6
คำ�ถาม สร้างทักษะชีวติ :
ประสบการณ์สำ�หรับครู ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
1
ISBN ชื่อหนังสือ จัดทำ�โดย ตรวจสอบเนื้อหาวิชาการ บรรณาธิการและเรียบเรียง คณะผู้จัดทำ� ออกแบบรูปเล่ม พิสูจน์อักษร ผู้ผลิต พิมพ์ครั้งที่ 1 จำ�นวนพิมพ์ สถานที่พิมพ์ สนับสนุนโดย
978-974-296-772-7 6 คำ�ถามสร้างทักษะชีวิต: ประสบการณ์สำ�หรับครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต 70/ 7 อาคารเอ.ไอ.นนท์ (ห้อง 303) ถนนติวานนท์ ตำ�บลตลาดขวัญ อำ�เภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์ 0-2580-0918 โทรสาร 0-2580-0919 www.jitdee.com อาจารย์จงกล ทรัพย์สมบูรณ์ ธีร์ ทิพกฤต นายแพทย์ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อาจารย์อุบลวรรณ แสนมหายักษ์ อาจารย์ประคอง กลิ่นจันทร์ อาจารย์มาลี มะโนหาญ อาจารย์จันทนา หน่อสุวรรณ อาจารย์ดรรชนี จันทร์คำ� อาจารย์กาญจณีย์ ธีระเดช อาจารย์จำ�เรียง ประดับเวทย์ ดร.มยุรี ด้วงศรี momfon@yahoo.com นางสาวภณิดา ชนวิทยาสิทธิกุล นายเปี่ยมพัฒน์ วงเปี่ยมธรรม พฤษภาคม 2555 2,000 เล่ม ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด จูนลาย มอร์นิ่ง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ค�ำนิยม นับเป็นอีกวาระหนึ่งที่เพื่อนครูได้รับความอนุเคราะห์จากแผนงาน สร้างเสริมสุขภาพจิต ภายใต้การสนับสนุนของส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกรมสุขภาพจิต ในการส่งเสริมการพัฒนา ทักษะชีวิตในโรงเรียนด้วยการจัดท�ำคู่มือในชื่อ “6 ค�ำถามสร้างทักษะชีวิต: ประสบการณ์ส�ำหรับครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้” คู่มือเล่มนี้จะเป็นเพื่อนคู่คิดให้แก่ครูได้เป็นอย่างดี เพราะยกร่างโดย ครูประถมศึกษาทีม่ คี วามเชีย่ วชาญด้านทักษะชีวติ ภายใต้การดูแลชีแ้ นะจาก นายแพทย์ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต และผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต (สสส.) ผู้ประสบความส�ำเร็จใน การเชื่อมองค์ความรู้ด้านสุขภาพจิตสู่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาอย่าง โดดเด่นมากว่ายี่สิบปี ด้วยองค์ประกอบที่ลงตัวของคณะผู้จัดท�ำ คู่มือเล่มนี้จึงสามารถ ตอบโจทย์ ที่ อ ยู ่ ใ นใจครู ทุ ก คนได้ อ ย่ า งตรงประเด็ น ตั้ ง แต่ ก ารขยาย ความองค์ประกอบของทักษะชีวติ ตามข้อก�ำหนดของส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานให้ เ ป็ น พฤติ ก รรมที่ มุ ่ ง หวั ง จะให้ เ กิ ด ขึ้ น ในตั ว เด็ ก การท�ำความเข้าใจในเรือ่ งของกระบวนการพัฒนาทักษะชีวติ พร้อมเสนอแนะ กิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กวัยประถมศึกษา พิเศษสุดในเล่มนี้ คงจะเป็นแนวทางตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิตที่ จะช่วยกระตุ้นให้ครูได้จ�ำแนกประเภทของค�ำถาม และชี้แนะการเลือกใช้ ว่า
I
II
กิ จ กรรมที่ ด�ำเนิ น การจะส่ ง ผลต่ อ พั ฒ นาการของทั ก ษะชี วิ ตได้ เ พี ย งใด ท้ายเล่ม ยังมอบตัวอย่างของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ทักษะชีวิตสู่กลุ่มสาระทุกกลุ่ม แม้คู่มือเล่มนี้จะมุ่งหวังให้ครูประถมศึกษาได้รับประโยชน์เป็นล�ำดับ แรก แต่เมื่ออ่านแล้วพบว่าผู้ที่ใกล้ชิดและท�ำงานกับเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะ เป็นครูในระดับชั้นอื่น ผู้ปกครอง ผู้จัดกิจกรรมเยาวชนต่างจะได้แง่คิดที่มี คุณค่าด้วยกันทั้งสิ้น ในฐานะทีเ่ ป็นนักการศึกษาคนหนึง่ ทีเ่ ชือ่ มัน่ ในคุณค่าของทักษะชีวติ และ ตระหนักดีถงึ ความยากล�ำบากในการน�ำสูก่ ารปฏิบตั ิ จึงขอขอบคุณกรมสุขภาพจิต ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนงานสร้างเสริม สุขภาพจิต และคณะผูจ้ ดั ท�ำทุกท่านที่ได้มอบคูม่ อื “6 ค�ำถามสร้างทักษะชีวติ : ประสบการณ์ส�ำหรับครูทกุ กล่มสาระการเรียนรู”้ ให้แก่เพือ่ นครูไทย นับเป็นคูม่ อื เพือ่ ครูโดยครูเล่มหนึง่ ทีจ่ ดั ท�ำขึน้ ด้วยความตัง้ ใจ รอคอยเพียงการน�ำไปศึกษา ประยุกต์ใช้และขยายผลของผู้ที่ห่วงใยในอนาคตของเยาวชนไทย คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)
III
ค�ำน�ำ ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ทุกวงการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ต่ า งยอมรั บ กั น มานานแล้ ว ว่ า จ�ำเป็ น จะต้ อ งมี มิ ติ ก ารพั ฒ นาทั ก ษะ ความสามารถในการด�ำเนินชีวิต ซึ่งไม่มีการเรียนการสอนในรายวิชาเฉพาะ ความพยายามที่จะพัฒนาทักษะในการด�ำเนินชีวิตดังกล่าวเกิดขึ้น ทั่วโลก ภายใต้ชอื่ เรียกทีแ่ ตกต่างกันตามยุคสมัย แต่กล็ ว้ นมีสาระส�ำคัญใกล้เคียงกัน ประเทศไทยก็ได้รบั เอากระแสดังกล่าวนีเ้ ข้ามาในหลายรูปแบบเช่นกัน เริ่มจาก “ทักษะชีวิต” (Life Skills) ซึ่งเข้ามาในครั้งแรกด้วยความหมาย ของ ทักษะการคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหา จัดการอารมณ์ การสื่อสาร (เช่น ฟัง พูดบอกความรู้สึก ปฏิเสธ) เพื่อป้องกันปัญหาเอชไอวี/เอดส์และสารเสพติด และเพื่อเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แม้แต่ “ความฉลาดทางอารมณ์” (Emotional Intelligence) ซึ่ง มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะทางอารมณ์และสังคม ส่วนส�ำคัญที่คนในยุคปัจจุบัน ขาดไป หรือค�ำอื่นๆ ที่คนในวงการศึกษาคุ้นเคยดี เช่น “ดี เก่ง สุข” หรือ “ความเข้มแข็งทางใจ” (Resilience) ที่หน่วยงานต่างๆ ในระดับนานาชาติ น�ำมาใช้แพร่หลายมากขึ้น อันเป็นผลจากงานวิจัยที่สนใจด้านบวกหรือ ศักยภาพของมนุษย์ ทั้งหมดนี้ล้วนมีที่มาจากความพยายามที่จะพัฒนาและ สร้างทักษะในการใช้ชีวิตให้แก่เด็กและเยาวชน
IV
เมื่อถึงช่วงเปลี่ยนเข้าสู่ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด วงการการศึกษาทั่วโลก ต่างตืน่ ตัวกับการเตรียมผูเ้ รียนให้พร้อมกับชีวติ ในโลกยุคใหม่ จึงมีการพัฒนา ข้อเสนอทักษะความสามารถที่จ�ำเป็ น ส�ำหรั บ ศตวรรษที่ ยี่ สิ บ เอ็ ด (21 st Century Skills) ซึ่งโดยมากจะประกอบด้วยทักษะการเรียนรู้ ทักษะการใช้ ข้อมูลสารสนเทศ ทักษะชีวติ และการงาน ความสามารถในการบริหารตนเอง การจัดการความสัมพันธ์และอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายและ แตกต่ า งทางวั ฒ นธรรม แนวคิ ด “ทั ก ษะชี วิ ต ” จึ ง ได้ น�ำกลั บ มาปรั บ องค์ประกอบใหม่ เพื่อให้ครอบคลุมทักษะต่างๆ ที่จ�ำเป็นส�ำหรับการด�ำเนิน ชีวิตในศตวรรษใหม่นี้ หากพิจารณาให้ดี ไม่ว่าจะใช้ค�ำเรียกใดก็ตาม ทุกฝ่ายต่างเห็นพ้อง ต้องกันว่า เราจ�ำเป็นต้องพัฒนาเยาวชนให้มที กั ษะความสามารถในการด�ำเนิน ชีวิตมากกว่าวิชาการที่มีในแต่ละรายวิชา ชื่อเรียกอาจเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ความจริงก็คือ เราจ�ำเป็นต้องเร่งปรับปรุงระบบการเรียนให้เด็กไทยได้ เรียนรู้ชีวิตมากกว่าการเน้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นรายวิชา การเรียนการสอนในชั้นประถมศึกษามีจุดเด่นส�ำคัญ คือ โอกาส ในการบูรณาการการเรียนรู้สาระต่างๆ เข้าหากัน เนื่องจากครูผู้สอนหนึ่งคน มักรับผิดชอบหลายวิชา และปริมาณเนื้อหาที่ถูกก�ำหนดยังพอมีพื้นที่ส�ำหรับ การเชื่อมโยง ที่ส�ำคัญ ครูชั้นประถมศึกษามักมีโอกาสรู้จักเด็กผู้เรียนได้ มากกว่าในชั้นมัธยมศึกษา
V
จากการประชุมหารือกับครูที่มีประสบการณ์ด้านการเรียนการสอน ทักษะชีวติ พบว่าหัวใจส�ำคัญของการเรียนรูท้ จี่ ะช่วยกระตุน้ ให้เด็กคิดเป็น คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรูท้ มี่ กี ารตัง้ ค�ำถามทีด่ ี และนีค่ อื ทีม่ าของหนังสือ 6 ค�ำถามสร้างทักษะชีวิต: ประสบการณ์ส�ำหรับครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เล่มนี้ คณะผู้จัดท�ำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวทางและรูปธรรมที่น�ำเสนอ ในหนั ง สื อ เล่ ม นี้ จะช่ ว ยให้ ค รู ที่ ส นใจพั ฒ นาทั ก ษะชี วิ ต ของเด็ ก ผู ้ เ รี ย น เติมคุณ ภาพในการตั้งค�ำถาม และเติมคุณ ภาพในปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ซึ่งจะเป็นส่วนส�ำคัญของการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับเด็กผู้เรียนอย่างแท้จริง
นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และ ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต
VI
สารบัญ
หน้า
หน้า ค�ำนิยม
II
ค�ำน�ำ
1
ก้าวที่สอง การพัฒนาทักษะชีวิตในระดับประถมศึกษา พัฒนาการเด็กวัยประถม ทักษะชีวิตในชั้นประถมศึกษา และแนวทางการสร้างพัฒนาทักษะชีวิตใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
9
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
ก้าวแรก ทักษะชีวิตและการพัฒนาทักษะชีวิต ทักษะชีวิตคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และสร้างขึ้นได้อย่างไรด้วยกิจกรรมการเรียนรู้
ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
VII
IV
อ�ำนาจของค�ำถามและเทคนิคการตั้งค�ำถาม การใช้ 4 ค�ำถาม เพื่อการเรียนรู้ และ 6 ค�ำถาม เพื่อเชื่อมโยงวิธีคิด ตัวอย่าง การตั้ง 6 ค�ำถามในกิจกรรมการเรียนรู้
2
25
45
46
ตัวอย่าง : การตั้งค�ำถามเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต กับแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ • สาระการเรียนรู้ภาษาไทย • สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ • สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ • สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา • สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม • สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี • สาระการเรียนรู้ศิลปะ • สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
69
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
เทคนิคการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงสู่ทักษะชีวิต พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการสื่อสาร รากฐานของการพัฒนาทักษะชีวิต ตัวอย่างการออกแบบการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ทักษะชีวิต (กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และศิลปะ)
70 78 83 90 98 105 114 121
VIII
ภาคที่หนึ่ง
เข้าใจทักษะชีวิต ก้าวแรก ในการน�ำทักษะชีวิตไปใช้ จะต้องท�ำความเข้าใจให้ถ่องแท้ว่า ทักษะชีวิต คืออะไร ส�ำคัญอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และสร้างขึ้นได้อย่างไร ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ ก้าวที่สอง ส�ำรวจแนวทาง ในการสร้างและพัฒนาทักษะชีวิตให้เกิดขึ้น ในเด็กนักเรียนในระดับประถมศึกษา
10
1
ก้าวแรก
ทักษะชีวิตและการพัฒนาทักษะชีวิต ความรวดเร็วและล�้ำสมัยของเทคโนโลยีการสื่อสาร ความหลากหลาย ทางเชือ้ ชาติ วัฒนธรรม ทัง้ ความคิดและความเชือ่ ของกลุม่ คนในสภาพสังคม ปัจจุบัน ล้วนส่งผลกระทบต่อเด็กๆ ทั้งในด้านวิถีชีวิต การปรับตัว อารมณ์ และจิตใจ การจะช่วยให้เด็กมีทักษะในการแยกแยะสิ่งยั่วยุและตัวแบบที่ ไม่เหมาะสม ตลอดจนสามารถจัดการกับตัวเองและสิง่ ทีเ่ ผชิญอยูไ่ ด้นนั้ จ�ำเป็น ต้องสอนให้เด็กรู้จักและเข้าใจตนเองและผู้อื่น รู้จักวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร ที่ได้รับ และฝึกตัดสินใจให้ได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ รู้จักและเท่าทัน อารมณ์ของตนเอง จัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ เข้าใจความรู้สึกและ มุ ม มองของผู ้ อื่ น เพื่ อ ช่ ว ยให้ ผู ก สั ม พั น ธ์ กั บ ผู ้ อื่ น ได้ ทั ก ษะทั้ ง หมดนี้ หากเริ่มปลูกฝังตั้งแต่วัยเยาว์ในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จะสามารถเป็น รากฐานส�ำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก เมื่อต้องออกไปเผชิญโลก ภายนอก แต่ก่อนที่จะท�ำเช่นนั้นได้ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา “เด็ก” จะต้อง เข้าใจ ตระหนัก และรู้วิธีการเสริมสร้างและพัฒนา “ทักษะชีวิต” อย่างยั่งยืน และมีประสิทธิภาพเสียก่อน ที่ส�ำคัญกว่านั้น คือ ต้องรู้วิธีการพัฒนา “เด็ก” ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมในระบบการศึกษาขั้น พื้นฐาน นี่คือจุดมุ่งหมายหลักของก้าวแรกนี้
2
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
ทักษะชีวิตคืออะไร ทักษะชีวิต คือ ความสามารถของบุคคลที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆ
รอบตัว ในสภาพสังคมปัจจุบัน ทั้งยังหมายรวมถึงการเตรียมตัวให้พร้อม ส�ำหรับการปรับตัวในอนาคตด้วย ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ก�ำหนดองค์ประกอบ “ทักษะชีวิต” ส�ำหรับใช้สร้างและพัฒนาภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชน ในสภาพสังคมปัจจุบนั และเตรียมพร้อมพวกเขาส�ำหรับอนาคต องค์ประกอบ ดังกล่าวมี 4 ข้อ ดังนี้
องค์ประกอบที่ 1 การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
การตระหนักรูแ้ ละเห็นคุณค่าในตนเองและผูอ้ นื่ หมายถึง การรูค้ วามถนัด ความสามารถ จุดเด่นและจุดด้อยของตนเอง พร้อมกับเข้าใจความแตกต่าง ของแต่ละบุคคล การรู้จัก ยอมรับ เห็นคุณค่า และภาคภูมิใจในตนเองและ ผู้อื่น ทั้งยังรวมถึงการมีเป้าหมายในชีวิตและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
องค์ประกอบที่ 2 การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปญั หาอย่างสร้างสรรค์
การวิ เ คราะห์ ตั ด สิ น ใจ และแก้ ป ั ญ หาอย่ า งสร้ า งสรรค์ หมายถึ ง ความสามารถในการแยกแยะข้อมูล ข่าวสาร ปัญหา และสถานการณ์รอบตัว ทัง้ ยังสามารถวิพากษ์วจิ ารณ์และประเมินสถานการณ์รอบตัว ด้วยหลักเหตุผล และข้อมูลที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังรวมถึงความสามารถในการรับรู้ปัญหา รู้สาเหตุของปัญหา และสามารถหาทางเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหาใน สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
3
องค์ประกอบที่ 3 การจัดการกับอารมณ์และเครียด
ทักษะชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร
องค์ประกอบที่ 4 การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
ทักษะชีวิตสามารถเกิดและพัฒนาขึ้นในเด็กนักเรียนได้ 2 วิธี คือ จากการเรียนรู้เองตามธรรมชาติ ด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์หรือ/ และมีแบบอย่างที่ดี เด็กก็สามารถพัฒนาทักษะชีวิตขึ้นได้ แต่การเรียนรู้เอง ตามธรรมชาติไม่มีทิศทางและเวลาที่แน่นอน บางครั้งกว่าเด็กจะเรียนรู้ได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม ก็อาจช้าเกินไป จากการสร้างและพัฒนาด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ เมือ่ นักเรียนได้เรียนรู้ ร่วมกัน ผ่านกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ผ่านการลงมือปฏิบตั ิ ผ่านการร่วมคิดอภิปราย แสดงความคิดเห็น และได้แลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ระหว่างกัน เด็กก็จะมีโอกาสได้สะท้อนความรูส้ กึ นึกคิดและฝึกการคิดเชิงวิจารณ์ไปพร้อมกัน และเชื่อมโยงสิ่งที่ ได้เรียนรู้เข้ากับชีวิตของตนเอง ท�ำให้เด็กสามารถสร้าง องค์ความรู้ใหม่ของตัวเองขึ้น เพื่อน�ำมาปรับใช้ให้เข้ากับชีวิตของตนเอง
การจั ด การกั บ อารมณ์ แ ละความเครี ย ด หมายถึ ง ความสามารถ ในการท�ำความเข้าใจและรู้เท่าทันภาวะอารมณ์ของตนเองและบุคคลอื่น รู้สาเหตุของความเครียด รู้วิธีการควบคุมอารมณ์และความเครียด รู้วิธี ผ่อนคลายและหลีกเลี่ยง และรู้จักหาทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ที่ก่อให้เกิด อารมณ์อันไม่พึงประสงค์ ให้เป็นไปในทางที่ดี การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น หมายถึง การเข้าใจมุมมอง อารมณ์ ความรู้สึกของผู้อื่น สามารถใช้ภาษาพูดและภาษากายเพื่อสื่อสารความรู้สึก นึกคิดของตนเอง สามารถรับรูค้ วามรูส้ กึ และความต้องการของผูอ้ นื่ สามารถ วางตัวได้ถูกต้องเหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ รวมถึงความสามารถใน การสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี สร้างความร่วมมือ และท�ำงานร่วมกับ ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
กิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างและพัฒนาทักษะชีวิต ครูผู้สอนสามารถสร้างและพัฒนาทักษะชีวิตให้แก่เด็กนักเรียนได้ ด้วย การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็กนักเรียนและแทรกการสอน ทักษะชีวิตไปพร้อมกัน โดยค�ำนึงถึงประโยชน์สูงสุดที่นักเรียนจะได้รับจาก การเรียนรู้ วิธที นี่ ยิ มใช้กนั มากทีส่ ดุ ในตอนนี้ คือ กระบวนการการเรียนรู้ ซึง่ ให้ ความส�ำคัญแก่นกั เรียน หรือทีเ่ รียกกันในวงการการศึกษาว่า “กระบวนการ การเรียนรูท้ เี่ น้นผูเ้ รียนเป็นส�ำคัญ” การปรับให้กระบวนการเรียนรูท้ อี่ อกแบบขึน้ เอือ้ ต่อการสอนและพัฒนา “ทักษะชีวติ ” ครูผสู้ อนจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงลักษณะ ส�ำคัญ ดังต่อไปนี้ 4
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
5
เป็นกิจกรรมทีน่ กั เรียนมีสว่ นร่วมในการค้นหาความรูห้ รือสร้างความรูร้ ว่ มกัน เพือ่ ช่วยให้นกั เรียนพัฒนาทักษะชีวติ ในด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตัวอย่างได้แก่ กิจกรรมที่นักเรียนได้มีส่วน ร่วมแสดงความคิดเห็น ได้วิพากษ์วิจารณ์ ได้สืบค้นหรือศึกษาค้นคว้า ได้ สังเคราะห์ความรูจ้ ากสือ่ และแหล่งเรียนรูต้ า่ งๆ ทีเ่ ชือ่ มโยงกับการใช้ชวี ติ จริง และการด�ำเนินชีวิตในอนาคต ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน เป็นกิจกรรมทีน่ กั เรียนได้ท�ำร่วมกัน ได้ลงมือปฏิบตั ิ ได้ประยุกต์ใช้ความรู้ ที่เรียนมา เช่น กิจกรรมค่าย กิจกรรมชมรม/ ชุมนุม กิจกรรมโครงงาน/ โครงการ กิจกรรมจิตอาสา ฯลฯ กิจกรรมเหล่านีช้ ว่ ยกระตุน้ ให้เกิดการพัฒนา ทักษะชีวิตได้ เนื่องจาก ...นักเรียนได้ใช้ทกั ษะการสือ่ สารและเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างกลุม่ เพือ่ น ได้ฝึกการจัดการกับอารมณ์และความเครียดของตนเอง
6
...นักเรียนได้รับรู้ความคิดเห็นของผู้อื่น ท�ำให้เข้าใจผู้อื่น และน�ำไปสู่ การยอมรับความคิดเห็นของผูอ้ นื่ พร้อมกันนัน้ ผูเ้ รียนก็ยงั ได้ฝกึ ไตร่ตรอง ท�ำความเข้าใจ และตรวจสอบตนเองไปด้วย ช่วยให้เข้าใจตนเองและเห็นใจ ผู้อื่นยิ่งขึ้น
...นักเรียนจะได้รับการยอมรับจากกลุ่ม เพราะได้แสดงความคิดเห็น ได้แสดงออกด้วยการพูดและการท�ำงานร่วมกันจนส�ำเร็จ ท�ำให้ได้รับ ค�ำชมและการยอมรับจากเพื่อน ครูและผู้เกี่ยวข้อง นักเรียนจึงเกิด ความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าตนเอง
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
รูปแบบการจัดการเรียนรูแ้ บบเน้นผูเ้ รียนเป็นส�ำคัญ ทีส่ ามารถเสริมสร้าง ทักษะชีวิตได้ มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ แต่ละแบบใช้เทคนิคและวิธีการจัดการ เรียนรู้ต่างกันออกไป ตัวอย่างที่ได้รับความนิยม เช่น กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) คือ การเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน การสอนให้มากขึ้น โดยกระตุ้นให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นและคิดแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) คือ การจัด การเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย เพื่อ เปิดโอกาสให้สมาชิกในกลุ่มที่มีความถนัดแตกต่างกันได้ร่วมแบ่งปันและ ร่วมเสริมสร้างสมรรถนะความสามารถของสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่ม ด้วย การเรียนรู้ร่วมกัน นอกจากนีค้ รูผสู้ อนยังใช้วธิ กี ารจัดการเรียนรูแ้ บบอืน่ ๆ เช่น กระบวนการ เรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Learning) กระบวนการเรียนรู้ แบบแก้ปัญหา (Problem Solving) กระบวนการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Learning) กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้เป็นกลุ่ม (Group Investigation) กระบวนการเรียนรู้ด้วยค�ำถาม (Question- Answer) ฯลฯ ตามแต่ความเหมาะสมของผู้เรียน สภาพแวดล้อมของ โรงเรียน และเนื้อหาของวิชา
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
7
ตัวอย่างกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดที่ยกมานี้ ต่างมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ เป็นผู้ร่วมสร้างความรู้ ร่วมปฏิบัติกิจกรรม ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ไข ปัญหากับกลุ่มเพื่อน เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อแสดงออกทางความคิด โดยมุ่งหวังให้นักเรียนได้ฝึกวิพากษ์วิจารณ์ สังเคราะห์ความคิด เชื่อมโยง ประสบการณ์ ความคิด และความเชื่อของตนเองกับกลุ่มเพื่อน การท�ำ เช่นนี้จะช่วยให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น ซึ่งเป็น องค์ ป ระกอบหนึ่ ง ของทั ก ษะชี วิ ต และเป็ น พื้ น ฐานในการพั ฒ นาไปสู ่ การเรียนรู้ทักษะชีวิตในด้านอื่นๆ ต่อไป ครูที่สนใจและต้องการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง กระบวนการ การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นส�ำคัญกับการเสริมสร้างทักษะชีวิต สามารถ สืบหาได้จาก 1. เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 2. การจัดสาระการเรียนรูก้ ลุม่ สาระการเรียนรู้ (8 กลุม่ สาระการเรียนรู)้ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2546 3. แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (8 กลุ่มสาระการเรียนรู้) ส�ำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 2553 4. การจั ด การเรี ย นรู ้ แ บบมี ส ่ ว นร่ ว ม (Participatory Learning) กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข 2540
8
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
ก้าวที่สอง
การพัฒนาทักษะชีวิตในระดับประถมศึกษา เด็กนักเรียนชัน้ ประถมศึกษา (ประมาณ 6-12 ปี) อยู่ในช่วงทีม่ พี ฒ ั นาการ ทางร่างกาย สังคม และความคิด เปลี่ยนแปลงมากที่สุด ช่วงเวลาหกปี ของชั้นประถมศึกษาคาบเกี่ยวระยะพัฒนาการจากเด็กก่อนวัยเรียนสู่วัยรุ่น ตอนต้ น การจั ด การเรี ย นการสอนในช่ ว งวั ย นี้ จึ ง ควรค�ำนึ ง พั ฒ นาการ ในแต่ละช่วงที่ต่างกันไว้ด้วย เช่นเดียวกัน ทักษะชีวิตที่ปลูกฝังให้กับเด็กวัยนี้ ก็ควรค�ำนึงถึงพื้นฐานพัฒนาการ
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
9
เข้าใจพัฒนาการเด็กวัยประถม ฉบับกะทัดรัด
ประถมต้น
(6-8 ปี)
ร่างกาย • การเติบโตช้าลง สัดส่วนของร่างกายคล้าย ผู้ใหญ่มากขึ้น • ชอบการเล่นที่ใช้ร่างกาย และฝึกทักษะทาง ร่างกาย • มีพลัง แข็งแรง และเหนื่อยยาก สติปัญญา • สนใจการอ่านมากขึ้น แต่ยังมีปัญหา เรื่องการสะกดค�ำ • อยากรู้อยากเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวและ อยากรู้เรื่องราวต่างๆ ในโลก • เรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์และ การค�ำนวณแบบง่ายได้ • เข้าใจล�ำดับความเป็นไปของเหตุการณ์และ เข้าใจเรื่องราวที่ซับซ้อนขึ้น • เข้าใจและเรียนรู้ธรรมเนียมและแบบแผน รวมทั้งความหมายในบทสนทนาต่างๆ สังคมและอารมณ์ • เริ่มเปรียบเทียบตัวเองกับเพื่อน • สนใจมิตรภาพกับเพื่อนเพศเดียวกัน • เริ่มมีเพื่อนสนิท • สนใจเกมที่มีกฎข้อบังคับ • เริ่มต้องการเวลาส่วนตัวและมีโลกส่วนตัว
10 ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
ประถมปลาย
(9-12 ปี)
ร่างกาย • น�้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว • ร่างกายเริม่ เข้าสูช่ ว่ งวัยรุน่ เริม่ แสดงลักษณะ ทางเพศของตน สติปัญญา • มีความคิดเป็นตัวเองและเป็นอิสระ • เริ่มตัดสินใจเองได้มากขึ้น • สนใจการเรียนมากกว่าการเล่น และเริ่ม สนใจเรื่องอาชีพในอนาคต • มองหาข้อมูลจากสื่อต่างๆ และกลุ่มเพื่อน • พัฒนาการคิดแบบนามธรรมและมีจิตส�ำนึก ต่อสังคมมากขึน้ ทัง้ สามารถเข้าใจความคิดที่ ซับซ้อนได้ • รู้จักรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และ คนรอบข้าง
พัฒนาการของเด็กชั้นประถมศึกษาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการพัฒนา พื้นฐานทางสติปัญญา ได้แก่ การพัฒนาความเข้าใจแนวคิดนามธรรม ที่ ซั บ ซ้ อ นขึ้ น เก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล จากสิ่ ง แวดล้ อ มรอบตั ว และโลกกว้ า ง ส่วนพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ เด็กช่วงวัยนี้มักให้ความส�ำคัญกับ การคบหาเพื่อนและมีส่วนร่วมในกลุ่ม ความสัมพันธ์กับเพื่อนเพศเดียวกัน และต่างเพศ การพัฒนาพื้นฐานด้านอัตลักษณ์ เด็กวัยนี้จึงต้องการเวลา ของตัวเอง มีความคิดอ่านของตัวเอง และตัดสินใจด้วยตัวเองมากขึ้น ร่างกายของเด็กวัยนี้ก็พัฒนาขึ้นจากช่วงปฐมวัยมาก การสอดแทรกเนื้อหาทักษะชีวิต แต่ละองค์ประกอบ เข้าในกระบวนการ การเรียนรู้ จึงควรปรับให้กลมกลืนเข้ากับพัฒนาการดังกล่าว ดังนั้นเนื้อหา ในบทนี้ จึงมุ่งขยายความเข้าใจองค์ประกอบแต่ละด้านของ “ทักษะชีวิต” และเสนอตัวอย่างแนวทาง ที่จะน�ำไปใช้เพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการ ของเด็กนักเรียนประถม
สังคมและอารมณ์ • ท�ำตัวกลมกลืนและต้องการเข้ากับกลุม่ เพือ่ น ให้ได้ ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม • กังวลเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา และภาพลักษณ์ • สับสนกับพัฒนาการและอารมณ์ทางเพศ สนใจเพศตรงข้ามมากขึ้น
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
11
ทักษะชีวิตในระดับประถมศึกษา ก่อนจะน�ำองค์ประกอบทักษะชีวิต ทั้ง 4 ด้าน ไปใช้ ครูผู้สอนควรเข้าใจ และสามารถจ�ำแนกนัยส�ำคัญขององค์ประกอบแต่ละด้านให้ได้อย่างถ่องแท้ และลึกซึ้ง เพื่อให้มองเห็นกลไกที่จะก่อให้เกิดคุณลักษณะดังกล่าวขึ้น แม้วา่ โดยทัว่ ไปเรามักพูดถึงทักษะชีวติ แต่ละด้าน ราวกับเป็นองค์ประกอบ ทีแ่ ยกจากกัน แต่ทจี่ ริงแล้ว การพัฒนาทักษะชีวติ เป็นกระบวนการทีเ่ ชือ่ มโยง กันทั้งหมด เมื่อองค์ประกอบหนึ่งเกิดขึ้นและเติบโตอย่างเข้มแข็ง ก็ย่อม เอื้ อ และส่ ง เสริ ม องค์ ป ระกอบอื่ น ให้ ง อกงามไปพร้ อ มกั น ด้ ว ย ดั ง นั้ น ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แม้เป้าหมายหลักในการเรียนรู้จะอยู่ที่ องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึง่ แต่ระหว่างกระบวนการนัน้ ครูกย็ งั สามารถ กระตุ้นให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาองค์ประกอบอื่นๆ ไปพร้อมกันได้ด้วย
องค์ประกอบที่ 1 การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
การตระหนักรู้ในตนเอง หมายถึง การตระหนักและรู้ทันในอาการ ทางกาย อารมณ์และความนึกคิดของตนเอง ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ การเห็นคุณค่าในตนเอง เกิดขึ้นเมื่อได้รับความรัก การยอมรับ ค�ำชื่นชม จากบุคคลรอบข้าง เมื่อไม่ถูกต�ำหนิ ต่อว่า ท�ำร้าย คุกคาม หรือถูกคาดหวัง เกินความเป็นจริง การเห็นคุณค่าในตนเองท�ำให้เกิดความรู้สึกมั่นคงในจิตใจ และรู้สึกว่าตนมีคุณค่า การเห็นคุณค่าในตนเองยังเกิดขึ้นได้จากประสบการณ์ความส�ำเร็จ จากการได้ทดลองท�ำสิ่งต่างๆ และประสบความส�ำเร็จ จากการรู้จุดแข็งและ ความถนัดของตน จากการรู้และยอมรับข้อจ�ำกัดหรือจุดอ่อนของตน จนน�ำ ไปสูก่ ารหมัน่ ฝึกฝนเพือ่ ชดเชยจุดอ่อนนัน้ รวมทัง้ จากการได้รบั ก�ำลังใจในเวลา 12 ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
ที่ล้มเหลวหรือผิดพลาด และได้รับการฝึกให้มองความผิดพลาดเป็นบทเรียน เพื่อให้ก้าวเดินได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้นต่อไป การเห็นคุณค่าผู้อื่น เกิดขึ้นเมื่อมองเห็นความเหมือนกันระหว่างเพื่อน มนุษย์ ยอมรับความแตกต่างระหว่างกัน เคารพในสิทธิของตนเองและผู้อื่น ชื่นชมและมองเห็นด้านดีของผู้อื่น ไม่ตัดสินคุณค่าของคนจากสิ่งภายนอก
ครูสามารถสร้างความตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตัวเองและผู้อื่นให้กับ เด็กๆ ได้ ด้วยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ช่วยให้เด็กๆ ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นกับครูและเพื่อนๆ ในห้องเรียน กิจกรรมที่ ช่วยให้เด็กได้รับความรัก การยอมรับ ทั้งจากครูและเพื่อนๆ นอกจากนี้ ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลองท�ำสิ่งต่างๆ ในสภาพแวดล้อมที่ให้ความรู้สึก ปลอดภัย นั่นคือ สภาพแวดล้อมที่เด็กได้รับการยอมรับและสนับสนุนไม่ว่าจะ ส�ำเร็จหรือล้มเหลว เมื่อเด็กท�ำส�ำเร็จ ก็ให้ค�ำชื่นชม แต่หากล้มเหลว ก็ให้ ก�ำลังใจ และสอนให้เด็กฝึกแปลงความผิดพลาดเป็นบทเรียน ครูยังควรสอน ให้เด็กๆ รู้จักชื่นชม ให้เกียรติ และเห็นคุณค่าในความส�ำเร็จของเพื่อนๆ และ พร้อมเป็นก�ำลังใจเมื่อผู้อื่นล้มเหลว โดยชี้ให้เห็นว่า ความล้มเหลวเองก็เป็น กระบวนการเรียนรู้ที่ส�ำคัญเช่นกัน
ข้อควรจ�ำ การเรียนการสอนที่ดีต้องเริ่มจากครูผู้สอนในฐานะตัวแบบก่อนเป็นส�ำคัญ ครูจึงต้องมีความเชื่อมั่นในคุณค่าของนักเรียนทุกคน และต้องยอมรับความคิดเห็นของ นั ก เรี ย นอย่ า งไม่ มี เ งื่ อ นไข เพื่ อ สร้ า งสภาพแวดล้ อ มที่ ป ลอดภั ย ส� ำ หรั บ การพั ฒ นา การตระหนักรู้และการเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
13
องค์ประกอบที่ 2 การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์
การคิดวิเคราะห์ คือ การคิดแยกแยะ อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน ด้วยเหตุและผล รู้จักมองหาข้อดีข้อเสีย มองเห็นทางเลือกที่มีและสามารถ พิจารณาถึงผลที่ตามมาของแต่ละทางเลือกได้ สามารถคิดจากแง่มุมต่างๆ และเปรี ย บเที ย บ เพื่ อ ช่ ว ยให้ เ ข้ าใจปั ญ หาหรื อ เรื่ อ งราวนั้ น ๆ ได้ อ ย่ า ง ชัดเจน ลึกซึ้ง การตัดสินใจ เมื่อคิดวิเคราะห์ได้ดี ก็จะเห็นแง่มุมต่างๆ ได้รอบด้าน มองเห็นทางเลือกที่มี ได้ชัดเจนขึ้น และประเมินคร่าวๆ ได้ว่าทางเลือกใด น�ำไปสู่ผลลัพธ์แบบใด เมื่อนั้นก็ตัดสินใจเลือกทางที่เหมาะสมได้ และ ทั้งหมดนี้ ก็คือ กระบวนการคิดที่น�ำไปสู่การตัดสินใจ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เมื่อสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างถี่ถ้วน จนมองเห็นความเป็นไปได้และทางเลือกต่างๆ และตัดสินใจได้ ก็ยอ่ มสามารถ แก้ ป ั ญ หาได้ อ ย่ า งสร้ า งสรรค์ จ ากทางเลื อ กที่ มี การคิ ด วิ เ คราะห์ แ ละ การตัดสินใจจึงเป็นพื้นฐานส�ำคัญของการแก้ปัญหา ยิ่งหากสามารถเข้าใจ สถานการณ์และทางเลือกได้จากหลายมุมมองเท่าไหร่ ก็จะสามารถเลือก ทางออกที่เหมาะสมและสร้างสรรค์ได้มากขึ้นเท่านั้น
การแก้ปัญหา ไม่ว่าจะในด้านเทคนิค วิชาการ หรือที่เกี่ยวข้องกับคน ก็ ต้ อ งอาศั ย กระบวนการคิ ด วิ เ คราะห์ ที่ เ หมื อ นกั น แต่ ที่ แ ตกต่ า งกั น คื อ รายละเอียด การแก้ปัญหาทางเทคนิคและวิชาการ ต้องอาศัยเนื้อหา ความรู้ และหลักการเฉพาะของเรื่องนั้น ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เด็กนักเรียนจะได้เรียนรู้ จากรายวิชาต่างๆ ดังนั้นครูผู้สอนแต่ละวิชาจึงต้องสอนทั้งความรู้ตามเนื้อหา วิชาและการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาด้วย แต่การแก้ปญ ั หาทีเ่ กีย่ วข้องกับคน จ�ำเป็นต้องใส่ใจเรือ่ งของความแตกต่าง ระหว่างบุคคลและอารมณ์อีกทั้งความรู้สึกของผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งในส่วนนี้ ต้องน�ำ องค์ประกอบแรกของทักษะชีวิต คือ การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง และผู้อื่น เข้ามาใช้ร่วมด้วย ครูจะช่วยพัฒนาการคิดวิเคราะห์ให้กบั เด็กได้ โดยออกแบบกิจกรรมการเรียน ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการลงมือแก้ปัญหา หรือแสดงตัวเป็น แบบอย่างให้นักเรียนเห็นการแก้ปัญหาที่รู้จักคิดแยกแยะ คิดแบบมีทางเลือก และพิจารณาผลตามมา อยู่เป็นประจ�ำ นอกจากนี้ เด็กๆ จะภูมิใจหากครูหมั่น สอบถามความคิดเห็นในการแก้ปัญหา เปิดใจรับฟัง และพูดบอกถึงวิธีคิด ที่ผู้ใหญ่รอบตัวใช้กันอยู่ ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทดลองคิดและ เสนอความคิดเห็นของตนในชัน้ เรียน แล้วแสดงความชืน่ ชมในสิง่ ทีเ่ ด็กคิด และ ดึงส่วนดีมาอธิบายให้นักเรียนทั้งห้องเห็นว่า ดีอย่างไร นอกจากนี้ยังอาจ น�ำข้อคิดที่สร้างสรรค์ของเด็กๆ ไปปฏิบัติร่วมกัน เพื่อช่วยให้เด็กเห็นผลลัพธ์ ในเชิงประจักษ์และพัฒนาความเชื่อมั่นของเด็กให้มากยิ่งขึ้น
ข้อควรจ�ำ โดยทัว่ ไป เด็กจะเรียนรูก้ ระบวนการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปญ ั หาจากการสังเกต ผู้ ใหญ่รอบตัวและจากประสบการณ์ ในชีวิตจริง มากกว่าจะน�ำขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ที่เรียน ไปใช้ ในชีวิตตนเอง เว้นเสียแต่ครูหรือผู้ ใหญ่รอบตัวในชีวิตจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะเชื่อมโยง หลักคิดมาใช้ ในชีวิตประจ�ำวัน ครูจึงควรหมั่นฝึกให้เด็กคิดเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง และ แสดงการคิดเชื่อมโยงเป็นตัวอย่างให้เด็กนักเรียนได้เห็นบ่อยๆ
14 ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
15
องค์ประกอบที่ 3 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด
การจั ด การกั บ อารมณ์ เราจะจั ด การอารมณ์ แ ละความเครี ย ดได้ ดี เมื่อสามารถตระหนักรู้ในอารมณ์ตนเองได้ หากมีสิ่งใดที่เกิดขึ้นในใจเรา แต่เราไม่ตระหนัก ก็ย่อมเป็นเรื่องยากที่จะจัดการ เพราะเราไม่รู้ตัว การฝึก ความตระหนั ก และรู ้ เ ท่ า ทั น อารมณ์ ข องตนเอง (องค์ ป ระกอบที่ 1) จึงเป็นหัวใจส�ำคัญของการพัฒนาทักษะชีวิตองค์ประกอบนี้ด้วย เราตระหนักรูใ้ นอารมณ์ตนเอง เมือ่ เรายอมรับและเปิดใจรับอารมณ์นนั้ ๆ ในกรณีของอารมณ์ที่พ่อแม่และสังคมยอมรับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอารมณ์ ด้านบวก เช่น ดีใจ เป็นสุข เด็กๆ มักจะตระหนักรู้ได้ง่าย แต่ส�ำหรับอารมณ์ ด้านลบทีพ่ อ่ แม่และสังคมมักไม่ยอมรับ เด็กก็มกั จะไม่คอ่ ยตระหนักถึง ท�ำให้ ไม่ได้เรียนรู้ที่จะจัดการอารมณ์นั้นอย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ไม่ชอบ และไม่ยอมรับอารมณ์โกรธ เวลาเด็กๆ แสดงความโกรธออกมา ก็จะห้าม หรือท�ำโทษ ไม่ยอมรับอารมณ์นั้น เด็กจะเก็บกดไว้และไม่ยอมรับในอารมณ์ ตนเองเช่นกัน เมื่อเกิดอารมณ์โกรธขึ้นในครั้งต่อไป ก็จะไม่ยอมรับ ไม่รู้ทัน ท�ำให้ไม่รู้วิธีจัดการอารมณ์โกรธอย่างเหมาะสม การจัดการกับความเครียด อารมณ์ของคนเราแสดงออกผ่านอาการ ทางกาย โดยเฉพาะอารมณ์ด้านลบที่รุนแรง เช่น เวลาเครียด เราจะปวดตึง ศีรษะ ปวดท้อง ใจสั่นรัว เวลาเศร้าใจ เรารู้สึกโหวงเหวง ว่างเปล่า คนที่ จัดการอารมณ์ได้ดี จึงต้องตระหนักรู้ในอาการทางกายของตนด้วย อารมณ์ของคนเราสัมพันธ์กับความคิดอย่างใกล้ชิด หากคิดมองโลก แง่ร้าย หรือมีวิธีคิดที่ท�ำให้เครียด ก็จะเครียดง่าย แต่หากรู้จักคิดมองโลก แง่ดี หรือมีวิธีคิดที่ท�ำให้ไม่เครียด ก็จะมีอารมณ์ดี มีความสุขได้ง่ายเช่นกัน
16 ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
การจะพัฒนาความสามารถในการจัดการอารมณ์ของตนเองให้กับเด็ก นักเรียนได้นั้น ผู้ใหญ่ใกล้ตัวต้องเป็นตัวอย่างแสดงให้เด็กเห็นถึงการยอมรับ อารมณ์ของตนเองให้ได้เสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์บวกหรืออารมณ์ลบ ดังนั้นในสถาบันศึกษา ครูผู้สอนจึงควรเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้แก่นักเรียน โดยครูต้องแสดงให้เด็กเห็นว่า ยอมรับอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ โดยไม่ปิดกั้น แต่ก็ไม่ใช่วา่ จะแสดงอารมณ์ทกุ อย่างโดยไม่คดิ และยอมรับแม้แต่การกระท�ำที่ ไม่เหมาะสม ครูต้องแสดงให้นักเรียนเห็นว่า ครูรู้เท่าทันอารมณ์ของตน รู้ทัน อาการทางกายที่สัมพันธ์กับอารมณ์ รู้วิธีคิดที่จะปรับเปลี่ยนอารมณ์ไปในทาง สร้างสรรค์และเลือกแสดงออกในทางที่ ไม่เป็นโทษกับตัวเองและผู้อื่น ครูยัง ควรบ่มเพาะวิธกี ารคิดทีช่ ว่ ยให้ไม่เครียด มีความสุข และมองโลกในแง่ดี ให้แก่ เด็กนักเรียน ในเด็กเล็ก ครูควรฝึกให้เด็กรูจ้ กั เรียกชือ่ อารมณ์ตา่ งๆ ของตนให้ได้ถกู ต้อง นี่คือวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เด็กรู้ทันอารมณ์ตนเอง เมื่อมีอายุมากยิ่งขึ้น ในเด็กโต ครูควรช่วยให้เด็กรูท้ นั สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ภายในใจ แล้วเชือ่ มโยงวิธกี าร จัดการกับอารมณ์เข้ากับการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
17
องค์ประกอบที่ 4 การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
โดยทัว่ ไป คนเราเลือกคบหากับคนทีเ่ หมือนกับเรา เพราะรูส้ กึ สนิทได้งา่ ย และมักใช้เวลากับคนที่คิดและท�ำอะไรคล้ายกัน แต่ในชีวิตจริง ทุกคนจะต้อง พบกับผู้คนหลากหลาย ดังนั้น ทักษะในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะ เกิดขึ้นได้ เมื่อเรียนรู้ที่จะยอมรับในความแตกต่าง เห็นคุณค่าในสิ่งที่ต่างไป จากตัวเรา ไม่ดูถูก เหยียดหยาม ล้อเลียน คนที่มีความแตกต่างออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ดูถูกหรือแสดงท่าทีรังเกียจคนที่อาจอยู่ ในสถานะที่ ด้อยกว่า
การพัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพ เริม่ ต้นจากการบ่มเพาะทัศนคติ ในการมองเห็นคุณค่าของผูอ้ นื่ มองว่าทุกคนต่างมีคณ ุ ค่าและศักดิศ์ รีในตนเอง ปฏิบัติต่อกันด้วยการให้เกียรติ ไม่ว่าคนผู้นั้นจะอยู่ในสถานะทางสังคมเช่นไร หญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่ ทั้งต้องฝึกให้รู้จักรับฟังด้วยความใส่ใจ เพื่อที่จะ เข้าใจมุมมองของผู้อื่น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องมีจุดยืนเป็นของตนเองด้วย ไม่ใช่แกว่งไปตามคนรอบข้างโดยไม่คิด สรุปแล้ว การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับ ผู้อื่นต้องอาศัยทักษะในการฟัง การพูดสื่อสาร และการวางตัวที่เหมาะสม ครูสามารถช่วยให้เด็กนักเรียนพัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพทีด่ ีได้ ด้วยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในการให้เกียรติกับทุกคนรอบตัว สอนเด็กให้ เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เคารพและรู้จักชื่นชมในความแตกต่างนั้น พยายามเข้าใจผู้อื่น ไม่ตัดสินคนจากภายนอก ขณะเดียวกันก็ควรฝึกให้เด็กคิด พิจารณาสิ่งที่ ได้ฟัง ไม่เชื่อข่าวลือง่ายๆ และไม่เผยแพร่ข่าวลือเกี่ยวกับคน ในชุมชน ควรฝึกทักษะการฟัง การถาม การพูด การวางตัวที่เหมาะสม
18 ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
การสร้างและพัฒนาทักษะชีวิต ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอนสามารถสร้างและพัฒนาทักษะชีวิตให้แก่เด็กนักเรียน ผ่านทาง กระบวนการจัดการเรียนรู้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งอิงมาตรฐานและ ตัวชี้วัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ครูอาจ จับเนื้อหาของกระบวนการเรียนรู้ใน 8 กลุ่มสาระ มาให้เข้ากับองค์ประกอบ ของทักษะชีวิตแต่ละด้านและแทรกให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อหาของทักษะชีวิต แต่ละองค์ประกอบ ที่เข้ากับเนื้อหาแต่ละวิชาในบทเรียนนั้นๆ (หรือที่เรียกว่า “จุดเน้นทักษะชีวิต”) ดังนี้
ตารางแสดงความสอดคล้อง ความสัมพันธ์ ของจุดเน้นทักษะชีวติ และ ทักษะการเรียนรู้ จ�ำแนกตามกลุม่ สาระการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ที่ส�ำคัญ จุดเน้นทักษะชีวิต 1. ภาษาไทย
• ก า รใ ช ้ ภ า ษ าไ ท ย เ พื่ อ การสือ่ สารและสร้างสัมพันธภาพ • การรั บ สารและส่ ง ข้ อ มู ล ข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณ (การอ่าน การเขียน การฟัง การดู การพูด ให้เหมาะสมกับ กาลเทศะและวัฒนธรรมไทย)
องค์ประกอบที่ 1 : การตระหนั ก รู ้ แ ละ เห็ น คุ ณ ค่ า ในตนเอง และผู้อื่น องค์ประกอบที่ 4 : การสร้างสัมพันธภาพทีด่ ี กับผู้อื่น
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
19
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ที่ส�ำคัญ จุดเน้นทักษะชีวิต 2. คณิตศาสตร์
• ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ และมีเหตุมีผล (คิดเป็นขั้นตอน คิ ด ค�ำ น ว ณ คิ ด ค า ด ค ะ เ น คิ ด แก้ ป ั ญ หา วิ เ คราะห์ ผ ลที่ ตามมา ประเมินทางเลือกและ ตัดสินใจด้วยความรอบคอบ)
องค์ประกอบที่ 2 : การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ ป ั ญ หาอย่ า ง สร้างสรรค์
3. วิทยาศาสตร์
• ทักษะการสืบเสาะหาความรู้ สร้ า งองค์ ค วามรู ้ และทั ก ษะ การแก้ปัญหา • ทักษะการสังเกต ตัง้ สมมติฐาน สืบเสาะค้นคว้าพิสจู น์ หาความจริง มีจุดหมาย • ทักษะการแสดงความคิดเห็น ของตนเองและรับฟังความคิดเห็น ของผู้อื่น • ทักษะการตัดสินใจโดยใช้ขอ้ มูล ที่หลากหลาย มีประจักษ์พยาน
องค์ประกอบที่ 2 : การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ ป ั ญ หาอย่ า ง สร้างสรรค์
4. สังคมศึกษา ศาสนา • ทักษะในการปรับตัว การเข้าใจ ตนเองและผู ้ อื่ น การยอมรั บ และวัฒนธรรม ความแตกต่าง เข้าใจการด�ำรง ชีวิตของมนุษ ย์ ทั้งแบบปัจเจก บุคคลและการอยูร่ ว่ มกันในสังคม • ทักษะการจัดการชีวติ ให้สมดุล กับสิ่งแวดล้อม (การเห็นคุณค่า ของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม)
องค์ประกอบที่ 1 : ก า ร ต ร ะ ห นั ก รู ้ แ ล ะ เห็ น คุ ณ ค่ า ในตนเอง และผู้อื่น องค์ประกอบที่ 4 : การสร้างสัมพันธภาพที่ดี กับผู้อื่น
20 ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ที่ส�ำคัญ จุดเน้นทักษะชีวิต 5. สุขศึกษาและ พลศึกษา
• การด�ำเนินชีวติ และครอบครัว องค์ประกอบที่ 3 : • การเคลื่อนไหวและกิจกรรม การจัดการอารมณ์และ ความเครียด ทางกาย • การเล่นเกมและกีฬา • ก า ร ส ร ้ า ง เ ส ริ ม สุ ข ภ า พ การด�ำรงสุขภาพ การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสมรรถภาพ เพื่อสุขภาพ
6. ศิลปะ
• การใช้ ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ จินตนาการทางศิลปะ การชืน่ ชม ความงาม การเห็ น คุ ณ ค่ า ใน ตนเองและสรรพสิ่งแวดล้อม • ก า ร ใ ช ้ ป ร ะ ส า ท สั ม ผั ส การเคลื่อนไหว การตระหนักรู้ การมีสติ
องค์ประกอบที่ 1 : ก า ร ต ร ะ ห นั ก รู ้ แ ล ะ เห็นคุณค่าในตนเองและ ผู้อื่น
7. การงานอาชีพและ • การรูเ้ ท่าทันการเปลีย่ นแปลง ในสังคม เทคโนโลยี • การท�ำงานร่ ว มกั บ ผู ้ อื่ น ได้ อย่างสร้างสรรค์ • การน�ำความรู้และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการท�ำงาน • การอยูใ่ นสังคมอย่างมีความสุข
องค์ประกอบที่ 1 : ก า ร ต ร ะ ห นั ก รู ้ แ ล ะ เห็นคุณค่าในตนเองและ ผู้อื่น องค์ประกอบที่ 4 : การสร้างสัมพันธภาพที่ดี กับผู้อื่น
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
21
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ทักษะการเรียนรู้ที่ส�ำคัญ จุดเน้นทักษะชีวิต 8. ภาษาต่างประเทศ • การใช้ภาษาเพือ่ การสือ่ สาร สร้ า งสั ม พั น ธภาพ แสวงหา (ภาษาอังกฤษ) ความรู้ สร้างความเข้าใจ • การตระหนักในความหลาก หลายทางวั ฒ นธรรม และ มุมมองของสังคมโลก • การเข้าใจตนเองและผู้อื่น • การมีวสิ ยั ทัศน์ในการด�ำเนิน ชีวิต
องค์ประกอบที่ 1: การตระหนั ก รู ้ แ ละ เห็ น คุ ณ ค่ า ในตนเอง และผู้อื่น องค์ประกอบที่ 4 : การสร้างสัมพันธภาพทีด่ ี กับผู้อื่น
จากตัวอย่างทีน่ �ำเสนอ จะเห็นได้วา่ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรูใ้ นแต่ละ สาระการเรียนรู้เพื่อให้เด็กนักเรียนได้พัฒนา “ทักษะชีวิต” ไปพร้อมกัน ครูจะต้องเชื่อมโยงกระบวนการการเรียนรู้และสาระเนื้อหาวิชานั้นๆ เข้ากับ ตัวเด็กนักเรียนและประสบการณ์ของเด็ก เพื่อน้อมน�ำนักเรียนให้สะท้อน ความคิด คิดวิเคราะห์ และแสดงความคิดเห็น จนกระทั่งนักเรียนสามารถ รู้จักและเข้าใจตนเอง รู้ข้อดีและข้อด้อยของตนเอง รวมทั้งเพื่อนๆ และ ผู ้ ค นรอบตั ว และยอมรั บ ความแตกต่ า งนั้ น ครู ยั ง ควรสอนให้ นั ก เรี ย น มีการแสดงออกที่เหมาะสม รู้จักชื่นชมตนเองและผู้อื่นอย่างเหมาะสม ไปพร้อมกันด้วย
22 ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
ส่งท้ายภาค ทั้งหมดล้วนเป็นเนื้อเดียวกัน หากสังเกตให้ดจี ะเห็นว่า องค์ประกอบทัง้ สีข่ องทักษะชีวติ ล้วนเชือ่ มโยงกัน เมื่อเกิดองค์ประกอบที่ 1 การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ก็ยอ่ มท�ำให้เด็กสร้างสัมพันธภาพทีด่ กี บั บุคคลรอบข้างได้ เพราะเด็กเข้าใจตนเอง และผู้อื่น เห็นคุณค่าและยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล การอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นสามารถเป็นไปด้วยความเข้าใจและเปิดกว้าง ในขณะที่องค์ประกอบที่ 3 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด ก็ตอ้ งเริม่ ด้วยการตระหนักรูแ้ ละเข้าใจ ตนเอง ทัง้ ในด้านอารมณ์และความคิด จากนัน้ ก็อาศัยทักษะในองค์ประกอบที่ 2 คือ การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้าง ความเข้าใจในตนเอง ผูอ้ นื่ และสถานการณ์ คิดชัง่ ทางเลือกแต่ละทาง เพือ่ หาทาง จัดการกับอารมณ์ของตนเองและสถานการณ์ที่ตึงเครียดได้อย่างเหมาะสม ไม่วา่ เนือ้ หาการเรียนรูจ้ ะเกีย่ วกับอะไรก็ตาม ครูกส็ ามารถแทรกการสอน ทักษะชีวิตทุกองค์ประกอบให้แก่เด็กได้อย่างเป็นธรรมชาติ หากครูเข้าใจ แนวคิดและจุดมุง่ หมายของทักษะชีวติ อย่างกระจ่างชัด ซึง่ ไม่ใช่เรือ่ งทีซ่ บั ซ้อน เลย ทั้งเด็กนักเรียนในวัยประถมเอง ก็อยู่ในช่วงพัฒนาการที่พร้อมจะส�ำรวจ ตนเอง ผู้คนรอบตัว และโลกที่พวกเขาอาศัยอยู่ เมื่อบวกเข้ากับพัฒนาการ ทางความคิดและสังคมทีก่ �ำลังก่อร่างขึน้ และพร้อมซึมซับสิง่ ต่างๆ รอบตัว วัยนี้ จึงเป็นช่วงวัยทีม่ ศี กั ยภาพสูงในการเรียนรูท้ กั ษะชีวติ และเป็นช่วงวัยทีพ่ ฤติกรรม และทัศนคติที่ก่อตัวขึ้นจะฝังรากลึกและคงตัว การสอนทักษะชีวิตแก่เด็ก วัยนี้ จึงเปรียบเหมือนการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันอย่างถาวรให้แก่เด็ก
ภาคที่หนึ่ง เข้าใจทักษะชีวิต
23
ภาคที่สอง
ตั้งค�ำถามเพื่อสร้าง “ทักษะชีวิต” การตั้งค�ำถามเป็นจุดเริ่มต้นของ การคิด การค้นคว้า การวิเคราะห์ เป็นช่องทางให้ความคิดได้แตกแขนง เป็นกระจกสะท้อนความคิดและอารมณ์
24
25
ตัง้ ค�ำถาม เพือ่ สร้าง “ทักษะชีวติ ” เครื่องมือในการเรียนรู้ตามธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ ที่สุด แต่มักถูกมองข้ามและละเลยไป เพราะเห็นเป็นเรื่องสามัญธรรมดา คือ การตัง้ ค�ำถาม นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบนั นักคิด นักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ นักส�ำรวจ ไม่เว้นแม้แต่นักวิชาการในสาขาต่างๆ ล้วนเริ่มการเสาะแสวงหา ทางความคิด ด้วยการตั้งค�ำถาม จากค�ำถามน�ำไปสู่การสืบค้นเพื่อตอบ จากค�ำตอบหนึง่ น�ำไปสูค่ �ำถามต่อไป และต่อไป เป็นเช่นนี้ไปเรือ่ ยๆ จนชิน้ ส่วน ขององค์ความรู้ค่อยๆ เพิ่มขึ้นและเรียงเข้าด้วยกัน จนเป็นรูปเป็นร่าง แต่นา่ เสียดายทีน่ กั การศึกษาและครูผสู้ อนส่วนใหญ่มกั มองเห็นประโยชน์ ของค�ำถาม แค่ ในฐานะของเครื่ อ งมื อ วั ด ผลการเรี ย นรู ้ เ ท่ า นั้ น ค�ำถาม ถูกคิดขึ้นสารพัดแบบเพื่อวัดว่านักเรียนหรือผู้เรียนในหัวข้อ ประเด็น หรือ วิชานั้นๆ เข้าใจสิ่งที่เรียนมามากน้อยเพียงใด ตอบได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการวัด ตามจุดประสงค์หรือไม่ ค�ำถามในเชิงนี้ จึงเป็นแค่กรอบและเกณฑ์ที่ ใช้ วัดความรู้ เท่าที่จุดประสงค์ตั้งไว้เท่านั้น ...แต่แท้จริงแล้ว ค�ำถาม ไม่ได้มีไว้เพื่อ “ตีกรอบ” แต่มีไว้เพื่อ “น�ำทาง” “สร้าง” “ขยาย” และ “แทงทะลุ” ทางความคิด การตั้งค�ำถามจึงสามารถใช้ เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ได้อย่างดี
26 ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
อ�ำนาจของค�ำถาม
ค�ำถาม ช่วยก�ำหนดประเด็นและทิศทางในการพูดคุยและเรียนรู้ ค�ำถาม ช่วยสะท้อนให้เห็นข้อมูลที่ขาดหายไป ช่องว่าง สิ่งที่ยังไม่รู้ และกระตุ้นให้ไปสืบหาข้อมูลเพิ่มเติม ค�ำถาม ช่วยให้คิดใคร่ครวญ ทบทวน และกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ ต่อไป ค�ำถาม ช่วยกระตุ้นความคิด ท�ำให้คิดแตกขยาย และน�ำไปสู่ทิศทาง ใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้หรือส�ำรวจมาก่อน ค�ำถาม ช่วยให้จดจ่อขบคิดกับเรือ่ งราวทีอ่ ยู่ในความสนใจนัน้ จึงช่วยให้ จดจ�ำและเข้าใจเรื่องราวนั้นได้ลึกซึ้งและแม่นย�ำขึ้น ค�ำถาม ยังช่วยดึงให้สมาชิกที่เกี่ยวข้อง หรือผู้คนรอบตัว ให้เข้ามามี ส่วนร่วมในการส�ำรวจ สืบค้น และเสาะแสวงหา
ครูสามารถใช้ค�ำถาม เพื่อน�ำทางและก�ำหนดทิศทางให้นักเรียนได้เรียนรู้ หัวข้อหรือเนื้อหาที่ต้องการ และให้ชวนให้นักเรียนสะท้อนความคิดและ ใคร่ครวญเรื่องนั้นให้ลึกซึ้งขึ้น ขณะเดียวกันก็ใช้ค�ำถามเพื่อดึงนักเรียนให้เข้า มามีสว่ นร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ และใช้ค�ำถามเพือ่ แตกความคิดให้กว้างและ เชื่อมโยงไปสู่ประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆ ค�ำถามยังกระตุ้นให้นักเรียน ไปสืบค้นและทดลองเพิ่มเติมและสร้างแรงบันดาลใจต่อไป
ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
27
เทคนิคการตั้งค�ำถาม การตั้งค�ำถามดูจะเป็นเรื่องธรรมดาที่ ใครๆ ก็ท�ำได้ แต่การตั้งค�ำถาม ให้เป็นและให้ฉลาดจะสามารถช่วยให้เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างละเอียด และลึ ก ซึ้ ง ครู ส ามารถน�ำเทคนิ ค ง่ า ยๆ นี้ ไ ปใช้ เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ ในการตั้ ง ค�ำถามแก่ นั ก เรี ย น ไปพร้ อ มกั บ แสดงให้ นั ก เรี ย นเห็ น วิ ธี การตั้งค�ำถามที่มีประสิทธิภาพ เริ่มตั้งค�ำถามง่ายๆ พื้นๆ ในประเด็นกว้างๆ ก่อนจะเจาะเข้าสู่ประเด็น เฉพาะ การท�ำเช่นนี้จะเป็นการเกริ่นและเตรียมตัวผู้ตอบ/ ผู้ฟังให้เข้าใจ ว่าผูถ้ ามต้องการอะไร และยังเป็นการอุน่ เครือ่ งไปพร้อมกับเพิม่ ความคุน้ เคย และความมั่นใจ ก่อนที่จะลงสู่ประเด็นที่เฉพาะ เจาะจง หรือยากขึ้น เช่น ถามถึงความรู้สึกทั่วๆ ไปที่มีต่อการเรียนวิชานั้น ก่อนจะเจาะจงลงไปว่า ชอบหรือไม่ชอบ เพราะอะไร “ค�ำถามปลายเปิด” เป็นค�ำถามที่ดี เพราะเปิดโอกาสให้ผู้ตอบ ตอบได้ กว้าง จึงท�ำให้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น และได้ข้อมูลน�ำทางส�ำหรับถามให้ เจาะจงขึ้นต่อไป เช่น นักเรียนคิดว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร/ ปัญหานี้เกิดจากอะไรได้บ้าง (สาเหตุของปัญหาคืออะไร)/ เราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร/ อะไรท�ำให้เขา รู้สึกเช่นนี้/ (ในสถานการณ์เช่นนี้) เรามีทางเลือกอะไรบ้าง
28 ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
“ค�ำถามปลายปิด” ช่วยให้ได้ขอ้ มูลจ�ำเพาะเจาะจงและเติมส่วนของข้อมูล ที่ยังขาด เมื่อถามกว้างๆ และถามปลายเปิดจนได้ค�ำตอบมาระดับหนึ่ง เกิดข้อคิดและค�ำถามเพิม่ เติมแล้ว ก็ใช้ค�ำถามปลายปิดถามเพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลที่ ขาดและเกิดความเข้าใจประเด็นนั้นๆ ได้ดีขึ้น ค�ำถามปิดเป็นค�ำถามที่ผู้ตอบ มีตัวเลือกในการตอบ เช่น ใช่ หรือ ไม่ใช่ เช่น เรือ่ งนีเ้ กิดขึน้ เมือ่ ไร / เขาโกรธหรือเปล่า / คิดว่าวิธกี ารนีจ้ ะแก้ปญ ั หานี้ ได้หรือไม่ ข้อควรจ�ำ ครู ค วรระวั ง ไม่ ตั้ ง ค� ำ ถามที่ ก ดดั น หรื อ เร่ ง รั ด จนดู เ ป็ น การรุ ก ล�้ ำ มากเกิ น ไป
ครูควรถามด้วยท่าทีที่เป็นมิตร มีเมตตา ใจเย็นอยู่เสมอ
หมายเหตุ: ค�ำถามทีส่ ร้างในรูปของประโยคบอกเล่า แล้วเว้นค�ำให้นกั เรียนเติม เช่น “เมื่อนักเรียนพบเห็นผู้ใหญ่ที่รู้จัก นักเรียนควร......” หรือ “เมื่อจุ่มมือลง ในน�้ำร้อน เราจะรู้สึก......” ค�ำถามลักษณะนี้ควรน�ำมาใช้อย่างระวังและ จ�ำกัด เนื่องจากให้ความรู้สึกบังคับและยังจ�ำกัดค�ำตอบ ทั้งแสดงนัยถึง ความคาดหวังของครู นักเรียนจึงพยายามตอบแต่สิ่งที่คิดว่าครูต้องการ เท่าทีจ่ �ำเป็น การใช้ค�ำถามเช่นนีบ้ อ่ ยๆ จะท�ำให้นกั เรียนไม่กล้าแสดงความคิด หรือความรู้สึกที่แท้จริง ยิ่งหากสิ่งนั้นต่างจากที่ครูคาดหวัง นักเรียนจะลด การตอบสนองและมีส่วนร่วม ดังนั้นแม้ว่าค�ำถามแบบนี้จะเหมาะส�ำหรับ การทวนย�้ำเนื้อหาหรือก�ำหนดทิศทางในการสอนตามจุดประสงค์ได้ แต่มี ข้อเสียที่ส�ำคัญยิ่ง คือ จ�ำกัดจินตนาการ การแตกแขนงและเชื่อมโยง และ การกล้าแสดงออกทางความคิดความรู้สึกของนักเรียนอย่างเสรี ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
29
4 ค�ำถามเพื่อการเรียนรู้
6 ค�ำถาม เพื่อเชื่อมโยงวิธีคิด
ค�ำถามที่ ใ ช้ เ พื่ อ การเรี ย นรู ้ โ ดยทั่ วไป เป็ น ค�ำถามที่ ก�ำหนดขึ้ น เพื่ อ จุดประสงค์เฉพาะ นั่นคือ เพื่อน�ำนักเรียนไปสู่จุดมุ่งหมายของการสอน ค�ำถามเพื่อการเรียนรู้โดยทั่วไปมี 4 ลักษณะ ที่เรียกว่า O E P C ได้แก่
การตัง้ ค�ำถามเพือ่ ช่วยให้นกั เรียนเชือ่ มโยงทักษะและเนือ้ หาการเรียนรูท้ ี่ได้ ไปสูก่ ารปรับใช้กบั สถานการณ์ในชีวติ ประจ�ำวัน ควรให้ครอบคลุมพฤติกรรม การเรียนรูท้ งั้ หมด ได้แก่ เนือ้ หาความรู้ ทัศนคติ ความสามารถ พฤติกรรมทีเ่ ป็น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะของผูเ้ รียน ลักษณะค�ำถามทีค่ รูจะตัง้ ให้นกั เรียนตอบเพือ่ ฝึกให้คดิ เชือ่ มโยง สามารถจ�ำแนกได้เป็น 6 ลักษณะ ดังนี้ 1. ถามเพื่อสรุปความคิด ความรู้ ความเข้าใจ เนื้อหาในบทเรียน ตัวอย่างค�ำถาม เช่น • วันนี้นักเรียนได้ความรู้อะไรเพิ่มขึ้นบ้าง • จากการฟังเรื่องที่เพื่อนๆ เล่า (พูด) นักเรียนเข้าใจว่าอย่างไร • นักเรียนช่วยกันสรุปว่าเข้าใจอะไรบ้างจากเรือ่ งทีเ่ ราเรียนมาในชัว่ โมงนี้ • นักเรียนคิดว่า ข้อความนี้ต้องการบอกอะไรแก่ผู้อ่าน ฯลฯ 2. ถามเพื่อให้นักเรียนบอกความรู้สึก ความชอบ และสิ่งที่เกิดขึ้น
ค�ำถามขั้นสังเกต (Observations Question)
เป็นค�ำถามที่ให้ผู้ตอบใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสังเกต มักถามด้วยค�ำว่า อะไร อย่างไร เท่าไร
ค�ำถามขั้นการอธิบาย (Explanation Question)
เป็นค�ำถามที่ต้องการให้ผู้ตอบใช้เหตุผลประกอบกับข้อมูลต่างๆ มักถามด้วยค�ำว่า ท�ำไม เหตุใด
ค�ำถามขั้นการท�ำนาย (Prediction Question)
เป็นค�ำถามที่ต้องการให้ผู้ตอบคาดการณ์หรือเดา มักใช้ค�ำว่า ถ้า คาดว่า ถ้าหากว่า หากเป็น ในประโยคค�ำถาม
ค�ำถามขั้นควบคุมและสร้างสรรค์ (Control and Creativity Question)
เป็นค�ำถามที่ต้องการให้ผู้ตอบน�ำกฎเกณฑ์และความรู้ต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ หรือคิดสร้างสรรค์สงิ่ แปลกใหม่ มักถามว่า จะน�ำความรูไ้ ปปรับปรุงอะไรได้บา้ ง และอย่างไร หรือ ในโอกาสต่อไป เราจะท�ำอย่างไรจึงจะได้ผลดี
30 ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
ในใจของผู้เรียน
ตัวอย่างค�ำถาม เช่น • นักเรียนอ่านข่าวนี้แล้ว รู้สึกอย่างไร • นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้าง เมื่อท�ำงานส�ำเร็จ • นักเรียนมีความภาคภูมิใจในตนเองเรื่องอะไรบ้าง • นักเรียนรูส้ กึ อย่างไร ทีเ่ พือ่ นๆ ส่งเสียงดังรบกวนขณะเราก�ำลังท�ำงาน ฯลฯ ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
31
3. ถามเพื่อให้นักเรียนได้สะท้อนมุมมอง ความคิด ความเชื่อ
และวิธีคิดของตนเอง
ตัวอย่างค�ำถาม เช่น • นักเรียนคิดอย่างไรที่เพื่อนท�ำแบบนี้ • ถ้าเป็นนักเรียน นักเรียนจะท�ำอย่างไร • นักเรียนคิดว่า “ข่าว” นี้น่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะอะไร • นักเรียนคิดแตกต่างจากครู (เพื่อนๆ หรือพ่อแม่) อย่างไร ฯลฯ
4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการทางความคิด และต่อยอดความคิดและ มุมมอง เพื่อให้พร้อมน�ำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง ที่นักเรียนอาจ ประสบในอนาคต ตัวอย่างค�ำถาม เช่น • ถ้านักเรียนเลือกได้ อยากให้เรื่องนี้จบลงอย่างไร • เรื่องราวต่อจากนี้น่าจะเป็นอย่างไร • ข่าวเรื่อง… (เช่น น�้ำท่วม) ดูสับสน ถ้านักเรียนเป็นผู้สื่อข่าว จะ น�ำเสนอข่าวนี้อย่างไร จึงจะน่าเชื่อถือ • ถ้านักเรียนเป็นคนเขียนบทละคร นักเรียนจะเขียนให้นางเอกเป็น คนอย่างไรจึงจะถูกใจผู้ชม ฯลฯ
5. ถามเพื่ อ กระตุ ้ น ให้ นั ก เรี ย นท�ำความเข้ าใจความรู ้ สึ ก นึ ก คิ ด และ พฤติกรรมของคนอื่น ที่แตกต่างไปจากตนเอง หรือคล้ายกับตนเอง ตัวอย่างค�ำถาม เช่น • นักเรียนคิดว่า เพื่อนรู้สึกอย่างไรตอนที่...... • อะไรท�ำให้เพื่อนท�ำอย่างนั้น • นักเรียนคิดว่า “ใคร” เป็นบุคคลที่น่าเห็นใจที่สุดในสถานการณ์… (เช่น น�้ำท่วม) เพราะเหตุใด • ถ้าเป็นนักเรียนจะรูส้ กึ อย่างไร และจะแสดงความรูส้ กึ นัน้ ออกมาอย่างไร ฯลฯ 6. ถามเพือ่ เพิม่ ศักยภาพการในการคิดเชือ่ มโยงประสบการณ์ของตนเอง เข้ากับ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ในชีวติ ประจ�ำวัน หรือเข้ากับสิง่ ทีค่ าดคะเนว่าจะ ประสบในชีวิตและสภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตัวอย่างค�ำถาม เช่น • นักเรียนจะน�ำเรื่องที่เรียนมาไปใช้ในชีวิตประจ�ำวันอย่างไร • ที่ผ่านมานักเรียนเคยมีปัญหาเช่นครั้งนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด ครั้งนั้นจึงไม่เกิดปัญหาบานปลายเหมือนครั้งนี้ • ในโอกาสต่อไปหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก นักเรียนจะท�ำอย่างไร • นั ก เรี ย นเคยได้ ข ่ า วเรื่ อ งการถู ก หลอกทางอิ น เทอร์ เ น็ ตไหม ถ้าสถานการณ์นั้นเกิดขึ้นกับนักเรียน นักเรียนจะท�ำอย่างไร จึงจะ ไม่ตกเป็นเหยื่อการถูกหลอก ฯลฯ
ข้อควรจ�ำ ค�ำถามมีประโยชน์มากต่อการพัฒนานักเรียน ครูเป็นผู้ฝึกฝนและพัฒนาศักยภาพของ นักเรียน หากครูตั้งค�ำถามอย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ “ครู” ก็จะควบคุมทิศทางการเรียน การสอนและการเรียนรู้ของนักเรียนได้ตามที่คาดหวัง
32 ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
33
ตัวอย่างเทคนิคการตัง้ ค�ำถามทีเ่ ชือ่ มโยงสูท่ กั ษะชีวติ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติในชั้นเรียน ที่สอดแทรกกิจกรรมการเรียนรู้รายชั่วโมง ตัวอย่างที่ 1 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 3 การฟัง การดูและการพูด มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวจิ ารณญาณ สามารถพูดแสดง ความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมี วิจารณญาณและสร้างสรรค์ ตัวชี้วัด ป. 5/1 พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟัง และดู สื่อการเรียนรู้ : เรื่องเล่า “ฉันรู้จักผู้หญิงคนหนึ่ง” “ฉันรูจ้ กั ผูห้ ญิงคนหนึง่ ” เป็นเรือ่ งเล่าเกีย่ วกับความรักของเด็กหญิงคนหนึง่ ทีม่ ตี อ่ หญิงสูงอายุคนหนึง่ ทีม่ จี ติ ใจดี มีเมตตาต่อเด็กๆ ทีอ่ าศัยอยูใ่ กล้บา้ นของเธอ (ดู 6 ค�ำถามเพื่อเชื่อมโยงวิธีคิด หน้า 31 เทียบกับตัวอย่างการตั้งค�ำถาม) กิจกรรม 1. ครูเล่าเรื่อง “ฉันรู้จักผู้หญิงคนหนึ่ง” 2. ครูสนทนาทบทวนความเข้าใจเรือ่ งราวหรือเนือ้ เรือ่ ง “ฉันรูจ้ กั ผูห้ ญิงคนหนึง่ ” • ครูถามให้นักเรียนสรุปความคิดและเนื้อหาของเรื่องที่ได้ฟัง 3. ครูยกตัวอย่างประโยคจากเรือ่ งทีเ่ ล่าให้นกั เรียนฟัง มาทีละประโยค แล้ว ตั้งค�ำถามส�ำหรับพูดคุยซักถามนักเรียน 34 ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
ตัวอย่างการตั้งค�ำถาม
ประโยคที่ 1 : ผู้หญิงคนที่ฉันรู้จักอาศัยอยู่คนเดียว ครูตั้งค�ำถาม • นักเรียนคิดว่าการอาศัยอยูค่ นเดียวล�ำบากหรือไม่ (2. ถามความรูส้ กึ ) • นักเรียนคิดว่าทุกคนสามารถอาศัยอยู่คนเดียวได้หรือไม่ (3. ถามเพื่อ สะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • นักเรียนเคยอยู่บ้านคนเดียวหรือไม่ ในความคิดของนักเรียน การอยู่ บ้านคนเดียวสบายหรือล�ำบาก (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง) • นักเรียนคิดว่าการอยูค่ นเดียวดีหรือไม่ เพราะอะไร (3. ถามเพือ่ สะท้อน ความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • นักเรียนคิดว่า “การอยูค่ นเดียว” เหมือนกันหรือไม่กบั “การอยูอ่ ย่างว้าเหว่” แสดงเหตุผลประกอบ (4. ถามเพือ่ กระตุน้ จินตนาการ ต่อยอดความคิด) • นักเรียนคิดว่าผู้หญิงคนนั้นว้าเหว่หรือไม่ เพราะอะไร (5. ถามเพื่อ ท�ำความเข้าใจผู้อื่น) • นักเรียนจะรูส้ กึ อย่างไรถ้าถูกปล่อยให้อยูค่ นเดียว (3. ถามเพือ่ สะท้อน ความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • หากเราไม่อยากอยู่โดดเดี่ยว เราจะต้องท�ำอย่างไร หรือเตรียมตัว อย่างไร (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง) • ถ้ า นั ก เรี ย นต้ อ งอยู ่ ค นเดี ย ว คิ ด ว่ า จะท�ำอย่ า งไรให้ อ ยู ่ อ ย่ า งเป็ น ประโยชน์กับผู้อื่น (4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ต่อยอดความคิด) ฯลฯ
ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
35
ประโยคที่ 2 : ผูห้ ญิงทีฉ่ นั รูจ้ กั ให้ดอกทานตะวัน ดอกกุหลาบและดอกมะลิ แก่บรรดาเพื่อนบ้านของเธอ ครูตั้งค�ำถาม • ท�ำไมคนเราต้องให้ของขวัญซึง่ กันและกัน จงบอกเหตุผล (5. ถามเพือ่ ท�ำความเข้าใจผู้อื่น) • นักเรียนคิดว่า ผู้ที่ ได้รับของขวัญจะรู้สึกอย่างไร (5. ถามเพื่อท�ำ ความเข้าใจผู้อื่น) • นักเรียนคิดว่าการให้ของขวัญในโอกาสต่างๆ เป็นสิ่งจ�ำเป็นหรือไม่ เพราะเหตุใด จงบอกเหตุผล (4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ต่อยอด ความคิด) • นักเรียนคิดว่า การให้ของขวัญกัน มีประโยชน์หรือไม่ อะไรบ้าง (3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • นักเรียนเคยให้ของขวัญแก่ใครไหม และถ้าให้จะให้แก่ใคร ในโอกาส ใดบ้าง เพราะเหตุใด (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง) ฯลฯ ประโยคที่ 3 : ทุกๆ วัน ผู้หญิงที่ฉันรู้จัก โบกมือทักทายเพื่อนบ้านเด็กๆ ตอนที่เด็กๆ ไปโรงเรียนและกลับจากโรงเรียน ครูตั้งค�ำถาม • ท�ำไมคนเราต้องเป็นมิตรกันในบางครัง้ มีความจ�ำเป็นหรือไม่ (3. ถาม เพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • การเป็นมิตรกันเหมือนกับการให้ของขวัญหรือไม่ แบบใด และอย่างไร (4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ต่อยอดความคิด) 36 ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
• จ�ำเป็นหรือไม่ทนี่ กั เรียนจะต้องเป็นมิตรกับเพือ่ นๆ ทุกคน เพราะอะไร (3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • ผูเ้ รียนคิดว่าสัตว์ปา่ นานาชนิดทีอ่ าศัยอยู่ในป่าต้องท�ำอะไรหรือไม่ เพือ่ สร้างความเป็นมิตรกับสัตว์อื่นๆ จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ (4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ต่อยอดความคิด) ฯลฯ
ประโยคที่ 4 : ผู้หญิงที่ฉันรู้จักเชิญเพื่อนบ้านเด็กของหล่อนร่วมฉลอง วันเกิดและวันขึ้นปีใหม่ ครูตั้งค�ำถาม • ท�ำไมเราต้องฉลองวันส�ำคัญๆ เช่น วันเกิด หรือวันขึ้นปีใหม่ (3. ถาม เพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • ครอบครัวของนักเรียนฉลองวันส�ำคัญๆ อะไรบ้าง มีการฉลองวันส�ำคัญ เฉพาะของครอบครัวหรือไม่ วันอะไร และท�ำอะไร (6. ถามเพื่อ เชื่อมโยงกับชีวิตจริง) • นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้างเมื่อถึงวันเกิดของตน และที่บ้านจัดงาน ฉลองวันเกิดให้ แล้วถ้าทุกคนลืมวันเกิดของนักเรียนล่ะ (2. ถาม ความรู้สึก) • ในการฉลองวันส�ำคัญๆ เราจ�ำเป็นต้องรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี หรือไม่ จงอธิบาย (4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ต่อยอดความคิด) ฯลฯ
ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
37
ประโยคที่ 5 : ผูห้ ญิงคนทีฉ่ นั รูจ้ กั ชือ่ ค�ำแก้ว และฉันรูจ้ กั ชือ่ สุนขั ของเธอด้วย ครูตั้งค�ำถาม • การรูจ้ กั ชือ่ ของคนทีเ่ รารูจ้ กั เป็นเรือ่ งส�ำคัญหรือไม่ จงให้เหตุผล 3 ข้อ (3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า นั ก เรี ย นสามารถเป็ น เพื่ อ นบ้ า นกั บ คนที่ นั ก เรี ย น ไม่รู้จักชื่อได้หรือไม่ จงอธิบาย (3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • นักเรียนรู้จักชื่อแมวหรือสุนัขของเพื่อนบ้านหรือไม่ คิดว่าจ�ำเป็น หรือไม่ที่ต้องรู้จัก เพราะอะไร (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง) • นักเรียนตัง้ ชือ่ สิง่ ของหรือไม่ และคิดว่าท�ำไมคนจึงตัง้ ชือ่ สัตว์เลีย้ งของ ตนเอง สิ่งของและสถานที่ต่างๆ (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง) ฯลฯ
ตัวอย่างที่ 2 สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 3 การฟัง การดูและการพูด มาตรฐาน ท.3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ สามารถพูด แสดงความรู้ ความคิด และความรูส้ กึ ในโอกาสต่างๆ อย่างมี วิจารณญาณและสร้างสรรค์ ตัวชี้วัด ป.3/5 พูดสื่อสารได้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ เนื้อหา พูดสือ่ สารในชีวติ ประจ�ำวัน (ประสบการณ์ในชีวติ ประจ�ำวัน ประสบการณ์ในครอบครัว)
38 ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
(ดู 6 ค�ำถามเพื่อเชื่อมโยงวิธีคิด หน้า 31 เทียบกับตัวอย่างการตั้งค�ำถาม) ค�ำถามใน “ครอบครัว” (ถามน�ำ และถามข้อมูลเรื่องทั่วๆ ไป ง่ายๆ) • ในครอบครัวของเด็กๆ มีใครบ้าง อยู่กันกี่คน • เด็กๆ ช่วยคุณพ่อคุณแม่ท�ำงานบ้านอะไรบ้าง • บ้านของหนูใกล้กับสถานที่ส�ำคัญอะไรบ้าง
(1. ถามสรุปความคิดและเนื้อหา) • คุณพ่อ/ คุณแม่ สอนให้หนูท�ำอย่างไรบ้างเมื่อพบผู้ใหญ่ • จากที่เรียนมา ค�ำพูดไพเราะที่เด็กๆ ควรใช้กับผู้ใหญ่ได้แก่ค�ำใดบ้าง และใช้เมื่อใด
(2. ถามความรู้สึก) • คุณพ่อ/ คุณแม่ เคยท�ำสิ่งใดที่นักเรียนรู้สึกประทับใจบ้าง • ถ้าเด็กๆ ต้องอยู่คนเดียว จะรู้สึกอย่างไร • เด็กๆ รู้สึกอย่างไรบ้าง เมื่อพี่น้องหรือคนในครอบครัวทะเลาะกัน • ถ้าคุณพ่อ/ คุณแม่ไม่อยู่บ้าน หนูรู้สึกอย่างไร
(3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • งานบ้านที่เด็กๆ ชอบท�ำมากที่สุด คืองานอะไรบ้าง เพราะเหตุใด • เพราะเหตุใด สมาชิกในครอบครัวจึงควรเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน (4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ต่อยอดความคิด) • เด็กๆ จะตอบแทนพระคุณคุณพ่อและคุณแม่ได้อย่างไร • หนูจะอยู่ร่วมกันกับพี่น้องอย่างไรโดยไม่ทะเลาะกันให้พ่อแม่เสียใจ ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
39
• ถ้ามีคนแปลกหน้าที่หนูไม่รู้จักมาที่บ้าน หนูจะท�ำอย่างไร • หากน�้ำท่วมบ้านของนักเรียนจะเกิดอันตรายอย่างไรบ้าง • นักเรียนจะเตรียมตัวเอง เตรียมครอบครัวอย่างไรไม่ให้ได้รบั อันตราย จากน�้ำท่วมบ้าน (อันตรายจากสัตว์มีพิษ จากไฟฟ้าดูด จากเชื้อโรค) • หากมีคนอ้างว่าบ้านน�้ำท่วมจะมาขอพักอาศัยอยู่กับครอบครัวของ นักเรียน นักเรียนจะท�ำอย่างไร หรือให้ค�ำแนะน�ำกับผูป้ กครองอย่างไร
(5. ถามเพื่อท�ำความเข้าใจผู้อื่น) • ถ้าคุณพ่อ/ คุณแม่มีลูกดื้อ เกเร หนูคิดว่าท่านจะรู้สึกอย่างไร • หนูคิดว่าถ้าพี่น้องทะเลาะกัน ไม่สามัคคีกัน พ่อแม่จะรู้สึกอย่างไร
(6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง) • เมื่อมีเพื่อนของคุณพ่อมาที่บ้าน เด็กๆ ควรท�ำอย่างไร เพราะอะไร • เวลาที่คุณพ่อ/ คุณแม่เจ็บป่วยหรือไม่สบาย นักเรียนท�ำอย่างไรบ้าง • เวลาอยู ่ ที่ บ ้ า น เด็ ก ๆ ท�ำอย่ า งไรบ้ า งเพื่ อให้ ทุ ก คนในครอบครั ว อยู่รวมกันอย่างมีความสุข • เด็กๆ จะมีวิธีการป้องกันตนเองอย่างไร ไม่ให้เกิดอันตรายกับตนเอง เมื่ออยู่คนเดียวหรือพ่อแม่ไม่อยู่ • หนูจะช่วยคุณพ่อ คุณแม่ ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างไรบ้าง • เวลาที่มีญาติผู้ใหญ่อยู่ในบ้าน เด็กๆ ปฏิบัติต่อท่านอย่างไร • หนูเคยเล่นของเล่นแล้วไม่เก็บเข้าที่ไหม ผลที่ตามมาเป็นอย่างไร • ถ้าหนูเห็นไฟฟ้าและพัดลมเปิดทิ้งไว้ ไม่มีใครอยู่ในห้องเลย หนูจะท�ำ อย่างไร
40 ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
สิ่งส�ำคัญในขณะที่ถาม
การถามและตั้ ง ค�ำถามที่ เ หมาะสมจะท�ำให้ ก ารเรี ย นการสอนบรรลุ จุดประสงค์ เพื่อให้การตั้งค�ำถามมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ครูผู้สอนพึงใส่ ใจ รายละเอียดดังนี้ 1. ถามด้วยน�้ำเสียงและกิริยาท่าทางเป็นกันเอง ขณะเดียวกันครูผู้ถาม ต้องมีความมั่นใจ ซึ่งเกิดได้ด้วยการเตรียมค�ำถามล่วงหน้า 2. ถามเป็นภาษาพูดที่เข้าใจง่าย และไม่ควรใช้ค�ำถามจากหนังสือเรียน โดยตรง 3. ให้เวลาผู้ตอบคิด เพื่อระลึกถึงเนื้อหาและรวบรวมค�ำตอบ 4. พยายามใช้ค�ำถามหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้นักเรียนได้พลิกแพลง ใช้ความคิดอย่างกว้างขวาง 5. แสดงท่าทีสนใจ ใส่ใจ ค�ำตอบของนักเรียน โดยท�ำท่ารับรู้และยอมรับ ด้วยการสบตา ยิ้ม พูดชม พยักหน้า ปรบมือหรือสัมผัส ซึ่งจะช่วยให้นักเรียน คลายความเขินอาย และส่งเสริมให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นมากขึ้น 6. รูจ้ กั รอคอย ยอมรับความแตกต่างทางด้านความคิดและความสามารถ ของผูเ้ รียนแต่ละคน ไม่ดว่ นตัดสินใจ ชิงตอบ หรือตัดบทความคิดของนักเรียน
ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
41
สรุปประเด็นการเรียนรู้ : ปิดฉากบทเรียนอย่างมีความหมาย
ส่งท้ายภาค ทัศนคติของครูต่อการสร้างทักษะชีวิตที่ยั่งยืน
ก่อนจะปิดการเรียนการสอนในทุกคาบเรียน ครูควรสรุปเนื้อหาและ ความคิดส�ำคัญที่ ได้สอนไป และที่นักเรียนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นกัน ในห้องเรียน เพื่อช่วยนักเรียนทบทวนและเชื่อมโยงเนื้อหาและความคิดต่างๆ ทิ้งท้ายให้นักเรียนน�ำไปคิดและส�ำรวจต่อ และกระตุ้นให้นักเรียนน�ำสิ่ง ที่ได้เรียนไปปฏิบัติในชีวิตจริง การสรุปประเด็นการเรียนรู้สามารถใช้เทคนิค ง่ายๆ ดังนี้
เด็กทุกคนมีความดีในตัวเอง แต่เด็กแต่ละคนอาจมีความคิด ความชอบ ความถนัด และความสามารถไม่เหมือนกัน แต่กระนั้นเด็กทุกคนก็มีศักยภาพ ที่จะพัฒนาตนได้ในทางของตัวเอง การพัฒนา “ทักษะชีวิต” คือ การเรียนรู้ ที่จะสร้างความเจริญงอกงามทางปัญญาให้กับเด็ก ครูจึงควรเปิดรับและ ยอมรับความแตกต่างของเด็ก โดยไม่ตัดสินคุณค่าหรือตัดสินในสิ่งที่เด็กเป็น ครูจะสามารถช่วยให้ตน้ กล้าแห่งความเข้าใจและสมรรถภาพในการใช้ชวี ติ ที่ดี ซึ่งเรียกกันในชื่อ “ทักษะชีวิต” นี้ เติบโตและเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน เมื่อครูมีทัศนคติและท่าทีที่เหมาะสม มีท่าทีที่เป็น มิตร ใจกว้าง รับฟัง มองบวก ใส่ใจ และฉับไวต่อความรูส้ กึ ของเด็ก (สังเกต) รูเ้ ท่าทันสถานการณ์ ทีอ่ าจเกิดขึน้ ในชัน้ เรียนและเด็กแต่ละคน ทัง้ จากการกระทบกระทัง่ ทางกิรยิ า และวาจา (ค�ำพูด) ครูต้องไม่หวั่นไหวและมีปฏิกริยาที่รุนแรงต่ออารมณ์ พฤติกรรม และความคิดทีอ่ าจเป็นปัญหาของเด็ก และต้องฝึกให้เด็กรูจ้ กั และ ตระหนักในอารมณ์ของตนเองและผูอ้ นื่ และสอนให้เด็กหาทางแสดงอารมณ์ ที่เกิดให้เหมาะสมและสร้างสรรค์ ดังนั้น ครูต้องเป็นแม่แบบส�ำคัญของการแสดงอารมณ์ ทั้งที่ดีและไม่ดี ในทางสร้างสรรค์ ด้วยบทบาทที่ส�ำคัญยิ่งนี้ ครูจึงควรฝึกตนเองให้พูดคุย สนทนาอย่างมีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ รู้จักใช้ค�ำถามกระตุ้นให้เด็กนักเรียน ได้พูด ได้เล่า เพื่อผ่อนคลาย ตลอดจนให้ก�ำลังใจนักเรียนอยู่เสมอ และพูด ชื่นชมเมื่อมีโอกาสเหมาะสม
ใช้การสรุปความ ครูสรุปเนื้อหาในประเด็นส�ำคัญที่อภิปรายกันไปและ เชื่อมโยงเข้ากับวัตถุประสงค์บทเรียน นอกจากนี้ครูยังสามารถเชื่อมโยง เนื้อหาที่เรียนไปเข้าสู่การเรียนรู้ในประเด็นต่อไปหรือขั้นต่อไปได้ เช่น สรุปเนื้อหา แล้วตั้งค�ำถามเกี่ยวกับการน�ำไปประยุกต์ใช้ หรือถามค�ำถาม ความรู้สึกที่นักเรียนมีต่อการเรียนรู้ เป็นต้น ตั้งค�ำถามให้นักเรียนสรุป เช่น อาจตั้งค�ำถามให้นักเรียนทั้งห้องช่วยกัน สรุปเรื่องราวทั้งหมดในบทเรียน แนวคิดส�ำคัญ หรือสิ่งที่นักเรียนได้จาก บทเรียน
42 ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
ภาคที่สอง ตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต
43
ภาคที่สาม
การออกแบบ กิจกรรมการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงสู่ทักษะชีวิต เมื่อเข้าใจทักษะชีวิตและองค์ประกอบของทักษะชีวิต เมื่อรู้จัก “การตั้งค�ำถาม” ที่ใช้เชื่อมโยงเนื้อหาการเรียนรู้เข้าสู่ชีวิตแล้ว ก้าวต่อไป คือ การลงมือปฏิบัติจริง
44
45
เทคนิคการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
เชื่อมโยงสู่ทักษะชีวิต
การพัฒนาทักษะชีวติ ทัง้ 4 องค์ประกอบ ต้องอาศัยทักษะการคิดวิเคราะห์ และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นหลัก ทักษะนี้ถือเป็นทักษะพื้นฐาน หรือ “ทักษะแกน” ซึ่งพัฒนาให้เกิดขึ้นได้ด้วยกระบวนการการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นส�ำคัญ
พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และการสื่อสาร
• ครูหรือผู้จัดกิจกรรมออกแบบค�ำถาม (ดูภาคสอง 6 ค�ำถามเพื่อสร้าง ทักษะชีวิต) เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความรู้ ความคิด อภิปราย สะท้อน ความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์ และมุมมองของตนเอง เกี่ยวกับเนื้อหา ที่ได้เรียนร่วมกับเพื่อนในชั้นและครูผู้สอน • ระหว่างทีน่ กั เรียนตอบค�ำถามทีค่ รูออกแบบขึน้ ครูสามารถสอดแทรก ทักษะชีวิตลงไปด้วย โดยใช้การตั้งค�ำถามให้นักเรียนช่วยกันคิดต่อ หรือ สอนโดยชี้แจงและน�ำทางให้นักเรียนเห็นประเด็นของทักษะชีวิตที่สัมพันธ์ กับเนื้อหาที่เรียน • ครูแสดงการคิดเชื่อมโยงความรู้ใหม่ และทักษะชีวิตที่ได้แทรกเข้าไป ในเนือ้ หาการเรียนรู้ กับประสบการณ์เดิมของผูเ้ รียน โดยตัง้ ค�ำถามให้นกั เรียน คิดเชือ่ มโยงถึงประสบการณ์ทเี่ คยมีและการใช้ชวี ติ จริง ครูควรพยายามกระตุน้ และสนับสนุนให้นักเรียนทุกคนได้ร่วมกันบอกเล่า แสดงความคิด วิเคราะห์ สื่อสารด้วยการพูด 46 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงทักษะชีวิต ในส่วนนี้ได้รวบรวมตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ทักษะชีวิต จาก 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และศิลปะ ตามล�ำดับ เพื่อเป็นตัวอย่างให้ครูผู้สอนน�ำไป ประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับชั้นเรียนของตนต่อไป
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุม่ สาระการเรียนรูภ้ าษาไทย ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 5 เรือ่ ง นักข่าวรุน่ เยาว์ เวลาจัดกิจกรรม 2 ชัว่ โมง 1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่ต้องการพัฒนา สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดง ความรู้ ความคิดและความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมี วิจารณญาณและสร้างสรรค์ ตัวชี้วัด ท 5/1 พูดแสดงความรู้ ความคิดเห็น และความรู้สึกจาก เรื่องที่ฟังและดู ท 5/3 วิ เ คราะห์ ค วามน่ า เชื่ อ ถื อ จากเรื่ อ งที่ ฟ ั ง และดู อย่างมีเหตุผล ท 5/5 มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
47
2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อฝึกทักษะการอ่านและการฟังจับใจความ 2. เพื่อฝึกทักษะการพูดแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นจากเรื่อง ที่อ่าน ฟัง และดู 3. เพือ่ ฝึกให้รจู้ กั รับฟังความคิดเห็นของผูอ้ นื่ ทัง้ เห็นคุณค่าและยอมรับ ความคิดเห็นของผู้อื่น 4. เพื่อฝึกให้รู้จักคาดคะเนความเสี่ ย งที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น กั บ ตนเองและ หาแนวทางป้องกันความเสี่ยงนั้น 3. เนื้อหา 1. การอ่าน การฟังจับใจความ และการพูดแสดงความรู้สึก เกี่ยวกับ ความรู้และความคิดจากข่าวสารในชีวิตประจ�ำวัน เช่น ข่าวอุบัติภัย ข่าวภัยสังคม ข่าวสุขภาพ ข่าวภัยทางเพศ เป็นต้น 2. การคาดคะเนความเสีย่ งจากปัญหาความขัดแย้ง ทีเ่ กิดจากการแสดง ความคิดเห็นระหว่างกลุ่มเพื่อน 4. กิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ทักษะชีวิต หมายเหตุ : ใน “ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยงสู่ทักษะชีวิต” ได้แสดงขั้นตอน ของการจัดกิจกรรม พร้อมทั้งตัวอย่างการตั้งค�ำถามเพื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้ ไปสูท่ กั ษะชีวติ ค�ำถามดังกล่าวนีอ้ อกแบบบนพืน้ ฐานของเทคนิคในการตัง้ ค�ำถาม (ดูเพิ่มเติมจาก ภาคที่สอง การตั้งค�ำถามเพื่อสร้างทักษะชีวิต หน้า 25)
48 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา
1. ครูน�ำสนทนาถึงการน�ำเสนอ การสนทนาที่ เ ชื่ อ มโยง ข่ า วของผู ้ อ ่ า นข่ า วทางสถานี ถึ ง ประสบการณ์ ข อง โทรทัศน์ต่างๆ ด้วยการตั้งค�ำถาม ผู้เรียน • นั ก เรี ย นชอบผู ้ อ ่ า นข่ า วหรื อ ผู ้ สื่ อ ข่ า วสถานี โ ทรทั ศ น์ ใ ด ผู้สื่อข่าวชือ่ อะไร เพราะเหตุใด จึงชอบ • นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า สิ่ ง ที่ ผู ้ สื่ อ ข่ า ว น�ำเสนอเชื่ อ ถื อ ได้ ห รื อ ไม่ เพราะอะไร • การน�ำเสนอข่ า วต่ า งกั บ การโฆษณาอย่างไร • ถ้านักเรียนมีโอกาสเป็นผู้อ่าน ข่าวทางสถานีโทรทัศน์ นักเรียน ต้ อ งเตรี ย มการอย่ า งไรและ น�ำเสนอข่าวอย่างไรจึงจะน่าสนใจ
องค์ประกอบที่ 2 : การคิ ด วิ เ คราะห์ การตัดสินใจ และ แก้ ป ั ญ หาอย่ า ง สร้างสรรค์
2. ครู ม อบหมายให้ นั ก เรี ย น การมีสว่ นร่วมในกิจกรรม แต่ ล ะกลุ ่ ม ติ ด ตามข่ า วจาก ที่มุ่งให้เกิดผลงานและ หนังสือพิมพ์รายวัน วารสาร หรือ การตัดสินใจ เหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในชุมชน ซึง่ เป็น ประโยชน์อย่างกว้างขวาง จากนั้น เลื อ กอ่ า นเชิ ง เล่ า ให้ เ พื่ อ นๆ ในชั้นฟัง เพื่ออภิปรายแสดงความ คิดเห็น
องค์ประกอบที่ 2 : การคิ ด วิ เ คราะห์ การตัดสินใจ และ แก้ ป ั ญ หาอย่ า ง สร้างสรรค์
องค์ประกอบที่ 4 : การสร้าง สั ม พั น ธ ภ า พ ที่ ดี กั บ ผู ้ อื่ น ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ท ี่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต” 49
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต 3. ครูสนทนาและซักถามนักเรียน ด้ ว ยการตั้ ง ค�ำถาม หลั ง จาก นักเรียนฟังเรื่องที่เพื่อนเล่า • นักเรียนรู้สึกอย่างไรที่ได้ฟัง เรื่องราวที่เพื่อนเล่า • นักเรียนคิดว่าเหตุการณ์ในข่าว มี ผ ลกระทบตามมาหรื อไม่ ใครได้รับผลกระทบบ้าง และ ผลกระทบมีความรุนแรงเพียงใด • นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า เหตุ ก ารณ์ ใ น ข่าวสามารถเกิดขึน้ กับตัวเอง/ ครอบครัวหรือไม่ เพราะอะไร?
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา การสนทนาและการอภิปราย จากประเด็ น ค�ำถามที่ เป็นเหตุเป็นผล เชือ่ มโยง กับความเป็นจริงในชี วิ ต ประจ�ำวัน
องค์ประกอบที่ 1 : การตระหนั ก รู ้ แ ละ เห็นคุณค่าในตนเอง และผู้อื่น
องค์ประกอบที่ 2 : การมีอิสระในการแสดง การคิ ด วิ เ คราะห์ ความคิ ด เห็ น โดยไม่ การตั ด สิ น ใจ และ ถู ก ควบคุ ม ความคิ ด แ ก ้ ป ั ญ ห า อ ย ่ า ง สร้างสรรค์
ถ้านักเรียนเคยเผชิญกับเหตุการณ์ ดังที่กลุ่มเพื่อนเล่า ให้ถามว่า • นั ก เรี ย นจะมี แ นวทางหรื อ วิธีการหาทางออกอย่างไร ครู เ ปิ ด โอกาสให้ นั ก เรี ย นได้ อภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่าง อิสระ กระตุ้นให้ทุกคนร่วมแสดง ความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ด้วย เหตุผลและข้ออ้างอิง แสดงกิริยา วาจาสุภาพตามมารยาทไทย
50 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
องค์ประกอบที่ 4 : ก า ร ส ร ้ า ง สั ม พั น ธ ภ า พ ที่ ดี กับผู ้ อื่ น
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต 4. ครู แ ละนั ก เรี ย นร่ ว มกั น สรุ ป ความรู้ ความคิดที่ได้รบั จากบทเรียน และจากการมีสว่ นร่วมในกิจกรรม โดยใช้การตัง้ ค�ำถาม ชวนคิด ชวนคุย • นั ก เรี ย นได้ ข ้ อ คิ ด อะไรบ้ า ง จากเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ • นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไร ที่ได้ท�ำงานกลุม่ ร่วมกับเพือ่ นๆ เช่น การร่วมกันคัดเลือกข่าว และการเตรียมตัวเล่าข่าว • ระหว่างท�ำงานกลุม่ มีความขัดแย้ง บ้ า งหรื อ ไม่ ขั ด แย้ ง เรื่ อ ง อะไร สาเหตุของความขัดแย้ง มาจากอะไร (เช่น อารมณ์ ค�ำพูด กิริยาท่าทางที่ไม่เป็นมิตร) • นักเรียนท�ำอย่างไร ความขัดแย้ง นั้นจึงยุติลงไม่บานปลาย • ที่ ผ ่ า นมาเคยมี ค วามขั ด แย้ ง เช่ น นี้ ห รื อไม่ และมี ป ั ญ หา ตามมาหรือไม่ • หากความขัดแย้งนั้นไม่ยุติลง จะเกิดผลเสียตามมาอย่างไร • ในโอกาสต่ อ ไป หากเกิ ด ความขัดแย้งขึน้ นักเรียนจะท�ำ อย่างไรเพือ่ ไม่ให้ความขัดแย้งนัน้ ลุกลามปานปลาย
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา การสรุปบทเรียนอย่าง มี เ ป้ า หมาย เชื่ อ มโยง กั บ สถานการณ์ ใ นชี วิ ต ประจ�ำวัน
องค์ประกอบที่ 1 : การตระหนักรู้และ เห็นคุณค่าในตนเอง และผู้อื่น
การสนทนาและอภิปราย องค์ประกอบที่ 2 : ถึงประเด็นค�ำถามอย่างมี การคิ ด วิ เ คราะห์ เหตุมีผล การตั ด สิ น ใจ และ แก้ปัญหาอย่าง การสะท้อนย้อนคิดและ สร้างสรรค์ เชื่อมโยงประสบการณ์ เดิมกับประสบการณ์ใหม่ องค์ประกอบที่ 4 : ก า ร ส ร ้ า ง การคาดคะเนความเสี่ยง สั ม พั น ธ ภ า พ ที่ ดี ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น และหา กับผู ้ อื่ น ทางออกของปั ญ หาได้ หลากหลายแนวทาง การคิ ด อภิ ป รายอย่ า ง อิสระ
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
51
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา
5. ครูเพิ่มเติมข้อคิดและแนวทาง การสรุปองค์ความรู้ และ การปฏิ บั ติ เ พื่ อ ยุ ติ ข ้ อ ขั ด แย้ งได้ พร้อมเผชิญสถานการณ์ อย่างเหมาะสม เช่น • นิ่ง ไม่แสดงอารมณ์ ควบคุม อารมณ์ • ฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ • วิเคราะห์เหตุผล หากเหตุผล นั้นไม่เหมาะสม ให้แสดงและ ชีแ้ จงเหตุผลของตนเองให้ผอู้ นื่ รั บ รู ้ หากเหตุ ผ ลของผู ้ อื่ น เหมาะสม เป็นประโยชน์มากกว่า ของตนเอง ก็ ให้ยอมรับและ แสดงความเห็นด้วย • ไม่แสดง สีหน้า แววตา อารมณ์ ในทางลบ
องค์ประกอบที่ 1 : การตระหนั ก รู ้ แ ละ เห็นคุณค่าในตนเอง และผู้อื่น
6. ครูน�ำนักเรียนฝึกส�ำรวจและ การฝึกส�ำรวจและควบคุม ควบคุ ม อารมณ์ ด ้ ว ยการหายใจ อารมณ์ และพร้อมเผชิญ เข้าออก การนับเลข การก�ำหนด สถานการณ์ สติ ฯลฯ
องค์ประกอบที่ 3 : การจัดการกับอารมณ์ และความเครียด
องค์ประกอบที่ 2 : การคิ ด วิ เ คราะห์ การตั ด สิ น ใจ และ แก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ องค์ประกอบที่ 3 : การจัดการกับอารมณ์ และความเครียด
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุม่ สาระการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์ เรือ่ ง วัฏจักรของพืช
ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 5 เวลาจัดกิจกรรม 2 ชัว่ โมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการด�ำรงชีวิต มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจหน่วยพืน้ ฐานของสิง่ มีชวี ติ ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าทีข่ องระบบต่างๆ ของสิง่ มีชวี ติ ทีท่ �ำงานสัมพันธ์กนั สามารถใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สือ่ สารสิง่ ทีเ่ รียนรูแ้ ละ น�ำความรูไ้ ปใช้ในการด�ำรงชีวติ ของตนเอง และดูแลสิง่ มีชวี ติ ได้ ตัวชี้วัด ว 5/ 3 อธิบายวัฏจักรชีวิตของพืชดอกบางชนิด 2. วัตถุประสงค์ 1. เขียนแผนผังแสดงวัฏจักรชีวิตของพืชดอกบางชนิดได้ 2. พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากที่ฟังและดู 3. คาดคะเนความเสี่ยงตามวัฏจักรชีวิตของมนุษย์ 3. เนื้อหาสาระ พืชดอกเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ จะออกดอก ดอกได้รับการผสมพันธุ์ กลายเป็นผล ผลมีเมล็ด ซึ่งสามารถงอกเป็นต้นพืชต้นใหม่ หมุนเวียนเป็น วัฏจักร
52 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
53
4. กิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ทักษะชีวิต ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา
1. ครูน�ำพืชต้นเล็กๆ ทีม่ สี ว่ นประกอบ การดูและฟังอย่างตั้งใจ องค์ประกอบที่ 2 : ครบทั้งใบ ล�ำต้นและราก มาให้ การคิ ด วิ เ คราะห์ นั ก เรี ย นดู พร้ อ มกั บ ตั้ ง ค�ำถาม การตัง้ ค�ำถามและแสวงหา การตั ด สิ น ใจ และ ถามความเข้าใจของผู้เรียน ค�ำตอบ แก้ปัญหาอย่าง • ส่ ว นประกอบของต้ น พื ช มี สร้างสรรค์ อะไรบ้าง • พืชชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้อย่างไร • นักเรียนรูไ้ หมว่า พืชขยายพันธุ์ ได้ด้วยวิธีใดบ้าง
จากนัน้ ครูน�ำแผนผังวงจรชีวติ หรือ วัฏจักรของต้นมะม่วงให้นกั เรียนดู เพือ่ ยืนยันอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน ขึ้น และตั้งค�ำถามเพื่อกระตุ้นให้ นักเรียนคิดเชื่อมโยง • นักเรียนคิดว่า พืชดอกแต่ละ ชนิดมีวัฏจักรหรือมีวงจรชีวิต แบบเดียวกันหรือไม่ ลองยก ตัวอย่างมาประกอบ
การดูอย่างตั้งใจ และ องค์ประกอบที่ 2 : การคิ ด วิ เ คราะห์ การรู้จักสังเกต การตั ด สิ น ใจ และ การวิ เ คราะห์ ค วาม แ ก ้ ป ั ญ ห า อ ย ่ า ง น่ า เชื่ อ ถื อ ของข้ อ มู ล สร้างสรรค์ ข่าวสารได้สมเหตุสมผล
องค์ประกอบที่ 2 : การคิ ด วิ เ คราะห์ การตั ด สิ น ใจ และ แก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์
ครูให้นักเรียนรวมกลุ่ม เพื่อศึกษา วิ เ คราะห์ ว งจรการเจริ ญ เติ บ โต และเขี ย นค�ำอธิ บ ายวงจรชี วิ ต ของพื ช ตามที่ ไ ด้ รั บ มอบหมาย ให้ ศึ ก ษา และวิ เ คราะห์ (เช่ น มะเฟือง ลิ้นจี่ มะนาว ฟักทอง มะพร้าว มะเขือ มะยม)
การลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ องค์ประกอบที่ 2 : การคิ ด วิ เ คราะห์ เกิดการเรียนรู้ การตั ด สิ น ใจ และ การรูจ้ กั สังเกต ตัง้ ค�ำถาม แ ก ้ ป ั ญ ห า อ ย ่ า ง สร้างสรรค์ และแสวงหาค�ำตอบ
2. ครูอธิบายให้ความรูก้ บั นักเรียน การฟังอย่างตั้งใจ เรือ่ งวงจรการเจริญเติบโตของพืช ตั้งแต่เป็นเมล็ด งอกเป็นต้นอ่อน การส�ำรวจและค้นหา เติ บ โตเป็ น ใบ ล�ำต้ น กิ่ ง ก้ า น ออกดอกออกผล จากนั้นน�ำเมล็ด ของผลไปเพาะ งอกเป็นต้นอ่อน ซึ่ ง จะเติ บ โตออกดอก ออกผล วนเวียนเช่นนี้ต่อไป เรียกว่า เป็น วัฏจักรพืช หรือ วงจรชีวิตของพืช
54 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
การคิดเชื่อมโยง
การท�ำงานร่วมกับผู้อื่น และการให้แสดงความ คิดเห็น และแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นในกลุ่ม
องค์ประกอบที่ 4 : ก า ร ส ร ้ า ง สั ม พั น ธ ภ า พ ที่ ดี กับผู้อื่น
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
55
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
3. ตัวแทนกลุม่ น�ำเสนอและอธิบาย ภาพวาดหรือแผนผังวงจรชีวติ ของ พื ช ชนิ ด ต่ า งๆ ของกลุ ่ ม ตนให้ เพื่ อ นๆ ฟั ง แล้ ว ให้ เ พื่ อ นที่ ฟ ั ง ซักถามเพิ่มความเข้าใจ *ครูแทรกค�ำถามในการสนทนา เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต • มีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใด ที่ อ าจท�ำให้ นั ก เรี ย นกั ง วลใจ หรื อไม่ มั่ น ใจขณะที่ ร ายงาน แล้วนักเรียนจัดการกับเหตุการณ์ หรือสถานการณ์นั้นอย่างไร • นักเรียนอยากให้เพือ่ นๆ ในห้อง ปฏิบัติอย่างไร ขณะที่นักเรียน น�ำเสนองาน
การสื่ อ สารและการน�ำ องค์ประกอบที่ 1 : การตระหนั ก รู ้ แ ละ เสนอผลงาน เห็ น คุ ณ ค่ าในตนเอง การพูดแสดงความรู้สึก และผู้อื่น และบอกความต้องการ ของตนเองให้ผอู้ นื่ ได้รบั รู้ องค์ประกอบที่ 3 : การจัดการกับอารมณ์ และความเครียด การเป็นผู้ฟังที่ดี
4. ครู น�ำสู ่ กิ จ กรรมเพื่ อ ขยาย ความรู้ ด้วยการน�ำสนทนา โดย ตั้ ง ประเด็ น ค�ำถาม เพื่ อ ขยาย ความรู้และเสริมสร้างทักษะชีวิต • ผู้เรียนเคยสังเกตไหมว่าพืช ชนิดใดบ้างที่เป็นพืชไม่มีดอก • พื ช ไม่ มี ด อกมี ว งจรชี วิ ต เป็ น อย่างไร
การใช้ภาษาและกิริยาที่ องค์ประกอบที่ 4 : เหมาะสมในการสื่อสาร ก า ร ส ร ้ า ง สั ม พั น ธ ภ า พ ที่ ดี กับผู้อื่น
ครูอธิบายเพิม่ เติมให้นกั เรียน ดังนี้
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา การคิ ด และออกแบบ ความคิดเป็นแผนผัง การสร้ า งสรรค์ ผ ลงาน จากค�ำถาม
พืชไม่มีดอก สร้างสปอร์ เจริญเติบโตเป็น พืชไม่มีดอก
• นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า มนุ ษ ย์ เ รามี
วงจรชีวติ หรือไม่ และวงจรชีวติ มนุษย์เป็นอย่างไร ปฏิสนธิ แรกเกิด เด็ก วัยรุ่น พืชมีดอก เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว จะ ออกดอก เมือ่ ดอกเกิดการปฏิสนธิจะออก ผล ผลมีเมล็ด และเมล็ดสามารถงอกขึ้น ใหม่เป็นต้นพืชได้อีก
56 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ผู้ใหญ่ มีครอบครัว ชรา ตาย
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
57
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา
• นักเรียนคิดว่ามนุษ ย์สามารถ การวิเคราะห์และคิด องค์ประกอบที่ 1 :
ด�ำเนินชีวติ ได้ครบวงจรเหมือน เชื่ อ มโยงสิ่ ง ที่ เ รี ย น เข้ า กั บ วิ ถี ชี วิ ต และ พืชหรือไม่ เพราะเหตุใด ประสบการณ์จริง ข้อคิดที่ควรได้ บางคนอาจด�ำเนินชีวติ ไปตามวงจร ชี วิ ต ม นุ ษ ย ์ ข ณ ะ ที่ บ า ง ค น ไม่สามารถด�ำเนินชีวิตไปจนครบ วงจร เพราะเสียชีวิตในวัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และก่อน วัยชรา
การตระหนั ก รู ้ แ ละ เห็นคุณค่าในตนเอง และผู้อื่น
คิดเชือ่ มโยงความรูเ้ ดิม องค์ประกอบที่ 2 : กับความรู้ใหม่ การคิ ด วิ เ คราะห์ ก า ร รู ้ จั ก สั ง เ ก ต การตั ด สิ น ใจ และ ตั้ ง ค�ำ ถ า ม แ ล ะ แ ก ้ ป ั ญ ห า อ ย ่ า ง สร้างสรรค์ แสวงหาค�ำตอบ การคิดวิเคราะห์ และ จินตนาการ
• นักเรียนคิดว่าอะไรบ้างเป็น
สาเหตุให้มนุษ ย์ตายก่อนถึง วัยชรา ข้อคิดที่ควรได้ 1. โรคภัยไข้เจ็บ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ฯลฯ (ทั้งนี้ มีที่มาหลังจากการใช้ชีวิต ที่ไม่เหมาะสม) 2. อุบัติเหตุ 3. ยาเสพติด 4. ฆ่าตัวตาย 5. ถูกฆาตกรรม (เช่น จากการทะเลาะวิวาท)
58 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา
• นักเรียนเคยพบหรือเคยรู้จัก รู ้ เ ท่ า ทั น ความเสี่ ย ง องค์ประกอบที่ 2 :
ครอบครัว หรือคนในครอบครัว ที่เสียชีวิตก่อนวัยชราหรือไม่ เขาเสียชีวิตเพราะอะไร • เกิดความสูญเสียหรือผลกระทบ อะไรบ้างจากการตายครั้งนี้ • ผู้เรียนควรเตรียมตัวอย่างไร จึงจะไม่จากครอบครัวไปก่อน วัยชรา
และปัญหาที่อาจเกิด ในชีวิตของตนเอง
ก า ร คิ ด วิ เ ค ร า ะ ห ์ การตั ด สิ น ใจ และ แก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์
ก า ร คิ ด วิ เ ค ร า ะ ห ์ ตัดสินใจ และแก้ปญั หา องค์ประกอบที่ 3 : อย่างสร้างสรรค์ การจัดการกับอารมณ์ และความเครียด
ค�ำถามทั ก ษะชี วิ ต เป็ น ค�ำถาม ที่ ต ้ อ งการให้ นั ก เรี ย นแสดง ความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันให้ได้ มากที่สุด เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน ฉุกใจคิดและเตรียมพร้อมเผชิญ สถานการณ์อย่างรู้เท่าทัน
กิจกรรมเสนอแนะ
ครูให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลความรู้เรื่องพืชไม่มีดอกและวัฏจักรของพืชไม่มีดอก เพิ่มเติมจากอินเทอร์เน็ตหรือจากหนังสือสารานุกรมไทยฉบับเยาวชน
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
59
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระการเรียนรูศ้ ลิ ปะ (ดนตรี) เรือ่ ง จังหวะดนตรีจงั หวะชีวติ
4. กิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ทักษะชีวิต
ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 5 เวลาจัดกิจกรรม 2 ชัว่ โมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 2 ดนตรี มาตรฐาน ศ 2.1 เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วจิ ารณ์ คุณค่าของดนตรี สามารถถ่ายทอดความรูส้ กึ และความคิดต่อดนตรีได้อย่างอิสระ และน�ำมาประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจ�ำวันได้ มาตรฐาน ศ 2.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัตศิ าสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมปิ ญ ั ญา ท้องถิน่ ภูมปิ ญั ญาไทยและสากล ตัวชีว้ ดั ศ 2.2 ป.5/2 อธิบายคุณค่าของดนตรีทมี่ าจากวัฒนธรรมทีต่ า่ งกัน 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. ร้องเพลง “โลกนี้คือละคร” ได้ถูกต้องตามท�ำนองและจังหวะ 2. อธิบายความหมายของเพลง “โลกนี้คือละคร” ได้ 3. อธิบายคุณค่าของดนตรีที่มีต่อการด�ำเนินชีวิต 3. เนื้อหาสาระ 1. การขับร้องเพลง “โลกนี้คือละคร” 2. การวิเคราะห์จังหวะเพลงและดนตรีประกอบเพลง 3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของดนตรีกับการด�ำเนินชีวิต 60 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา
1. ครูน�ำสู่บทสนทนา เรื่องเพลง ที่นักเรียนนิยมขับร้องในปัจจุบัน ด้วยค�ำถาม เช่น • เพราะเหตุใด นักเรียนจึงชอบ เพลงประเภทนี้ • นักเรียนคิดว่า เพลงเหล่านี้ มีความหมายต่อชีวิตของคน ในแต่ละภูมิภาคอย่างไร • นักเรียนรู้สึกว่า เพลงเหล่านี้ มีเนื้อหากินใจผู้ฟังอย่างไร • นักเรียนคิดว่าเนื้อหาของเพลง เหล่านี้มุ่งเน้นเรื่องคุณธรรม หรือศีลธรรมหรือไม่ อย่างไร
การทบทวน และส�ำรวจ องค์ประกอบที่ 1 : ประสบการณ์ การตระหนั ก รู ้ แ ละ เห็ น คุ ณ ค่ าในตนเอง การสะท้อนความคิดและ และผู้อื่น ความรู้สึกของตนเอง การคิ ด วิ เ คราะห์ แ ละ การใช้จินตนาการ
2. ครู แ นะน�ำเพลง “โลกนี้ คื อ การฟังอย่างตั้งใจ ละคร” 1 ซึ่ ง ประพั น ธ์ เ นื้ อ ร้ อ ง โดย ไพบู ล ย์ บุ ต รขั น ขั บ ร้ อ ง โดย ปรีชา บุณยเกียรติ
1
องค์ประกอบที่ 1 : การตระหนั ก รู ้ แ ละ เห็ น คุ ณ ค่ าในตนเอง และผู้อื่น
ไพบูลย์ บัตรขัน. 2496. โลกนี้คือละคร. (ขับร้องโดย ปรีชา บุณยเกียรติ). โลกนี้คือละคร (CD).
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
61
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา
เพลงโลกนี้คือละคร โลกนี้นี่ดูยิ่งดูยอกย้อน เปรียบเหมือน ละคร ถึงบทเมื่อตอนเร้าใจ บทบาทลี ล าแตกต่ า งกั นไป ถึ ง สู ง เพียงใด ต่างจบลงไปเหมือนกัน เกิดมาต้องตายร่างกายผุพงั ผูค้ นเขาชัง คิดยิ่งระวังไหวหวั่น ต่างเกิดกันมาร่วมโลกเดียวกัน ถือผิว ชังพรรณ บ้างเหยียดหยามกันเหลือเกิน โลกนี้ คื อ ละคร บทบาทบางตอน ชีวิตยอกย้อนยับเยิน ชีวติ บางคน รุง่ เรือง จ�ำเริญ แสนเพลิน เหมือนเดินอยู่บนหนทางวิมาน (*) โลกนี้นี่ดูยิ่งดูเศร้าใจ ชั่วชีวิตวัย หมุนเปลี่ยนผันไปเหมือนม่าน ปิดฉากเรืองรองผุดผ่องตระการ ครัน้ แล้วไม่นาน เปิดผ่านเป็นความเศร้าใจ (*ซ�ำ้ )
3. ครู ใ ห้ ผู ้ เ รี ย นรวมกลุ ่ ม กั น วิเคราะห์หาความหมายของเพลง “โลกนี้คือละคร” โดยเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นให้ได้ มากที่สุด
การพู ด แสดงความ องค์ประกอบที่ 2 : คิ ด เห็ น ในกลุ ่ ม อย่ า ง ก า ร คิ ด วิ เ ค ร า ะ ห ์ เหมาะสม การตั ด สิ น ใจ และ แก้ปัญหาอย่าง การคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ การสร้ า งสั ม พั น ธภาพ องค์ประกอบที่ 3 : และการท�ำงานร่วมกัน การจัดการกับอารมณ์ และความเครียด
62 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
องค์ประกอบที่ 4 : ก า ร ส ร ้ า ง สั ม พั น ธ ภ า พ ที่ ดี กับผู้อื่น
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา
4. ครูตงั้ ค�ำถาม เพือ่ สรุปการเรียนรู้ จากเพลง “โลกนี้คือละคร” • นั ก เรี ย นได้ ข ้ อ คิ ด อะไรจาก เพลง “โลกนี้คือละคร” • นักเรียนสามารถก�ำหนดบทบาท ตัวเองให้เป็นพระเอก นางเอก ผู ้ ร ้ า ยหรื อ ตั ว ประกอบได้ หรือไม่ อย่างไร • ในชีวติ จริงนักเรียนก�ำลังด�ำเนิน ชีวิตแบบตัวละครใด เพราะ อะไรจึงคิดเช่นนั้น แล้วชีวิตจะ เป็นอย่างไรต่อไป • หากก�ำหนดชะตาชี วิ ต ได้ นั ก เรี ย นอยากมี บ ทบาทเป็ น ใคร เพราะอะไร • นักเรียนจะวางแผนชีวติ อย่างไร ให้ มี ค วามสุ ข ความเจริ ญ ความรุ่งเรือง ไปจนกว่าจะปิด ม่านชีวิต
การประเมิ น ตนเอง องค์ประกอบที่ 1 : ด้านความรู้ ความเข้าใจ การตระหนั ก รู ้ แ ละ จากประเด็นค�ำถาม เห็ น คุ ณ ค่ าในตนเอง และผู้อื่น การใช้ จิ น ตนาการและ ต่อยอดความคิด องค์ประกอบที่ 2 : ก า ร คิ ด วิ เ ค ร า ะ ห ์ การพูดแสดงความคิดเห็น การตั ด สิ น ใจ และ แก้ปัญหาอย่าง การมีส่วนร่วมในการคิด สร้างสรรค์ และการสร้างองค์ความรู้ ใหม่ องค์ประกอบที่ 3 : การจัดการกับอารมณ์ ก า ร แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด และความเครียด เ ชื่ อ ม โ ย ง แ ล ะ ป รั บ ประยุ ก ต์ แ นวความคิ ด องค์ประกอบที่ 4 : จากประเด็นค�ำถาม ก า ร ส ร ้ า ง สั ม พั น ธ ภ า พ ที่ ดี กับผู้อื่น
* ให้นักเรียนวาดแผนที่ชีวิตของ ตนเอง (หรือต้นไม้ชวี ติ ของตนเอง) ซึง่ อาจมีปญ ั หาอุปสรรคอยูบ่ า้ ง แต่ ก็เป็นเส้นทางไปสู่สิ่งที่หวัง
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
63
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา องค์ประกอบที่ 1 : การตระหนั ก รู ้ แ ละ เห็นคุณค่าในตนเอง และผู้อื่น
5. ครูเปิดเพลงโลกนี้คือละคร ให้ ผู้เรียนฟังอีกครั้ง เพื่อฝึกขับร้อง พร้อมเคาะจังหวะตาม
การฟังอย่างตั้งใจ
6. เมื่อขับร้องเพลงได้แล้ว ครูแบ่ง กลุ่มให้นักเรียนวิเคราะห์บทเพลง ด้วยกัน • เนื้ อ ร้ อ ง ความหมายของ เนื้อร้องเป็นอย่างไร • ท�ำนอง เสียงสูงต�่ำของท�ำนอง เพลง ท�ำให้เกิดอารมณ์ หรือ ความรูส้ กึ อย่างไร เพราะเหตุใด • จั ง หวะ จั ง หวะของเพลง สม�ำ่ เสมอหรือไม่ หากสามารถ เคาะจังหวะได้ ให้กลุ่มสาธิต การเคาะจังหวะ • เสียงดนตรี ในเพลงมีเสียงของ เครื่ อ งดนตรี อ ะไรบ้ า ง เช่ น กลอง อิเล็กโทน เสียงกีต้าร์ ฯลฯ
การพู ด แสดงความ องค์ประกอบที่ 2 : คิ ด เห็ น ตามประเด็ น การคิ ด วิ เ คราะห์ ค�ำถาม การตั ด สิ น ใจ และ แก้ปัญหาอย่าง การคิดวิเคราะห์เนื้อหา สร้างสรรค์ และอารมณ์ของเพลง องค์ประกอบที่ 3 : การสังเกตจังหวะและ การจัดการกับอารมณ์ เสียงเครื่องดนตรี และความเครียด การตั ด สิ น ใจและคิ ด สร้างสรรค์
64 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา
7. ครูน�ำบทร้อยกรองต่อไปนี้ ให้ การคิดวิเคราะห์ และ องค์ประกอบที่ 1 : นักเรียนอ่านแล้วแสดงความคิดเห็น คิดสร้างสรรค์ การตระหนั ก รู ้ แ ละ เห็นคุณค่าในตนเอง การพูดสือ่ สารเพือ่ แสดง และผู้อื่น ความคิดเห็น จังหวะชีวิตคน เสียงแตรเสียงระฆังดังกังวาน ช่าง องค์ประกอบที่ 2 : ส�ำราญดียิ่งกันจริงหนา การท�ำงานร่วมกับผู้อื่น การคิ ด วิ เ คราะห์ เสี ย งกลองเป็ น จั ง หวะร�ำมะนา เปรียบชีวิตเกิดมาจังหวะคน การตั ด สิ น ใจ และ เกิดเป็นคนขวนขวายหมัน่ ศึกษา เพือ่ การสร้างสัมพันธภาพ แ ก ้ ป ั ญ ห า อ ย ่ า ง อาชีพเพื่อวิชาอย่าสับสน ตามจั ง หวะชี วิ ต แต่ ล ะคน หาก สร้างสรรค์ หลงกลหลงผิดจังหวะจะเศร้าใจ การรูจ้ กั สังเกต ตัง้ ค�ำถาม และแสวงหาค�ำตอบ องค์ประกอบที่ 3 : การจัดการกับอารมณ์ • นักเรียนรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ การวิ เ คราะห์ ค วาม และความเครียด อ่านหรือได้ฟังบทร้อยกรองนี้ น่ า เชื่ อ ถื อ ของข้ อ มู ล • นักเรียนเห็นด้วยกับข้อความ ข่าวสารได้สมเหตุสมผล องค์ประกอบที่ 4 : ที่ว่า “จังหวะดนตรี เปรียบดัง ก า ร ส ร ้ า ง จังหวะชีวติ คน” หรือไม่ เพราะ การวิพากษ์วิจารณ์บน สั ม พั น ธ ภ า พ ที่ ดี เหตุใด พื้ น ฐานของข้ อ มู ล ที่ กับผู้อื่น ถูกต้อง การใช้จินตนาการและ การคิดเชื่อมโยง
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
65
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา
ข้อคิดที่ควรได้ จั ง หวะดนตรี มี ทั้ ง จั ง หวะช้ า เนิบนาบ เร็ว และรัว จังหวะดนตรี เป็นไปตามคนเล่นดนตรีจะก�ำหนดให้ เป็ น ดนตรี จ ะช้ า เร็ ว หรื อ เร้ าใจ ผู้ก�ำหนด คือผู้เล่นดนตรี จังหวะชีวติ คน เป็นจังหวะก้าวย่าง ตามวัย ซึง่ มีธรรมชาติการเจริญเติบโต เป็นผูก้ �ำหนด เป็นวัฏจักรชีวติ เกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่จังหวะชีวิตของคนนัน้ ขึ้ น อยู ่ กั บ การกระท�ำของตนเอง เราสามารถท�ำให้ชีวิตเฉื่อย เชื่องช้า ขี้ เ กี ย จ หยุ ด นิ่ง หรือพัฒนาตนเอง อย่างรวดเร็ว ขยันกระฉั บ กระเฉง เหมือนจังหวะดนตรีได้ ชีวติ คนก็มจี งั หวะ จังหวะเป็นเด็ก เป็นผู้เรียน ก็ตั้งใจเรียน จังหวะวัยรุ่น ก็ต้องเตรียมตัวเป็นผู้ใหญ่ที่ดี จังหวะ วัยผู้ใหญ่ ก็ต้องท�ำงาน มีครอบครัว ที่ดี มั่นคง อบรมบุตรหลานให้เป็น คนดี จังหวะวัยชรา ก็เป็นแบบอย่าง ที่ดีของลูกหลาน
• นั ก เรี ย นจะปรั บ จั ง หวะชี วิ ต การคิดวิเคราะห์และ
การตระหนักรู้และ เห็นคุณค่าในตนเอง และผู้อื่น องค์ประกอบที่ 2 : การคิ ด วิ เ คราะห์ การตั ด สิ น ใจ และ แก้ ป ั ญ หาอย่ า ง สร้างสรรค์
66 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
กิจกรรมที่เสริมสร้าง ทักษะชีวิต ทักษะชีวิต ที่ ได้รับการพัฒนา
ค�ำตอบที่เป็นไปได้ วุ่นวาย เหมือนเสียงดนตรีหลายชิ้น ที่ต่างคนต่างบรรเลง ไม่รู้จังหวะ ไม่มี แผนชีวิตว่าจะด�ำเนินอย่างไร ราบเรียบ เหมือนเสียงฉิ่งที่มีจังหวะ แน่นอน ตายตัว สม�่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับ ผู้ควบคุมจังหวะช้าเร็ว อึ ก ทึ ก ครึ ก โครม เหมื อ นกลอง เสียงดังเร้าใจ เป็นใหญ่กว่าเครื่องดนตรี ทัง้ ปวง เมือ่ ได้รวั กลองก็ไม่รรี อใคร กลอง จะควบคุมคนร้องให้ร้องตามจังหวะ เปลี่ยนแปลง แล้วแต่จะมีผู้น�ำพา เร่งรีบ เหมือนเสียงกลอง ร�ำมะนา อ้อยสร้อย อ่อนล้า เหมือนเสียงขลุย่ ฯลฯ
• นักเรียนคิดว่าชีวิตของตนเอง ประเมินตนเองและคิด องค์ประกอบที่ 1 :
ขณะนั้นเป็นอย่างไร คล้ายกับ เชื่อมโยง ดนตรีจงั หวะใด
ขั้นตอนกิจกรรมที่เชื่อมโยง สู่ทักษะชีวิต
อย่างไรจึงประสบความส�ำเร็จ ประเมินตนเอง ตามเป้ า หมายที่ ว างไว้ เช่ น จากประเด็นค�ำถาม การท�ำงานส่งครู การศึกษาต่อ การใช้จินตนาการ เป็นต้น การคิดเชื่อมโยง
องค์ประกอบที่ 1 : การตระหนักรู้และ เห็นคุณค่าในตนเอง และผู้อื่น องค์ประกอบที่ 2 : การคิ ด วิ เ คราะห์ การตั ด สิ น ใจ และ แก้ ป ั ญ หาอย่ า ง สร้างสรรค์
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
67
ส่งท้ายภาค การตัง้ ค�ำถามกระตุน้ ให้นกั เรียนคิด ศึกษา ค้นคว้า อภิปราย วิพากษ์วจิ ารณ์ และตัดสินใจ ไม่วา่ ค�ำตอบที่ได้จะเป็นความรูส้ กึ นึกคิดจากการเปิดเผยตนเอง การสะท้อนมุมมอง การใช้เหตุผลหรือจินตนาการ การคิดเชือ่ มโยงความรูใ้ หม่ กับประสบการณ์เดิม และการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงของนักเรียน ก็ลว้ นส่งผลต่อการพัฒนา “ทักษะชีวติ ” ผ่านกิจกรรมการเรียนรูไ้ ด้ทงั้ สิน้ ยิง่ เมือ่ ครูใช้การสนทนา อภิปราย และตัง้ ค�ำถามให้ตอบ กับเนือ้ หาที่ได้เรียน ไป นักเรียนจะมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างการเรียนรู้ พฤติกรรม และ ประสบการณ์ในชีวิตประจ�ำวัน นักเรียนจะเห็นความจริงในชีวิตและได้รับ การท้าทายให้คิดหาทางออก สร้างแนวคิดหรือมุมมองใหม่ๆ ร่วมแบ่งปัน ความคิดเห็น ประสบการณ์ และความรูส้ กึ ของตนเอง อันจะน�ำไปสูค่ วามเข้าใจ ตนเองอย่างลึกซึ้งและส่งเสริมความคิดในระดับที่สูงขึ้น กิจกรรมเช่น นี้ ยังเพิม่ พูนทักษะการฟังและการพูดของนักเรียนอีกด้วย
ตัวอย่าง
การตั้งค�ำถามเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิต ในกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ
การตั้งค�ำถามเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตให้กับนักเรียนในกระบวนการ การเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ จ�ำเป็นต้องออกแบบกิจกรรมและ ตั้ ง ค�ำถามให้ ส อดคล้ อ งกั บ จุ ด ประสงค์ ห รื อ ตั ว ชี้ วั ด การเรี ย นรู ้ และ พฤติกรรมทักษะชีวิตในแต่ละองค์ประกอบ
แต่ทงั้ นี้ “ครู” ผูส้ อนจะต้องใช้เทคนิคการตัง้ ถาม เพือ่ ให้นกั เรียนได้สะท้อน ความรูส้ กึ นึกคิดในเรือ่ งทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการด�ำเนินชีวติ โดยให้อยู่ในขอบเขตของ สาระการเรียนรูเ้ ป้าหมายในแต่ละครัง้ อย่างเหมาะสม
68 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
69
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระการเรียนรูภ้ าษาไทย เรือ่ ง การใช้ค�ำราชาศัพท์
ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 5 เวลาจัดกิจกรรม 2 ชัว่ โมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 3 การฟัง การดู และการพูด มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดง ความรู้ ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมี วิจารณญาณและสร้างสรรค์ ตัวชีว้ ดั ท 3.1 ป.5/1 พูดแสดงความรู ้ ความคิ ด เห็ น และความรู ้ สึ ก จากเรื่องที่ฟังและดู ป.5/5 มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลีย่ นแปลง ของภาษา พลังของภาษา รวมทั้งภูมิปัญญาทางภาษา และ รักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวชีว้ ดั ท 4.1 ป. 5/ 4 การใช้ค�ำราชาศัพท์ 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถพูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ได้ฟังและดู 2. รู้ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไร ขณะที่ฟังและพูด
70 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
3. สมรรถนะส�ำคัญ : • ความสามารถในการคิด • ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต • การท�ำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคม • การสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพที่ดี 4. สาระเนื้อหา : ค�ำราชาศัพท์ประเภทค�ำนาม ค�ำสรรพนาม และ ค�ำกริยาราชาศัพท์ 5. สือ่ การเรียนรู้ : • ภาพพระราชกรณียกิจสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินนี าถ • ประเด็นค�ำถาม 6. ภาระงาน/ชิน้ งาน : • แผนผังมโนทัศน์ค�ำราชาศัพท์ที่ควรรู้ • โครงงานการสืบค้นและการน�ำเสนอผลการสืบค้น เรื่องค�ำราชาศัพท์ 7. กิจกรรมการเรียนรู้ หมายเหตุ : ในวงเล็บท้ายค� ำถาม คือ การจ� ำแนกประเภทการตั้งค� ำถาม
ตามหลักการของ “6 ค�ำถาม เพือ่ เชือ่ มโยงวิธคี ดิ ” (ตัวเลขบอกประเภทของค�ำถาม เพื่อให้สะดวกส�ำหรับการเปิดอ่านท�ำความเข้าใจ) ดูเพิ่มเติม หน้า 31 ตอนท้าย ของกิจกรรมที่มีการแทรกการสอน “ทักษะชีวิต” จะสรุปองค์ประกอบของ ทักษะชีวิตในกิจกรรมนั้นไว้ท้ายชั่วโมงเรียน
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
71
ชั่วโมงที่ 1 1. ครู แ ละนั ก เรี ย นสนทนาเกี่ ย วกั บ วั น แม่ แ ห่ ง ชาติ โดยน�ำภาพ พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงทักทายประชาชนมาให้ผู้เรียนดู แล้วตั้งค�ำถาม ดังนี้ • นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อภาพนี้ (2. ถามความรู้สึก) • นักเรียนคิดว่าสมเด็จฯพระบรมราชินนี าถ ทรงตรัสกับราษฎรทีม่ า เข้าเฝ้ารับเสด็จว่าอย่างไร (4. ถามเพือ่ กระตุน้ จินตนาการ ต่อยอด ความคิด) • ถ้าผู้เรียนเป็นประชาชนที่เข้าเฝ้าจะพูดตอบพระองค์ว่าอย่างไร (4.ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ต่อยอดความคิด)
2. ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า “ประชาชนทั่วไปจะต้องใช้ค�ำราชาศัพท์กับ พระองค์ทา่ น ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น ค�ำเรียกแทนชือ่ ตนเอง ค�ำเรียกเครื่องใช้ต่างๆ เป็นต้น จากนั้น ครูตั้งค�ำถามนักเรียนว่า • ถ้านักเรียนได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จฯพระบรมราชินีนาถหรือ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ นักเรียน จะต้องใช้ค�ำราชาศัพท์อะไรบ้าง (3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน)
72 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันจัดท�ำแผนผังมโนทัศน์ค�ำราชาศัพท์ที่นักเรียน ควรรู้และควรใช้ โดยแบ่งเป็นประเภทต่างๆ เช่น
ค�ำนาม/ กระทงไหล สรรพนาม ลอยตามน� กราบบั งคมทู้ำล ค�ำเรียก ร่างกาย
ค�ำเรียก ยานพาหนะ ค�ำราชาศัพท์ ค�ำเรียกกิริยา อาการ เช่น ยิ้ม ดีใจ ฯลฯ
ค�ำเรียก สิ่งของ เครื่องใช้
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
73
3.
ครูซักถามนักเรียนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการท�ำงาน • นักเรียนคิดว่าจะสืบค้นหาค�ำราชาศัพท์ตามผังมโนทัศน์จากที่ใด และใช้เวลาสืบค้นเท่าใด ในระยะเวลาทีม่ อี ยู่ (3. ถามเพือ่ สะท้อน ความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • นักเรียนคิดว่าห้องเราจะท�ำอย่างไร หรือจัดการอย่างไรจึงจะได้ ข้ อ มู ล ค�ำราชาศั พ ท์ ไ ด้ ค รบทุ ก ประเด็ น และค้ น ได้ ร วดเร็ ว (4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ต่อยอดความคิด)
ค�ำตอบที่เป็นไปได้ เช่น จัดกลุ่มไปสืบค้นหรือสืบค้นตามความสนใจ จากนั้นครูให้นักเรียนสรุปวิธีการหาข้อมูลค�ำราชาศัพท์ตามที่ได้ตกลง ร่วมกัน ค�ำถามแทรก • นักเรียนรูส้ กึ อย่างไร ในการท�ำงานร่วมกับผูอ้ นื่ (2. ถามความรูส้ กึ ) • นักเรียนกังวลใจหรือเครียดบ้างไหมทีจ่ ะต้องท�ำงานร่วมกันกับเพือ่ นๆ (2. ถามความรู้สึก) • ถ้ามี นักเรียนขจัดความกังวลใจหรือความเครียดครั้งนี้ ได้อย่างไร (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง)
ค�ำตอบที่เป็นไปได้ • พูดคุยบอกข้อกังวลใจให้เพื่อนๆ ในกลุ่มได้รับรู้หรือเข้าใจ • เอาใจเขามาใส่ใจเรา • ท�ำงานอย่างมีความรับผิดชอบ • เห็นใจซึ่งกันและกัน
74 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
• นักเรียนจะน�ำเสนอหรือบอกเล่าให้เพื่อนๆ รู้จักค�ำราชาศัพท์ได้ อย่างไร เช่น จัดบอร์ด ท�ำเป็น หนังสือ น�ำเสนอด้วยโปรแกรม พาวเวอร์พอยท์ (4. ถามเพือ่ กระตุน้ จินตนาการ ต่อยอดความคิด) 4. ครูให้นักเรียนร่วมกันสืบค้นค�ำราชาศัพท์ จากปทานุกรมค�ำราชาศัพท์ หรือพจนานุกรม สรุปทักษะชีวิต กิจกรรมนี้ช่วยพัฒนา “ทักษะชีวิต” ทั้งสี่องค์ประกอบ เพราะนั ก เรี ย นได้ คิ ด ส�ำรวจหาวิ ธี ท�ำงานร่ ว มกั น ให้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพที่ สุ ด และหาทางแก้ ป ั ญ หาระหว่ า งการท�ำงานร่ ว มกั น (องค์ ป ระกอบที่ 2 : การคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์) นักเรียน ส�ำรวจความรู้สึกและความคิดของตนเอง และรับฟังที่เพื่อนรู้สึกและคิด เช่นกัน (องค์ประกอบที่ 1 : การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น) ได้คิดหาทางและเรียนรู้วิธีที่จะรับมือกับความเครียดและความกังวลใจใน การร่วมงานกัน (องค์ประกอบที่ 3 : การจัดการกับอารมณ์และความเครียด) ซึง่ น�ำไปสูก่ ารสือ่ สารทีเ่ หมาะสมกับเพือ่ นๆ และการรูจ้ กั เอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างสัมพันธภาพที่ดี (องค์ประกอบที่ 4 : การสร้าง สัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น)
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
75
ชั่วโมงที่ 2 1. นักเรียนน�ำเสนอค�ำราชาศัพท์ที่ได้สบื ค้นในชัว่ โมงก่อน มาน�ำเสนอต่อ เพื่อนๆในชั้นเรียน (ครูเพิ่มเติมค�ำราชาศัพท์ที่ถูกต้องและโอกาส การใช้ค�ำราชาศัพท์) 2. ครูตั้งค�ำถาม เพื่อให้นักเรียนสร้างความรู้ ความคิด และเชื่อมโยง • นักเรียนรูส้ กึ อย่างไรที่ได้เรียนรูเ้ รือ่ งค�ำราชาศัพท์ (2. ถามความรูส้ กึ ) • นักเรียนคิดว่าการใช้ค�ำราชาศัพท์ในละครจักรวงศ์ทางโทรทัศน์ ถูกต้อง หรือไม่ อย่างไร (3. ถามเพือ่ สะท้อนความคิด มุมมอง ความเชือ่ ของตน) • การที่นักเรียนใช้ค�ำราชาศัพท์ได้ถูกต้อง จะส่งผลต่อตัวนักเรียน อย่างไรบ้าง (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง) • ในชีวติ ประจ�ำวนั ของเรา มีการใช้ค�ำราชาศัพท์กบั ใครบ้าง เฉพาะเจาะจง หรือไม่ อย่างไร เช่น พระภิกษุสงฆ์ (6. ถามเพือ่ เชือ่ มโยงกับชีวติ จริง) • นักเรียนคิดว่า “ค�ำราชาศัพท์” ที่นักเรียนไปสืบค้นมา จะเป็น ประโยชน์กับใครบ้าง หรือใครควรจะรู้บ้าง และนักเรียนจะน�ำไป เผยแพร่ให้ผู้อื่นรู้ด้วยวิธีใด (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง) กิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม • ดูข่าวในพระราชส�ำนักจากรายการโทรทัศน์ • ฟังข่าวจากสถานีวิทยุกระจายเสียง • แสดงบทบาทสมมติการใช้ค�ำราชาศัพท์จากบทละครจักรวงศ์พนื้ บ้าน 3. ครูตั้งค�ำถามนักเรียน เพื่อน�ำไปสู่การเสริมสร้างทักษะชีวิต • นักเรียนรู้สึกอย่างไรบ้างระหว่างการเรียน การท�ำงานกลุ่ม เรื่อง ค�ำราชาศัพท์ครั้งนี้ (2. ถามความรู้สึก) 76 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
• มีสิ่งใดบ้างที่ท�ำให้นักเรียนขุ่นเคืองใจ แล้วนักเรียนคิดว่าควรท�ำ อย่างไรเพื่อไม่ให้ความรู้สึกแบบนี้บานปลาย (2. ถามความรู้สึก และ 3. ถามเพื่อสะท้อนมุมมอง ความคิด ความเชื่อของตน) • ในระหว่างท�ำงานกลุ่ม มีค�ำพูดแบบไหนบ้างที่บั่นทอนจิตใจหรือ ท�ำให้เราท้อแท้ไม่อยากเรียน/ ท�ำงานกลุ่ม (2. ถามความรู้สึก และ 3. ถามเพื่อสะท้อนมุมมอง ความคิด ความเชื่อของตน) • นักเรียนควรจะใช้ค�ำพูดแบบไหนจึงจะท�ำให้เพื่อนหรือตัวเรา “มีพลัง มีก�ำลังใจในการเรียน/ ท�ำงานกลุ่ม” หรือท�ำให้เพื่อนๆ มีความสุข (3. ถามเพื่อสะท้อนมุมมอง ความคิด ความเชื่อ ของตน และ 5. ถามเพื่อท�ำความเข้าใจผู้อื่น)
สรุปทักษะชีวิต กิจกรรมในชั่วโมงนี้และตัวอย่างค�ำถามที่ยกมา ช่วยให้ นักเรียนได้สะท้อนความคิดและความรู้สึกของตนเองในการท�ำงานกลุ่ม และ ได้เรียนรู้ว่าเพื่อนคนอื่นๆ ในชั้นคิดและรู้สึกเช่นไรในสถานการณ์เดียวกัน (องค์ประกอบที่ 1 : การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น) จากนั้นก็ ได้คิดหาวิธีการพูดและแสดงออกที่เหมาะสม รวมทั้งจัดการกับ ความรู ้ สึ ก ทางลบ ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น เพื่ อ ช่ ว ยให้ ก ารท�ำงานกลุ ่ ม ราบรื่ น สร้ า งสั ม พั น ธภาพอั น ดี และไม่ ท�ำให้ ส มาชิ ก คนอื่ น ๆ ในกลุ ่ ม รู ้ สึ กไม่ ดี (องค์ประกอบที่ 2 : การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปญ ั หาอย่างสร้างสรรค์ องค์ประกอบที่ 3 : การจัดการกับอารมณ์และความเครียด และองค์ประกอบ ที่ 4 : การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น) • • • • •
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
77
สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระการเรียนรูค้ ณิตศาสตร์ เรือ่ ง โจทย์การหาร
ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 4 เวลาจัดกิจกรรม 2 ชัว่ โมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 1 จ�ำนวนและการด�ำเนินการ มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการด�ำเนินการของจ�ำนวนและ ความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งการด�ำเนิ น การต่ า งๆ และใช้ การด�ำเนินการในการแก้ไขปัญหา ตัวชีว้ ดั ค 1.2 ป.4/1 การบวก ลบ คูณ หาร และการบวก ลบ คูณหาร ระคน ของจ�ำนวนนั บ และศู น ย์ พร้ อ มทั้ ง ตระหนั ก ถึ ง ความสมเหตุสมผลของค�ำตอบ 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เมือ่ ครูก�ำหนดโจทย์การหาร ซึง่ ตัวตัง้ เป็นจ�ำนวนทีม่ ีไม่เกินสีห่ ลักและ ตัวหารเป็นจ�ำนวนทีม่ หี ลักเดียว นักเรียนสามารถหาผลหารและตรวจ ค�ำตอบได้ 2. เมือ่ ครูก�ำหนดโจทย์การหารซึง่ ตัวตัง้ เป็นพหุคณ ู ของ 10, 100, 1,000 และตัวหารเป็นจ�ำนวนหลักเดียว นักเรียนสามารถหาค�ำตอบได้ 3. สมรรถนะส�ำคัญ : • ความสามารถในการคิด • ความสามารถในการแก้ปัญหา 78 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
4. สาระเนื้อหา : • การหาผลหาร ที่ตัวตั้งเป็นจ�ำนวนที่มีหลายหลัก และตัวหารเป็นจ�ำนวนที่มีหลักเดียว 5. สื่อการเรียนรู้
: • บั ต รโจทย์ ป ั ญ หาเกี่ ย วกั บ ความสั ม พั น ธ์ ข อง การคูณและการหาร • ใบงานการหาร ที่ตัวหารมีหนึ่งหลัก • แบบฝึกหัดในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ชัน้ ประถม ศึกษาปีที่ 4
6. ภาระงาน/ชิ้นงาน : • การปฏิบัติเพื่อฝึกการหาร ที่ตัวตั้งเป็นจ�ำนวน ทีม่ หี ลายหลักและตัวหารเป็นจ�ำนวนทีม่ หี ลักเดียว 7. กิจกรรมการการเรียนรู้ 1. ครูทบทวนความสัมพันธ์ของการคูณและการหาร เช่น 7 x 2 = 14 ดังนั้น 14 ÷ 2 = 7, 70 x 2 = 140 ดังนั้น 140 ÷ 2 = 70 , 700 x 2 = 1,400 ดังนั้น 1,400 ÷ 2 = 700 ครูให้นักเรียนสังเกตว่า การหาผลหารอาจท�ำได้ โดยคิดว่าจะน�ำ จ�ำนวนอะไรมาคูณกับตัวหาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เท่ากับตัวตั้ง จากนั้นให้ นักเรียนหาผลหารของ 480 ÷ 6 = ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและหาค�ำตอบ โดยครูแนะน�ำให้เริม่ คิดจาก 48 ÷ 6 ก่อน ซึ่งจะหาค�ำตอบได้ดังนี้ 480 ÷ 6 =
x 6 = 48 ,
8 x 6 = 48
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
79
จากนั้นให้หาผลหารของ 480 ÷ 6 ซึ่งจะได้ดังนี้ x 6 = 480 80 x 6 = 480 ดังนั้น 480 ÷ 6 = 80
2. ครูตั้งค�ำถามน�ำ เพื่อสู่การสนทนาและอภิปรายดังนี้ • นักเรียนสรุปหลักคิดหรือวิธีการหาผลหาร ได้ว่าอย่างไรบ้าง (1. ถามสรุปความคิดและเนื้อหา)
แนวคิดที่ควรได้ เป็นการคิดย้อนหลัง เช่น 660 ÷ 6 = 110 คิดย้อนกลับเพื่อตรวจสอบจะได้ 110 x 6 = 660 วิธีนี้สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้
• ในชีวิตประจ�ำวันของเรา นักเรียนคิดว่าควรมีการตรวจสอบย้อน กลับแบบนีห้ รือไม่ เพราะอะไร (6. ถามเพือ่ เชือ่ มโยงกับชีวติ จริง)
ค�ำตอบที่เป็นไปได้ ควรมีการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อหาข้อบกพร่องและความผิดพลาด ของตัวเอง หรือเป็นแนวทางในการด�ำเนินชีวิตให้ถูกต้อง ป้องกัน ความผิดพลาด
80 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
• นักเรียนคิดว่า มีเรื่องใดในชีวิตของเราบ้างที่เราควรตรวจสอบ ย้อนกลับ (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง)
ค�ำตอบที่เป็นไปได้ 1. การใช้จ่ายเงิน ตรวจสอบย้อนกลับว่าการใช้จ่ายเงินที่ผ่านมา เหมาะสม คุ้มค่าหรือไม่ มีเรื่องใดที่เป็นการใช้จ่ายที่สูญเปล่า 2. การคบเพื่อน ตรวจสอบย้อนกลับว่าเพื่อนที่เราคบอยู่ด้วยเป็น เพือ่ นน�ำพาเราไปในทางเสียหายหรือไม่ และกิจกรรมทีเ่ ราท�ำร่วม กับเพื่อนคนนั้นเกิดประโยชน์หรือเสียประโยชน์ 3. การท�ำงาน ตรวจสอบย้อนกลับว่า การท�ำงานทีผ่ า่ นมาเราใช้เวลา อย่างคุม้ ค่ากับงานหรือไม่ ในแต่ละวันใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ตอ่ ตนเองมากน้อยเพียงใด ฯลฯ
• นักเรียนคิดว่าการตรวจสอบย้อนกลับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตของ เราให้ประโยชน์อย่างไร (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง)
แนวคิดที่ควรได้ 1. ใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจใช้จ่ายเงิน การคบเพื่อน การท�ำงาน และการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด 2. หากเราฝึกตรวจสอบย้อนกลับสิ่งที่ปฏิบัติในการด�ำเนินชีวิต อย่างสม�่ำเสมอจะท�ำให้รู้เท่าทันความผิดพลาดหรือความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดได้
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
81
จากนั้นครูให้นักเรียนทดลองฝึกคิดตรวจสอบย้อนกลับชีวิตของตนเอง สัก 1 เรื่อง เพื่อพิสูจน์ว่า ท�ำได้จริงหรือไม่ เช่น คบนาย ก - นาย ก พาไปเล่นเกม = ท�ำการบ้านไม่เสร็จถูกครูต�ำหนิ ท�ำการบ้านไม่เสร็จถูกต�ำหนิ - ไปเล่นเกม เพราะคบนาย ก 3. ครูให้นักเรียนท�ำแบบฝึกหัด เพื่อทบทวนทักษะการหารที่มีตัวตั้ง หลายหลัก แต่มีตัวหารหลักเดียว จากใบงานและหนังสือเรียน สรุปทักษะชีวติ แม้วา่ ครูผสู้ อนคณิตศาสตร์โดยทัว่ ไปจะรูส้ กึ ว่า การแทรกเนือ้ ทักษะชีวติ เป็นเรือ่ งยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้ เพราะคณิตศาสตร์มแี ต่การด�ำเนินการ เกี่ยวกับตัวเลขและจ�ำนวน แต่ตวั อย่างข้างบนนี้ได้แสดงให้เห็นว่า ครูสามารถ น�ำหลักการคิดและการแก้ปัญหาของคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับชีวิตจริงได้ คณิตศาสตร์ไม่ได้สอนให้มองเห็นแต่ตวั เลขและสัญลักษณ์เท่านัน้ แต่แท้จริงแล้ว กลับเป็นแก่นของการคิดแก้ปัญหาอย่างมีตรรกะ ระบบ และขั้นตอน ซึ่งเป็น สิ่งที่ครูต้องสอนให้นักเรียนตระหนัก เข้าใจ และน�ำไปปฏิบัติในชีวิตจริงให้ได้ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างนี้ การหารและการคูณ สามารถสอนในเรือ่ ง “การคิด ตรวจสอบย้อนกลับ” ซึ่งเป็นประโยชน์แก่นักเรียนในการฝึกคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อประเมินผลดีและผลเสียของพฤติกรรม เหตุการณ์ และทางเลือกต่างๆ รวมถึงคาดการณ์ความเสีย่ งทีอ่ าจเกิดขึน้ ได้ (องค์ประกอบที่ 2 การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์) การคิดตรวจสอบย้อนกลับกับ เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตจริงยังช่วยให้นักเรียนประเมินสิ่งที่ได้ท�ำไปแล้ว ได้ประเมินตัวเอง ท�ำให้เห็นสิง่ ทีพ่ ลาด สิง่ ทีบ่ กพร่อง และควรแก้ไข ท�ำให้นกั เรียน เข้าใจตัวเองมากขึน้ อีกด้วย (องค์ประกอบที่ 1 การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าใน ตนเองและผู้อื่น)
สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์ เรือ่ ง การปรับตัวของสิง่ มีชวี ติ
ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 3 เวลาจัดกิจกรรม 2 ชัว่ โมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการด�ำรงชีวิต มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความส�ำคัญของการถ่ายทอดลักษณะ ทางพันธุกรรม วิวฒ ั นาการของสิง่ ทีม่ ชี วี ติ ความหลากหลาย ทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์และ สิง่ แวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ และจิตวิทยาศาสตร์ สามารถสือ่ สารสิง่ ทีเ่ รียนรูแ้ ละน�ำความรูไ้ ปใช้ประโยชน์ได้ ตัวชีว้ ดั ว.1.2 ป.3/ 4 สืบค้นข้อมูลและอภิปรายเกีย่ วกับสิง่ มีชวี ติ บางชนิด ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และที่ด�ำรงพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถสืบค้นข้อมูลเกีย่ วกับสัตว์และพืชทีม่ กี ารปรับตัวและไม่ปรับตัว ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง 2. ระบุสิ่งมีชีวิตที่สามารถอยู่รอดและด�ำรงพันธุ์ได้ท่ามกลางสภาพ แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
• • • • •
82 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
83
3. สมรรถนะส�ำคัญ : • ความสามารถในการคิด • ความสามารถในการสื่อสาร • ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 4. สาระเนือ้ หา
: • สิง่ มีชวี ติ ทีไ่ ม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงจะสูญพันธุ์ไปในที่สุด • สิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม ทีเ่ ปลีย่ นแปลงได้ จะสามารถอยูร่ อดและด�ำรงพันธุ์ ต่อไป
5. สื่อการเรียนรู้ : • หนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 เรือ่ งการปรับตัวของสิง่ มีชวี ติ • สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน 6. ภาระงาน/ชิ้นงาน : สืบค้นข้อมูลเรื่องการปรับตัวของสัตว์และพืช 7. กิจกรรมการเรียนรู้ 1. สนทนาเรือ่ งสัตว์ตา่ งๆ โดยให้นกั เรียนร่วมกันอภิปรายและหาข้อมูล จากอินเทอร์เน็ต เพือ่ น�ำมาประกอบการอภิปราย หัวข้อทีค่ รูอาจเปิด ประเด็นให้นักเรียนแสดงความคิดได้ เช่น • สัตว์อะไรเอ่ยอายุยืนที่สุด • สัตว์อะไรที่ตัวใหญ่/ ตัวเล็ก/ วิ่งเร็ว ฯลฯ ที่สุด
84 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
จากนั้น ครูให้นักเรียนไปหาค�ำตอบหรือหาเหตุผลว่าท�ำไมจึงเป็น เช่นนั้น จากในอินเทอร์เน็ต ครูให้นักเรียนตั้งข้อสังเกตว่า มีสัตว์หลายชนิดที่หายไปจากโลก เช่น ไดโนเสาร์ แล้วถามต่อ เพื่อให้นักเรียนช่วยกันคิดหาเหตุผล • ท�ำไมสัตว์อย่างเช่นไดโนเสาร์ จึงสูญพันธุ์ไป (4. ถามเพื่อกระตุ้น จินตนาการ ต่อยอดความคิด) ครูตั้งข้อสังเกตว่า เพราะตัวมันโต กินจุ เลยกินอาหารหมดไปจากโลกใช่ไหม หรื อ เพราะอากาศของโลกเปลี่ ย นเร็ ว มากจากอบอุ ่ น เป็ น หนาวจั ด เป็นน�้ำแข็ง จึงปรับตัวไม่ทัน ตายไปหมด หรือ มันออกลูกเป็นตัวผู้มาก จึงไม่มีตัวเมียผสมพันธุ์แล้วออกลูก หรือ มันดุร้ายฆ่ากันตายกันเองหมด หรือ มีดาวเคราะห์จากโลกอื่นมาชนโลกของเรา เกิดไฟไหม้ มันจึงตาย และสูญพันธุ์หมด ให้ผู้เรียนช่วยกันอภิปรายโดยแสดงเหตุผล ประเด็นข้อสังเกตนี้ไม่ตอ้ งการค�ำตอบทีถ่ กู หรือผิด แต่ตอ้ งการกระตุน้ ให้ นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และเหตุผล เพื่อน�ำไปสู่การค้นคว้าต่อเนื่อง ตามความสนใจด้วยตัวของนักเรียนเอง ครูจึงควรตั้งค�ำถามเพื่อให้นักเรียน เชื่อมโยงประเด็นคิดต่อไป เช่น • ถ้าไดโนเสาร์สญ ู พันธุ์ ตามทีค่ รูตงั้ ข้อสังเกตแล้ว ท�ำไมจระเข้และเต่า จึงไม่สูญพันธุ์ ทัง้ ที่เต่ากับจระเข้ต่างก็เป็นสัตว์ที่มมี าแต่ดกึ ด�ำบรรพ์ เช่นเดียวกัน (4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการและต่อยอดความคิด) ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
85
ค�ำตอบที่เป็นไปได้ การปรับตัว ที่ช่วยให้สัตว์ดึกด�ำบรรพ์บางชนิดอยู่รอดมาถึงทุกวันนี้
2.
ให้นกั เรียนร่วมกันอ่านหนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์เรือ่ งการปรับตัว ของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด หรือค้นจากอินเทอร์เน็ต แล้วน�ำ มาเล่าและอธิบายให้เพื่อนๆ ฟัง พร้อมร่วมกันซักถามอภิปราย ตัวอย่างเช่น
1. จิ้งจก ปรับสีผิวหนังให้มีสีตามผนังหรือเพดานที่มันอาศัยอยู่ ถ้าเป็นตึกสีขาวก็จะปรับตัวให้มีสีซีดเกือบขาว แต่ถ้าอยู่ตาม บ้านไม้ก็จะปรับเป็นสีน�้ำตาล 2. เป็ด ขาของเป็ดมีพังผืดระหว่างนิ้ว เพื่อใช้ในการว่ายน�้ำ 3. แมลงที่กัดกินใบไม้ เช่น จิ้งหรีด ตั๊กแตน มด แมลงสาบ ฯลฯ ปรับส่วนปากให้มีลักษณะคล้ายกรรไกรหรือคีม เพื่อกัดกินหรือ แทะอาหารออกเป็นชิ้นเล็กๆ 4. พืช เช่น ผักต�ำลึง ปรับล�ำต้นให้อ่อนเป็นเถา พันกับหลักหรือ ต้นไม้ เพื่อให้เติบโตชูขึ้นไปหาแสงแดดได้ ส่วนต้นไม้ที่อยู่ตาม ป่าทึบจะมีล�ำต้นสูงชะลูด เพราะต้องการไปหาแสงแดดและ รับแสงแดดมาสังเคราะห์แสงที่ใบไม้ 5. กบ จ�ำศีลในช่วงฤดูแล้ง เพื่อหลบอากาศร้อน ถ้าผิวแห้ง กบจะ ตาย แต่ถ้าอยู่ในดินหรือโพรง ผิวก็จะชุ่มชื้น กบจึงรอดตายได้ 6. ไส้เดือน ปรับตัวให้มีสีด�ำ สีโคลน กลมกลืนกับดินโคลน ท�ำให้ อยูร่ อดจากการถูกจิกกินของนก ไก่ และถูกขุดไปเป็นอาหารปลา
86 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ครูเพิ่มเติมแนวความคิด ครูสรุปการอภิปราย และอธิบายความหมายของการปรับตัวของสิง่ มีชวี ติ ต่างๆ ในธรรมชาติ การปรับตัว หมายถึง การที่สิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับ ลักษณะของตน เพื่อให้เหมาะสมที่จะอยู่รอดและแพร่พันธุ์ได้ในสภาพ แวดล้อมที่เป็นอยู่นั้น
การปรับตัวมี 3 ลักษณะ 1. ปรับรูปร่างหรืออวัยวะ เช่น ต้นผักทีอ่ ยูต่ ามริมแม่นำ �้ อย่างเช่น ผักกระเฉดที่มีทุ่นล้อมรอบก้านผัก ท�ำให้ลอยน�้ำได้ จิ้งจก เปลี่ยนสีผิว นกก็มีปีก ไก่ปากแหลมเอาไว้จิกกินอาหาร เป็ด มีพังผืดที่ตีนทั้ง 2 ข้าง 2. ปรับการท�ำงานของร่างกาย เช่น ปลาหายใจทางเหงือก ต้นไม้ สูงหรือคดโค้งเพื่อไปหาแสงแดด เป็นต้น 3. ปรับความเป็นอยู่ เช่น กบจะออกหาอาหารในฤดูฝน แต่จะ จ�ำศีลในฤดูแล้ง ค้างคาวหาอาหารกินในเวลากลางคืน เพราะ กลางคืนแมลงมากกว่ากลางวัน หลีกเลี่ยงการถูกตามล่า จากเหยี่ยว ซึ่งหากินกลางวัน และไม่ชอบแย่งผลไม้หวาน จากสัตว์อื่นๆ
จากนั้นอธิบายถึงการปรับตัวของคน โดยพูดถึงเด็ก เพื่อให้นักเรียน เชื่อมโยงเนื้อหาที่ได้เรียนรู้เข้ากับตัวเองได้ง่ายขึ้น ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
87
เด็กๆ ก็มคี วามจ�ำเป็นต้องปรับตัว ตัง้ แต่เล็ก เวลาหิวจะร้องเสียงดัง แม่ได้ยนิ ก็จะป้อนนม ป้อนน�ำ ้ ป้อนข้าว เด็กก็หยุดร้อง เวลาผ้าอ้อมเปียกก็รอ้ งเสียงดัง แม่ได้ยินก็จะมาเปลี่ยนผ้าอ้อม ก็หยุดร้อง เวลากลัว ก็จะร้องเสียงดัง แม่มา อุ้มก็จะหยุดร้อง เมื่อมีคนมาคุยด้วย เอาของเล่นมาล่อ ตลกๆ ก็หัวเราะ เมือ่ โตขึน้ เข้าโรงเรียน เจอเพือ่ นๆ เจอครูที่ไม่ใช่แม่ของเรา เวลาหิวเราร้อง ก็ไม่ได้ เพราะคนอืน่ ไม่รอ้ ง ครูก็ไม่มอี าหาร ไม่มแี ม่น�ำอาหารมาให้เด็กทุกคนได้ ดังนัน้ เราต้องปรับตัว ด้วยการรับประทานอาหารเช้าให้อมิ่ เตรียมอาหารและขนม มาจากบ้าน น�ำเงินมาหาซือ้ ช่วยเหลือตนเอง ไม่รอ้ ง เพราะถึงร้องก็ไม่มีใครช่วยได้ เวลาอยากได้สิ่งของต่างๆ ก็ต้องเตรียมมาจากบ้าน ถ้ามาแย่งของผู้อื่น ผู้อื่นก็โกรธ เพราะถ้าเป็นของเรา เราก็โกรธ เวลาพูดอะไรต้องปรับค�ำพูดให้ดี ไม่เช่นนั้นเพื่อนก็โกรธและไม่พอใจ ถ้าไม่พอใจกันและกันทั้งห้องเรียน เด็กๆ ก็จะทะเลาะกันทั้งห้อง ดังนั้นต้อง ปรับค�ำพูดไม่ให้เพื่อนเสียใจหรือโกรธ
3. ครูตั้งค�ำถามเพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเสริมสร้างทักษะชีวิต • ถ้าสัตว์หรือพืชเหล่านี้ ไม่ปรับตัวจะเกิดอะไรขึ้นกับโลกของเรา (4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ต่อยอดความคิด) • คนเราจ�ำเป็นต้องปรับตัวหรือไม่ เพราะอะไร (1. ถามสรุปความคิด และเนื้อหา และ 3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อ • นักเรียนจะปรับตัวอย่างไร เพือ่ ท�ำงานที่ได้รบั มอบหมายให้เสร็จทัน ตามที่ครูก�ำหนด (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง) • เวลาอยูท่ โี่ รงเรียน หรืออยูน่ อกบ้าน นักเรียนท�ำตัวเหมือนอยูท่ บี่ า้ น หรือไม่ อย่างไร ท�ำไมจึงเป็นเช่นนัน้ (6. ถามเพือ่ เชือ่ มโยงกับชีวติ จริง)
88 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
• นักเรียนคิดว่า ถ้านักเรียนโตขึน้ ย้ายไปสูช่ นั้ เรียนทีส่ งู ขึน้ เรียนยาก ขึ้น นักเรียนต้องปรับตัวอย่างไรให้เข้ากับวิชาเรียนที่ยากขึ้น กว่าเดิม (4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ต่อยอดความคิด) ครูให้อิสระแก่นักเรียนในการคิด พูดเล่า แสดงความคิดเห็น โดยไม่ คาดคั้นค�ำตอบหรือก�ำหนดค�ำตอบ ถูก - ผิด 4. ครูให้นกั เรียนไปสืบค้นข้อมูลเพิม่ เติมจากอินเทอร์เน็ต แล้วมาน�ำเสนอ ผลการค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตในชั่วโมงต่อไป สรุปทักษะชีวิต วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาธรรมชาติของมนุษ ย์เรา สิ่งมีชีวิตต่างๆ และธรรมชาติรอบตัว ดังนั้นเพียงล�ำพังเนื้อหาของสาระ การเรี ย นรู ้ วิ ท ยาศาสตร์ จึ ง สอนให้ นั ก เรี ย นเข้ า ใจธรรมชาติ ใ นตั ว เอง สิ่ ง แวดล้ อ มรอบตั ว และความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสรรพสิ่ ง ต่ า งๆ ในโลก ความเข้าใจนี้จะยิ่งมีความหมายและมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิต เมื่อครูรู้จัก ตั้ ง ค�ำถามเพื่ อ กระตุ ้ น ให้ นั ก เรี ย นสะท้ อ นคิ ด ถึ ง สิ่ ง ที่ เ รี ย นเข้ า หาตนและ ชีวิตจริงรอบตัว (องค์ประกอบที่ 1 การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง และผู้อื่น และองค์ประกอบที่ 4 การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น) และ เมื่อครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจความจริงในธรรมชาติ ให้นักเรียนได้สืบค้น และร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิด บนหลักของเหตุและผลตามหลัก วิทยาศาสตร์ นักเรียนก็จะได้พัฒนาทักษะชีวิตในด้านของการคิดวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ และการแก้ปัญหาในการท�ำงานอีกด้วย (องค์ประกอบที่ 2 การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์) • • • • •
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
89
สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สาระการเรียนรูส้ ขุ ศึกษาและพลศึกษา เรือ่ ง การเคลือ่ นไหวร่างกาย ที่ใช้อปุ กรณ์และไม่ใช้อปุ กรณ์
ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 2 เวลาจัดกิจกรรม 2 ชัว่ โมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกก�ำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล มาตรฐาน พ 3.1 มี ทั ก ษะในการเคลื่ อ นไหว เข้ า ใจกิ จ กรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา ตัวชีว้ ดั พ 3.1 ป.2/ 1 ควบคุมการเคลือ่ นไหวร่างกายขณะอยูก่ บั ที่ เคลือ่ นที ่ และใช้อุปกรณ์ประกอบ 2. วัตถุประสงค์ 1. มีทกั ษะในการเคลือ่ นไหวร่างกายแบบเคลือ่ นทีแ่ ละใช้อปุ กรณ์ประกอบ 2. มีทักษะการควบคุมตนเอง ทั้งทางกายและทางอารมณ์ 3. เนื้อหาสาระ : การพัฒนาตนเองและเตรียมความพร้อมในการเคลื่อนไหว โดยการแสดงความสามารถเชิงทักษะทางกาย 5 ประการ 90 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
4. สมรรถนะส�ำคัญ : • ความสามารถในการแก้ไขปัญหา • ความสามารถในการควบคุมตนเอง ทางร่างกาย และทางอารมณ์ 5. สื่อการเรียนรู้ : • เพลง “ออกก�ำลัง” • เชือกกระโดด ไม้ส�ำหรับทรงตัว ราวไม้ ลูกบอล บันได • ใบความรู้เรื่อง “ทักษะทางกาย 5 ประการ” 6. ภาระงาน/ชิ้นงาน : ฝึกปฏิบัติการเคลื่อนไหวและการทรงตัว เพื่อท�ำให้เกิดทักษะ 5 ประการ คือ กระโดดเชือก เดิน ทรงตัวบนราวไม้ ม้วนตัวข้ามราวไม้ ขั้น บันได ยกเคลื่อนที่ได้ เลี้ยงลูกบอลอ้อมสิ่งกีดขวาง 7. กิจกรรมการเรียนรู้ กิจกรรมครั้งที่ 1 1. ครูเรียกแถวรวมกลุม่ นักเรียน เพือ่ อบอุน่ ร่างกาย โดยการวิง่ อยูก่ บั ที่ จากวิ่งช้าๆ เป็นวิ่งเร็วๆ สลับกันไป 5 ครั้ง 2. ครูให้สัญญาณนักเรียนนั่งลงกับพื้นจัดแถวที่นั่งให้เป็นระเบียบ 3. ครู น�ำนั ก เรี ย นสนทนาถึ ง ความส�ำคั ญ ของการเคลื่ อ นไหวอย่ า ง คล่องแคล่ว แล้วตั้งค�ำถาม เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ และ เชื่อมโยงกิจกรรมที่ได้เรียนมา • นักเรียนเคยสะดุดแล้วหกล้มบ้างไหม เช่น สะดุดบันได สะดุดเท้าเพือ่ น สะดุดก้อนหิน ฯลฯ คิดว่าเป็นเพราะอะไร (6. ถามเพือ่ เชือ่ มโยงกับ ชีวติ จริง) ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
91
• •
นักเรียนคิดว่า การเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วและ การทรงตัวที่ดี มีประโยชน์อะไรบ้างในชีวิตประจ�ำวัน (6. ถามเพื่อ เชื่อมโยงกับชีวิตจริง) นักเรียนคิดว่า เราจะต้องฝึกฝนตนเองอย่างไรบ้าง จึงจะไม่หกล้ม แล้วบาดเจ็บมาก (4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ต่อยอดความคิด)
ค�ำตอบที่เป็นไปได้ การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว และการทรงตัวที่ดี ย่อมช่วยให้ หลีกเลี่ยงภัยอันตรายและการบาดเจ็บที่รุนแรง เมื่อล้ม ปะทะ หรือชนเข้ากับ สิ่งใด และยังมีประโยชน์ในเวลาที่มีภัย หรือเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น วิ่งหนี สุนัขกัด วิ่งหนีสัตว์ที่เป็นอันตราย หลบหลีกสิ่งกีดขวาง
4. 5.
ครูฝึกให้นักเรียนเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่วว่องไว โดยที่นักเรียน คอยช่วยเหลือกัน และดูแลความปลอดภัยให้แก่กัน จากนั้น ครูสาธิตการฝึกทักษะ 5 ประการ โดยจัดเป็นฐานกิจกรรม 5 ฐานดังนี้
ฐานกิจกรรมที่ 1 กระโดดเชือกเท้าชิดกัน โดยแกว่งเชือกด้วยตนเองไป ข้างหน้า 10 ครั้ง และไปข้างหลัง 10 ครั้ง ฐานกิจกรรมที่ 2 การทรงตัวบนไม้หรือก�ำแพงอิฐสูงประมาณ 1 ฟุต ระยะทางประมาณ 10 ฟุต หรือไม่น้อยกว่า 3 เมตร การฝึ ก หั ด เดิ น ทรงตั ว จะช่ ว ยให้ บุ ค ลิ ก ลั ก ษณะดี เดิ นได้ อ ย่ า งสง่ า การฝึกหัดอาจกระท�ำได้ง่ายๆ โดยขีดเส้น แล้วฝึกเดินอยู่ในเส้น หรือ เดินบนขอบถนนทีก่ ว้างไม่เกิน 5 นิว้ เมือ่ เดินได้ดขี นึ้ จึงค่อยๆ เพิม่ ความสูง 92 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ฐานกิจกรรมที่ 3 การม้วนตัวข้ามราวไม้ หงายมือทั้งสองจับราวไม้ขึ้นสูงอย่างน้อยบั้นเอวของตน แล้วม้วนตัวข้าม ราวไม้นั้น ซึ่งท�ำได้โดย • หงายมือจับราวไม้ให้แน่น โน้มตัวไปข้างหน้าให้ราวพาดท้อง • งอแขนให้มาก ตัวงอ ก้มศีรษะให้ชิดหน้าอกมากที่สุด ม้วนตัว โดย ค่อยๆ เลื่อนตัวลงข้างหน้า งอศอกพร้อมที่จะเหนี่ยวตัวให้ติดกับราว จนกระทั่งตัวม้วนลงจากราว ฐานกิจกรรมที่ 4 การขึ้นบันไดที่ยกเคลื่อนที่ได้ (บันไดที่ใช้ส�ำหรับกิจกรรมนี้ ต้องแข็งแรงพอที่จะรับน�้ำหนักได้ และต้อง อยู่ในสภาพที่ดี ไม่ช�ำรุด) • ยกบันไดวางพืน้ หรือพาด หรือพิงให้มนั่ คง ไม่ลม้ ถ้าเป็นบันไดทีพ่ บั ได้ ควรสับขอให้เรียบร้อยเมื่อกางออก • มือเกาะบันได ก้าวขึ้นทีละขั้นด้วยความระมัดระวัง • การไต่ลง ให้ถอยหลังลงทีละก้าว พร้อมกับลดมือลงจับตัวบันได เลื่อนมือตามลงไปเรื่อยๆ จนก้าวลงถึงพื้น ฐานกิจกรรมที่ 5 การเลี้ยงลูกบอลอ้อมสิ่งกีดขวาง ในการเลีย้ งลูกบอล สายตาจะต้องมองทีล่ กู บอล พร้อมกับเขีย่ ลูกบอลไป ข้างหน้า อาจจะเลี้ยงด้วยเท้าด้านใน ทั้งซ้ายและขวา เขี่ยลูกเบาๆ สลับกับ การเลี้ยงลูกบอลด้วยหลังเท้า ใช้เท้าเขี่ยลูกไปข้างหน้า ฝึกหัดเลี้ยงลูกบอล หยุดลูกบอล เปลี่ยนทิศทางให้เร็วขึ้นจนอ้อมเครื่องกีดขวางได้ 6 อย่าง ในระยะทางไม่เกิน 18 เมตร
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
93
กิจกรรมครั้งที่ 2 1. แบ่งกลุ่มนักเรียนเพื่อฝึกปฏิบัติทักษะ 5 ประการ ตามฐาน โดยเน้น ให้ระมัดระวังการเกิดอุบตั เิ หตุ และระวังความพลาดพลัง้ ในการเล่น จนท�ำให้บาดเจ็บ จากนั้นครูขออาสาสมัครนักเรียน เป็นผู้คอยดูแล ช่วยเหลือและเตือนเพื่อน หรือเฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุของเพื่อนๆ 2. เมื่อการฝึกเสร็จสิ้นลง ครูรวมนักเรียนเข้าด้วยกัน แล้วน�ำนักเรียน ขั บ ร้ อ งเพลง พร้ อ มทั้ ง ปรบมื อให้ จั ง หวะไปด้ ว ย เพื่ อ เตรี ย ม ความพร้อมให้แก่นักเรียนสู่การเรียนรู้ประเด็นต่อไป เพลงออกก�ำลัง ออกก�ำลังกายด้วยการร้องร�ำท�ำเพลง ให้ครื้นเครงเสียงเพลงบรรเลงจับใจ เราร้องเพลงไป ไม่มีหม่นหมองฤทัย เพราะเราเพลินใจด้วยการร้องร�ำท�ำเพลง
3.
ครูตั้งค�ำถามน�ำการสนทนาและแสดงความคิดเห็น • นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรในการฝึกทักษะทั้ง 5 ประการ (2. ถามความรู้สึก) • นักเรียนชอบกิจกรรมฐานใดมากที่สุด เพราะอะไร (3. ถามเพื่อ สะท้อนความคิด ความรู้สึก ความเชื่อของตน) • นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง จากการฝึกทักษะในฐานกิจกรรม (1. ถามสรุปความคิด และเนื้อหา)
94 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ค�ำตอบที่เป็นไปได้ เช่น เห็นเพื่อนไม่พอใจ, เห็นการแย่งกันเล่น, เห็นเพื่อนต่อว่ากัน, เห็นเพือ่ นช่วยเหลือกัน, เห็นเพือ่ นหัวเราะกัน, เห็นเพือ่ นหล่นลงพืน้ ฯลฯ
• ระหว่างการฝึก มีสิ่งใดบ้างที่ท�ำให้นักเรียนไม่มีความสุข เราจะ แก้ไขอย่างไรให้ตัวเราและเพื่อนมีความสุข (3. ถามเพื่อสะท้อน ความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • การฝึ ก ทั ก ษะใดที่ ย ากที่ สุ ด และผู ้ เ รี ย นท�ำอย่ า งไรจึ ง ฝึ กได้ (3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • การฝึกทักษะใดทีต่ อ้ งใช้สมาธิอย่างมากจึงจะไม่เกิดอันตรายกับตัวเอง (3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) ค�ำถามข้างต้นต้องการให้นักเรียนได้สะท้อนสิ่งที่เขาได้สัมผัสและ รับรูใ้ ห้มากทีส่ ดุ ไม่ตอ้ งการค�ำตอบทีเ่ ป็นหลักการถูก-ผิด แต่ครูจะต้อง เติมเต็มความเข้าใจ และความคิดเหมาะสมให้กบั นักเรียน ทันทีทนี่ กั เรียน มีความเข้าใจหรือความคิดเห็นที่อาจเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต
4.
ครูตงั้ ค�ำถามต่อ เพือ่ ให้นกั เรียนทุกคนได้ฉกุ ใจคิดและรับรูถ้ งึ ความส�ำคัญ ของการควบคุมตนเองและการรูจ้ กั ผ่อนคลายความเครียดให้กบั ตนเอง • นักเรียนได้อะไรจากการฝึกทักษะการเคลื่อนไหวครั้งนี้บ้าง (3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • นักเรียนมีความรู้สึกกลัวหรือกังวลบ้างหรือไม่ ก่อนการฝึก แล้ว นักเรียนท�ำอย่างไรจึงผ่านพ้นการฝึกมาได้ (3. ถามเพื่อสะท้อน ความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
95
สรุปทักษะชีวติ สาระการเรียนรูส้ ขุ ศึกษาและพลศึกษาเป็นวิชาทีม่ ปี ระโยชน์ ในทางปฏิบัติ และเป็นรูปธรรมที่สุด ต่อการใช้ชีวิตจริงของนักเรียน และ นักเรียนก็มักน�ำทักษะและความรู้ที่ได้ไปใช้จริง ไม่ว่านักเรียนจะรู้ตัวหรือไม่ ก็ตาม ดังนัน้ ครูผสู้ อนสุขศึกษาและพลศึกษาจึงมีโอกาสดีมากทีจ่ ะปลูกฝังและ พัฒนา “ทักษะชีวิต” ในเชิง “ประจักษ์” ให้แก่นักเรียน ครูสามารถชักชวน ให้นักเรียนส�ำรวจความรู้สึก ความคิด ความเชื่อของตนเอง ทั้งระหว่าง การปฏิบัติและเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติแล้ว (องค์ประกอบที่ 1 การตระหนักรู้ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น) เพื่อให้นักเรียนประจักษ์ชัดกับผลที่ เกิดขึ้น และเชื่อมโยงไปสู่การใช้จริงในชีวิต การฝึกควบคุมร่างกายและจิตใจ ทักษะทางกาย ความสามัคคีและน�้ำใจนักกีฬาที่ ได้จากวิชาพลศึกษา และ ความรู้ในการใช้ชีวิตให้แข็งแรง ปลอดภัย มีความสุขในวิชาสุขศึกษา คือ เนื้อหาของทักษะชีวิตอยู่แล้ว (องค์ประกอบที่ 3 การจัดการกับอารมณ์และ ความเครียด และองค์ประกอบที่ 4 การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น) หน้าที่ของครูจึงเป็นกระตุ้นและน�ำทางให้เด็กเรียนรู้ทักษะเหล่านี้ ในทางที่ สร้างสรรค์และมีวิธีคิดที่เหมาะสม (องค์ประกอบที่ 2 การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์)
• ในโอกาสต่อไปถ้านักเรียนได้ฝกึ อีก จะกลัวหรือกังวลใจอีกหรือไม่ เพราะอะไร (4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ต่อยอดความคิด) ครูให้ข้อคิดเพิ่มเติม ในชีวติ จริงของคนเรา ยังมีเหตุการณ์อกี มากทีเ่ ด็กๆ จะต้องเผชิญ และได้ใช้ทักษะทั้ง 5 ที่ได้ฝึกไป ผู้เรียนควรตั้งสติ คิดไตร่ตรองว่าจะ ท�ำอย่างไรให้ตวั เองรอดพ้นจากความสูญเสียในเหตุการณ์ทตี่ อ้ งเผชิญ เช่น วิ่งหนีฝูงผึ้ง วิ่งหนีผู้ร้าย ข้ามสิ่งกีดขวางไปช่วยเหลือผู้อื่น การไป พักแรม การเอาตัวรอดจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เป็นต้น
5.
ครูถามปิดท้ายกิจกรรม • นักเรียนคิดว่า อะไรคือสิ่งส�ำคัญที่สุด ที่ช่วยให้เราเผชิญกับ ความยากล�ำบากได้ เช่น การเดินบนไม้ การปีนบันได การม้วนตัว บนราวไม้ หรือการท�ำงานอื่นๆ ให้ส�ำเร็จ (4. ถามเพื่อกระตุ้น จินตนาการ ต่อยอดความคิด)
• • • • •
ครูให้ข้อคิดเพิ่มเติม ใจ : สติ : อารมณ์ :
ใจที่กล้า ใจที่พร้อมจะลงมือท�ำ ควบคุมตัวเอง ใจจดใจจ่อไม่ประมาท เพือ่ ไม่ให้พลาดพลัง้ ควบคุมอารมณ์ไม่ให้หวั่นไหว ไม่โกรธหรือไม่โมโห เพื่อ ไม่ให้เสียสมาธิกับงานที่ท�ำ
96 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
97
สาระการเรียนรูส้ งั คมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระการเรียนรูส้ งั คมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรือ่ ง วันส�ำคัญประเพณีทอ้ งถิน่
ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 3 เวลาจัดกิจกรรม 2 ชัว่ โมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการด�ำเนินชีวิตในสังคม มาตรฐาน ส 2.1 เข้ าใจและปฏิ บั ติ ต นตามหน้ า ที่ ข องการเป็ น พลเมื อ งดี มีค่านิยมที่ดีงาม ธ�ำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย และด�ำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่าง สันติสุข ตัวชี้วัด ส 2.1 ป.3/1 สรุปประโยชน์และปฏิบัติตนตามประเพณีและ วัฒนธรรมในครอบครัวและท้องถิ่น ป.3/2 บอกพฤติกรรมการด�ำเนินชีวิตของตนเองและผู้อื่น ที่อยู่ในกระแสวัฒนธรรมที่หลากหลาย 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. สามารถพูดแสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน ฟัง และดู 2. รู้เท่าทันสถานการณ์เสี่ยงในวันเทศกาลลอยกระทง
4. เนือ้ หาสาระ : • ความรู้เรื่องวันลอยกระทง เกี่ยวกับการบูชา พระแม่คงคา • การร่วมกิจกรรมงานลอยกระทง • ความเสี่ยงในวันลอยกระทง • การป้องกันความเสี่ยงในวันลอยกระทง 5. ภาระงาน/ ชิ้นงาน : • คิดวิเคราะห์แสดงความคิดเห็นตามประเด็น ค�ำถาม • ขับร้องเพลงลอยกระทง 6. สื่อการเรียนรู้ : • ใบความรู้เรื่องลอยกระทง • ประเด็นค�ำถาม 7. กิจกรรมการเรียนรู้ 1. ครูน�ำสนทนาถึงเทศกาลลอยกระทง ด้วยการเปิดประเด็นค�ำถาม • นักเรียนชอบวันลอยกระทงหรือไม่ เพราะอะไร (2. ถามความรูส้ กึ ) • ถ้ า นึ ก ถึ ง เทศกาลวั น ลอยกระทง นั ก เรี ย นคิ ด ถึ ง อะไรบ้ า ง (4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ต่อยอดความคิด) ค�ำถามเปิดประเด็นนี้ ต้องการให้นกั เรียนกล้าเปิดเผยความรูส้ กึ ของ ตนเองและดึงให้นกั เรียนมีสว่ นร่วมในการอภิปราย ไม่ได้ตอ้ งการค�ำตอบ ที่ถูกหรือผิด
3. สมรรถนะส�ำคัญ : • ความสามารถในการคิด • ความสามารถในการสื่อสาร 98 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
99
เรื่อง ลอยกระทงบูชาพระแม่คงคา เมืองไทยเราโชคดี มีแม่น�้ำล�ำคลอง มีทะเล น�้ำในแม่น�้ำล�ำคลอง ช่วยในการเพาะปลูก ท�ำให้เรามีข้าว ผัก ผลไม้ และยังมีปลา กุ้ง ปู ในน�้ำเป็นอาหาร น�้ำในทะเลช่วยให้เราได้มีอาหารทะเล ประเภทปู ปลา หอย กุ้ง เรายังใช้เรือเดินทางไปมาในแม่น�้ำและในทะเล เดือนสิบสองไทย ตรงกับเดือนพฤศจิกายน ในเดือนนี้ น�้ำใน แม่น�้ำล�ำคลองและทะเลจะสูงขึ้น ท�ำให้น�้ำเต็มฝั่ง คนไทยมีพิธี ลอยกระทงมาหลายร้อยปี ตั้งแต่สมัยสุโขทัย เราลอยกระทงเพื่อ กราบไหว้ ขอบคุณพระแม่คงคา หรือเทพแห่งน�้ำ นอกจากขอบคุณ พระแม่คงคาแล้ว เราก็ต้องขอโทษท่านที่ท�ำให้น�้ำสกปรกเน่าเสีย ด้วย เราขอให้พระแม่คงคาคุ้มครองเราและประเทศไทย พวกเรา ทุกคนต้องช่วยกันรักษาน�้ ำในแม่น�้ ำล�ำคลองให้สะอาดอยู่เสมอ และรักษาประเพณีนี้ ไว้มิให้สูญหาย โดยท�ำกระทงไปลอยกระทง ในแม่น�้ำ ไปท�ำบุญตักบาตรและเวียนเทียนที่วัดทุกปี
ครูจดสิ่งที่นักเรียนบอกลงบนกระดานด�ำหรือกระดาษฟลิปชาร์ต โดยท�ำ เป็นแผนที่ความคิด
การประดิษฐ์ กระทง
แสงไฟในแม่นำ�้ ระยิบระยับ
รถเข็นขาย ปลาหมึกย่าง
กระทงไหล ลอยตามน�้ำ
วันลอยกระทง
อันตราย จากประทัด
เสียงประทัด
ขบวนแห่ นางนพมาศ
โคมไฟ สวยงาม
2. จากนัน้ ครูพานักเรียนร้องเพลงลอยกระทง พร้อมกับเคาะจังหวะไปด้วย 3. ครูอ่านเรื่องลอยกระทงบูชาพระแม่คงคาให้นักเรียนฟัง 100 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
4. 5.
ครูตั้งค�ำถามนักเรียน เพื่อทบทวนความรู้ความเข้าใจของนักเรียน เกี่ยวกับเนื้อหาที่อ่านให้ฟัง • พิธลี อยกระทงมีในช่วงเดือนใดและท�ำไมจึงมีพธิ ลี อยกระทงในแม่นำ �้ (1. ถามสรุปความคิดและเนือ้ หา) • แม่นำ �้ ล�ำคลอง มีประโยชน์อย่างไรบ้าง (1. ถามสรุปความคิดและเนือ้ หา) จากนัน้ ครูตงั้ ค�ำถามเพือ่ น�ำไปสูก่ ารอภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกันใน ห้องเรียน • นักเรียนคิดว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไร หากไม่มแี ม่นำ�้ ล�ำคลอง (3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
101
ค�ำตอบทีเ่ ป็นไปได้ 1. ตัวเราเองไม่ทงิ้ ขยะ และสิง่ ปฏิกลู ลงไปในแม่นำ �้ ล�ำคลอง 2. ชักชวนให้บคุ คลในครอบครัว ชุมชน ร่วมกันรักษาความสะอาด แม่นำ �้ ล�ำคลอง ทีม่ อี ยู่ในชุมชน 3. หากเห็นใครทิง้ เศษขยะ หรือสิง่ ปฏิกลู ลงในแม่นำ �้ ล�ำคลอง จะเข้าไป อธิบายและชีแ้ จงผลเสียของการท�ำให้แม่นำ �้ ล�ำคลอง เน่าเสีย สกปรก 4. เผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับผลเสีย และผลกระทบของการท�ำให้แม่นำ �้ ล�ำคลอง เน่าเสียแก่คนในชุมชนและคนทัว่ ไป 5. รณรงค์ให้ท�ำกระทงจากใบตอง หรือพืช เพราะย่อยสลายง่าย ไม่ใช้ โฟมท�ำ
ค�ำตอบทีเ่ ป็นไปได้ 1. น�ำ้ จะท่วมบ้านเรือน เพราะไม่มที างน�ำ้ ไหล 2. ในฤดูแล้ง พืน้ ดินแห้งแล้ง พืช สวน ไร่นา เสียหายเพราะขาดน�ำ้ 3. ขาดแคลนสัตว์นำ�้ หรืออาจสูญพันธุ์ 4. มนุษย์ขาดแคลนแหล่งอาหารส�ำคัญ 5. แม่คา้ ขายกุง้ หอย ปู ปลาจะไม่มรี ายได้ 6. เศรษฐกิจประเทศไทยแย่ลง/ ตกต�ำ่ 7. ไม่มพี ธิ ลี อยกระทง 8. เด็กๆ ไม่ได้เล่นกระโดดน�ำ้ ในฤดูรอ้ น • ถ้าน�ำ้ ในแม่นำ�้ ล�ำคลองเน่าเสียเต็มไปด้วยขยะและสกปรก คนไทยจะ เป็นอย่างไร (4. ถามเพือ่ กระตุน้ จินตนาการ ต่อยอดความคิด)
ค�ำตอบทีเ่ ป็นไปได้ 1. ไม่มอี อกซิเจนในน�ำ ้ สัตว์นำ�้ ขาดอากาศหายใจและตาย 2. ผูท้ ี่ใช้นำ�้ ในแม่นำ�้ ล�ำคลองจะเสีย่ งต่อการเป็นโรคทางเดินหายใจ และท้องร่วง ท้องเสีย เป็นต้น 3. เกิดโรคระบาดร้ายแรง เช่น อหิวาตกโรค เป็นต้น 4. คนไทยสุขภาพไม่ด/ี เสือ่ มโทรม 5. เศรษฐกิจตกต�ำ ่ ยากจน การท่องเทีย่ วซบเซา
•
“เทศกาลลอยกระทงมักมีการจัดงานเฉลิมฉลองเพื่อให้เกิด ความสนุกสนาน แต่หากนักเรียนไม่ระมัดระวังอาจเกิดอันตราย กับตัวเองได้” นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรกับข้อความนี้ (3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน)
* ครูพยายามให้ผู้เรียนหาค�ำตอบ บอกเหตุผล และอภิปรายแสดง ความคิดเห็นให้มากที่สุดและให้ทั่วถึงทุกคน และอธิบายแทรกให้นักเรียน ตระหนั ก ถึ ง ภั ย ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น จากความประมาท เติ ม ประเด็ น ที่ นั ก เรี ย น อาจมองข้ามไป
• นักเรียนจะลงมือท�ำอย่างไรได้บา้ ง เพือ่ ไม่ให้แม่นำ�้ ล�ำคลอง เน่าเสีย และสกปรก (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง) 102 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
103
สรุปและแนวคิดที่ควรเพิ่มเติม นักเรียนต้องรู้เท่าทันสถานการณ์ที่เป็นอันตรายต่างๆ และ ป้องกันตนเอง เช่น ไม่จุดประทัดเล่น ไปเที่ยวงานลอยกระทงก็ต้อง ไปกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ไม่อยู่ในที่ลับตากับคนแปลกหน้า หรืออยู่ สองต่อสองกับเพศตรงข้าม ไม่เที่ยวดึกดื่น ขณะน�ำกระทงไปลอย ในแม่น�้ำ ก็ให้ระมัดระวัง ควรให้ผู้ใหญ่น�ำลงไปลอยในแม่น�้ำให้ ดีกว่าลงไปในแม่น�้ำล�ำคลองด้วยตนเอง
สรุปทักษะชีวิต สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็น อีกกลุ่มสาระที่ประกอบด้วยเนื้อหาอันเกี่ยวกับการใช้ชีวิตโดยตรง สิ่งที่ครู ผู้สอนควรให้ความส�ำคัญ คือ การเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้มีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี มีโอกาสได้สะท้อนความรู้สึก ความคิด ความเชื่อ และมุมมองของตน และของผู้อื่น (องค์ประกอบที่ 1 การตระหนัก รู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น) และฝึกการคิดเชื่อมโยง ให้เห็นเหตุ และผล (องค์ประกอบที่ 2 การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์) ไม่ใช่อธิบายแต่เนือ้ หาให้นกั เรียนฟังอยูข่ า้ งเดียว เนือ้ หาของกลุม่ สาระนี้ เป็นวัตถุดบิ ชัน้ เยีย่ ม ในการน�ำนักเรียนสูค่ วามเข้าใจตนเอง ผูอ้ นื่ และ สังคมรอบข้าง (องค์ประกอบที่ 4 การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น) ซึ่งช่วย ให้นักเรียนอยู่ ในสังคมโลกที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ได้อย่างเป็นสุขและด้วยความเข้าใจ (องค์ประกอบที่ 3 การจัดการกับอารมณ์ และความเครียด)
สาระงานการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและ เทคโนโลยี เรือ่ ง คุณค่าของทรัพยากร
ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 2 เวลาจัดกิจกรรม 1 ชัว่ โมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 1 การด�ำรงชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการท�ำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทกั ษะกระบวนการ ท�ำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการท�ำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู ้ มีคณ ุ ธรรม และมีลกั ษณะนิสยั ในการท�ำงานทีด่ ี มีจติ ส�ำนึก ในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิง่ แวดล้อม เพือ่ การด�ำรง ชีวิตและครอบครัว ตัวชี้วัด ง 1.1 ป.4/4 ใช้ พ ลั ง งานและทรั พ ยากรในการท�ำงานอย่ า ง ประหยัดและคุ้มค่า ป.4/3 ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการท�ำงาน (ในที่นี้ หมายถึงการรับประทานอาหาร) 2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. เพือ่ ฝึกทักษะการพูดแสดงความคิดเห็นและความรูส้ กึ จากเรือ่ ง “ข้าว” 2. เพื่อสร้างความตระหนักในคุณค่าของ “ข้าว”
• • • • •
104 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
105
3. 4. 5.
เพื่อสร้างความตระหนักในการใช้ทรัพยากร “ข้าว” อย่างประหยัด คุ้มค่า ผ่านการรับประทานอาหารอย่างมีมารยาท ไม่ทิ้งขว้างหรือ ตักข้าวเกินความต้องการ เพื่อให้รู้จักเลือกอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้นักเรียนได้ค้นหาข้อมูลเรื่องข้าว จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
3. เนื้อหาสาระ
: • ความเป็นมาของ “ข้าว” • ความสามารถในการสื่อสารแสดงความคิดเห็น
7. กิจกรรมการเรียนรู้ 1. ครูน�ำสนทนา ด้วยการตั้งค�ำถาม เพื่อให้นักเรียนคิดเชื่อมโยง ประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องข้าว ดังนี้ • เมื่อเอ่ยถึงค�ำว่า “ข้าว” นักเรียนนึกถึงสิ่งใดบ้าง (6. ถามเพื่อ เชือ่ มโยงกับชีวิตจริง) ครูจดสิ่งที่นักเรียนบอกลงบนกระดานด�ำหรือกระดาษฟลิปชาร์ต แผ่นใหญ่ ในลักษณะของแผนผังเพือ่ ให้นกั เรียนได้เห็นและภาคภูมใิ จ ในค�ำตอบของตนเอง เช่น
4. สมรรถนะส�ำคัญ : • ความสามารถในการคิด • ความสามารถในการสื่อสารแสดงความคิดเห็น 5. สื่อการเรียนรู้ : • บทความเรื่องข้าว • ประเด็นค�ำถาม 6. ภาระงาน/ชิ้นงาน : • การร่ ว มคิ ด อภิ ป ราย แสดงความคิ ด เห็ น จาก ประเด็นค�ำถาม • วาดภาพเมล็ดข้าว • ผลงานการสืบค้นข้อมูล ความรูเ้ รือ่ งสารอาหารในข้าว
โรงสี
ชาวนา
รถไถนา
คนกินข้าว ข้าว
วันพืชมงคล
ทุ่งนา ปู-ปลา
เงินทอง คนขาย ข้าว 106 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
วัว/ควาย
คนแบก กระสอบข้าว
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
107
• ถ้าประเทศไทยไม่มขี า้ ว คนไทยจะเป็นอย่างไร (4. ถามเพือ่ กระตุน้ จินตนาการ ต่อยอดความคิด)
ไม่มีนาข้าว
ไม่มี การเสี่ยงทาย พระโค ไม่มีวัน พืชมงคล
กระทงไหล ไม่ มีเงินทอง้ำ ลอยตามน�
ไม่มีข้าว
ไม่มีอาชีพ ขายข้าว
108 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ไม่มีชาวนา
ไม่มีข้าวกิน
ไม่มีโรงสี
2. ครูอ่านบทความเรื่อง “ข้าว” ให้นักเรียนฟัง ข้าวเป็นพืชประเภทหญ้า แต่เป็นหญ้าวิเศษ จริงๆ ข้าวเลีย้ งคนมานับพันปี ข้าวไม่เพียงแต่เลีย้ งคนไทยเท่านัน้ คนหลายชาติยงั กินข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าว ยังเป็นสินค้าทีส่ ง่ ไปขายต่างประเทศ สร้างรายได้ให้กบั ประเทศไทยจ�ำนวนมาก ข้าวหอมมะลิเป็นพันธุข์ า้ วทีด่ ที สี่ ดุ และเป็นสินค้าส่งออกทีส่ �ำคัญของไทยด้วย
ครูน�ำสนทนาด้วยค�ำถามดังนี้ • ท�ำไมข้าว จึงได้ชอื่ ว่าเป็นหญ้าวิเศษ (1. ถามสรุปความคิดและเนือ้ หา) • ข้าวมีความส�ำคัญกับคนไทยอย่างไร (1. ถามสรุปความคิดและ เนื้อหา) • คนไทยส่งข้าวอะไรไปขายต่างประเทศ เพราะอะไร (1. ถามสรุป ความคิดและเนื้อหา)
3. ครูอ่านบทความเรื่องข้าวตอนต่อไปให้นักเรียนฟัง มีนทิ านเล่าว่า เมือ่ ก่อนนีเ้ มล็ดข้าวมีขนาดใหญ่มากและเกิดขึน้ เองในบ้าน ของคน ต่อมามีหญิงใจร้ายคนหนึง่ กวาดเมล็ดข้าวกระเด็นตกลงไปใน หนองน�ำ้ ในป่า แม่โพสพซึง่ เป็นเทพีแห่งข้าวโกรธมาก ไม่ยอมกลับมาเป็น ข้าวให้มนุษย์รับประทานอีก แต่มนุษย์และสัตว์ต่างก็ช่วยกันอ้อนวอน ขอให้เมล็ดข้าวกลับมา แม่โพสพก็ยอมกลับมา แต่มเี งือ่ นไขว่า มนุษย์จะต้อง ปลูกข้าวรับประทานเองตามขัน้ ตอนจนกว่าจะได้เมล็ดข้าว ผู ้ ใ หญ่ ส อนเด็ ก ๆ ว่ า อย่ า ท�ำข้ า วตกเกลื่ อ นกลาด อย่ า เหยี ย บ เมล็ดข้าว เพราะข้าวคือแม่โพสพ และกว่าจะเป็นเมล็ดข้าวได้ ชาวนาก็ เหนื่อยยากที่ปลูกข้าวให้เรากิน ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
109
4. ครูทบทวนความเข้าใจและความสามารถในการจับใจความของ นักเรียน และฝึกการคิดเชื่อมโยง • แม่ โ พสพเป็ น ใคร เกี่ ย วข้ อ งกั บ การปลู ก ข้ า วอย่ า งไร (1. ถามสรุปความคิดและเนื้อหา) • นักเรียนมีความคิดเห็นว่าอย่างไรทีผ่ ใู้ หญ่สอนเด็กๆ ว่า “อย่าท�ำ ข้ า วตกเกลื่ อ นกลาด อย่ า เหยี ย บเมล็ ด ข้ า ว เพราะข้ า วคื อ แม่โพสพ เลี้ยงดูเรามา ชาวนาก็เหนื่อยยากปลูกข้าวให้เรากิน” (3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน)
5. ครูอ่านบทความเรื่อง “ข้าว” ตอนต่อไปให้ผู้เรียนฟัง เมือ่ ก่อนนีย้ งั ไม่มโี รงสีขา้ ว คนไทยน�ำข้าวเปลือกมาต�ำเป็นข้าวสาร ไว้หุงกิน เรียกว่า “ข้าวซ้อมมือ” ข้าวซ้อมมือนี้ยังมีวิตามินและ สารอาหารอยูค่ รบถ้วน การต�ำข้าวต้องใช้แรงงานมาก ใช้คนหลายคน โรงสีข้าวจึงช่วยทุ่นแรงของคนสีข้าวได้มากกว่าการใช้คนต�ำข้าว เวลาน�ำข้าวเปลือกไปสีที่โรงสี ถ้าสีครั้งเดียวเรียกว่า ข้าวกล้อง ท�ำให้ขา้ วกล้องยังมี “จมูกข้าว” และ “สารอาหาร” อยูม่ าก ถ้าสีหลายครัง้ จนเป็น “ข้าวขาว” จมูกข้าวและสารอาหารที่อยู่บนเมล็ดข้าวก็จะหลุด หายไป ข้าวขาวจึงมีสารอาหารน้อยลง ดังนั้นเด็กๆ จึงควรรับประทานข้าวกล้องซึ่งสีเพียงครั้งเดียวและ มีสารอาหารอยู่มาก
ครูกระตุ้นให้นักเรียนทุกคนได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ และพยายาม ถามเชื่อมโยงถึงประสบการณ์จริงที่บ้าน ครูต้องเปิดใจรับฟังค�ำตอบของเด็ก ทุกคน ด้วยความใส่ใจ เพื่อให้เด็กกล้าแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ จากนั้น จึงอธิบายประเด็นที่ครูต้องการให้เด็กเรียนรู้ ครูอธิบายเพิ่มเติม 1. เด็กๆ ควรเห็นคุณค่าของเมล็ดข้าวทีป่ ลูกด้วยความยากล�ำบาก กว่าจะเป็นเมล็ดข้าวต้องผ่านวิธกี ารและเวลาไม่นอ้ ยกว่า 3 เดือน 2. เราควรเห็นใจชาวนาที่เหน็ดเหนื่อยต่อสู้กับปัญหาอุปสรรค ตลอดเวลา ตัง้ แต่ไถนา หว่านข้าวกล้า ปลูก (เผชิญกับศัตรูพชื ฝนแล้ง น�ำ้ ท่วม) เก็บเกีย่ ว ตีขา้ ว ขนข้าวเก็บเข้ายุง้ ฉาง น�ำมา ต�ำหรือ “สี” จึงจะได้ข้าวมากิน มาจ�ำหน่าย 3. เด็กๆ ควรฝึกมารยาทในการรับประทานอาหารอย่างไม่มมู มาม เลอะเทอะ และพอประมาณ รับประทานเท่าใดก็ตักเท่านั้น ไม่เหลือทิ้ง เราควรนึกถึงผู้ที่ยากไร้กว่าเรา 110 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
• •
ถ้าให้นกั เรียนเลือกรับประทานข้าวทีม่ สี แี ดงๆ หรือคล�ำ้ ๆ กับข้าว สีขาวสะอาดตา นักเรียนจะเลือกข้าวสีใด จึงจะเกิดประโยชน์ ต่อร่างกายมากที่สุด (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง) ข้าวซ้อมมือเหมือนหรือต่างจากข้าวกล้องอย่างไร (1. ถามสรุป ความคิดและเนื้อหา)
6. ครูสอบถามความรูส้ กึ และสิง่ ทีน่ กั เรียนได้เรียนรูจ้ ากการฟังบทความ เรื่อง “ข้าว” ดังนี้ • นักเรียนมีความรู้สึกอย่างไรที่ได้รู้เรื่องข้าว (2. ถามความรู้สึก) • นักเรียนได้ข้อคิดอะไรบ้างจากการเรียนเรื่องข้าว (3. ถามเพื่อ สะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
111
• นักเรียนจะน�ำความรู้ ข้อคิดที่ ได้รับ ใช้ประโยชนต่อตนเอง ครอบครัวอย่างไรบ้าง (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง) ข้อคิดที่ควรได้ 1. น�ำความรูไ้ ปบอกเล่า เผยแพร่ให้พอ่ แม่ น้องๆ คนในครอบครัว ได้เห็นใจชาวนาที่เหนื่อยยากล�ำบากในการท�ำนาข้าว ชาวนา มีบุญคุณกับเรามาก ไม่มีชาวนาข้าวก็ขาดแคลน 2. แนะน�ำให้คนในครอบครัว ญาติพี่น้อง และคนอื่นๆ เห็น ประโยชน์ของการรับประทานข้าวกล้อง 3. เวลาทานข้าว ควรตักข้าวพอประมาณ ไม่ ให้ข้าวหกตก เกลื่อนกลาดและเมื่อตักข้าวมาแล้วจะทานให้หมดจาน • เวลานักเรียนเห็นโฆษณาสินค้าที่เป็นขนม บอกว่ามีคุณภาพดี อร่อย รับประทานแล้วเหมือนท�ำจากจมูกข้าว นักเรียนคิดว่าอย่างไร โฆษณานัน้ เชือ่ ได้หรือไม่ เพราะอะไร (6. ถามเพือ่ เชือ่ มโยงกับชีวติ จริง) ครูอธิบายเพิ่มเติม จมูกข้าว คือ ปลายของข้าวที่หลุดออกมาจากเมล็ดข้าว ซึ่งข้าวขาว จะไม่มีจมูกข้าว แต่ข้าวกล้องจะมีจมูกข้าวติดอยู่บางส่วน การน�ำจมูก ข้าวมาท�ำเป็นขนม ต้องผ่านกระบวนการแปรรูปมากมาย คุณค่าทาง อาหารจึงอาจหมดไป การซือ้ ขนมทีโ่ ฆษณาว่าท�ำมาจากจมูกข้าว และให้ประโยชน์เหมือน ข้าวกล้อง จึงไม่เป็นความจริง เราควรซื้อข้าวกล้องมารับประทานเอง ดีกว่า จึงจะได้ประโยชน์เต็มที่ 112 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
7. ครูให้นักเรียนวาดภาพเทพีแห่งข้าวหรือแม่โพสพ ตามจินตนาการ ของนักเรียน แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ว่า แม่โพสพ คือ เทพีแห่งข้าว หรืออาจให้วาดรูปเปรียบเทียบระหว่างข้าวกล้องกับข้าวขาวก็ได้
8.
ครูให้นักเรียนน�ำเสนอภาพที่วาด พร้อมทั้งให้นักเรียนอธิบายภาพ ของตนเองและข้ อ คิ ด เกี่ ย วกั บ ข้ า วที่ อ ยากบอกให้ เ พื่ อ นๆ รั บ รู ้ จากนั้นตั้งค�ำถามเพื่อสรุปกิจกรรมและเนื้อหาที่เรียน • นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากภาพที่เพื่อนวาดและข้อคิดที่ เพื่อนๆ น�ำเสนอ (1. ถามสรุปความคิดและเนื้อหา) • นักเรียนจะน�ำเรือ่ งใดบ้างที่ได้เรียนวันนี้ ไปใช้ทบี่ า้ น เพราะอะไร (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง)
สรุปทักษะชีวิต กิจกรรมนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างค่านิยมเหมาะสม ให้แก่นักเรียน ด้วยการตั้งค�ำถามน�ำเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้คิดสะท้อน วิเคราะห์ เชื่อมโยง และใช้จินตนาการ (องค์ประกอบที่ 2 การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์) ด้วยเนื้อหาการเรียนรู้ที่ ใกล้ตัว นักเรียน ซึง่ ช่วยให้นกั เรียนได้รถู้ งึ ความส�ำคัญของสิง่ ทีพ่ บเห็นได้จนเป็นเรือ่ ง ธรรมดา (ข้าว) ที่มักมองข้ามไป นอกจากจะได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อ การใช้ ชี วิ ต แล้ ว นั ก เรี ย นยั งได้ เ ข้ าใจกลุ ่ ม คนอาชี พ อื่ น ได้ ฝ ึ ก เห็ น ใจใน ความเหนื่อยยาก ได้รับการชี้น�ำให้เห็นคุณค่าในสรรพสิ่งต่างๆ รอบตัว (องค์ประกอบที่ 1 การตระหนักรูแ้ ละเห็นคุณค่าในตนเองและผูอ้ นื่ ) ซึง่ ทัง้ หมด นี้ล้วนเป็นรากฐานส�ำหรับการอยู่ในสังคมด้วยความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ ต่อไป (องค์ประกอบที่ 4 การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น) • • • • •
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
113
สาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุม่ สาระการเรียนรูศ้ ลิ ปะ (สาระที่ 2 ดนตรี) เรือ่ ง ร้องเพลงพืน้ บ้าน
ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 6
เวลาจัดกิจกรรม 2 ชัว่ โมง
1. มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่ 2 ดนตรี มาตรฐาน ศ 2.1 เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ คุ ณ ค่ า ของดนตรี ถ่ า ยทอดความรู ้ สึ ก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระ ชืน่ ชมและประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจ�ำวันได้ ตัวชี้วัด ศ 2.1 ป.6/ 5 เคลือ่ นไหวท่าทางให้สอดคล้องกับอารมณ์ของเพลง ที่ฟัง มาตรฐาน ศ 2.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีทเี่ ป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ตัวชี้วัด ศ 2.2 ป.6/2 ระบุ ค วามส�ำคั ญ และประโยชน์ ข องดนตรี ต่อการด�ำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น
114 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. ขับร้องเพลงไทยสากลได้ถูกต้องตามท�ำนองและจังหวะ 2. เคลือ่ นไหวประกอบเพลงไทยสากลอย่างอิสระตามลีลาอารมณ์เพลง 3. วิเคราะห์ความส�ำคัญของดนตรีได้ 3. เนื้อหาสาระ
: • เพลงร�ำวง • การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะเพลงร�ำวง • ความส�ำคัญของการขับร้องเพลงดนตรีในวิถีชีวิต ของคนในชุมชน
4. สมรรถนะส�ำคัญ : • ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ • ความสามารถในการฟังและสังเกต 5. สื่อการเรียนรู้ : • แผนภูมิเพลงร�ำวงพื้นบ้าน • เทปเพลงร�ำวงพื้นบ้าน 6. ภาระงาน/ชิ้นงาน : • การแสดงความสามารถในการร�ำวงประกอบเพลง ร�ำวงพื้นบ้าน 7. กิจกรรมการเรียนรู้ 1. ครูน�ำนักเรียนสนทนาถึงวัฒนธรรมไทย โดยตั้งค�ำถามเพื่อชวนให้ นักเรียนคิดและน�ำเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
115
•
การแสดงพืน้ บ้านของไทย ทีช่ าวบ้านส่วนใหญ่รจู้ กั และนิยมแสดง ในงานรืน่ เริง เช่น งานบวช งานท�ำบุญขึน้ บ้านใหม่ งานแต่งงาน การแห่ขบวนผ้าป่า กฐิน งานสงกรานต์ มีอะไรบ้าง (1. ถามสรุป ความคิดและเนื้อหา)
ครูสุ่มถามผู้เรียนเพื่อให้ได้ค�ำตอบที่หลากหลาย ค�ำตอบที่เป็นไปได้ • การร�ำวง • การบรรเลงดนตรี • การร้องเพลง • การเต้นตามเพลง • การฟ้อน เป็นต้น
2.
ครูสรุปเนือ้ หาทีน่ กั เรียนตอบ และน�ำเข้าสูป่ ระเด็นการสอน โดยบอก นักเรียนว่า การแสดงพืน้ บ้านทัว่ ไปทีน่ ยิ มมาตัง้ แต่โบราณ คือ การร�ำ ซึ่งมักเป็นการร�ำไปรอบๆ วง เรียกว่า “ร�ำวง” ปัจจุบันมีการฟื้นฟู การร�ำวงที่เรียกว่า “ร�ำวงย้อนยุค”
3. ครูเปิดเพลงร�ำวงให้นักเรียนฟัง พร้อมกับติดแผนภูมิเพลงร�ำวง ซึง่ เป็นเพลงสัน้ ๆ เช่น เพลงร�ำวงดาวพระศุกร์ เพลงใกล้เข้าไปอีกนิด เพลงตามองตา เพลงยวนยาเหล เพลงช่อมาลี เพลงหล่อจริงนะดารา ฯลฯ
4.
เมือ่ จบเพลง ครูซกั ถามความรูส้ กึ ของนักเรียนทีม่ ตี อ่ จังหวะเพลงที่ได้ฟงั • นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับเพลงที่ได้ฟัง (2. ถามความรู้สึก) • นั ก เรี ย นรู ้ สึ ก ว่ า จั ง หวะของเพลงก่ อให้ เ กิ ด อารมณ์ เ ช่ น ใด (2. ถามความรู้สึก)
ค�ำตอบที่เป็นไปได้ • เร้าใจ • คึกคัก • เครื่องดนตรีกระหึ่ม • เนื้อเพลงตรงไปตรงมา • ลูกทุ่งดี หรืออยากลุกขึ้นมาร�ำวง
5.
ครูเปิดเทปเพลงให้นักเรียนเคาะจังหวะตามเพลง แล้วให้นักเรียน สับเปลี่ยนกันเป็นกลุ่มร้อง กลุ่มท�ำจังหวะ และกลุ่มท�ำท่าทาง เคลื่อนไหวประกอบเพลง โดยครูแนะน�ำให้ใช้ท่าร�ำสอดสร้อย มาลาแปลงที่เคยเรียนในชั่วโมงนาฏศิลป์มาแล้ว หรือถ้านักเรียน คนใดร�ำไม่ถูก ก็ให้ท�ำท่าทางการเดิน การโยกตัว การยกมือไปตาม จังหวะได้อย่างอิสระ แต่จะต้องค�ำนึงถึงมารยาท ไม่กระทบกระทั่ง หรือเดินชนกัน เมื่อจบเพลงแล้ว ครูตั้งประเด็นค�ำถามถามนักเรียน • นักเรียนมีความรูส้ กึ อย่างไรที่ได้แสดงออกประกอบจังหวะเพลง (2. ถามความรู้สึก)
ครูเคาะจังหวะตามเพลง และให้นักเรียนเคาะจังหวะตามไปด้วย 116 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
117
• นักเรียนคิดว่าเพลงมีประโยชน์ต่อชีวิตของคนปัจจุบันอย่างไร (3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตนเอง)
ค�ำตอบที่เป็นไปได้ • ท�ำให้คลายความเครียด • ท�ำให้เกิดความมั่นใจ ถ้าขับร้องเพลงได้ดี • เข้าสังคมได้อย่างไม่เคอะเขิน • การร�ำวงได้ท�ำให้ได้รู้จักเพื่อนๆ มากขึ้น
•
จากการแสดงของนักเรียนทุกกลุ่ม นักเรียนคิดว่ามีสิ่งใดบ้างที่ ท�ำให้นักเรียนไม่สนุก ไม่พอใจ หรือไม่สบอารมณ์ นักเรียนคิด ว่ า ควรแก้ ไ ขเรื่ อ งนี้ อ ย่ า งไร (3. ถามเพื่ อ สะท้ อ นความคิ ด มุมมอง ความเชื่อของตน)
ครูเสริมประเด็น ในการร�ำวง หรือในระหว่างกิจกรรมบันเทิงร่วมกับผู้คนมากๆ เราควร 1. ระวังกิริยามารยาท ไม่จาบจ้วงหรือกระทบกระทั่งผู้อื่น 2. ให้ขอโทษหากกระทบกระทั่งกัน 3. ยกโทษให้กันและกัน เพราะทุกคนต่างก�ำลังสนุกสนาน
• หากนักเรียนต้องการไปงานรืน่ เริงในทีส่ าธารณะ ซึง่ มีคนจ�ำนวน มาก นักเรียนควรท�ำอย่างไร เพื่อป้องกันภัยหรือความเสี่ยง ทีอ่ าจเกิดขึน้ ได้ (4. ถามเพือ่ กระตุน้ จินตนาการ ต่อยอดความคิด)
ค�ำตอบที่เป็นไปได้ 1. ตามงานรืน่ เริงในชุมชน อาจมีคนเมาเหล้าอาจขาดสติลวนลามเราได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ให้ยุติการเข้าร่วมแสดงหรือแจ้งให้ผู้ใหญ่ พ่อแม่ทราบ 2. การไปแสดงในงานสาธารณะ จะต้องมีพ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ไปด้วย และกลับบ้านพร้อมพ่อแม่ และผู้ใหญ่ในครอบครัว 3. หากเป็นงานกลางคืน ไม่ควรไปร่วมกิจกรรม เพราะอาจได้รับ อันตรายจากพวกมิจฉาชีพหรืออาจเกิดอุบัติเหตุได้
6.
ครูสรุปประเด็นเนื้อหาที่ ได้เรียนไป ก่อนสิ้นสุดชั่วโมงการเรียน โดยพูดให้นักเรียนเห็นว่า แม้ดนตรีและการเต้นร�ำจะสนุกสนาน คลายเครียด และสร้างสัมพันธภาพได้ แต่ ในยามสนุกก็ ไ ม่ควร ประมาท หรือมองข้ามภัยที่อาจแฝงมากับความสนุกจนลืมยั้งคิด รวมทั้งย�้ำถึงการวางตัวที่เหมาะสมและมารยาทตามงานรื่นเริงในที่ ชุมชน
• หากนักเรียนไปร่วมงานรืน่ เริงในชุมชน นักเรียนควรวางตัวอย่างไร ให้เหมาะสม เพือ่ ไม่ให้เกิดปัญหากระทบกระทัง่ หรือไม่พอใจกัน (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง) 118 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
119
สรุปทักษะชีวิต ทักษะชีวิตที่พัฒนาจากสาระการเรียนรู้ศิลปะได้อย่างไม่มี ข้อสงสัย คือ การจัดการกับความเครียด (องค์ประกอบที่ 3 การจัดการกับ อารมณ์และความเครียด) เพราะศิลปะทุกแขนง คือ ความบันเทิงและสิ่งอัน สร้างความรื่นรมย์ให้แก่มนุษ ย์เรา แต่ศิลปะยังเป็นช่องทางในการแสดง ความเป็นตัวตนของแต่ละคน ทั้งความคิด ความเชื่อ ความรู้สึก และมุมมอง ต่อโลก ศิลปะจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยสะท้อนให้เราเข้าใจตัวเองและผู้อื่นได้ อีกด้วย (องค์ประกอบที่ 1 การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น) ยิ่งเมื่อครูผู้สอนรู้จักการตั้งค�ำถามให้หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้นักเรียน คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และเชื่อมโยงศิลปะเข้ากับชีวิตจริง (องค์ประกอบ ที่ 2 การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์) และ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ท�ำงานร่ ว มกั น (องค์ ป ระกอบที่ 4 การสร้ า ง สัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น) ครูก็จะสามารถพัฒนาทักษะชีวิตทุกองค์ประกอบ ให้แก่นักเรียนได้ในทุกๆ กิจกรรมที่ท�ำ • • • • •
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชัน้ ประถมศึกษาปีที่ 5 กลุม่ สาระการเรียนรูภ้ าษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) เวลาจัดกิจกรรม 1 ชัว่ โมง เรือ่ ง E-Waste Creates Economic, Environmental Problems for Developing Nations 1. มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ต 1.1 เข้ าใจและตี ค วามเรื่ อ งที่ ไ ด้ ฟ ั ง และอ่ า นจากสื่ อ ประเภทต่างๆ และสามารถแสดงความคิดเห็นอย่าง มีเหตุผล ตัวชี้วัดที่ ต 1.1 ป.5/4 บอกใจความส�ำคัญและตอบค�ำถามจากการฟัง และอ่านบทสนทนา นิทานง่ายๆ หรือเรื่องสั้นๆ 2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. นักเรียนสามารถอ่านข่าวได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน 2. นักเรียนสามารถบอกใจความส�ำคัญและตอบค�ำถามจากการอ่านข่าวได้ 3. เนือ้ หาสาระ : ข่ า วเรื่ อ ง “E-Waste Creates Economic, Environmental Problems for Developing Nations” 4. สมรรถนะส�ำคัญ : • ความสามารถในการอ่านและฟังภาษาอังกฤษ • ความเข้าใจสิ่งที่ได้อ่านและฟัง • การคิดวิเคราะห์เนื้อหา
120 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
121
5. สือ่ การเรียนรู้
: • ใบความรู้ เรือ่ ง “E-Waste Creates Economic, Environmental Problems for Developing Nations” • ใบงาน News
2. ครูแจกใบงานที่ 1 เกี่ยวกับข่าว “E-Waste Creates Economic, Environmental Problems for Developing Nations” ให้แก่นกั เรียน และสอนนักเรียนอ่านข่าว โดยอ่านตามครู 1 ครั้ง News2 E-Waste Creates Economic, Environmental Problems for Developing Nations Societies are producing more and more electronic goods, and therefore more and more electronic waste, or e-waste. The United Nations’ Environment Program has released a report that warns of a dangerous rise in the amount of such waste, which is often simply dumped in developing countries, posing health hazards to residents.
6. ภาระงาน/ชิน้ งาน : ผลงานการตอบค�ำถามจากการอ่านข่าว 7. กิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะชีวิต 1. ครูน�ำนักเรียนร่วมสนทนาเกี่ยวกับการอ่านข่าวภาษาอังกฤษ และ เนื้อหาข่าวที่ก�ำลังจะให้นักเรียนอ่าน • นักเรียนคิดว่าการอ่านข่าวมีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร (3. ถามเพือ่ สะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • นักเรียนคิดว่า ภาษาอังกฤษในข่าวเหมือนหรือต่างจากภาษา อั ง กฤษ จากเรื่ อ งราวที่ นั ก เรี ย นอ่ า นในบทเรี ย นอย่ า งไร (3. ถามเพือ่ สะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • ในช่วงนี้ ตามหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ มีขา่ วทางด้านสิง่ แวดล้อม อะไรบ้างทีน่ กั เรียนพบเห็นบ่อยๆ (6. ถามเพือ่ เชือ่ มโยงกับชีวติ จริง)
จุดมุ่งหมายของค�ำถามเหล่านี้ คือ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วม ในการแสดงความคิดเห็น และเพื่อเตรียมนักเรียนเพื่อน�ำเข้าสู่เนื้อหาใน ข่าวที่ครูเตรียมมา (คือ e-wastes กับ environmental problems) ครูจึงอาจเกริ่นน�ำทางนักเรียนระหว่างที่นักเรียนอภิปราย และอาจแทรก ค�ำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง ก่อนการอ่านเรื่อง
122 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
3. ครูสอนค�ำศัพท์ในข่าวโดยแจกใบความรู้ที่ 2 “Vocabulary” อธิบาย ความหมายและหน้าที่ค�ำในประโยคของข่าว แล้วสอนให้นักเรียน อ่านข่าวตามอีกครั้งหนึ่ง
2
Voice of America. E-Waste Creates Economic, Environmental Problem for Developing Nations. (February 23, 2010). Available from http://www1.voanews. com/english/news/science-technology/Indonesian-E-Waste-85035327.html ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
123
4. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียน แล้วให้ร่วมกันศึกษาข่าว และตอบค�ำถามจาก ใบงาน
5.
ตัวอย่างค�ำถามในใบงาน Please answer the following questions about the news. 1. What is the problem of the developing countries? 2. Why is electronic waste dangerous? 3. Why is there more and more e-waste in these countries? นักเรียนแต่ละกลุม่ น�ำเสนอเนือ้ หาของข่าวและค�ำตอบของค�ำถามใน ใบงาน และอภิปรายร่วมกัน • รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับข่าวที่อ่าน (2. ถามความรู้สึก) • นักเรียนเคยพบเห็นขยะอิเล็กโทรนิกส์หรือไม่ ขยะอิเล็กโทรนิกส์ ได้แก่อะไรบ้าง (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง) • นักเรียนคิดว่า ท�ำไมขยะอิเล็กโทรนิกส์จึงเป็นอันตรายต่อ สิง่ แวดล้อม (3. ถามเพือ่ สะท้อนความคิด มุมมอง ความเชือ่ ของตน) • ถ้าขยะอิเล็กโทรนิกส์ยงั คงเพิม่ มากขึน้ เรือ่ ยๆ โดยที่ไม่มกี ารแก้ไข นั ก เรี ย นคิ ด ว่ า จะเกิ ด อะไรขึ้ น กั บ พวกเราและโลกของเรา (4. ถามเพื่อกระตุ้นจินตนาการ ต่อยอดความคิด) • ในชีวิตประจ�ำวันพวกเราก่อให้เกิดขยะอิเล็กโทรนิกส์ได้อย่างไร และตัวเราจะท�ำอะไรได้บ้าง เพื่อช่วยลดขยะอิเล็กโทรนิกส์ (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง)
124 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
*ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอภิปรายอย่างอิสระโดยให้ทุกคน มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ครูอาจแทรกค�ำศัพท์ วลี หรือประโยคภาษา อังกฤษที่น่าสนใจ ระหว่างการอภิปรายด้วย
7.
ครู ใ ห้ เ วลานั ก เรี ย นแต่ ล ะกลุ ่ ม น�ำความคิ ด ที่ ไ ด้ อ ภิ ป รายไป มา ออกแบบโปสเตอร์ โดยใช้ค�ำภาษาอังกฤษง่ายๆ พร้อมรูปประกอบ เพื่อชี้ ให้เห็นภัยของขยะอิเล็กโทรนิกส์ และรณรงค์ให้ร่วมกันช่วย ลดขยะอิเล็กโทรนิกส์
8.
นักเรียนแต่ละกลุ่มเสนอผลงานของตน (เป็นภาษาอังกฤษ) ครูตั้ง ค�ำถามเพื่อสรุปเนื้อหาที่ได้เรียน • นักเรียนได้ข้อคิดอะไรบ้างจากบทเรียนวัน นี้ และความคิด เกี่ ย วกั บ ขยะอิ เ ล็ ก โทรนิ ก ส์ ที่ เ พื่ อ นๆ ได้ ร ่ ว มกั น น�ำเสนอ (1. ถามสรุปความคิดและเนื้อหา) • นั ก เรี ย นชอบความคิ ด ของกลุ ่ ม ใดเป็ น พิ เ ศษ เพราะอะไร (3. ถามเพื่อสะท้อนความคิด มุมมอง ความเชื่อของตน) • นักเรียนได้ประโยชน์อะไรบ้าง จากการเรียนเรือ่ ง ขยะอิเล็กโทรนิกส์ จากข่าวภาษาอังกฤษ และจะน�ำไปใช้อะไรได้บ้างในชีวิตจริง (6. ถามเพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตจริง)
แม้เนื้อหาที่เรียนจะเป็นเรื่องของขยะอิเล็กโทรนิกส์ แต่ครูก็ควร สอดแทรกให้นกั เรียนตระหนักถึงความส�ำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อค้นหาความรู้ต่างๆ และขยายมุมมองโลกทัศน์ของนักเรียนให้ กว้างขึ้น โดยเฉพาะจากการอ่านข่าว ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
125
สรุปทักษะชีวิต สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมักเน้นไปที่การสื่อสาร ซึง่ เป็นพืน้ ฐานในการสร้างสัมพันธภาพอยูแ่ ล้ว โดยเฉพาะจากการฝึกสนทนา พูดคุย และท�ำงานกลุ่ม (องค์ประกอบที่ 4 การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น) แต่สื่อการเรียนภาษาซึ่งมักเป็นเนื้อหาเรื่องราวให้อ่าน ก็มักบรรจุเรื่องราว ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ทักษะชีวิตทุกองค์ประกอบได้ หากครูผสู้ อนฉลาดในการเฟ้นหาบทความ เรือ่ งราว ทีน่ า่ สนใจ เข้ากับยุคสมัย และให้ ข ้ อ คิ ด ที่ เ ป็ น ประโยชน์ กั บ นั ก เรี ย น และหมั่ น ตั้ ง ค�ำถามทุ ก แบบ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ (องค์ประกอบที่ 2 การคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์) นักเรียนก็จะได้เรียนรู้ ทักษะชีวิตทุกองค์ประกอบไปพร้อมกับฝึกการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ • • • • •
126 ภาคที่สาม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่ “ทักษะชีวิต”
บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ. ส�ำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. 2554. การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ. ส�ำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. 2554. (ร่าง) แนวทางการพัฒนา ทักษะชีวติ บูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุม่ สาระการเรียนรู้ หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ำกัด.
IX
ขอขอบคุณ ผู้ตรวจสอบเนื้อหาวิชาการ อ.จงกล ทรัพย์สมบูรณ์ คณะผู้จัดท�ำ นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อ.อุบลวรรณ แสนมหายักษ์ อ.ประคอง กลิ่นจันทร์ อ.มาลี มะโนหาญ อ.จันทนา หน่อสุวรรณ อ.ดรรชนี จันทร์ค�ำ อ.กาญจณีย์ ธีระเดช อ.จ�ำเรียง ประดับเวทย์ ดร.มยุรี ด้วงศรี ผู้ร่วมถ่ายทอดเนื้อหา อ.อัจฉรา เด่นตระกูล อ.ทรงศรี นารินทร์ อ.ธนารักษ์ ปั้นเทียน
X
อดีตผู้บริหารโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย นายแพทย์ทรงคุณวุฒกิ รมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และ ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนาทักษะชีวิตในหลักสูตรและการสอน ครูช�ำนาญการพิเศษ โรงเรียนธารทองวิทยา (ป่ารวก) จังหวัดเชียงราย ครูช�ำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านแม่ข้าวต้มท่าสุด จังหวัดเชียงราย ครูช�ำนาญการ โรงเรียนบ้านแม่ขา้ วต้มท่าสุด จังหวัดเชียงราย ครูช�ำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ครูช�ำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ครูช�ำนาญการ โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี ครู ช�ำนาญการพิ เ ศษ โรงเรี ย นสั น ป่ า ยางวิ ท ยาคม จังหวัดเชียงใหม่ อดีตครูโรงเรียนบ้านแม่ข้าวต้มท่าสุด จังหวัดเชียงราย ครูช�ำนาญการพิเศษ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย ครูช�ำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงราย จรูญราษฎร์) จังหวัดเชียงราย
บรรณาธิการและเรียบเรียง ธีร์ ทิพกฤต คณะกรรมการก�ำกับทิศแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต ภายใต้ส�ำนักสนับสนุนการสร้างสุขภาวะ และลดปัจจัยเสี่ยงรอง ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม ประธานกรรมการ นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ กรรมการ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา กรรมการ อธิบดีกรมสุขภาพจิต (นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์) กรรมการ นพ.อภิชัย มงคล กรรมการ นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กรรมการ นายสุจิตต์ ไตรพิทักษ์ กรรมการ พระดุษฎี เมธังกุโร กรรมการ ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ กรรมการ ผศ.ดร.พิมพา ขจรธรรม กรรมการ อ.อนุสรณ์ ศรีแก้ว กรรมการ ดร.นิษฐา หรุ่นเกษม กรรมการ ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ กรรมการ คณะท�ำงานแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล น.ส.เอกอนงค์ สีตลาภินันท์ น.ส.ภณิดา ชนวิทยาสิทธิกุล น.ส.ดัชนี อวมสนอง นางสิมาพร มาแก้ว นายพิชิต วงศ์สุนธิ
นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และ ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต ผู้ช่วยผู้จัดการแผนงาน นักวิชาการบริหารแผนงาน เจ้าหน้าที่บัญชี การเงิน และพัสดุ เจ้าหน้าที่ข้อมูลเครือข่าย เจ้าหน้าที่สารสนเทศ XI