Karen Fabric

Page 1

ผ้าทอ กะเหรี่ยง วังชิ้น

ชญานิษฐ์ ถาดอก



ผ้าทอกลุ่มชาติพันธ์กุ ะเหรี่ยง


กะเหรี่ยงมีวัฒนธรรมการทอผ้าใช้เอง มาตั้งแต่ดั้งเดิม ซึ่งชาวกะเหรี่ยงนิยมใช้วัสดุ ธรรมชาติในการผลิตผ้าทอ ปลูกฝ้ายที่เป็นวัตถุดิบหลักและนำ�มาผ่านกรรมวิธีต่างๆ จนได้ออกมาเป็นฝ้ายปั่นมือ ลักษณะของฝ้ายเป็นฝ้ายเส้นใหญ่ หนา แล้วจึงนำ�มาสู่ วิธกี ารทอจนได้ออกมาเป็นผ้า 1 ผืนใหญ่ กีท่ ชี่ าวกะเหรีย่ งโปว์อ�ำ เภอวังชิน้ ใช้เป็นกีห่ น้า แคบ หรือ กี่เอว

2

ชาวกะเหรีย่ งไม่วา่ จะกลุม่ ใดมักมีโครงสร้างของเสือ้ ผ้าเหมือนกัน คือการนำ�ผ้าแต่ละชิน้ ที่ทอได้มาเย็บประกอบเป็นตัวโดยไม่มีการตัดโค้งเว้ารอบคอ หรือรอบแขน การเย็บ เป็นตัวเสือ้ จะใช้การเว้นช่องว่างไว้เฉพาะส่วนทีส่ วมช่องหัวและช่องแขนเท่านัน้ การทอ ผ้าโดยใช้ผ้าทอแบบคาดหลัง (Back Strap Loom) ส่งผลถึงการประมาณขนาดด้วย ผู้ที่ทอจะมีผ้าเพื่อที่ใช้ในการใดไม่ว่าจะทอชุดทรงกระสอบ ทอเสื้อ ทอผ้าซิ่น ทอผ้าห่ม และทอถุงย่าม ก็ต้องกำ�หนดขนาดของผ้าให้พอดีตั้งแต่ต้น ซึ่งการประมาณขนาดก็ขึ้น อยู่กับรูปร่างของผู้สวมใส่เป็นเกณฑ์ ส่วนผ้าห่มและถุงย่ามมักมีขนาดที่เท่าๆกันตาม การใช้สอย การกะผ้าแบบคาดหลังเรียกว่าการ “โว๊นผ้า” คือการกำ�หนดความกว้างของ หน้าผ้าที่ทอ ได้เป็นผ้าหน้าแคบ ความกว้างของหน้าผ้ากว้างที่สุดจะไม่เกินประมาณ 20 นิ้ว ส่วนความยาวไม่จำ�กัดดังคำ�กล่าวข้างต้น ในปัจจุบนั กะเหรีย่ งนิยมซือ้ ด้ายสำ�เร็จรูปมาทอ เนือ่ งจากผลผลิตจากไร่ ไม่เพียงพอและ ไม่สามารถหาแหล่งซื้อปุยฝ้ายได้ ประกอบกับกรรมวิธีผลิตเส้นด้ายนั้นใช้เวลานานมาก


3

หญิงชาวกะเหรี่ยงกำ�ลังทอผ้า หมู่บ้านแม่แฮด ตำ�บลแม่พุง อำ�เภอวังชิ้น


การแต่งกาย การแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ประจำ�กลุม่ มักเห็นได้จากการแต่งกายของผูห้ ญิง เนือ่ งด้วย ในปัจจุบัน ผู้ชายกะเหรี่ยงนิยมแต่งกายเหมือนคนไทยในท้องถิ่นทั่วไป แต่ส่วนใหญ่ ยังคงมีเสื้อใส่ในโอกาสสำ�คัญ

4

เสื้อสีแดงของชายกะเหรี่ยงเป็นเสื้อทรงกระบอก คอเสื้อเป็นรูปตัววีตรงชายเสื้อจะติด พู่ห้อยลงมา สมัยก่อนเสื้อสีแดงของชายโสดจะมีพู่ห้อยยาวลงมาเลยชายเสื้อ ส่วนเสื้อ แดงของชายที่แต่งงานแล้ว จะติดพู่ห้อยลงมาเสมอชายเสื้อ เพราะชายที่แต่งงานแล้ว ต้องทำ�งานมากขึ้น การที่ใส่เสื้อที่มีพู่ยาวจะทำ�ให้รุงรัง ไม่สะดวกในการทำ�งาน ผู้ชาย กะเหรี่ยงจะสวมกางเกงแบบคนไทยภาคเหนือ หรือสวมโสร่งแบบพม่า แต่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะสวมกางเกงขายาวตามสมัยนิยม และอาจจะสวมเสือ้ สีแดงทับเสือ้ สีขาวข้าง ในอีกทีหนึ่ง นอกจากเสื้อสีแดงแล้ว ผู้ชายกะเหรี่ยงจะใช้ผ้าโพกศีรษะซึ่งมีลวดลายปัก สีแดง และมีถุงย่ามที่ออกแดง

ภาพจากหนังสือ หกเผ่าชาวดอย พอลและลีเลน ลูวิส


5 ภาพจากหนังสือ หกเผ่าชาวดอย พอลและลีเลน ลูวิส

ภาพโดย วรงกรณ์ เฮงษฏิกุล

การแต่งกายของผู้หญิง ผู้หญิงกะเหรี่ยงที่ยังไม่แต่งงานจะใส่ชุดทอด้วยมือทรงกระสอบ สีขาว ยาวกรอมเท้า ในสมัยก่อนกระโปรงมีความยาวแค่เข่า เพือ่ ไม่ให้สกปรกเร็วจนเกิน ไป สาวโสดที่มีผ้าโพกศีรษะเพื่อกันแดดในหน้าร้อนและให้ความอบอุ่นในหน้าหนาว สาวโสดจะใส่ชดุ ของหญิงทีแ่ ต่งงานแล้วไม่ได้เพราะเชือ่ กันว่าจะทำ�ให้ไม่ได้แต่งงานหรือ มีลูกโดยไม่ได้แต่งงาน หรืออาจทำ�ให้เป็นบ้า ซึ่งผู้หญิงที่แต่งงานแล้วก็จะกลับไปใส่ ชุดขาวอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการดูถูกความบริสุทธิ์


6

การแต่งกายของผูห้ ญิง ผูห้ ญิงกะเหรีย่ งทีแ่ ต่งงานแล้ว จะสวมผ้าทอประดับด้วยลูกเดือย และฝ้ายหลากสี การประดิษฐ์ลวดลายและการใช้สสี นั ต่างๆ คิดค้นขึน้ มาแทนทีส่ งิ่ ทีเ่ ห็น รอบตัว เช่น นำ�เมล็ดลูกเดือยมาเรียงกัน 2 เมล็ด หมายถึงรอยเท้าสุนัข หรือการปักไขว้ ด้ายสีแดงเป็นรัศมีหมายถึงพระอาทิตย์ เป็นต้น หญิงกะเหรี่ยงจะใส่เสื้อดังกล่าวซึ่งเป็นทรงกระบอก ตัวสั้นเลยเอว คอเป็นรูปตัววี แขนในตัว สัน้ เลยไหล่มานิดหน่อย ซึง่ จะสวมทัง้ เสือ้ และซิน่ เพือ่ เป็นเครือ่ งหมายแสดงว่า มีเจ้าของแล้ว และไม่มีชายอื่นมาข้องเกี่ยว เสือ้ ของหญิงทีแ่ ต่งงานแล้วจะต้องมีลายปัก เพราะถ้าไม่มี เชือ่ กันว่าจะทำ�ให้ไม่มลี กู และ ยังเชื่อว่าการปักลูกเดือยนั้นกันผีได้


7

ภาพโดย วรงกรณ์ เฮงษฏิกุล


ลักษณะเสื้อกะเหรี่ยงของผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว รูปแบบของเสื้อที่เป็นแบบดั้งเดิมก็คือ ตัวเสื้อพื้นสีคราม ประดับตกแต่งด้วยการปักลูกเดือยใต้ราวนมเป็นช่องสี่เหลี่ยม 9 ชั้น ซึ่งแสดงถึงความประณีตและขยันของเจ้าของเสื้อและปักด้ายในช่องสี่เหลี่ยมลูกเดือย เป็นรูปกากบาทใหญ่ด้วยด้ายสีแดงเหลือง และกากบาทเล็กกับวงกลมด้วยด้ายสีขาว มี การปักลูกเดือยตรงริมขอบเสือ้ ช่วงคอและแขนทัง้ สองข้าง และก่อนถึงชายเสือ้ มีการปัก ลูกเดือยเป็นลายขาขันโตก ตรงบริเวณชายเสื้อมีการเย็บผ้าแดงแถบ 3 แถบ ซึ่งรูปแบบ เสื้อนี้มักจะใช้ใส่ในพิธีแต่งงาน

8

เสื้อแม่ใหญ่แค ค้นนา อายุ 82 ปี


9 เสื้อนางนิตยา สูงคำ� อายุ 42 ปี

ลักษณะของเสื้อกะเหรี่ยงในปัจจุบัน รูปแบบของเสื้อยังคงเป็นแบบดั้งเดิมก็คือ ตัวเสื้อ พืน้ สีด�ำ ประดับตกแต่งด้วยการปักลูกเดือยใต้ราวนมเป็นช่องสีเ่ หลีย่ ม 4 ชัน้ และปักด้าย ในช่องสี่เหลี่ยมลูกเดือยเป็นรูปกากบาทใหญ่และกากบาทเล็ก มีการปักลูกเดือยตรง ริมขอบเสื้อช่วงคอและแขนทั้งสองข้างลายดอกพิกุล และก่อนถึงชายเสื้อมีการปัก ลูกเดือยเป็นลายดอกพิกุล ตรงบริเวณชายเสื้อเป็นการสอยผ้าด้ายแดงแถบ 3 แถบ ซึ่งได้มีการประยุกต์ด้ายหลากหลายสีมาเย็บเพื่อเพิ่มสีสันมากขึ้น เช่น สีฟ้า สีชมพู นอกจากนี้ยังมีเพิ่มชายเสื้อห้อยปล่อยทิ้งลงมาเพื่อความสวยงามอีกด้วย


ลักษณะของผ้าซิ่นของหญิงชาวกะเหรี่ยงที่แต่งงานแล้วรูปแบบการตัดเย็บ คือนำ�ผ้า 2 หรือ 3 ชิ้นมาเย็บต่อกัน ผ้าซิ่นชาวกะเหรี่ยงนิยมทอเป็นลายริ้วๆ ลายขวางลำ�ตัวหรือ ที่ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า “ซิ่นลายโก้ง” ผ้าซิน่ มัดหมีส่ แี ดงเป็นสีทไี่ ด้จากธรรมชาติและมีความหนามากเพราะเป็นฝ้ายทีท่ �ำ ขึน้ เอง ซึ่งจะมีความหนามากกว่าฝ้ายที่หาซื้อตามท้องตลาด ลักษณะลวดลายเป็นริ้วๆ ขวาง ลำ�ตัว 5-6 ริ้วช่วงลายจะไม่เสมอกัน ตัวซิ่นมีหลายลวดลายในหนึ่งแถบและจะมีชื่อเรียก เฉพาะลวดลาย ช่วงลายจะทอสอดแทรกด้วยลายมัดหมีเ่ ส้นยืนช่วงหัวและตีนจะเป็นเส้น แถบสีครามขวางลำ�ตัวเพื่อเป็นการบ่งบอกว่าหัวซิ่นและตีนซิ่น

10

ซิ่นแม่ใหญ่มูล งาเกาะ อายุ 77 ปี


ผ้าทอที่ใช้ในชีวิตประจำ�วัน

ย่ามที่ใช้บรรจุสัมภาระนั้นทำ�จากผ้าดิบไม่ย้อมสี เส้นหนาแข็งแรงทนทาน แต่งด้วย ทางสีแดง ครามหรือดำ�เท่านัน้ แต่กม็ กี ารทอย่ามประเภทสวยงามด้วยด้ายเส้นบางทีซ่ อื้ มาจากตลาด มีขนาดเล็กกว่าย่ามที่ใช้งานและยกลายหลากสีที่ปากย่ามสอดด้ายมีชาย ครุยด้วย ย่ามโปว์ยกลายคล้ายเสือ้ สตรี ส่วนสะกอลายเรขาคณิตหรือลายลามา และสิงห์ สาราสัตว์ ลักษณะของถุงย่ามหรือโถงเป๋อ จะเป็นการนำ�เอาผ้า 3 ชิ้นมาเย็บต่อกัน ซึ่งรูปแบบ จะเหมือนถุงย่ามทั่วไปแต่จะใช้สี ขาว แดง และดำ� เป็นสีหลักและยังเป็นสีดั้งเดิมที่ ชาวกะเหรี่ยงนิยมใช้อีกด้วย

11

โถงเป๋อ


ผ้าห่ม ของชาวกะเหรี่ยง

ผ้าห่มของชาวกะเหรี่ยงจะมีลักษณะการนำ�เอาผ้ามาเย็บต่อกัน 3 ชิ้นซึ่งเป็นรูปแบบ ดั้งเดิม แล้วจะนำ�เอาชายผ้าห่มทั้ง 2 ด้านถัก มาเย็บติดกัน พอกางออกจะเป็น รูปทรง วงกลม ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำ�กลุ่มชาติพันธุ์ ผ้าห่ม ผ้าห่มทอมือของกะเหรี่ยงมักทอเป็นทางขาวสลับแดงหรือดำ� ขนาดความกว้าง 0.40 เมตร ยาวประมาณ 2-4 เมตร แล้วนำ�มาตัดครึง่ เย็บติดกันเป็นผ้าห่มกว้าง 80 เมตร ชายบนพับสอยส่วนชายล่างปล่อยเป็นชายครุย มีเป็นความเชื่อที่ว่าคนจะห่มชายครุย ไว้ทางเท้า คนตายจะห่มชายครุยไว้ทางหัว เพราะเชือ่ ว่าเป็นวิธกี ารบอกวิญญาณคนตาย ให้แน่ใจว่าตายไปแล้ว

12


มัดหมี่ ผ้ามัดหมี่ของกระเหรี่ยง

กลุ่มสะกอนิยมใช้ลวดลายมัดหมี่ตกแต่งผ้าซิ่นมากกว่ากลุ่มโปว์ โดยจะเห็นได้จากเนื้อ ทีแ่ ทรกสลับลงไปถึง 6 ริว้ แต่ละริว้ กว้าง 5-6 เซนติเมตร และยังเพิม่ ริว้ ขนาดเล็กๆ สลับ ลงเป็นช่วงๆ อีก ตามทีผ่ ทู้ อจะเห็นสวยงาม ส่วนใหญ่นยิ มย้อมด้ายสีแดงจากรากต้นโคะ หญิงสาวชาวกะเหรี่ยงจะมีโอกาสสวมใส่ผ้าซิ่นที่ใช้ในพิธีแต่งงาน ซึ่งเป็นชุดคู่กับ เสื้อสีดำ�ปักลูกเดือยลายโบราณ และผ้าโพกหัวสีขาว ทอลายที่เชิงสองด้านอย่างงดงาม ปัจจุบันหลายหมู่บ้านนิยมทอผ้าซิ่นยกดอกเป็นลวดลายขิต ทั้งนี้เพราะกระบวนการ มัดหมี่มีหลายขั้นตอนทำ�ให้รู้สึกยุ่งยาก จึงหันไปซื้อด้ายย้อมสำ�เร็จ และมีสีสันให้เลือก มากมาย มาทอเป็นซิ่นแต่งงานแทน

13


การตัดเย็บ

ผ้าทีไ่ ด้จากการทอแบบกระเหรีย่ งตามปกติแล้วจะเป็นผ้าหน้าแคบจำ�กัด ตามขนาดของ เครื่องทอ คือ กว้างที่สุดไม่เกิน 20 นิ้ว ส่วนความยาวขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ทอ ดังนั้นการตัดเย็บ เครื่องนุ่งห่มของกระเหรี่ยงจึงเป็นการนำ�ผ้า ทั้งผืนมาเย็บประกบกัน โดยพยายามตัดให้น้อย สิ่งสำ�คัญในการนำ�ผ้ามาประกบกันคือ ต้องเป็นผ้าที่ทอขึ้นสำ�หรับเครื่องนุ่งห่มตัวหรือ ผืนนัน้ โดยเฉพาะ จะนำ�ไปประกอบกับส่วนของตัวหรือผืนอื่นไม่ได้ เนือ่ งจากได้กำ�หนด ลวดลายสี และขนาดไว้อย่างแน่นอนแล้ว ก่อนที่จะทอผ้า แต่ละผืนนั่นเอง

14


การปัก/ประดิษฐ์ลวดลาย

เป็นการกำ�หนดลวดลายบนผืนผ้าให้สวยงามหลังจากเย็บเครื่องนุ่งห่มแล้ว ส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงจะนิยมปักประดิษฐ์ลวดลายบนเสื้อผู้หญิงแม่เรือน ลักษณะการประดับจะใช้ ด้ายหลากสีปักสลับลูกเดือย ลวดลายประดิษฐ์ส่วนใหญ่เป็นลายลอกเลียนแบบจาก ธรรมชาติ ทั้งลายปักด้วยด้าย และลายปักลูกเดือย

การวางลาย

ลักษณะการวางลายเสื้อผู้หญิง สะกอจะปักตกแต่งบริเวณชายเสื้อ ด้านล่าง ส่วนกลุ่ม โปว์เขตอำ�เภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มักปักลวดลายตกแต่งบริเวณไหล่ทั้ง 2 ด้าน เป็นลวดลายทีเ่ กิดจากการทอ การผสมผสานลายมักใช้ลายลูกเดือยเป็นแนวกำ�หนด ก่อน เพื่อให้ได้ช่องว่างที่จะเป็นแนวกำ�หนดลวดลายชัดขึ้น จากนั้นจึงปักลงไป

15


การย้อมสีฝ้าย

จะใช้วัสดุธรรมชาติ วัสดุที่นำ�มาย้อมได้แก่ เปลือกไม้สัก ไม้แดง ไม้ประดู่ เป็นต้น ผูช้ ายจะเป็นผูห้ ามาให้จากป่า หรือทีห่ า่ งไกลจากทีอ่ ยูอ่ าศัย ส่วนต้นไม้ทใี่ ช้ยอ้ มสีเป็นต้น เล็กๆ เช่น ต้นคราม ต้นแสดหรือเงาะป่า เป็นต้น

สีที่นิยมใช้

สีหลักได้แก่ ดำ� แดง เหลือง และขาวโดยจะใช้สีทุกสีให้โทนสีดำ�กับสีแดง ส่วนสีเหลือง และสีขาวเป็นส่วนตกแต่ง สีประกอบได้แก่ ชมพู ฟ้า่ ส้ม เขียว เป็นกลุม่ สีทนี่ �ำ มาใช้ภายหลัง และนิยมใช้กนั มากขึน้ ส่วนใหญ่มักซื้อด้ายที่ย้อมสำ�เร็จแล้วมาใช้ โดยให้เหตุผลว่าสีสวยและสีไม่ตก

16


ลวดลายและความหมาย

ผ้ามัดหมี่ของกะเหรี่ยงที่พบในปัจจุบัน จะไม่มีแบบแผนของลวดลาย ในหมู่บ้านหนึ่งๆ จะมัดหมี่ลวดลายที่เหมือนกันหมด จะแตกต่างก็เพียงความละเอียดและประณีตในการ มัดย้อมเท่านั้น และบางแห่งลวดลายจะขึ้นอยู่กับผู้ทำ� สอบถามผู้มัดหมี่ได้ความว่า มัด ไปเรือ่ ยๆให้ยอ้ มออกมาเป็นสีตา่ งๆก็พอแล้ว ซึง่ สาเหตุนที้ �ำ ให้การสืบสาวถึงลายพืน้ ฐาน แท้จริงของการมัดหมี่กะเหรี่ยงเป็นไปได้ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร เพราะขาดหลักฐานที่จะ นำ�ไปเป็นตัวอย่างเพื่อการสอบถาม

17


ผ้าทอกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยง อำ�เภอวังชิ้น

18

ผ้าทอกะเหรีย่ งนัน้ ถือว่ามีนอ้ ยมากทีผ่ ลิตมาจากกรรมวิธดี งั้ เดิม ใช้วตั ถุดบิ จากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ ซิ่น ย่าม ผ้าห่ม และยิ่งเป็นชุดสำ�หรับผู้ชายนั้นยิ่งหาดูได้ยากที่จะมี ผูส้ วมใส่ในยุคสมัยนี้ จากการศึกษาหมูบ่ า้ นนาฮ่างซึง่ เป็นประชากรตัวอย่างในการศึกษา ผลของการศึกษาคือไม่มผี ชู้ ายและเด็กทีย่ งั สวมใส่ชดุ ประจำ�เผ่าเลยส่วนมากจะหันไปใส่ ชุดพื้นเมืองหรือเสื้อผ้าตามยุคสมัย แต่สำ�หรับผู้หญิงแม่บ้าน และพวกย่า ยายยังคง จะพบเห็นใส่เสือ้ อยูบ่ า้ งในโอกาสสำ�คัญและในวันพิเศษ ส่วนตัวซิน่ นัน้ จะพบเห็นบ่อยใน ผู้สูงอายุเพราะจะใส่เป็นประจำ� ซึ่งตัวซิ่นจะเป็นซิ่นเก่าเพราะเนื้อผ้าอ่อน นุ่งสบาย ย่ามจากผ้าทอนั้นยังมีการใช้อยู่มากแต่มีหลากหลายรูปแบบ หลายสี ซึง่ ในปัจจุบนั นอกจากย่ามทีท่ �ำ จากผ้าแล้วยังมียา่ มทีท่ �ำ จากถุงปุย๋ ทีม่ ขี นาดใหญ่และใส่ ของได้เยอะกว่า ผ้าห่มนั้นแทบจะไม่มีการใช้เลย เพราะไม่มีการผลิตเพิ่มของที่มีอยู่จึง นำ�ไปเก็บไว้รักษาไว้ ให้ลูกให้หลานต่อไป เพราะในหมู่บ้านนาฮ่างคนที่จะรู้เรื่องผ้าทอ กะเหรี่ยงนั้นมีไม่ถึง 10 คนส่วนมากคือผู้สูงอายุ และมีแค่ 3-4 คนที่ยังมีความรู้และ สามารถผลิตผ้าทอได้ ซึ่งผ้าทอที่ได้ก็มาจากวัตถุดิบสำ�เร็จจากโรงงาน จะมีแค่ 1-2 คน ทีย่ งั คงสามารถรักษาเทคนิคและกรรมวิธขี นั้ ตอนการทำ�ทีด่ งั้ เดิม ตัง้ แต่การผลิตด้าย การ ปลูกฝ้ายมาจนถึงขั้นตอนการทอ การตัดเย็บถือว่ามีน้อยมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่ากรรมวิธี กระบวนการ ความรู้ต่างๆ ได้หายและกลืนไปตามกาลเวลา


ผ้าทอกะเหรี่ยง ภาพและเนื้อเรื่อง © 2014 (พ.ศ. 2557) โดย ชญานิษฐ์ ถาดอก 540310106
 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย ชญานิษฐ์ ถาดอก โดยใช้ฟอนท์ TH Sarabun New 16 pt. 
หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


กะเหรีย่ งมีวฒ ั นธรรมการทอผ้า ใช้เองมาตั้งแต่ดั้งเดิม ซึ่งชาว กะเหรีย่ งนินมใช้วสั ดุธรรมชาติ ในการผลิ ต ผ้ า ทอ ปลู ก ฝ้ า ย ที่ เ ป็ น วั ต ถุ ดิ บ หลั ก และนำ � มา ผ่านกรรมวิธีต่างๆ จนได้ออก มาเป็ น ฝ้ า ยปั่ น มื อ ลั ก ษณะ ของฝ้ายเป็นฝ้ายเส้นใหญ่ หนา แล้วจึงนำ�มาสู่วิธีการทอจนได้ ออกมาเป็นผ้า 1 ผืนใหญ่ กี่ที่ ชาวกะเหรีย่ งใช้เป็นกีห่ น้าแคบ หรือ กี่เอว

ภาพปก ผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านแม่แฮด อ วังชิ้น จ แพร่ ออกแบบโดย ชญานิษฐ์ ถาดอก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.