เสียงเพรียกจากนางฟ้าตัดตก

Page 1

เสียงเพรียก จาก

นางฟ้า


ชื่อหนังสือ

: เสียงเพรียกจากนางฟ้า

ที่ปรึกษา

: นายแพทย์อนุชา เศรษฐเสถียร นายแพทย์ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ ดร.นายแพทย์ไพโรจน์ บุญศิริค�ำชัย ดร.วิภาดา วิจักขณาลัญฉ์

พิมพ์ครั้งที่ 1

: มีนาคม 2558

ISBN

: 978-616-7951-09-6

บรรณาธิการ

: สุชาติ ได้รูป ศิริชัย นิ่มมา

กองบรรณาธิการ : สินีนุช ชัยสิทธิ์ พรทิพย์ วิชรดิลก อนัญญา พันธ์คุณาวัฒน์ ชิดชนก สุวคนธ์ ธีระ ศิริสมุดและคณะท�ำงาน จัดพิมพ์โดย

: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) 88/40 หมู่ที่ 4 ซอยสาธารณสุข 6 ถนนติวานนท์ ต�ำบลตลาดขวัญ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

พิมพ์ที่

: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จ�ำกัด 53/1 หมู่7 ต.สวนหลวง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร 74110 โทร. 0-2813-7378


ค�ำนิยม บุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉินและระบบส่งต่อผู้ป่วย เป็นทรัพยากร ที่มีคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งทุกๆ ท่าน ทุ่มเทท�ำงาน ด้วยความเสียสละและเสี่ยงภัย ในการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย เพื่อให้ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน พ้นวิกฤติ ปลอดภัย ไม่พิการ การปฏิบัติงานในแต่ละครั้งมีความยากล�ำบาก และ รถพยาบาลในเมืองไทยก็มคี วามเสีย่ งสูงต่อการประสบอุบตั เิ หตุจราจร ทีผ่ า่ นมาจาก การเฝ้าระวังพบว่าผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุของรถพยาบาล เกินครึ่งเป็นบุคลากร ในระบบการแพทย์ฉุกเฉินและระบบส่งต่อผู้ป่วย ซึ่งแต่ละคนเราต้องใช้เวลา ในการสร้างให้เขามีความรูค้ วามช�ำนาญ ในด้านการแพทย์ฉกุ เฉินหรือเรือ่ งระบบส่งต่อ ดังนัน้ การสูญเสียในแต่ละครัง้ จึงเป็นการสูญเสียทีย่ งิ่ ใหญ่เพราะถ้าบุคลากรเหล่านัน้ ยังมีสภาพร่างกายที่ปกติ หรือยังมีชีวิตอยู่ จะสามารถช่วยเหลือชีวิตคนได้อีก เป็นร้อยเป็นพัน จึงเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ทางสถาบั น การแพทย์ ฉุ ก เฉิ น แห่ ง ชาติ ขอแสดงความเสี ย ใจเป็ น ที่ สุ ด กับครอบครัวทีส่ ญ ู เสียบุคคลอันเป็นทีร่ กั และถือเป็นนโยบายส�ำคัญของทางสถาบัน ในการคุ้มครองผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉินและระบบส่งต่อผู้ป่วย โดย ประสานความร่ ว มมื อ กั บ กระทรวงสาธารณสุ ข ส� ำ นั ก งานต� ำ รวจแห่ ง ชาติ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม และภาคีเครือข่ายด้านการขับขี่ปลอดภัย ร่วมมือกันท�ำหลักสูตรพนักงานขับรถพยาบาลปลอดภัย รวมทัง้ รณรงค์ให้ประชาชน หลีกทางให้แก่รถพยาบาลทีก่ ำ� ลังปฏิบตั หิ น้าที่ เพือ่ เพิม่ ความปลอดภัยต่อผูป้ ฏิบตั งิ าน ในรถพยาบาลต่อไป

นายอนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ



ค�ำน�ำ ความปลอดภัยของบุคลากรในระบบการแพทย์ฉกุ เฉิน ถือเป็นนโยบายส�ำคัญ ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ. ตามเป้าหมาย 5 ค. ได้แก่ ความครอบคลุม คล่องแคล่ว ครบพร้อม 24 ชั่วโมง คุณภาพ และคุ้มครอง โดย เป้าหมาย “คุ้มครอง” คือการคุ้มครองผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และ ระบบส่งต่อผู้ป่วย ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า โดยมีแพทย์ พยาบาล ตลอดจน บุคลากรอาสาสมัครจิตอาสาทีม่ คี วามรู้ ความสามารถ ทุม่ เทท�ำงาน ด้วยความเสียสละ และอุทิศชีวิต ในการช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย เพื่อให้ ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินพ้นวิกฤติ ปลอดภัย ไม่พิการ และการปฏิบัติงานในแต่ละครั้ง มีความยากล�ำบาก และรถพยาบาลก็มคี วามเสีย่ งสูงมากต่อการประสบอุบตั เิ หตุจราจร หนังสือ “เสียงเพรียกจากนางฟ้า” เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พยาบาล พนักงานขับรถ ที่ประสบอุบัติเหตุจากรถพยาบาลและผู้เกี่ยวข้องกับ ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และระบบส่งต่อผู้ป่วย เพื่อสะท้อนแนวโน้มของปัญหา ความไม่ปลอดภัย ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นของผู้ปฏิบัติงานในรถพยาบาล และการสร้าง ขวัญก�ำลังใจ ซึ่งอุบัติเหตุของรถพยาบาล มีปัจจัยทั้งด้านคนหรือพนักงานขับรถ ปัจจัยทางด้านรถพยาบาล เครือ่ งมืออุปกรณ์ และปัจจัยด้านสิง่ แวดล้อม ซึง่ เมือ่ เกิดเหตุ กับบุคลากรทางการแพทย์ ย่อมมีผลกระทบต่อ ตัวเอง ครอบครัว หน้าที่การงาน หน่วยงาน เศรษฐกิจ และสังคม อย่างมากมายมหาศาล คณะผู้จัดท�ำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ จะเกิดประโยชน์ในการสร้าง ความตระหนัก ในเรื่องความปลอดภัย เชิงป้องกันอุบัติเหตุรถพยาบาล เพื่อเพิ่ม ความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานในรถพยาบาลต่อไป ขอขอบคุณ ผู้เกี่ยวข้องที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ ตลอดจนภาคีเครือข่าย การแพทย์ฉุกเฉิน เครือข่ายอุบัติเหตุจราจร ที่ให้ความร่วมมือ เป็นอย่างดียิ่ง คณะผู้จัดท�ำ มีนาคม 2558



สารบัญ หน้า ค�ำนิยม 1. เฉียดตาย

1

2. โชคดีในโชคร้าย

15

3. เสียงเพรียกจากนางฟ้า

23

4. ชีวิตพลิกผันในชั่วข้ามคืน

35

5. ฝันร้ายที่เกาะลันตา

49

6. สงกรานต์ เลือด

63

7. กู้ภัยคอกช้าง จิตอาสาเพื่อปวงชน

73

8. ดอกไม้ที่หายไป

81



เฉียดตาย ดูเหมือนประเด็นเรื่อง ความเสี่ยงจากการรีเฟอร์ผู้ป่วย จะเป็นประเด็นหลัก ที่ท�ำให้เกิดการชั่งใจของเหล่าบรรดาพยาบาลทั้งหลายที่ไม่แน่ใจว่า การออกไป รถพยาบาลแต่ละครั้ง จะได้กลับมาในสภาพปกติหรือไม่ ในความรู ้ สึ ก ของ จั ก รพั น ธ์ พลอยเขี ย ว หรื อ น๊ อ ต พยาบาลวิ ช าชี พ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านโคก อ�ำเภอบ้านโคก อุตรดิตถ์ วัย 26 ปี ก็รู้สึกเช่นนั้น 2 ปีที่เขาท�ำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวที่โรงพยาบาล มีงานที่รับผิดชอบคือ งานห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินออกเหตุ ออกอีเอ็มเอส โดยเฉพาะงานรีเฟอร์นั้น เรียกได้ว่า เกือบเป็นประจ�ำเนื่องจากโรงพยาบาล บ้านโคก อยู่ห่างโรงพยาบาลประจ�ำจังหวัดในตัวจังหวัด 180 กิโลเมตร สุดเขต ชายแดน ติดประเทศลาว เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่ออกรีเฟอร์ ใจเขาคิดเพียง “ท�ำหน้าที่ให้ดีที่สุด และ อย่าให้เกิดเหตุการณ์อะไรเลย” แต่สุดท้าย มันก็เกิดขึ้นจนได้....

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

1


ราวปีเศษที่ผ่านมา เขาและเพื่อนพยาบาลคนหนึ่ง ต้องขึ้นเวรรีเฟอร์ผู้ป่วย ซึ่งต้องส่งต่อไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลศูนย์ ในตัวจังหวัด ....ฝนที่เริ่มโปรยปรายแต่เช้า ส่งผลให้อากาศเย็นลงกว่าปกติ… แต่ ใจ ของจักรพันธ์กลับร้อนกว่า เวลาการรีเฟอร์ทคี่ าดว่า จะใช้เวลาประมาณ 2 ชัว่ โมงครึง่ ท�ำให้เขาต้องเตรียม อุปกรณ์ต่าง ๆ ส�ำหรับการกู้ชีพ เผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น ผู้ป่วยมีสัญญาณว่า จะช็อก มีความดันโลหิตต�่ำ ชัก เกร็ง ซึ่งอาจจะต้องแวะโรงพยาบาลระหว่างทาง เมื่อฝนเริ่มซาเม็ด รถพยาบาลจึงเริ่มล้อหมุนประมาณ 11 โมง และคาดว่า ไม่เกินบ่าย 3 โมง น่าจะถึงตัวจังหวัด โดยมีเส้นทางผ่านอ�ำเภอบ้านโคก น�้ำปาด และฟากท่า ระหว่างที่รถพยาบาลก�ำลังลงเขาในอ�ำเภอฟากท่า พลันก็มีรถคันหนึ่ง แซงคันหน้า และวิ่งสวนทางในระยะกระชั้นชิด จักรพันธ์ซึ่งขณะนั้น ก�ำลังสาละวันกับผู้ป่วย จึงไม่ได้ระวังตัวกับอุบัติเหตุ ที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น โชคยังดีที่คนขับรถทั้ง 2 คัน เบี่ยงหลบ... ความสูญเสียจึงไม่ได้เกิดขึ้น แต่ถงึ กระนัน้ ก็ยงั มีการเฉีย่ วชน จนท�ำให้รถพยาบาลตกลงไปในร่องน�ำ้ ข้างทาง ก่อนจะหมุนไปฟาดกับต้นไม้ซึ่งเป็นเหตุการณ์เพียงแค่เสี้ยววินาที ซึ่งกว่าคนในรถ จะรู้ตัว ทุกคนก็กระเด็นไหลมากองรวมที่กระจกที่กั้นระหว่างด้านหน้ากับด้านหลัง รถแล้ว รวมถึงตัวจักรพันธ์ด้วย “วันนัน้ ด้านหลังมีคนไข้กบั ญาติทอี่ ยูด่ า้ นหลัง คนไข้จะล็อกอยูเ่ ตียง ส่วนญาติ ที่นั่งไปด้วยก็กระเด็นเหมือนกัน แต่ไม่เป็นไรเพราะมีเบาะคั่นอยู่” 2

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


“ส่วนพยาบาลที่นั่งตรงทางขึ้นรถของรถรีเฟอร์ กระเด็นไปกระแทกกระจก และมีพี่ที่ไปด้วยกันอีกคนที่นั่งใกล้คนไข้ บริเวณกลางรถ มีอาการคือเจ็บหน้าอก และเจ็บต้นคอ ต้องแอดมิต และต้องรีเฟอร์ไปที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์เหมือนกัน”

รถพยาบาล รพ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์

จักรพันธ์บอกว่า ตนเองไม่เป็นอะไรมาก เพราะนั่งอยู่ใกล้กับกระจกกั้น มีแค่แผลฟกช�้ำ “ผมแค่ตกใจ มีเข่าที่ไปกระแทก แต่ไม่เป็นอะไรมาก เพราะผมนั่งอยู่ ใกล้กระจก เวลาที่กระแทกก็เลยไม่ไกลเท่าไหร่ แต่พี่อีกคนที่นั่งข้าง ๆ คนไข้ นั่งกลางรถ คนนั้นหนักกว่าเพื่อน ส่วนคนขับรถของโรงพยาบาล อาการเจ็บคือ มีกระแทกกับพวงมาลัยรถ ส่วนคูก่ รณีไม่เป็นอะไร เป็นแค่เฉีย่ วชน รถเขาไม่เป็นอะไร พอชนเสร็จ ก็จอดอยู่ตรงนั้น” เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

3


“หลังเกิดเหตุ ผมพยายามโทรแจ้งให้โรงพยาบาล ใกล้เคียง คือ โรงพยาบาล ฟากท่า ให้มารับเคสต่อ เพราะรถพยาบาลของเราไม่สามารถขยับอะไรได้แล้ว รวมถึงโทรแจ้งผู้บังคับบัญชาที่โรงพยาบาล” เขาบอกว่าสรุป วันนั้น ที่เป็นคือคนไข้ เพราะจริงๆ เขาต้องไปรักษาให้ทัน แต่มาเกิดอุบัติเหตุซะก่อน ผมโทรไปประสานงานเพื่อส่งเคส กับโรงพยาบาล ทางนั้นก็เตรียมห้องผ่าตัดไว้แล้ว ท�ำให้เสียเวลา ยาต่าง ๆ ก็หกหมด ทุกอย่าง ต้องเริ่มให้กันใหม่ทั้งหมด โชคดีที่ไม่เป็นอะไรมาก “เคสผมคือ เป็นช่วงที่รถคู่กรณีก�ำลังไต่ความเร็วขึ้นเขา รถเราไม่ได้ใช้ ความเร็วเท่าไหร่ ไม่งั้นคงต้องประสานงาน ชนหนักมากกว่านี้ ถ้าเป็นทางเรียบ ทางราบ น่าจะหนักกว่านี้ เพราะต่างคนต่างใช้ความเร็ว” “เราไปถูกทาง อยู่ในเลนของเรา แต่เขาแซงรถพ่วงขึ้นมา ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ควร จะแซงขึ้นมา เป็นจังหวะเร่งแซง เค๊าคงใจร้อน แซงขึ้นมา แต่ไม่พ้น” จักรพันธ์บอกว่า ตอนที่รถถูกชนนั้น โชคดีที่รถกระเด็นไปติดต้นมะขาม แต่ยังไม่ถึงหน้าผา เพราะถ้าหลุดแนวต้นมะขาม จะตกลงไปยังทุ่งนาด้านล่าง ความสูงประมาณ 100 เมตร “ผมไม่ อ ยากเสี่ ย งแบบไม่ มี ห ลั ก ประกั น อะไรแบบนี้ อี ก แล้ ว ผมก็ เ ลย ร้องไปทางผู้ใหญ่ ไปทางศูนย์นเรนทร สสจ.อุตรดิตถ์ ก็เลยได้ท�ำเป็นประกันกลุ่ม คือใครทีเ่ กีย่ วข้องกับการท�ำ EMS หรือเหตุฉกุ เฉิน หรือไปรีเฟอร์ หรือพวกทีอ่ อกเหตุ ก็ท�ำให้ทั้งหมด” เขาระบุ จักรพันธ์เผยว่า ขณะนี้ เรียกว่า การช่วยเหลือดีขึ้นบ้าง แต่ความเสี่ยงต่อ ผู้ปฏิบัติงานก็ยังเหมือนเดิม เพราะทุกครั้งที่รีเฟอร์ ตนเองก็กลัวว่าเหตุการณ์ จะซ�้ำรอย 4

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


นั่นคือ ทุกครั้งที่มีการรีเฟอร์ผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลประจ�ำจังหวัด ต้องผ่าน เส้นทางนีซ้ งึ่ ส่วนใหญ่เป็นทางขึน้ เขา คดเคีย้ ว มีหลายโค้ง ถนนแคบ และทางไม่คอ่ ยดี “แต่เป็นงานที่ผมปฏิเสธไม่ได้ และผมก็ต้องท�ำเวลาด้วยเพราะหมายถึง ความเป็นความตายของผู้ป่วย” จักรพันธ์สะท้อนการท�ำงานประจ�ำวัน “ถ้าเลือกได้ ผมก็ไม่อยากไปนะ ด้วยความที่ผมเป็นคนเมารถด้วย ท�ำให้ ไม่ค่อยอยากไป แต่ก็ต้องไป เพราะเป็นหน้าที่ผม ไม่งั้นก็ไม่มีใครไป” “ทุกวันนี้ ก่อนออกจากบ้านพ่อแม่ก็ห่วง แต่ก็บอกให้ผมระวังตัว พูดว่า พ่อก็จะบอกว่า บี่ พ่องแต่ในรถนะ พ่องข้างหน้ารถ พ่องข้าง ๆ รถด้วย เวลามีรถชนมา เฮาจะได้ตั้งรับได้ หาที่ยึดได้ แปลคือ พยายามอย่ามองแค่ในรถ ให้มองนอกรถด้วย มองหน้ารถด้วย เวลามีอุบัติเหตุ จะได้หาที่ยึด หาที่จับได้” เขากล่าวว่า เมื่องานยังต้องท�ำ ข้าวยังต้องกิน ภาครัฐก็น่าจะเข้ามาดูแล เรื่องเหล่านี้ อาทิ ความปลอดภัยของรถพยาบาล เรื่องค่าตอบแทน อธิ บ ายให้เ ห็นภาพคือ ถ้าเขาอยู่เ วรรีเฟอร์ กรณีเป็นวันหยุด แต่ไม่มี การรีเฟอร์ จะได้ 120 บาท แต่ถ้ามีการรีเฟอร์ จะได้ 600 บาท เพราะระยะทาง ไปกลับก็เกือบ 6 ชั่วโมง “ผมได้ค่าเสียหายจากคู่กรณีคนละ 2 พันบาทเท่านั้น ต้องเจรจากันเอง แค่นั้น เรื่องก็จบ แต่ถ้าผมแขน ขา หัก หรือหนักกว่านั้น มันก็ไม่คุ้มเสี่ยงผมเลยนะ” “ไม่มใี ครเป็นหัวเรือทีจ่ ะพูดเรือ่ งนี้ รวมทัง้ ต่อสูเ้ รือ่ งคดีให้ผม ผมจะวิง่ เรือ่ งเอง ก็ไม่ได้ เพราะก็ตอ้ งท�ำงานประจ�ำ ผมก็อยากให้เรือ่ งมันจบ ผมก็เหมือนกับรับสภาพ” “สิ่งที่ผมอยากฝากคือ อยากให้มีการจัดสวัสดิการ กองทุน หรืออื่น ๆ ให้มี มากกว่านี้ เพราะที่ผ่านมามีน้อยเกินไป บางคนเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ เพราะ เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

5


ที่โรงพยาบาล ถ้ามีครอบครัวแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยไปรีเฟอร์ เพราะไม่คุ้มเสี่ยง อันตราย ยิ่งมีอายุ ยิ่งไม่อยากไป” เขากล่าว เช่ น เดี ย วกับ ความเห็นของ นวัญ รัช ต์ ไชยโสดารัชต์ พยาบาลวิชาชีพ ช�ำนาญการ ปฏิบัติงาน ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลห้วยเม็ก กาฬสินธุ์ ที่ว่า “การรีเฟอร์ เป็นเรื่องของความเสี่ยงทั้งผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงาน” ประสบการณ์เฉียดตายของเธอครัง้ นัน้ คือ เป็นเวรรีเฟอร์พร้อมเพือ่ นพยาบาล เมื่อ 27 มีนาคม 2557 เพื่อน�ำส่งผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ 1 คน คนไข้โรคเรื้อรัง เป็นแผลกดทับ 1 คน รวมทั้งมีญาติผู้ป่วยอีก 3 คน เพื่อไปส่งที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลประจ�ำจังหวัด อยู่ห่างประมาณ 50 กิโลเมตร สิ่งที่ต้องเตรียมไประหว่างการรีเฟอร์คือ อุปกรณ์ประจ�ำ เช่น อุปกรณ์ ช่วยชีวิต ยา ฯ เมื่อรถวิ่งมาถึงทางโค้งบริเวณเขาดงระแนง มีอุบัติเหตุจากรถของคู่กรณี ขับกินเลนมาช่วงทางโค้ง มาชนประสานงากับรถพยาบาล เป็นเหตุให้รถตกข้างทาง ฝั่งที่รถพยาบาลวิ่งมา

นวัญรัชต์ ไชยโสดารัชต์ 6

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


เธอบอกว่า ขณะนั้น เธอยืนในส่วนที่ผู้ป่วยอยู่ และก�ำลังให้การดูแลคนไข้ โรคหัวใจ ซึ่งอยู่ในขั้นวิกฤตและมีภาวะความดันต�่ำ และเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เธอสลบ เพราะศีรษะกระแทกกับกระจกด้านหลัง ท�ำใหเลือดออกหู และกระจกบาดศีรษะ “เพื่อนบอกว่า มีคนดึงเราออกมาจากรถ เพราะรถก�ำลังไฟไหม้ จากนั้น เราก็ถูกส่งไป โรงพยาบาลยางตลาด ที่กาฬสินธุ์ รู้สึกตัวอีกทีคือ หลังจากเหตุการณ์ ผ่านไปแล้ว คือเหมือนกับสูญเสียความทรงจ�ำช่วงหนึ่ง คือจ�ำอะไรไม่ได้เลย” พยาบาลคนดังกล่าวเล่าว่า ปัจจุบัน เธอก็ยังจ�ำอะไรไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ในช่วงนัน้ และใช้เวลาพักรักษาตัวช่วงสัน้ ๆ ทีโ่ รงพยาบาลยางตลาด ก่อนจะถูกส่งตัว ไปยังโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เพราะมีอาการบวมทางสมอง

รถโรงพยาบาลห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ชนประสานงากับรถเก๋ง บนถนนสายยางตลาด-ห้วยเม็ก ภาพจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

7


แต่สุดท้าย เธอก็ถูกส่งตัวกลับมาที่โรงพยาบาลต้นสังกัด พักฟื้นอีก 7 วัน ก่อนจะกลับมาพักที่บ้านเนื่องจากตรวจไม่พบความผิดปกติอาการทางสมอง “โรงพยาบาลบอกว่า เราไม่เป็นอะไร ถึงแม้จะมีเลือดออกที่หู ซึ่งปกติ การที่ เลือดออกที่หู จะเป็นการสะท้อนว่า มีความผิดปกติเกิดที่สมอง หรือมีปัญหาที่ ระบบประสาท แต่อยู่ ๆ ไม่มีเลือดออกเพิ่ม ก็เลยตัดปัญหาเรื่อง อาการทางสมอง ทิ้งไป” “แต่ทขี่ อ้ เท้าข้างขวา ตอนแรกเข้าใจว่าหัก เพราะมีการกระแทกอย่างรุนแรง และมีปญ ั หาทีเ่ อ็น กลายเป็นว่า ตอนนี้ เราเป็นข้ออักเสบเรือ้ รัง ใช้เวลานานกว่าปกติ กว่าจะหาย คือ ถ้ามีการใช้งานมาก ก็จะมีปัญหาเรื่องการเจ็บข้อเท้า” นั่นคือ หากนั่งทับข้อเท้าเป็นเวลานาน ๆ ก็จะปวด ท�ำให้เดินนาน ๆ ไม่ได้ ยืนนาน ๆ ไม่ได้ “เราก็ดูแลตัวเองโดยที่ไม่ท�ำให้มีปัญหาเพิ่ม เช่น ไม่ใช่แรงบริเวณนั้นมากไป ไม่นั่งทับขา ไม่กระโดดลงจากรถ ไม่ขึ้นรถบางคันที่มีความสูง เพราะถ้ากระโดดลง จะมีปัญหาเจ็บได้ วิ่งก็ไม่ได้” เธอบอกว่า เรือ่ งแบบนี้ เจ้าหน้าทีอ่ าจจะคิดว่าเป็นเรือ่ งเล็กน้อย ไม่ได้วนิ จิ ฉัย ลึกซึง้ ว่าเป็นอะไร ขนาดหูเธอเลือดออก เขาไม่พยายามทีเ่ อ็กซเรย์สมอง แต่กลับเป็น ตัวเธอที่เป็นฝ่ายบอกว่า น่าจะไปเอ็กซเรย์ จะได้รู้ปัญหาที่แท้จริง “เราเป็นพยาบาลศัลยกรรมมาก่อน เพราะย้ายมาจากโรงพยาบาล ประจ�ำจังหวัด อีกที่หนึ่ง เราอยู่ไอซียูศัลยกรรมมาก่อน ดูคนไข้สมองมาก่อน ก็พอจะรู้ว่าอะไร เป็นอะไร พอจะมีความรู้เรื่องแบบนี้ และทั้งที่เราเป็นเจ้าหน้าที่และประสบเหตุ จากเรือ่ งงาน ไม่ได้ไปเทีย่ วส่วนตัว ก็ยงั ปฏิบตั กิ บั เราแบบนี”้ เธอสะท้อนสิง่ ทีเ่ กิดขึน้

8

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


“เราเข้าใจว่า มาตรฐานการดูแลมันต่างกัน เราท�ำงานมา 23 ปี ดูแลคนไข้ ไอซียูสมอง และดูเรื่องระบบประสาท 8 ปี แต่เจ้าหน้าที่อาจคิดว่า เอ็กซเรย์แล้ว ก็ไม่มีประโยชน์อะไร หรือเปลือง แต่คำ� นี้ไม่ควรใช้กับเจ้าหน้าที่ที่ประสบเหตุขณะ ปฏิบัติหน้าที่” นวัญรัชต์ กล่าวว่า อุบัติเหตุครั้งนี้มีผลกับการใช้ชีวิตประจ�ำวันของเราคือ มี บางอย่างที่เป็นอุปสรรคในการท�ำงานบางอย่าง เช่นเรื่องความคล่องแคล่วต่าง ๆ “เมือ่ ก่อนเราเป็นคนทีค่ ล่องตัวสูงมาก แต่ตอนนี้ ถ้าเดินเร็วมาก ๆ มันก็จะเจ็บ เราท�ำกิจกรรมบางอย่างที่เราชอบไม่ได้ เราเคยเป็นนักกีฬา แต่ออกก�ำลังกายไม่ได้ ร่วมกิจกรรมของโรงพยาบาล ไม่ได้ เดี๋ยวนี้แทบจะไม่วิ่งเลย เดินเร็วก็ไม่ได้ เพราะ ต้องใช้ข้อเท้ามาก มันจะปวด สรุปคือ ถ้าใช้เท้ามาก มันก็จะไม่ดีกับตัวเอง “บางทีจ่ ะให้เราไปส่งคนไข้ แต่รถพยาบาลมันสูง แล้วเราต้องไปทรงตัวในรถ บางทีมันก็มีหลุมบ่อบ้าง เลี้ยวบ้าง ต้องมีการกระแทกแน่นอน คนอื่นอาจไม่เข้าใจ ว่าท�ำไมเราไม่อยากไปรีเฟอร์ มีแต่คนบอกว่า ถ้าเราตายก็ตายฟรี ไม่มีใครดูแล ครอบครัวเรา” นอกจากนี้ สิง่ ทีเ่ ธอแคลงใจอย่างมากคือ หลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าทีท่ ตี่ รวจสอบสิทธิ์ จะถามเรื่องว่า เรามีสิทธิ์ใดที่จะเบิกจ่ายได้หรือไม่ “เขาจะถามว่า คุณคาดเบลท์มยั๊ คุณเป็นเวรมัย๊ คุณท�ำอะไรอยู่ ประมาณนัน้ เหมือนมาสอบสวนเราอีกที มันอาจจะเป็นเรื่องปกติ แต่ไม่น่าจะใช้เรื่องแรก ๆ ในวิธีปฏิบัติ ควรจะดูอาการเราก่อน เพราะยังไง เราก็เป็นเจ้าหน้าที่ ที่ไปท�ำงาน ณ เวลานั้น แต่กลายเป็นว่า พอเรื่องเยียวยา ก็ต้องดูอีกว่า เรามีสิทธิ์อะไรบ้าง เช่น ดูเรื่องประกันเรามีมั๊ย

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

9


“ที่ผ่านมาก็ไม่มีประกันที่เป็นเรื่องเป็นราวกับเจ้าหน้าที่อะไรเลยนะ คือ ถ้าเกิดเหตุ ไม่มีอะไรที่เป็นการรองรับเจ้าหน้าที่เลย ถ้าตาย ก็ตายไป งั้นเหรอ” และทีเ่ ธอไม่เข้าใจอย่างยิง่ คือ มาตราทีเ่ กีย่ วกับการประเมินความเจ็บป่วยว่า ควรจะได้รับการชดเชยเท่าไหร่ตามความรุนแรง เช่น เจ็บป่วยเล็กน้อย ปานกลาง หรือรุนแรงนั้น ควรจะมีการปรับปรุงเป็นอย่างแรก “อย่างเรา บาดเจ็บปานกลาง ได้ชดเชย 4 หมืน่ บาท เงินเดือนเราเกือบ 4 หมืน่ แต่จะมีประโยชน์อะไรมัย๊ ทีไ่ ด้รบั อุบตั เิ หตุขนาดนัน้ กระทบกระเทือนจิตใจขนาดนัน้ ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปโดยที่คิดว่า เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ได้เงินชดเชย 4 หมื่นบาท” “เราขึ้นเวร ได้โอที บวกเงินเดือน ก็ประมาณ 4 หมื่น 5 แต่ชดเชยเรา 4 หมื่น น่ารักมาก นี่คือความพิกลพิการของระบบในบ้านเรานะ” เธอย�้ำ พร้อมกับกระทุ้ง ภาครัฐว่า ที่ผ่านมา ไม่มีมาตรการอะไรเลยเป็นการรองรับความเสี่ยง ทั้งที่พยาบาล ก็ท�ำงานเสี่ยงภัย จะเกิดเหตุเมื่อไหร่ก็ไม่ทราบ และมีสิทธิ์ตายฟรีได้ทุกเมื่อ “สรุป เราได้ความช่วยเหลือโรงพยาบาล ปลอบขวัญ 5000 บาท ได้จาก ประกันของรถคู่กรณี 7 หมื่น 5” นวัญรัชต์ ยังโชคดีที่ไม่ต้องขึ้นศาลเพราะคู่กรณีพยายามที่จะรอมชอม และ เจรจาเรื่องค่าสินไหมเพื่อที่จะไม่ต้องมีการฟ้องร้อง หรือลงบันทึกประจ�ำวัน “เรายังโชคดีทลี่ าได้ 1 เดือน เพราะเหตุมาจากการเป็นเวร เขาไม่คดิ จะหักเรา จากเวลาที่เป็นปกติ ยังได้ 3 เปอร์เซ็นต์ ถือว่า อยู่ในเกณฑ์ขึ้นเงินเดือนสูง” ส�ำหรับสิ่งที่เธออยากเห็นความเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นหลักประกันส�ำหรับ พยาบาลที่ต้องไปรถรีเฟอร์คือ

10

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


อยากให้มีมาตรการหรือแนวทางเรื่องการดูแลสุขภาพหลังการบาดเจ็บ ให้ถึงที่สุด “ไม่ใช่ดูแค่เวลาเดียว บางคนตอนแรกเป็นไม่เยอะ แต่มาพบอาการภายหลัง เช่น มีปัญหาเรื่องกระดูกสันหลัง บางคนต้องปลูกถ่ายไขกระดูก ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ มันจะมาทีหลังการรักษาตอนแรก ถามว่า ใครรับผิดชอบ “เราอยากให้มกี ารดูแลอย่างต่อเนือ่ งเพราะคนเหล่านี้ บาดเจ็บจากการท�ำงาน ให้รัฐนะ แต่การรักษาบางอย่าง เขาต้องเสียเงินเอง และอุบัติเหตุแบบนี้ไม่ใช่ส่งผล แค่ระยะสั้น” “ระยะยาวเรายังไม่รวู้ า่ จะเกิดอะไรขึน้ วันดีคนื ดีจะเกิดอะไรหรือเปล่าก็ไม่รู้ เช่น ล้มผิดท่า ซึง่ มันยังบอบช�ำ้ อยูล่ ะ่ ก็คดิ ว่าซวยจริงๆ แต่กย็ งั มีความโชคดีทเี่ ราไม่ตาย” เธอบอกอีกว่า ส�ำหรับเธอ เรือ่ งกระเทือนจิตใจมีกนั ทุกคนอยูแ่ ล้ว เช่นตัวเธอ ก็ยงั รูส้ กึ กลัวและมีอาการขวัญผวาทุกครัง้ เวลาขับรถผ่านทีเ่ กิดเหตุ ซึง่ เป็นผลกระทบ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องสรีระ แต่เป็นเรื่องจิตใจ เพราะเพิ่งผ่านเหตุการณ์อุบัติเหตุรุนแรง จะรู้สึกอย่างนั้น เรื่องต่อมาที่เธอหวังว่าจะเห็นคือ เรื่องสวัสดิการเบื้องต้นที่เป็นมากกว่า การชดเชย ความหมายเธอคือ ไม่ควรจะเข้มงวดมากเกินไป และไม่ได้หมายความว่า ต้องจ่ายเป็นล้านเพื่อเป็นการชดเชย แต่อยากให้มีการตอบแทนที่เหมาะสม “เท่าไหร่ก็ว่ามา ไม่ใช่ได้เท่ากับเงินเดือนประจ�ำที่ได้ อย่างนี้ก็ไม่ไหวนะ คืออยากให้มีแนวทางดูแลบุคลากรในกรณีต่าง ๆ ให้มันอัพขึ้นมาหน่อย แต่นี่มัน น้อยเกินไป”

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

11


“เคยคิดจะลาออกนะ แต่ว่าติดความจ�ำเป็นหลายอย่าง ลาออกแล้วจะไป ท�ำอะไรล่ะ ชีวติ เศร้านะ เคยคิดว่าทุกครัง้ ทีไ่ ปกับรถรีเฟอร์ จะได้กลับบ้านหรือเปล่าไม่รู้ พยายามสวดมนต์ว่า คนที่ท�ำหน้าที่แบบนี้ อย่าเจอเคราะห์กรรมเช่นนี้” มุมมองของนวัญรัชต์ อาจมาจากประสบการณ์การท�ำงานมากกว่า 20 ปี ที่อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงในเรื่องการหลักประกันส�ำหรับพยาบาล ตลอดจน เจ้าหน้าที่ต้องรีเฟอร์ผู้ป่วย ซึ่งไม่ต่างอะไรกับความเห็นของประภัสสร สันตะวงค์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาล ห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่เดียวกับนวัญรัชต์ เธอเล่าว่า รีเฟอร์เป็นเรื่องปกติของเธออยู่แล้ว ซึ่งในวันดังกล่าว เธอจับคู่ เป็นพยาบาลรีเฟอร์ผปู้ ว่ ยพร้อมกับพยาบาลรุน่ พีอ่ ย่างนวัญรัชต์ เนือ่ งจากเป็นคนไข้ ที่ต้องเฝ้าระหวังตลอดการรีเฟอร์ แต่เพียงห่างจากโรงพยาบาลแค่ 7 กิโลเมตร ประสบการณ์เฉียดความตาย ก็มาทักทายเป็นครั้งแรก เมื่อรถพยาบาลถูกเฉี่ยวชน “ตอนนั้นเรานั่งหันหลังให้คนขับ ตอนแรกคือ ความรู้สึกเหมือนรถชะลอ ความเร็ว ก�ำลังจะหันไปดู ก็ชนแล้ว รูต้ วั อีกที เลือดไหล มีไฟไหม้ เพราะรถชนกัน พีพ่ ยาบาลอีกคนก็ไม่ได้สติ สลบ พี่คนขับรถก็ฟุบไปข้างหน้า โทรศัพท์ก็หล่นไปไหนไม่รู้” “เราตะโกนบอก โทร 1669 ให้หน่อย เจ้าหน้าที่กู้ภัยก็บอกว่าโทรแล้ว เรามีสติทุกอย่าง รีบเอาขวดอ๊อกซิเจนออกมาเผื่อฉุกเฉิน” หลังเกิดเหตุ เธอถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาล ห้วยเม็ก มีอาการบาดเจ็บคือ หน้าผากแตก เย็บ 19 เข็ม ขาตอนแรกนึกว่าหัก แต่แค่ช�้ำ แต่ก็ยังเป็นก้อน เพราะ เลือดคั่ง สรุปคือไม่หนักมาก 12

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


หลังเหตุการณ์ เราไม่กล้าขับรถผ่านทางนั้นเลย กลัว ไม่กล้าไปไหนเลย กลัวรถ ทางตรงนั้นเป็นทางโค้ง หลังเหตุการณ์ เธอได้เงินช่วยเหลือเป็นเงิน 5.8 หมื่นบาท ดังนี้ โรงพยาบาล ห้วยเม็ก ให้ 5 พันบาท สาธารณสุขจังหวัด ให้ 1 พัน ประกันภัยของรถคันคู่กรณี จ่าย 2.5 หมื่น กระทรวงสาธารณสุขให้ 2 หมื่นบาท เธอบอกว่า แม้จะได้รบั เงินเกือบ 6 หมืน่ บาทก็ตาม แต่อาการขวัญผวาก็ยงั อยู่ กับเธอมาตลอด “ทุกวันนี้ยังต้องออกรีเฟอร์ ได้แต่บอกคนขับว่า พี่อย่าขับเร็วนะ” “ตอนแรกก็กลัวนะที่ต้องไปรีเฟอร์ พยายามแลกเวรกับพี่ ๆ หรือสลับกับพี่ ๆ มาท�ำงานที่ห้องฉุกเฉินแทน พี่ ๆ ก็เข้าใจ เพราะเราก็กลัว แต่ตอนนี้ก็ไปได้แล้ว” เธอบอกว่า สิ่งที่อยากให้ภาครัฐมาช่วย คือ เรื่องสวัสดิการ หรือหลักประกัน อะไรก็ได้ส�ำหรับบุคลากรทางการแพทย์กรณีที่ต้องไปรีเฟอร์ “เราอยากให้ มี ค วามชั ด เจนมากกว่ า นี้ อยากให้ ส วั ส ดิ ก ารที่ ดี ก ว่ า นี้ ค่าตอบแทนที่สมน�้ำสมเนื้อ เพราะทุกวันนี้ รู้สึกว่าน้อยไปกับความเสี่ยงในขณะนี้ ตอนนี้เหมาจ่าย 600 ตลอด 8 ชม หรือ 1 เวร แต่ไม่เกิน 3 เที่ยว “ถามว่า คุม้ มัย๊ ไม่คมุ้ หรอก ชีวติ เรามีอะไรทีม่ ากกว่านัน้ ตอนนีเ้ หมือนตามมี ตามเกิด ซวยก็ซวยไปหากเกิดอุบัติเหตุ” ....................................

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

13



โชคดีในโชคร้าย “เสร็จเคสนี้ กลับเลยนะพี่ ค่อยๆ ไปก็ได้” เสียงอรทัย แร่นาค พยาบาล โรงพยาบาลวังโป่ง บอกกับพนักงานขับรถรีเฟอร์ ทีก่ ำ� ลังขับรถออกจากโรงพยาบาล เพชรบูรณ์ มุ่งหน้ากลับโรงพยาบาลวังโป่ง ซึ่งเป็นต้นสังกัดของเธอ ซึ่งอยู่ห่างไปอีก 100 กว่ากิโลเมตร ....กว่าครึ่งคืนที่เธอในฐานะพยาบาล พร้อมเพื่อนรุ่นน้องที่เป็นเจ้าหน้าที่ เวชกิจฉุกเฉิน และพนักงานขับรถ ต้องน�ำส่งผูป้ ว่ ยมาทีโ่ รงพยาบาลเพชรบูรณ์ ตัง้ แต่ กลางดึกคืนที่ผ่านมา ท�ำให้ขากลับ เธอและเพื่อนรุ่นน้องเลือกที่จะมานั่งด้านหน้า คนขับ เพือ่ ทีอ่ ย่างน้อยจะได้เป็นเพือ่ นคุย แก้งว่ งกับคนขับรถ ทีข่ ณะนัน้ ต้องใช้สมาธิ อย่างสูงเพื่อต่อสู้กับความเหนื่อยล้าที่ขับรถมาค่อนคืน และสายฝนที่โปรยปราย ต่อเนื่อง ซึ่งท�ำให้ถนนลื่มและเป็นอันตรายส�ำหรับการใช้ความเร็ว ...รถพยาบาลเพิง่ วิง่ ห่างจากโรงพยาบาลเพียง 1 กิโลเมตร และเตรียมยูเทิรน์ เพื่อกลับไปยังเส้นทางเดิม วินาทีที่รถรีเฟอร์ก�ำลังออกตัว ฉับพลัน ก็มีรถกระบะสีขาวคันหนึ่ง พุ่งมา ด้วยความเร็วสูง และชนเข้ากับประตูบานสไลด์กลางคันของรถพยาบาลเข้าเต็มแรง จนรถพยาบาลกระเด็นไปหลายเมตร เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

15


“โครม” อรทัย อยู่ในสภาพงงและตกใจกับเหตุการณ์ทเี่ กิดขึ้น เพราะทุกอย่างเกิดขึ้น เร็วมาก สิง่ ที่ เห็นเบือ้ งหน้าเธอขณะนีค้ อื ควันขโมงท่ามกลางสายฝนทีย่ งั คงตกลงมา ไม่ขาดสาย... โชดดีที่เธอและทุกคนไม่เป็นอะไร มีเพียงรอยฟกช�้ำ และศีรษะถลอก ตามแรงกระแทกเล็กน้อย เมือ่ เช็กว่าทุกคนในรถไม่เป็นอะไร เธอจึงลงมาดูรถคูก่ รณี ซึง่ พบว่า 2 คนแรก เดินลงได้ปกติ มีเพียงหนึ่งคนในรถที่บาดเจ็บ สะโพกหลุด ร้องครวญครางนอนเจ็บ ในรถ และโทร 1669 เพื่อให้รถฉุกเฉินของโรงพยาบาลเพชรบูรณ์มารับไปรักษาต่อ ซึ่งโชคดีมากที่ที่เกิดเหตุ อยู่ไม่ไกลจากโรงพยาบาล หลังเหตุการณ์ เธอสะท้อนให้ฟังว่า ฝันร้ายที่เกิดขึ้นกับเธอครั้งนั้น ยังคง วนเวียนกับเธอไม่หาย “หลังจากเหตุการณ์ เราขวัญเสียเลยนะ ยังไม่กล้านั่งรถ ไปส่งคนไข้เท่าไหร่ แต่ก็ต้องไปเพราะเป็นเวรรีเฟอร์ผู้ป่วย ได้แต่บอกคนขับว่า พี่ไปช้า ๆ นะ และ เราจะไม่ไปยูเทิร์นตรงนั้นอีก” เธอบอกว่า โชคดีมากที่เหตุการณ์ครั้งนั้น เธอและเพื่อน รวมถึงคนขับรถ ไม่ได้เป็นอะไร เพราะสิ่งที่เธอได้ยินมาก่อนหน้านั้นคือ พยาบาลรุ่นพี่บางราย ประสบอุบตั เิ หตุจากการรีเฟอร์ผปู้ ว่ ย บางรายถึงขัน้ พิการ และบางราย ถึงขัน้ เสียชีวติ อรทัยตั้งข้อสังเกตว่า แม้เธอจะไม่ได้รับบาดเจ็บอะไรมากมาย แต่ภาครัฐ ก็น่าจะมีมาตรการหรือแนวทางใดๆ ก็ตามในการให้ความช่วยเหลือกรณีบุคลากร ทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลได้รับบาดเจ็บจากการรีเฟอร์ผู้ป่วย

16

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


“อยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือเรื่องเยียวยาเรื่อง ค่ารักษา ค่าสินน�้ำใจ เพื่อเป็นขวัญก�ำลังใจ รวมถึงเรื่องสิทธิ์ประกันต่างๆ กรณีเกิดอุบัติเหตุบ้าง เพราะ บางทีเราระวังแล้ว แต่คนอื่นไม่ระวัง ขับรถมาชน หรือเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นเหตุ สุดวิสัย” “มันจะกลายเป็นว่า เราเป็นผูท้ ไี่ ปช่วยผูป้ ว่ ย ผูบ้ าดเจ็บ แต่ถา้ เราเป็นเองบ้าง กลับไม่มีการช่วยเหลือเราเลย ทั้งที่เป็นงานในความรับผิดชอบเรา ซึ่งเรามีแค่ค่าเวร ครั้งละ 600 บาท ได้แค่นั้น” เธอผ่านความรูส้ กึ อีกว่า ถึงแม้ขณะนี้ ยังไม่มมี าตรการใดๆ ทีเ่ ป็นหลักประกัน ในการท�ำงานที่เสี่ยงภัยเช่นนี้ก็ตาม แต่เธอและเพื่อนพยาบาลทุกคนก็พร้อมที่จะได้ ท�ำงานในแบบนี้ต่อไป “หลังเหตุการณ์ พ่อแม่ก็ให้ท�ำต่อไป เพราะเป็นงานของเรา พ่อแม่ก็เข้าใจ แต่ก็บอกให้ระวังด้วย” เธอกล่าว “ถามว่า คุ้มมั๊ยกับการท�ำงานแบบนี้ ในแง่การท�ำงาน เราพอใจมากเพราะ ได้ไปช่วยคนไข้ แต่อีกใจคือ ถ้าเราเป็นอะไรขึ้นมา เราได้อะไร พ่อแม่เราได้อะไร เพราะเราก็ยังมีพ่อแม่ แล้วใครจะเลี้ยงพ่อแม่เราถ้าเราเป็นอะไร”

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

17


“ถ้าเรามีครอบครัว ใครจะดูแลครอบครัวเรา เราเป็นลูกคนโต มีน้องอายุ 5 ขวบ เราก็ต้องส่งเงินไปให้แม่กับน้องใช้ด้วย เพราะเราก็เหมือนเป็นเสาหลัก ของครอบครัว ขาหนึ่ง” “ใครจะรับผิดชอบครอบครัวล่ะ ใครจะดูแลชีวิตที่เหลือของเราล่ะ เช่น ถ้าเราพิการ ไม่สามารถท�ำงานได้ เราจะเอาเงินที่ไหนไปช่วยครอบครัว เพราะ เงินเยียวยาอะไรก็ไม่มี ถ้าเป็นข้าราชการทหาร ต�ำรวจ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในภาคใต้ หากมีเหตุอะไรขึ้นมา ก็อาจจะมีเงินชดเชย แต่นี่...” เธอทิ้งประโยคไว้แค่นั้น แม้จะไม่ได้พูดสื่อออกมาตรง แต่น�้ำเสียงของเธอก็ยังคงกังวลกับสถานะ ความเป็นลูกจ้างโรงพยาบาลของตัวเธอ ที่อาจจะห่างไกลในเรื่องการได้รับสิทธิ์ สวัสดิการ เพราะแม้แต่พี่ ๆ ที่เป็นข้าราชการยังไม่ได้รับในส่วนนี้ “ตอนนี้เรายังเป็นลูกจ้างอยู่ ไม่ได้เป็นข้าราชการ ก็ได้แต่หวังว่า ต่อไปน่าจะ ได้รับสิทธิ์ส่วนนี้” ความรูส้ กึ ของอรทัยทีม่ ตี อ่ เหตุการณ์ แม้จะเป็นเพียงความรูส้ กึ ทีม่ คี วามโชคดี ทีป่ นอยูใ่ นความโชคร้ายทีไ่ ม่ได้รบั อุบตั เิ หตุจากการรีเฟอร์ผปู้ ว่ ย แต่สำ� หรับ ขจรศักดิ์ อินดีคำ� หรือ พีท่ ยุ ของน้อง ๆ พนักงานขับรถโรงพยาบาลวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์นนั้ กลับไปในทิศทางตรงกันข้าม... ขจรศักดิ์ คือ หนึ่งในผู้อยู่เหตุการณ์เดียวกับอรทัย ที่ถูกรถปิ๊กอัพ พุ่งเข้าชน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2557 เขาเล่าว่า ก่อนที่จะประสบอุบัติเหตุครั้งนั้น เขารับผิดชอบอยู่เวรขับรถ คนเดียว และน�ำส่งผู้ป่วยในวันนั้นแล้ว 2 เที่ยว

18

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


เที่ยวแรกเขาน�ำส่งผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่เที่ยง ไปกลับ ระยะทาง 200 กิโลเมตร ก่อนจะกลับถึงโรงพยาบาลประมาณ 5 โมงเย็น เทีย่ วที่ 2 เขาน�ำส่งอีเอ็มเอสไปทีโ่ รงพยาบาลเพชรบูรณ์ ระยะทางเกือบ 150 กิโลเมตร โดยออกจากโรงพยาบาลวังโป่งเวลา 21.30 และถึงโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ เกือบ 5 ทุ่ม ภายหลังจากที่น�ำส่งผู้ป่วยเสร็จ เขารีบบึ่งรถกลับอุตรดิตถ์ โดยไม่ลืมระวัง เป็นพิเศษเพราะฝนเริ่มกระหน�่ำลงจากฟ้า ซึ่งท�ำให้ถนนลื่นอย่างมาก โดยเฉพาะจุดที่เขาต้องยูเทิร์นรถนั้น แม้จะเป็นถนนทางตรงก็ตาม แต่ก็มี ต้นไม้ใหญ่บัง ซึ่งจะว่าไปแล้ว สิ่งที่บดบังทัศนวิสัยก็คือสายฝนที่เทลงมาอย่าง ไม่ลืมหูลืมตา และสิ่งที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดก็เกิดขึ้นเมื่อรถปี๊กอัพคันหนึ่ง ขับมาด้วย ความเร็วและชนเข้ากลางรถพยาบาลเต็มแรง โดยที่ไม่มีเสียงเบรกแม้แต่น้อย ขจรศักดิ์พยายามประคองพวงมาลัย พร้อมกับแตะเบรก เพื่อมิให้รถลื่นไถล ไปตามแรงกระแทก โชคดีที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บจากการชนครั้งนั้น และโชคดีมากกว่านั้นคือ การทีไ่ ม่มผี ปู้ ว่ ยในรถ เพราะหากมี นัน่ หมายถึงพยาบาลและเจ้าหน้าทีอ่ นื่ ๆ ต้องอยู่ ด้านหลังของรถพยาบาล ซึ่งนั่นอาจหมายถึงความสูญเสีย “ผมขับรถมาเกือบ 20 ปี ไม่เคยเจออุบัติเหตุ เพิ่งจะมีวันนี้ล่ะที่โดนรถชน” ขจรศักดิ์ยืนยันว่า แม้เขาจะขับรถเกือบทั้งคืนเพื่อรีเฟอร์ผู้ป่วย แต่ก็ไม่ได้ หลับในแต่อย่างใด เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

19


“ผมดูแล้ว ว่าไม่มรี ถ เราก็ยเู ทิรน์ เลย แต่รถคูก่ รณีคนั นัน้ ก็ไม่มเี สียงเบรกเลย ชนรถเราจนดันรถเราไปไกล เพราะชนแรงมาก” หลังเกิดเหตุ รถคู่กรณีกล่าวหาว่า ขจรศักดิ์เป็นฝ่ายผิด โดยขับรถตัดหน้า ซึ่งเขาก็ได้ยืนยันว่า เขาเบรกรถและรอจังหวะก่อนที่จะขับรถออกไป อย่างไรก็ตาม แม้ในรถพยาบาลจะไม่มีผู้บาดเจ็บก็ตาม แต่สิ่งที่ตามมาคือ ปัญหาระหว่างเขากับคู่กรณีที่พยายามให้เขาชดใช้ค่าเสียหาย “ผมโชคดีที่ไม่เป็นอะไรมาก ผมว่า ถ้าชนตรงที่นั่งด้านข้างตรง ๆ ผมว่า ไม่เหลือ แต่ประตูฝั่งผมเปิดไม่ได้ ต้องไปลงอีกฝั่ง” “หลังเกิดเหตุการณ์ ผมกลัวนะ ขับรถไม่ได้เป็นเดือน มือสั่น ผมไม่เคย เป็นแบบนีม้ าก่อน ชนเสียงดังมาก รถก็ถกู ดัน ดีไม่มรี ถมาชนซ�ำ้ กระเด็นไปไกลมาก” “เราโดนชนจนหลงทิศ ลงรถมางงเลย วันนั้น ถ้าผมรับคนไข้ คงจะมีคนเจ็บ มากกว่า ดูสภาพรถแล้ว ไม่น่ารอดเพราะชนกลางคันพอดี” “ถ้าโดนชนหน้ารถ ผมว่า ถ้าไม่ตาย ป่านนี้ก็ยังไม่ออกจากโรงพยาบาลมั๊ง เพื่อนที่ไปรับผมยังบอกว่า โชคดีมากที่รอด ถือว่าฟาดเคราะห์” เขาบอกว่า การเข้าเวร 8 ชั่วโมงของเขา จะได้ค่าจ้างเวรละ 300 บาท และ มีการท�ำประกันโดยการผลักดันของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งถ้าถามว่า คุ้มหรือไม่ ค�ำตอบของเขาคือ “คิดยังไงก็ไม่คุ้ม หากมีอุบัติเหตุขึ้นมา” อย่างไรก็ตาม หลังเหตุการณ์ ก็มีความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่พอจะท�ำให้ เขาอุ่นใจได้คือ โรงพยาบาลมีการจ้างพนักงานขับรถขึ้นอีก 1 คน รวมทั้งหมดเป็น 3 คน เพื่อรองรับภารกิจที่เพิ่มขึ้น

20

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


เขาผ่านความรู้สึก จากเหตุการณ์ครั้งนั้น แว่บหนึ่งของความคิดเขาคือ อยากลาออกเหมือนกัน ทัง้ ที่ 5 ปีทผี่ า่ นมา เขาไม่เคยขาด ลา มาสาย แม้แต่ครัง้ เดียว “ตอนนี้ก็เฉย ๆ แล้ว แรก ๆ ก็ซึม ๆ อยู่นะ กลัวมาก เมื่อก่อน เวรผมขับรถ ผมยังให้น้องขึ้นเวรแทน แต่ตอนนี้ ยังไง ต่อไปก็ยังคงขับรถเหมือนเดิม” ขจรศักดิ์เผยว่า หากเป็นไปได้ อยากให้มีสวัสดิการให้พนักงานขับรถบ้าง เพราะขับรถ ถือว่าเสี่ยง ไม่รู้ว่า ขับรถวันไหนจะแจ๊กพ็อต มีอุบัติเหตุอีก “ตอนนี้ ผมกลายเป็นคนคิดมาก ระแวงไปหมด แต่กท็ ำ� ให้เราเป็นคนรอบคอบ มากขึ้น ต้องคอยเช็กอุปกรณ์ทุกอย่างของรถ เพราะอย่างน้อย เป็นการป้องกันเหตุ จากรถเราไปในตัว” ขจรศักดิ์กล่าวปิดท้าย ....................................

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

21



เสียงเพรียกจากนางฟ้า โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก.... ทุกเช้าในห้องกายภาพบ�ำบัด ของโรงพยาบาล จะเห็นผู้ป่วยหญิงวัยกลาง คนผู้หนึ่ง เข้ารับการบ�ำบัดจากนักกายภาพบ�ำบัดที่ช่วยเหลือเธอ ซึ่งเธอต้องมา เป็นประจ�ำทุกเช้าเพื่อเยียวยาอาการอัมพาตให้ดีขึ้น พัชรี อุดมา หรือมี่ คือชื่อของเธอที่มีอดีตเป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาล แม่สอด จังหวัดตาก ด้วยวัยเพียง 40 ปี... ชีวติ ของเธอน่าจะไปไกลกว่านีท้ งั้ ในเรือ่ งความก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน และครอบครัว ซึ่งหากไม่เกิดอุบัติเหตุจากการรีเฟอร์ผู้ป่วย ในเช้า วันที่ 3 มกราคม 2555 ที่ท�ำให้เธอมีสภาพไม่ต่างกับ “ตายทั้งเป็น” ด้วยโรคอัมพาต เช่นปัจจุบัน พัชรีเล่าว่า หลังจากที่เธอเข้าเวรรีเฟอร์ผู้ป่วยจากโรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก กลางดึกวันที่ 2 มกราคม 2555 เพื่อน�ำส่งผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาล มหาราษฎร์ จังหวัดเชียงใหม่ ...ทุกอย่างก็ดูราบรื่น ไม่มีสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด คนไข้ที่เธอต้องน�ำส่งในวันนั้น มีอาการปวดท้องด้านขวาอย่างรุนแรง ประกอบกับมีภาวะความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ซึง่ นัน่ ท�ำให้ตอ้ งมีการประสานงาน กันอย่างใกล้ชิดในการน�ำส่งผู้ป่วยของทั้ง 2 โรงพยาบาล เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

23


พัชรี อุดมา

“พี่ไปช้า ๆ ก็ได้นะ หมอกหนาแบบนี้ อันตรายอ่ะ” เธอก�ำชับกับพนักงาน ขับรถเป็นระยะ ขณะที่แดดเช้า เริ่มส่องแสงแรงขึ้น ซึ่งท�ำให้ปริมาณหมอก ปกคลุม จนทัศนวิสัยแทบจะมองไม่เห็น แต่ก็ยังน�ำส่งผู้ป่วยได้ กระทั่งขากลับ ซึ่งเธอย้ายมานั่งด้านหน้าระหว่างคนขับและน้องพยาบาล ที่อยู่เบาะด้านซ้าย และเหลือระยะทางอีกเพียง 10 กม.ถึงอ�ำเภอเถิน สิ่งไม่คาดฝัน ก็เกิดขึ้น... พัชรีขณะนั้น อยู่ในภวังค์ครึ่งหลับครึ่งตื่น ตกใจเสียงเบรกและลืมตาขึ้นมา เห็นภาพคนขับหักพวงมาลัยแบบ 90 องศา โดยมีเกาะกลางถนน ขวางทะมึน อยู่ด้านหน้า ก่อนที่รถจะพลิกคว�่ำ ตลบหลายรอบ สิ่ ง ที่ เ ธอท� ำ ได้ มี เ พี ย ง ก้ ม ศี ร ษะ จั บ เบาะด้ า นข้ า ง เพื่ อ ป้ อ งกั น มิ ใ ห้ มี การกระแทก แต่ปรากฎว่า เมื่อรถชนเกาะกลาง ท�ำให้ศีรษะเธอ สะบัดมาด้านหลัง คอไปกระแทกกับกระจกทีก่ นั้ ระหว่างข้างหน้าและข้างหลัง และท�ำให้เธอกระเด็นมา ด้านหลังรถบริเวณบันไดด้านข้างของรถ เนื่องจากเธอไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย 24

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


วินาทีนั้น พัชรียังมีสติ เห็นภาพทีมกู้ชีพเข้ามาช่วยเหลือ เธอพยายามใช้ มือขวาเพื่อโหนตัวเองขึ้นมา แต่ปรากฏว่า มือไม่มีแรง ไม่สามารถบังคับมือได้ ซึ่ง ในเบื้องต้น เธอเข้าใจว่า อาจเป็นเพราะแขนหัก... เธอพยายามตะโกนขอความช่วยเหลือ ก่อนทีท่ มี กูช้ พี จะเข้ามาให้ความช่วยเหลือ จับเธอบล็อกคอ ให้ยากระตุ้นความดันเพราะความดันเธอ ตกไปมาก และน�ำส่ง โรงพยาบาลเถิน จังหวัดล�ำปาง ท่ามกลางสถานการณ์นาทีชีวิต แม้เธอสามารถตอบค�ำถาม ชื่อ นามสกุลให้กับหน่วยกู้ภัยได้ แต่ถ้าใคร เห็นสภาพของเธอวันนั้น อาจจะคิดไปคนละอย่าง เมื่อภาพของพัชรีคือ อยู่ในสภาพ เหมือนครึ่งหลับครึ่งตื่น และมีอาการเบลอไปตลอดทาง เมื่ อถึ ง โรงพยาบาลเถิน จัง หวัดล�ำปาง และน�ำเธอเข้าเครื่องเอ็กซเรย์ จึงได้พบว่า อาการเธอหนักกว่าที่คิดเนื่องจากพบกระดูกต้นคอหัก 2 ท่อน ท�ำให้ มีอาการแขนขา อ่อนแรง ซึ่งต้องผ่านตัดด่วน แต่เนื่องจากความดันโลหิตของเธอต�่ำมาก หมอจึงจ�ำเป็นต้องให้ยากระตุ้น ความดัน ก่อนจะส่งตัวเธอไปที่โรงพยาบาลล�ำปาง โดยที่หมอศัลยกรรมประสาท ที่นั่น ได้เตรียมรับมือผ่าตัดเธอแล้ว ซึ่งใช้เวลารีเฟอร์อีกชั่วโมงเศษ

รถพยาบาล รพ.แม่สอด จ.ตาก เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

25


ก่อนการผ่าตัด ผูเ้ ป็นพ่อของพัชรีมาถึงโรงพยาบาลและได้คยุ กับหมอถึงความ เสี่ยงของเธอ ซึ่งในที่สุดอันเกิดจากกระดูกต้นคอหัก 2 ท่อน ท�ำให้มีอาการแขน ขา หมดแรง แต่สุดท้าย จ�ำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อดึงกระดูกต้นคอขึ้นมา แต่ก็มีความเสี่ยง เช่น อาจจะมีปัญหาเอาท่อช่วยหายใจออกไม่ได้ ซึ่งท�ำให้คนไข้มีอาการแทรกซ้อน และอาจมีภาวะความดันโลหิตต�่ำ กระทั่งเสียชีวิต แต่ทา้ ยทีส่ ดุ พ่อเธอก็อนุญาตให้ผา่ ตัด ซึง่ เธอใช้เวลา 2 ชัว่ โมงกว่าในการผ่าตัด ยื้อชีวิตครั้งนี้ และทันทีทฟี่ น้ื หมอก็ทดสอบเธอโดยเริม่ จากการหยิกต้นแขนเธอ ซึง่ เธอเอง ก็ มี ก ารตอบสนองโดยการสบั ด แขน ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น สั ญ ญานที่ ดี ใ นการตอบรั บ ของร่างกาย ขณะเดียวกัน หมอจ�ำเป็นต้องให้มอร์ฟนี ทุก 4 ชัว่ โมงเพือ่ ป้องการการเจ็บปวด เนื่องจากแผลของเธอนั้น ค่อนข้างฉกรรจ์ เพราะนอกจากกระดูกต้นคอหักแล้ว ยังพบว่า มีแผลเปิดบริเวณหนังศีรษะ และกระโหลกด้านซ้ายร้าว เธอเล่าว่า หลังจากผ่าตัด คิดว่า ไม่รอดชีวิต เนื่องจากมีอาการเบลอตลอด ทั้งที่เห็นญาติมาเยี่ยมอยู่รอบๆ เตียง โดยสิ่งหนึ่งที่เธอฝืนพูดกับผู้เป็นพ่อคือ “พ่อ หนูไม่เป็นไร เป็นได้ เดี๋ยวก็ หายได้” ความรู ้ สึ ก เธออาจต้ อ งการให้ ผู ้ ที่ ม าเยี่ ย ม ไม่ ต ้ อ งคิ ด มาก แต่ ส� ำ หรั บ ผู้เป็นพ่อแล้ว แทบจะเบือนหน้าหนี เนื่องจากสะกดน�้ำตาไว้ไม่อยู่เมื่อเห็นสภาพ ลูกสาวที่มีสายระโยงระยางเต็มร่างกาย หลั ง ผ่ า ตั ด และพั ก ฟื ้ น ระยะหนึ่ ง หมอเจ้ า ของคนไข้ บ อกกั บ เธอขณะ

26

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


มาตรวจอาการและแจ้งเธอว่า กระดูกต้นคอหักและทับเส้นประสาท ความเป็นพยาบาลท�ำให้เธอทราบในทันทีว่า โอกาสที่เธอจะได้กลับมาเดิน หรือใช้ชีวิตปกติ แทบเป็นศูนย์แล้ว เนื่องจาก ค�ำว่าทับเส้นประสาท หมายถึง ช่วงล่างจะเป็นอัมพาตทั้งหมด โชคยังเข้าข้างเธออยูบ่ า้ งเนือ่ งจากการทับเส้นประสาททีเ่ ธออยูน่ นั้ เป็นการทับ แบบไม่สมบูรณ์ คือ มีบางส่วนทีส่ ญ ู เสียไป ขณะทีบ่ างส่วนยังตอบสนองอยู่ เนือ่ งจาก หมอทดสอบเธอว่า มีการทดสอบว่า มีการตอบสนองที่ดี เธอบอกว่า วินาทีแรกที่ทราบว่าเป็นอัมพาต คือ จุกจน พูดอะไรไม่ออก ก่อนที่น�้ำตาจะไหลอาบแก้ม “ตอนนัน้ ทีห่ มอมาคุยเรือ่ งอาการ มีพอ่ อยูด่ ว้ ย พ่อก็รอ้ งไห้ไปกับเรา แต่สงิ่ ทีร่ ู้ และมั่นใจว่าตัวเองเป็นคือ รู้ตั้งแต่อยู่ในรถที่เห็นตัวเองนอนอยู่ แต่ช่วงล่างไม่รู้สึก อะไรเลย เหมือนเราลอยอยู่ในน�้ำตลอดเวลา แต่เพราะความที่เราเป็นพยาบาล เราก็พอรู้อะไรบ้างว่า น่าจะมีความผิดปกติในช่วงนั้น แต่ก็ยังไม่มั่นใจ จนกระทั่ง หมอมาคุยด้วย “พอหมออธิบายจบ เราก็รอ้ งไห้ออกมา หมอบอกไม่เป็นไร บอกว่า หลังจาก ผ่าตัดเสร็จ ค่อยมาลองหาวิธีดูกันอีกทีเช่น ถ้าท�ำกายภาพเสร็จแล้ว มันจะมีอะไร ดีขึ้นมั๊ย ซึ่งท�ำให้เธอคลายกังวลได้ในระดับหนึ่ง” เธอบอกว่า แม้สิ่งที่หมอบอกจะท�ำให้เธอมีความหวัง แต่นั่นก็ผ่านมาแล้วถึง 3 ปี โดยที่ทุกวันนี้ เธอยังนั่งบนรถเข็นเป็นหลัก และมีชีวิตอยู่ได้เพียงแค่ความหวัง ซึ่งก็คือ ลูกสาว และผู้เป็นพ่อซึ่งเกษียนอายุราชการไปแล้ว

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

27


“พ่อจะอยูย่ งั ไง ลูกจะอยูย่ งั ไง ทุกอย่างมันเข้ามาจนเราไม่ตงั้ ตัว ความเจ็บป่วย ของตัวเองเวลานั้น มันสุด ๆ มันบอกไม่ถูก ไม่รู้จะพูดยังไง” “ตอนนัน้ เราก็พดู ได้ แต่พยายามไม่พดู ไม่อยากให้ใครรูว้ า่ เราแย่แค่ไหน เวลา ที่มีใครมาเยี่ยม ก็พยายามลืมตา พูดคุย เหมือนไม่มีอะไร ท�ำให้ทุกคนได้เห็นว่า เรา ไม่เป็นอะไรมาก แค่เจ็บป่วยจากรถคว�่ำเท่านั้น” พัชรีบอกว่า สิ่งที่ท�ำให้เธอเข้มแข็งและพยายามกลับมาต่อสู้กับโชคชะตา คือ ลูก “แม่เจ็บมัย๊ ” คือสิง่ ทีล่ กู สาวเธอในวัย 8 ขวบ กระซิบกับเธอพร้อมกับจับมือเธอ เพื่อสื่อสารสายใยระหว่างแม่กับลูก ในขณะที่เธอเองยังไม่ได้พูดอะไรตอบกลับลูก แม้แต่ค�ำเดียว “เราจะเป็นอะไรไม่ได้ ลูกจะอยู่ยังไง ล�ำพังการเป็นผู้ที่เลี้ยงลูกคนเดียว มันก็ท�ำร้ายความรู้สึกลูกแล้ว และถ้าแม่ซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัว เป็นอะไร ขึ้นมาอีก จะท�ำยังไง” ในฐานะเสาหลักของครอบครัว เธอจึงอยู่ในสภาวะที่ “ล้มไม่ได้” ในเมื่อมี 6 ชีวิตที่รอเธออยู่และเป็น 6 ชีวิตที่เธอต้องรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายทุกอย่าง หลังผ่าตัด มีรุ่นน้องพยาบาลอยากให้เธอไปท�ำกายภาพที่โรงพยาบาล ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีความพร้อมในเรื่องบุคลากรทางการแพทย์และเครื่องมือ มากกว่า แต่เธอก็ตัดสินใจกลับบ้าน เนื่องจากกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะ เป็นค่ากิน ค่าเช่าบ้าน ฯลฯ สุดท้ายเธอกลับมาพักฟื้นที่โรงพยาบาลแม่สอด ซึ่งอยู่มาตั้งแต่ 17 มกราคม 2555 ซึ่งแม้จะมีความพร้อมไม่เท่าเชียงใหม่ แต่ก็อยู่ท่ามกลางญาติ มิตร รวมถึง เพื่อนพยาบาลที่โรงพยาบาลแม่สอด 28

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


ความโชคร้ายของเธอมิได้หมดแค่นั้น เมื่อภายหลังพบว่า เธอมีแผลกดทับ ที่บริเวณก้นกบ เป็นแผลที่เน่าจากภายในร่างกายขนาด 10*10 เซนติเมตรซึ่งถือว่า ใหญ่มาก และท�ำให้เธอต้องรักษาในเรื่องนี้อีกโรค โชคยังเป็นของเธอ เมื่อโรงพยาบาลแม่สอด ให้เธอย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านพัก ของโรงพยาบาล ซึง่ อย่างน้อยก็เป็นลดรายจ่ายไปพอสมควร ตัง้ แต่เมือ่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 รวมถึงรับน้องสาวเธอเข้าท�ำงานทีโ่ รงพยาบาล ซึง่ เป็นการแบ่งเบาภาระลงได้ จ�ำนวนหนึ่ง รวมถึงการได้มาท�ำกายภาพบ�ำบัด “เรายังมีสถานะเป็นข้าราชการพยาบาล แต่ค�ำถามคือ ถ้าเราไม่เป็น ข้าราชการ หรือวันใดวันหนึ่ง โรงพยาบาลไม่ให้เราอยู่ หรือให้เราออกจากราชการ แล้วเราจะท�ำยังไง” กรณีของพัชรีแม้จะท�ำให้เธอพิการ แต่ก็ยังมีธารน�้ำใจหลั่งไหลทั่วสารทิศ ส่งมาถึงเธอในรูปของตัวเงิน รวมถึงได้ชดเชยประกันอุบตั เิ หตุ รวมถึงมีหน่วยราชการ หลายแห่ง โอนเงินให้ความช่วยเหลือ เป็นจ�ำนวนเงิน เกือบ 6 แสนแล้วก็ตาม แต่นนั่ ก็เปรียบเทียบไม่ได้กับสิ่งที่เธอต้องเป็นไปในขณะนี้ อันเกิดจากการท�ำงานในหน้าที่ “ถามว่า คุม้ ไม่ทไี่ ด้เงินแล้วเป็นแบบนี้ ตอบได้เลยว่ายังไงก็ไม่คมุ้ เราเสียดาย ความรู้ของเรา แทนที่จะได้ไปช่วยคนอื่น กลับต้องมาเป็นผู้ป่วยซะเอง” “เสียดายเวลา เสียดายโอกาส ไม่รู้จะพูดยังไงแล้ว” น�้ำเสียงเธอสั่นรัว สลับ กับการถอนหายใจ ในความเห็นของเธอคือ รัฐน่าจะมีแนวทางที่ชัดเจนในออกระเบียบหรือมี หลักประกันส�ำหรับข้าราชการหรือบุคลากรทางการแพทย์ทตี่ อ้ งไปกับรถรีเฟอร์ กรณี เกิดอุบัติเหตุหรือเสียชีวิต

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

29


เช่น ในกรณีการรีเฟอร์ผู้ป่วย อาจมีการก�ำหนดว่าต้องมีคนขับรถ 2 คน กรณีที่เป็นในยามวิกาล หรือระยะทางที่ไกลมาก หรือในกรณีมีอุบัติเหตุ ก็น่าจะมี การชดเชยรายได้ หรืออื่นๆ “อยากให้เขียนเป็นนโยบายเลยว่า กรณีมีอุบัติเหตุอย่างเรา การช่วยเหลือ จริง ๆ มีอะไรบ้าง อายุงานกีป่ ี ได้สทิ ธิเ์ ท่าไหร่ อะไรบ้าง จะดูแลกันอย่างไร เพราะฉะนัน้ ก็อยากให้มีนโยบายในเรื่องนี้ชัดๆ มาเลย และถือเป็นหลักปฏิบัติกันเลย” เธอเล่าว่า ตั้งแต่มีอุบัติเหตุ หน่วยงานรัฐได้เข้ามาช่วยหลายอย่าง เช่น มีเงิน ประกันของอุบัติเหตุรถยนต์ จ่ายให้ 2.8 แสนบาท สมทบกับเงินของโรงพยาบาล อีก 1 เท่า คือ 2.8 แสนบาท รวมถึงมี หน่วยงานราชการอีกหลายแห่งก็โอนเงิน ให้ความช่วยเหลือ “เราไม่มโี อกาสหายแล้ว เพราะหมอก็บอกว่า คงต้องนัง่ รถเข็นไปตลอดชีวติ แต่ก็พยายามที่จะท�ำกายภาพให้มาก ให้ร่ายกายกลับมา อย่างน้อยแค่ทรงตัวนั่งได้ โดยที่ความดันยังไม่ตก ไม่หน้ามือ วูบ เผื่อว่า ถ้าวันหนึ่ง สามารถไปนั่งได้นาน ๆ เราก็อยากจะกลับไปท�ำงานตรงส่วนอื่นในโรงพยาบาล เช่น ท�ำงานด้านเอกสาร “ตอนนี้ แค่ยนื ก็ยนื ไม่ได้ นัง่ ทรงตัวด้วยตัวเองก็แค่แป๊ปเดียว ไม่เกิน 10 นาที คือมันไม่มีความรู้สึกเลย แต่ถ้านั่งนาน ๆ ความดันจะตกไปเรื่อย ๆ “เธอสะท้อน สภาพร่างกายเธอในขณะนี้ ก่อนจะเล่าต่อว่า ตั้งแต่ราวนมลงมา ไม่มีความรู้สึกใดๆ ไม่ ร้อน ไม่หนาว ไม่เจ็บปวด ไม่มีเลย แต่เวลามีคนมาจับก็ยังรู้นะ รับสัมผัสได้ แขนมีแรงทั้ง 2 ข้าง หลังจากท�ำกายภาพ 3 ปี แต่มือข้างซ้ายแบได้ ก�ำไม่ได้ มือข้างขวา ก�ำได้ แบไม่ได้ “ข้างขวา ลักษณะเหมือนมือไก่ ทีง่ มุ้ ตลอดเวลา คือหงิกตลอดเวลา แบบไม่ออก แต่ข้างซ้ายแบบไม่ออก” 30

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


“ยังมีเรื่องดีคือมือขวา ยังขยับได้ ใช้กิจวัตรประจ�ำวันได้ เช่น จับช้อน กินข้าวเอง ใช้ช้อนสอดระหว่างหัวแม่มือกับมือที่ก�ำหงิก เขียนหนังสือโดยใช้มือ 2 ข้างประกบกันเขียนได้ แปรงฟันได้ อะไรที่ไม่หนักมากๆ ท�ำได้ แต่จับได้แป๊บเดียว ก็หลุดก็ถือว่า ท�ำได้เยอะขึ้น” พัชรีบอกอีกว่า 3 ปีตั้งแต่เกิดเรื่อง โลกของเธอคือ โรงพยาบาลอย่างเดียว เพิง่ จะมีสสี นั ตัง้ แต่ครึง่ หลังของปี 2 โดยเริม่ ทีจ่ ะลงรถเข็น ท�ำกายภาพ และไปบ้านพัก เป็นบางครั้งได้ “ชีวิตทุกวันนี้ของเรา ก็มีโอกาสไปเจออะไรข้างนอกบ้าง เช่นที่แม่สอดจะมี โลตัส มีก็ชอบไปที่นี่ มันคึกคักดี มีขอไปกับญาติๆ หมอก็บอก ไปเลย” “เราก็ นั่ ง รถเข็ น ธรรมดาไปเที่ ย ว ไปวั ด ไปท� ำ บุ ญ หมอบอกเราจะได้ ไม่เครียดมาก เปิดหู เปิดตาไปในตัว” เธอผ่านความรู้สึกอีกว่า ความหวังของเธอขณะนี้คือ สามารถกลับไปท�ำงาน ได้อีกรอบ โดยท�ำหน้าที่อะไรก็ได้ แต่ขอให้ได้ท�ำงาน “จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ถ้าถามว่า ท�ำใจยังไง ตอบเลยว่า ตอนแรก ท�ำใจยาก โดยเฉพาะ 4 เดือนแรก ร้องไห้ตลอด ร้องทุกวัน เวลาไม่มีใครอยู่ก็ร้อง แต่พอมีคนเข้ามา ก็ต้องรีบเช็ดน�้ำตา คิดอย่างเดียวว่า เราต้องมีชีวิตอยู่ อยู่ด้วยลูก อยู่ด้วยพ่อ ด้วยความเป็นห่วง เพราะถ้าเราท้อ คนข้าง ๆ รอบตัวเราก็จะท้อตามเราไปด้วย ไหนจะพ่อ ไหนจะลูก ทุกคนก็จะท้อไปกับเรา ๆ ก็ยิ่งจะเฉาเหมือนต้นไม้ไปเรื่อย ๆ เธอบอกอีกว่า เรื่องการสู้ชีวิตนั้น เธอมีการคุยกับลูกตลอดเวลา “เราบอกว่า แม่เดินไม่ได้แล้วนะ หนูขยันเรียนมาก ๆ โตไปจะได้ทำ� งานสบาย เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

31


ถ้าหนูไม่ขยันเรียน ไม่เรียนหนังสือ ท�ำงานได้แค่รับจ้าง วันไหนรับจ้างเขาได้ ก็มีตังค์ วันไหนรับจ้างเขาไม่ได้กไ็ ม่มตี งั ค์ให้ กินก็ไม่ได้กนิ เทีย่ วก็ไม่ได้เทีย่ ว มีเ่ อา สิง่ ทีล่ กู อยากได้ มาเป็นค�ำอธิบายส�ำหรับเขา” “ณ เวลานี้ โรงพยาบาลยังดูแลมี่อยู่ แต่มีจะมีหลักประกันอะไรว่า อีก 3 ปี 5 ปี มี่ยังเป็นคนของรัฐอยู่หรือไม่ หรือถ้ามีวันหนึ่งโรงพยาบาล บอกว่า ผมต้อง ให้คุณออกนะ แล้วเราจะท�ำยังไง เพราะคุณท�ำงานไม่ได้แล้ว และถ้าถึงเวลานั้น เรามีอะไรล่ะ “มี่ไม่อยากออกไปเป็นภาระของสังคมซึ่งนี่คือสิ่งที่ เราอยากเรียกร้อง ให้หน่วยงานภาครัฐมาดูแลเรื่องนี้บ้าง ไม่ใช่ปล่อยไปตามยถากรรม” เธอสะท้อนความจริงที่เกิดขึ้นกับตนเองว่า ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ภาครัฐ เข้ามาช่วยเหลือกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือทุพลภาพ “หน้าที่อย่างเรา มีความเสี่ยง แต่ ดูเหมือนภาครัฐยังไม่ให้ความส�ำคัญ กับบุคลากรทางการแพทย์เหล่านี้เท่าไหร่” เธอระบุ “เราขอเรียกร้องว่า 1.การรีเฟอร์ ถ้าเป็นในยามวิกาล หรือระยะทางทีไ่ กลมาก ให้ใช้คนขับรถมากกว่า 1 คน เพื่อที่ว่า 1 คนไป 1 คนกลับ อันตรายที่อาจเกิดขึ้น ก็น้อยลง” “2.อยากให้เขียนเป็นนโยบายเลยว่า กรณีมีอุบัติเหตุอย่างเรา การช่วยเหลือ จริง ๆ มีอะไรบ้าง อายุงานกี่ปี ได้สิทธิ์เท่าไหร่ อะไรบ้าง จะดูแลกันอย่างไร และ ถือเป็นหลักปฏิบัติกันเลย” อธิบายให้เห็นภาพคือ กรณี บาดเจ็บหรือเสียชีวิต จะให้ความช่วยเหลือ อย่างไร หรืออัมพาตแบบเธอ รัฐจะให้การช่วยเหลืออย่างไร แม้แต่การบาดเจ็บ

32

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


เล็กน้อย ๆ หรือการรีเฟอร์แต่ละครั้ง อยากให้มีอะไรเป็นหลักประกัน “ทีผ่ า่ นมาไม่มอี ะไรเลย เหมือนทีช่ าวบ้านพูดเรือ่ งนีว้ า่ มันเป๋นเหวนก�ำเนอะ ไปช่วยคนอื่น แต่ตัวเองต้องมานอนอยู่จะเอี้ย เป็นค�ำพูดลอยๆ เหมือนลม” “มี่ออกไปเป็นคนพิการคนหนึ่ง เป็นภาระของสังคมคนหนึ่ง แล้วคนที่อยู่ รอบข้างตัวมี่ละ จะเป็นยังไง จะอยู่กันยังไง” เธอกล่าว “อย่างน้องพยาบาลที่ร้อยเอ็ด ที่รถคว�่ำเสียชีวิต ทั้งที่น้องออกไปเพื่อช่วย คนไข้ ณ เวลานัน้ ทุกคนให้ความส�ำคัญ ทุกคนออกมาแสดงความเสียใจกับครอบครัว แต่เมื่อเวลาผ่านไปจะมีสักกี่คนที่รู้สึกเสียใจกับคนๆ นั้น “ยิ่งเวลาผ่านไป 1 ปี ก็อาจจะเหลือแค่คนในครอบครัวเท่านั้นที่ยังจ�ำได้ ยังมีความรู้สึกเสียใจ ซึ่งมีอยากจะสะท้อนเรื่องจริงเหล่านี้ กลับไปให้กับผู้ใหญ่ ได้รับทราบความรู้สึกของเราบ้างว่า เป็นอย่างไร เพราะหน้าที่อย่างพวกเราก็มี ความส�ำคัญไม่แพ้ทหาร ต�ำรวจ ทีอ่ าจจะมีสวัสดิการช่วยเหลือชดเชยต่าง ๆ แต่ของเรา ไม่มีเลย “ตอนนีต้ อ้ งเรียกว่า อนาคตเราจบแล้วส�ำหรับความก้าวหน้าในหน้าทีก่ ารงาน เท่ากับเราหมดโอกาสไปทัง้ ชีวติ แล้ว ชีวติ ทีเ่ หลือตอนนี้ เราต้องมานัง่ ดูแลชีวติ เราเอง เป็นภาระของครอบครัว แทนที่จะเป็นเสาหลัก เพราะครอบครัวก็ต้องมาดูเรา” เธอกล่าวทิ้งท้าย

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

33


......ชีวิตนักรบชุดขาว ชีวิตหนึ่ง สองมือนี้ เคยจับเข็มฉีดยา ช่วยเหลือผู้คนมากมาย ......ทุกคนบอกว่า อาชีพของเธอคือนางฟ้า ใส่ชุดขาว ......วันนี้ แม้จะตักข้าวใส่ปาก ยังยากเหลือเกิน

พัชรี อุดมา

34

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


ชีวิตพลิกผันในชั่วข้ามคืน “หวี หว่อ...... หวี หว่อ......” เสียงไซเรนของรถพยาบาล ดังโหยหวนมาได้ยนิ มาแต่ไกล ก่อนจะเลีย้ วเข้าสู่ ประตูโรงพยาบาลค�ำม่วง อ�ำเภอค�ำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในอีกไม่กี่อึดใจ สุธาสินี โง่นค�ำ อายุ 44 ปี พยาบาลวิชาชีพช�ำนาญการ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ในบริเวณโรงพยาบาล เงยหน้าขึ้นมองแวบเดียว ก่อนจะละสายตา กลับมาสนใจ ที่งานเอกสารเบื้องหน้า แม้จะไม่ได้มองสิ่งที่เกิดขึ้น แต่เธอก็จินตนาการภาพการล�ำเลียงผู้ป่วย ออกเป็นฉาก ๆ และความทรงจ�ำ “หลอน” ยังคงวนเวียนกับเธอ ...เลือดท่วม ....ผู้บาดเจ็บร้องครวญคราง ...หน้ากากออกซิเจนถูกครอบไว้ ที่ใบหน้าผู้บาดเจ็บ เจ้าหน้าที่พยาบาล ท�ำงานแข่งกับเวลาเร่งยื้อชีวิตผู้ป่วย ก่อนจะถึงมือแพทย์ ฯลฯ ความทรงจ�ำต่างๆ ของเธอผุดพรายอย่างค่อยๆ ชัดขึ้น ชัดขึ้น เนื่องเพราะ เธอเองก็เคยประสบเหตุเช่นนี้เหมือนกัน......................................

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

35


สุธาสินี โง่นค�ำ

11 พฤศจิกายน 2555 ชือ่ ของสุธาสินี มีชอื่ เป็นพยาบาลขึน้ เวรรีเฟอร์ ผูป้ ว่ ย ผูบ้ าดเจ็บ โรงพยาบาล ค�ำม่วง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เธอต้องสวมบทพยาบาลเวรที่บางครั้งต้องท�ำหน้าที่ แทนแพทย์ เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลอยู่ในเขตชุมชนห่างไกลจังหวัด และเป็น เขตรอยต่อจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก 30 เตียง เวรรีเฟอร์ผู้ป่วย 4 เคส ซึ่งหนึ่งเคสแรกเป็นหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งไปคลอดที่ โรงพยาบาลสมเด็จ ใกล้กับบ้านตัวเอง น�ำผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลค�ำม่วงเวลา 10.00 น. ถึงโรงพยาบาลสมเด็จเวลาประมาณ 10.45น. เพื่อส่งหญิงตั้งครรภ์ เพื่อคลอดที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน และอีก 3 เคสที่เหลือส่งต่อโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ พอถึงที่เกิดเหตุ อีกไม่กี่นาทีจะถึงโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เหตุการณ์ไม่คาดฝัน ก็เกิดขึ้นเมื่อมีรถมอเตอร์ไซค์คันหนึ่ง ตัดหน้ารถรีเฟอร์แบบกระชั้นชิด 36

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


สุธาสินีซึ่งขณะนั้นอยู่ด้านหลัง พร้อมกับผู้ป่วย 3 คน และญาติผู้ป่วยอีก 2 คน และลูกสาวเธอซึ่งติดรถไปด้วยล้มระเนระนาด จากการเบรกอย่างแรง และ ไหลมานอนกองรวมกันอยู่ด้านหลังรถ ซึ่งโชคยังดีที่ไม่มีใครกระเด็นออกไปนอกรถ ...หลังเหตุการณ์สงบ มอเตอร์ไซค์ต้นเหตุ ขาด 2 ท่อน ขณะที่ผู้ขับขี่ มอเตอร์ไซค์เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ ส่วนรถรีเฟอร์ ก็มีทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งมีปริมาณผลเลือดหรือความเข้มข้นของเลือดแค่ 12-13 เปอร์เซ็นต์ เสียชีวิตทันที เพราะโดนกระแทก รวมถึงญาติผู้ป่วยรายหนึ่ง ก็เสียชีวิตที่โรงพยาบาล ....ส่วนรถรีเฟอร์ มีสภาพพังยับเยินไม่สามารถซ่อมได้จากการประเมินสภาพ รถแล้ว สุ ธ าสิ นี ไม่ แ น่ ใ จว่ า เธอสลบหรื อ ไม่ แต่ พ ลั น ที่ ส ติ สั ม ปชั ญ ญะกลั บ มา ภาพที่เธอเห็นคือ ความโกลาหนรอบข้าง ทั้งจากรถพยาบาล และเจ้าหน้าที่ อาสากู้ชีพ กู้ภัยที่รายล้อมตัวเธอ ....ความรู้สึกแรกที่เธอคิดได้คือ เธอนึกถึงลูกสาวที่โดยสารมากับรถ ที่ยัง นอนสลบอยู่ข้าง ๆ ก่อนที่ลูกจะฟื้นขึ้นมาหลังจากได้รับการปฐมพยาบาล และเมื่อเห็นว่า ลูกสาวปลอดภัย เธอจึงเริ่มกวาดสายตาไปรอบ ๆ รถ ซึ่ง ภาพที่เห็นคือ ผู้ป่วยบางคน มีอาการเจ็บเพิ่ม ขณะที่ขาของเธอ มีอาการบวมมาก ไปอยู่บนอกคนไข้ที่เป็นไส้ติ่ง เธอพยายามยกขาออก แต่ปรากฏว่ายกไม่ได้ และไม่มีความรู้สึกใด ๆ ทั้งสิ้น ใจเธอคิดเพียงขาหักเท่านั้น ก่อนที่เธอจะถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง โดยรถกู้ชีพ เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

37


เมื่อถึงโรงพยาบาล เธอถูกน�ำไปเอ็กซเรย์ และอัลตร้าซาวด์ทั้งหมด ซึ่งพบว่า อาการของเธอคือ อาจจะมีเส้นเอ็นฉีกขาด หรือกระดูกแตก และจะต้องผ่าตัด ซึ่งนั่นหมายความว่า เธอต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.คุ้มครองอุบัติเหตุ อีก 10,000-15,000 บาท เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลเอกชน เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย เธอบอกโรงพยาบาลแห่งนั้นว่า จะขอย้าย ไปรักษาที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เธอต้องเอ็กซเรย์ซ�้ำ ซึ่งพบว่า มีกระดูกขาซ้าย 2 ชิ้น หักบริเวณข้อเข่าด้านข้างและหน้าแข้งตรงที่เป็นกระดูกชิ้นใหญ่ ซึ่งแพทย์บอกว่า กระดูกหักเฉยๆ ต้องใส่เฝือกประมาณเดือนครึ่งถึงสองเดือน เธอบอกว่า ภายหลังที่รักษาอยู่ 1 สัปดาห์ มีการเอ็กซเรย์ซ�้ำ พบว่า กระดูก ประสานได้ดี ซึ่งท�ำให้เธอตัดสินใจออกจากโรงพยาบาลและกลับมาพักฟื้นที่บ้าน เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย แต่กลายเป็นว่า อาการปวดจากแผลไม่หาย จนเธอต้องไป เอ็กซเรย์ซ�้ำที่โรงพยาบาลต้นสังกัด ซึ่งพบว่า มีอาการหนักกว่าที่คิด นั่นคือ พบว่า นอกจากเส้นเอ็นฉีกขาดบริเวณสะบ้าแล้ว ยังพบว่า มีกระดูก แตกใต้สะบ้าลงไป และเป็นการแตกป่นเกือบ 30 ชิ้น ทั้งที่การเอ็กซเรย์ก่อนหน้านี้ ตรวจไม่พบแต่อย่างใด 38

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


สุธาสินีเล่าว่า เธอได้มีโอกาสไปปรึกษาหมอโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งได้ ค�ำตอบว่า กรณีที่เอาถ้าเฝือกออก เธอก็ยังเดินไม่ได้ เนื่องจากไม่มีไม่มีเส้นเอ็นยึด สุดท้าย เธอต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกครั้ง และเป็นการผ่าตัดที่ใช้เวลามาก เนือ่ งจากต้องเอาเศษกระดูกออกเกือบ 30 ชิน้ และสูญเสียเลือดมากจึงต้องให้เลือด 4 ยูนิต ซึ่งแม้แต่หมอที่ผ่าตัดยังบอกกับเธอว่า เป็นเคสผ่าตัดที่ยาวนานที่สุดตั้งแต่ ท�ำมา เพราะเป็นเศษกระดูกที่แตกป่นละเอียด ที่ส�ำคัญ เป็นกระดูกที่แตกตั้งแต่ 11 พ.ย.2555 แต่กว่าจะได้ผ่าคือวันที่ 20 ธ.ค. 2555ท�ำให้เศษกระดูก สมานติดเนื้อเยื่อบางส่วนแล้ว ท�ำให้ทุกครั้งที่มี การคีบเศษกระดูกออกมา จะมีเลือดออก และระหว่างผ่าตัดก็ต้องคอยซับเลือด ท�ำให้เสียเลือดมาก เธอบอกว่า หลังการผ่าตัดครัง้ นัน้ อาการปวดก็ยงั ไม่ดขี นึ้ เพราะมีการใส่เหล็ก และกระดูกเทียมความยาว ยาวประมาณ 5-7 เซ็นติเมตรไว้ด้วย เนื่องจากกระดูกแตกมาก ท�ำให้ต้องใส่ กระดูกเทียมเพื่อเสริม รวมทั้งมีการใส่เหล็กไว้ด้วย แต่หลังการผ่าตัด เธอยังต้องมีการผ่าตัดซ่อม เพราะมีน๊อตที่มีความยาว เกินออกมาด้วย ท�ำให้ปวดมาก ซึ่งท�ำให้เธอต้องฉีดมอร์ฟีนและต้องกินยาตลอด สุดท้าย เธอต้องผ่าตัดอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2556 ทั้งที่เดิมจะเอาเหล็ก ออกในปี 2557 แต่อาการเธอก็ยังไม่หาย จนท�ำให้ทีมแพทย์ตัดสินใจผ่าตัดอีก เดือนเมษายน 2557 เพือ่ เอาเหล็กออกทัง้ หมด เหลือเพียงกระดูกเทียม ซึง่ เท่ากับว่า

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

39


เธอต้องเข้าโรงหมอผ่าตัดทั้งหมด 3 ครั้ง โดยที่ก่อนหน้านั้น เธอไม่ได้ไปท�ำงานเลย เพราะต้องใส่เฝือก ใส่เหล็ก และต้องลาพัก “ระหว่างที่พักรักษาตัว เราท�ำงานไม่ได้หรอก ต้องลา เพราะต้องใส่เหล็ก ตั้งแต่ปลายเท้าถึงขาหนีบ เรายืนไม่ได้ ช่วงนั้นตอนนอนเหยียดขาตรงอย่างเดียว ไม่ได้ขยับเลย 3-4 เดือน” เธอเล่าความล�ำบากของชีวิตในวันนั้น ซึ่งกระทบถึงคน ในครอบครัวไปโดยปริยาย เริ่มจากเธอต้องให้ พ่อ แม่ เธอมาดูแลลูกสาว ขณะที่สามีของเธอซึ่งเป็น นักดนตรี เล่นดนตรีต่างประเทศ ต้องกลับมาเมืองไทย ทิ้งรายได้ก้อนโตเพื่อดูแล ผู้เป็นภรรยา.... นี่คือความเปลี่ยนแปลงเบื้องต้นที่เกิดขึ้นกับครอบครัวสุธาสินี ผลกระทบสารพัด เมื่อการเข้าเฝือกเริ่มเป็นอุปสรรคในการท�ำงาน สิ่งที่ตามมาคือ รายได้ จากค่าเวรที่เริ่มหายไปตามจ�ำนวนวันที่ไม่ได้ท�ำงาน เธอเล่าว่า ก่อนเกิดอุบัติเหตุ เธอก็พอจะมีเงินพอสมควร สามารถสร้างบ้าน พร้อมกับออกรถใหม่ไปในคราวเดียวกัน นั่นคือ เงินเดือนบวกค่าล่วงเวลาที่เธอได้ในแต่ละเดือนราวเกือบครึ่งแสน ท�ำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเธอ อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสบาย เพราะค่าครองชีพ ไม่สูงมาก แต่ทันทีที่ร่างกายเป็นอุปสรรคต่อการท�ำงาน รายได้เธอก็ดิ่งวูบทันที

40

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


“พอมีอุบัติเหตุ โอทีหายไปเลย เหลือแค่เงินเดือน เงินประจ�ำต�ำแหน่ง 3,500 บาท เงินพ.ต.ส. หรือเงินเพิ่มส�ำหรับต�ำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของผู้ปฏิบัติงาน ด้ า นการสาธารณสุ ข 1,500 บาท ส่ ว นเงิ น พิ เ ศษหรื อ เงิ น เบี้ ย กั น ดารก็ ไ ม่ ไ ด้ แต่โรงพยาบาลก็พยายามช่วยเหลือเป็นกรณี” นัน่ คือ เฉลีย่ รายได้ทเี่ หลือในแต่ละเดือน มีเพียงเงินเดือนรวมกับเงินค่าครองชีพ พิเศษ ซึ่งไม่น่าจะเกิน 6 พันบาท และเป็นเงินเดือนที่เหลือหักจากเงินกู้สหกรณ์และ อื่น ๆ แล้ว “เมือ่ ก่อนเงินเดือนไม่คอ่ ยได้ใช้ ใช้แต่เงินโอที เงินเดือนได้เก็บ ได้สร้างบ้าน มีเงินเก็บเกือบ 3 แสน พอเกิดอุบัติเหตุ ต้องเอาเงินเก็บมาใช้ทั้งหมด เพราะไปนอน โรงพยาบาล ก็ต้องจ่ายทั้งหมด ค่าห้อง ค่ายา สารพัด” น�้ำเสียงเธอสะท้อน ความรันทดของชีวิต “เงินเก็บเกลี้ยงเลย เงินที่ส่งรถก็ไม่มี ไม่รู้ว่าไฟแนนซ์จะมายึดรถตอนไหน เพราะแฟนก็ไม่ได้ท�ำงานแล้ว เฝ้าแต่ภรรยา ท�ำงานอะไรไม่ได้เลย รถคันที่เพิ่งผ่อน กับอีกคันที่เอาเข้าไฟแนนซ์ เราส่งเดือนละเกือบ 25,000 บาท ตอนนี้กลายเป็นว่า จ่ายบ้าง ไม่จ่ายบ้าง เพราะไม่มีเงิน” “นี่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายประจ�ำวัน ค่าน�้ำ ค่าไฟ ค่าเทอมลูก ค่าขนมลูกไป โรงเรียนนะ” น�้ำเสียงเธอเริ่มสั่นเครือ พร้อมกับหยาดน�้ำตาที่เริ่มคลอเบ้า “ลูกบ่นเลยว่า เมือ่ ก่อนหนูอยากได้อะไร แม่จะซือ้ ให้หนูทกุ อย่าง แต่เดีย๋ วนีไ้ ม่ แค่หนูจะไปไหน หนูยังไปไม่ได้เลย นี่คือผลกระทบเรื่องรายได้นะ” ไม่เพียงแต่เรือ่ งรายได้ทสี่ ง่ ผลกระทบกับชีวติ และครอบครัวเธอเท่านัน้ เพราะ ทุกครั้งที่เธอได้ยินเสียงไซเรนของรถพยาบาล จะเกิดอาการกลัวอย่างมาก

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

41


“ทุกวันนี้ ยังหลอนทุกครัง้ ทีไ่ ด้ยนิ เสียงไซเรน ร้องไห้ทกุ ครัง้ ทีไ่ ด้ยนิ เสียงหวอ กลัวจับใจเลย” เธอปล่อยโฮเต็มทีเมื่อนึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น เธอผ่านความรู้สึกอีกว่า ทุกวันนี้ พยายามต่อสู้เรื่องเลวร้ายในชีวิตเหล่านี้ เพื่อลูก เพราะครั้งหนึ่ง เธอเคยคิดจะฆ่าตัวตายเหมือนกัน เพราะรับภาระหนักเกิน “เราเองก็เป็นลูกคนโต เมื่อก่อนก็ส่งให้พ่อ ให้แม่ตลอด แต่ตอนนี้ไม่มีเลย มันกดดันมาก เหมือนโชคชะตาเล่นตลกกับเรานะ” อย่างไรก็ตาม เธอก็พยายามจะเรียกร้องผ่านหน่วยงานต่างๆในการเยียวยา ไม่ว่าจะเป็นการเขียนค�ำร้องต่างๆ ซึ่งในที่สุด ภาครัฐเพิ่งมาเยียวยาให้ เมื่อเดือน มกราคม 2558 จ�ำนวน 2.5 แสนบาท ซึง่ เธอบอกว่า ถ้ามาก่อนหน้านี้ เราจะไม่เป็น หนี้นอกระบบ เพราะขณะนี้ ยอดหนี้ของเธอคือ 3-4 แสน ทบดอก ทบต้นมาเรื่อย ๆ “เราไม่เห็นอนาคตว่าจะใช้หนีไ้ ด้เลย ถ้าเงินเดือนขึน้ เราก็ยมื สหกรณ์มาใช้ได้ ทีละ 1- 2 หมื่น เท่านั้น ก็หมดแล้ว “ถ้าเยียวยาตั้งแต่ปี 2556 หรือ 2557 เราก็จะไม่เป็นหนี้อะไรเลย เพราะเรา ท�ำเรือ่ งตัง้ แต่ปี 2556 แต่เพิง่ มาเยียวยา ท�ำให้เราเป็นหนีน้ อกระบบ ซึง่ ไม่ใช่นอ้ ย ๆ” “เมื่อก่อนไม่เคยเป็นหนี้ เต็มที่คือ หักระบบหักสหกรณ์เป็นนายบัญชี ในแต่ละเดือนซึ่งค่าใช้จ่ายก็ถือว่าพอ แต่ตอนนี้ต้องยืม เพราะถ้าไม่ยืมก็ไม่มีใช้ หมุนทางนั้นทางนี้ เมื่อก่อนบัตรเครดิตไม่เคยติด ไม่เคยพลาดในการจ่าย เดี๋ยวนี้ จ่ายมั่ง ไม่จ่ายมั่ง” “ตัวเองก็ท�ำอะไรไม่ได้ เกี่ยวภาพลักษณ์ด้วย แค่เดินไปท�ำงานก็ยังไม่ปกติ จริง ๆ หมอให้ใช้วอล์คเกอร์ช่วยเดินด้วย ถ้าไม่ไหวจริง ๆ แต่เราก็ไม่อยากใช้ อายที่มีคนมองด้วย เพราะเคยได้ยินกับหูว่า พยาบาลยังขนาดนี้ แล้วจะรักษาเรา ได้เหรอ” 42

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


“คนไข้ก็มอง สภาพแบบนี้เหรอจะมารักษาผู้ป่วย ตอนนี้ก็ยังพอเดินได้ แต่ เดินแบบเขยก เพราะกระดูกอ่อนตรงข้อเข่ามันแตกหมด ไม่มีกระดูกอ่อนที่จะมา ผลิตน�้ำไขข้อ เราต้องฉีดน�้ำไขข้อเทียมเกือบทุกเดือน ต้องจ่ายเงินเองด้วย เราก็ไม่มี เงิน ต้องยืม โรงพยาบาล” แม้จะผ่านเรื่องเลวร้ายมาเกือบ 3 ปีซึ่งท�ำให้เธอค่อนข้างปลงกับโชคชะตา แล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีบางอย่างที่เธออดฉุกคิดไม่ได้ นั่นคือ ขณะนี้ แม้โรงพยาบาลจะ พยายามช่วยเหลือช่วยโดยที่ไม่มีระเบียบในการจ่ายช่วย เช่น ช่วยเรี่ยไรจากเพื่อน สมาชิกในโรงพยาบาล ก็ได้ไม่มาก ที่ส�ำคัญ ยิ่งพอเธอรู้ว่า เงินได้มาจากการเรี่ยไร ก็ยิ่งไม่อยากได้ “เหมือนขอทานยังไงไม่รู้ คือถ้ามองในแง่ดี ก็เหมือนกับว่า เขาช่วยเรา แต่ เรามองเหมือนขอทานมากกว่า เพราะมีการเรี่ยไรกันแบบนี้ เราก็ยังพอมีความรู้ มี ศักดิ์ศรี แต่ด้วยสุขภาพ เรามันไม่เอื้อให้เราท�ำงานแบบเดิมได้” “ตอนนี้ภาครัฐโดย กระทรวงสาธารณสุข เข้ามาช่วยให้เงิน 2.5 แสนบาท และที่เรี่ยไรมา ก็มีครั้งแรกตอนที่นอนที่กาฬสินธุ์ ให้ 2 หมื่น ตอนเราไปนอนที่ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ก็ให้มาอีก 1 หมื่น ที่เรี่ยไรจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล อีก 1.5 หมื่น และอีกครั้งของโรงพยาบาล อีก 1.2 หมื่น เบ็ดเสร็จก็เกือบ 6 หมื่น” เธอบอกว่า ส�ำหรับการช่วยเหลือเป็นกิจลักษณะจากภาครัฐ เรียกว่า ไม่มเี ลย ทุกคนคิดว่า เรามีสิทธิ์จ่ายตรง แต่ส่วนเกินใครจ่ายให้ ที่ส�ำคัญ นี่ยังไม่รวมค่ารถ ค่าน�้ำมัน ค่าเดินทางไป-กลับรักษาทุกวันเวลาไป หาหมอ ซึ่งเธอก็ต้องขอยืมกองทุนตุ้มโฮม ของโรงพยาบาล เพื่อใช้ในการเดินทาง โดยได้กิโลเมตรละ 4 บาท เหมือนไปราชการ

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

43


สิ่งที่เกิดขึ้น ท�ำให้เธออดน้อยใจไม่ได้ว่า ขนาดเธอเป็นเจ้าหน้าที่ แต่กลับ ไม่ได้สิทธิ์อะไรเลย แต่ถ้าหากเป็นพลเรือน กลับได้สิทธิ์ต่าง ๆ หรือความช่วยเหลือ มากมาย หรือแม้แต่ทหารต�ำรวจเวลาได้รับบาดเจ็บจากการปฏิบัติหน้าที่ ก็มี การไปเยี่ยมกัน ช่วยเหลือสร้างบ้านให้ แต่หน่วยงานของพยาบาล กลับไม่เห็นมีใคร มาเยี่ยมเหมือนทหาร ต�ำรวจ “เรารูส้ กึ ว่า เราเกิดอุบตั เิ หตุจากการท�ำงาน แต่ไม่มใี ครสนใจ แล้วก็แล้วกันไป ไม่ท�ำเรื่องก็เฉย” “ข้าพเจ้าท�ำเรื่องถึงกระทรวงสาธารณสุข ท�ำมาจนถึงปีที่ 3 แล้ว ก็เพิ่ง มีมาให้ตอนสมัยนายกประยุทธ์(จันทร์โอชา)นี่ล่ะ เพราะร้องเรียนถึงท่าน ก็เพิ่งมา จ่ายงวดแรกตอนปลายเดือนมกราคม” แต่งวดต่อๆไปยังไม่รู้เลยว่าจะได้ตอนไหน โทรถามผู้รับผิดชอบก็ตอบไม่รู้ มีแต่บอกว่าจะได้เร็วๆนี้ แต่ยังไม่ได้จนถึงบัดนี้ เธอกล่าวว่า ไม่แน่ใจว่า เงินที่ได้รับการเยียวยาก้อนแรก 2.5 แสนนั้น จะมี เงินก้อนอื่น ๆ ตามมาอีกหรือไม่ แต่ถ้ามีการเบิกจ่ายให้เร็ว ยอดหนี้ต่าง ๆ ของเธอ ก็จะลดลง “ไม่รู้ว่าจะได้อีกทีตอนไหน โทรถามก็ไม่มีความคืบหน้าอะไร” “เงินต้น 4 แสน จ่ายดอกเดือนละ 2 หมื่นแล้ว ไม่ใช่น้อย ๆ นะ ที่ต้องจ่าย แต่ละเดือน มันก็ทบต้นทบดอกมาเรื่อย ๆ ถ้าไม่เอากับเจ้าหนี้ เราก็ไม่มีเงินใช้” เธอกล่าว สุธาสินีเปิดใจว่า ถ้าเป็นไปได้ เธออยากให้ภาครัฐเข้าดูแล หรือช่วยเยียวยา หรือชดเชยในรูปแบบต่าง ๆ บ้าง

44

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


“ยังไงก็นา่ จะดูแลเราเหมือนทหาร ต�ำรวจ มีสวัสดิการให้บา้ ง ทีเ่ ราเป็นแบบนี้ เพราะเราไปท�ำงาน ไปช่วยเหลือผู้ป่วย ช่วยเหลือคนไข้ เราอยู่ระหว่างปฏิบัติ หน้าที่ ไม่ใช่เราอยู่นอกเวลางาน เราท�ำงานในหน้าที่ ทั้งเสียสละเวลาเสาร์-อาทิตย์ เราก็ท�ำมีแต่คนพูดว่าเป็นพยาบาลได้บุญเยอะ แต่บุญที่ได้มาไม่สามารถน�ำไปซื้อ เครื่องอุปโภค บริโภคได้ มีแต่เงินเท่านั้นที่สามารถช่วยได้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับเธอ ท�ำให้เธอรู้สึกว่า ขณะนี้ รัฐได้แต่วางแผนจะให้ประชาชน มีสุขภาพที่ดีขึ้น มีโครงการต่างๆ มากมาย แต่กับบุคลากรทางการแพทย์ หรือ พยาบาลที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ กลับมองข้าม “อยากถามว่า มีแผนฟื้นฟูให้เจ้าหน้าที่ มีสุขภาพจิตที่ดีหลังอุบัติเหตุมี มั้ย เพราะอย่างเรา ก็ไม่เห็นจะมีสวัสดิการอะไรให้เจ้าหน้าที่เลย เราได้แค่ค่าเวร 600 บาท แต่เทียบไม่ได้กับสุขภาพจิตที่เสียไป หรือสวัสดิการของกระทรวงอื่น ๆ” “ทหาร ต�ำรวจยังมีการช่วยจากผูบ้ าดเจ็บจากการปฏิบตั หิ น้าที่ มีการช่วยเหลือ ในรูปแบบต่าง ๆ ลูกหลานอาจจะได้รับราชการ” “สรุปคือ เราอยากเรียกร้องให้รฐั บาลมีมาตรการในเรือ่ งการสร้างหลักประกัน ความมัน่ ใจให้กบั บุคลากรวิชาชีพพยาบาล เพราะถือว่าหลักประกัน เป็นการคุม้ ครอง ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิ์ สวัสดิการ เงินช่วยเหลือ หรือสิทธิ์พึงมีพึงได้ที่เรา ควรจะได้รับ ซึ่งน่าจะออกเป็นระเบียบให้ชัดเจน เพื่อให้ทันสถานการณ์” “รวมทั้ ง น่ า จะมี สิ ท ธิ์ ส วั ส ดิ ก ารเหมื อ นทหารต� ำ รวจ ที่ ใ ห้ มี ส วั ส ดิ ก าร ให้พ่อ แม่ ลูก ผู้ที่อยู่เบื้องหลัง ตอนนี้เรายังท�ำงานได้อยู่ แต่ปฏิบัตินอกโอทีไม่ได้ เพราะสภาพร่างกายไม่เอื้อ”

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

45


ความหมายของเธอคือ ไม่อยากให้ผู้ใหญ่คิดว่า พยาบาลอย่างเธอได้ค่าเวร 600 บาท แล้วจบ เพราะหากมีอุบัติเหตุที่มีผลกระทบการหน้าที่การงาน รายได้ หรือแม้แต่สภาพจิตใจ ก็มีอะไรที่ตามมาอีกมากมาย “อย่างเคสน้องพยาบาลทีร่ อ้ ยเอ็ดทีเ่ สียชีวติ จากการรีเฟอร์ พ่อแม่ทไี่ ด้รบั เงิน บริจาคจากการเสียชีวติ ของลูกก็จริง แต่จะใช้เงินอย่างมีความสุขเหรอ คนเบือ้ งหลัง เหล่านี้จะอยู่อย่างไร” เธอบอกว่า ปัจจุบนั เธอติดค่ายาโรงพยาบาลต้นสังกัดเกือบ 7 หมืน่ บาทแล้ว เพราะไปหาหมอแต่ละครั้ง แทบจะนับเศษสตางค์กันเลย “สรุปหนี้สิน บัตรเครดิต ติดผ่อนส่งรถ รวมเป็นหนี้ทั้งหมดก็เป็นล้านบาท” น�้ำเสียงเธอฟังคล้ายอ่อนแรงเต็มที ขณะที่น�้ำตาเริ่มเอ่ออาบแก้ม” “ทุกวันนี้ต้องอดเพื่อลูก อยากจะกินอะไรก็กินไม่ได้เหมือนเมื่อก่อน” “แค่ปลาเผาตัวละ 300 บาท ยังท�ำได้แค่มอง ไม่มีปัญญากิน ต้องประหยัด ทุกอย่าง มีหนี้รออยู่ พูดตรงๆ คือกินไม่ลงด้วย” “ยาก็ต้องกินทุกวัน ไม่กินไม่ได้ มันปวด ต้องกินเช้าเย็น มันท�ำให้ง่วงด้วย วัน ๆ เครียดมาก ไหนจะอาการเจ็บป่วยยังไม่ดีขึ้น ไหนจะหนี้สิน ค่าเทอมลูกก็ยัง ไม่จ่าย โรงเรียนก็มีจดหมายทวงถามแล้ว ไม่รู้จะท�ำยังไง เหมือนวัวพันหลัก “ยิ่งดิ้นยิ่งมัด มีแต่คนบอกเป็นก�ำลังใจให้ ให้เราสู้ เข้มแข็งนะ ถ้ามีเงินมันสู้ ได้หมดนั่นล่ะ พอจะหาทางออกได้ เราคิดแต่เรื่องนี้ มันวนเวียนในหัว ความจ�ำเรา ก็แย่ลงตั้งแต่กินยา เหมือนเป็นโรคความจ�ำเสื่อม จ�ำอะไรไม่ค่อยได้”

46

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


ก่อนที่เธอจะกล่าวเหมือนคนสิ้นหวังกับโชคชะตาที่เกิดขึ้นครั้งนี้กับเธอว่า “มันเป็นการบั่นทอนชีวิตมากเลยนะ”

สุธาสินี โง่นค�ำ

....................................

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

47



ฝันร้ายที่เกาะลันตา เสาร์ที่ 15 มีนาคม 2557..... โรงพยาบาลเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ด้วยความทีเ่ ป็นโรงพยาบาลขนาดเล็กเพียง 10 เตียง ท�ำให้โรงพยาบาลแห่งนี้ จ�ำเป็นต้องน�ำส่งผูป้ ว่ ยทีม่ อี าการหนัก ส่งต่อไปยังโรงพยาบาลประจ�ำจังหวัดบ่อยครัง้ ซึ่งในวันนี้ ก็เป็นอีกวันที่ความโกลาหนมาเยือนตั้งแต่เช้า เมื่อต้องมีการรีเฟอร์ผู้ป่วย และอังคณา เพชรมณี พยาบาลวิชาชีพช�ำนาญการ หัวหน้าแผนกผู้ป่วยนอก วัย 45 ปี คุ้นเคยกับงานลักษณะดังกล่าว เพราะเป็นสิ่งที่เธอแทบจะท�ำแทบทุกวัน อยู่แล้ว อย่างวันนี้ก็เช่นกันที่เธอต้องรับบทเป็นเวรเรียกเสริม รีเฟอร์คนไข้ตั้งครรภ์ ซึ่งต้องส่งไปผ่าคลอดที่โรงพยาบาลกระบี่ โดยขอพยาบาล 2 คนเสริม ซึ่งมีเธอ กับวรรณวิไล ก๊กใหญ่ พยาบาลหัวหน้าแผนกผู้ป่วยใน เพราะพยาบาล 2 คนแรก ไปกับรถรีเฟอร์ที่เพิ่งออกไปแล้ว 2 คันก่อนหน้านี้ โดยที่วรรณวิไล เพิ่งเข้าเวร ตอนตี 2 เพราะไม่มีพยาบาลสแตนด์บายเลย อุปสรรคของพืน้ ทีเ่ กาะลันตาคือ การรีเฟอร์ผปู้ ว่ ย ต้องลงแพขนานยนต์ 2 ช่วง ซึ่งค่อนข้างใช้เวลาในการเดินทาง แม้จะสามารถเรียกได้ตลอด 24 ชั่วโมงก็ตาม

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

49


ส�ำหรับการรีเฟอร์ครั้งนี้ สิ่งผิดปกติเริ่มเกิดขึ้นเมื่อออกจากโรงพยาบาล 2 กิโลเมตร รถเกิดการเสียหลัก ส่ายไปมาช่วงเข้าโค้ง “ไม่ต้องรีบนะ เพราะพยาบาลมา 2 คน ท�ำคลอดในรถก็ได้” อังคณา บอกกับพนักงานขับรถ ที่ก�ำลังบังคับรถพร้อมลดความเร็วลง “พี่ว่ารถส่ายนะ มีอะไรตัดหน้ารถหรือเปล่า” เธอบอกกับวรรณวิไล ที่อยู่ ข้าง ๆ กัน พร้อมกับคิดว่า คงไม่เป็นไร เพราะอีกเพียง 5 กม. ก็ถึงที่หมาย ขณะที่ รถยังคงส่ายไปมา ซึ่งท�ำให้วรรณวิไลต้องออกปากเตือนอีกครั้ง และในจั ง หวะนั้ น เองปรากฏว่ า รถเสี ย หลั ก จนอั ง คณาต้ อ งจั บ พนั ก พิ ง พร้อมตะโกนในรถว่า “รถเสียหลักนะ” ซึ่งนั่นเป็นค�ำพูดสุดท้าย เพราะวินาทีนั้น รถก็หมุน พลิกคว�่ำหลายตลบ สร้างความตกตะลึงให้กับผู้พบเห็น ที่แย่กว่านั้นคือ มีเธอคนเดียวที่ติดอยู่ในรถ ส่วนที่เหลือ กระเด็นออกมา นอกรถหมด มีเพียงพนักงานขับรถและญาติผู้ป่วยรายหนึ่งที่นั่งด้านหน้าที่ยังอยู่ ในรถเพราะคาดเข็มขัดนิรภัย “ในรถมีใครมั๊ยครับ” เจ้าหน้าที่กู้ภัย มาถึงที่เกิดเหตุ พร้อมส่งเสียงเรียกผู้รอดชีวิต “มีค่ะ” อังคณาตอบรับ “แต่ยังพอไหว” เธอตะโกนตอบ “งัน้ ผมไปช่วยคนเจ็บก่อนนะ” เจ้าหน้าที่ รายเดิมบอก และผละจาก รีบไปช่วยผู้บาดเจ็บ รายหนึง่ ซึง่ เป็นยายผูป้ ว่ ยทีน่ งั่ กลางรถ ฟันกราม หักหมดทั้งปาก อังคณา เพชรมณี 50

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


อังคณาพยายามช่วยเหลือตัวเองแต่ท�ำอะไรไม่ได้มาก เพราะขาติดอยู่ กับอุปกรณ์กู้ชีพในรถที่ล้มมาทับ ขณะที่ถังออกซิเจนก็เปิด ซึ่งนั่นหมายความว่า รถพร้อมจะระเบิดตลอดเวลาหากมีจุดวาบไฟ แต่ในที่สุด อังคณาก็ถูกช่วยออกมาจากรถ ขณะที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยน�ำร่างของ วรรณวิไลมานอนอยู่ใกล้ ในสภาพเลือดท่วมตัว มีน�้ำลายฟูมปาก และหมดสติ แว่ บ แรกที่ เ ห็ น อั ง คณาพยามเข้ า ไปปั ๊ ม หั ว ใจช่ ว ยวรรณวิ ไ ล ที่ เ ป็ น ทั้ ง เพื่อนร่วมงานและน้องร่วมวิชาชีพ แต่สุดท้าย ก็ท�ำไม่ไหว นอนหมดแรงอยู่ข้าง ๆ ก่อนทีจ่ ะเห็นรถรีเฟอร์นำ� ร่างวรรณวิไล รีเฟอร์ไปทีโ่ รงพยาบาล คลองท่อม ซึง่ ก็เป็น ที่เดียวกับเธอถูกน�ำส่งโรงพยาบาล ที่โรงพยาบาลคลองท่อม เธอได้ยินหมอพูดในห้องฉุกเฉินว่า วรรณวิไล มีอาการน่าเป็นห่วงเพราะเลือดออกมาก เนื่องจากเส้นเลือดใหญ่ฉีกขาด ต้องผ่าตัด ที่ช่องท้อง ส่วนผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ เสียชีวิตแล้ว... เธอพยายามเปิดตามองความเคลื่อนไหวต่าง ๆ แต่ก็ท�ำไม่ได้ เพราะมีอาการ ปวดศีรษะมาก... ก่อนจะถูกเอ็กซเรย์และพบว่า กระดูกคอแตก จ�ำเป็นต้องรีเฟอร์ ไปที่โรงพยาบาลซึ่งมีความพร้อมมากกว่านี้ในเรื่อง ด้ ว ยเหตุ นี้ โรงพยาบาลคล่ อ งท่ อ มจึ ง ต้ อ งพยายามติ ด ต่ อ โรงพยาบาล หลายแห่งในจังหวัดภูเก็ตเพื่อส่งตัวอังคณาไปรับการรักษา แต่ค�ำตอบที่ได้จาก หลายโรงพยาบาลคือ มีหมอ แต่ไม่มีเครื่องมือ หรือมีเครื่องมือ แต่ไม่มีหมอ หรือ เพราะเป็นวันหยุด ซึ่งนี่คือสิ่งที่เธอสะท้อนอย่างเจ็บปวดว่า “การติดต่อใช้เวลาใน การประสานงานนานมาก เราก็นอนรอ อาเจียนตลอด”

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

51


ในที่สุด เธอได้ถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ในเวลา เกือบ 3 ทุ่ม วันเดียวกัน ซึง่ เท่ากับใช้เวลาในการประสานงานเกือบ 6 ชัว่ โมง และต้องเริม่ นับหนึง่ ใหม่ ในการตรวจ ซึ่งกว่าจะเสร็จเกือบเที่ยงคืน แต่เนื่องจากเป็นวันเสาร์ และโรงพยาบาลไม่มีอุปกรณ์ จึงต้องประสานกับ ส่วนกลางในการน�ำอุปกรณ์มาส่งที่ภูเก็ต ประกอบกับเป็นวันอาทิตย์ ท�ำให้เธอต้อง นอนคอยอีกวัน กว่าจะได้คิวผ่าตัด ในจันทร์ตอนบ่าย 2 “ตอนนั้นเรามีสติตลอดเวลา หมอก็มีวิธีแนะน�ำว่า คุณจะใส่ฮาร์ทคอลล่า หรือเปล่า เพราะมันเป็นเหล็ก ใส่ประมาณ 6 เดือน ใส่แบบไม่ถอดเลย จะนั่งนอน ก็ต้องใส่แบบนั้น จะเอามั๊ย “อีกวิธีคือ ต้องผ่าตัด จะเลือกวิธีไหน เราบอก ให้หมอช่วยตัดสินใจล่ะกัน เพราะไม่ทราบว่า แบบไหนดีกว่ากัน “หมอบอกว่า ก็บอกไม่ได้ แล้วแต่ญาติ ซึ่งญาติก็ไม่รู้ว่า หลังผ่าตัดจะมีภาวะ แทรกซ้อนหรือเปล่า แต่คิดว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิดล่ะกัน” ในที่สุด เธอตกลงเลือกผ่าตัด เพราะหากใส่เหล็ก ก็ต้องใส่ 6 เดือน ต้อง นอนตลอด และนั่งไม่ได้ ส�ำหรับสาเหตุการบาดเจ็บของอังคณาคือ กระดูกต้นคอแตกร้าว ต้องผ่าตัดออก แต่โชคดีที่ยังไม่เป็นอัมพาต เพราะไม่ได้กดทับเส้น รวมถึงกระดูกหน้าอกชิ้นที่ 3 และ 4 ร้าว แต่ไม่เป็นอะไรมากตามความเห็นของแพทย์ เธอบอกว่า หลังผ่าตัด ต้องนอนพักฟื้นบนเตียงอีก 15-20 วัน โดยหมอสั่ง ให้อยู่นิ่งให้มากสุดเพื่อมิให้กระดูกไปกดทับเส้นประสาท

52

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


“ตอนนัน้ ก็ยงั ไม่ทราบว่า อุบตั เิ หตุเกิดจากอะไร เพราะยังไม่มใี ครพูดถึง เรือ่ ง น้องคนที่เสียชีวิตก็ไม่มีใครบอกเรา คงไม่กล้าบอกรวมถึงสาเหตุของอุบัติเหตุด้วย “เราทราบภายหลังว่า สาเหตุคือ รถเสียหลัก เข้าโค้งไม่ได้ เพราะหลังจาก วิ่งทางตรง 3-4 กม. ฝนเริ่มตก ซึ่งฝนแรกที่ล้างถนน เท่ากับไปที่ชะปาล์มน�้ำมัน จากผิวถนน ท�ำให้ลนื่ มาก วันนัน้ ก็มอี บุ ตั เิ หตุหมูเ่ ยอะมาก ข้างหน้าเราก็มรี ถพลิกคว�ำ่ ทั้งมอเตอร์ไซค์ รถตู้ แต่คันอื่นไม่หนักเหมือนรถโรงพยาบาล” เธอบอก อังคณาเล่าว่า หลังผ่าตัด เธอนอนที่โรงพยาบาล 23 วัน แต่หมอเห็นว่า เธอเป็นพยาบาล สามารถดูแลทีโ่ รงพยาบาลใกล้บา้ นได้ รวมทัง้ สามารถขอค�ำแนะน�ำ หมอได้ ก็เลยแนะน�ำให้เธอกลับ แต่เธอต้องฝึกท�ำกายภาพ เช่นต้องหัดเดิน หัดลง น�้ำหนักเท้า “เรานอน 23 วัน เหมือนไม่ได้ลงน�้ำหนักเท้า ขาก็จะอ่อนแรง มีความรู้สึก เหมือนอะไรหนักๆ กดหัวเราอยู่ เพราะคอไม่ได้ตั้ง ใช้เหล็กดาม เราฝึกท�ำกายภาพ 1 สัปดาห์ ต้องใช้วอล์คเกอร์ หัดเดิน หัดตั้งคอ หัดวางน�้ำหนักจนเอาวอล์คเกอร์ ออกได้” เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

53


เธอเล่าว่า ความผิดปกติหลังการผ่าตัดคือ เธอไม่สามารถอ้าปากได้สุด เนือ่ งจากมีเหล็กดามอยูข่ า้ งใน และไม่สามารถหันทัง้ ตัวได้ และต้องอยูใ่ นการติดตาม อาการของแพทย์ตลอดระยะเวลา 1 ปี “เราไม่ได้ท�ำงาน 6 เดือน ตอนนี้กลับมาท�ำงานแล้ว ปกติแล้ว แต่เราจะเสีย บุคลิกภาพ คือเราจะหันไม่ได้เหมือนคนอื่น หันได้แค่ 60 องศา ซ้ายขวา ถ้าฝืนมาก ก็จะปวด เพราะมีเหล็กยึดสกรู 6 ตัว ตั้งแต่กลางศีรษะถึงกระดูกต้นคอข้อที่ 1 ข้อที่ 2 ต้องดามไว้” “มีเหล็กอยู่ในหัว 6 ตัว ถามว่ารู้สึกไงบ้าง ก็เหมือนกับไม่สบายหัว เพราะ มีเหล็กอยู่ในหัว ที่กดทับศีรษะเราตลอดเวล ถามว่าเสียบุคลิกภาพมั๊ย ก็เสียนะ เพราะเราหันไม่ได้” “แรก ๆ เราก็ขับรถไม่ได้ ต้องให้เวรที่โรงพยาบาล ขับไปส่งทุกวัน เช้า เย็น ตอนนี้พยายามช่วยเหลือตัวเอง ขับรถไปข้างหน้าอย่างเดียว ไม่ถอยหลัง” อังคณาเผยอีกว่า อุบัติเหตุส่งผลหลายอย่าง เราไม่สามารถท�ำงานปกติได้ ไม่สามารถเคลื่อนไหวคล่องแคล่วได้ รวมถึงเรื่องงาน ก็ไม่สามารถเข้าเวรได้ เพราะก้มไม่ได้เลย “แค่เอาหัวพิงพนักรถก็ไม่ได้ แม้ว่าจะง่วงขนาดไหน ห้ามเอาน�้ำหนักไปที่หัว เพราะจะท�ำให้สกรูเกิดการเคลื่อนและอาจไปกดทับเส้นประสาท” เธอเล่าสะท้อน ความรันทดกับชีวิตในขณะนี้ เธอบอกว่า เธอได้รบั การช่วยเหลือจากภาครัฐคือ สปสช ช่วยตามมาตรา 18(4) ได้เงินช่วยมา 1.5 แสนบาท สภาการพยาบาลช่วย 2,000 บาท

54

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


“สภาพจิตใจก็แย่ กว่าเราฟื้นฟูจิตใจได้ ก็ต้องท�ำใจอยู่นาน เพราะเราก็ เสียบุคลิกภาพนะ” ตอนนี้ก็ท�ำงานเหมือนเดิมทุกอย่าง แต่ไม่เข้าเวรรีเฟอร์ “ชีวติ ต่างกว่าเดิมมาก ไม่แอคทีฟ ท�ำงานช้า ชีวติ ครอบครัวก็ไม่เหมือนเดิม” อั ง คณาผ่ า นความรู ้ สึ ก ว่ า อยากให้ เ รื่ อ งราวเป็ น อุ ท ธาหรณ์ และเป็ น บรรทัดฐานให้ภาครัฐยื่นมือมาช่วยพยาบาลในเรื่องต่าง ๆ กรณีประสบเหตุขณะ ปฏิบัติหน้าที่ อาทิ มีการส่งเสียบุตรจนกว่าจะจบการศึกษา มีสวัสดิการตามสมควร รวมถึงมาตรการเยียวยาในรูปแบบต่าง ๆ ให้ชัดเจน “สิ่งที่อยากให้ภาครัฐช่วยคือ ต้องการให้ดูแลครอบครัว ทายาท จะส่งเสีย เรียนถึงระดับไหน เอาให้ชัด ถ้าสายตรงก็ให้รับราชการ ถ้ามีคุณสมบัติพอ” “ส่วนใครทีอ่ ายุราชการไม่ครบทีจ่ ะได้บำ� นาญ ก็นา่ จะพิจารณาเป็นเคส ๆ ไป เช่น เออรี่ได้โดยอนุโลมให้ครบ 25 ปี รวมถึงมีสวัสดิการให้บ้าง ไม่ใช่ไม่มีเลย เกิดแล้วก็เงียบไป” “ถ้าพิการ ต้องเยียวยาอะไรบ้าง เพราะชีวิตต้องเปลี่ยนไป ต่อให้ได้ให้เงิน 10 ล้านก็ไม่คุ้มหรอก แต่ถ้าชีวิตก�ำหนดโชคชะตาไม่ได้ อย่างน้อยก็น่าจะมี การช่วยเหลือตรงนี้ เช่น ช่วยครอบครัวเขาบ้าง ช่วยหาเงินที่เขาพอจะด�ำเนินชีวิต ได้บ้าง” เธอกล่าวทิ้งท้าย ….ถ้าสิ่งที่เกิดขึ้นกับอังคณาถือว่า สาหัสและทรมานความรู้สึกจนยากที่ คนธรรมดาจะทนได้แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นกับกฤตกร-วรรณวิไล ก๊กใหญ่ และลูก ๆ ทั้ง 3 กลับรุนแรงมากกว่าเป็นร้อยเท่า พันทวี เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

55


เพราะในอุบัติเหตุที่อังคณาประสบ ก็มีชื่อของวรรณวิไล อยู่ในเหตุการณ์ ดังกล่าวด้วยเช่นกันในฐานะ หนึ่งในพยาบาลที่เข้าเวรรีเฟอร์ผู้ป่วยรอบเดียวกัน กับอังคณา ที่แม้อังคณาจะประสบอุบัติเหตุ แต่เธอกับโกงความตาย มีชีวิตได้ จนถึงปัจจุบัน ตรงกันข้ามกับวรรณวิไล ทีเ่ สียชีวติ ขณะปฏิบตั หิ น้าที่ ซึง่ ถ้าเป็นทหารต�ำรวจ อาจมีธงชาติคลุมร่าง พร้อมกับกระแสธารความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ จาก ทุกสารทิศ แต่ส�ำหรับวรรณวิไล…ทุกอย่างคือความว่างเปล่า เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับเธอในวันนั้น คงไม่มีใครฉายภาพได้ดีกว่า กฤตกร ผู้เป็นสามี..... .................................... “แม่ เสาร์นี้วันหยุดแม่ เราพาลูกไปเที่ยวในเมืองกันนะ” กฤตกร โทรบอก วรรณวิไล ผู้เป็นภรรยาถึงแผนการใช้ชีวิตของครอบครัวสุดสัปดาห์ กลางเดือน มีนาคม 2557 ที่ก�ำลังจะมาถึง “ได้ แต่ดกู อ่ นนะ อาจจะโดนเวรรีเฟอร์ แถมควงกะเหมือนตอนช่วงปีใหม่ จะ ลองแลกเวรดูนะ” น�้ำเสียงเธอส�ำทับกลับมาก่อนจะวางสาย ดูเหมือนกฤตกรก็เข้าใจลักษณะงานผู้เป็นภรรยาอย่างดี เพราะบ่อยครั้งที่ วรรณวิไลต้องเป็นเวรรีเฟอร์ เนือ่ งจากพยาบาลมีไม่พอ ในขณะทีม่ ผี ปู้ ว่ ยจ�ำนวนมาก ที่ต้องน�ำส่งจากโรงพยาบาลเกาะลันตา ไปสู่ตัวเมือง

56

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


15 มีนาคม 2557.... 10 นาฬิกาตรง เสียงโทรศัพท์ของกฤตกรดังขึ้น ขณะที่เขาก�ำลังประชุม เคร่งเครียดในตัวจังหวัด ความเข้มข้นของการประชุมท�ำให้เขาละความสนใจข้อความที่ญาติโทรมา แจ้งว่า รถรีเฟอร์ของโรงพยาบาลเกาะลันตา ประสบอุบัติเหตุ “เดี๋ยวโทรกลับ” กฤตกรกรอกเสียงสั้นก่อนจะวางสายในเวลาต่อมา แต่พลันที่เขานึกอะไรบางอย่างได้ เขารีบโทรกลับทันที ก่อนจะได้คำ� ตอบ ชนิดหน้าถอดสี หมดแรงยืน “ภรรยาผมอยู่ในรถรีเฟอร์ครับ” กฤตกรบอกกับที่ประชุม ก่อนจะรีบบึ่งรถ มายังโรงพยาบาลกระบี่ทันที เพียงแค่ 20 นาที กฤตกรพาตัวเองมาถึงหน้าห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลกระบี่ พร้อมกับความหวังว่า “ภรรยาต้องไม่เป็นอะไร” ในขณะที่ลูก ๆ ของเขายังไม่ทราบ เรื่องร้ายที่เกิดขึ้นกับแม่ “ท�ำไงก็ได้ครับหมอ ให้เมียผมรอด” กฤตกรพยายามข่มความรู้สึกเต็มที่ ก่อนจะเซ็นยินยอมการผ่าตัดผู้เป็นภรรยา “ตอนนั้นเมียผมยังไม่เสียชีวิต เข้าไปในห้องฉุกเฉิน ส่วนผมรอข้างนอก หมอก็บอกว่า ต้องส่งมาห้องผ่าตัด ผมก็เซ็นยินยอมให้ผ่าตัด” “ตอนแรกหมอบอกว่า คนไข้สลบ ที่หน้าอกมีรอยช�้ำเกิดจากการกระแทก” 1 ชัว่ โมงของการผ่าตัดผ่านไป…หมอเดินออกมาพร้อมกับบอกเขาสัน้ ๆ เพียง “เสียใจด้วยครับช่วยชีวติ ไม่ได้ คนไข้อาการหนักมาก ซีโ่ ครงทิม่ ปอด และมีเลือดออก ในช่องท้อง” เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

57


วินาทีนั้น เขาแทบไม่เชื่อหูตนเอง แทบล้มทั้งยืน... “ไม่คิดว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้กับครอบครัวเรา ตอนนั้นลูก ๆ 3 คนก็มา โรงพยาบาล แล้วก็ได้ยนิ ข่าวพร้อม ๆ กัน “ความรูส้ กึ ผมตอนนัน้ คือ เหมือนน�ำ้ ท่วมปาก ไม่รู้จะอธิบายยังไงกับลูก ๆ” เขาเล่าว่า ผลกระทบกับครอบครัวคือ หลังจากเหตุการณ์วันนั้น สิ่งที่เกิดขึ้น กับครอบครัวคือความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง อย่างแรกคือ “ผมต้องเป็นเสาหลักคนเดียวของครอบครัว” “พูดถึงความมั่นคงด้านรายได้ก็หายไปเลยนะ เพราะแฟนท�ำงานราชการ ความมั่นคงก็ดีกว่าผม รายได้รองนายกอบต.อย่างผม เงินเดือนแค่หมื่นกว่าบาท ทั้งที่เรื่องการเรียนก็วางแผนกับลูกไว้ทั้งหมดแล้ว”

วรรณวิไล ก๊กใหญ่

58

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นเรื่องหนักใจของเขาในขณะนี้คือ เงินกู้สหกรณ์ โรงพยาบาลจ�ำนวน 9 หมื่นบาทที่กู้มา โดยขณะนี้ อยู่ระหว่างการเจรจากับสหกรณ์ เรื่องหนี้สินที่ค้าง “ผมนัดกับสหกรณ์ว่า เดือนมีนา จะนัดเข้าไปคุยกันแบบเป็นทางการอีกที ตอนนี้ก็ได้หนังสือติดตามหนี้จากสหกรณ์แล้ว” “เรื่องประนีประนอม คิดว่า เขาคงไม่นะ เขาบอกแค่ให้เราไปจ่ายเงินที่ค้าง มีเท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้นก่อน คงต้องไปคุยก่อนว่า จะเอายังไง” “ถ้าเป็นข้าราชการทหารต�ำรวจก็อาจมีเงินช่วย มีการปูนบ�ำเหน็จหลายชัน้ ยศ อย่างน้อย ถ้าพ่อแม่เป็นทหารต�ำรวจตายจากการปฏิบัติหน้าที่ ลูกก็ต้องส่งเรียน จนกว่าจะจบปริญญาตรี” “เราก็ อ ยากสื่ อ ให้ ภ าครั ฐ เห็ น ความส� ำ คั ญ ของบุ ค ลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะพยาบาลบ้าง เวลาพวกเขาไปช่วยคนอืน่ แล้วประสบเหตุ น่าจะมาช่วยบ้าง เป็นขั้นเป็นตอนที่ชัดเจน” “อย่างภรรยาผม ที่เสียชีวิตครั้งนี้ เป็นการเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่นะ เพราะฉะนั้นน่าจะมีสวัสดิการส�ำหรับลูกบ้าง เป็นอย่างน้อย หรือส่งเรียนให้จบ ปริญญาตรี” “อันนี้ผมมองแค่จากเคสภรรยาผมนะ ซึ่งเข้าใจว่า ทุกคนก็อยากให้มีตรงนี้ อยู่แล้ว เงินชดเชยก็น่าจะมี เช่นทุพลภาพก็เข้าเวรไม่ได้ ถ้าเป็นแบบนั้นจะยิ่งแย่” “แฟนผมเคยสอนลูกก่อนตายว่า ถ้าเรียนไหว ให้เรียนเภสัช หมอ นะ อย่าไปเรียนพยาบาล เพราะล�ำบากมาก เพราะแม่ก็ถ่ายทอดประสบการณ์ของแม่ ให้ลูก เป็นเรื่องจริงที่แม่เจอกับตัวเอง”

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

59


เขาสรุปว่า สิ่งที่เขาขอพูดเป็นกระบอกเสียงแทนวิชาชีพพยาบาลคือ การชดเชยรายได้ และการส่งเสียเลี้ยงดูบุตรถึงระดับปริญญาตรี ตลอดจน ให้สิทธิลูกในการเรียนพยาบาล เพื่อเป็นการสร้างขวัญและก�ำลังใจส�ำหรับบุคลากร ทางการแพทย์ที่ต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่เวรรับส่งผู้ป่วย “ชีวิตผมพลิกกลับภายใน 8 ชั่วโมง ใจผมคิดแค่ ผมติดประชุม ประชุมเสร็จ ผมจะกลับบ้าน พาลูกไปเที่ยว กินข้าวด้วยกัน พ่อ แม่ ลูก แต่พอได้ข่าว ภรรยาผม เสียชีวิต ชีวิตผมพังตั้งแต่นั้น “ถามว่า ตอนนี้ ผมมีลูก 3 คน อยู่ในระบบการเรียน ที่ผ่านมาเราผ่านได้ เพราะภรรยาผมเป็นราชการ แต่ ณ วันนี้ ผมต้องเริม่ ทุกอย่างใหม่หมด ลูกผมยังเล็ก จะวางอนาคตอะไรให้ลูก ตอนนี้ยอมรับว่า ยังมืดอยู่ ล�ำบากมากเลยนะ” แต่ ก ารเดิ น ไปข้ า งหน้ า ของลู ก ผมอี ก 10-20 ปี ข ้ า งหน้ า จะเป็ น ยั ง ไง ใครรับผิดชอบ แค่นั้นเอง” เขาบอกว่า ในความเป็นราชการ ถ้าสิทธิ์สวัสดิการต่าง ๆ ขณะปฏิบัติหน้าที่ ทหาร ต�ำรวจ มีได้ ท�ำไมพยาบาลมีไม่ได้

60

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


“เราก็เข้าเวร 8 ชัว่ โมงเหมือนกัน ต้องอยูก่ บั ผูป้ ว่ ยทัง้ เวรเหมือนกัน แต่ตอนนี้ ผมต้องเป็นทั้งพ่อ ทั้งแม่ ไปในตัวแล้วใครจะมาแชร์ความรับผิดชอบกับผมและสิ่งที่ อยู่ข้างหลังบ้าง” กฤตกรกล่าวทิ้งท้าย

รถพยาบาล รพ.เกาะลันตา จ.กระบี่ พลิกคว�่ำ 15-3-57 ภาพจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

....................................

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

61



สงกรานต์ เลือด “7 วันอันตราย มิได้หมายถึงการเตือนให้ระมัดระวังการขับขีย่ วดยานพาหนะ ในช่วงปีใหม่เท่านั้น หากในวันนี้ ยังเพิ่มพีเรียดเป็นช่วงก่อนและหลังสงกรานต์ ด้วยเช่นกัน” เสียงผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ ก�ำลังอ่านการคาดการณ์จากต�ำรวจทางหลวง เตือนผู้ขับขี่รถยนต์ให้ระวังการขับรถในช่วงเทศกาลปีใหม่ไทย ดังลอดรายการ ข่าวเช้ารายการหนึ่งไทย ในเช้าวันสุกดิบก่อนสงกรานต์ 1 วัน “ สงกรานต์นี้ จะมีอะไรหนักๆ มัย๊ นะ” อนุสรณ์ อุระ พยาบาลวิชาชีพปฏิบตั กิ าร หอศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาล ขอนแก่น ละสายตาจากรายการโทรทัศน์ พลางคิดถึง งานรีเฟอร์ทกี่ ำ� หนดตารางเวรส�ำหรับเขาแล้วคือวันที่ 13 เมษายน 2557 ประสบการณ์ทำ� งานกว่า 9 ปีในวิชาชีพพยาบาล บอกเขาว่า นีค่ อื อีกช่วงหนึง่ ของการเข้าเวรรีเฟอร์ที่อันตรายที่สุด “อนุสรณ์ มีเคสผู้ป่วยที่ต้องไปส่งที่โรงพยาบาลสรรพประสิทธิประสงค์ ที่อุบลหน่อย ว่างมั๊ยล่ะ” เสียงหัวหน้าพยาบาลถามกับเขาก่อนสงกรานต์ 2 วัน

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

63


“ได้ครับพี่” อนุสรณ์ รับอาสาด้วยตนเอง พลางนึกถึงผู้ป่วยอุบัติเหตุ ที่เขาต้องน�ำส่งนั้น เป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องปอดแตก สะโพกแตก แต่ยังคาท่อ เครือ่ งช่วยหายใจ และเอาออกไม่ได้เพราะหลอดลมทีค่ อยังบวมอยู่ ซึง่ หากถอดออก ไปแล้ว ผู้ป่วยจะหายใจไม่ได้ และถ้าใส่กลับคืน จะยากมาก ต้องรอให้ยุบบวมก่อน ด้วยสภาพร่างกายผู้ป่วยแบบนี้ หากเป็นรายอื่น อาจมีความประสงค์ที่รับ การรักษาทีโ่ รงพยาบาลเดิมไปก่อน แต่เนือ่ งจากสภาพเศรษฐกิจเป็นเหตุ ท�ำให้ญาติ ผูป้ ว่ ยรายนี้ ตัดสินใจน�ำผูป้ ว่ ยกลับบ้านเพราะต้องการลดรายจ่าย รวมถึงญาติพนี่ อ้ ง ที่จังหวัดอุบลฯ จะมาเยี่ยมได้ง่าย และเมื่อวันเดินทางมาถึง ...9 โมงเช้าจึงเป็นเวลาที่ล้อหมุน... ...ผู้ป่วยถูกล�ำเลียงมายังหน้าห้องฉุกเฉิน และมีการใช้รถแอดวานซ์ ส�ำหรับ ผู้ป่วยวิกฤตที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ตามหลักแล้ว ผูป้ ว่ ยวิกฤตเช่นนี้ ต้องมีพยาบาล 2 คนเพือ่ ช่วยกันดูแลระหว่าง น�ำส่ง แต่เนื่องจากวันนั้นเป็นวันสงกรานต์ ต้องมีการแสตนด์บายพยาบาลที่ โรงพยาบาล ท�ำให้มีเพียงอนุสรณ์คนเดียวที่เป็นพยาบาลไปกับรถ โดยมีญาติผู้ป่วย ติดรถกลับบ้านที่อุบลฯ อีก 3 คน “ผู้ป่วยคนเดียว น่าจะไหว” อนุสรณ์คิด พร้อมกับมองไปที่เพื่อนร่วมทาง ที่ประกอบด้วยพนักงานขับรถ ผู้ป่วย แม่ผู้ป่วย ภรรยาและลูกผู้ป่วยวัย 6 ขวบ รวมถึงตัวเขาเองอีก 1 คน “จริง ๆ เราก็ให้ขนึ้ เฉพาะทีจ่ ำ� เป็น แต่ทใ่ี ห้กลับด้วยกันเพราะเขาแค่จะกินข้าว แต่ละวันก็ยังล�ำบากเลย ไม่มีเงิน ก็ให้ไปรถโรงพยาบาล ก็ได้ จะได้ประหยัด ค่าเดินทาง” อนุสรณ์ บอกสาเหตุที่มีผู้โดยสารติดรถไปในวันนั้น

64

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


ระหว่างน�ำส่ง ทุกอย่างราบรื่น ...กระทั่ง 10 โมงเศษ รถพยาบาลวิ่งมาถึง บริเวณทุ่งเขาหลวง ช่วงรอยต่อจังหวัดขอนแก่นกับอ�ำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ทางผ่านก่อนจะถึงจังหวัดอุบลฯ.... อุบัติเหตุก็เกิดขึ้น ถนนสองเลนที่ต้องวิ่งสวนทางกัน ก่อนขึ้นสะพานข้ามแม่น�้ำมูลบริเวณ ที่เกิดเหตุนั้น ดูเผินๆ ก็ไม่น่าจะมีอะไร หากไม่มีรถปิ๊กอัพคันหนึ่ง วิ่งสวนทางและ แซงขวามาในระยะกระชั้นชิดในจังหวะที่รถพยาบาลมาถึงพอดี แม้พนักงานขับรถจะพยายามหักออกขวาแล้วก็ตาม แต่กย็ งั ถูกชนด้านคนขับ จนท�ำให้รถพยาบาลหมุนคว้าง เกือบตกแม่น�้ำ หลังเหตุการณ์ อนุสรณ์ สลัดความมึนงง เห็นผูป้ ว่ ยยังมีทอ่ หายใจ และทุกคน ยังอยู่ในรถ ไม่มีใครกระเด็นออกไปนอกรถ ท�ำให้เบาใจไปเปราะหนึ่ง “ผมกระเด็นไปข้างหน้า ชนกระจกช่องเล็กที่คุยกับคนขับ โชคดีที่รถแค่ หม้อน�ำ้ แตก ไม่มไี ฟไหม้ และทีเ่ ราวิง่ ไม่เร็ว เพราะผูป้ ว่ ยก็ไม่เร่งด่วนเพือ่ ให้ถงึ ทีห่ มาย บวกกับเทศกาลสงกรานต์ กลัวคนสาดน�้ำถนนลื่น เราแค่เปิดไฟ เปิดไซเรนเฉพาะ ช่วงจราจรหนาแน่น ความเร็วประมาณ 100” เขากล่าว หลังเกิดเหตุ ทั้งหมดถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลเสลภูมิ และโรงพยาบาล ร้อยเอ็ดตามล�ำดับ และพบว่า มีผู้บาดเจ็บดังนี้ คือ ผู้ป่วยฐานกะโหลกแตก ภรรยา ผู ้ ป ่ ว ยกรามหั ก แม่ ผู ้ ป ่ ว ยกระดู ก ต้ น แขนหั ก ส่ ว นผู ้ ป ่ ว ยก็ ส ่ ง ต่ อ ไปรั ก ษาต่ อ ที่โรงพยาบาล ร้อยเอ็ด และส่งต่อที่อุบลราชธานี ส่วนอนุสรณ์เอง ได้กลับมาพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลขอนแก่นต้นสังกัด เขาเล่าว่า แม้ในเบื้องต้นจะมีการเอ็กซเรย์สมองและไม่พบสิ่งผิดปกติใด ๆ รวมถึงไม่มีเลือดออกในสมองก็ตาม

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

65


ภาพแสดงรถพยาบาล โรงพยาบาลขอนแก่น หลังการเกิดเหตุ

แต่ภายหลัง 2-3 เดือนหลังจากอุบัติเหตุ เขาเริ่มปวดหัวเรื้อรัง ....มากขึ้น และมากขึ้น อนุสรณ์เดินหน้าปรึกษากับหมอ ๆ ก่อนจะได้รับค�ำตอบว่า น่าจะเป็นอาการ หลังจากเกิดอุบตั เิ หตุ เข้าใจว่า เป็นอาการหลังจากทีส่ มองได้รบั บาดเจ็บจากอุบตั เิ หตุ ซึ่งขณะนี้ ท�ำได้เพียงการรักษาตามอาการ เขาเล่าว่า อาการขณะนี้คือ “มันยังไม่ปวดมาก แต่ปวดพอร�ำคาญปวดตื้อ ๆ ตอนนี้ก็ยังมีอาการปวดหัว ปวดตลอด 24 ชั่วโมง” เขาเล่าว่า ก่อนหน้านี้ อาการปวดมีเล็กน้อย ซึง่ กินยาก็พอทุเลา ยังพอท�ำงานได้ แต่ก็เริ่มเป็นหนักขึ้นคือ เริ่มมีหูอื้อ ไม่ได้ยินเสียง หน�ำซ�้ำ ขณะนี้หูข้างซ้ายของเขา แทบจะไม่ได้ยินเสียง อนุสรณ์ไปหาหมออีกครั้ง โดยเจาะจงตรวจกับหมอเฉพาะทาง เพื่อตรวจ หู คอ จมูก ซึง่ หมอได้ลงความเห็นว่า เขามีอาการเวียนหัวแบบบ้านหมุน จากอุบตั เิ หตุ ซึ่งปกติอาการแบบนี้เกิดขึ้นกับผู้สูงวัยที่น�้ำในหูไม่เท่ากัน

66

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


“แต่เคสผมคือ เกิดจากอุบัติเหตุ ผมเอาฟิล์มเอ็กซเรย์สมอง ไปให้อาจารย์ หมอ ก็บอกว่า น่าจะเป็นที่หูชั้นกลางเสื่อมเนื่องจากฐานกะโหลกแตก ท�ำให้น�้ำในหู ไม่เท่ากัน ส่งผลเรื่องของการทรงตัว และเรื่องเวียนหัว” ดังนั้น สิ่งที่เขาท�ำได้คือ รักษาตามอาการ ตรวจการได้ยิน ซึ่งขณะนี้ หูซ้าย ได้ยินเพียง 70-80 เปอร์เซ็นต์ และมีอาการเวียนศีรษะตลอดเวลา สลับกับมีอาการ คลื่นไส้อาเจียนเล็กน้อย ผลกระทบที่ตามมาคือ เขาไม่สามารถขึ้นเวรได้ โดยเฉพาะเวรบ่ายนั้น หมดสิทธิไ์ ปโดยปริยายเพราะจะเริม่ มีอาการปวดศีรษะถึงขัน้ นัง่ ท�ำงานไม่ได้ จ�ำเป็น ต้องฉีดยาแก้วิงเวียน แล้วค่อยท�ำงานต่อและลาป่วยไม่ได้ เพราะจะไม่มีคนท�ำงาน “ทุกวันนีก้ ย็ งั มีอาการปวดหัวไม่หาย เป็นจะครบปีแล้ว ไปหาหมอก็คงรักษา ได้ตามอาการ ไม่ได้มีอาการที่รักษาเฉพาะเจาะจง แต่ไม่หายขาด” “ตอนแรกก็เครียดนะว่าเมือ่ ไหร่จะหาย แต่ตอนหลังก็ทำ� งานได้ ก็อยูก่ บั มันไป” อนุสรณ์กลั้วเสียงหัวเราะเยาะเย้ยโชคชะตาที่เล่นตลกกับเขา “ผมมีอาการวิงเวียน เดินเซ ก็ช่างมัน ตอนแรกผมก็ไม่มั่นใจ เพราะผมก็ต้อง ฉีดยาผู้ป่วย คือถ้าเริ่มมีอาการ ก็ไม่ได้รักษาผู้ป่วย ก็เปลี่ยนไปอยู่ต�ำแหน่งอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย” “เช่นไปเป็นหัวหน้าเวร หรือคนประสานงานแทน คือถ้าเริ่มมีอาการ ก็ขอ สลับหน้าที่ไปท�ำงานในหน้าที่อื่นแทน” เขาเล่าว่า ระยะแรก ยอมรับว่า กลัวเข้าเวรรีเฟอร์มาก แต่หลังจากนัน้ ก็เริม่ ท�ำใจและท�ำงานปกติ รวมถึงการเข้าเวรรีเฟอร์

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

67


ส�ำหรับการช่วยเหลือจากภาครัฐนั้น อนุสรณ์เล่าว่า ได้รับเงินชดเชยในส่วน ของประกัน พ.ร.บ. ประกันอุบัติเหตุของรถโรงพยาบาล ซึ่งมีค่าชดเชยค่ารักษา พยาบาล 15,000 บาท และค่าชดเชยของรถคันที่มาชน ที่เป็นประกันชั้น 1 อีก 5 พันบาท นอกจากนี้ ยังมีเงินช่วยเหลือของส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เข้ามาช่วยการบาดเจ็บจากการให้บริการ ให้เงินช่วยผู้ป่วยบัตรทอง 1 หมื่นบาท ซึง่ แต่ละ่ แห่ง ต้องใช้เอกสารต่างๆ ประกอบค�ำร้องจ�ำนวนมาก รวมถึงเรือ่ งทีเ่ ขาต้อง เสียเวลามากที่ต้องลางานเพื่อไปให้ปากค�ำทั้งกับศาล และต�ำรวจ “หลังเหตุการณ์ แม่ก็ถามว่า ยังจะท�ำงานแบบนี้ต่อไปมั๊ย อันตรายนะ ก็ตอบแม่ว่า ผมก็เลือกเส้นทางนี้แล้วตั้งแต่สมัครเข้าเรียนแล้ว” “ผมก็คงท�ำงานที่โรงพยาบาลขอนแก่น ไม่ได้ย้ายไปไหน ผมยังรักงาน รักองค์กรนี้ คงไม่ย้ายไปไหน ก็คงยังต้องท�ำรีเฟอร์ ท�ำเหมือนเดิมทุกอย่าง เพราะ อุบัติเหตุก็ไม่ใช่ความประมาทของบุคลากรที่เราไปร่วมงานด้วย ไม่ใช่ความผิดของ คนขับรถ” “แต่บางทีกค็ ดิ น้อยใจเรือ่ งสวัสดิการต่าง ๆ ของเราท�ำไมเป็นแบบนี้ ท�ำไมดูแล เจ้าหน้าทีก่ นั แบบนี้ แม้กระทัง่ ขอหยุดเพิม่ ก็ทำ� ไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะข้อจ�ำกัดของ โรงพยาบาล เพราะไม่มีคนที่จะมาท�ำงาน” “น้อง ๆ ใหม่ ๆ ท�ำงาน 1-2 ปี ก็ลาออก คนก็ไม่พอ พวกผมก็ตอ้ งอยูเ่ วรช่วยกัน เหมือนเดิมเพราะไม่มคี น ถ้าเจ้าหน้าที่ ไม่พอ ก็กระทบกับผูร้ บั บริการ ประสิทธิภาพ มันก็ท�ำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะต้องสลับกันตามจ�ำนวนคนที่เหลือในการพักหรือ แลกเวรกัน”

68

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


“งานนี้เหมือนเจ็บก็เจ็บไป แต่ถ้าเสียชีวิตขึ้นมาล่ะ ผมก็ยังมองไม่เห็น หลักประกันอะไรเลยว่า พวกเราจะได้อะไร คนข้างหลังเราล่ะ” “ถ้าผมเจ็บไป 1 คน ก็กระทบกับครอบครัวอยู่แล้ว ผมโสด แต่ยังมีพ่อ แม่ ที่ต้องดูแล ผมยังโชคดีที่ไม่เป็นเยอะ” เขาเล่าอีกว่า ที่น่าเจ็บปวดคือ กรมธรรม์ 4 ฉบับที่เขาจ่ายเองนั้น น�ำมาเบิก ไม่ได้แม้แต่ฉบับเดียว เนื่องจากทุกบริษัทให้เหตุผลว่า พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัย จะให้เบิกได้ แต่เบิกซ�้ำกันไม่ได้ นั่นคือ ต้องเลือกเคลมบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เท่านั้น “อ้าว อย่างนี้ผมจะท�ำท�ำไมตั้ง 4 กรมธรรม์ ทุกบริษัทก็กางสัญญาในท้าย กรมธรรม์ให้ดูว่า เป็นไปตามจริงที่บอก เพราะสามารถตรวจสอบ ข้อมูลกลาง ของบริษัทได้ว่า ผมเบิกที่ไหนไปแล้ว สุดท้ายก็เคลมที่ไหนไม่ได้เลย ก็เลยยกเลิก ทั้ง 4 กรมธรรม์ เพราะบอกว่า ต้องเสียชีวิตเท่านั้น” ส่วนเรือ่ งของค่าตอบแทนนัน้ เขาตัง้ ข้อสังเกตว่า การออกรีเฟอร์มคี วามเสีย่ ง มากกว่าการอยู่โรงพยาบาล เพราะเกี่ยวกับสวัสดิภาพ และความปลอดภัยของ พยาบาล เพราะฉะนั้น น่าจะมีการตอบแทนมากกว่าปกติ “ถ้าต�ำรวจทหาร มีคา่ เสีย่ งภัยในการปฏิบตั หิ น้าที่ หรือเสียชีวติ ระหว่างปฏิบตั ิ หน้าที่ก็จะได้เพิ่มต�ำแหน่ง เงินเดือน ชั้นยศ กี่ขั้น ท�ำไมเขาได้” “ท�ำไมพยาบาลไม่มลี ะ่ เหมือนน้องพยาบาลทีร่ อ้ ยเอ็ด หรือพีพ่ ยาบาลทีก่ ระบี่ ทีเ่ สียชีวติ ระหว่างรีเฟอร์ผปู้ ว่ ยนัน่ ล่ะ ได้รบั การช่วยเหลือทีเ่ ป็นชิน้ เป็นอันหรือไม่ หรือ แม้แต่ผมเองที่แต่บาดเจ็บขนาดนี้ ท�ำไมไม่ได้อะไรเลย ประเมินผลงานปลายปียังแค่ พอใช้ คือได้แค่ 60 เปอร์เซ็นต์”

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

69


“ผมเคยถาม HR ว่า ผมท�ำงานขี้เหร่ขนาดไหน เขาบอก คุณหยุดเยอะ ลาเยอะเกือบ 20 วัน ไม่มีสิทธิ์ที่จะขึ้นเงินเดือนด้วยซ�้ำ ผมก็แย้งว่า ผมลา เพราะ ผมประสบอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานนะ ผมมาท�ำงานให้ราชการนะ การบาดเจ็บ ไม่ใช่เกิดจากการลาของผมเองนะ” “และถ้าผมตายล่ะ เหมือนน้องพยาบาลที่ร้อยเอ็ด ผมคงต้องตายฟรีใช่ม๊ัย ผมตาย พ่อแม่ผมใครจะดูแลล่ะ ถ้าผมตายก็คงได้แค่สิทธิ์ความเป็นข้าราชการ เบิกจ่ายตรงส�ำหรับพ่อแม่คงไม่ได้แล้ว ค่าใช้จ่ายในบ้านอีกล่ะ ท�ำไง ใครรับผิดชอบ ใครจะเป็นคนดูแลให้ถ้าผมตายไป ถึงแม้ผมจะได้สิทธิ์ก็ตามและได้เงินเป็นก้อน แต่ก็ไม่คุ้ม” เขาตัง้ ค�ำถามกลับว่า หากกฎระเบียบยังเป็นแบบปัจจุบนั ต่อไป จะมีพยาบาล ที่ไหนไปรีเฟอร์ผู้ป่วย เพราะลึก ๆ ก็คงไม่มีใครอยากไป แต่ที่ไป ไปด้วยด้วยภาระ หน้าที่ความรับผิดชอบ แต่เต็มไปด้วยความเสี่ยงภัยสารพัด ซึ่งน่าจะมีค่าความเสี่ยง ที่เกิดจากความเสี่ยงของการท�ำงานด้วยเช่นกัน “ผมก็เลยมองว่า เคสของผมที่ไป เราก็ระวังเต็มที่แล้ว เราไม่ได้ขับเร็ว เราเซฟทุกอย่าง เราระวังคนอืน่ เราไม่ได้ฝา่ ไฟแดง และยังย�ำ้ กับพีพ่ นักงานขับรถว่า พี่ขับช้า ๆ นะ ไม่ต้องเร็วนะ แต่เขาก็ยังมาชนกับเรา คือขับพ้นคันแรก แต่มาชน คันที่ 2 ของเราจนได้ ซึ่งผมว่า เป็นเรื่องพิกลพิการอะไรบางอย่างของระบบ” สิ่งที่อยากเห็นคือ สิทธิ์สวัสดิการต่าง ๆ ที่ควรจะมีการตอบแทนพอสมควร ทบทวนในเรื่องมาตรการป้องกันความเสี่ยงเรื่องของความปลอดภัยต่าง ๆ ส�ำหรับ บุ ค ลากรทางการแพทย์ รวมถึ ง หากมี ค ดี ค วามขึ้ น มา ก็ ค วรจั ด เจ้ า หน้ า ที่ ใ ห้ ความช่วยเหลือและให้ข้อแนะน�ำในเรื่องกฎหมาย

70

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


อนุสรณ์บอกอีกว่า เรื่องการติดตั้งอุปกรณ์เช่นเข็มขัดนิรภัยที่เหมาะสม เพิ่ม ส�ำหรับทีน่ งั่ ด้านหลังรถพยาบาล ก็เป็นสิง่ ทีเ่ ขาอยากให้มกี ารออกกฎระเบียบในเรือ่ ง นี้ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจในระดับหนึ่งแก่เจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติงาน “จริง ๆ จะมีเบลท์ส�ำหรับพยาบาล คาดตรงสะโพก แต่ว่ามันไม่สะดวกเวลา ปฏิบัติงาน เพราะผมต้องลุกนั่งตลอดเวลา เพราะดูผู้ป่วย วัดความดัน ต้องเอื้อมไป หยิบอุปกรณ์ตลอด ก็เลยมีการปรับให้หมุนได้ทั้งที่ยังคาดเบลท์อยู่ เพื่อให้สะดวก ในการท�ำงาน” “ส่วนที่นั่งของผู้โดยสารภายในรถเช่นอาจจะมีญาติ หรือผู้โดยสารอีกคนจะ มีการเพิ่มเบาะและเบลท์ของทุกคนที่อยู่ในรถ รู้สึกว่าจะเป็นของสพฉ ที่ประกาศ ให้ใช้ ให้มีเบลท์ทุกต�ำแหน่ง” อนุสรณ์สะท้อนความเห็นว่า ถ้าความคิดของเขา จะท�ำให้มกี ารเปลีย่ นแปลง ใดทีเ่ ป็นไปในทางทีด่ ขี นึ้ เพือ่ สิทธิ์ สวัสดิภาพของชาวพยาบาล ก็ถอื ว่า เขาประสบผล ส�ำเร็จในฐานะผู้สูญเสียรายหนึ่งจากการรีเฟอร์ “คือก่อนหน้านั้นก็มีการติดจีพีเอสอยู่แล้ว ควบคุมความเร็ว จริง ๆ ทาง ไกลขนาดนั้นน่าจะมีคนขับ 2 คน แต่ว่าด้วยข้อจ�ำกัดต่าง ๆ หลัง ๆ มีข้อก�ำหนดว่า ถ้าขับเกิน 4 ชั่วโมง ต้องพัก 1 ชั่วโมง” “ตอนหลังก็มีการทบทวนอีกว่า ช่วงเทศกาล จ�ำเป็นต้องมีการรีเฟอร์ผู้ป่วย หรือไม่ หรือกลางคืนก็ไม่ส่งผู้ป่วย เพราะอันตราย และหลัง 2 ทุ่มก็ไม่อนุญาต ให้รถออก ยกเว้นจ�ำเป็นจริง ๆ ขึ้นกับดุลยพินิจของหัวหน้าตึก ที่ต้องรายงาน ตามล�ำดับชั้นก่อน”

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

71


“แต่รถรีเฟอร์กม็ อี บุ ตั เิ หตุเรือ่ ย ๆ นะ ก็ไม่มสี ทิ ธิส์ วัสดิการอืน่ ๆ เช่นกัน รุน่ พีผ่ ม ก็ตายที่กระบี่ น้องที่ร้อยเอ็ดก็ตาย รู้สึกว่า ทุกอย่างมันเริ่มใกล้ตัวเข้าไปเรื่อย ๆ” “เราก็เข้าใจสถานการณ์นะ แต่มันท�ำอะไรไม่ได้ บางทีก็บั่นทอนเหมือนกัน เมื่อเทียบกับสวัสดิการที่ได้รับการจัดสรร ทั้งที่เราก็ไปท�ำงาน แต่กลับไม่ได้รับการ ดูแลเท่าที่ควร หรือเราเป็นเจ้าหน้าที่ รัฐชั้น 2 ที่ต้องดูแลกันเองตามยถากรรม” อนุสรณ์สะท้อนความเห็นปิดท้าย ....................................

72

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


กู้ภัยคอกช้าง จิตอาสาเพื่อปวงชน

งานบริการสาธารณะ มิได้จ�ำกัดแต่ต้องเป็นหน้าที่ฆราวาสเท่านั้น.... ที่อ�ำเภอธารโต จังหวัดยะลา ยังมีสมาคมกู้ชีพกู้ภัยคอกช้าง ท�ำงานบริการ สาธารณะอย่างมิรู้จักเหน็ดเหนื่อย โดยมีอาสาสมัครจ�ำนวน 100 กว่าชีวิต และ บริหารจัดการโดยพระครูนิเทศสุดกิจ เจ้าคณะอ�ำเภอธารโต และพระครูสมุห์พิสิทธิ์ เลขานุการเจ้าคณะอ�ำเภอธารโต พระครูนิเทศสุคกิจ เล่าว่า แนวคิดการจัดตั้งสมาคมคือ เพื่อเป็นการช่วย ราชการ ชาวบ้าน ตลอดจนคนต่างถิน่ ในการล�ำเลียงผูป้ ว่ ยผูบ้ าดเจ็บไปโรงพยาบาล ให้เร็วที่สุด เนื่องจากมีความได้เปรียบจากการรู้จักเส้นทางในพื้นที่เป็นอย่างดี แรกเริ่ม การตั้งสมาคม กลายเป็นค�ำถามของคนในสังคมคนแถวนั้นว่า ท�ำไปท�ำไม แต่เมื่อการท�ำงาน ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์กับคนในชุมชน ก็ท�ำให้มวลชน เริ่มเห็นดีเห็นงานกับฯ รวมทั้งส่วนราชการก็ให้การสนับสนุน ตลอดระยะเวลา 2 ปี ที่มีการจัดตั้งสมาคม ตัวอย่างในเรื่องนี้คือ ในพื้นที่ดังกล่าว ถือว่าเป็นพื้นที่ที่ความเสี่ยงและ ไม่ปลอดภัย

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

73


บ่อยครั้งที่มีเหตุในตอนกลางคืน แต่มักไม่ค่อยมีใครอยากไป เนื่องจาก มีอันตราย แต่ ส� ำ หรั บ กู ้ ภั ย แล้ ว ไม่ มี ป ั ญ หา สามารถปฏิ บั ติ ไ ด้ ต ลอดเวลาภายใต้ ความรู้สึกร่วมกันคือ “จิตอาสา” “ถ้ามีเหตุ เราจะรอเช้าไม่ได้ บางครัง้ ต้องเดินขึน้ เขา เราก็ตอ้ งไปเคลียร์พนื้ ที่ ก่อน ไปถึงที่เกิดเหตุดึก ตี 1 ตี 2 ก็ยังเอาลงมาได้”พระครูนิเทศสุดกิจระบุ “วันก่อน ต�ำรวจตระเวนชายแดน 2 คนโดนระเบิด ขากระเด็น 50-60 เมตร ก็ยังเอาลงมาได้” “ตอน 3 ทุ่มยังหาไม่เจอ เราต้องบอก ทุกคนหันหลังชนกัน เดินไปทีละเมตร จนเจอขากลับมา เรื่องแบบนี้ เจ้าหน้าที่ ไม่ท�ำหรอก รอพรุ่งนี้เช้า” พระครูนิเทศสุคกิจ บอกอีกว่า การท�ำงานแบบนี้ ยังมีเรื่องการสงเคราะห์ ด้วย โดยเฉพาะพื้นที่นี้มีแหล่งน�้ำ 4 หมื่นไร่ บริเวณเขื่อนบางลาง ซึ่งต้องใช้ทางน�้ำ เพื่อการสัญจรโดยการนั่งเรือชั่วโมงครึ่งกว่าจะออกมาได้ และออกมาแล้วจะหารถ ที่ไหนไปส่งต่อโรงพยาบาล “เราเจอแบบนี้บ่อยเพราะมีหมู่บ้านที่อยู่ริมแม่น�้ำอยู่มาก เราก็ต้องช่วย ไม่ว่าจะตี 3 ตี 4 เราก็ต้องท�ำ เราเอารถกู้ภัยออก ถึงวัดก็พอดีใกล้สว่าง ก็เป็นการ บรรเทาทุกข์กนั ไปในเบือ้ งต้น ทีจ่ ะเป็นประโชยน์กบั ทางบ้าน หรือกับสังคม เราก็ทำ� และเป็นการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่อีกทาง “ปัญหาและอุปสรรคของเราคือ เราเพิ่งเริ่มก่อตั้ง ไม่มีเงินมากที่จะบริหาร น�้ำมันยังต้องขอราชการ” พระครูนิเทศสุดกิจเผย

74

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


“ได้หรือไม่ เราก็ไม่ติดใจ แต่เราต้องเตรียมพร้อมตลอด โดยสิ่งที่อยากให้ รัฐช่วยคือ ถ้าเป็นไปได้ อยากได้งบประมาณสนับสนุน เช่น ถ้ามีรถก็ต้องซ่อมบ�ำรุง น�้ำมันต้องเต็มตลอด เพราะที่นี่ไม่รู้จะเติมที่ไหน เพราะเป็นอ�ำเภอที่ห่างจังหวัด 80 กม. หลักที่ 47 ใกล้ชายแดนมาเลเซียอีก 5-6 กม.” “เราท�ำทุกอย่างเพื่อเป็นการช่วยเหลือ อย่างวันก่อน ฝนตกหนัก ดินสไลด์ 30 จุด ทางการก็ได้อาศัยกู้ภัยเราเข้าไปช่วยเหลือ ตัดไม้ กักดิน ท�ำกันจนสว่าง วัดก็ท�ำกับข้าวเลี้ยง วิ่งรถ 3 วัน น�้ำมันหมด 300-400 ลิตร ต้องระดมคน 40-50 คน ไปช่วยกัน ไม่งั้นจะสัญจรไปมาไม่ได้ เพราะถนนปิด” ด้านพระครูสมุห์พิสิทธิ์ เลขานุการเจ้าคณะอ�ำเภอธารโต อุปนายกสมาคม กิติมศักดิ์กู้ชีพกู้ภัยคอกช้าง กล่าวเสริมว่าสมาคมกู้ชีพกู้ภัยคอกช้างในขณะนี้ มีเจ้าหน้าที่เป็นอาสาสมัครจ�ำนวน 150 ชีวิต ส� ำ หรั บ พื้ น ที่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบของกู ้ ชี พ กู ้ ภั ย คอกช้ า งคื อ ทางบก 40 ตารางกิโลเมตร และทางน�้ำอีก 4 หมื่นไร่เหนือเขื่อนบางลาง เหนือทะเลสาบ ฮาลาบาลา ซึ่งปัญหาคือ พื้นที่รับผิดชอบทางน�้ำนั้น สมาคมไม่มีเรือกู้ชีพ ส่วนทางบก ทีต่ งั้ เราห่างจากโรงพยาบาลธารโต 22 กม. ห่างจากโรงพยาบาล เบตง 47 กม. ห่างจากโรงพยาบาล บนังสตา 42 กม. ซึ่งแต่ละเคส สามารถเบิก จากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้เคสละ 350 บาท “ส�ำหรับกู้ภัยอื่น ระยะทางอาจไม่ไกลมาก แต่ของเราค่อนข้างไกล เราได้ ค่าเคสไม่ถึงครึ่งที่เราจ่าย เพราะเราวิ่งท�ำเวลากับท�ำโค้งตลอด ท�ำให้เปลืองน�้ำมัน ๆ เกิน 300 บาทแล้ว เนื่องจากถนนมี 2 เส้น

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

75


“สายล่างสายบน คือเส้นที่จะไปเบตง แล้วเรามาอยู่ในจุดที่ว่า เป็นทางแยก พอดี จะไปสายล่างหรือสายบนก็ได้ แต่นั่นเท่ากับว่า เราต้องรับผิดชอบทั้งสองสาย คล้ายๆ ทางคู่ขนาน และพื้นที่ทั้งหมดของเราคือหุบเหว และโค้ง นั่นคือปัญหา เหมือนพื้นที่ปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นยังไง พื้นที่เราเป็นแบบนั้น คล้ายกันมาก” เลขานุการเจ้าคณะอ�ำเภอธารโตกล่าว “บางที ผูป้ ระสบอุบตั เิ หตุหลุดโค้ง ลงไปในเหว มองลงไป รถกระบะมีขนาดเท่า จยย. ลงไป 200 เมตร” พระครูสมุห์พิสิทธิ์ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องงบประมาณเป็นปัญหาใหญ่ ท�ำให้ สมาคมฯ ไม่มีเงินจัดซื้อเสื้อชูชีพ แม้แต่ตอนนี้หลวงพี่ก็เป็นหนี้ ส่วนตัว 7 แสนบาท ในการซือ้ น�ำ้ มัน ซ่องบ�ำรุงรถ แม้กระทัง่ เจ้าหน้าทีท่ จี่ า้ งมาเป็นเจ้าหน้าที่ วิทยุสอื่ สาร ก็ไม่ได้จ่ายค่าจ้าง 4 เดือนแล้ว “นี่คือปัญหาและอุปสรรคที่ว่า และพื้นที่เราเป็นพื้นที่ห่างไกลและอันตราย เราไม่มีเงินสนับสนุนจากราชการ ยกเว้นได้น�้ำมันจากฝ่ายทหาร 100-200 ลิตร ต่อเดือน “ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ท�ำให้การออกเคสกลางคืนของเรา จะอันตราย อีก 3 เท่าตัว เพราะฉะนั้นเมื่อการแจ้งเหตุ ต่อให้ทราบหรือไม่ทราบว่ามีคนเจ็บหรือ ไม่ รถก็จะออกไปตรวจสอบ ต้องออก 2 คันทันที เพราะจะต้องรักษาความปลอดภัย ซึ่งกันและกัน” เลขานุการเจ้าคณะอ�ำเภอธารโตกล่าว “เรามีอาวุธคือปืนลูกซองของชุดคุ้มครองหมู่บ้านคือลูกข่ายกู้ภัยก็จะเป็น สมาชิก ชรบ. อยู่แล้วตามปกติ อาวุธมีแค่นั้น ถือว่าเสี่ยงนะ แต่มันจ�ำเป็น “ทุกคนไปด้วยใจ ใครมีมีด พร้า ขวานก็ติดไปด้วย ก็ได้แค่นั้นล่ะ ถ้ามันเข้า มาใกล้ ๆ ก็เขวี้ยงใส่ก็แล้วกัน” 76

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


พระครู ส มุ ห ์ พิ สิ ท ธิ์ บ อกว่ า สมาคมฯ ยั ง ออกให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ แม้ แ ต่ ตอนกลางคืน และเกือบทุกครั้ง ตนเองจะออกไปกับรถกู้ชีพกู้ภัย เหมือนเป็นใจ ให้กบั ทีมงาน ซึง่ คนอืน่ อาจจะดูแปลกๆ เพราะแม้แต่กองอ�ำนวยการรักษาความมัน่ คง ภายในหรือ กอ.รมน. ยังเคยถาม เลขานุการเจ้าคณะอ�ำเภอธารโต เล่าว่า ครั้งหนึ่งมีอุบัติเหตุที่ถ�้ำเขาทะลุ 6 ศพ ตกเหว ลึก 10 เมตร แต่มีต้นไม้ใหญ่ขวาง เจ้าหน้าทีช่ ดุ แรกทีไ่ ปถึง วิทยุขอความช่วยเหลือ พร้อมขอเครือ่ งตัดถ่างพร้อมรถ เพราะช่วยมาได้ 1 คน ยังติดอีก 5 คน เราไปถึงเป็นคันที่ 2 รถตัดถ่างตัดไม่ออกแล้ว คอยรถสิบล้อมาลากแต่ไม่มา พระครูสมุห์พิสิทธิ์ ต้องให้คนมุงดู 100 กว่าคนช่วยดึงขึ้นมา “พอหลวงพี่ไปถึง ดึงรถได้ ดึงเด็กผู้หญิงอายุ 5 ขวบ เราดึงออกมาเอง อุ้มทั้งที่เราเป็นพระ อุ้มมาจากเหวขึ้นมาบนถนน เราท�ำซีพีอาร์เอง 2 ชุด พอไปส่ง โรงพยาบาล 2 คนพี่น้อง หมอต้องปั๊มหัวใจ สุดท้ายช่วยเด็กไม่ได้ พระครูสมุห์พิสิท ธิ์ บอกอีก ว่า งานกู้ภัยเป็นสิ่งที่เข้าใจกันยากส�ำหรับ คนทีไ่ ม่รจู้ กั ค�ำว่ากูภ้ ยั ก็จะไม่รซู้ งึ้ แต่คนทีเ่ คยช่วยชีวติ คนแล้วรอดมาได้ มันจะฝังใจ ทิ้งกู้ภัยไม่ลง “เราก็มาท�ำงานตรงนี้ เริ่มจากกู้เงิน 3 แสน 5 ตอนนั้นเรามีเงินในกระเป๋า 5 หมื่น ก็ไปซื้อรถ 1 คัน ยืมหลวงพ่ออีก 5 หมื่น ติดหลังคา ซื้อไฟ ซื้อวิทยุ “ตอนแรกเป็นกูภ้ ยั เถือ่ นด้วยซ�ำ้ ท�ำงานด้วยอาสาสมัคร 12 คน ด้วยรถคันเดียว และใน 3 คนเป็นคนก่อตั้งร่วมกับเรา แต่ตอนหลังเสียชีวิต 4 คน แต่ 3 คน เป็นคนก่อตั้ง จากอุบัติเหตุ”

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

77


พระครูสมุห์พิสิทธิ์ เล่าว่า เวลานั้น ตนเองเป็นพนักงานวิทยุเอง โดยตอน 5 โมงเย็น รับแจ้ง มีเด็กเป็นไข้สูง จึงได้แจ้งให้รถกู้ชีพกู้ภัยซึ่งเด็กคนดังกล่าว คือลูก ของพนักงานวิทยุนั่นเอง ภายหลังจากรับผูป้ ว่ ย รถกูช้ พี มุง่ หน้าไปทีโ่ รงพยาบาลทันที แต่อกี เพียง 4 กม. จะถึงโรงพยาบาล ก็เกิดเหตุมรี ถหลุดโค้ง ชนประสานงากับรถกูช้ พี แบบไม่ตอ้ งเบรก ทั้งที่รถกู้ชีพก็เปิดทั้งสัญญานไฟและไซเรน ผลปรากฎว่า รถกู้ชีพพลิกคว�่ำ เจ้าหน้าที่กู้ชีพเสียชีวิต 4 ราย คนขับ และพนักงานวิทยุเสียชีวิต ส่วนอีกคนรอด เช่นเดียวกับเด็ก และกลายเป็นข่าว โศกนาฏกรรมดังไปทั่วประเทศ พระครูสมุห์พิสิทธิ์ เผยว่า ปัญหาของสมาคมคือ ไม่มีทุน โดยจ่ายเดือนละ 4 หมื่นรออยู่ทุกเดือน “ค่าเคสเราได้เดือนละ 7 พัน เราต้องหาเงินส�ำรองเดือนล่ะ 3 หมื่น ท�ำให้ อาตมาติดหนี้ 7 แสนกว่า” พระครูสมุหพ์ สิ ทิ ธิ์ ผ่านความรูส้ กึ ว่า เมือ่ ครัง้ ทีส่ มาชิก ถูกรถชนจนเสียชีวติ นัน้ เคยรู้สึกท้อแท้อย่างมาก เพราะผู้เสียชีวิต คือคนที่ร่วมก่อตั้งสมาคม อีกคนเป็น เลขาสมาคม “วันเผา เราเรียกประชุม บอกกับทุกคนที่มาร่วมงานว่า งานแบบนี้เราท�ำ คนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ จะท�ำต่อมั๊ย จะยุบหรือเดินต่อ” พระครูสมุห์พิสิทธิ์ประกาศต่อหน้าอาสาสมัครในวันนั้น “แต่ถา้ ถามเรา ๆ สูต้ อ่ แค่เราสะดุด มีแผลทีเ่ ท้า เราล้ม เราต้องลุกขึน้ ยืนให่ได้ พอซาวด์เสียงทุกคนบอกว่า เอาต่อ ไม่มีใครบอกว่าจะถอย”

78

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


“ตอนนัน้ ประชุมหน้าไฟทีก่ ำ� ลังเผาศพ ตัง้ เรียงกัน 4 ศพ เราประกาศต่อหน้า วีรชนผู้สูญเสียของพวกเรานี่ล่ะ เพราะฉะนั้นเราสู้ต่อ” “เราซึ้งใจมาก น�้ำตาเอ่อ บอกว่า ถ้าเราไม่เป็นพระ เราจะกราบที่ตีนทุกคน เพราะทุกคนไม่ท้อ ไม่ถอย เป็นพลังของชาวบ้าน ที่เห็นความส�ำคัญ” “ตอนนี่เราเป็นทุกข์นะ ไม่สามารถหาเงินมาบริหารจัดการให้เพียงพอได้ แต่ละเดือน เราจ้างเจ้าหน้าที่ วิทยุ เดือนละ 4 พัน 2 คน ไม่จ่าย 4 เดือน ทุกคน ก็ท�ำด้วยใจ” พระครูสมุห์พิสิทธิ์กล่าวทิ้งท้าย

นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร และ พระครูสมุห์ พิสิทธิ์ ....................................

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

79



ดอกไม้ที่หายไป ““พฤษภกาสร

อีกกุญชรอันปลดปลง

โททนต์เสน่งคง ส�ำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา””

(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส)

“ทุกครั้งที่ไปรีเฟอร์ ไม่แน่ใจว่าจะได้กลับบ้านหรือเปล่า” “โชคดีก็ดีไป บาดเจ็บ หรือตาย ใครรับผิดชอบ” “ลูกเรายังเล็ก ใครจะดูแลถ้าเราเป็นอะไรไป” นี่คือบางสิ่งบางอย่างที่สะท้อนความในใจของพี่น้อง พยาบาลและบรรดา อาสากู้ชีพ กู้ภัย ที่ต้องเสี่ยงชีวิตทุกครั้งที่ล้อหมุนไปช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ ตราบใดที่รถ พยาบาล รถอาสาสมัครกู้ชีพ กู้ภัยยังต้องท�ำงานแข่งกับ เวลาโดยมีชีวิตผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บเป็นเดิมพัน... เรื่องอุบัติเหตุก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ ตลอดเวลา และเป็นหน้าที่ ที่ผู้เสียสละเหล่านี้ ไม่เคยปฏิเสธ เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

81


โศกนาฏกรรม ครัง้ แล้ว ครัง้ เล่า ในรอบปีทผี่ า่ นมา ในการไปปฏิบตั หิ น้าทีเ่ พือ่ ช่วยเหลือเพือ่ นมนุษย์ กลายเป็นการเดินทางครัง้ สุดท้ายของคนเหล่านี้ ทีไ่ ม่มโี อกาส แม้แต่จะสั่งเสีย และไม่มีโอกาสกลับมาบ้าน เพื่อร�่ำลา หรือพบหน้าครอบครัว อันเป็นที่รักยิ่ง ในครั้งสุดท้าย 28 ธันวาคม 2553 นางสาวอุไรวรรณ ปลอดฤทธิ์ อายุ 25 ปี โรงพยาบาล เหนื อ คลอง จั ง หวั ด กระบี่ เสี ย ชี วิ ต เนื่ อ งจากรถกระบะวิ่ ง มาชน รถพยาบาล ขณะก�ำลังกลับจากส่งผู้ป่วย

อุไรวรรณ ปลอดฤทธิ์

ยี่สิบแปด ธันวา ปีห้าสาม

ความงดงาม เหนือคลอง ดูหมองหม่น

นางฟ้าน้อย คล้อยจาก ครอบครัวตน เพื่อผู้คน เจ็บป่วย ด้วยเมตตา

82

อุไรวรรณ ปลอดฤทธิ์ ชีวิตดับ

เธอลาลับ ขาดใจ วัยยี่สิบห้า

ขอกุศล ผลบุญ ทุนท�ำมา

ช่วยน�ำพา สู่สวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


26 ธันวาคม 2555 ภัทรพร ขจัดมลทิน พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาล ศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ รถพยาบาลฉุกเฉินของโรงพยาบาลศรีสะเกษ ถูกชนขณะ ก�ำลังเดินทางไปรับผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

ภัทรพร ขจัดมลทิน

20 มกราคม 2557 เหตุรถกู้ชีพกองทุนชีพประชาสงเคราะห์บ้านคอกช้าง อ�ำเภอธารโต จังหวัดยะลา ถูกรถกระบะชนท�ำให้เจ้าหน้าทีก่ ชู้ พี เสียชีวติ 4 คน ได้แก่ 1) นายอากาว วณิชยามงคล 2) นางปภานิน นันทศักดิ์ 3) นางศิริกุล สมัครไทย 4) นายไพโรจน์ ทองจริง

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

83


11 ก.พ. 2557 วีไลวรรณ แก้วเขียว อายุ 25 ปี เสียชีวิตขณะไปส่งผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดไปที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น แต่ระหว่างทางใน อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม รถพยาบาลฉุกเฉินของ รพ.ร้อยเอ็ด ได้ประสบอุบัติเหตุพลิกคว�่ำตกถนน

ภาพจาก หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก

15 มีนาคม 2557 นางวรรณวิไล ก๊กใหญ่ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาล เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ขณะน�ำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลกระบี่ รถพยาบาลประสบ อุบัติเหตุ เสียชีวิต

วรรณวิไล ก๊กใหญ่ 84

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


16 กรกฎาคม 2557 นายวิสิษฎ์ มณีแดง ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น มูลนิธิสว่างรุ่งเรืองธรรมสถาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและอ�ำนวยความสะดวกด้านการจราจรเหตุรถพ่วงชนต้นไม้ โดยได้ถูกรถกระบะชน เสียชีวิต

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

85


17 กรกฎาคม 2557 นางสาวสมาพร เชิดชู ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น มูลนิธริ วมใจการกุศลราชบุรี จังหวัดราชบุรี ระหว่างปฏิบตั หิ น้าทีช่ ว่ ยเหลือผูบ้ าดเจ็บ และอ�ำนวยความสะดวกด้านการจราจร รถจักรยานยนต์ชนกับรถจักรยานยนต์ โดยได้ถูกรถกระบะชนเสียชีวิต

28 กันยายน 2557 กู้ภัยข่าวภาพพิษณุโลก นามเรียกขาน ข่าวภาพ 23 ที่ชื่อ นันทพงษ์ จันทร์บรรจง อายุ อายุ 27 ปี หรือ อาร์ม เสียชีวิตคือ เสียชีวิต จากการจมน�้ำระหว่างลงไปช่วยงมร่างผู้เสียชีวิตที่ อ.บางระก�ำ จ.พิษณุโลก

นันทพงษ์ จันทร์บรรจง 86

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


นี่คือตัวอย่าง ผู้เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่จากการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ทีเ่ จ็บป่วยและประสบภัย เพือ่ ให้ผเู้ จ็บป่วยพ้นวิกฤติ ปลอดภัย โดยมีแพทย์ พยาบาล ตลอดจนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ ทุ่มเทท�ำงาน ด้วยความเสียสละและ อุทศิ ชีวติ ในการช่วยเหลือทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย และการปฏิบตั งิ านในแต่ละครัง้ มีความยากล�ำบาก ซึ่งความสูญเสียบุคลากรที่มีคุณค่าเหล่านี้นับเป็นโศกนาฏกรรม ที่ยิ่งใหญ่กับวงการกู้ชีพ กู้ภัย ของประเทศ คุณงามความดีของผู้เสียสละทุก ๆ ท่าน จะอยู่ในความทรงจ�ำของพวกเราตลอดไป ....................................

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

87


สปสช.เยียวยากรณีรถพยาบาล รพ.ลันตาคว�่ำ Mon, 2014-03-17 17:54

สปสช.เยียวยากรณีรถพยาบาล รพ.ลันตาคว�่ำ ตามม. 41 และ 18(4) มอบอนุกก.จว.พิจารณา วงเงินชดเชยรายละไม่เกิน 4 แสนบาท สปสช. แสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย กรณี “อุบัติเหตุรถพยาบาลฉุกเฉิน รพ.ลันตา พลิกคว�่ำ” ระบุ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ม.41 และ 18(4) เยียวยาทั้งผู้รับและผู้ให้บริการ มอบอ�ำนาจ “คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัย ค�ำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นระดับจังหวัด” พิจารณาตามหลักเกณฑ์ชดเชย ความเสียหาย เสียชีวิตได้รับชดเชยตั้งแต่ 2.4 แสนบาทถึง 4 แสนบาท รวมถึงทารก ในครรภ์ด้วย นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีรถพยาบาลฉุกเฉินโรงพยาบาลเกาะลันตาซึง่ เกิดอุบตั พิ ลิกคว�ำ่ บริเวณถนนสายหัวหิน-ห้วยน�้ำขาว ม.10 ต.ห้วยน�้ำขาว อ.คลองทอม จ.กระบี่ ท�ำให้ มีผู้บาดเจ็บ 4 ราย และเสียชีวิต 2 ราย โดยผู้เสียชีวิต คือ นางสาเราะห์ วะเจดีย์ อายุ 17 ปี ท้องแก่ 9 เดือน และนางวรรณวิไล ก๊กใหญ่ อายุ 37 ปี พยาบาล โรงพยาบาลเกาะลันตา ว่า จากอุบตั เิ หตุดงั กล่าวนับว่าเป็นความสูญเสียอย่างยิง่ และ คงไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น จึงขอแสดงความเสียใจกับผู้ประสบเหตุ และครอบครัวของผูบ้ าดเจ็บและเสียชีวติ ทัง้ นีอ้ บุ ตั เิ หตุทเี่ กิดขึน้ นับว่าเป็นเหตุสดุ วิสยั เพราะเกิดจากสภาพถนนลืน่ หลังฝนตก ซึง่ เป็นทางระหว่างรถพยาบาลฉุกเฉินวิง่ น�ำส่ง นางสาเราะห์ที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ 9 เดือนและใกล้คลอด ไปโรงพยาบาลลันตาเพื่อ คลอดลูก ถือว่าอยู่ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่

88

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


นพ.วินยั กล่าวว่า ส�ำหรับการช่วยเหลือผูบ้ าดเจ็บและเสียชีวติ จากเหตุการณ์ ข้างต้นนี้ ในส่วนของ “ผู้รับบริการ” นั้น สปสช. จะด�ำเนินการตาม พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 14 และ 18(4) ได้ให้การช่วยเหลือ ทั้งฝ่ายผู้รับบริการและผู้ให้บริการ เพื่อเป็นการช่วยเยียวยาบรรเทาความเสียหาย ที่เกิดขึ้น ส�ำหรับผู้รับบริการนั้น ตาม“ข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2555” ที่เป็นเงิน เพื่อช่วยเหลือผู้รับบริการหรือผู้อุปการะเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ในกรณีที่ ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยของ หน่วยบริการโดยมิต้องรอพิสูจน์ โดยในกรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร หรือเจ็บป่วยเรื้อรังที่ต้องได้รับการรักษาตลอดชีวิต และมีผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อการด�ำรงชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ตั้งแต่ 240,000 บาท แต่ไม่เกิน 400,000 บาท กรณีสูญเสียอวัยวะหรือพิการที่มีผลกระทบต่อการด�ำเนินชีวิต จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 240,000 บาท และกรณี บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีที่ทารกเสียชีวิตในครรภ์ระหว่างการดูแลของหน่วยบริการนั้น ตามข้อบังคับฯ ข้างต้น ยังก�ำหนดให้มีการชดเชยความเสียหายที่ต้องเป็นไปตาม เกณฑ์การพิจารณา ซึ่งจะได้รับการชดเชยเท่ากับอัตรากรณีผู้รับบริการเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวร โดยกรณีนี้หากมารดาได้รับความเสียหายอื่นด้วย ก็ให้ได้รบั เงินช่วยเหลือได้อกี ตามประเภทความเสียหายทีไ่ ด้รบั ทัง้ นีก้ รณีทเี่ กิดขึน้ นี้ ทาง “คณะอนุ ก รรมการพิ จ ารณาวิ นิ จ ฉั ย ค� ำ ร้ อ งขอรั บ เงิ น ช่ ว ยเหลื อ เบื้ อ งต้ น ระดับจังหวัด” จะเป็นผู้พิจารณา

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า

89


ส่วนการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในส่วน “ผู้ให้บริการ” นั้น นพ.วินัย กล่าวว่า ให้ด�ำเนินการตาม “ข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้ให้บริการได้รับ ความเสียหายจากการให้บริการสาธารณสุข พ.ศ. 2556” ซึ่งเป็นกฎหมายเพื่อให้ การดู แ ลผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารในหน่ ว ยบริ ก ารระบบหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ โดย เป็นการชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการสาธารณสุขกับผู้ให้บริการ หรือทายาท มีอัตราการจ่ายค่าชดเชยความเสียหายในอัตราเดียวกับการชดเชย ความเสียหายให้กับผู้รับบริการ โดยมีคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยค�ำร้อง ขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นระดับจังหวัดเป็นผู้พิจารณาตามหลักเกณฑ์การชดเชย ดังกล่าวเช่นกัน นพ.วินัย กล่าวต่อว่า ภายหลังจากการด�ำเนินการตามมาตรา 41 พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ตั้งแต่ปี 2551-2555 มีผู้รับบริการ ที่ยื่นค�ำร้องขอรับการชดเชยทั้งสิ้น 4,260 ราย หรือเฉลี่ย 852 ราย/ปี ในจ�ำนวนนี้ เข้าเกณฑ์การรับการชดเชยทั้งสิ้น 3,531 ราย หรือเฉลี่ย 706.2 ล้านบาท/ปี เป็นจ�ำนวนเงินที่จ่ายชดเชย 401.85 ล้านบาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 82.17 ล้านบาท/ปี โดยภาพรวมการร้องทุกข์เพื่อขอรับการชดเชยความเสียหายในช่วง 5 ปี มีสัดส่วน เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งปี 2555 อยู่ที่ 951 ราย มีการจ่ายค่าชดเชย 64.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ 658 ราย จ�ำนวนเงินค่าชดเชยอยู่ที่ 98,63 ล้านบาท ขณะทีก่ ารชดเชยส่วนผูใ้ ห้บริการ ตามมาตรา 18 (4) พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 โดยในปี 2554-2555 มีผใู้ ห้บริการยืน่ ค�ำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบือ้ งต้น 624 ราย เข้าหลักเกณฑ์รับการชดเชยคิดเป็น 511 รายหรือคิดเป็นร้อยละ 81.89 โดยจ่ายเงินชดเชยช่วยเหลือทั้งหมด 4.50 ล้านบาท ในจ�ำนวนนี้เป็นการจ่ายกรณี บาดเจ็บและเจ็บป่วยต่อเนื่อง 508 ราย อ้างอิงจาก หนังสือพิมพ์ ประชาไท 90

เสียงเพรียก...จากนางฟ้า


รายชื่อคณะท�ำงาน ว่าที่ร้อยตรี ฉลอง ทองแผ่ นางพิศมัย พันธ์ครุฑ นางสาวพรพิมล ธนบัตรชัย นางสาวอนัญญา พันธ์คุณาวัฒน์ นางสินีนุช ชัยสิทธิ์ นางชิดชนก สุวคนธ์ ร้อยต�ำรวจโท อรุณเฉลิม ดาทอง นายจิตติกร จรเจริญ นายอนุรักษ์ สมตน นางดารณี ชูศรี นางนลินรัตน์ เรืองจิรยศ นางสาวศันสนา ลิมปาภรณ์ นางสาวเรวดี หะสิตะพงษ์ นางสาวกีรติสุดา บ�ำเพ็ญบุญชู นางสาวรัชดาวรรณ แสนตา นางพรนภา พวงผกา นางสาวคงขวัญ จันทร์แก้ว นายไพโรจน์ วรรณโรจน์ นางสาวนภมณี พลไพรสรรพ์ นางสาวสุนัชฌา ไชยกาล นางสาวพัชรนันท์ ปราบปราม นางสาวอโนทัย โวหาร นางสาวเอมิกา ศิริขันธ์ นายชนินทร เลื่อมอุไทย นายธนิษฐ์ ศิริสา นายธวัชชัย ใจมั่น นางสาวอภิฤดี ศรีวิรัช



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.