ยุติธรรม วารสาร
เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลในกระบวนการยุติธรรม
ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 ประจำาปี 2559 JUSTICE MAGAZINE
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 85
เก็ บมาเล่า กองบรรณาธิการ
82 | Justice Magazine Ministry of Justice
ยุติธรรม วารสาร
เพื่อเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลในกระบวนการยุติธรรม
ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 ประจำ�ปี 2559 JUSTICE MAGAZINE
ที่ปรึกษา
นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ นายธวัชชัย ไทยเขียว พันตำ�รวจเอก ดุษฎี อารยวุฒิ นายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ นายวิทยา สุริยะวงค์
ปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
บรรณาธิการบริหาร
นายอุทัย ทะริยะ ผู้อำ�นวยการกองกลาง
บรรณาธิการ
นางสาวปทิตตา โฉมประดิษฐ์ หัวหน้ากลุ่มงานประชาสัมพันธ์
กองบรรณาธิการ
นางสาวอัญญรัตน์ กัมปนานนท์ นายกิตติพัทธ์ ศรีเจริญ นางสาวอรวิภา เกือกรัมย์ นางสาวอัญชลี มงคลฉัตร นางสาวธิดาทิพย์ หอมมะลิ นายอรรถพล ปวัตน์รตั นภูมิ นางสาวเสาวลักษณ์ ตั้งจิตต์วัฒนา นางสาวพิมพ์สุภัค โลกานะวัตร นายปัญจกฤตย์ วารายานนท์ นางสาวฐิติพร ฉิมพลีวนาศรม นางสาวปัญญาวีร์ แป้นสุวรรณ
ฝ่ายภาพและศิลปกรรม
นายกฤษดา นายชัชวาล นายพิษณุ นายอรรถโกวิท
ฝ่ายบริหารจัดการ
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
ออกแบบ
adulplus@gmail.com
เจ้าของ
สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
พิมพ์ที่
โรงพิมพ์สำ�นักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติ
สรวงศักดา ศิริสังข์ไชย มลแก้ว คงยิ่ง
หมายเหตุ : วรรณกรรม บทความ หรือข้อคิดเห็นใดๆทีป่ รากฏในวารสาร ยุติธรรม เป็นผลงานของผู้เขียนโดยเฉพาะกองบรรณาธิการไม่จำ�เป็น ต้องเห็นด้วย
ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 ประจำ�ปี 2559 สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม กองบรรณาธิการวารสารยุติธรรม โทรศัพท์ 0 2141 5149 โทรสาร 0 2143 8246 เว็บไซต์ www.moj.go.th E-mail : prmoj@hotmail.com
บทบรรณาธิการ
วารสารยุตธิ รรมฉบับนี้ พบกันในปีพทุ ธศักราชใหม่ 2559 ด้ ว ยบรรยากาศและเรื่ อ งราวใหม่ ๆ ที่ น่ า สนใจมากมาย โดยเฉพาะในแวดวงยุติธรรม ซึ่งเราได้คัดสรรและนำ�มาเสนอ กันอย่างครบถ้วน เรื่องจากปก นำ�เสนอแนวทางการนำ� One Map มาใช้ เพื่ อ ยุ ติ ข้ อ พิ พ าทเรื่ อ งที่ ดิ น ของรั ฐ กั บ ชาวบ้ า นที่ มี ม าตลอด ด้วยการให้ทกุ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องปรับปรุงแนวเขตทีด่ นิ ของรัฐ แบบเดียวกัน บนแผนที่มาตราส่วน 1:4000 ส่วน คอลัมน์คนยุตธิ รรม นำ�ท่านไปพบกับปลัดกระทรวง ยุติธรรมคนล่าสุด นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ นำ�เสนอมุมมอง และแนวทางในการขับ เคลื่อนภารกิจ ของกระทรวงยุติธ รรม ตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ในการนำ�บริการของภาครัฐในสังกัด กระทรวงยุติธรรมไปสู่หมู่บ้าน เพื่อลดความเหลื่อมลํ้าของสังคม ฟังทัศนะเรื่อง “สู่นโยบายยาเสพติดที่มีมนุษยธรรม” จากเวทีประชุมวิชาการในวาระ 9 ปี โครงการกำ�ลังใจในพระดำ�ริ ในคอลัมน์ก�ำ ลังใจในพระดำ�ริ แล้วไปติดตาม “บนเส้นทางสูป่ ที ่ี 42 ปี ของกรมบังคับคดี” ในคอลัมน์เรื่องเล่ายุติธรรม ส่วนคอลัมน์ ยุติธรรมเพื่อประชาชน นำ�เสนอรายละเอียดที่จะช่วยแก้ปัญหา และปรับเปลีย่ นพฤติกรรมของนักเรียน-นักเลงตีกนั ได้อย่างยัง่ ยืน จากนั้นมาทำ�ความรู้จักกับ พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม ที่มุ่ง ช่ ว ยเหลื อ และให้ ค วามเป็ น ธรรมแก่ ป ระชาชนในคอลั ม น์ กฏหมายชาวบ้าน และตามติดเรื่องของการคุมความประพฤติ ในการแก้ไขฟืน้ ฟูผกู้ ระทำ�ผิดแบบบูรณาการในคอลัมน์เก็บมาเล่า ตามด้วยเรื่องของเรือนจำ�โครงสร้างเบา จากคอลัมน์กำ�แพง มิอาจกั้น คอลัมน์คยุ เฟือ่ งเรือ่ งยุตธิ รรม พาไปรูจ้ กั กระทรวงยุตธิ รรม ยุคใหม่ ผ่าน “Application” ง่ายดาย ...ด้วยปลายนิ้วตามด้วย เรือ่ งทันยุค ทันสมัยกับการจองซือ้ สลากกินแบ่งรัฐบาลระบบใหม่ ในคอลัมน์รู้จักไอที ส่วนคอลัมน์ภาษายุติธรรม พาไปหัดรู้จัก คำ�ทักทายกับทุกภาษาในอาเซียน ก่ อ นจากกั น สำ � หรั บ ผู้ ที่ ห่ ว งใยสุ ข ภาพ ติ ด ตามอ่ า น คอลัมน์เคล็ดลับเกร็ดสุขภาพ นำ�เสนอเรื่องราวของสมุนไพร ใกล้ตวั ไว้ดแู ลสุขภาพ ในคอลัมน์เคล็ดลับเกร็ดสุขภาพ แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าค่ะ
ก้นายมนิาวสู ่อาเซียตนิ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนช�ำนาญการ ส�ำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม สารบั นธ์ สุทธิวัฒนานิญ 3 เรื่องจากปก “One Map”แนวเขตที่ดินรัฐ
่
คืนความเป็นธรรมให้สังคม
9 กำ�ลังใจในพระดำ�ริ
ประชุมวิชาการ 9 ปี โครงการกำ�ลังใจ ในพระดำ�ริ “สู่นโยบายยาเสพติด ที่มีมนุษยธรรม”
12 ที่นี่แจ้งวัฒนะ 14 เรื่องเล่ายุติธรรม
บนเส้นทางสู่ปีที่ 42 ปี ของกรมบังคับคดี
16 บนความเคลื่อนไหว 26 คุยเฟื่องเรื่องยุติธรรม
เข้าถึงกระทรวงยุติธรรมผ่าน “Application”ง่ายดาย ด้วยปลายนิว้
29 ยุติธรรมเพื่อประชาชน
“ยุติธรรม”ระดมสมอง วาง ๖ มาตรการ แก้ปัญหา นักเรียน-นักเลง
32 ที่นี่แจ้งวัฒนะ
34 คุ้มครองคน คุ้มครองสิทธิ
ทำ�ไมทั่วโลกถึงให้ความสำ�คัญ กับการยกเลิกโทษประหารชีวิต : แล้วบริบท ของประเทศไทยเป็นอย่างไร”
38 คนยุติธรรม
เปิดมุมมอง “ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ” ปลัดกระทรวงยุติธรรมกับภารกิจ “ยุติธรรมสู่หมู่บ้าน นำ�บริการรัฐสู่ประชาชน”
42 ที่นี่แจ้งวัฒนะ 44 กำ�เเพงมิอาจกั้น
กรมราชทัณฑ์ใช้สูตร “เรือนจำ�โครงสร้างเบา” เปิดมิติใหม่แก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขัง
47 คนเงินเเผน
แผนการขับเคลื่อนการพัฒนากฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม
50 ยุติธรรมช่วยประชาชน
หนี้นอกระบบ : ความเป็นธรรมที่สุคิริน
2 | Justice Magazine Ministry of Justice
54 พลังคุณธรรมยับยั้งทุจริต
“ พลังคุณธรรม ยับยั้งการทุจริต ” กับเบาะแสการทุจริตจากท้องถิ่น
57 ถามมาตอบไป
การเงินนอกระบบ
59 ภาษายุติธรรม
รู้ไว้ใช่ว่า “ภาษาอาเซียน”
68 ก้าวสู่อาเซียน
การเสริมสร้างความร่วมมือ กับประชาคมระหว่างประเทศ ด้านกฎหมายและกระบวนการยุตธิ รรม
70 รู้จักไอที จองซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล
ง่ายดายด้วยไอที
72 เคล็ดลับเกร็ดสุขภาพ หลากหลายสมุนไพรใกล้ตวั รูไ้ ว้ เพือ่ ดูแลสุขภาพ
62 ที่นี่แจ้งวัฒนะ
64 กฏหมายสามัญประจำ�บ้าน
74 ทุกทิศทั่วยุติธรรม
พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรม สร้างความเป็นธรรมให้ประชาชน
78 เก็บมาเล่า
กรมคุมประพฤติจับมือหน่วยงานรัฐ สร้างสังคมปลอดภัยแบบบูรณาการ
เรื่องจากปก กองบรรณาธิการ
แนวเขตที่ดินรัฐ คืนความเป็นธรรมให้สังคม ข้ อ พิ พ าทระหว่ า งรั ฐ กั บ ชาวบ้ า นในเรื่ อ งที่ ดิ น มี ม าตั้ ง แต่ อ ดี ต จนมาถึ ง ปั จ จุ บั น ยั ง ไม่ ส ามารถจั ด การได้ ไม่ ว ่ า จะเป็ น เรื่ อ งบุ ก รุ ก ที่ ดิ น ของรั ฐ ปั ญ หาทั บ ซ้ อ นกั น ของแนวเขตที่ดิน และความเหลื่อมล�้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยมีสาเหตุมาจากแนวเขตที่ดินของรัฐไม่ชัดเจนและแผนที่ ของหน่วยงานบนมาตราส่วนต่างกัน
ดังนั้น เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวคลี่คลาย การปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐบนพื้นฐาน การประสานการท�ำงานแบบบู ร ณาการ ของทุกหน่วยงานบนแผนทีม่ าตราส่วน 1:4000 จึงเป็นสิง่ ส�ำคัญทีจ่ ะต้องรีบด�ำเนินการ เพือ่ ช่วย ลดปั ญ หาเกี่ ย วกั บ ขอบเขตที่ ดิ น ของรั ฐ และลดความเหลื่อมล�้ำ คืนความชอบธรรม ให้กับประชาชน รัฐบาลภายใต้การน�ำของพลเอก ประยุทธ์ จั น ทร์ โ อชา นายกรั ฐ มนตรี ได้ สั่ ง การ ให้ทุกหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน ของรัฐ ประกอบด้วย กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระทรวง ยุตธิ รรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุ ษ ย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เร่งด�ำเนินการพิจารณาก�ำหนด แนวเขตป่าไม้ใหม่ โดยจัดท�ำเป็นแผนทีด่ จิ ทิ ลั มาตราส่วน 1:4000 ให้ แ ล้ ว เสร็ จ โดยเร็ ว รวมทัง้ พัฒนาเป็นแอพพลิเคชัน่ เพือ่ ความสะดวก ในการตรวจสอบแนวเขตป่าไม้ โดยเจตนารมณ์ ข องการปรั บ ปรุ ง แนวเขตทีด่ นิ ของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1:4000 เพื่อให้ประเทศไทยมีแผนที่แนวเขต ที่ ดิ น ของรั ฐ ที่ ชั ด เจน ถู ก ต้ อ ง และเป็ น มาตรฐานเดี ย วกั น และหยุ ด ยั้ ง การตั ด ไม้
ท�ำลายป่า การบุกรุกครอบครองพื้นที่ป่าไม้ และฟื้นฟูสภาพป่าไม้ในพื้นที่เป้าหมายให้มี สภาพป่าทีส่ มบูรณ์อย่างน้อย 40 % ของพืน้ ที่ ประเทศ นอกจากนี้ สามารถจ�ำแนกเขต การใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ ในทีด่ นิ ของรัฐส�ำหรับการบริหารจัดการทีด่ นิ ของรัฐต่อไปในอนาคต ตลอดจนน�ำแนวเขต ทีไ่ ด้ไปสูก่ ารรับรองแผนทีแ่ นวเขตทีด่ นิ ของรัฐ ให้ มี ผ ลทางกฎหมาย และปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ข กฎหมายให้สอดคล้องกับแนวเขตทีป่ รับปรุงใหม่ เพื่อน�ำไปสู่การก�ำหนดนโยบายแก้ไขปัญหา การบุกรุกท�ำลายทรัพยากรป่าไม้และปัญหา การทับซ้อนที่ดินของรัฐและประชาชน
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 3
หลักเกณฑ์ที่ 1 ป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนกับป่าไม้ถาวร
ป่าไม้ถาวรที่คณะรัฐมนตรีมีมติก�ำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าไม้ตามแนวเขต ป่าสงวนแห่งชาติ ให้ใช้แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติทมี่ กี ารประกาศตามกฎหมาย เป็นหลัก ป่ า สงวนแห่ งชาติ ที่มี วั ต ถุ ประสงค์ ประกาศตามแนวเขตป่ า ไม้ ถ าวร ทัง้ แปลงให้ใช้แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติทมี่ กี ารประกาศตามกฎหมาย เป็นหลัก ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีและป่าสงวนแห่งชาติทไี่ ม่มวี ตั ถุประสงค์ ให้ใช้เป็นแนวเขตเดียวกัน ให้ใช้แนวเขตตามพื้นที่ป่านั้นๆ
หลักเกณฑ์ที่ 2 ป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนกับอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
แนวเขตอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ ซึง่ มีเจตนาใช้แนวเขต ป่าสงวนแห่งชาติ หรือเส้นแนวเขตในแผนที่มีความใกล้เคียงสอดคล้องกัน ให้ใช้แนวเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เป็นหลัก ส�ำหรั บ แนวเขตที่ มิ ไ ด้ เ ป็ น ไปตามหลั ก เกณฑ์ ข ้ า งต้ น ให้ ใ ช้ แ นวเขต ตามกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน
หลักเกณฑ์ที่ 3 ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคุ้มครอง และพื้นที่ในความรับผิดชอบ ของกรมป่าไม้นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีแนวเขตชัดเจน ทั บ ซ้ อ นเขตห้ า มล่ า สั ต ว์ ป ่ า ให้ ใ ช้ แ นวเขตตามกฎหมาย ของแต่ละหน่วยงาน
ดังนั้น แนวเขตที่ดินของรัฐ (One Map) คือ ขอบเขตที่โตกว่าระหว่าง ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคุ้มครอง และพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีแนวเขตชัดเจนกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่า
หลักเกณฑ์ที่ 4 ป่ า สงวนแห่ ง ชาติ อุ ท ยานแห่ ง ชาติ เขตรั ก ษาพั น ธุ ์ สั ต ว์ ป ่ า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทับซ้อนกับป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี ให้ใช้แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ปา่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เป็นหลัก กรณีแนวเขตป่าชายเลนฯ อยูน่ อกแนวเขตพืน้ ทีป่ า่ ข้างต้น ให้ใช้แนวเขตป่าชายเลนฯ
ดังนัน้ แนวเขตทีด่ นิ ของรัฐ (One Map) คือ แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ อุทยาน แห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือแนวเขตป่าชายเลน ตามมติคณะรัฐมนตรี กรณีป่าชายเลนนอกเขตพื้นที่ป่าไม้ข้างต้น
4 | Justice Magazine Ministry of Justice
หลักเกณฑ์ที่ 5 ป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.)
5.1 กรณีป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดินให้ใช้แนวเขต ตามพระราชกฤษฎีกาก�ำหนดเขตปฏิรูปที่ดินที่มีแผนงานด�ำเนินการแล้ว เป็นหลักและอยู่ในเขตพื้นที่ที่กรมป่าไม้ส่งมอบให้ ส.ป.ก. กรณี พ ระราชกฤษฎี ก าก�ำหนดเขตปฏิ รู ป ที่ ดิ น ทั้ ง ต�ำบล/อ�ำเภอ ให้ใช้แนวเขตปฏิรปู ทีด่ นิ ตามแผนทีท่ กี่ รมป่าไม้สง่ มอบพืน้ ทีป่ า่ สงวนแห่งชาติ ให้ ส.ป.ก.รวมทั้งพื้นที่ที่ ส.ป.ก.กันคืน (RF) ตามบันทึกข้อตกลงเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2538 5.2 กรณีพื้นที่ที่ ส.ป.ก.ได้รับการอนุญาตจ�ำแนกประเภทที่ดินออกจาก ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีพระราชกฤษฎีกาก�ำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ที่มีรูปแผนที่ที่แสดงแนวเขตที่ชัดเจนแล้วให้ใช้แนวเขตปฏิรูปที่ดิน เป็นหลัก กรณีพื้นที่ที่ ส.ป.ก.ได้รับมอบจากการจ�ำแนกประเภทที่ดินออกจาก ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีพระราชกฤษฎีกาก�ำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ทัง้ ต�ำบล/อ�ำเภอ ให้ใช้แนวเขตตามแผนทีจ่ �ำแนกประเภททีด่ นิ ทีส่ ง่ มอบพืน้ ที่ ให้ ส.ป.ก.เป็นหลัก พร้อมระบุรายละเอียดเกีย่ วกับมติคณะรัฐมนตรีให้ชดั เจน 5.3 กรณีขอบเขตพื้นที่กันคืนกรมป่าไม้ตามแผนที่ตรวจสภาพป่า (RF) ตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมป่าไม้และ ส.ป.ก.คลาดเคลือ่ น พิจารณา ดังนี้ 5.3.1 กรณีพื้นที่ต�ำแหน่งกันคืนกรมป่าไม้ตามแผนที่ตรวจสอบ สภาพป่า (RF) คลาดเคลื่อนไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ หากพื้นที่ยังมี สภาพเป็นป่าให้ปรับเส้นแนวเขตตามข้อเท็จจริง (ในภาพถ่ายทางอากาศ) 5.3.2 กรณีต�ำแหน่งพื้นที่กันคืนกรมป่าไม้ตามแผนที่ตรวจสอบ สภาพป่า (RF) ในบันทึกข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันสภาพป่าได้หมดไปให้ขีดเส้น ตามแนวเขตตามต�ำแหน่ง RF เดิม แต่ทงั้ นีต้ อ้ งตรวจสอบกับรูปถ่ายทางอากาศด้วย หากปรากฏว่าสภาพป่าไม้ตรงกับข้อเท็จจริงให้ปรับเป็นหลักเกณฑ์ที่ 5.3.1
หลักเกณฑ์ที่ 6 อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้าม ล่าสัตว์ป่า ที่ทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน 6.1 กรณี ก รมป่ า ไม้ ส ่ ง มอบพื้ น ที่ ใ ห้ ส.ป.ก.และได้ มี พ ร ะ ร า ช ก ฤ ษ ฎี ก า ก�ำ ห น ด ใ ห ้ เ ป ็ น เ ข ต ป ฏิ รู ป ที่ ดิ น ก่อนการก�ำหนดให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าให้ใช้แนวเขตปฏิรูปที่ดิน เป็นหลัก เว้นแต่เป็นพื้นที่ที่ไม่สมควรน�ำไปปฏิรูปที่ดินตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2537 ให้ใช้แนวเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ เขตห้ามล่าสัตว์ปา่ เป็นหลัก 6.2 กรณี ก รมป่ า ไม้ ส ่ ง มอบพื้ น ที่ ใ ห้ ส.ป.ก.และได้ มี พระราชกฤษฎีกาก�ำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน
หลักเกณฑ์ที่ 7 ป่าสงวนแห่งชาติป่าคุ้มครองและพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ทีม่ แี นวเขตชัดเจน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ และเขตห้ามล่าสัตว์ปา่ ทับซ้อนกับนิคมสร้างตนเอง หรือนิคมสหกรณ์ พิจารณาดังนี้
7.1 นิคมสร้างตนเอง นิคมสหกรณ์ทมี่ แี นวเขตตามกฎหมายบังคับก่อนการก�ำหนดแนวเขตป่าไม้ขา้ งต้นให้ใช้เขตนิคมสร้างตนเอง หรือเขตนิคมสหกรณ์ที่ไม่มีสภาพป่า เป็นหลัก โดยระบุรายละเอียดเกี่ยวกับแผนที่ที่มีสภาพป่าให้ชัดเจน เว้ น แต่ บ ริ เ วณที่ มี ส ภาพป่ า ให้ ใ ช้ ผ ลการอ่ า นแปล ตี ค วามจากภาพถ่ า ยดาวเที ย ม พ.ศ.2557-2558 ของกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบข้อเท็จจริงในสภาพภูมิประเทศ
7.2 กรณีนิคมสร้างตนเอง นิคมสหกรณ์ ที่มีแนวเขตตามกฎหมายบังคับ ภาพหลังการก�ำหนดแนวเขตป่าไม้ข้างต้นให้ใช้ แนวเขตป่าไม้ข้างต้น เป็นหลัก วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 5
หลักเกณฑ์ที่ 8 นิ ค มสร้ า งตนเอง นิ ค มสหกรณ์ ทั บ ซ้ อ น เขตปฏิ รู ป ที่ ดิ น และนิ ค มสร้ า งตนเอง นิคมสหกรณ์ทยี่ งั ไม่มกี ฎหมายก�ำหนดพืน้ ที่ พิจารณาดังนี้
8.1 กรณีแนวเขตนิคมสร้างตนเอง และนิคมสหกรณ์ ทับซ้อนแนวเขตปฏิรูปที่ดินให้ยึดแนวเขตที่ประกาศ เป็นกฎหมายก่อน เป็นหลัก 8.2 นิคมสร้างตนเอง หรือนิคมสหกรณ์ท่ียังไม่มี การก�ำหนดตามกฎหมายให้ใช้แนวเขตตามแผนทีจ่ �ำแนก ประเภทที่ดินที่มีการส่งมอบให้จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง นิคมสหกรณ์ เป็นหลัก พร้อมระบุรายละเอียดตามมติคณะรัฐมนตรีให้ชัดเจนด้วย
หลักเกณฑ์ที่ 9 ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคุ้มครองและพื้นที่ในความรับผิดชอบ ของกรมป่าไม้นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีแนวเขตชัดเจน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ และเขตห้ามล่าสัตว์ปา่ ทับซ้อนกับทีร่ าชพัสดุ พิจารณาดังนี้ 9.1 กรณี แ นวเขตพื้ น ที่ ป ่ า ไม้ ข ้ า งต้ น ทั บ ซ้ อ นในลั ก ษณะคาบเกี่ ย ว หรือมีเจตนาให้เป็นแนวเขตเดียวกันให้ใช้แนวเขตที่ราชพัสดุที่มีการออก หนังสือส�ำคัญตามประมวลกฎหมายที่ดินไว้แล้ว เป็นหลัก กรณีนอกเหนือจากนี้ให้ใช้แนวเขตตามกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน 9.2 กรณีแนวเขตพื้นที่ป่าไม้ข้างต้นทับซ้อนกับที่ราชพัสดุที่ยังไม่มี การออกหนั ง สื อ ส�ำคั ญ ตามประมวลกฎหมายที่ ดิ น ให้ ใ ช้ แ นวเขตพื้ น ที่ ตามกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน
หลักเกณฑ์ที่ 10 ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคุ้มครองและพื้นที่ในความรับผิดชอบ ของกรมป่าไม้นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีแนวเขตชัดเจน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ปา่ และเขตห้ามล่าสัตว์ปา่ ทับซ้อนกับที่สาธารณประโยชน์ที่มีการออกหนังสือส�ำคัญ ส�ำหรับทีห่ ลวง (น.ส.ล.) ไว้แล้ว พิจารณาดังนี้ กรณีแนวเขตพืน้ ทีป่ า่ ไม้ขา้ งต้นทับซ้อนในลักษณะคาบเกีย่ วหรือมีเจตนา ให้เป็นแนวเขตเดียวกันกับแนวเขตที่สาธารณประโยชน์ที่มีการออก น.ส.ล. ไว้แล้วให้ใช้แนวเขต น.ส.ล.ที่มีพื้นที่ใหญ่กว่า เป็นหลัก พื้นที่ทับซ้อนส่วนอื่น ให้ใช้แนวเขตตามกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน
6 | Justice Magazine Ministry of Justice
หลักเกณฑ์ที่ 11 แนวเขตที่ ดิ นของรั ฐ ที่ มีการก�ำหนดโดยใช้ แนวธรรมชาติ หรือแนวเขตตามสิง่ ก่อสร้างให้ใช้แนวธรรมชาติหรือสิง่ ก่อสร้าง ที่ปรากฏลวดลายในแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ/ภาพถ่าย ดาวเทียมปีทกี่ �ำหนดแนวเขต
กรณีแนวเขตพืน้ ทีป่ า่ ไม้ขา้ งต้นทับซ้อนในลักษณะคาบเกีย่ วหรือมีเจตนา ให้เป็นแนวเขตเดียวกันกับแนวเขตที่สาธารณประโยชน์ที่มีการออก น.ส.ล. ไว้แล้ว ให้ใช้แนวเขต น.ส.ล.ที่มีพื้นที่ใหญ่กว่าเป็นหลักพื้นที่ทับซ้อนส่วนอื่น ให้ใช้แนวเขตตามกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน
หลักเกณฑ์ที่ 12 กรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่สามารถหาข้อยุติตามหลักเกณฑ์ ที่ก�ำหนดไว้ ได้ให้สรุปเรื่องราวพร้อมรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เสนอคณะอนุกรรมการและคณะกรรมการพิจารณาเพือ่ ให้ ได้ ข้อยุตติ ามล�ำดับ - คณะอนุ ก รรมการปรั บ ปรุ ง แนวเขตที่ ดิ น ของรั ฐ แบบบู ร ณาการ มาตราส่วน 1:4000 (ONE MAP) ระดับภาค - คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ แบบบูรณาการ 1:4000 (ONE MAP) - คณะกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1:4000 (ONE MAP)
หลักเกณฑ์ที่ 13 13.1 ให้คณะอนุกรรมการระดับจังหวัดรวบรวมข้อมูลระวางแผนที่ ของกรมทีด่ นิ ทีม่ กี ารรับรองแนวเขต ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าไม้ถาวร ป่าชายเลน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าไว้เป็นข้อมูล เบื้องต้นส�ำหรับใช้ในการด�ำเนินการภายหลัง 13.2 ให้ ค ณะท�ำงานการแก้ ไ ขปั ญ หาการทั บ ซ้ อ นของพื้ น ที่ ป ่ า ไม้ และเขตปฏิรูปที่ดินระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวบรวมข้อมูลผลการด�ำเนินงานที่ได้ ข้อยุติจากคณะท�ำงานส่งให้คณะกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดิน ของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1:4000 (ONE MAP) เพื่อประกอบ การพิจารณาต่อไป
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 7
กระทรวงยุติธรรมชี้แจงแนวการปรับปรุง แผนที่ กระทรวงยุติธรรม โดยส�ำนักงาน ป.ป.ท. ได้ช้ีแจงแนวทาง การด�ำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตรา 1:4000 (One Map) โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2559 พล้อมด้วย พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรม พลเอก นิวัตร มีนะโยธิน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจ�ำกระทรวง ยุ ติ ธ รรม นายชาญเชาวน์ ไชยานุ กิ จ ปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุตธิ รรมและโฆษกกระทรวง ยุติธรรม นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. ตลอดจนคณะกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบ บูรณาการฯ คณะอนุกรรมการฯ ผูว้ า่ ราชการจังหวัด และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ณ ตึกสันติไมตรี ท�ำเนียบรัฐบาล พลเอก ไพบูลย์ คุม้ ฉายา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558 เห็นชอบแนวทางการปรับปรุงแผนทีแ่ นวเขตทีด่ นิ ของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1:4000 และแต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงแผนที่ แนวเขตที่ดินของรัฐฯ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ โดยมีรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ มีอ�ำนาจหน้าที่ 8 | Justice Magazine Ministry of Justice
ในการก�ำหนดนโยบาย อ�ำนวยการและก�ำกับดูแลการปรับปรุงแผนที่ แนวเขตทีด่ นิ ของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1:4000 แบบดิจทิ ลั และรูปแบบอืน่ ๆ ทีเ่ หมาะสม เพือ่ ให้ทกุ ส่วนราชการใช้และยึดถือเป็น แนวทางเดียวกัน โดยได้ ก�ำหนดแผนการด�ำเนิ น งานออกเป็ น 5 ขั้ น ตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขัน้ ด�ำเนินการ ขัน้ สรุปผล ขัน้ ขอความเห็นชอบ จากคณะรัฐมนตรี และขั้นตอนการแก้ไขกฎหมายและติดตามผล ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถบริหารพื้นที่ของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสของการทุ จ ริ ต การบุ ก รุ ก รุ ก ล�้ ำ พื้ น ที่ ซึ่ ง จะท�ำให้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศหมดไป ตลอดจน ลดข้อพิพาทระหว่างประชาชนและหน่วยงานของรัฐเกีย่ วกับเรือ่ งทีด่ นิ อันประโยชน์ในการพัฒนาประเทศได้อย่างยัง่ ยืนต่อไป ทัง้ นี้ คาดว่า รัฐบาลจะสามารถประกาศใช้ “แผนที่ แ นวเขตที่ ดิ น ของรั ฐ ” ที่เป็นมาตราส่วนเดียวกันทั่วประเทศไม่เกินปลายปี 2560 “One Map” คื อ เครื่ อ งมื อ ส�ำคั ญ ที่ จ ะช่ ว ยภาครั ฐ ลดข้อพิพาทเรือ่ งทีด่ นิ กับชาวบ้าน เพือ่ แก้ปญ ั หาความเหลือ่ มลำ�้ คืนความเป็นธรรมให้สังคม
ก�ำลังใจในพระด�ำริ
โครงการก�ำลังใจในพระด�ำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
ประชุมวิชาการ 9 ปี โครงการก�ำลังใจในพระด�ำริ “สู่นโยบายยาเสพติดที่มีมนุษยธรรม” ส�ำนักกิจการในพระด�ำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตยิ าภา ร่ ว มกั บ ส�ำนั ก งาน ป.ป.ส. เเละศู น ย์ วิ ช าการสารเสพติ ด ภาคเหนื อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการประชุมวิชาการเนือ่ งในโอกาสครบรอบ 9 ปี โครงการก�ำลังใจในพระด�ำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตยิ าภา เรื่อง “สู่นโยบายยาเสพติดที่มีมนุษยธรรม (Towards Humane Drug Policy) เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2558 ณ โรงแรมเลอ เมอริเดียน จังหวัดเชียงใหม่ การประชุมดังกล่าวสืบเนือ่ งมาจากความพยายามของส�ำนักกิจการ ในพระด�ำริฯ ทีด่ �ำเนินการตามแนวพระด�ำริในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า พัชรกิตยิ าภา ทีท่ รงผลักดันให้ขอ้ ก�ำหนดกรุงเทพฯ ซึง่ เป็นมาตรการประการหนึง่ ในการดูแลคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังหญิงให้เกิดการปฏิบัติจริงมากที่สุด โดยมี หลักการส�ำคัญ 2 ประการ คือ 1. ท�ำอย่างไรจึงจะส่ง ผู้ต้องโทษหญิงที่ถูกกล่าวหาว่ากระท�ำความผิด ซึ่งมิได้มีลักษณะของอาชญากร ไปสู่เรือนจ�ำ /ทั ณ ฑสถานให้ น ้ อ ยที่ สุ ด เท่ า ที่ จ�ำเป็ น
และ 2. เมือ่ ผูต้ อ้ งโทษหญิง ดั ง กล่ า วต้ อ งใช้ ชี วิ ต อยู ่ ในเรือนจ�ำ/ทัณฑสถานแล้ว ท�ำ อ ย ่ า ง ไ ร ชี วิ ต ข อ ง ผู้ต้องโทษหญิงนั้น จะไม่ เปลี่ยนแปลงหรือแตกต่าง ไปจากสภาพที่ ใ ช้ ชี วิ ต อ ยู ่ ภ า ย น อ ก เ รื อ น จ�ำ /ทัณฑสถาน ทั้งนี้ ในปัจจุบันนี้มีจ�ำนวนผู้ต้องขังหญิงล้นเรือนจ�ำจากการ ถูกจับกุมด�ำเนินคดีในความผิดทีเ่ กีย่ วข้องกับยาเสพติดให้โทษ ผูต้ อ้ งขังหญิง เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้อยู่ในภาวะยากล�ำบาก หรือมีความเปราะบาง ทั้งฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น มีฐานะยากจน เป็นเพศหญิง ซึ่งมี บทบาทเกีย่ วข้องในระดับล่างสุดขององค์กรอาชญากรรมหรือกระบวนการ ค้ายาเสพติด ในฐานะแรงงานหรือกลไกของระบบตลาดยาเสพติด เนื่องจากโทษที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดค่อนข้างมีค วามรุนแรง มุง่ การปราบปราบอย่างเด็ดขาด จึงส่งผลให้ผหู้ ญิงทีก่ ระท�ำความผิดเกีย่ วกับ ยาเสพติ ด ต้ อ งรั บ โทษในเรื อ นจ�ำเป็ น เวลานานมากกว่ า 10 ปี ขึ้ น ไป ในบางฐานความผิ ด ซึ่ ง จากข้ อ เท็ จ จริ ง ที่ ก ล่ า วข้ า งต้ น ท�ำให้ มี ผู ้ ห ญิ ง เข้าสูเ่ รือนจ�ำเป็นจ�ำนวนเพิม่ มากขึน้ ในแต่ละวัน และต้องใช้ชวี ติ อยูใ่ นเรือน จ�ำเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดปัญหาคนล้นเรือนจ�ำตามทีก่ ล่าวข้างต้น โครงการก�ำลังใจในพระด�ำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิตยิ าภา จึ ง ได้ ป ระสานมายั ง ศาลอุ ท ธรณ์ เ พื่ อ ร่ ว มแสวงหาแนวทาง ที่จะลดปริมาณผู้ต้องขังหญิงในเรือนจ�ำ ซึ่งที่ผ่านมาผู้พิพากษา ในศาลอุ ท ธรณ์ ไ ด้ ไ ปร่ ว มในการประชุ ม และมี โ อกาส เสนอความคิดเห็นไม่ต�่ำกว่า 6 ครั้งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และความคิดเห็นของผูพ้ พิ ากษาในศาลอุทธรณ์ รวมถึงศาลฎีกา และศาลในพื้นที่ภาค 5 จะน�ำมาสู่การปรับปรุงกฎหมาย ยาเสพติด โดยท�ำเป็นร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 9
ก�โครงการก� ำลังำลัใจในพระด� ำริ งใจในพระด�ำริ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
ปัญหาของสังคมเกิดจากความไม่เท่าเทียมกัน ความยากจน ความด้อยโอกาสทางการศึกษา เป็นปัญหาที่น�ำไปสู่การกระท�ำผิดอาญา โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด เพราะเมื่อหมดหนทางที่จะท�ำมาหาเลี้ยงชีพ คนทีจ่ ติ ใจไม่หนักแน่นจะกระโดดข้ามความจนไปสูค่ วามรวยจากสิง่ ที่ไม่ถกู ต้อง ซึ่งเป็นปัญหาที่รัฐบาลจะต้องเยียวยาแก้ ไขให้เกิดความเท่าเทียมกัน ทั้ ง นี้ ในการเปิดประชุม วิชาการโดยนายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา ได้แสดงทัศนะเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจต่อ “เป้าหมายการพัฒนาอย่างยัง่ ยืนหลังปี 2015 (post 2015 Sustainable Development Goals หรื อ SDGs) กั บ นโยบายยาเสพติ ด ที่ มี มนุษยธรรม” มีใจความว่า ท่ า นประธานศาลอุ ท ธรณ์ ท่ า นประธานแผนกคดี ย าเสพติ ด ในศาลอุทธรณ์ ท่านผู้พิพากษาแผนกคดียาเสพติด วิทยากรและผู้ร่วม รับผิดชอบในการแก้ปญ ั หาคดียาเสพติดทุกท่าน ผมขอพูดถึงปัญหาผูต้ อ้ งขัง คดีอาญาซึ่งส่วนใหญ่ 70% เป็นคดียาเสพติด ให้ท่านนึกภาพว่าปัญหา ยาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่หลวงของประเทศ ท่านจะสังเกตดูว่าปีที่แล้ว คดีที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลมีจ�ำนวน 1,260,000 เรื่อง 750,000 เรื่อง เป็นคดีอาญาและครึ่งหนึ่งของคดีอาญาเป็นคดียาเสพติด สิ่งที่จะต้องคิด ก็คือว่า การปราบปรามอย่างรุนแรงเป็นทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ หรือเรา ควรจะมีวิธีใหม่ ประธานศาลฎี ก า กล่ า วต่ อ ว่ า ปั ญ หาของสั ง คมเกิ ด จาก ความไม่ เ ท่ า เที ย มกั น ความยากจน ความด้ อ ยโอกาสทางการศึ ก ษา เป็ น ปั ญ หาที่ น�ำไปสู ่ ก ารกระท�ำผิ ด อาญา โดยเฉพาะปั ญ หายาเสพติ ด เพราะเมื่ อ หมดหนทางที่ จ ะท�ำมาหาเลี้ ย งชี พ คนที่ จิ ต ใจไม่ ห นั ก แน่ น จะกระโดดข้ามความจนไปสู่ความรวยจากสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นปัญหา ที่รัฐบาลจะต้องเยียวยาแก้ไขให้เกิดความเท่าเทียมกัน เมื่อรัฐบาลมีปัญหาเรื่องยาเสพติดได้เสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติ หรื อ ร่ า งกฎหมายก็ ขึ้ น อยู ่ กั บ นโยบายของแต่ ล ะรั ฐ บาลว่ า จะปฏิ บั ติ ต่อสงครามยาเสพติดอย่างไร ถ้าท่านใช้นโยบายทีป่ ราบปรามโดยวิธเี ข้มงวด ก�ำหนดบทบาทไม่ให้ตลุ าการใช้ดลุ พินจิ สถานการณ์จะยิง่ เลวร้ายมากยิง่ ขึน้ อย่างปริมาณคดียาเสพติดมีจ�ำนวน 300,000 กว่าเรื่อง เพราะฉะนั้น ผมจะพูดเฉพาะในบทบาทของผู้พิพากษาศาลยุติธรรมกับคดียาเสพติด ท่ า นลองดู ว ่ า แค่ ก ารตั้ ง “แผนกคดี ย าเสพติ ด ” ที่ ศ าลอุ ท ธรณ์ ขอให้ทกุ ท่านลองนึกดูวา่ นีเ่ ป็นการแก้ปญ ั หาทีถ่ กู จุดหรือไม่ ท�ำไมคดียาเสพติด สมัยก่อนศาลอุทธรณ์ทั่วประเทศซึ่งเป็นศาลอุทธรณ์ภาคสามารถดูแลได้ เราแก้ปัญหาความร้ายแรงโดยการแก้ปัญหาแบบ “ตามหลัง” มีกระแส พูดกันถึงขนาดว่าจะตั้งศาลอุทธรณ์คดียาเสพติด โดยมีประธานศาลขึน้ มา ใหม่อกี หนึง่ ท่าน มันเป็นการแก้ปญ ั หาย้อนหลัง เพราะฉะนัน้ เมือ่ ผมมีโอกาส ได้พดู แล้วจึงขอพูดถึงการใช้อ�ำนาจนิตบิ ญ ั ญัตยิ กร่างพระราชบัญญัตยิ าเสพติด 10 | Justice Magazine Ministry of Justice
เพื่อจ�ำกัดดุลพินิจของศาลว่าไม่น่าจะเป็นวิธีที่ถูกต้อง วันนี้ก็คงจะต้องสะท้อนไปถึงฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติในขณะที่ ก�ำลังจะท�ำประมวลกฎหมายยาเสพติดว่า ในความรู้สึกของศาลยุติธรรม ในการดูแลปัญหายาเสพติด ผมพูดในนามผูพ้ พิ ากษาทัง้ หมดว่ารูส้ กึ อย่างไร ขอย้ อ นหลั ง ว่ า ผมไม่ ไ ด้ ดู เ รื่ อ งยาเสพติ ด มานาน แต่ เ คยเกี่ ย วข้ อ ง กับการประชุมยึดทรัพย์ของส�ำนักงาน ป.ป.ส. เมือ่ 20 ปีกอ่ น ยึดทรัพย์คนที่ ค้ายาเสพติด สมัยทีผ่ มอยูก่ ระทรวงยุตธิ รรมในยุคนัน้ ไม่ได้ปราบรุนแรงมาก เราใช้วิธียึดทรัพย์คนค้า ยังไม่มีการลงโทษปรับอย่างปัจจุบัน ยุคนั้นได้มีโอกาสคุยกับเลขาธิการ ป.ป.ส.ซึ่งปัจจุบันท่านเกษียณ อายุราชการแล้ว ท่านทราบหรือไม่ว่าเมทแอมเฟตามีนมาอย่างไร ยุคแรกเมือ่ 40 ปีกอ่ นเป็นยุคทีเ่ ฮโรอีนระบาดทัว่ ประเทศมีการปราบ อย่างเด็ดขาด จึงเกิดปรากฏการณ์ทเี่ รียกว่า “บอลลูนเอฟเฟ็กต์ (Balloon Effect)” คือ การบีบลูกโป่ง บีบเฮโรอีนให้หมดไปจากประเทศไทย เมทแอมเฟตามีนจึงโป่งขึ้น ถามว่าเมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดร้ายแรง หรือไม่ จากการที่คุยกับเลขาธิการ ป.ป.ส. ท่านนั้นได้รับความรู้เมื่อ 20 ปี ว่าเมทแอมเฟตามีนที่เราเรียกว่า ยาม้า น�ำเข้ามาครั้งแรกโดยทหารอังกฤษ สมัยสงครามโลก เพื่อให้ทนต่ออากาศร้อน เเละสภาพภูมิประเทศไทย ไม่ได้มอี นั ตราย เมือ่ ก่อนก็ยงั มีนกั ศึกษาเสพยาม้าเพือ่ จะดูหนังสือได้ยนั สว่าง เพื่อไปสอบ พอเราปราบเฮโรอีนบอลลูนเอฟเฟ็กต์ก็เกิดเอฟเฟ็กต์ขึ้นมาจริงๆ ไปที่ เ มทแอมเฟตามี น ยาม้ า ถู ก ใส่ ส ารเสพติ ด เข้ า ไปจนกระทั่ ง มี ผู ้ คิ ด นวัตกรรมใหม่เปลี่ยนชื่อยาม้าไปเป็น “ยาบ้า” ท่านจะเห็น ว่าทิศ ทางการดูแลเรื่องยาเสพติดเป็น ทิศทางที่ผิด หรือไม่ทา่ นต้องคิดกันเอง การเปลีย่ นแปลงทีส่ �ำคัญทีส่ ดุ ของพระราชบัญญัติ ยาเสพติดคือ พ.ศ. 2522 เริ่มมีการให้ค�ำจ�ำกัดความให้ศาลไม่อาจตีความ หรือใช้ข้อสันนิษฐาน อันนี้เป็นบทที่ส�ำคัญที่สุดเพราะท�ำให้สถานการณ์ ยาเสพติดรุนแรงจนถึงทุกวันนี้ ผมเชื่อว่าถ้าไม่จัดการให้ถูกที่ถูกทางมันจะ ยิ่งไปกันใหญ่ โดยเฉพาะพวกเราซึ่งเป็นผู้พิพากษาแผนกคดียาเสพติด ข้อสันนิษฐานตอนแรก ศาลฎีกาตีความว่าน�ำสืบหักล้างได้ แต่ต่อมา มีการเขียนกฎหมายให้ยงิ่ เข้มงวดขึน้ ไปอีก เป็นการตีความกฎหมายตามหลัก ภาษาไทยค�ำว่า “ให้ถอื ว่า” ใครมี 15 หน่วยการใช้ ให้ถอื ว่ามีไว้เพือ่ จ�ำหน่าย ผมพูดเรื่องนี้มาเป็น 10 - 20 ปี ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดในคดีอาญา ผมว่า ในหลักสากลไม่มี ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิในที่นี้คงจะได้อธิบายต่อไป
นอกจากข้อสันนิษฐานเด็ดขาดไม่มีแล้ว ยังขัดต่อหลักการรับฟัง พยานหลักฐานของศาลซึ่งเป็นปลายเหตุของการปราบยาเสพติด เมื่อมี 15 หน่วยการใช้ เขียนค�ำพิพากษาง่ายมากโดยไม่ตอ้ งชัง่ นำ�้ หนัก เมือ่ จ�ำเลย มีเกิน 15 หน่วยการใช้ กฎหมายให้สันนิษฐานว่ามีไว้เพื่อจ�ำหน่ายแล้ว ผลักคนเหล่านีเ้ ข้าไปอยูใ่ นเรือนจ�ำอย่างทีเ่ ราเห็น เสียดายตลอดระยะเวลา 20 ปี เราไม่สามารถไปเก็บสถิติคดีทั่วประเทศว่าคนที่มี 15 เม็ด จนถึง 25 เม็ด ถูกผลักเข้าไปอยู่ในเรือนจ�ำในฐานะ “ผู้จ�ำหน่าย” ทั้งๆ ที่จริงหรือ ไม่จริงไม่รู้ มีอยู่สักกี่ราย ผมเชื่อว่ามากมี พวกนี้คือ รายเล็กรายน้อย ที่เป็นนายหน้า เราลงโทษถูกคนแล้วหรือยัง เราจะเอาข้อสันนิษฐาน เด็ดขาดของกฎหมายมาลงโทษคนว่าเป็นผู้มีไว้ในครอบครองเพื่อจ�ำหน่าย ผมเจอกั บตั ว เองเมื่อ 10 ปีที่แล้ว คดีข องศาลจังหวัด นครพนม จ�ำเลยอุทธรณ์จากศาลจังหวัดนครพนมมาที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จ�ำเลย อายุ 23 ปีข้ามไปฝั่งลาวแล้วซื้อเมทแอมเฟตามีนเข้ามา 15 เม็ด ต�ำรวจ จับได้แจ้งข้อหาน�ำเข้า พอส่งไปตรวจพิสูจน์ปรากฏว่าสารบริสุทธิ์ฝั่งลาว สินค้าดีกว่าน�้ำหนักสารบริสุทธิ์เป็น .394 ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่ผมยังจ�ำ อยู่ในสมองเกิน .375 ที่เข้าข้อสันนิษฐานเด็ดขาดของกฎหมาย ผมคุยกับท่านประธานศาลอุทธรณ์ภาค 4 ว่า การน�ำเข้าเพือ่ จ�ำหน่าย มีโทษ “ประหารชีวิต” สถานเดียว แล้วข้อเท็จจริงในคดีนั้นเห็นชัดๆ ว่ า เป็ น ผู ้ ป ่ ว ยน�ำเข้ า เพื่ อ เสพ แต่ บั ง เอิ ญ จ�ำนวนสารบริ สุ ท ธิ์ เ กิ น กว่ า ที่กฎหมายก�ำหนดมีโทษประหารชีวิตสถานเดียว ผมท�ำอย่างไร ผมก็คุย กับผู้บริหารศาลอุทธรณ์ภาค 4 ว่า แนวฎีกาทั้งหลายที่เราตัดสิน ถ้าเรา จะตัดสินง่าย ๆ คือ ยืนตามไปว่ามีไว้เพือ่ จ�ำหน่ายโดยไม่ชงั่ น�ำ้ หนัก น่าห่วงสังคม เลยตกลงว่ า ผมก็ ชั่ ง น�้ ำ หนั ก แล้ ว ฟั ง ว่ า เขาน�ำเข้ า ธรรมดา ลงโทษ ไปตามอั ต ราโทษที่ ฝ ่ า ยนิ ติ บั ญ ญั ติ เ ขี ย นขึ้ น มาเพื่ อ หวั ง ว่ า ให้ ศ าลฎี ก า ได้ทบทวนแนวฎีกาอีกสักครั้งหนึ่ง ผลเป็นอย่างไร อันนี้เป็นเชิงวิชาการ ศาลฎีกาเห็นเหมือนผม เป็นข้อสันนิษฐานเด็ดขาดทีผ่ มเห็นว่าขัดต่อทฤษฎี ของการลงโทษคดีอาญา ขัดต่อทฤษฎีพยานหลักฐาน ท่านต้องชั่งน�้ำหนัก ผมถึงบอกว่าคนพวกนี้ที่อยู่ในเรือนจ�ำในประเทศไทย ซึ่งผมก็ยังสรุปไม่ได้ เพราะว่าเราไม่มีจ�ำนวนเม็ดแต่ละคดี อันนั้นคือข้อแรก ข้อ 2 ผมเห็นว่าเมื่อก�ำลังจะปรับปรุงกฎหมายยาเสพติดให้เป็น ประมวลกฎหมายขึ้นมา ค�ำนิยามทั้งหลายเช่นค�ำว่า “ผลิต” มองความจริง ของชีวติ หรือไม่ เราเคยเจอปัญหาเด็กอายุ 17 ปี เสพพืชกระท่อม เสพเสร็จ ถ้ามีเหลือก็ต้มบรรจุใส่ขวด เราถือว่าผลิต ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดจ�ำกัด ความค�ำนิยามพวกนี้จึงต้องดูให้ถ่องแท้ ข้อ 3 โทษที่ก�ำหนดไว้สถานเดียวน�ำเข้าเพื่อจ�ำหน่ายประหารชีวิต ผมเชือ่ ว่ามีการทบทวนแน่นอน ดุลพินจิ ของศาลโดยฝ่ายอืน่ ผมว่ามันไม่คอ่ ย จะถูกต้อง ถ้าปราบยาเสพติดท่านก็ต้องเอาวิธีการว่าเขามีไว้เพื่อจ�ำหน่าย หรือจ�ำหน่าย และข้ อ 4 การตี ค วามเรื่ อ งการกระท�ำผิ ด พวกเราทั้ ง หลาย ก็คงเชี่ยวชาญเรื่องยาเสพติด ผมอาจมีความรู้น้อยในเรื่องของยาเสพติด ถึงเวลาแล้วหรือยังเราจะต้องมาดูแล ศาลอาจจะตีความเองได้ หรือเขียน กฎหมายอย่าให้ตีความได้เป็น 2 นัยว่าถ้ามีไว้ในครอบครองเพื่อจ�ำหน่าย เป็นความผิดกรรมหนึ่งแล้วจ�ำหน่ายเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ผมยกตัวอย่างง่ายๆ ทฤษฎีที่เราคิดมีไว้ในครอบครองเพื่อจ�ำหน่าย 10,000 เม็ ด จ�ำหน่ า ยไป 9,000 เม็ ด เราลงโทษมี ไ ว้ ใ นครอบครอง เพือ่ จ�ำหน่าย 10,000 เม็ด อีก 9,000 เม็ดจ�ำหน่าย ท่านผูพ้ พิ ากษาตกลง หลักการกระท�ำผิดครัง้ เดียวต้องถูกลงโทษครัง้ เดียว (No Double Jeopardy)
เป็นอย่างไร เพราะเขามีแค่ 10,000 เม็ด แต่คดีนี้มีไว้ในครอบครอง เพื่อจ�ำหน่ายและลงจ�ำหน่ายอีก ตกลงโดน 19,000 เม็ด ซึ่งจริงๆ แล้ว เป็นเรื่องเทคนิค ถ้าท่านฟังว่าผิดกรรมเดียวจะต้องลงโทษ 10,000 เม็ด จะให้โทษสูงแค่ไหนก็ว่าไป จากการทีส่ ภาพสังคมไม่เท่าเทียมกันคนทีจ่ ะต้องดิน้ รนเพือ่ อยูร่ อด หรือคนบางคนอยู่รอดแล้วแต่ค้ายาต้นทุนเม็ดละ 50 สตางค์ ขายเม็ดละ 100 - 200 บาท ยิ่งกว่าซื้อหุ้น เพราะฉะนั้นภาพตรงนี้การกระโดดเข้ามา ท�ำผิ ด จึ ง เกิ ด ได้ ง ่ า ย ศาลซึ่ ง ได้ รั บ ผลพวงจากฝ่ า ยนิ ติ บั ญ ญั ติ ใ นการ ตีความว่า เราจะมีนักกฎหมาย 2 ทฤษฎี คือ “ส�ำนักกฎหมายบ้านเมือง” เห็นว่าเมือ่ กฎหมายผ่านสภาแล้วต้องตัดสินตามนัน้ กฎหมายให้ถอื ว่าตัดสิน อย่างนั้น แต่พวกที่เป็น “ส�ำนักกฎหมายธรรมชาติ” มองว่าความยุติธรรม เกิดที่ไหน คนรวยที่มีเงินซื้อมาเก็บไว้เพื่อไม่ต้องเสี่ยงถูกจับ ผิดตรงไหน ที่จะเปลี่ยนจากสถานะผู้ป่วยมาเป็นผู้จ�ำหน่าย แล้วท�ำไมบอกว่าผู้ป่วย มีไม่เกิน 5 เม็ดถึงส่งไปบ�ำบัด วิธีคิดต้องเปลี่ยน เพราะฉะนั้นในต่างประเทศเริ่มเปลี่ยน เราได้ถกกันว่าประเทศ เบลเยียมเขามีวิธีปฏิบัติกับผู้เสพว่าเป็นภัยกับเขาเอง คุณก็แค่ดูแลเขา ถ้าผมจ�ำไม่ผิดเฮโรอีนก่อนที่จะหมดไปจากประเทศไทย คนเสพคนติด เฮโรอีนมีเยอะ อนามัยทั้งหลายจะมียาที่ฉีดให้กับผู้เสพ จนกระทั่งหมดไป เพราะเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นทฤษฎีที่ว่าเราปฏิบัติต่อเขา อย่างรุนแรงกับการดูแลเขาในฐานะทีเ่ ป็นผูป้ ว่ ย ดังนัน้ รัฐบาล สภานิตบิ ญั ญัติ ต้องชัดเจน อันดับสุดท้าย คือ เรื่องที่มีการปรับยี่ต๊อกโทษต้องดูผู้กระท�ำผิด ตามทฤษฎีอาชญาวิทยาด้วยว่าคนเหล่านีจ้ ะปฏิบตั ติ อ่ เขาอย่างไร ผมอยาก จะให้พวกเราโดยเฉพาะคนทีจ่ ะเกีย่ วข้องกับการตัดสินคดียาเสพติดทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากการยกร่ า งกฎหมายได้ ส ะท้ อ นกลั บ ไป ขออย่ า งเดี ย ว ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดไม่ควรจะมีอย่างจ�ำกัดดุลพินิจในการชั่งน�้ำหนัก พยานหลักฐาน เพราะสังคมไม่มีได้มีแต่เสีย ที่กล่าวมานั้นเป็นอีกหนึ่งทัศนะของผู้เกี่ยวข้องในการที่จะท�ำให้ การแก้ปญ ั หายาเสพติดเป็นรูปธรรมมากยิง่ ขึน้ และน�ำไปสูก่ ารแก้ปญ ั หา แบบยั่งยืนต่อไป วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 11
ทีกองบรรณาธิ ่นี่แจ้งการวัฒนะ ประชุมแผนการบูรณาการฐานข้อมูลกลางภาครัฐ พ ล เ อ ก ป ร ะ ยุ ท ธ์ จั น ท ร์ โ อ ช า น า ย ก รั ฐ ม น ต รี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการบูรณาการ ฐานข้ อ มู ล กลางภาครั ฐ ครั้ ง ที่ 1/2559 เพื่ อ พิ จ ารณาแนวทาง การดำ � เนิ น งานของคณะกรรมการขั บ เคลื่ อ นการบู ร ณาการ ฐานข้อมูลกลางภาครัฐภายใต้กรอบแผนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (Digital Government Plan) โดยมีนายกอบเกียรติ กสิวิวัฒน์ รองปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม และคณะกรรมการผู้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฯ ณ ตึกสันติไมตรี หลังใน ทำ�เนียบรัฐบาล
เปิดงาน ตลาดนํ้าใจ วิถี ไทยผดุง พลเอก ประยุ ท ธ์ จั น ทร์ โ อชา นายกรั ฐ มนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “พม. ตลาดน้ำ�ใจ วิถีไทยผดุง” ภายใต้ แนวคิด โอกาส เกียรติ กำ�ลังใจ คนไทย และเกื้อกูลกันโดยมี พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เข้าร่วมในพิธี พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน ณ ตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทำ�เนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ
สรุปผลป้องกันและลดอุบัติเหตุเทศกาลปีใหม่ 2559 นายชาญเชาวน์ ไชยานุกจิ ปลัดกระทรวงยุตธิ รรม ในฐานะ กรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ เป็นประธานการแถลงข่าวและการประชุมคณะอนุกรรมการ เฉพาะกิ จ ศู น ย์ อำ � นวยการป้ อ งกั น และลดอุ บั ติ เ หตุ ท างถนน เพื่ อ สรุ ป ผลการดำ � เนิ น การป้ อ งกั น และลดอุ บั ติ เ หตุ ท างถนน ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2559 ณ ห้องประชุม 1 อาคาร 3 ชั้น 5 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ถนนอู่ทองนอก กรุงเทพฯ
12 | Justice Magazine Ministry of Justice
ปาฐกถาพิเศษ “สมาธิกับผู้ต้องขัง” พลเอก ไพบูลย์ คุม้ ฉายา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม ปาฐกถาพิ เ ศษ เรื่ อ ง “สมาธิ กั บ ผู้ ต้ อ งขั ง ” เพื่ อ เผยแพร่ การขับเคลื่อนนโยบายการคืนคนดีสู่สังคมของกระทรวงยุติธรรม ผ่านโครงการพัฒนาจิตใจผูต้ อ้ งขังหลักสูตรสัคคสาสมาธิ ตามแนวทาง พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์สิรินฺธโร) ร่วมกับสถาบัน พลังจิตตานุภาพ ณ ศูนย์นทิ รรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร
ประชุมคณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ
ลงพื้นที่ตรวจราชการ
นายชาญเชาวน์ ไชยานุ กิ จ ปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสถาบันอนุญาโตตุลาการ ครั้ ง ที่ 1/2559 เพื่ อ พิ จ ารณาแผนการตรวจสอบภายใน และแผนการตลาดประจำ � ปี พ.ศ.2559 ของสถาบั น อนุ ญ าโตตุ ล าการณ ห้ อ งสุ ขุ ม วิ ท ที เอช เอ ซี สถาบั น อนุญาโตตุลาการ ชั้น 26 ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร
นายวีระยุทธ สุขเจริญ หัวหน้าผูต้ รวจราชการกระทรวง ยุติธรรม และคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการในจังหวัดศรีสะเกษ และอำ�เภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โอกาสนี้ ได้ประชุม ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมในพื้นที่ ณ ห้องประชุมสุริยวรมัน ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ และ ได้ตรวจเยีย่ มหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุตธิ รรมในพืน้ ทีจ่ งั หวัด ศรีสะเกษ จำ�นวน 7 แห่ง และในพื้นที่อำ�เภอเดชอุดม จังหวัด อุบลราชธานี จำ�นวน 2 แห่ง วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 13
เรื ่องเล่ายุติธรรม กองบรรณาธิการการ กองบรรณาธิ
บนเส้นทางสู่ปีที่
ของกรมบั ง คั บ คดี ตลอดระยะเวลาสี่ สิ บ กว่ า ปี ที่ ผ ่ า นมา กรมบั ง คั บ คดี กระทรวงยุ ติ ธ รรม ได้ ยึ ด มั่ น ท�ำงานด้ ว ย ความเป็นธรรมตามหลักมาตรฐานสากล เพื่อจุดมุ่งหมายอ�ำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนอย่างเสมอภาค เท่าเทียม โดยมีภารกิจที่ส�ำคัญ ได้แก่ การบังคับคดีแพ่ง ด�ำเนินการคดีล้มละลาย และฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตามคําสัง่ ศาล ชําระบัญชีตามคําสัง่ ศาล วางทรัพย์ และประเมินราคาทรัพย์สนิ โดยดําเนินการยึด อายัด จําหน่าย ทรัพย์สิน รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ ในคดีล้มละลาย ตลอดจนกํากับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เพื่อให้ เจ้าหนี้และผู้มีส่วนได้เสียได้รับชดใช้จากลูกหนี้อย่างเป็นธรรม เป็นต้น ในโอกาสวั น คล้ า ยวั น สถาปนา กรมบังคับคดีครบรอบ 41 ปี ซึง่ ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 พลเอก ไพบูลย์ คุม้ ฉายา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม พร้ อ มด้ ว ยพลเอก นิ วั ต ร มี น ะโยธิ น ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจ�ำกระทรวงยุติธรรม ได้ ม าร่ ว มงานดั ง กล่ า ว ณ กรมบั ง คั บ คดี ถนนบางขุนนนท์ กรุงเทพมหานคร โดยมี นางสาวรื่ น วดี สุ ว รรณมงคล อธิ บ ดี กรมบังคับคดี พร้อมด้วยผูบ้ ริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าทีก่ รมบังคับคดี ให้การต้อนรับ ภายในงานประกอบด้วย นิทรรศการ ผลการด�ำเนิ น งานของกรมบั ง คั บ คดี แผนด�ำเนิ น งานในปี พ.ศ. 2558 รวมทั้ ง การรั บ บริ จ าคเงิ น ช่ ว ยเหลื อ เพื่ อ ผู ้ ย ากไร้ โรงพยาบาลศิ ริ ร าช ให้ แ ก่ ศิ ริ ร าชมู ล นิ ธิ และจ�ำหน่ายสินค้าจากส�ำนักงานบังคับคดี ทั่วประเทศและชุมชนในเขตบางกอกน้อย และเขตตลิง่ ชัน 14 | Justice Magazine Ministry of Justice
ส�ำหรับพิธกี ารในช่วงเช้าเป็นพิธพี ราหมณ์ และพิธีสงฆ์ ส่วนช่วงบ่ายพลเอก ไพบูลย์ฯ มอบนโยบายและให้ โ อวาทแก่ ผู ้ บ ริ ห าร กรมบังคับคดี ผูอ้ �ำนวยการส�ำนักงานบังคับคดี ทั่วประเทศ รวมทั้งมอบทุนการศึกษาให้แก่ โรงเรียนในเขตพืน้ ทีแ่ ขวงบางขุนนนท์ จ�ำนวน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดเจ้าอาม โรงเรียน วัดบางขุนนนท์ โรงเรียนวัดตลิง่ ชัน โรงเรียน วัดสุวรรณาราม โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม และมอบรางวัลแก่ข้าราชการดีเด่นของ กรมบังคับคดี นอกจากนี้ ยั ง ได้ จั ด พิ ธี เ ปิ ด ระบบ ให้ บ ริ ก ารประชาชนทางอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ (E-Services) และเสวนาหัวข้อ “ความรูเ้ กีย่ วกับ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส�ำหรับ บุคลากรกรมบังคับคดี” พลเอก ไพบูลย์ฯ กล่าวว่า หน้าทีห่ ลัก ของกรมบังคับคดี คือ ท�ำค�ำพิพากษาของศาล
ในเรื่ อ งทางแพ่ ง พาณิ ช ย์ และล้มละลาย ให้เป็นผลหรือเรียกว่า”ฟืน้ ฟูกจิ การ” เมือ่ ศาล มี ค�ำสั่ ง ให้ ลู ก หนี้ ต ้ อ งช�ำระหนี้ ถ้ า ลู ก หนี้ ไม่ช�ำระกรมบังคับคดีกต็ อ้ งเข้าไปยึดทรัพย์สนิ ของลูกหนี้ไปขายทอดตลาดเพื่อน�ำเงินไป ช�ำระหนีใ้ ห้แก่เจ้าหนี้ ขณะเดียวกันทรัพย์สนิ ของลูกหนีก้ ต็ อ้ งน�ำมาแบ่งให้เจ้าหนีท้ งั้ หมด เมื่อมองในเชิงกฎหมาย การกระท�ำ ดังกล่าว เป็นการท�ำให้ค�ำพิพากษาของศาล เป็ น ผลถ้ า มองในเชิ ง เศรษฐศาสตร์ คื อ การรีไซเคิล ดึงเม็ดเงินที่เสมือนการลงทุน ผิดพลาดกลับมาและส่งกลับคืนให้เจ้าหนี้ เพื่ อ น�ำกลั บ ไปลงทุ น ใหม่ และหลั ง จากนี้ กรมบังคับคดี จะต้องปรับปรุงการท�ำงาน ในขั้ น ตอนต่ า งๆ พร้ อ มผลั ก ดั น การขาย ทอดตลาดทรั พ ย์ สิ น ที่ ยึ ด มาได้ ใ ห้ ร วดเร็ ว มากยิง่ ขึน้ และหาทางให้ประชาชนต้องเข้าถึง สิทธิใ์ นการบังคับคดีโดยง่ายขึ้น
รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม กล่าวต่อว่า ขณะนี้ ต้องการ เร่งผลักดันสินทรัพย์ที่ยังรอกระบวนการขายทอดตลาด ประมาณ 2 แสนล้านบาท ให้ได้โดยเร็ว เพื่อให้มีเงินกลับมาหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ที่ ผ ่ า นมาถื อ ว่ า กรมบั ง คั บ คดี มี ผ ลงานเป็ น ที่ น ่ า พอใจ ซึง่ ในปีงบประมาณ 2558 สามารถผลักดันสินทรัพย์ได้สงู สุดในรอบ 5 ปี อี ก ทั้ ง กรมบั ง คั บ คดี ยั ง ได้ ป รั บ ปรุ ง ระบบเทคโนโลยี และปรั บ ปรุ ง กฎหมายหลายฉบั บ เพื่ อ เพิ่ ม ขี ด ความสามารถ การแข่งขันของประเทศ โดยหนึง่ ในกฎหมายทีม่ กี ารปรับปรุงแก้ไข ให้ ส อดคล้ อ งสถานการณ์ ม ากขึ้ น คื อ ประมวลกฎหมายแพ่ ง และพาณิชย์ เพิ่มเติม มาตรา 309 จัตวา ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2558 มีสาระส�ำคัญ คือ ยกเว้นให้ผู้ประมูลคอนโดมิเนียมและ ที่ดินจัดสรรขายทอดตลาดจากกรมบั ง คั บ คดี ไ ม่ ต ้ อ งจ่ า ยหนี้ ค่าส่วนกลางทีล่ กู หนีร้ ายเก่าค้างไว้ จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทประจ�ำส�ำนักงานบังคับคดี ทั่ ว ประเทศ จ�ำนวน115 แห่ ง โดยให้ ค วามส�ำคั ญ แก้ ป ั ญ หา หนี้ครัวเรือน หนี้รายย่อย หนี้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) หนี้ ก องทุ น เงิ น ให้ กู ้ ยื ม เพื่ อ การศึ ก ษา (กยศ.) และ หนี้เกษตรกร มีการจัดท�ำข้อมูลผ่านทางระบบแอพพลิเคชั่น บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ “LED PROPERTY” เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ให้ประชาชนดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน่ บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อค้นหารายละเอียดทรัพย์สิน ที่ ข ายทอดตลาด ท�ำให้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น และ เป็นการให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพบว่าตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2557-30 กันยายน 2558 มีผู้เข้าโหลดแอพพลิเคชั่น จ�ำนวน 5,235 ครั้ง แยกเป็นระบบ Android จ�ำนวน 3,581 ครั้ง ระบบ IOS จ�ำนวน 1,654 ครั้ง นี่คือภาพรวมการท�ำงานของกรมบังคับคดีในปีที่ผ่านมา และในวาระของการก้ า วเข้ า สู ่ ป ี ที่ 42 นี้ กรมบั ง คั บ คดี ยั ง คงมุ ่ ง มั่ น เดิ น หน้ า รั บ ใช้ ป ระชาชนด้ ว ยความรวดเร็ ว และมีประสิทธิภาพต่อไป
กรมบังคับคดี ได้ด�ำเนินการในเรื่องที่ส�ำคัญดังนี้ เปิดการขายทอดตลาดในวันเสาร์ส่งผลให้มีผู้สนใจมากขึ้น กว่าวันท�ำการปกติรอ้ ยละ 26.51 ท�ำให้สามารถผลักดันทรัพย์สนิ เข้า สูร่ ะบบเศรษฐกิจ จ�ำนวน 99,793,363,673 บาท เมือ่ เปรียบเทียบกับ ผลการผลักดันทรัพย์สนิ ในรอบ 4 ปีกอ่ น ระหว่าง พ.ศ. 2554-2557 พบว่าในปี พ.ศ. 2558 ผลักดันทรัพย์สินได้สูงที่สุด มากกว่า ร้อยละ 24.29 จั ด มหกรรมไกล่ เ กลี่ ย ข้ อ พิ พ าทชั้ น บั ง คั บ คดี ทั่ ว ประเทศ ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวม 9 หน่วยงาน ได้แก่ 1. ธนาคารพั ฒ นาวิ ส าหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ มแห่ ง ประเทศไทย 2. กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 3. ธนาคารออมสิน 4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 5. ธนาคาร อิสลามแห่งประเทศไทย 6. บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จ�ำกัด 7. บริษัท บัตรกรุงไทย จ�ำกัด (มหาชน) 8. บริษัท บริหาร สินทรัพย์สุขุมวิท จ�ำกัด และ 9. บริษัท ทีโอที จ�ำกัด (มหาชน) โดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดีทั่วประเทศตั้งแต่เดือน ตุ ล าคม 2557 ถึ ง กั น ยายน 2558 มี จ�ำนวน 10,630 เรื่ อ ง คิ ด เป็ น ทุ น ทรั พ ย์ 4,779,515,270.75 บาท ไกล่เกลี่ยส�ำเร็จ 8,972 เรื่อง หรือร้อยละ 84.40 ของเรื่องที่เข้าสู่การไกล่เกลี่ย คิดเป็นทุนทรัพย์ 3,629,820,488.12 บาท เมื่ อ เปรี ย บเที ย บเรื่ อ งเข้ า สู ่ ก ารไกล่ เ กลี่ ย ข้ อ พิ พ าท กับปีงบประมาณ พ.ศ.2557 พบว่า มีเรื่องเข้าสู่การไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 86.0 และผลการไกล่เกลีย่ ในปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ถือว่าเป็นจ�ำนวนสูงทีส่ ดุ ตัง้ แต่มกี ารจัดตัง้ ศูนย์ไกล่เกลีย่ ในปี พ.ศ.2554 การเปรียบเทียบผลการไกล่เกลี่ยเฉลี่ยในรอบ 4 ปี (ปี พ.ศ.2554-2557) ในปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ผลการไกล่เกลี่ย สูงกว่าผลการไกล่เกลี่ยเฉลี่ยในรอบ 4 ปี มากกว่าร้อยละ 100 วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 15
บนความเคลื่อนไหว กองบรรณาธิการ
กระทรวงยุติธรรม
ร่วมประชุมพัฒนากฎหมายสู่ระดับอาเซียน เมือ่ วันที่ 22 ตุลาคม 2558 ประเทศไทยได้สง่ ผูแ้ ทนเข้าร่วม การประชุมรัฐมนตรีอาเซียด้านกฎหมาย (ALAWMM) ครั้งที่ 9 และ ระหว่างวันที่ 19-20 ตุลาคม 2558 การประชุมเจ้าหน้าทีอ่ าวุโส อาเซี ย นด้ า นกฎหมาย (ASLOM) ครั้ ง ที่ 16 ณ เมื อ งบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดย พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงยุตธิ รรม ได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรี อาเซียนด้านกฎหมาย (ALAWMM) ครัง้ ที่ 9 และนายชาญเชาวน์ ไชยานุ กิ จ รองปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม ได้ เ ดิ น ทางไปเข้ า ร่ ว ม การประชุม ASLOM ครั้งที่ 16 ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการประชุ ม ASLOM พร้ อ มด้ ว ยผู ้ แ ทนกระทรวงยุ ติ ธ รรม ส�ำนั ก งานอั ย การสู ง สุ ด ส�ำนั ก งานศาลยุ ติ ธ รรม กระทรวง การต่ า งประเทศ สถาบั น เพื่ อ การยุ ติ ธ รรมแห่ ง ประเทศไทย (องค์การมหาชน) และส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ รวม 24 ราย
16 | Justice Magazine Ministry of Justice
ในการประชุ ม ดั ง กล่ า วผู ้ บ ริ ห ารและบุ ค ลากรที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ในด้ า นกฎหมายจาก 10 ประเทศอาเซี ย น ได้ มี โ อกาสอภิ ป ราย แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ความร่วมมือด้านกฎหมายทีส่ �ำคัญต่างๆ ซึง่ ก่อให้เกิดประโยชน์ในการ พัฒนางานด้านกฎหมายและสร้างคุณปู การให้แก่กระบวนการยุตธิ รรม ในประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นอย่างยิ่ง การเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย (ALAWMM) ครั้งที่ 9 และการประชุ มเจ้ า หน้ า ที่ อ าวุ โ สอาเซี ย นด้ า นกฎหมาย (ASLOM) ครัง้ ที่ 16 ท�ำให้ประเทศไทยได้แสดงบทบาทการมีสว่ นร่วม กับประเทศสมาชิกอาเซียน อั น จะเป็ น ประโยชน์ ต ่ อ การกระชั บ ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมายในหมู่ประเทศสมาชิก อาเซี ย น อี ก ทั้ ง ยั ง สามารถน�ำผลการประชุ ม และพั ฒ นาการ ด้านกฎหมายต่างๆ มาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของแต่ละประเทศ เพือ่ น�ำไปปฏิบตั ใิ ช้ให้สอดคล้องกับกฎหมายภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พลเอก ไพบู ล ย์ ฯ กล่ า วระหว่ า ง การประชุม ครั้งที่ 9 ว่า ส�ำหรับการประชุม ครัง้ นี้ เป็นโอกาสอันดีในการสร้างความร่วมมือ ร่ ว มกั น ระหว่ า งประเทศสมาชิ ก อาเซี ย น ที่ ผ ่ า นมา ประชาคมอาเซี ย นของเรา จะถู ก ผลั ก ดั น ให้ ส ร้ างกฎหมายสอดคล้อง กับแนวคิดประเทศที่มีความพร้อมทุกด้าน ตนเข้าใจว่า พวกเราพร้อมที่จะสนับสนุน พันธกรณีระหว่างประเทศ และเห็นด้วยว่า กฎหมายเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่การแก้ไข กฎหมายที่ไม่พร้อมต่อบริบทของประเทศ ไม่ ว ่ า สั ง คม เศรษฐกิ จ ความมั่ น คง และ ความรู้ การศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะ การแก้ไข หรือพัฒนากฎหมายทีเ่ ป็นลักษณะ ก้ า วกระโดดนั้ น มองว่ า น่ า จะเป็ น ผลเสี ย มากกว่า จึงอยากเสนอให้ประเทศอาเซียน ช่วยกันท�ำความเข้าใจให้กบั ประเทศและองค์กร ระหว่างประเทศว่า เราควรมีจดุ ยืนของอาเซียน ทีช่ ดั เจนต่อข้อกฎหมายแต่ละเรือ่ ง
“ผมเชื่อว่าประเทศและองค์กรที่พยายาม ให้ เ รามี ก ฎหมายอย่ า งเขานั้ น เคยอยู ่ ใ น สถานการณ์ที่ประเทศอาเซียนเป็นมาก่อน เช่นกัน ประเทศไทยไม่เคยปฏิเสธหรือไม่เห็นด้วย กับกฎหมาย หรือพันธกรณีระหว่างประเทศ แต่ ข อให้ มี ค วามสอดคล้ อ งกั บ การพั ฒ นา ในด้านอื่นๆ ด้วย เช่น กฎหมายสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และยาเสพติด หากกฎหมาย และพันธกรณีระหว่างประเทศใดเป็นไปตามนี้ เราก็พร้อมทีจ่ ะด�ำเนินการทันที ดังจะเห็นได้ว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ได้มกี ารพัฒนากฎหมาย รวมทัง้ ให้ความร่วมมือ กั บ ประเทศต่ า งๆ ที่ เ ห็ น ผลเป็ น รู ป ธรรม เช่น พ.ร.บ.ความร่วมมือระหว่างประเทศ ในเรือ่ งทางอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... สอดคล้อง กับสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกัน และกันในเรื่องทางอาญา การประกาศใช้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั ่ ง พ.ศ. 2558 และ พ.ร.บ.กองทุนยุติธรรมให้ประชาชนเข้าถึง ความช่วยเหลือทางกฎหมายของรัฐ
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 17
บนความเคลื่อนไหว กองบรรณาธิการ
พลเอก ไพบูลย์ กล่าวว่าฯ ประเทศไทยสนับสนุนการท�ำงาน ของเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านกฎหมายในเรื่องการพัฒนาสนธิสัญญา แม่แบบ ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน และเห็นด้วยกับการเริ่มต้น พิจารณาความเป็นไปได้ในการยกระดับเป็นสนธิสัญญาแม่แบบ สนธิ สั ญ ญาของอาเซี ย น ซึ่ ง จะเป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ส�ำคั ญ ในการ ป้องกันและปรามปรามอาชญากรรมข้ามชาติซึ่งจะมีมากยิ่งขึ้น เมื่ อ เข้ า สู ่ ป ระชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น เพื่ อ ให้ สิ่ ง ที่ ไ ด้ พู ด กั น ในที่ ป ระชุ ม นี้ เห็ น ผลเป็ น รู ป ธรรมและเป็ น ประโยชน์ จ ริ ง ต่อภูมิภาคอาเซียน ดังที่เราได้ตั้งใจไว้ ขอเสนอให้มีการก�ำหนด ขอบเขตอ�ำนาจหน้ า ที่ ข องที่ ป ระชุ ม ทั้ ง ในส่ ว นเจ้ า หน้ า ที่ อ าวุ โ ส ด้านกฎหมาย และระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย ควรมี ความชัดเจนและไม่ด�ำเนินการซ�้ำซ้อนกับองค์กรอื่นของอาเซียน เช่ น ประเด็ น สิ่ ง แวดล้ อ มและความมั่ น คงทางทะเล เป็ น ต้ น โดยสานักเลขาธิการอาเซียนควรให้ค�ำแนะน�ำแก่ประเทศสมาชิก อาเซียนในประเด็นดังกล่าว
18 | Justice Magazine Ministry of Justice
ทั้งนี้ อยากให้การประชุมทั้ง 2 ส่วน ควรยึดมั่น ในผลประโยชน์ของอาเซียนโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตามวิสัยทัศน์และแผนงานของประชาคมอาเซียนปี 2025 และมีบทบาทชี้น�ำแนวทางความร่วมมือและการพัฒนา ภู มิ ภ าคของเรา ซึ่ ง จะท�ำให้ ก ารรวมตั ว เป็ น ประชาคม อาเซียน ในปี 2558 จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก และประชาชนในภูมิภาคอย่างแท้จริง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหารือระดับทวิภาคีกับหัวหน้าคณะ ประเทศต่าง ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือด้านกระบวนการยุติธรรม พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้หารือระดับทวิภาคีกับหัวหน้าคณะประเทศต่าง ๆ ประกอบด้วย H.E. Nguyen Khanh Ngoc ผู ้ ช ่ ว ยรั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงยุ ติ ธ รรมเวี ย ดนาม และ H.E. Ket Kiettisak ผู ้ ช ่ ว ยรั ฐ มนตรี ช่ ว ยว่ า การกระทรวงยุ ติ ธ รรม สปป.ลาว เมื่ อ วั น ที่ 22 ตุ ล าคม 2558 ณ ห้ อ งทวิ ภ าคี โรงแรมเมเลี ย บาหลี ประเทศอิ น โดนี เ ซี ย สรุปสาระส�ำคัญ ดังนี้
1
การหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ H.E. Nguyen Khanh Ngoc ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเวียดนาม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของเวียดนามมีความประสงค์จะเดินทางมาศึกษาดูงานหน่วยงาน ด้านกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ได้แก่ กระทรวงยุติธรรม ส�ำนักงานอัยการสูงสุด ส�ำนักงานศาลยุติธรรม และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด�ำเนินงานด้านกระบวนการยุติธรรม เพื่อน�ำไปปรับใช้พัฒนาและปรับปรุงการด�ำเนินงานในประเทศเวียดนาม รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ และสร้างเครือข่ายการด�ำเนินงานด้านกระบวนการยุติธรรมร่วมกันของทั้งสองประเทศ โดยก�ำหนดการเดินทาง เข้ามาศึกษาดูงานดังกล่าว ระหว่างวันที่ 21-22 ธันวาคม 2558
การหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ H.E. Ket Kiettisak ผู้ช่วยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม สปป.ลาว โดยประเทศไทยและ สปป.ลาว มีการจัดท�ำบันทึกความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านกฎหมาย และกระบวนการยุตธิ รรมระหว่างกระทรวงยุตธิ รรมไทยและกระทรวงยุตธิ รรม สปป.ลาว (The Memorandum of Understanding On Legal Affairs Cooperation between Ministry of Justice of the Lao People’s Democratic Republic and The Ministry of Justice of the Kingdom of Thailand) ซึ่งที่ผ่านมามีความคืบหน้าในการด�ำเนินการเรื่องดังกล่าว ได้แก่ - สปป.ลาว ได้ด�ำเนินการยกร่าง MOU และจัดส่งให้ฝ่ายไทยพิจารณา ซึ่งไทยได้ปรับและส่งให้ สปป.ลาว เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ สปป.ลาว - การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ 2nd Workshop on Perspectives on Building State of Law and Social Justice in Lao PDR ภายใต้โครงการความร่วมมือไทย – ลาว ในการเสริมสร้างหลักนิติธรรม ซึ่งก�ำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2558 ณ กรุงเวียงจันทน์ ทั้งนี้ บทบาทภารกิจของผู้แทนไทยในการประชุม ASLOM ครั้งที่ 16 และการประชุม ALAWMM ครั้งที่ 9 เป็นการย�้ำเจตนารมณ์ของประเทศไทยในการให้ความส�ำคัญกับการพัฒนางานกฎหมายในภูมิภาค อาเซียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังแสดงถึงพัฒนาการงานด้านกระบวนการยุติธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน ที่จะน�ำไปสู่ความร่วมมือทางด้านกฎหมายระหว่างภูมิภาคอาเซียนในอนาคต
2
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 19
บนความเคลื่อนไหว กองบรรณาธิการ
20 | Justice Magazine Ministry of Justice
กรมราชทัณฑ์
มีอ�ำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติต่อผู้กระท�ำผิดให้เป็นไปตามค�ำพิพากษา ตลอดจน ก�ำหนดแนวทางปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ให้สอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ นโยบายของกระทรวง หลักอาชญาวิทยา หลักทัณฑวิทยา และตามหลักสากล แต่อกี หนึง่ ในภารกิจส�ำคัญ นอกเหนือการควบคุมผูต้ อ้ งขัง คือ แก้ ไขและพัฒนาพฤตินสิ ยั ผูต้ อ้ งขัง รวมทั้งฝึกอาชีพเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ต้องขังที่พ้นโทษให้สามารถกลับคืนสู่ครอบครัว และใช้ชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยไม่หวนกลับมากระท�ำผิดซ�้ำอีก ด้วยบทบาทภารกิจทีม่ มี ากกว่าการควบคุมผูต้ อ้ งโทษ กรมราชทัณฑ์จ�ำเป็นต้องบูรณาการท�ำงาน ร่วมกับหน่วยงานหลายองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกประเทศ ภายใต้กรอบด�ำเนินงาน ตามเป้าหมายเดียวกันที่ ได้รับการยอมรับในระดับสากล กรมราชทัณฑ์ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้บริหารงานราชทัณฑ์ ภาคพื้นเอเชียและแปซิกฟิก หรือ APCCA สมัยที่ 35 (The 35 th Asian and Pacific Conference of Correctional Administrators) ภายใต้แนวคิด “Pride in Uniqueness” หรือ “ภาคภูม”ิ ในเอกลักษณ์ คือ เกียรติศักดิ์ “ราชทัณฑ์” เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงภาพของงานราชทัณฑ์ ทีม่ คี วามแตกต่างหลากหลายตามสภาวการณ์ ทางสังคม และวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ การประชุมครั้งนี้มีเป้าหมายเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิด และนวัตกรรมการราชทัณฑ์ จากผู้บริหารงานราชทัณฑ์ 23 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย มาเก๊า อินเดีย ญี่ปุ่น ฮ่องกง คิริบาติ บรูไน ฟิลิปปินส์ จีน มาเลเซีย ศรีลังกา ฟิจิ หมู่เกาะโซโลมอน ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกีนี แคนาดา เกาหลีใต้ กัมพูชา บังกลาเทศ สิงคโปร์ มองโกเลีย และเวียดนาม พร้อมด้วยผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 100 คน ณ โรงแรมอนันตรา กรุงเทพฯ ริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา โดยมี พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน ในพิธีเปิดการประชุมฯ วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 21
บนความเคลื่อนไหว กองบรรณาธิการ
พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่ า วว่ า งานราชทั ณ ฑ์ เ ป็ น หน่ ว ยงานที่ ด�ำเนิ น การต่ อ จากผล ของการตัดสินจากศาลยุตธิ รรม ดังนัน้ หน้าทีข่ องคนราชทัณฑ์ คือ จะต้อง คืนคนดีสู่สังคม โดยบ�ำบัดและฟื้นฟูไม่ให้คนเหล่านั้นหวนกลับมา กระท�ำความผิดซ�้ำอีก ซึ่งในแต่ละประเทศย่อมมีวิธีการที่แตกต่างกัน ส�ำหรับในประเทศไทย กรมราชทัณฑ์มผี ตู้ อ้ งขังประมาณ 330,000 คน เป็นคดียาเสพติด ถึงร้อยละ 80 จึงจ�ำเป็นจะต้องเร่งปรับปรุงกฎหมาย ยาเสพติด เพื่อท�ำให้จ�ำนวนผู้ต้องขังมีความสอดคล้องกับเรือนจ�ำ อี ก ทั้ ง ก�ำลั ง เร่ ง แก้ ไ ขพระราชบั ญ ญั ติ ร าชทั ณ ฑ์ ซึ่ ง ประเทศไทย ใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว มานานกว่า 80 ปี เพือ่ ให้เกิดความทันสมัย และสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบนั ทัง้ นี้ กรมราชทัณฑ์ไม่สามารถด�ำเนินการบ�ำบัด ฟืน้ ฟู ผูก้ ระท�ำผิด ได้ ส�ำเร็ จ เพี ย งหน่ ว ยงานเดี ย ว ต้ อ งท�ำงานบู ร ณาการร่ ว มกั บ หน่ ว ยงานอื่ น ๆ ที่ มี ส ่ ว นเกี่ ย วข้ อ งด้ ว ย เช่ น งานด้ า นการศึ ก ษา และด้านการฝึกอาชีพ จึงจ�ำเป็นต้องมีหน่วยงานทางการศึกษาเข้ามา ร่วมด้วย เพื่อพัฒนาผู้ต้องขังให้มีความรู้และมีวิชาชีพติดตัว สามารถ หารายได้เลี้ยงตนเองหลังพ้นโทษ
ด้านนายวิทยา สุริยะวงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า การประชุมในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ที่กรมราชทัณฑ์ไทยเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมผู้บริหารงานราชทัณฑ์ภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก หรือ APCCA ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน นับแต่ครั้งแรกที่จัด ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2523 ที่เมืองฮ่องกง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวที แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการบริหารงานราชทัณฑ์ ทั้ ง การปฏิ บั ติ ต ่ อ ผู ้ ก ระท�ำผิ ด พั ฒ นาพฤติ นิ สั ย รวมถึ ง วิ เ คราะห์ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในงาน เรือนจ�ำของประเทศในภูมิภาค อีกทัง้ จะน�ำไปสูก่ ารประมวลองค์ความรู้ และนวัตกรรมต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ตอ่ การพัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ในประเทศไทย และยกระดับสู่เวทีสากลภายใต้กรอบของสหประชาชาติที่ว่าด้วย การป้องกันอาชญากรรมและปฏิบัติต่อผู้กระท�ำผิดผ่านเครือข่าย ความร่วมมือระหว่างประเทศ
22 | Justice Magazine Ministry of Justice
ส�ำหรับสาระส�ำคัญการประชุมในครั้งนี้ ครอบคลุมการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และความรู้ของประเทศสมาชิกในประเด็นส�ำคัญ 5 ด้าน ประกอบด้วย 1. สถานการณ์ปัจจุบันด้านงานราชทัณฑ์ในแต่ละประเทศ 2. การปฏิบัติต่อผู้กระท�ำผิดหญิงในเรือนจ�ำ/ทัณฑสถานและในชุมชน 3. การใช้ เ ทคโนโลยี ใ นงานราชทั ณ ฑ์ 4. การปฏิ บั ติ ต ่ อ ผู ้ ต ้ อ งขั ง ที่ มี ความเฉพาะทาง และ 5. ความร่วมมือด้านงานราชทัณฑ์ในระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ
รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ผ่านการสัมผัสการปฏิบัติงาน ในสถานที่ จ ริ ง ของกรมราชทั ณ ฑ์ ไ ทย ณ เรื อ นจ�ำพิ เ ศษธนบุ รี และทัณฑสถานหญิงธนบุรี เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เห็นและเรียนรู้ งานราชทัณฑ์ไทย ณ สถานทีป่ ฏิบตั จิ ริง จึงเป็นอีกมิตหิ นึง่ ของการประชุม ในการสร้ างมิ ตรภาพ ความผู กพันและเป็ นการสานสัมพันธ์ระหว่า ง มิ ต รประเทศในบรรยากาศที่ เ ป็ น กั น เอง ซึ่ ง เป็ น เอกลั ก ษณ์ ที่ ไ ม่ ไ ด้ พบเห็นในการประชุมระหว่างประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 23
บนความเคลื่อนไหว กองบรรณาธิการ
“สร้างคน สร้างอาชีพ” เป็นนโยบายที่ส�ำคัญประการหนึ่ง ของคณะรั ฐ บาล พลเอก ประยุ ท ธ์ จั น ทร์ โ อชา นายกรั ฐ มนตรี ซึ่ ง ก�ำหนดแนวทางด้ า นการศึ ก ษา มุ ่ ง เน้ น ให้ ป ระชาชนมี ค วามรู ้ ความสามารถ เพื่อสร้างคุณภาพของคนไทย ให้เรียนรู้ พัฒนาตนได้ เต็มตามศักยภาพ สามารถประกอบอาชีพและด�ำรงชีวิตได้ ตลอดจน ส่งเสริมอาชีวศึกษา และการศึกษาระดับวิทยาลัยชุมชน เพื่อสร้าง แรงงานทีม่ ที กั ษะเฉพาะในท้องถิน่ ให้ตรงตามความต้องการของตลาด แรงงาน รวมทัง้ สอดคล้องกับแนวทางการด�ำเนินงานของกรมราชทัณฑ์ ทีไ่ ด้จดั ท�ำแผนการแก้ไขฟืน้ ฟูเฉพาะทาง เพือ่ พัฒนาพฤตินสิ ยั ผูต้ อ้ งขัง ประเภทเรือนจ�ำการศึกษา โดยคัดเลือกเรือนจ�ำกลางพระนครศรีอยุธยา เป็นเรือนจ�ำน�ำร่องประเภทเรือนจ�ำการศึกษา ด้วยเล็งเห็นถึงความพร้อม ในด้านของสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่จะสนับสนุนด้านจัดการเรียนการสอนสายอาชีพให้กับผู้ต้องขัง 24 | Justice Magazine Ministry of Justice
เพือ่ ให้เรือนจ�ำเฉพาะทาง ประเภทเรือนจ�ำการศึกษาบรรลุความส�ำเร็จ โดยเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2558 มีพิธีลงนามบันทึก ข้ อ ตกลงความร่ ว มมื อ ว่ า ด้ ว ยการจั ด การศึ ก ษา ด้ า นอาชี ว ศึ ก ษา เพื่อพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังในเรือนจ�ำเฉพาะทาง ประเภทเรือนจ�ำ การศึกษา ระหว่างนายวิทยา สุริยะวงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และ ดร.อกนิ ษ ฐ์ คลั ง แสง รองเลขาธิ ก ารคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา (กอศ.) ณ กรมราชทัณฑ์ จังหวัดนนทบุรี นายวิทยา สุรยิ ะวงค์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า เรือนจ�ำ เฉพาะทางประเภทเรือนจ�ำการศึกษา ที่เน้นด้านจัดการศึกษาระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย และอาชีวศึกษาอย่างเป็นระบบ โดยมีกลุ่ม เป้าหมายผู้ต้องขังชายอายุ 18-30 ปี สัญชาติไทยที่กระท�ำความผิด ครั้งแรก ประเภทคดีทั่วไป ที่ก�ำหนดโทษ 5-15 ปีมีความประพฤติดี และไม่เคยกระท�ำผิดวินยั ของเรือนจ�ำ
โดยคัดเลือกจากเรือนจ�ำทัณฑสถานในเขตกรุงเทพมหานคร ปริ ม ณฑล และจั ง หวั ด ในพื้ น ที่ ภ าคกลาง รวมถึ ง ผู ้ ต ้ อ งขั ง เดิ ม ของเรือนจ�ำกลางพระนครศรีอยุธยา ที่มีคุณสมบัติตามที่ก�ำหนด และได้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากสถาบั น การศึ ก ษาสั ง กั ด ส�ำนั ก งาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถานประกอบการในพื้นที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ส�ำหรับภาคเรียนที่ 2/2558 มีผู้ต้องขังกลุ่มเป้าหมาย จ�ำนวน 120 คน ดังนี้ ระดับ ปวช. สาขาช่างยนต์ จ�ำนวน 40 คน หลักสูตร วิทยาลัยสารพัดช่างพระนครศรีอยุธยา สาขาช่างเชือ่ ม จ�ำนวน 30 คน หลักสูตรวิทยาลัยการอาชีพเสนา สาขาคอมพิวเตอร์กราฟฟิก จ�ำนวน 20 คน หลักสูตรวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา ระดับ ปวส. สาขาช่างยนต์ จ�ำนวน 30 คน หลักสูตรวิทยาลัยสารพัดช่างพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ ในภาคเรียนต่อไปจะได้ขยายผลเปิดการเรียนการสอน สาขาวิ ช าชี พ ที่ ห ลากหลาย ตามหลั ก สู ต รวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีศนู ย์ศลิ ปาชีพบางไทร วิทยาลัยเทคนิคพระนครศรีอยุธยา
วิทยาลัยการอาชีพมหาราช วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรมยานยนต์ และสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้าน ดร.อกนิษฐ์ คลังแสง รองเลขาฯ กอศ. กล่าวว่า ขณะนี้มีสถานศึกษาเริ่มเข้าไปจัดการเรียน การสอนน�ำร่องให้แก่ ผูต้ อ้ งขัง 3 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยสารพัดช่างพระนครศรีอยุธยา วิทยาลัย การอาชีพเสนา และวิทยาลัยอาชีวศึกษาพระนครศรีอยุธยา โดยเปิดสอน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ขั้นสูง (ปวส.) และหลักสูตรระยะสั้นในสาขาต่างๆ อาทิ ช่างเชื่อม ไฟฟ้ า ก�ำลั ง ช่ า งอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ เป็ น ต้ น และในภาคเรี ย นที่ 1 ปีการศึกษา 2559 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรจะเข้าไปสอนหลักสูตร ปวช.สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ส�ำหรับการลงนาม ในครั้งนี้ ได้สร้างความร่วมมือระหว่าง หน่ ว ยงานภาครั ฐ ในการยกระดั บ มาตรฐานการปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง และพัฒนาการอาชีวศึกษา เพื่ อ เปิ ด โอกาสให้ ผู ้ ต ้ อ งขั ง ได้ รั บ การศึ ก ษาและวุ ฒิ ก ารศึ ก ษา น�ำไปประกอบสัมมาชีพ เพื่อคืนคนดี มีคุณค่า สู่สังคม
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 25
คุกองบรรณาธิ ยเฟื่อการงเรื่องยุติธรรม
เข้าถึงกระทรวงยุติธรรม
ผ่าน “Application” ง่ายดาย ...ด้วยปลายนิ้ว
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ ชาวบ้านเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านโทรศัพท์Smartphoneได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกที่ และทุกเวลาด้วยปลายนิ้วสัมผัสผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และสัญญาณ โทรคมนาคม กระทรวงยุติธรรม ภายใต้การน�ำของพลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงยุตธิ รรม ได้ตระหนักถึงการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพือ่ อ�ำนวย ความสะดวก และสร้างโอกาสให้แก่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านงาน ยุติธรรมได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นจึงเร่งผลักดันให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวง ยุติธรรม ด�ำเนินการน�ำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สนับสนุนการให้บริการ ประชาชน ซึ่ ง ขณะนี้ ส ามารถเข้ า ถึ ง บริ ก ารด้ า นงานอ�ำนวยความยุ ติ ธ รรม ผ่านช่องทาง Application ดังนี้
Application ทะเบียนนักจิตวิทยาฯ เป็นแอปพลิเคชั่นบนระบบปฏิบัติการ Android ซึง่ พัฒนาโดยส�ำนักงานปลัดกระทรวงยุตธิ รรม ส�ำหรับ ให้ ป ระชาชนสื บ ค้ น ข้ อ มู ล นั ก จิ ต วิ ท ยา สามารถ ดาวน์โหลดได้ที่ https://play.google.com/store/ apps/details?id=th.go.moj.mywelfare หรือค้นหา ใน Playstore ด้วยคียเ์ วิรด์ “ทะเบียนนักจิตวิทยา”
26 | Justice Magazine Ministry of Justice
DOP Service
RLPD Service
ให้บริการประชาชนเกีย่ วกับงาน ของกรมคุมประพฤติ ประกอบด้วย 1.บริการค้นหาหน่วยงาน 2.บริการ ค�ำแนะน�ำประชาชนเกีย่ วกับขัน้ ตอน ต่างๆ ในการติดต่อกับกรมคุมประพฤติ 3.บริ ก ารตรวจสอบก�ำหนดนั ด ร า ย ง า น ตั ว อ อ น ไ ล น ์ แ ล ะ 4.รายละเอี ย ดกฎหมาย และ กฎระเบี ย บต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง กับกรมคุมประพฤติ โดยสามารถ ดาวน์ โ หลดได้ แ ล้ ว ส�ำหรั บ ระบบ ปฏิบตั กิ าร Android
เ ป ็ น แ อ ป พ ลิ เ ค ชั่ น ที่ พั ฒ น า โดยกรมคุ ้ ม ครองสิ ท ธิ แ ละเสรี ภ าพ ซึ่ ง แบ่ ง การท�ำงานหลั ก ออกเป็ น 4 ประเภท คือ 1.ตรวจสถานะค�ำร้อง 2.ข่ า วใหม่ ที่ น ่ า สนใจ 3.สปอตและ สารคดีสนั้ และ 4.จุดรับบริการ ปัจจุบนั เปิดให้บริการดาวน์โหลดส�ำหรับระบบ ปฏิบตั กิ าร Android (ในส่วนของระบบ ปฏิบัติการ IOS อยู่ระหว่างการพัฒนา ซึง่ เตรียมพร้อมเปิดให้บริการเร็วๆ นี)้
DSI Application
JRD Knowledge Base
เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชน สามารถติ ด ตามสถานะคดี พิ เ ศษ และติดตามสถานะเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแส ทีต่ นเกีย่ วข้อง รวมทั้งเป็นช่องทางในการเผยแพร่ ข่าวประชาสัมพันธ์ของกรมสอบสวน คดีพเิ ศษ (โดยให้บริการดาวน์โหลดแล้ว ส�ำหรับระบบปฏิบัติการ Android ในส่ ว นของระบบปฏิบัติก าร IOS อยู ่ ร ะหว่ า งการพั ฒ นา ซึ่ ง จะเปิ ด ให้บริการเร็วๆ นี)้
เป็นแอปพลิเคชั่นที่เผยแพร่ และให้บริการดาวน์โหลดผลงาน วิชาการด้านกฎหมายและกระบวนการ ยุตธิ รรม รวมทัง้ ประชาชนยังสามารถ สืบค้นผลงานวิชาการด้านกฎหมาย และกระบวนการยุตธิ รรมผ่านระบบ การสืบค้นได้หลากหลายรูปแบบ ภายใต้ ก ารพั ฒ นาของส�ำนั ก งาน กิจการยุติธรรม ปัจจุบันได้เปิดให้ บริการแล้วทั้งในระบบปฏิบัติการ Android และ IOS
LedPropertyApp เป็ น โปรแกรมค้ น หาทรั พ ย์ ขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี ใช้ ส�ำหรั บ ค้ น หาทรั พ ย์ ที่ มี ก าร ประกาศขายทอดตลาด สามารถ ค้นหาได้จากสถานทีต่ งั้ ทรัพย์ หรือ เลขคดีแดง โดยจะแสดงรายละเอียด ภาพและสถานทีต่ งั้ ทรัพย์ และวันที่ ขายทรัพย์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ของการให้บริการที่มีความสะดวก รวดเร็ว โดยสามารถดาวน์โหลดได้แล้ว ทั้งในระบบปฏิบัติการ Android และระบบปฏิบตั กิ าร IOS
ระบบร้องเรียน/ แจ้งเบาะแสยาเสพติด (1386) เป็นแอปพลิเคชั่นที่ให้บริการ รับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแส ยาเสพติด โดยส�ำนักงานคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามยาเสพติ ด (ป.ป.ส.) ซึง่ พร้อมให้บริการดาวน์โหลด แล้วส�ำหรับระบบปฏิบตั กิ าร Android
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 27
คุกองบรรณาธิ ยเฟื่อการงเรื่องยุติธรรม นอกจากนี้แล้ว กระทรวงยุติธรรม ยังได้เดินหน้าพัฒนาระบบ เพื่ อ รองรั บ การให้ บ ริ ก ารแก่ ป ระชาชน เพื่ อ ให้ ค รอบคลุ ม งาน ด้านยุติธรรมในทุกมิติ ประกอบด้วย
Application DJOP เป็นแอปพลิเคชั่นส�ำหรับค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ สถิ ติ ค ดี ย ้ อ นหลั ง และจ�ำนวนเด็ ก และเยาวชน ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และ ศู น ย์ ฝ ึ ก และอบรมเด็ ก และเยาวชนทั่ ว ประเทศ ซึ่ ง ขณะนี้ อ ยู ่ ร ะหว่ า งด�ำเนิ น การเผยแพร่ ผ ่ า น play store ในระบบปฏิบัติการ Android
Correct Phonebook Online หรือแอปพลิเคชั่นสมุดโทรศัพท์กรมราชทัณฑ์ เป็นการให้บริการประชาชนในการค้นหาหมายเลข โทรศั พ ท์ ที่ อ ยู ่ ข องกรมราชทั ณ ฑ์ และเรื อ นจ�ำ ทัณฑสถานทัว่ ประเทศ พร้อมมีคมู่ อื ส�ำหรับให้บริการ ประชาชน เช่น การขออนุญาตเข้าเก็บข้อมูลส�ำหรับ ท�ำวิจยั การขอเข้าเยีย่ มหรือติดต่อผูต้ อ้ งขัง และการ ขอเข้าศึกษาดูงานในเรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน เป็นต้น ซึง่ ขณะนีอ้ ยูร่ ะหว่างการทดสอบการท�ำงานในระบบ ปฏิบตั กิ าร Android
Application การตรวจพิสูจน์สัญชาติ เป็นโปรแกรมทีใ่ ห้บริการข้อมูลด้านการตรวจ พิ สู จ น์ สั ญ ชาติ ข องสถาบั น นิ ติ วิ ท ยาศาสตร์ ซึ่ ง ก�ำลั ง อยู ่ ร ะหว่ า งการพั ฒ นาแอพพลิ เ คชั่ น ให้มคี วามสมบูรณ์มากยิง่ ขึน้
Application ส�ำนักงาน ป.ป.ท. เพือ่ เป็นช่องทางในการเผยแพร่ ข้ อ มู ล ข่ า วสาร และงานบริ ก าร ประชาชนของส�ำนั ก งาน ป.ป.ท. รวมทัง้ ประชาชนสามารถแจ้งเบาะแส ร้องเรียนการทุจริตผ่านแอปพลิเคชัน่ ดั ง กล่ า วได้ ซึ่ ง ขณะนี้ อ ยู ่ ร ะหว่ า ง การลงทะเบี ย นในระบบ Google Play ของระบบปฏิบตั กิ าร Android
DSI MAP on Mobile เป็ น โปรแกรมประยุ ก ต์ บ น โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ระบบปฏิ บั ติ ก าร Android เพื่อให้สามารถตรวจสอบ การบุกรุกพื้นที่ของรัฐได้แบบทันที (Real Time) และสามารถส่งเรื่อง ร้องเรียนมายังกรมสอบสวนคดีพเิ ศษ หรือ DSI โดยสามารถแนบรูปถ่าย แนบพิ กั ด จากกล้ อ งบนโทรศั พ ท์ และรายละเอียดพื้นที่เกิดเหตุ
เทคโนโลยีผ่านทางโทรศัพท์ Smartphone ถือเป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึง กระบวนการยุติธรรม ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพเพื่อเป้าหมาย ในการสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล�้ำในสังคม 28 | Justice Magazine Ministry of Justice
ยุกองบรรณาธิ ติธรรมเพื ่อประชาชน การ
“ยุติธรรม” ระดมสมองวาง 6 มาตรการ แก้ปัญหานักเรียน-นักเลง
จ า ก ก ร ณี ที่ มี นั ก เ รี ย น และนักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท ท� ำ ร้ า ยร่ า งกายกั น จนส่ ง ผลให้ มี ผู ้ ไ ด ้ รั บ บ า ด เ จ็ บ จ น ถึ ง ขั้ น ทุพพลภาพและเสียชีวิต อันก่อให้ เ กิ ด ก า ร เ สี ย ข วั ญ แ ล ะ เ ป ็ น ที่ วิ ต กกั ง วลของผู ้ ป กครองและ สังคมทั่วไปนั้น พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงได้ ก� ำ ชั บ ให้ ห น่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ดูแลและแก้ปัญหาดังกล่าวอย่าง จ ริ ง จั ง เ พื่ อ ล ด ค ว า ม รุ น แ ร ง ในสังคม และปลูกฝังจิตส�ำนึกที่ดี ให้เกิดขึ้นแก่เยาวชน
แม้ว่าปัจจุบันจะมีมาตรการควบคุม ความเสี่ ย งตั้ ง แต่ ต ้ น เหตุ แต่ ก็ ยั ง ไม่ ส ามารถแก้ ป ั ญ หาได้ อ ย่ า งเด็ ด ขาด จึงเป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สิน และชี วิ ต ก่ อ นวั ย อั น ควร อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น การเพิ่มชนวนเหตุปลูกฝังทัศนคติแก้ ไข ปั ญ หาด้ ว ยความรุ น แรงจากรุ ่ น พี่ สู่รุ่นน้องอย่างไม่จบสิ้น
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 29
กระทรวงยุ ติ ธ รรม ตระหนั ก ถึ ง ความส�ำคัญดังกล่าว จึงจัดให้มีการประชุม ป้ อ งกั น และแก้ ไ ขปั ญ หาทะเลาะวิ ว าท ของนั ก เรี ย นนั ก ศึ ก ษาครั้ ง ที่ 1/2558 เพือ่ พิจารณามาตรการทางกฎหมาย และแนวทาง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาท ของนักเรียนนักศึกษา โดยมีพลเอก ไพบูลย์ คุม้ ฉายา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม และพลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน การประชุมฯ พร้อมด้วยผูแ้ ทนจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง 27 หน่วยงาน อาทิกระทรวง ยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวง การพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ ส�ำนั ก งานต�ำรวจแห่ ง ชาติ ส�ำนั ก งาน ศาลยุตธิ รรม ส�ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ส�ำนั ก งานอั ย การสู ง สุ ด ศาลเยาวชน และครอบครั ว กลาง เข้ า ร่ ว มประชุ ม ฯ ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม 2 ชั้น 8 อาคารราชบุ รี ดิ เ รกฤทธิ์ ศู น ย์ ร าชการ เฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ
30 | Justice Magazine Ministry of Justice
การประชุมดังกล่าวได้หารือ เกีย่ วกับข้อกฎหมาย ได้เน้นแนวทาง ของการป้องกัน เป็นมาตรการเชิงบวก ไม่ใช่ลกั ษณะของการบังคับใช้ทรี่ นุ แรง รั ฐ มนตรี ว ่ า การกระทรวงยุ ติ ธ รรม กล่ า วว่ า การประชุ ม ดั ง กล่ า วได้ ห ารื อ เกี่ ย วกั บ ข้ อ กฎหมาย ได้ เ น้ น แนวทางของ การป้องกัน เป็นมาตรการเชิงบวก ไม่ใช่ลกั ษณะ ของการบังคับใช้ทรี่ นุ แรง ซึง่ ในช่วงเวลาทีผ่ า่ นมา นัน้ กระทรวงศึกษาธิการได้ด�ำเนินการมาตรการ เชิงบวกกับกลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว แต่ส�ำหรับ ในด้านของกฎหมายนัน้ ได้จ�ำแนกประเภทของ ผูเ้ กีย่ วข้องในการก่อเหตุความรุนแรงดังกล่าว
ออกเป็น 4 กลุ่มคือ 1.นั ก เรี ย นนักศึกษา 2.ผูป้ กครอง 3.สถาบันการศึกษา และ 4.บุคคล ภายนอก ซึง่ เป็นศิษย์เก่า โดยศึกษาแนวทาง จากกฎหมายเดิมทีม่ อี ยูแ่ ล้ว เช่น พระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 กฎหมายส่งเสริม เด็กและเยาวชน กฎหมายอาญา รวมถึงการน�ำ เอาค�ำสัง่ คสช.ที่ 22/2558 เกีย่ วกับการแก้ไข ปัญหาเด็กแว้นมาใช้ควบคูไ่ ปด้วย
โดยที่ประชุมได้ข้อสรุปถึงแนวทาง ในการป้องกันและแก้ ไขปัญหา จ�ำนวน 6 มาตรการ ได้แก่
เห็ น ชอบให้ พิ จ ารณาปรั บ ปรุ ง กฎกระทรวง ศึ ก ษาธิ ก ารที่ อ อกตามความในมาตรา 63 พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 เพื่อเปิด โอกาสให้หน่วยงานอืน่ เข้ามามีสว่ นร่วมในการส่งเสริม ความประพฤติ ข องนั ก เรี ย นนั ก ศึ ก ษาและสร้ า ง ความปลอดภัยในสังคม
เห็นชอบให้มกี ารศึกษามาตรการ พระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2550 ที่จะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการพัฒนานักเรียน และนักศึกษาเพิม่ เติม
กระทรวงศึกษาธิการ จะพิจารณาบทบาทตาม กฎหมายของศูนย์เสมารักษ์ หรือสารวัตรนักเรียนเดิม ว่าจะเพิม่ อ�ำนาจหน้าทีไ่ ด้อย่างไรบ้าง และสามารถตัง้ สารวัตรนักเรียนให้เป็นผูช้ ว่ ยพนักงานได้หรือไม่
สนับสนุนให้พจิ ารณาใช้มาตรการก�ำหนดเงือ่ นไข การคุมประพฤติของศาลเยาวชนและครอบครัวต่อ เยาวชนทีเ่ ข้าสูก่ ระบวนการยุตธิ รรม ตามพระราชบัญญัติ ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธพี จิ ารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ.2553 โดยให้กระทรวงศึกษาธิการ กรมพินจิ และคุม้ ครองเด็กและเยาวชน ส�ำนักงานต�ำรวจ แห่งชาติ ส�ำนักงานอัยการสูงสุดร่วมกันพิจารณาเสนอ แนวทางในการด�ำเนินการ เห็นควรให้ผปู้ กครองต้องมีสว่ นร่วมรับผิดชอบใน ปัญหานี้ หากปล่อยปละละเลยหรือยินยอมให้นักเรียน และนักศึกษาเข้าร่วมทะเลาะวิวาท ตามนัยมาตรา 26(3) และมาตรา 30 แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ คุ ้ ม ครองเด็ ก พ.ศ.2546 และให้พิจารณาแนวทางของค�ำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 22/2558 ประกอบการปรับปรุงแก้ไขด้วย
เห็นชอบให้พจิ ารณาประเด็นทีบ่ คุ คลภายนอก เข้ามามีอิทธิพลในท�ำนองยุยงส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษากระท�ำผิดว่า ควรก�ำหนดมาตรการขยายผล อย่างไร และควรปรับแก้ไขเพิม่ เติมโทษในเรือ่ งนีห้ รือไม่
นอกจากแนวทางดังกล่าว อีกสิง่ ส�ำคัญอย่างยิง่ คือความร่วมมือจากผูป้ กครองซึง่ มีความใกล้ชดิ กับเยาวชน ในการอบรมสั่งสอน และชี้แนะแนวทาง ปลูกฝังทัศนคติการแก้ ไขปัญหาด้วยเหตุและผล เพื่อลดทอนการใช้ก�ำลัง และความรุนแรง แก้ ไขปัญหาที่อาจจะส่งผลเสียท�ำให้เกิดความชาชินต่อพฤติกรรมดังกล่าวในอนาคต ทัง้ หมดนีค้ อื กลไกส�ำคัญทีจ่ ะช่วยแก้ปญ ั หาและปรับเปลีย่ นพฤติกรรมของ นักเรียน-นักเลงตีกนั ได้อย่างยัง่ ยืน
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 31
ทีกองบรรณาธิ ่นี่แจ้งการวัฒนะ ยอดผู้ถูกคุมประพฤติช่วงเทศกาลปีใหม่ 2559 พลเอก ไพบูลย์ คุม้ ฉายา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม มอบหมายให้ พัน ตำ � รวจเอก ดร.ณรั ช ต์ เศวตนั น ทน์ อธิ บ ดี กรมคุมประพฤติ แถลงสรุปยอดผูถ้ กู คุมความประพฤติชว่ งเทศกาล ปีใหม่ 2559 โดยมีคดีที่ศาลสั่งคุมประพฤติตาม พ.ร.บ.จราจร ทางบกของสำ � นั ก งานคุ ม ประพฤติ ทั่ ว ประเทศ รวมทั้ ง สิ้ น 3,737 คดี แบ่งเป็นคดีเมาแล้วขับ 3,471 คดี และคดีขับซิ่ง, ขับเสพ จำ�นวน 266 คดี ณ ห้องประชุมกรมคุมประพฤติ ชั้น 4 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
แข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการ นายกอบเกี ย รติ กสิ วิวัฒ น์ รองปลั ด กระทรวงยุ ติธ รรม เป็นประธานเปิดโครงการกิจกรรมแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการ เกีย่ วกับจรรยา จริยธรรมและวินยั ข้าราชการ ครัง้ ที่ 5 ณ ห้องรับรอง กระทรวงยุติธรรม ชั้น 2 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติฯ
ร่วมแสดงความยินดี 38 ปี มติชน
นายชาญเชาวน์ ไชยานุ กิ จ ปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม ร่ ว มแสดงความยิ น ดี เ นื่ อ งในโอกาสครบรอบ 38 ปี ก้ า วสู่ ปี ที่ 39 ของหนั ง สื อ พิ ม พ์ ม ติ ช น โดยมี น ายขรรค์ ชั ย บุ น ปาน ประธานกรรมการบริษัท มติชน จำ�กัด (มหาชน) ให้การต้อนรับ ณ หนังสือพิมพ์มติชน ถนนเทศบาลนฤมาล กรุงเทพมหานคร
32 | Justice Magazine Ministry of Justice
กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม ร่วมจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติประจำ�ปี 2559 ภายใต้ ชื่ อ งาน “มหกรรมวั น เด็ ก แจ้ ง วั ฒ นะ 2559” โดยภายในบูธของสำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ประกอบด้วย การจัดนิทรรศการแสดงบทบาทภารกิจของหน่วยงานในสังกัด กระทรวงยุติธรรม การร่วมสนุกกับกิจกรรมสันทนาการเสริมสร้าง ความรู้ด้านประชาคมอาเซียน รวมทั้งการแจกสื่อประชาสัมพันธ์ และหนังสือกฎหมายสามัญประจำ�บ้าน ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพฯ
ลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
หารือแนวทางแก้ ไขปัญหาหนี้สินเกษตร
นายชาญเชาวน์ ไชยานุ กิ จ ปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม พร้อมด้วยพลเอก อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยเพือ่ สันติสขุ จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ และคณะพู ด คุ ย เพื่ อ สั น ติ สุ ข จั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ลงพื้ น ที่ พ บปะและรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น จาก ผู้นำ�ศาสนาภาคประชาสังคม และนักวิชาการในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ณ ค่ายจุฬาภรณ์ อำ�เภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
พั น ตำ � รวจเอก ดุ ษ ฎี อารยวุ ฒิ รองปลั ด กระทรวง ยุ ติ ธ รรม ในฐานะผู้ อำ � นวยการศู น ย์ ช่ ว ยเหลื อ ลู ก หนี้ และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม ประชุมร่วมกับนายบัณฑิตย์ เทวีทิวารักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด เพชรบู ร ณ์ เพื่ อ หารื อ แนวทางแก้ ไขปั ญ หาหนี้ สิ น เกษตรกร พร้อมทั้งบูรณาการการปราบปรามเจ้าหนี้นอกระบบในจังหวัด เพชรบูรณ์ ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 33
คุนางสาวจิ ้มครองคน คุ้มครองสิทธิ ฬาภรณ์ ตามชู นักวิชาการยุติธรรมช�ำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กองทุนยุติธรรม
ท�ำไมทั่วโลกถึงให้ความส�ำคัญ กับการยกเลิกโทษประหารชีวิต : แล้วบริบทของประเทศไทยเป็นอย่างไร
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
ท�ำไมทั่วโลกถึงให้ ความส�ำคัญกับการ ยกเลิกโทษประหารชีวิต แนวโน้มของการใช้โทษประหาร ชีวติ ในหลายประเทศทัว่ โลกมีจำ� นวน ลดลงเรื่ อ ย ๆ กว่ า 140 ประเทศ หรือ 3 ใน 4 ที่มีการยุติโทษประหาร ชี วิ ต ทั้ ง ในทางกฎหมายและทาง ปฏิบัติแล้ว เหลือเพียง 58 ประเทศ ซึ่ ง หนึ่ ง ในนั้ น คื อ ประเทศไทย ที่ ยั ง คงมี โ ทษประหารชี วิ ต อยู ่ โ ด ย เ ห ตุ ผ ล ส� ำ คั ญ ที่ ทั่ ว โ ล ก ให้ความส�ำคัญกับการยกเลิกโทษ ประหารชีวติ รายละเอียดปรากฏ ดังนี้
34 | Justice Magazine Ministry of Justice
การประหารชีวิตถือว่าขัดหลักสิทธิมนุษยชน ขั้ น พื้ น ฐานในการมี ชี วิ ต อยู ่ และเป็ น การกระท�ำ ที่ ล ะเมิ ด ต่ อ กฎหมายระหว่ า งประเทศด้ า นสิ ท ธิ มนุษยชน เพราะเป็นการละเมิดสิทธิในการมีชีวิต อยูท่ มี่ นุษย์ทกุ คนพึงมีสทิ ธินเี้ สมอกัน โดยไม่ค�ำนึงถึง สถานภาพ ชาติพนั ธ์ุ ศาสนา หรือชาติก�ำเนิดเป็นสิทธิ ที่ไม่อาจพรากไปจากบุคคลได้ และถือเป็นเอกสิทธิ ติดตัวของคนทุกคน นักโทษประหารชีวิต โดยส่วนใหญ่เป็นคนจน หรือคนด้อยโอกาส ซึง่ ไม่มเี งินจ้างทนายความทีม่ ฝี มี อื เพื่อมาแก้ต่างคดีให้กับตนเอง ดังนั้น จึงไม่มีโอกาส ต่อสูค้ ดีเพือ่ ให้ตนเองชนะได้
ระบบยุ ติ ธ รรมทางอาญาย่ อ มมี ค วามเสี่ ย ง ที่จะเกิดการเลือกปฏิบัติและตัดสินคดีที่ผิดพลาด ดั ง นั้ น ไม่ มี ร ะบบใดที่ จ ะสามารถตั ด สิ น ได้ อ ย่ า ง เป็ น ธรรมหรื อ สม�่ ำ เสมอ โดยอาจมี ข ้ อ บกพร่ อ ง ในการทีจ่ ะจับผิดตัวหรือตัดสินผิดพลาด ซึง่ หากเรา ได้ตัดสินประหารชีวิตใครไปแล้ว ต่อมาปรากฏว่า เขาเป็นผูบ้ ริสทุ ธิแ์ ล้ว เราจะน�ำชีวติ ของคนนัน้ กลับคืน มาได้อย่างไร จึงเท่ากับว่ากระบวนการยุติธรรม ได้ตดั สินให้คนตายโดยทีเ่ ขาผูน้ นั้ เป็น “ผูบ้ ริสทุ ธิ”์
การประหารชีวติ ไม่ได้ยบั ยัง้ อาชญากรรมรุนแรง หรือท�ำให้สงั คมปลอดภัยหรือเกรงกลัวไม่กล้ากระท�ำผิด กลับยิ่งจะท�ำให้สังคมเกิดความเลวร้ายมากยิ่งขึ้น เพราะเกิดพฤติกรรมเลียนแบบและชั่งน�้ำหนักว่า แม้จะตัดสินโทษร้ายแรงแต่กค็ มุ้ ค่าต่อสิง่ ทีต่ นกระท�ำ ดังนั้น “การยุติการประหารชีวิตจึงไม่ใช่การยกเลิก หรือสนับสนุนให้ผกู้ ระท�ำความผิดไม่ตอ้ งรับโทษ แต่การยุติ การประหารชีวติ เป็นการยุตกิ ารลงโทษทีไ่ ม่คมุ้ ค่า ไม่สมเหตุ สมผล และยังเป็นการลงโทษที่โหดร้าย ลดทอนศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ อีกทั้งลดความเสี่ยงที่โทษประหารชีวิต จะถูกน�ำไปใช้กบั ผูบ้ ริสทุ ธิ”์
สถานการณ์นานาประเทศ เกี่ยวกับการใช้และยกเลิก โทษประหารชีวิต หลายประเทศทั่ ว โลกมี ก ารยกเลิ ก โทษประหารชี วิ ต แล้ ว ทั้ ง ทางกฎหมาย และทางปฏิบตั ิ โดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรป ที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้วถึงร้อยละ 99 ของประเทศทั้ ง หมด เช่ น ประเทศอิ ต าลี เยอรมนี ออสเตรีย สหราชอาณาจักร สเปน ฝรั่งเศส เป็นต้น ยังคงเหลือเพียงประเทศ เบราลุ ส เพี ย งประเทศเดี ย วที่ ยั ง คงใช้ โ ทษ ประหารชีวิตอยู่ ซึ่งปัจจัยส�ำคัญที่ประเทศ แถบยุ โ รปมี ก ารยกเลิ ก โทษประหารชี วิ ต มากที่ สุ ด คงหนี ไ ม่ พ ้ น การถู ก ย�่ ำ ยี ศั ก ดิ์ ศ รี และการฆ่ า ล้ า งเผ่ า พั น ธุ ์ กั น ตามอ�ำเภอใจ เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงตระหนัก และเห็นว่าโทษประหารชีวิตเป็นการละเมิด สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนอย่ า งร้ า ยแรง โดยเฉพาะ การกระท�ำกั บ ประเทศที่ พ ่ า ยแพ้ ส งคราม และต่อมาก็เริ่มรับอิทธิพลของหลักศาสนา ในการขั ด เกลาจิ ต ใจให้ ย อมรั บ ชี วิ ต มนุ ษ ย์ ว่ามีคา่ สูงสุดและไม่ควรถูกพรากไปโดยปราศจาก เหตุผลทีด่ พี อท�ำให้ประเทศแถบยุโรปตระหนัก ในเรือ่ งนีม้ ากและทีเ่ ห็นเด่นชัดในเชิงนโยบาย เ กี่ ย ว กั บ ก า ร จั ด ท�ำ ข ้ อ ต ก ล ง ร ่ ว ม กั น ในพิธีสาร ฉบับที่ 6 และพิธีสาร ฉบับที่ 13
-พิธีสาร ฉบับที่ 6
(Protocol No.6 ของ The European Convention on Human Rights) ได้ก�ำหนด ห้ามการประหารชีวิตในช่วงเวลาปราศจาก สงคราม
-พิธีสาร ฉบับที่ 13
ของอนุสัญญาเดียวกัน ได้ก�ำหนดให้ทุกรัฐ ต้องยกเลิกโทษประหารชีวติ ในทุก ๆ สถานการณ์ และห้ามตัง้ ข้อสงวนใด ๆ จากข้อบังคับดังกล่าวท�ำให้ 47 ประเทศ สมาชิกของ EU ได้ยกเลิกโทษประหารชีวติ ไป โดยสิ้นเชิง และจึงกลายเป็นเงื่อนไขส�ำคัญ ของประเทศใดที่ประสงค์จะเป็นสมาชิก EU อีกด้วย
อีกประเทศทีเ่ ราจะไม่กล่าวถึง คงเป็นไป ไม่ได้นนั่ คือ “ประเทศสหรัฐอเมริกา” ซึง่ เดิม เคยคงไว้ ซึ่ ง โทษประหารชี วิ ต ในทุ ก มลรั ฐ แต่ภายหลังจากกระแสประชาคมโลก จึงท�ำให้ เกิดแรงกดดันให้สหรัฐอเมริกาใน 19 มลรัฐ มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว โดยมลรัฐ Nebraska เป็นรัฐล่าสุดทีย่ กเลิกโทษประหาร ชีวติ เมือ่ ปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ยังเหลือ อีก 31 มลรัฐยังคงใช้โทษประหารชีวิตอยู่ (อ้างอิงจาก Death Penalty Information Center) ทีน่ า่ สนใจของประเทศสหรัฐอเมริกา คือ ได้ท�ำการศึกษาวิจัยว่าโทษประหารชีวิต สามารถยั บ ยั้ ง อาชญากรรมได้ จ ริ ง หรื อ ไม่ พร้ อ มทั้ ง ยั ง ได้ ศึ ก ษาวิ จั ย เปรี ย บเที ย บ การเกิดอาชญากรรมระหว่างมลรัฐที่ยกเลิก โทษประหารชีวติ และมลรัฐทีย่ งั ใช้โทษประหาร ชีวติ ด้วย ส�ำหรับประเทศในแถบเอเชียพบข้อมูล เกือบครึง่ หนึง่ ทีย่ กเลิกโทษประหารชีวติ ไปแล้ว เช่น ประเทศกั มพู ช า ฟิ ลิ ปปิ น ส์ เนปาล ติมอร์-เลสเต อุซเบกิสถาน ภูฏาน เป็นต้น ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศที่มีขนาดเล็ก ประชากรน้อยจะยกเลิกโทษประหารชีวติ แล้ว ส่วนประเทศขนาดใหญ่ เช่น ประเทศจีน วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 35
คุนางสาวจิ ้มครองคน คุ้มครองสิทธิ ฬาภรณ์ ตามชู นักวิชาการยุติธรรมช�ำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กองทุนยุติธรรม เกาหลีเหนือ อินเดีย ปากีสถาน ยังคงใช้โทษประหารชีวิตอยู่ และถือเป็นความลับของรัฐ ห้ า มเผยแพร่ ด ้ ว ย ซึ่ ง ประเทศที่ ย กเลิ ก โทษประหารชี วิ ต ส่ ว นใหญ่ จ ะได้ รั บ อิ ท ธิ พ ล จากชาติตะวันตกหรือที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นมาก่อน รวมถึงการมีนโยบายของผู้น�ำประเทศ และค�ำนึงถึงหลักศาสนาด้วยทีไ่ ด้สง่ ผลต่อประเทศทีม่ กี ารยกเลิกโทษประหารชีวติ อนึ่ง ประเทศในประชาคมอาเซียนที่มีการยกเลิกโทษประหารชีวิตและยังบทลงโทษ ประหารชีวติ ได้แก่ (1) ประเทศทีย่ กเลิกโทษประหารชีวติ ส�ำหรับความผิดอาญาทุกประเภท ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ฟิลปิ ปินส์ (2) ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตในทางปฏิบัติ ได้แก่ ประเทศบรูไน พม่าและลาว และ (3) ประเทศที่ยังคงบทลงโทษประหาร ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย ในการนี้ ทุกวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี จึงเป็นวันต่อต้านโทษประหารชีวิตสากล โดยมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ตา่ ง ๆ พร้อมกันทัว่ โลกด้วย
ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำ� การศึกษา วิจยั ว่าโทษประหารชีวติ สามารถยับยัง้ อาชญากรรมได้จริงหรือไม่ พร้อมทัง้ ยังได้ศกึ ษาวิจยั เปรียบเทียบ การเกิดอาชญากรรมระหว่างมลรัฐ ทีย่ กเลิกโทษประหารชีวติ และมลรัฐ ทีย่ งั ใช้โทษประหารชีวติ ด้วย
“การมีชีวิตอยู่ในแต่ละวันโดยที่ต้องตระหนักว่าคุณอาจจะถูกส่งตัวไปเผชิญหน้ากับ ความตายในเดือน วัน หรือ ชัว่ โมงใดชัว่ โมงหนึง่ คือ ความทรมาน... การถูกตัดสินประหารชีวติ เป็นการลดทอนความเป็นมนุษย์ลง และสร้างความเสียหาย ร้ายแรงต่อสภาพจิตใจของมนุษย์ มันเป็นการลงโทษทีน่ า่ กลัวเกินกว่าจะน�ำมาใช้กบั ใครคนใด คนหนึง่ และจะยิง่ เลวร้ายมากขึน้ ไปอีกเมือ่ น�ำมาใช้กบั ผูบ้ ริสทุ ธิ์ ” ซากาอิ เมนดะ
นักโทษประหารชีวติ คนแรกของญีป่ นุ่ ที่ได้รบั การพิสจู น์ ว่าไม่มคี วามผิดหลังจากถูกจ�ำคุกนาน 34 ปี (พฤศจิกายน 2550)
บริบทของไทยกับการ เปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิต แม้วา่ ประเทศไทยจะเป็น 1 ใน 58 ประเทศทีย่ งั คงใช้โทษประหาร ชีวิตอยู่ จึงมักถูกนานาประเทศกดดันให้มีการยกเลิกโทษประหาร ชี วิ ต ในไทย ซึ่ ง ที่ ผ ่ า นมาก็ มิ ไ ด้ เ พิ ก เฉยในเรื่ อ งดั ง กล่ า วโดยมี สัญญาณบวกที่ดี ในหลายประการที่มีส่วนช่วยส่งเสริม สนับสนุน การรณรงค์เปลีย่ นแปลงโทษประหารชีวติ ในประเทศไทย ได้แก่ สัญญาณบวกที่ 1 การเปิดโอกาสให้นักโทษประหารชีวิตได้มี สิทธิในการยืน่ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษได้ เพือ่ ได้มโี อกาส ลดหย่อนหรือรับการลงโทษจริงน้อยลง สั ญ ญาณบวกที่ 2 ประเทศไทยมี ก ารแก้ ไ ขประมวล กฎหมายอาญาตามพระราชบัญญัตแิ ก้ไขเพิม่ เติม ประมวลกฎหมาย 36 | Justice Magazine Ministry of Justice
อาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2546 โดยมีการยกเลิกการลงโทษประหารชีวิต กับเยาวชนที่มีอายุต�่ำกว่า 18 ปี และห้ามใช้การลงโทษประหารชีวิต กับหญิงมีครรภ์และบุคคลวิกลจริตอีกด้วย ซึง่ เป็นไปตามข้อบทที่ 6 วรรค 5 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) สั ญ ญาณบวกที่ 3 ประเทศไทยเปลี่ ย นแปลงท่ า ที ค รั้ ง ส�ำคั ญ ในประเด็นยกเลิกโทษประหารชีวิต ซึ่งจากเดิมที่เคยแสดงท่าทีคัดค้าน เป็น “งดออกเสียงไปก่อน” ต่อทีป่ ระชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 65 สั ญ ญาณบวกที่ 4 ประเทศไทยมี ก ารประกาศใช้ แ ผนสิ ท ธิ มนุ ษ ยชนแห่ ง ชาติ ฉบั บ ที่ 2 (พ.ศ. 2552-2556) ที่ ก�ำหนดไว้ ใ น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนากฎหมายและกลไกทางกฎหมาย รวมทั้ง การบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมาย เพื่ อ ส่ ง เสริ ม และคุ ้ ม ครองสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน ให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน โดยมีเป้าหมายส�ำคัญในการ ที่จะให้ “กฎหมายที่มีอัตราโทษประหารชีวิตได้เข้าสู่การพิจารณา ของรัฐสภาให้มีการยกเลิกให้เป็นโทษจ�ำคุกตลอดชีวิต” เมื่อปี พ.ศ. 2558 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชดั เป็ น หั ว หน้ า โครงการ เพื่ อ ด�ำเนิ น การศึ ก ษาความเป็ น ไปได้ ของการยกเลิ ก โทษประหารชี วิ ต ตามแผนสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนแห่ ง ชาติ ฉบับที่ 2 โดยท�ำการ (1) ศึกษา วิจัยข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ (2) การส่งเสริมความรู้ สร้างความตระหนัก (3) สัมภาษณ์ (4) รับฟัง ความคิ ด เห็ น ผ่ า นทางการจั ด ประชุ ม ครอบคลุ ม ทั้ ง 4 ภู มิ ภ าค และกรุงเทพมหานคร และเว็บไซต์ของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และ (5) สรุ ป รายงานผลการศึ ก ษาและน�ำเสนอกรอบแนวทาง การด�ำเนินงาน ทั้งนี้ จากการรับฟังความคิดเห็น พบว่า ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 73 ยั ง คงให้ มี โ ทษประหารชี วิ ต อยู ่ ซึ่ ง เป็ น การรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น จากประชาชนทัว่ ไปทีไ่ ม่ได้มกี ารให้ความรูใ้ นเรือ่ งดังกล่าวผ่านช่องทาง เว็ บ ไซต์ ก รมคุ ้ ม ครองสิ ท ธิ แ ละเสรี ภ าพ แต่ เ มื่ อ มี ก ารจั ด รั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ น โดยก่ อ นการให้ ค วามรู ้ (Pretest) ร้ อ ยละ 47 มีความเห็นว่าประเทศไทยควรมีโทษประหารชีวติ อย่างยิง่ แต่ภายหลัง การให้ความรู้ (Post-test) ความคิดเห็นทีค่ วรมีโทษประหารชีวติ อย่างยิง่ มีจ�ำนวนลดลง เหลือร้อยละ 41 และอัตราส่วนร้อยละของกลุม่ ตัวอย่าง ที่ เ ห็ น ว่ า “น่ า จะให้ ย กเลิ ก โทษประหารชี วิ ต มี จ�ำนวนเพิ่ ม ขึ้ น ”
และได้เปิดรับฟังข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกีย่ วกับฐานความผิดใดใน 55 ฐาน ทีค่ วรเปลีย่ นแปลงโทษประหารชีวติ ทีค่ วรให้ศาลมีดลุ พินจิ ประหารชีวติ หรือก�ำหนดโทษจ�ำคุกแทนก็ได้ เช่น ฐานความผิดเกีย่ วกับการชิงทรัพย์ ทีเ่ ป็นพระพุทธรูปหรือวัตถุทางศาสนาอันเป็นทีส่ กั การะบูชาของประชาชน หรือได้กระท�ำในวัด การปล้นทรัพย์หรือปล้นพระพุทธรูปเป็นเหตุให้ผอู้ นื่ ถึงแก่ความตาย ความผิดฐานหนีราชการ และเป็นการหนีเข้าไปอยู่กับ พวกศัตรู หรือการใช้อบุ ายหลอกลวง ขูเ่ ข็ญ ใช้ก�ำลังประทุษร้าย เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเห็นว่ายังคงให้มีโทษประหารชีวิตอยู่ แต่รัฐบาลก็ยังคงประกาศใช้แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2557-2561 เพื่อรณรงค์ในเรื่องดังกล่าวต่อไป และสานต่อ วัตถุประสงค์ในการยกระดับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ภายในประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล ซึง่ ถือเป็น สั ญญาณบวกที่ 5 ที่ จ ะแสดงถึ ง ความมุ ่ ง มั่ น และภาพลักษณ์ที่ดี ของไทยต่อเวทีระหว่างประเทศ
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 37
คนยุ ติธรรม กองบรรณาธิการ
เปิดมุมมอง
ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ยุตธิ รรมสูห่ มูบ่ า้ น
น�ำบริการรัฐ...สู่ประชาชน
38 | Justice Magazine Ministry of Justice
เป็นบุคคลที่คุ้นชื่อกันอยู่แล้วในฐานะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง ยุติธรรมที่คลุกคลีกับงานในกระทรวงยุติธรรมแห่งนี้มายาวนานกว่า 14 ปี และล่าสุดบนเก้าอี้ ปลัดกระทรวงยุตธิ รรมคนใหม่ “ชาญเชาวน์ ไชยานุกจิ ” ได้บอกเล่าถึงแนวทางในการท�ำงาน ที่ ต ้ อ งขั บ เคลื่ อ นยุ ท ธศาสตร์ ข องรั ฐ บาลพลเอก ประยุ ท ธ์ จั น ทร์ โ อชา นายกรั ฐ มนตรี เพื่ อ แก้ วิ ก ฤติ ต ่ า งๆ ของประเทศ โดยเฉพาะแก้ ป ั ญ หา“ลดความเหลื่ อ มล�้ ำ และสร้ า ง ความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม” ปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม กล่ า วว่ า ในฐานะที่ ค ลุ ก คลี กั บ การท�ำงานของกระทรวง มายาวนาน ท�ำให้ทราบถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของการท�ำงานเป็นอย่างดี ซึ่งความหมาย ของต�ำแหน่งปลัดกระทรวงนั้น เป็นต�ำแหน่งตรงกลางระหว่างนโยบายกับปฏิบัติ คือเป็นการ แปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ หรือการขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดขึ้นจริง เพราะฉะนั้นทิศทาง การท�ำงานของปลัดกระทรวงต้องท�ำงานร่วมกับอธิบดี และบางเรื่องต้องลงลึกไปถึงผู้บริหาร ระดับกลาง และส่วนภูมิภาคด้วย
ส่ ว นการท�ำงานที่ ว ่ า คื อ ต้ อ งแปลง โจทย์ 6 ด้ า นซึ่ ง มี ลั ก ษณะคล้ า ยทิ ศ ทาง และแผนงานของพลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม ประกอบด้วย ด้ า นการอ�ำนวยความยุ ติ ธ รรมเพื่ อ ลด ความเหลื่ อ มล�้ ำ ด้ า นการสร้ า งสั ง คม แห่ ง ความปลอดภั ย ด้ า นการป้ อ งกั น และปราบปรามยาเสพติด ด้านการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ด้านการ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมพิเศษ และด้านการพัฒนากฎหมายของประเทศ ในแต่ ล ะสายเปรี ย บเสมื อ นถนน ที่ มี ห น่ ว ยงานในสั ง กั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม เป็ น กลไกขั บ เคลื่ อ นงานตามภารกิ จ ซึ่งมีหน้าที่ก�ำหนดไว้อย่างชัดเจน ส�ำหรับ หน้ า ที่ ข องปลั ด กระทรวงคื อ ท�ำงาน ร่ ว มกั บ กรมในถนนแต่ ล ะสาย ซึ่ ง ถนน ทัง้ 6 สายทีร่ ฐั มนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม วางให้จะมีถนนตัดขวาง ซึ่งหมายความว่า ถนนทุกสายมีการเชื่อมต่อกันด้วย
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 39
คนยุ ติธรรม กองบรรณาธิการ
“ยุติธรรมสู่หมู่บ้าน น�ำบริการรัฐสู่ประชาชน”
ในการท�ำงาน ต้ อ งมองภาพรวม ให้เห็นเป็นกระดานใหญ่ ซึง่ จะมีการเปลีย่ นแปลง ตลอดเวลา เพราะอาจมีปัจจัยอื่น ภายใต้ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ คนที่ส�ำคัญที่สุด คือผูบ้ ริหารระดับกลาง ซึง่ หมายถึง ผูอ้ �ำนวยการ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคต้องว่องไว ในการให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากหน้างานผ่าน อธิบดีหรือบางครัง้ ตรงไปทีร่ องปลัดกระทรวง ให้ได้ เพราะรองปลัดกระทรวงจะได้รับมอบ อ�ำนาจให้เขาท�ำงานเต็มที่เหมือนเป็นปลัด กระทรวงในกลุ่มภารกิจ “นีค่ อื สิง่ ทีผ่ มตัง้ ใจจะท�ำ คือ รองปลัด กระทรวงทั้ง 4 ท่าน จะท�ำหน้าที่เหมือน ปลัดกระทรวงในมิตนิ นั้ ซึง่ จะท�ำงานลดหลัน่ กันไปแบบนี”้ นายชาญเชาวน์ กล่าว ต่อข้อค�ำถามเกีย่ วกับปัญหาและอุปสรรค ในการท�ำงานที่ เ กิ ด ขึ้ น จะมี แ นวทางแก้ ไ ข อย่ า งไร ปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม บอกว่ า จะต้ อ งท�ำเป้ า หมายให้ ชั ด เจนกว่ า เดิ ม เนื่ อ งจากมี ทิ ศ ทาง และมี แ ผนงานแล้ ว แต่เป้าหมายทีจ่ ะไปให้ถงึ จะต้องเป็นเป้าหมาย ที่ ทุ ก คนมองเห็ น ร่ ว มกั น ขณะนี้ ถ นนทั้ ง 6 สาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ก�ำหนดเป้าหมายแล้วว่า ต้องน�ำความ “ยุตธิ รรมสูห่ มูบ่ า้ น น�ำบริการรัฐสูป่ ระชาชน” กล่ า วคื อ ต้ อ งน�ำงานยุ ติ ธ รรมลงสู ่ หมู ่ บ ้ า นให้ ไ ด้ แต่ ล ะหน่ ว ยต้ อ งตี โ จทย์ ของตั ว เองว่ า การน�ำบริ ก ารของตนเอง 40 | Justice Magazine Ministry of Justice
ลงสู ่ ห มู ่ บ ้ า นหมายความว่ า อย่ า งไร เช่ น กรมสอบสวนคดีพิเศษต้องคิดว่า งานของ กรมนั้ น ค�ำว่ า ลงสู ่ ห มู ่ บ ้ า นหมายความว่ า อย่ า งไร สถาบั น นิ ติ วิ ท ยาศาสตร์ ต ้ อ งน�ำ บริ ก ารด้ า นนิ ติ วิ ท ยาศาสตร์ ไ ปถึ ง หมู ่ บ ้ า น จะท�ำได้อย่างไร ในขณะที่กรมคุ้มครองสิทธิ และเสรี ภ าพ กรมคุ ม ประพฤติ กรมพิ นิ จ และคุ้มครองเด็กและเยาวชน จะเห็นภาพ ในการเข้าถึงประชาชน เเละการลงสูห่ มูบ่ า้ น ได้ชดั เจนกว่าเนือ่ งจากมีภารกิจงานทีเ่ กีย่ วข้อง กับประชาชนโดยตรง นายชาญเชาวน์ฯกล่าวต่อว่า ดังนั้น ทุกส่วนราชการและบุคลากรของกระทรวง ยุ ติ ธ รรม ทุ ก คนต้ อ งมองเห็ น เป้ า หมายนี้ ด้ ว ยกั น รวมทั้ ง ต้ อ งเพิ่ ม ทั ก ษะการบริหาร จัดการให้แก่บุคลากรของกระทรวงยุติธรรม โดยเฉพาะผู้บริหารระดับกลาง เนื่องจาก การท�ำงานในปัจจุบันสถานการณ์ห น้ า งาน เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อีกทั้ง สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองต่างก็สง่ ผลต่องานกระทรวงยุตธิ รรม ด้ ว ยเช่ น กั น เช่ น การเกิ ด อาชญากรรม ในรูปแบบใหม่ จึงจ�ำเป็นที่บุคลากรจะต้อง มี ทั ก ษะการบริ ห ารจั ด การ เพราะถึ ง แม้ กระทรวงยุตธิ รรมจะไม่ใช่กระทรวงกฎหมาย แต่จะต้องท�ำงานในด้านการบริหารงานยุตธิ รรม ดังนั้น บุคลากรจะต้องพัฒนาทักษะ และองค์ความรู้ด้านงานยุติธรรมเพื่อให้งาน
บรรลุเป้าหมายร่วมกัน เปรียบเสมือนการ ผสมผสานระหว่าง 3 ส่วนประกอบเข้าด้วยกัน คื อ เป้ า หมายต้ อ งชั ด เจน พั ฒ นาทั ก ษะ และเพิ่มองค์ความรู้ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวเพิ่มเติม ว่า ท่ามกลางปัญหาอุปสรรคในการท�ำงาน กระทรวงยุ ติ ธ รรม มี จุ ด เด่ น ส�ำคั ญ คื อ เป็ น กระทรวงที่ มี ค วามหลากหลายทั้ ง ใน เรื่องอายุ เพศ และองค์ความรู้ที่หลากหลาย เป็นสหวิชาชีพซึ่งเป็นจุดเด่นที่จะกลายเป็น ส่วนเสริมในการขับเคลื่อนงานของกระทรวง ยุติธรรม เมือ่ ให้ปลัดกระทรวงยุตธิ รรม ประเมิน ผลการด�ำเนินงานตามนโยบาย “ยุติธรรมสู่ หมู่บ้าน น�ำบริการรัฐสู่ประชาชน” ว่าจะ สามารถเข้าถึงประชาชนได้อย่างแท้จริงหรือไม่ นายชาญเชาวน์ ตอบและอธิบายว่า “จะสามารถ น�ำความยุ ติ ธ รรมเข้ า ถึ ง ประชาชนได้ จ ริ ง แต่ต้องใช้เวลา และต้องท�ำอย่างที่บอกคือ เป้าหมายต้องชัดเจน พัฒนาทักษะการบริหาร จัดการ เพิม่ องค์ความรู้ และกระทรวงยุตธิ รรม ต้องรับรู้ปัญหาของประชาชนให้มากกว่านี้ โดยต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดกับวิธีการท�ำงาน ไม่เช่นนัน้ จะไม่มที างลงสูห่ มูบ่ า้ นได้เลย เพราะ ไม่วา่ กระทรวงยุตธิ รรมคิดจะด�ำเนินโครงการ อะไร ใช้งบประมาณเท่าไหร่ หรือจะต้องมี กิจกรรมอะไรบ้าง จุดเริม่ ต้นประการแรก คือ ต้องรูป้ ญั หาของชาวบ้าน พีน่ อ้ งประชาชนก่อนว่า เขาต้องการอะไร
“กอดคอกันเดินบนถนนดิน” ถึงแม้ว่าจะต้องเจออุปสรรคต่างๆ ก็จะร่วมแรงร่วมใจกัน น�ำกระทรวงยุติธรรม เข้าไปถึงหมู่บ้านให้ ได้
ขณะนี้ ถื อ ว่ า กระทรวงยุ ติ ธ รรม ยังเข้าถึงปัญหาของชาวบ้านน้อยไป เพราะฉะนัน้ ต้องเริ่มต้นก่อน โดยอธิบดีและรองอธิบดี จะต้ อ งรั บ ข้ อ มู ล จากผู ้ บ ริ ห ารระดั บ กลาง เนื่ อ งจากผู ้ บ ริ ห ารระดั บ กลางจะท�ำงาน ใกล้ชดิ ประชาชนมากกว่า ต้องพยายามเข้าใจ ปัญหาของประชาชนว่าต้องการบริการอะไร จากกระทรวงยุตธิ รรมไม่เช่นนัน้ ความยุตธิ รรม จะไม่ลงถึงหมู่บ้านอย่างแท้จริง ขณะนี้ ก ระทรวงยุ ติ ธ รรมก�ำลั ง น�ำ บริ ก ารของรั ฐ ไปสู ่ ป ระชาชนให้ ไ ด้ อาทิ เรื่องกองทุนยุติธรรมที่ได้ลงนามในบันทึก ข้ อ ตกลงความร่ ว มมื อ (MOU) ว่ า ด้ ว ย การอ�ำนวยความยุตธิ รรมเพือ่ ลดความเหลือ่ มล�ำ้ ทางสังคม ร่วมกับส�ำนักนายกรัฐมนตรี ส�ำนักงาน อัยการสูงสุด และกระทรวงมหาดไทย ซึง่ มีสาระ ส�ำคัญเกี่ยวกับการประสานความร่วมมือกัน ภายใต้กรอบอ�ำนาจหน้าทีข่ องแต่ละหน่วยงาน ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกันในเชิงบูรณาการ รวมทัง้ ยังมีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับหน่วยงานต่างๆ “อย่างไรก็ตาม กระทรวงยุติธรรม ยังขาดวิธกี ารทีช่ ดั เจนในการท�ำงานร่วมกับ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการที่จะรู้ วิ ธี ก ารท�ำงานได้ นั้ น จะต้ อ งรู ้ ถึ ง ปั ญ หา ที่เกิดขึ้นก่อน” นายชาญเชาวน์ย�้ำ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ยังได้อธิบาย ถึงการขับเคลื่อนนโยบายลดความเหลื่อมล�้ำ ของกระทรวงยุติธรรมว่า ได้เสนอกฎหมาย
ส�ำคัญ 3 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติ ยุติธรรมชุมชน พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติ ส่ ง เสริ ม การไกล่ เ กลี่ ย ข้ อ พิ พ าทในชุ ม ชน พ.ศ. .... และร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 หากน�ำทัง้ 3 ส่วนนีม้ ารวมกันจะเห็น ได้ว่า กระทรวงยุติธรรมจะลงสู่หมู่บ้านได้ อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่ท้าท้ายที่สุด ในการด�ำรงต�ำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม นายชาญเชาวน์ ตอบว่ า คื อ การสร้ า ง “ทีมยุตธิ รรม” เนือ่ งจากบุคลากรในกระทรวง ยุตธิ รรมมีหลากหลายวิชาชีพ หลากหลายด้วย ช่ว งอายุ มี ค นรุ ่ น ใหม่ เ พิ่ มมากขึ้ น จึ ง เป็ น สิง่ ท้าทายทีจ่ ะสร้างทีมยุตธิ รรมไปสูว่ ฒ ั นธรรม องค์กรที่มีอัตลักษณ์ของตนเอง และสังคม ยอมรั บ ได้ โดยอยู ่ บ นพื้ น ฐานของการ “ติ ด ดิ น ” รั บ ฟั ง ปั ญ หาของชาวบ้ า น พี่ น ้ อ งประชาชน ซึ่ ง การสร้ า งวั ฒ นธรรม องค์กรจ�ำเป็นต้องใช้เวลา “ผมขอเวลา 3 ปี ในการสร้างวัฒนธรรม องค์กรให้ชัดเจนไปพร้อมๆ กับการสร้าง ความส�ำเร็จของงานทีจ่ ะต้องท�ำให้กระทรวง ยุตธิ รรมลงไปสูห่ มูบ่ า้ น และท�ำให้มองเห็นว่า กระทรวงยุตธิ รรมคือใคร เพือ่ ให้ประชาชน มองเห็นกระทรวงยุตธิ รรมได้ชดั เจนมากยิง่ ขึน้ นัน่ แหละคือ ทีมยุตธิ รรม” ส�ำหรั บ วิ ธี ก ารบริ ห ารบุ ค ลากรนั้ น นายชาญเชาวน์บอกว่า ทีป่ ฏิบตั มิ าโดยตลอด คือ การรับฟัง และเปิดโอกาสให้บุคลากร
ได้ คิ ด เอง โดยไม่ บั ง คั บ ว่ า จะต้ อ งท�ำงาน อย่างไร เพียงแต่คอยให้แนวทางและก�ำกับ ดูแลเท่านัน้ อีกปัจจัยสิง่ ส�ำคัญคือ การยอมรับ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยไม่ต�ำหนิตนเอง แต่พร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ช่ ว งท้ า ยปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม ได้เล่าถึงสไตล์การท�ำงานและวิธีการบริหาร ความเครียดว่า “ปกติชีวิตจริงเป็นคนเงียบ ไม่ ค ่ อ ยพู ด และมี ค วามสุ ข กั บ การอ่ า น อยู่ตรงไหนก็ สุ ข ได้ ไม่ เ ครี ย ดเลย ซึ่ ง ต้ อ ง เรียนรู้วิธีท�ำให้จิตนิ่งในช่วงอายุที่ต่างกัน อีกเทคนิคหนึง่ ในการบริหารความเครียด คือ การยอมรับธรรมชาติความหลากหลาย ของคน เพราะหากเกิดความโกรธจะส่งผล ให้คิดงานไม่ออกจึงต้องพยายามหลีกเลี่ยง รวมถึงให้ความส�ำคัญกับสุขภาพ หาความสุข แบบรู้จักธรรมชาติของตัวเอง สุดท้ายปลัดกระทรวงยุตธิ รรม ได้ฝากถึง ข้ า ราชการกระทรวงยุ ติ ธ รรมทุ ก คนว่ า ให้ “กอดคอกันเดินบนถนนดิน” ถึงแม้ว่า จะต้องเจออุปสรรคต่างๆ ก็จะร่วมแรงร่วมใจ กันน�ำกระทรวงยุติธรรมเข้าไปถึงหมู่บ้าน ให้ได้อย่างแน่นอน นี่ คื อ ทิ ศ ท า ง แ ล ะ มุ ม ม อ ง ข อ ง นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวง ยุตธิ รรมคนล่าสุด ในการเดินหน้าขับเคลือ่ น “งานยุ ติ ธ รรมสู ่ ห มู ่ บ ้ า นน� ำ บริ ก ารรั ฐ สูป่ ระชาชน” ให้เป็นผลเพือ่ ลดความเหลือ่ มล�ำ้ และสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึน้ ในสังคมไทย วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 41
ทีกองบรรณาธิ ่นี่แจ้งการวัฒนะ เปิดสัมมนาก้าวใหม่ของงานคุมประพฤติ พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดการสัมมนาทางวิชาการ “ข้อกำ�หนดโตเกียวกับ ก้าวใหม่ของงานคุมประพฤติ” พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “นโยบาย ของกระทรวงยุตธิ รรมในการส่งเสริมข้อกำ�หนดโตเกียว” ณ ห้องเมจิก 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้น เวลา 11.30 น. นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “มิติใหม่ในการปฏิบัติต่อผู้กระทำ�ผิดในชุมชน” เพื่ อ ขั บ เคลื่ อ นการพั ฒ นางานคุ ม ประพฤติ ข องประเทศไทยให้ มี ประสิทธิภาพและรองรับกับความเป็นพลวัตทางสังคม
ให้การต้อนรับ เอกอัครราชทูตสมาพันธรัฐสวิส ประจำ�ประเทศไทย พลเอก ไพบูลย์ คุม้ ฉายา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม พร้อมด้วยพลเอก อภิชยั หงษ์ทอง เลขานุการรัฐมนตรีวา่ การ กระทรวงยุตธิ รรม และนายชาญเชาวน์ ไชยานุกจิ ปลัดกระทรวง ยุตธิ รรม ให้การต้อนรับ H. E. Mr. Ivo Sieber เอกอัครราชทูต วิสามัญผูม้ อี �ำ นาจเต็มแห่งสมาพันธรัฐสวิสประจำ�ประเทศไทย พร้ อ มคณะในโอกาสเข้ า รั บ ตำ � แหน่ ง ใหม่ พร้ อ มทั้ ง หารื อ ความร่วมมือด้านกระบวนการยุตธิ รรมและสถานการณ์สทิ ธิมนุษยชน ของประเทศไทย ณ ห้องรับรองกระทรวงยุติธรรม ชั้น 2 อาคาร ราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
ช่วยเหลือประชาชนด้านกระบวนการยุติธรรม
พันตำ�รวจเอก ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุตธิ รรม รับเรื่องร้องขอความเป็นธรรมจากประชาชน เพื่อให้ความช่วยเหลือ ด้านกระบวนการยุตธิ รรม ณ ห้องทำ�งานกระทรวงยุตธิ รรม ชัน้ 8 อาคาร ราชบุรดี เิ รกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
42 | Justice Magazine Ministry of Justice
ติดตามผลการดำ�เนินงาน คสช. ครั้งที่ 1/2559
พลเอก ไพบูลย์ คุม้ ฉายา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำ�นวยการศูนย์อำ�นวยการ ประสานกำ�กับติดตามผลการดำ�เนินงานตามคำ�สัง่ หัวหน้าคณะรักษา ความสงบแห่งชาติที่ 22/2558 ครั้งที่ 1/2559 ณ ห้องประชุม กระทรวงยุติธรรม 2 ชั้น 8 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติฯ
ประชุมคณะกรรมการปรับปรุงแนวที่ดินของรัฐ (One Map)
สัมมนาวิชาการแก้ ไขหนี้นอกระบบของเกษตร
พลเอก ไพบูลย์ คุม้ ฉายา รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงยุตธิ รรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขต ที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1:4000 (One Map) ครัง้ ที่ 1/2559 เพือ่ พิจารณาการเตรียมงานโครงการชีแ้ จงแนวทาง การปรับปรุงแผนทีแ่ นวเขตทีด่ นิ ของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1:4000 (One Map) รวมถึงแต่งตัง้ โฆษกคณะกรรมการฯ เพือ่ การ ดำ�เนินงานด้านประชาสัมพันธ์ ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม 2 ชั้น 8 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ กรุงเทพมหานคร
พันตำ�รวจเอก ดุษฎี อารยวุฒิ รองปลัดกระทรวงยุตธิ รรม ในฐานะผู้อำ�นวยการศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้ รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดการ สัมมนาวิชาการ เรื่อง “วิกฤตหนี้นอกระบบเกษตรกร กับ ทางออกที่ ยั่ ง ยื น ”เพื่ อ ระดมความคิ ด เห็ น ข้ อ เสนอแนะ ต่อแนวทางที่ยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ และลด ผลกระทบต่ อ การสู ญ เสี ย ที่ ดิ น ของเกษตรกร ณ ห้ อ ง 209 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 43
ก�กองบรรณาธิ ำแพงมิการอาจกั้น
ที่ผ่านมา กรมราชทัณฑ์ประสบปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจ�ำ มาเป็นเวลานาน โดยปัจจุบันมีจ�ำนวนผู้ต้องขังสูงถึง 314,677 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558) และมีผู้ต้องขังเพิ่มขึ้นเฉลี่ย ประมาณ 3000คน/เดือน ส่งผลให้กระบวนการเตรียมความพร้อม ผู ้ ต ้ อ งขั ง ระยะใกล้ พ ้ น โทษ หรื อ หลั ก สู ต รการเตรี ย มความพร้ อ ม ผู้ต้องขังแบบเข้มข้น (Intensive Pre-release Program) ไม่สามารถ ท�ำได้ เนื่องจากสถานที่ในการควบคุมพื้นที่จ�ำกัด ไม่สามารถใช้งานได้ อย่างเต็มประสิทธิภาพ ล่าสุด กรมราชทัณฑ์ได้น�ำแนวคิดนวัตกรรม “เรือนจ�ำ โครงสร้างเบา” ซึ่งสามารถก่อสร้างได้แล้วเสร็จภายใน 3-6 เดือน นับจากเริม่ ก่อสร้าง เพือ่ ท�ำให้มสี ถานทีใ่ นการรองรับผูต้ อ้ งขังระยะใกล้ พ้นโทษ และเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยแบบเข้มข้น ส�ำหรับพืน้ ทีด่ �ำเนินการโครงการเรือนจ�ำโครงสร้างเบา ประกอบด้วย
44 | Justice Magazine Ministry of Justice
ทั ณ ฑสถานเกษตรอุ ต สาหกรรมเขาพริ ก ,กลุ ่ ม ทั ณ ฑสถานเปิ ด ทั่วประเทศ รวม 6 แห่ง และกลุ่มเรือนจ�ำชั่วคราวที่มีอัตราก�ำลัง เจ้าหน้าที่และมีผู้ต้องขังอยู่ประจ�ำและมีเรือนนอน จ�ำนวน 17 แห่ง รวมทั้งสิ้น 18 แดน โดยทัณฑสถานเปิดบ้านเนินสูงจะมีการด�ำเนิน การ 2 แดน ในปีหนึ่งจะมีการคัดเลือกผู้ต้องขังเข้าร่วมโครงการรุ่นละ 500 คนต่อแดน รวมทั้งมีผู้ต้องขังเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 9,000 คน ต่อรุ่น สามารถระบายผู้ต้องขังได้ 27,000 คนต่อปี ผู้ต้องขังที่จะเข้าอยู่ในเรือนจ�ำนี้จะต้องเป็นผู้ต้องขังที่เข้าข่าย การพักการลงโทษ มีครอบครัวรับรอง มีความประพฤติดีในเรือนจ�ำ และต้องผ่านการกลัน่ กรองจากคณะกรรมการพักการลงโทษของเรือนจ�ำ และกรมราชทั ณฑ์ เพื่ อเป็นการระบายความแออั ดของผู้ต้องขัง ในเรื อ นจ�ำ /ทั ณ ฑสถาน โดยผู ้ ไ ด้ รั บ การพั ก การลงโทษจะได้ รั บ การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมจากเรือนจ�ำเป็นสถานที่ผ่อนคลายกว่า
เรือนจ�ำโครงสร้างเบามีองค์ประกอบหลัก 3 ด้านได้แก่ ประกอบด้วยอาคารเรือนนอนผู้ต้องขัง 2 ชั้น จ�ำนวน 3 หลัง ส�ำหรับรองรับผู้ต้องขัง 500 คน เป็นโครงสร้างที่สามารถก่อสร้าง ได้เร็ว เช่น ตู้คอนเทนเนอร์ อาคารสูทกรรม และอาคารที่ท�ำการขนาดเล็ก 2 ชั้น โดยใช้แบบมาตรฐานของกรมราชทัณฑ์ บริเวณเรือนจ�ำ โครงสร้างเบายังมีบริเวณห้องอาบน�้ำ และห้องส้วม และจัดให้มีบ้านพักส�ำหรับเจ้าหน้าที่ในระหว่างการฝึกหรือกรณีที่มีการให้เจ้าหน้าที่ จากต่างพื้นที่มาปฏิบัติหน้าที่ โดยจัดตั้งอยู่ภายนอกเรือนจ�ำโครงสร้างเบา
ใช้ระยะเวลา 3 เดือน ต่อรุ่น เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังแบบเข้มข้น ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ความคิด สติปัญญา อารมณ์ และวิชาชีพ โดยแยกเป็นกลุ่มเนื้อหาในการเตรียมความพร้อมเพื่อกลับคืนสู่สังคม (จ�ำนวน 504 ชั่วโมง) แบ่งเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
ประกอบด้วยเนื้อหา การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้ต้องขัง เพื่อให้ผู้ต้องขังได้รับการเตรียมตัว มีความพร้อมด้านร่างกาย มีความแข็งแรง อดทน สร้างเสริมระเบียบวินยั สร้างความสามัคคี เป็นการเตรียมความพร้อมเพือ่ เข้าสูก่ จิ กรรมอืน่ ได้แก่ ฐานการฝึกกายบริหาร ระเบียบแถว วินัย ปฏิบัติการจิตวิทยา (จ�ำนวน 48 ชั่วโมง) ฐานกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กีฬานันทนาการ กิจกรรมรักษาความสะอาด เพื่อจัดระเบียบเรือนจ�ำ ฯลฯ (จ�ำนวน 90 ชั่วโมง)และฐานกิจกรรมกระบวนการลูกเสือ (จ�ำนวน 30 ชั่วโมง) เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม กระบวนการคิด และการเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านจิตใจ มีทักษะในการใช้ชีวิต สามารถหลีกเลี่ยง สถานการณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการกระท�ำผิดซ�้ำ (จ�ำนวน 186 ชั่วโมง) ฐานการเรียนรู้และการปฏิบัติตามหลักทางศาสนาต่างๆ ภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ (จ�ำนวน 66 ชั่วโมง) ฐานกระบวนการคิด การวางแผนการด�ำเนินชีวิต ทักษะทางสังคม กิจกรรมกลุ่มบ�ำบัด การใช้ชีวิต แบบพอเพียง (จ�ำนวน 120 ชั่วโมง) กา9รเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ / ครอบครัว / บูรณาการ ความร่วมมือกับสังคม
เพื่อเตรียมความพร้อมการฝึกทักษะอาชีพ การประกอบอาชีพอิสระ การท�ำงานในสถานประกอบการ การให้ค�ำแนะน�ำปรึกษา ด้ า นอาชี พ การสร้ า งความสั ม พั น ธ์ ใ นครอบครั ว บู ร ณาการภาคสั ง คมเข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว มให้ ค วามรู ้ ท�ำความรู ้ จั ก คุ ้ น เคย เพื่ อ ส่ ง ต่ อ และประสานงานการให้ความช่วยเหลือเมือ่ ผูต้ อ้ งขังพ้นโทษกลับเข้าสูค่ รอบครัว และสังคม (จ�ำนวน 150 ชั่วโมง) ฐานการเรียนรู้ และฝึกฝนทักษะการประกอบอาชีพ ทัง้ อาชีพอิสระส่วนตัว และการเข้าท�ำงานในสถานประกอบการ ความรูอ้ าชีพอิสระ ต่างๆ การแนะน�ำแหล่งงาน การน�ำผูป้ ระกอบการเข้ามาให้ค�ำแนะน�ำในการท�ำงาน การรับสมัครงาน (จ�ำนวน 96 ชัว่ โมง) ฐานการให้ค�ำปรึกษา (Counseling) เกี่ยวกับการวางแผนการด�ำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ แนะน�ำหน่วยงานที่สามารถขอรับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ เช่น ทุนประกอบอาชีพ การสงเคราะห์ครอบครัว การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย เป็นต้น (จ�ำนวน 18 ชั่วโมง) ฐานการเตรี ย มความพร้ อ มครอบครั ว และชุ ม ชน การปฏิ บั ติ ตั ว ในระหว่ า งการคุ ม ประพฤติ ก ารส่ ง ต่ อ และประสานงานการ ให้ความช่วยเหลือกับหน่วยงานท้องถิน่ เช่น อบต. อบจ. (จ�ำนวน 36 ชัว่ โมง) ทั้งนี้ หลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยแบบเข้มข้น (Intensive Pre-release Program) โดยใช้วิทยากรในพื้นที่ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นหลักและเจ้าหน้าที่เรือนจ�ำ/ทัณฑสถานมีการก�ำหนด ให้เจ้าหน้าที่เรือนจ�ำ/ทัณฑสถาน ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้ต้องขัง ต่อไปได้ รวมทั้ง ก�ำหนดให้แบ่งกลุ่มผู้ต้องขังที่จะเข้ารับอบรม หมุนเวียนให้ได้รับความรู้ตามฐานต่าง ๆ ให้ครบทุกด้าน เพื่อเป็นการกระจาย กลุ่มอบรมให้ผู้ต้องขังได้รับความรู้อย่างทั่วถึง โดยให้บริหารจัดการวิทยากร และบูรณาการเนือ้ หาหลักสูตรตามตารางทีก่ �ำหนดอย่างเหมาะสม (Grouping) วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 45
ก�กองบรรณาธิ ำแพงมิการอาจกั้น
ด้านการติดตามและประเมินผลโครงการภายหลังผูต้ อ้ งขังพ้นโทษ
การด�ำเนินการโครงการให้ความส�ำคัญกับระบบข้อมูลผู้ต้องขัง และการติดตามประเมินผลหลักสูตร รวมไปถึงการบูรณาการ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระหว่างด�ำเนินโครงการ และภายหลังโครงการเสร็จสิ้น ดังนี้
การส่งต่อและบูรณาการการท�ำงานระหว่างกรมราชทัณฑ์ และกรมคุมประพฤติ
จะมีการให้ความรู้และค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในชุมชน และการปฏิบัติตนระหว่างการคุมประพฤติ และพัฒนาระบบข้อมูล ผู้ต้องขังให้มีความพร้อมในการส่งต่อฐานข้อมูลทั้งในรูปแบบเอกสาร และสารสนเทศเมื่อฐานข้อมูลได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อม โดยการด�ำเนินการของกรมราชทัณฑ์หลังจากทีผ่ ตู้ อ้ งขังได้รบั การพิจารณาให้พกั การลงโทษ หรือได้รบั พระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎี กาฯ นัน้ กรมราชทัณฑ์จะด�ำเนินการส่งต่อบุคคลดังกล่าวไปเข้ารับการคุมประพฤติ โดยการติดตามผูต้ อ้ งขังทีเ่ ข้ารับการคุมประพฤติเป็นอ�ำนาจ หน้าที่ของกรมคุมประพฤติ โดยส�ำนักงานคุมประพฤติในพื้นที่จะเป็นผู้ด�ำเนินการต่อไป การติดตามและประเมินผลโครงการ จะเน้นการใช้วธิ วี จิ ยั เชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology)
เพื่ อ ติ ด ตามผลการฝึ ก อบรมหลั ก สู ต ร ซึ่ ง เมื่ อ เชื่ อ มโยงกั บ ฐานข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ ด�ำเนิ น การประมวลแล้ ว จะสามารถก�ำหนด กลุม่ ตัวอย่างและติดตามผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนัน้ แม้วา่ กรมราชทัณฑ์จะไม่ได้มอี �ำนาจโดยตรงในการดูแลหลังพ้นโทษ (Prison Aftercare) แต่กรมราชทัณฑ์ได้มีความมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือไม่ให้ผู้ที่พ้นโทษไปจากเรือนจ�ำนั้นกลับไปสู่วงจรการกระท�ำผิดซ�้ำอีก
เนื่องจากกรมราชทัณฑ์ ได้มีความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ท�ำให้การประสานงานติดตามดูแล และให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ สามารถ ด�ำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ความร่วมมือกับองค์กรภาคีต่าง ๆ อาทิ กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการจัดหางาน สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เป็นต้น นอกจากนี้ แม้วา่ การติดตามผูต้ อ้ งขังภายนอกเรือนจ�ำจะไม่อยูใ่ นอ�ำนาจ ของกรมราชทัณฑ์ แต่ก็มีหน่วยงานที่ดูแลในส่วนของการสงเคราะห์ผู้ต้องพ้นโทษ อาทิ มูลนิธิส่งเสริมพลเมืองดี หรือแม้แต่กรมราชทัณฑ์ ก็ยินดีให้ค�ำปรึกษาหากผู้พ้นโทษมาติดต่อราชการเพื่อขอรับการสนับสนุนต่าง ๆ ส�ำหรับผลที่คาดว่าจะได้รับคือ การน�ำระบบเรือนจ�ำโครงสร้างเบาเข้ามาใช้ จะช่วยให้การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยแบบเข้มข้น สามารถด�ำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนือ่ งจากการแยกผูต้ อ้ งขังที่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการพักการลงโทษออกจากกลุ่มผู้ต้องขังทั่วไป รวมทัง้ สามารถระบายความแออัดของผู้ต้องขังในระบบเรือนจ�ำปกติได้ สภาพแวดล้ อ มของสถานที่ คุ ม ขั ง เพี่ อ เตรี ย มความพร้ อ มก่ อ นปล่ อ ย เอือ้ ต่อการเรียนรูแ้ ละพัฒนาผูต้ อ้ งขังส�ำหรับการเตรียมความพร้อมสูส่ งั คมภายนอกผูต้ อ้ งขังได้รบั การปฏิบตั อิ ย่างเหมาะสมทัง้ ในด้านการควบคุม และการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยแบบเข้มข้นทีม่ งุ่ พัฒนาความรู้ ทักษะ และทัศนคติของผูต้ อ้ งขังอย่างเป็นรูปธรรมและกระบวนการ เตรียมความพร้อมก่อนปล่อยของกรมราชทัณฑ์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ชุมชน และสังคมในการพัฒนาพฤตินิสัยเพื่อ คืนคนดีสู่สังคมอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งหมดนี้ เป็นอีกหนึ่งทางออกของกรมราชทัณฑ์ในการแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจ�ำ พร้อมๆ กับเดินหน้านโยบายคืนคนดีสู่สังคม อันเป็นภารกิจส�ำคัญในการเข้าสู่ศตวรรษที่ 2 ของกรมราชทัณฑ์ 46 | Justice Magazine Ministry of Justice
คน เงิน แผน นายมนินธ์ สุทธิวัฒนานิติ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนช�ำนาญการ ส�ำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
แผนการขับเคลื่อน
การพัฒนากฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม
หลั ง จากที่ มี ก ารแต่ ง ตั้ ง สภาขั บ เคลื่ อ นการปฏิ รู ป ประเทศ (สปท.) ขึ้ น เพื่ อ เป็ น กลไก การขับเคลื่อนข้อเสนอการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้จัดท�ำขึ้น และได้จัดส่งไปให้หน่วยงานต่างๆ พิจารณาให้ความเห็นและข้อเสนอแนะอยูใ่ นขณะนี้ ทางฝ่ายรัฐบาล ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินขึ้น จ�ำนวน 6 คณะ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานทั้ง 6 คณะ และมอบหมายรองนายกรัฐมนตรีทั้ง 6 ท่านเป็น รองประธานเพื่อเป็นผู้ขับเคลื่อนวาระการปฏิรูปทั้งที่มาจากข้อเสนอของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) แผนการปฏิรูปของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และนโยบายส�ำคัญเร่งด่วนอื่นๆ ของรัฐบาลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และไม่เกิดความซ�้ำซ้อนในการด�ำเนินการ
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 47
คณะกรรมการขั บ เคลื่ อ นและปฏิ รู ป การบริ ห ารราชการแผ่ น ดิ น ที่ ก ระทรวง ยุติธรรมมีส่วนเกี่ยวข้องคือ คณะกรรมการ ขั บ เคลื่ อ นและปฏิ รู ป ด้ า นระบบราชการ กฎหมาย กระบวนการยุ ติ ธ รรมและ สร้ า งความปรองดองสมานฉั น ท์ ซึ่ ง มี ร อง นายกรั ฐ มนตรี (นายวิ ษ ณุ เครื อ งาม) เป็นรองประธานและปลัดกระทรวงยุตธิ รรม เ ป ็ น เ ล ข า นุ ก า ร ร ่ ว ม กั บ เ ล ข า ธิ ก า ร คณะกรรมการกฤษฎีกา และได้มกี ารประชุม กั น ครั้ ง แรกเมื่ อ วั น ที่ 8 มกราคม 2559 ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็นที่จะขอ น�ำมาถ่ายทอดไว้ ณ ที่นี้ คณะกรรมการฯ ได้แบ่งกรอบการท�ำงาน เบื้ อ งต้ น ออกเป็ น 4 ด้ า น ประกอบด้ ว ย 1) การปฏิรปู ระบบราชการ 2) การด�ำเนินงาน ด้านกฎหมาย 3) การปฏิรูปกระบวนการ ยุตธิ รรม และ 4) การสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ โดยได้ มี ก ารมอบหมายให้ ก ระทรวง ยุ ติ ธ รรมรั บ ผิ ด ชอบงานด้ า นการปฏิ รู ป กระบวนการยุ ติ ธ รรม ซึ่ ง รั ฐ มนตรี ว ่ า การ กระทรวงยุ ติ ธ รรมได้ น�ำเสนอว่ า จะขอให้ คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุตธิ รรม แห่งชาติ (กยพช.) เป็นกลไกการขับเคลือ่ นหลัก และใช้ แ ผนการพั ฒ นากฎหมายและ กระบวนการยุ ติ ธ รรมของคณะกรรมการ บริ ห ารงานยุ ติ ธ รรมแห่ ง ชาติ เป็ น กรอบ การด�ำเนินงานในเบือ้ งต้น โดยคณะกรรมการ ขับเคลื่อนฯ จะเป็นกลไกก�ำกับการท�ำงาน และให้ขอ้ เสนอแนะเชิงนโยบายเพิม่ เติม
48 | Justice Magazine Ministry of Justice
แผนการพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มีแนวทางการด�ำเนินงานหลัก ประกอบด้วย 1 แผนป้ อ งกั น อาชญากรรม โดยการจั ด ระเบี ย บสั ง คม การปรับปรุงสภาพแวดล้อม ผังเมืองชุมชนและอาคารให้เอือ้ ต่อการ ป้องกันอาชญากรรม 2 แผนสร้างการรับรูก้ ฎหมาย โดยจัดท�ำเนื้อหาและรูปแบบ ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย 3 แผนพั ฒ นาระบบการเชื่ อ มโยงข้ อ มู ล ในกระบวนการ ยุตธิ รรมเพือ่ ให้เป็นระบบสารสนเทศกลาง (Portal) ทีท่ กุ หน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมสามารถเชื่อมโยงระบบข้อมูลสารสนเทศ เข้าด้วยกัน 4 แผนการพัฒนาระบบการบังคับใช้กฎหมาย โดยการส�ำรวจ ประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นระบบ การพัฒนากลไก ป้ อ งกั น การใช้ อ�ำนาจโดยมิ ช อบ การพั ฒ นาระบบการสื่ อ สาร กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงระบบ ตรวจสอบการฝ่าฝืนกฎหมายและการกระท�ำความผิดต่างๆ 5 แผนบูรณาการการจัดตัง้ ศาล โดยการก�ำหนดกรอบอัตรา ก�ำลั ง พื้ น ที่ งบประมาณส�ำหรั บ การจั ด ตั้ ง ศาลและหน่ ว ยงาน สนับสนุนที่เป็นมาตรฐาน 6 แผนพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุตธิ รรมผ่านหลักสูตร ต่างๆ และมีข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลของกระทรวง ยุติธรรมอีก ๙ ประเด็น ประกอบด้วย
1 การตรวจสอบเพื่ อ ยกเลิ ก กฎหมายล้ า สมั ย 2 3 4 5 6 7 8 9
(Regulatory Guillotine) การจัดท�ำฐานข้อมูลความเชื่อมโยงและการอ้างอิง กฎหมาย (Regulatory Index) การพั ฒ นาเครื่ อ งมื อ ตรวจสอบผลกระทบของ การตรากฎหมายใหม่และประเมินกฎหมายทีค่ รบอายุ การบังคับใช้ (Regulatory Impact Assessment : RIA) การพั ฒ นาระบบอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ เ พื่ อ ยกระดั บ การเข้าถึงและการใช้บริการในหน่วยงานกระบวนการ ยุติธรรม การจั ด ระบบฐานข้ อ มู ล เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ การบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายและการก�ำหนดนโยบาย ด้านกระบวนการยุติธรรม การปฏิรูประบบแก้ไขฟื้นฟูผู้กระท�ำความผิด การปฏิรูประบบการคัดกรองและบ�ำบัดฟื้นฟูผู้ติด ยาเสพติด การปฏิรูปองค์กรในกระบวนการยุติธรรม การจั ด ตั้ ง ระบบเจ้ า พนั ก งานรั บ รองเอกสาร และนิติกรรม (โนตารีปับลิก)
จะเห็ น ได้ ว ่ า ข้ อ เสนอของกระทรวงยุ ติ ธ รรมในการขั บ เคลื่ อ นการปฏิ รู ป ประเทศด้ า นกระบวนการยุ ติ ธ รรมนี้ มี ป ระเด็ น ใหม่ ๆ ที่ น ่ า สนใจ และเป็ น การขยายขอบเขตการปฏิ บั ติ ง านออกไปยั ง ปริ ม ณฑลใหม่ ๆ ไม่ ว ่ า จะเป็ น การปรั บ สภาพแวดล้ อ มของชุ ม ชนเพื่ อ ป้ อ งกั น อาชญากรรม การประเมิ น ผลการบั ง คั บ ใช้ ก ฎหมายอย่ า งเป็ น ระบบ การตรวจสอบเพื่ อ ยกเลิ ก กฎหมายล้ า สมั ย (Regulatory Guillotine) การจั ด ท� ำ ฐานข้ อ มู ล ความเชื่ อ มโยง และการอ้ า งอิ ง กฎหมาย (Regulatory Index) การพั ฒ นาเครื่ อ งมื อ ตรวจสอบผลกระทบของการตรากฎหมายใหม่ และประเมิ น กฎหมายที่ ค รบอายุ ก ารบั ง คั บ ใช้ (Regulatory Impact Assessment: RIA) และการจั ด ตั้ ง ระบบ เจ้ า พนั ก งานรั บ รองเอกสารและนิ ติ ก รรม (โนตารี ป ั บ ลิ ก ) ซึ่ ง แม้ จ ะมี ก ารศึ ก ษาวิ จั ย มาระยะหนึ่ ง แล้ ว แต่ ก็ ยั ง ไม่ ไ ด้ มี ก ารน� ำ ไปด� ำ เนิ น การในระดั บ การปฏิ บั ติ และประเด็ น ท้ า ทายส� ำ คั ญ อี ก ประการหนึ่ ง คื อ การพั ฒ นาบุ ค ลากร ของกระทรวงยุตธิ รรมให้มคี วามรูแ้ ละทักษะทีจ่ ำ� เป็นต่อการขับเคลือ่ นการด�ำเนินงานต่างๆ ข้างต้น ทีล่ ว้ นแต่เป็นภารกิจที่ไม่คนุ้ เคย จึ ง อาจยั ง มี ค วามรู ้ แ ละทั ก ษะไม่ เ พี ย งพอ และยั ง ต้ อ งอาศั ย การท� ำ งานในลั ก ษณะสหวิ ท ยาการ ซึ่ ง ก็ ต ้ อ งใช้ วิ ธี ก ารท� ำ งาน ในรูปแบบใหม่ที่ไม่ยึดติดกับโครงสร้างองค์กรแบบเดิมๆ อันหมายรวมถึงการก�ำหนดต�ำแหน่งทีต่ อ้ งมีความยืดหยุน่ มากขึน้ อีกด้วย จึงเป็นเรื่องที่น่าจะต้องติ ด ตามกั น ต่ อ ไปว่ า การด� ำ เนิ น งานในขั้ น การปฏิ บั ติ ต ามแผนการขั บ เคลื่ อ นการพั ฒ นากฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 49
ยุพ.ต.ท.วิ ติธชัยรรมช่ วยประชาชน สุวรรณประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ เลขานุการศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ ไม่ได้รับความเป็นธรรม
ปั
ญหาหนี้สินหลายท่านอาจจะมองว่าเป็นเรื่องปกติ ของสังคมไทยทีเ่ กิดขึน้ ได้ในทุกท้องทีข่ องประเทศ ไม่บอ่ ยครัง้ นัก ทีช่ าวบ้านในพืน้ ทีส่ ามจังหวัดชายแดนใต้ จะร้องขอความช่วยเหลือ จากศูนย์ชว่ ยเหลือลูกหนีแ้ ละประชาชนทีไ่ ม่ได้รบั ความเป็นธรรม กระทรวงยุตธิ รรม (ศนธ.ยธ.) เนือ่ งมาจากได้รบั ความเดือดร้อน และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากปัญหาหนี้นอกระบบ อาจด้วย เพราะระบบเศรษฐกิจและสังคม
ที่
น ่ า สนใจยิ่ ง กว่ า นั้ น คื อ กลุ ่ ม ชาวบ้ า นผู ้ เ ดื อ ดร้ อ น กลับเป็นคนไทยเชื้อสายพุทธ (รุ่นลูก) ที่อพยพย้ายถิ่นฐาน จากพื้นที่แถบภาคอีสานมากับพ่อแม่ทั้งครอบครัวเข้ามาอยู่ที่ อ�ำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๘ โดยได้รับ จัดสรรที่ดินจากภาครัฐให้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รับจ้าง กรีดยาง และร่อนทองค�ำเป็นอาชีพเสริมจากล�ำคลองโต๊ะโม๊ะ ซึ่งเป็นต้นแม่นํ้าสายบุรี
หนี้ นอกระบบ
ความเป็นธรรม ที่
สุคิริน
50 | Justice Magazine Ministry of Justice
อ�ำเภอสุคิริน เป็นสถานที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติงดงาม อุดมสมบูรณ์ เดิมเคยเป็นกิง่ อ�ำเภอหนึง่ ทีไ่ ด้จดั ตัง้ ขึน้ พ.ศ. 2474 ชื่อกิ่งอ�ำเภอปาโจ ขึ้นกับอ�ำเภอโต๊ะโมะ (อ�ำเภอแว้งในปัจจุบัน) กิ่งอ�ำเภอนี้จัดตั้งเพราะมีชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาขอสัมปทาน ท�ำเหมื อ งแร่ ท องค�ำบริ เ วณเทื อ กเขาลี ซ อ ซึ่ ง ตั้ ง อยู ่ ที่ ต�ำบล โต๊ะโมะ มีราษฎรอพยพเข้ามาอยูเ่ ป็นจ�ำนวนมาก ทางราชการ จึงได้พจิ ารณาจัดตัง้ กิง่ อ�ำเภอนีข้ นึ้ มาเพือ่ สะดวกในการปกครอง ดู แ ลผลประโยชน์ ข องทางราชการในการจั ด เก็ บ ภาษี อ ากร และให้บริการประชาชน โดยแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 ต�ำบล คือ ต�ำบลโต๊ะโมะและต�ำบลมาโมง ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 เกิดสงครามอินโดจีนขึน้ ชาวฝรัง่ เศส เจ้าของกิจการเหมืองแร่ทองค�ำได้หนีภยั สงคราม จึงทิง้ เหมืองแร่ ทองค�ำ ดังนัน้ รัฐบาลไทยโดยกรมโลหะกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แต่งตั้งพระอุดมธรณีศาสตร์ มาเป็นผู้ด�ำเนินการเหมืองแร่ทองค�ำ ดังกล่าวแทน ประมาณปีเศษเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในบริเวณเหมืองแร่ ทองค�ำและต่อมาได้ลม้ เลิกกิจการไป คนไทยทีอ่ าศัยอยูบ่ ริเวณนีไ้ ด้อพยพ ออกหมด ในปี พ.ศ. 2506 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กรมประชาสงเคราะห์ จัดตั้งนิคมพัฒนาตนเองภาคใต้ จังหวัดนราธิวาส เพื่ออพยพราษฎร ที่มีฐานะยากจนและไม่มีที่ดินท�ำกินจากท้องที่ต่างๆ เข้ามาประกอบ อาชีพ เขตนิคมคลุมพืน้ ที่ 2 อ�ำเภอ คือ อ�ำเภอสุคริ นิ และอ�ำเภอจะแนะ เมือ่ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2520 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศ จัดตั้งกิ่งอ�ำเภอสุคิรินขึ้น ประกอบด้วย 2 ต�ำบล คือ ต�ำบลมาโมง และต�ำบลสุคริ นิ และเมือ่ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2529 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศยกฐานะกิง่ อ�ำเภอสุคริ นิ เป็นอ�ำเภอสุคริ นิ จนถึงปัจจุบนั ค�ำว่า “สุคิริน” เป็นชื่อต�ำหนักที่สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี พระราชทานเมื่ อ คราวเสด็ จ มาประทั บ แรม เมื่อปี พ.ศ. 2510 ซึ่งหมายความว่า “พรรณไม้งามเขียวชอุ่ม” ซึง่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระราชทานเพือ่ ความเหมาะสม กับสภาพท้องถิ่นที่เต็มไปด้วยป่าและภูเขา มีพรรณไม้นานาชนิด ขึ้นอยู่อย่างงดงาม
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2558 เวลา 10.00 น. ได้มหี ญิงชาวบ้านจากอ�ำเภอสุคริ นิ โทรศัพท์มาขอค�ำปรึกษากับนิตกิ ร ศูนย์ชว่ ยเหลือลูกหนีแ้ ละประชาชนทีไ่ ม่ได้รบั ความเป็นธรรม กระทรวง ยุติธรรม “ศนธ.ยธ.” บอกเล่าเรื่องราวความเดือดร้อน จากการ ถู ก นายทุ น น�ำเอาสั ญ ญากู ้ ที่ ท�ำไว้ เ พื่ อ เป็ น หลั ก ฐานขอรั บ การช่วยเหลือจากโครงการลงทะเบียนหนี้นอกระบบเมื่อครั้งปี 2552 (เกิดจากการท�ำสัญญากูก้ บั นายทุนย้อนหลังเพือ่ ยืน่ ประกอบโครงการ ลงทะเบียนหนีน้ อกระบบ) ความเดือดร้อนของเธอได้รอ้ งขอค�ำปรึกษา ไปหลายแห่งแต่ไม่ได้รบั การช่วยเหลือ และยังมีอกี หลายสิบครอบครัว ที่เดือดร้อนก�ำลังถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้องยึดบ้านและที่ดินท�ำกิน เธออยากน�ำชาวบ้านเข้ามาร้องเรียนกับหน่วยงานที่กรุงเทพฯ เพื่ อ จะได้ บ อกเล่ า ให้ เ จ้ า หน้ า ที่ เ ข้ า ใจและช่ ว ยเหลื อ อย่ า งจริ ง จั ง แต่เราเห็นว่าจะต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จึงได้แนะน�ำให้เธอรวบรวม ส่ ง เอกสารหลั ก ฐานของทุ ก ราย พร้ อ มเขี ย นเล่ า เหตุ ก ารณ์ ส ่ ง มา หลั ง จากเวลาผ่ า นไปเกื อ บ 10 วั น ข้ อ มู ล หลั ก ฐานถู ก ส่ ง โดยกล่องพัสดุไ ปรษณี ย ์ ก ล่ อ งใหญ่ ม ายั ง ศู น ย์ ช ่ ว ยเหลื อ ลู ก หนี้ ฯ เพื่อเข้าสู่กระบวนการให้ความช่วยเหลือ
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 51
ยุพ.ต.ท.วิ ติธชัยรรมช่ วยประชาชน สุวรรณประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ เลขานุการศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ ไม่ได้รับความเป็นธรรม
เราได้ พิ จ ารณาจากข้ อ มู ล พยานหลั ก ฐานแล้ ว เห็ น ว่ า เป็นเรื่องที่ต้องด�ำเนินการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และกระทบต่อ ความเชื่ อ มั่ น ของประชาชนในพื้ น ที่ ส ามจั ง หวั ด ชายแดนใต้ จึ ง ได้ ข ออนุ มั ติ ป ลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม เพื่ อ ลงพื้ น ที่ ต รวจสอบ ข้อเท็จจริง ณ จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 14 – 15 ตุลาคม 2558 ท�ำให้ได้มีโอกาสพบปะกับชาวบ้าน จ�ำนวน 22 คน ได้ข้อมูลว่า ชาวบ้ า นที่ ร ้ อ งขอความช่ ว ยเหลื อ เป็ น กลุ ่ ม ชาวไทยพุ ท ธทั้ ง หมด ได้รับความเดือดร้อนจากการเป็นหนี้นอกระบบกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็น นายทุ น ในพื้ น ที่ ส่ ว นใหญ่ ไ ด้ กู ้ ยื ม เงิ น กั น ตั้ ง แต่ ป ี พ.ศ.2548 โดยไม่มีหลักฐานสัญญากู้ มีเพียงสมุดบันทึกที่เจ้าหนี้จดบันทึกบัญชี การกู ้ ยื ม และใช้ คื น แล้ ว เท่ า นั้ น ซึ่ ง เจ้ า หนี้ จ ะคิ ด ดอกเบี้ ย ร้อยละ 10 บาท ต่อเดือน ต่อมาเมื่อปลายปี พ.ศ.2552 รัฐบาลในสมัยนั้นได้มีนโยบาย แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยให้ลูกหนี้ที่เดือดร้อนมาลงทะเบียน เพื่อขอรับการช่วยเหลือ โดยรัฐบาลมอบหมายให้สถาบันการเงิน พิจารณาสนับสนุนวงเงินเพื่อโอนหนี้นอกระบบให้เป็นหนี้ในระบบ กับสถาบันการเงินแทน เจ้าหนีจ้ งึ ได้อาศัยโอกาสดังกล่าวชักชวนชาวบ้าน ให้มาท�ำสัญญากูย้ มื เงินเพือ่ ไปใช้สทิ ธิโดยการท�ำสัญญาสูงกว่าหนีจ้ ริง ยกตัวอย่าง เช่น เดิมเป็นหนี้ 50,000 บาท (ไม่มีสัญญากู้ยืม) แต่ท�ำสัญญากูใ้ หม่ 90,000 บาท เพราะเมือ่ สถาบันการเงินอนุมตั แิ ล้ว เจ้ า หนี้ จ ะได้ รั บ ไป 50,000 บาท แล้ ว คื น เป็ น ส่ ว นต่ า งให้ ลู ก หนี้ 40,000 บาท (ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องช�ำระหนี้กับสถาบันการเงินในยอด 90,000 บาท) แต่สุดท้ายชาวบ้านที่ยื่นเข้าร่วมโครงการไม่ได้รับ การช่วยเหลือเพราะสถาบันการเงินไม่สามารถอนุมัติสินเชื่อให้ได้ เมื่อเวลาผ่านพ้นไปจนถึงปี 2558 เจ้าหนี้จึงน�ำเอาสัญญากู้ยืมเงิน ดังกล่าวมาฟ้องร้องลูกหนี้ในยอดเต็มดังกล่าว การลงพืน้ ทีข่ องคณะท�ำงานได้บรู ณาการและประสานการท�ำงาน ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ศูนย์ด�ำรงธรรม ส�ำนักงาน ยุ ติ ธ รรมจั ง หวั ด ศอ.บต. และหน่ ว ยทหารในพื้ น ที่ และได้ เ ชิ ญ นายกิจจา อาลี อิ ส เฮาะ เลขานุก ารมูลนิธิศูน ย์ทนายความมุ ส ลิ ม ทีป่ รึกษากฎหมายจุฬาราชมนตรี ซึง่ เป็นทนายความทีม่ ปี ระสบการณ์ 52 | Justice Magazine Ministry of Justice
ในพื้ น ที่ จังหวัดชายแดนใต้ร่วมเดินทางไปด้วย หลังจากรวบรวม ข้อมูลหลักฐานแล้ว ในวันที่ 15 ตุลาคม 2558 ผู้ว่าราชการจังหวัด นราธิ ว าสได้ สั่ ง การประสานพื้ น ที่ ใ ห้ เ ชิ ญ เจ้ า หนี้ ม าไกล่ เ กลี่ ย มีผลด�ำเนินการ ดังนี้
1
ไกล่เกลีย่ ส�ำเร็จ จ�ำนวน 3 ราย
รายแรกเป็นลูกหนี้ที่ยังไม่ถกู ฟ้อง มีมลู หนี้ 30,000 บาท เจ้าหนีย้ นิ ยอมให้ช�ำระหนีไ้ ด้เดือนละ 500 บาท โดยต้องช�ำระ ให้ติดต่อกันทุกเดือนไม่ขาดส่งจนครบ 25,000 บาท จึงจะยอม ยกหนี้ ใ ห้ รายที่ ส องเป็ น ลู ก หนี้ ที่ ถู ก ฟ้ อ งศาลแล้ ว มี มู ล หนี้ ตามสัญญายอม 33,000 บาท เจ้าหนี้ได้ตกลงยินยอมลดหนี้ ให้เหลือ 28,000 บาท และลูกหนี้ก็ได้หาเงินมาช�ำระให้แก่ เจ้าหนี้ได้ครบถ้วนในวันไกล่เกลี่ย ส่วนรายที่สามเป็นลูกหนี้ ทีถ่ กู ฟ้องแล้วมีมลู หนีต้ ามสัญญายอม 37,000 บาท ก�ำหนดให้ช�ำระ หนี้ตามสัญญายอม ภายในวั น ที่ 15 พฤศจิ ก ายน 2558 เจ้าหนี้ยินยอมให้ลูกหนี้ขยายเวลาช�ำระหนีต้ ามสัญญายอมไป เป็นภายในวันที่ 30 มกราคม 2559 และสัญญาว่าในระหว่างที่ ขยายเวลานีจ้ ะไม่ด�ำเนินการบังคับคดีกบั ลูกหนี้
2
ลูกหนีท้ อี่ ยูร่ ะหว่างฟ้องคดีชนั้ ศาล จ�ำนวน 6 ราย
รวมทุนทรัพย์ 841,250 บาท เป็นกลุ่มที่พิจารณาช่วยเหลือ เร่งด่วน ล่าสุดกระทรวงยุติธรรม ได้สั่งการให้ยุติธรรมจังหวัด นราธิวาสช่วยเหลือแต่งตั้งทนายความเพื่อต่อสู้คดีตามระเบียบ กองทุนยุติธรรม โดยศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ฯ ได้รวบรวมหลักฐาน เพื่อต่อสู้คดีให้ลูกหนี้แต่ละราย ผลคดี ใ นศาลชั้ น ต้ น ปรากฏว่ า ศาลจั ง หวั ด นราธิ ว าส มีค�ำพิพากษายกฟ้อง อยู่ระหว่างเจ้าหนี้ (โจทก์) ยื่นอุทธรณ์ ค�ำพิ พ ากษาศาลชั้ น ต้น ซึ่ง กองทุนยุติธรรมจะได้ช่วยเหลื อ ด้านทนายความต่อไป
3
ลูกหนีท้ ยี่ งั ไม่ถกู ฟ้อง จ�ำนวน 6 ราย
รวมทุนทรัพย์ 990,000 บาท และลูกหนี้รายอื่นถ้าปรากฏ ในภายหลังจะได้รว่ มกับศูนย์ด�ำรงธรรมจังหวัด ส�ำนักงานยุติธรรม จังหวัด ศูนย์ด�ำรงธรรมอ�ำเภอ และหน่วยงานในพื้นที่ ประสาน นั ด เพื่ อ ไกล่ เ กลี่ ย และช่ ว ยเหลื อ ทางคดี ใ นกรณี เจ้าหนี้ยื่นฟ้อง ต่อศาล นอกจากนี้ ได้ ป ระสานกั บ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการฟืน้ ฟูกลุม่ ชาวบ้านทีเ่ ป็นเกษตรกรและประสานกับหน่วยงาน ในพื้นที่เพื่อตรวจสอบพฤติการณ์ของเจ้าหนี้รายนี้ด้วย ผู ้ ร ้ อ งเรี ย นเป็ น รุ ่ น ลู ก ของชาวไทยพุ ท ธที่ อ พยพมากั บ ครอบครั ว ตั้ ง แต่ เ ด็ ก เธอต้ อ งท�ำสั ญ ญากู ้ กั บ นายทุ น ในพื้ น ที่ เนือ่ งจากพ่อแม่ทเี่ สียชีวติ ไปแล้วเป็นหนีน้ ายทุนเธอไม่อยากติดค้าง แต่เมื่อถูกฟ้องอย่างไม่เป็นธรรมจึงรวมตัวเพื่อดิ้นรนขอความเป็น ธรรม กรณีนี้จึงมีความเปราะบางและกระทบต่อความมัน่ คงในพืน้ ที่ อย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้
เธอเล่าให้ฟังว่าได้ติดต่อกับศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ฯ เนื่องจาก ผูใ้ หญ่บา้ นได้ไปประชุมทีจ่ งั หวัด แล้วได้รบั แจกหนังสือคูม่ อื ประชาชน เพือ่ ช่วยเหลือลูกหนีน้ อกระบบ ของศูนย์ชว่ ยเหลือลูกหนีฯ้ ผูใ้ หญ่บา้ น จึงได้มามอบให้เพราะเห็นว่าลูกบ้านก�ำลังเดือดร้อน ท�ำให้ได้มีโอกาส อ่านหนังสือและมีหมายเลขโทรศัพท์พร้อมที่อยู่ในหนังสือดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการติดต่อขอรับการช่วยเหลือ ซึ่งในวันที่คณะท�ำงาน เดินทางลงมาพื้นที่ได้พบเธอครั้งแรก เธอบอกว่ารู้สึกดีใจที่กระทรวง ยุติธรรมลงมาพื้นที่ช่วยเหลือ “อยากเห็นความยุติธรรมที่จับต้องได้ และเกิดขึ้นจริง” ส่ ว นหนึ่ ง ของการท�ำงานที่ ป ระสบความส�ำเร็ จ เกิ ด จาก การบูรณาการระหว่างหน่วยงานรัฐในพื้นที่ ทนายความเข้ามา ช่วยเหลือแต่แรก และบทบาทของกองทุนยุติธรรม เป็นที่น่าสังเกต ประการหนึ่งว่าศาลรับฟังพยานหลักฐานจากการที่ศูนย์ช่วยเหลือ ลูกหนี้ฯ ได้รวบรวมขณะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงมาพิจารณา ประกอบการวินิจฉัยด้วย ประเด็ น ที่ น ่ า สนใจของเรื่ อ งนี้ คื อ ชาวบ้ า นกลุ ่ ม นี้ เ ป็ น ผู ้ ที่ ขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนภาครัฐ เมือ่ มีโอกาสเขาเหล่านัน้ จึง ได้ ไ ปท�ำสั ญ ญากู ้ กั บ นายทุ น เพื่ อ หวั ง น�ำไปเป็ น หลั ก ฐานในการ ยืน่ กูเ้ งินกับสถาบันการเงิน ซึ่งหากได้รับการอนุมัติชาวบ้านก็จะต้อง รับภาระหนี้เต็มจ�ำนวน โดยหวังเพียงเงินส่วนต่างที่เหลือจากสัญญา กู้เพื่อเลี้ยงชีพ “นั่นเป็นโอกาสที่เขาหวัง” ในขณะเดียวกันเจ้าหนี้ ก็หวังที่จะได้รับการช�ำระหนี้จากลูกหนี้ แต่เมื่อเวลาล่วงเลยไปกลับ ใช้โอกาสที่มีอยู่เอารัดเอาเปรียบโดยการฟ้องลูกหนี้ตามสัญญากู้เต็ม จ�ำนวน เพราะเขามี โ อกาส มี ค วามรู ้ และหลั ก ฐานที่ เ หนื อ กว่ า จึ ง เป็ น “ความเหลื่ อ มล�้ ำ ” ที่ ภ าครั ฐ จะต้ อ งเข้ า ไปช่ ว ยเหลื อ ลดความเหลื่อมล�้ำและท�ำให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 53
พลั งคุณธรรม ยับยั้งการทุจริต ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม จัดเวิร์คช็อป
ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในองค์กร สวัสดีชาวยุติธรรม ฉบับนี้ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงยุตธิ รรม ขอน�ำเสนอโครงการสัมมนาเชิงปฏิบตั กิ ารเพือ่ เรียนรู้ แลกเปลีย่ นประสบการณ์การท�ำงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ระดับกระทรวงยุตธิ รรม ปีที่ 2 ศู น ย์ ป ฏิ บั ติ ก ารต่ อ ต้ า นการทุ จ ริ ต กระทรวงยุ ติ ธ รรม โดยกลุ่มงานส่งเสริมและคุ้มครองจริยธรรมได้จัดโครงการสัมมนา เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารเพื่ อ เรี ย นรู ้ แลกเปลี่ ย นประสบการณ์ ก ารท�ำงาน ด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ระดับกระทรวงยุติธรรม ซึ่งใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 นี้ ถือเป็นปีที่ 2 แล้วทีไ่ ด้ด�ำเนินการจัดโครงการ ดังกล่าว โดยจัดขึน้ เมือ่ วันที่ 3 – 4 ธันวาคม 2558 ณ โรงแรมจันทรา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก มีพธิ เี ปิด ณ ห้องประชุมกระทรวงยุตธิ รรม 2 ชัน้ 8 กระทรวงยุตธิ รรม มีนายวีระยุทธ สุขเจริญ หัวหน้าผูต้ รวจราชการ กระทรวงยุตธิ รรม เป็นประธานเปิดโครงการฯ
54 | Justice Magazine Ministry of Justice
โครงการสั ม มนาเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารเพื่ อ เรี ย นรู ้ แลกเปลี่ ย น ประสบการณ์การท�ำงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ระดับ กระทรวงยุ ติ ธ รรม ปี ที่ 2 มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ แลกเปลี่ ย นความรู ้ ความคิดเห็น และประสบการณ์การท�ำงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน และสร้างความสัมพันธ์ อันดี ระหว่างกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมของส่วนราชการในสังกัด กระทรวงยุตธิ รรม เพือ่ ให้การด�ำเนินงานด้านการส่งเสริมและคุม้ ครอง จริยธรรมได้รับการพัฒนา และบรรลุผลตามเป้าหมาย รวมไปถึง ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีมาตรฐานการท�ำงาน ที่ใกล้เคียงกัน โดยมี ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มโครงการฯ ได้ แ ก่ ประธานและ คณะกรรมการจริยธรรมประจ�ำแต่ละส่วนราชการในสังกัดกระทรวง ยุติธรรม หัวหน้ากลุ่มและเจ้าหน้าที่กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจ�ำ ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม
โดยในวันแรก มีการบรรยายหัวข้อ “ทิศทางในการเสริมสร้าง และพัฒนาการด�ำเนินงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ในกระทรวงยุตธิ รรม” โดยนางเบญจวรรณ สร่างนิทร อดีตเลขาธิการ ส�ำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ส�ำนักงาน ก.พ.) ประธาน กรรมการจริยธรรมประจ�ำส�ำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม วันทีส่ อง มีกจิ กรรมท�ำบุญตักบาตร ณ โรงแรมจันทรา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก จากนั้นเป็นกิจกรรม “แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การท�ำงานด้านคุณธรรม จริยธรรม” เป็นการน�ำเสนอผลการด�ำเนินงาน ประสบการณ์ และข้อมูลด้านการคุ้มครองจริยธรรม โดยตัวแทนจาก ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 55
การส่ ง เสริ ม และคุ ้ ม ครองจริ ย ธรรม ถื อ เป็ น การบู ร ณาการ งานป้องกันการทุจริต ที่หลายภาคส่วนให้ความส�ำคัญ เพราะถือว่า เป็นการป้องกันการทุจริตตั้งแต่ต้นน�้ำ โดยมุ่งเน้นการปลุกจิตส�ำนึก การต่อต้านการทุจริต โดยการน�ำเอาเรื่องคุณธรรม จริยธรรม หรือ ศาสนามาเป็นเครื่องมือในการสร้างคนดีขึ้นมาในสังคม เพราะถ้าผู้คน ในสังคมมีจิตที่ใสสะอาด มีคุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต ก็ย่อมไม่มีการกระท�ำความผิด การทุจริตก็จะไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม จิตใจของมนุษย์นั้นยากเเท้หยั่งถึง เราอาจไม่สามารถท�ำให้ผู้คน ในสังคมเป็นคนดีได้หมดทุกคน แต่เราสามารถสร้างคนส่วนใหญ่ 56 | Justice Magazine Ministry of Justice
ในสังคมให้เป็นคนดีได้ และที่ส�ำคัญเราสามารถสร้างตัวของเราเอง ให้เป็นคนดีได้ ความดีเริม่ ต้นทีต่ วั เรา รวมไปถึงให้โอกาสและสนับสนุน ให้คนดีได้เข้ามาปกครองบ้านเมือง คอยควบคุมคนไม่ดีไม่ให้สร้าง ความเสียหายหรือสร้างความเดือดร้อนแก่สังคม ศูนย์ปฏิบัติการ ต่อต้านการทุจริต กระทรวงยุติธรรม ขอตั้งปณิธานว่า เพื่อรักษาไว้ซึ่ง ประโยชน์ของรัฐและประชาราษฎร์ จักด�ำเนินการป้องกันและปราบปราม การทุจริตอย่างจริงจัง และจะร่วมสนับสนุนขับเคลือ่ นการแก้ไขปัญหา การทุจริตกับทุกภาคส่วน เพื่อร่วมขจัดปัญหาการทุจริตให้หมดสิ้น จากผืนแผ่นดินไทย
ถามมา ตอบไป กองบรรณาธิการ
การเงิ น นอกระบบ
ปัจจุบันการกู้ยืมเงินนอกระบบ ไม่ ได้หมายถึงหนี้นอกระบบเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงแชร์ลูกโซ่ การระดมทุน หรือการใช้เงินในการท�ำธุรกิจที่ ไม่อยู่ภายใต้ระบบการควบคุมก�ำกับดูแล ของทางราชการ ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่มิจฉาชีพมักจะแฝงตัวเข้าไปหลอกเงินจากเหยื่อ
ลักษณะการเงินนอกระบบ 1. เงินกู้นอกระบบ
ผูใ้ ห้บริการเงินกูน้ อกระบบ มักเป็นผูใ้ ห้กทู้ ไี่ ม่อยูใ่ น ระบบสถาบันการเงิน ส่วนมากจะคิดดอกเบี้ยในอัตรา ที่ สู ง กว่ า สถาบั น การเงิ น ก�ำหนด โดยจะบอกตั ว เลข ดอกเบี้ยหรือเงินคืนน้อย ๆ เพื่อดึงดูดผู้กู้ นอกจากนี้ ผู ้ ใ ห้ กู ้ บ างรายยั ง บั ง คั บ ให้ ลู ก หนี้ เ ซ็ น สั ญ ญาเงิ น กู ้ ที่ไม่ได้กรอกข้อความ หรือระบุจ�ำนวนเงินกู้เกินจริง เช่นกู้ 10,000 บาท แต่ให้กรอกตัวเลขสูงถึง 30,000 บาท แต่ ท่ี น ่ า กลั ว คื อ การทวงหนี้ ด ้ ว ยวิ ธี ที่ โ หดร้ า ย หรือผิดกฎหมาย เช่นขูก่ รรโชก ประจาน หรือท�ำร้ายร่างกาย
2.สัญญาอ�ำพรางเงินกู้ (หลีกเลี่ยงการให้กู้โดยตรง)
นายทุ น เงิ น กู ้ จ ะให้ ผู ้ กู ้ ใ ช้ บั ต รผ่ อ นสิ น ค้ า หรือบัตรเครดิตซื้อสินค้าที่มีมูลค่าแพงว่าเงินกู้ เช่น ต้องการกูเ้ งิน 20,000 บาท จะให้ซอื้ สินค้ามูลค่า 26,000 บาทเมื่อได้สินค้า นายทุนเงินกู้จะให้ผู้กู้น�ำสินค้านั้น มาแลกกับเงินกู้จ�ำนวน 20,000 บาท แล้วผู้กู้จะต้อง รั บ ผิ ด ชอบช�ำระค่ า สิ น ค้ า กั บ บริ ษั ท บั ต รผ่ อ นสิ น ค้ า หรือบัตรเครดิตพร้อมทัง้ ดอกเบีย้ และค่าธรรมเนียมอืน่ ๆ
ข้อสังเกต
จ�ำนวนจ่ า ยคื น หรื อ ดอกเบี้ ย ที่ น ายทุ น เงิ น กู ้ แจ้งต่อผู้กู้นั้น มักจะเป็นจ�ำนวนจ่ายคืนหรือดอกเบี้ย ต่อวันเพื่อให้ผู้กู้รู้สึกว่า เป็นจ�ำนวนเงินน้อย แต่เมื่อ ค�ำนวณเงินทีต่ อ้ งจ่ายคืนเทียบกับเงินต้นแล้ว จะพบว่า ดอกเบี้ยที่นายทุนเงินกู้เรียกเก็บ จะสูงกว่าสถาบัน การเงินที่มีทางการก�ำกับดูแลเป็นจ�ำนวนมาก
ข้อสังเกต
นายทุนเงินกู้ไม่ต้องรับความเสี่ยงในการปล่อย กูเ้ งินในครัง้ นี้ เพราะทันทีทจี่ า่ ยเงินให้กบั ผูก้ ไู้ ป นายทุน เงินกู้จะได้รับสินค้าที่มีมูลค่าสูงกว่าเงินที่จ่ายให้ผู้กู้ไป
3. หลอกให้ท�ำธุรกิจขายตรงแอบแฝงแชร์ลกู โซ่ แชร์ลกู โซ่ บางครัง้ จะแอบแฝงมากับธุรกิจขายตรง ซึง่ มิจฉาชีพ จะโฆษณาชวนเชือ่ ให้เหยือ่ ท�ำธุรกิจขายตรง ทีม่ ผี ลตอบแทนทีค่ อ่ นข้างสูง โดยทีเ่ หยือ่ ไม่ตอ้ งท�ำอะไร เพียงแค่ชักชวนเพื่อนหรือญาติพี่น้อง ให้ร่วมท�ำธุรกิจ เมื่ อ เหยื่ อ เริ่ ม สนใจ จะให้ เ หยื่ อ เข้ า ร่ ว มฟั ง สั ม มนา และจ่ายค่าสมัครสมาชิก หรือซื้อสินค้าแรกเข้าในมูลค่า ที่ค่อนข้างสูง (สินค้าส่วนมากมักไม่มีคุณภาพ) หรืออาจ ให้เหยื่อซื้อหุ้น หรือหน่วยลงทุน โดยไม่ต้องรับสินค้าไป ขายแล้วก็รอรับเงินปันผลได้เลย ปัจจุบนั ยังมีการโฆษณา ชักชวนผู้ลงทุนผ่านอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
ข้อสังเกต
แชร์ ลู ก โซ่ ใ นคราบธุ ร กิ จ ขายตรง จะไม่ เ น้ น การขายสินค้า การสาธิตสินค้า หรือท�ำให้สมาชิกเข้าใจ ในตั ว สิ น ค้ า แต่ จ ะเน้ น การหาสมาชิ ก ใหม่ เพราะ ค่าสมัครสมาชิก/ค่าซือ้ สินค้าแรกเข้า/ค่าหุน้ หรือหน่วย ลงทุนจะถูกน�ำมาจ่ายเป็นผลตอบแทนให้กบั สมาชิกเก่า แต่หากไม่สามารถหาสมาชิกใหม่ได้ ก็จะไม่สามารถ จ่ายผลตอบแทนให้แก่สมาชิกเก่าได้
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 57
4. ชักชวนให้ซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต
มิ จ ฉาชี พ จะใช้ วิ ธี ป ระกาศขายสิ น ค้ า ราคาถู ก ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ส่วนมากจะเป็นสินค้าใหม่หรืออาจ เป็นสินค้าทีย่ งั ไม่วางขายในประเทศไทย เช่น สมาร์ตโฟน รุ่นใหม่ล่าสุด ตุ๊กตาหรือของเล่น ที่ก�ำลังเป็นที่นิยม ในต่างประเทศ โดยให้ผู้ที่สนใจแจ้งจ�ำนวนที่ต้องการ พร้อมโอนเงินค่ามัดจ�ำ หรือจ่ายเงินเต็มจ�ำนวน ส่วนมาก เหยื่อจะได้รับสินค้าตรงตามค�ำสั่งซื้อ เหยื่อจึงหลงเชื่อ สั่งสินค้ารอบที่ 2 โดยมักจะชักชวนเพื่อน หรือญาติ ๆ ให้ซื้อพร้อมกันเป็นจ�ำนวนมาก เมื่อมิจฉาชีพได้รับเงิน แล้วก็จะหนีไปโดยไม่มีการส่งมอบสินค้าใด ๆ บางครั้ง มิจฉาชีพยังหลอกให้ร่วมลงทุนในสัญญาซื้อขายทองค�ำ ล่ ว งหน้ า การซื้ อ ขายหรื อ เก็ ง ก�ำไร จากการขึ้ น ลง ของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอีกด้วย
ข้อสังเกต
มิ จ ฉาชี พ จะขายสิ น ค้ า ในราคาถู ก มาก และ ส่วนใหญ่จ ะส่ ง สิ น ค้ า ตามค�ำสั่ ง ซื้ อ ในครั้ ง แรก ที่ มี การสัง่ เพือ่ ให้เหยือ่ หลงเชือ่ และสัง่ สินค้าเพิม่ ในจ�ำนวน ที่มากขึ้นกว่าเดิมมาก ๆ
วิธีป้องกันกลโกงการเงินนอกระบบ เงินกูน้ อกระบบ
กลโกงแชร์ลกู โซ่
วางแผนรายรับรายจ่ายล่วงหน้าและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันปัญหาเงินไม่พอใช้ซึ่งอาจน�ำไปสู่การก่อหนี้ ประเมินความสามารถในการช�ำระหนี้ของตนเองก่อนก่อหนี้ ศึกษารายละเอียดของผูใ้ ห้กู้ เพือ่ ป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือการทวงหนี้โหด เลือกกู้เงินในระบบ เพราะมีสัญญาการกู้เงินที่ชัดเจน และเป็นธรรมมากกว่า หากจ�ำเป็นต้องกู้เงินนอกระบบ ให้ศึกษาเงื่อนไข รายละเอียด สัญญาให้ดีก่อนเซ็นสัญญา
หากตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่ ควรรวบรวมเอกสาร ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แล้วติดต่อขอรับ ค�ำปรึกษาได้ที่
ไม่โลภไปกับผลตอบแทนมูลค่าสูงที่มิจฉาชีพน�ำมาชักจูง เพื่อเร่งการตัดสินใจ อย่าไว้ใจ หรือเกรงใจจนไม่กล้าปฏิเสธ เมื่อคนชวนท�ำธุรกิจ ที่มีลักษณะคล้ายแชร์ลูกโซ่ ศึกษาที่มาที่ไปของการลงทุน หรือสินค้าให้ดีก่อนการลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจหรือสินค้าที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก ในเวลา อันสั้น หรือมีราคาถูกผิดปกติ หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มธุรกิจที่ไม่แน่ใจ เพราะอาจถูกหว่านล้อมให้ร่วมลงทุนในธุรกิจแชร์ลูกโซ่ ติดตามข่าวสารกลโกงอย่างต่อเนื่อง
1. ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ ไม่ ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โทร. 0-2575-3344
2. ส่วนป้องปรามการเงินนอกระบบ ส�ำนักนโยบายพัฒนาระบบ การเงินภาคประชาชน ส�ำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพระราม 6 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ โทร. 1359
3. ศูนย์ด�ำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย ตู้ ป.ณ. 1 ปณฝ. มหาดไทย กรุงเทพฯ โทร. 1567 ข้อมูลจาก : https://www.1213.or.th/th/finfrauds/LoanShark/Pages/LoanShark.aspx
58 | Justice Magazine Ministry of Justice
ภาษายุ ติธรรม กองบรรณาธิการ
รู้ ไว้ ใช่ว่า
“ภาษาอาเซียน”
อาเซียน คือ การรวมตัวกัน ของกลุม่
ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่ อ เป็ น องค์ ก รระหว่ า งประเทศในระดั บ ภูมิภาค ในชื่อสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) โดยใช้ชอื่ ย่อว่า ASEAN อ่านออกเสียงภาษาไทยว่า อาเซียน เพื่อ ส่งเสริมและร่วมมือกันเพือ่ สร้างความเข้มแข็ง ในทุกด้าน สมาชิกอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศบรู ไ น กั ม พู ช า อิ น โดนี เ ซี ย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวี ย ดนาม แต่ ล ะประเทศต่ า งเชื้ อ ชาติ ต่างภาษา แต่ในการท�ำงานร่วมกันทุกประเทศ จะใช้ภาษากลางคือ ภาษาอังกฤษ ถือเป็น ภาษาอาเซียน ซึง่ มีเพียงสิงคโปร์ประเทศเดียว เท่านั้นที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนประเทศอืน่ ๆ มีภาษาราชการดังนี้
ประเทศอินโดนีเซีย ภาษาราชการคือ บาฮาซา อินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) ประเทศมาเลเซีย ภาษาราชการคือ ภาษามาเลย์ หรือ ภาษามลายู (BahasaMelayu) ประเทศฟิลิปปินส์ ภาษาราชการคือ ภาษาฟิลิปปินส์ (Filipino, ฟิลิปิโน หรือภาษาตากาล็อก) ประเทศสิงค์โปร์ ภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษ (English) ประเทศบรูไน ภาษาราชการคือ ภาษามาเลย์ (BahasaMelayu) ประเทศเวียดนาม ภาษาราชการคือ ภาษาเวียดนาม (Vietnamese) ประเทศลาว ภาษาราชการคือ ภาษาลาว (Laotian) ประเทศเมียนมา ภาษาราชการคือ ภาษาพม่า (Burmese) ประเทศกัมพูชา ภาษาราชการคือ ภาษาเขมร (Khmer) ประเทศไทย ภาษาราชการคือ ภาษาไทย (Thai) แม้จะมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการส�ำหรับการติดต่อกัน ในกลุ่มประเทศอาเซียน แต่ถ้าเรารู้จักภาษาของแต่ละประเทศไว้บ้าง ก็จะท�ำให้เกิดความประทับใจและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน มากขึ้นไปอีก เรามาท�ำความรู้จักกับค�ำทักทายง่ายๆ ของเพื่อนบ้านในอาเซียนกันดู
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 59
ภาษายุ ติธรรม กองบรรณาธิการ ประเทศเมียนมา มะแนะมิงกะลาบาชิ่น
สวัสดีตอนเช้า
เนะเหล่มิงกะลาบา
สวัสดีตอนเที่ยง
นิเหล่มิงกะลาบา
สวัสดีตอนบ่าย สวัสดีตอนเย็น
ค�ำศัพท์
ค�ำอ่าน
เงียะเหน่มิงกะลาบา ตุ๊ยยาดา หวันตาบ่าแด
ยินดีที่ได้รู้จัก
เจ๊ะ โจร แม่
ลาก่อน
ประเทศกัมพูชา อรุณซัวซะเดย
สวัสดีตอนเช้า
ทิวาซัวซะเดย
สวัสดีตอนเที่ยง
ทิวาซัวซะเดย
สวัสดีตอนบ่าย สวัสดีตอนเย็น
ค�ำศัพท์
ค�ำอ่าน
ทิวาซัวซะเดย ราไตรยซัวซะเดย
ราตรีสวัสดิ์
รึกเรียรตีบานจวบ
ยินดีที่ได้รู้จัก
จุมเรียบเลีย (สุภาพ)
ลาก่อน
ประเทศลาว สวัสดี
สะบายดี
คุณสบายดีไหม
สบายดีบ่
ยินดีที่ได้รู้จัก
ค�ำศัพท์
ค�ำอ่าน
ลาก่อน
ยินดีที่ฮู้จัก ลาก่อน
ประเทศอินโดนีเซีย เซลามัทปากิ
สวัสดีตอนเช้า
เซอลามัตเซียง
สวัสดีตอนเที่ยง
เซอลามัตโซเร
สวัสดีตอนบ่าย สวัสดีตอนเย็น
ค�ำศัพท์
ค�ำอ่าน
เซลามัตมาลัม
ราตรีสวัสดิ์
เซลามัตทิดัวระ
ยินดีที่ได้รู้จัก
เซลามัน เบอร์จัมพา เดนกัน อันดา บาย บาย
ลาก่อน 60 | Justice Magazine Ministry of Justice
ประเทศฟิลิปปินส์ ค�ำศัพท์ สวัสดี คุณสบายดีไหม ยินดีที่ได้รู้จัก ลาก่อน
ค�ำอ่าน กูมูสต้า กูมูสต้า กา นาตูตูวา นาอลัม โม ปาอาลัม
ประเทศมาเลเซีย ค�ำศัพท์ สวัสดี คุณสบายดีไหม ยินดีที่ได้รู้จัก ลาก่อน
ค�ำอ่าน ซาลามัด ดาตัง อาปา กาบา เจมบิรา ดาปัด, เบอเตมู อันดา เซลามัต ติงกัล
ประเทศบรูไน ค�ำศัพท์ สวัสดี คุณสบายดีไหม ยินดีที่ได้รู้จัก ลาก่อน
ค�ำอ่าน ซาลามัด ดาตัง อาปา กาบา เจมบิรา ดาปัด, เบอเตมู อันดา เซลามัต ติงกัล
นี่ เ ป็ น เพี ย ง ค�ำศั พ ท์ ส ่ ว นหนึ่ ง เกี่ยวกับค�ำทักทายของ ประเทศสมาชิกอาเซียนเพือ่ ให้ผอู้ า่ นทุกท่านได้ลองซ้อมพูด ซ้ อ มออกเสี ย ง หากมี โ อกาส เดินทางไปยังประเทศสมาชิกหรือ เป็นเจ้าบ้านให้การต้อนรับประเทศ สมาชิกที่มาเยี่ยมเมืองไทยจะได้กล่าว ต้ อ นรั บ ได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง และสร้ า ง ความประทั บ ใจให้ แ ก่ ผู ้ ม าเยื อ นได้ เ ป็ น อย่างดี
ประเทศสิงคโปร์ ค�ำศัพท์
ค�ำอ่าน
สวัสดี คุณสบายดีไหม
หนี ห่าว
ยินดีที่ได้รู้จัก ลาก่อน
หนี ห่าว เหิ่น เกา ซิ่งเริ่น ชื่อ หนี่ ไจ้เจี้ยน
ประเทศเวียดนาม ค�ำศัพท์ สวัสดี คุณสบายดีไหม ยินดีที่ได้รู้จัก ลาก่อน
ค�ำอ่าน
ที่มาข้อมูลและภาพประกอบ
ซินจ่าว แอง/จิ/โอง/บ่าก๊อแขวคง เริ๊ดวูยเดือกกัปแอง/จิ...
www.เกร็ดความรู้.net/ภาษาอาเซียน http://aec.kapook.com/view49583.html www.lampangvc.ac.th/lvcasean/ims/images/ asean-map.jpg www.uasean.com/kerobow01/297
ต๋ามเบียด วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 61
ทีกองบรรณาธิ ่นี่แจ้งการวัฒนะ แถลงผลงานดำ�เนินงาน รอบ 1 ปี พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็ น ประธานการแถลงผลการดำ � เนิ น งานของกระทรวงยุ ติธ รรม ตามนโยบายรั ฐ บาล รอบ 1 ปี เพื่อ เป็ น การเสริ ม สร้ า งการรั บ รู้ และความเข้าใจทีถ่ กู ต้องเกีย่ วกับผลการดำ�เนินงานของกระทรวงยุตธิ รรม ให้แก่สอ่ื มวลชน และสาธารณชนได้รบั ทราบอย่างกว้างขวางและทัว่ ถึง ภายใต้ แ นวคิ ด “ยุ ติธ รรมสู่ห มู่บ้า น นำ � บริ ก ารรั ฐ สู่ป ระชาชน” ณ บริเวณลานอเนกประสงค์ ชัน้ 2 อาคารราชบุรดี เิ รกฤทธิ์ ศูนย์ราชการ เฉลิมพระเกียรติฯ
ยุติธรรมทางเลือก นายธวั ช ชั ย ไทยเขี ย ว รองปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ยุตธิ รรมทางเลือก : บทบาทของกระทรวง ยุติธรรมในการขับเคลื่อนยุติธรรมชุมชน” ในโครงการฝึกอบรม หลั ก สู ต ร ผู้ บ ริ ห ารงานยุ ติ ธ รรมระดั บ กลาง (บธก.) รุ่ น ที่ 16 ณ โรงแรม บั ด ดี้ โอเรี ย นทอล ริ เวอร์ ไซด์ อำ � เภอปากเกร็ ด จังหวัดนนทบุรี
“ยุติธรรม” ลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ จังหวัดนครราชสีมา พันโท เอนก ยมจินดา ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม และคณะลงพื้นที่ตรวจราชการในจังหวัดนครราชสีมา พร้อมทั้ง ได้ประชุมร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ในพื้นที่ เพื่อถ่ายทอดนโยบายของกระทรวงยุติธรรมและติดตามผล การดำ�เนินงานตามนโยบายดังกล่าว ตลอดจนรับฟังปัญหาอุปสรรค และให้คำ�แนะนำ�ในการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่ ณ ห้องประชุม สำ�นักงานยุติธรรมจังหวัดนครราชสีมา ต่อจากนั้นผู้ตรวจราชการ กระทรวงยุติธรรม และคณะได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การศึกษาดูงาน ของผูเ้ ข้าอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สำ�หรับผูบ้ ริหารระดับสูง รุน่ ที่ 4 (ปธพ.4) ณ โรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา 62 | Justice Magazine Ministry of Justice
มอบเงินเยียวยาแก่จำ�เลยในคดีอาญา
พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานในพิธีมอบเงินช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้เสียหาย และทายาทผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตโดยที่ตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นคดีสะเทือนขวัญ และได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน ตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำ�เลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 ณ ห้องรับรองกระทรวงยุติธรรม ชั้น 2 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
เข้ารับตำ�แหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม นายชาญเชาวน์ ไชยานุ กิ จ ปลั ด กระทรวงยุ ติ ธ รรม เข้าสักการะศาลพระพรหมบริเวณด้านหน้าอาคารรัฐประศาสนภักดี สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ป ระจำ � ศู น ย์ ร าชการเฉลิ ม พระเกี ย รติ ฯ จากนั้ น สักการะพระพุทธภูมิพลาภิบาลทศพลญาณมุนี และพระพุทธ ยุตธิ รรมโลกนาถ บริเวณโถงด้านหน้าห้องรับรองกระทรวงยุตธิ รรม ชั้น 2 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์และสักการะพระพุทธยุติธรรม โลกนาถภายในห้องทำ�งานปลัดกระทรวงยุตธิ รรม ชัน้ 8 ในโอกาส เข้ารับตำ�แหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรม
ต้อนรับผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยฯ
นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับ Ms. Ruvendrini Menikdiwela ผู้แทนข้าหลวง ใหญ่ ผู้ ลี้ ภัย สหประชาชาติ ประจำ � ประเทศไทย พร้ อ มคณะ ในโอกาสเข้ารับตำ�แหน่งใหม่ พร้อมทัง้ หารือข้อราชการในโอกาส จัดการประชุมสัญจรระหว่างรัฐบาลไทยและสำ�นักงานข้าหลวงใหญ่ ผู้ล้ีภัยสหประชาชาติ ประจำ�ปี 2558 ณ ห้องรับรองกระทรวง ยุ ติ ธ รรม ชั้ น 2 อาคารราชบุ รี ดิ เ รกฤทธิ์ ศู น ย์ ร าชการ เฉลิมพระเกียรติฯ
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 63
กฎหมายสามั ญประจ�ำบ้าน กองบรรณาธิการ
พ.ร.บ.กองทุ นยุ ติ ธ รรม
สร้ า งความเป็ น ธรรมให้ ป ระชาชน ปั ญ หาความเหลื่ อ มล�้ ำ ในสั ง คม ยั ง คงเป็ น ปั ญ หาที่ รั ฐ บาลให้ ค วามส� ำ คั ญ และเร่ ง แก้ ไ ขเพื่ อ ลดช่ อ งว่ า งความไม่ เ ท่ า เที ย มให้ ห มดไปจากสั ง คมไทย โดยเฉพาะ ความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการของภาครัฐย่อมส่งผลให้สภาพสังคมย�่ำแย่ และน�ำไปสู่ ความขัดแย้งของหมู่ประชาชนในที่สุด
64 | Justice Magazine Ministry of Justice
กองทุนยุติธรรมช่วยอะไร ประชาชนบ้าง ? จากประเด็นข้างต้น กระทรวงยุติธรรม ในฐานะ ที่ เ ป็ น หน่ ว ยงานหลั ก อ�ำนวยความยุ ติ ธ รรมในทุ ก มิ ติ แก่สังคม จึงได้ยกร่างกฎหมายพระราชบัญญัติกองทุน ยุตธิ รรม พ.ศ. .... เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ผลักดันให้กองทุน ยุตธิ รรมทีม่ อี ยูเ่ ดิมตามระเบียบกระทรวงยุตธิ รรม ว่าด้วย กองทุนยุตธิ รรม มีฐานะเป็นนิตบิ คุ คล เพือ่ เป็นแหล่งเงินทุน สําหรับช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดี ขอปล่อย ชัว่ คราว ผูต้ อ้ งหาหรือจําเลยถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และ การให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน อันจะท�ำให้ การด�ำเนิ น งานของกองทุ น ยุ ติ ธ รรมมี ค วามคล่ อ งตั ว สามารถช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดี และให้ ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ได้อย่าง ทั่ ว ถึ ง เสมอภาค และเป็ น ธรรม และสามารถลด ความเหลื่อมล�้ำของประชาชนได้อย่างเป็นรูปธรรม เมือ่ วันที่ 27 ตุลาคม 2558 พระราชบัญญัติ กองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 ได้ประกาศในราชกิจจา นุเบกษา มีสาระส�ำคัญคือการก�ำหนดให้มกี องทุนยุตธิ รรม เป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายส�ำหรับการเข้าถึง ความยุ ติ ธ รรม ประกั น ตั ว บุ ค คล ช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ต ้ อ งหา หรือจ�ำเลยในคดีอาญา และช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ จากการละเมิดสิทธิมนุษยชนรวมไปถึงการให้ความรู้ ทางกฎหมายแก่ประชาชน พระราชบัญญัติฉบับนี้ ก�ำหนดให้กองทุนยุติธรรม ประกอบด้วยเงิน หรือทรัพย์สินเงินทุนประเดิม ที่รัฐ จัดสรรให้เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลหรือเงินที่ได้รับ จากงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปี เงินสมทบประเภท ค่าธรรมเนียมศาลที่ได้รับการจัดสรรประจ�ำปี เงินสมทบ ประเภทเงิน และทรัพย์สนิ ทีไ่ ด้จากการบังคับหลักประกัน ตัวผู้ต้องหาและจ�ำเลยในคดีอาญาที่หลบหนีการปล่อย ชั่วคราวที่ได้รับการจัดสรรประจ�ำปี เงินสมทบประเภท ค่าปรับในคดีอาญาที่ได้รับการจัดสรร เงินหรือทรัพย์สิน ที่ได้จากการรับช่วงสิทธิเพื่อไล่เบี้ยกับผู้กระท�ำความผิด อาญา หรือผู้ก่อให้เกิดความเสียหายที่แท้จริง โดยเงินกองทุนดังกล่าวจะเป็นค่าใช้จ่ายเข้าถึง ความยุ ติ ธ รรม ประกั น ตัว บุคคล สนับ สนุน ช่ว ยเหลือ ผูต้ อ้ งหาหรือจ�ำเลยในคดีอาญา สนับสนุนช่วยเหลือผูท้ ไี่ ด้
โดยเงินกองทุนดังกล่าวจะเป็น ค่าใช้จ่ายเข้าถึงความยุติธรรม ประกันตัว บุคคล สนับสนุนช่วยเหลือผู้ต้องหา หรือจ�ำเลยในคดีอาญา สนับสนุน ช่วยเหลือผู้ที่ ได้รบั ผลกระทบจาก การละเมิดสิทธิมนุษยชน และให้ความรู้ ทางกฎหมายแก่ประชาชน
รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน และให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ ประชาชน เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพือ่ ช่วยเหลือผูย้ ากไร้ในการเข้าถึงความยุตธิ รรม ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังก�ำหนดให้จัดตั้งส�ำนักงานกองทุนยุติธรรมขึ้น ในกระทรวงยุตธิ รรม โดยให้ส�ำนักงานมีอ�ำนาจด�ำเนินการเกีย่ วกับงานธุรการ ให้แก่คณะกรรมการ คณะกรรมการอิสระ คณะอนุกรรมการ คณะท�ำงานหรือ บุคคลที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการอิสระแต่งตั้ง และรับค�ำขอรับ การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงความยุติธรรม ค�ำขอรับการช่วยเหลือ การประกันตัวบุคคล ค�ำขอรับการช่วยเหลือผูต้ อ้ งหาหรือจ�ำเลยในคดีอาญา ค�ำขอรับการช่วยเหลือผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน และค�ำขอ รับสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน และ ค�ำอุทธรณ์ เป็นต้น พร้อมทัง้ ก�ำหนดให้มคี ณะกรรมการกองทุนยุตธิ รรม มีอ�ำนาจและหน้าที่ เกีย่ วกับก�ำหนดนโยบาย แผนงาน และแนวทางด�ำเนินงานทัง้ หมด ภายในกองทุน ฯ
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 65
กฎหมายสามั ญประจ�ำบ้าน กองบรรณาธิการ
พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558
โดยมีตัวอย่างมาตราที่มีความส�ำคัญในการลดความเหลื่อมล�้ำทางกระบวนการ ยุติธรรม ได้แก่ มาตรา 9 เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังต่อไปนี้ (1) ช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดี (2) ขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจําเลย (3) ช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับ ผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน (4) ให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน (5) ดําเนินงานกองทุนหรือการบริหารกองทุน และกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับ การจัดกิจการของกองทุน
66 | Justice Magazine Ministry of Justice
มาตรา 27
ช่วยเหลือประชาชนดําเนินคดี ประกอบด้วยค่าจ้างทนายความ ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จา่ ยอืน่ ๆ ที่เกี่ยวข้องดําเนินคดี หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือ ให้เป็นไปตามระเบียบ ที่คณะกรรมการกําหนด มาตรา 28
พิจารณาให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดําเนินคดี และให้ความช่วยเหลือ ผู้ถูกละเมิดสิทธิ มนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ หรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจําจังหวัดต้องคํานึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) พฤติกรรมและข้อเท็จจริงของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน (2) ฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน (3) โอกาสผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนจะได้รับการช่วยเหลือหรือบรรเทาความเสียหาย ตามกฎหมายอื่น
นี่คืออีกภารกิจส�ำคัญของกระทรวงยุติธรรม ที่ช่วยลดความเหลื่อมล�้ำและสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน ในยุคปฏิรูปประเทศครั้งนี้
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 67
ก้นายมนิาวสู ่อาเซียน นธ์ สุทธิวัฒนานิติ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนช�ำนาญการ ส�ำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
หลั ง จากปี 2558 เป็ น ต้ น ไป ประชาคมอาเซี ย นจะเกิ ด ขึ้ น อย่ า งเป็ น ทางการ แม้อาจจะไม่สมบูรณ์ตามแผน การจัดตัง้ ประชาคมอาเซียนทัง้ 3 เสาหลัก ดั ง ที่ เ คยก�ำหนดกั น เอาไว้ แต่ ก็ ไ ด้ มี ความร่วมมืออย่างลึกซึง้ เกิดขึน้ ในหลายๆ ด้ า นและก็ มี ก ารเชื่ อ มโยงกั น ทั้ ง ในทาง กายภาพและกฎระเบี ย บในระดั บ หนึ่ ง ซึ่ ง จะมี ก ารพั ฒ นาความร่ ว มมื อ อย่ า ง ใกล้ ชิ ด กั น มากขึ้ น ทั้ ง ในระดั บ รั ฐ บาล ระดับองค์กร และระดับประชาชน โดย ความร่วมมือและความเชือ่ มโยงทีจ่ ะเพิม่ ขึน้ ก็จะไม่ได้จ�ำกัดเฉพาะความร่วมมือระหว่าง ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศเท่านัน้ หากจะรวมถึงภาคีภายนอก ทั้งประเทศ คูเ่ จรจาและองค์กรระหว่างประเทศด้วย กระทรวงยุติธรรมได้มีการเตรียม การผลั ก ดั น ให้ เ กิ ด การปรั บ ปรุ ง ระบบ 68 | Justice Magazine Ministry of Justice
กฎหมายและกระบวนการยุ ติ ธ รรม ของประเทศไทยให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ ที่ จ ะเปลี่ ย นแปลงไปหลั ง จากการเข้ า สู ่ ประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นการด�ำเนินการ ต่ อ เนื่ อ งมาจากการเตรี ย มความพร้ อ ม เข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่ได้ด�ำเนินการ มาตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา ในช่วงปี 2555-2558 นัน้ กระทรวง ยุตธิ รรมได้มกี ารศึกษา วิจยั เพือ่ เตรียมการ ปรับปรุงระบบกฎหมายและกระบวนการ ยุติธรรมของประเทศไทยไว้ พ อสมควร แล้ว ตั้งแต่การศึกษาทบทวนกฎหมาย และกระบวนการยุ ติ ธ รรมทางอาญา และความร่ ว มมื อ ในเรื่ อ งทางอาญา ของภูมิภาคอาเซียน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง กั บ กระบวนการยุ ติ ธ รรมทางแพ่ ง และ พาณิ ช ย์ และกฎหมายปกครองและ กระบวนการยุ ติ ธ รรมทางปกครอง
เพื่ อ ศึ ก ษาผลกระทบที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น กั บ ระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ของประเทศไทย ภายหลังจากการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน นอกจากการศึ ก ษาข้ อ มู ล แล้ ว หน่ ว ยงานต่ า งๆ ในกระทรวงยุ ติ ธ รรม ได้สร้างเวทีการพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูล ทางวิชาการกับหน่วยงานทีม่ อี �ำนาจหน้าที่ คล้ายคลึงกันในประเทศอาเซียน รวมถึง ภาคี ภ ายนอกอาเซี ย น ไม่ ว ่ า จะเป็ น การประชุ ม คุ ม ประพฤติ แ ละมาตรการ แบบไม่ ค วบคุ ม ตั ว อาเซี ย นบวกสาม การประชุมร่วมระหว่างสภาเจ้าพนักงาน บั ง คั บ คดี ร ะหว่ า งประเทศ (UIHJ) กั บ สมาชิกอาเซียน การประชุมระดับภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่อง การเข้าถึง ความยุ ติ ธ รรมการประชุ ม เครื อ ข่ า ย นิตวิ ทิ ยาศาสตร์เอเชีย (AFSN) การประชุม
คณะท�ำงานเพื่ อ จั ด ท�ำฐานข้ อ มู ล นิ ติ วิ ท ยาศาสตร์ อ าเซี ย น การประชุมสภากระบวนการยุติธรรมส�ำหรับเด็กและเยาวชน ระดับภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิค (APCJJ) ฯลฯ ซึ่งการจัดประชุม เหล่ า นี้ เ ป็ น การเสริ ม สร้ า งความร่ ว มมื อ อย่ า งใกล้ ชิ ด ระหว่ า ง หน่วยงานในกระบวนการยุตธิ รรมของประเทศสมาชิกอาเซียนและ ประเทศคูเ่ จรจา รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศซึง่ แม้วา่ จะยังไม่ได้ ก้าวไปถึงระดับทีจ่ ะน�ำมาก�ำหนดเป็นกรอบการด�ำเนินงานร่วมกัน ของประชาคมอาเซียน หรือน�ำไปสู่การจัดท�ำเอกสารความตกลง ที่ก�ำหนดพันธกรณีให้ประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตาม แต่ก็เป็น การริเริม่ การหารือทีอ่ าจน�ำไปสูก่ ารจัดท�ำความตกลงในอนาคตได้ ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่าประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศนั้น มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ทั้งในเรื่องของระดับการพัฒนา ระบบการเมือง ระบบกฎหมาย และระบบงานยุตธิ รรม และหลักการ ส�ำคัญของอาเซียนข้อหนึ่งคือ การไม่แทรกแซงกิจการภายใน ของแต่ละประเทศ ดังนั้น ความร่วมมือที่จะน�ำไปสู่การปรับปรุง กฎหมายหรือระบบการท�ำงานของรัฐในเรือ่ งต่างๆ จึงเป็นไปได้ยาก เว้นแต่มีพันธกรณีที่เกิดขึ้นจากความตกลงอื่นๆ ที่ประเทศสมาชิก อาเซียนเป็นสมาชิกอยูด่ ว้ ย เช่น องค์การการค้าโลก หรืออนุสญ ั ญา ต่างๆ ของสหประชาชาติ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หลังจากปี 2558 เป็นต้นไป กระทรวง ยุตธิ รรมจะมีการผลักดันความร่วมมือในหลายประเด็นให้ยกระดับ ขึ้นจากความร่วมมือระหว่างหน่วยงานไปสู่การก�ำหนดให้เป็น แผนงานขององค์กรเฉพาะด้านในอาเซียน และแผนงานในระยะ ต่อไปของประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก โดยประเด็นที่น่าจะ สามารถริเริม่ ได้กอ่ นในปี 2559 นี้ ก็นา่ จะเป็นการผลักดันแนวทาง ส�ำหรับการบ�ำบัดแก้ไขเด็กและเยาวชนทีเ่ ข้าสูก่ ระบวนการยุตธิ รรม
ซึ่ ง จะเป็ น มาตรการพื้ น ฐานในการคุ ้ ม ครองเด็ ก และเยาวชน ที่ประเทศสมาชิกอาเซียนยอมรับร่วมกัน โดยจะผลักดันให้เข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานของคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วย การส่งเสริมและคุม้ ครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ACWC) จากนัน้ ในปี 2560 ก็ จ ะมี ก ารจั ด ประชุ ม ระหว่ า งคณะกรรมาธิ ก าร สหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (UNCITRAL) กับประเทศสมาชิกอาเซียน เพือ่ หารือประเด็นการพัฒนา กฎหมายทีเ่ กีย่ วกับการค้าระหว่างประเทศทีอ่ าจน�ำไปสูก่ ารพัฒนา กฎหมายการค้าของประเทศสมาชิกอาเซียน และในปี 2561 กระทรวงยุติธรรมจะเป็นเจ้าภาพการประชุมคองเกรสนานาชาติ กับสภาเจ้าพนักงานบังคับคดีระหว่างประเทศ (UIHJ) ซึ่งจะมี เจ้าพนักงานบังคับคดีจาก 85 ประเทศทัว่ โลก ทัง้ ทีเ่ ป็นภาครัฐและ ภาคเอกชนเข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และน�ำเสนอ ผลงานหรือความคืบหน้าส�ำคัญๆ เกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง จะเห็นได้วา่ การด�ำเนินงานของกระทรวงยุตธิ รรมในบริบท ของประชาคมอาเซียนหลังจากปี 2558 นัน้ จะเป็นการปรับเปลีย่ น บทบาทจากการผลักดันให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ เพือ่ เตรียม ความพร้อมประเทศไทย มาเป็นบทบาทการส่งเสริมให้ประเทศไทย มีบทบาทเชิงรุกที่สร้างสรรค์ในการผลักดันความร่วมมือและ ความตกลงของอาเซียน และสามารถใช้ประโยชน์จากกรอบ ความร่วมมือทีเ่ กีย่ วข้องกับการพัฒนากฎหมายและกระบวนการ ยุตธิ รรมได้อย่างสูงสุด ตามเป้าหมายของปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ ว่าด้วยอาเซียน ค.ศ. 2025: มุง่ หน้าไปด้วยกัน (Kuala Lumpur Declaration on the ASEAN 2025: Forging Ahead Together) ทีผ่ นู้ �ำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามกันไปในการประชุมสุดยอด อาเซียน ครัง้ ที่ 27 ระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2558 ทีผ่ า่ นมา นั่นเอง
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 69
รูกองบรรณาธิ ้จักไอทีการ
จองซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ง่ายดายด้วยไอที
โครงการซือ้ -จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นรูปแบบการจัดสรรสลากกินแบ่งรัฐบาล ทีเ่ ปิดให้ซอื้ และจองผ่านช่องทางต่างๆ ของ ธนาคารกรุงไทย โดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยมาดูขนั้ ตอน และวิธีการจองซื้อซึ่งสามารถท�ำได้หลายช่องทาง การจองซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล จะต้องท�ำรายการผ่านทางธนาคารกรุงไทย ซึ่งผู้ค้าสลาก ก็จะต้องมีบัญชีของธนาคารกรุงไทย และจะต้องท�ำการลงทะเบียนเพื่อจองซื้อสลากก่อนด้วย โดยสามารถไปลงทะเบียนได้ที่ธนาคารกรุงไทย หรือผ่านทาง www.glo.or.th การจองซื้อสลาก สามารถท�ำได้ ท�ำได้ 3 ช่องทาง ช่องทางแรกคือไปพบพนักงานที่ธนาคารกรุงไทยได้เลย ช่องทาง ที่สองคือผ่านเครื่อง ATM ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งมี ATM ที่รองรับ 9000 เครื่องทั่วประเทศ ให้สังเกตว่าเครื่องที่ไม่รองรับจะมีสติ๊กเกอร์ติดแจ้งให้ทราบด้วย อีกช่องทางคือผ่านทาง Netbank ของธนาคารกรุงไทย ซึ่งจริงๆ ก็คือบริการ internet banking แต่มกี ารเพิม่ ฟังก์ชนั่ การจองซือ้ สลากเข้าไปด้วย โดยการท�ำรายการผ่านทาง Netbank สามารถท�ำได้ทั้งผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน
การท�ำรายการซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ผ่านหน้าจอ ATM ธนาคารกรุงไทย 1
2
3
4
5
6
7
70 | Justice Magazine Ministry of Justice
1. 2. 3. 4. 5. 6. 7.
สอดบัตร กดรหัสบัตร ATM เลือก”สลากกินแบ่งรัฐบาล/เติมเงินมือถือ/ เติมเงินด่วน” เลือก”สลากกินแบ่งรัฐบาล” หน้าจอแสดงงวดของสลากทีล่ กู ค้าสามารถท�ำรายการได้ให้ตรวจสอบก่อน ท�ำการเลือก จ�ำนวนเล่มทีต่ อ้ งการ หน้าจอขึน้ รายละเอียดการท�ำรายการให้ ตรวจสอบและยืนยันการท�ำรายการ เสร็จสิ้นการท�ำรายการ รับใบบันทึกรายการ เก็บเป็นหลักฐานส�ำหรับ ใช้ รับสลากที่ซื้อ – จองล่วงหน้าที่ส�ำนักงานไปรษณีย์สาขาที่ก�ำหนด
การท�ำรายการซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ผ่าน KTB netbank : Website 1
1. Login เข้าสู่บริการ KTB netbank และเลือกบริการ “สลากกินแบ่งรัฐบาล”
2
2. กรอกหมายเลขประจ�ำตัวประชาชน และระบุจ�ำนวนเล่มทีต่ ้องการ
3
3. ตรวจสอบข้อมูลการซื้อ และกรอกรหัส TOP เพื่อยืนยันรายการ
4
4.
ระบบจะแสดงผลการท�ำรายการสถานะ การจอง และข้อมูลผู้จอง โดยสามารถ บันทึกหรือพิมพ์เพื่อใช้เป็น หลักฐาน ในการรับสลาก
การท�ำรายการซื้อ-จองล่วงหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล ผ่าน แอปพลิเคชัน KTB netbank 1. Login เข้าสู่บริการ KTB netbank และ เลือกไอคอน “บริการอืน่ ๆ” แล้วเลือก “สลากกินแบ่ง รัฐบาล” 2. กรอกหมายเลขประจ�ำตัวประชาชน และระบุ จ�ำนวนเล่มที่ต้องการ
3. ตรวจสอบข้อมูลการซื้อ และกรอกรหัส TOP เพื่อยืนยันรายการ
4. ระบบจะแสดงผลการ ท�ำรายการ สถานะการจอง และข้อมูลผู้จอง โดยสามารถ บั น ทึ ก หรื อ พิ ม พ์ เ พื่ อ ใช้ เ ป็ น หลักฐานในการรับสลาก
ขอบคุณข้อมูลจาก KTB วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 71
เคล็ ดลับเกร็ดสุขภาพ กองบรรณาธิการ
หลากหลายสมุนไพรใกล้ตัว รู้ไว้ เพื่อดูแลสุขภาพ
ส�ำหรับอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างปวดศีรษะ ปวดท้อง เจ็บคอ ไอ นำ�้ ร้อนลวก มดกัด ยุงกัด ท้องเสีย ท้องอืด ฯลฯ หลายคนมักจะเลือกใช้ยาแผนปัจจุบัน เพราะรวดเร็วทันใจดี แต่บางครั้ง ก็อาจแฝงด้วยผลข้างเคียงอย่างคาดไม่ถงึ ในพืน้ ทีเ่ มืองไทย แม้กระทัง่ รอบๆบ้าน มีพชื ทีม่ สี รรพคุณ เป็นยาที่รู้จักกันว่า สมุนไพร เป็นจ�ำนวนมาก สามารถน�ำมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ข้างต้นได้ มาลองท�ำความรู้จักกับสมุนไพรที่พบเห็นได้ง่ายใกล้ตัวกันดู
ว่านหางจระเข้ ประเทศไทยปลูกว่านหางจระเข้อย่างแพร่หลาย ในต�ำรับ ยาไทยใช้ บ�ำบั ด อาการต่ า ง ๆ ได้ ม ากมาย จนเป็ น ที่ รู ้ จั ก ว่ า เป็นพืชอัศจรรย์ที่มีสรรพคุณสารพัดประโยชน์ โดย “วุ ้ น ในใบสด” น�ำมาบรรเทาอาการปวดศี ร ษะได้ แต่สรรพคุณเด่น ๆ คือน�ำมาพอกแผลน�้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แก้ปวด แสบปวดร้อน แผลเรื้อรัง รักษาผิวที่ถูกแดดเผา แผลในกระเพาะ อาหาร และช่ ว ยถอนพิ ษ ได้ เพราะมี ส รรพคุ ณ ช่ ว ยสมานแผล แต่ก่อนใช้ควรทดสอบดูก่อนว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้อง แขนด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้
มะขามป้อม จัดเป็นยาอายุวฒ ั นะ เพราะมีสรรพคุณเพียบในแทบทุกส่วน ของต้น แต่ที่รู้จักกันดีก็คือ ผลจะมีรสเปรี้ยวมาก ๆ แต่ก็ชุ่มคอ และให้วติ ามินซีสงู มากเช่นกัน ดังนัน้ จึงมีคนน�ำผลมะขามป้อมสดมาใช้ เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ ละลายเสมหะ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน รากของมะขามป้อม ยังแก้พษิ ตะขาบกัด แก้รอ้ นใน ลดความดัน โลหิต แก้โรคเรื้อน ส่วนเปลือก แก้โรคบิด และฟกช�้ำ ส่วนปมก้าน ใช้เป็นน�ำ้ ยาบ้วนปาก แก้ปวดฟัน “ผลแห้ง” ใช้รกั ษาอาการท้องเสีย หนองใน เยื่อบุตาอักเสบ แก้ตกเลือด และส่วนเมล็ด น�ำไปเผาไฟ ผสมกับน�้ำมันพืช ทาแก้คัน แก้หืด หรือจะต�ำเมล็ดให้เป็นผง ชงกับ นำ�้ ร้อนดืม่ แก้โรคเบาหวาน หอบหืด หลอดลมอักเสบก็ได้
72 | Justice Magazine Ministry of Justice
ขมิ้นชัน คนนิยมน�ำเหง้า ที่อยู่ใต้ดิน ทั้งสดและแห้งมาใช้รักษาอาการ ที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร รวมทั้งแก้ท้องเสีย ท้องร่วง จุกเสียด แน่นท้อง โดยสามารถน�ำขมิ้นชันมาทาภายนอก เพื่อใช้รักษาแผล เรื้อรัง แผลสด โรคผิวหนัง พุพอง รักษาชันนะตุได้ด้วย “ขมิ้นชัน” ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระ “คูเคอร์มิน” ที่ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง ตั บ อี ก ทั้ ง ยั ง สร้ า งภู มิ คุ ้ ม กั น ให้ ผิ ว หนั ง หรื อ ใครที่ มี แ ผลอั ก เสบ ก็มีสรรพคุณช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น เพราะมีฤทธิ์ไปลดการอักเสบ ฆ่ า เชื้ อ แบคที เ รี ย ที่ ท�ำให้ เ กิ ด หนอง และหากรั บ ประทานทุ ก วั น ตามเวลาจะช่ ว ยให้ ค วามจ�ำดี ขึ้ น ไม่ อ ่ อ นเพลี ย ยามตื่ น นอน และช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นด้วย
ฟ้าทะลายโจร มีรสขม สรรพคุณเด่น ๆ ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้หวัดใหญ่ แก้ ร ้ อ นใน เพราะมี ฤ ทธิ์ ช่ ว ยสร้ า งภู มิ คุ ้ ม กั น ให้ แ ก่ ร ่ า งกาย หากรั บ ประทานบ่ อ ย ๆ จะช่ ว ยป้ อ งกั น ไม่ ใ ห้ เ ป็ น หวั ด ง่ า ย ยั ง ระงั บ อาการอั ก เสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ขับเสมหะ รักษาอาการท้องเสีย ล�ำไส้อักเสบ รั ก ษาโรคตั บ เบาหวาน โรคงู ส วั ด ริ ด สี ด วงทวาร และรสขม ของฟ้าทะลายโจรยังช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย
มะรุม
ย่านาง
นอกจากน�ำมาปรุงอาหารรับประทานแล้ว ที่ได้สารอาหาร อย่างวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม โพแทสเซียม ใยอาหารแล้ว มะรุม ยังเป็นยาวิเศษรักษาทีท่ กุ ส่วนสามารถใช้รกั ษาได้สารพัดโรค เริม่ จาก “ราก” ทีจ่ ะช่วยบ�ำรุงไฟธาตุ แก้อาการบวม “เปลือก” ใช้ประคบแก้โรคปวดหลัง ปวดข้อ รับประทานเป็นยาขับลมในล�ำไส้ “กระพี้” ใช้แก้ไขสันนิบาด “ใบ” มีแคลเซียม วิตามินซี และสาร ต้านอนุมูลอิสระสูงมาก ใช้แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ มีฤทธิ์ เป็นยาระบายอ่อน ๆ “ดอก” ช่วยบ�ำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ขับน�ำ้ ตา ใช้ตม้ ท�ำน�ำ้ ชา ดืม่ ช่วยให้นอนหลับสบาย “ฝัก” ใช้แก้ไข้หวั ลม “เมล็ด” น�ำมาสกัดเป็น น�้ำมันใช้รักษาโรคปวดข้อ โรคเกาท์ รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา และ “เนื้อในเมล็ดมะรุม” ใช้แก้ไอได้ดี รวมทั้งยังเพิ่มภูมิต้านทาน ให้รา่ งกายได้ดว้ ย
หญ้าหนวดแมว ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ที่ มี ส ร ร พ คุ ณ ไ ม ่ น ้ อ ย โดย “ราก” สามารถใช้ ขั บ ปั ส สาวะได้ “ใบ” ใช้รกั ษาโรคไต ช่วยขับกรดยูรกิ ออกจากไต รักษาโรคเบาหวาน อาการ ปวดหลัง ไขข้ออักเสบ ลดความดันโลหิต “ต้น” ใช้แก้โรคไต ขับปัสสาวะ ได้เช่นกัน และยังช่วยรักษาโรคนิว่ โรคเยือ่ จมูกอักเสบได้ โดยน�ำต้นสด หรือต้นแห้ง หรือใบอ่อน หรือใบตากแห้ง ไปชงกับน�ำ้ 1 แก้ว ดืม่ วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร ห้ามน�ำไปต้ม และไม่ควรใช้ใบแก่ หรือใบสด เพราะมีฤทธิก์ ดหัวใจ ท�ำให้ใจสัน่ และคลืน่ ไส้ได้ ข้ อ ควรระวั ง ก็ คื อ ผู ้ ที่ เ ป็ น โรคหั ว ใจ ไต ห้ า มรั บ ประทาน เพราะในหญ้าหนวดแมวมีโพแทสเซียมสูงมาก และไม่ควรรับประทาน หญ้าหนวดแมวร่วมกับแอสไพริน เพราะจะยิง่ ท�ำให้ยาจ�ำพวกแอสไพริน ไปจับกล้มเนือ้ หัวใจมากขึน้
เ ป ็ น ส มุ น ไ พ ร รสจืด เป็นยาเย็น มีฤทธิ์ ดั บ พิ ษ ร้ อ น คนจึ ง น�ำ ใบย่ า นางไปคั้ น เป็ น น�้ ำ คลอโรฟิ ล ล์ เพื่ อ เพิ่ ม ความสดชืน่ ปรับอุณหภูมิ ในร่างกาย และช่วยดับพิษไข้ ดับพิษของอาหาร แก้อาการผิดส�ำแดง แก้พิษเมา แก้เลือดตก แก้ก�ำเดา ลดความร้อนได้ด้วย ส่วนอื่น ๆ ก็มีประโยชน์เช่นกัน ทั้ง “ราก” ที่ใช้แก้ไข้พิษ ไข้หัด ไข้ฝีดาษ ไข้กาฬ ไข้ทับระดู “เถาย่านาง” ใช้แก้ไข ลดความร้อนในร่างกาย
บอระเพ็ด เมือ่ เอ่ยชือ่ “บอระเพ็ด” หลายคนคงรูส้ กึ “ขม” ขึน้ มาทันที แต่ เพราะมีรสขมนี่เอง ถึงท�ำให้ตัวมันเต็มเปี่ยมไปด้วยสรรพคุณทางยา มากมาย ดังส�ำนวนทีว่ า่ “หวานเป็นลม ขมเป็นยา” อย่างเช่น “ราก” สามารถน�ำไปดับพิษร้อน แก้ไข้พษิ ไข้จบั สัน่ ช่วยให้เจริญอาหาร “ต้น” ก็ชว่ ยแก้ไข้ได้เช่นกัน และยังช่วยบ�ำรุงก�ำลัง บ�ำรุงธาตุ แก้รอ้ นใน แก้สะอึก แก้เลือดพิการ “ใบ” ช่วยแก้ไข้ได้เหมือน ส่วนอืน่ ๆ ยังช่วยแก้โลหิตคัง่ ในสมอง ขับพยาธิ แก้ปวดฝี ช่วยลดความ ร้อน ท�ำให้ผวิ พรรณผ่องใส รักษาโรคผิวหนัง ผดผืน่ คันตามร่างกาย มาถึ ง “ดอก” ช่ ว ยฆ่ า พยาธิ ใ นท้ อ ง ในฟั น ในหู “ผล” ใช้แก้เสมหะเป็นพิษ แก้สะอึกได้ดี แต่ถ้าน�ำทั้ง 5 ส่วน คือ ราก ต้น ใบ ดอก ผล มารวมกัน “บอระเพ็ด” จะกลายเป็นยาอายุวฒ ั นะเลย ทีเดียว เพราะแก้อาการได้สารพัดโรค รวมทัง้ โรคริดสีดวงทวาร ฝีใน มดลูก เบาหวาน ฯลฯ
หลากหลายสมุนไพรไทยมีสรรพคุณมากมายที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม และเลือกน�ำมาใช้ได้ ขอบคุณข้อมูลจาก www.kapook.com วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 73
ทุกองบรรณาธิ กทิศกทัาร่วยุติธรรม
รวมกิจกรรมต่างๆ จากหน่วยงาน
สังกัดกระทรวงยุติธรรม
ช่วงที่ผ่านมา หน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ได้ด�ำเนินกิจกรรม ต่างๆ เพื่อเผยแพร่บทบาทภารกิจของหน่วยงาน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือประชาชน เพื่ออ�ำนวยความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล�้ำให้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องดังนี้
1. คุมประพฤติปทุมธานีให้กำ� ลังใจอาสาสมัคร และเครือข่ายยุติธรรม ส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัดปทุมธานี เยี่ยมให้ก�ำลังใจ อาสาสมัครคุมประพฤติและเครือข่ายยุติธรรมชุมชนที่ออกไป ให้บริการผู้ถูกคุมประพฤติ และผู้รับการฟื้นฟูในเขตอ�ำเภอ สามโคก โดยจัดให้มีการรับรายงานตัวผู้ถูกคุมประพฤติ การให้ ท�ำงานบริการสังคม รวมถึงการฝึกอาชีพต่างๆ อาทิ การท�ำนำ�้ ยา ซักผ้า การท�ำน�้ำยาปรับผ้านุ่ม เพื่อให้สามารถผลิตและน�ำไป ใช้เอง ณ ศูนย์ประสานงานอาสาสมัครคุมประพฤติอ�ำเภอสามโคก (วัดจันทน์กะพ้อ) อ�ำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
74 | Justice Magazine Ministry of Justice
2. ยุตธิ รรมมหาสารคามออกหน่วยบริการ เคลื่อนที่ ส�ำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม และหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม ร่วมโครงการจังหวัดเคลื่อนที่.. เยีย่ มเยียนประชาชน เพือ่ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์บทบาท ภารกิจ ของแต่ละหน่วยงานให้ประชาชน ที่เข้าร่วมงานได้รับทราบ ณ โรงเรียนหนองไผ่ด้ามขวาน อ�ำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
3. ปปท. เขตพื้ น ที่ 5 ประชุ ม แนวทาง การป้องกันการทุจริต นายพงศ์เชษฐ ใจสมัคร นักสืบสวนสอบสวนช�ำนาญการ ส�ำนั ก งาน ปปท. เขตพื้ น ที่ 5 เข้ า ร่ ว มประชุ ม นายอ�ำเภอ และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยในจังหวัด ล�ำปาง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดล�ำปางเป็นประธานฯ เพื่อชี้แจง แนวทางการป้ อ งกั น และแก้ ไ ขปั ญ หาการทุ จ ริ ต ในภาครั ฐ ในโครงการมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับต�ำบล ต�ำบลละ 5 ล้านบาท ณ ห้องประชุมเวียงละกอน ศาลากลางจังหวัดล�ำปาง
4. คุ้มครองสิทธิฯ ภาค 1 ประชาสัมพันธ์ ภารกิจหน่วยงาน ส�ำนักงานคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพภาค 1 ร่วมจัดบูธ ประชาสั ม พั น ธ์ บ ทบาท ภารกิ จ ของส�ำนั ก งานในกิ จ กรรม ส�ำนั ก งานอั ย การจั ง หวั ด ยุ ติ ค วามรุ น แรงดี เ ด่ น ประจ�ำปี พ.ศ. 2558 ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ การประกวด การออกแบบสติ๊กเกอร์ไลน์ การแสดงและการให้ความรู้เกี่ยวกับ การคุม้ ครองผูถ้ กู กระท�ำด้วยความรุนแรง เป็นต้น ณ มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 75
ทุกองบรรณาธิ กทิศกทัาร่วยุติธรรม 5. บังคับคดีล�ำปางไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ส�ำนักงานบังคับคดีจงั หวัดล�ำปาง ร่วมกับบริษทั โตโยต้าลิสซิง่ (ประเทศไทย) จ�ำกัด จัดโครงการ “ร่วมมือ ร่วมใจ ลดข้อขัดแย้ง ไกล่เกลีย่ ข้อพิพาท”โดยมีผสู้ นใจเข้าร่วมการไกล่เกลีย่ จ�ำนวนมาก ณ ศูนย์ไกล่เกลีย่ ข้อพิพาทส�ำนักงานบังคับคดีจงั หวัดล�ำปาง
6. ยุติธรรมปัตตานีร่วมบรรยายให้ความรู้ ส�ำนักงานยุติธรรมจังหวัดปัตตานี โดยนิติกรและพนักงาน คุ ้ ม ครองสิ ท ธิ แ ละเสรี ภ าพ ร่ ว มเป็ น วิ ท ยากรบรรยายตาม “โครงการปฐมนิเทศผูต้ อ้ งขังใหม่” รุน่ ที่ ๑ ประจ�ำปีงบประมาณ ๒๕๕๙ ในหัวข้อ “การให้ความรู้ด้านกฎหมายและการให้ ค�ำปรึ ก ษาด้ า นคดี ค วาม”แก่ ผู ้ ต ้ อ งขั ง ใหม่ และให้ แ นวทาง ในการปฏิบัติตนภายใต้กฎระเบียบซึ่งจะท�ำให้การควบคุมแก้ไข และพัฒนาพฤตินสิ ยั เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ณ เรือนจ�ำกลาง ปัตตานี จังหวัดปัตตานี
7. สถานพินิจฯ ตรังเสริมสร้างความรู้ แก่เด็กและเยาวชน ชมรม TO BE NUMBERONE สถานพินจิ และคุม้ ครองเด็ก และเยาวชนจังหวัดตรังมอบหมายเจ้าหน้าทีเ่ ข้าร่วมเป็นวิทยากร และจัดกิจกรรมทูบีพี่สอนน้อง “ในกิจกรรมเยาวชนร่วมใจ ปลอดภัยจากดีกรี” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้เด็กและ เยาวชนห่างไกลจากยาเสพติด จัดขึ้นโดยเทศบาลนาเมืองเพชร ณ ล่องแก่งลุงทัน อ�ำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
76 | Justice Magazine Ministry of Justice
8.ศึกษาดูงานเรือนจ�ำกลางนครปฐม เรื อ นจ�ำกลางนครปฐมให้ ก ารต้ อ นรั บ คณะผู ้ พิ พ ากษา และเจ้าหน้าที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนครปฐม ครูฝึก จากกรมการสัตว์ทหารบก (ค่ายทองฑีฆายุ) เด็กและเยาวชนทีเ่ ข้า รับการฝึกอบรมโครงการ “รัฐ-ราษฎร์ ร่วมใจพัฒนาเยาวชนฯ รุน่ ที่ 14 ในการเข้าศึกษาดูงานภายในเรือนจ�ำกลางนครปฐมตาม โครงการนักเรียนเยี่ยมคุก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรียนรู้ กระบวนการด�ำเนินงานของเจ้าหน้าที่ และวิธีปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ณ เรือนจ�ำกลางนครปฐม อ�ำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
9. ยุตธิ รรมขอนแก่นประชาสัมพันธ์ภารกิจ ของหน่วยงาน นางสุวฒ ั นา แดงกรัด ผูอ้ �ำนวยการส�ำนักงานคุมประพฤติ จั ง หวั ด ขอนแก่ น ประธานคณะกรรมการบริ ห ารสํ า นั ก งาน ยุติธรรมขอนแก่น พร้อมเจ้าหน้าที่ ส�ำนักงานยุติธรรมจังหวัด ขอนแก่นเข้าร่วมกิจกรรม “โครงการเรารักขอนแก่น”ครั้งที่ 23/2558 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้ส่วนราชการหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนในจังหวัด ขอนแก่นร่วมพบปะแลกเปลีย่ นข้อมูลข่าวสารรวมทัง้ ประชาสัมพันธ์ ภารกิจของหน่วยงาน โดยมี นายก�ำธร ถาวรสถิตย์ ผูว้ า่ ราชการ จังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิด ณ บริเวณอนุสรณ์ แห่งความเสียสละ หน้ากองบังคับการสืบสวนต�ำรวจภูธรภาค 4 อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 77
เก็ บมาเล่า กองบรรณาธิการ
กรมคุมประพฤติจับมือหน่วยงานรัฐ สร้างสังคมปลอดภัยแบบบูรณาการ “การคุมประพฤติ” ถือเป็นภารกิจที่ส�ำคัญของกระทรวงยุติธรรม ในการแก้ ไขฟื้นฟูผู้กระท�ำผิด แบบบูรณาการ เพื่อสร้างความสงบสุขให้เกิดขึ้นในชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยการขับเคลื่อนการท�ำงาน แบบบูรณาการกับทุกภาคส่วนด้วยบุคลากรมืออาชีพ ส�ำหรับภารกิจที่กรมคุมประพฤติเป็นผู้รับผิดชอบ ดูแลผู้กระท�ำผิดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1
การคุมความประพฤติผู้กระท�ำผิดที่เป็นผู้ใหญ่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ซึ่งผู้กระท�ำผิด มีโทษจ�ำคุกไม่เกิน 3 ปี แต่ไม่เคยได้รับโทษจ�ำคุกมาก่อน และ เป็นโทษส�ำหรับความผิดที่ได้กระท�ำโดยประมาทหรือความผิด ลหุโทษ โดยศาลพิพากษาว่าผูน้ นั้ มีความผิดแต่รอการก�ำหนดโทษ หรือก�ำหนดโทษแต่รอการลงโทษจ�ำคุก โดยก�ำหนดเงื่อนไข คุมความประพฤติไว้ เพือ่ ให้โอกาสกลับตนเป็นพลเมืองดีตอ่ ไป
3
2
ผูถ้ กู คุมความประพฤติพกั การลงโทษ/ลดวันต้องโทษจ�ำคุก คือ นักโทษเด็ดขาดทีต่ อ้ งโทษมาแล้วระยะหนึง่ และปฏิบตั ิ ตนเป็นประโยชน์และกระท�ำความดีในระหว่างต้องโทษจ�ำคุก จึงได้รับโอกาสพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษจ�ำคุกออกจาก เรือนจ�ำครบก่อนครบก�ำหนดโทษ โดยประกอบอาชีพและพักอาศัย อยูก่ บั ผูอ้ ปุ การะซึง่ เป็นญาติหรือบุคคลซึง่ รับจะดูแลอุปการะนักโทษ เด็ดขาดรายนีซ้ งึ่ กรมราชทัณฑ์ได้ก�ำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติ และให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ ณ ส�ำนักงานคุมประพฤติ ตามก�ำหนดนัดจนครบก�ำหนดพ้นโทษ
ผู้ถูกคุมความประพฤติที่เป็นเด็กและเยาวชน เป็นกระบวนการติดตาม ควบคุมดูแล ให้ค�ำแนะน�ำและช่วยเหลือผู้กระท�ำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนในชุมชนซึ่งถูกก�ำหนดเงื่อนไข การคุมความประพฤติ โดยมีพนักงานคุมประพฤติเป็นผูค้ วบคุมดูแล แนะน�ำ ช่วยเหลือ หรือตักเตือนในเรือ่ งความประพฤติ การศึกษา การประกอบ อาชีพหรือเรื่องอื่นๆ ด้วยวิธีการแก้ไขฟื้นฟูตามความเหมาะสม เพื่อให้ผู้กระท�ำผิดปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมความประพฤติไม่หวนกลับไป กระท�ำผิดซำ�้ สามารถปรับตัวอยูก่ บั ผูอ้ นื่ ในสังคมได้อย่างปกติสขุ โดยการคุมประพฤติเด็กและเยาวชนจะเริม่ ขึน้ หลังจากศาลเยาวชนและครอบครัว มีค�ำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติคุมความประพฤติเด็กและเยาวชน โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ การคุมความประพฤติก่อนและหลังศาล มีค�ำพิพากษา 78 | Justice Magazine Ministry of Justice
ในปั จ จุ บั น พบว่ า มี ผู ้ ก ระท�ำผิ ด เงื่ อ นไขการคุ ม ประพฤติ โดยไม่ ม ารายงานตั ว เพิ่ ม สู ง ขึ้ น โดยมี ส ถิ ติ ผู ้ ก ระท�ำผิ ด เงื่ อ นไข คุมประพฤติปี 2556 จ�ำนวน 27,665 คน ปี 2557 จ�ำนวน 35,338 คน ปี 2558 จ�ำนวน 40,722 คน บางรายมีการกลับไปกระท�ำผิดซ�้ำ กลายเป็นการตอกย�้ำและสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างเรื้อรัง กรมคุมประพฤติจึงได้ก�ำหนดโนบาย มาตรการลงโทษทางสังคม ซึง่ จะช่วยกดดันให้ผคู้ มุ ประพฤติด�ำเนินการตามเงือ่ นไขคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุมประพฤติ จึงหาแนวทาง ป้องกันและแก้ไขโดยร่วมมือกับส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อให้เป็นไปตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 4/2553 เรื่อง ผู้ถูกคุมความประพฤติขออนุญาตบรรพชา อุปสมบท เพือ่ เป็นการกลัน่ กรองไม่ให้ผตู้ อ้ งหา/ผูก้ ระท�ำผิดในระบบ งานคุมประพฤติทยี่ งั ไม่พน้ การคุมความประพฤติ/ผูเ้ ข้ารับการฟืน้ ฟู สมรรถภาพผูต้ ดิ ยาเสพติดทีย่ งั ไม่พน้ การฟืน้ ฟูฯ เข้ารับการบรรพชา หรืออุปสมบท เมือ่ วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2558
โดยมี พั น ต�ำรวจเอก ดร.ณรั ช ต์ เศวตนั น ทน์ อธิ บ ดี กรมคุมประพฤติ และนายพนม ศรศิลป์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงาน พระพุ ท ธศาสนาแห่ ง ชาติ เป็ น ผู ้ ล งนามฯ พร้ อ มด้ ว ยผู ้ บ ริ ห าร กรมคุมประพฤติและผูบ้ ริหารจากส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องแถลงข่าวอาคารสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พุทธมณฑล กรุงเทพฯ พันต�ำรวจเอก ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวว่า จากสถิตพิ บว่าผูท้ ถี่ กู คุมความประพฤติไม่ยอมมารายงานตัว สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถิติในปี 2558 มีผู้กระท�ำผิดเงื่อนไข การคุมประพฤติ จ�ำนวน 40,722 คน โดยผูท้ หี่ นีไม่ยอมมารายงานตัวนัน้ ส่วนหนึ่งใช้วิธีหนีไปบวช และประพฤติตนไม่เหมาะสมสร้างความ เสื่อมเสียให้กับพระพุทธศาสนา ภายใต้ความร่วมมือในครั้งนี้ ผู้ถูกคุมประพฤติที่จะมาบวช จะต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติจากกรมคุมประพฤติเพิ่มเติม จากเดิ ม ที่ ใ ช้ วิ ธี ข อหนั ง สื อ รั บ รองจากทางสถานี ต�ำรวจในพื้ น ที่ ซึ่งนโยบายใหม่นี้ได้มอบหมายไปยังส�ำนักงานคุมประพฤติจังหวัด ทั้ง 105 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ด�ำเนินการตามแนวทางดังกล่าวแล้ว
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 79
เก็ บมาเล่า กองบรรณาธิการ
ภาพประกอบ โดย www.dailynews.co.th
ด้านนายพนม ศรศิลป์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานพระพุทธ ศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า ส�ำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะให้การ สนับสนุนด้านข้อมูลเพื่อให้คณะสงฆ์ปฏิบัติตามมติมหาเถรสมาคม โดยจะพิจารณาความเห็นชอบของกรมคุมประพฤติเกีย่ วกับการตรวจสอบ ความเหมาะสมของผูก้ ระท�ำผิดทีม่ คี วามประสงค์จะบรรพชาหรืออุปสมบท รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาพฤตินิสัยของผู้ต้องหาและผู้กระท�ำผิด ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติด้วยการใช้หลักพุทธศาสนา ในการแก้ไขฟืน้ ฟู อันเป็นการพัฒนาพระพุทธศาสนา และเป็นการป้องกัน สังคมจากปัญหาอาชญากรรมต่อไป ส�ำหรับการบันทึกข้อตกลงในครั้งนี้กรมคุมประพฤติถือเป็น หน่วยงานแรกที่เริ่มด�ำเนินการในมาตรการดังกล่าว ซึ่งตามมติ มหาเถรสมาคมผู้กระท�ำผิดจะอุปสมบทไม่ได้ จนกว่าจะพ้นจากการ คุมความประพฤติหรือพ้นการฟื้นฟู หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จะไม่สามารถอุปสมบทได้จนกว่าคดีจะหมดอายุความ เพราะถือว่ายัง มีคดีติดตัว โดยในระหว่างการคุมประพฤตินั้น กรมคุมประพฤติ และส�ำนั ก งานพระพุ ท ธศาสนาแห่ ง ชาติ จ ะแลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล ในการตรวจสอบสถานะของผู ้ ก ระท�ำผิ ด ที่ ป ระสงค์ จ ะบรรพชา หรืออุปสมบทซึง่ ถือเป็นการบูรณาการด้านข้อมูลร่วมกันกับส�ำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติเพือ่ คืนคนดีสสู่ งั คมอย่างมีคณ ุ ภาพ นอกจากนี้ กรมคุ ม ประพฤติ ยั ง มี ก ารก�ำหนดบทลงโทษ ทางสังคมโดยการห้ามผู้ถูกคุมประพฤติท�ำใบอนุญาตขับรถ โดยได้ ร่วมมือกับกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม จัดพิธีลงนาม บั น ทึ ก ข้ อ ตกลงว่ า ด้ ว ยการประสานความร่ ว มมื อ ในการสร้ า ง
80 | Justice Magazine Ministry of Justice
ความปลอดภัยให้กบั สังคม โดยการสนับสนุนข้อมูลส�ำหรับตรวจสอบ คุ ณ สมบั ติ แ ละลั ก ษณะต้ อ งห้ า มของผู ้ ข อรั บ ใบอนุ ญ าตขั บ รถ เมื่ อ วั น ที่ 24 ธั น วาคม 2558 ที่ ผ ่ า นมา โดยมี พั น ต�ำรวจเอก ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ และนายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นผู้แทนในการลงนาม พร้อมด้วยผูบ้ ริหารกรมคุมประพฤติผบู้ ริหารกรมการขนส่งทางบก และอาสาสมัครคุมประพฤติร่วมเป็นสักขีพยาน นอกจากนี้พันต�ำรวจเอก ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ อธิบดี กรมคุมประพฤติ กล่าวว่า กรมคุมประพฤติจะด�ำเนินการเชื่อมโยง ข้อมูลนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับการพักการลงโทษ และลดวันต้องโทษ ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ให้แก่กรมการขนส่งทางบก เพือ่ เป็นข้อมูลในการตรวจสอบคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผูข้ อรับใบอนุญาตขับรถตามมาตรา 47 (3) และมาตรา 49 (4) แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ กรมคุมประพฤติซงึ่ มีภารกิจในการแก้ไขฟืน้ ฟูผกู้ ระท�ำผิด และนักโทษ เด็ดขาดทีไ่ ด้รบั การพักการลงโทษ/ลดวันต้องโทษ ซึง่ บุคคลกลุม่ หลังนี้ ยังอยู่ในภาวะจะต้องปฏิบัติตามค�ำสั่งและเงื่อนไขที่กรมราชทัณฑ์ ก�ำหนด และในปั จ จุ บั น ยั ง มี ผู ้ ที่ ไ ม่ ป ฏิ บั ติ ต ามเงื่ อ นไขดั ง กล่ า ว เป็นจ�ำนวนพอสมควร จึงถือได้วา่ การร่วมมือกันครัง้ นีจ้ ะเป็นการคัดกรองและยับยัง้ ผูก้ ระท�ำผิดบางคนทีอ่ าจก่อให้เกิดปัญหาในสังคม อันจะส่งผลให้เกิด ความปลอดภัยในชุมชนและสังคมต่อไป
¾ÂÒ¹
¼ÙŒÃŒÒ Â
¼ÙŒàÊÕÂËÒ
วารสารยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม | 83
เก็ บมาเล่า กองบรรณาธิการ
กระทรวงยุติธรรม
Ministry of Justice
สถาบััน อนุญาโตตุลาการ
www.moj.go.th ศูนย์บริการร่วมกระทรวงยุติธรรม ให้บริการข้อมูลคะปรึกษาด้านกฎหมาย การรับเรืองร้องเรียน/ร้องทุกข์ ่ รับแจ้งเบาะแส
โทรศัพท์ 0 2141 5100
84 | Justice Magazine Ministry of Justice
facebook.com
/MinistryofJustice,Thailand