วารสารก้าวใหม่ หลักประกันสุขภาพ

Page 1

ปที่ 10 ฉบับที่ 48 ตุลาคม - ธันวาคม 2559 ISSN: 1906-1935

หลักประกันสุขภาพ

ประชาชนเขาถึงบริการ การเงินการคลังมั่นคง

ดำรงธรรมาภิบาล เดินหนายุทธศาสตร

หลักประกันสุขภาพ

www.nhso.go.th

กาวใหม สปสช.


8 13

2

1 2 6 8 10

18

สารบัญ

13

จากใจ สปสช. ยุทธศาสตร์หลักประกันสุภาพแห่งชาติ ปี 2560 - 2564

14

ก้าวเด่นหลักประกัน ประชาชนเข้าถึงบริการ การเงินการคลังมั่นคง ด�ำรงธรรมาภิบาล ก้าวพิเศษ ประเทศไทยกับการเป็นผู้น�ำ ในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ก้าวน�ำความคิด PCC ความหวังใหม่สู่สุขภาพดีถ้วนหน้า ก้าวไปด้วยกัน สปสช. กับภารกิจ เร่งดูแลผู้ป่วยฟอกไตในพื้นที่น�้ำท่วม

คณะที่ปรึกษา : นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา นพ.ชูชัย ศรช�ำนิ ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ นพ.รัฐพล เตรียมวิชานนท์ นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ บรรณาธิการอ�ำนวยการ : ธีระพันธ์ ลิมป์พูน

กองบรรณาธิการ : นิภาพรรณ สุขศิริ ศิรประภาว์ ผลิสินเอี่ยม ปิยนุช โปร่งฟ้า ดวงกมล อิทธิสารนัย อุษา ชีวจ�ำเริญ ดวงนภา พิเชษฐ์กุล นายธีระชัย เจนสมบูรณ์

16 18 19 21

1330 มีค�ำตอบ ค�ำถามยอดฮิต ที่หน่วยบริการฯ ก้าวแห่งคุณค่า สปสช. จัดประชุม 4 ภาค ขับเคลื่อนกลไก ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานระดับพื้นที่ สร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายั่งยืน ก้าวกับมายาคติ แดจังกึม ตอนที่ 1 นางในห้องเครื่อง ก้าวทันโลก (โรค) บทเรียนจากคดีดังทางการแพทย์ ตายเพราะเป็นไข้หวัด ก้าวทันสื่ิอ แวดวง

นักเขียนประจ�ำคอลัมน์ : พญ.ชัญวลี ศรีสุโข นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ออกแบบ/ จัดพิมพ์และเผยแพร่ : บริษทั หนึง่ เก้าสองเก้า จ�ำกัด

สถานที่ติดต่อ : ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 120 หมู่ 3 อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ชั้น 2-4 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2141 4000 โทรสาร 0 2143 9730


1

[ จากใจ สปสช. ]

ทุกคนที่อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย ได้รับความคุ้มครองหลักประกัน สุขภาพอย่างถ้วนหน้า ด้วยความมั่นใจ

ยุทธศาสตร์หลักประกันสุภาพแห่งชาติ

ปี 2560-2564

สวัสดีครับ... ท่านผู้อ่านก้าวใหม่ทุกท่าน นับเป็นอีกครั้ง หนึง่ ที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับท่านผูอ้ ่านและรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง วันนีก้ องทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้กา้ วย่างเข้าสูป่ ที ี่ 15 แล้ว เพื่อดูแลประชาชนผู้มีสิทธิ์ 48 ล้านคน ให้เข้าถึงการรักษาพยาบาล ภายใต้การบริหารโดยบอร์ด สปสช. และการมีสว่ นร่วมของทุกภาคส่วน โดยด�ำเนินตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ พรบ. หลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ. 2545 ตลอดระยะเวลา 14 ปีของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สปสช. ได้จัดท�ำยุทธศาสตร์ฯ ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง แบ่งเป็น 3 ระยะด้วยกัน คือ ระยะแรก ปี 2546 - 2550 เน้นการสร้าง ความครอบคลุมด้านหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนชาวไทย ระยะที่ 2 ปี 2551-2554 เน้นให้ความส�ำคัญในการเพิม่ ประสิทธิภาพ การบริหารงบประมาณ และพัฒนาระบบบริหารให้เข้มแข็งมากขึ้น และระยะที่ 3 เน้นการมุ่งสู่ความยั่งยืนระบบหลักประกันสุขภาพ มากยิ่งขึ้น โดยยุทธศาสตร์ฯ ทั้งหมดนี้ยังให้ความส�ำคัญต่อการ มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ทั้งผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และหน่วยงาน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคประชาชน เพื่อมุ่งความเป็นเจ้าของ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมกัน ส�ำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ฉบับที่ 4 ปี 2560 - 2564 นี้ บอร์ด สปสช. มีมติ เห็นชอบเรียบร้อยแล้ว โดยสอดคล้องต่อเนื่องกับยุทธศาสตร์ฯ ในช่วง 3 ระยะที่ผ่านมา ขับเคลื่อนภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “ทุกคนที่ อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย ได้รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพ อย่างถ้วนหน้าด้วยความมัน่ ใจ” หมายความถึงว่า นอกจากดูแลคน ไทยเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมแล้ว ยังต้องเป็นไปอย่าง มีคุณภาพที่สู่ความมั่นใจระบบ

พร้อมกันนี้ยังก�ำหนด 3 เป้าประสงค์ (Goals) ที่เป็น หัวใจส�ำคัญการด�ำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ คือ ประชาชนเข้าถึงบริการ การเงินการคลังมัน่ คง และด�ำรงธรรมาภิบาล โดยก�ำหนด 10 ตัวชีว้ ดั ทีต่ อ้ งด�ำเนินการให้บรรลุผลในปี 2564 ขณะ เดียวกันยังก�ำหนด 5 กลยุทธ์สร้างความมั่นใจ รวมถึง 19 กลวิธี รองรับการด�ำเนินงานตามกลยุทธ์เพื่อรองรับการด�ำเนินงาน อย่างไรก็ตามยุทธศาสตร์ฯ ปี 2560 - 2564 นี้ จะ ประสบผลส�ำเร็จตามวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์ได้นั้น นอกจากการ ด�ำเนินงาน สปสช. ที่ส�ำนึกและรับผิดชอบในหน้าที่ ใส่ใจบริการ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มุ่งประสิทธิภาพ มีการวางแผนและ เรียนรู้ร่วมกันท�ำงานเป็นทีมแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมมือจาก ทุกฝ่ายที่เป็นหัวใจส�ำคัญ โดยเฉพาะบุคลากรระบบสาธารณสุขที่ ท�ำงานในหน่วยบริการทุกระดับ ทั้งระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และ ตติยภูมิ ที่ล้วนแต่เป็นกลไกส�ำคัญของการด�ำเนินงานกองทุนหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ รวมถึงภาคประชาชนที่มีส่วนร่วมสะท้อน ความเห็นและเติมเต็มการพัฒนาทุกย่างก้าวที่ผ่านมา ส่งผลให้ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถดูแลประชาชน 48 ล้าน คน ได้อย่างครอบคลุมและทัว่ ถึง ทัง้ ได้รบั การยอมรับและชืม่ ชมจาก นานาประเทศและเวทีโลก จนกลายเป็นต้นแบบการด�ำเนินหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้าในกลุ่มประเทศก�ำลังพัฒนา ซึ่งต้อง ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ จากนี้ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า... จะได้รับความร่วมมือ จากทุกภาคส่วนเพื่อน�ำ “ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ของ ประเทศไทยพัฒนารุกหน้าต่อไป

นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รองเลขาธิการ ปฏิบัติงานแทน เลขาธิการส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ


2

[ ก้าวเด่นหลักประกัน ]

ประชาชนเข้าถึงบริการ การเงินการคลังมั่นคง ด�ำรงธรรมาภิบาล

3 เป้าหมายเดินหน้ายุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี พ.ศ.2560 เป็นการเริ่มต้นปีของยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ที่พัฒนามาถึงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2560-2564) ซึ่งส�ำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มุง ่ หวังให้เป็นยุทธศาสตร์ทจ ี่ ะด�ำเนินงานให้บรรลุ 3 เป้าหมายหลัก ในการให้ “ประชาชนเข้าถึงบริการ การเงินการคลังมั่นคง ด�ำรงธรรมาภิบาล” ซึง ่ เป็นพัฒนาการของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ค่อยๆ พัฒนาและเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การก�ำกับดูแลของคณะ กรรมการนโยบาย หรือบอร์ด สปสช. ที่ได้รับการคัดสรรเข้ามาดูแลในแต่ละ ยุคสมัย และสานต่องานกันมาอย่างต่อเนื่อง


3

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 4 นี้ ได้รับการอนุมัติจากบอร์ด สปสช. เมื่อปลายปี 2559 ที่ผ่านมา ภายใต้แนวทางการการด�ำเนินงานชัดเจน ซึ่งกว่าจะมา ถึงจุดนี้ได้ การด�ำเนินงานที่ผ่านมาและสถานการณ์แนวโน้มการ เปลี่ยนแปลงต่างๆมีผลโดยตรง หากย้อนรอยทบทวนแผนการพัฒนาระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติฉบับทีผ่ า่ นๆ มา ทีท่ ำ� ให้ประเทศไทยผ่านการพัฒนา ระบบหลักประกันสุขภาพมานานกว่า 14 ปี จะพบว่า การด�ำเนิน งานที่ผ่านมานั้น ได้สร้างหลักประกันด้านสุขภาพให้กับคนไทยที่ เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการมีกลไกหลักใน การดูแลประชาชนทุกระดับให้สามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้ ตามความจ�ำเป็น ทั้งในหน่วยบริการ ชุมชน หรือแม้กระทั่งที่บ้าน ครอบคลุมทัง้ บริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค การรักษาพยาบาล ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยที่ประชาชนไม่ต้องกังวลเรื่อง ภาระค่าใช้จ่ายแม้จะเป็นโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ขณะเดียวกันก็ท�ำให้เกิดความร่วมมือการท�ำงานของ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคประชาชน องค์กรชุมชน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงาน/ ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยมีคณะกรรมการ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ พัฒนาและขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อย่างต่อเนื่องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ย้อนรอยหลักประกันสุขภาพไทยจากจุดเริ่มต้น ถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมา ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่เป็นกรอบแนวทางการ ด�ำเนินงานตามความเห็นชอบของบอร์ด สปสช. ตัง้ แต่แรกเริม่ จนถึง ปัจจุบัน ผ่านการด�ำเนินงานตามยุทธศาสตร์มาแล้วทั้งสิ้น 3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับมีการก�ำหนดขั้นตอนแผนการด�ำเนินงานที่ชัดเจน และถือเป็นรากฐานการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของคนไทยในวันนี้ ประกอบด้วย ระยะแรก เส้นทางเดิน (roadmap) สู่หลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า และยุทธศาสตร์ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2546 - 2550 มีจุดเน้นในการสร้างความครอบคลุมด้านหลัก ประกันสุขภาพให้กับประชาชนชาวไทย ผ่านกลไกการมีส่วนร่วม การสร้างความรู้ ความเข้าใจในสิทธิและหน้าทีท่ งั้ ของประชาชน และ บุคลากรสาธารณสุขผูใ้ ห้บริการ ควบคูก่ บั การหนุนเสริมการจัดระบบ บริการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวก และทั่วถึง ระยะที่ 2 ยุทธศาสตร์ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2551 - 2554 มีจุดเน้นในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร งบประมาณ ผ่านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน รวมทัง้ การคุม้ ครองสิทธิทกุ ฝ่ายอย่างเหมาะสม รวมทัง้ พัฒนาระบบ การบริหารจัดการภายในของส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้เข้มแข็งมากขึ้น

ระยะที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ปี 2555 - 2559 มีจุดเน้นทิศทางที่มุ่งสู่ความ ยัง่ ยืนของระบบหลักประกันสุขภาพ มีมมุ มองด้านความครอบคลุม ทุกคนบนผืนแผ่นดินไทยอย่างถ้วนหน้า (Universal Coverage) ทุก ภาคส่วนมีสว่ นร่วมและเป็นเจ้าของ (Ownership) และความสอดคล้อง กลมกลืนกันระหว่างระบบประกันสุขภาพภาครัฐ (Harmonization) โดยเน้นสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ มีตวั อย่างความส�ำเร็จมากมายจากการขับเคลือ่ นยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ผ่านๆ มา ตัวอย่างเช่น การติดตามประเมินผลภาพรวม ของการมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่า ประเทศไทย สามารถลดอัตราการตายของเด็กได้มากทีส่ ดุ ใน 80 ประเทศทัว่ โลก คือ ลดลงร้อยละ 8.5 โดยดูจากข้อมูลปี พ.ศ. 2533 - 2549 ลด รายจ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือน จากร้อยละ 35 ลงเหลือร้อยละ 15 ในปี พ.ศ. 2553 จ�ำนวนครัวเรือนทีต่ อ้ งยากจนลงจากการมีภาระ ค่าใช้จา่ ยด้านสุขภาพลดลง จาก 120,050 ครัวเรือนในปี พ.ศ. 2545 เหลือ 39,750 ครัวเรือน ในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งสอดคล้องกับผลการ ประเมิน 10 ปี การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย ที่ รายงานว่า การให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ประชาชน ช่วย ปกป้องครัวเรือนจากการล้มละลายอันเนือ่ งจากภาระค่าใช้จา่ ยด้าน การรักษาพยาบาล และลดจ�ำนวนครัวเรือนทีต่ อ้ งตกอยูภ่ ายใต้เส้น ความยากจนจากภาระการจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ปลี ะกว่า 60,000 ครัวเรือน สัมฤทธิ์ผลดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ทั้งในประเทศและใน ระดับนานาชาติ ขณะเดียวกันก็มผี นู้ ำ� องค์กรสากลระหว่างประเทศ รวมถึงผูบ้ ริหารระบบสุขภาพของประเทศต่างๆ จ�ำนวนมากมาศึกษา ดูงานระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทย ความส�ำเร็จในภาพรวมดังกล่าวเกิดจากหลายปัจจัย ปัจจัยส�ำคัญประการหนึ่งคือการที่ประเทศไทยมีโครงสร้างระบบ บริการสาธารณสุขที่กระจายทั่วถึง ตั้งแต่สถานพยาบาลปฐมภูมิ ในระดับต�ำบล จนถึงสถานพยาบาลตติยภูมิในระดับประเทศ ซึ่ง เป็นผลจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการสาธารณสุข ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) และการผลิตก�ำลัง คนด้านสุขภาพเพื่อคนชนบทในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาของ กระทรวงสาธารณสุข ส่วนปัจจัยอื่น คือการออกแบบระบบที่เอื้อ และสนับสนุนการเข้าถึงบริการสุขภาพและการสร้างความเป็นธรรม ในระบบบริการสาธารณสุข ยุทธศาสตร์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฉบับ ล่าสุด ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564) ฉบับล่าสุด ในยุครัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ศ.คลินกิ เกียรติคณ ุ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ซึง่ ท�ำหน้าทีใ่ นฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ด้วยนัน้ มีการพัฒนาปรับปรุงให้มคี วามชัดเจนเพิม่ ขึน้ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเริ่มก้าวสู่การขับเคลื่อนแล้ว


4

[ ก้าวเด่นหลักประกัน ] โดย นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รอง เลขาธิการ รักษาการเลขาธิการ สปสช. กล่าวถึง ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 4 นี้ ว่า มีวสิ ยั ทัศน์ที่ก�ำหนดไว้ที่จะมุ่ง “ทุกคนที่ อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย ได้รับความ คุม้ ครองหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ด้วยความมั่นใจ” และมีพันธกิจเพื่อ พัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้าโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และ การมีสว่ นร่วมอย่างสร้างสรรค์จากทุก ภาคส่วน และเป็นตัวแทนประชาชนใน การจัดหาบริการที่มีคุณภาพให้ประชาชน เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมตามความจ�ำเป็น เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายส�ำคัญตามที่ก�ำหนดไว้ ดังกล่าวข้างต้นแล้ว นั่นคือ “ประชาชนเข้าถึงบริการ การเงิน การคลังมั่นคง ด�ำรงธรรมาภิบาล” พร้อมกันนี้ก�ำหนดพันธกิจเฉพาะไว้ 5 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) ส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดระบบหลักประกันสุขภาพที่ประชาชน เข้าถึงได้ด้วยความมั่นใจ และเสริมสร้างความเท่าเทียมกันใน ระหว่างกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐ 2) สนับสนุนการพัฒนาการ บริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทุกคนเข้าถึงได้ และเป็นที่พึงพอใจของประชาชนและ ผู้ให้บริการ 3) บริหารเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง 4) ด�ำเนินการให้ทุกภาคส่วนมี ความเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพอย่าง ถ้วนหน้า รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและ ผูร้ บั บริการ โดยเน้นการเคารพในสิทธิและศักดิศ์ รีซงึ่ กันและกัน และ 5) พัฒนาและจัดการระบบข้อมูลเชิงประจักษ์และองค์ความรูต้ า่ งๆ และใช้ในการตัดสินใจเชิงนโยบาย 3 เป้าประสงค์ 10 ตัวชี้วัด เป้าประสงค์ 5 กลยุทธ์สร้างความมั่นใจ 19 กลวิธีรองรับการ พัฒนา จากการก�ำหนดเส้นทางเดินของระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติจาก 14 ปีกอ่ น จนมาถึงยุทธศาสตร์ฯฉบับล่าสุด สปสช. ผ่าน การเรียนรู้ มีการท�ำงานแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน ท�ำให้ภายใต้ ยุทธศาสตร์ฉบับล่าสุดนี้ มีความชัดเจนในขั้นตอนสู่การปฏิบัติครบ ถ้วน โดยจากเป้าหมายหลักเพื่อให้ “ประชาชนเข้าถึงบริการ การ เงินการคลังมัน่ คง ด�ำรงธรรมาภิบาล” ถูกตีโจทย์ออกมาเป็นตัวชี้ วัดความส�ำเร็จภาพรวมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 10 อย่างภายในปี 2564 เริ่มจากในส่วนของเป้าหมายด้านการเข้าถึงบริการของ ประชาชน จะวัดจาก หนึ่ง - ประสิทธิผลของความครอบคลุมหลัก ประกันสุขภาพของประชาชนจะต้องเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งใน สาม สอง - ประชาชนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพมีการใช้สิทธิเมื่อ

ไปใช้บริการสุขภาพ ผู้ป่วยนอกมากกว่าร้อยละ 80 ผู้ป่วยในมากกว่าร้อยละ 90 และ สาม - ความ พึงพอใจของผูร้ บั บริการ ไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 90 และ ผูใ้ ห้บริการไม่นอ้ ยกว่าร้อยละ 75 เป้าหมายด้านการเงินการ คลังมั่นคง จะวัดจาก หนึ่ง - รายจ่าย สุขภาพเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวล รวมในประเทศอยูร่ ะหว่างร้อยละ 4.6 ถึง 5.0 สอง - รายจ่ายสุขภาพเทียบ กับรายจ่ายของรัฐบาลอยู่ระหว่าง ร้อยละ 17 ถึง 20 สาม - ครัวเรือน ที่เกิดวิกฤติทางการเงินจากการจ่ายค่า รักษาพยาบาลไม่เกินร้อยละ 2.3 และ สี่ - ครัวเรือนที่ต้องกลายเป็นครัวเรือนยากจน ภายหลังจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน ร้อยละ 0.4 ซึ่งตัวชี้วัดทั้งสี่ตัวในกลุ่มนี้ เป็นตัวชี้วัดในระดับ สากล และเป็นส่วนหนึ่งของตัวชีว้ ัดในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของสหประชาชาติด้วย ส�ำหรับเป้าหมายสุดท้ายด้านการด�ำรงธรรมาภิบาล จะวั ด จาก หนึ่ ง - ระดั บ ความส� ำ เร็ จ ของความมุ ่ ง มั่ น และ ความรับผิดชอบร่วมกันของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติและคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานฯ จะเพิม่ ขึ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามภายในเวลา 5 ปี สอง - ความส�ำเร็จของ การเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูงไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และสาม สปสช. ได้รับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการด�ำเนิน งานตามมาตรฐานการประเมินของรัฐไม่ต�่ำกว่าร้อยละ 90 นพ.ศักดิ์ชัย ยอมรับว่าทั้ง 3 เป้าหมายและ 10 ตัวชี้วัด ที่ก�ำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ฯ นับเป็นเรื่องท้าทายส�ำหรับการพัฒนา ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ สปสช. ก็มคี วามเชือ่ มัน่ ว่าจะ พัฒนาให้สำ� เร็จได้ตามเป้าหมาย เพราะความพร้อมจากการก�ำหนด กลยุทธ์และกลวิธีด�ำเนินงานไว้แล้วอย่างเป็นระบบ ส�ำหรับการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติให้เห็นผลได้จริง (ดู 5 กลยุทธ์ และ 10 กลวิธี ด�ำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 4) “5 กลยุ ท ธ์ ที่ ก� ำ หนดไว้ ส� ำ หรั บ การด� ำ เนิ น งานใน ยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ 4 นี้ ในแต่ละกลยุทธ์มีแผนการด�ำเนินงาน รองรับชัดเจน เพื่อขับเคลื่อนระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ต่อยอดจากแผนยุทธศาสตร์ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ เคยท�ำมาก่อนนี้ ให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนที่เน้นการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลเพื่อ สร้างหลักประกันสุขภาพให้กับคนไทยเข้าถึงบริการสุขภาพได้ตาม ความจ�ำเป็น โดยเฉพาะการให้ประชาชนมั่นใจ ไม่ต้องกังวลเรื่อง ภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล” รักษาการเลขาธิการ สปสช. ย�้ำถึงความมั่นใจในการเดินหน้ายุทธศาสตร์ฯที่เชื่อว่าจะไปถึง เป้าหมายและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างถ้วนหน้า


5

5 กลยุทธ์และ 19 กลวิธี ด�ำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 4 กลยุทธ์ที่

กลวิธีที่ใช้

1

1.1 Empower ประชาชน ให้มีความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ ดูแลสุขภาพตัวเองได้เหมาะสม และรับรู้ เข้าใจวิธีการ ใช้สิทธิ และไปใช้บริการเมื่อจ�ำเป็น 1.2 กลไกการค้นหาประชาชนกลุ่มเปราะบางและประชาชนที่ยังเข้าไม่ถึงบริการเพื่อทราบสถานการณ์ปัญหาและ ออกแบบการจัดการให้รับรู้สิทธิ และได้รับบริการที่จ�ำเป็น 1.3 เพิม่ กลไกการจัดการเพือ่ คุม้ ครองสิทธิกลุม่ เป้าหมายทีย่ งั มีปญ ั หาการเข้าถึงบริการ เน้นการสือ่ สารเชิงรุกให้เข้าถึง ข้อมูลต่างๆ การร้องเรียนที่เข้าถึงง่ายและมีช่องทางหลากหลาย รวมทั้งการประสานงานร่วมกับหน่วยงาน/ภาคี ที่เกี่ยวข้อง เช่น พม. สสส. เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ 1.4 ทบทวน/ปรับปรุงประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุขทีจ่ ำ� เป็นทีส่ อดคล้องตามความจ�ำเป็นของกลุม่ เปราะบาง/หรือ บริการที่ยังมีปัญหาการเข้าถึงบริการ

สร้างความมั่นใจในการ เข้าถึงบริการของกลุ่ม เปราะบางและกลุ่มที่ยัง เข้าไม่ถึงบริการ

2.1 ส่งเสริมกลไกการประกันคุณภาพหน่วยบริการ โดยพัฒนาความเข้มแข็งของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพฯ ในการก�ำกับติดตามคุณภาพบริการและความปลอดภัย โดยร่วมมือกับสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 2.2 สนับสนุนความเพียงพอของบริการและเหมาะสมส�ำหรับทุกกลุ่ม โดยจัดหาบริการให้กลุ่มเปราะบาง และ/หรือ กลุ่มที่มปี ัญหาการเข้าถึงบริการ สนับสนุนการขยายระบบบริการปฐมภูมใิ นเขตเมือง รองรับการดูแลคนเขตเมือง ที่ยังเข้าไม่ถึงบริการ สนับสนุนการท�ำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวใน สร้างความมั่นใจใน สัดส่วนที่เหมาะสม ความสะดวกการเข้าถึงบริการปฐมภูมิ และการส่งต่อ/ส่งกลับ จัดหานวัตกรรมรูปแบบระบบ คุณภาพมาตรฐานและ บริการใหม่ๆ เพื่อรองรับการเข้าถึงบริการของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะตามกลยุทธ์ที่ 1 และ บริการทั่วไป ความเพียงพอของบริการ 2.3 สนับสนุนบริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคทุกกลุ่มวัย ที่เน้นชุมชนเป็นฐาน เพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพ ตนเองของประชาชน

2

3 สร้างความมั่นใจใน ประสิทธิภาพการบริหาร กองทุน

4 สร้างความมั่นใจการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

5 สร้างความมั่นใจใน ธรรมาภิบาล

3.1 ร่วมกับทุกภาคส่วนในการแสวงหาแหล่งเงินใหม่ เพื่อสร้างความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพในระยะยาว 3.2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนฯ ได้แก่ ปรับประสิทธิภาพการบริหารจัดการรายการที่มีการจ่ายที่ ก�ำหนดราคาเฉพาะ ท�ำแผนพัฒนาการจัดสรรงบประมาณ สร้างกลไกให้ผู้ให้บริการตรวจสอบกันเองในการให้ บริการสนับสนุนนโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การให้บริการตามทีจ่ ำ� เป็น หนุนเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์/บริการ ทางการแพทย์และสาธารณสุขในบัญชีนวัตกรรม (นโยบาย Thailand 4.0) และพัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร จัดการของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น/พื้นที่ 3.3 สนับสนุนการสร้างความกลมกลืนระหว่างระบบประกันสุขภาพภาครัฐโดยสนับสนุนการปฏิรูประบบหลักประกัน สุขภาพ ตามมาตรา 258 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2559 และขับเคลือ่ นการบูรณาการยุทธศาสตร์ การประกันสุขภาพ ให้สอดคล้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี รวมทั้งขับเคลื่อนการบูรณาการระบบบริหารจัดการระหว่างระบบประกันสุขภาพภาครัฐ เช่น วิธีและ อัตราจ่ายค่าบริการ ระบบฐานทะเบียนผู้มีสิทธิ ระบบการตรวจสอบ และระบบบริการสอบถามข้อมูล เป็นต้น 4.1 ขยายและเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของระบบของภาคียุทธศาสตร์และผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ 4.2 จัดระบบ/กลไกในการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย/ภาคีเครือข่ายต่างๆ รวมทั้งการมีส่วนร่วมใน กระบวนการตัดสินใจที่เกี่ยวข้อง 4.3 ปฏิรปู การรับฟังความคิดเห็นทัว่ ไปฯ โดยเพิม่ ความส�ำคัญของ stakeholders กลุม่ ต่างๆ / ประเด็นเฉพาะ รูปแบบ วิธีการ ที่หลากหลาย 4.4 ร่วมกับกลไกนโยบายหลักประกันสุขภาพระดับโลก ช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์หลักประกันสุขภาพในประเทศ 5.1 เพิ่มขีดความสามารถของกลไกอภิบาลในระบบหลักประกันฯ โดยเฉพาะ Board member เพื่อสร้างชุมชนแห่ง ความมุ่งมั่นและความรับผิดชอบร่วมกัน (Community of commitment and accountability) 5.2 สนับสนุนการจัดการองค์ความรู้และการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการตัดสินใจ 5.3 มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากร สปสช. ให้เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข และทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีการติดตามผล และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 5.4 เพิ่มการกระจายอ�ำนาจและความรับผิดชอบในการบริหารจัดการในทุกด้าน ให้ สปสช. เขต และเพิ่มการมีส่วน ร่วมของพื้นที่ในการบริหารทรัพยากรสาธารณะ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล�้ำได้ 5.5 ทบทวนและพัฒนาการบริหารจัดการและระบบงานสนับสนุนต่างๆ เพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล


6

[ ก้าวพิเศษ ]

ผู้เขียน : นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ประเทศไทยกับการเป็นผู้น�ำ

ในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ความส�ำเร็จในการด�ำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทย ซึง ่ ได้พส ิ จ ู น์ให้นานาชาติ เห็ น แล้ ว ว่ า ประเทศที่ มี ร ายได้ ต ่ อ หั ว ประชากรในระดั บ ปานกลางสามารถสร้ า งหลั ก ประกั น สุ ข ภาพ ถ้วนหน้าให้กับประชากรได้ส�ำเร็จในปี พ.ศ. 2545 ขณะที่ประเทศไทยมีรายได้ประชาชาติ 1,900 ดอลลาร์ สหรัฐต่อหัวประชากร

ประเทศไทยประสบความส�ำเร็จในการสร้างหลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าใน 3 มิติ ได้แก่ 1. ความครอบคลุมประชากรของระบบประกันสุขภาพ ซึ่งในปัจจุบันจ�ำนวนประชากรร้อยละ 99.99 ของประเทศไทยมี หลักประกันสุขภาพและสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่จ�ำเป็น ต่อสุขภาพได้ 2. สิทธิประโยชน์ทคี่ รอบคลุมอย่างกว้างขวางทัง้ ด้านการ รักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟู สุขภาพ รวมทั้งการรักษาพยาบาลที่มีราคาแพงจ�ำนวนมาก 3. การปกป้องครัวเรือนจากการล้มละลายจากค่ารักษา พยาบาล นอกจากนี้ หลักฐานเชิงประจักษ์ได้แสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์ ทีส่ ำ� คัญของการด�ำเนินงานด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าคือการ ท�ำให้คนยากจนที่อยู่ในเมืองและชนบทรวมทั้งประชาชนที่อาศัย ในถิ่นทุรกันดารสามารถเข้าถึงการบริการสุขภาพได้มากยิ่งขึ้น ซึ่ง สอดคล้องกับการศึกษาวิเคราะห์ดา้ นสิทธิประโยชน์ทพี่ บว่าการสร้าง หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยนัน้ เป็นการด�ำเนินงานเพือ่ ให้ คนยากจนได้มีโอกาสเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น และทรัพยากร ของภาครัฐกระจายไปสู่ประชากรที่ยากจนเพิ่มมากขึ้น

ปัจจัยส�ำคัญ 2 ประการที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ดังกล่าวคือ 1. การมีระบบบริการสุขภาพปฐมภูมทิ คี่ รอบคลุมทุกพืน้ ที่ ทัว่ ประเทศจนถึงระดับชุมชนและหมูบ่ า้ น จากการทีร่ ฐั บาลได้ลงทุน ด้านโครงสร้างและก�ำลังคนด้านสุขภาพในสามทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ประชาชนในทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มี คุณภาพได้อย่างเท่าเทียม 2. การก�ำหนดชุดสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมทุกด้านโดย ไม่ต้องมีการร่วมจ่าย ณ จุดบริการ ซึ่งท�ำให้ลดรายจ่ายด้านสุขภาพ ของครัวเรือน ลดภาวะการล้มละลายจากค่าใช้จา่ ยด้านสุขภาพและ ป้องกันครัวเรือนไม่ให้ประสบภาวะความยากจนจากค่ารักษาพยาบาล บัตรทองซึง่ เป็นหนึง่ ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของไทยครอบคลุมประชากรประมาณร้อยละ 75 ของประชากร ทัว่ ประเทศมีชดุ สิทธิประโยชน์ทคี่ รอบคลุมทุกด้าน สามารถด�ำเนิน งานตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร เนื่องจากใช้วิธีการบริหาร งบประมาณแบบปลายปิดและจ่ายค่าบริการโดยวิธผี สมผสาน คือใช้ อัตราเหมาจ่ายรายหัวส�ำหรับกรณีผปู้ ว่ ยนอก และจ่ายเงินชดเชยให้ กับสถานพยาบาลตามค่า DRG ส�ำหรับกรณีผปู้ ว่ ยในและค่ารักษาที่ ราคาแพง ซึง่ วิธนี ี้ มีประสิทธิผลในการควบคุมค่าใช้จ่ายเป็นอย่างดี ในขณะทีผ่ ปู้ ว่ ยและประชาชนทัว่ ไปมีความพึงพอใจต่อการให้บริการ ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 82 - 95 จากการส�ำรวจ ในปี พ.ศ. 2546 - 2556 ข้อพึงทราบคือ ผูใ้ ห้บริการสุขภาพส่วนใหญ่ทดี่ ำ� เนินงาน ภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นสถานพยาบาลที่ไม่หวัง ผลก�ำไรและโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นหน่วย บริการสุขภาพหลักของประเทศ บุคลากรสาธารณสุขผูเ้ สียสละท�ำงาน ในโรงพยาบาลของรัฐเป็นผู้มีส่วนส�ำคัญในการท�ำให้ประเทศไทย สามารถบรรลุผลลัพธ์ทพี่ งึ ประสงค์ของการสร้างหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้าดังกล่าว จากความส�ำเร็จด้านผลลัพธ์สุขภาพ โดยเฉพาะปัจจุบัน ประชาชนไทยมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด 74 ปี อัตราตายของ เด็ก 12.3 ต่อการเกิดมีชีพ 1,000 คน และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ของประเทศคิดเป็น ร้อยละ 4.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ


7

นับว่าระบบสุขภาพของไทยมีประสิทธิภาพและถูกจัดให้เป็นหนึง่ ใน ประเทศที่มีรายได้ปานกลางที่มีระบบสุขภาพที่ดีที่สุด ดังนั้น ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์จากการด�ำเนินงานด้าน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยเฉพาะการลดภาวะความยากจน จากการล้มละลายจากรายจ่ายด้านสุขภาพและการส่งเสริมให้ไทย บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) จึงควรให้หลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยได้รบั การสนับสนุนด้านงบประมาณ จากภาครัฐอย่างเพียงพอและต่อเนื่อง นอกจากนี้ ไทยยังได้สร้างเสริมศักยภาพของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการประเมินความคุ้มค่าของการรักษาพยาบาลและ ยาใหม่กอ่ นทีจ่ ะบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์หรือบัญชียาหลักแห่งชาติ - รายการบัญชียาทีใ่ ช้อา้ งอิงในการบรรจุในชุดสิทธิประโยชน์ของทัง้ 3 ระบบประกันสุขภาพของรัฐซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุน ให้มีการประเมินความคุ้มค่าของเทคโนโลยีเพื่อได้มาซึ่งหลักฐาน เชิงประจักษ์ในการบรรจุบริการสุขภาพและเวชภัณฑ์ที่มีความ คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในชุดสิทธิประโยชน์ ความท้าทายต่างๆ ได้แก่ อัตราการเสียชีวิตก่อนวัย อันควรในผู้ใหญ่ค่อนข้างสูง ผู้ชายอยู่ที่ระดับ 207 และผู้หญิงอยู่ ที่ระดับ 105 ต่อประชากรพันคน ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จราจร มะเร็ง และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านทาง ระบาดวิทยาและความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร นอกจากนี้ ระบบสุขภาพจ�ำเป็นต้องมีการเปลีย่ นรูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับอนาคตผ่านการสร้างความร่วมมือระหว่าง ภาคส่วนที่เข้มแข็งเพื่อบรรลุเป้าหมายสถานะทางสุขภาพที่ดีขึ้น ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เป็นศูนย์การ เรียนรูด้ า้ นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กบั นานาประเทศในหลาย ด้าน เช่น ยุทธศาสตร์การจัดซื้อและการจ่ายค่าบริการสุขภาพ การ ติดตามและตรวจสอบคุณภาพ การให้บริการทางการแพทย์ของระบบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ความเข้มแข็งของระบบบริการปฐมภูมิ การจัดล�ำดับความส�ำคัญของปัญหาสุขภาพ การประเมินเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ และการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ไทยยังได้จดั ท�ำหลักสูตรการฝึกอบรมด้านการด�ำเนินงาน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีการออกแบบให้เหมาะสมกับการ จัดท�ำนโยบาย และได้จัดคู่มือส�ำหรับผู้ด�ำเนินงานและปฏิบัติการ ประสบการณ์จริงของไทยในด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและ ด้านที่เกี่ยวข้องได้ถูกถ่ายทอดให้ผู้ที่มาศึกษาดูงานตามศูนย์เรียน รู้ต่างๆ ทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข โครงการ CapUHC และโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและญีป่ นุ่ เป็นผูจ้ ดั ท�ำ โปรแกรมการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ โดยเน้นการเสริมสร้าง ศักยภาพของการด�ำเนินงานหลักประกันสุขภาพที่ยั่งยืน นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสาม (รวมญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และจีน) ได้ริเริ่มการสร้างเครือข่ายหลักประกัน สุขภาพของประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสาม ซึ่งได้รับความเห็น ชอบจากรัฐมนตรีสาธารณสุขของประเทศสมาชิกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 และได้จัดตั้งเครือข่ายดังกล่าวในปี พ.ศ. 2557

จากการที่ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติได้ให้ ค�ำมั่นที่จะด�ำเนินการตามเป้าหมายแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน 3.8 ในการบรรลุการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แสดงให้เห็นว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีความก้าวหน้าไปไกลกว่าการสนับสนุน ทางการเมืองจากภายในประเทศเพียงเท่านั้นแล้ว เวลานีจ้ งึ เป็นช่วงเวลาทีด่ ใี นการน�ำปฏิญญาทางการเมือง มาสูก่ ารปฏิบตั อิ ย่างจริงจัง หลักฐานเชิงประจักษ์แสดงให้เห็นว่าการ ที่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิเป็น อุปสรรคส�ำคัญที่ท�ำให้ประเทศต่างๆ ไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย แห่งสหัสวรรษ (MDGs) ความร่วมมือระหว่างประเทศแบบใต้ - ใต้ เพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรในการออกแบบ และด�ำเนินการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จึงเป็นสิ่งส�ำคัญมาก ในการบรรลุผลลัพธ์อันพึงประสงค์

หมายเหตุ: นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขไทย เขียนบทความ “ประเทศไทยกับการเป็นผู้น�ำ ในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” (Thailand: At the forefront of Universal Health Coverage) ทางเว็บไซต์ https://medium.com/health-for-all ในโอกาสได้รบั รับเชิญเป็น “แชมเปีย้ นการขับเคลือ่ นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ประจ�ำปี ค.ศ. 2016 (UHC Day champion 2016) ร่วมกับผูน้ ำ� ด้านสุขภาพ ของประเทศอื่นๆ และองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยได้น�ำคณะผู้แทนไทยร่วมการประชุม และพิธีฉลอง “วันประกันสุขภาพถ้วนหน้าสากล” ณ ห้องประชุมโรงแรม คราวน์พลาซา นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ระหว่างวันที่ 12 - 13 ธันวาคม 2559 และมีพธิ ฉี ลองคูข่ นาน ณ นครนิวยอร์ค ประเทศ สหรัฐอเมริกา เพือ่ ร่วมกันขับเคลือ่ นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ให้เป็นจริงตามทีก่ ำ� หนดไว้ในเป้าหมายการพัฒนาทีย่ งั่ ยืน 2030


8

[ ก้าวน�ำความคิด ] นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ

PCC

ความหวังใหม่สู่สุขภาพดีถ้วนหน้า

นับตั้งแต่มีการประกาศนโยบายอย่างเป็นทางการของกระทรวงสาธารณสุขในการให้ความส�ำคัญกับ การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยฉบับปี 2559 ในหมวดปฏิรป ู มาตรา 258 (ช) หนึง ่ ในรูปธรรมทีช ่ ด ั เจนของจังหวะก้าวในการขับเคลือ ่ นเรือ ่ งนี้ คือ การ ก�ำหนดให้ทุกจังหวัดของประเทศจัดตั้ง Primary Care Cluster (PCC) ขึ้นอย่างน้อยจังหวัดละ 2 แห่ง

โดยเน้นทีร่ ะบบบริการในเขตเมืองก่อน กระแสการตอบรับ ของหน่วยงานพื้นที่ทั้ง 77 จังหวัดออกมาในลักษณะที่ขานรับเป็น อย่างดี หลายจังหวัด เช่น นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี แพร่ ซึง่ มีทนุ เดิมในด้านนีอ้ ยูแ่ ล้ว ก็สามารถตอบสนองได้อย่างฉับพลันและ เป็นรูปธรรม ส่วนจังหวัดที่ไม่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว หรือ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ก็อาจจะเสียเปรียบอยู่บ้าง แต่ก็ยังสามารถ ที่จะตอบสนองได้โดยอาศัยแพทย์สาขาอื่นๆ ที่เป็นต้นทุนเดิมใน

พื้นที่ ร่วมกับสหวิชาชีพอื่นๆ ในการด�ำเนินการ มีผู้เชี่ยวชาญบางท่านให้ข้อสังเกตว่าข้อก�ำหนดเรื่องนี้ ที่ระบุในรัฐธรรมนูญจริงๆ แล้วมิได้อยู่ในหมวดหลัก แต่ถูกบรรจุ ไว้ในหมวดปฏิรูปแนบท้าย หากเป็นเช่นนี้ก็สามารถที่จะมีการ ออกพระราชบัญญัติการให้บริการปฐมภูมิที่ชัดเจนออกมารองรับ แผนงาน งบประมาณและการพัฒนาก�ำลังคนรองรับได้อย่างชอบ ด้วยกฏหมายและเป็นรูปธรรม


9

ในแผนงานรองรับเรื่อง PCC นี้ กระทรวงสาธารณสุข ก�ำหนดไว้ว่า แต่ละแห่งควรมี Catchment area ดูแลประชากร ไม่นอ้ ยกว่าแค่นนั้ แค่นคี้ น มีแพทย์ประจ�ำ 2-4 คน มีพยาบาล 7 คน ทางปฏิบตั แิ ม้มเี สียงโอดครวญถึงความไม่พร้อมและไม่เพียงพอของ บุคลากรรองรับจากบางพืน้ ทีอ่ ยูบ่ า้ ง แต่หากมองในเชิงยุทธศาสตร์ และเชิงระบบระยะยาวแล้ว PCC ถือเป็นกลไกใหม่ในการ “เซาะ ร่อง” ของระบบบริการสาธารณสุขทีจ่ ะก้าวเดินไปสูก่ ารพัฒนาระบบ บริการปฐมภูมิที่ยั่งยืนในอนาคตของประเทศ เคยมีการศึกษาวิจัยที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เมื่อเกือบ 10 ปีก่อน พบว่าผู้ป่วยกว่า 1 ใน 3 ที่มาใช้บริการ เป็นผู้ป่วยที่ไม่มีความจ�ำเป็นต้องมารับบริการใน โรงพยาบาลระดับ Tertiary care แต่สามารถ ใช้บริการที่ระดับปฐมภูมิใกล้บ้านได้ใน ระดับที่ได้คุณภาพบริการที่ไม่แตก ต่างกัน (หรือดีกว่า) ด้วยซ�้ำ โดย เฉพาะผู้ป่วยในกลุ่ม Chronic Disease จ�ำนวนมาก เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง กลุม่ Metabolic disease และ โรคติดเชื้อไวรัสง่ายๆ มี แ พทย์ ใ นโรงพยาบาลจั ง หวั ด ใหญ่ ๆ บางท่านบ่นว่า ผมเรียนจบ มาทาง Tertiary care จะให้ ท�ำงาน Primary care อย่างไร จริงๆ แล้วไม่ว่าคุณจะเป็นแพทย์ สาขา สูตนิ รีเวช ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวช กระดูก หรืออืน่ ใด งาน Preventive profile rehabilitative และงาน Palliative เป็น สิ่งที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้ เอาง่ายๆ การดูแลผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในลักษณะที่เป็นโรคด้านความเสื่อม (Degenerative change) เช่น ข้อเสื่อม ความพิการด้านความเคลื่อนไหว ด้านการ ได้ยิน การมองเห็น หรือการแก้ไขดูแลด้านสุขภาพจิต เป็นเรื่องที่ สามารถกระท�ำการดูแลแก้ไขได้ทั้งในระดับ Hospital และ Primary Care ซึง่ แพทย์เฉพาะทางด้านอืน่ ๆ นอกเหนือจากแพทย์เวชศาสตร์ ครอบครัวก็สามารถมีส่วนร่วมได้ หัวใจหลักของ PCC คือ การสร้าง setting ใหม่ดา้ นโครงสร้าง กลไกระบบบริการ ทีส่ ามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ที่ดีกว่าเดิม PCC ช่วยลดปัญหาความแออัด คิวยาว รอนาน ที่เป็น

มาเนิน่ นานของระบบบริการสาธารณสุขไทย นอกจากนีย้ งั มีสว่ นช่วย ลดการติดเชือ้ ในโรงพยาบาล (Nosocomial Infection) ซึง่ นับวันจะทวี ความรุนแรงมากขึน้ มีสว่ นท�ำให้ชอ่ งว่างและรูปแบบการมีสว่ นร่วม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชัดเจนและท�ำได้ง่ายขึ้น ประการ สุดท้ายท�ำให้หลักการสาธารณสุขมูลฐาน เรื่องการมีส่วนร่วมของ ประชาชนท�ำได้อย่างเป็นระเบียบแบบแผนมากขึ้น แพทย์ประจ�ำครอบครัวหรือที่บางคนเรียกกันเล่นๆ ว่า “หมอของฉัน” คือสิ่งที่ชาวบ้านต้องการ แต่ระบบบริการสุขภาพที่ ผ่านมาไม่มีระบบที่เอื้ออ�ำนวยที่จะท�ำให้ความฝันอันงดงามนี้เป็น จริง แม้ PCC จะยังมีอุปสรรคและความขรุขระในเส้นทาง อันยาวไกล แต่ก็ถือได้ว่าเป็น “แสงสว่างที่ปลาย อุโมงค์” ทีจ่ ะช่วยตอบโจทย์อกี หลายข้อ ที่ ส�ำคัญคือ ท�ำให้บคุ ลากรทีท่ ำ� งานด้าน เวชศาสตร์ครอบครัว เวชศาสตร์ ฟื้นฟู งานส่งเสริมสุขภาพและ เวชศาสตร์ประคับประคอง (Palliative care) มีที่ยืนที่ ชัดเจน และสามารถก้าว กระโดดไปสูก่ ารพัฒนางาน ด้านสาธารณสุขให้กา้ วล่วง (Breakthrough) ข้อจ�ำกัด ต่างๆ ที่เผชิญอยู่ได้ดีขึ้น ข้อพึงสังวรณ์คือ แม้เราจะมี Primary Care Cluster หรือ PCC เกิดขึ้น แล้วการท�ำงานของ PCC จะ ต้องไม่จำ� กัดตัวเองอยูใ่ นรัว้ ขอบเขต ของหน่วยบริการ แต่จะต้องบูรณาการ ร่วมมือกับ รพสต. และองค์การปกครอง ส่วนท้องถิน่ ซึง่ เป็นองคาพยพด้านปฐมภูมทิ มี่ อี ยูแ่ ล้ว ดัง้ เดิมในพืน้ ที่ นโยบายใหม่อกี ด้านหนึง่ ทีก่ ระทรวงสาธารณสุขพัฒนา ขึ้นมาก่อนหน้านี้ คือ ระบบบริการสุขภาพระดับอ�ำเภอ (District Health System) ก็เป็นอีกระบบหนึ่งที่ทีม PCC จะต้องศึกษาและ หาช่องทางในการทีจ่ ะผนึกสนธิกำ� ลังในการท�ำให้ประชากรในพืน้ ที่ เข้าถึงบริการได้มากขึ้น ได้รับการดูแลใส่ใจที่มีคุณภาพมากขึ้น มี ความเป็นเจ้าของ (ownership) ร่วมกันมากขึ้น เพื่อน�ำไปสู่การมี สุขภาพดีถ้วนหน้าที่ยั่งยืนสืบต่อไป....


10

[ ก้าวไปด้วยกัน ] โดย: กองบรรณาธิการ

สปสช. กับภารกิจ

เร่งดูแลผู้ป่วยฟอกไตในพื้นที่น�้ำท่วม รมว.สธ.มอบ สปสช.จัดระบบรองรับแก้ปัญหาผู้ป่วยไตวายในพื้นที่น�้ำท่วมประสบปัญหาไม่สามารถ ฟอกไตได้ และผูป ้ ว ่ ยทีต ่ อ ้ งล้างไตช่องท้อง ให้ได้รบ ั น�ำ้ ยาต่อเนือ ่ งแม้อยูใ่ นพืน ้ ทีน ่ ำ�้ ท่วม สปสช.ประสานงาน อภ. และไปรษณีย์ไทย จัดส่งน�้ำยาถึงบ้านให้ล้างไตได้ต่อเนื่อง ส่วนกรณีผู้ป่วยที่ฟอกไตด้วยเครื่อง ไตเทียมหากอยู่ในเขต รพ.น�้ำท่วม เตรียมจัดหา รพ.ส�ำรองให้ไปรับบริการ

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษกส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นายทวีสา เครือแพ ผอ. สปสช. เขต 11 สุราษฏร์ธานี และคณะฯ ลงตรวจเยี่ยมผู้ป่วยไตวาย ที่ หน่วยโรคไต รพ.สุราษษร์ธานี ในช่วงสถานการณ์น�้ำท่วมภาคใต้ที่รุ่นแรงที่สุดในรอบ 20 ปี


11

ประสาน รพ.รัฐ-เอกชน ให้ผู้ป่วยบัตรทองฟอกเลือด เหตุน�้ำท่วมใต้ พร้อมส่ง น�้ำยาล้างไตถึงบ้าน

นพ.ศักดิช์ ยั กาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการส�ำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ น�้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงบริการของ ผูป้ ว่ ยไตวายเรือ้ รังระยะสุดท้ายในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้ สปสช.จัดระบบให้ผู้ป่วยได้รับบริการอย่างต่อ เนื่อง ในส่วนผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องซึ่ง สปสช.มีระบบส่งน�้ำยา ล้างไตถึงบ้านและมีจ�ำนวนเก็บส�ำรองได้มากเพียงพอ และผู้ป่วย ที่ต้องฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม ซึ่งต้องไปฟอกที่ รพ. สปสช.ได้ จัดระบบเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากที่ไหนมีปัญหาก็สามารถหา รพ.ส�ำรองให้ได้ทันที ในส่วนของผูป้ ว่ ยล้างไตทางช่องท้องนัน้ จากการติดตาม สถานการณ์ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม และบริษัท ไปรษณีย์ไทย ดิสทริบิวชั่น จ�ำกัด ยังไม่พบปัญหาผู้ป่วยขาดน�้ำยาล้างไตและยัง ไม่มหี น่วยบริการใดแจ้งปัญหาเข้ามา ซึง่ น�ำ้ ยาล้างไตทีบ่ า้ นผูป้ ว่ ยยัง มีเพียงพอ เนือ่ งจากถูกส่งไปช่วงสัปดาห์สดุ ท้ายของปี 2559 และรอบ การจัดส่งน�้ำยาล้างไตครั้งใหม่จะเป็นสัปดาห์หน้า ซึ่งขณะนี้ บริษัท ไปรษณียไ์ ทย ดิสทริบวิ ชัน่ ฯ ได้ลงพืน้ ทีส่ ำ� รวจปัญหาของผูป้ ว่ ยแล้ว ส�ำหรับผูป้ ว่ ยไตทีต่ อ้ งรับการฟอกเลือด สปสช.ได้ประสานงาน อบต.และเทศบาลให้ความช่วยเหลือในการเดินทางออกจากพื้นที่ ไปยังหน่วยบริการฟอกเลือดที่อยู่ใกล้เคียงแทน รวมถึงการเข้า มาพักใกล้ รพ.ที่ฟอกไตจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ส�ำหรับ

ภาคใต้ตอนล่าง สปสช.เขต 12 สงขลา แจ้ง รพ.ทีส่ ามารถฟอกเลือด ได้ ที่ จ.พัทลุง ได้แก่ รพ.พัทลุง รพ.ควนขนุน และ รพ.ปิยะรัตน์ ที่ จ.ตรัง ได้แก่ รพ.ตรัง รพ.ห้วยยอด รพ.วัฒนแพทย์ตรัง และ รพ.ตรังรวมแพทย์ ขณะที่ภาคใต้ตอนบน ที่ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ประสบเหตุอุทกภัยอย่างหนัก ท�ำให้หน่วยไตเทียม รพ.หลังสวน และหน่วยไตเทียมหลังสวน (คลินกิ เอกชน) ได้ปดิ บริการ สปสช.เขต 11 สุราษฎร์ธานี จึงส่งตัวผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในระบบ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไปรับบริการที่ รพ.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และ รพ.เอกชนใน จ.ชุมพรแล้ว นพ.พิทกั ษ์ ศาสตร์สงิ ห์ อายุรแพทย์โรคไต รพ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ได้เตรียมความพร้อมรองรับผูป้ ว่ ยฟอกเลือดทีไ่ ม่สามารถไป ฟอกเลือดในหน่วยบริการต่างๆ ทีป่ ระสบปัญหาน�ำ้ ท่วมได้ ซึง่ ส่วน ใหญ่จะเป็นห้องไตเทียมของ รพ.หรือคลินกิ เอกชนทีป่ ระสบปัญหา น�้ำท่วม ท�ำให้ผู้ป่วยไปใช้บริการไม่ได้ ซึ่งศูนย์ไตเทียมมีศักยภาพ รองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีเครื่องฟอกไตเทียมทั้งหมด 12 เครื่อง เปิด ให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์ เวลา 08.00 น. - 24.00 น. วันหนึ่งให้บริการได้ 4 รอบ รองรับผู้ป่วยได้ 48 คนต่อวัน ซึ่งศูนย์ ไตเทียมของ รพ.สุราษฎร์ธานี ออกแบบให้รองรับผู้ป่วยฟอกเลือด ที่มีอาการแทรกซ้อนหรือมีอาการหนัก หลังจากนั้นเมื่อมีอาการ คงที่จะส่งต่อผู้ป่วยให้หน่วยฟอกเลือดทั้งรัฐนอกสังกัดกระทรวง สาธารณสุขและเอกชนดูแลต่อไป ที่ผ่านมาจะรับผู้ป่วยจากภาค ใต้ตอนบนคือ ชุมพร ระนอง และจาก จ.กระบี่ เนื่องจากอยู่ใกล้


12

[ ก้าวไปด้วยกัน ] ผูป ้ ว่ ย ฟอกเลือด ล้างไตช่องท้อง ในพื้นที่น�้ำท่วม ภาคใต้ไม่ได้รับ ผลกระทบ รพ.จัดระบบ รองรับช่วยเหลือ

จากความร่วมมือ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สปสช. กรมบัญชีกลาง ส�ำนักงานประกันสังคม สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ชมรมพยาบาลโรคไต มูลนิธิโรคไต และชมรมเพื่อนโรคไต ได้วาง แนวทางร่วมกันเพือ่ แก้ปญ ั หาเตรียมรับสถานการณ์ เป็นค�ำแนะน�ำ ส�ำหรับหน่วยไตเทียมในการรับสถานการณ์น�้ำท่วม และค�ำแนะน�ำ ส�ำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับการฟอกเลือดในสถานการณ์น�้ำท่วม ซึ่ง สถานการณ์น�้ำท่วมครั้งนี้ก็สามารถรองรับได้ทั้งหมด ทัง้ นีจ้ ำ� นวนผูป้ ว่ ยฟอกเลือดใน จ.สุราษฎร์ธานีมที งั้ หมด 365 คน ผู้ป่วยล้างไตช่องท้อง 422 คน มีผู้ป่วยฟอกเลือดในเขต อ.ท่าชนะ อ.ไชยา และ อ.กาญจนดิษฐ์ที่ประสบอุทกภัย เดินทาง มาฟอกเลือดไม่สะดวก 7 คน ซึ่ง มูลนิธิต่างๆ และ อบต./เทศบาล ช่วยอ�ำนวยความสะดวกให้เดินทางมาฟอกเลือดได้

สาระน่ารู้ : บริการทดแทนไตส�ำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

ขัน้ ตอนการเข้ารับบริการ ผูป้ ว่ ยไตวายเรือ้ รังระยะสุดท้ายต้องไปใช้สทิ ธิหลักประกันสุขภาพตามสิทธิ หน่วยบริการ จะลงทะเบียนและให้คณะกรรมการฯ ระดับเขตพิจารณาการให้บริการทดแทนไตทีเ่ หมาะสมส�ำหรับผูป้ ว่ ยในแต่ละราย โดย เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ได้แก่ 1) การล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง 2) การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 3) การผ่าตัดปลูกถ่ายไต ส�ำหรับการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง สปสช.ได้จัดบริการส่งน�้ำยาล้างไตถึงบ้านโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเข้าถึงบริการทดแทนไตได้ง่ายขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ได้รับการทดแทนไต อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลถึง คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย


13

[ 1330 มีค�ำตอบ ]

ค�ำถามยอดฮิต ที่หน่วยบริการฯ โทรสอบถามสายด่วน สปสช. 1330 Q:

ผู้ป่วยมีชื่อ-นามสกุลไม่ตรงกับข้อมูลจริง ต้องการให้ทาง สปสช. ปรับ ฐานข้อมูล ต้องการทราบว่าต้องท�ำอย่างไร

A:

1. ตรวจสอบในฐาน สนบท. ผ่านโปรแกรม UC Authentication โดยใช้ เครื่องผ่านบัตร Smart Card 2. กรณีพบข้อมูลในฐาน สนบท. ให้กดเชื่อมต่อ สนบท. หลัง 24 ชั่วโมง เป็นต้นไป ข้อมูลฐาน สปสช. จะเชือ่ มต่อกับฐาน สนบท.เพือ่ ปรับชือ่ - นามสกุล ให้ตรงกัน

Q: A:

ตรวจสอบสิทธิใน Web สปสช. ไม่พบข้อมูล ต้องด�ำเนินการอย่างไร กรณีหน่วยบริการตรวจสอบสิทธิในฐาน สปสช. ไม่พบข้อมูล แนะน�ำให้ด�ำเนินการ ดังนี้ 1. ตรวจสอบความถูกต้องของหมายเลขบัตรประจ�ำตัวประชาชน 13 หลัก 2. ตรวจสอบในฐาน สนบท. ผ่านโปรแกรม UC Authentication โดยใช้เครื่องผ่านบัตร Smart Card 3. กรณีพบข้อมูลในฐาน สนบท. ให้กดเชื่อมต่อ สนบท. หลัง 24 ชั่วโมงเป็นต้นไป ข้อมูลฐานสปสช. จะเชื่อมต่อกับฐาน สนบท. 4. หรือติดต่อมาที่ IT helpdesk สปสช. 02-1414200 /สายด่วน สปสช. 1330

Q: A:

การใช้สิทธิประกันสุขภาพประเภทสิทธิทั่วไป และประเภทสิทธิย่อยคนพิการ แตกต่าง กันอย่างไร เงื่อนไขการเข้ารับบริการของผู้มีสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า 1. เข้ารับบริการที่หน่วยบริการประจ�ำหรือเครือข่ายหน่วยบริการประจ�ำ 2. เข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่น กรณีที่หน่วยบริการประจ�ำส่งต่อ 3. เข้ารับบริการที่หน่วยบริการอื่น กรณีอุบัติเหตุ/เจ็บป่วยฉุกเฉินนอกหน่วยบริการประจ�ำ 4. กรณีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินไม่จ�ำกัดจ�ำนวนครั้ง 5. ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพที่มีสิทธิย่อยเป็นคนพิการ ให้เข้ารับบริการที่หน่วยบริการ ประจ�ำของตน หากจ�ำเป็นต้องได้รับการรักษาเฉพาะทางต้องผ่านระบบส่งต่อ ยกเว้น กรณีที่ไม่สามารถกลับไปรับบริการที่หน่วยบริการประจ�ำได้ สามารถเข้ารับบริการใน สถานพยาบาลของรัฐได้ตามความจ�ำเป็น

ทีม่ า: สรุป 10 ค�ำถามยอดฮิต ทีห่ น่วยบริการติดต่อผ่านสายด่วน สปสช. 1330 (1 ต.ค.58 - 30 ก.ย.59)


14

[ ก้าวแห่งคุณค่า ]

สปสช. จัดประชุม 4 ภาค ขับเคลื่อนกลไก ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานระดับพื้นที่

สร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายั่งยืน

สปสช. ขับเคลื่อน “กลไกควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน บริการสาธารณสุขระดับพื้นที่” รุกจัดเวทีประชุม 4 ภาค สร้างความ เข้าใจ เชือ่ มโยงส่วนกลาง - พืน้ ที่ สอดคล้องยุทธศาสตร์พฒ ั นาระบบ หลักประกันสุขภาพ ปี 60-64 สร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ายัง่ ยืน เผยประเดิมประชุมภาคเหนือพืน้ ทีแ่ รก เมือ่ วันที่ 12-13 มกราคม นี้ นพ.ชาตรี บานชืน่ ประธานกรรมการควบคุมคุณภาพและ มาตรฐานบริการสาธารณสุข ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การควบคุมคุณภาพมาตรฐานบริการสาธารณสุข ระดับพืน้ เป็นหัวใจส�ำคัญของการด�ำเนินระบบหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดูแลประชาชนให้เข้าถึง สิทธิรักษาพยาบาลและบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง โดยมีกลไก ส�ำคัญคือคณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานระดับเขต พื้นที่ท�ำงานเชื่อมโยงกับกลไกต่างๆ ของภาคส่วนในพื้นที่ ไม่ว่าจะ เป็นอนุกรรมการมาตรา ม.41 ระดับจังหวัด ส�ำนักงานสาธารณสุข จังหวัด หน่วยรับเรือ่ งร้องเรียนอิสระจากหน่วยบริการ มาตรา 50 (5) ศูนย์หลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ และศูนย์ประสานงานหลัก ประกันสุขภาพภาคประชาชน รวมถึง คณะกรรมการประสานการ พัฒนางานสาธารณสุขระดับเขตพืน้ ที่ (คปสข.) กระทรวงสาธารณสุข และคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพเขต อปสข. สปสช. โดย ต้องเป็นส่วนเชื่อมโยงบูรณาการร่วมกัน


15

ก�ำหนดการประชุมฯ 3 ภาค วันที่ 2-3 มีค. 60 ภาคใต้ จ.สุราษฏรธานี วันที่ 4-5 พค. 60 ภาคอีสาน จ.อุดรธานี วันที่ 13-14 กค. 60 ภาคกลาง กทม.

ทัง้ นีเ้ พือ่ ส่งเสริมการด�ำเนินงานควบคุมคุณภาพมาตรฐาน บริการสาธารณสุขระดับพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และให้มี แนวทางบริการจัดการสอดคล้องกับยุทธศาสตร์พัฒนาระบบหลัก ประกันสุขภาพ ปี 2560-2564 คณะกรรมการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานฯ จึงจัดให้มีการประชุม “ขับเคลื่อนการด�ำเนินงาน ก�ำกับคุณภาพมาตรฐานและการคุ้มครองสิทธิเขตพื้นที่ระดับภาค” เริ่มที่ภาคเหนือเป็นพื้นที่แรกในวันที่ 12-13 มกราคม 2560 นี้ ที่ โรงแรมดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ มีจ�ำนวน 235 คน ประกอบ ด้วยคณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานระดับเขตพืน้ ที่ และผูแ้ ทนจากหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ทัง้ นีจ้ ะมีการจัดประชุมให้ครบ ทั้ง 4 ภาคต่อไป นพ.ชาตรี กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้นอกจากชี้แจง นโยบายและแนวทางขับเคลื่อนการด�ำเนินงานก�ำกับคุณภาพและ มาตรฐานและการคุ้มครองสิทธิเขตพื้นที่แล้ว ยังมีการท�ำความ เข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ประกาศ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง การ ติดตามผลการด�ำเนินงานในแต่ละพื้นที่ที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเปิดอภิปรายและรับฟังความเห็นจากพื้นที่ ซึ่งผลที่ได้จากการประชุมในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการเชื่อมโยงการ ท�ำงานระหว่างส่วนกลางและพืน้ ทีใ่ ห้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทาง เดียวกัน แต่ความคิดเห็นและผลสรุปที่ได้จากการประชุมยังน�ำไปสู่ การปรับปรุงระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เป็นมีคณ ุ ภาพและ ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดการดูแลผู้มีสิทธิได้อย่างทั่วถึงและ ครอบคลุมต่อไป “การท� ำ งานเพื่ อ ควบคุ ม คุ ณ ภาพมาตรฐานบริ ก าร สาธารณสุขระดับพื้นที่ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลักการส�ำคัญคือท�ำอย่างไรให้ระบบเกิดความสมดุลระหว่างผู้ให้ บริการและผู้รับบริการ ภายใต้ข้อจ�ำกัดทั้งงบประมาณ บุคลากร และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะท�ำให้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเกิด ความยั่งยืน และการจะท�ำให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้จะต้องอาศัย กลไกระดับพืน้ ทีเ่ พือ่ ประสานกับส่วนกลาง รวมถึงความร่วมมือจาก ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการประสานท�ำงานร่วมกัน ดังนั้นใน การประชุมขับเคลื่อนการด�ำเนินงานก�ำกับคุณภาพมาตรฐานและ การคุม้ ครองสิทธิเขตพืน้ ทีร่ ะดับภาคในครัง้ นีจ้ ะเป็นส่วนหนึง่ ทีช่ ว่ ย สนับสนุนให้เกิดความส�ำเร็จได้” ประธานกรรมการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานบริการสาธารณสุข กล่าว ทั้งนี้การประชุมขับเคลื่อนการด�ำเนินงานก�ำกับคุณภาพ มาตรฐานและการคุ้มครองสิทธิเขตพื้นที่ระดับภาค ในอีก 3 ภาค มี ก�ำหนดการดังนี้ ภาคใต้วันที่ 2-3 มีนาคม 2560 โรงแรมบรรจงบุรี จ.สุราษฎร์ธานี, ภาคอีสาน วันที่ 4 - 5 พฤษภาคม 2560 โรงแรม เซนทรา จ.อุดรธานี และภาคกลาง วันที่ 13 - 14 กรกฎาคม 2560 โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ


16

[ ก้าวกับมายาคติ ] นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

แดจังกึม

ตอนที่ 1 นางในห้องเครื่อง หนังโทรทัศน์เกาหลีเรื่อง แดจังกึม กลับมาฉายอีกครั้ง เป็น หนังเรื่องหนึ่งที่พ่อแม่ทุกบ้านควรให้เด็กๆ ได้ดู หากไม่ได้ดูทาง โทรทัศน์ ก็ควรซือ ้ หาแผ่นหนังมาดูรว ่ มกับเด็กๆ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งเด็กโต รอถึงวัยรุ่นจะไม่ทันการ เป็นตัวอย่างของบุคคลที่ไม่ เคยยอมล้มโดยไม่ลุกขึ้นอีก

เป็นบุคคลที่ยอมเริ่มต้นใหม่หมดจากศูนย์อีกครั้งหนึ่ง ได้เรื่อยๆ เราอยากให้ลูกๆ ของเราอดทนเท่านี้ อึดเท่านี้ และมี ความเพียรเท่านี้ แดจังกึมในตอนแรกชือ่ ว่าซอจังกึม พ่อและแม่ถกู ฆ่าตาย อนาถเพราะความขัดแย้งในราชส�ำนัก เธอสัญญากับแม่ซงึ่ เคยเป็น นางในห้องเครื่องว่าจะเข้าวัง เป็นนางในห้องเครื่องในต�ำแหน่ง ซังกุงสูงสุด แล้วจะล้างมลทินให้แม่ ซอจังกึมเข้าวัง เป็นนางในตั้งแต่เล็ก เธออ่านหนังสือใน ขณะที่เด็กคนอื่นไม่อ่าน เธอท�ำงานในขณะที่เด็กคนอื่นนอนหลับ เพียงเท่านี้เธอก็ฉายแววเหนือเพื่อนๆ ตั้งแต่แรก

มีคราวหนึ่ง ฝนตกต่อเนื่องหลายวัน ซอจังกึมเอาน�้ำที่ จะใช้ล้างจานไปต้มก่อนแล้วจึงน�ำมาล้างจาน เหตุที่ต้องท�ำเช่นนี้ เพราะฝนที่ตกท�ำให้น�้ำในบ่อขุ่นหากน�ำไปล้างจานทันทีจะท�ำให้ จานไม่สะอาด และอาจจะท�ำให้คนทีก่ นิ อาหารจากจานไม่สบายได้ ซอจังกึมท�ำงานคนเดียวตลอดคืน ในขณะที่เพื่อนๆ รีบ ล้างแล้วรีบไปนอน ความฉลาดเฉลียวและขยันขันแข็งของเธอสร้างความ อิจฉาในหมู่เพื่อน สร้างความริษยาให้แก่คนที่ควรจะเป็นเพื่อนรัก สร้างความตกใจให้แก่แชซังกุงซึ่งเป็นศัตรูของแม่ และสร้างความ ตื่นตะลึงให้แก่ฮันซังกุง เพื่อนรักของแม่


17

ซอจังกึมคิดออกได้ว่าควรล้างจานอย่างไร และอดทน ท�ำงานคนเดียวตลอดคืนเป็นตัวอย่างของเด็กที่มี EXECUTIVE FUNCTION หรือ EF ที่ดี EXECUTIVE FUNCTION หรือ EF คือความสามารถระดับ สูงของสมองทีใ่ ช้ควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระท�ำเพือ่ ไปให้ ถึงเป้าหมาย เป็นตัวบ่งชี้ความส�ำเร็จของชีวิตตัวหนึ่ง ท�ำไมเด็กคนหนึ่งถึงไปได้ดีกว่าเด็กอีกคนหนึ่ง ค�ำตอบ คือเพราะมี EF ดีกว่า

EF เกิดจากการท�ำงานจริง มิได้เกิดจากการเรียนหรือ ท่องหนังสือแบบการศึกษาสมัยเก่า กล่าวคือ EF เกิดจาก learning by action EF ประกอบด้วย การควบคุมตนเอง (self control) ความ จ�ำใช้งาน (working memory) และการคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่น (cognitive flexibility) การควบคุมตนเองประกอบด้วยความสามารถในการตัง้ ใจ มั่น (focus) ไม่วอกแวก (not distract) และความสามารถในการ ประวิงเวลาที่จะมีความสุข (delayed gratification) นั่นคือล�ำบาก ก่อนสบายทีหลัง ซอจังกึมท�ำงานทัง้ คืนไม่ไปนอนได้ตอ้ งมีการควบคุมตนเอง ที่ดี คือตั้งใจมั่น ไม่วอกแวก และอดทนรอที่จะไม่ไปนอน ซอจังกึมรู้ว่าควรล้างจานอย่างไรเพราะมีความจ�ำใช้งาน ที่ดี และมีการคิดวิเคราะห์อย่างยืดหยุ่นที่ดี องค์ประกอบที่ 2 และ 3 ของ EF ของเธอดีได้เพราะเธอช่วยแม่ท�ำงานตั้งแต่เด็ก เธอจึง บริหารความจ�ำใช้งานอยู่เสมอ และได้ฝึกคิดวิเคราะห์แล้วปรับ แผนอยู่เรื่อยๆ จะช่วยแม่ท�ำงานอย่างไรให้เสร็จเร็วที่สุด (จะได้ไป

เล่น) และงานเสร็จตามเป้าหมายด้วยคุณภาพทีด่ ี (จะได้ไม่ถกู แม่ดา่ ) ความจ�ำใช้งานไม่เกิดจากการท่องจ�ำ นักเรียนวันนีท้ อ่ งจ�ำ ได้หมดแล้วว่าเชือ้ HIV ติดต่ออย่างไร การตัง้ ครรภ์เกิดได้อย่างไร หรือ ยาเสพติดไม่ดีอย่างไร แต่ก็ท�ำ ความจ�ำใช้งานเกิดจากการท�ำงาน และเกิดด้วยกระบวนการเรียนรู้จากการท�ำงาน โรงเรียนสมัยใหม่ จึงจัดกระบวนการเรียนการสอนด้วยโจทย์ปญ ั หาเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL) เมื่อความจ�ำใช้งานถูกบริหารอยู่เรื่อยๆ สมองส่วน

dorsolateral prefrontal cortex จะพัฒนาดีกว่า เมื่อถึงเวลาคับขันที่ จะร่วมรักกับเพือ่ นหรือเพือ่ นชวนเสพยาก็จะมีความจ�ำใช้งานผุดขึน้ ทันเวลาพร้อมการคิดวิเคราะห์ทดี่ ขี องสมองส่วน prefrontal cortex นี้ สุขศึกษาในโรงเรียนจึงไม่พอ โรงเรียนต้องเปลีย่ นวิธเี รียน รูก้ ารสร้างเสริมสุขภาพใหม่ การศึกษาทีล่ ม้ เหลวเป็นต้นเหตุทำ� ให้งบ ประมาณด้านสุขภาพสูงโดยไม่จ�ำเป็น และส�ำนักงานหลักประกัน สุขภาพไม่ควรดูดายหรือท�ำเป็นทองไม่รู้ร้อนว่าธุระไม่ใช่ หากท�ำ เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรจากหน่วยราชการที่ท�ำงานเสร็จแล้วแต่ไร้ผล ซอจังกึมและฮันซังกุงประสบความส�ำเร็จใจฐานะนางใน ห้องเครื่องด้วยความยากล�ำบาก มีฝีมือและเป็นที่เลื่องลือ แต่ใน โลกแห่งความเป็นจริงนัน้ ใครว่าท�ำดีจะได้ดี ในทีส่ ดุ แชซังกุงก็สามารถ ใส่ร้ายซอจังกึมและฮันซังกุงในข้อหาปรุงอาหารพิษให้แก่พระราชา จึงถูกพิพากษาเนรเทศ ฮันซังกุงตายอย่างเสือ่ มเกียรติระหว่างทาง ซอจังกึมต้อง ไปเป็นทาส ชีวติ ทีเ่ ธอร�ำ่ เรียนมามากมายเพือ่ เป็นนางในห้องเครือ่ ง ดับสูญแล้ว แต่เพราะมี EF ทีด่ ี เธอจะเริม่ ชีวติ ใหม่ในฐานะนักศึกษา แพทย์แล้วจะไต่เต้าอีกครั้งในสายการแพทย์ ตอนต่อไป หมอหลวงของพระราชา


18

[ ก้าวทันโลก (โรค) ]

โดย พญ. ชัญวลี ศรีสุโข (chanwalee@srisukho.com)

บทเรียนจากคดีดังทางการแพทย์

ตายเพราะเป็นไข้หวัด

คดีเกิดใน ปีพ.ศ. 2552 ข้าพเจ้านางก. (ชือ ่ สมมุต)ิ เป็นมารดา ผูต ้ าย ขอร้องทุกข์ และขอความช่ ว ยเหลื อ ของท่ า น ได้ โ ปรดพิ จ ารณาเรื่ อ งราวของ นายข. (ชื่อสมมุติ) ลูกชายของข้าพเจ้า ผู้ตายเพราะเป็นไข้หวัด

นาย ข. อายุแค่ 28 ปี แข็งแรงดี ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่มีโรคประจ�ำตัวใดๆ มีอาการไอ ตัวร้อน ก่อนหน้านี้หลานอายุ 11 ปี ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 นาย ข. ไปเยี่ยมหลานที่ป่วย ทุกวัน เมื่อไปตรวจที่โรงพยาบาล ง. (ชื่อสมมุติ) นายแพทย์ ค. (ชื่อ สมมุติ) ได้รับไว้นอนในโรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 24-27 นาย ข. มี อาการไข้สูง ไอมาก กินอาหารได้น้อย แต่นายแพทย์ ค. ไม่ได้ ตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 และไม่ได้เอกซเรย์ปอดให้นาย ข. เลย ทั้งบอกว่าอาการคนไข้ดีขึ้นแล้ว ให้กลับบ้าน วันที่ 28 นาย ข. นอนอยู่บ้าน 1 คืน อาการแย่ลง ไอมากขึ้น เช้ามาจึงกลับไปที่ โรงพยาบาล ง. (ชื่อสมมุติ) นายแพทย์ จ. (ชื่อสมมุติ) เอกซเรย์ปอด พบว่าปอดขาวไปเกือบครึ่งแล้ว นายแพทย์ จ. ตกใจมากที่นาย ข. เป็นมากถึงขนาดนี้ นายแพทย์ จ. แจ้งว่าปอดมีการติดเชือ้ ย่างรุนแรง แนะน�ำให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ฉ. (ชื่อสมมุติ) ซึ่งมีเครื่องมือ

ครบ เจ้าของไข้คือ นายแพทย์ ช. (ชื่อสมมุติ) ซึ่งเป็นความโชคร้าย ของผู้ป่วยอย่างมาก ไปถึงโรงพยาบาล ฉ. นาย ข. ไอ หายใจหอบเหนื่อยมาก นายแพทย์ ช. ได้ให้ออกซิเจน และใส่ท่อหายใจ ผู้ป่วยโคม่า หัวใจ เต้นแรง อาการน่าเป็นห่วงตัง้ แต่อยูโ่ รงพยาบาล ฉ. เป็นวันที่ 4 ญาติ สอบถามอาการผูป้ ว่ ย แต่นายแพทย์ ช. ไม่อยากตอบ ท�ำท่าเหมือน ร�ำคาญ บอกแค่วา่ ก�ำลังรักษาตามอาการ หาเชือ้ ไม่เจอ ไม่ใช่ไข้หวัด ใหญ่ 2009 ถามมากก็ดุ และถามว่าพวกคุณเป็นหมอหรือ วันหน้า ให้รวมตัวมา 20 - 30 คน จะตอบให้ฟังทีเดียว อยู่ที่นี่ครบ 7 วันไม่ ดีขึ้น อาการทรุดลง ญาติรอหน้าห้องไอซียูร้องไห้กันทุกวัน ไม่เคย มีความหวังเลย การบริการหรือพูดจากับคนไข้แย่กว่าใช้บัตรทอง สามสิบบาทรักษาทุกโรค ทั้งที่จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลประมาณ สามแสนบาท จึงขอย้ายโรงพยาบาล นายแพทย์ ช. บอกว่าเป็น


19

ภาระความรับผิดชอบของญาติกแ็ ล้วกัน หากผูป้ ว่ ยเป็นอะไรในขณะ เคลื่อนย้าย พูดไปหัวเราะไป และบอกว่าโอกาสรอดห้าสิบห้าสิบ วันที่ 8 ของการรักษาที่โรงพยาบาล ฉ. ได้ย้ายนาย ข. ไป รักษา ที่โรงพยาบาล ซ. (ชื่อสมมุติ) นายแพทย์ ฌ. เป็นผู้ดูแล รับ ไว้ในไอซียู เจาะปอดได้เลือด 200 ซีซี. หมอรักษากันเป็นทีมอย่าง เต็มที่ บอกว่าอาการเหมือนไข้หวัดใหญ่ 2009 แต่หาเชื้อไม่เจอ ต่อ มานาย ข. ได้เสียชีวิตลง หลังจากนอนโรงพยาบาล ซ. เป็นเวลา 27 วัน ใช้เงินค่ารักษากว่าสองล้านบาท การที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ รักษาเป็นจ�ำนวนมาก น่าจะเกิดจากความประมาทของแพทย์ผรู้ กั ษา ในการวินจิ ฉัยโรค การดูแลรักษาไม่ถกู ต้อง ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน การประกอบวิชาชีพเวชกรรม ของนายแพทย์ ค. นายแพทย์ จ .และ นายแพทย์ ช. จึงร้องมาที่แพทยสภา ก่อนหน้านี้ได้ด�ำเนินการฟ้อง ศาลไปแล้ว ค�ำให้การของนายแพทย์ ค. วันที่ 24 เวลา 11.09 น. นาย ข. มาตรวจด้วยอาการไข้สูง 39.5 เซลเซียส หายใจ 20 ครั้ง ต่อนาที ความดันโลหิต 107/81 มม.ปรอท น�้ำหนัก 81 กก. ไอมาก อาเจียน เจ็บคอ น�้ำมูกใส คัดจมูก โดยแจ้งว่ามีน้องเป็นไข้หวัดใหญ่ 2009 ฟังเสียงปอดปกติ ได้รับไว้ในโรงพยาบาล เก็บสารคัดหลั่ง ในโพรงจมูกตรวจหาไวรัสไข้หวัดใหญ่ผลเป็นลบ วันที่ 27 ไข้ลดลง ไอเบาลง อาการดีขึ้นจึงให้ยาแก้ไอกลับไปกินที่บ้าน ค�ำให้การของนายแพทย์ จ. วันที่ 29 เวลา 11.20 น. นาย ข. มาตรวจบอกว่ากลับไป 1 วัน ยังมีไข้ ไอบ่อย อ่อนเพลีย นายแพทย์ จ. ฟังเสียงปอดพบว่ามีเสียงกรอบแกรบ จึงส่งเอกซเรย์ ปอด พบมีปอดขาวไปทั้งสองข้าง วินิจฉัยว่าปอดบวม จากการติด เชื้อแบคทีเรียซ�้ำซ้อนจากเชื้อโรคในชุมชน (Community acquired Pneumonia) ได้ให้ยาปฏิชวี นะฆ่าเชือ้ โรคและส่งไปรักษาทีโ่ รงพยาบาล ฉ. กับนายแพทย์ ช. ค�ำให้การของนายแพทย์ ช. วันที่ 29 เวลา 14.00 น. ได้รับค�ำปรึกษาให้ไปตรวจนาย ข. ที่ห้องฉุกเฉิน พบว่ารู้สึก ตัวดี ความดันโลหิต 113/74 มม.ปรอท หายใจหอบตื้น 38 ครั้ง ต่อนาที มีอาการเหนื่อยมาก ภาพเอกซเรย์เป็นปอดบวมสองข้าง ลักษณะคล้ายเชื้อไมโครพลาสม่า (Atypical Pneumonia) ได้รับไว้ ในไอซียู ให้ยาปฏิชีวนะ ให้ออกซิเจน ชี้แจงบิดามารดาว่าอาการ หนัก เป็นเร็ว เป็นหนักภายใน 1 วัน วันที่ 30 ยังมีไข้เหนื่อยมาก ขึ้น ได้ตรวจเลือด เอกซเรย์ ใส่ท่อหายใจ วันที่ 1 - 2 พบว่าหัวใจ โต มีการท�ำงานของตับผิดปกติ ผลเอกซเรย์ปอดไม่ดีขึ้น มีน�้ำใน ช่องปอดเล็กน้อย ผู้ป่วยกระสับกระส่าย วันที่ 3-4 ไข้สูงเป็นพักๆ ผลเพาะเชื้อโรคในเลือดให้ผลลบ แม้ไม่พบไวรัสไข้หวัดใหญ่ ได้ให้ ยาต้านไวรัส เพราะไม่มีอันตราย แต่อาจมีประโยชน์ คนไข้ยังรู้ตัวดี ผลการท�ำงานของตับดีขึ้น วันที่ 5 อยู่ดีๆ ผู้ป่วยมีหัวใจเต้นเร็ว

(Sudden tachycardia) ออกซิเจนในเลือดตกเหลือ ร้อยละ 40 - 60 ได้ปรึกษาหทัยแพทย์ ให้ยารักษา ญาติขอย้ายโรงพยาบาล วันที่ 6 ความดันโลหิตคงที่ ออกซิเจนในเลือดคงที่ แต่หัวใจเต้นเร็ว ติดต่อ ย้ายโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่ไม่รับ สรุปได้ย้ายไปโรงพยาบาล ซ. ในวันที่ 7 นายแพทย์ ช. ยืนยันว่า ได้ดูแลคนไข้อย่างต่อเนื่อง ประเมินผู้ป่วยตลอดเวลา ตอบข้อซักถามจากประสบการณ์ที่เป็น อาจารย์แพทย์ดูแลไอซียูมาเกือบสามสิบปี ค�ำตัดสินของผูเ้ ชีย่ วชาญ จากการให้การของโจทย์ จ�ำเลย การสอบพยาน เอกสารการรักษา และการตัดสินของศาล ที่ว่า นาย ข. ไม่ได้เสียชีวิตด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 และนายแพทย์ ค. นายแพทย์ จ. และนายแพทย์ ช. ไม่ได้กระท�ำการใด อันเป็นการ ประมาทเลินเล่อในการรักษาผูต้ าย อนุกรรมการจริยธรรมแพทยสภา มีความเห็นว่า นายแพทย์ ค. นายแพทย์ จ. และนายแพทย์ ช. มิได้ประพฤติผดิ ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่ง วิชาชีพ จึงมีมติ คดีไม่มีมูล ความคิดเห็น ของผู้เขียน 1. การด�ำเนินโรคทีร่ นุ แรงและรวดเร็ว ในคนไข้ทดี่ แู ข็งแรง อายุน้อย เป็นสิ่งหนึ่งที่พ่อแม่และญาติรับไม่ได้ มักเข้าใจว่าเพราะ ความผิดพลาดทางการแพทย์ ลงเอยด้วยการฟ้องร้อง การร้องเรียน สร้างความทุกข์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 2. ปัญหาที่ท�ำให้เกิดการฟ้องร้องในคดีนี้ เป็นปัญหา ทางการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นภาษากาย หรือภาษาพูด พ่อแม่และ ญาติผู้ตายมีความรู้สึกว่านายแพทย์ ช. ไม่เอาใจใส่ ไม่อธิบาย ไม่ ท�ำให้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับนาย ข. เมื่อถามมากก็แสดงอาการไม่ พอใจ พูดประชดประชัน หรือพูดไปหัวเราะไป 3. พ่อแม่ผู้ตายไม่ติดใจการรักษาในโรงพยาบาล ซ. แม้ นาย ข. จะเสียชีวิต และจ่ายเงินค่ารักษากว่าสองล้านบาท ด้วย รู้สึกว่าหมอดูแลกันเป็นทีม เอาใจใส่ และยอมรับว่าอาการของ นาย ข. หนักมาก 4. เรือ่ งนีเ้ ป็นบทเรียนให้กบั การรักษาพยาบาล ทัง้ ภาครัฐ และเอกชน ไม่ว่าจะใช้สิทธิการรักษาอะไร ในกรณีที่คนไข้ป่วยหนัก ควรรับไว้รักษาในโรงพยาบาล หากไม่แน่ใจว่าดีขึ้น อย่าเพิ่งให้กลับ บ้าน เมือ่ คนไข้อาการหนัก รับไว้ในไอซียู ควรดูแลเป็นทีม รับผิดชอบ เอาใจใส่อย่างเต็มก�ำลัง สือ่ สารกับญาติ ประเมินความต้องการของ ญาติเป็นระยะ ๆ ต้องอดทนทีจ่ ะอธิบายจนญาติเข้าใจ ในบางกรณี แพทย์ควรเขียนการอธิบายเป็นลายลักษณ์อกั ษร เผือ่ ญาติคนอืน่ ๆ ทีย่ งั ไม่ได้มา จะได้รบั ทราบ และหากญาติต้องการย้ายโรงพยาบาล ไม่ควรห้ามปราม บอกความเสีย่ งขณะเคลือ่ นย้าย อย่ารัง้ ไว้ เพราะ จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี


20

[ ก้าวทันสื่อ ] สื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือคู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นส่วนหนึ่ง ของการก�ำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การด�ำเนินงานและการบริหาร จัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในปีงบประมาณ 2560 ส�ำหรับภาคีเครือข่ายหลักประกันสุขภาพทุกภาคส่วน ประกอบด้วย

เล่มที่ 1 การบริหารงบบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัวและ บริการสาธารณสุขส�ำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เล่มที่ 2 การบริหารงบบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ และการบริหารงบผู้ป่วยวัณโรค เล่มที่ 3 การบริหารงบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เล่มที่ 4 การบริหารงบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง • บริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง • บริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน

สื่อโทรทัศน์ ติดตามชมสกู๊ปหลักประกันสุขภาพ ออกอากาศทุกวันเสาร์ ช่วง ข่าวภาคค�ำ่ เวลาประมาณ 18.20 น. เป็นต้นไป ทางสถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ (ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.)

สื่อวิทยุ อัพเดทเรื่องราวที่สดใหม่ ทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับหลักประกัน สุขภาพ ได้ทุกวันอังคาร ทางรายการ “คลื่นความคิด” FM 96.5 ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป

หรือฟังย้อนหลังได้ทาง www.youtube.com/สปสช.


21

[ แวดวง ] ส่งท้ายปีเก่ามาจนถึงปีใหม่ 2560 ประเทศไทยและคนบนโลกต่างก็ผ่านเหตุการณ์ใหญ่ๆ มาเป็น ระลอก ทั้งการจากไปของบุคคลส�ำคัญ วิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ แต่ส�ำหรับคนไทยที่ประกาศตนเป็น ข้ารองบาทฯ พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมพ ิ ลก็เชือ ่ แน่วา่ ยังคงร�ำลึกถึงกระแสพระราชด�ำรัสเรือ ่ งของ ความรัก ความสามัคคี ทีจ ่ ะท�ำให้ประเทศไทยเราสามารถผ่านเหตุกาณ์ตา่ งๆ ไปได้ดว ้ ยดี และมีความยัง ่ ยืน

แวดวง ก้าวใหม่ ฉบับแรกในปี 2560 เราจึงขอน�ำ กิจกรรมเพื่อส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านมาน�ำ เสนอ โดยเมื่อวันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2560 ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สปสช. และกระทรวงสาธารณสุขได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ร่วม เป็นเจ้าภาพถวายเพลในพระราชพิธีบ�ำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ณ พระทีน่ งั่ ดุสติ มหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ซึง่ มีผบู้ ริหารระดับสูง ผู้บริหารส่วนกลาง ผู้บริหารเขต และเจ้าหน้าที่ สปสช. รวม 50 ท่านเข้าร่วม ด้วยความส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ อันหาทีส่ ดุ มิได้ และเพือ่ เตือนใจ เตือนตนให้กระท�ำแต่ความดี มุง่ มัน่ ในการท�ำงาน เพือ่ บ�ำบัดทุกข์ บ�ำรุงสุขให้แก่ประชาชน เพือ่ สืบสานพระราชปณิธาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สืบไป

มาต่อกันด้วยกิจกรรมเมือ่ วันที่ 12 มกราคมทีผ่ า่ นมา ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้รับเกียรติจาก นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อ�ำนวยการส�ำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และคณะ ประกอบด้วย กองทุนพัฒนาระบบสถาบัน การเงินเฉพาะกิจ และกองทุนบริหารเงินกูเ้ พือ่ การปรับโครงสร้างหนี้ สาธารณะและพัฒนาตลาตราสารหนีใ้ นประเทศ (กปพ.) จ�ำนวนกว่า 30 ท่าน เข้าเยี่ยมชมศึกษาดูงานด้านการบริหารกองทุนที่เป็นต้น แบบการดําเนินงานโดยรวมดีเด่นที่ได้รับรางวัลกองทุนหมุนเวียนดี เด่นมาอย่างต่อเนื่องและเป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก จึงต้องการเรียน รู้ประสบการณ์การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ รวม ถึงการแลกเปลียนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ เพือ่ ให้เห็นถึงความ แตกต่างของรูปแบบการบริหารของแต่ละกองทุน

จากกรณีข่าวน้องน�้ำได้กลายเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ สําหรับการประชุม “โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จาก โรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี” เมื่อ วันที่ 10 มกราคม 2560 ซึ่งปลัด ก.สธ. เป็นประธานการประชุม โดย น.พ.ชูชัย ศรช�ำนิ รองเลขาธิการ สปสช. ได้เล่าว่ามีการกําหน ดกลยุทธการทํางานที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง สปสช. จะมีบทบาทเกี่ยวข้อง ในกลยุทธที่ 2 การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในคน โดยการส่งเสริม สนับสนุนให้มบี ริการวัคซีน/อิมมูโนโกบุลนิ เพือ่ ป้องกันโรคพิษสุนขั บ้าอย่างเพียงพอ และการจัดหาวัคซีนเพือ่ ป้องกันล่วงหน้าสําหรับ บุคลากร - อาสาสมัครทีเ่ กีย่ วข้อง ซึง่ เป็นบทบาททีส่ าํ นักงานได้รว่ ม มือกับกระทรวงสาธารณสุขด�ำเนินการอยู่แล้ว

ปิดท้ายด้วยกระแสข่าวในช่วงสัปดาห์วนั เด็กแห่งชาติ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ที่เกิดกระแสระดมเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือ “น้องน�้ำ” เด็กชายวัย 2 ขวบกว่าที่ถูกสุนัขจรจัดรุมกัดจนได้รับบาด เจ็บสาหัส และถูกส่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ท�ำให้ ทพ.อรรถพร ลิม้ ปัญญาเลิศ ผูช้ ว่ ยเลขาธิการ สปสช. ในฐานะโฆษก สปสช. จึงได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมน้อง เมื่อวันที่ 10 มกราคม ที่ผ่านมา ที่โรงพยาบาลกล้วยน�้ำไท นอกจากเยี่ยมแล้ว ได้มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจส�ำหรับกรณีของน้อง เป็นผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ หรือบัตรทอง ซึง่ ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล ท�ำให้ไม่ตอ้ ง เสียค่าใช้จา่ ย และได้มอบเงินช่วยเหลือให้กบั ครอบครัวของน้องน�ำ้ เพือ่ น�ำไปใช้พฒ ั นาคุณภาพชีวติ ในด้านอืน่ ๆ ต่อไป โดยโรงพยาบาล กล้วยน้าํ ไท ให้การดูแลน้องเป็นอย่างดี จนน้องพ้นขีดอันตรายแล้ว


คนไทย มีสิทธิ

มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือ สิทธิ 30 บาท หรือ สิทธิบัตรทอง บุคคลที่มีสัญชาติไทย

มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ไมมีสิทธิประกันสุขภาพอื่นที่ใชจายจากเงินงบประมาณของรัฐ ไดแก สิทธิตามกฎหมาย ประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของขาราชการ พนักงานสวนทองถิ่น หรือ สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของหนวยงานรัฐอื่น ๆ เชน รัฐวิสาหกิจ องคการมหาชน ขาราชการการเมือง

หลักประกันสุขภาพ : สิทธิของคนไทย คนไทยทุ ก คนมี ส ิ ท ธิ ไ ด ร ั บ บริ ก ารสาธารณสุ ข ที ่ ม ี ม าตรฐานและมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ตาม พ.ร.บ. หลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห ง ชาติ พ.ศ.2545 โดยมี ส ำนั ก งานหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห ง ชาติ (สปสช.) ทำหน า ที ่ บ ริ ห ารจั ด การระบบทะเบี ย น บริ ห ารกองทุ น ภายใต ก ารควบคุ ม ดู แ ลของ รั ฐ มนตรี ว  า การ กระทรวงสาธารณสุ ข และคณะกรรมการหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห ง ชาติ เพื ่ อ ส ง เสริ ม ให ค นไทยเข า ถึ ง บริการสาธารณสุข ทั้งการสรางเสริมสุขภาพ การปองกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟนฟูสมรรถภาพ ที่จำเปนตอสุขภาพและการดำรงชีวิต “สิทธิหลักประกันสุขภาพแหงชาติ” จึงเปนสิทธิตามกฎหมายของคนไทยทุกคน

ตอบขอสงสัย คลี่คลายปญหา สิทธิหลักประกันสุขภาพ โทรสายดวน สปสช. 1330


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.