WVFT mag1/2014 thai

Page 1

ปีที่ 28

1

2557

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

รูปก็สวย จูบก็หอม

จากความหวังสู่ความฝัน

ฟื้นชีวิต คืนรอยยิ้มในศูนย์เพื่อนเด็ก

1


สารบัญ

3 จากใจผู้อ�ำนวยการ 4 กิจกรรม 9 สกุณาขับขาน การเปลี่ยนแปลงก�ำลังมาถึง

10 รูปก็สวย จูบก็หอม

11 อิ่มท้องด้วยข้าวอิ่มใจ

12 จากความหวังสู่ความฝัน

14 การบรรเทาทุกข์ที่เมืองตาบอน

16 องค์กรศาสนากับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน

18 ฟื้นชีวิต คืนรอยยิ้มในศูนย์เพื่อนเด็ก

บรรณาธิการบริหาร: Jessica Mauer | ทีป่ รึกษา: จิตรา ธรรมบริสทุ ธิ,์ บรรจงเศก ทรัพย์โสภา, วิวรรธน์ ศรีธนางกูร, ประสพ ขุนสิทธิ,์ Janice Evidente กองบรรณาธิการ: ดวงพร โชคทิพย์พัฒนา, ไพวรรณ เบญจกุล, สมลักษณ์ ค�ำแสน, ประกฤต ลีลาวิวัฒน์, ฐิติ เลาหภิญโญจันทรา, Jay Mark Mijares ศิลปกรรม: วิทวัส สุทธิพงศ์เกียรติ์ | นักแปล: มลฤดี จันทวิเชียรวัฒน์ วารสารศุภนิมติ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าในการด�ำเนินพันธกิจของมูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีแก่ผอู้ ปุ การะ ผูบ้ ริจาค คริสตจักร องค์กรร่วมพันธกิจทัง้ ภาครัฐและเอกชน ทีม่ ภี าระร่วมกันในการช่วยเหลือผูย้ ากไร้ ตลอดจนเป็นสารเชิญชวนผูบ้ ริจาคและผูส้ นับสนุน ให้มีส่วนร่วมในพันธกิจด้านต่างๆ ของมูลนิธิศุภนิมิตฯ วารสารฉบับนี้สงวนลิขสิทธิ์ 2014 จัดท�ำโดยมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ห้ามมิให้ท�ำซ�้ำหรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต

ภาพ: ปกหน้าและปกหลัง Jay Mark Mijares อ่านวารสารฉบับออนไลน์และฉบับภาษาอังกฤษ หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

www.worldvision.or.th | E-mail: info@worldvision.or.th | Facebook: www.facebook.com/worldvisionthailand

2

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


จากใจผู้อ�ำนวยการ

เรียน ผู้อุปการะและผู้ร่วมพันธกิจทุกท่าน ดิฉันหวังว่าท่านและครอบครัว คงมีความสุขในเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ที่ผ่านมานะคะ ดิฉันขอเรียนให้ท่านทราบด้วยความปิติยินดีและภูมิใจอย่างยิ่งว่า ปีนี้เป็นปีที่มูลนิธิศุภนิมิตแห่ง ประเทศไทยด�ำเนินงานมาครบ 40 ปี เราจดทะเบียนเป็นมูลนิธิในปี พ.ศ. 2517 หลังจากดิฉันมาร่วม งานที่นี่หนึ่งปี ทั้งนี้ องค์กรศุภนิมิตได้เริ่มพันธกิจในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2516 ด้วยการอุปการะ เด็กก�ำพร้าที่จังหวัดอุดรธานี และท�ำงานด้านเด็กที่จังหวัดเพชรบุรี โดยมีทีมงานเพียง 5 คน 40 ปีที่ผ่านมาเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมาย ปัจจุบัน มูลนิธิศุภนิมิตฯ ท�ำงานใน 48 จังหวัด ทั่วประเทศไทย โดยมีทีมงานทั้งหมด 793 คน และให้การอุปการะเด็กจ�ำนวน 102,617 คน เรามี โอกาสได้เห็นเด็กในความอุปการะ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความส�ำเร็จ บางคนกลับมาเป็นอาสา สมัครหรือให้การอุปการะเด็กรุ่นน้องต่อ การได้เห็นรอยยิ้มและความหวังบนใบหน้าของเด็กๆ และได้ เห็นพวกเขาท�ำความฝันให้เป็นจริง ท�ำให้งานของเราเป็นงานที่สร้างความอิ่มเอมใจอย่างยิ่ง การพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงควรเริ่มจากครอบครัวเป็นอันดับแรก ถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองมี ความพร้อม เด็กๆ ก็จะได้ประโยชน์ ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิศุภนิมิตฯ จึงมุ่งท�ำงานช่วยเหลือทั้งด้านการ ศึกษา การส่งเสริมอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ครอบครัว สุขอนามัย และการคุ้มครองเด็ก ในช่วงเริ่มต้น โครงการพัฒนาและเด็กในอุปการะทั้งหมดได้รับการอุปการะจากนานาชาติ วันนี้ พื้นที่โครงการของเราร้อยละ 75 ได้รับทุนสนับสนุนจากในประเทศ และเด็กในอุปการะของมูลนิธิ ศุภนิมิตฯ ร้อยละ 68 ได้รับการอุปการะจากชาวไทย ในพื้นที่ที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ ท�ำงาน ดิฉันได้เห็นการ พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา และคนไทยช่วยสนับสนุนคนไทยด้วยกันเอง เป็นประสบการณ์ และความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของดิฉัน อย่างไรก็ตาม งานทีเ่ ราท�ำจะส�ำเร็จลุลว่ งไปไม่ได้หากไม่ได้รบั การสนับสนุนจากท่าน รอยยิม้ และ ความหวังที่ท่านน�ำมาให้เด็กๆ มิได้คงอยู่เพียงวันเดียว แต่ได้เติบโตไปพร้อมกับเด็กเหล่านั้นด้วย ดิฉันขอเป็นตัวแทนเด็กทุกคน กล่าวขอบพระคุณทุกท่านส�ำหรับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องคะ ดิฉนั ขออธิษฐานให้ทา่ นและครอบครัวมีความสุข ความส�ำเร็จ และเจริญรุง่ เรืองตลอดปีใหม่ศกนี้ จิตรา ธรรมบริสุทธิ์ ผู้อ�ำนวยการ วารสารศุ ภ นิ มิ ต

3


กิจกรรม

ศูนย์เพื่อนเด็กที่ประเทศฟิลิปินส์

สายธารนํ้าใจบรรเทาภัย ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนในฟิลิปปินส์

คุณสรยุทธ (ที่สองจากซ้าย) มอบเงินบริจาคให้กับคุณจิตรา (ที่สี่จากซ้าย) รายการเรือ่ งเล่าเช้านีจ้ ดั สรรเงินบริจาค ที่ได้รับทั้งสิ้น 58,570,550 บาท ให้กับองค์กร ไม่แสวงหาก�ำไร 3 แห่ง โดยมอบให้องค์การ อาหารโลก (World Food Programme) จ�ำนวน 32 ล้านบาท องค์การยูนิเซฟ จ�ำนวน 13 ล้านบาท และมูลนิธิศุภนิมิตฯ จ�ำนวน 10 ล้านบาท มู ล นิ ธิ ศุ ภ นิ มิ ต ฯ จะน� ำ เงิ น ที่ ไ ด้ รั บ จ�ำนวน 10 ล้านบาท ส่งต่อให้ศภุ นิมติ ประเทศ ฟิลิปปินส์น�ำไปฟื้นฟูพื้นที่ซึ่งได้รับความเสีย หายอย่างหนักที่สุด ได้แก่ จังหวัดเซบู โบฮอล ซามาร์ เลย์เต อิโลอิโล กาปีซ แอนทีค และ อัคลัน ซึ่งศุภนิมิตฟิลิปปินส์ได้ให้ความช่วย เหลือผู้ประสบภัยไปกว่า 162,575 คนแล้ว

4

คุณสรยุทธ สุทัศนะจินดา ผู้ประกาศข่าวจากรายการ เรื่องเล่าเช้านื้ ทางไทยทีวีสีช่อง 3 เป็นตัวแทนมอบเงิน จ�ำนวน 10 ล้านบาท ที่ทางรายการเปิดรับบริจาคจาก ผู ้ ช ม เพื่ อ น� ำไปช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ป ระสบภั ย จากพายุ ไ ต้ ฝุ ่ น ไห่เยี่ยนในประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีคุณจิตรา ธรรมบริสุทธิ์ ผู้อ�ำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทน รับมอบ ณ อาคารมาลีนนท์ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2556

คุ ณ จิ ต รากล่ า วขอบคุ ณ รายการ เรื่ อ งเล่ า เช้ า นี้ ที่ ใ ห้ ค วามไว้ ว างใจมู ล นิ ธิ ศุภนิมิตฯ พร้อมทั้งกล่าวถึงแนวทางการช่วย เหลือต่อไปว่า “ในระยะฟืน้ ฟู เราจะสร้างรายได้ ให้ ช าวบ้ า นโดยว่ า จ้ า งให้ พ วกเขาท� ำ ความ สะอาดถนนและแหล่งน�้ำ เงินอีกส่วนหนึ่งจะ น�ำไปซ่อมแซมบ้านเรือน ปรับปรุงเรือ่ งสุขภาพ อนามัย สุขาภิบาล ดูแลผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ส�ำหรับเด็กที่สูญเสียพ่อแม่จากภัยพิบัติครั้งนี้ ทางศุภนิมิตได้จัดหานักจิตบ�ำบัดเข้ามาช่วย ดูแลเยียวยาจิตใจ” นอกเหนือจากการแจกจ่ายน�้ำ อาหาร ชุดอนามัย และหาทีพ่ กั ให้ผปู้ ระสบภัย ศุภนิมติ ฟิ ลิ ป ิ น ส์ ไ ด้ จั ด ตั้ ง ศู น ย์ เ พื่ อ นเด็ ก (Child

Friendly Spaces - CFS) ขึ้นพร้อมๆ กับ ศูนย์เพือ่ ทารกและสตรี (Women and Young Children Spaces – WAYCS) ทั้งนี้ก็เพื่อให้ เด็กๆ มีสถานทีป่ ลอดภัย และเข้าร่วมกิจกรรม ต่างๆ เช่น การท�ำงานศิลปะ การเล่นกีฬา การ ท�ำกิจกรรมกลุ่มเพื่อคลายเครียด และฟื้นฟู สภาพจิตใจเด็ก ในขณะที่ศูนย์เพื่อทารกและ สตรีเน้นการจัดกลุ่มปฏิสัมพันธ์เพื่อสนับสนุน เรื่องการให้นมแม่แก่ทารก ปัจจุบัน ศูนย์ทั้ง สองแบบมีอยูท่ เี่ มืองทาโคลบานและออลมอค ในจังหวัดเลย์เต ซึ่งได้รับความเสียหายมาก ที่สุด ทั้งนี้ในอนาคตศุภนิมิตฟิลิปปินส์ ตั้งเป้า ไว้ว่าจะช่วยเหลือผู้ประสบภัย 400,000 คน หรือ 80,000 ครอบครัว วารสารศุ ภ นิ มิ ต


กิจกรรม

อินิทรี ดิจิตอล ช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน

คุณธีรีสา (ขวา) มอบเงินบริจาคให้ผู้ประสบภัย พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนกับ ดร.บรรจงเศก (ซ้าย)

บริษัท อินิทรี ดิจิตอล จ�ำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการเกม ออนไลน์ในประเทศไทย โดยคุณธีรีสา มั ทวพันธุ์ ผู้ช่วย กรรมการผูจ้ ดั การ เป็นตัวแทนน�ำเงินจ�ำนวน 100,000 บาท มาบริจาคเพือ่ ช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยจากพายุไต้ฝนุ่ ไห่เยีย่ นที่ ประเทศฟิลปิ ปินส์ ผ่านมูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย โดย มี ดร.บรรจงเศก ทรัพย์โสภา ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด และระดมทุน เป็นตัวแทนรับมอบ ณ ส�ำนักงานเอกมัย มูลนิธิศุภนิมิตฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 มูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้มอบเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ ประสบภัย จ�ำนวนกว่า 400,000 คน (80,000 ครอบครัว) ทีอ่ ยูอ่ าศัยในพืน้ ทีซ่ งึ่ ได้รบั ความเสียหายอย่างหนักทีส่ ดุ โดย เฉพาะใน 8 จังหวัดของพื้นที่บริเวณหมู่เกาะวิซาย่าตอน กลาง ที่ประกอบไปด้วย จังหวัดเซบู โบฮอล ซามาร์ เลย์เต อิโลอิโล กาปีซ แอนทีค และอัคลัน

สยามฟูดฯ มอบผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อช่วยเหลือสังคม ดร.บรรจงเศก ทรัพย์โสภา ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด และระดมทุ น มู ล นิ ธิ ศุ ภ นิ มิ ต แห่ ง ประเทศไทย มอบ เกียรติบัตรแด่คุณธัญมาส วรชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามฟูด เซอร์วิส จ�ำกัด ในฐานะองค์กรผู้ให้การ สนับสนุนผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อการจัดกิจกรรมช่วยเหลือ สังคมร่วมกับมูลนิธิศุภนิมิตฯ ณ บริษัท สยามฟูดฯ เมื่อ เดือนธันวาคม 2556 บริษัท สยามฟูดฯ ผู้น�ำเข้าและจัดจ�ำหน่ายอาหาร จากทัว่ โลก มอบเส้นพาสต้าจ�ำนวน 1,627 แพค เป็นมูลค่า 106,991.52 บาท ให้กับมูลนิธิศุภนิมิตฯ ซึ่งทางมูลนิธิ ศุภนิมิตฯ ได้น�ำมาใช้ใน 3 กิจกรรม คือ 1.น�ำไปประกอบ อาหารแจกจ่ า ยเด็ ก ยากไร้ ในความดู แ ลของมู ล นิ ธิ ศุภนิมิตฯ 2.น�ำไปมอบให้โรงครัวในพื้นที่นํ้าท่วม เพื่อ ประกอบอาหารแจกจ่ายแก่ผู้ประสบอุทกภัย และสุดท้าย น�ำไปจัดจ�ำหน่ายในราคาพิเศษเพือ่ น�ำรายได้เข้าโครงการ “มื้อเช้าเพื่อน้องท้องอิ่ม”

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

ดร.บรรจงเศก (สองจากซ้าย) มอบเกียรติบตั รให้กบั คุณธัญมาส (สามจากซ้าย)

5


กิจกรรม

คุณจิตรา (ซ้าย) พร้อมคุณ ชาคริต (ขวา) ร่วมเปิดตัว แคมเปญ Make a Wish

คุณจิตรา และเด็กๆ ในมูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ

เจมส์ มาร์ ถ่ายภาพร่วมกับน้องๆ ในมูลนิธิศุภนิมิตฯ

เทสโก้ โลตัส สานต่อ โครงการ “เพื่อน้องท้องอิ่ม ปีที่ 2” คุณชาคริต ดิเรกวัฒนชัย รองกรรมการผู้จัดการ แผนก กิจการสาธารณะเทสโก้ โลตัส พร้อมคุณจิตรา ธรรมบริสทุ ธิ์ ผู้อ�ำนวยการ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ร่วมเปิดตัว กิจกรรม Make a Wish: ช็อปสนุก สุขเสกได้ ณ ลาน กิจกรรม Digital Gateway สยามสแควร์ เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2556 น�ำขบวนโดยดาราหนุ่มสุดฮอตหน้าใส “เจมส์ มาร์” รายได้ส่วนหนึ่งจากกิจกรรม Make a Wish จะน�ำมา มอบเป็นอาหารเช้า 200,000 มื้อ ให้เด็กๆ ในความดูแล ของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ทางภาคเหนือและภาคอีสาน ภายใต้ โครงการ “เพื่อน้องท้องอิ่ม” ซึ่งนับเป็นปีที่ 2 แล้ว ที่เทสโก้ โลตัสร่วมเป็นหนึง่ ในผูส้ นับสนุนมือ้ เช้า อันเป็นมือ้ ส�ำคัญแก่ น้องๆ เทสโก้ โลตัส จัดกิจกรรม Make a Wish ขึ้นเพื่อ ให้ลูกค้าทุกท่านได้ร่วมสนุก ลุ้นของรางวัล และยังได้กุศล ง่ายๆ เพียงเขียนค�ำขอพรที่ ใบเสร็จจากการซื้อสินค้าที่

6

เทสโก้ โลตัสทุกสาขา น�ำใส่กล่องรับชิ้นส่วนเพื่อลุ้นรับ รางวัล ในขณะเดียวกันใบเสร็จก็จะถูกแปรเปลี่ยนเป็นมื้อ เช้าที่เปี่ยมคุณค่าให้กับเด็กๆ เพียงเท่านี้ท่านก็จะเป็นทั้งผู้ ส่งความสุข และลุ้นเป็นผู้โชคดีรับของรางวัลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ไปพร้อมๆ กัน โครงการ ‘มือ้ เช้าเพือ่ น้องท้องอิม่ ’ โดยมูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ ด�ำเนินการใน 8 อ�ำเภอ 7 จังหวัด ทางภาคเหนือและภาค อีสาน เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมเด็กยากไร้ก่อนวัยเรียนให้ ได้รับอาหารเช้าที่มีคุณค่า ถูกหลักตามโภชนาการ เพราะ เด็กในครอบครัวยากไร้จ�ำนวนมาก ไม่มีโอกาสรับประทาน อาหารมื้ อ เช้ า ที่ มี คุ ณ ค่ า ท� ำให้ เ ด็ ก ส่ ว นใหญ่ เ กิ ด ภาวะ ขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการต�่ำกว่าเกณฑ์ ภูมิคุ้มกัน โรคต�่ำ และตัวเล็กแคระแกร็นกว่าเด็กในวัยเดียวกัน ส่ง ผลต่อประสิทธิภาพการเรียนในที่สุด ท่านสามารถดูข้อมูล เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ “มื้อเช้าเพื่อน้องท้องอื่ม” ได้ที่ http://www.worldvision.or.th/breakfast4kids.html วารสารศุ ภ นิ มิ ต


กิจกรรม

ศิษย์เก่าโรงเรียนมงฟอร์ต เลี้ยงอาหารกลางวันเด็กนักเรียน

เมื่อเร็วๆ นี้ คุณธนินท์ ภั ทระเจษฎาทิศ ได้น�ำศิษ ย์เก่าโรงเรียน มงฟอร์ตวิทยาลัยกว่า 10 คน จัดกิจกรรมใกล้ชิดชุมชน เลี้ยงอาหาร กลางวันเด็กนักเรียนจ�ำนวน 80 คน ของโรงเรียนบ้านเมืองกืด้ อ�ำเภอ แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ ยังร่วมเล่นกิจกรรมอื่นๆ กับ นักเรียน เช่น เล่นเกมส์เก้าอี้ดนตรี เป่าลูกโป่ง ฯลฯ รวมถึงได้มอบ ยาสามัญประจ�ำบ้าน และผ้าห่มจ�ำนวน 200 ชุดให้กบั นักเรียนอีกด้วย มูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ สนับสนุนให้ผอู้ ปุ การะได้รว่ มท�ำกิจกรรมใกล้ชดิ ชุมชน เพื่อสานสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปการะและเด็กในความดูแล ทั้งยังได้ใกล้ชิดกับครูประจ�ำชั้นและครอบครัว ตลอดจนคนในชุมชน ที่เด็กของพวกเขาอยู่ คุณธนินท์เล่าความรู้สึกว่า “รู้สึกอิ่มใจมีความสุข ได้เห็นตัวตน ของเด็ก การแสดงออกของเด็กที่มาร่วมงานอย่างสนุกสนาน รู้สึกดี มากๆ กับการได้ท�ำกิจกรรมนี้” มู ล นิ ธิ ศุ ภ นิ มิ ต ฯ ขอเชิ ญ ชวนท่ า นร่ ว มเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการ สร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ลงสู่ชุมชน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีให้ เกิดขึ้นกับเด็กๆ และชุมชน

2

3

1 1. คณะยูพเี อสร่วมกิจกรรมโครงการเกษตรเพือ่ อาหารกลางวัน 2. เจ้าหน้าที่ยูพีเอสและเด็กๆ น�ำไม้มาท�ำทางเดินล�ำเลียงปลา 3. เด็กๆ และเจ้าหน้าที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ รดน�้ำต้นไม้ร่วมกัน 4. เจ้าหน้าที่ยูพีเอสง่วนกับการปลูกต้นไม้ 5. เด็กๆ ช่วยกันน�ำต้นไม้ไปปลูกในโครงการเกษตรฯ 4

อิ่มท้อง… สุขใจ กับ UPS

บริษัท ยูพีเอส พาร์เซล ดีลิเวอร์รี่ เซอร์วิส จ�ำกัด (UPS) บริษัท ขนส่งสินค้าและไปรษณียเ์ อกชน น�ำโดยคุณนาถนดา กุศลานันต์ ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล พาพนักงานบริษัท กว่า 80 คน เดินทางร่วมมอบ ‘โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน’ ให้กับ โรงเรียนไทยเสรีอุตสาหกรรม 3 อ�ำเภออรัญประเทศ จังหวัด สระแก้ว ผ่านมูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย เมือ่ เดือนธันวาคม 2556 พนักงานยูพีเอส ได้แบ่ง 6 ทีม เพื่อร่วมกิจกรรม 6 ฐาน กับเด็กนักเรียน ทัง้ การปลูกผักสวนครัว ปลูกมะละกอ ปลูกพืช สมุนไพร เลีย้ งปลานิล ปลูกมะเขือ และฐานปรุงอาหารกลางวัน วารสารศุ ภ นิ มิ ต

5

ที่เตรียมไว้ส�ำหรับทุกคนร่วมรับประทานหลังเสร็จสิ้นภารกิจ นางสุดา จรศรชัย ตัวแทนยูพีเอส เล่าถึงกิจกรรมครั้งนี้ ว่า “รู้สึกดีมากที่ยูพีเอส สนับสนุนโครงการเกษตรที่สอดคล้อง กับพระราชด�ำริเศรษฐกิจพอเพียง และประทับใจมากที่ได้ลงมือ ท�ำกิจกรรมกับเด็กนักเรียน นอกจากนี้อยากให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ และเข้าใจในวิถีเศรษฐกิจพอเพียง” นายธ�ำรง ไชยทุ่งฉิน ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนกล่าวว่า “ขอ ขอบคุณคณะยูพีเอส และมูลนิธิศุภนิมิตฯ ที่ได้มาร่วมกิจกรรม ในครั้งนี้ ทางโรงเรียนจะพยายามต่อยอดโครงการให้เกิด ประโยชน์สูงสุดสู่นักเรียนและชุมชน”

7


กิจกรรม

คุณแม่ใจดีช่วยมื้อเช้าน้อง และผู้ประสบภัยจากพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน

(จากซ้ายไปขวา) คุณพรนภัส คุณทองดี และคุณกัษณ ร่วมบริจาค เงินให้มูลนิธิศุภนิมิตฯ

คุณทองดี เสาโท พร้อมบุตรสาวและบุตรเขย คุณพรนภัสและคุณกัษณ อ�ำนรรฆกิตติกลุ กรรมการผูจ้ ดั การบริษัทสยามซานิเทค (1995) จ�ำกัด มอบเงิน บริจาคจ�ำนวนทั้งสิ้น 27,800 บาท ให้มูลนิธิศุภนิมิตแห่ง ประเทศไทย เพื่อสนับสนุนโครงการ ‘มื้อเช้าเพื่อน้องท้องอิ่ม’ จ�ำนวน 20,000 บาท และเพือ่ ช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยพิบตั จิ ากพายุไต้ฝนุ่ ไห่เยีย่ น จ�ำนวน 7,800 บาท เมือ่ เดือนพฤศจิกายน 2556 ทีบ่ ริษัท สยามซานิเทค ซึ่งคุณทองดีได้รวบรวมเงินบริจาคเนื่องในโอกาสครบรอบอายุ 72 ปี โดยงดรับของขวัญ แต่เปลี่ยนเป็นการหยอดกล่องบริจาคแทน

เด็กในความอุปการะร่วมร้องเพลงขอบคุณ

1

2

3

4

8

ที่กรุงเทพฯ มูลนิธิศุภนิมิตฯ พาคณะนักร้อง เด็กๆ ชาวไทยภูเขาในความอุปการะจากอ�ำเภอ ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอ�ำเภอ แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ร่วมขับร้อง บทเพลงอวยพรและมอบความสุ ข ในช่ ว ง เทศกาลคริสต์มาสและปี ใหม่ ให้กับสื่อและ บริษั ทที่มีส่วนช่วยเหลือและสนับสนุนตลอด ช่วงปีที่ผ่านมา เช่น หนังสือพิมพ์บางกอก โพสต์, บริษัท ไอแคป, ธนาคารเกียรตินาคิน, ไลอ้อนจ�ำกัด มหาชน, ทรู คอร์เปอร์เรชั่น รายการเรื่องเล่าเช้านี้ บริษัท เจ้าคุณเกษตร พืชผล จ�ำกัด เป็นต้น โดยเด็กๆ ร้องเพลงใน ภาษากลางและภาษาพื้นเมืองของตนเอง ที่ เ ชี ย งใหม่ มู ล นิ ธิ ศุ ภ นิ มิ ต ฯ พาคณะ นักร้องเด็กในความอุปการะจากอ�ำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เดินทางเยี่ยมเยือนขับร้อง บทเพลงอวยพรและมอบความสุขในเทศกาล คริสต์มาสและปีใหม่ ให้บริษัทห้างร้านต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีส่วนช่วยเหลือและ สนับสนุนตลอดช่วงปีที่ผ่านมา อาทิ เทสโก้ โลตัส, แม็คโคร, บิ๊กซี, โรบินสัน, โรงแรม เชียงใหม่ออร์คิด โรงแรมเมย์ฟลาวเวอร์ส แกรนด์ เป็นต้น

คณะนักร้องร้องเพลงอวยพร 1. ที่รายการเรื่องเล่าเช้านี้ 2. ที่หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ 3. ที่ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เชียงใหม่ 4. ที่โรงแรม เชียงใหม่ออร์คิด วารสารศุ ภ นิ มิ ต


บอกเล่าผ่านเรื่อง

สกุณาขับขาน

การเปลี่ยนแปลงก�ำลังมาถึง โดย สมลักษณ์ ค�ำแสน

พิธีเปิดส�ำนักงานแห่งใหม่ที่ชาวบ้านมาเข้าร่วม

ครอบครัวเด็กลงมือปลูกพริกที่ได้รับความรู้จากการอบรม

สียงหัวเราะและเสียงพูดคุยของคุณแม่ห้าคนที่สวมเสื้อผ้าสวยงาม และเดินเคียงข้างกันมาสูป่ ระตูทางเข้างาน เพือ่ มาร่วมพิธเี ปิดอาคาร แห่งใหม่ บนพื้นที่ของศูนย์เรียนรู้และการพัฒนา ความตื่นเต้นราย รอบตึกคอนกรีตสีขาวและสีส้มอันสดใส ที่แห่งนี้ก�ำลังน�ำความหวังใหม่ มาให้ โครงการพัฒนาชุมชนเป็นพื้นที่แบบพึ่งตนเองและยั่งยืนอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ของมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย น�ำโอกาสด้าน การเกษตร เช่น การอบรมขยายพันธุ์สุกร เลี้ยงไก่ไข่ ปลูกผักสวนครัว ปลอดสารพิษ ฟักทอง ล�ำใย รวมถึงการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ มาสู่ชุมชน เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน โครงการส่งเสริมการเพาะเห็ดที่ด�ำเนินการไปแล้ว ช่วยให้พ่อแม่ ผูป้ กครองของเด็กได้เรียนรูท้ กั ษะใหม่ๆ และหนทางในการหารายได้เพิม่ “เราได้มอบก้อนเชื้อเห็ดให้ชาวบ้าน เพราะในอมก๋อยยังไม่มีใคร ท�ำ” อิสระ บุญสม ผู้จัดการโครงการฯ อมก๋อย เล่า 1,360 ครอบครัว ใน 23 หมู่บ้านของพื้นที่ด�ำเนินงานโครงการฯ อมก๋อย และละแวกใกล้เคียง ต่างตั้งความหวังที่จะได้รับประโยชน์จาก ศูนย์เรียนรู้ แม้ชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลก็มีโอกาสเรียนรู้เช่นกัน เพราะใน อาคารมีที่พักรับรองส�ำหรับผู้เข้าอบรมที่ต้องการค้างคืน เด็กๆ ทีฉ่ นั พบวันนี้ ต่างยิม้ แย้มแจ่มใสเต็มที่ พวกเขาอาจรูว้ า่ ศูนย์ เรียนรูม้ คี วามหมายต่ออนาคตของพวกเขา อิสระเล่าให้ฟงั ว่า เมือ่ ไม่นาน นี้ มีเด็กจ�ำนวนมากไม่สบายจากการติดเชือ้ ปรสิต พวกเขาไม่มอี าหารกิน อิ่มท้อง และที่นี่มีเด็กน้อยคนที่จะเรียนจบชั้นมัธยมปลาย พ่อแม่ผปู้ กครองเด็ก ต่างรูถ้ งึ ความส�ำคัญของศูนย์เรียนรู้ แม่หลาย คนบอกฉันว่า ลูกๆ ของเธอเป็นเด็กในความอุปการะ พวกเขาพร้อมแล้ว ส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และรู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งที่ศูนย์เรียนรู้นี้จะ มอบให้แก่ครอบครัวและชุมชนของพวกเขา สิ่งที่ท�ำให้เกิดความหวังนี้ ไม่ใช่แค่สัตว์เลี้ยง หรือพืชผักสวนครัว แต่คือการเพิ่มพูนความรู้ต่างหาก ที่จะช่วยรับประกันว่าลูกๆ ของพวก เขาจะได้ไปโรงเรียน และมีสุขภาพแข็งแรง และเมื่อชาวบ้านสามารถ พัฒนาไร่นาให้ดขี นึ้ พวกเขาก็สามารถส่งลูกๆ ให้ได้รบั การศึกษาทีด่ ี จน สูงกว่าระดับมัธยม เมือ่ เจ้าหน้าทีม่ ลู นิธศิ ภุ นิมติ ฯ และผูน้ ำ� ชุมชนเตรียมพร้อมตัดริบบิน้ สีชมพูทผี่ กู ไว้ทปี่ ระตู ฉันสังเกตเห็นนกน้อยตัวหนึง่ เกาะอยู่ใกล้หน้าต่าง มันเริม่ ส่งเสียงร้อง เหมือนประกาศว่า การเปลีย่ นแปลงก�ำลังมาถึงชุมชน แห่งนี้แล้ว

อบรมปลูกฟักทองให้กับครอบครัวเด็ก

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

ศูนย์เรียนรูเ้ พือ่ การพัฒนาอมก๋อย เป็นหนึง่ ใน 17 ศูนย์ ทีม่ ลู นิธิ ศุภนิมิตแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นภายใต้ชื่อ “ศูนย์ศุภนิมิตเพื่อ การพัฒนา” ในภาคเหนือมี 6 แห่งทีจ่ งั หวัดเชียงใหม่ แม่ฮอ่ งสอน น่าน เชียงราย 3 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 5 แห่ง ทีจ่ งั หวัด อุดรธานี หนองบัวล�ำภู ร้อยเอ็ด ขอนแก่น 2 แห่ง ภาคใต้ 1 แห่ง ที่จังหวัดระนอง ภาคกลางและภาคตะวันออก มี 5 แห่ง ที่จังหวัด อุทัยธานี สระแก้ว จันทบุรี เพชรบุรี และชลบุรี

9


ถ้

รูปก็สวย จูบก็หอม

าเปรียบศูนย์การเรียนรู้แนวเศรษฐกิจพอเพียงบ้านทุ่งทับควาย ต�ำบลทุง่ ไทรทอง อ�ำเภอล�ำทับ จังหวัดกระบี่ เป็นหญิงสาว ความ สวยของเธอจัดอยู่ในระดับนางงามเลยทีเดียว เพราะเธอดึงดูด คนทั้งใกล้ทั้งไกลให้มาที่บ้านทุ่งทับควายเพื่อยลโฉมเธอจนหัวกระได แทบไม่แห้ง “เดี๋ยวกลุ่มโน้นมา กลุ่มนี้มา กลุ่มศุภนิมิตจากทุ่งหว้า จังหวัด สตูล เพิ่งมาดูงานที่นี่เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว” นายยงยุทธ สุชาฎา สมาชิก รุ่นบุกเบิกของศูนย์การเรียนรู้ฯ บ้านทุ่งทับควายพูดพร้อมยิ้มกริ่ม แต่กว่าเธอจะสวยจนเป็นที่เลื่องลือ นายสมหวิง หนูศิริ ประธาน ศูนย์และสมาชิกต้องปรับโฉมให้เธออยู่หลายคอร์ส เพราะเดิมเธอเป็น เพียงผืนดินสองไร่ที่รกชัฏไปด้วยหญ้า คอร์สแรกเริ่มด้วยปุ๋ยหมักซึ่ง เป็นความเชี่ยวชาญของนายสมหวิงที่เป็นหมอดิน เมื่อข่าวล่วงรู้ไปถึง โครงการพัฒนาชุมชนเป็นพื้นที่แบบพึ่งตนเองและยั่งยืนล�ำทับ เพราะ สมาชิกบางคนเป็นผูป้ กครองของเด็กในความอุปการะ โครงการจึงเข้า ร่วมสมทบด้วยการสนับสนุนการเลี้ยงหมู “เราได้งบจากศุภนิมติ มาสร้างคอกหมู ซือ้ หมูรวมทัง้ อาหาร เลีย้ ง ได้สักพักพอมันโตได้ท่ีก็ขาย น�ำเงินส่วนหนึ่งไปซื้อลูกหมูมาเลี้ยงต่อ ส่วนหนึ่งไปซื้อแพะ 5 ตัวมาเลี้ยง แพะนี่เราเลี้ยงขายไปสองรอบแล้ว ตอนนี้มีอยู่ 16 ตัว” นายยงยุทธพูด เมือ่ ทีด่ นิ รกร้างเริม่ มีความงามผุดผาดขึน้ นายสมหวิงและสมาชิก ไม่รอช้าเดินหน้าต่อด้วยการปลูกผักสวนครัว และขุดบ่อเลี้ยงกบไว้ใต้ ร้านของพืชไม้เลื้อยขึ้นค้างอย่างฟักแฝงเพื่อให้กบได้อาศัยร่มเงา และ เลี้ยงไก่ไข่และไก่บ้าน รวมถึงผลิตอาหารไก่ไว้ใช้เองเพื่อลดต้นทุน

10

โดย ไพวรรณ เบญจกุล

“ทีแรกเราผสมเองด้วยมือ พอท�ำในปริมาณมากชักไม่ไหว เลยขอ การสนับสนุนเครือ่ งผสมอาหารจากศุภนิมติ ท�ำให้เราประหยัดต้นทุนได้ ครึ่งต่อครึ่ง อาหารที่เราท�ำค�ำนวณแล้วไก่ 1 ตัวกิน 90 สตางค์ต่อวัน ส่วนอาหารส�ำเร็จที่ซื้อจะตกตัวละ 1.70 บาท” นายยงยุทธพูด นอกจากนี้ยังเลี้ยงปลาดุก เลี้ยงวัว ตลอดจนน�ำเอาสิ่งที่มีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น เอาขี้หมูมาผลิตแก๊สชีวภาพ สิ่งเหล่านี้นายสมหวิงและสมาชิกใช้เวลา 2 ปีนับจากการถอน หญ้าต้นแรกก็สามารถพลิกพื้นที่รกร้างให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ ดังที่ ปรารถนา “แต่เป้าหมายสูงสุดของประธานสมหวิง คือการให้สมาชิกทุกคน ต้องน�ำความรูท้ ี่ได้ไปปฏิบตั ิ หากเราไม่รจู้ ริงเวลามีคนมาเยีย่ มศูนย์เรา จะอธิบายเขาได้อย่างไร ฉะนั้นทุกคนต้องปลูกผักสวนครัวที่บ้านเป็น อย่างน้อย จะท�ำมากท�ำน้อยขึ้นอยู่กับเนื้อที่ที่แต่ละคนมี ประธานยํ้า เสมอว่าให้ลูกๆ แต่ละครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เช่น ให้ช่วยถอน หญ้า รดนํ้า พอผักโตก็ให้เด็กไปเก็บ เขาจะได้ภูมิใจ สมาชิกที่นี่ไม่ต้อง ซื้อผักกินเลย แล้วยังได้แบ่งเพื่อนบ้านด้วย” นายยงยุทธพูด เมื่อชีวิตประจ�ำวันอิงอยู่กับศูนย์ฯ จึงเกิดความผูกพัน ท�ำให้เมื่อมี เวลาว่าง สมาชิกจะพากันจูงลูกจูงหลานมาพบปะพูดคุยพร้อมจิบกาแฟ แบบชิลล์ๆ ที่ศูนย์แห่งนี้ ประหนึ่งพักผ่อนหย่อนใจในสวนสาธารณะ “ความพร้อมเพรียงของสมาชิกท�ำให้เรามาถึงวันนี้ ผมภูมใิ จมาก” นายยงยุทธพูดด้วยรอยยิ้ม เป็นไงล่ะ อยากไปเห็นศูนย์การเรียนรูแ้ นวเศรษฐกิจพอเพียงบ้าน ทุ่งทับควายด้วยตาแล้วหรือยัง

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


บอกเล่าผ่านเรื่อง

อิ่มท้อง ด้วยข้าวอิ่มใจ ข้ โดย ประกฤต ลีลาวิวัฒน์

าวออร์แกนิค ที่ชาวบ้านปลูกด้วยความตั้งใจ และเปี่ยมไปด้วย ความหวังที่จะสร้างครอบครัวให้มีชีวิตที่ดีกว่าเดิม ส่งมาถึงมือ คุณแล้ว 86 ครอบครัว ที่ปลูกข้าวออร์แกนิคในวันนี้ เริ่มขึ้นใน 3 ปีที่แล้ว เมื่อ 15 ครอบครัว ในอ�ำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ และอ�ำเภอ ศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวล�ำภู ได้รับการสนับสนุนความรู้ในเรื่อง เกษตรธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี พร้อมได้รับทุนตั้งต้น และการวางแผน ท�ำบัญชีการใช้จ่าย เพื่อวางแผนการท�ำมาหากินในระยะยาว จากมูลนิธิ ศุภนิมิตแห่งประเทศไทย “เราสนับสนุนให้ชาวบ้านสามารถดูแลตนเองได้อย่างยั่งยืน โดย การให้ความรู้ต่างๆ เช่น การให้ชาวบ้านหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทน เพราะ มีความปลอดภัย และช่วยลดต้นทุนการผลิต” คุณเทวี ชัยวิเศษ ผูจ้ ดั การ แผนกบริการงานพัฒนาธุรกิจ กล่าว ข้าวอิ่มใจ ช่วยเพิ่มความหวังและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ชาวบ้าน รายได้จากการจ�ำหน่ายจะกลับคืนสู่ชุมชนที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ ด�ำเนินงาน ซึง่ จะช่วยสร้างงานให้ชมุ ชน มีรายได้ทมี่ นั่ คงขึน้ สามารถส่งลูกหลานให้ ได้เรียนหนังสือ ขณะเดียวกัน ก็ชว่ ยให้ไม่ตอ้ งอพยพไปท�ำงานต่างถิน่ มี เวลาอยูก่ บั ครอบครัวดูแลลูกหลานของตนเอง สอดคล้องกับภารกิจหลัก ของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความอยู่ดีมีสุขของเด็กๆ

ผลิตภัณฑ์ข้าวเพื่อช่วยเหลือชุมชนของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ใช้ชื่อว่า “ข้าวอิ่มใจ” มีข้าวหลายสายพันธุ์ที่ผ่านการเพาะปลูกแบบ เกษตรธรรมชาติ จึงมัน่ ใจว่าดีตอ่ สุขภาพ และได้รบั ประโยชน์มากมายจากวิตามินและแร่ธาตุ โดยขณะนีม้ ีให้เลือก 4 ชนิด คือ

ข้าวกล้องหอมจังหวัด1 มีจมูกข้าวและใยอาหารช่วยสร้าง ภูมิคุ้มกันโรคให้ร่างกาย ป้องกัน เลือดออกตามไรฟัน ใยอาหาร ช่ ว ยดู ด ซั บ ของเสี ย และสารพิ ษ ต่างๆ ออกจากร่างกาย ป้องกัน การเกิดมะเร็งล�ำไส้

ข้าวฮางหอมมะลิ1 หรือข้าวกล้องงอก ผลิตขึ้นตาม กรรมวิธีท้องถิ่นของชาวบ้านใน ภาคอี ส าน มี ส ารกาบา ช่ ว ย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ความจ�ำ เสื่อม ลดความดันโลหิต สาร ต้านอนุมลู อิสระกลุม่ ฟิโนลิค ช่วย ยับยั้งการเกิดฝ้า ชะลอความแก่

ข้าวหอมนิล1 มีธาตุเหล็ก และสารต้านอนุมูล อิสระมากกว่าข้าวโดยทั่วไป 7 เท่า ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง ใยอาหารในข้ า วช่ ว ยลดระดั บ น�้ำตาลในเลือด

ข้าวกล้องหอมมะลิแดง2 มีสารทองแดง ธาตเหล็ก เบต้า แคโรทีน วิตามินอี และลูทีนสูง ช่วยลดอัตราเสีย่ งต่อการเป็นโรค หลอดเลือดและหัวใจ โรคความ จ�ำเสื่อม โรคไขข้ออักเสบ

ท่านสามารถซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ที่ ส�ำนักงานเอกมัย มูลนิธิศุภนิมิตฯ โดยสามารถเลือก จัดเป็นชุดของขวัญ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 081-708-0711 1 2

ข้อมูลจาก http://ptikumpo.wordpress.com/2011/01/25/คุณประโยขน์ของข้าวแต่ล/ ข้อมูลจากภ นิhttp://www.kasetorganic.com/ข้ าวกล้องหอมมะลิแดง.html วารสารศุ มิ ต

11


บอกเล่าผ่านเรื่อง

12

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


บอกเล่าผ่านเรื่อง

จากความหวังสู่ความฝัน ใ โดย ไพวรรณ เบญจกุล

บหน้าที่ตั้งอกตั้งใจของเด็กหญิงเด็กชาย 30 คนที่ นั่งรวมกลุ่มภายในห้องโถงของโครงการ Hope for Children in Crisis ดูละลานตาไปหมด แต่นั่นไม่ได้ ท�ำให้ใบหน้าทีม่ คี วิ้ เข้ม คูก่ บั ดวงตาคมขลับรับด้วยจมูกโด่ง และริมฝีปากสีชมพูระเรื่อลดความโดดเด่นลงไปแม้แต่ น้อย ความสะดุดตาท�ำให้มีค�ำถามกับศรีสุดา สุวรรณขาว เจ้าหน้าที่โครงการ Hope for Children in Crisis ว่า “เด็ก ผู้หญิงคนน่ารักนั้น เป็นใครกัน?” “กัลยาเด็กพม่า มาเรียนหนังสือกับเรา” กัลยาเกิดที่เมืองมะละแหม่ง (Mawlamyaing) ใน ประเทศพม่า เธอเป็นคนเล็กและลูกสาวคนเดียวในบรรดา พี่น้อง 3 คน แม่เธอประกอบอาชีพขายปลาในตลาดเลี้ยง ครอบครัว จนเธออายุ 6 ปี แม่กต็ ดั สินใจเดินทางมาท�ำงาน ในประเทศไทยเนื่องจากพ่อทิ้งครอบครัวไป “แม่ฝากหนูไว้กับอาค่ะ พอหนูอายุ 10 ขวบ เรียน หนังสืออยู่ชั้น ป.4 แม่ก็รับหนูมาเมืองไทย แม่บอกว่าหนู ไม่ต้องเรียนแล้วค่าเรียนแพง” กัลยาในวัย 13 ปีพูด กัลยามาอยูก่ บั แม่และพ่อเลีย้ งทีจ่ งั หวัดภูเก็ต เธอไม่มี โอกาสไปโรงเรียนอีก และต้องพักอาศัยในสวนยางพารา เปลีย่ วๆ ทีท่ กุ เช้ามืดจนใกล้เทีย่ งต้องอยูเ่ พียงล�ำพัง เพราะ แม่และพ่อเลี้ยงออกไปกรีดยาง สภาพความเป็นอยู่ของ กัลยาได้สร้างความกังวลใจให้กับนางยีและนางเติ้นเพื่อน ของแม่เธอ “เราไปเยี่ ย มแล้ ว เห็ น กั ล ยาอยู ่ แ บบนี้ คิ ด ว่ าไม่ ปลอดภัยส�ำหรับเด็กผู้หญิง เลยบอกแม่กัลยาว่าให้เธอมา อยู่กับเรา เราจะดูแลให้” นางยีพูด นางยีและนางเติ้นท�ำงานเป็นกุ๊กอยู่ ในร้านอาหาร รัสเซียที่หาดป่าตอง ทั้งคู่เช่าห้องขนาด 4 ตารางเมตร อยู่ร่วมกับเพื่อนๆ ชาวพม่าอีก 5 คน ทุกคนท�ำงาน เป็ น กะ ท� ำให้ ก ารเข้ า พั กในห้ อ งต่ า งเวลากั น ซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ดี ส� ำ หรั บ กั ล ยาในแง่ ที่ เ ธอมี ผู ้ ดู แ ลตลอดเวลา ที่ นี่ กั ล ยาไม่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าตให้ อ อกไปข้ า งนอกตามล� ำ พั ง ด้วยนางยีเกรงอันตรายที่อาจมากับผู้คนที่ทั้งไม่รู้หน้า และไม่รู้ใจ อีกทั้งแหล่งบันเทิงเริงรมย์ก็มีอยู่ทุกซอก ทุกซอย กัลยาอยูท่ นี่ ี่ได้พกั หนึง่ ญาติของนางยีซงึ่ ท�ำงานอยู่ใน

ศูนย์สงั คมพัฒนา มูลนิธคิ าทอลิกสุราษฎร์ธานี (Diocesan Social Action Center of Suratthani Catholic Foundation (DISAC)) แวะมาเยี่ยมนางยีและได้เจอกับ กัลยา “ญาติของฉันรูเ้ รือ่ งโรงเรียนของศุภนิมติ เพราะบาง ครั้งไดแซค (DISAC) มีกิจกรรมที่ท�ำร่วมกับศุภนิมิต เขา บอกกัลยาว่าที่ใกล้ๆ ตรงนีม้ โี รงเรียนเปิดสอนเด็กพม่า ไม่ ต้องเสียตังค์ ไปเรียนสิ กัลยาก็อยากเรียน ฉันเลยโทรศัพท์ คุยกับแม่เธอ แม่เธอก็อนุญาต” นางยีพูด กัลยาได้ไป โรงเรียนอีกครั้ง หลังจากหยุดเรียนไปถึง 2 ปี “หนูมาเรียนได้ 1 ปีแล้วค่ะ หนูชอบมาก สนุก มี เพื่อนเยอะ หนูได้เรียนภาษาไทยช่วยให้หนูอ่านภาษาไทย ได้ เวลาหนูไปไหนสามารถอ่านป้ายได้ ท�ำให้หนูเข้าใจมาก ขึ้นค่ะ เวลาที่หนูไปซื้อของคนขายจะถามหนูว่า น่ารักจัง พูดไทยได้ไหม” กัลยายิ้มอย่างภูมิใจ แน่นอน! กัลยาไม่ใช่แค่พูดและฟังภาษาไทยได้ แต่ ความสามารถของเธออยู่ในขั้นดีทีเดียว กระทั่งได้รับมอบ หมายจากเจ้าหน้าที่โครงการให้เป็นล่ามตัวน้อยๆ เสมอ “กัลยาท�ำได้ดีทีเดียว เธอเป็น 1 ใน 3 ของนักเรียน พม่าในโรงเรียนของเราที่ใช้ภาษาไทยได้ดี” ศรีสุดาชม นอกจากนีก้ ลั ยายังได้เรียนภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ และศิลปะ “หนูชอบวิชาศิลปะค่ะ ครูอ๊อด (อาสาสมัครของ โครงการ) บอกหนูว่าภาพวาดสวยๆ เอาไปขายได้” กัลยา พูดพร้อมอวดภาพ ศักยภาพของกัลยาได้รับการพัฒนาขึ้น หลายด้าน ใน 1 ปีของการเรียนในโรงเรียนของโครงการ Hope for Children in Crisis และวันนี้เธอพร้อมแล้วส�ำหรับการเข้า เรียนต่อในระบบโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการของ ไทย “ทางโครงการได้ตดิ ต่อโรงเรียนบ้านกะหลิมไว้ให้เด็ก พม่า 3 คน กัลยาเป็นหนึง่ ในนัน้ ซึง่ ทางโรงเรียนตอบตกลง แล้ว เราจะแจ้งให้แม่เธอทราบ ถ้าแม่เธออนุญาต ปีการ ศึกษาหน้าเธอเรียนได้เลย” ศรีสุดาพูด กัลยายิม้ พร้อมหลับตาพริม้ นึกถึงความฝัน “หนูอยาก เป็นครูค่ะ”

โครงการ Hope for Children in Crisis ได้รับเงินทุนสนับสนุน จากกองทุนโลก ประเทศออสเตรเลีย วารสารศุ ภ นิ มิ ต

13


บอกเล่าผ่านเรื่อง

การบรรเทาทุกข์ที่

เมื อ งตาบอน

เมื่อความรักข้ามผ่านทะเล โดย Florence Joy Maluyo ศุภนิมิตประเทศฟิลิปปินส์

ต้ฝุ่นไห่เยี่ยน เป็นหนึ่งในพายุรุนแรงมาก ที่ถูกบันทึกไว้ว่าพัดขึ้นฝั่ง ถล่มประเทศฟิลิปปินส์ สร้างความเสียหายอย่างมหาศาล เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา วาตภัยครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อเด็กในอุปการะของ องค์กรศุภนิมิตกว่า 40,000 คน ในพื้นที่พัฒนา 20 แห่งที่ศุภนิมิตท�ำงานอยู่ ทีมบรรเทาทุกข์ของศุภนิมิตได้น�ำสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปมอบให้เด็กๆ และ ครอบครัวที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ตาบอนเป็นพื้นที่ที่เดินทางไปยากล�ำบาก แต่ศุภนิมิตก็เข้าไปด�ำเนิน ภารกิจจนส�ำเร็จ ฟลอเรนซ์ จอย มาลูโย ศุภนิมิตประเทศฟิลิปปินส์ พาเราไป ร่วมแจกสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่เมืองตาบอน

14

เมื่อรถน�ำสิ่งของบรรเทาทุกข์ส�ำหรับผู้ประสบภัย 244 ครอบครัวมาถึง อาสาสมัครจากชุมชนก็เริ่มขนของลงเรือทันที

ทันทีที่ไปถึง บรรดาผูช้ ายในหมูบ่ า้ นก็ชว่ ยกันขนสิง่ ของ ขึ้นจากเรือด้วยความตื่นเต้น

การร่วมใจกันของชุมชนช่วยกันขนอาหารและสิ่งของบรรเทาทุกข์ลงเรือ 15 ล�ำ เสร็จสิ้นภายในเวลา 10 นาที

จิมมี่ นาดัปดัป ผูจ้ ดั การงานบรรเทาทุกข์ เดนนิส คาปูเล่ เจ้าหน้าทีเ่ ฝ้าระวังภัย และสตีฟ กูสวาร์ด ผูจ้ ดั การฝ่าย ปฏิบตั กิ าร ช่วยกันแจกสิง่ ของบรรเทาทุกข์ระหว่างเดินทาง จากเซบูไปอิโลอิโล และอัคลัน ซึ่งอยู่ห่างไป 3 ชั่วโมง วารสารศุ ภ นิ มิ ต


บอกเล่าผ่านเรื่อง จอห์น ไมค์ เด็กชายวัย 9 ขวบ เจ้าของรอยยิ้มที่ใครเห็นต้อง ยิม้ ตาม เล่าให้ฟงั ว่า “ตอนไต้ฝนุ่ มาผมรูส้ กึ กลัว เราพากันวิง่ ไป บ้านที่อยู่ใกล้ๆ วันต่อมา พวกเราก็เห็นว่าบ้านของเราถูกพายุ พัดหายไปแล้ว ผมขอบคุณมากๆ ส�ำหรับอาหารและความช่วย เหลือที่ได้รับ ผมชอบบิสกิตมากครับ”

“ของเหล่านี้ช่วยพวกเราอย่างมากครับ” ชายคนหนึ่งกล่าว ขณะน�ำสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่ผู้ประสบภัยได้รับไปโดยเรือ

“ผมชอบมุ้งกันยุงครับ เพราะมันช่วยให้ผมนอนหลับสบาย” โจชัว เด็กในความอุปการะศุภนิมิต ยิ้มตอบ อาสาสมัครและคนในชุมชนก�ำลังรอรับสิ่งของบรรเทาทุกข์

ชาวประมงต่างยินดีปรีดากับสิง่ ของที่ได้รบั เรอเน่ (ชาย สวมหมวกคนกลาง) วัย 62 บอกว่า “พวกเราโศกเศร้า เสียใจในสิง่ ทีส่ ญ ู เสียไป โดยเฉพาะแหล่งท�ำกินของเรา แต่วันนี้การช่วยเหลือท�ำให้เราดี ใจมาก ขอบคุณมาก ครับ” วารสารศุ ภ นิ มิ ต

15


บอกเล่าผ่านเรื่อง

องค์กรศาสนากับการพัฒนา คุณภาพชีวิตชุมชน โดย วัลยา พนิชพัฒนา

โ ผูน้ ำ� ศาสนาและชาวบ้านในชุมชนถอดบทเรียนร่วมกันทีว่ ดั โนนสาวเอ้

เด็กๆ ร่วมกันท�ำความสะอาดภายในวัดทัพเสด็จ

เด็กๆ มาเยีย่ มเยียนและพูดคุยให้กำ� ลังใจผูส้ งู อายุในต�ำบลผ่านศึก

16

ครงการความร่วมมือองค์กรศาสนาทีจ่ ะมีสว่ นในการพัฒนาส่งเสริม คุณภาพชีวิตของเด็ก ครอบครัว และชุมชน ในหมู่บ้าน บ้านโนน สาวเอ้ บ้านไผ่ล้อม บ้านโคก ต�ำบลผ่านศึก อ�ำเภออรัญประเทศ และหมู่บ้าน บ้านแสง์ บ้านทัพเสด็จ บ้านคลองแผลง ต�ำบลทัพเสด็จ อ�ำเภอตาพระยา เริม่ ด�ำเนินงานมาตัง้ แต่เดือนมิถนุ ายน 2556 บนแนวคิด ว่า “องค์กรศาสนาพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนบนรากฐานศาสนธรรมที่ ตนเชื่อและศรัทธา” พระสงฆ์ และผู้น�ำศาสนา จากวัดโนนสาวเอ้ คริสตจักรไผ่ล้อม คริสตจักรพระกิตติคุณสมบูรณ์ ในต�ำบลผ่านศึก อ�ำเภออรัญประเทศ และคริสตจักรฟ้าใส ได้รว่ มมือกันพัฒนาคุณภาพชีวติ ผูส้ งู อายุในชุมชน ของตนเอง มีการรวมกลุ่มของผู้น�ำชุมชน ผู้น�ำศาสนา ครูโรงเรียน โรงพยาบาลสุขภาพต�ำบล มีทั้งการเยี่ยมเยียนให้ก�ำลังใจ การตรวจ ดูแลสุขภาพ การให้ความรู้ดูแลตนเอง โดยเฉพาะต�ำบลผ่านศึก มี การพาเยาวชนร่วมกิจกรรมการเยีย่ มเยียน การช่วยกันท�ำความสะอาด ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัย และพูดคุยให้ก�ำลังใจผู้สูงอายุ ส�ำหรับวัดทัพเสด็จ วัดแสง์ มีการระดมผู้น�ำชุมชนและเยาวชน ร่วมกัน ลดยุงลายที่ชุกชุมลง

การถอดบทเรียนร่วมกันระหว่างองค์กรศาสนาในหัวข้อ “องค์กร ศาสนากับคุณภาพชีวติ ชุมชน” เมือ่ เดือนกันยายนทีผ่ า่ นมา เห็นร่วมกัน ว่าการอาสารับใช้ตามค�ำสอนทีต่ นเชือ่ ท�ำให้ “ค�ำสอน” มีชวี ติ เป็นรูป ธรรมทีผ่ คู้ นสามารถสัมผัสและเห็นจริงได้ และสามารถบูรณาการใน ทุกมิตขิ องงานชุมชน ทัง้ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านส่งเสริมอาชีพชุมชน ด้านส่งเสริมการศึกษาเยาวชน และได้สรุปฐานศาสนธรรมของตน ร่วมกัน ดังนี้ พุทธศาสนา “ความกตัญญูรู้คุณ ความรักเมตตากรุณา ทานัง (การให้ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน การให้อภัย ไม่ถือโทษ ให้โอกาส การบริจาค)” คริสตศาสนา “รักพระเจ้าและรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง การให้ เป็นเหตุให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ ให้ท�ำดีกับทุกคน” และในปี 2014 ได้มีการขยายความร่วมมือองค์กรศาสนา เพื่อ ร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน โดยส่วนพื้นที่อ�ำเภอตาพระยา เพิ่ม วัดตาพระยา วัดอุทยานสันตินิมิต คริสตจักรโนนสมบูรณ์ และอ�ำเภอ อรัญประเทศ เพิ่มชุมชนหมู่ 1 และหมู่ 12 ของต�ำบลผ่านศึก และ คริสตจักรวังสมบูรณ์ ขอบคุณส�ำหรับทุกความร่วมมือ เพื่อคุณภาพชีวิตของชุมชน

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


ข้าพเจ้ายินดีรว่ มแบ่งปันน�ำ้ ใจ...สูเ่ ด็กยากไร้ดอ้ ยโอกาส ชื่อ (นาย/นาง/นางสาว) ..............................................................................

(ขอความกรุณากรอกข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

Name (Mr/ Mrs/ Miss).............................................................................. (block Letter)

ที่อยู่ ................................................................................................................. .. ................................ รหัสไปรษณีย์ ................... วันเกิด ......./......./....... โทรศัพท์ ................................................โทรสาร .......................................... มือถือ ................................................ E-mail .............................................. ต้องการอุปการะเด็ก (กรุณาระบุ) ¡1 ¡2 ¡3 ¡.........คน การจ่ายเงินส�ำหรับการอุปการะเด็กของข้าพเจ้า ¡ 600 บาท/คน/ทุกเดือน ¡ 1,800 บาท/คน/ทุก 3 เดือน ¡ 3,600 บาท/คน/ทุก 6 เดือน ¡ 7,200 บาท/คน/ทุกปี กรณีอปุ การะเด็กมากกว่าหนึง่ คน (อัตราค่าอุปการะเด็ก 600 บาทต่อคนต่อเดือน)

เปลี่ยนชีวิตเด็กยากไร้ ให้มีความหมายมากขึ้น

กรุณาระบุ ..........................บาท ต่อ...............คน ทุก................เดือน/ปี 4522 ไม่พร้อมให้การอุปการะเด็ก

แต่ยินดีบริจาคเพื่อช่วยเหลือเด็กยากไร้ .................................. บาท พร้อมกันนี้ได้น�ำส่งเงินบริจาคจ�ำนวนดังกล่าว โดยทาง เรียกเก็บเงินจากบัญชีบัตรเครดิต ¡VISA.................... ¡MASTERCARD.................... ¡AMEX ¡DINERS

ชีวิตของเด็กยากไร้อาจดูไร้ความหมาย แต่ “ท่าน” สามารถเปลี่ยนชีวิตเด็กเหล่านี้ให้มีความหมายและดี ขึ้นตลอดไป

หมายเลขบัตร

เช่นชีวิตของ ปิ่น เด็กหญิงวัย 12 ปี ตั้งแต่เกิดมามีเพียงยายอายุ 72 ปี คอยดูแลเธอทุกอย่าง ทั้งคู่ต้องอยู่อย่างอดอยาก เพราะ มีเพียงเงินที่ได้จากกองทุนสงเคราะห์ผู้สูงวัยเดือนละ 700 บาท เท่านั้นที่ใช้เลี้ยงชีพ เมื่อหักค่าใช้จ่ายที่จ�ำเป็น เช่น ค่านํ้า ค่ารถ แล้ว ก็ไม่พอให้อยูไ่ ด้ตลอดเดือน ปิน่ จึงต้องรับจ้างล้างจานในช่วง พักกลางวันทีโ่ รงเรียน แทนการได้วงิ่ เล่นกับเพือ่ น แต่นนั่ คือสิง่ ที่ ปิ่นพอจะช่วยยายได้ และท�ำให้ยายภูมิใจในตัวปิ่น

วันหมดอายุบัตร.............................................................................................. ชื่อเจ้าของบัตร................................................................................................ ลายมือชื่อผู้ถือบัตร.........................................................................................

ในกรณีที่ข้าพเจ้าอุปการะเด็ก ข้าพเจ้ายินดีให้เรียกเก็บเงินจากบัญชีบัตรเครดิต อย่างต่อเนื่องตามที่ระบุไว้ข้างต้น จนกว่าข้าพเจ้าจะแจ้งยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง

เรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคาร (มูลนิธฯิ จะส่งแบบฟอร์มให้ภายหลัง) ¡ธ.กรุงเทพ ¡ธ.กรุงไทย ¡ธ.กสิกรไทย ¡ธ.ไทยพาณิชย์ ¡ธ.กรุงศรีอยุธยา เช็ค สั่งจ่าย มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ธนาณัติ ในนาม มูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย สัง่ จ่าย ปท. พระโขนง โอนเงิน เข้าบัญชีออมทรัพย์ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

สิ่งที่ปิ่นกังวลคือ ถ้าวันหนึ่งยายต้องจากไปตามวาระสังขารแล้ว ปิ่นจะท�ำอย่างไร

ธนาคาร สาขา เลขที่บัญชี ทองหล่อ 206-0-43600-9 ¡กรุงเทพ เอกมัย 053-1-10632-2 ¡กรุงไทย เอกมัย 059-2-40974-7 ¡กสิกรไทย ไทยพาณิ ช ย์ เอกมั ย 078-2-00965-5 ¡ ¡กรุงศรีอยุธยา สุขุมวิท 63 361-1-02033-3 ทองหล่อ 801-1-07026-4 ¡ยูโอบี เอกมัย 152-2-00300-1 ¡ทหารไทย โอนจากสาขา................................................. วันที่โอน..................................................

วัน นี้ ขอเชิญชวนท่านบอกต่อคนรอบ

ข้างเพือ่ ช่วยสนับสนุนให้เด็กๆ เช่น ปิน่ ได้มี อนาคตทีส่ ดใส ได้เรียนหนังสือ ได้รบั อุปกรณ์ การเรียน และชีวติ ของเด็กยากไร้คนหนึง่ จะ มีโอกาสในการด�ำเนินชีวติ อย่างมีความหมาย ยิง่ ขึน้

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

ฉีกตามรอยปรุ

โปรดตัดสินใจอุปการะเด็กอย่างต่อเนื่อง เพียง 20 บาทต่อวัน หรือ 600 บาทต่อเดือน ท่านก็สามารถคืนรอยยิ้มให้เด็กๆ เช่น ปิ่น อีกครั้ง

เมื่อโอนเงินแล้วกรุณาส่งส�ำเนาใบโอนเงิน พร้อมแบบตอบรับบริจาคมายังมูลนิธิฯ ทางไปรษณีย์ หรือโทรสาร 0-2711-4100 ถึง 2 เพื่อมูลนิธิฯ จะจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้ท่านต่อไป

ขอขอบคุณ มูลนิธิฯ ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ท่านได้ หากขาดส�ำเนาใบโอนเงินและแบบตอบรับบริจาค มูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรสาธารณกุศลล�ำดับที่ 59 ตามประกาศกระทรวงการคลัง เงินบริจาคสามารถน�ำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจ�ำปี ตามที่กฎหมายก�17 ำหนดไว้


ธีรศักดิ์ หนึ่งในเด็กที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในศูนย์เพื่อนเด็ก

ฟื้นชีวิต คืนรอยยิ้ม ในศูนย์เพื่อนเด็ก by Jay Mark Mijares

มื่อนํ้าท่วมบ้านของธีรศักดิ์ ในอ�ำเภออรัญประเทศ ชีวิตของเขาก็เปลี่ยนจากหน้ามือเป็น หลังมือ แต่เมื่อมาอยู่ที่ศูนย์เพื่อนเด็กของมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ธีรศักดิ์ และ เด็กๆ อีกกว่า 40 คน มีที่เรียน เล่น เล่าเรื่องของตัวเอง และได้ใช้ชีวิตเช่นเด็กอีกครั้ง ธีรศักดิ์แปลงกระดาษเปล่าให้เป็นภาพวาดระบายสีสดใสหลากหลายสี นักเรียนชั้น ป.2 คนนี้สร้างผลงานชิ้นเอกที่แปลกตา เป็นภาพวาดเรือวางควํ่า มีสามล้อ รอบๆ คือเมฆ หลากสีสัน มีนํ้าฝนตกลงมาเป็นสาย ในภาพยังมีบ้านของเขาซึ่งตั้งกลับหัว หลังคาทิ่มพื้น นี่คือภาพสะท้อนสิ่งที่ธีรศักดิ์ประสบอยู่ เด็กคนนี้คือหนึ่งในผู้ประสบความเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือเพราะอุทกภัย ครัง้ ใหญ่ทสี่ ง่ ผลกระทบต่อคนในประเทศไทยกว่า 3.7 ล้านคน ธีรศักดิ์ไม่สามารถไปโรงเรียน ชุมชนทีเ่ ขาอยูเ่ ริม่ ฟืน้ ตัว และเขาเองก็พยายามท�ำความเข้าใจความเสียหายทีค่ รอบครัวได้รบั เขาอธิบายรูปที่ตัวเองวาดพลางชี้ให้ดูเรือในรูป “ที่มันมีสามล้อเพราะจะได้หนีให้เร็วที่ สุดเวลานํ้ามา” นํ้าท่วมครั้งล่าสุดนี้ส่งผลต่อสภาพจิตใจของธีรศักดิ์ไม่น้อย “ผมเครียดเพราะนํ้าไหล เข้าบ้าน นํ้ามาแรง มีใบไม้ ต้นไม้ ไหลเข้ามาในบ้าน” มูลนิธิศุภนิมิตฯ มีความห่วงใยต่อสภาพจิตใจของเด็กๆ จากเหตุการณ์นํ้าท่วม เด็ก หลายคนต้องสูญเสียบ้าน ครอบครัวมากมายต้องเผชิญแรงกดดันเพราะพืชผลที่ปลูกไว้ ถูกนํ้าท่วมเสียหาย ทั้งที่อีกเพียงเดือนเดียวก็จะถึงเวลาเก็บเกี่ยว เพือ่ ให้เด็กๆ รูส้ กึ มีชวี ติ เป็นปกติ มูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ ได้จดั ตัง้ ศูนย์เพือ่ นเด็กขึน้ เพือ่ ให้เด็กๆ มีที่เรียน ร้องเพลง เต้น วาดรูป เล่นเกมส์ นันท์นภัส หนึ่งในผู้ดูแลศูนย์เพื่อนเด็กของมูลนิธิศุภนิมิตฯ กล่าวว่า “เด็กๆ มีที่เล่นกัน ในแต่ละวัน เมื่ออยู่ในศูนย์เพื่อนเด็ก ซึ่งก่อนหน้านี้เด็กๆ จะเล่นกันแถวถนนซึ่งตอนนี้ถูกนํ้า ท่วมหมด ที่นี่จึงช่วยลดความเสี่ยงที่เด็กจะเกิดอันตรายในระหว่างวัน และเป็นที่ให้เด็กๆ ได้ เรียนรู้ทักษะชีวิตด้วย” ศูนย์เพื่อนเด็กที่จังหวัดสระแก้ว ช่วยบรรเทาความทุกข์ให้ธีรศักดิ์และเด็กๆ อีก 40 คน ที่เข้ามาร่วมกิจกรรม

18

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


ศูนย์เพื่อนเด็กเป็นส่วนส�ำคัญในการท�ำงานบรรเทาทุกข์จากภัยธรรมชาติของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ซึ่งช่วยดูแลจิตใจ

เด็กๆ โดยผ่านการพูดคุย และท�ำกิจกรรมศิลปะหรือดนตรี เมือ่ ชีวติ ทีเ่ คยเป็นปกติของเด็กๆ ถูกกระทบกระเทือน อย่างรุนแรง ความรู้สึกมั่นคงทางจิตใจจึงเป็นสิ่งส�ำคัญในการฟื้นฟูเด็กๆ ในเบื้องต้น และเด็กๆ ควรมีที่อยู่ที่ ปลอดภัย และรู้สึกผ่อนคลายจากปัญหาต่างๆ ที่ต้องประสบ

ธี ร ศั ก ดิ์ ก� ำ ลั ง อธิ บ ายภาพที่ เ ขาวาดใน ระหว่างร่วมกิจกรรมที่ศูนย์เพื่อนเด็ก

นั น ท์ น ภั ส (คนกลาง) เจ้ า หน้ า ที่ ใ น ศูนย์เพื่อนเด็ก ร่วมล้อมวงเล่นกับเด็กๆ

ธี ร ศั ก ดิ์ แ ละเพื่ อ นได้ มี ส ถานที่ ร่วมเล่นสนุกด้วยกัน วารสารศุ ภ นิ มิ ต

“พ่อผมได้ยินจากเจ้าหน้าที่ในหมู่บ้านว่าจะมีศูนย์ส�ำหรับเด็กที่นี่ ก็เลยส่งผมมา” ธีรศักดิ์ เล่า “ผมกับเพื่อนๆ ได้เห็นว่าอะไรเสียหายไปบ้าง โรงเรียนไม่มีการเรียนการสอน ผมก็เลยว่าง หลายวัน” ธีรศักดิ์ฝันว่าโตขึ้นจะเป็นชาวประมง เขาบอกว่าศูนย์เพื่อนเด็กเป็นที่ที่เขาได้เล่นสนุกอีก ครัง้ “เราได้เล่นเกมส์ ร้องเพลง ผมชอบเพลงไก่ยา่ งถูกเผามาก เพราะได้ทำ� ท่าประกอบสนุกดี” นันท์นภัส เสริมว่ารู้สึกมีก�ำลังใจที่เห็นเด็กๆ สร้างสัมพันธ์ระหว่างกัน รวมทั้งกับทีมงาน “เด็กๆ ตื่นจากฝันร้าย และรู้สึกว่าชีวิตยังเป็นปกติอยู่บ้าง” นันท์นภัส กล่าว

19


เรามีนิมิตที่จะให้เด็กทุกคนมีชีวิตที่ครบบริบูรณ์ เราอธิษ ฐานทูลขอให้ทุกดวงใจมุ่งมั่นกระท�ำให้นิมิตนี้ส�ำเร็จ our vision for every child, life in all its fullness: our prayer for every heart, the will to make it so.

เราเป็นคริสตชน เรามีภาระต่อผู้ยากไร้ เรายอมรับว่าทุกคนมีคุณค่า เราเป็นผู้รับใช้ เราพร้อมที่จะตอบสนอง เราเป็นเพื่อนร่วมพันธกิจ

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

582/18-22 ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ +66 (0) 2381-8863 ถึง 5 โทรสาร +66 (0) 2711-4100 ถึง 2 info@worldvision.or.th 20

www.worldvision.or.th วารสารศุ ภ นิ มิ ต


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.