7 minute read
CATC Review
แอร์คาร์โก้ แอร์คาร์โก้ ฮีโร่จำาเป็นฮีโร่จำาเป็น
Air Cargo... the Necessary Hero
Advertisement
ถ้าเปรียบสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นดังภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง ภาพยนตร์เรื่องนี้ ช่างเต็มไปด้วยฉากหักมุมแบบ เซอร์ไพรส์คนดูตลอดทั้งเรื่อง และที่สำาคัญภาพยนต์เรื่องนี้ยังไม่จบบริบูรณ์ ผ่านมาเกือบสองปีเต็มแล้วกับที่อุตสาหกรรมการบินถูกไวรัสโควิด-19 โจมตีอย่างหนัก และยังไม่มีวี่แววว่าจะยอมลดราวาศอก ศึกครั้งนี้บอกเลยว่า อุตสาหกรรมการบินพ่ายแพ้อย่างราบคาบ ข้อมูลล่าสุดเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม2564 นี้ สมาคมขนส่งทางอากาศ ระหว่างประเทศ (IATA) ได้เปิดเผยตัวเลขอย่างเป็นทางการของผลประกอบการ ของอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศประจำาปี 2563 ในรายงาน IATA World Air Transport Statistics (WATS) โดยระบุว่า ผลกระทบของ วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อการขนส่งทางอากาศ ทั่วโลก ทำาให้ปริมาณผู้โดยสารในปี 2563 มีเพียง 1.8 พันล้านคน ลดลงไป ร้อยละ 60.2 จากปริมาณผู้โดยสาร 4.5 พันล้านคน เมื่อปี 2562 ส่วนภาพรวม ปริมาณการขนส่งด้านผู้โดยสาร (RPK) ในปี 2563 ก็หดลงไปร้อยละ 65.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยปริมาณการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศร่วงลงไปถึง ร้อยละ 75.6 ในขณะที่ปริมาณการขนส่งผู้โดยสารภายในประเทศลดลง ร้อยละ 48.8 ส่งผลให้เกิดการขาดทุนถึง 126.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศนั้น รายงาน IATA WATS ระบุว่า ภาพรวมปริมาณการผลิตด้านการขนส่งสินค้า (ACTK) ลดลงร้อยละ 21.4 จากปีก่อน จึงทำาให้อัตราการขนส่งสินค้า (Load factor) ในปี 2563 นี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 มาอยู่ที่ร้อยละ 53.8 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา สำาหรับปริมาณการขนส่งด้านสินค้า (ACK) ในปี 2563 ลดลงร้อยละ 9.7 แม้ว่าจะเป็นการหดตัวมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงิน เมื่อปี2552 แต่ในช่วงปลายปี2563 ปริมาณการขนส่งสินค้าก็สามารถฟื้นตัว กลับไปอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด ทั้งนี้ ตัวเลขล่าสุดจาก IATA ระบุเพิ่มเติมว่า ในครึ่งแรกของปี 2564 ที่ผ่านมานี้ การขนส่งสินค้า ทางอากาศมีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8 จากปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัว ที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2560 โดยแนวโน้มการขยายตัวจะยังคงมีอยู่ต่อเนื่องตลอดปี
โดย น.ส.ชลันทิพย์ ประดับพงษา หัวหน้าแผนกวิจัยและพัฒนาธุรกิจการบิน สบพ. Miss Chaluntip Pradubpongsa Head of Aviation Business Research and Development Bureau CATC
If we had to compare the COVID-19 spreading situation with a movie, it would be a movie which was full of twisted plots and surprises for the audiences. The most important thing is that this movie has not come to an end yet.
As the 2 whole years passed by, the aviation industry was severely affected by the COVID-19. Still, there was no sign of recovery. In this battle, the aviation industry was defeated.
According to the recent information of August 2021, the International Air Transport Association (IATA) has officially revealed the relevant number of the air transport industry’s performances in 2020 in the IATA World Air Transport Statistics (WATS) Report. In the WATS Report, it was indicated that the COVID-19 caused negative impacts on the world’s air transport. The number of passengers in 2020 was accounted to only 1.8 billion (passengers), reducing at 60.2% when compared to the number of passengers in 2019 which was accounted to 4.5 billion (passengers). In an overview, the Revenue Passenger Kilometers (RPK) in 2020 was reduced at 65.9% when compared to the previous year. In addition, the number of international air transports for passengers went down at 75.6%; whereas, the number of domestic air transports for passengers went down at 48.8%. As a result, the profit loss was accounted to 126.4 billion US Dollars.
In the aspect of air cargo, the IATA WATS Report indicated that the overview of Available Cargo Tonne Kilometers (ACTK) reduced at 21.4%, comparing to the previous year. The rate of the load factor in 2020 increased at 7%, going up to 53.8%, which was the highest rate in the past 20 years. For the Available Cargo Kilometers (ACK) in 2020, it went down at 9.7%. It was the most shrinking period for the air cargo after the period of financial crisis which occurred in 2009.
แม้ว่าปริมาณการผลิตด้านการขนส่งสินค้า (ACTK) จะลดลงไปมาก จากพื้นที่ขนส่งสินค้าใต้ท้องเครื่องบินโดยสารหายไป หลังจากมีมาตรการ จำากัดการเดินทางเข้าออกประเทศ ทำาให้ความต้องการเดินทางของ ผู้โดยสารระหว่างประเทศลดลงอย่างฮวบฮาบ แต่ในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 นี้ ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศได้กลายมาเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับสายการบิน หลายแห่ง เพื่อบรรเทารายได้ที่หายไปจากธุรกิจการขนส่งผู้โดยสารในเส้นทาง ระหว่างประเทศ
ท่ามกลางความหักมุมยังมีความหักมุม ใครจะนึกว่าธุรกิจการขนส่งสินค้า ทางอากาศ ซึ่งเป็นพระรองในอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศมาตลอด ได้กลับกลายมาเป็นฮีโร่กอบกู้วิกฤตการณ์โควิดในครั้งนี้ หลังจากที่อุตสาหกรรมการบินประสบการชะงักงันธุรกิจไปจากพิษโควิด แต่ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศก็สามารถฟื้นตัวกลับมาได้เร็วกว่าการขนส่ง ผู้โดยสารและฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการขนส่งสินค้า ยังคงมีความจำาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในการขนส่งยาและวัคซีนโควิด รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีความสำาคัญต่อสภาวะ ทางเศรษฐกิจและห่วงโซอุปทาน โดยตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(Purchasing Managers Index: PMI) ล่าสุด ได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงปริมาณการผลิตและยอดการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่าง รวดเร็วในหลายๆ ประเทศ ซึ่งก็หมายความว่า การขนส่งสินค้าเหล่านั้นก็ต้อง เพิ่มขึ้นตามมา รวมทั้งการขนส่งสินค้าทางอากาศ ซึ่งมีข้อได้เปรียบเรื่อง ความเร็วในการขนส่ง ในขณะเดียวกัน ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ ก็ได้พัฒนาเรื่องความได้เปรียบในเรื่องต้นทุน โดยพบว่าอัตราค่าขนส่งสินค้า ทางอากาศโดยเฉลี่ยมีราคาลดลง และความน่าเชื่อถือของการขนส่งสินค้า ทางอากาศก็เพิ่มขึ้นด้วย สำาหรับในประเทศไทยนั้น ข้อมูลจากสำานักงานการบินพลเรือน แห่งประเทศไทย(กพท.) ระบุว่า ภาพรวมปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศ ของไทยในปี2563 ลดลงร้อยละ36 จากปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตามการขนส่ง สินค้าทางอากาศได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ไม่มาก หากเทียบกับการขนส่งผู้โดยสาร โดยข้อมูลของกระทรวง คมนาคม ระบุว่า ปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศ ของไทยในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน2564 มีปริมาณรวม 567,743 ตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12 จากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และแนวโน้ม ปริมาณขนส่งสินค้า ทางอากาศ In the late 2020, the volume of air cargo recovered to the level similar to the pre-COVID-19 period. In addition, the recent number from the IATA has additionally indicated that during the first half of the year 2021, the air cargo had an expansion rate of 8%, comparing to the previous year. This was considered as the highest expansion since 2017. The expansion trend would continue throughout the year.
The Available Cargo Tonne Kilometers (ACTK) went down dramatically due to the fact that the air cargo area in an airplane compartment was not used due to the measures on the international air transport restrictions. Moreover, passengers’ needs in the international air transport decreased dramatically. During the time of the COVID-19 crisis, the air cargo business has become the business which created revenues for many airlines. It also compensated the loss of income in the air transport business conducted for passengers flying an the international route.
Amidst a twisted situation, there was a twisted end. Who would have thought that the air cargo business, which always played a role of second string in the air transport industry, could become a hero to cope with the COVID-19 crisis?
Aftertheaviationindustryhadencounteredthebusinessregression due to the COVID-19, the air cargo business was able to recover, faster than the air transport business for carrying passengers. In addition, the air cargo had been continually recovering since the air cargowasveryimportantespeciallyfortransportingmedicine,COVID-19 vaccine, and medical equipment and devices. Furthermore, air cargo was important for the economy and supply chain. According to the recent Purchasing Managers Index (PMI), it was shown that there was an increase in the business trust. This included a dramatic increase in the number of production volumes and export volumes in many countries. It meant that the air cargo had to be increased, including the air transport which had advantages in terms of the transport speed. At the same time, the air cargo service providers developed and improved advantages in terms of cost. It was found that the average rate of air cargo service fee went down, whereas the level of trust in air cargo went up.
In Thailand, the information of the Civil Aviation Authority of Thailand (CAAT) indicated that the overview of the Thailand’s air cargo volume in 2020 reduced at 36%, comparing to the previous year. However, the air cargo sector was slightly affected by the COVID-19 spreading, comparing to the passenger transport sector. According to the information of the Ministry of Transport, it was indicated that the air cargo volume in Thailand, from January-June 2021, was accounted to 567,743 tonnes in total, increasing at 12% when compared to the same period of the previous year. In addition, the trend of the air cargo volume in the last half of the year 2021 is likely to recover and improve continually due to
ในช่วงครึ่งหลังของปี2564 ก็จะยังคงมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง จากการที่สายการบิน ขนส่งสินค้ามีคำาขอทำาการบินเข้ามาอย่างต่อเนื่องตลอดครึ่งปีหลังนี้อีกด้วย สายการบิน เค-ไมล์ แอร์ มีคำาขอเพิ่มจำานวนอากาศยานขนส่งสินค้า 3-4 ลำา และยังมีเส้นทางขนส่งสินค้าอย่างต่อเนื่อง
บริษัท การบินไทย จำากัด (มหาชน) ปรับกลยุทธ์มาทำาการบินให้บริการ ขนส่งสินค้าให้เพิ่มมากขึ้น โดยใช้สิทธิทำาการบินที่เคยขอเปิดบินเส้นทาง ระหว่างประเทศ และยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องการ ขนส่งสินค้ายังมีมาก ปัจจุบันรายได้จากการขนส่งสินค้าทางอากาศเป็น รายได้หลักของบริษัท
สายการบินไทยสมายล์แอร์เวย์ ได้ขยายธุรกิจบริการขนส่งสินค้า ทางอากาศ ภายใต้ชื่อ สมายล์ คาร์โก้ ตั้งแต่ต้นปี2564 ที่ผ่านมา โดยให้บริการ ครอบคลุม10 จังหวัดหลักที่มีความสำาคัญทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีแผน ขยายการให้บริการไปยังต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว และกัมพูชา อีกด้วย ในปัจจุบัน การให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศของไทย ทั้งการนำาเข้า และส่งออกสินค้านั้น มีตั้งแต่สินค้าด่วนพิเศษ สินค้าภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น ผัก ผลไม้ อาหารแช่แข็ง อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ อะไหล่รถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาและวัคซีน โดยเฉพาะการขนส่ง สินค้าภาคเกษตรกรรมนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นฐานการผลิตและส่งออก สำาคัญสินค้าภาคเกษตรกรรมที่สำาคัญแห่งหนึ่งของโลก จึงจำาเป็นต้อง พัฒนาการให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศเพื่อรองรับความต้องการนี้ ประกอบกับล่าสุดนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแนวนโยบายในการดำาเนิน การพัฒนาระบบการขนส่งทางอากาศ (Air Cargo System) สำาหรับการ ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารด้วย ธุรกิจการขนส่งสินค้าทางอากาศจึงเป็น อีกหนึ่งธุรกิจที่มีแนวโน้มการขยายตัวและน่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง และอาจจะ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ “พระรอง” อีกต่อไป ไม่ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ จะจบลงอย่างไรและเมื่อไหร่ จะมีหักมุมตอนจบ อีกมั้ย ไม่มีใครตอบได้ แต่ที่แน่ๆ โมเมนตัมของอุตสาหกรรมการขนส่ง ทางอากาศ ณ ตอนนี้ ได้เปลี่ยนมาอยู่ที่การขนส่งสินค้าทางอากาศแล้ว
ในวิกฤตยังมีโอกาสเสมอ และในวันนี้...แอร์คาร์โก้ คุณได้ไปต่อ!
the fact that air cargo airlines have been making requests for conducting flights continually.
The K-Mile Air has been continually making requests for using additional 3-4 aircraft for the air cargo business and air cargo routes.
The Thai Airways International Public Company Limited has adapted its strategies to fly and provide more air cargo services, using the flying rights to open the international flying routes. The Company’s air cargo services are likely to expand due to the high demands in air cargo. At present, revenues from the air cargo services are considered the main sources of revenues for the Company.
Since the beginning of year 2021, the Thai Smile Airways has been expanding the air cargo service business, under the name of Smile Cargo. Its services cover 10 provinces which are important in terms of economy. In addition, it has plans to expand its services overseas in other countries, such as Singapore, Malaysia, Laos, and Cambodia.
At present, the air cargo services of Thailand involve the product import and export ranged from the flash delivery of special products and the continual delivery of products from the agricultural sector and the industrial sector. Such products are fruits, vegetables, frozen food, electronic devices, auto-parts of automobiles, and medicines and vaccines. Especially for the transport of agricultural products, Thailand is considered one of the world’s mainly important bases of agricultural product manufacturing and exporting. Air cargo services are required to be developed in order to support the needs in agricultural product transports. Recently, The Ministry of Agriculture and Cooperatives has issued the policies on the implementation of air cargo system development in order to be prepared for the exporting of food and agricultural products. The air cargo business is one of businesses that have potentials in expansion and are worth keeping an eye on. Air cargo business will not only play the roles of “the second-leading business”.
No matter when and how this COVID-19 comparative movie will endwithatwistedending,nooneknowsexactlyorgivescorrectanswers about it. However, the momentum of the air transport industry is switching to the air cargo at present, for sure.