Wvft 2/2015 Thai

Page 1

วารสารศุภนิมิต

ปีที่ 29

2

2558

อาหารมื้อเช้าช่วย ข้าวหอมสมบูรณ์แข็งแรง

พนัสนิคมยืนหยัดอย่างมั่นคง

ลับคมการอ่านเขียนภาษาไทย


สารบัญ

3 จากใจผู้อ�ำนวยการ 4 กิจกรรม

8 แนะน�ำโครงการ

10 อาหารมื้อเช้า ช่วยข้าวหอมสมบูรณ์แข็งแรง

12 ต่อสู้ความแห้งแล้งด้วยข้าวหอมพันธุ์ใหม่

14 พนัสนิคมยืนหยัดอย่างมั่นคง

16 สานความยั่งยืน สู่ของขวัญแห่งการพัฒนา

18 ลับคมการอ่านเขียนภาษาไทย

บรรณาธิการบริหาร: Janice Evidente | ทีป่ รึกษา: จิตรา ธรรมบริสุทธิ์, บรรจงเศก ทรัพย์โสภา, วิวรรธน์ ศรีธนางกูร, วีวา ชานวิทิตกุล กองบรรณาธิการ: สมลักษณ์ ค�ำแสน, ดวงพร โชคทิพย์พัฒนา, ไพวรรณ เบญจกุล, ประกฤต ลีลาวิวัฒน์, ฐิติ เลาหภิญโญจันทรา, Jay Mark Mijares ศิลปกรรม: วิทวัส สุทธิพงศ์เกียรติ์ | นักแปล: มลฤดี จันทวิเชียรวัฒน์ วารสารศุภนิมติ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าในการด�ำเนินพันธกิจของมูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีแก่ผอู้ ปุ การะ ผูบ้ ริจาค คริสตจักร องค์กรร่วมพันธกิจทัง้ ภาครัฐและเอกชน ทีม่ ภี าระร่วมกันในการช่วยเหลือผูย้ ากไร้ ตลอดจนเป็นสารเชิญชวนผูบ้ ริจาคและผูส้ นับสนุน ให้มีส่วนร่วมในพันธกิจด้านต่างๆ ของมูลนิธิศุภนิมิตฯ วารสารฉบับนี้สงวนลิขสิทธิ์ 2558 จัดท�ำโดย มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ห้ามมิให้ท�ำซ�้ำหรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต

ภาพ: ปกหน้าและหลัง สมลักษณ์ ค�ำแสน อ่านวารสารศุภนิมิต ฉบับออนไลน์และฉบับภาษาอังกฤษ หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.worldvision.or.th

2

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


จากใจผู้อ�ำนวยการ

เรียน ผู้อุปการะและผู้ร่วมพันธกิจทุกท่าน ดิฉันถือเสมอว่าได้รับสิทธิพิเศษนี้ ในการเรียนชี้แจงทุกท่านผ่านวารสารศุภนิมิต ในโอกาสที่พวกเรามี ส่วนร่วมในพันธกิจอันมีค่า ต่อการให้ความช่วยเหลือชุมชนยากไร้ในประเทศไทย ดิฉันรู้สึกมากกว่าค�ำ ขอบคุณทีจ่ ะเรียนให้ทา่ นทราบถึงการเปลีย่ นแปลงหลายสิง่ ซึง่ ก�ำลังเกิดขึน้ ในพืน้ ทีด่ ำ� เนินงานของมูลนิธิ ศุภนิมิตฯ ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ด�ำเนินงานรับใช้ที่แห่งนี้ และได้เห็นถึงคุณูปการของงานที่เกิดขึ้นแก่ ผู้ด้อยโอกาส แม้กระทั่งผู้อาศัยอยู่ในชายขอบของสังคม เมือ่ มีผสู้ นับสนุนเพิม่ ขึน้ ความรับผิดชอบต่องานของเราก็ยงิ่ เติบโตและแผ่กว้างออกไป การรับมือ กับความท้าทายนี้ น�ำก�ำลังใจมาให้เรา เพราะนั่นหมายถึงการมีเด็กมากขึ้นที่ได้ทานอาหารเช้า เด็กๆ และผู้ปกครองที่ ได้รับการฝึกฝนทักษะอาชีพที่ช่วยยังประโยชน์ต่อชีวิตของพวกเขา และมีรายได้มาก พอจุนเจือครอบครัว ชุมชนหลายแห่งเข้มแข็งขึ้นจนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน สหประชาชาติได้ประกาศเป้าหมายให้คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านต่างๆ (Sustainable Development Goal) ซึง่ มูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ จะด�ำเนินงานสนับสนุนเป้าหมายใหม่ครัง้ นี้ เพือ่ สร้างคุณปู การ การน�ำไปสูก่ ารยุตปิ ญ ั หาความยากจนและความหิวโหย การหยุดยัง้ ความรุนแรงต่อเด็ก การปกป้องเด็ก จากการเสียชีวิตและถูกบังคับใช้แรงงาน ด้วยความร่วมมือจากท่าน เราจะพยายามต่อยอดความส�ำเร็จไปสู่เป้าหมายการพัฒนาแห่ง สหัสวรรษ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กทั้งหลายจะมีสุขภาพดี ได้รับโภชนาการที่เหมาะสม มีการศึกษา และ ปลอดภัยจากความรุนแรง ขอความพยายามทั้งปวงของเรา จะได้รับการเพิ่มเติมให้บริบูรณ์อยู่เสมอด้วยพระประสงค์ การ ปกปักรักษาและสันติสุขของพระเจ้า ขอพระเจ้าอวยพรหน้าที่การงานของท่าน ขอให้มีความสุขและประสบความส�ำเร็จในทุกๆ สิ่ง จิตรา ธรรมบริสุทธิ์ ผู้อ�ำนวยการ

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

3


กิจกรรม

กลุ่มอีซูซุ อึ้งง่วนไต๋ มอบ แหล่งน�้ำสะอาดให้โรงเรียนทุรกันดาร

1

2 3 1. จากซ้าย: คุณอุษษา พิทกั ษ์สทิ ธิ์ คุณธารทิพย์ ลีวฒ ุ นิ นั นท์ คุณวัฒนา อุประ ดร.บรรจงเศก ทรัพย์โสภา คุณฉลอง เหง้าละคร คุณเสาวนิต พิทักษ์สิทธิ์ และคุณธนวิทย์ พิทักษ์สิทธิ์ เปิดโรงผลิตน�้ำดื่ม 2. นักเรียนสาธิตการบรรจุน�้ำกรองลงในขวด ที่โรงผลิตน�้ำดื่ม 3. กิจกรรมปล่อยปลาดุก

กลุ่มอีซูซุ อึ้งง่วนไต๋ ร่วมกับมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย น�ำทีม พนักงานส่งมอบ “โครงการพัฒนาแหล่งน�้ำส�ำหรับอุปโภคบริโภค และใช้ในเกษตรอาหารกลางวัน” ให้โรงเรียนบ้านนาแต้ ต�ำบล ค�ำตากล้า จังหวัดสกลนคร และโรงเรียนบ้านหนองสะแก อ�ำเภอ แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มอีซูซุ อึ้งง่วนไต๋ ซึ่งด�ำเนินโครงการนี้ร่วมกับมูลนิธิ ศุภนิมิตฯ เป็นปีที่ 3 แล้ว โดยโรงเรียนบ้านนาแต้ และโรงเรียน บ้านหนองสะแก เป็นโรงเรียนในโครงการที่ ได้รับการสนับสนุน เงินทุนเพือ่ การขุดบ่อบาดาลและติดตัง้ ระบบกรองน�ำ้ เพือ่ ปรับปรุง คุณภาพน�ำ้ ส�ำหรับการบริโภค ซึง่ เป็นการแก้ไขปัญหาคุณภาพของ น�้ำ และการขาดแคลนน�้ำที่โรงเรียนทั้งสองประสบมาโดยตลอด นอกจากนี้ยังน�ำไปต่อยอดโดยการให้เด็กๆ ในโรงเรียนมีส่วนร่วม ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ด้วยการดูแลเพาะปลูกพืช และน�ำผลิตผลไปประกอบเป็นอาหารกลางวัน ส่วนผลิตผลทีเ่ หลือ ทางโรงเรียนยังสามารถน�ำไปขาย และสร้างทุนหมุนเวียนภายใน โรงเรียนอีกด้วย นอกจากนี้ กลุ่มอีซูซุ อึ้งง่วนไต๋ ได้บริจาคอุปกรณ์การเรียน และการกีฬาให้เด็กนักเรียนของโรงเรียนบ้านนาแต้ และโรงเรียน บ้านหนองสะแก และร่วมท�ำกิจกรรมอืน่ ๆ กับชุมชน อาทิ การปลูก ต้นไม้ ปล่อยกบ ปล่อยพันธุ์ปลาดุกลงในบ่อ และโรยเมล็ดพืชลง บนแปลงเกษตร ก่อนจะจัดเลีย้ งอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียนทุก คนได้รับประทาน

เทสโก้ โลตัส ทุ่มเงินบริจาคให้ โครงการมื้อเช้าฯ ปีที่ 3 คุณชาคริต ดิเรกวัฒนชัย (คนขวา) รองกรรมการผู้จัดการแผนก กิจการสาธารณะ เทสโก้ โลตัส บริจาคเงินจ�ำนวน 2,195,092 บาท ภายใต้โครงการ ‘ของขวัญปันสุข’ แก่มูลนิธิศุภนิมิตแห่ง ประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการด�ำเนินโครงการ ‘มื้อเช้าเพื่อน้อง ท้องอิ่ม’ โดยมี ดร.บรรจงเศก ทรัพย์โสภา (คนซ้าย) ผู้อ�ำนวย การฝ่ายระดมทุนและการตลาด เป็นตัวแทนรับมอบ ณ ส�ำนักงาน เทสโก้ โลตัส เมื่อเร็วๆ นี้ เทสโก้ โลตัส ให้การสนับสนุนโครงการ ‘มือ้ เช้าเพือ่ น้องท้อง อิ่ม’ อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้ว ปัจจุบันมูลนิธิศุภนิมิตฯ ด�ำเนิน โครงการมือ้ เช้าฯ ร่วมกับศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก 97 แห่ง ใน 11 อ�ำเภอ 9 จังหวัด ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อช่วย เหลือและส่งเสริมเด็กยากไร้ที่อยู่ในวัยก่อนเรียน อายุ 2-5 ปี ให้ ได้รับอาหารเช้าที่มีคุณค่า ถูกหลักตามโภชนาการ มีพัฒนาการที่ สมวัย และเป็นส่วนหนึง่ ในการลดจ�ำนวนเด็กทีอ่ ยู่ในภาวะขาดสาร อาหารในประเทศไทย

4

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


กิจกรรม

ยูนิซิตี้หยิบยื่นน�้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบภัย แผ่นดินไหวในเนปาล มร.คริสโตเฟอร์ คิม ประธานประจ�ำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ยูนิ ซิตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ และ คุณภาวดล นาสารีรัต ผู้น�ำนักธุรกิจ ยูนิซิตี้ ในประเทศไทย ระดับ Double Diamond ได้มอบเงินบริจาค จ�ำนวน 8.6 ล้านบาท ให้แก่มลู นิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย ในการด�ำเนิน “โครงการบรรเทาทุกข์ฉกุ เฉิน” เพือ่ ช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยแผ่นดินไหวที่ ประเทศเนปาล พร้อมกับเขียนการ์ดอวยพรเพื่อส่งก�ำลังใจให้เด็กๆ ใน เนปาล โดยมีคุณจิตรา ธรรมบริสุทธิ์ ผู้อ�ำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตฯ เป็น ตัวแทนในการรับมอบ ณ ศูนย์ฝึกอบรม มูลนิธิศุภนิมิตฯ เมื่อเร็วๆ นี้ เงินบริจาคในครั้งนี้ ได้รับการสมทบทุนจากกลุ่มนักธุรกิจยูนิซิตี้ ผ่านกองทุน Unipower Make Life Better เป็นเงินจ�ำนวน 4.3 ล้าน บาท และจากบริษัท ยูนิซิตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลฯ อีกจ�ำนวนเท่าตัว ใน โอกาสนี้ คุณจิตราได้มอบโล่ประกาศเกียรติคณ ุ ให้ มร.คริสโตเฟอร์ คุณ ภาวดล และคุณอภิชา เหลืองอ่อน ผู้บริหาร Unipower อีกด้วย คุ ณ ภาวดลกล่ า วว่ า “ตั ด สิ น ใจระดมเงิ น บริ จ าคผ่ า นมู ล นิ ธิ ศุภนิมิตฯ เพราะเป็นองค์กรสาธารณกุศลระดับโลก ที่มีประสบการณ์ ในการช่วยเหลือประเทศที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ อีกทั้งยัง มีเจ้าหน้าที่ภาคสนามปฏิบัติงานอยู่ ในประเทศเนปาลอยู่แล้ว” ส่วน มร.คริสโตเฟอร์ กล่าวขอบคุณมูลนิธิศุภนิมิตฯ ที่ ได้ส่งต่อความช่วย เหลือสู่พื้นที่ประสบภัย

จากซ้าย คุณอภิชา เหลืองอ่อน มร. ร๊อคกี้ สมาร์ท มร. คริสโตเฟอร์ คิม คุณจิตรา ธรรมบริสุทธิ์ และคุณภาวดล นาสารีรัต

ผู้อุปการะชาวอังกฤษ ร่วมสานฝันให้เด็กไทย

มร.เดวิด เลสลี่ แลมป์ ได้บริจาคบ้านพักให้กับ มูลนิธิศุภนิมิตฯ

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

มูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย ขอแสดงความขอบคุณ มร. เดวิด เลสลี่ แลมป์ ผู้อุปการะชาวอังกฤษ ที่ได้บริจาคบ้านพักที่จังหวัดภูเก็ต ให้กับ มูลนิธิศุภนิมิตฯ หลังจากเขาเสียชีวิตลงเมื่อสองปีที่แล้ว โดยมูลนิธิ ศุภนิมิตฯ ได้ปฏิบัติตามเจตจ�ำนงค์ของ มร. เดวิด ในการน�ำบ้านพักไป ขาย และจัดสรรรายได้จากการขายให้กับโครงการต่างๆ ที่ด�ำเนินงาน โดยมูลนิธิศุภนิมิตฯ เพื่อช่วยเหลือเด็กยากไร้ในประเทศไทย ส�ำหรับรายได้ส่วนหนึ่ง มูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้น�ำไปช่วยเหลือเด็ก จ�ำนวน 10 คน ภายใต้ “โครงการอุปการะเด็ก” และน�ำไปสนับสนุน เยาวชนอีก 11 คน ภายใต้ “โครงการส่งน้องจบ ป.ตรี” เพื่อเป็นทุน การศึกษาส�ำหรับนักศึกษาที่มีผลการเรียนดี แต่ขาดทุนทรัพย์ในการ เรียนต่อระดับอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังได้น�ำเงินไปสร้างโรงอาหารให้ กับโรงเรียนในจังหวัดกระบี่ และปัจจุบันอยู่ในระหว่างการด�ำเนินงาน ปรับปรุงอาคารของโรงเรียนอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ส่วนรายได้ที่เหลือ ได้จัดสรรให้กับ “โครงการเติมฝัน” ซึ่งใน โครงการนีม้ ลู นิธศิ ภุ นิมติ ฯ ได้เน้นการบริหารจัดการสินทรัพย์แบบยัง่ ยืน โดยจะน�ำเงินที่ได้รับจากการบริจาคเข้าสู่กองทุน และน�ำดอกผลที่ได้ มาช่วยเหลือเด็กยากไร้ทั่วประเทศ ผ่านโครงการของมูลนิธิศุภนิมิตฯ โดยที่เงินต้นจะยังคงอยู่ในกองทุนในจ�ำนวนเท่าเดิม ซึ่งเป็นลัษณะการ ช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสแบบยั่งยืน

5


กิจกรรม

1

2

4

3

5

1. เด็กนักเรียนถ่ายภาพร่วมกับตัวแทนจากบริษทั จีเอ็ม เชฟโรเลต มูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ และโรงเรียนบางบัว 2. หลุยส์ ซาฮา สาธิตการเตะบอล 3. และ 4. เด็กๆ เข้ารับการฝึกอบรมฟุตบอลหลักสูตร CAC 5. เด็กนักเรียนกับลูก วัน เวิล์ด ฟุตบอล

เชฟโรเลตและมูลนิธิศุภนิมิตฯ มอบสนามฟุตบอลแห่งใหม่ให้โรงเรียนบางบัว มร. ทิม ซิมเมอร์แมน ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็ม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จ�ำกัด และคุณจอห์น กาสโลลี ผูจ้ ดั การอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การตลาด เชฟโรเลต โกลเบิล ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดตัวสนามฟุตบอลแห่ง ใหม่ของโรงเรียนบางบัว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ พร้อม กับคุณหลุยส์ ซาฮา อดีตนักเตะฟุตบอลในต�ำนานของ ทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด โดยเชฟโรเลตสนับสนุนงบ ประมาณในการปรับปรุงสนาม ร่วมกับมูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่ง ประเทศไทย โดยมีคุณจิตรา ธรรมบริสุทธ์ ผู้อ�ำนวยการ พร้อมด้วยคุณอรรัมภา โพธิ์แดง ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน บางบัว ให้การต้อนรับที่โรงเรียนบางบัว เมื่อเร็วๆ นี้ ในโอกาสนี้ คุณจิตรากล่าวขอบคุณเชฟโรเลต ที่ ให้ความไว้วางใจร่วมด�ำเนินโครงการต่างๆ กับมูลนิธิ ศุภนิมติ ฯ มาเป็นเวลา 3 ปี โดย ด.ญ.มินตรา ติง่ อ่วม เด็ก

6

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางบัว เล่าให้ฟัง ว่า “หนูดีใจมากทีจ่ ะสามารถเล่นฟุตบอลภายในโรงเรียน ไม่ชอบสนามเก่าของโรงเรียน เพราะพื้นมันแข็งท�ำให้ล้ม ง่ายและบาดเจ็บเวลาเล่นกับเพื่อนๆ ค่ะ ขอขอบคุณเชฟ โรเลต และมูลนิธิศุภนิมิตฯ ส�ำหรับสนามใหม่แห่งนี้ค่ะ” นอกจากนี้ ทางเชฟโรเลตยังได้มอบลูกวัน เวิล์ด ฟุตบอล จ�ำนวน 50 ลูก ภายใต้ ‘โครงการวันเวิล์ด เพลย์’ ให้แก่โรงเรียนบางบัวอีกด้วย จากนั้นเด็กๆ ยังได้ รับการอบรมจากผู้ฝึกสอนขององค์กร Coaches Across Continents (CAC) ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการใช้ กีฬาฟุตบอลแก้ไขปัญหาสังคม โดยมีผู้สนับสนุนหลักคือ เชฟโลเรต ในขณะเดียวกัน หลุยส์ ซาฮา ได้เล่นฟุตบอล กระชับมิตรกับเด็กนักเรียนสร้างความสนุกสนานให้เด็กๆ อย่างมาก วารสารศุ ภ นิ มิ ต


กิจกรรม

ทริปอิ่มใจ… ไปปลูกป่าชายเลน มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม “ทริปอิ่มใจ… ไป ปลูกป่าชายเลน” พาผูอ้ ปุ การะเดินทางไปชมงานพัฒนาของมูลนิธิ ศุภนิมิตฯ อย่างใกล้ชิดที่โครงการพัฒนาชุมชนเป็นพื้นที่แบบพึ่ง ตนเองและยั่งยืน อ�ำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และบ�ำเพ็ญ ประโยชน์ด้วยการปลูกป่าชายเลนจ�ำนวน 1,500 ต้น ร่วมกับเด็ก ในความอุปการะและชาวบ้านชุมชนบ้านท่าดินแดง ต�ำบลล�ำแก่น เมื่อเร็วๆ นี้ “เป็ น ครั้ งแรกที่ ไ ด้ ม า ปลูกป่าโกงกางค่ะ ปกติ เห็นแต่ ในโทรทัศน์ พอ มาปลู ก เองก็ ไ ด้ ค วาม รู ้ ห ลายอย่ า ง ตรงไหน ยอด ตรงไหนราก ได้ ลองปลูกจริงๆ โดยมีทีม งานและคนในพื้น ที่คอย พลตรีหญิงพรรณแข สันตินยิ ม (คนกลาง) ก�ำลัง ให้ค�ำแนะน�ำ พาไปดูป่า โกงกางที่ชาวบ้านปลูกไว้ ให้อาหารแพะที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ หลังเหตุการณ์สึนามิ นี่ ครบสิบปีแล้วเพิ่งโตขึ้นมานิดเดียว แสดงให้เห็นว่าเราต้องช่วยกัน อนุรกั ษ์ นอกจากนัน้ ได้ไปดูทะเลสวยๆ ธรรมชาตินำ�้ ใส หินมีหลาย สี ประทับใจมากค่ะกับการเดินทางครั้งนี้” พลตรีหญิงพรรณแข สันตินิยม ผู้อุปการะเด็กที่ร่วมเดินทางกล่าว หลังเสร็จสิ้นภารกิจปลูกป่าชายเลนแล้ว ชาวทริปอิ่มใจเดิน เท้าผ่านทุง่ หญ้าสะวันนาไปถึงหาดเขาหน้ายักษ์ เยีย่ มชมทัศนียภาพ อันสวยงามและเล่นน�ำ้ ทะเล ก่อนเดินทางกลับมายังศูนย์การเรียน รู้ชุมชนบ้านท่าดินแดง ซึ่งกลุ่มแม่บ้านได้เตรียมอาหารท้องถิ่น

เรื่อง วาร์วี ชานวิทิตกุล อาทิ ย�ำสาหร่ายใบใส่มะพร้าว ปลาอินทรีย์แดดเดียว และสลัดผัก ไฮโดรโปนิกส์กางมุง้ ที่ได้รบั การสนับสนุนอาชีพจากมูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ พร้อมสาธิตการเผาเม็ดมะม่วงหิมพานต์ (กาหยี) แบบดั้งเดิมให้ผู้ อุปการะลองชิม เมื่ออิ่มท้องแล้ว จึงแบ่งทีมลงเรือคายัค ล่องชม ธรรมชาติในป่าชายเลนโดยมีชาวบ้านคอยอธิบายแนะน�ำพันธุ์พืช และวิถีชีวิตของชุมชน ก่อนปิดท้ายวันด้วยความอิ่มใจ จากการ เยีย่ มครอบครัวเด็กในความอุปการะ ซึง่ ได้รบั การส่งเสริมอาชีพให้ สามารถพึ่งพาตนเองได้ เช่น กลุ่มเลี้ยงแพะเนื้อ เลี้ยงไก่ไข่ และ ปลูกผักเป็นรายได้เสริม วันรุง่ ขึน้ เข้ารับฟังการบรรยายสรุปทีส่ ำ� นักงาน และศูนย์การ เรียนรูเ้ ศรษฐกิจพอเพียงบ้านห้วยทราย ซึง่ ได้รบั การสนับสนุนจาก มูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ คุณครูอทุ ร สิงห์แก้ว ครูชำ� นาญการพาคณะเยีย่ ม ชมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ทั้งบ่อเลี้ยงปลาดุกใต้พื้น ศาลาพักผ่อน ปลูกผักรอบบริเวณโรงเรียน เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด หมู หลุม และปลาชนิดต่างๆ ซึ่งมีการก�ำจัดกลิ่นและบ�ำบัดน�้ำโดยสาร ชีวภาพ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีผลิตภัณฑ์แปรรูปไข่ เป็ด และน�ำ้ ยาเอนกประสงค์จำ� หน่าย เป็นศูนย์การเรียนรูต้ วั อย่าง ที่หลายหน่วยงานติดต่อขอเยี่ยมชม ชาวทริปอิ่มใจฯ ออกเดินทางต่อไปยังอนุสรณ์สถานสึนามิ บ้านน�้ำเค็ม และเรือ ต.813 ชมนิทรรศการเหตุการณ์ธรณีพิบัติ เมื่อปี 2547 ก่อนเดินทางต่อไปจังหวัดระนอง แวะถ่ายภาพที่ ระลึกที่คอคอดกระ แช่น�้ำแร่ร้อนคลายความเหนื่อยล้าที่สวน สาธารณะรักษะวาริน และช้อปปิ้งที่ตลาดพม่า ก่อนเดินทางกลับ กรุงเทพฯ ด้วยความอิ่มเอม พบกันใหม่ ทริปอิ่มใจครั้งต่อๆ ไป ค่ะ มูลนิธิฯ ขอขอบคุณผู้อุปการะ ทุกท่านซึ่งร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติในครั้งนี้

ติดตามข่าวสารทริปอิ่มใจ และวันผู้อุปการะ พบเด็กได้ที่ www.facebook.com/tripimjai วารสารศุ ภ นิ มิ ต

7


ภาพ: ไพวัลย์ ปุง้ ค�ำข้าว ครูโรงเรียนบ้านท่าดอกค�ำ

แนะน�ำโครงการ

เด็กๆ โรงเรียนบ้านหนองฮูฝอยลม กลับมาเริม่ ภาคเรียนใหม่ และร่วมกิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน

มูลนิธิศุภนิมิตฯ ริเริ่ม

โครงการพัฒนาฯ ใหม่ ณ จังหวัดบึงกาฬ โครงการพัฒนาความอยู่ดีมีสุขของเด็ก ครอบครัว และชุมชน บึงโขงหลง เรื่อง สมลักษณ์ ค�ำแสน ภาพ: หทัยกาญจน์ พันพรมมา เจ้าหน้าที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ

จังหวัดบึงกาฬ ครอบครัวของเด็กชายพัชรพล ได้รบั บ่อและ พันธุ์ปลาดุกมาเลี้ยง เพื่อเสริมสร้างรายได้ และเป็นแหล่งอาหารในครัวเรือน

แผนที่พื้นที่การด�ำเนินงาน โครงการพัฒนาความอยู่ดีมีสุขของ เด็ก ครอบครัว และชุมชน บึงโขงหลง

8

โครงการนีม้ ที มี่ าจากการวิเคราะห์ขอ้ มูลต�ำบลท่าดอกค�ำ พบว่าชาวบ้านมีฐานะยากจน ขาดแหล่งอาหาร ในครัวเรือน หลายหมูบ่ า้ นขาดแคลนแหล่งน�ำ้ สะอาด ซึง่ เป็นสิง่ จ�ำเป็นขัน้ พืน้ ฐานในการด�ำรงชีวติ เด็ก เล็กก่อนวัยเรียนมีน�้ำหนักต�่ำกว่าเกณฑ์ เด็กระดับประถมจ�ำนวนมากยังมีปัญหาในการอ่านและเขียน ภาษาไทย ผู้ปกครองส่วนใหญ่ไปรับจ้างต่างถิ่นเนื่องจากไม่มีน�้ำเพียงพอท�ำการเกษตร ครอบครัว แตกแยกส่งผลให้เยาวชนจ�ำนวนมากเสี่ยงติดยาเสพติด ใช้เวลาไม่เป็นประโยชน์ มูลนิธิศุภนิมิตแห่ง ประเทศไทย จึงริเริ่ม “โครงการพัฒนาความอยู่ดีมีสุขของเด็ก ครอบครัว และชุมชน” ขึ้นที่นี่ โดย ท�ำงานร่วมกับโรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพต�ำบล องค์การบริหารส่วนต�ำบล ครู และผู้ปกครองเด็กใน 13 หมู่บ้าน 5 โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 แห่ง วารสารศุ ภ นิ มิ ต


แนะน�ำโครงการ

พอมาเป็นคณะกรรมการโครงการของมูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ ดิฉันรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความสุขและภูมิใจใน ตัวเองที่มีส่วนช่วยพัฒนาหมู่บ้านตน ช่วยเหลือ ผู้ยากจนให้บรรเทาเบาบางลง และอยู่อย่างมี ความสุขมากยิ่งขึ้น นางละมัย อุทัยสา ภรรยาผู้ใหญ่บ้าน บ้านโนนสา พูดพร้อมส่งยิ้ม

โครงการพัฒนาความอยูด่ มี สี ขุ ของเด็ก ครอบครัวและชุมชน บึงโขงหลง ออกแบบงาน 2 โครงการให้สอดคล้อง กับปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขเร่งด่วน ดังนี้ โครงการพัฒนาความอยู่ดีมีสุขของเด็ก ท�ำงานกับเด็ก 2 ช่วงวัย คือ เด็ก 0 ถึงอายุ 5 ปี มุ่งเน้นให้เด็กมีพัฒนาการ สมวัย เสริมความรูด้ า้ นโภชนาการให้พอ่ แม่ และผูด้ แู ลเด็ก สนับสนุนแหล่งอาหารในครัวเรือน ส่งเสริมสุขาภิบาลและ น�ำ้ สะอาดในครัวเรือน รวมถึงสนับสนุนอาหารมือ้ เช้าแก่เด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อช่วยให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรง มี น�้ำหนักและส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน สนับสนุน สื่ออุปกรณ์ที่จ�ำเป็น จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อกระตุ้นการ ดูแลเด็กของคนในชุมชน เด็กระดับประถมอายุ 6-12 ปี ให้มที กั ษะชีวติ ทีจ่ ำ� เป็น คิดอย่างมีวจิ ารณญาณ ตัดสินใจอย่างมีเหตุผล สร้างเสริม ให้เด็กมีความพร้อมและมีสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเอื้อต่อ

การเรียนรู้ สนับสนุนสือ่ เพือ่ “การอ่านออกเขียนได้” พัฒนา ศักยภาพครูผสู้ อน สนับสนุนให้เด็กและพ่อแม่ผปู้ กครองท�ำ กิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว เพือ่ ปรับเปลีย่ นทัศนคติ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเรียนไม่จบ โครงการอุปการะเด็ก เสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้ ตระหนักถึงการดูแลปกป้องเด็ก และให้เด็กมีส่วนร่วมใน การพัฒนาความอยูด่ มี สี ขุ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กมีสทิ ธิ มีเสียงและมีส่วนในการพัฒนา สนับสนุนให้เกิดชมรมเด็ก อบรมส่งเสริมความเป็นธรรมโดยเสริมพลังเสียงของเด็ก สนับสนุนให้เกิดเวทีการแสดงออกของเด็ก

วันนีข้ อเชิญชวนท่านช่วยสนับสนุนเด็กๆ บึงโขงหลง ให้ได้รบั โอกาส โดยการบริจาคอุปการะเด็กอย่างต่อเนือ่ ง เพียง 600 บาทต่อเดือน ท่านก็สามารถคืนโอกาสให้เด็กๆ อีกครั้ง ภาพ: ล�ำไพ หมวดไธสง เจ้าหน้าที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ

ภาพ: สมบูรณ์ โล่ห์ค�ำ ครูโรงเรียนหนองแสงประสรรค์

เด็กๆ กว่า 70 คนเข้าร่วมค่ายทักษะชีวิต ซึ่งจัดขึ้น ที่โรงเรียนบ้านหนองแสง ประชาสรรค์ ต�ำบลท่าดอกค�ำ โดยเด็กๆ มีโอกาสเรียนรู้การใช้เทคโนโลยี เพศศึกษา การป้องกันตนเองจากยาเสพติด กฎจราจร เพื่อเป็นความรู้มาใช้ในชีวิตประจ�ำวัน

ครอบครัวของเด็กหญิงมาริกา ได้รับ แม่วัวจากโครงการเติมชีวิตด้วยการให้ เพื่อสนับสนุนแหล่งอาหารในครัวเรือน

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

9


เด็กๆ รับประทานอาหารเช้าอย่างเอร็ดอร่อย

ครูอนงค์ ก�ำลังท�ำอาหารเช้าให้เด็กๆ

อาหารมื้อเช้าช่วยข้าวหอม สมบูรณ์แข็งแรง โดย สมลักษณ์ ค�ำแสน

ลิ่นอาหารเช้าหอมหวนลอยมาจากครัว ครูอนงค์ หยิ บ หมู สั บ ใส่ ล งไปในหม้ อ แกงน�้ ำ เดื อ ดพล่ า น ตามด้วยแครอทและใบต�ำลึง รอแกงจืดเดือดสัก ครู่ เธอปิดไฟที่เตาแก๊ส ครูอนงค์ ขาวผ่อง วัย 45 ปี ครูผู้ ดูแลเด็ก อาสาท�ำอาหารเช้าให้เด็กๆ เธอมาถึงศูนย์พัฒนา เด็กเล็กบ้านแพะตั้งแต่เช้าตรู่ เพื่อท�ำอาหารเช้าเมนูเลิศรส ครบทั้งห้าหมู่มากคุณค่าทางโภชนาการให้เด็กเล็กก่อนวัย เรียนอายุขวบครึ่งถึงสามขวบจ�ำนวน 17 คนของศูนย์แห่งนี้ ภายในห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 2x2 เมตร มีโต๊ะ ไม้ยาวหนึง่ ตัวอยูก่ ลางห้อง เด็กชายหญิงราว 15 คน นัง่ ด้าน ตรงข้ามของกันบนเก้าอี้ม้ายาวเตี้ยๆ กลิ่นหอมของอาหาร เช้าส�ำหรับเด็กลอยผ่านอากาศท�ำให้เด็กๆ เกรียวกราว ก่อน รับประทานอาหารเช้า พวกเขาร้องเพลง “ข้าวทุกจานอาหาร ทุกอย่าง เป็นของมีค่า อย่ากินทิ้งขว้าง” เมื่อถึงตอนนี้เด็กๆ พร้อมรับประทานอาหารมือ้ เช้าของพวกเขาแล้ว ไม่นานหลัง

10

จากนั้น ครูอนงค์เริ่มเสิร์ฟแกงจืดแครอทใบต�ำลึงใส่หมูสับ กับข้าวสวยร้อนๆ ส่วนผลไม้วันนี้ เป็นส้มสด และปิดท้าย เมนูดว้ ยนมยูเอชทีคนละหนึง่ กล่อง นีเ่ ป็นอาหารมือ้ แรกของ วันใหม่ ส�ำหรับเด็กเล็กก่อนวัยเรียนในชุมชนภูเขาห่างไกล แห่งนี้ “ข้ า วหอม” กิ น อาหารของเธออย่ า งมี ค วามสุ ข เพลิดเพลินมาก รสชาติอาหารเช้าอร่อยถูกปาก เธอจึงตัก อาหารโดยไม่รรี อ เช่นเดียวกับเพือ่ นๆ วัยเดียวกันทีร่ ว่ มโต๊ะ อาหารเช้าวันนี้ ครูอนงค์ หัน มายิ้มทักทายและเล่าเรื่องดีๆ ที่เกิด ขึ้นจากโครงการอาหารมื้อเช้าเพื่อน้องท้องอิ่ม ซึ่งรับการ สนับสนุนจากมูลนิธิศุภนิตแห่งประเทศไทย ตลอดหนึ่งปีที่ ผ่านมา ส�ำหรับเด็กเหล่านี้ อาหารเช้าช่วยแบ่งเบาภาระให้ หลายครอบครัวที่ ไม่สามารถจัดเตรียมให้ลูกของพวกเขา ด้วยโภชนาการอาหารบ�ำรุงสมองในการเริ่มต้นวัน วารสารศุ ภ นิ มิ ต


บอกเล่าผ่านเรื่อง “ก่อนมีโครงการอาหารเช้า เด็กๆ มาพร้อมกับขนม ไม่ได้ทาน อาหารเช้าจากทีบ่ า้ น ผูป้ กครองเร่งรีบไปท�ำนา ไปรับจ้าง ซือ้ ขนมให้เด็ก หลังจากมูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ สนับสนุนโครงการอาหารเช้า เด็กทานอาหารเช้า ที่นี่ และทานได้มาก โภชนาการก็ดี ชั่งน�้ำหนักทุกเดือน เห็นความแตก ต่างเด็กมีน�้ำหนักมากขึ้น เราติดตามน้องข้าวหอม และเด็กอีก 2 คนที่ น�้ำหนักตกเกณฑ์ ตอนนี้มีน�้ำหนักเพิ่มขึน้ สมบูรณ์แข็งแรงแล้ว ครูอนงค์ พูดถึงความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจน และพูดความรู้สึกของเธอว่า “ดีใจ เด็กมีภาวะโภชนาการดีขึ้น เด็กๆ มีความสุข ร่าเริง แจ่มใส เด็กฟังมากขึน้ ให้ความร่วมมือเวลาท�ำกิจกรรมต่างๆ ไม่งอแงเหมือนแต่ ก่อน” ครูอนงค์ พูดพร้อมรอยยิ้ม เมื่อพูดคุยกับบัวจันทร์ วัย 58 ปี ย่าของข้าวหอม วัย 3 ขวบ ฉัน ได้เรียนรู้ว่า ข้าวหอม มีน�้ำหนักน้อย เพราะไม่ได้ทานอาหารเช้า และไม่ ได้ดมื่ นมเป็นประจ�ำ “ฉันไม่คอ่ ยรูเ้ รือ่ งโภชนาการอะไรพวกนี้ มีอะไรก็ให้ กินไปตามนัน้ ” บัวจันทร์ พูดเบาๆ หลังจากทีฉ่ นั ถามเธอว่าท�ำไมสิง่ นีเ้ กิด ขึ้นกับข้าวหอม สาริน พ่อของข้าวหอม เป็นทหารพราน ไม่ได้อยู่บ้าน ส่วนชุติมา แม่ของข้าวหอม ไปท�ำงานห่างไกลบ้าน การดูแลข้าวหอมประจ�ำวัน จึง ตกเป็นภาระของย่าบัวจันทร์ เพือ่ ให้แน่ใจว่า เด็กๆ มีอาหารเช้าทีช่ ว่ ยให้พวกเขาเติบโต มีสขุ ภาพ สมบูรณ์แข็งแรง มูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้ด�ำเนินโครงการอาหารเช้าส�ำหรับ เด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ทีน่ ี่ บัวจันทร์ ได้เรียนรูว้ า่ อาหารเช้าเป็นสิง่ จ�ำเป็นส�ำหรับการเจริญ เติบโตอย่างมีสุขภาพดี และพัฒนาสมองของข้าวหอม เธอรู้สึกขอบคุณ มูลนิธิศุภนิมิตฯ ที่ช่วยจัดเตรียมอาหารเช้าทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ มาก ด้วยคุณค่าทางโภชนาการให้เด็ก “เมื่อก่อนกินแต่ขนม มากินอาหารเช้าที่นี่ กลับไปบ้านกินข้าวมาก ขึ้น กินผักได้ทุกอย่าง อ้วนท้วนแข็งแรงขึ้น” บัวจันทร์ หัวเราะอย่างมี ความสุข

ข้าวหอม ชอบดื่มนม เธอจะดื่มหมดทุกครั้ง ย่าบัวจันทร์ ปลื้ม อกปลื้มใจที่หลานอ้วนท้วนขึ้น

เด็กๆ ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแพะ ก�ำลังเอร็ดอร่อยกับอาหารเช้า วารสารศุ ภ นิ มิ ต

11


บอกเล่าผ่านเรื่อง

ต่อสู้ความแห้งแล้งด้วย ข้าวหอมพันธุ์ใหม่ โดย Jay Mark Mijares

นายประเทืองกับผลผลิตข้าวที่เขา ลงมือปลูกด้วยน�้ำพักน�้ำแรงของ ตัวเอง

ดูกาลก�ำลังเปลีย่ นแปลงไป ฝนทิง้ ช่วงบ่อยท�ำให้ขาดน�ำ้ เพาะปลูก เกษตรกรอยู่ กับความเสีย่ งในการผลิตอาหารให้เพียงพอ พืชผลล้มตาย รายได้ของเกษตรกร ทีค่ าดหวังไว้กลายเป็นเพียงฝุน่ ละออง ในเว็บไซต์บรรเทาทุกข์มรี ายงานว่า กว่า 40 จังหวัด ได้รบั ความเดือดร้อนจากภัยแล้งในช่วงหลายปีทผี่ า่ นมา โดยเฉพาะในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยายังออกค�ำเตือน เรื่องพายุและลมแรงจัดบ่อยครั้งขึ้น สภาพอากาศแปรปรวนยากจะคาดเดา แต่ใช่ว่าความหวังทั้งหมดจะเลือนหาย เริ่มมีการมองหามาตรการต่อสู้กับภัย แล้ง จากงานวิจยั ล่าสุดภายใต้การดูแลของกรมวิชาการเกษตรได้พฒ ั นาข้าวพันธุใ์ หม่ ทีเ่ รียกว่า กข 33 ซึง่ มาจากข้าวหอมมะลิ ผูเ้ ชีย่ วชาญแห่งศูนย์ขา้ วและมูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย ร่วมมือกับรัฐบาลในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รบั ความเดือด ร้อน จากการเก็บเกีย่ วข้าว อาหารส�ำคัญอันมีคา่ บนพืน้ ดินทีป่ ระสบความแห้งแล้ง

12

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


บอกเล่าผ่านเรื่อง ข้าวหอมมะลิ กข 33 ที่นายประเทืองน�ำมาปลูก

นายทองผล หนึ่งใน เกษตรกรที่เข้าร่วมทดลอง ปลูกข้าวหอมมะลิ กข 33

ข้าวหอมมะลิสายพันธุใ์ หม่ กข 33 สามารถน�ำไป ปลูกได้ในที่แดดจัดและใช้น�้ำน้อย จึงเริ่มมีการส่งเสริม ให้เกษตรกรน�ำมาปลูก โดยในปีนี้มีเกษตรกร 12 คน ในจังหวัดร้อยเอ็ดน�ำข้าวพันธุ์นี้ ไปปลูก นายประเทือง บุญกลม อายุ 58 ปี เล่าว่า “ผมท�ำนามาตัง้ แต่เด็ก ก่อน นี้ แต่ละปีปลูกข้าวได้ประมาณห้าตัน แต่หา้ ถึงหกปีหลังมา นี้ ฝนตกน้อย โดยเฉพาะปี 2552 มีฝนมาครัง้ เดียว ข้าวก็ ตายหมด พอได้ยนิ ผูใ้ หญ่บา้ นประกาศหาชาวนาทีอ่ ยากเข้า ร่วมโครงการปลูกข้าวทีส่ ามารถปลูกในพืน้ ทีแ่ ห้งแล้ง ผมก็ มาเข้าร่วม ตอนนีเ้ ข้าร่วมโครงการมาปีกว่าแล้ว ในช่วงที่ ฝนตกน้อยจะได้ผลผลิตข้าวต่อไร่ประมาณ 300 กิโลกรัม

นายประเทืองน�ำเครือ่ งหยอดเมล็ดพันธุข์ า้ วมาใช้ เพือ่ ช่วยประหยัดการใช้เมล็ดพันธุ์ และท�ำให้เขาปลูกข้าว บนที่ดินของเขาได้โดยไม่ต้องจ้างคนงานมาช่วย

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

รวมถึงยังเก็บเกี่ยวข้าวได้เร็วขึ้น โดยใช้เวลาปลูกเพียง 4 เดือนก็ เก็บเกี่ยวได้ ก่อนนี้ต้องปลูกนาน ถึง 6 เดือน” นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารน� ำ เทคโนโลยี ใหม่ ในการเพาะพันธุ์ เมล็ด ซึ่งช่วยลดปริมาณการใช้ เมล็ดพันธุ์ นายธีรวุธ วรฉัตร ผู้ ประสานงานโครงการลดความ เสี่ ย งจากภั ย พิ บั ติ ของมู ล นิ ธิ ศุภนิมิตฯ กล่าวว่า “ผลลัพธ์ที่เราคาดหวังค่อนข้างดี เมื่อก่อนเกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ 30 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้าใช้เครื่องหยอดเมล็ดที่หยอดเมล็ดโดยตรงลงไปในแปลงดินที่ แห้งแล้ง พวกเขาสามารถใช้เมล็ดเพียง 15 กิโลกรัมเท่านั้น” ช่วยลดค่าแรงคนงานลง ได้ประมาณ 60% “ก่อนหน้านี้ค่าจ้างคนงาน 300 บาทต่อไร่ ปัจจุบันเราจ่ายค่าคนงาน เพียงไร่ละ 150 บาทเท่านั้น” “ข้าวหอมมะลิ กข 33 น�ำโชคดีมาให้พวกเรา” นายทองผล ไปหนี้ วัย 50 ปีกล่าว เขาปลูกข้าวหอมมะลิ กข 33 บนที่ดินหนึ่งไร่ของเขา เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว แม้ว่าปีนี้จะ มีฝน แต่ต้นยูคาลิปตัสที่ปลูกไว้โดยรอบท�ำให้น�้ำในฟาร์มเหือดแห้ง “ผมแปลกใจ เมื่อ สามารถเก็บเกี่ยวข้าวจากนาได้ถึง 85 กิโลกรัม ก่อนนี้ ผมเคยได้มากสุดเพียงแค่ 50 กิโลกรัม แม้ว่าจะท�ำอย่างเต็มที่แล้ว ฉะนั้น ในปีหน้า ผมจะปลูกข้าวพันธุ์นี้อีก” โครงการปลูกข้าวผสมผสานไปกับการท�ำไร่มนั ส�ำปะหลัง เป็นระบบการเพาะปลูก พืชทีท่ นต่อความแห้งแล้ง ช่วยรักษาสารอาหารในดิน ในขณะเดียวกันก็ชว่ ยเพิม่ รายได้ ให้เกษตรกรในฤดูแล้ง “ผมปลูกมันส�ำปะหลังในช่วงฤดูแล้ง หนึ่งไร่ที่ปลูกได้ผลผลิต อย่างต�่ำ 3-4 ตัน ซึ่งช่วยให้มีรายได้ในช่วงเว้นว่างจากการปลูกข้าว” นายประเทือง กล่าว นอกจากนี้ นายธีรวุธ วางแผนที่จะกระจายพันธุ์พืชและความรู้เหล่านี้ไปสู่พื้นที่ ในจังหวัดอื่นๆ ต่อไป ขณะที่โครงการอยู่ในระยะเริ่มต้น ข้าวหอมมะลิ กข 33 เพิ่มความหวังให้ชาว บ้านขึ้นมา ท่ามกลางดินแดนแห้งแล้งของภาคอีสาน แม้สภาพอากาศเป็นเรื่องน่าวิตก แต่เกษตรกรยังคงมุ่งมั่นต่อ เมื่อได้รับความรู้และพันธุ์พืชใหม่ ที่มีส่วนช่วยสร้างความ มั่นใจให้พวกเขา ดังเช่น ครอบครัวของประเทืองและทองผล วันนี้ พวกเขามีข้าวทาน และมีรายได้เพิ่มขึ้น พร้อมต่อการด�ำเนินชีวิต แม้อาจเผชิญกับภัยแล้งในวันหน้า

13


บอกเล่าผ่านเรื่อง

พนัสนิคมยืนหยัดอย่างมั่นคง

โดย สมลักษณ์ ค�ำแสน

หนึ่งในสามโครงการพัฒนาชุมชนเป็นพื้นที่แบบพึ่งตนเองและยั่งยืน ที่ ประสบความส�ำเร็จและจะปิดตัวลงในเดือนกันยายน ปี 2558 นี้ คือ โครงการ พัฒนาชุมชนฯ พนัสนิคม ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี ย้อนไปเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ชาวบ้านใน ชุมชนพนัสนิคมมีรายได้น้อยและไม่แน่นอน หลายครอบครั ว ยากไร้ ขั ด สน ไม่ ส ามารถ ท�ำการเกษตรเนื่องจากไม่มีเงินทุน ขาดแหล่ง น�้ำและทักษะความรู้ ท�ำให้ต้องไปรับจ้างตาม แต่จะหาได้ หลายครอบครัวแตกแยก เด็กๆ ขาดโอกาสที่จะเรียนให้จบแม้แต่ชั้น ประถม ศึกษา จนกระทัง่ มูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ เข้ามาเตรียม ความพร้อมด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ส่ง เสริมให้เด็กๆ ได้รับโอกาสทางการศึกษาจน จบเกณฑ์ภาคบังคับหรือในระดับชั้น ที่สูงขึ้น สนับสนุนโรงเรียนให้มคี วามพร้อม และพัฒนา

14

ศักยภาพการเรียนการสอนให้มีคุณภาพขึ้น ด้านครอบครัว สร้างความตระหนักใน การดูแลปกป้องเด็ก และส่งเสริมความสัมพันธ์ อันดี ในครอบครัว ครอบครัวมีความอบอุ่น เด็กๆ รู้จักสิทธิหน้าที่ของตน ใช้เวลาว่างให้ เกิดประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว มีการ พัฒนาแหล่งน�้ำเพื่ออุปโภคบริโภค หรือมีนำ�้ ใช้ เพื่อการเกษตรเพียงพอตลอดปี ประสานงาน ผูน้ ำ� ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน เข้ามา มีบทบาทร่วมสร้างความเป็นอยูท่ ดี่ ขี นึ้ ในชุมชน ตลอดทัง้ ส่งเสริมทักษะด้านการประกอบอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ในครอบครัว

สนับสนุนการจัดตัง้ กลุม่ อาชีพให้เข้มแข็ง และด�ำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ กลุ่ม อาชีพท�ำเกษตรแบบพอเพียง จักสานสุม่ ไก่ ตัด เย็บผ้า ท�ำผ้าบาติค ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ถัก ไม้กวาด เพาะเห็ดฟาง ผลิตปุย๋ อินทรีย์ แปรรูป มันเทศ และจักสานตะกร้า โดยมีผปู้ กครองเด็ก เข้าเป็นสมาชิกจ�ำนวน 200 คน ส่งเสริมกลุ่ม ออมทรัพย์ และจัดตั้งสหกรณ์บริการศุภนิมิต หัวถนน-สระสีเ่ หลีย่ ม เพือ่ เป็นสถาบันดูแลการ เงินในการพัฒนาด้านอาชีพและการศึกษาของ เด็กในชุมชน อีกทัง้ จัดให้มศี นู ย์เรียนรูส้ าธิตด้านอาชีพ วารสารศุ ภ นิ มิ ต


บอกเล่าผ่านเรื่อง

นางเต็มดวง (ซ้าย) และสมาชิก ในกลุ่มจักสานตะกร้า

นายชัชวาล อดีตเด็กในความอุปการะ วันนี้ เขาเป็นข้าราชการที่คอยดูแลการจัดซื้อจัด จ้างโครงการพื้นฐานในชุมชนแห่งนี้

นางวิไล อวดผลส้มโอในสวนของเธอ ที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่เธอผลิต

จั ก สานตะกร้ าโดยการสนั บ สนุ น จากบริ ษั ท เดนโซ่ ประเทศไทย ซึ่งน�ำรอยยิ้มและความ หวังถึงรายได้เพิ่มขึ้นสู่สมาชิกครอบครัว “ลูกสาวได้รับทุนจากผู้อุปการะ ดี ใจที่ เข้ามาช่วยครอบครัวเรื่องจักสานตะกร้า ดิฉัน พอท�ำจักสานได้บา้ ง แต่เมือ่ มารวมกลุม่ และฝึก ฝีมือจนพัฒนาขึ้น ก็สามารถสานตะกร้าสวยๆ ขายได้ราคาดี มีรายได้เพิ่ม แบ่งมาออมใน กลุ่ม และจัดสวัสดิการให้สมาชิกทุกคน มูลนิธิ ศุภนิมิตฯ ยังช่วยหาตลาดและรับซื้อตะกร้า ของกลุ่มด้วย ขอบคุณผู้อุปการะเป็นอย่างสูง” นางเต็มดวง มาจิต ประธานกลุม่ จักสานตะกร้า และแม่ของน้องจตุพร ปัจจุบัน เด็กๆ ที่รับการสนับสนุนกว่า ร้อยละ 70 ส�ำเร็จการศึกษาในระดับปริญญา ตรีหรือเทียบเท่า เรียนจบแล้วมีงานท�ำ รับ วารสารศุ ภ นิ มิ ต

ผิดชอบตัวเองและเป็นที่พึ่งของครอบครัวได้ คนในชุมชนมีอาชีพหลักและอาชีพเสริม ช่วย ให้มรี ายได้เพียงพอทีจ่ ะสนับสนุนการศึกษาต่อ ในระดับสูงของลูกหลาน เครือข่ายกลุ่มอาชีพ ในชุมชนสามารถเชื่อมโยงการด�ำเนินงานได้ อย่างเป็นระบบ มีศนู ย์จำ� หน่ายผลิตภัณฑ์ชมุ ชน ของทั้งสองต�ำบล เป็น ที่แสดงและจ�ำหน่าย สินค้าของสมาชิกเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และหมุนเวียนรายได้ภายในชุมชน กองทุนเพือ่ การศึกษาของเด็กใน 2 ต�ำบล ส่งผลประโยชน์ อย่างต่อเนื่องแก่การศึกษาต่อของเด็ก มีคณะ กรรมการเสียสละและบริหารจัดการเครือข่าย ให้เข้มแข็งเพื่อด�ำเนินงานต่อเนื่องในอนาคต “ผมได้ รั บ ทุ น จากผู ้ อุ ป การะตั้ ง แต่ ชั้ น ประถมจนจบปริญญาตรี ครอบครัวได้รับการ ส่งเสริมอาชีพแปรรูปมันเทศ ท�ำให้มีรายได้

เพิ่มขึ้น จนสามารถส่งพี่ชายและผมเรียนจน จบ ขอบคุณผู้อุปการะที่ช่วยให้ผมมายืน ณ จุดนี้ ดีใจครับ มีการงานที่สามารถช่วยเหลือ ครอบครัว ชีวิตดีขึ้น” ชัชวาล ชุมนุมพร อดีต เด็กในความอุปการะ ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยนัก วิชาการพัสดุ เทศบาลต�ำบลหัวถนน “ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านใช้สารเคมีท�ำนาท�ำ ไร่มาก เราอยากลดการใช้ เมือ่ มูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ พาเราไปดูการท�ำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ สนับสนุน เงินทุนและเครือ่ งปัน้ เม็ดปุย๋ ชาวบ้านจึงเปลีย่ น มาใช้ปยุ๋ อินทรียพ์ บว่าสภาพดินดีขนึ้ สุขภาพก็ดี ขึน้ และยังช่วยลดต้นทุนกว่าครึง่ ท�ำให้สมาชิก มีรายได้เพิ่มขึ้น เด็กๆ ได้ไปโรงเรียนและ เติบโตได้ดิบได้ดีเยอะ เป็นที่ภูมิใจของคนใน ชุมชน” นางวิไล บูรณเจริญกิจ ประธานกลุ่ม ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบ้านหนองบก

15


บอกเล่าผ่านเรื่อง

สานความยั่งยืน สู่ของขวัญแห่งการพัฒนา ใ

โดย ประกฤต ลีลาวิวฒ ั น์

นช่วงเทศกาลส�ำคัญ กระเช้าของขวัญช่วยส่งความสุขและ ความปรารถนาดี ให้ ซึ่งไม่เพียงน�ำความปรารถนาจากผู้ให้สู่ ผูร้ บั เท่านัน้ ยังช่วยสร้างรายได้และสานต่อความภูมใิ จในอาชีพ หัตถกรรมไทยให้หลายครอบครัว ในอ�ำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี เข็มเชือกไนล่อนสีเหลืองพุ่งสอดลงสลับขึ้นมา เพื่อยึดเส้น ทางมะพร้าวเส้นนอนและเส้นตั้ง ให้ติดกันเข้ารูปทรงตะกร้า นางเต็มดวง ละสายตาจากตะกร้าหันมายิม้ เล่าว่าแม่บา้ นกว่า 20 คนทีน่ ี่ สานตะกร้าทางมะพร้าวทรงกลม ทรงรี หลากหลายขนาด เป็นกิจวัตร ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิศุภนิมิตฯ “เมื่อก่อนพอเสร็จจากท�ำนาแล้วก็ ไม่มีอะไรท�ำ นั่งอยู่บ้าน เฉยๆ ไม่มีรายได้ ต้องดิ้นรนหารับจ้างบางทีไปขุดมันบ้าง มูลนิธิ ศุภนิมิตฯ เข้ามาให้โอกาสดิฉันและแม่บ้านที่นี่ ลูกสาวสองคนก็ เข้าร่วมโครงการอุปการะเด็ก ช่วยให้เราประหยัดเงินค่าอุปกรณ์ การเรียน ส่วนดิฉนั ก็ได้เข้าร่วมอบรมด้านอาชีพ และได้รบั สนับสนุน อุปกรณ์ของกลุ่มแม่บ้าน จนเป็นจุดเริ่มต้นให้เรารวมกลุ่มจักสาน ตะกร้าขึ้น ขอบคุณผู้อุปการะเป็นอย่างสูง” นางเต็มดวง มาจิต ประธานกลุ่มจักสานตะกร้า เล่าถึงจุดเริ่มต้นกลุ่มเมื่อกว่าหนึ่งปีที่ แล้ว “เดิมพี่มีพื้นฐานมาแต่เด็กอยู่แล้ว ดูแม่จักสานตะกร้า ช่วยแม่ ท�ำ สมัยนี้เลี้ยงลูกสาววัยรุ่นน่าเป็นห่วง อยากให้อยู่ในสายตา ก็ใช้ กุศโลบายดึงให้ลกู สาวอยูบ่ า้ น โดยเมือ่ ลูกท�ำการบ้านเสร็จ ก็ให้ชว่ ย จักสานตะกร้า พี่ได้ใช้เวลากับลูกอบรมสอนสิง่ ทีด่ ี ครอบครัวก็อบอุน่ ขณะเดียวกันลูกก็ได้เรียนรู้การจักสานเป็นวิชาติดตัวไป” เธอเล่า ต่อว่า ครัง้ แรกจักสานไม้ไผ่ ฝึกสอนกันในกลุม่ จนฝีมอื พัฒนา ตะกร้า สวยขายได้ราคาดี รายได้เพิ่มก็แบ่งมาออมในกลุ่ม มีสวัสดิการให้ สมาชิกทุกคน มูลนิธิศุภนิมิตฯ ยังช่วยหาตลาดและรับซื้อตะกร้า สวยๆ จากกลุ่ม วันนี้ มูลนิธิศุภนิมิตฯ สนับสนุนตะกร้าจากกลุ่มแม่บ้านฯ เพื่อ มาจัดกระเช้าของขวัญทีบ่ รรจุผลิตภัณฑ์ชมุ ชนหลากหลายชนิด อาทิ ข้าวกล้องไรซ์เบอรี่ ข้าวกล้องหอมมะลิแดง ข้าวหอมนิล ข้าวสังข์ หยด ภายใต้ชื่อ ข้าวอิ่มใจ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอ ถั่วแมคคาเดเมีย และ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป เช่น กุ้งแก้ว ท่านสามารถเลือกแบบ และสัง่ จองกระเช้าของขวัญเพือ่ ใช้ในโอกาสพิเศษ และมอบเป็นของ ขวัญในเทศกาลต่างๆ หรือสัง่ ซือ้ ผลิตภัณฑ์คณ ุ ภาพจากชุมชนภายใต้ การสนับสนุนความอยูด่ มี สี ขุ ของเด็ก ครอบครัวและชุมชน วันนีท้ า่ น สามารถมอบความสุขและรอยยิ้มให้พวกเขา

นางเต็มดวง มาจิต (ซ้าย) ประธานกลุ่มจักสานตะกร้า และน้องสาว

สนใจซื้อผลิตภัณฑ์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร. 093-930-3029

16

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


ข้าพเจ้ายินดีรว่ มแบ่งปันน�ำ้ ใจ...สูเ่ ด็กยากไร้ดอ้ ยโอกาส ชื่อ (นาย/นาง/นางสาว) ..............................................................................

(ขอความกรุณากรอกข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

Name (Mr/ Mrs/ Miss)..............................................................................

ทีอ่ ยู.................................................................................................................... ่ ................................ รหัสไปรษณีย์ ................... วันเกิด ......./......./....... โทรศัพท์ ................................................โทรสาร .......................................... มือถือ ................................................ E-mail .............................................. ต้องการอุปการะเด็ก (กรุณาระบุ)  ¡1 ¡2 ¡3 ¡.........คน

“ท่าน”

การจ่ายเงินส�ำหรับการอุปการะเด็กของข้าพเจ้า ¡ 600 บาท/คน/ทุกเดือน ¡ 1,800 บาท/คน/ทุก 3 เดือน ¡ 3,600 บาท/คน/ทุก 6 เดือน ¡ 7,200 บาท/คน/ทุกปี กรณีอปุ การะเด็กมากกว่าหนึง่ คน (อัตราค่าอุปการะเด็ก 600 บาทต่อคนต่อเดือน)

เส้นทางชีวิตที่ สามารถร่วมก�ำหนด

กรุณาระบุ ..........................บาท ต่อ...............คน ทุก................เดือน/ปี 4709 ไม่พร้อมให้การอุปการะเด็ก

“เย็น” เด็กหญิงวัย 7 ขวบ อาศัยอยู่กับพ่อ ย่า และน้อง ในอ�ำเภอ โป่งน�้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ส่วนแม่แยกทางกับพ่อไป ครอบครัว ของเธอมีฐานะยากจน และไม่มีที่ดินท�ำกิน ท�ำให้พ่อของเธอต้อง ไปท�ำงานต่างถิ่น โดยไปขับรถรับจ้างที่จังหวัดบุรีรัมย์อยู่หลายปี เย็นแทบไม่ค่อยพบหน้าพ่อ

แต่ยินดีบริจาคเพื่อช่วยเหลือเด็กยากไร้ .................................. บาท พร้อมกันนี้ได้น�ำส่งเงินบริจาคจ�ำนวนดังกล่าว โดยทาง เรียกเก็บเงินจากบัญชีบัตรเครดิต ¡VISA.................... ¡MASTERCARD.................... ¡AMEX ¡DINERS

หมายเลขบัตร

เมื่อย่าเริ่มสุขภาพถดถอยลง ท�ำให้ไม่สามารถดูแลหลานๆ ได้เหมือนก่อน พ่อของเธอจึงกลับมาท�ำงานที่บ้าน โดยยึดอาชีพ ขายก๋วยเตี๋ยวและปะยาง ซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ รายได้หลักต่อวัน มาจากการขายก๋วยเตี๋ยว ซึ่งไม่ได้มีก�ำไรมากนัก บางวันได้เพียง 100-200 บาท ส่วนงานซ่อมมอเตอร์ไซค์ยิ่งมีรายได้น้อยกว่า เพราะมีช่างซ่อมในละแวกนี้อยู่มาก นานทีจึงมีลูกค้า

ในกรณีที่ข้าพเจ้าอุปการะเด็ก ข้าพเจ้ายินดีให้เรียกเก็บเงินจากบัญชีบัตรเครดิต อย่างต่อเนื่องตามที่ระบุไว้ข้างต้น จนกว่าข้าพเจ้าจะแจ้งยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง

วันหมดอายุบัตร.............................................................................................. ชื่อเจ้าของบัตร................................................................................................ ลายมือชื่อผู้ถือบัตร........................................................................................

พ่อของเย็นไม่มั่นใจในอนาคต หากรายได้ไม่ดีก็จ�ำต้องไป หางานท�ำต่างถิ่นอีก เขาไม่รู้ว่าจะได้อยู่กับลูกนานเท่าใด แม้ว่า ลูกขอให้เขาอยู่บ้านก็ตาม

เรียกเก็บเงินจากบัญชีออมทรัพย์/ สะสมทรัพย์ (มูลนิธิฯ จะส่งแบบฟอร์มให้ภายหลัง)

¡ธ.กรุงเทพ ¡ธ.กรุงไทย ¡ธ.กสิกรไทย ¡ธ.ไทยพาณิชย์ ¡ธ.กรุงศรีอยุธยา

ตามค�ำบอกเล่าของครู เย็นเป็นเด็กเรียนดี เธอรับผิดชอบ ตัวเองหลายสิ่ง เช่น ท�ำการบ้าน อ่านหนังสือ ท�ำความสะอาด บ้าน ซักเสื้อผ้าที่ตัวเองใส่ ไปโรงเรียนเองโดยจักรยาน ด้วย รายได้ของครอบครัวที่ไม่แน่นอน ท�ำให้พ่อหวังเพียงให้เย็นเรียน จบชั้นมัธยมต้น การจะส่งเธอให้เรียนสูงกว่านี้ เป็นเรื่องที่ ไกล เกินกว่าจะนึกถึง

โอนเงิน เข้าบัญชีออมทรัพย์ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ธนาคาร

สาขา เลขที่บัญชี ทองหล่อ 206-0-43600-9 เอกมัย 053-1-10632-2 เอกมัย 059-2-40974-7 เอกมัย 078-2-00965-5 สุขุมวิท 63 361-1-02033-3 ทองหล่อ 801-1-07026-4 เอกมัย 152-2-00300-1 โอนจากสาขา................................................. วันที่โอน.................................................. ¡กรุงเทพ ¡กรุงไทย ¡กสิกรไทย ¡ไทยพาณิชย์ ¡กรุงศรีอยุธยา ¡ยูโอบี ¡ทหารไทย

วันนี้ ขอเชิญชวนท่านบอกต่อคนรอบข้าง เพื่อช่วยสนับสนุน ให้เด็กๆ เช่น เย็น มีอนาคตที่สดใส ได้เรียนหนังสือในระดับสูง มีสุขภาพแข็งแรง และได้รับโอกาสในชีวิตมากยิ่งขึ้น

เมื่อโอนเงินแล้วกรุณาส่งส�ำเนาใบโอนเงิน พร้อมแบบตอบรับบริจาคมายังมูลนิธิฯ ทางไปรษณีย์ หรือโทรสาร 0 2022 9203-5 เพื่อมูลนิธิฯ จะจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้ท่านต่อไป

ขอขอบคุณ มูลนิธิฯ ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ท่านได้ หากขาดส�ำเนาใบโอนเงินและแบบตอบรับบริจาค ฉีกตามรอยปรุ

โปรดร่วมเป็นส่วนหนึง่ ในการช่วยเหลือเด็ก โดยการอุปการะเด็ก อย่างต่อเนื่อง เพียง 20 บาทต่อวัน หรือ 600 บาทต่อเดือน ท่าน ก็สามารถเติมเต็มชีวิตให้เด็กและครอบครัวยากไร้ได้มีโอกาสอยู่ ร่วมกันด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

(block Letter)

หรือบริจาคผ่านบัตรเครดิตออนไลน์ ได้ที่ www.worldvision.or.th มูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรสาธารณกุศลล�ำดับที่ 59 ตามประกาศกระทรวงการคลัง เงินบริจาคสามารถน�ำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจ�ำปี ตามที่กฎหมายก�ำหนดไว้


บอกเล่าผ่านเรื่อง

ลับคมการอ่านเขียนภาษาไทย

ในค่ายพัฒนาทักษะภาษาไทย ครั้งที่ 2

โดย ไพวรรณ เบญจกุล พราะภาษาเป็นวัฒนธรรมที่ส�ำคัญของชาติ สมควร จะได้ รั บ การส่ ง เสริ ม และอนุ รั ก ษ์ ไ ว้ มู ล นิ ธิ ศุ ภ นิ มิ ต แห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิไฟเซอร์ ประเทศไทย ได้จัดค่ายพัฒนาทักษะภาษาไทย ครั้งที่ 2 “สืบสานภาษาหลัก...รู้รักษ์ภาษาไทย” ณ อุทยานแห่งชาติ ทะเลบัน เพื่อให้เด็กชั้นประถมศึกษา 3 ถึงประถมศึกษา 5 โรงเรียนบ้านปีใหญ่และโรงเรียนบ้านตูแตหร�ำ อ�ำเภอละงู จังหวัดสตูล ฝึกการอ่านเขียนภาษาไทยอย่างถูกต้อง เด็กจ�ำนวน 90 คน ใช้เวลาสามวันสองคืนในค่ายด้วย ความอภิรมย์ ภายใต้บรรยากาศธรรมชาติทำ� กิจกรรมในฐาน การเรียนรู้ 12 ฐาน ที่ให้ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบของการ เล่นเกมที่สนุกสนานผสมผสานกับกระบวนการคิดวิเคราะห์ เด็กๆ ถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีเด็กของ ทั้งสองโรงเรียนคละกันเพื่อให้เด็กๆ ได้สร้างสัมพันธภาพไป พร้อมๆ กับการร่วมกันท�ำกิจกรรมในฐาน ซึ่งมีการให้คิด


บอกเล่าผ่านเรื่อง ค�ำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะที่ก�ำหนด ให้น�ำค�ำที่ ก�ำหนดมาผสมกันเป็นค�ำใหม่ รวมถึงให้แต่ง นิทานเกีย่ วกับความสามัคคีและคุณธรรม โดย ครูประจ�ำฐานจะคัดเลือกตัวแทนกลุ่ม 1 คน เพือ่ แต่งประโยคเริม่ ต้น จากนัน้ ให้สมาชิกทุก คนช่วยกันแต่งประโยคต่อไปคนละประโยคจน จบเป็นเรื่องราว นอกจากนี้ เด็กๆ ได้มีโอกาสฝึกความ กล้าแสดงออกที่ฐาน “อ่านแล้วเล่าเรื่อง” ด้วยการเล่นบทบาทสมมุติหลังจากอ่านนิทาน เรื่อง “เพื่อนแท้” อีกทั้งได้รู้จักสุภาษิต ค�ำ พังเพย ส�ำนวนไทยที่ให้ข้อคิดและสามารถน�ำ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน หลังจากเด็กๆ เรียนรูห้ ลักภาษาไทยและท�ำกิจกรรมเป็น ทีมในฐานการเรียนรูจ้ นครบทุกฐาน ก็ถงึ คราวต้องแสดงฝีมอื เดีย่ วแปลงกระดาษ A3 ให้เป็นนิทานหน้าเดียวด้วยประโยค 4 ประโยคพร้อมวาดภาพประกอบตามจินตนาการของตัวเอง แล้วทุกคนก็ท�ำได้ฉลุย เพราะได้ผ่านการติวเข้มมาถึง 12 ฐาน “แม่บอกว่าหนูโชคดีค่ะที่มาร่วมค่าย” เด็กหญิงเกตศินี นักเรียนชั้นประถม 4 พูดด้วยใบหน้าแช่มชื่น “เด็กเหล่านี้โชคดีที่มีโอกาสเช่นนี้ ถ้าให้โรงเรียนจัดเอง คงไม่มีงบ” ครูฮาสาน๊ะ จิเหม เล่า


เรามีนิมิตที่จะให้เด็กทุกคนมีชีวิตที่ครบบริบูรณ์ เราอธิษ ฐานทูลขอให้ทุกดวงใจมุ่งมั่นกระท�ำให้นิมิตนี้ส�ำเร็จ our vision for every child, life in all its fullness: our prayer for every heart, the will to make it so.

เราเป็นคริสตชน เรามีภาระต่อผู้ยากไร้ เรายอมรับว่าทุกคนมีคุณค่า เราเป็นผู้รับใช้ เราพร้อมที่จะตอบสนอง เราเป็นเพื่อนร่วมพันธกิจ

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

ศูนย์ฝึกอบรม มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย 809 ซอยศุภนิมิต ถนนประชาอุทิศ แขวงสามเสนนอก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ +66 2022 9200-2 โทรสาร +66 2022 9203-5 info@worldvision.or.th

www.worldvision.or.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.