6 9
2
สารบัญ 1 2
จากใจ สปสช.
6
ก้าวพิเศษ การจัดหายาในระดับประเทศ เพือ่ ประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพเข้าถึงยาทีจ่ ำ� เป็น
9
1330 มีค�ำตอบ ค�ำถามยอดฮิต ที่หน่วยบริการฯ
10
ก้าวเด่นหลักประกัน SDGs ขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ฉบับ 4 เพื่อระบบหลักประกันสุขภาพให้ยั่งยืน
ก้าวน�ำความคิด ศิลป์ในทางการแพทย์ (Medical Artistry)
คณะที่ปรึกษา : นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา นพ.ชูชัย ศรช�ำนิ ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ นพ.รัฐพล เตรียมวิชานนท์ นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ บรรณาธิการอ�ำนวยการ : ธีระพันธ์ ลิมป์พูน
กองบรรณาธิการ : นิภาพรรณ สุขศิริ ศิรประภาว์ ผลิสินเอี่ยม ปิยนุช โปร่งฟ้า ดวงกมล อิทธิสารนัย อุษา ชีวจ�ำเริญ ดวงนภา พิเชษฐ์กุล ธีระชัย เจนสมบูรณ์
18 12
ก้าวไปด้วยกัน การดูแลผู้สูงอายุต้นแบบ รพ.สต.เหล่าหญ้า
14
ก้าวแห่งคุณค่า การตรวจเยี่ยมหน่วยบริการของ คกก. ควบคุมคุณภาพสาธารณสุข ที่จังหวัดนครนายก
16
ก้าวกับมายาคติ แดจังกึม ตอนที่ 2 หมอหลวงของพระราชา
18
ก้าวทันโลก (โรค) บทเรียนจากคดีดังทางการแพทย์ ตายเพราะไฟไหม้ห้องพักผู้ป่วยในโรงพยาบาล
20 21
ก้าวทันสื่ิอ แวดวง
นักเขียนประจ�ำคอลัมน์ : พญ.ชัญวลี ศรีสุโข นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ออกแบบ/ จัดพิมพ์และเผยแพร่ : บริษทั หนึง่ เก้าสองเก้า จ�ำกัด
สถานที่ติดต่อ : ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 120 หมู่ 3 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ชั้น 2-4 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2141 4000 โทรสาร 0 2143 9730
1
[ จากใจ สปสช. ] เป็นช่วงเวลาแห่งความภูมิใจของผม ที่ได้มีส่วนร่วมพัฒนาระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อดูแลคนไทยผู้มีสิทธิกว่า 48 ล้านคน ให้เข้าถึงบริการสาธารสุข อย่างครอบคลุมและทั่วถึง
สวัสดีครับ… ท่านผู้อ่านก้าวใหม่ทุกท่าน นับเป็นเกียรติ อย่างยิง่ ทีผ่ มได้มโี อกาสทักทายท่านผูอ้ า่ นในฐานะ “เลขาธิการ สปสช.” ขอขอบคุณบอร์ด สปสช. ในวาระ ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว. สาธารณสุข เป็นประธาน ทีว่ างใจให้ผมรับหน้าทีน่ เี้ พือ่ สานต่อ เจตนารมณ์ “หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ต่อจากพีห่ งวน (นพ.สงวน นิตยิ ารัมภ์พงศ์) และพีว่ นิ ยั (นพ.วินยั สวัสดิวร) อดีตเลขาธิการ สปสช. ตลอดระยะเวลากว่า 11 ปี ของการท�ำงานที่ สปสช. หลัง ลาออกจากราชการในต�ำแหน่งนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสิงห์บรุ ี เพือ่ ร่วมพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพร่วมกับพีห่ งวนและพีน่ อ้ ง ร่วมอุดมการณ์ ตัง้ แต่ปี 2548 ในต�ำแหน่ง ผอ. ส�ำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ในขณะด�ำรงต�ำแหน่งรองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สปสช. เมื่อวันที่ 19 ก.พ. ที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลาแห่งความภูมิใจของผม ที่ได้มีส่วนร่วมพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อดูแล คนไทยผู้มีสิทธิกว่า 48 ล้านคน ให้เข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่าง ครอบคลุมและทั่วถึง เป็นทีท่ ราบกันดีวา่ ภาวะความเจ็บป่วย ไม่วา่ จะด้วยตนเอง หรือคนในครอบครัว ต่างสร้างความทุกข์ให้เกิดขึ้น และยิ่งซ�้ำเติม ทุกข์หนักหากไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ โดยเฉพาะจากค่า ใช้จา่ ยในการรักษาพยาบาล ซึง่ หากย้อนกลับไปก่อนทีป่ ระเทศไทย จะด�ำเนินนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีผู้ป่วยจ�ำนวน ไม่นอ้ ยทีเ่ ข้าไม่ถงึ การรักษา และต้องเสียชีวติ ลง เพียงเพราะไม่มเี งิน รักษา ขณะเดียวกันยังส่งผลให้มีครัวเรือนจ�ำนวนไม่น้อยที่ประสบ ภาวะหนี้สินและล้มละลายจากค่ารักษาพยาบาลนี้ แต่ด้วยระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติท�ำให้สถานการณ์นี้คลี่คลายลง อย่างไรก็ตาม… แม้ว่าวันนี้ด้วยความร่วมมือของทุก ภาคส่วนจะส่งผลให้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติประสบผลส�ำเร็จ ได้รบั การยอมรับและชืน่ ชมจากทัง้ ในและต่างประเทศ แต่ยงั คงมีความ ท้าทาย พร้อมอุปสรรคทีร่ ออยู่ และจ�ำเป็นต้องอาศัยการมีสว่ นร่วม
จากทุกส่วนอย่างต่อเนือ่ ง ในการ “ร่วมคิด ร่วมท�ำ และร่วมตัดสินใจ” ที่นับเป็นหัวใจส�ำคัญเพื่อให้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นระบบ ที่ยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “SDGs” ซึ่งด�ำเนินการดังนี้ S : Sustainable ร่วมท�ำงานกับบอร์ด สปสช. และบอร์ด ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานฯ ให้เกิดการท�ำงานอย่างเป็นน�ำ้ หนึง่ ใจเดียว เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน และระบบหลักประกัน สุขภาพที่ยั่งยืน D : big Data Utilization พัฒนากลไกการท�ำงานบน พื้นฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ G : Governance ยกระดับธรรมาภิบาลเพิม่ ประสิทธิภาพ การท�ำงานของ สปสช. S : Synergy ขยายการมีส่วนร่วมและรับฟังความ คิดเห็นอย่างรอบด้าน จากนีผ้ มหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า ด้วยประสบการณ์การท�ำงาน ในระบบสุขภาพทัง้ ทีก่ ระทรวงสาธารณสุข และ สปสช. รวมถึงความ มุ่งมั่นและทุ่มเทในการท�ำหน้าที่เลขาธิการ สปสช. จากนี้ จะได้ รับความร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อร่วมฝ่าฟันอุปสรรคพัฒนาระบบหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อเป็นหลักประกันสุขภาพของคนไทย ตลอดไป… ขอบคุณมากครับ
นพ. ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รองเลขาธิการ รักษาการแทน เลขาธิการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2
[ ก้าวเด่นหลักประกัน ]
SDGs ขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ฉบับ 4
เพื่อระบบหลักประกันสุขภาพให้ยั่งยืน ตามที่ ค ณะกรรมการหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ มี ม ติ ป ระกาศใช้ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2560-2564) หรือ ยุค NHSO 4.0 (ส�ำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ 4.0) เป็นยุทธศาสตร์ที่จะด�ำเนินงานให้บรรลุ 3 เป้าหมายหลัก “ประชาชนเข้าถึงบริการ การเงินการคลัง มั่นคง ด�ำรงธรรมาภิบาล”
3
พร้อมกันนี้ก�ำหนดพันธกิจเฉพาะไว้ 5 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) ส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดระบบหลักประกันสุขภาพที่ประชาชน เข้าถึงได้ด้วยความมั่นใจ และเสริมสร้างความเท่าเทียมกันใน ระหว่างกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ 2) สนับสนุนการพัฒนาการ บริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทุกคนเข้าถึงได้ และเป็นที่พึงพอใจของประชาชน และผู้ให้บริการ 3) บริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้มปี ระสิทธิภาพยิง่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง 4) ด�ำเนินการให้ทกุ ภาคส่วน มีความเป็นเจ้าของและมีสว่ นร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพอย่าง ถ้วนหน้า รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและ ผูร้ บั บริการ โดยเน้นการเคารพในสิทธิและศักดิศ์ รีซงึ่ กันและกัน และ 5) พัฒนาและจัดการระบบข้อมูลเชิงประจักษ์และองค์ความรูต้ า่ งๆ และใช้ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย
3 10 5 19
เป้าประสงค์ ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ กลยุทธ์สร้างความมั่นใจ กลวิธีรองรับการพัฒนา
SDGs เพื่อการขับเคลื่อน NHSO 4.0 เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ในการประชุม คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมี ศ.คลินกิ เกียรติคณ ุ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน มีวาระคัดเลือกและแต่งตั้งเลขาธิการส�ำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เปิดให้ผู้สมัครเลขาธิการ สปสช.ทั้ง 3 คน แสดงวิสัยทัศน์ โดยเห็นชอบกับ วิสัยทัศน์ SDGs ของ นพ.ศักดิช์ ยั กาญจนวัฒนา จนได้รบั คัดเลือกให้เป็นเลขาธิการ สปสช.คนใหม่ด้วย 16 คะแนน
ส�ำหรับวิสัยทัศน์ “SDGs” ที่กล่าวถึง ประกอบด้วย S: Sustainable D: big Data Utilization G: Governance S: Synergy ซึ่งในแต่ละส่วนมีรายละเอียดก�ำหนดไว้ชัดเจน ดังนี้
4
[ ก้าวเด่นหลักประกัน ]
S: Sustainable หมายถึงร่วมท�ำงานกับบอร์ด สปสช. และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและ มาตรฐานบริการสาธารณสุข ให้เกิดการท�ำงาน อย่างเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียว เพื่อประโยชน์สูงสุด ของประชาชนและระบบหลักประกันสุขภาพที่ ยั่งยืน “โดยในรายละเอียด จะต้องแปลงจุดเน้นยุทธศาสตร์ ที่ได้จากคณะกรรมการฯ ให้เป็นรูปธรรมและติดตามผลอย่าง มีประสิทธิภาพ เรียนรู้ร่วมกับคณะกรรมการในการสร้างระบบ หลักประกันสุขภาพที่ยั่งยืน เสริมระบบการให้ข้อมูลแก่คณะกรรม การฯเพือ่ ประกอบการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ และเสนอทาง เลือกให้คณะกรรมการฯ ในการท�ำงาน” จากรายละเอียดของการร่วมท�ำงานจะเห็นว่า ทั้ง คณะกรรมการฯ และเจ้าหน้าที่ต่างต้องร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้าง การท�ำงานซึ่งกันและกันให้บรรลุผล
D: big Data Utilization พัฒนากลไกการ ท�ำงานบนพื้นฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ ในส่วนของวิสัยทัศน์เรื่องข้อมูลนี้ นพ.ศักดิ์ชัย ระบุ รายละเอียดไว้ว่า หนึ่ง-จะต้องจัดระบบการพัฒนาสิทธิประโยชน์ เพือ่ ให้สามารถน�ำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอง-มีการจัดเตรียม ข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อให้เกิดความรอบคอบของการตัดสินใจ สาม-ขยายการท�ำงานกับภาคีวิชาการเพื่อรองรับการพัฒนาและ ปรับปรุงระบบหลักประกันสุขภาพที่ต้องการค�ำตอบเชิงวิชาการ มากขึ้น และสี่-เพื่อเพิ่มกลไกการน�ำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลตั้งต้นและการติดตามประเมินผล เพื่อให้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด
2
5
G: Governance ยกระดับธรรมาภิบาล เพิ่มประสิทธิภาพการท�ำงานของ สปสช. อีกหนึ่งวิสัยทัศน์ที่มีความส�ำคัญและเข้ายุคสมัยของการ ท�ำงาน เพราะยุคนีส้ าธารณชนต้องการความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ จากหน่วยงานต่างๆ การก�ำหนดวิสัยทัศน์ด้านธรรมาภิบาล ของ สปสช. ก็ให้ความส�ำคัญและลงรายละเอียดในส่วนของธรรมาภิบาล ในด้านต่างๆ ไว้ 4 เรื่อง ดังนี้ หนึ่ง-พัฒนาความเป็นมืออาชีพของ สปสช. และ ยกระดับกลไกการตรวจสอบการท�ำงานเพื่อการปฏิบัติงานอย่าง มีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ สอง-ปรับปรุงระเบียบการ ท�ำงานให้ชัดเจน รอบคอบ ทันสมัย โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการ เงินการคลัง เพื่อรองรับ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฉบับ ใหม่ สาม-ปรับระบบการบริหารบุคลากรเพื่อคงบุคลากรที่มีคุณค่า รวมทัง้ พัฒนาระบบ Succession และ HR master plan ขององค์กร ในอนาคต และสี-่ ปรับปรุงระบบการใช้เทคโนโลยีให้เกิดความประหยัด มีประสิทธิภาพ ไม่เป็นภาระ และสร้างกลไกการป้อนข้อมูลกลับ ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยขยายจากที่เริ่มท�ำในปี 2560 แล้ว คือ การให้ข้อมูลป้อนกลับในส่วนของผู้ป่วยใน
มุ่งมั่นให้เกิดสัมฤทธิผล ตามวิสัยทัศน์ขององค์กร ด้วยความร่วมแรงร่วมใจ อย่างมีธรรมาภิบาล ภายใต้ข้อมูลเชิงประจักษ์ ให้เกิดความยั่งยืน
S: Synergy ขยายการมีส่วนร่วมและรับฟัง ความคิดเห็นอย่างรอบด้าน วิสัยทัศน์ข้อนี้จะเรียกเป็นส่วนต่อขยายที่จะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพและประสิทธิผลการท�ำงานก็คงไม่ผดิ นัก เพราะก�ำหนด ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้เกิดกลไกการรับฟังความเห็นอย่างรอบด้านใน ทุกรูปแบบ ทุกช่องทาง เพือ่ น�ำมาปรับปรุงระบบการท�ำงานภายใน และน�ำเสนอต่อผูเ้ กีย่ วข้องเพือ่ ร่วมกันตัดสินใจ โดยจะมีทงั้ รูปแบบ การจัดเวทีวชิ าการทัง้ ในระดับชาติ และระดับนานาชาติ ให้เป็นเวที แลกเปลีย่ นข้อมูล เพือ่ ประกอบการตัดสินใจในเรือ่ งส�ำคัญของระบบ หลักประกันสุขภาพ
ประวัติ : นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา อายุ ณ วันสมัคร 59 ปี 6 เดือน (9 ก.ย.59) ด�ำรงต�ำแหน่ง รักษาการเลขาธิการ สปสช. และรองเลขาธิการ สปสช. ก่อนเกษียณอายุราชการ โดยก่อนหน้านี้ด�ำรงต�ำแหน่ง ผูอ้ ำ� นวยการโรงพยาบาลธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด มีผลงานโครงการ ป้องกันผู้ติดเชื้อเอชไอวีและการพัฒนาระบบสาธารณสุข มูลฐาน ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลครบุรี จ.นครราชสีมา มีผลงานการณรงค์ป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนและงาน สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านเวชกรรม ป้องกัน 8 จ.สระบุรี มีผลงานด้านระบาดวิทยา งานส่งเสริมสุข ภาพและป้องกันโรค และแผนรวมพลังป้องกันยาเสพติด นอกจากนีย้ งั ด�ำรงต�ำแหน่งนายแพทย์สาธารณสุข จังหวัด ระดับ 9 จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ มีผลงานด้านระบาด วิทยา และงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค นายแพทย์ สาธารณสุขจังหวัด ระดับ 9 จังหวัดสิงห์บุรี มีผลงานการ พัฒนาคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข หลังจากนั้นได้รับ ต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการส�ำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 9 นครราชสีมา และผู้อ�ำนวยการส�ำนักหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ 7 ขอนแก่น
6
[ ก้าวพิเศษ ]
ภก.คณิตศักดิ์ จันทราพิพัฒน์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักสนับสนุนระบบบริการยาและเวชภัณฑ์ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
การจัดหายาในระดับประเทศ
เพื่อประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพเข้าถึงยาที่จ�ำเป็น การจัดหายาในระดับประเทศ (Central Procurement) มีเป้าหมายหลักเพือ ่ ลดปัญหาการเข้าถึงยาจ�ำเป็น ที่มีราคาแพงให้กับประชาชน ตามระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งก�ำหนดหลักการพื้นฐานไว้ว่า ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่จ�ำเป็น โดยไม่มีอุปสรรคทางการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปกป้องประชาชนไม่ให้ล้มละลายจากโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง
กระบวนการจัดหาเพื่อเข้าถึงยาจ�ำเป็น จึงต้องกระท�ำ อย่ารอบคอบในทุกขั้นตอนเพื่อป้องกันปัญหาซึ่งพบว่ายังมีผู้ป่วย ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจำ� นวนหนึง่ เข้าไม่ถงึ ยาจ�ำเป็น ที่มีราคาแพง ท�ำให้เกิดความเสี่ยงต่อการรักษาโรคที่อาจจะน�ำไป สู่ภาวะทุพพลภาพหรือเสียชีวิต ขณะที่ “ยาจ�ำเป็น” แต่มี “ราคา แพง” ขณะที่มีจ�ำนวนผู้ป่วยน้อย และไม่สามารถคาดการณ์จ�ำนวน แน่นอน การจัดหายามาไว้บริการให้พอกับความต้องการ โดยไม่ให้ เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยและหน่วยบริการด้านงบประมาณ นัน่ หมายถึง ถ้าผูป้ ว่ ยต้องรับภาระค่าใช้จา่ ยด้วยตัวเอง ย่อมเป็นภาระทางการเงินอย่างมาก และหากให้หน่วยบริการ จัดหาเองก็จะมีผลกระทบต่องบประมาณของหน่วยบริการนัน้ ๆ
ตัวอย่าง ยาจ�ำเป็นที่มีราคาแพง เช่น ยาฉีดอิมมูโนโกลบูลลิน (IVIG) ซึ่งใช้ในการรักษาโรคคาวาซากิระยะเฉียบพลัน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องปฐมภูมิ หรือ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด ร้ายระยะวิกฤต ยาฉีด Docetaxel (โด-ซี-แท๊ก-เซล) ซึ่งใช้ในการ รักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นหรือลุกลาม ที่มีปัญหาโรคหัวใจ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแพร่กระจาย เป็นต้น เหตุที่ยากลุ่มนี้ราคาแพง เพราะส่วนใหญ่เป็นยาต้นแบบ น�ำเข้าจากต่างประเทศ มีผจู้ ำ� หน่ายรายเดียว หรือน้อยราย ตลาดเป็น ของผูข้ ายเพราะไม่มกี ารแข่งขันถึงขัน้ ผูกขาดทัง้ มีแนวโน้มปรับราคา ขึ้นทุกปี และไม่มียาอื่นทดแทนได้ แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับยาในเวลาที่ เหมาะสมอาจส่งผลถึงชีวิต และที่ผ่านมายากลุ่มนี้ส่งผลกระทบต่อ
7
เศรษฐานะของผูป้ ว่ ย ถึงขัน้ ล้มละลายได้ถา้ ต้องจ่ายในราคาสูงและ ต่อเนื่อง แม้กระทั่งหากซื้อโดยหน่วยบริการเช่นโรงพยาบาลก็ยังมี ราคาสูงมากเพราะไม่สามารถต่อรองราคาส�ำหรับยาทีซ่ อื้ ในปริมาณ น้อย ราคาทีไ่ ด้กจ็ ะแตกต่างกันจนหาราคาอ้างอิงเพือ่ น�ำมาคิดชดเชย เป็นเงินได้ยาก ยาบางรายการที่มีสิทธิบัตร เช่น ยารักษาโรคเอดส์ ถึงขั้นต้องใช้กระบวนการบังคับใช้สิทธิ (Compulsory License: CL) เพื่อให้ได้ยาราคาที่ถูกลง ซึ่งต้องด�ำเนินการโดยหน่วยงานกลาง ของรัฐระดับประเทศ เมือ่ สถานการณ์เข้าถึงยาจ�ำเป็นเป็นดังทีเ่ ห็น รูปแบบการ จัดหายาในภาพรวมของประเทศ จึงเป็นทางออกส�ำหรับการเข้า ถึงยาจ�ำเป็น เนื่องจากสามารถประกันปริมาณขั้นต�่ำ สร้างอ�ำนาจ ต่อรองราคา เพื่อก�ำหนดวงเงินจัดซื้อที่แน่นอน และช่วยลดภาระ ด้านงบประมาณ รวมถึงช่วยควบคุมหรือประหยัดงบประมาณลง แต่สามารถเพิ่มโอกาสการเข้าถึงยาจ�ำเป็นให้กับผู้ป่วยได้มากขึ้น โดยกระบวนการจัดหายาจ�ำเป็น คณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ จึงก�ำหนดงบประมาณในหมวดค่าใช้จ่ายกลาง (Central Reimbursement) ส่วนหนึง่ ไว้ทกี่ องกลางระดับประเทศ ใน การบริหารจัดการจัดซือ้ รวม ระดับประเทศ (Central Procurement) เพื่อจัดหายาในชุดสิทธิประโยชน์ส�ำหรับยาจ�ำเป็นบางรายการที่มี ราคาแพง รวมถึงวัคซีน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อเป็นหลัก ประกันและเพิ่มความมั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้บริการที่มีคุณภาพและ เข้าถึงยาที่จ�ำเป็นอย่างทั่วถึง และโรงพยาบาลมีความสบายใจว่า เมื่อจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยแล้วจะได้รับการชดเชยกลับมาโดยไม่เป็น ภาระทางการเงินของโรงพยาบาล ทีส่ ำ� คัญการแก้ปญ ั หาด้วยกระบวนการทีเ่ ชือ่ ว่าเป็นกลไก ทีช่ ว่ ยควบคุมค่าใช้จา่ ยในการเข้าถึงยาจ�ำเป็นในลักษณะนี้ จะท�ำให้ สปสช. จัดบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพและเพียงพอส�ำหรับผู้มี สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งมีจ�ำนวนกว่า 48.7 ล้านคน ได้ตามความจ�ำเป็น เน้นวิธีการจัดหาโปร่งใส สปสช. มอบหมายให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผูด้ ำ� เนินการ จัดหายาจ�ำเป็น ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ดูแลเกี่ยวกับยาโดยตรง โดยใช้การต่อรองราคาในรูปแบบคณะกรรมการ ก�ำหนดรายละเอียด คุณลักษณะเฉพาะโดยประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์กรวิชาชีพ ตัวแทนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เภสัชกรจากโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยหรือ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อใช้ประกอบการจัดซื้อ โดยอ้างอิงเภสัชต�ำรับยามาตรฐาน ของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และ ไทย เล่มที่ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศรับรอง เมื่อองค์การเภสัชกรรมด�ำเนินการจัดหายาแล้วเสร็จ สปสช.จะด�ำเนินการตรวจรับยาต่อเมือ่ ยามีคณ ุ ลักษณะยาตรงตาม ทีไ่ ด้กำ� หนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ยาทีบ่ งั คับใช้สทิ ธิโดยรัฐ (CL) จะ ต้องผ่านการทดสอบของห้องปฏิบตั กิ ารกลาง มาตรฐานเดียวกับยา ต้นแบบ ก่อนรับยาเข้าบริหารจัดการและกระจายให้โรงพยาบาลผ่าน ระบบ VMI ขององค์การเภสัชกรรมต่อไป
ถ้าผู้ป่วยต้องรับภาระ ค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองย่อมเป็นภาระ ทางการเงินอย่างมาก และหากให้หน่วย บริการจัดหาเอง ก็จะมีผลกระทบต่องบประมาณ ของหน่วยบริการนั้น ๆ ปริมาณการจัดหาเท่าไรจึงจะเหมาะสม การจัดซื้อยาของ สปสช. มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้น ด�ำเนินการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงยาของประชาชน โดยไม่ก่อให้ เกิดการผูกขาดตลาด โดยมีมูลค่าปีละประมาณ 7,000 ล้านบาท คิดเป็นวงเงินประมาณเพียงร้อยละ 4.9 ของมูลค่าการจัดซื้อยา ทั้งประเทศเท่านั้น ส่วนงบประมาณอีก 95% ของทั้งหมด หรือ มากกว่าหนึ่งแสนล้านบาทนั้น จะถูกส่งตรงไปให้โรงพยาบาลด้วย ระบบเหมาจ่ายรายหัวในกรณีผปู้ ว่ ยนอก และตามหลักการวินจิ ฉัย โรคร่วม (DRGs) ในกรณีผู้ป่วยใน โดยส�ำนักงานจะจ่ายเป็นเงินไป ให้แก่โรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลสามารถน�ำเงินดังกล่าวไปจัดซื้อ จัดหายาเพื่อใช้ในการบริการให้แก่ผู้ป่วยได้ตามระเบียบของแต่ละ โรงพยาบาลต่อไป ข้อดี/ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดซื้อจัดหายาของ สปสช. อย่างไรก็ตาม แม้กระบวนการจัดหายาจ�ำเป็นจะคิดมา อย่างรอบคอบ แต่เป็นระบบที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน โดยมี สปสช. ท�ำหน้าที่ประสานความร่วมมือให้เกิดการท�ำงาน และมี องค์การเภสัชกรรมรับผิดชอบด�ำเนินการจัดหาและกระจายยา โดยที่ผ่านมามีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงผลดีที่เกิดขึ้นเป็นที่น่าพอใจ หลายด้าน ดังต่อไปนี้ 1. สามารถต่อรองและลดราคายาจ�ำเป็นที่มีราคาแพง ได้มากกว่าร้อยละ 50-80 เมือ่ เทียบกับราคาในท้องตลาด ประหยัด งบประมาณกว่า 2.4 หมื่นล้านบาทในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ท�ำให้ ผู้ป่วยเพิ่มการเข้าถึงยาจ�ำเป็นที่มีราคาแพงในภาวะงบประมาณ ที่จ�ำกัดได้มากขึ้น 2. สามารถเพิม่ ชุดสิทธิประโยชน์ของยาและวัคซีนใน ระบบหลักประกันสุขภาพ จากงบประมาณที่ประหยัดได้ในช่วง 5 ปีทผี่ า่ นมา มีการเพิม่ ยาในกลุม่ ยาจ�ำเป็น (กลุม่ ยาบัญชียา จ (2)) กว่า 21 รายการ และเพิ่มวัคซีนใหม่ในชุดสิทธิประโยชน์กว่า 5 รายการ 3. สามารถเพิม่ การเข้าถึงยาในผูป้ ว่ ย โดยสามารถเพิม่ การเข้าถึงยาต้านไวรัสเอชไอวี ซึ่งมีราคาแพงกว่า 2 แสนราย และ เพิ่มการเข้าถึงยากลุ่มยาบัญชียา จ (2) ท�ำให้มีผู้ป่วยเข้าถึงยากว่า 4.9 หมื่นราย และมีผู้ป่วยเข้าถึงยาทั้ง 2 โครงการข้างต้น เพิ่มขึ้น กว่าร้อยละ 10 ทุกปี ผู้ป่วยโรคไตเข้าถึงบริการล้างไตทางหน้าท้อง ปีละไม่ต�่ำกว่า 17,000 ราย ทั้งยังสามารถรักษาความครอบคลุม
8
[ ก้าวไปด้วยกัน ]
วัคซีนได้ในระดับสูงมากกว่าร้อยละ 90 อย่างต่อเนื่องอีกด้วย 4. สร้างความมั่นคงทางด้านสุขภาพจากการมียา จ�ำเป็นใช้ในประเทศ โดยเฉพาะยากลุ่มยาก�ำพร้าและยาต้านพิษ จากอดีตที่ไม่มียานี้ในประเทศจนส่งเสริมให้เกิดการผลิตยาก�ำพร้า หลายรายการในประเทศ ภายใต้ความร่วมมือจากสถานเสาวภา สภากาชาดไทย จนไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ทสี่ ามารถผลิตยาก�ำพร้าใช้เองในประเทศ ช่วยเพิม่ ผูป้ ว่ ยรอดชีวติ มากกว่า 17,000 ราย ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา หลักการคัดเลือกรายการยา เวชภัณฑ์ และ เครื่องมือแพทย์ รายการยาทีป่ ระกาศเป็นสิทธิประโยชน์ของผูม้ สี ทิ ธิแต่ละ โครงการ จะต้องผ่านการพิจารณาเป็นรายการยาในบัญชียาหลัก โดยผ่านการเห็นชอบของคณะอนุกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึง่ จะพิจารณาด้วยกระบวนการประเมินความคุม้ ค่าทางเศรษฐศาสตร์ และผลกระทบด้านงบประมาณ ตลอดจนการจัดล�ำดับความส�ำคัญ ในการน�ำเข้าบัญชียาหลักในแต่ละปีงบประมาณภายใต้การพิจารณา ร่วมกันของ 3 กองทุน จากนั้นกองทุนบริหารจัดการยา จึงน�ำเสนอ ขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดย ผ่านการพิจารณาของอนุกรรมการยุทธศาสตร์ เพื่อประกาศเป็น สิทธิประโยชน์ส�ำหรับผู้ป่วย เวชภัณฑ์หรือเครือ่ งมือแพทย์ จะมีการแต่งตัง้ คณะท�ำงาน ซึง่ ประกอบด้วยผูเ้ ชีย่ วชาญและตัวแทนจากหน่วยบริการทีต่ อ้ งใช้วสั ดุ การแพทย์นนั้ มาร่วมเป็นกรรมการก�ำหนดคุณลักษณะเฉพาะ และ วิธกี ารชดเชยทีเ่ หมาะสมเข้าร่วมพิจารณา เมือ่ ผ่านกระบวนการกลัน่ กรองตามระบบที่กำ� หนดไว้ ส�ำนักงานฯ จึงน�ำมาเข้าสูก่ ระบวนการ จัดหาต่อไป ตัวอย่างเช่น แผนการจัดหายาก�ำพร้าและยาต้านพิษ ซึง่ เป็นความจ�ำเป็นทีร่ ฐั ต้องเข้ามาจัดหาเพือ่ ใช้ในการช่วยชีวติ ทีไ่ ด้รบั สารพิษจากสารเคมี สารพิษจากพิษงู ซึ่งที่ผ่านมา ไม่มีบริษัทผลิต หรือสนใจน�ำเข้ามาจ�ำหน่าย หลายรายการที่เคยมีการน�ำเข้ามาขึ้น
ทะเบียนในประเทศไทย ก็มีการถอนทะเบียนออก เนื่องจากอัตรา การใช้ตำ�่ และไม่มคี วามแน่นอนของตลาด ท�ำให้ยากลุม่ นีข้ าดแคลน และยังขาดระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ รวมถึงแพทย์ขาด ประสบการณ์ในการวินิจฉัยและสั่งใช้ยา ปัจจุบัน จึงได้มอบหมาย ให้องค์การเภสัชกรรมและสภากาชาดไทย ท�ำการผลิตและจัดหา เป็นขัน้ ต�ำ่ เพือ่ ประกันความมัน่ คงทางด้านสุขภาพของประเทศไทย โดยการบริหารจัดการจากส่วนกลางเพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยง ให้กบั หน่วยบริการเมือ่ ต้องการใช้ยา หากไม่มกี ารจัดหา จะส่งผลต่อ การเข้าถึงยาที่จ�ำเป็นของผู้ป่วย ซึ่งอาจท�ำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต หรือ ก่อให้เกิดความทุพพลภาพ เนื่องจากไม่มียาใช้ทดแทนได้ เป็นต้น สรุปกระบวนการท�ำงานของ สปสช. กล่าวโดยสรุป คือ การด�ำเนินการจัดหายา เวชภัณฑ์และ เครื่องมือทางการแพทย์ ในระดับประเทศโดย สปสช. เป็นระบบที่ มีผเู้ กีย่ วข้องหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมด�ำเนินงาน ตัง้ แต่ขนั้ ตอนของ การก�ำหนดปัญหา ความต้องการ การจัดสรรงบประมาณ การก�ำหนด คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ สปสช. ท�ำหน้าที่ในการประสานความ ร่วมมือให้การท�ำงานร่วมกัน และมอบหมายให้องค์การเภสัชกรรม เป็นผู้จัดหาและกระจาย ซึ่งจากผลด�ำเนินงานที่ผ่านมามีหลักฐาน ประจักษ์ให้ผลดีหลายด้าน โดยเฉพาะการลดงบประมาณลง แต่ เพิ่มการเข้าถึงยามากขึ้น มีระบบการขนส่งยาที่เหมาะสมถึงแม้จะ เป็นการส่งไปยังพื้นที่ห่างไกล ลดภาระหน่วยบริการในการจัดหา และส�ำรองยา ฯลฯ กระบวนการดังกล่าวมานี้ จึงนับเป็นการเพิ่มการเข้าถึง บริการสาธารณสุขของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้าภายใต้งบประมาณที่จ�ำกัดที่ท�ำให้ประชาชนเข้าถึงยาได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็สามารถป้องกันการล้มละลายของ ทั้งประชาชนและหน่วยบริการ ที่เห็นผลในเชิงประจักษ์และพิสูจน์ ได้โดยง่ายดังผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
9
[ 1330 มีค�ำตอบ ] ค�ำถามยอดฮิต ที่หน่วยบริการฯ โทรสอบถามสายด่วน สปสช. 1330 Q: A:
Q: A:
ก.
ผู้ป่วยรับวัคซีนพิษสุนัขบ้าและบาดทะยักเข็มแรกไปแล้ว ส�ำหรับวัคซีน พิษสุนัขบ้าเข็มที่ 2 และเข็มต่อไป ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิได้หรือไม่ อย่างไร การรักษาเพื่อป้องกันพิษสุนัขบ้า การรับวัคซีนพิษสุนัขบ้า กรณีเข็มที่ 2 และเข็มต่อ ไป สามารถใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพได้ ในกรณีอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉินประเภท ผู้ป่วยนอกโดยไม่จ�ำกัดจ�ำนวนครั้ง หากผู้ป่วยมีความจ�ำเป็นยังไม่สามารถกลับไปรับ การรักษาทีห่ น่วยบริการประจ�ำได้ หน่วยบริการทีร่ กั ษาสามารถขอเบิกค่าชดเชยเป็น กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินต่อเนื่องได้
ผู้ป่วยหมดสิทธิประกันสังคม ตรวจสอบสิทธิพบว่ามีสิทธิหลักประกันสุขภาพได้รับการลงทะเบียนตามมติคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้การรักษาผูป้ ว่ ยไปแล้ว จึงต้องการทราบแนวทางการเบิกค่าใช้จา่ ย ต้องด�ำเนินการอย่างไร กรณีลงทะเบียนตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในกรณีผมู้ สี ทิ ธิที่ สปสช. ได้ดำ� เนินการลงทะเบียนเลือกหน่วย บริการแทนผูท้ หี่ มดสิทธิประกันสังคม และหมดสิทธิขา้ ราชการ/รัฐวิสาหกิจ ทีก่ ลายเป็นสิทธิวา่ งตามมติคณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8/2554 ตามหนังสือ สปสช. เลขที่ 17/ว.0877 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2554 มีอัตราการจ่ายชดเชยโดยแยก ประเภทการเข้ารับบริการดังนี้ กรณีที่เข้ารับบริการตรงกับหน่วยบริการที่ลงทะเบียนแทน ทั้งกรณียอมรับและไม่ยอมรับ กรณีผู้ป่วยนอก • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ อยู่ในเหมาจ่ายรายหัว • ค่าใช้จ่ายใช้จ่ายสูง/อุปกรณ์อวัยวะเทียม สามารถขอรับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจาก สปสช. • หากมีการส่งต่อข้ามจังหวัด เบิกเป็นกรณีการรับส่งต่อผู้ป่วยนอกข้ามจังหวัด (OP Refer) กรณีผู้ป่วยใน • ขอรับค่าใช้จ่ายจากกองทุนผู้ป่วยในระดับเขต (IP Normal) ข.
กรณีที่เข้ารับบริการไม่ตรงกับหน่วยบริการที่ลงทะเบียนแทน ผู้ป่วยนอก • กรณียอมรับลงทะเบียนแทน 1. การเข้ารับบริการครั้งแรก สามารถขอรับค่าใช้จ่ายเป็นกรณีฉุกเฉิน (A/E) และ ค่าใช้จา่ ยใช้จา่ ยสูง/อุปกรณ์อวัยวะเทียมสามารถขอรับค่าใช้จา่ ยเพิม่ เติมจาก สปสช. 2. การรับบริการครั้งต่อมา ใช้สิทธิตามที่ลงทะเบียน • กรณีไม่ยอมรับลงทะเบียนแทน การเข้ารับบริการสามารถขอรับค่าใช้จ่ายเป็นกรณีฉุกเฉิน (A/E) และค่าใช้จ่ายใช้จ่ายสูง/ อุปกรณ์อวัยวะเทียมสามารถขอรับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจาก สปสช. จนกว่าจะมีการปรับ สิทธิตามรอบ ผู้ป่วยใน • ขอรับค่าใช้จ่ายจากกองทุนผู้ป่วยในระดับเขต (IP Normal) หมายเหตุ หลังการเข้ารับบริการกรณีลงทะเบียนตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติแล้ว ให้หน่วยบริการด�ำเนินการลงทะเบียนให้ผู้ป่วยตามประสงค์นั้นในวัน เข้ารับบริการครั้งนี้ทันที ที่มา :สรุป 10 ค�ำถามยอดฮิต ที่หน่วยบริการติดต่อผ่านสายด่วน สปสช. 1330 (1 ต.ค.58 - 30 ก.ย.59)
10
[ ก้าวน�ำความคิด ] นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ
ศิลป์
ในทางการแพทย์
(MEDICAL ARTISTRY)
ค�ำว่า “Art” หากเปิดดูในพจนานุกรมจะแปลว่า ศิลปะ หรือ ศิลป์ ส่วนค�ำว่า “Artistry” นั้น แปลว่า ความสามารถในทางศิลป์ แต่ทน ี่ า่ สนใจและลึกซึง ้ กว่าคือ ค�ำว่า ศิลป์ ในความหมายของท่านพุทธทาสนัน ้ ท่านกล่าวว่าต้องกอรปด้วย คุณสมบัติ 3 ประการ คือ
11
1. เป็นเรื่องที่ท�ำได้ส�ำเร็จผล (ดู Output) 2. ท�ำด้วยความงดงาม หรือมีความสง่างาม (ดูท่าที) 3. ท�ำอย่างทักษะช่าง (มีวะสี) ไม่ใช่ลวกๆ หรือมือสมัครเล่น มวยวัด (ดูความช�ำนิช�ำนาญ) .....ทัง้ หมดทีพ่ ดู ไปนัน้ ใช้ได้กบั การกระท�ำ ผลของการกระท�ำ หรือแม้กระทั่งความคิดความอ่าน ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์ มีผหู้ ลักผูใ้ หญ่ สอนมาโดยตลอดว่าจะต้องค�ำนึงถึงทั้งศาสตร์ (Science) และ ศิลป์ (Art) ค�ำว่าศาสตร์นั้นพอเข้าใจได้ไม่ยาก เช่น ต้องรู้ว่ายานี้มี ขนาดยาในเด็กกับขนาดยาในผู้ใหญ่ต่างกันอย่างไร โรคนี้พยากรณ์ โรคเป็นอย่างไร แต่สำ� หรับค�ำว่าศิลป์นนั้ ดูเหมือนจะมีความซับซ้อน ละเอียดอ่อน และต้องใช้สมองหลายส่วนมาผสมผสานเชือ่ มโยงกัน ในการ Delivery มากกว่า .....ตัวอย่างเช่น จะพูดอย่างไรให้เด็กทีก่ ลัวเข็มฉีดยาหยุด ร้องไห้ และยอมให้พยาบาลฉีดยาแต่โดยดี หรือจะหว่านล้อมอย่างไรให้ผู้ป่วยเบาหวานที่เท้าเน่า เข้าใจ เชื่อใจหมอ และยอมให้ความร่วมมือในการตัดขาอย่าง ยินยอมพร้อมใจ Art ในทางการแพทย์มีทั้งในมิติของการท�ำเวชปฏิบัติ การสื่อสารในมิติต่างๆ การออกแบบและตกแต่งอาคารสถานที่ การจัดการสิง่ แวดล้อม ไปจนถึงเรือ่ งเล็กๆ น้อยๆ อย่างการแต่งตัวของ บุคลากร หรืองานอดิเรก สาธารณสุขจังหวัดบางคนประสบความส�ำเร็จในการท�ำงาน กับผู้ว่าฯ แต่บางคนล้มเหลวไม่เป็นท่า สาธารณสุขจังหวัดบางท่าน พกเหล้ากับไม้กอล์ฟไว้ใกล้ตัว เพราะต้องใช้ Entertain และดูแล ผู้ใหญ่ สาธารณสุขจังหวัดหลายคน กล่าวเปิดงานแบบงกๆ เงิ่นๆ ต้องอ่านโพย บางคนด้นกลอนสด Improvise ได้อย่างน่าทึ่ง เพราะ เตรียมตัวมาดี มีการท�ำการบ้านและมีศิลป์ในการสื่อสาร ในการเตรียมการเปิดการประชุมที่เป็นทางการนั้น มีคน กล่าวว่าบางครั้งงานเสียหายเพราะเรื่องง่ายๆ เช่น ไมโครโฟนไม่ ดังขึ้นมาเฉยๆ มีภรรยาของผู้ใหญ่มาจุ้นจ้าน หรือมีสุนัขมาเดิน ผ่านหน้าประธาน ลืมเตรียมไม้ขีดไฟให้ประธานจุดธูปเทียน เรื่อง เหล่านี้ถือเป็นศิลป์ในการท�ำงาน ชนิดที่เรียกว่า “Art of Delivery Science” ซึ่งทุกวันนี้มีคนให้ความส�ำคัญถึงกับมีการเปิดสอนเป็น หลักสูตรฝึกอบรมในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อนผมคนหนึ่ง เธอมีหลักการส�ำคัญในการออกตรวจ ผู้ป่วยนอกอยู่ 4 เรื่อง ที่น่าสนใจ คือ (1) ยกมือไหว้ผู้ป่วยที่อาวุโส กว่าเสมอ (2) สบตาและยิ้มกับผู้ป่วยทุกคน (3) สัมผัสผู้ป่วยอย่าง สุภาพอ่อนโยน (4) พูดกับผู้ป่วยประดุจท่านเหล่านั้นเป็นญาติมิตร
Art ในทางการแพทย์ มีทั้งในมิติของทางเวชปฏิบัติ การสือ ่ สารในมิตต ิ า่ งๆ การออกแบบ และตกแต่งอาคารสถานที การจัดการสิ่งแวดล้อม ไปจนถึง เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างการแต่งตัว ของบุคลากรหรืองานอดิเรก
ของเธอเอง เรือ่ งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านีแ้ พทย์ทกุ คนรูด้ ี แต่ปญ ั หาคือ ท�ำไม่ได้ เพราะเงื่อนไขและมีข้อแก้ตัวนานับประการ ค�ำว่า Artistry เป็นค�ำทีถ่ กู น�ำมาใช้ในธุรกิจเสริมความงาม อย่างหลากหลาย เช่น Artistry ในการแต่งหน้าให้ดเู นียน การนวดหน้า การดูแลผิวพรรณ แต่จริงๆ แล้วสามารถน�ำไปใช้ได้ในทุกเรื่อง โรงพยาบาลบางแห่งมีผู้ป่วยมาก รอนาน จึงจัดวงดนตรีที่บรรเลง แบบเบาๆ เย็นๆ มาช่วยฆ่าเวลา และคลายความเครียด ความเบือ่ ของผูป้ ว่ ย นักดนตรีมที งั้ จิตอาสา หรือเป็นบุคลากรของโรงพยาบาล เอง อย่างนี้ก็ถือเป็น Arts ในการให้บริการอย่างหนึ่ง ผมเคยไปโรงพยาบาลรามาธิบดีเห็นมีระบบจิตอาสา ซึง่ บางครัง้ เป็นดาราหรือคนดังมาคอยเชียร์แขก ชวนผูป้ ว่ ยและญาติ พูดคุยฆ่าเวลา นี่ก็เป็น Art เช่นเดียวกัน... ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของส�ำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ก็เช่นเดียวกัน ความที่เป็น หน่วยงานหลักในการดูแลเรื่องระบบการจัดสรรเงินและจ่ายเงิน ให้โรงพยาบาลต่างๆ ก็จะมีค�ำถามย่อยๆ หลายเรื่องตามมา เช่น • ท�ำอย่างไรจะให้บุคลากรของโรงพยาบาลกรอกข้อมูล ส่งมาอย่างร่วมมือร่วมใจ และไม่เป็นภาระมากจนเกินไป จนกระทบกับงานประจ�ำอย่างอื่น • สปสช. ควรจ่ายเงินปีละกีง่ วด ถึงจะถูกใจโรงพยาบาลทีส่ ดุ • สปสช. จะช่วยเหลือดูแลบุคคลากรทีไ่ ด้รบั ความเดือดร้อน หรือเสียหายจากการให้บริการ (ตามมาตรา 41) อย่างไร ให้ราบรื่นและรวดเร็ว เหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างรูปธรรมที่จะต้องใช้ทั้งศาสตร์ และศิลป์ในการขับเคลื่อนระบบ (Delivery Service) ซึ่งเป็นเรื่องที่ เราไม่ควรมองข้ามไป
12
[ ก้าวไปด้วยกัน ] โดย: กองบรรณาธิการ
การดูแลผู้สูงอายุต้นแบบ รพ.สต.เหล่าหญ้า เป็นที่น่าจับตาว่าปัจจุบันประเทศไทยได้ผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มตัว และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับ สูงสุดในอีก 14 ปี ข้างหน้า (ข้อมูลจาก World Population Prospects, United Nations) การเปลี่ยน ผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงกลายเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายตระหนัก รวมถึงให้ความสนใจ เพราะฉะนั้นช่วง เวลานี้จึงถือได้ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อส�ำหรับการวางนโยบาย ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือ ระหว่างภาคส่วนต่างๆ ให้พร้อมส�ำหรับการรับมือเพื่อสร้างสังคมผู้สูงอายุคุณภาพอย่างยั่งยืน
13
จากนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับ บริการด้านสาธารณสุขอย่างเหมาะสม ในปี พ.ศ. 2559 รัฐบาลจึง ได้เริม่ สนับสนุนงบประมาณเพิม่ เติมจากงบเหมาจ่ายแบบรายหัวให้ กับส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพือ่ เป็นค่าใช้จา่ ย ในการดูแลสุขภาพของประชาชน ส�ำหรับผู้สูงอายุสิทธิหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติทมี่ ภี าวะพึง่ พิง ในปีนี้ สปสช. จึงได้จดั สรรงบประมาณ อีกกว่า 900 ล้านบาท ให้กับหน่วยบริการและองค์กรปกครองส่วน ท้องถิน่ เพือ่ ใช้ในการดูแลผูส้ งู อายุ จ�ำนวน 150,000 คน ทัว่ ประเทศ นายแพทย์ ชูชัย ศรช�ำนิ รักษาการ เลขาธิการส�ำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า สปสช. ได้กระจายงบประมาณ ผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิน่ ให้กบั องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีความพร้อมเข้าร่วมทั่วประเทศ โดยองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นจะน�ำงบประมาณที่ได้รับจัดสรรเพิ่มเติมนี้ ไป ใช้เพื่อด�ำเนินการพัฒนาผู้ดูแล (Care Giver) และจัดบริการด้าน สาธารณสุขให้กับผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ ด้านนายแพทย์ ภูวนนท์ เอี่ยมจันทน์ ผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 2 เล่าถึงการเข้าร่วม จัดระบบในครั้งนี้ว่า พื้นที่ สปสช. เขต 2 (จังหวัดพิษณุโลก จังหวัด เพชรบูรณ์ จังหวัดตาก จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์) มี เทศบาล / อบต. เข้าร่วมจัดระบบดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ปี 2559 - 2560 จ�ำนวน 300 แห่ง ในจังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งเป็นจังหวัด ที่มีผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงมากที่สุด จ�ำนวน 2,538 คน จากผู้สูงอายุที่ มีภาวะพึ่งพิงในเขตพื้นที่ทั้งหมดจ�ำนวน 7,220 คน ที่น่าสนใจและ เป็นความท้าทายความสามารถของผูม้ สี ว่ นร่วมในการพัฒนาครัง้ นี้ ก็คอื กรณีของผูส้ งู อายุทมี่ ภี าวะพึง่ พิงทีโ่ รงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต�ำบลเหล่าหญ้า จังหวัดเพชรบูรณ์ เนือ่ งจากสภาพพืน้ ทีป่ ฏิบตั งิ าน เป็นภูเขา ประชากรอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ดังนั้นการรวมกลุ่ม เพื่อพัฒนาจัดการด้านสาธารณสุขจึงเป็นไปได้ยาก แต่ถึงอย่างนั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก็สามารถพัฒนาระบบการประเมิน คัดกรอง ปัญหาสุขภาพ มีขอ้ มูลผูส้ งู อายุทจี่ ำ� เป็นต้องได้รบั การดูแลช่วยเหลือ ระยะยาว ตลอดจนสามารถสร้างชมรมผูส้ งู อายุทมี่ คี ณ ุ ภาพ ทัง้ หมดนี้ เกิดขึน้ ภายใต้ความร่วมมือของเทศบาลต�ำบลแคมป์สน ภาคีเครือข่ายทัง้ ภาครัฐ และภาคธุรกิจทีช่ ว่ ยเหลือสนับสนุนให้เกิดศูนย์พฒ ั นาคุณภาพ ชีวิตผู้สูงอายุ ที่ผ่านมามีการจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้มาพบปะ ตลอดจนมีการออกเยีย่ มเยียนให้บริการผู้สงู อายุทตี่ ิดบ้านติดเตียง อย่างต่อเนื่อง ด้านผูอ้ ำ� นวยการ รพ.สต.เหล่าหญ้า นายบรรณกร เสือสงห์ และนางอรุณี เสือสิงห์ ผูจ้ ดั การดูแลผูส้ งู อายุ ได้เล่าถึงการสถานการณ์ และการจัดการของโรงพยาบาลว่า ในพื้นที่มีผู้สูงอายุแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มที่ติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม ทั้งต�ำบลมีผู้สูงอายุ 800 คน แต่มีผู้ป่วยติดบ้านและติดเตียงอยู่ 36 คน เรามีผู้ดูแลผู้สูงอายุ
(Care Giver) และซีเอ็ม มีพยาบาลวิชาชีพและมีแพทย์ทลี่ งมาเดือน ละ 1 ครั้ง มีทันตแพทย์ และมีแพทย์แผนไทยที่ครอบคลุม เราออก ไปประเมินผู้ป่วย ท�ำแผนออกไปดูแล แต่ละคนจะประเมินกิจวัตร ประจ�ำวัน เมื่อประเมินออกมาแล้ว จะมีการแบ่งผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงออกเป็น 4 กลุ่ม จากนั้นจะมีการท�ำแผนการดูแล บางคน ที่มีอาการมากอาจได้รับการดูแล 4 ครั้งต่อเดือน หรือ 3 ครั้งบ้าง 2 ครั้งบ้าง แล้วแต่อาการคนไข้ กรณีตัวอย่างคือคุณยาย ค�ำไข จันทร์แสน อายุ 71 ปี อาศัยอยู่บ้านเหล่าหญ้า ต�ำบลแคมป์สน อ�ำเภอเขาค้อ จังหวัด เพชรบูรณ์ ผลจากการติดตามประเมินของ รพ.สต.เหล่าหญ้า พบว่า เมื่อเดือน เมษายน 2559 คุณยายมีอาการอ่อนแรง เดินไม่ ได้ ต้องมีคนช่วยเหลือในการท�ำกิจวัตรประจ�ำวัน แพทย์วนิ จิ ฉัยเป็น โรคไขข้อเสือ่ ม แขนซ้ายยกไม่คอ่ ยได้ เนือ่ งจากเคยหกล้ม เพือ่ นบ้าน ที่มีความรู้เรื่องการท�ำลูกประคบสมุนไพรจึงได้ช่วยเหลือด้วยการ ท�ำการประคบด้วยความร้อนจนอาการทุเลา ทาง อสม. จึงได้แจ้ง มายังทีมหมอครอบครัว รพ.สต.เหล่าหญ้า ให้มาเยี่ยมคุณยายค�ำ ไข ทีมหมอครอบครัว รพ.สต.เหล่าหญ้า ได้เข้ามามีติดตามดูแลต่อ เนื่องที่บ้าน ด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพ ท�ำกิจกรรมยืดเหยียดกล้าม เนื้อ นวดกดจุดบ�ำบัด ฝึกเดินราวหัดเดิน แนะน�ำอาหารตามธาตุ เจ้าเรือน รวมถึงการใช้สมุนไพรฟื้นฟู เป็นต้น จากกรณีตวั อย่างจะเห็นได้วา่ การด�ำเนินการของ รพ.สต. เหล่าหญ้า เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผูส้ งู อายุได้รบั การดูแลอย่าง ทั่วถึง และได้รับการเอาใจใส่ ซึ่งการท�ำงานด�ำเนินไปด้วยดีก็เนื่อง มาจากการได้รับการสนับสนุนจากทุกๆ ภาคส่วน ซึ่งสอดคล้องกับ นโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแล ด้านสาธารณสุขอย่างเหมาะสมและทั่วถึงนั่นเอง
14
[ ก้าวแห่งคุณค่า ]
การตรวจเยี่ยมหน่วยบริการของ คกก. ควบคุมคุณภาพสาธารณสุข ที่จังหวัดนครนายก
ภาพ: hfocus.org นพ.ชาตรี บานชื่น ประธานกรรมการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.จักรกริช โง้วศิริ ผู้ช่วย เลขาธิการ สปสช. ลงพื้นที่จังหวัดนครนายกเพื่อเยี่ยมหน่วยบริการ ในพื้นที่ สปสช. เขต 4 โดยมี นพ.ชิตพงษ์ สัจจะพงษ์ ประธาน คณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานฯ เขต 4 สระบุรี นพ.ชลอ ศานติวรางคณา ผู้อ�ำนวยการ สปสช. เขต 4 สระบุรี และ นายบุญยัง กังใจ ผู้ประสานงานหน่วยรับเรื่องร้องเรียน
อื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน จ.นครนายก รอต้อนรับในการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมครั้งได้เปิดเวที “ประชุมสัญจรและตรวจเยี่ยม หน่วยบริการของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน บริการสาธารณสุขในระดับพืน้ ที่ สปสช. เขต 4 สระบุร”ี เพือ่ แลก เปลีย่ นเรียนรูก้ ารด�ำเนินงาน และร่วมรับฟังความคิดเห็น เพือ่ น�ำข้อ สรุปของการตรวจเยีย่ มกลับไปปรับปรุงการการบริหารจัดการต่อไป
15
การลงพื้นที่ท�ำให้คณะกรรมการ ควบคุมคุณภาพสาธารณสุข ได้ เห็นข้อเท็จจริง ท�ำให้มีความเห็น เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาปรับปรุง การให้บริการของหน่วยงานให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภาพ: hfocus.org
ผลของการตรวจเยี่ยมนอกจากจะพบว่าเจ้าหน้าที่ แต่ละส่วนต่างมีความกระตือรือร้น และความมุง่ มัน่ ในการให้บริการ อย่างต่อเนือ่ งเพือ่ ให้ได้มาตรฐานแล้ว ยังได้มคี วามพยายามพัฒนาการ การบริการที่เพิ่มขึ้น อย่างเช่น รพ.นครนายก มีการติดตามการ ด�ำเนินงานบริการการแพทย์แผนไทย อย่างเช่น นวดแผนไทยเพื่อ การฟื้นฟู, แพทย์แผนไทยรักษาผู้ป่วยเบาหวาน, แพทย์แผนไทย ดูแลหญิงหลังคลอดบุตร, และการบริหารจัดการ บริการรักษาผูป้ ว่ ย โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย บริการล้างไตทางช่องท้อง, บริการ ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ซึ่งเป็นระบบบริการที่ทันสมัยและ บริการครบวงจร เพื่อให้บริการผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ขณะที่ รพ.ปากพลี มีการจัดระบบบริการรับเรือ่ งร้องเรียน ให้ประชาชนผู้รับบริการเข้าถึงได้อย่างสะดวก โดยจัดให้มีศูนย์รับ เรื่องร้องเรียนในด่านหน้า ณ จุดหน้าโรงพยาบาล การให้บริการ จะเน้นการสร้างความเข้าใจด้วยมิตรไมตรีเป็นหลัก ส่วน รพ.สต. ท่าแห ได้เน้นการท�ำงานแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เช่น การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มีการด�ำเนินงานร่วมกับ กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิน่ (กองทุนต�ำบล) อบต.ท่าแห อบต.ดงละคร มีเครือข่าย อสม. ที่เข้มแข็ง สามารถท�ำงานร่วมกับ ทีมหมอครอบครัวและดูแลประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง มีการ สร้างทีมในการสร้างความเข้าใจเพือ่ ลดข้อร้องเรียน และมีระบบการ จัดเก็บข้อมูลสุขภาพชุมชน การใช้ขอ้ มูลในการด�ำเนินงานจัดท�ำแผน ปฏิบตั กิ ารในการดูแลสุขภาพประชาชนและการคืนข้อมูลสุขภาพให้ แก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ในการประชุมเพือ่ รับฟังความคิดเห็นครัง้ นีค้ ณะกรรมการ ควบคุมคุณภาพสาธารณสุข ยังได้รับข้อเสนอแนะต่างๆ จาก หน่วยงานในพื้นที่ ท�ำให้ส่วนกลางได้รับทราบปัญหาอุปสรรคและ ความต้องการในการสนับสนุน อาทิ ความต้องการให้ สปสช.ท�ำ สื่อประชาสัมพันธ์หน่วยรับเรื่องร้องเรียนฯ ตามมาตรา ๕๐ (๕)
แต่ละจังหวัด เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลได้ทั่วถึงมากขึ้น การ สนับสนุนด้านงบประมาณ โดยขอให้มกี ารก�ำหนดงบประมาณส่วน ของค่าบริหารจัดการแยกออกเป็นรายการเฉพาะให้ชัดเจน ฯลฯ นอกจากการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจาก หน่วยงานในพื้นที่แล้ว การลงพื้นที่ท�ำให้คณะกรรมการควบคุม คุณภาพสาธารณสุข ได้เห็นข้อเท็จจริง ท�ำให้มีความเห็นเพิ่มเติม เพื่อพัฒนาปรับปรุงการให้บริการของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น อย่างเช่น ด้านการคลัง ควรจะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ การจัดสรรเงินของพื้นที่ที่มีประชากรเบาบางให้เหมาะสม ขณะที่ ด้านการให้บริการสาธารณสุข ควรมีการส่งเสริมให้ทุกเขตจัดระบบ บริการให้สอดคล้องกับ Service Plan และให้มกี ารแบ่งปัน (Sharing) ทรัพยากรอย่างเหมาะสมในพื้นที่ รวมถึงหลักการ พี่ช่วยน้อง เพื่อ ให้การบริหารจัดการ และการบริการมีประสิทธิภาพ ลดปัญหา โรงพยาบาลขาดสภาพคล่อง การส่งเสริมแนวทางการสร้างเสริมสุข ภาพและป้องกันโรคโดยให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ ให้มี ความแตกฉานด้านสุขภาพ (Health Literacy) การส่งเสริมให้มีการ สื่อสารที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผูร้ ับบริการ เพื่อสร้างความเข้าใจ อันดีอันจะช่วยลดความขัดแย้งได้ ด้านการบริหารจัดการ ต้องก�ำหนดมาตรการ และบทลงโทษ กรณีหน่วยบริการลงทะเบียนสิทธิโดยพลการให้ชดั เจน มีการเพิม่ การ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรูส้ ทิ ธิ และหน้าที่ และสุดท้ายคือ การ แก้ไขปัญหาเรือ่ งภาระงานของผูป้ ระกอบวิชาชีพพยาบาล เนือ่ งจาก พบว่าพยาบาลไปปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่บทบาทของพยาบาล ทัง้ นีก้ ารได้รบั ฟังความคิดเห็น และการลงพืน้ ทีต่ รวจเยีย่ ม การท�ำงานของหน่วยงานในพืน้ ทีข่ องคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ สาธารณสุข จะเป็นการสร้างประสิทธิภาพของการให้บริการของ หน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
16
[ ก้าวกับมายาคติ ] นพ. ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
แดจังกึม
ตอนที่ 2 หมอหลวงของพระราชา ซอจังกึมเริม ่ ชีวต ิ ใหม่ในระดับทาสเธออ่านหนังสือและฝึกงานกับ หมอชาวบ้านหญิงคนหนึ่งอย่างเอาจริงเอาจัง กล้าปะทะหมอ หญิงเรื่องที่หมอหญิงจ่ายยาหลอกแก่ชาวบ้านซึ่งเป็นชาวนา ไร้การศึกษา ก่อนที่จะเรียนรู้ว่าหมอหญิงตั้งใจดี และการให้ ยาหลอกหรือ Placebo เป็นวิธีหนึ่งที่อาจจะต้องใช้ในการดูแล ผู้ป่วยครบองค์รวม คือ กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ซอจังกึมเริม่ งานทีช่ นบท สามารถสอบเข้าโรงเรียนแพทย์แห่ง วังหลวงด้วยความขยันหมัน่ เพียร แต่ชวี ติ ในโรงเรียนแพทย์นนั้ ไม่งา่ ย ทุกครัง้ ทีเ่ ธอตอบค�ำถามตามต�ำราอย่างเคร่งครัด เธอสอบตกทุกทีไป เธอใช้เวลาต่อสู้กับความรู้สึกว่าถูกอาจารย์กลั่นแกล้งอยู่พักใหญ่ กว่าจะยอมรับว่าที่อาจารย์ให้สอบตกเพราะเธอมั่นใจในตนเอง มากเกินไป คนเป็นหมอจะมั่นใจและหลงว่าตนเองเก่งเช่นนั้นมิได้ การตรวจวินจิ ฉัยผูป้ ว่ ยต้องท�ำด้วยความละเอียดและรอบคอบเสมอ คือการวินิจฉัยแยกโรค (Differential Diagnosis) เพราะซอจังกึมโดดเด่น เธอจึงเพาะความริษยาในหมู่ เพื่อนโดยไม่รู้ตัว จนกระทั่งเมื่อโอกาสของศัตรูมาถึง เธอถูกหลอก ให้ออกจากเขตโรคระบาดไม่ทัน ถูกทิ้งให้อยู่คนเดียวท่ามกลาง ชาวบ้านยากจนที่ป่วยหนักทั้งหมู่บ้าน ในขณะที่หน่วยแพทย์ถอน ตัวกลับเมืองหลวงหมดแล้ว
ซอจังกึมหมดอาลัยตายอยาก ถึงกับนั่งท้อแท้ไม่อยาก ลุกขึน้ อีกแล้ว แต่เพราะทักษะชีวติ ทีด่ มี าก เธอก็ลกุ ได้อกี ตัง้ เป้าหมายจะ แก้ปัญหาโรคระบาด จึงวางแผนการท�ำงาน ตัดสินใจสืบค้นด้วย ตนเองและท�ำแผนทีโ่ รคระบาดอย่างเป็นระบบ จนกระทัง่ พบสาเหตุ ทีแ่ ท้จริงและสามารถสกัดการระบาดมิให้แพร่ตอ่ ไปอีกหลายหมูบ่ า้ น รวมทั้งสกัดมิให้มาถึงเมืองหลวงและราชส�ำนักได้ ทักษะชีวิต หรือ Life Skills เป็นทักษะส�ำคัญที่การศึกษา ควรฝึกเด็กนักเรียน ประกอบด้วยการก�ำหนดเป้าหมาย วางแผน ตัดสินใจ ลงมือท�ำ ประเมินผล แล้วปรับแผน คือสิ่งที่ซอจังกึมจะ แสดงให้เห็นอีกหลายครั้งช่วงเป็นหมอหญิง ทักษะชีวิตมิได้แปลว่านิสัยดี มีศีลธรรม ถือความสัตย์ แต่หมายถึงความสามารถของจิตใจที่จะเดินหน้าไปเรื่อยๆ แม้พบ อุปสรรค และไม่ยอมล้มลงโดยง่าย
17
การคิดวิเคราะห์ อย่างยืดหยุ่นแปล ง่ายๆ ว่า การเปลี่ยน มุมมอง เปลี่ยนเป้าหมาย เปลี่ยนแผน เปลี่ยนวิธี ท�ำงาน แม้กระทั่งเปลี่ยน ตัวชี้วัด
วันหนึ่งมีค�ำสั่งให้นักศึกษาแพทย์ทั้งหมดไปรับใช้และ ปรนเปรอขุนนางในงานเลี้ยงหนึ่ง ซอจังกึมปฏิเสธไม่ไปเพราะเป็น เรื่องไม่ถูกต้อง ในขณะที่เพื่อนๆ ไปกันหมด ผลจากการแข็งขืนครั้ง นี้ท�ำให้เธอเพาะหมอหลวงเป็นศัตรูเพิ่มมาอีกคนหนึ่ง นักศึกษาแพทย์บางคนไม่สบายใจกับพฤติกรรมของแพทย์ ชัน้ ผูใ้ หญ่และอาจารย์แพทย์ ทุกวันนีแ้ พทย์ชนั้ ผูใ้ หญ่ในส่วนราชการ มักเรียกนักศึกษาแพทย์ไปปฏิบัติภารกิจที่มิใช่หน้าที่ หรือเรียก เจ้าหน้าที่สตรีจากส่วนต่างๆ ไปต้อนรับผู้ใหญ่ รวมทั้งดูแลความ เรียบร้อยในงานเลี้ยงยามค�่ำคืน ไม่สบายใจทีอ่ าจารย์แพทย์หลายท่านมีความสัมพันธ์กบั บริษทั ยาหรือเครือ่ งมือแพทย์เกินพอดี มีทงั้ รับค่าตอบแทนไปจนถึง รับค่าใช้จ่ายไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ เหล่านี้เป็นประเด็นทาง จริยธรรม (Ethics) ซอจังกึมเผชิญหน้าศัตรูเก่าจากห้องเครื่อง เพาะศัตรูใน ส�ำนักหมอหลวงไว้หลายคน แต่ด้วยทักษะชีวิตที่ดี และ EF ที่ดี ท�ำให้เธอยังคงเดินหน้าไม่หยุดยั้ง Executive Function หรือ EF ที่ส�ำคัญคือการควบคุมตนเอง (Self Control) และความจ�ำใช้งาน (Working Memory) แต่ที่ส�ำคัญที่สุดคือ การคิดวิเคราะห์อย่าง ยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility) การคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่นแปลง่ายๆ ว่า การเปลี่ยน มุมมอง เปลีย่ นเป้าหมาย เปลีย่ นแผน เปลีย่ นวิธที ำ� งาน แม้กระทัง่ เปลีย่ น ตัวชีว้ ดั ซอจังกึมแสดงความสามารถเหล่านีใ้ ห้เห็นหลายครัง้ ระหว่าง ถวายการรักษารัชทายาท พระพันปี พระมเหสี รวมทัง้ พระราชา ความ สามารถระดับสูงมากขึ้นไปอีกคือเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) การเปลี่ยนกระบวนทัศน์แปลง่ายๆ ว่า ก�ำหนดและเปลี่ยน
ตัวแปรใหม่ ซอจังกึมแสดงความสามารถนี้เมื่อเธอถูกเนรเทศ อีกครั้งหนึ่งไปในชนบทที่มีโรคหัดร้ายแรงก�ำลังระบาด เธอเป็น หมอคนเดียวในพืน้ ทีแ่ ละคลุกคลีกบั ผูป้ ว่ ยลูกเล็กเด็กแดงเพือ่ ค้นหา วิธีรักษาอย่างกล้าหาญ เธอท�ำส�ำเร็จด้วยการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ตอนทีเ่ ธอเป็นนางในเด็กทีห่ อ้ งเครือ่ ง เธอเปลีย่ นตัวแปร จากความใสของน�้ำเป็นความสะอาดของน�้ำ ท�ำให้เธออดทนไม่ นอนเพื่อต้มน�้ำในบ่อก่อนเอาไปล้างจาน คือตัวอย่างง่ายๆ ของ การเปลี่ยนตัวแปรอย่างง่ายๆ ตอนนี้เธอเป็นหมอหลวงที่ถูกเนรเทศ แทนที่จะหมด ก�ำลังใจ กลับยังคงไว้ซงึ่ จริยธรรม เห็นประโยชน์สว่ นรวมก่อนส่วนตน เปลีย่ นตัวแปรจากอุณหภูมผิ ปู้ ว่ ยเป็นการเปลีย่ นแปลงของลักษณะ ตุ่มผิวหนัง จนกระทั่งค้นพบวิธีรักษาแบบประคับประคองเพื่อให้ เด็กๆ รอดชีวติ จากหัด น�ำไปสูก่ ารเปลีย่ นกระบวนทัศน์ คือมุง่ รักษา คนมากกว่ารักษาไข้ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นตัวอย่างที่ดีของการ เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในประเทศไทย เดิมระบบสุขภาพเคยจ่าย งบประมาณให้แก่โรงพยาบาลตามขนาด และจ�ำนวนเตียง ท�ำให้ เกิดปรากฏการณ์เพิ่มจ�ำนวนเตียงเพื่องบประมาณ และการล็อบบี้ เพื่อสร้างตึกผู้ป่วยแข่งกัน เมื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์เป็นการจ่าย งบประมาณตามจ�ำนวนประชากรที่โรงพยาบาลรับผิดชอบ ระบบ ทั้งหมดจึงเปลี่ยนแปลง ความสามารถ และจริยธรรมของซอจังกึม ล่วงรู้ถึงราชส�ำนักอีกครั้ง พระราชาจึงแต่งตั้งให้เธอเป็นแดจังกึม แปลว่า จังกึมผู้ยิ่งใหญ่
18
[ ก้าวทันโลก (โรค) ]
พญ. ชัญวลี ศรีสุโข (chanwalee@srisukho.com)
บทเรียนจากคดีดังทางการแพทย์
ตายเพราะไฟไหม้ห้องพักผู้ป่วยในโรงพยาบาล คดีเกิดใน ปีพ.ศ. 2557 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร้องขอให้แพทยสภาตรวจสอบ นายแพทย์ ก. (ชื่อสมมุติ) ผู้รักษา นาย ข. (ชื่อสมมุติ) ว่า การดูแลรักษา การวินิจฉัยโรค และการให้นาย ข. อยู่ห้องแยก เป็นไปตามมาตรฐาน วิชาชีพแพทย์หรือไม่ โดยหน่วยงานดังกล่าวได้เข้าตรวจสอบโรงพยาบาล ค.(ชื่อสมมุติ) และประวัติการ รักษาของนาย ข. หลังจากทราบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์วา่ เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ในห้องพักผูป ้ ว ่ ยของ โรงพยาบาล ค. จนท�ำให้ผู้ป่วยที่พักอยู่ คือนาย ข. เสียชีวิต
ข้อมูลเบื้องต้นพบว่านาย ข. อายุ 42 ปี มาโรงพยาบาล ด้วยอาการมีไข้ ไอ เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อาเจียนเป็นเลือด มีโรคประจ�ำตัวคือวัณโรคปอด เบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วย มีอาการเอะอะอาละวาด วุ่นวาย นายแพทย์ ก. จึงให้การดูแล มัดมือมัดเท้า อยู่ห้องแยก เพราะสงสัยเป็นวัณโรคระยะแพร่เชื้อ ค�ำให้การของผูอ้ ำ� นวยการโรงพยาบาล ค. ในฐานะพยาน นาย ข.มารับการรักษาโดยใช้สทิ ธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดังรายละเอียดดังนี้ วันที่ 21 ผูป้ ว่ ยอาเจียนเป็นเลือด 2 ครัง้ มีอาการอ่อนเพลีย ผูป้ ว่ ยเดินได้ เพือ่ นบ้านให้ประวัตวิ า่ นาย ข. เป็นแอลกอฮอล์ลซิ มึ่ เห็น ดืม่ เหล้าเป็นประจ�ำ เนือ่ งจากประวัตเิ ก่าทีเ่ คยมารักษาเป็นวัณโรคปอด
จึงให้ผปู้ ว่ ยอยูห่ อ้ งแยก เพือ่ ป้องกันการแพร่เชือ้ ให้ผอู้ นื่ เพือ่ นบ้าน มาเยี่ยมครั้งเดียว แล้วไม่มาอีก วันที่ 22 ตั้งแต่เช้า ผู้ป่วยเดินรอบโรงพยาบาล และจะ ออกไปนอกโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่น�ำกลับมาห้องพัก วันที่ 23 ตัง้ แต่เช้า ผูป้ ว่ ยอาละวาดเจ้าหน้าที่ ดึงสายน�ำ้ เกลือ ด่าทอ ขอกลับบ้าน จึงขออนุญาตแพทย์ผูกผู้ป่วยไว้กับเตียง ต่อมา ผู้ป่วยสลัดผ้าที่ผูกออก เดินวนไปมา 21.00 น. จึงฉีดยาให้ และขอ มัดแขนผู้ป่วย ไม่ถึงชั่วโมง ผู้ป่วยร้องว่าหิว จึงให้ดื่มนม 22.00 น. บุรุษพยาบาลมาตรวจสัญญาณชีพ ผูป้ ว่ ยขอบุหรีส่ บู บุรษุ พยาบาล ปฏิเสธ 23.00 น. แพทย์ไปตรวจคนไข้ห้องข้างๆ ได้กลิ่นเหม็นไหม้ เปิดประตูห้องพักที่นาย ข. อยู่ มีควันพุ่งออกมา ได้ช่วยกันดับไฟ และแจ้งผู้อ�ำนวยการ
19
ค�ำให้การของนายแพทย์ ก. วันที่ 21 นาย ข. มาโรงพยาบาล ค. ด้วยอาการไข้ 2 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล เหนือ่ ย อ่อนเพลีย ไม่มแี รง อาเจียนเป็นเลือดสด 2 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว เป็นเบาหวาน แต่ขาดยามานาน 1 ปี ดื่มเหล้า เป็นประจ�ำ ตรวจร่างกายผู้ป่วยมีอาการซีดเล็กน้อย ผลการตรวจ เอกซเรย์ปอด สงสัยว่าจะมีวัณโรคปอดในระยะแพร่เชื้อ Active Pulmomary is Likely ผลการตรวจเลือด พบว่ามีตบั อักเสบ เกล็ดเลือด ต�่ำ น�้ำตาลในเลือดสูง วินิจฉัย หลอดลมอักเสบ วัณโรค ตับอักเสบ และติดสุราเรื้อรัง ได้รับไว้ในโรงพยาบาล ให้น�้ำเกลือ ให้ยาฆ่าเชื้อ วันที่ 22 ผูป้ ว่ ยมีไข้ตำ�่ เดินไปข้างนอก เจ้าหน้าทีพ่ ากลับมา ผู้ป่วยพักได้ ผลการตรวจเสมหะไม่พบเชื้อวัณโรค วันที่ 23 ผู้ป่วยดึงสายน�้ำเกลือ เอะอะ อาละวาด ด่าทอ ต้องมัดมือมัดเท้า 15.30 และ 17.00 น. ได้สั่งให้ยาระงับประสาท (Valium) 21.00 น. ผู้ป่วยขอสูบบุหรี่ พยาบาลไม่ให้สูบ ได้สั่งให้ ยาสงบประสาท (Haldol) 22.00 น. พยาบาลมาวัดสัญญาณชีพ พบว่าปกติ 23.00 เกิดเหตุเพลิงไหม้ ไหม้เฉพาะห้อง และไหม้เฉพาะ เตียง ท�ำให้ผู้ป่วยที่พักในห้องเสียชีวิต ขณะเกิดเหตุไฟไหม้ โรงพยาบาลได้ปฏิบตั ติ ามแผนอัคคีภยั อพยพผู้ป่วยในทั้งหมดมาที่จุดรวมพล แบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม คือ จ�ำหน่ายกลับบ้านหนึง่ กลุม่ เคลือ่ นย้ายไปรักษาต่อทีส่ ถานพยาบาล เครือข่ายหนึง่ กลุม่ และรอการเคลือ่ นย้ายอีกหนึง่ กลุม่ หลังเหตุการณ์ สงบ ตรวจสอบพืน้ ทีท่ ไี่ ม่ได้รบั ความเสียหาย และไม่เกีย่ วข้องกับไฟไหม้ จึงรับผู้ป่วยที่รอการเคลื่อนย้ายกลับเข้าพักเตียงเดิม โดยสมัครใจ หลังเกิดเหตุ ควบคุมเพลิงได้แล้ว พบว่า นาย ข. เสียชีวิต จากเหตุไฟไหม้ ได้แจ้งสถานีต�ำรวจ กองพิสูจน์หลักฐาน สถาบัน นิติเวช ผลการตรวจสอบร่วมกันพบว่า ผู้เสียชีวิตนอนอยู่ด้าน ซ้ายของเตียง มีรอยไหม้ขนาดใหญ่ที่เบาะนอนด้านขวาของเตียง ชิดกับผู้ป่วย อุปกรณ์พลาสติกที่ติดอยู่ข้างฝา งอบิดผิดรูป เพดาน ที่อยู่สูงกว่าพื้น 1.5-1.8 เมตร มีคราบเขม่าด�ำทั่วเพดาน อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สวิทช์ เต้าเสียบ ทุกชิ้น ทุกจุดไม่มีร่องรอยความ เสียหาย ทดสอบแล้วยังคงใช้การได้ตามปกติ โครงสร้างของตึกไม่ ได้รับความเสียหาย พบก้นบุหรี่ที่ระเบียงนอกหน้าต่าง พบชิ้นส่วน ไฟแช็กในกองเถ้าถ่าน บนเตียงนอนที่มีรอยไหม้ สรุปว่า ผู้ป่วยน่า จะได้ใช้ไฟแช็กจุดบุหรี่สูบ แล้วง่วงหลับไป จากยาระงับประสาทที่ ได้มาก่อนบุหรี่ตกลงบนเตียงนอนจนเกิดไฟคุ ลามไปที่เบาะนอน ผลการชันสูตรศพ พบว่า ในทางเดินหายใจและปอดของผู้ตายมี คราบเขม่าควันจ�ำนวนมาก สรุปว่าเสียชีวติ เพราะขาดอากาศหายใจ
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องรักษามาตรฐานของการ ประกอบวิชาชีพเวชกรรมใน ระดับดีที่สุดในสถานการณ์ นั้นๆ ภายใต้ความสามารถและ ข้อจ�ำกัดตามภาวะวิสัย และ พฤติการณ์ที่มีอยู่
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 1. การดูแล รักษา วินิจฉัย เมื่อผู้ป่วยอาละวาดวุ่นวาย ตามหลักฐานที่ให้มา การให้ยา และการรักษาประคับประคองเพื่อ ลดอันตรายที่จะเกิดกับผู้ป่วย (Physical Restraint) ถูกต้องตาม มาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม 2. การให้ผู้ป่วยอยู่ห้องแยกเหมาะสมแล้ว เนื่องจาก ประวัติผู้ป่วยเคยเป็นโรควัณโรคปอด รักษาไม่สม�่ำเสมอ ฟิล์มภาพ รังสีทรวงอกสงสัยว่าเป็นวัณโรคระยะแพร่เชื้อ การแยกห้องผู้ป่วย เป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคไปสู่ผู้อื่น ค�ำตัดสิน คณะอนุกรรมการจริยธรรมแพทยสภามีความ เห็นว่า การให้การตรวจ การดูแลรักษาผูป้ ว่ ยรายนีข้ องนายแพทย์ ก. ถูกต้องตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังนัน้ นายแพทย์ ก. จึงมิได้ประพฤติผิดข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรม แห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2549 หมวด 4 ข้อ 15 ที่ว่า “ผู้ประกอบ วิชาชีพเวชกรรมต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ในระดับดีที่สุดในสถานการณ์นั้นๆ ภายใต้ความสามารถและข้อ จ�ำกัดตามภาวะวิสัย และพฤติการณ์ที่มีอยู่” จึงมีมติ คดีไม่มีมูล ความคิดเห็น ของผู้เขียน คดีนี้เป็นบทเรียนว่า 1. ทุกสถานพยาบาลควรมีการซ้อมรับมือกับอัคคีภยั เป็น ประจ�ำ เพราะมีโอกาสเกิด 2. หากให้ผปู้ ว่ ยแยกห้อง ผูก มัด หรือให้ยาทีท่ ำ� ให้งว่ งซึม ควรมีญาติหรือผู้ดูแล ดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะอาจจะเกิดอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน จนไม่สามารถช่วยเหลือได้ทัน ดังกรณีที่เกิดขึ้นนี้
20
[ ก้าวทันสื่อ ] สื่อสิ่งพิมพ์ • หนังสือคูม่ อื ผูใ้ ช้สทิ ธิหลักประกันสุขภาพ ส�ำหรับประชาชนทัว่ ไป แนะน�ำการตรวจสอบสิทธิ ใครบ้างที่มีสิทธิ การลงทะเบียน ใช้สิทธิ บริการที่คุ้มครอง เป็นต้น • หนังสือ 10 เรื่องควรรู้ สิทธิหลักประกันสุขภาพ ประเด็นส�ำคัญเพื่อความเข้าใจสิทธิหลักประกันสุขภาพส�ำหรับ ทุกคน ** สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ทาง www.nhso.go.th คลิก บริการข้อมูลประชาชน • โปสเตอร์ 3 เรื่อง - สายด่วน สปสช. 1330 - เติบโตสมวัย เด็กไทยแข็งแรง - สูงวัย… ห่างไกลโรค
สื่อโทรทัศน์ ติดตามชมสกู๊ปหลักประกันสุขภาพ ออกอากาศทุกวันเสาร์ ช่วงข่าวภาคค�่ำ เวลาประมาณ 18.20 น. เป็นต้นไป ทางสถานีโทร ทัศน์โมเดิร์นไนน์ (ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.)
สื่อวิทยุ อัพเดทเรื่องราวที่สดใหม่ ทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับหลักประกัน สุขภาพ ได้ทุกวันอังคาร ทางรายการ “คลื่นความคิด” FM 96.5 ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป
หรือฟังย้อนหลังได้ทาง www.youtube.com/สปสช.
21
[ แวดวง ]
แวดวงฉบับนี้มาพร้อมกับข่าวกิจกรรมของส�ำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในหลากหลายเขตพืน้ ทีเ่ พือ่ ช่วย สนับสนุนให้ความรูท้ ถี่ กู ต้องกับประชาชนเกีย่ วกับระบบหลักประกัน สุขภาพทั่วหน้า ซึ่งข่าวแรกจะเป็นกิจกรรมดีๆ ของการผนึกก�ำลัง ระหว่าง กรุงเทพมหานคร การรถไฟแห่งประเทศไทย และส�ำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในการเปิดจุดบริการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติจุดใหม่ โดยเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2560 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายแพทย์ชูชัย ศรช�ำนิ รองเลขาธิการ สปสช. และนายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่าราชการ กลุ่มอ�ำนวยการ รฟท. ได้ร่วมกันเปิด “สถานีบัตรทอง” ซึ่งเป็น พื้นที่น�ำร่องในการให้บริการลงทะเบียน การสื่อสารประชาสัมพันธ์ แบบครบวงจร แก่ประชาชนทัง้ ในกรุงเทพและต่างจังหวัดทีต่ อ้ งการ ขอเปลี่ยนแปลงสิทธิหรือสอบถามข้อมูลด้านสิทธิหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ซึ่งการจัดตั้งสถานีบัตรทองนี้ก็เพื่อเป็นการเพิ่ม ช่องทางการเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนนั่นเอง สถานีบัตรทองจะเปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00 - 19.00 น. จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2560
และท้ายสุดกับข่าวงานประชุมวิชาการ ทอพ. ครั้งที่ 4 โดยครั้งนี้นายแพทย์วิทยา ตันสุวรรณนนท์ รองเลขาธิการ สปสช. ได้เข้าร่วมประชุมพร้อมกับองค์กรอื่นๆ อีกถึง 16 องค์กรของรัฐ ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ในหัวข้อ “ประชารัฐร่วมใจ สู่สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ” ภายในงานมีการแสดงนิทรรศการ ของหน่วยงานต่างๆ รวมถึงบูธ สปสช. ที่ได้มาให้บริการด้านข้อมูล บัตรทองกับผู้มาร่วมงาน เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมา ณ อาคารสุขภาพแห่งชาติ
ขยับจากกรุงเทพขึ้นไปที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กับ การจัดประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารสร้างเครือข่ายประชาสัมพันธ์ภาคอีสาน โดยเมื่อวันที่ 9 - 10 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมอวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น จังหวัดขอนแก่น ส�ำนักงานหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่าย ประชาสัมพันธ์ภาคอีสาน ในพื้นที่ สปสช. เขต 7 - 8 - 9 และ 10 เพื่อขับเคลื่อนกลไกการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุกในกลุ่ม เปราะบาง และกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงการบริการ โดยมีนายแพทย์จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และ ประธานอนุกรรมการสื่อสารสังคมและรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้ และผูร้ บั บริการ เป็นประธานในพิธเี ปิดตลอดจนบรรยายพิเศษ เรือ่ ง “จากนโยบายระดับชาติ สู่นักสื่อสารหลักประกันสุขภาพในพื้นที่” ซึ่งการจัดงานครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ใน สิทธิหน้าที่แก่ประชาชนตลอดจนพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าอย่างทั่วถึง
สูงวัย....หางไกลโรค
คนไทยอายุ 60 ปขึ้นไปทุกคนมีสิทธิ รับบริการสรางเสริมสุขภาพและบริการ ปองกันโรคโดยไมเสียคาใชจาย*
ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก
ตรวจประเมินความสามารถ ในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ตรวจวัดความดันโลหิต และดัชนีมวลกาย
ตรวจเลือดคัดกรองเบาหวาน การติดเชื้อเอชไอวี คัดกรองปจจัยเสี่ยงตอการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ คัดกรองโรคซึมเศรา ฝกสมองปองกันโรคสมองเสื่อม เปนตน
ผูสูงอายุที่ไมไดรับสิทธิประกันสุขภาพใดๆ จากรัฐ ลงทะเบียนใช สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) ตรวจวินิจฉัยโรค รักษาพยาบาล และฟนฟูสมรรถภาพ ไดโดยไมเสียคาใชจาย* โรคทั่วไป เชน ไขหวัด อุดฟน ถอนฟน ฯลฯ จนถึงการรักษาโรคเรื้อรัง โรคเฉพาะทางที่มีคาใชจายสูง เชน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผาตัดตาตอกระจก ผาตัดเปลี่ยนขอเขา ผาตัดเปลี่ยนหัวใจ มะเร็ง โรคหัวใจ ไตวายเรื้อรัง เอดส วัณโรค ฯลฯ
* ตามขอบงชี้ทางการแพทยและประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแหงชาติ สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ สายดวน สปสช.โทร.1330 Application กาวใหม สปสช.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแหงชาติ
เลขที่ 120 หมู 3 ชั้น 2-4 อาคารรวมหนวยงานราชการ ศูนยราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจงวัฒนะ แขวงทุงสองหอง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานครฯ 10210 โทรศัพท : เบอรกลาง 02-141-4000 (เวลาราชการ) แฟกซ : 02-143-9730-1 Website : www.nhso.go.th
www.nhso.go.th