Wvft mag2 2013 thai

Page 1

วารสารศุภนิมิต

ปีที่ 27

2

2556

ยิงความระทมทุกข์ออกไป

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

ของขวัญแห่งการพัฒนาสังคม

สองพี่น้องสานความหวังที่สดใส

1


สารบัญ

3 จากใจผู้อ�ำนวยการ 4 กิจกรรม

8 ยิงความระทมทุกข์ออกไป

12 เคล็ดลับความสะอาดของโรงเรียนบ้านย่านอุดม

10 จดหมายเปี่ยมคุณค่า

14 ของขวัญแห่งการพัฒนาสังคม

11 สายสัมพันธ์อันแนบแน่น

18 สองพี่น้องสานความหวังที่สดใส

บรรณาธิการบริหาร: Janice Evidente | ทีป่ รึกษา: จิตรา ธรรมบริสทุ ธิ,์ บรรจงเศก ทรัพย์โสภา, วิวรรธน์ ศรีธนางกูร, ประสพ ขุนสิทธิ,์ วีวา ชานวิทติ กุล กองบรรณาธิการ: Jessica Mauer, ดวงพร โชคทิพย์พัฒนา, ไพวรรณ เบญจกุล, สมลักษณ์ ค�ำแสน, ประกฤต ลีลาวิวัฒน์, ฐิติ เลาหภิญโญจันทรา, เกื้อกูล ภูมิวิทยา ศิลปกรรม: วิทวัส สุทธิพงศ์เกียรติ์ | นักแปล: มลฤดี จันทวิเชียรวัฒน์ อ่านวารสารฉบับออนไลน์และฉบับภาษาอังกฤษ หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.worldvision.or.th | E-mail: info@worldvision.or.th | Facebook: มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

วารสารศุภนิมติ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าในการด�ำเนินพันธกิจของมูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีแก่ผอู้ ปุ การะ ผู้ บริจาค คริสตจักร องค์กรร่วมพันธกิจทัง้ ภาครัฐและเอกชน ทีม่ ภี าระร่วมกันในการช่วยเหลือผูย้ ากไร้ ตลอดจนเป็นสารเชิญชวนผูบ้ ริจาคและผูส้ นับสนุน ให้มีส่วนร่วมในพันธกิจด้านต่างๆ ของมูลนิธิศุภนิมิตฯ วารสารฉบับนี้ห้ามมิให้ท�ำซ�้ำหรือดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต สงวนลิขสิทธิ์ 2013 จัดท�ำโดยมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

ปกหน้า: ดาวิท ส�ำราญไพรวัลย์ ปกหลัง: ประกฤต ลีลาวิวัฒน์

2

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


จากใจผู้อ�ำนวยการ

เรียน ท่านผู้อุปการะและเพื่อนร่วมพันธกิจ เมื่อเร็วๆ นี้ องค์กรศุภนิมิตสากล ได้ประเมินว่ามีเด็กๆ กว่า 120 ล้านคนทั่วโลก ที่ ได้รบั การสนับสนุนเพือ่ พัฒนาชีวติ ให้เกิดความอยูด่ มี สี ขุ ขึน้ ในจ�ำนวนนีม้ ถี งึ 109 ล้าน คน ทีอ่ ยู่ในภาวะเสีย่ งสูงและต้องได้รบั การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน หลายกรณี มูลนิธิ ศุภนิมิตแห่งประเทศไทยให้ความช่วยเหลือเด็กและครอบครัวในหลายด้าน ในประเทศไทย มูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ มีสว่ นร่วมในการท�ำงานอย่างต่อเนือ่ งกับหลาย หน่วยงานและชุมชน โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ สร้างความอยูด่ มี สี ขุ ให้เด็ก ครอบครัว และชุมชนอย่างยัง่ ยืน โดยเฉพาะเด็กๆ ทีอ่ ยู่ในภาวะเปราะบางสูง วารสารฉบับนี้เต็มไปด้วยเรื่องราวประทับใจที่เกิดจากแนวทางสร้างสรรค์ของ ชาวบ้านและชุมชน ที่ร่วมมือกันท�ำงานเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ของพวกเขา หลายหน้าต่อจากนี้ จะแสดงให้เห็นถึงการด�ำเนินงานของมูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ ทีช่ ว่ ยเหลือ ชุมชนให้หลุดพ้นจากวัฏจักรความยากจนโดยผ่านการส่งเสริมในเรือ่ งต่างๆ เช่น อาชีพ สุขอนามัย ความยุติธรรม การศึกษา เป็นต้น เมื่อวันฉลองครบรอบวันเกิด 95 ปี ของเนลสัน แมนเดลา เขาได้กล่าวว่า “การ ศึกษาเป็นอาวุธทรงพลังทีส่ ดุ ทีค่ ณ ุ สามารถใช้เพือ่ เปลีย่ นแปลงโลก” มูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ เห็นด้วยอย่างยิง่ ในสิง่ นี้ และมุง่ มัน่ ด�ำเนินการสนับสนุนด้านการศึกษา เช่น การสร้าง ห้องสมุดแห่งใหม่ หอพักนักเรียน การศึกษาเด็กรายบุคคล และโครงการส่งน้องจบ ป.ตรี พวกเราขอขอบคุณผู้อุปการะและผู้บริจาคทุกท่าน ที่ร่วมสนับสนุน มูลนิธิ ศุภนิมติ ฯ ในการด�ำเนินงานเพือ่ เปลีย่ นแปลงชีวติ ของเด็กๆ และชุมชนทัว่ ประเทศไทย และพวกเราคงไม่สามารถด�ำเนินงานบรรเทาความทุกข์ยากได้ หากปราศจาก การสนับสนุนจากท่านผู้อุปการะและผู้บริจาคอย่างแน่วแน่และต่อเนื่อง ขอบพระคุณมากค่ะ จิตรา ธรรมบริสุทธิ์ ผู้อ�ำนวยการ วารสารศุ ภ นิ มิ ต

วารสารศุภนิมิต ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ มูลนิธิศุภนิมิตฯ ขอแจ้งให้ท่านทราบถึง การปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ในการจัดท�ำ วารสารศุภนิมิต โดยจะแบ่งภาษาไทย และภาษาอังกฤษแยกเล่มกัน และจัดพิมพ์ เพียงฉบับภาษาไทยเท่านัน้ ทัง้ นี้ เพือ่ ลดค่า ใช้จ่ายและลดทรัพยากรที่ใช้ในการพิมพ์ โดยผู้อุปการะชาวไทยจะได้รับวารสาร ศุภนิมติ ฉบับภาษาไทย และชาวต่างชาติ จะได้ รั บ ฉบั บ ภาษาอั ง กฤษในรู ป แบบ พีดเี อฟไฟล์ทางอีเมล อย่างไรก็ตาม หากผูอ้ ปุ การะชาวไทย ต้องการฉบับภาษาอังกฤษด้วย สามารถ แจ้งมาทีอ่ เี มล info@worldvision.or.th พร้อมอีเมลของท่านที่สะดวกในการรับ หรือหากท่านไม่ประสงค์รบั วารสารศุภนิมติ ฉบับตีพมิ พ์ภาษาไทย แต่ตอ้ งการในรูปแบบ พีดเี อฟไฟล์ สามารถแจ้งความจ�ำนงค์เข้า มาได้เช่นกัน และท่านสามารถดาวน์โหลดวารสาร ศุ ภ นิ มิ ต ทั้ ง สองภาษาได้ ท างเว็ บ ไซต์ www.worldvision.or.th

3


กิจกรรม

ร่วมใจอด เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง มร. มิลินด์ พันต์ ตัวแทนกรรมการผู้จัดการบริษัท ยัม เรสเทอรองตส์ อินเตอร์เนชัน่ แนล (ประเทศไทย) จ�ำกัด ทีด่ ำ� เนินกิจการเคเอฟซีและพิซซ่าฮัท บริจาคเงินจ�ำนวน 4 ล้านบาท ในงาน ‘เคเอฟซี 1 ล้านแฟน 1 ล้านใจ ช่วยให้น้องท้องอิ่ม’ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้ ‘กิจกรรมแฟมมิน อด ลด ละ เลิก’ ของมูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ 3 ศูนย์การค้าสยามพารากอน เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา กิจกรรมแฟมมินมีการจัดในกว่า 20 ประเทศทั่ว โลก ส�ำหรับประเทศไทยปีนี้เป็นครั้งที่ 19 มีผู้เข้าร่วม งานกว่า 1,500 คน ที่มาร่วมกันอดอาหารเป็นเวลา 4 ชัว่ โมง เพือ่ สร้างความตระหนักถึงความหิวโหยของเด็ก ยากไร้ ภายในงาน ผู้เข้าร่วมงานได้ร่วมกันบริจาคเงิน จ�ำนวน 37,700 บาท โดยจะเข้าสู่ ‘โครงการเกษตรเพื่อ อาหารกลางวัน’ และ ’โครงการมือ้ เช้าเพือ่ น้องท้องอิม่ ’ ในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และเลย

4

คุณจิตรา ผู้อ�ำนวยการมูลนิธิศุภนิมิตฯ กล่าวว่า “เงินบริจาคนี้จะน�ำไปช่วยเหลือเด็กยากจนกว่าสี่พันคน ผ่าน ‘โครงการมื้อเช้าเพื่อน้องท้องอิ่ม’ และ ‘โครงการ เกษตรเพือ่ อาหารกลางวัน’ โดยจะอบรมให้เด็กนักเรียน ปลูกผัก เพาะเห็ด รวมถึงเลีย้ งไก่และปลาดุกทีโ่ รงเรียน เพื่อน�ำผลผลิตที่ได้มาปรุงเป็นอาหารกลางวัน” นอกจากนี้ ผูเ้ ข้าร่วมงานยังเพลิดเพลินกับกิจกรรม เกมส์ตา่ งๆ และมินคิ อนเสิรต์ โดยศิลปินมีชอื่ เสียง ได้แก่ หนูเล็ก-เดอะวอยซ์, แนท-ณัฐชา นวลแจ่ม, วงวินดีส้ มาย และวงเจ็ทเซ็ตเตอร์ โดยมี จ๋า-ณัฐฐาวีรนุช ทองมี, ฮันนี่ -ชลพรรษา นารูล่า และเปอร์-สุวิกรม อัมระนันท์ เป็น พิธีกร กิ จ กรรมจบลงด้ ว ยความประทั บ ใจจากเด็ ก ๆ โครงการจตุจักรของมูลนิธิศุภนิมิตฯ มาร่วมร้องเพลง ประสานเสียง และปฏิญาณตนพร้อมร่วมเคาท์ดาวน์ สิ้นสุดเวลาอดอาหารร่วมกัน วารสารศุ ภ นิ มิ ต


กิจกรรม

หนังสือในดวงใจเพื่อน้อง คุ ณ ปรั ญ ญา คี ต วรนาฎ พร้ อ มคณะ จั ด “โครงการหนังสือในดวงใจ” เพื่อแบ่งปัน หนังสือที่อยู่ ในดวงใจแห่งความทรงจ�ำของ แต่ละท่านมอบให้น้องๆ ที่อยู่ ในความดูแล ของมูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย โดยครัง้ นี้ ได้น�ำหนังสือจ�ำนวน 500 เล่ม มาที่โรงเรียน วัดโป่งตามุข อ�ำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เมือ่ เดือนพฤษภาคมทีผ่ า่ นมา โดยแบ่งหนังสือ ให้นักเรียนชั้น มัธยมต้นจ�ำนวน 100 เล่ม และจ�ำนวน 400 เล่ม มอบให้ห้องสมุดของ โรงเรียน เพื่อช่วยส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ให้เด็กๆ

ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเพลิงไหม้ ที่ศูนย์พักพิงแม่สุรินทร์

จากเหตุการณ์เพลิงไหม้ศูนย์พักพิงอพยพชั่วคราวผู้ หนีภัยการสู้รบบ้านแม่สุรินทร์ อ�ำเภอขุนยวม จังหวัด แม่ฮ่องสอน เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ท�ำให้ มีผู้เสียชีวิต 36 คน บาดเจ็บกว่า 100 คน บ้านเรือน เสียหาย 400 หลัง และผู้อพยพหนีภัยสงครามชาว พม่า 2,300 คน ไร้ที่อยู่อาศัย (ข้อมูล นสพ.เดลินิวส์ 26 มีนาคม 2556) มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย และกลุ่มผู้ บริจาค กลุ่ม ช.ช้างออฟโรด เชียงใหม่ เดินทางน�ำ สิง่ ของบริจาค อาทิ ยาสีฟนั แปรงสีฟนั ขนม และของ จ�ำเป็นอืน่ ๆ ไปมอบให้ผปู้ ระสบอัคคีภยั ณ ศูนย์พกั พิง บ้านแม่สุรินทร์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อช่วยบรรเทา ความเดือดร้อนแก่ผไู้ ร้ทอี่ ยูอ่ าศัยนับพันคน ทัง้ นี้ เด็กๆ ผูป้ ระสบภัยและครอบครัวต่างมารับสิง่ ของด้วยความ ดีใจ

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

5


กิจกรรม

หนึ่งหมื่นก้าวเพื่อน้องท้องอิ่ม คุณวันดี วงศ์บุญสิน ผู้จัดการส่วนผลิตภัณฑ์บิวตี้แคร์ บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จ�ำกัด มอบอาหารมื้อเช้า จ�ำนวน 10,000 มื้อ ให้กับมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย โดยมี ดร. บรรจงเศก ทรัพย์โสภา ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการ ตลาดและระดมทุน มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย เป็น ตัวแทนรับมอบ ในกิจกรรม ‘Let’s Walk by Shokubutsu for Men เสียเหงื่อ... เพื่อน้องท้องอิ่ม’ ที่ส�ำนักงานบริษัท ไลอ้อนฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา

กิจกรรมนี้เปิดตัวขึ้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2556 โดยใช้ แอพลิเคชัน่ ของระบบไอโอเอสชือ่ Let’s Walk by Shokubutsu for Men ซึ่งแอพฯ นี้จะบันทึกจ�ำนวนก้าวที่เดินในแต่ละวัน หากผู้ใช้ สามารถเดินได้ครบ 10,000 ก้าวในหนึ่งวัน ก็จะสามารถเปลี่ยน เป็นอาหารเช้าสามมื้อให้เด็กของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ใน ‘โครงการ มื้อเช้าเพื่อน้องท้องอิ่ม’ คุณยงยุทธ์ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและบริจาคมื้อเช้ามากที่สุด ได้ดาวน์โหลดแอพฯ นี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และสะสมจ�ำนวนก้าว เดินจนสามารถเปลี่ยนเป็นอาหาร 1,046 มื้อ ในเดือนพฤษภาคม กล่าวว่า “เริ่มแรกผมตั้งเป้าจะเดินแค่หลักร้อย จากนั้นก็ค่อยๆ ปรับเป้าหมายเพราะถือว่าได้ท�ำบุญ อีกทั้งการเดินยังช่วยลด น�้ำหนักด้วย” ผู้บริจาครายนี้ยังได้เข้าร่วมในกิจกรรมของมูลนิธิ ศุภนิมิตฯ บ่อยครั้ง รวมถึงได้เข้าร่วมในการประมูลสิ่งของจาก ดาราอีกด้วย “อาหารมือ้ เช้าส�ำคัญมากโดยเฉพาะส�ำหรับเด็กๆ เราจึงร่วม ท�ำกิจกรรมกับมูลนิธิศุภนิมิตฯ” คุณวันดีกล่าว นอกจากนี้เธอยัง แบ่งปันข้อความพิเศษให้น้องๆ อายุ 2-7 ปี ใน 3 จังหวัด ที่จะได้ รับประทานอาหารเช้าเปี่ยมด้วยคุณค่าภายใต้ ‘โครงการมื้อเช้า เพือ่ น้องท้องอิม่ ’ เธอกล่าวว่า “พวกพีๆ่ เป็นห่วงเป็นใย และคิดถึง น้องๆ โชโกบุสขึ อเป็นตัวแทนคนไทย ทีจ่ ะส่งสิง่ ดีๆ ให้กบั น้องๆ ซึง่ ก็คืออาหารเช้า เพื่อให้น้องๆ มีความพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนา ตัวเองในแต่ละวัน”

ชีวิตที่ ไม่เหมือนเดิม ในบ้านหลังใหม่ของบอล คุ ณ ไมเคิ ล โจเซฟ กริ ซ ซาฟี ่ และคณะผู ้ ส นั บ สนุ น “โครงการสร้างบ้านเพื่อเด็กยากไร้” ผ่านมูลนิธิศุภนิมิต แห่งประเทศไทย เดิน ทางไปยังอ�ำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เพื่อเยี่ยมเยียนและมอบบ้านหลังใหม่ให้ ครอบครัวของเด็กชายณัฐพงษ์ เกตุทุมมี หรือน้องบอล วัย 11 ปี เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา “เมือ่ ก่อนพวกเราอยู่ในกระต๊อบหลังเก่ามาเกือบ 10 ปี พื้นไม้ผุ หลังคาสังกะสี ผนังท�ำมาจากแผ่นไม้ที่เก็บได้ ห้องน�้ำก็เสีย เวลาฝนตกจะล�ำบากมากเพราะฝนสาดเข้า มาข้าวของเสียหาย” บุญเพ้ง วัย 50 ปี พ่อของน้องบอล เล่าถึงบ้านหลังเก่าให้ฟัง “รู้สึกดีใจและขอขอบคุณมากๆ เลยครับ ผมและ ครอบครัวมีความสุขมากที่ได้บา้ นหลังใหม่” น้องบอลเล่า “ผมมีความสุขมากที่ ได้ช่วยเหลือครอบครัวน้อง บอล และดีใจที่ได้ฟังค�ำบอกเล่าของคนในชุมชนว่า น้อง บอลสนใจการเรียนมากขึ้นเมื่ออยู่บ้านหลังใหม่ ยิ้มแย้ม แจ่มใสเหมือนเขาได้รับก�ำลังใจใหม่ๆ และชีวิตก็เปลี่ยน ไปในทางที่ดีขึ้น” คุณไมเคิลกล่าว

6

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


กิจกรรม

สุขสันต์ วันศุกร์ ไร้ทุกข์ ปลอดวัณโรค มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย หนึ่งในองค์กรภาคีเครือข่ายที่ ต้านภัยวัณโรคในประเทศไทย จัดกิจกรรม “สุขสันต์ วันศุกร์ ไร้ทกุ ข์ ปลอดวัณโรค” บริเวณหน้าส�ำนักงานมูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ ถนน เอกมัย เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีนักร้อง/นักแสดง คุณ เต๊ะ ศตวรรษ เศรษฐกร และนักร้อง คุณณภัทร์ โกรฟส์ น�ำขบวน รณรงค์เพื่อเชิญชวนผู้คนในชุมชนใกล้เคียงมาเข้าร่วมกิจกรรม คุ ณ จิ ต รา ธรรมบริ สุ ท ธิ์ ผู ้ อ� ำ นวยการมู ล นิ ธิ ศุ ภ นิ มิ ต ฯ ต้องการให้ทุกคนตระหนักถึงการป้องกัน ค้นหา และส่งต่อผู้ป่วย วัณโรค เพื่อดูแลรักษาจนหายขาด เพราะเป็นการยับยั้งการแพร่ กระจายของวัณโรคที่ดีที่สุด จากนั้น นพ.ยุทธิชัย เกษตรเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ได้ให้ความรู้ว่า “หากมีอาการไอ เกิน 2 สัปดาห์ หรือมีอาการไอเป็นเลือดให้ไปพบแพทย์ตรวจหา สาเหตุ” เพื่อรักษาได้ทันท่วงทีและมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง ภายในงานมี บ ริ ก ารตรวจสุ ข ภาพฟรี จากศู น ย์ บ ริ ก าร สาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง และบริการเอกซ์เรย์ตรวจปอดจาก โรงพยาบาลบางไผ่ และอภินันทนาการน�้ำดื่มโดยห้างบิ๊กซี งาน จบลงด้วยมินคิ อนเสิรต์ ของคุณณภัทร์ทฝี่ ากเพลงให้ฟงั พร้อมปิด งานในบรรยากาศสบายๆ

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

7


บอกเล่าผ่านเรื่อง

ยิงความระทมทุกข์ออกไป โดย สมลักษณ์ ค�ำแสน

8

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


มื่อชีวิตของเด็กหญิง “เปรียว” วัย 8 ขวบ และน้องสาวของเธอ “เปรม” วัย 4 ขวบ ต้องประสบกับ การสูญเสียพ่อแม่ และกลายเป็นเด็กก�ำพร้า อนาคตจึงดูเป็นความสิน้ หวัง ไร้ทพี่ งึ่ หากไม่ได้รบั การ ช่วยเหลือ โอกาสที่เปรียวจะได้เรียนต่อในชั้นสูงคงไม่อาจเกิดขึ้น แต่ด้วยการสนับสนุนจากศุภนิมิต วันนี้ เธอได้วิ่งไปตามความฝัน และปีหน้าเธอจะส�ำเร็จการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย ชีวิตของเธอเปรียบเสมือนลูกธนูที่พุ่งทะยานออกจากความทุกข์ พุ่งตรงไปสู่เป้าหมายความ ส�ำเร็จ โดยมีผอู้ ปุ การะคอยให้กำ� ลังใจ และมีมลู นิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย โอบอุม้ ช่วยเหลือเธอและ ครอบครัวตลอดเวลา 13 ปีที่ผ่านมา ในวันนัน้ เด็กหญิงเปรียววิง่ ตรงมาทีบ่ า้ น และเร่งรีบเคาะประตู พลางร้องเรียก “ลุง ป้า เร็วๆ ช่วย มาดูแม่หน่อย” เธอร้องไห้ออกมา “แม่กำ� ลังป่วยหนัก และขอให้หนูมาตามลุงกับป้า” คืนนัน้ เอง แม่ของ เธอก็จากไปอย่างไม่มวี นั กลับ เปรียว สูญเสียพ่อและแม่ขณะทีเ่ ธอยังเรียนชัน้ ประถมต้น พ่อจากไปก่อนด้วยความเจ็บป่วย ขณะ ที่แม่ แม้ยังมีชีวิตอยู่แต่ก็ป่วยหนัก เวลานั้นเปรียวอายุ 8 ขวบ และได้รับเลือกเข้าโครงการอุปการะ เด็กในพื้นที่จังหวัดล�ำปาง ในช่วงที่แม่ของเธอป่วยหนักอยู่แรมปี เธอได้รับการช่วยเหลือจากมูลนิธิศุภนิมิตฯ อย่างเต็มที่ ทั้งข้าวของต่างๆ เช่น นม ข้าวสาร และอาหารแห้ง สิ่งนี้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ครอบครัวเธอ เมื่อแม่ของเธอเสียชีวิต เปรียวและน้องสาวได้ไปอาศัยอยู่กับลุงและป้า ซึ่งมีลูกสาวด้วยหนึ่งคน ลุงแดงท�ำอาชีพปลูกยาสูบ และมีชวี ติ อยูอ่ ย่างขัดสน เมือ่ มีภาระเพิม่ ขึน้ อีก เขาจึงจ�ำต้องออกไปท�ำงาน ต่างถิ่น ในระหว่างนัน้ เปรียวได้รบั ก�ำลังใจอย่างมากจากเจ้าหน้าทีม่ ลู นิธศิ ภุ นิมติ ฯ เธอได้รบั การช่วยเหลือ ในชุดเครื่องแบบนักเรียน อุปกรณ์การเรียน สมุดหนังสือ ทัศนศึกษา ค่าบ�ำรุงการศึกษา นอกจากนี้ เธอได้รับเงินของขวัญพิเศษทุกปีในวันเกิดจากคุณแม่เธลมา ผู้อุปการะที่รักของเธอ ในท่ามกลางชีวติ ทีด่ นิ้ รนต่อสู้ เปรียวได้คน้ พบสิง่ ทีม่ าปลอบโยนชีวติ ของเธอนัน่ คือกีฬายิงธนู เมือ่ เรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ 6 เปรียว ได้รับการแนะน�ำให้รู้จักธนูและลูกศรโดยญาติคนหนึ่ง “การยิงธนู ต้องอาศัยสมาธิและความแม่นย�ำ หนูชอบยิงธนูเพราะมันช่วยเรือ่ งสมาธิ” เปรียวเล่า เธอเริ่มตื่นเต้นเมื่อยิงเข้าเป้าหมายอย่างแม่นย�ำ และนั่นเหมือนสร้างภารกิจขึ้นให้เธอ “ปัญหา มีไว้แก้ไข อุปสรรคมีไว้ข้ามผ่าน ความส�ำเร็จอยู่ที่ตัวเราเอง” เปรียวพูดด้วยความมุ่งมั่น ในระหว่างที่ เธอเรียนหนังสือ เธอจะใช้เวลาว่างในการฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง เธอเริ่มได้รับความส�ำเร็จในการยิงธนูระดับท้องถิ่น และได้รับคัดเลือกเข้าแข่งขันระดับภูมิภาค หลายครั้ง เธอน�ำเงินของขวัญพิเศษมาใช้จ่ายเป็นค่าเดินทางในการแข่งขันยิงธนูในประเทศ และเมื่อ มีโอกาสได้เดินทางไปแข่งในต่างประเทศ ผู้อุปการะของเธอก็ช่วยค่าใช้จ่ายในการเข้าแข่งขันเหล่านั้น ด้วยบางส่วน ในปี 2550 เปรียวได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนนักกีฬาทีมชาติไทย ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้ง ที่ 24 จัดขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา เธอได้รับรางวัลเหรียญทองแดง กีฬายิงธนูโค้งกลับระยะ 70 เมตร นอกจากนี้ เธอยังได้มีโอกาสในการเข้าแข่งขันยิงธนู World Archery Championships & Para Championship ที่ประเทศอิตาลี ในปี พ.ศ. 2554 รวมถึงการแข่งขันยิงธนูระดับชาติอีกหลายครั้ง “ฉันยังไม่เก่ง ต้องฝึกซ้อมฝีมืออีกมาก” เธอพูดอย่างถ่อมตัว เธอทุ่มเทให้กับการยิงธนูเท่ากับที่ เธอทุ่มเทให้กับการเรียนหนังสือ เธอรักการเรียนและไม่ต้องการขาดโรงเรียนแม้สักวันเดียว ตอนนี้ เปรียวก�ำลังเรียนคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ใน กรุงเทพฯ วันที่ไม่มีเรียน เธอจะมาสอนยิงธนูให้เด็กๆ และได้รับรายได้เล็กน้อยเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว วันนี้ เปรียวอายุ 21 ปี เธอตัง้ ใจแบ่งเบาภาระของลุง และช่วยส่งน้องสาวเรียนต่อวิทยาลัยการพยาบาล “ขอบคุณคุณแม่เธลมาอย่างยิ่ง ที่รักและใจดีกับหนูมาก คอยส่งความช่วยเหลือพิเศษมาให้ทุกปี รวมถึงมูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ ทีค่ อยสนับสนุนและดูแลมาตลอด ทัง้ เรือ่ งค�ำแนะน�ำในการเรียน และช่วยเหลือ ครอบครัว หนูนึกไม่ออกเลยว่า ถ้าไม่มีคุณแม่เธลมา และมูลนิธิศุภนิมิตฯ หนูอาจไม่ได้รับอนาคตที่ดี เหมือนเช่นวันนี้ ขอบคุณมากๆ คะ” เปรียว พูดพร้อมรอยยิ้ม

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

9


จากใจผู้อุปการะ

จดหมายเปี่ยมคุณค่า โดย ดวงพร โชคทิพย์พัฒนา

ดยปกติแล้ว พนักงานของบริษัท ทีโอเอ-ชูโกกุ เพ้นท์ จ�ำกัด จะตอบจดหมายและการ์ดจาก เด็กๆ ของมูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทยเป็น ประจ�ำ บริษั ทนี้อุปการะเด็กของมูลนิธิศุภนิมิตฯ จ�ำนวน 50 คน จึงได้รับจดหมายเขียนทักทายด้วย ลายมือของเด็กๆ เหล่านี้มาตลอด ในวันหนี่ง บริษัท ทีโอเอ-ชูโกกุได้สอบถาม พนักงานของตนว่าสนใจจะตอบจดหมายของเด็กๆ หรือไม่ โดยมีกฎข้อส�ำคัญว่าจะต้องเขียนตอบด้วย ลายมือเท่านั้น ห้ามใช้การพิมพ์ พนักงานหลายคน ทีส่ นใจได้เริม่ ต้นอาสาท�ำภารกิจนี้ ไม่ทนั ไรพวกเขา

พิศิษฐ์ บุญจรรยา

ก็สนุกไปกับการถ่ายทอดความรูส้ กึ ของตนผ่านการวาดรูป และระบายสีลง ในจดหมาย “ทันทีที่เราติดต่อกับเด็กๆ เราก็เหมือนเป็นพ่อแม่ของพวกเขา” คุณ พิศิษฐ์ บุญจรรยา กรรมการผู้จัดการบริษัททีโอเอ-ชูโกกุ แสดงความเห็น “โดยทั่วไป เด็กๆ กลุ่มนี้มาจากครอบครัวที่แตกแยก และไม่มีใครดูแล ดัง นั้นการ์ดทุกใบที่ส่งไป จึงเสมือนว่าเราเป็นเพื่อนที่คอยย�้ำเตือนให้พวกเขา เป็นเด็กดี และตั้งใจเรียนหนังสือ” จุดเริ่มต้นความผูกพันของบริษัทกับมูลนิธิศุภนิมิตฯ เกิดขึ้นเมื่อห้าปี ก่อนผ่านการอุปการะเด็กจ�ำนวน 38 คน ในปี 2556 บริษัทให้ความอุปการะ เด็กเพิ่มเป็นจ�ำนวน 50 คน เป็นเงินอุปการะเด็กจ�ำนวน 300,000 บาท “จากที่เราได้ติดตามมา เงินบริจาคที่มอบให้มูลนิธิศุภนิมิตฯ นั้นถึง มือเด็กจริงๆ ครับ” คุณพิศิษฐ์กล่าวชื่นชม “บริษัทของเราเห็นความส�ำคัญ ของการศึกษา เด็กๆ ที่ได้รับการศึกษาจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ไม่สร้างปัญหาให้สังคม” นอกจากนั้น กิจกรรมนี้ยังเป็นการเสริมสร้างก�ำลังใจที่ดี ให้กับ พนักงานบริษัททีโอเอ-ชูโกกุ อีกด้วย “บ่อยครั้งที่พนักงานเหนื่อยล้าจาก การท�ำงาน การได้อ่านจดหมายเหล่านี้ช่วยให้พวกเขาเห็นว่ายังมีคนอีก มากมายทีล่ ำ� บากกว่าพวกเขา สิง่ นีท้ ำ� ให้พวกเขารูส้ กึ ดีที่ได้ชว่ ยเหลือผูอ้ นื่ ” ก่อนหน้านี้ บริษัทเคยร่วมมือกับมูลนิธิศุภนิมิตฯ ในการทาสีอาคาร โรงเรียนในจังหวัดปราจีนบุรี และเมือ่ สองปีกอ่ นในวันคริสต์มาส เจ้าหน้าที่ ของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้พากลุ่มเด็กๆ มาร้องเพลงอวยพรที่ส�ำนักงานของ คุณพิศิษฐ์ด้วย “น่ารักดีครับ” เขานึกถึงวันนั้น “ผมไม่ได้คาดหวังว่าเด็กในความอุปการะของเราจะต้องเป็นเด็ก เรียนเก่งที่สุดในโรงเรียน ผมแค่อยากให้พวกเขาเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีใน อนาคต” คุณพิศิษฐ์กล่าว “พนักงานของผมสนุกกับการได้เขียนจดหมาย โต้ตอบกับเด็กๆ มากครับ”

จากใจพนักงาน

จินตภา เตือนใจตน ผู้จัดการส่วนการเงิน

“ส่วนตัวอุปการะเด็กมา 10 ปี และได้รับ ความสุข เมือ่ เด็กทีอ่ ปุ การะเขียนจดหมาย เล่ า ถึ ง ความฝั น เล่ า ความเป็ น อยู ่ ข อง ครอบครัว เราก็จนิ ตนาการตาม และท�ำให้ รู้ว่าเงินของเรามีคุณค่า”

10

สุกัญญา นิยมไทย หัวหน้าประสานงานข่าย

“ติ ด ต่ อ กั บ เด็ ก ในความอุ ป การะผ่ า น จดหมายต่อเนื่องมากว่า 5 ปีแล้ว เขา เหมือนลูกเราคนหนึ่ง เคยส่งรูปลูกตัวเอง ไปให้แล้วบอกเด็กทีอ่ ปุ การะว่าหน้าเหมือน กัน และขอให้ตงั้ ใจเรียนจะได้มอี นาคตดีๆ”

ชันญาลักษณ์ กองหมี เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ

“ตัง้ แต่เข้ามาร่วมตอบจดหมายเด็กก็หนึง่ ปี แล้ว น้องเคยเขียนจดหมายมาหาและก็ได้ ส่งการ์ดปีใหม่กลับไปอวยพรน้อง รูส้ กึ ดีใจ ที่ได้ให้ก�ำลังใจน้อง” วารสารศุ ภ นิ มิ ต


บอกเล่าผ่านเรื่อง

สายสัมพันธ์อันแนบแน่น ของ ลลิตา แซ่แต้

ด้

วยรอยยิ้มที่ร่าเริงของ ลลิตา แซ่แต้ ขณะเล่าถึงความผูกพันอันลึกซึ้งของ เธอกับมูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย ในช่วงทีเ่ ธอเข้าสูโ่ ครงการอุปการะเด็ก ตัง้ แต่ ชั้นประถม 1 “หนูจะไม่มีวันลืมก้อนเชื้อเห็ดที่ มูลนิธิศุภนิมิตฯ มอบให้แก่ครอบครัวในช่วงที่ ไม่มีอะไรจะกิน เห็ดเหล่านั้นเป็นเมนูที่อร่อย มากค่ะ” เธอคิดถึงอดีต แม้วา่ พืน้ ทีโ่ ครงการฯ ท่าสะอ้าน จังหวัด สงขลา ทีเ่ ธออยูน่ นั้ จะปิดตัวลงได้ 3 ปีแล้ว แต่ ด้วยโครงการส่งน้องจบ ป. ตรี ของมูลนิธิศุภ นิมิตฯ ท�ำให้เธอได้รับทุนการศึกษาเพื่อเรียน ต่อในระดับมหาวิทยาลัย วันนี้ ลลิตาคือเด็ก ทุนคนแรกที่มีงานท�ำแล้ว ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา เธอได้ เริ่มงานด้วยวัย 23 ปี ในต�ำแหน่งพนักงาน บัญชี “หนูมีความสุขมากๆ ที่ได้งานท�ำ แม้จะ ประหม่าอยูบ่ า้ ง” เธอนึกถึงวันนัน้ ลลิตาเรียน จบสาขาการบัญชีจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย ในจังหวัดสงขลา เธอได้รับ วารสารศุ ภ นิ มิ ต

โดย ดวงพร โชคทิพย์พัฒนา

ทุนปริญญาตรีของมูลนิธิศุภนิมิตฯ ขณะอยู่ ชั้นปีที่สอง โดยมูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้มอบเงิน จ�ำนวน 7,500 บาท ให้เธอทุก 4 เดือนจน กระทั่งเธอเรียนจบ “ทุนการศึกษานี้ช่วยลดภาระเรื่องเงิน ของครอบครัวหนูไปได้ครึ่งหนึ่งเลยค่ะ” เธอ ยืนยัน ก่อนหน้านี้พ่อของเธอต้องไปกู้หนี้ยืม สิน ในขณะที่เธอต้องท�ำงานพิเศษสองแห่ง สลับกัน ลลิตาจ�ำได้ว่า “ช่วงปิดเทอม หนูเคย ท�ำงานตัง้ แต่แปดโมงเช้าถึงสีท่ มุ่ พอเปิดเทอม หนูก็ต้องท�ำงานตอนกลางคืน” สิ่งที่ท�ำให้เธอเห็นความส�ำคัญของการ ศึกษาก็คือ “พ่อของหนูเรียนจบแค่ชั้น ป.2 พ่อไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องท�ำงานใช้ แรง และเริ่มงานตั้งแต่ตีสอง” พ่อเลี้ยงชีพ ด้วยการขนย้ายปลาหมึกที่จับได้จากทะเลขึ้น รถลุน เพือ่ น�ำไปส่งทีต่ ลาด ถ้าวันไหนงานเยอะ เขาก็ได้เงินเป็นหลักพัน แต่ถา้ วันไหนงานน้อย ก็ได้เพียง 30 บาท แม่ของเธอไม่สามารถช่วยหารายได้ให้

ครอบครัว เพราะป่วยเป็นโรคหัวใจและโรค เลือด อีกทั้งครอบครัวก็ไม่มีเงินมากพอที่จะ จ่ายค่ารักษา นอกจากนี้ แม่ยังเป็นอัมพาต ตั้งแต่เธอเรียนอยู่ชั้น ป.4 “ตอนนั้นล�ำบาก มาก หนูกับพี่น้องอีกห้าคนต้องอาบน�้ำ ป้อน ข้าว และท�ำความสะอาดแม่ และหนูต้องดูแล น้องชายคนเล็กสุด ซึ่งอายุน้อยกว่าหนูครึ่ง หนึ่งด้วย” เธอเล่า สิ่งต่างๆ เริ่มดีขึ้นส�ำหรับบัณฑิตสาวคน ใหม่ แม่ของเธอสามารถขยับตัวได้มากขึ้น ส่วนพี่ชายและน้องชายก็ได้งานท�ำแล้ว ลลิตา ตั้งเป้าหมายไว้ว่าอยากจะเป็นนักตรวจสอบ บัญชี “หนูชอบตรวจสอบตัวเลข และหาจุด บกพร่องค่ะ” เธอพูดอย่างตื่นเต้น “หนูอยากขอขอบคุณผูอ้ ปุ การะของหนู” ลลิตาพูด “หนูและครอบครัวรู้สึกภูมิใจมากที่ ได้เรียนจบปริญญาตรี ความช่วยเหลือของ ท่านเป็นเหมือนเทียนที่ถูกจุดขึ้นเพื่อช่วยให้ ชีวิตหนูสดใส ไม่อย่างนั้นแล้วหนูคงไม่มีวัน ก้าวมาถึงจุดนี้ได้ค่ะ”

11


บอกเล่าผ่านเรื่อง

เคล็ดลับความสะอาดของโรงเรียนบ้านย่านอุดม

โดย ไพวรรณ เบญจกุล

เฮ้อ! ต้องท�ำอีกแล้วเหรอ เพิ่งท�ำไปแหมบๆ” เป็นเสียงถอนหายใจ ที่มาพร้อมเสียงบ่นของหลายคนเมื่อถึงเวลาต้องท�ำความสะอาด งาน ที่ได้ชื่อว่ามีวงจรไม่รู้จบ ในห้วงของความรู้สึกแบบนี้คงท�ำให้นึกถึงไม้ วิเศษของนางฟ้า หากมีจริงก็เยี่ยมยอดไปเลยแค่หยิบขึ้นมาชี้ปิ้งเดียวทุก ซอกมุมสะอาดเอี่ยมอ่องในพริบตา ว่าแต่ไม้เท้าวิเศษน่ะมีอยู่ในเทพนิยาย เท่านัน้ แล้วจะท�ำอย่างไรล่ะให้งานทีเ่ ป็นเหมือนยาขมมีความน่าอภิรมย์ขนึ้ สีสวยๆ กลิ่นหอมๆ ของน�้ำยาท�ำความสะอาดที่ ไม่เป็นพิษเป็นภัย ต่อผู้ใช้แถมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นค�ำตอบจากโรงเรียนบ้านย่านอุดม อ�ำเภอล�ำทับ จังหวัดกระบี่ ที่ผลิตน�้ำยาท�ำความสะอาดสรรพคุณครบถ้วน จากฝีมอื ของนักเรียนชัน้ ป.6 และ ม.1 โดยโครงการพัฒนาชุมชนเป็นพืน้ ที่ แบบพึ่งตนเองและยั่งยืนล�ำทับ ได้ให้การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ ส่วนผสม รวมถึงเป็นวิทยากรสอน โรงเรียนไม่เพียงแต่หวังว่านักเรียนจะได้รบั ทักษะ ความรู้และความสนุก พวกเขายังคาดว่าสิ่งนี้จะสามารถเป็นช่องทางหา รายได้เสริมให้นักเรียน นอกเหนือจากการผลิตไว้ใช้ในโรงเรียน โดยเริม่ ต้นทีเ่ ด็กๆ ต้องเตรียมท�ำน�ำ้ ชีวภาพเปลือกสับปะรดไว้ลว่ งหน้า ประมาณ 7-10 วัน จนน�ำ้ ชีวภาพทีห่ มักไว้มสี นี ำ�้ ตาลไหม้และมีกลิน่ หอมอม เปรีย้ ว จากนัน้ กรองเอากากออกแล้วน�ำเฉพาะน�ำ้ ไปใช้เป็นตัวท�ำละลายให้ ส่วนผสมอื่นๆ รวมเป็นเนื้อเดียว เมื่อถึงเวลาท�ำ เด็กๆ น�ำส่วนผสมต่างๆ ใส่ลงกะละมัง ตวงน�้ำหมักใส่ลงไปตามส่วน แล้วช่วยกันคนเธอทีฉันทีจน ทุกอย่างเข้ากันดี น�ำสีผสมอาหารสีเหลืองหยดลงไป คนต่ออีกหน่อย สีขาว หม่นของน�ำ้ ยาท�ำความสะอาดอเนกประสงค์กเ็ ปลีย่ นเป็นสีเหลืองเลมอนที่ สดใสชวนใช้ เด็กๆ หยดหัวน�้ำหอมลงไป 2-3 หยด และคนอีก 2-3 ทีน�้ำยา ท�ำความสะอาดอเนกประสงค์กโ็ ชยกลิน่ มะนาวหอมจรุงใจทันที ต่อจากนัน้ ก็จัดแจงบรรจุน�้ำยาใส่ลงขวด เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอน “ท�ำเสร็จแล้วครูให้เอากลับบ้านไปใช้ค่ะ ไม่ต้องไปซื้อจากท้องตลาด พอใช้หมดก็มาซื้อใหม่ที่โรงเรียนขวดละ 10 บาท” พัชราภรณ์ นักเรียนชั้น ป.6 เล่า แต่น�้ำยาท�ำความสะอาดนี้ ได้ชื่อว่าเป็น น�้ำยาอเนกประสงค์ ซึ่ง หมายความว่าสามารถน�ำไปใช้ได้หลากหลาย “โครงการส่งเสริมสุขภาพ ทีโ่ รงเรียนก็รณรงค์ให้เด็กๆ ทุกคนล้างมือก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้า

12

ห้องน�ำ้ ด้วยน�ำ้ ยานีเ้ พราะไม่ตอ้ งกังวลว่าเด็กๆ จะแพ้สารเคมี” นาง พฤษารัตน์ เพชรฤทธิ์ อาจารย์โรงเรียนบ้านย่านอุดมพูด นอกจาก นี้ ยังน�ำไปใช้ถพู นื้ ล้างจาน ซักผ้า ล้างห้องน�ำ้ ท�ำให้ทวั่ ทัง้ โรงเรียน สะอาดวิง้ ได้รบั ค�ำชมเปาะจากผูม้ าเยือนว่าโรงเรียนบ้านย่านอุดมน่า อยู่น่าเรียน “กิจกรรมนี้โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิศุภนิมิตฯ ในปี 54 ตั้งแต่นั้นมาโรงเรียนไม่ต้องซื้อน�้ำยาเลย ช่วยลดค่าใช้จ่าย ของโรงเรียนไปเยอะ” อาจารย์พฤษารัตน์พดู “มูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ เป็น หน่วยงานเดียวทีด่ แู ลทัง้ เด็กและบุคคลากร เด็กทีน่ เี่ ป็นเด็กศุภนิมติ หลายคน และยังมีกจิ กรรมหลายอย่างค่ะทีศ่ ภุ นิมติ ให้การสนับสนุน ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ”

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


บอกเล่าผ่านเรื่อง

เห็ดนางฟ้า เ สู่ความหวัง และการศึกษา

ด็กหญิงเนาวรัตน์ก้มตัวลง ค่อยๆ ลอดเข้าไปในบ้านเห็ดหลังน้อย ของเธอซึ่งอยู่หลังบ้าน แสงสว่างส่องผ่านช่องเล็กๆ ถุงเห็ดนางฟ้า ทั้งหลายนอนบนแผ่นไม้เรียงเป็นแถวสูง 11 ชั้น ละอองน�้ำไหลเป็น สายรดลงจากบัวรดน�้ำ เธอหัวเราะเสียงดังทุกครั้งเมื่อมาเล่นสนุกใน บ้านเห็ดนางฟ้านี้ เนาวรัตน์ อายุ 12 ปี อาศัยอยู่กับพ่อแม่ในบ้านหลังน้อยนิดซึ่งท�ำ ขึ้นจากไม้ไผ่ ณ หมู่บ้านชนบทภาคเหนือของประเทศไทย พ่อของเธอ ไม่มีงานท�ำ และมีชีวิตอยู่อย่างล�ำบากมาก บ่อยครั้งที่พวกเขาต้องเข้า นอนทั้งที่ยังหิว และวิตกกังวลถึงวันพรุ่งนี้ เมื่อมูลนิธิศุภนิมิตฯ ยื่นมือช่วยเหลือครอบครัวเนาวรัตน์ ความ โดย สมลักษณ์ ค�ำแสน เปลีย่ นแปลงส�ำคัญได้เริม่ ต้นขึน้ ด้วยความบกพร่องด้านการเรียนรูข้ อง เนาวรัตน์ทคี่ รูประจ�ำชัน้ สังเกตเห็น เธอจึงได้รบั การสนับสนุนให้ได้เรียน ในห้องที่มีอุปกรณ์เสริมสร้างพัฒนาการ เช่น ลูกบอล เกมส์กระดาน นิทาน สื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ และมีครูผู้เชี่ยวชาญด้านการ ศึกษาพิเศษ ที่ใช้หลักสูตรสอนเฉพาะรายบุคคล ครอบครัวของเธอได้ รับการสนับสนุนเห็ดนางฟ้า เพื่อให้แน่ใจว่าเนาวรัตน์มีอาหารเพียงพอ และพ่อแม่สามารถน�ำความรูท้ ี่ได้รบั อบรมเรือ่ งการเพาะเห็ดนางฟ้ามา ท�ำ เพื่อเพิ่มจ�ำนวนเห็ดขึ้นช่วยสร้างรายได้แก่ครอบครัว “ฉันเครียดมาก สิ้นหวัง และกังวลเรื่องลูกสาวสอบตกซ�้ำชั้นทุก ปี คิดว่าลูกไม่ตงั้ ใจเรียน แต่ฉนั เพิง่ เข้าใจว่าลูกมีปญ ั หาเรียนรูไ้ ด้ชา้ กว่า เด็กในวัยเดียวกัน ฉันเหนือ่ ยมากในการดูแล ตัง้ แต่ลกู เรียนในห้องการ ศึกษาพิเศษที่โรงเรียน ลูกอยากไปโรงเรียนทุกวันและมีความสุขมาก ขึ้น” แม่พูด “โรงเรือนเห็ดนางฟ้าของครอบครัวเราเพิง่ สร้างเสร็จ เห็ดนางฟ้า กว่า 500 ก้อนจากศุภนิมิตฯ เริ่มทยอยเบ่งบานให้ดอกเห็ด อีกไม่กี่วันก็ คงได้เก็บไปท�ำอาหารให้ลกู และขายให้เพือ่ นบ้าน มีเงินให้ลกู สาวทุกวัน ไปโรงเรียน ตอนนีส้ บายใจขึน้ มาก ไม่กงั วลเรือ่ งการเรียนของลูกสาว” แม่พูดด้วยความสบายใจ

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

13


บอกเล่าผ่านเรื่อง

ของขวัญแห่ง การพัฒนาสังคม

ธุ

โดย ดวงพร โชคทิพย์พัฒนา

รกิจเพือ่ การพัฒนาสังคม เป็นส่วนหนึง่ ของงานพัฒนาวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก (Micro Enterprise Development) ซึ่งมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ด�ำเนินงานโดยเข้าไป ช่วยเหลือชุมชนในการก่อตัง้ กลุม่ อาชีพต่างๆ พร้อมมอบเงินทดลองจ่ายให้กบั กลุม่ เพือ่ เป็นทุนตั้งต้น และช่วยขยายโอกาสทางการตลาด โดยในปี 2556 นี้ มูลนิธิศุภนิมิตฯ เริ่มน�ำผลิตภัณฑ์ เช่น ข้าว ผ้า และกระเป๋า ที่ผลิตโดยกลุ่มชุมชนมาจ�ำหน่าย การสืบสานแนวคิดธุรกิจเพื่อการพัฒนาสังคมนั้น มูลนิธิศุภนิมิตฯ เริ่มจากการเลือก กลุ่มอาชีพต่างๆ จากพื้นที่ในโครงการที่มีแนวโน้มประสบความส�ำเร็จ หากกลุ่มสมาชิกใด ขาดทักษะในการบริหารกลุ่ม ก็จะเข้ามาจัดอบรมให้ บางครั้งก็เข้าไปช่วยผลิตสินค้าหรือ ออกแบบให้ และมีการตรวจสอบคุณภาพเพื่อรับประกันว่าผลิตภัณฑ์ได้รับมาตรฐาน

14

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


ผลิตภัณฑ์ที่มูลนิธิศุภนิมิตฯ ช่วยจัดจ�ำหน่าย

1. ข้าวอิ่มใจ

ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข ้ า วมี จ� ำ หน่ า ยทั้ ง หมดหกชนิ ด โดยข้ า วเหล่ า นี้ เ ก็ บ เกี่ ย วมาจากโครงการ ต่างๆ ดังนี้ โครงการฯ สุวรรณภูมิ (จังหวัด ร้อยเอ็ด) โครงการฯ ทองแสนขัน (จังหวัด อุตรดิตถ์) แล้วน�ำมาบรรจุภัณฑ์ใหม่ด้วย กระเป๋าผ้าทีผ่ ลิตขึน้ โดย โครงการฯ เมืองพล (จังหวัดขอนแก่น) และชะลอมจากโครงการฯ พนัสนิคม (จังหวัดชลบุรี) ราคา: 45-80 บาท/ถุง และ 100-300 บาท ส�ำหรับชุดของขวัญ

2. ผ้าพันคอและผ้าคลุมไหล่อุ่นใจ

ผ้าฝ้ายทอมือ วัตถุดิบที่รังสรรค์โดยกลุ่ม ชาวบ้านจากโครงการฯ เมืองพล (จังหวัด ขอนแก่น) และโครงการฯ ค�ำตากล้า (จังหวัด สกลนคร) ราคา: 100-230 บาท/ผืน

3. ถุงผ้าสร้างสุข

ผ้าขาวม้าอเนกประสงค์ สินค้าพื้นเมือง ของคนไทยถู ก น� ำ มาสรรค์ ส ร้ า งใหม่ ใ ห้ กลายเป็ น กระเป๋ าใบสวย เนื้ อ ผ้ า ถั ก ทอ โดยกลุ ่ ม อาชี พ ในโครงการฯ ค� ำ ตากล้ า (จังหวัดสกลนคร) และเย็บเป็นกระเป๋าโดย กลุ่มชุมชน โครงการฯ เมืองพล (จังหวัด ขอนแก่น) และโครงการฯ อรัญประเทศ (จังหวัดสระแก้ว) ราคา: 75 บาท/ใบ

ท่านสามารถซือ้ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ทสี่ ำ� นักงาน มูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ ในกรุงเทพฯ โดยสามารถ เลือกจัดชุดของขวัญได้เอง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อโทร. 081-708-0711

รายได้จากการจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์จะมอบกลับคืนสู่ชุมชน ซึ่งจะ ช่วยท�ำให้กลุ่มอาชีพมีสถานะทางการเงินที่มั่นคงขึ้น และสร้างงานให้กับ สมาชิกชุมชน ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ชาวบ้านไม่ต้องอพยพออกไปหางาน ท�ำในเมือง เมื่อชาวบ้านได้อยู่กับครอบครัวก็จะมีเวลาดูแลลูกหลานของ พวกเขา สอดคล้องกับภารกิจหลักของมูลนิธศิ ภุ นิมติ ฯ ทีม่ งุ่ เน้นการพัฒนา ความอยู่ดีมีสุขของเด็กๆ ในอนาคต เมื่อกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิศุภ นิมิตฯ เติบโตและมั่นคงขึ้น พวกเขาจะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา ชุมชนของตนและชุมชนอื่นๆ โดยขยายการช่วยเหลือไปสู่กลุ่มอาชีพต่างๆ เพือ่ ให้เกิดความหลากหลายและความเข้มแข็งของชุมชน นอกจากนี้ มูลนิธิ ศุภนิมิตฯ มีแผนที่จะจัดท�ำเว็บไซต์การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทางออนไลน์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ฝืมือชาวบ้านท้องถิ่นเป็นที่รู้จักแพร่หลายขึ้น และช่วย ให้ชุมชนมีช่องทางการขายสินค้าเพิ่ม การสนับสนุนสินค้าของชุมชนนั้น ก็เปรียบดั่งการส่งมอบของขวัญแห่งการพัฒนาสังคมสู่ชุมชน

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

15


ประกาศ

การปรับอัตราค่าอุปการะเด็ก เรียน ท่านผู้อุปการะ เนือ่ งจากภาวะเศรษฐกิจเปลีย่ นแปลงทัว่ โลก ราคาทีเ่ พิม่ สูงขึน้ ของเชื้อเพลิง อาหาร วัตถุดิบ และวัสดุต่างๆ มูลนิธิศุภนิมิต แห่งประเทศไทยจึงขอความอนุเคราะห์ในการปรับอัตราค่า อุปการะเด็กจาก 500 บาท เพิม่ เป็น 600 บาทต่อเดือน ต่อการ อุปการะเด็ก 1 คน เพื่อสานต่องานพัฒนาชีวิตเด็ก ครอบครัว และชุมชนยากไร้ ให้เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน สอบถามเพิ่มเติมโทร. 0-2381-8863 ถึง 5 ต่อ 141-144 16

เปิดช่องทางอุปการะ-บริจาคใหม่ ด้วย Debit Card Payment มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยขยายช่องทางการช�ำระเงิน บริจาคและอุปการะเด็กด้วยระบบ Debit Card Payment ผ่าน ทางหน้าเว็บไซต์ www.worldvision.or.th ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้น ไป ทั้งนี้เพื่ออ�ำนวยความสะดวกแก่ผู้อุปการะ-ผู้บริจาค ที่ ต้องการส่งมอบความช่วยเหลือสู่เด็กด้อยโอกาส และชุมชนที่ ยังขาดแคลน โดยบัตรเดบิตการ์ดจะหักเงินโดยตรงจากบัญชี เงินฝากในธนาคารเจ้าของบัญชี

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


ข้าพเจ้ายินดีรว่ มแบ่งปันน�ำ้ ใจ...สูเ่ ด็กยากไร้ดอ้ ยโอกาส ชื่อ (นาย/นาง/นางสาว) ..............................................................................

(ขอความกรุณากรอกข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

Name (Mr/ Mrs/ Miss).............................................................................. (block Letter)

ที่อยู่ ................................................................................................................. .. ................................ รหัสไปรษณีย์ ................... วันเกิด ......./......./....... โทรศัพท์ ................................................โทรสาร .......................................... มือถือ ................................................ E-mail .............................................. ต้องการอุปการะเด็ก (กรุณาระบุ) ¡1 ¡2 ¡3 ¡.........คน การจ่ายเงินส�ำหรับการอุปการะเด็กของข้าพเจ้า ¡ 600 บาท/คน/ทุกเดือน ¡ 1,800 บาท/คน/ทุก 3 เดือน ¡ 3,600 บาท/คน/ทุก 6 เดือน ¡ 7,200 บาท/คน/ทุกปี กรณีอปุ การะเด็กมากกว่าหนึง่ คน (อัตราค่าอุปการะเด็ก 600 บาทต่อคนต่อเดือน)

‘ท่าน’ เปรียบเสมือนหางเสือที่จะช่วยพา

กรุณาระบุ ..........................บาท ต่อ...............คน ทุก................เดือน/ปี 4474 ไม่พร้อมให้การอุปการะเด็ก

แต่ยินดีบริจาคเพื่อช่วยเหลือเด็กยากไร้ .................................. บาท

เรือล�ำน้อยนี้ไปถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย

พร้อมกันนี้ได้น�ำส่งเงินบริจาคจ�ำนวนดังกล่าว โดยทาง เรียกเก็บเงินจากบัญชีบัตรเครดิต

น้องช้าง หรือเด็กชายภาคภูมิ วัย 10 ขวบ จากอ�ำเภอแก่งกระจาน เป็นหนึง่ ในเด็กทีม่ งุ่ มัน่ ในการเรียนหนังสือ ทุกวันเขาต้องเดินทาง ไปกลับโรงเรียนใช้เวลาถึง 4 ชัว่ โมงกว่า ด้วยระยะทางกว่า 16 กิโลเมตร ที่ทุรกันดาร ทั้งการเดินเท้าไปขึ้นเรือเล็กแล้วต่อเรือ ใหญ่ แต่ดว้ ยความเชือ่ ทีว่ า่ เมือ่ เรียนสูงๆ แล้ว จะท�ำให้เขามีงานที่ ดีทำ� น้องช้างจึงตัง้ ใจและไม่ทอ้ เสมอ

¡VISA.................... ¡MASTERCARD.................... ¡AMEX ¡DINERS

หมายเลขบัตร ในกรณีที่ข้าพเจ้าอุปการะเด็ก ข้าพเจ้ายินดีให้เรียกเก็บเงินจากบัญชีบัตรเครดิต อย่างต่อเนื่องตามที่ระบุไว้ข้างต้น จนกว่าข้าพเจ้าจะแจ้งยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง

วันหมดอายุบัตร.............................................................................................. ชื่อเจ้าของบัตร................................................................................................ ลายมือชื่อผู้ถือบัตร.........................................................................................

“หนูตอ้ งขึน้ เรือไปโรงเรียน หนูกลัวเรือล่มเวลาฝนตก เพราะจะ ไม่มีใครช่วยแม่เลีย้ งน้อง และไม่ได้ไปโรงเรียน” ครอบครัวของน้องช้างมีด้วยกัน 5 คน พ่อมีอาชีพรับจ้างปลูก ข้าวโพดและดายหญ้าบนเขา นานทีจงึ กลับมาบ้าน ส่วนแม่รบั จ้าง ดายหญ้าในไร่แถวบ้านและคอยดูแลลูกๆ 3 คน ซึง่ ลูกสาวคนเล็ก อายุยงั ไม่ถงึ 2 ขวบ รายได้ของทีบ่ า้ นมีพอส�ำหรับประทังชีวติ ไป วันๆ น้องช้างมักช่วยแม่ทำ� งานบ้าน เช่น ล้างจาน หุงข้าว เลีย้ ง น้อง และหาบน�ำ้ มาไว้ใช้ทบี่ า้ น

เรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคาร (มูลนิธฯิ จะส่งแบบฟอร์มให้ภายหลัง) ¡ธ.กรุงเทพ ¡ธ.กรุงไทย ¡ธ.กสิกรไทย ¡ธ.ไทยพาณิชย์ ¡ธ.กรุงศรีอยุธยา เช็ค สั่งจ่าย มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ธนาณัติ ในนาม มูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย สัง่ จ่าย ปท. พระโขนง โอนเงิน เข้าบัญชีออมทรัพย์ มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

ความฝันของเด็กยากไร้คนหนึง่ คือการเรียนหนังสือให้จบ เพือ่ มีงาน ทีด่ ที ำ� เลีย้ งดูครอบครัวได้ แต่หนทางของน้องช้างยังมีอปุ สรรคอีก มากมายโดยเฉพาะเรือ่ งความยากจน

ธนาคาร สาขา เลขที่บัญชี ทองหล่อ 206-0-43600-9 ¡กรุงเทพ เอกมัย 053-1-10632-2 ¡กรุงไทย เอกมัย 059-2-40974-7 ¡กสิกรไทย ไทยพาณิ ช ย์ เอกมั ย 078-2-00965-5 ¡ ¡กรุงศรีอยุธยา สุขุมวิท 63 361-1-02033-3 ทองหล่อ 801-1-07026-4 ¡ยูโอบี เอกมัย 152-2-00300-1 ¡ทหารไทย โอนจากสาขา................................................. วันที่โอน..................................................

วันนี้ ขอเชิญชวนท่านบอกต่อคนรอบข้าง

มาร่วมสร้างโอกาสให้เด็กยากไร้ ด้วยการตัดสินใจอุปการะเด็กสักหนึ่งคน

เพียงบริจาคเงินอย่างต่อเนือ่ ง 600 บาทต่อเดือน ผ่านโครงการ อุปการะเด็ก ท่านจะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็กในครอบครัว ยากไร้ให้มชี วี ติ ทีด่ ขี นึ้ ฉีกตามรอยปรุ

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

เมื่อโอนเงินแล้วกรุณาส่งส�ำเนาใบโอนเงิน พร้อมแบบตอบรับบริจาคมายังมูลนิธิฯ ทางไปรษณีย์ หรือโทรสาร 0-2711-4100 ถึง 2 เพื่อมูลนิธิฯ จะจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้ท่านต่อไป

ขอขอบคุณ มูลนิธิฯ ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ท่านได้ หากขาดส�ำเนาใบโอนเงินและแบบตอบรับบริจาค มูลนิธศิ ภุ นิมติ แห่งประเทศไทย เป็นองค์กรสาธารณกุศลล�ำดับที่ 59 ตามประกาศกระทรวงการคลัง เงินบริจาคสามารถน�ำไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจ�ำปี ตามที่กฎหมายก�17 ำหนดไว้


สองพี่น้องสาน ความหวังที่สดใส โดย เกื้อกูล ภูมิวิทยา

มือ่ สมาชิกทุกคนในครอบครัวร่วมกันสานตะกร้าหลากสี ก�ำลังใจ อันเปีย่ มล้นทีพ่ ร้อมฝ่าฟันปัญหาความยากจนก็มมี า ความสุขของ ครอบครัวนี้ เกิดขึน้ จากการร่วมแรงร่วมใจกันท�ำตะกร้าหลากรูป ร่างหลายสีสันจนกระทั่งกลายเป็นที่สนใจของชุมชน ครอบครัวตัวอย่างนีเ้ ป็นหนึง่ ในสมาชิกเผ่าภูไทซึง่ อาศัยอยู่ใน จังหวัดอ�ำนาจเจริญ พวกเขาขายตะกร้ามากมายให้เพื่อนบ้าน โดย มี เด็กหญิงอัมพวัน หรือแตง อายุ 13 ปี และ เด็กหญิงพรรณลาย หรือแพง อายุ 12 ปี สองพี่น้องน�ำตะกร้าสีทอง ฟ้า ชมพู เขียว ขาว ทั้งเล็กและใหญ่มาแขวนเรียงร้อยไว้ที่บริเวณหน้าบ้าน ดูละม้าย สายรุ้งเพื่อโชว์ผลงานชิ้นเลิศ ใครอยากซื้อตอนนี้ก็ต้องสั่งจองเลย ทีเดียว “หนูรสู้ กึ มีความสุขเมือ่ ได้สานตะกร้า เพราะหนูได้ใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์” แตงเล่าให้ฟัง ‘ในอดีตต้องเดินล�ำพัง’ ตัง้ แต่แตงและแพงยังเล็ก พ่อของทัง้ สองต้องเสียชีวติ ด้วยโรค ร้าย นางวันที ผู้เป็นแม่จึงต้องย้ายจากบ้านเกิดที่อ�ำเภอชานุมาน จังหวัดอ�ำนาจเจริญ เพือ่ ไปท�ำงานในโรงงานกุง้ แห่งหนึง่ ในกรุงเทพฯ

18

วารสารศุ ภ นิ มิ ต


และฝากลูกๆ ทัง้ สองให้ปา้ ช่วยดูแล นางวันทีได้สง่ เงินมา ให้ลูกๆ จ�ำนวน 2,000 บาทต่อเดือน อย่างไรก็ตามเงิน เพียงเล็กน้อยนี้ก็ไม่เพียงพอส�ำหรับแตงและแพง “เมื่อกลับบ้านมาเห็นลูกๆ ร้องไห้ ท�ำให้ฉันรู้สึก คิดถึงพวกเขามาก” นางวันทีกล่าว เธอได้ตัดสินใจกลับ มาอยู่บ้านกับลูกๆ ถึงแม้ไม่รู้ว่าชีวิตต้องเผชิญอะไรใน อนาคต ‘คุณแม่กลับบ้าน’ นางวันทีกลับมาอาศัยอยูท่ บี่ า้ นเกิดเมือ่ ปี 2549 หลัง จากนั้น มูลนิธิศุภนิมิตฯ ได้เข้าช่วยครอบครัวของแตง และแพง เธอจึงได้เรียนรู้งานฝีมือด้านการสานตะกร้า โดยโครงการส่งเสริมอาชีพ การเริม่ ต้นฝึกหัดสานตะกร้า เป็นเหมือนแสงแห่งความหวังที่ริบหรี่ พอนางวันทีสาน ตะกร้าจนช�ำนาญแล้วก็สอนให้ลูกๆ ด้วย “ลูกๆ มีนสิ ยั คล้ายกัน เขาสอนง่าย” นางวันทีกล่าว อย่างภาคภูมิใจ แม้เวลาพลบค�่ำและดาวเริ่มส่องแสงวิบ วับ สองพีน่ อ้ งและนางวันทียงั ช่วยกันสานตะกร้าพลาสติก สีสดใสด้วยกันอย่างมีความสุข พอแตงและแพงช่วยแม่ สานตะกร้าก็ได้รบั เงินค่าขนมไปโรงเรียน ท�ำให้เด็กหญิง ทัง้ สองมีความสุขเวลาไปโรงเรียน และมีความสุขที่ได้อยู่ กับแม่ที่บ้าน

วารสารศุ ภ นิ มิ ต

‘แบ่งปันความรู้ในงานประเพณี’ เสียงเครือ่ งสายของดนตรีไทยเดิมบรรเลงไปพร้อม กับเสียงเดินเบสและเสียงร้องบรรเลงสนุกสนานที่งาน บุญประเพณี ไขประตูเล้า งานนี้จัดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็น ถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของเผ่าภูไท ทุกครอบครัวในต�ำบล ค�ำเขื่อนแก้วมารวมตัวกันและน�ำเสนอผลิตภัณฑ์ที่โดด เด่นประจ�ำหมู่บ้าน นางวันทีก็มาร่วมสาธิตวิธีการสาน ตะกร้าให้กับผู้คนที่เดินผ่านไปมา ภายในงานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นางวันที ขายตะกร้าได้หลายสิบใบ โดยมีราคาตั้งแต่ 20 บาท จนถึง 80 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด พวกเขาได้ก�ำไรสองเท่า จากต้นทุน และนั่นก็คุ้มค่ากับแรงกายและเวลาที่เสียไป รายได้ของครอบครัวจากการขายตะกร้า มีเพียงพอที่จะ ใช้จ่ายประจ�ำวันในขณะนี้ แต่สิ่งที่ส�ำคัญกว่าส�ำหรับนาง วันทีคอื การมีเวลาแห่งความสุขเมือ่ ได้อยูก่ บั ลูกๆ พร้อม หน้าพร้อมตา การพัฒนาด้านความเป็นอยู่ประสบความส�ำเร็จได้ เพราะสมาชิกในครอบครัวร่วมมือกันท�ำงานและให้กำ� ลัง ใจต่อกัน “ฉันภูมิใจที่สานตะกร้าเป็น ถึงแม้ว่าไม่เคยท�ำ มาก่อนเลย และตอนนี้ยังสามารถสอนคนอื่นท�ำตะกร้า ได้ดว้ ย” นางวันทีกล่าว การถ่ายทอดความรูก้ เ็ ป็นหนทาง หนึ่งที่ช่วยเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของชุมชน

19


เรามีนิมิตที่จะให้เด็กทุกคนมีชีวิตที่ครบบริบูรณ์ เราอธิษ ฐานทูลขอให้ทุกดวงใจมุ่งมั่นกระท�ำให้นิมิตนี้ส�ำเร็จ our vision for every child, life in all its fullness: our prayer for every heart, the will to make it so.

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

582/18-22 ถนนสุขุมวิท 63 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ +66 (0) 2381-8863 ถึง 5 โทรสาร +66 (0) 2711-4100 ถึง 2 info@worldvision.or.th 20

www.worldvision.or.th วารสารศุ ภ นิ มิ ต


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.