Spotlight
Interview “นักดนตรี” เคยถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ไม่มั่นคง รายได้ไม่แน่นอน ผู้ปกครองจึงไม่นิยมสนับสนุน ให้ลูกหลานเดินบนเส้นทางสายนี้
รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข
ผู้พลิกโฉมการเรียนดนตรีในไทย เรื่อง : รามิล ภาพ : สุภชาติ เวชมาลีนนท์
แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน สังคมเปลี่ยน เกิดมุมมองใหม่ อาชีพนักดนตรี กลายเป็นที่ยอมรับ บนเส้นทางที่น�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความคิดของผู้คน นี้ มีบุคคลหนึ่งซึ่งท�ำงานอย่างไม่รู้เหนื่อย และมีบทบาทส�ำคัญยิ่งในการ พลิกโฉมหน้าของการเรียนดนตรีในประเทศไทย นั่นคือ รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข ผู้อ�ำนวยการและคณบดี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเข้า มาสร้างพื้นที่การศึกษาของนักเรียนดนตรี ให้เติบโตไปสู่การเป็นมืออาชีพที่ มีฝีมือ และมีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ “ไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่จะพัฒนาดนตรีของบ้านเราโดยการอิมพอร์ต ความส�ำเร็จจากต่างประเทศ เพราะของเราขายไม่ได้ คนไทยไม่ซื้อคนไทย ด้วยกัน คนไทยเล่นในวงเดียวกับฝรั่งแต่ฝรั่งได้เงินมากกว่า เขาจ้างฝรั่งเพื่อ ซื้ออิมเมจ ซื้อราคาความน่าเชื่อถือ รูปลักษณ์ของคนเป็นเรื่องของความน่า เชื่อถือ คนฝีมือสูงก็จะได้ค่าตัวแพง แต่ถามว่าคนไทยมีฝีมือสูงมั้ย...ไม่มี คนไทยขาดวินัย ไม่มีความน่าเชื่อถือ” รศ.ดร.สุกรีเริ่มต้นบทสนทนาด้วย การกล่าวถึงปัญหาของแวดวงดนตรีในเมืองไทย ด้วยเหตุนี้ เขาจึงมองไปที่ แนวทางการศึกษาซึ่งจะช่วยยกระดับอาชีพนักดนตรีได้ สร้างรากฐานการเรียนดนตรีในมหาวิทยาลัยแพทย์ ปี พ.ศ. 2530 รศ.ดร.สุ ก รี เ ข้ า รั บ ต� ำ แหน่ ง หั ว หน้ า โครงการพั ฒ นา วิชาการ ซึ่งเปิดสอนดนตรีเป็นวิชาเลือกในระดับปริญญาตรีเป็นครั้งแรก ของมหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล ต่ อ มาโครงการนี้ ไ ด้ พั ฒ นาขึ้ น เป็ น “วิ ท ยาลั ย ดุริยางคศิลป์” ท่ามกลางความฉงนของผู้คนว่า เหตุใดมหาวิทยาลัยที่มีชื่อ เสี ย งด้ า นการผลิ ต แพทย์ จึ ง หั น มาให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การสอนดนตรี ซึ่ ง อาจารย์สุกรีมีมุมมองที่น่าสนใจว่า ในเมื่อมหาวิทยาลัยคือแหล่งรวมวิชา ความรู้ที่หลากหลาย และมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นโรงเรียนแพทย์ ขึ้นชื่อว่า แพทย์ก็คือคนที่ฉลาด คนที่มีความน่าเชื่อถือ คนที่มีการตัดสินใจชัดเจน และไม่อาจพลาดได้เพราะอาจหมายถึงชีวิต จึงนับเป็นที่ที่เหมาะสมที่สุด แล้วส�ำหรับการเปิดวิทยาลัยดนตรี เพราะจะช่วยลบภาพเก่าๆ และสร้าง ภาพใหม่ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ดีให้การเรียนดนตรีได้ “เมื่อก่อนคนเก่งจะเลือกเรียนหมอ เรียนวิศวะ คนเรียนดนตรีจะเป็นเด็ก ที่สอบเข้าที่ไหนไม่ได้ หรือไม่ก็มีฐานะยากจน ซึ่งท�ำให้ภาพของวิชาดนตรี ดูด้อย พอมหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนดนตรี เราก็พยายามให้หมอมาเรียน พยายามเอาลูกหมอมาเล่นดนตรีเป็นตัวอย่าง จนในที่สุดดนตรีกลายเป็น วิชาที่แพง เดี๋ยวนี้คนเรียนดนตรีจะเป็นกลุ่มคนฉลาด คนมีฐานะ ถามว่าคน โง่มาเรียนดนตรีได้มั้ย...ไม่ได้ แต่ความจน ความรวย ความฉลาด ความโง่ ไม่ใช่สิ่งที่มีมาแต่ก�ำเนิด พวกนี้มาทีหลังหมด ฝรั่งบอกว่าสิ่งแวดล้อมเป็น อย่างไรเด็กเป็นอย่างนั้น ดังนั้นถ้าเราอุ้มชูฟูมฟักเด็กดีๆ เด็กก็เก่งได้ ไม่เก่ง แต่ช�ำนาญ ไม่เชี่ยวชาญแต่เคยมือ Practice makes perfect อัจฉริยะมา จากการฝึกฝน ผมให้พรสวรรค์สัก 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่เหลือ 99 เปอร์เซ็นต์ เป็นพรแสวง แสวงหา ท�ำทุกวันจนเก่งในที่สุด” บรรลุความเป็นเลิศด้วยแนวคิดนอกกรอบ นับตั้งแต่เข้ารับต�ำแหน่ง รศ.ดร.สุกรีได้พัฒนาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ให้เติบโต และก้าวสู่ความเป็นเลิศได้มาตรฐานสากล โดยสร้างรูปแบบทาง ความคิด 6 ประการ ประกอบด้วย Hardware, Software, Peopleware, Moneyware, Qualityware และ Spiritualware อันเป็นรากฐานสู่ความ ส�ำเร็จ
26
M AY- J U N E 2 017
/ E XPRESSION
“สิ่งที่ผมสร้างก็คือ ‘ฮาร์ดแวร์’ สร้างอาคารสถานที่ให้สวย สร้างสิ่งแวดล้อมให้ดี น่าอยู่ ซึ่งจะท�ำให้เกิดความอยากเรียนรู้ ในทุกการออกแบบเรา แฝงนัยทางปรัชญาไว้ด้วย อย่างเสากลมและเสาเหลี่ยมที่อยู่ร่วมกันได้อย่าง ลงตัว สื่อว่าคนแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน มนุษย์ย่อมมีความแตกต่าง สะพาน ที่ไม่ได้ตัดขอบไม้ให้เท่ากันเพื่อบอกว่ามนุษย์เราไม่มีอะไรที่เท่ากัน สะพาน ไม่มีรั้วกั้นหากใครเดินไม่ระวังจะพลัดตกลงไปได้ เพื่อให้เด็กๆ ได้รู้ว่า อิสระ ย่อมต้องมีขอบเขตเช่นกัน “ส่วน ‘ซอฟต์แวร์’ คือเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ดนตรีเรามีครบ ‘พีเพิล แวร์’ ก็คือบุคลากรที่เก่ง ครูที่เก่ง ตั้งใจท�ำงาน เมื่อมีครูเก่งก็จะได้นักเรียน ที่เก่ง ต่อจากนั้นก็ ‘มันนีแวร์’ ซึ่งหายากนะ แต่ก่อนจะได้เงินเราต้องมี หัวใจก่อน ท�ำโดยอาศัยหัวใจและสมอง มีจิตวิญญาณแน่วแน่ที่จะท�ำให้ ส�ำเร็จและท�ำให้ดี เดี๋ยวเงินก็มาเอง ผมให้น�้ำหนักเงินเป็นสิ่งสุดท้ายในชีวิต สุดท้ายเราต้องท�ำ ‘ควอลิตี้แวร์’ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราท�ำต้องประณีต ต้องดี ที่สุด และผมคิดว่า ‘สปิริชวลแวร์’ จิตวิญญาณของเราส�ำคัญมาก อย่าสูญ เสียไป แต่คนไทยไม่มีตัวนี้เลย แล้วก็ได้แต่นั่งรอคอย” เมื่อมีรูปแบบทางความคิดเป็นฐานแล้ว เขายังมีเป้าหมายที่แน่ชัดใน การเรียนการสอนด้วยการให้ท�ำซ�้ำจากตัวอย่างที่ดี จนสุดท้าย คือการก้าว ข้ามความท้าทายจนพบความเป็นเลิศ ความเป็นตัวของตัวเอง “เมื่อเรา แหกคอก สิ่งที่ดีที่สุดที่จะพบก็คือความเป็นเรา เมื่อนั้นจะเกิดความเชื่อมั่น ในตัวเอง แต่ถ้าแค่เลียนแบบ ท�ำซ�้ำ เราจะรู้สึกหวั่นไหวตลอดเวลา ซึ่งตรง นี้การศึกษาไทยสอนให้คนยอมรับความเหมือน แต่ไม่เคยสอนให้ยอมรับ ความแตกต่าง” ปัจจุบัน วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสอนตั้งแต่ ระดับเตรียมอุดมดนตรี (มัธยมปลาย) จนถึงปริญญาเอก เป็นโรงเรียนดนตรี ที่สมบูรณ์แบบที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลักสูตรหลาก หลาย ตั้งแต่หมอล�ำจนถึงดนตรีคลาสสิก ผลิตนักดนตรีมาแล้วมากมาย “นักดนตรีไม่เหมือนกับศิลปินอื่นๆ จิตรกรจะแต่งตัวสกปรกมอซอยังไง คนก็ดูที่ตัวงานศิลปะ แต่กับนักดนตรี นักร้อง เขาดูที่ตัว ดูกันหัวจรดเท้า ตั้งแต่เดินขึ้นเวที ผมเน้นมากในสามเรื่อง คือ 1.Respect ศรัทธาในอาชีพ 2.Disciplin มีความรับผิดชอบในหน้าที่ 3.On-Time ตรงเวลา สามเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่คนไทยมักจะขาด ศิลปินไทยไม่มีใครสอน แล้วเข้าใจเอาเองว่าตัว เองยิ่งใหญ่มาก
ถามว่าคนโง่มาเรียนดนตรีได้มั้ย... ไม่ได้ แต่ความจน ความรวย ความฉลาด ความโง่ ไม่ใช่สิ่งที่มีมา แต่ก�ำเนิด M AY- J U N E 2 017
/ E XPRESSION
27
Spotlight
Interview
เมื่อเราแหกคอก สิ่งที่ดีที่สุดที่จะพบ ก็คือความเป็นเรา เมื่อนั้นจะเกิด ความเชื่อมั่นในตัวเอง
“หน้าที่เราคือสร้างทักษะ ความเป็นเลิศ สร้างแรงบันดาลใจ สร้างมืออาชีพระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ท�ำให้เขาเก่ง แล้วคุณ อย่าอุตริไปหางานให้คนเก่งเพราะเขาจะเป็นตัวของตัวเองสูงมาก เด็กเรียน จบจากที่นี่จะไปอยู่ที่ไหนในโลกนี้ก็ได้ จะอยู่กรุงเทพฯ อยู่นิวยอร์ก ก็มีงาน เพราะมีความเป็นมืออาชีพ มีคุณภาพ มาที่นี่ไม่ต้องมีใครเป็นต้นแบบ คุณ เป็นต้นแบบของตัวคุณเอง แต่คุณต้องเก่งจริงๆ นะ” เมื่ออาชีพนักดนตรีเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ผู้ปกครองที่หันมาส่งเสริม ให้บุตรหลานเรียนดนตรีตั้งแต่ยังเล็กก็มากขึ้นตามไปด้วย “ปี 2537 ผม เปิดโรงเรียนดนตรีในห้าง สมัยนั้นมีเด็กเรียนในโรงเรียนดนตรีทั้งประเทศ ประมาณ 70,000 คน แต่วันนี้มีประมาณ 1,200,000 คน น่าสนใจนะ แล้ว พ่อแม่รุ่นใหม่จะรู้สึกว่าตัวเองเชยถ้าลูกไม่เรียนดนตรี เมื่อก่อนโรงเรียน ดนตรีจะยากจน อยู่ไม่ได้ แต่เดี๋ยวนี้การเรียนดนตรีกลายเป็นสิ่งที่แพงเพราะ ต้องจ้างครูเก่ง คุณถึงจะเก่ง และเมื่อเก่งคุณก็จะได้ค่าตัวที่สูง โรงเรียนต้อง ลงทุน พ่อแม่ผู้ปกครองต้องลงทุน เด็กก็ต้องลงทุน” อนาคตที่วาดหวัง ถึงวันนี้ นับว่าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์มีความพร้อมในทุกองค์ประกอบ และมีมาตรฐานตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งมาตรฐานนั้นยังหมายรวมไปถึง “มหิดลสิทธาคาร” หอประชุมขนาดใหญ่ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขต ศาลายา ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของอาจารย์สุกรี ที่ได้เป็นเรี่ยวแรงส�ำคัญ ในการออกแบบก่อสร้าง นอกจากงดงามในเชิงสถาปัตยกรรมที่จะเป็น สัญลักษณ์ของไทยในโลกสมัยใหม่แล้ว อาคารหลังนี้ยังสร้างขึ้นเพื่อให้ใช้ งานได้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะด้านการแสดงดนตรี สามารถรองรับการ แสดงดนตรีระดับโลกด้วยมาตรฐานของระบบเสียงที่อาจารย์ยืนยันว่า “จะ นั่งฟังตรงไหนก็เพราะเหมือนกันหมดและนั่งสบาย ทุกที่นั่งไม่มีหัวคนข้าง หน้ามาบัง” โถงอาคารติดตั้งช่อไฟระย้าที่ได้แรงบันดาลใจจากลักษณะเซลล์ สมองของมนุษย์ ไฮไลต์นั้นอยู่ที่แสงไฟ จะมีระดับเปลี่ยนไปตามจังหวะ 28
M AY- J U N E 2 017
/ E XPRESSION
เพลงที่ก�ำลังบรรเลงในหอประชุม...ทั้งรุ่มรวย บ่งบอกความมีรสนิยม สะท้อน ความคิดสร้างสรรค์ “พิพิธภัณฑ์ดนตรีอุษาคเนย์” คืออีกโครงการที่ครูดนตรีผู้นี้ทุ่มเทแรง กาย แรงใจ แรงสมองมาเป็นเวลานาน ซึ่งจะเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับ ดนตรีท้องถิ่นและดนตรีในภูมิภาคนี้ รวมทั้งแสดงถึงศักยภาพของประเทศ ในฐานะศูนย์กลางความเจริญด้านดนตรีของภูมิภาคได้เป็นอย่างดี “มิวสิก มิวเซียมยังขาดเงินอยู่ประมาณ 400 ล้านบาท เรายังจะท�ำที่จอดรถให้ รองรับได้ประมาณหนึ่งพันคัน มีคอนเวนชันเซ็นเตอร์ส�ำหรับการสัมมนา และมีตลาด เพื่อให้คนที่มาสัมมนาหรือมาฟังดนตรีสามารถซื้อหาอาหาร ออร์แกนิกได้ เพราะศาลายาซึ่งเป็นที่ตั้งของเราเป็นเขตแดนของอาหารการ กิน เป็นสวนผลไม้อยู่แล้ว” อีกหนึ่งกิจกรรมอันเกิดจากวิสัยทัศน์ของรศ.ดร.สุกรี และเป็นที่ชื่นชอบ ของบรรดาผู้ที่รักดนตรีแจซก็คือ “เทศกาลดนตรีแจซนานาชาติ” (Thailand International Jazz Conference : TIJC) ซึ่งจัดมาแล้ว 9 ครั้ง โดยปีล่าสุด มี ไฮไลต์อยู่ที่ การผสมผสานระหว่างดนตรีแจซและคลาสสิกโดยวงไทยแลนด์ ฟิลฮาร์โมนิก ออร์เคสตรา (Thailand Philharmonic Orchestra : TPO) ได้ อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ “แจซเป็นหนึ่งสายน�้ำ คลาสสิกก็เป็นหนึ่งสายน�้ำ แล้วถ้าสองสายน�้ำมา รวมกันมันจะเป็นอย่างไร งานนี้ถือว่าเราท�ำ ‘เอามัน’ ท�ำไมจะไม่ท�ำล่ะในเมื่อ เรามีนักดนตรีที่มีฝีมือ มีเครื่องดนตรี มีอุปกรณ์ มีห้องแสดง ไม่ต้องไปจ่าย ค่าเช่าสถานที่ เรามีมิตรรักแฟนเพลงอยู่แล้ว แต่ถ้าท�ำแล้วไม่มีใครมาดู ผม ก็ดูของผมคนเดียว จะมีซักกี่คนในโลกนี้ที่มีวงซิมโฟนีส่วนตัว (หัวเราะอย่าง อารมณ์ดี) งานแจซที่ท�ำแต่ละปีใช้เงินเยอะ แต่ท�ำเพราะเราเป็นโรงเรียน ดนตรี เราท�ำงานคุณภาพ เมื่อคนยอมรับคุณภาพ เขาก็มาดูกัน ถ้าคนมาดู แล้วผิดหวังนั่นเป็นความผิดของเรา ส่วนผลตอบรับของงานนี้ดีมั้ย ผมไม่รู้ นะ ช่างเถอะ ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่มีเพียงด้านเดียว มีสองด้านเสมอ ถ้าฟังคน ต่อว่ามากเราก็เหนื่อย เราจะไม่ฟังเขาเลยเราก็โอหัง ยโส จองหอง แต่ในเมื่อ เรายังรู้สึกสนุกอยู่ก็ท�ำต่อไป” เพราะทุ่มเทและฟูมฟักวิทยาลัยดุริยางคศิลป์แห่งนี้มาตั้งแต่เริ่มต้น ความผูกพันจึงย่อมมีมาก ปัจจุบัน แม้อาจารย์สุกรีจะอยู่ในวัย 65 ปีแล้ว แต่ เขายังกระฉับกระเฉง มีความสุขกับการท�ำงานที่รัก และยังมีไอเดียบรรเจิด ที่จะช่วยยกระดับมาตรฐานการดนตรีของไทยออกมาเสมอๆ เมื่อถูกถามว่า คิดจะวางมือจากงานบ้างหรือไม่ ค�ำตอบที่ได้คือ “คิดว่าจะเกษียณอยู่นะ แต่ เราแค่หยุดจากราชการ ไม่ได้หยุดงาน ยังจะท�ำงานต่อ เพราะเมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราท�ำงานเพื่อสาธารณะ มันสะอาดใจ มาแบบขนนกไปแบบขนนก” ทั้งคมคายและชวนคิดยิ่ง