sanfun02

Page 1

ก้าวสู่ฝัน

ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม 2555

สร้างสุขภาพดีด้วยวิถีชีวิตไทย รู้ทันโรคไม่ติดต่อ

ลดเค็ม ครึง่ หนึง่

คนไทย ห่างไกลโรค

น�ำ้ พริกเห็ดหอม สูตรลดเค็ม ชาวพิจติ ร เฮได้ ลดเค็ม ไร้โรคภัย สังคมไทย ไร้เบาหวาน และความดันโลหิตสูง ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ


จากใจบก. วารสารก้าวสู่ฝัน ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม 2555 เจ้ า ของ : แผนงานเครื อ ข่ า ยควบคุ ม โรคไม่ ติ ด ต่ อ

A multi - sectoral network for non - communication diseases control (NCD network) ทีต่ ง้ั สำ�นักงาน : สำ�นักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ อ า ค า ร ค ลั ง พั ส ดุ ชั้ น 3 ถ น น ส า ธ า ร ณ สุ ข 6 กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 0-2590-2370 โทรสาร 0-2590-2370 www.thaincdnet.com

วัตถุประสงค์ของ NCD network

1. ส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด การประสานความร่ ว มมื อ ระหว่างภาคส่วนต่างๆ ที่ทำ�งานเรื่องควบคุมป้องกันโรค ไม่ ติ ด ต่ อ ทั้ ง ที่ เ ป็ น หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ยวข้ อ งกั บ สาธารณสุ ข โดยตรงและไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง 2. ส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งในด้านนโยบาย แผนงาน และมาตรการที่จะป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำ�คัญ 5 โรค คือโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งและโรคปอดเรื้อรัง 3. ส่ ง เสริ ม ให้ ค วามเข้ ม แข็ ง ในเรื่ อ งระบบ การติดตามและประเมิน ผลของนโยบายและมาตรการที่ใช้ เพื่อควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ 4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ และหามาตรการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยง ที่สำ�คัญของโรคไม่ติดต่อคือ การสูบบุรี่ การดื่มสุราที่ทำ�ให้ เกิดอันตรายต่อสุขภาพ การบริโภคอาหารทีไ่ ม่เหมาะสมและ การขาดการออกกำ�ลังกาย 5. สนั บ สนุ น การศึ ก ษาวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วกั บ การ ควบคุมปัจจัยเสี่ยงและควบคุมโรคไม่ติดต่อ บรรณาธิการบริหาร ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ กองบรรณาธิการ นพ.ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย นธีรัตน์ ธรรม์โรจน์ ทวีวรรณ สัมพันธสิทธิ์ ดนยา วสุวัต ภัทราภรณ์ สอนคำ�มี เมธาพร เสนคำ� ณัฐวดี ศรีส่ง ออกแบบ / รูปเล่ม บริษัท เฮลท์ แชนแนล จำ�กัด เพลท / พิมพ์ บริ ษัท 168 พริ้นท์ติ้ง จำ�กัด จำ�นวนพิมพ์ 10,000 เล่ม

วัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน ฉบับนี้ผมอยากจะให้ข้อมูล ที่สำ�คัญ ทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งการควบคุมป้องกันโรคไม่ตดิ ต่อ ว่าในปีนที้ างองค์การอนามัยโลก กำ�ลังจัดทำ�ตัวชี้วัดและเป้าหมาย ที่แนะนำ�ให้ประเทศต่างๆ ต้องติดตาม ดำ�เนินการปรับปรุงมีตัวที่สำ�คัญที่เขาต้องกำ�หนดเป็นตัวชี้วัดพร้อมเป้าหมาย 5 ตัว คือ 1. อัตราตายของโรคไม่ติดต่อที่สำ�คัญ (มี 4 โรค คือ โรคหัวใจ และหลอดเลือด, เบาหวาน, มะเร็ง และโรคปอดเรื้อรัง) มีเป้าหมายให้ลดลง ร้อยละ 25 2. ระดับความดันโลหิต มีเป้าหมายให้ลดลง ร้อยละ 25 3. การสูบบุหรี่ มีเป้าหมายให้ลดลง ร้อยละ 30 4. การบริโภคเกลือ (โซเดียม) มีเป้าหมายให้ลดลง ร้อยละ 30 5. สัดส่วนของผู้ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอให้ ลดลงมากกว่า ร้อยละ 10 ทั้ ง นั้ น เป้ า หมายดั ง กล่ า วควรจะต้ อ งบรรลุ ภ ายในปี ค.ศ.2025 หรือในอีก 13 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามพบว่าประเทศไทยและอีกหลายๆ ประเทศได้ เ สนอให้ เ พิ่ ม ตั ว ชี้ วั ด พร้ อ มเป้ า หมายในเรื่ อ ง อ้ ว น การบริ โ ภค แอลกอฮอล์ การบริโภคไขมัน และการได้รับยารักษาโรคไม่ติดต่อที่จำ�เป็น อย่างทั่วถึงเข้าไปด้วย เพราะเชื่อว่าการมีตัวชี้วัดแต่ไม่มีเป้าหมายนั้นจะทำ�ให้ การดำ�เนินการป้องกันหรือแก้ไขตามตัวชีว้ ดั ทีก่ �ำ หนดมานัน้ ได้ผลน้อย ซึง่ เท่าทีด่ ู พบว่ารัฐบาลไทยได้ดำ�เนินการในการควบคุมป้องกันอย่างจริงจังเกือบทุกตัว ชี้วัดแล้วมากบ้างน้อยบ้างตามแต่กำ�ลังความสามารถที่มีอยู่ อย่ า งไรก็ ดี พ บว่ า มี ตั ว ชี้ วั ด เรื่ อ งที่ เ กี่ ยวกั บ อาหารเพี ย งตั ว เดี ยวที่ ถู ก นำ � มากำ � หนดเป้ า หมายด้ ว ยคื อ เรื่ อ งการลดการบริ โ ภคเกลื อ ซึ่ ง จากที่ ค้นเอกสารวิชาการก็พบว่าเรื่องการลดการบริโภคเกลือ หรือ การลดเค็มนั้น เป็นเรื่องที่ได้รับการเน้นย้ำ�ว่าเป็นมาตรการที่คุ้มค่าในการดำ�เนินการเพราะ จะสามารถลดอัตราป่วย อัตราตายของประชาชนลงได้อย่างมาก โดยใน ประเทศอังกฤษมีการศึกษาพบว่า การลดการบริโภคเกลือเฉลี่ยของประชากร ลง 1 กรัมต่อคนต่อวัน จะสามารถลดการป่วยจากการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหัวใจลงได้กว่า 6,000 รายต่อปี ปัจจุบันข้อมูลจากกรมอนามัยพบว่า ประชาชนไทยมีการบริโภคเกลือประมาณ 10.8 กรัมต่อคนต่อวันซึ่งมากกว่า ค่าที่องค์การอนามัยโลกกำ�หนดไว้ที่ 5 - 6 กรัมต่อคนต่อวันมาก วารสารก้าวสูฝ่ นั ฉบับนีจ้ งึ นำ�เรือ่ งราวเกีย่ วกับการลดการบริโภคเกลือ หรือ การลดเค็มมาฝากท่านผู้อ่านกันครับ

ต้องการเผยแพร่กจิ กรรมเครือข่าย ส่งภาพและข้อความมาที่ E-mail : kjmnumfon@hotmail.com และ nsrisong@hotmail.com

นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ ผู้จัดการแผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ 2

กรกฎาคม 2555


กิจกรรม สธ.

ซ้อมแผนเผชิญอุทกภัย

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตรวจเยี่ยมและชมการสาธิต แผนเผชิญเหตุอทุ กภัยของอำ�เภอเสนา ณ บริเวณโรงเรียนวัดโพธิ์ (ลิง) ต.บ้านแพน อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา โดย นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข นายแพทย์สรุ วิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีชว่ ยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมต้อนรับ ซึ่งในครั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้เข้าร่วมซ้อมแผนโดยจำ�ลองเหตุการณ์สถานการณ์ระดับน้�ำ ขึ้นสูง และจำ�เป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โดยเคลื่อนย้ายทางเรือ ไปจุดนัดหมายเพือ่ ส่งต่อเฮลิคอปเตอร์ไปยังศูนย์โรคหัวใจ รวมทัง้ การตัง้ หน่วยแพทย์ เคลื่อนที่ ที่บริเวณศูนย์พักพิงชั่วคราว และอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน หรือ อสม. เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยด้วย

กีฬาสาธารณสุขสามัคคี ครั้งที่ 33

เดิน - วิ่ง ขจัดภัยบุหรี่

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ส่งมอบ คบเพลิงแก่ นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต นักกีฬา อาวุโส วิ่งนำ�คบเพลิงไปจุดที่กระถางคบเพลิง ระหว่างเป็นประธานเปิดการ แข่งขัน กีฬาสาธารณสุขสามัคคี ครั้งที่ 33 ประจำ�ปี 2555 โดยมีนายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการและ เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขจากทั่วประเทศ ร่วมพิธีกว่า 1,500 คน เพื่อ ส่งเสริมให้บุคลากรสาธารณสุขออกกำ�ลังกาย สร้างสุขภาพและเป็นแบบอย่าง การออกกำ�ลังกายด้วย

นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเดิน ออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพ ภายหลังเป็นประธานเปิดการแข่งขัน และปล่อยตัว นักกีฬาเดิน - วิ่ง โครงการ “ทีมสุขภาพร่วมใจ เดิน - วิ่ง ขจัดภัยบุหรี่” เนื่องใน วันงดสูบบุหรี่โลก เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำ�คัญของการ ออกกำ�ลังกาย และลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี

วันรวมใจสลายพุง ปี 2555

นายแพทย์สรุ วิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีชว่ ยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย ร่วมกันแถลงข่าวการจัด กิจกรรม “วันรวมใจสลายพุง ปี 2555” ชวนคนไทย ชาย หญิง ที่น้ำ�หนักเกิน มาตรฐานมาลดน้ำ�หนักสร้างสุขภาพดีป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง และหัวใจเป็นต้น ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เชิดชูเกียรติ อสม.

นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ ร่วมงาน เชิดชูเกียรติ อสม. เนือ่ งในวันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ซึง่ ตรงกับ วันที่ 20 มีนาคม ทุกปี โดยมีผบู้ ริหารกระทรวงสาธารณสุขทัง้ ส่วนกลางและภูมภิ าคและตัวแทน อสม. จากทั่วประเทศ ร่วมงาน ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ

ต้องการเผยแพร่กจิ กรรมเครือข่าย ส่งภาพและข้อความมาที่ E-mail : kjmnumfon@hotmail.com และ nsrisong@hotmail.com กรกฎาคม 2555

3


สังคมเครือข่าย

“พลังท้องถิน่ สร้างให้คนลำ�สนธิไม่ทอดทิง้ กัน”

จังหวัดลพบุรี นับเป็นอีกหนึ่งเมืองท่องเที่ยวสำ�คัญของไทย ซึ่งสถานที่ๆ ได้รับความนิยมก็เช่น ทุ่งทานตะวัน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ คนส่วนใหญ่จึงมักจะรู้จักและคุ้นหูชื่ออำ�เภอใน จ.ลพบุรี เพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น หนึ่งในอำ�เภอซึ่งชื่อไม่คุ้นหูและไม่เป็นรู้จักมากนักคือ “อำ�เภอลำ�สนธิ” เพราะที่นี่ไม่ได้มีทุ่งทานตะวันบานสะพรั่ง เฉกเช่นอำ�เภออื่นๆ ของจังหวัด... แต่สิ่งที่ อ.ลำ�สนธิ มีและเชื่อว่ามีเหนือกว่าอีกหลายอำ�เภอและหลายจังหวัด คือ ความร่วมแรงร่วมใจและความเข้มแข็งของคนในชุมชน จนเป็นที่มาของคำ�กล่าวที่ว่า “คนลำ�สนธิไม่ทอดทิ้งกัน” และบุคคลที่อยู่เบื้องหลังซึ่งเป็นแรงผลักดันสำ�คัญให้ชุมชนคนลำ�สนธิเข้มแข็งเช่นวันนี้ได้ โดยใช้หลักคิดที่ว่า “การสร้างคน (ทีม) สร้างงาน” ก็คือ “นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลลำ�สนธิ จ.ลพบุรี” ซึ่งท่านได้รับ รางวัลแพทย์ชนบทดีเด่น ประจำ�ปี 2554 ลำ�สนธิ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดลพบุรีประมาณ 120 กม. ประกอบด้วย 6 ตำ�บล โดยมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำ�บล (รพ.สต.) จำ�นวน 7 แห่ง และโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง 1 แห่ง คือโรงพยาบาลลำ�สนธิ ปัจจุบันดูแลประชากร ประมาณ 30,000 คน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุประมาณ 2,000 คน, ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะที่ต้องพึ่งพิง ประมาณ 1,000 คน และจากการสำ�รวจพบว่ามีผู้พิการในพื้นที่ 724 คน จากการทำ�งานและคลุกคลีอยู่ในชุมชนมากว่า 10 ปี ทำ�ให้ นพ.สันติ ลาภเบญจกุล ได้มีโอกาสเห็นภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสในชุมชน จึงเกิดแนวคิดนอกกรอบ อันเป็นที่มาของทีมงานเชิงรุกที่ดูแลถึงบ้าน สำ�หรับ ผู้สูงอายุที่พึ่งพิง และผู้พิการ โดยการทำ�งานตั้งต้นจากทีมสาธารณสุขก่อน ซึ่งกลไกการทำ�งานหลัก ใช้นักกายภาพบำ�บัด ทีม่ อี ยู่ กระจายกันลงพืน้ ที่ ดูแลประชาชนทีต่ อ้ งการฟืน้ ฟูดา้ นการเคลือ่ นไหว แบ่งเขตตำ�บลรับผิดชอบครอบคลุมทัว่ ทัง้ อำ�เภอ ทำ�งานเป็นระบบร่วมกับนักกิจกรรมบำ�บัด, นักจิตวิทยา, นักอุปกรณ์บำ�บัด, พยาบาล, ทีมสหวิชาชีพ, ทีมแพทย์, เภสัชกร, เจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขและพยาบาลจาก รพ.สต.ทัง้ 7 แห่ง โดยยึดหลักชุมชนเป็นฐาน บริการเชิงรุกทีบ่ า้ น และการดูแลทีต่ อ่ เนือ่ ง การทำ�งานดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุนี้ก้าวข้ามเส้นแบ่งคำ�ว่างานสาธารณสุข หรือ งานของหมอไปสู่งานของชุมชน และท้องถิ่น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ความช่วยเหลือตามสภาพปัญหาที่ซับซ้อนของแต่ละคน ตรงนี้ได้รับ ความร่วมมืออย่างดียงิ่ จากองค์การบริหารส่วนตำ�บล (อบต.) ในเขตอำ�เภอลำ�สนธิทกุ แห่ง ซึง่ เห็นถึงความทุกข์ยากของชาวบ้าน เมื่อร่วมกันไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่พิการจากการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต อุบัติเหตุ หรือ ผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองลำ�บาก ทาง อบต. กับทางภาคสาธารณสุขจึงมาร่วมมือกันแก้ปญ ั หาโดยทาง อบต.เป็นผูส้ นับสนุนงบประมาณจ้าง นักบริบาล 1 คนต่อ 1 หมูบ่ า้ น ให้มาช่วยดูแลผู้ป่วยเต็มเวลาวันละ 8 ชั่วโมง รับผิดชอบในเขตหมู่บ้านตนเอง โดยทางโรงพยาบาล และ รพ.สต.ได้ช่วยทำ�การ ฝึกพื้นฐานการดูแลผู้ป่วยให้ และทีมงานสาธารณสุขยังคงคอยเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุนอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ทาง อบต.ยังมี การสนับสนุนปรับเปลี่ยนสภาพภายในบ้านผู้ป่วยให้สอดคล้องกับความจำ�เป็นของแต่ละคน เช่น การสร้างส้วมอยู่บนบ้าน ให้การต่อเติมราวสำ�หรับช่วยเดินให้ผปู้ ว่ ย เป็นต้น ซึง่ ช่วงแรกๆ ทางท้องถิน่ เองอาจจะไม่มนั่ ใจ เกรงว่าการใช้งบฯ จะผิดระเบียบ การใช้จ่ายงบประมาณ จึงได้มีการปรึกษาไปยังทางจังหวัดและอำ�เภอ โดยมีการร่วมประชุมมีข้อสรุปว่าดำ�เนินการได้ ทั้งนี้ เพื่อความผาสุกของประชาชน การใช้จ่ายงบฯ จึงทำ�ตามระเบียบ ผ่านการอนุมัติจากสภาตามระบบปกติของ อบต. จะเห็นได้ว่าความร่วมมือจากภาคส่วนนอกสาธารณสุขโดยเฉพาะท้องถิ่น ถือเป็นจุดสำ�คัญที่ทำ�ให้งานพัฒนา คุณภาพชีวติ ของประชาชนผูด้ อ้ ยโอกาสตามชุมชนหรือหมูบ่ า้ นต่างๆ เป็นไปได้ดี คือ ประชาชนไม่ถกู ทอดทิง้ ได้มคี ณ ุ ภาพ ชีวิตที่ดีตามสมควร ชุมชนก็จะเป็นชุมชนที่น่าอยู่ เพราะทุกคนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 4

กรกฎาคม 2555


วิชาการน่ารู้

ผลกระทบของการบริโภคอาหารรสเค็มต่อสุขภาพ พญ.กชรัตน์ วิภาสธวัช ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำ�คัญของคนไทย จากการศึกษา พบว่ามีประชากรไทยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 7 ล้านคน ส่วนมากเป็นระยะเริ่มต้น และไม่มอี าการ ซึง่ ถ้าไม่ได้รบั การรักษาทีถ่ กู ต้อง จะเกิดการเสือ่ มของการทำ�งานของไต นำ�ไปสูภ่ าวะไตวาย หลักสำ�คัญในการดูแลรักษาผูป้ ว่ ยโรคไตเรือ้ รังคือ การชะลอการเสือ่ ม ของไตทำ�ได้โดยควบคุมความดันโลหิต รักษาเบาหวานและลดภาวะโปรตีนรัว่ ในปัสสาวะ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจและหลอดเลือด อุปสรรคที่สำ�คัญที่ทำ�ให้การควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ตามเป้าหมาย คือ การบริโภคเกลือหรือน้�ำ ปลาปริมาณมากเกินไป โดยเฉพาะคนไทยมีพฤติกรรมการบริโภคเกลือ สูงถึง 2 เท่าของปริมาณที่ร่างกายต้องการ และผลเสียที่ติดตามมากับอาหารเค็ม ก็คือ “โซเดียม” สูง ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงมีผลเสียทั้งทำ�ให้ความดันโลหิตสูง เพิม่ การรัว่ ของโปรตีนในปัสสาวะ และยังมีผลเสียต่อไตโดยตรง จากการศึกษาพบว่า คนทีร่ บั ประทานอาหารทีม่ โี ซเดียมสูงเป็นประจำ� มีโอกาสเป็นโรคหัวใจและเสียชีวติ สูงกว่าคนที่รับประทานอาหารที่มีโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสม ดังนั้นเราจึงควร มาทำ�ความรู้จักกับโซเดียม เพื่อให้ทราบถึงบทบาทที่มีต่อร่างกาย และวิธีการลด ปริมาณโซเดียมในอาหารได้อย่างถูกต้อง

โซเดียมคืออะไร

โซเดีย มเป็นหนึ่งในเกลือแร่ที่สำ�คัญในร่างกาย ทำ�หน้าที่ควบคุม การกระจายตัวของน้ำ�ในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ควบคุมสมดุลของกรดด่าง ควบคุมการเต้นของหัวใจและชีพจร มีผลต่อความดันโลหิต การทำ�งานของ เส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ร่างกายของเราได้รับโซเดียมจากอาหารซึ่งมักอยู่ใน รูปของเกลือ โซเดียมคลอไรด์ ทำ�ให้มีรสชาติเค็ม มักใช้เพื่อปรุงรสหรือถนอมอาหาร เช่น น้ำ�ปลา กะปิ นอกจากนี้โซเดียมยังแฝงในอาหารรูปอื่นแต่ไม่มีรสชาติเค็ม เช่น ผงชูรส ผงฟู

ผลของการรับประทานโซเดียมสูงต่อร่างกาย

1. เกิดการคั่งของน้ำ�ในอวัยวะต่างๆ แม้ว่าโซเดียมมีความจำ�เป็นต่อร่างกาย แต่หากมีโซเดียมมากเกินไปทำ�ให้ เกิดการคั่งของน้ำ�ในร่างกาย ในผู้ที่สุขภาพแข็งแรง ไตยังสามารถกำ�จัดเกลือส่วนเกินได้ทัน แต่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังซึ่งมักจะ ไม่สามารถกำ�จัดน้ำ�และเกลือส่วนเกินในร่างกายได้ จะเกิดภาวะคั่งของเกลือและน้ำ�ในอวัยวะต่างๆ เช่น แขนขา หัวใจ และ ปอด ผลคือทำ�ให้แขนขาบวม เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ ในผู้ป่วยโรคหัวใจน้ำ�ที่คั่งในร่างกายจะทำ�ให้เกิดภาวะ หัวใจวายมากขึ้น 2. ทำ�ให้ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด การรับประทานโซเดียมมากเกินทำ�ให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คนอ้วน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ภาวะความดันโลหิตสูงทำ�ให้เกิดผลเสีย ต่อหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ และสมอง เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมา พบว่า ในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้วหากรับประทานโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสมควบคู่กับยาลดความดันโลหิต สามารถ ลดความดันโลหิตได้ดีกว่าผู้ที่รับประทานยาลดความดันโลหิตแต่ได้รับโซเดียมเกินกำ�หนด 3. เกิดผลเสียต่อไต จากการที่มีการคั่งของน้ำ�และความดันโลหิตสูง ทำ�ให้ไตทำ�งานหนักขึ้นเพื่อเพิ่มการกรอง โซเดียมและน้ำ�ส่วนเกินของร่างกาย ผลที่ตามมาคือเกิดความดันในหน่วยไตสูงขึ้น และการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะมากขึ้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารที่ทำ�ให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น กรกฎาคม 2555

5


โซเดียมอยู่ ในอาหารประเภทใดบ้าง

อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงส่วนใหญ่มักมีรสชาติเค็ม นอกจากนี้ยังมีอาหารที่มีโซเดียมสูงแต่ไม่เค็ม ซึ่งเรียกว่า มีโซเดียมแฝง ทำ�ให้เรารับโซเดียมโดยไม่รตู้ วั ดังนัน้ จึงควรทำ�ความรูจ้ กั อาหารประเภทนีไ้ ว้ดว้ ย สามารถแบ่งอาหารทีม่ โี ซเดียม เป็นส่วนประกอบได้ดังนี้ 1. อาหารแปรรูปหรือการถนอมอาหาร ได้แก่ อาหารกระป๋องทุกชนิด อาหารหมักดอง อาหารเค็ม อาหาร ตากแห้ง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักดอง ผลไม้ดอง เป็นต้น 2. เครื่องปรุงรสชนิดต่างๆ ได้แก่ เกลือ (ทั้งเกลือเม็ดและเกลือป่น) น้ำ�ปลา มีปริมาณโซเดียมสูง คนที่ต้อง จำ�กัดโซเดียมไม่ควรทาน ซอสปรุงรสต่างๆ เช่น ซีอิ๊วขาว เต้าเจี้ยว น้ำ�บูดู กะปิ ปลาร้า ปลาเจ่า เต้าหู้ยี้ ซอสหอยนางรม ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำ�จิ้มต่างๆ ซอสเหล่านี้แม้จะมีปริมาณโซเดียมไม่มากเท่าน้ำ�ปลา แต่คนที่ต้องจำ�กัดโซเดียมก็ต้อง ระวังไม่กินมากเกินไปด้วย 3. ผงชูรส แม้เป็นสารปรุงรสที่ไม่มีรสเค็ม แต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยประมาณร้อยละ 15 4. อาหารกระป๋องต่างๆ เช่น ผลไม้กระป๋อง ปลากระป๋อง และอาหารสำ�เร็จรูปต่างๆ ขนมกรุบกรอบ เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้มีการเติมเกลือหรือสารกันบูด ซึ่งมีโซเดียมในปริมาณที่สูงมาก 5. อาหารกึ่งสำ�เร็จรูป เช่น บะหมี่ โจ๊ก ข้าวต้ม ซุปต่างๆ ทั้งชนิดก้อนและชนิดซอง 6. ขนมต่างๆ ที่มีการเติมผงฟู (Baking Powder หรือ baking Soda) เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง ซึ่งผงฟูที่ใช้ในการทำ�ขนมเหล่านี้มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ (โซเดียมไบคาร์บอเนต) รวมถึงแป้งสำ�เร็จรูป ที่ใช้ทำ�ขนมเอง ก็มีโซเดียมอยู่ด้วย เพราะได้ผสมผงฟูไว้แล้ว 7. น้ำ�และเครื่องดื่ม น้ำ�ฝนเป็นน้ำ�ที่ปราศจากโซเดียม แต่น้ำ�บาดาลและน้ำ�ประปามีโซเดียมปนอยู่บ้าง ในจำ�นวน ไม่มากนัก ส่วนเครือ่ งดืม่ เกลือแร่มกั มีการเติมสารประกอบของโซเดียมลงไปด้วย เพราะมีจดุ ประสงค์ ให้เป็นเครือ่ งดืม่ สำ�หรับ นักกีฬาหรือผู้ที่สูญเสียเหงื่อมาก ส่วนน้ำ�ผลไม้บรรจุกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ก็มักมีการเติมสารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) ลงไปด้วย ทำ�ให้น้ำ�ผลไม้เหล่านี้มีโซเดียมสูง วิธีหลีกเลี่ยงคือ ดื่มน้ำ�ผลไม้สดจะดีกว่า

รายงานพิเศษ

งานวันไตโลก 2555

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิโรคไต แห่งประเทศไทย, มูลนิธิสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์กระทรวงสาธารณสุข, สำ�นักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, องค์การเภสัชกรรม, ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ชมรมพยาบาลโรคไตแห่งประเทศไทย และสมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย จัดงานวันไตโลก ประจำ�ปี 2555 ณ ลานรามาฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้า เอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ในปีนี้ มีการจัดงานภายใต้แนวคิด “บริจาคไต ช่วยได้ 2 ชีวิต” มีการรณรงค์บริจาคไตและอวัยวะ สาธิต การทำ�อาหารเมนูอร่อยดีต่อสุขภาพไต ฟังปาฐกถาธรรม เรื่อง “บริจาคไต ได้กุศลแรง” รวมทั้งตรวจสุขภาพ และ ตรวจคัดกรองสุขภาพไต(ฟรี) พร้อมชมการแสดงดนตรี และขับร้องเพลงจากศิลปินร่วมงานมากมาย ซึ่งกิจกรรม ทั้งหมดนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างความตื่นตัวในการป้องกันโรคไตแก่ประชาชน และสร้างทัศนคติที่ดีในการช่วยเหลือผู้ป่วย โรคไต ด้วยการบริจาคไตในผู้ป่วยอุบัติเหตุสมองตาย

6

กรกฎาคม 2555


รายงานพิ เรื่องจากปก เศษ

สังคมไทย ไร้เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ จากโครงการสนองน้ำ�พระราชหฤทัยในหลวง ที่ทรงห่วงใยสุขภาพ ประชาชน ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้ดำ�เนินโครงการขึ้นมาเพื่อถวาย เป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในโอกาสทีท่ รงเจริญ พระชนมายุ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 โดย มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ลด ปัญหาและปัจจัยเสี่ยง เรื่องโรคเบาหวานและ ความดันโลหิตสูง ใน ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ผลจากการ ดำ�เนินงานที่ผ่านมาได้รับความสนใจและ มีชุมชนเข้าร่วมโครงการเป็นจำ�นวนมาก ซึ่งรวมไปถึงพระภิกษุ สามเณร และผู้นำ�ศาสนาทุกศาสนา โดยใช้มาตรการเชิงรุก ในการบูรณาการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคและ ดูแลรักษาเป็นรายบุคคล รายกลุม่ โดยมีหน่วยงานทุกระดับในส่วนภูมภิ าค เป็นหน่วยงานทีป่ ฏิบตั ติ ามกิจกรรมต่างๆ ทีก่ �ำ หนดไว้ในโครงการ ซึง่ กิจกรรมสำ�คัญนัน้ คือการพัฒนาหมูบ่ า้ น หรือชุมชนต้นแบบให้จดั การตนเอง เพือ่ ลดปัญหา โรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ให้กลายเป็นหมู่บ้านต้นแบบโครงการสนองน้ำ�พระราชหฤทัยในหลวง และเพื่อเป็นขวัญกำ�ลังใจแก่หน่วยปฏิบัติงานในภูมิภาค ทางคณะกรรมการดำ�เนินโครงการฯ จึงได้มีการ คัดเลือกผลการพัฒนางานในระดับหมู่บ้าน ชุมชน สถานบริการ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นรางวัลให้แก่หน่วยงาน ที่มีการปฏิบัติงานดีเด่น และดีเยี่ยม พร้อมกับมอบรางวัลให้แก่ หน่วยงานที่ชนะเลิศ ในระดับภาคต่างๆ กระทรวงสาธารณสุข จึงได้จัดโครงการประชุมวิชาการความรู้ ปี 2554 โครงการ สนองน้ำ�พระราชหฤทัยในหลวง ทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในโอกาสพระราชพิธมี งคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ด้วยหัวข้อ “สังคมไทย ไร้โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ” ณ อาคารอิมแพ็ค คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เมืองทองธานี จ.นนทบุรี โดยได้รับเกียรติจาก นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานและมอบ โล่รางวัลแก่หน่วยงานชนะเลิศ ผลงานดำ �เนินการดีเด่น ดีเยี่ยม ระดับภาค พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการจาก หน่วยงานด้านสาธารณสุขทัว่ ประเทศทีม่ าออกบูธ้ เผยแพร่ความรูด้ า้ นการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยมี นายแพทย์โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้กล่าวรายงาน กรกฎาคม 2555

7


นอกจากนี้ ยังมีการปาฐกถาพิเศษ โดย ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา, การนำ�เสนอนวัตกรรมการพัฒนา ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง โดย นพ.อมร นนทสุต ประธานมูลนิธิแสงสิทธิการ (เพื่อคุณภาพชีวิต) และในแต่ละชุมชนก็มีการเล่นเกม ทายปัญหา แจกรางวัล การสาธิตการทำ�อาหารเมนูเด็ด สาธิตการออกกำ�ลังกาย กิจกรรมส่งเสริม สุขภาพ อีกทัง้ ยังมีการเล่าประสบการณ์ การขับเคลือ่ นชุมชน ของตัวแทน แต่ละภูมิภาค สำ�หรับหน่วยงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศดีเด่นระดับภาค แบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาคด้วยกัน อาทิ ตัวแทนจากภาคเหนือ ได้แก่ ชุมชนบ้านใหม่ หมู่ 6 ต.วัดขวาง อ.โพทะเล จ.พิจิตร ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากการจัดบริการอย่างมีส่วนร่วมในชุมชน ทำ�ให้ชุมชนเห็นคุณค่าในตนเอง และเกิดการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ บ้านโนนสมบูรณ์ อ.หนองกรุงศรี จ.กาฬสินธุ์ ภายในชุมชนได้ทำ�ให้เกิดนวัตกรรม งานบุคคลต้นแบบ งานบุญปลอดเหล้า แม่บา้ นต้านภัยบุหรี่ แท่นมหัศจรรย์ ยางยืดออกกำ�ลังกาย มีระบบเฝ้าระวังโรค โดยคณะกรรมการระดับหมู่บ้าน ตำ�บล ร่วมดำ�เนินงาน นอกจากนีย้ งั มีการยกระดับศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) ให้เป็นสุขศาลากาฬสินธุ์ ที่ให้บริการทั้งเชิงรุก และเชิงรับ มี อสม. เป็นผู้ดำ�เนินการ ภาคกลาง ได้แก่ บ้านสุขสำ�ราญ ต.หนองแวง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว ได้สง่ เสริมให้มนี วัตกรรมคูห่ ปู รับเปลีย่ น พฤติกรรมขึน้ เพือ่ ช่วยให้ประชาชนทราบสภาวะสุขภาพ ของตนเองและตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ. 2ส. มีการจัดอบรม ฝึกทักษะเรื่องระดับน้ำ�ตาล ในเลือด และติดตามกลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้ยังมีการใช้ นวัตกรรมคิวอัจฉริยะรูปแบบใหม่กับผู้ป่วย โดยจะมีทั้ง ภาพผู้ป่วย เสียงเรียกชื่อ นามสกุล จอด้านข้างมีที่ ให้สุขศึกษาทั้งภาพและเสียง รวมทั้งอักษรวิ่งให้ความรู้ ตลอดเวลา ภาคใต้ ได้แก่ บ้านดอนโรง ม.8 ต.เขาพระบาท อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ใช้แนวคิดในการดำ�เนิน โครงการคือ MOPHH model จาก 5 แนวคิด ดังนี้คือ M = Community Mobilization and Empowerment (การนำ�สิง่ ทีม่ อี ยูใ่ นชุมชนมาเคลือ่ นไหวให้เกิดพลังบวก) O = Learnning Organization (ชุมชนแลกเปลี่ยน เรียนรู้และมีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน) P = Partnership (การทำ � งานแบบหุ้ น ส่ ว นภาคี เ ครื อ ข่ า ยของชุ ม ชน) H = Holistic ( บูรณาการงานสุขภาพไปกับวิถสี ขุ ภาวะ ) และ H = Health (เป้าหมายสูงสุดที่ชุมชนยึดถือ ทำ�ให้ แต่ละครอบครัวมีการปรับเปลีย่ นในเรือ่ งของการบริโภค ออกกำ�ลังกายเพิม่ ขึน้ และลดการใช้เครือ่ งปรุงรส ทำ�ให้ อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลง) โครงการฯ ครั้งนี้ จะประสบความสำ�เร็จไม่ได้ หากไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ บุคคลในครอบครัวที่คอยตักเตือนและดูแลซึ่งกันและกัน รองลงมาคือ ชุมชน ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งกำ�ลังที่จะ ผลักดันและเข้าถึงประชาชนได้ง่ายกว่าหน่วยงานอื่น และหากทุกคนดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องและเคร่งครัด โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงก็จะไม่มาย่างกลายสุขภาพของคนไทยแน่นอน 8

กรกฎาคม 2555


บทความวิชาการ

อย่าตกเป็นเครือ่ งมือ บริษท ั บุหรี่

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธริ ณรงค์เพือ่ การไม่สบู บุหรี่

ประเด็นวันไม่สบู บุหรีโ่ ลก 31 พฤษภาคมปีนที้ อี่ งค์การอนามัยโลก กำ�หนดคือ “Tobacco industry interference” หรือ “การแทรกแซง โดยบริษัทบุหรี่” องค์การอนามัยโลกระบุว่า บริษัทบุหรี่ได้แทรกแซงและขัดขวางการควบคุม ยาสูบทั่วโลก ผ่านทั้งระดับนโยบายและระดับสังคม - ชุมชน การแทรกแซงทีแ่ นบเนียนและบริษทั บุหรีใ่ นประเทศไทยทำ�กันอยูม่ ากในขณะนี้ คือ การทำ�ตัวเป็นองค์กรธุรกิจ ที่ “รับผิดชอบต่อสังคม” ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่ทำ�กับองค์กรชุมชน โรงเรียน สมาคมกีฬารวมถึงการนำ�ภาพบริษัท ไปผูกโยงกับสถาบันเบื้องสูง และรวมถึง การบริจาคเครื่องมือแพทย์ รถพยาบาล สร้างตึก ให้แก่โรงพยาบาล กิจกรรมที่ “รับผิดชอบ/ช่วยเหลือสังคม” ที่บริษัทบุหรี่ทำ�นี้ อนุสัญญาควบคุมยาสูบองค์การอนามัยโลก มีมติให้ประเทศต่างๆ มีนโยบายหรือออกกฎหมาย ห้ามข้าราชการรัฐมีส่วนร่วมกิจกรรมกับบริษัทบุหรี่ หรือ ห้ามบริษัทบุหรี่ทำ�กิจกรรมเพื่อสังคม ไปเลย เนื่องจากการทำ�กิจกรรมเพื่อสังคมเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้แก่ บริษัทบุหรี่และสินค้าที่ผลิต เซอร์ริชาร์ด ปีโต ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำ�ปี พ.ศ.2543 สาขาสาธารณสุข จากการเป็นผู้คิดค้นวิธีการสถิติแบบ meta - analysis เปิดเผยบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจ เมื่อบริษัทบุหรี่ บีเอที บริจาค เงิน 3.8 ล้านปอนด์ให้แก่มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม เพื่อตั้ง International Center for Corporate Social Responsibility เมื่อ พ.ศ.2543 ว่า “เงิน 3.8 ล้านปอนด์นี้ บีเอที ต้องได้คนื มาจากธุรกิจของตน ซึง่ บุหรีท่ กุ มวนทีข่ ายได้ก�ำ ไรประมาณ 1 เพนนี ดังนั้น บีเอที ต้องขายบุหรี่ให้ได้เพิ่มขึ้น 100 ล้านมวน จึงจะได้เงินก้อนนี้คืน จากสถิติที่พบว่าบุหรี่หนึ่งล้านมวน ทำ�ให้คนตาย 1 คน ดังนั้น การบริจาคของ บีเอที ครั้งนี้จะมีคนตายจากการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นอีก 100 คน” เฉพาะโรงงานยาสูบไทยข้อมูลที่ปรากฏในเว็บไซต์ พบว่า ระหว่างปี พ.ศ.2551 - 2553 โรงงานยาสูบ ใช้งบประมาณในการทำ� “กิจกรรมเพือ่ สังคม” รวมถึงการบริจาคให้แก่องค์กรหน่วยงานต่างๆ เฉลีย่ ปีละ 181.4 ล้านบาท หากวิเคราะห์ตามที่เซอร์ริชาร์ด ปีโต ทำ� จะพบว่า เงิน 181.4 ล้านบาทนี้ โรงงานยาสูบต้องได้คืนมาจาก ธุรกิจของตน ซึ่งบุหรี่ทุกมวนที่ขายจะได้กำ�ไรประมาณ 20 สตางค์ ดังนั้นโรงงานยาสูบต้องขายบุหรี่ให้ได้เพิ่มขึ้น 907 ล้านมวน จากสถิตทิ พี่ บว่าบุหรีห่ นึง่ ล้านมวน ทำ�ให้คนตาย 1 คน ดังนัน้ การทำ�กิจกรรมเพือ่ สังคมของโรงงานยาสูบ ในแต่ละปี จะมีคนตายจากการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น 907 คน กฎบัตรของกาชาดสากล ข้อ 3.3.1 กำ�หนดว่าเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักการ (ของกาชาด สากล) จะ ไม่ร่วมกิจกรรมกับองค์กรธุรกิจ ที่กิจการหลัก คือ การผลิต หรือ จำ�หน่ายสินค้าที่ยอมรับกันว่า เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กล่าวง่ายๆ คือ กาชาดมีวัตถุประสงค์เพื่อ บรรเทาทุกข์และช่วยชีวิต แต่บริษัทบุหรี่ผลิตสินค้าที่ เสพติด และ ฆ่าชีวิตคน จึงได้แต่หวังว่า แพทย์ / หน่วยงานด้านสุขภาพที่คิดจะรับบริจาคจากบริษัทบุหรี่ในครั้งต่อๆ ไป ควรที่ จะคิดว่า สมควรหรือไม่ เพราะนอกจากจะตกเป็นเครื่องมือของบริษัทบุหรี่แล้ว ยังขัดกับเจตนารมณ์ของวิชาชีพที่ต้องบรรเทา ความทุกข์ทรมานและช่วยชีวิตผู้คนด้วย

“งดเหล้าเข้าพรรษามหากุศล”

ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่คือชนะใจตนเอง เข้าพรรษานี้ชนะเหล้า เบียร์ให้ได้


ห้องรับแขก

“นพ.โสภณ เมฆธน”

กับ “โครงการสนองน�ำ้ พระราชหฤทัยฯ เพือ่ สังคมไทยไร้โรค...” เพื่อทำ�ความดีถวายในหลวง พร้อมๆ กับการทำ�เพื่อ สุขภาพของตนเองด้วย จึงเริม่ ดำ�เนินการคัดกรองผูป้ ว่ ย มาตัง้ แต่ปลายๆ ปี 2552 และจากการคัดกรองเบือ้ งต้น เราสามารถแบ่งทั้งสองโรคนี้ออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1.คนปกติ 2.คนที่เสี่ยงสูง 3.คนที่ป่วย 4.คนที่ป่วย และมีภาวะแทรกซ้อน อย่างโรคเบาหวานจะมีภาวะ แทรกซ้อน 3 ระบบ เรียกภาษาชาวบ้านคือ ตา - ไต - ตีน คือ ตา : ถ้าเบาหวานขึ้นตาก็ตาบอดได้, ไต : ถ้าเป็น เบาหวานนานๆ จะเป็นไตวายเรื้อรังและมีโอกาสรักษา ไม่หาย, เท้า : เมือ่ เป็นเบาหวานก็เสีย่ งทีจ่ ะถูกตัดเท้าได้” เมื่อได้กลุ่มเป้าหมายชัดเจนแล้ว สิ่งที่ต้องคิด ต่อไปก็คือ จะทำ�อย่างไรให้คนปกติและคนที่เสี่ยงสูงนั้น ไม่ปว่ ย? นพ.โสภณ ให้ค�ำ ตอบว่า ก็คอื การปรับลดพฤติกรรม ที่ไม่ดีลงโดยยึดหลัก 3 อ. 2 ส. คือ ออกกำ�ลังกาย อาหาร อารมณ์ ไม่ดื่มสุราและไม่สูบบุหรี่ ซึ่งการปรับลด พฤติกรรมทีไ่ ม่ดเี หล่านีจ้ ะมีเจ้าหน้าทีเ่ ข้าไปให้ค�ำ แนะนำ� และให้คนในชุมชนช่วยกันเฝ้าระวัง ซึง่ จากการดำ�เนินงาน มาตัง้ แต่ปี 2552 จนถึงขณะนี้ มีหลายชุมชนหลายหมูบ่ า้ น ทีท่ �ำ สำ�เร็จแล้ว แต่กย็ งั มีอกี หลายหมูบ่ า้ นทีย่ งั คงมีปญ ั หา โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงอยู่ ดังข้อมูลเมื่อ ปี 2554 ที่พบว่ายังมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 3 แสนคน และความดันโลหิตสูง 8 แสนคน “นี่เป็นเรื่องที่ต้องรณรงค์และดำ�เนินการกัน ในระยะยาว เราต้องช่วยกันพัฒนาสถานีอนามัยหรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำ�ตำ�บล (รพ.สต.) ให้มีพยาบาลเวชปฏิบัติช่วยไปดูแล มีหมอลงไปตรวจ เป็นครั้งคราว หรือมีระบบ Telemedicine เข้าไปช่วย ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาคนไข้เบาหวานและความดัน โลหิตสูงทีม่ ากเกินของโรงพยาบาลใหญ่ๆ ลงไปได้ดว้ ย... สิ่งเหล่านี้ฟังดูอาจเป็นเรื่องยาก แต่เชื่อว่าทำ�ได้ เพราะ มีหลายชุมชนหลายหมู่บ้านที่ทำ�สำ�เร็จแล้ว”

ระยะเวลา 2 - 3 ปีที่ผ่านมานี้ จะเห็นว่า กระทรวงสาธารณสุ ข ได้ ริ เ ริ่ ม โครงการเกี่ ย วกั บ การ สร้างเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนขึน้ มามากมาย ทั้งนี้ก็เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนเห็นความสำ�คัญ ของการดูแลสุขภาพก่อนทีโ่ รคร้ายทัง้ หลายจะมาเยือน และหนึ่งในโครงการที่ได้รับการตอบรับอย่างดี จากทั้ ง ภาครั ฐ บาลและประชาชน คื อ “โครงการ สนองน้ำ�พระราชหฤทัยในหลวง ทรงห่วงใยสุขภาพ ประชาชนฯ” ซึ่งหัวเรือใหญ่ในการขับเคลื่อนโครงการนี้ ก็คอื “นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข” นพ.โสภณ เล่าถึงจุดเริ่มต้นว่า โครงการสนอง น้ำ�พระราชหฤทัยในหลวงฯ เป็นโครงการที่กระทรวง สาธารณสุ ข จั ด ขึ้ น เพื่ อ ถวายเป็ น พระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนื่ อ งในโอกาสพระราชพิ ธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 โดยมี เ ป้ า หมายของการ ดำ�เนินงานคือ “สังคมไทย ไร้ โ รคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง” “หลังจากทีเ่ รา รู้ว่า โรคที่เป็นปัญหา มากๆ ของประชาชน ก็ คื อ เบาหวานและ ความดั น โลหิ ต สู ง ซึ่ ง ทางแก้ ก็ คื อ การปรั บ เปลี่ ย น พฤติกรรม เราจึงคิด แม้โครงการนี้จะต้องรณรงค์และดำ�เนินการ โครงการเชิ ญ ชวน กันในระยะยาว แต่ นพ.โสภณ ยืนยันว่า ท่านจะยังเป็น ประชาชนมาช่วยกัน หัวเรี่ยวหัวแรงในการเดินหน้าเอาชนะโรคเรื้อรังเหล่านี้ ปรับพฤติกรรม อย่างต่อเนื่องต่อไป 10

กรกฎาคม 2555


รายงานพิเศษ

กระทรวงสาธารณสุข เดินหน้า

โครงการอาหารปลอดภัย

เมือ่ เดือนเมษายนทีผ่ า่ นมา ณ โรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์ค สุขุมวิท 22 กรุงเทพฯ นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงสาธารณสุข (รมช.สธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “รวมพลังขับเคลือ่ นอาหารปลอดภัย เพือ่ คนไทยสุขภาพดี มีโภชนาการ สมวัย ส่งเสริมครัวไทย เป็นครัวโลก” พร้อมกล่าว มอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและข้าราชการนำ�ไปปฏิบัติ โดยมี นายแพทย์สมชัย นิจพานิช รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมพิธี และกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงานครัง้ นีว้ า่ มุง่ หวังให้ทกุ ฝ่าย ช่วยกันรณรงค์คนไทยบริโภคอาหารปลอดภัย เพือ่ ลดอัตราการเจ็บป่วย ซึง่ ปัจจุบนั คนไทยมีปญ ั หาด้านสุขภาพและเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ทีเ่ กิด จากการบริโภคอาหารไม่ปลอดภัยและโภชนาการที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง 4 โรค คือ ความดัน โลหิตสูง, เบาหวาน, หัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง นอกจากนี้ นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สธ. ยังได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณแด่ผู้ทำ�คุณประโยชน์ต่อ กระทรวงสาธารณสุข ด้านอาหารปลอดภัยให้แก่ ศ.ดร.นพ.คาซูโนริ โออิชิ จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศ ญี่ปุ่น ในฐานะเป็นผู้วิจัยอุบัติการณ์โรคไข้หูดับหรือโรคติดเชื้อ Streptococcus suis ในประเทศไทย โดยร่วมมือกับ ศูนย์ปฏิบตั กิ ารความปลอดภัยด้านอาหารในการนำ�ร่องการรณรงค์ทจี่ งั หวัดพะเยา เพือ่ ให้ คนไทยเลิกบริโภคเนื้อหมูสุกๆ ดิบๆ อย่าง ลาบ หลู้ ที่เป็นสาเหตุของโรคไข้หูดับ รวมถึงมอบรางวัลโรงพยาบาลต้นแบบอาหารปลอดภัย จำ�นวน 4 แห่ง และรางวัล โรงพยาบาลมาตรฐานอาหารฮาลาล จำ�นวน 2 แห่ง รางวัลทีมงานอาหารปลอดภัยเข้มแข็ง ระดับจังหวัด จำ�นวน 21 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำ�นวน 15 แห่ง

ร่วมทำ�ความดีวันเข้าพรรษา

ลดอ้วน สร้างบุญ

เปิดโครงการ 1 สิงหาคม 2555 นี้ 11 กรกฎาคม ณ วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก กรุง2555เทพฯ


ถอดประสบการณ์

ลดเค็ม ไร้โรคภัย

ชาวบ้านเฮได้ ทีว่ ดั ขวาง อ.โพทะเล จ.พิจติ ร

ก่อนหน้านี้ชาวบ้านหมู่ 6 ต.วัดขวาง อ.โพทะเล จ.พิจิตร ก็มีวิถีชีวิตไม่ต่างจากชุมชนอื่นเท่าใดนัก เพราะ หลายคนก็ยังคงเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรังต่างๆ ทั้ง ความดัน โลหิต โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคไม่ตดิ ต่ออืน่ ๆ อีกมาก ปัญหาเหล่านี้ได้สั่งสมมานานหลายปี และไม่มีทีท่าว่า ผู้ป่วยจะลดน้อยลงเลย จนกระทั่งคณะกรรมการหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. ต้องมาระดมความคิดเห็นว่าจะทำ�อย่างไร จึงจะ ช่วยให้คนในชุมชนหายจากอาการเจ็บป่วย และมีสุขภาพ ที่แข็งแรง และในช่วงเวลานั้นเอง ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้มกี ารจัด ให้มี “โครงการสนองน้�ำ พระราชหฤทัยในหลวง ทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรง เจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554” 12

กรกฎาคม 2555

โดยให้ทุกชุมชน ทุกหน่วยงานด้าน สาธารณสุ ข เข้ า ร่ ว มโครงการ ซึ่ ง หมู่ 6 ต.วัดขวาง อ.โพทะเล จ.พิจติ ร ก็ได้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ด้วย จึ ง เป็ น ที่ ม าของ โครงการชุ ม ชน บ้านใหม่ คนไทยไร้พุง ที่ชาวบ้าน ในชุมชนระดมสมองช่วยกันคิดขึ้น จากโครงการฯ นี้ เ อง จึงเป็นแรงกระตุน้ ให้ทกุ คนในชุมชน เริ่ ม หั น มาใส่ ใ จดู แ ลสุ ข ภาพของ ตนเองกันมากขึ้น และมีการ วางแผนยุทธศาสตร์ในการ จั ด การชุ ม ชน โดยกำ � หนด เป็นข้อปฏิบัติที่ทุกคนในชุมชน ต้ อ งทำ � ร่ ว มกั น 7 ข้ อ จน กระทั่ ง ได้ รั บ รางวั ล หน่ ว ยงาน ชนะเลิ ศ ดี เ ด่ น ระดั บ ภาคเหนื อ จากโครงการคั ด เลื อ กผลการ พัฒนาการดำ�เนินการดีเด่นดีเยี่ยม โครงการสนองน้ำ � พระราชหฤทั ย ในหลวง ทรงห่วงใยสุขภาพประชาชน ระดับชุมชน จากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งข้อปฏิบัติที่ทุกคนในชุมชนร่วมกันทำ�ทุก 7 ข้อ คื อ คนที่ ร อบเอวปกติ อ ยู่ แ ล้ ว จะต้ อ งดู แ ลสุ ข ภาพของ ตนเอง ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติต่อไป โดยที่ผู้ชายไม่ควรเกิน 90 ซม. ผู้หญิงไม่เกิน 80 ซม. ส่วนคนที่รอบเอวเกินเกณฑ์ ต้องพยายามทำ�ให้รอบเอวลดลงจนอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่เพียงเท่านี้ ชุมชนยังจัดให้มีการออกกำ�ลังกาย เช่น ผู้สูงวัยให้ออกกำ�ลังกายด้วยการรำ�ไม้พลอง ส่วน วัยรุน่ - วัยทำ�งาน โยกย้ายทุกสัดส่วนด้วยการเต้นแอโรบิค ร่วมกัน โดยมีบุคคลต้นแบบ อย่าง คุณวณิชชา ภู่จำ�นง เป็นแกนนำ�ในการออกกำ�ลังกาย ส่วนเด็กๆ ก็ให้เล่น ฮูล่าฮูบ เป็นการออกกำ�ลังเบาๆ ผ่อนคลายสมองที่ดี อีกอย่างหนึ่ง


กิจกรรมที่ว่านี้ จะจัดขึ้นทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ ส่วนกิจกรรมปั่นจักรยานจะจัดทุกวันอังคารและพฤหัสฯ และสำ�หรับวันเสาร์ - อาทิตย์ จะเป็นวันทีท่ กุ คนต้องขยับกาย พร้อมเพรียงกัน ในช่วงเวลา 18.00 น. โดยทางหอกระจาย ข่าว จะเปิดเพลงไก่ย่างถูกเผา และทุกคนจะมารวมตัวที่ ลานกิจกรรม ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบของหมู่บ้าน ซึ่งถ้าใครที่ไม่สะดวกมาก็จะขยับกายอยู่ที่บ้านก็ได้ และในช่ ว งเข้ า พรรษาของทุ ก ปี ชุ ม ชนนี้ ยั ง มี การจัดกิจกรรม ลด ละ เลิก การดื่มเหล้า ตามโครงการ เลิกเหล้าเข้าพรรษา อี ก ด้ ว ย รวมทั้ ง รณรงค์ ใ ห้ ทุ ก วั น อาทิ ต ย์ เป็ นวั น ง ด กิ น อ า ห า ร หวาน มัน เค็ม ของทอดน้ำ � มั น โดยที่ แ ม่ บ้ า น ทุ ก ครั ว เรื อ น จะต้องทำ�เมนู พิ เ ศษเน้ น ผั ก และผลไม้ ใ ห้ มากขึ้น ซึ่งผัก ผลไม้ ที่นำ�มาประกอบอาหารนี้จะต้อง ปลูกทานเองที่บ้าน ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราจะเห็นทุกบ้าน ใน ม.6 ต.วัดขวาง มีพืชผักสวนครัวริมรั้วอยู่เต็มไปหมด เป็นปกติ

นอกจากนี้ทางชุมชนยังกำ�หนดให้ทุกวันอาทิตย์ สิ้ น เดื อ น มี กิ จ กรรมสร้ า งสุ ข ปรั บ เปลี่ ย น โดยที่ ทุ ก คน ในชุมชนจะมาร่วมตัวกันทำ�กิจกรรมทีท่ างชุมชนจัดขึน้ โดยเน้น ตามหลัก 3 อ. คือ ออกกำ�ลังกาย อาหาร อารมณ์ ซึ่งจะ มีการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ สอนวิธีการ ทำ � อาหารลดรสเค็ ม โดยเฉพาะในเรื่ อ งการลดกิ น เค็ ม เป็นประเด็นที่เน้นเป็นพิเศษ เช่น มีการจัดทำ�บันทึกการ ลดการใช้น้ำ�ปลา ลดการใช้เกลือ ลดการใช้ซอส - ซีอิ๊ว ในครัวเรือนอย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว เป็นต้น คุณบุญธรรม จ้อยสุดใจ หรือที่ชาวบ้านแถบนี้ รู้ จั ก กั น ดี ใ น ชื่ อ ข อ ง “หมอกิบ๊ ” พยาบาลวิชาชีพ ประจำ�ที่ รพ.สต.วัดขวาง เป็นอีกบุคคลทีช่ ว่ ยผลักดัน ให้โครงการนี้สำ�เร็จ โดย ส่งเสริมให้ ทีม อสม.รพ.สต. วัดขวาง ได้เข้ารับการอบรม ตามโรงพยาบาลต่างๆ และ นำ�ความรู้ที่ได้ มาแบ่งปัน ให้ แ ก่ ค นในชุ ม ชนได้ ไ ป ปฏิบตั ติ อ่ ซึง่ กว่าจะได้รบั การยอมรับ หมอกิบ๊ และทีม อสม. ก็ต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ตนเองอยู่พอสมควร ทั้งเข้าไป ให้ความรู้ถึงที่บ้าน จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างลาน กิจกรรม กรกฎาคม 2555

13


และเพื่อทำ�ให้ชาวบ้านเห็น ประโยชน์ ข องการดู แ ลสุ ข ภาพจริ ง ๆ หมอกิบ๊ และทีมงานจึงได้ใช้วธิ นี �ำ เสนอ ตัวอย่างให้เห็น นั่นคือ การสร้างบุคคล ต้นแบบในเรื่องการดูแลสุขภาพ โดย นำ�ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพโรคเรื้อรังต่างๆ มาเข้าคอร์สรักษาสุขภาพ ควบคุมทั้ง อาหาร อารมณ์และการออกกำ�ลังกาย อย่างเคร่งครัด เมื่อมีการปฏิบัติอย่าง ต่ อ เนื่ อ ง สุ ข ภาพของผู้ ที่ เ ข้ า รั บ การ อบรมก็ ดี ขึ้ น เรื่ อ ยๆ โรคภั ย ไข้ เ จ็ บ ที่ เคยเป็นอยู่ก็ทุเลาลง ไม่ต้องไปหาหมอ บ่อยๆ เหมือนแต่ก่อน เมื่อชาวบ้าน เห็นอย่างนั้นแล้ว ก็เริ่มให้ความสนใจและชักชวนให้สมาชิก ในบ้านหันมาปฏิบัติตาม จนกลายเป็นวิถีชีวิตประจำ�วัน ไปเลยก็ว่าได้ ปั ญ หาที่ พ บในตอนนี้ คื อ ยั ง ไม่ มี ค นสานต่ อ โครงการจากหมอกิ๊บ ซึ่งตัวหมอกิ๊บเองก็เป็นกังวลว่า หาก ต้องโยกย้ายไปประจำ�การที่อื่น แล้วใครจะสานต่องาน ซึ่งตอนนี้ได้ค่อยๆ กระจายงานให้แก่ทีม อสม. บ้างแล้ว เพื่อที่ว่าทุกคนจะได้ดำ�เนินโครงการต่อไปได้ และทุกคน

จับกระแสโรค

ในหมู่บ้านจะสามารถยืนหยัดได้ ด้วย ตัวของเขาเอง ด้าน คุณดิเรก สังข์จันทร์ คณะทำ � งานพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต สาธารณสุ ข และคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค ก็ ไ ด้ ก ล่ า วเสริ ม ว่ า ปั จ จั ย ที่ ทำ � ให้ ชาวบ้าน ม.6 ต.วัดขวาง อ.โพทะเล ได้รับรางวัลฯ นั้นมีหลายสิ่งด้วยกัน แต่สิ่งสำ�คัญคือทุกคนในชุมชนมีความ เข้ ม แข็ ง สามั ค คี ทั้ ง แกนนำ � อสม. ต่างทำ�งานกันเป็นทีม และได้รับการ สนั บ สนุ น ด้ ว ยดี จากองค์ ก ร ภาคี เครือข่าย ทั้งในระดับชุมชน ตำ�บล อำ�เภอ และจังหวัด นอกจากนี้การประชาสัมพันธ์โครงการ ก็เป็นที่ติดหู ติดใจ จนหลายคนก็อยากนำ�ไปปฏิบัติตาม ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อค่ะว่าตอนนี้ ชาวชุมชนหมู่ 6 ต.วัดขวาง อ.โพทะเล จ.พิจิตร เขาสามารถลดเค็มได้ทั้ง หมู่บ้านจริงๆ ซึ่งเห็นได้จากแววตาที่สดใส และร่างกาย ที่แข็งแรง ชุมชนอื่นลองทำ�ตามก็ได้นะคะ เพื่อที่คนไทย จะได้มีสุขภาพแข็งแรง แจ่มใส ไร้โรคภัยมาเยือนค่ะ

“ไทย” กำ�ลังก้าวเข้าสู่ “สังคมผูป้ ว่ ยโรคไต” ?

ปัญหา “โรคไตเรื้อรัง” รวมทั้ง “โรคไตวายระยะสุดท้าย” เป็นปัญหาทางสาธารณสุข ทีส่ �ำ คัญของประเทศ เนือ่ งจากมีอตั ราการเสียชีวติ ทีส่ งู มาก โดยเฉพาะในปัจจุบนั มีผปู้ ว่ ยไตวายเรือ้ รัง ระยะสุดท้ายมากกว่า 30,000 ราย ซึง่ รัฐบาลต้องสูญเสียทรัพยากรจำ�นวนมากในการดูแลรักษา ผูป้ ว่ ยกลุม่ นี้ โดยปัจจัยทีส่ �ำ คัญของการทีพ่ บผูป้ ว่ ยไตวายเรือ้ รังระยะสุดท้ายมากขึน้ คือ ผูป้ ว่ ยไม่รตู้ วั ว่า ป่วยเป็นโรคไตระยะเริ่มแรกที่พอรักษาได้ และผู้ป่วยที่มีโรคเดิมอยู่แล้วดูแลตนเองไม่ถูกต้อง ไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ใน 46 ประเทศทั่วโลกที่พัฒนาแล้วทั้งในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ต่างให้ความสำ�คัญต่อปัญหาของโรคไตทีค่ กุ คามคุณภาพชีวติ ของประชากร สำ�หรับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจกล่าวได้ว่า ไทยเป็นประเทศแรกที่มี บทบาทสำ�คัญในการปลุกกระแสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ ได้เล็งเห็นความสำ�คัญของโรคไต การจัดการกับปัญหาไตสำ�หรับผู้ป่วยที่มีไตวายแล้ว คงต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะ การปลูกถ่ายไตซึ่งเป็นการรักษาที่ดีที่สุด ทำ�ให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตที่ดีขึ้นได้ แต่เนื่องจากการ ปลูกถ่ายไตจำ�เป็นต้องใช้ไตจากญาติที่มีชีวิตหรือไตจากผู้บริจาคอวัยวะที่เสียชีวิต ซึ่งในแต่ละปีมีผู้บริจาคอวัยวะไม่ถึง 200 ราย ทำ�ให้มีผู้ป่วยจำ�นวนมากยังรอรับการบริจาคไต และมีไม่น้อยที่เสียชีวิตไประหว่างการรอรับอวัยวะบริจาค สถิติยอดผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในระบบหลักประกันสุขภาพ มีกว่า 19,000 ราย ครอบคลุมทั้งการล้างไตช่องท้อง, การปลูกถ่ายไต และการฟอกเลือด ซึ่งการฟอกเลือดผู้ป่วยต้องร่วมจ่ายครั้งละ 500 บาท รัฐบาลจึงตั้งเป้ารณรงค์ให้ใช้วิธี การล้างไตช่องท้อง เพราะผูป้ ว่ ยสามารถทำ�ได้เอง ไม่ตอ้ งมาเสียเวลาทีโ่ รงพยาบาล เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยทีข่ าดแคลน แพทย์และเน้นการป้องกันไม่ให้คนป่วยเป็นโรคไต โดยควบคุมป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรคไตวายเรื้อรัง เป็นโรคร้ายที่บั่นทอนคุณภาพชีวิต เป็นปัญหาสาธารณสุขที่บุคลากรทางแพทย์และผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงประชาชนทุกคน ต้องให้ความสำ�คัญและร่วมกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน “ก่อนทีป่ ระเทศไทยจะก้าวเข้าสูส่ งั คมผูป้ ว่ ยโรคไตจริงๆ” 14

กรกฎาคม 2555

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย


“น�ำ้ พริกเห็ดหอม” สูตรลดเค็ม

ครัวสุขภาพ ดร.ยิง่ ศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์

จากการสำ�รวจพบว่า ปัจจุบันคนไทยมีการบริโภคเกลือ หรือโซเดียมมากกว่าปริมาณที่แนะนำ�ถึง 2 เท่าเลยทีเดียว และก่อให้เกิดโรคต่างๆ มากมาย ทั้งโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และทำ�ให้ไตต้องทำ�งานหนัก เกิดไตเสื่อมตามมาได้อีกด้วย แต่สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมา “กินจืด ยืดชีวติ ” เมนูอาหารของครัวสุขภาพฉบับนี้ จึงนำ�สูตร “น�ำ้ พริกเห็ดหอม (สูตรลดเค็ม)” ทีท่ งั้ อร่อยและดีตอ่ สุขภาพ มาให้ได้ลองทำ�กัน ส่วนผสม 1. หอมแดงคั่ว 30 กรัม 2. กระเทียมคั่ว 30 กรัม 3. มะเขือเทศย่าง 30 กรัม 4. พริกชี้ฟ้าแดง, เหลือง, เขียว คั่วอย่างละ 2 เม็ด 5. น้ำ�ตาลปี๊บ 1 ช้อนชา 6. น้ำ�มะนาว 2 ช้อนโต๊ะ 7. เต้าหู้ยี้ 2 ช้อนชา 8. เห็ดหอมแห้งแช่น้ำ�หั่นเต๋า 100 กรัม วิธกี ารทำ� นำ�กระเทียม, หอมแดง และพริกชี้ฟ้า (ทั้ง 3 สี) ไปคั่วในกระทะให้พอสุก เสร็จแล้วนำ�ขึ้นมาลอกเปลือกออกตำ�ให้ ละเอียด ส่วนพริกให้เก็บเม็ดพริกไว้เพื่อความเผ็ดและหอมของน้ำ�พริก จากนั้นนำ�ส่วนผสมที่ตำ�จนละเอียดแล้วใส่ลงในชาม เติมน้ำ�เต้าหู้ยี้ที่ละลายกับน้ำ�ร้อน (เพื่อลดความเค็ม) ลงในส่วนผสมที่เตรียมไว้ เติมน้ำ�ตาลปี๊บลงไปเล็กน้อย คลุกเคล้า ส่วนผสมให้เข้ากัน ตามด้วยมะเขือเทศย่างทีท่ บุ พอแหลก ซึง่ จะช่วยให้น�้ำ พริกมีรสเปรีย้ ว และมีวติ ามินเยอะโดยเฉพาะวิตามินซี และมีสารบางตัวที่ทดแทนผงชูรสได้ด้วย...ตบท้ายด้วยเห็ดหอมที่ต้มสุกหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า ใส่ลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรุงรสด้วยน้ำ�มะนาว คลุกเคล้าให้เข้ากันกับส่วนผสมอื่นๆ อีกครั้ง ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย น้ำ�พริกเห็ดหอมถ้วยนี้มีปริมาณโซเดียมเพียงแค่ 200 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับน้ำ�ปลาครึ่งช้อนชา และยังมีปริมาณ ของเส้นใยอาหาร รวมถึงโพแทสเซียมทีไ่ ด้จากเห็ดหอมในปริมาณสูงอีกด้วย ส่วนความเค็มทีไ่ ด้จากเต้าหูย้ นี้ นั้ ก็อยูใ่ นปริมาณ ทีก่ �ำ หนด เรียกได้วา่ ดีตอ่ ไตและดีตอ่ สุขภาพด้วย ยิง่ ได้รบั ประทานคูก่ บั ทัง้ ผักสดและผักสุกด้วยแล้ว อร่อยจนลืมเค็มเลยล่ะ

สมุนไพรรักษา โรคไต

สมุนไพรสู้โรค

สมุนไพรบำ�รุงไตสามารถแยกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภททีใ่ ช้บ�ำ รุงไตโดยตรง เช่น กระชายเหลืองหรือ กระชายแกง ซังข้าวโพด ไหมข้าวโพด ลูกหม่อน ถัว่ เหลืองและหญ้าใต้ใบ เป็นต้น กับอีกประเภททีม่ ฤี ทธิข์ บั ปัสสาวะ ซึง่ จะช่วยขับน้�ำ ออกจากร่างกาย ลดอาการบวมน้�ำ ได้ดี เหมาะสำ�หรับคนทีไ่ ตมีปญ ั หาขับน้�ำ ทีห่ าง่ายและไม่มผี ลข้างเคียง สามารถเอามาต้มน้ำ� ดื่มหรือกินเป็นอาหารได้ เช่น ลูกเดือย ใบเตย ตะไคร้ กระชาย บวบเหลี่ยม เป็นต้น เกสรหรือไหมข้าวและซังข้าวโพด ตากแห้ง ต้มดื่มแทนน้ำ� สรรพคุณ แก้ไตอักเสบ ขับปัสสาวะ แก้บวม น�ำ้ ใบข่อย ใช้ต้มน้ำ�แบบใบชาดื่มแทนน้ำ� สรรพคุณ แก้ไตพิการ ขับปัสสาวะ ดอกบานไม่รโู้ รยสีขาว ใช้ต้มน้ำ�แบบใบชาดื่มแทนน้ำ� สรรพคุณ แก้กระษัย แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับปัสสาวะ เปลือก เหง้า และตะเกียงสับปะรด ต้มกับน้ำ�จนเดือด เคี่ยวนาน 15 นาที สรรพคุณ แก้กระษัย บำ�รุงไต ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว หญ้าใต้ใบทัง้ ต้น ต้มกับน้ำ�จนเดือด เคี่ยวนาน 15 นาที สรรพคุณ กระตุ้นสมรรถภาพไต ต้นหญ้าหนวดแมว หั่นตากแห้ง ชงกินแบบน้ำ�ชาแทนน้ำ� สรรพคุณ แก้กระษัย ทำ�ให้ไตมีกำ�ลัง ขับปัสสาวะ ยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่มีสรรพคุณบำ�รุงและรักษาไต แต่คุณค่า ของสมุนไพรที่มีมากมายหาได้ง่ายๆ ในท้องถิ่นเหล่านี้ จะสูญเปล่า หากเรา ไม่เลือกใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเราเอง กรกฎาคม 2555

15


สัญญาณเตือนถึง NCD Network การเปิดเผยผลการสำ�รวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ (GATS) 2554 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 เป็น “Wake - up call” ไม่เพียง สำ�หรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำ �งานควบคุมยาสูบเท่านั้น ยังเป็นการ ส่งสัญญาณถึงเครือข่าย NCD Network ด้วย ในปัจจัยเสี่ยงหลัก 4 เรื่องที่เป็นสาเหตุของ NCDs มีเรื่องยาสูบ เรื่องการขาดการออกกำ�ลังกาย เรื่องการกินอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ และเรื่องการดื่มสุรานั้น การควบคุมยาสูบได้รับการจัดให้เป็นงานหรือ หุ้น Blue - chip กล่าวคือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่าการลงทุนแก้ปัจจัยเสี่ยงอีก 3 กรณี เนื่องจากทั่วโลกมีบทเรียน เรื่องการควบคุมยาสูบมายาวนานและมีอนุสัญญาควบคุมยาสูบองค์การอนามัยโลกเป็นแม่บทในการดำ�เนินการ การสำ�รวจ GATS ล่าสุดพบว่า อัตราการสูบบุหรี่ของชายไทยที่มีแนวโน้มลดลงมา 15 ปี และทรงตัว มา 5 ปี กลับมีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 45.6% ในปี พ.ศ. 2552 เป็น 46.6% ในปี 2554 จำ�นวนผู้สูบบุหรี่เพิ่มจาก 12.5 ล้าน เป็น 13.0 ล้าน ในเวลาสองปี เมื่อการสำ�รวจในภาพรวมผู้ชายไทยสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น น่าจะอนุมานได้ว่า ผู้ป่วย NCDs ที่สูบบุหรี่มีจำ�นวน 2.5 ล้านคนในปี 2552 ไม่น่าจะลดลง (อัตราการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยเบาหวานชาย = 38% ผู้ป่วยความดันสูง ชาย = 31% จากการสำ�รวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2552) การสำ�รวจ GATS ยังพบว่าในผู้สูบบุหรี่ที่มารับบริการสาธารณสุข มี 55.8% เท่านั้นที่ได้รับคำ�แนะนำ� ให้เลิกสูบบุหรี่ จึงเป็นสิ่งเตือนใจ เตือนสติ NCD Network ที่ทำ�งานควบคุมยาสูบทั้ง Primary prevention และ Secondary prevention ว่าต้องให้ความสำ�คัญกับการควบคุมยาสูบ มากกว่าที่เป็นอยู่

ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธาน NCDs Net

กรุณาส่ง

ผู้ส่ง 16

ผนึกอากรแสตมป์

แผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ A multi - sectoral network for non - communicable diseases control (NCD network) สำ�นักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ อาคารคลังพัสดุ ชั้น 3 ถนนสาธารณสุข 6 กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 กรกฎาคม 2555


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.