในวิธีการ ปกครองที่แตกต่างไปจากจารีตเดิมอย่างรุนแรงแต่อย่างใด ! ในบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ใหม่และการรับเอาสิ่งประดิษฐ์

27


เมื ่ อ ประเทศเข้ า สู ่ ร ั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว ซึ่ ง ทรงครองราชย์ ต ั ้ ง แต่ ย ั งทรงพระเยาว์ เมื ่ อ พ.ศ. ๒๔๑๑ พระชนมายุ เพี ย ง ๑๕ พรรษา และเจ้ า พระยาบรมมหาศรี ส ุ ร ิ ย วงศ์ เป็ น ผู ้ ส ํ า เร็ จ ราชการในอายุ ๖๕ ปี ความแตกต่า งระหว่ างวั ย การเติ บ โตมาในสั งคมที ่ ก ํ า ลั งเปลี ่ ย นแปลงคื อ ช่ อ งว่ า งอั น ใหญ่ ห ลวง ในขณะที ่ส มเด็ จเจ้า พระยาบรมมหาสุ ร ิ ย วงศ์ ผู ้ ม ี ท ั ้ งอํ า นาจบารมีเหนือกว่าพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งปวง

ต่างๆ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ มาสู่สังคมสยาม เมื่อประเทศเข้าสู่ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงครองราชย์ ต้ังแต่ยังทรงพระเยาว์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ พระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา และเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สําเร็จราชการใน อายุ ๖๕ ปี ความแตกต่างระหว่างวัย การเติบโตมาในสังคมที่กําลัง เปลี่ยนแปลงคือช่องว่างอันใหญ่หลวง ในขณะที่สมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาสุริยวงศ์ผู้มีทั้งอํานาจและบารมีเหนือกว่าพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งปวง การดูแลหรือเป็นผู้สําเร็จราชการในระยะท่ียังไม่ทรง บรรลุนิติภาวะก่อนพระชนม์ ๒๐ พรรษา จึงกลายเป็นข่าวลือและ ช่องว่างท่ีน่ากังขาสําหรับชาวบ้านและชาวต่างประเทศตลอดจน ขุนนางที่มิได้เป็นฝ่ายวังหลวงว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯ จะยึดอํานาจใน ระหว่างนั้น ! พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว ได้ ร ั บ การศึ ก ษา โดยตรงกับชาวต่างประเทศหลายท่าน และคงได้อิทธิพลจากแนวคิด ทั้งเรื่องการปกครองและการเมืองในทางตะวันตก การได้รับการ บอกเล่าความเปล่ียนแปลงของบ้านเมืองต่างๆ ในระหว่างยังทรง พระเยาว์หรือวัยรุ่น ทั้งด้วยทอดพระเนตรด้วยพระองค์เองเมื่อเสด็จ สิงคโปร์และชวาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ การเสด็จอินเดียและพม่า และ แวะท่ีมะละกาและปีนัง ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ สิ่งที่พระองค์เห็นคือ การจั ด ระบบการปกครองบ้ า นเมื อ งในรู ป แบบอาณานิ ค มโดย เฉพาะของอังกฤษและฮอลันดา ! นอกจากนี้พระองค์มีพระราชประสงค์จะปฏิรูปประเทศไทย หลายเร่ือง เช่น ระบบไพร่ ระบบทาส ระบบการจัดเก็บภาษี และ ระบบราชการให้มีคุณภาพยิ่งข้ึน ฯลฯ แต่โครงการปฏิรูปเหล่าน้ีไม่ ได้รับการสนับสนุนจากเสนาบดีข้าราชการช้ันผู้ใหญ่ ! ในช่ ว งระหว่ า งนั ้ น มี ก ารแปลกฎหมายและรั ฐ ธรรมนู ญ ของ อังกฤษและฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๔๑๒ โดยพระยาภาสกรวงศ์ ซึ่งกล่าวถึงรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสและมีเรื่องของสภาที่ปรึกษาราชการ แผ่นดิน [Council of State] และในปี พ.ศ. ๒๔๑๕ พระยาภาสกรวงศ์และนายเฮนรี่ อลาบาสเตอร์ ได้ช่วยกันแปลและเรียบเรียง กฎหมายของอังกฤษซึ่งมีเรื่องราวของสภาที่ปรึกษาในพระองค์ [Privy Council] มีการลงความเห็นร่วมกันจากนักประวัติศาสตร์ หลายท่าน ! หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามดึง อํานาจคืนจากสมเด็จเจ้าพระยาฯ และฝ่ายวังหน้า รวมทั้งการเป็น ยุ ว กษั ต ริ ย ์ ซ ึ ่ ง อาจจะมั ่ น พระทั ย ในการจั ด การกิ จ การบ้ า นเมื อ ง ในขณะที ่ ส ั ง คมกํ า ลั ง เปลี ่ ย นแปลงและสภาพสั ง คมในสยามนั ้ น อาจจะเปลี่ยนแปลงได้น้อยกว่าที่พระองค์คาดหวัง ทั้งการเสด็จ

28

ประพาสในต่างประเทศช่วงนี้และเอกสารดังกล่าวน่าจะเป็นแรง บั น ดาลใจให้ พ ระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว จั ด ตั ้ ง “สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน” และ “สภาที่ปรึกษาในพระองค์” ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗ และทรงตั้งขุนนางระดับพระยา ๑๒ ท่านเป็น “เคาน์ซิลลอร์” ให้มีอํานาจขัดขวางหรือคัดค้านพระราชดําริได้ ทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ๑๓ พระองค์และขุนนางอีก ๓๖ ท่านที่ มีสติปัญญาและมีความสนิทสนมกับพระองค์ ทรงแถลงถึงความ มุ่งหมายเพ่ือช่วยถวายความคิดเห็นท่ีจะแก้ไขปรับปรุงเปล่ียนแปลง ในเวลาต่อไป ! การปรับปรุงระบบการออกกฎหมาย การปกครอง การปรับ เปล่ียนกฎเกณฑ์ทางสังคมโดยมีสภาที่จงรักภักดีต่อพระองค์นั้น ถือ เป็นการสร้างสภาการปกครองประเทศใหม่ซ้อนกับการปกครองรูป แบบเดิมท่ีกําลังมีการเปลี่ยนแปลงไป ถือเป็นการคานอํานาจ เพ่ ื อ การเปลี ่ ย นแปลงต่ อ เชื ้ อ พระวงศ์ แ ละขุ น นางผู ้ ใ หญ่ อ ั น มี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์และขุนนางตระกูลบุนนาคและ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เป็นต้น ! ซึ่งหนังสือพิมพ์ในยุคนั้นเรียกกลุ่มสภาที่ปรึกษาทั้งหลายว่า “กลุ่มสยามหนุ่ม” [Young Siam] โดยมี ‘หนังสือพิมพ์ดรุโณวาท’ ที่แปลว่าคําสั่งสอนของคนหนุ่ม ที่มักมีบทความไม่ลงชื่อกระทบ กระเทียบในรูปแบบของนิทานการเมืองเรื่องของ “คนแก่” ที่ยังหวง อํานาจไม่ยอมวางมือให้ “เด็ก” และโจมตีการดํารงตําแหน่งวังหน้า ของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญอย่างรุนแรง ซ่ึงพระองค์ท่านก็ ทรงรู้ตัวและพยายามอยู่นิ่งเฉยไม่เป็นที่เพ่งเล่ง ! จนเกิดความขัดแย้งสําคัญซึ่งเป็นการระแวงและต้องการลด ทอนปรามอํานาจของวังหน้า สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ที่เรียกว่า “วิกฤตการณ์วังหน้า” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ ภายหลัง วิกฤตการณ์ในปี พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๑๘ เมื่อเกิดระเบิดข้ึนที่ตึกดิน ในวังหลวงไฟไหม้ลุกลามไปถึงพระบรมมหาราชวังและทําให้โรง แก๊สในพระบรมมหาราชวังระเบิด ภายหลังจึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไป สร้างใหม่แถวหน้าวัดสุทัศน์ฯ ซึ่งทางวังหลวงเข้าใจว่าวังหน้าเป็น ผู้วางระเบิดและไม่ส่งคนมาช่วยดับไฟ ส่วนกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญก็เสด็จหลบหนีไปอยู่ในสถานกงสุลอังกฤษไม่ยอมเสด็จ ออกมา เหตุการณ์ตึงเครียดนี้กินเวลาถึงสองสัปดาห์จนกระทั่ง สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เดินทางกลับจากราชบุรีเข้ามา ไกล่เกลี่ย โดยฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสถือว่าเหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นการเมืองภายในของสยามและไม่ได้เข้ามาก้าวก่าย ! หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้วังหน้า สมเด็จกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญไม่มีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดินแต่อย่างใด จนกระทั่งเสด็จทิวงคต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๘ พระชนมายุ ๔๖ พรรษา


ภาพซ้ า ยบน วัด บวรสถานสุ ท ธาวาสหรือ วัด พระแก้ ววั งหน้ า ภาพจาก การถ่ า ยภาพทางอากาศของ วิล เลี ่ ย ม ฮั น ท์ พ.ศ. ๒๔๘๙ ภาพขวาล่า ง พระราชวั ง บวรสถานมงคล ถ่า ยจากเครื ่อ งบิน โดย วิล เลี ่ ย ม ฮั น ท์ เช่ น เดียวกั น ภาพซ้ ายล่า ง พระที ่น ั่ ง คชกรรมประเวศ และพระที่ น ั ่ ง พุท ไธสวรรย์ ถ่า ยเมื ่อ ราว พ.ศ. ๒๔๓๓

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดตํา แหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จนถึง พ.ศ. ๒๔๒๙ จึงทรง สถาปนาพระราชโอรสเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศเป็นมกุฎราชกุมารและ ยกเลิกตําแหน่งพระมหาอุปราช พระบวรราชสถานจึงกลายเป็นวัง ร้างมานับแต่นั้น ! สําหรับเหตุการณ์ที่สําคัญอีกประการหนึ่งในช่วงต้นรัชกาลคือ “กรณีการทําเหมืองทองท่ีกบินทร์บุรี” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ โดยพระ ปรีชากลการ ขุนนางในสภาที่ปรึกษาของพระองค์ ซึ่งดึงเอากงสุล อังกฤษเข้ามามี ส่วนในปัญหาด้วยและปัญหาความขัดแย้งนี้ลุกลาม ไปใหญ่โตกว่าใน เร่ืองวิกฤตการณ์วังหน้าเสียอีก ! การเป็นยุวกษัตริย์ที่มีแหล่งข้อมูลจํานวนมากแต่ยังไม่มีอํานาจ และบารมีมากพอในช่วงเวลาน้ัน สร้างความบาดหมางแก่การต้อง อยู่ภายใต้ผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรม มหาศรี ส ุ ร ิ ย วงศ์ ก ็ ไ ม่ ไ ด้ ต ั ด สิ น ใจด้ ว ยตนเองแต่ เ ป็ น ไปด้ ว ยการ ปรึกษาหารือกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายพลเรือนและทหารซึ่งจะ มีการประชุมกัน ณ หอวรสภาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังและ ฝึกหัดให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสามารถว่าราชการบ้านเมืองได้

เองและเมื่อหมดวาระหน้าที่ของการเป็นผู้สําเร็จราชการแผ่นดิน สมเด็จเจ้าพระยาฯ วางตนให้อยู่ในตําแหน่งที่ไม่ให้เป็นภาพที่มีการ คุกคามหรือคิดกันไปในการล่วงเกินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญที่ทรงระมัดระวังตนและมิได้ ทําการอันใดที่จะเป็นเหตุการณ์ให้เกิดความขัดแย้งของบ้านเมือง ! แม้ จ ะมี ก ารวิ จ ารณ์ เ หตุ ก ารณ์ ค วามขั ด แย้ ง ในระหว่ า งพระ มหากษัตริย์และขุนนางใหญ่อย่างใดก็ตาม แต่บทบาทของตระกูล บุ น นาคเป็ น สกุ ล สามั ญ ชนที ่ ส ํ า คั ญ กุ ม อํ า นาจทางการเมื อ ง การปกครอง การทหาร การต่างประเทศ และเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่เคย ปรากฏเหตุการณ์ใดๆ โดยเฉพาะอย่างย่ิงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์กลับจะพยายามช่วยประคับประคองรักษาประเทศ ชาติ​ิไม่ให้แตกแยกมาตลอด ! พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวถึงเร่ืองน้ีหลังจาก ๑๘ ปีของการครองราชย์ผ่านไปโดยมี พระราชอํานาจเต็มท่ี จําต้องทรงรับว่า ! “ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งพระองค์ ก ั บ ผู ้ ส ํ า เร็ จ ราชการน้ ั น บางเวลาก็ลําบากอยู่บ้าง”

29


แฟนนี ่ น็อ กซ์ ภรรยาคนสุด ท้ าย ของพระปรี ชากลการ และเป็น เหตุ ใ ห้ เ กิ ด คดีค วามซั บ ซ้ อน ตั้ง แต่ก ารผิ ด ประเพณี ไปจนถึ ง นํ า ไปสู ่ การแทรกแซงกิจ การ ภายในของสยาม

๓. ความซับซ้อนของคดี พระปรีชากลการ ! ในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราว พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๑๘ เกิ ด เหตุ ก ารณ์ ท ี ่ เ รี ย กว่ า “วิกฤตการณ์วังหน้า” ทําให้ฝ่ายวังหลวงโดยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซ่ึงขณะน้ันมีพระชนมายุ ๒๑ พรรษา และ เพ่ิงผ่านพระราชพิธีราชาภิเษกครั้งท่ี ๒ ทรงกระชับอํานาจและ ถือเป็นการปรามฝ่ายวังหน้าและขุนนางในตระกูลบุนนาคโดย “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ”์ (ช่วงบุนนาค) ท่ีมี อํานาจการปกครองและบารมีและเป็นผู้สําเร็จราชการแผ่นดิน แทนพระองค์ทั้งในราชสํานักและเหล่าบรรดาขุนนางด้วยกัน ! แต่วิกฤตการณ์วังหน้านี้ก็นําไปสู่การนําพาชาวต่างชาติเข้ามา ยุ่งเกี่ยวในกิจการภายในของบ้านเมืองสยาม เนื่องเพราะกรม พระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จไปหลบที่สถานกงสุลของอังกฤษ โดยมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตจนวังหลวงไม่สามารถจัดการความ วุ่นวายที่อาจจะกลายเป็นน้ําผ้ึงหยดเดียวนี้ได้จึงต้องพ่ึงบารมีของ สมเด็จเจ้าพระยาฯ แต่ก็นับว่ายังดีในภายหลังฝ่ายอังกฤษและ อเมริกันไม่ได้เข้ามาแทรกแซงแต่อย่างใด

30

! แต่ยังมีเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันกับวิกฤตการณ์วังหน้าใน เวลาต่อมา แต่สร้างความแตกแยกทั้งในกลุ่มสภาที่ปรึกษาทั้งสอง รูปแบบความขัดแย้งในกลุ่มตระกูลขุนนาง และเชื่อมโยงการมี อิทธิพลของอังกฤษที่สามารถคุมพม่าให้เป็นประเทศอาณานิคม ของตนเองได้สักระยะหนึ่งแล้ว ทําให้เจ้าหน้าที่ในระดับสูงของ อังกฤษที่อยู่ในสยามย่ามใจในอิทธิพลดังกล่าว ซึ่งขุนนางของ สยามเองก็ เ ห็ น ช่ อ งทางในเรื ่ อ งสิ ท ธิ ส ภาพนอกอาณาเขตและ อิทธิพลของประเทศเจ้าอาณานิคมเหล่านี้เพื่อรักษาสถานภาพและ ชีวิตในช่วงที่สังคมกําลังเปล่ียนผ่านน้ีเช่นเดียวกัน ! พ.ศ. ๒๔๒๒ เกิดคดีเหตุการณ์ “คดีพระปรีชากลการ” ซึ่งเริ่มต้นจากการถูกร้องเรียนในเรื่องการทําผิดจารีตประเพณีใน ระยะนั้นนําไปสู่การสอบสวนคดีทุจริตการทําเหมืองทอง ความ แตกแยกในกลุ ่ ม ขุ น นางข้ า ราชการที ่ ม ี ช ่ อ งว่ า งระหว่ า งวั ย และ ความคิดอยู่แล้วและการดึงอิทธิพลของประเทศมหาอํานาจ เช่น อังกฤษเข้ามาจัดการในกิจการภายใน ถือเป็นความซับซ้อนของ ปัญหาซึ่งยากจะแก้ไขสําหรับสยามประเทศและผู้นําในช่วงการก่อ ตัวใหม่ของประเทศและสังคมกําลังเปลี่ยนผ่าน


พระยากษาปนกิจโกศลและพระปรีชากลการ ขุนนางตระกูลอมาตยกุล นักบุกเบิกนวัตกรรมในสยาม ! แม้ประวัติศาสตร์ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์จะปรากฏชื่อ ขุนนางชั้นสูงท่ีได้รับการสถาปนาเป็น “สมเด็จเจ้าพระยา” ถึง ๓ ท่านและอยู่ในตระกูล “บุนนาค” ทั้งส้ิน อันแสดงให้เห็นถึงอํานาจ และบารมี ข องสามั ญ ชนทั ้ ง ในบรรดาราชนิ ก ู ล ในราชสํ า นั ก และ หมู่ขุนนางด้วยกัน เพราะในกลุ่มอํานาจเหล่านี้ก็ไม่ได้ถูกผูกขาดโดย ตระกูลใดตระกูลหน่ึงอย่างถาวร แต่กลับมีขุนนางในตระกูลต่างๆ ที่สืบเชื้อสายมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาอีกไม่น้อยที่ทําคุณแก่ ราชการงานบ้านเมืองในช่วงเริ่มต้นสร้างบ้านเมืองใหม่ที่ธนบุรีและ กรุงเทพฯ ดังน้ัน การบริหารกิจการในราชสํานักจึงไม่ได้เสียสมดุล ไปให้แก่ตระกูลใดตระกูลหน่ึงแต่อย่างใด ! แม้จะมีความขัดแย้งและระแวงสงสัยอย่างเห็นได้ชัดในระบบ การบริหารบ้านเมืองแบบสยามที่รับสืบทอดมาจากกรุงศรีอยุธยา ที่อาจจะไม่เหมาะสมแก่บ้านเมืองในเวลานั้นมากนัก เพราะเป็นการ ควบคุมอํานาจที่สถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีอํานาซึ่งอาจจะสูญเสีย ไปได้ โ ดยง่ า ยแก่ ข ุ น นางผู ้ ม ี อ ํ า นาจเช่ น กั น อั น เห็ น ได้ จ าก ประวัติศาสตร์การสืบราชสมบัติและเหตุการณ์วุ่นวายในราชสํานัก ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ! สําหรับขุนนางอีกตระกูลหนึ่งที่สร้างคุณแก่บ้านเมืองมาไม่น้อย และดูจะเทียบเคียงกับบารมีของขุนนางในตระกูลบุนนาคได้ คือ “ตระกูลอมาตยกุล” ซึ่งมีขุนนางคนสําคัญคือ “พระยากษาปนกิจโกศล”

! บั น ทึ ก ของตระกู ล อมาตยกุ ล กล่ า วถึ ง สายตระกู ล ของตนว่ า นับจากพระยาสมบัติยาธิบาล (บุญเกิด) ผู้เป็นบุตรพระเสนานนท์ ซึ ่ ง รั บ ราชการอยู ่ ใ นแผ่ น ดิ น สมเด็ จ พระเจ้ า บรมโกศแห่ ง กรุ ง ศรีอยุธยามีบุตรชาย ๒ คนคือ นายเอม ภายหลังเป็นหลวงพิพิธ สมบัติและนายคล้าย ภายหลังเป็นหลวงจบจักรวาล ! และเม่ือเสียกรุงฯ ได้หนีพม่าไปอยู่กับขุนชนะผู้เป็นอาที่เมือง นครราชสีมา เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีครองราชย์จึงได้กลับมา รับราชการจนรับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสมบัติยาธิบาล เจ้ากรมพระคลังในขวา บุตรคนที่สองของหลวงพิพิธสมบัติชื่อ นายป้อมเริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็กในแผ่นดินพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทําความดีความชอบในการศึกเจ้า อนุเวียงจันทร์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยามหาอํามาตย์” ! เมื ่ อ มี ก ารขอพระราชทานนามสกุ ล ในสมั ย พระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามสกุลว่า “อมาตยกุล” เพื่อให้สอดคล้องกับราชทินนามของพระยามหาอํามาตย์นั่นเอง ! พระยากระษาปนกิจโกศลหรือนายโหมดเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นบุตรของ พระยามหาอํามาตยาธิบดี (ป้อม) และคุณหญิงเย็น ท่านมีความรู้ ในเชิงช่างสามารถซ่อมเคร่ืองจักร เคร่ืองยนต์ เครื่องไฟฟ้า มีความ สามารถในวิชาช่างชุบโลหะ เป็นผู้สร้างโรงเครื่องกลด้วยทักษะที่ เรี ย นรู ้ จ ากมิ ช ชั น นารี ช าวอเมริ ก ั น และถู ก อ้ า งอิ ง เป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของบทความในวารสาร Scientific American เมื่อ ๒๘ ธันวาคม

ขุ น นางตระกู ล ที่สร้างคุณแก่ บ้ า นเมื อ งไม่ น ้ อ ย และดูจะเทียบเคียงกับ บารมีของขุนนางใน ตระกูลบุนนาคได้ คือ “ตระกู ล อมาตยกุ ล ” ซึ ่ ง มี ข ุ น นางคนสํ า คั ญ “พระยากษาปนกิจ โกศล”

31


สยามยุคใหม่และการทําเหมืองทองคําในเมืองไทย

พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ าเจ้ าอยู่ หั ว โปรดเกล้ า ฯ ให้ ส ร้ า งโรงงานผลิ ต เหรี ย ญกษาปณ์ ขึ ้ น ที ่ หน้ าพระคลั ง มหาสมบั ต ิ บริ เ วณมุม ถนนใกล้ก ั บ ทางออก ประตู ส ุ ว รรณบริ บ าล ด้ า นทิ ศ ตะวั น ออก ในพระบรมมหาราชวัง ติ ด ตั้ ง เครื ่ อ งใช้ ง านได้ เมื่ อ ปี พ.ศ. ๒๔๐๓ พระราชทานนามว่ า โรงกระสาปณ์ส ิท ธิการ

พ.ศ. ๒๓๙๓ และมีร้านเครื่องจักรกลแห่งแรกในประเทศไทย ! ท่านเป็นผู้มีฐานะเพราะเป็นบุตรบุญธรรมได้รับมรดกจากน้า สาวน้าเขยมหาศาลจนญาติฝ่ายน้าเขย ๑๐๒ คน ฟ้องแย่งมรดก นายโหมดต้องต่อสู้คดีโดยไปจ้างทนายคัดกฎหมายมาให้แล้วจึง คิดลักลอบพิมพ์หนังสือกฎหมายไทยออกมาเผยแพร่ แม้แรก พิมพ์เผยแพร่หนังสือเล่มนี้จะถูกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ “สั่งริบ” เพราะเป็นการ “เอากฎหมายบ้านเมืองไปพิมพ์โฆษณา เช่นนั้นจะทําให้พวกมดต่อหมอความทําให้ยุ่งยากแก่บ้านเมือง” และนายโหมดบันทึกไว้ว่า e “ข้าฯ จ้างเขาเขียนกฎหมายที่โรงอาลักษณ์เป็นเงิน ๑๐๐ บาท เอามาอ่านดูแล้วจึงคิดเห็นว่าคนที่เป็นความไม่รู้กฎหมายแล้ว ลําบากนัก ประการหน่ึงก็ทุนซื้อกฎหมายไว้ด้วย ถ้าตีพิมพ์ขาย เห็นจะดีจะได้คืนทุนได้ด้วย” e หนังสือกฎหมายไทยที่นายโหมดจ้างหมอบรัดเลย์พิมพ์มี เฉพาะเล่ม ๑ เพียง ๒๐๐ เล่มเท่าน้ัน ปัจจุบันหาต้นฉบับไม่ได้ แล้ว แต่ต่อมาหมอบรัดเลย์ได้นํามาพิมพ์ซ้ํา จนรู้จักกันในชื่อ “กฎหมายฉบับหมอบรัดเลย์” ! และนับว่าเป็นคนไทยคนแรกๆ ที่ศึกษาวิทยาการการถ่ายภาพ จาก “หลุยส์ ลาโนดี” [L' abbe Larnaudie] บาทหลวงชาว ฝรั่งเศสและสังฆราชปาเลอกัว ต้ังแต่ พ.ศ. ๒๓๘๘ ถือเป็นช่าง ภาพหลวงในรั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว ซึ่งเป็นยุคที่มีช่างถ่ายภาพที่เรียนรู้จากฝรั่งเริ่มถ่ายภาพด้วย ตนเองเพราะพบว่า “นายจิตร” บ้านอยู่กฎีจีนลูกหลานในขุนนาง วังหน้าได้หัดถ่ายรูปจนตั้งห้างถ่ายรูปคุณภาพดี โดยเป็นขุนสุนทร สาทิศลักษณ์ในรัชกาลท่ี ๕ แล้วเลื่อนเป็นหลวงอัคนีนฤมิตร เจ้ากรมหุงลมประทีปหรือกรมแก๊สหลวงและเป็นผู้ถ่ายภาพได้ดี ในกลุ่มบุคคลที่เริ่มถ่ายรูปในรุ่นใกล้เคียงกัน ! พระยากษาปกิ​ิจโกศลมีผลงานฉายพระบรมรูปรัชกาลที่ ๔ เป็นช่างภาพชาวไทยคนแรกที่มีผลงานถ่ายภาพทิวทัศน์ ภาพวัง

32

และภาพวิถีชีวิตของชาวสยามให้กับหมอเฮาส์ [Samuel Reynolds House] ส่งไปสหรัฐอเมริกา หมอเฮาส์เป็นชาวอเมริกันท่ีเข้ามา สอนศาสนานิกายโปรเตสแตนท์ในสมัยรัชกาลท่ี ๓ และเป็นผู้ ถวายการสอนภาษาอังกฤษแก่รัชกาลที่ ๔ ต่อจากหมอแคสแวลส์ ! ท่านเป็นบุคคลที่ถือว่าเป็นหนึ่งในห้าท่านคือ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระป่ินเกล้าฯ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์และท่านที่เรียนรู้วิชาการ จาก ชาวตะวันตก โดยเฉพาะมิชชันนารีชาวอเมริกันได้เป็นอย่างดี ! การเริ ่ ม ใช้ เ หรี ย ญกษาปณ์ ใ นสมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งแต่เดิมมีการใช้หอยเบี้ยและเงินพดด้วง ในการชําระเงินการค้าระหว่างไทยกับต่างประเทศ มีการใช้เบี้ย ทองแดงในต่างประเทศ จึงมีพระราชดําริให้นำเบี้ยทองแดงจาก ประเทศอังกฤษมาเป็นตัวอย่าง ๓ ชนิด เม่ือ พ.ศ. ๒๓๗๘ เมื่อ ทอดพระเนตรแล้วไม่โปรดในลายตราจึงมิได้นําออกใช้ แต่ก็ทรง พระราชประสงค์ที่จะทําเหรียญรูปกลมแบนอย่างสากลแต่ยัง ไม่สําเร็จ ! ในปี พ.ศ. ๒๔๐๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้คณะทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จ พระนางเจ้ า วิ ก ตอเรี ย ที ่ ป ระเทศอั ง กฤษ สมเด็ จ พระนางเจ้ า วิกตอเรีย ได้จัดส่งเครื่องทําเหรียญเงินขนาดเล็กเข้ามาถวาย ทํางานด้วยแรงงานคนโดยใช้วิธีแรงอัดเป็นราชบรรณาการ ! ขณะเดียวกันคณะทูตสยามก็ได้สั่งซื้อเครื่องจักรทําเงินชนิด แรงดันไอน้ําจากบริษัท เทเลอร์ เข้ามาในปลายปี พ.ศ. ๒๔๐๑ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานผลิตเหรียญกษาปณ์ขึ้นที่หน้าพระ คลัง มหาสมบัติในพระบรมมหาราชวัง ติดตั้งเคร่ืองใช้งานได้เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๐๓ พระราชทานนามว่า "โรงกระสาปน์​์สิทธิการ" เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๐๕ ได้มีประกาศให้ใช้กะแปะอัฐและโสฬสข้ึนใหม่ เพราะเคยใช้เรียกว่าเบ้ียใช้แทนเงินปลีก ชาวอังกฤษที่เดินทางเข้า มาติดตั้งเครื่องจักรที่โรงกระสาปน์สิทธิการเพื่อผลิตเงินเหรียญใช้


แทนเงินพดด้วงได้เสียชีวิตอย่างกะทันหัน นายโหมดสามารถติดตั้งเครื่องจักรจนใช้ งานได้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี บรรดาศักดิ์เป็น “พระวิสูตรโยธามาตย์” ดูแลกํากับการผลิตเหรียญเงิน ! ถื อ ได้ ว ่ า ท่ า นเป็ น ขุ น นางซึ ่ ง เป็ น ผู ้ ท ี ่ มี ช ื ่ ื ่ อ เสี ย งและกว้ า งขวางในหมู ่ ส ั ง คม ชาวตะวั น ตกในสยามและยอมรั บ ความ สามารถด้านช่างชั้นสูงของท่านเป็นอย่าง มาก ด้วยชื่อเสียงและความสามารถท่ีมี โดดเด่ น มา ตลอดในรั ช กาลพระบาท สมเด็ จ พระจอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว เมื ่ อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ่านพิธีบรมราชาภิเษกเป็นคร้ังท่ี ๒ และ ต้องการปรับเปล่ียนแนวทางการปกครอง ประเทศและดึงอํานาจในการบริหารและ จัดการมายังพระองค์เองจากกลุ่มตระกูล ขุนนางเก่า คือ สมเด็จเจ้าพระบรมมหา ศรี ส ุ ร ิ ย วงศ์ จ ึ ง ทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ เลื ่ อ นเป็ น พระยา กระสาปนกิจโกศลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ดํารงตําแหน่งจางวางกรม กระสาปน์สิทธิการ ตําแหน่งผู้บังคับการโรงหล่อเหล็กของกรม ทหารเรือและตําแหน่งผู้บังคับการโรงแก๊สหลวง ต่อมาทรงพระ กรุ ณ าโปรดเกล้ า ฯ ให้ ด ํ า รงตํ า แหน่ ง ในปรี ว ี เ คาท์ ซ ิ ล หรื อ สภาที่ปรึกษาในพระองค์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๗

พระยากษาปนกิ จ โกศล ในช่ ว งบั้ น ปลายชีว ิต เกี ่ ย วข้อ ง กั บ คดี ค วามพระปรี ช ากลการ บุ ต รชายที ่ถ ู กข้ อ หาทุ จริ ต การทํา ทองที่ บ ่ อ ทอง เมือ งกบิ น ทร์ บ ุร ี และมี ค วามผิ ด อี ก หลายข้ อ หา จนต้ อ งถู ก ปลดออกจาก ตํ าแหน่ ง ถอดบรรดาศั กดิ์ และจํ าคุก เมื ่ อ พ.ศ. ๒๔๒๒ เมื ่ อ สู ง วั ย แล้ ว และพ้ น โทษเมื ่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ ถึง แก่อ นิจ กรรม เมื่ อ อายุ ๗๘ ปี

! พระยากษาปนกิจโกศลมีบทบาทสําคัญร่วมกับพระยาเจริญราชไมตรี (ตาด) ผู้เป็นน้องชายในสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเมื่อ แรกตั้งมี ๑๒ ท่าน จัดระบบแก้ไขภาษีและจัดระบบศาลให้ขึ้นตรง ต่อพระเจ้าอยู่หัว และเป็นประธานชําระคดีฉ้อโกงพระราชทรัพย์และ ไม่ ร ่ ว มมื อ กั บ สภาที ่ ป รึ ก ษาราชการแผ่ น ดิ น เสนาบดี ก รมนา (พระยาอาหารบริรักษ์ (นุช) บุตรเขตของสมเด็จเจ้าพระยาฯ) ซ่ึงก็ เป็นหนึ่งในสภาที่ปรึกษาในพระองค์ด้วยและมีการพาดพิง ไปถึงสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จนพระยา อาหารบริรักษ์ต้องถูกออกจากราชการถูกริบราชบาทว์ ถูก เฆี่ยนและจําคุก ! นักประวัติศาสตร์หลายท่านเห็นว่าการกระทําเหล่านี้ เป็นการท้าทายและสร้างให้เกิดความขัดแย้งในกลุ่มตระกูล ขุนนางด้วยกัน แม้จะเป็นที่แน่ชัดว่าการตรวจสอบกรณี ทุจริตดังกล่าวเป็นการทําหน้าที่ในช่วงการกระชับอํานาจ ของพระมหากษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์ในวัยเยาว์ และผ่าน พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ และกําลังอยู่ในช่วง สร้างอํานาจบารมีเพ่ือปกครองบ้านเมือง ! แต่ ช ะตากรรมของพระยากระสาปนกิ จ โกศลใน บั้นปลายชีวิตไม่ราบรื่นนัก อันเนื่องมาจากการเกี่ยวข้อง กับคดีความพระปรีชากลการ บุตรชายที่ถูกข้อหาทุจริต การทําเหมืองทองที่บ่อทอง เมืองกบินทร์บุรี และมีความ ผิดอีกหลายข้อหา พัวพันกับความเสี่ยงที่จะนําอํานาจจาก ภายนอกเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของสยาม จนบิดา ต้องถูกปลดออกจากตําแหน่ง ถอดบรรดาศักดิ์ และจําคุก ไปด้วยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๒ ในช่วอายุที่สูงวัยแล้ว พระยา เงิน ตราที่ใช้ในรัช กาลพระบาทสมเด็ จพระจอมเกล้ าเจ้า อยู ่ห ั ว กระสาปนกิจโกศลพ้นโทษเม่ือ พ.ศ. ๒๔๓๐ และถึงแก่ (ภาพจาก http://th.wikipedia.org อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ อายุได้ “ประวัต ิ ศาสตร์ หน่ว ยเงิ นที ่ ใช้ ในประเทศไทย) ๗๘ ปี

33


พระปรีชากลการ

พระปรีชากลการ

! พระปรีชากลการ (สําอาง) บุตรของพระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด) เกิดเม่ือ พ.ศ. ๒๓๘๔ และถวายตัวเป็นมหาดเล็กในแผ่น ดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเม่ือ พ.ศ. ๒๔๐๑ เมื่อ อายุ ๑๗ ปี กล่าวกันว่าพระปรีชากลการเดินทางไปศึกษาวิชา วิศวกรรมศาสตร์จากสก๊อตแลนด์ ประเทศอังกฤษ แต่เมื่อใดไม่ ปรากฏและยังสืบหาไม่ได้ว่าเดินทางไปศึกษายังที่ใด ! ในขณะที่มีบันทึกถึงกลุ่มนักเรียนที่ออกไปศึกษายังประเทศ อังกฤษครั้งแรกเม่ือ พ.ศ. ๒๔๐๗ ซ่ึงหากมีการเดินทางไปศึกษายัง ต่างประเทศในสาขาวิศวกรรมศาสตร์แล้วก็น่าจะเดินทางไปก่อน หน้าน้ันในเวลาพอสมควร และควรจะกลายเป็นท่ีโจษขานกันในราช สํานักและถูกบันทึกในรายละเอียดได้มากกว่าที่ปรากฏ ! ด้วยพระปรีชากลการเป็นบุตรชายของพระยากษาปนกิจโกศล ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านการช่างมาตั้งแต่สมัย รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสืบทอดความรู้จาก บิดาที่มีทั้งร้านขายเครื่องจักรกล มีความรู้ในเร่ืองการถลุงแร่ และ รับราชการมีหน้าที่รับผิดชอบเก่ียวกับนวัตกรรมใหม่ๆ ในสยาม เช่น เป็นเจ้ากรมหุงลมประทีปหรือกรมแก๊สหลวง และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปช่วยพระยากระสาปนกิจ โกศล (โหมด) บิดาทํางานท่ีโรงกระสาปน์ ! ราว พ.ศ. ๒๔๑๑ โปรดเกล้าฯ ให้พระปรีชากลการทําแท่น เคลื่อนที่ได้สําหรับตั้งกล้องที่จะทอดพระเนตรสุริยุปราคาหมดดวง ที่เกาะจาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ! ปีต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานบรรดาศักด์ิให้เป็นพระปรีชากลการเม่ือ พ.ศ. ๒๔๑๒ และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้ากรมกระสาปน์สิทธิการแทนบิดาพระยา พระปรี ชากลการเกิด เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๔ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว ถื อ เป็ นผู ้มี ความรู้ท างช่า ง และวิศวกรรม เครื ่ อ งจั ก รกลสมั ย ใหม่ ที ่ เ ป็ น ความรู ้ ส ํ า คั ญ ในยุ ค นั ้ น เมื ่ อ เกิ ดเหตุคดีความ ทุจริต และได้ แต่งงานกับ บุ ต รสาวกงสุ ล อั ง กฤษ ทํ าให้พระบาทสมเด็จพระ จุล จอมเกล้า เจ้า อยู่ห ัว ทรงกริ ้ ว และเมื ่ อสอบสวนแล้วจึง ตัดสิน ให้ป ระหารชีวิต

34

จึงถือว่าเป็นข้าราชการที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงไว้วางพระราชหฤทัยมากคนหนึ่ง ในช่วงต้นรัชกาล

กระสาปนกิจโกศล และเมื่อคราวงานเฉลิมพระชนมพรรษาโปรด เกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทจัดทําซุ้ม ประทีปโคมไฟประกวด พระปรีชากลการจัดทําซุ้มจุดด้วยไฟแก๊ส ประกวดได้รับรางวัลท่ี ๑ ต่อมาได้เป็นผู้ทําตึกแถวถนนบํารุงเมือง และได้รับพระราชทานหีบหมากทองคําเป็นบําเหน็จความชอบ ! เม่ือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระชนมายุ ๑๘ พรรษา เสด็จพระราชดําเนินประพาสสิงคโปร์ ปีนัง มะละกา เกาะ ชวา และมะละแหม่ง ย่างกุ้ง กัลกัตตา อัครา มัทราด และบอมเบย์ ในประเทศอินเดียเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ โดยเรือพระทั่งช่ือ “บางกอก” โปรดเกล้าฯ ให้พระปรีชากลการตามเสด็จเป็นสุปรินเทนเด็นอินยิเนี ย หรื อ เป็ น นายช่ า งผู ้ ค วบคุ ม เครื ่ อ งยนต์ และต่ อ มาได้ ร ั บ พระราชทานเครื่องยศ เสื้อปัก กระบี่ หมวกยอด พระเกี้ยว ตอบแทน และพระปรีชากลการได้เป็นหน่ึงในคณะสภาที่ปรึกษาใน พระองค์ [Privy Council] ซ่ึงประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์และ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จํานวน ๔๙ คน มีหน้าที่ถวายคําปรึกษาส่วน พระองค์สืบสวนข้อเท็จจริงในราชการต่างๆ เพ่ือกราบบังคมทูล และถวายความเห็นให้ทรงทราบ สอดส่องเหตุการณ์สําคัญในบ้าน เมือง รวมไปถึงการชําระความฎีกาที่มีผู้นํามาถวาย ! พระปรีชากลการจึงถือว่าเป็นข้าราชการที่พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงไว้วางพระราชหฤทัยมากคนหนึ่งในช่วง ต้นรัชกาล


! เม่ือถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ทําเหมืองทองคําท่ีบ่อทองเมืองกบินทร์บุรี ได้จัดต้ัง เครื่องจักรทําทองที่เมืองกบินทร์บุรีและสร้างตึกที่จัดตั้งเครื่องจักร ที่เมืองปราจีนบุรีอีกแห่งหนึ่ง พระปรีชากลการได้ทําจนสําเร็จ ต่อ มาเม่ือถึง พ.ศ. ๒๔๑๙ พระยาอุไทยมนตรี (ขลิบ) ผู้ว่าราชการ เมืองปราจีนบุรีถึงแก่กรรม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระปรีชา กลการว่าราชการเมืองปราจีนบุรีแทนต่อไป ! พระปรีชากลการสมรสครั้งแรกกับคุณพลับ ธิดาพระครูมหิธร ผู้เป็นพราหมณ์หลวงผู้ทําพิธีเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ มีบุตรกับคุณพลับ ๑ คน เป็นชายชื่อประเสริฐ แต่ถึงแก่กรรมแต่ยังเยาว์ เมื่อคุณพลับ ถึงแก่กรรมจึงสมรสกับคุณลม้ายธิดาพระอินทราธิบาล (สุ่น) ซึ่งได้ กราบถวายบังคมลาออกจากราชการมาอยู่บ้าน เนื่องจากพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ณ บ้านพระยากระสาปนกิจโกศลหน้าวัดราชบูรณะ มีบุตรกับคุณลม้าย ๒ คนคือ คุณหญิงตระกูลผู้สามารถพูดได้หลายภาษา เมื่อกลับมา เมืองไทยได้ทําหน้าที่เป็นล่ามสตรีคนแรกของกรุงสยาม คนที่ ๒ คือ พระยาพิศาลสารเกษตร (อรุณ) ต่อมามีบุตรกับคุณเหล่ียม ๓ คน มีบุตรกับคุณสินเป็นชาย ๑ คน มีบุตรกับคุณจีนเป็นหญิง ๑ คน และมีบุตรกับคุณหลีเป็นชาย ๑คน ! ต่อมาสมรสกับ แฟนนี น็อกซ์ บุตรีกงสุลอังกฤษชื่อ โธมัส จอร์จ น็อกซ์ และมารดาชาวไทยเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๑ มี บุตร ๑ คน เป็นชายช่ือ “สเปนเซอร์” ต่อมาเปลี่ยนช่ือเป็น “จํารัส” โดยพบรั ก กั น เมื ่ อ พระปรี ช ากลการติ ด ตามพระบาทสมเด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปขี่ม้าและได้พบนางสาวแฟนนี่บ่อยครั้ง จึงเกิดความรักต่อกันแม้พระปรีชากลการจะมีบุตรธิดาและภรรยา อยู่แล้ว การแต่​่งงานนี้ไม่เป็นท่ียอมรับทั้งฝ่ายกงสุลน็อกซ์ผู้เป็นบิดา และในพระราชหัตถเลขาฯ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงติฉินบุตรสาวของกงสุลผู้นี้ค่อนข้างมากและถือว่าเป็นพวก ฝ่าย “วังหน้า” และ “สมเด็จเจ้าพระยาฯ” ท่ีไม่ทรงโปรดแต่อย่างใด

! กงสุลน็อกซ์ผู้นี้เดิมมียศเป็นร้อยเอกในกองทัพบกอังกฤษ ประจําประเทศอินเดียและเดินทางเข้าสู่สยามในสมัยรัชกาลท่ี ๔ เข้า มาฝึกทหารตามแบบอังกฤษให้กับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้แต่งงานกับผู้หญิงชื่อปรางจากวังหน้าผู้หนึ่งมี บุตร ๓ คน คนโตชื่อ แฟนนี น็อกซ์ คนที่ ๒ ช่ือคาโรลีนแต่งงาน กับนายหลุยส์ ที. เลียวโนเวนส์ ส่วนบุตรชายอีกคนหนึ่งชื่อโทมัส เช่นเดียวกัน ต่อมาได้ไปเรียนหนังสือท่ีอังกฤษ นายน็อกซ์น้ันน่าจะ เป็นที่รู้จักของหมู่คนสยามที่นิยมคบค้าสมาคมกับชาวต่างชาติ โดย เฉพาะวังหน้าและทางฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาฯ และสังคมของชาวต่าง ประเทศเป็นอย่างดี ต่อมาสถานกงสุลอังกฤษเห็นว่านายน็อกซ์อยู่ เมื อ งไทยมานานและสามารถพู ด ภาษาไทยได้ ด ี จ ึ ง จ้ า งทํ า หน้ า ที ่ ล่ามเพื่อติดต่อกับราชการไทยจึงทํางานเป็นผู้ช่วยกงสุลแล้วได้ เลื่อนตําแหน่งจนได้เป็นกงสุลเยเนอราลมีบรรดาศักดิ์เป็นเซอร์ และเป็นกงสุลใหญ่อังกฤษตามลำดับ ! พระปรีชากลการถือว่าเป็นผู้มีฐานะดีเพราะบ้านที่พักอาศัยเป็น อาคารตึกสูงราว ๓ ชั้น ขนาดใหญ่โต สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๔ ต่ อ มาเมื ่ อ ถู ก ยึ ด ทรั พ ย์ ต กเป็ น ของแผ่ น ดิ น พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกิจการไปรษณีย์ไทยเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๖ โดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรง ดํารงตําแหน่งอธิบดีผู้สําเร็จราชการไปรษณีย์และโทรเลขพระองค์ แรกและใช้ บ ้ า นของพระปรี ช ากลการเป็ น ที ่ ท ํ า การเรี ย กว่ า “ไปรสะนียาคาร” ตั้งอยู่ริมแม่น้ําเจ้าพระยาปากคลองโอ่งอ่าง ฝั่งพระนครอยู่ทางทิศใต้ของสะพานพุทธ ! อาคารไปรษณียาคารถูกทุบท้ิงเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ เพื่อสร้าง สะพานพระปกเกล้า ซึ่งเป็นสะพานคู่ขนานอยู่ทางทิศใต้ของสะพาน พุ ท ธ แต่ ป ั จ จุ บ ั น อาคารถู ก สร้ า งจำลองข้ ึ น ใหม่ ต ามแบบเดิ ม ในตําแหน่งใกล้เคียงกับท่ีต้ังเดิม เพ่ือใช้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ กิจการไปรษณีย์ไทย

ภาพขวาบน ไปรษณี ยคาร บ้านของพระปรี ชากลการเมื ่ อถูก ยึดเป็ นของแผ่น ดิ นและทํา เป็ นที ่ทํ าการไปรษณีย์แห่งแรกของสยามเมื่ อ พ.ศ. ๒๔๒๖ ภาพซ้า ย อาคารที่สร้า งขึ้ นใหม่ เลียนแบบอาคารไปรษณี ยคารของเดิ ม ที ่ถูก รื้ อไปเมื่ อต้ อ งสร้า งสะพานพระปกเกล้่า ฯ เมื่ อ พ.ศ. ๒๕๒๕

35


สยามยุคใหม่และการทําเหมืองทองคําในเมืองไทย

ภาพซ้ าย สมเด็ จเจ้ าพระยาบรมมหาศรี ส ุ ร ิ ย วงศ์ ผู ้ ส ํา เร็จ ราชการในช่ ว งต้ น รั ช กาล พระบาทสมเด็ จพระจุล จอมเกล้ า เจ้ าอยู ่ หั ว ภาพขวา กงสุ ล น็ อ กซ์ หรื อ โทมั ส ยอร์ ช น็อ กซ์ บิ ด าของแฟนนี ่ น็อ กซ์ ภรรยาคนสุ ด ท้ า ยของ พระปรี ชากลการ

! กรณีคดีพระปรีชากลการเกิดขึ้นเพราะเมื่อพระปรีชากลการ ผู้เป็นขุนนางทรงโปรดฯ ท่านหนึ่ง รักใคร่กับธิดากงสุลโดย ไม่กราบทูลให้ทรงทราบตามประเพณีราชสำนัก พยายามเข้าหา และทําความสนิทสนมกับกงสุลน็อกซ์ผู้บิดาของแฟนนี่แต่ไม่ประ สบผลสําเร็จ ต่อมาจึงแก้ปัญหาโดยพาแฟนนี่นั่งเรือยอร์ชส่วนตัว ช่ือ “อัษฎางค”์ ไปในงานฉลองพระราชวังบางปะอินด้วยกันและ ยังค้างแรมบนเรือนั้นจนเป็นที่ร่ำลือไปทั่ว ! พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกริ้วมากจาก การกระทําที่ผิดประเพณีดังกล่าว และทรงกริ้วยิ่งขึ้นเมื่อพระ ปรีชากลการนําแฟนนี่กลับจากบางปะอินแม้พระราชพิธียังไม่เสร็จ ลงก็ตาม ทรงถือว่าเป็นการกระทําที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ อย่ า งยิ ่ ง เพราะมี ข ่ า วเล่ า ลื อ ในทางเสี ย หายเกิ ด ขึ ้ น [พระราช หัตถเลขาถึงสมเด็จกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์, จ.ศ. ๑๒๔๑ (พ.ศ.๒๔๒๒)] ! ต่อมาเพียง ๑๐ วัน กงสุลน็อกซ์จึงยื่นคําขาดให้มีการแต่งงาน โดยเรียกค่าสินสอดเป็นเงินที่ฝากธนาคารแห่งชาติอังกฤษไว้ ๕,๐๐๐ ปอนด์ และต้องให้แฟนนี่เป็นภรรยาเอก ในการจัดการ สมรสนายน็อกซ์และภรรยาจะไม่ไปร่วมงาน และถ้าพระปรีชากล การเดือดร้อนจะไม่ให้ความช่วยเหลือเด็ดขาด

36

! ซึ่งยิ่งทําให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยิ่งทรง กร้ิวมากขึ้นไปกว่าเดิม โดยมีพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยาสุร วงศ์ไวยวัฒน์และเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี กรมท่า เรื่อง การแต่งงานเช่นนี้ไม่เคยมีมาก่อน ขอทราบความเห็นของขุนนาง ทั้งสองว่าควรทําประการใด “เพื่อรักษาเกียรติยศและอํานาจแผ่น ดินไว้อย่าให้เสื่อมทรามได้” ! สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ กราบบังคมทูลแนะนํา เป็ น การแสดงถึ ง ความคิ ด เห็ น ต่ อ ขุ น นางในตระกู ล อมาตยกุ ล น้ีว่า ! “แต่ยังมีความสงสัยอยู่ด้วยคนตระกูลนี้ ทรงพระกรุณา เชื ่ อ ถื อ ให้ ใ ช้ ส อยเงิ น ทองของหลวงมากจนฟุ ่ ม เฟื อ ยยิ ่ ง กว่ า ขุนนางทั้งปวง ถ้ายังทรงพระอาลัยอยู่จะคิดให้เต็มสติปัญญา ก็ยาก ด้วยกําลังทรัพย์สมบัติก็มาก กําลังสติปัญญาก็ฉลาดนัก กลัวจะเป็นการตีงูให้หลังหักไป” ! โดยทูลต่อมาว่าเอาเรื่องที่พระปรีชากลการละเมิดอํานาจ แผ่นดินเป็นหลัก ส่วนเรื่องการทุจริตให้เป็นประเด็นรอง ซึ่งชี้ให้ เห็นว่าก่อนที่จะมีเหตุการณ์แต่งงานกับแฟนนี่น็อกซ์นั้น พระปรีชา กลการกํ า ลั ง จะถู ก สอบสวนเรื ่ อ งการทํ า เหมื อ งทองที ่ บ ่ อ ทอง กบินทร์บุรีอยู่แล้ว แต่เม่ือกลายเป็นบุตรเขยกงสุลน็อกซ์ กงสุล


กงสุ ล ใหญ่ ป ระจํ า ประเทศสยามก็ จ ะกลายเป็ น เรื ่ อ งกล่ ั น แกล้ ง บุคคลที่มีสายสัมพันธ์กับชาวอังกฤษ จึงแนะนําให้เป็นเร่ืองการ ละเมิดอํานาจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก ! เพราะในเวลาเดี ย วกั น มี ก ารนํ า คดี ท ุ จ ริ ต และฎี ก าที ่ ช าว ปราจีนบุรีทูลเกล้าฯ ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หั ว ถึ ง ๒๗ ฎี ก าด้ ว ยกั น รวมทั ้ ง ข้ อ หาเบิ ก เงิ น หลวงไปลง

ทุนทําบ่อทองถึง ๑๕,๕๐๐ ชั่งเศษ แต่ส่งทองมาเพียง ๑๑๑ ชั่ง เท่านั้น อันเป็นจํานวนทองคําที่ต่ํากว่าการคาดหมายมากนัก ! พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน ฎีกาทั้งหลายไปยังที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ที่ปรึกษาราชการ แผ่นดินพิจารณาแล้วจึงเชิญตัวพระยาปรีชากลการมาสอบสวน ความผิ ด แต่ เ นื ่ อ งจากพระปรี ช ากลการเป็ น ลู ก เขยของกงสุ ล อังกฤษประจําประเทศไทยในขณะนั้น กงสุลน็อกซ์จึงบีบบังคับให้ ทางการไทยปล่อยตัวถึงกับเรียกเรือปืนอังกฤษจากสิงคโปร์มา ข่มขู่จะยิงพระนคร ! การควบคุ ม ตั ว และดํ า เนิ น กระบวนการสอบสวนเอาผิ ด กั บ พระปรีชากลการ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและมีผลกระทบถึงความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้กระบวนการพิจารณาคดีของสภาที่ปรึกษา ราชการแผ่ น ดิ น ดํ า เนิ น การ ไต่ ส วนความผิ ด ของพระปรี ช า ภาพบนซ้ าย กลการต่ อ ไป ขณะเดี ย วกั น พระปรี ชากลการ ทรงโปรดให้พระยาภาสกรวงศ์ ในตํา แหน่ ง เจ้ าเมือ ง ที ่ ป รึ ก ษาราชการแผ่ น ดิ น เป็ น ปราจี น บุ ร ี ราชทู ต พิ เ ศษไปเข้ า เฝ้ า สมเด็ จ เมื่ อ ถู กประหารชี วิ ต พระนางเจ้ า วิ ก ตอเรี ย เพื ่ อ อายุ ไ ด้ ๓๙ ปี ป้ อ งกั น มิ ใ ห้ ก รณี ด ั ง กล่ า ว อาจลุ ก ลามบานปลายเป็ น ภาพล่ างซ้ าย วิ ก ฤติ ก ารณ์ ร ะหว่ า งประเทศ เมื่ อ ถู กนํ า ไปประหาร ไปได้ ชี ว ิ ตที ่ หน้า โบสถ์ ! แต่ท้ายสุดเมื่อความผิดเป็น วัด หลวง เมื อ งปราจี น บุร ี ที่ปรากฏว่าพระยาปรีชากลการ จึง มี การสร้า งศาลไว้ ที ่ ได้ ก ระทํ า ผิ ด หลายกระทงด้ ว ย “วั ด หลวงปรี ช ากู ล ” ข้อหาอย่างเป็นทางการคือ ได้ สถานที ่ ป ระหารชี วิ ต ทองมาไม่มากเมื่อเทียบกับเงิน ภาพล่ างขวา ทุนที่ใช้ไปในการทํางานหลวง, ศาลที ่ว ั ด หลวงปรี ช ากู ล ถูกกล่าวหาว่าทําการทารุณเลข ในปั จจุ บ ัน

37


บั นทึ ก ไว้ ว่ าพระปรี ชากลการใช้ เงิ น ไปราว ๑๕,๕๐๐ ชั ่ งเศษหรื อ ราว ๑,๒๔๐,๐๐๐ บาท (มีก ารบั นทึ ก ว่ างบประมาณแผ่ น ดิ น ใช้ ร าว ๖๘ ล้ า นบาทต่ อ ปี ใ นราว พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๔๕๗) แต่ ส ่ งทองมานํ า หั ก เพี ย ง ๑๑๑ ชั ่ งหรื อ ราว ๑๓๓,๒๐๐ กรั ม ซึ ่ งถ้ า คิ ด ราคา ทองคํ า ๑ ทรอยออนส์ (น้ ํ า หนั ก ๓๑.๑ กรั ม) ในปี นั ้ นราคาทองคํ า ในตลาดโลกประมาณ ๑๘.๙๔ ปอนด์ ต ่ อ ๑ ทรอยออนส์ มาตราค่ าเงิ นในช่ วงนั ้ น ๑ ปอนด์ เท่ า กั บ ประมาณ ๑๓.๑๒ บาท เม่ ื อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ดั ง นั ้ นราคาทองคํ า ๑๓๓,๒๐๐ กรั ม จึ งมี ม ู ล ค่ า ประมาณ ๑,๐๖๔,๒๘๔ บาท ซึ ่ ง น่ าจะมี มู ลค่ าน้ อ ยกว่ า น้ ี เม่ ื อ ๓๐ ปี ก ่ อ นหน้ า นั ้ น จึ งเป็ น การขาดทุ น แน่ น อน

ที่ถูกเกณฑ์ให้ตัดฟันตอในน้ําซึ่งกีดขวางทางเดินเรือบรรทุกแร่ โดยใช้ง่ามถ่อค้ําคอคนที่ดําลงไปตัดตอจนขาดใจตาย และทําการ ทารุณกรรมแก่ราษฎรอย่างร้ายแรงหลายประการ ! อีกเหตุหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นประการสําคัญคือเรือแล่นตัดหน้าฉาน หรือหน้าพระที่นั่ง ขณะที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับ ณ พระราชวัง บางปะอิน และแต่งงานกับคนต่างประเทศโดยไม่ขอพระบรมราชานุญาตจนกลายเป็นความผิดอุกอาจถึงข้ันต้องโทษประหารชีวิตใน ท้ายสุด การพิจารณาโทษพระยาปรีชากลการดังกล่าวประเทศ สยามก็มิได้กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใหญ่โต อย่างที่คาดหมายไว้แต่ประการใด ! เมื่อพระปรีชากลการถูกประหารชีวิตรวมอายุได้ ๓๙ ปี มีข้อความที่มักถูกนํามาอ้างอิงในคราวพระปรีชากลการเมื่อจะถูก ประหารที่ลานวัดหลวงปรีชากูล เมืองปราจีนบุรี เขียนไว้ในหนังสือ “ประวัติการและความทรงจําของรองอํามาตย์โท หลวงบํารุงรัฐนิกร (บุศย์ เอนกบุณย์)” ซึ่งเป็นข้าราชการที่เมืองปราจีนบุรีในช่วงเวลา นั้นว่า ! “พระปรีชาฯ เอาผ้าขึ้นเช็ดหน้าแล้วทิ้งลงดิน พูดออกมาอย่าง น่าสงสารว่า ...โบสถ์สร้างขึ้นยังไม่ทันแล้ว เพราะได้เมียฝรั่งตัว จึงตาย แดดร้อนดังนี้ ทําไมจะได้สติ เมื่อตายแล้วเราจะไปอยู่ ที่หลังคาแดงโน้น...” การทําเหมืองแร่ทองคําและคดีความ ! นอกจากแหล่งทองที่บางสะพานซึ่งเป็นแหล่งแร่ทองคําซึ่งเป็น ที่รู้จักกันดีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ก็มีการบันทึกถึงเรื่องการทํา ทองที่เมืองกบินทร์บุรีครั้งแรกในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ม.จ. พิริยดิศ ดิศกุล โอรสในสมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ได้ทรงบันทึกไว้ว่า ! “ในปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็ จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีผู้พบทองคําในเขตเมืองกบินทร์บุรี หลายแห่ง จึงได้เกณฑ์แรงงานท่ีนั่นและในหัวเมืองใกล้เคียงให้มา ทําการขุดหาแร่ทองคําส่งกรุงเทพฯ โดยมอบหมายให้เจ้าเมือง ปราจีนบุรีเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการปฏิบัติการเหมืองแร่ ครั้งแรกของรัฐ แต่การก็มิได้เป็นไปอย่างราบรื่น เพราะว่ามีการ กล่าวโทษเรื่องการใช้แรงงานที่ไม่ชอบ จนเป็นเหตุให้ผู้คนอพยพ หลบหนีราชการกันมากและที่สําคัญผลผลิตทองคําที่ได้ดูไม่เหมาะ

38

สมกับแรงงานที ่ น ํ า ไปใช้ จ นเป็ น เหตุ ให้ ม ี ก ารสอบสวนถึ งกั บลง โทษต้ังแต่ตัวเจ้าเมืองลงไป แต่ก็ได้มีการแก้ไขปรับปรุงโดยมีกา รนําวิศวกรฝร่ังไปช่วยและบุคคลที่ออกไปกับการขุดแร่ทองคําท่ี กบินทร์บุรี ในตอนหลังนี้จําเป็นจะต้องเอ่ยนามให้ปรากฏไว้อีกคือ คุณพระปรีชากลการ ซึ่งเป็นผู้มีการศึกษาอย่างดีจากต่างประเทศ และเข้าใจว่ามีความรู้ด้านช่างดี จึงได้ราชทินนามเช่นนั้น การดําเนิน งานครั้งนี้ได้มีการเปิดบ่อขุดเอาหินติดทองล่องลงตามลําน้ําพระ ปรงมาตําและแยกที่ตัวจังหวัดปราจีนเลยทีเดียว” e พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดําริ โปรดเกล้าให้พระปรีชากลการไปทําเหมืองทองคําที่บ่อทองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ การทําทองที่บ่อทอง เมืองกบินทร์บุรี แตกต่างไปจาก การทําเหมืองแบบร่อนแร่แบบโบราณตามสายน้ําต่างๆ ไม่ใช่เป็น ทองคําแบบก้อนหรือแบบผงทองคําเช่นที่บางสะพานเพราะต้อง ระเบิดหินที่มีสายแร่ทองคําติดอยู่แล้วจึงนํามาถลุง ! ลักษณะทางธรณีวิทยาของบริเวณบ่อทองอยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม สูงกว่าระดับน้ําทะเลราว ๑๗ เมตร บางส่วนเป็นเนินเขาย่อมๆ สูง ราว ๒๐ เมตร พื้นผิวปกคลุมด้วยชั้นศิลาแลง เป็นดินทรายและ ดินลูกรังหนาราว ๑๐-๕๐ ฟุต มีพวกหินควอร์ตไซต์และหินปูน และแทรกด้วยหินอัคนีเป็นผลทําให้เกิดการแปรสภาพอย่างรุนแรง หินปูนบางส่วนแปรเป็นหินอ่อน ส่วนสายแร่ควอตซ์ [Quartz Vain] มีสายแร่เล็กๆ แทรกอยู่ในหินท่ัวไป สายแร่ควอตซ์เหล่านี้บางแห่ง ให้แร่ทองคํา [Gold Baring Quartz Vain] ทองคําที่พบมีขนาดเล็ก เห็นด้วยตาเปล่าได้ยากและมีแร่เงินและไพไรต์เปิดร่วมด้วยใน ปริมาณน้อย คาดว่าสายแร่น่าจะมีทางยาวประมาณ ๔-๕ กิโลเมตร (สมัคร บุราวาส, ๒๔๘๗) และจากการเจาะสํารวจของสมศักดิ์ โพธิสัตย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ จากตัวอย่างการเจาะหลุม ๑๗ หลุม พบทองเพียงหลุมเดียว ! มีบันทึกถึงการทําเหมืองทองของพระปรีชากลการในยุคสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากเอกสาร “เศรษฐกิจ ธรณีวิทยาเล่มที่ ๒๔” ของกรมทรัพยากรธรณีกล่าวว่า ! เป็นการขุดหลุมตามสายแร่ไปทั้งตามความลึกและตามความ ยาวของสายแร่ ซึ่งต่อมากลายเป็นบ่อน้ําใหญ่ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๕๐ เมตร และต่อมาเรียกชื่อว่า “บ่อสําอาง” ! การขุ ด เหมื อ งทองคํ า ซึ ่ ง เป็ น สายแร่ ท องคํ า ในหิ น ใต้ พ ื ้ น ดิ น นอก จากการสํารวจเพื่อหาสายแร่ทองคําแล้วต้องมีการขุดเป็นหลุม ทั้งแนวด่ิงและแนวราบ แล้วใช้วิธีการระเบิดหินแล้วบดแร่ให้มีขนาด


ภาพถ่ า ย โรงถลุงทองคํ า ที ่ริมฝั่งแม่น้ํ า ปราจี น บุ ร ี ริมวั ดหลวง ปรี ชากู ล ด้า นทิศ ตะวั นออก

เล็กลงเพื่อเตรียมลําเลียงไปจัดการถลุงที่เมืองปราจีนบุรีซึ่งน่าจะ สะดวกและเจริ ญ กว่ า บริ เ วณตํ า บลบ่ อ ทองรวมทั ้ ง บริ เ วณเมื อ ง กบินทร์บุรี การสํารวจและการทําเหมืองต้องใช้ความรู้ความชํานาญ ในทางธรณีวิทยาและความรู้ในการสํารวจและคัดเลือกขุมเหมือง เป็นอย่างมากในยุคสมัยนั้น และที่สําคัญคือต้องใช้แรงงานซึ่งเข้า สู่ระบบการจ้างงานแล้วจึงต้องใช้เงินทุนมากมายแต่ผลตอบแทน อาจจะได้น้อยไปก็เป็นได้ ! บันทึกไว้ว่าพระปรีชากลการใช้เงินไปราว ๑๕,๕๐๐ ชั่งเศษ หรือราว ๑,๒๔๐,๐๐๐ บาท (มีการบันทึกว่างบประมาณแผ่นดิน ใช้ราว ๖๘ ล้านบาทต่อปีในราว พ.ศ. ๒๔๕๖-๒๔๕๗) แต่ส่งทอง มานําหักเพียง ๑๑๑ ช่ังหรือราว ๑๓๓,๒๐๐ กรัม ซ่ึงถ้าคิดราคา ทองคํา ๑ ทรอยออนส์ (น้ําหนัก ๓๑.๑ กรัม) ในปีนั้นราคาทองคํา ในตลาดโลกประมาณ ๑๘.๙๔ ปอนด์ต่อ ๑ ทรอยออนส์ อัตราค่า เงินในช่วงนั้น ๑ ปอนด์เท่ากับประมาณ ๑๓.๑๒ บาท เม่ือ พ.ศ. ๒๔๕๑ ดังนั้นราคาทองคํา ๑๓๓,๒๐๐ กรัม จึงมีมูลค่าประมาณ ๑,๐๖๔,๒๘๔ บาท ซ่ึงน่าจะมีมูลค่าน้อยกว่านี้เมื่อ ๓๐ ปีก่อนหน้า น้ัน ซึ่งเป็นการขาดทุนแน่นอน แต่เม่ือพิจารณาบันทึกเม่ือราว พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๔๙๙ มีการกลับมาทําเหมืองทองคําอีกครั้งหนึ่งโดยกรม ทรัพยากรธรณีได้ปริมาณทองคําน้ําหนักราว ๕๔,๖๗๕.๕๖ กรัม ซึ่งจะเห็นได้ว่า การทําเหมืองทองคําที่กบินทร์บุรีไม่ได้ให้ผลตอบ แทนที่คุ้มค่ามากนัก ! พระปรีชากลการคงทําการขุดแร่ทองคําที่บ่อทองแล้วบรรทุก เรือล่องมาตามลําน้ําปราจีนบุรีขนขึ้นทําการถลุงที่โรงจักร ซึ่งพระ ปรีชากลการให้สร้างโรงจักรถลุงแร่ทองคําที่ฝั่งแม่น้ําปราจีนบุรี ริมวัดหลวงปรีชากูลด้านทิศตะวันออกอยู่ใกล้กับกําแพงเรือนจํา ปัจจุบัน ส่วนสถานท่ีถลุงและเตาหลอมขณะน้ียังปรากฏอยู่ท่ีบริเวณ บ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี

! ส่วนเส้นทางบ้านหนองสังข์เข้าไปตําบลวังตะเคียนมีถนนที่ทําขึ้น เพื่อเป็นเส้นทางลําเลียงแร่ทองคําเพื่อลงเรือที่ท่าน้ําแล้วล่องเรือ ขนแร่ไปตามลําน้ําปราจีนบุรี ซึ่งเป็นบริเวณต้นน้ําบางปะกงนั่นเอง เรียกว่า “ถนนทอง” จนถึงทุกวันน้ี โรงถลุงทองที่เมืองปราจีนบุรี ! โรงทําทองท่ีเมืองปราจีนบุรีเปิดเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรณรัศมี เสด็จไปเปิด โรงงานทําเหมืองแห่งนี้ มีพระบรมวงศานุวงศ์ตามเสด็จคือ พระเจ้า น้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย,์ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ และพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้า มนุษยนาคมานพ เสด็จลงเรือโบตออกจากท่าอ่างศิลาไปประทับเรือ ประพาสอุดรสยาม พระปรีชากลการไปรับเสด็จที่ฉะเชิงเทรา ได้ เสด็จทอดพระเนตรเมืองฉะเชิงเทราแล้วเสด็จไปปราจีนบุรีโดยจอด เรือพักท่ี “ทงเตย” หนึ่งคืนแล้วเสด็จปราจีนบุรี เมื่อถึงเมืองปราจีน แล้วเสด็จเปิดโรงทําทอง ตามข่าวที่พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้า มนุษยนาคมานพทรงพระนิพนธ์ว่า ! “...แล้วเสด็จขึ้นพลับพลาประทับตรัสกับพระยาอุไทยมนตรี ผู้ว่าราชการเมืองปราจิณบุรีอยู่สักครู่ จึงเสด็จเข้าไปในโรงจักร พระปรีชากลการจึงจัดแร่ทองคําซึ่งสําหรับจะได้ใส่ในครกเป็นที่แรก นั้นมาถวาย เวลา ๓ โมง กับ ๓๕ นาที สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนรัศมี จึงทรงหยิบแร่ซ่ึงพระปรีชากลการจัดมาถวายนั้น ใส่ลงในครกที่สําหรับตําแร่ พระปรีชากลการก็บอกกับมิสเตอร์ ปิเตอร์ซึ่งเป็นอิยิเนียในโรงนั้นครู่หนึ่งจึงเสด็จพระราชดําเนินไป ทอดพระเนตรเครื่องจักรสําหรับเลื่อยไม้...”

39


“บ่ อ สํ า อาง” ซึ ่ ง เป็น การขุด เหมือง ทองคํ า ทั้ ง แนวดิ ่ ง และแนวราบ ตั ้ง แต่ ส มัย พระปรี ชากลการ ตั ้ง แต่ พ.ศ. ๒๔๑๖-๒๔๒๒ ภายหลั ง มีท ํ าเหมื อง อี กหลายครั ้ ง จนขุ ด เป็ น สระน้ ํา ขนาดใหญ่ ข องชุ ม ชน ในครั ้ ง หลั ง สุ ด

ลักษณะโรงหล่อหรือโรงจักรและขั้นตอนการตําแร่นั้น รองอํามาตย์ โทหลวงบํารุงรัฐนิกร (บุศย์ อเนกบุณย์) บันทึกไว้ว่า ! “...รอบบริเวณโรงจักร์ก่อกําแพง แต่ก่อเป็น ๒ แถวเหมือนผนัง ตึกห่างกันราว ๗ ศอก สูง ๕ ศอกเศษ ก้ันเป็นห้องๆ ส่วนบนวาง ไม้เหล่ียมเป็นระยะๆ แล้วปูพื้นกระดาน โบกปูนทับอิฐฝนตกไม่ ร่ัวไหล เป็นหลังคากันแดดกันฝนได้หรืออาจจะเดินเล่นก็ได้ ส่วนบน ของด้านหน้าทําเป็นใบเสมา ด้านหลังก่ออิฐถือปูนสูงจากพื้นหลังคา ราว ๑ ศอกเศษ ทําเกล้ียงๆ แต่ทึบไม่เป็นใบเสมา กําแพงน้ียาว ประมาณ ๘ เส้น ภายในกําแพงปลูกโรงถลุงแร่ ๒ หลังแฝด แล้วทํา หลังคาลดต่อออกมาทั้งข้างหน้าข้างหลังทําด้วยไม้มุงสังกะสี ก้ัน ฝากระดาน ภายในตั้งเคร่ืองจักร์และต้ังครก ๒๐ ครก หน้าครกทุก ใบเจาะรูปรุเหมือนหน้าแว่นมีสากเหล็กครกละ ๒ อัน มีเหล็กติดที่ สากเหล็กเรียกว่า “เหล็กเขาควาย” แล้วมีเหล็กเพลาทอดออกมา เมื่อใช้เครื่องมือเหล็กเพลาจะหมุนกระทบเหล็กเขาควายกระทําให้ สากเหล็กยกขึ้นและตกลงมาตําแร่ในครกให้ละเอียด ในขณะตําแร่ จะมีน้ําไหลออกมาตามท่อเหล็กตกลงมาตามท่อเหล็กตกลงในครก นั้นเสมอ แร่ถูกตําป่นเหมือนแป้งแล้วไหลจากครกไปตกลงที่ผ้า ปะเล็งเก็ตซ่ึงปูไว้รับหน้าครก แร่ที่ถูกตําป่นเบากว่าทองไหลเลยไป ส่วนทองหนักกว่าคงติดอยู่ที่ผ้า เมื่อหยุดเคร่ืองจักร์จึงเอาผ้าไปแช่ น้ําในถังใหญ่ คะเณว่าทองนอนก้นถังแล้วจึงสูบน้ําออกเก็บเอาเน้ือ ทองคําไปโรงถลุงแร่นี้ตั้งอยู่ที่สนามหญ้าใกล้กับกําแพงเรื​ือนจํา เดี๋ยวนี้ ! ส่วนปล่องไฟเคร่ืองจักร์ตั้งอยู่ริมกําแพงเรือนจํา นอกจากโรง ถลุงแร่ ก่อสร้างตึกยาวขวางตะวัน ๑ หลัง เรียกในสมัยนั้นว่าตึก ปรอทกับก่อสร้างตึก ๒ หลังสําหรับแขกอยู่ใกล้กับตึกยาวขวาง ตะวัน ๑ หลัง ทางด้านตะวันตกของโรงจักร์สร้างตึก ๔ ช้ัน สําหรับ นายช่างชาวต่างประเทศอยู่ ๑ หลัง e นอกบริเวณกําแพงด้านตะวันตกสร้างโรงหล่อ ๑ หลังต่อจาก โรงหล่อมาทางริมน้ํา สร้างโรงเล่ือยไม้ ๑ หลัง ส่วนด้านหลังกําแพง

ปลูกเรือนมุงแฝก กั้นฝาปรือ เรียงรายตลอดไปอีกหลายหลัง สําหรับคนงานพักอาศัย..” e การทําเหมืองทองคําที่บ่อทอง เมืองกบินทร์บุรี หยุดไปเพราะ เกิดเหตุการณ์คดีพระปรีชากลการดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นคดีโด่งดัง แห่งยุคที่ทําให้เกิดการเล่าลือไปต่างๆ นานา สืบต่อมาทั้งใน พระนคร และหัวเมืองที่ปราจีนบุรีและเมืองกบินทร์บุรี e หลังจากน้ันเมื่อช่วงปลายทศวรรษท่ี ๑๘๘๐ (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๘-๒๔๓๒) แม้จะมีการปิดเหมืองไปเมื่อเกิดคดีพระปรีชากล การในช่ ว ง พ.ศ. ๒๔๒๒ มี บ ั น ทึ ก ว่ า บริ ษ ั ท การค้ า แห่ ง ตะวันออกไกล “Jardine Mathieson” ได้เข้ามาทําสัมปทานการทํา เหมืองโดยการรับรองจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมามีบริษัทต่างประเทศคือ “The Kabin Syndicate of Siam” และ “Societa des Mines de Kabin” เข้ามาดําเนินทําเหมืองด้วยวิธี การทําเหมืองแบบสวีเดนแบบเก่า [Skarn] คือการระเบิดหินแข็งที่ เป็นแหล่งแร่ที่มีการสะสมตัวของแร่ทองคําในหินต่างๆ เช่น หินอัคนี หินชั้นและหินแปร แล้วนําหินแร่เหล่านั้นมาย่อยและดึงเอาแร่ทองคํา แยกตัวออกมา ! การทําเหมืองของบริษัทดังกล่าวมีรายงานว่าหยุดไปเมื่อเริ่ม เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๖๑ โดยไม่มีรายงาน ยืนยันถึงปริมาณทองคําที่พบหลงเหลือเพียงฐานอาคารโรงเรือนที่ ย่อยและแต่งแร่ รวมทั้งน่าจะมีอาคารสําหรับการถลุงแร่ทองคํารวม ทั้งมีบ่อแร่จํานวนหนึ่ง กับคําร่ําลือเมื่อกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการทําเหมืองแร่เข้าไปสํารวจสายแร่เพื่อทําเหมืองทองคําอีก คร้ังหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ ว่า “บริษัททองคําในสมัยนั้นสามารถ ขุดทองได้ขนาดเท่าผลมะพร้าวห้าวทั้งเปลือกทุกวัน” (ชาวบ่อ ทอง, ๒๔๙๖) ! ราว พ.ศ. ๒๔๙๓ กรมทรัพยากรธรณีในภายหลังเริ่มดําเนิน การสํารวจแร่ทองคําแหล่งน้ีจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ต่อมาได้โอน

40


กิ จ การการทํ า เหมื อ งแร่ ใ ห้ ก ั บ “ศู น ย์ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ องค์การเหมืองแร่ และได้เปิดทําเหมืองแบบชั่วคราว จนถึง เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงหยุด การสํารวจและพัฒนาการทําเหมืองในเชิง พาณิ​ิชย์ โดยให้เหตุผลต่อคนงานเหมืองใน ยุคนั้นว่าเพราะขาดทุน (จูม กีบแก้ว, กันยายน ๒๕๕๖) และไม่ปรากฏว่ามีการ ทําเหมืองอีกผลผลิตทองคําจากช่วงน้ีต้ัง แต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๔๙๙ ได้ปริมาณ ทองคําน้ําหนัก ๕๔,๖๗๕.๕๖ กรัม ลุ ง จู ม กลีบแก้ว

การทําเหมืองแร่ทองคํา: คําบอกเล่าจากคนทําเหมือง คนสุดท้ายแห่งบ่อทอง ! ก่ อ นหน้ า ที ่ จ ะมี ก ารทํ า เหมื อ งแร่ อ ี ก ครั้งโดยรัฐบาลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ชาว บ้านบริเวณนี้นอกจากทํานาตามฤดูกาล แล้ว หมดหน้านาผู้ใดที่ขยันก็จะมาขุดเอา ดินและหินในบริเวณบ่อทองคําเก่าที่เคย เปิ ด ไว้ น ํ า ไปร่ อ นหาแร่ ท องคํ า กั น ที ่ บ ้ า น ของตนหรื อ ไม่ ก ็ ร ่ อ นทองกั น ในบริ เ วณ ที่สะดวกและไม่ห่างไกลจากบริเวณบ้าน หรือไร่นา โดยเฉพาะในเขตบ้านบ่อทอง ที ่ ใ กล้ ก ั บ ขุ ม เหมื อ งที ่ เ คยทํ า แร่ ใ นสมั ย พระปรีชากลการน้ี ! มีการสํารวจและบันทึกว่าปัจจุบันมีชาวบ้านทําอยู่บ้างที่บ้าน บุเสี้ยว ตําบลบ้านนา ซึ่งอยู่ห่างจากแหล่งทําทองบ้านบ่อทอง ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร พ้ืนที่เป็นที่ราบแคบๆ ระหว่างเนินเขา มีห้วยทรายและคลองตาหนูไหลผ่าน วิธีการขุดทองทําง่ายๆ คือขุด หลุมกว้างยาว ๑-๕ เมตร ชาวบ้านกล่าวว่าทองคํามักจะอยู่ท่ีชั้น ๕๐ เซนติเมตรจากผิวดิน ทองคําที่ขุดได้มี ๒ ชนิดคือ ! ชนิ ด แรกเป็ น ก้ อ นคล้ า ยหยดเที ย นแสดงว่ า ผ่ า นการหลอม มาแล้ว อีกชนิดหนึ่งเป็นเกล็ดเล็กๆ หรือเป็นแผ่นบางๆ ลักษณะ เป็นแร่ที่เกิดตามธรรมชาติ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเศษแร่ที่ ตกหล่นตั้งแต่ในสมัยพระปรีชากลการและการทําเหมืองทองใน ระยะต่อมา ! ทุ ก วั น นี ้ ร ่ อ งรอยของการทํ า เหมื อ งทองในอดี ต ที ่ ใ ช้ ว ิ ธ ี ก าร ทําเหมืองอุโมงค์ตามสายแร่ โดยบริษัทของต่างประเทศและองค์กร ของรัฐมีการเจาะปล่องลงไปใต้ดินเพื่อหาสายแร่ ปล่องหรือขุมแร่ เหล่านี้มีช่ือ เช่น บ่อมะเด่ือ บ่อขี้เหล็ก บ่อพอก ฯลฯ คือทรากฐาน อาคารที่ใช้ในการแต่งแร่และฐานอาคารที่กล่าวกันว่าเป็นเป็นสถานที่ แยกแร่ทองคําออกจากสินแร่ท่ีบดแต่งแล้ว ซึ่งอยู่ในความดูแล รั บ ผิ ด ชอบขององค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นตํ า บลบ่ อ ทอง กรม อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จึงร่วมกับจังหวัดปราจีนบุรี

หรื อ ลุ ง แขก อายุ ๘๑ ปี เคยเป็ น คนงาน กรรมกรเหมือง ทองคํา ที ่ บ่ อ ทอง ครั ้ ง ที ่กรม ทรั พ ยากรธรณี ทํ าเหมื อ งใน ครั ้ ง หลั ง สุ ด ตั ้ง แต่ พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๕๐๐

โดยองค์การบริหารส่วนตําบลบ่อทองฟ้ืนฟูพ้ืนท่ีที่ผ่านการทําเหมือง แร่ในบริเวณนี้ขึ้น โดยจัดทําเป็นพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ทองคําซ่ึงเปิด เป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นการมอบ พิพิธภัณฑ์เหมืองทองคําให้องค์การบริหารส่วนตําบลบ่อทองเป็น ผู้ดูแลและใช้ประโยชน์ต่อไป ! เมื ่ อ กระทรวงอุ ต สาหกรรมเปิ ด ให้ ม ี ก ารประทานบั ต รจึ ง มี บริษัทร่วมทุนระหว่างไทยและออสเตรเลีย “บริ ษั ท ไทย โกลด์ ฟิ ล ด์” [Thai Goldfields] และบริษัทท่ีเคยทําการสํารวจไว้ก่อน หน้านี้ คือ บริษัท ไอแวนโฮ มายส์ [Ivanhoe Mines] ซึ่งมีความ ชํานาญในการสํารวจแหล่งแร่ทองคําและแร่โลหะมีคุณค่าในเชิง พาณิชย์และอุตสาหกรรม [www.thaigoldfields.com] ! โดยสํารวจศึกษาศักยภาพแหล่งแร่ทองคําในประเทศไทย ๕ แห่ ง ตามปรากฏข้ อ มู ล เผยแพร่ จ ากบริ ษ ั ท ดั ง กล่ า ว และมี ร าย ละเอี ย ดการสํ า รวจที ่ บ ริ เ วณอํ า เภอกบิ น ทร์ บ ุ ร ี ใ นช่ ว งปี พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๐ ซึ่งมีศักยภาพในการทําเหมืองทองด้วยระบบ ระบายความร้ อ นขนาดใหญ่ [Larger-scale Hydrothermal System] แต่ถึงปัจจุบันแม้พื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีและอําเภอ กบินทร์บุรีจะเปิดเป็นเขตอุตสหากรรมแทบทั้งสิ้นแล้วก็ยังไม่มี บริษัทขนาดใหญ่เข้ามาลงทุนทําเหมืองทองคําเช่นดียวกับที่เปิด การทำเหมืองทองคําท่ีจังหวัดพิจิตรและจังหวัดเลยแต่อย่างใด

41


สยามยุคใหม่และการทําเหมืองทองคําในเมืองไทย

ก่ อ นที ่ ล ุ งแขกจะมาเป็ น กรรมกรเหมื อ งแร่ ท องคํ า นั ้ น มีอ าชีพ ทํา นาทํ า ไร่ และร่อ นทองคํ า เมื ่ อ ว่ า งจากงานในนา จากดิ นในหลุ ม เหมื อ งที ่ ม ีอ ยู ่ ต ามบ่ อ ต่ า งๆ แต่ ด ้ ว ยปัญ หาเรื ่ อ งหนี ้ ส ิน จากการ “ตกข้ า ว” และ “ตกหนี ้ ” ทํ า ให้ ต ้อ งขายดิ นทํ า กิ น และต้ อ งเช่ า ที ่ ด ิ น ของตนเองเพื่ อ ทํ า นา และก็ ม ีแ ต่ ห นี ้ ส ิ น มากขึ ้น เรื ่ อยๆ

ลุ ง จูม กลี บ แก้ ว คนงานเหมื อ ง ทองคํ า คนสุ ด ท้ าย แห่ ง บ่ อ ทอง

“จูม กลีบแก้ว” คนงานเหมืองทองคํา กรมโลหกิจคนสุดท้ายแห่งบ่อทอง ! นายจูม กลีบแก้ว หรือลุงแขกเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ปัจจุบัน อายุ ๘๑ ปี พ่อของลุงแขกนั้นแต่เดิมเป็นคนโคราชทําอาชีพตํารวจ เมื่อย้ายมาอยู่ที่กบินทร์บุรีได้มาพบกับแม่ของลุงแขกซึ่งเป็นคน บ่อทองไม่ไกลจากแหล่งทําทองเท่าใดนัก หลังจากประกอบอาชีพ ขายแรงงานมาสารพัดตั้งแต่หนุ่มจนแก่เฒ่า ปัจจุบันลุงแขกเป็น พนักงานกวาดถนนของโรงแรมเป่ียมสุข ตําบลกบินทร์บุรี จังหวัด ปราจีนบุรีที่อยู่ด้านหน้าถนนทองที่ตัดเข้ามาสู่บริเวณเหมือง ทองคําเก่านั่นเอง ! ก่อนที่ลุงแขกจะมาเป็นกรรมกรเหมืองแร่ทองคํานั้นมีอาชีพ ทํานาทําไร่และร่อนทองคําเมื่อว่างจากงานในนาจากดินในหลุม เหมืองที่มีอยู่ตามบ่อต่างๆ แต่ด้วยปัญหาเรื่องหนี้สินจากการ “ตกข้าว” และ “ตกหน้ี” ทําให้ต้องขายที่ดินทํากินและต้องเช่าที่ดิน ของตนเองเพื่อทํานาและมีแต่หน้ีสินมากขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องหางาน อื่นรองรับ ! บ่อที่ขุดหาทองที่ลุงแขกเล่าให้ฟังนั้นมีมาตั้งแต่สมัยพ่อแม่ และเกิดมานั้นก็เห็นสิ่งก่อสร้างเหล่านี้แล้ว จึงเป็นปล่องเหมืองที่ น่าจะเป็นการสัมปทานจากบริษัทชาวต่างชาติในช่วงที่พระปรีชา กลการไม่ได้รับผิดชอบการทําเหมืองแล้วมีทั้งหมด ๖ บ่อ ไล่จาก ทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกคือ บ่อเจ๊ก บ่อกว้าน บ่อหมาก บ่อมะเดื่อ บ่อขี้เหล็ก และบ่อสําอาง ซึ่งในบริเวณน้ีมีฐานอาคาร หรือร่องรอยของโรงตํา โรงหลอมและบริเวณเตาหลอมด้วย!

42

! ความชํานาญในการร่อนทองดูเหมือนจะติดตัวอยู่กับ ชาวบ้านบริเวณนี้ และเป็นการร่อนทองแบบโบราณเช่น เดียวกับการร่อนทองในสายน้ําโขงหรือลําน้ําสาขาที่คนลาว ซึ่งถูกอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้น่าจะมีความชํา นาญสืบวิชาความรู้ติดมาด้วย ลุงแขกเล่าว่าใช้วิธีไปขุดเอา ดินมาร่อนจนได้แร่ทองคําสีคล้ําเรียกว่า “ทองทราย” โดย ใช้นําทองทรายวางบนผ้าใส่สารปรอทแบบบีบให้ปรอทนั้น แยกตัวหลุดออกมาจากผ้าด้านนอก ส่วนด้านในจะได้เนื้อ ทองคําสีเหลืองๆ ติดผ้าอยู่ เวลาเราได้ทองมานั้นก็จะได้เป็น เม็ด การขุดของชาวบ้านส่วนใหญ่จะได้ “ทองทราย” เอาปรอทใส่ลงในผ้าลงไปในภาชนะแล้วจับทองก็จะเห็นเป็นสี เหลืองๆ ติดผ้า เมื่อเผาแล้วจะเป็นเกล็ดหรือเม็ดทองคําแล้วเก็บ ใส่ถุงไปขายที่ตลาดกบินทร์บุรี ! ช่วงที่ลุงแขกทําเช่นนี้ก่อนมาเป็นกรรมกรเหมืองทองราคา ทองบาทละ ๔๐๐ บาท บางครั้งชาวบ้านเคยร่อนแร่หาทางคํา เช่น น้ีทํารายได้ถึงครั้งละ ๑,๐๐๐ บาทก็มี แต่เมื่อกรมอุตสาหกรรม พื้นฐานและการทําเหมืองแร่เข้ามาทําเหมืองในพ้ืนท่ีก็สั่งชาวบ้าน ห้ามทําและจ้างแรงงานจํานวนมากให้เข้าไปทํางานในเหมืองแร่ ! พ.ศ. ๒๔๙๓ ที่มีการสํารวจและการทําเหมืองทองคําอย่าง จริงจังในอีกสองสามปีต่อมาของกรมโลหกิจหรืออุตสาหกรรม พื้นฐานและการทําเหมืองแร่ภายหลัง ลุงแขกจึงไปสมัครเป็นคน งานเหมืองที่ต้องการคนงานจํานวนมาก ลุงแขกจําไม่ได้แน่นอนว่า เป็นคนงานเหมืองอยู่ก่ีปี แต่ทํางานต้ังแต่อายุ ๓๐ กว่าๆ จนถึง ๔๐ กว่าปี จนเหมืองแร่ทองคําปิดเลิกทําก็ใช้วิชาความรู้และความ ชํานาญแบบเสี่ยงตายในการเป็นคนฝังไดนาไมท์ในเหมืองหินที่อยู่ ลึกลงไปหลายสิบเมตรไปรับจ้างใช้แรงงานระเบิดหินภูเขาที่เขางู จังหวัดราชบุรีและเป็นแรงงานกลุ่มแรกๆ ที่ระเบิดหินปูนท่ี เขางู จนยุติไปเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา ! ลุ ง แขกใช้ เ วลาทํ า งานอยู ่ ท ี ่ ร าชบุ ร ี น านมากจนกระทั ่ ง เสียลูกชายไปที่เขางู จึงบวชให้ลูกชายและอยู่ที่ราชบุรีระยะหนึ่ง จึงกลับมาทํางานรับจ้างเล็กๆ น้อยๆ ท่ีบ่อทองบ้านเกิดจนถึง ปัจจุบัน ! ซึ ่ ง ทุ ก วั น นี ้ โ รงแรมเป่ ี ย มสุ ข ยั ง รั บ ลุ ง แขกและภรรยาเป็ น


ภาพบน แผนผั ง แสดงบ่ อ ทองและ การขุ ด เจาะสํ ารวจของ กรมทรั พ ยากรธรณี เมื่ อ พ.ศ. ๒๔๙๓ ภาพซ้ าย ชาวบ้า น ร่ อ นหา ผงแร่ ท องคํ า โดยใช้ ภาชนะไม้ท ี่ เรี ยกกั น ในท้ อ งถิ่ นว่ า “เรี ยง”

คนงานรายวันทํางานดูแลความสะอาดท่ีไม่ต้องใช้แรงงานมากนัก ! หน้ า ท่ ี ข องลุ ง แขกแต่ แ รกคื อ กรรมการใช้ แ รงงานสารพั ด เป็นกลุ่มแรงงานที่ไม่ได้ทําหน้าที่พิเศษเพราะใช้แต่แรงงาน เหมือง หินเช่นนี้เป็นการขุดเจาะตามสายแร่ที่ต้องมีนักธรณีวิทยาวิเคราะห์ หาสายแร่ แล้วให้คนงานระเบิดหินที่มีสายแร่ทองคําปนอยู่เพื่อนํา ขึ้นมาย่อยแร่และแยกแร่อีกครั้งหน่ึง ปากปล่องหรือปากบ่อแต่ละ แห่งจะมีการทําโครงคอนกรีตเสริมเหล็กท่ีแข็งแกร่งมาก ลุงแขก บอกว่าพอเหมืองร้างก็จะมีพวกขโมยเข้าไปดึงเอาเหล็กไปขายจนทํา ให้ปากบ่อพังไปตามๆ กัน จนมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ดินถล่มลงมาทับเอา คนที่ไปขโมยเหล็กตายและถือเป็นอุบัติเหตุภายหลังที่เหมืองร้างไป แล้ว เป็นครั้งเดียวที่เกิดขึ้นโดยอยู่ในช่วงที่ทําเหมืองไม่มีอุบัติเหตุ อื่นใดแม้จะเป็นการทําเหมืองที่ดูจะอันตรายมากก็ตาม ! จากปากบ่อที่ต้องมีการขุดเจาะพื้นดินลงไปให้ลึกเมื่อผ่านชั้นดิน ที่ลุงแขกกล่าวว่าความลึกน้ีประมาณบันได ๑๓๐-๑๔๐ ข้ัน ซึ่งอาจ ประมาณได้ว่าลึกราว ๒๘-๓๐ เมตรก็ถึงช้ันหินที่ต้องใช้การขุดเจาะ ด้วยสว่านไฟฟ้าและฝังระเบิดไดนาไมต์ในการระเบิดชั้นหินใต้ดิน โดยระเบิดท้ังในแนวราบและแนวดิ่ง เล่าว่าปากปล่องขนาดกว้าง ใหญ่จนลุงแขกคาดว่าหากนํารถยนต์ลงไปก็สามารถขับรถผ่าน

เข้าไปได้อย่างสบาย ปากปล่องแต่ละแห่งอยู่ห่างกันประมาณ ๕๐๐ เมตรก็ทําเช่นเดียวกันและระเบิดหินไปในทิศทางท่ีวิศวกรกําหนด ! ลุงแขกมีความกล้าและความชํานาญจนเป็นคนทําหน้าที่ระเบิด หินใต้ดินและได้รับค่าแรงงานมากกว่าคนงานใช้แรงงานคนอื่นๆ อยู่ บ้าง ลุงแขกได้ค่าแรงวันละ ๖ บาทและข้ึนมาเรื่อยๆ ตามเวลาและ หน้าที่ ในขณะที่ข้าวสารถังละ ๒๕ บาท ค่าแรงคนงานอยู่ระหว่าง วันละ ๔ บาท จนถึง ๑๒.๒๕ บาท ในช่วงเวลานั้นซึ่งมีหน้าที่แตก ต่างกันออกไปตั้งแต่ระเบิดแร่ เข็นหิน ตําหิน จนถึงหลอมทอง แต่ หน้าที่หลอมทองนั้นคนงานทั่วไปไม่ได้ทําเพราะมีเจ้าหน้าที่หลอม ทองมาจากกรุงเทพฯ โดยตรง ซึ่งใช้คนประมาณ ๓-๔ คน ! คนระเบิดอุโมงค์หลังจากใช้ลิฟต์เพื่อลงไปยังพื้นหินที่เตรียม ขุดเจาะไว้แล้ว คนงานจะเข้าไปใช้ต่อสายระเบิดและอัดไดนาไมต์ ซ่ ึ ง ต้องระมัดระวังในการต่อสายระเบิดสายเมนหลักโยงออกมา ด้านนอก และเม่ือจะกดระเบิดทุกคนต้องออกมาท่ีปากบ่อ ระเบิด เสียงดังมาก ปล่อยไว้สักพัก แล้วจึงนําเครื่องอัดลมไปดูดอากาศใน อุโมงค์ให้หายเหม็นควันระเบิด ช่วงนี้วิศวกรจะลงไปดูว่ามีแร่ทอง ติดหินว่ามีมากหรือไม่และมีแนวอยู่บริเวณใด เพื่อหาทิศทางสําหรับ ขุดเจาะต่อไป หรืออาจจะแก้ไขหากการระเบิดมีความบกพร่องหรือ

43


ภาพซ้ าย บ่ อ กั ก เก็บ น้ ํ าเพื่ อ ย่ อ ยแร่ ท ํ าด้ ว ยคอนกรีต อย่ างแข็ ง แรง ภาพล่ างขวา แผนที ่ แสดงการทํ า เหมื อ งทองคํ า ในช่ ว งที ่ บ ริ ษั ท ของชาวต่า งประเทศเข้า มาทํ าเหมื อ ง ตั ้ง แต่ ร าว พ.ศ. ๒๔๔๓-๒๔๖๐ ภาพกลางซ้า ย โรงตํ าใหญ่ อ ยู่ ใกล้ กั บ บ่ อ สํ า อาง ภาพขวา บ่ อ กว้ านใกล้ กั บ ที ่ท ํา การองค์ การบริห าร

44


ไม่ระเบิด ! จากนั้นจึงถึงหน้าที่ของผู้ที่จะไปนําเอาก้อนหินที่ติดแร่ทองคํา นั้นข้ึนมาย่อยแร่ ซ่ึงต้องใช้รางในการขนส่ง คนงานจะลงไปช่วยกัน เข็นรถรางที่นําหินและแร่ที่ถูกระเบิดแล้วขึ้นไปยังปากปล่องและจะมี คนงานนําหินแร่เหล่านี้ไปยังโรงตําแร่ที่อยู่ไม่ไกลมากนัก คนงาน แต่ละฝ่ายจะแยกกันทําหน้าท่ีชัดเจน ! คนงานผู้หญิงมักจะเป็นฝ่ายนําแร่ไปตกแต่งหรือตําแร่ ก้อนหิน ก้อนที่ใหญ่เกินไปจะถูกคัดเลือกเพื่อนําไปบดเสียก่อน เพื่อที่เวลาตํา จะได้ง่ายข้ึน โรงตําแร่ใช้คนประมาณ ๕ คน คนย่อยหินอีก ๕ คน และคนเข็นหินอีก ๕ คน บริเวณโรงตําซ่ึงอยู่บริเวณสนามกีฬาของ องค์การบริหารส่วนตําบลบ่อทองและใกล้กับบ่อสําอางจะมีครกตํา แร่ทําด้วยเหล็กประมาณ ๔ ครก ซึ่งใช้ไฟฟ้าและแรงงานในการตํา เพ่ือให้หินและแร่น้ันละเอียดเน้ือร่วนไม่เป็นก้อน ! จากนั้นจึงเป็นแผนกร่อนแร่ซึ่งจะนําหินแร่ที่ตําแล้วและค่อนข้าง ละเอียดมาร่อนนําเศษหินออก และจะมีคนคอยฉีดน้ําเพื่อแยกทอง กับเศษดินหินอ่ืนออกจากกันอีกข้ันตอนหน่ึง ต่อจากน้ันจึงมี พนักงานของกรมฯ นําเอาแผ่นทองแดงมาวางแล้วทาฉาบด้วย ไซยาไนด์และปรอทลงไปบนแผ่นทองแดงเพื่อแยกทองคําออกจาก แร่ที่ไม่ใช่ทอง ! และเมื่อได้แล้วคนระดับหัวหน้างานจะนําแผ่นยางขนาดใหญ่ รวบรวมทองเหล่าน้ีไว้ด้วยกัน จากน้ันจึงนําไปท่ีโรงหลอมทองซึ่ง เป็นทั้งอาคารสํานักงานด้วย ปัจจุบันพบเป็นทรากฐานอาคารอยู่ ด้านข้างของอาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อนําผงทองเหล่านี้ไปทําความ สะอาดและอัดเป็นก้อน ได้น้ําหนักเท่าไหร่ก็จะเขียนเป็นรายงาน

ประกาศที่ด้านหน้าสํานักงานทุกเดือนก่อนจะนําไปหลอมเป็นทองคํา แท่งและส่งมอบไปยังกรุงเทพฯ ต่อไป ! ทุ ก เดื อ นเมื ่ อ หลอมทองเสร็ จ หั ว หน้ า ก็ จ ะนั ด เรี ย กประชุ ม คนงานเหมืองทองที่บ่อทองเพ่ือจะบอกว่าเดือนน้ีหลอมทองคําได้น้ํา หนักเท่าไหร่ และเม่ือหักค่าใช้จ่าย ค่าเคร่ืองมือ ค่าสึกหรอ ค่าแรง เดือนนี้ได้ทองหนักแค่นี้มันจะคุ้มหรือไม่ในการขุดก็จะบอกคนงาน รับรู้ตลอดเวลาจนกระทั่งสุดท้าย การทําเหมืองทองที่ได้นั้นรัฐบาล เห็นว่าไม่คุ้มทุนจึงเลิกทําเหมืองทองนับแต่น้ันมา ! การทํางานในเหมืองแร่ทองคําที่บ่อทองกบินทร์บุรี ทํางานท้ัง วันทั้งคืนโดยแบ่งงานออกเป็น ๓ กะ ช่วงแรกเร่ิมงาน ๘ โมงเช้าถึง ๔ โมงเย็น ช่วงท่ี ๒ เริ่มเวลา ๔ โมงเย็นถึงเท่ียงคืน และช่วงท่ีสาม เร่ิมเที่ยงคืนจนถึง ๘ โมงเช้า และการทําเหมืองแร่ ทั้งวันทั้งคืนเช่น นี้ทําให้มีแม่ค้าขายของกินของใช้อยู่ขายของบริเวณบ่อทองกันทั้งวัน ท้ังคืนเช่นกัน ! บ่อทองจึงคึกคักกลายเป็นเมืองท่ีไม่หลับและมีตลาดค้าขาย เช่นนี้เป็นเวลาหลายปีทีเดียว ! ลุงแขกกล่าวว่าทุกวันน้ีคนบ่อทองไม่ร่อนทองอีกแล้วเพราะไม่ คุ ้ ม ค่ า แรงงาน ด้ ว ยส่ ว นหนึ ่ ง เกิ ด จากการเข้ า มาจั ด การพื ้ น ที ่ สาธารณะของภาครัฐทําให้ชาวบ้านไม่สามารถมาขุดได้อีกต่อไป และถื อ เป็ น เรื ่ อ งผิ ด กฎหมายเและสาเหตุ ท ี ่ ไ ม่ ม ี ผ ู ้ ใ ดสนใจเรื ่ อ ง เหมืองทองคําอีกแล้วก็เพราะคนหนุ่มสาวเลือกที่จะไปทํางานใน โรงงานที่มีอยู่มากมายและยังขาดแคลนแรงงาน การทํางานเป็น ลูกจ้างเช่นนี้ได้ค่าแรงประจําวันโดยที่ไม่ต้องเสี่ยงกับการร่อนทอง หรือแสวงหาทองคําดังเช่นที่เกิดขึ้นในสมัยรุ่นปู่ย่าตายายหรือรุ่นพ่อ แม่แล้ว

ภาพขวาบน แผนที ่ แสดงบริ เ วณ เหมื อ งทองคํ า ครั ้ ง ที ่กรมโลหกิ จ เข้ า มาทํา เหมื อ งครั้ ง สุ ด ท้ ายราว พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๕๐๐

45


๔. กรณีทุจริตในสังคมสยาม ยุคเปลี่ยนผ่าน ! เหมืองทองคําในสยามเม่ือแรกสํารวจพบ อาจจะสืบเน่ืองมาจาก ความชํานาญของผู้คนที่อพยพเคลื่อนย้ายมาจากหัวเมืองลาวหลาย กลุ่ม โดยเฉพาะลาวเวียงซึ่งเป็นประชากรพื้นฐานของเมืองด่าน กบินทร์บุรีนี้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ หัว เพราะมีการบันทึกในท้องถิ่นอ่ืนๆ ให้ได้รับรู้ว่า ชาวบ้านที่มีเชื้อ สายลาวมักจะมีความสามารถทางร่อนทองในลําน้ํา แม้แต่ในลําน้ํา เจ้าพระยา เช่นที่สิงห์บุรีก็ตาม ! ความชํานาญเหล่านี้นับเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงแบบโบราณที่สั่งสม มาโดยผู้คนที่เคยอยู่ในสภาพแวดล้อมซ่ึงเป็นที่สูง มีสายน้ําไหล ชะพาตะกอนของแร่ทองคํามากับท้องน้ํา การค้นพบแหล่งทองคําที่ กบินทร์บุรีก่อนช่วงพระปรีชากลการมาทําเหมืองอย่างจริงจังนั้น ก็อาจเกิดข้ึนมาด้วยสาเหตุดังกล่าว ! การทําเหมืองทองคําของพระปรีชากลการในช่วงต้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเพราะเป็นขุนนางท่ีมี ความรู้และเป็นผู้คุ้นเคยกับโรงงานและการทําโลหกรรมและสิ่ง ประดิษฐ์ที่ทันสมัยในยุคนั้น อีกทั้งเป็นขุนนางที่ค่อนข้างมีฐานะดี มากและถือว่าร่ํารวยมากกว่าขุนนางในตระกูลอื่นๆ ด้วยการ สืบทอดการเป็นเจ้ากรมโรงกษาปน์หลวงที่พระยากษาปนกิจโกศล เป็นผู้รับผิดชอบทํามาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ! การทําเหมืองแร่ทองคําที่ยากลําบากในท้องถ่ินเช่นบ่อทองเมือง กบินทร์บุรีนี้ จึงไม่ใช่ส่ิงท่ียากเกินความสามารถและสติปัญญา ของ ขุนนางเช่นพระปรีชากลการในช่วงเวลานั้น

46

! แต่อาจจะเป็นเพราะการเป็นผู้ทันสมัยในสังคมสยามที่มีความรู้ จากต่างประเทศ สามารถพูดและสื่อสารติดต่อกับชาวต่างประเทศได้ อย่างสะดวกสบายรวมทั้งการเป็นผู้มีฐานะและอํานาจในการเป็น เจ้าเมืองปราจีนบุรี อีกทั้งความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีความรอบรู้อย่าง สมัยใหม่และทันสมัยที่สุดในยุคนั้น จึงถือว่าน่าจะเป็นกําลังสําคัญ ของบ้านเมืองได้มาก และท่านยังเป็นสมาชิกในสภาที่ปรึกษาใน พระองค์อีกด้วย ! อาจทํ า ให้ พ ระปรี ช ากลการย่ า มใจในฐานะและอย่ ู ก ั บ ความ ทันสมัยในวัฒนธรรมชาวตะวันตก โดยถือเอาเรื่องส่วนตัวในการ ตั ด สิ น ใจแต่ ง งานกั บ ลู ก สาวกงสุ ล น็ อ กซ์ จ นสร้ า งเหตุ ก ารณ์ ใ ห้ ลุกลามใหญ่โตจนกลายเป็นสาเหตุสําคัญที่ต้องถูกประหารชีวิต ถือเป็นคดีที่สับสนและเต็มไปด้วยข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกันหลาย ประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเมืองภายในเหล่าบรรดาขุนนาง ความแตกต่ า งทางความคิ ด ของกลุ ่ ม คนหนุ ่ ม และคนสู ง อายุ ใ น ราชสํานัก และการปกครองที่นําโดยพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ปัญหาความมั่นคงของรัฐที่อาจเกิดจาก ปัญหาเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ! ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมสยามที่กําลังเปลี่ยนแปลงจาก การปกครองของรัฐแบบโบราณ มาสู่การปกครองแบบสมัยใหม่ที่ นิยมความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ จากต่างประเทศ รวม ทั้งการจัดระบบการปกครองแบบรัฐสมัยใหม่ที่มีการกระชับอํานาจ เข้าสู่ศูนย์กลางเช่นเดียวกับประเทศเจ้าอาณานิคมในยุคสมัยนั้น จัดการปกครองเช่นเดียวกันกับอาณานิคมของตน


ภาพถ่ า ยพระปรี ช ากลการ กลายเป็ น “เจ้ าพ่ อ สํ าอาง” ที ่ ผ ู ้ ค นนั บ ถื อ กราบไหว้ โดยเหตุ การทุ จ ริต เรื ่อ งการทํา เหมื อ งทองที ่ บ ่ อ ทอง กบิ นทร์ บุรี ดู เ หมื อ นจะลางเลื อ นไป โดยบางท่ านก็ เน้ น ให้ เ หตุ การณ์ นี ้ เ ป็น เรื ่ อ งความรั กของชาย หนุ ่ม -หญิ งสาว หรือ บางส่ ว นก็เ น้ น ไปที่ เหตุ การณ์ การเมื อ งภายใน ราชสํ านั กและเกี ่ ยวข้อ งกับ การเมื อ งภายนอกในยุค อาณานิ ค ม แต่ ค งมี ไ ม่ม ากนักที่ น ํ าเอา เหตุ การณ์ ทุ จ ริต ในหน้ าที่ น ี้ข ึ้ น มาเป็ น บทเรี ย นสํ า หรั บ ผู ้ ค น ที ่ ต ้ อ งทํ า หน้ า ที ่ ใ ห้ เ คร่ ง ครั ด

! ปัญหาที่กัดกร่อนสังคมไทยมาตั้งแต่ยุคสมัยการปกครองใน รูปแบบรัฐโบราณก็คือ “ปัญหาการคอร์รัปชั่น” ดังเช่นพบว่ามีการ ฉ้อราษฎร์บังหลวงในแทบทุกขั้นตอนที่มีการดูแลโดยขุนนางและ ผู้ได้รับมอบอํานาจในการจัดการ ในกรณีสภาที่ปรึกษาในพระองค์ และสภาที่ปรึกษาการปกครองเม่ือจะมีการออกกฎหมายในเรื่อง การคลังท่ีต้องมีการปรับปรุงก็พบว่ากลุ่มขุนนางผู้ใหญ่ไม่น้อยที่ เกี่ยวข้องกับการทุจริตในกรณีต่างๆ การสืบสวนถึงเรื่องความขัด แย้งในกลุ่มตระกูลขุนนางเองก็มีความชัดเจนว่า ฟ้องร้องและกล่าว หากันในกรณีทุจริตต่างๆ นี้ ส่วนโทษที่ได้รับนั้นส่วนใหญ่เป็นการ ริบราชบาทว์และยึดเข้าเป็นของหลวงและไม่ได้มีการลงโทษถึงขั้น ประหารชีวิตแต่อย่างใด ! กรณีคดีของพระปรีชากลการที่ถูกประหารชีวิต ในระยะแรกๆ นั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีคําแนะนําต่อพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เน้นในกรณีที่ไม่เคารพพระเจ้า แผ่นดินและกฎเกณฑ์ประเพณีของฝ่ายข้าราชบริพารในราชสํานัก ไม่ได้เน้นไปที่กรณีการทุจริตและประพฤติผิดสร้างความไม่ชอบ ธรรมในการปกครองราษฎรหรือกระทําทุจริตในการทําเหมืองทอง แต่ประการใด การถูกประหารชีวิตในภายหลังนั้นน่าจะเป็นการ ตัดสินใจรักษาพระราชอํานาจของพระมหากษัตริย์ในยุคสมัยแห่ง การเปลี่ยนผ่านของสังคมที่กําลังปรับตัวจากสยามแบบรัฐโบราณ มาสู่สยามแบบสมัยใหม่มากกว่าอื่นใด เพราะแม้แต่พระปรีชากล การเองก็ไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะต้องถูกประหารชีวิตในคราวน้ัน ! อย่างไรก็ตามการทําเหมืองทองคําที่กบินทร์บุรีก็ยังทําต่อมา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเวลาผ่าน ไปราว ๒๐ กว่าปี หลังจากสภาที่ปรึกษาฯ ทั้งสองรูปแบบปรับ เปลี่ยนและยกเลิกไปแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาฯ และกลุ่มตระกูล

ขุนนางต่างๆ ไม่ได้มีบทบาทหรืออิทธิพลสูงครอบงำพระราชวงศ์ และการปกครองของสยามเช่นที่ผ่านมาและสามารถตั้งกระทรวง ต่างๆ เพื่อรับผิดชอบงานด้านต่างๆ และมีพระบรมวงศานุวงศ์ทั้ง พระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าลูกเธอเข้ามามีบทบาทในการบริหาร บ้านเมืองทดแทนเหล่าบรรดาลูกหลานในตระกูลขุนนางต่างๆ ! พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัด ตั้งชั้นเรียนภาษาอังกฤษและจัดครูฝรั่งมาถวายพระอักษรบรรดา พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้านายที่ได้รับราชการเป็นเสนาบดีแทบทุก พระองค์ ต่อมายังโปรดเกล้าฯ ให้คัดเลือกลูกหลานขุนนางรวมเชื้อ พระวงศ์ประมาณ ๒๐ คน ส่งไปเรียนภาษาอังกฤษท่ีสิงคโปร์อีก ชุดหน่ึง ! ความสําคัญของภาษาและวิทยาการตะวันตกมีความสําคัญมาก ในรัชกาลของพระองค์ จนกลายเป็นความนิยมอย่างแพร่หลายใน หมู่ขุนนางข้าราชการในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวและรัชกาลพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวท่ีจะส่งบุตรหลานของตน ไปศึกษาต่อ ณ ทวีปยุโรป ! การเรียนรู้วิทยาการในประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวางในหมู่ นักเรียนไทยดังกล่าว มีส่วนกระตุ้นให้เกิดความคิดที่จะมีส่วนใน การปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยที่บรรดานักเรียน ไทยเหล่านั้นไปเห็นมาในหลายประเทศในยุโรป ! จนกระทั ่ ง นํ า ไปสู ่ ก ารแสวงหาเสรี ภ าพทางหนั ง สื อ พิ ม พ์ การเรี ย กร้ อ งสิ ท ธิ ์ ใ นการมี ส ่ ว นปกครองประเทศ จนถึ ง การ เปลี่ยนแปลงของสังคมสยามอย่างใหญ่หลวงในช่วงเวลาต่อมาอีก ครั้งหนึ่งเม่ือมีการยึดอํานาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวและเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญใน พ.ศ. ๒๔๗๕

47


!"#$%& (

จากเมืองหน้าด่านสู่ย่านอุตสาหกรรม

เจ้ า พ่ อ พระปรง ที ่ ศาลเจ้ า พ่อ พระปรง ใกล้ แควพระปรง ริ ม ถนนสุว รรณศร บริ เ วณรอยต่ อ ระหว่ า ง อํา เภอกบิน ทร์ บ ุ ร ีและ จังหวัด สระแก้ว

๕. “กบินทร์บุรี” เมืองหน้าด่าน สภาพนิเวศและการตั้งถิ่นฐาน ! คําว่า “หนุมาน” เป็นทั้งชื่อลําน้ําหนุมานที่ชาวบ้านท้องถิ่น กบินทร์บุรีเรียกว่า “แควน้อย” คู่กับ “แควใหญ่” หรือ “แควพระปรง” และเมืองด่านชายแดนพระราชอาณาจักรสมัยโบราณบน เส้นทางเดินทางและเส้นทางเดินทัพที่นําไปสู่เมืองเขมรทางแถบ ศรีโสภณ เสียมเรียบ และพระตะบอง ! แควหนุ ม านมี ต ้ น น้ ํ า อยู ่ บ ริ เ วณป่ า เขาแถบอุ ท ยานแห่ ง ชาติ เขาใหญ่ไหลลงสู่ที่ราบผ่านแก่งหินเพิงบริเวณอําเภอนาดี จังหวัด ปราจีนบุรี แล้วมีห้วยโสมงท่ีมีต้นน้ําจากบริเวณอุทยานแห่งชาติ ทับลานไหลมาบรรจบกับแควหนุมานซึ่งเป็นลําน้ําที่ไหลมาจากทาง ด้านเหนือของเมืองกบินทร์บุรีบริเวณบ้านเมืองเก่า ก่อนจะไป สมทบกับแควพระปรงท่ีไหลมาจากทางตะวันออกเฉียงใต้

48

! แควพระปรงเป็นลําน้ําใหญ่ที่รับน้ําสาขามาจากคลองพระสะทึง ทางด้านใต้ ซึ่งมีต้นน้ํามาจากแถบเขาฉกรรจ์และเขาสามสิบในเขต จังหวัดสระแก้วบรรจบกับแควพระปรงที่ “บ้านปากน้ํา” แควพระปรงมีต้นน้ํามาจากที่สูงจากแนวเทือกเขาพนมดงเร็ก ซ่ึงเป็นแนวเขา ต่อเนื่องมาทางด้านตะวันออกของอุทยานแห่งชาติทับลานมาบรรจบ กับแควหนุมานที่ตัวเมืองกบินทร์บุรี ! กลายเป็นจุดเริ่มต้นของแม่น้ําปราจีนบุรีหรือแม่น้ําบางปะกง ! ลําน้ํานี้ผ่านที่ราบลุ่มของอําเภอประจันตคามและศรีมหาโพธิ มายังอําเภอเมืองปราจีนบุรี และอําเภอบ้านสร้าง จากนั้นมารวมกับ แม่น้ํานครนายกที่ “ปากน้ําโยธกา” กลายเป็นแม่น้ําบางปะกงแล้ว ไหลผ่านพื้นที่อําเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา บริเวณนี้มีลําน้ํา ท่ า ลาดที ่ ม ี ต ้ น น้ ํ า จากแควระบบและแควสี ย ั ด จากแถบบริ เ วณ


เขาอ่างฤไนยมาสมทบเรียกว่า “ปากน้ําโจ้โล้” แล้วไหลผ่าน อําเภอบางน้ําเปรี้ยว อําเภอบางคล้า อําเภอเมืองฉะเชิงเทรา อําเภอบ้านโพธิ์รวมระยะทางมากกว่า ๒๐๐ กิโลเมตร ก่อนไหลลง อ่าวไทยที่อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ! บริเวณแควหนุมานและแควพระปรงตั้งอยู่บริเวณรัศมีโดยรอบ ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และติดต่อกับผืนป่าทับลาน ซึ่งแต่เดิม เคยเป็ น พื ้ น ที ่ ป ่ า ไม้ เ บญจพรรณและป่ า เต็ ง รั ง แบบป่ า ดิ บ แล้ ง เป็ น แหล่ ง ต้ น น้ ํ า ลํ า ธารถื อ เป็ น เขตช่ ุ ม น้ ํ า และอุ ด มสมบู ร ณ์ ม าก แต่ปัจจุบันถูกบุกรุกจนกลายเป็นพ้ืนที่เกษตรกรรมทําไร่ นา สวน และรีสอร์ตสถานที่ท่องเท่ียวและตากอากาศจํานวนมากทําให้เกิด การชะล้างพังทลายของดิน จนเป็นสาเหตุให้ดินถล่มและเกิดอุทกภัย น้ําท่วมน้ำหลากอย่างน่ากลัวสําหรับชุมชนบนพื้นราบ โดยเฉพาะ บริเวณชุมชนในอําเภอกบินทร์บุรีทั้งหมดในช่วงสองปีหลังนี้ที่มี น้ําท่วมใหญ่มากท่ีสุดเป็นประวัติการณ์ ! ป่าที่ไม่สามารถรักษาความชุ่มชื้นของพื้นดินและชะลอการไหล บ่าของน้ําในช่วงฤดูฝน ทําให้ปริมาณน้ําไม่สม่ําเสมอตลอดปีเพราะ ฤดูฝนน้ําจะไหลบ่าอย่างรวดเร็วชะล้างหน้าดินไปด้วยทําให้คุณภาพ ดินเลวลง พื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับการเพาะปลูกมีน้อย และในฤดู แล้งพื้นที่ส่วนใหญ่จึงค่อนข้างแห้งแล้งและขาดแคลนน้ํา สภาพนิเวศ ของบริเวณกบินทร์บุรีและภาพรวมของจังหวัดปราจีนบุรีจึงอยู่ห้วง

วิกฤตเพราะมีทั้งน้ําท่วมอย่างรุนแรง น้ําแห้งขอด และอากาศร้อน อบอ้าวจนแห้งแล้งไม่ต่ํากว่าสองถึงสามเดือนสลับกันอยู่เช่นนี้ ทั้งที่เคยเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายของสภาพนิเวศสูง ! คนกบินทร์บุรีจึงพยายามฟื้นฟูด้วยการปลูกป่ามีทั้งท่ีเป็นป่า ชุมชนและป่าธรรมชาติท่ีฟ้ืนฟูขึ้นหลังจากมี การตัดป่าไม้ไปแล้ว ดังเช่นที่อยู่ในตําบลเขาไม้แก้ว ย่านรี วัง ตะเคียน บ้านนา และบ่อ ทอง เป็นต้น จึงมีทั้งไม้ยืนต้นและไม้ ล้มลุก เช่น ไม้เหียง ไม้สะแบง ไม้พลวง ไม้หม่ี ไม้ยางกุง มะขาม ป้อม ต้นพลับ สารพี ต้นตะขบ ต้นจะบก ต้นมอญ ต้นจําปา ฯลฯ และพวกพืชสมุนไพรจากป่าก็มี การฟื้นฟูปลูกกันในป่าชุมชนของหมู่บ้านต่างๆ ! ความรุ่งเรืองของการค้าไม้ซุงจากป่าเขาในเขตที่สูงและภูเขา ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และทับลานในปัจจุบัน พบร่องรอยจาก คําบอกเล่าของชาวบ้านแถบตลาดเก่าของกบินทร์บุรีที่อยู่่ในบริเวณ ลําน้ําสองสายมาสบกันคือ แควพระปรงและแควหนุมาน ซึ่งจากแคว หนุมานที่ลําน้ําไหลมาจากเทือกเขาสูงด้านบน ชาวบ้านก็จะผูกซุง ล่องลงมาด้วย ! ดั ง นั ้ น บริ เ วณลํ า น้ ํ า ด้ า นหน้ า ของตลาดเก่ า และตลาดใหม่ กบินทร์บุรจี ึงกลายเป็นที่พักแพซุงของพ่อค้า ก่อนจะผูกให้สายน้ํา ในหน้ า น้ ํ า พั ด พาไปขายกั บ โรงเลื ่ อ ยไม้ แ ถบฉะเชิ ง เทราและ บางปะกงอีกทอดหน่ึง

แผนที่ม าตราส่วน ๑ : ๒๕๐,๐๐๐ แสดงบริ เ วณเมื อ งกบิน ทร์บ ุรี ซึ่งเป็นที่สบของสายน้ําสําคัญคือ ด้านตะวันออกมีแควพระปรง และแควพระสะทึงมาสมทบเป็ น ลํ า ห้ ว ยพระปรง บริ เ วณด้า นบนหรื อ ทิศเหนือ มีห้วยโสมงมาสมทบกับ ลําแควหนุม านเป็นแควหนุม าน แล้ว มาสบกั บแควพระปรงที ่ บ้ า นปากน้ ํ า เมื อ งกบิ น ทร์ บุ รี ถือ เป็นต้นน้ําแม่น้ําปราจีนบุรีหรือ แม่น้ําบางปะกง หลังจากนั้นจึงไหลผ่าน ศรีม หาโพธิ เมื อ งปราจี น บุ รี บ้ า นสร้า ง บางคล้ า ฉะเชิงเทรา ก่อ นออกทะเลที่ป ากน้ําบางปะกง

49


จากเมืองหน้าด่านสู่ย่านอุตสาหกรรม

! สภาพแวดล้อมบริเวณอําเภอกบินทร์บุรีประกอบด้วย พื้นที่ ภูเขาและที่ราบเชิงเขาซึ่งติดต่อกับแนวเขาใหญ่และเขตทับลานต่อ เนื่องมาจากเทือกพนมดงเร็กอันเป็นเขตที่สูงซึ่งอยู่ทางด้านเหนือ ของท้องถิ่นกบินทร์บุรี ภูเขาที่สูงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเขต อุทยานแห่งชาติจึงได้รับการอนุรักษ์พื้นที่เพื่อฟื้นฟูป่าไม้และ สภาพแวดล้อมแตกต่างจากบริเวณอื่นๆ ส่วนกลุ่มเขาลูกโดดทาง ด้านใต้ ได้แก่ เขาลูกช้าง เขาไม้แก้ว เขาจาน เขาด้วน เขาปูน เขา จันทร์ เขาน้ําจ้ัน เขากําแพง เป็นต้น ! เมื่อมีป่าไม้มากและอยู่ติดกับแนวเขาใหญ่ซึ่งมีเขตป่าดงดิบ ที่ใหญ่มากเช่นนี้ ในอดีตจึงพบว่ามีสัตว์ป่าในบริเวณป่าเขาและที่ สูง ซึ่งหากินเรื่อยมาจนถึงชุมชนของชาวบ้านในบริเวณพื้นที่ราบ ก่อนช่วง พ.ศ. ๒๕๐๔ ป่าไม้และน้ําท่ายังมีสภาพอุดมสมบูรณ์ และยังไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก สัตว์ที่เป็นอาหารจึงมีอยู่ในป่า มากมาย สัตว์ป่าจะอาศัยอยู่ตามป่าและเขาทั้งในตําบลวังตะเคียน วังท่าช้าง ย่านรี เขาไม้แก้ว บ้านนา ตลอดจนถึงตําบลนนทรี มีท้ัง ช้าง เสือ หมี ลิง ช้าง บ่าง ชะนี กระต่าย นก ชะมด วัว ป่า วัวแดง วัวกระทิง ควายป่า หมูป่า กระแต กระรอก ไก่ป่า เก้ง กวาง กระจง ชะมด เป็นต้น แต่จากการบุกรุกพื้นที่ป่าสัตว์ต่างๆ จึงถูก ล่าจนสูญหายไปตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นต้นมา

! ส่วนพื้นที่ราบมีอาณาบริเวณอยู่ในแนวตะวันตกและตะวันออก อยู่ในตําบลเมืองเก่า ตําบลบ้านนาและตําบลบ่อทอง นอกจากน้ันพื้นที่ราบอื่นๆ กระจัดกระจายอยู่ในตําบลต่างๆ สลับ กับพื้นที่ลอนลูกคลื่น พื้นท่ีราบนี้ส่วนมากในอดีตใช้ทํานาแต่ ปัจจุบันหลายแห่งทํานาไม่ได้ผลนัก เน่ืองจากสภาพดินเส่ือมโทรม เน่ืองจากมีการใช้ปุ๋ยเคมีจากปริมาณน้อยจนถึงใส่เป็นจํานวนมาก เมื่อไม่ได้ผลผลิตตามที่ต้องการจนกลายเป็นดินปนทรายที่โดย ธรรมชาติมีชั้นดินลูกรังตื้น ทําให้กักเก็บน้ําไม่อยู่ในฤดูแล้งและ น้ําท่วมขังในฤดูฝน ! และเมื่อยังไม่มีระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพแต่อย่างใด ชาวบ้านจึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนเนื้อดินคุณภาพต่ําเช่นนี้ให้ กลายเป็นผืนนาท่ีมีความอุดมสมบูรณ์เช่นในอดีต จึงปรับเปลี่ยน การปลูกพืช ใช้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ และปลูกสวนยูคาลิปตัสที่เริ่มเข้า มาแพร่หลายและนิยมกันในช่วงราว ๓๐ ปีที่ผ่านมา ชาวบ้าน บางรายก็ขายที่ดินเปล่ียนมือจนกลายเป็นแรงงานรับจ้างในท่ีสุด ! ป่าไม้ที่เคยมีอยู่บ้างในบริเวณพื้นที่ราบและเนินในช่วงแรกๆ ช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐ การบุกเบิกพื้นที่ทํากินการจับจองสิทธิเกิด ข้ึนตามแต่กําลังตามแต่ผู้ใดสามารถทําได้และได้เอกสารเพื่อเสีย

ภาพซ้ ายบนและล่ าง บริเ วณลํา น้ ํ า หนุ ม านที ่ช าวบ้ า น เรี ยกว่ า แควน้ อ ยสบกั บ ลํ าน้ ํา พระปรง ที ่ ชาวบ้ านเรี ยกว่ าแควใหญ่ กลายเป็ น แม่ น ้ํ าปราจี น บุรี หรือ แม่ น ้ ํา บางปะกง ภาพขวา บริ เ วณลํ าน้ ํา หรื อ แควพระปรง บริ เ วณใกล้ กั บ ศาลเจ้ าพ่อ พระปรงดั ้ ง เดิ ม

50


ภาษีค่าบํารุงท้องที่เท่านั้น ป่าไม้ ท่ีเคยมีจึงกลายเป็นไม้ปลูกบ้าน และใช้ไม้ ไปเผาถ่านและทําไม้ ฟืนหลา แต่ก็กล่าวกันว่ายังพอมี ป่าไม้เหลืออยู่ในเขตป่าสงวนแห่ง ชาติคือ ป่าห้วยไคร้ ป่าประดู่ ป่า วังตะเคียน หลังจากการตัดไม้ใน ป่ า อย่ า งกว้ า งขวางในช่ ว งนั ้ น พื้นที่จึงมีผู้เข้ามาจับจองและซื้อ ที่ดินของคนเก่าๆ เช่น อพยพมา จากจังหวัดชลบุรีและเริ่มปลูกมัน สํ า ปะหลั ง ในที ่ ด อนตามแบบ รั ฐ บาลส่ ง เสริ ม ให้ ป ลู ก อย่ า ง ต่อเนื่องทั่วประเทศโดยเฉพาะใน เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือมา ตั้งแต่เมื่อราวหลัง พ.ศ. ๒๕๐๕ และพื ้ น ที ่ ใ นบริ เ วณอํ า เภอ กบินทร์บุรีเริ่มปลูกมันสําปะหลัง กันมากในช่วงราว พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๑๔ ! พื ้ น ที ่ ซ ึ ่ ง เป็ น ที ่ ล อนลู ก คลื ่ น และมี เ นื ้ อ ดิ น เหมาะแก่ ก ารปลู ก พื ช ไร่ ใ นบางส่ ว นของอํ า เภอ กบินทร์บุรีซึ่งเหมาะแก่การปลูก ข้าวโพดแหลมทองหรือข้าวโพด ๘ แถว ซ่ึงนิยมปลูกกันมากในเขต จั ง หวั ด ปราจี น บุ ร ี แ ละจั ง หวั ด สระแก้ว เพราะมีรสชาติหวาน น่ิม อร่อย เคี้ยวไม่ติดฟันและจะต้องมี ๘ แถวเท่านั้น ความอร่อยนี้ทําให้ เป็ น ที ่ น ิ ย มจนกลายเป็ น พื ช เศรษฐกิ จ และเป็ น สิ น ค้ า โอทอป ของพื ้ น ที ่ แ ละชาวบ้ า นนํ า มาขาย ริมทางหลวงอยู่ทั่วไป ! สภาพภูมิประเทศที่สําคัญอีกประการหนึ่งในอําเภอกบินทร์บุรี คือ การมีพื้นที่ชุ่มน้ําที่เป็นหนองบึงอยู่ในบริเวณชายตลิ่งของแคว พระปรง ห้วยโสมง และต่อเน่ืองไปจนเม่ือสบเป็นแม่น้ําปราจีนบุรี แล้ว เช่น หนองพะงาย บึงน้ําใส บึงกรด บึงคะนาง หนองคล้า หนองบัว หนองตะกรุดอ้อมทางตะวันตก และหนองปลาแขยง หนอง ปลากระดี่ หนองปลาหมอ หนองขอน หนองครัว กุดปลาหวี กุดเลน กุดบอน กุดหนาว หนองพงทางตะวันออก การท่ียังไม่มีเขื่อนขนาด ใหญ่ปิดกั้นทางเดินน้ําทําให้หนองบึงเหล่าน้ีกลายเป็นพื้นท่ีสําหรับ ปลาวางไข่ โดยเฉพาะการพัฒนาเป็นอ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่ของ กบินทร์บุรีคือ “อ่างเก็บน้ํา หนองปลาแขยง” สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ มีนกเป็ดน้ําฝูงใหญ่อพยพมาทุกปี จนไปต้ังชื่อใหม่คือ “อุทยาน กบินทร์เฉลิมราช” เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและจัดทําเป็นสวน พักผ่อนถือเป็นบึงน้ําขนาดใหญ่ท่ีสุดในเขตที่ลุ่มต่ําซึ่งเป็นบริเวณ

ภาพซ้า ยบน “ผัก กระเฉดชะลูด น้ํา” การนํ าความรู้ ท้อ งถิ ่นมาใช้ป ลู กผักน้ํ า ชนิดนี้ ทํา ให้ก ลายเป็ นเอกลัก ษณ์เ ด่น ของกบิ นทร์ บุ รี ภาพขวากลางและล่าง ภูม ิท ัศน์ แบบ บึงน้ํา ในช่วงหน้า ฝนยังคงมี ให้ เห็นอยู่ ทั ่วไป ต่า งจาก ภาพทิวทั ศน์ที ่เป็นทุ่ง นา

ลําน้ําสบกันของแควหนุมานและห้วยโสมง บริเวณกลุ่มชุมชนบ้าน เมืองเก่าและชุมชนดั้งเดิมของกบินทร์บุรี ! มีโครงการชลประทานห้วยไคร้และประตูระบายน้ําตะเคียนทอง ที่อําเภอกบินทร์บุรี ซึ่งดูแลพื้นที่การเกษตรในระบบชลประทานได้ ๑,๘๕๐ ไร่ จากพื้นที่ทั้งอําเภอจํานวน ๘๑๘,๓๐๐ ไร่ หรือคิดเป็น ประมาณ ๐.๐๐๒ เปอร์เซ็นต์ ! การเป็นพื้นที่ชุ่มน้ําและเป็นที่รวมของลําน้ําหลายสายเช่นนี้ทํา ให้ตลาดกบินทร์บุรียังคงมีปลาตามธรรมชาติมาวางขายช่วงบ่ายๆ เป็นปลาที่ชาวบ้านจับตามห้วยหนองบึงไม่ใช่ปลาที่เลี้ยงในกระชัง ซึ่งมีอยู่ไม่มากนักในประเทศไทยที่จะสามารถนําปลาจากธรรมชาติ มาบริโภคได้เช่นน้ี เน่ืองจากเป็นพื้นที่ซึ่งมีลําน้ําสายน้ําที่มีน้ําไหลจาก ที่สูงด้านเหนือคือแควหนุมานและห้วยโสมง สายน้ําเหล่านี้ไหลมา จากเขตเทือกเขาและยังไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมมากเท่ากับทาง

51


ตะวันออกทําให้บริเวณนี้ยังคงมีกระแสน้ําไหล ! ชาวบ้านที่ใช้ชีวิตกับลําน้ําและหนองบึงคิดค้นวิธีปลูกผักน้ํา เฉพาะท้องถ่ินคือ “ผักกระเฉดชะลูดน้ํา” ซ่ึงมีวิธีใช้การถ่วงน้ําหนัก แพผักจนทําให้ผักทอดยอดและอุ้มน้ํา ยอดผักกระเฉดจึงชูยอดเรียว เล็กกรอบนุ่มและไม่เหนียวหากนํามาผัดไฟแดงจะอร่อยมากที่สุดจน กลายเป็นเอกลักษณ์เด่นของเมืองกบินทร์บุรี ! สําหรับสภาพอากาศบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีซึ่งเป็นบริเวณ พื้นที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ รวมกับลมฝ่ายใต้ที่พัดปกคลุมภาคตะวันออก และหย่อมความกดอากาศต่ําเนื่องจากความร้อนปกคลุม จึงทําให้ บริเวณจังหวัดปราจีนบุรีมีปริมาณฝนมากแต่อากาศร้อนจัดใน ฤดูร้อน ! ข้อมูลในช่วง พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๖ อุณหภูมิสูงประมาณ ๓๙.๒๐ องศาเซลเซียส และอากาศค่ อ นข้ า งเย็ น ในฤดู ห นาว อุณหภูมิต่ําสุดจะอยู่ในช่วง ๑๖-๒๕ องศาเซลเซียส ในปีหนึ่งๆ มีฝนตกโดยเฉล่ียราว ๑๒๓ วัน ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยวัดได้ ๑,๘๓๗.๗ มิลลิลิตร (ข้อมูลจากสํานักงาน สาธารณสุขจังหวัด ปราจีนบุร)ี

การตั้งถิ่นฐานสมัยโบราณ ! นักวิชาการทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม บรรยายสภาพแวดล้อมของการต้ังถิ่นฐานสมัยโบราณใน บริเวณภาคตะวันออกของสามเหลี่ยมปากแม่น้ําภูมิภาคตอนกลาง ของประเทศไทย(ศรีศักรวัลลิโภดม,“จันทบุรี–ปราจีนกับการเป็น แหล่งอารยธรรมภาคตะวันออก”) โดยกล่าวว่า ! การตั้งถิ่นฐานในเแถบภูมิภาคตะวันออกนั้นมีตั้งแต่ชุมชนสมัย ก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งอยู่โดดเดี่ยวจนมีรูปแบบทางวัฒนธรรมที่เป็น เอกลักษณ์ ซึ่งมีอยู่ไม่มากแห่งนักและชุมชนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาเพื่อ ตั้งถิ่นฐานในบริเวณพื้นที่สูงต่อกับที่ราบลุ่มในสมัยทวารวดีและ เขมรที่ต่อเนื่องจนถึงสมัยอยุธยาและกรุงเทพฯ และเป็นเส้นทางเดิน ทางมาแต่โบราณของภูมิภาคที่นําเข้าสู่ที่ราบสูงในเขตอีสานตอนใต้ และบ้านเมืองสําคัญในภาคกลางท้ังทางอยุธยาและกรุงเทพฯ ! ในบริเวณภาคกลางฝั่งตะวันออกมีพัฒนาการของบ้านเมืองที่มี ถิ่นฐานกระจัดกระจายตามลุ่มน้ําที่มีลักษณะเป็นชายขอบที่สูงต่อกับ พื้นท่ีราบลุ่มบางแห่ง มีสภาพเป็นเนินดินธรรมชาติท่ีคล้ายเกาะขนาด ใหญ่อย่างชัดเจน ชาวบ้านส่วนใหญ่เรียกสภาพแวดล้อมนั้นว่า “โคก” เช่น การตั้งถิ่นฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์แถบบริเวณ

ภาพถ่ายทางอากาศ เมื องโบราณศรี ม โหสถ อํ า เภอศรี ม หาโพธิ จั ง หวั ด ปราจี น บุ ร ี เป็ น เมื อ งภายในมี การตั ้ ง ถิ ่ น ฐาน ตั ้งแต่ ในช่ วงพุ ทธศตวรรษที ่ ๑๑-๑๒ ได้ ร ั บ อิ ท ธิ พลวั ฒ นธรรมแบบทวารวดี จ ากภาคกลาง วั ฒ นธรรมเนื ่ อ งในศาสนาฮิ นดู และวั ฒนธรรมแบบเขมรเมื องพระนคร โดยเฉพาะในช่ ว งพุ ท ธศตวรรษที ่ ๑๖-๑๘

52


“โคกพนมดี” ในอําเภอพนัสนิคมจังหวัดชลบุรีที่มีอายุราว ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว มีการขุดค้นพบประเพณีการฝังศพที่รวมกันอยู่ในบริเวณ เดี ย วกั น หลายยุ ค หลายสมั ย ลั ก ษณะการฝั ง ศพและรู ป แบบ เครื่องปั้นดินเผาที่มีความคล้ายคลึงกันเกือบทุกยุคทุกสมัยนั้นแสดง ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างช้าๆ อันเนื่องมาจาก การอยู่โดดเดี่ยวมาเป็นเวลานาน ! นอกจากนี้ก็มี “เมืองพระรถ” ตั้งอยู่ในอําเภอเดียวกันซึ่งเป็น ศูนย์กลางของบ้านเมืองแถบนี้เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ และ อยู่อาศัยอย่างสืบเนื่องตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคที่มี การรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากดินแดนภายนอก พบเมือง บริวารที่อยู่ใกล้เคียงกันหลายแห่งเช่น“เมืองพญาเร่” ในเส้นทางที่ ติดต่อไปยังทางจังหวัดระยองได้ และ “เมืองศรีพะโล” ที่อยู่ใกล้กับ ทะเลไม่ห่างจากปากน้ําพานทองและแม่น้ําบางปะกงเท่าใดนัก ! ส่วนการตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองในลุ่มน้ําบางปะกงที่อยู่เหนือ เขตอําเภอพนัสนิคมขึ้นมาก็คือ บริเวณอําเภอพนมสารคามอันเป็น บริเวณที่มีชายที่สูงติดต่อกัน โดยเฉพาะบริเวณในเขตตําบลเกาะ ขนุนที่ต่อเนื่องเข้าไปถึงทางอําเภอสนามชัยเขตมีลําน้ําท่าลาดไหลมา จากที ่ ส ู ง และเทื อ กเขาทางตะวั น ออกและตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ

ผ่ า นลงสู ่ ท ี ่ ร าบลุ ่ ม น้ ํ า ท่ ว มถึ ง ในเขตตํ า บลเมื อ งเก่ า อํ า เภอ พนมสารคาม ผ่านไปออกแม่น้ําบางปะกงในเขตอําเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ! พบร่ อ งรอยของชุ ม ชนโบราณที ่ ม ี ค ู น ้ ํ า ล้ อ มรอบที ่ เ รี ย กว่ า “บ้านคูเมือง” รวมทั้งคันดินที่เป็นแนวยาวคล้ายถนนซึ่งน่าจะเป็น ทํานบในการจัดการน้ําของชุมชนเก่าแก่หลายแห่ง และพบพระพุทธรูปศิลาแบบทวารวดี เทวรูปแบบวัฒนธรรมเขมร เครื่องปั้นดินเผา แบบทวารวดี แบบวั ฒ นธรรมเขมร จนถึ ง สมั ย อยุ ธ ยาและ กรุงเทพฯ ช่วงต้น แสดงให้เห็นว่าเป็นชุมชนที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อน ย้ายของผู้คนจากที่อื่นเข้ามาตั้งหลักแหล่งประมาณพุทธศตวรรษ ท่ี ๑๓-๑๔ ลงมาเป็นอย่างมาก ซึ่งน่าจะสัมพันธ์กับเมืองพระรถที่ อําเภอพนัสนิคมและมีเส้นทางขึ้นไปทางเหนือและตะวันออกเฉียง เหนือติดต่อกับชุมชน โบราณในเขตอําเภอโคกปีบ อําเภอสนามชัย เขตและอําเภอกบินทร์บุรีอีกด้วย ! เส้ น ทางไปสู ่ ก บิ น ทร์ บ ุ ร ี ส ามารถเดิ น ทางต่ อ ไปยั ง สระแก้ ว วัฒนานคร และอรัญประเทศ อันเป็นเส้นทางท่ีติดต่อไปยัง “เมือง พระนคร” บริ เ วณชายขอบทะเลสาบเขมรจึ ง พบโบราณวั ต ถุ แบบเขมรแพร่เข้ามาในชุมชนบริเวณนี้และผ่านไปยังเมืองพระรถ

ภาพซ้ายบน ทับหลังแบบสมโบร์ ไพรกุก จากปราสาทเขาน้อย สีชมพูที่มีอายุอยู่ในช่วง ก่อนสมัยเมืองพระนคร อําเภอ อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ภาพขวาบน พระพุทธรูป แกะบนแผ่นหินแบบนูนสูง ปางสมาธิแบบ ศิลปะทวารวดี พบที่เมืองศรีมโหสถ อําเภอศรีมหาโพธิ ภาพซ้ายล่าง เทวรูปน่าจะเป็นพระ นารายณ์สวมหมวกแขก เนื่องใน ศาสนาฮินดู อายุน่าจะร่วมสมัย กับวัฒนธรรมทวารวดีราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ภาพขวาล่าง เครื่องสําริดเป็นฐาน รองคันฉ่อง มีจารึกอักษรปัลวะ เนื่องในวัฒนธรรมเขมรแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘

53


จากเมืองหน้าด่านสู่ย่านอุตสาหกรรม

ทางจังหวัดชลบุรีด้วย ! ชายขอบที ่ ส ู ง จากบริ เ วณตํ า บล เกาะขนุ น ไปทางเหนื อ ลึ ก ขึ ้ น ไปทาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านเข้าไปใน เขตอําเภอโคกปีบ อําเภอศรีมหาโพธิ บริเวณนี้แต่เดิมเรียกว่า “ดงศรีมหา โพธิ” เพราะเคยเป็นทิวดงป่าไม้ใหญ่ เลียบชายทุ่งกว้างอันเป็นที่ราบลุ่มน้ํา ท่ ว มถึ ง ของลุ ่ ม น้ ํ า บางปะกงไปทาง ตะวันออก ซึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว เสด็ จ ประพาสมณฑลปราจี น บุ ร ี ท รงพระ ราชหัตถเลขาว่า ! “ดงศรีมหาโพธินี้ ยาวยื่นออกไป ถึ ง เมื อ งโพธิ ส ั ต ว์ แ ละเมื อ งตะโหนด ทํานาเข้าไปถึงชายดง ในดงก็ทําข้าว ไร่และทําไร่เข้าไปมาก..” (พระราช หั ต ถเลขาในพระบาทสมเด็ จ พระ จุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อย่ ู ห ั ว เร่ื องเสด็จ ประพาสมณฑลปราจีน เมื่อ ร.ศ. ๑๒๗) ! ทั้งนี้ก็คงเนื่องมาจากในสมัยนั้นบริเวณจังหวัดปราจีนบุรีที่ อยู่ในเขตภายในที่ต่อเนื่องไปยังอําเภอกบินทร์บุรี สระแก้ว วัฒนานคร และอรัญประเทศในขณะนั้นยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วย ป่าไม้นั่นเอง ! เมืองโบราณที่ดงศรีมหาโพธิน้ีแต่เดิมมีชื่อเรียกต่างๆ นานา ว่า เมืองพระรถบ้าง เมืองศรีมโหสถบ้าง ซ่ึงเป็นชื่อท่ีพวกชาวบ้าน เชื้อสายลาวเรียกตามเร่ืองราวใน “ปัญญาสชาดก” ที่เป็นเมือง ของพระมโหสถ ซึ่งมีศาสนสถานทั้งแบบฮินดูที่พบเทวรูปต่างๆจํา นวนหนึ่ง และพุทธศาสนาในยุคทวารวดีที่มีความร่วมสมัยกับ บ้านเมืองยุคทวารวดีในภาคกลางทั้งทางกลุ่มภาคตะวันตกและ ตะวันออกของลุ่มน้ําเจ้าพระยา รวมทั้งโบราณวัตถุอันเนื่องจาก วัฒนธรรมเขมรสมัยเมืองพระนคร พวกเทวรูป พระพุทธรูป เครื่องประดับของใช้สําหรับชนช้ันสูงที่ทําจากสําริดต่างๆ รวมทั้ง เครื่องปั้นดินเผาที่นําเข้าจากจีน อาหรับ เขมรในช่วงเวลาต่างๆ ! ทำให้วิเคราะห์ได้ว่า “เมืองศรีมโหสถ” เป็นเมืองขนาดใหญ่ที่ มีการติดต่อในเชิงการค้าและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและ การเมืองในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ ลงมา ! บริ เ วณตั ้ ง แต่ อ ํ า เภอกบิ น ทร์ บ ุ ร ี ไ ปจนถึ ง สระแก้ ว และ วัฒนานครถือเป็นลุ่มน้ําบางปะกงตอนบน ไม่ปรากฏพบร่องรอย ของชุมชนโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์แต่อย่างใด บริเวณ ลุ่มน้ําบางปะกงตอนบนในเขตนี้เป็นที่รวมของลําน้ํา ๒ สาย คือ “ลําน้ําหนุมาน” ที่ไหลลงมาจากเขาพนมดงเร็กทางเหนือกับ “ลําน้ําพระปรง” ซึ่งไหลมาจากเขตอําเภอสระแก้ว มารวมกันใน เขตอําเภอกบินทร์บุรีที่มีสภาพเป็นที่สูงกว่าบริเวณที่ราบลุ่มน้ํา บางปะกงตอนล่างที่อยู่ทางด้านตะวันตกและบริเวณที่ราบลุ่ม

54

ภาพซ้ ายและขวา ปราสาท ขนาดกลางอยู ่ ก ลางทุ ่ ง นา แต่ ป ั จจุ บ ัน แวดล้ อ มไปด้ วย สวนยู ค าลิป ตั ส ปราสาท ศิ ล าแลงแห่ ง นี ้ น ่ า จะมี อ ายุ ร าว หลัง พุ ท ธศตวรรษที ่ ๑๖ จนถึ ง พุ ท ธศตวรรษที ่ ๑๘ ซึ ่ ง พบปราสาทในรู ป แบบนี ้ ในภู ม ิ ภาคตะวั น ออกหลายแห่ง

ทะเลสาบเขมรในประเทศกัมพูชาซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกที่อยู่ ถัดไปจากอําเภออรัญประเทศ ! บริเวณท้องถิ่นในอําเภอวัฒนานครนั้นมีสภาพเป็นสันปันน้ํา แบบพื้นท่ีราบไม่ใช่สันเขา e (Watershed หมายถึงพื้นที่ซึ่งน้ําไหลรวมไปอยู่ที่เดียวกันซึ่ง สามารถจัดแบ่งกลุ่มของการอยู่อาศัยตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มเดียวกัน หรือชุมชนเดียวกัน) ` บริเวณเขตสันปันน้ําด้านตะวันตก ! แบ่งพื้นที่บริเวณที่สูงในเขตสระแก้วและวัฒนานครออกจาก ที่สูงทางอรัญประเทศและบริเวณทะเลสาบเขมร แถบวัฒนานครน้ี จะมีลําน้ําไหลจากเทือกเขาพนมดงเร็กทางตะวันออกเฉียงเหนือ และทางเหนือเรียกว่า “คลองพระปรง” ผ่านเขตอําเภอลงไปทาง ตะวันตกบรรจบกับ “คลองพระสะทึง” ที่ไหลจากเทือกเขาบรรทัด ทางด้านใต้ ผ่านบริเวณเขาฉกรรจ์ลงมาในทางสระแก้ว แล้วรวม กันเป็นลําน้ําพระปรงผ่านสระแก้วไปยังกบินทร์บุรี บริเวณนี้จึง รวมกับลําน้ําหนุมานที่ไหลลงมาจากเทือกเขาพนมดงเร็กทาง เหนือกลายเป็นลําน้ําปราจีนบุรี ! ชุมชนโบราณจากเขตอําเภอสระแก้วมายังอําเภอกบินทร์บุรี รวมทั้งประจันตคามนั้น ไม่พบชุมชนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่มีศาสนสถานแบบขอม เช่น ปราสาท เนินดินรูปส่ีเหล่ียมและ สระน้ําขนาดใหญ่หรือบารายในพื้นที่ราบลุ่มที่ “บ้านปราสาท” ในตําบลหาดนางแก้ว ซึ่งเป็นชุมชนแบบวัฒนธรรมเขมรจาก เมืองพระนครในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ สร้างด้วยศิลาแลง เป็นปราสาทหลังเดียวเหลือเฉพาะฐานปราสาทหลังกลางขนาด


ราว ๙ เมตร ยาว ประมาณ ๑๒ เมตร ล้อม ชุมชนโบราณจากเขตอําเภอสระแก้วมายังอําเภอ กบินทร์บุรี รวมทั้ง รอบด้วยกําแพงกว้างด้านละราว ๓๒ เมตร สูง ประจันตคามนั้น ไม่พบชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉลี่ยราว ๑.๔๐ เมตร ด้านนอกกําแพง แต่มีศาสนสถานแบบขอม เช่น ปราสาท เนินดินรูปส่ีเหล่ียม มี ค ู ล ้ อ มรอบ พบเศษภาชนะดิ น เผาและ กระเบื ้ อ งมุ ง หลั ง คากระจายอยู ่ แ ละภู เ ขาที ่ ม ี และสระน้ําขนาดใหญ่หรือบารายในพื้นที่ราบลุ่มที่ “บ้านปราสาท” หิ น ทราย อั น เป็ น แหล่ ง ผลิ ต เทวรู ป และ ในตําบลหาดนางแก้ว ซึ่งเป็นชุมชนแบบวัฒนธรรมเขมร พระพุทธรูปบริเวณ “เขาด้วน” ในตําบลย่านรี จากเมืองพระนครในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลจากบ้านปราสาทนัก เป็นภูเขา หินทรายขนาดย่อมๆ พื้นที่โดยรอบเป็นที่ลุ่ม และเต็ ม ไปด้ ว ยแหล่ ง หิ น ทรายเพื ่ อ นํ า ไปสร้ า งรู ป เคารพหรื อ ทั่วไป พบเศษภาชนะดินเผามีลักษณะเป็นผิวเรียบและมีรูปแบบ ค่อนข้างประณีตมากกว่า เทวรูปต่างๆ น่าจะอยู่ในเส้นทางเดินทาง ! และบริเวณใกล้เคียงห่างไปราว ๑.๕ กิโลเมตร เป็นเนินดิน ! “เมืองโบราณริมห้วยพะใย” เป็นชุมชนโบราณรูปกลมบริเวณ ขนาดใหญ่ท่ีบ้านดอยลําภู พ้ืนที่ขนาดราว ๑๐๐ ไร่ พบสะเก็ด บ้านหอยริมห้วยพะใยฝั่งตะวันตก ตั้งอยู่ทางใต้ของตัวอําเภอ หินทรายและโกลนหินชนิดหินสีเขียวแบบเดียวกับท่ีเขาด้วน จึงน่า วัฒนานคร ปัจจุบันเส้นถนนจากบ้านท่าเกวียนตัดผ่านกลางจึงพบ จะนํามาจากเขาด้วนเพื่อนํามาผลิตในบริเวณนี้ พบเครื่องมือเครื่อง แต่เพียงเศษภาชนะดินเผาบ้างเล็กน้อย ใช้ เช่น หินบดและหินที่ใช้บดอาหารและสมุนไพร ชิ้นส่วนพระหัตถ์ ! จากเมื อ งโบราณริ มห้ ว ยพะใยไปทางตะวั น ออกราวๆ ๑๐ พระพุทธรูปปางแสดงวิตรรกะและโกลนของฐานท่ีตั้งรูปเคารพ กิโลเมตรมี “ปราสาทบ้านน้อย” ตําบลผักขะ อําเภอวัฒนานคร ! แต่ปรากฏว่ามีชุมชนโบราณสําคัญๆ บริเวณต้นลําน้ําพระปรง แบบแผนผังเป็นอโรคยศาลท่ีสร้างในสมัยบายน อายุราวพุทธแถบสระแก้วและวัฒนานครและบริเวณต้น “ลําห้วยพรมโหด” จาก ศตวรรษที่ ๑๘ และที่สําคัญคือพบทับหลังสมัยไพรกเมงที่เป็นทับ วัฒนานครไปยังอรัญประเทศส่วนใหญ่อยู่ตามลําคลองนางชิงที่มี หลังสมัยก่อนเมืองพระนครอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ลงมา ต้นน้ําจาก เขาสามสิบและเขาฉกรรจ์ เป็นที่ราบลุ่มสลับด้วย สัมพันธ์กับการพบโบราณสถานทั้งที่ปราสาทเขาน้อยและเขารัง เนินสูงชุมชนโบราณที่พบมีขนาดเล็ก ขุดคูน้ําและคันดินรูปกลม คงเป็นศาสนสถานสําคัญที่มีมาแล้วแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๒ น่าจะมี ความใกล้ชิดและสัมพันธ์กับบรรดาบ้านเมืองหรือชุมชนโบราณใน ติดกับลําน้ําสายเล็กๆ เพ่ือใช้เป็นคูเมืองตามธรรมชาติด้วย ! บริ เ วณเนิ น ดิ น น่ า จะเป็ น ที ่ อ ย่ ู อ าศั ย ของชาวบ้ า นธรรมดาๆ เขตอําเภอวัฒนานครเป็นอย่างมากเพราะพบทั้งทับหลังที่เป็นศิลปะ เพราะไม่มีศาสนสถานทําด้วยอิฐหรือศิลาแลง และมีเศษภาชนะดิน แบบสมโบร์ไพรกุกและไพรกเมง เผากระจายอยู่ทั่วไป ลักษณะเศษภาชนะมีทั้งสีดํา สีขาว สีแดง และ ! ห่างจากชุมชนโบราณริมห้วยพะใยไปทางตะวันออกราวๆ ๑๔ น้ําตาล มีลายเชือกทาบและแบบผิวเรียบ เป็นแบบอย่างที่พบตาม กิโลเมตร มีชุมชนโบราณรูปกลมขนาดใหญ่ที่มีคูน้ําและคันดิน ชุมชนแบบทวารวดีในแถวลุ่มน้ําลพบุรี-ป่าสัก พบแวดิน เผาสําหรับ ชัดเจนอีกแห่งหนึ่งเรียกชื่อว่า “เมืองไผ่” เป็นชุมชนโบราณขนาด ใช้ปั่นฝ้ายแบบเดียวกันกับที่พบตามแหล่งทวารวดีทั่วไป จึงน่าจะ ใหญ่ ภายในบริเวณชุมชนเมืองไผ่นี้มีเนินดินคันดินและสระน้ํารูป เป็นชุมชนร่วมสมัยทวารวดี บางแห่งก็มีการขุดสระน้ํารูปส่ีเหล่ียม สี่เหลี่ยมที่ซับซ้อน ลําห้วยเมืองไผ่ที่ไหลมาจากที่สูงในเขตบ้าน ผืนผ้าและแนวคันดินท่ีมีหน้าท่ีการก้ันน้ําและแบ่งน้ําท่ีเรียกว่า วังยาวทางตะวันตกไหลผ่านกลางชุมชน มีแนวคันดินท่ีเป็นทํานบ “ทํานบ” อันแสดงให้เห็นว่าเป็นชุมชนท่ีอยู่สืบเนื่องจนถึงยุคสมัย โอบอ้อมเมืองตั้งแต่ด้านตะวันออกแล้ววกผ่านด้านใต้ไปจรดกับลํา ห้วยเมืองไปทางด้านตะวันตก เพื่อกักน้ําและชักน้ําและการระบายน้ํา ที่รับวัฒนธรรมแบบเขมรในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ลงมาแล้ว สําหรับชุมชน และทางด้านตะวันออกมีการขุดลําคลองเป็นแนวตรง ขนานไปกับลําห้วยเมืองไผ่อีกประมาณ ๓-๔ สาย ตามลําคลองนี้ยัง ! บริเวณเขตสันปันน้ําด้านตะวันออก มีการขุดสระสี่เหลี่ยมกักน้ําไว้ใกล้ๆ กับตัวเมืองอีกด้วย ลําห้วย 1 จากอําเภอวัฒนานครที่ต่อไปยังอําเภออรัญประเทศนั้นเป็น เมืองไผ่นี้ไหลไปบรรจบกับลําน้ําห้วยพรมโหดในบริเวณอําเภอ บริเวณต้นน้ําที่มีลําน้ําและธารน้ําไหลลงจากเทือกเขาพนมดงเร็ก อรัญประเทศ ที่อยู่ทางเหนือกับที่ไหลลงจากเทือกเขาบรรทัดทางใต้มารวมกันเป็น ! นอกจากนี้ทางด้านเหนือของเมืองไผ่ก็ยังมีบริเวณพื้นที่ที่มีแนว ลําน้ําใหญ่ท่ีเรียกว่า “ห้วยพรมโหด” ผ่านเขตอําเภออรัญประเทศ คันดินล้อมเป็นกรอบเหล่ียมคล้ายส่ีเหล่ียมขนมเปียกปูน ภายใน เข้าเขตประเทศกัมพูชาไปยังเมืองศรีโสภณในประเทศกัมพูชาแล้ว คันดินเป็นที่โล่งและชาวบ้านปัจจุบันใช้ทํานา ซ่ึงพบรูปแบบการใช้ ไหลไปรวมกับลําน้ําอ่ืนๆ ลงทะเลสาบเขมร งานรูปเดียวกันในชุมชนโบราณหลายแห่งทั้งในภาคกลางและภาค ! ตามสาขาของลําห้วยพรมโหดที่ไหลผ่านอําเภออรัญประเทศ ตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นที่เมืองสุโขทัย เมืองละโว้ในจังหวัดลพบุรี ไปลงทะเลสาบเขมรในประเทศกัมพูชามีชุมชนโบราณท่ีมีคูน้ําคัน และเมืองฟ้าแดดสงยางในจังหวัดกาฬสินธ์ุ ฯลฯ ดินล้อมรูปค่อนข้างกลมขนาดใหญ่ และมีการจัดการน้ําซับซ้อนกว่า ! เมืองไผ่คงเป็นเมืองใหญ่ท่ีสําคัญในบริเวณนี้เพราะภายในเมือง รูปแบบคล้ายกันกับชุมชนแบบทวารวดีที่พบในลุ่มน้ําเจ้าพระยา พบเนินดินที่มีลักษณะเป็นที่อยู่อาศัยมากมาย มีศาสนสถานอยู่

55


หลายแห่งทั้งในเมืองและรอบๆ เมือง แต่ที่เหลือซากให้เห็นขณะนี้ก็ มีเพียง ๒ แห่ง อยู่ในบริเวณกลางเมืองแห่งหนึ่งกับนอกเมือง ริมคูเมืองอีกแห่งหนึ่ง พบแผ่นหินรูปอัฒจันทร์อันเป็นชิ้นส่วน สถาปัตยกรรมของปราสาท ซึ่งน่าจะเป็นปราสาทที่มีอิทธิพลแบบ เจนละอันมีอายุก่อนพุทธศตวรรษท่ี ๑๓ ! ภายในเมืองมีเนินดินที่ไม่สม่ําเสมอและหนองบึงอันแสดงให้ เห็ น ว่ า เคยเกี ่ ย วเนื ่ อ งกั บ การใช้ ท ี ่ ด ิ น เพื ่ อ การอยู ่ อ าศั ย มี ก าร รวบรวมโบราณวั ต ถุ โ ดยพระภิ ก ษุ แ ละชาวบ้ า นนํ า มาเก็ บ ไว้ ใ น พิพิธภัณฑ์วัดบ้านเมืองไผ่ ทั้งชิ้นส่วนลวดลายปูนปั้น ภาชนะดิน เผา เคร่ืองมือเคร่ืองใช้ โดยเฉพาะเคร่ืองมือเหล็ก ลูกปัด เคร่ืองมือ หินขัดและอ่ืนๆ ซึ่งมีอายุตั้งแต่สมัยยุคเหล็กลงมาถึงสมัยทวารวดี ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมลวดลายและเทวรูปที่มีความสัมพันธ์กับ โคกเนินศาสนสถาน สระน้ําและบาราย ไหเท้าช้างจากเตาบ้านกรวด แบบต่างๆ รวมทั้งเศษภาชนะเครื่องถ้วยจีนในสมัยราชวงศ์หยวน และเหม็ง ซึ่งเป็นวัตถุทางวัฒนธรรมในสมัยวัฒนธรรมเขมรราวๆ แบบเมื อ งพระนครในพุ ท ธศตวรรษที ่ ๑๕-๑๖ เป็ น ต้ น มา นอกจากน้ ี ย ั ง พบชิ ้ น ส่ ว นแผ่ น จารึ ก อั ก ษรปั ล วะที ่ ย ั ง ไม่ ไ ด้ อ ่ า น

เทวรูปลอยตัว ลักษณะแบบพื้นเมืองที่มีอิทธิพลศิลปะแบบบายนอ ย่างเห็นได้ชัด อายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ! เมืองไผ่จึงเป็นเมืองที่มีการอยู่อาศัยมาแต่ดั้งเดิมอาจจะร่วม สมัยกับยุคทวารวดีในพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓ ทีเดียว และในช่วง เวลานั้นก็ปรากฏว่ามีชนชั้นสูงที่มีการรับวัฒนธรรมร่วมสมัยแบบ เจนละดังที่พบศาสนสถานแบบเจนละกลางเมืองและโบราณวัตถุซึ่ง ร่วมสมัยกับปราสาทเขาน้อยสีชมพูและปราสาทเขาแจงที่อยู่ใน เขตอำเภออรัญประเทศไม่ห่างไกลกันนัก ! ทางทิศเหนือของ “เมืองไผ่” ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร มีชุมชน โบราณที่น่าจะมีอายุในสมัยทวารวดีอีกแห่งหนึ่งมีคูน้ําล้อมรอบเป็น รู ป สี ่ เ หลี ่ ย มมน โดยทางตะวั น ตกและทางใต้ ม ี แ นวคู น ้ ํ า และ คันดินโอบล้อมเป็นชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง ตั้งอยู่ใกล้กับ ลําห้วยนางาม ที่ไหลผ่านบ้านหันทรายซึ่งลงมาบรรจบกับลําห้วยพรมโหดใต้ใน เขตบ้านหนองบัวใหม่ ! เนื่องจากมีการทําเกษตรกรรมและปรับพื้นที่ ไปมากจึงพบ เศษภาชนะดินเผาคล้ายกับที่พบในบริเวณ “บ้านเมืองไผ่” คาดว่า มีอายุแต่สมัยทวารวดีลงมาจนถึงลพบุรีและทางตะวันออกเฉียงใต้

แผนที่มาตราส่ว น ๑ : ๒๕๐,๐๐๐ แสดงตํ า แหน่ง ด่ านและสถานที ่ ต ั ้ ง ถิ ่ น ฐานโบราณในเขตแนวสั น ปั น น้ ํ า ๒ เขต คือ แนวสันปันน้ ํ า ด้ า นตะวั นตก ซึ ่ ง มี แนวลํ า น้ํ าคื อ “คลองพระปรง” และ “คลองพระสะทึ ง ” ไหลจากเทื อกเขาและที ่ ส ู ง ของเทือ กเขาพนมดงเร็ กและเทื อ กเขาสอยดาว แนวสันปั นน้ ํา นี้ใ ห้อ ยู ่ ในแนวโดยประมาณสี เ ขีย วและไหลรวมเป็ น ลํ าน้ ํ าที ่ ส ํ าคั ญ คื อ แแม่ น ้ ํ าบางปะกง

56


ของชุมชนน้ีบริเวณบ้านหันทรายมีเนินดินสูงๆ ต่ําๆ ท่ีแสดงว่า เคยเป็นชุมชนที่อยู่อาศัย พบชิ้นส่วนแท่งหินทรายที่น่าจะเป็นส่วน หนึ่งของศาสนสถานที่วัดบ้านหันทรายและอ่างเก็บน้ํารูปสี่เหลี่ยมผืน ผ้าขนาด ๓๐๐ x ๒๐๐ เมตรอยู่แห่งหน่ึงซ่ึงแสดงให้เห็นถึงการเป็น ชุมชนในวัฒนธรรมแบบเขมรอย่างชัดเจน ! ส่วนกลุ่มชุมชนบริเวณตาพระยาซึ่งพื้นที่เป็นแบบที่ราบลุ่มสลับ ภูเขาลูกโดด เป็นเขตติดต่อกับเทือกเขาพนมดงเร็กลงมาทางใต้จน จรดเขตตําบลโคกสูง แยกออกได้เป็นสองส่วนคือ ! อาณาบริเวณด้านทิศเหนือ กินพื้นที่ในเขตตําบลนางรอง ตําบล ทัพราช ตําบลทัพไทย ตําบลทัพเสด็จ ลงมาถึงตัวอําเภอตาพระยา พบแหล่งโบราณคดีที่เป็นปราสาทในวัฒนธรรมแบบเขมรทั้งเล็ก และใหญ่มากมาย ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่อยู่ในระนาบเดียวกัน กับ “ปราสาทบันทายฉมาร์” อันเป็นเมืองใหม่สมัยพระเจ้าชัยวรมัน ท่ี ๗ ทางฝ่ังกัมพูชา จังหวัดบันเตยเมียนเจยในปัจจุบัน ! บริเวณด้านใต้อันเป็นที่ลุ่มต่ํามีลําน้ําสายเล็กๆ และท่ีเป็น หนองบึงในเขตตําบลหนองปรือ ตําบลหนองแวงลงมาถึงตําบล โคกสูง และตําบลโนนหมากมุ่น บรรดาสายน้ําที่ลงจากเขาและท่ี

สูงในบริเวณนี้ไม่ได้ไหลจากตะวันตกมายังตะวันออกอย่างบริเวณ ตอนบน ! หากไหลลงจากทางตะวันตกและทางเหนือลงใต้โดยที่มารวม กั น ในพื ้ น ที ่ ต ํ า บลโนนหมากมุ ่ น ก่ อ นที ่ จ ะพากั น ไหลผ่ า นเข้ า เขต กัมพูชา ไปในเขตจังหวัดบันเตยเมียนเจยก่อนเข้าบริเวณที่ลุ่มต่ําใน เขตเมืองศรีโสภณ เรียกได้ว่าเป็น “พื้นที่รอบเขาอีด่าง” อันเป็น พื้นที่ซึ่งมีทั้งเขาลูกโดด เขาเล็กเขาน้อย หนองน้ําขนาดใหญ่และเล็ก และพ้ืนท่ีโคกเนินที่มีลําน้ําใหญ่น้อยไหลลงจากเขาและที่สูงมากมาย ! พบชุมชนโบราณสมัยเมืองพระนครกระจายกันอยู่มากมาย มีทั้งปราสาทที่ตั้งอยู่บนเขา และหนองน้ําสระน้ําจํานวนมาก เช่น ปราสาทเขาโล้น ปราสาทสะด๊อกก๊อกธม ปราสาทสระแซร์ออ ปราสาททับเซียม และในเขตกัมพูชาคือปราสาทบันทายฉมาร์ซึ่ง เป็นปราสาทสําคัญในช่วงวัฒนธรรมเขมรแบบบายน ฯลฯ ! ชุมชนโบราณและสภาพภูมิประเทศในเขตฟากสันปันน้ําทาง ตะวันออกนี้ หากใช้ “เขาสามสิบ” เป็นเขาศักดิ์สิทธิ์และเป็นจุด สันปันน้ํา ธารน้ําลําห้วยที่ไหลลงจากเขาและที่สูงจะไหลผ่านลงสู่ที่ ลุ่มต่ําไปรวมกับลําน้ําพรมโหดไหลผ่านที่ราบลุ่มเข้าสู่บริเวณตัว อําเภออรัญประเทศ อันเป็นจุดที่มีลําห้วยไผ่ไหล ผ่านเมืองไผ่มา สมทบ ! จากนั้นกลายเป็นลําน้ํารวมที่ไหลผ่าน “เมือง ส่ วนแนวสั นปั นน้ ํ า ด้ า นตะวั น ออก มี ล ํ าห้ วยพรมโหด ปอยเปต” หรือ “บันเตียเมียนเจย” ลงสู่ที่ราบลุ่ม จากเทื อกเขาพนมดงรั ก และ มี ล ํ า น้ ํ า สาขาอี กจํ านวนหนึ ่ ง ไปยังเมืองศรีโสภณ ถือว่าเป็น สันปันน้ําที่แบ่ง ไหลไปลงทะเลสาบเขมรในกั ม พู ชา เขตภู ม ิ ว ั ฒ นธรรมอั น มี พ ั ฒ นาการของชุ ม ชน โบราณ แต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์คือยุคเหล็ก ตอนปลายเข้าสู่สมัยก่อนเมืองพระนครและเมือง พระนครอย่างชัดเจน ` โดยสรุป 1 กล่ า วได้ ว ่ า พั ฒ นาการของบ้ า นเมื อ งในเขต บริเวณตอนต้นของลุ่มน้ําบางปะกงบรรดาชุมชน เหล่ า นี ้ ม ี ก ารตั ้ ง ถิ ่ น ฐานมาตั ้ ง แต่ ส มั ย ก่ อ น ประวัติศาสตร์ในช่วงยุคหินเช่นที่โคกพนมดีที่ใช้ เครื ่ อ งมื อ หิ น ซึ ่ ง สั ม พั น ธ์ ก ั บ การปรั บ ตั ว เพื ่ อ อยู ่ อ าศั ย ในพื ้ น ที ่ ใ กล้ ช ายฝั ่ ง ทะเลเมื ่ อ ราว ๔,๐๐๐-๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว และเข้าสู่ยุคเหล็ก ตอนปลายเมื่อราว ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ! ก่อนจะเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่เมื่อเข้าสู่ สมัยประวัติศาสตร์ ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการอยู่ อาศั ย ของมนุ ษ ย์ ใ นยุ ค ก่ อ นประวั ต ิ ศ าสตร์ บ ้ า ง แต่ไม่เห็นภาพของความเป็นชุมชนท่ีหนาแน่นแต่ อย่างใด ! ต่ อ มาเมื ่ อ เข้ า สู ่ ย ุ ค สมั ย ที ่ ม ี ก ารรั บ อิ ท ธิ พ ล วั ฒ นธรรมทางศาสนาแล้ ว พบว่ า ชุ ม ชนขนาด ใหญ่เช่นที่เมืองศรีมโหสถในจังหวัดปราจีนบุรี


ภาพซ้ ายบน ภาพถ่า ยทางอากาศและ ภาพซ้ อ นแนวคู น ้ ํ า คั น ดิ น บ้ านเมื อ งไผ่ ในอํ าเภออรั ญประเทศ จัง หวัด สระแก้ ว เมือ งโบราณสํ าคั ญ ที ่ มี การอยู ่ อ าศัยหลาย ยุค สมั ย และหลากหลาย รู ป แบบวั ฒ นธรรมมา ตั ้ ง แต่ ร าวพุ ท ธศตวรรษที ่ ๑๒ จนถึง สมัย วั ฒนธรรม เขมรแบบบายนในพุท ธ ศตวรรษ ที ่ ๑๘ ภาพซ้ ายล่า ง ธรรมจั กรหิน เก็บรัก ษา ไว้ ใ นพิ พ ิธ ภัณ ฑสถาน แห่ ง ชาติ ป ราจีนบุ รี น่ าจะนํ ามาจากบริ เวณ บ้ านเมื อ งไผ่ ภาพขวา เทวรูปลอยตั ว ลั ก ษณะแบบพื ้ น เมื อ ง ที ่ มี อ ิ ท ธิพ ลศิลปะแบบ บายนอย่า งเห็ นได้ช ัด อายุ อ ยู ่ใ นช่ว งพุท ธ ศตวรรษที่ ๑๘

และเมืองพระรถที่จังหวัดชลบุรีมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับความ เชื่อในศาสนาฮินดูมากกว่าพุทธศาสนาเถรวาทแบบทวารวดี อัน อยู ่ ใ นช่ ว งเวลาราวพุ ท ธศตวรรษที ่ ๑๓-๑๔ ลงมา ก่ อ นที ่ ศิลปวัฒนธรรมแบบเขมรสมัยเมืองพระนครที่มีทั้งศาสนาฮินดู และพุทธมหายานจะแพร่เข้ามาในภายหลัง ซึ่งเห็นได้จากรูปแบบ ของปราสาทขอมและอโรคยศาลสมั ย บายนที ่ เ ป็ น พุ ท ธมหายาน แต่รัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ราวสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ก็แพร่หลายเข้ามาเป็นช่วงสุดท้าย ! และเมื ่ อ ราวพุ ท ธศตวรรษที ่ ๑๙ บ้ า นเมื อ งทั ้ ง ในเขต ประเทศไทยและกัมพูชาก็เปลี่ยนมาเป็นพุทธเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ ! ในพื ้ น ที ่ ภ าคตะวั น ออกตอนบนตั ้ ง แต่ เ ขตอํ า เภอวั ฒ นานคร ที ่ ล ํ า น้ ํ า ลํ า ห้ ว ยจากเขาและที ่ ส ู ง ไหลผ่ า นอํ า เภอตาพระยาและ อรัญประเทศไปลงทะเลสาบเขมรในเขตกัมพูชาน้ัน ไม่ใช่เป็น บริเวณที่นับถือศาสนาฮินดูเหมือนกันกับชุมชนในลุ่มน้ําปราจีนบุรี หรือลุ่มน้ําบางปะกง แต่สัมพันธ์กับวัฒนธรรมสมัยก่อนเมือง พระนคร (ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๕) ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วัฒนธรรมเจนละ”

58

! เพราะพบจารึกหลายหลักในบริเวณนี้ที่สัมพันธ์กับกษัตริย์ ในวัฒนธรรมเจนละ เช่น “จารึกท่ีช่องสระแจง” ซ่ึงกล่าวพระนาม ของ “กษัตริย์มเหนทรวรมัน” สร้างบ่อน้ําในพ้ืนท่ีศักดิ์สิทธ์ิของ บริเวณที่อยู่บนช่องเขาพนมดงเร็กซึ่งเป็นเส้นทางเดินทางสู่บ้าน เมืองในพื้นราบของอําเภอตาพระยา ! กษัตริย์มเหนทรวรมันคือพระองค์เดียวกันกับเจ้าชายจิตรเสนวรมั น ของเจนละบกท่ ี อ ยู ่ ใ นท่ ี ร าบสู ง โคราช ผู้ทรงจารึก พระนามไว้ตามสถานท่ีต่างๆ เมืองต่างๆ สมัยพุทธศตวรรษท่ี ๑๒ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาเจ้าชายจิตรเสนพระองค์น้ีได้เข้า มาเป็นใหญ่ในเจนละน้ําคือพื้นที่รอบทะเลสาบเขมรในพระนามว่า “มเหนทรวรมัน” เพราะพระองค์ทรงมีศักดิ์เป็นพระอนุชาของ “ศรีภววรมัน” ผู้เป็นใหญ่ของแคว้นเจนละและเป็นพระราชธิดา ของกษัตริย์อิศานวรมันผู้ครองเมืองสมโบร์ไพรกุกเป็นนครหลวง ของเจนละน้ําใกล้กับสามเหลี่ยมปากแม่น้ําโขง ! นอกจากจารึ ก ที ่ ก ล่ า วถึ ง พระนามของ “มเหนทรวรมั น ” ที่ “ปราสาทช่องสระแจง” แล้ว ยังพบจารึกท่ีเอ่ยพระนาม “ศรีภววรมัน” ข้อความจากศิลาจารึกได้แสดงให้เห็นภาพเกี่ยวข้องกับ บ้านเมืองหลายบริเวณ คือ “บริเวณทะเลสาบเขมรและลุ่มน้ําโขง ตอนล่าง” “บริเวณลุ่มน้ํามูล-ชีตอนล่างในเขตลุ่มน้ําโขงตอนบน”


และ “บริเวณจังหวัดจันทบุรี “อาจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม เสนอว่าบ้านเมือง ในบริ เ วณน้ ี แ สดงให้ เ ห็ น ความแตก ต่างในระดับ “โครงสร้างข้างบน” อัน เป็นเร่ืองของศาสนา การเมือง และ สถาบั น กษั ต ริ ย ์ แ บบศาสนาฮิ น ดู แ ละ ศาสนาพุทธ โดยเฉพาะศาสนสถาน สํ า คั ญ ของฮิ น ดู ค ื อ ปราสาทและ เทวสถานทางพุทธเถรวาทจำพวกสถูป หรือธาตุ ส่วน “โครงสร้างข้างล่าง” อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานในเร่ืองการ ต้ังถ่ินฐานและชีวิตในการกินอยู่อาศัย โดยเฉพาะเครื่องมือเครื ่ อ งใช้ เ ครื ่ อ ง ประดับและบรรดาภาชนะลักษณะเป็น วัฒนธรรมแบบทวารวดี ! ในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ บ้ า นเมื อ งบริ เ วณนี ้ ไ ม่ ป รากฏว่ า เป็ น ชุ ม ชนที ่ เ ป็ น บ้ า นเมื อ งสํ า คั ญ เช่ น ใน อดีต แต่กลายเป็นเมืองหรือชุมชนเมือง ด่านที่อยู่ในเส้นทางข้ามภูมิภาคที่เป็น ปากประตูไปสู่บ้านเมืองในเขตเขมรต่ํา และบริเวณรอบทะเลสาบเขมร รวมทั้ง เป็นเส้นทางเดินทางสู่บ้านเมืองในเขตอีสานใต้โดยใช้ช่องเขาของ เทือกเขาพนมดงเร็กผ่านไปสู่บ้านเมืองต่างๆ ในเขตชายฝั่งทะเลโดย เฉพาะทางจันทบุรีที่สามารถเดินทางเรือเลียบชายฝั่งไปสู่บ้านเมือง โพ้นทะเลต่างๆ ได้ เมืองด่านบนเส้นทางติดต่อกับเขมร ! ในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนต้ น ราว พ.ศ. ๑๙๗๔-๑๙๙๑ เป็ น ช่ ว งเวลาที ่ ส ยาม เปลี ่ ย นแปลงระบบการปกครองแบ่ ง เป็ น เมื อ งหลวงและเมื อ ง ลูกหลวง แยกสมุหพระกลาโหมออกจากสมุหนายก ตราพระราช กํ า หนดศั ก ดิ น าที ่ แ บ่ ง แยกลํ า ดั บ ชั ้ น ของผู ้ ค นตามฐานั น ดร ที ่ เ ปลี ่ ย นแปลงได้ ซ ึ ่ ง ทํ า ให้ ม ี ก ารแบ่ ง แยกสิ ท ธิ แ ละหน้ า ที ่ ข อง แต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ยกเลิกระบบการปกครองจากหัวเมือง ลูกหลวง หัวเมืองหลานหลวง ซึ่งแบ่งแยกหัวเมืองตามลําดับยศ ศักดิ์ของพระราชวงศ์ แล้วจัดระบบปกครองหัวเมืองเป็นหัวเมือง ช้ันใน หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราช และแบ่งหัวเมืองออก เป็นช้ัน เอก โท ตรี และจัตวา โดยท่ีหัวเมืองช้ันในมีชื่อเมือง ปราจีนบุรีมาแต่ครั้งนั้นโดยรวมอยู่กับหัวเมืองที่ใกล้เคียงพระนคร เช่น ราชบุรี นครสวรรค์ นครนายก ฉะเชิงเทรา ฯลฯ ! เมื อ งปราจี น อยู ่ บ นเส้ น ทางไปสู ่ เ มื อ งพระนครหลวงอั น เป็ น เมืองที่ยิ่งใหญ่ในอุดมคติของบ้านเมืองนานา และความต้องการ ของราชอาณาจักรที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อไม่ถึงร้อยปีเช่น กรุงศรีอยุธยา จึงมีความพยายามจะเข้าตีดินแดนแห่งนี้ที่เมือง พระนครอันยิ่งใหญ่ซึ่งผู้คนในผืนแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออก-

ปราสาทสด๊ อ กก๊ อ กธม ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสู ง จัง หวัด สระแก้ ว อายุ กำหนดตามจารึกที ่พ บ ราวพุ ท ธศตวรรษที ่ ๑๕-๑๖ นั บ เป็น ปราสาท ขนาด ใหญ่ ท ี ่ส ุ ด ในเขตสั น ปันน้ ำ ฝั ่ ง ตะวั น ออก เป็ น ปราสาทที ่ มี ร ู ป แบบ ทางศิ ล ปกรรมในช่ วง เกลี ย งต่ อ กั บ บาปวน

เฉียงใต้คงรับรู้กันมาแต่อดีต นักวิชาการบางท่านจึงวิเคราะห์ว่า การเข้าตีเมืองพระนครหลวงนี้เป็นการตีนครรัฐในอุดมคติที่อ่อน แสงลงแล้วอันเป็นสิ่งที่นครรัฐใหม่ๆ ที่เจริญรุ่งเรืองข้ึนมาแทนท่ี อย่างกรุงศรีอยุธยา ! ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ หรือเจ้าสามพระยา เสด็จไปตีเมืองพระนครที่เสียมเรียบเมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๔ เมื่อกษัตริย์ เขมร และต้องการไพร่พลจึงเข้ามากวาดต้อนตามหัวเมืองชายแดน ของกรุงศรีอยุธยา ทําให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชท่ี ๒ เสด็จยก ทัพไปตีเมืองนครหลวงหรือนครธม ตั้งทัพล้อมเมืองพระนครหลวง อยู่ ๗ เดือนก็ตีได้ ! แล้วให้พระโอรสชื่อพระนครอินทร์ครองเมืองนครหลวง ส่วน พระโอรสอีกองค์คือพระราเมศวรภายหลังให้ครองเมืองพิษณุโลก “พระราเมศวร” คือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมื่อขึ้นครองราชย์ แล้ว และเม่ือคร้ังไปครอง “เมืองสองแคว” ก็ต้ังช่ือเสียใหม่ว่า “เมืองพิษณุโลก” ตามแบบเมืองพระนครที่มีชื่อเป็นทางการว่า “ปรมวิษณุโลก” ! ในยุคสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ น้ี กวาดต้อนผู้คนและ สิ่งของสําคัญๆ เช่น เทวรูปสําริดต่างๆ มายังกรุงศรีอยุธยา ทําให้ อิทธิพลของเขมรในด้านการปกครอง ประเพณี ตลอดจนงาน ศิ ล ปะถู ก นํ า มาเลื อ กใช้ ใ นงานทางประเพณี ว ั ฒ นธรรมของกรุ ง ศรีอยุธยา เช่น การสร้างพระราชวังหลวงที่มีสนามหลวงสําหรับ พระราชพิธีสนาม การสร้างวัดและอาจจะมีการสร้าง “หอกลอง” ที่อาจจะเลียนแบบปราสาทพิมานอากาศอันมีหน้าที่เป็นหอผีเมือง ไว้ในพระบรมมหาราชวังแบบพระราชวังที่เมืองพระนครหลวงหรือ นครธม

59


จากเมืองหน้าด่านสู่ย่านอุตสาหกรรม

“เมืองละแวก หรือเมือ งลงแวก” เป็ นตําบลหนึ่ง ซึ ่ง ตั้ ง อยู่ใ น จังหวัดกําปงฉนัง ห่ างจากพนมเปญ เมืองหลวงของ กั มพูชาไปทางเหนื อ ราว ๔๕ กิโลเมตร ภาพวาดผัง เมือ ง ละแวกจาก นั ก สํ า รวจชาวดั ช ท์ ในราวคริสต์ศตวรรษ ที ่ ๑๗

พระนครอินทร์ครองเมืองพระนครหลวงไม่นานก็สิ้นพระชนม์ ชาว เขมรที่ถูกกวาดต้อนมายังสยามคงมีจํานวนมากเมื่อไม่สามารถกลับ ไปได้จึงคงปล่อยให้เมืองร้างลง ภายหลังผู้คนต่างๆ รวบรวมกําลัง ไพร่พล ต่อมาผู้คนทางเขตที่ราบลุ่มแม่น้ําจึงสร้างเมืองศูนย์กลางที่ เมืองละแวก เมืองพระนครอันเคยยิ่งใหญ่ก็กลายเป็นบ้านเมือง ขนาดเล็กที่มีผู้คนไม่มากนักปัจจุบัน “เมืองละแวกหรือเมืองลงแวก” เป็นตําบลหนึ่งซึ่งต้ังอยู่ ในจังหวัดกําปงฉนังห่างจากพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชาไปทางเหนือราว ๔๕ กิโลเมตร ! ปริมณฑลบริเวณเมืองปราจีนบุรีจะมีขอบเขตแน่ชัดอย่างไร บ้างไม่ปรากฏ เพราะมีชื่อในฐานะหัวเมืองชั้นใน คําว่า “ปราจีน” หรือ “ปาจีน” หมายความว่า ทิศตะวันออก ปราจีนบุรีจึงหมายถึง เมืองทางทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา มีขุนนางที่เรียกว่า “ผู้รั้ง” เมืองปราจีนในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นหัวเมืองจัตวา ตําแหน่งเจ้าเมืองหรือผู้รั้งมีบรรดาศักดิ์และราชทินนามในคร้ังนั้น คือ “ออกพระอุไทยธานี” ! และเป็ น หั ว เมื อ งสํ า คั ญ ที ่ อ ยู ่ ใ นเส้ น ทางเดิ น ทั พ จากกรุ ง ศรีอยุธยาไปยังหัวเมืองทางฝั่งตะวันออก เช่นจันทบุรีและเขมรและ แยกขึ้นเหนือไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปัจจุบัน ในขณะที่ เขมรย้ายเมืองไปอยู่บริเวณใกล้สามเหลี่ยมปากแม่น้ําโขง ที่ “เมือง ละแวก” (รุ่งเรืองในราว พ.ศ. ๒๐๙๖-๒๑๓๖) แต่มีความอ่อนแอใน ทางการเมืองเมื่อเปรียบเทียบกับกรุงศรีอยุธยา จึงต้องยอมรับฐานะ ที่ตกเป็นประเทศราชและกษัตริย์เขมรก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของ ราชวงศ์ที่ต้องถวายการสวามิภักดิ์แก่ราชวงศ์ที่กรุงศรีอยุธยา แต่ใน ช่ ว งที ่ อ ํ า นาจศู น ย์ ก ลางอ่ อ นแอหลั ง การถู ก ราชอาณาจั ก รที ่ ม ี ศูนย์กลางที่เมืองหงสาวดี กษัตริย์เขมรที่เมืองละแวกก็ลอบเข้ามา กวาดเทครัวผู้คนตามชายขอบชายแดนทางภาคตะวันออกกลับไป เป็ น พลเมื อ งของตนบ่ อ ยครั ้ ง รวมถึ ง การลอบเข้ า มาตี เ มื อ งทาง ชายฝั่งทะเลด้วย ซึ่งรัฐในอดีตที่ผู้คนมีจํานวนน้อยไพร่พลจึงถือว่า เป็นทรัพยากรสําคัญมากที่สุด ในช่วงนี้ต้องทําสงครามกับกษัตริย์ เขมรที่เมืองละแวกหลายครั้งหลายคราว จนสุดท้ายถึงขั้นสมเด็จ

60

พระนเรศวรยกทั พ ไปตี เ มื อ งละแวกและยึ ด ครองให้ ย ิ น ยอม อ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยาอย่างสืบเน่ืองต่อมา ! เส้นทางเดินทัพทางบกที่สมเด็จพระนเรศวรใช้ไปตีเมืองละแวก ผ่านเมืองด่านที่เป็นชุมชนชายขอบอํานาจรัฐหลายแห่งไปจนถึง เมืองละแวกที่ใกล้ทะเลสาบเขมร ! จากกรุงศรีอยุธยามาทางตะวันออกผ่านพิหารแดง บ้านนา เมืองนครนายก “ด่านกบแจะ” หรือเมืองประจันตคามในเวลาต่อมา “ด่านหนุมาน” หรือเมืองกบินทร์บุรีในเวลาต่อมา “ด่านพระปรง” อยู่ในเขตสระแก้วในปัจจุบัน ช่องตะโก ด่านพระจารึกหรือพระจฤต หรือพระจริต ซึ่งมีนักวิชาการเสนอว่าอยู่แถบอําเภอวัฒนานครใน ปัจจุบัน (ศานติ ภักดีคํา, ด่านพระจารึกอยู่ที่ไหน เหตุใดต้องจารึก จากจุดปักปันเขตแดนสู่ด่านไทยสมัยอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์, ศิลปวัฒนธรรม หน้า ๑๓๐-๑๔๒) ตําบลทํานบที่อยู่ระหว่างเมือง อรัญประเทศกับเมืองพระตะบอง ตําบลเพนียด เมืองพระตะบอง เมืองโพธิสัตว์จนถึงเมืองละแวก ! “ด่านพระจารึก” นี้มีรายละเอียดกล่าวว่า เป็นการปันเขตแดน เป็ น สั ญ ญาตั ้ ง แต่ ส มั ย สมเด็ จ พระมหาธรรมราชาในสมั ย กรุ ง ศรีอยุธยากับสมเด็จพระปรมินทราชา (พระบิดาของสมเด็จพระสัฎฐา) จากเมืองละแวกเม่ือ พ.ศ. ๒๑๑๘ โดยทําเป็นหลักสีมาจารึก ข้อตกลงร่วมกันปักไว้เป็นหลักฐาน มีรายละเอียดการปันแดนใน ทางเขตแดนส่วนหน่ึงกล่าวว่า “...สีมาท่ี “รอางศิลา” เป็นต้นไปทิศ ใต้จนถึงทะเล เกาะจันทบุรี ตั้งแต่รอางศิลาไปทางตะวันออกจนถึง พรมแดนเมืองนครราชสีมา ไปทางเหนือจนถึงแดนล้านช้าง ทาง ด้ า นทิ ศ ตะวั น ตกของดิ น แดนเหล่ า นี ้ ถ ื อ เป็ น แดนกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา ทางด้านทิศตะวันออกของดินแดนนี้ถือเป็นแดนกรุงกัมพูชา” และ นักวิชาการสันนิษฐานว่าด่านพระจารึกน่าจะอยู่แถวหลุมศิลาแลง ขนาดใหญ่โบราณท่ีเรียกว่า “อ่างศิลา” ในอําเภอเมืองสระแก้​้ว จังหวัดสระแก้ว (ศานติ ภักดีคํา, ด่านพระจารึกอยู่ที่ไหนเหตุใดต้อง จารึก จากจุดปักปันเขตแดนสู่ด่านไทยสมัยอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร,์ ศิลปวัฒนธรรม หน้า ๑๓๐-๑๔๒)


! ส่วนที่ตั้งของ “ด่านพระปรง” แม้ปัจจุบันจะมีการสร้าง ศาลขนาดใหญ่โตริมถนนหมายเลข ๓๓ ใกล้กับลําน้ําพระปรง อั น เป็ น แนวแบ่ ง เขตแดนระหว่างอําเภอกบินทร์บุรี จังหวัด ปราจีนบุรี และอําเภอเมืองฯ จังหวัด สระแก้ว แต่การสอบถาม ชาวบ้านจึงทราบว่าศาลเจ้าพ่อพระปรง หลังเดิมนั้นอยู่เข้าไปด้าน ในของลําน้ําบริเวณที่ใกล้กับบ้านปากน้ํา ซ่ึงเป็นบริเวณที่สบกัน ของลําน้ําพระปรงและลําน้ําพระสะทึง ชาวบ้านเล่าว่าเจ้าพ่อพระ ปรงมีนามว่า “หลวงเดชาศิริ” เป็นนายด่านพระปรง และเสียชีวิต ครั้งยกทัพไปตีพระยาละแวก นายด่านพระปรงดูแลเขตชายแดน ทิศตะวันออกถึงเขตแดนประเทศกัมพูชา ทิศตะวันตกสุดแดน เมือง ปราจีนบุรี ทิศเหนือจดเมืองนครราชสีมา และทิศใต้จด แดนเมืองจันทบุรี ! เมืองเขมรย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่ “เมืองอุดงมีชัย” หรือเมือง บันทายเพชรตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๖๑ จนถึงราวๆ พ.ศ. ๒๔๐๖ เป็น ช่วงเวลาของความไม่มั่นคงของบ้านเมือง มีการแย่งชิงราชสมบัติ กันตลอดเวลาแทบทุกรัชกาล มีการขอร้องให้ฝ่ายญวนทางใต้และ กรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงเทพฯ มาเป็นผู้อุปถัมภ์ในการทําศึก ภายในระหว่างเชื้อพระวงศ์ด้วยกันเองอย่างต่อเนื่อง กลายเป็น เมืองสองฝ่ายฟ้าที่ทําให้เกิดมีการสงครามสู้รบกันสืบมาตลอดต้น สมัยกรุงเทพฯ จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนจะตกเป็น รัฐในอารักขาหรืออาณานิคมของฝร่ังเศส ! ท้องถิ่นเมืองด่านเหล่านี้เป็นเส้นทางข้ามภูมิภาคไปสู่บ้านเมือง ในเขตเขมรต่ําและบริเวณรอบทะเลสาบเขมรก็ได้ เป็นเส้นทาง เดินทางสู่บ้านเมืองในเขตอีสานใต้โดยใช้ช่องเขาของเทือกเขา พนมดงเร็ก เช่น ช่องตะโกก็ได้ และเป็นเส้นทางไปสู่บ้านเมือง ต่างๆ ในเขตชายฝั่งทะเลโดยเฉพาะทางจันทบุรี

! ดังนั้นเมื่อครั้งศึกเจ้าอนุวงศ์ก็ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ ราว พ.ศ. ๒๓๖๙ ทัพสายหนึ่งก็เดินทัพผ่านทางเมืองปราจีนและ เมื่อกลับจากศึกสงครามทางฝ่ายเหนือก็กวาดต้อนผู้คนจากหัว เมืองลาวไม่ว่าจะเป็นจากเมืองพวน เมืองเวียงจันทน์ ทางหัว เมืองต่อกับหลวงพระบางท่ีมีชาวญ้อและหัวเมืองลาวกลุ่มอ่ืนๆ มาไว้เป็นไพร่พลที่เมืองปราจีนบุรีและกบินทร์บุรีตลอดไปจนถึง วัฒนานครและอรัญประเทศ จนทําให้มีผู้คนและหมู่บ้านจํานวน มากเกิดขึ้นในท้องถ่ินนี้อย่างเห็นได้ชัดในช่วงเวลาต่อมา ! ส่วนเส้นทางทัพที่ใช้เมื่อไปเวียงจันทร์คราวศึกเจ้าอนุวงศ์ ในโคลงนิราศฉะเชิงเทราของ “กรมหลวงภูวเนตรนริทรฤทธิ์” หรือ “พระองค์เจ้าทินกร” พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ในทัพที่ ๒ นําทัพไปตีเวียงจันทน์อีกทาง หนึ่ง พระองค์เจ้าทินกรเสด็จไปในกองทัพด้วยและได้แต่งโคลง นิราศขึ้น ๑๑๗ บท ซึ่งจบลงที่บริเวณเมืองฉะเชิงเทรา แต่หลัง จากนั้นสันนิษฐานกันว่าคงต้องถอนทัพกลับเพราะต้องการให้มา รักษาเมืองป้อมปากน้ําที่สมุทรปราการ จากความตึงเครียดกับ ทางอังกฤษ ! ส่ ว นทั พ หลวงที ่ เ ดิ น ทางไปทางสระบุ ร ี แ ล้ ว เข้ า สู ่ ด ิ น แดน ที่ราบสูงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานทางช่องเขา บริเวณชัยบาดาลเข้าสู่หนองบัวลําภูผ่าน “ช่องข้าวสาร” ที่เป็น ช่องทางเข้าสู่เขตเทือกเขาภูพานแล้วเดินทางไปออกทางเมือง ศรีเชียงใหม่ท่ีอยู่ตรงข้ามเวียงจันท์ ซ่ึงมีนิราศสําคัญอีกฉบับหน่ึง คือ “นิราศทัพเวียงจันท์” ของหม่อมเจ้าทับในกรมหลวงเสนีย์บริรักษ์ ! ทัพของพระองค์เจ้าทินกร ซึ่งเป็นทัพเรือกล่าวถึงสถานที่ เหล่านี้ ซึ่งก็เป็นเส้นทางเดินทางเดียวกับการเดินทางไปสู่หัวเมือง ภาคตะวันออกในระยะนั้นและในเวลาต่อมา

เส้นทางเดินทัพและเมื องด่ า นต่ างๆ สู ่ เ ขมร เช่ น ด่ า นกบแจะ (ประจั น ตคาม) ด่ านหนุ ม าน (กบิ น ทร์ บ ุ ร ี ) ด่ านพระปรง (รอยต่อกบินทร์ บ ุ ร ี และสระแก้ ว) ด่ า นพระจารึ ก (สระแก้ ว) รวมทั ้ ง ช่ อ งเขาผ่ านเทื อ กเขาพนมดงเร็ กสู ่ ท ี ่ ร าบสู ง อี ส านใต้ คื อ ช่ อ งตะโก และ ช่ อ งสระแจง

61


ภาพแผนที ่ โ บราณจากหนัง สื อ “Royal Siamese Maps : War and Trade in Nineteenth Century Thailand” เขีย นโดย Santanee Phasuk, Philip Anthony Stott. River Books, 2006

e โดยเป็นทัพเรือออกจากกรุงเทพฯ ไปตามลําน้ําเจ้าพระยาผ่าน ฉนวนท่าน้ํา ผ่านวัดบพิตรภิมุข สามปลื้ม สามเพ็ง บางรัก คอก กระบือ ดาวคะนอง บางคอแหลม พระโขนง บางวัว บางนา สําโรง สามสิบสองโคก ทับนาง ทับลาน บางพลี ศรีษะจระเข้ บ้านหอมสิน บ้านพร้าว บางผึ้ง เขาดิน ทุ่งโพ แปดร้ิว พญาพายเรือ บางขนาก ทรายมูล บางแตนจนถึงปากน้ําโยทะกา ! เนื้อหาในโคลงนิราศโดยธรรมเนียมคือการพรรณนาถึงผู้เป็น ที่รักซ่ึงต้องจากกันด้วยการเดินทางรอนแรม และอธิบายสถานท่ี ต่างๆ ที่พบเห็นในระหว่างทางนั้น ! นิราศฉะเชิงเทรานั้นจบความลงที่บริเวณปากน้ําโยธกาอันเป็น จุดรวมแม่น้ํานครนายกกับแม่น้ําปราจีนบุรีบริเวณเมืองฉะเชิงเทรา เท่านั้น จึงยังไม่เห็นว่าหากใช้เส้นทางน้ําเดินทางต่อเนื่องไปจนถึง เมืองปราจีนบุรีที่ต่อเนื่องยังชายดงศรีมหาโพธิ กบินทร์บุรีที่เป็นต้น น้ําบางปะกงหรือแม่น้ําปราจีนบุรี ! ก่อนจะเข้าสู่ด่านหนุมานและด่านพระปรงที่เมืองกบินทร์บุรี และสระแก้ว เส้นทางนี้ก็น่าจะเดินทางบกเพื่อข้ามช่องเขาที่ “ช่อง ตะโก” เข้าสู่โนนดินแดง เสิงสา และละหานทรายในจังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบัน ! ต่ อ มาเมื ่ อ อั น นั ม ซึ ่ ง หมายถึ ง บ้ า นเมื อ งในเวี ย ดนามทาง ตอนกลางปั จ จุ บ ั น ซึ ่ ง มี ร าชวงศ์ เ หวี ย นพยายามฟื ้ น ฟู บ ้ า นเมื อ ง

62

โดยรวบรวมเอาเมืองต่างๆ คราวเกิดกบฎไต้เซิน “องเชียงสือ” จากราชวงศ์เหวียนขอความช่วยเหลือมายังกรุงเทพฯ และ มาพํานักที่กรุงเทพฯ ระยะหนึ่งแล้ว เสด็จกลับไปปราบพวก ไต้เซินได้ด้วยความช่วยเหลือจากฝรั่งเศส หลังจากยึดเมืองเว้ และฮานอยได้ในปี พ.ศ. ๒๓๔๕ แล้ว “องเชียงสือ” ก็ประกาศ พระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิยาลอง ! เมื่อรวมกับความพยายามที่ราชวงศ์เหวียนโดยพระเจ้าหมิน หมางพยายามเข้ามามีบทบาทในลาวและเขมรที่ฝ่ายสยามอ้างว่า เป็นรัฐในอารักขาจนทําให้เกิดความบาดหมางใจในเวลาต่อมาครั้ง รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระพุ ท ธเลิ ศ หล้ า นภาลั ย ต่ อ เนื ่ อ งจนถึ ง รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ! รวมกับความวุ่นวายแย่งชิงราชสมบัติในราชสํานักเขมรและเชื้อ พระวงศ์พระองค์หนึ่งไปขอความช่วยเหลือราชวงศ์เหวียนที่ไซ่ง่อน เพื่อขยายอํานาจไปปกครองบ้านเมืองแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ําโขง ทั้งหมดและยังมีการขุดคลองสําคัญๆ เพื่อสะดวกแก่การเดินทัพจาก ชายฝั่งทะเลที่เมืองเปียมหรือบันทายมาศเข้าสู่บ้านเมืองภายในโดย ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองโจวดก (หรือในชื่อเขมรว่าเมืองม็วตจรูก และที่คน ไทยคุ้นเคยในชื่อ “เมืองโจฎก”) เพื่อยึดครองดินแดนกัมพูชาที่ สามเหลี่ยมปาก แม่น้ําโขงทั้งหมด อีกฝ่ายหนึ่งของความช่วยเหลือ จากทางกรุงเทพฯ ซึ่งมีความสัมพันธ์ในการส่งเชื้อพระวงศ์สําคัญมา อยู่อาศัยในราชสํานักและสยามดูแลเมืองในอารักขาคือ พระตะบอง เสียมเรียบ และศรีโสภณ ! การที ่ อ ั น นั ม แผ่ อ ิ ท ธิ พ ลทางการเมื อ งเข้ า มาสู ่ ด ิ น แดน สามเหลี่ยมปากแม่น้ําโขงเช่นนี้ หลังจากศึกเจ้าอนุวงศ์แล้วพระบาท สมเด็ จ พระนั ่ ง เกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว จึ ง โปรดเกล้ า ฯ ให้ เ จ้ า พระยา บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพไปตีหัวเมืองญวนไปจนถึง ไซ่ ง ่ อ นหรื อ บริ เ วณเมื อ งโฮจิ ม ิ น ห์ ใ นเวี ย ดนามทางใต้ ป ั จ จุ บ ั น


ภาพซ้า ย แผนที่ แ สดงสถานที ่ ต ่ างๆ ในเส้น ทางแม่ น ้ํ า บางปะกง จากนิ ร าศของพระองค์เ จ้ า ทิ น กร เสด็ จ ไปทั พ ใน รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระนั ่ ง เกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว (ภาพแผนที ่ จากหนั ง สือ นิ ร าศทั พ เวีย งจั น ทน์ , สุจ ิ ตต์ วงษ์ เทศ บรรณาธิการ, ๒๕๔๔) ภาพล่ า ง ภาพเขี ย นสี น ้ํ าจั ด แสดงภายในพิ พ ิ ธ ภั ณ ฑ์ กว่ า งจุ ง หมู ่ บ ้ านไต้ เ ซิน จั ง หวั ด เหงี ยะบิ น ห์ แสดงถึ งการรบ กั บ ชาวสยามในครั้ ง ศึก อานามสยามยุท ธ เพีย งแต่ใ น จิ น ตนาการของชาวเวี ย ดนาม ใช้เ รื อ อนัน ตนาคราช แทนความเป็ น สยามซึ ่ ง ในความเป็ น จริ ง เรื อ พระที ่ น ั ่ ง นี ้ ใช้เ พื่ อ พิ ธ ีก รรมไม่ ได้ น ํา มาใช้เ ป็ น เรือ รบ

โดยยกไปทางบกและมีกองทัพเรือ ที ่ เ ข้ า ตี ห ั ว เมื อ งทางชายฝั ่ ง ทะเล จนถึ ง บั น ทายมาศหรื อ เมื อ ง ฮาเตียน แล้วเคลื่อนทัพเรือโอบ ไปบรรจบรบกับทัพเรือของญวน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ทางทัพ เรือเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ จนถึงสงครามคร้ังต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๘๓ และ พ.ศ. ๒๓๘๘ จนถึงเมื่อทําการสงบศึกใน พ.ศ. ๒๓๙๐ รวมเวลากว่า ๑๔ ปี เป็นท่ีรู้จักกันโดยทั่วไปจากหนังสือที่เขียนข้ึนใหม่ว่าเป็นศึก “อานามสยามยุทธ์ ว่าด้วยสงครามระหว่างไทยกับลาว เขมร และ ญวน” (ก.ศ.ร. กุหลาบ, อานามสยามยุทธ สงครามไทย- เวียดนาม) ! ความวุ่นวายในเขมรสงบลงเจรจาสงบศึก เพราะทรงพิจารณา ว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองทรัพยากรและกําลังคนไม่มีจุดสิ้นสุดและเจรจา ให้มีข้อตกลงให้สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดีหรือนักองค์ด้วง ครอง กัมพูชาในความคุ้มครองของสยามแต่ให้ส่งบรรณาการแก่อันนัม ด้วย ! ช่วงต้นกรุงเทพฯ “ปราจีนบุรี” ยังมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นใน เหมือนคร้ังสมัยอยุธยา แต่เมื่อการสงครามท่ีต้องเดินทัพผ่านบ้าน เมืองในอาณาบริเวณน้ีสิ้นสุดลง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมเมืองฉะเชิงเทราหลังจากท่ีสร้างไว้ที่ เมืองจันทบุรี เมืองพระตะบอง และเมืองเสียมราฐ ยกบ้านขึ้นเป็น เมืองหลายแห่งในเส้นทางเดินทัพ และต่อเรือป้อมแบบทางญวนและ

ต่อเรือกําปั่นเพื่อการรบซึ่งปรากฏขึ้นในตลอดรัชกาลซึ่งมีแทบทุก ด้านในช่วงที่กระแสการเข้ามาของประเทศล่าอาณานิคมกําลังบีบคั้น บ้านเมืองต่างๆ ในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ! และเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๓ โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านขึ้นเป็นเมือง เช่น “ด่านหนุมาน” ที่บ้านเมืองเก่าขึ้นเป็น “เมืองกบินทร์บุรี” ยก “บ้าน แร่หิน” ขึ้นเป็น “เมืองอรัญประเทศ” ยก “บ้านเขยก” ขึ้นเป็น “เมืองวัฒนานคร” และยก “บ้านสวาย” ขึ้นเป็น “เมืองศรีโสภณ” ! ร่องรอยการเดินทัพที่ปรากฏในท้องถิ่นพบว่ามีวัดเก่าแก่ที่ เกี่ยวเนื่องกับท่านแม่ทัพคือเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กล่าวกันว่า “บ้านกระโดน” ริมลําน้ําหนุมานเป็นที่พักทัพและทํานา โดยนิมนต์พระมาในทัพด้วย หลังจากเสร็จศึกแล้วจึงให้ชื่อว่า “วัด พระยาทํา” ในเมืองกบินทร์บุรี และ “บ้านบัวลอย” ที่หยุดพักกอง เกวียนให้ชื่อว่า “วัดโรงเกวียน” และเมื่อเดินทัพกลับมาถึงบริเวณที่ ตั้งวัดแจ้งปราจีนบุรีเป็นเวลารุ่งเช้า จึงได้สร้างวัดขึ้นในบริเวณดัง กล่าว เรียกว่า “วัดแจ้ง” วัดโรงเกวียนและวัดแจ้งทั้งสองแห่งอยู่ใกล้ กับแม่น้ําปราจีนบุรีในอําเภอเมืองปัจจุบัน

63


จากเมืองหน้าด่านสู่ย่านอุตสาหกรรม

! มีการเกณฑ์แรงงานชาวลาวที่บ้านเมืองเก่าไปรบและทําถนน จากด่านหนุมานที่กบินทร์บุรีไปจนถึงเมืองพระตะบอง แนวถนน เก่าน้ีเรียกกันว่า “ถนนเจ้าพระยาบดินทร์” โดยมีวัดหนองรูหรือ วัดแก้วรังษีเป็นที่ตั้งทัพ และวัดหลวงบดินทร์เดชาเป็นวัดที่นําเอา พระพุทธรูปจากเขมรมาไว้เป็นพระประธานหลังเสร็จศึก

ภาพขวาบน วัด หลวงบดิ นทร์ เ ดชา ตั ้ ง อยู่ ท ี ่บ ้า นดงเย็ น ตํ า บลหลวงบดิ น ทรเดชา อํา เภอกบิน ทร์ บ ุ ร ี วั ดหลวงบดิ นทร์ ฯ ถื อเป็น วัด ที่ “ตระกู ล สิ ง หเสนี” อุป ถั ม ภ์ ภาพขวาล่าง วิ หารขนาดเล็ ก รู ป แบบสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็ จพระ นั่ งเกล้าเจ้าอยู่ห ัว หน้า บันแกะไม้ เรี ยบง่า ยสวยงาม ภาพซ้า ยล่ าง รู ป ปั้นเจ้า พระยา บดิ นทร์เ ดชา (สิ ง ห์ สิงหเสนี) นาย ทัพคนสําคัญ ในศึ กเขมรและญวนใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั ่งเกล้ าเจ้ าอยู ่ หั ว

64


ภาพบน รู ปปั้น เจ้ า พระยาบดินทร์เดชา ที ่ ว ั ด พระยาทํ า บ้ า นกระโดนในอดี ต ฝั ่ ง ตรงข้ า มกั บ ตลาดเก่ า กบิ น ทร์ บ ุ รี ภาพซ้ าย เจดีย ์ย่ อมุม รู ป แบบรั ตนโกสิ นทร์ ตอนต้ น ภาพซ้ ายต่อมา ศาลาท่ า น้ ำ ริ ม แควหนุ ม าน วัด พระยาทํ า ภาพล่ าง วัด หนองรู หรื อ วั ด แก้ ว รั ง ษี ที ่ บ ้า นเมื องเก่า

65


ตึ ก ที ่ เ จ้ า พระยาอภั ย ภู เ บศร สร้ า งขึ ้ น โดยทรั พ ย์ ส ิ น ส่ ว นตั ว ในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ เพื่อถวาย เป็น ที่ ป ระทั บ แรมของพระบาท สมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้าอยู ่ ห ั ว หากเสด็จประพาส มณฑลปราจีนอีกครั้ง แต่ ไม่ ท ั นได้เสด็จประทับ พระองค์ ก ็ เสด็จสวรรคตก่อน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ที่ นี ่ เคยใช้ เป็นที่ประทับของ พระบาทสมเด็จ พระมงกุ ฎเกล้า เจ้า อยู่ห ัว เมื่ อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ รวมทั้ง พระบรมวงศานุวงศ์ อีกหลายพระองค์ครั้งเสด็จ มณฑลปราจีนบุรี

๖. ความสําคัญของ เมืองปราจีนบุรีและกบินทร์บุรี ในฐานะหัวเมืองภาคตะวันออก ! หลั ง ศึ ก ทางฟากตะวั น ตกทางฝ่ า ยพม่ า จบสิ ้ น ลงราว พ.ศ. ๒๓๙๓ สยามมีการศึกกับบ้านเมืองทางฟากตะวันออกคือ ลาว เขมร และญวนหรืออันนัมกว่า ๑๔ ปี ทรงจัดรูปแบบหัวเมืองใหม่ ยกชุมชนหน้าด่านหลายแห่งขึ้นเป็นเมือง เช่น “ด่านกบแจะ” ยก เป็น “เมืองประจันตคาม” “ด่านหนุมาน” ยกเป็น “เมือง กบินทร์บุรี” ยก “บ้านแร่หิน” เป็น “เมืองอรัญประเทศ” ยก “บ้าน เขยก” เป็น “เมืองวัฒนานคร” และยก “บ้านสวาย” ขึ้นเป็น “เมือง ศรีโสภณ” ฯลฯ (พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลท่ี ๓ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาธิบด,ี กรมศิลปากร) ! และเมื่อมีการกวาดต้อนครัวลาวจากหัวเมืองหลายแห่งที่เคย ขึ้นต่อทั้งเวียงจันทน์และหลวงพระบางก็มีการเทครัวมาตั้งถิ่นฐาน ตั้งแต่บริเวณเมืองด่านทั้งหลายคือ ประจันตคาม กบินทร์บุรี สระแก้ว วัฒนานคร อรัญประเทศ ตลอดจนไปถึงศรีมหาโพธิที่ต่อ เนื่องไปถึงเมืองปราจีนบุรี บ้านสร้าง พนมสารคาม ฉะเชิงเทรา

66

เป็นต้น บ้านเมืองทางหัวเมืองฟากตะวันออกนี้จึงมีความเป็น ปึกแผ่นอันเนื่องมาจากจํานวนครัวชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาต้ังบ้าน ตั้งเมืองใหม่นี่เอง ! ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวน้ีเอง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๐ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง “บางขนาก” จากหัวหมากไปถึง เมืองฉะเชิงเทราให้เป็นเส้นทางลําเลียงเสบียงอาหารและกําลังพล อาวุธต่างๆ เพื่อใช้ในการทําศึกทางฟากตะวันออก ต่อมาทั้งสองฝั่ง คลองได้มีการเข้าไปบุกเบิกตั้งถิ่นฐานตามเส้นทางดังกล่าวจนกลาย เป็นเส้นทางคมนาคม สําคัญระหว่างเมืองฉะเชิงเทราและพระนคร ทําให้ภูมิภาคตะวันออกกลายเป็นท้องถ่ิน ! “ด่านหนุมาน” น่าจะเป็นชุมชนด่านในระดับหมู่บ้านหรือเมือง ขนาดเล็กและน่าจะตั้งอยู่บริเวณใกล้กับศาลเจ้าพ่อหนุมานบริเวณ ริมแควหนุมานฝั่งตะวันตกบริเวณบ้านเมืองเก่าที่คงมีจํานวนผู้คน ไม่มากนัก เพราะในสมัยกรุงศรีอยุธยาผู้คนไพร่พลมีจํานวนน้อย


และมักมีเหตุให้มีการเข้ามา กวาดต้อนผู้คนจากบ้านใกล้เรือนเคียง เสมอ ดังนั้นยิ่งเมื่อเป็นเมืองด่านผู้คนพลเมืองจึงน้อยตามไปด้วย ! เราจึงไม่พบร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดีของการตั้งถิ่นฐาน ปรากฏอยู่นอกจากความเชื่อที่ยังคงสืบต่อกันมา เช่น การสร้างศาล เจ้าพ่อพระปรง ชุมชนบ้านด่านเมืองด่านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ไม่ไกลนัก กับด่านหนุมาน ! ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดําริให้สร้างป้อมเมืองปราจีนบุรี แต่สร้างแล้วเสร็จในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพราะอยู่ในเส้นทางไปสู่ เขมรและญวนซึ ่ ง กํ า ลั ง ตกอยู ่ ใ นช่ ว งยุ ค แห่ ง การล่ า อาณานิ ค ม ความสําคัญของบ้านเมืองบริเวณนี้ที่ถือว่าอยู่ในเขตชายแดนจึงมี ความสําคัญทั้งในการเริ่มสร้างขอบเขตดินแดนตามแผนที่อย่างสากล และต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก ฝรั่งเศสอ้างสิทธิ์ในการ ปกครองกัมพูชาในสมัยพระเจ้านโรดมแทนไทย โดยอ้างว่าฝรั่งเศส มีอํานาจปกครองญวนก็ต้องมีอํานาจปกครองกัมพูชาด้วยเพราะ ญวนมีอํานาจปกครองกัมพูชา

! ซึ่งหัวเมืองที่เคยถูกปกครองโดยตระกูลพระยาอภัยวงศ์ ตั้งแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ โปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางไทยออกไปกินเมือง โดยตอบแทนความ ดีความชอบแก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ที่ทําสงครามและ ร่วมจัดการความวุ่นวายในเขมรจึงทรงขอเมืองที่ติดกับสยาม จากสมเด็จพระนารายณ์ฯ (นักองค์เอง) และให้พระยาอภัยภูเบศรเป็นผู้ปกครองให้ข้ึนตรงต่อกรุงเทพฯ โดยตรงเพื่อคอย คุ้มครองเขมรอย่างใกล้ชิด เขมรจึงถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คื อ ส่ ว นที ่ ข ึ ้ น กั บ สยามโดยตรงเรี ย กว่ า “เขมรส่ ว นใน” ประกอบด้วยหัวเมืองหลักๆ คือ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ โปริสาท และอุดงฤไชย และ “เขมรส่วน นอก” ตั ้ ง แต่ พ นมเปญ ไปจนจรดเขตแดนภาค ตะวั น ออกติ ด ชายแดน ญวน มีเจ้าเขมรปกครอง ! การปกครองในเขตนี้ มีลักษณะพิเศษเพราะถึง แม้จะข้ึนตรงต่อกรุงเทพฯ แต่ให้ปกครองกันเองตาม ประเพณี เ ขมร และให้ เจ้ า พระยาอภั ย ภู เ บศร เจ้ า พระยาอภั ย ภู เ บศร (ชุ่ ม อภั ย วงศ์) (แบน) เก็บภาษีอากรใช้ เป็ น เจ้ า เมื อ งพระตะบอง จ่ า ยในการปกครองได้ คนสุ ด ท้ า ย ด้วยตนเอง และเป็น สมุ เ ทศาภิบ าล สํ าเร็ จราชการมณฑล ! ตํ า แหน่ ง เจ้ า เมื อ ง บู ร พา พระตะบองอันเป็น ศูนย์กลางของการ ปกครองเขมรส่ ว นใน จึ ง ตกอยู ่ ภ ายใต้ อ ิ ท ธิ พ ล ของลูกหลานเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ต้นสกุลอภัยวงศ์ ตลอดมารวมเวลา ๑๑๒ ปี (พ.ศ. ๒๓๓๗-๒๔๔๙) และ เมื ่ อ เปลี ่ ย นจากระบบเจ้ า เมื อ งเป็ น การปกครองแบบมณฑล เทศาภิบาล เมืองเขมรส่วนนอกอยู่ใน “มณฑลบูรพา” ซึ่งตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ประกอบด้วย เมืองเสียมราฐ พระตะบอง พนมศก และศรีโสภณ หลังจากนั้นอีกราว ๓ ปี รัฐบาลสยามต้อง ทํา “อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔” แลกกับความเสีย เปรียบในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและให้ฝรั่งเศสถอนทหาร ออกจากจันทบุรี ! ซึ่งต่อเนื่องจนถึงการแลกเปลี่ยนเมืองตราดและด่านซ้ายในปี พ.ศ. ๒๔๔๙ ซึ่งทางสยามต้องมอบพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ทําให้เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ)์ เป็นเจ้าเมืองพระ ตะบองคนสุดท้ายและเป็นสมุหเทศาภิบาลสําเร็จราชการมณฑล บูรพาก็พาผู้สมัครใจทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนติดตามท่านมาอยู่ ณ เมืองปราจีนบุรี ท่านบริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล บูรณปฏิสังขรณ์วัดแก้วพิจิตรโดยเป็นผู้อํานวยการก่อสร้างและ

67


ออกแบบเอง และเป็นท่านตาของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงสร้างตึกอภัยภูเบศร ซึ่งต้ังใจรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวในขณะนั้น โดยเป็นตึกทรงเดียวกับที่ พํานักในเมืองพระตะบอง ตึกดังกล่าวนี้ภายหลังเป็นส่วนหนึ่งของ โรงพยาบาลอภัยภูเบศรที่ท่านบริจาคที่ดินให้ ! เมื่อเริ่มปฏิรูปการปกครองเป็นระบบเทศาภิบาลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ จึงได้ใช้เมืองปราจีนเป็นที่ว่าการ “มณฑลปราจีน” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ ประกอบด้วยเมืองปราจีนบุรี เมืองชลบุรี เมือง นครนายก เมืองฉะเชิงเทรา เมืองบางละมุง เมืองพนัสนิคม เมือง พนมสารคาม หมายถึงเป็นศูนย์กลางของท้องถิ่นในภูมิภาคตะวัน ออก และอีกประการหนึ่งคือมีการค้นพบแหล่งทองคําที่เมือง กบินทร์บุรี มีการทําเหมืองทองคําในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทําให้หัวเมืองปราจีนบุรีมีความสําคัญใน ฐานะที ่ ห วั ง จะให้ เ ป็ น เมื อ งทางอุ ต สาหกรรมแร่ ท ี ่ ใ ห้ ค ุ ณ ค่ า ทาง เศรษฐกิจ ! พระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว เสด็ จ ประพาส ปราจีนบุรี ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ และครั้งที่ ๒ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๕๑ โดยเสด็ จ จากพระนครลั ด เลาะไปออกแม่ น ้ ํ า นครนายกและเข้าสู่แม่น้ําบางปะกงที่ปากน้ําโยทะกา ส่วนขากลับ เสด็ จ พระราชดํ า เนิ น มาทางแม่ น ้ ํ า ปราจี น บุ ร ี แ ล้ ว เข้ า ปากคลอง บางขนากในอําเภอบางน้ําเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา แล้ว ตัด มาออกท่ีปากน้ําเมืองสมุทรปราการ ทรงพระราช นิพนธ์ถึงสภาพแวดล้อมและผู้คนในช่วงน้ันว่า มีเมือง โบราณอยู่ที่ดงศรีมหาโพธิ ซึ่งเป็นที่ทราบของชาวบ้านชาว เมืองมาช้านาน ทรงกล่าวถึงคูเมืองและเชิงเทินของเมือง ได้เสด็จประพาสเนินศาสนสถานขนาดใหญ่แห่งหนึ่งที่มี ฐานแลงที่ประดิษฐานรูปเคารพอยู่กลางเนินซึ่งชาวบ้าน เรียกว่า “พานหิน” อยู่ห่างจากบริเวณที่เป็นเมืองโบราณ ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ได้เสด็จผ่านเมืองโบราณที่อยู่ใน เขตบ้านโคกวัด บ้านโคกปีบ และบ้านม่วงขาวมายังต้นโพธิ์ ศรีมหาโพธิ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตวัดต้นโพธิ์และบ้านต้นโพธิ์ ภาพขวาบน ศิล าแลง จารึกลายพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระ จุ ล จอมเกล้าเจ้า อยู่ห ัว เสด็ จประพาศ มณฑลบู รพาครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๕๑ ภาพขวา เจ้ าพระยาอภั ย ภูเบศร รั บเสด็จพระบาท สมเด็ จพระมงกุฎ เกล้า เจ้ าอยู ่ หัว โดยพระองค์ ทรประทั บ ที ่ ตึกอภัย ภูเบศร

68

อําเภอโคกปีบ ณ ท่ีน้ีมีราษฎรที่เป็นทั้งคนลาวและคนไทยมาเฝ้า มากมาย ! ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิเป็นต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยคนลาวใน ภูมิภาคนี้มากราบไหว้และมีงานฉลองรวมทั้งคนลาวมาจุดบั้งไฟ ถวายในวันวิสาขบูชาด้วย ทรงกล่าวว่าต้นโพธิ์ศรีมหาโพธินี้อยู่ตรง ชายดงใหญ่ เพราะฉะนั้นเท่าที่ประมวลมานี้ก็จะแลเห็นในด้านสังคม และวัฒนธรรมว่า เหตุที่เรียกดงใหญ่นี้ว่าดงศรีมหาโพธิก็คงเนื่องมา จากการมีต้นโพธิ์ใหญ่ที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่สักการะของผู้คนในละแวก ท้องถิ่นและภูมิภาคนี้เป็นสําคัญ ยิ่งกว่านั้นก็อาจเห็นขอบเขตของ ดงศรีมหาโพธิที่เริ่มแต่บริเวณตําบลโคกขวาง กินแดนเรื่อยมาจนถึง ตําบลโคกปีบอันเป็นแหล่งที่มีต้นโพธ์ิศรีมหาโพธิเป็นสัญลักษณ์ ! หลั ง จากนั ้ น ก็ ย ้ า ยที ่ ว ่ า การมณฑลปราจี น ไปอยู ่ ท ี ่ เ มื อ ง ฉะเชิงเทรามีการตัดเส้นทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ถึงเมืองฉะเชิงเทรา ทําให้มีแรงงานกรรมกรรถไฟชาวจีนที่เดินทางมาทํามาหากินลง หลักปักฐานที่เมืองฉะเชิงเทราและบริเวณใกล้เคียงเป็นจํานวนมาก และทั ้ ง เส้ น ทางแม่ น ้ ํ า บางปะกงสามารถเดิ น ทางไปยั ง บ้ า นเมื อ ง ภายในได้ ! ซึ่งทางบางคล้ามีการอพยพของคนจีนรุ่นเก่าเข้ามาทําสวนยก ร่องในเขตที่มีอิทธิพลของน้ําทะเลหนุนเข้ามาได้และมีสภาพเป็น


ภาพซ้ าย อาคารเรื อ นแถวค้ าขายของคนจี น ที ่ ต ลาด เมือ งปราจี น บุร ี เ มื ่ อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ภาพล่ าง ชาวบ้ านเชื้ อ สายพวนที่ ด งศรี ม หาโพธิ ในงานทํ าบุ ญ ราว พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๑๒

และต้องเสียค่าอากรสวนให้แก่รัฐได้มาก สามารถเดินทางแยกออก ไปทางนครนายกสู่พนมสารคาม ซ่ึงเป็นชุมทางค้าควายและมีกอง เกวียนค้าขายแหล่งใหญ่ที่พ่อค้าและนายฮ้อยชาวอีสานเดินทางมา จากช่ อ งตะโกและมาพั ก เกวี ย นแถบนี ้ และสามารถติ ด ต่ อ กั บ ปราจีนบุรีที่เดินทางขึ้นไปถึงดงศรีมหาโพธิที่มีชุมทางใหญ่อยู่ท่ี “ท่าหาดหรือท่าเขมร” ซ่ึงภายหลังเปลี่ยนช่ือเป็น “ท่าประชุม” อันเป็นชุมทางซึ่งมีทั้งโรงสีข้าวและโรงเลื่อยอยู่ไม่น้อย ต่อเนื่องขึ้นไป ถึงเมืองกบินทร์บุรีซึ่งเป็นชุมชนภายในที่ติดต่อกับเขตชายเทือกเขาที่ มีการบุกเบิกทําไม้ซุงและทํานาไม่ใช่น้อย ทําให้มีคนจีนไปสร้างหลัก แหล่งในฉะเชิงเทรามากขึ้นจนสามารถสร้างโรงสีข้าว โรงงานน้ําตาล โรงเลื่อย อันส่งผลให้เมืองฉะเชิงเทรากลายเป็นศูนย์กลางความ เจริญแทนเมืองปราจีนบุรีที่เจริญขึ้นมาตั้งแต่เป็นจุดพักสําคัญใน เส้นทางเดินทัพสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ! เมืองกบินทร์บุรีเคยยกฐานะข้ึนเป็น “จังหวัดกบินทร์บุรี” เม่ือ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยมีอําเภอกบินทร์บุรี อําเภอ อรัญประเทศ อําเภอสระแก้ว และอําเภอวัฒนา จนถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ จึงยุบเป็นอําเภอกบินทร์บุรีขึ้นกับจังหวัด ปราจีนบุรี ต่อมามีการสร้างทางรถไฟต่อจากเมืองฉะเชิงเทราไป เชื่อมกับทางรถไฟกับกัมพูชาที่คลองลึก อําเภออรัญประเทศ เปิด การเดินรถไฟจากฉะเชิงเทราถึงกบินทร์บุรีระยะทาง ๑๐๐ กิโลเมตร เม่ือปี พ.ศ. ๒๔๖๗ และเปิดการเดินรถไฟจากกบินทร์บุรี ถึงตําบล คลองลึก อําเภออรัญประเทศระยะทาง ๙๔ กิโลเมตร เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ เชื่อมกับเส้นทางรถไฟของกัมพูชาหรืออินโดจีนฝรั่งเศสในขณะ น้ันส้ินสุดท่ีเมืองพนมเปญ ซ่ึงสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕

! มณฑลเทศาภิบาลปราจีนบุรีถูกยกเลิกไปเมืองปราจีนบุรีมี ฐานะเป็นจังหวัดปราจีนบุรีเมื่อหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่เนื่องจากจังหวัดปราจีนบุรีมีพื้นที่กว้างขวางจึงแยก ออกเป็นจังหวัดนครนายก ใน พ.ศ. ๒๔๘๙ และจังหวัด สระแก้วใน พ.ศ. ๒๕๓๖ ! สําหรับเหตุการณ์สําคัญในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ หรือ สงครามมหาเอเชี ย บู ร พาที ่ ท ํ า ให้ เ กิ ด ความทรงจํ า ในสภาพของ สงครามและความเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดปราจีนบุรีและกบินทร์บุรี ก็คือ ญี่ปุ่นได้ยกกองทัพสู่ประเทศไทยทางตะวันออกด้านอําเภอ อรัญประเทศผ่านวัฒนานคร สระแก้ว กบินทร์บุรี เพื่อเดินทางเข้าสู่ กรุงเทพฯ โดยที่กบินทร์บุรีทหารญี่ปุ่นใช้พื้นที่วัดต่างๆ เช่น วัดพระ ยาทํา ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับตลาดเก่าเป็นที่พักแรมของทหารญี่ปุ่น ชาวบ้านที่ตลาดเก่าซึ่งเกิดทันยังจดจําเรื่องราวเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเรื่องสะพานดําหรือสะพานข้ามทางรถไฟที่ตลาดกบินทร์ไม่ ถูกระเบิดจากเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรเพราะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่ีคนจีน ในตลาดยังจดจําได้มาจนถึงปัจจุบัน ! หลังจากการบุกครองอินโดจีนของญี่ปุ่นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ฝรั่งเศสถูกบีบยินยอมอนุญาตให้ญ่ีปุ่นตั้งฐานทัพในอินโดจีนและภายหลังเมื่อสิ้นสุดกรณีพิพาทโดยมีญี่ปุ่นเป็นตัวกลางในการ เจรจาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส มีการลงนามในอนุสัญญาสันติภาพที่ กรุงโตเกียว เมื่อวันท่ี ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงทําให้ไทยได้ ดินแดนพิพาทมาอยู่ในปกครอง และจัดตั้งเป็นจังหวัดใหม่ขึ้น ๔ จังหวัด คือ นครจัมปาศักดิ์ ลานช้าง พิบูลสงคราม และพระตะบอง ซ่ึงจังหวัดดังกล่าวน้ีไทยได้ปกครองในช่วงเวลาสั้นๆ จนส้ินสุด สงครามโลกคร้ังท่ี ๒ ใน ปี พ.ศ. ๒๔๘๘

69


บ้ านคหบดีเจ้า ของ ตลาดเก่ า กบิ นทร์บุรี ใน ภาพตั ว อั ก ษรจี น ทางซ้ า ย คือ 寿 (โซ่ ว ในภาษาจีน

กลาง หรือ ที่เรารู้จักกันดี ใน คํา ว่ า ซิ ่ว ของ ฮก ลก ซิ ่ ว) แปลว่า อายุย ืน และอั ก ษรจี นตัวขวามือ คื อ

(ซวงสี ่) หรือซังฮี้

แปลว่ า สุขทวี (ซวง แปล ว่า คู ่ สี ่ แปลว่า ความสุข) ตัว อัก ษรนี ้เป็น แบบตรา ประทั บโบราณ (จ้วนซู) [อธิบ ายความหมายโดย รุ จ ิ ร า ส่งธนะภิท ักษ์]

๗. “กบินทร์บุรี” ชุมทางชาติพันธ์ุ ! อํ า เภอกบิ น ทร์ บ ุ ร ี ม ี เ นื ้ อ ที ่ อ ย่ า งเป็ น ทางการ ๑,๓๐๙.๒๘ ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ ๘๑๘,๓๐๐ ไร่ ถือว่าเป็นอําเภอที่มี พื้นที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วยเขตตําบลจํานวน ๙ ตําบล ได้แก่ ตําบลนนทรีย์, ตําบลกบินทร์, ตําบลเขา ไม้แก้ว, ตําบลหาดนางแก้ว ตําบลลาดตะเคียน, ตําบลวังดาล, ตําบลบ่อทอง, ตําบลเมืองเก่า และตำบลบ้านนา ! ขอบเขตการปกครองมีอาณาบริเวณดังนี้คือ e ทิศเหนือ อยู่ในบริเวณตําบลบ้านนา ตําบลเมืองเก่ามีห้วยโสมง ไหลผ่านมาจากอุทยานแห่งชาติทับลานและแควหนุมานที่ตําบลเมือง เก่า ! ทิศตะวันออก อยู่ในพื้นที่ตําบลบ้านนา ตําบลบ่อทอง ตําบล วังตะเคียนโดยมีแควพระปรงกับแควพระสะทึงเป็นแนวกั้นเขตกับ ตําบลบ้านแก้ง ตําบลศาลาลําดวน อําเภอเมืองฯ จังหวัดสระแก้ว ! ทิศตะวันตก ติดต่อกับตําบลดงบัง อําเภอประจันตคาม จังหวัด ปราจีนบุรี และอําเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ! ทิศใต้ มีตําบลเขาไม้แก้วติดต่อกับเขตอําเภอพนมสารคาม อําเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา และตําบลวังท่าช้างติดต่อ กับอําเภอเมืองฯ จังหวัดสระแก้ว

70

! บริเวณกบินทร์บุรีได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ํา สภาพแวดล้อมเอื้อให้ เกิดความอุดมสมบูรณ์และมีเส้นทางเดินทางทั้งทางน้ําและทางบก เชื่อมต่อได้ตลอดมาตั้งแต่สมัยโบราณที่เป็นเส้นทางเดินทัพและ ติดต่อกับบ้านเมืองในเขตเขมรต่ําและเขมรทะเลสาบตลอดจนทาง ภาคอีสานที่ผ่านช่องเขาของเทือกเขาพนมดงเร็กเข้าสู่อีสานใต้หรือ เข้าสู่ลุ่มน้ําโขง ! ตั้งแต่ครั้งกรุงธนบุรีจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สยามยกทัพไป ตีหัวเมืองลาวทั้งทางหลวงพระบางทางตอนเหนือ ทางเวียงจันทน์ ทางตอนกลาง และทางจําปาสักในเขตลาวใต้ จนตกเป็นประเทศราช ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และได้กวาดต้อนผู้คนทั้งไพร่พลและเจ้านายมา ไว้ยังบ้านเมืองต่างๆ หลายคร้ังหลายคราว จนคร้ังสุดท้ายเม่ือครั้ง รบกับเจ้าอนุวงศ์ พ.ศ. ๒๓๖๙ ท่ียกทัพไปตีกรุงเวียงจันทน์และเผา เมืองจนแทบไม่เหลือหลักฐานบ้านช่องและร้างผู้คน แล้วกวาดต้อน ผู้คนทั้งหมดมายังฝั่งสยามให้ตั้งบ้านเรือนอยู่หลากหลายท้องถิ่นที่ ปรากฏว่ามีมากก็ที่เขตเขมรป่าดงเมืองศรีษะเกษ เมืองขุขันธ์ และ ขุนหาญ ปรากฏชุมชนลาวเวียงตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ร่วมกับผู้คนเชื้อ สายเขมรจากศรีษะเกษเดินทางผ่านช่องตะโกลงมายังเขตเมือง กบินทร์บุรี อรัญประเทศ และประจันตคามมีชุมชนลาวเวียงปรากฏ อยู่จนทําให้บริเวณท้องถิ่นนี้เป็นเขตที่มีการอยู่อาศัยของชาวลาวและ


ภาพซ้ าย รู ป ปั้ น พระปรง นายด่ านที่ ด ู แ ลด่ า นพระปรง ภายหลั ง สิ ้น ชี ว ิ ตเพราะการสงครามกั บ เขมร และกลายเป็ น เจ้ าพ่ อ ประปรง ภาพล่ าง ศาลเจ้า พ่ อ พระปรงริ ม ถนนสุ วรรณศร ใกล้ กั บ ลํ าน้ ํ าพระปรง เขตรอยต่ อ ระหว่า ง จัง หวัด สระแก้ ว และอํา เภอกบิ น ทร์ บ ุร ี จัง หวั ด ปราจี นบุ รี

พูดภาษาลาวอย่างชัดเจน โดยทางอรัญประเทศยังปรากฏกลุ่มชาว ญ้อซ่ึงเป็นกลุ่มที่พูดภาษาลาวสําเนียงทางหลวงพระบาง ซึ่งชาวญ้อ เป็นคนกลุ่มใหญ่ในจังหวัดสกลนครที่เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่สยามใน ช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ส่วนกลุ่มคนพวนที่มาจากแถบเมืองเชียงขวาง ก็เป็นคนกลุ่มใหญ่ทางศรีมหาโพธิและปราจีนบุรีไปจนถึงลุ่มน้ํา ท่าลาด จากสนามชัยเขต เกาะขนุน พนมสารคาม และฉะเชิงเทรา รวมทั้งพนัสนิคมในจังหวัดชลบุรี ! เส้นทางการกวาดต้อนผู้คนจากทางฝั่งเชียงขวางและเมืองพวน รวมท้ังทางฝ่ังเมืองเวียงจันทน์ก็ผ่านช่องทางด้าน “ช่องตะโก” ผ่าน ด่านพระจารึก ด่านพระปรง และด่านหนุมาน ซึ่งสามารถเดินทางสู่ ท้องถิ่นต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกก็ใช้เส้นทางนี้เป็นเส้นทางสําคัญ ทางหนึ่ง ! กลุ ่ ม ลาวเวี ย งที ่ ม ี จ ํ า นวนไม่ น ้ อ ยตั ้ ง ถิ ่ น ฐานที ่ ห ั ว เมื อ งแถบ สระบุรี และนครนายก เช่น แถบแก่งคอย หนองแค หนองแซง เสาไห้ วิหารแดง บ้านหมอ ปะปนไปกับลาวแง้วที่มาจากทางแถบ หลวงพระบางและคนยวนจากเชียงแสนที่เข้ามาก่อนหน้านั้นในช่วง เวลาต่างกันเล็กน้อย และเลยไปถึงลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี นครสวรรค์ที่มีทั้งลาวเวียง ลาวแง้ว และคนพวนที่เป็นกลุ่มไทดํา

จากเมืองพวนแถบเชียงขวาง และข้ามไปทางภาคตะวันตกท่ีอุทัยธานี สุพรรณบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี ! ดังนั้นผู้คนท่ีเป็นประชากรโดยพ้ืนฐานของบริเวณ “บ้านด่าน” ชายแดนสยามประเทศในบริเวณ “ด่านพระจารึก” “ด่านพระปรง” และ “ด่านหนุมาน” คือชาวลาวจากฝั่งขวาของแม่น้ําโขงที่ถูกกวาด ต้อนมาต้ังแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รวมเวลาแล้วอยู่ในช่วงกว่า ๒๐๐ ปีมาแล้วและมีลูกหลานสืบเชื้อสายสืบทอดมาหลายชั่วอายุ คนจนสามารถตั้งข้ึนเป็น “เมือง” เช่น เมืองกบินทร์บุรีท่ีต้ังข้ึนจาก บ้านด่านหนุมานกลายเป็นเมืองหน้าด่านทางภาคตะวันออกของ สยามในช่วงปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คนลาวเวียง “บ้านเมืองเก่า” ! ที่เมืองกบินทร์บุรี ชุมชนชาวลาวเวียงที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดอยู่ ในบริเวณท่ีเรียกว่าตําบลเมืองเก่า บริเวณแควหนุมานท่ีบ้านด่านที่ เรียกว่า “ด่านหนุมาน” ซึ่งเป็นชุมชนมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นบ้านด่านสําหรับเฝ้าระวังในเส้นทางเดินทัพไปยังเขมร ! ปัจจุบันพบว่าน่าจะเป็นจุดที่ตั้งของศาลเจ้าพ่อหนุมานบริเวณ ริมแควหนุมานฝั่งตะวันตกห่างจากบ้านใต้ของบ้านเมืองเก่าราว

71


จากเมืองหน้าด่านสู่ย่านอุตสาหกรรม

๑ กิโลเมตร และชาวบ้านร้ือถอนเพ่ือบูรณะและให้มาอยู่ใกล้กับ ยังพบร่องรอยความทรงจําของผู้คนในปัจจุบันที่มีต่อ ชุมชนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ปัจจุบันต้ังอยู่ติดกับ “หนองหนุมาน” เส้นทางเดินทัพไปรบกับญวนและเขมรในสมัยพระบาท บริเวณบ้านใต้ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและการเกณฑ์แรงงาน ! สภาพแวดล้อมบริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่มใกล้ลําน้ําซึ่งมีทั้งแคว ชาวลาวไปทําถนนและสู้รบแม้เวลาจะผ่านล่วงเลย หนุมานและห้วยโสมง โดยบริเวณบ้านเรือนจะต้ังอยู่บนโคกเนิน มาเกือบสองร้อยปีก็ตาม ท่ีเป็นแนวยาว บ้านเมืองเก่าประกอบไปด้วยบ้านเหนือ บ้าน กลาง บ้านใต้ ต่อด้วยบ้านเลียบ บ้านหนองรู บ้านโนนแดง บ้าน งิ้ว และบ้านม่วง มีหนองน้ําขนาดใหญ่คือ หนองรูและหนองปลา พระอุ โ บสถและพระพุ ท ธรู ป ที ่ เ ป็ น แบบลาวอยู ่ บ ้ า งเล็ ก น้ อ ย แขยงท่ีบางส่วนปรับมาเป็นอุทยานกบินทร์เฉลิมราช ชาวบ้านจึง อีกแห่งหนึ่งคือที่บ้านดงเย็น วัดที่บ้านนี้มีประวัติว่าเจ้าพระยา มีการปลูกผักกระเฉด ซึ่งมีวิธีการทําให้ยอดผักกระเฉดอ่อนและ บดิ น ทรเดชาเมื ่ อ กลั บ จากสงครามแล้ ว จึ ง ได้ ส ร้ า งวั ด หลวง กรอบอร่อย เรียกว่า “ผักกระเฉดชะลูดน้ํา” ก็มีแหล่งที่มาจาก บดินทรเดชา และนําพระพุทธรูปปางมารวิชัยมาจากเขมรมา ประดิษฐานไว้ในอุโบสถ บริเวณน้ี e บริเวณบ้านเมืองเก่าซึ่งเป็นบ้านด่านแต่เดิมคงมีผู้คนอยู่อาศัย ! ทั้งสองแห่งยังพบร่องรอยความทรงจําของผู้คนในปัจจุบัน ไม่มาก แต่เมื่อมีการกวาดต้อนอพยพคนลาวจากทางฝั่งขวาของ ที่มีต่อเส้นทางเดินทัพไปรบกับญวนและเขมร ในสมัยพระบาท แม่น้ําโขงจึงมีการให้ชาวลาวเวียงจํานวนหนึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้าน สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและการเกณฑ์แรงงานชาวลาวไป ด่านหนุมาน ช่วงเวลานี้ไม่น่าจะเกินราว พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๓๗๐ ทําถนนและสู้รบแม้เวลาจะผ่านล่วงเลยมาเกือบสองร้อยปีก็ตาม จากเมื่อครั้งศึกเจ้าอนุวงศ์ ชุมชนที่นี่จึงขยายใหญ่ขึ้นแต่ก็ยังไม่มี ! ปัจจุบันพบว่ามีการกระจายตัวของชุมชนเชื้อสายลาวเวียง การลงหลักฐานที่มั่นคงเพราะมีสงครามต่อเนื่องกับทางเขมรและ ออกไปในบริ เ วณใกล้ เ คี ย งในอํ า เภอกบิ น ทร์ บ ุ ร ี แ ละในตํ า บล อันนัมหรือญวนอีกกว่า ๑๐ ปี ชาวบ้านที่นี่ยังคงเล่าสืบต่อกันมา ท้องถิ่นอื่นๆ อีกมาก เนื่องจากขยับขยายหาพื้นที่ทํากินที่เหมาะ ว่า ชาวบ้านที่เป็นลาวเวียงที่บ้านเมืองเก่าต้องถูกเกณฑ์ไปรบใน สมในยุคสมัยหนึ่ง เช่นที่บ้านปากน้ําในตําบลบ่อทอง บริเวณริม ทัพของเจ้าพระยาบดินทรเดชาที่เมืองเขมร ได้รับความยาก แควพระปรงก็เป็นชาวลาวที่จดจําไม่ได้เสียแล้วว่าเคลื่อนย้ายแยก ลําบากอย่างยิ่ง ต้องทําถนนเพื่อเดินทัพทางบกจากด่านหนุมานไป กลุ่มออกมาจากชุมชนใด เพราะเล่าว่าบรรพบุรุษหาพื้นที่ราบทํา นาได้เหมาะสมและใกล้กับลําน้ํา สะดวกที่จะเดินทางไปยังตลาด ยังเมืองเขมรและเป็นกําลังสําคัญในการสู้รบด้วย ! มี ว ั ด สํ า คั ญ ที ่ เ กี ่ ย วเนื ่ อ งกั บ การตั ้ ง ทั พ และเดิ น ทั พ ของ กบินทร์และท้องถิ่นอื่นๆ ตั้งหลักปักฐานแบบคนลาวคือ มีศาลตา เจ้าพระยาบดินทรเดชาคือ “วัดหนองรู" บ้านหนองรูซึ่งเปล่ียน ปู่ซึ่งเป็นป่าท้ายหมู่บ้านที่คนทางภาคอีสานเรียกว่าดอนปู่ตา มีวัด เป็นชื่อ “วัดแก้วฟ้ารังษี” ในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ บริเวณนี้อดีตเคยใช้ มีประเพณีปฏิบัติแบบคนลาวและที่สําคัญก็คือยังคงพูดภาษาลาว บริเวณวัดเป็นกองบัญชาการตั้งทัพเพื่อไปรบกับเขมรและเป็น เป็นภาษาหลักภายในกลุ่มกันโดยทั่วไป สถานที่สําหรับทําพิธีถือน้ําพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการในหัว ! ชาวบ้านเชื้อสายลาวเหล่านี้มีอาชีพหลักในการทําเกษตรเมืองแถบนี้ซึ่งในปัจจุบันยังคงเหลือรูปแบบทางศิลปกรรม เช่น กรรมทั้งทํานาและประมงจับปลาในหนองน้ําต่างๆ รวมท้ังการ

ภาพซ้ายสุดและซ้าย พระพุทธรูป แบบ ศิลปะลาว เก็บรักษาไว้ที่ วัดแก้วฟ้ารังษีหรือ วัดหนองรู บริเวณนี้เคยเป็น ที่บัญชาการทัพ ไปรบเขมร

72


ภาพซ้าย บริเวณ สถานีรถไฟ บ้านปากแพรก พ.ศ. ๒๔๙๒ ภาพขวา แห่นาค ในงานบวชของชาว บ้านที่กบินทร์บุรี (ภาพจากหนังสือ ๕๐ ปี กบินทร์บุร,ี ๒๕๕๐)

ปลูกผักกระเฉดดังท่ีกล่าวมาแล้ว และในหมู่คนรุ่นใหม่ท่ีอายุ บ้านเรือนกันอยู่ใกล้กับแควหนุมานและห้วยโสมง ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่ม สามสิบกว่าปีขึ้นไปก็นิยมออกไปทํางานรับจ้างบ้างหรือทํางานเป็น น้ําที่มีความสูงในระดับ ๑๐-๑๖ เมตรจากระดับน้ําทะเลทางด้าน คนงานในโรงงานที่มีอยู่มากมาย หมู่บ้านจึงร้างผู้คนในวันธรรมดา เหนือของตัวเมืองกบินทร์บุรีหรือตลาดกบินทร์บุรีที่เป็นศูนย์กลาง ของการปกครองสมัยใหม่และย่านเศรษฐกิจการค้าของเมือง ! ต่ อ มาจึ ง เริ ่ ม มี ก ารขยายชุ ม ชนเข้ า ไปทางห้ ว ยพระปรงของ คนไทเบ้ิงจากโคราชและคนจากภาคอีสาน ชุมชนที่เริ่มหนาแน่นทางบริเวณที่กล่าวมาเป็นการบุกเบิกพื้นที่ เข้าไปในพื้นที่ดอนทางตอนใต้ของแควพระปรงมีระดับพื้นที่อยู่ และท่ีอื่นๆ ! บริเวณเมืองด่านชายแดนเช่นที่กบินทร์บุรีนี่้ นอกจากจะมีคน ระหว่าง ๑๘-๓๐ เมตรจากระดับน้ําทะเล สภาพนิเวศพ้ืนที่ใกล้แคว เชื้อสายลาวเวียงตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิมที่อพยพยเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้ง พระปรงมีหนองบึงเป็นกุดน้ําหรือที่เรียกกันว่าวังและมีน้ําล้นตลิ่งใน ถิ่นฐานครั้งใหญ่ในช่วงราวต้นกรุงรัตนโกสินทร์อยู่ในบริเวณตําบล ช่วงฤดูฝนที่มีน้ําหลากจากเทือกเขา ! ส่วนทางทิศใต้เป็นที่ดอนสูงเหมาะแก่การทํานาในที่ดอนและ เมืองเก่าเป็นกลุ่มใหญ่ตั้งแต่เมื่อกว่า ๒๐๐ ปีที่ผ่านมา ! ต่อมามีการขยับขยายกระจายไปอยู่ในพื้นที่ปากน้ําปากแพรก ปลูกพืชไร่ซ่ึงมีลําห้วยลําน้ําสายย่อย เช่น ห้วยไคร้ ซึ่งไปออกท่ี ซึ่งมีท่ีนาดีและความอุดมสมบูรณ์ในท้องถิ่นต่างๆ แล้ว เมื่อมีการ แควพระปรงได้ และหนองน้ําและน้ําซับตามธรรมชาติสําหรับใช้ใน เปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในสยามประเทศต้ังแต่สมัย การดํารงชีวิต พื้นท่ีบริเวณนี้เป็นเขตขยายตัวของชุมชนที่มีการเริ่ม รั ช กาลพระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู ่ ห ั ว ซึ ่ ง มี ก าร บุ ก เบิ ก ใหม่ ใ นยุ ค ต่ อ มาเพราะหม่ ู บ ้ า นบางแห่ ง บั น ทึ ก ไว้ ว ่ า ตั ้ ง เปลี่ยนแปลงระบบไพร่และทาส เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจาก หมู่บ้านมาแล้วกว่าร้อยปี เจ้ากินเมืองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลที่มีผู้ปกครองที่ขึ้นกับส่วน ! หมู่บ้านหลายแห่งที่เล่าว่าบรรพบุรุษอพยพมาจากโคราชและ กลางซึ่งถือเป็นการรวมศูนย์การปกครองอย่างแท้จริง เร่ิมมีการให้ เป็นคนไทเบิ้งที่อาจจะมีชื่อเรียกกันในกลุ่มท้องถิ่นแตกต่างกันไป กรรมสิทธ์ิที่ดินซึ่งทําให้ประชาชนมีอิสระจากการตรึงให้อยู่กับนาย บ้าง เพราะคนไทเบิ้งจะพูดจาแตกต่างไปจากคนลาวทั้งภาษาและสํา ไพร่และการถูกเกณฑ์แรงงานและส่งส่วยให้กับผู้นําในระดับท้องถิ่น เนียงเพราะมีความใกล้เคียงกับภาษาทางคนภาคกลางมากกว่า รวม การบุกเบิกพ้ืนท่ีทํากินใหม่ๆ จึงเร่ิมต้นขึ้นอย่างเป็นอิสระมากกว่า ทั้งลักษณะทางวัฒนธรรมทั้งการแต่งกายและอาหารด้วย ดังนั้นจึง เดิม มีข้อมูลว่าในภาคกลางมีผู้อพยพโยกย้ายมาจากภาคอีสานจํา มีความต่างในกลุ่มคนลาวที่เป็นคนพื้นเดิมของคนทางกบินทร์บุรี นวนไม่น้อย โดยเริ่มต้นจากการเข้ามาเป็นแรงงานรับจ้างเกี่ยวข้าว ! การอพยพมาในช่วงแรกๆ เนื่องจากเป็นการบุกเบิกพื้นที่ป่า ตามช่วงฤดูกาล ภายหลังจึงมีบางคน บางครอบครัวย้ายมาหาที่นาที่ ทึบจึงมีทั้งไข้ป่าและโรคระบาดเน่ืองจากห่างไกลการสาธารณสุข พบ อุดมสมบูรณ์กว่าในท้องถิ่นของตนบุกเบิกจนกลายเป็นคนส่วนหนึ่ง ว่ามีการย้ายถิ่นฐานจากบริเวณที่มีโรคระบาด เช่น อหิวาตกโรค ของท้องถิ่นชาวนาในจังหวัด ลพบุรี สิงห์บุรี นครสวรรค์ เป็นต้น หรือโรคห่าที่ต้องทิ้งถิ่นฐานเดิมและไปหาพื้นที่อยู่ใหม่บริเวณที่ดอน ซึ่งกล่าวเล่าสืบต่อกันว่าเป็นการแสวงหา “ท่ีดินดําน้ําชุ่ม” หรือใกล้หนองน้ํา ดังนั้นจึงพบว่าชื่อหมู่บ้านหลายแห่งข้ึนต้นด้วย ! ในพื ้ น ที ่ แ ถบกบิ น ทร์ บ ุ ร ี ซ ึ ่ ง มี ค นลาวเวี ย งมาตั ้ ง ถิ ่ น ฐานเป็ น บ้านโคก บ้านเนิน บ้านหนอง เป็นส่วนใหญ่ กลุ่มดั้งเดิมท่ีทําให้ “บ้านด่าน” กลายเป็น “เมืองด่าน” ตั้งถิ่นฐาน ! การก่อตั้งชุมชนท่ีสําคัญคือจะต้องมีวัดประจําชุมชน มีผู้มี ความรู้ในการรักษาโรคแบบพื้นบ้านหรือแบบท้องถิ่นเพราะห่างไกล

73


สถานพยาบาล มีผู้นําชุมชนที่สามารถดูแลลูกบ้านท่ีมักเป็นเครือ ญาติกันส่วนใหญ่และกลุ่มคนที่มาจากที่อื่นบ้างเพื่อบูรณาการความ เป็น ชุมชนและสามารถอยู่ร่วมกันได้ผู้ที่สามารถบุกเบิกพื้นทีไ่ ด้จํา นวนมาก และมักจะเป็นผู้มีบทบาทเป็นผู้นําท้องถ่ินในเวลาต่อมา ! นอกจากนี ้ ก ็ ม ี ก ลุ ่ ม คนลาวจากทางเมื อ งเก่ า กบิ น ทร์ บ ุ ร ี จ าก ประจันตคาม รวมถึงคนพวนจากทางดงศรีมหาโพธิและโคกปีบที่อยู่ อาศัยเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาบุกเบิกแสวงหาที่ดินทํากิน ซึ่งช่วงเวลา ที่อพยพมามีตั้งแต่ก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ บางคนก็ย้าย มาจากทางกรุงเทพฯ ผสมผสานอยู่ในหมู่บ้านที่มีคนจากทางภาค อีสานอพยพมาสมทบ เช่น ทางบ้านไผ่ จังหวัด ขอนแก่น จาก อุบลราชธานีและพื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ ๒๕๑๐ อัน เน่ืองมาจากเหตุการณ์สร้างเข่ือนหรืออ่างเก็บน้ําขนาดใหญ่ในภาค อีสานหลายแห่งเป็นสาเหตุอีกประการหน่ึง ! บริเวณที่ดอนหรือที่สูงดังกล่าวในปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่เหมาะ สมสําหรับการสร้างโรงงานอุตสหกรรมหรือเกษตรอุตสาหกรรมทั้ง การเลี ้ ย งหมู ห รื อ เลี ้ ย งไก่ บางส่ ว นก็ ก ลายเป็ น พ้ ื น ท่ ี ข องเขต อุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ได้รับการส่งเสริม โดยรัฐบาล

คมนาคมในราว พ.ศ. ๒๔๔๙ ซึ่งตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอันเป็นเวลาที่การทําเหมืองทองคําที่ บ่อทองผ่านไปแล้ว ๓๐ กว่าปี และเป็นช่วงเวลาที่สยามต้องยก ดินแดนมณฑลบูรพาได้แก่ เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับจังหวัดตราดและเกาะท้ังหลายรวมทั้งเกาะกูด คืน ! ในเขตลุ่มน้ําบางปะกงในยุคสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมามีการปลูกอ้อยเพื่อหีบใช้ทําน้ําตาลและเป็น สินค้าส่งออกท่ีสําคัญและยังมีการปลูกข้าวหมาก ผลไม้จากสวน ต่างๆ ของป่าจากเทือกเขาภายใน จึงเป็นเขตพื้นที่ทางเศรษฐกิจ การเกษตรและของป่าที่สําคัญของสยามประเทศ และเป็นช่วงเวลา ที่สยามทําสนธิสัญญาเปิดการค้าเสรีกับทางอังกฤษมีการหลั่งไหล เข้ามาของแรงงานชาวจีนจํานวนมากตั้งแต่ในสมัยรัชกาลพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้ว แรงงานชาวจีนนี้ส่วนใหญ่ แต่แรกเริ่มเข้ามาขายแรงงานเพื่อการสาธารณูปโภคเพิ่มเติมกับ แรงงานไพร่ส่วยที่มีไม่เพียงพอและกระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ! กลุ่มคนจีนมักรวมกลุ่มกันตามที่มาจากท้องถิ่นต่างๆ ในเมือง จีน เป็นจีนกวางตุ้ง แคะ ไหหลํา แต้จ๋ิว เพื่อช่วยเหลือระหว่างกันใน กลุ่มผู้มาก่อนและกลุ่มผู้มาใหม่และมักมีการตั้งหัวหน้าที่ได้รับ ความนับถือกันในกลุ่มเรียกว่า “ตั้วเหี่ย” ในภาษาแต้จิ๋ว หรือ คนจีนย่านตลาดเก่าเมืองกบินทร์บุรี “ต้ัวก่อ” ในภาษาฮกเกี้ยน ท่ีแปลว่า “พี่ใหญ่” ! ส่ ว นบริ เ วณที ่ อ พยพเคลื ่ อ นย้ า ยเข้ า มาตั ้ ง ชุ ม ชนริ ม แม่ น ้ ํ า ที ่ ! นอกจากทํางานขุดคลองบางขนากเม่ือปี พ.ศ. ๒๓๘๐ แล้ว “บ้านปากน้ํา” ซ่ึงเป็นท่ีสบกันของแควพระปรงและแควหนุมาน แรงงานชาวจีนที่มีการรวมกลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่กันจึงมีความ เป็นจุดเร่ิมต้นของแม่น้ําบางปะกง และกลายเป็นศูนย์รวมการ ชํานาญในการทําอุตสาหกรรมน้ําตาล รวมทั้งเป็นช่างต่อเรือ ช่างไม้ ภาพซ้า ย ศาลเจ้า ดั ้งเดิ มในย่ า นที ่ อยู ่ อาศั ยชุ ม ชนตลาดเก่ า เป็ น เจ้ าองค์ ย ่ อ ย กล่ าวกั น ว่ าเป็ น นายทหารที ่ เ สี ย ชี ว ิ ต ไป และชาวบ้ า นทํ า ศาลให้ ด ู แลคุ ้ ม ครองคนในชุ ม ชน ภาพขวา ศาลเจ้า พ่อ ใหญ่ อยู ่ ร ิ ม แคว หนุ ม าน หั วตลาดเก่ า ติ ด กั บ สะพานดํ าหรื อ สะพานรถไฟข้ าม ลํ าน้ ํ า สร้ างใหญ่ โด เพราะคนในตลาดกบิ น ทร์ ส ่ ว นใหญ่ เ ป็ น คนเชื ้ อ สายจี น

74


ภาพซ้าย ชาวบ้านที่ตลาดเก่า ชี้ให้ดูร่องรอยของน้ําท่วม หนักในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ และอธิบายถึงเรือนไม้ชั้นเดียวของ ตนที่ซื้อต่อมาจาก เจ้าของโรงเรือนสูบฝิ่นที่เป็นสิ่งถูก กฎหมายในอดีต โดยมีชั้น หลังคาที่ระบายอากาศและ ควันออกได้ด้านบน ภาพล่าง ย่านตลาดเก่ากบินทร์บุรี บริเวณท่าเรือเมล์ดั้งเดิม

และสามารถในการเดินเรืออีกด้วย เมืองฉะเชิงเทราในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ที่มีการบุกเบิกพื้นที่เป็นเส้นทางเดิน ทัพและมีแหล่งทรัพยากรสําคัญจึงมีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่อาศัย จํานวนมากรวมทั้งชาวจีนด้วย จึงมีการปลูกอ้อยและทําโรงน้ําตาล มากข้ึน ! ขณะเดียวกันภาครัฐได้ให้ความสนใจก่อสร้างโรงงานน้ําตาล ของหลวงขึ้นในบริเวณใกล้เคียงกัน แต่ขาดทุนเนื่องจากการทุจริต ของข้าราชการและการขาดประสบการณ์ทางธุรกิจแตกต่างจากชาว จีนที่มีความเชี่ยวชาญการผลิตน้ําตาลทุกขั้นตอน เป็นทั้งแรงงาน และผู้ประกอบการเพราะมีความชํานาญ เป็นหัวหน้าคนงาน เสมียน และผู้จัดการอย่างเบ็ดเสร็จ จนสามารถผลิตเคร่ืองมือที่ใช้ในการ ผลิตน้ําตาล เช่น เครื่องหีบอ้อย พลั่ว จอบ เสียม และกระทะ ! กรณีจีนตั้วเหี่ยครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗ ที่เมืองจันทบุรีเกิดจากการวิวาท ระหว่างจีนฮกเกี้ยนและจีนแต้จิ๋วและเกิดขึ้นตามมาอีกหลายแห่ง เช่นที่เมือง นครชัยศรี และเมืองสาครบุรี และอีกหลายจุด โดยทํา ฝ่าฝืนกฎหมายและยังมีปัญหาเรื่องการค้าฝ่ิน

! การจลาจลของจีนต้ัวเห่ียที่เมืองฉะเชิงเทราเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๑ เกิดขึ้นจากแรงงานคนจีนต่อต้านการข่มเหงของขุนนางท้องถิ่นโดย เฉพาะจากเจ้าเมือง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ลงโทษแต่บรรดาแกนนําอย่างรุนแรง ส่วนผู้ร่วมเหตุการณ์ระดับ ล่างจํานวนมากได้รับการปล่อยตัว แต่ก็มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ี มากกว่าครั้งใดๆ ถึง ๓,๐๐๐ คน หลังจากน้ันจึงทรงปรับปรุงการ แต่งตั้งเจ้าเมืองโดยให้ขุนนางเชื้อสายจีนจากกรมท่าซ้ายเป็นเจ้าเมือง คนใหม่เพื่อปกครองเมืองฉะเชิงเทราที่มีคนจีนอยู่มาก (นนทพร อยู่ ม่ังมี, “เผาบ้าน เผาเมือง จลาจลโรงน้ําตาล กรณีจีนต้ัวเหี่ยเมือง ฉะเชิงเทรา สมัยรัชกาลที่ ๓” ศิลปวัฒนธรรม หน้า ๘๘-๑๐๒) ! ความเป็นเมืองท่าใกล้ปากน้ําชายทะเลของเมืองฉะเชิงเทรา จึงเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าและส่งออกสินค้าการเกษตรพวก น้ําตาล ข้าว หมากและผลไม้และของป่า จึงกลายเป็นศูนย์กลางท่ี คนจีนโพ้นทะเลจะอพยพเข้ามาทํางานอยู่อย่างต่อเนื่องในช่วงเวลา นับศตวรรษ และเมื่อสะสมทุนพอได้หรือมีเครือข่ายญาติพี่น้องหรือ คนในกลุ่มเดียวกันอยู่ที่ใดก็จะโยกย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานตามท้องถิ่น ภายในริมลําน้ําบางปะกงที่เรียกเป็นช่วงๆ ว่าแม่น้ํานครนายกและ แม่น้ําปราจีนบุรี ดังพบได้ตามตลาดท่าน้ําริมน้ําสําคัญๆ ที่มีผู้คน

75


จากเมืองหน้าด่านสู่ย่านอุตสาหกรรม

เชื้อสายจีนซึ่งมักแต่งงานกับคนท้องถิ่นแล้วทําการค้าเป็นหลัก จนทํ า ให้ เ กิ ด ตลาดหรื อ เมื อ งริ ม แม่ น ้ ํ า เช่ น ที ่ บ างคล้ า พนมสารคาม ปราจีนบุรี ท่าทรายหรือท่าประชุมที่ดงศรีมหาโพธิ จนมาสิ้นสุดเส้นทางเดินทางน้ําที่เป็นชุมชนตลาดขนาดใหญ่ที่ไกล ที่สุดจากปากน้ําบางปะกงก็คือที่ “ตลาดกบินทร์บุรี” บนจุด บรรจบของแควหนุ ม านและแควพระปรงต้ น แม่ น ้ ํ า บางปะกง นั่นเอง ! บริเวณตลาดเก่ากบินทร์บุรีเป็นที่ลุ่มต่ําอยู่ริมลําน้ําแควน้อย หรือแควหนุมาน ก่อนถึงบ้านปากน้ําท่ีลําน้ําพระปรงหรือท่ี ชาวบ้านเรียกว่าแควใหญ่มาบรรจบเล็กน้อย ความรุ่งเรืองและ อายุของตลาดแห่งนี้น่าจะเทียบเท่ากับการย้ายที่ตั้งของเมือง กบินทร์บุรีมาอยู่ที่บ้านปากน้ําเม่ือ พ.ศ. ๒๔๔๙ หรือเม่ือราว ๑๐๐ กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงเวลานั้นตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๔๓๖ ตลาดริมน้ําที่เป็นศูนย์กลางของการปกครองที่มีการเปลี่ยนแปลง จัดระบบใหม่ในรูปแบบมณฑลเทศาภิบาลเกิดขึ้นใหม่ๆ หลาย แห่งท่ีในปัจจุบันมักรู้จักจากการฟื้นการท่องเที่ยวในนาม “ตลาด ภาพซ้ายล่าง คุณยายที่ยังอยู่อาศัยใน เรือนแถวไม้ริมแควหนุมาน ในอดีตเคย ไปเรียนดัดผมและตัดเสื้อในกรุงเทพฯ ก่อนมาเปิดร้านในตลาดและลูกค้าส่วน ใหญ่เป็นชาวนาที่เข้ามาในตลาด ภาพขวาบน เรือนแถวไม้ที่ตลาดเก่า กบินทร์บุรี ส่วนใหญ่ปิดร้างไปแล้ว ภาพขวาล่าง เรือนไม้เก่าของเจ้าของ ตลาดล่างที่ลูกหลานย้ายออกไปนาน แล้วเหลือเพียงแต่คนเฝ้าบ้าน

76

ร้อยปี” แต่ชาวบ้านบางรายก็ยืนยันว่าอายุของเรือนแถวช้ันเดียวท่ี มีอายุไม่ต่ํากว่า ๒-๓ ช่ัวคน น่าจะสืบไปถึงราวต้นรัชกาลที่ ๕ จากคําบอกเล่าของเจ้าของอาคารโรงสูบฝิ่นเดิมท่ีปรับปรุงจน กลายมาเป็นท่ีอยู่อาศัย เมื่อรวมกับรูปแบบอาคารบ้านเรือน บางแห่งที่เหลืออยู่ที่นิยมสร้างรูปแบบบ้านเรือนไม้ทรงปั้นหยา และลวดลายมงคลที ่ เ ป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ ใ นวั ฒ นธรรมจี น ก็ พ อ สันนิษฐานอายุของตลาดนี้ได้ว่าน่าจะอยู่ในช่วงร้อยกว่าปีมาแล้ว ในยุคต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ! และร่องรอยจากการเป็นชุมชนการค้าริมน้ําทําให้เมื่อสร้างวัด ของชุมชนชาวตลาดกบินทร์จึงให้ชื่อว่า “วัดท่าพานิชย์” ซึ่งอ้างว่า จดทะเบียนเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๖ ในสมัยรัชกาลพระบาทสม เด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ตั้งแต่เดิมอยู่ริมน้ําใกล้ตลาดเก่าเป็น บริเวณท่าเรือที่มีพ่อค้าแม่ค้ามาจอดเรือค้าขายกันมากจึงร่วมกัน บริจาคเงินบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ ต่อมาเมื่อตลาดเก่าหมดความ คึกคักลงจึงย้ายจากที่เดิมเนื่องจากการคมนาคมที่เปลี่ยนแปลง เป็นการใช้ถนน จนทําให้การเดินทางไปวัดไม่สะดวกแก่ผู้คน


ไปทําบุญและกระแสน้ําเชี่ยวไม่สะดวกที่จะเดินทาง ก่อนจะย้ายออก มาอยู่ในสถานที่ตั้งปัจจุบันเม่ือราว พ.ศ. ๒๕๑๒ ! ในบริ เ วณเดี ย วกั น ริ ม น้ ํ า หนุ ม านเยื ้ อ งกั บ ฝั ่ ง ตลาดเก่ า มี “วัดพระยาทํา” ที่สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๓ วัดนี้สร้างเมื่อ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพไปรบเขมร เม่ือพระยาภิรมย์มาตั้งฉางข้าวที่บ้านปากน้ํา ในกองทัพครั้งนั้นได้ นิ ม นต์ พ ระอาจารย์ ค ุ ้ ม มาด้ ว ย ท่ า นเชี ่ ย วชาญทางการแพทย์ และคาถาจึ ง สร้ า งวั ด ที ่ บ ริ เ วณมี ต ้ น กระโดนใหญ่ จ ึ ง ชื ่ อ ว่ า “วัดกระโดน” เวลาผ่านไป ๗ ปี จึงผูกพัทธสีมาสร้างพระอุโบสถ ได้ชื่อว่า “วัดพระยาทํา” ! ดังนั้นบริเวณริมน้ําหนุมานทั้งสองฝั่งน้ําจึงมีชุมชนและวัดซึ่ง น่าจะเป็นย่านการค้ามาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว เพียงแต่ยังไม่รุ่งเรืองเท่ากับในสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือเมื่อร้อยกว่าปีท่ีผ่านมา ! สภาพของตลาดเก่าในอดีตในช่วงเวลาราว ๖๐-๗๐ ปีที่ผ่านมา จากร่ อ งรอยที ่ พ บเห็นปั จจุบั นและชาวบ้า นเล่า ให้ฟ ัง ว่า เคยเป็น ท่าเรือสินค้าที่มีเรือกลไฟ เรือพ่วง เรือเมล์โดยสารซึ่งเรียกว่าเรือ เมล์แดงแล่นขึ้นล่องระหว่างตลาดกบินทร์บุรีและเมืองฉะเชิงเทรา ต่อจากตลาดกบินทร์ฯ ก็จะมีเรือตุ๊กๆ วิ่งรับส่งคนโดยสารจาก บ้านที่อยู่เข้าไปในแควพระปรงหรือแควหนุมานรับส่งอีกทอดหนึ่ง ! รวมทั้งมีเรือโชว์ห่วยค้าขายสินค้าและเรือขนส่งสินค้าทางการ เกษตรจํานวนมาก จนทําให้ตลาดเก่ากบินทร์บุรีริมลําน้ําหนุมาน นั้นมีห้อง แถวค้าขายเรียงรายเป็นแถวยาวและคั่นด้วยถนนจนกลาย เป็นทั้งตลาดบกและตลาดน้ํา ส่วนเรือท่ีขึ้นไปทางแควน้อยหรือแคว หนุมานจะมีน้อยกว่าเพราะเร่ิมเป็นที่สูงมีชุมชนชาวนาหรือหมู่บ้าน ไม่มากเท่ากับแควใหญ่หรือแควพระปรง แต่จะเป็นการล่องซุงจาก ป่าที่ขึ้นไปสัมปทานตัดไม้แถบแควหนุมานและห้วยโสมงมาพักเพื่อ ผูกแพแถบริมน้ําหนุมานก่อนถึงตลาดเก่าแถวท่าพานิชย์ ผูกซุงเป็น แพสร้างกระท่อมเล็กๆ ไว้นอนพักสําหรับคนหนุ่มๆ ท่ีช่วยกันทํา

งานครั้งละประมาณ ๕ คนในยามล่องซุงแล้วปล่อยให้ไหลตามน้ํา ไปส่งที่โรงเลื่อยในฉะเชิงเทราแล้วจึงเดินทางกลับบ้านตัวเปล่าไปขึ้น รถไฟที่สถานีบางน้ําเปรี้ยวเพื่อกลับบ้านที่กบินทร์บุรี (อ้างจากลุง สมัย ทองโบราณ ใน ๕๐ปี ก่ึงศตวรรษ เทศบาลตําบล กบินทร์บุรี อําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี, สํานักงานเทศบาล ตําบล กบินทร์, ๒๕๕๐) ! ในช่วงเวลาที่รุ่งเรืองทั้งที่ดินและย่านห้องแถวบริเวณตลาดเก่า เป็นของคหบดีเชื้อสายจีน ซึ่งมีลูกหลานที่โยกย้ายไปจากกบินทร์บุรี กันหมดแล้วคงเหลือแต่บ้านหลังเก่าและคนเฝ้าไว้และลูกหลานของ ผู้คนหลายครอบครัวที่เคยค้าขายอย่างรุ่งเรืองในตลาดเก่าก็ย้าย ออกไปสู่ย่านตลาดใหม่หรือชุมชนใกล้ถนนใกล้ตลาดใหม่ๆ ที่เกิด ขึ้นมากมายภายนอกบ้าง ส่วนใหญ่โยกย้ายออกไปเพราะต้องออก ไปทํางานทําอาชีพต่างๆ โดยเฉพาะการเป็นข้าราชการในต่างถิ่นจน ตลาดเก่ากบินทร์บุรีทุกวันน้ีมีผู้คนอยู่อาศัยกันบางตา ! ชุ ม ชนชาวบ้ า นท่ ี ม าจากแควพระปรงส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ชาวนา เรือนแถวค้าขายก็จะมีสินค้าสําหรับชาวนา เช่น เสื้อผ้าสีเข้ม แขนกระบอก หรือแขนยาว อุปกรณ์ทํานาต่างๆ ทั้งเคียวเกี่ยวข้าว ผาลไถ และ อ่ืนๆ มีทั้งร้านตัดผม ทําผม ร้านตัดเสื้อผ้า ชาวนา ส่วนใหญ่เมื่อเข้ามาที่ตลาดจะนําข้าวเปลือกมาแลกเป็นค่าทําผม ค่าตัดเส้ือผ้าข้าวของเคร่ืองใช้ต่างๆ และคนในตลาดก็ยินดีรับแลก เปลี่ยนเพราะจะนําไปขายได้เงินสดอีกต่อหนึ่ง ซึ่งมีหลายรายที่รับ ซื้อข้าวเปลือกแล้วล่องเรือไปขายที่โรงสีแถบบางน้ําเปรี้ยว แปดร้ิว และบางปะกง ! ชาวนาที่นําข้าวใส่เรือมาขายที่ตลาดกบินทร์จะมีคนจีนรับซื้อ คนจีนในตลาดใช้โอกาสนี้จากการที่สะสมทุนได้จํานวนมากแล้วก็ ปล่อยเงินกู้ให้ชาวนาเพื่อเป็นทุนทํานา เมื่อชาวนาทํานาได้ข้าวก็จะ นําข้าวมาใช้คืนทุนหรือในกรณีที่กู้ยืมใช้เงินทุนมากและได้ข้าวน้อย ชาวนาก็ต้องใช้โฉนดที่ดินให้แก่พ่อค้าในตลาด และกรรมสิทธิ์ใน ท่ีดินทํากินก็กลายเป็นของคนในตลาดกบินทร์ในที่สุด เป็นอาชีพท่ี

77


เรียกกันว่า “ตกข้าว” และ “ตกหนี้” ตามริมฝั่งชายน้ํา แควหนุมาน ใกล้ตลาดบนเคยมียุ้งฉางเก็บข้าวเปลือก ของชาวบ้านที่นํามาทดแทนเงินทองค่าใช้จ่ายที่กู้ยืมไป ! การสะสมทุนเช่นนี้เป็นเวลาไม่ต่ํากว่าครึ่งทศวรรษ ทําให้คน เชื้อสายจีนในตลาดกบินทร์บุรีหลายกลุ่ม หลายตระกูลร่ํารวยและโยกย้ายออกจากพ้ืนที่ไปอยู่ยัง ต่างถ่ิน เช่น กรุงเทพมหานคร หรือสามารถส่งลูก หลานเรียนหนังสือในระดับสูงจนโยกย้ายอพยพจาก บ้านเกิดไปไม่น้อย กล่าวกันว่าคนที่กบินทร์บุรีนี้จัดอยู่ ในกลุ่มที่มี ฐานะดีและร่ํารวยอย่างเงียบๆ ไม่หวือหวา แม้ตลาดเก่าและตลาดใหม่ของตัวอําเภอกบินทร์บุรีทุก วันนี้จะเงียบเหงาลงไปอย่างชัดเจน เนื่องจากการปรับ เปลี ่ ย นเส้ น ทางการคมนาคมสายใหม่ ท ี ่ ส ร้ า งชุ ม ชน ค้าขายใหม่ให้เกิดขึ้นมากมายในขณะที่ชาวนาสูญเสีย กรรมสิทธิ์ที่ดินไปเป็นจํานวนมาก ! และเมื ่ อ มี ก ารพั ฒ นาพื ้ น ที ่ จ ากรั ฐ เพื ่ อ ทํ า นิ ค ม อุตสาหกรรมหรือปลูกพืชไร่ เช่น ยูคาลิปตัส ยางพารา จึงทําให้ชาวบ้านในพื้นที่ดั้งเดิมไม่ได้รับประโยชน์จากท่ีดินแต่ อย่างใด ลูกหลานของชาวบ้านที่เป็นชาวนาและชาวไร่ส่วนใหญ่จึง เดินเข้าสู่วงจรของการเป็นคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มี อยู่มากมายในท้องถิ่นกบินทร์บุรีปัจจุบันน้ี ! เมื่อตลาดเก่าแออัดเพราะผู้คนเข้ามาค้าขายเพิ่มมากขึ้นจึงมีการ ย้ายไปอยู่ทางชายป่าติดกับลําน้ําหนุมานจนกลายเป็นตลาดอีกแห่ง หนึ่งเรียกว่าตลาดใหม่ และมีการแยกตลาดออกอีกหลายแห่งใน เวลาต่อมา บริเวณน้ีอยู่สูงกว่าตลาดเก่าที่มักมีปัญหาเรื่องน้ําท่วม เพราะเป็นที่ลุ่มต่ํา อยู่ใกล้สถานีรถไฟ ท่าเรือ และสถานี ขนส่งทาง รถยนต์ ! เมื่อเลิกการเดินเรือและการคมนาคมเปล่ียนไป ตลาดเก่าจึงซบ เซาลงผู้คนใช้พื้นที่บริเวณตลาดแห่งใหม่ค้าขายมีร้านค้าต่างๆ เกิด ข้ึนตามยุคสมัยรวมทั้งโรงภาพยนตร์ โรงแรม สถานบันเทิงต่างๆ ก่อนจะเริ่มซบเซาลงโดยตลอดนับจากเริ่มสร้างเส้นทางถนนใหม่ สร้างตลาดริมทางบริเวณสี่แยกสามทหารที่เป็นจุดแยกไปสู่ภาค อีสานและชายแดนและความเจริญทางเศรษฐกิจกระจายออกไปอยู่ ตามบริเวณที่เป็นโรงงานและนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ชาวจีนใน ตลาดจึงปรับตัวและแยกย้ายออกไปทําธุรกิจและ ค้าขายในพ้ืนที่ เหล่านั้นในอีกหลากหลายรูปแบบ ! บริเวณบ้านปากน้ําที่กบินทร์บุรีจึงมีสถานที่ราชการอยู่หลาย หน่วยงาน ซึ่งมีทั้งศาลจังหวัดและเรือนจํา เพราะเคยเป็นศูนย์กลาง การปกครองในระดับจังหวัดและอําเภอใหญ่ในพื้นที่ซึ่งมีอาณาเขต กว้างขวางมาก ตลาดและเมืองกบินทร์บุรีจึงเคยเป็นชุมชนที่คึกคัก มีท้ังข้าราชการพ่อค้า ชาวบ้านที่เข้ามาค้าขายจากท้องถิ่นต่างๆ เป็น ย่านรวบรวมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของหัวเมืองทางฝั่ง ชายแดนต่อกับกัมพูชานับตั้งแต่อดีตจนเมื่อไม่นานมานี้

78

สถานี ร ถไฟ กบิ น ทร์ บ ุ ร ี

พิธีกรรมและความเชื่อ ! พิธีกรรมและความเช่ือในรอบปีและประเพณีเก่ียวกับชีวิตของผู้ คนถือเป็นเอกลักษณ์สําคัญของความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะ กลุ่มชาติพันธ์ุท่ีถูกปรับเปล่ียน [Assimilation] ให้กลายเป็น พลเมืองของรัฐชาติเช่นสยามหรือท่ีเปลี่ยนชื่อมาเป็นประเทศไทยมา เป็นระยะเวลาไม่ต่ํากว่าร้อยปี บางประเพณีและพิธีกรรมเป็นเรื่อง เฉพาะกลุ่มและบางพิธีกรรมเป็นเร่ืองที่สร้างข้ึนมาใหม่และเป็น การบูรณาการความเป็นคนร่วมท้องถิ่นเดียว ส่วนในเรื่องความเชื่อ ต่างๆ แม้จะเป็นสิ่งท่ีเกิดข้ึนมาในภายหลังแต่ก็สัมพันธ์กับบริบทและ สร้างสํานึกร่วมให้เห็นความเป็นคนกลุ่มเดียวกันคือความเป็นคน กบินทร์บุรี ! นอกจากประเพณีในรอบปีที่มีความคล้ายคลึงกัน เช่น การทํา บุญสงกรานต์ ทําบุญกลางบ้านในช่วงเดือน ๖ การทําบุญปีใหม่ การลอยกระทง ทําบุญในวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ทอดกฐิน และ เนื่องในวันพระใหญ่ต่างๆ ของผู้นับถือพุทธศาสนา หน้าหนาวก็ทํา บุญข้าวหลาม บุญข้าวจี่ในเดือนยี่ซึ่งเป็นประเพณีของคนเชื้อสาย ลาว ตลอดจนประเพณีเกี่ยวกับชีวิต เช่น การแต่งงาน การตายแล้ว และประเพณีและพิธีกรรมความเชื่อที่เป็นเป็นอัตลักษณ์เด่นของคน กบินทร์บุรีอันรวมเอาคนเชื้อสายลาวเวียงและคนเช้ือสายจีนเอาไว้ เป็นประชากรส่วนใหญ่ ได้แก่ ` การทําบุญข้าวสากของคนเชื้อสายลาว ! ประเพณีสําคัญของคนเชื้อสายลาวเวียงบ้านปากน้ํา ตําบล บ่อทองซึ่งเป็นคนเชื้อสายลาวที่บ้านปากน้ําในตําบลบ่อทองนี้เป็น กลุ่มลาวเวียงที่แยกชุมชนออกมาจากชุมชนเชื้อสายลาวกลุ่มบ้าน เมืองเก่าราว ๒๕ กิโลเมตร ต้ังอยู่ใกล้กับปากน้ําห้วยพระปรงที่สบ กับห้วยพระสะทึง และอยู่ใกล้กับศาลเจ้าพ่อพระปรงซึ่งน่าจะเป็น ตําแหน่งของบ้านด่านอีกแห่งหน่ึงคือ “ด่านพระปรง” คือ การทํา บุญข้าวประดับดินในช่วงเดือน ๙ ราวเดือนกันยายนหรือที่เรียกว่า


ลาวเวีย งบ้ านปากน้ํา ตํ า บลบ่ อทอง อํ า เภอกบิ น ทร์ บ ุ ร ี เป็ น คนลาวเวี ย งและยั ง คงรั กษาพิ ธ ี กรรมบุ ญ ข้ าวสาก ในช่วงเดือน ๙ และ เดือ น ๑๐ ในช่ ว งสารทลาวที ่ ช าวบ้ านร่ ว มกั น ทํ าบุ ญ ข้ าวห่ อ อุ ท ิ ศ ส่ ว นกุ ศ ลให้ บ รรพบุ ร ุ ษ ผู ้ ล ่ ว งลับ และถื อศี ล ฟั ง เทศน์ ฟ ั ง ธรรมสํ าหรั บ ผู ้ เ ฒ่ าผู ้ แ ก่

“บุญแจกห่อข้าวน้อย” จะทําโดยเอาใบตองกล้วยห่อและมีหมาก พลู ยาสูบ ฝรั่ง (บักสีดา) มะขาม กล้วย อ้อย มัน เผือก มาใส่ห่อ แล้วนําไปถวายพระก่อนจะนําไปอุทิศให้กับบรรพบุรุษและ “ทําบุญ ข้าวสาก” ในช่วงสารทลาวกลางเดือน ๑๐ ลูกหลาน ชาวลาวเวียงจะ มาร่วมกันทําบุญกระยาสารท โดยจะนําข้าวตอก ถั่ว งา น้ําตาลอ้อย เป็นต้น ห่อให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ! ทําบุญสารทลาวหรือบุญข้าวสาก คนในครอบครัวหรือบ้าน ใกล้เรือนเคียงจะมาร่วมกันกวนกระยาสารทและร่วมทําบุญด้วยกัน และจะต้องนําข้าวใหม่ที่เก็บเกี่ยวได้มาหุงทําบุญและถวายภัตตาหาร แด่พระสงฆ์ทั้งเช้าและเพล อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ไปแล้ว ! พระสงฆ์ก็จะสวดให้ศีลให้พรผู้มาทําบุญจึงกรวดน้ําให้ผู้ที่ ล่วงลับแล้วนําอาหารและข้าวห่อที่เตรียมมาไปแก้ที่บริเวณธาตุที่ บรรจุอัฐิของญาติผู้ใหญ่ผู้ล่วงลับ หรือบริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่หรือ ข้างกําแพงวัดที่บรรจุอัฐิไว้แล้วจุดธูปเทียน อันเชิญดวงวิญญาณ มารับเคร่ืองเซ่นไหว้ รวมทั้งเชิญผีไม่มีญาติมาร่วมรับส่วนบุญด้วย เพราะวันน้ีเชื่อว่าเป็นวันท่ีพญายมปล่อยผีออกมารับส่วนบุญ ปักธูป ที่ห่อข้าวท่ีห่อด้วยใบตองแก้ออกไว้ พอธูปใกล้หมดดอกจึงจุดธูป กล่าวลาแล้วกรวดน้ํา

! ปั จ จุ บ ั น ขนมกระยาสารทล้ ว นแต่ ซ ้ ื อ จากตลาดทั ้ ง หมดใน ตลาดกบินทร์บุรีก่อนงานประเพณีราวสองสามวันก็จะพบแม่ค้านํา กระยาสารทมาวางขายเกลื่อนตลาดไปหมด เพราะไม่เพียงแต่เป็น ช่วงสารทลาวที่ทําบุญข้าวสาก แต่ก็เป็นช่วงท่ีคนไทยทําบุญสารท เดือน ๑๐ โดยมีการกวนกระยาสารทเช่นเดียวกัน ที่บ้านปากน้ํายังมี อยู่เพียงบ้านหรือสองบ้านเท่านั้นที่ยังคงทําขนมด้วยตนเอง ซึ่งผิด กับในอดีตที่ทุกบ้านจะกวนกระยาสารทไปทําบุญจากบ้านของตนเอง เพราะถือว่าเป็นการทําบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ใหญ่และผู้ล่วงลับ ตลอดจนนําไปฝากเพื่อนและคนรู้จักที่อาจจะไม่ได้กวนกระยาสารท เพียงปีละหนึ่งหนเท่าน้ัน ! สาวๆ หรื อ คนสู ง วั ย ท่ ี บ ้ า นปากน้ ํ า ส่ ว นใหญ่ ม ี แ ต่ ผ ู ้ ห ญิ ง ต่างหาบคอน ห้ิวปิ่นโต ตะกร้า แต่งกายสวยงาม บางคนก็แต่ง ชุดขาวเพ่ือมารักษาศีลที่วัด เพราะเป็นวันที่ถือศีลอุโบสถ ฟังเทศน์ ฟังธรรม ๑ กัณฑ์ถือเป็นวันทําบุญที่เป็นการรวมตัวของญาติพี่น้อง และถือศีลอุโบสถเข้าวัดฟังธรรม แต่ที่บ้านปากน้ําลูกหลานที่เดิน ทางออกไปเรียนหนังสือและออกไปทํางานโรงงานกันหมดแล้วจึง ไม่มีผู้ใดลาหยุดงานมาร่วมทําบุญข้าวสากหรือทําบุญสารทลาวใน เดือน ๑๐ นี้แต่อย่างใด

79


! ศาลเจ้าพ่อใหญ่ ! แต่ เ ดิ ม ที ่ ต ลาดเก่ า มี ศ าลเจ้ า จี น ซึ ่ ง เป็ น อาคารทําด้วยไม้แบบเรียนไทยยกพ้ืน ลักษณะ รู ป แบบเดี ย วกั บ ศาลเจ้ า จี น ในท้ อ งถิ ่ น อื ่ น ๆ ที่คนจีนและผู้เดินทางผ่านนิยมขึ้นมาสักการะ บางแห่งชาวจีนโพ้นทะเลนําป้ายหรือเถ้าขี้ธูป จากศาลเจ้าจากถิ่นที่อยู่เดิมในเมืองจีนมาทํา พิธีไว้ ณ ศาลเจ้าประจําชุมชนใหม่ในเมืองไทย ! ลั ก ษณะอาคารของศาลเจ้ า ที ่ ต ลาดเก่ า คล้ า ยคลึ ง กั บ ศาลเจ้ า แม่ เ บิ ก ไพรที ่ ร ิ ม น้ ํ า แม่ กลองซ่ึงเป็นชุมชนจีนรุ่นเก่าที่คุ้งพยอม อําเภอ บ้านโป่งในจังหวัดราชบุรี แต่ศาลเจ้าเดิมที่ ตลาดเก่ า นี ้ เ ป็ น ศาลเจ้ า แบบท้ อ งถิ ่ น ที ่ น ํ า เอา วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของนายทหารผู้หนึ่งที่ถือว่า คอยดูแล ถือว่าเป็นรูปแบบการสร้างศาลแบบ ท้องถิ่นที่ไม่ใช่ศาลเจ้าเสียทีเดียว รูปแบบที่ สร้างศาลสําหรับเจ้าพ่​่อท้องถิ่นที่เคยมีชีวิตจริง นั ้ น มั ก เกิ ด ขึ ้ น ในสั ง คมแบบไทย-ลาวที ่ ม ี ก าร ศาลเจ้าพ่อใหญ่ สร้ า งศาลสํ า หรั บ ส่ ิ ง ศั ก ดิ ์ ส ิ ท ธ์ ิ ผ ้ ู ร ั ก ษา กบินทร์บุรี [Guardian spirit] ปรากฏตามชุมชนหรือท้อง ถิ่นต่างๆ และรูปแบบของศาลในตลาดเก่าแห่งนี้ เมืองละแวกกับทัพสมเด็จพระนเรศรวรฯ หลวงเดชาสิริมีเพื่อน ก็เป็นดังท่ีกล่าวมา ! ต่อแต่คนจีนที่ตลาดเก่าก็มีศาลเจ้าพ่อที่อัญเชิญมาจากเมือง คู่ใจเป็นบริวารอยู่สองท่านคือนายเสือกับนายสิงห์ เมื่อสิ้นชีวิตไป จีนเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ศาลเจ้าพ่อใหญ่” อยู่ริมน้ําแคว หนุมาน แล้วจึงได้ชื่อว่า “เจ้าพ่อเสือเจ้าพ่อสิงห์” ใกล้กับสะพานดําหรือสะพานรถไฟข้ามลําน้ําหนุมาน ต่อมามีการ ! ศาลเจ้าพ่อพระปรงเดิมอยู่ริมลําน้ําพระปรงบนถนนสุวรรณ สร้างขึ้นใหม่จากศาลเดิมจนมีขนาดใหญ่โตขึ้นมากและเชื่อมโยง ศรสายเก่าแถบบ้านหนองโดน ซึ่งยังคงมีศาลขนาดเล็กปรากฏที่ กับของมูลนิธิสัจจพุทธธรรมแห่งประเทศไทยตั้งเมื่อปี พ.ศ. บูรณะเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยหลวงบุรกรรมโกวิท ต่อมาย้ายศาล ๒๕๐๘ บริเวณน้ียังเป็นที่ตั้งของมูลนิธิสว่างบําเพ็ญธรรม สถาน เจ้าพ่อพระปรงไปอยู่บริเวณสะพานริมแควพระปรงเนื่องจากมี ปราจีนบุรีซึ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครทํางานช่วยเหลือสังคมอีก ด้วย การสร้างถนนสุวรรณศรสายใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓ ! ศาลเจ้าพ่อใหญ่เรียกอย่างเป็นทางการว่า “เทวสถานทงเยี่ยง- ! ต่อมามีการย้ายศาลเพื่อสร้างใหม่และทําพิธีเปิดเป็นทางการ ไท้” โดยมีศาลเจ้าโป๊ยเซียนโจวซือ ถือเป็นศาลเจ้าพ่อใหญ่แห่ง เมื่อราว พ.ศ. ๒๕๔๐ บริจาคที่ดินโดยผู้ใหญ่บ้านท่านหนึ่งใน กบินทร์บุรี มีงานสมโภชใหญ่ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปีและ จังหวัดสระแก้วจึงย้ายมาสร้างศาลขนาดใหญ่อยู่ห่างจากลําน้ํามา เป็นสถานที่ซึ่งชาวบ้านทั้งในตลาดกินทร์และผู้นับถือเลื่อมใสจาก เล็กน้อยและตั้งอยู่ริมถนนสุวรรณศร (ถนนหมายเลข ๓๓) ทาง ฝั่งจังหวัดสระแก้ว โดยมีลําน้ําพระปรงเป็นเขตแบ่งสุดเขตอําเภอ ท้องถิ่นอื่นๆ จะเข้ามาไหว้ขอพรให้ประสบความสําเร็จต่างๆ กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นลําน้ํากั้นเขตแดนของสอง ` จังหวัด ` เจ้าพ่อพระปรง ! แต่ละวันประชาชนที่ผ่านสัญจรไปมาจะแวะสักการะกราบไหว้ ! ศาลเจ้าพ่อพระปรงหลังเดิมที่เชื่อว่าเป็นบริเวณที่ตั้งของ ขอพรและขอความคุ้มครองจากเจ้าพ่อเป็นจํานวนมากตลอดทั้งปี บ้านด่านพระปรง ด่านชายแดนในสมัยกรุงศรีอยุธยา เรื่องราว หากไม่แวะสักการะกราบไหว้ก็จะบีบแตรยานพาหนะเป็นการ ของเจ้าพ่อพระปรงเล่าสืบต่อกันมาว่า เจ้าพ่อพระปรงมีนามว่า คารวะเกือบทุกคัน หากไม่ปฏิบัติเช่นนั้นคนเดินทางจะรู้สึกไม่ “หลวงเดชาศิริ” นายด่านพระปรง คอยสืบข่าวลาดตระเวณในเขต มั่นใจจนเชื่อว่าการเดินต่อไปข้างหน้ามักประสบอุบัติเหตุซึ่งมี แนวชายแดนของสยามทางตะวันออก รับผิดชอบทิศตะวันออกถึง ตัวอย่างให้เห็นมากมาย เขตแดนประเทศกัมพูชา ทิศตะวันตก สุดแดนเมืองปราจีนบุรี ทิศ e และปัจจุบันมีความนิยมบนขอสามีฝรั่งมากเป็นอันดับต้นๆ เหนือจดเมืองนครราชสีมา และทิศใต้จดแดนเมืองจันทบุรี จนมา รวมทั้งขอเลื่อนตําแหน่งการงาน ทหารที่ถูกส่งไปที่สามจังหวัด เสียชีวิตในระหว่างเขตลําน้ําหน้าด่านพระปรงหลังจากยกทัพไปตี ชายแดนใต้ก็บนขอให้ได้กลับบ้านของแก้บนในปัจจุบันนิยมหา

80


รูปปั้นพวกทหาร ตํารวจ เสือ สิงห์ งู ไก่ ฯลฯ และยังมีความ นิยมนําไก่เป็นๆ มาปล่อยให้ เป็นบริวารด้วย บริเวณรอบๆ ศาลพระปรงจึงมีไก่อยู่เป็นฝูง จํานวนมาก โดยคงเป็นการ ตีความเรื่องบริวารเจ้าพ่อเสือ และเจ้าพ่อสิงห์และการสิ้นชีวิต ในทัพของสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งความเชื่อในสังคมไทยช่วง หลังๆ นิยมบนที่ศาลสมเด็จ พระนเรศวรฯ ด้วยรูปปั้นไก่ชน ที่เชื่อว่าท่านทรง โปรดฯ ไก่ชน นั่นเอง ! ทุกวันนี้เมื่อมีการท่องเที่ยว เข้ามาร่วม จัดการงานประเพณี ด้วยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ของทุกปีจะมีผู้คนจากท้องถิ่น ต่างๆ มาเท่ียวงานที่เพ่ิงเรียก กันเสียใหม่ว่า “งานไหลพระ ปรง” กลางคืนมีมหรสพพวก ภาพยนตร์ ลิเก ดนตรี ละคร มี เจ้าภาพจัดหามาทุกคืน โดย เฉพาะวันท่ี ๑๙ เมษายนท่ีเป็น วันแห่เจ้าพ่อพระปรงที่อัญเชิญ อยู่ในรูปลักษณ์ของพระพุทธรูปน่ังปางสมาธิ ! นอกจากมีการถวาย ภัตตาหารแด่พระสงฆ์แล้ว ยังมี การทอดผ้าป่ามีพิธีมอบสิ่งของ ต่างๆ ให้เป็นสมบัติของศาลเจ้า พ่อ ชาวบ้านรอร่วมขบวนแห่ตั้งแต่เช้าและเล่นสาดน้ํากันตาม ประเพณี มีรถยนต์มาร่วมขบวนแห่นับร้อยคัน โดยเริ่มจากศาลเจ้า พ่อพระปรง มาตามถนน สุวรรณศรจนถึงศาลากลางจังหวัด สระแก้ว ระยะทางกว่า ๓๐ กิโลเมตร เพ่ือให้ประชาชนได้ร่วมสรง น้ํา ก่อนจะแห่กลับในตอนเย็น เป็นการส่งท้ายเทศกาลสงกรานต์ใน ละแวกเมืองสระแก้วและ กบินทร์บุรี ! ส่วนเจ้าพ่อหนุมานนั้นกลับไม่มีผู้ใดรู้จักมากนัก ศาลที่เคยตั้ง อยู่บริเวณริมแควหนุมานถูกย้ายมาอยู่ริมหนองน้ําหนุมาน ใกล้กับ บ้านใต้ของกลุ่มบ้านเมืองเก่าและคงมีการทําพิธีกรรมกราบไหว้และ ขอพรโดยชาวบ้านเชื้อสายลาวเวียง แต่เพราะไม่ได้เป็นศาลท่ีอยู่ใกล้ เส้นทางคมนาคมสําคัญ ศาลเจ้าพ่อหนุมานจึงไม่ได้กลายเป็นศาลที่ มีช่ือเสียงดังศาลเจ้าพ่อพระปรงที่ถูกนําเรื่องเล่าต่างๆ นํามาผลิตซ้ํา ทางความเชื่อ [Beliefs Reproduction] เพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์ จนกลายเป็ น ส่ ิ ง ศั ก ดิ ์ ส ิ ท ธ์ ิ ข องท้ อ งถิ ่ น ในระดั บ จั ง หวั ด และข้ า ม ภูมิภาคไป

ภาพซ้ าย เจ้ าพ่อ พระปรงเคยมีนามว่า “หลวงเดชาศิ ร ิ” นายด่ านพระปรง คอยสื บ ข่ าวลาดตระเวณในเขตแนว ชายแดนของสยามทางตะวั น ออก รั บ ผิ ด ชอบทิ ศ ตะวั น ออกถึ ง เขตแดน ประเทศกั มพู ชา ทิ ศ ตะวั น ตกสุ ดแดน เมือ งปราจี น บุร ี ทิศ เหนื อ จรดเมื อง นครราชสี ม า และทิศ ใต้ จ รดแดนเมือง จัน ทบุ ร ี จนต่ อ มาเสีย ชี ว ิ ตในระหว่ าง เขตลํ า น้ ํ า หน้ า ด่ า นพระปรงหลั ง จาก ยกทั พ ไปตี เ มือ งละแวกกั บ ทั พ สมเด็จ พระนเรศรวรฯ บริ เวณศาลจึ ง มี การนํา ไก่ ชนมาถวายอยู ่ ต ลอดเวลาทั ้ง ไก่จ ริง และรูป ปั ้ น ภาพล่ าง ศาลเจ้ าพ่ อ พระปรง

! ดังนั้น ศาลเจ้าพ่อหนุมานจึงกลายเป็นเพียงศาลหรือส่ิงศักด์ิ สิทธิ์ของชาวบ้านในชุมชน ในขณะที่ศาลเจ้าพ่อพระปรงกลายเป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธ์ิในระดับภูมิภาค “พระปรีชากลการ” : จากขุนนางนักเรียนนอก สู่ “ผีเมือง” เจ้าพ่อสําอาง ! ริมน้ําหนุมานใกล้กับบริเวณตลาดใหม่ซึ่งเป็นชุมชนที่ขยายต่อ เนื ่ อ งมาจากทางตลาดเก่ า เมื ่ อ เมื อ งกบิ น ทร์ บ ุ ร ี เ จริ ญ มั ่ น คงทาง เศรษฐกิจมากขึ้น มีท่าเรือแห่งหนึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “ท่าเรือ เจริญสุข” เดิมเป็นท่าเรือสินค้ามีเรือข้าวเปลือกและเรือสินค้ามาจอด บริเวณนี้ ตลาดแถบน้ีเคยมีโรงแรมที่เป็นเรือนแถวไม้เพราะมีลูกค้า ที่เป็นคนเดินทางและพนักงานขายและเป็นตลาดที่คึกคักอยู่ในระยะ หนึ่ง ต่อเนื่องด้วยพื้นที่ว่างซึ่งมียุ้งฉางขนาดใหญ่สําหรับเก็บข้าวอยู่ หลายหลังและโรงสีไฟอยู่แห่งหน่ึง

81


จากเมืองหน้าด่านสู่ย่านอุตสาหกรรม

ภาพซ้ ายและซ้ ายล่ าง ภายในศาลเจ้ าพ่ อ สํ าอางที ่ เ ดิ ม ใกล้ ท ่า เรือ ริ มแควหนุ ม าน ทุ กวัน นี ้ย ั ง มี ผ ู ้ ม าดู แ ลและ ไหว้ ศาลอยู่ เ พื ่ อ ขอให้ โชคดี แต่น ้ อ ยคนจะรู ้ เ รื ่ อ งราว ในชี ว ิต จริ งของพระปรี ช ากลการ ศาลเจ้ าพ่อ สํา อางใน ตลาดกบิ น ทร์ บ ุ ร ี มี ส องหลั ง อี ก แห่ง หนึ ่ ง อยู ่ท ี่ ตลาดสํ า อาง ภาพขวาบนและล่ าง ศาลเจ้ า พ่ อ สํ าอาง ด้ านนอกและด้ านใน เป็ น ศาลที ่ห น้ าสถานี ตํ ารวจ ภูธ รอํ าเภอเมือ งปราจีน บุ ร ี

ป้ายติดประวัติของพระปรีชากลการและคดีเรื่องเหมืองทองคํา ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวบนศาล มีคนนําสิ่งของมาถวายตามแต่จะเช่ือถือกัน เช่น งาช้างท่ีหญิงผู้ หนึ่งมีศรัทธา และชายที่บ้านอยู่ใกล้เคียงนําน้ําชาไปไหว้ที่ศาลเจ้า พ่อสําอางทุกวันและคอยทําความสะอาดบริเวณศาลเพราะเคยไป ขอพรให้มีโชคลาภจนถูกลอตเตอรี่จึงศรัทธาและปวารณาตนเป็น ผู้ดูแลและเป็นผู้นําทําพิธีแก่ชาวบ้านที่ต้องการมาแก้บนมาโดย ตลอด ! เป็นธรรมเนียมที่ชาวบ้านบริเวณใกล้กับตลาดกบินทร์หรือ ลูกหลานคนในตลาดกบินทร์บุรีที่จะบวชจะต้องมาลาที่ศาลเจ้าพ่อ สําอาง สิ่งที่บอกเล่าสืบต่อกันมานี้เป็นธรรมเนียมดั้งเดิมของคน ไทย-ลาวที่กระทําต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในชุมชนของตนก็คือการมาลา บวช เพราะถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่นพ่อแม่ปู่ย่าตายายหรือผี บรรพบุรุษ และผีเมืองท่ีคุ้มครองตน ครอบครัวและชุมชน

82

! การเตรียมตัวมาลาและไหว้ศาลเจ้าพ่อสําอางต้องเตรียมข้าว ปากหม้อหรือข้าวที่หุงใหม่ยังไม่เคยตักมาก่อน ๑ ทัพพี ไข่ดาว หรือไข่ต้ม หัวหมู ไก่ และเหล้าขาว ๑ ขวด ซึ่งก็คล้ายคลึงกับ ธรรมเนียมในการไหว้ศาลของผู้คนในวัฒนธรรมไทย-ลาวท่ัวไป ! ในศาลเจ้าพ่อสําอางมีผู้นําเอาข้อมูลจากเอกสารฉบับหนึ่ง บรรยายถึงความเป็นมาของเจ้าพ่อสําอางในนาม “พระปรีชากลการ” หรือ “สําอาง อมาตยกุล” เขียนไว้ดังน้ี


ประวัติเจ้าพ่อสำอางที่ติดไว้บริเวณศาลเจ้าพ่อสําอาง ! ! นามพระปรีชากลการ (สําอาง อมาตยกุล) พระปรีชากลการหรือนายสําอาง อมาตยกุล บุตรของ พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด) เกิดเมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ํา เดือน ๙ ปีฉลู ตรีศก จุลศักราช ๑๒๐๓ (พ.ศ. ๒๓๘๔) บิดาได้นําขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็กในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บิดาตั้งโรงกษาปณ์ผลิตเงินเหรียญขึ้นแทนเงิน พดด้วง จึงมีพระมหา กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระปรีชากลการไปช่วยงานบิดาที่กรมกษาปน์สิทธิการพระปรีชากลการเป็นผู้มี หัวคิดทันสมัยชอบประดิษฐ์ ค้นคว้า ชอบคบหาสมาคมกับชาวต่างประเทศคล้ายบิดา จึงเป็นที่โปรดปราน ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้เป็นเจ้ากรมกษาปณ์สิทธิการแทนบิดาตามคาดหมาย พระยาปรีชากลการมีผลงานอย่าง เช่น ประดิษฐ์ซุ้มจุดด้วยไฟแก๊สถวายในงานเฉลิมพระชนมพรรษา และเป็นนายงานสร้างตึกแถวบนถนนบํารุง เมือง e พ.ศ. ๒๔๑๔ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสุปรินเทนเด็นอินปิเนีย [Superintendent Engineer – หัวหน้าช่างเครื่อง] ควบคุมเรือพระที่นั่งบางกอก เสด็จประพาสต่างประเทศ นําเรือไป สิงคโปร์ ปีนัง มะละกา มะละแหม่ง ย่างกุ้ง กัลกัตตา อัครา มันดาริด และบอมเบย์ในอินเดีย จนเป็น ข้าราชบริพารที่ โปรดปรานในรัชกาลที่ ๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย โปรดเกล้าฯ ให้ทําบ่อทองที่ เมืองกบินทร์บุรี จนได้เป็นเจ้าเมืองปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. ๒๔๑๙ e จากการที่พระปรีชากลการมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์ และความรู้ความชํานาญภาษาอังกฤษ จึงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ทํางานได้รับบําเหน็จความชอบ ต่อมาได้เป็นแม่กอง มา ทําเหมือง ทองคําที่ตําบลบ่อทอง อําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อนําเอาทองคําไปให้รัฐบาล ไทยนํามาเจือ โลหะทําเหรียญกษาปณ์​์ มีร่องรอยการขุดเจาะทําเหมือง เห็นได้ชัดที่ริมถนนเส้นทางบ้าน หนองสังข์ เข้า ไปตําบลวังตะเคียน มีถนนเจ้าพ่อสําอางซึ่งเป็นถนนที่ท่านสร้างขึ้นเพื่อเป็นเส้นทาง ลําเลียงแร่ทองคํา พระปรีชากลการคงทําการขุดแร่ทองคําที่บ่อนางเชิง แล้วบรรทุกเรือล่องมาตาม ลําน้ําปราจีนบุรีขนขึ้นทํา การถลุงที่โรงจักร ซึ่งพระปรีชากลการให้สร้างโรงจักรถลุงแร่ทองคําที่ฝั่งแม่น้ําปราจีนบุรีริมวัดหลวง ปรีชากูลด้านทิศตะวันออกอยู่ใกล้กับกําแพงเรือนจําปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ตั้งสนามเทนนิสของอําเภอเมือง ปราจีนบุรี สถานที่ถลุงและเตาหลอมขณะนี้ยังปรากฏอยู่ที่บริเวณบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี e ปัจจุบันสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของพระปรีชากลการ เช่น บ่อทองนางเชิง ตําบลบ่อ ทอง อําเภอกบินทร์บุรี และศาลเจ้าพ่อสําอาง อําเภอเมืองปราจีนบุรี เป็นสถานที่สําคัญที่ พิสูจน์ว่า เจ้า พ่อสําอางยังคงเป็นที่เคารพบูชาของชาวเมืองปราจีนบุรีจนถึงปัจจุบัน e พระปรีชากลการ (สําอาง) ถึงแก่กรรมเมื่อปีเถาะ เอกศก จุลศักราช ๑๒๔๑ (พ.ศ. ๒๔๒๒) รวมอายุได้ ๓๙ ปี พระปรีชากลการเป็นบุคคลเดียวกับที่ชาวเมืองปราจีน เรียกว่า “เจ้าพ่อสําอาง”

83


ความรู้สึกของการถูกต่อว่าในเรื่องของการเป็น “กบฏ” และความนับถือที่มีต่อเจ้าพ่อสําอาง ที่มีอยู่โดยถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของท้องถิ่นและของเมืองปราจีนบุรีดูจะเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน ความเชื่อความศรัทธาของผู้คนในท้องถิ่นไม่ได้มีความสงสัยไปถึงสาเหตุที่ท่านเสียชีวิต ด้วยข้อหาการทุจริตครั้งใหญ่เป็นสิ่งที่ถูกหรือผิด แต่ความนับถือของคนท้องถิ่นยึดถือว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ [Spirit] ที่คอยปกป้องคุ้มกันภัยอันตรายต่างๆ แก่ตนและครอบครัว ตลอดจนชุมชนได้ กระบวนการถูกทําให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ [Deified] เช่นนี้ ไม่ต่างไปจากกระบวนการกลายเป็นผีบ้านผีเมืองต่างๆ ในท้องถิ่นต่างๆ

! แต่ชาวบ้านที่ตลาดกบินทร์บุรีก็แทบไม่มีผู้ใดสนใจหรือรับรู้ เรื่องราวของเจ้าพ่อสําอางเม่ือครั้งยังมีชีวิตอยู่แต่อย่างใด รู้แต่เพียง ว่า “เจ้าพ่อสําอางถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏ” เพราะมีข่าวว่าจะลอบ ปลงพระชนม์ด้วยการยิงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งไม่ใช่เร่ืองที่ใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงแม้แต่น้อยทีเดียว ! บริเวณรอบๆ ศาลมีหุ่นตุ๊กตาทหารและตํารวจถูกนํามาถวาย แก้บนมากมาย ส่วนใหญ่จะบนขอไม่ให้โดนเกณฑ์ทหารหรือบน ขอตําแหน่งและการเลื่อนตําแหน่งบ้าง ความเชื่อท่ีเข้าใจกันในหมู่ ชาวบ้านก็คือ ท่านถูกกล่าวหาว่าเป็น “กบฎ” จึงไม่ชอบทหารและ ต้องช่วยลูกหลานไม่ให้ไปเป็นทหารได้แน่นอน ! ส่วนศาลเจ้าพ่อสําอางที่เมืองปราจีนบุรีที่รู้จักกันทั่วไปนั้นตั้ง อยู่ที่หน้าสถานีตํารวจภูธรประจําจังหวัด เป็นศาลขนาดย่อมๆ หลัง หนึ่งภายในมีรูปถ่ายของพระปรีชากลการที่แต่งตัวแบบชาวตะวันตก รวมทั้งรูป นางแฟนน่ี น็อกซ์ [Mrs.Fanny Knox] ภรรยาที่มีบท บาทสําคัญในชีวิตและกรณีขัดแย้งในเรื่องการทุจริต ครั้งน้ันท่ีเช่ือม โยงไปถึงบิดานายโทมัส ยอร์ช น็อกซ์ [Thomas George Knox] ผู้เป็นกงสุลอังกฤษประจําประเทศสยาม เห็นได้ ชัดว่า นอกจาก คนในท้องถิ่นแล้วยังมีการดูแลโดยตระกูล “อมาตยกุล” ท่ีไม่ได้ ทอดท้ิงศาลแห่งน้ีแต่อย่างใด ! พระปรีชากลการถูกพิพากษาให้ประหารชีวิต โดยถูกนําตัว ออกจากกรุงเทพฯ แต่เช้า ลงเรือล่องไปจนถึงปราจีนบุรีในเวลา บ่ายแก่ๆ และจัดการประหารในเย็นวันน้ัน ซึ่งน่าจะเป็นที่บริเวณ วัดหลวงปรีชาทางฝั่งตรงข้ามกับสถานีตํารวจภูธรในปัจจุบัน ชาว บ้านตั้งศาลให้ท่านและมีการบูรณะเรื่อยมาอยู่ที่ “วัดหลวงปรีชากูล” ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกันมากเท่ากับศาลที่อยู่บริเวณหน้า สถานีตํารวจ และมีคนในจังหวัดปราจีนบุรีไปกราบไหว้บูชากันเสมอ โดยเฉพาะ ในช่วงเข้าพรรษามีพิธีกรรมที่คนปราจีนบุรีทําสืบต่อกันมาคือ ก่อนท่ีจะนําเจ้านาคไปอุปสมบทที่วัดจะนําเจ้านาคไปกราบลาเจ้าพ่อ สําอางก่อน ! เล่ า สื บ ทอดกั น เรื ่ อ ยมาว่ า บริ เ วณสระน้ ํ า หน้ า สถานี ต ํ า รวจ ภูธรอําเภอเมืองนั้น ถ้าใครจับปลาในสระไปโดยพลการจะเกิดเหตุ อัปมงคลวิบัติต่างๆ จนหวาดกลัวไปตามๆ กัน ! และศู น ย์ ข ้ อ มู ล ทางวั ฒ นธรรมของปราจี น บุ ร ี บ ั น ทึ ก ไว้ โ ดย สะท้อนความคิดเห็นของคนท้องถิ่นท่ีมีต่อพระปรีชากลการไว้ว่า ! “เจ้าพ่อสําอางคือพระปรีชากลการ เดิมช่ือสําอาง อมาตยกุล เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๙ ได้เป็นเจ้าเมืองปราจีนบุรี ได้ทําคุณประโยชน์

84

ต่อแผ่นดินจังหวัดปราจีนบุรี เช่น การสร้างถนน สถานที่ราชการ อาคารต่างๆ โรงงานเครื่องจักรสําหรับทําทอง บูรณะและสร้าง อุโบสถวัดหลวงปรีชากูล และถึงแม้ว่าดวงชะตากรรมของท่านจะ ต้องโทษทัณฑ์ด้วยการถูกประหารชีวิต แต่ประชาชนชาวจังหวัด ปราจีนบุรีก็ยังเคารพบูชาจนถึงทุกวันน้ี” ! คนที่กบินทร์บุรีที่มีอายุมากหน่อยจะทราบถึงภาพพจน์ที่สังคม มองคนท่ีเมืองแห่งน้ีว่า “เป็นเมืองกบฏ” บ้าง “คนกบินทร์หรือคน เมืองลิงคบไม่ได้” บ้าง คนที่เข้าไปหางานทําในเมืองหลวงระยะ แรกๆ มักจะเล่าถึงความรังเกียจถึงนิสัยไม่ซื่อตรง ความคดโกงที่ เกิดขึ้นที่กบินทร์บุรีจนไม่ไว้วางใจอยู่ในจิตใต้สํานึก จนพอจะ สันนิษฐานได้ว่าน่าจะมาจากเหตุการณ์ทุจริตที่เกิดขึ้นในกรณีเหมือง ทองคําที่บ่อทอง เมืองกบินทร์บุรีและการประหารชีวิตผู้รับผิดชอบ ในครั้งนั้นคือ “พระปรีชากลการ” กลายเป็นเรื่องเล่าที่โด่งดังและ ทัศนคติซึ่งเกิดขึ้นแก่คนที่กรุงเทพฯ สืบต่อกันมาและเป็นไปในทาง ลบแก่ผู้คนและเมืองกบินทร์บุรีที่ติดอยู่นานนับร้อยปี แต่จนถึง ปัจจุบันความทรงจํานี้ลดน้อยจนแทบจะหายไปและเกือบจะไม่มีผู้ใด รับรู้เรื่องนี้อีกต่อไปแล้ว ! อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกของการถูกต่อว่าในเร่ืองของการเป็น “กบฏ” และความนับถือที่มีต่อเจ้าพ่อสําอางที่มีอยู่โดยถือว่าเป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ของท้องถิ่นและของเมืองปราจีนบุรีดูจะเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน ความเชื่อความศรัทธาของผู้คนในท้องถิ่นไม่ได้มีความสงสัยไปถึง สาเหตุที่ท่านเสียชีวิตด้วยข้อหาการทุจริตครั้งใหญ่เป็นสิ่งที่ถูกหรือ ผิด แต่ความนับถือของคนท้องถิ่นยึดถือว่าเป็นสิ่งศักด์ิสิทธิ์ [Spirit] ท่ีคอยปกป้องคุ้มกันภัยอันตรายต่างๆ แก่ตนและครอบครัวตลอด จนชุมชนได้ ! กระบวนการถูกทําให้เป็นสิ่งศักด์ิสิทธิ์ [Deified] เช่นน้ีไม่ต่าง ไปจากกระบวนการกลายเป็นผีบ้านผีเมืองต่างๆ ในท้องถิ่นต่างๆ ท่ี ไม่ว่าจะตายด้วยสาเหตุใดท้ังร้ายหรือดีก็จะถูกยกขึ้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของท้ อ งถิ ่ น นั ้ น ๆ ซึ ่ ง เมื ่ อ นํ า ไปเปรี ย บเที ย บกั บ การนั บ ถื อ “แนต” [Nat] ในพม่า ซึ่งเป็นการนับถือวิญญาณของผู้ล่วงลับไป แล้วและถือเอาเฉพาะนัตที่เสียชีวิตด้วยความผิดปกติเท่านั้น


บริ ษัทแอลโซลาร์ 1” บริษั ทโรงงาน ผลิต ไฟฟ้ า พลั งแสงอาทิ ตย์ ขนาดใหญ่ ท ี ่ ส ุ ด ในประเทศไทย

๘. จากพ้ืนที่เกษตรกรรม สู่เขตอุตสาหกรรมใหม่ ! สภาพแวดล้ อ มบริ เ วณจั ง หวั ด ปราจี น บุ ร ี ร วมทั ้ ง อํ า เภอ กบินทร์บุรีที่เคยมีป่าไม้สมบูรณ์เพราะอยู่ชายป่าของเทือกเขาใหญ่ และเทือกพนมดงเร็ก ก่อนจะหมดไปเพราะการทําสัมปทานป่าไม้ และการบุกเบิกพื้นที่ทํากินอย่างกว้างขวางตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา จนสภาพพื้นที่ในทุกวันนี้ไม่มีป่าไม้นอกเขตป่าสงวน แห่งชาติเหลืออย่างสมบูรณ์แต่อย่างใด ! การทํ า นโยบายของรั ฐ ที ่ ค ิ ด ขึ ้ น จากส่ ว นกลางโดยไม่ ม ี ก าร ปรึกษาชาวบ้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่นหรือมีการศึกษาผล กระทบทางสิ่งแวดล้อมหรืออื่นๆ เพื่อเปลี่ยนจังหวัดปราจีนบุรีจาก จังหวัดที่ทําการเกษตรเป็นหลักสู่จังหวัดเมืองอุตสาหกรรมเริ่ม อย่างจริงจังตั้งแต่รัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี นับจากปี พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็นต้นมา นายกรัฐมนตรีผู้น้ี เน้นนโยบายส่งเสริมการลงทุนและนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็น สนามการค้า มีการปรับปรุงเมืองการค้าชายแดนหลายแห่ง และใน

ช่ ว งเวลานี ้ ท ี ่ ด ิ น ทํ า กิ น แบบเกษตรกรรมถู ก ปั ่ น ราคาจนเจ้ า ของ กรรมสิทธิ์ท่ีดินจํานวนมากขายที่ดินของตนเอง จนเกิดการกว้าน ซื้อที่ดินแปลงใหญ่ๆ มากมาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินทํากินเพื่อ เกษตรกรรมหลุดมือจากชาวบ้านมาอยู่ในมือของนักลงทุนอย่าง เห็นได้ชัดในช่วงเวลาน้ีซึ่งรวมทั้งท่ีอําเภอกบินทร์บุรีด้วย สู่เมืองอุตสาหกรรม ! นโยบายจากคณะรัฐบาลโดยกระทรวงอุตสาหกรรมที่กําหนด ให้จังหวัดปราจีนบุรีทั้งจังหวัดอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุนเขต ๓ ซึ่งเอกชนที่เข้ามาลงทุนบริเวณนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มมากขึ้น จากที่ได้รับอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน รวมทั้ง โครงการพัฒนาการลงทุนชายฝั่งทะเลตะวันออกระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๔-๒๕๓๗) จึงมีการกว้านซื้อที่ดินในจังหวัดปราจีนบุรีและ

85


กบินทร์บุรีมากขึ้นตาม ลําดับพร้อมกับการสร้างโรงงานจํานวนมาก ตามถนนสุวรรณศร หรือสาย ๓๓ และสาย ๓๐๔ ! พื้นที่แถบกบินทร์บุรีเป็นจุดที่น่าสนใจเพราะสามารถใช้ระบบ ขนส่งได้สะดวก สามารถเชื่อมโยงกับภูมิภาคทั้งในภาคตะวันออก เฉี ย งเหนื อ ภาคกลาง ภาคตะวั น ออก ทั ้ ง ยั ง ไม่ ไ กลจาก กรุงเทพมหานครที่มีท่าเรือพานิชย์ เช่น ท่าเรือคลองเตยรวมท้ัง บริเวณท่าเรือภาคตะวันออกที่เชื่อมโยงกับท่าเรือน้ําลึกที่แหลมฉบัง พื้นที่บางส่วนเป็นที่ดอนสูงน้ําท่วมไม่ถึงเหมาะแก่การตั้งโรงงาน อุตสาหกรรมและยังสามารถหาแหล่งน้ําที่อุดมสมบูรณ์ได้สะดวก ซึ่งในช่วง พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ผ่านมาน้ําท่วมสูงมากในเขตท่ีราบลุ่ม ภาคกลางของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณนิคมอุตสาหกรรม ต่างๆ แถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร ทําให้มีการเคลื่อนย้ายโรงงานอุตสาหกรรมมาสร้างโรงงานเพิ่มเติม ในเขตอุตสาหกรรมต่างๆ และจับจองพื้นที่ขยายตามเส้นทางถนน สาย ๓๐๔ ออกมาทางเขตอําเภอศรีมหาโพธิ เช่น การสร้างนิคม อุตสาหกรรมโรจนะ ซ่ึงมีโรงงานย้ายหนีพื้นที่น้ําท่วมที่ราบลุ่มอย่าง รุนแรงหลายแห่งรวมทั้งโรงงานใหม่จากญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน สหรัฐอเมริกาซึ่งหาพื้นที่ซึ่งมีแนวโน้มเรื่องความปลอดภัยจาก เหตุการณ์ต่างๆ มากกว่า ! “เขตอุตสาหกรรมกบินทร์บุร”ี เร่ิมก่อต้ังในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ประกอบไปด้วยนิคมอุตสาหกรรม ๓๐๔ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค กบินทร์ เขตประกอบอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี นิคมอุตสาหกรรม

86

ในเครือสหพัฒน์ รวมไม่ต่ํากว่า ๓๒๐ โรงงาน เมื่อถึง พ.ศ. ๒๕๕๔ [http://www.kabinburi.com/job/kiz/about_us.html] ซึ ่ ง ยั ง ไม่ น ั บ โรงงานที ่ เ ลี ้ ย งสั ต ว์ ใ นรู ป แบบเกษตรอุ ต สาหกรรม ขนาดเล็กที่ไม่ได้อยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุนซึ่งเคยมีอยู่ แต่เดิมเป็นจํานวนไม่น้อย ! จนอําเภอกบินทร์บุรีกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดย่อม สลับกับการปลูกพืชไร่ เช่นยูคาลิปตัสและยางพาราโดยมีท่ีนาปลูก ข้าวเหลือแซมอยู่เพียงไม่มากนัก ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายจากรัฐ บาลที่กําหนดการเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนจังหวัดปราจีนบุรีจากจังหวัด ที่ทําเกษตรกรรมเป็นหลักให้เปลี่ยนแปลงมาเป็นจังหวัดที่ทําการ อุตสาหกรรมเป็นหลักแทน เพราะสัดส่วนมูลค่าการผลิตของจังหวัด ปราจีนบุรีเม่ือ พ.ศ. ๒๕๔๙ มีสัดส่วนสูงกว่าคร่ึงหนึ่งของมูลค่า การผลิตในประเภทอ่ืนๆ คือ ๕๑ % ส่วนการค้าต่างๆ ราว ๒๕% และการผลิตภาคการเกษตรมีเพียง ๗ % และมูลค่าการผลิตภาค อุตสาหกรรมมีแนวโน้มว่าจะสูงกว่าสัดส่วนอื่นๆ และกําลังเพิ่มข้ึน เรื่อยๆ (รายงานสถานการณ์อุตสาหกรรมรายจังหวัด, ผลิตภัณฑ์ จั ง หวั ด ตามราคาประจํ า ปี จ ํ า แนกตามสาขาการผลิ ต จั ง หวั ด ปราจีนบุรี พ.ศ. ๒๕๔๙) ! เป็นที่สังเกตได้ว่าในช่วงแรกของนโยบายนี้ โรงงานที่เข้ามาทํา เน้นในทางอุตสาหกรรมเกษตร เช่น ฟาร์มเลี้ยงหมูขนาดใหญ่หรือ ฟาร์มเลี้ยงไก่ขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลถนนสายใหญ่และ อยู่แทรกไปกับชุมชนห่างไกลภายในซึ่งไม่ได้มีการควบคุมอย่าง


ภาพซ้าย สวนป่ายูคาลิปตัสขนาดใหญ่บางแห่งมีเนื้อที่ ครอบคลุมป่าดั้งเดิมของชาวบ้านไปจนหมด ภาพล่าง พื้นที่ซึ่งใช้เลี้ยงสัตว์จําพวก หมู ไก่ โดยทําเป็นฟาร์มในระบบเปิดและปิดสร้างปัญหา เรื่องมลพิษมากกว่าโรงงานอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ

เคร่งครัดจนทําให้เกิดผลกระทบต่อการใช้น้ําและการเกษตรของ ชาวบ้านและเกิดปัญหาสร้างผลกระทบในระดับมลพิษทางน้ําอุปโภค บริโภคและกลิ่นต่างๆ ! ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๕๐ แนวโน้มของการสร้าง โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เริ่มชัดเจนในการแบ่งกลุ่มรูปแบบ อุตสาหกรรม เพราะพื้นที่บริเวณนี้เริ่มมีการซื้อหรือเช่าที่ดินเพื่อปลูก พืชไร่ เช่นสวนยูคาลิปตัสมาสักระยะหน่ึงจึงทําให้มีวัตถุดิบมากพอ ที่จะขยายและสร้างโรงงานขนาดใหญ่ โดยแบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม ! อุตสาหกรรมกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ โดยผลิตเยื่อ กระดาษหรือกระดาษแข็ง ผลิตภาชนะจากกระดาษทุกชนิด กระดาษ ไส้กรองอากาศ เนื่องจากมีวัตถุดิบมากและเตรียมการปลูกพืชเช่น ยูคาลิปตัสมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง พร้อมท้ังการคมนาคมที่สามารถ เดินทางเข้าสู่ภาคอีสานใต้และบริเวณกึ่งกลางเช่นเขตทุ่งกุลาร้องไห้ที่ มีการรณรงค์ให้ปลูกยูคาลิปตัสตามหัวไร่ปลายนาจํานวนมากใน หลายจังหวัดโรงงานผลิตกระดาษที่สําคัญในจังหวัดปราจีนบุรี ได้แก่ บริษัทในเครือแอ๊ดวานซ์อะโกร จํากัด (มหาชน) โดยมีอัตราการ ขยายตัวสูงในช่วงน้ีเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ! อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กิจการเก่ียวกับการผลิต ประกอบดัดแปลง เครื่องมือหรือเครื่องไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุ

โทรทัศน์ เครื่องกระจายเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องกําเนิด ไฟฟ้า ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เป็นต้น การประกอบกิจการส่วนใหญ่เป็น ลักษณะรับจ้างผลิตให้กับผู้ผลิตรายใหญ่ อัตราการขยายตัวร้อยละ ๒๒ ! อุตสาหกรรมพลาสติก เป็นกิจการเกี่ยวกับการผลิตภัณฑ์ พลาสติกท่ีผลิตเก่ียวกับการฉีดพลาสติก ผลิตภาชนะและเคร่ืองแต่ง กายสตรี ทําผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น กระสอบ ผ้าผืนพลาสติก ถุง พลาสติก แผ่นพลาสติก พี.วี.ซี. ทําเม็ดพลาสติก ทําแม่พิมพ์ พลาสติก ผลิตพลาสติกใช้เป็นฉนวนกันความร้อน ส่วนใหญ่เป็น อุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าป้อนเป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมอื่น เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ ของเล่นเด็ก โรงงานผลิตปุ๋ย โรงงาน น้ําตาล ซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ ๔๗ ! นอกจากนี้ การทําให้ปราจีนบุรีและกบินทร์บุรีเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่ดําเนินการในช่วงนี้ก็คือ รัฐประกาศและสนับสนุนให้เอกชนทําโครงการ “เขตอุตสาหกรรม” และสวนอุตสาหกรรม คือ เขตประกอบการอุตสาหกรรม บริษัท, เขตอุตสาหกรรม กบินทร์บุรี จํากัด, เขตประกอบการอุตสาหกรรมบ่อทอง อําเภอกบินทร์บุรี และ สวนอุตสาหกรรมคือ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮดิ้ง จํากัด อําเภอ กบินทร์บุรี, บริษัท ปราจีนแลนด์ จํากัด อําเภอเมืองฯ และบริษัท

87


๓๐๔ อินดัสเตรียลปาร์ค จํากัด ในรอยต่อของอําเภอศรีมหาโพธิ ! นอกจากนี ้ ย ั ง ประกาศให้ ป ระทานบั ต รเพื ่ อ ทํ า อุ ต สาหกรรม เหมืองแร่ต่างๆ จากเขตภูเขาในพ้ืนที่จํานวน ๘ แปลง และเพ่ิมเติม ขึ้นอีกในภายหลังคือแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนฯ จํานวน ๕ แปลงแร่หินประดับชนิดหินแกรนิต จํานวน ๑ แปลง, แร่ดินขาว และบอลเคลย์จํานวน ๒ แปลง ! คําขอประทานบัตรและอาชญาบัตรพิเศษอยู่ระหว่างดําเนินการ คือ แร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนจํานวน ๗ แปลง, แร่ทองคํา เงิน ทองแดง เป็นต้น จํานวน ๓ แปลง นอกจากนี้ยังให้ใบอนุญาต ประกอบกิจการโรงโม่ บดและย่อยหินจํานวน ๒ แห่ง ! อุตสาหกรรมต่างๆ มีความต้องการแรงงานจํานวนมากจึงมี ปัญหาขาดแคลนแรงงานจํานวนมากใน พ.ศ. ๒๕๕๖ มีโครงการ ก่อสร้างโรงงานเพิ่มอีกมากเพราะเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนของ สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และมีการย้าย ฐานการผลิตมาจากพ้ืนที่น้ําท่วม เพราะจังหวัดปราจีนบุรีอยู่ในเขต ส่งเสริมการลงทุนโซน ๓ มีเขตประกอบการอุตสาหกรรมท่ีได้รับ การส่งเสริมและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาส่งเสริมอีก ๑๑ รวม พื้นที่สร้างเขตโรงงานอุตสาหกรรมอีกราวๆ ๓๘,๐๐๐ ไร่ และขยาย พ้ืนท่ีเขตอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มเติมอีกราว ๒,๐๐๐ กว่าไร่ โดยมี นักลงทุนจากญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนรายใหญ่ (ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕) ! สําหรับโรงงานที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป จากแต่เดิมที่เคยเป็นป่าไม้อุดมสมบูรณ์และอยู่ในพื้นที่ราบเชิงเขา และเป็นเขตต้นน้ําซึ่งต่อมากลายมาเป็นพื้นที่ทําการเกษตรที่เน้นการ ปลูกพืชไร่ ไม่มีป่าไม้และมีพื้นที่โล่งซึ่งอากาศค่อนข้างร้อนแล้งโดย เฉพาะช่วงฤดูร้อนของอําเภอกบินทร์บุรี อีกทั้งอยู่ในเขตส่งเสริมการ ลงทุน จึงมีศักยภาพที่ทําให้มีการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังแสง อาทิตย์ที่เป็นโรงงานที่สร้างพลังงานทดแทนและไม่ทําลายสภาพ แวดล้อม ถือเป็นโรงงานแบบใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์และ ไม่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งด้วยสภาพภูมิ อากาศและสภาพแวดล้อมที่วิเคราะห์วิจัยแล้วว่ามีศักยภาพในการรับ แสงอาทิตย์ได้ในระดับดีกว่าแหล่งอื่นๆ e จึงเริ่มมีการสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งประเมิน แล้วว่าน่าจะเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในเนื้อที่กว่า ๒๑๕ ไร่ เป็นครั้งแรกท่ีประเทศไทยมีการลงทุนทําโรงไฟฟ้าผลิตจาก พลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่และสร้างโดยเอกชนคือ “บริษัท แอล โซลาร์ 1” นับเป็นการสร้างพลังงานทดแทนที่มีประสิทธิภาพ แม้ว่า

จะมีการลงทุนสูงก็ตาม โดยเป็นการร่วมลงทุนระหว่างบริษัท ล็อกซเล่ย์ จํากัด (มหาชน) กองทุนเปิด เอ็ม เอฟ ซี เอนเนอร์จี ฟันด์, บริษัท ลีโอนิคส์ จํากัด และพันเอก ดร.ประเสริฐ ชูแสง เป็น โรงงานผลิตไฟฟ้าที่สามารถจําหน่ายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) แล้วในขณะน้ี ! การเปล่ียนเป็นเมืองอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมจนกระ ท่ังเป็นนิคมอุตสาหกรรม ทําให้เกิดการย้ายถิ่นฐานเข้ามาทํางานใน พื้นที่กบินทร์บุรี กิจกรรมอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้นอย่างเข้มข้น มีการ สร้างหมู่บ้านจัดสรรใหม่ๆ จํานวนมาก ย่านร้านค้าตลาด ซุปเปอร์ สโตร์แบบทันสมัย โรงแรมระดับต่างๆ มีทั้งหรูหราและ ธรรมดาเพื่อ รองรับทั้งนักธุรกิจชาวต่างชาติและคนไทย รวมทั้งผู้คนเตรียมท่ีดิน เพ่ือขายซ่ึงมีนายหน้าเข้ามาติดต่อซื้อขายโดยตลอด ! การเปลี่ยนแปลงสภาพนิเวศของการอยู่อาศัยของชาวบ้านใน จังหวัดปราจีนบุรีรวมทั้งในอําเภอกบินทร์บุรีที่เปลี่ยนจากการทํา อาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักมาเป็นการสร้างเขตอุตสาหกรรมสวน อุตสาหกรรม โรงงานเกษตรอุตสาหกรรม ตลอดจนถึงการระเบิด หินเพื่อทําหินปูน การนําหินแกรนิตเพื่อมาประดับ รวมทั้งมีศักยภาพการทําเหมืองทองคํา ทองแดง และเงิน ! การเปลี ่ ย นพื ้ น ที ่ เ กษตรกรรมในท้ อ งถิ ่ น ให้ เ ป็ น เขต อุตสาหกรรมถือเป็นนโยบายของรัฐที่ยังไม่มีเสียงคัดค้านที่ชัดเจน จากชาวบ้านในท้องถ่ิน ! เพราะเกิดขึ้นก่อนกฎหมายตามมาตรา ๖๗ วรรคสองของ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ [Environmental Health Impact Assessment] ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่ใช้เพื่อคาดการณ์ถึงผลกระ ทบที่อาจเกิดขึ้นจากแผนงานหรือโครงการที่มีต่อสุขภาพอนามัยของ ประชาชนที่กําหนดว่า โครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระ ทบต่ อ ชุ ม ชนอย่ า งรุ น แรง ทั ้ ง ทางด้ า นคุ ณ ภาพสิ ่ ง แวดล้ อ ม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพจะกระทํามิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษา และประเมิ น ผลกระทบต่ อ คุ ณ ภาพสิ ่ ง แวดล้ อ มและสุ ข ภาพของ ประชาชนในชุ ม ชน จั ด ให้ ม ี ก ระบวนการรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน ! และการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบต่อสังคม วั ฒ นธรรมและชี ว ิ ต วั ฒ นธรรมของผู ้ ค นที ่ เ คยทํ า งานภาค เกษตรกรรมในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างกว้างขวางและยังไม่มี การรองรั บ ด้ ว ยกฏหมายรั ฐ ธรรมนู ญ ในประเด็ น นี ้ อ ย่ า งเป็ น รู ป ธรรมแต่อย่างใด

88


กบิ นทร์บ ุร ี วันนี ้

๙. เมืองชุ่มน้ำอันร้อนแล้ง ! สถานการณ์น้ําท่วมที่กบินทร์บุรีมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ภายในสองสามปีหลังมานี้ สาเหตุน่าจะมาจากความบกพร่องของ การจัดการน้ําเรื่องหนึ่งและความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ [Climate Change] ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด ทําให้ ในช่วงปีหลังๆ มานี้มีปริมาณฝนที่ตกล่าช้าในฤดูฝนและฝนตกหนัก อย่างต่อเน่ือง จนพื้นที่ของอําเภอกบินทร์บุรีท่ีอยู่ใกล้กับต้นน้ําและ เทือกเขาสูงกลายเป็นที่รองรับน้ําจํานวนมหาศาล เกิดน้ําล้นตลิ่งและ เข้าท่วมในพื้นที่ลุ่มจนสร้างความเสียหายแก่ชุมชนต่างๆ อย่างน่า ตกใจ ! การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีผลกระทบอย่างชัดเจนต่อสภาพ แวดล้ อ มและการตั ้ ง ถิ ่ น ฐานในเขตภาคตะวั น ออกซึ ่ ง รวมทั ้ ง ในอําเภอกบินทร์บุรี เช่น การเปล่ียนแปลงปริมาณฝน การขยับ เลื่อนของฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เป็นแบบร้อนจัดและ หนาวจัด ส่งผลให้ระบบนิเวศ ระบบสังคมเศรษฐกิจ การดําเนิน ชีวิตได้รับผลกระทบและตกอยู่ใต้ภาวะเสี่ยงซึ่งต้องมีการศึกษาอย่าง

เร่งด่วนในกรณีของอุณหภูมิที่ร้อนจัดและอุทกภัยร้ายแรงท่ีเกิดขึ้น ในช่วงเวลาท่ีเพ่ิงผ่านมา ! แม้ในเขตอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่กบินทร์บุรี ซึ่งมีการเลือก พื้นที่ตั้งเขตอุตสาหกรรมหรือสวนอุตสาหกรรมในระดับสูงกว่า ๑๒-๑๖ เมตรจากระดับน้ําทะเลก็ตาม แต่ก็ยังพบภาวะน้ําท่วมเป็น พื้นที่กว้างและมีผลกระทบต่อโรงงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นและย้ายหนีมา จากพื้นที่ราบลุ่มในแอ่งที่ราบภาคกลางของประเทศในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ อย่างน่าสนใจติดตามว่า ภาวะของการเปลี่ยนแปลงภูมิ อากาศทั้งในปัจจุบันและอนาคตนี้จะส่งผลให้มีการทบทวนแผน พัฒนาต่างๆ ในพ้ืนท่ีอย่างไร และมีแนวทางท่ีท้ังชุมชนและผู้ทํา กิจการในพื้นที่กบินทร์บุรีจะมีแนวทางร่วมกันในการรับมือบ้างหรือ ไม่ ! การกว้านซื้อที่ดินในจังหวัดปราจีนบุรีและกบินทร์บุรีมากขึ้น ตามลําดับ พร้อมกับการสร้างโรงงานจํานวนมากตามถนนสุวรรณศรหรือสาย ๓๓ และสาย ๓๐๔

89


จากเมืองหน้าด่านสู่ย่านอุตสาหกรรม

มหาอุทกภัย ! ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ “น้ําท่วมใหญ่” ที่เกิดขึ้นกับประ เทศไทยต้ังแต่ ๓-๔ ปีหลังเป็นต้นมา ถือว่าประเทศไทยได้รับ ความเสียหายหนักที่สุดจนติดอันดับโลก ! ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้นานหลายปี เช่น การพบภาวะแล้งท่ีสุดในรอบ ๒๐ ปี บางปีก็เป็นภาวะฝนตกหนักและนาน อากาศหนาวเปลี่ยนแปลง ลมมรสุมหนักที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก รวมทั้งผลกระทบจากการ เปล่ียนสภาพแวดล้อม เช่น การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่แม้จะสร้าง ในประเทศจีนแต่ก็ส่งผลกระทบไปทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน เขตภาคพ้ืน ผลกระทบเหล่านี้เชื่อมโยงไปถึงสิ่งต่างๆ มากมาย ทั้ง การผลิตอาหาร การปลูกข้าวการผลิตสินค้าเกษตรต่างๆ ! กลางเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่ชุมชนตลาดเก่าเทศบาล ตําบลกบินทร์ ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่างแควหนุมานกับแคว พระปรงต้นน้ําปราจีนบุรีและเป็นที่ลุ่มต่ํา เนื่องจากฝนตกนานติด ต่อกันทําให้น้ําล้นตลิ่งกะทันหัน ท่วมบ้านเรือนในตลาดเก่า ทั้งหมดกว่า ๒๐๐ ครอบครัว และท่วมสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงชั้นสอง ของบ้ า นเรื อ นแถวไม้ และน้ ํ า ท่ ว มตั ว อํ า เภอหรื อ เทศบาล กบินทร์บุรีในระดับประมาณ ๑ เมตร ซึ่งชาวบ้านยังพอรับได้กับ สิ่งที่เกิดขึ้นแต่ก็เตรียมตัวและหวาดผวาต่อภาวะน้ําล้นตลิ่งที่ไม่ เคย พบเห็นบ่อยนัก ! และในราวเดือนกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง น้ําป่าจากเขาใหญ่ไหลสู่แควหนุมาน สมทบกับมวลน้ําแควพระปรงที่ไหลมาจากทางสระแก้ว น้ําท่วม สูงกว่า ๒-๓ เมตรจากพ้ืนที่ย่านตลาดเก่าและกว่า ๑.๘๐-๒ เมตร ท่ีบริเวณย่านเศรษฐกิจของเทศบาลกบินทร์บุรี ซ่ึงเป็นปริมาณน้ํา ที่สูงกว่าปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งเคยคาดกันว่าเป็นเหตุการณ์น้ําท่วม หนักที่สุดแล้ว ในขณะที่ฝนยังคงตกต่อเนื่องทําให้ระลอกน้ําไหล

น้ํา ท่ว มจนเกื อบ ถึง ชั้น ๒ ของบ้า นเรื อน แถบตลาดเก่า กบิน ทร์บ ุร ี ในภาพเป็ นน้ ํา ท่ วมระลอกแรก ก่อนจะท่วม จนถึ ง ชั ้ น ๒ ซึ่งสูงจนไม่ สามารถ อยู่อาศัยต่อ ไปได้ ชาวบ้ านจึ ง ต้อ ง อพยพทิ ้ง บ้ าน เรือนตนเอง

90

จากที่สูงเพิ่มขึ้นอีกเป็นครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓ ซ่ึงมีระดับน้ําสูง ที่สุดกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาในช่วงเวลาเพียงเดือนเศษๆ ! จนชาวบ้านในเทศบาลกบินทร์บุรีหรือตัวอําเภอทั้งตลาดเก่า และตลาดใหม่ต้องอพยพออกจากบ้านที่น้ําท่วมสูงมานอนใน สถานที่พักชั่วคราว ต้องอพยพคนสูงอายุ คนป่วยออกไปสู่ที่ ปลอดภัยเพราะต้องตัดน้ําตัดไฟทั้งหมดซึ่งน้ําไม่ท่วมอยู่เพียงแห่ง เดี ย วในพื ้ น ที ่ ท ั ้ ง หมดและทํ า ให้ เ กิ ด ความลํ า บากมากที ่ ส ุ ด ใน ประวัติศาสตร์ของเมืองกบินทร์บุรีนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ! นอกจากนี้ทําให้น้ําที่เข้าท่วมในอําเภอศรีมหาโพธิที่มีพื้นที่ ส่วนหนึ่งเป็นโคกเนินสูงจนเข้าท่วมบางส่วนของนิคมอุตสาหกรรม ๓๐๔ น้ําเข้าท่วมบริเวณถนนทางเข้าฝ่ังที่เป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วน รถยนต์และโรงงานที่มีการเก็บสารเคมีที่เป็นพิษ สําหรับสวน อุตสาหกรรมสหพัฒน์ กบินทร์บุรี มีน้ําเอ่อล้นในฝั่งของลานตก ตะกอนของระบบบําบัดน้ําเสีย ซ่ึงไม่เคยปรากฏเหตุการณ์เช่นน้ีมา ก่อนในรอบ ๒๐ ปีของการก่อตั้งสวนอุตสาหกรรมในแถบน้ี ! น้ําเข้าท่วมอําเภอศรีมหาโพธิและต่อเนื่องเข้าสู่อําเภอเมืองฯ และอําเภอบ้านสร้างไปจนถึงท้องถิ่นต่างๆ ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ถือเป็นน้ําท่วมหรืออุทกภัยครั้งใหญ่ท่ีสุดของจังหวัดปราจีนบุรี ! สภาพแวดล้อมนอกตัวเมืองกบินทร์บุรีในพื้นที่ลุ่มต่ําน้ําพัด คอสะพานขาดบ้าง ร้านค้าต่างๆ ต้องปิดกิจการสัตว์เลี้ยงต้อง อพยพขึ้นที่สูงและเกิดความเสียหายไม่น้อย น้ําไหลมาทั้งทางแคว หนุมานทางฝั่งเขาใหญ่และทางสระแก้วซึ่งเป็นแนวสันปันน้ําที่ สําคัญซึ่งไหลมาจากแควพระปรงและแควพระสะทึงทําให้น้ําเข้า ท่วมพื้นที่กบินทร์บุรีในพื้นที่ลุ่มเต็มพื้นที่รวมทั้งถนนสาย ๓๐๔ ที่น้ําท่วมในระดับเฉลี่ยสูงสุดประมาณ ๑ เมตร ! ผลกระทบของอุ ท กภั ย ครั ้ ง นี ้ เมื ่ อ ประมวลข่ า วจาก หนังสือพิมพ์พบว่า คนในอําเภอกบินทร์บุรีได้รับผลกระทบทาง เศรษฐกิจสูงมาก เพราะไม่สามารถเปิดร้านค้าและเดินทางไปทํา งาน โดยเฉพาะผู้ที่ทํางานในโรงงานต่างๆ หากไม่สามารถเดินทาง


ไปทํางาน โดยเฉพาะผู้ที่ทํางานใน โรงงานต่างๆ หากไม่สามารถเดินทาง ไปทํ า งานได้ ก ็ จ ะต้ อ งถู ก หั ก ค่ า แรง สําหรับแรงงานเหล่านี้สร้างความเดือด ร้อนมากที่สุด และพบว่าโรงงานบาง แห่ ง ในเขตอุ ต สาหกรรมกบิ น ทร์ บ ุ ร ี ติ ด ป้ า ยขายโรงงานพร้ อ มที ่ ด ิ น ขณะ ที่บรรยากาศในตลาดเทศบาลกบินทร์ เงียบไปราว ๒ เดือน ท้ังร้านค้าร้าน อาหารบางแห่งปิดตัวลงอย่างเงียบๆ เช่นกัน ! แม่ค้าขายอาหารตามสั่งในตลาด เทศบาลกบินทรกล่าวว่า ตลาดเงียบ ไม่มีคนและค้าขายไม่ได้ บางบ้านเรือน หรือร้านค้ายังเปิดไม่ได้เพราะยังซ่อม ไม่ เ สร็ จ หรื อ ไม่ ม ี ค ่ า ใช้ จ ่ า ยในการ ซ่อมแซม การฟื้นฟูชีวิตหลังน้ําท่วม โดยไม่มีการช่วยเหลือจากแหล่งทุนใด เลยกลายเป็นเรื่องที่ยากลําบากไม่น้อย แม่ค้าในตลาดกบินทร์บุรี บางราย กล่ า วว่ า อาจจะใช้ เ วลาเป็ น ปี ใ นการ ฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเป็นเช่นเดิม ! บางหมู่บ้านครัวเรือนราว ๑๗๖ ครัวเรือน ถูกน้ําล้อมรอบไม่สามารถ ติดต่อกับโลกภายนอกได้ เพราะไม่มี พาหนะเช่นเรือและกระแสน้ําที่พัดพา รุนแรงมาก การออกเดินทางจะเป็น อันตรายอย่างยิ่ง และสามารถทําได้ เพียงเก็บของให้สูงที่สุดและดูแลตนเอง ให้ ป ลอดภั ย ในช่ ว งเวลาเกื อ บหนึ ่ ง เดือนให้ปลอดภัยมากที่สุด ส่วนพื้นที่ ซึ่งเป็นแอ่งกระทะหรือที่ลุ่มต่ําน้ําท่วม ขังนานกว่า ๒ เดือน และชาวบ้านจํา ต้องทนอยู่อย่างไม่มีทางเลือก โดย ต้องเริ่มต้นทําการเกษตรใหม่ทั้งหมด ชาวบ้านเป็นผู้เริ่มต้นใหม่เองโดยไม่มี หลักประกันและความช่วยเหลือจากรัฐ ! จนนํ า มาสู ่ ส ภาพเศรษฐกิ จ ที ่ เงียบเหงาลงหลังภาวะน้ําท่วม และชาว บ้านที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดต้องเริ่มต้นใหม่กับการปลูกพืชที่ ลงทุนไปแล้ว และบ้างมีหนี้สินเพิ่มเติมมาด้วย ! น้ําท่วมใหญ่ที่เป็นมหาอุทกภัยครั้งหลังสุดในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ สร้างความเดือดร้อนแก่คนในพื้นท่ีกบินทร์บุรีไปท้ังระบบอย่าง แท้จริง ! นอกจากนี้ วิธีการบริหารจัดการน้ําในยุคปัจจุบันยังผูกโยง กับการเลือกปฏิบัติและการเตรียมตัวที่ไม่พร้อมของผู้มีหน้าที่รับผิด

น้ ํ าท่ วมกบิน ทร์ บ ุ ร ี เมื ่อ ปลายเดือ น กั น ยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ภาพซ้ ายบน บนถนนสาย ๓๐๔ ภาพขวาบน เกษตรกรที ่ป ลูกมั น สํ าปะหลัง บริเ วณตํ าบลย่ านรี ต้ อง รี บ ถอนต้ น มั น (ภาพจากมติช น ออนไลน์ ) ภาพขวาและซ้ ายล่ าง น้ํ าท่ ว มใน เทศบาลกบิ น ทร์บ ุ ร ี เ สี ย หายหนั ก

ชอบ เช่น การที่คนกบินทร์บุรีพูดกันว่าที่น้ําท่วมหนักเพราะปัญหา ในการจัดการน้ําที่อํานาจในการตัดสินใจทั้งหมดอยู่ในมือผู้ว่า ราชการจังหวัดฝ่ายเดียว โดยท่ีผู้มีหน้าท่ีในการทํางานไม่สามารถ ตัดสินใจในการบริหารจัดการให้น้ําไหลถ่ายเทเพื่อบรรเทาความ เดือดร้อนของผู้คนที่อยู่ทางต้นน้ํา เพราะเลือกที่จะจัดการน้ําให้ได้ เป็นบางส่วน ทําให้เกิดความรู้สึกไม่ยุติธรรมแก่ประชาชน ! ในสภาพสังคมและการเมืองที่มีปัญหามานานนับ ๑๐ ปีเช่นน้ี ประเทศไทยจึ ง อยู ่ ใ นสภาพลํ า บากที ่ จ ะบริ ห ารจั ด การเรื ่ อ งการ

91


เขาใหญ่ลงมาและติดต่อถึงกันได้ ชาวบ้านเคยล่า เก้ง กวาง หมี เลียงผา ได้เป็นจํานวนมาก บางครั้งชาวบ้านก็พบเห็น เสือและฝูง จิ้งจอกป่าที่ออกมาหากินอยู่บ่อยครั้ง ป่าเขตนี้มีความหลากหลาย ทางชีวภาพสูง ดังเห็นตัวอย่างจากที่ “เครือข่ายรักลุ่มน้ําพระปรง” ทํางานศึกษาวิจัยเบื้องต้นและพบว่ามีพืชพันธุ์ในธรรมชาติที่เป็น สมุนไพรและความรู้เรื่องหมอพื้นบ้านและสามารถปรุงยารักษา โรคได้อยู่มากตามหมู่บ้านต่างๆ ! แม้ตําแหน่งที่ตั้งตัวอําเภอกบินทร์บุรีหรือเมืองกบินทร์บุรีแต่ เดิมจะอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ําอันเป็นที่สบกันของลําน้ําหลากหลายสาขา ที่มาจากเทือกเขาใหญ่และพนมดงเร็กรวมถึงภูเขาที่สูงในเขต อําเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของแม่น้ํา บางปะกงก็ตาม ! แต่ในทุกวันนี้นอกจากช่วงที่ฝนตก และในฤดูหนาวที่อุณหภูมิลดต่ําลงบ้าง สภาพอากาศที่กบินทร์บุรีนั้นร้อนจัดและ แห้งแล้งอย่างยิ่ง อันเนื่องมาจากการ เปลี ่ ย นแปลงสภาพนิ เ วศอย่ า งรุ น แรง เช่น การเปลี่ยนป่าให้เป็นพื้นที่ปลูกพืช การเกษตรที ่ เ คยปลู ก ทั ้ ง มั น สํ า ปะหลั ง ยูคาลิปตัส ต้นยางพารา และพื้นที่ส่วน หนึ ่ ง ก็ ก ลายเป็ น เขตอุ ต สาหกรรมหรื อ นิ ค มอุ ต สาหกรรมจํ า นวนหลายร้ อ ย โรงงาน ส่ ว นบริ เ วณภู เ ขาป่ า ไม้ ก ็ ม ี ปริมาณลดลงอย่างชัดเจน มีการรุกทํา รีสอร์ต ปลูกพืชไร่ และลักลอบตัดไม้ใน แควพระปรง ป่าสมบูรณ์ที่ประกาศเป็นเขตอุทยานไป แล้ว ! จนทําให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของ ป้องกันน้ําท่วมอย่างมีประสิทธิภาพดังน้ัน ถึงแม้จะมีการจัดตั้งคณะ กรรมการแห่งชาติเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงหรือ ระบบนิเวศที่มีกว่า ๖๐-๗๐ ปีที่แล้วยังมีป่าไม้หนาแน่น สภาพ Climate Change อยู ่ ใ นความรั บ ผิ ด ชอบของกระทรวง อากาศที่ผู้คนเล่าว่าสบายกว่านี้มาก เย็นกว่านี้มาก และมีความ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นองค์กรกลางผลักดัน ชุ่มชื้นไม่แห้งแล้งร้อนร้ายเช่นในทุกวันนี้ นโยบายและการจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปสู่การปฏิบัติ แต่ดูเหมือน ไม่ได้ผลแต่อย่างใด หากพิจารณาจากการจัดการน้ําและการจัดการ ` คนลุ่มน้ําพระปรงและปัญหาน้ําเสีย ปัญหาภัยพิบัติเรื่องน้ําท่วม อากาศแล้งฝนทิ้งช่วงที่แปรปรวนวิปริต ! ระยะเวลา ๑๐ กว่าปีมาแล้ว ในช่วงฤดูแล้งและช่วงน้ําหลาก อย่างยิ่งในช่วงนี้ ! ดังนั้น ปัญหาของการจัดการเรื่องน้ําท่วม อุทกภัยที่ซ้ําซ้อน ซึ่ง หลังจากที่มีการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมริมแควพระปรง โรงงาน เกิดขึ้นในพื้นที่ปราจีนบุรี สระแก้ว และกบินทร์บุรีเหล่านี้จึงเป็น อุตสาหกรรมที่อยู่ริมแควพระปรง ๔ แห่ง คือ โรงงานผลิตแป้งมัน ปัญหาเรื่องโครงสร้างของการบริหารการจัดการของฝ่ายรัฐที่ปะปน สําปะหลัง โรงงานฟอกย้อม โรงงานผลิตเยื่อกระดาษรีไซเคิล และ ไปด้วยปัญหาทางการเมืองในระดับประเทศ ไม่ใช่เกิดมาจากภาวะ โรงงานรีไซเคิลซึ่งอยู่ทางต้นน้ําในเขตติดต่อกับจังหวัดสระแก้วถูก ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่มนุษย์ควบคุมไม่ได้แต่ สงสัยว่าเป็นต้นเหตุในการปล่อยน้ําเสียลงแควพระปรงโดยตลอด โดยไม่คํานึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ น้ํากิน น้ําใช้ของชาวบ้าน เพียงอย่างเดียว โดยไม่เกรงกลัวกฎหมายแต่อย่างใด ! ในอดีตแควพระปรงน้ําใสสะอาดเป็นทั้งแหล่งอาหาร มีกุ้ง หอย ผลกระทบจากสภาพนิเวศที่เปล่ียนแปลง ปลา อุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งน้ําใช้ทําการเกษตรของชาวบ้านที่ ! ในเขตที่สูงโดยรอบเขาแก้ว เขาด้วน ฯลฯ ในอําเภอกบินทร์บุรี อยู่สองฝั่งคลองน้ําเสียที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเวลา เมื่อกว่า ๗๐ ปีท่ีแล้วมีสภาพเป็นป่าดิบทึบและมีสัตว์ป่าจากเทือก นาน ชาวบ้านในเขตนี้รวม ๙ ตําบล คือ ตําบลนนทรีย์ วังตะเคียน

92


ภาพซ้าย ตัวแทนโรงงาน อุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่รัฐชาวบ้าน บ้านปากน้ํา และเครือข่ายรักษ์ลุ่มน้ํา พระปรง โครงการ “คืนชีวิต คืนความสดใส รักษ์ห่วงใยสู่สายน้ําปรง” เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ภาพขวาล่าง เครือข่ายรักษ์ลุ่มน้ํา พระปรงรับรางวัลลูกโลกสีเขียว ประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๓

บ้านนา บ่อทอง เมืองเก่า กบินทร์ เขา ไม้แก้ว วังท่าช้าง และย่านรี ในจํานวน ๑๔ ตําบลของอําเภอกบินทร์บุรี รวมตัวเป็น “กลุ่มเครือ ข่ายรักษ์ลุ่มน้ําพระปรง” โดยมี นายเล่ือน บ่อจักรพันธ์ุ เป็นผู้ ประสานงาน การประชุมร่วมกันนําไปสู่การร้องเรียนต่อหน่วยงาน ที่เก่ียวข้อง เช่น กรมควบคุมมลพิษและกรมประมงให้เข้ามาตรวจ สอบ โดยกรมประมงในฐานะผู้เสียหายจากกรณีโรงงานผลิตแป้ง มันสําปะหลังรายหนึ่งปล่อยน้ําทิ้งโดยไม่มีการบําบัดจนทําให้สัตว์ น้ําตายเป็นโจทย์ยื่นฟ้องร้องโรงงานดังกล่าว ! ราวเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สัตว์น้ํา เช่น ปลาและกุ้งใน แควพระปรงที่ไหลผ่านตําบลบ่อทอง ตําบลวังตะเคียน และตําบล ย่านรีระยะทางกว่า ๓๐ กิโลเมตร ลอยรอความตายเป็นจํานวนมาก กลุ่มรักษ์แควพระปรงนําเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพน้ําที่ได้รับมา จากกรมควบคุมมลพิษเก็บตัวอย่างสัตว์น้ํา และตรวจสอบคุณภาพ น้ำพบว่าน้ํามีสีดําคล้ําปะปนน้ําสีแดงขุ่นช่วงน้ําหลาก ปริมาณ ออกซิเจนละลายในน้ําต่ําซ่ึงสัตว์น้ําไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ! ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เครือข่ายรักษ์ลุ่มน้ํา พระปรง เรียกร้องกรณีโรงงานปล่อยน้ําเสีย ทําให้น้ําเน่าเสียตลอด ระยะทางกว่า๑๖ กิโลเมตรอีกครั้ง ปลาและกุ้งตามธรรมชาติตายจํา นวน มหาศาล เกลื่อนแควพระปรงในตําบลบ่อทอง ตําบลวัง ตะเคียน อําเภอกบินทร์บุรี และปัญหานี้เกิดขึ้นตลอดโดยเฉพาะวัน หยุดยาวต่อเนื่องซึ่งขาดคนงานดูแล ! แม้ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ “เครือข่ายรักษ์ลุ่มน้ําพระปรง” ได้รับ รางวัลลูกโลกสีเขียวครั้งท่ี ๑๒ ซึ่งมอบให้แก่องค์กรท้องถิ่นหรือ หน่ ว ยงานที ่ ร ่ ว มใจกั น อนุ ร ั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ ท ี ่ ม ี ผ ลงาน โดดเด่น แต่การปล่อยน้ําเสียก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบสิ้นลง ชาวบ้าน ยังคงได้รับผลกระทบจากบรรดาโรงงานอุตสาหกรรมที่ชาวบ้าน สันนิษฐานว่าเป็นโรงงานทําเยื่อกระดาษ โรงงานมันสําปะหลัง และ โรงงานที่เลี้ยงหมูก็ยังแอบปล่อยน้ําเสียลงในแควพระปรงในช่วง เกิดน้ําท่วมใหญ่ในอําเภอกบินทร์บุรีอยู่ ! ปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่บ้านปากน้ํา ตําบลบ่อทอง หมู่บ้านริมคลองพระปรง สืบเน่ืองจากการแก้ปัญหาท่ียังคงมีสัตว์

น้ําจํานวนมากตาย ชาวบ้านและเครือข่ายรักษ์ลุ่มน้ําพระปรงได้ยื่น หนั ง สื อ ต่ อ กรมโรงงานอุ ต สาหกรรมให้ ด ํ า เนิ น การแก้ ไ ขปั ญ หา ดังกล่าว ทางการโรงงานอุตสาหกรรมจึงตั้งคณะทํางานไตรภาคีฯ จาก ๓ ส่วนคือผู้แทนจากภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ผู้แทน จากผู้ ประกอบการ และผู้แทนจากภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่มา ร่วมกันแก้ ปัญหาท่ีเกิดขึ้น โดยจัดโครงการ “คืนชีวิต คืนความ สดใส รักษ์ ห่วงใย สู่สายน้ําปรง” เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ชุมชน ผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐ โดยความร่วมมือของ คณะทํางานไตรภาคีเพื่อบริหารจัดการน้ําเสียและแก้ไขปัญหาสิ่ง แวดล้อมชุมชนแนวคลองพระปรงและชาวบ้านในพื้นที่โดยได้ลง นามบันทึกข้อตกลง [MOU] ร่วมกันปล่อยสัตว์น้ําและปลูกต้นไม้ พร้อมทั้งการจัดนิทรรศการกิจกรรมต่างๆ ! แต่เมื่อไปสํารวจความคิดเห็นของชาวบ้านเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ก็พบว่าในแควพระปรงก็ยังคงมีปัญหาเร่ืองน้ําเสีย และสัตว์น้ําท่ีน้อยลง ปัญหาจากมลพิษ “บ่อขยะ” ผลกระทบต่อแควหนุมาน ! เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ มีการสร้างพื้นที่ทิ้งขยะชั่วคราวของสภา

93


ตําบลนนทรีซึ่งที่มีพื้นที่อยู่ทางตอนเหนือของแควหนุมาน เป็นพื้นที่ ลุ่มที่เคยมีการทํานากันเป็นหลักและถือเป็นพื้นที่ชุ่มน้ําที่อยู่ใกล้กับ แนวถนนสุวรรณศรและเมืองกบินทร์บุรี การทําบ่อขยะทําโดยขุด ดินเป็นบ่อขนาดใหญ่และลอกดินรอบอ่างไว้เพื่อกั้นน้ําไม่ให้ไหล ออกลงสู่พ้ืนท่ีรอบๆ กองขยะด้านล่าง แต่พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นท่ีซ่ึง ติดกับภูเขาเป็นเนินสูงหลังเต่า มีลานหินขนาดใหญ่จนไม่สามารถ ขุดเป็นบ่อได้เพราะถ้าจะขุดต้องระเบิดหินออกก่อน พื้นที่บ่อขยะทํา เป็นแบบที่ราบเชิงเขาเวลาน้ําไหลผ่านมาก็จะไหลเซาะผ่านบ่อขยะ ทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทางน้ําเก่าและเป็นแหล่งต้นน้ําไหลลงสู่ คลองยาง ! บ่อขยะแห่งนี้กําหนดให้เป็นแหล่งทิ้งขยะชุมชนเท่านั้น แต่บาง ช่วงก็มีการลักลอบทิ้งขยะอันตรายเช่นเม่ือปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้มีการ ลักลอบนําถังสารเคมีเป็นจํานวนมากมาทิ้งน้ําจากสารเคมีไหล ลงนาข้าวของชาวบ้านตายไปประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ ไร่ และลักลอบ เผาขยะในช่วงต้นหน้าฝน ซึ่งฝนไหลชะล้างควันเขม่าจากกองขยะลง สู่พื้นที่ไร่นาของชาวบ้าน บางครั้งไฟไหม้ติดต่อนานอยู่เกือบ อาทิตย์ ควันไฟทําให้น้ําฝนที่ตกลงมาไม่สามารถเก็บไว้ดื่มได้จน ปัจจุบันชาวบ้านไม่มีใครกล้าด่ืมน้ําฝนอีกต่อไป เพราะกลัวมลพิษ จากอากาศไหนจะจากการเผาขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมท่ีปล่อย ควันสู่อากาศ ทุกครัวเรือนต้องซ้ือน้ําด่ืม ! เมื่อฝนตกลงมาน้ําส่วนหนึ่งก็จะไหลปะปนผิวดินไปตามทางน้ํา ผ่านกองขยะชะล้างสิ่งปฏิกูล เชื้อโรค สารพิษ สารเคมีต่างๆ จาก

94

กองขยะไหลผ่านไร่นาของชาวบ้านทําให้เกิดความเสียหายต่อนาข้าว แล้วไหลไปรวมลงคลองยางซึ่งเป็นเส้นน้ําหลักของตําบลนนทรี แล้ว ไหลไปรวมกับแควหนุมาน น้ําอีกส่วนหนึ่งก็ซึมลงสู่ชั้นใต้ดินทําให้ บ่อน้ําตื้นท่ีเป็นแหล่งน้ําใช้ของชาวบ้านใช้น้ําไม่ได้เลย และยังไม่ ทราบว่าสารพิษไหลซึมลงถึงชั้นน้ําบาดาลหรือไม่ เพราะชาวบ้าน ตําบลนนทรีส่วนใหญ่เจาะบ่อบาดาลขึ้นมาทําประปาหมู่บ้าน ! ห่างจากบ่อขยะราวครึ่งกิโลเมตร มีฟาร์มเลี้ยงหมูขนาดใหญ่ ๑ แห่ง ฟาร์มไก่ขนาดใหญ่มาก ๒ แห่ง ท้ังสองแห่งอยู่บริเวณ ต้นน้ํา ทั้งสิ้น และน้ําเสียส่งผลกระทบต่อแปลงนาของชาวบ้านอย่างเห็นได้ ชัด ฟาร์มทั้งสองแห่งจะนําซากหมูท้ังตัวหรือช้ินส่วนของหมูตายไป โยนทิ้งข้างทางบ้าง ใช้ถุงดําโยนทิ้งในนาชาวบ้านบ้าง โดยชาวบ้าน ไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการเมื่อใด และฝ่ายใดเป็นผู้อนุมัติ เมื่อทนไม่ได้ชาวนาจึงต้องขายนาขายไร่ไป จนเกือบหมดและเปลี่ยนแปลงเป็นเขตอุตสาหกรรม รวมกับโรงงาน ฟอกย้ อ มสารเคมี ท ่ ี ไ ม่ ไ ด้ ถ ู ก บํ า บั ด ไหลออกไปกั บ กระแสน้ ํ า ทําให้น้ําเน่าเสียบ่อยครั้งและไร่นารอบๆ เสียหายยืนต้นตายเป็น จํานวนมาก ! ผลกระทบจากการที่มีบ่อขยะและโรงงานเลี้ยงสัตว์ที่เรียกว่า ฟาร์มหมูและไก่ขนาดใหญ่ในเขตพื้นที่ต้นน้ําและพื้นที่ลุ่มอันเป็น เขตชุ่มน้ําซึ่งเป็นต้นแม่น้ําบางปะกงและเป็นเขตเกษตรกรรมที่ สําคัญ ต้องกลายเป็นจุดที่มีการปล่อยมลพิษจากขยะและเชื้อโรค ต่างๆ ลงสู่ลําน้ําธรรมชาติ ซ่ึงไม่มีการควบคุมด้วยกระบวนการ


บำบัดจากโรงงานหรือฟาร์มเลี้ยงสัตว์เหล่าน้ันหรือฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เหล่าน้ันหรือมีการควบคุมทางกฎหมายจากท้องถิ่น แม้จะมีการร้อง เรียนไปท่ีหน่วยงานของรัฐก็ตาม ! การปล่อยให้เกิดโรงงานที่ไม่สามารถควบคุมได้เช่นนี้ไม่เป็นผล ดีทั้งต่อสภาพแวดล้อมของลําน้ําสายน้ําต่างๆ ที่มีระยะ ทางผ่านท้อง ถิ่นอื่นๆ อีกมากมาย การเป็นแหล่งอาหารท่ีสําคัญที่ถูกทําลาย นโยบายของรัฐในการต้องการเปลี่ยนพื้นที่เกษตรกรรมมาสู่ความ เป็นเมืองอุตสาหกรรมนั้น น่าจะต้องทบทวนว่าได้ทําลายสภาพ แวดล้อมที่ผู้คนอยู่อาศัยไปด้วยอย่างมหาศาลและคงต้องตระหนักถึง ความเป็นเขตชุ่มน้ําและต้นน้ําสําคัญมากพอๆ กับการดูแลสภาพ แวดล้อมให้มนุษย์อยู่อาศัยไปด้วยกันโดยไม่ลําบากยากแค้นเช่นน้ี ปัญหาทางสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบ ต่อชีวิตวัฒนธรรม ! ปัญหาที่เกิดขึ้นจากนโยบายการเปลี่ยนแปลงพื้นที่จังหวัดปราจีน บุ ร ี แ ละอํ า เภอกบิ น ทร์ บ ุ ร ี จ ากพื ้ น ที ่ เ กษตรกรรมให้ เ ป็ น เมื อ ง อุตสาหกรรม หรือเน้นรายได้ส่วนใหญ่ให้เกิดจากการสร้างงานจาก โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งไม่พบว่ามีการศึกษาถึงผลกระทบทางด้าน การดําเนินชีวิต ตลอดจนชีวิตวัฒนธรรมที่ได้รับผลกระทบจาก การขายที่ดินและกลายเป็นแรงงานในโรงงาน ! แต่ จ ากการสํ า รวจโดยเครื ื อ ข่ า ยรั ก ษ์ ล ุ ่ ม น้ ํ า พระปรงพบว่ า ในหมู่บ้านซึ่งอยู่ในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการปล่อยน้ําเสียลงใน แหล่งน้ําธรรมชาติหลายแห่งพบว่าในหมู่บ้านมีปัญหาทางสังคมเกิด ขึ้นมากมาย เช่น ปัญหาการว่างงานและขาดอาชีพเสริมรองรับของ ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถทํางานในโรงงานและไม่มีท่ีดินทํากินเป็นของ ตนเองอันเนื่องมาจากอดีตที่เคยอยู่ในระบบการจํานองที่ดินมีการตก หนี้และตกข้าวจากพ่อค้าในตลาด จนสิทธิ์ที่ดินเปลี่ยนมานานมาก แล้ว การทํานาเท่าที่มีคือการเช่าท่ีดิน เมื่อมีการเปลี่ยนมือก็จําเป็น ต้องเปลี่ยนอาชีพตามไปด้วย ! นอกจากน้ียังมีปัญหายาเสพติด พวกยาบ้าแพร่ระบาดในกลุ่ม เยาวชนและผู้ชาย และปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายเพราะขาดการออม และไม่เคยมีการสะสมเงินทุนแต่อย่างใด ! ส่วนปัญหาในเรื่องสภาพแวดล้อมที่ชัดเจนก็คือ อุณหภูมิที่สูงขึ้น และอากาศที่เคยเย็นสบายกลับร้อนอบอ้าวมากจนแทบทนไม่ได้ แหล่งน้ําแห้งแล้งในหน้าแล้ง สัตว์เลี้ยงลงไปในแหล่งน้ําโดยไม่มีการ ป้องกัน อุณหภูมิและสภาพแวดล้อมที่มีโรงงานเลี้ยงสัตว์จํานวน มากข้ึนทําให้มีแมลงวันชุกชุม รวมทั้งยุงลายที่มีมากขึ้นอย่างเห็นได้ ชัด ! น้ําฝนที่เคยรองไว้ดื่มกินไม่เดือดร้อนก็ไม่สามารถกักเก็บน้ําฝน ไว้ดื่มได้อีกแล้ว เพราะมลพิษในอากาศต้องซื้อน้ําบรรจุขวดทดแทน เมื่อถึงฤดูฝนที่มีน้ําท่วมขังก็ระบายได้ยากรวมทั้งน้ําในลําแควลํา คลองต่างๆ ไม่สามารถนํามาใช้ได้อีกเพราะไม่มั่นใจเรื่องสารเคมีที่ ปะปนลงในน้ําและมีเศษขยะลอยอยู่ในน้ํา

! อาหารที่เคยหาได้ในไร่นา เช่น สัตว์ขนาดเล็ก ปูปลา ก็หายากขึ้น และไม่มั่นใจว่ารับประทานได้ เพราะมีการใช้สารเคมีในทุ่งนาอย่าง มากและมีการระบาดของหอยเชอรี่ในนาข้าว ส่วนการปลูกผักก็ไม่ งามเพราะใช้ยาฆ่าแมลงมากจนทําให้หน้าดินเสีย ! จะเห็นว่าผลกระทบทางสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่มาจากการทํา โรงงานในสภาพแวดล้อมแบบเปิด เช่น ฟาร์มเลี้ยงหมูหรือไก่ ซึ่งเป็นการลงทุนโดยเอกชนในระยะแรกๆ ทั้งคนงานที่ไม่รับผิดชอบ ต่อหน้าที่และโรงงานที่ไม่มีการควบคุมกันอย่างเคร่งครัด เป็น สาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดการปล่อยน้ําเสียออกสู่แหล่งน้ําธรรมชาติจน สร้างความเสียหายแก่ชาวบ้านอย่างมาก ! เมื่อมีโรงงานการประกอบอาชีพการเกษตรที่เคยมีมาก็หายไป อย่างเห็นได้ชัดเพราะชาวบ้านหันมาทํางาน ในโรงงานกันมากขึ้น ปล่อยให้ที่ทํากินกลายเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เพราะมีเพียงคนชราและ เด็ก ! ส่วนเด็กหนุ่มสาวเมื่อถึงวัยทํางานเมื่อจบการศึกษาในระดับ มัธยมก็ออกไปสมัครทํางานในโรงงานหรือออกไปเรียนหนังสือ จนทําให้หมู่บ้านแทบจะไม่พบเยาวชนคนหนุ่มสาวที่สืบอาชีพทํางาน เกษตรกรรมแต่อย่างใด ! และแทบทุกหมู่บ้านผู้คนมีโอกาสเลือกที่จะไม่เข้าไปทํางานใน โรงานที่มีอยู่มากมายต่างๆ ได้น้อยมาก และเมื่อมีครอบครัวภาระ การทํางานที่มีจึงต้องทิ้งลูกไว้ให้ผู้อาวุโสเล้ียงดู การเป็นสังคมที่ ครอบครัวขาดความสัมพันธ์กันเช่นนี้สร้างปัญหาในการปรับตัวของ ผู้คนที่อยู่ในพื้นที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางนิเวศวัฒนธรรม จากอาชีพทางเกษตรกรรม มาเป็นการรับจ้างในโรงงานค่อนข้างมาก และควรตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมเช่นนี้อย่างยิ่ง ! การพัฒนาในเชิงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่ทําร้าย การเป็นเขตอุตสาหกรรมของสังคมเกษตรกรรมแต่เดิม โดยเป็นการ พัฒนาอย่างเป็นการบังคับ [Forced Change] ซ่ึงส่งผลให้ชาวบ้านที่ อยู่ในพื้นที่จําต้องทิ้งอาชีพทําเกษตรกรรมจากผลกระทบที่ได้รับ ขายที่ดินและกลายเป็นแรงงานในโรงงานแทน e ส่วนผู้อาวุโสที่ไม่สามารถออกไปทํางานรับจ้างได้ก็ทําได้เพียงอยู่ บ้าน ไม่มีอาชีพรองรับ ส่วนเด็กและเยาวชนไม่มีทางเลือกในการดํา เนินชีวิตมากนัก โดยเฉพาะอาชีพการทําเกษตรกรรมนับเป็นการทํา ลายสภาพแวดล้อมและสังคมท้องถิ่นแต่เดิมอย่างชัดเจน ถือเป็น ตัวอย่างของรูปแบบสังคมของชุมชนดั้งเดิมที่ถูกบังคับให้เปลี่ยนวิถี ชีวิตจากสังคมเกษตรกรรมให้กลายมาเป็นแรงงานรับจ้างที่อาจจะไม่ ได้ผลประโยชน์มาก นักเท่ากับสูญเสียความมั่นคงทางสังคมไปโดย ไม่สามารถเรียกคืนได้เท่านั้น

95


จากเมืองหน้าด่านสู่ย่านอุตสาหกรรม

)**+,#-.*/ ก.ศ.ร. กุหลาบ, อานามสยามยุทธ สงครามไทย-เวียดนาม, พิมพ์คร้ังที่ ๓, ๒๕๕๑ ไกรฤกษ์ นานา. “นักล่าอาณานิคม” ตีแผ่สัญญารัชกาลที่ ๕ ทําไมสยามสละ “นครวัด”? ศิลปวัฒนธรรม ปีท่ี !๒๗ ฉบับที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ ไกรฤกษ์ นานา. ฟื้นปริศนาคดีประวัติศาสตร์ นางแฟนน่ี น็อกซ์ แก้ต่างความผิดให้พระปรีชากลการ ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๙, ฉบับที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ กําธร เลี้ยงสัจธรรม กรณีริบหนังสือกฎหมาย ในรัชกาลท่ี ๓, ศิลปวัฒนธรรม ปีท่ี ๒๖ ฉบับที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๗

ศพพระยาปฏิภาณพิเศษ (อาเล็กแซนเดอร์ อมาตยกุล) ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันท่ี ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ ถวิล นิลใบ, รศ. ดร. ราคาทองคํา: อดีต ปัจจุบัน อนาคต เศรษฐศาสตร์ รามคําแหง http:// www.eco.ru.ac.th/ tawin/article/Gold.pdf [๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒] ทิพากรวงศมหาธิบดี, เจ้าพระยา. พระราชพงศาวดารกรุง รัตนโกสินทร์ รัชกาลท่ี ๓ ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหา ธิบด,ี กรมศิลปากร : กรุงเทพฯ , อัมรินทร์พริ๊นต์​์ติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง, ๒๕๓๘ นนทพร อยู่ม่ังมี, เผาบ้าน เผาเมือง จลาจลโรงน้ําตาล กรณีจีน ตั้วเหี่ยเมืองฉะเชิงเทรา สมัยรัชกาลที่ ๓, ศิลปวัฒนธรรม ปีท่ี ๓๒ ฉบับท่ี ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๔

คณะกรรมการชําระประวัติศาสตร์ไทย, สํานักเลขาธิการนายก รัฐมนตรี. คําให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม (เอกสาร จากหอหลวง), กรุงเทพฯ, ๒๕๓๔. เครือข่ายรักษ์ลุ่มน้ําพระปรง, รายงานเบื้องต้นโครงการเสริม สร้างสุขภาวะโดยการเข้าถึงและประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม โดยภูมิปัญญาของ ประชาชน ๘ ตําบล, ๒๕๔๙ โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน. แหล่งแร่ทองคําที่ สําคัญของโลก, สารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน เล่มที่ ๓๖ เร่ืองท่ี ๔, โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โครงการสารานุกรมไทยสําหรับเยาวชน. เงินตรา สารานุกรม ไทยสําหรับเยาวชน เล่มท่ี ๒๙ เร่ืองที่ ๖ โดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จุมพนันท์ (แปล), ตัวจึงตายเพราะได้เมียฝร่ัง พิมพ์ครั้งที่ ๒, สํานักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ ๒๕๔๔ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, เรื่องเสด็จ ประพาสมณฑลปราจีนเมื่อ ร.ศ. ๑๒๗, พระนคร : กรม ศิลปากร, ๒๔๙๕

มนตรี เกิดจ๋ิว, บรรณาธิการ, ๕๐ ปี กึ่งศตวรรษ เทศบาล ตําบลกบินทร์บุรี อําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุร,ี ๒๕๔๙ บํารุงรัฐนิกร (บุศย์ อเนกบุณย์), รองอํามาตย์โท หลวง.ประวัติการและความทรงจําของหลวงบํารุงรัฐนิกร (บุศย์ อเนกบุณย์) พระนคร : โรงพิมพ์อักษรโสภณ, ๒๔๘๓. ปริษา จารุวารกูล. ไซยาไนด์กับอุตสาหกรรมเหมืองทองคํา, รายงานวิชาการฉบับที่ สอพ. ๓/ ๒๕๕๐ สํานักงานอุตสาหกร รมพ้ืนฐาน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและ การทําเหมืองแร่, กันยายน ๒๕๕๐ ปราณี ชวางกูร. คดีพระปรีชากลการ (พ.ศ. ๒๔๒๑-๒๔๒๒) กับการเมืองภายในของไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษร ศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาประวัติศาสตร์, มหาวิทยาลัย ศิลปากร, ๒๕๒๘! สันต์ ท. โกมลบุตร. จดหมายเหตุการเดินทางครั้งท่ี ๒ ของ บาทหลวงตาชาร์ด, กรมศิลปากร, ๒๕๑๙

จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, เจ้าชีวิต : สยาม ก่อนยุคประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ จํากัด ตรี อมาตยกุล. ประวัติบรรพบุรุษและสกุลวงศ์อมาตยกุล. พระนคร : ๒๕๐๗. (พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิง

96

วิลาศ นิรันดร์สุขศิริ. พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตกเป็นข่าว เร่ือง เรือกลไฟลําแรกของสยาม ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๙, กรกฎาคม ๒๕๔๘


)**+,#-.*/ ศรีศักร วัลลิโภดม. จันทบุร–ี ปราจีน กับการเป็นแหล่ง อารยธรรมภาคตะวันออก วารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๑๖ ฉบับท่ี ๓ กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๓๓

สัมภาษณ์ จูม กลีบแก้ว อายุ ๘๑ ปี บ้านเลขที่ ๙๕ หมู่ ๕ ตําบล บ่อทอง อําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

ศานติ ภักดีคํา. ด่านพระจารึกอยู่ท่ีไหน เหตุใดต้องจารึก จากจุด ปักปันเขตแดนสู่ด่านไทยสมัยอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๓๑ ฉบับที่ ๑๑, พฤศจิกายน ๒๕๕๓ สารสิน วีระผล, ดร. มหาอุทกภัยกับการจัดการ Climate change ปัญหาใหญ่แห่งปีที่แก้ได้ด้วยการบูรณาการทุกภาคส่วน http:// www.cpthailand.com [กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕] สืบแสง พรหมบุญ “วิเคราะห์เบื้องหลังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงใน ประวัติศาสตร์ไทย” บทนําใน ตัวจังตายเพราะได้เมียฝร่ัง, พิมพ์ ครั้งที่ ๒ กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๔. เอนก นาวิกมูล. บั้นปลายของนายโหมด, ศิลปวัฒนธรรม. ปีท่ี ๒๑, ฉบับที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๔๓. Auguste Pavie. 1999. Atlas of the Pavie Mission Exproration Work Laos, Cambodia, Siam, Yunnan, Cand Vietnam. Bangkok : White Lotus co., Ltd.

เอกสารออนไลน์ ธีระ คําวงษ์, ดร. การเกิดและสํารวจแหล่งแร่ทองคํา http:// geothai.net/gneiss/?p=2964 [13 oct, 2013] ประชาชาติออนไลน์ . อุตฯ แก้ประกาศทําเหมืองทอง เปิดช่อง พ.ท. เดิมขุดแร่อ่ืนได,้ www.prachachat.net/view_news.php newsid=02inv04130553&sectionid=0203&day=2010-05-13 [12/29/55] สมาคมค้าทองคํา. ประวัติศาสตร์ทองคํา, www.goldtraders.or.th/PageView.aspx?page=6 [13 oct, !2013] สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี. “ประวัติจังหวัด ปราจีนบุรี” http://province.m-culture.go.th/ [๒๙/๑๑/๒๕๕๖] www.thaigoldfields.com Kabin gold project. http:// www.thaigoldfields.com/wp-content/uploads/! 2012/02/ Website-Kabinburi-Gold-Project-updated-Feb-12.pdf

97


สยามยุคใหม่ และการทำเหมืองทองคำในเมืองไทย

!" # $ "# % &'( ) *+,- * -

จากเมืองหน้าด่านสู่ย่านอุตสาหกรรม

บ่อทอง

และการทำเหมื อ งทองคำ ในสยามยุ ค ใหม .


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.