การจัดการของเสียจากชุมชน

Page 1

ก า ร จั ด ก า ร

จ า ก ชุ ม ช น

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการบริหารจัดการของเสียที่ยั่งยืน I S BN: x x x x x - x x x x x - x x x x x - x x x x x x

โดย มูลนิธิบูรณะนิเวศ


การจัดการ

จ า ก ชุ ม ช น

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการบริหารจัดการของเสียที่ยั่งยืน

มูลนิธิบูรณะนิเวศ


รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการบริหารจัดการของเสียที่ยั่งยืน

การจัดการของเสียจากชุมชน โดย มูลนิธิบูรณะนิเวศ

พิมพ์ครั้งแรก: ตุลาคม 2560

จัดพิมพ์: มูลนิธิบูรณะนิเวศ Ecological Alert and Recovery-Thailand (EARTH)

211/2 ซอยงามวงศ์วาน 31 ถนนงามวงศ์วาน อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 โทรศัพท์: 02 952 5061 โทรสาร: 02 952 5062 E-mail: earth@EarthThailand.org Website: www.EarthThailand.org

สนับสนุนการจัดพิมพ์โดย: ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พิสูจน์อักษร: อัฏฐพร ฤทธิชาติ และธวัชพงศ์ อาจเอี่ยม ปกและรูปเล่ม: กานต์ ทัศนภักดิ์ ภาพถ่าย (ปกหลัง): กานต์ ทัศนภักดิ์ พิมพ์ที่: บริษัทส�ำนักพิมพ์สื่อตะวัน จ�ำกัด โทรศัพท์: 087 331 6459 พิมพ์ด้วยกระดาษรีไซเคิล “เนื้อหาในเอกสารนี้เป็นความรับผิดชอบของมูลนิธิบูรณะนิเวศเท่านั้น และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)” 2


คณะนักวิจัย 1. รองศาสตราจารย์ ดร.กอบกุล รายะนาคร 2. นางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง 3. นางดาวัลย์ จันทรหัสดี 4. นางสาวอัฏฐพร ฤทธิชาติ 5. นางสาวนิชา รักพานิชมณี 6. นายอัครพล ตีบไธสง 7. นางสาวสวรรยา วัฒนศิริเสรีกุล

หัวหน้าโครงการและนักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย นักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย

3


คำ�นำ�

รายงานฉบับนี้เป็นหนึ่งในผลงานวิจัยภายใต้โครงการการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อ การบริหารจัดการของเสียที่ยั่งยืน ซึ่งคณะนักวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากส�ำนักควบคุมการสนับสนุนปัจจัย เสี่ยงทางสุขภาพ (ส�ำนัก 2) ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการของเสียในประเทศไทย กฎหมายและระบบสถาบันที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการของเสียทุกประเภท ทั้งที่เป็นของเสียจากชุมชน ของเสียอันตราย และของเสียไม่อันตรายจาก ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งของเสียเคมีวัตถุที่น�ำเข้าจากต่างประเทศ ส�ำหรับรายงานเรือ่ ง “การจัดการของเสียจากชุมชน” นี้ เป็นรายงานการศึกษาในส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง กับการจัดการของเสียจากชุมชน มีเนื้อหาครอบคลุมการศึกษาสถานการณ์ปัจจุบัน กฎหมายและ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย ทั้งที่เป็นมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยติดเชื้อ กรณีศึกษา การจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่ และเทศบาลนครภูเก็ต รวมทั้งประสบการณ์การจัดการของเสียในสหภาพยุโรป และประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง คณะนักวิจัยได้ประมวลข้อมูลจากการศึกษา ทั้งที่เป็นงานวิจัยเอกสาร ข้อมูลเชิงประจักษ์ ในระดับ พื้นที่ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดประชุมกลุ่มย่อย มาเรียบเรียงเป็นรายงานการวิจัย และน�ำเสนอ บทวิเคราะห์พร้อมข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมายไว้ในตอนท้ายของรายงานฉบับนี้

4

ค�ำน�ำ


คณะนักวิจยั ขอขอบคุณส�ำนักควบคุมการสนับสนุนปัจจัยเสีย่ งทางสุขภาพ (ส�ำนัก 2) ส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ที่ได้ให้ การสนับสนุนโครงการวิจัยนี้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะส�ำเร็จลงมิได้ หาก ไม่ได้รับความร่วมมืออันดีจากผู้บริหารและบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบการเอกชน รวมทั้งเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสีย จากชุมชน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา สงขลา ภูเก็ต เชียงใหม่ ล�ำพูน ซึ่งคณะนักวิจัยไม่สามารถกล่าวนามได้ทั้งหมดในที่นี้ ทุกท่านได้กรุณาให้ความรู้ ตอบข้อซักถาม และ สละเวลาให้สัมภาษณ์ข้อมูลแก่คณะนักวิจัยเป็นอย่างดี คณะนักวิจัยขอขอบคุณส�ำหรับข้อมูลอันมีค่า และ เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง มา ณ โอกาสนี้ นอกจากนี้ ขอขอบคุณ คุณวิทูรย์ บุตรสาระ ที่ได้ช่วยประสานงาน และอ�ำนวยความสะดวกให้แก่คณะนักวิจัยตลอดระยะเวลาของการด�ำเนินโครงการวิจัย คณะนักวิจัย

ค�ำน�ำ

5


6


บทสรุปผู้บริหาร

มูลฝอยจากชุมชน ประกอบด้วย ขยะมูลฝอยทีเ่ กิดจากครัวเรือน อาคารทีอ่ ยูอ่ าศัย อาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด สถานทีจ่ ำ� หน่ายอาหาร และสถานประกอบการต่างๆ ขยะชุมชนมีองค์ประกอบทัง้ ทีเ่ ป็นขยะมูลฝอยทัว่ ไป เช่น เศษอาหาร วัสดุใช้แล้ว เศษบรรจุภณ ั ฑ์ สิง่ สกปรกต่างๆ และขยะอันตรายจาก ครัวเรือน เช่น ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ หลอดไฟฟ้า ซากเครือ่ งใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์รวมทัง้ ชิ้นส่วน และบรรจุภัณฑ์สารเคมีอันตราย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อซึ่งเป็นขยะอันตราย จากโรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกรักษาคน คลินิกรักษาสัตว์ ตลอดจนห้องปฏิบัติการต่างๆ อีกด้วย ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีและมีมากเกินความสามารถ ในการจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในปี 2559 กรมควบคุมมลพิษประมาณการณ์ว่า มี ปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นทั่วประเทศจ�ำนวนประมาณ 27.06 ล้านตัน หรือ 74,130 ตัน/วัน อัตราการเกิด ขยะมูลฝอยเฉลีย่ ต่อคนต่อวันได้เพิม่ สูงขึน้ จาก 1.04 กิโลกรัม/คน/วัน ในปี 2553 เป็น 1.14 กิโลกรัม/คน/วัน ในปี 25591 ในบรรดา อปท. จ�ำนวนทั้งสิ้น 7,777 แห่งทั่วประเทศ มี อปท. ที่ให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอย ชุมชนจ�ำนวน 4,711 แห่ง ในขณะที่อีก 3,066 แห่ง ไม่มีการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอย ขยะมูลฝอยที่ เกิดขึ้นในเขต อปท. ที่ให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยมีปริมาณประมาณ 21.05 ล้านตัน/ปี (หรือประมาณ 57,663 ตัน/วัน) คิดเป็นร้อยละ 78 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ2 ในจ�ำนวนนี้ มีการส่งไป ก�ำจัดทั้งสิ้นประมาณ 15.76 ล้านตัน ขยะส่วนหนึ่งจะถูกคัดแยกเพื่อน�ำกลับมาใช้ประโยชน์ ท�ำให้มีขยะ มูลฝอยที่เข้าสู่ระบบการก�ำจัดขยะเพียงประมาณ 9.75 ล้านตัน/ปี3 1 กรมควบคุมมลพิษ, รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559, กุมภาพันธ์ 2560, หน้า 4. 2 เพิ่งอ้าง, หน้า 14. 3 เพิ่งอ้าง, หน้าเดียวกัน.

บทสรุปผู้บริหาร

7


ข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ณ ปี 2559 ระบุว่ามีสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยที่ด�ำเนินการ อย่างถูกต้องและใช้งานได้เพียง 328 แห่ง โดยมีขยะมูลฝอยประมาณ 6.01 ล้านตัน หรือร้อยละ 38 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เก็บขนได้ถูกน�ำไปก�ำจัดยังสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยที่ด�ำเนินการแบบไม่ถูกต้อง เช่น การเผากลางแจ้ง การเทกองในบ่อดินเก่าหรือพื้นที่รกร้าง หรือฝังกลบแบบเทกองควบคุมในสถานที่ ก�ำจัดขยะมูลฝอยที่มีขนาดรองรับมากกว่า 50 ตัน/วัน โดยเฉพาะใน อปท. ขนาดเล็กและในพื้นที่ห่างไกล พบว่ามีสถานที่ก�ำจัดขยะที่ไม่ถูกต้องจ�ำนวน 2,468 แห่ง โครงการวิจัยเรื่อง การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านการจัดการของเสียที่ยั่งยืน ได้ด�ำเนินการ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการจัดการของเสียหรือขยะมูลฝอยจากชุมชน ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย ประกอบด้วยการศึกษากฎหมาย นโยบาย ประสบการณ์ต่างประเทศ และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การศึกษาดูงานในพืน้ ที่ และการสัมภาษณ์ขอ้ มูลเชิงลึกจากบุคคลและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องจ�ำนวน 30 แห่ง ใน 12 จังหวัด ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ และ อปท. 22 แห่ง บริษัทเอกชนที่รับก�ำจัดขยะมูลฝอย 4 แห่ง และชุมชนอีก 4 แห่ง การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) จ�ำนวน 6 ครั้ง และการจัดท�ำ กรณีศึกษา 3 เรื่อง ได้แก่ กรณีศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงไฟฟ้า ที่ใช้พลังงานจากขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่ และโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากขยะของเทศบาลนคร ภูเก็ต ทั้งนี้ได้น�ำข้อมูลจากการศึกษาวิจัยมาประมวลและวิเคราะห์ เพื่อน�ำเสนอบทสรุปและข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายและกฎหมาย 1. ผลการศึกษาวิจัย มีข้อค้นพบดังต่อไปนี้ 1) อปท. เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องจัดบริการสาธารณะด้านการเก็บ ขน และก�ำจัดขยะ มูลฝอย แต่ อปท. ส่วนใหญ่ยังขาดแคลนงบประมาณ บุคลากร รวมทั้งการสนับสนุนทางวิชาการใน การด�ำเนินภารกิจดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ อปท. ยังมีปญั หาด้านการจัดการมูลฝอยติดเชือ้ และขยะอันตรายจากชุมชน ซึ่งยังคงถูกทิ้งปะปนกับมูลฝอยทั่วไป ในส่วนของมูลฝอยติดเชื้อนั้น อปท. ยังไม่สามารถก�ำกับดูแลให้สถานพยาบาลที่เป็นคลินิกรักษาคนและคลินิกรักษาสัตว์ ห้องปฏิบัติการ และสถาบันวิจยั ต่างๆ มีการแยกมูลฝอยติดเชือ้ เพือ่ ให้มกี ารเก็บขนไปจัดการอย่างถูกต้อง แม้วา่ โรงพยาบาล ขนาดใหญ่หลายแห่งจะมีระบบก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อของตนเอง แต่ก็ไม่ได้ติดตั้งระบบบ�ำบัดมลพิษที่ เกิดจากการเผา ไม่มีการตรวจวัดสารมลพิษที่ปล่อยออกมาจากเตาเผาอย่างสม�่ำเสมอ รวมทั้งไม่มีการ ตรวจวัดสารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง 2) อปท. ส่วนใหญ่ยังเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะในอัตราที่ต�่ำมาก บาง อปท. เก็บใน อัตรา 10 บาท/เดือน ถึงกระนั้นก็ยังไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน นอกจากนี้ มีบาง อปท. ที่ยกเว้น

8

บทสรุปผู้บริหาร


ไม่เก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะ เช่น เทศบาลนครหาดใหญ่ และเทศบาลเมืองควนลัง ซึ่งก�ำลังประสบ ปัญหาเรื่องปริมาณขยะ แต่ก็ยังยกเว้นค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะมูลฝอยจากประชาชน สภาพการณ์ ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า นโยบายของรัฐจ�ำเป็นต้องให้ความส�ำคัญอย่างเร่งด่วนแก่เรื่องการสร้างจิตส�ำนึก แก่ประชาชนในการลดขยะ และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะตาม หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย นอกจากนี้ ผู้บริหาร อปท. ควรต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติในการบริหาร จัดการขยะมูลฝอย โดยไม่ควรค�ำนึงถึงแต่เรือ่ งฐานเสียงทางการเมืองของตน และมองหาแต่ทางเลือกทีเ่ สีย ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดในการก�ำจัดขยะ ทั้งๆ ที่อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีต่อการบ�ำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น 3) การก�ำจัดขยะโดยการเผาในเตาเผาขยะมูลฝอย (ไม่ว่าจะเป็นการเผาเพื่อผลิตไฟฟ้า หรือไม่ก็ตาม) เป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูงทั้งในขั้นตอนการก่อสร้าง การบ�ำรุงรักษา และการด�ำเนินการ ในบรรดาโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานขยะทั้งหมด โรงงานเผาก�ำจัดขยะมูลฝอยที่ด�ำเนินการอยู่ในปัจจุบันต่าง ประสบปัญหาและอุปสรรคแตกต่างกันไป เช่น ไม่มีความคุ้มค่าคุ้มทุนในการด�ำเนินการ (เช่น เตาเผาขยะ มูลฝอยของเทศบาลเมืองเสนา) ไม่สามารถเผาก�ำจัดขยะได้อย่างเต็มที่เนื่องจากปัญหาความชื้นของ ขยะชุมชน ท�ำให้ต้องใช้งบประมาณจ�ำนวนมากในการปรับปรุงระบบการจัดการขยะส่วนหน้าก่อนป้อน ขยะเข้าเตาเผา (เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่) ชิ้นส่วนเครื่องจักรมีอายุการ ใช้งานสั้น (เช่น เตาเผาชุดที่ 2 ของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลนครภูเก็ต เพิ่งเปลี่ยนเทอร์ ไบน์ ไป 1 ตัวหลังจากเพิ่งเปิดด�ำเนินการมา 4 ปี) 4) การคัดเลือกเทคโนโลยีทเี่ หมาะสมกับคุณสมบัตขิ องขยะชุมชนในการด�ำเนินการโรงไฟฟ้า พลังงานขยะเป็นเรื่องที่มีความส�ำคัญอย่างยิ่ง และจ�ำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อน ตัดสินใจอนุญาตให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ประสบการณ์ของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาล นครหาดใหญ่แสดงให้เห็นถึงปัญหาในการจัดการความชื้นของขยะ ท�ำให้เตาเผาที่ใช้เทคโนโลยีราคาแพง ไม่สามารถเผาขยะได้อย่างเต็มที่ ซึ่งในที่สุดจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 5) รายรับที่ท�ำให้โรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงยืนหยัดอยู่ได้ คือ รายได้จาก การขายไฟฟ้า ในขณะที่ค่าบริการก�ำจัดขยะที่ได้รับถือว่าเป็นส่วนน้อย จึงเห็นได้ชัดเจนว่ามาตรการ ส่งเสริมเรื่องอัตราเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in Tariff เป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้เอกชน เข้ามาร่วมมือกับ อปท. ในโครงการก�ำจัดมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อให้เกิด ความเสี่ยงหากบริษัทเอกชนที่เข้ามาลงทุนมุ่งหวังผลก�ำไรจากการขายไฟฟ้ามากกว่าความยั่งยืนของ โครงการ

บทสรุปผู้บริหาร

9


6) ข้อมูลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่ายังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายกับการด�ำเนินกิจการ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะอย่างเคร่งครัด ทั้งด้านการเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศ และการจัดการกากของเสีย เช่น ขี้เถ้าหนักและขี้เถ้าลอยที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผา 7) การด�ำเนินระบบเตาเผาขยะมูลฝอยมีรายละเอียดหลายประการที่ต้องควบคุมในเชิง เทคนิคเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศ เช่น การควบคุมอุณหภูมิของก๊าซที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาให้ อยู่ในระดับที่สูงตามระยะเวลาที่ก�ำหนด การป้องกันการป้อนขยะเข้าระบบเมื่อไม่สามารถรักษาระดับ อุณหภูมิของก๊าซในเตาเผา การลดหรือหยุดเดินเครื่องเมื่ออุปกรณ์บ�ำบัดมลพิษ และอุปกรณ์ตรวจวัด มลพิษขัดข้องหรือหยุดท�ำงาน เป็นต้น ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ก�ำหนดหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขเกี่ยวกับการควบคุมการท�ำงานของระบบเตาเผา (Operating conditions) โดยตรงอย่างละเอียด และครอบคลุมดังตัวอย่างของกฎหมายสหภาพยุโรป มีเพียงหลักเกณฑ์บางส่วนที่ก�ำหนดไว้ในประมวล หลักการปฏิบัติ (CoP) ตามประกาศของคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงานเพื่อส�ำหรับใช้เป็นเงื่อนไข ในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ 8) การจัดการกากของเสีย เถ้าหนัก และเถ้าลอย ที่เกิดจากกระบวนการเผาขยะในโรงไฟฟ้า พลังงานขยะเป็นประเด็นส�ำคัญในการคุม้ ครองสิง่ แวดล้อมและสุขภาพของประชาชน เนือ่ งจากการเผาไหม้ ที่ไม่สมบูรณ์จะท�ำให้มีสารไดออกซินปนอยู่ในขี้เถ้าที่เกิดจากการเผา และเถ้าที่เป็นของเสียอันตราย จะต้องถูกน�ำไปก�ำจัดโดยวิธีการฝังกลบอย่างปลอดภัย อย่างไรก็ดี ในปัจุจุบันประเทศไทยมีสถานที่ ฝังกลบของเสียอันตรายอย่างปลอดภัยที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอยู่เพียง 3 แห่ง ซึ่งทั้งหมดมีสถานที่ ตั้งอยู่ในภาคกลาง อีกทั้งการด�ำเนินการฝังกลบอย่างปลอดภัยมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงเป็นไปได้ยาก ที่โรงงานเผาก�ำจัดขยะชุมชนที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศจะขนส่งเถ้าที่เป็นของเสียอันตรายไป ก�ำจัดในสถานที่ฝังกลบอย่างปลอดภัยที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ เว้นแต่ว่าจะมีการก�ำกับดูแลและ บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง 9) ในปัจจุบัน ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การก�ำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้ แล้ว พ.ศ. 2548 ยังมิได้ก�ำหนดวิธีการตรวจหาสารไดออกซินในเถ้าหนักและเถ้าลอยที่เกิดจากการผลิต ไฟฟ้าและกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการในประเทศยังไม่มีความพร้อม ในการตรวจหาสารไดออกซิน จึงควรต้องเพิ่มสารไดออกซินเข้าไปใน parameters ของสิ่งเจือปนที่เป็น ของเสียอันตรายซึ่งต้องตรวจหาในสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามภาคผนวกที่ 2 ของประกาศกระทรวง อุตสาหกรรมฯ ฉบับดังกล่าว รวมทั้งเสริมสร้างสมรรถนะของห้องปฎิบัติการในประเทศให้สามารถตรวจ หาสารมลพิษดังกล่าวนี้ด้วย

10

บทสรุปผู้บริหาร


10) ประสบการณ์ต่างประเทศทั้งในยุโรปและญี่ปุ่นแสดงให้เห็นว่า รัฐมิได้มีมาตรการ ส่งเสริมโรงไฟฟ้าพลังงานขยะแต่เพียงด้านเดียว แต่รัฐมีนโยบายชัดเจนเกี่ยวกับการจัดล�ำดับความส�ำคัญ ของวิธีการจัดการขยะมูลฝอย หรือ Waste Hierarchy อีกทั้งมีการออกกฎหมายมากมายที่ก�ำหนดหน้าที่ ให้ผผู้ ลิตและผูบ้ ริโภคลดขยะ และคัดแยกขยะ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ มีหน้าทีจ่ ดั ระบบเพือ่ ให้มกี าร คัดแยกขยะ โดยมีเป้าหมายให้มีการรีไซเคิลและแปรรูปขยะเพื่อน�ำกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ ลดปริมาณขยะที่จะต้องน�ำไปก�ำจัดหรือฝังกลบให้เหลือน้อยที่สุด ในกรณีของประเทศไทย การให้ข้อมูล แก่สาธารณชนในช่วงสองปีที่ผ่านมามักเน้นแต่เรื่องข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ทั้งในด้านการก�ำจัด ขยะที่มีปริมาณอยู่มากมายและการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยมิได้ด�ำเนินการเท่าที่ควรเพื่อสร้าง ความรู้และความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เกิดจากการประกอบ กิจการดังกล่าว ตลอดจนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน 2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย 1) เนื่องจาก อปท. เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องรับผิดชอบการจัดการขยะมูลฝอย การพัฒนา ความพร้อมและสมรรถนะของ อปท. จึงเป็นเรื่องที่มีความส�ำคัญอย่างยิ่ง ในการดังกล่าว จะต้องมีการ จัดสรรงบประมาณ บุคลากร ตลอดจนการสนับสนุนทางวิชาการให้แก่ อปท. อย่างเพียงพอ เพือ่ ให้สามารถ รองรับภารกิจนี้ และสามารถจัดการขยะมูลฝอยได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการตามนโยบายของรัฐบาล ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ในจังหวัดใดมีความพร้อม ควรให้ อบจ. เป็นหน่วยงานหลัก ในการจัดการศูนย์จัดการขยะรวม 2) รัฐต้องสร้างความสมดุลแก่นโยบายด้านการจัดการขยะมูลฝอย ไม่ควรมุ่งส่งเสริมเรื่อง การก�ำจัดขยะโดยการแปรรูปขยะเป็นพลังงานแต่เพียงด้านเดียวดังเช่นทีผ่ า่ นมา แต่ควรให้ความส�ำคัญแก่ Waste Hierarchy และมีมาตรการสนับสนุนด้านกฎหมายและงบประมาณในเรือ่ งการลดขยะ การคัดแยกขยะ และการรีไซเคิลขยะมากขึ้น อาทิเช่น ส่งเสริมให้ อปท. ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ก�ำหนดหลักเกณฑ์ให้ประชาชนคัดแยก ขยะ ซึ่งอย่างน้อยควรต้องมีการคัดแยกขยะอินทรีย์ และขยะอันตราย ออกจากขยะทั่วไป มีกฎหมายที่ก�ำหนดหน้าที่ให้ อปท. ต้องออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อก�ำหนดค่า ธรรมเนียมเก็บ ขน และก�ำจัดขยะมูลฝอย ในอัตราทีส่ ะท้อนค่าใช้จา่ ยในการจัดการขยะมูลฝอยมากขึน้ และ หากเป็นไปได้ ควรก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต�่ำที่ อปท. จะต้องเรียกเก็บจากผู้รับบริการ เพื่อป้องกัน ปัญหาการเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต�่ำเกินไป หรือยกเว้นไม่เก็บค่าธรรมเนียม

บทสรุปผู้บริหาร

11


ส่งเสริมสมรรถนะของ อปท. ในการก�ำกับดูแลให้มีการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออย่าง ถูกต้อง โดยกระทรวงสาธารณสุขต้องให้การสนับสนุนทางวิชาการแก่ อปท. อย่างเต็มที่ ออกกฎหมายเพื่อจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ 3) รัฐควรชะลอนโยบายเร่งรัดให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในภูมิภาคต่างๆ ของ ประเทศ เนือ่ งจากการส่งเสริมให้มกี ารก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะจ�ำเป็นต้องด�ำเนินการอย่างรอบคอบทัง้ ในด้านการพิจารณาเทคโนโลยีทเี่ หมาะสม การป้องกันผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมและสุขภาพ และมาตรการ ตรวจสอบและควบคุมอย่างรัดกุม การเน้นมาตรการส่งเสริมจนขาดความสมดุลก่อให้เกิดความเสีย่ งทีเ่ อกชน บางกลุม่ อาจมุง่ แสวงหาประโยชน์จากการขายไฟฟ้า มากกว่าการให้ความส�ำคัญแก่ความยัง่ ยืนของโครงการ 4) ควรออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมหรือประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมเพื่อก�ำหนดมาตรการก�ำกับดูแลโรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่ด�ำเนินการอยู่และที่จะเปิดด�ำเนินการ ในอนาคตอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการควบคุมระบบปฏิบัติการของเตาเผา (Operating conditions) แทนที่จะมุ่งเน้นแต่การควบคุมคุณภาพอากาศเสีย น�้ำทิ้ง และกากของเสียที่เกิดจากการ ประกอบกิจการโรงงานแต่เพียงอย่างเดียว โดยน�ำเกณฑ์การปฏิบัติที่มีอยู่แล้วบางส่วนใน CoP มาก�ำหนด เป็นกฎหมาย และเพิม่ เติมเกณฑ์การปฏิบตั ิให้สมบูรณ์ตามแนวทางเดียวกันกับกฎหมายของสหภาพยุโรป 5) ควรยกเลิกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฯ ที่ก�ำหนดให้โรงไฟฟ้า พลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ข้ึนไป ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดท�ำรายงาน EIA ทั้งนี้เพื่อเป็นการคงไว้ซึ่งมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ของประชาชนตามหลักการระวังไว้ก่อน (Precautionary principle) ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย จากนานาประเทศ 6) ควรยกเลิกค�ำสั่ง คสช. ที่ 4/2559 ซึ่งยกเว้นการใช้บังคับกฎหมายผังเมืองรวมกับ โรงไฟฟ้า โรงงานบ�ำบัดและก�ำจัดของเสีย และกิจการก�ำจัดขยะมูลฝอย เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการ ใช้ที่ดินและการบ�ำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว 7) มาตรการส่งเสริมโดยก�ำหนดราคาส่วนเพิ่มการรับซื้อไฟฟ้าแบบ Feed-in Tariff ควร จ�ำกัดไว้ส�ำหรับโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะที่มีประสิทธิภาพในการแปรรูปขยะเป็นพลังงานอย่างแท้จริง เท่านั้น โดยก�ำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนเหมือนดังเช่นในกรณีของสหภาพยุโรป 8) ควรมีกฎหมายที่ก�ำหนดมาตรฐานของสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการ ตามแนวทางที่ก�ำหนดไว้แล้วในประกาศของกรมควบคุมมลพิษ โดยก�ำหนดให้ อปท. 12

บทสรุปผู้บริหาร


มีหน้าทีต่ อ้ งถือปฏิบตั ติ ามหลักเกณฑ์ทกี่ รมควบคุมมลพิษประกาศ และในกรณีที่ อปท. มอบหมายให้เอกชน หรือออกใบอนุญาตให้เอกชนด�ำเนินกิจการจัดการขยะมูลฝอย จะต้องน�ำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาก�ำหนด เป็นเงือ่ นไขในการอนุญาตและก�ำกับดูแลสถานทีก่ ำ� จัดมูลฝอย ไม่วา่ จะเป็นกิจการก�ำจัดมูลฝอยโดยวิธกี าร ฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล หรือโดยเตาเผาก็ตาม แทนทีจ่ ะปล่อยให้เป็นดุลพินจิ ของ อปท. ว่าจะปฏิบตั ิ หรือไม่ก็ได้ดังเช่นที่ผ่านมา 9) ควรศึกษามาตรการสนับสนุนอื่นๆ เพื่อการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน เช่น มาตรการ สนับสนุนกิจการท�ำปุย๋ จากขยะ และกิจการรีไซเคิลขยะ การเก็บค่าธรรมเนียมบรรจุภณ ั ฑ์ หรือถุงพลาสติก เพื่อลดการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว การส่งเสริมการใช้วัสดุที่ ไม่เป็นอันตรายและย่อยสลายง่ายในการ ผลิตบรรจุภัณฑ์ และการเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อ เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เป็นต้น

บทสรุปผู้บริหาร

13


สารบัญ ค�ำน�ำ

4

บทสรุปผู้บริหาร

7

สารบัญตาราง

22

สารบัญแผนภาพ

24

บทที่ 1 บทน�ำ

29

1.1 สถานการณ์ขยะมูลฝอย

29

1.2 Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย

33

1.2.1 ก�ำจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่ก�ำจัดมูลฝอยในพื้นที่วิกฤต (ขยะมูลฝอยเก่า)

33

1.2.2 สร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เหมาะสม (ขยะมูลฝอยใหม่)

34

1.2.3 วางระเบียบมาตรการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย

34

1.2.4 สร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน

36

1.3 การจัดระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศตาม Roadmap

14

สารบัญ

36

1.3.1 ระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรีวา่ ด้วยการจัดระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอย ของประเทศ พ.ศ. 2557

36

1.3.2 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม เรือ่ ง องค์ประกอบ และอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของ จังหวัด ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2557

38

1.3.3 บทบาทของกระทรวงมหาดไทยในการแก้ไขปัญหาขยะของประเทศ

39

1.3.4 ข้อสังเกตเกีย่ วกับ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย

41


สารบัญ 1.4 แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564)

43

1.4.1 กรอบแนวคิดและมาตรการตามแผนแม่บทฯ

44

1.4.2 การจัดการขยะมูลฝอยแบบแปรรูปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า

51

1.4.3 การจัดการขยะมูลฝอยโดยคัดแยกเพื่อผลิตเชื้อเพลิง (RDF)

52

1.4.4 การจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน

52

1.4.5 การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

53

1.5 วัตถุประสงค์และแนวทางการศึกษาวิจัย

54

สารบัญ

15


สารบัญ บทที่ 2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

57

2.1 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

57

2.1.1 นิยามของสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

58

2.1.2 หน่วยงานที่มีอ�ำนาจหน้าที่จัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย

59

2.1.3 การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการจัดการขยะมูลฝอย

59

2.1.4 กฎกระทรวงก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการเก็บ ขน และก�ำจัด สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย

60

2.1.5 กฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560

68

2.1.6 ค�ำแนะน�ำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การเก็บ ขน หรือก�ำจัด มูลฝอยทัว่ ไปโดยท�ำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รบั ประโยชน์ตอบแทนด้วยการ คิดค่าบริการ พ.ศ. 2558

73

2.2 พระราชบัญญัตริ กั ษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง

79

(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

16

สารบัญ

2.2.1 อ�ำนาจของรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในการออกกฎกระทรวงก�ำหนด อัตราค่าธรรมเนียมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

80

2.2.2 การมอบหมายให้หน่วยงานอื่นหรือเอกชนด�ำเนินการจัดการสิ่งปฏิกูล และมูลฝอย

81

2.2.3 อ�ำนาจหน้าที่ของ อปท. ในการออกใบอนุญาตและออกข้อก�ำหนด ท้องถิ่นในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

82

2.2.4 การจัดการของเสียอันตรายและของเสียไม่อันตรายจากโรงงานที่ถูก ทิ้งปนกับขยะชุมชน

84


สารบัญ 2.2.5 การให้ค�ำแนะน�ำในการจัดท�ำแผนงานโครงการจัดการสิ่งปฏิกูลและ มูลฝอยของ อปท. และการก�ำกับการด�ำเนินโครงการ

85

2.2.6 ข้อสังเกตเกี่ยวกับพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็น ระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

85

2.3 การควบคุมมลพิษทางอากาศจากเตาเผาขยะมูลฝอย

88

2.4 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพืน้ ทีแ่ ละการจัดการสถานทีฝ่ งั กลบ มูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล

90

2.5 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพืน้ ที่ การออกแบบก่อสร้าง และ การจัดการสถานที่ก�ำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา

99

2.6 การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

102

2.6.1 กฎกระทรวงว่าด้วยการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545

106

2.6.2 การเก็บมูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงว่าด้วยการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545

109

2.6.3 การขนมูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงว่าด้วยการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545

112

2.6.4 การก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงว่าด้วยการก�ำจัดมูลฝอย ติดเชื้อ พ.ศ. 2545

114

2.6.5 ค่าบริการการเก็บขนหรือก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงว่าด้วย การก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545

115

2.6.6 การควบคุมมลพิษทางอากาศจากเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ

115

สารบัญ

17


สารบัญ บทที่ 3 การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

18

119

3.1 แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 (Alternative Energy Development Plan: AEDP 2015)

122

3.2 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดประเภท และขนาดของโครงการหรือกิจการซึง่ ต้องจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดท�ำ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2558

126

3.3 ประกาศคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน เรื่อง มาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิง่ แวดล้อมส�ำหรับผูป้ ระกอบกิจการผลิตไฟฟ้า ที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีกำ� ลังผลิตติดตั้ง ตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป พ.ศ. 2559 ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2559

127

3.3.1 เงื่อนไขการใช้ CoP

128

3.3.2 CoP เป็นมาตรการที่ทดแทนการจัดท�ำรายงาน EIA ได้หรือไม่

138

3.4 ค�ำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2559 เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับ กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมส�ำหรับการประกอบกิจการบางประเภท

140

3.5 กระบวนการอนุญาตการประกอบกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน

143

สารบัญ

3.5.1 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน และกระทรวงมหาดไทย เรือ่ ง แนวทางและขัน้ ตอนการอนุญาตปลูกสร้าง อาคารและการอื่นเพื่อประกอบกิจการพลังงาน ลงนามวันที่ 5 กันยายน 2555

144

3.5.2 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง แนวทางการอนุญาตประกอบกิจการ โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าและการอื่น ลงนามวันที่ 15 ตุลาคม 2557

147


สารบัญ บทที่ 4 ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่ 4.1 การจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

151 151

4.1.1 สถานการณ์ขยะมูลฝอยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและการจัดการขยะตกค้าง สะสม

152

4.1.2 แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2558-2562

154

4.1.3 การจัดตั้งศูนย์จัดการขยะต้นแบบ

155

4.1.4 การด�ำเนินงานเตาเผาขยะของเทศบาลเมืองเสนา

158

4.1.5 ข้อมูลและข้อสังเกตจากการสัมภาษณ์ความเห็นของ อปท.

160

4.2 โรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่

163

4.2.1 การด�ำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเทศบาลนครหาดใหญ่

165

4.2.2 การก�ำกับดูแลโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเทศบาลนครหาดใหญ่

167

4.2.3 ปัญหาในการด�ำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเทศบาลนครหาดใหญ่

168

4.3 โรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยของเทศบาลนครภูเก็ต

173

4.3.1 การด�ำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของ บริษัท พีเจที เทคโนโลยี จ�ำกัด

174

4.3.2 การก�ำกับดูแลโครงการ

175

4.3.3 การเก็บค่าธรรมเนียมก�ำจัดขยะ

176

4.3.4 ปัญหาในการด�ำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเทศบาลนครภูเก็ต

177

4.3.5 ปัจจัยความส�ำเร็จของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในมุมมองของเทศบาลนครภูเก็ต

177

สารบัญ

19


สารบัญ บทที่ 5 ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ 5.1 นโยบายและกฎหมายการจัดการเสียของสหภาพยุโรป

179

5.1.1 Waste Framework Directive (WFD) 2008/98/EC

180

5.1.2 Directive 1999/31/EC on the landfill of waste (the Landfill Directive)

182

5.1.3 Waste Incineration Directive (WID) 2000/76/EC

183

5.1.4 Packaging Directive 94/62/EC แก้ไขเพิ่มเติมโดย Directive 2004/12/ EC, Directive 2005/20/EC, Directive 2013/2/EU และ Directive (EU) 2015/720

190

5.1.5 Waste Electrical and Electronic Equipment (WEEE) Directive 2012/19/EU

193

5.2 นโยบายด้านการจัดการของเสียในบางประเทศของสหภาพยุโรป

199

5.3 การจัดการของเสียในญี่ปุ่น

202

บทที่ 6 บทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย

20

179

211

6.1 บทวิเคราะห์

212

6.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย

217

สารบัญ


สารบัญ บรรณานุกรม

223

ภาคผนวก

239

ภาคผนวก 1 รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงานการจัดการขยะมูลฝอยของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี

241

ภาคผนวก 2 รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และ ล�ำพูน

249

ภาคผนวก 3 รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงานการจัดการขยะมูลฝอยของ กรุงเทพมหานคร

267

ภาคผนวก 4 การฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้เพิกถอนประกาศกระทรวงฯ ที่ยกเว้น ให้ โ รงไฟฟ้ า พลั ง งานความร้ อ นที่ ใ ช้ ข ยะมู ล ฝอยเป็ น เชื้ อ เพลิ ง ไม่ต้องจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

277

สารบัญ

21


สารบัญตาราง ตารางที่

22

1.1 ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในปี 2559 จ�ำแนกตามประเภท อปท.

30

1.2 สถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องที่เปิดด�ำเนินการในปี 2558

31

1.3 สถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยที่เปิดด�ำเนินการแบบไม่ถูกต้องปี 2559

31

1.4 เป้าหมายรายปีของแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564)

43

2.1 อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตาม กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2559

61

2.2 เปรียบเทียบอัตราค่าธรรมเนียมการจัดการสิง่ ปฏิกลู และขยะมูลฝอยตาม กฎกระทรวงฯ ที่ถูกยกเลิก กับอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2559

64

2.3 มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย ตาม ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนด มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย วันที่ 9 มิถุนายน 2553

89

2.4 เตาเผามูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชน

105

2.5 หน้าที่ของหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

108

2.6 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ

109

2.7 มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิง้ อากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยติดเชือ้ ตาม ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนด มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2546

116

สารบัญตาราง


สารบัญตาราง ตารางที่ 3.1 อัตรารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff

123

3.2 เปรียบเทียบอัตรา Feed-in Tariff เพื่อสนับสนุนโครงการผลิตไฟฟ้าจาก ขยะของไทยกับต่างประเทศ

124

3.3 เป้าหมายการพัฒนาพลังงานทดแทนภายใต้แผน AEDP ในปี 2579

124

3.4 สถานภาพและเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนแต่ละ ประเภทเชื้อเพลิง

125

สารบัญตาราง

23


สารบัญแผนภาพ แผนภาพที่

24

1.1 รูปแบบศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยรวม ส�ำหรับกลุ่มพื้นที่ขนาดใหญ่ (Model L) และกลุ่มพื้นที่ขนาดกลาง (Model M)

48

1.2 รูปแบบศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยรวม ส�ำหรับกลุ่มพื้นที่ขนาดเล็ก (Model S)

49

1.3 มาตรการภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564)

50

1.4 พื้นที่และหน่วยงานที่คณะนักวิจัยได้ด�ำเนินการสัมภาษณ์ ศึกษาดูงาน และ รวบรวมข้อมูลการศึกษาในระดับพื้นที่

55

2.1 ประเภทของขยะชุมชน และขยะอุตสาหกรรม และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

58

5.1 หลักการจัดล�ำดับความส�ำคัญของวิธีการจัดการของเสียหรือขยะ

180

5.2 โครงสร้างกฎหมายการจัดการของเสียของญี่ปุ่น

206

สารบัญแผนภาพ


25


26


27


28

การจัดการของเสียจากชุมชน


บทที่ 1

บทนำ� มูลฝอยจากชุมชน ประกอบด้วย ขยะมูลฝอยทีเ่ กิดจากครัวเรือน อาคารทีอ่ ยูอ่ าศัย อาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด สถานทีจ่ ำ� หน่ายอาหาร และสถานประกอบการต่างๆ มีองค์ประกอบทัง้ ทีเ่ ป็นขยะ มูลฝอยทั่วไป เช่น เศษอาหาร วัสดุใช้แล้ว เศษบรรจุภัณฑ์ สิ่งสกปรกต่างๆ และขยะอันตรายจากชุมชน เช่น ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ หลอดไฟฟ้า ซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งชิ้นส่วน และบรรจุภณั ฑ์สารเคมีอนั ตราย เป็นต้น นอกจากนี้ ขยะชุมชนยังรวมถึง มูลฝอยติดเชือ้ ซึง่ เป็นขยะอันตราย จากโรงพยาบาล สถานพยาบาล คลินิกรักษาคน คลินิกรักษาสัตว์ ตลอดจนห้องปฏิบัติการต่างๆ อีกด้วย 1.1 สถานการณ์ขยะมูลฝอย

ในปัจจุบัน ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปีและมีมากเกินความ สามารถในการจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) ในปี 2559 กรมควบคุมมลพิษประมาณการณ์ ว่า มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึน้ ทัว่ ประเทศจ�ำนวนประมาณ 27.06 ล้านตัน หรือ 74,130 ตัน/วัน อัตราการ เกิดขยะมูลฝอยเฉลี่ยต่อคนต่อวันได้เพิ่มสูงขึ้นจาก 1.04 กิโลกรัม/คน/วัน ในปี 2553 เป็น 1.14 กิโลกรัม/ คน/วัน ในปี 25591 ในบรรดา อปท. จ�ำนวนทัง้ สิน้ 7,777 แห่งทัว่ ประเทศ มี อปท. ที่ให้บริการเก็บขนขยะ มูลฝอยชุมชนจ�ำนวน 4,711 แห่ง ในขณะที่อีก 3,066 แห่งไม่มีการให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอย ทั้งนี้ ขยะมูลฝอยทีเ่ กิดขึน้ ในเขต อปท. ที่ให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยมีประมาณ 21.05 ล้านตัน/ปี (หรือประมาณ 57,663 ตัน/วัน) คิดเป็นร้อยละ 78 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ2 ตารางที่ 1.1 แสดง ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของ อปท. ในปี 2559

1 กรมควบคุมมลพิษ, รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559, กุมภาพันธ์ 2560, หน้า 4. 2 เพิ่งอ้าง, หน้า 14.

บทที่ 1: บทน�ำ

29


ตารางที่ 1.1 ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในปี 2559 จ�ำแนกตามประเภท อปท. อปท. กทม. เทศบาลและเมืองพัทยา อบต. รวม

ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ปริมาณ (ล้านตัน) 4.21 11.16 11.69 27.06

คิดเป็นสัดส่วน (ร้อยละ) 16 41 43 100

ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ, รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทยปี พ.ศ. 2559, หน้า 17.

จังหวัดที่มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นสูงสุด 10 ล�ำดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (10,870 ตัน/วัน) นครราชสีมา (2,264 ตัน/วัน) สมุทรปราการ (2,025 ตัน/วัน) ชลบุรี (1,957 ตัน/วัน) ขอนแก่น (1,829 ตัน/วัน) เชียงใหม่ (1,698 ตัน/วัน) อุดรธานี (1,622 ตัน/วัน) นนทบุรี (1,617 ตัน/วัน) สงขลา (1,604 ตัน/วัน) และบุรีรัมย์ (1,553 ตัน/วัน)3 ในส่วนของขยะมูลฝอยที่เก็บขนได้ประมาณ 21.05 ล้านตัน/ปี มีการส่งไปก�ำจัดทั้งสิ้นประมาณ 15.76 ล้านตัน ขยะส่วนหนึ่งจะถูกคัดแยกเพื่อน�ำกลับมาใช้ประโยชน์ ท�ำให้มีขยะมูลฝอยที่เข้าสู่ระบบ การก�ำจัดขยะที่ถูกต้องเพียงประมาณ 9.75 ล้านตัน/ปี4 แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) ระบุว่า มีสถานที่ ก�ำจัดขยะมูลฝอยทั่วประเทศจ�ำนวน 2,450 แห่ง ในจ�ำนวนนี้มีเพียง 480 แห่งที่มีการก�ำจัดขยะมูลฝอย อย่างถูกต้อง ส่วนใหญ่เป็นระบบฝังกลบทีส่ ามารถก�ำจัดมูลฝอยได้อย่างถูกต้องเพียง 7.88 ล้านตัน/ปี หรือ ประมาณร้อยละ 30.1 ของขยะมูลฝอยทั้งหมด5 อย่างไรก็ดี จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ ณ ปี 2559 ปรากฏว่า มีสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยที่ด�ำเนินการอย่างถูกต้องและใช้งานได้เพียง 328 แห่ง โดยมีขยะ มูลฝอยประมาณ 6.01 ล้านตัน หรือร้อยละ 38 ของปริมาณขยะมูลฝอยที่เก็บขนได้ถูกน�ำไปก�ำจัดยัง สถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยที่ด�ำเนินการแบบไม่ถูกต้อง เช่น การเผากลางแจ้ง การเทกองในบ่อดินเก่าหรือ พืน้ ทีร่ กร้าง หรือฝังกลบแบบเทกองควบคุมในสถานทีก่ ำ� จัดขยะมูลฝอยทีม่ ขี นาดรองรับมากกว่า 50 ตัน/วัน โดยเฉพาะใน อปท. ขนาดเล็กและในพืน้ ทีห่ า่ งไกล พบว่ามีสถานทีก่ ำ� จัดขยะที่ไม่ถกู ต้องจ�ำนวน 2,468 แห่ง6 ตารางที่ 1.2 แสดงจ�ำนวนสถานทีก่ ำ� จัดขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องทีเ่ ปิดด�ำเนินการในปี 2558 และ ตารางที่ 1.3 แสดงสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยแบบไม่ถูกต้องที่เปิดด�ำเนินการปี 2559 3 กรมควบคุมมลพิษ, แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564), 2559, หน้า 4. 4 กรมควบคุมมลพิษ, รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559, หน้า 14. 5 กรมควบคุมมลพิษ, แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564), หน้า 5. 6 กรมควบคุมมลพิษ, รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559, หน้า 14. 30

การจัดการของเสียจากชุมชน


ตารางที่ 1.2 สถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องที่เปิดด�ำเนินการในปี 2558 สถานที่กำ�จัดมูลฝอยแบบถูกต้อง 330 แห่ง ประเภท การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล/ การฝังกลบเชิงวิศวกรรม การฝังกลบแบบเทกองควบคุมขนาดน้อยกว่า 50 ตัน/วัน เตาเผาที่มีระบบกำ�จัดมลพิษทางอากาศ เตาเผาขนาดน้อยกว่า 10 ตัน/วัน ที่มีระบบกำ�จัดอากาศเสีย (ไซโคลน) ระบบคัดแยก หมักทำ�ปุ๋ย และฝังกลบอย่างถูกต้อง การกำ�จัดขยะมูลฝอยแบบเชิงกล-ชีวภาพ รวม

จำ�นวน (แห่ง) หน่วยงานรัฐ 84 129 1 12 9 4 239

เอกชน 8 73 6 3 1 91

ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ, รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559, หน้า 20.

ตารางที่ 1.3 สถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยที่เปิดด�ำเนินการแบบไม่ถูกต้องปี 2559 ประเภท การฝังกลบแบบเทกองควบคุมขนาดมากกว่า 50 ตัน/วัน การกำ�จัดแบบเทกอง การกำ�จัดแบบเผากลางแจ้ง เตาเผาที่ไม่มีระบบกำ�จัดมลพิษทางอากาศ รวม

จำ�นวน (แห่ง) หน่วยงานรัฐ 6 1,802 326 59 2,193

เอกชน 9 255 8 15 287

ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ, รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559, หน้า 21.

ส�ำหรับการน�ำขยะมูลฝอยชุมชนกลับมาใช้ประโยชน์ในปี 2559 พบว่ามีประมาณ 5.81 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ซึ่งมีประมาณ 4.94 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 21.5 ของปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดที่ เกิดขึ้น7 ส่วนใหญ่เป็นการคัดแยกวัสดุรีไซเคิลประเภท แก้ว กระดาษ พลาสติก เหล็ก และอลูมิเนียม ประมาณ 5.20 ล้านตัน (ร้อยละ 89.50) ที่เหลือเป็นการน�ำขยะมูลฝอยอินทรีย์มาหมักท�ำปุ๋ยอินทรีย์ หรือ น�้ำหมักชีวภาพ รวมทั้งน�ำไปเป็นอาหารสัตว์ ประมาณ 0.60 ล้านตัน (ร้อยละ 10.33) และการน�ำขยะ อินทรีย์มาผ่านกระบวนการแปรรูปและผลิตแก๊สชีวภาพเพื่อทดแทนพลังงานเชื้อเพลิง ประมาณ 0.01 ล้านตัน (ร้อยละ 0.17)8 7 เพิ่งอ้าง, หน้า 18. 8 กรมควบคุมมลพิษ, รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2559, หน้า 73. บทที่ 1: บทน�ำ

31


ในช่วงปี 2557 ทีก่ รมควบคุมมลพิษจัดท�ำ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีการคาดการณ์ปริมาณขยะตกค้าง สะสมทั่วประเทศไว้ที่ประมาณ 28 ล้านตัน9 ต่อมาในช่วงต้นปี 2558 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมได้ประเมินขยะมูลฝอยตกค้างไว้ที่ประมาณ 30.49 ล้านตัน โดยจังหวัดที่มีขยะมูลฝอยตกค้าง ตัง้ แต่ 500,001-1,000,000 ตัน ได้แก่ กาญจนบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น กระบี่ เพชรบุรี พระนครศรีอยุธยา และปราจีนบุรี และจังหวัดที่มีขยะมูลฝอยตกค้างเกิน 1 ล้านตันขึ้นไป ได้แก่ สมุทรปราการ ชลบุรี สงขลา นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี10 ข้อมูลล่าสุดของกรมควบคุมมลพิษระบุว่า จากการส�ำรวจ ณ ปลายปี 2558 พบว่าปริมาณขยะ มูลฝอยตกค้างมีปริมาณลดลงกว่าร้อยละ 65 หรือเหลือเพียง 10.46 ล้านตัน และในปี 2559 ปริมาณขยะ มูลฝอยตกค้างได้ลดลงไปอีกจนเหลือประมาณ 9.96 ล้านตัน เนื่องจาก อปท. หลายแห่งได้ด�ำเนินการ จัดการขยะมูลฝอยตกค้างและมีการปรับปรุงสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยให้ด�ำเนินการแบบถูกต้อง11 จังหวัด ที่มีปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างมากที่สุดในสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยที่ด�ำเนินการไม่ถูกต้อง 10 ล�ำดับแรก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา นครศรีธรรมราช ขอนแก่น พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ชลบุรแี ละพัทยา เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร และสุราษฎร์ธานี12 ส่วนจังหวัดที่มีวิกฤตปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอย (ไม่มีการเก็บขน ถูกน�ำไปก�ำจัดแบบไม่ถูกต้อง และมีปริมาณขยะสะสมในสถานที่กำ� จัดขยะมูลฝอยที่ไม่ ถูกต้อง) มากทีส่ ดุ 10 ล�ำดับแรก ได้แก่ ฉะเชิงเทรา นครศรีธรรมราช ขอนแก่น ร้อยเอ็ด พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ชัยภูมิ กาฬสินธุ์ สระแก้ว และระนอง13 อย่างไรก็ดี ข้อมูลการลดลงของปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างดังกล่าวมาข้างต้นดูจะสวนทางกับ ส่วนอืน่ ๆ ของรายงานทีร่ ะบุวา่ สถานทีก่ ำ� จัดขยะมูลฝอยทีด่ ำ� เนินการอย่างถูกต้องมีจำ� นวนลดลง อปท. มี การปรับเปลีย่ นรูปแบบการด�ำเนินการจากเทกองแบบมีการควบคุม เป็นการก�ำจัดแบบเทกองแทน ตลอดจน มีการส�ำรวจพบสถานทีก่ ำ� จัดขยะมูลฝอยทีด่ ำ� เนินการแบบเทกองเป็นจ�ำนวนมากขึน้ โดยเฉพาะบ่อรองรับ ขยะมูลฝอยขนาดเล็ก14 สถานการณ์ ในภาพรวมก็คือ ขยะมูลฝอยมีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในขณะที่ อัตราขยะมูลฝอยที่ถูกน�ำไปก�ำจัดและที่ถูกน�ำกลับมาใช้ประโยชน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น วิกฤตปัญหาขยะมูลฝอยจึงถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน15 9 เพิ่งอ้าง. 10 อ้างแล้ว, แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564), หน้า 2. 11 กรมควบคุมมลพิษ, รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559, หน้า 19. 12 เพิ่งอ้าง หน้า 28. 13 เพิ่งอ้าง หน้า 35. 14 เพิ่งอ้าง, หน้า 21-22. 15 เพิ่งอ้าง, หน้า 6.

32

การจัดการของเสียจากชุมชน


1.2 Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย

สืบเนื่องจากสถานการณ์วิกฤตขยะที่ปรากฏเป็นข่าวอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2557 รัฐบาลภายใต้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จึงก�ำหนดให้ปัญหาการบริหารจัดการขยะเป็นวาระแห่งชาติ และ ให้ความเห็นชอบแก่ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ที่เสนอโดยกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 Roadmap ฉบับนี้เป็นเอกสารส�ำคัญที่ น�ำไปสูก่ ารจัดท�ำแผนแม่บทการจัดการขยะของหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องทีส่ ำ� คัญได้แก่ แผนแม่บทการบริหาร จัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) ที่เสนอโดยกรมควบคุมมลพิษ และแผนจัดการกาก อุตสาหกรรม (พ.ศ. 2558-2562) ซึง่ เสนอโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนการจัดท�ำพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 แม้ Roadmap นี้จะเป็นเพียงแนวนโยบายซึ่งยังมิได้ลงลึกถึงรายละเอียดในการปฏิบัติ แต่ก็ได้ กลายเป็นเอกสารทีห่ ลายหน่วยงานใช้อา้ งอิงในการจัดท�ำแผนการด�ำเนินงานและการแก้ไขเพิม่ เติมกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การชูประเด็นเรื่องการแปรรูปขยะเป็นพลังงาน ซึ่งน�ำไปสู่การส่งเสริม การก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ก�ำหนดแนวทางการด�ำเนินการไว้ 4 ประการดังนี้ 1.2.1 ก�ำจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่ก�ำจัดมูลฝอยในพื้นที่วิกฤต (ขยะมูลฝอยเก่า)

ประกอบด้วยแนวทางการด�ำเนินการดังต่อไปนี้  ส�ำรวจ ประเมิน ขยะมูลฝอย เพื่อปิด หรือจัดท�ำแผนงานฟื้นฟูสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอย  ฟื้นฟูสถานที่ก�ำจัดมูลฝอยเดิมเพื่อจัดการขยะมูลฝอยเก่าและรองรับขยะมูลฝอยใหม่ เช่น ห้ามเทกองแบบกลางแจ้ง ปรับปรุงบ่อขยะเดิมให้ด�ำเนินการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ หรือน�ำขยะไป ก�ำจัดในสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยของเอกชน หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนโดยตรงให้กับโรงงานเอกชน หรือผลิตเป็นแท่งเชื้อเพลิง (RDF) กรอบระยะเวลาในการด� ำ เนิ น งานแบ่ ง ออกเป็ น ระยะเร่ ง ด่ ว น 6 เดื อ น ครอบคลุ ม พื้ น ที่ เป้าหมาย 6 จังหวัด (พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครปฐม สระบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี) ระยะ ปานกลาง 1 ปี ครอบคลุมพื้นที่เพิ่ม 20 จังหวัด และระยะยาว 1 ปีขึ้นไป ครอบคลุมพื้นที่ที่เหลืออีก 47 จังหวัด

บทที่ 1: บทน�ำ

33


1.2.2 สร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เหมาะสม (ขยะมูลฝอยใหม่)

 น�ำร่องการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในรูปแบบศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยรวม ซึ่ง จัดระบบคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทาง คัดแยกของเสียอันตรายชุมชนออกจากขยะมูลฝอยทั่วไป และเก็บ รวบรวม ณ สถานที่เก็บรวบรวมของจังหวัด และส่งไปก�ำจัดยังสถานที่ก�ำจัดของเอกชน และจัดท�ำระบบ การจัดการขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน และแปรรูปขยะเป็นพลังงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ สามารถ จัดศูนย์กำ� จัดขยะมูลฝอยรวมออกได้เป็นขนาดใหญ่ (Model L รองรับขยะมูลฝอยตัง้ แต่ 300 ตัน/วัน ขึน้ ไป) ขนาดกลาง (Model M รองรับขยะมูลฝอยตั้งแต่ 50-300 ตัน/วัน) และขนาดเล็ก (Model S รองรับขยะ มูลฝอยน้อยกว่า 50 ตัน/วัน) กรอบระยะเวลาในการด�ำเนินงานแบ่งออกเป็นระยะเร่งด่วน 6 เดือน ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย จังหวัดนนทบุรี ภูเก็ต สงขลา กรุงเทพมหานคร เชียงราย น่าน ระยอง นครราชสีมา และบุรรี มั ย์ ระยะปานกลาง 1 ปี ครอบคลุมพื้นที่เพิ่ม 26 จังหวัด และระยะยาว 1 ปีขึ้นไป ครอบคลุมพื้นที่ที่เหลืออีก 46 จังหวัด 1.2.3 วางระเบียบมาตรการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย มีกรอบเวลาในการ

ท�ำงานดังนี้ แนวทางในการด�ำเนินงานระยะเร่งด่วน (6 เดือน)  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ก�ำกับดูแลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภายในจังหวัดให้มีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ  ให้มีคณะกรรมการจัดท�ำแผนแม่บทและบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายใน ภาพรวมของจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และมีองค์ประกอบและอ�ำนาจหน้าที่ตามที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก�ำหนด  ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดท�ำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยของประเทศ และก�ำหนดรูปแบบ เทคโนโลยีทางเลือกส�ำหรับการก�ำจัดขยะมูลฝอยของศูนย์ก�ำจัด ขยะมูลฝอยรวมแต่ละขนาด  ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาผ่อนปรนกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนของภาค เอกชนในการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย เช่น การจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (EIA) พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 พระราชบัญญัติ การผังเมือง พ.ศ. 2518 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การท�ำรายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการ ป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย พ.ศ. 2552 และมาตรการอื่นๆ

34

การจัดการของเสียจากชุมชน


 ออกกฎกระทรวงก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หลักเกณฑ์และมาตรฐานการลด คัดแยก เก็บรวบรวม ขนส่ง และก�ำจัดขยะมูลฝอย ของเสียอันตรายจากชุมชน และมูลฝอยติดเชื้อ  ออกกฎระเบียบเรื่องระบบการตรวจสอบและควบคุมการจัดตั้งและด�ำเนินงานสถานที่ก�ำจัด ขยะมูลฝอย  ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นให้มีการคัดแยกขยะมูลฝอย และห้ามทิ้งของเสียอันตรายปนกับ ขยะมูลฝอยทั่วไป แนวทางในการด�ำเนินงานระยะปานกลาง (1 ปี)  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาเรื่องการออกใบอนุญาตสถานที่ก�ำจัด ขยะมูลฝอย (Permit system)  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมและกระทรวงอุตสาหกรรมจัดท�ำโครงการน�ำร่อง การเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์เครือ่ งใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อเิ ล็กทรอนิกส์ ตามหลักการขยายความรับผิดชอบ ของผู้ผลิต (Extended producer responsibility: EPR)  กระทรวงอุตสาหกรรมก�ำหนดหลักเกณฑ์ ระเบียบ เพื่อบังคับใช้ในการน�ำวัสดุรีไซเคิลเป็น วัตถุดิบในกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์ในภาคอุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดท�ำมาตรการเพื่อ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย  กระทรวงมหาดไทยและ อปท. ด�ำเนินการให้มกี ารออกข้อบัญญัตทิ อ้ งถิน่ ให้มกี ารคัดแยกขยะ มูลฝอย และห้ามทิ้งขยะอันตรายปนกับขยะมูลฝอยทั่วไปตามกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขก�ำหนด  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาเสนอกฎหมายที่จะใช้ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศให้ เป็นเอกภาพ แนวทางในการด�ำเนินงานระยะยาว (1 ปีขึ้นไป)  ออกกฎหมายว่าด้วยการจัดการซากผลิตภัณฑ์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste electrical and electronic equipment: WEEE) ตามหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต รวมทั้งก�ำหนด มาตรการเก็บค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์  กระทรวงมหาดไทยและ อปท. ด�ำเนินการให้มกี ารออกข้อบัญญัตทิ อ้ งถิน่ ให้มกี ารคัดแยกขยะ มูลฝอย และห้ามทิ้งขยะอันตรายปนกับขยะมูลฝอยทั่วไปตามกฎกระทรวงที่กระทรวสาธารณสุขก�ำหนด บทที่ 1: บทน�ำ

35


1.2.4 สร้างวินัยของคนในชาติมุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืน

 หน่วยงานผู้รับผิดชอบตรวจสอบและด�ำเนินการตามกฎหมายกับผู้ลักลอบทิ้ง ลักลอบก�ำจัด ขยะมูลฝอยชุมชน กากอุตสาหกรรม กากกัมมันตรังสี ของเสียอันตราย และมูลฝอยติดเชื้อที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ที่ก�ำหนด  รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ปลุกจิตส�ำนึก สร้างความตระหนักให้ประชาชนเข้ามา มีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ตั้งแต่การลด คัดแยกที่ต้นทาง จนถึงการก�ำจัดขั้นสุดท้าย ตลอดจน ลดการใช้ถุงพลาสติกและหันมาใช้วัสดุอื่นแทน  ให้กระทรวงศึกษาธิการด�ำเนินการสร้างจิตส�ำนึกและวินัยในการจัดการขยะมูลฝอยให้แก่ นักเรียนและเยาวชน โดยให้มีการปฏิบัติเป็นรูปธรรมในโรงเรียนและสถานศึกษาทุกแห่งเป็นตัวอย่าง ส�ำหรับในระยะปานกลาง และระยะยาว ให้เพิ่มอีก 1 มาตรการ คือ  ให้กระทรวงมหาดไทย และ อปท. ควบคุมการประกอบกิจการร้านรับซื้อของเก่า ทั้ง การให้อนุญาตประกอบกิจการและการด�ำเนินกิจการ 1.3 การจัดระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศตาม Roadmap 1.3.1 ระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 255716

เพือ่ แก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยอย่างไม่ถกู ต้องและตกค้างสะสมอยูเ่ ป็นจ�ำนวนมาก อาศัย อ�ำนาจตามมาตรา 11 (8) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบการปฏิบัติราชการเพื่อก�ำหนดขั้นตอนการด�ำเนินการ ในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย “อย่างเป็นระบบ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ” โดยมีกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นศูนย์กลางในการก�ำหนดแนวทางการท�ำงาน การสั่งการ และการ แก้ไขปัญหา สาระส�ำคัญของระเบียบโดยสังเขปคือ (1) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดท�ำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยของประเทศเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยสถานการณ์ขยะมูลฝอย ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยของแต่ละจังหวัด พร้อมทัง้ ก�ำหนดแนวทางและงบประมาณ ในการด�ำเนินการ และหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการด�ำเนินการ ในการจัดท�ำแผนแม่บทนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมแจ้งผูว้ า่ ราชการจังหวัดให้จดั ท�ำแผนการบริหารจัดการขยะ 16 ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 25 กันยายน 2557

36

การจัดการของเสียจากชุมชน


มูลฝอยของจังหวัด และให้บูรณาการแผนฯ ของจังหวัดเพื่อจัดท�ำเป็นแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยของประเทศ และให้ส�ำนักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณเพื่อด�ำเนินการตามแผนแม่บทที่ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบไว้ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดด�ำเนินการจัดท�ำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนแม่บทเสนอต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณา อนุมัติก่อนด�ำเนินการ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดสรรงบประมาณในการ ด�ำเนินการให้แก่หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามแผนปฏิบัติการฯ (3) ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอ�ำนาจหน้าที่ก�ำกับดูแลการใช้จ่ายงบประมาณและการปฏิบัติการ ของราชการส่วนท้องถิน่ และเจ้าพนักงานท้องถิน่ ให้เป็นไปตามแผนปฏิบตั กิ ารและแผนแม่บท ติดตามและ ประเมินผลการด�ำเนินงานตามแผนปฏิบัติการของราชการส่วนท้องถิ่น ให้ค�ำแนะน�ำหรือข้อเสนอแนะเพื่อ แก้ไขปัญหาและอุปสรรค และรายงานผลการด�ำเนินงานต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (4) ในกรณีที่การด�ำเนินการในเรื่องใดไม่เป็นไปตามที่ก�ำหนดหรือไม่สอดคล้องกับแผน ปฏิบัติการหรือแผนแม่บท ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ เพื่อด�ำเนินการแก้ไข หรือปรับปรุงให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการหรือแผนแม่บท หากเห็นว่าเป็นกรณีที่ราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานท้องถิน่ ไม่สามารถด�ำเนินการได้ ให้รายงานกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม เพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุงแผนแม่บทให้เหมาะสมต่อไป (5) ให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ด�ำเนินการให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการหรือแผนแม่บท โดยถือเป็นการปฏิบัติตามที่คณะรัฐมนตรีก�ำหนด ในกรณีที่หน่วยงานรัฐใดไม่สามารถด�ำเนินการได้ ให้รายงานปัญหา อุปสรรค และความเห็นต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีมติเช่นใด ให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติไปตามนั้น ถ้ายัง มิได้ปฏิบัติตาม ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้า รัฐบาลเป็นผู้วินิจฉัยสั่งการ แต่ในกรณีที่เป็นราชการส่วนท้องถิ่น ให้คณะรัฐมนตรีวินิจฉัยและมีมติให้ ราชการส่วนท้องถิ่นปฏิบัติต่อไป การวินิจฉัยและสั่งการของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี ให้ เป็นที่สุด (6) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประเมินผลการด�ำเนินการตามแผนปฏิบัติ การและแผนแม่บท และรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบอย่างน้อยทุก 6 เดือน

บทที่ 1: บทน�ำ

37


1.3.2 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง องค์ประกอบและอ�ำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2557

สืบเนื่องจาก Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายก�ำหนดให้มีคณะกรรมการ บริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานท�ำหน้าที่จัดท�ำแผนแม่บทและ บริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายในภาพรวมของจังหวัด โดยมีองค์ประกอบและอ�ำนาจหน้าที่ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก�ำหนด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจึงออกประกาศกระทรวงฯ เพื่อก�ำหนดองค์ประกอบและอ�ำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ดังกล่าวดังนี้ องค์ประกอบคณะกรรมการ 1. ผู้ว่าราชการจังหวัด ประธานกรรมการ 2. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรรมการ 3. นายกเทศมนตรีที่มาจากการคัดเลือกของนายกเทศมนตรี กรรมการ ของเทศบาลในพื้นที่จ�ำนวนไม่เกิน 3 คน 4. นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลที่มาจากการคัดเลือกของ กรรมการ นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลในพื้นที่จ�ำนวนไม่เกิน 3 คน 5. โยธาธิการและผังเมืองจัหวัด กรรมการ 6. ท้องถิ่นจังหวัด กรรมการ 7. หัวหน้าส�ำนักงานจังหวัด กรรมการ 8. อุตสาหกรรมจังหวัด กรรมการ 9. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด กรรมการ 10. พลังงานจังหวัด กรรมการ 11. ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค กรรมการ 12. ผู้แทนจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่จ�ำนวนไม่เกิน 3 คน กรรมการ 13. ประธานหอการค้าจังหวัด กรรมการ 14. ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด กรรมการ 15. ประธานคณะกรรมการเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ กรรมการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ระดับจังหวัด 16. ผู้แทนภาคประชาชนในพื้นที่จ�ำนวนไม่เกิน 3 คน กรรมการ 17. กรรมการผู้มีความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ กรรมการ ต่อการจัดการขยะมูลฝอยจ�ำนวนไม่เกิน 3 คน 18. ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด กรรมการและเลขานุการ 38

การจัดการของเสียจากชุมชน


คณะกรรมการมีวาระการด�ำรงต�ำแหน่งคราวละไม่เกิน 2 ปี นับแต่วนั ทีอ่ อกค�ำสัง่ มีอำ� นาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้  ขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยให้เป็นไปตาม Roadmap  จัดท�ำแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด ระยะ 5 ปี และเสนอกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อบูรณาการให้เป็นแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของ ประเทศ  จัดท�ำแผนปฏิบัติการรายปี เพื่อปฏิบัติ ให้เป็นไปตามแผนแม่บทฯ และเสนอกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาอนุมัติก่อนด�ำเนินการ  อ�ำนวยการ ก�ำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลการด�ำเนินงานตามแผนการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยของจังหวัด แผนปฏิบัติการรายปี และรายงานผลการด�ำเนินการต่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม  ปรับปรุงแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด และแผนปฏิบตั กิ ารรายปีให้สอดคล้อง กับสถานการณ์ปัจจุบันและนโยบายของรัฐบาล  แต่งตั้งคณะท�ำงานตามที่เห็นสมควร เพื่อปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย 1.3.3 บทบาทของกระทรวงมหาดไทยในการแก้ไขปัญหาขยะของประเทศ

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติก�ำหนดให้กระทรวงมหาดไทยเป็น หน่วยงานหลักรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการแก้ไขปัญหาขยะในภาพรวมของประเทศ โดยให้กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมและหน่วยงานอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้องเป็นหน่วยงานสนับสนุนในการด�ำเนินการ และพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับแนวทางการ ด�ำเนินการดังกล่าวด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นด�ำเนินการ ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของ อปท. ในภาพรวมของประเทศ กรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นจึงได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณขยะของ อปท. ที่มีพื้นที่ติดต่อกันหรือมี เขตพื้นที่ใกล้เคียงกัน โดยแบ่งกลุ่มพื้นที่ในการจัดการขยะมูลฝอยร่วมกันของ อปท. (Clusters) ออกเป็น 3 ขนาด ได้แก่17

17 หนังสือพิมพ์ชี้ชัดเจาะลึก, ที่มา: http://chechadnews.blogspot.com/2015/06/blog-post_43.html.

บทที่ 1: บทน�ำ

39


 กลุ ่ ม พื้ น ที่ ข นาดใหญ่ (L) หมายถึ ง กลุ ่ ม พื้ น ที่ อปท. ที่ มี ป ริ ม าณขยะมู ล ฝอยรวมกั น มากกว่า 500 ตัน/วันขึ้นไป แบ่งกลุ่มพื้นที่ได้จ�ำนวน 44 กลุ่ม ใน 27 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ อปท. 1,347 แห่ง  กลุ่มพื้นที่ขนาดกลาง (M) หมายถึงกลุ่มพื้นที่ อปท. ที่มีปริมาณขยะมูลฝอยรวมกัน ตั้งแต่ 300-500 ตัน/วัน แบ่งกลุ่มพื้นที่ได้จ�ำนวน 60 กลุ่ม ใน 50 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ อปท. 3,092 แห่ง  กลุ ่ ม พื้ น ที่ ข นาดเล็ ก (S) หมายถึ ง กลุ ่ ม พื้ น ที่ อปท. ที่ มี ป ริ ม าณขยะมู ล ฝอยรวมกั น น้อยกว่า 300 ตัน/วันขึ้นไป แบ่งกลุ่มพื้นที่ได้จ�ำนวน 47 กลุ่ม ใน 43 จังหวัด ครอบคลุมพื้นที่ อปท. 2,165 แห่ง ทั้งนี้ วิธีการก�ำจัดขยะมูลฝอยตามกลุ่มพื้นที่ข้างต้น สามารถด�ำเนินการได้โดยการฝังกลบ การ หมักท�ำปุ๋ย เตาเผาขนาดเล็ก การท�ำเชื้อเพลิงขยะ เตาเผาขนาดใหญ่ และการผลิตกระแสไฟฟ้า จากการ ประชุมหารือร่วมกันของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุรนารี การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง และ อปท. ท�ำให้สามารถก�ำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการก�ำจัดขยะมูลฝอย เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าดังนี้18 (1) ค่าเฉลี่ยค่าขนถ่าย (logistics) ในการขนย้ายขยะมูลฝอยไปก�ำจัดยังสถานที่ก�ำจัดขยะ ได้แก่ ค่ารถบรรทุก ค่าคนขับรถบรรทุก/รถขยะ ค่าคนเก็บขยะ ค่าน�้ำมันเชื้อเพลิง และค่าบ�ำรุงรักษา เป็นต้น ระยะทางที่คุ้มค่าไม่ควรเกิน 30 กิโลเมตร โดยค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการขนถ่ายคือ 850 บาท/ตัน หรือ 42.40 บาท/ตัน/กิโลเมตร (2) ค่าเฉลี่ยค่าก�ำจัดขยะมูลฝอย (tipping fee) พิจารณาจากค่าจ้างบุคลากร ค่าน�้ำมันเชื้อเพลิง น�้ำมันหล่อลื่น ค่าซ่อมบ�ำรุง ค่าดินกลบทับมูลฝอย ค่าแผ่นพลาสติกในการกลบทับ เป็นต้น มีค่าใช้จ่าย ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิธีการก�ำจัดขยะมูลฝอย ดังนี้  ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการฝังกลบขยะมูลฝอยจ�ำนวน 314 บาท/ตัน  ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการก�ำจัดขยะมูลฝอยระบบผสมผสาน จ�ำนวน 500 บาท/ตัน  ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการก�ำจัดในระบบเตาเผาขนาดใหญ่ จ�ำนวน 1,027 บาท/ตัน นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยมีความเห็นให้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติจัดตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ เพื่อให้กระทรวงมหาดไทยมีอ�ำนาจหน้าที่เพิ่มมากขึ้นในเรื่องการก�ำจัดขยะ มูลฝอยและสิง่ ปฏิกลู เนือ่ งจากแต่เดิมพระราชบัญญัตเิ หล่านัน้ ก�ำหนดให้เป็นหน้าทีเ่ ฉพาะของ อปท. เท่านัน้ 18 เพิ่งอ้าง. 40

การจัดการของเสียจากชุมชน


และควรก�ำหนดให้กระทรวงมหาดไทยมีอ�ำนาจก�ำหนดมาตรฐานวิธีการเก็บขน และการก�ำจัดขยะมูลฝอย ตลอดจนการก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นต้น การพิจารณาคัดเลือกสถานที่ก�ำจัดมูลฝอยควร พิจารณาไม่ให้สง่ ผลกระทบต่อประชาชนและชุมชน หรือจัดให้มกี ระบวนการในการควบคุมผลกระทบทุกด้าน ให้อยู่ในขอบเขตทีป่ ระชาชนในพืน้ ทีย่ อมรับได้ โดยเฉพาะการจัดให้มกี ระบวนการคัดแยกขยะที่ไม่ยอ่ ยสลาย ก่อนการน�ำไปฝังกลบ และการจัดการขยะมูลฝอยควรอยู่ในหลักการ “ขยะเกิดในพื้นที่ใด ควรเป็นความ รับผิดชอบในการก�ำจัดของพื้นที่นั้น” ยกเว้นในกรณีที่มีความคุ้มทุนในการน�ำขยะไปก�ำจัดในพื้นที่อื่นเพื่อ ให้เกิดประโยชน์ ซึง่ ควรด�ำเนินการเฉพาะเท่าทีจ่ ำ� เป็น เช่น การใช้เทคโนโลยีในการก�ำจัดขยะร่วมกันระหว่าง หลาย อปท. โดยจ�ำเป็นต้องมีการท�ำข้อตกลงร่วมกันระหว่าง อปท. เหล่านั้นด้วย19 1.3.4 ข้อสังเกตเกี่ยวกับ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย

การก�ำหนดให้การจัดการขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติเป็นเรือ่ งทีถ่ กู ต้อง เนือ่ งจากปริมาณขยะ มูลฝอยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อปท. เป็นจ�ำนวนมากประสบปัญหาเรื่องการจัดหาพื้นที่รองรับหรือพื้นที่ ส�ำหรับใช้เป็นสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอย รวมทั้งขาดแคลนงบประมาณและบุคลากรที่จะด�ำเนินภารกิจด้าน การจัดการขยะมูลฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี แนวทางการด�ำเนินงานทีก่ ำ� หนดไว้ใน Roadmap ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาหลายประการ ที่ส�ำคัญได้แก่ (1) Roadmap ให้ความส�ำคัญกับระบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบผสมผสานในรูปแบบ ศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยรวม (Cluster) และการส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนในโครงการแปรรูปขยะมูลฝอย ไปเป็นพลังงาน ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง หรือโรงงานแปรรูปขยะ เป็นแท่งเชือ้ เพลิงพลังงานความร้อน (RDF) ดังเห็นได้จากการก�ำหนดให้ตอ้ งผ่อนปรนกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง หลายฉบับ เช่น กฎหมายเรื่องการจัดท�ำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) กฎหมายผังเมือง รวมทั้ง ออกมาตรการอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง การก่อสร้าง โรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงเป็นเพียงทางเลือกอันหนึ่งในการก�ำจัดขยะมูลฝอย และควรเป็น ทางเลือกที่มีมาตรการก�ำกับควบคุมอย่างรอบคอบทั้งในการเลือกสถานที่ตั้ง และเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขยะมูลฝอยในประเทศไทยส่วนใหญ่มีองค์ประกอบที่เป็นขยะเปียก ขยะอินทรีย์ ขยะอันตราย หรือแม้แต่ขยะอุตสาหกรรมปะปนกันอยู่ การส่งเสริมให้มีโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็น เชื้อเพลิงเกิดขึ้นเป็นจ�ำนวนมากและในเวลาอันรวดเร็ว โดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่และ ไม่มีมาตรการตรวจสอบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างเพียงพอ ย่อมก่อให้เกิดความเสี่ยง มากขึ้นต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน (2) สืบเนื่องจากนโยบายส่งเสริมให้เอกชนลงทุนในโครงการแปรรูปขยะเป็นพลังงานดังกล่าว มาแล้วในข้อ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของคณะ 19 เพิ่งอ้าง. บทที่ 1: บทน�ำ

41


กรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้ออกประกาศกระทรวงฯ ก�ำหนดยกเว้นให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงไม่ต้องจัดท�ำรายงาน EIA20 (จากเดิมที่เคยก�ำหนดให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ทุกประเภทที่มีก�ำลังผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป ต้องจัดท�ำรายงาน EIA เสนอในขั้น ขออนุญาตก่อสร้างเพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการแล้วแต่กรณี) เป็นต้น โดยให้ ใช้ประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) ซึ่งเป็นคู่มือแนวทางปฏิบัติขั้นต�่ำในการป้องกันและ แก้ไขผลกระทบสิง่ แวดล้อม รวมทัง้ มาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิง่ แวดล้อม ซึง่ ส�ำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมได้จดั ท�ำขึน้ แทน แนวนโยบายดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเสีย่ ง ในการสร้างผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนมากขึ้น เนื่องจากกลไก EIA เป็น มาตรการหนึ่งในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ (3) สอดคล้องกับแนวทางที่กล่าวมาข้างต้น แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของ ประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) ก�ำหนดให้มมี าตรการต่างๆ เพือ่ ส่งเสริมการลงทุนก่อสร้างโรงก�ำจัดขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายของภาคเอกชน เช่น ลดภาษีเครื่องจักร ให้เงินกู้ดอกเบี้ยต�่ำ และเพิ่มอัตราส่วน เพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Feed-in tariff) จากการใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง เป็นต้น21 (4) นโยบายตาม Roadmap แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ รวมทั้ง กฎระเบียบทั้งหลายที่จะออกมาเพื่อด�ำเนินการตาม Roadmap ก�ำหนดให้การบริหารจัดการขยะมีลักษณะ รวมศูนย์อ�ำนาจในการตัดสินใจ แทนที่จะส่งเสริมศักยภาพและสมรรถนะของ อปท. ในการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอยในพื้นที่ของตนตามหลักการกระจายอ�ำนาจ กล่าวคือ ก�ำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น ผู้ก�ำกับดูแลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายในจังหวัด และให้มีคณะกรรมการในระดับจังหวัดซึ่งมี ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานเพื่อจัดท�ำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ของแต่ละจังหวัด ฉะนั้น นโยบายการบริหารจัดการขยะของท้องถิ่นจึงถูกก�ำหนดมาจากข้างบนตั้งแต่ ในระดับราชการส่วนกลาง ผ่านราชการส่วนภูมิภาค ลงมาให้ท้องถิ่นถือปฏิบัติ

20 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 9 กันยายน 2558 21 กรมควบคุมมลพิษ, แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564), 2559, หน้า 30. 42

การจัดการของเสียจากชุมชน


1.4 แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564)

สืบเนื่องจาก Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายก�ำหนดให้กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมจัดท�ำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ และก�ำหนด รูปแบบและเทคโนโลยีทางเลือกส�ำหรับการก�ำจัดขยะมูลฝอยของศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยรวมแต่ละขนาด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดท�ำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของ ประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) ซึง่ ได้รบั ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมือ่ วันที่ 3 พฤษภาคม 2559 แผนแม่บทฯ นี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นกรอบและทิศทางการด�ำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและ ของเสียอันตรายของประเทศ และบูรณาการการด�ำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาชน ตารางที่ 1.4 แสดงเป้าหมายการด�ำเนินงานรายปีของแผนแม่บท ตารางที่ 1.4 เป้าหมายรายปีของแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) ปี พ.ศ. / ค่าเป้าหมาย (ร้อยละ) เป้าหมาย 2559 2560 2561 2562 2563 2564 1. ขยะชุมชนได้รบั การจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ไม่นอ้ ยกว่า 50

55

60

65

70

75

2. ขยะตกค้างได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

75

85

95

100

100

100

3. ของเสียอันตรายชุมชนได้รับการรวบรวมและส่งไปก�ำจัดถูกต้องตาม หลักวิชาการ ไม่น้อยกว่า

5

10

15

20

25

30

4. มูลฝอยติดเชื้อได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

80

85

90

95

100

100

5. กากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายเข้าสู่ระบบการจัดการที่ถูกต้อง

60

70

80

90

100

100

6. อปท. มีการคัดแยกขยะมูลฝอย และของเสียอันตรายชุมชนที่ต้นทาง

5

10

20

30

40

50

บทที่ 1: บทน�ำ

43


1.4.1 กรอบแนวคิดและมาตรการตามแผนแม่บทฯ

กรอบแนวคิดของแผนแม่บทฯ มี 3 ข้อ ได้แก่ (1) หลักการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) เพื่อให้เกิดการใช้น้อย การใช้ซ�้ำ และ การน�ำกลับมาใช้ใหม่ของขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น ณ แหล่งก�ำเนิด โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ ประชาชน และสร้ า งจิ ต ส� ำ นึ ก ให้ เ ยาวชนและประชาชนมี วิ นั ย ในการลดขยะมู ล ฝอย คั ด แยกขยะ ส่งเสริมการใช้ซ�้ำและการน�ำกลับมาใช้ใหม่ และให้ภาคเอกชนพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (2) การก�ำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายแบบศูนย์รวม และการแปรรูปผลิตพลังงาน โดย อปท. จัดระบบรวบรวมและขนส่งขยะแบบแยกประเภท ด�ำเนินการก�ำจัดขยะมูลฝอยแบบศูนย์รวม (Cluster) โดยใช้ เ ทคโนโลยี แ บบผสมผสาน เน้ น การจั ด การและก� ำ จั ด ขยะมู ล ฝอยเป็ น หลั ก เช่ น จัดระบบคัดแยก หมักปุ๋ย ก�ำจัดขยะมูลฝอยโดยเตาเผา และการฝังกลบ ส่วนการแปรรูปเป็นพลังงาน เช่น การผลิตไฟฟ้า ก๊าซชีวภาพ เป็นต้น ถือเป็นผลพลอยได้และเป็นแรงจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุน ผลั ก ดั น ให้ มี ศู น ย์ ร วบรวมของเสี ย อั น ตรายของจั ง หวั ด และสนั บ สนุ น ให้ อปท. ที่ มี ศั ก ยภาพหรื อ เอกชนเข้ามาบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวมให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เป็นต้น (3) ความรั บ ผิ ด ชอบและการมี ส ่ ว นร่ ว มของทุ ก ภาคส่ ว นในการจั ด การขยะมู ล ฝอยและ ของเสียอันตราย ส่งเสริมบทบาทของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนให้มีจิตส�ำนึก และวินัย ตั้งแต่การคัดแยกขยะมูลฝอยที่ต้นทางจนถึงการก�ำจัดขั้นสุดท้าย ให้ข้อมูลข่าวสารและสร้าง การรับรู้เพื่อลดความขัดแย้งและการต่อต้านจากประชาชน ส่งเสริมภาคเอกชนลงทุนหรือร่วมลงทุน ด�ำเนินงานระบบจัดการขยะมูลฝอย และส่งเสริมให้ผู้ผลิตรับผิดชอบผลิตภัณฑ์ของตนเมื่อหมดอายุการ ใช้งาน ตามหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended producer responsibility: EPR) และ ปรับปรุงการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส�ำหรับการด�ำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ แผนแม่บทฯ ก�ำหนด 3 มาตรการหลัก และแนวทาง ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) มาตรการลดการเกิดขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่แหล่งก�ำเนิด มีแนวทางปฏิบัติ อาทิเช่น สนับสนุนให้ประชาชน สถานศึกษา สถานที่ราชการ และสถานประกอบการด�ำเนินการคัดแยก ขยะและน�ำกลับมาใช้ประโยชน์ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลด ละ เลิก การใช้ถุงพลาสติก กล่องโฟม หรือบรรจุภัณฑ์ที่ก�ำจัดยาก สนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green procurement) และส่งเสริมการออกแบบและผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

44

การจัดการของเสียจากชุมชน


(2) มาตรการเพิม่ ศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย มีแนวทางปฏิบตั ิ ได้แก่ 1) เพิ่มศักยภาพการจัดเก็บและขนส่งขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย เช่น  ปรับปรุงและจัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์ สถานที่เก็บรวบรวม และยานพาหนะขนส่ง ขยะมูลฝอยให้ อปท. อย่างเพียงพอและเหมาะสม  อปท. ด�ำเนินการคัดแยกขยะที่ต้นทาง จัดเก็บขยะแบบแยกประเภท ส�ำหรับ อปท. ที่อยู่ห่างไกล ควรจัดให้มีสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยเพื่อรวบรวมขยะมูลฝอยเพื่อรวบรวมและรอการขนส่ง ไปยังศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยรวม  กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องต้องเข้มงวดกับการตรวจสอบระบบ เอกสารก�ำกับการขนส่งกากอุตสาหกรรมที่เป็นอันตรายทั่วประเทศ ก�ำกับดูแลการขนส่งด้วยระบบติดตาม ต�ำแหน่ง (GPS) และให้รถติดป้ายหรือสัญลักษณ์บ่งชี้ว่าเป็นรถขนส่งของเสียอันตราย  กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบระบบเอกสารก�ำกับการ ขนส่งมูลฝอยติดเชื้อจากสถานบริการสาธารณสุข และก�ำหนดให้มีระบบเอกสารก�ำกับการขนส่งมูลฝอย ติดเชื้อจากสถานบริการสาธารณสุขขนาดเล็ก  อปท. ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นให้มีการคัดแยกขยะมูลฝอย และเก็บรวบรวมขยะ มูลฝอยแบบแยกประเภท 2) เพิ่มศักยภาพการก�ำจัดและใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ได้แก่ 2.1) ก�ำจัดขยะมูลฝอยตกค้าง เช่น  ส�ำรวจ ประเมิน สถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยเพื่อปิดหรือจัดท�ำแผนฟื้นฟูสถานที่ ก�ำจัดมูลฝอย  ปิดหรือฟื้นฟูสถานที่ก�ำจัดมูลฝอยที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยรื้อร่อน และแปรรูปขยะเพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิง (Refuse derived fuel: RDF) และส่งเป็น วัตถุดิบให้แก่โรงงานเอกชน หรือส่งไปเตาเผาขยะมูลฝอยเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า  ปรับปรุงพื้นที่ที่มีการเทกองขยะมูลฝอย (open dump) และสถานที่ฝังกลบ ขยะมูลฝอยที่ ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการให้เป็นแบบควบคุม (controlled dump) หรือฝังกลบถูกหลักสุขาภิบาล (sanitary landfill)  ติดตามตรวจสอบการปนเปื้อนน�้ำชะมูลฝอยบริเวณโดยรอบสถานที่ก�ำจัด มูลฝอย บทที่ 1: บทน�ำ

45


2.2) สร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย เช่น  สร้างรูปแบบการก�ำจัดขยะมูลฝอยใหม่ในลักษณะศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยรวม (cluster) กล่าวคือ เป็นการรวมกลุ่ม อปท. ที่อยู่ใกล้เคียงกันเพื่อสร้างระบบจัดการ ขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน เน้นการน�ำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ เช่น ผลิตปุ๋ย อินทรีย์ ก๊าซชีวภาพ และแปรรูปผลิตพลังงาน เป็นต้น โดยให้เอกชนลงทุนในพื้นที่ เป้าหมายให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค ทั้งนี้ สามารถแบ่งกลุ่มพื้นที่ออกได้เป็น 3 ขนาดคือ • กลุ่มพื้นที่ขนาดใหญ่ (Model L) สถานที่ก�ำจัดเป็นโรงงานขนาดใหญ่ที่ เดินระบบ 24 ชั่วโมงในส่วนของเตาเผาและส่วนของการผลิตพลังงาน มีปริมาณ ขยะมูลฝอยรวมกันมากกว่า 300 ตัน/วัน/กลุ่มพื้นที่ และรัศมีการเก็บรวบรวม ขยะมูลฝอยไม่เกิน 50 กิโลเมตร โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจลงทุน หรือร่วมลงทุน • กลุ่มพื้นที่ขนาดกลาง (Model M) สถานที่ก�ำจัดเป็นโรงงานขนาดกลางที่ อาจมีการเดินระบบ 24 ชัว่ โมง หรือเดินระบบ 1 กะเวลาการท�ำงาน (8-10 ชัว่ โมง) ปกติส่วนของเตาเผาและส่วนของการผลิตพลังงานจะท�ำงานไม่ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง มีปริมาณขยะมูลฝอยรวมกันอยู่ระหว่าง 50-300 ตัน/วัน/กลุ่มพื้นที่ และ รัศมีการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยไม่เกิน 50 กิโลเมตร โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจลงทุนหรือร่วมลงทุนตามความเหมาะสม • กลุ่มพื้นที่ขนาดเล็ก (Model S) สถานที่ก�ำจัดเป็นโรงงานขนาดเล็ก มีการ เดินระบบ 1 กะเวลาการท�ำงาน (8-10 ชั่วโมง) โดยมีเครื่องจักร และสถานที่เก็บ ขยะรีไซเคิลเท่าที่จ�ำเป็นในการสนับสนุนคนงานที่ท�ำหน้าที่คัดแยกขยะมูลฝอย มี ปริมาณขยะมูลฝอยรวมกันน้อยกว่า 50 ตัน/วัน/กลุม่ พืน้ ที่ และรัศมีการเก็บรวบรวม ขยะมูลฝอยไม่เกิน 30 กิโลเมตร ทัง้ นี้ให้กระทรวงมหาดไทย จังหวัด และ อปท. พิจารณาก�ำหนดกลุม่ พืน้ ที่ อปท. หรือ cluster เพือ่ รองรับการจัดตัง้ ศูนย์กำ� จัดขยะมูลฝอยรวมได้ตามความเหมาะสม ความพร้อม และการยอมรับของประชาชน รวมทั้งพิจารณารูปแบบการตอบแทนและ หรือการชดเชยให้แก่ อปท. ที่เป็นที่ตั้งของศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยรวม และประชาชน ในพื้นที่ • ส�ำหรับพื้นที่ที่อยู่ห่างจากศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยรวมเกิน 50 กิโลเมตร ควรจัดตั้งสถานีขนถ่ายเพื่อรอการขนส่งไปยังศูนย์ก�ำจัดขยะรวมต่อไป หรือจัดท�ำ 46

การจัดการของเสียจากชุมชน


โรงแปรรูปขยะมูลฝอยเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งตามความเหมาะสมของพื้นที่ • สนับสนุนการจัดการขยะมูลฝอยส�ำหรับพืน้ ทีเ่ ฉพาะ (เช่น พืน้ ทีเ่ ขตเศรษฐกิจ พิเศษ พื้นที่ท่องเที่ยวประเภทเกาะ เป็นต้น) • จัดตั้งสถานที่รวบรวมของเสียอันตรายชุมชนอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง • สนับสนุนการจัดตัง้ สถานทีก่ ำ� จัดกากอุตสาหกรรมให้ครอบคลุมทุกภูมภิ าค และเพิ่มโรงงานรีไซเคิลของเสียอันตราย • จัดตั้งศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อรวมให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค มีกลไกการ สนับสนุนและอุดหนุนงบประมาณให้แก่ อปท. ในการบ�ำรุงรักษาและปรับปรุงระบบ ก�ำจัดของเสียรวม เป็นต้น แผนภาพที่ 1.1 และ 1.2 แสดงรูปแบบของศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยรวม ส�ำหรับ กลุ่มพื้นที่ขนาดใหญ่ (Model L) กลุ่มพื้นที่ขนาดกลาง (Model M) และกลุ่มพื้นที่ขนาด เล็ก (Model S) 3) ก�ำหนดกฎหมาย กฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่  พัฒนากฎหมายเพือ่ การบริหารจัดการขยะมูลฝอย ของเสียอันตรายจากชุมชน กากอุตสาหกรรมอันตราย และมูลฝอยติดเชื้อ  ปรับปรุงกฎระเบียบและออกข้อบัญญัตทิ อ้ งถิน่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับระบบเก็บรวบรวม และขนส่งขยะมูลฝอย การก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและอัตราค่าบริการ และแนวทาง ปฏิบัติส�ำหรับผู้รับจ้างให้บริการ  ก�ำหนดกฎระเบียบให้โรงงานผูก้ อ่ ก�ำเนิดของเสียอันตรายเข้าสูร่ ะบบการจัดการ กากอุตสาหกรรม โดยให้เป็นเงือ่ นไขในการอนุญาตประกอบกิจการ และก�ำหนดประเภท และขนาดของโรงงานทีต่ อ้ งวางหลักประกันทางการเงินซึง่ ครอบคลุมถึงกรณีทพี่ บการปน เปื้อนของสารอันตรายในพื้นที่หลังจากเลิกประกอบกิจการแล้ว  ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และ  ออกระเบียบเพือ่ สนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในการก่อสร้าง โรงก�ำจัดมูลฝอยและของเสียอันตราย รวมทั้งการแปรรูปขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงาน เช่น ประกาศหลักเกณฑ์วงเงินขั้นต�่ำการลงทุนตามพระราชบัญญัติการให้เอกชน ร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 การเพิม่ อัตราส่วนเพิม่ ราคารับซือ้ ไฟฟ้า (feed-in tariff) จากการใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง และมาตรการภาษี เป็นต้น บทที่ 1: บทน�ำ

47


(3) มาตรการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย โดยมีแนวทางในการ ด�ำเนินการ คือ 1) พัฒนาองค์ความรู้ รูปแบบเทคโนโลยีการบ�ำบัด/ก�ำจัดขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ อปท. และศึกษาวิจัยวัสดุทดแทนวัสดุบรรจุภัณฑ์ ที่ก�ำจัดยาก 2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลและการรายงานข้อมูลด้านการจัดการขยะมูลฝอยและของเสีย อันตราย แผนภาพที่ 1.1 รูปแบบศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยรวม ส�ำหรับกลุ่มพื้นที่ขนาดใหญ่ (Model L) และกลุ่มพื้นที่ขนาดกลาง (Model M)

ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล บางส่วน ของเสียอันตราย ชุมชน

ขยะเชื้อเพลิง RDF ระบบคัดแยก/ย่อย และ เตรียมขยะมูลฝอย เพื่อเข้ากระบวนการ เศษที่เหลือ

หมักท�ำปุ๋ย หมัก ท�ำก๊าซชีวภาพ

การแปรรูป เป็นพลังงาน (WTE)

เตาเผา

น�ำไปก�ำจัด เช่น ระบบฝังกลบ (เศษที่เหลือ) สถานที่รวบรวม ของเสียอันตรายชุมชนของจังหวัด อปท. เก็บรวบรวม

ขนส่งไปก�ำจัดยัง บริษัทเอกชนที่ได้รับอนุญาต

ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ. แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564), 2559.

48

การจัดการของเสียจากชุมชน


แผนภาพที่ 1.2 รูปแบบศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยรวม ส�ำหรับกลุ่มพื้นที่ขนาดเล็ก (Model S)

รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยส�ำหรับกลุ่มพื้นที่ขนาดเล็ก หมักท�ำปุ๋ยอย่างง่ายระดับครัวเรือน / ชุมชน / เทศบาล ขยะอินทรีย์

เศษที่เหลือ บ้านเรือนรวบรวม

ผู้ประกอบการรีไซเคิลมารับซื้อ

ขยะรีไซเคิล

ศูนย์วัสดุรีไซเคิล

เศษที่เหลือ

ขยะทั่วไป

สถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอย โดยระบบฝังกลบขนาดเล็ก สถานที่เก็บรวบรวมของเสียอันตราย ชุมชนของจังหวัด

ของเสียอันตราย ชุมชน

อปท. เก็บรวบรวม

ขนส่งไปก�ำจัดยังบริษัทเอกชน ที่ได้รับอนุญาต

ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ. แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564), 2559.

3) สร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชนเพื่อลดการต่อต้าน โดยให้ประชาชนในพื้นที่ที่จะ เป็นสถานที่จัดสร้างระบบหรือสถานที่ก�ำจัดขยะเข้ามามีส่วนร่วมและได้รับการชดเชยตามความเหมาะสม 4) สร้างจิตส�ำนึกตั้งแต่ระดับเยาวชนในการลด คัดแยก และน�ำขยะมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ โดยบรรจุในหลักสูตรและก�ำหนดให้มีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 5) จัดระบบป้องกันสุขภาพให้กับผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ก�ำจัดและกระบวนการจัดการขยะ มูลฝอย เป็นต้น 6) ส่งเสริมให้ผปู้ ระกอบการธุรกิจน�ำเทีย่ วและผูป้ ระกอบการด้านการท่องเทีย่ วด�ำเนินการตาม มาตรฐานสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว และค�ำนึงถึงศักยภาพการรองรับนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้การบริหารจัดการขยะมูลฝอยและน�้ำเสียที่เกิดขึ้นในพื้นที่มีประสิทธิภาพและทั่วถึง บทที่ 1: บทน�ำ

49


7) ใช้มาตรการทางสังคมเชิงบวก เช่น ยกย่องเชิดชูเกียรติผปู้ ระกอบการ ชุมชน หรือ ผูบ้ ริหาร อปท. ที่มีการบริหารจัดการที่ดี และติดตามตรวจสอบผู้ละเมิดกฎหมาย 8) สนับสนุนให้มีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดตั้งศูนย์การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับ การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย แผนภาพที่ 1.3 แสดงข้อมูลโดยสรุปของมาตรการหลัก 3 มาตรการภายใต้แผนแม่บทฯ แผนภาพที่ 1.3 มาตรการภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564)

สร้างจิตส�ำนึก

จัดการขยะเป็นระบบ ต้นทาง

มาตรการลดขยะมูลฝอย

กลางทาง

ปลายทาง

มาตรการจัดการขยะมูลฝอย

มาตรการส่งเสริม

ใช้วัสดุ/ผลิตภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ลดการเกิดขยะ

คัดแยกต้นทาง ประสิทธิภาพเก็บขน

พัฒนาองค์ความรู้

ผูป้ ระกอบการรับผิดชอบสินค้า ตลอดวัฏจักรชีวติ

ก�ำจัดอย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

ศึกษาวิจัย

ลด/เลิก ใช้ถงุ พลาสติก กล่องโฟม บรรจุภณ ั ฑ์ทกี่ ำ� จัดยาก

พัฒนา/ปรับปรุงกฎหมาย ออกกฎระเบียบ

ใช้สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

จัดการขยะในพื้นที่เฉพาะ เช่น พื้นที่เกาะ

ระบบฐานข้อมูล สร้างจิตส�ำนึก/วินัยตั้งแต่ระดับ เยาวชน ลด คัดแยกขยะ

ที่มา: เอกสารน�ำเสนอในการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของ ประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2558.

50

การจัดการของเสียจากชุมชน


1.4.2 การจัดการขยะมูลฝอยแบบแปรรูปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า

แม้วา่ Roadmap และแผนแม่บทฯ จะมีกรอบแนวคิด มาตรการ และแนวทางปฏิบตั ทิ ดี่ ีในหลาย ประการ เช่น มาตรการลดขยะ ส่งเสริมการคัดแยกตัง้ แต่ตน้ ทาง ปรับปรุงการบริหารจัดการขยะ และสร้าง จิตส�ำนึกให้แก่ทกุ ภาคส่วนทัง้ ประชาชนตัง้ แต่ในระดับเยาวชน ภาครัฐ และภาคเอกชน ในการลดและคัดแยก ขยะ และส่งเสริมการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม เป็นต้น แต่กม็ ปี ระเด็นทีส่ ร้างความ ห่วงใยให้แก่ภาคประชาสังคมอยูห่ ลายประการเช่นกัน โดยเฉพาะในเรือ่ งทีท่ งั้ Roadmap และแผนแม่บทฯ ให้ความส�ำคัญมากแก่การส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนในโครงการแปรรูปขยะเป็นพลังงานด้วยมาตรการ จูงใจต่างๆ ทั้งเรื่องการผ่อนปรนกฎหมายที่เกี่ยวข้องและการเพิ่มอัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า ซึ่งล้วน ไปในแนวทางเร่งให้มศี นู ย์กำ� จัดขยะมูลฝอยรวมเพือ่ แปลงเป็นพลังงานและโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชือ้ เพลิง เกิดขึน้ เป็นจ�ำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว จึงมีความเสีย่ งทีจ่ ะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมและสุขภาพ ได้มาก หากว่ามีการอนุญาตโครงการโดยมิได้พจิ ารณาหรือกลัน่ กรองโครงการอย่างรอบคอบ และขาดการ มีส่วนร่วมของประชาชนอย่างพอเพียง จากการประเมินเบื้องต้นตามแผนแม่บทฯ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอย เพื่อแปลงเป็นพลังงาน คือ พื้นที่ที่มีความพร้อมในการก่อสร้างหรือเป็นสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยเดิม เป็นกลุ่มพื้นที่ท่ีมีปริมาณขยะมูลฝอยเข้าสู่ระบบมากกว่า 300 ตัน/วัน และอยู่ในพื้นที่สายส่งไฟฟ้ารวม 56 กลุม่ พืน้ ที่ใน 44 จังหวัด ซึง่ กระจายไปตามจังหวัดในภูมภิ าคต่างๆ ได้แก่ เชียงใหม่ ล�ำพูน เชียงราย ตาก พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ก�ำแพงเพชร นครสวรรค์ อ่างทอง นนบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท ลพบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว สมุทรปราการ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรขี นั ธ์ เพชรบุรี หนองคาย เลย อุดรธานี นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ สุรินทร์ นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี ชลบุรี ระยอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ภูเก็ต กระบี่ สงขลา ปัตตานี ยะลา และ กทม.22 ณ เวลาปัจจุบนั มีโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชือ้ เพลิงเปิดด�ำเนินการแล้วจ�ำนวน 4 แห่ง คือ โรงไฟฟ้า ที่ ใช้พลังงานจากขยะของเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กรุงเทพมหานคร และเทศบาลนครขอนแก่น อยู่ในระหว่างก่อสร้างอีก 2 แห่ง คือ เทศบาลต�ำบลแม่ขรี จังหวัดพัทลุง และองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองคาย อย่างไรก็ดี ส�ำหรับพื้นที่ที่ยัง ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้โดยตรง ก็สามารถคัดแยกขยะมูลฝอยเพือ่ ผลิตเป็นแท่งเชือ้ เพลิง (RDF) และส่งไป ขายเพื่อผลิตไฟฟ้าได้

22 ดูตารางที่ 3 ในภาคผนวก ก แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564), หน้า ก-6. บทที่ 1: บทน�ำ

51


1.4.3 การจัดการขยะมูลฝอยโดยคัดแยกเพื่อผลิตเชื้อเพลิง (RDF)

ในการผลิตแท่งเชือ้ เพลิง หรือ RDF เพือ่ ส่งไปขายส�ำหรับผลิตไฟฟ้า อปท. จะต้องมีการรือ้ ร่อน และคัดแยกขยะมูลฝอยที่ไม่สามารถเผาไหม้ได้ออกก่อน แล้วน�ำขยะมูลฝอยไปบดหรือหั่นและผสมด้วย ตัวผสาน ก่อนจะท�ำให้แห้งและผลิตขยะเชือ้ เพลิงส่งไปจ�ำหน่ายที่โรงไฟฟ้าได้ ซึง่ จะท�ำให้ลดพืน้ ทีก่ ารฝังกลบ ให้น้อยลง และเพิ่มอัตราการน�ำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ให้มากขึ้น ตามแผนแม่บทฯ พื้นที่ที่มีศักยภาพ ในการแปรรูปขยะมูลฝอยเพื่อผลิตแท่งเชื้อเพลิงในเบื้องต้นมีจ�ำนวน 102 แห่ง23 1.4.4 การจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน

กรมควบคุมมลพิษคาดการณ์ ไว้ว่า ในปี 2557 ประเทศไทยมีปริมาณของเสียชุมชนเกิดขึ้น ทั่วประเทศประมาณ 0.58 ล้านตัน ของเสียอันตรายจากชุมชนสามารถจัดแยกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ (1) ซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65 (2) ของเสียอันตรายจาก ชุมชนอื่นๆ อีกร้อยละ 35 ได้แก่ แบตเตอรี่ หลอดไฟ และภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์สารเคมีอันตราย เป็นต้น ในปัจจุบนั มีจงั หวัดทีม่ สี ถานทีร่ วบรวมของเสียอันตรายชุมชนเพือ่ ส่งไปก�ำจัดแล้ว 11 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต ขอนแก่น สงขลา นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุดรธานี สตูล นนทบุรี ตรัง สกลนคร และล�ำปาง สามารถ รวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชนเพื่อส่งไปก�ำจัดได้รวม 63 ตัน ในจ�ำนวนนี้ จังหวัดที่สามารถรวบรวม ของเสียอันตรายจากชุมชนได้มากเรียงตามล�ำดับ (จ�ำนวนตันแสดงในวงเล็บ) ได้แก่ ขอนแก่น (20) องค์การ บริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี (10.5) ศรีสะเกษ (10) นครราชสีมา (9.9) สงขลา (5) และภูเก็ต (2.5)24 แผนแม่บทฯ ก�ำหนดให้คณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดส่งเสริมการคัดแยก ของเสียอันตรายจากชุมชนโดยเก็บรวบรวมในภาชนะรองรับของ อปท. จัดหาพืน้ ทีท่ เี่ หมาะสมเป็นสถานที่ รวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชนอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อส่งไปก�ำจัดในสถานที่ก�ำจัดอย่าง ถูกต้องต่อไป โดยอาจให้ อบจ. หรือเทศบาล เป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมและส่งไปก�ำจัด รวมทั้ง ก�ำหนดแนวทางการเก็บรวบรวม และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับประชาชน จากการ ประเมินเบื้องต้น มีพื้นที่ที่เหมาะสมเป็นศูนย์รวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชนของจังหวัดจ�ำนวน 83 แห่ง โดยบางจังหวัดอาจจัดตัง้ ศูนย์ได้มากกว่า 1 แห่ง เช่น นนทบุรี 3 แห่ง และล�ำปาง ตรัง พังงา และ สตูล จังหวัดละ 2 แห่ง25 นอกจากนี้ แผนแม่บทฯ ยังก�ำหนดให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการจัดตั้งสถานที่ก�ำจัดกากอุตสาหกรรมและโรงงานรีไซเคิลของเสียอันตรายให้ครอบคลุมทุก 23 ดูตารางที่ 4 ในภาคผนวก ก แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564), หน้า ก-9 – ก-10. 24 กรมควบคุมมลพิษ, แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564), 2559, หน้า 9. 25 ดูตารางที่ 5 ในภาคผนวก ก แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564), หน้า ก-7 – ก-8.

52

การจัดการของเสียจากชุมชน


ภูมิภาค ซึ่งจะท�ำให้ อปท. ที่เป็นเจ้าภาพในการเก็บรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชน มีทางเลือก ในการส่งของเสียอันตรายชุมชนไปก�ำจัดอย่างถูกหลักวิชาการ และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและ การก�ำจัดได้อีกทางหนึ่ง 1.4.5 การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

แผนแม่บทฯ ก�ำหนดแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อไว้ดังต่อไปนี้ (1) จัดตั้งศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อรวมของกลุ่มพื้นที่ (2) ส่งเสริมการคัดแยกมูลฝอยติดเชือ้ จากโรงพยาบาล สถานบริการสาธารณสุข ห้องปฏิบตั กิ าร ติดเชื้อ และเก็บรวบรวมในภาชนะรองรับของ อปท. เพื่อส่งไปก�ำจัดอย่างถูกต้องต่อไป (3) ส่งเสริมภาคเอกชนให้ลงทุนจัดตั้งศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ เนื่องจากมีความพร้อมและ สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ได้ก�ำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพส�ำหรับจัดตั้งศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อรวมไว้ใน 7 ภูมิภาค และกรุงเทพมหานคร โดยใช้เกณฑ์ตามผลการศึกษาจากโครงการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวมของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้แก่26 (1) กลุ่มพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน: จังหวัดนครสววรค์ (2) กลุ่มพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง: จังหวัดนนทบุรี (3) กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพมหานคร (4) กลุ่มพื้นที่ภาคอีสานตอนบน: จังหวัดอุดรธานี (5) กลุ่มพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง: จังหวัดอุบลราชธานี (6) กลุ่มพื้นที่ภาคตะวันออก: จังหวัดระยอง (7) กลุ่มพื้นที่ภาคใต้ตอนบน: จังหวัดสุราษฎร์ธานี (8) กลุ่มพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง: จังหวัดสงขลา

26 ดูตารางที่ 6 ในภาคผนวก ก แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564), หน้า ก-11.

บทที่ 1: บทน�ำ

53


1.5 วัตถุประสงค์และแนวทางการศึกษาวิจัย

ในช่วงระยะเวลาตัง้ แต่ 1 กันยายน 2559 จนถึง 31 สิงหาคม 2560 มูลนิธบิ รู ณะนิเวศ ได้รบั การ สนับสนุนจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ดำ� เนินโครงการวิจยั การขับเคลือ่ น นโยบายสาธารณะด้านการจัดการของเสียทีย่ งั่ ยืน โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษาสภาพปัญหา กฎหมายและ ระบบสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสีย การด�ำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ รวมทั้งส่งเสริม การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ รายงานฉบับนี้เป็นรายงานการศึกษาวิจัยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียหรือ ขยะมูลฝอยจากชุมชน ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย (1) การศึกษากฎหมาย นโยบาย ประสบการณ์ต่างประเทศ และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการของเสียจากชุมชน (2) การศึกษาดูงานในพืน้ ที่ และการสัมภาษณ์ขอ้ มูลเชิงลึกจากบุคคลและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง จ�ำนวน 30 แห่ง ใน 12 จังหวัด ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ และ อปท. 22 แห่ง บริษัทเอกชนที่รับ ก�ำจัดขยะมูลฝอย 4 แห่ง และชุมชนอีก 4 แห่ง (3) การจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) จ�ำนวน 6 ครั้งในประเด็นที่เกี่ยวกับการด�ำเนินการ ตาม Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย (4) จัดท�ำกรณีศึกษา 3 เรื่อง ได้แก่ กรณีศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่ และโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากขยะ ของเทศบาลนครภูเก็ต ทั้งนี้ได้น�ำข้อมูลจากการศึกษาวิจัยมาประมวลและวิเคราะห์ เพื่อน�ำเสนอบทสรุปและข้อเสนอ แนะเชิงนโยบายและกฎหมาย แผนภาพที่ 1.4 แสดงข้อมูลพืน้ ทีแ่ ละหน่วยงานทีน่ กั วิจยั โครงการได้ดำ� เนินการสัมภาษณ์ ศึกษา ดูงาน และรวบรวมข้อมูลการศึกษาในระดับพื้นที่

54

การจัดการของเสียจากชุมชน


แผนภาพที่ 1.4 พื้นที่และหน่วยงานที่คณะนักวิจัยได้ด�ำเนินการสัมภาษณ์ ศึกษาดูงาน และรวบรวมข้อมูลการศึกษาในระดับพื้นที่

คอมพิวเตอร์กราฟิก: มูลนิธิบูรณะนิเวศ

บทที่ 1: บทน�ำ

55


56

การจัดการของเสียจากชุมชน


บทที่ 2

กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน ในบทนี้ จะกล่าวถึงกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน ได้แก่ พระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กฎกระทรวง ประกาศกระทรวงฯ ตลอดจนค�ำแนะน�ำของคณะกรรมการ สาธารณสุขฉบับต่างๆ ที่ออกตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็น ระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมฯ ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งก�ำหนด มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิง้ อากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย และมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิง้ อากาศเสีย จากเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ รวมทั้งประกาศกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งก�ำหนดหลักเกณฑ์ส�ำหรับเป็นแนวทาง ในการคัดเลือกพื้นที่ตั้งสถานที่ฝังกลบกากของเสียด้วย 2.1 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองและดูแลให้ประชาชนได้อยู่อาศัย ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ สาระส�ำคัญประกอบด้วย การจัดการสิ่งปฏิกูล และมูลฝอย การดูแลอาคารให้ถูกสุขลักษณะ การควบคุมกิจการที่เกี่ยวกับอาหาร (เช่น ตลาดสด กิจการ ร้านอาหาร ร้านขายของช�ำ ซุปเปอร์มาร์เกต ฯลฯ) การควบคุมดูแลกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การก�ำหนดเขตห้ามเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ และการก�ำหนดเขตจ�ำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ส�ำหรับบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการขยะชุมชน ได้แก่ หมวด 3 ที่ว่าด้วยเรื่องการจัดการ สิ่งปฏิกูลและมูลฝอย และหมวด 7 ว่าด้วยเรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

57


2.1.1 นิยามของสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ นิยามสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยไว้ดังนี้ “มูลฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน “สิง่ ปฏิกลู ” หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิง่ อืน่ ใดซึง่ เป็นสิง่ โสโครก หรือมีกลิ่นเหม็น ฉะนั้น สิ่งปฏิกูลจึงครอบคลุมถึงน�้ำเสียที่เกิดจากครัวเรือนหรือสถานประกอบการด้วย นอกจากนี้ มาตรา 18 วรรคสี่ บัญญัตยิ กเว้นมิให้การจัดการสิง่ ปฏิกลู และมูลฝอยตามกฎหมายนี้ ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เมื่อพิจารณาบทบัญญัติทั้งสองส่วนประกอบกันแล้ว จึงสรุปได้ว่า การจัดการขยะมูลฝอยตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ ครอบคลุมถึงขยะชุมชนทุกประเภททั้งที่เป็นขยะมูลฝอยทั่วไป มูลฝอย ติดเชื้อ ขยะพิษ หรือขยะอันตราย และรวมถึงของเสียจากโรงงานหรือกากอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตราย (เช่น เศษสินค้าหรือเศษวัสดุที่ไม่เป็นพิษจากกระบวนการผลิต หรือเศษกระดาษจากส�ำนักงาน เป็นต้น) ส่วนของเสียที่เป็นอันตรายจากอุตสาหกรรมนั้น อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 แผนภาพที่ 2.1 แสดงหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบในการจัดการขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรมภายใต้กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง แผนภาพที่ 2.1 ประเภทของขยะชุมชน และขยะอุตสาหกรรม และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ขยะติดเชื้อ

ขยะมูลฝอยทั่วไป

ขยะอันตรายชุมชน (ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ขยะอันตราย จากครัวเรือน ฯลฯ)

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

58

การจัดการของเสียจากชุมชน

พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 กากอุตสาหกรรม ไม่อันตราย

กากอุตสาหกรรม อันตราย

กรมโรงงานอุตสาหกรรม


2.1.2 หน่วยงานที่มีอ�ำนาจหน้าที่จัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย

มาตรา 18 บัญญัติให้การเก็บ ขน หรือการก�ำจัดสิง่ ปฏิกลู หรือมูลฝอยเป็นอ�ำนาจหน้าที่โดยตรง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการด�ำเนินการดังกล่าว อปท. อาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หรือ อปท. อื่นเพื่อด�ำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้ ในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อปท. อาจด�ำเนินการได้ 3 วิธี คือ (1) อปท. ด�ำเนินการเก็บ ขน หรือก�ำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยเอง (2) อปท. มอบให้บุคคลใดด�ำเนินการแทนภายใต้การควบคุมดูแลของ อปท. (มาตรา 18 วรรค สาม) (3) อปท. อนุญาตให้เอกชนด�ำเนินการเก็บ ขน หรือก�ำจัดสิง่ ปฏิกลู หรือมูลฝอย โดยท�ำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ (มาตรา 19) ในกรณีดังกล่าว อปท. มีอ�ำนาจออก ข้อบัญญัติท้องถิ่นก�ำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บ ขน และก�ำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย เพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติ ตลอดจนก�ำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงตามลักษณะการให้บริการที่ผู้ได้รับ ใบอนุญาตจะพึงเรียกเก็บได้ (มาตรา 20 (5)) 2.1.3 การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการจัดการขยะมูลฝอย

มาตรา 20 บัญญัติให้ อปท. มีอ�ำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในเรื่องดังต่อไปนี้ เพื่อประโยชน์ ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน และก�ำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (1) ห้ามการถ่าย เท ทิง้ หรือท�ำให้มขี นึ้ ในทีห่ รือทางสาธารณะซึง่ สิง่ ปฏิกลู หรือมูลฝอย นอกจาก ในที่ที่ อปท. จัดไว้ให้ (2) ก�ำหนดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามที่หรือทางสาธารณะและสถานที่เอกชน เช่น จัดให้มีถังขยะหรือที่รวบรวมขยะ หรือกรณีเป็นอาคารชุด อาจก�ำหนดให้มีที่รวบรวมมูลฝอยรวมซึ่งต้อง มีขนาดเพียงพอและมีประตูปิดป้องกันสัตว์คุ้ยเขี่ย รวมทั้งมีการท�ำความสะอาดเป็นประจ�ำหรืออื่นๆ เป็นต้น (3) ก�ำหนดวิธีการเก็บ ขน และก�ำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคารหรือสถานที่ใดๆ ปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามสภาพหรือลักษณะการใช้อาคารหรือสถานที่ นั้นๆ เช่น ก�ำหนดให้โรงพยาบาลหรือคลินิกต้องมีการแยกเก็บมูลฝอยติดเชื้อออกจากมูลฝอยทั่วไป รวมทั้งอาจก�ำหนดวิธีการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการเผา การฆ่าเชื้อด้วยสารเคมี หรือการนึ่งด้วย ตู้อบฆ่าเชื้อ เป็นต้น บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

59


(4) ก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการของ อปท. หรือบุคคลอื่นที่ อปท. มอบอ�ำนาจ ให้ด�ำเนินการแทน ในการเก็บ ขน หรือก�ำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ไม่เกินอัตราที่ก�ำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บและขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย เดือนละไม่เกิน 40 บาทต่อขยะ 20 ลิตร/วัน หรือไม่เกิน 250 บาทต่อสิ่งปฏิกูล 1 ลูกบาศก์เมตร เป็นต้น) (5) ก�ำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บ ขน และก�ำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย เพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตด�ำเนินกิจการรับท�ำการเก็บ ขน และก�ำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยท�ำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รบั ผลประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการปฏิบตั ิ ตลอดจนก�ำหนดอัตราค่าบริการขัน้ สูงตาม ลักษณะการให้บริการทีผ่ ไู้ ด้รบั ใบอนุญาตจะพึงเรียกเก็บได้ ซึง่ ในกรณีนกี้ ฎหมายมิได้กำ� หนดให้ตอ้ งเป็นไป ตามกฎกระทรวง จึงเป็นอ�ำนาจหรือดุลพินิจของ อปท. ที่จะก�ำหนดได้โดยตรง โดยสามารถก�ำหนดอัตรา ค่าบริการการเก็บขนและก�ำจัดได้ หรือรวมเป็นอัตราเดียวก็ ได้ แต่ควรเป็นอัตราที่เหมาะสมพอที่ ผู้ประกอบกิจการจะด�ำเนินกิจการต่อไปได้ และสอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจของชุมชนในท้องถิ่น (6) ก�ำหนดการอื่นใดที่จ�ำเป็นเพื่อให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ 2.1.4 กฎกระทรวงก�ำหนดอั ต ราค่ า ธรรมเนี ย มการให้ บ ริ ก ารเก็ บ ขน และก�ำจั ด สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย

การจั ด เก็ บ ค่ า ธรรมเนี ยมการเก็ บ ขน และก� ำ จั ด ขยะมู ลฝอยเป็ น ประเด็ น หนึ่ ง ที่ มี ความ ส�ำคัญ เนื่องจาก อปท. ส่วนใหญ่ต้องใช้งบประมาณจ�ำนวนมากในการด�ำเนินการด้านการจัดการขยะ มูลฝอย ในขณะที่ค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บยังอยู่ในอัตราที่ต�่ำกว่าต้นทุนในการจัดบริการสาธารณะดังกล่าว พระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ บัญญัติให้ อปท. ก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการของ อปท. หรือบุคคลอืน่ ที่ อปท. มอบให้ดำ� เนินการแทนในการเก็บ ขน หรือก�ำจัดสิง่ ปฏิกลู หรือมูลฝอยไม่เกิน อัตราที่ก�ำหนดในกฎกระทรวง ในปัจจุบนั อัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการขยะมูลฝอยของ อปท. เป็นไปตามทีก่ ำ� หนด โดยกฎกระทรวงก�ำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต หนังสือรับรองการแจ้งและการให้บริการในการ จัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. 2559 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2559 มีผลให้เพิ่มอัตรา ค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะมูลฝอยจากที่เคยก�ำหนดโดยกฎกระทรวงฉบับเก่าที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 กล่าวคือ เพิ่มอัตราสูงสุดส�ำหรับค่าเก็บขนมูลฝอยทั่วไปจากครัวเรือนที่มีปริมาณวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร เป็นเดือนละ 65 บาท (เดิมก�ำหนดไว้เป็นไม่เกิน 40 บาท) นอกจากนี้ ยังก�ำหนดค่าก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป อีกเดือนละ 155 บาท รวมค่าธรรมเนียมการเก็บขนและก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปเป็น 220 บาท ตารางที่ 2.1 สรุปบัญชีอตั ราค่าธรรมเนียมการเก็บและขนมูลฝอยทัว่ ไป มูลฝอยติดเชือ้ และสิง่ ปฏิกลู ตามกฎกระทรวงฯ ฉบับ พ.ศ. 2559 และตารางที่ 2.2 เปรียบเทียบอัตราค่าธรรมเนียมที่ใช้บงั คับตามกฎกระทรวงฯ ฉบับ พ.ศ. 2559 กับอัตราค่าธรรมเนียมที่ก�ำหนดโดยกฎกระทรวงฉบับที่ถูกยกเลิก 60

การจัดการของเสียจากชุมชน


ตารางที่ 2.1 อัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการจัดการสิง่ ปฏิกลู หรือมูลฝอยตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2559 ประเภทค่าธรรมเนียม

อัตราค่าธรรมเนียม

ค่าเก็บและขนสิ่งปฏิกูล มูลฝอยทั่วไป และมูลฝอยติดเชื้อ

1. ค่าเก็บและขนสิง่ ปฏิกลู ครัง้ หนึง่ ๆ คิดในอัตรา (เศษไม่เกินครึง่ ลูกบาศก์เมตร ลูกบาศก์เมตรละ 500 บาท ให้คิดเท่ากับครึ่งลูกบาศก์เมตร เศษเกินครึ่งลูกบาศก์เมตรให้คิดเท่ากับ 1 ลูกบาศก์เมตร) 2. ค่าเก็บและขนมูลฝอยทั่วไป (ก) ค่าเก็บและขนมูลฝอยทั่วไป เป็นรายเดือน เดือนละ 65 บาท 1) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร หน่วยละ 65 บาท 2) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 20 ลิตร แต่ไม่เกิน 500 ลิตร ให้คิดเป็น หน่วยทุกๆ 20 ลิตร ในอัตราต่อหน่วย (เศษไม่เกิน 10 ลิตร ให้คิด เป็นครึ่งหน่วย เศษเกิน 10 ลิตรให้คิดเป็นหนึ่งหน่วย) เดือนละ 3,250 บาท 3) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 500 ลิตร แต่ไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร หน่วยละ 3,250 บาท 4) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ให้คิดเป็นหน่วยทุกๆ 1 ลูกบาศก์เมตร ในอัตราต่อหน่วย(เศษไม่เกินครึ่งลูกบาศก์เมตร ให้คดิ เป็นครึง่ หน่วย เศษเกินครึง่ ลูกบาศก์เมตรให้คดิ เป็นหนึง่ หน่วย) (ข) ค่าเก็บและขนมูลฝอยทั่วไป เป็นครั้งคราว ครั้งละ 125 บาท 1) กรณีที่มีปริมาณไม่เกิน 500 ลิตร ครั้งละ 245 บาท 2) กรณีที่มีปริมาณเกิน 500 ลิตร แต่ไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร 3) กรณีที่มีปริมาณเกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ให้คิดเป็นหน่วย ทุกๆ 1 หน่วยละ 245 บาท ลูกบาศก์เมตรในอัตราต่อหน่วย (เศษไม่เกินครึง่ ลูกบาศก์เมตร ให้คดิ เป็นครึ่งหน่วย เศษเกินครึ่งลูกบาศก์เมตรให้คิดเป็นหนึ่งหน่วย) 3. ค่าเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อ (ก) ค่าเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อ เป็นรายเดือน

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

61


ประเภทค่าธรรมเนียม

1) กรณีทมี่ ปี ริมาณวันหนึง่ ไม่เกิน 13 ลิตร หรือน�ำ้ หนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม 2) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 13 ลิตร หรือน�้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ให้คดิ เป็นหน่วยทุกๆ 13 ลิตร หรือทุกๆ 2 กิโลกรัม ในอัตราต่อหน่วย (เศษไม่เกิน 6.5 ลิตรหรือไม่เกิน 1 กิโลกรัม ให้คิดเป็นครึ่งหน่วย เศษเกิน 6.5 ลิตร หรือเกิน 1 กิโลกรัม ให้คิดเป็นหนึ่งหน่วย) (ข) ค่าเก็บและขนมูลฝอยติดเชือ้ เป็นครัง้ คราว ค่าเก็บและขนมูลฝอยติดเชือ้ ให้เก็บค่าธรรมเนียมเป็น 2 รายการ 1) ค่าบริการ (โดยให้ก�ำหนดอัตราตามระยะทางที่เก็บขน) 2) ค่าเก็บและขน ก) กรณีที่มีปริมาณไม่เกิน 100 ลิตร หรือน�้ำหนักไม่เกิน 15 กิโลกรัม ข) กรณีที่มีปริมาณเกิน 100 ลิตร หรือน�้ำหนักเกิน 15 กิโลกรัม ให้คิด เป็นหน่วย ทุกๆ 100 ลิตร หรือทุกๆ 15 กิโลกรัม ในอัตราต่อหน่วย (เศษไม่เกิน 50 ลิตร หรือไม่เกิน 7.5 กิโลกรัม ให้คิดเป็นครึ่งหน่วย เศษเกิน 50 ลิตร หรือเกิน 7.5 กิโลกรัม ให้คิดเป็นหนึ่งหน่วย)

อัตราค่าธรรมเนียม เดือนละ 500 บาท หน่วยละ 500 บาท

ครั้งละ 5,000 บาท ครั้งละ 130 บาท

หน่วยละ 130 บาท

ค่าก�ำจัดสิ่งปฏิกูล มูลฝอยทั่วไป และมูลฝอยติดเชื้อ

1. ค่าก�ำจัดสิ่งปฏิกูล ครั้งหนึ่งๆ คิดในอัตรา (เศษไม่เกินครึ่งลูกบาศก์เมตร ลูกบาศก์เมตรละ 600 บาท ให้คิดเท่ากับครึ่งลูกบาศก์เมตร เศษเกินครึ่งลูกบาศก์เมตรให้คิดเท่ากับ 1 ลูกบาศก์เมตร) 2. ค่าก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป (ก) ค่าก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป เป็นรายเดือน เดือนละ 155 บาท 1) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร หน่วยละ 155 บาท 2) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 20 ลิตร แต่ไม่เกิน 500 ลิตร ให้คิดเป็น หน่วยทุกๆ 20 ลิตรในอัตราต่อหน่วย (เศษไม่เกิน 10 ลิตร ให้คิดเป็น ครึ่งหน่วย เศษเกิน 10 ลิตรให้คิดเป็นหนึ่งหน่วย)

62

การจัดการของเสียจากชุมชน


ประเภทค่าธรรมเนียม

อัตราค่าธรรมเนียม

3) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 500 ลิตร แต่ไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร 4) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ให้คิดเป็นหน่วยทุกๆ 1 ลูกบาศก์เมตร ในอัตราต่อหน่วย (เศษไม่เกินครึ่งลูกบาศก์เมตร ให้คดิ เป็นครึง่ หน่วย เศษเกินครึง่ ลูกบาศก์เมตรให้คดิ เป็นหนึง่ หน่วย) (ข) ค่าก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป เป็นครั้งคราว 1) กรณีที่มีปริมาณไม่เกิน 500 ลิตร 2) กรณีที่มีปริมาณเกิน 500 ลิตร แต่ไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร 3) กรณีที่มีปริมาณเกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ให้คิดเป็นหน่วย ทุกๆ 1 ลูกบาศก์เมตร ในอัตราต่อหน่วย (เศษไม่เกินครึง่ ลูกบาศก์เมตร ให้คดิ เป็นครึ่งหน่วย เศษเกินครึ่งลูกบาศก์เมตรให้คิดเป็นหนึ่งหน่วย) (ค) ค่าก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป กรณีสถานที่พักนักท่องเที่ยวให้คิดเพิ่มในอัตรา 3. ค่าก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ (ก) ค่าก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ เป็นรายเดือน 1) กรณีทมี่ ปี ริมาณวันหนึง่ ไม่เกิน 13 ลิตร หรือน�ำ้ หนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม 2) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 13 ลิตร หรือน�้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ให้ คิดเป็นหน่วยทุกๆ 13 ลิตร หรือทุกๆ 2 กิโลกรัม ในอัตราต่อหน่วย (เศษไม่เกิน 6.5 ลิตรหรือไม่เกิน 1 กิโลกรัม ให้คดิ เป็นครึง่ หน่วย เศษ เกิน 6.5 ลิตร หรือเกิน 1 กิโลกรัม ให้คิดเป็นหนึ่งหน่วย) (ข) ค่าก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ เป็นครั้งคราว กรณีที่มีปริมาณไม่เกิน 6.5 ลิตร หรือน�้ำหนักไม่เกิน 1 กิโลกรัม ให้คิดเป็นหน่วยทุกๆ 6.5 ลิตร หรือทุกๆ 1 กิโลกรัม ในอัตราต่อหน่วย (เศษไม่เกิน 3.25 ลิตร หรือไม่เกินครึ่งกิโลกรัม ให้คิดเป็นครึ่งหน่วย เศษเกิน 3.25 ลิตร หรือเกินครึ่งกิโลกรัม ให้คิดเป็น หนึ่งหน่วย)

เดือนละ 8,000 บาท หน่วยละ 8,000 บาท

หน่วยละ 130 บาท หน่วยละ 250 บาท หน่วยละ 250 บาท

2 บาทต่อคนต่อวัน

เดือนละ 1,500 บาท หน่วยละ 1,500 บาท

หน่วยละ 25 บาท

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

63


ตารางที่ 2.2 เปรียบเทียบอัตราค่าธรรมเนียมการจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย ตามกฎกระทรวงฯ ที่ถูกยกเลิก กับอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2559 อัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย ตามกฎกระทรวงที่ถูกยกเลิก

64

อัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย ตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2559

1. อัตราค่าเก็บและขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย

1. ค่าเก็บและขนมูลฝอย

(1) ค่าเก็บและขนมูลฝอยทั่วไป (ก) ค่าเก็บและขนมูลฝอยทั่วไปประจ�ำรายเดือน  ที่มีปริมาณวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร เดือน ละ 40 บาท  ที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 20 ลิตร แต่ไม่เกิน 500 ลิตร ค่าเก็บและขนทุกๆ 20 ลิตร หรือเศษ ของแต่ละ 20 ลิตร เดือนละ 40 บาท  ที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 500 ลิตร แต่ไม่ เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร เดือนละ 2,000 บาท  ที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ค่าเก็บและขนทุกๆ ลูกบาศก์เมตร หรือเศษของ ลูกบาศก์เมตร เดือนละ 2,000 บาท (ข) ค่าเก็บและขนมูลฝอยทั่วไปเป็นครั้งคราว  ครั้งหนึ่งๆ ไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ครั้ง ละ 150 บาท  ครั้งหนึ่งๆ เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ค่าเก็บ และขนทุกๆ ลูกบาศก์เมตร หรือเศษของลูกบาศก์ เมตร ลูกบาศก์เมตรละ 150 บาท

1.1 ค่าเก็บและขนมูลฝอยทั่วไป (1) ค่าเก็บและขนมูลฝอยทั่วไป เป็นรายเดือน (ก) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร เดือน ละ 65 บาท (ข) กรณีทมี่ ปี ริมาณวันหนึง่ เกิน 20 ลิตร แต่ไม่เกิน 500 ลิตร ให้คิดเป็นหน่วยทุกๆ 20 ลิตร ในอัตราต่อ หน่วย หน่วยละ 65 บาท (เศษไม่เกิน 10 ลิตร ให้คิด เป็นครึง่ หน่วย เศษเกิน 10 ลิตร ให้คดิ เป็นหนึง่ หน่วย) (ค) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 500 ลิตร แต่ไม่ เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร เดือนละ 3,250 บาท (ง) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ให้คิดเป็นหน่วย ทุกๆ 1 ลูกบาศก์เมตร ในอัตราต่อ หน่วย หน่วยละ 3,250 บาท (เศษไม่เกินครึ่งลูกบาศก์ เมตร ให้คิดครึ่งหน่วย เศษเกินครึ่งลูกบาศก์เมตร ให้ คิดเป็นหนึ่งหน่วย)

การจัดการของเสียจากชุมชน

(2) ค่าเก็บและขนขยะมูลฝอยทั่วไป เป็นครั้งคราว (ก) กรณีที่มีปริมาณไม่เกิน 500 ลิตร ครั้งละ 125 บาท (ข) กรณีที่มีปริมาณเกิน 500 ลิตร แต่ไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ครั้งละ 245 บาท (ค) กรณีที่มีปริมาณเกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ให้คิด เป็นหน่วย ทุกๆ 1 ลูกบาศก์เมตร ในอัตราต่อหน่วย หน่วยละ 245 บาท (เศษไม่เกินครึ่งลูกบาศก์เมตร ให้ คิดเป็นครึ่งหน่วย เศษเกินครึ่งลูกบาศก์เมตร ให้คิด เป็นหนึ่งหน่วย)


อัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย ตามกฎกระทรวงที่ถูกยกเลิก

อัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย ตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2559

(2) ค่าเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อ (ก) ค่าเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อเป็นรายเดือน  กรณีที่มีน�้ำหนักวันหนึ่งไม่เกิน 2 กิโลกรัม หรือมีปริมาณไม่เกิน 13 ลิตร เดือนละ 300 บาท  กรณีที่มีน�้ำหนักวันหนึ่งเกิน 2 กิโลกรัม หรือมีปริมาณเกิน 13 ลิตร ค่าเก็บและขนทุกๆ 2 กิโลกรัม หรือทุกๆ 13 ลิตร หรือ เศษของแต่ละ 2 กิโลกรัม หรือแต่ละ 13 ลิตร เดือนละ 300 บาท (ข) ค่าเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อเป็นครั้งคราว  ค่าเก็บและขนแต่ละครั้ง คิดอัตราครั้งละ 3,000 บาท (ทั้งนี้ ให้ก�ำหนดเป็นอัตราตามระยะ ทางที่เก็บขน)  กรณีทมี่ ลู ฝอยมีนำ�้ หนักไม่เกิน 75 กิโลกรัม หรือมีปริมาณไม่เกิน 500 ลิตร ให้คดิ อัตราเพิม่ ขึน้ อีก ครั้งละ 400 บาท  กรณีที่มูลฝอยมีน�้ำหนักเกิน 75 กิโลกรัม หรือเกิน 500 ลิตร ให้คิดค่าเก็บขนเพิ่มขึ้นใน อัตราทุกๆ 75 กิโลกรัม หรือทุกๆ 500 ลิตร หรือ เศษของ 75 กิโลกรัม หรือ 500 ลิตร หน่วยละ 400 บาท

1.2 ค่าเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อ (1) ค่าเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อ เป็นรายเดือน (ก) กรณีที่ปริมาณวันหนึ่งไม่เกิน 13 ลิตร หรือน�้ำ หนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม เดือนละ 500 บาท (ข) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 13 ลิตร หรือน�้ำ หนักเกิน 2 กิโลกรัม ให้คิดเป็นหน่วยทุกๆ 13 ลิตร หรือทุกๆ 2 กิโลกรัม ในอัตราต่อหน่วย หน่วยละ 500 บาท (ต่อหน่วยต่อเดือน) (เศษไม่เกิน 6.5 ลิตร หรือ ไม่เกินกว่า 1 กิโลกรัม ให้คิดเป็นครึ่งหนึ่งหน่วย เศษ ที่เกิน 6.5 ลิตร หรือที่เกินกว่า 1 กิโลกรัม ให้คิดเป็น หนึ่งหน่วย) (2) ค่าเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อ เป็นครั้งคราว ค่าเก็บและขนมูลฝอยติดเชือ้ ให้เก็บค่าธรรมเนียม เป็น 2 รายการ 1) ค่าบริการ ครั้งละ 5,000 บาท (โดยกาหนด อัตราตามระยะทางที่เก็บขน) 2) ค่าเก็บและขน (ก) กรณีทมี่ ปี ริมาณไม่เกิน 100 ลิตร หรือน�ำ้ หนัก ไม่เกิน 15 กิโลกรัม ครั้งละ 130 บาท (ข) กรณีที่มีปริมาณเกิน 100 ลิตร หรือน�้ำหนัก เกิน 15 กิโลกรัม ให้คิดเป็นหน่วยทุกๆ 100 ลิตร หรือ ทุกๆ 15 กิโลกรัม ในอัตราต่อหน่วย หน่วยละ 130 บาท (เศษไม่เกิน 50 ลิตร หรือไม่เกิน 7.5 กิโลกรัม ให้คิดเป็นครึ่งหน่วย เศษเกิน 50 ลิตร หรือเกิน 7.5 กิโลกรัม ให้คิดเป็นหนึ่งหน่วย)

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

65


อัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย ตามกฎกระทรวงที่ถูกยกเลิก

อัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย ตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2559

(3) ค่าเก็บและขนอุจจาระหรือสิง่ ปฏิกลู ครัง้ หนึง่ ๆ เศษของลูกบาศก์เมตรหรือลูกบาศก์เมตรแรก และ ลูกบาศก์เมตรต่อๆ ไป ลูกบาศก์เมตรละ 250 บาท เศษไม่เกินครึ่งลูกบาศก์เมตร 150 บาท เศษเกิน ครึ่งลูกบาศก์เมตร ให้คิดเท่ากับ 1 ลูกบาศก์เมตร 2. อัตราค่าก�ำจัดมูลฝอย 2.1 ค่าก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป (1) ค่าก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป เป็นรายเดือน (ก) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร เดือน ละ 155 บาท (ข) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 20 ลิตร แต่ไม่ เกิน 500 ลิตร ให้คิดเป็นหน่วยทุกๆ 20 ลิตร ในอัตรา ต่อหน่วย หน่วยละ 155 บาท (เศษไม่เกิน 10 ลิตร ให้คิดเป็นครึ่งหน่วยเศษเกิน 10 ลิตร ให้คิดเป็นหนึ่งหน่วย) (ค) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 500 ลิตร แต่ไม่ เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร เดือนละ 8,000 บาท (ง) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ให้คิดเป็นหน่วย ทุกๆ 1 ลูกบาศก์เมตร ในอัตราต่อ หน่วย หน่วยละ 8,000 บาท (เศษไม่เกินครึ่งลูกบาศก์ เมตร ให้คดิ เป็นครึง่ หน่วย เศษเกินครึง่ ลูกบาศก์เมตร ให้คิดเป็นหนึ่งหน่วย) (2) ค่าก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป เป็นครั้งคราว (ก) กรณีที่มีปริมาณไม่เกิน 500 ลิตร หน่วยละ 130 บาท (ข) กรณีที่มีปริมาณเกิน 500 ลิตร แต่ไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตร หน่วยละ 250 บาท (ค) กรณีที่มีปริมาณเกิน 1 ลูกบาศก์เมตร ให้คิด เป็นหน่วย ทุกๆ 1 ลูกบาศก์เมตร ในอัตราต่อหน่วย 66

การจัดการของเสียจากชุมชน


อัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย ตามกฎกระทรวงที่ถูกยกเลิก

อัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย ตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2559 หน่วยละ 250 บาท (เศษไม่เกินครึง่ ลูกบาศก์เมตร ให้คดิ เป็นครึง่ หน่วย เศษเกินครึง่ ลูกบาศก์เมตร ให้คดิ เป็นหนึ่งหน่วย) (3) ค่ า ก� ำ จั ด มู ล ฝอยทั่ ว ไป กรณี ส ถานที่ พั ก นักท่องเที่ยว ให้คิดเพิ่มในอัตรา 2 บาทต่อคนต่อวัน 2.2 ค่าก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ (1) ค่าก�ำจัดหรือบ�ำบัดมูลฝอยติดเชื้อ เป็นรายเดือน (ก) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งไม่เกิน 13 ลิตร หรือ น�้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม เดือนละ 1,500 บาท (ข) กรณีที่มีปริมาณวันหนึ่งเกิน 13 ลิตร หรือ น�้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ให้คิดเป็นหน่วย ทุกๆ 13 ลิตร หรือทุกๆ 2 กิโลกรัม ในอัตราต่อหน่วย หน่วย ละ 1,500 บาท (เศษไม่เกิน 6.5 ลิตร หรือไม่เกิน 1 กิโลกรัม ให้คิดเป็นครึ่งหน่วย เศษเกิน 6.5 ลิตร หรือ เกิน 1 กิโลกรัม ให้คิดเป็นหนึ่งหน่วย) (2) ค่าก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ เป็นครั้งคราว กรณีที่มีปริมาณไม่เกิน 6.5 ลิตร หรือน�้ำหนัก ไม่ เกิน 1 กิโลกรัม ให้คิดเป็นหน่วย ทุกๆ 6.5 ลิตร หรือทุกๆ 1 กิโลกรัม ในอัตราต่อ หน่วย หน่วยละ 25 บาท (เศษไม่เกิน 3.25 ลิตร หรือไม่เกินครึ่งกิโลกรัม ให้คิดเป็นครึ่งหน่วย เศษเกิน 3.25 ลิตร หรือเกินครึ่ง กิโลกรัม ให้คิดเป็นหนึ่งหน่วย) 2.3 ค่าก�ำจัดสิ่งปฏิกูล ครั้งหนึ่งๆ คิดในอัตราลูกบาศก์เมตรละ 600 บาท (เศษไม่เกินครึ่งลูกบาศก์เมตร ให้คิดเท่ากับครึ่ง ลูกบาศก์เมตร เศษเกินครึ่งลูกบาศก์เมตร ให้คิด เท่ากับ 1 ลูกบาศก์เมตร) บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

67


2.1.5 กฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560

อาศัยอ�ำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยค�ำแนะน�ำของคณะกรรมการ สาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560 กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ กับการจัดการมูลฝอยทั่วไป แต่ไม่หมายความรวมถึง (1) มูลฝอยติดเชื้อ (2) มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน และ (3) สิง่ ของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทีเ่ กิดขึน้ จากการประกอบกิจการโรงงาน ของเสียจากวัตถุดบิ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และของเสียอันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หน่วยงานหรือบุคคลที่มีหน้าที่ด�ำเนินการเก็บ ขน หรือก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ก�ำหนดในกฎกระทรวงนี้ได้แก่ (1) ราชการส่วนท้องถิ่น (2) ราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ด�ำเนินการ ภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน (3) บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ด�ำเนินการเก็บ ขน หรือก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้ การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น (4) บุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ด�ำเนินกิจการรับท�ำการเก็บ ขน หรือ ก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป สาระส�ำคัญของกฎกระทรวงสรุปพอสังเขปได้ดังนี้ 1. การเก็บมูลฝอยทั่วไป (1) ให้ผู้ก่อให้เกิดมูลฝอยคัดแยกมูลฝอย ซึ่งอย่างน้อยต้องคัดแยกเป็นมูลฝอยทั่วไปและ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน โดยให้คัดแยกมูลฝอยน�ำกลับมาใช้ใหม่ออกจากมูลฝอยทั่วไป ด้วย นอกจากนี้ อปท. อาจออกข้อก�ำหนดท้องถิ่นก�ำหนดให้มีการคัดแยกมูลฝอยอินทรีย์ หรือมูลฝอย ประเภทอื่นออกจากมูลฝอยทั่วไปก็ได้

68

การจัดการของเสียจากชุมชน


(2) ถุงส�ำหรับบรรจุมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยน�ำกลับมาใช้ใหม่ต้องเป็นถุงพลาสติกหรือ ถุงที่ท�ำจากวัสดุอื่นที่มีความเหนียว ทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย ไม่รั่วซึม ขนาดเหมาะสมและเคลื่อนย้ายได้ สะดวก ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอยต้องบรรจุมูลฝอยในปริมาณที่เหมาะสม และมัดหรือปิดปากถุงให้แน่น (3) ภาชนะส�ำหรับบรรจุมลู ฝอยทัว่ ไปและมูลฝอยน�ำกลับมาใช้ใหม่ตอ้ งท�ำจากวัสดุทที่ ำ� ความ สะอาดง่าย มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะน�ำโรค ได้ ขนาดเหมาะสม สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก และง่ายต่อการถ่ายและเทมูลฝอย ผู้ซึ่งก่อให้เกิด มูลฝอยต้องบรรจุมูลฝอยในปริมาณที่เหมาะสมและมีการท�ำความสะอาดภาชนะบรรจุนั้นเป็นประจ�ำ สม�่ำเสมอ (4) ถุงหรือภาชนะส�ำหรับบรรจุมูลฝอยน�ำกลับมาใช้ใหม่ให้ระบุข้อความที่ท�ำให้เข้าใจได้ว่า เป็นมูลฝอยน�ำกลับมาใช้ใหม่ โดยมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน (5) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุด หอพัก หรือโรงแรมที่มีจ�ำนวน ห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่า 4,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือเจ้าของหรือ ผู้ครอบครองอาคาร สถานประกอบการ สถานบริการ โรงงานอุตสาหกรรม ตลาด หรือสถานที่ใดๆ ที่มี ปริมาณมูลฝอยทัว่ ไปตัง้ แต่ 2 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ต้องจัดให้มที พี่ กั รวมมูลฝอยทัว่ ไป ภาชนะรองรับมูลฝอย ทั่วไปและมูลฝอยน�ำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งต้องเป็นไปตามที่ก�ำหนดในกฎกระทรวงนี้ เช่น ทีพ่ กั รวมมูลฝอยทัว่ ไปต้องเป็นอาคาร หรือเป็นห้องแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ ทีม่ กี าร ป้องกันน�้ำฝน หรือมีภาชนะรองรับมูลฝอยที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถบรรจุมูลฝอยได้ไม่น้อยกว่า 2 วัน พืน้ หรือผนังของอาคารหรือห้องแยกต้องเรียบ มีการป้องกันน�ำ้ ซึมหรือน�ำ้ เข้า ทนทานและท�ำความสะอาด ง่าย สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะน�ำโรค มีการระบายอากาศ มีรางหรือท่อระบายน�้ำเสียหรือ ระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย มีประตูกว้างเพียงพอ มีการก�ำหนดขอบเขตและมีข้อความที่มีขนาดเห็นได้ชัดเจนว่า “ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป” อยู่ห่างจากแหล่งน�้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและสถานที่ประกอบหรือปรุงอาหาร ภาชนะรองรับมูลฝอยต้องท�ำจากวัสดุที่ท�ำความสะอาดง่าย แข็งแรง ทนทาน ไม่รวั่ ซึม มีฝาปิดมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะน�ำโรคได้ ขนาดเหมาะสม สามารถเคลือ่ นย้าย ได้สะดวก และง่ายต่อการถ่ายและเทมูลฝอย มีขอ้ ความว่า “มูลฝอยทัว่ ไป” หรือ “มูลฝอยน�ำกลับมาใช้ใหม่” ที่มีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ภาชนะรองรับมูลฝอยทีม่ ขี นาดใหญ่ซงึ่ มีปริมาตรตัง้ แต่ 2 ลูกบาศก์เมตรขึน้ ไป ต้องมี ระบบรวบรวมและป้องกันน�ำ้ ชะมูลฝอยไหลปนเปือ้ นสูส่ งิ่ แวดล้อม และมีการท�ำความสะอาดอย่างสม�ำ่ เสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

69


(6) ให้ อปท. จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยน�ำกลับมาใช้ใหม่ในที่หรือ ทางสาธารณะตามความเหมาะสมหรือตามที่ อปท. ก�ำหนด (7) อปท. หน่วยงาน หรือบุคคลที่ด�ำเนินการเก็บ ขน และก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป ต้องจัดให้ มีผู้ปฏิบัติงานซึ่งท�ำหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บ รวบรวม และคัดแยกมูลฝอยทั่วไป โดยจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจ�ำปีและได้รับความรู้ด้าน สุขอนามัยและความปลอดภัยในการท�ำงาน (8) ในกรณีที่มีการจัดให้มีสถานที่คัดแยกมูลฝอยทั่วไป ต้องด�ำเนินการให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และสุขลักษณะ เช่น มีขนาด แสงสว่าง และการระบายอากาศเพียงพอ มีห้องน�้ำ ห้องส้วม และอ่างล้างมือที่สะอาดและเพียงพอ มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะน�ำโรค มีการป้องกันฝุ่นละออง กลิน่ เสียง ความสัน่ สะเทือน มีอปุ กรณ์ปอ้ งกันอัคคีภยั ทีพ่ ร้อมใช้งาน และมีระบบรวบรวมและบ�ำบัดน�ำ้ เสีย (9) ห้ามผู้ประกอบกิจการหรือผู้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งก�ำเนิดมูลฝอย ทั่วไปทิ้งสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว หรือของเสียที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน ของเสียจากวัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และของเสียอันตรายตาม กฎหมายว่าด้วยโรงงาน ปะปนกับกับมูลฝอยทั่วไป 2. การขนมูลฝอยทั่วไป อปท. หรือหน่วยงาน หรือบุคคลที่ด�ำเนินการเก็บ ขน และก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป ต้องด�ำเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีผู้ปฏิบัติงานเก็บและขนมูลฝอยทั่วไป โดยมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน อันตรายส่วนบุคคลและอุบัติเหตุ จัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย ตลอดจนเครื่องมือ ปฐมพยาบาลไว้ประจ�ำรถเก็บและขนมูลฝอยทั่วไปด้วย ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจ�ำปี และผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการท�ำงาน (2) แยกขนมูลฝอยทั่วไป หรือก�ำหนดวันในการขนมูลฝอยทั่วไปตามประเภท (3) จัดให้มีมาตรการควบคุมก�ำกับการขนมูลฝอยทั่วไปเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งมูลฝอย ทั่วไป (4) ใช้ยานพาหนะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ เช่น ตัวถังบรรจุมูลฝอยมีความ แข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วซึม มีลักษณะปกปิด ง่ายต่อการบรรจุ ขนถ่าย และท�ำความสะอาด มีการป้องกัน หรือติดตั้งภาชนะรองรับน�้ำจากมูลฝอยทั่วไปเพื่อน�ำไปบ�ำบัดในระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย มีสัญลักษณ์หรือ สัญญาณไฟติดไว้ประจ�ำยานพาหนะที่สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล 70

การจัดการของเสียจากชุมชน


(5) ในกรณีที่จ�ำเป็น อาจจัดให้มีสถานีขนถ่ายมูลฝอยทั่วไปก็ ได้ โดยต้องเป็นไปตาม หลักเกณฑ์และสุขลักษณะ เช่น เป็นอาคารที่มีการป้องกันน�้ำซึมหรือน�้ำเข้า มีขนาด แสงสว่าง และ การระบายอากาศอย่างเพียงพอ มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะน�ำโรค ฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความ สั่นสะเทือน และมีระบบรวบรวมและบ�ำบัดน�้ำเสีย และน�้ำทิ้งที่ระบายออกสู่ภายนอกเป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐานคุณภาพน�้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3. การก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป อปท. หรือหน่วยงาน หรือบุคคลที่ด�ำเนินการเก็บ ขน และก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป ต้องด�ำเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีผู้ปฏิบัติงานก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป โดยมีอุปกรณ์ที่เหมาะสมเพื่อป้องกันอันตราย ส่วนบุคคลและอุบัติเหตุ จัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาล ติดตั้งไว้ในบริเวณสถานที่ก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปด้วย ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจ�ำปีและ ผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการท�ำงาน (2) ก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยวิธีหนึ่งวิธีใดตามที่ก�ำหนดในกฎกระทรวงนี้ โดยให้ศึกษาความ เหมาะสมและความเป็นไปได้ก่อนการก่อสร้างระบบก�ำจัดมูลฝอย และมีมาตรการควบคุมก�ำกับการ ด�ำเนินงานในแต่ละวิธีให้เป็นไปตามสุขลักษณะเพือ่ ป้องกันไม่ให้สง่ ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและ สิ่งแวดล้อม (3) ไม่นำ� สิง่ ของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทีเ่ กิดขึน้ จากการประกอบกิจการโรงงาน ของเสียจาก วัตถุดบิ ของเสียทีเ่ กิดขึน้ ในกระบวนการผลิต ของเสียทีเ่ ป็นผลิตภัณฑ์เสือ่ มคุณภาพ และของเสียอันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน มูลฝอยติดเชื้อ และมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนมาก�ำจัดร่วมกับ มูลฝอยทั่วไป (4) การก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปให้ด�ำเนินการตามวิธีหนึ่งวิธีใดดังต่อไปนี้ (4.1) การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ต้องด�ำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง และตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ เช่น มีสถานทีต่ งั้ เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอ มีพนื้ ทีแ่ นวกันชนโดยรอบเพือ่ จัดเป็นพืน้ ที่ ส�ำหรับปลูกต้นไม้ ถนน และรางระบายน�้ำผิวดิน มีระบบป้องกันการปนเปื้อนของน�้ำใต้ดินจากน�้ำชะมูลฝอย มีระบบรวบรวมน�้ำชะ มูลฝอยจากก้นบ่อเพื่อส่งไปยังระบบบ�ำบัดน�้ำเสียให้ได้มาตรฐานน�้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

71


มีการใช้ดินหรือวัสดุอื่นกลบทับทุกครั้งที่มีการน�ำมูลฝอยไปฝังกลบ และปิดการ ฝังกลบเมื่อบ่อฝังกลบเต็ม โดยปิดทับหน้าบ่อฝังกลบด้วยดินหนาอย่างน้อย 60 เซนติเมตร มีการป้องกัน สัตว์และแมลงพาหะน�ำโรค ฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน มีระบบรวบรวมและระบายก๊าซออกจากหลุมฝังกลบ ระบบเผาท�ำลายก๊าซ หรือ น�ำก๊าซไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น และมีบ่อส�ำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนของ น�้ำใต้ดิน เป็นต้น (4.2) การเผาในเตาเผา ต้องด�ำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ และสุขลักษณะ เช่น มีสถานที่ตั้งและขนาดที่เหมาะสม มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอ มีที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงนี้ มีพื้นที่แนวกันชนโดยรอบเพื่อจัดเป็นพื้นที่ส�ำหรับปลูกต้นไม้ ถนน และรางระบาย น�้ำผิวดิน ต้องเผามูลฝอยที่อุณหภูมิไม่ต�่ำกว่า 850 องศาเซลเซียส และมีระบบควบคุม คุณภาพอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องเตาเผามูลฝอยให้ได้มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจาก เตาเผามูลฝอยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีระบบบ�ำบัดน�ำ้ เสียจากระบบก�ำจัด และน�ำ้ เสียใดๆทัง้ หมดทีเ่ กิดขึน้ ภายในสถานที่ ก�ำจัดให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีพื้นที่ส�ำหรับเก็บเถ้าหนักและมีระบบในการน�ำเถ้าหนักไปก�ำจัดเป็นประจ�ำโดยวิธี การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล หรือมีระบบที่ปลอดภัยในการน�ำเถ้าหนักไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น มีพื้นที่ส�ำหรับเก็บเถ้าลอยและมีระบบในการน�ำเถ้าลอยออกไปก�ำจัดเป็นประจ�ำ โดยวิธีการฝังกลบอย่างปลอดภัย (Secured Landfill) หรือมีระบบที่ปลอดภัยในการน�ำเถ้าลอยไปใช้ ประโยชน์อย่างอื่น (4.3) การหมักท�ำปุย๋ และการหมักท�ำก๊าซชีวภาพ ต้องด�ำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ เช่น มีสถานที่ตั้งเหมาะสม มีระบบคัดแยกมูลฝอยเพื่อน�ำมาหมักท�ำปุ๋ยหรือท�ำก๊าซชีวภาพ มีระบบบ�ำบัดกลิ่น ภายในอาคารคัดแยกมูลฝอย มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะน�ำโรค 72

การจัดการของเสียจากชุมชน


มีระบบก�ำจัดมูลฝอยส่วนทีห่ มักท�ำปุย๋ หรือหมักท�ำก๊าซชีวภาพไม่ได้ หรือส่งไปก�ำจัด หรือน�ำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ต้องบ�ำบัดน�้ำชะมูลฝอย น�้ำเสียจากสถานที่คัดแยกและสถานที่หมักท�ำปุ๋ย หรือ ท�ำก๊าซชีวภาพให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีท�ำก๊าซชีวภาพ บ่อหมักต้องเป็นระบบปิด มีการน�ำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ และมีระบบเผาก๊าซทิ้งกรณีระบบการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพหยุดท�ำงาน (4.4) การก�ำจัดแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีการก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปมากกว่าหนึ่งวิธี ต้อง ด�ำเนินการตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามข้อข้อ (4.1) (4.2) และ (4.3) (4.5) วิธีการอื่นตามที่รัฐมนตรีก�ำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ให้ อปท. หน่วยงาน หรือบุคคลที่ด�ำเนินการเก็บ ขน และก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปอยู่ใน วันก่อนที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ต้องด�ำเนินการเก็บและขนมูลฝอยทั่วไปให้เป็นไปตามที่ก�ำหนดไว้ใน กฎกระทรวงนี้ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ และด�ำเนินการก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปให้เป็นไป ตามที่ก�ำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ภายใน 3 ปีนับแต่วันทีก่ ฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ในกรณีที่ อปท. หน่วยงาน หรือบุคคลดังกล่าวด�ำเนินการเก็บและขนมูลฝอยทั่วไป แต่ยังมิได้ด�ำเนินการก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปอยู่ก่อน วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ต้องด�ำเนินการก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปให้เป็นไปตามที่ก�ำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับเช่นกัน1 2.1.6 ค�ำแนะน�ำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การเก็บ ขน หรือก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป โดยท�ำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ พ.ศ. 2558

ด้วยปรากฏว่า อปท. ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นว่าด้วยการก�ำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อให้ผู้ได้รับใบอนุญาตด�ำเนินกิจการรับท�ำการเก็บ ขน หรือก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป โดยท�ำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการตามมาตรา 19 ปฏิบัติ ท�ำให้ เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจาก อปท. จะไม่มีหลักเกณฑ์ส�ำหรับการพิจารณาอนุญาต การตรวจสอบสภาพสุขลักษณะของสถานประกอบกิจการ การควบคุมและก�ำกับดูแลการด�ำเนินกิจการ ให้ถูกสุขลักษณะ และการป้องกันปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการสาธารณสุขจึงได้มีมติในคราวการประชุมครั้งที่ 92-5/2558 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 เห็นชอบให้ออกค�ำแนะน�ำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การควบคุมการประกอบกิจการ 1 กฎกระทรวงนีป้ ระกาศในราชกิจจานุเบกษาเมือ่ วันที่ 19 เมษายน 2560 และมีผลใช้บงั คับเมือ่ พ้นก�ำหนด 180 วันนับแต่วนั ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

73


รับท�ำการเก็บ ขน หรือก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยท�ำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิด ค่าบริการ พ.ศ. 2558 โดยก�ำหนดหลักเกณฑ์การควบคุมการประกอบกิจการรับท�ำการเก็บ ขน หรือก�ำจัด มูลฝอยทั่วไป (แต่ไม่รวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ) มีสาระส�ำคัญสรุปโดยสังเขปได้ดังต่อไปนี้ 1. การรับท�ำการเก็บและขนมูลฝอยทั่วไป (1) คุณสมบัติของผู้ประกอบกิจการ ต้องยื่นเอกสารและหลักฐานประกอบการยื่นขออนุญาต ซึ่งรวมถึงเอกสารหรือหลักฐานแสดงสถานที่รับก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปว่ามีการด�ำเนินการถูกต้องตาม หลักสุขาภิบาล มีสัญญาว่าจ้างระหว่างผู้ขนกับผู้ก�ำจัดมูลฝอย และแผนการด�ำเนินงานที่แสดงขั้นตอน การด�ำเนินงาน ความพร้อมด้านก�ำลังคน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และวิธีการบริหารจัดการ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องไม่มีประวัติด�ำเนินคดีด้านการจัดการมูลฝอยที่ไม่ถูกสุขลักษณะ (2) หลักเกณฑ์ดา้ นยานพาหนะขนมูลฝอยทัว่ ไป ยานพาหนะขนมูลฝอยต้องมีความปลอดภัย ส�ำหรับการปฏิบัติงาน ระดับที่ขนถ่ายมูลฝอยใส่ตัวถังยานพาหนะต้องไม่สูงเกินไป หรืออยู่ในระดับที่ ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ตัวถังบรรจุมูลฝอยมีความแข็งแรงทนทาน ไม่รั่วซึม มีลักษณะ ปกปิด ง่ายต่อการบรรจุ ขนถ่าย และท�ำความสะอาดง่าย มีการป้องกันหรือมีการติดตั้งภาชนะรองรับน�้ำ จากมูลฝอย เพื่อมิให้รั่วไหลตลอดการปฏิบัติงาน และน�ำน�้ำเสียจากมูลฝอยไปบ�ำบัดในระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย มีสัญลักษณ์หรือสัญญาณไฟวับวาวติดไว้ประจ�ำยานพาหนะชนิดไม่ก่อให้เกิดความร�ำคาญและสามารถ มองเห็นได้ในระยะไกล เป็นต้น (3) หลักเกณฑ์ดา้ นผูข้ บั ขีแ่ ละผูป้ ฏิบตั งิ านประจ�ำยานพาหนะ ต้องผ่านการฝึกอบรมด้านการ จัดการมูลฝอยทัว่ ไปตามหลักเกณฑ์ทเี่ จ้าพนักงานท้องถิน่ ก�ำหนดโดยค�ำแนะน�ำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข ได้รับการตรวจสุขภาพประจ�ำปี และต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมส�ำหรับ ผู้ปฏิบัติงาน (4) หลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะวิธีการขนมูลฝอยทั่วไป (4.1) ต้องด�ำเนินการขนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ เช่น แยกขนมูลฝอยตามประเภท การคัดแยกมูลฝอยอย่างน้อย 3 ประเภท ได้แก่ มูลฝอยน�ำกลับมาใช้ใหม่ (เช่น แก้ว กระดาษ โลหะ พลาสติก และวัสดุอื่นๆ) มูลฝอยทั่วไป และมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน หรือก�ำหนดวัน ในการขนตามประเภทของมูลฝอย ต้องจัดให้สถานที่ล้างยานพาหนะที่มีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ทนทาน มีความลาดเอียง น�้ำไม่ท่วมขัง มีรางหรือท่อระบายน�้ำเสียเชื่อมต่อกับระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย และมี การป้ อ งกั น เหตุ ร� ำ คาญที่ อาจเกิ ด ขึ้ น จั ด ให้ มี บ ริ เ วณที่ จ อดเก็ บ ยานพาหนะเป็ น การเฉพาะ มีขนาดกว้างเพียงพอ มีรางหรือท่อระบายน�้ำเสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสู่ระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย และ ต้องท�ำความสะอาดบริเวณทีจ่ อดเก็บยานพาหนะและล้างท�ำความสะอาดยานพาหนะขนมูลฝอยทัว่ ไป และ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการขนมูลฝอยทั่วไปเป็นประจ�ำทุกวัน 74

การจัดการของเสียจากชุมชน


(4.2) ในกรณีที่จัดให้มีสถานีขนถ่ายมูลฝอยทั่วไป สถานีขนถ่ายต้องมีลักษณะเป็นอาคาร มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอย มีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน มีการ ป้องกันกลิ่นจากมูลฝอยและฝุ่นละอองจากการด�ำเนินงานและการขนส่ง การปลิวของมูลฝอย เสียงดัง รบกวน สัตว์และแมลงพาหะน�ำโรค และมีระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย โดยน�้ำเสียที่ระบายออกสู่ภายนอกต้องได้ มาตรฐานน�้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (5) หลักเกณฑ์ วิธีการควบคุมก�ำกับการขนส่งเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งมูลฝอย ก�ำหนดให้ ใช้ใบก�ำกับการขนส่งต้นทางถึงปลายทาง ผู้ก่อก�ำเนิด ผู้ขนส่ง และผู้ก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปต้องจัดท�ำเอกสาร หรือแบบก�ำกับการขนส่งมูลฝอยทัว่ ไปในระบบขนส่ง เพือ่ ควบคุมก�ำกับปริมาณมูลฝอยทัว่ ไปจากผูก้ อ่ ก�ำเนิด ซึ่งผู้ขนส่งต้องขนส่งมูลฝอยทั่วไปพร้อมแบบก�ำกับการขนส่งที่ระบุปริมาณมูลฝอยตรงกันทุกฉบับใน ทุกขั้นตอนจนถึงผู้ก�ำจัดปลายทางอย่างเป็นระบบ 2. การรับท�ำการก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป (1) คุณสมบัติของผู้ประกอบกิจการ ต้องยื่นเอกสารและหลักฐานประกอบการยื่นขออนุญาต และผู้ขอรับใบอนุญาตต้องไม่มีประวัติถูกด�ำเนินคดีด้านการจัดการมูลฝอยที่ไม่ถูกสุขลักษณะ (2) หลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะการก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป (2.1) ต้องก�ำจัดมูลฝอยโดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีดังต่อไปนี้ การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล การเผาในเตาเผา การหมักท�ำปุ๋ยและการหมักท�ำก๊าซชีวภาพ การก�ำจัดแบบผสมผสาน วิธีการอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขก�ำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (2.2) ต้องศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นก่อนท�ำการก่อสร้างระบบก�ำจัด และมี มาตรการควบคุมการด�ำเนินงานก�ำจัดมูลฝอยในแต่ละวิธีให้เป็นไปตามสุขลักษณะ เพื่อป้องกันผลกระทบ ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (2.3) หลักเกณฑ์การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลให้ถูกสุขลักษณะ (ก) สถานที่ตั้งเหมาะสม ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน�้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ห่างจากสนามบิน บ่อน�้ำดื่ม โรงงานผลิตน�้ำประปา สถานศึกษา ศาสนสถาน โบราณสถาน หรือแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในกรณี เป็นพื้นที่ลุ่มที่มีโอกาสเกิดน�้ำท่วมฉับพลัน หรือน�้ำป่าไหลหลาก ต้องมีมาตรการป้องกันและแก้ไขเพื่อ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

75


(ข) มีพื้นที่ฉนวนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่ฝังกลบ จัดเป็นพื้นที่ส�ำหรับ ปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน�้ำผิวดิน เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการฝังกลบและปัญหากลิ่นรบกวน (ค) มีระบบป้องกันการปนเปื้อนของน�้ำใต้ดินจากน�้ำชะมูลฝอย โดยมีการบดอัดก้นบ่อ ด้านล่างและด้านข้างให้แน่นและปูด้วยแผ่นวัสดุกันซึม (ง) มีระบบรวบรวมน�้ำชะมูลฝอยจากก้นบ่อเพื่อส่งไปยังระบบบ�ำบัดน�้ำเสียที่สามารถ ป้องกันการปนเปื้อนน�้ำใต้ดิน และมีกระบวนการบ�ำบัดน�้ำชะมูลฝอยให้ได้มาตรฐานน�้ำทิ้งตามกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง (จ) มีการกลบทับหน้ามูลฝอยรายวันด้วยดินหนาอย่างน้อย 60 เซนติเมตร หรือวัสดุ กลบทับอื่นที่เหมาะสม เพื่อป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลง พาหะน�ำโรค และปิดการฝังกลบเมื่อบ่อฝังกลบเต็ม (ฉ) มีการป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการด�ำเนินงาน ความ สั่นสะเทือน เสียงดังรบกวน เหตุร�ำคาญและผลกระทบอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นแก่ชุมชน ตลอดจนไม่เป็น แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะน�ำโรค (ช) ต้องมีระบบรวบรวมและระบายก๊าซออกจากหลุมฝังกลบ และมีระบบเผาท�ำลาย ก๊าซ หรือมีระบบน�ำก๊าซไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น (ซ) มีบ่อส�ำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนของน�้ำใต้ดิน และในระหว่างการด�ำเนินการ ฝังกลบให้รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน�้ำทุกๆ 6 เดือน กรณีที่มีการปิดบ่อฝังกลบแล้วให้มีการ ตรวจสอบปีละ 1 ครั้ง ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปี (2.4) หลักเกณฑ์การเผาในเตาเผาให้ถูกสุขลักษณะ (ก) สถานที่ตั้งเหมาะสมตามผลการศึกษาความเหมาะสม มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับ กระบวนการเผามูลฝอยทั่วไป มีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (ข) มีท่ีพักมูลฝอยทั่วไปที่ต้องด้วยสุขลักษณะ เช่น เป็นอาคารหรือเป็นห้องแยกเป็น สัดส่วนเฉพาะ สามารถบรรจุมลู ฝอยได้ไม่นอ้ ยกว่า 2 วัน มีการแยกเก็บมูลฝอยทัว่ ไปเป็นสัดส่วน ตัง้ อยู่ใน สถานทีส่ ะดวกต่อการเก็บรวบรวม ขนถ่าย อยูห่ า่ งจากแหล่งน�ำ้ เพือ่ การอุปโภคบริโภคและสถานทีป่ ระกอบ อาหาร พื้น ผนัง เรียบ ท�ำด้วยวัสดุที่ทนทาน ท�ำความสะอาดง่าย มีลักษณะปิดมิดชิด สามารถป้องกัน สัตว์และแมลงพาหะน�ำโรค การระบายอากาศดี มีรางหรือท่อระบายน�้ำทิ้งเชื่อมต่อกับระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย ประตูกว้างเพียงพอให้สามารถเคลื่อนย้ายมูลฝอยได้โดยสะดวก มีการก�ำหนดขอบเขตที่ตั้งและมีข้อความ ที่มีขนาดเห็นได้ชัดเจนว่า “ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป” และมีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม�่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 76

การจัดการของเสียจากชุมชน


(ค) มีพื้นที่ฉนวนโดยรอบ จัดเป็นสถานที่ปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน�้ำผิวดิน เพื่อ ลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการเผาและปัญหากลิ่นรบกวน (ง) ต้องเผามูลฝอยที่อุณหภูมิไม่ต่�ำกว่า 850 องศาเซลเซียส และมีระบบควบคุม คุณภาพอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องเตาเผามูลฝอยให้ได้มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจาก เตาเผามูลฝอยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (จ) มีการป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการด�ำเนินงาน และเหตุ ร�ำคาญอื่นๆ (ฉ) มีการบ�ำบัดน�้ำเสียจากระบบก�ำจัด และน�้ำเสียใดๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้ตามมาตรฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ช) มีการก�ำจัดเถ้าหนัก โดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล และต้องมีพื้นที่ ส�ำหรับเก็บเถ้าหนักที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ซ) มีการก�ำจัดเถ้าเบา โดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างปลอดภัยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และต้องมีพื้นที่ส�ำหรับเก็บเถ้าเบาที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (2.5) หลักเกณฑ์การหมักท�ำปุ๋ยและการหมักท�ำก๊าซชีวภาพให้ถูกสุขลักษณะ (ก) สถานที่ตั้งเหมาะสมตามผลการศึกษาความเหมาะสม (ข) อาคารคัดแยกมูลฝอยมีขนาดพืน้ ทีเ่ หมาะสมกับปริมาณมูลฝอย มีการระบายอากาศ และแสงสว่างเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (ค) มีระบบบ�ำบัดกลิ่นจากอาคารคัดแยกมูลฝอย และอาคารระบบหมักท�ำปุ๋ย (ง) มีระบบป้องกันการปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการด�ำเนินงาน และเหตุร�ำคาญ อื่นๆ (จ) มีระบบก�ำจัดหรือส่งไปก�ำจัดมูลฝอยส่วนทีห่ มักท�ำปุย๋ ไม่ได้หรือหมักท�ำก๊าซชีวภาพ ไม่ได้ โดยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล หรือการเผาในเตาเผา หรือน�ำมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ (ฉ) ต้องบ�ำบัดน�้ำชะมูลฝอย น�้ำเสียจากสถานที่คัดแยกและสถานที่หมักท�ำปุ๋ยหรือ ท�ำก๊าซชีวภาพให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ช) กรณีหมักท�ำก๊าซชีวภาพ บ่อหมักต้องเป็นระบบปิด มีการน�ำก๊าซชีวภาพไปใช้ ประโยชน์ และมีระบบเผาก๊าซทิ้งกรณีระบบการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพหยุดการท�ำงาน

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

77


(2.6) หลักเกณฑ์การก�ำจัดแบบผสมผสานให้ถูกสุขลักษณะ (ก) สถานที่ตั้งเหมาะสม มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยที่ก�ำจัด (ข) ในกรณีที่มีอาคารคัดแยกมูลฝอยและอาคารอื่นๆ ต้องมีการระบายอากาศและ แสงสว่างในอาคารที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน (ค) ต้องมีระบบก�ำจัดกลิ่นจากมูลฝอยในอาคารคัดแยกมูลฝอยและอาคารอื่นๆ (ง) มีระบบป้องกันการปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการด�ำเนินงาน และเหตุร�ำคาญ อื่นๆ (จ) ในกรณีที่มีหรือใช้ระบบก�ำจัดโดยการเผาในเตาเผา ต้องด�ำเนินการให้ถูกต้อง ตามสุขลักษณะตามข้อ (2.4) (ฉ) ในกรณี ที่ มี ห รื อ ใช้ ร ะบบก� ำ จั ด โดยการหมั ก ท� ำ ปุ ๋ ย หรื อ ท� ำ ก๊ า ซชี ว ภาพ ต้ อ ง ด�ำเนินการให้ถูกต้องตามสุขลักษณะตามข้อ (2.5) (3) หลักเกณฑ์ด้านคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงาน (3.1) ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ควบคุมการจัดการมูลฝอยทั่วไปอย่างน้อย 2 คน ประกอบด้วย บุคคลทีส่ ำ� เร็จการศึกษาไม่ตำ�่ กว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ด้านสาธารณสุข หรือสุขาภิบาล หรืออนามัยสิ่งแวดล้อม บุคคลที่ส�ำเร็จการศึกษาไม่ต�่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ด้านสุขาภิบาล หรือวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม หรือวิศวกรรมเครื่องกล (3.2) ผู้ปฏิบัติงานที่ท�ำหน้าที่ก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป ต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจ�ำปี และ ผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยจากการท�ำงาน (3.3) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมส�ำหรับผู้ปฏิบัติงาน ก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน มีอุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย และเครื่องมือปฐมพยาบาล ติดตั้งไว้ในบริเวณสถานที่ก�ำจัด มูลฝอยทั่วไปด้วย

78

การจัดการของเสียจากชุมชน


2.2 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

พระราชบัญญัติฉบับนี้เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2560 เป็นกฎหมายที่แก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มีสาระส�ำคัญคือบัญญัติให้กระทรวงมหาดไทยมีอ�ำนาจหน้าที่ก�ำกับดูแลการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ของ อปท. ซึ่งรวมถึงอ�ำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้  ออกกฎกระทรวงก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการ สิ่งปฏิกูลและมูลฝอย  ออกประกาศกระทรวงก�ำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเก็บ ขน และก�ำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย  ออกประกาศกระทรวงก�ำหนดหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไข ในการด�ำเนินการของราชการ ส่วนท้องถิ่นที่จะมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นรวมทั้งองค์การบริหารส่วน จังหวัด หรือเอกชน เป็นผูด้ ำ� เนินการหรือท�ำร่วมกับราชการส่วนท้องถิน่ ในการเก็บ ขน และก�ำจัดสิง่ ปฏิกลู และมูลฝอย โดยการมอบให้เอกชนด�ำเนินการหรือร่วมด�ำเนินการดังกล่าวมิให้ถือว่าเป็นการร่วมลงทุน ตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ  การให้ ค� ำ แนะน� ำ และช่ ว ยเหลื อ อปท. ในการจั ด ท� ำ แผนงานโครงการในการจั ด การ สิ่งปฏิกูลและมูลฝอยรวมทั้งเสนอความเห็นในการขอจัดตั้งงบประมาณเพื่อประกอบการพิจารณาของ คณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติบางส่วนที่ถือว่าเป็นพัฒนาการในทางที่ดีเกี่ยวกับการจัดการขยะ มูลฝอยกล่าวคือ ก�ำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานมีหน้าที่ต้องด�ำเนินการตาม กฎหมายในกรณีที่พบว่ามีของเสียอันตรายและของเสียไม่อันตรายจากการประกอบกิจการโรงงานปนอยู่ กับขยะชุมชน ในที่นี้ จะกล่าวถึงบทบัญญัติที่ส�ำคัญของพระราชบัญญัตินี้โดยสังเขป

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

79


2.2.1 อ�ำนาจของรั ฐ มนตรี ก ระทรวงมหาดไทยในการออกกฎกระทรวงก�ำหนดอั ต ราค่ า ธรรมเนียมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

มาตรา 5 บัญญัติให้รฐั มนตรีวา่ การกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงสาธารณสุข รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอ�ำนาจออกกฎกระทรวงก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตรา ท้ายพระราชบัญญัติ และก�ำหนดกิจการเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับอ�ำนาจหน้าที่ ของแต่ละกระทรวง เว้นแต่การออกกฎกระทรวงก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกีย่ วกับ การจัดการสิง่ ปฏิกลู และมูลฝอยให้เป็นอ�ำนาจของรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงมหาดไทย ทัง้ นี้ จะก�ำหนดอัตรา ค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกันโดยค�ำนึงถึงปริมาณสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ระยะเวลาการจัดเก็บ ลักษณะการ เก็บ ขน และก�ำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย รวมทั้งต้นทุนและความคุ้มค่าในการเก็บ ขน และก�ำจัดสิ่งปฏิกูล และมูลฝอยก็ได้ บทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นนี้มีความซ�้ำซ้อนกับมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึง่ ให้อำ� นาจรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงสาธารณสุขในการออกกฎกระทรวงก�ำหนดค่าธรรมเนียม การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยไว้เช่นกัน และปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวงก�ำหนด ค่าธรรมเนียมการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏูลหรือมูลฝอย พ.ศ. 2559 ซึ่งเพิ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา (โดยก�ำหนดค่าเก็บและขนมูลฝอยทั่วไป (ปริมาณวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร) ครัวเรือนละ ไม่เกิน 65 บาทต่อเดือน และค่าก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปไม่เกิน 155 บาทต่อเดือน รวมแล้วไม่ เกินครัวเรือนละ 220 บาท) ดังที่ได้น�ำเสนอมาแล้วในหัวข้อ 2.1 จึงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า หาก กระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงก�ำหนดค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตาม พระราชบัญญัตริ กั ษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองฯ2 อปท. ซึง่ เป็นหน่วยงาน ผู้ปฏิบัติจะต้องถือตามอัตราค่าธรรมเนียมที่ก�ำหนดโดยกระทรวงใด ส�ำหรับอัตราค่าธรรมเนียมสูงสุดในการจัดการขยะมูลฝอยที่จะเรียกเก็บจากประชาชนได้ ตามที่ก�ำหนดในบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ บ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เป็นดังนี้ (1) ค่าธรรมเนียมการเก็บและขนมูลฝอย กรณีมีมูลฝอยไม่เกิน 120 กิโลกรัม หรือ 600 ลิตร หรือ 0.6 ลูกบาศก์เมตร เดือนละ 150 บาท ในกรณีมีมูลฝอยต่อเดือนมากกว่าปริมาณดังกล่าว ให้เก็บ เพิ่มหน่วยละ 150 บาท 2 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 11 บัญญัติว่า “การด�ำเนินการออก กฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ด�ำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากไม่สามารถด�ำเนินการได้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รายงานเหตุผลที่ไม่อาจด�ำเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ”

80

การจัดการของเสียจากชุมชน


(2) ค่าธรรมเนียมการก�ำจัดมูลฝอย กรณีมีมูลฝอยไม่เกิน 120 กิโลกรัม หรือ 600 ลิตร หรือ 0.6 ลูกบาศก์เมตร เดือนละ 200 บาท ในกรณีมีมูลฝอยต่อเดือนมากกว่าปริมาณดังกล่าว ให้เก็บเพิ่ม หน่วยละ 200 บาท ฉะนั้น ค่าธรรมเนียมสูงสุดในการเก็บขนและก�ำจัดขยะมูลฝอยที่จะเรียกเก็บจากแต่ละครัวเรือน ได้ตามพระราชบัญญัตินี้ก็คือ 350 บาท อย่างไรก็ตาม อัตราดังกล่าวเป็นอัตราเพดานสูงสุด มาตรา 34/1 วรรคห้า บัญญัติให้ อปท. มีหน้าที่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บ ขน และก�ำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย จากผู้ที่เกี่ยวข้องตามอัตราที่ก�ำหนดในข้อก�ำหนดท้องถิ่นซึ่งต้องไม่เกินอัตราที่ก�ำหนดในกฎกระทรวง ในทางปฏิบัติกฎกระทรวงและข้อก�ำหนดท้องถิ่นอาจก�ำหนดค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต�่ำกว่านี้ ซึ่งเป็น เรื่องที่จะต้องติดตามกันต่อไป หากก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมต�่ำเกินไป ก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาการ ปลูกจิตส�ำนึกของประชาชนในการลดขยะและคัดแยกขยะ ตลอดจนไม่เพียงพอต่อต้นทุนในการจัดการ ขยะมูลฝอย ซึ่งเป็นปัญหาที่ทุก อปท. ก�ำลังประสบอยู่ขณะนี้ 2.2.2 การมอบหมายให้หน่วยงานอื่นหรือเอกชนด�ำเนินการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

พระราชบัญญัติฉบับนี้ก�ำหนดให้การเก็บ ขน และก�ำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยเป็นหน้าที่และ อ�ำนาจของราชการส่วนท้องถิน่ แต่ไม่รวมถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด อย่างไรก็ดี อปท. อาจมอบหมาย ให้หน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิน่ อืน่ รวมทัง้ องค์การบริหารจังหวัด หรือเอกชนเป็นผูด้ ำ� เนินการ หรือท�ำร่วมกับราชการส่วนท้องถิ่นก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงมหาดไทยก�ำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีที่เป็นการมอบให้เอกชนด�ำเนินการหรือร่วมด�ำเนินการดังกล่าว มิ ให้ถือว่าเป็นการร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ แต่ ให้ กระทรวงมมหาดไทยค�ำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ประกอบการพิจารณาจัดท�ำหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นด้วย3 ฉะนั้น ในปัจจุบันการให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนหรือร่วมลงทุนกับ อปท. ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับ การจัดการขยะมูลฝอยจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 และการอนุมัติโครงการลักษณะดังกล่าวเป็นอ�ำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่ง น่าจะช่วยตอบสนองข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการผ่อนปรนกฎระเบียบเพื่อเอื้ออ�ำนวยให้เอกชนเข้ามาลงทุนใน กิจการจัดการขยะมูลฝอยมากขึน้ ตามทีก่ ำ� หนดไว้ใน Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย อย่างไรก็ดี มีขอ้ พึงระวังว่าการอนุมตั โิ ครงการควรจะเป็นไปด้วยความรอบคอบทัง้ ด้านการเลือกเทคโนโลยี ที่ใช้ในการจัดการกับขยะมูลฝอย รวมทั้งการก�ำกับดูแลโครงการ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังกรณีของโรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนของเทศบาลนครหาดใหญ่ดังที่จะได้น�ำเสนอต่อไปในบทที่ 4 ณ เวลาที่จัดท�ำรายงานฉบับนี้ กระทรวงมหาดไทยยังมิได้ออกประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข 3 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 34/1 บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

81


เกี่ยวกับการมอบให้เอกชนด�ำเนินการหรือร่วมด�ำเนินการกับ อปท. ในการจัดการขยะมูลฝอย เนื่องจาก ประกาศฯ ดังกล่าวเกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณสมบัติการเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนของ ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก คณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงานจึงได้ออกประกาศเลื่อนก�ำหนดการ ในการจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ออกไปก่อน เพื่อ รอแนวทางการร่วมทุนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยต่อไป4 ส�ำหรับสิง่ ปฏิกลู และมูลฝอยทีจ่ ดั เก็บได้ มาตรา 34/1 วรรคสาม บัญญัติให้ อปท. หรือหน่วยงาน ของรัฐ หรือ อปท. อื่น รวมทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือเอกชนที่ได้รับมอบหมายมีอ�ำนาจน�ำไป ด�ำเนินการ ใช้ หรือหาประโยชน์ได้ตามข้อตกลงทีท่ ำ� ไว้ระหว่างกันและตามหลักเกณฑ์ วิธกี าร และเงือ่ นไขที่ กระทรวงมหาดไทยก�ำหนด และมาตรา 34/1 วรรคสี่ บัญญัตติ อ่ ไปว่า ในกรณีที่ อปท. หรือองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดได้รบั มอบหมายจาก อปท. อืน่ ให้เป็นผูด้ ำ� เนินการจัดการขยะมูลฝอย มิให้ถอื ว่าการด�ำเนินการ ดังกล่าวเป็นการท�ำกิจการนอกเขตตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.2.3 อ�ำนาจหน้าที่ของ อปท. ในการออกใบอนุญาตและออกข้อก�ำหนดท้องถิ่นในการจัดการ สิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

(1) การออกใบอนุญาตจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย อปท.มีอ�ำนาจออกข้อก�ำหนดท้องถิ่นเพื่อก�ำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออก ใบอนุญาตดังต่อไปนี้  ใบอนุญาตการรับท�ำการเก็บและขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย มีอายุ 1 ปี นับแต่วันที่ออก ใบอนุญาต  ใบอนุญาตการก�ำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย มีอายุ 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต  ใบอนุญาตการหาประโยชน์จากการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย มีอายุ 5 ปี นับแต่วันที่ ออกใบอนุญาต ทั้งนี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ให้ถือว่าได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วย การสาธารณสุขแล้ว การด�ำเนินกิจการเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยมิได้รับใบอนุญาต ดังกล่าวมาข้างต้นมีระวางโทษจ�ำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจ�ำทั้งปรับ5 4 ศูนย์ข่าวพลังงาน, กกพ. เลื่อนรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชน 80 เมกะวัตต์ออกไปไม่มีก�ำหนด, ที่มา: http://energynewscenter.com/index.php/news/ detail/629, 1 มีนาคม 2560. 5 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 58/2

82

การจัดการของเสียจากชุมชน


(2) การก�ำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย การออกข้อก�ำหนดท้องถิ่นในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยของ อปท. จะต้องเป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่ก�ำหนดโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย และในกรณีที่มีหลักเกณฑ์และมาตรฐาน ที่ก�ำหนดไว้เป็นการเฉพาะโดยหน่วยงานอื่น (เช่น หลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขก�ำหนด โดยอาศัยอ�ำนาจตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535) อปท. ก็จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เหล่านั้นด้วยเช่นกัน6 มาตรา 34/3 วรรคหนึง่ บัญญัติให้ อปท. มีหน้าทีอ่ อกข้อก�ำหนดท้องถิน่ ดังต่อไปนี้ เพือ่ ประโยชน์ ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการคัดแยก เก็บขน และก�ำจัดสิ่งปฎิกูลและมูลฝอย (1) ก�ำหนดหลักเกณฑ์การจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในสถานที่เอกชนที่เปิดให้ ประชาชนเข้าไปได้ (2) ก�ำหนดวิธีการคัดแยก เก็บ ขน และก�ำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย (3) ก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิน่ อืน่ รวมทัง้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือเอกชน ทีร่ าชการส่วนท้องถิน่ มอบหมาย ให้ด�ำเนินการแทนในการเก็บ ขน และก�ำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ไม่เกินอัตราที่ก�ำหนดในกฎกระทรวง (4) ก�ำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการจัดการสิง่ ปฏิกลู และมูลฝอยไม่เกินอัตราทีก่ ำ� หนดใน กฎกระทรวง (5) ก�ำหนดการอื่นใดที่จ�ำเป็นเกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย เพื่อให้ถูกต้องด้วย สุขลักษณะ มาตรา 34/3 วรรคสอง บัญญัติต่อไปว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นในการ คัดแยก เก็บ ขน และก�ำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ราชการส่วนท้องถิ่นต้องด�ำเนินการให้เป็นไปตามข้อ ก�ำหนดท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งด้วย โดยมีหน้าที่ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามที่สาธารณะ และสถานสาธารณะให้เพียงพอและถูกสุขลักษณะ มีข้อควรสังเกตว่า กฎหมายก�ำหนดให้การออกข้อก�ำหนดท้องถิ่นและการด�ำเนินการตาม ข้อก�ำหนดท้องถิ่นดังกล่าวมาข้างต้น (ซึ่งรวมถึงเรื่องการจัดให้มีการคัดแยก และเก็บขนขยะมูลฝอย) เป็นเรื่องที่ อปท. มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ฉะนั้น หาก อปท. ไม่ปฏิบัติ ก็อาจถือเป็นกรณีการละเลยไม่ปฏิบัติ หน้าทีต่ ามทีก่ ฎหมายก�ำหนดให้ตอ้ งปฏิบตั กิ ็ได้ บทบัญญัติในส่วนนีจ้ งึ มีความแตกต่างจากมาตรา 20 แห่ง พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ที่บัญญัติให้ อปท. “มีอ�ำนาจ” ในการออกข้อก�ำหนดท้องถิ่น 6 เพิ่งอ้าง, มาตรา 34/1 วรรคท้าย.

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

83


ในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย เนื่องจาก อปท. อาจใช้อ�ำนาจดังกล่าวหรือไม่ก็ได้ และกลายเป็นที่มา ของปัญหา อาทิเช่น อปท. หลายแห่งไม่ออกข้อก�ำหนดท้องถิน่ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการ ขยะมูลฝอย และไม่ก�ำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคัดแยกและจัดการขยะมูลฝอย เป็นต้น อย่างไรก็ดี เป็นเรือ่ งทีจ่ ะต้องติดตามต่อไปว่า อปท. ส่วนใหญ่มคี วามพร้อมในการปฏิบตั หิ น้าทีน่ ตี้ ามทีก่ ฎหมายบัญญัติ หรือไม่ และกระทรวงมหาดไทยจะสามารถก�ำกับดูแลให้ อปท. ท�ำหน้าที่ดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและ มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่ อปท. เคยปฏิบัติภายใต้พระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ เพียงใด 2.2.4 การจัดการของเสียอันตรายและของเสียไม่อันตรายจากโรงงานที่ถูกทิ้งปนกับขยะชุมชน

การทิง้ กากอุตสาหกรรมปะปนกับขยะชุมชนเป็นปัญหาส�ำคัญอันหนึง่ เนือ่ งจากพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 บัญญัติยกเว้นมิ ให้ใช้บังคับเฉพาะกับการจัดการของเสียอันตรายตาม กฎหมายว่าด้วยโรงงาน ส�ำหรับของเสียไม่อนั ตรายจากโรงงานยังคงจัดเป็น “มูลฝอย” ตามพระราชบัญญัติ ดังกล่าว ส่งผลให้หลาย อปท. ออกใบอนุญาตให้เอกชนเก็บขนขยะไม่อันตรายที่อยู่ในเขตโรงงานและ น�ำไปทิ้งในบ่อขยะชุมชน ทั้งๆ ที่ของเสียหรือขยะดังกล่าวมีการปนเปื้อนของเสียอันตรายอยู่บ่อยครั้ง อีกทั้งกลายเป็นช่องทางให้มีการเก็บขนขยะอันตรายจากโรงงานไปทิ้งในบ่อขยะชุมชนอีกด้วย มาตรา 34/1 วรรคหก บัญญัติว่า “การจัดการของเสียอันตรายและของเสียไม่อันตรายตาม กฎหมายว่าด้วยโรงงาน ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เว้นแต่ในกรณีที่มีของเสียอันตรายหรือ ของเสียไม่อันตรายปนอยู่กับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดเก็บ ให้ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นรวมทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือเอกชนที่ได้รับ มอบหมายให้จัดเก็บ แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานมาด�ำเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงงานต่อไป ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องเริ่มด�ำเนินการภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เมือ่ พ้นก�ำหนดเวลาดังกล่าว หากพนักงานเจ้าหน้าทีน่ นั้ ยังมิได้ดำ� เนินการ ให้ราชการส่วนท้องถิน่ หรือหน่วย งานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นรวมทั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือเอกชนที่ได้รับมอบหมาย ให้จดั เก็บ ด�ำเนินการกับสิง่ ปฏิกลู และมูลฝอยนัน้ ตามทีเ่ ห็นสมควร และให้สนั นิษฐานว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่ได้รับแจ้งจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใด” เมื่อพิจารณาบทบัญญัติตามที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าผู้บัญญัติกฎหมายมีเจตนาที่จะแยก การจัดการขยะอุตสาหกรรมและขยะชุมชนออกจากกันอย่างชัดเจน ไม่ว่าขยะอุตสาหกรรมนั้นจะเป็น ของเสียอันตรายหรือของเสียไม่อันตรายก็ตาม และหากมีการทิ้งของเสียอุตสาหกรรมปนกับขยะชุมชน ก็ให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานทราบ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีหน้าที่ต้อง ด�ำเนินการแก้ไขปัญหาภายใน 3 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง มิเช่นนั้นจะถือว่าจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ 84

การจัดการของเสียจากชุมชน


โดยมิชอบ ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ บทบัญญัตินี้จะก่อให้ผลในทางปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด เช่น อปท. หรือหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้จัดเก็บขยะมูลฝอยจะแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายว่าด้วยโรงงานทราบหรือไม่เมื่อพบว่ามีการทิ้งของเสียอุตสาหกรรมปนกับขยะชุมชน และหากมี การแจ้งดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานจะสามารถด�ำเนินการตามกฎหมายกับ ของเสียนั้นได้ภายใน 3 วันหรือไม่ 2.2.5 การให้ค�ำแนะน�ำในการจัดท�ำแผนงานโครงการจัดการสิง่ ปฏิกลู และมูลฝอยของ อปท. และ การก�ำกับการด�ำเนินโครงการ

มาตรา 34/4 บัญญัติ ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่เสนอแนะ แนะน�ำ และ ช่วยเหลือ อปท. ในการจัดท�ำแผนงานโครงการในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยซึ่งต้องสอดคล้องกับ แผนพัฒนาจังหวัด รวมทั้งเสนอความเห็นในการจัดตั้งงบประมาณแผ่นดินเพื่อประกอบการพิจารณาของ คณะรัฐมนตรีด้วย ในการด� ำ เนิ น โครงการตามที่ ก ล่ า วมาข้ า งต้ น ให้ รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงมหาดไทยตั้ ง คณะกรรมการกลางเพื่อให้ค�ำแนะน�ำและก�ำกับการด�ำเนินโครงการ โดยคณะกรรมการกลางประกอบด้วย ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง ผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนกรม ส่งเสริมการปกครองท้องถิน่ ผูแ้ ทนกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม และผูแ้ ทนกรมอนามัย และจะตัง้ ผูแ้ ทน จากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยก็ได้ ส�ำหรับในระดับจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการ ในระดับจังหวัดเพือ่ ให้คำ� แนะน�ำและก�ำกับการด�ำเนินโครงการของ อปท. ได้ตามทีร่ ฐั มนตรีวา่ การกระทรวง มหาดไทยมอบหมาย 2.2.6 ข้อสังเกตเกี่ยวกับพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

พระราชบัญญัตริ กั ษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มีผลท�ำให้กระทรวงมหาดไทยกลายเป็นหน่วยงานหลักในการก�ำกับดูแลการปฏิบตั หิ น้าทีข่ อง อปท. ในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยอาศัยกลไกของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและผู้ว่าราชการ จังหวัด เป็นที่ทราบกันดีว่า อปท. ส่วนใหญ่มีปัญหาทั้งด้านงบประมาณและการจัดหาสถานที่ก�ำจัดขยะ เพื่อจัดการกับขยะมูลฝอยที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ความขาดจิตส�ำนึกของประชาชนในการ ลดและคัดแยกขยะ ตลอดจนการเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะมูลฝอยก็เป็น อุปสรรคส�ำคัญต่อการแก้ไขปัญหาวิกฤตขยะมูลฝอยของประเทศ

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

85


ข้อดีหลายประการที่ปรากฏในบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้ในภาพรวม ได้แก่  มีหน่วยงานของราชการส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุน อปท. ในการด�ำเนินภารกิจด้านการจัดการสิง่ ปฏิกลู และมูลฝอย แทนทีจ่ ะปล่อยให้แต่ละ อปท. ด�ำเนินภารกิจ ดังกล่าวโดยล�ำพังตามศักยภาพอันจ�ำกัด  เพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บขนและก�ำจัดขยะมูลฝอยเพื่อให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่ แท้จริงในการให้บริการจัดการขยะมูลฝอย  บัญญัติให้ อปท. มี “หน้าที่” (แทนที่จะก�ำหนดเพียงว่า อปท. มี “อ�ำนาจ” ซึ่ง อปท. อาจจะ ใช้อำ� นาจดังกล่าวหรือไม่ก็ได้) ในการออกข้อก�ำหนดท้องถิน่ เพือ่ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการ ขยะมูลฝอย และก�ำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเก็บขนและก�ำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งรวมถึงการจัดให้มีระบบ การคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการออกข้อก�ำหนดท้องถิ่น เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการขยะมูลฝอยนั้น หลาย อปท. แสดงความต้องการให้มี กฎหมายที่ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถใช้อ้างอิงในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากประชาชนได้ เนื่องจาก เกรงว่าจะกระทบฐานเสียงทางการเมืองของตน  บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานมีหน้าที่ด�ำเนินการตามกฎหมาย เมื่อได้รับแจ้งว่ามีของเสียอันตรายและของเสียไม่อันตรายจากโรงงานถูกทิ้งปนกับขยะชุมชน ณ เวลาที่จัดท�ำรายงานฉบับนี้ ยังเป็นเรื่องที่เร็วเกินไปที่จะประเมินว่าพระราชบัญญัตินี้ได้ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้นในการจัดการขยะมูลฝอยหรือไม่ เนื่องจากยังต้องรอ ให้กระทรวงมหาดไทยออกกฎหมายระดับรองหลายฉบับ อาทิเช่น กฎกระทรวงก�ำหนดค่าธรรมเนียม การให้บริการจัดการขยะมูลฝอย ประกาศหลักเกณฑ์การให้เอกชนลงทุนหรือร่วมทุนกับ อปท. ในการจัดการ ขยะมูลฝอย และประกาศหลักเกณฑ์และวิธกี ารเกีย่ วกับการเก็บขนและก�ำจัดสิง่ ปฏิกลู และมูลฝอย เป็นต้น สาระส�ำคัญของกฎหมายระดับรองเหล่านี้มีความส�ำคัญต่อการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่มีมานาน เช่น จะสามารถก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้สูงพอที่จะสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในการจัดการขยะมูลฝอยได้ มากขึน้ หรือไม่ และจะสามารถประกาศหลักเกณฑ์เรือ่ งการคัดแยกขยะตัง้ แต่ตน้ ทาง การจัดให้มรี ะบบการ จัดการขยะทีส่ อดคล้องกันตัง้ แต่ตน้ ทางจนถึงปลายทางได้หรือไม่ รวมทัง้ ก�ำกับดูแลให้ อปท. ด�ำเนินภารกิจ ด้านการจัดการขยะมูลฝอยตามแนวทางที่กระทรวงมหาดไทยก�ำหนดได้มากน้อยเพียงใด ในที่นี้ จะกล่าวถึงประเด็นข้อกังวลที่เกิดขึ้นจากการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ 3 ประเด็น คือ (1) พระราชบัญญัตินี้ครอบคลุมถึงการจัดการมูลฝอยติดเชื้อและขยะอันตรายจากชุมชนด้วย หรือไม่ เนื่องจากพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.

86

การจัดการของเสียจากชุมชน


2535 มิได้นิยามค�ำว่า “มูลฝอย” ให้ครอบคลุมถึงมูลฝอยติดเชื้อและขยะอันตรายจากชุมชน7 ซึ่งต่างจาก พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ที่นิยามค�ำว่า “มูลฝอย” ให้รวมถึงมูลฝอยติดเชื้อและ ขยะอันตรายจากชุมชนไว้อย่างชัดเจน8 ทัง้ นี้ หากพระราชบัญญัตริ กั ษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มีเจตนารมณ์ที่จะไม่ครอบคลุมถึงการจัดการมูลฝอย ติดเชื้อและขยะอันตรายจากชุมชน ก็จะต้องพิจารณากันต่อไปว่าจะจัดการอย่างไรกับปัญหาที่เกิดจาก ขยะเหล่านี้ ซึ่งมีจ�ำนวนมากและยังคงถูกทิ้งปนกับมูลฝอยทั่วไป และในที่สุดก็ตกเป็นภาระของ อปท. อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (2) จะมีแนวทางด�ำเนินการอย่างไรกับปัญหาความซ�้ำซ้อนระหว่างพระราชบัญญัติรักษา ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 กับพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 อาทิเช่น การก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการขยะมูลฝอย และการก�ำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการขยะมูลฝอย ในกรณีที่ทั้งกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวง มหาดไทยต่างออกกฎกระทรวงก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว อปท. จะต้องถือปฏิบตั ติ ามหลักเกณฑ์ ของกระทรวงใด (3) ความกังวลเรื่องปัญหาธรรมาภิบาลในการบริหารระบบจัดการขยะมูลฝอย เป็นที่ทราบ กันว่า การจัดการขยะมูลฝอยของแต่ละท้องถิน่ มีเรือ่ งของผลประโยชน์เข้ามาเกีย่ วข้อง การรวมศูนย์อำ� นาจ การก�ำกับภารกิจด้านการจัดการขยะมูลฝอยไว้ทกี่ ระทรวงมหาดไทยและกลไกของกระทรวงในระดับจังหวัด จะต้องกระท�ำควบคู่ไปกับระบบการบริหารงานที่โปร่งใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีการมอบหมายให้ เอกชนเข้ามาลงทุนหรือร่วมทุนในการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ก�ำหนดให้เป็นอ�ำนาจของ กระทรวงมหาดไทยในการประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการ ตลอดจนถึงการอนุมัติโครงการ

7 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 4 บัญญัตินิยามของค�ำ

ว่า “มูลฝอย” ให้หมายความว่า “เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือ ซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น” 8 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 4 บัญญัตินิยามของค�ำว่า “มูลฝอย” ให้หมายความว่า “เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน”

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

87


2.3 การควบคุมมลพิษทางอากาศจากเตาเผาขยะมูลฝอย

ในปัจจุบัน การควบคุมมลพิษทางอากาศจากเตาเผาขยะมูลฝอยเป็นไปตาม ประกาศกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตา เผามูลฝอย วันที่ 9 มิถุนายน 2553 ออกตามความในมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 25359 “มูลฝอย” ตามประกาศฯ นีถ้ กู นิยามเหมือนมูลฝอยตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กล่าวคือ หมายถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิง่ อืน่ ใดทีเ่ ก็บกวาดจากถนน ตลาด ทีเ่ ลีย้ งสัตว์ หรือทีอ่ นื่ และหมายความรวมถึงมูลฝอยติด เชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน ประกาศนี้ไม่ใช้บังคับกับเตาเผามูลฝอยที่เป็นวัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข หรือ มูลฝอยที่เป็นสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ทั้งนี้ ได้ก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยใหม่ และเตาเผา มูลฝอยเก่าเฉพาะส่วนทีม่ กี ารขยายกิจการหลังจากวันทีป่ ระกาศนีม้ ผี ลใช้บงั คับไว้ดงั ตารางที่ 2.3

9 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 55 บัญญัติว่า “ให้รัฐมนตรีโดยค�ำแนะน�ำของคณะกรรมการควบคุม มลพิษ และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอ�ำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาก�ำหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจากแหล่ง ก�ำเนิด ส�ำหรับควบคุมการระบายน�้ำทิ้ง การปล่อยทิ้งอากาศเสีย หรือมลพิษอื่นใดจากแหล่งก�ำเนิดออกสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ ได้มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามที่ก�ำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้”

88

การจัดการของเสียจากชุมชน


บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

89

หน่วย

มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนในล้านส่วน ส่วนในล้านส่วน ส่วนในล้านส่วน มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค�ำนวณผลในรูปของ หน่วยความเข้มข้นเทียบเคียงความเป็นพิษต่อ มนุษย์ (PCDD/Fs as Toxic Equivalent: 1-TEQ) ร้อยละ

สารมลพิษ

1. ปริมาณฝุ่นละออง (TSP)

2. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

3. ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX as NO2)

4. ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl)

5. สารปรอท (Hg)

6. สารแคดเมียม (Cd)

7. สารตะกั่ว (Pb)

8. สารประกอบไดออกซิน (PCDD/PCDFs)

9. ค่าความทึบแสง (Opacity)

ไม่เกิน 10

ไม่เกิน 0.5

ไม่เกิน 1.5

ไม่เกิน 0.5

ไม่เกิน 0.05

ไม่เกิน 80

ไม่เกิน 250

ไม่เกิน 30

ไม่เกิน 320

ตั้งแต่ 1 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตันต่อวัน

ไม่เกิน 10

ไม่เกิน 0.1

ไม่เกิน 0.5

ไม่เกิน 0.05

ไม่เกิน 0.05

ไม่เกิน 25

ไม่เกิน 180

ไม่เกิน 30

ไม่เกิน 70

เกินกว่า 50 ตัน ต่อวัน

เตาเผามูลฝอยที่มีก�ำลังการเผาไหม้ ในการก�ำจัดมูลฝอย

ตารางที่ 2.3 มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย วันที่ 9 มิถุนายน 2553


2.4 หลั ก เกณฑ์ ใ นการพิ จ ารณาความเหมาะสมของพื้ น ที่ แ ละการจั ด การสถานที่ ฝ ั ง กลบ มูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล

อาศัยอ�ำนาจตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม กรมควบคุมมลพิษได้ออก ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์ในการพิจารณา ความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้าง และการจัดการสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลัก สุขาภิบาล วันที่ 29 มิถุนายน 2560 โดยมีสาระส�ำคัญดังต่อไปนี้ 1. พืน้ ทีส่ ำ� หรับใช้เป็นสถานทีฝ่ งั กลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ให้พจิ ารณาความเหมาะสม เบื้องต้นดังนี้ 1.1 ไม่ควรใช้พื้นที่ดังต่อไปนี้ (1) พืน้ ทีช่ มุ น�ำ้ ทีม่ คี วามส�ำคัญระดับนานาชาติ และระดับชาติตามทีห่ น่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ได้ก�ำหนด (2) พื้นที่ลุ่มน�้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี (3) พื้นที่ห้ามก่อสร้างโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (4) พื้นที่ห้ามก่อสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วยควบคุมอาคาร (5) พื้นที่ห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง (6) พื้นที่ซึ่งมีลักษณะกีดขวางการไหลของทางน�้ำ และพื้นที่ที่มีโอกาสถูกน�้ำกัดเซาะ (7) พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มและน�้ำป่าไหลหลากตามที่กรมทรัพยากรธรณีประกาศก�ำหนด (8) พื้นที่ราบน�้ำท่วมถึง โดยพิจารณาจากการเกิดซ�้ำในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา เว้นแต่จะมีระบบหรือมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดการพัดพามูลฝอยออกภายนอกบริเวณ (9) แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี (10) เขตอนุรักษ์ 1.2 ควรอยู่ห่างจากสถานที่หรือพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ (1) อยู่ห่างจากแนวเขตขอบลานบินในบริเวณสนามบินไม่น้อยกว่า 5,000 เมตร (2) อยู่ห่างไม่น้อยกว่า 1,000 เมตร จาก

90

การจัดการของเสียจากชุมชน


(ก) แนวเขตที่ดินของโบราณสถาน (ข) พื้นที่ลุ่มน�้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี (ค) เขตอนุรักษ์ (ง) แหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรี (ฉ) เขตชุมชนหรืออยู่ในระยะที่ชุมชนให้ความยินยอม (3) อยู่ห่างจากบ่อน�้ำดื่มของประชาชน และโรงผลิตน�้ำประปา ไม่น้อยกว่า 700 เมตร (4) อยู่ห่างจากแหล่งน�้ำสาธารณะ แหล่งน�้ำที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือแหล่งน�้ำธรรมชาติไม่น้อยกว่า 100 เมตร 1.3 พื้นที่ตั้งควรมีลักษณะดังนี้ (1) สภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่ที่จะมีความเหมาะสมในการก่อสร้างและด�ำเนินการ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) อยู่ห่างจากรอยแตก รอยเลื่อนขนาดใหญ่ตามที่กรมทรัพยากรธรณีประกาศ ก�ำหนด รวมถึงโพรงหิน และพื้นที่ที่มีสภาพไม่มั่นคงไม่น้อยกว่า 100 เมตร ในกรณีที่มีระยะห่างน้อยกว่า ที่ก�ำหนดไว้ จะต้องมีมาตรการป้องกันแก้ไข (ข) ชัน้ ดินหรือชัน้ หินตามธรรมชาติมอี ตั ราการซึมผ่านของน�ำ้ ต�ำ่ ถึงต�ำ่ มาก โดยควร มีอัตราการซึมผ่านของน�้ำได้เทียบเท่ากับหรือต�่ำกว่า 1 x 10-5 เซนติเมตรต่อวินาที ตลอดช่วงความหนา ที่ 3 เมตร และมีขนาดกว้างกว่าพื้นที่ของสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลไม่น้อยกว่า 50 เมตร ในกรณีทสี่ ภาพชัน้ ดินหรือชัน้ หินตามธรรมชาติมอี ตั ราการซึมผ่านของน�ำ้ สูงกว่าค่าทีก่ ำ� หนด จะต้อง มีมาตรการป้องกันแก้ไข (ค) ชัน้ ดินหรือชัน้ หินตามธรรมชาติควรมีความมัน่ คงแข็งแรงเพียงพอทีจ่ ะสามารถ รองรับปริมาณมูลฝอยได้ตามหลักวิศวกรรม (2) พืน้ ทีค่ วรมีระดับน�ำ้ ใต้ดนิ อยูล่ กึ แต่หากพืน้ ทีม่ รี ะดับน�ำ้ ใต้ดนิ อยูส่ งู จะต้องมีมาตรการ ป้องกันการปนเปื้อนของน�้ำใต้ดิน (3) ควรเป็นทีด่ นิ ต่อเนือ่ งผืนเดียวและมีขนาดเพียงพอ สามารถใช้ฝงั กลบได้ไม่นอ้ ยกว่า 15-20ปี ในกรณีที่ที่ดินมีขนาดไม่เพียงพอ ให้มีการออกแบบและการด�ำเนินงานที่เหมาะสมรองรับ เพื่อสามารถยืดอายุการใช้งานได้ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของระยะเวลาเพื่อฝังกลบมูลฝอยในพื้นที่นั้น

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

91


2. การออกแบบและการก่อสร้างสถานทีฝ่ งั กลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ให้ใช้หลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 2.1 ก่อนการก่อสร้างสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ควรเตรียมข้อมูล ดังต่อไปนี้ (1) แผนทีห่ รือภาพถ่ายทางอากาศแสดงทีต่ งั้ อาณาเขต และการใช้ทดี่ นิ โดยรอบในรัศมี 1,000 เมตร ของสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (2) แผนผังแสดงกระบวนการปฏิบัติงานของสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลัก สุขาภิบาล (3) ข้อมูลเกีย่ วกับแหล่งก�ำเนิด ชนิดหรือประเภทมูลฝอย และปริมาณมูลฝอยทีจ่ ะก�ำจัด รวมทั้งการคาดการณ์ปริมาณมูลฝอยในอนาคต (4) ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร เช่น จ�ำนวนบุคลากร จ�ำนวนวันและชั่วโมงปฏิบัติงาน รวมถึงมาตรการความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบัติงาน (5) ข้อมูลเกีย่ วกับเครือ่ งจักรกลหนักที่ใช้งาน อายุการใช้งานของสถานทีฝ่ งั กลบมูลฝอย แหล่งและประเภทของวัสดุกลบทับมูลฝอย (6) ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทางอุทกธรณีวิทยาของสถานที่ฝังกลบมูลฝอย โดยให้ส�ำรวจ ทิศทาง และความเร็วของการไหลของน�้ำใต้ดิน ระดับน�้ำสูงสุดของน�้ำใต้ดิน คุณภาพของน�้ำใต้ดินและ น�้ำผิวดินก่อนเริ่มโครงการ รวมทั้งลักษณะภูมิประเทศ ชั้นหินอุ้มน�้ำ และแหล่งน�้ำสาธารณะภายในรัศมี 1,000 เมตร รอบพื้นที่โครงการ (7) ข้อมูลเกีย่ วกับสภาพทางธรณีวทิ ยาเทคนิคในบริเวณ โดยให้สำ� รวจและอธิบายสภาพ ชั้นดิน น�้ำใต้ดิน อัตราการซึมผ่านของน�้ำของชั้นดิน สภาพความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว รอยเลื่อน แผ่นดินถล่ม และหลุมยุบ รวมทัง้ วิเคราะห์ฐานรากทีร่ องรับภาระและแรงกด และสภาพการทรุดตัวภายหลัง การฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล 2.2 การออกแบบสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ควรด�ำเนินการดังต่อไปนี้ (1) การออกแบบให้เป็นไปตามประมวลหลักปฏิบตั วิ ชิ าชีพของสภาวิศวกรหรือหน่วยงาน ราชการที่เกี่ยวข้อง หากไม่มี ให้ปฏิบัติตามหรือประยุกต์ ใช้หลักเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ยอมรับในระดับ นานาชาติ โดยจะต้องพิสูจน์ว่าข้อก�ำหนดดังกล่าวมีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของประเทศไทย (2) มาตรฐานการก่อสร้างให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ มาตรฐาน หรือข้อก�ำหนดของ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือมาตรฐานอื่นที่ยอมรับได้ 92

การจัดการของเสียจากชุมชน


(3) ระดับก้นบ่อฝังกลบให้อยู่สูงกว่าระดับน�้ำใต้ดินสูงสุดไม่น้อยกว่า 1 เมตร ยกเว้นใน กรณีทมี่ กี ารออกแบบพิเศษเพือ่ ควบคุมป้องกันแรงดันขึน้ (uplift pressure) ของน�ำ้ ใต้ดนิ ทีม่ ตี อ่ ชัน้ มูลฝอย ในสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (4) ให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมปัญหากลิ่นรบกวน ระบบระบาย ก๊าซชีวภาพ และมาตรการจัดการเศษมูลฝอยปลิวออกสู่นอกพื้นที่ (5) ให้ออกแบบองค์ประกอบต่างๆ ตามความจ�ำเป็นของการใช้งานและความเหมาะสม ของขนาดพื้นที่ เช่น ระบบถนนภายในและระบบการจราจร อาคารส�ำนักงาน โรงซ่อมบ�ำรุง พื้นที่จอดรถ พื้นที่ล้างรถ ภูมิสถาปัตย์ของสถานที่ ระบบประปา ระบบไฟฟ้า ระบบสื่อสาร เป็นต้น (6) การออกแบบระบบป้องกันการปนเปื้อนของมลพิษให้ด�ำเนินการดังนี้ (ก) ใช้วัสดุกันซึมที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ทนต่อการกัดกร่อนที่จะต้องสัมผัสกับ น�้ำชะมูลฝอย ความเสียหายจากจากการสัมผัสกับมูลฝอย และแรงดันของน�้ำ (ข) ติดตั้งวัสดุกันซึมบนพื้นหรือสภาพทางธรณีวิทยาที่สามารถรองรับแรงกดจาก น�้ำหนักของมูลฝอย และต้องติดตั้งให้ครอบคลุมดินโดยรอบทั้งหมดที่จะต้องสัมผัสกับมูลฝอยหรือน�้ำชะ มูลฝอย โดยอาจใช้ดนิ เหนียวบดอัด วัสดุสงั เคราะห์ประเภทแผ่นโพลีเอทธิลนี ชนิดความหนาแน่นสูง (High density polyethylene: HDPE) หรือใช้ดินเหนียวร่วมกับวัสดุสังเคราะห์ทั่วไป การปูวัสดุกันซึมที่ผนังและ ก้นบ่อฝังกลบแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ การใช้ดนิ ทีม่ อี ตั ราการไหลซึมต�ำ่ การใช้วสั ดุสงั เคราะห์ชนั้ เดียว กับดินที่มีอัตราการไหลซึมต�่ำ การใช้วัสดุกันซึมผสม และการใช้วัสดุกันซึม 2 ชั้น ทั้งนี้มาตรฐานการ ก่อสร้าง การติดตั้ง การยึดขอบบ่อ และการเชื่อมวัสดุกันซึม และมาตรฐานการทดสอบคุณภาพชั้นวัสดุ กันซึมให้เป็นไปตามข้อก�ำหนดของมาตรฐานหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง หรือมาตรฐานอื่นที่ยอมรับได้ (ค) วางระบบรวบรวมและสูบน�้ำชะมูลฝอย โดยต้องเป็นวัสดุที่มีความทนทานทาง เคมีจากน�ำ้ ชะมูลฝอย และมีความแข็งแรงพอทีจ่ ะป้องกันความเสียหายภายใต้แรงดันทีเ่ กิดจากการกองทับ ของมูลฝอย วัสดุกลบทับ และการปฏิบตั งิ านของเครือ่ งจักรกล ระบบรวบรวมน�ำ้ ชะมูลฝอยต้องอยูเ่ หนือชัน้ วัสดุกันซึม โดยอาจใช้ท่อพีวีซี (PVC) หรือท่อโพลีเอทธิลีน (PE) หรือท่อโพลีเอทธิลีนชนิดความหนาแน่น สูงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 4 นิ้ว เจาะรู หุ้มด้วยแผ่นกรองใยสังเคราะห์ และวางในชั้นกรวดหรือ ทรายมนที่มีค่าอัตราการซึมผ่านของน�้ำ หรือค่าความน�ำชลศาสตร์ (Hydraulic conductivity) ไม่น้อยกว่า 1 x 10 - 3 เซนติเมตรต่อวินาที และชัน้ ทีม่ คี วามหนาไม่นอ้ ยกว่า 30 เซนติเมตร ระยะห่างและความลาดเอียง ของท่อรวบรวมน�ำ้ ชะมูลฝอยต้องมีความสอดคล้องกับค่าแรงดันน�ำ้ ชะมูลฝอยทีย่ อมให้เกิดขึน้ แต่ตอ้ งไม่เกิน 30 เซนติเมตร และการออกแบบท่อรวบรวมน�้ำชะมูลฝอยจะต้องมีวิธีการทดสอบการอุดตันและวิธีท�ำ ความสะอาดท่อ บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

93


(ง) ออกแบบการควบคุมและการบ�ำบัดน�้ำชะมูลฝอยจากระบบรวบรวมและสูบน�้ำ ชะมูลฝอยทีเ่ กิดขึน้ ในสถานทีฝ่ งั กลบมูลฝอย โดยให้บอ่ บ�ำบัดน�ำ้ เสียเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทกี่ ำ� หนด เช่น ใช้ ดินทีม่ อี ตั ราการไหลซึมไม่เกิน 1 x 10-7 เซนติเมตรต่อวินาที หนา 60 เซนติเมตร หรือใช้วสั ดุกนั ซึมประเภท แผ่นวัสดุสังเคราะห์ชั้นเดียวหนาไม่น้อยกว่า 1.5 มิลลิเมตร วางอยู่บนชั้นดินที่มีอัตราการซึมผ่านของน�้ำ ไม่เกิน 1 x 10-5 เซนติเมตรต่อวินาที หนา 60 เซนติเมตร ก�ำหนดระยะเผือ่ อย่างน้อย 60 เซนติเมตร เหนือ ความสูงของน�้ำที่เกิดจากพายุฝนช่วงเวลา 24 ชั่วโมงที่เกิดในช่วงระยะเวลา 25 ปี และมีการควบคุมน�้ำทิ้ง ก่อนระบายออกสู่ภายนอก โดยจะต้องไม่เกินมาตรฐานน�้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (จ) ออกแบบระบบควบคุมก๊าซมีเทนเพื่อป้องกันการระเบิด ไฟไหม้ และควบคุม ก๊าซที่มีกลิ่นเหม็นรบกวน (ฉ) ออกแบบขนาดของพื้นที่ฝังกลบมูลฝอยให้มีขนาดที่เหมาะสมเพื่อรองรับ ปริมาณมูลฝอยที่เข้าสถานที่ พร้อมทั้งมีมาตรการป้องกันมิให้น�้ำฝนสัมผัสกับมูลฝอย หรือขังอยู่ในพื้นที่ ฝังกลบมูลฝอย และให้มีพื้นที่ส�ำรองส�ำหรับกองวัสดุกลบทับมูลฝอยรายวันที่มีขนาดที่เหมาะสม (ช) ออกแบบระบบจัดการน�้ำฝน รวมทั้งบ่อพักน�้ำและทางระบายน�้ำภายในสถานที่ ให้มปี ระสิทธิภาพ โดยน�ำ้ ฝนทีร่ ะบายออกต้องปราศจากองค์ประกอบซึง่ ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม สามารถป้องกันการระบายน�ำ้ ฝนสูงสุดทีเ่ กิดจากฝนในช่วงระยะเวลา 25 ปีทผี่ า่ นมาไหลลงสูพ่ นื้ ทีฝ่ งั กลบที่ ยังไม่ปิด สามารถรวบรวมและควบคุมปริมาณน�้ำฝนช่วงเวลา 24 ชั่วโมงในช่วงระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมา และต้องป้องกันไม่ให้น�้ำฝนผสมกับน�้ำชะมูลฝอย (ซ) ออกแบบพืน้ ทีฉ่ นวนโดยรอบพืน้ ทีฝ่ งั กลบโดยมีระยะห่างจากแนวเขตทีด่ นิ รอบ บริเวณสถานที่ฝังกลบไม่น้อยกว่า 25 เมตร เพื่อใช้ประโยชน์ส�ำหรับถนน คูระบายน�้ำ และปลูกต้นไม้ที่ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อให้เกิดทัศนียภาพที่เหมาะสมและลดปัญหากลิ่นเหม็นรบกวนชุมชนบริเวณ ใกล้เคียง (ฌ) ออกแบบการปิดสถานที่ฝังกลบมูลฝอยโดยให้ด�ำเนินการดังต่อไปนี้ 1) ชัน้ มูลฝอยเหนือระดับพืน้ ดิน โดยเฉพาะความสูงของชัน้ มูลฝอย ต้องค�ำนึงถึง ทัศนียภาพของสถานที่ ความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 2) ความลาดชันด้านข้างชัน้ สุดท้าย และความลาดชันด้านข้างของหน่วยก�ำจัด เหนือดินไม่ควรมีความลาดชันมากกว่า 3 ต่อ 1 หากมีความลาดชันมากกว่า 3 ต่อ 1 จะต้องมีการพิสูจน์ ทางวิศวกรรมว่าจะไม่เกิดการพังทลายและการกัดเซาะบริเวณหน้าดิน และสามารถระบายน�้ำเพื่อควบคุม การกัดเซาะของวัสดุปกคลุมชั้นสุดท้าย

94

การจัดการของเสียจากชุมชน


3) ส�ำหรับสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลที่รับมูลฝอยทั่วไป กรณีที่มีการใช้วัสดุกันซึมปิดทับด้านบนของชั้นสุดท้าย ต้องมีชั้นปกคลุมซึ่งมีค่าอัตราการซึมผ่านของน�้ำ ไม่มากกว่าอัตราการซึมผ่านของน�้ำของระบบวัสดุกันซึมด้านล่าง ชั้นปกคลุมสุดท้ายจะใช้แผ่นวัสดุ สังเคราะห์หนาไม่น้อยกว่า 1 มิลลิเมตร และใช้ดินกลบทับชั้นบนหนาไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร เพื่อ ปลูกพืชรากสั้นคลุมดินส�ำหรับป้องกันการพังทลายของดิน 4) ส�ำหรับสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลที่รับมูลฝอยทั่วไป กรณีที่ไม่มีการใช้วัสดุกันซึมปิดทับด้านบนของชั้นสุดท้าย ให้มีชั้นปกคลุมที่มีค่าอัตราการซึมผ่านของน�้ำ ไม่เกิน 1 x 10-7 เซนติเมตรต่อวินาที ความหนาไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร และใช้ดินกลบทับชั้นบนอีก ความหนาไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร เพื่อปลูกพืชคลุมดิน 5) ส�ำหรับสถานทีฝ่ งั กลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลทีร่ บั มูลฝอยทีย่ อ่ ยสลาย ยากหรือไม่เน่าเสียง่าย กรณีใช้วัสดุกันซึม ห้ามใช้ดินเหนียวปูด้านล่าง ชั้นปกคลุมจะมีค่าอัตราการซึม ผ่านของน�ำ้ ไม่เกิน 1 x 10-5 เซนติเมตรต่อวินาที ความหนาไม่นอ้ ยกว่า 45 เซนติเมตร และมีดนิ ชัน้ สุดท้าย ความหนาไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตรเหนือชั้นปกคลุม เพื่อปลูกพืชคลุมดินป้องกันการกัดเซาะ 6) ส�ำหรับสถานทีฝ่ งั กลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลทีร่ บั มูลฝอยทีย่ อ่ ยสลาย ยากหรือไม่เน่าเสียง่าย กรณีไม่มีการใช้วัสดุกันซึม ชั้นปกคลุมมีลักษณะเช่นเดียวกับกรณีใช้วัสดุกันซึม เป็นดินเหนียว (ญ) กรณีที่มีการออกแบบเพื่อยืดอายุการใช้งานสถานที่ฝังกลบ และใช้ประโยชน์ มูลฝอยหลังปิดสถานที่ชั่วคราวโดยการขุด รื้อ ร่อน มูลฝอย ให้ค�ำนึงถึง 1) ขนาดและลักษณะของพื้นที่ที่จะด�ำเนินการ โดยจะต้องมีการศึกษาถึง ลักษณะทางธรณีวิทยา เสถียรภาพของพื้นที่ ความลึกของน�้ำใต้ดิน และปัจจัยอื่นๆที่อาจมีผลกระทบต่อ การออกแบบและการด�ำเนินการ 2) ค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินการ 3) อัตราการย่อยสลายของมูลฝอย เพื่อใช้พิจารณาระยะเวลาในขุด รื้อ ร่อน รวมทั้งประเภทและปริมาณการใช้ประโยชน์จากวัสดุที่รื้อร่อนได้แต่ละประเภท 4) การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น สุขภาพอนามัย สังคม และ ความปลอดภัย

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

95


5) สถานทีก่ กั เก็บวัสดุทรี่ อื้ ร่อนได้แต่ละประเภท โดยจะต้องมีรปู แบบและขนาด รองรับทีเ่ หมาะสมกับปริมาณและประเภทของวัสดุทร่ี อื้ ร่อนได้ รวมทัง้ ไม่กอ่ ให้เกิดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม 6) ศักยภาพการรองรับ และระยะทางการขนส่งไปยังแหล่งทีจ่ ะน�ำวัสดุทรี่ อื้ ร่อน ได้ไปใช้ประโยชน์ 7) กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง 3. การจัดการสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ให้ด�ำเนินการดังต่อไปนี้ 3.1 จัดเตรียมเจ้าหน้าทีป่ ฏิบตั งิ านในชัว่ โมงท�ำงาน และติดประกาศชัว่ โมงปฏิบตั งิ านทีป่ ระตู ทางเข้า เพื่อให้สาธารณชนได้ทราบโดยทั่วไป 3.2 จัดเตรียมเอกสารหรือคู่มือการปฏิบัติงานและการบ�ำรุงรักษา โดยก�ำหนดให้มีมาตรการ ควบคุมความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบัติงาน 3.3 บันทึกปริมาณมูลฝอยรายวันที่น�ำเข้าไปก�ำจัด 3.4 ตรวจสอบมูลฝอยเมื่อมีการขนส่งเข้ามายังสถานที่ก�ำจัด เพื่อตรวจจับและป้องกันไม่ให้ มีการก�ำจัดมูลฝอยที่ไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะของเสียอันตราย มูลฝอยติดเชื้อ การตรวจสอบจะต้องมี การบันทึกข้อมูล และเก็บรักษาข้อมูลไว้อย่างน้อย 3 ปี ทั้งนี้ การตรวจสอบอาจด�ำเนินการโดยการสังเกต หรือใช้เครือ่ งมือตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น เครือ่ งมือตรวจวัดความเป็นกรด-ด่าง เครือ่ งมือตรวจวัด จุดวาบไฟ ฯลฯ กรณีทพี่ บการขนส่งมูลฝอยผิดประเภทเข้ามา ให้เจ้าหน้าทีป่ ระจ�ำสถานทีด่ ำ� เนินการส่งคืน แจ้งผู้ขนส่งและหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อด�ำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป 3.5 ควบคุมเศษมูลฝอยปลิว กลิ่น แมลง และพาหะน�ำโรค มิให้ออกสู่ภายนอกสถานที่ เพื่อ ป้องกันปัญหารบกวนด้านสุขภาพอนามัย และสภาพที่ไม่น่าดู 3.6 จัดเตรียมมาตรการป้องกันอัคคีภัย แผนฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหากรณีเครื่องจักรหรือ อุปกรณ์เกิดขัดข้อง หรือเกิดความล่าช้าด้วยสาเหตุอื่นใดในระหว่างปฏิบัติงาน 3.7 ด�ำเนินการเทมูลฝอยโดยการเกลีย่ เป็นชัน้ ๆ แต่ละชัน้ มีความหนาประมาณ 60 เซนติเมตร และบดอัดให้มีความหนาประมาณ 30 เซนติเมตร หรือน้อยที่สุด และกลบทับด้วยวัสดุกลบทับก่อนที่จะเท มูลฝอยชั้นต่อไป กรณีรับมูลฝอยที่ย่อยสลายยากหรือไม่เน่าเสียง่าย ให้บดอัดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครัง้ ส�ำหรับมูลฝอยชัน้ แรกทีท่ บั อยูบ่ นแผ่นวัสดุกนั ซึมและระบบรวบรวมน�ำ้ ชะมูลฝอย จะต้องบดอัดหนา ไม่เกิน 1 เมตร และต้องไม่มีมูลฝอยที่อาจท�ำความเสียหายแก่แผ่นวัสดุกันซึม

96

การจัดการของเสียจากชุมชน


ความลาดชันของการฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลควรมีความลาดชัน ไม่เกิน 1 ต่อ 3 ในแนวดิ่งต่อแนวราบ กรณีการฝังกลบมูลฝอยอินทรีย์ที่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ให้ฝังกลบโดยมีระยะห่างจาก หน้างานฝังกลบไม่น้อยกว่า 1 เมตร โดยอาจฉีดพ่นสารเพื่อดับกลิ่นที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย และสิ่งแวดล้อม และใช้วัสดุกลบทับหลังการฝังกลบมูลฝอยในแต่ละวัน ให้มีความหนาประมาณ 15-20 เซนติเมตร วัสดุกลบทับชั้นกลางให้มีความหนาประมาณ 30 เซนติเมตร และใช้วัสดุกลบทับชั้นสุดท้าย 3.8 ควบคุมหน้างานฝังกลบรายวันให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อลดกลิ่นและสัตว์พาหะที่อาจ เกิดขึ้น รวมทั้งก�ำหนดต�ำแหน่งหน้างานฝังกลบให้เป็นระเบียบ หรือเป็นไปตามลักษณะที่ได้ออกแบบไว้ 3.9 ในการฝังกลบ อาจให้มีการแบ่งพื้นที่ฝังกลบมูลฝอยย่อยๆ ตามระยะ โดยการก่อสร้าง แนวคันดินชั่วคราวในพื้นที่ฝังกลบ เพื่อให้สามารถลดผลกระทบจากน�้ำฝนที่อาจสัมผัสกับมูลฝอยและ เกิดน�้ำชะมูลฝอยในพื้นที่ฝังกลบมูลฝอยมากเกินไป โดยให้ค�ำนึงถึงปริมาณและลักษณะของมูลฝอยที่จะ ถูกฝังกลบในแต่ละวัน อัตราการย่อยสลายของมูลฝอย ขนาดของพื้นที่ฝังกลบทั้งหมดที่มีอยู่ ระยะเวลา การใช้งานของพื้นที่ย่อย ความปลอดภัย และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ให้ด�ำเนินการตามรูปแบบที่ได้ ออกแบบไว้ หรือให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและสภาพท้องถิ่น 3.10 จัดหาปริมาณวัสดุกลบทับที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและให้เพียงพอกับปริมาณมูลฝอยที่ เข้ามาก�ำจัดอย่างต่อเนื่อง 3.11 กรณีที่มีการหมุนเวียนการฝังกลบในพื้นที่หรือพื้นที่ย่อยตามระยะโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการขุด รื้อ ร่อน มูลฝอยเพื่อใช้ประโยชน์ จะต้องด�ำเนินการตามข้อก�ำหนดที่ได้ออกแบบไว้ ทั้งนี้ ในส่วนของพืน้ ทีท่ ปี่ ดิ ให้ปดิ แบบชัว่ คราว โดยใช้วสั ดุกลบทับมูลฝอยให้มคี วามหนาตลอดพืน้ ที่ไม่นอ้ ยกว่า 50 เซนติเมตร 3.12 รวบรวมและบ�ำบัดน�้ำชะมูลฝอยเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานน�้ำทิ้งตามกฎหมายที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งการบ�ำบัดอาจส่งไปสู่โรงบ�ำบัดนอกสถานที่ หรืออาจมีระบบบ�ำบัดน�้ำชะมูลฝอยในสถานที่ ฝังกลบมูลฝอยก็ได้ 3.13 ติดตามตรวจสอบก๊าซภายในสถานที่ฝังกลบมูลฝอย 3.14 ควบคุมดูแลให้นำ�้ ฝนสัมผัสกับมูลฝอยน้อยทีส่ ดุ เพือ่ ไม่ให้นำ�้ ฝนทีร่ ะบายออกนอกสถานที่ ฝังกลบมูลฝอยก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม ตลอดจนท�ำการควบคุมดูแลระบบระบายน�้ำฝนให้อยู่ ในสภาพที่ใช้งานได้ดีอย่างสม�่ำเสมอ 3.15 จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานให้เพียงพอ และส�ำรองเครื่องมือ และอุปกรณ์ดังกล่าวไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

97


3.16 ดูแลและบ�ำรุงรักษาถนนที่อยู่ในพื้นที่ฝังกลบให้สามารถใช้งานได้ดีทุกฤดูกาล 3.17 ติดตามตรวจสอบคุณภาพน�้ำ เช่น วิเคราะห์น�้ำจากบ่อติดตามตรวจสอบ น�้ำผิวดิน น�้ำชะมูลฝอย และน�้ำทิ้งจากระบบบ�ำบัดน�้ำเสียอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ติดตามตรวจสอบน�้ำใต้ดินโดยติดตั้ง บ่อติดตามตรวจสอบเพื่อตรวจวัดการรั่วไหลของน�้ำชะมูลฝอย ตลอดจนติดตามตรวจสอบน�้ำผิวดิน ทั้งนี้ โดยวิธีการที่ก�ำหนดตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฯ หากพบว่าคุณภาพน�้ำผิวดินและ น�้ำใต้ดินมีค่าต�่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพน�้ำที่เกี่ยวข้องของทางราชการ จะต้องเร่งตรวจสอบปัญหาและหา สาเหตุ รวมทั้งหามาตรการแก้ไขปัญหาโดยเร็วที่สุด 3.18 การใช้ประโยชน์จากมูลฝอยที่ถูกฝังกลบโดยการขุด รื้อ ร่อน ให้ด�ำเนินการตามระยะ เวลาที่เหมาะสมหลังจากการฝังกลบ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ออกแบบไว้ มาตรการ ป้องกันและควบคุมด้านสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานและเจ้าหน้าที่ 3.19 การปิดสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลให้ด�ำเนินตามมาตรการต่างๆ เช่น จัดท�ำรายละเอียดแผนผังแสดงขั้นตอนการปิด แบบแสดงภูมิประเทศเดิมและระดับสุดท้ายภายหลัง การปิด ท�ำการส�ำรวจขั้นสุดท้ายภายหลังการปิดสมบูรณ์เพื่อพิสูจน์ว่าเส้นชั้นความสูงระดับสุดท้ายเป็นไป ตามแผนการ โดยมีเส้นชั้นความสูงไม่เกิน 1 เมตร 3.20 การดูแลระยะยาว ให้ด�ำเนินการตามมาตรการต่างๆ เช่น ติดตามตรวจสอบดูแลความ มัน่ คงและประสิทธิภาพของการปิดทับชัน้ สุดท้ายกับส่วนประกอบอืน่ ของสถานทีต่ อ่ ไปอีกไม่นอ้ ยกว่า 20 ปี นับจากวันปิดสถานที่ อย่างไรก็ดี อาจก�ำหนดช่วงเวลาการดูแลระยะยาวให้ลดลงได้ถ้าสถานที่ฝังกลบ มูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาลด�ำเนินการสอดคล้องตามมาตรฐาน และมีระบบติดตามตรวจสอบ รวมทั้ง คุณภาพน�ำ้ ใต้ดนิ ในบ่อติดตามตรวจสอบมีคา่ ไม่เกินค่ามาตรฐาน ไม่มกี ารกัดเซาะชัน้ ปกคลุม และการยุบตัว ของมูลฝอยสิ้นสุดลงแล้วภายในระยะเวลา 10 ปี หลังการปิดสถานที่ 3.21 การก่อสร้างพื้นที่ฝังกลบมูลฝอยไว้ด้านบนหรือด้านข้างลาดเอียงของการฝังกลบที่ถม ไว้กอ่ นแล้ว ให้ถอื ว่าเป็นการขยายแนวดิง่ ของการฝังกลบ ซึง่ จะต้องด�ำเนินการโดยไม่ให้เกิดการรัว่ ไหลของ น�้ำชะมูลฝอย มีการตรวจสอบเสถียรภาพของฐานรากและท�ำการค�ำนวณการทรุดตัว มีระบบการจัดการ น�้ำผิวดินและระบบควบคุมก๊าซ 4. ในกรณีที่มีการว่าจ้างบุคคลหรือนิติบุคคลเป็นผู้รับจ้างเพื่อด�ำเนินการบริหารจัดการสถานที่ ผู้ว่าจ้างควรก�ำหนดเงื่อนไขในสัญญาจ้างเพื่อให้ผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ การเก็บตัวอย่าง และการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิง่ แวดล้อมตามสัญญาจ้าง หรือกรณีมเี หตุรำ� คาญตาม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

98

การจัดการของเสียจากชุมชน


2.5 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของพืน้ ที่ การออกแบบก่อสร้าง และการจัดการ สถานที่ก�ำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา

อาศัยอ�ำนาจตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัตริ ะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม กรมควบคุมมลพิษได้ออก ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์ในการพิจารณา ความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้าง และการจัดการสถานที่ก�ำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา วันที่ 29 มิถุนายน 2560 โดยมีสาระส�ำคัญโดยสังเขปดังต่อไปนี้ 1. พืน้ ทีส่ ำ� หรับใช้เป็นสถานทีก่ ำ� จัดมูลฝอยโดยเตาเผา ให้พจิ ารณาความเหมาะสมตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาคาร โรงงาน ผังเมือง พื้นที่ชุมน�้ำ เขตอนุรักษ์ พื้นที่ลุ่มน�้ำ พื้นที่เสี่ยงภัยทางธรรมชาติ และโบราณสถาน ในกรณีที่เข้าข่ายเป็นโรงไฟฟ้า พลังงานความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง ให้พิจารณาความเหมาะสมตามประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice) ของกระทรวงพลังงานด้วย 2. การออกแบบและการก่อสร้างสถานที่ก�ำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 2.1 ก่อนการก่อสร้าง ควรเตรียมข้อมูลต่างๆ เช่น แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแสดงที่ตั้ง อาณาเขต และการใช้ที่ดินโดยรอบในรัศมี 1,000 เมตร แผนผังแสดงกระบวนการปฏิบัติงาน แหล่งก�ำเนิด ชนิดหรือประเภทของมูลฝอย ข้อมูลเกีย่ วกับเตาเผา เครือ่ งจักรและอุปกรณ์ตา่ งๆ ที่ใช้ในการก�ำจัดมูลฝอย จ�ำนวนบุคลากรและเวลาปฏิบัติงาน กระบวนการและรูปแบบการควบคุมการระบายอากาศเสียจากปล่อง เตาเผา การเก็บรวบรวมและการจัดการเถ้าหนักและเถ้าลอย และการน�ำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ ประโยชน์ (ถ้ามี) เป็นต้น 2.2 การออกแบบสถานที่ก�ำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา ควรพิจารณาข้อก�ำหนดดังต่อไปนี้ (1) การออกแบบอาคาร และระบบต่างๆ ให้มีรายละเอียดของแต่ละระบบ ได้แก่ (ก) ระบบรับ เก็บ พัก และป้อนมูลฝอยเข้าสู่เตาเผา เช่น เครือ่ งชัง่ และอาคารเครือ่ งชัง่ จะต้องมีขนาดทีเ่ หมาะสมกับปริมาณมูลฝอย อาคารรับมูลฝอย ต้องประกอบด้วยตัวอาคาร และประตูอาคารที่สามารถ ป้องกันการแพร่กระจายของกลิ่นและสารมลพิษตลอดเวลา พื้นที่อาคารสามารถระบายน�้ำได้สะดวก ที่กองพักและบ่อพักมูลฝอย ให้มีขนาดที่เหมาะสมโดยจะต้องมีขนาด รองรับมูลฝอยปริมาณไม่น้อยกว่า 6 เท่าของมูลฝอยที่เก็บขนได้เฉลี่ยในแต่ละวัน มีประตูบ่อพักมูลฝอย และระบบรวบรวมน�้ำชะมูลฝอยเพื่อน�ำไปบ�ำบัดอย่างเหมาะสม

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

99


ระบบป้อนมูลฝอยเข้าเตาเผา จะต้องมีอปุ กรณ์ และระบบป้องกันควันหรือ เปลวไฟออกจากเตาเผาอย่างเหมาะสม (ข) ระบบเตาเผา จะต้องพิจารณาถึงข้อก�ำหนดต่างๆ เช่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับปริมาณและองค์ประกอบทางกายภาพและเคมี ของมูลฝอย การควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน ห้องเผาไหม้ที่ จะต้องออกแบบให้มรี ะยะเวลาเก็บกัก (Detention time) ของก๊าซเผาไหม้ในห้องเผาไม่นอ้ ยกว่า 2 วินาที มี การผสมกันระหว่างอากาศกับมูลฝอยอย่างทัว่ ถึง เกิดกระบวนการเผาไหม้ทสี่ มบูรณ์ และเกิดการเคลือ่ นที่ ของเถ้าหนักออกจากเตาได้อย่างรวดเร็ว การควบคุมการไหลและการกระจายตัวของอากาศที่เข้าสู่เตาเผา การควบคุมความดันในเตาเผาที่เหมาะสมตลอดเวลาด�ำเนินงาน อุณหภูมิในเตาเผาขณะเริม่ เผาจะต้องควบคุมให้เป็นไปตามค่าทีอ่ อกแบบ ทั้งนี้อาจใช้หัวช่วยเผาที่ใช้น�้ำมัน ก๊าซเชิื้อเพลิง เพื่อให้มูลฝอยสามารถติดไฟได้เอง การจัดการเถ้าหนักและเถ้าลอยทีอ่ อกจากเตาเผา จะต้องมีการลดอุณหภูมิ ที่เหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดสารประกอบไดออกซิน/ฟิวแรน (Dioxins/Furans) ก่อนการน�ำเถ้าหนักและ เถ้าลอยออกจากเตา พร้อมทั้งมีระบบในการจัดการที่เหมาะสม มีการควบคุมอุณหภูมิในห้องเผาก๊าซในสภาวะที่เกิดการท�ำลายมลพิษได้ อย่างเหมาะสม โดยจะต้องมีกระบวนการลดอุณหภูมขิ องก๊าซลงอย่างรวดเร็วมากเพียงพอทีจ่ ะไม่กอ่ ให้เกิด สารประกอบไดออกซิน/ฟิวราน เพื่อให้ก๊าซเข้าสู่ระบบก�ำจัดมลพิษโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบ ทั้งนี้อาจใช้สารเคมีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการก�ำจัดมลพิษจากเตาเผาได้ จะต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสมกับน�ำ้ เสียทีเ่ กิดจากการเก็บ กอง เพือ่ รอ การน�ำเข้าสู่เตาเผา และน�้ำทิ้งที่ปล่อยระบายจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง (2) มาตรฐานงานโครงสร้าง ถนน ไฟฟ้า ประปา เครือ่ งกล ความปลอดภัยในการปฏิบตั ิ งาน การป้องกันอัคคีภัย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยให้เป็นไปตามหลัก เกณฑ์ มาตรฐาน หรือข้อก�ำหนดของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง หรือมาตรฐานอื่นที่ยอมรับได้ (3) การจัดวางผังบริเวณแสดงรายละเอียดการใช้พนื้ ทีข่ ององค์ประกอบต่างๆ ในสถานที่ ให้ใช้มาตราส่วนที่เหมาะสม

1 00

การจัดการของเสียจากชุมชน


(4) ความเหมาะสมของพื้นที่ถ่ายเทและเก็บรวบรวม พื้นที่คัดแยกมูลฝอยที่ไม่สามารถ น�ำไปเผาได้ พื้นที่รวบรวมวัสดุที่คัดแยก และระบบจัดการเถ้าหนักและเถ้าลอย (5) ความสูงของปล่องเตาเผาที่ใช้ระบายอากาศเสียให้ขึ้นอยู่กับการค�ำนวณโดยใช้ แบบจ�ำลองทางคณิตศาสตร์ทเี่ หมาะสมและไม่กอ่ ให้เกิดผลกระทบสิง่ แวดล้อม และต้องไม่ตำ�่ กว่า 20 เมตร (6) การควบคุมปัญหากลิ่นรบกวนและเศษมูลฝอยปลิว รวมทั้งระบบระบายอากาศที่ดี (7) ระบบการจัดการน�้ำฝน โดยน�้ำฝนที่ระบายออกต้องปราศจากองค์ประกอบซึ่งก่อให้ เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม (8) ระบบควบคุมน�้ำเสียเพื่อป้องกันการรั่วไหลของน�้ำชะมูลฝอยไปผสมกับน�้ำฝน คุณภาพน�้ำก่อนระบายออกสู่ภายนอกต้องไม่เกินมาตรฐานคุณภาพน�้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (9) ระบบก�ำจัดเถ้าหนัก โดยการฝังกลบหรืออาจใช้วสั ดุกลบทับรายวันในสถานทีฝ่ งั กลบ มูลฝอยที่มีการใช้วัสดุกันซึมแบบแผ่นวัสดุสังเคราะห์ชั้นเดียว ตามประกาศกรมควบคุมมลพิษฯ 3. การจัดการสถานที่ก�ำจัดมูลฝอยโดยเตาเผาให้ด�ำเนินการต่างๆ เช่น (1) จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในชั่วโมงท�ำงาน (2) จัดเตรียมคู่มือการปฏิบัติงานและการบ�ำรุงรักษา มาตรการควบคุมความปลอดภัย (3) จัดเตรียมมาตรการตรวจสอบและจัดการมิให้มูลฝอยติดเชื้อและของเสียอันตรายปะปน กับมูลฝอยทั่วไป ยกเว้นกรณีที่มีการออกแบบและควบคุมให้สามารถจัดการมูลฝอยติดเชื้อร่วมกับมูลฝอย ทั่วไปได้ (4) บันทึกปริมาณมูลฝอยรายวันจากแหล่งก�ำเนิดต่างๆ ทีน่ ำ� เข้าไปก�ำจัด ปริมาณและประเภท วัสดุที่คัดแยกออกหรือสิ่งตกค้าง ปริมาณเถ้าหนักและเถ้าลอยที่เก็บรวบรวม (5) มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบตรวจสอบคุณภาพจากปล่องแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่องตาม กฎหมาย (6) ติดตามตรวจสอบอากาศเสียจากเตาเผาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยท�ำการเก็บตัวอย่าง และตรวจวิเคราะห์หาค่าปริมาณฝุน่ ละออง ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน ไฮโดรเจนคลอไรด์ สารประกอบไดออกซิน และความทึบแสง ซึ่งจะต้องมีค่าไม่เกินมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย จากเตาเผามูลฝอย ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

101


(7) มีการรวบรวม บ�ำบัด หรือใช้ประโยชน์นำ�้ เสียจากการปนเปือ้ นมูลฝอย รวมถึงน�ำ้ เสียใดๆ ทัง้ หมดทีเ่ กิดขึน้ ในกรณีทมี่ กี ารระบายน�ำ้ ทิง้ จะต้องมีคา่ ไม่เกินมาตรฐานคุณภาพตามกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง (8) ก�ำจัดเถ้าหนักโดยการฝังกลบ และเถ้าลอยที่เกิดขึ้นโดยวิธีการที่เหมาะสมและเป็นไป ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (9) ไม่ควรใช้เถ้าหนักและเถ้าลอยเพือ่ ประโยชน์ในการเกษตรกรรมและเป็นวัสดุกลบทับรายวัน ในสถานทีก่ ำ� จัดมูลฝอยโดยวิธฝี งั กลบ เว้นแต่จะมีการวิเคราะห์ลกั ษณะทางกายภาพและเคมีให้เป็นไปตาม กฎหมายทีเ่ กี่ยวข้องว่าด้วยลักษณะและคุณสมบัตขิ องสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วทีเ่ ป็นของเสียอันตราย (10) ก�ำหนดแผนการบ�ำรุงรักษาเตาเผามูลฝอยประจ�ำปี โดยจะต้องก�ำหนดขั้นตอนและ กระบวนการด�ำเนินงานจัดการมูลฝอยตลอดช่วงการบ�ำรุงรักษาเตาเผามูลฝอย 4. ในกรณีทมี่ กี ารว่าจ้างบุคคลหรือนิตบิ คุ คลเป็นผูร้ บั จ้างเพือ่ ด�ำเนินการบริหารสถานที่ ผูว้ า่ จ้าง ควรก�ำหนดเงื่อนไขในสัญญาจ้างเพื่อให้ผู้รับจ้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเก็บ ตัวอย่าง และการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิง่ แวดล้อมตามสัญญาจ้าง หรือกรณีมเี หตุรำ� คาญตามกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง 2.6 การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

พระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ มิได้ก�ำหนดนิยามของ “มูลฝอยติดเชื้อ” ไว้โดยตรง แต่ความ หมายของ “มูลฝอยติดเชื้อ” ปรากฏในกฎกระทรวงว่าด้วยการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 ซึ่งนิยาม “มูลฝอยติดเชื้อ” ว่าหมายความถึง “มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณหรือมีความเข้มข้นซึ่งถ้ามี การสัมผัสหรือใกล้ชิดกับมูลฝอยนั้นแล้วสามารถท�ำให้เกิดโรคได้” โดยรวมถึงมูลฝอยที่เกิดขึ้นหรือใช้ใน กระบวนการตรวจวินฉิ ยั ทางการแพทย์และการรักษาพยาบาล การให้ภมู คิ มุ้ กันโรคและการทดลองเกีย่ วกับ โรค และการตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ รวมทั้งในการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าว ดังต่อไปนี้ (1) ซากหรือชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสัตว์ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัด การตวจชันสูตรศพ หรือ ซากสัตว์ และการใช้สัตว์ทดลอง (2) วัสดุมีคม เช่น เข็ม ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแก้ว ภาชนะที่ท�ำด้วยแก้ว สไลด์ และแผ่น กระจกปิดสไลด์ (3) วัสดุซงึ่ สัมผัสหรือสงสัยว่าจะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของเลือด ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเลือด สารน�้ำจากร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ หรือวัคซีนที่ท�ำจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เช่น ส�ำลี ผ้าก๊อส ผ้าต่างๆ และท่อยาง (4) มูลฝอยทุกชนิดที่มาจากห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง 1 02

การจัดการของเสียจากชุมชน


ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี กรมควบคุมมลพิษระบุว่า ใน ปี 2557 ประเทศไทยมีมูลฝอยติดเชื้อเกิดขึ้นทั่วประเทศประมาณ 52,147 ตัน (เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่มี ประมาณ 40,000 ตัน) ร้อยละ 57 ของมูลฝอยติดเชือ้ มาจากโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และ อีกร้อยละ 43 มาจากโรงพยาบาลเอกชนและสถานบริการขนาดเล็ก เช่น คลินกิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต�ำบล และสถานพยาบาลสัตว์10 การจัดการมูลฝอยติดเชือ้ จ�ำเป็นต้องแยกออกจากการจัดการมูลฝอยทัว่ ไป เพื่อป้องกันปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อโรค และผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ การจัดเก็บรวบรวม การขนส่ง และการก�ำจัด แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ อย่างเป็นระบบ มูลฝอยติดเชือ้ ประมาณร้อยละ 70 หรือประมาณ 35,857 ตันต่อปี ถูกก�ำจัดโดยเตาเผา ประกอบด้วย เตาเผาของโรงพยาบาลจ�ำนวนอย่างน้อย 68 แห่ง (ประมาณ 2,352 ตัน) เตาเผาของ อปท. จ�ำนวน 10 แห่ง (ประมาณ 14,399 ตัน) และเตาเผาของเอกชนจ�ำนวน 7 แห่ง (ประมาณ 19,106 ตัน) (ดูตารางที่ 1.4) มี ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบเตาเผาประมาณ 16,290 ตัน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากโรงพยาบาล หลายแห่งมีการเผาก�ำจัดเอง และสถานบริการสาธารณสุขขนาดเล็ก และคลินิก น�ำมูลฝอยติดเชื้อมาฝาก ก�ำจัดร่วมกับโรงพยาบาล นอกจากนี้ อาจมีมูลฝอยติดเชื้อบางส่วนถูกทิ้งรวมกับมูลฝอยชุมชนหรือมีการ ลักลอบทิ้ง11 กรมควบคุมมลพิษได้สรุปปัญหาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อไว้ 5 ข้อ ได้แก่12 1) สถานที่ก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกต้องตามหลักวิชาการยังมีไม่เพียงพอ และหลายแห่ง ด�ำเนินการไม่ถูกต้อง เช่น เตาเก่า ไม่มีระบบควบคุมมลพิษ เป็นต้น โดยคาดว่ามีมูลฝอยติดเชื้อที่ได้รับ การจัดการอย่างถูกต้องเพียงร้อยละ 63 2) ขาดศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ครอบคลุมทุกภูมิภาค ท�ำให้ไม่มีสถานที่ก�ำจัดเพื่อรองรับ มูลฝอยติดเชื้อจากสถานพยาบาลที่อยู่ห่างไกล 3) ยังไม่มีระบบเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อจากสถานบริการสาธารณสุขขนาดเล็ก เช่น คลินิก ห้องปฏิบัติการ และสถานพยาบาลสัตว์ ท�ำให้มีการทิ้งมูลฝอยติดเชื้อปะปนไปกับขยะชุมชน 4) มีการลักลอบทิ้งมูลฝอยติดเชื้อของผู้ประกอบการรับบริการเก็บขนจากโรงพยาบาลเพื่อ ไปก�ำจัด 5) ยังไม่มีกฎระเบียบเกี่ยวกับการควบคุมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ เช่น ระบบเอกสารก�ำกับ 10 กรมควบคุมมลพิษ, แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564), 2559, หน้า 11. 11 เพิ่งอ้าง. 12 เพิ่งอ้าง.

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

103


การขนส่ง (manifest system) เป็นต้น มีเพียงค�ำสั่งกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ก�ำหนดให้สถานบริการ สาธารณสุขและห้องปฏิบตั กิ ารเชือ้ อันตรายในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทีม่ กี ารจ้างเอกชนด�ำเนินการขนส่ง มูลฝอยติดเชื้อใช้เอกสารก�ำกับการขนส่งมูลฝอยติดเชื้อ ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 งานศึกษาโครงการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มี ประสิ ท ธิ ภาพ โดยการสนั บ สนุ น ของกรมควบคุ ม มลพิ ษ เมื่ อ พ.ศ. 2552 ได้ เ สนอให้ มี การจั ด การ มูลฝอยติดเชื้อแบบเป็นศูนย์รวม กล่าวคือ ให้มีการเก็บรวบรวมและขนส่งมูลฝอยติดเชื้อจากแหล่งก�ำเนิด ต่างๆ เพือ่ มาก�ำจัดทีศ่ นู ย์กำ� จัดมูลฝอยติดเชือ้ ของ อปท. ทีม่ ศี กั ยภาพในการจัดตัง้ ศูนย์การจัดการมูลฝอย ติดเชื้อ ซึ่งส่วนใหญ๋เป็นเทศบาลขนาดใหญ่ โดยสามารถแบ่งกลุ่มพื้นที่ออกเป็น 21 ศูนย์ ครอบคลุมการ ให้บริการจัดการมูลฝอยติดเชือ้ ทัว่ ประเทศ การด�ำเนินการลักษณะดังกล่าวจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการ ลงทุน เพราะสถานพยาบาล และ อปท. ในกลุม่ พืน้ ทีส่ ามารถใช้ประโยชน์รว่ มกัน ช่วยประหยัดงบประมาณ ส่วนกลางในการลงทุนและบ�ำรุงรักษาระบบ ต้องอาศัยการพัฒนาบุคลากรเพียงชุดเดียวให้มีความพร้อม และความช�ำนาญ ตลอดจนท�ำให้สามารถควบคุมก�ำกับดูแลผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเดินระบบ ได้โดยง่าย13 ตารางที่ 2.4 แสดงจ�ำนวนเตาเผามูลฝอยติดเชือ้ ทีด่ ำ� เนินการโดยหน่วยงานต่างๆ ความสามารถ ของเตาเผา และปริมาณมูลฝอยติดเชื้อที่มีการก�ำจัดจริง

13 กรมควบคุมมลพิษ, คู่มือการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวมส�ำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, โครงการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบ ศูนย์รวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ, 2553, หน้า 19.

1 04

การจัดการของเสียจากชุมชน


ตารางที่ 2.4 เตาเผามูลฝอยติดเชือ้ ของโรงพยาบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และเอกชน หน่วยงาน เตาเผาของโรงพยาบาล (เปิดด�ำเนินการ) (144 แห่ง)** เตาเผาของ อปท. (เปิดด�ำเนินการ) 1. เทศบาลนครเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 2. เทศบาลเมืองน่าน จ.น่าน 3. เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี 4. องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จ.นนทบุรี 5. กรุงเทพมหานคร 6. เทศบาลนครอุดรธานี จ.อุดรธานี 7. เทศบาลเมืองวารินช�ำราบ จ.อุบลราชธานี 8. เทศบาลนครขอนแก่น จ.ขอนแก่น 9. เทศบาลนครภูเก็ต จ.ภูเก็ต 10. เทศบาลนครยะลา จ.ยะลา รวม เตาเผาของเอกชน 1. บริษัทอัคคีปราการ จ�ำกัด (มหาชน) จ.สมุทรปราการ 2. ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด Thai Environment System จ.สมุทรปราการ 3. บริษัทที่ดินบางปะอิน จ�ำกัด จ.พระนครศรีอยุธยา 4. บริษัทโชติฐกรณ์พิบูลย์ จ�ำกัด จ.นครสวรรค์ 5. บริษัทนิวโชคอ�ำนวย จ�ำกัด จ.เชียงใหม่ 6. บริษัทการจัดการสิ่งแวดล้อมภาคใต้ จ�ำกัด จ.ปัตตานี 7. ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดปาหนัน รีสอร์ท แอนด์ เวสท์ ดิวิลอปเมนท์ จ.นราธิวาส รวม รวมทั้งสิ้น

ความสามารถของเตาเผา (กิโลกรัมต่อชั่วโมง) คิดที่ 24 ชั่วโมงต่อวัน 7,296 (68 แห่ง)*

ปริมาณเผาก�ำจัด (จริง) (ตัน/ปี) 2,352

350 200 100 300 1,250 250 350 200 105 250 3,355

220 141 24 2,520 8,910 450 1,168 438 370 200 14,441

8,333 208

30 1,800

1,125 2,500 80 120 125

2,920 13,834 88 297 137

12,491

19,106 35,899

ทีม่ า: กรมควบคุมมลพิษ. 2559, แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564). หมายเหตุ: * ข้อมูลจากแบบส�ำรวจของกรมควบคุมมลพิษ (2557) (ไม่ปรากฏรายการบรรณานุกรมนี้ในเอกสาร แผนแม่บทฯ) ** ส�ำหรับเตาเผาของโรงพยาบาล 144 แห่ง มีข้อมูลความสามารถของเตาเผาเพียง 68 แห่ง

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

105


ส�ำหรับการคัดเลือกพืน้ ทีเ่ พือ่ ก่อสร้างศูนย์กำ� จัดมูลฝอยติดเชือ้ รวมของ อปท. โครงการศึกษาการ จัดการมูลฝอยติดเชือ้ แบบศูนย์รวมของกรมควบคุมมลพิษดังกล่าวมาข้างต้นเสนอให้พจิ ารณาใช้พนื้ ทีร่ ว่ ม กับศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยชุมชนที่มีอยู่ แต่หากไม่มี ควรคัดเลือกพื้นที่ตามหลักเกณฑ์ของกรมควบคุมมลพิษ ได้แก่  เกณฑ์ด้านวิศวกรรม เช่น เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันไม่เกิน 15 เปอร์เซนต์ ลักษณะดินมี ความเหมาะสมด้านฐานรากและมีอัตราการซึมผ่านของน�้ำต�่ำ (ไม่เกิน 3 x 10-5 เซนติเมตรต่อวินาที) ไม่มี แหล่งแร่ใต้ดนิ และห่างจากรอยแยกมากกว่า 100 เมตร อยูเ่ หนือระดับน�ำ้ ใต้ดนิ อย่างน้อย 1.5 เมตร ไม่ตงั้ อยู่ ในพื้นที่น�้ำท่วมถึง มีระยะห่างจากทางหลวงสายหลักมากกว่า 100 เมตร และไม่เกิน 10 กิโลเมตร และ สามารถรองรับปริมาณของเสียได้อย่างน้อย 20 ปี (ประมาณ 240 ไร่) เป็นต้น  เกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มีระยะห่างจากแหล่งชุมชนมากกว่า 3 กิโลเมตร อยู่ห่างจาก แหล่งน�้ำธรรมชาติหรือคลองขุด อย่างน้อย 300 เมตร และไม่อยู่ในบริเวณด้านเหนือน�้ำ ระยะห่างจาก บ่อน�้ำใต้ดินหรือระบบผลิตน�้ำประปาของชุมชนอย่างน้อย 700 เมตร จากแหล่งโบราณคดี/ประวัติศาสตร์ และปูชนียสถาน อย่างน้อย 1 กิโลเมตร จากสนามบินมากกว่า 5 กิโลเมตร ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน�้ำชั้นที่ 1 และชัน้ ที่ 2 ไม่ตงั้ อยู่ในเขตพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์หรือพืน้ ทีค่ มุ้ ครอง รวมถึงป่าชายเลน ป่าสงวนแห่งชาติ และต้นน�ำ้ ล�ำธาร เป็นต้น14 โครงการศึกษาดังกล่าวยังได้ประเมินความเหมาะสมของเทคโนโลยีก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อใน เบื้องต้นโดยใช้เกณฑ์การพิจารณาด้านเทคนิค (ความยากง่ายในการด�ำเนินการและการบ�ำรุงรักษา ประสิทธิภาพ และเป็นเทคโนโลยีที่มีใช้หรือสามารถพัฒนาได้ในประเทศ) ด้านเศรษฐศาสตร์ (ค่าลงทุน ค่าด�ำเนินการ และค่าบ�ำรุงรักษา) และด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย พบว่า เทคโนโลยี เตาเผาขยะมูลฝอยมีความเหมาะสมทีส่ ดุ รองลงมาเป็นเทคโนโลยีการท�ำลายเชือ้ ด้วยไอน�ำ้ และเทคโนโลยี การท�ำลายเชื้อด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า15 2.6.1 กฎกระทรวงว่าด้วยการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545

มาตรา 6 วรรคหนึง่ (1) แห่งพระราชบัญญัตกิ ารสาธารณสุขฯ บัญญัติให้รฐั มนตรีฯ โดยค�ำแนะน�ำ ของคณะกรรมการสาธารณสุขมีอ�ำนาจออกกฎกระทรวงก�ำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการในการ ควบคุมหรือก�ำกับดูแลส�ำหรับกิจการ หรือการด�ำเนินการในเรือ่ งต่างๆ ตามพระราชบัญญัตนิ ี้ อาศัยอ�ำนาจ ดังกล่าว รัฐมนตรีฯ ได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 เพื่อควบคุมการก�ำจัด 14 เพิ่งอ้าง, หน้า 29-30. 15 เพิ่งอ้าง, หน้า 30-32.

1 06

การจัดการของเสียจากชุมชน


มูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน มีสาระส�ำคัญเกี่ยวกับการก�ำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ การขนมูลฝอยติดเชื้อ และ การก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ข้อก�ำหนดทุกหมวดให้มีผลใช้บังคับในท้องที่ของกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนคร และเทศบาลเมืองทุกแห่ง ข้อก�ำหนดเฉพาะในส่วนทีว่ า่ ด้วยการขนและการก�ำจัดมูลฝอยติดเชือ้ ให้กระทรวงสาธารณสุขก�ำหนดยกเว้นไม่ใช้บังคับในท้องที่ของ อปท. อื่น (นอกจากกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนคร และเทศบาลเมืองทุกแห่ง) ได้ตามความเหมาะสมกับสภาพท้องที่ โดยจะก�ำหนด หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ตามที่เห็นสมควรโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ส�ำหรับข้อก�ำหนด ในส่วนที่ว่าด้วยการเก็บมูลฝอยติดเชื้อให้มีผลใช้บังคับกับสถานบริการการสาธารณสุขและห้องปฏิบัติการ เชื้ออันตรายในเขต อปท. ทุกแห่ง กฎกระทรวงว่าด้วยการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ก�ำหนดหลักเกณฑ์ทั่วไปไว้ดังนี้ (1) ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือท�ำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งมูลฝอยติดเชื้อ นอกจาก ถ่าย เท ทิ้ง หรือก�ำจัด ณ สถานที่หรือตามวิธีการที่ อปท. ก�ำหนดหรือจัดให้ (2) ให้ อปท. จัดให้มสี ถานทีถ่ า่ ย เท หรือทิง้ มูลฝอยติดเชือ้ ในทีห่ รือทางสาธารณะ หรือก�ำหนดให้ มีวิธีก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถ่าย เท หรือทิ้งโดยวิธีการอื่นตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงนี้ หรือ ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขก�ำหนด แล้วแต่กรณี (3) ห้ามมิให้ผู้ใดท�ำการเก็บ ขน และก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ เว้นแต่จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขที่ก�ำหนดในกฎกระทรวงนี้ (4) ผูด้ ำ� เนินการสถานบริการสาธารณสุขหรือผูด้ ำ� เนินการห้องปฏิบตั กิ ารเชือ้ อันตรายทีด่ ำ� เนินการ ก�ำจัดมูลฝอยติดเชือ้ ด้วยตนเอง ต้องปฏิบตั ติ ามข้อก�ำหนดในส่วนทีว่ า่ ด้วยการก�ำจัดมูลฝอยติดเชือ้ ในหมวด 4 ของกฎกระทรวงนี้ด้วย และต้องแจ้งให้ อปท. ที่สถานบริการสาธารณสุขหรือผู้ด�ำเนินการห้องปฏิบัติการ เชือ้ อันตรายนัน้ ตัง้ อยูจ่ ดั ส่งเจ้าหน้าที่ไปท�ำการตรวจสอบระบบก�ำจัดมูลฝอยติดเชือ้ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ก�ำหนด และเมื่อ อปท. ให้ความเห็นชอบแล้ว จึงจะด�ำเนินการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองได้ ทั้งนี้ ในการตรวจสอบระบบก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าว อปท. อาจร้องขอให้อธิบดีกรมอนามัยหรือ ผูซ้ งึ่ อธิบดีกรมอนามัยมอบหมายจัดส่งเจ้าหน้าทีก่ รมอนามัยไปร่วมตรวจสอบกับเจ้าหน้าทีข่ อง อปท. ก็ได้ เนื่องจากการจัดการมูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงฉบับนี้มีหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง หลายฝ่าย และมีรายละเอียดปลีกย่อยเกี่ยวกับหน้าที่ของแต่ละฝ่าย จึงขอสรุปหน้าที่ของแต่ละฝ่ายไว้ตาม ตารางที่ 2.5

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

107


1 08

การจัดการของเสียจากชุมชน

ข้อก�ำหนดให้ต้องปฏิบัติ

ผูป้ ระกอบกิจการสถานบริการสาธารณสุข ห้องปฏิบตั กิ ารเชือ้ อันตราย 1. ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บและหรือขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อย 1 คน อปท. รวมทั้งบุคคลซึ่ง อปท. มอบให้ด�ำเนินการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ มีคุณสมบัติส�ำเร็จการศึกษาไม่ต�่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ใน ภายใต้การควบคุมของ อปท. และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจาก อปท. ด้านสาธารณสุข สุขาภิบาล ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านใดด้านหนึ่ง ให้ด�ำเนินกิจการเก็บขนและก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยท�ำเป็นธุรกิจหรือ 2. ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อย 2 คน คนหนึ่งมีคุณสมบัติ โดยคิดค่าบริการ ตามข้อ 1 ส่วนอีกคนหนึง่ ต้องมีคณ ุ สมบัตสิ ำ� เร็จการศึกษาไม่ตำ�่ กว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ในด้านสุขาภิบาล วิศวกรรมสิง่ แวดล้อม และวิศวกรรมเครือ่ งกล ด้านใดด้านหนึ่ง 3. ในกรณีที่ด�ำเนินการทั้งเก็บ ขน และก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ อย่างน้อย 2 คน ซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 2 ก็ได้ ต้องแต่งตัง้ เจ้าหน้าทีร่ บั ผิดชอบของตนอย่างน้อย 1 คน ซึง่ มีคณุ สมบัตสิ ำ� เร็จการศึกษาไม่ตำ�่ กว่า อปท. สถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลสัตว์ของ ทางราชการที่ด�ำเนินการเก็บ ขน และก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเอง ปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ด้านใดด้านหนึ่ง ต้องแต่งตัง้ เจ้าหน้าทีข่ อง อปท. แห่งใดแห่งหนึง่ อย่างน้อย 1 คน ซึง่ มีคณุ สมบัตสิ ำ� เร็จการศึกษา อปท. 2 แห่ง หรือหลายแห่งที่อยู่ใกล้เคียงกันซึ่งด�ำเนินกิจการเก็บ ขน และหรือก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อร่วมกัน ไม่ต�่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ด้านใด ด้านหนึ่ง หรืออาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบจากบุคคลภายนอกซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวก็ได้ อปท. ที่มอบให้บุคคลด�ำเนินการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การ 1. ต้องควบคุมดูแลให้บุคคลดังกล่าวจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบตามที่ก�ำหนดในกฎกระทรวงนี้ ควบคุมของ อปท. (ตามมาตรา 18 วรรคสอง) หรือออกใบอนุญาตให้ 2. ก�ำหนดระยะเวลาและเส้นทางขน ตลอดจนเงื่อนไขหรือข้อปฏิบัติอื่นๆ ให้บุคคลดังกล่าว บุคคลด�ำเนินการรับท�ำการเก็บ ขน และก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยท�ำเป็น ถือปฏิบัติเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้ ธุรกิจหรือโดยคิดค่าบริการ (ตามมาตรา 19) ต้องแจ้งให้ อปท. ที่สถานบริการสาธารณสุขหรือผู้ด�ำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย สถานบริการสาธารณสุขหรือผูด้ ำ� เนินการห้องปฏิบตั กิ ารเชือ้ อันตราย ที่ด�ำเนินการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเอง นั้นตั้งอยู่จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปท�ำการตรวจสอบระบบก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ก�ำหนด

หน่วยงานและบุคคลที่มีหน้าที่

ตารางที่ 2.5 หน้าทีข่ องหน่วยงานและบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องกับการจัดการมูลฝอยติดเชือ้


บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

109

รายละเอียด / ข้อก�ำหนดในการด�ำเนินการ 1. มูลฝอยติดเชื้อประเภทวัสดุของมีคมให้เก็บในภาชนะที่เป็นกล่องหรือถัง ซึ่งท�ำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทานต่อการ แทงทะลุและการกัดกร่อนของสารเคมีและการรับน�ำ้ หนัก มีฝาปิดมิดชิด และป้องกันการรัว่ ไหลของของเหลวภายในได้ สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกโดยผู้ขนย้ายไม่มีการสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ 2. มูลฝอยติดเชื้ออื่นที่มิใช่ประเภทวัสดุมีคม ให้เก็บในภาชนะที่เป็นถุง ท�ำจากพลาสติกหรือวัสดุอื่นที่มีความเหนียว ไม่ฉีกขาดง่าย ทนทานต่อสารเคมีและการรับน�้ำหนัก กันน�้ำได้ ไม่รั่วซึมและไม่ดูดซึม 3. ภาชนะส�ำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อต้องมีสีแดง ทึบแสง และมีข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถอ่านได้ชัดเจนว่า “มูลฝอยติดเชื้อ” อยู่ภายใต้รูปหัวกระโหลกไขว้ คู่กับตราหรือสัญญลักษณ์ที่ใช้ระหว่างประเทศตามที่กระทรวง สาธารณสุขก�ำหนด และต้องมีข้อความว่า “ห้ามน�ำกลับมาใช้อีก” และ “ห้ามเปิด” 4. ในกรณีที่สถานบริการสาธารณสุขมิได้ด�ำเนินการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเอง จะต้องระบุชื่อของตนไว้ที่ภาชนะ มูลฝอยติดเชื้อ 5. ในกรณีที่รอการขนไปก�ำจัดเกินกว่า 7 วันนับแต่วันที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้น ให้ระบุวันที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าว ไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อด้วย 6. อาจจะจัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยติดเชื้อก็ได้ โดยภาชนะรองรับต้องท�ำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทานต่อสารเคมี ไม่รั่วซึม ท�ำความสะอาดได้ง่าย และต้องมีฝาปิดมิดชิด เว้นแต่ในห้องที่มีการป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะน�ำโรค และ จ�ำเป็นต้องใช้งานตลอดเวลา จะไม่มีฝาปิดเปิดก็ได้

ขั้นตอน/อุปกรณ์

ภาชนะส�ำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ

ตารางที่ 2.6 หลักเกณฑ์และเงือ่ นไขการเก็บมูลฝอยติดเชือ้

ดังนี้

เนื่องจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเก็บมูลฝอยติดเชื้อมีรายละเอียดค่อนข้างมาก จึงขอสรุปตามตารางที่ 2.6 เพื่อความสะดวกแก่ผู้อ่าน

2.6.2 การเก็บมูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงว่าด้วยการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545


1 10

การจัดการของเสียจากชุมชน

วิธีการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ

ขั้นตอน/อุปกรณ์ 1. ต้องเก็บตรงแหล่งก�ำเนิดมูลฝอยติดเชื้อนั้นโดยไม่ปนกับมูลฝอยอื่น ในกรณีที่ไม่สามารถเก็บลงในภาชนะส�ำหรับ บรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้โดยทันที จะต้องเก็บลงในภาชนะให้เร็วที่สุดเมื่อมีโอกาสที่สามารถจะท�ำได้ 2. ต้องบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไม่เกิน 3 ใน 4 ส่วนของความจุของภาชนะที่เป็นกล่องหรือถัง แล้วปิดฝาให้แน่น หรือ ไม่เกิน 2 ใน 3 ส่วนของความจุของภาชนะที่เป็นถุง แล้วผูกมัดปากถุงด้วยเชือกหรือวัสดุอื่นให้แน่น 3. กรณีที่มูลฝอยติดเชื้อมีปริมาณมากและยังไม่สามารถเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อออกไปในทันที จะต้องจัดให้มีที่ หรือมุมหนึ่งของห้องส�ำหรับเป็นที่รวมภาชนะที่ได้บรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้ว แต่ห้ามเก็บไว้เกิน 1 วัน 4. จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการขนไปก�ำจัด และต้องท�ำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในที่พักรวมมูลฝอย ติดเชือ้ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครัง้ ทีพ่ กั รวมมูลฝอยติดเชือ้ ต้องเป็นห้องหรืออาคารเฉพาะ และมีลกั ษณะดังต่อไปนี้  อยู่ในที่สะดวกต่อการขนมูลฝอยติดเชื้อไปก�ำจัด  มีขนาดกว้างเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างน้อย 2 วัน  พื้นและผนังต้องเรียบ ท�ำความสะอาดง่าย  มีรางหรือท่อระบายน�้ำทิ้งเชื่อมต่อกับระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย  มีลักษณะโปร่งไม่อับชื้น มีการป้องกันสัตว์และแมลง มีประตูกว้างพอส�ำหรับการปฏิบัติงาน  ปิดด้วยกุญแจหรือวิธอี นื่ ทีบ่ คุ คลทัว่ ไปไม่สามารถทีจ่ ะเข้าไปได้ มีขอ้ ความเตือนทีม่ ขี นาดเห็นได้ชดั เจนว่า “ทีพ่ กั มูลฝอยติดเชื้อ” 5. มีลานส�ำหรับล้างรถเข็นอยู่ใกล้ และลานนั้นต้องมีรางหรือท่อรวบรวมน�้ำเสียเข้าสู่ระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย 6. ในกรณีที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เกิน 7 วัน ต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 10 องศาเซลเซียส หรือต�่ำกว่านั้นได้ 7. สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน สถานพยาบาลสัตว์ประเภทที่ไม่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืน หรือ ประเภทที่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืนตามชนิดและจ�ำนวนไม่เกินที่กระทรวงสาธารณสุขก�ำหนด จะไม่จัดให้มีที่พัก รวมมูลฝอยติดเชื้อก็ได้ แต่ต้องจัดให้มีบริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เป็นการเฉพาะ

รายละเอียด / ข้อก�ำหนดในการด�ำเนินการ


บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

111

รายละเอียด / ข้อก�ำหนดในการด�ำเนินการ 1. ต้องมีผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรและ ระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขก�ำหนด 2. ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข็ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน หากร่างกายหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ ต้องท�ำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที 3. ต้องเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อทุกวันตามตารางเวลาที่ก�ำหนด เว้นแต่มีเหตุจ�ำเป็น 4. ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็นส�ำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ เว้นแต่มูลฝอยติดเชื้อมีปริมาณน้อย ที่ไม่จ�ำเป็นต้องใช้รถเข็น 5. ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอน ห้ามแวะหรือหยุดพัก ณ ที่ใด 6. ต้องกระท�ำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน หรือลากภาชนะส�ำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ กรณีที่มีการตกหล่นหรือภาชนะ บรรจุแตกระหว่างทาง ห้ามหยิบด้วยมือเปล่า ต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือหนา หากเป็นของเหลวให้ซับด้วย กระดาษ แล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะส�ำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่ แล้วท�ำความสะอาด ด้วยน�้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ 7. ต้องท�ำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถเข็นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละครั้ง และห้ามน�ำรถเข็นไปใช้ ในกิจการอื่น 8. รถเข็นต้องมีลกั ษณะดังนีเ้ ป็นอย่างน้อย เช่น ท�ำด้วยวัสดุทที่ ำ� ความสะอาดด้วยน�ำ้ ได้งา่ ย ไม่มแี ง่มมุ อันจะเป็นแหล่ง หมักหมม มีพนื้ และผนังทึบเมือ่ จัดวางภาชนะบรรจุมลู ฝอยติดเชือ้ แล้วต้องปิดฝาให้แน่น มีขอ้ ความสีแดงมองเห็น ชัดเจนอย่างน้อยสองด้านว่า “รถเข็นมูลฝอยติดเชื้อ ห้ามน�ำไปใช้ในกิจการอื่น” และต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือ ส�ำหรับใช้เก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหล่นระหว่างการเคลื่อนย้าย และส�ำหรับใช้ท�ำความสะอาดและฆ่าเชื้อ

ขั้นตอน/อุปกรณ์

การเคลื่อนย้ายภาชนะมูลฝอยติดเชื้อ ไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ


2.6.3 การขนมูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงว่าด้วยการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545

(1) อปท. บุคคลซึง่ อปท. มอบให้ดำ� เนินการก�ำจัดมูลฝอยติดเชือ้ ภายใต้การควบคุมดูแลของ อปท. หรือบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจาก อปท. ให้ด�ำเนินกิจการรับท�ำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ โดยท�ำเป็นธุรกิจ หรือโดยคิดค่าบริการ ซึ่งรับท�ำการขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการ สาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อน�ำไปก�ำจัดภายนอกสถานที่ตั้ง ต้องจัดให้มีสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ (1.1) ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชือ้ ทีม่ ลี กั ษณะทีก่ ำ� หนดตามกฎกระทรวงนี้ โดยให้มจี ำ� นวน เพียงพอกับการประกอบการหรือการให้บริการ (1.2) ผูข้ บั ขีแ่ ละผูป้ ฏิบตั งิ านประจ�ำยานพาหนะซึง่ มีความรูเ้ กีย่ วกับมูลฝอยติดเชือ้ โดยผ่าน การฝึกอบรมตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขก�ำหนด (1.3) ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการก�ำจัดซึ่งมีคุณลักษณะเช่นเดียวกับ ทีพ่ กั รวมมูลฝอยติดเชือ้ ตามทีก่ ำ� หนดโดยกฎกระทรวงนี้ มีขนาดกว้างขวางเพียงพอทีจ่ ะเก็บกักภาชนะบรรจุ มูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะขนไปก�ำจัด และให้มีข้อความค�ำเตือนว่า “ที่เก็บกักภาชนะมูลฝอยติดเชื้อ” ด้วยสีแดงและมีขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน (1.4) บริเวณทีจ่ อดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชือ้ ทีเ่ ป็นสถานทีเ่ ฉพาะมีขนาดกว้างขวาง เพียงพอ มีรางหรือท่อระบายน�ำ้ เสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสูร่ ะบบบ�ำบัดน�ำ้ เสีย และต้องท�ำความสะอาด บริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างสม�่ำเสมอ (2) การขนมูลฝอยติดเชือ้ ไปก�ำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณทีต่ งั้ ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย ต้องด�ำเนินการให้ถูกสุขลักษณะดังนี้ (2.1) ต้องขนโดยยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อเท่านั้น (2.2) ต้องขนอย่างสม�่ำเสมอตามวันและเวลาที่ก�ำหนด โดยค�ำนึงถึงปริมาณของมูลฝอย ติดเชื้อและสถานที่จัดเก็บ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจ�ำเป็น (2.3) ผูป้ ฏิบตั งิ านประจ�ำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชือ้ ต้องถือปฏิบตั ติ ามข้อก�ำหนดเกีย่ วกับ การเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงนี้ (2.4) ผู้ขับขี่ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อและผู้ปฏิบัติงานประจ�ำยานพาหนะขนมูลฝอย ติดเชื้อต้องระมัดระวังมิให้มูลฝอยติดเชื้อและภาชนะส�ำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นในระหว่างการขน

1 12

การจัดการของเสียจากชุมชน


(2.5) ห้ามน�ำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น และให้ท�ำความสะอาด และฆ่าเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เว้นแต่กรณีภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกหรือมีการรั่วไหล ต้องท�ำความสะอาดในโอกาสแรกที่สามารถจะท�ำได้ (3) ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังต่อไปนี้ (3.1) ตัวถังปิดทึบ ผนังด้านในต้องบุด้วยวัสดุที่ทนทาน ท�ำความสะอาดได้ง่าย ไม่รั่วซึม (3.2) ในกรณีทเี่ ป็นยานพาหนะส�ำหรับขนมูลฝอยติดเชือ้ ทีเ่ ก็บกักไว้เกิน 7 วัน ภายในตัวถัง ต้องสามารถควบคุมอุณหภูมใิ ห้อยูท่ ี่ 10 องศาเซลเซียส หรือต�ำ่ กว่านัน้ ได้ และจะต้องติดเครือ่ งเทอร์โมมิเตอร์ ที่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิภายในตัวถังไว้ด้วย (3.3) ต้องมีขอ้ ความสีแดงทีม่ ขี นาดสามารถมองเห็นได้ชดั เจนปิดไว้ทภี่ ายนอกตัวถังด้านข้าง ทั้งสองด้านว่า “ใช้เฉพาะขนมูลฝอยติดเชื้อ” (3.4) กรณี อปท. ท�ำการขนมูลฝอยติดเชือ้ ให้ อปท. นัน้ แสดงชือ่ ของ อปท. ด้วยตัวหนังสือ สีแดงทีม่ ขี นาดสามารถมองเห็นได้ชดั เจนไว้ทภี่ ายนอกตัวถังด้านข้างทัง้ สองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอย ติดเชื้อ (3.5) กรณีบุคคลที่ท�ำการขนมูลฝอยติดเชื้อ เป็นบุคคลซึ่งได้รับมอบจาก อปท. ให้เป็น ผูด้ ำ� เนินการก�ำจัดมูลฝอยติดเชือ้ ภายใต้การควบคุมดูแลของ อปท. ให้แสดงชือ่ อปท. ด้วยตัวหนังสือสีแดงที่ มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชดั เจนไว้ทภี่ ายนอกตัวถังด้านข้างทัง้ สองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชือ้ พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายระบุวิธีการที่ อปท. มอบให้บุคคลนั้นด�ำเนินการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ รวมทั้งชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ที่ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อในบริเวณที่บุคคลภายนอก สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วย (3.6) กรณีบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจาก อปท. ให้เป็นผู้ดำ� เนินการรับท�ำการขนมูลฝอย ติดเชื้อ โดยท�ำเป็นธุรกิจหรือโดยคิดค่าบริการ ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อ อปท. ด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาด สามารถมองเห็นได้ชัดเจน พร้อมกับแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุรหัสหรือหมายเลข ใบอนุญาต ชื่อ สถานที่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างของยานพาหนะ ขนมูลฝอยติดเชื้อ (3.7) ต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมส�ำหรับผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงาน ประจ�ำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์หรือเครื่องมือส�ำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการ ตกหล่นหรือการรัว่ ไหลของมูลฝอยติดเชือ้ อุปกรณ์หรือเครือ่ งมือป้องกันอัคคีภยั และอุปกรณ์หรือเครือ่ งมือ สื่อสารส�ำหรับใช้ติดต่อแจ้งเหตุ อยู่ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตลอดเวลาที่ท�ำการขนมูลฝอยติดเชื้อ

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

113


2.6.4 การก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงว่าด้วยการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545

(1) การก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องด�ำเนินการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ (ก) เผาในเตาเผา ให้ใช้เตาเผาที่มีห้องเผามูลฝอยติดเชื้อและห้องเผาควัน การเผามูลฝอย ติดเชื้อให้เผาที่อุณหภูมิไม่ต�่ำกว่า 760 องศาเซลเซียส และในการเผาควันให้เผาด้วยอุณหภูมิไม่ต�่ำกว่า 1,000 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ ตามแบบเตาเผาที่กระทรวงสาธารณสุขก�ำหนดหรือเห็นชอบ และต้องมีการ ควบคุมมาตรฐานอากาศเสียที่ปล่อยออกจากเตาเผาตามที่กระทรวงสาธารณสุขก�ำหนดโดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เศษของมูลฝอยติดเชื้อที่เหลือหลังจากการเผา ให้ด�ำเนินการก�ำจัดตามวิธีก�ำจัด มูลฝอยทั่วไป (ข) ท�ำลายเชื้อด้วยไอน�้ำ (ค) ท�ำลายเชื้อด้วยความร้อน (ง) วิธีการอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขก�ำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา หากก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการท�ำลายเชื้อด้วยไอน�้ำหรือท�ำลายเชื้อด้วยความร้อนหรือวิธี การอื่น จะต้องด�ำเนินการให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพ โดยมีประสิทธิภาพที่สามารถท�ำลาย เชื้อบักเตรี เชื้อรา ไวรัส และปาราสิต ในมูลฝอยติดเชื้อได้หมด ทั้งนี้ ภายหลังการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ด้วยวิธีการดังกล่าวแล้ว จะต้องมีการตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพโดยวิธีการตรวจวิเคราะห์เชื้อ บะซิลลัสสะเทียโรเธอร์โมฟิลลัส หรือบะซิลลัสซับทิลิส แล้วแต่กรณี ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวง สาธารณสุขก�ำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เศษของมูลฝอยติดเชือ้ ทีเ่ หลือหลังจากผ่านการก�ำจัด เชื้อ ให้ด�ำเนินการก�ำจัดตามวิธีก�ำจัดมูลฝอยทั่วไป (2) ต้องก�ำจัดมูลฝอยติดเชือ้ ตามระยะเวลาที่ อปท. ก�ำหนด แต่ตอ้ งไม่เกิน 30 วัน นับแต่วนั ทีข่ น จากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย (3) ในระหว่างรอก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ต้องเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ในที่เก็บกักที่มี ลักษณะเช่นเดียวกับทีพ่ กั รวมมูลฝอยติดเชือ้ ตามทีก่ ำ� หนดโดยกฎกระทรวงนี้ โดยมีขนาดกว้างเพียงพอทีจ่ ะ เก็บกักภาชนะมูลฝอยติดเชือ้ ไว้ได้จนกว่าจะท�ำการก�ำจัด รวมทัง้ จัดให้มขี อ้ ความเป็นค�ำเตือนว่า “ทีเ่ ก็บกัก ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ” ด้วยสีแดงและมีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้ด้วย (4) จัดให้มีผู้ปฏิบัติงานก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อโดยผ่านการ ฝึกอบรมตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขก�ำหนด

1 14

การจัดการของเสียจากชุมชน


(5) จัดให้มเี ครือ่ งป้องกันอันตรายส่วนบุคคลทีเ่ หมาะสมส�ำหรับผูป้ ฏิบตั งิ านก�ำจัดมูลฝอยติดเชือ้ อุปกรณ์หรือเครื่องมือส�ำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่นหรือการรั่วไหลของมูลฝอย ติดเชื้อ และอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยไว้ประจ�ำบริเวณที่ตั้งระบบก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ (6) ในกรณีที่ใช้วิธีก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการอื่นที่มิใช่วิธีเผาในเตาเผา ต้องมีการตรวจ วิเคราะห์เพื่อตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานในการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อเป็นประจ�ำทุกเดือน และให้รายงานผล การตรวจวิเคราะห์นั้นให้ อปท. ทราบเป็นประจ�ำภายในวันที่ห้าของทุกเดือน 2.6.5 ค่าบริการการเก็บขนหรือก�ำจัดมูลฝอยติดเชือ้ ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการก�ำจัดมูลฝอย ติดเชื้อ พ.ศ. 2545

ให้ อปท. ก�ำหนดอัตราค่าบริการขั้นสูงในการรับท�ำการเก็บ ขน และก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ที่ ผู้ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เป็นผู้ด�ำเนินการรับท�ำการเก็บขนหรือก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ จะเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ โดยให้ค�ำนึงถึงความเป็นไปได้ในการประกอบกิจการและความเหมาะสมกับ ฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในท้องถิ่นนั้น 2.6.6 การควบคุมมลพิษทางอากาศจากเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ

ในปัจจุบนั การควบคุมมลพิษทางอากาศจากเตาเผามูลฝอยติดเชือ้ เป็นไปตาม ประกาศกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผา มูลฝอยติดเชื้อ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ออกตามความในมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย จากเตาเผามูลฝอยไว้ดังตารางที่ 2.7

บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

115


ตารางที่ 2.7 มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ ตามประกาศกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผา มูลฝอยติดเชื้อ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สารมลพิษ

1 16

หน่วย

ค่ามาตรฐาน

1. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

ส่วนในล้านส่วน

ไม่เกิน 30

2. ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ซึ่งค�ำนวณผลในรูปก๊าซไนโตรเจน ไดออกไซด์ (NOx as NO2)

ส่วนในล้านส่วน

ไม่เกิน 180

3. ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl)

ส่วนในล้านส่วน

ไม่เกิน 25

4. ก๊าซไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (HF)

ส่วนในล้านส่วน

ไม่เกิน 20

5. ค่าสารประกอบไดออกซิน ซึ่งค�ำนวณผลในรูปของหน่วย ความเข้มข้นเทียบเคียงความเป็นพิษต่อมนุษย์ (PCDD/Fs as International Toxic Equivalent; I-TEQ)

นาโนกรัมต่อลูกบาศก์ เมตร

ไม่เกิน 0.5

6. ปริมาณฝุ่นละออง

มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ไม่เกิน 120

7. ค่าความทึบแสง

ร้อยละ

ไม่เกิน 10

8. สารปรอท (Hg)

มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ไม่เกิน 0.05

9. สารแคดเมียม (Cd)

มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ไม่เกิน 0.05

10. สารตะกั่ว (Pb)

มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ไม่เกิน 0.5

การจัดการของเสียจากชุมชน


บทที่ 2: กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะชุมชน

117


1 18

การจัดการของเสียจากชุมชน


บทที่ 3

การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะเป็นส่วนหนึง่ ของการผลิตพลังงานจากขยะ (Waste to Energy) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ 1) โครงการผลิตความร้อนจากขยะ ได้แก่ (1) โครงการผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ส�ำหรับน�ำไปใช้ผลิตความร้อนในอุตสาหกรรม ซึ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นการน�ำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตปูนซิเมนต์ และ (2) โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ เพื่อน�ำก๊าซชีวภาพไปใช้เป็นเชื้อเพลิงส�ำหรับ ผลิตความร้อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโครงการต้นแบบ สาธิต หรือโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ด�ำเนินการจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และส�ำนักงานนโยบายและแผน พลังงาน (สนพ.)1 2) โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ แบ่งออกได้เป็น (1) โครงการโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีการเผาไหม้ในเตาเผาขยะมูลฝอย เช่น โครงการ โรงไฟฟ้าจากเตาเผาขยะของเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต (2) โครงการโรงไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น โดยการเผาขยะชุมชนในเตาเผาเพื่อ ผลิตก๊าซเชือ้ เพลิงส�ำหรับน�ำไปเผาไหม้และน�ำความร้อนไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น โครงการก�ำจัด มูลฝอยชุมชนและแปรรูปเป็นพลังงานของเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 1 กระทรวงพลังงาน, สถานภาพโครงการผลิตพลังงานจากขยะ, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2558. http://webkc.dede.go.th/ testmax/node/2049

บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

119


(3) โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และกระแสไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ผลิตจากระบบย่อยสลายขยะ แบบไม่ใช้ออกซิเจน เช่น โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และกระแสไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย เทศบาลนครราชสีมา โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และพลังงาน เทศบาลนครระยอง เป็นต้น (4) โครงการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซจากหลุมฝังกลบขยะชุมชน เช่น โครงการที่ด�ำเนินการ โดยเอกชนที่รับจ้างฝังกลบขยะชุมชนในเขต อ�ำเภอก�ำแพงแสน จังหวัดนครปฐม อ�ำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อ�ำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา และอ�ำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ซึ่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติให้ ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 ก�ำหนดให้สร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน อาทิเช่น การท�ำปุ๋ย หรือแปรรูปเป็นพลังงาน เช่น ก๊าซชีวภาพ และผลิตกระแสไฟฟ้า ตลอดจนส่งเสริม ภาคเอกชนให้เข้ามาร่วมลงทุนหรือด�ำเนินงานระบบเก็บรวบรวม ขนส่ง และก�ำจัดขยะมูลฝอย ทั้งนี้ ให้ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องพิจารณาผ่อนปรนกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น การจัดท�ำรายงาน EIA กฎหมายผังเมือง และกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ เป็นต้น รายละเอียดดังได้กล่าวมาแล้วใน บทที่ 2 สืบเนื่องจากแนวนโยบายดังกล่าว แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) ก�ำหนดให้มีการรวมกลุ่มพื้นที่ อปท. ที่อยู่ใกล้เคียงกันเพื่อจัดตั้งศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยรวม (Cluster) เพื่อสร้างระบบจัดการขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน ที่เน้นการน�ำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ เช่น ผลิตปุย๋ อินทรีย์ ก๊าซชีวภาพ และแปรรูปผลิตพลังงาน เป็นต้น โดยแบ่งกลุม่ พืน้ ทีอ่ อกได้เป็น 3 ขนาด ได้แก่2 1) กลุ่มพื้นที่ขนาดใหญ่ (Model L) รองรับปริมาณขยะมูลฝอยรวมกันมากกว่า 300 ตัน/ วัน/กลุม่ พืน้ ที่ และรัศมีการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยไม่เกิน 50 กิโลเมตร จัดท�ำระบบการจัดการขยะมูลฝอย แบบผสมผสาน น�ำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และ/หรือแปรรูปขยะมูลฝอยไปเป็นพลังงาน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และน�ำขยะมูลฝอยส่วนที่เหลือน้อยใช้ประโยชน์ ไม่ได้ไปก�ำจัดโดยการฝังกลบให้ ถูกต้องตามหลักวิชาการ และส่งเสริมภาคเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจลงทุนหรือร่วมลงทุน มีจ�ำนวน 25 กลุ่ม พื้นที่ 2) กลุ่มพื้นที่ขนาดกลาง (Model M) รองรับปริมาณขยะมูลฝอยรวมกันระหว่าง 50-300 ตัน/ วัน/กลุม่ พืน้ ที่ และรัศมีการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยไม่เกิน 50 กิโลเมตร จัดท�ำระบบการจัดการขยะมูลฝอย แบบผสมผสาน อาทิ การท�ำปุ๋ยอินทรีย์ หรือแปรรูป เช่น ผลิตก๊าซชีวภาพ เชื้อเพลิง RDF และน�ำขยะ มูลฝอยส่วนที่เหลือน้อยใช้ประโยชน์ ไม่ได้ไปก�ำจัดโดยการฝังกลบให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และส่งเสริม ภาคเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจลงทุนหรือร่วมลงทุน มีจ�ำนวน 147 กลุ่มพื้นที่ 2 กรมควบคุมมลพิษ, แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564), 2559, หน้า 24-25, 40. 1 20

การจัดการของเสียจากชุมชน


3) กลุ่มพื้นที่ขนาดเล็ก (Model S) รองรับปริมาณขยะมูลฝอยรวมกันน้อยกว่า 50 ตัน/ วัน/กลุ่มพื้นที่ และรัศมีการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยไม่เกิน 30 กิโลเมตร โดยสนับสนุนให้มีการคัดแยก ขยะที่ต้นทาง น�ำขยะอินทรีย์ไปหมักท�ำปุ๋ยอย่างง่ายในระดับครัวเรือน/ชุมชน/เทศบาล หรือระบบแยกขยะ มูลฝอยผลิตเชือ้ เพลิง RDF ตามความเหมาะสม ประชาชนเก็บรวบรวมขยะรีไซเคิลเพือ่ ขายให้กบั ศูนย์หรือ ผู้ประกอบการวัสดุรีไซเคิล ส่วนขยะมูลฝอยที่เหลือให้ประชาชนแยกทิ้งและ อปท. เก็บรวบรวมขนส่งไป ก�ำจัด ณ บ่อฝังกลบขนาดเล็กของท้องถิ่น มีจ�ำนวน 65 กลุ่มพื้นที่ ทั้งนี้ จากการประเมินเบื้องต้นได้ก�ำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเป็นศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยเพื่อ แปลงเป็นพลังงาน เป็นกลุ่มพื้นที่ที่มีปริมาณขยะมูลฝอยเข้าสู่ระบบไม่น้อยกว่า 300 ตัน/วัน และอยู่ใน พืน้ ทีส่ ายส่งไฟฟ้าจ�ำนวน 56 กลุม่ พืน้ ที่ใน 44 จังหวัด ส่วนพืน้ ทีท่ มี่ ศี กั ยภาพในการแปรรูปขยะมูลฝอยเพือ่ ผลิตเชื้อเพลิง RDF นั้นมีจ�ำนวน 102 แห่ง3 นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมายังมีความเคลื่อนไหวด้านการแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่ ภาครัฐมองว่าเป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ (1) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดประเภทและขนาด ของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 ซึ่งมีผลให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงทุกขนาด ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดท�ำ รายงาน EIA (2) ค�ำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2559 เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับ กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมส�ำหรับการประกอบกิจการบางประเภท อันรวมถึง โรงงานผลิต พลังงานไฟฟ้า โรงงานก�ำจัดของเสีย และกิจการที่เกี่ยวข้องกับการก�ำจัดมูลฝอย (3) การประกาศใช้พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ บ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งบัญญัติว่าการมอบให้เอกชนด�ำเนินการหรือร่วมด�ำเนินการในกิจการ เก็บขนและก�ำจัดขยะมูลฝอยมิให้ถือว่าเป็นการร่วมลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุน ในกิจการของรัฐอีกต่อไป ฉะนั้น แม้ว่าทั้ง Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย และแผนแม่บท การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) จะมีสาระในส่วนทีก่ ล่าวถึงการสร้างจิตส�ำนึก และส่งเสริมให้ประชาชนลดการก่อของเสีย การคัดแยกขยะมูลฝอย และการเพิม่ ศักยภาพของ อปท. ในการ จัดเก็บและขนส่งขยะมูลฝอย เช่น การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยแบบ แยกประเภท และการก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมส�ำหรับการเก็บขนและก�ำจัดขยะมูลฝอย แต่ ปรากฏว่าการด�ำเนินการในส่วนต่างๆ เหล่านี้ยังมีความก้าวหน้าน้อยมากทั้งในเชิงนโยบายและการปฏิบัติ 3 เพิ่งอ้าง, หน้า 26-27. บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

121


พัฒนาการดังกล่าวท�ำให้มีความจ�ำเป็นต้องทบทวนและประเมินแนวนโยบายของรัฐที่มุ่ง ส่งเสริมการแปรรูปขยะเป็นพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิง่ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชือ้ เพลิง เนื่องจากการด�ำเนินการดังกล่าวโดยปราศจากมาตรการกลั่นกรองโครงการอย่างรอบคอบ อาจก่อให้เกิด ผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในระยะยาว แทนที่จะน�ำไปสู่การจัดการขยะมูลฝอยและของเสีย อย่างยั่งยืน ในบทนี้ จะมีการทบทวนเอกสารและกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ สร้างความเข้าใจเกีย่ วกับนโยบาย ของรัฐในการส่งเสริมการแปรรูปขยะเป็นพลังงาน อันจะน�ำไปสู่การอภิปรายเพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสม ของนโยบายดังกล่าว และน�ำเสนอแนวนโยบายทางเลือกต่อไป 3.1 แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 (Alternative Energy Development Plan: AEDP 2015)

กระทรวงพลังงานมีนโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมาตั้งแต่ปี 2532 โดย เริ่มจากการให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) รับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก (Small power producer: SPP) ทีผ่ ลิตพลังงานไฟฟ้าและความร้อนร่วม (Cogeneration) จากกากหรือเศษวัสดุเหลือใช้จาก การเกษตร โดยน�ำพลังงานความร้อนทีเ่ หลือจากกระบวนการผลิตไปใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพือ่ ขายเข้าระบบ สายส่ง ต่อมาได้ขยายไปสูก่ ารรับซือ้ ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภทอืน่ ๆ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ ก๊าซชีวภาพ ขยะ พลังน�้ำ พลังงานลม จากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very small power producer: VSPP) ขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ โดยสนับสนุนผ่านมาตรการส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ซึ่ง จะมีอัตราส่วนเพิ่มและระยะเวลาในการสนับสนุนแตกต่างกันไปตามประเภทพลังงานทดแทน นอกจาก นี้ ยังมีส่วนเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้าพิเศษส�ำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 4 อ�ำเภอในจังหวัดสงขลา4 นับตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2558 เป็นต้นมา คณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงานได้เปลี่ยน มาตรการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนจากแบบ Adder เป็นแบบ Feed-in Tariff (FiT) ซึ่งเป็นอัตรารับซื้อไฟฟ้าคงที่ตลอดอายุโครงการ (โดยจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามค่าไฟฐานและค่า Ft) ในส่วนของการสนับสนุนผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ประเภทโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะนั้น ได้ก�ำหนดอัตรา Feed-in Tariff ส�ำหรับโครงการที่มีก�ำลังผลิตติดตั้ง > 3 เมกะวัตต์ ไว้ที่ 5.08 บาท/หน่วย (kWh) ระยะเวลาสนับสนุน 20 ปี ส�ำหรับโครงการกลุม่ เชือ้ เพลิงชีวภาพจะได้รบั Feed-in Tariff พิเศษ (FiT Premium) อีกในอัตรา 0.70 บาท/หน่วย ในช่วง 8 ปีแรกของโครงการ และส�ำหรับโครงการในพืน้ ทีจ่ งั หวัด 4 กระทรวงพลังงาน, แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, กันยายน 2558, หน้า 3.

1 22

การจัดการของเสียจากชุมชน


ชายแดนภาคใต้5 จะได้รับ Feed-in Tariff พิเศษเพิ่มขึ้นอีก 0.50 บาท/หน่วย ตลอดอายุโครงการ6 ตารางที่ 3.1 แสดงอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in tariff ตารางที่ 3.1 อัตรารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff ก�ำลังการผลิตติดตั้ง 1) ขยะ (การจัดการขยะแบบผสมผสาน) ขนาดก�ำลังการผลิตติดตั้ง ≤ 1 MW ขนาดก�ำลังการผลิตติดตั้ง > 1-3 MW ขนาดก�ำลังการผลิตติดตั้ง > 3 MW 2) ขยะ (หลุมฝังกลบขยะ) VSSP ทุกขนาด

FiT (บาท/ หน่วย)

FiT Premium (บาท/หน่วย) ระยะเวลา สนับสนุน ส�ำหรับโครงการกลุ่มเชื้อ ส�ำหรับโครงการในพื้นที่ งหวัดชายแดนภาคใต้ (ปี) เพลิงชีวภาพ (8 ปีแรก) จั(ตลอดอายุ โครงการ)

6.34 5.82 5.08

20 20 20

0.70 0.70 0.70

0.50 0.50 0.50

5.60

10

-

0.50

ที่มา: สรุปข้อมูลจาก ประกาศคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน เรื่อง การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

มาตรการจูงใจดังกล่าวส่งผลให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมีสัดส่วนสูงขึ้นทุกปี ใน ปี 2557 ประเทศไทยมีสัดส่วนปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานทดแทนรวมการผลิตไฟฟ้านอกระบบ (Off-grid power generation) คิดเป็นร้อยละ 9.87 (ไม่รวมพลังน�้ำขนาดใหญ่) ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.3 ในปี 25507 ตารางที่ 3.2 เปรียบเทียบอัตรา Feed-in Tariff ของประเทศไทยกับประเทศอื่นบางประเทศ ซึ่งจะเห็นว่า ประเทศไทยจัดเป็นหนึ่งในประเทศที่ก�ำหนดมาตรการจูงใจส�ำหรับการก่อสร้างโครงการผลิต ไฟฟ้าจากขยะในรูป Feed-in Tariff ในอัตราค่อนข้างสูง กรอบที่ใช้ในการก�ำหนดเป้ามายเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ได้แก่ ค่าพยากรณ์ความ ต้องการใช้พลังงานขัน้ สุดท้ายตามแผนอนุรกั ษ์พลังงาน (Energy Efficiency Plan: EEP 2015) ค่าพยากรณ์ ความต้องการพลังงานไฟฟ้าสุทธิของประเทศจากแผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan: PDP 2015) ค่าพยากรณ์ความต้องการใช้พลังงานความร้อน และค่าพยากรณ์ 5 เพิ่งอ้าง. โครงการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จะได้รับ Feed-in Tariff พิเศษ ได้แก่ โครงการในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 4 อ�ำเภอในจังหวัดสงขลา ได้แก่ อ�ำเภอจะนะ เทพา สะบ้าย้อย และนาทวี 6 ประกาศคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน เรื่อง การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) พ.ศ. 2559 ลง วันที่ 1 ธันวาคม 2559 7 แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579, อ้างแล้ว, หน้า 3. บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

123


ความต้องการใช้เชื้อเพลิงในภาคการขนส่งตามแผนบริหารจัดการน�้ำมันเชื้อเพลิง นอกจากนี้ ยังพิจารณา จากศักยภาพแหล่งพลังงานทดแทนที่สามารถน�ำมาพัฒนาได้ ทัง้ ในรูปของพลังงานไฟฟ้า ความร้อน และ เชื้อเพลิงชีวภาพ แผน AEDP 2015 ได้ก�ำหนดเป้าหมายให้พลังงานทดแทนมีสัดส่วนร้อยละ 30 ของการ ใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในปี 25798 (ตารางที่ 3.3) แผน AEDP 2015 ก�ำหนดเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในภาพรวมไว้ที่ร้อยละ 20 ของปริมาณความต้องการไฟฟ้ารวมสุทธิ ซึง่ สอดคล้องกับแผน PDP 2015 ซึง่ ก�ำหนดให้การผลิตไฟฟ้า จากพลังงานทดแทนมีสัดส่วนอยู่ในช่วงร้อยละ 15-20 ภายในปี 2579 ตารางที่ 3.4 แสดงสถานภาพ และเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนแต่ละเชื้อเพลิง ตารางที่ 3.2 เปรียบเทียบอัตรา Feed-in Tariff เพื่อสนับสนุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะของไทยกับต่างประเทศ ประเทศ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ไทย เยอรมนี อิตาลี

อัตรา Feed-in Tariff (บาท/kWh) 5.86 3.56 5.08 2.43 5.64

ระยะเวลาสนับสนุน 20 16 20 20 20

ที่มา: พูนศักดิ์ จันทร์จ�ำปี, เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง “ข้อสังเกตเกี่ยวกับนโยบายของรัฐด้านการแปรรูปขยะ เป็นพลังงาน (Waste to Energy): มุมมองของภาคเอกชนและข้อเสนอแนะ” วันที่ 8 สิงหาคม 2559 ณ ส�ำนักงาน กองทุนส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ตารางที่ 3.3 เป้าหมายการพัฒนาพลังงานทดแทนภายใต้แผน AEDP ในปี 2579 พลังงาน ไฟฟ้า: ไฟฟ้า ความร้อน: ความร้อน เชื้อเพลิงชีวภาพ: เชื้อเพลิง พลังงานทดแทน: การใช้พลังงานขั้นสุดท้าย

สัดส่วนพลังงานทดแทน (ร้อยละ) สถานภาพ เป้าหมาย ณ ปี 2557 ณ ปี 2579 9 15 - 20 17 30 - 35 7 20 - 25 12 30

ที่มา: แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579, หน้า 7. 8 อ้างแล้ว, หน้า 7. 1 24

การจัดการของเสียจากชุมชน

การใช้พลังงาน ขั้นสุดท้าย ณ ปี 2579 27,789 68,413 34,798 131,000


ตารางที่ 3.4 สถานภาพและเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนแต่ละประเภทเชื้อเพลิง หน่วย: เมกะวัตต์ สถานภาพ สิ้นปี 2557*

สถานภาพ สิ้นปี 2558

เป้าหมาย ปี 2559

1. ขยะชุมชน

65.72

74.72

187.00

500

2. ขยะอุตสาหกรรม

-

-

-

50

2,451.82

2,646.99

2,949.46

5,570

4. ก๊าซชีวภาพ (น�้ำเสีย/ของเสีย)

311.50

353.16

375.00

600

5. พลังน�้ำขนาดเล็ก

142.01

142.06

190.42

376

-

-

-

680

224.47

225.37

255.79

3,002.00

8. พลังงานแสงอาทิตย์

1,298.51

1,311.51

1,679.03

6,000.00

9. พลังน�้ำขนาดใหญ่

-

2,906.40

2,906.40

2,906.40**

รวมเมกะวัตต์ติดตั้ง (เมกะวัตต์)

4,494.03

7,660.21

8,543.11

รวมพลังงานไฟฟ้า (ล้านหน่วย)

17,217

65,588.07

ความต้องการพลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ (ล้านหน่วย)

174,467

326,119.00

9.87

20.11

ประเภทเชื้อเพลิง

3. ชีวมวล

6. ก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) 7. พลังงานลม

สัดส่วนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน (%)

เป้าหมาย ปี 2579

19,684.40

ที่มา: แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579, หน้า 9. ข้อมูลสถานภาพสิ้นปี 2558 และเป้า หมายปี 2559 เพิ่มเติมโดย พูนศักดิ์ จันทร์จ�ำปี หมายเหตุ: * รวมการผลิตไฟฟ้านอกระบบ (off-grid power generation) และไม่รวมการผลิตไฟฟ้าจากพลังน�้ำขนาดใหญ่ ** เป็นก�ำลังการผลิตติดตั้งที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน โดยพลังน�้ำขนาดใหญ่ถูกรวมเป็นเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานทดแทน

บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

125


3.2 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดประเภทและขนาด ของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่ง แวดล้อม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2558

ประกาศกระทรวงฯ ฉบับนีแ้ ก้ไขเพิม่ เติมประกาศกระทรวงทรัพยากรธธรมชาติและสิง่ แวดล้อมฯ ทีก่ ำ� หนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการทีต่ อ้ งจัดท�ำรายงาน EIA ซึง่ แต่เดิมก�ำหนดให้โรงไฟฟ้า พลังความร้อนทุกประเภทที่มีก�ำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป ต้องจัดท�ำรายงาน EIA โดยแก้ไขเพิ่มเติมให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิต กระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไปได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดท�ำรายงาน EIA อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่ได้รับการยกเว้น จะต้อง ไม่ใช่โรงไฟฟ้าที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่อไปนี้ (1) พืน้ ทีซ่ งึ่ คณะรัฐมนตรีมมี ติเห็นชอบก�ำหนดให้เป็นพืน้ ทีช่ นั้ คุณภาพลุม่ น�ำ้ ชัน้ 1 และชัน้ 2 (2) พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (3) พื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรี (4) พื้นที่ชุ่มน�้ำที่มีความส�ำคัญระหว่างประเทศ ตามมติคณะรัฐมนตรี (5) พืน้ ทีซ่ งึ่ มีระดับสารมลพิษทางอากาศสูงเกินกว่าร้อยละ 80 ของค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ ในบรรยากาศทั่วไป ทั้งนี้ “พื้นที่ซึ่งมีระดับสารมลพิษทางอากาศสูงเกินกว่าร้อยละ 80” หมายความว่า พื้นที่ซึ่งมี ผลการตรวจวัดฝุน่ ละอองรวม หรือฝุน่ ละอองขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน ฝุน่ ละอองขนาดเกิน 10 ไมครอน ก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก่อนด�ำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ที่ ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงเกินกว่าร้อยละ 80 ของค่ามาตรฐานตามประกาศของคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ออกตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 อย่างน้อย 4 จุด โดยต้องตรวจวัดติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน ในช่วงเดือน มีนาคมถึงเดือนกันยายน และช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และช่วงเวลาที่ตรวจวัดจะต้องห่างกัน 5-7 เดือน พร้อมกับบันทึกกิจกรรมในขณะที่ท�ำการตรวจวัด และแผนผังแสดงต�ำแหน่งที่ท�ำการตรวจวัด ส�ำหรับบรรดารายงาน EIA ของโครงการที่ได้รับยกเว้นตามประกาศฯ ฉบับนี้ ซึ่งได้ยื่นต่อ ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ และยังไม่ ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ช�ำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้ถือว่ากระบวนการพิจาณารายงาน EIA สิ้นสุดลงโดยอนุโลม 1 26

การจัดการของเสียจากชุมชน


3.3 ประกาศคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน เรื่อง มาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตาม ตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมส�ำหรับผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็น เชื้อเพลิงที่มีก�ำลังผลิตติดตั้ง ตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป พ.ศ. 2559 ประกาศ ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2559

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดประเภทและขนาด ของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นมีผลให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงทุกขนาดไม่ต้อง จัดท�ำรายงาน EIA อีกต่อไป ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้จัดท�ำประมวล หลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) ส�ำหรับโครงการที่เข้าข่ายได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดท�ำ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็น เชือ้ เพลิงทีม่ กี ำ� ลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตัง้ แต่ 10 เมกะวัตต์ขนึ้ ไป “เพือ่ ใช้เป็นคูม่ อื ในการป้องกันและแก้ไข ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และจัดท�ำมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากโครงการ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง แทนการจัดท�ำรายงาน EIA รวมทั้งใช้เป็นแนวทาง ปฏิบัติขั้นต�่ำส�ำหรับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต และควบคุม ก�ำกับดูแลโครงการดังกล่าวต่อไป” คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 2/2558 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 มีมติเห็นชอบประมวลหลักการปฏิบัติ (CoP) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และเห็นชอบประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดประเภทและขนาด ของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ เพื่อยกเว้นให้โครงการ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิตตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป ไม่ต้องจัดท�ำรายงาน EIA โดยให้ใช้ CoP ฉบับดังกล่าวแทน รวมทั้งให้สำ� นักงานก�ำกับกิจการพลังงาน รับความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไปพิจารณาด�ำเนินการในประเด็นการออกแบบ โรงไฟฟ้าฯ และการติดตามตรวจสุขภาพของประชาชน และด�ำเนินการน�ำ CoP ไปก�ำหนดเป็นเงื่อนไข ประกอบการอนุญาตโครงการ โดยให้ถือเป็นเงื่อนไขที่ก�ำหนดตามกฎหมายในเรื่องนั้นด้วย รวมทั้งน�ำไป ประยุกต์ใช้ในการก�ำหนดเงื่อนไขประกอบการอนุญาตโครงการ และควบคุมก�ำกับดูแลโครงการโรงไฟฟ้า ที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิตต�่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ด้วย เพื่อให้การด�ำเนินโครงการ ก่อผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและชุมชนให้น้อยที่สุดและรายงานผลการ ด�ำเนินการให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติทราบด้วย

บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

127


ส�ำนักงาน กกพ. ในฐานะหน่วยงานอนุญาตตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 จึงได้น�ำ CoP ฉบับดังกล่าวมาพิจารณาปรับปรุงตามความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ และคณะท�ำงานก�ำหนดหลักเกณฑ์ในการรับซื้อไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงขยะ และ ออกประกาศคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน เรื่อง มาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมส�ำหรับผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังผลิต ติดตั้ง ตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป พ.ศ. 2559 ซึ่งก�ำหนดให้ผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอย เป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังผลิตติดตั้ง ตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป ปฏิบัติตามประมวลหลักการปฏิบัติ (CoP) ที่ แนบท้ายประกาศนี้ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ปฏิบตั เิ กีย่ วกับมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิง่ แวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิง่ แวดล้อม ตัง้ แต่ระยะเตรียมการก่อสร้าง ระยะก่อสร้างโครงการ และระยะด�ำเนินโครงการ ในที่นี้จะสรุปสาระส�ำคัญของ CoP โดยสังเขปดังนี้ 3.3.1 เงื่อนไขการใช้ CoP

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชือ้ เพลิงทีม่ กี ำ� ลังการผลิตกระแสไฟฟ้า ตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไปที่เข้าข่ายได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดท�ำรายงาน EIA จะต้องไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ดังต่อไปนี้ (1) พืน้ ทีท่ คี่ ณะรัฐมนตรีได้มมี ติเห็นชอบก�ำหนดให้เป็นพืน้ ทีช่ นั้ คุณภาพลุม่ น�ำ้ ชัน้ 1 และชัน้ ที่ 2 (2) พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (3) พื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มเติม (ป่า C) (4) พื้นที่ชุ่มน�้ำที่มีความส�ำคัญระหว่างประเทศตามมติคณะรัฐมนตรี (5) พื้นที่ที่มีระดับความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศที่เกี่ยวข้องสูงเกินกว่าร้อยละ 80 ของ ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศที่ก�ำหนดไว้เพื่อความปลอดภัยโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ ผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าจะต้องด�ำเนินการตาม CoP โดยเสนอรายการตรวจสอบด้าน สิ่งแวดล้อม (Environmental checklist) ซึ่งมีข้อมูลรายละเอียดโครงการโดยสรุป เช่น ที่ตั้ง ก�ำลังการผลิต กระแสไฟฟ้า เทคโนโลยีเตาเผา กระบวนการผลิตและระบบควบคุมมลพิษ เป็นต้น พร้อมทั้งแสดงเอกสาร และหลักฐาน (ถ้ามี) ประกอบการยื่นค�ำขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า การจัดท�ำรายการตรวจสอบด้าน สิง่ แวดล้อมให้ดำ� เนินการโดยหน่วยงานกลาง (Third party) ซึง่ ต้องเป็นนิตบิ คุ คลทีข่ นึ้ ทะเบียนเป็นนิตบิ คุ คล ผูม้ สี ทิ ธิจดั ท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิง่ แวดล้อมกับส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดย CoP จะถือเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขท้ายใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติการประกอบ กิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 1 28

การจัดการของเสียจากชุมชน


ส่วนที่ 1 มาตรการทั่วไป ก�ำหนดมาตรการทั่วไป เช่น ให้ผู้เสนอโครงการน�ำมาตรการใน CoP ไปก�ำหนดเป็นเงื่อนไข ขั้นต�่ำในสัญญาจ้างบริษัทผู้รับจ้าง ให้รายงานผลการปฏิบัติตาม CoP ให้ส�ำนักงานก�ำกับกิจการพลังงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม และจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของโครงการพิจารณาทุก 6 เดือน โดยรายงานต้องจัดท�ำ โดยหน่วยงานกลาง (Third party) ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลผู้มีสิทธิจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมกับ สผ. จัดให้มีทีมพนักงานที่มีความรู้ ความสามารถในการบ�ำรุงรักษาระบบโดยมี การฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากบริษัทเจ้าของเทคโนโลยีที่โครงการเลือกใช้ ให้มีการ บ�ำรุงรักษาการท�ำงานของระบบหล่อเย็น (ถ้ามี) ให้อยู่ในสภาพดีและปลอดภัย จัดให้มีห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจสอบข้อมูลที่จ�ำเป็น เช่น ลักษณะของขยะมูลฝอย หรือการท�ำงานของระบบควบคุมมลพิษ และ ในกรณีที่มีปัญหาหรือมีข้อร้องเรียนจากชุมชนเกี่ยวกับการด�ำเนินโครงการ ให้ด�ำเนินการแก้ไขปัญหา โดยเร็ว เป็นต้น ส่วนที่ 2 มาตรการระยะเตรียมการก่อสร้าง ประกอบด้วยเกณฑ์การปฏิบตั ิในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ (1) ด้านการศึกษาปริมาณและลักษณะสมบัติของขยะมูลฝอยที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลขยะมูลฝอยในพื้นที่ เช่น ปริมาณขยะมูลฝอยที่เพียงพอ ต่อการใช้เป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าที่มีขนาดเหมาะสมต่อการลงทุน (อย่างต�่ำไม่ควรน้อยกว่า 50,000 เมตริกตัน/ปี หรือ 137 ตัน/วัน) ค่าความร้อนต�่ำ (Lower calorific value: LCV) เฉลี่ยตลอดปีไม่ควร ต�ำ่ จนจ�ำเป็นต้องใช้เชือ้ เพลิงอืน่ เป็นเชือ้ เพลิงเสริมในการเผาไหม้ ค่าความชืน้ ความหนาแน่น และปริมาณ เถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้ของขยะมูลฝอยเฉลี่ยตลอดปี ความผันแปรของปริมาณและลักษณะสมบัติ ของขยะมูลฝอยในรอบปี ปริมาณและลักษณะสมบัติของขยะมูลฝอยในพื้นที่ในอนาคต ทั้งนี้ การศึกษา ปริมาณและลักษณะสมบัติของขยะมูลฝอยจะต้องท�ำในขั้นของการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ และด�ำเนินการโดย Third party ที่มีความรู้และประสบการณ์เป็นที่เชื่อถือได้ (2) ด้านการคัดเลือกพื้นที่ก่อสร้างโครงการ และการออกแบบการก่อสร้าง พื้นที่ตั้งโครงการต้องไม่อยู่ในพื้นที่น�้ำท่วม มีข้อจ�ำกัดด้านภูมิศาสตร์ ชลศาสตร์ และพื้นดิน ไม่กีดขวางทางน�้ำในฤดูน�้ำหลาก รุกล�้ำล�ำน�้ำสาธารณะและแม่น�้ำล�ำคลอง ไม่อยู่ในพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว และ/หรือนันทนาการ และต้องไม่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ด้านนิเวศ ศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ที่ดิน มีขนาดเพียงพอต่อการด�ำนินงานปัจจุบันและการขยายตัวในอนาคต มีระบบสนับสนุนพื้นฐานดีพอ มีปริมาณน�้ำใช้เพียงพอโดยไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ใช้น�้ำรายอื่น พืน้ ที่โครงการควรมีระยะห่างจากพืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัยไม่นอ้ ยกว่า 300 เมตร กิจกรรมทีก่ อ่ ให้เกิดปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมและความเดือดร้อนร�ำคาญ เช่น อาคารผลิตพลังงานไฟฟ้า บ่อบ�ำบัดน�้ำเสียหรือกักเก็บ บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

129


น�้ำเสีย และบ่อเถ้า ควรตั้งให้อยู่ห่างแหล่งชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรม จัดให้มีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย ร้อยละ 5 ของพื้นที่โครงการทั้งหมด โดยพิจารณาปลูกต้นไม้ริมรั้วของโครงการในระยะ 3-5 เมตร ตาม ความเหมาะสม และให้ปลูกต้นไม้เป็นแนวป้องกัน พิจารณาออกแบบอาคารให้มีระดับเสียงจากโครงการ มีคา่ ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอทีร่ มิ รัว้ อาคาร และระดับเสียงจากแหล่งก�ำเนิดทีเ่ ป็นอุปกรณ์แต่ละประเภทสูงสุด ไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ ที่ระยะห่างจากเครื่องจักรอุปกรณ์ 1 เมตร และติดตั้งอุปกรณ์ดูดซับเสียง (Silencer) บริเวณพื้นที่ที่อาจก่อให้เกิดเสียงดัง ในกรณีที่มีหลุมฝังกลบเถ้าภายในพื้นที่โครงการ จะต้องวิเคราะห์ องค์ประกอบเถ้าและออกแบบหลุมฝังกลบให้เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อมูลผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ เถ้าดังกล่าว ด้านการเงิน ควรค�ำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่งขยะมูลฝอยไปยังโรงไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายใน การขนส่งเถ้าจากการเผาขยะของโรงไฟฟ้าไปยังสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอยในกรณีที่โรงไฟฟ้าไม่สร้างที่ ฝังกลบเถ้าของตนเอง โดยมีหลักเกณฑ์ขั้นต�่ำในการคัดเลือกพื้นที่ก่อสร้างโครงการและออกแบบการก่อสร้างโครงการ เช่น พิจารณาเลือกพืน้ ทีซ่ งึ่ ไม่ขดั ต่อกฎหมายใดๆ ออกแบบและวางผังโครงการโดยค�ำนึงถึงความเหมาะสม ของลักษณะและขนาดพื้นที่โครงการ เลือกเทคโนโลยีการจัดการขยะมูลฝอยและการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพสูง มีมาตรฐานทางวิศวกรรมและมีระบบการป้องกันมลพิษที่เหมาะสม โดยให้มีขีดความ สามารถที่จะรองรับปริมาณขยะมูลฝอยที่ส่งเข้าเตาเผาได้ถึง 10 ปีในอนาคต และใช้หลักการเทคโนโลยี ควบคุมที่ดีที่สุด (Best available control technology: BACT) เป็นต้น (3) ด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารโครงการและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ให้ด�ำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็น และท�ำความเข้าใจกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย ในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการผลิต ไฟฟ้า พ.ศ. 2559 หรือตามที่คณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงานประกาศก�ำหนด (4) ด้านการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมพื้นฐานก่อนมีโครงการ น�ำเสนอข้อมูลคุณภาพสิง่ แวดล้อมปัจจุบนั เพือ่ ใช้เป็นข้อมูลพืน้ ฐานในการเปรียบเทียบกับข้อมูล คุณภาพสิ่งแวดล้อมภายหลังมีโครงการดังนี้  ด้านคุณภาพอากาศ น�ำเสนอผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศรอบพื้นที่ โครงการอย่างน้อย 4 จุด ครอบคลุมพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากโครงการ โดยพิจารณาต�ำแหน่งของ จุดตรวจวัดตามข้อมูลลมและสภาพภูมิประเทศของพื้นที่ศึกษา และท�ำการตรวจวัดติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน อย่างน้อย 2 ช่วงทิศทางลมหลัก โดยมีพารามิเตอร์ที่ก�ำหนด เช่น ฝุ่นละออง (TSP) ฝุ่นละออง ขนาดเล็ก (PM10) ก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นต้น 1 30

การจัดการของเสียจากชุมชน


 ด้านเสียง น�ำเสนอข้อมูลผลการตรวจวัดระดับเสียงในบริเวณพื้นที่ศึกษาและบริเวณ ใกล้เคียงพื้นที่โครงการอย่างน้อยจ�ำนวน 2 สถานี โดยตรวจวัดไม่น้อยกว่า 3 วันต่อเนื่อง ครอบคลุม วันท�ำการและวันหยุด อย่างน้อย 1 ครั้ง ต�ำแหน่งสถานีตรวจวัดระดับเสียงควรเป็นพื้นที่อ่อนไหวที่อาจ ได้รับผลกระทบด้านเสียงจากกิจกรรมของโครงการ  ด้านอุทกวิทยาและคุณภาพน�้ำ (1) จัดท�ำข้อมูลพื้นฐานแหล่งน�้ำผิวดิน ประกอบด้วย ชื่อแหล่งน�้ำ ระยะห่างจากพื้นที่ โครงการ ทิศทางและอัตราการไหลของน�้ำ ลักษณะทางกายภาพและการใช้ประโยชน์จากแหล่งน�้ำ แสดง ข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพน�้ำผิวดินในแหล่งน�้ำที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของโครงการอย่างน้อย 1 ครั้ง โดยมีพารามิเตอร์ที่ก�ำหนด ได้แก่ อุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) สารแขวนลอย (SS) สารละลาย ทัง้ หมด (TDS) บีโอดี (BOD) ค่าซีโอดี (COD) โคลิฟอร์มทัง้ หมดและฟีคลั โคลิฟอร์ม และโลหะหนัก เป็นต้น (2) จัดท�ำข้อมูลพื้นฐานของน�้ำใต้ดิน เช่น ทิศทางการไหล และระดับความลึก เป็นต้น น�ำเสนอผลการตรวจวัดคุณภาพน�้ำใต้ดินในบริเวณพื้นที่ตั้งโครงการ โดยมีการตรวจวัดอย่างน้อย 1 ครั้ง และให้มีพารามิเตอร์การตรวจวัดโลหะหนัก เป็นต้น ส่วนที่ 3 มาตรการระยะก่อสร้างโครงการ ประกอบด้วยมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ สิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้  ด้านคุณภาพอากาศ จัดท�ำรั้วทึบที่มีความมั่นคงแข็งแรงรอบบริเวณก่อสร้างให้มีความ สูงไม่น้อยกว่า 2 เมตร ติดตั้งป้ายแสดงรายละเอียดของโครงการในบริเวณที่เห็นได้ง่ายตลอดระยะเวลา การก่อสร้าง ฉีดพรมน�้ำในบริเวณที่มีการเปิดหน้าดิน กองวัสดุ และบริเวณทางเข้าออกอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง จ�ำกัดความเร็วของรถที่วิ่งในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างไม่เกิน 30 กิโลเมตร/ชั่วโมง ล้างท�ำความ สะอาดตัวรถและล้อรถก่อนน�ำรถออกจากพื้นที่ก่อสร้าง ท�ำความสะอาดเศษวัสดุที่ร่วงหล่นจากรถบรรทุก นอกรั้วโครงการทุกวัน ปิดคลุมกระบะรถบรรทุกวัสดุก่อสร้างให้มิดชิด จัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างให้ เป็นระเบียบ และในกรณีที่มีการร้องเรียนจากประชาชน ให้ท�ำการตรวจสอบและแก้ไขทันที ก�ำหนดจุด ตรวจวัดคุณภาพอากาศครอบคลุมพืน้ ทีท่ ี่ได้รบั ผลกระทบจากโครงการอย่างน้อย 2 สถานี โดยพิจารณาจาก พื้นที่อ่อนไหวและทิศทางลมหลัก พารามิเตอร์ที่ตรวจวัดอย่างน้อยได้แก่ ฝุ่นละอองรวม และฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน เฉลี่ย 24 ชั่วโมง และท�ำการตรวจวัดปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 7 วันต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง เป็นต้น  ด้านคุณภาพน�้ำ จัดห้องน�้ำห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะเพียงพอแก่คนงานก่อสร้างตามที่ กฎหมายก�ำหนด มีระยะห่างจากแหล่งน�้ำผิวดินไม่น้อยกว่า 30 เมตร ติดตั้งระบบบ�ำบัดน�้ำเสียส�ำเร็จรูป จากห้องน�้ำห้องส้วมตามมาตรฐานที่ราชการก�ำหหนด จัดท�ำรางระบายน�้ำชั่วคราวและบ่อดักตะกอน บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

131


บ่อพักน�้ำทิ้งที่เกิดจากการล้างวัสดุอุปกรณ์และกิจกรรมการก่อสร้าง ห้ามทิ้งขยะหรือเศษวัสดุก่อสร้างลง ในท่อระบายน�้ำ หรือล�ำรางสาธารณะ โดยเด็ดขาด กรณีมีการระบายน�้ำทิ้งออกนอกโครงการ ต้องตรวจวัด คุณภาพน�้ำทิ้งให้เป็นไปตามมาตรฐานน�้ำทิ้งที่กฎหมายก�ำหนดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เป็นต้น  ด้านเสียง กิจกรรมที่ก่อให้เกิดเสียงดัง เช่น การตอกเสาเข็ม ให้ด�ำเนินการได้เฉพาะ ช่วงกลางวัน ติดตั้งก�ำแพงกั้นเสียงด้านที่อยู่ติดหรือใกล้เคียงกับชุมชน ควบคุมระดับเสียงจากเครื่องจักร อุปกรณ์และยานพาหนะที่น�ำมาใช้ในโครงการ คนงานต้องสวมปลั๊กลดเสียง (Ear plugs) หรือครอบหู ลดเสียง (Ear muffs) และต้องควบคุมระดับเสียงให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานระดับเสียงทั่วไป ท�ำการตรวจวัด ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงกลางวัน-กลางคืน และระดับเสียงสูงสุดปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 7 วันต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการก่อสร้าง โดยก�ำหนดจุดตรวจวัดที่เป็นตัวแทนพื้นที่ที่ ได้รับผลกระทบจากโครงการอย่างน้อย 2 จุดตรวจวัด เช่น ริมรั้วโรงงาน และชุมชนที่ตั้งอยู่ใกล้สุด  ด้านคมนาคมขนส่ง เช่น หลีกเลี่ยงการขนส่งเครื่องจักรอุปกรณ์และวัสดุก่อสร้าง ในเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่นและพื้นที่ชุมชน หลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่มีการจราจรคับคั่งหรือชั่วโมง เร่งด่วน การขนส่งต้องมีผ้าใบปิดคลุม กรณีที่เส้นทางจราจรเกิดการช�ำรุดสียหาย โครงการต้องด�ำเนินการ ซ่อมแซมทันที เป็นต้น  ด้านการจัดการมูลฝอยและกากของเสีย จัดเตรียมถังมูลฝอยพร้อมฝาปิดมิดชิดเพื่อ รวบรวมมูลฝอยส่งให้ อปท. หรือหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ จัดให้มีระบบแยกขยะมูลฝอย ต้องแยกของเสียอันตรายเพื่อรวบรวมส่งหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการน�ำไปก�ำจัด จัดให้มี พื้นที่กองเศษวัสดุก่อสร้างที่ไม่ใช้แล้วอย่างเป็นสัดส่วน และห้ามทิ้งมูลฝอยลงในทางระบายน�้ำ ท่อน�้ำทิ้ง และแหล่งน�้ำในบริเวณใกล้เคียง  ด้านการระบายน�้ำและป้องกันน�้ำท่วม ออกแบบระบบระบายน�้ำเพื่อป้องกันปัญหาการ กีดขวางทางน�้ำเดิมและปัญหาน�้ำท่วมในพื้นที่ใกล้เคียง ห้ามทิ้งขยะและเศษวัสดุก่อสร้างลงรางระบายน�้ำ และดูแลรางระบายน�้ำไม่ให้อุดตัน  ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้างต้องเสนอแผนงานด้าน อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และแผนระงับเหตุฉกุ เฉินให้โครงการเห็นชอบ โดยโครงการต้องระบุขอ้ ตกลง ดังกล่าวในสัญญาว่าจ้างอย่างชัดเจน จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการตรวจสอบความปลอดภัย และการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับด้านความปลอดภัย จัดให้มีระบบรักษาความปลอดภัย ติดป้าย สัญลักษณ์เตือนภัยในบริเวณที่อาจเกิดอันตราย จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันการกระเด็น การตกหล่นของวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย เตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้กับพนักงานอย่างเพียงพอ และเหมาะสมกับลักษณะงาน จัดเตรียมน�ำ้ ดืม่ ทีส่ ะอาดส�ำหรับคนงานก่อสร้างอย่างเพียงพอ และด�ำเนินการ ก่อสร้างห้องน�้ำ ห้องส้วม ส�ำหรับคนงานก่อสร้างไม่น้อยกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายก�ำหนด เป็นต้น 1 32

การจัดการของเสียจากชุมชน


 ด้านเศรษฐกิจ สังคม และการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น พิจารณารับคนในท้องถิ่น ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้าท�ำงานเป็นอันดับแรก ควบคุมกิจกรรมการก่อสร้างและคนงานก่อสร้างไม่ให้ ส่งผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียง จัดให้มีศูนย์ประสานการรับข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนเกี่ยวกับความ เดือดร้อนที่ได้รับจากการก่อสร้าง โดยแจ้งความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหากับผู้ร้องทุก 7 วัน และจัดตั้ง คณะกรรมการร่วมกับชุมชนให้มีอ�ำนาจหน้าที่ เช่น การรับเรื่องร้องเรียน การด�ำเนินงานด้านความ รับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ของโครงการ และการพิจารณาการปฏิบัติตามมาตรการของโครงการ เป็นต้น ส่วนที่ 4 มาตรการระยะด�ำเนินโครงการ ประกอบด้วยมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ สิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ (1) ด้านคุณภาพอากาศ แบ่งรายละเอียดออกเป็นข้อต่างๆ เป็นจ�ำนวนมาก ได้แก่ 1) ปล่องระบายมลพิษทางอากาศ (Stack) มีข้อก�ำหนดต่างๆ เช่น  มีความสูงตามหลักเกณฑ์ good engineering practice  สารมลพิษทีป่ ล่อยออกจากปล่องต้องไม่เกินค่ามาตรฐานควบคุมการปล่อยทิง้ อากาศเสีย จากเตาเผามูลฝอย และค่ามาตรฐานควบคุมการปล่อยทิง้ อากาศเสียจากโรงไฟฟ้าใหม่ ตามกฎหมายว่าด้วย การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ โดยมีพารามิเตอร์ที่ก�ำหนด ได้แก่ ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ สารปรอท แคดเมี่ยม ตะกั่ว Dioxin/ Furan และ Opacity  ติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศจากปล่องแบบต่อเนื่อง (CEMs) ต�ำแหน่งและ วิธีการติดตั้ง CEMs ให้เป็นตามข้อก�ำหนดที่ US EPA เสนอแนะ มีการตรวจสอบความถูกต้องของระบบ CEMs โดย Third party อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ก�ำหนดค่าสัญญาณเตือนความผิดปกติจาก CEMs  ดูแลบ�ำรุงรักษาอุปกรณ์บ�ำบัดสารมลพิษให้สามารถใช้งานได้ดีอย่างต่อเนื่องโดย ตรวจสอบและซ่อมบ�ำรุงตามแผน Preventive maintenance และจัดให้มีผู้ควบคุมระบบบ�ำบัดมลพิษ ทางอากาศที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ตามที่กฎหมายก�ำหนด เป็นต้น 2) เชื้อเพลิงขยะมูลฝอย ใช้ขยะมูลฝอยชุมชนเป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น โดยไม่รับขยะอันตราย ขยะติดเชื้อ สารกัมมันตรังสี และวัตถุอื่นๆ (เช่น ขยะจากงานก่อสร้าง รื้อท�ำลาย อิฐ หิน คอนกรีต) เตรียมลักษณะเชื้อเพลิงมูลฝอยให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีการเผาไหม้ที่เลือกใช้ มีการปรับสภาพขยะ มูลฝอยโดยเครือ่ งจักร เช่น รถเครน เพือ่ ให้ขยะมูลฝอยมีการผสมผสานสม�ำ่ เสมอและความชืน้ ลดลง กรณี มีการใช้เชือ้ เพลิงอืน่ ในช่วงเริม่ เดินระบบ (Start up) จะต้องใช้เชือ้ เพลิงทีม่ คี ณ ุ ภาพตามทีก่ ฎหมายก�ำหนด และควบคุมค่าการระบายสารมลพิษทางอากาศ เป็นต้น

บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

133


3) การควบคุมกลิ่นรบกวน เช่น ออกแบบให้ห้องรับขยะมูลฝอยเป็นห้องปิด ซึ่งจะเปิด ให้เฉพาะรถขนขยะมูลฝอยวิ่งเข้ามาเทขยะมูลฝอยลงสู่บ่อขยะและวิ่งกลับออกไปเท่านั้น ติดตั้งพัดลมเพื่อ ดูดอากาศจากภายในห้องรับขยะเพื่อใช้เป็นอากาศส�ำหรับการเผาไหม้ในเตาเผาขยะ บ่อรับขยะมูลฝอย ต้องมีขนาดที่สามารถรองรับและกักเก็บขยะมูลฝอยได้อย่างน้อย 3-5 เท่าของขีดความสามารถสูงสุด ในการด�ำเนินการของเตาในแต่ละวัน ติดตั้งระบบสูบน�้ำเสียจากขยะที่ไหลลงสู่ก้นบ่อรับขยะและฉีดพ่น เข้าสู่ห้องเผาไหม้ของเตาเผาขยะมูลฝอย หรือส่งเข้าระบบบ�ำบัดน�้ำเสียที่ออกแบบไว้ให้สามารถรองรับ น�้ำชะขยะได้ รถขนขยะมูลฝอยต้องออกแบบให้ไม่มีน�้ำชะขยะรั่วไหลลงสู่พื้น ในกรณีที่มีน�้ำชะขยะรั่วไหล ลงบนถนนหรือบริเวณต่างๆ ภายในพื้นที่โครงการ ต้องท�ำความสะอาดหรือล้างพื้นที่ดังกล่าวโดยทันที เป็นต้น 4) การควบคุมสารประกอบ Dioxin และฝุ่นละออง ได้แก่ การควบคุมอุณหภูมิในการเผา ไหม้มลู ฝอยให้ไม่ตำ�่ กว่า 850-1,000 องศาเซลเซียส และก๊าซทีเ่ กิดจากการเผาไหม้มเี วลาอยู่ในห้องเผาไหม้ ไม่น้อยกว่า 1 วินาที กรณีอุณหภูมิเผาไหม้ไม่น้อยกว่า 1,000 องศาเซลเซียส และไม่น้อยกว่า 2 วินาที กรณีอุณหภูมิเผาไหม้ไม่น้อยกว่า 850 องศาเซลเซียส ติดตั้งระบบหรืออุปกรณ์ ในการลดการระบาย สารประกอบ Dioxin เช่น ฉีดถ่านกัมมันต์ (Activated carbon) เพื่อดูดซับ Dioxin เป็นต้น หรือใช้วิธีอื่น ที่เทียบเท่า ติดตั้งระบบดักจับฝุ่นละออง เช่น ระบบถุงกรอง เป็นต้น ก่อนที่จะระบายออกจากปล่อง หรือ ใช้วิธีอื่นที่เทียบเท่า 5) การควบคุมก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ และก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรด ได้แก่ ติดตั้งระบบบ�ำบัด มลพิษทางอากาศในการดักจับ HCl, HF, และ SO2 เช่น ระบบการฉีดหรือพ่นปูนขาว เป็นต้น หรือใช้ วิธีการอื่นที่เทียบเท่า และจัดท�ำบันทึกและรายงานปริมาณสารเคมีที่ใช้ในระบบบ�ำบัดมลพิษทางอากาศ 6) การควบคุมก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ได้แก่ ควบคุมอุณหภูมิการเผาไหม้ ในห้องเผาไหม้ไม่ให้เกิน 1,300 องศาเซลเซียส เพื่อลดการเกิด Thermal NOx ควบคุมการเผาไหม้หรือ ติดตั้งระบบดักจับก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนเพื่อควบคุมการระบาย NOx ให้เป็นไปตามค่าควบคุม และ ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดสภาวะการเผาไหม้แบบอัตโนมัติเพื่อให้สามารถตรวจสอบและปรับสภาวะการ เผาไหม้ให้เหมาะสมตามค่าการออกแบบ 7) การควบคุมฝุ่นละอองจากการขนส่งขยะมูลฝอยและการขนส่งเถ้า เช่น ดูแลเรื่องการ จราจรและจัดระบบคิวรถขนขยะมูลฝอย ฉีดพรมน�้ำบริเวณลานจอดรถในช่วงฤดูแล้งอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ก�ำหนดให้การล�ำเลียงเถ้าเป็นระบบปิด หรือแบบเถ้าเปียกโดยให้มีการฉีดพรมน�้ำขณะท�ำการขนถ่าย เถ้าลงรถบรรทุก เมื่อเสร็จสิ้นการขนถ่ายเถ้าลงรถบรรทุก ให้ท�ำการเก็บกวาดเศษวัสดุและฝุ่นละอองที่ หกหล่นอยู่ในบริเวณพื้นที่โครงการให้เรียบร้อยโดยเร็ว และตรวจสอบและบ�ำรุงรักษาระบบล�ำเลียงต่างๆ ในการขนถ่ายเชื้อเพลิงและล�ำเลียงเถ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานไม่มีรอยรั่ว เป็นต้น 1 34

การจัดการของเสียจากชุมชน


ส�ำหรับมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม มีอาทิเช่น ให้ตรวจวัดคุณภาพ อากาศจากปล่องปีละ 2 ครั้ง โดยพารามิเตอร์ที่ตรวจวัดได้แก่ ฝุ่นละอองรวม ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ ก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน และสารประกอบ ไดออกซิน ตรวจสอบความถูกต้องของระบบ (CEMs Audit) โดย Third party อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และ ติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยก�ำหนดจุดตรวจวัดครอบคลุมพื้นที่ที่ได้ รับผลกระทบจากโครงการ โดยพิจารณาจากพื้นที่อ่อนไหวและทิศทางลมหลักอย่างน้อยจ�ำนวน 4 สถานี และท�ำการตรวจวัดปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 7 วันต่อเนื่อง เป็นต้น (2) ด้านคุณภาพน�้ำ เช่น  จัดให้มีระบบบ�ำบัดน�้ำเสียส�ำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพในการบ�ำบัดน�้ำเสียจากการอุปโภค บริโภคของพนักงานให้เป็นไปตามมาตรฐานก่อนระบายออกนอกพื้นที่โครงการ หรือน�ำมาใช้ประโยชน์ใน พื้นที่โครงการ  บ่อรองรับขยะมูลฝอยต้องท�ำเป็นพื้นคอนกรีต และให้มีการป้องกันการรั่วไหลของ น�้ำชะขยะมูลฝอยในกรณีพื้นแตกร้าว เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน�้ำใต้ดิน  ออกแบบระบบแยกน�้ำฝนปนเปื้อนและน�้ำฝนไม่ปนเปื้อนออกจากกัน จัดให้มีราง รวบรวมและบ่อพักน�้ำชะมูลฝอยแยกจากน�้ำเสียส่วนอื่นๆ และตรวจสอบคุณภาพก่อนส่งเข้าสู่ระบบบ�ำบัด น�้ำเสีย จัดให้มีระบบบ�ำบัดน�้ำเสียภายในพื้นที่โครงการ จัดให้มีบ่อพักน�้ำทิ้งเพื่อตรวจสอบคุณภาพน�้ำทิ้ง ก่อนระบายออกนอกพื้นที่โครงการ หรือน�ำมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่โครงการ กรณีที่ไม่มีการระบายน�้ำทิ้ง (Zero discharge) จะต้องแสดงรายละเอียดพร้อมแผนผังสมดุลการใช้น�้ำ (Water balance diagram) ของโครงการ  จัดให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการควบคุมดูแลการจัดการน�้ำเสียของ โครงการ ในกรณีที่มีการระบายน�้ำทิ้งออกจากพื้นที่โครงการ ให้พิจารณาเลือกจุดปล่อยน�้ำทิ้งโดยค�ำนึง ถึงผลกระทบสิง่ แวดล้อมและการใช้นำ�้ ของชุมชนทีม่ อี ยูเ่ ดิม ตรวจวัดคุณภาพน�ำ้ ทิง้ ตามจุดตรวจวัด เช่น บ่อ รวบรวมน�ำ้ ทิง้ ก่อนและหลังผ่านระบบบ�ำบัด และจุดปล่อยน�ำ้ ทิง้ ทีร่ ะบายออกนอกบริเวณโครงการ เป็นต้น  ในกรณีที่มีการระบายน�้ำทิ้งลงแหล่งน�้ำผิวดิน ให้มีการตรวจวัดคุณภาพน�้ำจ�ำนวน อย่างน้อย 3 สถานี คือ เหนือจุดระบายน�้ำทิ้ง บริเวณจุดระบายน�้ำทิ้ง และใต้จุดระบายน�้ำทิ้ง โดยตรวจวัด อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง  ด้านการติดตามตรวจสอบผลกระทบต่อคุณภาพน�้ำใต้ดิน ให้ตรวจสอบคุณภาพน�้ำ ใต้ดินจากบ่อสังเกตการณ์ (monitoring well) ที่ติดตั้งตามทิศทางการไหลของน�้ำใต้ดินอย่างน้อย 3 บ่อ ได้แก่ ต้นน�้ำก่อนผ่านพื้นที่โครงการ 1 บ่อ และท้ายน�้ำหลังผ่านพื้นที่โครงการอย่างน้อย 2 บ่อ โดยให้มี พารามิเตอร์การตรวจวัดโลหะหนัก และท�ำการตรวจวัดปีละ 2 ครั้ง บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

135


(3) ด้านเสียง เช่น  ติดตั้งอุปกรณ์ลดระดับเสียงส�ำหรับเครื่องจักรที่มีเสียงดังเกินกว่า 85 เดซิเบลเอ และ จัดให้มีแนวป้องกันเสียงบริเวณพื้นที่ที่มีเสียงดังเกินกว่า 85 เดซิเบลเอ  ตรวจสอบและซ่อมบ�ำรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ท�ำให้เกิดเสียงดัง  จัดท�ำแผนผังแสดงเส้นเสียง (Noise contour map) เพื่อใช้ก�ำหนดบริเวณพื้นที่ที่มี เสียงดัง ในกรณีที่มีปัญหา ให้จัดให้มีก�ำแพงกั้นเสียงหรือปลูกต้นไม้เป็นแนวป้องกัน และจัดให้มีเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่เพื่อสอบถามชุมชนใกล้เคียงเป็นระยะๆ เป็นต้น  ด้านการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้ท�ำการตรวจวัดระดับเสียงใน บรรยากาศ 24 ชั่วโมงปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 7 วันต่อเนื่อง โดยก�ำหนดจุดตรวจวัดที่เป็นตัวแทนพื้นที่ที่อาจ ได้รับผลกระทบอย่างน้อย 3 จุด เช่น ริมรั้วโรงงาน และชุมชนที่อยู่ใกล้สุด (4) ด้านคมนาคมขนส่ง เช่น  อบรมและควบคุมพนักงานขับรถให้ปฏิบัติตามกฎจราจรและข้อก�ำหนดอื่นๆ  หลีกเลี่ยงเส้นทางที่ผ่านชุมชนให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการใช้เส้นทางในชั่วโมงเร่งด่วน  ปิดคลุมวัสดุและเถ้าที่ขนออกจากพื้นที่ให้มิดชิดเพื่อป้องกันการตกหล่นและฟุ้งกระจาย  ติดเบอร์โทรศัพท์ที่รถขนส่งเถ้าเพื่อเป็นช่องทางการแจ้งเรื่องร้องเรียนมายังโครงการ  จัดให้มีพื้นที่จอดรถขนส่งอย่างเพียงพอเพื่อไม่ให้มีการจอดรถในพื้นที่ถนนสาธารณะ เป็นต้น (5) ด้านทรัพยากรน�้ำ การระบายน�้ำ และการใช้น�้ำ เช่น  จัดหาแหล่งน�้ำส�ำหรับโครงการให้เกิดผลกระทบต่อการใช้น�้ำของชุมชนน้อยที่สุด  มีการหมุนเวียนใช้น�้ำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด  หากต้องใช้น�้ำจากแหล่งน�้ำสาธารณะหรือใช้น�้ำใต้ดิน ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ  ก�ำหนดแผนการขุดลอกตะกอนในรางระบายน�้ำของโครงการอย่างสม�่ำเสมอ  ติดตั้งตะแกรงดักก่อนระบายน�้ำลงสู่ระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย ให้มีการรวบรวมน�้ำชะขยะ มูลฝอยเพื่อส่งเข้าระบบบ�ำบัดให้ได้คุณภาพน�้ำทิ้งตามที่กฎหมายก�ำหนด ก่อนระบายทิ้งออกนอกพื้นที่ โครงการ หรือมีการน�ำมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ในโครงการ เป็นต้น 1 36

การจัดการของเสียจากชุมชน


(6) ด้านการจัดการมูลฝอยและกากของเสีย  ด�ำเนินการจัดการกากของเสียจากกระบวนการผลิตตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฯ  วิเคราะห์องค์ประกอบของสารอันตรายในน�้ำชะเพื่อจ�ำแนกว่าเป็นประเภทอันตราย หรือไม่ ได้แก่ เถ้าหนักและเถ้าเบา กากตะกอนจากบ่อปรับสภาพน�้ำเสีย กากตะกอนจากระบบปรับปรุง คุณภาพน�้ำ  รวบรวมสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ ไม่ ใช้แล้วจากกระบวนการผลิตที่เป็นของเสียอันตราย เพื่อส่งไปก�ำจัดโดยหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ  จัดให้มีสถานที่จัดเก็บกากของเสียที่มีหลังคาปกคลุมและพื้นคอนกรีต แยกประเภท ของเสียและติดป้ายชัดเจน  ด�ำเนินการจัดการเถ้าให้สอดคล้องกับผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ กรณีน�ำเถ้า ออกไปก�ำจัดข้างนอก ให้ด�ำเนินการตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฯ และกรณีการฝังกลบในพื้นที่ โครงการ ให้ออกแบบหลุมฝังกลบให้สอดคล้องกับข้อมูลผลการวิเคราะห์เถ้า เช่น จัดท�ำเป็นบ่อคอนกรีต รองรับเถ้า หรือน�ำไปก�ำจัดในพื้นที่ฝังกลบที่มีระบบปูรองกันการรั่วซึมภายในพื้นที่โครงการ เป็นต้น  ให้มีมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพน�้ำใต้ดินปีละ 2 ครั้ง โดยติดตั้ง monitoring well ตามทิศทางการไหลของน�้ำใต้ดินอย่างน้อย 3 บ่อ ได้แก่ ต้นน�้ำก่อนผ่านหลุมฝังกลบ 1 บ่อ และ ท้ายน�้ำหลังผ่านหลุมฝังกลบอย่างน้อย 2 บ่อ (7) ด้านระบบนิเวศน์แหล่งน�้ำ (ถ้ามี) เช่น ก�ำหนดอัตราและวิธีการสูบน�้ำจากแหล่งน�้ำให้มี ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในแหล่งน�้ำน้อยที่สุด จัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์ปลาในท้องถิ่นลงสู่แหล่งน�้ำสาธารณะ เก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในแหล่งน�้ำผิวดินที่เป็นแหล่งน�้ำใช้และแหล่งรองรับน�้ำทิ้งของโครงการอย่างน้อย 3 จุด ได้แก่ บริเวณเหนือจุดสูบหรือระบายน�้ำทิ้ง บริเวณจุดสูบหรือระบายน�้ำทิ้ง บริเวณท้ายจุดสูบหรือ ระบายน�้ำทิ้ง โดยมีการตรวจวัดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เป็นต้น (8) ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสุขภาพ เช่น ด�ำเนินการตามกฎหมายและ ข้อก�ำหนดด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และกฎหมายแรงงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีการอบรม ด้านชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเหมาะสมและเพียงพอกับลักษณะงาน จัดตั้งคณะกรรมการ ด้ า นอาชี ว อนามั ย และความปลอดภั ย จั ด ให้ มี อุ ป กรณ์ ดั บ เพลิ ง อย่ า งเพี ย งพอ ตั้ ง ที ม ดั บ เพลิ ง และ ฝึ ก ซ้ อ มเป็ น ประจ� ำ อย่ า งน้ อ ยปี ล ะ 1 ครั้ ง จั ด ให้ พ นั ก งานมี อุ ป กรณ์ ป ้ อ งกั น อั น ตรายส่ ว นบุ ค คล จัดให้มีการตรวจสุขภาพพนักงานและสมุดสุขภาพประจ�ำตัวพนักงาน จัดให้มีวิศวกรและผู้ควบคุมความ ปลอดภัยในการใช้หม้อน�้ำ จัดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า เป็นประจ�ำทุกปี จัดให้มีแผนปฏิบัติการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินภายในพื้นที่โครงการ เป็นต้น บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

137


(9) ด้านเศรษฐกิจ-สังคม พิจารณารับคนในท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้าท�ำงานเป็น อันดับแรก ก�ำหนดมาตรการคืนประโยชน์ ให้กับชุมชน เช่น การสนับสนุนหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่ เปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้าเยี่ยมชมโรงงาน จัดให้มีนโยบายเสริมสร้างคุณภาพชีวิต สนับสนุนและส่งเสริม ธุรกิจชุมชน ก�ำหนดให้มีแผนรับเรื่องร้องเรียนโดยระบุช่องทาง ขั้นตอน และระยะเวลาด�ำเนินการแก้ไข ปัญหาโดยแจ้งความก้าวหน้าให้ผรู้ อ้ งเรียนทราบเป็นระยะทุก 7 วัน และส่งตัวแทนโครงการเข้าร่วมประชุม ประจ�ำเดือนกับชุมชน เป็นต้น (10) ด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและ ประชาสัมพันธ์รายละเอียดและผลการด�ำเนินการของโครงการให้ชุมชนทราบ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบโครงการตลอดอายุการด�ำเนินการของโครงการ กรณีที่ มีข้อร้องเรียนของชุมชน ต้องรีบแก้ไขปัญหาโดยเร็ว ส่งเสริมกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ พิจารณาแต่งตั้ง คณะกรรมการร่วมกับชุมชน โดยให้มสี ดั ส่วนกรรมการจากภาคประชาชนอย่างน้อยเกินครึง่ หนึง่ ของผูแ้ ทน ทุกภาคส่วนรวมกัน ให้คณะกรรมการดังกล่าวมีอ�ำนาจหน้าที่ เช่น การรับเรื่องร้องเรียน การด�ำเนินงาน ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของโครงการ และการปฏิบัติตามมาตรการของโครงการ (11) ด้านพื้นที่สีเขียวและสุนทรียภาพ ก�ำหนดให้มีพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของ พื้นที่โครงการทั้งหมด พิจารณาปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่สีเขียวของโครงการเป็นหลัก ปลูกต้นไม้ริมรั้ว ของโครงการในระยะ 3-5 เมตรตามความเหมาะสม กรณีมีแนวรั้วติดกับชุมชน ต้องพิจารณาจัดให้มี แนวป้องกัน (Protection strip) ตามหลักวิชาการหรือแนวทางที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก�ำหนด 3.3.2 CoP เป็นมาตรการที่ทดแทนการจัดท�ำรายงาน EIA ได้หรือไม่

เมื่อพิจารณามาตรการต่างๆ ตามที่ก�ำหนดโดย CoP จะเห็นได้ว่า CoP มีลักษณะเป็นเงื่อนไข ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง มากกว่าเป็นมาตรการป้องกันและแก้ไข ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามหลักการของ EIA ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและคาดการณ์ผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการ และน�ำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการตัดสินใจว่าควร จะอนุญาตให้ประกอบกิจการดังกล่าวหรือไม่ ฉะนั้น การพิจารณาเพียงเอกสารข้อเสนอโครงการว่ามี รายการต่างๆ ตาม CoP ครบถ้วนแล้วหรือไม่เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต จึงเป็นการลดทอน มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการพิจารณา รายงาน EIA จึงมีความเห็นว่า CoP ไม่สามารถทดแทนมาตรการ EIA ได้ โดยได้สรุปข้อแตกต่างระหว่าง CoP และการจัดท�ำ EIA จุดอ่อนของ CoP และลักษณะหลายประการของระบบ EIA ที่ไม่มีใน CoP ไว้ดังนี้9 9 สนธิ คชวัฒน์, ความแตกต่างระหว่างประมวลหลักปฏิบัติ (Code of Practice หรือ CoP) กับการจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง, ที่มา: http://www.eric.chula.ac.th/pub/wcin/sonthi_CoP.pdf. 1 38

การจัดการของเสียจากชุมชน


(1) การจัดท�ำ EIA เป็นการคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดจากโครงการ ทั้งในช่วงการก่อสร้างและด�ำเนินโครงการเพื่อเสนอมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพ ตลอดจนเสนอมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้น ในการศึกษา ดังกล่าวจะต้องจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่เริ่มต้นคิดโครงการ และน�ำข้อ ห่วงกังวลของประชาชนมาศึกษาเพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาจนกว่าจะเกิดการยอมรับจาก ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่มีใน CoP (2) รายงาน EIA ต้องน�ำเสนอที่ตั้งโครงการ เทคโนโลยีที่ใช้ในการก�ำจัดขยะและลดมลพิษ ข้อมูลคาดการณ์ว่าโครงการจะปล่อยมลพิษทางอากาศได้สูงสุดเท่าใดในแต่ละวัน (กิโลกรัม/วัน) เพื่อไม่ให้ เกินศักยภาพการรองรับมลพิษทางอากาศในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งค�ำนวณว่าค่ามลพิษสูงสุด (maximum ground concentration) จะไปตกในพื้นที่ใด ซึ่งจะท�ำให้สามารถก�ำหนดจุดตรวจวัดค่ามลพิษก่อนมี โครงการเกิดขึน้ และจุดตรวจวัดเพือ่ ติดตามผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศหลังจากทีด่ ำ� เนินโครงการแล้ว ตลอดจนบริเวณพื้นที่ซึ่งต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชน (3) การจัดท�ำ EIA ต้องมีกระบวนการที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม ตั้งแต่ขั้นตอนการก�ำหนด หัวข้อการศึกษา (SCoPing) และการก�ำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะท�ำให้ เกิดความรอบคอบและครอบคลุมประเด็นที่เป็นข้อวิตกกังวลของประชาชน (4) กระบวนการพิจารณารายงาน EIA มีคณะกรรมการผูช้ ำ� นาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) เป็นผู้ให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมแก่ผู้ประกอบการ ซึ่งจะ ท�ำให้สามารถก�ำหนดมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้อย่างรอบคอบมากขึ้นส�ำหรับ แต่ละโครงการ (5) การที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติให้ส�ำนักงานก�ำกับกิจการพลังงานน�ำ CoP ไปก�ำหนดเป็นเงื่อนไขประกอบการอนุญาต แสดงให้เห็นว่า เมื่อส�ำนักงานก�ำกับกิจการพลังงานเห็นชอบ ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบการแล้ว ก็ต้องน�ำ CoP แนบท้ายใบอนุญาต CoP จึงเป็นเพียงรายการ ที่โครงการต้องปฏิบัติตามและมีไว้ส�ำหรับการติดตามตรวจสอบเท่านั้น ในขณะที่รายงาน EIA จะศึกษา ความเหมาะสมของการเลือกพื้นที่ตั้งโครงการ เทคโนโลยีที่เหมาะสมทั้งในส่วนของอุปกรณ์ เส้นทางและ วิธีการขนส่งขยะ เป็นต้น ตลอดจนศึกษาเพื่อประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ที่อาศัยโดยรอบทั้งในกรณีปกติและกรณีเลวร้าย เพื่อเสนอมาตรการที่เหมาะสม โดยประชาชนสามารถ เข้ามามีส่วนร่วมทุกขั้นตอน (6) CoP ไม่สามารถก�ำหนดจุดหรือบริเวณทีต่ อ้ งท�ำการตรวจวัดมลพิษเพือ่ เฝ้าระวังสุขภาพของ ประชาชนได้อย่างชัดเจน เนื่องจากไม่มีการใช้แบบจ�ำลองทางคณิตศาตร์เหมือนอย่างการจัดท�ำรายงาน

บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

139


EIA ในการท�ำนายว่าค่ามลพิษสูงสุดจะตกในบริเวณใด ท�ำให้ผลการตรวจวัดจากจุดที่ระบุตามแนวทาง กว้างๆ ที่ก�ำหนดไว้ใน CoP ไม่สามารถเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง (7) เถ้าเบาที่เกิดจากการเผาไหม้ขยะจะเป็นที่สะสมของสารไดออกซินและโลหะหนักต่างๆ จ�ำนวนมาก CoP ก�ำหนดว่าก่อนการขนส่งเถ้าเบาออกจากโรงงาน จะต้องท�ำการทดสอบก่อนว่าเป็น ของเสียอันตรายหรือไม่โดยการจัดท�ำ leachate test ตามวิธีการที่ก�ำหนดโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม แต่ปัจจุบันกรมโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่ได้ก�ำหนดวิธีการทดสอบสารไดออกซินในเถ้าเบา ดังนั้น การน�ำ เถ้าเบาไปใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น ถมดิน ท�ำอิฐบล๊อก เป็นต้น อาจท�ำให้เกิดการแพร่กระจายของสาร ไดออกซินซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในแหล่งน�้ำ ดิน อากาศ และสิ่งแวดล้อมได้ (8) การน�ำแท่งเชื้อเพลิง (Refuse derived fuel: RDF) มาเผาร่วมกับขยะชุมชนจะท�ำให้มี สารคลอรีนออกมาค่อนข้างสูง ระบบบ�ำบัดมลพิษทางอากาศทีก่ ำ� หนดไว้ใน CoP อาจไม่เพียงพอทีจ่ ะจัดการ กับปัญหานี้ได้ ซึ่งจะท�ำให้เกิดไอกรด และสารคลอรีนแพร่กระจายในอากาศมากขึ้น 3.4 ค�ำสัง่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2559 เรือ่ ง การยกเว้นการใช้บงั คับกฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวมส�ำหรับการประกอบกิจการบางประเภท

ในวันที่ 20 มกราคม 2559 อาศัยอ�ำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 รัฐบาลได้ออกค�ำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2559 เรื่อง การยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมส�ำหรับการประกอบกิจการบางประเภท หลักการและเหตุผลตามทีก่ ล่าวไว้ในค�ำสัง่ หัวหน้า คสช. ฉบับนี้ ก็คอื ประเทศไทยก�ำลังประสบปัญหาความ มัน่ คงด้านพลังงานและสิง่ แวดล้อมซึง่ จ�ำเป็นต้องได้รบั การแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่วา่ จะเป็นความต้องการใช้ พลังงานไฟฟ้าทีเ่ พิม่ สูงขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ปัญหาขยะล้นเมือง การบริหารจัดการขยะที่ไม่ถกู สุขลักษณะ แต่ ความพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวกลับมีขอ้ ขัดข้องหรืออุปสรรคจากข้อก�ำหนดทางกฎหมายบางประการ จึงมีค�ำสั่งให้ยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่มีค�ำสั่งนี้ หรือที่จะมีผลใช้บังคับภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีค�ำสั่งนี้ ส�ำหรับการ ประกอบกิจการดังต่อไปนี้ (1) การประกอบกิจการคลังน�้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน�้ำมันเชื้อเพลิง และการประกอบกิจการโรงงานล�ำดับที่ 88 (โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า) ตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ตามที่ก�ำหนดไว้ในแผนพัฒนาก�ำลังผลิตไฟฟ้าของ ประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 และแผนพัฒนา พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 แผนบริหารจัดการน�้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558-2579 และแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2558-2579 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อ 1 40

การจัดการของเสียจากชุมชน


วันที่ 27 ตุลาคม 2558 และกิจการอื่นที่เป็นส่วนหนึ่งของการผลิต ขนส่ง และระบบจ�ำหน่ายพลังงาน ตามแผนดังกล่าว ทั้งนี้ให้รวมถึงกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงแผนซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีในภายหลังด้วย ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติก�ำหนดหลักเกณฑ์และ รายละเอียดของโครงการหรือกิจการที่อยู่ในแผนซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วข้างต้น (2) การประกอบกิจการโรงงานล�ำดับที่ 89 (โรงงานผลิต ส่ง หรือจ�ำหน่ายก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซ ธรรมชาติ) โรงงานล�ำดับที่ 101 (โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม) โรงงานล�ำดับที่ 105 (โรงงานคัดแยก หรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงาน) โรงงานล�ำดับที่ 106 (โรงงานรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียจากโรงงาน) และกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการก�ำจัด มูลฝอย โดยผลของค�ำสัง่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2559 ดังทีก่ ล่าวมานี้ รัฐบาลได้ออกประกาศ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อก�ำหนดหลักเกณฑ์และรายละเอียดของโครงการหรือกิจการ ที่ได้รับยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 255910 ประกอบด้วย (1) โครงการโรงไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามแผนพัฒนาก�ำลัง ผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 (PDP 2015) จ�ำนวน 22 โครงการ ก�ำลังการผลิตไฟฟ้าตาม สัญญา รวมทั้งสิ้น 20,149 เมกะวัตต์ (2) โครงการโรงไฟฟ้าผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ตามแผน PDP 2015 จ�ำนวน 7 โครงการ ก�ำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา รวมทั้งสิ้น 6,470 เมกะวัตต์ (3) โครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็กและขนาดเล็กมากของ กฟผ. และเอกชน ตามแผน PDP 2015 ก�ำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา รวมทั้งสิ้น 4,159.2 เมกะวัตต์ (4) โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ตามแผนพัฒนาพลังงาน ทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 (AEDP 2015) จ�ำนวน 5 กลุ่ม ซึ่งรวมถึงโครงการที่ จะด�ำเนินการรับซื้อไฟฟ้าตามแผน AEDP 2015 และนโยบายของรัฐในโอกาสต่อไป ได้แก่ (4.1) โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในแบบ Feed-in Tariff พ.ศ. .... (ระยะ ที่ 2 ส�ำหรับทั่วประเทศ) (4.2) โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใช้เชื้อเพลิงจากขยะอุตสาหกรรม (4.3) โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ใช้เชื้อเพลิงจากขยะชุมชน 10 ประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เรือ่ ง หลักเกณฑ์และรายละเอียดของโครงการหรือกิจการที่ได้รบั การยกเว้นการใช้บงั คับกฎกระทรวง ให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ส�ำหรับการประกอบกิจการบางประเภท ตามค�ำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2559 ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559 ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

141


(4.4) โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนพื้นดินส�ำหรับหน่วยงาน ราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร พ.ศ. .... ระยะที่ 2 (5) โครงการภายใต้แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2558-2579 (Gas Plan 2015) นอกจากนี้ อาศัยอ�ำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 รัฐบาลยังได้ออกค�ำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2559 ลงวันที่ 20 มกราคม 255911 เรือ่ ง การยกเว้นการใช้บงั คับกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองและกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคารในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษดังต่อไปนี้ (1) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สระแก้ว เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด ตามประกาศคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่ 1/2558 เรื่อง ก�ำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ 19 มกราคม พุทธศักราช 2558 (2) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส เขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษเชียงราย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรี ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่ 2/2558 เรื่อง ก�ำหนดพื้นที่เขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ ระยะที่ 2 ลงวันที่ 24 เมษายน พุทธศักราช 2558 ทัง้ นี้ ให้กระทรวงมหาดไทยเร่งด�ำเนินการออกกฎกระทรวงให้ใช้บงั คับผังเมืองรวมตามกฎหมาย ว่าด้วยการผังเมือง และกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารให้ สอดคล้องกับแนวทางการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษโดยเร็ว ค�ำสั่งหัวหน้า คสช. ทั้งสองฉบับที่กล่าวมาข้างต้น ชี้ให้เห็นแนวนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการ ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน โดยการผ่อนปรนกฎระเบียบต่างๆ ที่ควบคุมการใช้ที่ดินและ การประกอบกิจการโรงงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ส�ำหรับในพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ค�ำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 4/2559 จะมีผลให้การจัดโซนและข้อก�ำหนดการใช้ที่ดิน ตามกฎหมายผังเมืองไม่มีผลใช้บังคับ และการตั้งโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า การประกอบกิจการก�ำจัด มูลฝอย และโรงงานที่ประกอบกิจการรับบ�ำบัดหรือก�ำจัดกากอุตสาหกรรม รวมทั้งโรงงานรีไซเคิลกาก อุตสาหกรรมและวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงานสามารถกระท�ำได้โดยสะดวกรวดเร็วยิง่ ขึน้ มาตรการทัง้ หมดนี้ บวกกับการยกเว้นให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงไม่ต้องจัดท�ำรายงาน EIA 11 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 15 ง ทีม่ า: http://library2.parliament.go.th/giventake/content_ncpo/ncpo-head-order3-2559. pdf. 1 42

การจัดการของเสียจากชุมชน


ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จะส่งผลให้การประกอบกิจการโรงงานก�ำจัดมูลฝอย และโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็น เชื้อเพลิงเกิดขึ้นได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพหากกลไกก�ำกับดูแล ของหน่วยงานของรัฐยังคงหย่อนยานและขาดประสิทธิภาพเหมือนดังที่ผ่านมา 3.5 กระบวนการอนุญาตการประกอบกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน

ในปัจจุบนั การอนุญาตให้ประกอบกิจการพลังงานและกิจการโรงไฟฟ้าเป็นไปตามบทบัญญัตขิ อง พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติฉบับนี้ก�ำหนดให้มีคณะกรรมการ ก�ำกับกิจการพลังงาน เพือ่ ท�ำหน้าทีก่ ำ� กับดูแลการประกอบกิจการพลังงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มี ความมัน่ คง มีปริมาณเพียงพอและทัว่ ถึงในราคาทีเ่ ป็นธรรมและมีคณ ุ ภาพที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนป้องกัน การใช้อำ� นาจผูกขาดโดยมิชอบ ให้ความคุม้ ครองผูใ้ ช้พลังงานและผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากการประกอบกิจการ พลังงาน “กิจการพลังงาน” ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้หมายถึง กิจการไฟฟ้า กิจการก๊าซธรรมชาติ หรือ กิจการระบบโครงข่ายพลังงาน ซึง่ รวมถึงระบบโครงข่ายไฟฟ้า อันได้แก่ ระบบส่งไฟฟ้าหรือระบบจ�ำหน่าย ไฟฟ้า ตามมาตรา 47 การประกอบกิจการพลังงานไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ ต้องได้รับใบอนุญาตจาก คณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต รวมทั้งอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และอัตราค่า ธรรมเนียมการประกอบกิจการพลังงาน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการประกาศก�ำหนด (มาตรา 50) การประกอบกิจการพลังงานให้มีอายุตามที่ก�ำหนดไว้ในใบอนุญาต (มาตรา 54) อ�ำนาจของ กกพ.ยังครอบคลุมไปถึงอ�ำนาจในการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร และใบอนุญาต การประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าอีกด้วยตามบทบัญญัติในมาตรา 48 ดังนี้ “ในกรณีที่การปลูกสร้างอาคาร หรือการตั้งโรงงานเพื่อประกอบกิจการพลังงานต้องปฏิบัติตาม กฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมาย ว่าด้วยการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ให้การอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นเป็นอ�ำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยคณะกรรมการต้องขอความเห็นจากหน่วยงานที่มีอ�ำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายต่างๆ ดังกล่าว และหน่วยงานดังกล่าวต้องแจ้งความเห็นพร้อมทั้งจ�ำนวนค่าธรรมเนียมที่ เรียกเก็บตามกฎหมายนั้นๆ ให้คณะกรรมการทราบด้วย ให้สำ� นักงานจัดส่งค่าธรรมเนียมทีค่ ณะกรรมการเรียกเก็บตามวรรคหนึง่ ให้หน่วยงานทีม่ อี ำ� นาจ หน้าที่ตามกฎหมายต่างๆ เพื่อด�ำเนินการต่อไป”

บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

143


เนื่องจากหน่วยงานที่มีอ�ำนาจอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมาย ว่าด้วยการผังเมือง ได้แก่ อปท. และหน่วยงานที่มีอ�ำนาจอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานคือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กกพ. จึงได้จัดท�ำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อก�ำหนดแนวทางและขั้นตอนด�ำเนินการดังนี้ 3.5.1 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงานและกระทรวง มหาดไทย เรื่อง แนวทางและขั้นตอนการอนุญาตปลูกสร้างอาคารและการอื่นเพื่อประกอบกิจการพลังงาน ลงนามวันที่ 5 กันยายน 2555

บันทึกข้อตกลงนีจ้ ดั ท�ำขึน้ เพือ่ ก�ำหนดขัน้ ตอนการปฏิบตั ิให้ชดั เจนเกีย่ วกับการอนุญาตปลูกสร้าง อาคารและการอื่นเพื่อประกอบกิจการพลังงานตามความในมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบ กิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เนื่องจากบันทึกข้อตกลงนี้มีรายละเอียดเป็นจ�ำนวนมากเกี่ยวกับขั้นตอน การขอรับใบอนุญาต การพิจารณาอนุญาต และการด�ำเนินการตามบทบัญญัติต่างๆ ของพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะส่วนที่ก�ำหนดขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของ กกพ. และ ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของ อปท. สรุปพอสังเขปดังนี้ (1) อ�ำนาจหน้าที่ของ กกพ. 1) กพพ. พิจารณาออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อประกอบกิจการ พลังงานตามมาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 โดยขอความเห็น ประกอบการพิจารณาจาก อปท. ประกอบด้วย 1.1) อาคารทุกประเภทในสถานประกอบกิจการที่มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าซึ่งมีขนาดก�ำลัง การผลิตติดตั้งเกินกว่า 150 เมกะวัตต์ขึ้นไป 1.2) อาคารทุกประเภทในสถานประกอบกิจการที่มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าซึ่งมีขนาดก�ำลัง การผลิตติดตั้งไม่เกิน 150 เมกะวัตต์ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจ�ำหน่ายเป็นการเฉพาะ 1.3) อาคารในสถานประกอบกิจการที่มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าซึ่งมีขนาดก�ำลังการผลิต ติดตั้งไม่เกิน 150 เมกะวัตต์ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เองภายในอาคารหรือโรงงานซึ่งเป็นอุตสาหกรรมของ ตนเองหรือธุรกิจต่อเนือ่ ง และส่วนทีเ่ หลือจ�ำหน่าย ได้แก่ อาคารที่ใช้สำ� หรับกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้า กระบวนการจัดการเชือ้ เพลิง กระบวนการจัดการน�ำ้ และกระบวนการจัดการด้านสิง่ แวดล้อม และอาคารที่ เกี่ยวข้องอื่น ตามรายการประเภทอาคารในภาคผนวก ก ที่แนบท้ายบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้

1 44

การจัดการของเสียจากชุมชน


1.4) อาคารในระบบโครงข่ายไฟฟ้า 1.5) อาคารที่มีวัตถุประสงค์ ในการใช้ส�ำหรับการประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติเป็นการ เฉพาะ ได้แก่ กระบวนการขนส่งและจ�ำหน่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อ กระบวนการขนถ่ายและจัดเก็บก๊าซ ธรรมชาติเหลว และกระบวนการแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซ 2) กพพ. พิจารณาอนุญาตให้ตอ่ อายุใบอนุญาต โอนใบอนุญาต และออกใบแทนใบอนุญาต ที่ได้รับอนุญาตจาก กพพ. 3) กพพ. ให้ค�ำแนะน�ำและแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับการขออนุญาต ปลูกสร้างอาคารเพื่อประกอบกิจการพลังงานร่วมกับ อปท. ส�ำหรับรายการประเภทอาคารเพื่อการประกอบกิจการผลิตพลังงานไฟฟ้าในภาคผนวก ก ซึ่ง กกพ. มีอ�ำนาจออกใบอนุญาต ได้แก่ 1) อาคารที่เกี่ยวกับกระบวนการจัดการเชื้อเพลิง อาคารเตรียมเชื้อเพลิง อาคารเก็บเชื้อเพลิง ถังคอนกรีตหมักก๊าซชีวภาพ ถังเก็บน�้ำมันเชื้อเพลิงส�ำรอง โครงสร้างขนส่ง/ล�ำเลียงเชื้อเพลิง (กรณีมีความสูงจากระดับฐานตั้งแต่ 10 เมตร ขึ้นไป) 2) อาคารที่เกี่ยวกับกระบวนการจัดการน�้ำ อาคารเตรียมน�้ำปราศจากแร่ธาตุ ถังเก็บน�้ำปราศจากแร่ธาตุ 3) อาคารเกี่ยวกับกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้า อาคารเครื่องจักรต้นก�ำลังเครื่องก�ำเนิดไฟฟ้าและห้องควบคุม อาคารหม้อน�้ำ อาคารหอผึ่งน�้ำหล่อเย็น ระบบจ�ำหน่ายไฟฟ้า (กรณีมีความสูงจากระดับฐานตั้งแต่ 10 เมตรขึ้นไป) บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

145


4) อาคารที่เกี่ยวกับกระบวนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ปล่องระบายอากาศเสีย อาคารระบบควบคุมมลพิษทางอากาศ อาคารขนถ่ายเถ้า ระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย 5) อาคารอื่นๆ อาคารเก็บวัสดุอุปกรณ์ อาคารเก็บสารเคมี ถังเก็บน�้ำดับเพลิงและบริการ (กรณีมีความจุตั้งแต่ 100 ลูกบาศก์เมตรขึ้นไป) (2) อ�ำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่น 1) อปท. แจ้งความเห็นตามหลักเกณฑ์พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 เพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตของ กกพ. โดยใช้แบบแจ้ง ความเห็นในภาคผนวกที่แนบท้ายบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ 2) อปท. พิจารณาออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารหรือดัดแปลงอาคารอื่น เพื่อประกอบ กิจการพลังงาน ที่มิใช่อาคาร 5 ประเภท ที่ กกพ. มีอ�ำนาจออกใบอนุญาตดังกล่าวมาข้างต้น 3) อปท. พิจารณาออกใบอนุญาตให้เคลื่อนย้ายอาคารเพื่อประกอบกิจการพลังงาน 4) อปท. พิจารณาออกใบรับแจ้งก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร เคลื่อนย้ายอาคาร เพื่อ ประกอบกิจการพลังงาน ตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 5) อปท. ตรวจสอบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคารเพื่อ ประกอบกิจการพลังงาน 6) อปท. พิจารณาออกใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งเปลี่ยนการใช้อาคาร จากอาคารซึ่งไม่ เป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้หรือเป็นอาคารควบคุมการใช้ประเภทอื่น มาเป็นอาคารเพื่อประกอบ กิจการพลังงาน 7) อปท. พิจารณาอนุญาตให้ต่อใบอนุญาต โอนใบอนุญาต และออกใบแทนใบอนุญาต ใบแทนใบรับแจ้ง หรือใบแทนใบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคารเพื่อ ประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น 1 46

การจัดการของเสียจากชุมชน


8) อปท. พิจารณาออกใบอนุญาต ใบรับแจ้ง ต่ออายุใบอนุญาต โอนใบอนุญาต และออก ใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนใบรับแจ้งรื้อถอนอาคารเพื่อประกอบกิจการพลังงาน 9) อปท. ก�ำกับดูแลผู้รับใบอนุญาตและผู้แจ้งตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ทั้งในระยะก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร และระหว่างการใช้อาคาร 10) อปท. ให้ค�ำแนะน�ำและแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ประกอบกิจการ เกี่ยวกับการขออนุญาต ปลูกสร้างอาคารเพื่อประกอบกิจการพลังงานร่วมกับ กกพ. (3) การบังคับใช้กฎหมาย กรณีที่มีการก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อประกอบกิจการพลังงาน โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามความ ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้ อปท. น�ำบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับกับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือผู้ไม่ปฏิบัติตาม 3.5.2 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงานและกระทรวง อุตสาหกรรม เรื่อง แนวทางการอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าและการอื่น ลงนาม วันที่ 15 ตุลาคม 2557

เพื่อให้การประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าและการอื่นตามความในมาตรา 48 แห่ง พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความชัดเจน ในขั้นตอนปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 คณะกรรมการก�ำกับ กิจการพลังงาน (กกพ.) กับกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) จึงได้จัดท�ำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกัน โดยมีสาระส�ำคัญโดยสังเขปคือ (1) อ�ำนาจหน้าที่ของ กกพ. 1) กกพ. พิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ขยายโรงงานและต่ออายุใบอนุญาต ประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยขอความเห็นประกอบการพิจารณาจาก อก. ส�ำหรับโรงงาน ดังต่อไปนี้ 1.1) โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อจ�ำหน่าย 1.2) โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าเพือ่ ใช้ในกระบวนการประกอบกิจการโรงงานของตนเอง และจ�ำหน่าย

บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

147


2) กกพ. พิจารณาให้โอนใบอนุญาตและเลิกประกอบกิจการโรงงานที่ได้รบั อนุญาตจาก กกพ. 3) กกพ. พิจารณาอนุญาตเปลี่ยนแปลงสาระส�ำคัญที่แตกต่างจากที่ได้รับอนุญาตไว้จาก กกพ. เช่น การย้ายเครื่องจักรบางส่วนที่ติดตั้งในโรงงานไปยังสถานที่อื่นเพื่อประกอบกิจการโรงงาน เป็นการชั่วคราว การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขประกอบการอนุญาต การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการใน รายงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ผ่านความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น โดยขอความเห็นประกอบ การพิจารณาจาก อก. 4) กรณี กกพ. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่ได้รับอนุญาตจาก กกพ. และเห็นสมควรต้องลงพื้นที่ตรวจสอบ ณ ที่ตั้งโรงงาน ให้ประสานแจ้งไปยัง กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และ ส�ำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบ ข้อร้องเรียนร่วมกัน 5) กกพ. ให้คำ� แนะน�ำและแก้ไขปัญหาให้แก่ผปู้ ระกอบการเกีย่ วกับการขออนุญาตประกอบ กิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าร่วมกับ อก. (2) อ�ำนาจหน้าที่ของ อก. 1) อก. แจ้งความเห็นตามหลักเกณฑ์กฎหมายว่าด้วยโรงงาน เพื่อประกอบการพิจารณา อนุญาตของ กกพ. 2) อก. ด�ำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ก่อนการยื่นขอรับใบอนุญาต ตามระเบียบ อก. ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการพิจารณาออกใบรับแจ้งการประกอบ กิจการโรงงาน ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานและใบอนุญาตขยายโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน 3) อก. พิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานประเภทหรือชนิดของโรงงาน ล�ำดับอืน่ 4) อก. พิจารณาอนุญาตเพิ่มประเภทหรือล�ำดับการผลิตพลังงานไฟฟ้า อนุญาตการ เปลีย่ นแปลงที่ไม่ใช่สาระส�ำคัญของผูร้ บั ใบอนุญาตจากเดิมที่ได้รบั อนุญาตไว้จาก กกพ. เช่น การเปลีย่ นชือ่ โรงงาน การเปลี่ยนชื่อผู้รับใบอนุญาต เป็นต้น รับแจ้งเริ่มประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าและ การทดลองเดินเครื่องจักร และออกใบแทนใบอนุญาต 5) อก. ก�ำกับดูแลโรงงานทีป่ ระกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า และโรงงานล�ำดับอืน่ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ในกรณีทผี่ ปู้ ระกอบกิจการโรงงานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบตั ติ ามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน หาก อก. มีค�ำสั่งใดๆ ให้แจ้ง กกพ. ทราบ พร้อมส�ำเนาค�ำสั่งภายใน 5 วันนับแต่วันที่ออกค�ำสั่ง 1 48

การจัดการของเสียจากชุมชน


ในกรณีที่ อก. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ ได้รบั ใบอนุญาตจาก กกพ.และเห็นสมควรต้องลงพืน้ ทีต่ รวจสอบ ณ ทีต่ งั้ โรงงานร่วมกับ กกพ. ให้ประสาน แจ้งไปยังส�ำนักงาน กกพ. เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบข้อร้องเรียนร่วมกัน 6) อก. ให้คำ� แนะน�ำและแก้ไขปัญหาให้แก่ผปู้ ระกอบกิจการเกีย่ วกับการขออนุญาตประกอบ กิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าร่วมกับ กกพ. (3) ขั้นตอนการขอรับใบอนุญาตและการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงาน ไฟฟ้าและการอื่น การยืน่ ค�ำขอ ร.ง. 3 เพือ่ ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า ผูป้ ระกอบการ ต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบค�ำขอ ร.ง. 3 เพื่อยื่นต่อหน่วยงานดังต่อไปนี้ 1) กรณีโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าตั้งอยู่ในเขต กทม. ให้ยื่นที่ กรอ. หรือส�ำนักงาน กกพ. หรือ ผ่านระบบ E-licensing ของส�ำนักงาน กกพ. 2) กรณีโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ให้ยื่นที่ สอจ. หรือที่ส�ำนักงาน กกพ. ประจ�ำเขต หรือผ่านระบบ E-licensing ของส�ำนักงาน กกพ.

บทที่ 3: การส่งเสริมการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ

149


1 50

การจัดการของเสียจากชุมชน


บทที่ 4

ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยนี้ได้ศึกษานโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอย ตลอดจน ติดตามการด�ำเนินมาตรการต่างๆ ของรัฐในช่วงทีผ่ า่ นมา การศึกษาครอบคลุมการเก็บรวมรวมข้อมูลระดับ พื้นที่ในหลายจังหวัด และการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลต่างๆ ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้ ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับสัมฤทธิผลของนโยบายและมาตรการต่างๆ ของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ส่งเสริมโครงการแปรรูปขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ในที่นี้จะน�ำเสนอข้อมูลการศึกษาใน 3 พื้นที่ ได้แก่ กรณีศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ซึ่งถูกก�ำหนดให้เป็นจังหวัดต้นแบบในการจัดการขยะมูลฝอย และกรณีศึกษาโครงการ แปรรูปขยะเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าของเทศบาลนครหาดใหญ่ และของเทศบาลนครภูเก็ต ซึ่งถือว่าเป็น โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชือ้ เพลิงขยะโรงแรกๆ ของไทย และมักถูกอ้างอิงถึงบ่อยครัง้ เพือ่ สนับสนุน โครงการแปรรูปขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า 4.1 การจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ในช่วงเดือนมีนาคม-กรกฎาคม 2559 และเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม 2560 คณะวิจัยได้ เก็บข้อมูลทัง้ ทีเ่ ป็นข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกผูบ้ ริหารท้องถิน่ และบุคลากรผูร้ บั ผิดชอบใน อปท. ต่างๆ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ ยังได้ศกึ ษาดูงานบ่อขยะต่างๆ และเตาเผาขยะของ อปท. เพือ่ ให้เข้าใจ สภาพปัญหาอย่างชัดเจน ส�ำหรับ อปท. ที่ได้สมั ภาษณ์และศึกษาดูงาน ได้แก่ เทศบาลต�ำบลมหาพราหมณ์ เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา เทศบาลต�ำบลท่าเรือ เทศบาลต�ำบลนครหลวง เทศบาลต�ำบลอุทัย องค์การบริหารส่วนต�ำบลอุทัย เทศบาลเมืองเสนา เทศบาลต�ำบลบางไทร และองค์การบริหารส่วนจังหวัด พระนครศรีอยุธยา การน�ำเสนอส่วนนีม้ าจากการเรียบเรียงข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ เอกสารทีร่ วบรวม ได้จาก อปท. ต่างๆ และข้อสังเกตจากการศึกษาดูงาน บทที่ 4: ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

151


4.1.1 สถานการณ์ขยะมูลฝอยจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและการจัดการขยะตกค้างสะสม

จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีเนือ้ ทีท่ งั้ หมด 2,556 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1.6 ล้านไร่ แบ่ง เขตปกครองเป็น 16 อ�ำเภอ 209 ต�ำบล 1,459 หมู่บ้าน ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 4 แห่ง เทศบาลต�ำบล 31 แห่ง และองค์การบริหารส่วนต�ำบล 121 แห่ง มีประชากรรวม 796,279 คน (ธันวาคม พ.ศ. 2556)1 มีสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอย 23 แห่ง โดยเป็นของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 20 แห่ง (แหล่งก�ำจัดขยะ 17 แห่ง และเตาขยะเผาขนาดเล็ก 3 แห่ง) และ แหล่งก�ำจัดขยะของเอกชน 3 แห่ง มีปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นทั้งหมดในจังหวัดประมาณ 796.19 ตัน/วัน2 การก�ำจัดขยะมูลฝอยส่วนใหญ่เป็นแบบการกองบนพื้น หรือแบบกองบนพื้นแล้วเผา มีปริมาณขยะสะสม รวมประมาณ 585,718 ตัน3 หลังจากที่รัฐบาล คสช. ให้ความเห็นชอบแก่ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสีย อันตรายเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นหนึ่ง ในนโยบายเร่งด่วนตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการก�ำจัดขยะมูลฝอยไม่ถูกต้องและตกค้างสะสมใน พื้นที่ 4 จังหวัด (นครปฐม พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสระบุรี) ส�ำนักงบประมาณได้อนุมัติงบประมาณ รายจ่ายประจ�ำปี 2557 งบกลาง รายการเงินส�ำรองเพือ่ กรณีฉกุ เฉินหรือจ�ำเป็น จ�ำนวน 427,221,400 บาท ให้แก่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อปฏิบัติการขนย้ายขยะมูลฝอยตกค้างสะสมใน พื้นที่ 4 จังหวัดไปยัง บริษัท ทีพีไอ โพลีน จ�ำกัด (มหาชน) จังหวัดสระบุรี กรมควบคุมมลพิษได้โอน เงินงบประมาณดังกล่าวให้ส�ำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดสรร ให้แก่ส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) ของทั้ง 4 จังหวัด ส�ำหรับจังหวัด พระนครศรีอยุธยานั้น ได้รับจัดสรรงบประมาณจ�ำนวน 134,424,900 บาท เพื่อขนย้ายขยะมูลฝอยตกค้าง สะสมจ�ำนวน 324,000 ตัน ของ อปท. 3 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา เทศบาลเมืองเสนา และเทศบาลต�ำบลนครหลวง ไปที่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จ�ำกัด (มหาชน) จังหวัดสระบุร4ี เนื่องจากทางจังหวัดฯ ได้ด�ำเนินการก่อสร้างศูนย์จัดการขยะต้นแบบและขนย้ายขยะสะสม ของเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยามาที่ศูนย์ก�ำจัดขยะต้นแบบที่กระทรวงมหาดไทยก่อสร้างขึ้นที่ต�ำบล มหาพราหมณ์เรียบร้อยแล้ว จึงได้ขอปรับปรุงแผนปฏิบัติการขนย้ายขยะมูลฝอยตกค้างสะสมของจังหวัด พระนครศรีอยุธยา ให้เป็นการขนย้ายขยะมูลฝอยของ อปท. 14 แห่ง จ�ำนวน 188,220 ตัน และก่อสร้าง 1 ส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, แผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2558 2562, หน้า 7. 2 อ้างแล้ว, หน้า 29. 3 อ้างแล้ว, หน้า 11- 15. 4 ข้อมูลตอบประเด็นการสัมภาษณ์ของคณะนักวิจัย โดยผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วันที่ 12 กรกฎาคม 2559.

1 52

การจัดการของเสียจากชุมชน


ศูนย์รวบรวมของเสียอันตราย 2 แห่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 ต่อมาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 ได้มีการประชุมร่วมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาการด�ำเนินการจัดการ ขยะมูลฝอย ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้ด�ำเนินการขนย้ายขยะมูลฝอยของ อปท. 14 แห่งในพื้นที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยาไปยังศูนย์จัดการขยะต้นแบบที่ต�ำบลมหาพราหมณ์ แทนการขนไปที่บริษัท ทีพีไอ โพลีน จ�ำกัด (มหาชน) จังหวัดสระบุร5ี อย่างไรก็ดี แผนการขนย้ายขยะสะสมของ อปท. ทั้ง 14 แห่ง มาที่ศูนย์จัดการขยะต้นแบบ ทีต่ ำ� บลมหาพราหมณ์ไม่สามารถด�ำเนินการให้ลลุ ว่ งได้ เนือ่ งจากกรมควบคุมมลพิษ ได้มหี นังสือด่วนทีส่ ดุ ที่ ทส 0304/ว 359 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2558 ขอให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาส่งคืนงบประมาณส�ำหรับ การดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากพื้นที่เร่งด่วน 4 จังหวัดได้ขอปรับแผนปฏิบัติการฯ ใหม่ ซึ่งจะ ต้องมีการตรวจสอบรายละเอียดก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบอีกครั้ง จึงต้องใช้ระยะเวลา ด�ำเนินการและจังหวัดอาจไม่สามารถด�ำเนินการจัดซือ้ จัดจ้างได้ทนั ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 จังหวัด พระนครศรีอยุธยาจึงได้ด�ำเนินการส่งคืนงบประมาณจ�ำนวน 134,424,900 บาท เมือ่ ไม่มงี บประมาณในการขนย้ายขยะสะสมของ อปท. ทัง้ 14 แห่งแล้ว จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงได้จัดประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ อปท. ทุกแห่ง เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เพื่อชี้แจงแนวทางการด�ำเนินการตามแผนบริหารจัดการขยะมูลฝอย ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2558-2562 และได้มีหนังสือสั่งการดังต่อไปนี้6 (1) การจัดการขยะมูลฝอยเก่าและขยะมูลฝอยตกค้างสะสม ให้ อปท. ที่มีบ่อก�ำจัดขยะมูลฝอย ด�ำเนินการดังนี้ (1.1) ส�ำรวจ ประเมิน ปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยและ รายงานให้จังหวัดทราบ (1.2) จัดท�ำแผนก�ำจัดขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอย โดยขนไป ก�ำจัดในสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกหลักวิชาการ หรือจ�ำหน่ายตามระเบียบพัสดุ และรายงานการ ด�ำเนินการลดปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างสะสมให้จังหวัดทราบทุกวันที่ 30 ของเดือน (1.3) กรณี ส ถานที่ ก� ำ จั ด ขยะมู ล ฝอยเป็ น ของเอกชนและด� ำ เนิ น การไม่ ถู ก ต้ อ งตาม หลักวิชาการ ให้บังคับใช้กฎหมายเพื่อให้ด�ำเนินการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างเคร่งครัด 5 เพิ่งอ้าง. 6 เพิ่งอ้าง.

บทที่ 4: ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

153


(2) การจัดการขยะมูลฝอยใหม่ ให้ อปท. ด�ำเนินการดังนี้ (2.1) รณรงค์การลด และคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง (2.2) จัดการขยะมูลฝอยแบบรวมศูนย์ โดยการจัดท�ำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ อปท. อื่น หรือเอกชนที่มีการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกหลักวิชาการ 4.1.2 แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2558-2562

แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2558-2562 ก�ำหนดกลุ่มพื้นที่ (Cluster) ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้ (1) กลุ่มที่ 1 ศูนย์จัดการขยะต้นแบบ ต�ำบลมหาพราหมณ์ อ�ำเภอบางบาล เนื้อที่ 372-2-29 ไร่ มีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณวันละ 351.43 ตัน และในอนาคตจะมีการสร้างโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า จากขยะมูลฝอย โดยน�ำขยะจาก อปท.ทั้งหมด 56 แห่ง (2) กลุ่มที่ 2 ศูนย์เทศบาลเมืองเสนา ตั้งอยู่ต�ำบลสามกอ อ�ำเภอเสนา พื้นที่ 85 ไร่ เป็นสถานที่ ก�ำจัดขยะมูลฝอยและมีเตาเผาขยะ ประมาณวันละ 61.93 ตัน จากทั้งหมด 15 อปท. (3) กลุ่มที่ 3 ศูนย์เทศบาลต�ำบลนครหลวง ตั้งอยู่ต�ำบลบางระก�ำ อ�ำเภอนครหลวง มีเนื้อที่ ประมาณ 68 ไร่ เป็นสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอย เป็นแบบเทกองบนพื้น ในอนาคตจะมีการสร้างโรงงาน ผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย มีขยะมูลฝอยเข้าสู่ระบบเพื่อคัดแยกก่อนการขนถ่าย ประมาณวันละ 253.43 ตัน จาก อปท.จ�ำนวน 62 แห่ง (4) กลุ่มที่ 4 บริษัท บางไทร รีไซเคิล เป็นสถานที่ก�ำจัดขยะของเอกชน ปัจจุบันเป็นการเทกอง ที่มีการควบคุม ตั้งอยู่ที่ต�ำบลบางพลี อ�ำเภอบางไทร พื้นที่ 60 ไร่ มีปริมาณขยะมูลฝอยเข้าสู่ระบบ ประมาณวันละ 72.97 ตัน จาก อปท.ทั้งหมด 14 แห่ง (5) กลุ่มที่ 5 สถานที่ก�ำจัดขยะของเอกชนอ�ำเภออุทัย ปัจจุบันเป็นการเทกองบนพื้น ตั้งอยู่ ต�ำบลอุทัย อ�ำเภออุทัย มีพื้นที่ 32 ไร่ มีขยะมูลฝอยเข้าสู่ระบบก�ำจัดขยะมูลฝอยประมาณวันละ 56.43 ตัน จาก อปท.ทั้งหมดประมาณ 10 แห่ง อย่างไรก็ดี ความคืบหน้าและสัมฤทธิผลในการจัดตัง้ กลุม่ พืน้ ทีต่ ามทีก่ ล่าวมาข้างต้นเป็นเรือ่ งที่ จะต้องประเมินและติดตามต่อไป ในกรณีของศูนย์เทศบาลต�ำบลนครหลวง ทางเทศบาลได้จัดท�ำข้อตกลง ความร่วมมือกับเอกชนในการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการระบบก�ำจัดขยะมูลฝอยชุมชนแล้ว คาดว่าจะใช้เงิน ลงทุนประมาณ 450 ล้านบาทโดยจะด�ำเนินการแปรรูปขยะเป็นแท่งเชื้อเพลิง RDF ซึ่งก�ำลังอยู่ในขั้นตอน เสนอต่อกระทรวงมหาดไทยเพื่อขอความเห็นชอบ จึงไม่น่าจะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้ 1 54

การจัดการของเสียจากชุมชน


ส่วนศูนย์ที่เป็นสถานที่ก�ำจัดมูลฝอยของเอกชน เช่น บริษัท บางไทร รีไซเคิล ก็ก�ำลังประสบปัญหา การร้องเรียนของประชาชนเกีย่ วกับกลิน่ เหม็นจากบ่อขยะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มคี ำ� สัง่ ที่ 389/2558 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ของประชาชนจากกลิ่นเหม็นของบ่อขยะของบริษัท โดยมีนายอ�ำเภอบางไทร เป็นประธานคณะกรรมการ และจากการลงพื้นที่ตรวจสอบบ่อขยะของคณะกรรมการเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 พบว่า ยังมีขยะที่ ไม่ได้ท�ำการฝังกลบอยู่เป็นจ�ำนวนมาก และมีกลิ่นเหม็น7 นอกจากนี้ ส�ำหรับบ่อขยะอื่นๆ ที่ยังไม่มีการ ด�ำเนินการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งรวมถึงสถานที่ก�ำจัดขยะของเอกชนอ�ำเภออุทัย จังหวัด พระนครศรีอยุธยาได้มีค�ำสั่งที่ 1035/2559 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2559 แต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม และตรวจสอบการด�ำเนินการของสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยของทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ให้มีการปรับปรุงแก้ไขและฟื้นฟูให้ถูกหลักวิชาการ 4.1.3 การจัดตั้งศูนย์จัดการขยะต้นแบบ

ตามมติ ที่ ป ระชุ ม คณะรั ก ษาความสงบแห่ ง ชาติ เมื่ อวั น ที่ 19 สิ ง หาคม 2557 จั ง หวั ด พระนครศรีอยุธยาถูกก�ำหนดให้เป็นจังหวัดต้นแบบในการก�ำจัดขยะ โดยกระทรวงมหาดไทยได้รับจัดสรร งบประมาณจ�ำนวน 534,695,500 บาท เพื่อจัดท�ำโครงการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้วา่ จ้างบริษทั อิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ จ�ำกัด (มหาชน) ให้ก่อสร้างสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยแห่งใหม่ที่ต�ำบลมหาพราหมณ์ อ�ำเภอบางบาล ในพื้นที่ 372-2-29 ไร่ ซึ่งเคยเป็นสถานที่ตั้งโรงงานสุราขององค์การสุราและเป็นที่ราชพัสดุในความรับผิดชอบของกรมธนารักษ์ และให้ด�ำเนินการขนขยะจ�ำนวน 230,000 ตันจากพื้นที่บ่อขยะเก่าที่ต�ำบลบ้านป้อมมาไว้ท่ีสถานที่ก�ำจัด ขยะแห่งนี้ โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 368,333,000 บาท สถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยแห่งใหม่ที่ก่อสร้างขึ้น มีชื่อเรียกว่า “ศูนย์จัดการขยะต้นแบบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กระทรวงมหาดไทย” พร้อมทั้งได้จัดซื้อ วัสดุครุภัณฑ์ และเครื่องจักรกลเพื่อใช้ในการก�ำจัดขยะมูลฝอย ในการบริหารศูนย์จัดการขยะต้นแบบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มอบหมายให้เทศบาลนคร พระนครศรีอยุธยาเป็นผู้ด�ำเนินการฝังกลบขยะเป็นการชั่วคราวตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 จนถึง 30 กันยายน 2559 ตามมติสภาเทศบาลต�ำบลมหาพราหมณ์ที่ได้อนุมัติให้เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาท�ำกิจการ นอกเขตในการฝังกลบขยะ นอกจากนี้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยายังได้มีค�ำสั่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ 441/2559 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการศูนย์จัดการขยะต้นแบบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับตั้งแต่ศูนย์จัดการขยะต้นแบบเริ่มด�ำเนินการจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2559 อปท. ต่างๆ ยังสามารถขนส่งขยะมูลฝอยมาก�ำจัดที่ศูนย์แห่งนี้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าก�ำจัด แต่ อปท. หลายแห่งยังคงแสดงความไม่พร้อมทีจ่ ะแบกภาระค่าใช้จา่ ยในการขนส่งขยะมายังศูนย์จดั การขยะต้นแบบ 7 รายงานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากบ่อขยะ ครั้งที่ 1/2559 วันที่ 22 มีนาคม 2559. บทที่ 4: ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

155


ส�ำหรับการมอบหมายหน่วยงานที่จะเข้ามารับผิดชอบการด�ำเนินงานของศูนย์จัดการขยะ ต้นแบบหลังจากวันที่ 30 กันยายน 2559 นั้น จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีหนังสือที่ อย 0023.3/4989 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2559 ถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเพื่อสอบถามความพร้อมใน ด้านงบประมาณ อัตราก�ำลัง และวัสดุอุปกรณ์ในการเข้ารับช่วงการบริหารศูนย์จัดการขยะต้นแบบ และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีหนังสือที่ อย 51005/1060 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 ตอบทางจังหวัดฯ ว่ามีความพร้อมที่จะเข้าด�ำเนินการ ฉะนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 เป็นต้นมา อบจ. พระนครศรีอยุธยาจึงเป็นหน่วยงานหลัก ทีร่ บั ผิดชอบการบริหารศูนย์จดั การขยะต้นแบบ อย่างไรก็ตาม ขัน้ ตอนการด�ำเนินการเพือ่ โอนเครือ่ งจักรกล ให้แก่ อบจ.พระนครศรีอยุธยา ต้องใช้เวลานาน ส�ำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยต้องตั้งคณะกรรมการ พิจารณาการโอนครุภัณฑ์ให้แก่ อบจ. รวมทั้งต้องแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถด�ำเนินการ ดังกล่าวได้ โดยได้มีหนังสือแจ้งการโอนครุภัณฑ์มายัง อบจ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 หลังจากนั้น อบจ.พระนครศรีอยุธยาต้องตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบเครื่องจักรกลที่จอดทิ้งไว้ เป็นเวลานานโดยมิได้ใช้งานนับตั้งแต่การก่อสร้างศูนย์จัดการขยะต้นแบบแล้วเสร็จ เพื่อแจ้งทางจังหวัด ด�ำเนินการให้เอกชนผู้จ�ำหน่ายครุภัณฑ์ดังกล่าวเข้ามาซ่อมแซมส่วนที่ช�ำรุดเสียหาย การโอนครุภัณฑ์ เพิ่งด�ำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2560 (1) ปัญหาและอุปสรรคของ อบจ. พระนครศรีอยุธยา ในการบริหารศูนย์จัดการขยะต้นแบบ ในระยะแรกที่ศูนย์จัดการขยะต้นแบบเปิดด�ำเนินการในช่วง 2558-2559 อปท. ส่วนใหญ่ แสดงความไม่พร้อมที่จะขนส่งขยะมาก�ำจัดที่ศูนย์ฯ เนื่องจากมองว่าจะเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายใน การขนส่งขยะ นับจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2559 มี อปท. 25 แห่งที่น�ำขยะมาก�ำจัดที่ศูนย์ฯ คิดปริมาณ ขยะรวมได้ประมาณ 90-100 ตัน/วัน ซึ่งยังต�่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ปริมาณ 350 ตัน/วันเป็นอันมาก8 อย่างไรก็ตาม ต่อมาทางจังหวัดได้มีค�ำสั่งปิดบ่อขยะที่ด�ำเนินการอย่างไม่ถูกต้องทั้งหมด ท�ำให้ อปท. หลายแห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจ�ำเป็นต้องขนส่งขยะมาก�ำจัดที่ศูนย์จัดการขยะต้นแบบ ข้อมูล ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2560 ระบุว่า มี อปท. 57 แห่ง ที่ขนส่งขยะมาก�ำจัดที่ศูนย์ฯ คิดเป็นปริมาณขยะ รวมได้ประมาณ 340 ตัน/วัน9 นับตั้งแต่ อบจ. พระนครศรีอยุธยา เข้ามารับผิดชอบบริหารศูนย์จัดการขยะต้นแบบเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2559 อบจ. พระนครศรีอยุธยา ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการก�ำจัดขยะ อบจ.ฯ ได้ออก ข้อบัญญัติ อบจ. เพือ่ จัดเก็บค่าก�ำจัดขยะมูลฝอยจาก อปท. และหน่วยงานต่างๆ ทีส่ ง่ ขยะมาก�ำจัดทีศ่ นู ย์ฯ โดยแบ่งออกเป็น 4 อัตรา คือ 8 ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ รักษาการผู้อ�ำนวยการกองช่างสุขาภิบาล เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา วันที่ 13 กรกฎาคม 2559. 9 ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมและผังเมือง กองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 26 กรกฎาคม 2560. 1 56

การจัดการของเสียจากชุมชน


1) 8 หน่วยงานที่อยู่รอบและได้รับผลกระทบจากบ่อฝังกลบขยะ อัตรา 250 บาท/ตัน 2) อปท. ที่อยู่ในกลุ่มพื้นที่ (Cluster) ของศูนย์จัดการขยะต้นแบบ ต�ำบลมหาพราหมณ์ อัตรา 450 บาท/ตัน 3) อปท. ที่อยู่นอกกลุ่มพื้นที่ (Cluster) ของศูนย์จัดการขยะต้นแบบ อัตรา 550 บาท/ตัน 4) เอกชน อัตรา 715 บาท/ตัน อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผ่านมามี อปท. เพียง 10 กว่าแห่งเท่านั้นที่ยอมช�ำระค่าก�ำจัดขยะ ส่วนใหญ่อ้างปัญหาขาดแคลนงบประมาณ อบจ.ฯได้มีการประชุมหารือ 2 ครั้งกับ อปท. ที่ส่งขยะมา ก�ำจัดที่ศูนย์ โดย อบจ. ได้จัดท�ำร่างข้อบัญญัติ อบจ. เพื่อทบทวนอัตราค่าธรรมเนียมก�ำจัดขยะตามที่ กล่าวมาข้างต้น และร่างข้อบัญญัติดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากสภา อบจ. แล้ว ตามร่างข้อบัญญัติฯ ฉบับใหม่นี้ จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมจากทุก อปท. ในอัตราเดียวเท่ากันหมด คือ 150 บาท/ตัน ณ เวลา ที่จัดท�ำรายงานการศึกษานี้ (สิงหาคม 2560) อบจ. ได้ส่งร่างข้อบัญญัติฯ ดังกล่าวให้ทางจังหวัดเพื่อ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความเห็นชอบ แต่คาดว่าผู้ว่าฯ อาจจะไม่ให้ความเห็นชอบ เพราะอัตราค่าก�ำจัด ขยะที่เสนอใหม่นั้นต�่ำเกินไป10 นอกจากปัญหาการจัดเก็บค่าก�ำจัดขยะจากหน่วยงานทีม่ าใช้บริการแล้ว อบจ.พระนครศรีอยุธยา ยังต้องการการสนับสนุนทางวิชาการและบุคลากรเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้สามารถด�ำเนินภารกิจการฝังกลบ ขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึน้ เนือ่ งจากการเข้ามาบริหารศูนย์กำ� จัดขยะต้นแบบเป็นงานใหม่ที่ อบจ.ฯ ยังไม่มีประสบการณ์มากนัก ณ เวลาที่จัดท�ำรายงานนี้ อบจ.ฯ ยังมีปัญหาเรื่องขยะที่เข้ามาในศูนย์ฯ มีปริมาณมากจนฝังกลบไม่ทัน จึงควรมีหน่วยงานที่เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงให้ค�ำแนะน�ำ รวมทั้งต้องจัดสรร บุคลากรและงบประมาณให้ อบจ.ฯ อย่างเพียงพอเพื่อรองรับภารกิจที่เพิ่มมากขึ้นด้วย11 (2) การก่อสร้างโรงไฟฟ้าโดยใช้พลังงานจากขยะ RDF ตามแผนการบริหารจัดการศูนย์จดั การขยะต้นแบบ กระทรวงมหาดไทยได้อนุญาตให้การไฟฟ้า ส่วนภูมภิ าคใช้พนื้ ที่ 73 ไร่ภายในศูนย์ฯ เพือ่ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าโดยใช้พลังงานจากขยะ RDF และการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคได้ขออนุญาตใช้พื้นที่กับส�ำนักงานธนารักษ์พื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว โดยส�ำนักงาน ส่งเสริมการปกครองท้องถิน่ จังหวัดในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารจัดการศูนย์จดั การขยะต้นแบบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะพิจารณาปรับเกลีย่ จ�ำนวนขยะทีเ่ ข้ามาทิง้ ให้มปี ริมาณไม่นอ้ ยกว่า 300 ตัน/วัน แต่ไม่เกิน 400 ตัน/วัน ตามความต้องการใช้ขยะเพื่อการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จากการ หารือครั้งล่าสุดเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2560 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะคิดค่าใช้จ่ายในการท�ำขยะ RDF 10 เพิ่งอ้าง. 11 เพิ่งอ้าง.

บทที่ 4: ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

157


ในอัตรา 200 บาท/ตัน (จากเดิมที่เคยก�ำหนดไว้ท่ี 350 บาท/ตัน) ซึ่ง อบจ.พระนครศรีอยุธยา จะต้อง รับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายในการฝังกลบขยะด้วย12 อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาศักยภาพของศูนย์ก�ำจัดขยะต้นแบบที่ยังสามารถรองรับขยะในจังหวัด ได้อีกไม่ต�่ำกว่า 24 ปี13 การก่อสร้างโรงไฟฟ้าจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องกระท�ำ และควรมีการ พิจารณาอย่างรอบคอบทั้งในเรื่องของค่าใช้จ่าย เทคโนโลยีที่ใช้ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ก่อนด�ำเนินการ 4.1.4 การด�ำเนินงานเตาเผาขยะของเทศบาลเมืองเสนา

ศูนย์ก�ำจัดขยะเทศบาลเมืองเสนาตั้งอยู่ที่ต�ำบลสามกอ อ�ำเภอเสนา มีเนื้อที่ประมาณ 84 ไร่ แต่ปัจจุบันใช้เนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ เริ่มด�ำเนินการฝังกลบขยะแบบสุขาภิบาลตั้งแต่ปี 2542-2543 โดยใช้ งบประมาณของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จนถึงปลายปี 2548 ขยะเริ่มล้นเป็นแบบเทกองบนพื้น ผู้บริหาร เทศบาลจึงเปลี่ยนรูปแบบการก�ำจัดขยะเป็นเตาเผา โดยได้งบประมาณจากกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น และรับขยะจากหน่วยงานใกล้เคียงประมาณ 11 หน่วยงาน โครงการก่อสร้างระบบก�ำจัดขยะมูลฝอยหรือเตาเผาขยะเทศบาลเมืองเสนา ท�ำสัญญาจ้าง เอกชน (ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด เอ็มเคแอล คอนสตรัคชั่น) ในปี 2554 ให้ก่อสร้างเตาเผาขยะ ขนาด 30 ตัน/ วัน จ�ำนวน 2 เตา ค่าจ้างรวม 199 ล้านบาท ก่อสร้างเสร็จและส่งมอบเตาเผาขยะให้เทศบาลเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2555 และสิ้นสุดสัญญาประกันคุณภาพงาน 2 ปี ในวันที่ 17 กันยายน 2557 เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ผูร้ บั เหมาจึงทดสอบระบบตามข้อตกลง และพนักงานของเทศบาลฯ ได้รบั การอบรมเกีย่ วกับการใช้เตาเผา โดยในช่วงต้นเทศบาลเมืองเสนาเป็นผูท้ ดลองเดินระบบเองประมาณ 1 เดือนเศษ แต่พบว่าการด�ำเนินงาน มีต้นทุนสูงและขาดผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถ จึงตัดสินใจจ้างเอกชนมาเดินระบบแทน โดยได้ ว่าจ้างบริษทั ภัทรพันธ์เอ็นจิเนียริง่ จ�ำกัด ให้เข้ามาด�ำเนินการแทน มีสญั ญาว่าจ้างบริษทั ฯ ในระหว่างวันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 - 3 กุมภาพันธ์ 2557 และท�ำสัญญาครั้งที่สองกับบริษัทฯ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 255714 ให้ด�ำเนินการในระหว่างวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557- 30 กันยายน 2557 (ประมาณ 8 เดือน) แต่เมื่อ เริ่มงานได้เพียง 123 วัน คงเหลืออีก 116 วัน จึงจะครบก�ำหนดในสัญญา พบว่ามีปัญหาเครื่องจักรและ ระบบเตา จึงได้หยุดด�ำเนินงานตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2557 ซึ่งเป็นช่วงที่ยังอยู่ในระยะเวลาการประกัน คุณภาพงาน 2 ปีของห้างหุน้ ส่วนจ�ำกัด เอ็มเคแอล คอนสตรัคชัน่ บริษทั ภัทรพันธ์เอ็นจิเนียริง่ จ�ำกัด จึงหยุด เดินระบบเพือ่ ให้หา้ งหุน้ ส่วนจ�ำกัดเอ็มเคแอล คอนสตรัคชัน่ เข้ามาปรับปรุงระบบเตาให้มปี ระสิทธิภาพดีขนึ้ 12 เพิ่งอ้าง. 13 ศูนย์จัดการขยะต้นแบบ ถูกออกแบบให้รองรับปริมาณขยะได้ประมาณ 300 ตัน/วัน แบ่งเป็น 2 PHASE คือ (1) PHASE 1 ปริมาณขยะฝังกลบได้ 1,048,265 ตัน ใช้งานได้ 17 ปี (2) PHASE 2 ปริมาณขยะฝังกลบได้ 821,318 ตัน ใช้งานได้ 7 ปี 14 สัญญาจ้างเลขที่ 3/2557 ระหว่างเทศบาลเมืองเสนา (นายกิตติศักดิ์ ตรารุ่งเรือง นายกเทศมนตรีเมืองเสนา) และบริษัทภัทรพันธ์เอนจิเนียริ่ง จ�ำกัด (นางสาวพลอยทราย ภัสสรศิริ และนายพรภิชิต สมัครธรรม), 3 กุมภาพันธ์ 2557. 1 58

การจัดการของเสียจากชุมชน


ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัดเอ็มเคแอล คอนสตรัคชั่น ใช้เวลาในการปรับปรุงระบบเตาเผาเป็นระยะ เวลา 1 ปีเศษ โดยด�ำเนินการเสร็จเมื่อประมาณเดือนมกราคม 2559 และให้ศูนย์วิจัยการเผากากของเสีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือเป็นผู้ตรวจสอบและตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอากาศ เสียปลายปล่อง พบว่ามีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งได้ส่งตัวอย่างอากาศไปตรวจสารไดออกซินที่ ต่างประเทศด้วย เมือ่ ผลการตรวจวิเคราะห์คณ ุ ภาพอากาศผ่านมาตรฐานแล้ว ทางเทศบาลจึงท�ำสัญญาจ้าง บริษัทภัทรพันธ์เอ็นจิเนียริ่ง จ�ำกัด ให้รับผิดชอบเดินระบบเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2559 15 โดยให้ ด� ำ เนิ นการเป็ น ระยะเวลาอี ก 116 วั น (ตามระยะเวลาที่ เ หลื อ ในสั ญ ญาเดิ ม ) สิ้ น สุ ด สั ญ ญาจ้ า งใน วันที่ 9 กรกฎาคม 2559 และต่อสัญญาอีกครั้งให้ด�ำเนินการในช่วงวันที่ 10 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2559 (81 วัน) ปัญหาการด�ำเนินงานของเตาเผาขยะ เตาเผาขยะที่ก่อสร้างและปรับปรุงเสร็จมี 2 เตา มีก�ำลังการเผาขยะ 30 ตัน/เตา/วัน รวมแล้ว 60 ตัน/วัน ลักษณะของเตา เป็นแบบ fixed grate incinerator หรือเป็นแบบตะกรับอยู่กับที่ ลักษณะ การท�ำงานคล้ายเตาอั่งโล่ มีการป้อนขยะด้านบน และขี้เถ้าตกลงด้านล่าง การท�ำงานแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ  ขั้นตอนที่ 1 เผาขยะที่อุณหภูมิ 650o C ใช้น�้ำมันดีเซล 45 ลิตร/ชั่วโมง  ขั้นตอนที่ 2 เผาส่วนที่ไหม้ไม่หมดที่อุณหภูมิ 850o C ใช้น�้ำมันดีเซล 60 ลิตร/ชั่วโมง เมื่อคิดรวมโดยเฉลี่ยแล้ว จะใช้เชื้อเพลิง 105 ลิตร/เตา/ชั่วโมง หรือชั่วโมงละ 7,000 บาท ท�ำให้ต้นทุนการเผาสูงมาก นอกจากนี้ ยังมีค่าไฟฟ้า 5,500 บาท/วัน และค่าจ้างคนงาน 20 คน ในอัตรา เดือนละ 6,900 บาท/คน ในปัจจุบันเตาเผาขยะของเทศบาลเมืองเสนาไม่สามารถใช้การได้ดี ไม่มีความ คุ้มค่าคุ้มทุน วิธีการแก้ไขอันหนึ่งก็คือ บริษัทฯ ได้ติดตั้งเครื่อง Trommel และ Spinner เพิ่มเติมที่ หน้างาน เพื่อแยกเอาขยะเปียกหรือขยะอินทรีย์ออกให้ได้มากที่สุด ในการให้บริการก�ำจัดขยะ เทศบาลเมืองเสนาคิดค่าก�ำจัดขยะส�ำหรับหน่วยงานข้างนอกใน ราคา 450 บาท/ตัน และหากเป็นหน่วยงานเอกชนจะคิดในอัตรา 550 บาท/ตัน โดยเทศบาลเมืองเสนาจ่าย ค่าก�ำจัดขยะให้แก่บริษัทภัทรพันธ์ในอัตรา 400 บาท/ตัน บริษัทจึงต้องขาดทุนจากการด�ำเนินงานระบบ เตาเผา แต่ที่ยังรับบริหารงานอยู่ ก็เพราะได้อาศัยพื้นที่นี้ในการสาธิตการท�ำงานของเครื่องแยกขยะ ของบริษัทก่อนส่งขยะเข้าเตาเผา ซึ่งเป็นประโยชน์ ในแง่การตลาด ในปัจจุบันมีคนมาขอศึกษาดูงาน อย่างสม�่ำเสมอและให้ความสนใจกับเครื่องคัดแยกขยะของบริษัทฯ 15 บันทึกต่อท้ายสัญญาจ้างเลขที่ เลขที่ 3/2557 ระหว่างเทศบาลเมืองเสนา (นางนุสรา ยันตรโกวิท ปลัดเทศบาล) และบริษทั ภัทรพันธ์เอนจิเนียริง่ จ�ำกัด (นางสาวพลอยทราย ภัสสรศิริ และนายอรรณพ จินตบุตร), 16 มีนาคม 2559.

บทที่ 4: ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

159


แม้ผู้ให้ข้อมูลจะระบุว่า สัญญาว่าจ้างที่บริษัทฯ ท�ำไว้กับเทศบาลเมืองเสนาก�ำหนดให้ต้อง รายงานผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศเดือนละ 1 ครั้ง และผลการตรวจวัดสารไดออกซินปีละ 1 ครั้ง ก่อน เบิกเงินในแต่ละงวด แต่จากการสอบถามทางเทศบาล ทางบริษทั ยังไม่ได้สง่ ผลการตรวจวัดเพือ่ ขอเบิกเงิน ส�ำหรับงวดงาน 7 งวด 4.1.5 ข้อมูลและข้อสังเกตจากการสัมภาษณ์ความเห็นของ อปท.

อปท. ส่วนใหญ่มคี วามเห็นว่าการจัดการขยะมูลฝอยเป็นปัญหาส�ำคัญที่ อปท. ต้องใช้งบประมาณ จ�ำนวนมากส�ำหรับการจัดการในแต่ละปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น อยูต่ ลอดเวลาและประชาชนยังขาดจิตส�ำนึกในการทิง้ ขยะ จึงเห็นด้วยทีร่ ฐั บาลก�ำหนดให้ปญั หาการจัดการ ขยะมูลฝอยเป็นเรื่องระดับชาติที่หน่วยงานระดับบนลงมาช่วยแก้ไขปัญหา อย่างไรก็ดี อปท. แต่ละแห่งมี ความเห็นและมุมมองต่อการแก้ไขปัญหาแตกต่างกันออกไป พอสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้ (1) การแก้ไขปัญหาขยะตกค้างสะสม ทุก อปท. ที่มีบ่อขยะแบบเทกองบนพื้นหรือมีการจัดการขยะอย่างไม่ถูกสุขลักษณะรู้สึก ผิดหวังที่หน่วยงานส่วนกลางขอคืนงบประมาณที่ ได้จัดสรรให้ส�ำหรับการขนย้ายขยะมูลฝอยตกค้าง สะสมในบ่อขยะทีต่ นเองรับผิดชอบไปยังศูนย์จดั การขยะต้นแบบ และปล่อยให้แต่ละ อปท. ต้องแบกรับภาระ ค่าใช้จ่ายเองในการขนส่งขยะไปก�ำจัดที่ศูนย์ฯ อปท. มองว่าค่าใช้จ่ายในการขนส่งก่อให้เกิดภาระเพิ่มเติม แก่ อปท. ที่มีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการบริหารกิจการของตนเองอยู่แล้ว (เช่น บาง อปท. ที่อยู่ห่าง ออกไปประมาณ 30 กิโลเมตร จะต้องขนส่งขยะเป็นระยะทางไป-กลับรวม 60 กิโลเมตร) อปท. แต่ละแห่ง จึงมีความเห็นและวิธีการแก้ไขปัญหาแตกต่างกันไป อาทิเช่น  เทศบาลต�ำบลท่าเรือ มีบ่อขยะ 4 บ่อในเนื้อที่ 30 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินของเทศบาลเอง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 1 ต�ำบลโพธิ์เอน ด�ำเนินการมานานกว่า 30 ปี รองรับขยะของตนเองและของ อปท. อื่นๆ ในอ�ำเภอ ท่าเรืออีก 11 แห่ง มีปริมาณขยะสะสมประมาณกว่า 30,000 ตัน เนื่องจากการขนย้ายขยะไปก�ำจัด ณ ศูนย์จดั การขยะต้นแบบ ทีต่ ำ� บลมหาพราหมณ์ จะท�ำให้เทศบาลต�ำบลท่าเรือมีคา่ ใช้จา่ ยเพิม่ ขึน้ ในช่วงก่อน ที่ทางจังหวัดจะสั่งปิดบ่อขยะของเทศบาลต�ำบลท่าเรือ เทศบาลฯ ยังคงพยายามแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยการขอความอนุเคราะห์เครือ่ งจักรกลและรถแทร็กเตอร์จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปีละ 4 ครั้งมาตักและปั้นชั้นขยะ โดยเทศบาลต้องรับผิดชอบค่าน�้ำมันเอง รวมทั้งจ้างรถแบคโฮมาโกย ขยะที่เทกองไม่เป็นระเบียบ เพื่อให้รถขยะเข้าไปเทกองด้านในได้ เทศบาลมีความเห็นว่าสามารถปรับปรุง บ่อขยะให้ถกู สุขลักษณะได้ ถ้าบ่อขยะของตนจะรองรับเฉพาะขยะของเทศบาลต�ำบลท่าเรือเท่านัน้ หาก อปท. อื่นประสงค์จะมาใช้บ่อขยะด้วย ก็จะต้องมีส่วนร่วมในการปรับปรุงบ่อขยะ ส�ำหรับขยะตกค้างสะสมนั้น ทางเทศบาลได้ด�ำเนินการตามระเบียบพัสดุเพื่อประมูลขายขยะเก่า แต่ปรากฏว่าไม่มีเอกชนสนใจ 1 60

การจัดการของเสียจากชุมชน


 เทศบาลต�ำบลอุทัย มีบ่อขยะเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่เศษ ขุดลึกประมาณ 5 เมตร เป็นที่ดิน สาธารณะ เริ่มต้นทิ้งแบบเทกองตั้งแต่ปี 2540 โดยรับเฉพาะขยะของเทศบาลเอง เนื่องจากเป็น อปท. ขนาดเล็กและมีงบประมาณน้อย การให้ขนส่งขยะตกค้างไปก�ำจัด ณ ศูนย์จัดการขยะต้นแบบที่ต�ำบล มหาพราหมณ์จะก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายแก่เทศบาลมากเกินไป และเทศบาลก็ไม่มีความสามารถพอที่จะ ปรับปรุงบ่อขยะของตนให้ถูกสุขลักษณะ ขยะในบ่อก็ไม่ใช่ขยะที่ซื้อขายได้ ไม่มีใครต้องการแม้ว่าจะยกให้ เปล่าๆ แต่เดิมเคยมีข้อตกลงที่ท�ำไว้กับบริษัท ทีพีไอ โพลีน จ�ำกัด (มหาชน) จังหวัดสระบุรี ซึ่งก�ำหนด ให้เทศบาลขนส่งขยะที่มีคุณสมบัติตามต้องการไปส่งให้ โดยทางบริษัทจะชดเชยค่าขนส่งให้ตันละ 150 บาท แต่ปัจจุบันบริษัทฯ ก็ได้ขอยกเลิกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ในช่วงก่อนที่ทางจังหวัดจะมีค�ำสั่งให้ปิดบ่อ ขยะ เทศบาลต�ำบลอุทัยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการจ้างรถแบคโฮมาตักและดันขยะที่ล้นบ่อขยะให้เป็น ระเบียบ รวมทัง้ จ้างรถของเอกชนเพือ่ บรรทุกขยะออกไปก�ำจัดนอกพืน้ ทีเ่ ป็นบางครัง้ เมือ่ บ่อขยะไม่สามารถ รองรับขยะใหม่ได้แล้ว การแก้ไขปัญหาขยะใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทุก อปท. ต้องการทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดในการจัดการขยะมูลฝอยที่ก�ำลังเกิดขึ้นใหม่ และที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต มากกว่าจะค�ำนึงถึงความจ�ำเป็นที่จะต้องน�ำขยะไปก�ำจัดในสถานที่ก�ำจัด ขยะมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ บาง อปท. พอใจที่จะน�ำขยะไปก�ำจัดในบ่อขยะของเอกชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ แม้วา่ บ่อขยะดังกล่าวยังมีการด�ำเนินการไม่ถกู หลักวิชาการ และมองว่าหากบ่อขยะเอกชนในพืน้ ทีส่ ามารถ จัดตัง้ เป็นศูนย์กำ� จัดขยะของกลุม่ พืน้ ที่ได้ตามแผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัดได้ ก็จะท�ำให้ อปท. สามารถแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยของตนได้อย่างเบ็ดเสร็จ เช่น  อบต.อุทัย น�ำขยะไปก�ำจัดที่บ่อขยะของบริษัท ซุปเปอร์เอิร์ธ เอ็นเนอร์ยี 4 จ�ำกัด บนพื้นที่ 71 ไร่ ซึง่ รับขยะจาก อบต.อุทยั และจากอีกหลาย อปท. ทีอ่ ยูน่ อกพืน้ ทีท่ งั้ ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี ชาวบ้านในพื้นที่เคยร้องเรียนและปิดถนนประท้วง เนื่องจากมีน�้ำชะขยะไหลเปื้อนถนน จากรถขนส่งขยะที่วิ่งผ่านไปยังบ่อขยะแห่งนี้  เทศบาลต�ำบลบางไทร น�ำขยะไปก�ำจัดทีบ่ อ่ ขยะในพืน้ ที่ 150 ไร่ ของบริษทั บางไทร รีไซเคิล จ�ำกัด โดยบริษัทให้เทศบาลน�ำขยะไปก�ำจัดได้วันละ 20 ตันโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ปัจจุบันมีปัญหาร้องเรียน ของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการด�ำเนินงานของบ่อขยะแห่งนี้ และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้มีค�ำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ส�ำหรับการน�ำขยะไปก�ำจัดที่ศูนย์จัดการขยะที่จะจัดตั้งขึ้นตามกลุ่มคลัสเตอร์ อปท. มีความ เห็นว่า หากจะก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งที่เป็นค่าขนส่งและค่าก�ำจัด การด�ำเนินการดังกล่าวก็

บทที่ 4: ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

161


ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีส�ำหรับ อปท. เช่น เทศบาลต�ำบลท่าเรือ เทศบาลต�ำบลอุทัย และ อบต.อุทัย ถูกจัดให้ อยู่ในกลุ่มคลัสเตอร์ของเทศบาลต�ำบลนครหลวง และต้องน�ำขยะไปก�ำจัดที่ศูนย์จัดการขยะมูลฝอยที่ จะจัดตัง้ ขึ้น แต่ทงั้ สามเทศบาลก็ไม่เห็นด้วย โดยมีเหตุผลว่าจะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึน้ มีเพียงเทศบาล ต�ำบลท่าเรือที่ได้ลงนามใน MOU เรื่องการส่งขยะไปก�ำจัดที่ศูนย์จัดการขยะของเทศบาลต�ำบลนครหลวง ส่วนเทศบาลต�ำบลอุทัย และ อบต.อุทัย ยังไม่ได้ลงนาม เนื่องจากมีความเห็นว่าจะต้องเสียค่าก�ำจัดขยะ เป็นจ�ำนวนมาก รวมทั้งจะมีค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งขยะเป็นระยะทางไกล นอกจากนี้ ผู้บริหาร อบต.อุทัย ยังมีความเห็นว่า การลงนามใน MOU อาจก่อให้เกิดข้อผูกพันตามกฎหมายว่าจะต้องจัดส่งขยะไปให้ ได้ตามปริมาณที่ก�ำหนด (3) การก�ำกับดูแลบ่อขยะเอกชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ แม้ว่าบ่อขยะเอกชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของบาง อปท. จะเปิดด�ำเนินการมาหลายปี และรับขยะ จ�ำนวนมากจาก อปท. อื่นๆ และจากแหล่งต่างๆ ทั้งในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี แต่ เมื่อถูกสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณขยะที่เข้าสู่บ่อขยะของเอกชนในแต่ละวัน ตลอดจนอัตราค่าก�ำจัด ขยะที่บริษัทเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ ผู้บริหาร อปท. ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่มักให้ข้อมูลว่าตนเองไม่ทราบ เป็นเรื่องการด�ำเนินงานของเอกชน ตนเองเพียงแต่ออกใบอนุญาตก�ำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้เอกชน ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 โดยคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตปีละ 5,000 บาท ข้อมูล ดังกล่าวนีแ้ สดงให้เห็นว่า อปท. ยังให้ความส�ำคัญน้อยมากต่อการก�ำกับดูแลการด�ำเนินกิจการของบ่อขยะ เอกชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบของตน ทั้งๆ ที่พระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ มาตรา 20 (5) ให้อ�ำนาจแก่ อปท. ในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อก�ำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บ ขน และก�ำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยได้ (4) การเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนและก�ำจัดขยะมูลฝอย แม้ทุก อปท. จะกล่าวถึงปัญหาการขาดแคลนงบประมาณและค่าใช้จ่ายจ�ำนวนมากที่ต้องใช้ ในการให้บริการเก็บขนขยะ แต่ก็ยังมีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นก�ำหนดค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะ มูลฝอยไว้ในอัตราที่ต�่ำมาก ค่าธรรมเนียมรายเดือนที่เรียกเก็บจากครัวเรือนอยู่ในช่วง 10-40 บาท เช่น เทศบาลต�ำบลท่าเรือ เก็บในอัตรา 10 บาท เทศบาลต�ำบลมหาพราหมณ์ 20 บาท เทศบาลนคร พระนครศรีอยุธยา 20 บาท เทศบาลต�ำบลอุทัย 20 บาท (ปรับขึ้นจากเดิมที่เคยเก็บ 10 บาท) อบต. อุทัย 20 บาท และเทศบาลต�ำบลบางไทรเพิ่งปรับเพิ่มอัตราจาก 10 บาท เป็น 40 บาทเมื่อปลายปี 2558 เป็นต้น นอกจากนี้ แม้ว่าค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะที่เก็บจากประชาชนจะอยู่ในอัตราที่ต�่ำมาก และไม่ เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการให้บริการเก็บขนขยะ แต่หลาย อปท. ก็ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชน

1 62

การจัดการของเสียจากชุมชน


ซึ่งมักมองว่าการเก็บขยะเป็นหน้าที่ของเทศบาลหรือ อบต. “จะทิ้งอย่างไร ตรงไหน หรือมากน้อย เพียงใด ก็เป็นหน้าที่ของเทศบาลที่จะต้องมาเก็บ” อย่างไรก็ดี อปท. ไม่มีนโยบายที่จะเพิ่มอัตราค่า ธรรมเนียมการเก็บขนขยะ เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อฐานเสียงของผู้บริหารท้องถิ่น หากมีการออก กฎกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะ และก�ำหนดค่าธรรมเนียมการก�ำจัดขยะ มูลฝอย ก็จะไม่มี อปท. ใดสามารถปฏิบัติตามได้ (5) การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อให้มีการคัดแยกขยะ ยังไม่มี อปท. ใดที่มีแนวคิดหรือนโยบายที่จะออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อก�ำหนดให้ประชาชน คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง การคัดแยกขยะจึงเป็นเพียงกิจกรรมสมัครใจที่กระท�ำกันในบางชุมชน แต่ขาด การสนับสนุนอย่างจริงจังทั้งในเชิงนโยบายและงบประมาณ ความเห็นที่ได้รับทราบจากทุก อปท. ก็คือ “นิสัยของคนไทยยังไม่ไป” หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การแยกทิ้งขยะไม่ใช่นิสัยของคนไทย และคนไทยยัง ไม่พร้อม 4.2 โรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่

ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2559 คณะนักวิจัยได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาข้อมูล และสัมภาษณ์ เชิงลึกผูบ้ ริหารของเทศบาลเมืองควนลัง (ซึง่ เป็นสถานทีต่ งั้ โรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่) และเทศบาลนครหาดใหญ่ รวมทั้งได้ศึกษาดูงานโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานขยะของเทศบาล นครหาดใหญ่ ซึ่งบริหารงานโดย บริษัท จีเดค จ�ำกัด ข้อมูลที่น�ำเสนอในส่วนนี้มาจากการเรียบเรียงข้อมูล เอกสารที่รวบรวมได้ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องของทั้งสองเทศบาล และ การศึกษาดูงานเพื่อสังเกตการท�ำงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลนครหาดใหญ่มีพื้นที่ 21 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขต มี ประชากรทัง้ สิน้ ประมาณ 158,218 คน แบ่งเป็น 101 ชุมชน มีความหนาแน่นของประชากรประมาณ 7,529 คน/ตารางกิโลเมตร แต่บริเวณกลางเมืองมีความหนาแน่นของประชากรถึง 20,000 คน/ตารางกิโลเมตร)16 มีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณวันละ 200 ตัน และใช้งบประมาณปีละกว่า 100 ล้านบาท ส�ำหรับการ เก็บขนและก�ำจัดขยะ ปัจจุบนั ทัง้ เทศบาลนครหาดใหญ่ และเทศบาลเมืองควนลังไม่มกี ารเก็บค่าธรรมเนียม เก็บขนขยะจากครัวเรือน นับตั้งแต่ พ.ศ. 2510 เทศบาลนครหาดใหญ่ด�ำเนินการก�ำจัดขยะโดยวิธีการฝังกลบ โดยได้ ซื้อที่ดินประมาณ 135 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนทางไปสนามบิน หมู่ 3 ต�ำบลควนลัง อ�ำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา ในปี 2540 บ่อฝังกลบขยะที่ตั้งอยู่ท่ีต�ำบลควนลังถูกใช้งานจนเต็ม เทศบาลนครหาดใหญ่จึง 16 ข้อมูลพื้นฐานหาดใหญ่, เว็บไซต์เทศบาลนครหาดใหญ่. http://www.hatyaicity.go.th/content/general.pdf

บทที่ 4: ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

163


วางแผนหาสถานทีฝ่ งั กลบแห่งใหม่ทตี่ ำ� บลทุง่ ขมิน้ เป็นเหมืองแร่เก่าซึง่ มีเนือ้ ทีป่ ระมาณ 500 ไร่ แต่เมือ่ จะ ย้ายไปก�ำจัดขยะที่ทุ่งขมิ้น ปรากฏว่าเขตทุ่งขมิ้นกลายเป็น อบต. ทาง อบต.ทุ่งขมิ้น ไม่ยินยอมให้น�ำขยะ ไปก�ำจัดในพืน้ ทีข่ องตน เทศบาลนครหาดใหญ่จงึ ต้องใช้บอ่ ขยะทีต่ ำ� บลควนลังตามเดิม หลังจากเหตุการณ์ น�้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2543 ที่ดินในโซนของเทศบาลเมืองควนลังมีราคาสูงขึ้นมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ น�้ำไม่ท่วมและอยู่ใกล้สนามบิน ท�ำให้ผู้บริหารท้องถิ่นของเทศบาลเมืองควนลังและประชาชนไม่ต้องการ ให้น�ำขยะไปก�ำจัดในพื้นที่ของตน ส่งผลให้เทศบาลนครหาดใหญ่ต้องเผชิญกับโจทย์ที่ยากมากขึ้นในการ แก้ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย เมื่อต้องประสบปัญหาไม่มีพื้นที่ทิ้งขยะแล้ว ในปี 2551 เทศบาลนครหาดใหญ่จึงเริ่มคิดหา วิธกี ำ� จัดขยะด้วยการเผา บริษทั จีเดค จ�ำกัด ได้เข้ามาน�ำเสนอโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจาก ขยะ โดยจะเลือกใช้เทคโนโลยีขั้นสูงคือไพโรไรซิส ซึ่งจะสามารถเผาขยะได้หมดทุกชนิดโดยไม่ก่อมลพิษ เทศบาลนครหาดใหญ่จึงท�ำสัญญากับบริษัทจีเดค จ�ำกัด เมื่อปี 2553 ให้ด�ำเนินก่อสร้างและบริหาร จัดการระบบก�ำจัดมูลฝอยชุมชน “ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” บนพื้นที่ 10 ไร่ ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 800 ล้านบาท โดยบริษทั จีเด็ค จ�ำกัด ได้รบั สิทธิดำ� เนินการบริหารจัดการ ระบบเป็นเวลารวม 25 ปี แต่เมื่อสร้างเสร็จตอนกลางปี 2557 ก็มีปัญหาไม่อาจตกลงกันได้กับผู้บริหาร ใหม่ของเทศบาลเมืองควนลัง รัฐบาล คสช. จึงให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาจัดให้เทศบาลทั้งสองมาคุย ตกลงกันเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2557 และน�ำไปสู่การจัดท�ำบันทึกข้อตกลงการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ชุมชน ระหว่างเทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมืองควนลัง และบริษัทจีเดค จ�ำกัด เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2557 ซึ่งมีสาระส�ำคัญดังต่อไปนี้ (1) ให้เทศบาลนครหาดใหญ่ด�ำเนินการรื้อร่อนมูลฝอยและปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในสถานที่ ก�ำจัดมูลฝอย โดยจัดสรรงบประมาณปีละ 50 ล้านบาทเป็นระยะเวลา 5 ปีจนกว่าจะแล้วเสร็การจ เพื่อใช้ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจร่วมกันของประชาชนในพื้นที่ต�ำบลควนลังและประชาชนทั่วไป (2) เทศบาลนครหาดใหญ่ต้องสมทบเงินเข้ามูลนิธิหรือสมาคมส�ำหรับคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยรอบโครงการเป็นเงินร้อยละ 10 ของรายได้จากการก�ำจัดขยะ (3) เทศบาลนครหาดใหญ่ต้องก�ำหนดให้ อปท. ที่เข้าร่วมโครงการก�ำจัดขยะมูลฝอยช�ำระค่า ธรรมเนียมร้อยละ 10 จากอัตราค่าก�ำจัดขยะมูลฝอยของแต่ละแห่งและให้เทศบาลนครหาดใหญ่รวบรวม ค่าธรรมเนียมดังกล่าวสมทบเข้ามูลนิธิหรือสมาคมที่เทศบาลเมืองควนลังก�ำหนด (4) มูลนิธิหรือสมาคมส�ำหรับคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบโครงการ (รัศมี 5 กิโลเมตร) สามารถยื่นขอเงินอุดหนุนจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ซึ่งเป็นเงินที่คณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เรียกเก็บจากผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าในอัตรา 1 สตางค์ ต่อหน่วยไฟฟ้าที่ผลิต

1 64

การจัดการของเสียจากชุมชน


ได้ในแต่ละเดือน เพื่อใช้พัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการด�ำเนินงานของโรงงานระบบ ก�ำจัดมูลฝอยชุมชน (5) บริษัท จีเดค จ�ำกัด โดยความยินยอมของเทศบาลนครหาดใหญ่จะรับขยะมูลฝอยชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองควนลังมาก�ำจัดในปริมาณไม่เกิน 40 ตันต่อวัน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ บริษัท จีเดค จ�ำกัด ต้องรายงานปริมาณขยะทั้งหมดที่รับก�ำจัดให้เทศบาลเมืองควนลังทราบทุกเดือน โดย แสดงรายการของขยะที่เข้าก�ำจัดในแต่ละวัน 4.2.1 การด�ำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเทศบาลนครหาดใหญ่

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่ ซึง่ ด�ำเนินการโดยบริษทั จีเดค จ�ำกัด ถูกออกแบบ ให้สามารถรองรับการก�ำจัดขยะได้ไม่นอ้ ยกว่า 250-300 ตันต่อวัน ได้รบั ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน ก�ำลังการผลิต 6.7 เมกะวัตต์ ทะเบียนโรงงานเลขที่ 3-88(2)-53/56 สข ในการ เดินระบบในปัจจุบัน สามารถผลิตไฟฟ้าได้จริงประมาณ 4-5 เมกะวัตต์ ต่อวัน ใช้เทคโนโลยีแบบ Gasification ซึง่ ใช้กรรมวิธเี ผาขยะให้เป็นก๊าซโดยท�ำปฏิกริ ยิ าสันดาปแบบไม่สมบูรณ์ (partial combustion) สารอินทรีย์ในขยะจะท�ำปฏิกริ ยิ ากับอากาศหรือออกซิเจนปริมาณจ�ำกัด ท�ำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรเจน และก๊าซเชื้อเพลิง ซึ่งจะน�ำไปผลิตไฟฟ้าหรือให้ความร้อนโดยตรงต่อไป ปัจจุบัน โรงไฟฟ้านี้รับขยะจากเทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมืองควนลัง อปท. อื่นๆ อีก 12 แห่ง และหน่วยงานภายนอกอีกจ�ำนวนหนึ่ง เทศบาลนครหาดใหญ่มีหน้าที่ส่งขยะประจ�ำวันป้อนเข้า โรงไฟฟ้าและช�ำระก�ำจัดขยะเป็นรายเดือนในอัตรา 290 บาทต่อตัน โดยจะหักค่าก�ำจัดขยะไว้ร้อยละ 10 เพื่อสมทบเข้ามูลนิธิเพื่อคุณภาพชีวิตของชุมชนควนลัง จากการน�ำเสนอของผู้จัดการโรงไฟฟ้า สามารถสรุปขั้นตอนการท�ำงานของโรงไฟฟ้าได้ดังนี้ 1) การชั่งน�้ำหนักขยะที่เข้าสู่โรงงาน ขยะส่วนมากจะน�ำส่งในเวลากลางคืน โดยเฉพาะหลังเที่ยงคืนขยะจะมีปริมาณมาก เนื่องจาก เทศบาลนครหาดใหญ่จดั เก็บขยะในช่วงเวลากลางคืน เมือ่ รถขยะผ่านตาชัง่ บริษทั ฯ จะบันทึกค่าน�ำ้ หนักไว้ 2) ส่วนคัดแยก เป็นขั้นตอนการคัดแยกขยะก่อนส่งขยะเข้าเตาเผา ประกอบด้วย  Sorting line เป็นสายพานล�ำเลียงขยะ โดยใช้คนคัดแยกขยะ จ�ำนวน 2 สายพาน แต่ละ สายพานมีความยาว 20 เมตร ใช้คนคัดแยกขยะ 15-20 คนในแต่ละสายพาน ท�ำให้สามารถคัดขยะ จ�ำพวกขวดพลาสติก ขวดแก้ว และเศษเหล็กออก (อุปสรรคในการคัดแยก เช่น บางครั้งมีของมีคม ปะปนมา เช่น เข็มฉีดอินซูลินที่เป็นขยะจากครัวเรือน ท�ำให้คนคัดแยกกลัว)

บทที่ 4: ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

165


 Trommel เพิง่ ติดตัง้ เมือ่ ต้นปีทผี่ า่ นมา เป็นเครือ่ งร่อนแยกขยะโดยการหมุนเหวีย่ ง ท�ำหน้าที่ สลัดเศษอาหารออกให้เหลือขยะประเภทพลาสติกให้ได้มากที่สุด สามารถสลัดขยะอินทรีย์ เช่น ใบไม้ เศษอาหารออกได้ จ�ำนวน 25-35% ท�ำให้เหลือขยะที่ผ่าน Trommel แล้วจ�ำนวน 70% ซึ่งในจ�ำนวนนี้มี พลาสติกเป็นส่วนประกอบประมาณ 80%  Shredder เป็นเครื่องบดและตัดขยะ (มีสมรรถนะ 20 ตันต่อชั่วโมง) ท�ำหน้าที่ตัดลดขนาด ของขยะที่จะน�ำเข้าเตาเผา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอบลดความชื้นของขยะและการเผาไหม้  Rotary Dryer หรือกระบอกอบ จ�ำนวน 2 อัน ความยาว 16 เมตร มีสมรรถนะ 8 ตัน ต่อชั่วโมง อบโดยใช้ลมร้อน มีพัดลมดูดความชื้น ไม่ได้อบด้วยไอน�้ำ ท�ำหน้าที่อบขยะเพื่อลดปริมาณ ความชื้นของขยะก่อนเข้าเตาเผา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการเผาไหม้ของระบบ โดย มีอุณหภูมิขาเข้าของเตาอบประมาณ 110-120 องศาเซลเซียส แต่เมื่อคลุกกับขยะแล้วจะมีอุณหภูมิ ประมาณ 70 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการอบประมาณรอบละครึ่งชั่วโมง ทั้งนี้ ความชื้นของขยะที่น�ำ เข้าเตาที่โรงงานต้องการ คือ 35-38% หรือไม่เกิน 40% (เดิมออกแบบเป็นห้องอบซึ่งเล็กและไม่เหมาะสม จึงเปลี่ยนมาเป็นระบบหมุนแทน) โดยคุณลักษณะของขยะที่เหมาะสมกับระบบแก๊สซิฟิเคชั่นนั้น ขยะต้องมีขนาด 10 มิลลิเมตร ความชื้น 35% ก็จะท�ำให้ระบบเดินนิ่งมาก เทคโนโลยีนี้ออกแบบจากประเทศฟินแลนด์ แต่องค์ประกอบ ขยะของไทยแตกต่างมากจากของประเทศเขาทีม่ รี ะบบการคัดแยกขยะทีด่ กี ว่า ขยะพลาสติกทีเ่ ข้ามามีการ ปนเปื้อนเศษอาหาร มีเศษแก้วปนมา รวมทั้งมียางปริมาณมาก 3) ส่วนเตาเผา ในช่วงเริ่มเดินระบบ (Start up) จะใช้ไม้ชิบยางพาราเป็นเชื้อเพลิงเสริมเนื่องจากขยะที่รับ เข้ามามีความชื้นสูง และระบบยังไม่มีไอน�้ำส�ำหรับปั่นไฟเพื่ออบขยะ ซึ่งจะใช้เวลาเริ่มเดินระบบประมาณ 12-16 ชั่วโมง (ไม้ตันละ 700 บาท) ทั้งนี้บริษัทฯ มีเป้าหมายให้เดินเครื่องได้นานที่สุด และหยุดเดินระบบ ไม่เกิน 1 เดือนต่อปี ขยะที่น�ำเข้าเตาเผาจะใช้อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียสในการเผาไหม้ โดยจะควบคุมปริมาณ ออกซิเจนเพื่อให้เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ท�ำให้เกิดก๊าซเชื้อเพลิง ก๊าซส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจะเป็น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ที่ไหลเข้ามาในห้องเผาที่ 2 ซึ่งในขั้นตอนนี้ก๊าซจะมีความร้อนแล้ว แต่ขาด ก๊าซออกซิเจน ระบบก็จะเติมก๊าซออกซิเจนเข้าไปเพื่อให้เกิดการเผาไหม้ครั้งที่ 2 ที่อุณหภูมิประมาณ 1,200 องศาเซลเซียส สารไดออกซินที่ก่อให้เกิดมะเร็งจะสลายไป และก๊าซที่ออกไปจะถูกน�ำไปต้มน�้ำใน หม้อต้ม ให้ได้ไอน�้ำส�ำหรับน�ำไปปั่นไฟ ส่วนก๊าซเสียก็จะผ่านระบบบ�ำบัดถุงกรอง โดยก๊าซที่ปลดปล่อย จะมีความร้อนประมาณ 150-160 องศาเซลเซียส 1 66

การจัดการของเสียจากชุมชน


4) ระบบบ�ำบัดก๊าซ ใช้ถุงกรอง โซเดียมไบคาร์บอเนต และแอคติเวทเทตคาร์บอนในการดักจับสารมลพิษ 5) การจัดการของเสียและขี้เถ้า ในการด�ำเนินงานจะมีเถ้าหนักเกิดขึ้น 15-20 ตัน/วัน ขึ้นอยู่กับก�ำลังการผลิต และมีเถ้าลอย เกิดขึ้นไม่ถึง 1 ตัน/วัน ปัจจุบัน ยังเก็บทั้งเถ้าหนักและเถ้าลอยไว้ในบริเวณโรงงาน 6) ระบบการจัดการน�้ำเสีย โรงงานมีน�้ำชะขยะไม่เกิน 10 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ส่วนน�้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต ไฟฟ้าก็มีไม่มาก เพราะเป็นระบบน�้ำหมุนเวียน รวมแล้วไม่เกิน 20-30 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน 4.2.2 การก�ำกับดูแลโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเทศบาลนครหาดใหญ่

ปัจจุบัน เทศบาลนครหาดใหญ่ได้มีค�ำสั่งที่ 671/2556 แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและ ประเมินผลโครงการก่อสร้างระบบก�ำจัดขยะมูลฝอยชุมชนขนาดไม่นอ้ ยกว่า 250 ตันต่อวัน ลงวันที่ 4 เมษายน 2556 มีรองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่เป็นประธาน กรรมการอื่นๆ อีก 15 ท่าน ประกอบด้วย บุคลากรฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของเทศบาลนครหาดใหญ่ ผู้แทนจากส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16 หรือผู้แทน พลังงานจังหวัด สงขลา นายกเทศมนตรีเมืองควนลัง ผู้อ�ำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองควนลัง และผู้แทนชุมชนต�ำบลควนลังอีก 2 คน คณะกรรมการมีหน้าที่ควบคุม ก�ำกับดูแลการด�ำเนินการก่อสร้าง ระบบก�ำจัดขยะมูลฝอยของโรงงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลและเป็นไป ตามข้อก�ำหนดในสัญญา นอกจากนี้ สัญญาก่อสร้างและบริหารจัดการระบบก�ำจัดขยะมูลฝอยชุมชน ระหว่างเทศบาลนคร หาดใหญ่ กับ บริษัท จีเดค จ�ำกัด เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2553 มีข้อก�ำหนดต่างๆ เช่น ให้บริษัทมีหน้าที่ จัดท�ำรายงานสรุปผลการท�ำงานประจ�ำเดือนเพือ่ ส่งมอบให้เทศบาลนครหาดใหญ่ภายในวันที่ 10 ของเดือน ถัดไป ต้องท�ำแผนการตรวจสอบสภาพและซ่อมบ�ำรุงระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครัง้ ต้องไม่ใช้เชือ้ เพลิงทีส่ ร้าง มลพิษกับสิ่งแวดล้อม เช่น ถ่านหิน หรือ Fossil fuel เข้ามาใช้ในการท�ำงานปกติของระบบ โดยอนุญาต ให้ใช้น�้ำมันดีเซลเฉพาะตอนเริ่มเดินระบบเท่านั้น ต้องท�ำการก�ำจัดขยะมูลฝอยอย่างต่อเนื่องและสามารถ หยุดระบบเพื่อท�ำการซ่อมแซมบ�ำรุงรักษาในรอบปีหนึ่งรวมแล้วไม่เกิน 30 วัน ตลอดจนต้องบ�ำรุงรักษา บริเวณระบบและพื้นที่โดยรอบให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีอยู่เสมอ เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทมีระบบการ ตรวจวัดคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring: CEMs) และจอแสดงผล หน้าโรงงาน และบริเวณเทศบาลเมืองควนลัง เพือ่ ให้ประชาชนสามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศได้ทกุ เวลา บทที่ 4: ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

167


4.2.3 ปัญหาในการด�ำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเทศบาลนครหาดใหญ่

นับแต่เริ่มด�ำเนินการ บริษัทมีปัญหาเรื่องการจัดการขยะชุมชนที่มีความชื้นสูง ท�ำให้ไม่ สามารถเผาขยะได้อย่างเต็มที่ หากมีขยะตกค้างเกิน 72 ชั่วโมงก็เริ่มส่งกลิ่นเน่าเหม็น ท�ำให้ต้องปรับปรุง การด�ำเนินงานส่วนหน้าก่อนป้อนขยะเข้าเตาเผา เช่น สายพานล�ำเลียงขยะสั้นไป ต้องเปลี่ยนสายพาน ให้ยาวขึ้นเพื่อให้สามารถคัดแยกขยะได้มากขึ้น ท�ำให้ต้องเพิ่มพื้นที่หน้างานที่จะน�ำขยะมาทิ้งให้กว้างขึ้น บริษัทจึงต้องเช่าพื้นที่จากเทศบาลนครหาดใหญ่เพิ่มขึ้นจาก 10 ไร่ เป็น 17 ไร่ นอกจากนี้ ต้องปรับปรุง ระบบโดยน�ำ Rotary Dryer มาติดตัง้ เพือ่ อบให้ขยะแห้ง ท�ำให้งบประมาณในการลงทุนสูงขึน้ จาก 800 ล้าน บาทเพิ่มเป็น 1,000 ล้านบาท แต่ค่าความชื้นของขยะก็ยังมากกว่าที่ก�ำหนด โรงงานต้องการเศษพลาสติก และเศษไม้แห้งเพิม่ เติม รวมทัง้ ขยะทีร่ อื้ ร่อนมาร่วมเผาด้วย ผูบ้ ริหารเทศบาลนครหาดใหญ่มคี วามเห็นว่า ควรจะต้องให้โอกาสบริษัทปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะหากไม่ยอมรับการด�ำเนินงานของ บริษัท ก็ไม่สามารถแก้โจทย์ได้ว่าจะท�ำอย่างไรต่อไปกับปริมาณขยะมากมายที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน จากการพิจารณารายงานสรุปผลการท�ำงานประจ�ำเดือนของบริษัทฯ ซึ่งคณะวิจัยรวบรวมได้ 7 ฉบับ ประกอบด้วย รายงานในช่วงปี 2558 จ�ำนวน 5 ฉบับ และรายงานในช่วงต้นปี 2559 จ�ำนวน 2 ฉบับ ท�ำให้สามารถวิเคราะห์สภาพปัญหาการท�ำงานของโรงไฟฟ้าได้ดังนี้ (1) โรงงานไม่สามารถเผาขยะได้อย่างเต็มที่ เช่น ในช่วงในเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน 2558 มีปริมาณขยะเข้าระบบเฉลี่ยวันละ 288 ตัน แบ่งเป็นขยะเข้าเตาเผา 97 ตัน (ร้อยละ 34) และขยะที่ไม่ได้เข้าเตาเผา 190 ตัน (ร้อยละ 66) แสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว โรงงานสามารถก�ำจัด ขยะโดยการเผาได้ปริมาณต�่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้มาก (2) การหยุดระบบการท�ำงานบ่อยครัง้ ข้อมูลจากรายงานแสดงให้เห็นการหยุดระบบการท�ำงาน มากกว่า 1 วันดังนี้

1 68

การจัดการของเสียจากชุมชน


เริ่มต้น วันที่/เวลา

สิ้นสุด วันที่/เวลา

รวมระยะเวลา (ชั่วโมง: นาที)

10 ก.ค. 58 (22.45 น.)

13 ก.ค. 58 (10.25 น.)

52.25

หยุดเดินเครื่องบอยเลอร์เพื่อท�ำการ Cleaning

28 ก.ย. 58 (12.38 น.)

1 ต.ค. 58 (09.06 น.)

68.28

ปรับปรุงระบบ (Water jacket, Step grate, PLC)

1 พ.ย. 58 (00.00 น.)

9 พ.ย. 58 (04.37 น.)

220.37

ติดตั้ง Multi cyclone ท�ำปากแตรเข้าเตา แก้งานปูน hopper 3 Cleaning, ท�ำระบบน�้ำมันเตา

12 พ.ย. 58 (20.20 น.)

15 พ.ย. 58 (09.42 น.)

60.58

แก้ไข Grate

1 ธ.ค. 58 (23.00 น.)

5 ธ.ค. 58 (08.08 น.)

81.00

หยุดเดินเครื่องเพื่อเคลียร์ Slag Furnace hopper Cleaning Eco, SH, เปลี่ยน Bag filter 6 ถุง

16 ธ.ค. 58 (21.16 น.)

19 ธ.ค. 58 (15.30 น.)

66.50

หยุดเตา เคลียร์ Slag Furnace, connect cyclone &Wet scrubber

12 ก.พ. 59 (15.30 น.)

24 ก.พ. 59 (22.11 น.)

275.00

เพื่อซ่อมแซมผนังหลังคาเตา

26 ก.พ. 59 (22.12 น.)

29 ก.พ. 59 (03.49 น.)

54.00

เพื่อซ่อมแนวรั่วผนังชุดหล่อเย็นของระบบป้อนเชื้อเพลิง

16 มี.ค. 59 (02.20 น.)

17 มี.ค. 59 (03.40 น.)

25.20

เพื่อซ่อมท่อ Economizer

สาเหตุการหยุดเดินเครื่อง

บทที่ 4: ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

169


(3) มีการใช้เชื้อเพลิงเสริมมากกว่าขยะในการเผาเพื่อผลิตไฟฟ้า ข้อมูลการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าแสดงให้เห็นว่ามีการเชื้อเพลิงเสริมเป็นจ�ำนวนมาก เช่น มีสัดส่วนการใช้ไม้ชิปยางพาราเป็นเชื้อเพลิงมากกว่าขยะ สรุปได้ดังนี้ ต้นทุนการผลิต /รายเดือน

ก.ค. 58

ต.ค. 58

ก.ย. 58

พ.ย. 58

ธ.ค. 58

ก.พ. 59

มี.ค. 59

ขยะบด (ตัน)

1,144

2,437

1,750

1,967

2,894

1,862

3,554

ไม้ชิบยางพารา (ตัน)

4,851

2,620

2,736

1,960

2,111

1,663

2,962

น�้ำมันดีเซล (กิโลกรัม)

137

1,517

1,899

3,215

0

5,857

4,439

0

0

0

4,350

3,219

9,582

19,068

น�้ำมันเตา (กิโลกรัม)

(4) การจัดการขี้เถ้าหนักและขี้เถ้าลอย บริษัทมีใบอนุญาตเลขที่ สก1 E-30823/2558 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ออกให้ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2558 ให้ขยายระยะเวลาในการกักเก็บสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วในโรงงาน ได้จนถึงวันที่ 29 มกราคม 2559 (เถ้าหนัก ปริมาณ 500 ตัน เถ้าลอย 50 ตัน) ส�ำหรับในปี 2559 ได้รับใบอนุญาตเลข ที่ สก1 E-1736/2559 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ให้ขยายระยะเวลาในการกักเก็บสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ ไม่ใช้แล้วในโรงงานเช่นกัน อย่างไรก็ดี นับจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการน�ำขี้เถ้าหนักและขี้เถ้าลอยออกจากโรงงาน แต่ข้อมูล ในรายงานสรุปผลการท�ำงานประจ�ำเดือนระบุวา่ มีการน�ำขีเ้ ถ้าหนักบางส่วนไปถมทีภ่ ายในพืน้ ทีข่ องบริษทั นอกจากนี้ ปริมาณสะสมของขีเ้ ถ้าหนักทีเ่ กิดขึน้ จากการด�ำเนินระบบก็มมี ากกว่าปริมาณที่ได้รบั อนุญาตให้ กักเก็บไว้ในบริเวณโรงงาน ดังนี้ ปริมาณเถ้า/รายเดือน

ก.ค. 58

ต.ค. 58

ก.ย. 58

พ.ย. 58

ธ.ค. 58

ก.พ. 59

มี.ค. 59

210

609

410

631

538

1,178

678

11

9

7

2

6

7

16

Bottom ash (ตัน) Fly ash (ตัน)

1 70

การจัดการของเสียจากชุมชน


(5) ปัญหามลพิษที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนเทศบาลนคร หาดใหญ่ กรมควบคุมมลพิษได้ตรวจสอบและเก็บตัวอย่างอากาศที่ระบายจากปล่องเตาเผาขยะมูลฝอย ของโรงงานระหว่างวันที่ 21-28 พฤษภาคม 2559 ผลการวิเคราะห์พบว่า17  ค่ า สารประกอบไดออกซิ น ผลการวิ เ คราะห์ ตั ว อย่ า งที่ 1 มี ค ่ า 2.83 นาโนกรั ม ต่ อ ลูกบาศก์เมตร (I-TEQ (ng/m3) ตัวอย่างที่ 2 มีค่า 5.11 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกินค่ามาตรฐาน ที่ก�ำหนดไว้ไม่เกิน 0.1 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย  ค่าสารแคดเมียม ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างที่ 1 มีค่า 0.011 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตัวอย่างที่ 2 มีคา่ 0.074 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึง่ ผลการวิเคราะห์ตวั อย่างที่ 2 มีคา่ เกินกว่ามาตรฐาน ที่ก�ำหนดไว้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย  ค่าก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างที่ 1 มีค่า 254 ppm (ส่วนในล้านส่วน) หรือ 379 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตัวอย่างที่ 2 มีค่า 401 ppm หรือ 598 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึง่ เกินกว่าค่ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม เรือ่ ง ก�ำหนดมาตรฐาน ควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ก�ำหนดค่า ปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน พ.ศ. 2549 อาศัยอ�ำนาจตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 อุตสาหกรรม จังหวัดสงขลา ผู้ซึ่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมาย จึงมีค�ำสั่งให้ บริษัท จีเดค จ�ำกัด หยุดประกอบ กิจการโรงงานในส่วนเตาเผาขยะทันที และให้บริษัทฯ ปรับปรุงระบบขจัดมลพิษของเตาเผาขยะของ โรงงานให้มปี ระสิทธิภาพเพียงพอ เพือ่ ให้มคี า่ ปริมาณของสารเจือปนทีร่ ะบายออกจากโรงงานอยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานตามที่กฎหมายก�ำหนด ทั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 13 มกราคม 256018 นอกจากนี้ เทศบาลนครหาดใหญ่ยงั ได้มหี นังสือถึงกรรมการผูจ้ ดั การบริษทั จีเดค จ�ำกัด มีสาระ ส�ำคัญว่า เนื่องจากเทศบาลนครหาดใหญ่ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหามลพิษของโรงงานก�ำจัดขยะ ของบริษัทฯ จากประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง และจากการตรวจสอบมลพิษที่ปล่อยออกจากปล่อง ควันโดยกรมควบคุมมลพิษ ปรากฏว่า มีคา่ สารประกอบไดออกซินซึง่ เป็นสารก่อมะเร็ง ไฮโดรเจนคลอไรด์ และสารแคดเมียม เกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายก�ำหนดและอาจก่อให้เกิดอันตราย จึงขอแจ้งให้บริษัท 17 หนังสือส�ำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 ถึง กรรมการผู้จัดการบริษัท จีเดค จ�ำกัด ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงงาน เรื่อง ให้หยุดประกอบกิจการโรงงานบางส่วนเป็นการชั่วคราว. 18 เพิ่งอ้าง. บทที่ 4: ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

171


หยุดระบบก�ำจัดขยะมูลฝอยทั้งหมดทันที จนกว่าจะแก้ไขปัญหามลพิษแล้วเสร็จ และได้รับ การตรวจสอบยืนยันจากกรมควบคุมมลิษและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องว่ามีค่าสารประกอบอยู่ในเกณฑ์ มาตรฐาน19 ผลจากการที่โรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชนของเทศบาลนครหาดใหญ่ต้องหยุดการประกอบ กิจการในส่วนเตาเผาขยะ ท�ำให้ขยะสะสมซึ่งแต่เดิมก็มีปัญหาในการก�ำจัดไม่ทันอยู่แล้วมีจ�ำนวนเพิ่ม มากขึ้น จังหวัดสงขลาได้จัดให้มีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมกับตัวแทนจากบริษัท จีเดค จ�ำกัด เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2560 เพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหากลิ่นเหม็นจากกองขยะใหม่ภายในโรงไฟฟ้า ที่มีปริมาณสะสมเพิ่มขึ้นประมาณ 300 ตันต่อวัน ที่ประชุมได้เสนอให้บริษัทฯ จัดหาสถานที่ใหม่เพื่อ รองรับการทิง้ ขยะจากเทศบาลนครหาดใหญ่และจาก อปท. รอบนอกทีย่ งั คงส่งเข้ามาทุกวัน โดยให้บริษทั ฯ เจรจากับเทศบาลเมืองบ้านพรุในการน�ำขยะไปทิ้งที่บ่อขยะของเทศบาลเมืองบ้านพรุเป็นการชั่วคราว ต่อมาเทศบาลเมืองบ้านพรุตกลงให้ความร่วมมือกับทางจังหวัด และอนุญาตให้น�ำขยะมาทิ้งที่บ่อขยะ ของเทศบาลเมืองบ้านพรุเพื่อบรรเทาสถานการณ์เพียง 1 เดือน แต่ก็ไม่สามารถรับขยะทั้งหมด 300 ตัน ต่อวันได้ เนื่องจากบ่อขยะสามารถรองรับขยะได้อีกเพียง 60,000 ตัน และปัจจุบันก็ต้องรองรับขยะที่ เข้ามาวันละ 80 ตันอยู่แล้ว หากรับขยะมาทั้งหมด บ่อขยะของเทศบาลเมืองบ้านพรุอาจจะมีปัญหาใน อนาคต โดยเฉพาะปัญหาเรื่องมวลชน จึงขอให้กระจายไปยังบ่อขยะของเทศบาลนครสงขลาที่เกาะแต้ว และเทศบาลเมืองสะเดาด้วย20 ปัญหาโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่ยังคงมีต่อไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2560 ศูนย์ดำ� รงธรรมจังหวัดสงขลาได้รบั แจ้งจากชาวบ้านบริเวณใกล้เคียงว่าพบละอองน�ำ้ มัน เหมือนกับน�้ำมันเครื่องกระจายไปในอากาศ และสร้างความเดือดร้อน ศูนย์ด�ำรงธรรมจังหวัดสงขลาได้ ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊คว่า สาเหตุเกิดจากตัวเปิดปิดถุงกรองแตกเมื่อช่วงเที่ยงคืนครึ่งถึงตีหนึ่ง เป็นเหตุให้ ควันเขม่าฟุ้งกระจายมาตามทิศทางลม เทศบาลนครหาดใหญ่และบริษัทฯ ได้ร่วมกันใช้รถบรรทุกน�้ำท�ำ ความสะอาดล้างถนน และบริษัทฯ ได้แจกคูปองให้ชาวบ้านน�ำรถยนต์ที่สกปรกจากคราบฝุ่นน�้ำมันไป ล้างอัดฉีดได้ภายใน 1 สัปดาห์ เนื่องจากมีปัญหาการด�ำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะแห่งนี้มาเป็น ระยะเวลานาน โดยเฉพาะเรื่องกลิ่นที่ยังไม่สามารถแก้ไขให้แล้วเสร็จ แต่กลับก่อให้เกิดปัญหาละอองฝุน่ คราบน�ำ้ มันขึน้ อีก เทศบาลนครหาดใหญ่จงึ มีคำ� สัง่ ให้บริษทั ฯ หยุดเดินระบบก�ำจัดขยะไปก่อนเพือ่ ให้จงั หวัด พิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบต่อไป21 19 หนังสือส�ำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ สข 52107/6224 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 ถึง กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเดค จ�ำกัด เรื่อง ขอให้ หยุดระบบก�ำจัดขยะมูลฝอยเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษ. 20 สมิหลาไทมส์, ควนลังเฮ! เจรจาผ่าน “ขยะ” หาดใหญ่ไปทิ้งบ้านพรุ, 27 กุมภาพันธ์ 2560, ที่มา: http://www.samilatimes.co.th/?p=14020 21 Hatyai Focus, ชาวบ้านร้องทุกข์! เตาเผาขยะหาดใหญ่ท�ำละอองน�้ำมันเครื่องกระจายไปทั่ว..., 9 กรกฎาคม 2560, ที่มา: https://www.hatyaifocus. com/ข่าว/355-ข่าววิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม-ชาวบ้านร้องทุกข์%21-เตาเผาขยะหาดใหญ่-ท�ำละอองน�้ำมันเครื่องกระจายไปทั่ว.../

1 72

การจัดการของเสียจากชุมชน


4.3 โรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยของเทศบาลนครภูเก็ต

โรงไฟฟ้าของเทศบาลนครภูเก็ตเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าจากการเผาขยะมูลฝอยแห่งแรกของ ไทย เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นจากการด�ำเนินงานของโรงไฟฟ้า คณะ นักวิจัยจึงลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้องของเทศบาลนครภูเก็ต รวมทั้งศึกษาดูงานการ ด�ำเนินกิจการของโรงไฟฟ้าเมื่อช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2559 การน�ำเสนอในส่วนนี้เป็นการเรียบเรียง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และเอกสารน�ำเสนอของเทศบาลนครภูเก็ต อย่างไรก็ดี คณะนักวิจยั ได้ศกึ ษาดูงาน เพียงจากห้องควบคุมระบบการท�ำงานของโรงไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังไม่สามารถรวบรวมเอกสารในส่วนที่ เป็นสัญญาระหว่างเทศบาลนครภูเก็ตกับเอกชนผูร้ บั ผิดชอบการบริหารกิจการโรงไฟฟ้า และเอกสารรายงาน ผลการด�ำเนินงานประจ�ำเดือนของโรงไฟฟ้า จังหวัดภูเก็ตมีลักษณะเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีเกาะบริวาร 32 เกาะ เฉพาะเกาะภูเก็ตมีพื้นที่ 543.034 ตารางกิโลเมตร ส่วนเกาะบริวารมีพื้นที่ 27 ตารางกิโลเมตร รวมพื้นที่ ทัง้ สิน้ ประมาณ 570 ตารางกิโลเมตร22 นับจนถึงสิน้ ปี 2558 จังหวัดภูเก็ตมีประชากร 386,605 คน แรงงาน ต่างด้าว 88,485 คน และมีแรงงานที่ไม่ถกู ต้องตามกฎหมายด้วย นอกจากนีย้ งั มีนกั ท่องเทีย่ ว 13,203,284 คน23 ซึ่งหากเปิดสนามบินภูเก็ตเฟสที่ 2 จะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีก โดยคาดการณ์ว่า เมื่อเปิดสนามบิน ครบทุกเฟสจะมีนกั ท่องเทีย่ วเพิม่ ขึน้ เป็น 15 ล้านคน การจัดการขยะมูลฝอยจึงเป็นเรือ่ งส�ำคัญมากส�ำหรับ เมืองท่องเที่ยวเช่นภูเก็ต ในปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ตมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 745 ตัน/วัน มีอัตราการเพิ่มขึ้นของขยะ มูลฝอยร้อยละ 7.2 ต่อปี ในปี 2537 กรมโยธาธิการและผังเมืองก่อสร้างระบบก�ำจัดขยะแบบฝังกลบและ ระบบบ�ำบัดน�้ำเสียบนพื้นที่ 134 ไร่ บนที่ดินป่าชายเลนคลองเกาะผี ต�ำบลวิชิต และในปี 2538 ก่อสร้าง เตาเผาขยะชุดที่ 1 ขนาด 250 ตัน บนเนื้อที่ 46 ไร่ งบประมาณก่อสร้าง 788 ล้านบาท การก่อสร้าง แล้วเสร็จและส่งมอบโรงเตาเผาขยะให้กับเทศบาลเมืองภูเก็ตเมื่อปี พ.ศ. 2542 เป็นเตาเผาแบบตะกรับ เคลื่อนที่ มีขนาดการก�ำจัดขยะมูลฝอย 250 ตัน/วัน ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานล�ำดับที่ 88 (โรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้า) และโรงงานล�ำดับที่ 101 (โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม) และได้ใบอนุญาต ผลิตไฟฟ้า เลขที่ กกพ 01-1(1)/52-036 ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าที่มีก�ำลังผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ก�ำหนดอายุ 10 ปี ตั้งแต่ 25 มิถุนายน 2552-24 มิถุนายน 2562 ได้รับส่วนเพิ่มราคารับซื้อ ไฟฟ้า (Adder) 2.5 บาท/หน่วย เป็นเวลา 7 ปี ตั้งแต่ ปี 2552-2559 โดยรัฐให้การอุดหนุนค่าด�ำเนินการ โรงเตาเผาขยะร้อยละ 70 และท้องถิ่นสมทบร้อยละ 30 จนถึง พ.ศ. 2552 22 ข้อมูลจังหวัดภูเก็ต, เว็บไซต์จังหวัดภูเก็ต. http://www.phuket.go.th/webpk/file_data/infopk/01.pdf. 23 ข้อมูลประชากรจากกรมการปกครอง ข้อมูลแรงงานต่างด้าวจากส�ำนักงานแรงงานจังหวัดภูเก็ต และข้อมูลจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วจากกรมการท่องเทีย่ ว อ้างในเอกสารประกอบการน�ำเสนอ เรื่อง การบริหารจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต (นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ เทศบาลนคร ภูเก็ต, 2559: สัมภาษณ์)

บทที่ 4: ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

173


เนือ่ งจากระบบก�ำจัดมูลฝอยและโรงงานเผามูลฝอยมีไว้สำ� หรับรองรับขยะมูลฝอยของทัง้ จังหวัด ในปี 2543 จังหวัดภูเก็ตได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการโรงงานเตาเผามูลฝอย แทนที่จะปล่อยให้ เป็นหน้าที่ของเทศบาลนครภูเก็ตแต่เพียงล�ำพัง ในปี 2550 คณะกรรมการฯ มีมติให้เพิ่มค่าก�ำจัดขยะ จาก 200 บาท/ตัน เป็น 300 บาท/ตัน จนถึงปี 2552 เมื่อไม่ได้รับงบประมาณอุดหนุนการด�ำเนินงานเตา เผาขยะจากรัฐแล้ว คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้เพิม่ อัตราค่าก�ำจัดขยะจาก 300 บาท/ตัน เป็น 520 บาท/ตัน ในปี 2551 คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบให้เอกชนมาลงทุนก่อสร้างเตาเผาขยะชุดที่ 2 งบประมาณการก่อสร้าง 940 ล้านบาท หลังจากได้ศึกษาความเหมาะสมและได้รับความเห็นชอบจาก สภาเทศบาลนครภูเก็ต รวมทั้งได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และส�ำนักงานอัยการสูงสุดได้ ตรวจร่าง TOR แล้ว เทศบาลนครภูเก็ตจึงประกาศหาบริษัทเอกชนเข้ามาลงทุน ผลปรากฏว่า บริษัท พีเจที เทคโนโลยี จ�ำกัด ได้รับการคัดเลือกให้ลงทุนก่อสร้างและบริหารโรงงานเตาเผาขยะชุดที่ 2 ในปี 2552 เทศบาลนครภูเก็ตท�ำสัญญากับ บริษัท พีเจที เทคโนโลยี จ�ำกัด ให้บริษัทก่อสร้าง และบริหารโรงงานเตาเผาขยะชุดที่ 2 ในที่ดินขนาด 10 ไร่ มีระยะเวลาสัญญา 15 ปี และสามารถต่ออายุ สัญญาได้อีก 15 ปี เป็นสัญญาแบบ BOOT (Build, own, operate, and transfer) โดยต้องส่งคืนโรงงาน ในสภาพดีเมื่อสิ้นสุดสัญญา บริษัทฯ จัดท�ำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเมื่อปี 2553 (เนื่องจากจังหวัด ภูเก็ตถูกประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ ทุกโครงการจึงต้องจัดท�ำรายงาน EIA) และเริ่มก่อสร้างเตาเผา ขยะชุดที่ 2 ในปี 2554 ในปี 2555 บริษัทฯ ก่อสร้างเตาเผาชุดที่ 2 แล้วเสร็จ เริ่มเดินระบบเมื่อเดือนพฤษภาคม 2555 เทศบาลนครภูเก็ตจึงได้หยุดเดินระบบเตาเผาชุดที่ 1 ขนาด 250 ตัน/วัน เมื่อเดือนมิถุนายน 2555 และขอ งบประมาณส�ำหรับซ่อมแซมปรับปรุงเตาเผาชุดที่ 1 จนกระทั่งในปี 2559 เทศบาลนครภูเก็ตได้รับอนุมัติ งบประมาณโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพเตาเผาขยะมูลฝอย ขนาด 250 ตัน วงเงิน 530 ล้านบาท ปัจจุบนั อยู่ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบพัสดุฯ 4.3.1 การด�ำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของ บริษัท พีเจที เทคโนโลยี จ�ำกัด

บริษัท พีเจที เทคโนโลยี จ�ำกัด เป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้างและบริหารการด�ำเนินงานของ เตาเผาขยะมูลฝอยชุดที่ 2 ซึ่งเพิ่งเริ่มเดินระบบตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2555 เป็นต้นมา เทคโนโลยีที่ใช้ เป็นเตาเผาแบบตะกรับเคลือ่ นที่ ขนาด 350 ตัน 2 ชุด รองรับขยะได้ทงั้ หมด 700 ตัน/วัน และสามารถผลิต ไฟฟ้าสูงสุด 12 เมกะวัตต์ โดยน�ำมาใช้ภายในโรงงาน 2 เมกะวัตต์ และขายไฟฟ้าได้จ�ำนวน 10 เมกะวัตต์ คณะนักวิจัยได้เข้าศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าขยะของบริษัท พีเจที เทคโนโลยี จ�ำกัด โดยได้ดูงาน เฉพาะในส่วนห้องควบคุม (Control room) จากการศึกษาดูงานสามารถสรุปการท�ำงานของโรงไฟฟ้า ได้ดังนี้ รถขนขยะจะเข้ามาที่ตาชั่ง และเข้าไปเทขยะในอาคารปิด ขยะจะถูกเทลงในบ่อพักขนาดใหญ่ 1 74

การจัดการของเสียจากชุมชน


พักไว้ประมาณ 5 วัน แล้วจึงคีบขยะเข้าสู่เตาเผา ในบ่อดังกล่าวจะมีความร้อนจากแก๊สที่เกิดขึ้นจากขยะ ท�ำให้ขยะมีอุณหภูมิประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส ผู้ที่คีบขยะเข้าเตาจะเป็นผู้ประเมินว่าขยะส่วนไหน แห้ง หรือส่วนไหนทิ้งไว้หลายวันจนสามารถน�ำเข้าเตาได้แล้ว เป็นต้น ระบบเตาเผาใช้เทคโนโลยีตะกรับ ซึ่งออกแบบให้ตะกรับมีความยาวมากกว่าปกติ เพื่อท�ำให้ เผาไหม้ได้ดีขึ้น ตะกรับมีความยาว 10 เมตร แบ่งเป็น 3 โซน (1) ยาว 3 เมตร ส�ำหรับไล่ความชื้นในขยะ (2) ยาว 5 เมตร ส�ำหรับเผาไหม้ขยะ และ (3) ยาว 2 เมตร ส�ำหรับเผาขยะจนหมด ความร้อนที่ได้จะ น�ำมาที่ Boiler ซึ่งมีอยู่ 2 ตัว โดยควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 800-1,000 องศาเซลเซียส ไอน�้ำที่ได้ จาก Boiler จะไปดัน Steam turbine generator เพื่อปั่นไฟ ท�ำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 88,000 หน่วยต่อชั่วโมง ระบบเตาเผาของบริษัทฯ ใช้น�้ำมันดีเซลในตอนเริ่มเดินระบบ มีการหยุดเดินระบบ (Shutdown) เพื่อซ่อมบ�ำรุง ประกอบด้วย Shutdown ใหญ่ เป็นระยะเวลา 14 วัน ทุก 6 เดือน และ Shutdown ย่อยเป็นระยะเวลา 7 วัน ปีละ 4 ครั้ง ส�ำหรับขีเ้ ถ้าทีเ่ กิดจากการเผา ได้แก่ เถ้าหนักคิดเป็นร้อยละ 18 ของน�ำ้ หนักขยะทีเ่ ผา และเถ้าเบา ร้อยละ 2 ของขยะที่เผา เทศบาลได้เตรียมพื้นที่ในบริเวณพื้นที่ฝังกลบขยะส�ำหรับฝังกลบขี้เถ้าเบาไว้แล้ว โดยจะใช้ระบบฝังกลบแบบปลอดภัย (secure landfill) ส่วนขี้เถ้าหนักสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ในการท�ำ คันดินภายในศูนย์ก�ำจัดขยะได้ 4.3.2 การก�ำกับดูแลโครงการ

บริษัทฯ จัดท�ำรายงานติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย รายงานประจ�ำ เดือนเพื่อส่งให้เทศบาลนครภูเก็ต และรายงานทุก 6 เดือนตามข้อก�ำหนดในรายงาน EIA ให้แก่หน่วยงาน ผู้ก�ำกับดูแล ได้แก่ ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังมี หน่วยงานอื่นๆ ที่เข้ามาติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น กรมควบคุมมลพิษ ส�ำนักงาน อุตสาหกรรมจังหวัด ส�ำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค และกรมอนามัย การติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมในรายงาน 6 เดือน ประกอบด้วย  คุณภาพอากาศที่ระบายออกจากปล่อง  คุณภาพอากาศในบรรยากาศ  เสียง  คุณภาพน�้ำที่ระบายออกจากโครงการ  การส�ำรวจความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง บทที่ 4: ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

175


 สถิติการร้องเรียนของประชาชน  การรวบรวมข้อมูลสุขภาพของประชาชนบริเวณพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ พารามิเตอร์ ในรายงานประจ�ำเดือนที่ส่งเทศบาล ประกอบด้วย  คุณภาพอากาศปลายปล่อง  คุณภาพน�้ำ และ  การส�ำรวจความคิดเห็น 4.3.3 การเก็บค่าธรรมเนียมก�ำจัดขยะ

อปท. ในจังหวัดภูเก็ตที่ส่งขยะมาก�ำจัดที่ศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียม การก�ำจัดขยะให้เทศบาลนครภูเก็ตในอัตรา 520 บาท/ตัน และเทศบาลนครภูเก็ตจะจ่ายค่าก�ำจัดขยะ ให้แก่บริษัทในอัตรา 300 บาท/ตัน ส่วนที่เหลือเทศบาลจะใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่บ่อฝังกลบ ค่า บริหารจัดการ ค่าสาธารณูปโภค ค่าก�ำจัดขยะทีบ่ ริษทั ฯ ได้จงึ น้อยกว่ารายได้จากการขายไฟฟ้าเป็นอันมาก โดยเฉลี่ยแล้ว ค่าก�ำจัดขยะที่เทศบาลนครภูเก็ตจ่ายให้แก่บริษัทฯ จะอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านบาท/เดือน ในขณะที่บริษัทฯ มีรายได้จากการขายไฟฟ้าประมาณ 30-40 ล้านบาท/เดือน นอกจากนี้ บริษัทจะต้อง เสียค่าปรับหากเผาขยะได้น้อยกว่าร้อยละ 80 ของปริมาณขยะ หรือหยุดเดินระบบเป็นระยะเวลามากกว่า ที่ก�ำหนด เทศบาลนครภูเก็ตเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะจากประชาชนในอัตราครัวเรือนละ 30 บาท/เดือน การจัดเก็บกระท�ำได้เพียงประมาณร้อยละ 50 เนื่องจากบางครัวเรือนไม่จ่ายหรือไม่อยู่เมื่อเจ้าหน้าที่ของ เทศบาลฯ ไปเรียกเก็บ ส�ำหรับโรงแรมและสถานประกอบการจะคิดค่าธรรมเนียมตามปริมาณขยะ โดยรวมแล้ว เทศบาลฯ เก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะจากประชาชนและสถานประกอบการในเขตเทศบาล ได้ประมาณปีละ 10 กว่าล้านบาท ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับต้นทุนการจัดการขยะ เจ้าหน้าที่ผู้ รับผิดชอบของเทศบาลฯ ให้ข้อมูลว่าต้นทุนการก�ำจัดขยะปัจจุบันน่าจะอยู่ที่ประมาณ 570 บาท/ตัน (ไม่รวมค่าเก็บขน) ในอดีตเมื่อเทศบาลฯ รับผิดชอบการบริหารงานเตาเผาชุดที่ 1 ต้นทุนการก�ำจัดขยะ อยู่ที่ประมาณ 730 บาท/ตัน แต่หากรวมค่าเก็บขนด้วยแล้ว จะมีต้นทุนประมาณ 3,000 บาท/ตัน

1 76

การจัดการของเสียจากชุมชน


4.3.4 ปัญหาในการด�ำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเทศบาลนครภูเก็ต

ในการพิจารณาปัญหาที่เกิดจากการด�ำเนินงาน จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) การเดินระบบเตาเผาชุดที่ 1 ซึ่งเทศบาลนครภูเก็ตเป็นผู้รับผิดชอบบริหารตั้งแต่ปี 2542 จนกระทั่งหยุดเดินระบบในปี 2555 เป็นเตาเผาที่ ใช้เทคโนโลยีจากบริษัทญี่ปุ่น (บริษัทมิตซู) แต่ผู้ เดินระบบเป็นวิศวกรจากบริษัทฝรั่งเศส (บริษัท พีซีมอนทารี) ระหว่างเดินระบบมีปัญหาเครื่องจักรเสีย ช�ำรุดกระท่อนกระแท่นมาตลอด เช่น เผาได้อาทิตย์หนึ่ง ซ่อมอาทิตย์หนึ่ง แต่เทศบาลก็ไม่สามารถหยุด เดินระบบได้ ส�ำหรับสาเหตุที่เครื่องจักรช�ำรุดนั้น เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของเทศบาลมองว่าไม่ได้เกิด จากความชื้นของขยะ แต่เป็นเพราะเทศบาลฯ ไม่สามารถหยุดเดินระบบเพื่อซ่อมแซมเปลี่ยนเครื่องจักร ได้ นอกจากนี้ อุปกรณ์ที่ช�ำรุดก็มีราคาแพง การของบประมาณเพื่อซ่อมแซมต้องใช้เวลานาน เช่น ตั้ง งบประมาณเพื่อเปลี่ยนซ่อมเทอร์ ไบน์ที่เสียไว้ 10 ล้านบาท แต่เทอร์ ไบน์ราคามากกว่า 10 ล้านบาท ก็ต้องตั้งของบประมาณเพิ่มใหม่ เป็นต้น (2) การเดินระบบเตาเผาชุดที่ 2 ซึง่ บริษทั พีเจที เทคโนโลยี จ�ำกัด เป็นผูร้ บั ผิดชอบ เริม่ เดินระบบ ในช่วงกลางปี 2555 เครื่องจักรที่ใช้มาจากประเทศจีน บริษัทฯ มีปัญหาอุปสรรคมากในช่วงสองปีแรก ของการทดสอบระบบ โดยเฉพาะหากผู้ด�ำเนินการไม่มีความช�ำนาญ เช่น ปัญหาเสียงดังจากการปล่อย ไอน�้ำ ปัญหาในช่วงเริ่มเดินระบบหากความร้อนยังไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ก�ำหนด ก็จะมีปัญหาเรื่องกลิ่นจาก ขยะและท�ำให้ชาวบ้านร้องเรียน บางครัง้ คนทีถ่ า่ ยทอดเทคโนโลยีไม่ได้บอกปัญหาหมด ต้องลองผิดลองถูก เมื่อเกิดปัญหาก็ต้องเรียกช่างมาซ่อม ซึ่งก็จะต้องใช้ช่างจากประเทศจีน ปัจจุบันบริษัทจึงแก้ปัญหาด้วย การจ้างช่างจากจีนมาเป็นที่ปรึกษาเพื่อสอนคนไทยแทน นอกจากนี้ เครื่องจักรมีอายุสั้น ช่วงที่ผ่านมา ก็เพิ่งมีการเปลี่ยนเทอร์ ไบน์ ไป 1 ตัว เป็นต้น 4.3.5 ปัจจัยความส�ำเร็จของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในมุมมองของเทศบาลนครภูเก็ต

โรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลนครภูเก็ตรองรับการก�ำจัดขยะของจังหวัดภูเก็ตมากว่า 17 ปี ในมุมมองของเทศบาลนครภูเก็ต ปัจจัยความส�ำเร็จต่อการด�ำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ได้แก่ (1) รัฐมีนโยบายและมาตรการส่งเสริมให้ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตพลังงานทดแทน (2) ความร่วมมือของราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น ในจังหวัดภูเก็ต โดยมิได้ มองว่าขยะเป็นทรัพย์สินเพื่อแสวงหาประโยชน์ จึงท�ำให้การแก้ไขปัญหาค่อนข้างนิ่ง ไม่มีปัจจัยทาง การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง (3) การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับขยะชุมชน และ (4) การบริหารจัดการที่ดีและโปร่งใส บทที่ 4: ข้อมูลจากกรณีศึกษาในระดับพื้นที่

177


1 78

การจัดการของเสียจากชุมชน


บทที่ 5

ประสบการณ์การจัดการของเสีย ในต่างประเทศ การแปรรูปขยะเป็นพลังงาน (Waste to Energy: WtE) เป็นทางเลือกหนึง่ ในการจัดการของเสีย ในหลายๆ ประเทศที่ก�ำลังประสบกับปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศที่มี ประชากรหนาแน่นและขาดแคลนพื้นที่ฝังกลบขยะดังเช่น ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป และประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม เมือ่ ศึกษานโยบายและกฎหมายของประเทศเหล่านี้ จะพบว่า มีการส่งเสริมเรือ่ งการลดขยะ การคัดแยกขยะ และการรีไซเคิลขยะมาเป็นระยะเวลายาวนานเช่นกัน ที่ส�ำคัญก็คือ ขยะที่เข้าสู่การก�ำจัด ในขั้นสุดท้ายไม่ว่าโดยวิธีการฝังกลบหรือโดยการเผา ส่วนใหญ่เป็นขยะที่ผ่านการคัดแยกและการจัดการ มาแล้วในระดับหนึ่งโดยอาศัยการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยยะส�ำคัญ จากลักษณะขยะมูลฝอยของไทยที่เกือบทั้งหมดไม่มีการคัดแยกจากต้นทางและกลางทาง มีองค์ประกอบ ของขยะอินทรียแ์ ละความชืน้ สูง ซึง่ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเผาขยะเพือ่ ก�ำจัดและแปรรูปเป็นพลังงาน ในที่นี้จะทบทวนกฎหมายของกลุ่มสหภาพยุโรปและประเทศญี่ปุ่น 5.1 นโยบายและกฎหมายการจัดการเสียของสหภาพยุโรป

หลักการระวังไว้ก่อน (Precaution) การป้องกัน (Prevention) และผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter pays principle) ถือเป็นเสาหลักของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของสหภาพยุโรป นับตั้งแต่การ จัดท�ำแผนปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม (Environment Action Programme: EAP) ฉบับแรกเมื่อ ค.ศ. 1973 จนมาถึงแผนปฏิบัติการฉบับที่ 7 ซึ่งจะมีผลใช้บังคับจนถึง ค.ศ. 2020 ตลอดกว่า 4 ทศวรรษที่ผ่าน มา สหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบมากมายให้รัฐสมาชิกถือปฏิบัติทั้งในรูปของ EU Regulations ซึ่งมีผล ใช้บงั คับได้โดยตรงในประเทศสมาชิก และ EU Directives ซึง่ มีผลให้ประเทศสมาชิกต้องตรากฎหมายหรือ ระเบียบทางบริหารเพื่อปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่ก�ำหนดไว้ในแต่ละ Directive

บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

179


ส� ำ หรั บ ด้ า นการจั ด การของเสี ย นั้ น มี การออกกฎหมายแม่ บ ทที่ ก� ำ หนดกรอบนโยบาย และแนวทางการจัดการของเสีย (Waste Framework Directive) มาตั้งแต่ ค.ศ. 1975 มีการแก้ไข เพิ่มเติมหลายครั้งจนปัจจุบันถูกแทนที่ โดย Waste Framework Directive ค.ศ. 2008 นอกจากนี้ ยังมีการออกกฎหมายอีกหลายฉบับที่ก�ำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องการจัดการของเสีย การรีไซเคิลของเสีย การฝังกลบของเสีย และการเผาของเสีย เป็นต้น ในที่นี้จะกล่าวถึงกฎหมายเหล่านี้พอสังเขป 5.1.1 Waste Framework Directive (WFD) 2008/98/EC1

เริ่มมีผลใช้บังคับในเดือนธันวาคม 2008 (แทนที่ Waste Framework Directive ฉบับปี ค.ศ. 1975 แก้ไขเพิ่มเติม ค.ศ. 1991 และ 2006) รัฐสมาชิกจะต้องออกฎหมายเพื่อปฏิบัติตาม Directive นี้ ภายในเดือนธันวาคม 2010 กฎหมายนี้ก�ำหนดหลักการพื้นฐานส�ำคัญคือ (1) หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter pays principle) และ (2) การจัดล�ำดับความส�ำคัญของวิธีการจัดการของเสียหรือขยะ (Waste hierarchy) หลักการจัดล�ำดับความส�ำคัญของวิธีการจัดการของเสียหรือขยะ (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกสั้นๆ ว่า Waste hierarchy) ให้ความส�ำคัญแก่การป้องกันการก่อก�ำเนิดของเสีย (Prevention) เป็นล�ำดับแรก ตามมาด้วยการส่งเสริมการใช้ซ�้ำ (Reuse) การรีไซเคิล (Recycle) การแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่น (Recovery) และการก�ำจัด (Disposal) ตามล�ำดับ ตามแผนภาพที่ 5.1 แผนภาพที่ 5.1 หลักการจัดล�ำดับความส�ำคัญของวิธีการจัดการของเสียหรือขยะ Prevention การป้องกัน Reuse การใช้ซ�้ำ Recycle การรีไซเคิล Recovery การแปรรูป น�ำกลับมาใช้ประโยชน์ Disposal การก�ำจัด 1 Directive 2008/98/EC of the European Parliament and of the Council of 19 November 2008 on waste and repealing certain Directives, Official Journal of the European Union L 312/3, 22.11.2008; ที่มา: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/ PDF/?uri=CELEX:32008L0098&from=EN. 1 80

การจัดการของเสียจากชุมชน


มาตรการการจัดการตามหลัก Waste hierarchy ประกอบด้วย Prevention: การใช้วัสดุน้อยลงในการออกแบบและการผลิต ท�ำให้ผลิตภัณฑ์มีอายุการใช้งาน นานขึ้น และใช้สารอันตรายน้อยลง Reuse: การตรวจสอบท�ำความสะอาดวัสดุที่ใช้แล้ว การซ่อมแซมและปรับปรุงเพื่อน�ำกลับ มาใช้ใหม่ ไมว่าทั้งหมดหรือบางส่วน Recycling: การเปลี่ยนขยะหรือของเสียให้เป็นวัสดุหรือผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ซึ่งรวมถึงการ หมักท�ำปุ๋ย (composting) Recovery: การแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น การย่อยสลายของเสียโดยไม่ ใช้ออกซิเจน (anaerobic digestion) การเผาเพื่อแปรรูปเป็นพลังงาน การใช้วิธี gasification and pyrolysis เพื่อผลิต พลังงาน (ในรูปเชื้อเพลิง พลังงานความร้อน และไฟฟ้า) และการผลิตวัสดุจากของเสีย เป็นต้น Disposal: การฝังกลบ และการเผาโดยไม่มีการแปรรูปเป็นพลังงาน เป้าหมายและมาตรการเพื่อส่งเสริม Reuse, Recycle และ Recovery  มีการรีไซเคิลขยะจากครัวเรือน หรือจัดการเพื่อการใช้ซ�้ำในอัตราร้อยละ 50 ภายในปี 2020  มีการใช้ซ�้ำ รีไซเคิล หรือแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ (recover) ของเสียที่ไม่เป็นอันตรายจาก การก่อสร้างและรื้อถอนอาคารในอัตราร้อยละ 70 ภายในปี 2020  จัดให้มีระบบการจัดเก็บขยะแบบแยกประเภท ส�ำหรับขยะที่เป็นกระดาษ โลหะ พลาสติก และแก้ว ภายในปี 2015  รัฐสมาชิกต้องจัดท�ำแผนจัดการของเสีย (Waste management plans) และแผนป้องกัน การก่อก�ำเนิดของเสีย (Waste prevention programme) ภายในปี 2013 โดยทัว่ ไป การจัดการขยะหรือของเสียโดยวิธกี ารเผาจะถูกจัดเป็น “กิจการก�ำจัดขยะ” (Disposal) และไม่ถือว่าเป็นกิจการแปรรูปขยะเป็นพลังงาน (Energy recovery) เว้นแต่จะแสดงได้ว่ากิจการดังกล่าว เป็นไปตามเงื่อนไขด้านประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน (Energy efficiency) โดยค�ำนวณตามสัดส่วน ของพลังงานที่ผลิตได้ต่อพลังงานที่ใช้ในกระบวนการผลิต (R1 formula) ซึ่งปัจจุบันตัวเลขอยู่ที่ 0.60 ส�ำหรับโรงงานเก่า และ 0.65 ส�ำหรับโรงงานใหม่ ฉะนั้น โรงงานก�ำจัดของเสียที่จะจัดเป็นกิจการแปรรูป ของเสียเป็นพลังงานนับแต่ WFD มีผลใช้บังคับจะต้องแสดงค่าประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน (R1 value) มากกว่า 0.65 ขึ้นไป ข้อก�ำหนดดังกล่าวนี้ท�ำให้โรงงานแปรรูปขยะเป็นพลังงานต้องด�ำเนินการตาม เงื่อนไขด้านประสิทธิภาพ

บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

181


5.1.2 Directive 1999/31/EC on the landfill of waste (the Landfill Directive)2

มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เกิดจากการปนเปื้อนของ มลพิษในน�้ำผิวดิน น�้ำใต้ดิน ดิน และอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สาระส�ำคัญโดยสังเขปคือ (1) แบ่งสถานที่ฝังกลบขยะออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) สถานที่ฝังกลบของเสียอันตราย 2) สถานที่ฝังกลบของเสียไม่อันตราย ซึ่งรวมถึงขยะชุมชน 3) สถานที่ฝังกลบของเสียที่เป็น inert waste (เช่น แก้ว กระป๋อง หิน ดิน ทราย ฯลฯ) (2) ห้ามฝังกลบของเสียบางประเภท ได้แก่ ของเสียที่เป็นของเหลว (liquid waste) ของเสีย ที่มีคุณสมบัติระเบิดได้ กัดกร่อน ออกซิไดซ์ และติดไฟได้ มูลฝอยติดเชื้อ ยางหรือชิ้นส่วนยางรถยนต์ ใช้แล้ว (ไม่รวมยางรถที่ใช้เป็นวัสดุทางวิศวกรรม ยางรถจักรยาน และยางที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอก มากกว่า 1400 มิลลิเมตร และของเสียอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ก�ำหนดในภาคผนวก 2 (3) ต้องลดการฝังกลบขยะชุมชนประเภทที่ย่อยสลายได้ (biodegradable municipal waste) ลงเหลือร้อยละ 75 ของปริมาณขยะดังกล่าว ณ ปี ค.ศ. 1995 (ค�ำนวณตามน�้ำหนัก) ให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2006 ร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ. 2009 และร้อยละ 35 ภายในปี ค.ศ. 2016 ตามล�ำดับ (4) ผู้ประกอบการต้องได้รับใบอนุญาต (permit) จากหน่วยงานผู้รับผิดชอบ และต้องวาง เงินประกัน (financial security) หรือหลักประกันอย่างอื่นตามแบบที่รัฐสมาชิกก�ำหนด เพื่อให้ม่ันใจว่า ผู้ประกอบการจะปฏิบัติตามเงื่อนไขตามกฎหมาย ซึ่งรวมถึงมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมหลังจากปิดการ ใช้สถานทีฝ่ งั กลบแล้ว อย่างไรก็ตาม รัฐสมาชิกอาจยกเว้นเงือ่ นไขนีส้ ำ� หรับสถานทีฝ่ งั กลบทีร่ บั ขยะประเภท inert waste ก็ได้ (5) ก�ำหนดเงื่อนไขในการรับของเสียเพื่อฝังกลบส�ำหรับแหล่งฝังกลบประเภทต่างๆ มาตรการ ตรวจสอบและควบคุมการด�ำเนินกิจการฝังกลบของเสีย การติดตามและตรวจสอบด้านผลกระทบสิง่ แวดล้อม ตลอดจนการจัดเก็บและรายงานข้อมูลต่อหน่วยงานผู้ก�ำกับดูแล (6) ขยะและของเสียทีน่ ำ� มาฝังกลบต้องได้รบั การบ�ำบัดในเบือ้ งต้นก่อน (pre-treatment) ยกเว้น ขยะที่เป็น inert waste รัฐสมาชิกต้องน�ำข้อก�ำหนดของ Landfill Directive ไปออกเป็นกฎหมายหรือกฎระเบียบเพื่อใช้ บังคับภายในประเทศของตนภายในวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 2 Council Directive 1999/31/EC of 26 April 1999 on the landfill of waste, Official Journal of the European Communities, L 182/1, 16.7.1999: ที่มา: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX: 31999L0031&from=EN.

1 82

การจัดการของเสียจากชุมชน


5.1.3 Waste Incineration Directive (WID) 2000/76/EC3

กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับกับโรงงานที่เผาของเสียทุกประเภท ทั้งของเสียที่เป็นอันตรายและ ของเสียที่ ไม่เป็นอันตราย ก�ำหนดมาตรการและเงื่อนไขทางเทคนิคที่ โรงงานเผาก�ำจัดของเสียต้อง ปฏิบตั ิ ตลอดจนค่ามาตรฐานของอากาศเสียทีป่ ล่อยออกมาจากโรงงาน ทัง้ ทีเ่ ป็นโรงงานเผาก�ำจัดของเสีย โดยเฉพาะ และโรงงานที่ใช้ของเสียเป็นเชื้อเพลิงร่วมกับเชื้อเพลิงอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในการผลิตพลังงาน หรือผลิตภัณฑ์อย่างอื่น โดยให้ใช้บังคับกับโรงงานเผาก�ำจัดของเสียที่มีอยู่ก่อนการออกกฎหมายนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2005 เป็นต้นไป และให้ใช้บังคับกับโรงงานที่ตั้งใหม่ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2002 เป็นต้นไป สรุปสาระส�ำคัญโดยสังเขปได้ดังต่อไปนี้ (1) โรงงานเผาของเสียที่ WID ใช้บังคับ WID ใช้บงั คับกับโรงงานเผาก�ำจัดของเสีย ทัง้ ทีเ่ ป็นโรงงานเผาเพือ่ ก�ำจัดของเสียเป็นการเฉพาะ (incineration plant) และโรงงานที่เผาก�ำจัดของเสียร่วมในกระบวนการผลิต (co-incineration plant) ทั้งที่เป็นการผลิตพลังงานหรือผลิตผลิตภัณฑ์อย่างอื่น โดยให้ความหมายของโรงงานแต่ละประเภทไว้ ดังต่อไปนี้ โรงงานเผาก�ำจัดของเสียเป็นการเฉพาะ หรือ incineration plant หมายถึงโรงงานที่ใช้ เพื่อก�ำจัดของเสียโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีการน�ำพลังความร้อนจากการเผาไหม้กลับมาใช้ประโยชน์ หรือไม่ก็ตาม อันรวมถึงการเผาของเสียโดยกระบวนการออกซิเดชั่น (oxidation) หรือกระบวนการบ�ำบัด ของเสียด้วยความร้อน เช่น ไพโรไลซิส (pyrolysis) แก๊สซิฟิเคชั่น (gasification) หรือ พลาสมา (plasma) หากสารที่เกิดขึ้นจากการบ�ำบัดจะถูกเผาก�ำจัดในภายหลัง โรงงานเผาก�ำจัดของเสียร่วม หรือ co-incineration plant หมายถึงโรงงานเผาของเสีย ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการผลิตพลังงาน หรือการผลิตผลิตภัณฑ์ โดยใช้ของเสียเป็นเชื้อเพลิงหรือเป็น เชื้อเพลิงเสริม ซึ่งท�ำให้ของเสียถูกก�ำจัดในกระบวนการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม Directive นี้ ไม่ใช้บงั คับกับโรงงานทีร่ บั เผาก�ำจัดของเสียดังต่อไปนีเ้ ป็นการเฉพาะ 1) ซากพืชผักจากการเกษตรและการท�ำป่าไม้ 2) ซากพืชผักจากอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร หากมีการน�ำพลังงานความร้อนกลับมาใช้ ประโยชน์ 3) ของเสียจากเส้นใยพืชที่เกิดจากการผลิตเยื่อกระดาษ (virgin pulp production) และจากการ 3 Directive 2000/76/EC of the European Parliament and of the Council of 4 December 2000 on the incineration of waste, Official Journal of the European Communities, L 332/91, 28.12.2000; ทีม่ า: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32000L0076&from=EN.

บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

183


ผลิตกระดาษจากเยื่อกระดาษ หากมีการเผาของเสียร่วม ณ สถานที่ผลิต และมีการน�ำพลังงานความร้อน กลับมาใช้ประโยชน์ 4) ของเสียทีเ่ ป็นไม้ ยกเว้นของเสียจากไม้ทอี่ าจมีสารประกอบอินทรียท์ มี่ ฮี าโลเจน (halogenated organic compounds) หรือโลหะหนัก อันเป็นผลจากการใช้สารถนอมเนื้อไม้หรือสารเคลือบเนื้อไม้ ซึ่ง รวมถึงของเสียที่เป็นไม้จากการก่อสร้างและรื้อถอนอาคาร 5) ของเสียที่เป็นไม้ก๊อก (cork waste) 6) กากกัมมันตรังสี (radioactive waste) 7) ซากสัตว์ (animal carcasses) 8) ของเสียทีเ่ กิดจากการส�ำรวจหรือแสวงประโยชน์จากทรัพยากรน�ำ้ มันและก๊าซ จากแท่นขุดเจาะ น�้ำมันหรือก๊าซนอกชายฝั่ง ซึ่งมีการเผาก�ำจัดบนแท่นขุดเจาะ (2) การส่งมอบและการรับมอบของเสีย 1) ในการส่งมอบและรับมอบของเสีย ผู้ประกอบกิจการโรงงานเผาก�ำจัดของเสียต้องด�ำเนิน มาตรการป้องกันทัง้ ปวงเพือ่ ป้องกันหรือจ�ำกัดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม โดยเฉพาะการก่อมลพิษต่ออากาศ ดิน น�้ำผิวดิน และน�้ำใต้ดิน รวมทั้งกลิ่นและเสียง ตลอดจนความเสี่ยงโดยตรงต่อสุขภาพ 2) ก่อนการรับมอบของเสีย ผู้ประกอบการต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับของเสียนั้น เพื่อตรวจสอบว่า เป็นไปตามชนิดและปริมาณที่ก�ำหนดไว้ในใบอนุญาตรับก�ำจัดของเสีย เช่น องค์ประกอบทางกายภาพ และทางเคมีและข้อมูลอืน่ ๆ เกีย่ วกับของเสีย เพือ่ ประเมินความเหมาะสมของวิธกี ำ� จัดโดยการเผา เป็นต้น 3) หากเป็นการรับมอบของเสียอันตราย นอกจากต้องปฏิบตั ติ ามข้อ (2) แล้ว จะต้องด�ำเนินการ ตรวจสอบว่าของเสียนั้นมีคุณสมบัติความเป็นอันตรายอย่างไร ไม่สามารถที่จะผสมกับสารใดบ้าง และ จะต้องมีมาตรการป้องกันอย่างไรในการจัดการกับของเสียนั้น รวมทั้งต้องมีการเก็บตัวอย่างของเสียไว้ ก่อนท�ำการก�ำจัดเพื่อเป็นหลักฐาน และส�ำหรับให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบตรวจสอบคุณสมบัติของของเสีย ที่ได้รับการบ�ำบัดแล้ว 4) หน่วยงานผู้รับผิดชอบอาจยกเว้นไม่ใช้ข้อก�ำหนดต่างๆ ข้างต้นกับโรงงานหรือสถานประกอบการที่เผาเฉพาะของเสียที่เกิดจากการประกอบกิจการของตน ณ สถานที่ก่อก�ำเนิดของเสียนั้น (3) ข้อก�ำหนดเกี่ยวกับกระบวนการเผาก�ำจัดของเสีย (Operating conditions) 1) การเผาก�ำจัดของเสียต้องด�ำเนิน

1 84

การจัดการของเสียจากชุมชน


การให้ ป ริ ม าณอิ น ทรี ย ์ ค าร์ บ อนรวม (Total Organic Carbon: TOC) ในตะกรั น (slag) และเถ้ า หนั ก (bottom ashes) มี น ้ อ ยกว่ า ร้ อ ยละ 3 หรื อ มี ก ารสู ญ เสี ย เมื่ อ เผาไหม้ น้อยกว่าร้อยละ 5 ของน�้ำหนักวัสดุนั้นในสภาพแห้ง ในกรณีที่จ�ำเป็น จะต้องใช้เทคนิคที่เหมาะสมใน การบ�ำบัดของเสียนั้นก่อนการเผา (pretreatment) 2) ต้องควบคุมให้ก๊าซที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาอยู่ ในอุณหภูมิที่สูงอย่างน้อยที่ระดับ 850 oC เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 วินาทีหลังจากการฉีดอากาศเข้าไปในเตาเผาครั้งหลังสุด และหากเป็น การเผาของเสียอันตรายที่มีสารอินทรีย์ที่มีฮาโลเจน (halogenated organic substances) อยู่มากกว่า ร้อยละ 1 จะต้องเพิ่มอุณหภูมิขึ้นไปเป็น 1,100 oC เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 วินาทีหลังจากการฉีด อากาศเข้าไปในเตาเผาครั้งหลังสุด 3) ต้องติดตั้งหัวเผาเสริม (auxiliary burner) อย่างน้อย 1 ตัวส�ำหรับแต่ละเตาเผา โดย หัวเผาจะถูกเปิดใช้งานโดยอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิของก๊าซเผาไหม้ (combustion gases) ลดลงต�่ำกว่า ระดับ 850 oC หรือ 1,100 oC แล้วแต่กรณี หัวเผานี้จะต้องถูกใช้งานด้วยในช่วงที่เริ่มเดินระบบ (start-up) หรือในช่วงหยุดเดินระบบ (shut-down) เพื่อให้มั่นใจว่าจะคงรักษาอุณหภูมิไว้ตลอดเวลาที่ระดับ 850 oC หรือ 1,100 oC แล้วแต่กรณี และตราบเท่าที่ยังมีของเสียที่ยังไม่ได้เผาไหม้อยู่ในห้องเผา 4) ในช่วงที่เริ่มเดินระบบ และในช่วงหยุดเดินระบบ หรือเมื่ออุณหภูมิของก๊าซเผาไหม้ตกลง ต�่ำกว่าระดับ 850 oC หรือ 1,100 oC แล้วแต่กรณี ห้ามไม่ให้ป้อนเชื้อเพลิงให้แก่หัวเผาเสริมหากการ กระท�ำดังกล่าวจะก่อให้เกิดการปล่อยอากาศเสียมากกว่าอากาศเสียจากการเผาน�้ำมันดีเซลหมุนเร็ว หรือน�้ำมันโซล่า (gasoil) 5) ในกรณีที่เป็นโรงงานเผาของเสียร่วมในกระบวนการผลิต (Co-incineration plants) ต้อง ควบคุมให้ก๊าซที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาอยู่ในอุณหภูมิที่ระดับ 850 oC เป็นระยะเวลา 2 วินาที หากมี การเผาของเสียอันตรายที่มีสารอินทรีย์ที่มีฮาโลเจนในรูปคลอรีน (expressed as chlorine) อยู่มากกว่า ร้อยละ 1 จะต้องเพิ่มอุณหภูมิขึ้นไปอยู่ในระดับ 1,100 oC 6) โรงงานเผาของเสียต้องติดตั้งระบบการท�ำงานอัตโนมัติเพื่อป้องกันการป้อนของเสียเข้าสู่ ระบบในกรณีดังต่อไปนี้ ในช่วงเริ่มเดินระบบ จนกว่าอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับ 850 oC หรือ 1,100 oC แล้วแต่กรณี ณ เวลาใดก็ตามเมื่อไม่สามารถรักษาอุณหภูมิไว้ที่ระดับ 850 oC หรือ 1,100 oC แล้วแต่ กรณี ณ เวลาใดก็ตาม ที่ระบบตรวจวัดการปล่อยทิ้งอากาศเสียแสดงให้เห็นว่าอากาศเสียที่ บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

185


ปล่อยออกมามีค่าสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กฎหมายก�ำหนด เนื่องจากระบบถูกรบกวนหรืออุปกรณ์ท�ำ ความสะอาดอากาศเสีย (purification devices) ไม่ท�ำงาน 7) ต้องมีมาตรการป้องกันการปล่อยอากาศเสียเข้าสู่บรรยากาศจนก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีการควบคุมการปล่อยไอเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพอากาศที่ก�ำหนด โดยปล่องปล่อยอากาศเสียต้องมีความสูงมากพอที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 8) จะต้องมีการน�ำพลังงานความร้อนที่เกิดจากกระบวนการเผาไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด 9) กรณีของเสียที่เป็นมูลฝอยติดเชื้อ จะต้องถูกส่งโดยตรงเข้าเตาเผาโดยไม่ปะปนกับของเสีย ประเภทอื่นๆ และต้องไม่มีการสัมผัสโดยตรงกับมูลฝอยติดเชื้อนั้น 10) การจัดการเตาเผาของเสียต้องอยู่ในความรับผิดชอบของบุคคลที่มีความสามารถในการ จัดการโรงงานนั้น (3) การก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิง้ อากาศเสียจากเตาเผา (Air emission limit values) มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจาก co-incineration plants และจาก incineration ครอบคลุมสารมลพิษชนิดเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ แต่โดยรวมแล้ว มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิง้ อากาศเสีย จาก incineration plants จะมีความเข้มงวดมากกว่า 1) อากาศเสียที่ปล่อยออกจากโรงงานที่เป็น incineration plants ต้องมีค่าไม่เกินมาตรฐาน ควบคุมตามที่ก�ำหนดใน Annex V 2) อากาศเสียที่ปล่อยออกจากโรงงานที่เป็น co-incineration plants ต้องมีค่าไม่เกินมาตรฐาน ควบคุมตามที่ก�ำหนดใน Annex II (มีข้อก�ำหนดพิเศษใน Annex II.1 ที่ใช้บังคับกับเตาเผาปูนซิเมนต์ที่ เผาของเสียเป็นเชื้อเพลิงร่วม และใน Annex II.2 ส�ำหรับเตาเผาที่เป็น combustion plants เช่น โรงไฟฟ้า พลังงานความร้อน โรงงานเผาเพื่อเอาพลังงานความร้อน เป็นต้น) อย่างไรก็ดี หากปรากฏว่ามากกว่า ร้อยละ 40 ของพลังงานความร้อนที่ได้มาจากการเผาของเสียอันตราย ให้น�ำมาตรฐานควบคุมตาม Annex V มาใช้บังคับ 3) หาก co-incineration plant มีการน�ำขยะชุมชนที่ไม่ได้คัดแยกหรือบ�ำบัดก่อนมาเผาร่วม ให้น�ำมาตรฐานควบคุมตาม Annex V มาใช้บังคับ 4) การตรวจวัดอากาศเสียให้ด�ำเนินการตามวิธีการที่ก�ำหนดไว้ใน Article 11 ของ Directive นี้ (ดูหัวข้อ 7) ข้างล่างเกี่ยวกับวิธีการตรวจวัด) 5) รัฐสมาชิกอาจก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียเพิ่มเติมได้ส�ำหรับการ ควบคุมสารมลพิษโพลิไซคลิค อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbons: PAH) และสารมลพิษอื่นๆ 1 86

การจัดการของเสียจากชุมชน


ส�ำหรับมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียตาม Annex V ประกอบด้วย  ค่าเฉลี่ยรายวันและรายครึ่งชั่วโมง (daily and half-hourly average) ของปริมาณฝุ่น ละออง คาร์บอนอินทรีย์รวม (total organic carbon: TOC) ไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (HF) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)  ค่าเฉลี่ยในช่วงระยะเวลา 0.5-8 ชั่วโมง ของแคดเมียม แทลเลียม ปรอท พลวง สารหนู ตะกั่ว โครเมียม โคบอลท์ ทองแดง แมงกานีส นิกเกิล และวานาเดียม  ค่าเฉลีย่ ในช่วงระยะเวลา 6-8 ชัว่ โมง ของไดออกซิน (ไม่เกิน 0.1 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) (5) การควบคุมการปล่อยน�้ำทิ้งจากการท�ำความสะอาดไอเสีย 1) การปล่อยน�้ำทิ้งที่เกิดจากการท�ำความสะอาดไอเสียที่ปล่อยออกจากโรงงานเผาของเสีย ต้องได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานผู้มีอ�ำนาจ 2) การปล่อยน�้ำทิ้งจากการท�ำความสะอาดไอเสียออกสู่แหล่งน�้ำภายนอกจะต้องมีน้อยที่สุด เท่าทีจ่ ะกระท�ำได้ และอย่างน้อยต้องเป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการปล่อยน�ำ้ ทิง้ ซึง่ ก�ำหนดไว้ใน Annex IV 3) ในกรณีที่มีการบ�ำบัดน�้ำเสียนั้นร่วมกับน�้ำเสียอื่นๆ ภายในโรงงาน จะต้องมีการตรวจวัด คุณภาพน�้ำเสียนั้นตามวิธีการที่ก�ำหนดไว้ใน Article 11 (ดูหัวข้อ (7) ข้างล่างเกี่ยวกับวิธีการตรวจวัด) ก่อนที่จะปล่อยน�้ำเสียนั้นเข้าสู่ระบบบัดน�้ำเสียรวม และ ณ จุดภายหลังที่ผ่านการบ�ำบัดแล้ว ก่อนที่จะ ปล่อยน�ำ้ ทิง้ ออกสูส่ งิ่ แวดล้อม ให้ผปู้ ระกอบการค�ำนวณค่ามวลสมดุล (mass balance) ตามความเหมาะสม เพือ่ หาปริมาณสารมลพิษในน�ำ้ ทิง้ ทีเ่ กิดจากน�ำ้ เสียในกระบวนการท�ำความสะอาดไอเสีย ทัง้ นีเ้ พือ่ ตรวจสอบ ว่ามีการปฏิบัติตามกฎหมายที่ควบคุมมาตฐานการปล่อยน�้ำทิ้งตามที่ก�ำหนดใน Annex IV ทั้งนี้ ห้ามมิให้ ใช้วิธีท�ำให้น�้ำเสียเจือจางโดยเด็ดขาด 4) ในกรณีที่มีการส่งน�้ำเสียออกไปบ�ำบัด ณ โรงงานบ�ำบัดน�้ำเสียภายนอกโรงงาน การตรวจวัด คุณภาพน�้ำทิ้งให้กระท�ำ ณ จุดที่น�้ำเสียออกจากโรงงานบ�ำบัดน�้ำเสีย หากโรงงานบ�ำบัดน�้ำเสียดังกล่าว ให้บริการบ�ำบัดน�้ำเสียประเภทอื่นๆ ด้วยโดยไม่จ�ำกัดเฉพาะน�้ำเสียจากโรงงานเผาก�ำจัดของเสีย ให้ ผู้ประกอบการค�ำนวณค่ามวลสมดุล (mass balance) ตามความเหมาะสมเพื่อหาปริมาณสารมลพิษใน น�้ำทิ้งที่เกิดจากน�้ำเสียในกระบวนการท�ำความสะอาดไอเสีย ดังที่กล่าวมาในข้อ (3) เช่นกัน และห้ามมิให้ ใช้วิธีท�ำให้น�้ำเสียเจือจางโดยเด็ดขาด (6) การจัดการกากของเสีย (Residues) WID นิยามกากของเสีย (residue) ว่า วัสดุทอี่ ยู่ในสภาพของเหลวหรือของแข็ง รวมถึงเถ้าหนัก และตะกรัน (slag) เถ้าเบาและฝุ่นจากหม้อไอน�้ำ ผลิตผลที่อยู่ในสภาพของแข็งที่เกิดจากการบ�ำบัดก๊าซ บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

187


กากตะกอนน�้ำเสียที่เกิดจากการบ�ำบัดน�้ำเสีย ตัวท�ำปฏิกิริยาที่ใช้งานแล้ว (spent catalysts) และถ่าน กัมมันต์ที่ใช้งานแล้ว (spent activated carbon) ซึง่ ถูกก่อก�ำเนิดขึน้ จากกระบวนการเผาของเสีย การบ�ำบัด ไอเสีย หรือการบ�ำบัดน�้ำเสีย หรือกระบวนการอื่นๆ ภายในโรงงานเผาก�ำจัดของเสีย WID มีข้อก�ำหนดดังไปนี้เกี่ยวกับการจัดการกากของเสียจากโรงงานเผาก�ำจัดขยะ 1) จะต้ อ งจ� ำ กั ด ปริ ม าณกากของเสี ย ที่ เ กิ ด จากการด� ำ เนิ น การของโรงงานเผาก� ำ จั ด ของเสีย ตลอดจนความเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (harmfulness) ให้มีเหลือน้อยที่สุด ให้มี การรีไซเคิลกากของเสียในกรณีทเี่ หมาะสม โดยด�ำเนินการภายในสถานทีข่ องโรงงานหรือภายนอกโรงงาน ได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายของสหภาพยุโรปก�ำหนด 2) การขนส่งและการเก็บรักษากากของเสียทีแ่ ห้งและอยู่ในรูปของฝุน่ เช่น ฝุน่ จากหม้อไอน�ำ้ และกากของเสียจากการบ�ำบัดก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ (combustion gases) ให้ด�ำเนินการในลักษณะ ที่ป้องกันการกระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม เช่น ใส่ในภาชนะที่ปิด 3) ก่อนที่จะก�ำหนดวิธีการก�ำจัดหรือการรีไซเคิลกากของเสีย จะต้องมีการทดสอบเพื่อ ให้ทราบถึงคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี ตลอดจนมลพิษที่จะก่อให้เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมของกาก ของเสียชนิดต่างๆ การวิเคราะห์ให้พิจารณาถึงส่วนที่ละลายน�้ำได้โดยรวม (total soluble fraction) และ ส่วนที่เป็นโลหะหนักซึ่งละลายน�้ำได้ (heavy metals soluble fraction) (7) วิธีการตรวจวัด (Measurement requirements) Article 11 ก�ำหนดวิธีการตรวจวัดมลพิษที่ปล่อยออกมาจากโรงงานเผาก�ำจัดขยะ อาทิเช่น 1) การตรวจวัดมลพิษทางอากาศให้กระท�ำโดยใช้เทคนิคตามที่ก�ำหนดใน Annex III และ ให้ด�ำเนินการดังนี้  ตรวจวัดสารมลพิษดังต่อไปนี้อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ NOx, CO, ปริมาณฝุ่น, TOC, HCl, HF, SO2  ตรวจวัด parameters ดังต่อไปนี้ในกระบวนการเผาของเสีย ได้แก่ อุณหภูมิที่ผนัง ด้านในของห้องเผา หรือ ณ จุดอื่นที่เป็นตัวแทน ปริมาณออกซิเจน ความดัน อุณหภูมิ และปริมาณ ไอน�้ำในไอเสีย  ตรวจวัดโลหะหนัก ไดออกซินและฟิวราน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง นอกจากนี้ รัฐสมาชิก อาจก�ำหนดช่วงระยะเวลาส�ำหรับตรวจวัดสารมลพิษ polycyclic aromatic hydrocarbons หรือมลพิษ อื่นๆ ด้วยก็ได้ อย่างไรก็ดี ความถี่ในการตรวจวัดโลหะหนัก ไดออกซินและฟิวรานอาจลดลงเหลือปีละ 1 ครั้งก็ได้ หากปรากฏว่าสารมลพิษดังกล่าวมีค่าต�่ำกว่าร้อยละ 50 ของค่ามาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้ง อากาศเสีย 1 88

การจัดการของเสียจากชุมชน


2) การตรวจวัดน�้ำเสีย ณ จุดที่ปล่อยน�้ำทิ้ง ให้ด�ำเนินการดังต่อไปนี้  ตรวจวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อุณหภูมิ และอัตราการไหลของน�ำ้ อย่างต่อเนือ่ ง  ท�ำการสุ่มตรวจปริมาณสารแขวนลอยทุกวัน  ตรวจวัดสารมลพิษดังต่อไปนี้ในช่วงระยะเวลา 24 ชั่วโมง อย่างน้อยเดือนละครั้ง ได้แก่ ปรอท แคดเมียม แทลเลียม สารหนู ตะกั่ว โครเมียม ทองแดง นิกเกิล สังกะสี  ตรวจวัดสารไดออกซินและฟิวรานอย่างน้อยทุกๆ ระยะเวลา 6 เดือน (8) การเข้าถึงข้อมูลและการมีส่วนร่วมของประชาชน ต้องเปิดเผยข้อมูลค�ำขอใบอนุญาตตั้งโรงงานเผาก�ำจัดของเสีย ณ สถานที่ที่สาธารณชน เข้าถึงได้ เช่น ที่ท�ำการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยให้มีระยะเวลาตามสมควรที่จะให้ประชาชน แสดงความคิดเห็นก่อนการออกใบอนุญาต เมือ่ มีการออกใบอนุญาตแล้ว ต้องเปิดเผยส�ำเนาของใบอนุญาต ให้ประชาชนทราบเช่นกัน ในกรณีทเี่ ป็นโรงงานเผาก�ำจัดของเสียทีม่ กี ำ� ลังการเผาตัง้ แต่ 2 ตัน/ชัว่ โมง ขึน้ ไป ผูป้ ระกอบการ ต้องจัดท�ำรายงานประจ�ำปีเกี่ยวกับการด�ำเนินงาน การตรวจสอบโรงงาน ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการ เผา และการปล่อยมลพิษทางอากาศและน�้ำ เมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานควบคุมที่กฎหมายก�ำหนด เพื่อส่ง ให้หน่วยงานผู้มีอ�ำนาจและเปิดเผยต่อสาธารณชน (9) การควบคุมการด�ำเนินกิจการในสภาพทีไ่ ม่ปกติ (Abnormal operating conditions) 1) หน่วยงานผู้มีอ�ำนาจต้องก�ำหนดเงื่อนไขในใบอนุญาตเกี่ยวกับระยะเวลาสูงสุดที่จะ อนุญาตให้อุปกรณ์บ�ำบัดมลพิษ (purification devices) และอุปกรณ์ตรวจวัดมลพิษ หยุดการท�ำงาน เนื่องจากปัญหาทางเทคนิคหรือการช�ำรุดที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ 2) ในกรณีที่ระบบการท�ำงานขัดข้อง ผู้ประกอบการจะต้องลดหรือหยุดการประกอบกิจการ โดยเร็วจนกว่าระบบการท�ำงานจะสามารถกลับคืนสู่ปกติ 3) หากมลพิษทีป่ ล่อยออกมามีคา่ เกินมาตรฐานควบคุมทีก่ ฎหมายก�ำหนด ห้ามเผาของเสีย เป็นระยะเวลาติดต่อกันเกิน 4 ชั่วโมงเป็นอันขาด และจ�ำนวนชั่วโมงของการเผาภายใต้สภาวะดังกล่าว โดยรวมทั้งปีจะต้องน้อยกว่า 60 ชั่วโมง 4) ไม่ว่าในกรณีใดๆ ปริมาณฝุ่นในอากาศเสียที่ปล่อยออกมาจะต้องไม่เกินค่าเฉลี่ย 150 mg/m ต่อครึ่งชั่วโมง นอกจากนี้ ปริมาณการปล่อย CO และ TOC จะต้องไม่เกินมาตรฐานควบคุม ที่กฎหมายก�ำหนด 3

บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

189


5.1.4 Packaging Directive 94/62/EC4 แก้ไขเพิ่มเติมโดย Directive 2004/12/EC5, Directive 2005/20/EC6, Directive 2013/2/EU7 และ Directive (EU) 2015/7208

กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจ�ำกัดการก่อของเสียบรรจุภัณฑ์ และส่งเสริมการรีไซเคิล การใช้ซ�้ำ รวมทั้งการน�ำกลับมาใช้ประโยชน์ ในรูปแบบอื่นๆ มีความหมายครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ไม่ว่าจะท�ำด้วยวัสดุใดๆ และมีคุณสมบัติอย่างไร ซึ่งใช้ในการบรรจุ ป้องกัน ห่อหุ้ม ขนส่ง และส่งมอบ สินค้า ทั้งที่เป็นวัตถุดิบ หรือเป็นสินค้าที่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งแล้ว จากผู้ผลิตไปยังผู้ใช้หรือผู้บริโภค มีสาระส�ำคัญคือ (1) รัฐสมาชิกมีหน้าที่ด�ำเนินมาตรการเพื่อป้องกันการก่อของเสียบรรจุภัณฑ์ พัฒนาระบบ ที่จะท�ำให้มีการใช้ซ�้ำ (reuse systems) ในลักษณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการแปรรูปขยะ บรรจุภัณฑ์เป็นพลังงาน และสนับสนุนการใช้วัสดุที่มาจากการรีไซเคิลขยะบรรจุภัณฑ์ ในการผลิต บรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อื่นๆ (2) รัฐสมาชิกมีหน้าที่จัดระบบการรับคืนและ/หรือเก็บรวบรวมบรรจุภัณฑ์ที่ ใช้แล้วให้ได้ ตามเป้าหมายดังต่อไปนี้ ภายใน 30 มิถุนายน ค.ศ. 2001 ขยะบรรจุภัณฑ์จ�ำนวนร้อยละ 50-65 คิดตามน�้ำหนัก ต้องถูกน�ำกลับมาใช้ใหม่ (recovered) หรือถูกเผา ณ โรงงานเผาก�ำจัดของเสียเพื่อแปรรูปเป็นพลังงาน ภายใน 30 มิ ถุ นายน ค.ศ. 2001 ขยะบรรจุ ภั ณ ฑ์ จ� ำ นวนร้ อ ยละ 25-45 คิ ด ตาม น�้ำหนักของวัสดุทั้งหมดที่อยู่ในขยะบรรจุภัณฑ์ ต้องถูกรีไซเคิล ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยร้อยละ 15 โดยน�้ำหนักของวัสดุบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภท ภายใน 31 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ขยะบรรจุภัณฑ์จ�ำนวนอย่างน้อยร้อยละ 60 คิดตาม น�้ำหนัก ต้องถูกน�ำกลับมาใช้ใหม่ (recovered) หรือถูกเผา ณ โรงงานเผาก�ำจัดของเสียเพื่อแปรรูป เป็นพลังงาน 4 European Parliament and Council Directive 94/62/EC of 20 December 1994 on packaging and packaging waste, Official Journal L 365, 31.12.1994; ที่มา: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:01994L0062-20150526&from=EN. 5 Directive 2004/12/EC of the European Parliament and of the Council of 11 February 2004 amending Directive 94/62/EC on packaging and packaging waste, Official Journal L 047, 18.02.2004; ที่มา: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/?uri=celex:32004L0012. 6 Directive 2005/20/EC of the European Parliament and of the Council of 9 March 2005 amending Directive 94/62/EC on packaging and packaging waste, Official Journal of the European Union L 70/17, 16.03.2005; ที่มา: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/ PDF/?uri=CELEX:32005L0020&from=EN. 7 Commission Directive 2013/2/EU of 7 February 2013 amending Annex I to Directive 94/62/EC of the European Parliament and of the Council on packaging and packaging waste, Official Journal of the European Union L37/10, 8.02.2013; ทีม่ า: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX :32013L0002&from=EN. 8 Directive (EU) 2015/720 of the European Parliament and of the Council of 29 April 2015 amending Directive 94/62/EC on packaging and packaging waste, Official Journal of the European Union L 115/11, 6.05.2015; ที่มา: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/ PDF/?uri=CELEX:32015L0720&from=EN. 1 90

การจัดการของเสียจากชุมชน


ภายใน 31 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ขยะบรรจุภัณฑ์จ�ำนวนร้อยละ 55-80 คิดตามน�้ำหนัก ของขยะบรรจุภัณฑ์ ต้องถูกรีไซเคิล ภายใน 31 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ต้องมีการรีไซเคิลวัสดุบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทให้ได้ ตามเป้าหมายต่อไปนี้ ร้อยละ 60 ส�ำหรับแก้ว กระดาษ และไม้แผ่น (board) ร้อยละ 50 ส�ำหรับโลหะ ร้อยละ 22.5 ส�ำหรับพลาสติก และ ร้อยละ 15 ส�ำหรับไม้ (3) ผู้ประกอบการต้องด�ำเนินการให้บรรจุภัณฑ์มีเครื่องหมายบ่งชี้และแบ่งแยกประเภท (identification and classification) ซึ่งแสดงคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการท�ำบรรจุภัณฑ์ เพื่อเอื้ออ�ำนวย ต่อการจัดเก็บ การใช้ซ�้ำ การแปรรูปกลับมาใช้ประโยชน์ และการรีไซเคิล โดยเครื่องหมายต้องติดอยู่ บนตัวบรรจุภณ ั ฑ์หรือบนฉลากของบรรจุภณ ั ฑ์ มีความคงทน และสามารถอ่านและมองเห็นได้อย่างชัดเจน (4) บรรจุภัณฑ์ต้องมีคุณสมบัติตามมาตฐานที่ก�ำหนดใน Annex II ของ Directive เช่น มีน�้ำหนักและปริมาตรน้อยเท่าที่เพียงพอต่อความปลอดภัย สุขอนามัย และการส่งมอบ ผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค มีการออกแบบและผลิตในลักษณะที่สามารถใช้ซ�้ำ และรีไซเคิลได้ รวมทั้งมีผลกระทบ ต่อสิง่ แวดล้อมน้อยทีส่ ดุ เมือ่ ต้องก�ำจัดขยะบรรจุภณั ฑ์และกากของเสียทีเ่ หลือจากการจัดการขยะบรรจุภณั ฑ์ ใช้วัสดุที่เป็นพิษและเป็นอันตรายน้อยที่สุดในการผลิตบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดมลพิษที่จะเกิด จากการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ ทั้งส่วนที่เป็นเถ้าหรือน�้ำชะจากการเผาหรือฝังกลบขยะบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ต้องมีคุณสมบัติทางกายภาพและลักษณะที่สามารถหมุนเวียนใช้ได้หลายครั้ง สามารถน�ำบรรจุภณ ั ฑ์ที่ใช้แล้วกลับมาผ่านกรรมวิธผี ลิตได้อกี โดยเป็นไปตามมาตรฐานด้านความปลอดภัย และสุขภาพต่อแรงงาน และสามารถแปรรูปกลับมาใช้ประโยชน์ ได้เมื่อไม่สามารถใช้ซ�้ำได้อีกต่อไป การผลิตบรรจุภัณฑ์ต้องมีลักษณะให้สามารถรีไซเคิลวัสดุในตัวบรรจุภัณฑ์ ไปใช้ในการ ท�ำผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ในระดับหนึ่งตามมาตรฐานที่ก�ำหนดโดยกฎหมายของประชาคมยุโรป ขยะบรรจุภัณฑ์ที่น�ำมาผ่านกรรมวิธีเพื่อแปรรูปเป็นพลังงานต้องให้ค่าความร้อนในระดับที่ สูงสุดได้ (optimization of energy recovery)

บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

191


ขยะบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ต้องง่ายต่อการเก็บรวบรวม และสามารถผ่านกระบวนการ ย่อยสลายทางกายภาพ ทางเคมี และทางชีวภาพได้จนผลผลิตส่วนใหญ่ที่ได้จากการหมักถูกย่อยสลายเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ ชีวมวล และน�้ำ (5) รัฐสมาชิกต้องพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์และขยะบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้สามารถ ติดตามตรวจสอบว่ามีการด�ำเนินการตามเป้าหมายที่ก�ำหนดโดย Directive นี้ ฐานข้อมูลดังกล่าวต้อง ประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณ คุณลักษณะ และวิวัฒนาการของวงจรขยะบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนความ เป็นพิษหรืออันตรายของวัสดุหรือสารประกอบที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์ (6) ในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 20159 ได้ก�ำหนดให้รัฐสมาชิกมีหน้าที่ ด�ำเนินมาตรการเพื่อลดการใช้ถุงหิ้วพลาสติกน�้ำหนักเบา (lightweight plastic carrier bags) อันได้แก่ ถุงพลาสติกที่มีความหนาน้อยกว่า 50 ไมครอน โดยอาจก�ำหนดเป้าหมายการลดใช้ถุงหิ้วพลาสติก ใช้ เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ หรือจ�ำกัดการจ�ำหน่าย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ก�ำหนด ทั้งนี้อาจรวมถึง การใช้มาตรการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้ ภายใน 31 ธันวาคม ค.ศ. 2019 การใช้ถุงหิ้วพลาสติกน�้ำหนักเบามีจ�ำนวนไม่เกิน 90 ชิ้น/ คน/ปี หรือเป้าหมายที่เทียบเท่าเมื่อคิดตามน�้ำหนัก ภายใน 31 ธันวาคม ค.ศ. 2025 การใช้ถุงหิ้วพลาสติกน�้ำหนักเบามีจ�ำนวนไม่เกิน 40 ชิ้น/ คน/ปี หรือเป้าหมายที่เทียบเท่าเมื่อคิดตามน�้ำหนัก ภายใน 31 ธันวาคม ค.ศ. 2018 เลิกการให้ถุงหิ้วพลาสติกน�้ำหนักเบาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ณ จุดจ�ำหน่ายสินค้า เว้นเสียแต่ว่าจะมีการใช้มาตรการอื่นที่ให้ผลเท่าเทียมกัน เป้าหมายดังกล่าวมาข้างต้นไม่ครอบคลุมถึงถุงหิ้วพลาสติกที่มีน�้ำหนักเบามาก (very lightweight plastic carrier bags) อันได้แก่ ถุงหิ้วพลาสติกที่มีความหนาน้อยกว่า 15 ไมครอน ซึ่งใช้ เพื่อวัตถุประสงค์ด้านสุขอนามัยหรือใช้เป็นบรรจุภัณฑ์เบื้องต้นในการในการบรรจุอาหาร ภายใน 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2017 ให้คณะกรรมธิการของสหภาพยุโรปออกกฎระเบียบที่ ก�ำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการติดเครื่องหมายหรือฉลากที่แสดงคุณสมบัติว่าเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ (biodegradable and compostable)

9 Directive (EU) 2015/720 of the European Parliament and of the Council of 29 April 2015 amending Directive 94/62/EC as regards reducing the consumption of lightweight plastic carrier bags, Official Journal of the European Union L 115/11, 6.05.2015; ที่มา: http://eur-lex.europa. eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32015L0720&from=EN. 1 92

การจัดการของเสียจากชุมชน


5.1.5 Waste Electrical and Electronic Equipment (WEEE) Directive 2012/ 19/EU10

ซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Waste electrical and electronic equipment: WEEE) เป็นหนึ่งในประเภทของเสียที่เพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็วในสหภาพยุโรป ในปี ค.ศ. 2005 สหภาพยุโรปมี WEEE ประมาณ 9 ล้านตัน และคาดการณ์กนั ว่าปริมาณ WEEE จะเพิม่ ขึน้ เป็น 12 ล้านตัน ในปี ค.ศ. 202511 WEEE Directive เป็ น กฎหมายที่ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ป้ อ งกั น และลดของเสี ย ที่ เ กิ ด จาก ซากอุปกรณ์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยยึดหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended producer responsibility) กฎหมายฉบับใหม่ที่ออกใน ค.ศ. 2012 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 และมีผลเป็นการยกเลิก WEEE Directive 2002/96/EC ที่ใช้บังคับก่อนหน้านั้น เนื่องจากกฎหมาย ฉบับเก่าได้ก่อให้เกิดภาระในเชิงบริหารมากเกินควร และไม่สามารถเพิ่มอัตราการเก็บรวบรวมและการ รีไซเคิลซากอุปกรณ์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ได้ตามเป้าหมาย ประมาณกันว่ามีซากอุปกรณ์ ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์เพียงหนึ่งในสามที่ได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ส่วนที่เหลือมักถูกจัดการโดยการฝังกลบ และได้รับการจัดการอย่างไม่ถูกต้องทั้งภายในและภายนอกสหภาพยุโรป12 กฎหมายฉบับใหม่ขยายการใช้บังคับให้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทุกประเภท ปรับเปลี่ยนเป้าหมายการเก็บรวบรวมซากอุปกรณ์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ยังลดความยุ่งยากของผู้ผลิตในการจัดท�ำรายงาน รวมทั้งให้รัฐสมาชิก เลือกใช้บทลงโทษได้ตามความเหมาะสม หากเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพ สาระส�ำคัญของ WEEE Directive สรุปพอสังเขปได้ดังนี้ (1) ขอบเขตการใช้บังคับของกฎหมายและเป้าหมายการรีไซเคิลหรือแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ การบังคับใช้กฎหมายนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ (1.1) นับตั้งแต่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2012 จนถึง 14 สิงหาคม ค.ศ. 2018 ให้ใช้บังคับกับ ผลิตภัณฑ์ทุกประเภทตามที่แบ่งหมวดหมู่ไว้ใน Annex I อันได้แก่ 1) เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องท�ำความเย็น ตู้เย็น ตูแ้ ช่แข็ง เครือ่ งซักผ้า เครือ่ งอบผ้า เครือ่ งล้างจาน เตาไฟฟ้า เครือ่ งไมโครเวฟ เครือ่ งท�ำความร้อน พัดลม เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น 10 Directive 2012/19/EU of the European Parliament and of the Council of 4 July 2012 on waste electrical and electronic equipment (WEEE), Official Journal of the European Union, L197/38, 24.7.2012; ที่มา : http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/ PDF/?uri=CELEX:32012L0019&from=EN. 11 Waste Electrical & Electronic Equipment (WEEE), ที่มา: http://ec.europa.eu/environment/waste/weee/index_en.htm. 12 Making the most of waste electrical and electronic equipment, ทีม่ า: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/LSU/?uri=CELEX:32012L0019. บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

193


2) เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก เช่น เครื่องดูดฝุ่น เครื่องท�ำความ สะอาดพรม จักรเย็บผ้า เตารีด เครื่องปิ้งขนมปัง หม้อทอด เครื่องท�ำกาแฟ มีดไฟฟ้า อุปกรณ์ที่ใช้ตัดผม เป่าผม แปรงฟัน โกนหนวด และนวด นาฬิกา นาฬิกาข้อมือ เครื่องชั่งน�้ำหนัก เป็นต้น 3) อุปกรณ์การสื่อสารและโทรคมนาคม เช่น เครื่องประมวลผลข้อมูลแบบรวมศูนย์ (Centralised data processing) Mainframes เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (Minicomputers) หน่วย เครือ่ งพิมพ์ (printer units) เครือ่ งคอมพิวเตอร์ (รวมทัง้ CPU mouse จอ และคียบ์ อร์ด) laptop computers (รวมทั้ง CPU mouse จอ และคีย์บอร์ด) notebook computers, notepad computers, เครื่องพิมพ์ เครือ่ งถ่ายเอกสาร พิมพ์ดดี ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครือ่ งคิดเลข เครือ่ งแฟ็กซ์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ไร้สาย โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น 4) เครือ่ งใช้ผบู้ ริโภค (consumer equipment) และแผงพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น เครือ่ ง รับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องถ่ายวิดิโอ เครื่องบันทึกเสียงไฮไฟ ล�ำโพงขยายเสียง เครื่องดนตรี และ แผงพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น 5) อุปกรณ์ให้แสงสว่าง เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ และหลอดไฟที่ให้แสงสว่าง ประเภทต่างๆ (high intensity discharge lamps, pressure sodium lamps, metal halide lamps etc.) เป็นต้น 6) เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องเจาะ เลื่อย เครื่องบด เครื่องตัด เครื่องตอกตะปู เครื่องสเปรย์สารที่เป็นของเหลวหรือก๊าซ เครื่องตัดหญ้าและเครื่องมือท�ำสวนอื่นๆ เป็นต้น 7) ของเล่น และอุปกรณ์เพื่อการนันทนาการและกีฬา เช่น รถไฟไฟฟ้า รถแข่ง เครือ่ งวิดโี อเกมส์ เครือ่ งปัน่ จักรยาน หรือวิง่ เครือ่ งเล่นกีฬาทีม่ สี ว่ นประกอบทีเ่ ป็นไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น 8) อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น radiotherapy equipment, cardiology equipment, dialysis equipment, pulmonary ventilators, nuclear medicine equipment เป็นต้น 9) เครื่องมือติดตามตรวจจับและควบคุม เช่น เครื่องตรวจจับควัน เครื่องควบคุม ความร้อน เครือ่ ง thermostats เครือ่ งวัด ชัง่ หรือปรับ ทีใ่ ช้ในครัวเรือนหรือในห้องปฏิบตั กิ าร และเครือ่ งตรวจจับ และควบคุมอื่นๆ ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น 10) เครื่องจ่ายของอัตโนมัติ เช่น เครื่องจ่ายเครื่องดื่มร้อน เครื่องจ่ายขวดหรือ กระป๋องเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น เครื่องจ่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆ เครื่องจ่ายเงิน เป็นต้น

1 94

การจัดการของเสียจากชุมชน


เป้าหมายการใช้ซ�้ำ การรีไซเคิลและการแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ของผลิตภัณฑ์ ใน Annex I ให้เป็นตามที่ก�ำหนดไว้ Annex V ซึ่งแบ่งออกเป็น (1) เป้าหมายในช่วงเวลาตั้งแต่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 2012 จนถึง 14 สิงหาคม ค.ศ. 2015 และ (2) เป้าหมายในช่วงเวลาตั้งแต่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2015 จนถึง 14 สิงหาคม ค.ศ. 2018 ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะเป้าหมายส�ำหรับช่วงตั้งแต่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2015 จนถึง 14 สิงหาคม ค.ศ. 2018 ดังนี้  WEEE ที่อยู่ ในหมวดหมู่ที่ 1 หรือหมวดหมู่ที่ 10 ให้แปรรูปน�ำกลับมาใช้ประโยชน์ ร้อยละ 85 และเตรียมส�ำหรับการใช้ซ�้ำหรือรีไซเคิลร้อยละ 80  WEEE ที่ อ ยู ่ ใ นหมวดหมู ่ ที่ 3 หรื อ หมวดหมู ่ ที่ 4 ให้ แ ปรรู ป น� ำ กลั บ มาใช้ ป ระโยชน์ ร้อยละ 80 และเตรียมส�ำหรับการใช้ซ�้ำหรือรีไซเคิลร้อยละ 70  WEEE ที่อยู่ในหมวดหมู่ที่ 2, 5, 6, 7, 8 หรือหมวดหมู่ที่ 9 ให้แปรรูปน�ำกลับมาใช้ประโยชน์ ร้อยละ 75 และเตรียมส�ำหรับการใช้ซ�้ำหรือรีไซเคิลร้อยละ 55  ให้รีไซเคิล gas discharge lamps ในอัตราร้อยละ 80 (1.2) นับจาก 15 สิงหาคม ค.ศ. 2018 เป็นต้นไป ให้ใช้บังคับกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดที่ ถูกจัดแบ่งหมวดหมู่ตามที่ก�ำหนดใน Annex III อันได้แก่ 1) เครื่องแลกเปลี่ยนอุณหภูมิ (temperature exchange equipment) เช่น ตู้เย็น ตูแ้ ช่แข็ง เครือ่ งปรับอากาศ เครือ่ งดูดความชืน้ เครือ่ งปัม๊ ความร้อน เครือ่ งท�ำความร้อนที่ใช้นำ�้ มัน เป็นต้น 2) จอ (screens monitors) และเครื่องใช้ที่มีจอซึ่งใหญ่กว่า 100 ตารางเซนติเมตร เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ จอ LCD จอ monitors, laptops, norebooks เป็นต้น 3) หลอดไฟ เช่น หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ High intensity discharge lamps, pressure sodium lamps, metal halide lamps, low pressure sodium lamps, LED เป็นต้น 4) เครือ่ งใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ (ทีม่ ขี นาดภายนอกมากกว่า 50 เซนติเมตร) เช่น เครือ่ งซักผ้า เครื่องอบผ้า เครื่องล้างจาน เตาไฟฟ้า เครื่องให้แสงสว่าง อุปกรณ์ที่ให้ภาพและเสียง เครื่องดนตรี (musical equipement) เครื่องถักและทอผ้า Computer-mainframes ขนาดใหญ่ เครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ เครือ่ งถ่ายเอกสาร เครือ่ งหยอดเหรียญขนาดใหญ่ อุปกรณ์การแพทย์ขนาดใหญ่ เครือ่ งตรวจจับและควบคุม ขนาดใหญ่ เครื่องจ่ายผลิตภัณฑ์อัตโนมัติขนาดใหญ่ แผงพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น 5) เครือ่ งใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก (ทีม่ ขี นาดภายนอกไม่เกิน 50 เซนติเมตร) เช่น เครือ่ งดูดฝุน่ เครื่องท�ำความสะอาดพรม เครื่องเย็บผ้า เครื่องให้แสงสว่าง เครื่องไมโครเวฟ เครื่องถ่ายเทอากาศ

บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

195


เตารีด เครื่องปิ้ง มีดไฟฟ้า กาต้มน�้ำไฟฟ้า นาฬิกา เครื่องโกนหนวด เครื่องชั่งน�้ำหนัก เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ ใช้กับผมและร่างกาย เครื่องคิดเลข ชุดเครื่องรับวิทยุ กล้องวิดิโอ เครื่องเล่นไฮไฟ เครื่องเล่นดนตรี (musical instruments) อุปกรณ์ให้ภาพและเสียง ของเล่น อุปกรณ์กีฬา เป็นต้น 6) อุปกรณ์สอื่ สารและโทรคมนาคมขนาดเล็ก (ทีม่ ขี นาดภายนอกไม่เกิน 50 เซนติเมตร) เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่อง GPS เครื่องคิดเลขแบบพกพา Routers เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ โทรศัพท์ เป็นต้น เป้าหมายการใช้ซ�้ำ การรีไซเคิล และการแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ของผลิตภัณฑ์ที่จัดหมวดหมู่ ตาม Annex III นับจากวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2018 คือ  WEEE ที่อยู่ในหมวดหมู่ที่ 1 หรือ 4 ให้แปรรูปน�ำกลับมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 85 และ เตรียมส�ำหรับการใช้ซ�้ำหรือรีไซเคิลร้อยละ 80  WEEE ที่อยู่ในหมวดหมู่ที่ 2 ให้แปรรูปน�ำกลับมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 80 และเตรียม ส�ำหรับการใช้ซ�้ำหรือรีไซเคิลร้อยละ 70  WEEE ที่อยู่ในหมวดหมู่ที่ 5 หรือ 6 ให้แปรรูปน�ำกลับมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 75 และ เตรียมส�ำหรับการใช้ซ�้ำหรือรีไซเคิลร้อยละ 55 WEEE ที่อยูใ่ นหมวดหมูท่ ี่ 3 ให้ รีไซเคิลร้ อยละ 80

(2) การออกแบบผลิตภัณฑ์ รัฐสมาชิกต้องส่งเสริมการออกแบบและการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ เอื้อต่อการใช้ซ�้ำ การถอดแยกชิ้นส่วน และการแปรรูปกลับมาใช้ประโยชน์ (3) การแยกเก็บรวบรวม 1) รัฐสมาชิกต้องด�ำเนินมาตรการทีเ่ หมาะสมเพือ่ ลดการก�ำจัด WEEE พร้อมกับขยะชุมชน โดยไม่มกี ารคัดแยก โดยต้องจัดให้มกี ารแยกเก็บรวบรวม WEEE ให้ได้มากทีส่ ดุ เพือ่ ให้มกี ารจัดการ WEEE ที่เก็บรวบรวมได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ จะต้องให้ความส�ำคัญเป็นล�ำดับแรกแก่เครื่องแลกเปลี่ยนอุณหภูมิ (temperature exchange equipment) ที่มีสารท�ำลายชั้นโอโซน และก๊าซเรือนกระจกที่มีฟลูออรีนเป็น องค์ประกอบ หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ที่มีสารปรอท แผงพลังงานแสงอาทิตย์ และอุปกรณ์ขนาดเล็กที่อยู่ใน หมวดหมู่ที่ 5 และ 6 ของ Annex III 2) ส�ำหรับ WEEE จากครัวเรือน รัฐสมาชิกต้องจัดให้มรี ะบบทีผ่ บู้ ริโภคและผูจ้ ำ� หน่ายสามารถ คืน WEEE ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ต้องจัดให้มีจุดเก็บรวบรวมที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้โดยค�ำนึงถึง ความหนาแน่นของประชากร 1 96

การจัดการของเสียจากชุมชน


3) ในการจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์เครือ่ งใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ผูจ้ ดั จ�ำหน่าย (distributors) มีความรับผิดชอบในการรับคืน WEEE ของผูซ้ อื้ โดยไม่คดิ ค่าใช้จา่ ย หากเป็นเครือ่ งใช้ทเี่ ป็นประเภทเดียวกัน หรือใช้ประโยชน์อย่างเดียวกัน 4) ผู้จัดจ�ำหน่ายมีหน้าที่จัดพื้นที่อย่างน้อย 400 ตารางเมตร ณ ร้านค้าปลีก ในบริเวณที่ จ�ำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อใช้รวบรวม WEEE ที่มีขนาด เล็กมาก (ขนาดภายนอกไม่เกิน 25 เซนติเมตร) โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และโดยไม่มีเงื่อนไขว่าผู้บริโภคต้อง ซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ เว้นแต่มีการประเมินว่ามีระบบเก็บรวบรวมแบบอื่นที่อย่างน้อยได้ผลดีเท่าเทียมกัน 5) ผู้ผลิตอาจจัดให้มีระบบเก็บรวบรวม WEEE โดยล�ำพังหรือโดยร่วมกันกับผู้ผลิตอื่น 6) รัฐสมาชิกอาจก�ำหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้เก็บรวบรวม WEEE จาก ครัวเรือน 7) รัฐสมาชิกอาจก�ำหนดให้สง่ มอบ WEEE ที่เก็บรักษาไว้ ณ ศูนย์เก็บรวบรวมให้แก่ผ้ผู ลิต หรือบุคคลทีก่ ระท�ำการแทนผูผ้ ลิต หรือส่งมอบให้แก่สถานประกอบการทีก่ ำ� หนดเพือ่ เตรียม WEEE ส�ำหรับ การใช้ซ�้ำก็ได้ 8) ส�ำหรับ WEEE ที่มิได้มาจากครัวเรือน รัฐสมาชิกต้องก�ำหนดให้ผู้ผลิตหรือบุคคลที่ กระท�ำการแทนผู้ผลิตจัดให้มีการเก็บรวบรวม WEEE เหล่านั้น (4) การจัดการ WEEE ที่เก็บรวบรวมได้ การขนส่งและก�ำจัด รัฐสมาชิกต้องห้ามการก�ำจัด WEEE ที่ยังไม่ได้ผ่านการบ�ำบัดก่อน รวมทั้งต้องส่งเสริมให้มี สถานที่เก็บรวบรวม WEEE แยก WEEE ส่วนที่จะเตรียมเพื่อการใช้ซ�้ำจาก WEEE ส่วนอื่นๆ การขนส่ง ต้องกระท�ำในสภาพที่เตรียมพร้อมต่อการน�ำไปใช้ซ�้ำ การรีไซเคิล และการเก็บกักสารอันตราย (5) อัตราการเก็บรวบรวม รัฐสมาชิกต้องด�ำเนินการโดยใช้ “หลักความรับผิดชอบของผู้ผลิต” (producer responsibility) เพื่อให้สามารถเก็บรวบรวม WEEE ได้ตามอัตราที่ก�ำหนดในแต่ละปีดังนี้ นับจากปี ค.ศ. 2016 อย่างน้อยร้อยละ 45 ของน�ำ้ หนักโดยเฉลีย่ ของผลิตภัณฑ์ทจี่ ำ� หน่ายในตลาด ของรัฐสมาชิกในช่วงสามปีที่ผ่านมา รัฐสมาชิกต้องด�ำเนินการให้ปริมาณของ WEEE ที่จัดเก็บรวบรวมได้ เพิ่มขึ้นตามล�ำดับระหว่างปี ค.ศ. 2016-2019 นับจากปี ค.ศ. 2019 เป็นต้นไป อย่างน้อยร้อยละ 65 ของน�้ำหนักโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ที่ จ�ำหน่ายในตลาดของรัฐสมาชิกในช่วงสามปีที่ผ่านมา หรือร้อยละ 85 ของปริมาณ WEEE ที่เกิดขึ้นใน รัฐสมาชิก บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

197


(6) การจัดการ WEEE อย่างถูกต้อง 1) รัฐสมาชิกต้องด�ำเนินการให้ WEEE ที่เก็บรวบรวมได้ผ่านการบ�ำบัด ซึ่งอย่างน้อยต้อง ประกอบด้วยการถอดเอาส่วนทีเ่ ป็นของเหลว และสารหรือชิน้ ส่วนทีเ่ ป็นอันตรายทีอ่ ยู่ใน WEEE ออก และ ด�ำเนินการบ�ำบัดตามวิธีการที่ก�ำหนดไว้ใน Annex VII 2) ผู้ผลิตหรือบุคคลที่กระท�ำการแทนผู้ผลิตต้องจัดระบบให้มีการแปรรูป WEEE เพื่อน�ำกลับ มาใช้ประโยชน์โดยใช้เทคนิคที่ดีที่สุด (best available techniques) การจัดระบบอาจจะกระท�ำโดยล�ำพัง หรือกระท�ำร่วมกันกับผู้ผลิตอื่น (7) ความรับผิดชอบด้านการเงินในการจัดการ WEEE 1) รัฐสมาชิกต้องด�ำเนินการให้ผู้ผลิตรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส�ำหรับการจัดเก็บ การบ�ำบัด การแปรรูปกลับมาใช้ประโยชน์ และการก�ำจัด WEEE ทีร่ วบรวมไว้ ณ สถานทีเ่ ก็บรวบรวม WEEE ในกรณี ที่สมควร รัฐสมาชิกอาจสนับสนุนให้ผู้ผลิตรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นส�ำหรับการจัดเก็บ WEEE จาก ครัวเรือนเพื่อน�ำมาไว้ที่สถานที่เก็บรวบรวมด้วย 2) รัฐสมาชิกต้องด�ำเนินการให้ผู้ผลิตวางหลักประกันทางการเงินเมื่อมีการวางจ�ำหน่าย ผลิตภัณฑ์ของตนในตลาด เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ผลิตจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการ WEEE (8) การให้ข้อมูลส�ำหรับการจัดการของเสีย ผูผ้ ลิตต้องให้ขอ้ มูลโดยไม่คดิ ค่าใช้จา่ ยเกีย่ วกับการเตรียม WEEE เพื่อการใช้ซำ�้ และการบ�ำบัด ส�ำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทที่วางจ�ำหน่ายเป็นครั้งแรกภายในหนึ่งปีหลังจากการวางจ�ำหน่าย ข้อมูล ดังกล่าวต้องบ่งชี้ให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ และวัสดุของผลิตภัณฑ์ ต�ำแหน่งของสารอันตรายหรือส่วนผสม ของสารอันตราย การให้ข้อมูลให้จัดท�ำเป็นคู่มือ หรืออยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น CD-ROM หรือ บริการออนไลน์

1 98

การจัดการของเสียจากชุมชน


5.2 นโยบายด้านการจัดการของเสียในบางประเทศของสหภาพยุโรป

นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการของเสียใน EU และประเทศสมาชิกหลายประเทศ ให้ ความส�ำคัญแก่การลดและการคัดแยกขยะ รวมทั้งการรีไซเคิลขยะ ท�ำให้ปริมาณขยะที่เหลือให้ก�ำจัดใน ขั้นสุดท้ายมีจ�ำนวนน้อยลงมาก ยกตัวอย่างเช่น13 เยอรมนี เยอรมนีสามารถด�ำเนินการได้ตามเป้าหมายก่อนเวลาที่ก�ำหนดไว้ใน EU Directives กล่าวคือ มีการออก Landfill Ordinance ซึ่งห้ามการน�ำขยะชุมชนที่ไม่ผ่านการบ�ำบัดเบื้องต้น (pretreatment) มาก�ำจัดโดยวิธีฝังกลบตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 และขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ต้องผ่านการบ�ำบัด โดยใช้ความร้อน หรือบ�ำบัดโดยวิธีการเชิงกลชีวภาพ (Mechanically biological treatment: MBT) ก่อน การฝังกลบ นอกจากนี้ เยอรมนียังบรรลุเป้าหมายในการลดขยะชุมชนที่ย่อยสลายทางชีวภาพลงเหลือ ร้อยละ 35 ได้ตงั้ แต่ปี ค.ศ. 2005 (เป้าหมายตาม Landfill Directive ก�ำหนดไว้เป็นปี 2016) โดยการจัดระบบ แยกเก็บขนขยะทีย่ อ่ ยสลายทางชีวภาพ และน�ำขยะที่ไม่ยอ่ ยสลายทางชีวภาพมาหมักท�ำปุย๋ (Composting) หรือย่อยโดยกระบวนการไร้ออกซิเจน (anaerobic digestion) เป็นต้น นับจนถึง ค.ศ. 2011 เยอรมนีมโี รงงานเผาก�ำจัดขยะจ�ำนวน 73 โรง ซึง่ มีสมรรถนะในการก�ำจัด ขยะได้ประมาณ 19 ล้านตันต่อปี โรงงานทั้งหมดเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้า พลังไอน�้ำ และความร้อนส�ำหรับ ครัวเรือนในพื้นที่ (district heating) โดยในภาพรวมมีการน�ำพลังงานจากการเผาก�ำจัดขยะกลับมาใช้ ประโยชน์ในอัตรามากกว่าร้อยละ 50 เป็นที่คาดการณ์ว่าจะไม่มีการก่อสร้างโรงงานเผาก�ำจัดขยะเพิ่มเติม และมีแนวโน้มว่าจะต้องลดสมรรถนะของบางโรงงานต่อไปในอนาคต ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีปริมาณขยะประมาณ 60 ล้านตันต่อปี แต่สามารถรีไซเคิลขยะ โดยรวมได้ ใ นอั ต ราร้ อ ยละ 83 ในจ� ำ นวนนี้ ป ระกอบด้ ว ยการรี ไ ซเคิ ล กระดาษร้ อ ยละ 75 และการ รีไซเคิลวัสดุที่เป็นไม้ ร้อยละ 25 ท�ำให้มีปริมาณขยะที่เหลือให้ก�ำจัดโดยการเผาหรือการฝังกลบเพียง ร้อยละ 9.6 ขยะทีเ่ หลือให้กำ� จัดส่วนใหญ่เป็นขยะชุมชนประมาณ 3.4 ล้านตัน และขยะอุตสาหกรรมประมาณ 1.2 ล้านตันต่อปี ทั้งเยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ มีกฎหมายที่ก�ำหนดให้เก็บขนขยะแบบแยกประเภท โดยเฉพาะขยะอินทรียห์ รือขยะทีย่ อ่ ยสลายทางชีวภาพ ตัง้ แต่กอ่ นทีส่ หภาพยุโรปจะออก Landfill Directive ในปี ค.ศ. 1999 นอร์เวย์ ส่งออกของเสียจ�ำนวนมากพอสมควรเพื่อไปเผาก�ำจัดในประเทศสวีเดน ของเสีย ที่ส่งไปก�ำจัดในสถานที่ฝังกลบ ณ ปี ค.ศ. 2010 มีส่วนประกอบที่เป็นขยะย่อยสลายทางชีวภาพ 13 ตัวอย่างนโยบายด้านการจัดการของเสียของบางประเทศในสยุโรปตามข้อความข้างล่างสรุปมาจากความบางตอนใน WSP Environmental Ltd, on behalf of the Government of Western Australia’s Department of Environment and Conservation, Investigation into the Performance (Environmental and Health) of Waste to Energy Technologies Internationally, Stage One – Review of Legislative and Regulatory Frameworks for Waste to Energy Plants, January 2013, pp. 37-77.

บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

199


น้อยกว่าร้อยละ 20 เนื่องจากมีข้อก�ำหนดเรื่องห้ามมิให้ฝังกลบขยะที่ย่อยสลายทางชีวภาพและขยะที่ เผาไหม้ได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2009 การเก็บภาษีสถานที่ฝังกลบขยะ (landfill tax) เริ่มเมื่อ ค.ศ. 1999 โดยเก็บในอัตรา 300 NOK (โครนนอร์เวย์)/ตัน นอกจากนี้ ยังมีการเก็บภาษีจากโรงงานเผาขยะ โดยแบ่งออกเป็นภาษีพื้นฐานอัตรา 75 NOK/ตัน และภาษีอัตราแปรผัน 225 NOK/ตัน ขึ้นอยู่กับอัตรา การน�ำพลังงานที่ผลิตได้กลับมาใช้ประโยชน์ ต่อมาได้เปลี่ยนฐานภาษีเป็นจัดเก็บตามอัตราการปล่อยทิ้ง อากาศเสียแทนที่จะเก็บจากอัตราการน�ำพลังงานกลับมาใช้ประโยชน์ การออกใบอนุญาตประกอบกิจการ โรงงานเผาก�ำจัดขยะมีเงื่อนไขว่าต้องมีการใช้พลังงานอย่างน้อยร้อยละ 50 ของพลังงานที่ผลิตได้จาก หม้อต้มไอน�้ำ (boiler system) ทั้งในรูปของพลังงานความร้อนและ/หรือพลังงานไฟฟ้า อย่างไรก็ดี นอร์เวย์ยกเลิกการเก็บภาษีจากโรงงานเผาขยะในปี ค.ศ. 2010 เพื่อลดความแตกต่างด้านภาระทางภาษี ระหว่างนอร์เวย์กบั สวีเดน นับจนถึงปี ค.ศ. 2009 นอร์เวย์มโี รงงานแปรรูปขยะเป็นพลังงานทีด่ ำ� เนินกิจการ อยู่จ�ำนวน 13 โรง สวีเดน สวีเดนเป็นหนึ่งในผู้น�ำการแปรรูปขยะเป็นพลังงาน เริ่มเก็บภาษี Landfill tax ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2000 ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่อัตรา 435 SEK (โครนสวีเดน)/ตัน สถานที่ฝังกลบขยะใช้ส�ำหรับ รองรับเฉพาะขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ และห้ามการฝังกลบขยะอินทรีย์และขยะที่เผาไหม้ได้ ท�ำให้ ขยะที่ก�ำจัดในสถานที่ฝังกลบมีปริมาณลดลงประมาณร้อยละ 97 จากปริมาณขยะ ณ ปี ค.ศ. 1994 (ซึ่งเป็นปีที่เริ่มมีการเก็บสถิติปริมาณขยะจากครัวเรือน) ในปัจจุบัน สวีเดนสามารถบรรลุเป้าหมายตาม กฎหมายของสหภาพยุโรปที่ก�ำหนดให้ลดปริมาณการฝังกลบขยะที่ย่อยสลายได้ลงเหลือร้อยละ 35 และ ณ ปี ค.ศ. 2012 มีปริมาณขยะจากครัวเรือนเพียงร้อยละ 1 ที่ต้องส่งไปก�ำจัดโดยวิธีการฝังกลบ นับจนถึง ปี ค.ศ. 2009 สวีเดนมีโรงงานแปรรูปขยะเป็นพลังงานจ�ำนวน 31 โรง สหราชอาณาจักร ปัจจุบันมีโรงงานแปรรูปขยะเป็นพลังงานจ�ำนวน 30 โรง เริ่มเก็บภาษี landfill tax ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1996 ปัจจุบันจัดเก็บที่อัตรา 64 ปอนด์/ตัน ภาษีนี้มีส่วนท�ำให้ปริมาณ ขยะที่ส่งไปก�ำจัดในสถานที่ฝังกลบลดลงร้อยละ 32 ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1997 ถึง 2009 และท�ำให้มีการ รีไซเคิลขยะในอัตราที่สูงขึ้นด้วย กฎหมายการจัดการของเสียในสหราชอาณาจักรแบ่งออกเป็นส่วนที่ใช้ กับอังกฤษและเวลส์ (England and Wales) ส่วนที่ใช้กับสกอตแลนด์ และส่วนที่ใช้กับไอร์แลนด์เหนือ อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับต่างๆ ต้องเป็นไปตามข้อก�ำหนดในกฎหมายของสหภาพยุโรป กฎหมายการจัดการของเสียของสกอตแลนด์ (Waste Management Licensing (Scotland) Regulations 2011 และ Waste (Scotland) Regulations 2011) ตั้งเป้าหมายและข้อก�ำหนดไว้เข้มงวด กว่ากฎหมายที่ใช้กับอังกฤษและเวลส์ โดยมีข้อก�ำหนดห้ามการฝังกลบขยะครัวเรือนประเภทย่อยสลาย ได้ และห้ามน�ำขยะรีไซเคิลประเภทโลหะ พลาสติก แก้ว กระดาษ กล่องกระดาษ และขยะเศษอาหาร ที่มี การจัดเก็บแยกประเภทแล้วไปก�ำจัดโดยวิธีการเผาหรือฝังกลบ 2 00

การจัดการของเสียจากชุมชน


ฝรั่งเศส เริ่มเก็บ landfill tax เมื่อ ค.ศ. 1992 เพื่อส่งเสริมการลดและการรีไซเคิลขยะ โดย เก็บในอัตราทีแ่ ตกต่างกันไปขึน้ อยูก่ บั ประเภทของสถานทีฝ่ งั กลบ นอกจากนี้ ยังมีการเก็บภาษีจากการเผา ขยะ incineration tax ในอัตรา 7 ยูโร/ตัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 เป็นต้นมา โรงงานที่มีมาตรฐานการจัดการ ที่ดีด้านสิ่งแวดล้อมมีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีได้ถึงร้อยละ 70 เช่น โรงงานที่ได้รับใบรับรองมาตรฐาน การจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14000 มีประสิทธิภาพด้านพลังงานในระดับใกล้เคียงกับ R1 formula และ มีอัตราการปล่อย NOx ต�่ำกว่า 80 mg/Nm3 เป็นต้น ในปัจจุบัน ฝรั่งเศสมีโรงงานเผาขยะประมาณ 130 โรง ในจ�ำนวนนี้มี 110 โรง ที่จัดเป็นโรงงานแปรรูปขยะเป็นพลังงาน อิตาลี กฎหมายที่ออกในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 ห้ามฝังกลบขยะที่เผาไหม้ได้ (combustible waste) ที่มีค่าความร้อน (calorific value) มากกว่า 13 MJ/kg มีการเก็บ landfill tax เช่นเดียวกันกับ ประเทศอื่นๆ ในยุโรป โดยมีอัตราแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค กล่าวคือ เก็บในอัตรา 1-10 ยูโร ส�ำหรับ inert waste อัตรา 5-10 ยูโร ส�ำหรับขยะอื่น (ที่มิใช่ขยะชุมชน) และอัตรา 10-25 ยูโร ส�ำหรับขยะชุมชน นับจนถึงปี ค.ศ. 2005 อิตาลีมีโรงงานเผาขยะ 50 โรง โปแลนด์ มีการเก็บ landfill tax เช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ โดยเก็บในอัตราที่แตกต่างกัน ตามประเภทของเสียที่น�ำมาฝังกลบ กล่าวคือ ของเสียที่เป็นขยะชุมชน และของเสียที่เป็นอันตราย จะ ถูกเก็บในอัตราที่สูงกว่าของเสียที่เป็น inert waste เช่น ของเสียที่เป็นคอนกรีต อิฐ และเศษวัสดุที่ไม่มี ส่วนประกอบของโลหะจากการขุดหาแร่ เก็บในอัตรา 2.79 ยูโร/ตัน เศษวัสดุทมี่ สี ว่ นประกอบของโลหะจาก การขุดหาแร่ เก็บในอัตรา 4.32 ยูโร/ตัน กากตะกอนจากการรีไซเคิลกระดาษ เก็บในอัตรา 13.86 ยูโร/ตัน ขยะบรรจุภัณฑ์และขยะชุมชน เก็บในอัตรา 26.6 ยูโร/ตัน น�้ำมันดินที่เป็นกรดจากการบ�ำบัดถ่านหินโดย กระบวนการ pyrolytic treatment เก็บในอัตรา 36.4 ยูโร/ตัน เป็นต้น โปแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศที่ยัง คงต้องพึ่งพาการก�ำจัดของเสียโดยวิธีการฝังกลบเป็นอย่างมาก จึงได้รับการผ่อนผันยืดเวลาในการปฏิบัติ ตาม Landfill Directive เพิ่มขึ้นอีก 4 ปี เพื่อลดปริมาณการฝังกลบขยะที่ย่อยสลายทางชีวภาพให้ได้ตาม เป้าหมาย นับจนถึงปี ค.ศ. 2005 โปแลนด์มีโรงงานเผาขยะชุมชนเพียง 1 แห่ง และในปี ค.ศ. 2008 มี ข้อเสนอให้สร้างโรงงานเผาขยะอีก 12 แห่งในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ สเปน มีการเก็บ Landfill tax และ incineration tax ในบางภูมิภาค เช่น Catalonia region เก็บ landfill tax และ incineration tax ส�ำหรับการก�ำจัดขยะชุมชน และ Andalusia, Cantabria, Madrid, และ Murcia regions เก็บ landfill tax จากขยะอุตสาหกรรม ในปี ค.ศ. 2006 มีการปิดสถานที่ ฝังกลบเป็นจ�ำนวนมากที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานที่ก�ำหนดโดย EU Directive อย่างไรก็ดี ยังคง มีสถานที่ฝังกลบอีกจ�ำนวนมากเหมือนกันที่ยังเปิดด�ำเนินการอยู่ นับจนถึงปี ค.ศ. 2007 มีโรงงาน แปรรูปขยะเป็นพลังงานทีด่ ำ� เนินกิจการอยู่ในสเปนจ�ำนวน 10 โรง สามารถเผาขยะได้ประมาณ 2.1 ล้านตัน และสเปนมีแผนที่จะเพิ่มสมรรถนะการเผาอีก 360,000 ตัน ภายในปี ค.ศ. 2010

บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

201


5.3 การจัดการของเสียในญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ระดับ คือ  Central government ก�ำกับดูแลการจัดการของเสียในภาพรวมของประเทศ มีหน้าที่ รวบรวมและจั ด ท� ำ ฐานข้ อ มู ล ส่ ง เสริ ม การพั ฒ นาเทคโนโลยี ด ้ า นการจั ด การของเสี ย และให้ การ สนับสนุนแก่ Prefectures และ Municipalities ในการด�ำเนินภารกิจด้านการจัดการของเสีย  Prefectures จัดท�ำแผนการจัดการของเสีย ออกใบอนุญาตส�ำหรับสถานที่ก�ำจัดของเสีย รวมทั้งก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยมลพิษจากสถานที่ก�ำจัดของเสีย  Municipalities วางแผนการใช้ที่ดิน ควบคุมและก�ำกับดูแลโครงการก�ำจัดของเสีย ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 เป็นต้นมาได้ ก่อให้เกิดปัญหาการเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะอย่างมากมายจนเกินความสามารถในการรองรับของสถานที่ ฝังกลบขยะ ในช่วงทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 ญี่ปุ่นยังคงประสบปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ขยะชุมชนที่เพิ่มขึ้นรวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ขยะบรรจุภัณฑ์ และขวดพลาสติก ซึ่งยากต่อการก�ำจัด เฉพาะขวดพลาสติก มีปริมาณเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าจาก 123,798 ตัน ในปี ค.ศ. 1993 เป็น 361,944 ตันในปี ค.ศ. 200014 การก่อสร้างสถานที่ฝังกลบขยะเพิ่มเติมมักประสบปัญหาการ ต่อต้านจากประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ ท�ำให้เกิดความขาดแคลนสถานที่ฝังกลบอย่างรุนแรงโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในเขตเมืองใหญ่ ปัญหาการจัดการขยะท�ำให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องปรับนโยบายเพื่อส่งเสริมการลดขยะและการ รีไซเคิลขยะมากขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา กฎหมายส�ำคัญมีอาทิเช่น15 (1) Waste Management and Public Cleansing Act แก้ไขเพิ่มเติมปี ค.ศ. 1991 โดยเพิ่มเติม สาระเรื่องการลดขยะ การเก็บขนขยะแบบแยกประเภท และการรีไซเคิลขยะ (2) The Act on the Promotion of Effective Utilization of Resources ค.ศ. 1991 มี วัตถุประสงค์เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการก่อของเสีย และส่งเสริมการรีไซเคิล สาระส�ำคัญมีอาทิเช่น  ก�ำหนดให้รฐั บาลและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องออกกฎระเบียบให้อตุ สาหกรรม 10 ประเภท (เช่น อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมเหล็กกล้า อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ที่เป็นแก้ว อุตสาหกรรม 14 Ministry of the Environment, History and Current State of Waste Management in Japan, February 2014, หน้า 8, ที่มา: https://www.env. go.jp/en/recycle/smcs/attach/hcswm.pdf. 15 เพิ่งอ้าง, หน้า 17-28.

2 02

การจัดการของเสียจากชุมชน


ก่อสร้าง ฯลฯ) และผลิตภัณฑ์ 69 ชนิด (เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า กระป๋องเหล็กและอลูมิเนียม ขวดพลาสติก แบตเตอรี่ขนาดเล็ก) ต้องปฏิบัติเพื่อด�ำเนินการตามหลักการ 3R  ก�ำหนดหลักเกณฑ์ ให้ผู้ผลิตปฏิบัติในการออกแบบผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต การ ติดฉลากเพื่อบ่งชี้ผู้ผลิต  ให้ผู้ประกอบการจัดระบบรับคืนซากผลิตภัณฑ์เพื่อการรีไซเคิล (3) The Basic Law for Establishing a Sound Material-cycle Society ค.ศ. 2000 เป็นกฎหมาย แม่บทที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ญี่ปุ่นเป็นสังคมรีไซเคิล มีสาระส�ำคัญ ได้แก่ 1) ก�ำหนดขั้นตอนความส�ำคัญของวิธีการจัดการของเสียตามล�ำดับดังนี้คือ (1) การลดขยะ (2) การใช้ซ�้ำ (3) การรีไซเคิล (4) การแปรรูปโดยใช้ความร้อน และ (5) การก�ำจัด 2) ก�ำหนดบทบาทหน้าที่ของภาคส่วนต่างๆ เช่น รัฐบาลต้องจัดท�ำแผนปฏิบัติการเพื่อสร้างสังคมที่เน้นการรีไซเคิล และจัดให้มีการ ทบทวนแผนดังกล่าวทุกๆ 5 ปี เผยแพร่ความรูแ้ ก่ประชาชนเพือ่ ลดการก่อก�ำเนิดของเสีย ด�ำเนินมาตรการ ที่จ�ำเป็นเพื่อให้ผู้ผลิตจัดเก็บซากผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อน�ำไปรีไซเคิลตามความเหมาะ สม ให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีแก่ผู้ผลิตในด้านการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ การลดปริมาณของเสียทีเ่ กิดจากการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการรีไซเคิลและการก�ำจัดของเสีย อย่างเหมาะสม เป็นต้น รัฐบาลท้องถิ่นมีหน้าที่ด�ำเนินมาตรการที่จ�ำเป็นเพื่อให้มีการรีไซเคิลและก�ำจัด ของเสียอย่างเหมาะสมตามสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น ภาคเอกชนมีหน้าที่ลดการใช้วัตถุดิบในการผลิตและการประกอบกิจการของตน จัดให้มีการรีไซเคิลวัสดุท่ีใช้แล้ว ท�ำให้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์มีอายุการใช้งานนานขึ้น และสะดวกต่อ การรีไซเคิลและก�ำจัด และ ประชาชนมีหน้าที่ในการลดการก่อของเสีย แยกทิ้งขยะที่รีไซเคิลได้ และให้ความ ร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรการที่รัฐและรัฐบาลท้องถิ่นก�ำหนด นอกเหนือไปจาก The Basic Law for Establishing a Sound Material-cycle Society ค.ศ. 2000 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่ส่งเสริมให้ญี่ปุ่นเป็นสังคมรีไซเคิลแล้ว ญี่ปุ่นยังได้ออกกฎหมายที่ ก�ำหนดให้มีการรีไซเคิลของเสียหลายประเภทเป็นการเฉพาะอีก 6 ฉบับ ได้แก่16 16 เพิ่งอ้าง.

บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

203


Containers and Packaging Recycling Act ค.ศ. 1995 ครอบคลุมบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระดาษ บรรจุภณ ั ฑ์พลาสติก และบรรจุภณ ั ฑ์อนื่ ๆ เป็นต้น ขยะบรรจุภณ ั ฑ์ในญีป่ นุ่ มีปริมาณร้อยละ 60 ของขยะจากครัวเรือนในเชิงปริมาตร แต่หากคิดเป็นน�้ำหนัก จะมีปริมาณประมาณ ร้อยละ 30 ของขยะจากครัวเรือน ผู้บริโภคมีหน้าที่แยกทิ้งขยะที่เป็นบรรจุภัณฑ์ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นมีหน้าที่รับผิดชอบแยกการเก็บขนขยะที่เป็นบรรจุภัณฑ์ และผู้ผลิตมีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในการรีไซเคิลขยะบรรจุภัณฑ์ Home Appliance Recycling Act ค.ศ. 1998 จัดระบบรับคืนซากเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ได้แก่ เครือ่ งปรับอากาศ ตูเ้ ย็น ตูแ้ ช่แข็ง เครือ่ งรับโทรทัศน์ เครือ่ งซักผ้าและเครือ่ งอบผ้า ผูบ้ ริโภคทีต่ อ้ งการ ทิ้งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมส�ำหรับการเก็บ การขนส่ง และการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ นั้น ผู้ขายปลีกมีหน้าที่รับคืนซากผลิตภัณฑ์ และผู้ผลิตมีหน้าที่รีไซเคิลผลิตภัณฑ์ที่ได้รับคืนมาจาก ผู้ขายปลีก Food Recycling Act ค.ศ. 2000 ก�ำหนดให้ผู้ผลิตและผู้ขายอาหารต้องลดของเสียที่เป็น เศษอาหาร ให้มีระบบจดทะเบียนผู้ประกอบการที่น�ำเศษอาหารไปรีไซเคิลเป็นปุ๋ยและอาหารสัตว์ และ จัดให้มีมาตรการสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหาร ผู้ประกอบกิจการรีไซเคิล และเกษตรกร สามารถด�ำเนินการตามแผนงานที่ได้รบั อนุญาตในการใช้ปยุ๋ และอาหารสัตว์ที่ได้จากการรีไซเคิลเศษอาหาร Construction Recycling Act ค.ศ. 2000 ก�ำหนดให้เจ้าของอาคารที่จะก่อสร้างหรือรื้อถอน มีหน้าทีแ่ จ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ทราบล่วงหน้าเกีย่ วกับแผนการแยกเศษวัสดุทเี่ กิดจากการก่อสร้าง หรือรื้อถอนอาคารออกจากกัน ตลอดจนแผนการน�ำวัสดุบางประเภท เช่น ไม้ คอนกรีต และแอสฟัลท์ ไปรีไซเคิล Automobile Recycling Act ค.ศ. 2000 ก�ำหนดให้เจ้าของรถยนต์มีหน้าที่จ่ายค่าธรรมเนียม ส�ำหรับการก�ำจัดรถยนต์ของตนที่หมดอายุการใช้งานแล้ว (ส่วนที่เป็นเหล็กและโลหะซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80 ของน�้ำหนักรถเป็นส่วนที่สามารถน�ำไปรีไซเคิลได้) และให้ผู้ผลิตรถยนต์มีหน้าที่รับผิดชอบก�ำจัดเศษ ชิน้ ส่วนและของเสียทีเ่ หลือ ได้แก่ เศษพลาสติกและของเสียทีเ่ หลือจากการถอดแยกชิน้ ส่วนหรือบดท�ำลาย รถยนต์ สาร CFCs ที่อยู่ในเครื่องปรับอากาศของรถยนต์ และถุงลมนิรภัย Small Home Appliance Recycling Act ค.ศ. 2012 ครอบคลุมการรีไซเคิลเครื่องใช้ ไฟฟ้าขนาดเล็ก อาทิเช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายรูปดิจิทัล นาฬิกา เครื่องเป่าผม เป็นต้น โดยก�ำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ภาคส่วนต่างๆ ดังนี้  ผู้บริโภคมีหน้าที่แยกทิ้งซากเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ต้องการทิ้ง และส่งมอบให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น หรือผู้ค้าปลีกที่ได้รับแต่งตั้งโดยผู้ประกอบกิจการรีไซเคิลที่ได้รับการรับรองตาม กฎหมาย 2 04

การจัดการของเสียจากชุมชน


 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่แยกเก็บรวบรวมเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กที่ผู้บริโภคทิ้ง และส่งมอบของเสียดังกล่าวให้แก่ผู้ประกอบกิจการรีไซเคิลที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย  ผู้ประกอบกิจการรีไซเคิลที่ ได้รับการรับรองตามกฎหมายมีหน้าที่รับมอบของเสีย และ ด�ำเนินการรีไซเคิล  ผู้ค้าปลีก มีหน้าที่ให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมซากเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กจาก ผู้บริโภค โดยอาจจัดจุดเก็บรวบรวมหรือกล่องส�ำหรับรวบรวมซากเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กในเขตองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้ผลิต มีหน้าที่พัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วน และวัสดุที่ใช้ เพื่อเอื้ออ�ำนวยให้ ลดค่าใช้จ่ายในการรีไซเคิล รวมทั้งใช้วัสดุที่ได้จากการรีไซเคิลในกระบวนการผลิต ในช่วงตั้งแต่ ค.ศ. 1975 จนถึง ค.ศ. 2000 รัฐบาลญี่ปุ่นให้เงินสนับสนุนเป็นจ�ำนวนมากแก่ การก่อสร้างโรงงานเผาขยะ การตรวจพบสารไดออกซินในขี้เถ้าลอยที่มาจากโรงงานเผาก�ำจัดขยะและ การปนเปื้อนของสารไดออกซินในดินบริเวณรอบโรงงานเผาก�ำจัดขยะะที่ Tokorozawa City ใน Saitama Prefecture ในช่วงปี ค.ศ. 1998 ได้ก่อให้เกิดความตื่นตัวเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากสารมลพิษดังกล่าว และท�ำให้เกิดกระแสการต่อต้านการสร้างโรงงานเผาขยะมากขึ้น ในปี ค.ศ. 1999 ญี่ปุ่นออกกฎหมายที่ เรียกว่า the Act on Special Measures against Dioxins ซึ่งก�ำหนดมาตรฐานขั้นต�่ำเพื่อควบคุมการ ปล่อยสารไดออกซินจากเตาเผาขยะและการตรวจวัดการปนเปื้อนสารไดออกซินในดิน เอกสารทางการ ของกระทรวงสิ่งแวดล้อมระบุว่าการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสีย ประกอบ กับกฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้น ได้ส่งผลให้การปล่อยสารไดออกซินจากโรงงานเผาของเสียในปี ค.ศ. 2011 ลดลงถึงร้อยละ 99 จากระดับที่เคยเป็นเมื่อปี ค.ศ. 199717 แผนภาพที่ 5.2 แสดงโครงสร้างกฎหมายการจัดการของเสียของญี่ปุ่น

17 เพิ่งอ้าง, หน้า 13.

บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

205


แผนภาพที่ 5.2 โครงสร้างกฎหมายการจัดการของเสียของญี่ปุ่น

Basic Environment Act 1993 Basic Act for Establishing a Sound Material-Cycle Society (Basic Framework Act) ค.ศ. 2000

Waste Management Act ค.ศ. 1970

Effective Resource Utilization Promotion Act ค.ศ. 1991

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์เฉพาะอย่าง

Containers and Packaging Recycling Act 1995

Food Recycling Act 2000

Home Appliances Recycling Act 1998

2 06

การจัดการของเสียจากชุมชน

Automobile Recycling Act 2000

Construction Materials Recycling Act 2000

Small Home Appliances Recycling Act 2012


ในปี ค.ศ. 2008 ปริมาณขยะชุมชนร้อยละ 74 ของญี่ปุ่นถูกก�ำจัดโดยการเผา มีเพียงร้อยละ 2 ที่ถูกก�ำจัดโดยวิธีการฝังกลบ18 รัฐบาลท้องถิ่น (Municipalities) มีหน้าที่ก�ำจัดขยะในสถานที่ก�ำจัดขยะ ที่อยู่ภายในเขตปกครองของตนเองเท่าที่กระท�ำได้ โดยอาจร่วมมือกับท้องถิ่นอื่นที่มีพื้นที่ใกล้เคียงกัน ในการใช้สถานที่ก�ำจัดขยะร่วมกันได้เพื่อให้มีปริมาณขยะส�ำหรับการก�ำจัดอย่างเพียงพอ ณ ปี ค.ศ. 2008 ญี่ปุ่นมีโรงงานเผาก�ำจัดขยะจ�ำนวน 1,269 โรง ซึ่งมีสมรรถนะในการก�ำจัดขยะชุมชนได้ 35.7 ล้านตัน โรงงานเผาก�ำจัดขยะของญีป่ นุ่ มีขนาดโดยเฉลีย่ เล็กกว่าขนาดของโรงงานเผาขยะในสหภาพยุโรปเป็นอันมาก (ประมาณ 30,000 ตัน/ปี)19 อีกทั้งมีหลายโรงงานที่เก่าและใช้งานมานานหลายปี ท�ำให้มีประสิทธิภาพต�่ำ ในการแปรรูปขยะเป็นพลังงาน มีขอ้ น่าสังเกตว่า ญีป่ นุ่ ก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยมลพิษจากโรงงาน เก่า (ที่สร้างก่อนปี ค.ศ. 1998) ไว้ต�่ำกว่าโรงงานที่สร้างใหม่ ซึ่งต่างกับในสหภาพยุโรปที่ก�ำหนดให้โรงงาน ทั้งเก่าและใหม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานเดียวกัน20 นโยบายส่งเสริมการรีไซเคิลขยะในช่วงกว่าสิบปีที่ผ่านมาท�ำให้ญี่ปุ่นมีปริมาณขยะลดลง และในปัจจุบันสมรรถนะโดยรวมของโรงงานเผาขยะในญี่ปุ่นมีมากเกินกว่าปริมาณขยะที่มีให้ก�ำจัด21 อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่ก�ำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดขึ้นส�ำหรับควบคุมการปล่อยมลพิษจากโรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมการปล่อยสารไดออกซินและฟิวราน ท�ำให้มีการพัฒนาและก่อสร้างโรงงาน ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในช่วงหลายปีทผี่ า่ นมา ซึง่ รวมถึงการก่อสร้างโรงงานกว่า 100 แห่งที่ใช้เทคโนโลยี gasification หลายโรงงานใช้ ash melting process เพื่อผลิต vitrified, stable ash product ที่สามารถ น�ำมาใช้ในการก่อสร้างได้ ญี่ปุ่นไม่อนุญาตให้น�ำเถ้าหนักที่เกิดจากกระบวนการเผาขยะไปใช้ในงาน ก่อสร้าง เช่น การก่อสร้างถนน แต่ให้ใช้วธิ หี ลอมขีเ้ ถ้าหนักเป็นขีแ้ ร่หรือกากแร่ (slag) ท�ำให้เกือบไม่เหลือ ความจ�ำเป็นในการหาสถานที่ฝังกลบเถ้าหนักที่เหลือจากการเผา แต่ท�ำให้เกิดแรงกระตุ้นในการพัฒนา ระบบที่ใช้วิธีการหลอมเถ้า (ash melting)22 นโยบายด้านการจัดการของเสียของญี่ปุ่นเน้นที่การลดพื้นที่ ฝังกลบขยะให้มีเหลือน้อยที่สุด มากกว่าเป้าหมายในการในการน�ำพลังงานจากขยะกลับมาใช้ประโยชน์23 ในปัจจุบัน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งที่เริ่มขุดขยะในหลุมฝังกลบขยะเก่ามาผ่านกระบวนการ gasifier เพื่อน�ำวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์24 18 Investigation into the Performance (Environmental and Health) of Waste to Energy Technologies Internationally, Stage One-Review of Legislative and Regulatory Frameworks for Waste to Energy Plants, อ้างแล้ว, หน้า 83. 19 เพิ่งอ้าง. 20 เพิ่งอ้าง, หน้า 84. 21 เพิ่งอ้าง, หน้า 83. 22 เพิ่งอ้าง, หน้า 84. 23 เพิ่งอ้าง. 24 เพิ่งอ้าง.

บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

207


อุบัติภัยจากแผ่นดินไหวที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมาไดอิจิในภาคตะวันออกของญี่ปุ่น เมือ่ เดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2011 ได้กอ่ ให้เกิดกระแสเรียกร้องให้รฐั บาลแสวงหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ แทนที่ จะพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์เป็นหลัก เอกสารทางการของกระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่นระบุว่า ญี่ปุ่นมี นโยบายที่จะส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนพัฒนาโรงไฟฟ้าแปรรูปขยะเป็น พลังงานทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูง รวมทัง้ สนับสนุนให้มกี ารใช้พลังงานความร้อนจากโรงงานเผาขยะและโรงงาน อุตสาหกรรมมากขึน้ ในท้องถิน่ นอกจากนี้ รัฐบาลญีป่ นุ่ จะขยายการผลิตก๊าซชีวภาพ และส่งเสริมเทคโนโลยี การเปลี่ยนชีวมวลให้เป็นก๊าซเชื้อเพลิง (biogasfication) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการน�ำก๊าซมีเทน จากขยะเศษอาหารมาใช้ได้มากขึ้น25

25 History and Current State of Waste Management in Japan, อ้างแล้ว, หน้า 30.

2 08

การจัดการของเสียจากชุมชน


บทที่ 5: ประสบการณ์การจัดการของเสียในต่างประเทศ

209


2 10

การจัดการของเสียจากชุมชน


บทที่ 6

บทวิเคราะห์ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย ในปัจจุบนั ประเทศไทยก�ำลังประสบปัญหาปริมาณขยะชุมชนทีเ่ พิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง อปท. เป็น จ�ำนวนมากมีปญั หาด้านงบประมาณเพือ่ ใช้จา่ ยในการเก็บขนและก�ำจัดขยะ และสถานทีฝ่ งั กลบขยะมูลฝอย ส่วนใหญ่ยังมิได้ด�ำเนินการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2557 เป็นต้นมา การ จัดการขยะมูลฝอยได้ถูกก�ำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติตาม Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสีย อันตราย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดท�ำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) แม้ว่าแนวนโยบายการจัดการขยะมูลฝอยตาม Roadmap และ แผนแม่บทฯ จะมีเนื้อหาที่กล่าวถึงการส่งเสริมมาตรการลดและการคัดแยกขยะ รวมทั้งการน�ำขยะกลับ มาใช้ประโยชน์ แต่การด�ำเนินการของรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในช่วงสองปีที่ผ่านมากลับ ให้ความส�ำคัญมากกว่ากับการส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาลงทุนในโครงการแปรรูปขยะเป็นพลังงาน ดังเห็น ได้จากการผ่อนปรนกฎหมายและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการสร้างมาตรการจูงใจด้วยการเพิ่ม อัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าหรือ Feed-in tariff จากกิจการที่แปรรูปขยะชุมชนเป็นพลังงาน อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากการศึกษาของธนาคารโลกระบุวา่ การจัดการขยะชุมชนโดยโรงงานเผาขยะ มูลฝอยหรือโรงงานผลิตพลังงานจากขยะเป็นทางเลือกทีม่ คี า่ ใช้จา่ ยแพงทีส่ ดุ อีกทัง้ ต้องอาศัยบุคลากรทีม่ ี ทักษะสูง และต้องมีการบ�ำรุงรักษาระบบเป็นอย่างดี ฉะนัน้ จึงควรเลือกใช้วธิ กี ารนีเ้ ฉพาะเมือ่ ไม่มที างเลือก อื่นที่ง่ายกว่าและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเท่านั้น1 ขยะชุมชนในประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศรายได้น้อยหรือ รายได้ปานกลาง (low to middle income countries) มักถูกคัดแยกเอาส่วนที่ใช้ประโยชน์ ได้ออกแล้วเป็น ส่วนใหญ่ ท�ำให้เหลือขยะส่วนที่เป็นกระดาษ กระดาษแข็ง (cardboard) และพลาสติกเหลืออยู่เป็นจ�ำนวน น้อย นอกจากนี้ ยังเป็นขยะทีม่ อี งค์ประกอบของเถ้าและความชืน้ สูง ขยะในประเทศเหล่านีจ้ งึ เป็นเชือ้ เพลิง 1 Rand, T., Haukohl, J., and Marxen, U., Municipal Solid Waste Incineration: A Decision Maker’s Guide, 2000, หน้า 1.

บทที่ 6: บทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย

211


ที่ให้ค่าความร้อนต�่ำ และจ�ำเป็นต้องใช้เชื้อเพลิงเสริมในกระบวนการเผาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้2 ขยะที่จะ ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานความร้อนหรือไฟฟ้าได้ จะต้องให้ค่าความร้อนโดยเฉลี่ย 7 เมกะจูล/ กิโลกรัม (7,000 กิโลจูล/กิโลกรัม) เป็นอย่างน้อย และจะต้องให้คา่ ความร้อนไม่นอ้ ยกว่า 6 เมกะจูล/กิโลกรัม (6,000 กิโลจูล/กิโลกรัม) ในทุกฤดูกาล3 ผูบ้ ริโภคซึง่ เป็นผูก้ อ่ ก�ำเนิดขยะและหน่วยงานรัฐทีเ่ กีย่ วข้องจึงต้องมีความพร้อมในการรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการก�ำจัดขยะโดยวิธีการเผา อีกทั้งเถ้าลอยและกากของเสียจากการท�ำความ สะอาดก๊าซเสีย (flue gas cleaning residues) ถือว่าเป็นของเสียอันตรายที่ต้องได้รับการจัดการด้วยความ ระมัดระวังและอย่างเหมาะสม4 6.1 บทวิเคราะห์

นับตัง้ แต่กลางปี 2557 รัฐบาลได้กำ� หนดให้ปญั หาการจัดการขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ และ ก�ำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาตัง้ แต่มาตรการการจัดการขยะมูลฝอยตกค้างสะสม การจัดการขยะแบบ รวมศูนย์ที่เน้นการแปรรูปใช้ประโยชน์จากขยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเร่งรัดนโยบายส่งเสริมให้เอกชน เข้ามาลงทุนในโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ มีการออกมาตรการต่างๆ ในช่วงสองปีทผี่ า่ นมา ได้แก่  การก�ำหนดอัตราส่วนเพิม่ ราคารับซือ้ ไฟฟ้าทีผ่ ลิตจากพลังงานขยะในรูปแบบ Feed-in Tariff โดยมีระยะเวลาสนับสนุน 20 ปี  การผ่อนปรนกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น การยกเว้นให้โครงการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็น เชือ้ เพลิงไม่ตอ้ งจัดท�ำรายงานผลกระทบสิง่ แวดล้อมและให้ใช้ประมวลหลักการปฏิบตั แิ ทน และการยกเว้น การใช้บังคับผังเมืองรวมส�ำหรับการประกอบกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้า โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม โรงงานคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงาน โรงงานรีไซเคิลผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้ แล้วหรือของเสียจากโรงงาน และกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการก�ำจัดมูลฝอย  การตราพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่เป็นการมอบให้เอกชนด�ำเนินการหรือร่วมด�ำเนินการใน กิจการจัดการขยะมูลฝอย มิให้ถอื ว่าเป็นการร่วมลงทุนตามพระราชบัญญัตกิ ารให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการ ของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งมีผลให้การอนุมัติโครงการลักษณะดังกล่าวเป็นอ�ำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทย 2 เพิ่งอ้าง, หน้า 5. 3 เพิ่งอ้าง, หน้า 6. 4 เพิ่งอ้าง, หน้า 14.

2 12

การจัดการของเสียจากชุมชน


แม้วา่ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย และแผนแม่บทการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอยของประเทศฯ จะกล่าวถึงมาตรการลดขยะมูลฝอย การส่งเสริมการคัดแยกขยะและการรีไซเคิล ขยะ ตลอดจนการสร้างจิตส�ำนึกให้แก่คนในชาติเกี่ยวกับความส�ำคัญของการลดและคัดแยกขยะ แต่การ ส่งเสริมการลดขยะ การคัดแยกและรีไซเคิลขยะยังคงเป็นกิจกรรมภาคสมัครใจที่ปฏิบัติกันในบางชุมชน บางหน่วยงาน และบาง อปท. เท่านั้น การศึกษานโยบายและกฎหมายของรัฐ การรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ ในระดับพื้นที่ รวมทั้ง การศึกษากฎหมายของต่างประเทศบางส่วน ท�ำให้เห็นประเด็นปัญหาและข้อสังเกตดังต่อไปนี้ 1) อปท. เป็นหน่วยงานหลักทีต่ อ้ งจัดบริการสาธารณะด้านการเก็บ ขน และก�ำจัดขยะมูลฝอย แต่ อปท. ส่วนใหญ่ยังขาดแคลนงบประมาณ บุคลากร รวมทั้งการสนับสนุนทางวิชาการในการด�ำเนินภารกิจ ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ อปท. ยังมีปญั หาด้านการจัดการมูลฝอยติดเชือ้ และขยะอันตราย จากชุมชน ซึง่ ยังคงถูกทิง้ ปะปนกับมูลฝอยทัว่ ไป ในส่วนของมูลฝอยติดเชือ้ นัน้ อปท. ยังไม่สามารถก�ำกับ ดูแลให้สถานพยาบาลที่เป็นคลินิกรักษาคนและคลินิกรักษาสัตว์ ห้องปฏิบัติการและสถาบันวิจัยต่างๆ มี การแยกมูลฝอยติดเชื้อเพื่อให้มีการเก็บขนไปจัดการอย่างถูกต้อง แม้ว่าโรงพยาบาลขนาดใหญ่หลายแห่ง จะมีระบบก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อของตนเอง แต่ก็ไม่ได้ติดตั้งระบบบ�ำบัดมลพิษที่เกิดจากการเผา ไม่มีการ ตรวจวัดสารมลพิษที่ปล่อยออกมาจากเตาเผาอย่างสม�่ำเสมอ รวมทั้งไม่มีการตรวจวัดสารไดออกซิน ซึ่ง เป็นสารก่อมะเร็ง (ดูภาคผนวก 2) 2) อปท. ส่วนใหญ่ยังเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะในอัตราที่ต�่ำมาก บาง อปท. เก็บใน อัตรา 10 บาท/เดือน ถึงกระนัน้ ก็ยงั ไม่ได้รบั ความร่วมมือจากประชาชน นอกจากนี้ มีบาง อปท. ทีย่ กเว้นไม่ เก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะ เช่น เทศบาลนครหาดใหญ่ และเทศบาลเมืองควนลัง ซึง่ ก�ำลังประสบปัญหา เรื่องปริมาณขยะ แต่ก็ยังยกเว้นค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะมูลฝอยจากประชาชน สภาพการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า นโยบายของรัฐจ�ำเป็นต้องให้ความส�ำคัญอย่างเร่งด่วนแก่เรื่องการสร้างจิตส�ำนึกแก่ ประชาชนในการลดขยะ และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะตามหลัก การผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย นอกจากนี้ ผู้บริหาร อปท. ควรต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติในการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอย โดยไม่ควรค�ำนึงถึงแต่เรื่องฐานเสียงทางการเมืองของตน และมองหาแต่ทางเลือกที่เสียค่า ใช้จ่ายน้อยที่สุดในการก�ำจัดขยะ ทั้งๆ ที่อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีต่อการบ�ำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น อนึ่ง ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศใช้กฎกระทรวงก�ำหนดค่าธรรมเนียมการ ให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยฉบับใหม่เมื่อวันที่ 30 กันยายน 25595 ซึ่งมีผลให้ยกเลิก กฎกระทรวงก�ำหนดค่าธรรมเนียมเก็บขนขยะมูลฝอยฯ ฉบับปี พ.ศ. 2545 และเพิ่มอัตราค่าบริการจัดการ 5 กฎกระทรวง ก�ำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต หนังสือรับรองการแจ้ง และการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. 2559 รายละเอียดได้น�ำเสนอแล้วในบทที่ 2

บทที่ 6: บทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย

213


สิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยอย่างมีนัยยะส�ำคัญ โดยก�ำหนดให้ อปท. เก็บค่าธรรมเนียมการเก็บและขน มูลฝอยทั่วไปส�ำหรับครัวเรือน (ไม่เกิน 20 ลิตรต่อวัน) ได้ในอัตราไม่เกินเดือนละ 65 บาท และค่าก�ำจัด มูลฝอยทั่วไปในอัตราไม่เกินเดือนละ 155 บาท ซึ่งหากรวมทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันแล้ว อปท. มีอ�ำนาจ เก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนและก�ำจัดมูลฝอยจากครัวเรือนได้ในอัตราไม่เกินเดือนละ 220 บาท จึงเป็นเรื่อง ที่ต้องติดตามกันต่อไปว่ากฎกระทรวงก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใหม่นี้จะมีผลต่อการปฏิบัติของ อปท. มากน้อยเพียงใด 3) การก�ำจัดขยะโดยการเผาในเตาเผาขยะมูลฝอย (ไม่ว่าจะเป็นการเผาเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือ ไม่ก็ตาม) เป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูงทั้งในขั้นตอนการก่อสร้าง การบ�ำรุงรักษา และการด�ำเนินการ ใน บรรดาโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานขยะทั้งหมด เตาเผาชุดที่ 1 ของโรงไฟฟ้าเทศบาลนครภูเก็ต ถือว่าเป็นโรง ไฟฟ้าพลังงานขยะแห่งแรกของไทย มีอายุการใช้งาน 14 ปี (ปัจจุบันหยุดเดินระบบเพื่อซ่อมแซมใหญ่) โรงงานเผาก�ำจัดขยะมูลฝอยที่ด�ำเนินการอยู่ในปัจจุบันต่างประสบปัญหาและอุปสรรคแตกต่างกันไป เช่น ไม่มีความคุ้มค่าคุ้มทุนในการด�ำเนินการ (เช่น เตาเผาขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองเสนา) ไม่สามารถเผา ก�ำจัดขยะได้อย่างเต็มทีเ่ นือ่ งจากปัญหาความชืน้ ของขยะชุมชน ท�ำให้ตอ้ งใช้งบประมาณจ�ำนวนมากในการ ปรับปรุงระบบการจัดการขยะส่วนหน้าก่อนป้อนขยะเข้าเตาเผา (เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาล นครหาดใหญ่) ชิ้นส่วนเครื่องจักรมีอายุการใช้งานสั้น (เช่น เตาเผาชุดที่ 2 ของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของ เทศบาลนครภูเก็ต เพิ่งเปลี่ยนเทอร์ ไบน์ ไป 1 ตัวหลังจากเพิ่งเปิดด�ำเนินการมา 4 ปี) 4) การคัดเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของขยะชุมชนในการด�ำเนินการโรงไฟฟ้า พลังงานขยะเป็นเรือ่ งทีม่ คี วามส�ำคัญอย่างยิง่ และจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ อนุญาตให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ประสบการณ์ของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่แสดง ให้เห็นถึงปัญหาในการจัดการความชื้นของขยะ ท�ำให้เตาเผาที่ใช้เทคโนโลยีราคาแพงไม่สามารถเผาขยะ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งในที่สุดจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะเดียวกัน การปิดโรงงานที่เอกชนได้ลงทุนไปนับพันล้านบาทเป็นเรื่องยาก อีกทั้งไม่อาจแก้ไขปัญหาว่าจะก�ำจัดขยะ ที่มีอยู่มากมายในเขตเทศบาลและ อปท. ข้างเคียงได้อย่างไร 5) รายรับที่ท�ำให้โรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงยืนหยัดอยู่ได้ คือ รายได้จากการขาย ไฟฟ้า ในขณะที่ค่าบริการก�ำจัดขยะที่ได้ถือว่าเป็นส่วนน้อย เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลนคร ภูเก็ตได้รับค่าก�ำจัดขยะเพียงประมาณเดือนละ 5 ล้านบาท แต่มีรายได้จากขายไฟฟ้าเดือนละ 30-40 ล้านบาท ส�ำหรับกรณีของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่นนั้ ก็นา่ จะด�ำเนินธุรกิจอยูไ่ ด้ดว้ ย เหตุผลเดียวกัน เนื่องจากคิดค่าก�ำจัดขยะเพียงตันละ 290 บาท และต้องหักค่าใช้จ่ายออกร้อยละ 10 เพื่อ ส่งมอบให้เทศบาลเมืองควนลังซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ จึงเห็นได้ชัดเจนว่ามาตรการส่งเสริมเรื่องอัตราเพิ่ม ราคารับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in Tariff เป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้เอกชนเข้ามาร่วมมือกับ อปท. ใน 2 14

การจัดการของเสียจากชุมชน


โครงการก�ำจัดมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ข้อเท็จจริงดังกล่าวก่อให้เกิดความเสี่ยงหากบริษัทเอกชน ที่เข้ามาลงทุนมุ่งหวังผลก�ำไรจากการขายไฟฟ้ามากกว่าความยั่งยืนของโครงการ ในงานศึกษานี้พบว่า มีบาง อปท. ที่มีความสนใจที่จะเปิดให้เอกชนเข้ามาก่อสร้างและด�ำเนินกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ โดย คาดหมายว่าจะมีรายได้จากการขายไฟฟ้า ทัง้ ๆ ทีเ่ ป็น อปท. ขนาดเล็กและไม่มคี วามเหมาะสมทีจ่ ะก่อสร้าง โรงไฟฟ้าขยะ 6) ข้อมูลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่ายังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด การก�ำกับ ดูแลการด�ำเนินกิจการของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะเป็นเรื่องส�ำคัญเช่นเดียวกันกับการก�ำกับดูแลโรงงาน ประเภทอืน่ ๆ ทัง้ ด้านการเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศ และการจัดการกากของเสีย เช่น ขีเ้ ถ้าหนักและขีเ้ ถ้าลอย ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผา ในการศึกษานี้ พบกรณีที่ผู้ประกอบการแจ้งว่าได้รับอนุญาตจากกรมโรงงาน อุตสาหกรรมให้ขยายระยะเวลากักเก็บขีเ้ ถ้าหนักและขีเ้ ถ้าลอยในโรงงาน แต่ยงั ไม่พบว่ามีการน�ำขีเ้ ถ้าหนัก และขี้เถ้าลอยออกไปนอกโรงงานเพื่อด�ำเนินการตามมาตรฐานที่กฎหมายก�ำหนด แม้จะเป็นการกักเก็บ เกินกว่าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตแล้วก็ตาม อีกทั้งปริมาณที่กักเก็บไว้ก็มีมากกว่าที่ได้รับอนุญาตเช่นกัน นอกจากนี้ ยังปรากฏว่ามีการน�ำขี้เถ้าหนักมาถมที่ดินในบริเวณโรงงานหรือถมท�ำคันดินในบริเวณศูนย์ ก�ำจัดขยะ แม้บริษัทผู้รับผิดชอบจะให้ข้อมูลว่า ได้มีการทดสอบขี้เถ้าแล้วว่าไม่มีคุณสมบัติที่เป็นอันตราย แต่การด�ำเนินการดังกล่าวก็ควรจะต้องได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน เพื่อให้มั่นใจได้ว่า มีการจัดการกากของเสียอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 7) ในทุกกรณี อปท. ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการจะเป็นหน่วยงานหลักผู้รับผิดชอบในการก�ำกับ ดูแลโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ สัญญาก่อสร้างส่วนใหญ่จะก�ำหนดให้บริษัทที่รับผิดชอบบริหารระบบต้อง จัดท�ำรายงานผลการด�ำเนินงานประจ�ำเดือนเพือ่ จัดส่งให้ อปท. โดยมีหน่วยงานผูร้ บั ผิดชอบตามกฎหมาย ว่าด้วยโรงงานควบคุมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายก�ำหนด หาก อปท. ละเลยความรับผิดชอบ นี้ หรือไม่มบี คุ ลากรทีม่ คี วามสามารถในการก�ำกับดูแลการประกอบกิจการของโรงไฟฟ้าอย่างจริงจัง ก็อาจ ก่อให้เกิดปัญหาในการก�ำกับดูแลให้โรงไฟฟ้าด�ำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ สัญญาก่อสร้าง และด�ำเนินกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะมักระบุเพียงว่าห้ามใช้เชื้อเพลิงที่เป็นถ่านหิน และอนุญาตให้ใช้ น�้ำมันดีเซลเมื่อตอนเริ่มเดินระบบเท่านั้น แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า หากมีการใช้เชื้อเพลิงเสริมอย่างอื่นที่ เป็นชีวมวล เช่น ชิปไม้ยางพารา จะถือว่าผิดเงือ่ นไขในการประกอบกิจการโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะหรือไม่ 8) การด�ำเนินระบบเตาเผาขยะมูลฝอยมีรายละเอียดหลายประการที่ต้องควบคุมในเชิงเทคนิค เพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศ เช่น การควบคุมอุณหภูมิของก๊าซที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเผาให้อยู่ใน ระดับที่สูงตามระยะเวลาที่ก�ำหนด การป้องกันการป้อนขยะเข้าระบบเมื่อไม่สามารถรักษาระดับอุณหภูมิ ของก๊าซในเตาเผา การลดหรือหยุดเดินเครือ่ งเมือ่ อุปกรณ์บำ� บัดมลพิษ และอุปกรณ์ตรวจวัดมลพิษขัดข้อง หรือหยุดท�ำงาน เป็นต้น ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่ก�ำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการควบคุม

บทที่ 6: บทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย

215


การท�ำงานของระบบเตาเผา (Operating conditions) อย่างละเอียดและครอบคลุมดังตัวอย่างของกฎหมาย สหภาพยุโรป มีเพียงประมวลหลักการปฏิบตั ิ (CoP) ทีก่ ำ� หนดหลักเกณฑ์บางส่วน เช่น ความสูงของปล่อง ระบายอากาศเสีย ค่ามาตรฐานของสารมลพิษที่ระบายออกจากปล่อง การติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพ อากาศจากปล่องแบบต่อเนื่อง (CEMs) การควบคุมอุณหภูมิในการเผาไหม้มูลฝอย และช่วงระยะเวลาที่ ต้องคงก๊าซที่เกิดจากการเผาให้อยู่ในห้องเผาไหม้ เป็นต้น อย่างไรก็ดี CoP เป็นเพียงเงื่อนไขในการอนุญาตการประกอบกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ มิใช่กฎหมายที่ใช้ในการก�ำกับดูแลการประกอบกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง โดยตรง ฉะนั้น จึงควรน�ำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใน CoP มาก�ำหนดเป็นกฎหมาย พร้อมทั้งเพิ่มเติม หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเดินระบบเตาเผาให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น เพื่อให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบ ใช้เป็นเกณฑ์ในการก�ำกับดูแลโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะ 9) การจัดการกากของเสีย เถ้าหนัก และเถ้าลอย ที่เกิดจากกระบวนการเผาขยะในโรงไฟฟ้า พลังงานขยะเป็นประเด็นส�ำคัญในการคุม้ ครองสิง่ แวดล้อมและสุขภาพของประชาชน เนือ่ งจากการเผาไหม้ ที่ไม่สมบูรณ์จะท�ำให้มีสารไดออกซินปนอยู่ในขี้เถ้าที่เกิดจากการเผา ทั้งนี้ เถ้าที่เป็นของเสียอันตรายจะ ต้องถูกน�ำไปก�ำจัดโดยวิธีการฝังกลบอย่างปลอดภัย อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันประเทศไทยมีสถานที่ฝังกลบ ของเสียอันตรายอย่างปลอดภัยที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายอยู่เพียง 3 แห่ง6 ซึ่งทั้งหมดมีสถานที่ตั้งอยู่ ในภาคกลาง อีกทั้งการด�ำเนินการฝังกลบอย่างปลอดภัยมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงประมาณ 10,000 บาท/ตัน จึงเป็นไปได้ยากที่โรงงานเผาก�ำจัดขยะชุมชนที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศจะขนส่งเถ้าที่เป็น ของเสียอันตรายไปก�ำจัดในสถานที่ฝังกลบอย่างปลอดภัยที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ เว้นแต่ว่าจะมี การก�ำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง 10) ในปัจจุบัน ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การก�ำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 ยังมิได้กำ� หนดวิธกี ารตรวจหาสารไดออกซินในเถ้าหนักและเถ้าลอยทีเ่ กิดจากการผลิตไฟฟ้าและ กระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ ห้องปฏิบัติการในประเทศยังไม่มีความพร้อมในการตรวจหา สารไดออกซิน จึงควรต้องเพิ่มสารไดออกซินเข้าไปใน parameters ของสิ่งเจือปนที่เป็นของเสียอันตราย ซึ่งต้องตรวจหาในสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วตามภาคผนวกที่ 2 ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฯ ฉบับดังกล่าว รวมทั้งเสริมสร้างสมรรถนะของห้องปฎิบัติการในประเทศให้สามารถตรวจหาสารมลพิษ ดังกล่าวนี้ด้วย ประสบการณ์ต่างประเทศทั้งในยุโรปและญี่ปุ่นแสดงให้เห็นว่า รัฐมิได้มีมาตรการส่งเสริม โรงไฟฟ้าพลังงานขยะแต่เพียงด้านเดียว แต่รัฐมีนโยบายชัดเจนเกี่ยวกับการจัดล�ำดับความส�ำคัญของ 6 ได้แก่ (1) บริษัท บริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จ�ำกัด (มหาชน) (GENCO) (2) บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จ�ำกัด (มหาชน) และ (3) บริษัท โปรเฟสชันแนล เวสต์ เทคโนโลยี (1999) จ�ำกัด (มหาชน)

2 16

การจัดการของเสียจากชุมชน


วิธีการจัดการขยะมูลฝอย หรือ Waste Hierarchy อีกทั้งมีการออกกฎหมายมากมายที่ก�ำหนดหน้าที่ ให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคลดและคัดแยกขยะ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่จัดระบบเพื่อให้มีการ คัดแยกขยะ โดยมีเป้าหมายให้มกี ารรีไซเคิลขยะและแปรรูปขยะเพือ่ น�ำกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากทีส่ ดุ และ ลดปริมาณขยะที่จะต้องน�ำไปก�ำจัดหรือฝังกลบให้เหลือน้อยที่สุด ส�ำหรับประเทศไทย มีเอกสารในภาครัฐ ที่ระบุถึงหลักการ 3 Rs อย่างแพร่หลาย แต่มีการปฏิบัติอย่างจริงจังน้อยมาก การให้ข้อมูลแก่สาธารณชน ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเน้นแต่เรื่องข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ทั้งในแง่ช่วยก�ำจัดปริมาณขยะที่มีอยู่ มากมาย และยังมีส่วนช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานจากกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานขยะ การ สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในความเข้าใจของสาธารณชนจ�ำนวนมากจึงเป็นเรื่องดีที่ให้แต่ประโยชน์ หรือ เป็น win-win solution ส�ำหรับการจัดการปัญหาขยะมูลฝอย ทั้งๆ ที่หากไม่มีความรอบคอบในการจัดท�ำ โครงการและไม่มีการก�ำกับดูแลที่ดี โรงไฟฟ้าพลังงานขยะก็สามารถสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพได้มากเช่นกัน 6.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย 1) เนื่องจาก อปท. เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องรับผิดชอบการจัดการขยะมูลฝอย การพัฒนา ความพร้อมและสมรรถนะของ อปท. จึงเป็นเรื่องที่มีความส�ำคัญอย่างยิ่ง ในการดังกล่าว จะต้องมีการ จัดสรรงบประมาณ บุคลากร ตลอดจนการสนับสนุนทางวิชาการให้แก่ อปท. อย่างเพียงพอ เพือ่ ให้สามารถ รองรับภารกิจนี้ และสามารถจัดการขยะมูลฝอยได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการตามนโยบายของรัฐบาล ในกรณีที่ อบจ. ในจังหวัดใดมีความพร้อม ควรให้ อบจ. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศูนย์จัดการขยะ รวม แทนที่จะปล่อยให้ อปท. เล็กๆ ที่มีจ�ำนวนมากมายในแต่ละจังหวัดต่างด�ำเนินการกันเอง โดยจะต้อง มีการจัดสรรงบประมาณ บุคลากร และให้การสนับสนุนทางวิชาการให้แก่ อบจ. อย่างเพียงพอเช่นกัน 2) รัฐต้องสร้างความสมดุลแก่นโยบายด้านการจัดการขยะมูลฝอย ไม่ควรมุ่งส่งเสริมเรื่องการ ก�ำจัดขยะโดยการแปรรูปขยะเป็นพลังงานแต่เพียงด้านเดียวดังเช่นที่ผ่านมา แต่ควรให้ความส�ำคัญแก่ Waste Hierarchy และมีมาตรการสนับสนุนด้านกฎหมายและงบประมาณในเรื่องการลดขยะ การคัดแยก ขยะ และการรีไซเคิลขยะมากขึ้น อาทิเช่น  ส่งเสริมให้ อปท. ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ก�ำหนดหลักเกณฑ์ให้ประชาชนคัดแยกขยะ ซึ่งอย่างน้อยควรต้องมีการคัดแยกขยะอินทรีย์ และขยะอันตราย ออกจากขยะทั่วไป  มีกฎหมายทีก่ ำ� หนดหน้าที่ให้ อปท. ต้องออกข้อบัญญัตทิ อ้ งถิน่ เพือ่ ก�ำหนดค่าธรรมเนียม เก็บ ขน และก�ำจัดขยะมูลฝอย ในอัตราที่สะท้อนค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะมูลฝอยมากขึ้น และหากเป็น ไปได้ ควรก�ำหนดอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต�่ำที่ อปท. จะต้องเรียกเก็บจากผู้รับบริการ เพื่อป้องกันปัญหา การเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต�่ำเกินไป หรือยกเว้นไม่เก็บค่าธรรมเนียม บทที่ 6: บทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย

217


 ส่งเสริมสมรรถนะของ อปท.ในการก�ำกับดูแลให้มีการจัดการมูลฝอยติดเชื้ออย่าง ถูกต้อง โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขต้องให้การสนับสนุนทางวิชาการแก่ อปท. อย่างเต็มที่  ออกกฎหมายเพือ่ จัดการซากผลิตภัณฑ์เครือ่ งใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ตามทีก่ ระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ 3) รัฐควรชะลอนโยบายเร่งรัดให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะในภูมิภาคต่างๆ ของ ประเทศ เนื่องจากการส่งเสริมให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะจ�ำเป็นต้องด�ำเนินการอย่างรอบคอบ ทั้งในด้านการพิจารณาเทคโนโลยีที่เหมาะสม การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และ มาตรการตรวจสอบและควบคุมอย่างรัดกุม การเน้นมาตรการส่งเสริมจนขาดความสมดุลก่อให้เกิดความ เสี่ยงที่เอกชนบางกลุ่มอาจมุ่งแสวงหาประโยชน์จากการขายไฟฟ้า มากกว่าการให้ความส�ำคัญแก่ความ ยั่งยืนของโครงการ 4) ควรออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมหรือประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมเพื่อก�ำหนดมาตรการก�ำกับดูแลโรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่ด�ำเนินการอยู่และที่จะเปิดด�ำเนินการ ในอนาคตอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการควบคุมระบบปฏิบัติการของเตาเผา (Operating conditions) แทนที่จะมุ่งเน้นแต่การควบคุมคุณภาพอากาศเสีย น�้ำทิ้ง และกากของเสียที่เกิดจากการ ประกอบกิจการโรงงานแต่เพียงอย่างเดียว โดยน�ำเกณฑ์การปฏิบัติที่มีอยู่แล้วบางส่วนใน CoP มาก�ำหนด เป็นกฎหมาย และเพิม่ เติมเกณฑ์การปฏิบตั ิให้สมบูรณ์ตามแนวทางเดียวกันกับกฎหมายของสหภาพยุโรป เช่น การควบคุมปริมาณอินทรียค์ าร์บอนรวม (TOC) ในตะกรัน (slag) และเถ้าหนัก การติดตัง้ หัวเผาเสริม ส�ำหรับแต่ละเตาเผาซึ่งจะท�ำงานโดยอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิของก๊าซเผาไหม้ลดต�่ำลงกว่าเกณฑ์ที่ก�ำหนด การติดตั้งระบบการท�ำงานอัตโนมัติเพื่อป้องกันการป้อนของเสียเข้าระบบในช่วงที่อุณหภูมิในเตาเผายัง ไม่สูงถึงระดับที่ก�ำหนด หรือในช่วงที่อากาศเสียที่ปล่อยออกมามีค่าสูงเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายก�ำหนด การควบคุมการท�ำงานของระบบในสภาพที่ไม่ปกติ (เช่น ก�ำหนดระยะเวลาสูงสุดที่จะอนุญาตให้อุปกรณ์ บ�ำบัดและอุปกรณ์ตรวจวัดมลพิษหยุดการท�ำงานได้อนั เนือ่ งมาจากข้อขัดข้องทางเทคนิคหรือช�ำรุด เงือ่ นไข และข้อห้ามในการเผาในสภาวะที่มลพิษที่ปล่อยออกมามีค่าเกินมาตรฐานควบคุมที่กฎหมายก�ำหนด การ ตรวจวัดคุณภาพน�ำ้ เสียก่อนปล่อยน�ำ้ เสียเข้าสูร่ ะบบบ�ำบัดรวม และ ณ จุดภายหลังทีผ่ า่ นการบ�ำบัดแล้ว การ ค�ำนวณค่ามวลสมดุล (mass balance) เพื่อหาปริมาณสารมลพิษในน�้ำทิ้งที่เกิดจากน�้ำเสียในกระบวนการ ท�ำความสะอาดไอเสีย การจัดการกากของเสีย (residues) การขนส่งและเก็บรักษากากของเสียเพือ่ ป้องกัน การกระจายออกสูส่ งิ่ แวดล้อม และการทดสอบเพือ่ ให้ทราบถึงคุณสมบัตทิ างกายภาพและทางเคมีของกาก ของเสียก่อนที่จะก�ำหนดวิธีการก�ำจัดหรือการรีไซเคิลกากของเสีย เป็นต้น

2 18

การจัดการของเสียจากชุมชน


5) ควรยกเลิกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฯ ที่ก�ำหนดให้โรงไฟฟ้า พลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป ได้ รับยกเว้นไม่ต้องจัดท�ำรายงาน EIA ทั้งนี้เพื่อเป็นการคงไว้ซึ่งมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ของประชาชนตามหลักการระวังไว้กอ่ น (Precautionary principle) ที่ได้รบั การยอมรับอย่างแพร่หลายจาก นานาประเทศ อย่างไรก็ดี เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากกระบวนการพิจารณา EIA ดังเช่นที่ผ่านมา ควร ก�ำหนดแนวทางปฏิบตั ิให้คณะกรรมการผูช้ ำ� นาญการมีขอบเขตการพิจารณารายงาน EIA เฉพาะในเรือ่ งที่ เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเป็นหลัก ส่วนเรื่องทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการก�ำกับดูแล ระบบปฏิบัติการของเตาเผาขยะ ควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบโดยอาศัยเกณฑ์การปฏิบัติที่ ก�ำหนดไว้เป็นกฎหมายต่างหากดังที่กล่าวมาแล้วในข้อ 4) 6) ควรยกเลิกค�ำสั่ง คสช. ที่ 4/2559 ซึ่งยกเว้นการใช้บังคับกฎหมายผังเมืองรวมกับโรงไฟฟ้า โรงงานบ�ำบัดและก�ำจัดของเสีย และกิจการก�ำจัดขยะมูลฝอย เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการใช้ที่ดินและ การบ�ำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว 7) เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายการส่งเสริมการผลิตพลังงานจากขยะ มาตรการส่งเสริมโดย ก�ำหนดราคาส่วนเพิม่ การรับซือ้ ไฟฟ้าแบบ Feed-in Tariff ควรจ�ำกัดไว้สำ� หรับโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะที่ มีประสิทธิภาพในการแปรรูปขยะเป็นพลังงานอย่างแท้จริงเท่านัน้ โดยก�ำหนดหลักเกณฑ์ให้ชดั เจนเหมือน ดังเช่นในกรณีของสหภาพยุโรป ซึง่ มีเกณฑ์การพิจารณาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของกิจการแปรรูปขยะ เป็นพลังงาน โดยค�ำนวณตามสัดส่วนของพลังงานที่ผลิตได้ต่อพลังงานที่ใช้ในกระบวนการผลิต (ปัจจุบัน ตัวเลขอยู่ที่ 0.60 ส�ำหรับโรงงานเก่า และ 0.65 ส�ำหรับโรงงานใหม่) ฉะนั้น โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงเสริม อย่างอื่นในสัดส่วนที่สูงเกินเกณฑ์ที่ก�ำหนดจึงไม่ควรได้รับประโยชน์จากมาตรการ Feed-in Tariff 8) ควรมีกฎหมายที่ก�ำหนดมาตรฐานของสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยให้เป็นไปอย่างถูกต้องตาม หลักวิชาการ ในปัจจุบัน กรมควบคุมมลพิษได้ออกประกาศหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเหมาะสมของ พื้นที่ การออกแบบก่อสร้าง และการจัดการสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล พ.ศ. 2560 และประกาศหลักเกณฑ์ ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบก่อสร้าง และการจัดการ สถานที่ก�ำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ ยังมีค�ำแนะน�ำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง สุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2558 แต่หลักเกณฑ์ต่างๆ ดังกล่าวยังไม่สามารถน�ำไปใช้ บังคับกับการปฏิบัติของ อปท. ได้ พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 18 บัญญัติให้การ เก็บ ขน หรือก�ำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยเป็นอ�ำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น ในการดังกล่าว อปท. อาจม อบอ�ำนาจให้บุคคลใดด�ำเนินการแทนภายใต้การควบคุมดูแลของ อปท. หรือออกใบอนุญาตให้บุคคลใด ด�ำเนินกิจการรับท�ำการเก็บ ขน หรือก�ำจัดสิง่ ปฏิกลู หรือมูลฝอยก็ได้ (มาตรา 18 วรรคสาม และมาตรา 19) โดยยังไม่มีบทบัญญัติที่ก�ำหนดให้ อปท. ต้องถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กรมควบคุมมลพิษประกาศ หรือ

บทที่ 6: บทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย

219


น�ำมาก�ำหนดเป็นเงื่อนไขการอนุญาต จึงเป็นที่มาของปัญหาสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยจ�ำนวนมากมายที่ ด�ำเนินการอย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ฉะนัน้ จึงควรมีฎหมายทีก่ ำ� หนดหน้าทีใ่ ห้ อปท. ต้องถือปฏิบตั ติ ามหลักเกณฑ์ทกี่ รมควบคุมมลพิษ ประกาศ และในกรณีที่ อปท. มอบหมายให้เอกชนหรือออกใบอนุญาตให้เอกชนด�ำเนินกิจการจัดการขยะ มูลฝอย จะต้องน�ำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาก�ำหนดเป็นเงื่อนไขในการอนุญาตและก�ำกับดูแลสถานที่ก�ำจัด มูลฝอย ไม่ว่าจะเป็นกิจการก�ำจัดมูลฝอยโดยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล หรือโดยเตาเผาก็ตาม แทนที่จะปล่อยให้เป็นดุลพินิจของ อปท. ว่าจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ดังเช่นที่ผ่านมา นอกจากนี้ ควรก�ำหนด ให้ผปู้ ระกอบกิจการก�ำจัดขยะมูลฝอยต้องวางหลักประกันทางการเงินเพือ่ ให้มนั่ ใจว่าจะปฏิบตั ติ ามเงื่อนไข ที่กฎหมายก�ำหนด 9) ควรศึกษามาตรการสนับสนุนอื่นๆ เพื่อการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน เช่น มาตรการ สนับสนุนกิจการท�ำปุย๋ จากขยะ และกิจการรีไซเคิลขยะ การเก็บค่าธรรมเนียมบรรจุภณ ั ฑ์ หรือถุงพลาสติก เพื่อลดการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว การส่งเสริมการใช้วัสดุที่ไม่เป็นอันตรายและย่อยสลายง่ายในการผลิต บรรจุภัณฑ์ และการเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็น ค่าใช้จ่ายในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เป็นต้น ทั้งนี้ มีงานศึกษาของกรมควบคุมมลพิษในเรื่อง เหล่านีอ้ ยูแ่ ล้วเป็นจ�ำนวนมากพอสมควร ซึง่ สมควรน�ำมาต่อยอดผลักดันให้เป็นนโยบายของรัฐอย่างจริงจัง ต่อไป

2 20

การจัดการของเสียจากชุมชน


บทที่ 6: บทวิเคราะห์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย

221


2 22


223


2 24

การจัดการของเสียจากชุมชน


บรรณานุกรม

“ก.ทรัพย์ VS มหาดไทย ว่าด้วยปัญหางบก�ำจัดขยะ ใต้โรดแมป ‘ประยุทธ์’.” 2558. ส�ำนักข่าวอิสราออนไลน์. (8 พฤษภาคม). แหล่งที่มา: http://www.onep.go.th/images/stories/file/News_clip/2015%20 May/11/news_08052558_02.pdf. “กกพ. เลื่อนรับซื้อไฟฟ้าจากขยะชุมชน 80 เมกะวัตต์ออกไปไม่มีก�ำหนด.” 2560. ศูนย์ข่าวพลังงาน. (1 มีนาคม). แหล่งทีม่ า: http://energynewscenter.com/index.php/news/detail/629. 1 มีนาคม 2560. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม. 2559. แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564). กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ. กรมควบคุมมลพิษ. 2553. คู่มือการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวมส�ำหรับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น, โครงการจัดการมูลฝอยติดเชื้อแบบศูนย์รวมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ. กรมควบคุมมลพิษ. 2558. รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2557. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ. แหล่งที่มา: http://infofile.pcd.go.th/mgt/pcdreport_Pollution2557pdf?CFID=3734392&CFT OKEN=42492037. กรมควบคุมมลพิษ. 2560. รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทยปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ส�ำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. แหล่ ง ที่ ม า: http://infofile.pcd.go.th/waste/wsthaz_annual59.pdf?CFID=3971271 &CFTOKEN=21029400.

บรรณานุกรม

225


กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. 2558. แผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์ พลังงาน กระทรวงพลังงาน. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรกั ษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. 2558. สถานภาพโครงการผลิตพลังงาน จากขยะ. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. แหล่งที่มา: http://webkc.dede.go.th/testmax/node/2049. กรมอนามัย. ม.ป.ป. แหล่งที่มา: http://env.anamai.moph.go.th/download/download/pdf/2556/ law/7.pdf. 9 มกราคม 2559 “การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.” หนังสือพิมพ์ชชี้ ดั เจาะลึก. แหล่งทีม่ า: http://chechadnews.blogspot.com/2015/06/blog-post_ 43.html. “ควนลังเฮ! เจรจาผ่าน “ขยะ” หาดใหญ่ไปทิ้งบ้านพรุ.” 2560. สมิหลาไทมส์. (27 กุมภาพันธ์). แหล่งที่มา: http://www.samilatimes.co.th/?p=14020. จังหวัดเชียงใหม่. 2557. แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายจังหวัดเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2558-2562). เชียงใหม่: ส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่. จังหวัดภูเก็ต. ม.ป.ป. ข้อมูลของจังหวัดภูเก็ตเพื่อสนับสนุนการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและ ผู ้ บ ริ ห ารกระทรวงมหาดไทย. แหล่ ง ที่ ม า: http://www.phuket.go.th/webpk/file_data/ infopk/01.pdf. “ชาวบ้านร้องทุกข์! เตาเผาขยะหาดใหญ่ท�ำละอองน�้ำมันเครื่องกระจายไปทั่ว...” 2560. Hatyai Focus. (9 กรกฎาคม) แหล่งที่มา: https://www.hatyaifocus.com/ข่าว/355-ข่าววิทยาศาสตร์และ สิง่ แวดล้อม-ชาวบ้านร้องทุกข์%21-เตาเผาขยะหาดใหญ่-ท�ำละอองน�ำ้ มันเครือ่ งกระจายไปทัว่ .../. 10 กรกฎาคม 2560. เทศบาลนครหาดใหญ่. ม.ป.ป. ข้อมูลพื้นฐานหาดใหญ่. แหล่งที่มา: http://www.hatyaicity.go.th/ content/general.pdf. แบบส�ำรวจของกรมควบคุมมลพิษ. 2557. อ้างใน กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อม. 2558. แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) (กรกฎาคม 2558). กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ. 2 26

การจัดการของเสียจากชุมชน


บริษัท แมคโคร คอนซัลแตนท์ จ�ำกัด. 2556. รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์ โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย ประเภทโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่มีก�ำลังการผลิต ไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป ภายใต้โครงการก่อสร้างระบบก�ำจัดขยะมูลฝอย จังหวัดนนทบุรี ต�ำบลคลองขวาง อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี. (รายงานหลัก) จัดท�ำให้แก่ องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนนทบุรี เพื่อประกอบการขออนุญาตต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. พูนศักดิ์ จันทร์จ�ำปี. 2559. เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง “ข้อสังเกตเกี่ยวกับนโยบายของรัฐด้าน การแปรรูปขยะเป็นพลังงาน (Waste to Energy): มุมมองของภาคเอกชนและข้อเสนอแนะ” จั ด โดย โครงการการขั บ เคลื่ อ นนโยบายสาธารณะเพื่ อ การบริ ห ารจั ด การของเสี ย ที่ ยั่ ง ยื น , วันที่ 8 สิงหาคม 2559 ณ ส�ำนักงานกองทุนส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรุงเทพฯ. สนธิ คชวัฒน์. ม.ป.ป. ความแตกต่างระหว่างประมวลหลักปฏิบัติ (Code of Practice หรือ COP) กับการจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง. แหล่งที่มา: http://www.eric.chula.ac.th/pub/wcin/sonthi_ cop.pdf. ส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ม.ป.ป. แผนการบริหาร จัดการขยะมูลฝอยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ.2558-2562. พระนครศรีอยุธยา: ส�ำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. เอกสารตอบประเด็นสัมภาษณ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด พระนครศรีอยุธยา. วันที่ 12 กรกฎาคม 2559. เอกสารน�ำเสนอในการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะ มูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2558. เอกสารน�ำเสนอเรื่อง การบริหารจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ประกอบการ ให้สัมภาษณ์ของ นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ เทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต วันที่ 17 มิถุนายน 2559. Making the most of waste electrical and electronic equipment. Available: http://eur-lex.europa.eu/ legal-content/EN/LSU/?uri=CELEX:32012L0019. Ministry of the Environment. 2014. History and Current State of Waste Management in Japan. Available: https://www.env.go.jp/en/recycle/smcs/attach/hcswm.pdf. บรรณานุกรม

227


Rand, T., Haukohl, J., and Marxen, U. 2000. Municipal Solid Waste Incineration: A Decision Maker’s Guide. Washington, D.C: The World Bank. Available: http://documents.worldbank.org/ curated/en/206371468740203078/pdf/multi-page.pdf. WSP Environmental Ltd., on behalf of the Government of Western Australia’s Department of Environment and Conservation. 2013. Investigation into the Performance (Environmental and Health) of Waste to Energy Technologies Internationally, Stage One – Review of Legislative and Regulatory Frameworks for Waste to Energy Plants. London: WSP Environmental Ltd. กฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ. 2502 พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 (ร่าง) พระราชบัญญัติการบริหารจัดการขยะแห่งชาติ พ.ศ. ....

2 28

การจัดการของเสียจากชุมชน


กฎกระทรวงก�ำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต หนังสือรับรองการแจ้ง และการให้บริการในการ จัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. 2559 กฎกระทรวงก�ำหนดเพิ่มมูลค่าของโครงการที่ต้องด�ำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุน ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559 ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา 26 เมษายน 2559 กฎกระทรวงว่าด้วยการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 กฎกระทรวงว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการเก็บ ขน และก�ำจัดสิง่ ปฏิกลู หรือมูลฝอย และอัตราค่า ธรรมเนียมอื่นๆ พ.ศ. 2545 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดประเภทและขนาดของโครงการ หรือกิจการซึ่งต้องจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2558 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 9 กันยายน 2558 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้ง อากาศเสียจากเตาเผามูลฝอย ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2553 ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้ง อากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยติดเชื้อ ลงวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ประกาศกระทรวงทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม เรื่ อ ง องค์ ป ระกอบและอ� ำ นาจหน้ า ที่ ข อง คณะกรรมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2557 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การท�ำรายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไข ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย พ.ศ. 2552 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ก�ำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจาก โรงงาน พ.ศ. 2549 ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ตั้งสถานที่ฝังกลบกากของเสีย วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552

บรรณานุกรม

229


ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์ ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบ ก่อสร้าง และการจัดการสถานที่ก�ำจัดมูลฝอยโดยเตาเผา วันที่ 29 มิถุนายน 2560 ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์ ในการพิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ การออกแบบ ก่อสร้าง และการจัดการสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล วันที่ 29 มิถุนายน 2560 ประกาศคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน เรื่อง การจัดหาไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ประกาศคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน เรื่อง การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (ไม่รวม พลังงานแสงอาทิตย์) ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากแบบ Adder เป็น Fee-in Tariff (FiT) พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ประกาศคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน เรื่อง มาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมส�ำหรับผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าที่ ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มี ก�ำลังผลิตติดตั้ง ตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2559 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ ให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการทีม่ วี งเงินมูลค่าต�ำ่ กว่าทีก่ ำ� หนดในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติ การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559 ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา 27 เมษายน 2559 ประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่ 1/2558 เรื่อง ก�ำหนดพื้นที่เขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ ลงวันที่ 19 มกราคม พุทธศักราช 2558 ประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่ 2/2558 เรื่อง ก�ำหนดพื้นที่เขตพัฒนา เศรษฐกิจพิเศษ ระยะที่ 2 ลงวันที่ 24 เมษายน พุทธศักราช 2558 ประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และรายละเอียดของโครงการหรือ กิจการที่ได้รับการยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ส�ำหรับการประกอบ กิจการบางประเภท ตามค�ำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2559 ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559 ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 ประกาศส�ำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จ�ำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559. แหล่งที่มา: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm.

2 30

การจัดการของเสียจากชุมชน


ประกาศหลั ก เกณฑ์ ว งเงิ น ขั้ น ต�่ ำ การลงทุ น ตามพระราชบั ญ ญั ติ การให้ เ อกชนร่ ว มลงทุ น ในกิ จ การ ของรัฐ พ.ศ. 2556 ระเบียบคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นและท�ำความเข้าใจกับ ประชาชนและผู ้ มี ส ่ ว นได้ เ สี ย ในการพิ จารณาออกใบอนุ ญ าตประกอบกิ จ การผลิ ต ไฟฟ้ า พ.ศ. 2559 ระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2557 ประกาศ ณ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 25 กันยายน 2557. ค�ำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2559 ลงวันที่ 20 มกราคม 2559 เรื่อง การยกเว้น การใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารในพื้นที่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 15 ง แหล่งที่มา: http://library2.parliament.go.th/giventake/content_ncpo/ncpo-head-order3-2559.pdf. ค�ำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2559 ลงวันที่ 20 มกราคม 2559 เรื่อง การยกเว้น การใช้ บั ง คั บ กฎกระทรวงให้ ใ ช้ บั ง คั บ ผั ง เมื อ งรวมส� ำ หรั บ การประกอบกิ จ การบางประเภท ประกาศในราชกิ จ จานุ เ บกษา เล่ ม 133 ตอนพิ เ ศษ 15 ง แหล่ ง ที่ ม า: http://library2. parliament.go.th/giventake/content_ncpo/ncpo-head-order4-2559.pdf. ค�ำสั่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ 441/2559 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 แต่งตั้งคณะกรรมการ บริหารจัดการศูนย์จัดการขยะต้นแบบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ค�ำแนะน�ำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง สุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2558 ค�ำแนะน�ำของคณะกรรมการสาธารณสุข เรื่อง การเก็บ ขน หรือก�ำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยท�ำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ พ.ศ. 2558 ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน ก�ำลังการผลิต 6.7 เมกะวัตต์ ทะเบียน โรงงานเลขที่ 3-88(2)-53/56 สข มติคณะกรรมการสาธารณสุข ในคราวการประชุมครั้งที่ 89-2/2558 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 มติคณะกรรมการสาธารณสุข ในคราวการประชุมครั้งที่ 92-5/2558 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2558 มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2558 ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บรรณานุกรม

231


รายงานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากบ่อขยะ ครั้งที่ 1/2559 วันที่ 22 มีนาคม 2559 สัญญาจ้างเลขที่ 3/2557 ระหว่างเทศบาลเมืองเสนา (นายกิตติศักดิ์ ตรารุ่งเรือง นายกเทศมนตรี เมืองเสนา) และบริษัทภัทรพันธ์เอนจิเนียริ่ง จ�ำกัด (นางสาวพลอยทราย ภัสสรศิริ และ นายพรภิชิต สมัครธรรม) ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 บันทึกต่อท้ายสัญญาจ้างเลขที่ เลขที่ 3/2557 ระหว่างเทศบาลเมืองเสนา (นางนุสรา ยันตรโกวิท ปลัดเทศบาล) และบริษัทภัทรพันธ์เอนจิเนียริ่ง จ�ำกัด (นางสาวพลอยทราย ภัสสรศิริ และ นายอรรณพ จินตบุตร) ลงวันที่ 16 มีนาคม 2559. หนังสือคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่ ทส (กกวล) 1005/ว668 ถึง นายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดนนทบุรี เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2555 ลงวันที่ 16 มกราคม 2556 หนังสือส�ำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ สข 52107/6224 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2559 ถึง กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท จีเดค จ�ำกัด เรื่อง ขอให้หยุดระบบก�ำจัดขยะมูลฝอยเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษ หนังสือส�ำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 ถึง กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีเดค จ�ำกัด ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน เรื่อง ให้หยุดประกอบกิจการโรงงาน บางส่วนเป็นการชั่วคราว บั น ทึ ก ข้ อ ตกลงความร่ ว มมื อ ระหว่ า งคณะกรรมการก� ำ กั บ กิ จ การพลั ง งานและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แนวทางและขั้นตอนการอนญาตปลูกสร้างอาคารและการอื่นเพื่อประกอบกิจการพลังงาน ลงวันที่ 5 กันยายน 2555 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง แนวทางการอนญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าและการอื่น ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2557 บันทึกข้อตกลงการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ระหว่างเทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมือง ควนลัง และบริษัท จีเดค จ�ำกัด ลงวันที่ 9 กันยายน 2557 Commission Directive 2013/2/EU of 7 February 2013 amending Annex I to Directive 94/62/EC of the European Parliament and of the Council on packaging and packaging waste,

2 32

การจัดการของเสียจากชุมชน


Official Journal of the European Union L37/10, 8.02.2013. Available: http://eur-lex.europa. eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32013L0002&from=EN. Council Directive 1999/31/EC of 26 April 1999 on the landfill of waste, Official Journal of the European Communities, L 182/1, 16.7.1999. Available: http://eur-lex.europa.eu/ legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:31999L0031&from=EN. Directive (EU) 2015/720 of the European Parliament and of the Council of 29 April 2015 amending Directive 94/62/EC as regards reducing the consumption of lightweight plastic carrier bags, Official Journal of the European Union L 115/11, 6.05.2015. Available: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32015L07 20&from=EN. Directive 2000/76/EC of the European Parliament and of the Council of 4 December 2000 on the incineration of waste, Official Journal of the European Communities, L 332/91, 28.12.2000. Available: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CEL EX:32000L0076&from=EN. Directive 2004/12/EC of the European Parliament and of the Council of 11 February 2004 amending Directive 94/62/EC on packaging and packaging waste, Official Journal L 047, 18.02.2004. Available: http://eur-lex.europa.eu/legalcontent/EN/TXT/?uri=celex :32004L0012. Directive 2005/20/EC of the European Parliament and of the Council of 9 March 2005 amending Directive 94/62/EC on packaging and packaging waste, Official Journal of the European Union L 70/17, 16.03.2005. Available: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/ EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:32005L0020&from=EN. Directive 2008/98/EC of the European Parliament and of the Council of 19 November 2008 on waste and repealing certain Directives, Official Journal of the European Union L 312/3, 22.11.2008. Available: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/ ?uri=CELEX:32008L0098&from=EN.

บรรณานุกรม

233


Directive 2012/19/EU of the European Parliament and of the Council of 4 July 2012 on waste electrical and electronic equipment (WEEE), Official Journal of the European Union, L197/38, 24.7.2012. Available: http://eur-lex.europa.eu/legal-content/EN/TXT/PDF/?uri= CELEX:32012L0019&from=EN. European Commission. 2016. Waste Electrical & Electronic Equipment (WEEE). Available: http://ec.europa.eu/environment/waste/weee/index_en.htm. European Parliament and Council Directive 94/62/EC of 20 December 1994 on packaging and packaging waste, Official Journal L 365, 31.12.1994. Available: http://eur-lex.europa.eu/ legal-content/EN/TXT/PDF/?uri=CELEX:01994L0062-20150526&from=EN. การสัมภาษณ์ นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ เทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต. 2559. สัมภาษณ์. 17 มิถุนายน. นายกเทศมนตรี และผู้อ�ำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองควนลัง จังหวัดสงขลา. 2559. สัมภาษณ์. 14 มิถุนายน. นายกเทศมนตรี และรักษาการผู้อ�ำนวยการกองสาธารณสุข และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เทศบาลต�ำบล บ้านกลาง จังหวัดล�ำพูน. 2558. สัมภาษณ์. 5 พฤศจิกายน. นายกเทศมนตรี, ปลัดเทศบาล และหัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาล ต�ำบลท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2559. สัมภาษณ์. 16 มีนาคม. นายกเทศมนตรี, รักษาราชการผู้อ�ำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ การจัดการขยะ เทศบาลต�ำบลนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2559. สัมภาษณ์. 16 มีนาคม. นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนต�ำบล และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง องค์การบริหาร ส่วนต�ำบลดอนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่. 2558. สัมภาษณ์. 3 พฤศจิกายน. ประธานกรรมการบริหาร บริษทั บริหารและพัฒนาเพือ่ การอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม จ�ำกัด (มหาชน) (GENCO). 2558. สัมภาษณ์. 17 กันยายน. ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทภัทรพันธ์เอ็นจิเนียริ่ง จ�ำกัด และหัวหน้าฝ่ายคุมงานเตาเผา. 2559.

2 34

การจัดการของเสียจากชุมชน


สัมภาษณ์. 12 กรกฎาคม. ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรี และผู้อ�ำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาล เมืองเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2559. สัมภาษณ์. 12 กรกฎาคม. ผู้จัดการโรงไฟฟ้า และผู้อ�ำนวยการโรงงานอาวุโส บริษัทจีเดค จ�ำกัด จังหวัดสงขลา. 2559. สัมภาษณ์. 15 มิถุนายน. ผู้ปฏิบัติงานด้านระบบบ�ำบัดและก�ำจัดของเสีย และฝ่ายการตลาด บริษัทบริหารและพัฒนาเพื่อการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จ�ำกัด (มหาชน) (GENCO). 2558. สัมภาษณ์. 21 ตุลาคม. ผู้อ�ำนวยการกองทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. 2558. สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม. ผู้อ�ำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลต�ำบลอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2559. สัมภาษณ์. 17 มีนาคม. ผู้อ�ำนวยการฝ่ายสิ่งแวดล้อมและผังเมือง กองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2560. สัมภาษณ์. 26 กรกฎาคม. ผู้อ�ำนวยการส่วนส่งเสริมสาธารณะสุขและสิ่งแวดล้อม ส�ำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาล นครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. 2558. สัมภาษณ์. 2 พฤศจิกายน. ผู้อ�ำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม ส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่. 2558. สัมภาษณ์. 3 พฤศจิกายน. ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร. 2559. สัมภาษณ์. 19 มกราคม. รองคณบดีด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม และหัวหน้างานเตาเผาขยะ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 2558. สัมภาษณ์. 5 พฤศจิกายน. รองนายกเทศมนตรี, รักษาการหัวหน้าฝ่ายคุณภาพอากาศและเสียง และเจ้าหน้าที่ระดับบริหารของ ส�ำนักการช่าง และส�ำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. 2559. สัมภาษณ์. 15 มิถุนายน. รองนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลอุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2559. สัมภาษณ์. 17 มีนาคม.

บรรณานุกรม

235


รักษาการผูอ้ ำ� นวยการกองช่างสุขาภิบาล เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2559. สัมภาษณ์. 13 กรกฎาคม. รักษาการผู้อ�ำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลต�ำบลบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2559. สัมภาษณ์. 12 กรกฎาคม. วิศวกร บริษัทโรงไฟฟ้าบ้านตาล จ�ำกัด. 2558. สัมภาษณ์. 4 พฤศจิกายน. หั ว หน้ า ฝ่ า ยจั ด การสภาพแวดล้ อ มด้ า นวั ส ดุ ใ ช้ แ ล้ ว และหั ว หน้ า งานก� ำ จั ด มู ล ฝอย ส� ำ นั ก การช่ า ง เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. 2558. สัมภาษณ์. 2 พฤศจิกายน. หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและผังเมือง กองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. 2559. สัมภาษณ์. 13 กรกฎาคม. Senior Communications & EHS Manager บริษัทเวสท์ แมนเนจเมนท์ สยาม จ�ำกัด (WMS) (BPEC). 2558. สัมภาษณ์. 30 กันยายน. Senior Director EHS & Environmental Services Development และ Senior Communications & EHS Manager บริษัทเวสท์ แมนเนจเมนท์ สยาม จ�ำกัด (WMS) (ESBEC). 2558. สัมภาษณ์. 29 กันยายน

2 36

การจัดการของเสียจากชุมชน


บรรณานุกรม

237


2 38


239


2 40

การจัดการของเสียจากชุมชน


ภาคผนวก 1 รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน การจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี

คณะนักวิจัยได้ลงพื้นที่จังหวัดนนทบุรี เพื่อสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและระบบจัดการ ขยะมูลฝอยของจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี (อบจ.นนทบุรี) เป็นหน่วยงาน หลักในการด�ำเนินการ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2558 โดยสัมภาษณ์ คุณอุดร ระโหฐาน ผู้อ�ำนวยการกอง ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม อบจ.นนทบุรี หลังการสัมภาษณ์ ได้ลงพืน้ ทีเ่ พือ่ ศึกษาดูงานบ่อฝังกลบ ขยะ และสถานที่ที่จะก่อสร้างโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยของ อบจ.นนทบุรี ที่ต�ำบล คลองขวาง อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี รวมทั้งดูงานเตาเผามูลฝอยติดเชื้อของ อบจ.นนทบุรี ด้วย จากการรวบรวมข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ และการศึกษาดูงาน สามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1. ความเป็นมาของระบบก�ำจัดขยะมูลฝอยแบบรวมศูนย์ของ อบจ.นนทบุรี

จังหวัดนนทบุรีมีพื้นที่เพียง 622.38 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรหน่าแน่นเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากกรุงเทพมหานคร แบ่งการปกครองเป็น 6 อ�ำเภอ 52 ต�ำบล 328 หมู่บ้าน การปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย  องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง  เทศบาล 17 แห่ง ได้แก่ เทศบาลนคร 2 แห่ง (เทศบาลนครนนทบุรี และเทศบาลนคร ปากเกร็ด) เทศบาลเมือง 4 แห่ง และเทศบาลต�ำบล 11 แห่ง  องค์การบริหารส่วนต�ำบล (อบต.) 28 แห่ง จังหวัดนนทบุรีมีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 1,100 ตัน/วัน อปท. ที่มีปริมาณขยะมากที่สุด สามล�ำดับแรก ได้แก่ เทศบาลนครนนทบุรี (ประมาณ 280 ตัน/วัน) เทศบาลนครปากเกร็ด (ประมาณ 220 ตัน/วัน) และเทศบาลเมืองบางบัวทอง (ประมาณ 43 ตัน/วัน) ภาคผนวก 1: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน การจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี

241


สถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยของ อบจ.นนทบุรี ตั้งอยู่ที่ต�ำบลคลองขวาง อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัด นนทบุรี เริ่มด�ำเนินการก�ำจัดมูลฝอยมาตั้งแต่ปี 2529 ในพื้นที่ประมาณ 65 ไร่ ต่อมา อบจ.นนทบุรี ได้ด�ำเนินการซื้อที่ดินรอบๆ เพิ่มเติมเพื่อขยายพื้นที่ฝังกลบขยะ จนปัจจุบันสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอย ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 465 ไร่ การก�ำจัดขยะก่อนปี 2548 เป็นลักษณะ “แบบเทกอง” ก่อให้เกิดปัญหา ด้านกลิ่นและน�้ำชะ ซึ่ง อบจ.นนทบุรี ได้พยายามแก้ไขตลอดมา ในปี 2548 อบจ.นนทบุรี ได้รับงบประมาณสนับสนุนการถ่ายโอนตามแผนปฏิบัติการเพื่อ จัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด และ อบจ.นนทบุรี สมทบอีกจ�ำนวนหนึ่ง รวมจ�ำนวนงบประมาณ ทั้งสิ้น 154 ล้านบาท เพื่อด�ำเนินการปรับปรุงและปิดพื้นที่บ่อฝังกลบขยะมูลฝอยเดิม และจัดท�ำโครงการ ก่อสร้างระบบก�ำจัดมูลฝอยแบบครบวงจร การปรับปรุงและปิดบ่อฝังกลบขยะเดิมด�ำเนินการแล้วเสร็จ ในปี 2549 ซึ่งท�ำให้สามารถแก้ไขปัญหาด้านกลิ่นและทัศนียภาพไปได้ในระดับหนึ่ง ต่อมา อบจ.นนทบุรีได้ขอเปลี่ยนแปลงโครงการระบบก�ำจัดมูลฝอยแบบครบวงจรเป็นระบบ ก�ำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิส/ก๊าซซิฟเิ คชัน่ เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพระบบก�ำจัดมูลฝอย ลดปัญหาการใช้ พืน้ ที่ในการฝังกลบมูลฝอย และลดผลกระทบต่อคุณภาพสิง่ แวดล้อมในพืน้ ทีด่ งั กล่าว แต่เนือ่ งจากโครงการ ก�ำจัดขยะมูลฝอยด้วยเทคโนโลยีไพโรไลซิส/ก๊าซซิฟิเคชั่นจ�ำเป็นจะต้องมีการศึกษารายละเอียดและจัดท�ำ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จึงยังคงต้องใช้วิธีการฝังกลบขยะมูลฝอยต่อไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากข้อจ�ำกัดด้านที่ดินที่จะใช้เป็นบ่อฝังกลบ อปท. อื่นๆ อันได้แก่ เทศบาล และ อบต. ในเขตจังหวัดนนทบุรี เริ่มน�ำขยะมูลฝอยมาให้ อบจ.นนทบุรี เป็นผู้ก�ำจัดตั้งแต่ปี 2534-2535 เป็นต้น มา ในปี 2549 อบจ.นนทบุรี ได้ท�ำบันทึกข้อตกลงการก�ำจัดมูลฝอยรวมของจังหวัดนนทบุรี กับ เทศบาล 14 แห่ง และ อบต. 34 แห่ง เพื่อให้มีการจัดการขยะมูลฝอยแบบรวมศูนย์ โดยเทศบาล และ อบต. รวม 45 แห่งจะรับผิดชอบเก็บขนขยะมูลฝอยในพื้นที่ความรับผิดชอบของตนเอง และขนส่งมาก�ำจัด ณ สถานก�ำจัดขยะมูลฝอยของ อบจ.นนทบุรี แต่เพียงแห่งเดียว ในการดังกล่าว อบจ.นนทบุรี คิดค่า ก�ำจัดขยะในอัตราประมาณ 150 บาท/ตัน ซึ่งไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในการก�ำจัด และ อบจ.นนทบุรี ต้องน�ำเงินงบประมาณรายได้ของตนเองมาอุดหนุน เงินค่าก�ำจัดขยะที่เก็บได้จะแบ่งร้อยละ 10 ให้แก่ อบต.คลองขวาง ซึ่งสถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยตั้งอยู่ในพื้นที่ ในปี 2552 อบจ.นนทบุรี ได้ด�ำเนินการก่อสร้างระบบฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลในพื้นที่ ส่วนขยายที่ 2 โดยใช้งบประมาณ 292 ล้านบาท (เงินโครงการสนับสนุนแผนปฏิบตั กิ ารเพือ่ จัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด จ�ำนวน 230 ล้านบาท และ อบจ. สมทบอีก 62 ล้านบาท) ปัจจุบัน อบจ. ได้ ว่าจ้างบริษัท กิจการร่วมค้า ซีพีจี กรีน เวซท์ เป็นผู้ด�ำเนินการฝังกลบ ขั้นตอนการด�ำเนินงาน ประกอบด้วย การชั่งน�้ำหนักขยะมูลฝอย การด�ำเนินการฝังกลบประจ�ำวัน การฉีดพ่น EM เพื่อดับกลิ่น การใช้ดินปิดทับรายวัน การฉีดล้างรถขนขยะมูลฝอย และระบบบ�ำบัดน�้ำเสียแบบ RO 2 42

การจัดการของเสียจากชุมชน


2. โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย

อบจ.นนทบุรี ได้ว่าจ้าง บริษัท แมคโครคอนซัลแตนท์ จ�ำกัด (Macro Consultants Co. Ltd.) เป็นผูจ้ ดั ท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิง่ แวดล้อมโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย จังหวัด นนทบุรี ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 ต�ำบลคลองขวาง อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งอยู่ในที่ดินบริเวณเดียวกับ สถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยปัจจุบันของ อบจ.นนทบุรี โรงไฟฟ้าที่จะก่อสร้างใช้พื้นที่ประมาณ 33 ไร่ และ พื้นที่ฝังกลบเถ้ากรวดอีกประมาณ 27 ไร่ รวมพื้นที่โครงการทั้งสิ้น 60 ไร่ คณะกรรมการผู้ช�ำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมมีมติ ให้ ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ 4/2552 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2552 ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึง เสนอรายงาน EIA ต่อคณะกรรมการสิง่ แวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการสิง่ แวดล้อมแห่งชาติในการประชุม ครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 มีมติให้ อบจ.นนทบุรี ถอนรายงาน EIA กลับไปพิจารณา ทบทวน ต่อมา อบจ.นนทบุรี ได้น�ำรายงาน EIA ที่ได้ทบทวนและปรับปรุงในประเด็นเกี่ยวกับเทคโนโลยี การก�ำจัดมูลฝอยของโครงการ ปริมาณและคุณสมบัติของขยะมูลฝอย มาตรการป้องกันแก้ไขและลด ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านระบบการขนส่งขยะมายังสถานที่ก�ำจัด และรูปแบบการบริหารจัดการให้ สผ. เพื่อน�ำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 4/2555 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2555 มี มติเห็นชอบรายงาน EIA ตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ช�ำนาญการฯ และมีความเห็นว่า เนื่องจาก การด�ำเนินโครงการดังกล่าวเป็นการมอบให้เอกชนด�ำเนินการ และมีรายละเอียดด้านเทคนิควิชาการใน การบริหารจัดการและดูแลรักษาระบบที่ อบจ.นนทบุรี ต้องควบคุมก�ำกับการด�ำเนินการและบริหารสัญญา ค่อนข้างมาก จึงเห็นควรให้ อบจ.นนทบุรี จัดให้มีองค์กรหรือบุคลากรฝ่ายเทคนิค เพื่อเป็นที่ปรึกษาและ ก�ำกับดูแลการด�ำเนินโครงการอย่างใกล้ชดิ และควบคุมการด�ำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันและ แก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด1 โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยจังหวัดนนทบุรจี ะใช้เทคโนโลยีการผลิตพลังงานจาก แก๊สเชือ้ เพลิง หรือระบบไพโรไลซิสและแก๊สซิฟเิ คชัน่ (Pyrolysis and Gasification) เพือ่ ผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยมีปริมาณขยะมูลฝอยที่เป็นเชื้อเพลิงป้อนเข้าโรงไฟฟ้าในอัตรา 1,000 ตัน/วัน มีก�ำลังการผลิตติดตั้ง (Installed capacity) 22 เมกะวัตต์ ก�ำลังผลิตสุทธิ (Net capacity) 19.21 เมกะวัตต์ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิต 1 หนังสือคณะกรรมการสิง่ แวดล้อมแห่งชาติ ที่ ทส (กกวล) 1005/ว668 ถึง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี เรือ่ ง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แห่งชาติ ครั้งที่ 4/2555 ลงวันที่ 16 มกราคม 2556

ภาคผนวก 1: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน การจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี

243


ได้จะจ่ายเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้านครหลวงที่สถานีไทรน้อย ระดับแรงดัน 115 กิโลโวลต์2 กระบวนการ ก�ำจัดขยะประกอบด้วย (1) การคัดแยกขยะมูลฝอยที่สามารถรีไซเคิลและขยะที่ไม่สามารถเผาไหม้ ได้ออกจากขยะที่จะใช้เป็นเชื้อเพลิง (2) น�ำขยะที่ผ่านการคัดแยกผ่านกระบวนการย่อยให้มีขนาดเล็กลง และมีขนาดใกล้เคียงกัน (3) แยกขยะที่มีความชื้นสูงเข้าเครื่องอบเพื่อไล่ความชื้น และ (4) ป้อนขยะเข้า ปฏิกรณ์ ไพโรไลซิส (5) ส่งแก๊สเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นต่อไปยังห้องเผาไหม้ เพื่อแลกเปลี่ยนความร้อนให้กับ น�้ำในหม้อไอน�้ำที่ผลิตไอน�้ำไปหมุนกังหันไอน�้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า3 ส�ำหรับระบบควบคุมมลพิษ ได้แก่ 1) ระบบควบคุมสารมลพิษที่เกิดจากไอเสีย (Flue gas) ที่ระบายออกจากปล่อง ประกอบด้วย4 การฉีดน�้ำปูนขาว เพื่อก�ำจัดไอกรดที่อยู่ ในรูปของ HCL และ SO 2 ในระบบท่อ ท�ำปฏิกิริยาเกิดเป็น CaCl2 และ CaSO4 โดยมีประสิทธิภาพการก�ำจัดร้อยละ 95 และ 80 ตามล�ำดับ ผงฝุ่นที่เกิดขึ้นจะถูกดักจับในถุงกรองฝุ่น (Bag filter) การฉีดก๊าซแอมโมเนียเข้าไปในระบบท่อไอเสีย เพื่อท�ำปฏิกิริยากับก๊าซ NO ที่ เกิดจากการใช้อากาศช่วยในการเผาก๊าซเชื้อเพลิงใน combustion chamber โดยวิธี SNCR (Selective non-catalytic reduction) การฉีด Activated carbon เข้าไปในระบบท่อเพื่อดูดซับไอของสารประกอบปรอท รวมทั้งสารประกอบไดออกซินและฟูรานที่อาจเกิดขึ้นหรือหลงเหลือในไอเสีย และถูกดักจับต่อไปใน ถุงกรองฝุ่น ถุงกรองฝุ่น ใช้ดักจับฝุ่นในไอเสีย และผงฝุ่นที่เกิดจากการท�ำปฏิกิริยาของสารเคมี ที่ใช้ในการก�ำจัดมลสาร 2) การจัดการน�้ำเสีย ได้แก่5 น�้ำเสียที่เป็นน�้ำชะกากเถ้าจากหลุมฝังกลบเถ้า 2 แห่ง จะระบายลงสู่ระบบบ�ำบัด น�้ำเสียของสถานที่ก�ำจัดปัจจุบัน 2 องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี, รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์ โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย ประเภท โรงไฟฟ้าพลังความร้อนทีม่ กี ำ� ลังการผลิตไฟฟ้าตัง้ แต่ 10 เมกะวัตต์ขนึ้ ไป ภายใต้โครงการก่อสร้างระบบก�ำจัดขยะมูลฝอย จังหวัดนนทบุรี ต�ำบลคลองขวาง อ�ำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี, มีนาคม 2556, บทที่ 2 รายละเอียดโครงการ, หน้า 2-1. 3 เพิ่งอ้าง, หน้า 2-1, 2-2. 4 เพิ่งอ้าง, หน้า 2-76, 2-77. 5 เพิ่งอ้าง, หน้า 2-80, 2-81.

2 44

การจัดการของเสียจากชุมชน


จัดท�ำรางเพื่อรวบรวมน�้ำชะมูลฝอยจากบริเวณพื้นที่รับขยะจากรถขนส่ง ไปรวมกับ น�ำ้ ชะขยะทีเ่ กิดขึน้ ในบริเวณพืน้ ทีก่ กั เก็บขยะทีม่ ขี นาดละเอียด แล้วไหลลงไปยังบ่อสูบน�ำ้ ชะขยะ โดยมีการ วางท่อชนิด HDPE เพื่อสูบส่งน�้ำชะขยะไปบ�ำบัดในระบบบ�ำบัดน�้ำเสียของสถานที่ก�ำจัดปัจจุบัน น�้ำระบายทิ้งจากหม้อไอน�้ำ จะระบายลงสู่บ่อพักเพื่อลดอุณหภูมิ ก่อนน�ำไปบ�ำบัด ด้วยระบบบ�ำบัดน�้ำเสียของสถานที่ก�ำจัดปัจจุบัน น�้ำเสียจากการฟื้นฟูระบบผลิตน�้ำปราศจากแร่ธาตุ ซึ่งจะมีการล้างทุกๆ 24 ชั่วโมง จะ ถูกปรับสภาพให้เป็นกลางภายในถังปรับสภาพน�้ำเสียขนาด 10 ลูกบาศก์เมตร ก่อนระบายน�้ำที่ผ่านการ ปรับสภาพแล้วเข้าสู่ระบบบ�ำบัดน�้ำเสียของสถานที่ก�ำจัดปัจจุบัน ส�ำหรับระบบบ�ำบัดน�้ำเสียของสถานที่ก�ำจัดปัจจุบันนั้น มีขนาด 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน ประกอบด้วยระบบการตกตะกอนด้วยสารเคมี และการบ�ำบัดด้วยวิธีกายภาพ ได้แก่ ถังกรองทรายแรงดัน สูง ระบบถังกรองถ่านกัมมันต์ และระบบออสโมซิสผันกลับต่อกันแบบอนุกรม ได้ท�ำการก่อสร้างเสร็จ เรียบร้อยแล้ว เมื่อโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยเริ่มด�ำเนินการ พื้นที่ฝังกลบขยะจะปิด อย่างถาวร และปริมาณน�้ำชะขยะที่เกิดขึ้นจากหลุมฝังกลบจะลดปริมาณลง ฉะนั้น ปริมาณน�้ำเสียทั้งหมด ที่เกิดจากโครงการประมาณ 234 ลูกบาศก์เมตร/วัน จะไม่ส่งผลกระทบต่อการท�ำงานของระบบบ�ำบัด น�้ำเสียดังกล่าว6 3) การจัดการกากของเสีย กากของเสียส่วนใหญ่เป็นกากเถ้ากรวดที่เกิดขึ้นในแก๊สซิไฟเออร์ หรือ Carbon recovery unit (CRU) ซึ่งเป็นปฏิกรณ์ที่เปลี่ยนถ่านชาร์ ให้เป็นแก๊สเชื้อเพลิง และผงฝุ่น ที่ดักจับโดยถุงกรองฝุ่นในระบบควบคุมมลสารปล่อยออก คาดว่าจะมีกากของเสียเกิดขึ้นประมาณ ร้อยละ 6 ของขยะมูลฝอยที่เข้าก�ำจัดหรือประมาณ 60 ตันต่อวัน การล�ำเลี้ยงเถ้าจาก CRU จะใช้ตัวล�ำเลียงเถ้า (Ash conveyor) ควบคุมการน�ำเถ้าออกไป จากเตา เถ้าจาก CRU และระบบก�ำจัดแก๊สที่มีการพ่นสารเคมีเพื่อจับมลสารจะน�ำมาท�ำให้เย็นด้วยการ ผ่านน�้ำ (Quench tank) และล�ำเลียงเถ้าโดยตรงไปที่สายพานที่มีตัวหุ้มครอบไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ควัน และเถ้าเล็ดลอดออกสู่อากาศภายนอก และป้องกันไม่ให้อากาศที่อยู่เหนือการควบคุมเล็ดลอดสู่ CRU ที่ช่องปล่อยเถ้า เถ้าที่เกิดขึ้นทั้งหมดทั้งหมดจะกักเก็บไว้ในถังพัก (Skip) และล�ำเลียงขนส่งไปก�ำจัดที่ หลุมฝังกลบโดยรถบรรทุกมีผ้าใบปิดคลุมอย่างมิดชิดในระบบฝังกลบอย่างปลอดภัย (Secured landfill) ซึ่งใช้แผ่นวัสดุสังเคราะห์ HDPE หนา 1.5 มิลลิเมตร รองพื้นก้นหลุมและผนังหลุมฝังกลบแบบ 2 ชั้น (Double liner system) ตามข้อก�ำหนดของกรมควบคุมมลพิษ หากเถ้ามีสารพิษปะปนอยู่ในระดับที่ เกินเกณฑ์มาตรฐาน ก็จะมีการท�ำเถ้าให้เสถียรโดยการผสมปูนขาวก่อนน�ำไปฝังกลบ พืน้ ทีบ่ ริเวณฝังกลบเถ้า 6 เพิ่งอ้าง, หน้า 2-81. ภาคผนวก 1: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน การจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี

245


ที่วางแผนไว้มี 2 พื้นที่ เนื้อที่รวมทั้งหมด 27 ไร่ สามารถรองรับปริมาณเถ้าทั้งหมดได้ 466,818 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะสามารถรองรับเถ้าที่เกิดขึ้นจากโครงการได้เป็นระยะเวลา 20 ปี7 4) โครงการมีมูลค่าประมาณ 4,403 ล้านบาท รูปแบบการบริหารจัดการ คือ เอกชนเป็น ผู้ลงทุนก่อสร้างระบบ โดยทาง อบจ.นนทบุรี เป็นผู้จัดหาพื้นที่ให้ประมาณ 75 ไร่ อบจ.นนทบุรี จะว่าจ้าง ให้เอกชนเข้ามาด�ำเนินการก�ำจัดมูลฝอยตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยงาน การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการ ของรัฐ พ.ศ. 2556 อบจ.นนทบุรีจะจ่ายค่าจ้างตามหน่วยของงานที่ท�ำเป็นรายเดือนหรือรายปี แล้วแต่ จะตกลงกัน ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนซึ่งจะต้องด�ำเนินการท�ำสัญญาซื้อขาย ไฟฟ้ากับทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตตามที่ตกลงไว้ล่วงหน้า 3. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

อบจ.นนทบุรี มีศูนย์บริการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ประกอบด้วยเตาเผามูลฝอยติดเชื้อขนาดใหญ่ แบบ Rotary Kiln ที่มีระบบควบคุมการท�ำงานแบบอัตโนมัติต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง สามารถก�ำจัดมูลฝอย ติดเชื้อได้ 7.2 ตัน/วัน (หรือ 300 กิโลกรัม/ชั่วโมง) ขั้นตอนการท�ำงานหลักแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) ชุดยกถัง/ล�ำเลียงมูลฝอยด้วยไฮโดรลิก ท�ำหน้าที่ป้อนและล�ำเลียงมูลฝอยเข้าสู่ห้องเผาหลัก เพื่อก�ำจัด 2) ห้องเผาหลักและห้องเผารองท�ำหน้าที่ก�ำจัดมูลฝอยและก๊าซพิษที่อุณหภูมิสูง 800-1,100 องศาเซลเซียส 3) ระบบบ�ำบัดมลพิษทางอากาศ ที่แสดงค่าอัตราการระบายสารมลพิษทางอากาศแบบ Real time ซึ่งสามารถส่งข้อมูล online ไปยัง อบจ.นนทบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ โดยสารมลพิษที่ ระบายออกต้องไม่เกินค่ามาตรฐานทีก่ ำ� หนด (ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไม่เกิน 30 ppm ออกไซด์ของไนโตรเจน ไม่เกิน 180 ppm และไฮโดรเจนคลอไรด์ ไม่เกิน 25 ppm) อบจ.นนทบุรี มีรถเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อ 3 คัน คือ รถขนาด 2 ลูกบาศก์เมตร จ�ำนวน 1 คัน รถขนาด 6 ลูกบาศก์เมตร จ�ำนวน 1 คัน และรถขนาด 19 ลูกบาศก์เมตร จ�ำนวน 1 คัน ให้บริการเก็บ ขนในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ยกเว้นเขตเทศบาลนครนนทบุรี และเทศบาลนครปากเกร็ด ค่าบริการเก็บขน อยู่ในอัตรา 1.50 บาท/กิโลกรัม 7 เพิ่งอ้าง, หน้า 2-83, 2-85.

2 46

การจัดการของเสียจากชุมชน


ศูนย์บริการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อของ อบจ.นนทบุรีให้บริการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อจากสถาน พยาบาลต่างๆ ทั้งที่อยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรี และจังหวัดอื่นๆ โดยได้ว่าจ้างให้ หจก. ไทยเอ็นไวรอน เมนทัล ซีสเท็มส์ เป็นผู้รับผิดชอบระบบก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ซึ่งเพิ่งเปิดด�ำเนินการมาได้ประมาณ 3-4 ปี อัตราค่าบริการก�ำจัดเพิ่งปรับเป็น 11 บาท/กิโลกรัม (แต่เดิมคิดค่าก�ำจัด 9 บาท/กิโลกรัม ตั้งแต่เมื่อครั้ง ใช้เตาเผามูลฝอยติดเชื้อเก่าที่สร้างด้วยเงินสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อม) 4. ความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายของรัฐ 1) ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายก�ำหนดค่าบริการก�ำจัดมูลฝอยและมูลฝอยติดเชื้อ มีแต่เพียงค่า ก�ำจัดสิ่งปฏิกูล (ค่าบริการดูดส้วม) ท�ำให้ท้องถิ่นต้องใช้รายได้ของตนเองเข้าไปดูแลเรื่องการให้บริการ ก�ำจัด ขณะนี้กรมอนามัยก�ำลังอยู่ในระหว่างการจัดท�ำร่างกฎกระทรวงก�ำหนดค่าก�ำจัดขยะมูลฝอยและ มูลฝอยติดเชื้อ 2) การรณรงค์ ให้ประชาชนคัดแยกขยะมองเห็นผลได้ช้า น่าจะมีกฎหมายที่ก�ำหนดให้ ประชาชนต้องคัดแยกขยะ 3) เห็นด้วยกับแนวนโยบายตาม Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย อย่างไรก็ดี Roadmap และระเบียบส�ำนักนายกรัฐมนตรีฯ ก�ำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน คณะกรรมการจัดท�ำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยในระดับจังหวัด แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ว่าฯ มักมอบให้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็มักส่งเจ้าหน้าที่เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุม และส�ำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคยังคงปฏิบัติหน้าที่โดยอิง นโยบายที่ถูกก�ำหนดมาจากส�ำนักงานปลัดกระทรวงฯ ซึ่งบางครั้งไม่มีความชัดเจน 4) อัตราค่ารับซื้อไฟฟ้ายังไม่น่าลงทุนส�ำหรับเอกชน Feed-in-Tariff ยังเป็นเพียงผลพลอยได้ ที่ไม่ได้น�ำเอาค่าก�ำจัดขยะมาค�ำนวณ เป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง จ�ำนวน 53 แห่งตามที่ก�ำหนดไว้ในร่างแผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ โรงไฟฟ้าที่จะ อยู่รอดได้ต้องมีขยะเป็นวัตถุดิบอย่างน้อย 300 ตัน/วันขึ้นไป นอกจากนี้ หากจะให้มีความยั่งยืน ควรมี ขยะประมาณ 1,000 ตัน/วัน โดยคิดค่าก�ำจัดขยะในอัตรา 300 บาท/ตัน บวกกับค่ากระแสไฟฟ้าที่ขายได้

ภาคผนวก 1: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน การจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี

247


2 48

การจัดการของเสียจากชุมชน


ภาคผนวก 2 รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำ�พูน

ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2558 คณะนักวิจัยได้ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูน เป็น ระยะเวลา 4 วัน เพือ่ ด�ำเนินงานสัมภาษณ์และศึกษาดูงานเกีย่ วกับสถานการณ์และระบบการบริหารจัดการ ขยะของจังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูน เนือ่ งจากเป็นจังหวัดทีเ่ ป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภาคเหนือ เป็น เมืองท่องเที่ยว และก�ำลังเผชิญกับปัญหาปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นตามล�ำดับ ในการนี้ คณะนักวิจัยได้เข้าพบเพื่อสัมภาษณ์บุคลากรระดับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ในหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ เทศบาลนครเชียงใหม่ อบต.ดอนแก้ว ซึ่งเป็นแบบอย่างของ อปท. ที่มีการ จัดการขยะที่ดี เทศบาลต�ำบลบ้านกลาง จังหวัดล�ำพูน ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมล�ำพูน และ ส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งศึกษาดูงานสถานีขนถ่ายขยะ ของเทศบาลนครเชียงใหม่ ศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะของ อบต.ดอนแก้ว สถานที่ก�ำจัดขยะของกลุ่มบ้าน บ้านตาลพัฒนา ที่อ�ำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และงานเตาเผามูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดจนเข้าร่วมสังเกตการณ์ ในการประชุม รับฟังความคิดเห็นเกีย่ วกับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแปรรูปขยะเป็นพลังงานของเทศบาลต�ำบลบ้านหลวง อ�ำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ในที่นี้จะน�ำเสนอข้อมูลที่เรียบเรียงจากการรวบรวมเอกสารที่ได้รับจากส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยงานอื่นๆ ที่คณะนักวิจัยได้ไปศึกษาดูงาน การ ประมวลข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และความคิดเห็นของผู้ให้ข้อมูล และข้อสังเกตจากการศึกษาดูงาน โดยน�ำเสนอเป็นประเด็นดังต่อไปนี้

ภาคผนวก 2: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูน

249


1. สถานการณ์ขยะมูลฝอยจังหวัดเชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12.57 ล้านไร่ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อ�ำเภอ 204 ต�ำบล และ 2,066 หมู่บ้าน มี อปท. รวม 211 แห่ง ประกอบด้วย อบจ.เชียงใหม่ 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 4 แห่ง เทศบาลต�ำบล 117 แห่ง และ อบต. 88 แห่ง จากข้อมูลตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร์ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2558 จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากร 1,728,242 คน1 จากการส�ำรวจของส�ำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 1 ในปี 2556 จังหวัดเชียงใหม่มีปริมาณขยะ เกิดขึ้นจ�ำนวนประมาณ 627,404 ตัน/ปี มี อปท. ที่ให้บริการเก็บขนและก�ำจัดขยะจ�ำนวน 149 แห่ง (มี ปริมาณขยะรวมกันประมาณ 509,823 ตัน/ปี) และ อปท. ที่ไม่มีบริการเก็บขยและก�ำจัดขยะจ�ำนวน 61 แห่ง (มีปริมาณขยะรวมกันประมาณ 117,581 ตัน/ปี) ปริมาณขยะมูลฝอยที่มีการเก็บขนไปก�ำจัด ทั้งหมดมีประมาณ 306,009 ตัน/ปี หรือประมาณร้อยละ 48.7 ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด ในจ�ำนวนนี้เป็นขยะที่มีการจัดการถูกต้องตามหลักวิชาการประมาณ 245,709 ตัน/ปี (ซึ่งรวมถึงขยะ มูลฝอยที่สามารถน�ำกลับมาใช้ประโยชน์ ได้ประมาณ 203,813 ตัน/ปี) และขยะที่มีการจัดการไม่ถูกต้อง ตามหลั กวิ ช าการจ� ำ นวนประมาณ 60,300 ตั น /ปี ทั้ ง นี้ ในปั จ จุ บั น เชี ย งใหม่ มี ป ริ ม าณขยะสะสม ประมาณ 22,258 ตัน2 ลักษณะการจัดการขยะของ อปท. 210 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ อปท. ด�ำเนินการเก็บ ขนและก�ำจัดเอง 21 แห่ง อปท. จัดจ้างบริษัทเอกชนด�ำเนินการเก็บขนและก�ำจัดจ�ำนวน 109 แห่ง เป็น การจัดการโดยให้ชมุ ชนเก็บขนและก�ำจัดเอง 19 แห่ง และ อปท. ไม่มรี ะบบการจัดการขยะจ�ำนวน 61 แห่ง3 จังหวัดเชียงใหม่มีศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยหลักๆ อยู่ 3 แห่ง คือ 1) ศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยแบบครบวงจรที่ด�ำเนินการโดยเทศบาลต�ำบลเวียงฝาง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 13 ในเขต อบต.เวียง อ�ำเภอฝาง มีพื้นที่ 150 ไร่ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ในช่วงปี 2545-2547 เป็นจ�ำนวนเงิน 213.7 ล้านบาท การก�ำจัด เป็นแบบการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ปริมาณขยะที่น�ำมาก�ำจัดประมาณ 60 ตัน/วัน ประกอบด้วย ขยะในเขตเทศบาลเวียงฝางประมาณ 10 ตัน/วัน และขยะจาก อปท. อื่น 16 แห่ง และหน่วยงานราชการ อีก 3 แห่ง รวมประมาณ 50 ตัน/วัน ตั้งแต่ 2 พฤศจิกายน 2556 เป็นต้นมา เทศบาลต�ำบลเวียงฝาง ได้ว่าจ้างบริษัท เวส ยูทิไลฟ์ จ�ำกัด เป็นผู้บริหารจัดการบ่อฝังกลบขยะ เป็นสัญญาที่มีอายุ 6 ปี โดย 1 ประกาศส�ำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จ�ำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558, ที่มา: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm. 2 จังหวัดเชียงใหม่, แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายจังหวัดเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2558-2562), หน้า 14. 3 เพิ่งอ้าง, หน้า 16.

2 50

การจัดการของเสียจากชุมชน


ให้แยกขยะประเภทพลาสติกเพื่อท�ำเชื้อเพลิง RDF ส่งขายโรงปูนของ SCG และคัดแยกขยะรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณขยะที่เข้าสู่หลุมฝังกลบ อย่างไรก็ดี ส�ำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคได้ลงพื้นที่เพื่อประเมิน สถานที่ก�ำจัดมูลฝอยแห่งนี้เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2557 พบว่า มีกองขยะสะสมทั้งภายในบ่อฝังกลบและ นอกบ่อฝังกลบเป็นจ�ำนวนมาก รวมทั้งมีน�้ำชะขยะท่วมขังอยู่ภายในพื้นที่บ่อฝังกลบ และมีขยะกระจาย อยู่ทั่วไป จนส่งกลิ่นเหม็นมาก ดังนั้น สถานะปัจจุบันของศูนย์ก�ำจัดขยะของเทศบาลเวียงฝางจึงถือว่า เป็นการก�ำจัดขยะแบบไม่ถูกต้องประเภทเทกอง ซึ่งจ�ำเป็นต้องหามาตรการแก้ไขโดยเร่งด่วนต่อไป 2) ศูนย์ก�ำจัดขยะแบบครบวงจรของ อบจ.เชียงใหม่ ซึ่งถูกก�ำหนดให้รับผิดชอบการจัดการ ขยะในโซนกลางของจังหวัดเชียงใหม่ ตามบันทึกข้อตกลงที่ อบจ.เชียงใหม่ท�ำกับกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิง่ แวดล้อม ตัง้ อยูท่ หี่ มู่ 1 บ้านป่าตึงน้อย ต�ำบลป่าป้อง อ�ำเภอดอยสะเก็ด ด้วยงบประมาณ 460 ล้านบาท ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2552 สามารถรองรับขยะในพื้นที่ 3 อ�ำเภอ คือ อ�ำเภอดอยสะเก็ด สันก�ำแพง และกิ่งอ�ำเภอแม่ออน และอีก 5 เทศบาลต�ำบล ซึ่งมีขยะรวมกันไม่ต�่ำว่าวันละ 100 ตัน/วัน ในขณะที่ขีดความสามารถของศูนย์สามารถรองรับขยะได้สูงถึง 300 ตัน/วัน ลักษณะการด�ำเนินงาน ของศูนย์เป็นระบบปิด กิจกรรมประกอบด้วยการแยกขยะชีวภาพที่เป็นเศษอาหารและพืชผักออกเพื่อน�ำ มาผลิตเป็นปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในการเกษตร ขยะอื่นๆ จะแยกเป็นส่วนที่สามารถน�ำกลับมาใช้ใหม่ ส�ำหรับ ขยะที่ไม่สามารถน�ำกลับมาใช้ใหม่ จะว่าจ้างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ศึกษาวิจัยหาแนวทางน�ำมาใช้ ประโยชน์ ทั้งนี้ ได้มีการเปิดทดลองด�ำเนินการเมื่อปี 2555 แต่ไม่สามารถด�ำเนินการต่อได้เนื่องจากมีการ ต่อต้านในพื้นที่ ต่อมา อบจ.เชียงใหม่ได้ว่าจ้างบริษัท SCI ECO จ�ำกัด ให้ปรับปรุงเครื่องจักรและระบบ การคัดแยก โดยสามารถรับขยะเข้าระบบได้วันละ 100 ตัน แต่ปรากฏว่าเมื่อทดลองด�ำเนินการ มีปริมาณ ขยะเข้าระบบเพียง 80 ตัน/วัน สถานะปัจจุบันคือปิดการด�ำเนินการของศูนย์ชั่วคราว 3) บ่อฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลของ บริษัท กลุ่มบ้านตาลพัฒนา ตั้งอยู่ที่หมู่ 7 ต�ำบล บ้านตาล อ�ำเภอฮอด มีขนาดพื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ โดย อปท. จ�ำนวนมากทั้งในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และล�ำพูนเก็บขนหรือจ้างเอกชนเก็บขนเพือ่ น�ำไปก�ำจัดในหลุมฝังกลบดังกล่าว เช่น เทศบาลนครเชียงใหม่ จ้างเหมาให้บริษัทเอกชนเก็บขนขยะไปยังสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยของเทศบาลบริเวณข้างสุสานหายยา และจ้างให้ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ธเนศการก่อสร้าง ในเครือของบริษัท กลุ่มบ้านตาลพัฒนา ขนส่งไปก�ำจัดที่ หลุมฝังกลบที่อ�ำเภอฮอดต่อไป

ภาคผนวก 2: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูน

251


2. การจัดการขยะมูลฝอยและมูลฝอยติดเชื้อของเทศบาลนครเชียงใหม่

เทศบาลนครเชียงใหม่มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ 40.2 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 14 ต�ำบล 96 ชุมชน แบ่งออกเป็น 4 แขวง ได้แก่ แขวงนครพิงค์ แขวงกาวิละ แขวงเม็งราย และแขวง ศรีวิชัย มีปริมาณขยะประมาณ 300 ตัน/วัน มีการจัดเก็บทุกวัน และไม่มีขยะตกค้าง งานการจัดการขยะมูลฝอยอยู่ในความรับผิดชอบของส�ำนักการช่าง ปัจจุบันเทศบาลว่าจ้าง แบบเหมาจ่ายเป็นรายปีให้บริษัท ริมดอย จ�ำกัด เป็นผู้เก็บขนขยะในทั้ง 4 แขวง ไปรวบรวมไว้ที่สถานี ขนถ่ายขยะข้างสุสานหายยาซึ่งบริหารจัดการโดยเทศบาลนครเชียงใหม่เอง ที่สถานีขนถ่ายขยะแห่งนี้ จะมีผู้ประกอบอาชีพเก็บขยะอยู่ประมาณ 15 คน เป็นกลุ่มคนที่คัดแยกเอาขยะที่มีมูลค่าออก ซึ่งท�ำให้ ปริมาณขยะทีจ่ ะต้องส่งไปก�ำจัดลดลงได้ในระดับหนึง่ เหลือประมาณ 285 ตัน/วัน ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ จัดระเบียบโดยเก็บบุคคลเหล่านีค้ นละ 20 บาท/วัน เพือ่ เป็นค่าใช้จา่ ยส�ำหรับค่าน�ำ้ ค่าไฟ และการบ�ำรุงรักษา ห้องสุขา จากสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอยของเทศบาล เทศบาลนครเชียงใหม่ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ธเนศการก่อสร้าง ในเครือของกลุ่มบ้านตาลพัฒนา เพื่อด�ำเนินการขนส่งขยะมูลฝอยไปก�ำจัดที่บ่อฝังกลบ ขยะของตนที่ต�ำบลบ้านตาล อ�ำเภอฮอด ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 115 กิโลเมตร ส�ำหรับมูลฝอย ประเภทกิ่งไม้ใบไม้ จะส่งไปสถานีผลิตปุ๋ยหมักของเทศบาล ในแต่ละปีเทศบาลนครเชียงใหม่ตอ้ งใช้งบประมาณจ�ำนวนมากในการจัดการขยะมูลฝอย ส�ำหรับ ปี 2558 เทศบาลฯ มีงบประมาณประมาณ 1,300 ล้านบาท แต่ต้องใช้จ่ายเฉพาะเพื่อการจ้างเอกชน เก็บขนและก�ำจัดขยะมูลฝอยรวมเกือบ 200 ล้านบาท โดยยังไม่นบั รวมค่าจ้างบุคลากรทีร่ บั ผิดชอบ ในขณะที่ เทศบาลเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนขยะมูลฝอยได้เพียงประมาณ 24 ล้านบาท/ปี ค่าใช้จ่ายการจัดการ ขยะมูลฝอยแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้ (1) ค่าจ้างเอกชนเก็บขนขยะไปรวบรวมไว้ทสี่ ถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย ข้างสุสานหายยา จ�ำนวน 96 ล้านบาท (2) ค่าจ้างเอกชนขนส่งขยะมูลฝอยจากสถานีขนถ่ายขยะไปก�ำจัดที่ต�ำบลบ้านตาล อ�ำเภอฮอด จ�ำนวน 95 ล้านบาท (3) ค่าใช้จ่ายในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อประมาณ 1.5 ล้านบาท/ปี (4) ค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะอันตรายจากชุมชน เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่มือถือ ประมาณ 8 แสนบาท (ปัจจุบันส่งไปก�ำจัดที่บริษัท เบตเตอร์ เวิลด์ กรีน จ�ำกัด) (5) ค่าใช้จ่ายในการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ประมาณ 5 แสนบาท

2 52

การจัดการของเสียจากชุมชน


ณ เวลาปัจจุบัน เทศบาลนครเชียงใหม่ก�ำลังอยู่ในระหว่างประกาศเชิญชวนเอกชนให้ยื่นข้อ เสนอโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแปรรูปขยะเป็นพลังงาน ซึ่งหากด�ำเนินการได้ คาดว่าจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลลงได้ประมาณร้อยละ 50 ทั้งนี้ ได้มีเอกชนยื่นข้อเสนอโครงการ มาแล้ว 3-4 ราย โดยเทศบาลจะให้ความส�ำคัญแก่ประเด็นเรือ่ งความพร้อมในการจัดหาพืน้ ทีร่ องรับโครงการ และเทคโนโลยีทจี่ ะน�ำมาใช้ หากเอกชนรายใดสามารถจัดหาพืน้ ที่ได้ (โดยเฉพาะถ้าเป็นพืน้ ทีท่ ี่ใช้ในราชการ ทหาร) โดยไม่มีปัญหากับมวลชน จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ส�ำหรับความเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านการจัดการขยะมูลฝอยของรัฐบาลปัจจุบัน ผู้อ�ำนวยการ ส่วนส่งเสริมสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลนครเชียงใหม่มีความเห็นว่า มีความพอใจที่ราชการ ส่วนกลางและกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นมีความชัดเจนมากขึ้น และพระราชบัญญัติร่วมทุนฯ จะเป็นเครือ่ งมือในการกระตุน้ ให้เกิดการจัดการขยะมูลฝอยในภาพที่ใหญ่ขนึ้ แทนทีจ่ ะปล่อยให้เป็นปัญหา ของท้องถิ่นดังที่ผ่านมา ปัญหาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ การจัดการมูลฝอยติดเชื้อเป็นปัญหาส�ำคัญอันหนึ่งของเทศบาลนครเชียงใหม่ หัวหน้างาน ก�ำจัดมูลฝอยของเทศบาลนครเชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่าเทศบาลจัดเก็บมูลฝอยติดเชื้อได้ประมาณ 500 กิโลกรัมต่อวัน แต่มูลฝอยติดเชื้อในเขตเทศบาลน่าจะมีปริมาณมากกว่านี้มาก เนื่องจากมีสถานพยาบาล ที่เป็นคลินิกรักษาคนและคลินิกรักษาสัตว์เป็นจ�ำนวนมากในเขตเทศบาล แต่เทศบาลสามารถจัดเก็บ มูลฝอยติดเชื้อจากคลินิกได้ไม่เกิน 20 แห่งเท่านั้น คลินิกหลายแห่งอ้างว่าได้ส่งมูลฝอยติดเชื้อของตน ไปก�ำจัดที่เตาเผามูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่แล้ว ปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือ หน่วยงานอนุญาตให้เปิดคลินิกรักษาคน ได้แก่ ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และหน่วยงานอนุญาต ให้เปิดโรงพยาบาลสัตว์หรือคลินิกรักษาสัตว์ ได้แก่ ส�ำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เมื่อผู้ประกอบการยื่นค�ำขอ รับใบอนุญาต ก็จะขอใบรับรองการก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อจากเทศบาล แต่เมื่อได้รับใบอนุญาตให้เปิดคลินิก แล้ว กลับไม่ส่งมูลฝอยติดเชื้อให้เทศบาลจัดการ ในปัจจุบัน เทศบาลนครเชียงใหม่ได้ออกใบอนุญาตให้ บริษัท นิวโชคอ�ำนวย จ�ำกัด เป็นผู้ ให้บริการเก็บขนมูลฝอยติดเชื้อไปก�ำจัด โดยทางบริษัทแจ้งข้อมูลว่าตนส่งมูลฝอยติดเชื้อไปก�ำจัดใน เตาเผาที่จังหวัดพิษณุโลก ส�ำหรับโรงพยาบาลต่างๆ จะมีระบบก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อของตนเอง เช่น โรงพยาบาลมหาราช นครเชียงใหม่ ก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อในเตาเผามูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาล ส่วนโรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ ก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อของตนเองโดยวิธีการท�ำลายเชื้อด้วย ไอน�้ำ แล้วให้เทศบาลด�ำเนินการเก็บขนเป็นมูลฝอยทั่วไปเพื่อน�ำไปก�ำจัดต่อไป ภาคผนวก 2: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูน

253


3. การศึกษาดูงานเตาเผามูลฝอยติดเชื้อที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

คณะนักวิจัยได้ศึกษาดูงานเตาเผามูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2559 และได้สัมภาษณ์ข้อมูลจาก ผู้บริหารและบุคลากรผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับคุณลักษณะของเตาเผา และกระบวนการท�ำงานในการก�ำจัด มูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาล เตาเผามูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่มีลักษณะเป็นเตาเผาส�ำเร็จรูป ระบบปิดแบบ 2 ห้องเผาไหม้ โครงสร้างภายนอกท�ำด้วยเหล็กแผ่น และทุกส่วนประกอบของเตาเผา ท�ำด้วยเหล็ก โครงสร้างภายในประกอบขึ้นด้วยอิฐทนไฟและคอนกรีตทนไฟ ชั้นระหว่างอิฐทนไฟกับ โครงสร้างเหล็กภายนอกเสริมด้วยอิฐฉนวนกันความร้อนตามมาตรฐานของผู้ผลิต สามารถเผามูลฝอย ติดเชื้อได้ในอัตรา 200-250 กิโลกรัม/ชั่วโมง ส�ำหรับขยะมูลฝอยที่มีอัตราค่าความร้อนประมาณ 3,0004,000 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม มีความชืน้ ประมาณ 40% ความหนาแน่นของขยะประมาณ 180-250 กิโลกรัม/ ลูกบาศก์เมตร และสามารถป้อนขยะเพื่อท�ำการเผาต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง ประกอบด้วย 2 ห้องเผา คือ  ห้องเผาไหม้ที่ 1 (Primary chamber) เป็นห้องเผามูลฝอยทีอ่ ณุ หภูมิ 400-800 องศาเซลเซียส ภายใต้สภาวะอากาศน้อยมาก เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ มีระบบน�ำอากาศที่ผ่านการเพิ่มอุณหภูมิ หมุนวนกลับไปช่วยในการเผาไหม้ ประตูเปิด-ปิด ของห้องเผาไหม้ที่ 1 ประกอบด้วย ประตูน�ำขยะเข้า 1 บาน และประตูน�ำเถ้าออกอีก 2 บาน  ห้องเผาไหม้ที่ 2 (Secondary chamber or thermal reactor) เป็นห้องเผาควัน ที่เกิดจาก กระบวนการ carbonization ของห้องเผาไหม้ที่ 1 ท�ำการเผาไหม้ที่อุณหภูมิ 800-1,000 องศาเซลเซียส และมีเวลาในการเผาไหม้ (retention time) ไม่น้อยกว่า 0.5 วินาที หัวเผาในห้องเผาไหม้เป็นแบบ “modulation burner” ที่มีเครื่องสูบน�้ำมันประกอบอยู่ในตัว สามารถปรับเร่งและลดน�้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศในการเผา สามารถก�ำหนดให้ใบพัดของหัวเผาท�ำงาน ตลอดเวลา แม้ว่าการสูบฉีดน�้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกตัด เอกสารที่ได้รบั จากคณะแพทย์ศาสตร์ให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการท�ำงานของเตาเผา ในปัจจุบันไว้ว่า การเผามูลฝอยติดเชื้อมีระบบการควบคุมปริมาณอากาศที่ใช้ในการเผาไหม้อยู่ 2 ระดับ ที่ผสมผสานกันอยู่ในขั้นตอนที่ต่อเนื่องกัน กล่าวคือ เมื่อขยะถูกบรรจุเข้าไปในห้องเผาไหม้ที่ 1หัวพ่น ไฟจะท�ำการเผาไหม้ขยะด้วยปริมาณอากาศในระดับที่เหมาะสม (controlled air) ต่อการลุกไหม้เท่านั้น ซึ่งจะท�ำให้เกิดการลุกไหม้อย่างสมบูรณ์ จากนั้นเมื่อควันและก๊าซที่เกิดจากเผาไหม้ล�ำดับแรกยกตัวลอย

2 54

การจัดการของเสียจากชุมชน


ขึ้นสู่ด้านบน ก็จะมีการให้อากาศในระดับที่มากเกินพอ (excess air) เพื่อชักน�ำให้เกิดการเผาไหม้ควัน และก๊าซดังกล่าว ซึ่งความร้อนที่เกิดขึ้นในขั้นตอนนี้จะสูงมากจนท�ำให้เกิดการเผาไหม้ส่วนของเถ้าขยะที่ เหลือจากขัน้ ตอนแรกด้วย หลังจากทีค่ วันและก๊าซทีห่ ลงเหลืออยูจ่ ากการเผาไหม้ในห้องเผาไหม้ที่ 1 ยกตัว ลอยขึ้นสู่ห้องเผาไหม้ที่ 2 ควันและก๊าซดังกล่าวก็จะถูกผสมผสานด้วยอากาศในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อ ให้เกิดการเผาไหม้จนหมดสิ้นไปภายในห้องเผาไหม้ ก่อนที่จะเหลือเพียงไอร้อนระบายออกไปทาง ปากปล่องโดยที่ไม่จ�ำเป็นต้องมีการบ�ำบัดด้วยวิธีอื่นใดภายนอกตัวเตาเผาอีกต่อไป ปัจจุบันโรงพยาบาลมี เตาเผาอยู่ 2 ชุดไว้สำ� รองการใช้งาน สามารถรองรับการเผามูลฝอยติดเชือ้ ได้วนั ละ 1,500-2,000 กิโลกรัม/ วัน ไม่ใช้น�้ำมันเชื้อเพลิงในการเผาไหม้ แต่ใช้เทคนิคการผสมอากาศในห้องเผาไหม้ที่ 2 โดยติดตั้ง Blower และวาล์วควบคุมอากาศในห้องเผาไหม้ที่ 1 และที่ 2 ให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ด้วย ตัวเอง และท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพแบบ “ไร้มลพิษ” ข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับเตาเผายังมีข้อมูลการเฝ้าระวังก๊าซไอเสียที่ปล่อยออกจากเตาเผาขยะ ติดเชื้อของโรงพยาบาล โดยระบุข้อมูลตรวจวัดในปี 2548, 2551, 2554, 2555 และ 2558 สารมลพิษที่ ตรวจวัดได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ และซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ ผลการตรวจวัดเมื่อ ปี 2548 ขณะที่ใช้เตาเผาเก่า แสดงข้อมูลว่าก๊าซไอเสียที่ปล่อยออกมามีค่าสารมลพิษเกินค่ามาตรฐาน ที่กฎหมายก�ำหนด ส่วนผลการตรวจวัดปี 2558 ยังคงรอข้อมูลจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ซึ่งเข้ามาด�ำเนินการตรวจวัดก่อนหน้านี้ จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบงานเตาเผามูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาล ท�ำให้ ได้ข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้  มูลฝอยติดเชื้อที่ท�ำการเผามีปริมาณประมาณ 1,600 กิโลกรัม/วัน  ขี้เถ้าที่เหลือจากการเผาในแต่ละวันจะมีประมาณ 2 รถเข็นๆ ละประมาณ 20 กิโลกรัม ซึ่งจะส่งให้เทศบาลนครเชียงใหม่น�ำไปฝังกลบต่อไป  ก่อนการเผาจะมีการคัดแยกขยะรีไซเคิลบางส่วนออก เช่น ขวดน�้ำเกลือ และกล่องกระดาษ ต่างๆ  ไม่มีการเผาชิ้นเนื้อในเตาเผา และเตาเผานี้เผาชิ้นเนื้อไม่ได้  การเผาอย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ที่ท�ำงาน ณ จุดนี้มา นานกว่า 20 ปี เช่น จะต้องป้อนมูลฝอยติดเชื้อส่วนที่เป็นขยะแห้งและเผาไหม้ง่ายเข้าเตาเผาก่อนเป็น พื้นชั้นล่าง เช่น กระดาษ เสื้อผ้าผู้ป่วย ชั้นกลางจะใส่มูลฝอยที่เผาไหม้ยากขึ้น เช่น หลอดเปื้อนเลือด

ภาคผนวก 2: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูน

255


แพมเพอร์ส ส่วนชั้นบนสุดเป็นมูลฝอยส่วนที่เผาไหม้ยากที่สุด เช่น สายยาง และถุงน�้ำเกลือ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้มูลฝอยติดเชื้อที่ใส่เข้าเตาเผาติดไฟและเผาไหม้ดีขึ้น นอกจากเผาก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลแล้ว ยังมีมูลฝอยติดเชื้อที่ส่งจากหน่วยงาน ภายนอกและคลินกิ ต่างๆ ทีส่ ง่ มาเผาก�ำจัดทีเ่ ตาเผาของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ดว้ ย เช่น มูลฝอย ติดเชื้อจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะสัตวแพทย์ และคณะเทคนิคการแพทย์ รวมทั้งคลินิก รักษาผู้ป่วยอีกประมาณ 10 กว่าแห่ง โดยจะก�ำหนดให้มาส่งมูลฝอยติดเชื้อได้ทุกเย็นวันศุกร์ ปริมาณ มูลฝอยติดเชื้อจากนอกโรงพยาบาลมีรวมกันประมาณ 10 กว่าถังในแต่ละสัปดาห์ ถังละประมาณ 50 กิโลกรัม ในการศึกษาดูงานระบบเตาเผามูลฝอยติดเชือ้ ของโรงพยาบาลในครัง้ นี้ คณะนักวิจยั มีขอ้ สังเกต ว่า เตาเผาดังกล่าวยังไม่มีระบบบ�ำบัดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผา มีการตรวจวัดสารมลพิษที่ ปล่อยออกจากเตาเผาเพื่อการเฝ้าระวังเป็นบางปี แต่ไม่ได้ด�ำเนินการทุกปี อีกทั้งยังไม่มีการตรวจวัด สารมลพิษที่เป็นสารไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย 4. ตัวอย่างการบริหารจัดการขยะที่ดีของ อบต.ดอนแก้ว

อบต.ดอนแก้ว อ�ำเภอแม่รมิ จังหวัดเชียงใหม่ ตัง้ อยูท่ างทิศใต้ของอ�ำเภอแม่รมิ มีพนื้ ทีท่ งั้ หมด ประมาณ 48.53 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 10 หมู่บ้าน 1 ชุมชน (บ้านห้วยตึงเฒ่า) มีครัวเรือน จ�ำนวน 6,177 ครัวเรือน ประชากรประมาณ 15,177 คน ส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง และมีหน่วยงานราชการ ในเขตพื้นที่จ�ำนวน 43 หน่วยงาน อบต.ดอนแก้ว มีชื่อเสียงในฐานะเป็นแบบอย่างของ อปท. ที่มีการบริหารจัดการขยะที่ดี และเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ที่มี อปท. และหน่วยงานอื่นๆ มาศึกษาดู งานเป็นจ�ำนวนมาก คณะนักวิจัยได้รับฟังข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนายก อบต.ดอนแก้ว ปลัด อบต.ดอนแก้ว ผู้อ�ำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม พร้อมทีมงาน รวมทั้งได้ศึกษาดูงาน ศูนย์เรียนรู้ด้านการท�ำปุ๋ยหมักและน�้ำหมักชีวภาพจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและภายใน ครัวเรือน ปลัด อบต.ดอนแก้ว ได้เล่าความเป็นมาของโครงการบริหารจัดการขยะโดยชุมชนของ อบต.ดอนแก้วว่า เป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะและน�ำขยะกลับมาใช้ ประโยชน์ตั้งแต่ในระดับครัวเรือน งานดังกล่าวกระท�ำได้ยากเนื่องจากประชาชนยังคุ้นเคยกับการทิ้งขยะ รวมกัน ในปี 2541-2542 ได้จดั ท�ำโครงการอบรมให้ประชาชนรูจ้ กั ประเภทของขยะ การบริหารจัดการขยะ

2 56

การจัดการของเสียจากชุมชน


การท�ำปุ๋ยหมักและน�้ำหมักชีวภาพ โดยใช้งบประมาณของ อบต. เพียง 100,000 บาท การแบ่งประเภท ขยะได้แก่ (1) ขยะเปียก (ขยะย่อยสลายได้ เช่น เศษผัก เศษอาหาร และเปลือกผลไม้) (2) ขยะรีไซเคิล (ขยะที่ขายได้ เช่น กระดาษ พลาสติก โลหะ ขวด แก้ว ฯลฯ) (3) ขยะแห้งทั่วไป (เช่น ถุงขนม ซองบะหมี่ ส�ำเร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อน ฯลฯ) และ (4) ขยะอันตราย (เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย กระป๋องยาฆ่าแมลง ฯลฯ) ในการอบรม จะใช้วิธีการสร้างแกนน�ำ 8 คน/หมู่บ้าน ต่อมาในปี 2544 โครงการได้รับทุนสนับสนุน จากแหล่งทุนอื่นๆ จึงขยายการอบรมออกไปในวงที่กว้างขึ้นตามล�ำดับ ในการอบรมให้ความรู้แก่ชุมชน จะเอาประเด็นเรื่องสุขภาพเป็นตัวตั้ง เพื่อชี้ ให้ชาวบ้านเห็นผลกระทบที่เกิดจากการก�ำจัดขยะแบบ ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น แมลงและพาหะน�ำโรคต่างๆ ที่เกิดจากการทิ้งขยะ มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการ เผาขยะ และการปนเปื้อนน�้ำใต้ดินจากการฝังกลบขยะ เช่น น�้ำบ่อที่เคยใสสะอาดเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือ สีน�้ำตาล เมื่อน�ำไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ก็จะพบสารพิษปนเปื้อน เป็นต้น ผลจากการอบรม ท�ำให้ชุมชน อบต.ดอนแก้ว มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ในระดับครัวเรือน โดย มีภาชนะรองรับขยะแยกจากกันเป็น 4 ประเภท และสอนให้ชาวบ้านรู้จักวิธีท�ำปุ๋ยหมักและน�้ำหมักชีวภาพ ส�ำหรับใช้ในการเกษตร ส่วนขยะแห้ง ทาง อบต. จะด�ำเนินการจัดเก็บเป็นเวลา ส�ำหรับขยะที่ขายได้ ก็จัดตั้งธนาคารขยะ หรือร้านค้าศูนย์บาทที่ชาวบ้านสามารถน�ำขยะมาซื้อของได้ นอกจากนี้ยังมีกองทุน ขยะของผู้สูงอายุ โดยให้ผู้สูงอายุน�ำขยะมาด้วยเวลามารับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ อบต.ดอนแก้วด�ำเนินงานในลักษณะดังกล่าวมาข้างต้นตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปี 2556 โดยไม่ คิดค่าธรรมเนียมการจัดการขยะ แต่มีชุมชนเข้าร่วมโครงการเพียงประมาณ 600 หลังคาเรือน จึงได้ มีการทบทวนปัญหาและแนวทางการท�ำงาน และพบว่าสาเหตุส�ำคัญประการหนึ่งก็คือ มีครัวเรือนเป็น จ�ำนวนมากที่สมาชิกครัวเรือนต้องออกไปท�ำงานข้างนอก จึงไม่มีบุคคลที่จะน�ำขยะที่คัดแยกแล้วมาที่ จุดรวบรวมเพื่อส่งมอบให้ อบต. อีกทั้งหลายครัวเรือนมีลักษณะที่อยู่อาศัยเป็นห้องแถวซึ่งไม่มีพื้นที่ ส�ำหรับการท�ำปุ๋ยหมักตามที่ อบต. แนะน�ำ ในปี 2556 อบต.ดอนแก้วจึงได้จัดท�ำโครงการที่เรียกว่า “ดอนแก้ว โมเดล 2” ซึ่งเปิดให้แต่ละครัวเรือนเลือกรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในการจัดการขยะ โดยมี ค่าธรรมเนียมแตกต่างกันดังต่อไปนี้ 1) ครัวเรือนคัดแยกขยะ ท�ำปุ๋ยหมักเอง และน�ำขยะแห้งมาวางที่จุดรวบรวม โดยไม่ต้อง เสียค่าธรรมเนียม 2) ครัวเรือนคัดแยกขยะ ท�ำปุ๋ยหมักเอง และอาสาสมัครของหมู่บ้านมาเก็บขยะแห้งให้ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เสียค่าธรรมเนียม 30 บาท/เดือน

ภาคผนวก 2: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูน

257


3) ครัวเรือนคัดแยกขยะเปียก อาสาสมัครของหมู่บ้านเก็บขยะเปียกไปท�ำปุ๋ยหมักทุกวัน และ เจ้าของบ้านน�ำขยะแห้งไปไว้ที่จุดรวบรวมในหมู่บ้านสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เสียค่าธรรมเนียม 40 บาท/เดือน 4) ครัวเรือนคัดแยกขยะ โดยอาสาสมัครของหมู่บ้านเก็บขยะเปียกทุกวัน และเก็บขยะแห้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เสียค่าธรรมเนียม 50 บาท/เดือน หลังจากการด�ำเนินการจัดการขยะตามแนวทางข้างต้น ปรากฏว่าสามารถขยายครัวเรือนที่ เข้าร่วมโครงการได้จนมีจ�ำนวนกว่า 4,000 ครัวเรือนในปัจจุบัน โครงการของ อบต.ดอนแก้ว ช่วยลด ค่าใช้จา่ ยในการจัดการขยะ และเพิม่ รายได้ให้แก่ชมุ ชนจากการท�ำปุย๋ หมักและปลูกผักปลอดสารพิษ ในปี ที่ผ่านมา อบต.ดอนแก้วเก็บค่าธรรมเนียมจากชุมชนที่เข้าร่วมโครงการได้ประมาณกว่า 300,000 บาท และ อบต.ดอนแก้วใช้งบประมาณของตนเองสมทบอีกกว่า 300,000 บาท ซึ่งเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายใน การจัดการขยะมูลฝอย ความส�ำเร็จของโครงการท�ำให้หน่วยงานอื่นๆ เช่น หน่วยงานทหาร และสถาบัน การศึกษาต่างๆ ในพื้นที่ต�ำบลดอนแก้ว อปท.อื่นๆ ที่เป็นเครือข่าย และครัวเรือนจ�ำนวนหนึ่งในโครงการ บ้านจัดสรรมาขอเข้าร่วมโครงการด้วย ในขณะนี้ อบต.ดอนแก้ว ก�ำลังอยู่ ในระหว่างการจัดท�ำร่าง ข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อรองรับแนวทางการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาข้างต้น ส�ำหรับขยะแห้งที่เหลือจากการคัดแยกและรีไซเคิลซึ่งมีปริมาณไม่เกิน 300 กิโลกรัม/วัน จะ น�ำมาเผาในเตาเผาของ อบต. ที่สร้างด้วยงบประมาณกว่า 600,000 บาท ปัจจุบันเตานี้มีสภาพเก่าและ ประสิทธิภาพในการเผาได้ลดลงตามล�ำดับ โดยนายก อบต.ดอนแก้ว ให้ข้อมูลว่า เตาเก่านี้เคยเผาได้ ที่อุณหภูมิ 800-1,000 องศาเซลเซียส โดยจะเผาในช่วงระหว่างเวลา 10.00-14.00 น. ปัจจุบันคงเผา ได้ที่อุณหภูมิประมาณ 400 องศาเซลเซียสเท่านั้น ณ ขณะนี้ อบต.ดอนแก้วก�ำลังจะทดลองใช้เตาใหม่ ที่ คาดว่าน่าจะรองรับปริมาณขยะได้มากขึ้นถึง 4-5 ตัน/วัน และหากเตาเผานี้สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้า ได้ในอนาคต และ อบต.ดอนแก้วมีปริมาณขยะมูลฝอยไม่เพียงพอ ก็อาจพิจารณารับขยะมูลฝอยจาก นอกพื้นที่มาใช้เป็นเชื้อเพลิงด้วย ในส่วนของขยะชุมชนที่เป็นขยะอันตรายนั้น เมื่อทาง อบต. รวบรวมได้เป็นจ�ำนวนมาก พอสมควร ก็จะจ้างบริษัทเอกชนมาจัดเก็บเพื่อน�ำไปก�ำจัดอย่างถูกต้องต่อไป หากมีโรงงานก�ำจัดขยะ อันตรายจังหวัดละ 1 แห่ง หรือ 1 แห่งส�ำหรับกลุ่มจังหวัด ก็จะช่วยอ�ำนวยความสะดวกแก่ อปท. ต่างๆ มากขึ้น

2 58

การจัดการของเสียจากชุมชน


5. โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแปรรูปขยะเป็นพลังงานของเทศบาลต�ำบลบ้านหลวง อ�ำเภอจอมทอง

เทศบาลต�ำบลบ้านหลวง อ�ำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ริเริ่ม “โครงการบริหารจัดการ ขยะปราศจากมลพิษ เพื่อผลิตพลังไฟฟ้าชุมชน” ขนาด 1 เมกะวัตต์ คณะนักวิจัยได้เข้าสังเกตการณ์การ ประชุมปรึกษาหารือระดับตัวแทนของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2558 โดยได้รับอนุญาต จากเทศบาลต�ำบลบ้านหลวง เทศบาลต�ำบลบ้านหลวงมีพื้นที่ประมาณ 364 ตารางกิโลเมตร มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับประเทศตั้งอยู่ในพื้นที่ การจัดการขยะมูลฝอยที่ผ่านมาใช้วิธีน�ำไปฝังกลบใน บ่อฝังกลบขยะรวมของ อปท. ต่างๆ ในพืน้ ทีอ่ ำ� เภอจอมทอง ซึง่ มีขยะเต็มบ่อฝังกลบแล้วในปัจจุบนั แม้วา่ จะมีการขุด พลิก และฝังกลบขยะหลายรอบแล้วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ผู้บริหารของเทศบาลจึงริเริ่ม โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชน โดยยืน่ ค�ำขอใช้ทดี่ นิ ส่วนทีเ่ ป็นป่าเสือ่ มโทรมในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ เรียกว่า “ป่าห้วยอีราง” เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2556 ซึ่งทางเทศบาลและส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัดได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่ามีความเหมาะสม และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้มี หนังสือลงวันที่ 23 ธันวาคม 2556 ถึงอธิบดีกรมป่าไม้วา่ การขอใช้พนื้ ทีด่ งั กล่าว “อยู่ในหลักเกณฑ์ทอี่ นุญาต ได้” พร้อมทั้งแจ้งให้เทศบาลต�ำบลบ้านหลวงรวบรวมเอกสารโครงการเสนอตามขั้นตอนเพื่อสอบถาม ความเห็นจากกรมควบคุมมลพิษต่อไป เทศบาลต�ำบลบ้านหลวงจึงได้มีหนังสือถึงกรมควบคุมมลพิษเพื่อสอบถามความคิดเห็นเมื่อ วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 และสภาเทศบาลต�ำบลบ้านหลวงมีมติเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558 อนุมัติ ให้นายกเทศมนตรีต�ำบลบ้านหลวง ลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) กับบริษัท โซล่าออริจิน จ�ำกัด เพือ่ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชน ขนาด 1 เมกะวัตต์ ในวงเงินงบประมาณ 60 ล้านบาท มีขดี ความสามารถ รองรับขยะประมาณ 70-80 ตัน/วัน โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ต่อมากรมควบคุมมลพิษ ได้มีหนังสือถึงเทศบาลต�ำบลบ้านหลวงเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2558 แจ้งค�ำแนะน�ำให้โครงการด�ำเนิน ตามหลักเกณฑ์ของ Code of Practice (CoP) ซึ่งเป็นประมวลหลักการปฏิบัติด้านความปลอดภัย และการดูแลสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้าที่ส�ำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดท�ำขึ้น เพื่อประกอบการยื่นขออนุญาตประกอบกิจการกับคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงาน ขั้นตอนต่อไปจึงได้แก่ ทางบริษัท โซล่าออริจิน จ�ำกัด จะจัดท�ำเอกสารตามแนวทางที่ก�ำหนด ไว้ใน CoP และเทศบาลต�ำบลบ้านหลวงจะรวบรวมเอกสารโครงการเพื่อขออนุมัติใช้ที่ดินต่อกรมป่าไม้ ตามมาตรา 13 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 รวมทั้งเสนอโครงการต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทยเพื่อขออนุมัติตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนใน ภาคผนวก 2: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูน

259


กิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึง่ ทัง้ หมดนีจ้ ะด�ำเนินการให้แล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2559 โดยคาดว่ากรมป่าไม้จะ อนุมัติให้ใช้ที่ดินและกระทรวงมหาดไทยอนุมัติโครงการได้ประมาณช่วงเดือนเมษายน 2559 หากเป็นไป ตามก�ำหนดการดังกล่าว เทศบาลต�ำบลบ้านหลวงจะลงนามในสัญญาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชน กับบริษัท โซล่าออริจิน จ�ำกัด ในเดือนมิถุนายน 2559 และโครงการจะเริ่มด�ำเนินการก่อสร้างได้ใน ช่วงเดือนสิงหาคม 2559 ในการประชุมปรึกษาหารือครั้งนี้ นายกเทศบาลต�ำบลบ้านหลวงชี้แจงว่าจะมีการตรวจวัด มลพิษทางอากาศและมลพิษทางน�ำ้ ก่อนเริม่ ด�ำเนินโครงการ เพือ่ ติดตามผลกระทบหลังจากด�ำเนินโครงการ แล้ว โดยจะมีคณะกรรมการซึ่งมีตัวแทนจาก 3 หมู่บ้านที่อาจได้รับผลกระทบท�ำการวิเคราะห์ผลทุก 3 เดือน โครงการนี้สามารถรองรับขยะที่จะก�ำจัดในอนาคตได้ 25 ปี โดยเอกชนผู้ลงทุนจะโอนกิจการให้ เทศบาลหลังจากครบก�ำหนดเวลาดังกล่าวตามสัญญา นอกจากนี้ ปลัดเทศบาลต�ำบลบ้านหลวงได้ให้ ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทางเทศบาลได้ด�ำเนินการส�ำรวจความคิดเห็นโดยสัมภาษณ์รายบุคคลในชุมชนที่ได้รับ ผลกระทบ และได้มีการท�ำประชาคมรับฟังความคิดเห็นมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ครอบคลุมชุมชน 19 หมู่บ้าน ครั้งที่ 2 ครอบคลุม 4 หมู่บ้าน และครั้งที่ 3 คือการประชุมในวันนี้ ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน ผลการ ส�ำรวจความคิดเห็นและการท�ำประชาคมทีผ่ า่ นมา ปรากฏว่าประชาชนเกือบทัง้ หมดกว่าร้อยละ 95 เห็นด้วย กับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชนนี้ จากการเข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุม พบว่า ผู้เข้าร่วมประชุมเกือบทั้งหมดในห้องประชุม รวมทัง้ ผูแ้ ทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรอนุรกั ษ์ในพืน้ ที่ ผูป้ ระกอบการท่องเทีย่ ว และปราชญ์ชาวบ้าน แสดงความเห็นด้วยกับโครงการ เพราะมองว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาขยะในพื้นที่ โดยทางเทศบาลไม่ต้อง ลงทุน และความเสี่ยงทั้งหมดตกอยู่ที่ภาคเอกชน นอกจากนี้ อปท. และชุมชนยังจะได้รับส่วนแบ่ง รายได้จากหน่วยไฟฟ้าที่จ�ำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าอีกด้วย อย่างไรก็ดี มีความเห็นที่น่าสนใจจากผู้เข้าร่วม ประมาณ 3 ท่าน ได้แก่ หัวหน้าชุดปฏิบัติการมวลชนที่เข้าร่วมประชุมได้แสดงข้อห่วงใยเกี่ยวกับมลพิษ ประเภทสารไดออกซินที่อาจเกิดขึ้นจากการเผาขยะ เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็ง ปลัดอ�ำเภอจอมทองมี ความเห็นว่าชาวบ้านที่ต�ำบลหัวเปาซึ่งเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวกับสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้ายังไม่ค่อยได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ และผู้แทนจากส�ำนักงานก�ำกับกิจการพลังงานมีความเห็นว่า ยังมองไม่เห็นภาพ ระบบการท�ำงานของโครงการและเทคโนโลยีที่ใช้ โดยให้ข้อแนะน�ำว่าทางบริษัทและเทศบาลควรจัดท�ำ สื่อและแผ่นพับเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการมากขึ้น ทั้งนี้ คณะนักวิจัยมีข้อสังเกตว่า ที่ประชุมซึ่งประกอบด้วยแกนน�ำชุมชนในพื้นที่ ได้ลงมติ แสดงความเห็นด้วยกับโครงการ โดยบริษัทเอกชนที่จะก่อสร้างโครงการยังไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบ การท�ำงานของเตาเผา เทคโนโลยีที่ใช้ และผลกระทบทีอ่ าจเกิดขึน้ อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ดี เอกสารทีแ่ จก ในที่ประชุมมีข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการต่างๆ อาทิเช่น 2 60

การจัดการของเสียจากชุมชน


 การตรวจสอบคุณภาพอากาศทุกไตรมาส  มีระบบรวบรวมน�้ำเสียจากขยะเพื่อน�ำไปบ�ำบัดแบบไร้อากาศ (Anaerobic) เพื่อผลิต ก๊าซชีวภาพ การปรับค่า pH และการตกตะกอน  มีระบบก�ำจัดฝุ่นจากปล่องเตาเผาขยะ หอดักแบบเปียก หอแยกแบบเหวี่ยงหมุน  ระบบป้องกันกลิ่นเหม็นและน�้ำเสียจากการขนขยะ และการป้องกันกลิ่นเหม็นจากโรงขยะ เช่น การส่งเสริมให้ชุมชนคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางในระดับครัวเรือน รถเก็บขยะต้องมีมาตรฐานปิด มิดชิด และไม่มีน�้ำเสียรั่วไหลบนถนน การบ�ำบัดน�้ำเสียในระบบปิด 6. ระบบการก�ำจัดขยะมูลฝอยของกลุ่มบ้านตาลพัฒนา

สถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยของกลุ่มบ้านตาลพัฒนา เป็นที่รู้จักกว้างขวางด้านการให้บริการ ก�ำจัดขยะมูลฝอยแก่ อปท. และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูนมาเกือบสองทศวรรษ ปัจจุบันด�ำเนินกิจการในนามของ บริษัท ท่าเชียงทอง จ�ำกัด และห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด ธเนศการก่อสร้าง มี สถานที่ตั้งอยู่ที่ต�ำบลบ้านตาล อ�ำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 115 กิโลเมตร บนพื้นที่ทั้งหมด 2,000 ไร่ อยู่ห่างไกลจากชุมชน หมู่บ้านที่ ใกล้ที่สุดอยู่ห่างออกไปประมาณ 2.3 กิโลเมตร แต่เดิมเป็นทีด่ นิ นิคมสร้างตนเอง ซึง่ รัฐบาลจัดสรรให้ชาวบ้านทีต่ อ้ งอพยพออกจากทีด่ นิ น�ำ้ ท่วม เมื่อครั้งมีการสร้างเขื่อนภูมิพล แต่เนื่องจากมีลักษณะเป็นที่ดินลูกรังซึ่งไม่สามารถใช้ท�ำการเกษตรได้ ชาวบ้านจึงต้องขายที่ดิน ศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยบ้านตาลก่อตั้งขึ้นโดยอดีต ส.ส. ศรีเรศ โกฎค�ำลือ ด�ำเนินกิจการมา ตั้งแต่ปี 2540 การด�ำเนินกิจการของศูนย์ ได้รับใบอนุญาตจากเทศบาลต�ำบลบ้านตาล ได้แก่ ใบอนุญาต ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ใบอนุญาตเก็บขนและก�ำจัดขยะ และใบรับแจ้งการขุดดินและ ถมดิน นอกจากนี้ ยังต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) และใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร จากส�ำนักงานก�ำกับกิจการพลังงานส�ำหรับการประกอบกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ ซึ่งมี อยู่ 2 โรงด้วย ปัจจุบันมีหลุมฝังกลบที่เต็มและปิดแล้ว 150 ไร่ การปิดหลุมฝังกลบใช้วิธีปิดทับชั้นสุดท้าย ของหลุมฝังกลบด้วยดินเหนียวเพื่อป้องกันการซึมของน�้ำ และมีระบบระบายน�้ำฝนทิ้งจากด้านหลังหลุม ฝังกลบ ทั้งนี้ได้มีบริษัทเอกชน (M Link) มาตกลงซื้อขยะในหลุมฝังกลบที่ปิดแล้ว เพื่อสร้างโรงไฟฟ้า แปรรูปขยะเป็นพลังงานขนาด 8-9 เมกะวัตต์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถด�ำเนินการได้ภายในอีก 2 ปี ส่วนหลุมฝังกลบขยะที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ การให้บริการก�ำจัดขยะมูลฝอย ประกอบด้วย การขนย้ายขยะจากจุดขนถ่ายขยะหรือสถานีขนถ่ายขยะของ อปท. โดยใช้รถบรรทุกที่

ภาคผนวก 2: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูน

261


ปิดคลุมด้วยผ้าใบอย่างมิดชิด มีระบบกักเก็บน�้ำชะขยะที่บรรทุกมาเพื่อป้องกันการหกเรี่ยราดตามเส้น ทางที่ขนส่ง หลุมฝังกลบขยะปูพื้นบ่อด้วยพลาสติก HDPE ที่มีความหนา 1.5 มิลลิเมตร และบดอัดด้วย ดินเหนียวเพือ่ ป้องกันการฉีกขาดก่อนน�ำขยะมาฝังกลบ และวางท่อระบายน�ำ้ ชะขยะ เมือ่ ขยะมาถึงสถานที่ ก�ำจัด ก็จะด�ำเนินการฝังกลบตามหลักสุขาภิบาลโดยใช้เครื่องจักรแบบ Hydraulic excavator ในการขุด บ่อขยะและตักดินมาฝังกลบทับหน้าขยะ ปรับดินทับหน้าขยะด้วยรถแทร็กเตอร์ ใช้รถบดอัดคันดินรอบ บ่อขยะ และท�ำถนนภายในหลุมฝังกลบขยะด้วย Motor grader เมื่อฝังกลบขยะเสร็จในแต่ละวัน ก็จะใช้ รถแบคโฮตักดินปิดทับหน้าขยะด้วยดินหนา 15 เซนติเมตร ส�ำหรับการบ�ำบัดน�้ำชะขยะ ใช้ระบบหมักแบบ ไร้อากาศ ต่อจากนั้นจะระบายน�้ำเข้าบ่อผึ่ง และปล่อยเข้าสู่บ่อระเหยแห้งตามล�ำดับ ปัจจุบนั หลุมฝังกลบขยะทีบ่ า้ นตาลเป็นสถานทีร่ องรับขยะมูลฝอยจากพืน้ ทีเ่ ชียงใหม่และล�ำพูน รวมประมาณ 600 ตัน/วัน ประกอบด้วยขยะมูลฝอยจากเทศบาลนครเชียงใหม่ประมาณ 300 ตัน/วัน และ จากเทศบาลต�ำบลอื่นๆ รวมประมาณ 45 อปท. อีกประมาณ 300 ตัน/วัน ราคากลางส�ำหรับค่าก�ำจัด ขยะอยู่ที่ 850 บาท/ตัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณขยะและระยะทางขนส่งด้วย เช่น ในกรณีของเทศบาลนคร เชียงใหม่ คิดค่าก�ำจัดในอัตรา 900 บาท/ตัน แต่ถ้าเป็น อปท. อื่น เช่น เทศบาลในเขตอ�ำเภอสันทราย อาจคิดค่าก�ำจัดในอัตรา 1,000 บาท/ตัน เป็นต้น เมื่อรถบรรทุกขยะมาถึงสถานที่ก�ำจัด จะใช้รถแบคโฮ ตักขยะลงจากรถบรรทุกและปั้นชั้นขยะ ขยะจะถูกคัดแยกโดยผู้คัดแยกขยะอิสระซึ่งได้รับอนุญาตให้ ประกอบอาชีพที่สถานที่ก�ำจัดขยะแห่งนี้ได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย รถบรรทุกขยะทุกคันจะต้องถูกล้างก่อน ออกจากกลุมฝังกลบเพื่อป้องกันการส่งกลิ่นรบกวน ปัจจุบัน สถานที่ก�ำจัดขยะมูลฝอยมีการด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เข้าลักษณะเป็นศูนย์ก�ำจัด ขยะแบบผสมผสาน ได้แก่ (1) การวางท่อดูดก๊าซชีวภาพในหลุมฝังกลบ และรวบรวมก๊าซชีวภาพมาใช้ ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าส�ำหรับขายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในราคา 5 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง (ขายให้ การไฟฟ้าในราคา 2.50 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง และได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลตามระบบ adder อีก 2.50 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง) โดยมีระยะเวลาคืนทุนของโรงไฟฟ้าภายใน 3-4 ปี และ (2) น�ำความร้อนทิ้งจาก โรงไฟฟ้ามาใช้ในโรงอบล�ำไย นอกจากนี้ ยังมีโครงการงานวิจัยน�ำน�้ำชะขยะที่ผ่านการบ�ำบัดแล้วมาท�ำปุ๋ย น�้ำส�ำหรับรดแปลงหญ้า ในการศึกษาดูงานศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยที่บ้านตาล คณะนักวิจัยมีข้อสังเกตว่า สถานที่ก�ำจัด ขยะแห่งนี้ยังมีศักยภาพที่จะรองขยะมูลฝอยในเขตจังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูนได้อีกมาก เนื่องจากมีพื้นที่ กว้างขวาง เป็นระบบปิดและมีการบริหารจัดการที่ดี รวมทั้งมีความเสี่ยงด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพค่อนข้างน้อย เนื่องจากอยู่ห่างไกลจากชุมชนและทิศทางลมที่พัดไม่ก่อให้เกิดกลิ่นรบกวน

2 62

การจัดการของเสียจากชุมชน


7. แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายจังหวัดเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2558-2562)

แผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายจังหวัดเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 25582562) ประกอบด้วยยุทธศาสตร์และแนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกันกับที่ก�ำหนดไว้ใน Roadmap การจัดการ ขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ ทั้งนี้ ได้แบ่งกลุ่มพื้นที่การบริหารจัดการขยะมูลฝอยออก เป็น 3 กลุ่ม โดยยึดตามศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยหลัก 3 แห่งในปัจจุบันของจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่4 1) โซนเหนือ มีเทศบาลต�ำบลเวียงฝางเป็นหน่วยงานหลักในการด�ำเนินการรวบรวมขยะ ซึ่งคาดว่าจะมีปริมาณขยะเข้าสู่ศูนย์ประมาณ 284.05 ตัน/วัน จาก อปท. และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ อ�ำเภอฝาง ไชยปราการ และแม่อาย และสถานีรวบรวมและขนถ่ายขยะทีอ่ ำ� เภอเชียงดาวและอ�ำเภอพร้าว ส�ำหรับพื้นที่ในอ�ำเภอเวียงแหงและอ�ำเภอพร้าว จะมีการปรับปรุงและฟื้นฟูบ่อขยะให้ด�ำเนินการอย่าง ถูกต้องตามหลักวิชาการด้วย 2) โซนกลาง มีศูนย์รวมขยะของ อบจ.เชียงใหม่เป็นแกนหลัก ซึ่งคาดว่าจะสามารถรวบรวม ปริมาณขยะได้ประมาณ 636.27 ตัน/วัน จาก อปท. และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่อ�ำเภอดอยสะเก็ด อ�ำเภอเมือง สันก�ำแพง แม่ออน สันทราย หางดง แม่ริม สะเมิง และแม่แตง ปริมาณขยะดังกล่าวมี มากเพียงพอทีส่ ร้างแรงจูงใจให้เอกชนเขามาลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าแปรรูปขยะเป็นพลังงานได้ ส�ำหรับพืน้ ที่ อ�ำเภอกัลยาณิวัฒนา อปท. ในพื้นที่จะปรับปรุงหรือฟื้นฟูบ่อขยะให้ถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป 3) โซนใต้ มีเทศบาลต�ำบลบ้านตาลเป็นหน่วยงานหลัก โดยมีศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยของ กลุม่ บ้านตาลพัฒนา ทีอ่ ำ� เภอฮอด เป็นผูด้ ำ� เนินการ คาดว่าจะรวบรวมปริมาณขยะได้จาก อปท. หน่วยงาน ต่างๆ และสถานีขนถ่ายขยะในพื้นที่อ�ำเภอสันป่าตอง แม่วาง ดอยหล่อ จอมทอง ฮอด ดอยเต่า และ แม่แจ่ม เป็นจ�ำนวน 310.74 ตัน/วัน ส�ำหรับพื้นที่อ�ำเภออมก๋อย อปท. ในพื้นที่จะปรับปรุงหรือฟื้นฟู บ่อขยะให้ถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป

4 อ้างแล้ว, หน้า 24-34.

ภาคผนวก 2: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูน

263


8. การจัดการขยะของเทศบาลต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอเมือง จังหวัดล�ำพูน เทศบาลต�ำบลบ้านกลางมีพื้นที่ประมาณ 18.4 ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออก เป็น 12 หมู่บ้าน 8,493 หลังคาเรือน ปัจจุบันมีประชากรตามทะเบียนราษฎร์ประมาณ 10,125 คน แต่มี ประชากรแฝงประมาณ 50,000 คน เฉพาะในเขตเทศบาลต�ำบลบ้านกลาง มีโรงงานอุตสาหกรรมทัง้ ในและ นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือจ�ำนวน 70 โรง

เทศบาลต�ำบลบ้านกลางมีปริมาณขยะเฉลี่ยประมาณ 60 ตัน/วัน ประกอบด้วยขยะจากชุมชน ประมาณ 20 ตัน/วัน และขยะมูลฝอยในโรงงานประมาณ 40 ตัน/วัน ปัจจุบันเทศบาลคิดค่าธรรมเนียม เก็บขนขยะในอัตรา 30 บาทต่อครัวเรือน รถของเทศบาลจะเก็บและขนขยะมูลฝอยไปยังสถานีบ่อพัก มูลฝอยของเทศบาลซึ่งเป็นลานโล่ง และรอการขนส่งไปก�ำจัดที่ศูนย์ก�ำจัดขยะมูลฝอยของบริษัทกลุ่ม บ้านตาลพัฒนา ที่อ�ำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยเสียค่าก�ำจัดในอัตรา 1,300 บาท/ตัน ทั้งนี้ เทศบาล ต�ำบลบ้านกลางต้องใช้งบประมาณว่าจ้างเอกชนขนขยะไปก�ำจัดเป็นจ�ำนวนมากกว่า 10 ล้านบาท/ปี นายกเทศมนตรีเทศบาลต�ำบลบ้านกลางให้ข้อมูลว่า เทศบาลได้ออกใบอนุญาตให้เอกชน 2 ราย ด�ำเนินการก�ำจัดสิ่งปฏิกูลนอกนิคมอุตสาหกรรม โดยเทศบาลไม่สามารถติดตามดูแลว่าเอกชนน�ำ สิ่งปฏิกูลไปก�ำจัดที่ใด เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีศูนย์ก�ำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างเป็นระบบ เช่น เดียวกันกับปัญหาการจัดการมูลฝอยติดเชือ้ ทีย่ งั ไม่มกี ารจัดการอย่างเป็นระบบ เว้นแต่บางโรงพยาบาลทีม่ ี ระบบก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อของตนเอง ปัจจุบันคลินิกต่างๆ จึงยังคงทิ้งมูลฝอยติดเชื้อในถุงด�ำปะปนไปกับ ขยะทั่วไป การจัดการขยะในนิคมอุตสาหกรรมล�ำพูน นายกเทศมนตรี เ ทศบาลต� ำ บลบ้ า นกลางกล่ า วถึ ง ปั ญ หาการจั ด การขยะมู ล ฝอยในนิ ค ม อุตสาหกรรมล�ำพูนว่า แต่เดิมโรงงานในนิคมใช้วิธีการว่าจ้างให้เอกชนมาจัดเก็บขยะที่เป็นวัสดุเหลือใช้ จากส�ำนักงาน เช่น เศษกระดาษ ขยะจาก office ฯลฯ โดยจ่ายค่าจ้างให้ 3 บาท/กิโลกรัม แต่บางครั้ง ก็มีขยะมีค่าที่เหลือจากการผลิตประเภทขยะอิเล็กทรอนิกส์ติดมาด้วย ท�ำให้เกิดปัญหาผู้ประกอบการ แย่งขยะกัน ในปี 2542 เทศบาลต�ำบลบ้านกลางพยายามเข้าไปจัดระบบ ก็เกิดปัญหาความขัดแย้งรุนแรง จนถึงขั้นใช้ก�ำลังทหารและต�ำรวจ ต่อมาคณะกรรมการสาธารณสุขจึงมีความเห็นต่อกรณีดังกล่าวว่า เทศบาลมีอ�ำนาจเข้าไปจัดเก็บขยะมูลฝอยในเขตนิคมอุตสาหกรรมได้ ปั จ จุ บั น เทศบาลต� ำ บลบ้ า นกลางได้ อ อกใบอนุ ญ าตให้ เ อกชนจ� ำ นวน 4-5 ราย ให้ เ ป็ น ผู้ด�ำเนินการเก็บขยะประเภทวัสดุเหลือใช้จากส�ำนักงานในนิคมอุตสาหกรรม โดยเอกชนเป็นฝ่ายเสนอ ค่าตอบแทนให้แก่เทศบาล อย่างไรก็ดี เอกชนบางรายเหล่านี้ก็อาจเก็บขยะมีค่าจากกระบวนการผลิต 2 64

การจัดการของเสียจากชุมชน


ทางอุตสาหกรรมออกมาด้วย หากสามารถตกลงกับแต่ละโรงงานได้เป็นการภายใน ในส่วนของขยะมีคา่ จาก กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น เศษพลาสติก และเศษโลหะมีค่า สถานการณ์ปัจจุบันก็คือ โรงงาน ในนิคมฯ ใช้วิธีน�ำขยะที่มีมูลค่าออกมาประมูลขายเป็นครั้งๆ ไป การประมูลขายแต่ละครั้งอาจมีรายได้ ถึง 20-30 ล้านบาท/โรงงาน ส�ำหรับขยะเศษอาหารในนิคมอุตสาหกรรม เทศบาลได้ออกใบอนุญาต ให้เอกชน 1 รายเป็นผู้เก็บเศษอาหาร ซึ่งเขาน�ำไปใช้เลี้ยงสุกร ในส่วนของการจัดการสิง่ ปฏิกลู และบ่อเกรอะ บ่อซึม ในเขตนิคมอุตสาหกรรม ปัจจุบนั เทศบาล ยังไม่ได้เข้าไปก�ำกับดูแล ทั้งๆ ที่ตามกฎหมาย ผู้ประกอบกิจการก�ำจัดสิ่งปฏิกูลจะต้องได้รับใบอนุญาต จากเทศบาลก่อน ปัญหาและอุปสรรค และความคิดเห็นต่อนโยบายของรัฐ (1) ความขาดแคลนบุคลากรและนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม อปท. ต่างๆ รวมทั้งเทศบาล ต�ำบลบ้านกลางมีภารกิจมากมายด้านสิ่งแวดล้อม แต่ไม่สามารถจ้างบุคลากรด้านสาธารณสุขและ สิง่ แวดล้อมได้อย่างพอเพียง เนือ่ งจากมีกฎระเบียบทีก่ ำ� หนดให้ อปท. ใช้จา่ ยในการจ้างบุคลากรได้ไม่เกิน ร้อยละ 40 ของงบประมาณ ปัจจุบันจึงต้องใช้วิธีจ้างแบบรายวันในอัตรา 300 บาท/วัน ซึ่งเป็นปัญหา ต่อการจ้างบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมมาก (2) นิคมอุตสาหกรรมล�ำพูนเป็นเขตส่งออก มีการน�ำวัตถุดิบมาจากต่างประเทศส�ำหรับใช้ ในการผลิตเพื่อส่งออก แต่เมื่อผลิตแล้ว กลับเหลือส่วนที่เป็นขยะอุตสาหกรรม เช่น ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการน�ำออกมาขาย และเผาเพื่อสกัดเอาโลหะมีค่า โดยไม่มีมาตรฐานการก�ำจัดของเสีย จึงก่อให้เกิด ปัญหาสิ่งแวดล้อม (3) การส่งเสริมการลงทุนและอุตสาหกรรมอาจไม่ได้ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจคุ้มค่ากับ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โรงงานเกือบทั้งหมดในนิคมอุตสาหกรรมเป็นของต่างชาติ และ ประมาณร้อยละ 70 เป็นนักลงทุนจากญี่ปุ่น แม้จะก่อให้เกิดการจ้างงาน แต่คนงานก็มีปัญหาสุขภาพ เช่น ในเขตเทศบาลต�ำบลบ้านกลางมีร้านแว่นตาจ�ำนวนมากถึง 20-30 ร้าน เนื่องจากคนงานที่ท�ำงานกับ โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลานานมักมีปัญหาสายตาเสื่อมหลังจากการท�ำงานในโรงงาน ไม่เกิน 7 ปี ในด้านสิ่งแวดล้อม เทศบาลเคยเจาะบ่อน�้ำบาดาลในชุมชนข้างนิคมอุตสาหกรรมเพื่อ ตรวจหาสารพิษ และพบว่ามีการปนเปื้อนสารหนู แต่ก็เผยแพร่ข้อมูลไม่ได้ เพราะหลายฝ่ายเกรงว่าจะ มีผลกระทบต่อการลงทุน นอกจากนี้ ยังมีค�ำถามว่าโรงงานผลิตมันฝรั่งทอดกรอบที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ติดกับล�ำน�้ำกวงในเขตนิคมฯ มีการส่งน�้ำมันทอดที่ ใช้แล้วไปบ�ำบัดยังโรงงานรับบ�ำบัดหรือ ก�ำจัดของเสียอุตสาหกรรมมากน้อยเพียงใด ภาคผนวก 2: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และล�ำพูน

265


2 66

การจัดการของเสียจากชุมชน


ภาคผนวก 3 รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน การจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร

คณะนักวิจัยได้สัมภาษณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ คุณสุวรรณา จุ่งรุ่งเรือง ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 สามารถสรุปข้อมูลได้ดังต่อไปนี้ 1. สถานการณ์ขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานครต้องให้บริการเก็บขนขยะมูลฝอยครอบคลุมพื้นที่ 1,568.74 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมผู้รับบริการกว่า 10 ล้านคน มีขยะมูลฝอยที่ต้องจัดการโดยเฉลี่ย 10,200 ตัน/วัน หรือไม่น้อย กว่า 3.7 ล้านตันต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 24 ของปริมาณมูลฝอยทั้งประเทศ เมื่อคิดตามจ�ำนวนประชากร แล้ว ประชากร 1 คน ท�ำให้เกิดขยะโดยเฉลี่ย 1 กิโลกรัม/คน/วัน จากการวิ เ คราะห์ อ งค์ ป ระกอบของขยะมู ล ฝอยที่ ส ถานี ข นถ่ า ยมู ล ฝอยทั้ ง 3 แห่ ง ของ กรุงเทพมหานคร ในปี 2558 พบว่า  ร้อยละ 49.10 เป็นมูลฝอยอินทรียท์ สี่ ามารถน�ำมาแปรรูปทางชีวภาพได้ เช่น ท�ำปุย๋ ไบโอแก๊ส หรือใช้เป็นอาหารสัตว์  ร้อยละ 13.13 เป็นมูลฝอยประเภทรีไซเคิลได้  ร้อยละ 37.77 เป็นมูลฝอยที่ไม่สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์หรือแปรรูปได้ และต้องน�ำไป ก�ำจัดต่อไป

ภาคผนวก 3: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน การจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร

267


2. ระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร

ส�ำนักงานเขตทั้ง 50 เขต เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ความรับผิดชอบ ตามความเหมาะสมกับบริบทและสภาพพื้นที่ ส�ำนักสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานก�ำกับดูแล ให้การสนับสนุน ด้านวิชาการ ยานพาหนะ และวัสดุอุปกรณ์ให้แก่ส�ำนักงานเขต โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบดังนี้  ส�ำนักสิ่งแวดล้อมดูแล วางแผน ควบคุม และสนับสนุนการด�ำเนินการเก็บขนมูลฝอยของ ส�ำนักงานเขต เก็บขนมูลฝอยในเขตพระราชฐาน สถานที่ราชการบางแห่ง กิจกรรมเฉพาะกิจที่เร่งด่วน เก็บขนมูลฝอยทางน�้ำจากบ้านเรือน สถานที่ที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น�้ำเจ้าพระยา เรือท่องเที่ยว เรือแพ เรือสินค้า จัดเก็บวัชพืชและมูลฝอยที่ลอยในแม่น�้ำเจ้าพระยา (ฝั่งตะวันออกเริ่มตั้งแต่สะพานพระราม 7 ถึงเขตบางนา และฝั่งตะวันตกเริ่มตั้งแต่สะพานพระราม 6 ถึงเขตราษฎร์บูรณะ) รวมทั้งเก็บขนมูลฝอย ติดเชื้อจากสถานบริการสาธารณสุข  ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ส�ำนักงานเขต ด�ำเนินการเก็บขนมูลฝอยตาม บ้านเรือน อาคารสูง อาคารส�ำนักงาน สถานประกอบการ ตลาด สถานศึกษา ศาสนสถาน และเก็บขน มูลฝอยทางน�้ำจากบ้านเรือน ร้านอาหาร และสถานที่ริมคลองสาธารณะส�ำหรับเขตที่มีคลอง ภายใต้นโยบายจัดเก็บขยะให้สะอาดทุกที่ ไม่มีขยะตกค้าง กรุงเทพมหานครมีแนวทาง ด�ำเนินการดังต่อไปนี้ (1) การก�ำหนดเวลาจัดเก็บมูลฝอย  ในถนนสายหลักและสายรอง ก�ำหนดเวลาให้ประชาชนตั้งวางขยะเพื่อรอการจัดเก็บ ตั้งแต่เวลา 20.00-03.00 น. และเก็บขนขยะให้แล้วเสร็จภายในเวลา 06.00 น.  ชุมชน ตรอก ซอย ให้ส�ำนักงานเขตพิจารณาตามความเหมาะสม ส�ำหรับชุมชนที่ รถเก็บขยะเข้าไม่ถึง ให้ส�ำนักงานเขตจัดหาอาสาสมัครชักลากขยะตามตรอกและซอยแคบๆ  ก�ำหนดจุดพักขยะในชุมชน โดยชุมชนขนาดเล็กจ�ำนวน 628 ชุมชน ก�ำหนดให้มีจุด พักขยะ 1 จุด และชุมชนขนาดใหญ่จ�ำนวน 339 ชุมชน ก�ำหนดให้มีจุดพักขยะ 2 จุดขึ้นไป (2) การเก็บขยะแยกประเภท และความถี่ในการจัดเก็บ  ขยะทั่วไปและขยะเศษอาหาร จัดเก็บทุกวัน หรือตามที่ส�ำนักงานเขตก�ำหนด  ขยะรีไซเคิล จัดเก็บทุกวันอาทิตย์หรือตามที่ส�ำนักงานเขตก�ำหนด  ขยะอันตรายจากชุมชน จัดเก็บทุกวันที่ 1 และ 15 ของเดือน หรือตามที่ส�ำนักงาน เขตก�ำหนด 2 68

การจัดการของเสียจากชุมชน


 ขยะกิ่งไม้ นัดเก็บเฉพาะกิ่งไม้ตามที่ประชาชนร้องขอ เพื่อรวบรวมส่งโรงงานหมักปุ๋ย อินทรีย์  ขยะชิ้นใหญ่ เช่น ตู้ โต๊ะ เตียง ที่นอน จัดเก็บตามที่ส�ำนักงานเขตก�ำหนด เพื่อน�ำไป ซ่อมแซมใช้ซ�้ำโดยบริจาคให้ผู้ที่ต้องการน�ำไปใช้ หรือแยกชิ้นส่วนรีไซเคิลกรณีที่ไม่สามารถน�ำไปใช้ได้ (3) การก�ำหนดเส้นทางการเดินรถเก็บขยะ ให้ส�ำนักงานเขตจัดท�ำแผนก�ำหนดสถานที่เก็บขยะ พร้อมวัน เวลาเก็บขยะแต่ละประเภท รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ (4) เช่ารถเก็บขนมูลฝอยจากภาคเอกชนแทนการจัดซื้อรถ (5) การก�ำจัดขยะมูลฝอย ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีศูนย์ก�ำจัดมูลฝอย 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยอ่อนนุช หนองแขม และสายไหม โดยใช้วิธีก�ำจัดดังต่อไปนี้ 1) การหมักท�ำปุ๋ย Compost ที่ศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยอ่อนนุช จ�ำนวน 1,100 ตัน/วัน หรือ ร้อยละ 11 ของปริมาณมูลฝอยทั้งหมด โดยจ้างเหมาบริษัท ยูโร เวสท์ เอ็นจิเนียริ่ง จ�ำกัด ด�ำเนินการ 2) การฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ ประมาณ 9,100 ตัน/วัน หรือร้อยละ 89 ของปริมาณ มูลฝอยทั้งหมด แบ่งออกเป็น  มูลฝอยจากศูนย์กำ� จัดมูลฝอยอ่อนนุช เฉลีย่ 3,100 ตัน/วัน หรือร้อยละ 30 จ้างเหมา บริษัท ไพโรจน์สมพงษ์พาณิชย์ จ�ำกัด น�ำไปฝังกลบที่อ�ำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา  มูลฝอยจากศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยหนองแขม เฉลี่ย 3,600 ตัน/วัน หรือร้อยละ 35 จ้างเหมาบริษัท กลุ่ม 79 จ�ำกัด น�ำไปฝังกลบที่อ�ำเภอก�ำแพงแสน จังหวัดนครปฐม  มูลฝอยจากศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยสายไหม เฉลี่ย 2,400 ตัน/วัน หรือร้อยละ 24 จ้างเหมาบริษัท วัสดุภัณฑ์ธุรกิจ จ�ำกัด น�ำไปฝังกลบที่อ�ำเภอก�ำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 3) มูลฝอยจากการก่อสร้าง น�ำไปแปรรูปที่โรงก�ำจัดและแปรรูปมูลฝอยจากการก่อสร้างที่ ศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยอ่อนนุช 4) มูลฝอยประเภทกิ่งไม้ น�ำไปท�ำปุ๋ยหมักที่โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์อ่อนนุชและหนองแขม

ภาคผนวก 3: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน การจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร

269


3. ระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ

กรุงเทพมหานครจ้างเหมา บริษัทกรุงเทพธนาคม จ�ำกัด ด�ำเนินการเก็บขนและก�ำจัดมูลฝอย ติดเชือ้ ด้วยวิธกี ารเผาในเตาเผา ปัจจุบนั รถที่ใช้ในการเก็บขนมูลฝอยติดเชือ้ มีจำ� นวนทัง้ หมด 18 คัน แบ่งเป็น รถ 6 ล้อจ�ำนวน 9 คัน และรถ 4 ล้อจ�ำนวน 9 คัน มีระบบท�ำความเย็นควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ 10 องศา เซลเซียส ให้บริการสถานพยาบาลจ�ำนวน 2,545 แห่ง มีปริมาณมูลฝอยติดเชื้อเข้าสู่ระบบก�ำจัดเฉลี่ย 30 ตัน/วัน การก�ำจัดมูลฝอยติดเชื้อใช้วิธีเผาท�ำลายที่โรงงานเตาเผามูลฝอยติดเชื้อดังนี้ (1) เตาเผามูลฝอยติดเชื้อในพื้นที่ศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยอ่อนนุช เป็นระบบเตาเผาแบบไม่เคลื่อนที่ (Pyrolysis) ประกอบด้วยเตาเผาแบบ 2 ห้องเผา จ�ำนวน 2 เตาเผา ประสิทธิภาพการเผาเตาเผาละ 15 ตัน/วัน รวมทัง้ สิน้ 30 ตัน/วัน เตาเผาที่ 1 (Primary chamber) ท�ำหน้าทีเ่ ผามูลฝอยทีอ่ ณ ุ หภูมปิ ระมาณ 800-900 องศาเซลเซียส และห้องเผาที่ 2 (Secondary chamber) ท�ำหน้าที่เผาก๊าซที่เกิดจากการ เผาห้องที่ 1 ที่อุณหภูมิประมาณ 1,000-1,200 องศาเซลเซียส ซึ่งจะท�ำให้สารมลพิษถูกเผาไหม้ก่อนที่ ก๊าซจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ระบบบ�ำบัดก๊าซเสียที่เป็นระบบ wet scrubber ซึ่งท�ำหน้าที่ลดอุณหภูมิของก๊าซ ก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ และบ�ำบัดก๊าซให้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กฎหมายก�ำหนด ทั้งนี้ จะมีการ ตรวจสอบคุณภาพอากาศที่ผ่านระบบบ�ำบัดอากาศเสียและตรวจสอบคุณภาพน�้ำที่ผ่านระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย จากหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรมปีละ 4 ครั้ง (2) เตาเผามูลฝอยติดเชื้อในพื้นที่ศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยหนองแขม เป็นระบบเตาเผาแบบหมุน (Rotary kiln) ประกอบด้วยเตาเผาแบบ 2 ห้องเผา จ�ำนวน 2 เตาเผา ประสิทธิภาพการเผาเตาเผาละ 10 ตัน/วัน รวมทั้งสิ้น 20 ตัน/วัน เตาเผาที่ 1 ท�ำหน้าที่เผามูลฝอยที่อุณหภูมิไม่ต�่ำกว่า 760 องศาเซลเซียส ควันที่เกิดจากห้องเผาที่ 1 จะถูกส่งไปก�ำจัดที่ห้องเผาที่ 2 ซึ่งมีอุณหภูมิไม่ต�่ำกว่า 1,000 องศาเซลเซียส หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระบบบ�ำบัดอากาศ 5 ขั้นตอน คือ ไซโคลนดักฝุ่น (Cyclone) เครื่องแลกเปลี่ยน ความร้อน (Heat exchange) ระบบถุงกรองไดออกซินและฟูแรน และระบบบ�ำบัดอากาศแบบเปียกก่อน ปล่อยสู่บรรยากาศ

2 70

การจัดการของเสียจากชุมชน


4. การจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน

ในปี 2558 กรุงเทพมหานครสามารถจัดเก็บมูลฝอยอันตรายได้ 711 ตัน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหลอดไฟ 302 ตัน (ร้อยละ 43) กลุ่มแบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย 81 ตัน (ร้อยละ 11) และกลุ่ม กระป๋องสเปรย์และอื่นๆ 328 ตัน (ร้อยละ 46) วิธีการจัดเก็บคือ (1) ประชาชนแยกมูลฝอยอันตราย ใส่ถุงต่างหาก (2) ประชาชนทิ้งในถังรองรับมูลฝอยอันตรายเฉพาะ ตามจุดหรือบริเวณที่กรุงเทพมหานคร ตั้งวางไว้ และ (3) ทิ้งให้กับรถเก็บขนมูลฝอยทั่วไป ซึ่งมีช่องแยกเก็บมูลฝอยอันตรายด้านหน้าตัวรถ (4) ทิง้ กับรถทีส่ ำ� นักงานเขตก�ำหนดไว้สำ� หรับมูลฝอยอันตรายเฉพาะตามวัน เวลา ทีส่ ำ� นักงานเขตก�ำหนด โดยจัดเก็บทุกวันที่ 1 และ 15 ของเดือน หรือตามวันเวลาที่ส�ำนักงานเขตก�ำหนด มูลฝอยอันตรายจากชุมชนจะถูกส่งไปรวบรวม ณ สถานีขนถ่ายมูลฝอยที่ศูนย์ก�ำจัดมูลฝอย ทั้ง 3 แห่ง ก่อนน�ำไปก�ำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการโดยบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงาน อุตสาหกรรม 5. การควบคุมร้านรับซื้อของเก่า

กิจการรับซือ้ ของเก่าจัดเป็นกิจการทีเ่ ป็นอันตรายต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัตกิ ารสาธารณสุข พ.ศ. 2535 จึงต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยมีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลของ ส�ำนักงานเขต เป็นผู้ดูแลและควบคุมการออกใบอนุญาต และไม่ให้การด�ำเนินกิจการร้านรับซื้อของเก่า ก่อให้เกิดความเดือดร้อนร�ำคาญแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง 6. ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย

(1) จ�ำนวนประชากรและนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และพฤติกรรม การบริโภค ท�ำให้มีปริมาณขยะมูลฝอยมากขึ้น (2) ระบบก�ำจัดมูลฝอยยังไม่เอื้อต่อการน�ำขยะแต่ละประเภทไปใช้ประโยชน์ ขยะมูลฝอย ร้อยละ 89 ยังใช้วธิ กี ำ� จัดโดยการฝังกลบอย่างถูกสุขลักษณะ ซึง่ ในอนาคตจะหาพืน้ ทีฝ่ งั กลบได้ยากขึน้ (3) กรุงเทพมหานครใช้งบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยเป็นเงินกว่า 6,500 ล้านบาท/ปี แต่สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอยได้เพียง 467 ล้านบาท/ปี (4) การส่งเสริมให้ประชาชนลดและคัดแยกมูลฝอยยังท�ำได้ไม่เต็มที่ ขาดการประชาสัมพันธ์ อย่างต่อเนื่อง (5) ขาดมาตรการทางกฎหมายที่สนับสนุนการคัดแยกมูลฝอยที่แหล่งก�ำเนิด การบังคับให้ใช้ วัสดุที่รีไซเคิลได้ในการผลิต และหลักเกณฑ์ในการก�ำจัดมูลฝอยตามเทคโนโลยีที่เหมาะสม ภาคผนวก 3: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน การจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร

271


7. ปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม

กรุงเทพมหานครยังคงประสบกับปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมทั้งที่เป็นอันตรายและ ไม่เป็นอันตรายในพื้นที่สาธารณะหรือทิ้งปะปนกับขยะชุมชน เช่น  ปี 2554 การลักลอบทิ้งสาร Methyl ethyl ketone ในพื้นที่เขตบางเขน  ปี 2556 การลักลอบทิ้งกรดฟอสฟอริก ในพื้นที่เขตคลองสามวา และการลักลอบทิ้งผง อลูมินัม ซิลิเกต ในพื้นที่เขตบางบอน  ปี 2558 การลักลอบทิ้งเครื่องส�ำอางหมดอายุ ในพื้นที่เขตดอนเมือง ทั้งนี้ ในกรณีส่วนใหญ่จะไม่สามารถหาตัวผู้กระท�ำความผิดได้ และกลายเป็นภาระของ กรุงเทพมหานครในการแก้ไขปัญหา แนวทางปฏิบัติก็คือ ส�ำนักอนามัยจะท�ำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ความเป็นอันตราย การเก็บกัก การขนส่ง และการก�ำจัดสารเคมี ส�ำนักงานเขตและส�ำนักป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย มีหน้าที่ในการเก็บขนสารเคมีและวัตถุอันตรายตามข้อแนะน�ำของส�ำนักอนามัย และ ส�ำนักสิง่ แวดล้อมมีหน้าทีจ่ ดั หาสถานทีเ่ ก็บกักสารเคมีและก�ำจัดกากอุตสาหกรรมนัน้ ในระหว่างการสืบสวน หาผู้กระท�ำความผิด 8. นโยบายและแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอย

(1) แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี พ.ศ. 2556-2575 ก�ำหนดให้ “กรุงเทพมหานครมีการ บริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero waste management) โดยน�ำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ท�ำให้ขยะเหลือน้อยที่สุด และก�ำจัดที่เหลือ (residue) ด้วยเทคโนโลยี ที่มีประสิทธิผล” โดยมีเป้าหมายที่จะลดปริมาณขยะลงร้อยละ 20 จากปริมาณขยะปี 2556 (9,900 ตัน/วัน) (2) แผนบริหารจัดการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558-2562 ก�ำหนดให้บริหารจัดการขยะมูลฝอย ภายใต้แนวคิด “ขยะเป็นทรัพยากร” (Waste as resource) ตาม Roadmap การจัดการขยะและของเสีย อันตรายของรัฐบาล โดยมีเป้าหมายลดขยะลงร้อยละ 7 และแปรรูปขยะไปใช้ประโยชน์ ให้ได้มากกว่า ร้อยละ 30 ในปี 2562 ส�ำหรับแนวทางการด�ำเนินการ มีอาทิเช่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการลดและ คัดแยกมูลฝอยที่แหล่งก�ำเนิดตามหลักการ 3 R การจัดเก็บมูลฝอยแยกประเภท การน�ำระบบสารสนเทศ มาใช้ควบคุมประสิทธิภาพการท�ำงานของรถเก็บขน และควบคุมเส้นทางการเก็บขนโดยระบบ GPS และ จัดท�ำแผนการก�ำจัดมูลฝอยระยะ 20 ปี โดยมีเป้าหมายทีจ่ ะน�ำเทคโนโลยีการแปรรูปมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ ทดแทนเทคโนโลยีฝังกลบภายใน 20 ปีข้างหน้าให้ได้ประมาณร้อยละ 50 โดยมีเทคโนโลยีดังนี้

2 72

การจัดการของเสียจากชุมชน


(1) เทคโนโลยีหมักปุ๋ย 1,000 ตัน/วัน และขนาด 600 ตัน/วัน (ที่ศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยอ่อนนุช) (2) เทคโนโลยีเชิงกลชีวภาพ (MBT) ขนาด 800 ตัน/วัน (3) เทคโนโลยีเตาเผามูลฝอยขนาด 300 ตัน/วัน (4) ศูนย์คัดแยกขยะขนาด 300 ตัน/วัน (5) ศึกษาความเหมาะสมของการก�ำจัดมูลฝอยโดยใช้เทคโนโลยีความร้อนสูงขนาด 2,000 ตัน/วัน 9. ความเป็นมาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการโรงไฟฟ้าแปรรูปขยะที่หนองแขม

กรุงเทพมหานครได้ลงนามท�ำสัญญาจ้าง บริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเทคชั่น (ประเทศไทย) จ�ำกัด เป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง ติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ต่างๆและเดินระบบเตาเผามูลฝอย ขนาด 300 ตัน/วัน ณ ศูนย์ก�ำจัดมูลฝอยหนองแขม มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 970 ล้านบาท การ บริหารจัดการโรงงานเป็นรูปแบบ BOT (Build-Operate-Transfer) โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนในโครงการ ทั้งหมด ระยะเวลาด�ำเนินโครงการ 20 ปี ลักษณะของเตาเผาเป็นแบบตะกรับ (Stoker type) อุณหภูมิใน ห้องเผาไม่ต�่ำกว่า 850 องศาเซลเซียส สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่า 5-8 เมกะวัตต์ ซึ่งกระแส ไฟฟ้าทีผ่ ลิตได้จากโครงการจะส่งขายให้กบั การไฟฟ้านครหลวง กรุงเทพมหานครจะจ่ายค่า tipping fee ใน อัตรา 970 บาท/ตัน (เทียบกับค่าก�ำจัดโดยวิธีการฝังกลบ 600-700 บาท/ตัน ในปัจจุบัน) ในขณะที่มูลค่า การลงทุนของเอกชนอยู่ที่ 970 ล้านบาท ทั้งนี้ ได้ว่าจ้างบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จ�ำกัด เป็นผู้จัดท�ำการ ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial environmental examination) ด้วยการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน และประเมินมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่คณ ุ ภาพสิง่ แวดล้อมและความปลอดภัย (Environment and safety assessment: ESA) ใช้เวลาด�ำเนินการ 90 วัน จัดท�ำแล้วเสร็จเมื่อปี 2555 ผลการส�ำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพืน้ ทีเ่ ขตหนองแขม บางแค และทวีวฒ ั นา ปรากฎว่า ประชาชน มากกว่าร้อยละ 90 เห็นด้วยกับโครงการ เนื่องจากเห็นว่าโครงการเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เทคโนโลยี ที่ใช้ในการก�ำจัดขยะมีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพมากกว่าการก�ำจัดโดยวิธีการฝังกลบที่ใช้อยู่ใน ปัจจุบัน

ภาคผนวก 3: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน การจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร

273


10. ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายตาม Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย

การก�ำหนดนโยบายตาม Roadmap มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ขยะปัจจุบนั การจัดการขยะควรเน้นเรื่องการน�ำกลับมาใช้ใหม่ และแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น การหมักท�ำปุ๋ย และ แปรรูปเป็นพลังงาน วิธีการฝังกลบควรเป็นมาตรการสุดท้ายเมื่อไม่สามารถก�ำจัดโดยวิธีการอื่นแล้ว การ ให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมย่อมดีกว่าให้ราชการท�ำเองทั้งหมด โครงการโรงไฟฟ้าแปรรูปขยะที่หนองแขม เป็นโครงการน�ำร่อง หากมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแปรรูปขยะเป็นพลังงานอีก ควรจะเป็นโครงการที่รองรับ ขยะได้มากกว่านี้ และมูลค่าการลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งควรจะมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เนื่องจากยังก�ำหนดขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน ก่อนการอนุมัติโครงการ 11. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายและนโยบายของรัฐ

(1) พระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ ควรก�ำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการลดและแยกประเภท มูลฝอยที่แหล่งก�ำเนิด เพื่อให้ อปท. ด�ำเนินการในแนวทางเดียวกัน โดยก�ำหนดเป็นหลักเกณฑ์ขั้นต�่ำ หาก อปท. ใดสามารถด�ำเนินการคัดแยกขยะได้หลายประเภทมากกว่าที่กฎหมายก�ำหนด ก็ให้สามารถ ด�ำเนินการได้ (2) พระราชบัญญัติการสาธารณสุขฯ ควรก�ำหนดกลไกให้ อปท. สามารถสร้างแรงจูงใจให้ ประชาชนลดและแยกมูลฝอยที่แหล่งก�ำเนิด ด้วยการใช้มาตรการทางเศรษฐศาสต์รูปแบบอื่นๆ แทน การจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้เพียงอย่างเดียว เช่น ให้ อปท. สามารถขายถุงขยะให้ประชาชนแทนการ จัดเก็บค่าธรรมเนียมรายเดือน เป็นต้น (3) ควรก�ำหนดโทษส�ำหรับผู้ฝ่าฝืนข้อก�ำหนดท้องถิ่น เช่น การฝ่าฝืนไม่ช�ำระค่าธรรมเนียม ปัจจุบัน อปท. ต้องแจ้งเตือน 2 ครั้ง และจัดเตรียมเอกสารในการบังคับคดีจ�ำนวนมากเพื่อเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมขั้นต�่ำเพียง 20 บาท/เดือน (4) พระราชบัญญัตริ กั ษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 32 (2) ก�ำหนดห้ามมิให้ผู้ใดปล่อยปละละเลยให้มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่ดินของตนในสภาพ ทีป่ ระชาชนอาจเห็นได้จากทีส่ าธารณะ จึงปรากฏกรณีการน�ำวัสดุอปุ กรณ์มาท�ำเป็นรัว้ ชัว่ คราวเพือ่ ป้องกัน มิให้ประชาชนมองเห็นกองขยะที่น�ำมาทิ้งในที่ดินที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ ได้ จึงควรห้ามทิ้งขยะมูลฝอยใน ที่ดินโดยไม่ต้องก�ำหนดเงื่อนไขเรื่อง “ประชาชนอาจเห็นได้จากที่สาธารณะ”

2 74

การจัดการของเสียจากชุมชน


อนึ่ง กระทรวงสาธารณสุขก�ำลังอยู่ในระหว่างการเสนอร่างกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะ การจัดการมูลฝอยทัว่ ไป พ.ศ. ... ซึง่ ก�ำหนดให้สถานทีท่ เี่ ป็นแหล่งก�ำเนิดมูลฝอยต้องมีการคัดแยกมูลฝอย อย่างน้อย 3 ประเภท ได้แก่ มูลฝอยน�ำกลับมาใช้ใหม่ มูลฝอยทัว่ ไป และมูลฝอยทีเ่ ป็นพิษหรือเป็นอันตราย จากชุมชน

ภาคผนวก 3: รายงานการสัมภาษณ์และศึกษาดูงาน การจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร

275


2 76

การจัดการของเสียจากชุมชน


ภาคผนวก 4

การฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้เพิกถอนประกาศกระทรวงฯ ที่ยกเว้นให้โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง ไม่ต้องจัดทำ�รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 มูลนิธิบูรณะนิเวศ โดยนางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้ฟ้องคดีที่ 1 กับ พวกรวม 20 คน ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายประชาชนศึกษาและติดตามปัญหาขยะ 7 จังหวัด (ปทุมธานี ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ) ได้ยื่นค�ำฟ้องต่อศาลปกครอง กลาง โดยฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคณะ กรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เพื่อขอให้ศาลปกครองกลางเพิกถอนประกาศกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฯ ซึ่งยกเว้นให้โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อ เพลิงทุกขนาดไม่ตอ้ งจัดท�ำรายงานผลกระทบสิง่ แวดล้อม (EIA) เนือ้ หาใจความของค�ำฟ้องสรุปได้ดงั ต่อไปนี้ Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะ รักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 ให้ความส�ำคัญแก่การก�ำจัดมูลฝอยโดยใช้ เทคโนโลยีแบบผสมผสาน เน้นการแปรรูปพลังงาน และให้พิจารณาผ่อนปรนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมาย EIA เป็นต้น ส�ำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จึงได้จัดท�ำร่าง ประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) เพื่อใช้เป็นคู่มือแนวทางปฏิบัติขั้นต�่ำในการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส�ำหรับให้ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต และก�ำกับดูแลโครงการโรงไฟฟ้า พลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมะวัตต์ขึ้นไป แทนการก�ำหนดให้โครงการประเภทและขนาดดังกล่าวต้องจัดท�ำรายงาน EIA ต่อมา สผ. ได้จัดท�ำร่าง ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมฯ ก�ำหนดยกเว้นให้โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไปไม่ต้องจัดท�ำ รายงาน EIA ภาคผนวก 4: การฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้เพิกถอนประกาศกระทรวงฯ

277


คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2558 วันที่ 10 มิถุนายน 2558 ได้ให้ความเห็นชอบร่างประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) และร่างประกาศกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฯ ดังที่กล่าวมาข้างต้นตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมเสนอ โดยให้ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงานรับความเห็นของคณะกรรมการ สิง่ แวดล้อมแห่งชาติไปพิจารณาด�ำเนินการในประเด็นการให้ความส�ำคัญแก่เรือ่ งการออกแบบโรงไฟฟ้าโดย ใช้หลักการเทคโนโลยีควบคุมที่ดีที่สุด โดยเลือกวัสดุท�ำเตาเผาที่เหมาะสมกับคุณลักษณะของขยะมูลฝอย ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ออกแบบสามารถให้ความเห็น ประกอบในการตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และเนื่องจากขยะมูลฝอยของประเทศไทยมีโฟม เป็นองค์ประกอบจ�ำนวนมาก เมื่อน�ำเข้าสู่ระบบเตาเผา อาจก่อให้เกิดสารไดออกซิน (dioxin) และสไตรีน (styrene) ปนเปือ้ นออกสูบ่ รรยากาศ จึงเห็นควรให้เพิม่ เติมเกณฑ์การปฏิบตั ดิ า้ นสุขภาพส�ำหรับประชาชน ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงโครงการโรงไฟฟ้า พร้อมทั้งให้ความส�ำคัญกับการติดตามตรวจสุขภาพของประชาชน อย่างสม�่ำเสมอ ทั้งนี้ ให้ด�ำเนินการน�ำประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) ไปก�ำหนด เป็นเงื่อนไขประกอบการอนุญาตโครงการ โดยถือว่าเป็นเงื่อนไขที่ก�ำหนดตามกฎหมายในเรื่องนั้นด้วย ตลอดจนให้น�ำไปประยุกต์ ใช้ในการก�ำหนดเงื่อนไขประกอบการอนุญาตและควบคุมก�ำกับดูแลโครงการ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าต�่ำกว่า 10 เมกะวัตต์ และรายงานผลการด�ำเนินงานให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติทราบต่อไป ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ออก ประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาท คือ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนด ประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และ หลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2558 และประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับใน วันที่ 10 กันยายน 2558 ซึ่งยกเลิกความเดิมที่ก�ำหนดให้ “โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ที่มีก�ำลังผลิตกระแส ไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป” ต้องจัดท�ำรายงาน EIA และให้ใช้ข้อก�ำหนดใหม่คือ “โรงไฟฟ้าพลัง ความร้อนทุกประเภท ยกเว้นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง ที่มีก�ำลังการผลิต กระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป” ต้องจัดท�ำรายงาน EIA โดยให้เสนอในขั้นขออนุญาตก่อสร้าง เพื่อประกอบกิจการหรือขั้นขออนุญาตประกอบกิจการ แล้วแต่กรณี ผลจากประกาศกระทรวงฯ พิพาทนี้ ท�ำให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงทุกขนาดไม่ต้องจัดท�ำรายงาน EIA อีกต่อไป ผู้ฟ้องคดีทั้ง 20 คน ขอเรียนข้อเท็จจริงว่า โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็น เชื้อเพลิงอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพค่อนข้างสูง ทั้งการระบายมลพิษทางอากาศ

2 78

การจัดการของเสียจากชุมชน


ไอโลหะหนัก และมลพิษจากเถ้าเบาและเถ้าหนักที่เหลือจากการเผาไหม้ โดยเฉพาะขยะมูลฝอยใน ประเทศไทยส่วนมากเป็นขยะเปียก ไม่มรี ะบบการคัดแยก ขยะเทลงในถุงพลาสติกและห่อด้วยถุงพลาสติก อีกชั้น และมีโฟมเป็นองค์ประกอบจ�ำนวนมาก เมื่อน�ำเข้าสู่ระบบเตาเผาอาจก่อให้เกิดไดออกซิน สไตรีน และโลหะหนักทีเ่ ป็นพิษอีกหลายชนิดปนเปือ้ นออกสูบ่ รรยากาศและสิง่ แวดล้อม โดยเฉพาะไดออกซิน ทีเ่ ป็น สารอันตรายทีถ่ กู จัดเป็นสารอันตรายชัน้ ที่ 1 ซึง่ หมายถึงสารทีม่ คี วามเป็นพิษสูงทีส่ ดุ และเป็นสารก่อมะเร็ง มีผลต่อสุขภาพและพันธุกรรมของมนุษย์ และเป็นสารที่สลายตัวยาก มีความคงทนยาวนานอยู่ ใน สิ่งแวดล้อม สามารถปนเปื้อนบรรยากาศ และเคลื่อนย้ายไปได้ระยะไกลมากจากอากาศสู่ดิน จากดินสู่ น�้ำ และเข้าสู่ร่างกายมนุษย์และสัตว์ในที่สุด ความเป็นพิษของไดออกซินไม่ท�ำให้เกิดอาการพิษหรือตาย อย่างทันที แต่อาการจะค่อยๆ เกิดและเพิ่มความรุนแรงจนถึงตายได้ และสถาบันวิจัยมะเร็งแห่งชาติจัดให้ สารไดออกซินเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ นอกจากนี้ ในเวทีเสวนาวิชาการเรื่อง “ยกเว้น EIA โรงไฟฟ้าขยะ: ทางออกหรือภาระประชาชน ครั้งใหม่” ที่เครือข่ายประชาชนศึกษาและติดตามปัญหาขยะ ร่วมกับมูลนิธิบูรณะนิเวศ และมูลนิธิ นิติธรรมสิ่งแวดล้อม จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 นายสนธิ คชวัฒน์ เลขาธิการสมาคมอนามัย สิ่งแวดล้อมไทย ได้น�ำเสนอประเด็นความแตกต่างระหว่างประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) กับการจัดท�ำรายงาน EIA ว่า การจัดท�ำรายงาน EIA เป็นการคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่อาจเกิดจากการด�ำเนินโครงการทั้งในช่วงก่อสร้างและด�ำเนินโครงการ เพื่อเสนอมาตรการป้องกันและ ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตลอดจนเสนอมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดท�ำรายงาน EIA ต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ในรายงานต้องน�ำเสนอที่ตั้ง โครงการ เทคโนโลยีที่ใช้ รวมทั้งมีการคาดการณ์การปล่อยมลพิษทางอากาศ เพื่อไม่ให้เกินศักยภาพการ รองรับมลพิษทางอากาศในบรรยากาศในพื้นที่ดังกล่าว ก�ำหนดบริเวณพื้นที่ที่ต้องท�ำการเฝ้าระวังด้าน สุขภาพของชุมชนที่มีความเสี่ยง ในกระบวนการพิจารณารายงาน EIA มีคณะกรรมการผู้ช�ำนาญการ พิจารณารายงาน EIA ซึ่งมีอ�ำนาจเสนอแนะทางวิชาการต่อผู้ประกอบการ ก่อนที่จะน�ำไปประกอบการ พิจารณาอนุญาตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่มีใน CoP ประมวลหลักการปฏิบัติ (CoP) ที่จัดท�ำขึ้นมีการน�ำไปรับฟังความคิดเห็นของแต่เพียงบาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจ้าของโครงการและหน่วยงานผู้อนุญาต ไม่มีผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัย องค์กร เอกชน ภาคประชาชนและองค์กรด้านกฎหมาย ท�ำให้มคี วามบกพร่องและขาดการยอมรับในหลายประเด็น CoP เป็นเพียงรายการที่โครงการต้องปฏิบัติตามและท�ำการติดตามตรวจสอบเท่านั้น ไม่ได้ก�ำหนดให้ ติดตามตรวจวัดสารปรอท สารหนู และแคดเมี่ยมจากปล่องระบายอากาศของเตาเผา ทั้งที่สารโลหะหนัก ดังกล่าวเป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก ไม่ได้ก�ำหนดให้ติดตามตรวจสอบสารไดออกซิน

ภาคผนวก 4: การฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้เพิกถอนประกาศกระทรวงฯ

279


ฟิวแรน และโลหะหนักในบรรยากาศ และไม่สามารถก�ำหนดจุดหรือบริเวณที่ต้องท�ำการตรวจวัดมลพิษ เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพของประชาชนที่ชัดเจน ขาดมาตรการในการจัดการเมื่อเกิดภัยพิบัติ ขาดมาตรการ ในการดูแลสุขภาพของชุมชน เนื่องจากไม่ทราบว่าชุมชนกลุ่มใดมีความเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบ จากมลพิษของโรงไฟฟ้าดังกล่าว และขาดมาตรการในการให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ การใช้ CoP จึงไม่สามารถทดแทนการจัดท�ำรายงาน EIA ได้ ฉะนั้น การที่ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาท และผู้ฟ้องคดีที่ 2 มีมติใน การประชุมครั้งที่ 2/2558 เห็นชอบให้ใช้ประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) ส�ำหรับ โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงแทนการจัดท�ำรายงาน EIA ถือว่าเป็นการ ลดทอนหลักประกันตามกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิของผู้ฟ้องคดีที่จะมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ บ�ำรุง รักษา และได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ด�ำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ตามมาตรา 66 และมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค ที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองในประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 รวมทั้งสิทธิชุมชนตามมาตรา 66 และมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีลักษณะเป็นจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ของประเทศทีย่ งั มีผลบังคับอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ งในปัจจุบนั ซึง่ ได้รบั ความคุม้ ครองตามมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 อีกด้วย นอกจากนี้ การกระท�ำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ยังมีผลกระทบต่อสิทธิในการด�ำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพของผู้ฟ้องคดี ที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ไว้อีก ประการหนึ่งด้วย ผู้ฟ้องคดีที่ 1 (มูลนิธิบูรณะนิเวศ) เป็นมูลนิธิที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ที่ส�ำคัญ คือ การศึกษาวิจยั ด้านมลพิษอุตสาหกรรม สารอันตราย รวมทัง้ ผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน สังคม และ สิง่ แวดล้อม เพือ่ การคุม้ ครองสิทธิอนั พึงมีพงึ ได้ของประชาชนด้านสุขภาพ สังคม สิง่ แวดล้อม และทรัพยากร ธรรมชาติ เมื่อประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทมีผลใช้บังคับทั่วไป และมีโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมะวัตต์ขึ้นไปโดยไม่ต้องจัดท�ำ รายงาน EIA ย่อมมีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และด้านสุขภาพของประชาชน จึงถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรือ อาจเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทดังกล่าว 2 80

การจัดการของเสียจากชุมชน


ผู้ฟ้องคดีที่ 2 ถึงที่ 20 เป็นประชาชนที่มีภูมิล�ำเนาและหรืออยู่อาศัยในจังหวัดปทุมธานี ชลบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และสระบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่จังหวัดที่มีการระบุเป็นพื้นที่ เป้าหมายที่จะให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าขยะหรือโรงงานแปรรูปขยะเป็นแท่งเชื้อเพลิงพลังความร้อน (RDF) ปรากฏรายละเอียดตามร่างแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) ของกรมควบคุมมลพิษ ฉบับเดือนกรกฎาคม 2558 ซึ่งในบางพื้นที่มีการด�ำเนินการ บางอย่างเพื่อเตรียมการให้มีการก่อสร้างโครงการแล้ว แม้จังหวัดนครนายกจะเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ระบุไว้ใน แผนแม่บท แต่ก็มีการด�ำเนินโครงการโรงไฟฟ้าขยะอยู่ ณ ขณะนี้ ร่างแผนแม่บทฯ ดังกล่าวระบุพื้นที่ ด�ำเนินการกระจายทั่วทั้งประเทศ หากมีการด�ำเนินโครงการตามที่ระบุไว้ในแผนแม่บทฯ หรือมีการ ด�ำเนินการมากกว่าที่ก�ำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ถึงที่ 20 ย่อมมีความเสี่ยงในการได้รับ ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และด้านสุขภาพของประชาชน รวมทั้งสิทธิใน การด�ำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงถือได้ว่าเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจเดือดร้อน หรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทดังกล่าว ผู้ฟ้องคดีทั้ง 20 คน เป็นสมาชิกของ “เครือข่ายประชาชนศึกษาและติดตามปัญหาขยะ” ที่เกิดจากการรวมตัวกันของภาคประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ภาคประชาสังคม ตลอดไปถึงภาควิชาการ ที่ท�ำงานร่วมกันเพื่อแก้ไข ปัญหาการบริหารจัดการขยะเก่าและขยะใหม่อย่างยั่งยืน เมื่อได้ทราบถึงการออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ให้ความเห็นชอบให้ใช้ประมวล หลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) และการออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 2 ทางเครือข่ายและประชาชนอืน่ ได้ทำ� หนังสือคัดค้านการยกเว้นการจัดท�ำรายงาน EIA ส�ำหรับโครงการ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ ขึ้นไป และได้ขอให้มีการแก้ไขประกาศกระทรวงฯ ให้กลับมาใช้ระเบียบเดิม เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2558 ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีหนังสือตอบกลับมาถึงผู้ฟ้องคดีที่ 4 ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้รับทราบและมี ข้อสัง่ การให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมด�ำเนินการตามอ�ำนาจหน้าทีต่ อ่ ไปแล้ว โดย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่ได้พิจารณาทบทวนและด�ำเนินการแก้ไขประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทแต่อย่างใด การฟ้องคดีของผู้ฟ้องคดีทั้งหมดเป็นการใช้สิทธิในกระบวนการยุติธรรมเพื่อปกป้องประโยชน์ สาธารณะและประโยชน์สว่ นรวม นอกจากผูร้ ว่ มฟ้องคดีทงั้ 20 คนแล้ว ยังมีประชาชนในเครือข่ายประชาชน ศึกษาและติดตามปัญหาขยะสนับสนุนการฟ้องคดี ประกอบด้วย ผู้สนับสนุนการฟ้องคดีจังหวัดปทุมธานี จ�ำนวน 141 คน นครนายกจ�ำนวน 5 คน สระบุรีจ�ำนวน 29 คน ปราจีนบุรีจ�ำนวน 5 คน และฉะเชิงเทรา จ�ำนวน 15 คน รวมมีผู้สนับสนุนการฟ้องคดีจ�ำนวน 195 คน

ภาคผนวก 4: การฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้เพิกถอนประกาศกระทรวงฯ

281


ผู้ฟ้องคดีขอเรียนว่า การออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทที่มีผลเป็นการยกเว้นให้โครงการ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ ขึ้นไปไม่ต้องจัดท�ำรายงาน EIA เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติและอนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิต กระแสไฟฟ้า โดยให้ผู้ขอรับใบอนุญาตด�ำเนินการตามประมวลหลักการปฏิบัติ หรือ CoP แทน เป็นการ ออกกฎที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ (1) มาตรา 46 แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ ส ่ ง เสริ ม และรั ก ษาคุ ณ ภาพสิ่ ง แวดล้ อ มแห่ ง ชาติ พ.ศ. 2535 ให้อำ� นาจรัฐมนตรีฯ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิง่ แวดล้อมแห่งชาติประกาศก�ำหนด ประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องจัดท�ำรายงาน EIA โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้มาตรการ จัดท�ำรายงาน EIA เป็นเครื่องมือเพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การใช้อ�ำนาจตามบทบัญญัติ ดังกล่าวในการแก้ไขเปลีย่ นแปลงประกาศกระทรวงฯ เพือ่ ยกเว้นให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอย เป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไปไม่ต้องจัดท�ำรายงาน EIA จะต้องมี เหตุผลและหลักฐานที่มีน�้ำหนักสนับสนุนว่ามาตรการที่ก�ำหนดไว้เดิมมีปัญหาบกพร่องท�ำให้ไม่สามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุผล หรือหลักฐานดังกล่าว แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เหตุผลหลักในการออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทมี ที่มาจากการตอบสนองนโยบายตาม Roadmap การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ที่ต้องการ ให้โครงการโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว การใช้อ�ำนาจของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามมาตรา 46 เพื่อออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทจึงเป็นการใช้อ�ำนาจที่ ไม่อยู่ในกรอบวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันเป็นการกระท�ำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (2) การออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทเป็นการออกกฎและการกระท�ำทางปกครองที่เป็นการ ลดทอนขั้นตอนมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน และเป็นการตัดทอนโอกาสการ มีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบและแสดงความคิดเห็นก่อนการอนุมัติและอนุญาตโครงการ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นกิจการที่มีความเสี่ยงสูงในการก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม สุขภาพ และวิถชี วี ติ ของประชาชน อันเป็นการใช้ดลุ พินจิ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ (2.1) ระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่มี หลักการและแนวปฏิบัติที่แตกต่างจาก CoP เป็นมาตรการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ภายใต้แนวคิดหลักการป้องกันระมัดระวังไว้ล่วงหน้า (prevention principle) การจัดท�ำรายงาน EIA ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลสภาพแวดล้อมและคุณค่า การใช้ประโยชน์ที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริง และประเมินผลกระทบจากการประกอบกิจการตามขนาด

2 82

การจัดการของเสียจากชุมชน


และเทคโนโลยีวิธีการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อก�ำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่เหมาะสมกับ แต่ละโครงการเป็นการเฉพาะราย ในขณะที่ CoP มีลักษณะเป็นเพียงการก�ำหนดแนวทางปฏิบัติขั้นต�่ำ ส�ำหรับให้ผู้ประกอบกิจการยึดถือปฏิบัติตามในฐานะเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า และใช้เป็น หลักเกณฑ์การติดตามตรวจสอบการด�ำเนินโครงการส�ำหรับหน่วยงานอนุญาต โดยสามารถน�ำไปปรับใช้ได้ เป็นการทัว่ ไปส�ำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะทุกขนาดทุกประเภท ซึง่ แตกต่างจากการจัดท�ำรายงาน EIA จึงไม่สามารถน�ำมาใช้ทดแทนระบบรายงาน EIA ได้ ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โดยความเห็นชอบ ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทเพื่อยกเว้นการจัดท�ำรายงาน EIA ส�ำหรับโครงการ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ ขึ้นไป โดยให้ยึดถือปฏิบัติตาม CoP แทน จึงเป็นการออกกฎที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของระบบการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมซึ่งบังคับใช้อยู่เดิม และย่อมกระทบต่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของ ประชาชนอย่างชัดแจ้ง (2.2) การออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทเป็นการตัดอ�ำนาจของคณะกรรมการผู้ช�ำนาญการ พิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมตามกฎหมาย พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ก�ำหนดให้มี คชก. ซึ่งเป็นคณะผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ท�ำหน้าที่ตรวจสอบทบทวน เนือ้ หาและมาตรการป้องกันและลดผลกระทบสิง่ แวดล้อมในรายงาน EIA โดย คชก. มีอำ� นาจตามกฎหมาย ในการให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ รวมทั้งสั่งให้ปรับปรุงแก้ไขรายงาน EIA ให้สมบูรณ์ถูกต้องหรือ จัดท�ำรายงานใหม่ทั้งหมดได้ โดยที่หน่วยงานรัฐผู้มีอ�ำนาจอนุญาตโครงการหรือกิจการที่เกี่ยวข้องต้องรอ การสั่งอนุญาตไว้ก่อนจนกว่าจะทราบผลการพิจารณารายงานของ คชก. ในการพิจารณาโครงการด้าน โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน คชก. ชุดปัจจุบันซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อ 29 ตุลาคม 2557 มีจ�ำนวน 9 คน ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม พลังงานและสิ่งแวดล้อม การจัดการมลพิษ สิ่งแวดล้อม คุณภาพอากาศ การจัดการน�้ำและของเสีย การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อาชีวอนามัย และความปลอดภัย และด้านสังคมและการมีส่วนร่วมของประชาชน กระบวนการพิจารณารายงาน EIA ของ คชก. ยังเป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้เสียและอาจได้รับผลกระทบ จากโครงการได้เข้าถึงข้อมูลโครงการ มีส่วนร่วมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่น�ำเสนอในรายงาน EIA และน�ำเสนอความคิดเห็นและข้อกังวลซึ่งอาจแตกต่างจากข้อมูลที่น�ำเสนอในรายงาน EIA ต่อ คชก. การออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทได้ตัดทอนกระบวนการและอ�ำนาจตามกฎหมายของ คชก. ออกไป เหลือเพียงการยืน่ ขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน(โรงไฟฟ้า) และขออนุญาตผลิตไฟฟ้าต่อคณะกรรมการ ก�ำกับกิจการพลังงานแต่เพียงผู้เดียว โดยมิได้มีการก�ำหนดหรือสร้างกลไกทดแทนที่ดีกว่าหรือสามารถ เทียบเท่าได้กับกระบวนการพิจารณารายงาน EIA ของ คชก. ทั้งๆ ที่โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ ภาคผนวก 4: การฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้เพิกถอนประกาศกระทรวงฯ

283


ใช้ขยะเป็นเชือ้ เพลิงทีม่ กี ำ� ลังการผลิตสูงมีความเสีย่ งต่อการก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมและสุขภาพ ของประชาชนค่อนข้างมาก การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โดยความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ออกประกาศ กระทรวงฯ ที่พิพาท จึงเป็นการออกกฎที่ขัดต่อกฎหมาย (2.3) รายงานการตรวจสอบตาม CoP ที่ถูกน�ำมาใช้ทดแทนมาตรการจัดท�ำรายงาน EIA มิได้ถกู น�ำมาใช้ประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ของคณะกรรมการก�ำกับ กิจการพลังงานในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีอ�ำนาจพิจารณาทั้งการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ตามกฎหมายโรงงานและใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า เนื่องจากระเบียบคณะกรรมการก�ำกับกิจการพลังงานว่า ด้วยมาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมส�ำหรับผู้ได้รับการยกเว้นไม่ต้อง จัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ พ.ศ. 2555 ก�ำหนดแต่เพียงว่าให้ผู้ขอรับใบอนุญาต ผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจัดท�ำรายงาน EIA จัดท�ำและน�ำส่งรายการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อประกอบการขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้า พร้อมทั้งแสดงเอกสารและหลักฐาน (ถ้ามี) ฉะนั้น ในทาง ปฏิบัติ เจ้าของโครงการสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานเพื่อเริ่มก่อสร้างโรงไฟฟ้าก่อน ได้ทันทีที่ได้รับใบอนุญาต แล้วจึงยื่นขอใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าโดยมีรายการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม ตาม CoP เป็นเอกสารประกอบการขออนุญาตผลิตไฟฟ้าได้ในภายหลังจากที่ด�ำเนินการก่อสร้างโรงงาน เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งๆ ที่การศึกษาคาดการณ์และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดจนมาตรการ ป้องกันถือเป็นข้อมูลส�ำคัญที่หน่วยงานผู้อนุญาตต้องน�ำมาประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับโครงการตั้งแต่ต้น (2.4) มาตรการตาม CoP ที่ผ่านความเห็นชอบจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มิได้เป็นมาตรการ คุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าการจัดท�ำรายงาน EIA เนื่องจากมาตรการทั้งสองมีหลักการและแนวคิดที่ แตกต่างกัน อีกทัง้ CoP ได้ตดั ทอนกลไกป้องกันผลกระทบสิง่ แวดล้อมทีส่ ำ� คัญของระบบการจัดท�ำรายงาน EIA ทั้งการพิจารณาโดย คชก. และการมีส่วนร่วมของประชาชนดังกล่าวมาแล้ว นอกจากนี้เมื่อพิจารณา ในรายละเอียด มาตรการศึกษาประเมินและตรวจสอบควบคุมมลพิษและผลกระทบสิ่งแวดล้อมตาม CoP ยังมีจุดอ่อนและข้อบกพร่องหลายประการ ได้แก่ ความไม่ชัดเจนในการก�ำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเลือกเทคโนโลยี เตาเผาขยะมูลฝอยที่เหมาะสมและดีที่สุดที่จะไม่ก่อให้เกิดมลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ เช่น การเผาก�ำจัดสารไดออกซิน ฟิวแรน และสารปรอท ทีเ่ กิดจากการเผาขยะ ซึง่ ต้องใช้ความร้อนอุณหภูมิ สูงมากจึงจะก�ำจัดสารพิษดังกล่าวได้ CoP ไม่ได้ก�ำหนดให้ติดตาม ตรวจสอบ หรือตรวจวัดสารไดออกซิน ฟิวแรน สารปรอท สารหนู แคดเมียมจากปล่องระบายอากาศของเตาเผาอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ก�ำหนดให้ติดตาม 2 84

การจัดการของเสียจากชุมชน


ตรวจสอบสารไดออกซิน ฟิวแรน โลหะหนักต่างๆ และฝุ่นละอองเล็กกว่า 2.5 ไมครอนในบรรยากาศ ตลอดจนยังไม่สามารถก�ำหนดจุดหรือบริเวณทีต่ อ้ งท�ำการตรวจวัดมลพิษเพือ่ เฝ้าระวังสุขภาพของประชาชน ที่ชัดเจน เนื่องจากไม่มีการใช้แบบจ�ำลองทางคณิตศาสตร์เหมือนอย่างการจัดท�ำรายงาน EIA ในการ ท�ำนายว่าค่ามลพิษสูงสุดจะตกในบริเวณใด ท�ำให้ผลการตรวจวัดจากจุดทีก่ ำ� หนดใน CoP ไม่ได้เป็นตัวแทน ของข้อมูลที่ประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง จุดอ่อนและข้อบกพร่องในสาระส�ำคัญของ CoP ชี้ให้เห็นว่า แนวทางตามมติที่ประชุมของ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ให้น�ำมาตรการใน CoP ไปใช้แทนการจัดท�ำรายงาน EIA มิได้เป็นหลักประกันคุ้มครอง สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่ดีกว่าหรือสามารถทดแทนการจัดท�ำรายงาน EIA ได้ ตรงกันข้าม กลับได้ตัดทอนกระบวนการและกลไกที่ส�ำคัญออกไปหลายประการ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีมติเห็นชอบ ให้น�ำ CoP มาใช้แทนการจัดท�ำรายงาน EIA และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาท เพื่อยกเว้นให้โรงไฟฟ้าที่ขยะเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังผลิตตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไปไม่ต้องจัดท�ำรายงาน EIA จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ ในการคุ้มครองประโยชน์ สาธารณะ โดยเฉพาะการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ (3) การออกประกาศกระทรวงฯ ทีพ่ พิ าท เป็นการออกกฎโดยเลือกมาตรการที่ไม่สามารถบรรลุ วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 46 กล่าวคือ ร่างแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) ก�ำหนดแนวทางการจัดการ ขยะมูลฝอยโดยการลดปริมาณขยะตัง้ แต่ตน้ ทางไปจนถึงปลายทาง โดยมีรปู แบบการจัดการหรือเทคโนโลยี ทีผ่ สมผสานเพือ่ การจัดการขยะมูลฝอยอย่างยัง่ ยืนและรอบด้าน เช่น การคัดแยกขยะ การท�ำระบบหมักปุย๋ จากขยะอินทรีย์ การออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทที่ต้องการกระตุ้นและสนับสนุนการจัดตั้งโรงไฟฟ้า พลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงในเชิงปริมาณอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลให้การจัดการขยะ มูลฝอยในรูปแบบอื่นๆ ตามกรอบวัตถุประสงค์ในแผนแม่บทถูกละเลยไป มาตรการที่ผู้ถูกฟ้องคดีเลือกใช้ จึงไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยและการจัดการขยะอย่างยั่งยืนได้ แต่การใช้อ�ำนาจ ของผู้ถูกฟ้องคดีกลับเป็นการลดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนและชุมชนที่ อยู่อาศัยในพื้นที่ตั้งหรือพื้นที่ใกล้เคียงโรงไฟฟ้า จึงเป็นการออกกฎโดยไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 46 อันเป็นการกระท�ำ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (4) การออกประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทเป็นการออกกฎทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนือ่ งจากเป็นการออกกฎทีอ่ าจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียส�ำคัญของประชาชน แต่รฐั มิได้จดั ให้มกี ระบวนการ รับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทัว่ ถึงก่อนด�ำเนินการ ทัง้ นีเ้ พราะสิทธิในการมีสว่ นร่วมของประชาชน

ภาคผนวก 4: การฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้เพิกถอนประกาศกระทรวงฯ

285


และชุมชนมีกฎหมายรัฐธรรมนูญรับรองอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยมาตรา 4 และมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ก็ได้บัญญัติรับรองสิทธิที่เคยได้รับความคุ้มครองตามประเพณีการปกครอง ประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมาหกษัตริย์ ไทยทรงเป็นประมุข การที่ผู้ถูกฟ้องคดีออก ประกาศกระทรวงฯ ทีพ่ พิ าท อันมีเนือ้ หาส�ำคัญเป็นการยกเว้นให้โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะ มูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไปไม่ต้องจัดท�ำรายงาน EIA ซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และสุขภาพ อันเป็นส่วนได้เสียส�ำคัญ ของผู้ฟ้องคดี โดยยังมิได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อน จึงเป็น การกระท�ำทางปกครองที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบหรือขั้นตอนที่เป็นสาระส�ำคัญ ส่งผลให้ประกาศกระทรวงฯ ที่พิพาทของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุผล ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายดังกล่าวมาข้างต้น ผู้ฟ้องคดีทั้ง 20 คน จึงขอให้ ศาลปกครองกลางพิจารณาและมีค�ำพิพากษาดังต่อไปนี้ (1) เพิกถอนประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก�ำหนดประเภทและ ขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดท�ำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2558 (2) เพิกถอนมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2558 ลงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ในระเบียบวาระที่ 3.5 เรื่องการก�ำหนดประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) ส�ำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงที่มีก�ำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า ตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป ในข้อที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4

2 86

การจัดการของเสียจากชุมชน


ภาคผนวก 4: การฟ้องคดีต่อศาลปกครองให้เพิกถอนประกาศกระทรวงฯ

287


ภาพ: กานต์ ทัศนภักดิ์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.