แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

Page 1

1

แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

ตัวกู-ของกู ในร่างกายของคนเรามีแบคทีเรีย (Bacteria) อาศัยอยู่ เกือบ ๑,๕๐๐ ชนิด มีจ�ำ นวนมากกว่าเซลล์รา่ งกายสิบต่อหนึง่ แทบ จะเรียกได้วา่ “เรานัน่ เองคือแบคทีเรีย” เพราะจุลนิ ทรียเ์ หล่านีช้ ว่ ย ย่อยสารอาหาร ควบคุมการขับเหงือ่ เปลีย่ นกลูโคสเป็นกล้ามเนือ้ โจมตีเชื้อก่อโรค และซ่อมแซมเซลล์ แหล่งแบคทีเรียที่ใหญ่ที่สุด และระบบภูมคิ มุ้ กัน ร้อยละ ๘๐ อยูใ่ นลำ�ไส้ โดยมีจลุ นิ ทรียร์ าว ๑๐๐ ล้านล้านตัว ซึ่งหนักถึงสองกิโลกรัม สำ�ไส้ยังประกอบด้วยเซลล์ ประสาทนับล้านเซลล์ ที่รับสัญญาณจากแบคทีเรียอย่างต่อเนื่อง แบคทีเรียจึงเป็นอวัยวะสำ�คัญที่สุด สรุปง่ายๆ คือมนุษย์อยู่ไม่ได้ หากไม่มีแบคทีเรีย หากแบคทีเรียคิดได้ มันคงคิดว่า ร่างกายของมนุษย์ คือ บ้านกูๆๆๆ


2

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ไรขนตา (Eyelash Mites) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจำ�พวก ปรสิต สำ�หรับตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดประมาณ ๐.๓-๐.๔ มิลลิเมตร ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ มีลักษณะร่างกายกึ่ง โปร่งใส ลำ�ตัวยาว ส่วนบนเป็นส่วนที่มีขาสั้นๆ แปดขา มีปาก เหมือนเข็มที่ไว้สำ�หรับกินเซลผิวหนังซึ่งมีน้ำ�มันตามรูขุมขน ส่วน ที่สองเป็นส่วนลำ�ตัวที่จะฝังอยู่ในรูขุมขน วงจรชีวิตของไรขนตา มีอายุประมาณไม่ถึงเดือน เมื่อตัวผู้ ตัวเมียผสมพันธ์ุกัน จะออกไข่ไว้ในรัง(รูขุมขน ) อีก ๓-๔ วันก็จะ ฟักเป็นตัว และใช้เวลาอีกประมาณ ๗ วันก็จะเข้าสู่วัยเจริญพันธ์ุ และเมื่อพวกมันตายลงก็จะใช้รูขุมขนเป็นหลุมฝังศพของพวกมัน มนุษย์ผู้ใหญ่ร้อยละ ๙๕-๙๘ มีไรขนตาอยู่บนร่างกาย แต่เด็กจะมี น้อยกว่าเนื่องจากมีน้ำ�มันที่ขับออกตามรูขุมขนน้อยกว่า ไรขนตา สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสบริเวณ ขน ผม อาจก่อปัญหาให้ เกิดอาการคันเล็กน้อย ไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด หากมันคิดได้คงคิดว่า รูกูๆๆๆๆ ตัวหิด (Scabies Mites) คือ ตัวไรชนิดหนึ่ง เป็นปรสิตที่ อาศัยอยู่ใต้หนังกำ�พร้า มีขนาดประมาณ ๐.๔ มิลลิเมตร มองไม่


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

3

เห็นด้วยตาเปล่า เมื่อหิดโตเต็มวัยจะผสมพันธุ์กันบนผิวหนังแล้ว ตัวผู้จะตาย ส่วนตัวเมียเจาะอุโมงค์ในชั้นหนังกำ�พร้าวันละ ๒-๓ มิลลิเมตรในตอนกลางคืน เพือ่ วางไข่ครัง้ ละ ๒-๓ ฟอง จนถึง ๑๐๒๕ ฟองในตอนกลางวัน ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวอ่อน ๓-๔ วัน มันจะคลานออกจาก อุโมงค์เพือ่ หาทีอ่ ยูใ่ หม่ ตัวอ่อนใช้เวลาโตเต็มทีป่ ระมาณ ๒ สัปดาห์ มีอายุขัย ๓๐-๖๐ วัน และนั่นก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหิดคันคะเยอ ติดต่อกันทางเสื้อผ้า หิดชอบอาศัยอยู่ตามผิวหนังที่มีความชื้น ได้แก่ ง่ามนิ้วมือ นิ้วเท้า สะดือ รักแร้ อวัยวะเพศ ขาหนีบ หากหิดคิดเป็น มันคงคิดว่า ผิวหนังมนุษย์เป็น บ้านกูๆๆๆๆ ไรฝุน่ (Dust mites) เป็นไรทีไ่ ม่ได้อาศัยอยูบ่ นตัวของมนุษย์ แต่ไรฝุน่ กินเศษผิวหนังทีต่ ายแล้วหลุดออกมาตามพืน้ ชิน้ ส่วนเล็กๆ เหล่านี้สะสมอยู่ตามซอกที่นอน หมอน ผ้านวม พรมเป็นจำ�นวน มาก ไรฝุ่นจะใช้ก้ามเล็กๆ เก็บกินเป็นอาหาร ตัวไรฝุ่นเองไม่เป็น อันตรายต่อมนุษย์ แต่ของเสียที่มันปล่อยออกมาและลอยอยู่ใน บ้าน เมื่อสูดดมเข้าไปจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคหืดหอบได้ ถ้าไรฝุ่นคิดได้ มันคงคิดว่า ร่างกายมนุษย์เป็นเซเว่นของ กูๆๆๆ


4

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

พยาธิ เป็นปรสิต(parasite) ชนิดหนึ่ง มีหลายสายพันธุ์ เช่นพยาธิตัวกลม พยาธิตัวแบน (พยาธิตัวตืด) และ พยาธิใบไม้ ดำ�รงชีวติ อยูไ่ ด้โดยการแย่งและดูดซึมสารอาหารจากร่างกาย และ สืบพันธุใ์ นร่างกายของคนและสัตว์ บางชนิดก็ไม่กอ่ ความเดือดร้อน ต่อร่างกายคนและสัตว์ที่มันอาศัยอยู่ เพียงแต่แย่งดูดซึมอาหาร เท่านั้น บางชนิดก็ก่อให้เกิดพยาธิสภาพรุนแรงถึงชีวิตได้ถ้าไม่ได้ รับการรักษา นีย่ งั ไม่รวมโรคภัยไข้เจ็บอันเกิดจากปรสิตชนิดอืน่ ๆ อีก สม กับทีพ่ ระพุทธเจ้าตรัสว่าร่างกายของสัตว์ทงั้ หลายเป็นรังแห่งโรค จริงๆ ยกตัวอย่างให้ดูเท่าที่เราคุ้นตา แต่ที่จริงแล้วมีเป็นสิบชนิด เช่น โรคบิดมีตัว (Amoebiasis) โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา โรคมาลาเรีย (Malaria) โรคเท้าช้าง (Elephantiasis) โรคช่องคลอดอักเสบจากเชือ้ โปรโตซัว (Trichomoniasis) ถ้าปรสิตเหล่านัน้ คิดได้ มันคงคิดว่าร่างกายมนุษย์และสัตว์ เป็น บ้านกูๆๆๆๆ เช่นกัน


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

5

เสียงนกหลายชนิดส่งเสียงดังลัน่ วัดวังหิน เหมือนพวกมัน กำ�ลังยกพวกตีกัน เมื่อเฝ้าสังเกตจึงเห็นว่า นกแซงแซวหางบ่วง ฝูงหนึ่งกำ�ลังบินจิกตีขับไล่นกพิราบให้พ้นจากเขตวัด ซึ่งนับเป็น เรื่องโชคดีของวัด เมื่อไรที่มีนกพิราบบินเข้ามาในเขตวัด พนักงาน รักษาความปลอดภัยฝูงนี้ ก็จะทำ�หน้าที่อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่ เหนื่อย ช่วยให้ไม่มีนกพิราบมายึดศาสนสถาน ก่อความเดือดร้อน รำ�คาญเหมือนวัดอื่นๆ นกแซงแซวฝูงนี้ คงคิดว่า วัดกูๆๆๆๆ เจ้าด่างหมาหนุ่มเข้ามาจีบหมาสาวในวัด แล้วก็ถือโอกาส ยึดวัดเป็นนิวาสถานของมัน ไม่ยอมกลับบ้าน เป็นเหตุให้เจ้ายักษ์ จ่าฝูงหาเรื่องแสดงอำ�นาจอยู่เป็นประจำ� มันคงคิดว่า ถิ่นกูๆๆๆ วันหนึ่งเจ้าด่างขอวัดรอยเท้ารุ่นพี่ มันไม่ยอมวิ่งหนีหรือ แสดงอาการกลัวเหมือนทุกวัน มันสู้กับเจ้ายักษ์สุดกำ�ลัง บน ร่างกายทั้ง ๒ ตัว เต็มไปด้วยบาดแผลและเลือดแดงเถือก ในที่สุด เจ้ายักษ์ซึ่งแก่มากแล้วก็สู้กำ�ลังหมาหนุ่มไม่ได้ จึงพ่ายแพ้ยับเยิน มันนอนซมด้วยความเจ็บปวดทั้งกายและใจอยู่ได้ไม่กี่วัน ก็ลาโลก ไปอย่างโดดเดี่ยว เจ้าด่างจึงกลายเป็นเจ้าพ่อวัดวังหินตัวใหม่


6

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

เสียงหลวงพ่อเจ้าอาวาสวัดหนึง่ ประกาศด่าโยมออกเครือ่ ง ขยาย ดังลัน่ ไปหัวทุง่ ท้ายทุง่ เพราะเหตุวา่ ชาวบ้านปล่อยให้ววั มา กินหญ้าในวัด และทำ�ลายต้นไม้ในวัดด้วย หลวงพ่อคงคิดเหมือนกันว่า วัดกูๆๆๆ โยมอุปัฏฐากหลวงปู่ แสดงกิริยาอาการไม่พอใจ เมื่อเห็น ญาติโยมจากที่ไกลแวะมาเยี่ยมและชวนหลวงปู่คุยนานสองนาน เป็นเหตุให้หลวงปู่ซึ่งสุขภาพไม่ค่อยดีนัก ไม่ได้พักผ่อน โยมคงคิดว่า พระกูๆๆ นายทิ้งยิงภรรยาคู่ชีวิตตายคาที่ แกถือปืนนั่งรอตำ�รวจ หน้าตาเศร้าโศก แสดงอาการทั้งรักทั้งแค้น เพราะเหตุว่านายหวัง คนซอยเดียวกัน แอบมาตีทา้ ยครัว เมือ่ ทราบเรือ่ งนายทิง้ รูส้ กึ เสีย ศักดิ์ศรีอย่างรุนแรง วันหนึ่งเพื่อให้จับได้คาหนังคาเขา นายทิ้งหลอกภรรยาว่า จะไปเยีย่ มญาติตา่ งจังหวัดหลายวัน แล้วแอบซุม่ รอดูอยู่ แล้วข่าว ลือก็เป็นความจริง แกบุกเข้าไปในบ้านเห็นภรรยากับชู้แสดงบท รักกัน แกบันดาลโทสะชักปืนออกมาหวังจะยิงทั้งคู่ แต่นายหวัง เผ่นหนีได้ทัน ส่วนภรรยาตกใจจนก้าวขาไม่ออก เหตุการณ์อัน


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

7

รุนแรงจึงเกิดขึ้น นี่ก็เพราะความยึดถือว่า เมียกูๆๆๆๆ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ลงข่าวว่า เมือ่ เวลา ๐๒.๓๐ น.ของวันที่ ๓๐ เม.ย.๕๖ เจ้าหน้าทีต่ �ำ รวจ สภ.คลองห้า รับแจ้งมีคนถูกแทงตายเสียชีวิต ที่เกิดเหตุบริเวณ หน้าธนาคารกรุงไทย สาขาคลองหก หลังรับแจ้งจึงเดินทางไป ตรวจสอบ ในที่เกิดเหตุพบศพนายกฤษณะ หรือแบงค์ สีดำ� อายุ ๒๒ ปี ถูกแทงด้วยของมีคมนอนเสียชีวิต หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำ�รวจได้สืบสวนหาข่าวจนทราบว่า กลุ่มผู้ตายได้เดินทางมากินต้มเลือดหมูที่ร้านซึ่งเป็นสถานที่เกิด เหตุ โดยสัง่ อาหารซึง่ เป็นต้มเลือดหมู แต่เลือดหมูหมดเจ้าของร้าน จึงแจ้งกับผู้ตายไปตามความจริง หลังสิ้นเสียงแม่ค้า ผู้ตายจึงพูดเสียงดังบอกแม่ค้าว่า “ถ้าเลือดหมูหมดเดี๋ยวเอาเลือดโต๊ะข้าง ๆ ก็แล้วกัน” จากนั้นจึงเกิดการเขม่นกับโต๊ะข้างๆ ที่เป็นชายวัยรุ่นซึ่งรับ ประทานอยูก่ อ่ นหน้า จนเกิดการทะเลาะวิวาทกันถึงขึน้ ใช้อาวุธมีด ทำ�ร้ายกันจนเสียชีวติ หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าทีไ่ ด้สบื สวนจนทราบว่า


8

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ผูก้ อ่ เหตุคอื นายเอ อายุ ๑๗ ปี เจ้าหน้าทีจ่ งึ ติดตามจับกุม ได้ทบี่ า้ น พักย่านรังสิต คนฆ่าคงคิดว่ามันหยามศักดิ์ศรีของกูๆๆ คนตายเลยตาย เพราะปากกูนั่นเอง “พินนาเคิล” เป็นเกาะหนึง่ ในทะเลจีนตะวันออก ญีป่ นุ่ เรียก ว่า “เซนกากุ” ส่วนจีนเรียกว่า “เตียวหยู” รัฐบาลญีป่ นุ่ ได้ประกาศซือ้ เกาะดังกล่าวนีจ้ ากเจ้าของทีเ่ ป็น เอกชนด้วยเงิน ๘๑๔ ล้านบาท ในขณะที่รัฐบาลจีนอ้างสิทธิครอบ ครองเกาะนี้ด้วย ชาวจีนทัว่ โลกออกมาประท้วงและต่อต้านญีป่ นุ่ อย่างหนัก เพราะเกาะแห่งนี้แม้จะมีพื้นที่แค่ ๗ ตารางกิโลเมตร แต่มีน้ำ�มัน และก๊าซธรรมชาติใต้ทะเลรอบเกาะมากมาย ซ้ำ�ยังมีความสำ�คัญ ทางยุทธศาสตร์อีกด้วย บริษัทยักษ์ใหญ่อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โซนี่ พานาโซนิค ค่าย รถยนต์โตโยต้า ฮอนด้า นิสสัน ประกาศระงับการผลิตชั่วคราวใน โรงงานหลายแห่งในจีน เพราะมีผปู้ ระท้วงบุกเข้าไปจุดไฟเผาสร้าง ความเสียหายอย่างหนัก ส่วนแคนนอนต้องปิดโรงงานถึงสามใน สี่แห่งในจีน


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

9

สายการบินออลล์นิปปอนแอร์เวย์ มีผู้ยกเลิกตั๋วจองเที่ยว บินจากจีนไปญี่ปุ่นจำ�นวนมาก ชาวญี่ปุ่นในเซี่ยงไฮ้ ถูกไล่ออกจากร้านอาหารญี่ปุ่น และ โรงเรียนญี่ปุ่นหลายแห่งต้องปิดการเรียนการสอน ฯลฯ ทั้งสองประเทศคงคิดเหมือนกันว่า นี่มันเกาะของกูๆๆๆๆ ตัวกู-ของกู ช่างสร้างเรื่องราวได้อย่างน่าอัศจรรย์ และก่อ ให้เกิดความทุกข์ การทะเลาะเบาะแว้ง เข่นฆ่า เอารัดเอาเปรียบกัน ได้มหันต์จริงๆ


10

พระมหาวิเชียร ชินวํโส


11

แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

ช่างหัวมัน การพูดคือการสือ่ สารทีม่ นุษย์ใช้กนั มากทีส่ ดุ แต่ถา้ พูดมาก ไปก็วา่ เพ้อเจ้อน่ารำ�คาญ พูดน้อยไปคนเขาก็หาว่าหยิง่ ไม่พดู คนก็ นินทาว่าเป็นใบ้ พูดจริงเกินไปก็หาว่าปากหมา แล้วพูดแค่ไหน อย่างไรจึงจะพอดี ลองดูตวั อย่างการใช้ถอ้ ยคำ�ของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรง ยึดหลักดังนี้ ๑. คำ�พูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส ๒. คำ�พูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส


12

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

๓. คำ�พูดทีจ่ ริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นทีร่ กั ทีช่ อบใจ ของผู้อื่น - เลือกกาลตรัส ๔. คำ�พูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รัก ที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส ๕. คำ�พูดที่จริง ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส ๖. คำ�พูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นที่รักที่ชอบใจ ของผู้อื่น – เลือกกาลตรัส (อภยราชกุมารสูตร ม.ม.๑๓/๘๘/๘๖) สรุปว่า คำ�พูดที่พระองค์จะตรัส คือคำ�พูดที่จริง ถูกต้อง มี ประโยชน์ แม้บางครั้งจะเป็นที่ชอบใจของผู้ฟังหรือไม่ก็ตรัส แต่รู้ กาลอันควรหรือไม่ควรตรัส ขอยกตั ว อย่ า งคำ � พู ด ง่ า ยๆ ที่ อ าจฟั ง ระคายหู แต่ เ ป็ น ประโยชน์ต่อการปล่อยวางทุกข์ ยังชีวิตให้เป็นปกติสุขมากขึ้น นั่น คือ “ช่างหัวมัน” “ซ่างมันเถาะ” “Let it be” หลวงตาบุญ นำ�ตาชั่งมาวางไว้หน้ากุฏิ โดยมีหัวมันแกว วางอยู่บนตาชั่ง


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

13

ญาติโยมเดินผ่านไปมา ก็สอบถามด้วยความสงสัย “หลวงตาทำ�อะไรเจ้าค่ะ ?” “ชั่งหัวมัน” หลวงตาตอบสั้นๆ วันหนึ่งพระใหม่ บ่นให้หลวงตาฟังเรื่องที่ไม่ค่อยถูกชะตา กับพระในวัดเดียวกัน ใกล้จะได้วางมวยกันแล้ว ตามประสาพระ หนุ่มใจร้อน หลวงตาชี้ให้ดูที่ตาชั่ง แล้วบอกว่า “ท่านทำ�อย่างนั้น ก็มีแต่สร้างปัญหาให้ไม่หยุด “ช่างเขา” เถอะ” วั น นี้ หลวงพี่ ป านอารมณ์ ดี เ ป็ น พิ เ ศษ เพราะบรรดา ญาติโยมสรรเสริญยกย่องว่าเทศน์ดีมาก เสียงดี เนื้อหากระชับ ชัดเจน จึงอดที่จะนำ�มาคุยอวดหลวงตาบุญไม่ได้ หลวงตาบุญจึงชี้ให้ดูหัวมันบนตาชั่ง พร้อมกับเตือนสติว่า “คนเขายอได้ ก็ด่าได้ ระวังอย่าไปหลงคำ�เยินยอมากนัก เดี๋ยวจะเจ็บใจภายหลัง หัด “ช่างมัน” บ้าง” หลวงพี่จำ�เนียร กระหืดกระหอบมาฟ้องหลวงตาแต่เช้า “หลวงตาบุญ โยมหลายคนเขานินทาหลวงตา เขาบอกว่า


14

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

หลวงตาบ้า เอาหัวมันมาชั่งกิโลทำ�ไมก็ไม่รู้” หลวงตาบุญ หันไปดูหัวมันบนตาชั่ง แล้วตอบยิ้มๆ สบาย อารมณ์ว่า “ช่างหัวมัน” “ช่างหัวมัน” คือความไม่ถือสา หาความใครเขา “ช่างหัวมัน” คือความรูส้ กึ ปล่อยวาง เพราะเข้าใจความเป็น จริงของโลกว่า มันเป็นของมันอย่างนั้น “ช่างหัวมัน” จึงคือสัมมาสังกัปปะ ความคิดชอบนั่นเอง พระพุทธเจ้าตรัสเตือนอุบาสกชื่ออดุลว่า “อดุลเอ๋ย การนินทาและสรรเสริญนีม้ มี านานแล้ว มิใช่เพิง่ มีในวันนี้เท่านั้น คนนั่งอยู่เฉยๆ เขาก็นินทา คนพูดมากเขาก็นินทา แม้คนพูดน้อย เขาก็นินทา ไม่มีใครเลยในโลกนี้ไม่ถูกนินทา ทั้งใน อดีต ในอนาคต และในปัจจุบัน ก็ไม่มีใครเลยที่จะถูกนินทาอย่าง เดียว หรือได้รบั การสรรเสริญอย่างเดียว แต่วญ ิ ญูชนพิจารณาทุก วันๆ ย่อมสรรเสริญบุคคลผู้ดำ�เนินชีวิตหาข้อตำ�หนิมิได้ ผู้เป็นนัก ปราชญ์ ผู้มีปัญญาและศีลมั่นคง ใครเล่าจะควรตำ�หนิผู้นั้น ผู้ เปรียบเหมือนแท่งทองชมพูนุท ผู้เช่นนั้นแม้เทวดาก็ชื่นชม ถึง


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

15

พรหมก็สรรเสริญ” (ขุ.ธ.๒๕/๒๗/๔๕) พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบายความหมายของคาถานี้ไว้ว่า การนินทาหรือสรรเสริญของคนพาล ไม่ถอื เป็นประมาณ แต่บณ ั ฑิต ผู้ ใ คร่ ค รวญแล้ ว รู้ เ หตุ ที่ ค วรติ เ ตี ย นหรื อ สรรเสริ ญ ย่ อ มเลื อ ก สรรเสริญนักปราชญ์ผู้มีปัญญาและศีลมั่นคง ดำ�รงชีวิตอย่างหา ข้อตำ�หนิมิได้ (ขุ.ธ.อ. ๖/๑๗๔) เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า นายอดุลมีพรรคพวกมาก วันหนึ่งพากันไปเพื่อฟังธรรม ครัง้ แรกเข้าไปหาพระเรวัตตะ แต่ทา่ นชอบอยูค่ นเดียวเงียบๆ จึงไม่ ยอมพูดอะไร นายอดุลและเพื่อนๆ ก็นินทาว่านั่งนิ่งเหมือนคนใบ้ นายอดุลจึงเอาเรื่องนี้ไปเล่าให้พระสารีบุตรฟัง พระสารีบุตรจึง แสดงพระอภิธรรมอย่างพิสดาร จนนายอดุลและสหายมึนงงกัน ไปหมดเพราะจดจำ�ไม่ไหว ก็นินทาว่าร้ายพระสารีบุตรว่าพูดมาก เกินไป จึงพากันไปขอฟังธรรมจากพระอานนท์ พระอานนท์จึงได้ เลือกบทธรรมที่ง่ายๆ แสดงธรรมแต่พอประมาณ แม้อย่างนั้นก็ ยั ง นิ น ทาพระอานนท์ อี ก แล้ ว พากั น ไปเข้ า เฝ้ า พระพุ ท ธเจ้ า


16

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

พระพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนด้วยพุทธพจน์เบื้องต้นนั้น ชอบเขาก็ชม ชังเขาก็แช่ง “ช่างหัวมัน” จึงเป็นคาถาสั้นๆ ง่ายๆ แก้อาการถือสาหา ความ อันก่อให้เกิดความทุกข์แก่ตนเองได้ชะงัดนักแล วันหนึ่งหลวงตาบุญ ออกรับบิณฑบาตพร้อมกับสามเณร น้อยอีก ๒ รูป เมื่อเดินผ่านหน้าบ้านของคู่อริเก่าตั้งแต่ครั้งที่ท่าน ยังไม่บวช ก็ได้ยินเสียงลอยผ่านหน้าต่างบ้านมาว่า “ไอ้เหี้ย” ๒-๓ วันผ่านไป สามเณรน้อยเริม่ สงสัย ว่าคำ�ด่านัน้ คงไม่ใช่ ด่าคนในบ้านแน่ เพราะเดินผ่านบ้านนี้ทีไร ก็ได้ยินเสียงผรุสวาทนี้ ลอยมาทุกครั้ง สามเณรจึงสอบถามหลวงตาว่า “หลวงตา เขาด่าใครอ่ะ” “ด่าใคร ก็ช่างเขาเถอะเณร ปล่อยให้คนด่ามันเหี้ยของมัน คนเดียว อย่าไปรับเอามาให้รกใจ” คนเขาด่า ช่างเถอะ เขาคงเครียด คนเขาเกลียด ช่างเขา เกลียดกันได้ เขานินทา ช่างมัน บ้างเป็นไร


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

17

ไม่เท่าไรตายจากกันช่างมันเอย แต่อย่า “ช่างหัวมัน” อย่างนี้ ยายมัน่ หาบกระจาดพะรุงพะรังขึน้ รถเมล์ประจำ�ทางทีเ่ ชือ่ ม ต่อระหว่างอำ�เภอ เพื่อไปขายผักในตลาดสดแห่งหนึ่ง แล้วยายก็วางกระจาดขวางประตูรถนั่นเอง เมื่อรถเคลื่อนตัว กระเป๋ารถเมล์เริ่มทำ�หน้าที่เก็บเงินผู้ โดยสารตามปกติ ขณะที่ขอเก็บค่าโดยสารยายมั่น กระเป๋ารถเหลือบมองไป ที่กระจาดแล้วก็เตือนว่า “ยาย ทำ�ไมวางกระจาดขวางขึ้นทางลงอย่างนี้ล่ะ” ยายมั่นหอบเอาความมั่นมาเกินร้อย ตอบกลับไปว่า “ช่างกูเหอะ” “อ้าวยายทำ�ไมพูดอย่างนั้น แล้วคนอื่นเขาจะขึ้นจะลงยัง ไง” กระเป๋ารถเมล์ทักท้วง “ช่างมันสิ” กระเป๋ารถเริ่มอารมณ์เสีย “ช่างมันไม่ได้หรอกยาย เดี๋ยวผู้โดยสารคนอื่นเขาก็ตำ�หนิ ผมนะสิ ว่าทำ�ไมไม่บอกยาย”


18

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

“ช่างมึงสิโว้ย” ยายมั่นตอบหน้าตาย แต่กระเป๋ารถคงคิด ว่า “น่าตาย” มากกว่า “ช่างหัวมัน” คือการ “ปล่อยวาง” ที่ใจตนเอง ท่อง ไว้ใน ใจขำ�ๆ เวลามีเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นกับชีวิต “ช่างหัวมัน” ใช้ไม่ได้ กับการงานทีต่ อ้ งเกีย่ วข้องกับคนอืน่ ๆ ต้องแก้ไขไปตามสถานการณ์ มิเช่นนั้น จะกลายเป็น “ปล่อยปละ ละเลย” ไปเสีย


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

19


20

พระมหาวิเชียร ชินวํโส


21

แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

ตาปลา ปุจฉา ตาอะไรเอ่ย อยู่ที่ตีน ? วิสัชนา ตาปลา ทุกครัง้ ทีผ่ เู้ ขียน ย่างเท้าก้าวบิณฑบาตไปบนพืน้ ถนนแข็งๆ อาการเจ็บแปลบที่ฝ่าเท้า ก็แวบเข้ามาให้รับรู้ แม้จะ “ช่างหัวมัน” อยู่บ่อยๆ แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่า สักวันจะ ต้องเอาออก แล้วก็ได้รับการอนุเคราะห์จากคุณหมอ ผ่าเอาตาปลาออก จนสำ�เร็จ แต่เพราะต้องเดินอยู่บ่อยๆ ตาอันไม่น่าปรารถนาของ ปลา ก็กลับมาโผล่บนฝ่าเท้า แถมยังเกิดที่เดิมอีกด้วย


22

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ทุ ก ครั้ ง ที่ มี อ ารมณ์ ( คื อ รู ป เสี ย ง กลิ่ น รส สั ม ผั ส ธรรมารมณ์) มากระทบ อาการเจ็บแปลบ ก็โผล่เข้ามาทิ่มแทงใจ อารมณ์ที่ชอบ ก็อยากจะให้มันทิ่มบ่อยๆ อารมณ์ที่ชัง ก็อยากวิ่งหนี ที่แท้แล้วจะชอบหรือชัง ก็ล้วนทิ่มแทงใจให้บอบช้ำ�ทั้งนั้น แม้จะ “ช่างหัวมัน” อยู่บ่อยๆ แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าสักวันจะ ต้องเอาออก แต่ปญ ั หาก็คอื ตาปลา ทางกายให้หมอผ่าตัดออกให้ได้ แต่ ตาปลาทางจิตวิญญาณ มีแต่ตัวเราเท่านั้น ที่จะต้องผ่าเอง หลังจากศึกษาวิธีการผ่าอยู่นานจึงได้รู้ว่า พระพุทธเจ้าให้เครื่องมือผ่าตัดมา ๔ อย่าง คือ ศรัทธา ศีล สมาธิ ปัญญา ศรัทธา คือการน้อมจิต มั่นใจว่า การผ่าตัดในครั้งนี้มี ประโยชน์ต่อการดับทุกข์อันเกิดจากตาปลาทางจิตวิญญาณแน่ ศีล เปรียบเหมือนแผ่นดิน ไว้ใช้สำ�หรับเหยียบยืนให้มั่นคง สมาธิ เปรียบเหมือนพลังภายใน ที่จะต้องใช้ในการผ่า


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

23

ปัญญา เปรียบเหมือนอาวุธอันลับมาคมกริบแล้ว ขณะลงมือผ่า แม้จะเจ็บปวดเพียงใด ก็ขอให้ศรัทธา เชื่อ มัน่ ว่าการผ่าตัดครัง้ นี้ ตาปลาทางจิตวิญญาณจะไม่โผล่กลับมาทิม่ แทงใจอีกแน่ จากนัน้ ก็เริม่ ต้นด้วยการรักษาศีลให้มนั่ คง ใหม่ๆอาจไขว้เขว ไม่มั่นใจ ด่างพร้อย ล้มลุกคลุกคลานบ้างก็ไม่เป็นไร ควรทำ�บุญ เบื้องต้นเสริมเข้าไปด้วย เช่น มีเมตตากรุณาต่อผู้อื่น (ช่วยเสริมศีล ข้อ ๑ คือ เว้นจาการ ฆ่าสัตว์) แบ่งปันเกื้อกูลช่วยเหลือผู้อื่น (ช่วยเสริมศีล ข้อ ๒ คือ เว้น จากการลักทรัพย์) มั่นคงต่อคู่ครองของตน ไม่ปล่อยใจให้เสี่ยงต่อการผิดศีล ข้อกาเมฯ (ช่วยเสริมศีลข้อ ๓ คือ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม) มีสัจจะต่อตนเอง และคนรอบข้าง ไม่โอนเอนอ่อนไหวไป ตามอำ�นาจของโลภะ โทสะ (ช่วยเสริมศีลข้อ ๔ คือ เว้นจากการ พูดเท็จ) งดเว้นการคบค้าสมาคมกับคนทีช่ อบเทีย่ วเตร่เฮฮา อันอาจ ทำ�ให้ตนต้องจมปลักแห่งความมึนเมาได้ (ช่วยเสริมศีลข้อ ๕ คือ


24

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

เว้นจากการดื่มสุราเมรัย) ใจจะเริ่มเข้มแข็งขึ้นเอง จนในที่สุดความไม่เบียดเบียนตน และผู้อื่นจะปรากฏขึ้นมาจนเป็นปกติ จากนั้น การทำ�ความดีเช่นการรักษาศีลนี้ ช่วยทำ�ให้ไม่ เดือดร้อนใจๆ ก็จะยิ่งมั่นคงในความดีมากขึ้น จนตั้งมั่นอยู่ใน อารมณ์อันเป็นกุศลได้ง่าย ไม่แกว่งไกวไปตามกระแสของอารมณ์ ที่เข้ามารบกวน เมือ่ พลังภายในชนิดนีอ้ ยูต่ วั แล้ว(สมาธิ) ใจทีฟ่ งุ้ ซ่านซัดส่าย จะคลายตัวลง จงย้อนกลับมาดูอาการของตาปลาทางจิตวิญญาณ ทันที เมื่อใจเป็นปกติ ตั้งมั่น จะเริ่มรู้ทันอารมณ์ (ปัญญา) ว่าที่ แท้แล้วอารมณ์นนั้ ก็สกั แต่วา่ เป็นปรากฏการณ์ธรรมดาอย่างหนึง่ เหมื อ นแผ่ น ดิ น ไหว ภู เ ขาไฟระเบิ ด คลื่ น สึ น ามิ พายุ ทอร์นาโด ฟ้าผ่า ก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ธรรมชาติ ธรรมดาๆ อย่างหนึ่งเท่านั้น มันอยากเกิดมันก็เกิด เกิดแล้วก็หายไปเหมือน ไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ที่เรารู้สึกว่ามันน่ากลัว ร้ายแรง เป็นมหันตภัย ก็เพราะ เราไม่ชอบมันเท่านั้นเอง เมื่ อ เห็ น ว่ า มั น เป็ น เช่ น นั้ น เองอยู่ บ่ อ ยๆ จิ ต จะรู้ เ ท่ า ทั น


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

25

อารมณ์ จนวางความชอบความชังต่ออารมณ์เหล่านั้นลงไป ศรัทธา ศีล สมาธิ ปัญญา จึงเป็นเครื่องมือผ่าตัด ที่ไม่ จำ�เป็นต้องลงมือผ่าแต่อย่างใด แค่คว้าเครื่องมือขึ้นมา ตาปลาทางจิตวิญญาณก็หายเป็น ปลิดทิ้ง แม้มันจะย้อนกลับมาทิ่มแทงใจให้เจ็บปวดในยามที่เผลอ วางเครื่องมือ แต่รับรองได้ว่า มันจะเจ็บน้อยกว่าเดิมแน่ เมือ่ ศรัทธา ศีล สมาธิ ปัญญาเกิดถีเ่ ข้า บ่อยเข้า ก็จะชัดเจน ขึ้นมาในใจเองว่า ตีนและตาปลา เป็นเพียงภาพลวงตา อันเกิดจากจิตไปสร้าง ขึ้นมาเท่านั้นเอง และจะสัมผัสรับรู้ได้ว่า เมื่อตีนไม่มี ตาปลาจักมีแต่ที่ไหน จึงไม่จำ�เป็นต้องลงมือผ่าแต่อย่างใด นายแดง เดินไปในซอยมืด ชาวบ้านละแวกนี้มักเล่าให้ฟัง อยู่เสมอว่า แถวนี้มีงูเห่าอยู่มาก ขณะที่เขากำ�ลังวิตกอยู่นั่นเอง อาการเจ็บแปลบก็เกิดขึ้นที่หลังเท้า เขาตกใจสุดขีด คิดว่าคงโดนงูเห่ากัดแน่นอน จึงรีบวิ่งหนี


26

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

จากจุดเกิดเหตุนั้นอย่างไม่คิดชีวิต วิ่งไปได้ประมาณ ๑๐๐ เมตร พบนายดำ�เดินมาในระหว่าง ทางพร้อมไฟฉาย เขาดีใจมากวิ่งเข้าไปขอความช่วยเหลือ แต่พอ เหลือบแลเห็นรอยแผลที่หลังเท้า เขาถึงกับทรุดฮวบ เหงื่อกาฬ โทรมตัว รู้สึกได้ถึงอาการของพิษงูที่แล่นพล่านไปทั่วร่างกาย เมื่อนายดำ�สอบถามอย่างเป็นห่วง เขาจึงระล่ำ�ระลักเล่า เรือ่ งราวให้ฟงั นายดำ�ขอให้เขาพาย้อนกลับไปทีเ่ ดิมเพือ่ ดูให้แน่ใจ ว่าเป็นงูอะไรแน่ จะได้ช่วยเหลืออย่างถูกต้อง แต่เมื่อถึงจุดเกิดเหตุ สิ่งที่พบก็คือกะลามะพร้าวแตก มีรูป ทรงดุจเสี้ยวจันทร์วางหงายอยู่ มีรอยเลือดติดอยู่ที่ปลายแหลม นั้น เขาจึงถึงบางอ้อว่า ที่แท้แล้วกะลานี่เองที่ทิ่มหลังเท้า หาใช่ งูเห่าแต่ประการใด อาการไร้เรีย่ วแรง และความรูส้ กึ ว่าพิษงูแล่นไปทัว่ ร่าง หาย วับไปกับตา ที่แท้แล้ว เป็นเพียงอาการตาปลาทางจิตวิญญาณนั่นเอง


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

27


28

พระมหาวิเชียร ชินวํโส


29

แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

โลกนี้ไม่เคยสมบูรณ์แบบ สมบูรณ์จอดรถแวะซือ้ ทุเรียนหมอนทองตามร้านทีเ่ รียงราย อยู่ข้างทาง เมื่อถึงบ้านเขาแกะทุเรียนรับประทานอย่างเอร็ดอร่อย หลังจากที่อยากรับประทานมานาน จัดการกับทุเรียนลูกนั้นเสร็จแล้ว สมบูรณ์ก็บ่นกับตนเอง อย่างไม่พอใจ “โง่จริงๆ เราเนีย่ กิโลตัง้ หลายบาท ได้กนิ เนือ้ ทุเรียนนิดเดียว เอง ไม่รู้จะซื้อเปลือกมาด้วยทำ�ไม หนักตาชั่งเสียเปล่า !!! ” ชีวิตก็เป็นอย่างนั้น สำ�นวนไทยใช้คำ�ว่า “อย่าเลือกที่รักอย่า มักที่ชัง” แปลว่า อย่าลำ�เอียงๆ อย่างไร? จะเอาสุข ไม่เอาทุกข์ จะเอาดี ไม่เอาชั่ว


30

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

จะเอาสรรเสริญ ไม่เอานินทา จะเอาได้ ไม่เอาเสีย จะเอาสงบ ไม่เอาฟุ้งซ่าน จะเอาสามีที่หล่อ ไม่เจ้าชู้ จะเอาภรรยาที่ชอบเอาใจ ไม่ใช้อารมณ์ จะเอาลูกที่เก่ง ดี ไม่เอาแต่ใจตนเอง จะเอาลูกน้องที่ฉลาด ซื่อสัตย์ ไม่เจ้าเล่ห์เพทุบาย ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ได้อย่างหนึ่งมักเสียอย่างหนึ่งเสมอ คุณซือ้ เฉพาะเนือ้ ทุเรียนโดยไม่เอาเปลือกก็ได้ และแน่นอนว่า คุณต้องจ่ายแพงขึ้น คุณจะเอาสุขมากๆก็ได้ แต่คุณมีค่าใช้จ่าย คือ ทุกข์มากๆ จะตามมา นี่แหละธรรมดาของชีวิต และตรงกันข้าม หลังพายุฝน ฟ้ามักสดใส หลังการพลาดพลัง้ มักได้ความฉลาดในการใช้ชวี ติ เป็นรางวัล


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

31

ตอบแทน หลังจากอกหัก จะรักอย่างมีปัญญามากขึ้น หลังความเจ็บป่วย ย่อมเข้าใจถึงความห่วงใยและความรัก อันบริสุทธิ์ของคนรอบข้าง หลังการสอบตก จะรู้ว่าชีวิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับคะแนนที่สังคม คาดหวัง หลังใบไม้ร่วงหล่น ดอกสวยและใบอ่อน มักผลิบานขึ้นมา แทนที่เสมอ ในสุขมักมีทุกข์ และในทุกข์มักมีสุขเช่นนั้นเอง เพราะโลกนี้ไม่เคยสมบูรณ์แบบ มีแค่ “เกือบสมบูรณ์แบบเท่านั้น” โยมมักบ่นให้ฟังถึงความบกพร่องของพระ หรือแม่ชี ที่พัก อยู่ในวัด “พระรูปนี้ เห็นแก่ตัวจังเลย ไม่ค่อยช่วยงานส่วนรวม” “แม่ชีองค์นี้หน้างอ ไม่มีมนุษย์สัมพันธ์” ผู้เขียนได้แต่บอกว่า “ถ้าเขาดีกว่านี้ ฉลาดกว่านี้ เขาก็คงไม่มาอยู่ที่นี่หรอก ดีแล้ว ที่เขาเป็นอย่างนั้น อย่ามัวแต่ดูคนอื่น หันมาดูตัวเองดีกว่ามั้ง”


32

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

คนส่วนมากมีความฝันถึงชีวิตที่สมบูรณ์แบบ มีครอบครัวอบอุ่น มีสุขภาพแข็งแรง มีการงานก้าวหน้า มีการเงินคล่องตัว มีความรักราบรื่น มีเพื่อนพ้องที่ดี คุณอาจมีสิ่งที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่รับรองได้ว่ามันจะไม่ เกิดขึ้นพร้อมกันอย่างแน่นอน บางคนอาจบอกว่า การค้นพบตัวตน ได้ทำ�ในสิ่งที่รัก ชีวิตก็สมบูรณ์แบบแล้ว นั่นคือความสมบูรณ์แบบเฉพาะของคนๆ เดียว ในระนาบ เดียว ในเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น หากคุณอยากเป็นคนที่สมบูรณ์ (Perfectionist) คุณจะเป็น อย่างไร? ๑.ทนไม่ได้กับความผิดพลาดทุกเรื่อง ๒.เรียนหนัก ทำ�งานหนัก เครียดหนัก เคี่ยวเข็ญตนเองมาก เกินไป เพราะเป้าหมายในชีวิตสูงเกินไป ๓.รับไม่ได้กับความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ของตนเอง ของผู้ อื่น และคำ�วิจารณ์ของผู้อื่น ๔.มักจุกจิกจูจ้ แ้ี ละเข้มงวดกับตนและทุกคนทีม่ ปี ฏิสมั พันธ์ดว้ ย


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

33

๕.ตำ�หนิความผิดพลาดของตนเอง ไม่มีความสุข เดียวดาย แยกตัวออกจากสังคม หรืออาจเป็นเพราะคนอื่นไม่อยากอยู่ใกล้ ๖.ไม่กล้าขอความช่วยเหลือเพือ่ แก้ไขข้อผิดพลาด เพราะกลัว ว่าคนอื่นจะเห็น “ความไม่สมบูรณ์แบบของตน” ๗.เสี่ยงต่ออาการซึมเศร้า ติดสุรา กลัวสังคม โรคหัวใจขาด เลือด โรคย้ำ�คิดย้ำ�ทำ� ฆ่าตัวตาย โรคกลัวอ้วน ฯลฯ เพียงยอมรับสิง่ ที่ “เกือบจะสมบูรณ์แบบ” ให้ได้ แล้วชีวติ จะ ง่ายขึ้นเยอะ อาจารย์เซนชื่อ “บันเคอิ” มีลูกศิษย์มาก และแน่นอนว่ามี ทั้งดีและชั่ว ศิ ษ ย์ ค นหนึ่ ง ถู ก จั บ ได้ ว่ า เป็ น ขโมย พวกลู ก ศิ ษ ย์ เ สนอให้ ท่านบันเคอิขับไล่ศิษย์ผู้นั้นไปเสียจากสำ�นัก แต่ท่านกลับนิ่งเฉย ต่อมา ศิษย์ผนู้ นั้ ถูกจับอีกในข้อหาขโมยเช่นเดิม แต่ทา่ นก็นงิ่ เฉย จึงทำ�ให้ศษิ ย์คนอืน่ ๆ โกรธ จึงได้รวมตัวกันขอร้องอาจารย์ให้ขบั ไล่ศิษย์หัวขโมยออกไป ไม่เช่นนั้นศิษย์ที่เหลือ จะเป็นฝ่ายไปเสียเอง เมื่ออาจารย์บันเคอิได้ฟังดังนั้น ท่านได้เรียกศิษย์ทุกคน ประชุมต่อหน้าท่าน “พวกเจ้าเป็นนักบวชทีเ่ ฉลียวฉลาด” ท่านกล่าวกับพวกศิษย์


34

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

“พวกเจ้ารู้ว่าอะไรถูก อะไรผิด พวกเจ้าอาจจะไปที่ไหนก็ได้ที่ เจ้าต้องการ แต่เจ้าหัวขโมยผู้น่าสงสารผู้นี้เล่า ไม่รู้แม้กระทั่งจะ แยกแยะความถูกออกจากความผิด ใครจะสอนเขาล่ะ ถ้าอาจารย์ไม่ สอนเขา อาจารย์จะให้เขาอยู่ที่นี่ต่อไป แม้ว่าพวกเจ้าทั้งหมดจะจาก เราไป” น้�ำ ตาของศิษย์ขขี้ โมยไหลพรัง่ พรูออกมาท่วมท้นใบหน้าชำ�ระ ล้างสันดานขี้ขโมยออกไปจนหมดสิ้น


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

35


36

พระมหาวิเชียร ชินวํโส


37

แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

มารขั้นเทพ

พระยามาร เป็นเทพยิ่งใหญ่ระดับสูงสุดแห่งชั้นกามาวจร หรือเทวดาชั้นที่ ๖ ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตดี ท่านชื่อว่าวัสสวัตดี เทวปุตตมาร คนไทยมักเรียกว่าพระยามาร ท่านเป็นมารทีห่ ล่อขัน้ เทพแน่นอน เพราะท่านเป็นทั้งเทพทั้งมาร คำ�ว่ามาร แปลว่า นิมิตแห่งความขัดข้อง คอยขัดขวาง เหนี่ยวรั้งคนไว้ มิให้พ้นจากอำ�นาจครอบงำ�ของตน ให้ห่วงหน้า พะวงหลังติดอยูใ่ นกามสุข ไม่อาจเสียสละออกไปบำ�เพ็ญคุณความ ดีที่ยิ่งใหญ่ได้ ซึ่งมารตนนี้เคยมาเฝ้าพระพุทธเจ้าหลายครั้ง พระองค์ได้ เล่าให้พระอานนท์ฟัง ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ ทีฆนิกาย มหาวรรค สรุปว่า


38

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

สมัยที่พระพุทธเจ้ายังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ กำ�ลังหนีออก จากเมืองกบิลพัสดุ์เพื่อบรรพชา มารชื่อว่าวัสสวัตดีมาร ได้เข้ามา ห้ามมิให้ออกมหาภิเนษกรมณ์ แต่พระโพธิสัตว์ได้ปฏิเสธและขับ ไล่มารไปเสีย ต่อมา เมื่อพระโพธิสัตว์ประทับนั่งบนโพธิบัลลังก์ ก่อนจะ ตรัสรู้ พระยามารได้นำ�เสนามารไปรบกวน แต่ในที่สุดก็พ่ายแพ้แก่ ทศบารมีของพระโพธิสัตว์ อีกครั้งหนึ่ง สมัยที่ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ณ ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำ�เนรัญชรา ที่อุรุเวลาเสนานิคม ครัง้ นัน้ พระยามารได้สง่ ธิดา ๓ องค์ มารังควานพระพุทธเจ้า คือนางตัณหา (ความอยาก) นางราคา (ความติดอยูใ่ นอารมณ์อนั น่าชอบใจ) นางอรดี (ความยินดีในอารมณ์อันน่ารัก) แต่ไม่สำ�เร็จ จึงได้เข้าไปหาพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับแล้วนิมนต์ให้ปรินิพพาน พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบว่า “ดูกรมารผูม้ บี าป ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผูเ้ ป็นสาวก ของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับการแนะนำ� ไม่แกล้วกล้า ไม่ เป็นพหูสตู ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบตั ธิ รรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบตั ิ ชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำ�แนก กระทำ�ให้ง่ายไม่ได้ ยัง


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ แก้ไขคำ�กล่าวหาของคนอืน่ ทีบ่ งั เกิดขึน้ ให้ เรียบร้อยไม่ได้ เราจักยังไม่ปรินิพพาน” สมัยสุดท้าย พระยามาร ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ปาวาล เจดีย์ แล้วได้อ้างถึงสัญญาลูกผู้ชายกับพระองค์ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพาน ในบัดนีเ้ ถิด ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ก็บดั นีพ้ รหมจรรย์(ศาสนา) ของ พระผู้มีพระภาคสมบูรณ์แล้ว กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว ขอพระ ผู้มีพระภาค จงปรินิพพานในบัดนี้เถิด” พระองค์ได้ตรัสตอบว่า “ดูกรมารผูม้ บี าป ท่านจงมีความขวนขวายน้อยเถิด ตถาคต จักปรินิพพานในไม่ช้า โดยล่วงไปอีกสามเดือนตั้งแต่บัดนี้ไป” มีกล่าวไว้อีกหลายแห่ง ที่พระยามารรบกวนเหล่าพุทธ บริษัท เพื่อไม่ให้บรรลุธรรม แต่ก็พ่ายแพ้ไปเสียแทบทุกครั้ง ท่านจะเชื่อหรือไม่ ก็มิใช่ประเด็นสำ�คัญ เพราะในคัมภีร์ วิสุทธิมรรค ยังกล่าวถึงมารอีก ๔ อย่าง คือ ๑. กิเลสมาร กิเลสเป็นมารเพราะเป็นตัวกำ�จัดและขัดขวาง ความดี ทำ�ให้สัตว์ประสบความพินาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต

39


40

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

๒. ขันธมาร หรือกายใจเป็นมาร เพราะเป็นสภาพทีม่ ปี จั จัย ปรุงแต่ง มีความขัดแย้งกันเองอยู่ภายใน ไม่มั่นคงทนนาน เป็น ภาระในการบริหารจัดการ ทั้งเสื่อมโทรมไปเพราะความแก่ เจ็บ ตายเป็นต้น ล้วนลิดรอนโอกาสมิให้บคุ คลทำ�กิจหน้าทีบ่ �ำ เพ็ญคุณ ความดีได้ ๓. อภิสังขารมาร คือ บาป บุญ รูปฌานและอรูปฌานเป็น มาร เพราะเป็นตัวปรุงแต่งกรรม นำ�ให้เกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นต้น ขัดขวางมิให้หลุดพ้นไปจากวัฏฏสงสาร ๔. มัจจุมาร ความตายเป็นมาร เพราะเป็นตัวการตัดโอกาส ที่จะก้าวหน้าต่อไปในคุณความดีทั้งหลาย ที่ยกมาเสียยืดยาวนี้ ก็เพื่อที่จะชี้ให้เห็นในลักษณะที่เป็น ธรรมาธิษฐาน หมายถึงการยกหลักธรรม หรือสิง่ ทีเ่ ป็นนามธรรม ล้วนๆ ขึ้นมาอธิบายว่า เทพกับมารนั้นคือสิ่งเดียวกัน เทพ คือ กุศลธรรม มาร คือ อกุศลธรรม เทพ คือ สุข มาร คือ ทุกข์ เทพ คือ ความยินดี


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

41

มาร คือ ความยินร้าย เทพ คือ ความสำ�เร็จของชีวิต มาร คือ อุปสรรคของชีวิต เทพ คือ ความมีสุขภาพดี มาร คือ ความเจ็บไข้ จงทิ้งทั้งเทพและมาร เพราะทั้งเทพและมารล้วนก่อให้เกิดภาระแก่จิตใจ เทพและมารชนิดที่เป็นนามธรรมนี้ เปิดฉากแสดงบนเวที ของจิตแห่งสัตว์ทั้งหลายอยู่เสมอ บางครั้งก็แสนดี บางทีแสนชั่วร้าย ทีแ่ ท้แล้วโบราณบัณฑิตทุกภูมภิ าคในโลกนี้ ท่านเข้าใจเรือ่ ง นีก้ นั ดีอยูแ่ ล้ว บางทีท่ า่ นจึงยกสิง่ ทีเ่ ป็นบุคลาธิษฐานขึน้ มาอธิบาย เช่น พระเจ้า กับ ซาตาน พระอัลเลาะห์ กับ ไซตอน หยิน กับ หยาง


42

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

พระราม กับ ทศกัณฑ์ เป็นต้น ในคัมภีรอ์ นาคตวงศ์ (๑๐๐-๑๐๔) เป็นผลงานของท่านพระ กัสสปเถระชาวเอเชียใต้ มีชีวิตอยู่ในช่วงประมาณ พ.ศ.๑๗๐๓๑๗๗๓ ได้รจนาว่า พระพุทธเจ้าตรัสเล่าถึงชีวประวัติของผู้จะมา ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต และกล่าวถึงพระยามารไว้ว่า ในอดีตชาติ พระธรรมสามีพุทธเจ้า เสวยพระชาติเป็นมหา เสนาบดีนามว่า “โพธิ” ในสมัยของพระกัสสกัสสปพุทธเจ้า ณ กาลครัง้ พระกัสสปพุทธเจ้าทรงเสวยผลสมบัติ ประทับอยู่ ณ พระ เชตวัน พระเจ้ากิงกิสสมหาราช ทรงทราบป่าวประกาศว่า ถ้าผู้ใด ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าก่อน ผูน้ นั้ จะได้รบั ราชทัณฑ์ แล้วทรงให้ ทหารอารักขาล้อมพระเชตวันไว้ โพธิมหาเสนาบดีปรารถนาจะถวายทานแด่พระพุทธเจ้าก่อน จึงนำ�ผ้าและภัตตาหารมาสูพ่ ระเชตวัน ถูกอำ�มาตย์ราชบุรษุ จับนำ� ตัวไปเฝ้าพระกิงกิสสมหาราชๆ ทรงพิโรธรับสั่งให้นำ�ตัวโพธิมหา เสนาบดีไปประหารที่ป่าช้า พระกัสสปพุทธเจ้าทรงทราบด้วยทิพยจักษุญาณ จึงเสด็จ มาแสดงธรรมแก่โพธิมหาเสนาบดีและท่านได้ตั้งความปรารถนา ถวายชีวิตเป็นทานแด่พระพุทธเจ้า


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

43

พระกัสสปพุทธเจ้า ได้ตรัสพยากรณ์ว่า โพธิมหาเสนาบดี จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระนามว่าพระธรรมสามี แปลว่า ผู้เป็นเจ้าของแห่งธรรม ท่านโพธิมหาเสนาบดีนี่เอง ที่ต่อมาได้เกิดเป็นวสวัตดีมาร แท้จริงท่านเป็นนิยตโพธิสตั ว์(ผูท้ จี่ ะได้ตรัสรูเ้ ป็นพระพุทธเจ้าอย่าง แน่นอน)องค์หนึง่ เพราะได้รบั การพยากรณ์จากพระกัสสปพุทธเจ้า แล้ว แต่ด้วยความริษยาพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าได้ตรัสรู้ ก่อนตน จึงได้ตามรังควานรบกวนพระพุทธเจ้า ถ้ า คิ ด ในแง่ บ วกแล้ ว จะเห็ น ได้ ว่ า หากไม่ มี พ ระยามาร พระคุณของพระพุทธเจ้าก็ไม่เด่นชัด ต่อมาหลังพุทธปรินพิ พาน ประมาณ พ.ศ. ๒๑๘ พระยามาร ได้รบกวนงานฉลองพระบรมสารีรกิ ธาตุของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ถกู พระอุปคุตเถระเข้าฌานสมาบัตทิ รมานทิฐมิ านะ โดยการนำ� หมาเน่ามาแขวนคอและจับมัดไว้ที่เขาพระสุเมรุ ภายหลังจึงระลึก ถึงความปรารถนาพุทธภูมิของตนได้ จะเป็นมารขั้นเทพ หรือจะเป็นเทพขั้นมาร


44

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ก็ยังทุกข์เพราะความริษยา อาฆาตอยู่นั่นเอง วิธีการที่จะทำ�ให้พ้นจากความเป็นเทพหรือมารได้นั้น จึงมี อยู่ประการเดียว นั่นคือแสวงหาความเป็นพุทธะของตนให้พบ คือความสะอาด สว่าง สงบ ที่มีอยู่แล้วภายในจิตของตน ในอนาคต พระยาวสวัตดีเทวปุตตมาร จะพ้นจากภาวะแห่ง เทพและมาร เพราะวันหนึ่งข้างหน้า เมื่อตรัสรู้เป็นพระธรรมสามี พุทธเจ้าแล้ว ท่านย่อมพ้นจากการเกิด การตาย และความทุกข์ ทั้งปวงอย่างแน่นอน


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

45


46

พระมหาวิเชียร ชินวํโส


47

แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

พอดี ความพอดี ดูจะเป็นเรื่องที่สรุปไม่ได้ว่าอยู่ตรงไหน เพราะ “พอดี” ของแต่ละคนมักไม่เท่ากัน ต่างมีความคิด ความเห็น ประสบการณ์ชีวิต การรับรู้แตกต่างกัน “พอดี” ในที่นี้ จึงขอแนะนำ�โดยรวม เพื่อที่ทุกท่านจะ สามารถนำ�ไปใช้ได้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ว่า ภิกษุทั้งหลาย ทางสุดโต่ง ๒ ประการ บรรพชิตไม่ควรเสพ ทางสุดโต่ง ๒ ประการคืออะไรบ้าง ได้แก่ ๑. กามสุขัลลิกานุโยค (การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกาม ทั้งหลาย) เป็นสิ่งทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ ของผู้ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๒. อัตตกิลมถานุโยค (การประกอบความเดือดร้อนแก่ตน) ทำ�ให้เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของผู้ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์


48

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

อย่างแรกก็สุดโต่งไปทางเสพติดวัตถุจนเกินไป แม้มนุษย์ จำ�ต้องอาศัยกามคุณ (คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันน่า ปรารถนา น่าพอใจ) ในการดำ�รงอยูก่ ต็ าม แต่ไม่ควรลุม่ หลง มัวเมา จนโงหัวไม่ขนึ้ นับว่าเป็นความสุดโต่งของฆราวาสญาติโยมโดยตรง อย่างที่สองก็สุดโต่งไปทางทรมานตนเอง เช่นอดอาหาร อดนอน นั่งข้ามวันข้ามคืน งดพูด บังคับจิต บังคับกาย กวดขัน ตนเองมากเกินไป เพราะคิดว่าจะช่วยให้พ้นทุกข์ หากเว้นจากศีล สมาธิ ปัญญาเสียแล้ว ก็นับว่าเป็นความสุดโต่งของนักบวช หรือ ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย พระบางรูปก็อ้างว่า ต้องประพฤติธุดงควัตรเท่านั้น จึงจะ พ้นทุกข์ แต่อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังคับให้พระต้อง ประพฤติธดุ งค์ ผูใ้ ดปรารถนาก็ท�ำ ได้ แต่ถา้ ไม่ปรารถนาก็ไม่จ�ำ เป็น เพราะข้อวัตรบางประการก็ “พอดี” สำ�หรับบางท่านเท่านั้น ไม่ใช่ ทุกท่าน บางสำ�นัก แค่ธุดงควัตรยังไม่พอที่จะดูแลศิษย์ท่ีมีอยู่เป็น จำ�นวนมาก จึงบัญญัติข้อวัตรของสำ�นักขึ้นมาอีก ท่านทำ�เพื่อ ควบคุมกิเลสของศิษย์ให้ดูแลง่าย แต่คงมิใช่เพื่อให้ดูดีกว่าสำ�นัก อืน่ เพราะทีป่ ฏิบตั เิ คร่งๆ นัน้ เพือ่ “อวด” เรียกร้องความนับถือและ ลาภสักการะจากชาวบ้าน หรือเพื่อ “ออก” จากทุกข์กันแน่


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

49

ลองมาดูความพอดี หรือที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา ทาง สายกลาง” หรือมรรค ๘ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีกว่า เพราะ ตลอด ๔๕ พรรษา พระองค์ทรงแสดงธรรมไว้มากมาย แต่จะมาก แค่ไหน ก็สรุปลงได้ในมรรค ๘ นี้ทั้งสิ้น ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นอย่างถูกต้อง คือ เห็นอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ได้แก่การเข้าใจอย่างถูกต้องว่า อะไร คือ ปัญหาชีวิต และจะดับปัญหาชีวิตนั้นได้อย่างไร เพราะถ้าเข้าใจ สมมุตฐิ านของปัญหานัน้ ผิดเสียแล้ว ก็แก้ปญ ั หาอะไรไม่ได้ เหมือน ท้องเสีย แต่ดันไปกินยาแก้ปวดหัวฉะนั้น ถ้าพิจารณาด้วยปัญญาธรรมดาๆ ก็จะเข้าใจได้ว่า ความ เห็นชอบนั้นเป็นเรื่องที่น้อมเข้าภายใน เพราะอริยสัจเกิดขึ้นใน ปัจจุบันขณะเท่านั้น หากส่งจิตออกไปเที่ยวจับผิดคนอื่น ก็หลุด จากปัจจุบันขณะ ไปอยู่กับอดีตและอนาคต ซึ่งไม่มีอยู่จริง ส่วนความเห็นเรื่องอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจ การเมือง ล้วนแต่ เอาไว้อวด หรือแสดงข่มคนอื่น ไม่ได้เป็นไปเพื่อการแก้ทุกข์ใดๆ รัง แต่จะเพิ่มทุกข์ให้ตนเองและคนรอบข้างเท่านั้นเอง สรุปง่ายๆ คือ มีความเห็นที่พอดี ไม่เข้าข้างตนเอง ไม่เข้า ข้างคนอืน่ แต่เข้าข้างสัจธรรม คือความเป็นจริงแห่งทุกข์ และการ ดับทุกข์นั่นเอง


50

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำ�ริชอบ คือ ดำ�ริหรือคิดออกจาก สิ่งที่ผูกพันให้เป็นทุกข์ คิดในทางไม่พยาบาทมุ่งร้าย คิดในทางไม่ เบียดเบียน หลายคนอ่านแล้วอาจจะคิดว่า “จะให้ออกบวชหรือไง” แท้จริงแล้ว นี่เป็นเพียงความคิด เพราะการกระทำ�ไม่ว่าดีหรือชั่ว ล้วนเกิดจากความคิดทั้งนั้น การคิดแต่เรื่องละวาง ไม่ทะยานอยาก ไม่แค้นเคืองใครนั้น ช่วยทำ�ให้จติ ใจอ่อนโยน ปลอดโปร่งโล่งเบา ซึง่ เป็นจุดเริม่ ต้นแห่ง การพูด และการกระทำ�ที่ดีงามต่อไป ข้อนี้ ก็คือ ความคิดที่พอดี เพราะถ้ามากกว่านี้ ก็กลายเป็น ความคิดที่ก่อให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาในใจนั่นเอง ๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ คือ เว้นจากการพูดเท็จ เว้น จากการพูดส่อเสียดให้แตกร้าวกัน เว้นจากพูดคำ�หยาบคาย เว้น จากการพูดเพ้อเจ้อไม่เป็นประโยชน์ สังเกตดูเถิด คนพูดมาก มักจะลงท้ายด้วยการโกหกหลอก ลวง ส่อเสียด หยาบคาย เพ้อเจ้อ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ การพูดที่พอดี จึงช่วยให้ผู้พูดไม่สร้างบาปทางวจีกรรม ไม่ ต้องเดือดร้อนในภายหลังเพราะคำ�พูดของตนเอง


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

51

๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ คือ เว้นจากการฆ่า การ ทรมาน เว้นจากการลัก ฉ้อ คอรัปชั่น โกงกิน และเว้นจากการ ประพฤติผิดในกาม การงานอันใดที่เบียดเบียนคนอื่น แน่นอนว่านั่นคือการ เบียดเบียนตนเอง เพราะอย่างน้อยก็กอ่ ให้เกิดความหยาบกระด้าง ขึ้นมาในใจ จนคุ้นชินต่อการทำ�ชั่วโดยไม่รู้สึกรู้สมอันใด บางคนถึง กับพูดว่า “ใครๆ เขาก็ทำ�(ชั่ว)กัน” การงานที่พอดี จึงช่วยให้เราไม่เหน็ดเหนื่อย เคร่งเครียด โลภโมโทสันจนเกินเหตุ เงินอาจนำ�มาซึ่งความสะดวกสบาย แต่ ไม่ใช่ความสุขแน่ หากบ้างานจนเกินไป ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากมิจฉาอาชีวะ (อาชีพผิด) ดำ�เนินชีวิตด้วยอาชีพที่ชอบ คือการประกอบอาชีพที่สุจริต บางที่ท่านเน้นไปที่การงด เว้นจากการค้าขายที่ผิด หรือไม่ชอบธรรม หมายถึง บุคคลไม่ควร ค้าขายหรือเกีย่ วข้องกับสิง่ เหล่านี้ คือค้าขายอาวุธ เครือ่ งดองของ เมา ยาเสพติด ยาพิษ ค้ามนุษย์ และค้าขายสัตว์ ซึ่งถือว่าเป็น อันตรายต่อเพือ่ นมนุษย์ ต่อสรรพสัตว์และสภาพแวดล้อม เป็นการ


52

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ประกอบอาชีพที่มีเกียรติ ก่อให้เกิดความสุขสงบแก่ตนเองและ สังคม ความพอดีของข้อนี้ จึงอยูท่ กี่ ารใช้สอยอย่างพอดี ไม่ผลาญ พล่าทรัพยากรของโลก อย่างที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ๖. สัมมาวายามะ เพียรพยายามชอบ คือเพียรระวังบาป ที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรทำ�กุศลที่ ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อมไป ความเพียรชนิดนี้ เป็นความเพียรภายใน ที่ช่วยให้ความ เพียรภายนอกสมบูรณ์ เพราะทำ�ให้เกิดความสุขในปัจจุบันทันที แม้จะทำ�งานการอันใดก็อย่าเพียรแค่เพียงภายนอก ไม่งนั้ จะกลาย เป็นทำ�งานด้วยความทุกข์ สร้างความเพียรอย่างนี้ขึ้นมาให้ได้ จึงเป็นความเพียรพอดี ที่ช่วยสร้างความสมดุลในการ ดำ�เนินชีวิต ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกไปในที่ตั้งของสติ เรียก ว่า สติปัฏฐาน ๔ คือ กาย(ลมหายใจ อิริยาบถน้อยใหญ่ ฯ) เวทนา (สุข ทุกข์ เฉยๆ ที่เกิดกับกายใจ) จิต(อาการหรือพฤติกรรมของ จิต เช่น โกรธ สงบ ปีติ) ธรรม (อาการของรูป-นามทั้งหมด)


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

53

สติธรรมดาทีก่ ลั ยาณปุถชุ นทัง้ หลายใช้กนั อยูก่ ช็ ว่ ยให้สงั คม สงบสุขได้แล้ว แต่นี่คือสติที่ช่วยระงับดับทุกข์ อันเกิดจากภายใน กาย-ใจของตนเอง ความพอดีชนิดนี้ ช่วยให้รสู้ กึ ตัวมากขึน้ จนไม่หลงไปติดอยู่ กับความยึดถือว่ากายใจคือของเรา พระพุทธเจ้าใช้คำ�ว่า “เพื่อละ ความยินดี-ยินร้ายในโลก(ก็คอื กายกับใจ)เสียได้” เมือ่ ไม่หลงยึดถือ ว่ามีอตั ตา มานะทิฐแิ ละกิเลสทุกประเภทก็ไม่สามารถเกิดได้ ความ ทุกข์จะมีได้อย่างไร ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ คือ ปรับใจให้ตั้งมั่นแน่วแน่ ใน อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง สัมมาสมาธิ ก่อให้เกิดความสุขที่เงินซื้อไม่ได้ คือฌานสุข ผู้ที่มีความสุขระดับนี้ ย่อมสะอิดสะเอียน เบื่อหน่ายต่อความสุขที่ เรียกว่า “กามสุข” คือ กิน กาม เกียรติทั้งหลาย จิตใจจึงมั่นคง ไม่ อยากข้องเกีย่ วกับความรัก โลภ โกรธ หลง เพราะข่มนิวรณ์ทงั้ หมด ไว้แล้ว นีค่ อื อาการทีจ่ ติ ตัง้ มัน่ อย่างพอดี ช่วยเป็นฐานให้เกิดการรู้ โลกตามความเป็นจริงได้โดยง่าย


54

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

พระอรรถกถาจารย์ท่านสรุปมรรค ๘ ไว้ในไตรสิกขาว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ คือ สีลสิกขา หรือศีลในองค์มรรค เป็นการพัฒนาจริยธรรม ได้แก่การพัฒนา พฤติกรรม ให้เหมาะสมในการดำ�เนินชีวิตในสังคม ซึ่งก็คือการ เพิ่มพูนเมตตาและกรุณาให้เกิดขึ้นในจิตนั่นเอง สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คือจิตตสิกขา หรือ สมาธิในองค์มรรค เป็นการพัฒนาจิต ให้มั่นคง มีความสุข สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ คือปัญญาสิกขา หรือปัญญาใน องค์มรรค เป็นการพัฒนาปัญญา ให้รู้ตามความเป็นจริง ศีลก่อให้เกิดความไม่เดือนร้อนใจ จึงก่อให้เกิดสมาธิได้งา่ ย จิตที่ตั้งมั่น ไม่กวัดแกว่งหวั่นไหว ก็ทำ�ให้การพิจารณาธรรมจนรู้ เท่าทันอารมณ์ต่างๆ ซึ่งก็คือปัญญาได้โดยง่าย ศีล คือ อาการทีจ่ ติ เป็นปกติ จึงไม่กอ่ ให้เกิดการพูดผิด และ ทำ�ผิด สมาธิ คือ อาการทีจ่ ติ ตัง้ มัน่ ไม่หวัน่ ไหวไปตามปรากฏการณ์ หรืออารมณ์ต่างๆ ที่กระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ปัญญา คือ อาการทีจ่ ติ รูเ้ ท่าทันอารมณ์ รูท้ นั ปรากฏการณ์ ต่างๆ นั้น ไม่หลงไปตามกระแสโลก


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

55

ศีล-สมาธิ-ปัญญา จึงไม่อาจแยกจากกันได้ เพราะความ ปกติ ตั้งมั่น และรู้เท่าทันอารมณ์นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน หากจิตไม่ปกติ ไหนเลยจะตั้งมั่นและรู้เท่าทันอารมณ์ได้ หากจิตไม่ตั้งมั่น ก็ไม่สามารถรู้เท่าทันอารมณ์ และไม่เป็น ปกติแน่ หากจิตไม่รู้เท่าทันอารมณ์ ก็กลายเป็นจิตที่ผิดปกติ และ หวั่นไหวไปตามอารมณ์เท่านั้นเอง ท่านจึงกล่าวว่า มรรค แม้จะมีอยู่ ๘ อย่าง ก็เหมือนเชือก ที่มีอยู่ ๘ เกลียว รวมกันเป็นหนึ่งเดียวไม่แยกจากกัน รวมเรียกว่า “มัคคสมังคี” จึงจะสามารถทำ�ลายกิเลสได้ อย่ามัวแต่แยกธรรมออกจากกัน อย่าแยกมรรคออกเป็น ส่วนๆ เพราะถ้าทำ�อย่างนัน้ จะไม่สามารถแก้ทกุ ข์ให้แก่ตนเองและ สังคมได้เลย เมื่อจิตปกติ ตั้งมั่น รู้เท่าทันอารมณ์แล้ว จึงจะทำ�หน้าที่ อย่าง “พอดี” ต่ออริยสัจได้ คือรู้เท่าทันทุกข์ ในขณะเดียวกันก็ละสมุทัย แจ่มแจ้งใน นิโรธ และยังมรรคให้เจริญ ครบถ้วนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


56

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

มรรค ๘ กับไตรสิกขาจึงเป็นเรื่องเดียวกัน เป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความพอดีในชีวิตของมวลมนุษยชาติ นั่นเอง สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหาร เมือง สาวัตถี พระเจ้าได้ตรัสเล่าถึงเรื่อง “ตาบอดคลำ�ช้าง” ไว้ว่า “ภิกษุทงั้ หลาย เรือ่ งเคยมีมาแล้ว ในอดีตพระราชาพระองค์ หนึ่ง รับสั่งให้ราชบุรุษนำ�ช้างมาให้คนตาบอดแต่กำ�เนิดเก้าคน สัมผัส คนตาบอดทัง้ เก้านัน้ ต่างก็ใช้มอื ลูบคลำ�ส่วนต่างๆ ของช้าง แล้วมีความคิดเห็นต่างกัน เมื่อถูกพระราชาตรัสถามว่า “ช้างเหมือนอะไร” (๑) คนที่คลำ�หัวช้างกราบทูลว่า “เหมือนหม้อน้ำ�” (๒) คนที่คลำ�หูก็กราบทูลว่า “เหมือนกระด้ง” (๓) คนคลำ�งาก็ว่า “เหมือนเสา” (๔) คนที่คลำ�งวงก็ว่า “เหมือนงอนไถ” (๕) คนที่คลำ�ร่างกายก็ว่า “เหมือนยุ้งข้าว” (๖) คนที่คลำ�เท้าก็ว่า “เหมือนเสาเรือน” (๗) คนคลำ�หลังก็ว่า “เหมือนครก”


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

57

(๘) คนคลำ�หางก็ว่า “เหมือนสาก” (๙) คนที่คลำ�ปลายหางก็ว่า “เหมือนไม้กวาด” แต่ละคนก็ว่า ความเข้าใจของตนเท่านั้นที่ถูกต้อง คนอื่น ผิดหมด “ช้างมันเป็นอย่างนี้โว้ย ไม่ใช่อย่างที่เอ็งว่า” พระราชาได้ยนิ การถกเถียงกันเช่นนัน้ ก็ทรงพระสรวลด้วย ความสำ�ราญเบิกบานพระราชหฤทัย” (ปฐมนานาติยสูตร ขุ.อุ. ๒๕/๒๙๒/๕๔) อย่าแยกช้างออกจากกัน ไม่งั้นช้างจะกลายเป็นตัวอะไรไป ก็ไม่รู้ อย่าแยกมรรคออกจากกัน ไม่งั้นจะกลายเป็นหัวข้อธรรม ที่เยิ่นเย้อ เอาไว้ถกเถียงกัน แต่แก้ทุกข์อะไรไม่ได้สักอย่างเดียว


58

พระมหาวิเชียร ชินวํโส


59

แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

ลายเซ็นของชีวิต บางครัง้ ผูเ้ ขียนคิดจะเขียนบทกวีให้งดงามอลังการ เหมือน ดังท่านเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรต์ แต่ก็เป็นได้อย่างมาก แค่ กวีซีรอกซ์ บางเวลา อยากจะใช้สำ�นวนภาษาสละสลวย เหมือน ท่าน ว.วชิรเมธี ผู้รุ่มรวยภาษา แต่ก็เขียนได้อย่างหยาบๆ ลุ่มๆ ดอนๆ น่าสละทิ้งเพราะไม่ค่อยสลวยเท่าไร บางที อยากจะเขียนนวนิยายธรรมะ กระตุกต่อมสติ เหมือน คุณดังตฤณ แต่ก็จนปัญญาไม่รู้ว่าจะเขียนอย่างไร ได้แต่กระตุก ต่อมโทสะของผู้อ่านเท่านั้น บางหน อยากเขียนอย่างกล้าหาญและลึกล้ำ� ดุจตบเข้าไป ที่หัวใจผู้อ่าน เหมือนหลวงพ่อพุทธทาส แต่ก็ทำ�ได้อย่างตื้นเขิน จนอยากจะตบกบาลตนเอง


60

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

บางขณะ อยากจะตีความธรรมะให้กว้างขวางครอบคลุม ในทุกมิติ เหมือนหลวงพ่อ ป.อ.ปยุตฺโต แต่ก็ทำ�ได้อย่างคับแคบ ตีบตัน บางคราว อยากจะเขียนคำ�คมให้บาดลึกเข้าไปจนถึงก้นบึง้ หัวใจ เหมือนหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ แต่เขียนทีไรก็ได้แต่คมทางสัน ออกอาการตรงๆ ทู่ๆ ทื่อๆ อย่างที่เป็นอยู่นี้ จึงเขียนได้แค่ทเ่ี ป็น อ่านแล้วท่านก็คงจะคาดเดาได้วา่ ผูเ้ ขียน มีอปุ นิสยั หรือสันดานอย่างไร เพราะสำ�เนียงส่อภาษา กิรยิ าส่อสกุล ผู้เขียนหนังสือแต่ละคน จะมีสำ�นวน วิธีการเดินเรื่อง การ อธิบายความ การใช้คำ�ที่แตกต่างกัน บรรดาหนอนหนังสือจะรู้ได้ ทันทีว่า นี่เป็นสำ�นวนของใคร สิ่งที่เป็นอยู่นั่นแหละ คือลายเซ็นของชีวิต มีนักธุรกิจเครือข่าย (Network Marketing)กลุ่มหนึ่ง ซึ่ง ทำ�การตลาดขายตรงแบบหลายชัน้ (Multi-level Marketing หรือ MLM) ชอบมาสนทนาธรรมกับผูเ้ ขียนทีว่ ดั อยูเ่ สมอ เขาปรารภถึง ผู้นำ�ที่ทำ�ธุรกิจจนร่ำ�รวย และตนเองก็อยากร่ำ�รวยอย่างนั้นบ้าง ผู้เขียนจึงได้แต่เตือนสติว่า “คุณอย่ามองแค่ผลลัพธ์ของเขา ก่อนที่เขาจะรวยเขาทำ�


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

61

อะไรมาก่อน คงไม่ใช่แค่พูดเก่ง มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี หรือมีความ จริงใจในการขายเท่านั้นแน่ เท่าที่ทราบสิ่งที่เขาทำ�อยู่เสมอก็คือ “การให้” ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยแห่งความรวยของเขา” “ผูน้ �ำ ของคุณให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาอยูเ่ ป็นประจำ� และมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมฟังธรรม และการเจริญภาวนา อยู่เสมอ นั่นแหละต้นเหตุแห่งความสำ�เร็จของเขา” การรักษาศีลนัน้ พระพุทธองค์กต็ รัสว่าเป็น มหาทาน เป็น ทานที่ยิ่งใหญ่ ดังที่ตรัสไว้ในปุญญาภิสันทสูตร อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒๙ ว่า การไม่ฆา่ สัตว์ทง้ั ด้วยตนเองและใช้ผอู้ น่ื ฆ่า เป็นการให้ความ ไม่มเี วร ไม่มภี ยั แก่สตั ว์ทง้ั หลาย เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ชวี ติ สัตว์ การไม่ถอื เอาของทีเ่ จ้าของเขามิได้ให้ทงั้ โดยตนเองและใช้ผู้ อื่น เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น การเว้นจากการประพฤติผิดในบุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น ชื่อว่า ให้ความบริสุทธิ์แก่บุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น การงดเว้นจากการกล่าวเท็จ ชื่อว่าให้ความจริงแก่ผู้อื่น การงดเว้นจากสุรา เมรัย และของมึนเมา เสพติด อันเป็น ที่ตั้งแห่งความประมาท ชื่อว่าให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง คือให้


62

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ความปลอดภัยแก่ชีวิตสัตว์ ทรัพย์สินของผู้อื่น แก่บุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น และให้แต่คำ�พูดที่เป็นจริงแก่ผู้อื่น ทั้ ง นี้ เ พราะผู้ ที่ มึ น เมาแล้ ว ย่ อ มขาดสติ เป็ น ผู้ ป ระมาท สามารถจะประพฤตผิดศีลได้ทุกข้อ รวมทั้งประพฤติผิดอื่นๆ ด้วย และในทานสูตร อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ข้อ ๔๙ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าตรัสถึงเหตุปจั จัยทีท่ �ำ ให้ทานทีใ่ ห้แล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มากไว้ดังนี้ ...บุคคลบางคนในโลกนี.้ ..ให้ทานเป็นเครือ่ งปรุงแต่งจิตคือ ให้ทานนั้นเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจหมดจดจากกิเลส จนได้ฌาน และบรรลุเป็นพระอนาคามี บุคคลนั้นตายแล้วได้ไปเกิดในพรหม โลก เขาสิน้ กรรม สิน้ ฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่ในพรหมโลก แล้ว เป็นผู้ไม่ต้องกลับมาเกิดในโลกนี้อีก คือปรินิพพานในพรหม โลกนั้นเอง ทานชนิดนี้เป็นทานที่มีผลมาก และมีอานิสงส์มาก สรุปรวมความว่า ทานชนิดใดก็ตาม เป็นปัจจัยให้ต้องเกิด อีก ทานชนิดนัน้ แม้มผี ลมาก ได้เกิดทีด่ มี คี วามสุขอันเป็นทิพย์ แต่ ทานนั้นก็ไม่มีอานิสงส์มาก เพราะไม่สามารถจะทำ�ให้หมดจดจาก กิเลสได้ ส่วนทานชนิดใดเป็นปัจจัยให้ไม่ตอ้ งเกิดอีก ทานชนิดนัน้ ชือ่


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

63

ว่ามีผลมากด้วย มีอานิสงส์มากด้วย เพราะทำ�ให้หมดจดจากกิเลส เป็นทานที่เป็นปัจจัยแห่งการเจริญภาวนานั่นเอง ทาน ศีล และภาวนาจึงทำ�ให้ลายเซ็นของชีวิตงดงาม ลายเซ็นของชีวิต ก็คือวิบากกรรมที่ส่งผลต่อธาตุขันธ์ สติ ปัญญาของเราๆท่านๆ ให้แตกต่างกันไป ไม่มซี �้ำ แม้แต่พนี่ อ้ งคลาน ตามกันมา หรือคู่แฝดก็ตาม เราต่างทำ�กรรมกันมาแตกต่างกัน กรรมจึงยุติธรรมเสมอ เพราะกรรมนั่นแหละจำ�แนกสัตว์ให้เลวหรือประณีตแตกต่างกัน กิริยาอาการทางกายภาพ จึงแตกต่างกัน ความเชื่อ วิธีคิด การดำ�เนินชีวิต ก็แตกต่างกัน แค่เพียงลายมือหรือลายเซ็น หมอดูจงึ บ่งบอกถึงอดีตและ อนาคตของผู้นั้นได้ ท่านเคยสงสัยไหมว่า ทำ�ไมคนนั้นรวย คนนี้จน คนนั้นโง่ คนนี้ฉลาด คนนั้นสุภาพนุ่มนวล คนนี้หยาบคาย คนนั้นซวย คนนี้กลับโชคดีเสมอ


64

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

คนนั้นต้องพลัดพรากและถูกทอดทิ้ง แต่อีกคนกลับอยู่กัน อย่างอบอุ่นพร้อมหน้า โลกนีไ้ ม่เคยบังเอิญเป็น แต่จ�ำ ต้องเป็นไปตามผลแห่งกรรม อุปนิสัย ลักษณะ สันดานของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป สิ่งที่เรารัก จึงอาจเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจของคนอื่น สิ่งที่เราเชื่อ จึงอาจเป็นเรื่องน่าหัวเราะของคนอื่น สิ่งที่เราลึกซึ้ง จึงอาจเป็นเรื่องตื้นเขินของคนอื่น ความงามในสายตาของเรา จึงอาจเป็นความอัปลักษณ์ของ คนอื่น ความผิดพลาดเป็นเรื่องธรรมดาในความรู้สึกของเรา แต่ อาจเป็นเรื่องที่อภัยไม่ได้ของคนอื่นๆ ไม่เอาเราไปเทียบเคียงกับใคร และอย่าเอาใครมาเทียบเคียง กับเรา เพราะเขาก็ไม่เหมือนเรา เราก็ไม่เหมือนเขา ตราบใดที่ยังมี การแบ่งแยกเราเขาอยู่ ยอมรับสิ่งที่เป็นให้ได้ และพร้อมแก้ไขในส่วนที่บกพร่อง เสมอ


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

65

เจ้าเปี๊ยก เด็กวัดซึ่งตัวเล็กสมชื่อ บ่นพึมพำ�ขณะบีบนวดให้ หลวงตาแบน “ทำ�ไมคนเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนกัน ๆ ๆ ๆ” มันพร่ำ�พูดอยู่หลายครา จนหลวงตาอดรนทนไม่ได้จึง สอบถาม “เอ็งบ่นอะไรของเอ็งวะ ไอ้เปี๊ยก” “ก็จะไม่ให้บ่นได้ยังไงล่ะหลวงตา ไอ้เด่นมันก็เป็นเด็กวัด เหมือนกัน ไม่เห็นหลวงตาใช้มนั มานวดอย่างนีบ้ า้ งเลย” เจ้าเปีย๊ ก ตอบอย่างน้อยใจ หลวงตาฉุกคิด แล้วหาอุบายสอนเจ้าเปี๊ยก “เอ็งไปตามไอ้เด่นมาซิ ข้าจะทำ�อะไรให้ดู” เมื่อเจ้าเด่นมานั่งต่อหน้า หลวงตาก็บอกเจ้าเปี๊ยก “คอยดูนะ ว่าทำ�ไมคนเหมือนกัน แต่มันไม่เหมือนกัน” หลวงตาเปรยยิ้มๆ แล้วออกคำ�สั่ง “พวกเอ็งไปดูสิ เสียงหมามันเห่าอะไรกันแปลกๆ ดังลั่นวัด อย่างนั้น” หลังจากหายไปพักใหญ่ สองสหายกระหืดกระหอบกลับมา พร้อมที่จะรายงานหลวงตา


66

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

“มีคนเอาหมามาปล่อยครับหลวงตา ไอ้ตูบมันคงหวงที่ ก็ เลยทั้งขู่ ทั้งเห่า” เจ้าเปี๊ยกรีบรายงาน เอาหน้าเอาตาไว้ก่อน “หมาที่มาใหม่มีกี่ตัว ตัวเมียกี่ตัว ตัวผู้กี่ตัว มีสีอะไรบ้าง” หลวงตาถามยาวเหยียด เจ้าเปี๊ยกทำ�หน้าเป๋อเหลอ อ้อมแอ้มตอบออกมาว่า “ผมไม่ได้สังเกตอ่ะ มัวแต่ไล่หมา” มันหาข้อแก้ตัว “แล้วเอ็งว่ายังไงล่ะ ไอ้เด่น” “หมาใหม่มี ๕ ตัวครับ ดูเหมือนเจ้าของมันจะเอามาปล่อย วัดทั้งครอกเลย เพราะมีแม่มันตัวหนึ่ง อีก ๔ ตัวคงเป็นลูกมันๆ เป็นตัวเมีย ๓ ตัว ตัวผู้ ๑ ตัวครับ ตัวผู้สีแดงเหมือนแม่มัน ส่วน ตัวเมียอีก ๓ ตัว สีด่างๆ ครับหลวงตา” เจ้าเด่นรายงานเป็นฉากๆ หลวงตาจึงเริ่มบทเทศนากัณฑ์ยาว “เห็นไหมไอ้เปี๊ยก คนเหมือนกันก็จริง แต่มีจริตนิสัยต่าง กัน สติปญ ั ญาไม่เหมือนกัน คนมันถึงไม่เหมือนกัน ทำ�ไมเอ็งตอบ ข้าไม่ได้ ทำ�ไมไอ้เด่นตอบได้ล่ะ” เจ้าเปี๊ยกนั่งเงียบ “เอ็งอย่ามัวแต่เอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น บาง อย่างเอ็งเก่งมากกว่าไอ้เด่น เช่น กำ�ลังแขนดีกว่า นวดถึงเส้นถึง


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

67

สายมากกว่า ข้าเลยใช้เอ็งนวด ส่วนไอ้เด่นมันช่างสังเกตจดจำ� แต่ ไม่แข็งแรงเหมือนเอ็ง ข้าเลยให้มันไปทำ�อย่างอื่น” “พวกเอ็งจำ�ไว้นะ เอ็งอยากจะเป็นอย่างไร ก็จงทำ�ลงมือทำ� อย่างเต็มความสามารถ อยากฉลาดก็หัดสังเกตจดจำ�สอบถาม อยากให้คนยอมรับก็จงกล้าคิด กล้าทำ�ความดี กล้าเสียสละ อยาก รวยก็จงขยันหมั่นเพียร เก็บหอมรอมริบ ประหยัดอดออม” หลวงตากล่าวความเมตตา “อย่ามัวเอาแต่อจิ ฉา ทีเ่ ขาดีกว่า รวยกว่า ฉลาดกว่า สบาย กว่า ที่จริงแล้วคนอื่นเขาก็อาจอิจฉาเรา ที่เราแข็งแรงกว่า มีน้ำ�ใจ กว่า เข้ากับคนอื่นได้ง่ายกว่าก็ได้” ลายเซ็นของเราเปลีย่ นไปตามวัย ลายเซ็นของชีวติ เปลีย่ น ไปตามกรรม ...คุณจะเซ็นชีวิต ลิขิตดวงชะตาตนเองแบบไหน... ...เลือกเอาเอง...


68

พระมหาวิเชียร ชินวํโส


69

แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

ฝึกใจให้ไร้เดียงสา ปกติทวี่ ดั วังหิน จะให้โอกาสพระใหม่ได้สบั เปลีย่ นกันแสดง ธรรมให้ญาติโยมฟังทุกวันอาทิตย์ เป็นการทำ�หน้าทีข่ องพระสงฆ์ ที่จะต้องตอบแทนญาติโยม คือ ๑. ห้ามปรามจากความชั่ว ๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี ๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี ๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๕. ทำ�สิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ๖. บอกทางสวรรค์ หรือสอนวิธีดำ�เนินชีวิตเพื่อประสบ ความสุขความเจริญให้ (สิงคาลกสูตร ที.ปา.๑๑/๔๓๘/๒๗๒)


70

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

แต่เพราะเป็นพระใหม่ จึงตั้งหัวข้อธรรมเทศนาง่ายๆ คือ “บวชแล้วได้อะไร?” บางรูปพูดจาวกไปวนมาจนไม่รู้ว่าเทศน์เรื่องอะไร กลาย เป็น “ชี้ทางนรก” ให้โยมก็มี เพราะโยมคงรำ�คาญใจตกนรกอยู่ หลายรอบ กว่าพระจะยอมลงจากธรรมาสน์ วันไหนพระลูกชายขึ้นเทศน์ โยมพ่อ โยมแม่ ก็จะขนลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติโกโหติกามาฟัง ถ้าเทศน์ดีแฟนคลับก็ จะยิ้มแย้มแจ่มใสอดคุยอวดคนอื่นไม่ได้ว่า “ลูกฉันๆ” ไม่โชว์ป้าย ไฟเชียร์ก็บุญแล้ว แต่ถ้าเทศน์ไม่ได้ความก็ทำ�เป็นไม่รู้ ไม่ชี้ รักษา ฟอร์มกันสุดๆ และอีกวิธีหนึ่งที่ผู้เขียนคิดเอาเองว่า น่าจะช่วยกระตุ้นให้ พระใหม่ตื่นตัว สร้างภาวะผู้นำ�ให้เกิดขึ้นได้ ก็คือการให้พระใหม่นำ� ทำ�วัตรสวดมนต์เช้า-เย็น เมื่อให้พระใหม่ซึ่งบวชได้ไม่กี่ราตรีนำ�สวดมนต์ ทุกรูปจะ ออกอาการเดียวกันคือ โง่ฉบั พลัน ไร้เดียงสาทันที แม้จะเป็นหลวง พี่หมอ หลวงพี่ดอกเตอร์ หรือหลวงพี่วิศวกร สุดยอดความไบรท์ (Bright) จากมหา’ลัยไหนก็ตาม เพราะความไม่คุ้นกับภาษาบาลี นั่นเอง


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

71

แต่ผลที่ตามมา กลับกลายเป็นแง่บวก คือ ๑. เป็นการยั่วยิ้มให้แก่หมู่สงฆ์และญาติโยมที่มาร่วมสวด มนต์ท�ำ วัตรด้วย เพราะผูน้ �ำ สวดออกอาการมึนตัวหนังสือ อ่านข้าม อ่านมั่ว จนผู้สวดตามสงสัยว่าหนังสือพิมพ์ผิด ๒. ลดมานะทิฐิ ของผู้นำ�สวด เพราะต่อให้ฉลาดแค่ไหน ก็ โง่ได้ ขาดความมั่นใจได้ถ้าไม่เคยทำ� ๓. ทำ�ให้ผู้ร่วมสวดมนต์ที่กำ�ลังง่วง เหงา เศร้า ซึม หาย อาการเหล่านั้นเป็นปลิดทิ้ง ๔. ทำ�ให้ผู้ร่วมสวดมนต์ ได้ย้อนกลับมารักษาใจตนเอง ไม่ ให้หงุดหงิด รำ�คาญผู้นำ�สวด ๕. ทำ�ให้พระทีจ่ ะต้องนำ�สวดในวันนัน้ มีความกระตือรือร้น เตรียมตัว เตรียมใจ แม้จะไม่ชอบสวดมนต์เพียงใด ก็ต้องฝึกอ่าน ให้ชำ�นาญเสียก่อนจะได้ไม่เสียเซลฟ์(self) และเทสท์เสียง ไล่โน้ต ปานประหนึ่งจะไปออดิชั่น(audition) รายการ The Voice Monk เลยทีเดียว อะไรที่ไม่เคยทำ� มักก่อให้เกิดความตื่นเต้นได้เป็นอย่างดี อะไรที่ใหม่ๆ มักเย้าให้เกิดความสนใจเรียนรู้ได้เสมอ เหมือนเด็กน้อยผูไ้ ร้เดียงสา มักตืน่ ตัว ตืน่ ใจกับสิง่ แวดล้อม


72

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

รอบข้างได้อย่างน่ารัก น่าชัง ที่เอาเรื่องในวัดมาเกริ่นนำ� ก็เพื่อชักชวนให้ผู้อ่านทุกท่าน หัดทำ�ตัวให้ไร้เดียงสาเสียบ้าง จะได้ฝึกใจให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ กัน ต้นไม้หน้าบ้านต้นเดิมทีเ่ ราเห็นจนชินตา อาจมีใบ ดอก ผล ใหม่ๆ ผลิบานออกมา ลูกๆ คนเดิม อาจมีแง่มุมที่น่ารัก ที่ท่านมองข้ามมานาน มากแล้ว สามีคนเดิม อาจมีกิ๊กใหม่ ซึ่งแสดงว่า เขามีเสน่ห์มากขึ้น กว่าเดิม แต่เราไม่เคยมองเห็น บ้านหลังเดิม อาจมีปลวกเป็นสมาชิกใหม่ อพยพครอบครัว ใหญ่มาร่วมชายคากับเรา เพือ่ นร่วมงานคนเดิม อาจมีผมทรงใหม่ เสือ้ ผ้าชุดใหม่ แฟน คนใหม่ ให้เราอิจฉาเล่น ถ้ามีสงิ่ ใหม่ในทางบวกให้สงั เกตเห็น ก็ท�ำ ให้เรารืน่ รมย์ โดย ไม่ต้องไปทัวร์ทริปไหนๆ ให้เปลืองทุน แต่ถ้ามีสิ่งใหม่ในทางลบ ก็จะได้ปรับปรุงแก้ไขแต่เนิ่นๆ อย่ามัวอวดฉลาด จนขาดเฉลียว เพราะท่านไม่ใช่ Google


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

73

หรือสัพพัญญู โลกเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะจิต เช่นเดียวกับนักปฏิบัติธรรม ที่ควรต้องทำ�ตัวให้ไร้เดียงสา อยู่เสมอ ทุกครัง้ ทีน่ งั่ สมาธิ อย่าคาดการณ์ลว่ งหน้าว่าจะต้องพบกับ อะไร ทุกครั้งที่เดินจงกรม อย่าคาดหวังว่าจะเป็นเช่นไร ทุกครั้งที่รู้สึกตัว จงเตรียมพร้อมที่จะรับรู้ สภาวะใหม่ๆ ปรากฏการณ์ใหม่ๆ อารมณ์ใหม่ๆ ที่เคลื่อนไหว เปลี่ยนผ่านไปมา ไม่เทียบเคียงกับสิ่งที่ผ่านไปแล้ว ไม่วุ่นวายใจกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เพียงยอมรับ วางใจ เรียนรู้ สังเกต สิ่งที่กำ�ลังเกิดขึ้นต่อ หน้าต่อตา ณ ขณะนี้ ใจจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ที่อาจคล้ายสิ่งเก่า แต่ไม่ใช่สิ่งเดิมแน่ เพราะสรรพสิ่งล้วนเกิดแล้วดับไปทันที ไร้เดียงสา คือการวางใจให้ซื่อบริสุทธิ์ จึงจะตื่นตัว ตื่นใจ กับสิ่งใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คนที่ไม่ยอมไร้เดียงสา จะไร้การศึกษาต่อสิ่งใหม่ทันที


74

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ครูทไี่ ม่ยอมไร้เดียงสา จะกลายเป็นครูทมี่ คี วามรูเ้ ท่ากับเด็ก ในชั้นที่ตนเองสอน ผูใ้ หญ่ทไี่ ม่ยอมไร้เดียงสา จะติดตัน แบกยึดอยูก่ บั ความคิด ความเชื่อเดิมๆ ของตนเอง นักบริหารที่ไม่ยอมไร้เดียงสา จะมีขีดจำ�กัดอยู่กับความ สามารถเก่าๆ ซึ่งเท่ากับถอยหลังเข้าคลอง พ่อใหญ่สม นั่งสานสุ่มไก่อยู่ใต้ถุนบ้าน บักจ่อย หลานตัวน้อยวิ่งเล่นไปตามประสาเด็กไร้เดียงสา จากเส้นตอกเส้นแรก เริ่มก่อตัวเป็นสุ่ม ครอบตัวของพ่อ ใหญ่สมไว้ เมือ่ สานเสร็จ พ่อใหญ่สมนัง่ เหงือ่ ตก เพราะไม่รจู้ ะออกจาก สุม่ ไก่ได้อย่างไร มองหาคนช่วยก็ไม่เห็นใคร มีแต่บกั จ่อยทีว่ งิ่ ซุกซน ตามประสาเด็ก พ่อใหญ่สมจึงแกล้งถามบักจ่อยว่า “บักจ่อย สมมุติว่าเอ็งอยู่ในสุ่มไก่ เหมือนปู่ตอนนี้ เอ็งจะ ออกจากสุ่มนี่ได้ยังไง” “จะไปยากอะไรล่ะปู่ ผมก็ยกขอบสุ่มขึ้น แล้วก็คลานออก มาแค่นั้นเอง”


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

75

“เออ! เอ็งนีเ่ ก่งจริงๆ สมกับเป็นหลานปู่ คิดเหมือนปูเ่ ลย” พ่อใหญ่สมชื่นชมหลานรัก ปาดเหงื่อเสร็จก็ยกขอบสุ่มขึ้น แล้วคลานออกมา บางคนฉลาดจนโง่ เพราะไม่ยอมรับรู้สิ่งใหม่ บางคนยอม โง่ เพื่อจะได้ฉลาดมากขึ้น คนฉลาดที่แท้จริง จึงคือคนที่รู้ว่าเวลาใดควรโง่ เวลาไหน ควรฉลาดนั่นเอง


76

พระมหาวิเชียร ชินวํโส


77

แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

ละครชีวิต

อาชีพที่วัยรุ่นไทยอยากเป็นมากที่สุด คืออาชีพนักแสดง เพราะคิดว่ารวยง่ายที่สุด สังคมยอมรับมากที่สุด หลายรายการเปิดโอกาสให้คนแห่เข้าไปสมัครออดิชั่น (audition)มากมายราวดอกเห็ดยามฤดูฝน เช่น Thailand Got Talent, The Voice Thailand, The Star, True Academy Fantasia และรายการเรียลลิตีโชว์ (reality show) อีกเพียบ ไม่ เว้นแม้แต่การเอาสามเณรมาทำ�มาหากิน เช่น รายการ “สามเณร ปลูกปัญญาธรรม” ล้วนปลุกกระแสคนไทยและคนทัง้ โลกให้สนใจ การแสดงมากขึ้น คำ�ถามทีเ่ ด็กวัยรุน่ มักจะถามเสมอก็คอื ทำ�ไมจึงเกิดมาเตีย้ ดำ� ล่ำ� ถึก ทำ�ไมไม่สวยหล่อ เลิศเลอเพอร์เฟค เหมือนคนอื่นเขา


78

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

เพราะสิ่งที่ดูจะเป็นใบเบิกทาง ในการ “เช็คอิน” เข้าไปสู่ ความพริตตี้ พิธีกร นางแบบ นายแบบ นักแสดง แดนเซอร์ หรือ นักแสดงชนิดซุปตาร์สายฟ้าแลบ ก็คงจะเป็นเรื่องของหน้าตา รูป ร่าง ทรวดทรง ไม่ว่าจะเป็นแย้ ตะกวด จึงล้วนต้องทำ�ศัลยกรรม ถ้าหากอยากได้ งานเบา เงินดี ใช้ของแบรนด์เนมแพงๆ ขับรถยนต์หรู โชว์วงสวิงสวยๆ ในสนามกอล์ฟ กินอาหารเลิศรสในภัตตาคาร เพื่อชีวิตที่มีความสะดวกสบายมากขึ้น ธุรกิจศัลยกรรมจึง เติบโตรายได้หมุนเวียนนับหมื่นล้านบาทต่อปี แต่นั่นไม่ได้แปลว่าชีวิตมีความสุขถาวร บางคนจึงมาเร็ว ไปเร็ว เคลมเร็ว เจ็บเร็วผิดปกติ ขึ้นสูงเร็วมากเท่าไร เวลาตกก็เจ็บมากเท่านั้น เพราะแท้จริง เราท่านทั้งหลายกำ�ลังแสดงละครชีวิตชนิด ทีอ่ นิ กับบท อย่างถึงพริกถึงขิงอยูแ่ ล้ว ประเภทปีนเขา เผากระท่อม


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

79

เลือดท่วมจอ น้ำ�ตาท่วมใจ และอินมากเกินไปจนคิดเอาเองว่าเป็น เรื่องจริงจัง จนหลงว่าตนเป็นพระเอก นางเอกซีรีย์เกาหลีไปเลย แต่ละครทุกเรื่องล้วนมีตอนอวสาน อวสานเพือ่ เริม่ ละครเรือ่ งใหม่ ซึง่ เนือ้ หาไม่พน้ แบบเดิม คือ รัก โลภ โกรธ หลง เปลี่ยนเฉพาะบทบาทและตัวละครเท่านั้นเอง สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ผู้ใหญ่บ้านชื่อตาลบุตร นัยว่าท่านเป็นนักฟ้อนรำ� ถ้าเป็นปัจจุบันก็คงเข้าขั้นซุปตาร์กับเขาคนหนึ่ง ได้เข้าเฝ้าทูลถาม พระองค์ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ยินคำ�ของพวกนัก ฟ้อนรำ�ผู้เคยเป็นอาจารย์และอาจารย์ของอาจารย์กล่าวว่า ‘นัก ฟ้อนรำ�คนใดทำ�ให้ประชาชนหัวเราะรืน่ เริงด้วยคำ�จริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ นักฟ้อนรำ�คนนั้นหลังจากตาย แล้วจะเข้าถึงความเป็นผูอ้ ยูร่ ว่ มกับเหล่าเทวดาชือ่ ปหาสะ’ จริงเท็จ ประการใด พระเจ้าข้า” แม้พระองค์จะตรัสห้ามไว้ถึง ๓ ครั้ง ว่า “อย่าเลยตาลบุตร จงพักปัญหาข้อนี้ไว้อย่าถามเราเลย”


80

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ก็ยังพยายามถามอยู่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “เมื่อก่อนสัตว์ทั้งหลายไม่ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ถูก เครือ่ งผูกคือราคะ โทสะ โมหะผูกไว้ นักฟ้อนรำ�ย่อมรวบรวมสิง่ อัน เป็นที่ตั้งแห่งราคะ โทสะ โมหะเข้าไปกลางโรงละคร กลางงาน มหรสพแก่สัตว์เหล่านั้นโดยประมาณยิ่ง นักฟ้อนรำ�นั้น ตนเองก็มัวเมาประมาท แถมทำ�ให้ผู้อื่น มัวเมาประมาทด้วย ทำ�ให้ประชาชนหัวเราะรื่นเริงด้วยคำ�จริงบ้าง เท็จบ้าง กลางโรงละคร กลางงานมหรสพ นักฟ้อนรำ�คนนั้นหลัง จากตายแล้วจะเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเหล่าเทวดาชื่อปหาสะ ได้อย่างไร? ความเห็นของเขาเป็นมิจฉาทิฐิ และผู้เป็นมิจฉาทิฐิ เรากล่าวว่ามีคติ ๑ ใน ๒ อย่าง คือ ไม่เกิดเป็นสัตว์นรกก็เป็นสัตว์ ดิรัจฉาน” ตาลบุตร พอได้รบั คำ�ตอบดังนัน้ ถึงกับน้�ำ ตาไหลพราก เกิด ความสลดสังเวช ได้ขอบวชกับพระพุทธเจ้า ต่อมาก็บรรลุเป็นพระ อรหันต์ (ตาลปุตตสูตร สํ.สฬา.๑๐/๓๙๕/๓๕๔) ถ้าจะสรุปตามพุทธพจน์ ก็คงต้องบอกว่า อาชีพนักแสดง


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

81

เป็นงานชนิดหนึง่ ซึง่ แน่นอนว่าเป็นบุญบ้าง เป็นบาปบ้าง เหมือน กับอาชีพอื่นๆ นั่นแล ถ้าเป็นการแสดงทีก่ อ่ ให้เกิดอกุศล คือก่อให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ ผลย่อมเศร้าหมอง ถ้าเป็นการแสดงที่ก่อให้เกิดกำ�ลังใจ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นเหตุให้เยาวชนเอาอย่างในทางที่ดี ก็เป็นกุศล ผลย่อมผ่องใส ละครเรือ่ งหนึง่ จึงสร้างได้ทงั้ กุศล และอกุศล ขออย่างเดียว อย่าหลงการแสดง ติดอยู่ในคำ�สรรเสริญเยินยอ เกียรติยศ ชื่อ เสี ย ง ทรั พ ย์ สิ น รู ป ลั ก ษณ์ ภ ายนอกจนเกิ น ไป จนกลายเป็ น มิจฉาทิฐิ เพราะมิจฉาทิฐินั่นเอง ที่ทำ�ให้ใจตกนรก หรือเป็นสัตว์ ดิรัจฉานตั้งแต่ปัจจุบันชาติแล้ว ไม่ต้องรอชาติหน้าก็ได้ เมื่อชมละคร ท่านไม่ได้ชมแค่เพียงพระเอกหรือนางเอก เท่านั้น แต่มีทั้งตัวร้าย ตัวตลก หรือแม้แต่ตัวประกอบฉาก เดิน ผ่านกล้องแวบแล้วหายไปก็มี ถ้ามีแต่พระเอก ก็คงจะหล่อเว่อร์จนน่าเบื่อ ถ้ามีแต่นางเอก ก็คงหวานจนเลี่ยน ถ้ามีแต่ตัวร้าย คงเครียดกันทั้งเรื่อง ถ้ามีแต่ตัวตลก ก็คงจะมีเรื่องไร้สาระ


82

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ถ้ามีแต่ตัวประกอบ ก็คงจะชืดจืด หากชีวิตเจอแต่ความสงบ ก็คงน่าเบื่อ หากชีวิตเจอแต่ความวุ่นวาย ก็คงเครียด หากชีวิตเจอแต่ความหวานแหวว ก็คงเอียน หากชีวิตมีแต่เรื่องขำ� ก็คงกลายเป็นตลกร้าย หากชีวิตมีแต่ความเสียใจ คงไร้ชีวิตชีวา หากชีวิตมีแต่ความสุข คงไร้ความสนุก ชีวิตจริงๆ จึงต้องมีครบทุกรสชาติ เมือ่ ลงมือฝึกจิต ท่านจึงควรทำ�หน้าทีเ่ ป็นผูด้ ลู ะครโรงใหญ่ นี้เท่านั้น เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวชอบ เดี๋ยวชัง เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ เดี๋ยวสงบ เดี๋ยวฟุ้งซ่าน เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องให้ เดี๋ยวพระเอก-นางเอก ออกมาแสดงบทรัก บทดราม่า เดี๋ยวตัวร้ายออกมาอวดอำ�นาจบาตรใหญ่


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

83

เดี๋ยวตัวตลก ก็ออกมาทำ�ท่าบ้าๆบอๆ แลบลิ้นปลิ้นตา เดี๋ยวตัวประกอบ ออกมาเดินผ่านความรับรู้ ดูจบแล้วก็จาก อย่ามัวร่ำ�ไร รำ�พึง รำ�พันเพ้อฝันถึงอยู่ไม่ เลิกรา มิเช่นนั้นก็เท่ากับท่านกำ�ลังกระโดดขึ้นเวที ไปแสดงกับ อารมณ์เหล่านั้นแล้ว ทุกคนเป็นตัวละครเหล่านั้นมาหลายภพหลายชาติ ทุกบทบาทลีลา บ้าสุดขั้ว รั่วสุดขีด เล่นมาหมดแล้ว เมื่อไรจะเลิกเล่นเสียที สมชายรู้สึกงุนงงอย่างยิ่ง “นี่มันที่ไหน ทำ�ไมไม่คุ้นตาเลย” เขาพึมพำ�อยู่คนเดียว รอบกายมีสวนดอกไม้ทกี่ �ำ ลังออกดอกสะพรัง่ กว้างไกลสุด สายตา ทิวเขาซับซ้อน บรรยากาศสว่าง นุ่มนวล และเย็นสบาย ทันใดนั้นเขาได้ยินเสียงทักทาย “ยินดีต้อนรับสู่แดนกามาวดี ข้าชื่อยม มีหน้าที่ดูแลที่นี่” ชายหนุ่มรูปงาม ปรากฏกายขึ้นต่อหน้าต่อตา เขาแต่งตัว ประหลาด แต่ทักทายอย่างอารมณ์ดี


84

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

สมชายดีใจที่มีเพื่อนคุย เอ่ยถามว่า “ข้ามาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร” “ท่านตายจากโลกมนุษย์แล้ว กรรมทีท่ า่ นทำ�ได้สง่ ผลให้มา เกิดที่นี่” สมชายนิง่ อึง้ รูส้ กึ เสียใจเล็กน้อย แต่เมือ่ นึกถึงภรรยาคูช่ วี ติ เขาพลันดีใจว่าได้หลุดพ้นจากเคราะห์กรรมอันชั่วร้ายแล้ว “ข้าต้องทำ�อะไรบ้าง” เขาเอ่ยถาม “ท่านไม่ตอ้ งทำ�อะไรทัง้ นัน้ หากท่านต้องการสิง่ ใด จงบอก ข้า ข้าจะเนรมิตให้” คฤหาสน์ยักษ์ รถยนต์หรู เสื้อผ้า อาหาร อะไรที่เคยฝัน อยากได้ซงึ่ มากมายจนจาระไนไม่หมด ยมสามารถเนรมิตให้ได้ทนั ที เขาเสวยสุขอย่างตะกละตะกลาม เป็นการชดเชยกับการทำ�งาน อย่างหามรุ่งหามค่ำ� สมัยที่คอยรับใช้ครอบครัวในเมืองมนุษย์ แต่เขาเสวยสุขอยู่ไม่นานนัก ก็เริ่มเบื่อหน่าย วันหนึ่งเขาขอร้องยมว่า “ข้าเบือ่ เหลือเกินแล้ว ท่านช่วยหางานอะไรให้ขา้ ทำ�บ้างเถิด ข้าไม่อยากได้อะไรอีกแล้ว” “ที่นี่ไม่มีอะไรให้ทำ�ทั้งนั้น ท่านมีเพียงหน้าที่เดียว คือขอ อะไรก็ได้ ยกเว้นทำ�งาน” ยมพูดดักคอ


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

85

สมชายเริ่มมีโทสะ เขากล่าวด้วยความหงุดหงิด “ไม่มีอะไรให้ทำ� ข้าทำ�อะไรไม่ได้เลยเหรอ นี่มันนรกชัดๆ” “อ้าว! ท่านคิดว่าท่านอยูใ่ นสวรรค์หรือไง?” ยมกล่าวอย่าง เบิกบาน ทันใดนัน้ เขาก็ตกใจตืน่ ขึน้ มา แต่แล้วก็ตอ้ งผวาเมือ่ เหลือบ ไปเห็นภรรยานอนขึ้นอืดอยู่ข้างๆ เขาถอนหายใจเฮือกใหญ่ พลาง บ่นพึมพำ� “นรกจริงๆ” เรือ่ งของสมชาย กับเรือ่ งของเราท่านทัง้ หลายก็ไม่ตา่ งกัน บทละครที่แสดงผ่านมานั้นจบแล้ว อย่ามัวแต่เพ้อฝันคร่ำ�ครวญ ถึงให้ใจทุกข์ เตรียมใจรอละครเรื่องต่อไปที่จำ�ต้องแสดงตาม อำ�นาจของกรรมแต่ละคน แต่ถ้ามีสติรู้สึกตัว จิตจะเลิกสร้างภาพสร้างภพ เลิกเล่น ละคร รื้อโรงละครทิ้งนับตั้งแต่บัดนี้


86

พระมหาวิเชียร ชินวํโส


87

แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

ภูมิคุ้มกันความทุกข์ ตั้งแต่เรียนชั้นประถม จนถึงวันอุปสมบท ผู้เขียนเห็นลุง แดงเดินอยู่ริมถนนพหลโยธิน ไม่มีใครสนใจว่าแกเป็นใคร มาจากไหน ในช่วงกลางวัน แม้ฝนจะตก แดดจะออกอย่างไร ดูแกจะไม่ สนใจ เดินไป คุยไป หัวเราะไป กับใครก็ไม่รู้ เพราะแกเดินคนเดียว เสื้อผ้าสกปรกมอมแมม เพราะไม่เคยผ่านการซักฟอก ร่างกายไม่ได้เจอสบู่ยาสระผมมานานปีแล้ว ตกค่ำ�ลุงแดงจะเข้าไปอาศัยนอนในวัด โดยที่ไม่สนใจมุ้ง หมอน เสื่อ แค่มีเพียงพื้นปูนเรียบๆ แกก็นอนได้อย่างเป็นสุข โดย มียุงและหมาวัดฝูงใหญ่เป็นเพื่อน


88

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ส่วนเรื่องอาหาร มีพระท่านเมตตาเก็บไว้ให้ ตอนเช้าหลัง จากกินข้าวก้นบาตรพระ แกก็ออกไปทำ�หน้าที่สำ�รวจถนนต่อไป และหลายครั้งกว่าจะเย็นค่ำ� อาหารที่พระท่านเก็บไว้ให้ก็บูดเสีย แล้ว แต่ดูแกจะไม่อนาทรร้อนใจแต่อย่างใด รับประทานได้อย่าง เอร็ดอร่อยทุกครั้ง ใช่แล้ว แกเป็นคนบ้า คนบ้าที่มีความสุข แกไม่มีอะไรเป็น สมบัตสิ ว่ นตัว นอกจากเสือ้ ผ้าทีแ่ กสวมใส่ จนเมือ่ ผูเ้ ขียนมองย้อน กลับมาสำ�รวจตนเองที่มีนั่น โน่น นี่มากมาย แต่ไม่เคยพอใจสัก ครัง้ ทุกข์กบั ความมีความเป็นของตนเองอยูบ่ อ่ ยๆ หลายครัง้ ก็ชกั สับสนตงิดๆ ว่า “ลุงแดงกับเรานี่ ใครบ้ากว่ากันหว่า” และทีส่ งสัยมานานก็คอื ทำ�ไมคนบ้าส่วนมากไม่คอ่ ยเจ็บป่วย หรือเขาก็ป่วยเป็นแต่ไม่บอก หรือเขาป่วยแต่ไม่ทุกข์? จนเมื่อเติบโตขึ้นมา ถูกฉีดวัคซีน ปลูกฝีอยู่หลายครั้งจึงได้ รู้ว่า เขาทำ�เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกัน เพราะวัคซีน หรือการปลูกฝีนั้น เขาเอาเชื้อโรคนั่นแหละมากระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ภูมคิ มุ้ กันโรค (Immunity) หมายถึง ร่างกายมีความต้านทาน เกิดจากมีกลไกป้องกันหรือต่อต้านโรคใดโรคหนึ่งโดยเฉพาะ


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

89

ภูมิคุ้มกันโรคโดยทั่วไปท่านแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ๑. ภูมคิ มุ้ กันโรคทีม่ อี ยูต่ ามธรรมชาติ (Natural Immunity) เป็นภูมิคุ้มกันโรคที่ถ่ายทอดมาทางสายเลือด โดยแม่จะถ่ายทอด ผ่านทางรกมาสู่ลูกในครรภ์ ดังนั้น ทารกที่เกิดใหม่จะมีภูมิคุ้มกัน โรคบางชนิด เช่น โรคคอตีบ โรคหัด และไข้ทรพิษได้เองตาม ธรรมชาติ แต่ภมู คิ มุ้ กันโรคตามธรรมชาติเหล่านีค้ งอยูไ่ ด้ประมาณ ๓ เดือนหลังคลอด ต่อจากนั้นทารกจะมีภูมิคุ้มกันโรคลดลง แม้แต่นมแม่ซึ่งไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ หรือสเตอริไลซ์ มาจากไหน เมื่อทารกดื่มก็ช่วยกระตุ้นลำ�ไส้ของลูกน้อยให้รู้ว่า แบคที เ รี ย ชนิ ด ใดมี ป ระโยชน์ นั่ น คื อ กระตุ้ น ให้ ร่ า งกายสร้ า ง ภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง และร่างกายของคนเราโดยทั่วไปยังมีผิวหนัง เยื่อเมือก ต่างๆ เช่น เยื่อตาและเยื่อจมูก น้ำ�ย่อยอาหาร และเม็ดเลือดขาว ไว้สำ�หรับคุ้มกันโรคตามธรรมชาติอีกด้วย ๒. ภูมิคุ้มกันโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired Immunity) จะเกิดขึน้ ภายหลังจากหายป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น ไข้ทรพิษ หัด อีสกุ อีใส คางทูม เป็นต้น เพราะเมือ่ เป็นโรคเหล่านีแ้ ล้วร่างกาย จะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง หรือเกิดได้โดยการปลูกฝี ฉีดวัคซีน


90

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ฉีดเซรุ่ม เพื่อช่วยให้ร่างกายมีหรือสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะโรคใดโรค หนึ่งขึ้นมา เชื่อได้ว่า หากจับลุงแดงไปเจาะเลือด ตรวจหาเชื้อโรคแล้ว ให้แพทย์วินิจฉัย แกคงเป็นสารพัดโรค แต่ที่แกไม่ป่วยเพราะแกมี ภูมิคุ้มกัน เชื้อโรคต่างๆ จึงมีทั้งคุณและโทษต่อร่างกายของมนุษย์ นางปฏาจารา เป็นธิดาเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถี เป็นที่รัก เป็นทีห่ วงแหนของบิดามารดามาก ไม่ยอมให้คบหาสมาคมกับชาย ใด ถึงกับสร้างปราสาท ๗ ชัน้ ให้นางอยู่ จะไปไหนทีตอ้ งขออนุญาต ทำ�ให้นางรู้สึกอึดอัดมาก จนในที่สุดนางเกิดความรักกับคนใช้ใน บ้าน มีความสัมพันธ์กันลับๆ โดยที่บิดามารดาไม่ทราบ วันหนึ่ง นางทราบว่ามารดาบิดาจะบังคับให้แต่งงานกับ ลูกชายเศรษฐีที่มีฐานะเท่าเทียมกัน ด้วยอำ�นาจแห่งรัก นางจึง นัดแนะกับชายคนรักหนีออกจากบ้านไปอยู่ชนบทห่างไกล ทนอยู่ อย่างอดๆ อยากๆ ไม่นานนักก็ตั้งท้องลูกคนแรก เมื่อใกล้จะคลอดนางนึกถึงมารดาบิดาว่า “ถ้าคลอดลูกท่ามกลางพ่อแม่ญาติพนี่ อ้ ง คงจะอบอุน่ และ ปลอดภัยกว่านี้”


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

91

นางจึงขอร้องให้สามีพากลับบ้าน สามีกลัวความผิดของ ตนเอง เกรงว่าจะถูกเศรษฐีทำ�ร้ายไม่ยอมให้อภัย จึงบ่ายเบี่ยงไม่ ยอมพานางกลับ เมือ่ สามีไม่อยูบ่ า้ น วันหนึง่ นางก็หนีกลับบ้าน ระหว่างทาง เกิดปวดท้องรุนแรงและคลอดลูกในระหว่างทาง สามีตามมาทัน จึงพากลับบ้านตามเดิม ครัน้ ตัง้ ท้องลูกคนทีส่ อง นางก็ออ้ นวอนสามีให้พากลับบ้าน อีก สามีก็บ่ายเบี่ยงเช่นเคย นางจึงพาลูกหนีสามีไปอีก สามีตาม มาทัน บังเอิญว่าวันนั้นเกิดพายุฝนกระหน่ำ� สามีจึงไปหาใบไม้มา ทำ�เพิงหลบฝนแต่เคราะห์รา้ ยถูกงูกดั ตาย ในขณะทีร่ อสามีกลับมา นางก็คลอดลูกคนทีส่ องในท่ามกลางฝนตกหนัก นางต้องทนทุกข์ ทรมานตลอดคืน เมื่อสว่างแล้ว นางได้อุ้มลูกน้อยที่พ่ึงคลอดใหม่และจูง ลูกชายคนโตเดินตามหาสามี เมื่อเห็นสามีตายแล้วก็ร้องไห้เสียใจ พาลูกกลับเมืองสาวัตถี พบแม่น�้ำ กระแสเชีย่ วขวางทางอยู่ ครัน้ จะ พาลูกทั้งสองข้ามน้ำ�ไปพร้อมกันก็ไม่ได้ จึงวางลูกชายคนโตให้รอ อยูฝ่ งั่ นี้ อุม้ เอาลูกคนเล็กข้ามน้�ำ ไปวางไว้ทฝี่ งั่ โน้น แล้วกลับมาเพือ่ จะรับลูกคนโตข้ามน้ำ�


92

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

พอถึ ง กลางลำ � ธาร มี เ หยี่ ย วใหญ่ ตั ว หนึ่ ง บิ น ผ่ า นมา เห็นเด็กน้อยพึ่งคลอดเข้าใจว่าเป็นชิ้นเนื้อจึงโฉบลงมา นางรีบ ยกมือทั้งสองขึ้นร้องตะโกนไล่เหยี่ยวเสียงดังลั่น สายเสียแล้ว เหยี่ยวได้โฉบเอาลูกน้อยของนางไปต่อหน้า ต่อตา ฝ่ายลูกชายคนโตเห็นแม่ยกมือขึ้นร้องโหวกเหวก นึกว่าแม่ ร้องเรียก ก็กระโจนลงน้ำ�จะมาหาแม่ ถูกกระแสน้ำ�พัดหายไปใน บัดดล ปฏาจาราได้สญ ู เสียทุกอย่างหมดสิน้ สามีและลูกน้อยตาย ไปต่อหน้าต่อตา นางร้องไห้คร่ำ�ครวญอย่างน่าสงสาร น้ำ�ตาแทบ เป็นสายเลือด เดินโซซัดโซเซไปสู่เมืองสาวัตถี ระหว่างเดินทางมุ่งหน้าไปเมืองสาวัตถี พบชาวเมืองคน หนึง่ เดินสวนทางมา นางจึงถามถึงบิดามารดาของตน เมือ่ ได้รบั คำ� ตอบว่าเมื่อคืนนี้ฝนตกหนัก ได้เกิดอุทกภัยพัดกระหน่ำ�บ้านเศรษฐี พังทับคนในบ้าน บิดามารดาและพี่ชายของนางได้ตายหมดแล้ว ความหวังที่พอมีอยู่หมดไปเสียแล้ว นางล้มลงสิ้นสติไป ทันที ฟื้นขึ้นมาอีกทีก็กลายเป็นคนเสียสติเดินไปอย่างไร้จุดหมาย จนผ้าผ่อนที่นุ่งอยู่หลุดหายไปไม่รู้สึกตัว ชาวเมืองเห็นนางก็ขับไล่ไสส่งให้พ้นจากบ้านตน ไม่มีใคร ปรารถนาให้นางเข้าใกล้


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

93

“หญิงบ้าไปที่อื่นๆ ไป๊” นางเดินสะเปะสะปะ หัวเราะบ้างร้องไห้บา้ งเข้าไปยังเชตวัน มหาวิหาร ขณะนั้นเอง พระพุทธเจ้ากำ�ลังแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ อุบาสกอุบาสิกาต่างก็ขับไล่นางให้หนีไป พระพุทธองค์ตรัสบอก พวกเขาให้พานางเข้ามา พร้อมกับตรัสเตือนสติว่า “น้องหญิง จงมีสติกลับมาเถิด” ด้วยพุทธานุภาพ นางได้สติกลับคืนมา เห็นตัวเองเปลือย กายล่อนจ้อนต่อหน้าธารกำ�นัล ก็นงั่ ลงด้วยความอดสู อุบาสกคน หนึ่งได้โยนผ้าให้นางนุ่งห่ม นางเข้าไปกราบแทบพระยุคลบาท กราบทูลพลางร่ำ�ไห้ไปพลางถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับนาง นาง เหลือเพียงผู้เดียว ไร้ญาติขาดมิตรเสียแล้ว พระพุทธองค์ตรัสว่า “อย่าคิดมากเลยปฏาจารา สามี ลูกทั้งสอง บิดา มารดา และพี่ชายของเธอก็ตายไปแล้ว ถึงเธอจะร้องไห้จนน้ำ�ตาท่วมตัว เธอก็ช่วยให้เขาเหล่านั้นฟื้นขึ้นมาไม่ได้ น้ำ�ตาของผู้ที่ร้องไห้เพราะ พลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รักในสังสารวัฏอันยาวนานนี้ มี มากกว่าน้�ำ ในมหาสมุทรทัง้ สีเ่ สียอีก เธออย่าได้มวั ประมาทอยูเ่ ลย จงทำ�ที่พึ่งแก่ตัวเองเถอะ แล้วเธอจะไม่ต้องเสียน้ำ�ตาอีกต่อไป


94

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ปิยชนทัง้ หลาย มีบดิ ามารดาเป็นต้น ไม่อาจเป็นทีพ่ งึ่ แก่เราได้ดอก นอกจากเราต้องพึ่งตัวเราเอง” เมือ่ ได้ฟงั พระพุทธดำ�รัสตรัสปลอบโยน นางก็คอ่ ยบรรเทา ความเศร้าโศกลง จิตใจสงบผ่องใส ฟังพระธรรมเทศนาจบได้บรรลุ โสดาปัตติผล จึงทูลขอบวชเป็นภิกษุณี พระพุทธองค์ได้ส่งเธอไป บวชในสำ�นักภิกษุณี เมื่อบวชแล้ววันหนึ่ง พระเถรีเทน้ำ�จากหม้อดินล้างเท้า มองเห็นน้�ำ ไหลไปหน่อยหนึง่ แล้วซึมหายไปในดิน เทลงครัง้ ทีส่ อง น้�ำ ไหลไปไกลกว่าเดิมแล้วก็ซมึ หายไป เทลงครัง้ ทีส่ ามน้�ำ ไหลไปไกล กว่านั้นอีกแล้วก็ซึมหายไป นางพิจารณาว่า “ชีวิตคนเราก็เหมือนกับน้ำ�ที่เทออกจากหม้อน้ำ� บางคน ตายแต่อายุยงั น้อย บางคนตายเมือ่ เข้าวัยกลางคน บางคนตายใน วัยแก่ชรา ชีวิตนี้ไม่แน่นอนเลย” ทันใดนั้น พระพุทธองค์ปรากฏต่อหน้านาง ท่ามกลาง ฉัพพรรณรังสี ทรงตรัสว่า “ปฏาจารา เธอคิดถูกแล้ว การมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวของ คนที่พิจารณาเห็นความเกิดดับแห่งเบญจขันธ์ ประเสริฐกว่าการ มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปีของคนที่มองไม่เห็นสัจจะข้อนี้” เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระปฏาจาราเถรีได้บรรลุพระ


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

95

อรหันต์พร้อมปฏิสมั ภิทาทันที และได้รบั ยกย่องจากพระพุทธองค์ ในตำ�แหน่งเอตทัคคะทางด้านเป็นผู้เคร่งครัดในพระวินัย เพราะความทุกข์มหันต์ จึงชักนำ�ให้พระเถรีคน้ พบความสุข นิรันดร์ ทุกข์จึงเป็นวิถีทางแห่งการก้าวเดินสู่จุดหมายปลายทาง อันเป็นประโยชน์สูงสุดของชีวิต ประสบการณ์ชวี ติ เบือ้ งหลังชีวติ ของนางกลายเป็นประโยชน์ แก่นางในการเผยแผ่พระศาสนา นางได้น�ำ เอาประสบการณ์ไปสอน ภิกษุณแี ละสตรีทงั้ หลายได้เป็นอย่างดี จึงมักปรากฏว่ามีเหล่าสตรี ผู้มีปัญหาชีวิตมาขอคำ�แนะนำ�จากนางอยู่เสมอ ชีวิตของพระนางปฏาจาราเถรี จึงเป็นชีวิตที่เป็นกำ�ลังใจ แก่ผทู้ กี่ �ำ ลังประสบความทุกข์อย่างใดอย่างหนึง่ ให้ยนื หยัดต่อสูไ้ ด้ เป็นอย่างดี เชื้อโรคทางกาย มีภูมิคุ้มกันทางกายช่วยปกป้อง เชื้อโรคทางใจ มีสติ-สัมปชัญญะ เป็นภูมิคุ้มกัน การขาดสติ-สัมปชัญญะ ก่อให้เกิดความทุกข์ และความผิด หวังในชีวิต ความทุกข์จงึ เป็นอริยสัจ หรือความจริงอันประเสริฐ ทีย่ อ้ น กลับไปเป็นวัคซีนช่วยเยียวยาโรคทางจิตวิญญาณได้เป็นอย่างดี


96

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

อย่ากลัวทุกข์ แต่จงเรียนรู้ทุกข์ อย่าหนีทุกข์ แต่จงทำ�ความเข้าใจในทุกข์ อย่าเป็นทุกข์ แต่จงเห็นทุกข์ อย่าเกลียดทุกข์ แต่จงยิ้มรับและต้อนรับมันฉันเพื่อนสนิท เชื้อโรค ช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันโรค ความทุกข์ ช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันความทุกข์ ยอมรับ เรียนรู้ เข้าใจ แล้วการปล่อยวางทุกข์จะเกิดขึน้ เอง แค่ไม่ทุกข์...ความสุขก็เกิดขึ้นทันที


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

97


98

พระมหาวิเชียร ชินวํโส


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

99

วิธีฝึกใจสำ�หรับคนไร้ศาสนา สำ�นักข่าวรอยเตอร์รายงานผลการวิจัยในชื่อ “ภูมิทัศน์ใน การนับถือศาสนาของคนทั่วโลก” โดย “พิว” (The Pew Forum on Religion & Public Life) รวบรวมข้อมูลจากสถิติในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ พบว่า ประชากรโลกทีร่ ะบุวา่ ตัวเองเป็นคน “ไร้ศาสนา” หรือ “ไม่ผูกพันกับศาสนาใด” มีจำ�นวนเพิ่มมากขึ้นจนติดอันดับ ๓ อันดับ ๑ ศาสนาคริสต์ มีผู้นับถืออยู่ทั่วโลกสูงถึง ๒.๒ พัน ล้านคน อันดับ ๒ ศาสนาอิสลาม มีอยู่ประมาณ ๑.๖ พันล้านคน อันดับ ๓ สำ�หรับผู้ที่ระบุว่าไร้ศาสนา หมายถึง ผู้ที่แสดง ตนว่าไม่ได้นับถือศาสนาใดๆ เลย หรือผู้ที่มีศรัทธาในจิตวิญญาณ ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับศาสนาใด มีจำ�นวน ๑.๑ พันล้านคน


100

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

คนที่นับถือศาสนาอยู่แล้ว แต่ไม่เคยประพฤติปฏิบัติตาม หลักคำ�สอนของศาสนาเลย หรือไม่เคยศึกษาให้เข้าใจ นี่ก็น่าจะ เหมารวมได้ว่าเป็นคนไร้ศาสนาเช่นกัน อันดับ ๔ ศาสนาฮินดู มีผนู้ บั ถือ ๑,๐๐๐ ล้านคน โดย ๙๔ % อยู่ในประเทศอินเดีย อันดับ ๕ ศาสนาพุทธ มีผู้นับถือ ๕๐๐ ล้านคน อันดับ ๖ กลุม่ ศาสนาเล็กๆ เช่น บาไฮ ลัทธิเต๋า เจนไน ชินโต ซิกข์ เทนริเคียว วิคคา และโซโรอัสเตอร์ มีผนู้ บั ถือรวมกันประมาณ ๕๘ ล้านคนทั่วโลก อันดับ ๗ กลุ่มผู้ที่นับถือธรรมชาติ กราบไหว้ภูติผีและเทพ อื่นๆ ตามความเชื่อของบรรพบุรุษ มีประมาณ ๔๐๕ ล้านคน อันดับ ๘ ศาสนายิว มีผนู้ บั ถือศาสนานีใ้ นประเทศอิสราเอล และที่อื่นๆ ๑๔ ล้านคน เมื่อถึง พ.ศ. นี้ แน่นอนว่าคนไร้ศาสนาคงมีมากขึ้น แต่ก็ไม่ ได้แปลว่าสังคมจะเลวลง เพราะคนไร้ศาสนาไม่ได้แปลว่า ไร้เมตตา ไร้ปัญญา หรือไร้คุณธรรม คนไร้ศาสนาอาจเพราะเหตุผลมากมาย เช่น ๑. เบื่อพิธีกรรม


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

101

๒. รู้สึกเป็นอิสระมากกว่า ๓. ไม่มีศาสนาก็ทำ�ดีได้ ๔. ศาสนาทำ�ให้คนฆ่ากันเพราะความแตกต่างของศรัทธา สงครามทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ถ้าไม่เพราะการเมือง ก็เพราะ ศาสนานั่นเอง ๕. คำ�สอนทางอภิปรัชญาของศาสนาต่างๆ ไม่สามารถ พิสูจน์ได้ แต่ถ้าเป็นคำ�สอนทางด้านจริยธรรม เช่น ความอดทน ความเพียร เมตตากรุณา คนทั่วไปก็ทำ�กันโดยปกติอยู่แล้ว ไม่เห็น จำ�เป็นต้องมีศาสนา และอีกร้อยแปดพันเก้า ถ้าถามผู้เขียนเอง ก็ยอมรับความเห็นที่แตกต่าง ทุกคนมี สิทธิที่จะเลือกนับถือหรือไม่นับถือศาสนาใดก็ได้ สรรพสัตว์ทงั้ หลาย ไม่รเู้ ลยว่าเกิดมาเพือ่ นับถือศาสนาอะไร ล้วนสร้างสมมุติขึ้นมาในภายหลังว่า ฉันเป็นพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู หรือไร้ศาสนา บางครั้งการไร้ศาสนา อาจช่วยให้ไร้อัตตาตัวตนได้ง่ายกว่า เพราะไม่ถกู ปลูกฝังให้จมอยูก่ บั ศรัทธา ความเชือ่ รูปแบบ พิธกี รรม ทางศาสนา


102

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ที่เขียนเรื่องนี้ ก็เพื่อนำ�เสนอวิธีฝึกใจที่เหมาะสำ�หรับมวล มนุษยชาติ เพราะจะนับถือศาสนาหรือไร้ศาสนาก็ลว้ นเคยทุกข์ ไม่ ทุกข์กายก็ทุกข์ใจอย่างแน่นอน การฝึกใจ ก็เพื่อบริหารจัดการทุกข์ของตนนั่นเอง คนที่จะ สามารถฝึกใจได้นั้น ต้องมีพื้นฐานเป็นคนดีแน่นอน ตัดเรื่องของ พิธีกรรมทางศาสนาออกไปได้เลย และไม่จำ�เป็นว่าจะต้องมีใคร ที่ไหนมาลงโทษ หรือให้รางวัล นอกจากตัวของคุณเอง พูดง่ายๆ คือ คุณนั่นแหละที่จะลิขิตหรือออกแบบชีวิตตนเอง ไม่ตอ้ งกราบพระ สมาทานศีล ไม่ตอ้ งทำ�พิธมี สิ ซา ละหมาด หรือไม่ต้องทำ�พิธีกรรมอะไรที่เกี่ยวกับศาสนาไหนทั้งสิ้น ขอเพียง คุณเคารพกฎหมาย เคารพสิทธิของผู้อื่น ยึดถือความถูกต้องก็ เพียงพอแล้ว ๑.เบื้องต้น ฝึกทำ�ความรู้สึกตัวไปก่อน กายเคลื่อนไหว รู้อาการของกาย ไม่ใช่รู้แขน รู้ขา รู้หัว แต่ ให้รู้สึกทั้งตัว รู้สบายๆ ไม่ทำ�อะไรมากกว่ารู้ รู้สึก สังเกต ไม่สงสัย ไม่หาเหตุผล ไม่หาคำ�ตอบ เพียงแค่รู้สึก จิตคิด ฟุ้ง ปรุงแต่ง รู้อาการของจิต ไม่ใช่รู้ว่าคิดเรื่องอะไร แค่รสู้ กึ ว่ากำ�ลังคิด กำ�ลังฟุง้ กำ�ลังเครียด กำ�ลังเบือ่ กำ�ลังสุข กำ�ลัง


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

103

ทุกข์ ฯลฯ เฝ้าสังเกต รับรู้ ไม่สงสัย ไม่หาเหตุผล ไม่หาคำ�ตอบ เพียงแค่รู้สึกเท่านั้น เมื่อเผลอ หรือลืมรู้สึกตัว ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด แค่เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง วันหนึ่งๆ คุณอาจเริ่มต้นใหม่สักพันครั้งก็ได้ คุณอาจรูส้ กึ ว่าในขณะทีร่ กู้ าย ก็รจู้ ติ ไปพร้อมๆ กันด้วย นัน่ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติเหมือนกัน และการฝึกทำ�ความรู้สึกตัวนี้ ไม่จำ�เป็นต้องหาเวลาว่าง เป็นการเฉพาะ ฝึกในขณะทำ�กิจกรรมปกติในชีวิตประจำ�วันนั่น แหละ เริ่มตั้งแต่ตื่นจนหลับไป แม้แต่ในขณะที่ดูทีวี เข้าห้องน้ำ� ทานข้าวกับลูกค้า ออก กำ�ลังกายในฟิตเนส วิ่ง เต้นรำ� ฟังเพลง ออกงานอีเว้นท์ เดินเล่น ในห้าง ชมคอนเสิรต์ ฯลฯ พูดง่ายๆ ก็คอื ขอแค่คณ ุ ตืน่ คุณก็สามารถ ฝึกการรู้สึกตัวได้แล้ว ฝึกรู้อย่างนี้ไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ ต่อเนื่อง เมื่อเราได้ฝึก ทักษะการรูส้ กึ ตัว จนชำ�นาญพอสมควรแล้ว จะเริม่ รูส้ กึ ได้วา่ ความ รูส้ กึ ตัวเกิดขึน้ เองโดยอัตโนมัติ รูแ้ ล้วก็ดบั ไป รูแ้ ล้วก็ไม่รู้ นัน่ แหละ ถูกแล้ว เพราะความรู้สึกตัวก็ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ


104

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

แต่ สิ่ ง ที่ จ ะสั ง เกตเห็ น ก็ คื อ จิ ต ไม่ ป รุ ง ทุ ก ข์ เ หมื อ นก่ อ น แม้จะคิด หรือฟุ้งซ่านเหมือนเดิม แต่จิตจะวางการเข้าไปจัดการ กะเกณฑ์ หรือคาดหวังลงไปได้โดยง่าย หรือแม้แต่อาการเจ็บปวด ทางกาย เช่นปวดหัว ปวดท้อง ก็ไม่ทำ�ให้จิตทุกข์หรือทุรนทุราย เหมือนที่เคยๆมา นั่นแสดงว่า จิตหยุดสร้างมายา ยอมรับความจริงได้ว่า อาการทุกข์กายทุกข์ใจเป็นเรื่องปกติ ตราบใดที่มีกายก็ทุกข์กาย ตราบใดที่มีจิตก็ทุกข์จิต หากคุณต้องนัง่ นิง่ ๆ บนรถเมล์ รถไฟ บนเก้าอีใ้ นสำ�นักงาน บนเครือ่ งบิน แทนทีจ่ ะปล่อยให้จติ คิดเรือ่ ยเปือ่ ย ก็ลองน้อมจิตมา ทำ�ความรู้สึกตัวที่ลมหายใจ ปล่อยลมหายใจให้เป็นธรรมชาติ จะสั้น ยาว เข้า ออก หยาบหรือละเอียด ก็ปล่อยให้มันเป็นอย่างนั้น เพียงรับรู้ รู้สึก สังเกต เท่านั้น เพียงแค่รบั รูล้ มหายใจทีเ่ ราไม่เคยสนใจมาตลอดทัง้ ชีวติ นัน่ แหละ อาจก่อให้เกิดความสุขมากกว่ารับประทานอาหารชัน้ เลิศใน ภัตตาคารใดๆ ในโลกนี้ก็ได้


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

105

๒.พัฒนาการของความรู้สึกตัว เมือ่ ฝึกไปได้ระดับหนึง่ ความรูส้ กึ ตัวนัน้ จะเฝ้าระมัดระวังอยู่ ที่ ก ายที่ ใ จของคุ ณ มากขึ้ น คุ ณ จะรู้ สึ ก ได้ ถึ ง ความทุ ก ข์ ชั ด เจน มากกว่าเดิม เหมือนกำ�ลังมองใครที่ไม่ใช่เรา แต่ที่แปลกกว่านั้นก็ คือ แม้จะรู้สึกถึงทุกข์ชัดเจน แต่จิตไม่เป็นทุกข์ หรือทุกข์น้อยกว่า เดิมหลายเท่า เพราะจิตรู้เท่าทันทุกข์และยอมรับความทุกข์นั้นได้ โดยง่าย สิ่งที่จะเห็นชัดเจนอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความเปลี่ยนแปลง สืบต่อ เคลื่อนที่อยู่เสมอของกายและใจ จนเริ่มรู้สึกเหมือนรับรู้ได้ ว่ากายใจนั้นเป็นเพียงพลังงานอะไรอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของ เรา ไม่ใช่ใครทั้งนั้น อาจรู้ได้นานๆ ครั้ง เพียงขณะเดียว แต่อาการ ที่ไม่ใช่ใครที่ไหนนี่แหละ จะปรากฏบ่อยขึ้นๆๆ ใหม่ๆ จิตจะดิ้นรน ผลักไส ขัดขืน ไม่ยอมรับความจริงนั้น แต่เมือ่ เห็น รับรู้ รูส้ กึ บ่อยๆ เข้า จิตจะหยุดดิน้ รนไปเอง และยอมรับ ความไม่ใช่ตัวตนมากขึ้น ๓.ผลแห่งความรู้สึกตัว ความรู้สึกตัวก็คือ สติ-สัมปชัญญะนั่นเอง เพื่อให้เข้าใจถึง กฎเกณฑ์ธรรมชาติ จนยอมรับความจริงว่า สุขหรือทุกข์ล้วนแต่


106

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

เกิดเองดับเอง ไม่จำ�เป็นต้องนับถือศาสนาไหนก็ฝึกได้ สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนทุกข์เพราะเข้าใจผิดว่า มีอัตตาตัว ตน คือความรู้สึกว่ามีเรานั่นเอง จึงก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง ยื้อแย่ง แข่งขัน เพื่อรักษาอัตตาของตนเอาไว้ เพราะมีเรา จึงมีของเรา เพราะมีเรา จึงมีเราที่เป็นพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู หรือ แม้แต่เราที่ไร้ศาสนา ฯลฯ เพราะมีเรา จึงมีเราที่เก่ง ดีเลิศ ย่ำ�แย่ ท้อแท้ สุข ทุกข์ เพราะมีเรา จึงมีรถ บ้าน แฟน สามี ภรรยา เพื่อน การงาน ของเรา เพราะมีเรา จึงมีศักดิ์ศรี เกียรติยศ ชื่อเสียงของเรา เมื่อรู้สึกตัวบ่อยเข้า ความเข้าใจผิดว่ามีอัตตาลดลง จิตจะ ปลอดโปร่ง ปล่อย วาง ว่าง เบา ได้ง่ายขึ้น เพราะไร้เรา จึงไร้เขา เพราะไร้เรา จึงไร้ทุกข์ เพราะไร้เรา จึงไม่มีอะไรสักอย่างให้ยึด แม้จะมีอยู่เต็มโลก ก็มีอยู่ด้วยเข้าใจถูกต้อง ว่าเป็นเพียงสิ่งสมมุติชั่วคราวเท่านั้น


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

107

และเพราะไร้เรา จึงไร้ศาสนาได้อย่างแท้จริง ศาสนสถานแห่งหนึ่ง มีนักพรตผู้เฒ่าเป็นเจ้าสำ�นัก ท่าน อยู่ในเพศนักพรตมาตั้งแต่วัยเด็ก ศึกษาเล่าเรียนศาสนธรรมมา มาก มีเสียงเลือ่ งลือว่าท่านเป็นนักพรตผูว้ เิ ศษ จึงเป็นทีเ่ คารพของ หมู่ชน มีศาสนิกจำ�นวนมากมาศึกษาปฏิบัติธรรมในสำ�นัก ห่างจากศาสนสถานแห่งนั้นไม่ไกล มีสำ�นักนางคณิกาตั้ง อยู่ แต่ละวันมีชายหลากหลายวัยมาใช้บริการ แม่เล้าเจ้าสำ�นักแม้ จะอยู่ในวัยกลางคนแล้ว แต่ใบหน้าก็ยังหลงเหลือความงามอยู่ นางดูแลเหล่านางโลมอย่างเมตตาอารี เพราะรู้ดีว่าหากเลือกได้ หญิงสาวเหล่านี้คงไม่มาขายบริการทางเพศเช่นนี้ จึงแนะนำ�สั่ง สอนให้ตั้งอยู่ในความดีงาม เมื่อชะเง้อคอมองข้ามรั้วของศาสนสถาน นางทอดถอนใจ อดอิจฉาศิษยานุศษิ ย์ของนักพรตเฒ่าไม่ได้ นางชืน่ ชมยินดีทกุ ครัง้ ที่เห็นเขาเหล่านั้นมีโอกาสได้เพิ่มพูนบุญให้แก่ตนเอง นางน้อม ศีรษะแสดงความคารวะทุกครั้ง ที่เห็นเหล่านักพรตเดินผ่านหน้า สำ�นัก และน้อมโสตอย่างตัง้ ใจทุกครัง้ เมือ่ ได้ยนิ เสียงฝูงชนผูม้ บี ญ ุ ท่องบ่นสาธยายมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ คนไร้ศาสนาเช่นเธอคงทำ�ได้ เพียงเท่านี้


108

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

หลายครั้ ง ที่ นั ก พรตเฒ่ า ได้ ก ล่ า วถึ ง เหล่ า นางคณิ ก า ประกอบคำ�เทศนาของท่านว่าเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย แต่ก็ อดจะชำ�เลืองดูเหล่านางคณิกาด้วยความกระสันไม่ได้ พลางนึก เสียดายว่าท่านบวชแต่เยาว์วยั ไม่มโี อกาสได้ลมิ้ รสกามสุขจากหญิง เหล่านี้ ความรู้สึกเช่นนี้ เกิดแก่ท่านอยู่บ่อยๆ จนทำ�ให้จิตของท่าน ทุรนทุราย วันหนึ่งเกิดวาตภัยอย่างรุนแรง ผู้คนในละแวกนั้นเสียชีวิต เป็นจำ�นวนมาก รวมถึงนักพรตเฒ่า และแม่เล้านั้นด้วย แล้วทั้งคู่ ก็ได้พบกับยมบาล ผู้มีอำ�นาจตัดสินอนาคต หลังจากท่านยมบาล ตรวจสอบประวัติของทั้งคู่ในไอแพด ส่วนตัวแล้ว ท่านจึงวินิจฉัยว่า แม่เล้าควรขึ้นสวรรค์ ส่วนนักพรต เฒ่าควรตกนรก ???


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

109


110

พระมหาวิเชียร ชินวํโส


111

แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

ทิ้งปัจจุบัน คำ�ว่าปฏิบัติธรรม ดูจะเป็นคำ�ที่เข้มขลังสำ�หรับใครบางคน เพราะมักจะรู้สึกว่า การปฏิบัติธรรม ต้องไปอยู่วัด ทำ�อะไร ที่เคร่งครัด เคร่งเครียด ผิดปกติไปจากชีวิตประจำ�วัน บางคนพอได้ก้าวเท้าเข้าไปสู่สนามแห่งการฝึกฝน ก็เกร็ง เพ่ง เอาเป็นเอาตาย แต่เอาไม่เป็นเลยเกือบตาย เส้นเอ็นตึงไปหมด ทั้งตัว การไปปฏิบัติธรรม จึงได้โรคกษัยไตพิการกลับมาด้วย เข็ด ขยาดกันไปทั้งชีวิต แท้ที่จริงแล้วการปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องเรียบง่าย สบายๆ ลองอ่านข้อความต่อไปนี้ แล้วคุณจะรูว้ า่ ง่ายกว่าทีค่ ณ ุ คิดตัง้ เยอะ คำ�ว่าปฏิบัติ มาจากคำ�ว่า ปฏิ แปลว่า เฉพาะ และปัตติ แปลว่า ถึง


112

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

แปลเอาความว่า การเข้าไปรูจ้ กั สิง่ ทีก่ �ำ ลังเกิดขึน้ เฉพาะหน้า ที่นี่เดี๋ยวนี้ ทันที นั่นเอง พูดง่ายๆ คือให้รู้สึกตัวอยู่เสมอๆ ว่ากำ�ลังมีอะไรเกิดขึ้นกับ กายและใจของตนเอง คำ�ว่าธรรมะ มาจาก ธร ธาตุ แปลว่า สภาพที่ทรงตัวอยู่ อย่างนั้น สิ่งหนึ่ง ธรรมชาติ หรือ ธรรมดา หรือภาษาพระเรียกว่า ธัมมัฏฐิติ ความตั้งอยู่เป็นธรรมดา ธัมมนิยาม ความเป็นกฎตายตัวเป็นธรรมดา ปฏิบัติธรรม จึงคือการรับรู้เรื่องธรรมดาเรื่องหนึ่งที่กำ�ลัง เกิดขึ้นเฉพาะหน้าธรรมดานั่นเอง คำ�ว่าเฉพาะหน้า มาจากคำ�ว่า ปัจจุบัน ปัจจุบัน มาจากคำ�ว่า ปัจจะ ซึ่งแปลงมาจากคำ�ว่า ปฏิ นั่นเอง แปลว่า เฉพาะ และคำ�ว่า อุปปันนะ ซึ่งแปลว่า เกิดขึ้น รวมความแล้ว...คำ�ว่า ‘ปัจจุบัน’ จึงแปลว่า สิ่งที่เกิดขึ้น เฉพาะหน้า แล้วอะไรล่ะที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ปรากฏการณ์ธรรมดาทั้งหลายในโลกนี้ที่มีอยู่ที่นี่และ เดี๋ยวนี้นั่นแหละ


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

113

คำ�ว่าปฏิบัติ กับคำ�ว่าปัจจุบัน จึงเป็นเรื่องเดียวกัน สนามแห่งการปฏิบัติ จึงอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ซึ่งไม่พ้นรูปและนาม รูป คือ กายภาพ สสาร-พลังงาน หรือวัตถุ สัมผัสได้ด้วย จักขุประสาท(ตา) โสตประสาท(หู) ฆานประสาท(จมูก) ชิวหา ประสาท(ลิ้น) กายประสาท(กาย) และนาม ซึ่งไม่ใช่วัตถุ ไม่ใช่กายภาพ จับต้องสัมผัสด้วยตา หู จมูก ลิ้น กายประสาทไม่ได้ แต่รู้สึกได้ด้วยใจ ยกตัวอย่างง่ายๆ มีการกระทำ�อะไรเกิดขึน้ ทัง้ ทางกาย และทางใจ ให้รสู้ กึ ตัว เช่นรู้ว่า กำ�ลังเดิน กำ�ลังนั่ง กำ�ลังคิด กำ�ลังเบื่อ กำ�ลังเห็น กำ�ลัง ได้ยิน กำ�ลังหงุดหงิดกับคนเขียนว่าเขียนอะไรก็ไม่รู้ กำ�ลังงง เป็นต้น คำ�ว่าปัจจุบัน จึงเป็นเรื่อง “กำ�ลังเกิดขึ้น (present)” คือ ปัจจุบันกาล มีอยู่ ปรากฏอยู่เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ต่อหน้าต่อตา อย่าง แท้จริง


114

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

มีบทกวีอยู่บทหนึ่งซึ่งผู้เขียนประทับใจ ท่านเขียนไว้ว่า ‘Yesterday is history, Tomorrow is a mystery. Today is a gift, that’s why it is called the present.’* วันวานคืออดีต วันพรุ่งนี้คือปริศนา วันนี้คือของขวัญล้ำ�ค่า นัน่ คือเหตุผลทีค่ นเรียก ‘ปัจจุบนั กาล’ ว่า ‘ของขวัญ’(Present) ขอเขียนให้กระชับกว่านั้นว่า ขณะที่แล้วคืออดีต ขณะต่อไปคืออนาคต แต่ขณะนี้ (Present) คือสิ่งที่ท่านมี นีค่ อื เหตุผลว่า ทำ�ไมจึงเรียกปัจจุบนั นีว้ า่ ของขวัญแห่งชีวติ เพราะการมีอยูข่ องสรรพสิง่ มีจริงเพียงแค่ขณะนี.้ ..เดีย๋ วนี้ เท่านัน้ * จากหนังสือ “Sun Dials and Roses of Yesterday: garden delights which are here displayed in very truth and are moreover regarded as emblems” โดย Alice Morse Earle (ค.ศ.๑๘๕๑-๑๙๑๑)


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

115

ผ่านไปเพียง ๑ ขณะจิตก็เป็นอดีต ขณะจิตที่ยังมาไม่ถึง ก็ยังเป็นอนาคต แต่สงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ ขณะนี้ เป็นปัจจุบนั ของแท้ทจี่ ะรับรูส้ มั ผัสได้ คนทั่วไปกำ�ลังเพ้อฝันกับอดีตและอนาคต ไม่เคยรับรู้สิ่งที่ มีอยู่จริง จึงเพียงแต่พร่�ำ เพ้อถึงสิง่ ทีจ่ บไปแล้ว กับสิง่ ทีย่ งั ไม่เกิดขึน้ เท่านั้นเอง เพียงกลับมารับรู้ ตระหนักรู้ กำ�หนดรู้ รู้สึกตัว อยู่กับ ปัจจุบันขณะ นั่นแหละคุณกำ�ลังปฏิบัติธรรม แต่ปัจจุบันก็มีไว้เพียงให้รับรู้เท่านั้น รู้แล้วทิ้งไปเดี๋ยวนี้ ปัจจุบันจึงไม่ได้มีไว้ให้ยึดถือครอบครอง พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ในคาถาธรรมบทว่า “เธอจงเป็นผู้ปล่อยวางทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน, จง เป็นผูถ้ งึ ฝัง่ แห่งภพ, เธอผูม้ ใี จหลุดพ้นในธรรมทัง้ ปวงแล้ว, จักไม่ เข้าถึงชาติชราอีกต่อไป” (อุคคเสนเสฏฐิปุตตวัตถุ ๒๕/๓๔๘/๑๔๑)


116

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

นัน่ คือการปล่อยวางความยึดมัน่ ถือมัน่ ความทะยานอยาก ในสิ่งทั้งหลายที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ถ้าจะว่าไปแล้ว ปัจจุบนั ก็เป็นเพียงการเปรียบเทียบเท่านัน้ เพราะถ้าไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต จะเรียกอะไรว่าปัจจุบัน ถ้าไม่มีที่นั่น ไม่มีที่โน้น ที่นี่ก็ไม่มี ถ้าไม่มีข้างหน้า ไม่มีข้างหลัง ตรงกลางก็ไม่ปรากฏ ไม่มีชาติที่แล้ว ไม่มีชาติหน้า ชาตินี้จะมีได้อย่างไร วางอดีต ทิ้งอนาคต ปัจจุบันก็ยุติ จึงไม่เกิด ไม่ตาย แล้วจะมีใครที่ยังคงอยู่อีกเล่า


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

117


118

พระมหาวิเชียร ชินวํโส


119

แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว เมื่อมีโยมมาคุยด้วยที่วัดมักบ่นว่า ทุกข์จริงๆ เศรษฐกิจ ไม่คล่องตัว ผัวมีกิ๊กใหม่ ภรรยาไม่ได้ดังใจ เพื่อนๆ ไม่เข้าใจเรา เท้าเป็นตาปลา สิวขึ้นหน้า หรือแม้กระทั่งปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ แท้จริงแล้ว ทุกข์เป็นเรื่องธรรมดา ที่ใครๆ ก็ต้องพบเจอ ใครไม่เคยทุกข์นี่ซิ เป็นเรื่องแปลก


120

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ดังเช่น วชิราภิกษุณี กล่าวกับพระยามารว่า “ความจริง ทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่และเสื่อม สิ้นไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ” (วชิราสูตร สํ.สคา.๑๕/๒๒๗/๑๗๑) โห...อ่านแล้วหลายคนอาจรูส้ กึ ว่า ช่างมองโลกในแง่รา้ ยจัง แต่ที่จริงแล้ว นี่คือการมองโลกในแง่มุมแห่งความเป็นจริง อาจบอกได้วา่ ความทุกข์เป็นปัญหาของชีวติ ถ้าเรามองว่า เป็นปัญหา หลายคนจึงพยายามกลบเกลือ่ นความทุกข์ดว้ ยวิธกี ารต่างๆ กันไป ตามสติปัญญาของตน แต่พระพุทธเจ้าสอนให้เรียนรู้ทุกข์ เข้าใจทุกข์ เป็นเพื่อน กับทุกข์ แล้ววางทุกข์ไป พระพุทธเจ้าจึงยกให้ทุกข์เป็นหนึ่งในสุดยอดแห่งสัจจะ ที่ เรียกว่า อริยสัจ ๔ แปลว่าความจริงอันประเสริฐ ทำ�ไมจึงเป็นความจริงอันประเสริฐ เพราะเป็นความจริงที่ เรียนรู้แล้ว สามารถแก้ทุกข์ได้จริง และแก้ได้อย่างถาวร


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

121

ส่วนความจริงอย่างอื่น ที่เรียกว่าสมมุติสัจ เช่น ผู้ชาย ผู้หญิง พ่อ แม่ สามีภรรยา ลูก สมการ วิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น เป็นความจริงที่ไม่ประเสริฐ เพราะแก้ทุกข์ได้ ชั่วคราว ทุ ก ครั้ ง ที่ ส่ ง จิ ต ออกนอก เช่ น คิ ด ปรุ ง แต่ ง เรื่ อ งต่ า งๆ เพลิดเพลิน ยินดี-ยินร้ายกับอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิน่ รส สัมผัส และความคิดอยู่นั้น ล้วนแต่ปรุงแต่งเพลิดเพลินอยู่กับสมมุติ บัญญัติทั้งสิ้น พ่อแม่ครูอาจารย์หลายท่าน จึงบอกว่า การส่งจิต ออกนอกเป็นสมุทัยคือต้นเหตุแห่งทุกข์ ทุกข์ ที่เป็นทุกขอริยสัจ คืออะไร ? เกิด แก่ เจ็บ ตาย ร่ำ�ไรรำ�พัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ คับแค้นใจ ประสบกับสิ่งที่ชัง พลาดหวังจากสิ่งที่รัก ไม่ได้ดั่งใจ และสรุปสุดท้ายว่า ไอ้ที่ทุกข์กันอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะความยึดถือใน กายใจว่าเป็นตัวกู-ของกู อะไรคือต้นเหตุแห่งทุกข์ชนิดนี้ ตัณหา คือความอยาก ได้แก่อยากที่จะเป็นบ้าง อยากที่จะ ไม่เป็นบ้าง


122

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

อยากเป็น เช่น อยากรวย อยากสวย อยากได้ อยากดี อยาก มี อยากเป็น อยากให้คนยอมรับ อยากชนะ อยากสงบ อยากสบาย อยากนอนหลับ ฯลฯ เป็นต้น อยากไม่เป็น เช่นไม่อยากป่วย ไม่อยากทุกข์ ไม่อยากโดน ตำ�หนิ ไม่อยากให้ใครเกลียดขีห้ น้าเรา ไม่อยากให้ความสงบใจหาย ไป รวมถึง ไม่อยากมีชีวิตอยู่ เพราะผิดหวังในการดำ�เนินชีวิต เป็นต้น ในพระบาลีอธิบายว่า ความอยากก็คือ ความยินดี ความ พอใจ ความเพลิดเพลินในอารมณ์คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์อันน่าชอบใจ และความยินร้าย คือ ความรังเกียจ ต่ออารมณ์อันไม่น่า ชอบใจนั่นเอง นอนไม่หลับ ทุกข์จังเลย ไอ้ที่ทุกข์เพราะอยากนอนหลับ จิตฟุ้งซ่าน รำ�คาญจังเลย ไอ้ที่ทุกข์เพราะอยากสงบ ปวดฟัน ทรมานจังเลย ไอ้ทท่ี รมานอยู่ เพราะอยากหายปวด แฟนบอกเลิก ผิดหวังจังเลย กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เพราะ อยากให้แฟนคืนดี


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

123

นอนหลับมากไป รำ�คาญตนเอง ที่ทุกข์ก็เพราะรู้สึกว่าเสีย เวลา ไร้สาระเสียจริงๆ จิตสงบ แปลกใจจัง ทำ�ไมมันไม่คิดอะไรเลย แน้..กำ�ลังคิด อยู่ยังไม่รู้ตัวอีก อยากให้ฟนั สวย ไปดัดฟันดีไหม ฟันเหลืองไปหน่อย ไม่พอใจ ฟันของตนเอง ฯลฯ ...ปรุงทุกข์ได้เรื่อยไป รักกับแฟนอยู่ดีๆ ก็กังวล กลัวแฟนทิ้ง กลัวเขาไม่จริงใจ กลัวเขาไม่สบายใจ เขาจะทนกับเราได้นานแค่ไหน ฯลฯ เฮ้อ...มีก็ทุกข์ ไม่มีก็ทุกข์ เวรจริงๆ อยากสงบ ก็เพ่งบังคับจิตตนเอง จึงยิ่งฟุ้งซ่านมากขึ้น อยากได้ความรัก ยิง่ คาดคัน้ กะเกณฑ์ จนคนรักอึดอัด ต้อง เลิกรากันไป อยากให้หายป่วย ก็ยิ่งทุรนทุราย เพราะไม่ยอมรับความ จริงของชีวิต อยากรวยเกินไป จึงหวังรวยทางลัด จนทำ�ให้ชวี ติ เดินผิดทาง จึงเห็นได้วา่ ทีท่ กุ ข์กนั อยูท่ กุ วันนี้ สาเหตุเกิดจากความอยาก ดับต้นเหตุได้ ปลายเหตุก็ไม่เกิด


124

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ไม่อยากให้ไฟไหม้บ้าน ก็อย่าจุดไฟ ไม่อยากจะให้ทุกข์ไหม้ใจ ก็หยุดอยาก วิธีการง่ายๆ ก็คือรู้ทันความอยากนั้น พระพุทธองค์ทรง อธิบายว่า คือ ความดับด้วยการสำ�รอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัยในความอยากนั้นแล แปลไทยเป็นไทยว่า ระงับความอยากได้เมื่อไร ตัณหาก็ดับทันที ดับตัณหาได้เมื่อไร ทุกข์ก็ดับทันที ทุกข์ดับได้เมื่อไร ก็สุขทันที ดับความร้อนได้เมื่อไร ความเย็นก็เกิดขึ้นทันที ทำ�ลายความสกปรกได้เมื่อไร ความสะอาดก็เกิดขึ้นทันที แสงสว่างเกิดขึ้นเมื่อไร ความมืดก็ดับไปทันที ทุกข์กับสุขจึงเป็นเรื่องเดียวกัน เหมือนหน้ามือกับหลังมือ เหมือนเหรียญคนละด้าน


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

125

ไม่อยากทุกข์ ก็อย่าอยากสุข เมื่อไม่อยากทุกข์ ความอยากที่จะมีความสุขก็หายไป สภาพจิตจึงเป็นกลางต่อทุกสภาวการณ์ นี่แหละความสุขที่แท้ เป็นความสุขชนิดที่ไม่ต้องมีเหยื่อล่อ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า บรมสุข จนอาจเอือ้ นเอ่ยออกมาอย่างสบายอารมณ์วา่ “สุขจุงเบย” ความอยากทางกาย เช่นหิว ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ เป็น ความอยากที่แก้ได้ชั่วคราว ต้องบริหารจัดการตลอดชีวิต ส่วนความอยากทางใจ แก้ได้ถาวร แก้ด้วยการไม่สนองความอยาก เพราะยิ่งสนองตอบก็ยิ่ง อยากมากขึ้น ไม่มีที่สิ้นสุด จึงแก้ได้ด้วยการระงับ ดับ สละ วาง ความอยากนั้นเสีย ผูช้ ายคนหนึง่ เป็นโรคผิวหนังเต็มตัว หากเขาอยากสบาย ก็ ต้องเกา ยิ่งเกาก็ยิ่งมัน ยิ่งคันก็ยิ่งเกา ขณะที่เกาเขาถึงกับตะโกน ออกมาว่า สุขจริงโว้ยๆๆๆๆๆๆ


126

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ชายอีกคน ไม่ได้เป็นโรคผิวหนัง จะยืน เดิน นั่ง นอนก็รู้สึก เป็น ปกติ สุ ข ถึ ง กับเปล่งเสียงออกมาว่า สุ ขจริ งๆ สุ ขจุ งเบย สุขจริงโว้ย เหมือนชายคนแรก


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

127


128

พระมหาวิเชียร ชินวํโส


129

แค่ แค่ไไม่ม่ททุกุกข์ข์กก็ส็สุขุขแล้ แล้วว

129

ป่านอก-ป่าใน ๑

ทิวเขาสูงเสียดฟ้า ขาฉันสั่นระริก ยามยันกายให้ก้าวไปบนความชัน ๔๕ องศา ท่ามกลางดงไม้เบญจพรรณ ที่ห่างกันเพียง ๕ ก้าวก็มองไม่เห็นหลังคนหน้า ท่ามกลางเสียงหอบหายใจ หยาดเหงื่อเปียกซึมชุ่มโชกทั่วร่าง และฝ่าเท้าที่ย่ำ�ไปบนด่านช้าง เหนื่อยก็พัก หนักก็ผ่อน เหนื่อยกายแต่สุขใจ จิตใจฉันสงบระงับ


130 130

พระมหาวิเเชีชียยรร ชิชินนวํวํโโสส พระมหาวิ

๒ พรานผู้นำ�ทางถามฉันว่า มาเดินหาอะไร ? หาสมุนไพรหรือ ? ปากฉันตอบอย่างผ่อนคลายว่า “ไม่หรอก ฉันมาเสพอากาศบริสุทธิ์ มาหยุดดูตน” แต่ในใจฉันตอบว่า “มาค้นหานิพพาน” ๓ สติระลึกรู้อยู่ที่อาการเคลื่อนไหวของกาย เฝ้าระวังรากไม้ หลุม หิน หัวว่านกลิ้งกลางดง ที่แฝงฝังอยู่กับพื้นเบื้องหน้า ในขณะเดียวกัน กิ่งไม้ หนามหวาย ดารดาษอยู่เหนือศีรษะ ช่วยทำ�ให้ฉันตื่นตัวและระมัดระวังทุกย่างก้าว เงี่ยโสตฟังเสียงนกร้องก้องไพร เสียงแห่งอิสรภาพ


แค่ไไม่ม่ททุกุกข์ข์กก็ส็สุขุขแล้ แล้วว แค่

131 131

๔ บ่าเริ่มประท้วงเพราะแบกสัมภาระมานาน เจ็บแปลบขึ้นมาเป็นระยะๆ จนบ่าชา เจ็บรู้ว่าเจ็บ ปวดรู้ว่าปวด ไม่มากไม่น้อยไปกว่านั้น เพียงรับรู้ แต่ไม่ปรุงแต่ง พักเมื่อไรก็ได้ เดินเมื่อไรก็ได้ เพราะไร้เป้าหมาย จึงถึงอยู่แล้วทุกขณะ

๕ ตะวันเกือบลับทิวไม้ ริมธารน้ำ�เย็นเยือก ฉันปล่อยวางภาระบนบ่าลง แม้ภาระทางใจยังมีอยู่แต่บางเบา เตรียม กางกลด แขวนเปล ปรับพืน้ ทีท่ จ่ี ะพักผ่อนชัว่ ข้ามคืน ขนเศษกิ่งไม้มาก่อไฟไล่ความมืดมิดภายนอก แต่ความมืดภายในยังต้องใช้สติสัมปชัญญะจัดการ แม้มีเห็บ มีทาก แต่ก็ยอมรับได้ เจ้าบ้านอาจต้อนรับ ฝากบาดแผลและความคันอย่างสาหัสไว้บนร่างกาย เพียงเพราะหวังหยดเลือดเพียงเล็กน้อย


พระมหาวิเชียร ชินวํโส พระมหาวิเชียร ชินวํโส

132

132

มิได้ต้องการเบียดเบียน พึ่งพาอิงอาศัยเกื้อกูลกัน ๖

อาทิตย์ใกล้อัสดง ฉันปล่อยให้สายน้ำ�เย็นฉ่ำ�จากลำ�คลอง ไหลผ่านร่างกายที่อ่อนล้า มีเพียงผ้าอาบน้ำ�ฝนปกคลุม ร่างกายเกือบเปลือยเปล่า เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมชาติ แต่จิตใจเปลือยเปล่ายิ่งกว่า กายเย็นสบาย ใจสงบตั้งมั่น ๗ ค่ำ�คืนนั้นเสียงกบเขียดร้องกล่อมไพร พื้นดินชื้นฉ่ำ�ไปด้วยสายฝน เพียงผ้าพลาสติกผืนใหญ่ ที่กั้นแผ่นฟ้าและรองรับแผ่นหลัง ป้องกันความชื้น มีเพียงจีวรแทนผ้าห่ม และย่ามแทนหมอนนุ่ม ก็ช่วยให้หลับอย่างมีความสุข สุขจากการมีน้อยใช้น้อย เป็นเช่นนี้เอง


แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

133

133

๘ แสงอุษาทอดผ่านขอบฟ้า เสียงหักฟืนดังลั่นป่าแต่เช้ามืด เริ่มต้นใหม่อีกวันหนึ่งแล้ว กองไฟถูกก่อขึ้น ชีวิตฉันเริ่มต้นอีกวัน ควันไฟม้วนตัวดุจงูยักษ์พวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ไม่นานนัก ข้าวสุกหอมกรุ่นก็ล้นออกมาจากหม้อสนาม พร้อมด้วยแกงยอดหวาย ผักชายป่า และน้ำ�พริกเรียงราย อาหารป่า มีให้กินได้ตลอดเส้นทางโดยไม่ต้องง้อเซเว่น น้ำ�ดื่มใสจากลำ�ธารต้นน้ำ� ไม่ต้องกลัวสารพิษ ชีวิตช่างเรียบง่ายจริงหนอ ๙ ทุกก้าวย่างของชีวิตเพียงต้องการความเรียบง่ายเช่นนี้ ฉันกำ�ลังทำ�อะไรกับชีวิตตนเอง ใยจึงรกรุงรังไปด้วยภาระ หน้าที่ ความคาดหวังของผู้คน และสมบัติบ้ามากมาย ข้างนอกจำ�ต้องแบกตามหน้าที่ทางสังคม ภายในฉันแบกอยู่ไหมหนอ?


พระมหาวิ พระมหาวิเเชีชียยรร ชิชินนวํวํโโสส

134 134

๑๐ น้อมกลับมารู้ตน ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต มีแต่อาการของกายที่เคลื่อนไหว อาการของจิตที่รับรู้ ภาระของจิตถูกวางลงเดี๋ยวนั้น ชั่วขณะ ฉันรู้แล้ว วางภายใน แต่รับผิดชอบภายนอกเป็นเช่นไร ๑๑ ฉันท่องเที่ยวมาหลายสิบป่า มันคือป่าภายนอก ในใจฉันก็มีป่า มีความสงบร่มรื่น เริ่มรับรู้แล้วว่าธรรมชาติไม่มีแบ่งแยก ไม่มีนอก ไม่มีใน มีเพียงความเป็นหนึ่งเดียว


แค่ แค่ไไม่ม่ททุกุกข์ข์กก็ส็สุขุขแล้ แล้วว

๑๒ “ลิ่วลอยคล้อยไหว พลิ้วผ่านม่านไพร วาบวูบจูบดิน เมื่อสิ้นสายลม” เพียงเพลงระบำ�ใบไม้ แตกดอกออกใบให้ร่ม วิหค-แมกไม้-สายลม ฟ้อนรำ�ผสานผสมกลมกลืน ร้องรับขับเพลงกล่อมไพร หวีดหวิวหวั่นไหวไร้ฝืน สงบสว่างรู้ตื่น เบิกบานสดชื่นหัวใจ เป็นเพียงบทเพลงธรรมชาติ นวยนาดอ่อนโยนสดใส ไม่มีภายนอกภายใน ธรรมชาติเคลื่อนไหวหนึ่งเดียวฯ ธรรมยาตราป่าทุ่งแสลงหลวง ๓๑ พ.ค.–๓ มิ.ย. ๕๖

135 135


136

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

ผลงานหนังสือของมูลนิธิจิตตภาวนาชินวงส์

โดย พระมหาวิเชียร ชินวํโส ๑.สุขง่ายๆ แค่ปลายจมูก ความสุขอยู่ใกล้กว่าที่คุณคิด ๒.เพื่อนร่วมทาง เส้นทางชีวติ แสนยาวไกลเราจะไปด้วยกัน ๓.พุทธมนต์ สายลมแห่งศรัทธาและปัญญาวิถีพุทธ ๔.คำ�บ่นจากพระบ้า บ้าให้ได้ดี อย่าดีแต่บ้า ๕.ดับเบิ้ลคลิกความคิด คิดอีกครั้ง เพิ่มพลังบวกให้ชีวิต ๖.ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ กรรม เข้มขลังเติมพลังปัญญา ๗.แค่รู้ ชีวิตเรียบง่ายกว่าที่คุณคิด ๘.ร้อยรูป เรียงคำ� ธรรมเดียว รวมบทกวีของชินวงส์


137

แค่ไม่ทุกข์ก็สุขแล้ว

ผลงานหนังสือของมูลนิธิจิตตภาวนาชินวงส์ โดย นักเขียนท่านอื่นๆ ๑.เพื่อพระนิพพาน รู้ ตื่น เบิกบาน ผ่านการทำ�บุญ โดย หมูอ้วน ๒.ก่อนวันจากลา วิธีจากกันอย่างบันเทิง โดย จิตใส ใจดี ๓.บันทึกฝึกใจ บันทึกไว้อ่านใจตน โดย สุณิตา หอมกลิ่น ๔.ธันยาวาท หิมาลประเทศ เดินทางสู่ภายใน โดย เอกจาริณี ๕.แค่เล่า...อย่างที่เรารู้ เล่าไว้เผื่อใครอยากรู้ โดย บูรังก้า ๖.คำ�ครูที่รู้ว่าไลค์ คมคิดคำ�เขียนของครู โดยกลุ่มศิษย์ ศ.เวฬุวัน


138

พระมหาวิเชียร ชินวํโส

เส้นทางสร้างบุญวัดวังหิน ๑.สร้างอุโบสถวัดวังหิน ติดต่อบริจาคได้ที่ พระครูปลัดวิมลสิริวัฒน์(เจ้า อาวาส)หรือพระมหาวิเชียร ชินวํโส โทร. ๐๘๗-๓๐๘-๔๓๘๗ หรือบริจาคผ่านบัญชี ธนาคารกรุงไทย สาขาสิงหวัฒน์พิษณุโลก เลขที่บัญชี ๖๔๔-๐-๓๕๙๐๙-๖ ๒.มูลนิธจิ ติ ตภาวนาชินวงส์ เพือ่ การจัดโครงการพัฒนาชีวติ ด้วยจิตภาวนา, โครงการความรู้สู่ความสุขช่วงสุดท้ายของชีวิต ติดต่อสอบถามคุณพรทิพย์ นวลศิริ เหรัญญิก โทร. ๐๘๔-๖๘๘-๘๒๗๒ ชื่อบัญชี มูลนิธิจิตตภาวนาชินวงส์ ธนาคาร กรุงเทพ สาขาถนนสิงหวัฒน์ พิษณุโลก บัญชีเลขที่ ๕๓๕-๐-๔๖๖๕๓-๗ ๓.กองทุนเผยแผ่ธรรม เพื่อผลิตสื่อวีซีดีธรรมะและหนังสือธรรมะ ติดต่อ บริจาคได้ที่ พระมหาวิเชียร ชินวํโส โทร. ๐๘๗-๓๐๘-๔๓๘๗ หรือบริจาคผ่านบัญชี ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนสิงหวัฒน์ พิษณุโลก เลขที่บัญชี ๕๓๕-๐-๒๒๔๕๑-๔ ๔.โรงทานอาหารสำ�หรับผูป้ ฏิบตั ธิ รรม ติดต่อสอบถามคุณพรทิพย์ นวลศิริ เหรัญญิก โทร. ๐๘๔-๖๘๘-๘๒๗๒ ธนาคารกรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัส พิษณุโลก บัญชีเลขที่ ๙๘๐-๘-๕๗๑๗๔-๓ ๕.ค่าน้ำ�-ค่าไฟ วัดวังหิน ติดต่อสอบถาม คุณประชุม สุขเสวก เวยยาวัจกร โทร.๐๘๑-๘๘๘-๕๒๗๖ หรือโอนผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาถนนสิงหวัฒน์ บัญชี เลขที่ ๖๔๔-๐-๒๙๓๓๕-๔

ร่วมศึกษาและสนทนาธรรมได้ที่

www.chinawangso.net เพื่อนร่วมทางสู่ความพ้นทุกข์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.